ทำไมคุณยังอยู่ตรงนี้

Page 1

• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

อิสรภาพที่ใช่ รายได้ที่ปรารถนา

อมิตา อริยอัชฌา 1


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

ชื่อหนังสือ : อิสรภาพที่ใช่ รายได้ที่ปรารถนา ผู้เขียน : อมิตา อริยอัชฌา blissinessbookhouse@gmail.com เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-348-060-6 ราคา : 185 บาท พิมพ์ครั้งที่ 1 : ตุลาคม 2556

บรรณาธิการ : อริยา จินตพานิชการ กองบรรณาธิการ : ฉัตรพร พิมลสิงห์ ออกแบบ : ก้องเกียรติ ดำรงกีรติกุล ออกแบบปก : อริยา จินตพานิชการ c สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จัดทำโดย : อริยา จินตพานิชการ 59/46 ม.4 ซอยนาคนิวาส 48 แยก 14-4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ : 081-935-9322, 0-2932-9549 พิมพ์ : ภาพพิมพ์ 296 ซ.อรุณอมรินทร์ 30 บางพลัด กรุงเทพฯ โทร. 0-2433-0026-7 จัดจำหน่าย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : 0-2739-8000 โทรสาร : 0-2739-8356-9 http://www.se-ed.com 2


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

เกี่ ย วกั บ ผู้ เ ขี ย น อมิตา อริยอัชฌา

มีผลงานเขียนหนังสือมาแล้วมากกว่า 30 ชื่อเรื่อง ในหลากหลายประเภท ตั้งแต่ชีวประวัติ พัฒนาตนเอง สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ ธุรกิจ จิตวิทยา การตลาด และการเงิน อาทิ “ต้องเท่าไหร่ถึงจะพอ” “เพิ่มรายได้หลายกระเปาเงิน” “คุณเปลี่ยนได้” “ธุรกิจของฉัน” “คู่มือเก็บเงิน” “คู่มือปลดหนี้” รวมถึง “เขาเก็บเงินกันอย่างไรได้เป็นล้าน” และ “เขาใช้เงินกันอย่างไรมีเงินใช้ตลอดชีวิต” ติดตามข่าวสารได้ที่ www.amitaariyaatcha.com

3


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

คำนำ เป็นไปได้ด้วยหรือ ที่คนเราจะมี “อิสรภาพที่ใช่ รายได้ที่ปรารถนา” ที่ได้มา ด้วย “ชั่วโมงทำงานที่น้อยลง” ขอตอบว่าไม่เพียงเป็นไปได้ แต่ผเู้ ขียนคือข้อพิสจู น์มชี วี ติ ของ “อิสรภาพทีใ่ ช่ รายได้ปรารถนา” นี้ด้วยตัวเอง เพราะได้โบกมือลางานประจำ มาทำสิ่งที่ตัวเอง ตั้งเป้าหมายจนครบได้ 8 ปีเต็มๆ แล้ว แม้งานประจำที่ผู้เขียนทำจะเป็นงานที่ดีมาก อาจเป็นงานที่ค่อนข้างเหนื่อย ยากแต่ก็มีความสุข ทำด้วยความสนุกไม่เคยรู้สึกเบื่อเลย แต่เมื่อชีวิตดำเนินมา ถึงจุดหนึ่งของชีวิต ความคิดที่จะแสวงหาสิ่งที่ใช่ มีความหมายต่อชีวิตส่วนที่ เหลือมากกว่า ก็บังเกิดขึ้นมาเองโดยสัญชาตญาณ อาจจะไม่ได้วางแผนการละเอียดลออยาวนานเหมือน “นักแหกคอกกั้น” หลายคนในหนังสือเล่มนี้ แต่ทุกอย่างก็ดำเนินไปด้วยดี ดีจนเกินกว่าที่ผู้เขียน ได้คาดหวังไว้เสียอีก ผู้เขียนสามารถมี “อิสรภาพที่ใช่ รายได้ที่ปรารถนา” ที่ได้มาด้วย “ชั่วโมง ทำงานที่เลือกกำหนดเองได้” และเมื่อมองย้อนกลับไป ผู้เขียนก็ไม่เคยเสียดายที่ได้ลงมือทำ หนัง สือ เล่ มนี้ ไม่ ได้เขียนขึ้นเพื่อต่อต้านการทำงานในระบบ เพราะการ ทำงานในองค์กรใหญ่ให้อะไรกับผู้เขียนเหลือล้น แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงวัยหนึ่งของ ชีวิต เชื่อว่าหลายคนก็คงเกิดความคิดว่า “เราต้องการอะไรจากชีวิตช่วงต่อไป ของเรากันแน่” ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังตั้งคำถามกับตัวเองอย่างนั้น บางทีคุณอาจมาถึง วันที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงแล้วก็ได้ 4


