• ต้องเท่าไหร่ถึงจะพอ •
นิ ท านของตอลสตอย
ลีโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) เคยเขียนนิทานเรื่องนี้ไว้ เรื่องของชายหนุ่มที่ อยากได้ที่ดิน กับปีศาจที่ปลอมตัวมาเป็นนายทุนเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินทำข้อตกลงกับชายหนุ่มว่า เพียงจ่ายเงินมาแค่หนึ่งพันรูเบิ้ลส์ ชายหนุ่มจะได้รับที่ดินเป็นพื้นที่เท่าใดก็ได้ เท่าที่จะสามารถเดินไปถึงได้ในหนึ่งวัน โดยมีข้อแม้เดียวสั้นๆ คือ ไม่ว่าจะเดินไปไกลเท่าใด ต้องกลับมาที่จุดเริ่มต้น ให้ได้ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน มิฉะนั้นเงินจะถูกยึดไว้หมดสิ้น และจะไม่ได้ที่ดิน กลับไปแม้แต่เอเคอร์เดียว ชายหนุ่มได้ฟังก็แสนจะดีใจ คิดว่าพรุ่งนี้ตนจะเดินไปให้ไกลเท่าที่พอเดินไหว ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น รุ่งเช้าเขาเริ่มออกเดินตั้งแต่เข้าตรู่ เดินบ้างพักบ้างอย่างสบายใจ จะต้องรีบ ร้อนไปทำไม แค่เดินให้ได้เท่าที่เดินได้ ก็กำไรเกินพอ แต่ปัญหาก็อยู่ที่ใจนี่ล่ะหนอ เดินไปเรื่อยๆ กลับไม่รู้สึกพอ เห็นเวลายังเหลือก็ เดินต่อ อีกนิด อีกนิด และอีกนิด สุดท้ายเขาลืม “ยูเทิร์น” เสียสนิท นึกขึ้นมาได้ก็เมื่อพระอาทิตย์กำลังจะ ตกดิน! 10
P-1-77.indd 10-11
• How Much is Enough? •
เส้นทางกลับดูจะไกลกว่าที่คิด ชายหนุ่มพยายามสาวเท้าเร็วขึ้นอีกนิด แต่สอง ขาที่เดินมาทั้งวันเริ่มเมื่อยล้า มัวแต่เดินปาดเหงื่ออย่างนี้อาจไม่ทันเวลา ชายผู้น่าสงสารจึงเริ่มออกวิ่ง เขาวิ่ง วิ่ง และวิ่งสุดฝีเท้า ยิ่งพระอาทิตย์คล้อยต่ำเท่าใด เขาก็ยิ่งร้อนใจ เท่านั้น อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเขากลับไปจุดเริ่มต้นไม่ทัน อย่าบอกนะว่าเขาต้องกลับบ้าน มือเปล่า ที่เดินมาตั้งแต่เช้าก็คือเป็นศูนย์ นี่ฉันต้องเสียเงินหนึ่งพันรูเบิ้ลส์ไป แลกกับการไม่ได้อะไรเลยงั้นหรือ หนทางยังไกลแสนไกล แม้ร่างกายเหน็ดเหนื่อยจนเกินทนทาน ชายหนุ่ม กัดฟันรวบรวมกำลังสุดท้าย วิ่งแข่งกับแสงรำไรของดวงอาทิตย์ สุดท้ายท้องฟ้าก็มืดมิด ตอนที่เขาวิ่งกลับมาถึงจุดเริ่มต้นพอดี ชายผู้นี้ได้ครอบครองที่ดินมากมายสมใจ ณ วินาทีที่เขาล้มลงตายนั่นเอง! นิทานเรื่องนี้ของตอลสตอยชื่อ “มนุษย์คนหนึ่งต้องการที่ดินเท่าไหร่” เขียนไว้ ตั้งแต่ปี 1886 ตลกที่จนถึงวันนี้มันก็ยังใช้ได้จริง!!!
