ฉบับที ่ ๒๐ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๔ anuman-online.com
anuman-online.com
จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๔- ๒๕๕๖
ที่ปรึกษา
คณะบรรณาธิการ
สุเมธ ตันติเวชกุล โอวี ๓๐ ชัยอนันต์ สมุทวณิช โอวี ๓๓ วิโรจน์ นวลแข โอวี ๓๗ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ โอวี ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช โอวี ๔๔ วรชาติ มีชูบท โอวี ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี โอวี ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ โอวี ๕๙ วีรยุทธ โพธารามิก โอวี ๖๐ อาทิตย์ ประสาทกุล โอวี ๗๑ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา โอวี ๖๕ กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๗๐ กรด โกศลานันท์ โอวี ๗๑ ภพ พยับวิภาพงศ์ โอวี ๗๑ โอวี ๗๒ พิชิต ศรียานนท์ ปรีดี หงสต้น โอวี ๗๕ ร.ต.สถาพร อยู่เย็น โอวี ๗๖ กรรณ จงวัฒนา โอวี ๗๖ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง โอวี ๗๖ ศิริชัย กาญจโนภาส โอวี ๗๖ ธนกร จ๋วงพานิช โอวี ๗๗ วีระพล รัชตานนท์ โอวี ๘๐ อุปนายกฝ่ายวางแผน จิ ร ะ สุ ท ธิ ว ไ ิ ลรั ต น์ โอวี ๘๓ และพัฒนา ศรัน ชัยวัฒนาโรจน์ โอวี ๘๓ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ พศิน เวชพาณิชย์ โอวี ๘๓ มาร์ค ดิมิทอฟ โอวี ๘๓ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ วีรประภัทร กิตติพิบูลย์ โอวี ๘๓ และสาราณียกร ผรณเดช พูนศิริวงศ์ โอวี ๖๖ ถ่ายภาพ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ บรรณาธิการ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ โอวี ๗๗ กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓ สงกรานต์ ชุมชวลิต โอวี ๗๗ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ โอวี ๗๙ วรุตมาศ ศุขสวัสดิฯ์ โอวี ๗๙ ธนพัฒน์ ฑีฆธนานนท์ โอวี ๗๙ สรอรรถ เลาประสพวัฒนา โอวี ๘๒
• • • •
เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่ สนับสนุนการเงิน-โฆษณา ส่งข่าว-ประกาศ-ประชาสัมพันธ์ ส่งข้อเขียน-บทความ
ศิลปกรรม ปฏิภาณ สานแสงอรุณ ปริญญา ยุวเทพากร สงกรานต์ ชุมชวลิต
โอวี ๗๗ โอวี ๗๗
โฆษณา
เขต ณ พัทลุง โอวี ๗๑ (โทร ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒) มณฑล พาสมดี โอวี ๗๓ (โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐)
ฝ่ายบัญชีและการเงิน อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รัฐพล ปั้นทองพันธ์ พัฒน์ ไกรเดช
โอวี ๗๑ โอวี ๗๓ โอวี ๗๕ โอวี ๗๙
ผูช้ ว่ ยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก
วาสนา จันทอง (เจ้าหน้าทีส่ มาคมฯ) ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าทีส่ มาคมฯ)
พิมพ์ที่ พี. เพรส (โทร. ๐-๒๗๔๒-๔๗๕๔) หมายเหตุ ตัวอักษร ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี ๓๗ ภาพปกโดย ภาพถ่ายดั้งเดิม เมื่อ น�้ำท่วมโรงเรียนในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ปรับแต่งเพิม่ เติม โดย ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒
ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.ov.in.th / www.oldvajiravudh.com
๒๐
สารบัญ สัมภาษณ์
๑๘
ก.ค. - ธ.ค ๕๔
วชิราวุธรฤก
ใต้หอประชุม ๔๘ คอลัมน์พิเศษ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ วิชาประวัติศาสตร์ที่ไม่มี
วิถีวชิราวุธ
๔๒
อีกรู้เสียสละ ได้ด้วยใจงาม
๔๖
ห้องสมุด
๘๘
โรงเลี้ยง
๙๐
โดด
ในต�ำราเรียน ฉบับสมบูรณ์ ครั้งแรกที่อนุมานวสาร
สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (ตอนที่ ๔)
๘๒
จดหมายเหตุฯ ที่ดินและตึก ริมถนนราชด�ำริ (๑)
๒๔
เรือนจาก สหัส จันทกานนท์
บทความ จากนักเรียนเก่าฯ และครอบครัวโอวี
๗๘
หอประชุม
รักบี้ฟุตบอล กับอเมริกันฟุตบอล
๘๕
ลอดรั้วพู่ระหงส์ สังสรรค์วันศุกร์
๙๓
สนามข้าง
สิ้นเสียงนกหวีด Vajiravudh Centenary Sevens [ตอนที่ ๑]
จริงตนาการ Pasta Café
La Bonita by S
๑๑๗
ศัพท์ โอวี
สกรัมกับฯ
ข่าวสาร และกิจกรรม
๑๐ ห้องเพรบ ๑๓ กล่องจดหมาย ๑๐๑ สนามหลัง ๑๑๙ วันกลับบ้าน
anuman-online.com
สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วัตถุประสงค์หลัก ของการจัดตั้งสมาคมฯ
งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของ ๑ ส่พระบาทสมเด็ จพระปรเมนทรมหา
วชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกใน ทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม อันดีของประชาชน ประสานสามัคคีในหมู่สมาชิกนักเรียน เก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนใน พระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันใน หมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธ วิทยาลัย เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญของ โรงเรียน ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธ วิทยาลัย เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของ วชิราวุธวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร
๒
๓ ๔
๕
๖ ๗ ๘ ญสาธารณประโยชน์ในโอกาส ๙ บ�อันำเพ็สมควร
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก กมีสิทธิที่จะร่วมกิจการต่างๆ ๑ สมาชิ ที่สมาคมฯ จัดขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบที่วางไว้
กมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมาย ๒ สมาชิ ของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ญสมาชิกมีสิทธิเสนอ ๓ สามั ความคิดเห็น ตรวจดูหลักฐาน และบัญชีต่าง ๆ ของสมาคมฯ ได้ ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ
ญสมาชิกเท่านั้นมีสิทธิเข้า ๔ สามั ประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตั้ง หรือรับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ หรือ กรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิก นั้นค้างช�ำระค่าบ�ำรุง
ญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระ ๕ สามั ค่าบ�ำรุงตามที่ก�ำหนดไว้ กต้องปฏิบัติตามระเบียบและ ๖ สมาชิ ข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ กมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และ ๗ สมาชิ บริการของสมาคมฯ และสโมสร
แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ที่ก�ำหนดไว้
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖
ดร.คุรจุ ติ นาครทรรพ รุน่ ๔๕นายกสมาคมฯ นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ กรรมการและ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย กรรมการโดย ประธานฝ่ายหารายได้ ต�ำแหน่ง พ.อ.ชนินท โพธิ์พูนศักดิ์ รุ่น ๕๓ นายสุรเดช บุณยวัฒน รุ่น ๔๑ อุปนายก กรรมการและรองประธานกิจกรรมพิเศษ ฝ่ายสิทธิประโยชน์ นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ กรรมการ และประธานสโมสร นายจตุพล ปุญโสนี รุ่น ๔๓ อุปนายก ฝ่ายพัฒนาและกีฬา พล.อ.ต.วรฉัตร ธารีฉัตร รุ่น ๔๖ อุปนายก ฝ่ายหารายได้และต่างประเทศ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ อุปนายก ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ดร.จรัสโรจน์ บถด�ำริห์ รุ่น ๔๓ กรรมการและนายทะเบียน นายวีรนารถ วีระไวทยะ รุ่น ๔๓ กรรมการและประธานกีฬา นายทรรศนะ วิชัยธนพัฒน์ รุ่น ๔๕ กรรมการและประธานส่งเสริมความ สัมพันธ์ ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๐ กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ
นายประวิทย์ มนต์เสรีนุสรณ์ รุ่น ๕๖ กรรมการและเหรัญญิก ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ กรรมการ และปฏิคม นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ กรรมการ และเลขานุการ นายรวินท์ ถิระวัฒน์ รุ่น ๕๙ กรรมการและรองประธานกีฬา นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ กรรมการ และรองประธานกีฬา (รักบี้) นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร รุ่น ๖๒ กรรมการ และรองประธานกีฬา (กอล์ฟ) นายผรณเดช พูนศิริวงศ์ รุ่น ๖๖ กรรมการและประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และสาราณียกร
anuman-online.com
ห้องเพรบ 10 จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์
สวัสดีปีใหม่ครับ
พี่น้องชาวโอวีและท่านผู้อ่านทุกท่าน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีหลายๆ คน สอบถามว่า เมื่อไรอนุมานวสารเล่มใหม่จะ ออกสักทีเพราะหายไปนาน ทั้งนี้เกิดจาก สาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะติดปัญหา น�้ำท่วม ขาดการติดต่อกัน ความไม่พร้อม ของต้นฉบับ ฯลฯ อย่างไรก็ดีต้องเรียน ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ ทีมงานอนุมานวสารได้ด�ำเนินการ จัดท�ำหนังสือข่าวให้กบั สมาคมนักเรียนเก่าฯ มาเป็นระยะเวลาประมาณ ๔ ปีแล้ว ซึง่ ทัง้ นี้ ทางทีมงานฯ ได้มีการถกเถียงพูดคุยกันพอ สมควรถึงผลลัพธ์ว่า หนังสือที่ออกไปเป็น เวลากว่าสี่ปีนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร ส�ำหรับที่พอจะได้ยินมานั้น มีทั้ง ค�ำติและค�ำชม ค�ำชมส่วนใหญ่จะออกมา ในแนวของความสามัคคี เช่นว่า เราท�ำงาน แบบจิ ต สาธารณะ ท� ำ หนั ง สื อ ที่ มี เ นื้ อ หา น่าอ่านและสามารถออกติดต่อกันได้นาน หลายปี ก็ถือว่าดีแล้วที่มีหลายคนเขียนมา ให้ก�ำลังใจ ส�ำหรับค�ำติ (เพื่อก่อ) ก็มี อาทิเช่น อ่านแล้วเครียด ควรมีติดตลกตามวิสัยพวก เราบ้าง บ้างก็ว่าสัมภาษณ์มากเกินไป หรือ สัมภาษณ์อยู่ในกลุ่มรุ่นใกล้เคียงกันเกินไป ควรกระจายรุ่นคละเคล้ากันให้ทั่วถึง ทั้งหมดนี้ เป็นความเห็นที่สร้างสรรค์ เป็นแง่คิดที่จะ
ช่วยให้เราปรับปรุงการท�ำงานให้ดียิ่งขึ้น ในบรรดาความเห็นทัง้ หลาย มีความ เห็นหนึ่งที่ท�ำให้เราต้องคิดกันหนักทีเดียว คือเสียงวิจารณ์ที่ว่า ทีมงานอนุมานวสารมี ความเหนียวแน่นกันมากเกินไป และได้ แสดงออกไปทางข้อเขียน ส่งผลให้เกิดการ มองทีมงานอนุมานวสารในแง่ลบ อย่างไรก็ด ี ขอเรียนให้ทราบว่าเรือ่ งดังกล่าวไม่ได้เกิดขึน้ โดยเจตนา ดังนั้นหากบทความใดที่ท�ำให้ ผู้อ่านเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี ก็ขออภัยและ ขอได้โปรดแนะน�ำกันมาได้นะครับ ส�ำหรับอนุมานวสารฉบับนี้ ถือเป็น ฉบับทีเ่ ราอยากปฏิวตั ปิ รับปรุงรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับสิ่งใหม่ๆ ที่หลากหลาย ยิ่งขึ้น โดยเราได้มอบหมายให้ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ (โอวี ๗๙) หนึ่งในนักเขียนของ ทีมอนุมานวสาร เป็นบรรณาธิการฝึกหัด โดยมี กิ ต ติ เ ดช ฉั น ทั ง กู ล (โอวี ๗๓) บรรณาธิการอนุมานวสาร เป็นที่ปรึกษา นอกจากนั้นแล้วยังมี อาทิตย์ ปราสาทกุล (โอวี ๗๑) อดีตสาราณียกร ซึ่งปัจจุบันเป็น นักการทูตประจ�ำอยู่ที่เนรูบี ประเทศเคนย่า ช่วยดูแลอีกทีจากต่างแดน ทีมงานอนุมานวสาร มีความเห็นว่า อยากท�ำหนังสืออนุมานเกี่ยวกับอาหารใน โรงเรียนสักเล่ม เราทราบว่ามีนักเรียนเก่าฯ
ที่ มี ค วามสามารถทางด้ า นการท� ำ อาหาร หรือเป็นเจ้าของภัตรคารอยู่หลายคน และ อยากทราบต่อไปอีกว่า อะไรกันแน่ที่เป็น แรงบันดาลใจให้เขาเหล่านัน้ มีอาชีพเกีย่ วกับ อาหาร โดยฉบับนี้เรามีโอกาสสัมภาษณ์ ดอล์ฟ - สหัส จันทกานนท์ (โอวี ๖๔) ผู้มี ชีวติ โลดโผนยามอยูโ่ รงเรียน จบมัณฑนศิลป์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่ไม่สบอารมณ์ จากอาชี พ ที่ เ รี ย นเท่ า ไรนั ก กลั บ หั น มา สนใจการท�ำอาหารจนถึงขั้นเป็นอาจารย์ สอนท�ำอาหารและมีรายการโทรทัศน์สอน เรื่องการบริหารโดยใช้การท�ำอาหารเป็นสื่อ ฟังดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าเด็กนักเรียนจากคณะ ผู้บังคับการ ที่เติบโตมาจากข้าวต้มแผ่นจะ กลายมาเป็นปรมาจารย์ทางการท�ำอาหาร ได้นะครับ นอกจากนั้ น แล้ ว เรายั ง มี โ อกาส สัมภาษณ์ต�ำนานแห่งการชวนชิม ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ผู้ซึ่งหลายท่านคงไม่ เคยทราบมาก่อนเลยว่าท่านเคยอยูว่ ชิราวุธฯ แต่อยู่แค่เพียง ๗ วันเท่านั้น ไม่ทราบจะ เป็นเพราะอาหารไม่อร่อยหรืออะไรกันแน่ ที่ท�ำให้คุณชายจากโรงเรียนไปในเวลาอัน รวดเร็ ว ขอให้ ต ามอ่ า นกั น ได้ ใ นคอลั ม น์ ใต้หอประชุมครับ
ในเล่มนี้เรายังมีจดหมายของแอ๊บ ธนกรัณฑ์ จีนใจตรง (โอวี ๗๓) น้องชาย ของเราคนหนึ่ง ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งในตับ เมื่อปลายปีที่แล้ว ผมได้พบกับแอ๊บและ ได้ขอให้แอ๊บเขียนบทความสั้นๆ เกี่ยวกับ อาการของเขา (ซึ่งดีขึ้นมากในขณะนั้น) มาบอกเล่าให้พี่ๆ น้องๆ โอวีที่ห่วงใยได้ รับทราบ โดยไม่คาดฝันที่บทความชิ้นนั้น จะกลายเป็ น ข้ อ เขี ย นสุ ด ท้ า ยของแอ๊ บ ก่อนที่เขาจะจากไปอย่างไม่มีวันกลับเมื่อ ๑๖ มกราคมที่ผ่านมา อนุมานวสารขอ ร่ว มไว้อาลั ย และขอแสดงความเสี ย ใจต่ อ ครอบครัวของแอ๊บมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ส�ำหรับกิจกรรมสมาคมฯ น�ำโดย ท่านนายกสมาคมฯ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ได้ทำ� กิจกรรมต่างๆ หลายประการ อาทิเช่น ร ่ ว ม มื อ กั บ โ ร ง เ รี ย น แ ล ะ บ ริ ษั ท สิ ง ห ์ คอร์ปอเรชั่น โดยการน�ำของสารวัตรต้น กุณฑล ประจวบเหมาะ ในการจัดอาหาร น�ำ้ ดืม่ และรถหกล้อออกช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสพภัยน�้ำท่วม ซึ่งได้รับความร่วมมือ จากพี่น้องโอวีจ�ำนวนมากบริจาคเงินจ�ำนวน หลายล้านบาท อีกทั้งได้อาสาสมัครออกไป ช่วยผู้ประสพภัยนับเป็นเวลาแรมเดือน ช่วงเวลาที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ ได้ งดกิจกรรมรื่นเริงทั้งงานประกวดนางสาวไทย anuman-online.com
และงาน Homecoming Day ด้ ว ย เพราะเป็ น ช่ ว งเวลาแห่ ง ความโศกสลด เนือ่ งด้วยการจากไปของสมเด็จพระภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิรโิ สภาพรรณวดี พระผูท้ รงอุปถัมภ์โรงเรียนและพระราชธิดา พระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ ทางสมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้ ร่วมกับวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนเก่าฯ รุ่นต่างๆ จึงได้ร่วมกันถวายพระราชกุศล และร่วมไว้อาลัยในการจากไปของพระองค์ ท่านในครั้งนี้ ในนามของนั ก เรี ย นเก่ า วชิ ร าวุ ธ วิทยาลัย ขอน้อมถวายความเคารพต่อดวง พระวิญญาณ ขอพระองค์ทรงพระเกษม ส�ำราญในสัมปรายภพ พวกเราทุกคนจะ ขอรักษาไว้ซึ่งในพระราชปณิธานขององค์ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ในการรักษาความ เป็ น ลู ก วชิ ร าวุ ธ ฯ เป็ น สุ ภ าพบุ รุ ษ ด� ำ รง คงไว้ ซึ่ ง ชาติ ศาสนา พระมหากษั ต ริ ย ์ ความเป็นหมู่คณะ รักประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน น�ำความเจริญ มาสู่สังคมประเทศชาติบ้านเมือง ตราบเท่า ชีวิตจะหาไม่ สวัสดีครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (โอวี ๔๖)
จดหมายจาก ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ถึงคุณประทักษ์ ประทีปเสน ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ เรียน คุณประทักษ์ ประทีปเสน ที่นับถือ คุณจ�ำผมได้หรือเปล่าครับ ในช่วงที่ คุณยังเป็นเด็กเล็กมาก คุณพ่อของคุณรู้ว่า ผมชอบเล่นไวโอลิน จึงขับรถ FIAT 500 พาคุณมาหาผมทีบ่ า้ น เพือ่ ให้คณ ุ รูจ้ กั กับผม เข้าใจว่าคุณพ่อของคุณต้องการให้คณ ุ ซึมซับ เอาวิ ญ ญาณศิ ล ปะโดยเฉพาะการดนตรี เข้าไปไว้ ท่านบอกผมว่าคุณชอบไวโอลิน นอกจากนั้นยังบอกด้วยว่า คุณจะเข้าไป เรียนในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ท่ า นพาคุ ณ มาหาผมหลายครั้ ง หลังจากนั้นก็หายไป ภาพเหล่านั้นมันยังอยู่ ในใจฉันมาตลอด เพราะปกติผมมีนิสัยไม่ เคยลืมคน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่ว่ายากดี มีจนก็ตาม นี่แหละครับที่ผมพยายามตาม หาคุณ จนกระทั่งพึ่งมารู้ว่าคุณไปอเมริกา กลั บ มาก็ ม าท� ำ งานอยู ่ ใ นกรมศิ ล ปากร เกี่ยวกับการสังคีตสากล และเกษียณอายุ มาได้ ๔ – ๕ ปีแล้ว ผมพยายามหาข่ า วเกี่ ย วกั บ คุ ณ มาตลอด จนกระทัง่ พึง่ มาทราบเมือ่ วานนีเ้ อง “ถ้าใครถึงกันกับคุณ ขอได้โปรดกรุณาส่ง ข่าวนี้ด้วยว่าผมคิดถึง”
ติดต่อผมได้ที่บ้านเก่าที่คุณพ่อคุณ เคยพาคุณมาพบผมนั่นแหละครับ คุณอาจ ได้เห็นการเปลีย่ นแปลงแถวนัน้ มากมาย แต่ บ้านผมก็ยังเหมือนเดิม เพราะใจผมมั่นคง เข้มแข็งมาตลอด คุ ณ พ่ อ ผมก็ จ บโรงเรี ย นวชิ ร าวุ ธ ฯ ตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง รุ่นแรกๆ ผมได้ยิน ม.ล.ปิ่น มาลากุล พูด ที่ ห อวชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ ด ้ ว ยหู ข องผมเองว่ า “ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ท่านทรงตั้งโรงเรียนนี ้ เหมือนกับตั้งให้คุณพระท่าน (คุณพ่อผม เองครับ)” ความจริงคุณพ่อผมมีเรื่องราว
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี 13 เขียนถึงอนุมานวสาร
เกี่ ย วกั บ พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยูห่ วั รวมทัง้ โรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึง่ ท่านบันทึกไว้มากมาย น่าอ่านมาก บางเรือ่ ง ท่านก็เล่าให้ผมฟังด้วย นี่ แ หละครั บ ที่ ผ มไม่ ส งสั ย เลยว่ า แม้พ่อผมจะมีอายุมาก แต่ก็พอขับรถไหว ท่ า นได้ ขั บ รถไปนมั ส การพระอั ง คารของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ฐานพระร่วง ซึ่งอยู่ที่องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐมเป็นประจ�ำทุกเดือน ผมได้รับสมบัติอันล�้ำค่าที่สุดมาจาก พ่อ สิ่งนั้นก็คือความกตัญญูกตเวที และ ความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยความระลึกถึงเสมอ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก anuman-online.com
14 ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี
มากกว่าค�ำขอบคุณ / แทนค�ำขอบคุณ จาก แอ๊บ
ปรต สมรรคจันทร์ (โอวี ๗๐) เป็นตัวแทน มอบเงินที่ได้รับ จากการระดมทุนช่วยเหลือ ผ่านเสื้อยืด “รักต้องสู้” ให้กับครอบครัวของแอ๊บ (ภาพจาก Facebook ส่วนตัวของปรต)
ตลอดระยะเวลาเกือบ ๑ ปี ที่ผม ต้องเข้ารับการรักษาตัวจากอาการป่วยเป็น โรคมะเร็งที่ตับ Neuroendocrine Tumor ชนิด Well Differentiated ซึ่งอาจเกิดจาก แรงกระแทกและคาดว่ า เป็ น ผลสะสมมา จากการเล่นกีฬารักบี้ แม้ว่าผมต้องเผชิญ กับมรสุมของโรคร้าย แต่ช่วงเวลานี้ก็ทำ� ให้ ผมได้เรียนรู้มุมมองอันยิ่งใหญ่ของชีวิตจาก ค�ำว่า “มิตรภาพ” ทุกคนรอบข้างไม่ว่าจะ เป็นคนในครอบครัว รุน่ พี่ รุน่ น้อง เพือ่ นเก่า เพื่อนใหม่ หน่วยงาน สมาคมต่างๆ หรือ แม้กระทั่งมิตรภาพที่ผมได้รับจากคนแปลก หน้าซึง่ ไม่เคยรูจ้ กั กันมาก่อน ผมได้รบั ความ ช่วยเหลือจากพวกเขาเหล่านั้น เป็นน�้ำใจที่ หลั่งไหลมาไม่ขาดสาย ขอขอบคุณน�้ำใจจากทุกๆ คน ทั้ง ค�ำแนะน�ำต่างๆ ความช่วยเหลือในเรือ่ งค่าใช้จา่ ย ในการรักษาตัว ตลอดจนก�ำลังใจที่ส่งมาให้ ทุกๆ นาที ส่งมาทุกๆ ช่องทาง ผมรับรู้ได้ว่า ทุกสิง่ ทีส่ ง่ ผ่านมาให้ผมล้วนเกิดจากความรัก และความปรารถนาดีที่ทุกคนมีให้ทั้งสิ้น “รักต้องสู้” ถ้อยค�ำสั้นๆ ที่สกรีนลง บนเสื้อยืดพื้นสีขาว เป็นอีกหนึ่งพลังใจอัน ส�ำคัญที่ ๒ หัวเรือใหญ่ตระกูลไชยสงคราม
จดหมาย
ถึงอนุมานวสาร และสมรรคจันทร์ ร่วมกันจัดท�ำขึ้นเพื่อ ช่วยเหลือผม ขอขอบคุณความ “รัก” จากทุกคน ซึง่ เป็นแรงผลักดันมหาศาลที่ ท�ำให้ผม “ต้องสู”้ ต่อไป... ผมสัญญาครับ ความอบอุ ่ น ที่ ผ มได้ รั บ จาก คนรอบข้างจะอยู่ในทุกเสี้ยวของความ ทรงจ�ำ เพราะนั่นคือสิ่งที่ท�ำให้ผมรู้ว่าตัว ผมไม่ได้ยืนอยู่เดียวดาย แต่มีอีกหลาย ร้อยมือที่คอยประคองไม่ให้ผมต้องล้ม และในวันที่ผมทรุดลงไปทุกคนก็พร้อม จะฉุดดึงผมอย่างเต็มก�ำลังความสามารถ ตอนนี้อาการของผมพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ ตามล�ำดับ ขอขอบคุณจากใจครับ เหนื อ สิ่ ง อื่ น ใด ผมขอให้ สิ่ ง ดี ๆ ที่มาพร้อมกับน�้ำใจอันยิ่งใหญ่ที่ทุกคน มอบให้ผม ขอให้สิ่งเหล่านั้นส่งกลับคืน ไปให้ทุกคนได้พบกับความสุข สุขภาพ แข็งแรง ประสบแต่ความดีงามในชีวิต ผมไม่มีสิ่งใดจะตอบแทนนอกเหนือไป จากถ้อยค�ำเรียบง่ายแต่สื่อความหมาย ยิ่งใหญ่ นั่นคือค�ำว่า
“ขอบคุณจากใจจริง” ครับ ธนกรัณย์ จีนใจตรง (โอวี ๗๓)
สวัสดีครับ อนุมานวสาร และพี่น้องโอวีทุกท่าน เนื่องจากผมได้ย้ายที่ท�ำงานมารับ ราชการที่จังหวัดนครราชสีมา และได้ย้าย เข้าบ้านพักข้าราชการ จึงมีความคิดอยาก ได้พระบรมรูปล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มา ไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ผมได้โพสข้อความลง ในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ของโอวี เพียงแค่ไม่กี่วันหลังจากนั้น ผมก็ได้ รับข้อความตอบกลับจากพี่โอวีท่านหนึ่งมา ว่าจะจัดส่งมาให้จากหาดใหญ่โดยไม่คิดค่า ใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น(พระบรมรูปโลหะที่ส่ง จากหาดใหญ่มาโคราช ไม่คิดค่าใช้จ่าย คิด ดูนะครับ ซึ่งพี่โอวีท่านนี้ผมไม่เคยรู้จัก ไม่ เคยคุยด้วยในระบบการสื่อสารใดๆ มาก่อน เพียงได้ชื่อว่าเป็นน้องโอวีคนหนึ่งที่มีความ จงรักภักดีในองค์ผพู้ ระราชทานก�ำเนิดสถาน ศึกษาเดียวกันนี ้ ผมก็ได้รบั ความกรุณาจาก พี่โอวีให้ผมได้รับในสิ่งที่ต้องการ ขอขอบคุณพี่ “โอฬาร สมบูรณ์กุล” เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ร.ต.สถาพร อยู่เย็น (โอวี ๗๖) anuman-online.com
16 ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี จากผู้อ่าน ANUMAN-ONLINE.com ขอขอบคุณคณะท�ำงานที่ทุ่มเทและ ผลักดันจนกระทัง่ “อนุมานวสาร” ในปัจจุบนั มี รู ป แบบการน� ำ เสนอที่ น ่ า สนใจและเต็ ม ไปด้วยสาระ เมื่อใดที่หยิบอนุมานวสารขึ้น มาอ่าน ผมจะรู้สึกตื่นเต้นเสมอที่จะได้รับรู้ เรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ภายในรัว้ ทีเ่ ราเคยอาศัยอยู่ ราวกับผมได้กลับไปเป็นเด็กที่อ่านหนังสือ การ์ตูนที่ตนเองชอบอย่างใจจดใจจ่อ แม้ว่า เรือ่ งราวหรือเหตุการณ์เหล่านัน้ อาจมีความ แตกต่างกันไปบ้างตามประสบการณ์ของ แต่ละคนซึ่งได้ศึกษาอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ ต่างกัน อย่างไรก็ดีผมรู้สึกว่าพวกเราทุกคน นั้ น มี อ ะไรหลายอย่ า งที่ เ ป็ น COMMON EXPERIENCE ร่วมกันอยู่ สิง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั คือ เรื่องของความกตัญญู การเทอดทูนสถาบัน การรักพวกรักพ้อง ความเสียสละทีพ่ ร้อมจะ มีให้แก่ส่วนรวม และความเป็นสุภาพบุรุษ อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าการ แข่งขันในสังคมโลกนั้นรุนแรงเพียงใด ผม เคยตั้ง ค� ำ ถามกั บ ตนเองว่า นักเรียนเก่า วชิราวุธฯ ผู้มีคุณสมบัติข้างต้นนั้น จะต้อง ใช้และด�ำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันอย่างไรจึง จะสามารถสนองต่อพระราชประสงค์ของ องค์ผู้พระราชทานก�ำเนิดโรงเรียนของเรา
ผมไม่มคี ำ� ตอบทีด่ ตี อ่ ค�ำถามทีผ่ มตัง้ ขึ้นเอง แต่ผมรู้ว่าสุภาพบุรุษ จ�ำเป็นจะต้อง อยู่รอดให้ได้เป็นล�ำดับแรกด้วยร่างกายและ จิตใจที่เข้มแข็ง ด้วยความรู้ความสามารถ ด้ ว ยไหวพริ บ ปฏิ ภ าณ และด้ ว ยจิ ต ใจที่ มุ่งมั่น จากนั้นแต่ละคนจึงจะสามารถท�ำ หน้าที่ของตนได้เพราะเรามีความแข็งแรง มีปัญญาและมีเกราะป้องกันตัว จากความ รู ้ สึ ก ที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ ผมจึ ง ได้ คิ ด ที่ จ ะเขี ย น ข้ อ ความมาถึ ง คณะผู ้ จั ด ท� ำ อนุ ม านวสาร เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดให้พวกเรา ได้พิจารณาร่วมกันว่า สมควรที่จะระดม ความคิ ด ให้ เ กิ ด แนวทางปฏิ บั ติ อ ย่ า งเป็ น รูปธรรม เพื่อให้นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ โดย เฉพาะน้องๆ รุ่นหลังซึ่งยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ที่ ม ากพอ สามารถรอดพ้ น และเติ บ โต จนกระทั่ ง เขาเหล่ า นั้ น สามารถท� ำ หน้ า ที่ ของตน นั่นคือการท�ำหน้าที่ของความเป็น “นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ” เพื่อเป็นการแสดง ความกตัญญูกตเวทีต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ และเพื่อเป็นเกียรติ เป็นศักดิ์ศรีต่อผู้ใช้ ค�ำว่า “นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ” รุ่นหลังต่อไป อติชาต รักษะจิตร (โอวี ๕๑)
18 ใต้ ห อประชุ ม คุยกับนักเรียนเก่าฯ
ชวนชิมรสชีวิตของ
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ “ผมก็เด็กเก่าวชิราวุธฯ นะ” ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เอ่ยขึ้นครั้งหนึ่งระหว่าง การสนทนากับพวกเราตัวแทนของอนุมานวสารที่มีโอกาส ได้ สั ม ภาษณ์ ต� ำ นานแห่ ง วงการชิ ม อาหารของประเทศ ต�ำนานที่พวกเรารู้จักกันดีในนามของ ‘เชลส์ชวนชิม’ คุณชายหมึกในวัย ๘๕ ปี ณ วันนี้ ยังคงดูแจ่มใส และแข็งแรง แม้ว่าคุณชายอาจจะพูดช้าลงไป ทว่าแต่ละ ค�ำพูดสั้นที่ๆ ออกมา ยังคงความหนักแน่น ชัดเจน และ ที่ส�ำคัญส�ำนวนพลิ้วน่าชวนหัว อันเป็นเสน่ห์ของท่านยังคง อยู่ครบถ้วน anuman-online.com
