ความผิดพลาดที่เรียนรู้ได้

Page 1

• มี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต •

Revised Edition

เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไร มี เ งิ น ใ ช้ ต ล อ ด ชี วิ ต อ มิ ต า อ ริ ย อั ช ฌ า

1

aw 1-89.indd 1

7/10/12 7:29:22 PM


• เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไร •

• มี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต •

ชื่อหนังสือ : เขาใช้เงินกันอย่างไรมีเงินใช้ตลอดชีวิต Revised Edition ผู้เขียน : อมิตา อริยอัชฌา amitajinta@yahoo.com เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-30515-6-1 ราคา : 160 บาท พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรกฎาคม 2555

เกี่ ย วกั บ ผู้ เ ขี ย น อมิตา อริยอัชฌา

บรรณาธิการ : อริยา จินตพานิชการ กองบรรณาธิการ : ฉัตรพร พิมลสิงห์ ออกแบบ : ก้องเกียรติ ดำรงกีรติกุล ออกแบบปก : อริยา จินตพานิชการ c สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จัดทำโดย : อริยา จินตพานิชการ 59/46 ม.4 ซอยนาคนิวาส 48 แยก 14-4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ 081-935-9322, 0-2932-9549

มีผลงานเขียนหนังสือมาแล้วมากกว่า 30 ชื่อเรื่อง ในหลากหลายประเภท ตั้งแต่ชีวประวัติ พัฒนาตนเอง สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ ธุรกิจ จิตวิทยา การตลาด และการเงิน อาทิ “ต้องเท่าไหร่ถึงจะพอ” “เพิ่มรายได้หลายกระเป๋าเงิน” “ฐานะดีในปีเดียว” “ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง” “คู่มือเก็บเงิน” “คู่มือปลดหนี้” รวมถึง “เขาเก็บเงินกันอย่างไรได้เป็นล้าน” และ “เขาใช้เงินกันอย่างไรมีเงินใช้ตลอดชีวิต” ติดตามผลงานได้ที่ www.amitaariyaatcha.com

พิมพ์ : ภาพพิมพ์ 296 ซ.อรุณอมรินทร์ 30 บางพลัด กรุงเทพฯ โทร. 0-2433-0026-7 จัดจำหน่าย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : 0-2739-8000 โทรสาร : 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com 2

aw 1-89.indd 2-3

3

7/10/12 7:29:25 PM


• เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไร •

• มี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต •

คำนำ

aw 1-89.indd 4-5

“เขาใช้เงินกันอย่างไรมีเงินใช้ตลอดชีวิต” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2551 ในช่วงที่ยังมีหนังสือน้อยเล่มในท้องตลาด ที่พูดถึงการสร้างแผนการเงิน เพื่อให้มีดอกผลพอใช้ไปจนวันถึงสุดท้ายของชีวิต ปรากฏว่าในครั้งนั้นได้ รับความสนใจในระดับที่ผู้เขียนคาดไม่ถึง โลกเปลี่ยนไปรวดเร็วในแต่ละปีที่ผ่าน กฎเกณฑ์ดั้งเดิมเริ่มใช้ไม่ได้กับ ทุกคน การนิยามความหมายของสิ่งต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น คำว่า “เกษียณ” ของคนยุคนี้ก็เช่นกัน มันได้เปลี่ยนความหมายจากการเลิก ทำงานที่ทำมาตลอดชีวิตเมื่ออายุ 60 ปี มาเป็นการมีอิสรภาพทางการเงิน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับใคร ณ อายุใดก็ได้ และก็ไม่ได้หมายความถึงการหยุด ทำงานสิ้นเชิงอีกต่อไป แต่หมายถึงการ “หยุดทำงานเพื่อเงิน” และ เริ่มต้น “ทำงานใหม่ที่ใจปรารถนา” ด้วย ผู้คนยุคใหม่กำลังจะหันมาให้ความสนใจกับการวางแผนการเงินเพื่อ อิสรภาพมากขึ้น เพราะนี่ไม่เพียงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่สุดที่จะใช้ไขสู่ การมีชีวิตในรูปแบบที่เราต้องการจริงๆ ได้ แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญของ การสร้างความมั่นคงให้ประเทศ อะไรจะสำคัญยิ่งไปกว่าการที่ทุกคนได้ลุก ขึ้นมาทำหน้าที่ของตัวเองที่มีต่อตัวเอง เป็นที่พึ่งพาของตัวเอง ด้วยสมดุล ระหว่างความสุขทางวัตถุกับจิตใจที่ค้นพบได้ตัวเอง