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

แต่ ก่ อ นที่ คุ ณ จะเปลี่ ย นแปลงอะไรใหญ่ ๆ ขอให้ เ ริ่ ม จากการนิ ย าม “ความ สำเร็จ” ตามความหมายของคุณก่อน เพราะถ้า “ความสำเร็จ” ของคุณคือการมี เงินเดือนมากกว่าใครๆ หรือได้ทำงานในตำแหน่งสูงสุดขององค์กร หนังสือเล่มนี้ ย่อมไม่ให้คำตอบที่โดนใจกับคุณแน่ แต่หากนิยาม “ความสำเร็จ” ของเราตรงกัน คือมองว่ามันคือ “อิสรภาพที่จะ เลือกใช้ชีวิตอย่างที่ปรารถนา” ผู้เขียนก็ขอยืนยันว่า เรามาทางเดียวกันแล้ว ถามว่า “รายได้ที่ปรารถนา” หมายถึงตัวเลขเท่าไหร่ ผู้เขียนคงไม่มีวันระบุ แทนใครได้ มากน้อยของแต่ละคนขึ้นอยู่กับเป้าหมาย แต่คุณสามารถไปถึงได้ด้วย หลักการเดียวกัน ถ้าจะถามถึงประโยคเดียวที่อธิบายแนวคิดของหนังสือเล่มนี้ได้ ผู้เขียนว่าวาทะ โดนใจของเนลสัน แมนเดลา ตอบได้ดีที่สุด “Money won’t create success, the freedom to make it will” เงินนั้นตัวมันเองไม่สามารถสร้างความสำเร็จได้ แต่อิสรภาพที่จะหาเงินได้นั่น ต่างหากที่สามารถ อ่านหนังสือเล่มนี้จบ ผู้เขียนขอให้คุณได้พบแรงบันดาลใจที่จะสร้าง “อิสรภาพ ทีใ่ ช่ รายได้ที่ปรารถนา” ด้วยตัวคุณเองจนสำเร็จ ก็ ใ นเมื่ อ มี ผู้ คนจำนวนมหาศาลในโลกนี้ที่ทำสิ่ ง นี้ ไ ด้ แล้ ว เหตุ ใ ดหนึ่ ง ในคน จำนวนนี้ถึงจะไม่เป็นคุณ อ มิ ต า อ ริ ย อั ช ฌ า 5


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

สารบั ญ บทที่ 1 ทำไมคุณยังอยู่ตรงนี้ บทที่ 2 ความสำเร็จที่ว่างเปล่า บทที่ 3 งานที่ไม่ใช่ ใจที่ไม่ชอบ บทที่ 4 ปราชัยให้กับความแน่นอน บทที่ 5 รับมือกับความกลัวของตัวคุณ บทที่ 6 ฉีกกรอบความคิดแบบลูกจ้าง บทที่ 7 คุณจ่ายเท่าไหร่เพื่อให้ ได้เงินเดือน บทที่ 8 คุณต้องจ่ายตัวเองก่อน บทที่ 9 อิสรภาพที่ใช่ รายได้ที่ชอบ บทที่ 10 ดีไซน์ชีวิตที่ต้องการ บทที่ 11 ใส่ยางยืดให้งานประจำ

6

หน้า 9 16 24 31 40 47 53 65 73 79 88


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

บทที่ 12 ต่อรองชั่วโมงทำงาน บทที่ 13 ออกแบบรายได้สไตล์ Slashers บทที่ 14 ค้นหาดาวดวงหลักของคุณ บทที่ 15 บินเดี่ยวเที่ยวโลกกว้าง บทที่ 16 ค้นจุดแข็งสร้างจุดขาย บทที่ 17 ธุรกิจสู่อิสรภาพ บทที่ 18 สร้างดาวบริวารของคุณ บทที่ 19 เว็บไซต์คือทุกสิ่ง บทที่ 20 ออนไลน์ให้ได้เงิน บทที่ 21 ทบทวนอีกทีก่อนดีเดย์ บทที่ 22 จ่ายเงินเดือนให้ตัวเอง บทที่ 23 ตามติดชีวิตนีน่า 7

96 104 113 126 134 143 153 162 170 181 190 199


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

“ผมคิดขึ้นมาได้วันนี้ ตอนที่นั่งอยู่ในคอกทำงาน ว่าตั้งแต่เริ่มทำงานมา ชีวิตผมก็แย่ลงทุกวันๆ นั่นแปลว่า ทุกวันที่คุณเจอผม มันคือวันที่แย่ที่สุดในชีวิตผม” -ปี เ ตอร์ กิ บ บอน จากภาพยนตร์ “Office Space”-

8


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

บทที่ 1

ทำไมคุณยังอยู่ตรงนี้ แฟนตาซีที่ไร้ฉากจบ

8.57 น. วันจันทร์ วันที่คุณทำงานประจำมาครบ 14 ปี คุณยืนใจเต้นรัวอยู่ ในลิฟท์สำนักงาน ล้อมรอบด้วยเหล่า “มนุษ ย์คอกกั้น”

ที่ยืนอัดกันเต็มพื้นที่ ทุกคนมองดูนาฬิการาวกับจะทำให้มันเดินช้าลงสักห้านาที ขณะที่ คุ ณ ไม่สนใจ ตาของคุณจ้องดูแต่แสงไฟที่ ก ะพริ บ บอกหมายเลขชั้ น

จนมันมาหยุดอยู่ที่เลข 22 คุณสูดลมหายใจเข้าเต็มปอด ขณะที่ประตูลิฟท์เปิดออกช้าๆ เท้าในรองเท้าส้น สูงของคุณก้าวออกไปข้างหน้า แล้วจ้ำฝ่าฝูงคน ตรงไปผลักประตูกระจกสำนักงาน คุณเดินผ่าน “คอกกั้น” ที่ตั้งเรียงราย ไม่ฟังเสียงทักทายของเด็กส่งเอกสาร และแม่บ้านเหมือนเคย สายตาคุณจับอยู่ที่จุดหมาย นั่นคือประตูห้องเจ้านายของ คุณเอง คุณผลักกระจกเข้าไป ล้วงซองสีขาวที่เตรียมไว้ออกมาจากกระเป๋าถือ ก่อน กระแทกมันลงบนโต๊ะมันวับตัวใหญ่ คุณสบตาที่ตื่นตะลึงของเจ้านาย แล้วพูดเน้น เสียงทีละพยางค์ว่า “ฉัน-ลา-ออก” 9