เท่ า ไหร่ ก็ ไ ม่ พ อ
ปี 2530 ธันว์เดินเล่นอยู่ทสี่ ยามสแควร์ พบคนแก่กำลังนั่งขอทาน เขาหย่อน เงินให้ 1 บาทด้วยความสงสาร คนแก่คนนั้นถึงกับพึมพำให้ศีลให้พรเขาใหญ่โต ปี 2553 คล้อยหลังที่ธันว์หย่อนเงินให้ขอทาน 1 บาท เขารู้ตัวทันทีว่าพลาด เพราะได้ยินเสียงเจริญพรตามหลังยกใหญ่ 11
2/1/11 7:16:50 AM
• ต้องเท่าไหร่ถึงจะพอ •
• How Much is Enough? •
อยู่ดีๆ เงินบาทหนึ่งดูจะไม่มีค่าอีกต่อไป แค่จะให้ขอทานก็ยัง “ไม่พอ” ปีที่แล้วตอนที่มะลิลาเริ่มเปิดร้านเสื้อผ้าออนไลน์ เดือนแรกมีกำไร 1,000 บาท มะลิลาแสนจะดีใจ นั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่อย่างมีความสุข ขึ้นปีใหม่เธอจึงตั้งเป้าหมายใหม่ ว่าจะทำกำไรให้ได้สักเดือนละ 5,000 บาท ไม่รู้เกิดอะไรเธอถึงพลาด ทั้งปีทำกำไรได้เฉลี่ยแค่เดือนละสองสามพัน สิ้นปีมะลิลากลุ้มถึงกับนอนไม่ได้ กระวนกระวายจนต้องกินยาคลายเครียด! ไม่น่าเชื่อ เคยได้แค่พันเดียวดีใจแทบล้มประดาตาย วันนี้ได้มาตั้งสามพัน กลับนอนใจสั่นจนถึงเช้า เหตุผลนั้นก็ง่ายๆ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป เธอรู้สึกว่ามัน “ไม่พอ” สิบปีก่อน เงินเดือนก้องเกียรติแค่หมื่นห้า เงินเดือนขึ้นห้าพันเขาดีใจเกือบสิ้น สติ วันนี้เงินเดือนห้าหมื่นน่าจะสบายๆ แต่ก้องเกียรติกลับหงุดหงิดไม่หายที่ได้ เงินเดือนขึ้นแค่หมื่นเดียว เท่าไหร่กันล่ะที่เราจะรู้สึกสบายใจ แค่ไหนล่ะที่เราจะรู้สึกได้อย่างที่ต้องการ เงินเดือนเพิ่มอีกยี่สิบเปอร์เซ็นต์ ยอดขายเพิ่มอีกสักเดือนละแสน กำไรหุ้น เพิ่มอีกสักล้านใช่หรือไม่ คำตอบที่อาจทำเราตกใจ อีกเท่าไหร่ก็ไม่พอ!
หรือเพราะมีบ้านแต่มันยังไม่ดีพอ มีรถขับแต่ไม่ใช่รุ่นที่ดีที่สุด จะไปทัวร์ยุโรป คุณต้องรอเก็บเงินหลายปี จะซื้อทีวีแอลซีดีคุณต้องรอให้มันลดราคา คุณรู้สึกว่ายังไม่รวยพอ เพราะชีวิตคุณยังคงมีข้อจำกัดมากมาย คุณรู้สึกว่าเงินจะช่วยกำจัดเรื่องไร้สุขเหล่านี้ลงได้ แปลง่ายๆ “ฉันต้องรวย กว่านี้ ฉันถึงจะมีความสุขพอ” แต่คุณเข้าใจผิดถนัด ย้อนกลับไปในปี 1920 เมื่อ จอห์น ดี ร็อคกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีอเมริกันถูกนักข่าวถามว่า “ต้องเท่าไหร่ถึงจะพอ” “Just a little bit more” คือคำตอบของชายที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของโลก! ขออนุญาตตีความแบบง่ายๆ ต่อให้รวยแค่ไหนก็ไม่รู้สึกรวยอยู่ดี ตราบที่ยังไม่รู้สึกพอ
เรื่ อ งนี้ ไ ม่ เ กี่ ย วกั บ เงิ น
เทียบกับขอทานที่คุณให้เงินไป คุณก็จัดว่ารวยเอาการ คุณมีรถ มีเงิน มีบ้าน มีทรัพย์สินเงินทองมากกว่าอีกหลายๆ คน แต่ยิ่งนับ วันคุณก็ยิ่งกังวล ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน
คำตอบของอภิมหาเศรษฐี สะท้อนให้เราเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวเลข! ความสุขใจไร้กังวลของชีวิต ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเลขเงินที่เรามีอยู่ เพราะถึง เราจะมีอยู่มาก แต่เราก็ยังต้องการ “อีกหน่อย” อยู่ดี ใครคนหนึ่งพูดถึง “อำนาจเงิน” ไว้น่าฟังว่า เงินนั้นความจริงไม่จำเป็นเลย สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต มันแค่ทำให้เราได้สิ่งที่ไม่สำคัญในชีวิตเป็นของเราง่าย ขึ้นเท่านั้น ปัญหาอยู่ที่เราเผลอเรียกการได้มาง่ายๆ ซึ่งสิ่งไม่สำคัญว่า “ความสุข” สมองเราคอยส่งสัญญาณบอกเรา (ผิดๆ) ว่า ความสุขนั้นผูกติดกับการได้มา
12
13
เราไม่ มี วั น รู้ สึ ก พอ
P-1-77.indd 12-13
2/1/11 7:16:50 AM
• ต้องเท่าไหร่ถึงจะพอ •
• How Much is Enough? •