ผู้เขียนหวังยาวไกลไปจนถึงวันที่การวางแผนการเงินแบบพึ่งพาตัว เองได้จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต กลายเป็นหนึ่งในแผนสำคัญของชีวิตที่ เริ่มมีการสอนให้เด็กๆ ได้เข้าใจตั้งแต่ในโรงเรียน “เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไรมี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต ” ขาดหายไปจากร้ า น หนังสือมานานจนมีผู้อ่านขอให้จัดพิมพ์ใหม่ ซึ่งตรงกับความตั้งใจของ ผู้เขียนที่จะปรับปรุงเนื้อหาเพื่อพิมพ์ ใหม่ ในปีนี้ จุดประสงค์ที่ทำเป็น Revised Edition ก็เพื่อให้หนังสืออ่านได้ง่ายขึ้น กระชับขึ้น แก้ไขข้อมูล บางส่วนให้ทันสมัยขึ้น หนังสือเล่มนี้จุดประกายให้ผู้เขียนสนใจประเด็นนี้ จนนำไปสู่หนังสือ ทีส่ มั พันธ์กนั อีกหลายเล่มต่อมา ทัง้ “ต้องเท่าไหร่ถงึ จะพอ” “เพิม่ รายได้ หลายกระเป๋าเงิน” “The Numbers” และ “ฐานะดีในปีเดียว” ทั้งหมดนี้หวังเพียงแค่อาจจะจุดประกายในใจผู้อ่านรุ่นใหม่ โดย เฉพาะผู้ซึ่งตระหนักว่าความร่ำรวยนั้นไม่ใช่จุดมุ่งหมาย อิสรภาพที่แท้ จริงต่างหากที่เราต้องการ

4

5

- อมิ ต า อริ ย อั ช ฌา -

7/10/12 7:29:30 PM


• เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไร •

คำนำ ในการพิ ม พ์ ค รั้ ง แรก พศ.2551 เป็นเรื่องยากมากที่จะเขียนหนังสือว่าด้วยการวางแผนเพื่ออนาคตที่อยู่ แสนจะยาวไกลจากปัจจุบัน ขณะที่พวกเราส่วนใหญ่กำลังไขว่คว้าหาความมั่งคั่ง ใครกันจะอยากคิดถึง การเก็บเงินทีละนิดละน้อยเพื่อใช้สอยในยามหยุดทำงาน กว่าที่คนส่วนใหญ่ 99% จะตระหนักว่าความมั่งคั่งนั้นเกินเอื้อมสำหรับ ตัวเอง และเริ่มฉุกคิดถึงอนาคตอันคลอนแคลน อายุก็มักย่างเข้าเลข 4 หรือ 5 กว่าเราจะรู้ว่าในที่สุดเราต้องแก่ชรา ความชราก็มาเยือนแบบไม่ให้ตั้งตัว การตระหนักว่าเราเริ่มสู่วัยกลางคนทั้งๆ ที่เรายังยากจนนั้นมันเจ็บปวดอยู่ ไม่น้อย โดยเฉพาะในยุคสมัยที่เราต้องเคยชินกับการใช้เงินเพื่อดำเนินชีวิต ที่ เ จ็ บ ปวดกว่ า นั้ น คื อ ด้ ว ยวิ ท ยาการการแพทย์ ยุ ค ใหม่ ชี วิ ต นั บ จาก วัยกลางคนไปจนถึงวันตายของเราจะยาวนานขึ้น หมายความว่าการดำรงชีวิต อยู่จนถึงวันสุดท้าย เราจำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้น ประเด็นที่หนังสือเล่มนี้กำลังพยายามบอกคือ เราจะไม่ต้องเจ็บปวดในวัน ที่เราอายุมาก ถ้าเรายอมลำบาก (นิดหน่อย) ตั้งแต่อายุยังน้อย คุณโชคดีหากเป็นคนรุ่นใหม่ที่เกิดตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา ถ้าจะเริ่มคิด ใหม่ทำใหม่กบั ระบบการเงินของตัวเอง เพราะไม่วา่ คุณจะอายุเท่าใด อย่างน้อย คุณยังมีเวลา 15-35 ปีก่อนที่จะหยุดทำงาน 6