20 ใต้หอประชุม “ผมจ� ำ ติ ด ใจเลย ตอนที่ ผ มเข้ า วชิราวุธฯ เจ้าคุณภะรตฯ (พระยาภะรตราชา) โดนกริ้ว” “ตอนนัน้ สมเด็จพระพันวสาฯ (สมเด็จ พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า) ทรงรับสั่งถามว่าจะให้หลาน ข้านอนยังไง? เจ้าคุณภะรตฯ ก็ตอบว่าให้ เด็กนักเรียนนอนรวมๆ กัน พระพันวสาฯ ทรงถามแล้วใครจะเกาหลังให้หลานข้าละ? เจ้าคุณภะรตฯ ตอบว่า เด็กอายุสิบขวบ ไม่ ต้องมีใครมาเกาหลังให้แล้ว” “พระพั น วสาฯ ก็ ท รงรั บ สั่ ง ตอบ ไปว่า แต่หลานข้าจะนอนไม่หลับ เพราะไม่มี คนเกาหลัง โรงเรียนอะไรของเอ็ง” คุณชาย จ�ำเรื่องที่เจ้าคุณภะรตฯ โดนกริ้วได้แม่น เพราะนี่เป็นสาเหตุที่ท�ำให้คุณชายได้กลับ ไปอยู่วังสระปทุม สถานที่คุณชายเรียกว่า บ้าน ณ ขณะนั้น “ผมเกิดมาขวบหนึ่ง สมเด็จพระพัน วสาฯ มาเอาไปเลี้ยง ทรงเลี้ยงกับในหลวง องค์ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘) เลี้ยงคู่กัน แล้วที่ตามมาก็ คือ องค์ ๙ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙) ผมยังสอนท่านว่ายน�้ำเลย” นอกจากตัวคุณชายเองแล้ว หม่อมย่าของ คุณชายยังได้เข้าไปรับหน้าที่ในห้องเครื่อง ของพระพันวสาฯ ส่วนหม่อมแม่ของคุณชาย นั้ น ไปอยู ่ ใ นห้ อ งเครื่ อ งของสมเด็ จ พระ
ศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราช ชนนีพันปีหลวง จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกเลยที่ คุณชายจะรูเ้ รือ่ งเครือ่ งคาวหวานอาหารไทย ต�ำรับชาววังเป็นยังดี คุ ณ ชายเริ่ ม เข้ า เรี ย นครั้ ง แรกที่ โรงเรียนราชินีก่อน จนเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔ เมือ่ มีอายุประมาณสิบกว่าปี สมเด็จ
พระพันวสาฯ จึงมีรับสั่งให้ไปเข้าเรียนที่ โรงเรียนวชิราวุธฯ โดยไปฝากไว้ให้อยู่กับ พระยาภะรตราชา (คณะผู้บังคับการ) แต่ก็ เพราะไม่มคี นเกาหลังให้ คุณชายจึงอยูน่ อน ในโรงเรียนเพียงแค่ ๗ วันเท่านั้น ส�ำหรับ ช่วง ๗ วันนั้น คุณชายบอกว่า “ตอนนั้น นอนไม่หลับ ไม่มคี นเกาหลัง จ�ำได้วา่ เคยใส่ เครื่องแบบของโรงเรียน แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ ส่ ว นเรื่ อ งอาหารหรื อ เรื่ อ งอื่ น ๆ จ� ำ ไม่ ไ ด้ เพราะอยู่ ๗ วัน รู้แต่ว่าอยากกลับบ้าน” ส่ ว นเพื่ อ นๆ ร่ ว มรุ ่ น สมั ย โน้ น คุณชายจ�ำได้ว่า “ตอนนั้นมีไอ้เจียด (เจียด สุจริตกุล) ทีย่ า้ ยมาจากโรงเรียนราชินพี ร้อม กัน และก็มีไอ้เสริญ (สรรเสริญ ไกรจิตติ) อีกคนที่จ�ำได้” แต่คุณชายก็มีโอกาสได้ไป เป็นเพือ่ นกับชาววชิราวุธฯ อีกหลายคนตอน ทีไ่ ปเล่นรักบีใ้ ห้กบั มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทีมชาติไทย “รักบีน้ เี่ ริม่ เล่นทีเ่ ทพศิรนิ ทร์ ครูโฉลก (โฉลก โกมารกุล ณ นคร) เคยมาแข่งกับ วชิราวุธฯ ด้วย ผมเป็นฟูลแบ็คทีเ่ ทพศิรนิ ทร์ เป็ น ฟลู แ บ็ ค ที่ ธ รรมศาสตร์ ” ตอนนั้ น กีฬารักบี้ก�ำลังเป็นที่นิยม ไปแข่งที่สนาม ศุภชลาศัย ซึ่งคุณชายยืนยันเองเลยว่า “คน เต็มไปหมด” การเล่นรักบี้ท�ำให้คุณชาย ได้รู้จักกับ “ไอ้อาจ (องอาจ นาครทรรพ) เป็นสกรัมฮาล์ฟ ผมเป็นฟูลแบ๊ค ไอ้หลุยส์ (ครูอรุณ แสนโกศิก) ก็เล่นอยู่ด้วยกัน”
เมือ่ จบจากธรรมศาสตร์แล้ว คุณชาย ก็ ไ ปศึ ก ษาต่ อ ด้ า นนิ ติ ศ าสตร์ ที่ ป ระเทศ อั ง กฤษ ช่ ว งเวลาที่ อั ง กฤษเป็ น อี ก ช่ ว งที่ คุ ณ ชายได้ ใ ช้ ชี วิ ต ไปเที่ ย วกิ น อาหารฝรั่ ง ต่างๆ จนติดกลับมาเป็นประสบการณ์ที่มี ค่าในการชิมอาหาร หลังจากกลับมาเมือง ไทยได้สักพัก คุณชายก็ได้ไปท�ำงานให้กับ การบินไทยตั้งแต่ยังร่วมอยู่กับสายการบิน SAS คุณชายไม่ได้เริ่มเป็นนักชิมเพราะ บริษทั สายการบิน แต่เป็นเพราะบริษทั น�ำ้ มัน “ท่านภีฯ (ม.จ.ภีศเดช รัชนี) ท�ำงานอยู่กับ บริษทั เชลส์อยูแ่ ล้ว ท่านก็มาชวนให้ผมไปท�ำ ด้วย แต่ผมท�ำเป็นพาร์ทไทม์ เพราะยังต้อง ท�ำงานทีก่ ารบินไทยอยู่ ตอนนัน้ น�ำ้ มันเชลส์ อยากท�ำ Soft Sell (การขายทางอ้อม) ผม เห็นคนไทยชอบกิน ก็เลยให้ชอื่ ว่า เชลส์ชวน ชิม ได้แนวคิดมาจาก Michelin Guide ทีไ่ ป ให้ดาวความอร่อยของร้านอาหารในยุโรป” ‘เชลส์ ช วนชิ ม ’ ได้ ก ลายมาเป็ น ต�ำนานทีย่ งั คงอยูจ่ นถึงทุกวันนี้ ถ้าร้านไหนมี ป้ายเชลส์ชวนชิมอยูด่ า้ นหน้า ก็พอจะหวังได้ เลยว่าร้านนี้ต้องมีของอร่อย ประสบการณ์ จากการเป็ น นั ก ชิ ม ยั ง ท� ำ ให้ คุ ณ ชายได้ มี ส่วนในการไปดูเรื่องอาหารบนเครื่องของ การบินไทย ที่คุณชายให้ค�ำนิยามส�ำหรับ การบินไทยสมัยนั้นเองเลยว่า “ภัตตาคาร ลอยฟ้า” anuman-online.com
22 ใต้หอประชุม ส� ำ หรั บ คุ ณ ‘หมึ ก แดง’ นั้ น เป็ น ลูกชายของคุณชาย ที่คุณชายบอกว่า “ผม ไม่ได้สอนอะไร เขาท�ำเก่ง ผมว่าไอ้เชฟ ต่างๆ นี่สู้หมึกแดงไม่ได้ หมึกแดงเขาเป็น Chief of Chefs ในร้านที่อเมริกา ไก่งวงนี่ ท�ำให้ตายก็ยงั ไม่เหมือนทีห่ มึกแดงท�ำ ไก่งวง จะอร่อยอยู่ที่การอบอยู่ที่เนื้อหน้าอก จะ นุ่มหรืออะไรอยู่ที่ไฟ และที่ส�ำคัญต้องทา น�ำ้ เกรวี่ (Gravy) ตลอด” นอกจากคุณหมึกแดงแล้ว คุณชาย ยั ง มี ลู ก ชายอี ก คนที่ ชื่ อ ว่ า ม.ล.เพิ่ ม วุ ท ธ์ สวัสดิวตั น์ หรือทีเ่ พือ่ นๆ โอวีรนุ่ ๔๖ เรียกว่า ‘ไอ้จิ๋ว’ คุณชายยังเล่าปนเสียงหัวเราะให้ฟัง เลยว่า “เจ้าคุณภะรตฯ นะแค้นผมเหลือเกิน ก็เลยมาลงที่ไอ้จิ๋ว ไอ้จิ๋วเลยโดนเยอะกว่า เขาเพื่อน” เมื่ อ เราถามค� ำ ถามสุ ด ท้ า ยกั บ คุณชายว่า ‘เท่าที่รู้จักเด็กวชิราวุธฯ มา เด็ก โรงเรียนนี้เป็นอย่างไรบ้าง?’ คุณชายตอบ แทบจะทันทีเลยว่า “ผมก็เด็กเก่าวชิราวุธฯ นะ” ก่อนที่จะตอบต่อไปว่า “เด็กวชิราวุธฯ เป็นคนใจกว้าง ไม่เอาเปรียบใคร จึงมีเพื่อน แยะไปหมด เวลาไปอยู่ที่ไหนก็ไปเป็นผู้น�ำ เขา เพราะถูกสอนมาให้เป็นแบบนี้ ตาแป๊ะ (พระยาภะรตฯ) แกสอนมาดี สอนให้เป็น คนใจกว้าง ไม่เอาเปรียบใคร และเป็นผู้นำ� ” ค� ำ ตอบสั้ น ๆ เพี ย งเท่ า นี้ ข อง ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ก็พอจะเป็นค�ำ ยืนยันให้เราได้บ้างว่าประสบการณ์ที่ต้อง
เด็กวชิราวุธฯ เป็นคนใจกว้าง ไม่เอาเปรียบใคร จึงมีเพื่อนแยะไปหมด เวลาไปอยู่ที่ไหน ก็ไปเป็นผู้น�ำเขา เพราะถูกสอนมา ให้เป็นแบบนี้ ตาแป๊ะ (พระยาภะรตฯ) แกสอนมาดี
นอนโดยไม่ต้องมีคนเกาหลังเป็นเวลา ๗ วัน ในโรงเรียน น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ท�ำให้ คุณชายได้ชมิ รสชาติของความเป็นวชิราวุธฯ ส่วนจะระดับชวนชิมเลยหรือไม่นั้น ค�ำตอบ ในย่อหน้าข้างบนนี้ คงจะอธิบายได้ดีพอ
ขอขอบคุณ ร้านนัดพบ (ถ.พิบูลสงคราม จ.นนทบุรี) ที่เอื้อเฟื้อสถานที่และ ข้าวแกงอร่อยเหาะระดับเชลส์ชวนชิมให้กบั พวกเรา และพีต่ ดิ๊ พงศ์พฒ ั น์ อุทยั พิพฒ ั น์ (โอวี ๔๖) ที่เป็นธุระติดต่อและประสานงานการสัมภาษณ์ครั้งนี้ สัมภาษณ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ กิตติเดช ฉันทังกูล วรชาติ มีชูบท โอวี ๔๖ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์
เรียบเรียงและถ่ายภาพ โอวี ๗๓ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ โอวี ๗๙
โอวี ๗๙
anuman-online.com
24 เรือนจาก นักเรียนเก่าฯ เล่าเรื่องสนุก
ชีวิตทีป่ รุงเอง
เชฟดอล์ฟ
ของ
สหัส จันทกานนท์
เชฟที่ชื่อว่าดอล์ฟคนนี้ ไม่เคยไปโรงเรียนท�ำอาหาร เขา เริม่ ต้นท�ำอาหารเพราะความเบือ่ หน่ายกับรสชาติอาหารในโรงเรียน แต่ท�ำไปท�ำมาก็กลายเป็นความชอบที่พลันไปเป็นความสามารถ และพลิกมาเป็นเชฟแบบที่ไม่ได้ตั้งใจเท่าไร จนหลายๆ คนบอก ว่าเขามีพรสวรรค์ แต่เจ้าตัวกลับบอกว่า “ก็มีบ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เป็นเพราะความรักที่จะท�ำมากกว่า” “แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อนะ ว่าก๋วยเตี๋ยวที่ดอล์ฟปรุงเพื่อกิน เองเนี่ย รสชาติไม่ได้เรื่องเลย” เพื่อนของเชฟดอล์ฟเอ่ยขึ้นก่อนที่ พี่ดอล์ฟจะพยักหน้าพร้อมกับยิ้มก่อนจะยอมรับว่า “คงจะจริงนะ เพราะหลายคนบอกมาอย่างนี้เหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะผม กลัวจะเจอเพื่อนมาแย่งกินมั้ง? ก็เลยปรุงให้กินได้อยู่คนเดียว” พี่ ดอล์ฟแก้ตวั ผสมเสียงหัวเราะ แต่คำ� แก้ตวั นัน่ อาจจะเป็นความจริง ก็ได้ ความจริงทีว่ า่ ใครชอบอาหารแบบไหนก็ปรุงแบบนัน้ คงเหมือน กับชีวิตของพี่ดอล์ฟที่ชอบแบบนี้ก็ปรุงแบบนี้
anuman-online.com
26 เรือนจาก ชีวิตของเชฟคนนี้จะมีรสเลิศเหมือน ทีค่ นอืน่ ๆ ได้ชมิ หรือจะเป็นเหมือนก๋วยเตีย๋ ว ที่เชฟปรุงกินเอง? ขอเชิ ญ ลองลิ้ ม รส แล้ ว พิ จ ารณา กันเอง
ห้องครัวสอนธุรกิจ
เราไม่เคยรู้จักเชฟดอล์ฟมาก่อน ไม่ เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อเลย จนกระทั่งเรามา ได้ยินจากอาจารย์เดชา เดชะวัฒนไพศาล ที่เมื่อรู้ว่าเราเป็นเด็กวชิราวุธฯ ก็เอ่ยขึ้นเลย ว่า “คุณรู้จักเชฟดอล์ฟรึเปล่า?” จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ท� ำ ให้ อ าจารย์ เ ดชาได้ มารู้จักกับเด็กวชิราวุธฯ อย่างเชฟดอล์ฟ ได้ ก็เป็นเพราะอาจารย์ได้รับมอบหมายให้ สอนวิชา Business Creativity หรือธุรกิจ เชิงสร้างสรรค์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์เดชาเริม่ เล่าว่า “วิชา Business Creativity นี่ เป็นวิชาที่ผมไม่สามารถสอน ด้วยการเลคเชอร์ได้ ผมเลยต้องหากิจกรรม สักอย่างขึน้ มา ผมเคยศึกษาเรือ่ งของดาวินชี (Leonardo Davinci) มาก่อน ส�ำหรับดาวินชี แล้ว เขาจะต้องใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนใน การสร้ า งอะไรขึ้ น มาสั ก อย่ า ง อย่ า งการ ดรอวอิ่ง (Drawing) หรือการวาดรูปก็ใช่ การท�ำอาหารหรือคุ๊กกิ้ง (Cooking) ก็ใช่ เหมือนกัน แต่ผมก็ยังคิดไม่ออกว่าจะเอา อะไรมาใช้ในการสอนดี” “พอดีปนี นั้ ผมได้ไปญีป่ นุ่ ผมก็สงั เกต เห็นว่าที่นั่นมีโรงเรียนสอนท�ำอาหารที่ชื่อว่า
อาจารย์เดชา เดชะวัฒนไพศาล
ABC Cooking Studio อยู่ตามเมืองต่างๆ เต็มไปหมด ผมก็เริ่มสงสัยว่ามันคืออะไร พอไปดูกเ็ ห็นว่ามีคนมาเรียนท�ำอาหารกันใน ที่เล็กๆ ทีแรกเขาก็ไม่ให้ผมเข้าไปดู เพราะ ทีน่ สี่ อนเฉพาะผูห้ ญิงเท่านัน้ จนได้ไปคุยกับ เขา ก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่ก็ได้ไปยืนดู เขาสอนเป็นชั่วโมงๆ ดูเนื้อหาที่เขาสอนว่ามี อะไรอย่างไรกันบ้าง” เมื่อกลับมาเมืองไทยแล้ว อาจารย์ ก็คิดว่าที่เมืองไทยน่าจะมีโรงเรียนสอนท�ำ อาหารแบบ ABC Cooking Studio บ้าง เพราะโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่เน้นสอนให้
ผู้เรียนได้เข้าใจการท�ำอาหารตามธรรมชาติ ของแต่ละคนมากที่สุด โดยน�ำสูตรอาหาร มาเป็ น เพี ย งไกด์ ไ ลน์ ใ ห้ ผู ้ เ รี ย นได้ ค ่ อ ยๆ เข้าใจวิธที ำ� อาหารมากขึน้ ซึง่ จะท�ำให้ผเู้ รียน สามารถท�ำอาหารได้โดยที่ไม่ต้องยึดติดกับ สูตรมากนัก หลังจากทีห่ ามานาน วันหนึง่ อาจารย์ ก็มาเจอป้าย ABC Cooking Studio ในสถานที่ ใกล้กับที่ท�ำงานของอาจารย์มากที่สุด “ผม ไปเห็นป้ายนั่นที่สยามสแควร์ ผมก็ตกใจว่า ป้ายนี้มาได้ยังไง? ที่ผมตกใจก็เพราะว่าผม หาป้ายอย่างนี้ในเมืองไทยมาตั้งนานแล้ว ไม่คิดว่าจะมาอยู่ใกล้ๆ แบบนี้ วันนั้นผมก็ เดินเข้าไปเลย ไปสมัครเรียนทันที ไม่รู้จัก ใครเลยแต่ก็สมัครเรียนไปเพราะอยากรู้ว่า จะเป็นยังไงบ้าง ผมไปเรียนสามสี่ครั้งกับ เชฟอีกคนหนึ่ง กว่าที่ผมจะได้มาเจอกับ เชฟดอล์ฟ” อาจารย์เดชายอมรับเลยว่าเขากลัว เชฟดอล์ฟ แต่ที่กลัวนี่ไม่ได้กลัวจะโดนเชฟ ดอล์ฟแกล้งเหมือนตอนที่เชฟแกล้งเพื่อน สมัยอยูโ่ รงเรียน แต่อาจารย์กลัวเพราะความ คิดของอาจารย์เองมากกว่า “ตอนแรกผมก็ กลัวๆ นะ กลัวจะโดนหาว่าบ้า กลัวว่าเขา จะคิดยังไง แต่พอเล่าให้เชฟดอล์ฟฟังเสร็จ เขาก็งงว่าผมมายังไง เป็นดอกเตอร์แล้วจะ มาสอนอาหารท�ำไม?” “จนกระทั่งผมได้พานักศึกษา MBA มาเริ่มเรียน ก็เริ่มจะโอเคขึ้นหน่อย จากนั้น ก็เลยค่อยขยายไปยังวิชาอื่นๆ จนกลายมา
เมนูโปรด ทางอนุมานวสารได้ท�ำการรวบรวมเมนู โปรดของพี่ น ้ อ งชาวโอวี ส มั ย ที่ ยั ง เป็ น เด็กนักเรียนวชิราวุธฯ กันอยู่ เพื่อชวน ให้พี่ ๆ น้อง ๆ ได้หวนคิดถึงวันวานกับ อาหารจานโปรดเหล่านี้ เมนู ที่ น� ำ มาเสนอที่ นี้ ค งเป็ น เพี ย งแค่ ออเดิรฟ์ ลองท้องไม่กเี่ มนูเท่านัน้ หากพีๆ่ น้องๆ คนไหนมีเมนูโปรดที่อยากจะชวน ให้ชาวโอวีกลับมาคิดถึงและเปรี้ยวปาก กั น ขึ้ น มาอี ก ก็ ข อให้ ส ่ ง e-mail มาที่ anuman.online@gmail.com เพื่ อ แบ่งปันกับพวกเราได้เสมอครับ
ข้าวต้มหมาถอย สาเหตุ: ข้าวต้มปลาทีก่ ลิน่ คาวยังไม่หาย ไขมันติดเหงือก ผัดผักบุง้ สีดำ� ทีไ่ อ้กงิ่ เทใส่ รถครูแร้งทุกครัง้ ทีท่ ำ� ได้ ผัดไม้กวาดทีน่ า่ จะเอาไปท� ำ ไม้ ก วาดมากกว่ า อาหาร ผัดฟักทองเหลืองอร่ามที่ละลายเป็นเนื้อ เดียวกัน ปลาทูตวั แข็งๆ ทีน่ า่ จะยังเด็กอยู่ ผู้ปรุง: ครัวคณะผู้บังคับการ โดย: ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (โอวี ๔๖) anuman-online.com
28 เรือนจาก
เป็นคอร์สส�ำหรับผู้บริหารองค์กรต่างๆ” เมื่ อ ฟั ง ที แ รกเราเองก็ สั บ สนอยู ่ เหมื อ นกั น ว่ า พาผู ้ บ ริ ห ารมาท�ำกับ ข้าวจะ ได้อะไร จนเมื่ออาจารย์อธิบายให้เราฟัง “เราช่ ว ยกั น ดี ไ ซน์ ค อร์ ส นี้ ใ ห้ มี ลั ก ษณะ ส่งเสริมการท�ำงานกันเป็นทีม เราอยาก จะให้ผู้บริหารได้มีโอกาสเปิดรับโลกทัศน์ ใหม่ๆ กับการท�ำงานร่วมกับลูกน้อง โดย ผ่านการท�ำอาหารด้วยกัน ส่วนมากแล้วคน ที่มาเข้าคอร์สนี้มักจะรู้จักกันภายในองค์กร อยู่แล้ว เพียงแต่จะไม่มีความกล้าในการคิด หรือเสนอไอเดียนอกกรอบ องค์กรเขาอยาก จะให้เกิดการเปลีย่ นแปลงอยากให้คนในทีม
ออกลูกบ้ามาบ้าง การมา Work shop ใน คอร์สนี้ จะช่วยท�ำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้น” “ส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารจะไม่เคยเจอ อะไรแบบนีม้ าก่อน การมาเรียนทีน่ เี่ ราไม่ได้ สอนให้เขาท�ำอาหารนะ ไม่ได้ให้สตู รอะไรทัง้ สิ้น ที่เราท�ำคือการให้เขาได้มารู้จักกันมาก ขึ้น เราจะให้เขาท�ำอาหารเมนูแปลกๆ โดย มีวัตถุดิบที่จ�ำกัด แล้วคนที่มาร่วมคลาสก็ ต้องช่วยกันดีไซน์ดูว่าจะท�ำอาหารเมนูนั่น ออกมาแบบไหน” ผูบ้ ริหารหลายคนเห็นเมนูและวัสดุที่ ต้องท�ำก็จะบอกว่าง่ายๆ ไม่ยาก อย่างนี้กิน มาเยอะแล้ว แต่เชฟดอล์ฟก็จะมีวธิ ที พี่ ลิกทุก อย่างไปหมด สิง่ ทีผ่ บู้ ริหารวางแผนไว้กจ็ ะถูก หักมุมให้ผิดจากที่สิ่งเขาคิด ซึ่งก็จะท�ำให้ผู้ บริหารเหล่านั้นเริ่มไม่ค่อยพอใจเพราะผิด ไปจากที่เขาคาดหวังไว้ การท�ำแบบนี้ก็อาจ จะท�ำให้ผู้บริหารเขาคิดว่าเชฟดอล์ฟไปกวน เขา แต่ที่จริงแล้วการท�ำให้ผู้บริหารได้รู้สึก หงุดหงิดนิดหน่อยเป็นส่วนหนึ่งในแผนที่ พวกเราวางกันไว้ล่วงหน้า เราวางแผนยั่วให้ เขาหงุดหงิดเพื่อที่จะได้เรียนรู้จากตรงนั้น มาถึงตรงนี้ เราก็เริ่มที่จะเข้าใจมาก ขึ้น แต่ก็ยังไม่กระจ่างไปทั้งหมด จึงขอให้ อาจารย์เดชาช่วยน�ำตัวอย่างมาเป็นกรณี ศึกษาส�ำหรับพวกเราเพื่อที่จะได้เห็นภาพ ของคอร์สนี้มากยิ่งขึ้น “อย่างบริษัทน�้ำมัน ขนาดใหญ่แห่งหนึง่ ในประเทศไทย ประธาน กรรมการของบริ ษั ท นี้ ใ ห้ โ จทย์ ม าว่ า จะ
เปลี่ยนนิสัยของผู้บริหารอย่างไรดี เพราะ ผูบ้ ริหารคนนีช้ อบใช้วธิ สี งั่ การอย่างเดียว ไม่ เปิดโอกาสให้กรรมการคนอื่นพูดอะไร เขา เป็นคนจัดการทุกอย่างในห้องประชุม” “เมื่อได้โจทย์มา เราก็วางแผนกัน พอผู้บริหารคนนั้นมาเข้าคอร์สกับเรา เราก็ เปลีย่ นให้ลกู น้องเป็นคนสัง่ งานเขาดูบา้ ง แต่ ลูกน้องกลับไม่กล้าเพราะความชินที่เจอสั่ง มาอยู่ฝ่ายเดียว เราก็เลยต้องแก้ใหม่ให้เขา ไปหั่นผัก หั่นแครอทเป็นลูกเต๋าอย่างเดียว ผูบ้ ริหารคนนีเ้ ป็นคนทีพ่ ยายามมาก อันไหนที่ ใช้ไม่ได้เขาก็ทงิ้ ไปเปลีย่ นเอาอันใหม่มาแทน จนสุดท้ายได้มากองหนึ่ง ปรากฏว่าเราไม่ ใช้ส่วนที่หั่นเลย ไม่ใช้ในการท�ำอาหารอะไร ทั้งสิ้น เราแค่อยากให้เขาหั่นขึ้นมาเท่านั้น แน่นอนว่าเขาต้องไม่พอใจมาก แต่จากนั้น เขาก็เริม่ ได้รจู้ กั ตัวเอง ได้รวู้ า่ มีอารมณ์อย่าง นี้อยู่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ส่งผลดีต่อการท�ำงานร่วม กันเลย คนที่ผิดอาจจะเป็นตัวเขาเองที่ไม่ ยอมมองภาพรวมทั้งหมดก่อนจะท�ำอะไรลง ไป ซึ่งก็ไม่ได้ต่างจากการท�ำธุรกิจเลย” เมื่อได้ฟังอย่างนั้นเราเลยพอที่จะคิด ไก่น�้ำแดง ภาพออกเลยว่าคอร์สนี้จะสนุกขนาดไหน สาเหตุ: น่องไก่ราดซอสน�้ำแดงหวาน ยิ่ ง ถ้ า เราเป็ น ลู ก น้ อ งแล้ ว ได้ เ ห็ น เจ้ า นาย ชุ่มฉ�่ำ คลุกเคล้ากับข้าวสวยเย็นๆ ที่ตั้ง หัวฟัดหัวเหวี่ยงเพราะการหั่นแครอท ใคร รออยูน่ านเป็นชัว่ โมง ก็ทำ� ให้มอื้ กลางวัน จะไปคิดว่าการเข้าครัวจะสอนอะไรเราได้ วันนั้นไม่ได้แย่มากนัก เนื้อไก่หมดแล้ว เหมือนที่อาจารย์เดชาบอกว่า “อาหารเป็น ก็ยังกินน�ำ้ ซอสแดงคลุกข้าวได้อีก สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เราต้องกินอยู่ ทุกๆ วัน แต่คนเรามักจะคิดว่าเป็นเรื่องไกล ผู้ปรุง: โรงครัวรวม (๒๕๓๒-๒๕๔๒) ตัว ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็เลยไม่กล้า ไม่อยาก โดย: อาทิตย์ ประสาทกุล (โอวี ๗๑) จะเข้าไปท�ำ ผมอยากจะเอาจุดตรงนี้มาใช้ anuman-online.com
เมนูโปรด
30 เรือนจาก แล้วก็ดันไปเจอเชพดอล์ฟที่สนใจเรื่องนี้อยู่ ท�ำแบบนี้ แบบนี้น่าจะดีกว่านะ เราก็งงว่า เหมือนกัน เลยได้มาร่วมกันท�ำคอร์สสอน เป็นช่างจะมารู้เรื่องอาหารอะไรได้ยังไง แต่ ให้คนได้ย้อนมองตัวเองด้วยการท�ำอาหาร” ก็อยากลองทดสอบดูว่าจะเป็นยังไง เลยให้ เขาไปชงน�ำ้ แดงมา” พีม่ ว่ ย อภิรดี โรหิตรัตนะ เล่าความเหตุการณ์ที่เจอกับเชฟดอล์ฟครั้ง ถูกใจน�้ำแดง “ตอนนั้นที่ร้านก�ำลังตกแต่งภายใน แรกด้วยความสนุก เพราะเป็นเหตุการณ์ อยู่ ก็เลยมีช่างเดินขึ้นๆ ลงๆ อยู่เรื่อยๆ เรา ที่ไม่คาดฝันจริงๆ ว่าจะได้เจอคนที่มาขอยุ่ง ก็ไม่ได้คดิ อะไรเพราะต้องคุยเตรียมงานเรือ่ ง กับเรื่องของคนอื่นได้แบบนี้ ส่วนที่ต้องเป็น อาหารกับลูกน้อง เราก็คุยกันอยู่ดีๆ แล้ว น�้ำแดงก็เพราะนั่นเป็นน�ำ้ โปรดของพี่ม่วย “เรากินน�้ำแดงเข้าไปแก้วแรก เรา อยู่ๆ ก็มีผู้รับเหมาเดินเข้ามาหา มาขอโทษ เราแล้วบอกว่าขอยุ่งหน่อยได้ปะพี่? เราก็ เริ่มรู้สึกตะหงิดๆ ใจแล้วว่าไอ้ช่างคนนี้ต้อง งงว่าไอ้ผู้รับเหมานี่จะมาไม้ไหน แล้วเขาก็ มีอะไรดีแน่ๆ เลยให้เขาไปชงมาอีกรอบ ทีนี้ พูดเสนอแนะเลยว่าถ้าเป็นเขานะ เขาจะ ให้ไปชงมาทั้งเหยือกเลย อยากรู้ว่าจะฟลุ๊ค รึเปล่า ปรากฏว่าไม่ฟลุ๊คนะ เพราะน�้ำแดง เหยือกหลังนี่ก็มีรสหวานก�ำลังดีแบบเดียว กับแก้วเมื่อกี้เลย การชงน�้ำหวานน�ำ้ แดงให้ มีความเสมอต้นเสมอปลายได้นี่ไม่ใช่เรื่อง ง่ายๆ นะ เพราะปกติพวกความหวานจะไป กองอยู่ก้นแก้ว ด้านบนก็เลยมักจะจืด แต่นี่ เขาท�ำให้หวานทั่วถึงกันทั้งแก้ว เราเลยเอา เขาไปเทียบกับลูกน้องเลยว่าพวกคุณเป็น เชฟแต่ยังชงน�ำ้ แดงสู้ผู้รับเหมาไม่ได้เลย” จริ ง ๆ แล้ ว ตอนนั้ น ที ม งานของพี ่ ม่ว ยอยากจะได้ แ ฟนของพี่ ด อล์ ฟ ที่ มี ดี กรี จบจาก Le Cordon Bleu (เลอ กอร์ดอง เบลอ) แต่วันนั้นพี่ดอล์ฟมาด้วย มาเป็น ผู้รับเหมาที่ชงน�ำ้ แดงได้ถูกใจพี่ม่วย แค่นั้น ไม่พอพี่ดอล์ฟยังไปจัด Cheese Plate ได้ ถูกใจเจ้านายของพี่ม่วยอีก ตอนนั้นเราก็งง มากว่าท�ำไม แค่เพราะเขาจัด Cheese Plate
เราคิดไว้มาก เพราะเขาอ่านหนังสือด้วย เพราะเขาฝึกท�ำด้วย เลยรู้ว่าอะไรเป็นอะไร มากกว่าท�ำอย่างใดอย่างเดียว คิดถึงแล้วก็ ยังตกใจเลยว่าเป็นผู้รับเหมาอยู่ดีๆ มาเป็น เชฟได้ยังไง” พี่ม่วยเล่าไปพลางหัวเราะไป ว่าอะไรจะพลิกมาได้ซะขนาดนี้
มาม่ากะละมัง
พี่ดอล์ฟเริ่มเล่าถึงชีวิตที่พลิกมาเป็น เชฟว่าจุดเริม่ ต้นของทัง้ หมดอยูท่ อี่ าการเบือ่ อาหารของโรงครัว “ตอนนัน้ ทีโ่ รงเรียนเริม่ มี โรงครัวแล้ว อาหารก็น่าจะดีขึ้น แต่ยังไงซะ พวกเราก็ยังบ่นกันอยู่ดี ซึ่งก็น่าจะมีสาเหตุ มาจากความเป็นเด็ก ทีก่ นิ อะไรไปก็เบือ่ ง่าย ไม่อร่อยไปหมด ตอนเด็กๆ ก็เคยเจอเมนูที่
เมนูโปรด อภิรดี โรหิตรัตนะ
ให้กนิ กับไวน์แค่นนี้ นี่ ะ แต่เจ้านายบอกนีค่ ณ ุ ไม่เห็นหรอว่าใครทีใ่ ช่ คนนีแ้ หละ (พีด่ อล์ฟ) ถูกชะตามาก เราก็คิดว่าถูกชะตาเจ้านาย แต่ไม่ถูกกับเรานะ “แล้วเจ้านายก็บอกว่า คนที่จะจัด Cheese Plate ได้ดเี นีย่ ไม่ธรรมดา เพราะเขา จะต้องรู้ว่าชีสตัวไหนจะต้องกินกับไวน์แดง ตัวไหนแล้วรสชาติถึงจะอร่อย จากนั้นเรา ก็เลยได้รู้ว่าดอล์ฟเป็นคนที่เก่งเกินกว่าที่
ข้าวอบไก่ฉีก สาเหตุ : มั น เป็ น ยุ ค ที่ มี ไ ก่ หมู เนื้ อ น้อยมาก แต่รายการนี้ท�ำให้เด็ก ป.๓ คนหนึ่งไม่ต้องไปแย่งชิ้นไก่จาก ป.๖ แล้ ว มั น ก็ จ ะมาพร้ อ มน�้ ำ ปลาพริ ก สด ใหม่ ไม่ใช่นำ�้ ปลาขึน้ เกลือทีต่ งั้ อยูบ่ นโต๊ะ ตั้งแต่สมัยพระยาภะรตฯ ผู้ปรุง: ไม่น่าจะใช่ครัวรวม (เพราะมัน อร่อยเกินกว่า) โดย: ร.ต.สถาพร อยู่เย็น (โอวี ๗๖) anuman-online.com
32 เรือนจาก
เมนูโปรด ลาววัดสุคันธ์ สาเหตุ; ชอบมั้ยไม่รู้ รู้แต่ว่าถ้ามีงาน แถวๆ โรงเรียน จะเจอร้านลาวที่เต็มไป ด้วยโอวี จนน่าจะให้ร้านนี้เป็นครัวโอวี แห่งใหม่ได้เลย ผู้ปรุง: เจ๊ร้านนั้นน่ะแหละ (ที่มีข่าวลือ ว่ า ส่ ง ลู ก เรี ย นเมื อ งนอกด้ ว ยเงิ น ของ โอวีนี่แหละ) โดย: ร.ต.สถาพร อยู่เย็น (โอวี ๗๖) ท�ำให้งงอยู่เหมือนกันนะ อย่างมีปาท่องโก๋ จิม้ นมข้น ทางครัวรวมก็คงพยายามประหยัด ด้ ว ยการเอานมข้ น ไปผสมน�้ ำ มาให้ แ ทน ตอนนั้นเราก็คิดว่านี่เขาท�ำอะไรกัน เอามา ให้เรากินท�ำไม แต่พอได้มาท�ำงานด้านอาหารแล้ว เลยท�ำให้รวู้ า่ จริงๆ แล้วกว่าเขาจะท�ำอาหาร ให้กว่าพันคนกินได้ โดยทีค่ ณ ุ ภาพยังดีได้อยู่ อย่างนี้เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ตอนเป็นเด็ก ไม่รู้อะไรหรอกครับ” ความทรงจ�ำเรื่องที่เกี่ยวกับอาหาร ในโรงเรียนคงจะเป็นอีกหนึ่งความประทับ ใจของพี่ดอล์ฟ เพราะตอนที่พี่เขาต้องท�ำ หนั ง สื อ รุ ่ น พี่ ด อล์ ฟ รั บ หน้ า ที่ เ ป็ น ก๊ อ ปปี ้ ไรท์เตอร์ “ผมเขียนการ์ตูนเรื่องอาหารและ
เรือ่ งอะไรอีกเยอะแยะ สมัยนัน้ มีอยูเ่ มนูหนึง่ ที่ต้องมีทุกอาทิตย์เลย เมนูนั่นคือไก่ต้มข่า ผมก็เขียนไปว่าสูตรของเมนูนมี้ ไี ก่ตวั หัวปลี เข่งส�ำหรับคนเยอะ ก็เลยมีแต่หัวปลีหาไก่ ไม่เจอ” พี่ดอล์ฟหัวเราะเมื่อนึกถึงวีรกรรม วัยนักเรียนที่เต็มที่กับชีวิตจริงๆ อาการเบื่ออาหารของครัวรวมผสม กับความหิวของเด็กนักเรียนท�ำให้เกิดเป็น เมนูอาหารจานใหญ่ทสี่ ดุ ของเชฟดอล์ฟ “ผม ท� ำ อาหารจานใหญ่ ที่ สุ ด ตอนอยู ่ โ รงเรี ย น ตอนนั้น ม.๒ - ม.๓ ท�ำมาม่า ๒๕ ห่อ ใส่ กะละมังซักผ้า ท�ำกันแบบว่าใครมีวัตถุดิบ อะไรก็เอาออกมารวมๆ กัน ไอ้นั่นมีนำ�้ พริก เผา ไอ้โน้นมีน�้ำพริกตาแดง ใครมีอะไรก็
ถือกันมาคนละอย่าง มาถึงก็เทลงไปแล้วก็ คลุกๆ แบ่งกันกิน แล้วให้ผลัดกันเข้าไปกิน ทีละสามคน “การกินแบบนี้เป็นอะไรที่สามารถ ละลายพฤติกรรมได้ดี ทุกคนมีส่วนร่วม เวลาจะเข้าไปกินก็ต้องเข้าไปที่ละสามคน ที่ ต้องทีละสามคน ก็เพราะกะละมังกว้างอยู่ แค่นั้น เวลากินหัวก็ชนกันไปหมด” จุดนี ้ นีล่ ะที่กลายเป็นอีกหนึง่ บทเรียนในการสอน ผู้บริหารผ่านคอร์สการท�ำกับข้าวที่ร่วมกัน ท�ำกับอาจารย์เดชา ประสบการณ์ทมี่ รี ว่ มกัน จะท�ำให้ผคู้ นได้รจู้ กั และเข้าใจกันได้มากกว่า เดิม เรียกได้วา่ คอร์สสอนผูบ้ ริหารนีพ่ ดี่ อล์ฟ เริ่มท�ำมาตั้งแต่สมัยอยู่โรงเรียนแล้ว เมนูมาม่ากะละมังเป็นจุดเริม่ ต้นของ การเป็นเชฟของพีด่ อล์ฟ เพราะจากนัน้ พีเ่ ขา ก็เริ่มสนุกกับการท�ำอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ “เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นเลยเพราะเรารู้สึก สนุก จากนัน้ ไปค่ายลูกเสือต้องหุงข้าว ผมก็ หุงได้สุกไม่แฉะไม่ไหม้ และก็ไม่ได้รู้สึกยาก อะไรด้วย ตอนเย็นก็มีกับข้าวเหลืออยู่ ผม ใช้กระทะไฟฟ้าผัด ผัดไปก็โดนช็อตไป แต่ พอเอาของมารวมๆ กัน ก็ได้ข้าวเย็นอร่อยๆ อีกหนึ่งมื้อ” ส่วนเรื่องน�้ำแดงพี่ดอล์ฟกล้าบอก เลยว่า “ผมเป็นมือวางในการชงน�ำ้ แดง แค่ เห็นสีเห็นน�้ำก็รู้แล้วว่าต้องเติมอะไรเพิ่มขึ้น มากน้อยเท่าไร รับรองเลยว่าหวานทุกหยด” เรื่องนี้คงต้องเชื่อเพราะไม่งั้นพี่ม่วยคงไม่ หลงเสน่ห์น�้ำแดงจนรับพี่ดอล์ฟเข้าท�ำงาน
เมนูโปรด หมูผัดเต้าหู้พริกป่น
(เรียกแบบนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจ) สาเหตุ: รสชาติคล้ายๆ กับเมนูหมูผัด น�้ำมันหอยแต่มีรสของเต้าหู้ก้อนซึ่งหั่น เป็นเต๋าเล็กๆ เข้ามาผสมตัดกันระหว่าง เนื้อหมูกับเต้าหู้ รสเผ็ดเล็กน้อยของ พริกป่นช่วยให้เจริญอาหารได้มาก จ�ำ ได้วา่ เป็นเมนูในตอนเช้ามีบอ่ ยๆ ตอนอยู่ เด็กเล็กแต่พอเข้าเด็กในก็ห่างหายไป ชอบมาคู่กับแกงจืดผักกาดขาว เวลา กินต้องเอาน�้ำแกงจืดราดข้าวก่อนเล็ก น้อยให้พอชุ่มช่วยให้ข้าวไม่แข็งกระด้าง เหมือนก้นหม้อ ก่อนจะตักหมูผัดเต้าหู้ พริ ก ป่ น มาเคล้ า คู ่ กั น ไป ส่ ว นผั ก ใน แกงจืดปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้ชามเหงา ผู้ปรุง: ครัวรวม โดย: สงกรานต์ ชุมชวลิต (โอวี ๗๗) แน่นอน พี่ ด อล์ ฟ ต้ อ งสอบเอนทรานซ์ ถึ ง สองครั้งกว่าจะได้ไปเรียนมัณฑนศิลป์ ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพราะที่เลือกเรียน ครั้ ง แรกยั ง ไม่ ใ ช่ ส� ำ หรั บ พี่ เ ขา “พอได้ ที่ เรียนที่คิดว่าใช่ ก็ไปเรียนแบบไม่รู้อะไรเลย มหาวิทยาลัยก็เชยๆ ไม่ได้ชอบมาก แต่ไป anuman-online.com
34 เรือนจาก
“การ์ตูนในหนังสือรุ่น 64 ฝีมือของพี่ดอล์ฟและเพื่อนๆ”
anuman-online.com
36 เรือนจาก
“การ์ตูนในหนังสือรุ่น 64 ฝีมือของพี่ดอล์ฟและเพื่อนๆ”
anuman-online.com
38 เรือนจาก เพราะว่าชอบแถวนัน้ บรรยากาศดี ร้านขาย ของเก่าๆ ทีส่ ำ� คัญร้านอาหารอร่อยเยอะ ผม รู้สึกว่าแถวนั้นสุดยอดมาก สุดยอดทุกร้าน เลยนะ แล้วต่อมาก็มคี นมาสัง่ ยกเลิกไปหมด เลย ตลาดท่าพระจันทร์ ตลาดท่าช้าง หาย ไปหมด ผมเสียดายมากเลย เพราะนั่นคือ การท�ำลายวัฒนธรรมของมนุษย์ ส่วนชีวิต ตอนเรี ย นมหาวิ ท ยาลั ย นั้ น เรี ย บง่ า ยไม่ มี อะไร ไม่หวือหวาเท่ากับสมัยอยู่ที่โรงเรียน”