(แล้วได้มาอีก) ซึ่งสิ่งที่เราต้องการ แต่ไม่ว่าเราจะมีเงินมากเท่าใดไหลพรูเข้ามาในธนาคาร ความรู้สึกสุขของเรา ก็ยังจะ “วิ่งหนี” เราต่อไปเรื่อยๆ ต่อให้มีล้นเหลือเท่าใด ถ้าสมองยังคงบงการเราต่อไปว่า “ยังไม่พอ” เราก็ “ยังไม่รู้สึกพอ” อยู่นั่นเอง เราจะรวยหรือไม่ จึงไม่ได้ขึ้นกับสิ่งที่เรามี แต่อยู่ที่วิธีที่เราคิด ต่อให้มเี งินจำนวนมากเท่าใด ก็ไม่ทำให้เรารูส้ กึ ดีอย่างแท้จริงขึน้ มาได้ ตราบใดที่เรายังไม่รู้สึกพอใจกับสิ่งที่เรามี
ขณะที่การจ่ายเงินซื้อวัตถุข้าวของ มักจะไม่ทิ้งร่องรอยประทับใจอะไรไว้ นานไปก็จะเริ่มลืม แปลว่า ความสุขจะสัมพันธ์กับตัวเงิน ก็ต่อเมื่อมันถูกจ่ายไปเพื่อซื้อสิ่งที่มี ความหมายต่อชีวิตเท่านั้น ที่เหลือคือส่วนเกินทั้งหมด แต่น่าเศร้าตรงที่ ไม่ว่าผลการศึกษาตลอด 35 ปีที่ผ่านมาจะยืนยันความ จริงอย่างไร ผู้คนก็ยังไม่วายเชื่อว่า การมีเงินมากๆ จะนำมาซึ่งความสุข มากๆ อยู่ด ี
มี เ ท่ า ไหร่ ก็ ไ ม่ สุ ข
ผลการศึกษาเรื่อง “เงินกับความสุข” ของมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก แสดง ให้เห็นว่า เงินสามารถนำไปสู่ความสุขที่ยิ่งใหญ่ได้ ก็ต่อเมื่อมันถูกใช้เพื่อ ซื้อ ประสบการณ์ ไม่ใช่วัตถุข้าวของ ไรอัน โฮเวลล์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะจิตวิทยายกตัวอย่างว่า เมื่อเงินถูก จ่ายเพื่อซื้อบัตรคอนเสิร์ตหรือละครเวที ความพอใจที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากตั๋วใบ นั้น แต่มาจากความบรรลุเป้าหมายของการได้เชื่อมโยงตัวเองกับสังคมรอบตัว ต่างหาก เมื่อกลุ่มศึกษาได้รับคำสั่งให้ตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นสุขขณะที่ได้ “จ่าย” พวกเขามักจะจดจำได้ ถึงความพอใจในการจ่ายเพื่อความสุขของตัวเอง และคนรอบข้างมากที่สุด โฮเวลล์ยืนยันว่า การจ่ายเพื่อความสุขแท้จริงเท่านั้นที่จะสร้างความจดจำ
นักเศรษฐศาสตร์สองคน แอนดรูว์ ออสวอลด์ แห่งมหาวิทยาลัยวอร์ริค และเดวิด บลานช์ฟลาวเวอร์แห่งมหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ พบว่า ขณะที่ชาว อังกฤษและอเมริกันมีรายได้สูงขึ้นกว่าในอดีตมากมาย แต่ความสุขก็ไม่ได้ เพิ่มขึ้นไปตามตัวเลขรายได้เลย “ถ้าคุณติดตามดูใครสักคนเป็นเวลาหลายๆ ปี เริ่มจากวันที่เขามีรายได้ นิดเดียว จนถึงวันทีเ่ ขามีรายได้มากขึน้ มากๆ คุณจะแปลกใจทีพ่ บว่า ความสุข ของพวกเขากลับอยู่ ณ จุดเดิม ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับแต่อย่างใด” ข้อมูลในหนังสือ “The Geography of Bliss” ของอีริค ไวน์เนอร์ บอก ว่าอเมริกันชนทุกวันนี้มีรายได้มากขึ้นจากปี 1950 สามเท่าตัว เป็นใครก็คง คิดว่าชนชาติที่มั่งคั่งทีส่ ุดในโลกชนชาตินี้ น่าจะมีความสุขมากขึ้นสักสามเท่า ใช่ไหม แต่ปรากฏว่าไม่ พวกเขากลับมีความสุขเท่าเดิม! ญี่ปุ่นก็เช่นกัน จากชนชาติยากจนที่เคยมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 3,000 เหรียญ
14
15
เงิ น กั บ ความพอใจในชี วิ ต
P-1-77.indd 14-15
2/1/11 7:16:50 AM
• ต้องเท่าไหร่ถึงจะพอ •
• How Much is Enough? •
ในปี 1958 าม ิบปีต่อมา ญี่ปุ่นเติบใหญ่กลายเป็นชนชาติที่มั่งคั่งที่ ุดอีกชาติ หนึ่งของโลก แต่ถามว่าพวกเขามีความ ุขขึ้นกว่าเดิม ักกี่มากน้อย คำตอบคือ แค่ร้อยละ 3 ลอง อบถามระดับความพึงพอใจในชีวิตของเศรษฐีติดอันดับโลกที่เรียกว่า Forbes 400 โดยให้ ผู้ มี ท รั พ ย์ ิ น มากมายชนิ ด “กิ น อยู่ ไ ป ิ บ ชาติ ก็ ไ ม่ ห มด” ประเมินระดับความพอใจในชีวิตดูที ผลปรากฏว่าระดับความพึงใจในชีวิตของคนรวยแ นรวยเหล่านี้ ก็มิได้มีมากกว่าชาวอินูอิตในกรีนแลนด์เหนือ และชาวมาไซในเคนย่า ที่ไม่มี แม้ไฟฟ้าหรือน้ำประปาให้ใช้เลย!!!