aw 1-89.indd 6-7

• มี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต •

เวลา 15-35 ปีที่คุณใช้มันเป็นข้อได้เปรียบได้สบาย ถ้าเพียงคุณจัดระบบ ความคิดทั้งหมดใหม่ และให้ความสำคัญมากที่สุดกับสิ่งที่สำคัญที่สุดจริงๆ ไม่ใช่ สิ่งที่คุณเคยคิดว่ามันสำคัญ สิ่งสำคัญที่สุดจริงๆ ที่เรากำลังพูดถึง คือการใช้ช่วงเวลาและเงินออมในช่วง ที่คุณยังมีเรี่ยวแรงทำงาน ให้เป็นประโยชน์สูงสุดกับตัวคุณเองในวันที่คุณไม่ได้ ทำงานแล้ว ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะเริ่มต้นโครงการนี้ตอนที่วันนั้นมาถึง เวลาที่เหมาะสมที่สุดที่คุณต้องเริ่มมัน คือวันนี้และเดี๋ยวนี้ ถ้าคุณวางแผนอย่างดี ไม่เพียงคุณจะมีชีวิตที่ปราศจากความวิตกกังวล แต่คุณยังรู้สึกอิ่มเต็มในหัวใจ เพราะรู้ว่าคุณจะมีเงินใช้จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ขออภัยอย่างยิ่งถ้าคุณหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็น หนังสือที่แนะวิธีหาเงินให้ได้มากๆ เพราะ “มีเงินใช้มากๆ” กับ “มีเงินใช้ตลอด ชีวิต” นั้น มีความหมายผิดกันอยู่พอสมควร แต่หากคุณหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เพราะกำลังแสวงหาหลักคิดใหม่ๆ ในการสร้าง “อิสรภาพทางการเงิน” ให้ตัวคุณเอง ผู้เขียนก็ขอยินดีด้วย เพราะ “มีเงินใช้ตลอดชีวิต” กับ “อิสรภาพทาง การเงิน” นั้นมีความหมายใกล้เคียงกันมาก ด้วยมันต่างหมายถึงการมีชีวิตที่คุณ เลือกได้ โดยไม่จำเป็นต้องรวยล้นฟ้า ถ้านี่คือสิ่งที่คุณกำลังมองหา ผู้เขียนก็หวังว่าหนังสือเล่มนี้อาจเป็นคำตอบ เล็กๆ ของคุณ - อมิ ต า อริ ย อั ช ฌา 7

7/10/12 7:29:34 PM


• เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไร •

• มี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต •

สารบั ญ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

: : : : : : : : : : : : : : : :

ความผิดพลาดที่ีเรียนรู้ได้ รอถึงวันสุดท้ายก็สายแล้ว เป็นไปได้มีเงินใช้ตลอดชีวิต กระจกวิเศษส่องฐานะ ตรวจสอบคุณค่าของตัวคุณ ข้อได้เปรียบเรื่องเวลา วางเงินให้ถูกที่ ตัวเลขสำคัญของคุณ ต้องเท่าไหร่ถึงจะพอ แผนสู่อิสรภาพ ลงทุนเป็นเจ้าหนี้ ลงทุนเป็นเจ้าของ จัดทัพลงทุนของคุณเอง นักลงทุนมือใหม่ คุณไม่ได้โดดเดี่ยว เรียนรู้จากความผิดพลาด