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

ระหว่างที่เขายังตาค้าง คุณยิ้มสะใจ แล้วหมุนร่างผลักประตูเดินฉับๆ ออกไป เพื่อนร่วมงานลุกพรึ่บจากคอกกั้นที่ตั้งเรียงราย แล้วมองคุณด้วยสายตานับถือ คุณโบกมือให้ทุกคน พร้อมส่งยิ้มเศร้าที่เปี่ยมด้วยความเห็นใจ แต่ก็ช่วยไม่ได้ ใครไม่กล้าพอที่จะทำ ก็สมควรถูกจองจำอย่างที่เป็นอยู่ “ตกลงจะออกไหมครับพี่” เสียงที่กรอกข้างหูเล่นเอาคุณสะดุ้งสุดตัว ภวังค์ บรรเจิดของคุณหายวับ ขณะที่รีบขยับตัวตามเหล่า “มนุษย์คอกกั้น” ที่พากันดัน คุณออกมาจากลิฟท์ แล้วกรูกันเข้าไปตอกบัตรหน้าออฟฟิศ จินตนาการของคุณมาถึงฉากสุดท้าย เมื่อคุณมองทะลุประตูกระจกใส เห็นเจ้า นายกำลังหัวเสียใส่ผู้จัดการฝ่ายขายด้วยสีหน้าถมึงทึง แฟนตาซีประจำวันจันทร์ของคุณถูกตัดจบแบบห้วนๆ เหมือนที่เกิดมาแล้วนับ ร้อยครั้ง และเชื่อว่าจะยังเกิดซ้ำๆ ตลอดไป ตราบใดที่มันยังเป็นแค่แฟนตาซี

เสียงร่ำร้องจากสมองสับสน

“แล้วทำไมฉันยังอยู่ตรงนี้ ในเมื่อฉันก็รู้ว่านี่ไม่ใช่ชีวิตที่ใช่ แล้วทำไมฉันไม่กล้า ก้าวออกไป จากที่ๆ ฉันไม่อยากอยู่” ไม่ เ พี ย งคุ ณ ที่ ไ ด้ ยิ น เสี ย งร่ ำ ร้ อ งจากสมองที่ สั บ สนของตั ว เอง เชื่ อ เถอะว่ า “มนุษย์คอกกั้น” ไม่ต่ำกว่า 80% ที่ร่วมลิฟท์กับคุณนั้น ต่างได้ยินเสียงตัวเองรำ พันพร้อมๆ กับคุณ แดเนียล กัลเลติ ผู้เขียนหนังสือ “Passion&Purpose : Stories from the Best and Brightest Young Business Leaders” บอกว่า มนุษย์เงินเดือนที่ไร้ความสุข กับงานประจำมีจำนวนมากถึง 80% และใน 80% ที่ว่านั้น มีไม่กี่คนเท่านั้น ที่กล้าปลุกตัวเองจากฝันกลางวัน แล้ว ลงมือทำตามความต้องการของตัวเอง 10


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

ที่น่าตกใจยิ่งกว่า สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ยังยอมทนทำงานที่ไม่ใช่ ไม่ได้กลัว ความเสี่ยงว่าจะหางานใหม่ไม่ได้ ตรงกันข้าม คนที่กลัวจะหางานทำไม่ได้กลับ มีจำนวนไม่มากนัก วิน ทนายความงานล้นมือ ลังเลที่จะลาออกจากงานบริษัทที่เขารู้สึกว่าไม่ใช่ ทั้งที่มีคนเสนองานใหม่ให้ครั้งแล้วครั้งเล่า แตน มืออาชีพฝ่ายการตลาด ผู้เก่งกาจในการวางกลยุทธ์โปรโมทสินค้าใหม่ ยังคงหยุดอยู่กับงานประจำที่เธอก็รู้ว่าไม่ใช่ ทั้งที่ใครๆ ก็ออกปากอยากให้เธอ ตั้งบริษัทเอง ทำไมพวกเขายังไม่ไป ทำไมยังยอมอยู่ตรงนี้ ทั้งที่รู้ตัวว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่พวก เขาต้องการ นั่นสิ ทำไมพวกเขายังอยู่ที่นี่ ทำไมไม่ออกไปจากที่ๆ พวกเขาไม่อยากอยู่

ฉันยังไม่ได้ลาออก

แดเนียล กัลเลติ เล่าว่าครั้งหนึ่งเขาเคยพบกับซูซาน สาวน้อยแห่งคอกกั้นผู้ บอกกับเขาอย่างจริงจังว่า “ฉันกำลังจะลาออก” เธอขอโบกมือลางานวาณิช ธุรกิจที่แสนจะน่าหน่าย เพื่อไปทำงานการกุศลที่เธอฝันไว้มาตลอดชีวิต แดเนียลเจอซูซานอีกครั้งเมื่อหนึ่งปีผ่านไป เขาจึงรีบถามเธอถึงงานใหม่ว่า เป็นอย่างไรบ้าง แต่คำตอบที่หลุดจากปากซูซานเล่นเอาอึ้ง “ฉันยังไม่ได้ลา ออกเลย” จนอีกหนึ่งปีผ่านไป แดเนียลเจอซูซานรอบใหม่ เธอก็ยังคงตอบว่า “ฉันยัง ไม่ได้ลาออก” สามปีผ่านไป ซูซานยังคงทำงานที่ “ไม่ใช่” ในที่เดิม ตำแหน่งเดิม สิ่งเดียว ที่ไม่เหมือนเดิม คือซูซานรู้สึกแย่กว่าเดิมกับงานที่ทำอยู่ คุณว่าอะไรหนอที่ฉุดรั้งซูซานเอาไว้ เหตุใดหนอที่ทำให้เธอก้าวออกมาไม่ได้ 11