เมนูโปรด หมูก้อนทอด
(ก้อนดินสนามหลัง) สาเหตุ: จริงๆ แล้วรสชาติของหมูก้อน ทอดนี่ ไ ม่ ไ ด้ แ ย่ แต่ สี สั น และหน้ า ตา ดันไปคล้ายก้อนดินเข้าให้ จึงถูกเด็กๆ ตั้ ง ชื่ อ ใหม่ ใ ห้ ว ่ า ก้ อ นดิ น สนามหลั ง ที่ ต้องเป็นสนามหลังเพราะโรงครัวตั้งอยู่ ตรงนั้นพอดี เด็กๆ จึงแซวกันว่าแม่ครัว ไม่ต้องทอด เดินไปเก็บก้อนดินมาเสิร์ฟ ได้เลย ผู้ปรุง: โรงครัวรวม โดย: ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ (โอวี ๗๙)
This is my CHEF
หลั ง จากเรี ย นจบพี่ ด อล์ ฟ ก็ ท� ำ งาน ตกแต่งภายในมาเรื่อยๆ จนกระทั่งพี่เขา รู้สึก “เบื่อ คือผมมารู้ว่าอย่างผมน่าจะไป เรียนพวก Product Design มากกว่า หรือ ไม่ก็อะไรก็ได้ที่ไม่ต้องคุยกับลูกค้าเยอะ ผม อยากจะท�ำอะไรก็ตามที่ผมอยากท�ำ ไม่ได้ อยากท�ำเหมือนที่ลูกค้าอยากได้ จากนั้น ผมก็มีโอกาสได้มาท�ำรายการโทรทัศน์ ซึ่ง ก็เกี่ยวกับเรื่องอาหารทั้งนั้น ผมได้เดินทาง ได้เห็นหลายอย่าง เริม่ รูส้ กึ ว่าสนุกดี ช่วงนัน้ ก็เดินทางตลอด ได้ไปทั้งต่างประเทศและก็ ทั้งเมืองไทย กลายเป็นเหมือนรางวัลให้ชีวิต ด้วย ผมไม่มีครอบครัวยังไม่มีอะไรผูกมัด ช่วงนั้นก็เลยสนุกเต็มที่ ผมเป็น Production Manger ก็เลยต้องเดินทางไปดูก่อน ประสบการณ์ตรงนัน้ ก็เลยท�ำให้รสู้ กึ ว่าโลกนี้ มีอาหาร” พี่ ด อล์ ฟ ไม่ เ คยผ่ า นการเรี ย นเชฟ ที่ไหนมาก่อน เทรนเนอร์ของเชฟดอล์ฟ คือ ตัวเขาเอง “ผมไม่เคยเรียนเลย มีแต่ท�ำเอง ท� ำ ไปเลย เข้ า ครั ว เองลุ ย เอง เพราะเรา สนุกกับการท�ำอาหาร อย่างเวลาที่เห็นเมนู อาหาร ผมชอบที่จะลองคิดดูว่าภาพหน้าตา ของอาหารที่จะออกมาจะเป็นยังไง ผมชอบ ลองเดาว่าหน้าตาน่าจะต้องออกมาอย่างนี้ๆ พออาหารมาเสิร์ฟ ผมสนุกกับการที่ได้ท�ำ อะไรแบบนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกับที่เรา
คิดไว้ ถ้าเป็นเรื่องอื่นนี่ผมมองไม่รู้เรื่อง แต่ ถ้าเป็นเรื่องนี้ผมเห็นชัดบางครั้งไปเห็นเชฟ คนอื่นเขาท�ำอะไรกันแบบนั้น เราก็ลองคิด ว่าถ้าเราจะท�ำแบบนี้จะเป็นยังไง ผมไม่เคย เรียนมาก่อน เลยไม่รวู้ า่ มีกฎหรือมีอะไรบ้าง แต่ ส� ำ หรั บ ผมแล้ ว การท� ำ อาหารไม่ มี ก ฎ ตายตัวหรอก” ถึงแม้ว่าชีวิตของพี่ดอล์ฟจะเริ่มเข้า มาเกีย่ วข้องกับการท�ำอาหารหลายอย่าง ไม่ ว่าจะเป็นรายการทีวี เริ่มท�ำงานที่โรงเรียน สอนท�ำอาหาร ABC แต่พี่เขาเองยังไม่รู้สึก ว่าตัวเองเป็นเชฟ จนกระทัง่ เหตุการณ์นเี้ กิด ขึน้ “ช่วงนัน้ ผมมีเรือ่ งให้คดิ เยอะ มีเรือ่ งแฟน มีเรื่องท�ำงาน เลือกไม่ได้ไม่กล้าท�ำสักที เป็นห่วงวุ่นวายใจ แต่งานนั้นก็กลายเป็นจุด
เปลีย่ นเลย เป็น turning Point ของชีวติ เลย “วันนัน้ มีงานเลีย้ งของเจ้านายจัดให้ กับกลุม่ Y.P.O. (Young President Organization) กลุ่มนี้จะมีประชุมกันทุกปี ผลัดกัน ไปเป็นเจ้าภาพ กลุ่ม Y.P.O. เป็นกลุ่มของ นักธุรกิจระดับกี่พันล้านก็ว่ากันไป พวกเขา จะมาประชุมกัน คุยกัน ช่วยเหลือกัน เขา ก็จะมาแลกปัญหาว่าแต่ละคนมีปัญหาอะไร ก็จะเล่าให้ฟัง ส่วนคนที่เหลือก็ไม่ได้แนะน�ำ วิธีแก้ปัญหาอะไรนะ แต่เขาจะเล่าว่าถ้าเป็น เขาเจอปัญหาอย่างนี้ เขาจะท�ำอย่างไร เรือ่ ง ทีค่ ยุ ไม่ใช่เรือ่ งธุรกิจอะไรนะ คนทีม่ ปี ญ ั หาก็ เอาแนวคิดนั้นไปปรับใช้ แล้ววันนั้น Forum นี่ก็มาจัดที่เมืองไทย แล้วตรงกับงานวันเกิด ของพ่อเจ้านายผมพอดี “พอดีวนั นัน้ ผมดันมีเรือ่ งขัดแย้งใหญ่ กับแฟนของผมอยู่ ตอนนัน้ ผมก็รอ้ งไห้ แบบ เสียใจมากหัวใจสลายร้องแล้วร้องอีก ร้องจน ไม่รู้จะร้องยังไง ร้องแบบไม่มีสติแล้ว แต่ยัง ไงก็ตอ้ งท�ำงาน เพราะวันนัน้ มีงานเลีย้ งใหญ่ “ขึ้นไปห้องครัว เขาก็ส่งวัตถุดิบมา ให้เป็นครั้งแรก ผมก็ไม่รู้จะท�ำยังไงดี ท�ำไม่ ได้หรอก แล้วเจ้านายก็เข้ามาบอกว่า ‘ไม่ เห็นเป็นไร คุณเป็นใครก็ไม่มีใครรู้ ถ้าคุณ ท�ำไม่ส�ำเร็จก็ไม่มีใครรู้จักคุณ เขาก็ลืมกัน ไป แต่ถ้าคุณท�ำส�ำเร็จ คุณท�ำอร่อย มันก็ น่าที่จะต้องลุ้นหน่อยไม่ใช่หรอ?’ ผมก็ต้อง ท�ำไป ร้องไห้ไป พี่ม่วยก็เข้ามาเอาขวดเบียร์ anuman-online.com
40 เรือนจาก มาประคบตาให้” พี่ม่วยเล่าเสริมให้ฟังว่า “ดอล์ฟเขา กินเบียร์ เราก็เลยให้ไปเอาขวดเบียร์ทแี่ ช่อยู่ มาประคบตา แล้วก็เรียกเข้าไปในห้องเลย เรารู้ว่าไอ้ขวดเบียร์พอจะเอามาใช้ประคบ ได้ พอเปิดประตูออกมาเจอลูกน้องคนอื่นๆ มุงกันเต็มหน้าห้อง พวกเขากลัวว่าพี่ม่วย จะท�ำอะไรดอล์ฟเพราะท�ำงานไม่ได้รึเปล่า” พี่ม่วยปิดท้ายด้วยเสียงหัวเราะ หลั ง จากได้ ข วดเบี ย ร์ เ ย็ น ๆ มา ประคบตาแล้ว พีด่ อล์ฟก็ทำ� อาหารต่อ “จ�ำได้ ว่ามีแกะย่าง มีปลาตัวใหญ่มาจากสุราษฎร์ฯ ด้วย แล้วก็มีอีกหลายๆ จาน เพราะท�ำเสร็จ เขาก็ให้คนมาเรียกให้ลงจากชั้นสี่ ไปห้อง ที่เขากินข้าวกันชั้นสาม เราก็คิดในใจว่าจะ อะไรกันอีก อาหารก็ท�ำเสร็จหมดแล้ว “ตอนนั้นก็งงๆ เพราะเมาแล้ว พอ ลงไปในห้องก็เป็นโต๊ะยาว แขกก็นั่งเรียง กันเป็นแถวเต็มไปหมด เจ้านายของผมก็ แนะน�ำว่า ‘This is my chef.’ แล้วแขก
ทุกคนก็ลุกขึ้นยืนแล้วปรบมือดังสนั่นเลย ตะโกนบอกว่าอร่อยมาก เราก็คดิ ว่านีห่ รอที่ เขาเรียกว่า Honor เคยดูแต่ในหนังอเมริกัน ไม่เคยได้รับเองสักที มันเป็นโต๊ะยาว” “วันนั้นแหละครับ ที่เป็นจุดเปลี่ยน ของทั้งหมดเลย”เชฟดอล์ฟกล่าวปิดท้าย พร้อมกับรอยยิ้มและประกายตาแห่งความ ภูมิใจ มาถึงตรงนี้ หลายๆ คนน่าจะได้ชมิ วิถชี วี ติ ของเชฟดอล์ฟกันไปบ้างพอสมควร เนือ่ งด้วยเวลาและพืน้ ทีอ่ นั จ�ำกัด ท�ำให้เรา คัดเอาบางส่วนบางตอนมาให้ได้อ่านกัน เพียงเท่านี้ แต่แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอที่จะ ได้ชิมรสชีวิตของพี่ดอล์ฟแบบพอรู้รส ซึ่ง จะอร่อยหรือไม่ก็แล้วแต่ลิ้นของแต่ละคน จะพิจารณากันเอง หลายคนๆ อาจจะบอก ว่าชีวิตนี้ของเชฟดอล์ฟ รสจัดจ้าน ขมไป หนักเค็ม เลี่ยนหวาน หรืออีกสารพัดรส แต่ส�ำหรับพี่ดอล์ฟแล้ว เราคิดว่ารสชาติ แบบนี้ละที่กลมกล่อมที่สุดส�ำหรับพี่เขา
ขอขอบคุณร้าน Dogwood (เพิ่งเปลี่ยนเป็นร้าน Dracula Jazz & Fine Dinning) ซอยสุขุมวิท ๖๑ ที่เอื้อเฟื้อสถานที่และบรรยากาศดีๆ ให้กับพวกเรา สัมภาษณ์ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ โอวี กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ โอวี
เรียบเรียง สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ ๔๖ ธนกร จ๋วงพานิช ๗๑ พัฒน์ ไกรเดช ๗๓ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ ๗๓
โอวี โอวี โอวี โอวี
๗๓ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ ๗๗ ๗๙ ถ่ายภาพ ๗๙ วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ
โอวี ๗๙
โอวี ๗๙
42
พ.ศ.๒๕๕๔ เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ไล่ยาวจนมาถึง กรุงเทพมหานคร น�้ำจ�ำนวนมหาศาลได้ไหลท่วมบ้านเรือนของผู้คนจ�ำนวนมาก รวมไปถึง พี่น้องและครอบครัวโอวีของพวกเราหลายครอบครัว ที่ต้องประสบกับความสูญเสียอย่าง ที่ไม่มีใครคาดถึง ท่ามกลางสายสายน�ำ้ และวิกฤตทั้งหลาย เด็กวชิราวุธฯ ได้กลับมาร่วมตัวกัน ออกไปช่วยเหลือผู้อื่น ภายใต้การสนับสนุนจาก สมาคมนักเรียนเก่าฯ ที่ร่วมมือกับทาง โรงเรียน พร้อมกับพันธมิตรอย่าง สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และโครงการ สิงห์อาสาของบริษัท บุญรอดบิวเวอรีี่ ได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�ำ้ ท่วม ขึ้น ณ บริเวณสนามหลังของโรงเรียน โอวีรุ่นใหญ่ ต่างช่วยกันหาเงินทุนมาสมทบเพื่อช่วยเหลือศูนย์ฯ และประสาน งานหาความช่วยเหลืออื่นๆ มาเพืื่อสนับสนุนทีมงาน ส่วนเด็กหนุ่มลูกวชิราวุธฯ รุ่นใหม่ เป็นแนวหน้าตะลุยลงพื้นที่นำ�้ ท่วมเพื่อน�ำ ของใช้และอาหารต่างๆ ไปสร้างเสริมก�ำลังใจให้กับผู้ที่ก�ำลังย่อท้อ น�ำ้ ท่วมครั้งได้กลายเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเด็กโอวี ไม่ได้เล่นแต่รักบี้อยู่ อย่างเดียว หากแต่ยังเป็นผู้รู้เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม ดังที่ปรากฎในเนื้อร้องของ เพลงประจ�ำโรงเรียนว่า “...อีกรู้เสียสละได้ด้วยใจงาม”
anuman-online.com
44
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจาก - ข่าวประชาสัมพันธ์ วชิราวุธวิทยาลัย - กลุ่ม “Come Do Good” anuman-online.com
46 ห้องสมุด
จริงตนาการ
ชื่อหนังสือ: จริงตนาการ ผู้เขียน: Mister Tompskin (อาจวรงค์ จันทมาศ โอวี ๗๕) พิมพ์โดย: ส�ำนักพิมพ์ a book พิมพ์เมื่อ: มีนาคม ๒๕๕๔
หนังสือจากส�ำนักพิมพ์ a book เล่มนี้ บางคนอาจจะไม่รู้มาก่อนว่าเป็นผลงานการ ประพันธ์ของพี่น้องชาวโอวี ก็เพราะผู้เขียนใช้ นามปากกาว่า Mister Tompkin แต่ถ้าบอก ชื่อจริงแล้ว นักเขียนคนนี้ก็คงจะเป็นที่คุ้นหู กันในรั้วโรงเรียน นักเขียนคนนี้มีชื่อจริงว่า อาจวรงค์ จันทมาศ หรือพีป่ อ๋ งแป๋ง (โอวี ๗๕) นั่นเอง การทีพ่ ปี่ อ๋ งแป๋งเลือก Mister Tompskin มาเป็นนามปากกาเป็นเพราะชื่อนี้เป็นชื่อของ ตัวละครในนิยายวิทยาศาสตร์เล่มโปรด แค่ นามปากกาก็โปรยเป็นนัยให้พอจะเดาได้ว่า เนื้อหาใน “จริงตนาการ” จะต้องออกแนว วิทย์ๆ แน่นอน ซึ่งก็จริงอย่างที่คาดเพราะ หนังสือเล่มนีน้ ำ� มาวิทยาศาสตร์เป็นฐานในการ สื่อความคิดของผู้เขียน แต่ผู้เขียนก็ไม่ได้แสดง ความเป็นวิทยาศาสตร์ออกมาในรูปของ ตัวเลข สมการ หรือตัวแปรรูปร่างยึกๆ ยือๆ ทีม่ าพร้อม กับชื่อเรียกแปลกประหลาดส�ำหรับพวกที่ไม่ ตัง้ ใจเรียนในคาบวิทย์ฯ (ซึง่ ก็นา่ จะเป็นส่วนมาก
ของนักเรียนวชิราวุธฯ) ผู ้ เ ขี ย น เ ลื อ ก ที่ จ ะ น� ำ เ ส น อ วิ ท ยาศาสตร์ ผ ่ า นแง่ มุ ม ของเรื่ อ งทั่ ว ไปที่ ทุกคนต้องเคยพบเจอเป็นประจ�ำ แล้วเอา มากลั่นเป็นส�ำนวนกวนๆ พร้อมกับการตั้ง ข้อสงสัยในเรื่องที่หลายคนมองว่ายุ่งเหยิง แต่ขณะที่อ่านหนังสือเล่มนี้ เราจะไม่รู้สึก เลยว่าปัญหาเหล่านั้นยุ่งยากและซับซ้อน ก็ เพราะผู้เขียนได้ย่อยและคลายปมซับซ้อน ออกมาเป็นประโยคสั้นๆ คล้ายๆ สมการ เชิงตรรกะ ให้เราเข้าใจตามเหตุและผลของ ปัญหานั้นได้ชัดเจน ส�ำหรับพี่น้องชาวโอวีคนไหนที่ไม่ใช่ นักอ่านตัวยง หรือคนที่เกิดอาการคันตาม ตั ว เมื่ อ เจอตั ว หนั ง สื อ ก็ ข อให้ อ ย่ า เพิ่ ง เมิ น หน้าหนีหนังสือเล่มนี้ เพราะผู้เขียนได้แบ่ง หนังสือเล่มนีอ้ อกเป็นบทความสัน้ ๆ หลายๆ เรื่อง โดยที่แต่ละเรื่องไม่มีความเกี่ยวข้อง อะไรกันเลย นอกจากจะเป็นผลงานที่ผ่าน การกลั้ น ความคิ ด โดยผู้เ ขียนคนเดียวกัน และที่สำ� คัญยังมีภาพประกอบเป็นกราฟฟิก สวยๆ เพิ่มความน่าอ่านให้ได้ไม่ใช่น้อย นอกจากความเพลิ น ที่ จ ะได้ อ ่ า น ส�ำนวนกวนๆ ในหนังสือเล่มนี้แล้ว ผู้อ่าน อย่างเราๆ ยังจะได้คิดตามไปกับปัญหาที่ ผู้เขียนตั้งขึ้น ก่อนที่จะค่อยๆ ถูกคลี่คลาย จนน� ำ ไปสู ่ ค� ำ ตอบอย่ า งมี เ หตุ ผ ลในเชิ ง วิทยาศาสตร์ ขอรับรองได้เลยว่าคนที่ไม่ เคยเหลี ย วแลวิ ท ยาศาสตร์ หรื อ มองว่ า วิทยาศาสตร์ คือ เรื่องตู้ๆ เป็นอะไรที่บ้าบอ
คอแตกและชวนน่ า ปวดหั ว ด้ ว ยแล้ ว ละก็ คงถึงเวลาที่จะต้องย้อนมองวิทยาศาสตร์ ในมุมมองใหม่ได้แล้ว เพราะเรื่องทั้งหมด ในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ล ้ ว นเกิ ด จากหั ว ใจของ วิทยาศาสตร์ทงั้ นัน้ ซึง่ หัวใจของวิทยาศาสตร์ นีก้ ค็ อื การสังเกตและตัง้ ค�ำถาม ก่อนจะตาม มาด้วยการท�ำทุกวิถีทางเพื่อหาค�ำตอบผ่าน การทดลองนั่นเอง แต่การทดลองในทีน่ ไี้ ม่ได้เป็นเหมือน ที่ ห ลายคนเข้ า ใจว่ า จะต้ อ งมี ห ลอดและ โถแก้วใสๆ ใส่สารเคมีหลากหลายสีไว้เต็ม ไปหมด มีคนในเสื้อกราวน์สีขาว พูดจา คนละภาษาเหมือนอยู่กันคนละโลกกับเรา การทดลองไม่ได้หมายความแค่สิ่งเหล่านั้น เท่านั้น แต่การทดลองยังมีอะไรมากกว่านั้น อีก เพราะการทดลองคือการพิสูจน์ว่าสิ่งที่ เราสงสัยจากการสังเกต ต้องสามารถไขข้อ ข้องใจด้วยเหตุและผลที่มีที่ไปที่มาชัดเจน หนังสือเล่มนี้ชวนให้เราได้คิดและ ท้าทายน�ำสิง่ ทีน่ า่ สนใจและพิสจู น์ให้เห็นแล้ว ว่าวิทยาศาสตร์ไม่ได้น่าปวดหัวเหมือนอย่าง ที่ทุกคนคิด เพราะจริงๆ แล้ว วิทยาศาสตร์ อยู ่ ร อบตั ว เราและหากเรามี นิ สั ย แบบนั ก วิ ท ยาศาสตร์ แ ล้ ว ละก็ เ ราก็ จ ะพบว่ า ทุ ก ที่ เต็มไปด้วยค�ำถามให้เราได้ตั้งข้อสงสัยเยอะ แยะไปหมด และหนังสือที่ชื่อว่า “จริงตนา การ” ของพี่ป๋องแป๋งเล่มนี้ ก็ได้ท้าทายให้ เราเริ่มอยากท�ำตัวเป็นนักวิทยาศาสตร์กับ เขาได้บ้างเหมือนกัน พัฒน์ ไกรเดช (โอวี ๗๙) anuman-online.com
48 คอลัมน์พิเศษ พระนิพนธ์ของ ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที ่ ๖ (ตอนจบ)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกเสด็จเสวยสิริราชสมบัติ
ผู้เขียน ท่ า นผู ้ อ ่ า นทั้ ง หลายคงจะนึ ก ถาม ในใจกว่า ๑ ครั้งว่าท�ำไมผู้เขียนจึงได้รู้ดัง ทีก่ ล่าวมานี้ ฉะนัน้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าควรจะเล่า ประวัตติ อนนีข้ องตนไว้ในทีน่ ดี้ ว้ ย เพือ่ ให้สนิ้ สงสัยและเข้าใจเรื่องราวได้ชัดขึ้นตามควร. ข้าพเจ้าได้เคยเห็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มกุฎราช กุมารสยาม ตั้งแต่มีอายุได้ ๖ ขวบ ยัง จ�ำได้ดีว่าวันนั้นเป็นวันแต่งงานของพี่ชาย ใหญ่ของข้าพเจ้า และบ้านเจ้าสาวอยู่ใน ท้ อ งที่ ส� ำ เพ็ ง ด้ ว ยเหตุ นั้ น เสด็ จ พ่ อ จึ ง ไม่ กราบทูลเชิญเสด็จเจ้านายใหญ่โตโดยไม่ จ� ำ เป็ น เพราะทางเข้ า ออกล� ำ บากต้ อ ง เดินไปมาในตรอกเล็ก. เราเด็ก ๆ ก็วิ่งดู งานอย่างไม่ได้เอาใจใส่ว่าอะไรเป็นอะไร, สักครู่ได้ยินเสียงผู้ใหญ่เขาตื่นเต้นวิ่งบอก กันลั่นว่า “สมเด็จพระบรมฯ เสด็จ ๆ!!” เราก็พลอยวิง่ ออกไปดูดว้ ย พอเสด็จกลับแล้ว ก็ได้ยนิ ผูใ้ หญ่ ๆ โจทย์กนั จ้อกแจ้กว่า -“ตุม้ หู โอปอกั บ เพ็ ช ร์ แ น่ ะ !” แล้ ว ก็ เ งี ย บกั น ไป ต่อมาในปลายปีนั้นเอง, แม่ข้าพเจ้าก็ตายก็ แลเห็นสมเด็จพระบรมฯ เสด็จประทับเป็น ประธานในการพระราชทานอาบน�ำ้ ศพ เมื่อ ข้าพเจ้าโตขึ้น (เสด็จพ่อทรงเล่าประทานอยู่ เสมอ ๆ ว่า -“พ่อไม่ลมื พระกรุณาทีเ่ สด็จทรง พระด�ำเนินเข้าตรอกส�ำเพ็งมาเมื่อแต่งงาน
เจ้าชายใหญ่ ทั้งยังอุส่าห์ทรงแอบเอาตุ้มหู โอปอกับเพ็ชร์ใส่มาในกระเป๋าฉลองพระองค์ พอประทานน�้ ำ แล้ ว ก็ ท รงควั ก ออกมาส่ ง ประทานแซ่ม (พีส่ ะใภ้ขา้ พเจ้า), อีกครัง้ หนึง่ ก็เมื่อแม่เธอตาย, พ่อไม่มีใจจะกราบทูล ใครได้ทั่วถึงในเวลานั้น แต่ท่านก็เสด็จมา โดยไม่ได้กราบทูลทั้ง ๒ ครั้ง !” ค�ำด�ำรัส เหล่านี้ท�ำให้ข้าพเจ้ารู้สึกในพระกรุณาคุณ ของทูลกระหม่อมพระองค์นี้มาเป็นพิเศษ กว่ า พระองค์ อื่ น ๆ แล้ ว แต่ ยั ง ไม่ เ ดี ย งสา รุ่งขึ้นอีกปี, ข้าพเจ้าได้นั่งใส่บาตร์สมเด็จ พระบรมฯ เมือ่ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และ เสด็จไปทรงรับบาตร์ตามวังพระประยูรญาติ และตามประชาชนในท้ อ งถนนตามพุ ท ธ บัญญัติ นอกจาก ๓ ครั้งนี้แล้ว ก็ไม่เคยเฝ้า หรือเห็นเป็นพิเศษ เว้นแต่ในเวลามีการงาน ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็ จ ประพาศเมื อ งลพบุ รี ใ นเวลาน�้ ำ มาก ข้าพเจ้าและหญิงเหลือยังมีผมจุกอยู่ได้ไป ตามเสด็ จ กั บ เสด็ จ พ่ อ ในเรื อ มาดแจวชื่ อ “ยอดไชยา” เรือนี้จอดอยู่ใต้หลังคาแพไม้ไผ่ ปูกระดานลอยสองข้าง พวกเราผู้หญิงอยู่ ข้างท้ายและขึ้นท�ำก�ำเข้ากับบนแพนั้น ส่วน พวกเลขานุการและมหาดเล็กผู้ชายอยู่ทาง หัวเรือ วันหนึ่งมีคนแปลกหน้าหนุ่มน้อยมา อยู่ด้วยทางหัวเรือ, พอเย็นลงเสด็จพ่อเสด็จ anuman-online.com
50 คอลัมน์พิเศษ
พระยาคทาธรบดี สีหราชบาลเมือง (เทียบ อัศวรักษ์)
เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ)
เข้าไปเฝ้าแล้ว, เขาก็กรรเชียงลงเรือเล็ก ของเรา, แล้วร้องตะโกนชวนว่า -“ท่านหญิง หม่ อ ม, เด็ จ ไปเที่ ย วเถอะ หม่ อ มจะตี กรรเชียงถวาย!” เราเด็ก ๆ ก็เลยติดเขา เพราะอยากไป, แต่พี่เลี้ยงเราไม่อนุญาต เพราะกลัวจะตกน�้ำ เมื่อมีผู้ใหญ่จะพาไป เขาก็ยอม พอไปเที่ยวสนุกแล้วกลับมา, เรา ก็รู้หมดว่า -เขาชื่อนายเทียบ๑เป็นมหาดเล็ก สมเด็จพระบรมฯ โปรดให้เขาขึ้นไปหาม้า ส� ำ หรั บ ทรงที่ เ มื อ งลพบุ รี แ ละทรงฝากฝั ง เขาไปที่เสด็จพ่อ, เราจึงรู้จักกันดีมาแต่นั้น
ครั้นหนึ่งสมเด็จพระบรมฯ ทรงมีละคอน พู ด เรื่ อ งมหาตะมะที่ วั ง สวนจิ ต รลดาทาง สวนดุสิต๒. เสด็จพ่อทรงพาเราไปดูด้วย, จึงไปเห็นนายเทียบเขาเป็นตัวพระเอกใน ละคอนเรื่องนั้น, เราก็ยิ่งสนุกยิ่งขึ้นตาม ประสาเด็กที่ชอบรู้โน่นรู้นี่รวมทั้งผู้เล่นด้วย. นายเทียบเองก็สนุกสนานแอบดูเราอยู่ตาม ม่านประตูละคอน. ต่อมาไม่ชา้ เราไปดูละคอน ร้องดึกด�ำบรรพ์ของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ที่ โรงบ้านหม้ออีก, เพอินไปนั่งบอกซ์ติดกัน กั บ สมเด็ จ พระบรมฯ คราวนี้ น างเอกใน
๑
นายเทียบ อัศวรักษ์ ในเวลานั้นเป็น นายวรการบัญชา จางวางรถม้าในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ต่อมา ได้รบั พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาคทาธรบดี สีหราชบาลเมือง ๒ พระต�ำหนักจิตรลดา (องค์เดิม) ทีม่ มุ พระลานพระราชวังดุสติ ปัจจุบนั เป็นทีต่ งั้ กองบัญชาการต�ำรวจนครบาล
พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ)
เรื่องมหาตะมะนั้นเขาโผล่หน้ามาหัวเราะ ด้วย, เราก็บอกกันว่า “แน่ะ, แม่ละไม!” (ชื่อนางเอกในละคอน) เพราะไม่รู้ว่าเขา เป็นใคร จนละคอนจบฉาก ๑ ออกมาเดิน วิ่งเล่นพบนายเทียบกับนางเอกนั้น เขาก็พา กันเข้ามาหาและทักทายเล่นด้วย, เราก็เลย รูจ้ กั กับหม่อมหลวงเฟือ้ ๓ นางเอกอีกคนหนึง่ ตัง้ แต่นนั้ มา. ครัน้ ถึงเวลามีอนั เตทีส่ วนดุสติ ในเวลาเสด็จพระราชด�ำเนินยุโรปใน ร.ศ. ๑๒๖ หญิงเหลือและข้าพเจ้าวิง่ ออกไปดูการ ละเล่นกับเด็จพ่อจากพระที่นั่งอัมพรเสมอ ดังเล่ามาแล้ว จึงได้พบกับพวกละคอนนี้อีก ๓ ๔
ทุกอาทิตย์. วันหนึ่งนายเทียบถามว่า -“ท่าน หญิงหม่อม, เมื่อไรจะเด็จไปทอดพระเนตร์ ละคอนอีกล่ะ?” ข้าพเจ้าตอบว่า -“ก็เสด็จพ่อ ท่านยังไม่เสด็จนี!่ ” หม่อมหลวงเฟือ้ ก็ตอบว่า -“ก็อยากเด็จไหมล่ะ?” เราก็ร้องพร้อมกัน ออกมาว่า -“อยากซี !” เขาก็หัวเราะบอกว่า -“คราวนี้จะเล่นอีกละก็จะทูลให้ทรงทราบ” ต่อมาไม่นาน, เราก�ำลังนั่งดูข่าวเสด็จยุโรป นั้นอยู่ที่อันเต, สมเด็จพระบรมฯ ทรงก้ม พระภักตร์มาตรัสเรียกข้าพเจ้าว่า -“หญิงพูน, เอ้าตัว๋ บอกซ์ไปดูละคอน. จะเอาใครไปดูบา้ ง ก็ตามใจ!” ท่านส่งตั๋วประทานข้าพเจ้าแล้ว ก็หันไปทรงพระสรวลกับเด็จพ่อ. ข้าพเจ้า ดีใจหัวเราะกันสนุก, ท่านจึงทรงหันมาตรัส ด้วยอีกว่า -“รถของเราก็มี, ไปสั่งเขาเองซี ว่าจะให้มารับเวลาไร !” แล้วก็ทรงชี้ไปทาง นายเทียบซึ่งเป็นผู้ดูแลรถพระที่นั่งอยู่. ทั้ง พระเอกและนางเอกของละคอนสราญรมย์ จึงรุมกันเข้ามาตกลงกับเราเสียเรียบร้อย. ถึงวันก�ำหนดเล่นละคอน ม.ร.ว.โป๊ะ มาลากุล๔ (ที่ ๒ รองนายเทียบซึ่งได้ตำ� แหน่งเป็นนาย วรการบัญชาเวลานัน้ ) ก็ขบั รถพระขรรค์เพ็ชร์ มารั บ ที่ ป ระตู วั ง สวนดุ สิ ต ข้ า งพระที่ นั่ ง อภิเศกฯ หญิงเหลือกับข้าพเจ้าแต่งตัวอย่าง เช้งเพราะเพิ่งโกนจุกใหม่ ๆ และผมยาวพอ จะแต่งตัวได้แล้ว, เดินออกไปขึน้ รถนัน้ ไปวัง เพือ่ รับคุณย่า เสด็จพ่อท่านไม่เสด็จว่าเพราะ เป็น box ของข้าพเจ้า. พอไปถึงโรงละคอน
หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยารามราฆพ หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาชาติเดชอุดม
anuman-online.com
52 คอลัมน์พิเศษ
พระยาชาติเดชอุดม (ม.ร.ว.โป๊ะ มาลากุล)
กระจกทีส่ วนสราญรมย์, คนรับตัว๋ ก็พาไปนัง่ บอกซ์กลางที่ประทับแล้วนายวรการฯ ก็วิ่ง มาตามให้เรา ๒ คนเข้าไปเฝ้าทูลกระหม่อม ในโรงละคอนก่อน. เราเข้าไปวิ่งตามดูทรง แต่งหน้าตัวละคอนที่เรารู้จัก ๆ อยู่แล้วสนุก จริง ๆ. จนถึงเวลาเล่นจึงออกมานัง่ ดูในบอกซ์ จนจบแล้วจึงกลับบ้าน. แต่นั้นมาก็คุ้นเคย กับ -“ทูลกระหม่อม” ของเรา, ถึงเวลาวัน ประสูตร์หรือมีการงานหรือละคอนโขนที่ วังสราญรมย์ เสด็จพ่อก็ทรงสั่งให้เราไป ด้วย แล้วทรงจัดให้ข้าพเจ้าถวายบุหรี่ cigar ๕ ๖
หญิงเหลือไม้ขีดไฟกลักคนละหนึ่งถาดไป ด้วยในวันประสูตร์ทกุ ปี. เวลางานระดูหนาว ที่ วั ด เบ็ ญ จมบพิ ต ร์ เ ราก็ เ ข้ า ไปวิ่ ง เล่ น กั น เกรียวกราวในร้านสมเด็จพระบรมฯ และ ได้ประทานของและเงินแจกทุกปีมิได้ขาด. ถึงเวลาจะเที่ยวในงานนี้หม่อมหลวง (เฟื้อ) ก็พาไป, ยังมี “ตาฟื้น” (พระยาอนิรุธฯ ๕) และ”ตาโถ” (พระยาอุดมฯ ๖) มารวมกันไป เที่ยวเป็นกองโต ต่อมาอีก ๓ ปี สมเด็จพระบรมฯ ก็เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก�ำลังถูกเก็บด้วยความโศกเศร้าของการ สวรรคตและอยู่ในพระราชวัง, ทุกต�ำหนัก ไปเฝ้าพระบรมศพกันทุกเวลาเย็น. วันหนึ่ง ในเวลางานตอนเย็นราว ๑ ทุ่ม สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่เสด็จเข้ามาทิ้ง ลูกมะนาว (ใส่เงินเฟื้อง-โปรยทานตามแบบ โบราณ) ทางฝ่ายใน, ทรงพระด�ำเนินเข้า มาถึงหน้าพระที่นั่งพิมานรัตยาที่ข้าพเจ้า นัง่ อยู่ เพอินเวลานัน้ มีคนอยูร่ าว ๔-๕ คนใน ห้องนั้น, จึงเป็นอันได้เฝ้าอย่างตรง ๆ เป็น ครั้ ง แรกตั้ ง แต่ ท รงเป็ น พระเจ้ า แผ่ น ดิ น . พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงยิ้ ม กั บ ข้ า พเจ้ า อย่ า ง ทักทาย. ข้าพเจ้าก็หมอบกราบแล้ว เลย หมอบก้มหน้านิง่ ไม่ดอู กี , ทัง้ นัน้ เพราะก�ำลัง กลัว “ลิ้นไฟ” ของชาววังด้วยกันอยู่เหลือ เกิน. ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตท�ำให้แทบ
หม่อมหลวงฟื้น พึงบุญ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนิรุทธเทวา นายโถ สุจริตกุล ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอุดมราชภักดี
พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล)
ทุกคนเกะกะแม้เด็กเล็ก ๆ ถ้าใครไม่ตัดผม สั้นซึ่งเป็นการไว้ทุกข์แทนโกนหัวในสมัย นั้ น , ก็ ถู ก หาว่ า ตกแต่ ง เตรี ย มตั ว ไว้ เ ป็ น เจ้าจอมในรัชกาลใหม่ ! ข้าพเจ้าจึงตกใจจน หมอบนิ่งเช่นนั้น รุ ่ ง ขึ้ น อี ก วั น , หญิ ง พิ ลั ย ตามเสด็ จ สมเด็จพระพันปีหลวงและสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ลงมาจากพระที่นั่งตามเคย, พอประทับที่ เรียบร้อยแล้ว, เธอก็มาหาข้าพเจ้าและรีบ บอกว่า -“แน่ะ, นายขรรค์ (เจ้าพระยารามฯ แรกเป็นต�ำแหน่งหุ้มแพร) เขาให้บอกว่า ในหลวงกริว้ แน่ะ!” ข้าพเจ้าก็ถามว่า -“ท�ำไม ล่ะ?” เธอบอกต่อไปว่า -“ในหลวงเสด็จขึ้น วานนี้ทรงเล่ากับเขาว่า -“วันนี้พบหญิงพูน,
ทั้งตัดผมทั้งก้มหน้าท�ำสาวกับฉัน เฟื้อช่วย จัดการเอ็ดให้ทีเถอะ!” ข้าพเจ้าก็ยิงฟันไม่รู้ ว่าจะตอบอย่างไร, ซ�้ำเลยปิดต่อไป รู้กันแต่ ๓ คนคือ พิลัย, เหลือ และข้าพเจ้าเท่านั้น ต่อมาก็ได้เฝ้าและพบเพือ่ นมหาดเล็กเหล่านี้ อย่างผ่าน ๆ กันไปมาในเวลาการงาน, ไม่มี โอกาสจะพูดจากันได้มาก, จนถึงการเสร็จ พระบรมศพแล้ว สมเด็จพระพันปีเสด็จไป ประทับยังวังพญาไท, พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไป ประทับยังพระทีน่ งั่ อัมพรสถาน. พวกเจ้านาย ฝ่ายในก็เสด็จกลับไปยังสวนดุสิตอีก แต่ คราวนี้พวกที่เคยอยู่ในพระที่นั่งอัมพรฯ ไป อยู่ตามสวนต่าง ๆ เป็นต�ำหนัก ๆ ส�ำนักของ ข้าพเจ้าอยู่ที่สวนบัวและเสด็จไปเฝ้าสมเด็จ พระพันปีกันทุกอาทิตย์ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้า ตามเสด็จสมเด็จหญิงไปด้วยแล้วเลยไปหา หญิงพิลัยที่ห้อง, เวลาเดินกลับมาด้วยกัน ต้องผ่านทางอัฒจรรย์ใหญ่. วันหนึ่งเห็น เจ้าพระยารามนั่งคอยเสด็จอยู่ตรงนั้น, พอ เขาเห็นเราเขาก็กวักมือเรียก, เราก็เข้าไป นั่งคุยอยู่ด้วยครู่หนึ่งก็พอดีในหลวงเสด็จลง อัฒจรรย์มา ตรัสทักข้าพเจ้าว่า -“แน่ะ, อยู่ นีเ่ อง! ยังไงเป็นเสือป่าหรือยังเล่า ?” เวลานัน้ ท่านทรงแต่งเสือป่าเสด็จกลับมาจากสโมสร. ข้าพเจ้าหมอบกราบหัวเราะแล้วกราบทูล ว่า -“เป็นเพคะ” แล้วท่านก็เสด็จเลยไปขึ้น รถยนต์ เป็นอันว่าได้โอกาสแก้ตัวที่ถูกกริ้ว ว่าท�ำสาวเป็นครัง้ แรก ต่อมาวันหนึง่ ข้าพเจ้า เจ็บมาก เป็นจนต้องออกไปอยู่วัง, เพราะ หมอต้องการจะให้อยู่ใกล้ ๆ กับที่หมอไป anuman-online.com
54 คอลัมน์พิเศษ มาง่าย เวลานั้นเสด็จพ่อเสด็จไม่อยู่เสด็จไป ตรวจราชการทางปักษ์ใต้, และตามธรรมดา ผู ้ ใ ดอยู ่ ใ นพระราชส� ำ นั ก เจ็ บ ไข้ เขาก็ ท� ำ รายงานกราบบังคมทูลถวายทางกระทรวง วัง. ด้วยเหตุนั้นพอเสด็จพ่อเสด็จกลับมา พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงตรัสบอกว่า -“เมื่อเสด็จ ไม่อยู่, หญิงพูนไม่สบายมากจนเรียกหมอ ในตอนดึก. ที่จริงก็โตแล้ว ควรจะเอาออก มาฝึกหัดใช้สอยเอง, หม่อมฉันได้ทูลเสด็จ แม่แล้ว, ก็ทรงเห็นดีด้วย” เด็จพ่อเสด็จ กลับจากเฝ้าวันนั้นแล้วก็ตรัสกับข้าพเจ้าว่า -“ลูกพูน, เธอเห็นจะไม่ต้องกลับไปอยู่ในวัง อีก เพราะในหลวงท่านตรัสกับพ่อว่าอย่างนี้ (แล้วท่านก็เล่าดังที่ตรัสนั้น) แต่---พ่อเห็น ว่าเราไม่ควรจะบอกใคร, เพราะสมเด็จหญิง และพระอรรคชายาฯ ท่านอาจจะเข้าพระทัย ไปว่าในหลวงทรงรังเกียจท่านก็ได้ ถ้าท่าน ผู้ใหญ่ ๆ ที่ท่านทรงพระเมตตาเราทั้ง ๒ ฝ่ายจะต้องขุ่นเคืองกันแล้ว, เรายอมให้คน เขานินทาว่าเราอกตัญญูเองดีกว่า” ข้าพเจ้า ก็เลยอยู่กับเสด็จพ่อมาแต่วันนั้น ต่อมาไม่ ช้า, เสด็จพ่อเสด็จกลับมาจากสโมสรเสือป่า คืนหนึง่ ราว ๒ ยามเศษ, ทรงปลุกข้าพเจ้าขึน้ บอกว่า -“ดูรัตนวราภรณ์นี่แน่ะ ! วันนี้พ่อ ได้พระราชทาน. มีเส้นพระเจ้า (พระเกษา) อยู่ในนี้ด้วย” ข้าพเจ้าก็ลุกขึ้นลืมตาโพลง เพราะเห็นเป็นเพ็ชร์สว่างทั้งอันอยู่ที่พระศอ เสด็ จ พ่ อ , ซึ่ ง ไม่ เ คยมี . แล้ ว ท่ า นก็ ต รั ส ต่อไปว่า -“เธอก็จะได้เหมือนกันแหละ, แต่ เป็นเสมา!” ข้าพเจ้าร้อง “อื๊อ” เพราะนึกว่า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์