10 15 23 31 40 45 54 63 71 76 83 90 102 113 119 126 8

aw 1-89.indd 8-9

9

7/10/12 7:29:43 PM


• เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไร •

บทที่ 1

ความผิดพลาดที่เรียนรู้ได้ คำตอบที่ ค าดหวั ง โอมถึงกับหัวเราะลั่น เมื่อนุรี นักข่าวการเงินโทรศัพท์มาขอสัมภาษณ์เรื่อง แผนชีวิตหลังเกษียณ “นี่ล้อเล่นกันหรือเปล่า ผมอายุ 29 เองนะ” นุรีพยายามอธิบายถึงคอนเซ็ปท์คอลัมน์ของเธออย่างอดทน โอมไม่ใช่คน ดังคนแรกที่หัวเราะเมื่อถูกสัมภาษณ์เรื่องนี้ และไม่ ใช่ครั้งแรกด้วยสิ ที่นุรีได้คำตอบจากผู้ ให้สัมภาษณ์ว่า “เกษียณ” ที่เขาคิดไว้ น่าจะเป็นการมีบ้านริมทะเลสักหลัง มีรถสองสามคัน ใช้ชีวิตหลัง เกษียณด้วยการท่องเที่ยวทั่วโลก และ “แผน” ที่จะนำไปสู่ทั้งหมดที่คิดไว้คือ “ทำงานเยอะๆ เข้าไว้ เงินเหลือ ใช้ก็เก็บออมครับ” เธอคงคาดหวังมากไปที่จะได้ยินคนในวัยหนุ่มสาวตอบว่า “เริ่มต้นวางแผน ไว้แล้วครับ ด้วยการคำนวณก่อนว่าต้องมีเงินสักเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ไปตลอดชีวิต พอเห็นตัวเลขแล้วก็รู้ทันทีว่าเสียเวลาไม่ได้ ต้องเริ่มลงมือทำตามแผนวันนี้เลย ด้วยการออมเงินอย่างน้อย 30% ของรายได้ทุกเดือน และวางแผนลงทุนให้ได้ ผลตอบแทนอย่างน้อยปีละ 10%” 10

aw 1-89.indd 10-11

• มี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต •

เวลาผ่ า นไปไวกว่ า ที่ คิ ด ใช่วา่ นุรไี ม่เข้าใจ เธอเองก็เคยคิดอะไรอย่างนัน้ สิบห้าปีกอ่ นตอนทีเ่ ธอเริม่ อาชีพนักข่าว ใหม่ๆ รูส้ กึ ว่ายังมีเวลาตัง้ สีส่ บิ ปีกว่าจะ “รีไทร์” แล้วจะเครียดล่วงหน้าไปทำไมให้เสียเวลา แต่แค่ชั่วพริบตา เวลาก็ล่วงผ่านไปไวเหลือเชื่อ ตอนนี้เธอกลายเป็นผู้หญิงโสดอายุ สามสิบหก ที่เริ่มถามตัวเองว่าอนาคตจะดูแลชีวิตอย่างไร สองสามปีก่อนตอนเริ่มทำคอลัมน์สัมภาษณ์คนดังในเรื่องการเงิน เธอเริ่มสงสัยการ เงินของตัวเอง จึงลองใช้สูตรคำนวณหาตัวเลขเงินที่เธอต้องมีไว้เพื่อใช้จ่ายหลังหยุดทำงาน นุรีพลิกดูสมุดบัญชีทุกเล่มของตัวเอง แล้วก็ถูกความจริงตีเข้าแสกหน้าว่า ถ้าปล่อยตัว เองให้สะสมเงินด้วยอัตราเท่านี้ต่อไป เธอจะมีเงินไม่พอใช้ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เมื่อเริ่มตระหนักว่าเรื่องบางอย่างในชีวิต รอให้แก่แล้วเริ่มต้นคงไม่ได้ เธอก็อยาก ตะโกนบอกหนุ่มสาววัยน้อยกว่าเธอแทบขาดใจ แผนสร้างความมั่นคงของชีวิตจากวันนี้จนถึงวันสุดท้าย ต้องเริ่มสร้างตั้งแต่วันนี้ถึงจะทัน

ข้ อ ได้ เ ปรี ย บของมนุ ษ ย์ ข้อได้เปรียบที่มนุษย์มีเหนือสัตว์ทั้งโลกข้อสำคัญ คือการรู้จักวางแผนล่วงหน้า เราสามารถสร้างแผนปฏิบัติงานในแท่นขุดเจาะน้ำมัน วางแผนท่องเที่ยวในยุโรป สิบห้าวันสามประเทศ หลอกเพื่อนมาเซอร์ไพรส์ในปาร์ตี้วันเกิด จัดงานแต่งงานหรูเลิศที่มี แขกมาร่วมงานเป็นพัน เราวางแผนล่วงหน้าทุกเรือ่ งเก่งมาก แต่ยากแสนยากถ้าให้เราวางแผนการเงินของตัวเอง อาจเพราะยังนึกภาพตัวเองในวันนัน้ ไม่ออก สัญชาตญาณต่อสูเ้ พือ่ เอาตัวรอดจึงยังไม่เกิด มันต้องอาศัยจินตนาการอย่างร้าย จึงจะเห็นภาพในอนาคตไกลลิบได้ ว่าตัวเองจะมี เงินใช้ไปไม่ถึงวันสุดท้ายของชีวิต วิธีเดียวที่จะเรียกอะดรีนาลินของเราให้ทำงาน นอกเหนือจากจินตนาการแล้ว คือการ เรียนรู้จากความผิดพลาดของคนที่ล่วงหน้าเราไปก่อน 11