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

ใครกันหนอที่ทำให้เธอยอมรู้สึกแย่ๆ ต่อไปในคอกกั้น แดเนียลเผยความจริงที่น่าตกใจ ไม่มี “อะไร” “เหตุใด” “ใคร” ที่กีดขวาง

ซูซานไว้จากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ทว่ากำแพงมหึมาขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบ

ตัวเธอเอาไว้ คือ ตัวของเธอเอง

ฉันทำชีวิตหายครึ่งหนึ่ง

ดีฟรา นอร์ลิ่ง รู้ตัวมาตั้งแต่อายุ 22 ปี ว่าสิ่งที่เธอต้องการที่สุดคือ วิถีการ ทำงานแบบอิสระ เธอเฝ้าจินตนาการเห็นภาพตัวเองว่า วันหนึ่งเธอจะได้ทำงานที่เธอชอบ คือ ทำงานกับเหล่าสรรพสัตว์ และได้ทำงานที่เธอรัก คือการเขียนหนังสือ “ฉันรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นหมุดสี่เหลี่ยมในรูกลมๆ ที่นี่ ไม่เหมาะกับฉันเลย ฉันไม่เคยมีความสุขกับทำงานเลย ไม่เคยรู้สึกว่ามันใช่เลย” แต่เธอปล่อยให้ “อิสรภาพ” เป็นแค่ความฝัน ขณะที่ยังคงดำรงชีวิตไปวันๆ แบบที่ตัวเองไม่ชอบ เธอโดดจากงานประจำงานหนึ่งไปสู่อีกงานหนึ่งตลอดเวลา หลายปี มารู้ตัวอีกทีมันก็ผ่านไป 18 ปีเต็มๆ สิบแปดปีกบั ชีวติ ทีไ่ ม่ใช่ สิบแปดปีทดี่ ฟี ราก้าวพ้นกำแพงคอกกัน้ ออกไปไม่ได้เสียที จนเมื่อสองปีมานี้ ที่เธอรู้สึกหมดไฟเกินจะทนต่อ ดีฟรามองดูตัวเองในกระจก ตรงหน้า แล้วยอมรับกับตัวเองว่า การเปลีย่ นทีท่ ำงานไม่ใช่วธิ แี ก้ปญั หาอีกต่อไปแล้ว เธอไม่มีวันเจอชีวิตที่ใช่ ถ้าเธอยังหลบอยู่หลังกำแพงใหญ่ที่เธอสร้างมันขึ้นเอง “ฉันบอกตัวเองให้เผชิญหน้ากับมันได้แล้ว ฉันบอกตัวเองว่าช่างปะไร ต่อให้ฉัน หาเงินได้ไม่เท่าเงินเดือนที่เคยได้ ก็แค่รับมันให้ได้ ก็จบ” กว่าทีเ่ ธอจะทลายกำแพงนีไ้ ด้ อายุของดีฟราก็ยา่ งเข้าเลขสี่ แต่ ณ จุดนีก้ ย็ งั ไม่สาย อย่างเดียวที่เธอแอบเสียดาย “ฉันทำชีวิตตัวเองหายไปแล้วครึ่งหนึ่ง” 12


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

ชีวิตที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง

วิ นาที ที่ ดี ฟ ราตกลงกั บ ตั ว เองได้ ว่ า เธอจะขอลาออกจาก “ชี วิ ต ที่ ไ ม่ ใ ช่ ” แน่นอนแล้ว “ฉันรู้สึกโล่งใจ เหมือนยกภูเขาทั้งลูกออกจากอกเลย เชื่อไหมว่าเป็นครั้งแรกใน ชีวิตตั้งแต่เริ่มทำงาน ที่ฉันนอนหลับสบายรวดเดียว 12 ชั่วโมงเต็ม” นี่คือการหลับสนิทที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ของผู้หญิงที่เข้านอนพร้อมกับความ ลังเลตลอดหลายสิบปี มิหนำซ้ำวันรุ่งขึ้นเธอยังตื่นขึ้นมา พบว่าวิวนอกหน้าต่างห้องนอนสดใสขึ้นมาก โลกทั้งโลกดูเปลี่ยนไป ท้องฟ้าดูแจ่มใสต่างไปจากทุกเช้า นาทีนี้หัวใจของเธอไม่ว่างเปล่า แต่มันอัดแน่นไปด้วยพลังใหม่ๆ อย่างที่เธอไม่ เคยรู้สึกได้มาหลายสิบปีแล้ว นี่คือพลังแห่ง “อิสรภาพ” ที่เธอโหยหา ทำให้มีแรงจะก้าวต่อไปข้างหน้า แม้ ถนนสายนี้จะขรุขระ เธอก็คิดว่าตัวเองรับมันไหว “อย่างน้อยที่สุดฉันก็มั่นใจ ว่าตัวเองจะไม่ต้องตื่นขึ้นมาตอนอายุหกสิบห้า แล้ว พบว่าตัวเองเสียเวลาไปอีกยี่สิบห้าปี”

คุณกลัวอะไรกันแน่

คุณล่ะ เป็นอย่างดีฟราหรือเปล่า ตื่นขึ้นมาเมื่ออายุย่างเลขสี่หรือห้า และพบว่า คุณได้สูญเสียเวลาชีวิตไปหลายสิบปีแล้ว คุณมีความสุขจริงๆ กับงานที่คุณรู้สึกว่าใช่ หรือที่คุณยังทำมันต่อไป ก็เพราะ คุณกลัวอะไรบางอย่าง “เหตุผลใหญ่ที่สุดที่ทำให้ผู้คนยอมทนทำงานที่ตัวเองไม่ชอบ ไม่ใช่ความกลัวที่ จะหางานทำไม่ได้ แต่เพราะกลัวที่จะมีชีวิตต่อไปบนความไม่แน่นอน” 13