ท่านทรงล้อเล่น, แต่เสด็จพ่อกลับทรงยืนยัน ว่า -“จริง ๆ นะ, วันนี้ในหลวงท่านทรงแจก เข็มข้าหลวงเดิมด้วย, แล้วท่านหันมาตรัส กับพ่อว่า -“หม่อมฉันนึกถึงหญิงพูนว่าถ้า แกเป็นผู้ชายแกก็คงจะได้อันหนึ่ง. แต่นี่ หม่อมฉันสั่งแล้วว่าให้ท�ำเสมาให้. ถ้าแล้ว เสร็จเมื่อไร ทรงให้ตัวแกมารับเองด้วย !” คราวนี้นมแจ๋วของข้าพเจ้าลืมตาโตอยู่ข้าง ๆ ที่นอน ข้าพเจ้าเองก็ยังตลึงไม่อยากเชื่อนัก, แล้วก็ไม่ได้พูดกับใครอีก. พอ ๗ วันต่อมา มหาดเล็กเข้ามาตามว่า จ่ายง (เจ้าพระยา รามฯ) จะพูดโทรศัพท์ด้วย ข้าพเจ้าก็ไปที่ ท้องพระโรง เขาบอกว่าเสมาแล้ว ๆ จะมา รับไปรับพระราชทานเย็นวันนี้, ให้เตรียม ตัวไว้. ข้าพเจ้าตกใจรีบเข้าไปเฝ้าเสด็จป้า กรมหลวงซึ่งเสด็จอยู่ที่วังเวลานั้น, ทูลว่าจะ ต้องไปรับเสมาวันนี้ยังไม่มีเสื้อผ้าดี ๆ เลย จะท�ำทันหรือไม่ทันก็ไม่ทราบ. ท่านตรัสว่า
เสมาอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. (ชั้นที่ ๑)
-“ไม่ทันดอก. เอาของป้าใส่ก็แล้วกัน” แล้ว ท่านก็ให้ขนเอาออกมากองให้ดกู องโต ตกลง ข้าพเจ้าอายุ ๑๕ ปีใส่ฉลองพระองค์เสด็จ ป้าพระชันษา ๕๙ ปี – ไปรับพระราชทาน เสมา ! ตรงไหนหลวมไปก็เนา ๆ ไว้พอให้ใส่ ได้ไปทีหนึ่ง. ถึงเวลาสัก ๑ ทุ่ม พี่ชายใหญ่ ของข้าพเจ้า, จ่ายง, และนายสุนทรมโนมัย, จ่ายงนั่งข้างหน้าและนายสุนทรมโนมัยนั่งคู่ กับคนขับรถ ตรงไปยังสโมสรเสือป่า จ่ายง บอกว่ า -“นี่ ท ่ า นหญิ ง เป็นผู้ห ญิงคนแรก ที่ได้มาที่นี่” แล้วพาไปบนสโมสรเสือป่า, พระเจ้าอยู่หัวก�ำลังทอดพระเนตร์สมาชิก เล่นบิลเลียดกันอยู่ในห้องนั้นหลายคนรวม ทั้งเด็จพ่อด้วย. พอทรงเห็นข้าพเจ้าก็ทรง พระสรวลตรัสว่า -“มาแล้ว!” แล้วทรงรับหีบ เสมาจากนายจ่ายง ส่งพระราชทานข้าพเจ้า
แล้วตรัสต่อไปว่า -“กลับไปไว้ผมยาวเสีย, คราวนีถ้ า้ ตัดผมละก็จะเอาของคืนให้หมด !” แล้วก็ทรงพระสรวลกับเด็จพ่อ. ข้าพเจ้าก็ หัวร่อและรับหีบเสมามาก�ำไว้ ท่านก็ตรัส บอกว่า –“ใส่เสียซี!” เปิดขึ้นเห็นเป็นเพ็ชร์ วาบทัง้ อัน, เลยชักมือสัน่ ด้วยไม่เคยมี ต่อมา จึงรู้ว่าเสมาอันนี้เป็นอันแรกที่คนโต ๆ แล้ว ได้ พ ระราชทาน โอ๊ ย ท่ า น, ข่ า วสารว่ า ข้าพเจ้าได้เสมาและไว้ผมยาวนี้ซู่ซ่าจนถูก มองด้วยดวงตาอันเขียวจนขุ่นอยู่พักใหญ่ ต่ อ มาก็ ถึ ง เวลาเสด็ จ ไปพั ก ยั ง พระราชวั ง บางปอิน, ข้าพเจ้าอยู่กับเด็จพ่อ, ก็เป็น ธรรมดาที่จะต้องไปด้วยในที่ ๆ มีบ้านอยู่ ตามเคยมาในรัชกาลก่อน, แต่ไปอยู่กับบ้าน ไม่ได้ไปไหน ๆ ด้วย มีแต่ตาดิศ ๗ น้องชาย ซึ่งเป็นมหาดเล็กรับใช้ที่เข้าไปเฝ้าทุกวันใน พระที่นั่ง วันหนึ่งเจ้าพระยารามฯ ลงเรือ เล่นแล้วแวะมาหาที่บ้านแล้วถามข้าพเจ้าว่า -“ท่านหญิง, ท�ำไมไม่ไปเฝ้า ถ้าในหลวงทรง ทราบว่ามาแอบอยู่อย่างนี้ละ, เป็นถูกกริ้ว อีกแน่เทียว” ข้าพเจ้าตอบว่า -“ต้องทูลเด็จ พ่อก่อนซี ฉันจะไปเองเฉย ๆ อย่างไรได้” แล้วข้าพเจ้าก็เล่าถวายเสด็จพ่อเวลากินเข้า กลางวัน, ซึ่งมีเสด็จลุงสรรพสาตร์ ๘ เสวย อยู่ด้วยเป็นประจ�ำ, เด็จลุงตรัสว่า -“ลุงมี น�้ำอบฝรั่งเขาท�ำใหม่เป็นแท่ง ๆ ส�ำหรับใช้ มือถือ เอาไปถวายท่านซี” เด็จพ่อก็ทรงเห็น ด้วยเลยตรัสว่า -“ไปกับน้องก็แล้วกัน” รุง่ ขึน้
หม่อมเจ้าดิศานุวัต ดิศกุล ๘ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรสาตรศุภกิจ ๗
anuman-online.com
56 คอลัมน์พิเศษ
(จากซ้าย) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ, หม่อมเจ้าพูนพิสมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้าพิลยั เลขา ดิศกุล, หม่อมเจ้าพัฒนายุ (หญิงเหลือ) ดิศกุล
อีก ๒-๓ วันข้าพเจ้าก็เข้าไปกับชายดิศ, ตรงไปยั ง พระที่ นั่ ง อุ ท ธยานสราญรมย์ ไปนั่ ง พั ก อยู ่ ข ้ า งล่ า ง, ให้ ช ายดิ ศ ไปบอก เจ้าพระยารามฯ ว่ามาแล้ว. พอเสวยเสร็จ เขาก็มารับขึ้นไปเฝ้า พระเจ้าอยู่หัวประทับ พระองค์เดียวอยู่ที่โต๊ะเล็ก ๆ ทรงพระสรวล ทักทายอย่างกันเอง และทรงคุยเล่นครู่หนึ่ง ก็ตรัสขึ้นว่า -“เฟื้อ, ไปเอาเข็มกลัดที่ท�ำ ใหม่มาที !” เจ้าพระยารามฯ ลุกหายเข้าไป ครู่หนึ่งก็ถือหีบของเพ็ชร์มาถวาย ๒ หีบ. ในหลวงทรงเปิดทอดพระเนตร์ทั้งหมดแล้ว
ก็ทรงส่งประทานข้าพเจ้าหีบหนึ่ง ตรัสว่า -“เอาไปตัดออกให้เป็นหลาย ๆ อย่างได้. ท�ำ เป็นสายสร้อยก�ำไล, เข็มกลัด, ตามทีเ่ หมาะ ก็แล้วกัน” แหม, ข้าพเจ้าไม่รวู้ า่ จะอธิบายว่า ดีใจจนตัวพองอย่างไรถูกในเวลานั้น, เพราะ ของในหีบทีพ่ ระราชทานนัน้ เป็นเข็มพระบรม นามาภิธัยเพ็ชร์ มีพระมหามงกุฎอยู่ข้าง หน้า, อันยาวเต็มหีบ และยังไม่เคยเห็นใคร ได้เลย ข้าพเจ้าก็หมอบกราบแล้วกราบทูลว่า -“คุณย่าจะมาวันนี้พอดี, หม่อมฉันจะเอาไป อวดท่านให้ได้” ในหลวงก็ทรงพระสรวลเลย ตรัสต่อไปถึงงานกฐินไก่ปา่ วันนัน้ ซึง่ สมเด็จ พระพันปีจะเสด็จจากกรุงเทพฯ ทัง้ กระบวน ของพระองค์ทา่ น -ไปทอดพระเนตร์แห่ไก่ปา่ แล้วจะเสด็จกลับรถไฟกลางคืนวันนั้นเอง. คุณย่าข้าพเจ้าก็ตามเสด็จด้วยคนหนึ่ง. ต่ อ มาโปรดให้ ร ถหลวงมารั บ ไปดู ละคอนที่สวนจิตรลดาในเวลามีงาน, แต่ มหาดเล็กเขาโทรศัพท์มาบอกให้ขา้ พเจ้าแต่ง ตัวไว้กอ่ นจึงไม่ตอ้ งคอยนาน, ไปถึงก็พอดีได้ ดูสนุก ข้าพเจ้าก็เลยได้ไปดูการเล่นทุกครั้ง ต่อมา, แต่ที่นั่งของข้าพเจ้าอยู่ตรงพระบาท ในหลวงกับพวกเด็ก ๆ รับใช้, จึงมีโอกาส ได้ฟังพระราชาธิบายต่าง ๆ เป็นอันมาก. ข้าพเจ้ายังจ�ำได้ดีว่าอีกครั้งหนึ่งก�ำลังดูหนัง ฉายของฝรั่ง, ถึงตอนที่มีผู้หญิงคนหนึ่งขึ้น รถไปคนเดียว, พระเจ้าอยูห่ วั ตรัสกับข้าพเจ้า ว่า -“ดูผู้หญิงฝรั่งเขาซี เขาไปไหนได้โดย ล�ำพังตัว. ก็เพราะเขาเชื่อตัวของเขาเอง ! ความชัว่ นัน้ ไม่มใี ครห้ามได้นอกจากตัวเอง ! ดูอีวันทองซี, เขาเลี้ยงเก็บตัวอย่างโบราณ,
ยังชั่วได้ แม้คนในคุกที่ขังมันไว้, มันก็ยังหนี คุกออกมาได้บางคราว !!” ข้าพเจ้าเห็นตาม อย่างภูมิใจว่าท่านทรงสั่งสอน และได้กลับ มาตัง้ ใจว่าจะท�ำตัวให้ดเี ท่าหญิงฝรัง่ ทีด่ ี ดังที่ ทรงชี้เป็นตัวอย่างเหล่านั้น -ให้จงได้แต่นั้น มา ! อีกครัง้ หนึง่ ทอดพระเนตร์ละคอนนอก เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนพระไวยแต่งงาน. พระเจ้าอยูห่ วั โปรดบทเพลงมาก ถึงทรงร้อง ตามได้ และตรัสถามข้าพเจ้าว่าเคยอ่านแล้ว หรือยัง ? ข้าพเจ้ากราบทูลว่า -คุณย่าไม่ให้ อ่าน, ท่านให้อ่านแต่เรื่องรามเกียรติ์ ก็ทรง ตรัสว่า -“กลับไปเรียนท่านเถอะว่าฉันให้ อ่าน. เพราะกลอนของเขาวิเศษนัก, อย่าไป อ่านด้วยความคิดให้เป็นหยาบก็แล้วกัน !” ข้ า พเจ้ า , รั บ เพคะและยิ น ดี ที่ ไ ด้ ชั ย ชนะ คุณย่าเท่านั้นเอง-ในเวลานั้น, เพราะอ่าน หนังสือเป็นเพียงอย่าง (bed-time story) เรือ่ งนิทานแล้วก็นงั่ หัวเราะพวกตลกละคอน สบายใจ. แม้ในเวลาที่ทรงซ้อมละคอนโขน. พระเจ้าอยูห่ วั ก็โปรดทรงอธิบายว่าเหตุใดจึง ทรงเปลี่ยนท่าร�ำหรือหัวโขนเป็นอย่างนั้น ๆ. วันหนึง่ ตรัสชมตัวนางว่า- “แปลกสวย, หน้า มันหวานจริง ๆ!” ข้าพเจ้าเผยอกราบทูลขึ้น ไปว่า-- “แถมซีเพคะ-สวย” ท่านก็อุส่าห์ทรง ทนได้กลับตรัสว่า- เจ้าพระยาธรรมาฯ ๙ ละ ยืนยันทีเดียวว่าเป็นผู้หญิง, เพราะจนฝ่าตีน มันก็แดง !” ต่อมาอีกนานข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า -ความสวยของพระองค์ท่านคือ expression และ movement. ส่วนของเรา, เต็มไปด้วย
ความเขลาของหญิงสาว, จึงชมเชยความสวย อย่างรูปปั้นและรูปเขียนซึ่งไม่มีอะไรอยู่ใน นั้นเลย! เมื่องานขึ้นวังใหม่ของเสด็จพ่อในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จในงานนั้นด้วยทั้งสองวัน ผู้คนคับคั่ง ตามเคยของการมงคลขึ้ น บ้ า นใหม่ . ใน วั น แรกเสด็ จ ทอดพระเนตร์ ต� ำ หนั ก ที่ ปลูกใหม่ทั่วถึง พอเสด็จถึงห้องที่ข้าพเจ้า อยู่ ทอดพระเนตร์ทั่วแล้วก็ทรงหยุดมองที่ ฝาข้างเตียงตรัสว่า- “อ้าว, ยังไม่มีรูปเลย !” รุง่ ขึน้ เช้ามหาดเล็กหลวงก็นำ� พระบรมรูป ทรงเซ็นพระราชทานมาส่งให้ข้าพเจ้า, คิด ดูเถิดท่านว่าข้าพเจ้าควรจะดีใจสักเพียงไร ? เพราะการทีข่ า้ พเจ้าจะกล้ากราบบังคมทูลขอ เอาเองนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้. พระบรม รูปองค์นี้เป็นองค์แรกที่ทรงถ่ายเพื่อท�ำเงิน เหรียญบาทประจ�ำรัชกาล. ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระเจ้าอยูห่ วั จะเสด็จเลียบพระนคร (หมายว่าให้ราษฎร ได้เฝ้าแหนรู้จักพระองค์) ทางตวันออก. ก่อนเวลาเสด็จ, ได้เสด็จประพาศห้างบี.กริม ที่ท�ำขึ้นใหม่เป็นตึกสามชั้นตรงข้ามกับวัง เก่ า ของเรา. ก็ เ ป็ น ธรรมดาที่ เ ราจะต้ อ ง ข้ามถนนไปเฝ้าที่นั่นด้วย, ข้าพเจ้าก็เลยได้ พระราชทานของคือ สร้อยข้อมือเพ็ชร์กับ ไข่มุกหนึ่งสาย และทรงตัดฉลองพระองค์ ไก่ ป ่ า แล้ ว พระราชทานแจกเจ้ า นายและ ข้าราชบริพารที่เป็นสมาชิกไก่ป่าคนละชุด
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง
๙
anuman-online.com
58 คอลัมน์พิเศษ ส� ำ หรั บ เสด็ จ ไปประพาศหั ว เมื อ งครั้ ง นั้ น พอเด็จพ่อเด็จลุง, เข้าไปวัดพระองค์กันแล้ว พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงหันมาตรัสกับข้าพเจ้า ว่า- “ไปตัดกับเขาชุดหนึ่งไป๊!” ข้าพเจ้า ยกมือขึ้นถวายบังคมแล้วก็วิ่งตามเด็จพ่อไป เป็น -ไก่ป่า -กับเขาด้วย. แล้วก็เลยไปกับ เด็ จ พ่ อ ในกระบวนเสด็ จ มณฑลปราจี ณ ครั้ ง นั้ น ตามเคย. ในเวลาเสด็ จ ตามหั ว เมือง, ถ้าเป็นทางราชการ, ข้าพเจ้าก็อยู่กับ บ้านหรือกับเรือ, ไม่ได้ตามเสด็จด้วย. แต่ ถ้ า เสด็ จ เป็ น ไปรเวตหรื อ มี ง านพิ เ ศษเช่ น ประพาศต้น, มีออกร้าน, มีละคอน ก็เข้าไป ด้ ว ยเมื่ อ กิ น เข้ า เย็ น แล้ ว , ข้ า พเจ้ า ยั ง จ� ำ เหตุการณ์เมื่อวันเสด็จดงศรีมหาโพธิ์(เมือง ขอมเก่า) ได้ดี. เช้าวันนั้นแต่งไก่ป่ากัน ทุกคน. ข้าพเจ้านุ่งผ้าสีเขียว, ใส่เสื้อเชิ๊ต, ผู ก ผ้ า ผู ก คอเขี ย วกั บ ใส่ เ สื้ อ โค๊ ต เขี ย วที่ พระราชทาน, ไม่ได้ใส่กางเกง ลงเรือยนตร์ ไปทางแม่น�้ำ. ถึงท่าพิเศษเขาท�ำพลับพลา ไม้ไผ่มีอัฒจรรย์ขึ้น ๔ ด้าน ส�ำหรับทรง พักก่อนเสด็จขึ้นช้างไปเมืองเก่า. พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จขึ้นประทับอยู่ บนนั้นพระองค์เดียว. พวกข้าราชบริพารยืน อยู่ในหลังคาปร�ำรอบที่ประทับนั้น. ข้าพเจ้า เป็นหญิงคนเดียวนัง่ อยูท่ อี่ ฒ ั จรรย์ดา้ นหนึง่ . ราษฎรชายหญิ ง มานั่ ง คอยเฝ้ า อยู ่ เ ต็ ม ทั้ ง ๓ ด้านพลับพลา พวกตามเสด็จก�ำลังเดิน เลือกม้ากันอยู่ขวักไขว่, ก็ได้ยินเสียงราษฎร ร้องเฮ ๆ กันขึ้นตามชายไม้แล้ววิ่งเข้ามาทาง พลับพลาเป็นลูกคลืน่ ทัง้ ๓ ด้าน. เจ้าพระยา
อภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้เป็นสมุห เทศาภิบาลมณฑลปราจีณอยู่ในเวลานั้น, ลุกขึ้นไปยืนกางมือกั้นพระเจ้าอยู่หัวไว้คน เดียวบนพลับพลา, ท่านร้องโวกเวกเรียก ราชองค์รักษ์ลั่นอย่างตกใจถึงหมดสติ. แม้ จะเป็นท่าที่ น่าสงสาร, ก็ยัง ได้เห็น ความ จงรักภักดีของท่านว่าเอาตัวเองเข้ากั้นกาง พระเจ้าอยู่หัวไว้. ส่วนพวกราชองค์รักษ์ ต่าง ๆ ก็ชักดาบชักปืนออกเรียงรายกันรอบ พลับพลา เสียงใส่ลูกปืนกันดังกร๊อกแกร๊ก ๆ ดาบในฝั ก ก็ อ อกมามี แ ววอยู ่ ข าวสลอน. พระเจ้าอยู่หัวเองมิได้ทรงหวั่นหวาดแม้แต่ กระดิ ก พระองค์ ประทั บ เฉยอยู ่ เ หมื อ น มิได้มีอะไรเกิดขึ้น. ยุ่งกันสัก ๒๐ นาที, จึ ง ได้ รู ้ ว ่ า ช้ า งกั บ ม้ า เกิ ด วิ ว าทกั น ขึ้ น ทาง ชายดง, ราษฎรวิ่งหนีร้องเอะอะมา, คน ที่ อ ยู ่ ข ้ า งหน้ า ก็ ไ ม่ รู ้ ว ่ า อะไร, เลยวิ่ ง ร้ อ ง เอะอะขึ้นต่อ ๆ กัน จึงวิ่ง ๆ หยุด ๆ กัน มาเป็นพัก ๆ ราวลูกคลื่นและวิ่งเข้ามาหา พระที่พึ่งที่พระเจ้าอยู่หัว. ส่วนเจ้าพระยา อภัยฯ นั้นคิดว่ามีใครจะเข้ามาท�ำร้าย จึง เข้ากั้นกางขวางไว้. เรื่องสงบแล้วจึงได้เสด็จ พระราชด�ำเนินขึ้นช้างต่อไปยังพลับพลาที่ เสวยกลางวัน, ทอดพระเนตร์ของโบราณ แล้ ว จึ ง เสด็ จ กลั บ ทางเดิ ม ถึ ง ที่ ป ระทั บ ที่ บ้ า นเจ้ า พระยาอภั ย ฯ ในเมื อ งปราจี ณ . เวลาเกือบค�่ำ, นี่เป็นเรื่องตื่นเต้นที่ข้าพเจ้า เคยเห็นเป็นครั้งแรกในชีวิต, และนั่งเฉย นิ่งดูอยู่ที่อัฒจรรย์พลับพลานั้นแต่คนเดียว. ดูเหมือนชวนจะเห็นว่า -สนุกยิง่ กว่าตกใจใน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมด้วยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) และคณะผู้ตามเสด็จที่หน้าท�ำเนียบเจ้าพระยา อภัยภูเบศร์ เมืองปราจิณบุรี คราวเสด็จพระราชด�ำเนินเลียบมณฑลปราจิณ ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน – ๑๒ ธันวาคมพ.ศ.๒๔๕๕ แถวที่ แถวที่ แถวที่ แถวที่ แถวที่
๑ ๒ ๓ ๔ ๕
(จากซ้าย)เจ้าหมืน่ เสมอใจราช (อ้น นรพัลลภ) พระยาเทพทวาราวดี (สาย ณ มหาชัย) นายจ่าเรศ (โถ สุจริตกุล) นายจ่ายง (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) หม่อมเจ้าปิยบุตร จักรพันธุ์ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) นายกองเอก เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระด�ำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุน สรรพศาสตร์ศุภกิจ เสนาบดีกระทรวงวัง หลวงศักดิ์ นายเวร (เล็ก โกมารภัจ) แถวที่ ๖ นายพลโท พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง – ชูโต) สมุหราชองรักษ์ นายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร ผู้บัญชาการกระบวนเรือเสด็จ พระราชด� ำ เนิ น พระต� ำ รวจโท พระยาราชวั ล ภานุ สิ ษ ฐ (อ๊ อ ด ศุ ภ มิ ต ร) สมุหพระต�ำรวจหลวงรักษาพระองค์ แถวที่ ๗ พระยาบุรีนวราษฐ (ชวน สิงหเสนี) ปลัดบัญชาการสภาจางวางมหาดเล็ก เจ้าพระยา อภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
anuman-online.com
60 คอลัมน์พิเศษ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพ ทรงขับรถยนต์ Wanderer ที่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง พระราชทาน มีหม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล และหม่อมเจ้า พูนพิศมัย ดิศกุล (ผู้ประพันธ์) โดยเสด็จ
เวลานั้น, ซ�้ำยังกลับมาขันเจ้าพระยาอภัยฯ ต่อไปเสียด้วย. เมื่อเวลาเสร็จงานในระดูหนาวแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมักจะเสด็จไปประทับ ที่ พ ระปฐมเจดี ย ์ ทุ ก ปี ม า และมี ซ ้ อ มรบ พวกเสื อ ป่ า เล็ ก ๆ น้ อ ย ๆ ประจ� ำ ทุ ก วั น เสาร์วันอาทิตย์ตามรอบ ๆ องค์พระเจดีย์. พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกตรวจการเองด้วย ทรงรถ Wanderer เล็กไปหยุดลงทรงพระ ด�ำเนินกับคบไฟฟ้าเป็นแห่ง ๆ. เสาร์หนึ่ง, ทรงตัดสินให้จบว่าฝ่ายไหนแพ้ชนะที่ตรง หลังบังกะโลบ้านพักของเด็จพ่อ. ข้าพเจ้า ไม่รู้ว่ามีอะไร, นอกจากมีเสือป่าคนหนึ่งเข้า
มาบอกว่า -ให้ดับไฟที่เรือนเสียให้มืดราว ๔ ทุ่มเศษ, ก็นึกเดาว่าคงซ้อมรบอยู่แถวใกล้ ๆ นั้น แล้วก็เดินอยู่บนเฉลียงรอบ ๆ เรือน, เห็นไฟแวบ ๆ ตามพุม่ ไม้เป็นพัก ๆ จนถึงราว ๒ ยามเศษก็ได้ยินเสียงเด็จพ่อตะโกนเรียก ว่า-- “ลูกพูน ๆ ! ลงมานี่” ข้าพเจ้าลงไปเห็น เด็จพ่อก�ำลังทรงคอยอยูท่ ปี่ ระตูหอ้ งรับแขก, และพระเจ้าอยู่หัวก�ำลังเสด็จเข้ามาในห้อง นั้นกับนายเสือป่าต่าง ๆ กอง. เด็จพ่อตรัส บอกต่อไปว่า-- “ไปจัดเครื่องว่างถวายเดี๋ยว นี้เร็ว !” ข้าพเจ้าก็วิ่งจี๋ไปเรียกนมแจ๋วและ บ่าวไพร่ให้ลกุ ขึน้ ช่วยกันจัดการเลีย้ งปัจจุบนั นั้น. ของกินทุกอย่างที่มีอยู่ในบ้านในครัว, ได้เอาลงจัดใส่จานชามจนไม่รู้ว่าอะไรเป็น อะไร, เปิดเครื่องกระป๋องท�ำซุปต้มเข้าต้ม, ปลาแห้ง, ปลาเค็ม, ทั้งปิ้งทั้งทอด, ของดอง ต่าง ๆ ก็ควักออกจากขวดกันเป็นแถว ๆ ของ หวานเป็นลูกไม้ได้สิ่งเดียว. แต่เครื่องเสวย ของพระเจ้าอยูห่ วั ค่อยยังชัว่ หน่อย เพราะเอา ของที่เตรียมไว้ถวายเด็จพ่อประจ�ำวันเสาร์ นั้นเองตั้งถวาย. เมื่อตัดสินกันแล้ว, ก็เสด็จ เข้าห้องเสวยรวมกับเจ้านายและข้าราชการ โต๊ะหนึ่ง นอกจากนั้นเราตั้งโต๊ะที่ชาลารวม กัน, มีเข้าต้มทั้งหม้อ, กับเป็นจาน ๆ และ ผลไม้ใส่ถาด. มีจานชามช้อนส้อมถ้วยน�้ำ ถ้วยแก้วตั้งไว้ให้. ใครจะรับประทานอะไรก็ แบ่งไปเอง. เสวยเสร็จ, เสด็จกลับแล้วเราก็ หัวเราะออก, และนอนหลับสบาย. แต่นนั้ มา ก็เลยเป็นธรรมเนียมส�ำหรับวันเสาร์. มีการ ตัดสินที่บังกะโลแล้วเสวยเครื่องว่างเกือบ
ทุกอาทิตย์. ข้าพเจ้าก็จ�ำเป็นอยู่เองที่จะต้อง ท�ำของเลีย้ งให้ดขี นึ้ ตามก�ำลัง, มานึกดูเวลานี.้ ก็ดีใจที่ได้ทำ� และท�ำได้, ข้าพเจ้าตั้งเครื่องอยู่ หลายวันเสาร์, และเลีย้ งพวกเสือป่าด้วยราว อาทิตย์ละ ๒๐๐ คน ในเวลาที่มีอายุ ๑๖ ปี. ด้วยเหตุนี้, ข้าพเจ้าจึงกลายเป็นคน ท�ำเครื่องถวายเป็นพิเศษเสมอมา. แต่นั้น เสด็จลุงสรรพสาสตร์ฯ ก็ทรงเป็นพระอาจารย์ สอนการครั ว ประทานข้ า พเจ้ า ที่ พระปฐม เสด็จพ่อโปรดให้ปลูกครัวเล็ก ๆ ติดกับที่ เสวยขึ้นทางหลังบังกะโล เช้าขึ้นข้าพเจ้าก็ ไปฝึกหัดท�ำอาหารแล้วเลยกินกลางวันพร้อม กับเด็จลุงและเด็จพ่อทุกวัน วันใดท�ำสิง่ พิเศษ ก็น�ำไปตั้งเครื่องพระเจ้าอยู่หัว จนเสวยแล้ว ก็กลับบ้าน บางครั้งเสวยนานก็กลับพร้อม กับเด็จพ่อเย็น ๆ ทีเดียว. ถ้าหายไปนานก็ ถูกกริ้ว, แต่ที่เคยถูกกริ้วจากพระองค์จริง ๆ ครั้งเดียวที่สนามจันทร์, พอทอดพระเนตร์ เห็นก็พระภักตร์ตรัสว่า -“ไปท�ำสาวอยูท่ ไี่ หน เสียนาน !” ฉะนั้นอย่างช้า ๒ อาทิตย์ก็ต้อง เข้าไปเฝ้าเสียครั้งหนึ่งเสมอ. รุ่งขึ้นอีกปี, ถึงเวลาจะซ้อมเดินทาง เตรี ย มการเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปบู ช า พระเจดีย์ยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช. ทรงกะให้ เ สื อ ป่ า เดิ น ทางจาก พระปฐมเจดี ย ์ ไ ปวั ด หว้ า เอนใกล้ ส ถานี บางตาลทางรถไฟสายใต้ เวลาเย็ น ก่ อ น ก�ำหนดเสด็จ ๒-๓ วัน, ข้าพเจ้าเฝ้าอยู่
กั บ เสด็ จ พ่ อ , เด็ จ ลุ ง ที่ ส นาม, สมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวทรงหันมาตรัสถามให้เด็จพ่อ ได้ยนิ ว่า -“ยังไง, หุงเข้าเป็นไหม ?” ข้าพเจ้า กราบทูลว่า -“เป็นเพคะ” ทรงสั่งต่อไปว่า -“ไปหุงให้กินนะ !” จึงเป็นอันไม่มีปัญหาว่า ข้าพเจ้าจะต้องไปตามเสด็จหรือไม่ไป. เด็จ พ่อตรัสแต่เพียงว่า -“เธอไปกับเด็จลุง ๑๐ ในกองเสบียงซี, พ่อจะต้องไปเข้ากระบวน เสด็จ” ถึงเวลากินเข้าก็ปฤกษากันถึงเรือ่ งจะ ไปพักแรมนั้นหนึ่งคืน เด็จลุงทรงออกความ เห็นว่า -“เราจัดของใส่เกวียนไปในกระบวนก็ แล้วกัน. ถึงวันเสด็จก็ให้ท่านเสด็จก่อนตาม เวลาย�่ำรุ่ง, เราท�ำเครื่องที่นี่เสียให้เสร็จใส่ ปิ่นโตร้อนขึ้นรถ ๓ โมงเช้าตามไป, ก็พอดี เวลาเสวย” เป็นอันตกลงกันเช่นนั้น ถึง
(จากซ้าย) หม่อมเจ้าพัฒนายุ ดิศกุล, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ, หม่อมเจ้าพูนพิสมัย ดิศกุล (ผู้ประพันธ์)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นผู้ช่วยเกียกกายเสือป่า จึงต้องทรงรับผิดชอบ เรื่องกองเสบียง
๑๐
anuman-online.com
62 คอลัมน์พิเศษ วันเสด็จ ๆ พ่อทรงม้าไปสนามจันทร์แต่เช้ามืด, และให้ ม หาดเล็ ก คุ ม ของไปกั บ กระบวน เกวียน. เด็จลุงสรรพสาสตร์, เด็จอาว์กรม ขุนมรุพงษ์, และข้าพเจ้า -พวกกองเสบียง ก็ไปทางรถไฟกัน ๓ คน. ถึงสถานีบางตาล ราว ๔ โมงครึ่งเตรียมดูแลอุ่นเครื่องแล้ว ก็ไปตั้งเครื่องเวลาเสวยที่ศาลาการเปรียญ ของวั ด นั้ น แล้ ว กลั บ มาพั ก ในโบสถ์ เ ล็ ก ใกล้ ๆ กัน, ท�ำเครือ่ งว่างเครือ่ งเย็นส่งไปตาม เวลาเป็นถาดเล็ก ๆ บ่ายวันหนึ่งใน พ.ศ. ๒๔๕๕ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงประทับเล่นในสนาม หน้าพระที่นั่งสนามจันทร์, ข้าพเจ้าไปเฝ้า กับเสด็จพ่อวันนั้น, และคุยกันถึงเรื่องซ้อม รบประจ�ำสัปดาห์ แล้วเลยไปถึงเรือ่ งบังกะโล ซึ่ ง เป็ น ที่ ส มเด็ จ พระบรมฯ เคยเสด็ จ อยู ่ มาแล้วเหมือนกัน จึงมีพระราชด�ำรัสถาม ข้าพเจ้าว่าอยู่ห้องไหน ? กราบทูลว่าอยู่ใน ห้องเล็กทางข้างเรือน. ในหลวงตรัสว่า -“โต แล้วจะไปเบียดเด็จพ่ออยู่ทำ� ไม ท�ำเรือนอยู่ ใหม่ก็แล้วกัน” แล้วตรัสสั่งเจ้าพระยารามฯ ว่า -“เฟื้อ, บอกให้พระยาวิศุกรรมฯ ๑๑ เขา ไปท�ำให้ทีเถอะ ให้มีสะพานเดินถึงกันกับ เด็จพ่อก็แล้วกัน” คิดดูเถิดท่านว่าข้าพเจ้า จะดีใจอย่างไรบ้าง ! แม้อย่างนั้นเมื่อหมอบ กราบรับพระราชทานแล้วก็มิได้เอาใจใส่ว่า จะปลูกตรงไหน แปลนเรือนจะเป็นอย่างไร, ก็ไม่ได้ถามหรือบอกกล่าว ด้วยข้าพเจ้ากลัว นักที่จะถูกหาว่าเป็นคนโลภ ! แล้วสมเด็จ พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี)
๑๑
(จากซ้าย) หม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า ดิศศานุวตั ิ ดิศกุล, หม่อมเจ้าทรงวุฒภิ าพ ดิศกุล
พระเจ้าอยูห่ วั ก็ทรงพระปรารภต่อไปถึงเรือ่ ง เรียน, ตรัสว่าพระองค์โปรดประทับในที่ เงียบและเล็ก ๆ อย่างนี้ ทรงบ่นว่า -“เวลานี้ ที่นี่ (สนามจันทร์) ก็โตเกินไปเสียแล้ว ! อยากมี ใ หม่ ใ ห้ เ งี ย บ ๆ และเล็ ก สบาย ๆ ” เจ้าพระยารามฯ สอดขึ้นไปว่า -“อย่าเชื่อ ท่ า นหญิ ง , ลงท้ า ยก็ ก ลายเป็ น บาแรค barrack อย่างสนามจันทร์อีกน่ะแหละ! ตัง้ ต้นก็เล็ก ๆ อย่างนีห้ ลายหนแล้วละ !! ไม่ชา้ ก็ตอ่ โน่นต่อนี่ !” ในหลวงทรงพระสรวลแล้ว ตรัสว่า -“มันมักรู้ทีหลังว่าไม่พอ” รุ่งขึ้นอีกปี เสด็จประพาศชายทะเล (อ่างหิน) ข้าพเจ้าได้ไปตามเสด็จครั้งนี้ด้วย
กันกับหญิงเหลือเป็นครั้งแรก เพราะเด็จพ่อ ทรงไปทูลขอพระอรรคชายาเธอให้เธอมาอยู่ เป็นเพือ่ นข้าพเจ้าต่อมา, ด้วยชายดิศต้องไป เข้าโรงเรียนนอนค้างเสียแล้ว เสด็จกลับจากอ่างหินแล้ว ก็มีงาน ขึ้นพระต�ำหนักจิตรลดาระโหฐาน ต่อไปก็ม ี งานเลีย้ งและการเล่นของสโมสรสามเหลีย่ ม (ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเป็นพิเศษ) กันทุก อาทิตย์ ถึงระดูน�้ำมากเสด็จประพาศเมือง ราชบุ รี แ ละเขางู เมื่ อ เสด็ จ กลั บ มาแล้ ว ก็ ตั้งต้นเตรียมกระบวนเสด็จดอนพระเจดีย์. วั น หนึ่ ง ก� ำ ลั ง ตรั ส อยู ่ กั บ เด็ จ พ่ อ ที่ ส วน จิตรลดาฯ ทรงหันมาสั่งข้าพเจ้าว่า -“ไปท�ำ กับข้าวให้กินนะ !” แล้วก็ตรัสต่อไปถึงเรื่อง ผู้หญิงขี่ม้าว่าอานไขว้อย่างผู้หญิงฝรั่งใช้กับ ใส่สะเกิ๊ดนั้นเท่ากับเขาผูกไว้กับอานม้า, ไม่ ได้ขี่บังคับม้าจริง ๆ จัง ๆ. โปรดให้ข้าพเจ้า ไปตัดเสื้อชุดขี่ม้าใหม่ให้เป็นกางเกงพอง ๆ คล้ายกับผ้านุ่ง และให้ตัดเสื้อให้ยาวลงมา คลุมกางเกงเสียในเวลายืนหรือเดิน. มา เห็นสมัยผูห้ ญิงใส่กางเกงขาสัน้ short อย่าง ผู้ชายจนสั้นเต่อถึงโคนขาแล้ว ข้าพเจ้าอด นึกถึงพระเจ้าอยูห่ วั ไม่ได้สกั ครัง้ เดียว -ท�ำให้ นึกถามในใจว่า -นี่ถ้าทอดพระเนตร์เห็นจะ ทรงมีพระราชด�ำรัสว่าอย่างไร ? คงจะได้ฟงั ค�ำขัน ๆ เป็นแน่ รุ่งขึ้นจากวันนั้น, ข้าพเจ้า ก็ไปตัดเสื้อขี่ม้าตามพระบรมราชโองการที่ ห้างแบดแมน, เป็นราคา ๖๐ บาททั้งชุด. ที่ คอเสื้อมีสีขาวซึ่งเป็นสีเสือป่ากองม้าหลวง,
และได้พระราชทานผ้าผูกคอเป็นลายเสือ อย่างพวกผู้ชายด้วยอันหนึ่ง ใส่หมวกสาน สีดำ� แบบ hunting เมื่อเตรียมเครื่องแต่งตัว เรียบร้อยแล้ว, ก็จัดของแห้งส�ำหรับเดินทาง จนครบถ้วน ในระหว่ า งนี้ มี เ รื่ อ งแปลกเกิ ด ขึ้ น เรื่องหนึ่งดังนี้ -บ่ายวันหนึ่งเจ้าพระยารามฯ มาหาข้าพเจ้าที่วังว่า -“ในหลวงรับสั่งให้มา ต่อว่าท่านหญิงว่า ท�ำไมจึงหาว่าท่านทรงให้ ท่านหญิงกลัด (พี่สาวคนที่ ๓ ของข้าพเจ้า) เข้าไปรับเข็มพระนามในห้องพระบรรธม” ข้าพเจ้าตกใจร้องขึ้นว่า “อู๊ย, อะไรกัน !” แล้วก็พูดไม่ออก. เจ้าพระยารามฯ หน้า เฉยพูดต่อไปว่า -“ในหลวงท่านว่า “เฟื้อ เป็นพยานฉันเถอะ ฉันเดินผ่านมาส่งให้แก ทีเ่ ฉลียงแล้วก็มาห้องกินเข้า” ข้าพเจ้าเสียใจ จนเกือบร้องไห้และพูดออกไปว่า -“โธ่, ดิฉนั พูดกับใครทีไ่ หนกัน?” เจ้าพระยารามฯ ตอบว่า “ก็เจ้าช่วง ๑๒เขาทูลว่าอย่างนั้นนี่” เจ้าช่วง คนนี้ คื อ น้ อ งชายคนละพ่ อ กั บ หม่ อ มอบ แม่เลี้ยงข้าพเจ้า เคยเป็นโขนหลวงตัวนาง แล้วเข้ามาถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง ใน เวลานั้นก�ำลังได้เป็นนางเอกคู่กับเจ้าพระยา รามฯ และเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรธม อยู ่ เขาไปมาหาสู ่ กั บ พี่ ส าวที่ บ ้ า นเราอยู ่ เสมอ. เจ้าพระยารามฯ พูดต่อไปว่า -“ยัง มียิ่งกว่า นั้นอี ก , เขาว่ า ท่ า นหญิ ง ให้ ห มอ จีนแลดูว่าจะเป็น “ฮองเฮา” (มเหษีภาษา เจ๊ก) ในหลวงให้มาเตือนด้วยว่าเรื่องชอบ
นายช่วง พัลลภ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอินทราธิบดี
๑๒
anuman-online.com
64 คอลัมน์พิเศษ ดูหมอนี้ท่านทรงขอเสียทีเถิด เพราะท่าน เคยเสี ย คนที่ ท ่ า นรั ก มากมาคนหนึ่ ง แล้ ว คื อ ท่ านถู ก ถวิ ล . เพราะอยู่ดี ๆ ก็เ กิดไป ให้หมอดู ดูบอกว่าตกที่นั่งพิเภกถูกขับให้ ระวังตัวหลบ ๆ หลีก ๆ เสีย. ท่านถูกถวิล ก็เลยหลบจนห่างเหินหนีท่านไปเอง” เมื่อ เจ้าพระยารามฯ พูดจบแล้วข้าพเจ้าก็ตอบ ว่า -“ตายจริง ๆ เรื่องที่จริงมีดังนี้ ตั้งแต่แรก มาอยู่วังใหม่นี้ เช้าวันหนึ่งมีคนมาตามดิฉัน ว่าคุณย่าให้ไปหาท่านที่เรือน, ดิฉันก็ไป ๆ ถึงเห็นคุณย่าทรัพย์นอ้ งคุณย่ากับหมอจีนนัง่ อยู่กับคุณย่าด้วย. ท่านบอกดิฉันว่า -“เจ้า หญิง เธอยังไม่ค่อยสบาย ให้จีนแสนี่เขาให้ ยากินดูสักทีเถิด แม่ทรัพย์เขาว่าดี” ดิฉัน จะท�ำอย่างไรได้ นอกจากยอมให้ตรวจด้วย ไม่รู้เลยในเวลานั้นว่าแกเป็นหมอดู ตานั่น แกก็จับชีพจรอย่างหมอเท่านั้นแหละ แล้ว ก็บอกว่าจะให้ยามากิน แล้วคุณย่าก็บอกให้ ดิฉันกลับได้ แล้วจะส่งยามาให้. ดิฉันก็กลับ มาเรือนต่อมาอีก ๒-๓ วัน นมแจ๋ว (แม่นม ข้าพเจ้า) อมยิม้ เข้ามาหาดิฉนั ในห้องบอกว่า “ท่านหญิงคะ จีนแสคนที่รักษาท่านหญิงแก บอกว่า ท่านหญิงจะเป็นฮองเฮาแน่ะ ดิฉนั ยัง ได้บอกเลยว่า “อะไรกัน ? แกไม่ได้พดู อะไร อย่างนั้นสักที นมแจ๋วไปเอามาจากไหน?” นมแจ๋ ว ตอบว่ า -“หม่ อ มอบมาบอกฉั น นีค่ ะ ว่าพอท่านเด็จกลับแล้ว คุณทรัพย์ทา่ น ก็ถามจีนแสว่า เด็กคนนี้จะเป็นอย่างไร ? แกก็ตอบว่าจะเป็นฮองเฮา” ดิฉันก็ได้บอก แม่นมแจ๋วแต่วันนั้นว่า “ไม่จริง ฉันไม่ได้ยิน