7/10/12 7:29:47 PM


• เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไร •

• มี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต •

ผลสำรวจชาวอเมริกัน พบว่าคนทำงานที่เข้าสู่วัยเกษียณจำนวนมาก ยอมรับอย่างเจ็บ ปวดว่าตัวเอง “พลาด” ในการวางแผนการเงิน มาดูวา่ ความผิดพลาดของ “คนรุน่ พ่อแม่” มีอะไรบ้าง และมีขอ้ ไหนบ้างทีต่ รงกับชีวติ เรา

ไม่เตรียมตัวกับเซอร์ไพรส์ - พวกเขาไม่เคยหยุดคิดว่าถ้าจู่ๆ ต้องออกจากงานแล้วจะ ทำอย่างไร ส่วนใหญ่มักช็อคและรับไม่ได้เมื่อต้องอยู่กับรายได้ที่น้อยลงกว่าเดิม ไม่สนใจเงินเฟ้อ - พวกเขานึกไม่ออกว่าเงินที่สะสมไว้จะลดค่าลงเพียงไหนถ้าเจออิทธิ ฤทธิ์เงินเฟ้อ คิดว่าเงินบาทหนึ่งก็มีค่าบาทหนึ่งตลอดไป ไม่คิดว่าต้องเพิ่มค่าเงินให้ได้จน ชนะอัตราเงินเฟ้อ ไม่คิดว่าตัวเองจะเป็นม่าย - ผู้ที่พึ่งพาคู่ชีวิตในทางการเงิน มักหลอกตัวเองว่าอีกฝ่าย จะอยู่กับตนจนสิ้นอายุขัย ไม่เตรียมการเผื่อไว้สำหรับการจากไปกะทันหันหรือการหย่าร้าง ที่อาจเกิดขึ้น

ความผิ ด พลาดที่ เ รี ย นรู้ ไ ด้

ท็อปเท็นความผิดพลาดสิบประการในวัยหนุ่มสาว ที่ส่งผลให้อเมริกันชนในวัยชรา ต้องตกอยู่ในสถานะ “มีเงินไม่พอใช้จนวันสุดท้ายของชีวิต” เก็บเงินน้อยไป - พวกเขาไม่ชอบคิดเรื่องเงิน ไม่เคยประมาณการว่าพวกเขาต้องใช้ เงินหลังออกจากงานเป็นจำนวนเท่าใด และถึงแม้จะเคยคำนวณดูอย่างเสียไม่ ได้ ก็มัก คำนวณได้ตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ไม่เผื่อใจว่าวันรีไทร์อาจมาถึงก่อนกำหนด - หลายคนคิดว่าตนจะทำงานมีรายได้ไป เรื่อยๆ แต่พอถึงเวลาจริงๆ กลับมีเหตุจำเป็นให้ต้องออกจากงานเร็วกว่าที่คิดไว้ ยิ่งรีไทร์ เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งรับมือได้ยากเท่านั้น เผื่อวันตายเร็วเกินไป - พวกเขาชอบคิดสั้นๆ ว่าตัวเองจะอยู่ไม่เกินอายุ 60-70 ปี

ลืมว่าคนเราแก่ง่ายตายยากขึ้นทุกวัน ไม่คิดว่าตัวเองจะป่วยเรื้อรัง - ส่วนมากมักวาดภาพง่ายๆ ว่าตัวเองจะแก่แล้วตายเลย เป็นเหตุให้ไม่ได้วางแผนเผื่อไว้สำหรับโรคเรื้อรัง ลืมเตรียมการไว้สำหรับการรักษาพยาบาล แบบมาราธอน ชอบบำเหน็จมากกว่าบำนาญ - แม้จะได้วางแผนสะสมเงินมาดีจนมีเงินก้อนใหญ่