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

คือบทสรุปของ ฌอน โอเกิล ผู้ตัดสินใจอำลาความแน่นอนในวงการการเงินมา อาศัยอยู่ในเมืองไทย และทำธุรกิจที่ปรึกษาเว็บไซต์เลี้ยงชีพแบบชิลๆ “พวกเขาไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตต่อไป ก็เลยขอทนยอมอยู่กับความ ปลอดภัยต่อไปก่อนอีกนิด” ความปลอดภัยที่ทำให้หลายคนอารมณ์เสียคืนวันอาทิตย์ เหมือนเวลาแห่ง ความสุขเล็กน้อยในชีวิตกำลังจะนับถอยหลัง ความปลอดภัยที่ทำให้หลายคนผวาตื่นตอนตีสาม และใจลอยถึงงานจนลืมฟัง ลูกเล่าปัญหาที่โรงเรียน ความปลอดภัยที่ทำให้หลายคนยอมฝ่ารถติดไปทำงาน นั่งจ้องเพดานรอว่าเมื่อ ไหร่จะพักเที่ยง เฝ้าลุ้นเงินเดือนปลายปี และหัวเสียสิ้นดีที่พบว่าได้เงินเดือนขึ้น น้อยกว่าเด็กใหม่ ความปลอดภัยที่ทำให้หลายคนต้องทนอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ของเจ้านาย และ พยายามขุดค้นหาความท้าทายในงานที่ไม่ท้าทายสักนิด ความปลอดภัยที่ทำให้หลายคนอยากสับสวิทช์ คำว่า “ฉันจะลาออก” ผุดขึ้น มาในความคิดเป็นครั้งที่ 85 และทำให้หลายคนปรามตัวเองเป็นครั้งที่ 85 “เรื่อง อะไรจะทิ้งงานดีๆ กำลังก้าวหน้า ฉันนี่มันคิดอะไรบ้าๆ แท้ๆ” แต่พวกเขาอาจไม่รู้ว่า คนอื่นที่ดูเหมือนกำลังก้าวหน้า กำลังคว้าความสำเร็จ กำลังเป็นดาวรุ่ง กำลังพุ่งสุดๆ อีกหลายคน ก็กำลังแอบซ่อนความลับคับอก ที่ อยากจะบอกโลกแต่ไม่กล้าปริปาก พวกเขาก็อยากลาออกจากงานเหมือนกัน

14


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

“ถ้าเธอไม่ได้ทำงานด้วยความสุข แต่ทำด้วยใจฝืนทำ ก็จงเลิกทำมันเสียเถิด” -คาลิ ล ยิ บ ราน-

15


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

บทที่ 2

ความสำเร็จที่ว่างเปล่า ชีวิตนี้พลีเพื่อคนอื่น

ทินทำงานในบริษัทขนาดใหญ่มาครบ 9 ปีแล้ว ตำแหน่งการงานของเขา กำลังรุ่ง ดวงดาวการงานกำลังพุ่งเหมือนเดอะสตาร์ นอกเหนือจากตัวเลข เงินเดือนหกหลักที่ ได้มา เขายังได้ทั้งโบนัส คอมมิชชั่น และสวัสดิการ สารพันชนิด ทว่า “ความสำเร็จ” ที่ได้มา ทินต้องแลกด้วยเวลาเกือบค่อนชีวิต ทุกวันเขาต้องขับรถจากบ้านชานเมือง ขึ้นทางด่วนที่รถติดเป็นตังเม ไป กลับที่ทำงานวันละ 3 ชั่วโมง จากนั้นก็นั่งจ่อมอยู่หน้าจอในห้องทำงานไม่ต่ำกว่าวันละ 9 ชั่วโมง บาง ครั้งต้องประชุมงานมาราธอนอีก 3 ชั่วโมง ก่อนจบลงที่การพาลูกน้องไป เลี้ยงมื้อดึก บ่อยครั้งที่ต้องพาลูกค้าไปเลี้ยงรับรอง กว่าจะกลับมาถึงบ้านก็ตีหนึ่งตี สอง ไม่เคยพาลูกสาวเข้านอนทันเลยแม้แต่วันเดียว 16


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

เสาร์ ต้ อ งรี บ ตื่ น ไปออกรอบตี ก อล์ ฟ กั บ นาย บ่ า ยต้ อ งรี บ เคลี ย ร์ ง าน อาทิตย์ตื่นขึ้นมาร่างเอกสาร เพื่อที่วันจันทร์จะได้ทันเข้าประชุม 80% ของชีวิตทิน อุทิศให้กับการสร้างความเติบโตให้กิจการของเจ้า นาย เหลือ 20% ก็เพื่อพักผ่อน เช้ามาจะได้รีบผลุนผลันลุกจากที่นอน ขับ รถฝ่าการจราจรออกไปสร้างความเติบโตให้กับกิจการของเจ้านาย “ผมขายเวลาในชีวิต 80% แลกเงินเดือนที่จะนำมาใช้ ในช่วงเวลาที่ เหลือ 20% แต่สุดท้ายได้เงินมา มันก็ไม่ค่อยเหลือเวลาให้ใช้เลย”