ผู้คนบนท้องถนนที่เดิน วนทางกับคุณวันนี้ คนที่คิดหนักเรื่องเงินมีพอๆ กับ คนที่ไม่คิด ผล ำรวจของ Gallup Poll ปี 2009 พบว่าคนเกือบครึ่งคิดเรื่องเงิน ทุกวัน มิหนำซ้ำยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งกังวลเรื่องเงินมากขึ้นด้วย เมื่อถูกถามว่า “เมื่อวานนี้คุณกังวลเรื่องเงินหรือเปล่า” คนอายุ 20-29 ตอบว่ากังวล 39% คนอายุ 30-39 กังวลเพิ่มขึ้นเป็น 44% คนในวัย 40-49 ปี กังวลเรื่องเงิน ูงที่ ุด 46%
ามร้ อ ยล้ า นพอไหม เมเรดิธ เวียร่า พิธีกร าวชื่อดัง ผู้มีรายได้จากรายการ “Today Show” ปีละ 10 ล้านเหรียญ กับอีก 1 ล้านเหรียญจาก “Who Wants to Be a Millionaire” ยอมรับว่าเธอยังคงรู้ ึกแย่ๆ กับเรื่องเงิน! าว วยคนนี้เฝ้ากังวลว่าวันหนึ่งตัวเองอาจจะมีเงินไม่พอใช้จ่าย ทั้งที่ทุกวันนี้ มีรายได้ปีละ าม ี่ร้อยล้านบาท!!! “ทุกวันนี้ฉันอยู่ด้วยความกลัว” เธอว่า “อะไรก็เกิดขึ้นได้นี่คะ ถ้าริชาร์ดสามี ฉันป่วยหนักล่ะ ถ้าเกิดอะไรขึ้นจนฉันทำงานไม่ได้ ถ้าเงินเราไม่พอใช้ แล้วเราจะ ทำยังไงกัน” เห็นหรือยัง ใช่ว่าคนรายได้น้อยเท่านั้น ที่วิตกกังวลว่าจะมีเงินไม่พอใช้ แม้แต่คนที่หาได้ าม ี่ร้อยล้าน ถ้ายัง “จัดการ” ความรู้ ึกของตัวเองไม่ได้ เขาหรือเธอก็ไม่มีวันเป็น ุขอยู่ดี 16
P-1-77.indd 16-17
เท่ า ไหร่ ถึ ง จะพอ แล้วเราจะทำอย่างไรดี จะปล่อยตัวเองให้กงั วลไปเรือ่ ยๆ แบบนีถ้ งึ อายุเท่าไหร่ เราต้องมีเงินมากมาย ักแค่ไหน เราถึงจะเป็นอิ ระจากความกังวล ถ้าคุณไม่อยากอยู่กับความกลัวแบบไม่มีที่ ิ้น ุดไปเรื่อยๆ แบบไร้จุดหมาย แนะนำให้เริ่มจากการยอมรับความจริงอันดับหนึ่งให้ได้ก่อน “ฉันสามารถมีสิ่งที่ฉันต้องการ แต่ฉันไม่สามารถมีทุกสิ่งที่ฉันต้องการ” ขอให้เริ่มต้นจากการยอมรับความจริงอันดับแรกนี้ให้ได้ จากนั้นคุณจึงจะ ามารถหาคำตอบต่อไป “ฉันต้องมีเท่าไหร่ถึงจะรู้สึกพอ”
17
2/1/11 7:16:55 AM