ในบั้ น ปลายชี วิ ต แต่ ถ้ า ให้ เ ลื อ กวิ ธี รั บ ผลประโยชน์ พวกเขายั ง ชอบรั บ เงิ น ก้ อ นใหญ่

ก้อนเดียวมากกว่าการรับบำนาญไปเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาการนำเงินก้อนสุดท้ายไป ลงทุนผิดวิธี หรือมีเหตุให้ต้องใช้จนหมด ไม่สนใจเรื่องลงทุน - พวกเขาร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยความจำใจ ไม่รู้ราย ละเอียดด้วยซ้ำว่าถูกหักเงินไปทำอะไร ไม่ค่อยสนใจว่าทำอย่างไรจึงจะประหยัดภาษี และ ไม่มีความรู้เรื่องการลงทุน เชื่อสิ่งที่บอกต่อๆ กันมา - พวกเขาชอบสนทนามากกว่าการอ่าน และมีแนวโน้มจะ เชื่อตาม “เขาเล่าว่า” มากกว่าจะตัดสินใจด้วยตัวเอง 12

aw 1-89.indd 12-13

คนไทยกั บ ทั ศ นคติ เ รื่ อ งเงิ น

ย้อนกลับไปในปี 2549 บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด

หรือ AIA เปิดเผยตัวเลขดัชนีไลฟ์-แมทเทอร์ส ผลสำรวจระดับภูมิภาคประจำปีโดยบริษัท

ผู้ให้บริการวิจัยข้อมูลทางการตลาดชั้นนำชื่อทีเอ็นเอส หลังทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 4 ประเทศ ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ประเทศละ 1,000 คน ผลสำรวจเผยว่า คนไทยส่วนใหญ่ต้องการเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี และคนไทยจำนวน มากถึงร้อยละ 61 เชื่อว่าพวกเขาจะมีเงินเพียงพอสำหรับวัยเกษียณจากวิธีการออมเงิน

ในปัจจุบัน ผูส้ ำรวจเสนอความคิดว่า คนไทยมองโลกในแง่ดมี าก เพราะคนฮ่องกงทีเ่ ชือ่ ว่าจะมีเงิน เพียงพอสำหรับวัยเกษียณมีเพียงร้อยละ 24 มาเลเซียร้อยละ 47 และสิงคโปร์ร้อยละ 27 และคนไทยยังมองโลกในแง่ดีกว่านั้น พวกเขาคิดว่าเงินออมประมาณ 2 ล้านบาท ก็น่า จะเพียงพอแล้วสำหรับค่าใช้จ่ายหลังการเกษียณ ขณะที่ข้อมูลสำนักนโยบายการเก็บออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังประเมินไว้ว่า ระดับรายได้ที่พอเพียงในวัยเกษียณควรจะอยู่ในระดับ

ร้อยละ 50 ของเงินเดือนสุดท้ายของบุคคลนั้นๆ ตลอดช่วงอายุเกษียณ ดังนั้นหากบุคคลใดมีเงินเดือนสุดท้ายของการทำงานเดือนละ 30,000 บาท บุคคลนั้น ก็ควรจะมีรายได้หลังเกษียณเดือนละ 15,000 บาทไปตลอดชีวิต (หรือจนกระทั่งอายุ 80 ปี) หมายความว่าในกรณีนี้ เขาต้องมีเงินออมอย่างน้อยที่สุด 3.6 ล้านบาทจึงจะพอ 13