ฉันไม่รู้ด้วย” ส่วนเรื่องพี่หญิงกลัด ดิฉันจะ ถามเจ้าคุณง่าย ๆ ว่า เข็มอย่างนั้นน่ะดิฉัน ได้มานานแล้วไม่ใช่หรือ ? และก็ยงั มีอกี เป็น หลายอย่างที่ดิฉันได้รับพระราชทาน ท�ำไม จะต้องมาอิจฉากับของสิ่งเดียวกันนี่เท่านั้น เรื่องราวก็ไม่ได้เอาใจใส่, เพราะได้ยินพี่ หญิงกลัดมาทูลเด็จพ่อว่า “นายช่วงเขาเอา วิก (ผม) มาให้หม่อมฉันท�ำให้เขาใส่จะเล่น ละคอนเป็ น นางเอกในเรื่ อ งหั ว ใจนั ก รบ. หม่อมฉันก็ท�ำให้ วันนี้เขามาบอกว่า ขอให้ ไปรับพระราชทานรางวัลทีส่ วนจิตรฯ เขาจะ คอยรับอยู่ทางโน้น. เป็นธรรมดาเด็จพ่อก็ดี พระทัยด้วย ตรัสว่า -“ก็ไปซี” และพวกเรา รวมทั้งดิฉันด้วยยังได้แสดงความยินดีกับ ท่านวันนั้น แล้วก็ไม่เคยพูดอะไรอีกเลย นี่ คือความจริง ดิฉนั ขอเบิกพยานพีน่ อ้ งทุกคน ดิฉันขอให้เจ้าคุณช่วยกราบทูลตามที่เล่ามา นี้ด้วยให้ละเอียด” เจ้าพระยารามฯ ฟังแล้ว ก็เห็นใจข้าพเจ้าแล้วลากลับไป ข้าพเจ้านึก น้อยใจและเสียใจปนกันหลายอย่างในเวลา นั้น เพราะข้าพเจ้าเกลียดคนที่ท�ำอะไรเพื่อ ความโลภและทะเยอทะยาน แต่บัดนี้กลับ ปรากฏว่าข้าพเจ้าเองเป็นผู้หมายมาดอย่าง หมดยางอาย. ความจงรักภักดีที่มีอยู่เท่าใด ก็กลับกลายเป็นความเห็นแก่ตัวหมด. ด้วย เรือ่ งนีเ้ ป็นต้นเหตุทที่ ำ� ให้ขา้ พเจ้ารูส้ กึ ร้อนตัว อยู่เสมอ. ต่อมาถึงก�ำหนดวันไปเฝ้าข้าพเจ้า ก็ไปตามเคยด้วยใจเต้น. เพราะจะไม่ไปก็ เกรงว่าในหลวงจะเข้าใจพระทัยว่าข้าพเจ้า โกรธท่านที่ทรงเตือน. แต่เมื่อไปถึงแล้วก็
(จากซ้าย) หม่อมเจ้าพูนพิสมัย ดิศกุล (ผูป้ ระพันธ์) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพ, หม่อมเจ้าพิลัยเลขา ดิศกุล, หม่อมเจ้าพัฒนายุ ดิศกุล
ไม่มีอะไรแปลกและไม่มีใครพูดถึงเรื่องนั้น สักคน แม้ในหลวงจะทรงอ่านข้าพเจ้าอยู่ พักหนึ่ง, แต่แล้วก็กลับทรงดีด้วยเช่นเคย เหมือนมิได้มอี ะไรเกิดขึน้ . เราก็พดู เล่นกันอยู ่ แต่กับเจ้าพระยารามฯ และพระยาอนิรุธฯ ผู้รู้เรื่องนี้ดี. พองานระดูหนาวเสร็จแล้ว, ก็เสด็จ พระปฐมเจดีย์, วันไปถึงบังกะโลก็เห็นเรือน ที่พระราชทานข้าพเจ้าแล้วเสร็จเรียบร้อย, และยิง่ กว่านัน้ , เจ้าพระยาศรีวไิ ชยชนินทร์๑๓ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ได้จัด งานขึ้นเรือนใหม่ไว้พร้อมเสร็จ, มีนิมนต์ ๑๓
นามเดิม ชม สุนทรารชุน
พระสงฆ์สวดมนต์ ๕ องค์ในวันนั้น, รุ่งขึ้น เช้าเลีย้ งพระเวลาเพลเป็นเสร็จงาน. พอตอน เย็นพระเจ้าอยูห่ วั ก็เสด็จเสวยน�ำ้ ชาและทอด พระเนตร์เรือนใหม่ ข้าพเจ้าและหญิงเหลือ ช่วยกันจัดเรือนท�ำเครื่องและตั้งเครื่องเอง. มีพระราชด�ำรัสถามว่า -“เตรียมตัวเสร็จแล้ว หรือยัง?” ทรงหมายถึงไปตามเสด็จดอนพระ เจดีย.์ วันนัน้ มีแต่เด็จพ่อและเด็จลุงและพวก ตามเสด็จ ๒-๓ คน. พระเจ้าอยู่หัวโปรด เรือนและตรัสว่า -“เล็กพอครอบครัวนาย พันก็อยู่ได้ !” มีห้องนอน ๒ ห้องกับห้องน�ำ้ อย่างใหม่ ๑ ห้อง และเฉลียงหน้าหลังนัง่ เล่น ได้ชั้นบน, มีห้องกินเข้า, ห้องเก็บของ, ห้อง บ่าว, และเฉลียงตรงบรรไดในชั้นล่าง, เป็น เรือนไม้เกลี้ยง ๆ มีสิ่งพิเศษส�ำหรับในเวลา นัน้ คือ ห้องน�ำ้ อย่างใหม่หอ้ งเดียวทีป่ หู นิ และ มีเครือ่ งเคลือบ. ข้าพเจ้าได้ทราบในภายหลัง ว่าเป็นราคาถึง ๒๐,๐๐๐ บาทในเวลานั้น เรือนหลังนีก้ ย็ งั คงติดอยูก่ บั บังกะโลจนบัดนี.้ ข้าพเจ้าขึ้นเรือนแล้วได้ ๗ วันก็ออก เดินทาง เวลา ๑๐ ทุ่ม (๔ น.) วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๕๖ นมแจ๋วกับเด็กเงินคนใช้ ข้าพเจ้าคุมของไปกับเกวียนในกองเสบียง เสด็จพ่อ, ข้าพเจ้า, หญิงเหลือ, และชายดิศ พร้ อ มด้ ว ยข้ า ราชการทางมหาดไทยและ เลขานุการ, ขึน้ ม้าประจ�ำตัวออกจากบังกะโล ข้ามทางรถไฟไปเมืองก�ำแพงแสน เวลาย�ำ่ รุง่ . สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากสนาม จันทร์พร้อมด้วยกองเสือป่าทุกกรมกองเวลา anuman-online.com
66 คอลัมน์พิเศษ โมงเช้า. เสด็จเป็นกระบวนม้าในเวลาตอน เช้าและบ่ายทรงพระเก้าอี้หามไปกับกอง ลูกเสือทุกวัน. เสด็จพ่อเสด็จตรวจทางและที่ ประทับพลับพลาไปก่อน, บางคราวพลับพลา ปลูกไม่ดี, ก็ต้องจัดที่ถวายใหม่ในปัจจุบัน ทันด่วน, ถ้าเรือนไม้ไผ่หลังไหนดี, ก็เลือก หลังนั้นถวาย. ครั้งหนึ่งไปพบที่ประทับร้อน ไม่ดี. หลังที่เขากะไว้ให้เราดีกว่าทุกหลัง. ด้วยแปลนดีและร่มเย็น, ต้องจัดถวายแล้ว เราไปปูพรมกินและนอนกันอยูต่ ามใต้ตน้ ไม้. พักหายเหนื่อยแล้วก็รีบไปยังพลับพลาแรม. ถ้าวันใดมีเวลาเหลือมากก็ไปเฝ้าครู่เดียว แล้วรีบล่วงหน้าไปก่อนกระบวนเสด็จ. เมื่อ ถึงเมืองแล้วก็ลงมือท�ำอาหารทันที. ถ้าถึง เร็วมีเวลาพอ, ข้าพเจ้าก็ทำ� เครือ่ งว่างไปคอย รั บ เสด็ จ ที่ พ ลั บ พลา, และมี พ ระยาพิ ศ ณุ เวชสาตร์ (คง ถาวรเวช) เป็นหมอไปด้วย บางคราว, เพราะถ้าวันใดอากาศไม่คอ่ ยจะดี พระยาพิศณุฯ ก็บดยากวาดใส่ถ้วยไปยืน คอยกราบทูลว่ากันหวัด ! แล้วแกก็เอานิ้ว ป้ายยาเข้าไปถวายค�ำนับ ในหลวงทรงอ้า พระโอษฐ์รบั ให้แกกวาดถวายเหมือนเด็ก ๆ! ตรงกันข้ามกับของข้าพเจ้า คือพดซาสด ใส่ ไ ส้ พ ริ ก กั บ เกลื อ น�้ ำ ตาล -แก้ เ หนื่ อ ย! ถวายแล้วกลับมาท�ำเครื่องเย็น. เสร็จแล้ว เรากินเข้ากันแล้วก็จัดเครื่องแห้งและขนม ผลไม้ ส� ำ หรั บ เสวยกลางวั น ไปมอบให้ กั บ มหาดเล็ก คือพระยาพินิจฯ (สาด) แล้วจึง เก็บของนอน, เตรียมตัวเดินทางต่อไปทุก ๆ วัน. ถ้าพักที่ใด ๒ วัน เช่นเมืองอู่ทองและ
ดอนพระเจดีย์เอง. ก็โปรดเกล้าฯ ให้มีกีฬา ในเวลาเย็นและการเล่นในตอนเสวยค�ำ่ แล้ว. พวกเสือป่าที่ไป, เล่นดูกันเองอย่างอยู่ใน ค่าย, มีผู้หญิง ๒ คนแต่ข้าพเจ้าและหญิง เหลือที่โปรดให้มหาดเล็กมาตามไปดูเวลา ที่เขาจะลงมือเล่น. เราแต่งตัวกันอย่างน่า ขัน. เพราะมีแต่ผา้ นุง่ แดงอาบน�ำ้ กับเสือ้ ขาว ใส่เล่นคนละ ๒ ตัวไปในกระเป๋าเดียวกัน, นอกจากนัน้ ก็คอื เสือ้ กางเกงขีม่ า้ และเสือ้ เชิต๊ ส�ำหรับเดินทาง. ฉะนั้นเราจึงนุ่งผ้าแดงอาบ น�ำ้ ใส่เสื้อขาวผ่าอกเกลี้ยง ๆ มีริบบิ้นผูกหาง เปียคนละอัน แลดูไม่ผิดกับราษฎรสามัญ เท่าใดนัก. แต่พวกผู้ชายก็ไม่มีอะไรจะแต่ง นักเช่นเดียวกัน เพราะการเดินป่าจ�ำกัดให้ มีแต่สิ่งที่จ�ำเป็น ตั้งแต่พระเจ้าอยู่หัวลงมา, นอกจากยุนิฟอร์มแล้วก็มีกันแต่กางเกงเจ๊ก กั บ เสื้ อ ชั้ น ใน. วั น ที่ ทุ ก คนสวยที่ สุ ด ก็ คื อ วั น มี พ ระราชพิ ธี บู ช าสั ง เวยถวายสมเด็ จ พระนเรศวรมหาราชของเราทีห่ น้าพระเจดีย์ นัน้ . พวกเราผูห้ ญิง ๔ คนนัง่ จุดธูปเทียนบูชา อยู่แถวหน้าพวกราษฎร, เห็นพวกเสือป่า ทุกกรมกองยืนนิ่งเป็นแถวยาวเป็นเหล่า ๆ มิได้กระดุกกระดิก, ในเวลาที่เสด็จพ่อก�ำลัง อ่านค�ำดุษฎีสังเวยถวายแด่สมเด็จพระมหา วีรบุรุษของเรานั้นด้วยถ้อยค�ำอันจับใจ แม้ แม่นมข้าพเจ้าก็นั่งน�้ำตาไหลเป็นทาง. เมื่อ เสร็จงานพระราชพิธีนั้นแล้ว ทุกคนบอกว่า -ถ้าพม่าเกิดหลุดเข้ามาในเวลานั้น เห็นจะ เคราะห์ร้ายเต็มที ! ด้วยนอกจากเสือป่า หลวงที่ตามเสด็ จ ในกระบวนสนามจั น ทร์
แล้ว ยังมีเสือป่าและลูกเสือตามหัวเมืองมี เมืองสุพรรณบุรี, เมืองกาญจนบุรี และกรุง ศรีอยุธยา ยกกองมาสมทบด้วยอีก. เมือง หลังนีพ้ ระยาโบราณ (พร เดชคุปต์) น�ำเดิน ทางมาตามทางสมเด็จพระนเรศวรเสด็จ, ยัง ได้พบค่ายคูป่ ระตูรบของไทยทุกแห่งเหลือทิง้ ไว้ให้เห็นพอรูไ้ ด้ทกุ ทาง. พวกเราไปทางเมือง กาญจนบุรี ก็ยังเห็นค่ายพม่าไปตลอด, และ มีราษฎรตามมาด้วยเมืองละมาก ๆ เพราะ ทุกคนตื่นเต้นศรัทธาในองค์พระเจดีย์นั้น ทัง้ อยากเฝ้าอยากเห็นพระเจ้าอยูห่ วั พระองค์ ปัจจุบันของเขาด้วย. เสด็ จ พ่ อ ทรงเคยเล่ า ประทานว่ า ข้ า พเจ้ า ได้ ตั้ ง ต้ น เดิ น ทางแต่ มี อ ายุ ไ ด้ ๖ เดือน เพราะท่านทรงมีราชการที่จะต้องไป ตรวจทางมณฑลอยุธยาโดยไม่ทนั รูพ้ ระองค์, วันนั้นเสด็จกลับจากในวังค่อนข้างดึก. จึง
ปลุ ก แม่ ขึ้ น บอกว่ า จะต้ อ งเสด็ จ ไปทางหั ว เมืองทางเรือพรุ่งนี้แต่เช้าและตรัสถามว่า -“หม่อมแม่จะไปหรือไม่ไป?” แม่ทูลตอบ ว่าไม่ไป, เพราะลูกยังเล็กนัก. ครั้นพอหลับ ไปตื่นหนึ่งก็ลุกขึ้นจะลงไปเรือน, ท่านทรง ถามว่าจะไปไหน ? ก็กลับทูลว่าตกลงใจว่า จะไปทั้งลูกด้วย. แล้วก็ลงไปจัดของหอบ เอาข้าพเจ้าใส่เบาะไปในเรือนั้นด้วย. ต่อมา ข้ า พเจ้ า ก็ ไ ด้ ไ ปกั บ พ่ อ แม่ ด ้ ว ยเกื อ บมิ ไ ด้ เว้นเที่ยว ทั้งทางบกทางเรือ, ขึ้นเขาลงห้วย ล่องแก่ง-ก็ไปแล้วทุกทิศทาง, แต่ -ไม่มีสัก แห่งที่จะสนุกเหมือนไปป่าครั้งนี้. ป่าเป็น เมืองสวรรค์ ที่สอนให้ ม นุ ษ ย์ รู ้ จั กการเป็ น มนุษย์จริง ๆ. ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าหลอกลวงแต่ อย่างใด ! เช้าตรูเ่ ราก็ตา่ งลุกขึน้ ล้างหน้าแต่งตัว เก็บของกันทุกคน, รีบกินอาหารเช้าด้วย
พระเจดีย์ยุทธหัตถี ที่ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีบวงสรวงสังเวย เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖
anuman-online.com
68 คอลัมน์พิเศษ
นายพลโท พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง–ชูโต)
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
ความสดชื่นของชีวิตที่หลับสนิทด้วยความ เหนือ่ ยอ่อนจากการเดินทาง, แล้วก็ตงั้ ต้นขึน้ ม้ากันใหม่. อากาศหนาวเย็น. แลไปทางไหน ก็เห็นแต่เขา, หมู่ไม้ทั้งดอกทั้งใบสดชื่นด้วย น�ำ้ ค้างพรมตามธรรมชาติ. จนวันหนึง่ เด็จพ่อ ตรัสกับเราว่า -“เห็นไหมลูก, ว่าธรรมชาติ งามกว่าของที่ทำ� ขึ้นเป็นไหน ๆ” เราวิ่งม้าไป ในตอนเช้ากันเต็มที่, จนพระอาทิตย์สูงขึ้น ทุกทีเข้าเขตร์กลางวันก็พอดีฝุ่นตลบ. ถ้า เป็นวันทางไกลถึงที่พักกลางวันราวเที่ยง, พอลงจากหลังม้าก็ไม่รู้จักหน้ากันได้, เรา รีบไปล้างหน้าล้างมือ แล้วก็กินอาหารที่ผูก ไปกับอานม้าแต่เพียง ๒ สิ่งแล้วลงนอนแผ่ อยู่ตามแคร่ตามดินราวสัก ๑ ชั่วโมง, ก็ ออกเดินทางอีก. ในตอนบ่ายมักจะเป็นทาง ที่ค่อนข้างใกล้ที่ประทับแรม, และอยู่ใกล้ หมู่บ้านทั้งแดดก็ค่อนข้างแรงกว่าเวลาเช้า
นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)
จึงวิง่ เร็วไม่คอ่ ยจะได้. เราวิง่ เหยาะ ๆ อย่างเร็ว, ผ่านหมู่บ้านและราษฎรที่ออกมาตั้งเครื่อง บู ช าและจุ ด เที ย นท� ำ น�้ ำ มนต์ ใ นเวลาที่ ในหลวงของเราเสด็จผ่าน. ทุกคนทีม่ ขี องดี ๆ เช่นไม้ในป่า เนื้อสัตว์และผลไม้ มีพุดซา, น้อยหน่าฯ ลูกโต ๆ เป็นพิเศษ, ก็เอาใส่พาน ใส่ ถ าดมานั่ ง คอยทู ล เกล้ า ฯ ถวายด้ ว ย ตนเอง. พระเจ้าอยู่หัวทรงหยุดทักทายและ พระราชทานเงินแจก, แล้วโปรดให้พระยา พินจิ ฯ รับของเสวย -“ไปส่งท่านหญิง” ข้าพเจ้า จัดของเสวยเล่นมีลูกกวาด, ช๊อกโคแล๊ต, หมูหยอง, ลูกบัวผัดและพุดซาผง พุดซา แผ่น ห่อกระดาษใส่ขวดใส่กระป๋องรวม ไปในกระเซ้ า เล็ ก ๆ ใบหนึ่ ง ส� ำ หรั บ เสวย เล่นในตอนทรงพระเก้าอี้หาม. วันหนึ่งเจ้า พระพินิจฯ มาบอกว่า “รับสั่งให้ขอลูกกวาด อีกขวดหนึ่ง” ข้าพเจ้าตกใจถามว่า -“อะไร,
เสวยมากจริง?” พระยาพินจิ ฯ ตอบว่า -“ท่าน พระราชทานแจกให้ลูกเสือกินด้วย!” เมื่อ ถึงที่ประทับแรมแล้ว, พวกต�ำรวจก็เข้าป่า ไปหาเนื้อสัตว์ เราก็ช่วยกันขุดดินท�ำเตาหุง เข้าและล้างถ้วยล้างจาน. การท�ำกับเข้าในป่า นั้น, สนุกดีจริง ๆ เพราะเราไม่รู้ว่าจะมีอะไร ท�ำในวันใด, เวลาใด, หรือจะท�ำเป็นอะไร ก็ต้องคิดขึ้นเดี๋ยวนั้นตามสะดวก. บางวัน พวกต�ำรวจได้ไก่ป่าอ้วน ๆ มาให้จนจวนค�่ำ, เราไม่มเี วลาจะท�ำอะไรให้ดกี ว่าการคลุกเคล้า เกลือพริกไทยแล้วก็ใส่ไม้ย่างด้วยไฟกิ่งไม้ และใบไม้พอให้สกุ เนือ้ นุม่ . แต่ไก่นนั้ ก็กลาย เป็นอร่อยไปได้ ทัง้ นัน้ ก็เพราะทุกคนเหนือ่ ย อ่อนและต้องการอาหาร ! วันหนึ่งข้าพเจ้า จัดอาจาดอังวะที่ท�ำใส่ขวดไปด้วยกับปลา เค็ม, เนือ้ เค็ม, และไข่เค็มไปตัง้ เครือ่ ง. รุง่ ขึน้ พระยาพินิจฯ มาบอกว่า -“รับสั่งให้ทูลว่า -“ขอซ�ำ้ อีกที !” ซึง่ ท�ำให้ขา้ พเจ้าดีใจจนตัวพอง คืนหนึ่งในคราวเสด็จดอนพระเจดีย์, พอตกค�่ำก็เกิดมีฝนตกหนัก ทุกคนต้องวิ่ง หอบเอาแต่เครื่องเดินทางและอานม้าของ ตัวเข้าไปนอนในเกวียน. แม้ในพลับพลาที่ พระเจ้าอยู่หัวประทับก็ต้องกางเต๊นผ้าใบขึ้น ถวาย. ของสิ่งไรที่จะยอมให้เปียกได้ก็ทิ้งไว้ ตากแดดเอาในวันรุ่งขึ้น, เป็นบุญที่มีฝนแต่ คืนเดียว. แต่แล้วก็ทำ� ให้เราสนุกสนานกราว เกรียวกันไปพักหนึ่งเช่นเคยมา. ทุกคนได้ ร่วมศุขร่วมทุกข์กันไปตลอดทางไม่มีวันว่าง ที่จะมานั่งขอดข้อนนินทาว่าร้ายจับผิดซึ่ง
กันและกัน. ไม่มีการฟุ่มเฟือยหรูหราอย่าง เสกสันปั้นขึ้น. มีแต่ความสดใสชื่นบานตาม ธรรมชาติอยู่รอบตัว. มีชีวิตอยู่อย่างสะดวก สบาย, และสะอาดปราศจากราคีใด ๆ ทุกคน หน้าตาสดใสด้วยต่างคนต่างมีงานมีหน้าที่ เป็นของคน ๆ. แล้วต่างคนก็ต่างช่วยเหลือ ร่วมทุกข์ศขุ สนุกสนานด้วยกันไปตลอดทาง, แม้จะได้ผ่านรอยเสือรอยช้างไปบ้างก็มิได้ มีใครหวาดหวั่น ด้วยมีความเชื่อมั่นในหมู่ เหล่าที่ตัวไป. ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่า -ป่า คือสวรรค์ -ของโลกมนุษย์. ความศุขที่ข้าพเจ้าได้รู้จักครั้งนี้, จบ ลงเมื่อเสด็จออกจากเมืองกาญจนบุรี, ในวัน ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ ด้วยเปลี่ยน กระบวนเสด็จเป็นทางเรือ. ล่องแม่น�้ำลง มาประทับที่ค่ายหลวงบ้านโป่ง แขวงเมือง ราชบุรี. เราลงเรือยอดไชยา เรือไฟจูงมา จอดอยู ่ ริ ม ตลิ่ ง หน้ า พลั บ พลา. ที่ ส มเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประทับเพื่อการซ้อม รบกับเสือป่ากองกรุงเทพฯ ซึ่งเจ้าพระยา ยมราช์๑๔ ยกออกไปเป็นผูร้ กั ษาทางพระปฐม เจดีย์กะแปลนว่าจะตัดสินการซ้อมรบครั้ง นี้ที่พระราชวังสนามจันทร์. พอถึงบ้านโป่ง ได้หนึ่งวัน รุ่งขึ้นเจ้าพระยารามฯ ก็มาเฝ้า เสด็จพ่อที่เรือทูลว่า -“พระเจ้าอยู่หัวรับสั่ง ให้ขา้ พระพุทธเจ้ามาทูลชมเชยท่านหญิง -ว่า แข็งแรงและเป็นประโยชน์จริง ๆ ทัง้ ไม่เจ็บไม่ ไข้มาได้จนตลอดทาง ! แต่ต่อไปนี้ทรงเป็น ห่วงเพราะจะเข้าเขตร์ซอ้ มรบจริง ๆ จะโปรด
เสนาบดีกระทรวงนครบาล และผู้บัญชาการกองเสือป่ารักษาดินแดนกรุงเทพฯ นามเดิม ปั้น สุขุม
๑๔
anuman-online.com
70 คอลัมน์พิเศษ ให้เด็จไปในกองเสบียงก็กลัวทางโน้นเขาจะตี ตัดก�ำลัง. ถ้าเป็นเช่นนั้น, จะตกใจเกิดเจ็บ ไข้ขึ้นในตอนปลายเปล่า ๆ จึงทรงเห็นว่าให้ เสด็จกลับไปกับพระยาสุรเสนาฯ ๑๕ (กลิ่น สมุหราชองครักษ์) เสียก่อนจะดี, เพราะอีก ราว ๒ วันเท่านั้นก็คงเสร็จกลับไปพบกัน.” เมื่อเข้าระดูร้อนเดือนมีนาคมก็ถึง ก�ำหนดเสด็จพระราชด�ำเนินกลับกรุงเทพฯ เพื่องานปีใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ พองานทั้ง ทางราชการและทางส่ ว นพระองค์ ที่ ส วน จิตรลดาฯ เสร็จ, ก็เสด็จไป week-end ที่ บ้านแป้งเรือนเรา. เด็จพ่อ, ข้าพเจ้า, หญิง เหลือ, ไปจอดเรือยอดไชยาอยู่ริมตลิ่ง, ถึง เวลาเสวยก็ขึ้นไปเสวยรวมกันและข้าพเจ้า ก็ขึ้นไปตั้งเครื่องบางเวลา. เมื่ อ เสด็ จ ประทั บ อยู ่ พ ระราชวั ง บางปอินได้สัก ๑ อาทิตย์, สมเด็จพระพันปี หลวงก็ เ สด็ จ ขึ้ น ไปประพาศตามล� ำ แม่ น�้ ำ ด้วยตามระดูกาล. ทรงหยุดประทับเยี่ยม พระเจ้าอยู่หัวที่ทางฝั่งบ้านแป้งบ้านของเรา, และหญิงพิลัยบอกมายังข้าพเจ้าว่า สมเด็จ โปรดเสวยเครื่องแปลก ๆ เวลานี้ ให้จัดท�ำ ถวายเป็นถาดเล็ก ๆ. เสด็จพ่อทรงทราบ แล้วก็ตรัสสั่งให้ข้าพเจ้าไปท�ำและน�ำไปเอง. ฉะนั้น ถึงเวลาเย็น ๆ ท�ำเครื่องเสร็จแล้วก็ ลงเรือเล็กไปตั้งเครื่องสมเด็จพระพันปีกับ
หญิงเหลือด้วยกัน. ในเวลาที่เสด็จประทับ อยู่ที่บ้านแป้งนั้น. วันหนึ่งเราไปถึงแล้วได้ สักครู่ พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จไปเฝ้าพระราช มารดา มีเสด็จพ่อเสด็จลุงตามเสด็จไปในเรือ ยนตร์เล็กพระที่นั่งด้วย. ทางฝ่ายกระบวน เสด็จของสมเด็ จ มี สมเด็ จ กรมพระยาเทว วงษ์ฯ ๑๖ และทูลกระหม่อมฟ้าหญิงวลัยฯ ๑๗ มาเฝ้าในหลวงร่วมวงกันอยู่ที่แพขาวจอด เรื อ พระที่ นั่ ง สมเด็ จ . ทุ ก พระองค์ ท รง พระส� ำ ราญพระหทั ย อยู ่ ด ้ ว ยกั น จนถึ ง เวลาเสวยเย็นก็เลยเสวยพร้อมกันที่ในแพ. ข้าพเจ้าและหญิงเหลือก็อยู่รับใช้ตั้งเครื่อง ในที่นั้นด้วย. เป็นครั้งแรกและครั้งหลังที่ ข้าพเจ้าได้เห็นพระเจ้าอยู่หัวทรงเบิกบาน ส�ำราญพระราชหฤทัยอยูก่ บั สมเด็จพระราช ชนนีและพระประยูรญาติอย่างสนิทสนม, ไม่มีข้าราชบริพารปะปนที่ในโต๊ะเสวยสัก คนดังเคยมา. แต่-ข้าพเจ้ามิได้นึกเห็นเลย ว่ า คื น นั้ น จะเป็ น คื น หลั ง ที่ จ ะได้ เ ฝ้ า ใกล้ ๆ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เมื่ อ เสวยเย็ น เสร็ จ แล้ ว ก็ ประทับคุยกันอยู่สักครู่ใหญ่แล้วก็เสด็จกลับ ยังพระราชวัง, เราทุกคนก็ต่างทูลลากลับ. ในคืนวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ นัน้ มีละครพูดเรือ่ ง “ไม่โกรธ” เป็นเรือ่ งตลก ซึ่งข้าพเจ้าเคยดูมาแล้ว. ถึงเวลาดึกสมเด็จ เสด็จลุงลงไปยังศาลาเล็กข้างหลังโรงละคร,
นายพลโท พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง – ชูโต) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ๑๗ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ต่อมาได้ทรงรับพระราชทาน เฉลิมพระยศเป็น สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ๑๕
๑๖
เราจึงช่วยกันเก็บของต่าง ๆ ที่ท่านประทับ อยู ่ ใ ห้ เ รี ย บร้ อ ยก่ อ นที่ จ ะเสด็ จ กลั บ ขึ้ น ไป ใหม่. เพื่อน ๆ ที่ช่วยกันอยู่กับข้าพเจ้าเขา สกิดให้ดูไปทางพระที่นั่งศิวาลัย, พอมองไป ก็เห็นผูช้ ายคนหนึง่ ใส่เสือ้ ชัน้ ในขาวคอกลม ๆ เดินดุ่ม ๆ อยู่บนเฉลียงพระที่นั่งองค์นั่นแต่ คนเดียว. ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่าอะไร ถาม คนที่ชี้ให้ดูเขาก็ตอบแต่ว่า -“ไม่รู้เป็นแต่ไม่ เคยเห็นเช่นนั้น.” ต่อมาสัก ๑๐ นาทีก็เห็น คนเอะอะ ๆ เดินเข้าเดินออกทางประตูข้าง โรงละครกันชุลมุน. พระยาเทพอรชุนฯ ๑๗ สมุหราชองค์รักษ์เดินถือปืนพกรีบมาทาง ประตู, แล้วเห็นคนหามเปลคนเจ็บเข้ามา รีบผ่านไปในสนามออกไปทางกระทรวงวัง พอคนเจ็บนั้นพ้นประตูมา, โขลนก็ปิดประตู ทันท่วงที. ในเวลาเดียวกันนั้น, ทหารรักษา พระองค์ ก็ เ ดิ น เร็ ว เข้ า ประจ� ำ ที่ ต ามบั น ได โรงละครทหารถือปืนสวมหอกปลายปืนเข้า ยืนเป็นคู่ ๆ ทุกคนตกตลึงด้วยไม่รู้ว่ามีเหตุ อะไรเกิดขึ้น, มีแต่เสียงซุบซิบกันว่า -“คน แทงกัน ! ข้าพเจ้ายังไม่ทันจะหายเต้น, ก็ได้ ยินเสียงเฮขึน้ ทางหน้าฉากละคร, ตัวละครก็ หน้าตื่นจะปีนลงมาทางคนดู ๆ เองก็ลุกขึ้น หนีอีกต่อหนึ่ง ออกไปในสวนกันเกือบหมด. เสียงดังคลุกคลักอยูข่ า้ งในโรงละคร, ข้าพเจ้า หมดสติคิดว่าใครแทงใครอยู่ในนั้น, สักครู่ หนึ่งจึงเห็นพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่กลาง เวที, ทรงโบกพระหัตถ์บอกคนดูว่า -“นั่งลง ๑๘
เถิด, ไม่มีอะไร !” ข้าพเจ้าซุดตัวลงนั่งแล้ว จึงได้รู้สึกว่า -ไม่มีใครเหลืออยู่บนพลับพลา นั้นจนคนเดียว, ข้าพเจ้ายืนอยู่คนเดียวตรง กลางพลับพลา !! เหลียวหาคนอื่นต่อไป จึง เห็นหญิงบันดาลฯ ยืนอยู่ที่พื้นลดข้าง ๆ อีก คนหนึ่ง. พอได้สติข้าพเจ้าก็คลานเข้าไปหา และถามถึงคนอื่น. ได้ความภายหลังว่า -มี พลทหารรักษาวังคนหนึง่ ชือ่ เบ๊หนีขนึ้ ไปนอน หลับอยู่บนระเบียงพระที่นั่งศิวาลัย, ครั้ง ตื่นขึ้นตอนดึกนั้นก็เดินวนเวียนลงอัฒจรรย์ มาเที่ยวไล่แทงคนด้วยหอกปลายปืนของตัว แทงได้ ๑-๒ คนแล้วก็เลยตรงไปเขย่าประตู หลังโรงละคอน. พวกละครก�ำลังรู้เรื่องอยู่ แล้วก็ตกใจวิง่ เฮวุน่ กันในโรงละคร. แต่ทหาร ยามปิดประตูลงกลอนได้ทันแล้วช่วยกันรุม จับจนได้ตวั . ส่วนคนทีถ่ กู แทงเจ็บเขาใส่เปลหาม เอาผ่านสนามไปส่งหมอ. มีคนถูกบาดเจ็บ เพียง ๒-๓ คนไม่ถึงตาย เมื่อหายเจ็บและ ตื่นตกใจแล้วอ้ายเบ๊ให้การว่า -ไม่รู้สึกตัวว่า ได้ท�ำอะไรไปอย่างไรเป็นอันว่าถูกติดคุกไม่ กี่มากน้อย. นี่เป็นเรื่องที่ตื่นเต้นเป็นเรื่อง ที่ ๓ ที่ข้าพเจ้าได้พบมาเองในรัชกาลนี้ คือ ๑. เรื่องขบถ ๑๓๐ ๒. เรื่องช้างตื่น ม้าที่ดงศรีมหาโพธิ และ ๓. เรื่องอ้ายเบ๊แทง คนนี้เป็นที่สุด. เป็นบุญที่ข้าพเจ้าไม่เคย เสียสติถึงวิปลาสเลยสักครั้ง. ต่อจากงาน ปีใหม่ก็มีงานอื่นเรื่อย ๆ มาตามเคย, จนถึง เดือนมกราคม ปีพ.ศ. ๒๔๕๙ นี้ สมเด็จ
นายพลโท พระยาเทพอรชุน (อุ่ม อินทรโยธิน) ต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
anuman-online.com
72 คอลัมน์พิเศษ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม์ครบ ๓๖ ปี ตามคติไทยเรียกว่า ๓ รอบ จึงมีพระราช พิธีเป็นพิเศษกว่าปีธรรมดา, ทั้งประจวบ เวลาระดูหนาวซึง่ เคยมีการออกร้านกัน, ปีน ี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปมีงานที่สนามเสือป่า ใกล้พระทีน่ งั่ อนันต์ฯ. เสด็จพ่อไม่มรี า้ นส่วน พระองค์. พวกเราจึงไปนั่งพักที่ร้านของหอ พระสมุด ซึ่งเด็จพ่อเองทรงเป็นนายกอยู่ใน เวลานั้น. ข้าพเจ้ารู้สึกอึดอัดใจเหลือก�ำลัง. เพราะเคยถวายของถวายพระพรมาแต่ยัง เป็นสมเด็จพระบรมฯ มิได้เคยขาดเลย. ถึงปี พิเศษนีก้ ลับไม่มโี อกาศแม้แต่จะได้เฝ้า, ย้อน ถามตัวเองว่ามีความผิดเรือ่ งอะไร ? –ก็ตอบ ไม่ได้. เสด็จพ่อคงจะทรงสังเกตได้วา่ ข้าพเจ้า ขุ่นมัวอย่างใดอย่างหนึ่ง, คืนวันหนึ่งในงาน นั้นท่านจึงตรัสกับข้าพเจ้าขึ้นเฉย ๆ ว่า “พ่อ อยู่ดึกไม่ได้จะกลับไปนอน. เธออยู่กับหญิง เหลือและทรงวุฒิ (พี่ชายข้าพเจ้า) คอย ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือของหอพระสมุดให้ ด้วยนะ !” แล้วท่านก็เสด็จกลับแต่ล�ำพัง. ข้าพเจ้านั่งคอยเวลาเสด็จอยู่อย่างใจเต้น, พอพระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงทอดพระเนตร์ เ ห็ น ข้าพเจ้า, ก็ทรงหยุดชงักแล้วหันกลับไปตรัส ว่า- “แน่ะเฟื้อ, อยู่นี่เอง !” ทั้ง ๒ เจ้าคุณ พี่น้องก็วิ่งเข้ามานั่งไต่ถามทุกข์ศุขข้าพเจ้า และหญิงเหลืออยู่ ๒ ข้าง. พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระด�ำเนินตามเข้ามาทรงยืนอยูร่ ะหว่าง กลาง ๒ คนนั้น. ข้าพเจ้าก็ยกพานหนังสือ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย. ทรงตรัสแต่ว่า -“อ้อ, มี หนังสือแจกด้วยรึ ?” ข้าพเจ้ากราบทูลอะไร
ไม่ได้สักค�ำเดียว, จะเป็นด้วยอยากร้องไห้ หรืออยากพูดเกินไปก็นึกไม่ออก, ต่างคน ต่างพูดไม่ออกแล้วก็เสด็จประพาศร้านต่อ ๆ ไป. เราเฝ้าแล้วก็เลยกลับบ้านไม่มีใจจะ เบิกบานเท่าทีป่ รารถนาในวันพระราชสมภพ พิเศษนั้น. เราทั้งสองคนเห็นได้ชัดว่าเจ้า พระยารามฯ ยังไม่หายโกรธ. เพราะเวลา ในหลวงตรัสด้วยก็ยิ้มแย้มท�ำท่า -ดีใจที่ได้ พบกัน, แต่ครั้นหันมาพูดกับข้าพเจ้า -หน้า เปลี่ยนเป็นบึ้งตาขุ่นไปทันที. ส่วนพระยา อนิรุธฯ นั้ น ยิ น ดี ที่ไ ด้ พ บเราจริ ง ๆ. ตาที่ ข้าพเจ้าแลเห็นและหูที่ข้าพเจ้าได้ยินจากคน อื่น ๆ ไม่มีทางที่จะตรงกันได้อย่างหนึ่งอย่าง ใด. ในทีส่ ดุ ตัวของข้าพเจ้าเองก็เลยไม่รเู้ รือ่ ง ของตัวเอง. จนต่อมาอีก ๔ เดือนถึงงานปี ใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๐ ข้าพเจ้าเข้าไปช่วยงาน ในพระบรมมหาราชวังดังปีก่อน. ส่วนพระองค์พระเจ้าอยู่หัวนั้น, แม้ จะมิได้ตรัสทักทายข้าพเจ้ายิ่งไปกว่า ๒-๓ ค�ำ, ก็ควรเรียกว่าไม่มเี รือ่ งกริว้ กราดอย่างไร. ข้าพเจ้ายังนึกถึงพระมหากรุณาคุณอยู่มิได้ ขาด, เพราะแม้จะอยูเ่ ฉย ๆ ก็ได้พระราชทาน เงินเบี้ยหวัดขึ้นแทนทุกปี. สมเด็จพระพุทธ เจ้าหลวงพระราชทานข้าพเจ้าเป็นพิเศษอยู่ ปีละ ๘๐ บาท, ถึงพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ นี้เสวยราชย์ พระราชทานครั้งแรกเป็นปีละ ๑๐๐ บาท, แล้ว ๑๖๐ บาท จนถึง ๒๔๐ บาทเป็นครัง้ สุดท้าย, ซึง่ ควรนับว่าเป็นพิเศษ จากหม่อมเจ้าสามัญที่ได้อยู่เพียงปีละ ๔๐ บาททั่วกัน. เมื่อพระองค์ลักษมีลาวัณฯ มี
งานสมโภชเป็นพระองค์เจ้า, ก็มีพระราช ด�ำรัสว่า -“ถ้าจะให้พวกนีม้ า ต้องส่งก๊าดเชิญ เขา. ไม่เช่นนัน้ ไม่มาดอก เพราะเขาถือตัว.” หม่อมเจ้าวรรณีฯ พี่สาวพระองค์ลักษมีฯ เป็นผู้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังเอง และในงานนั้น ข้ า พเจ้ า ก็ ไ ด้ นั่ ง ในโต๊ ะ เสวยตรงข้ า มกั บ ที่ ประทับและได้ของเพ็ชร์จริง ๆ ในชักเปี๊ยะ! ข้าพเจ้านึกขันในความเขลาของตัว. ด้วยใน คืนนั้นหม่อมเจ้า อมรทัต กฤดากร ราช องค์รักษ์นั่งข้างขวาข้าพเจ้าและเจ้าพระยา อภัยราชานั่งข้างซ้าย ถึงเครื่องหวาน, เรา ก็ชักเปี๊ยะออกดูของ ข้าพเจ้าได้ดุมเชิ๊ตฝัง เพ็ชร์ขา้ งละ ๓ เม็ดกับทองขาว, ดูแพรวพราว งดงาม ท่านอมรทัตฯ ได้เข็มกลัดผู้หญิงมี ทับทิม ไข่มุก เพ็ชร์อันยาวตามสมัย, ก็หัน มาบอกว่า---“อ้าว, ผิดทีแ่ ล้วละ, แลกกันไหม เล่า?” ข้าพเจ้าก็สง่ ของให้วา่ -“อยากได้กเ็ อา ไปเถอะ!” แล้วเจ้าพระยาอภัยฯ ก็ส่งแหวน เพ็ชร์ ๓ เม็ดโต ๆ ติดกันมาให้ข้าพเจ้าว่า -“โปรดอันนี้ก็แลกได้!” ข้าพเจ้าเกรงใจตอบ ว่า -“ไม่ต้องหรอกค่ะ, นี่ดีแล้ว.” จนออกมา จากโต๊ะแล้วจึงได้รู้ว่า-ของเพ็ชร์จริง ๆ ! ถึ ง งานระดู ห นาว พ.ศ.๒๔๖๖ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกร้านถ่ายรูป และทรงเป็นผู้ถ่ายเอง. ฉะนั้นผู้ใดรู้ก็ต้อง ไปถ่ายรูปที่นั่น. เสด็จพ่อจึงทรงแวะไปเพื่อ ถ่ายรูปคืนหนึ่ง พอสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตร์เห็นก็เสด็จเข้าไปตั้งกล้อง, ข้าพเจ้ายืนคอยอยู่ข้างนอกก็เลยหลบเข้าไป แอบอยู่ข้าง ๆ ร้านข้างล่าง. สักครู่เจ้าพระยา