ความสำเร็จที่ว่างเปล่า

ทินเหน็ดเหนื่อยเพื่อดำรง “ชีวิตที่ใช่” แต่ไม่รู้ว่าทำไม เขาจึงได้ยิน เสียงตัวเองร่ำร้องข้างในว่า “นี่มันไม่ใช่นะทิน” “บางอย่างในตัวผมบอกผมว่านี่มันไม่น่าจะใช่ เพราะถ้าสิ่งนี้คือความ สำเร็จ ทำไมผมถึงยังรู้สึกว่างเปล่า ทำไมผมยังรู้สึกพร่องอยู่ข้างใน เหมือน กำลังรอคอยอะไรบางอย่างที่มีความหมายมากกว่านี้” เรื่องนี้โทษทินไม่ได้ สูตรสำเร็จ “ตั้งใจเรียนให้จบปริญญา หางานดีๆ ทำให้ได้ พยายามเลือกองค์กรใหญ่ๆ ไต่เต้าไปเป็นผู้บริหาร รอวันเกษียณ อย่างปลอดภัย” ล้วนคือคาถาประจำใจเราทุกคนเหมือนทิน งานหนักคือเส้นทางสู่ความสำเร็จ ตำแหน่งสูงหมายถึงความสามารถสูง คนที่กำลังรุ่งต้องมีตารางงานรัดตัว ยิ่งเราเหนื่อย แปลว่าเราทำงานหนัก และถ้าเราทำงานหนัก เราก็จะประสบความสำเร็จ ปัญหาคือถ้า “งานหนักคือคำตอบของความสำเร็จ” แล้วทำไมเราถึงยัง ไม่รู้สึกว่าประสบความสำเร็จเสียที ถ้าสิ่งที่เราทำอยู่เป็นสิ่งที่ใช่ เหตุใดในหัวใจเราถึงยังว่างเปล่า 17


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

น้ำตา(ไม่)แก้ปัญหาใจ

“สิ่งที่รบกวนใจฉันที่สุดคือ ฉันไม่แคร์ในสิ่งที่ฉันทำวันละสิบสองชั่วโมงทุก วัน ฉันไม่รักมันเลย” ซาร์มา เมลเกลลิส รักการทำอาหารเป็นชีวิตจิตใจ อาจเพราะแม่ของเธอ เป็นแม่ครัวใหญ่ “การทำอาหารเป็นส่วนหนึ่งในตัวฉันมาตั้งแต่เด็ก” แต่ก็เหมือนหนุ่มสาวทั่วไป การทำอาหารไม่ใกล้เคียงกับอะไรที่จะทำให้ชีวิต ก้าวหน้า ใครๆ ก็มีปริญญาในสาขาที่ “เป็นเรื่องเป็นราว” ทั้งนั้น ซาร์มาเองก็ ไม่ต่างอะไรกัน เธอมุ่งหน้าเรียนจนจบปริญญาสองใบจากวาร์ตันและมหา วิทยาลัยเพนน์ซิลวาเนีย ด้วยพื้นหลังดีเลิศของการศึกษา ซาร์มาได้งานวาณิชธนกิจในองค์กรชั้นดี ตามที่เธอใฝ่ฝัน แต่ตลอดเวลาที่ทำงานในแบร์สเติร์นนั้น “ฉันต้องทำงานหนัก แบบสุดๆ ไปเลย” ซาร์มาทำงานเลิกดึกดื่นและแทบไม่มีวันหยุด แรกๆ ทุกโปรเจคท์นั้นแสน จะเร้าใจ ยิ่งต้องเข้าไปรับผิดชอบการตกลงเจรจาทางธุรกิจใหญ่ๆ เธอยิ่งตื่นเต้น เอามากๆ แต่สุดท้ายเธอต้องแบกรับความกดดันสูงลิบ เหนื่อยใจที่ต้องทำตัวเป็นมือ อาชีพตลอดเวลา ต่อหน้าผู้คนต้องดูปราดเปรื่องเฉียบคม ลับหลังกลับต้องแอบ ไประงับสติอารมณ์ในห้องน้ำคนเดียว ความจริงแสนเศร้าที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังงานท้าทาย “ฉันต้องแอบไปร้องไห้ที่ บันไดบ่อยๆ”

บางสิ่งยังคงขาดหาย

ซาร์มาใช้วิธีย้ายที่ทำงานสองสามครั้งเพื่อแก้ปัญหา แต่ถึงแม้เธอจะได้ย้าย ไปทำงานดีกว่าเดิมสักแค่ไหน สาวน้อยก็ยังรู้สึกว่ามีบางอย่างขาดหายอยู่ดี 18


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

จนวันหนึ่งพนักงานฝึกงานปรารภว่า “ผมเห็นคุณพูดเรื่องอาหารกับร้าน อาหารบ่อยมากๆ คุณน่าจะลองย้ายไปทำงานในวงการอาหารดูนะ งานนิตยสาร เกี่ยวกับอาหารก็ไม่เลว” เหมือนได้ยิน “เสียงสวรรค์” บัญชา ซาร์มาจำได้ว่าเธอถึงกับนิ่งอึ้ง ที่จู่ๆ ใครคนหนึ่งที่แทบไม่รู้จักกันดี กลับสามารถชี้ให้เธอเห็น “บางอย่างที่ขาดหาย” หนำซ้ำยังเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ แต่เธอกลับมองข้ามมันไปอย่างเหลือเชื่อ “ฉันตกใจที่เขาพูดถูกเผง แต่ตอนนั้นฉันเองเพิ่งทำสัญญาซื้ออพาร์ทเมนต์ มาหมาดๆ ฉันไม่สามารถที่จู่ๆ จะเดินออกมาได้ อารมณ์นั้นเล่นเอาฉันเกือบ ร้องไห้ ฉันเจอแล้วว่าอยากจะทำอะไร แต่ดันอยู่ในจังหวะที่ทำไม่ได้เสียอย่าง นั้น” ซาร์มายังคงก้มหน้าก้มตาทำงานประจำต่อไป แต่หัวใจของเธอไม่อยู่กับ งานอีกแล้ว “สิ่งที่รบกวนใจฉันที่สุดคือ ฉันไม่แคร์ในสิ่งที่ฉันทำวันละสิบสองชั่วโมงทุก วัน ฉันไม่รักมันเลย”