7/10/12 7:29:48 PM


• เขาใช้ เ งิ น กั น อย่ า งไร •

มองโลกในแง่ ดี (ไปไหม) เจ้าของผลสำรวจนี้แสดงความคิดเห็นว่า การมองโลกในแง่ดีที่คลาดเคลื่อนไปจาก ความเป็นจริงของคนไทย อาจทำให้ขาดการเตรียมความพร้อมทางการเงินที่รัดกุมเพียงพอ คนไทยมองโลกในแง่ดีจนน่ากังวลใจ แม้แต่ตัวเลขจำนวนเงินที่ต้องใช้ในยามเจ็บป่วย คนไทยก็ประมาณเอาไว้น้อยมาก คนไทยคิดว่า จำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต รวมถึงค่ารักษาพยาบาล อาการเจ็บป่วยที่รุนแรงอยู่ที่ 351,429 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยอย่างน่าตกใจเมื่อเทียบกับ กลุ่มตัวอย่างในประเทศอื่นๆ คนไทยคิดแบบนี้ ทั้งที่ พวกเราร้อยละ 84 ไม่มีการทำประกันความคุ้มครองด้าน ค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณ ทว่าแม้ตัวเลขที่คาดเดาไว้จะน้อยไปขนาดนี้ คนไทยร้อยละ 59 ก็ยังไม่มั่นใจอยู่ดี ว่าตัวเองจะดูแลตัวเองได้ พวกเราไม่แน่ใจว่าจะมีเงินเพียงพอสำหรับค่ารักษาพยาบาล อย่างต่อเนื่องได้เกิน 10 ปีหากเจ็บป่วยเรื้อรัง ผลสำรวจยังบอกว่า ในกรณีที่ไม่มกี ารคุม้ ครองเรือ่ งของรายได้และเงินเดือน ถ้าคนไทย ต้องเจ็บป่วยรุนแรง ร้อยละ 28 ของกลุ่มตัวอย่างจะหมดเงินทุนภายในระยะเวลา 12 เดือน

Do You Know?

ผลสำรวจปี 2551 ของบริษัทกรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิตจำกัดพบอีกว่า คนไทยมองโลกในแง่บวกเป็นอันดับ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับชาติอื่น 26 ชาติ และยังติดอันดับ 1 ของการมองมาตรฐานชีวิตว่าจะดีขึ้นหลังเกษียณอายุ ในความเป็นจริง ผู้เกษียณที่มีรายได้น้อย จะมีคุณภาพชิวิตต่ำลง 40% 14

aw 1-89.indd 14-15

• มี เ งิ น ใช้ ต ลอดชี วิ ต •

บทที่ 2

รอถึงวันสุดท้ายก็สายแล้ว อั น ตรายของการไร้ เ สบี ย ง ลินลา เพิ่งรู้ซึ้งถึงนิยามของคำว่า “มืดแปดด้าน” ในวันที่เธออายุ 50 ปี มันเหมือนเธอกำลังพยายามปีนเขาลูกหนึ่งมาตลอดชีวิต เริ่มต้นอย่างมุ่งมั่น เร่งฝีเท้า อย่างเมามัน สุดท้ายเธอมาถึงยอด แล้วพบว่าข้างบนไม่มีวิวทิวทัศน์สวยงามอย่างที่เคยคิด เรี่ยวแรงเริ่มไม่เต็มร้อย พระอาทิตย์กำลังจะตก ความมืดกำลังจะมาถึง แหงนมองฟ้า เห็นเมฆฝนทะมึน มองดูทางลงยังขรุขระเต็มไปด้วยขวากหนาม เธอไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากต้องเดินลงไปทั้งๆ ที่ไม่พร้อม สาเหตุที่เลือกไม่ได้ เพราะเธอไม่ได้เตรียมเสบียงไว้เลย! สาวใหญ่มาถึงทางตันในอาชีพ เธอถูกขอร้องให้ออกจากงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายของ บริษัท แม้จะได้รับเงินชดเชยมาก้อนใหญ่ แต่ด้วยภาระทางบ้านที่ต้องแบกรับไว้มากมาย ถ้าถามว่าเงินก้อนนี้จะใช้ไปได้นานแค่ไหน เธอตอบตัวเองไม่ได้จริงๆ เพราะไม่เคยคาดหมายชีวิตล่วงหน้า ลินลาจึงไม่เคยนึกถึง “ขาลง” มาก่อน เงินเดือน ออกเมื่อไหร่ เธอจึงซื้อทุกอย่างที่อยากใช้ จ่ายทุกอย่างที่อยากมี เธอไม่เคยนึกถึงวันตกงาน ไม่เคยตระเตรียมเงินทองไว้ในวันอ่อนล้า ไม่เคยเสียเวลา เรียนรู้เรื่องการลงทุน คำว่าเกษียณก่อนกำหนดไม่เคยอยู่ในความคิด บั้นปลายชีวิตทำไม ต้องมีเงินมากมาย 15

7/10/12 7:29:52 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.