รามฯ ก็เดินออกมาตามว่า -“เด็จพ่อเสร็จ แล้ว, ท่านหญิงละคราวนี.้ ” ข้าพเจ้ารูส้ กึ หน้า เหย๋เพราะแอบไม่สำ� เร็จ, เลยเดินตามเขาไป ตามค�ำสั่งและตลอดเวลาที่เข้าไปนั่งจนทรง ถ่ายเสร็จผู้ทรงถ่ายมิได้ตรัสอย่างใดเลย. เจ้าพระยารามฯ เป็นล่ามบอกทัง้ ท่านัง่ ท่านิง่ จนแล้วเสร็จลุกออกมา. เป็นครัง้ แรกในชีวติ ที่ข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปโดยมิได้พูดจากับผู้ถ่าย เลยจนค�ำ, และต่อมาอีก ๒ วันก็ได้รูปที่น่า ขันนั้นมาพร้อมกับลายทรงเซ็นว่าทรงถ่าย, รุ่งขึ้นปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประทับสนามจันทร์ในระดูฝนเดือน กันยายน, เสด็จพ่อเสด็จไปส่งเสด็จที่สถานี กลับมา, พอถึงวังก็ตรงมาตรัสกับข้าพเจ้า ว่า-- “แน่ะ, ลูกพูนเธอจะได้ตราแน่ะ !” ข้าพเจ้าตกใจแล้วนึกว่าท่านล้อเล่นก็หวั เราะ, ท่านกลับมาทรงตอบว่า- “จริง ๆ นะ, วันนี้ พอทรงพระด� ำ เนิ น มาถึ ง พ่ อ ในหลวงตรั ส ว่า-- “เขาเอาบาญชีตรามาให้หม่อมฉันดู, เห็นขีดชื่อหญิงพร้อม (พี่สาวคนที่ ๒ ของ ข้าพเจ้า ซึ่งแต่งงานกับกรมหลวงสิงห์ฯ ได้ ตราชั้นที่ ๒ และเพิ่งตายไปในปีนั้น) ออก. หม่ อ มฉั น สงสารกรมพระด� ำ รงว่ า เคยมี ลูกได้ตราอยูส่ องคน, จึงเลยสัง่ ให้ตราหญิงพูน ไปแล้ว เพราะส่วนตัวก็คุ้นเคยกันมา ! เธอ เตรียมเครื่องแต่งตัวเสียเถิด !!” ข้าพเจ้า ฟังแล้วร้องไห้จ้าออกมาโดยไม่รู้ว่ายินดีหรือ ยินร้ายเป็นแต่รู้สึกว่าตัวเองไม่เห็นมีอะไรที่ ควรจะได้รับ ! หรือจะเป็นเพราะถูกเป็นคน เลวเสียจนชินแล้วจึงตกใจก็เป็นได้. อย่างไร anuman-online.com
74 คอลัมน์พิเศษ ก็ตาม, พอหมายกระทรวงวังออกมาก็กาหล เรื่องปักผ้าห่มและผ้าซิ่นซึ่งจะต้องแต่งตาม แบบเต็มยศในเวลานั้น. ข้าพเจ้าขอประทาน พระอรรคชายาเธอเรื่องผ้าห่มท่านก็ทรงท�ำ ประทาน. ส่วนผ้าซิ่นยกนั้นพระราชชายา ทรงประทานมาจากเชียงใหม่แล้วทันงานใน วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ พอดี. ข้าพเจ้าแต่งสีเงินห่มผ้าปักตราสีชมภูเข้าไป รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้าฯ ชั้นที่ ๓ ทีพ่ ระทีน่ งั่ พิมานรัตยาฯ. ในวันนัน้ มีคนได้รบั พระราชทานตราไม่สมู้ ากนัก, แต่มเี รือ่ งขัน ๆ ตามเคย. ขึ้ น ต้ น ด้ ว ยเจ้าจอมสุวัฒ นาน�ำ เข้าไปรับสายสะพายก่อนคน. ตามธรรมดา ของราชส�ำนักไทย, แยกกันเฝ้าเป็นฝ่ายหน้า ฝ่ายในทุกแห่ง, และที่นั่งก็แบ่งกันเป็นหมู่ ๆ. ทางฝ่ายในแบ่งเป็น ๒ หมู่ข้างทางเสด็จ พระราชด�ำเนินและทีพ่ ระราชอาศน์. ทางขวา เจ้านายในพระราชวงษ์ประทับเริ่มต้นแต่ สมเด็จพระมเหษีแล้วพีน่ างน้องนาง, พระราช ธิดา, พระราชนัดดา, เรียงมาตามต�ำแหน่ง พระบิดาและพระชนมายุ, ทางหมู่ซ้ายเริ่ม ต้นตั้งแต่เจ้าคุณประยูรวงษ์ (ในรัชกาลที่ ๗ พระมเหษีรัชกาลที่ ๖ นั่งเรียงกันแถวหน้า) เจ้าจอมมารดา, เจ้าจอมและหม่อมเจ้านาย (in-law) ต่าง ๆ ของพระราชวงษ์ อีกแห่งหนึง่ ก็แบ่งเป็น ๒ หมู่ ๆ หนึ่งท้าวนางพนักงาน ฝ่ายในที่ท�ำราชการอยู่ในพระราชวัง, และ อีกข้างหนึ่งเป็นที่ภรรยาข้าราชการเข้าเฝ้า. ต่างหมู่ต่างมีผู้น�ำและรู้ต�ำแหน่งเรื่องราว เรียบร้อยกันมาช้านาน, จนถึงรัชกาลที่ ๗
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล (ผู้ประพันธ์)
พวกนักเรียนนอก demand ให้พวกเมีย เสมอกั บ ตั ว อย่ า งธรรมเนี ย มฝรั่ ง , พวก in-law ที่ไม่รู้เรื่อง Court ก็มีมากขึ้น, จึงชัก รวนเรไม่ เ ป็ น ระเบี ย บแบบแผนมาจน ปัจจุบัน. ในวันพระราชทานตรานั้น, อธิบดี ฝ่ายในจัดให้ผู้จะเข้าไปรับนั่งริมทางเข้า พอ เสด็จขึ้นจากการแต่งตั้งทางฝ่ายหน้าแล้ว ก็เสด็จประทับ พระราชอาศน์ทางฝ่ายใน. เจ้ า หน้ า ที่ ก็ ตั้ ง ต้ น เรี ย กชื่ อ เข้ า ไปที ล ะคน. ผู้รับต้องลุกเดินออกไปถวายค�ำนับที่กลาง สมาคมให้ เ ห็ น ทั่ ว แล้ ว จึ ง เดิ น เข้ า ไปหน้ า พระเก้าอี้ถวายค�ำนับอีกครั้งหนึ่ง แล้วเลย คุกเข่าข้างหนึ่งเพื่อเอางานรับตราจากพระ
ราชหัตถ์. เมื่อรับแล้วลุกขึ้นถวายค�ำนับแล้ว ต้องถอยหลังออกมาราว ๒-๓ ก้าว ถวาย ค�ำนับอีกหนหนึง่ แล้วจึงกลับหลังเดินมายังที่ นั่งได้. ส่วนผู้ที่รับสายสะพายนั้นต้องคุกเข่า ก้มหัวถวายเพื่อทรงสรวมพระราชทานก่อน จึงจะเอางานรับมาได้ทั้งหีบ, และทุกคนที่ อยู่ในที่นั้นต้องยืนตลอดเวลาเสด็จออก. มี ผู้ที่นั่งได้แต่ในหลวงพระองค์เดียว. ข้าพเจ้า เข้าไปเป็นคนที่ ๖ การที่รู้สึกตัวอยู่เสมอว่า ไม่ใช่เป็นบุคคลส�ำคัญนั้น มีคุณคือไม่ค่อย จะรู้สึกประหม่าเท่าใดนัก. ข้าพเจ้าแน่ใจว่า ผู้ที่จะเอาใจใส่ดูข้าพเจ้าจริงจังมีอยู่เพียง ๒ คนเป็นอย่างมาก, และผู้นั้นคือพระอรรค ชายาเธอและสมเด็จหญิงนิภานพดล ผู้ทรง เลี้ยงข้าพเจ้ามา และเป็นจริงเช่นนั้นเพราะ ท่านตรัสว่า-- “แช่มช้อยดี” ซึ่งแสดงว่า
ทอดพระเนตร์อยู่ตลอด. ที่จริงถ้าใครจะชม ว่าข้าพเจ้าค�ำนับดีแล้ว, ก็ควรจะถวายไป ชมเชยเสด็จพ่อ, ไม่ใช่ข้าพเจ้า, เพราะท่าน ทรงสอนข้าพเจ้ามาแต่เด็ก ๆ ในสมัยรัชกาล ที่ ๕ และยังได้ทรงตักเตือนว่า ควรเป็นอย่าง นั้นอย่างนี้เสมอมิได้ขาด. เมื่อรับพระราชทานตราแล้วสัก ๗ วัน เราก็ไปเที่ยวนครวัดในเมืองเขมร. กลับ มาเดื อ นธั น วาคม, พอเหมาะงานเฉลิ ม พระชนม์พรรษาและงานระดูหนาวในท้าย งาน ซึ่งเราไม่ได้คิดจะไปกันคราวนี้, พอ ถึงก่อนจะเลิกงานได้วันหนึ่ง, เช้าขึ้นมามี มหาดเล็กหลวงน�ำหีบช๊อคโคเล็ตรูปแมวด�ำ กับจดหมายของเจ้าพระยารามฯ มาถวาย เด็จพ่อ. ในจดหมายนั้นมีข้อความดังนี้ :--
บ้านนรสิงห์ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าส่งโชคโคแล็ตมาพระราชทานและมีพระราช กระแสว่า โชคโคแล็ตในหีบนั้นให้แจกพวกลูก ๆ แต่ส่วนหีบพระราชทานใต้ ฝ่าพระบาท. ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ ข้าพระพุทธเจ้า รามราฆพ. anuman-online.com
76 คอลัมน์พิเศษ เสด็จพ่อทรงอ่านแล้วตรัสว่า-- “เรา ต้องไปเฝ้าขอบพระคุณคืนนี้, ไม่มีปัญหา!” ตกลงกินเข้าเย็นแล้วเราก็ไปงานระดูหนาว ที่ ส วนสราญรมย์ . ไปถึ ง ก็ ต รงไปยั ง ร้ า น หลวง เห็นมีแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยืน อยู่บนร้านและเจ้าจอมสุวัฒนาก�ำลังยืนดู เสื้อที่แหม่มมาจากนอกน�ำมาขาย, และได้ อนุญาตให้ไปโชว์ได้ที่ร้านหลวงนั้น. เรามอง หาเจ้าพระยารามฯ เพือ่ จะให้นำ� เฝ้าก็ไม่เห็น ทัง้ สองเจ้าคุณพีน่ อ้ ง, จึงเดินตรงเข้าไปถวาย ค�ำนับเอง. พอทอดพระเนตร์เห็นก็ทรงพระ สรวลตรัสกับเจ้าจอมว่า-- “แน่ะ, ท่านหญิง เด็จมาแล้ว !” แล้วทรงบอกให้ไหว้, ทรง ผลักแขนว่า-- “ไปเชิญขึ้นมาบนร้านซี !” เจ้าจอมจึงโผมาคว้ามือข้าพเจ้าทั้งสองข้าง, และพูดอย่างเร็วปรื๋อส�ำเนียงห้วน ๆ ว่า-“เชิญเด็จซีคะ ๆ!” เราก็โผตามขึ้นไปเป็น หางทั้ง ๓ คน. แต่เด็จพ่อท่านทรงเลยขึ้น ไปทางพระเจ้าอยู่หัวประทับ แล้วทูลเกล้าฯ ถวายรูปนครวัดเป็นของฝากจากเมืองเขมร แล้วท่านก็เลยประทับลงคุยกันเรื่องนั้นต่อ ไป. เราก็เดินเที่ยวดูของขายตามที่เจ้าจอม สุวฒ ั นาชวนว่า –“ทรงซือ้ ซีเพคะ!” หญิงเหลือ บ่นว่า -“แหม, แพงออกจะตาย!” ในหลวงทรง หันมาตรัสด้วยว่า -“นั่นนะซิ, ได้ก�ำไรแย่!” หญิงเหลือแกก็หัวเราะ. พอดีข้าพเจ้ากับ หญิงพิลัยเลือกซื้อเสวตเตอร์ได้คนละตัว ๆ ละ ๗๐ บาท ก็ตกลงออกไปซื้อของถวาย กับเจ้าจอมสุวัฒนาใช้เงินทองกันเสร็จแล้ว ก็ทูลลากลับ, ไม่ได้เที่ยวต่อไป. เสร็จงานนี้
แล้วก็ถึงเวลาเสด็จนครปฐมตามเคย, เสด็จ กลับมาในต้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๘. ราวเดือน กรกฎาคม, เช้าวันหนึ่งเจ้าพระยารามมาหา เราที่บ้าน, บอกว่า -“ท่านหญิง, ในหลวง ท่ า นให้ ม าบอกว่ า -ขอให้ เ ลิ ก ไว้ ผ มตั ด (Bob-hair) เสียทีเถิด, ท่านปวดพระเนตร์ มานานแล้ว ! และไม่ชา้ ก็จะพากันตัดไปเต็ม บ้านเต็มเมือง!” ข้าพเจ้าก็ยกมือถวายบังคม แล้วบอกเจ้าคุณไปว่า -“ก็ผมดิฉนั แดงเพราะ ไม่มีเลือดจริง ๆ จึงได้ตัด.” แต่ท่านเจ้าคุณ จะกลับไปกราบบังคมทูลให้อย่างไรก็ทราบ ไม่ได้. อย่างไรก็ตาม, เราทุกคนก็กลับตั้ง ต้นไว้ผมยาวกันใหม่, และข่าวว่าในหลวงไม่ โปรดผมสั้นก็ระบือเซ็งแซ่. ผู้หญิงหลายคน ถึงหามวยผมปลอมใส่ไปดูละคอน, พวกเรา ผมประบ่าไป, พวกใส่มวยก็ทักว่า -“ท�ำไม ไม่มีมวย?” หญิงเหลือตอบว่า -“กลัวมันจะ ยาวเร็วเกินจริงไป !” อนิจจา, ข้าพเจ้าไม่เคยนึกเลยว่า พระบรมราชโองการเรื่องให้ข้าพเจ้าไว้ผม ยาวนี้จะเป็นเรื่องขึ้นต้นที่ทรงพระกรุณาแก่ ข้าพเจ้าแต่แรกและ -ในที่สุด, เพราะครั้ง หลังนีผ้ มยังไม่ทนั ยาวก็เสด็จสวรรคตภายใน ๓ เดือนนัน้ เอง ! ถึงวันงานพระราชทานตรา ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ข้าพเจ้าเข้าไปในงานใน ฐานะผูไ้ ด้รบั ตราแล้ว, เมือ่ พระราชทานแล้ว ตามธรรมดา, ก็ทรงยืนขึ้นพระราชทานพร แก่บรรดาสมาชิกใหม่ และทรงชักชวนให้ ไปถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระอดีต มหาราชทุ ก พระองค์ ที่ ป ราสาทพระเทพ
บิดรในวัดพระแก้ว. วันนั้นข้าพเจ้ากลับมา บ้านแล้วยังได้บ่นกับหญิงเหลือว่า -“ท�ำไม พระสุรเสียงในหลวงจึงเบาผิดปรกติก็ไม่รู้, และดูท่านทรงเพลีย ๆ.” แต่ก็มิได้คิดฝัน เลยว่าวันนั้นจะเป็นวันสุดท้ายที่ได้แลเห็น พระองค์, เพราะตอนดึกก็ทรงพระประชวร วันนั้นเอง ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ก็ยังนึกว่าไม่ เป็นอะไร, จนบ่ายวันหนึ่งพระยาศรีเสนาฯ เลขานุ ก ารของเด็ จ พ่ อ ในเวลานั้ น เดิ น มา หาข้าพเจ้าที่เรือนบอกอย่างไม่สบายว่า-“ท่าทางจะไม่ดีเสียแล้ว, เขามาตามในกรม เข้าไปในวังแล้วเดี๋ยวนี้เอง, ดินฟ้าอากาศ ก็ ดู พิ ก ล. ดู ซี ลมแล้ ง ไม่ มี จ นใบไม้ ก็ ไ ม่ ไหว!” เราก็ ออกตกใจ แต่ก็ยังไม่นึก ถึง ร้าย, จนเด็จพ่อเด็จกลับมาบอกว่า-- “พระ อาการมาก, เราจะเข้าไปกับท่านด้วยก็ได้, เพราะฝ่ายในก็มีไปกันแล้ว”. ข้าพเจ้า, พิลัย และเหลือจึงตามเสด็จพ่อไปและเข้าไปนัง่ อยู่ กับเจ้านายฝ่ายในที่ชานพักท้องพระโรง. ไป ฟังอาการได้ ๒ วันก็เสด็จสวรรคต. ความ เคารพ, รัก, ความคุ้นเคยมาแต่เด็กก็กลับ มาสู่ใจเรา. ข้าพเจ้า ๓ คนร้องไห้เสียฮัก ๆ อย่างไม่กลัวใครจะว่าอย่างไร. จนสมเด็จ เจ้าฟ้าหญิงนิภาฯ ตรัสล้อเราว่า-- “ไม่เห็น มีใครเขาร้องไห้, นอกจากเจ้าจอมตกค้าง ๓ คนนี่เท่านั้น!” ซึ่งเป็นความจริง. ครั้น เรากลับมาถึงบ้าน, พี่สาวข้าพเจ้าก็เล่าให้ ฟังว่า -เจ้านายท่านขันเด็จพ่อกันว่าเวลา สรงน�้ำพระบรมศพเด็จพ่อทรงพระกรรแสง
เอามากมาย เห็นจะเสียดายที่ไม่มีใครจะ ด่าอีกกระมัง! เสด็จพ่อยังตรัสอยู่เสมอว่า-“พ่อรักท่านมากจริง ๆ เป็นแต่น้อยใจอยู่ นิดหนึ่งว่าท่านไม่รู้จักใจพ่อเท่านั้น.” ถ้ า เราจะหยิ บ ยกอคติ อ อกวางให้ อารมณ์ของเราเป็นกลางจริง ๆ แล้ว, ก็จะ เห็นได้ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ ทรงเป็นสุภาพบุรุษอย่างประเสริฐ, และมี น�้ำพระราชหฤทัยดีอย่างหาได้ด้วยยาก. ที่ เหตุการณ์เป็นไปแล้วต่าง ๆ ก็เพราะพระองค์ ทรงมีกรรมเสมือนเพ็ชร์น�้ำหนึ่งที่ตกอยู่ใน ตม! ผู้ที่รู้จักพระองค์จริง ๆ จึงมีความเศร้า โศกและสงสารอยูเ่ ป็นเนืองนิตย์ และทุกคน คงจะช่วยกันอุทศิ กุศลกรรมทัง้ หลายทีไ่ ด้ทำ� แล้วไปทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระองค์. ข้าพเจ้า เป็นผู้หนึ่งที่ขออธิฐานว่า -เดชะแห่งความ สัตย์สุจริตที่ข้าพเจ้าได้เล่ามาแล้วนี้รวมทั้ง ความจงรักภักดีและกตัญญูกตเวทีทขี่ า้ พเจ้า มีอยู่ต่อพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ ขอให้ทรง ประสพแต่ความศุขส�ำราญในที่ทุกแห่งไม่ ว่าจะประทับอยู่ในที่ใด ๆ ขอพระองค์จงทรง มีชัยแก่ผู้ที่รักตัวยิ่งกว่าพระองค์, ขออย่าให้ ทรงถูกเขาแย่งชิงกันจนชอกช�้ำเหมือนชาติ นี้อีกเลย, และถ้าแม้จะยังมีชาติใหม่สำ� หรับ พระองค์อีก, ก็ขอให้ทรงได้เป็น-- “ตาผม ยาวใส่แว่นตามือคล�ำหนังสืออยู่ตลอดวัน นัน้ -เป็นศุขจริง ๆ” ให้สมดังพระราชประสงค์ จงทุกประการเทอญ!
anuman-online.com
78 หอประชุ ม
รักับกบีฟ้ ุตบอล อเมริกันฟุตบอล เมื่ อ ช่ ว งเปลี่ ย นศตวรรษจาก ศตวรรษที่ ๒๐ มาเป็นศตวรรษที่ ๒๑ นั้น ผู ้ เ ขี ย น เ กิ ด มี อ า ก า ร อ ยู ่ ไ ม ่ เ ป ็ น สุ ข กระวนกระวาย อาจจะเป็นเพราะเข้าสู ่ วัยทอง (๕๒ ขวบ) ก็เป็นได้ โดยผู้เขียน มีความรู้สึกอย่างแรงกล้าว่า “The world is passing me by!” ทั้งทางด้านองค์ ความรู้ใหม่ ๆ และเทคโนโลยีแบบใหม่ ๆ ในรูปของคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตซึ่ง ท�ำให้ผู้เขียนตกสมัยไม่เหมาะสมที่จะเป็น
อาจารย์สอนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัย ต่อไปอีก ดังนั้นผู้เขียนจึงติดต่อไปเรียน ระดับปริญญาโททางกฎหมาย (LL.M.)ที่ มหาวิทยาลัยแห่งอลาบามาซึ่งเป็นสาขาที่ ใกล้เคียงกับวิชารัฐศาสตร์ที่ผู้เขียนก�ำลัง สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในระหว่างที่ผู้เขียนไปเรียนหนังสือ อยู่ที่มหาวิทยาลัยอลาบามานั้นได้รับทราบ ว่ามหาวิทยาลัยอลาบามานีเ้ ป็นมหาวิทยาลัย อั น ดั บ หนึ่ ง ในประเทศที่ เ ป็ น แชมเปี ้ ย น อเมริกันฟุตบอลในระดับมหาวิทยาลัยของ สหรัฐอเมริกาติดต่อกันมาหลายปีโดยมีโค้ช ระดับเทพชื่อนายพอล “หมี” ไบรอัน (Paul “Bear” Bryant) ซึ่งโค้ชคนนี้ดังมากเป็น ระดับต�ำนานเลยทีเดียว แบบว่าดังขนาด ได้เล่นภาพยนตร์เรื่อง “ฟอร์เรสท์ กัมพ์ อัจฉริยะปัญญานิ่ม (Forrest Gump)” เป็น ตัวของเขาเองคือโค้ชพอล “หมี” ไบรอัน เลยก็แล้วกัน ทุกวันระหว่างทางเดินไปโรงเรียน กฎหมายของผู้เขียนนั้นต้องผ่านสนามและ อาคารกีฬาต่างๆ เป็นระยะๆ โดยสิ่งแรก ที่ ต ้ อ งเดิ น ผ่ า นทุ ก วั น ก็ คื อ สนามอเมริ กั น ฟุ ต บอลอั น เป็ น กี ฬ ายอดฮิ ต ที่ สุ ด ของ มหาวิ ท ยาลั ย อลาบามาที่ นี่ แ หละ ท่ า นผู ้ อ่านคงไม่ทราบนะครับว่า มีหลายครั้งที่ อธิ ก ารบดี มี เ รื่ อ งทะเลาะขั ด แย้ ง กั บ โค้ ช ฟุตบอล เสร็จแล้วอธิการบดีต้องถูกปลด จากต�ำแหน่ง เพราะสภามหาวิทยาลัยและ บรรดาศิษย์เก่าเขาเลือกเอาข้างโค้ชฟุตบอล
โค้ ช ฟุ ต บอลที่ นี่ ใ หญ่ ข นาดเวลา ตัดถนนใหม่ในแคมปัสก็ต้องตั้งชื่อให้เป็น เกี ย รติ กั บ โค้ ช มิ ห น� ำ ซ�้ ำ ยั ง ตั้ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ รวบรวมผลงานของโค้ชเก็บสตางค์คนเข้าไป ดูได้อีก ซึ่งผู้เขียนยังมึนอยู่กับเรื่องอย่างนี้ อยู่จนเดี๋ยวนี้ ผู้เขียนจะเห็นรถนอนแบบเทเลอร์ ที่จอดอยู่ตามสนามและที่ว่างต่าง ๆ เต็มไป หมดภายในบริเวณมหาวิทยาลัยอลาบามา ทุ ก วั น สุ ด สั ป ดาห์ ที่ มี ก ารแข่ ง ขั น อเมริ กั น ฟุตบอลที่มหาวิทยาลัยเป็นทีมเหย้าคือเป็น เจ้าภาพแข่งกับมหาวิทยาลัยอื่น พวกที่มา ตัง้ แคมป์โดยใช้รถนอนลากมานีล้ ว้ นแต่เป็น ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยที่ติดตามดูการ แข่งขันของยู.แห่งอลาบามาทุกนัดไม่ว่าจะ เป็นทีมเหย้าหรือทีมเยือนก็ตามที ครับ! พวกศิษย์เก่าเหล่านีแ้ หละครับ ที่เขาบริจาคให้กับมหาวิทยาลัยทุกปี รายได้ ส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยอเมริกันนั้นมา จากเงินบริจาคของศิษย์เก่านะครับซึง่ ผูเ้ ขียน ก็พอจะเริ่มเข้าใจว่าท�ำไมอธิการบดีกับโค้ช anuman-online.com
80 หอประชุม
ฟุตบอลที่นี่จึงยิ่งใหญ่ผิดกัน แต่ก็ยังท�ำใจ ไม่ได้แฮะ เจ้าอเมริกันฟุตบอลที่สหรัฐอเมริกา เขาเรียกว่าฟุตบอลเฉย ๆ ส่วนฟุตบอลที่ คนทั้งโลกเรียกกัน ทางอเมริกันเขาเรียก ซ็อคเกอร์ที่เรียกอย่างนี้ก็เพราะคนอเมริกัน เป็นพวกตะแบง คือ ดันทุรงั แบบว่ากูจะเรียก อย่างนี้แหละ ใครจะท�ำไม ! ปรากฏว่ า มี ค นเรี ย กตามอเมริ กั น เยอะเหมือนกัน ทัง้ ๆ ทีผ่ ดิ นีแ่ หละ ความจริง ค�ำว่าซ็อคเกอร์มาจากค�ำว่าแอสโซซิเอชั่น ฟุ ต บอล คื อ ฟุ ต บอลที่ เ ล่ น กั น ตามกติ ก า ของสมาคมฟุตบอลของอังกฤษ ซึ่งถือเป็น มาตรฐาน เท่านัน้ แหละแต่คนอเมริกนั เรียก สั้น ๆ ว่า “แอสซ็อค” แล้วก็เลยโมเมเรียก ฟุตบอลว่าซ็อคเกอร์ไปเลย ส�ำหรับกีฬาอเมริกันฟุตบอลนี้ ว่า กันว่าความจริงแล้วดัดแปลงมาจากกีฬารักบี้ ฟุตบอลของอังกฤษเหมือนกัน ซึ่งกีฬารักบี้ ฟุตบอลนี่เป็นกีฬาของผู้ดีครับ มีกฎเกณฑ์ แน่นอน เป็นกีฬาสุภาพบุรษุ เพราะว่าถ้ากุย๊
มาเล่นแล้วต้องมีการตายกันทุกครั้ง เพราะ รักบี้เล่นสกปรกเอาเปรียบกันง่าย ถ้าไม่ใช่ ผู้ดีเล่นไม่ได้หรอกครับ กีฬารักบี้ฟุตบอลนี่พอมาเผยแพร่ที่ อเมริกา ปรากฏว่าพวกอเมริกันเห็นว่ามัน มีกฎเกณฑ์มากเกินไป เช่น ส่งลูกต้องส่ง ไปข้างหลังเท่านั้น และการแทคเกิ้ล (จับ) ก็ท�ำได้เฉพาะคนที่ครองลูกเท่านั้น พวก อเมริกันนี่เขาชอบเอามันส์เข้าว่า ส่งลูกไป ข้างหน้าจะมันกว่า และการแทคเกิ้ลนั้น อยากจะจับใครก็เอาเลย ไม่จ�ำเป็นต้องจับ เฉพาะคนที่ครองลูก ซึ่งก็สนุกดีครับ สะใจ พวกซาดิสต์ดี แต่คนเล่นตายกันเยอะนะ ครับ จนกระทั่งต้องมีเครื่องป้องกันตัวทั้ง หมวกกันน็อค สนับแข้ง สนับหัวไหล่ กระจับ สนับหน้าขา ฯลฯ เวลาไปดูอเมริกันฟุตบอล
ในสนามจริงๆ ก็เหมือนดูวัวชนนั่นเอง เสียง ปะทะกันดังสนั่นหวั่นไหว ผู้เขียนดูยังไงก็ ไม่เกิดความสุนทรีย์เลยแม้แต่น้อย แต่ก็ยัง ชอบดูครับอเมริกนั ฟุตบอลทีส่ นามแข่งจริง ๆ เพราะได้ ดู แ ต่ พ วกเชี ย ร์ ลี ด เดอร์ ส าว ๆ มากมาย พวกเขาเชี ย ร์ กั น เก่ ง สวยและ น่ารักจริงๆ มีการตีลังกา มีการต่อตัว การ เต้น การร้องปลุกใจ น่าดูทั้งนั้น บางทีดูจน ฟุตบอลเลิกยังไม่รู้ว่าใครชนะเลยครับ ที่ ป ระทั บ ใจผู ้ เ ขี ย นมากส� ำ หรั บ อเมริกนั ฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย คือ เขา มีกติกาข้อหนึง่ คือ celebration foul คือแสดง ท่าทีเยาะเย้ยหรือดูถูกฝ่ายตรงข้ามต้องโดน ลงโทษต้องถอยลงไปเสียแดนไป ๑๕ หลา เลยที เ ดี ย ว ซึ่ ง ในเกมส์ อ เมริ กั น ฟุ ต บอล นั้ น กว่ า จะรุ ก ได้ ที ล ะหลาก็ แ ทบรากเลื อ ด ส่วนการถ่ายทอดอเมริกันฟุตบอล ทางโทรทัศน์มีให้ดูชุกมากในฤดูกาลแข่งขัน (มี ทั้ ง ฟุ ต บอลมหาวิ ท ยาลั ย กั บ ฟุ ต บอล อาชีพ) ส�ำหรับอเมริกันฟุตบอลอาชีพมีการ จัดให้ชงิ แชมป์โลกอเมริกนั ฟุตบอลทีเ่ รียกว่า ซุปเปอร์โบว์กนั ทุกปี ซึง่ ความจริงก็ชงิ กันเอง ในอเมริกานี่เอง เพราะไม่มีประเทศไหนเขา เล่นด้วยหรอก งานนี้เป็นงานใหญ่ครับ คน อเมริกันดูทีวีกันมากที่สุดก็รายการนี้แหละ บรรดาสุภาพสตรีอเมริกันมักจะพูดว่าการ ถ่ายทอดอเมริกันออกทางทีวีนี้ ท�ำให้พวก เธอต้องเป็นม่ายชั่วคราว เพราะบรรดาพวก ผู้ชายอเมริกันคลั่งการชิงแชมป์โลกนี้มาก
ส� ำ หรั บ ผู ้ เ ขี ย นก็ ช อบดู เ หมื อ นกั น เพราะรายการซุปเปอร์โบว์นี้จะมีโฆษณา ใหม่เอี่ยมออกมาประชันขันแข่งกัน ออกมา เป็นโฆษณาที่น่าดูทั้งนั้นเลยครับ บอกจริงๆ ดูโฆษณาใหม่ ๆ มีมุขสนุกกว่าดูอเมริกัน ฟุตบอลเสียอีก ที่มหาวิทยาลัยอลาบามานี่มีอาชีพ พิเศษอย่างหนึง่ มีกำ� ไรเป็นกอบเป็นก�ำดี คือ พวกนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีสิทธิซื้อตั๋ว ดูฟุตบอลได้ในราคาใบละ ๕ เหรียญ แล้ว พวกนี้จะเอาไปขายต่อ เห็นขายได้ราคาดีๆ บางทีขายได้ถึง ๑๐๐ เหรียญก็มี แต่มเี รือ่ งทีไ่ ม่เชือ่ ก็ตอ้ งเชือ่ อีกอย่าง ที่ University of Alabama ก็คือเรื่องโบกรถ ข้างถนนแล้วเก็บค่าจอดรถทีน่ กี่ ม็ คี รับ ใครว่า มี แ ต่ ที่ เ มื อ งไทยเท่ า นั้ น ที่ ห ากิ น กั น แบบนี้ ส�ำหรับพวกที่หากินแบบนี้ก็ล้วนแต่เป็นเด็ก ฝรั่งที่เรียนในมหาวิทยาลัยอลาบามาทั้งนั้น โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (โอวี ๓๙)
anuman-online.com
82 จดหมายเหตุ ว ชิ ร าวุ ธ ฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
ที่ดินและตึกริม
ถนนราชด�ำริ ในตอนที่ แ ล้ ว ได้ ก ล่ า วถึ ง เงิ น ทุ น พระราชทานจ�ำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เป็นทุนนอนของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ นั้น ในที่สุดทรงตัดสิน พระราชหฤทั ย ให้ ฝ ากไว้ กั บ แบงก์ ส ยาม กั ม มาจล ทุ น จ�ำ กั ด เป็นเงินฝากประจ�ำ ประเภทรายปี ได้รับดอกเบี้ยร้อยละ ๔ ต่อปีนั้น ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้ า ฯ ให้ จ างวางตรี พระยาราช สาสนโสภณ (สอาด ชูโต) ราชเลขานุการ
(๑)
ในพระองค์เชิญกระแสพระราชด�ำรัสแจ้ง ไปยัง จางวางเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิม์ นตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดี กระทรวงธรรมการ ความว่า “มีพระราชด�ำรัสเหนือเกล้าฯ ว่าทีด่ นิ ริมถนนราชด�ำริห์ ต�ำบลประทุมวัน แปลง ๑ ดั ง ปรากฏในแผนที่ ซึ่ ง กระผมได้ ส ่ ง มานี้ เปนของกระทรวงธรรมการ คือ เดิมได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาล เปนเจ้ า น่ า ที่ จั ด ซื้ อ จากราษฎรหลายราย และส่วนของพระคลังข้างที่ด้วย มอบให้แก่ กระทรวงธรรมการเพื่ อ จั ด การปลู ก สร้ า ง โรงเรียนราชวิทยาลัย แต่บัดนี้โรงเรียนนั้น ตึกที่ริมถนนราชด�ำริ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ เป็นแม่กองก่อสร้าง
ก็หาได้ปลูกสร้างขึ้นในที่นี้ไม่แล้ว จึงทรง พระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานที่ รายนี้ ให้เปนที่ผลประโยชน์ของโรงเรียน มหาดเล็กหลวงสืบไปแล้ว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ใต้เท้าส่งโฉนดส�ำหรับที่ รายนี้ไปยังกรมราชเลขานุการในพระองค์” ครั้นกรมราชเลขานุการในพระองค์ ได้ รั บ มอบโฉนดที่ ดิ น แปลงดั ง กล่ า วจาก กระทรวงธรรมการแล้ว จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่ไปจด ทะเบี ย นโอนกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น โดยระบุ ชื่ อ โรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวงเป็ น ผู ้ รั บ โอน กรรมสิ ท ธิ์ ต ่ อ จากกระทรวงธรรมการ ด้ ว ยเหตุ ที่ ห น้ า โฉนดระบุ ชื่ อ โรงเรี ย น มหาดเล็ ก หลวงเป็ น ผู ้ ถื อ กรรมสิ ท ธิ์ นี้ เ อง เมื่ อ มี ก ารจั ด ตั้ ง ส� ำ นั ก งานทรั พ ย์ สิ น ส่ ว น พระมหากษัตริย์ภายหลังเปลี่ยนแปลงการ ปกครองแล้ว ที่ดินแปลงนี้จึงรอดพ้นจาก การตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่ ง ตามพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ส� ำ นั ก งาน ทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ นั้น ก�ำหนดให้ทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ ทรงได้รับเมื่อเสด็จเสวยสิริราชสมบัติแล้ว เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ไม่ ว ่ า พระราชทรั พ ย์ นั้ น จะทรงได้ม าก่อน เสวยสิ ริ ร าชสมบั ติ ห รื อ ไม่ ดั ง เช่ น ที่ ดิ น สวนกระจังที่พระราชทานให้เป็นเป็นที่ตั้ง โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ แม้จะเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มาแต่ ก่อนเสวยสิริราชสมบัติ หากแต่โฉนดที่ดิน
เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ)
ที่กระทรวงเกษตราธิการทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยออกพระปรมาภิไธย เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินสวนกระจังนี้ จึงถูกเหมารวมเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ และในสมัยผู้บังคับการ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เคยมีการส่งเจ้าหน้าที่ มารังวัดสอบเขตที่ ดิ น เพื่ อ จะเรี ย กเก็ บค่ า เช่าที่ดิน ท่านผู้บังคับการจึงได้ตอบไปว่า ที่ ดิ น นี้ เ ป็ น ที่ ดิ น พระราชทานให้ โ รงเรี ย น ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นวัดประจ�ำรัชกาล ทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลต่อๆ มา ก็ ท รงรั บ พระราชมรดกเป็ น พระบรม ราชู ป ถั ม ภกโรงเรี ย นตลอดมา การที่ ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะมาเรียกเก็บค่าเช่าจากโรงเรียน ย่อม เป็นการไม่ต้องด้วยพระบรมราชปณิธานใน anuman-online.com
84 จดหมายเหตุวชิราวุธฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งเงินค่าเช่าที่โรงเรียนจะต้องจ่ายให้แก่ ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โรงเรียนก็จะต้องน�ำความกราบบังคมทูลขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงเสมือน ควักเงินออกจากกระเป๋าซ้ายเพื่อไปจ่ายเข้า กระเป๋าขวา เรื่องที่จะเรียกเก็บค่าที่ดินที่ สวนกระจังจึงเป็นอันเงียบหายไป ย้อนมากล่าวถึงทีด่ นิ ริมถนนราชด�ำริ เมือ่ กระทรวงธรรมการจัดการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินริมถนนราชด�ำริให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ โรงเรียนมหาดเล็กหลวงในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ แล้ว เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟือ้ พึง่ บุญ) ผู้ส�ำเร็จราชการมหาดเล็กและผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ได้มีหนังสือหารือ ไปยัง มหาเสวกเอก พระยาศุภกรณ์บรรณสาร (นุ ่ ม วสุ ธ าร) อธิ บ ดี ก รมพระคลังข้างที่ ความว่า “เงิ น ที่ พ ระราชทานแก่ โ รงเรี ย น มหาดเล็กหลวง กรุงเทพฯ เมื่อแรกจัดสร้าง โรงเรียนเป็นจ�ำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินจ� ำนวนนั้น ซึ่งกรมพระคลังข้างที่เก็บรักษาไว้ที่ธนาคาร เวลานี้ นั้ น กรมมหาดเล็ ก เห็ น ว่ า จะน� ำ ฝากไว้ที่ธนาคารเป็นทุนนอนอยู่เช่นนี้ ผล ประโยชน์ทไี่ ด้จากการฝากก็จะมีจำ� นวนน้อย ไม่เพียงพอ ถ้าแม้วา่ ได้โอนเงินรายทีก่ ล่าวนี้ ไปหาประโยชน์โดยทางอื่นเช่นจัดการปลูก ตึกให้คนเช่าเก็บผลประโยชน์เป็นค่าบ�ำรุง โรงเรียน ปีหนึ่งคงจะได้ผลประโยชน์เพิ่ม