กับดักที่มองไม่เห็น

ทิมและซาร์มาเป็นเหมือนกระจกเงา ที่ช่วยสะท้อนภาพของพวกเราหลาย คน เราที่กำลังอดทนทำงานที่ ไม่ ใช่ เพราะเข้าใจว่า “งานดีๆ องค์กรดังๆ ตำแหน่งเด่นๆ เงินเดือนสูงๆ” คือความสำเร็จที่ตัวเองใฝ่หา หนุ่มสาวมืออาชีพที่การงานกำลังก้าวหน้า ผู้ซึ่งเริ่มรู้แล้วว่ากำลังทำสิ่งที่ไม่ รัก แต่กระนั้นพวกเขาก็ยังรักที่จะทนทำต่อไปเรื่อยๆ แดเนียล กัลเลติ ผู้เขียนหนังสือ “Passion&Purpose : Stories from the Best and Brightest Young Business Leaders” ก็ได้พบความจริงสามประการ ที่เป็นปัจจัยให้คนเหล่านี้ลาออกจากงานไม่สำเร็จ 19


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

หมกมุ่นอยู่กับรางวัล แดเนียลพูดถึงการทดลองอันโด่งดังของสกินเนอร์ เรื่องของหนูที่ต้องกดคาน เพื่อพิชิตอาหารในกล่อง จากการทดลองพบว่า ถ้าให้หนูฝูงหนึ่งได้อาหารทุกครั้งที่กดคานครบจำนวน ครั้งแบบสม่ำเสมอ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่พอใจหนูจะเลิกกดคาน แต่ถ้าให้หนูได้อาหาร บ้างไม่ได้อาหารบ้าง พวกมันจะกดคานไปเรื่อยๆ เปรียบเหมือนงานที่มีแรงจูงใจแบบสม่ำเสมอ ที่คนทำงานจะทำงานไปถึงจุด หนึ่งที่พอใจแล้วหยุด เช่น ช่างเย็บเสื้อได้รับค่าแรงตามจำนวนเสื้อที่เย็บได้ ใน

ตอนแรกเขาจะพยายามที่จะเย็บเสื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ถึงจุดหนึ่งที่เขา ทำไม่ไหว เขาก็จะเริ่มเย็บเสื้อเท่าที่จะเขาเย็บไหวแบบคงที่ แต่คนเก่งในองค์กรใหญ่นั้นต่างกัน รางวัลของพวกเขามาแบบคาดเดาไม่ได้ เปรียบเหมือนหนูที่กดคานอย่างหนัก แต่ก็ได้อาหารบ้างไม่ได้บ้าง พวกมันก็จะเร่ง กดคานอย่างหนักเพื่อให้ได้อาหารมากขึ้น ยิ่งคาดหวังแน่นอนไม่ได้ พวกเขาจึงมัก ทำงานให้แบบพลีชีพ ยอมเหนื่อยเพื่อเอาใจเจ้านาย ครองใจลูกค้า เผื่อว่าจะได้ เลื่อนตำแหน่ง อาจมีโบนัสก้อนใหญ่ ได้คอมมิชชั่นก้อนโต หรือเงินเดือนขึ้นหลาย เปอร์เซ็นต์ ยิ่งแรงเสริมในที่ทำงานมีหลากหลาย พวกเขาก็ยิ่งทำงานแบบหยุดไม่ ได้หนักขึ้นเพื่อความสำเร็จ เดิมพันสูงเกินไป แดเนียลชี้ว่า มนุษย์งานสมัยนี้กลัวความเสี่ยงจากการลาออก เพราะพวกเขามี อะไรที่ต้องสูญเสียมากกว่าในอดีต การยอมเสีย “งานดีๆ” ไป อาจไม่ใช่แค่เสีย “งานดีๆ” เท่านั้น แต่หมายถึงการสูญเสียสถานะทางสังคม หรือเสียความนิยม ชมชื่นจากคนรอบข้างไปด้วย ยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารไวกว่าแสง โซเชียลมีเดียทำให้ข่าวเดินทางเร็วแรงกว่า เดิมมากมาย แค่ใครสักคนเดินสะดุดหกล้มเบาๆ ก็อาจเป็นข่าวลือใหญ่ ทำให้ต้อง อับอายไปทั้งวงการ 20


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

จะรู้ตัวหรือยอมรับหรือไม่ มนุษ ย์งานหลายคนอยู่ ในสถานะที่ “ล้มไม่ได้” เพราะเกรงผู้คนจะเอาไปพูดถึง พวกเขาจึงขอเลือกอยู่ในที่ๆ ปลอดภัย ดีกว่าเลือก ความก้าวหน้าที่มากับความเสี่ยง ติดกับดักความสำเร็จ มืออาชีพเหล่านี้ได้ลิ้มรสความสำเร็จในอุดมคติ เหมือนคนที่ปีนขึ้นไปจนถึง เนินเขาลูกแรก แล้วหลงคิดว่านี่คือยอดเขาเดียวในชีวิต พวกเขาง่วนวัดความสูง ของยอดเขาที่ตัวเองพิชิตอยู่อย่างนั้น โดยไม่รู้เลยว่ายังมียอดเขางดงามมากมาย ให้พวกเขาปีนป่ายอีกหลายลูก นี่คือ “กับดักความสำเร็จ” ที่เป็นเหมือนกำแพงบังตา ทำให้หนุ่มสาวจำนวน มากไม่คิดก้าวออกมาดูโลกกว้าง จนวันหนึ่งพวกเขาจึงจะเริ่มตระหนักว่า แท้จริง มันคือภาพลวงตาหรือสิ่งที่พวกเขาปรารถนาจริงๆ กันแน่