เติมขึ้นอีกเป็นจ�ำนวนมากกว่าฝากธนาคาร หลายเท่า” อธิบดีกรมพระคลังข้างที่ได้น�ำความ กราบบั ง คมทู ล พระกรุ ณ าเมื่ อ วั น ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ว่า “ผูส้ ำ� เร็จราชการมหาดเล็กมีหนังสือ มาว่า เงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ที่พระราชทาน เป็นทุนบ�ำรุงโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่ง ฝากแบงก์ไว้ ถ้าน�ำไปใช้จา่ ยในการปลูกสร้าง ที่เช่าจะได้ผลประโยชน์งามดีกว่าดอกเบี้ย แบงก์ เงินรายนี้ได้ดอกเบี้ยจากแบงก์คิด เพียงสิ้น พ.ศ. ๒๔๖๒ เงิน ๔๔,๗๑๙ บาท ๖๐ ส.ต. หักจ่ายรายซื้อหุ้นส่วนบริษัทฯ เดลิเมล์เสีย ๘,๓๐๑ บาท ๕๑ ส.ต. คงเหลือ เงินทัง้ ทุนและดอกเบีย้ ๑๓๖,๔๑๘- บาท ถ้า โปรดเกล้าฯ แล้ว จะได้ถอนเงินน�ำไปจ่าย ในการก่อสร้างตามความเห็นของผู้ส�ำเร็จ ราชการมหาดเล็กต่อไป” ความทราบฝ่ า ละอองธุ ลี พ ระบาท และมีพระบรมราชวินิจฉัย “อนุญาต” แล้ว ผู ้ ส� ำ เร็ จ ราชการมหาดเล็ ก จึ ง ได้ ม อบให้ มหาเสวกเอก พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) เป็นแม่กองจัดการปลูกตึก ขึ้นที่ริมถนนราชด�ำริเป็นจ�ำนวน ๓ หลัง โดยใช้เงินทุนพระราชทานทีฝ่ ากไว้กบั แบงก์ สยามกั ม มาจล ทุ น จ� ำ กั ด เป็ น ทุ น ปลู ก สร้ า งตึ ก ทั้ ง สามหลั ง นั้ น ใน พ.ศ.๒๔๖๓ วรชาติ มีชูบท (โอวี ๔๖)
ลอดรั้วพู่ระหงส์ 85
เรื่องเล่าจากคนใกล้ชิด
สังสรรค์
วันศุกร์ สมัยที่เริ่มเขียนบทความให้อนุมาน วสารใหม่ๆ ทีมงานอนุมานวสาร ได้กรุณา แนะน�ำถึงความเกี่ยวพันระหว่างผู้เขียนกับ โรงเรียนวชิราวุธฯ ไว้ตามที่ได้ไปสืบทราบ มาว่า มีคุณตา คุณพ่อ ลุง อา พี่ชาย สามี และลูก เป็นนักเรียนเก่าฯ แต่จริงๆ แล้วยัง มีทที่ มี งานอนุมานวสารไม่ทราบก็คอื ผูเ้ ขียน มีลกู พีล่ กู น้องทัง้ ทางฝ่ายบิดาและมารดาอยู่ ที่โรงเรียนนี้อีกเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น ๑๐ คน ในบรรดาลูกพี่ลูกน้องทั้งหลาย มี พี่ ช ายลู ก ของคุ ณ ป้ า คนหนึ่ ง ซึ่ ง ครอบครั ว ย้ายตามต�ำแหน่งหน้าทีก่ ารงานไปประจ�ำอยู่ จังหวัดภาคใต้ บ้านผู้เขียนซึ่งอยู่ริมทุ่งชาน กรุงเทพฯ จึงเปรียบเสมือนบ้านที่สองของ พี่ชายคนนี้ยามที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยไป โดยปริยาย เนือ่ งจากเธอเป็นนักรักบีท้ มี ชาติ และเป็นที่รักของเพื่อนฝูง จึงเป็นธรรมดา อยูเ่ องทีจ่ ะมีการพบปะสังสรรค์กนั อยูเ่ นืองๆ ทีว่ า่ เนืองๆ นีต้ กประมาณเดือนละครัง้ แต่ละ ครั้งเกิดขึ้นในช่วงเย็นวันศุกร์ ซึ่งถือว่าเป็น วันสบายๆ ของเหล่าพี่ๆ โดยสถานที่พบปะ ก็คือบ้านริมทุ่งที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง เมื่อพูดถึงการที่มีโอวีมาชุมนุมกัน เป็นจ�ำนวนมาก ก็เห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องที่
จะต้องมีอาหารเข้ามาเป็นส่วนประกอบอัน ส�ำคัญ คุณแม่ของผู้เขียน ด้วยความที่รัก หลาน จึงบรรจงท�ำอาหารเย็นเพื่อการณ์นี้ อย่ า งสุ ด ฝี มื อ อาหารที่ ว ่ า นี้ จ ะมี ก ารจั ด สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามวาระโอกาส แต่ ทีไ่ ด้รบั ความนิยมมากๆ เห็นจะเป็น น�ำ้ พริก ปลาทู ผักสด ผักทอด และผักต้มราดกะทิ แกงป่า ย�ำพริกและไข่ตม้ ยางมะตูม เนือ้ เค็ม ทอด แกงเขียวหวานแบบแห้ง มะกะโรนี ไก่ ท อดกระเที ย มพริ ก ไทย และผั ด ผั ก เป็นต้น แต่ทงั้ หลายทัง้ ปวงนี้ มีอยูอ่ ย่างหนึง่ ซึ่งท�ำทีไรก็จะหมดเกลี้ยงอย่างรวดเร็ว เมนู ้ ท�ำ ที่ว่านี้คือ “ย�ำไข่ดาว” ซึ่งนับว่าอร่อยล�ำ ไม่ยาก เมื่อได้ทราบว่ามีผู้อ่านอนุมานวสาร ส่วนหนึง่ เป็นสุภาพสตรี และบางท่านมีหน้า ที่ที่จะต้องดูแลปากท้องของชาวโอวี จึงขอ ถื อ โอกาสน� ำ สู ต รย� ำ ไข่ ด าวยอดนิ ย มของ คุณแม่มาเผยแพร่ไว้สักครั้ง ดังที่ปรากฏอยู่ ท้ายบทความนี้ สมัยก่อนนัน้ บ้านเรายังไม่มที างด่วน กว่าพีๆ่ ทัง้ หลายทัง้ ปวงจะมาถึง จิบเครือ่ งดืม่ กันไปพลางๆ อาหารก็ทยอยจัดขึ้นเต็มโต๊ะ พอดี หลังจากทักทายเฮฮากันสักพัก ก็ลงมือ รับประทานกันตามอัธยาศัย แบบตัวใคร anuman-online.com
86 ลอดรั้วพู่ระหงส์ ตัวมัน บางคนชอบคุย เดินคุยไปเรือ่ ยๆ บ้าง ก็ลงนัง่ รับประทานกันเป็นกิจจะลักษณะตาม ระเบียบของโรงเรียน บ้างก็ทานไปสรรเสริญ กับข้าวไป (ท�ำเอาคุณแม่ผู้เขียนอมยิ้ม) แต่ ไม่ว่าจะแบบใด ในที่สุดอาหารวันศุกร์ก็จะ หมดเกลี้ยงแบบไม่เหลือหรอ ด้วยเหตุว่าบ้านของผู้เขียนในขณะ นั้ น มี น อกชานหรื อ ที่ เ รี ย กว่ า เทอเรสเป็ น ระเบียงกว้าง หลังจากอิ่มหน�ำส�ำราญกัน ดีแล้วเหล่าพี่ๆ จะทยอยกันไปนั่งเอกเขนก ตากยุง เอ๊ย! ตากลม ชมจันทร์ (ถ้ามี) พร้อม ทัง้ พูดจาหยอกล้อ ขุดเรือ่ งโบร�ำ่ โบราณสมัย ที่เคยอยู่โรงเรียนมาคุยแล้วคุยเล่าเรื่องละ ไม่ต�่ำกว่าห้าหกครั้ง ซึ่งไม่ว่าจะครั้งไหนก็ ท�ำให้เกิดเสียงหัวเราะเหมือนเพิ่งเล่าเป็น ครั้ ง แรกทุ ก คราไป เออออกั น บ้ า งขั ด คอ กั น บ้ า งตามวิ สั ย หากขั ด คอกั น มากไปก็ จะมีการคั่นรายการด้วยการเล่นกีต้าร์และ ร้องเพลง ไทยบ้าง ฝรั่งบ้าง รื่นเริงบ้าง อกหักบ้าง ตามสภาพการณ์ของแต่ละคนใน แต่ละช่วงเวลา ร้องเพลงกันจนเหนื่อย ถ้า ไม่หิวอีกรอบ ก็กลับมาคุยเรื่องชีวิตสมัยอยู่ โรงเรียนกันต่อ หัวร่อกันข�ำกลิ้งเป็นวรรค เป็นเวรและเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนั้นโดยไม่ คิดจะเปลี่ยนวาระหรือหัวข้อการสังสรรค์ แต่อย่างใด วนเวียนไปเรื่อยๆ จนดึกจนดื่น คอแหบคอแห้งกันไปทั้งหมดจึงจะแยกย้าย เลิกราและเป็นเช่นนี้อยู่เป็นปี จนกระทั่ง แต่ละคนจบการศึกษา แยกย้ายกันไปท�ำงาน หรือเรียนต่อนั่นแหละจึงได้เลือนหายไป จนบัดนี้ ยามได้ยินเสียงเพลง เสียง เฮฮา หรือได้ยนิ เรือ่ งเล่าชาวโอวีทคี่ ล้ายคลึง
กั น ขึ้ น มาครั้ ง ใด ผู ้ เ ขี ย นก็ อ ดเสี ย ไม่ ไ ด้ ที่ จะร�ำลึกนึกถึงการสังสรรค์วันศุกร์ ความ สดชื่นรื่นเริง สมานสามัคคีในครั้งกระโน้น ขอขอบคุณส�ำหรับโอกาสทีท่ ำ� ให้เด็กคนหนึง่ ได้ฝกึ หัดเรือ่ งเซอร์วสิ มายด์ (เช่น ซือ้ น�ำ้ แข็ง จุดยากันยุง ฯลฯ) ได้แสดงฝีมอื ทอดไข่เจียว และย�ำปลากระป๋องยามดึก ได้รบั ฟังเรือ่ งเล่า ที่สนุกสนาน ได้เรียนรู้เรื่องความสนิทสนม กลมเกลียวกันของชาวโอวี ได้หัดร้องเพลง เสียงเพี้ยนไปตามพี่ๆ (ยังคงเพี้ยนจนถึง ปัจจุบนั ) และฝึกอดทนต่อความง่วงเพือ่ เก็บ กวาดและปิดบ้านเมือ่ งานเลิก อันเป็นทักษะ และประสบการณ์หายาก ทีส่ ามารถน�ำมาใช้ กับชีวิตจริงได้จนกระทั่งทุกวันนี้ ขอมอบบทความนี้แด่ โอวี รุ่น ๔๕ พีร่ กั ษ์ (รักษ์ หลานสะอาด) พีจ่ มิ (ม.ล. จิรพันธุ์ ทวีวงศ์) พี่ยอด (เรวัติ ปัจจักขภัติ – เจ้าของต�ำนานย�ำไข่ดาวและครูกีต้าร์ชั้น เยีย่ ม) พีต่ งิ่ (สุกฤษณ์ กฤษณโยธิน) พีช่ า้ ง (กิตติศักดิ์ สพโชคชัย) พี่คุ้ม (วันวิชัย คุ้มเปลี่ยน) พี่แห้ว (อรรถกร บุรีค�ำ) พี่ตุ้ม (วีระพงศ์ ปุสสะรังษี) พี่อ้อย (วรายุทธ ไชยะกุล) พีก่ มิ้ (พงษ์เทพ ผลอนันต์) พีโ่ อ๊ด (ภิสกั จารุดลิ ก) พีห่ มอ (ทวีพร สายเกษม) พี่ศรี (ศรีโสภณ นาคอร่าม) พี่เอ๊ว (รุจ แสนโกศิก) พี่โด้ (ศรีพงษ์ ศาลทูลสิงห์) และสมาชิกชมรมสังสรรค์วันศุกร์ ด้ ว ยความหวั ง ว่ า ข้ อ เขี ย นนี้ จ ะ ท�ำให้พี่ๆ ที่อ่านแล้วได้นึกถึงวันเวลาเก่าๆ กลั บ มาสั ง สรรค์ เ พื่ อ ระลึ ก ถึ ง ความหลั ง ที่ดีๆ ร่วมกันอีกครั้ง อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
ย�ำไข่ดาว
ส่วนประกอบ ไข่ไก่หรือไข่เป็ด ทอดแบบไข่ขาวเกรียมฟู ไข่แดงเป็นยางมะตูม ผักกาดหอมอ่อนๆ เด็ดเป็นค�ำ, ก้านและใบคึ่นช่ายหั่นประมาณ ท่อนละ ๑ นิ้ว, แตงกวาปอกเปลือกหั่นตามขวางบางๆ, หอมใหญ่หั่นบาง มะเขือเทศลูกใหญ่ หั่นขวางบางๆ เช่นกัน น�ำ้ ย�ำ พริกชี้ฟ้าแดง กระเทียมปอกเปลือก เกลือ น�้ำตาล น�้ำส้มสายชู โขลกพริกชีฟ้ า้ แดงกับกระเทียมสดเล็กน้อยจนละเอียด ผสมน�ำ้ ตาลและเกลือลงใน น�ำ้ ส้มสายชูคนจนละลาย เติมพริกทีโ่ ขลกไว้ ชิมให้รสเปรีย้ วน�ำ เค็มหวานตามชอบ วีธีรับประทาน จัดผักสลัดใส่ชามโคมโดยมีผักกาดหอมวางด้านล่าง โรยด้วยคึ่นช่าย แตงกวา แต่งหน้าด้วยหอมใหญ่และมะเขือเทศ ไข่ดาวที่ทอดแล้วน�ำมาหั่นชิ้นพอค�ำ วางไว้ด้านบนของผักสลัด ราดด้วยน�้ำย�ำ จะคลุกเคล้าให้เป็นย�ำทั้งชามใหญ่แล้วจึงค่อยน�ำไปเสิร์ฟ หรือ จะให้แต่ละท่านย�ำกันเองก็ได้ตามชอบ ถ้าโรยหน้าด้วยหอมเจียวและกระเทียม เจียวก็จะท�ำให้หอมและอร่อยขึ้นอีก anuman-online.com
88 โรงเลี้ยง ชวนชิมร้านอาหาร โอวี
Pasta Café
ซอยนิมมานเหมินทร์ ๕ จากถนนนิมมานเหมินทร์เข้าไป ประมาณ ๕๐ เมตร ร้านอยู่ฝั่งซ้ายมือ เปิดวันอังคารถึงวันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) เวลา ๑๐.๓๐-๑๔.๓๐ น. และ ๑๗.๓๐-๒๒.๐๐ น. สอบถามเส้นทางหรือจองโต๊ะได้ที่ ๐๕๓-๓๕๗๓๑๐
อาจ ตัง้ เมตตาจิตตกุล หรือ พีว่ า่ ว (โอวี ๖๖) ได้อพยพขนทีมเชฟอาหารอิตาลีครบครัน มาปักหลักเปิดร้าน Pasta Café (พาสต้า คาเฟ่) ในพืน้ ทีผ่ นื งามในซอยนิมมานเหมินทร์ ๕ ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ปีกว่าแล้ว ด้วย ประสบการณ์ ก ารท� ำ อาหารในครั ว ร้ า น อาหารชื่ อ ดั ง และโรงแรมแถวหน้ า ของ กรุงเทพฯ ประสบการณ์ที่ผ่านมาจึงเป็น เครื่องหมายรับประกันได้เลยว่าอาหารทุก จานที่ออกจากครัวของร้านนี้ได้มาตรฐาน อยู่ที่เบเกอรี่ ซึ่งการันตีโดยฝีมือของทีมเชฟ ระดับเดียวกับที่หากินในกรุงเทพฯ แน่นอน จากโรงแรมโอเรียนเต็ล ที่มาดูแลการผลิต และคิดสูตรเฉพาะให้กับร้าน Pasta Café ส�ำหรับเมนูเบเกอรี่ที่ขอน�ำเสนอในวันนี้คือ ทีรามิสุ และเอสเพรสโซเค้ก ที่อร่อยจนไม่ อยากออกจากร้านเลยทีเดียว หากพี่น้องโอวีคนไหนมีโอกาสแวะ เวียนไปเทีย่ วเชียงใหม่ชว่ งสงกรานต์ ๒๕๕๕ นี้ ก็อย่าลืมแวะไปชิมอาหารรสเลิศที่ร้าน ของพี่ว่าวกันนะครับ กิตติเดช ฉันทังกูล (โอวี ๗๓) จานเด็ ด ของขึ้ น ชื่ อ ร้ า นนี้ มี ห ลาก หลายเมนู ใ ห้ เ ลื อ ก จานที่ ข อน� ำ เสนอคื อ สเต็กสันในหมูราดซอสมาซาล่า และพิซซ่า หน้าความรักโดยสูตรเด็ดเคล็ดลับของพิซซ่า ร้ า นนี้ อ ยู ่ ที่ ก รรมวิ ธี ก ารนวดแป้ ง อั น เป็ น เอกลักษณ์เฉพาะตัวของเซฟ (ถ้าไปถึงร้าน ต้องให้แสดงให้เห็นกับตา) ขอแนะน�ำว่าถ้า มาทานร้านนีอ้ ย่าสัง่ อาหารจานหลักมากเกิน ไปจนอิ่มเสียก่อน เพราะทีเด็ดของร้านยังมี anuman-online.com
90 โดด กฎมีไว้แหก ก�ำแพงมีไว้ข้าม
สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก โดยขึ้นรถไฟฟ้า BTS มาลงที่สถานีอารีย์ จากนัน้ เข้าไปในซอยพหลโยธิน ๗ (ซอยอารีย)์ เดินเข้ามาเรื่อยๆ ร้านนี้จะอยู่ทางซ้ายมือ โทรไปสอบถามได้ที่ ๐๒-๒๗๘-๕๐๕๕ หรือไปเยี่ยมชมเพจของร้านได้ที่ www.facebook.com/labonitabys
ส�ำหรับค�ำ่ คืนทีบ่ รรยากาศเย็นสบาย ผมจะขอพาพี่ๆ น้องๆ ครอบครัวโอวีไป พบกั บ รู ป แบบการพั ก ผ่ อ นที่ น ่ า สนใจ ที่ รวมเอาความอร่อย ความสวยงาม และ ความสบายไว้ด้วยกันในร้าน La Bonita by S สถานที่ที่รวมเอาชาชั้นดี เค้กรสเยี่ยม สปาเล็บคุณภาพ และสปานวดตัวเข้าไว้อย่าง พร้อมสรรพที่ร้านนี้ ที แ รกผมก็ อ ดสงสั ย ไม่ ไ ด้ ว ่ า ท� ำ ไม นั ก รั ก บี้ ที่ แ ข็ ง แกร่ ง และดุ ดั น อย่ า งพี่ ต ะ (ปรรัตถ์ สมรรคจันทร์ โอวี ๗๒) อดีต นักรักบีค้ นเก่งของประเทศไทย จึงได้มาเปิด ร้านท�ำธุรกิจสไตล์นไี้ ด้ เพราะผมรูส้ กึ ขัดกับ ภาพของพี่เขาที่คุ้นเคยในสนามรักบี้ พี่ตะ
จึ ง เล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า ปกติ พี่ เ ขามีงานประจ�ำที่ บริษทั AIA แต่กอ็ ยากจะมีธรุ กิจส่วนตัวเลย ลงทุนกับเพื่อน นอกจากนี้น้องของพี่ตะยัง เปิดร้านกาแฟชื่อร้าน Brown Berry Café and Bar ที่อยู่ติดกันด้วย หลังจากได้นั่งคุยกับพี่ตะตามภาษา โอวีได้สักพักแล้ว ก็มีชาอังกฤษมาเสิร์ฟ ชา อังกฤษที่พี่ตะสั่งมาให้ผมนั้น เป็นชา Red Berries ทีม่ กี ลิน่ ผลไม้หอมหวานและนุม่ นวล มาก ระหว่างที่ดื่มชาอยู่พี่ตะก็สั่งเค้กที่แต้ม ด้วยวิปครีมและราดด้วยซอสช็อกโกแลต แค่มองเห็นเค้กที่ตั้งอยู่ตรงหน้า ก็ยากที่จะ ห้ามความอยากกินไว้ได้ และเมื่อได้กินเค้ก รสหวานละมุนชิน้ นัน้ พร้อมกับจิบชาอังกฤษ รสหอมกลมกล่อมแล้ว ต้องขอโทษด้วยนะ ครับที่ผมไม่สามารถบรรยายได้ บอกได้แค่ ว่าสุดยอดมากเท่านั้นครับ หลั ง จากได้ สั ม ผั ส ความอร่ อ ยของ เค้กและชาอังกฤษแล้ว พี่ตะก็พาเดินชม บรรยากาศภายในร้าน ที่ตกแต่งแบบสไตล์ วินเทจ (Vintage) ยิ่งเปิดเพลงเบาๆ สไตล์ Bossanova ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มบรรยากาศ ความชิลล์สบายให้กบั ร้านขึน้ อีกเยอะ เดินไป สักพักก็พบกับห้องสปาไว้ส�ำหรับเสริมสวย ความงามให้กับเล็บของสุภาพสตรี โดยทาง ร้านได้เลือกน�้ำยาทาเล็บคุณภาพของยี่ห้อ OPI มาไว้บริการลูกค้าทุกท่าน ซึ่งผู้อ่าน anuman-online.com
92 โดด
ที่ เ ป็ น สุ ภ าพสตรี ค งจะคุ ้ น เคยกั บ แบรนด์ คุณภาพนีด้ ี นอกจากนีท้ างร้านยังมี Limited Edition Set ไว้บริการด้วย นอกจากสปาเล็บแล้ว ร้าน La Bonita by S ก็ ยั ง มี ส ปานวดเท้ า นวดตั ว แบบ อโรม่า เห็นแบบนี้แล้วผมก็เลยกลายเป็น คนขี้เมื่อยขึ้นมาทันที ปวดเนื้อปวดตัวไป หมด เลยต้องขออนุญาตพี่ตะไปนอนนวด ตัวให้หายเมือ่ ยสักชัว่ โมงหนึง่ ฝีมอื การนวด ของทีร่ า้ นนีส้ ดุ ยอดมากครับ นวดได้อย่างได้ ไหลลื่นสบายตัวมาก ถ้าพี่ๆ น้องๆ คนไหน ปวดเมื่อยจากการเล่นกีฬา หรือการท�ำงาน มาอย่างหนัก ผมขอแนะน�ำให้มานวดตัว
ที่นี่เลยครับ รับรองได้เลยว่าจะท�ำให้อาการ ปวดเมื่อย เหนื่อยล้าทุกอย่างหายไปภายใน พริบตา พี่ๆ น้องๆ ชาวโอวีที่จะมาใช้บริการ นวดตัวที่ร้านนี้ ก็ยังสามารถพาครอบครัว มาผ่อนคลายที่นี่ด้วยพร้อมๆ กัน อาจจะพา ภรรยาหรือแฟนไปนัง่ เสริมสวยให้กบั เล็บ ให้ ลูกๆ นั่งกินขนมเค้กอร่อยๆ หรือจะนั่งเล่น ใช้อินเตอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ของทางร้านได้ เรียกได้ว่ามาพักผ่อนอย่างประทับใจได้ทั้ง ครอบครัวเลยครับ จุมพล พิจารณ์สรรค์ (โอวี ๗๙)
สนามข้าง 93
แหล่งเพาะน�้ำใจนักกีฬา
นกหวีด
สิ้นเสียง Vajiravudh Centenary
Sevens [ตอนที่ ๑]
นักรักบี้ทีม Nelson College ก�ำลังโชว์เต้น Hakka เวลา ๑๘:๕๐ น. ของวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ เสียงนกหวีดเป่าหมดเวลา การแข่งขันรักบี้ ๗ คน รายการ Vajiravudh Centenary Sevens ผลการแข่งขัน Nelson College จาก New Zealand ชนะ Taipei Municipal Jianguo High School จาก Taiwan ไปด้วยคะแนน ๑๗ ต่อ ๑๔ จุด หลังจากรับถ้วยแล้ว นักรักบี้ทีม Nelson College ถูกขอให้เต้น Hakka อีกรอบ แสงสว่างจากแฟลชท�ำให้รู้ว่าเวลาที่ ใช้ในการแข่งขันเลยจากที่ก�ำหนดไว้เดิมเกือบ ๒ ชั่วโมง anuman-online.com
94 สนามข้าง จากนั้นก็มีงานเลี้ยงที่หลังหอประวัติ (ตึกพยาบาลเดิม) ท่านผู้บังคับการมอบโล่ ที่ระลึกให้กับทีมที่เข้าแข่งขันและเหรียญที่ ระลึกแก่นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกคน น่าเสียดายที่มีหลายทีมไม่สามารถอยู่ร่วม งานได้เพราะต้องเดินทางไปแข่งกีฬาเขตที่ จังหวัดชลบุรี แต่บรรยากาศในงานก็เต็มไป ด้วยความสนุกสนาน งานนี้คงจะเป็นความ ทรงจ�ำทีด่ ขี องเด็กๆ ทีเ่ ข้าร่วมการแข่งขันและ ผู้ควบคุมทีม โดยเฉพาะทีม Vajiravudh B (ซึ่งเป็นทีม ๓ จากการวางอันดับของโค้ช) เพราะทั้งรอบแรก และ รอบ Qualify สะกด ค�ำว่าชนะไม่เป็นเลย แถมยังได้ชนะบาย ในรอบ Semi Final ของดิวิชั่น ๔ (ระดับ Shield) อีกต่างหาก เลยได้เข้ารอบชิงแบบ ไม่ต้องออกแรง จนท�ำให้สามารถเค้นฟอร์ม สุดยอดเอาชนะ โรงเรียนจุฬาภรณ์ ลพบุรี ไปด้วยคะแนน ๑๕:๐ กูห้ น้าทีมพีอ่ กี ทัง้ สอง ทีมไปได้อย่างหวุดหวิด
ระหว่างงานเลี้ยงเจ้าโก้ (กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓ – บก.อนุมานวสาร) บอกว่า “พีน่ า่ จะเขียนอะไรสรุปเรือ่ งงานรักบี้่ ที่จัดนี่สักหน่อยนะครับ” ผมบอกว่า “เออ แล้วพี่จะหาเวลาเขี ย นให้ ” แล้ ว ผมก็ เ จอ เจ้าโก้อีก ๒-๓ ครั้ง เจอะทุกครั้งมันก็ทวง ทุกที (นี่ถ้าผมเป็นรุ่นน้องมัน มันคงโทรจิก ผมทุกวันแน่ๆ) แล้วผมจะเริ่มเรื่องยังไงดีล่ะ? เริ่ม จากแรงบันดาลใจดีกว่า (เลียนแบบดารา นักร้อง ศิลปิน เวลามีคนมาสัมภาษณ์ไง) ผมขอเล่าเรื่องย้อนไปเมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่แล้วเลยนะครับ ถ้ า จ� ำ ไม่ ผิ ด วั น นั้ น เป็ น วั น ฉลอง โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ครบ ๙๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๓) มีงานที่สนามหน้า ปีนั้นเราชนะ รักบี้ประเพณีด้วย หนอง (สหพล พลปัถพี โอวี ๖๑) เพื่อนผมเป็นหัวหน้าชุด เราชนะ เพราะเจ้าปฤณ (ปฤณ คชภักดี โอวี ๗๓)
รูปทีมที่ชนะเลิศในปี ๒๕๔๙
ผู้อาวุโส กับ CU Rugby Girls เด็กนักเรียน ม.๖ ที่ไม่มีใครรู้จัก แต่พี่ใหญ่ (พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ โอวี ๔๘) ผู้ฝึกสอนทีมชุดนั้นตัดสินใจเสี่ยงเลือกให้ ปฤณลงเป็นตัวจริง แล้วมันก็เป็นการเสี่ยง ที่ถูกต้อง เพราะปฤณใช้ความสด วิ่งผ่าน กองหลังทีมชาติชดุ ปัจจุบนั ของทีมราชวิทย์ฯ (ในตอนนั้น) ไปวางทรัย ท�ำให้เราชนะแบบ เหนือความคาดหมายจริงๆ งานเลี้ ย งเต็ ม ไปด้ ว ยความสุ ข สนุกสนาน (แหง๋ล่ะ ก็เราชนะนิ) ก่อนจะ กลับ ผมได้รบั กระปุก ๒ ใบ ข้างกระปุกเป็น รูปหอประชุม มีข้อความท�ำนองว่าให้เก็บ เงิน เพื่อจะได้สมทบทุนในการเฉลิมฉลอง โรงเรียนครบ ๑๐๐ ปี) กระปุก ๒ ใบนั้นวางอยู่บนโต๊ะกิน ข้าวที่บ้านผมหลายอาทิตย์ นั่งกินข้าวไปก็ มองไป หลายๆ วันผ่านไป ในใจก็คดิ ว่า “เรา ท�ำได้แค่เก็บเงินใส่กระปุกเท่านั้นหรือ? เรา น่าจะท�ำอะไรได้มากกว่านั้น” ตอนนั้นก็ยัง
คิดอะไรไม่ออก แต่ก็ตั้งโจทย์ไว้ในใจว่าน่า จะจัดกิจกรรมอะไรสักอย่างที่เกี่ยวข้องกับ กีฬารักบี้ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของโรงเรียน แล้วก็นึกถึงความสนุกที่ได้ไปดูรักบี้ ๗ คน ที่ฮ่องกงซึ่งจัดในช่วงปลายเดือน มี น าคมของทุ ก ปี เป็ น การแข่ ง ขั น ที่ ส นุ ก ตื่นเต้น ได้ดูทั้งนักรักบี้ระดับโลกเล่นกัน อย่างสุดฝีมือ ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย (ดื่มเบียร์ตลอด) เป็นเหมือนการให้รางวัล กับชีวิตปีละครั้งหลังจากโบนัสออกลักษณะ การจัดการแข่งขันเป็นบันเทิงบวกกับกีฬา (Sports & Entertainment) คิดในใจ “เราน่าจะยึดแนวทางนี้ล่ะ จะท�ำได้แค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง” ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ผมยุ่งเกี่ยวกับรักบี้ ๒ สถานะ คือ เป็นผู้เล่นให้กับทีมสปอร์ต คลับ (Royal Bangkok Sport Club) และ เป็นโค้ชทีมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี anuman-online.com
96 สนามข้าง โอกาสได้คดั นักกีฬาทีจ่ ะสอบเข้าแบบโควต้า ด้วย ทางมหาวิทยาลัยให้ความไว้วางใจต่อ ผมมาก (เพราะเป็นโค้ชมา ๖ ปีแล้ว ไม่ เคยรับค่าโค้ชเลย) ให้ผมประเมินผลผูส้ มัคร โดยดูจากคะแนนกีฬากับวิชาการ สัดส่วน ๕๐/๕๐ เด็กสอบได้คะแนนวิชาการเท่าไหร่ ไม่ รู ้ แต่ ถ ้ า มาภาคสนามทดสอบทั ก ษะ กีฬา ผมให้อย่างต�ำ ่ ๘๕ จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ ใครติ ด ที ม ชาติ ชุ ด ใหญ่ เ อาไปเลย ๑๐๐ คะแนนเต็ม ทีมชาติระดับเยาวชนก็ ๙๘ คะแนน ทีมกีฬาเขต ทีมโรงเรียน ก็ ให้ลดหลั่นกันไป ปีนั้น (พ.ศ.๒๕๔๔) จ�ำ ได้ว่ารับเด็กมาเกือบ ๔๐ คน มีทั้งจาก วชิราวุธฯ ภ.ป.ร. ราชวิทย์ฯ ปิยชาติพัฒนา สุรวิทยาคาร สาธิตเกษตรฯ (เรียกว่ามีครบ ทุกโรงเรียน)
หลายครั้ งที่ ไ ปแข่ งเองหรื อคุ ม เด็ ก ไปแข่ง เริ่มสังเกตว่าสมาคมรักบี้ฯ จัดการ แข่งขันเป็นพิธีการมากติดยึดรูปแบบ แต่ ไม่มีมาตรฐานและไม่ค่อยสนุก (อันนี้อาจ จะคิดเองคนเดียวก็ได้นะครับ) ในใจคิดว่า ถ้าเราจะจัดการแข่งขันต้องให้ คนเล่น คนดู กรรมการ และผูเ้ กีย่ วข้อง สนุกทัง้ หมด (ไม่ อยากให้มีการด่ากรรมการ เถียงกรรมการ โห่ผู้เล่น และการชกต่อยกัน) แต่จะจัด อย่างไร ก็ยังคิดไม่ออก แล้วก็มีโอกาสได้ช่วยพี่เหล่ (สุวิช ล�่ำซ�่ำ โอวี ๕๑) ดูแลแผนกกีฬารักบี้ของ สปอร์ ต คลั บ ช่ ว งนั้ น ผมเริ่ ม เล่ น น้ อ ยลง (อายุเลย ๓๐ แล้ว) พี่เหล่ริเริ่มให้จัดรักบี้ ๓๐ คน เชิญทีมในประเทศมาแข่งกันแบบ ให้จบในวันเดียว สังเกตดูทุกทีมที่มาแข่ง
ทีมรักบี้ จาก ภ.ป.ร และ Bangkok Japanese
The Royal Selangor Club เพื่อนเก่าแก่ของสปอร์ตคลับ จากมาเลเซีย ก็มคี วามสุขไม่มปี ญ ั หา ก็คดิ ในใจว่าแนวทาง แบบนี้น่าจะดี มาถึงปี ๒๕๔๘ ผมได้มีโอกาสเป็น กรรมการแผนกกีฬารักบี้ ทางกรรมการ ใหญ่ของสปอร์ตคลับ ประกาศยกเลิกการ สนั บ สนุ น หลายอย่ า ง ทั้ ง ค่ า เดิ น ทางไป แข่งขันต่างประเทศ ค่าชุดแข่งขัน ฯลฯ “ซวย ล่ะซิ ต้องเหนือ่ ยหาเองแล้ว ก็เลยต้องมาคิด วิธีหาเงิน ทั้งหาการสนับสนุน โดยน�ำ Logo สินค้า มาติดทีเ่ สือ้ แข่ง ได้มา ๒๐,๐๐๐ บาท บางรายก็ ๕๐,๐๐๐ บาท (ขึ้นกับความ สัมพันธ์ส่วนตัวที่มีกับผู้ที่ไปขอ) บางทีก็ขอ (ไถ) จากรุ่นพี่บ้าง ซึ่งก็ท�ำให้แผนการเดิน ทางบางอย่างที่ตั้งไว้ต้องล้มเลิกไปเพราะ งบประมาณไม่พอ รายจ่ายค่าจัดเลี้ยงหลัง แข่งขัน ค่ารักษาพยาบาลผู้เล่นที่บาดเจ็บ
ค่าน�้ำ ค่าอาหารเวลาเดินทางไปแข่งขันก็ กลายเป็ น ภาระของกรรมการแผนกกี ฬ า รักบี้ เรียกได้ว่ามีเงินขาออกมากกว่าขาเข้า ดีที่กรรมการแผนกช่วยๆ กันหาเงิน ส่วน มากก็ต้องควักเนื้อกันเอง เพราะจะไปเก็บ จากเด็กๆ ที่มาช่วยเล่นก็ไม่สมควร เข้ า ปี ๒๕๔๙ สมาคมรั ก บี้ ฯ มี หนั ง สื อ เชิ ญ ผมให้ เ ป็ น หนึ่ ง ในคณะกรรม สัมปาทิก ในฐานะตัวแทนของสโมสร ปีนั้น สมาคมรักบี้ฯ ถึงจุดตกต�่ำที่สุดตั้งแต่ก่อตั้ง สมาคมฯ ก็ว่าได้ ทั้งติดหนี้ค่าที่พัก (ซึ่งเป็น คดีฟ้องร้องถึงปัจจุบัน ก็ไม่รู้ว่าจะจบหรือ ยัง) ติดหนี้ค่าเช่าสนามแข่งขัน ติดหนี้ค่า รถพยาบาล และอีกหลายรายการ คิดเป็น ตัวเงินเกือบ ๗ ล้านบาท (ใครอยากทราบ รายละเอียด ต้องไปถามพี่เผือก - สุวิทย์ anuman-online.com
98 สนามข้าง ซึ่ ง ทุ ก ๆ สโมสรที่ ถู ก เชิ ญ ก็ ยิ น ดี แ ต่ ง ตั้ ง ตัวแทนเข้าร่วมตามที่ได้รับค�ำเชิญ ผมได้มีโอกาสคุยกับอาช้อย แกก็ เปรยประมาณว่า ตัวแกนี่ไม่รู้เป็นอย่างไร ต้ อ งมี เ หตุ ใ ห้ ม ายุ ่ ง เกี่ ย วกั บ สมาคมรั ก บี้ ฯ ในตอนที่บัญชีรับจ่ายของสมาคมติดตัวแดง ทุกที สงสัยจะเป็นกรรมที่ดันเกิดมาเป็นนัก บัญชี นักการเงิน แล้วแกก็เล่าว่าเคยเข้ามา บริ ห ารสมาคมฯ แล้ ว ครั้ ง หนึ่ ง ในช่ ว งที่ อาจารย์โฉลก โกมารกุล เป็นนายกสมาคม กรรมสัมปาทิกท่านอื่นก็ระดับปรมาจารย์ ทั้งนั้น มีครูอรุณ แสนโกศิก ลุงมัท (มัทนะ หลานสะอาด) ลุงหมอพินจิ ทวีสนิ ลุงมานิตย์ ศรีดารนพ ลุงเสริฐ (พลอากาศเอกประเสริฐ รัตนกาฬ) และอีกหลายๆ ท่าน ต้องขออภัยที่ กล่าวไม่หมด ในช่วงนัน้ สภาพการด�ำเนินงาน ของสมาคมฯ ดีมาก มีผลงานดี สโมสร สมาชิกทุกสโมสรให้ความร่วมมือเป็นอย่าง ดี เรียกได้ว่าผูกขาดต�ำแหน่งสมาคมกีฬา ยอดเยี่ยมจากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาเกือบ ทุกปี เสียอย่างเดียวรายรับไม่สัมพันธ์กับ รายจ่าย ติดตัวแดงหลายล้าน (เยอะนะ เชียร์ลีดเดอร์สำ� หรับฟุตบอลประเพณี ครับ ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๒๖ ท�ำเอาผู้ชมหายใจไม่ทั่วท้อง หรื อ ประมาณ ๓๐ ปี ที่ แ ล้ ว ) ตอนนั้ น ก่อน) เมื่ออาช้อยรับต�ำแหน่ง ได้มีหนังสือ อาช้ อ ยรั บ หน้ า ที่ เ ป็ น หนึ่ ง ในคณะกรรม เชิ ญ ตั ว แทนจากสโมสรสมาชิ ก หลั ก ๆ ที่ สัมปาทิก และต่อมาก็เป็นเลขานุการกิตมิ ศักดิ์ ก่อตั้งมานานอย่าง ราชกรีฑาฯ ทหารบก ของสมาคม ก็ได้เรียกก�ำลังเสริมมาช่วยงาน ทหารเรือ ทหารอากาศ ต�ำรวจ วชิราวุธฯ ก็พวกพี่จ้อย (โอวี ๔๐) พี่อั๋น (โอวี ๔๑) พี่ ราชวิทย์ฯ และสโมสรอีกหลายๆ ที่ ให้มาร่วม เเวน (โอวี ๔๒) พี่ต๋อ (โอวี ๔๐) และอีก เป็นคณะกรรมการสัมปาทิกของสมาคมฯ หลายๆ ท่าน ในตอนนั้นก็สามารถเคลียร์ มาไพศาลสิน โอวี ๔๙) เรียกได้ว่าสภาพ ของสมาคมรักบี้ฯ ในตอนนั้นเปรียบเหมือน เรือที่ล่มไปแล้ว ประมาณเดือนมีนาคมทางสมาคมฯ จัดการประชุมใหญ่ มีคนเสนอให้ไปเชิญ อาช้อย (วิโรจน์ นวลแข โอวี ๓๗) มาเป็น นายกสมาคมฯ แทนนายกสมาคมฯ คน
มินิรักบี้ดูจริงจังกว่าผู้ใหญ่เสียอีก ตัวแดงได้โดยการเอาเทปการแข่งขันรักบี้ จากต่างประเทศ มาออกฉายทางช่อง ๕ แล้วก็ได้รบั ค่าโฆษณาจากผูใ้ ห้การสนับสนุน ส่วนคนที่ไปหาค่าโฆษณาและตามเก็บเงิน ก็คือ พี่เตา (บรรยง พงษ์พานิช โอวี ๔๔) พนั ก งานเคาะกระดานในตลาดหุ ้ น ของ บริ ษั ท เงิ น ทุ น หลั ก ทรั พ ย์ ภั ท รธนกิ จ ใน ตอนนั้น (อันนี้พี่เตาบอกผมเองนะครับ) นอกจากการบริหารสมาคมฯ แล้ว ยังมีกจิ กรรมอีกหลายอย่าง เช่น จัด Rugby Congress มีนักรักบี้เก่าเข้าร่วมมากมาย ที่ ท�ำ การสมาคมรั ก บี้ ฯ ในปัจจุบันนี้ที่อยู่ ใต้อัฒจรรย์สนามฮอกกี้ ก็ได้มาในช่วงนั้น โดยมีอาจักร (พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ โอวี ๓๓,๓๔,๓๕) เป็ น ผู ้ ด�ำ เนินการของจาก ท่านปรีดา รอดโพธิ์ทอง รองอธิบดีของ
กรมพลศึกษาในสมัยนั้น และมีพี่โอวีอีก หลายท่านช่วยกันบริจาค โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บ เอกสาร กระเบือ้ งปูพนื้ และผนังห้องน�ำ ้ และ อื่นๆ อีกมากมาย (ก่อนหน้านั้นสมาคม รักบี้ฯ ไม่มีที่ท�ำการเป็นหลักแหล่งแน่นอน เคยใช้ ร าชกรี ฑ าสโมสร กรมพลศึ ก ษา แบงค์ชาติ กองทัพอากาศ และอีกหลายๆ ที่ ย้ายไปย้ายมาตามแต่เจ้าของสถานที่จะ อนุญาตให้ใช้) ผมได้ฟังแล้วก็ทึ่งมากๆ ลองคิดดูนะ ครับในช่วงเวลานัน้ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๒๒๕๒๖ อาช้อยน่าจะอายุประมาณ ๓๓-๓๗ ปี ก�ำลังอยู่ในช่วงก็ก่อตั้งบริษัทเงินทุนหลัก ทรัพย์ภัทรธนกิจ ภาระทางธุรกิจหนักหนา สาหัสแค่ไหนคงไม่ตอ้ งพูดถึง แต่ยงั สามารถ แบ่งเวลาให้กับสมาคมรักบี้ฯ นี่ยังไม่รวมถึง anuman-online.com