สละเรือไตตานิค

โชคดีของซาร์มาที่รู้แล้วว่าเธอต้องการอะไรกันแน่ จังหวะดีมาถึงในไม่ช้า เมื่อ คู่หมั้นของเธอเสนอให้ย้ายมาอยู่ที่เดียวกัน การใช้ชีวิตด้วยกันช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ไปมาก เธอจึงฉวยโอกาสลาออกจากงานทันที หลังรวบรวมความกล้าสละเรือไตตานิคลำใหญ่ แล้วกระโดดลงเรือเล็กตามเสียง เรียกร้องของหัวใจ ซาร์มาก็สมัครเข้าเรียนต่อที่สถาบันอาหารฝรั่งเศสทันที ไม่มีคำว่าหวนเสียดาย ซาร์มาหลงรักทุกนาทีในครัวที่ระอุไปด้วยความร้อนจาก เตาไฟ ทุกหยาดเหงื่อที่ชุ่มหลังลามไหล กลับนำมาให้ซึ่งความสุขเปี่ยมล้น ช่วงขวบปีแรกเธออาจไม่ชินกับสภาพไร้ตัวตน “ยากเหมือนกันที่ต้องสละงาน ดีๆ ในองค์กรชั้นเยี่ยมขนาดนี้ มันเคยดูดีมากเวลาบอกใครๆ ว่าฉันทำงานที่ไหน แต่ช่วงปีแรกที่ลาออกมันตรงข้าม เวลาถูกคนถามฉันไม่รู้จะบอกว่าฉันทำอะไรอยู่” 21


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

หมดไฟจึงพบไฟ

แต่เรื่องแบบนี้ไม่อยู่กับเธอนาน หลังเรียนจบวิชาการทำอาหาร ซาร์ มาก็ระดมทีมงานและทุนรอนเปิดภัตตาคารของตัวเองชื่อ Pure Food and Wine ปรากฏว่าร้านอาหารพลังธรรมชาติ (raw food) ของเธอประสบ ความสำเร็จมากมาย จนถึงวันนี้ซาร์มาสามารถเพิ่มไลน์ สร้างแบรนด์ อาหารพลังธรรมชาติ One Lucky Duck ออกวางจำหน่ายอีกด้วย ทุกวันนี้ซาร์มายังคงทำงานหนัก แต่เพราะโชคดีเป็นงานที่เธอรัก เธอจึงไม่ต้องร้องไห้ที่บันได และไม่ต้องสงบจิตใจในห้องน้ำอีกแล้ว อดีตนักวิเคราะห์สองปริญญาผันตัวมาเป็นเชฟและซีอีโอสุดสุข ทุก เช้าเธอตื่นลืมตาเพื่อรีบลุกขึ้นมาทำสิ่งที่มีความหมาย ไม่ต้องวิ่งตามหา “สิ่งที่ขาดหาย” อีก อย่าเพิ่งหมดแรงถ้าคุณกำลังหมดไฟ อย่าเพิ่งจิตตกที่พบว่าชีวิตไร้ จุดหมาย อย่าเพิ่งเคว้งคว้างที่รู้สึกว่ามีบางอย่างขาดหาย เพราะถ้าซาร์มาไม่รู้สึกขาดหาย เธอคงไม่พบจิ๊กซอว์ที่ขาดหายในตัว เธอเอง ถ้าเธอไม่ยอมรับว่าหมดไฟ เธอก็คงไม่ค้นพบไฟในตัวเธอเอง

22


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

“ฉันรู้สึกว่างเปล่าทุกสิ้นวัน ทุกค่ำคืนฉันกลับมาถึงบ้านและรู้สึกเหมือนว่า สิ่งที่ฉันทำไม่ได้สำคัญอะไรต่อโลกเลย” -แอนเดรี ย บี แ มน-

23


• อิ ส รภาพที่ ใ ช่ รายได้ ที่ ป รารถนา •

บทที่ 3

งานที่ไม่ใช่ ใจที่ไม่ชอบ งานที่ใช่ ใจที่ชอบ

เบน แรทเทรย์ ต่างจากทิมและซาร์มา ตรงที่เขารู้ตัวว่า เขาเกิดมาเพื่อทำสิ่งที่ ตัวเองต้องการ ไม่ได้แค่ทำงานให้แต่ละวันหมดไปเท่านั้น เหมือนเด็กหนุ่มไฟแรงทั่วไป เบนไต่เต้าก้าวหน้ามาเป็นลำดับขั้น เขาเปลี่ยน งานจากบริษัทล็อบบี้ยิสต์แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่ง ป่ายปีนจากตำแหน่งเด็กฝึกงาน ธรรมดา จนกลายมาเป็นที่ปรึกษาอาวุโสในบริษัทยักษ์ใหญ่ เขามีทุกอย่างที่ผู้ชายหนุ่มคนหนึ่งจะมีได้ แต่สิ่งที่เขามีไม่ได้คือ “ความรู้สึก ใช่” ในสิ่งที่ทำ เมื่อคิดแล้วตรองอีกจนมั่นใจว่าสิ่งที่ทำอยู่ “ไม่ใช่” เบนก็กล้าพอที่จะตัดสินใจ ลาออกในปี 2006 ด้วยตระหนักถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของเว็บไซต์สื่อสังคมอย่าง MySpace.com หนุ่ม 27 ลงมือเก็บสัมภาระลงกระเป๋า แล้วย้ายภูมิลำเนามาทำในสิ่งที่อยากทำใน ซานฟรานซิสโก 24


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.