100 สนามข้าง การเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ในช่วงนั้นอีกด้วย ในความคิดผม ถ้าไม่บ้า ก็ต้องมี Energy สูงมาก (อันนี้ไม่ได้ถาม นะครับ แต่คิดว่าถ้ามีโอกาสจะถามให้ได้) จากการที่ เ คยด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เป็ น ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่ทั้งเอกชนและ รัฐวิสาหกิจ อาช้อยตั้งข้อสังเกตว่าเวลา กฎ ข้อบังคับ และวิธีการบริหารและด�ำเนินงาน ของสมาคมฯ น่าจะมีอะไรบางอย่างที่ไม่ เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เลย อยากให้มกี ารศึกษาให้ลกึ ลงไปว่าแท้จริงแล้ว มันเป็นอย่างไรจะได้น�ำบางอย่างมาปรับใช้ กับสมาคมฯ ถามไปก็ไม่มีใครรับไปท�ำด้วย
เหตุผลว่าแต่ละคนก็มีหน้าที่งานประจ�ำเต็ม มือกันอยู่แล้ว แค่สละเวลามาช่วยกันฟื้นฟู สมาคมฯ ก็ถือว่ามากแล้ว แล้วหวยก็มาออกทีผ่ ม ในฐานะกรรม สัมปาทิกทีอ่ ายุนอ้ ยทีส่ ดุ ในคณะกรรมการฯ (มัดมือชกจริงๆ) ผมก็รับไว้แล้วก็มาคิดว่า จะท�ำอย่างไร? จนได้ความคิดว่า “น่าจะ ดูตัวอย่างจากประเทศที่เขาเล่นรักบี้กันมา นานและเล่นอย่างจริงจัง” และ “ดูแบบแผน ขององค์ ก รที่ ดู แ ลควบคุ ม การเล่ น รั ก บี้ ใ น ระดับโลก” (โปรดติดตามตอนต่อไป...) นครา นาครทรรพ (โอวี ๖๑)
สนามหลัง 101 ข่าวสารสมาคม
วันศุกร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ร่วมวางพวงมาลาเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี ณ พระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
วันเสาร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. แข่งขันไฟว์ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ คอร์ทไฟว์ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ
anuman-online.com
102 สนามหลัง วันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ และวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมกันจัดงานระลึกพระคุณครู ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ หอประชุม วชิราวุธวิทยาลัย
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๙.๐๐ น. พล.อ.ท.วรฉัตร ธารีฉัตร อุปนายกสมาคมฯ เป็นผู้แทนคณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ร่วมงานบ�ำเพ็ญพระราชกุศล สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภา พัณณวดี ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๒.๐๐ น. นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย รุน่ อาวุโส ร่วมรับประทานอาหาร ณ ราชกรีฑาสโมสรฯ โดยท่านผูบ้ งั คับการวชิราวุธวิทยาลัย ได้มอบหนังสือชุดพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ และหนังสือขัตติยนารีศรีพิสุทธิ์ เป็นของที่ระลึกแก่ผู้ที่มาร่วมงานในวันดังกล่าวด้วย
anuman-online.com
104 สนามหลัง วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๙.๐๐ น. คณะคุณครูอาวุโสร่วมงาน บ�ำเพ็ญพระราชกุศล สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๘.๓๐ น. พล.อ.ท.วรฉัตร ธารีฉัตร อุปนายก สมาคมฯ เป็นผู้แทนคณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ร่วมงาน เลีย้ งแสดงความยินดีแก่นกั กีฬารักบีฟ้ ตุ บอลนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ณ โรงแรมดุสติ ธานี
วันศุกร์ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๒.๓๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ จัดการแข่งขันกอล์ฟ O.V. OPEN 2011 ณ สนามกอล์ฟเลควูค คันทรีคลับ
วันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๙.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยา ลัยฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ พลเอกศุภชัย อิงคุลานนท์ นักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย รุ่น ๓๕ ณ ศาลา ๑๐๐ ปี วัดเบญจมบพิตร
วันอาทิตย์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ นพ.อรรคพาสน์ โอภาสตระกูล ผอ.โรงพยาบาลนวมินทร์ นพ.เฉลิมชาติ วรรณพฤกษ ผอ.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (The Senior) และนายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง กรรมการสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ เข้าเยี่ยมคารวะ พณฯ ธนาทิป อุบัติศฤงค์ เอกอัครราชฑูตไทยประจ�ำกรุงจาการ์ตา (โอวี ๕๑) เนือ่ งในโอกาสการประชุมความร่วมมือ การให้บริการผู้ป่วยจากประเทศอินโดนีเซียเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลไทย
anuman-online.com
106 สนามหลัง วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๖.๓๐ น. คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่า วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ฯ ร่ ว มวางพวงมาลา เนื่ อ งในวั น คล้ า ยวั น สวรรคตพระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ วันปิยะมหาราช ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า
วันพุธที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๕๑ น. คณะคุณครูอาวุโสร่วมงานบ�ำเพ็ญพระราชกุศล ในพิธกี งเต๊กถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
วันพุธที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. วชิราวุธวิทยาลัย สมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธฯ สมาคมรักบี้แห่งประเทศไทยฯ และโครงการสิงห์อาสา ร่วมจัดตั้งโครงการ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดย ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธาน ในการเปิดงาน ณ วชิราวุธวิทยาลัย
anuman-online.com
108 สนามหลัง วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๘.๓๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยฯ ร่วมแข่งขันรักบี้ประเพณีชนช้าง ชิงถ้วยคุณครูอรุณ แสนโกศิก O.V. - RBSC ณ สนามสปอร์ตคลับ ผลการแข่งขัน RBSC ชนะ ๑๗ : ๙
วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๗.๓๐ น. คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่า วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ฯ ร่ ว มวางพวงมาลา เนื่ อ งในวั น คล้ า ยวั น สวรรคตพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ณ ลานอนุสาวรีย์ หน้าหอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย
anuman-online.com
110 สนามหลัง วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๙.๒๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จ พระราชด�ำเนินแทนพระองค์พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรศั มิ์ พระวรชายาฯ ไปยังหอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย ทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวัน สวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็น “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะกรรมการบริหารสมาคม นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ร่วมวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ณ ลานอนุสาวรีย์หน้าสวนลุมพินี
anuman-online.com
112 สนามหลัง วันพุธที๓ ่ ๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรศั มิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปงั กรรัศมีโชติ เป็นการส่วนพระองค์ ทรงร่วม กิจกรรมการฟืน้ ฟูพนื้ ทีป่ ระสบอุทกภัย ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Big Cleaning Day) โดยมี รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วชิราวุธวิทยาลัย สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ สมาคมรักบีฯ้ สิงห์อาสา ร่วมท�ำความสะอาด ณ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร
วันพุธที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัยฯ เข้าพบ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เพื่อมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ�ำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ณ มูลนิธิชัยพัฒนา
วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๙.๑๙ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ สิงห์อาสา ร่วมรับประทานอาหารค�ำ ่ เพื่อขอบคุณ ทีมจิตอาสา ทีร่ ว่ มโครงการศูนย์ชว่ ยเหลือผูป้ ระสบอุทกภัย ณ อาคารอัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย
anuman-online.com
114 สนามหลัง วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๙.๑๙ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยฯ และวชิราวุธวิทยาลัย ประกอบพิธถี วายเครือ่ งราชสักการะและจุดเทียนชัยถวาย พระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ วชิราวุธวิทยาลัย
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๖.๓๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียน เก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ร่วมวางพานพุ่มหน้าลานหน้ารัฐสภา เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ
anuman-online.com
116 สนามหลัง วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๖.๓๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัยฯ ร่วมตักบาตรพระสงฆ์ จ�ำนวน ๔๖ รูป เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา วชิราวุธวิทยาลัย ณ บริเวณลานด้านหน้าหอประชุม วชิราวุธวิทยาลัย
ศั พ ท์ โ อวี 117
เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ
สกรัมกับฯ (ค�ำกริยา)
หากย้อนเวลาไปในช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๕ ในยุคนั้นโรงครัวคณะ ผู้บังคับจะต้องประกอบอาหารเลี้ยงปากท้องนักเรียนถึง ๓ คณะ ได้แก่ คณะผู้บังคับการ และคณะเด็กเล็กทัง้ สองคณะ (หรือก็คอื คณะสนามจันทร์และคณะนันทอุทยานในปัจจุบนั ส่วนคณะสราญรมณ์ยังไม่ได้เกิดขึ้น) อาหารจากโรงครัวสมัยนั้นท�ำให้เกิดค�ำศัพท์ยอดฮิต ติดปากในบรรดาหมู่นักเรียนของทั้งสามคณะที่พูดกันให้แซ่ดบนโรงเลี้ยงว่า “สกรัมกับฯ”
anuman-online.com
118 ศัพท์โอวี สกรัม (Scrum) เป็นส่วนหนึง่ ของกีฬา รั ก บี้ ที่ ใ ห้ ผู ้ เ ล่ น กองหน้ า ของทั้ ง สองฝั ่ ง มา มัดตัวชนกันเพื่อแย่งลูกรักบี้ที่ใส่เข้าไปโดย สกรัมฮาล์ฟ ส่วน กับฯ หรือก็คอื กับข้าว นัน่ เอง คงเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ากับข้าวนั่น ส�ำคัญกับนักเรียนวชิราวุธฯ อย่างไร ก็เพราะ การเป็นนักเรียนประจ�ำ ท�ำให้ไม่มสี ทิ ธิเลือก กินมากนัก ไม่ว่ากับข้าวจะแสนอร่อยหรือ กลืนไม่ลง เด็กนักเรียนก็ต้องกิน ถ้าไม่กิน ก็คงต้องอดไปเท่านัน้ สิง่ เดียวทีเ่ ด็กนักเรียน พอจะท�ำได้ก็คงจะเป็นเพียงแค่การลุ้นว่า วันนี้กับฯ จะดีหรือร้าย อาหารจากโรงครัวคณะผูบ้ งั คับการนี้ ขึ้นชื่อว่า ความอร่อยไปหมด ไม่เหลือความ อร่อยไว้เลย มิหน�ำซ�้ำยังเป็นอาหารที่ชอบ หลอกเด็กนักเรียนเป็นประจ�ำด้วยวิญญาณ ของเนื้อสัตว์ทั้งหลาย ก็เพราะในอาหารมี แต่วิญญาณ หาเนื้อไม่เจอ แต่เด็กนักเรียน ก็พอจะมีความโชคดีอยู่บ้างในบางครั้ง เมื่อ โรงครั ว ท� ำ กั บ ข้ า วที่ มี ค วามอร่ อ ยอยู ่ ค รบ และเนื้อสัตว์ก็มาครบทั้งชิ้น ซึ่งแน่นอนว่า เด็กนักเรียนไม่มีทางปล่อยให้กับข้าวจานนี้ รอดไปแน่ๆ เวลากินข้าวในโรงเลี้ยงเด็กนักเรียน จะนั่งแบ่งเป็นสองฝั่งบนโต๊ะไม้ยาวและกิน กับข้าวร่วมกันเป็นส�ำรับ โดยปกติที่กับข้าว ไม่อร่อย ก็จะกลายเป็นผูด้ นี งั่ ตักรับประทาน กันอย่างสุภาพเรียบร้อย แต่ถ้ามีกับข้าว ที่อร่อยมาวางเมื่อไร ก็จะกลายสภาพเป็น กองหน้าในทีมรักบี้ตั้งท่าย่อตัวพร้อมเข้า สกรัมทันที
ครั้นเสียงสั่งอนุญาตให้ทานได้ดังขึ้น เพียงเสี้ยวเศษวินาที เด็กนักเรียนที่นั่งร่วม ส�ำรับแต่อยู่กันคนละฝั่ง ก็พุ่งเข้าสู่กับข้าว อร่อยจานนั้นอย่างรุนแรงไม่ต่างจากการ เข้าสกรัมในสนาม ถ้าหากจะเปรียบกับข้าว อร่อยเป็นลูกรักบี้ ก็เห็นพอคงจะได้ และมี ช้อนส้อมเป็นเหมือนขาที่ต้องคอยแย่งลูก ตะลุมจ้วงกับข้าวอร่อยในชามนั้นมาใส่จาน ข้าวของตนเองอย่างดุเดือด ในสนามนักรักบีร้ มุ สกรัมเพือ่ จะแย่ง ลูกมาครอง เฉกใดในโรงเลี้ยงนักเรียนก็ สกรัมกับฯ มาใส่ท้องของตนเองเช่นนั้น จากสกรั ม รั ก บี้ ก็ เ ลยกลายเป็ น สกรัมกับฯ นั่นเอง แต่ ก็ ใ นบางครั้ ง การสกรั ม กั บ ฯ ก็ ต้องหยุดลง เพราะมีเด็กหัวไวคิดอุบาย (ที่ ค่อนข้างจะอุบาทว์หน่อยๆ) มาหยุดทุกการ เคลื่อนไหวไว้ ท่ามกลางความรุนแรงขณะ ก�ำลังสกรัมกับฯ เด็กหัวไวคนนี้ก็ท�ำการดึง กับข้าวอร่อยชามนั้นออกมา แล้วก็รีบถุย น�้ำลายลงไปใจกลางกับข้าว! ณ วินาทีนั้นทุกอย่างจะหยุดชะงัก แล้วเจ้าของน�้ำลายคนนั้นก็ฉวยโอกาสใน ขณะที่ทุกคนก�ำลังอึ้งและทึ่งและงง คว้า กั บ ข้ า วอร่ อ ยนั้ น มาโกยใส่ จ านตั ว เองจน หน�ำใจ ทิ้งไว้ก็เพียงแต่สายตาของเพื่อนๆ ร่วมส�ำรับที่พร้อมจะรุมสกรัมเจ้าเด็กหัวไว คนนัน้ แทนกับข้าวทันที เล่าเรือ่ ง: พลเรือตรี เทพรังสรรค์ ศิลปบรรเลง (โอวี ๔๓) เรียบ เรียง: ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (โอวี ๗๖) ภาพประกอบ: สงกรานต์ ชุมชวลิต (โอวี ๗๗)
เกือบหนึ่งปีที่อนุมานวสารห่างหาย ไปจากพีน่ อ้ งชาวโอวี ไม่ใช่เพราะอนุมานวสาร ก� ำ ลั ง ถึ ง คราวสิ้ น สุ ด เหมื อ นดั่ ง ที่ เ คยเป็ น ในสมัยทีผ่ า่ นมา (ทีอ่ นุมานวสารออกมาแล้ว ก็จากหายไป เปลี่ยนรูปเล่มเปลี่ยนหน้าตา ไปหลายครั้ ง หลายครา) หากช่ ว งเวลาที ่ หายหน้ า หายตาไป เป็นเวลาให้ทุก คนที่ เกี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง ผู ้ อ ่ า น ที ม งาน และคณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ ได้หยุดนึก คิดถึง อนาคตข้างหน้าของอนุมานวสาร อนุมานวสารในยุคปัจจุบัน (ซึ่งท�ำ เป็นรูปเล่ม แปลกตากว่าฉบับก่อนหน้าที่ เป็นกระดาษพับหรือใบปลิว) ฉบับแรกออก สูส่ ายตาพีน่ อ้ งชาวโอวีครัง้ แรกในฉบับเดือน เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๐ ในสมัยจุลสิงห์ วสันตสิงห์ เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าฯ ซึ่งมี ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ เป็นประธาน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ พิมพ์ขาวด�ำขนาดครึ่ง หนึ่งของกระดาษจดหมาย ความยาวรวม หน้าปก ๓๒ หน้า กองบรรณาธิการมี ๒ คน ช่างภาพ ๑ คน นักเขียนรับเชิญ ๑ คน เนื้อหาส่วนใหญ่คือข่าวกิจกรรมของสมาคม และข้อเขียนเก่าๆ ทีน่ ำ� กลับมาพิมพ์ใหม่ บท สัมภาษณ์มีเพียงบทเดียวคือการสัมภาษณ์ นายกสมาคมฯ ที่เพิ่งเข้ามารับต�ำแหน่งใหม่ ถึงแนวนโยบายในการบริหารงาน ค่าใช้จ่าย ในการจั ด พิ ม พ์ ม าจากงบประมาณเพี ย ง
วันกลับบ้าน 119
จากทีมงานอนุมานวสาร
น้อยนิดของสมาคมฯ บวกกับค่าโฆษณาที่ อุตส่าห์ไปขอมาได้ ๑ ราย ผ่านไป ๔ ปีเต็ม จนถึงต้นปี ๒๕๕๕ นี้ อนุมานวสารได้ส่งผ่านไปรษณีย์มาอยู่ ในมือผู้อ่านที่เป็นนักเรียนเก่าฯ แล้วทั้งสิ้น ๑๙ ฉบับ ต่อเนื่องกันยาวนานกว่า ๔ ปี เป็นหน้าสีผสมหน้าขาวด�ำกว่า ๑๐๐ หน้า ไม่ใช่เป็นเพียงหน้าขาวด�ำจืดชืดแต่อย่าง เดียวแบบแต่ก่อน ได้รับโฆษณาจากบริษัท ห้างร้านต่างๆ แต่ละเล่มไม่น้อยกว่า ๕ ราย ซึ่งเคยมีโฆษณามากที่สุดถึง ๙ ราย มีกอง บรรณาธิการกว่า ๒๐ คน มีนักเขียนประจ�ำ anuman-online.com
120 วันกลับบ้าน และรับเชิญไม่ตำ�่ กว่า ๑๐ คน มีนกั วาดภาพ ประกอบ ๒ คน มีชา่ งภาพราว ๖-๗ คนสลับ หน้าที่กัน มีการแบ่งแยกงานเป็นฝ่ายต่าง ๆ ตั้งแต่ฝ่ายศิลปกรรม ฝ่ายหาโฆษณา ฝ่าย บัญชีและการเงิน มีที่ปรึกษาซึ่งเปรียบดั่ง ผูอ้ ปุ ถัมภ์เกือบ ๑๐ คน ซึง่ เกือบทัง้ หมดเป็น นักเรียนเก่าฯ ที่อาวุโสในแวดวงต่างๆ และ ญาติสนิทของโอวี ส่วนทีค่ นหรือสองคนเป็น โอวีรุ่นเยาว์ที่ใส่ชื่อไว้เพราะต้องการใช้งาน ในด้ า นเนื้ อ หามี บ ทสั ม ภาษณ์ นั ก เรี ย นเก่ า ฯ หรื อ ครู เ ก่ า ฉบั บ ละ ๒-๓ บท มีข้อเขียนจากนักเขียนรับเชิญรุ่นต่างๆ ไม่ต�่ำกว่า ๔ ราย อีกทั้งยังมีข้อเขียนทาง ประวัติศาสตร์ที่เราได้รับอนุญาตจากญาติ ผู้ประพันธ์น�ำมาลงเป็นตอนๆ ทุกเล่ม บัดนี้ ผูร้ อคอยอ่านอนุมานวสารไม่ใช่แค่พนี่ อ้ งโอวี เท่านั้น แต่ยังรวมถึงครูเก่า ครูและนักเรียน ปัจจุบัน บรรณาธิการหนังสือและนิตยสาร ต่างๆ และผู้สนใจ ซึ่งหลายครั้งอาจไม่มีคน รูจ้ กั อยูโ่ รงเรียนวชิราวุธฯ เลย ยอดพิมพ์เล่ม ล่าสุดพิมพ์ถึง ๕,๐๐๐ เล่ม ในทุกเล่ม ชื่อ ผูบ้ ริจาคเงินสนับสนุนอนุมานวสารตัง้ แต่เล่ม แรกจะปรากฏในทุกฉบับ และในทุกสิ้นปี อนุมานวสารจะแสดงบัญชีรายการการเงิน เพื่ อ ให้ ผู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งได้ ท ราบถึ ง สถานะ ทางการเงินของอนุมานวสาร (ซึ่งมักผิด หลักการบริหารที่ดี คือมีรายได้ต�่ำกว่าราย จ่ายมาตลอด) และเพื่อแสดงความโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล
ผู ้ ที่ ติ ด ตามอนุ ม านวสารมาอย่ า ง สม�่ำเสมอคงจะรู้สึกได้ว่า การท�ำอนุมาน วสารออกมาแต่ละฉบับนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะเป็ น เรื่ อ งเนื้ อ หาต่ า งๆ ที่ เ กิ ด จาก น�้ ำ พั ก น�้ ำ แรงของผู ้ เ สี ย สละแรงกายมา ร่วมกันท�ำโดยไม่หวังผลตอบแทนอะไรมาก ไปกว่าความสุขเพียงเล็กน้อย ไหนจะเป็น เรื่องการติดต่อหาโฆษณาส�ำหรับนิตยสาร ที่ มี ก ลุ ่ ม เป้ า หมายจ� ำ กั ด ที่ อ ยู ่ น อกเหนื อ รัศมีด้านการตลาด ไหนจะเป็นเรื่องการ ด� ำ เนิ น การด้ านเทคนิ คการออกแบบและ การพิมพ์ซึ่งทีมงานส่วนใหญ่มีความรู้เพียง หางอึ่ง ค่าตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ ที่เรา จัดสรรให้ผู้เขียนและทีมงานนั้นเป็นเพียง เพราะความต้ อ งการท� ำ หนั ง สื อ อย่ า งมื อ อาชีพ ให้สะท้อนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการ ท�ำงาน แม้ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงจะสูงกว่านั้น มาก แต่อย่างน้อยก็ท�ำให้ได้เห็นรายการ รายจ่ายและรายรับของการท�ำอนุมานวสาร แต่ละฉบับว่าประกอบด้วยรายการใดบ้าง หลั ง จากที่ ที ม งานอนุ ม านวสารได้ ปรึ ก ษากั บ ผู ้ อ าวุ โ สและประชุ ม หารื อ กั น ตลอด ๒-๓ ปีทผี่ า่ นมา เราเริม่ มีความชัดเจน ถึ ง แนวทางในอนาคตของอนุ ม านวสาร หลายสิ่งเป็นเรื่องง่ายที่สามารถท�ำได้ทันที และเราก็ มิ ไ ด้ รี ร อ เช่ น การเพิ่ ม ความ พยายามในการหาโฆษณาอย่างมืออาชีพ โดยไม่ให้บริษัทห้างร้านที่เราไปติดต่อรู้สึก ว่าเป็นการ “ไถสตางค์” การเปิดบัญชีร่วม เพื่อให้สามารถจัดการกับรายได้ต่างๆ โดย
เฉพาะเงินบริจาคเงินค่าด�ำเนินการจัดท�ำ อนุมานวสารให้เป็นระบบระเบียบ การให้ ความส�ำคัญกับรายละเอียดในการท�ำหนังสือ โดยเฉพาะการพิสจู น์อกั ษร รวมถึงการเขียน การใช้ภาษาไทยทีถ่ กู ต้อง การเพิม่ เนือ้ หาให้ มีความหลากหลายและคัดสรรบทความที่มี คุณค่า การพัฒนาด้านศิลปกรรมให้หนังสือ มี ค วามน่ า อ่ า นและอ่ า นง่ า ยโดยเฉพาะ นักเรียนเก่าฯ ในวัยสูงอายุ อย่างไรก็ดี มีอกี หลายสิง่ หลายอย่าง ที่ทีมงานเห็นพ้องว่าเป็นสิ่งที่ควรจะท�ำหรือ อย่างน้อยก็น่าทดลอง แต่ยังไม่กล้าเริ่มท�ำ ในทันที บางเรื่องเกี่ยวข้องกับฝ่ายต่างๆ ซึ่ง รวมถึงการตัดสินใจทางนโยบายจากคณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ บางเรื่องต้อง ใช้สตางค์มาก บางเรื่องจะต้องใช้เวลาและ ความพยายามมากจนอาจท�ำให้เสียลักษณะ ของการมารวมตั ว กั น อย่ า งหลวมๆ และ สนุกๆ ของทีมงานฯ ดังที่ผ่านมา เรือ่ งทีเ่ ราจะเริม่ ท�ำในปี ๒๕๕๕ เห็น คงจะเป็นเรื่องยากๆ เหล่านั้น เรื่องแรก เราจะเริ่มทดลองการปรับ เปลี่ยนองค์กรของอนุมานวสารแยกออกมา ให้ชัดเจนและให้มีลักษณะเป็นองค์กรเชิง ธุรกิจมากขึ้น เดิมนั้นอนุมานวสารถือเป็น ส่วนหนึง่ ของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ที ม งานเกิ ด ขึ้ น จากการรวมตั ว กั น โดย กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ซึง่ ท�ำให้กรรมการสมาคมฯ ทีค่ วรจะมีหน้าที่ บริหารและให้นโยบายกลับเป็นผู้ที่จะต้อง
ลงมือลงแรงท�ำเอง ดังนั้น การปรับรูปแบบ ของอนุ ม านวสารให้ มี ลั ก ษณะคล้ า ยเป็ น บริษัทเล็กๆ แทน ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยน ไปสู ่ ก ระบวนการที่ ค วรจะเป็ น กล่ า วคื อ คณะกรรมการบริ ห ารสมาคมฯ เป็ น ผูม้ อบหมายให้ผทู้ ำ� หนังสือซึง่ มิใช่กรรมการ สมาคม ด�ำเนินการจัดท�ำอนุมานวสารออก มาเป็นรูปเล่มเพื่อส่งถึงมือสมาชิก ระบบ หรือกระบวนการทีว่ า่ นีน้ า่ จะเป็นทางออกใน ระยะยาวทีช่ ว่ ยรับประกันว่าอนุมานวสารจะ อยู่ได้อย่างยั่งยืน บริษทั เล็กๆ ทีเ่ ราคิดกันนีไ้ ม่ใช่บริษทั ทีแ่ สวงหาก�ำไรใหญ่โต แต่เป็นองค์กรทีม่ กี าร จัดการอย่างมืออาชีพ มีการด�ำเนินการที่ โปร่งใสและตรวจสอบได้ และเป็นองค์กรที่ มีลักษณะการด�ำเนินการเพื่อสังคม หรือที่ ในสมัยนีม้ กั พูดกันว่าเป็น “บริษทั เพือ่ สังคม” (Social enterprise) เรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งทีผ่ ใู้ หญ่ หลายคนได้มาพูดกับทีมงานเสมอแต่เรายัง ไม่กล้าท�ำ เราคงต้องขอรับการสนับสนุน และค�ำแนะน�ำจากคณะกรรมการบริหาร สมาคมฯ เป็นอย่างมาก เรื่ อ งต่ อ มา เราก� ำ ลั ง ศึ ก ษาความ เป็นไปได้และแนวทางในการขอรับบริจาค ค่าสมัครสมาชิกโดยสมัครใจจากนักเรียน เก่าฯ และจากโรงเรียน (หากเห็นว่าอนุมาน วสารจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนปัจจุบัน) ทีผ่ า่ นมาโอวีหลายคนได้แสดงความเป็นห่วง เป็นใย โดยเฉพาะหลังจากได้เห็นสถานะ ทางการเงินของอนุมานวสารที่น�ำมาแสดง anuman-online.com
122 วันกลับบ้าน ในทุกสิ้นปีว่า อนุมานวสารควรจะมีรายได้ มากกว่ารายจ่าย มิใช่ทำ� อย่างขาดทุนอย่าง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลายท่านได้เสนอให้ เก็บค่าสมาชิกจากนักเรียนเก่าฯ ซึง่ ทีมงานฯ ก็ยงั มิได้เห็นด้วยนัก เพราะยังเห็นว่าการท�ำ อนุมานวสารเป็นหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เป็น หนึ่งในบริการที่สมาคมนักเรียนเก่าฯ มอบ ให้แก่มวลสมาชิก เรื่องนี้เราเข้าใจว่าเป็น เรื่องละเอียดอ่อน ดังนั้น เราก�ำลังพิจารณา ไตร่ตรองเรื่องนี้ให้ดีที่สุดและหาวิธีการให้ เหมาะสมที่สุดก่อนที่จะลงมือท�ำ เรื่ อ งสุ ด ท้ า ยเกิ ด ขึ้ น จากที่ เ รามี ทีมงานมากขึ้น มีสรรพก�ำลังและแรงงานใน การท�ำงานมากขึ้น เราจึงคิดที่พัฒนาสิ่งที่ เป็นอยู่และได้เคยเริ่มท�ำแล้วในสมัยแรกให้ จริงจังขึ้น เรื่องเหล่านี้ เช่น การปรับเปลี่ยน รูปเล่มและศิลปกรรมของอนุมานวสารให้มี ความทันสมัยแต่ยงั คงความสง่างามและกลิน่ อายเดิมๆ การจัดกิจกรรมโดยเฉพาะการ จัดปาฐกถา “all gentlemen can learn” ที ่ นักเรียนเก่าฯ ผู้มีความรู้และประสบการณ์ ในด้านต่างๆ มาพูดให้ฟงั โดยในปีนี้ เราอาจ ชักชวนโรงเรียนให้มาร่วมกิจกรรมด้วยหาก โรงเรียนเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่นักเรียน ปัจจุบันที่จะได้รับการแนะแนวอาชีพไปใน
คราวเดียวกัน การจัดท�ำของที่ระลึกต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์และหารายได้ ให้กับอนุมานวสาร โดยอาจเป็นการร่วมมือ กับนักเรียนเก่าฯ ทีท่ ำ� ด้านการออกแบบและ แฟชั่น เช่น กางเกงยีนส์ เสื้อผ้าในการผลิต สินค้าภายใต้แบรนด์อนุมานวสารเป็นการ เฉพาะ เป็นต้น หากไม่เป็นการปฏิเสธว่าที่ผ่านมา อนุ ม านวสารถื อ เป็ น สื่ อ กลางของโอวี ที่ ท�ำให้ทุกคนได้ย้อนคิดถึงวันเก่าๆ ได้เรียนรู้ และรู้จักนักเรียนเก่าฯ ที่บัดนี้ได้ไปอยู่และ ท�ำประโยชน์ในแวดวงต่างๆ อีกทั้งยังช่วย สร้ า งภาพลั ก ษณ์ แ ละเผยแพร่ ลั ก ษณะที่ งดงามของความเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ ตาม พระราชปณิธานของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ องค์พระผู้พระราชทานก�ำเนิดโรงเรียนให้ สาธารณชนได้รบั รูแ้ ล้ว แนวทางทีเ่ ราจะเริม่ ท�ำในปี ๒๕๕๕ เหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมและ สนับสนุนให้อนุมานวสารมีความยั่งยืนให้ อนุมานวสารเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ที่โอวี ทุกรอคอยไว้อ่านยามนึกถึงเพื่อนเก่าและ โรงเรียนอันเป็นที่รักของเราตลอดมาและ ตลอดไป การสนับสนุนจากพี่น้องโอวีและผู้ ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเป็นสิ่งที่ทีมงานอนุมาน วสารต้องการอย่างที่สุดในเวลานี้ ทีมงานอนุมานวสาร
โอวี OV Spirit&Web OV ๒,๐๐๐ บาท นักเรียนเก่าฯ ในเชียงใหม่ ๒,๖๐๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท ธันวา ชัยจินดา ๓,๐๐๐ บาท วิวัฒน์ ถิระวันธุ ์ โอวีอาวุโส ร.ท.นุรักษ์ อิศรเสนาฯ ๓,๐๐๐ บาท ม.ล.พรสุทธิ์ ลดาวัลย์ ๕๐๐ บาท ถวัลย์ ปานะนนท์ ๕๐๐ บาท ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๑๖ เสถียร เสถียรสุต ๑๕,๐๐๐ บาท โอวี ๑๙ ปราณีต ชัยจินดา ๑๐,๐๐๐ บาท โอวี ๒๕ ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๒๖ พงษ์ธร พรหมทัตตเวที ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๒๘ วิชัย สุขธรรม ๒,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท สนั่น จรัญยิ่ง โอวี ๓๐ อโนทัย สังคาลวณิช ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๑ โอวี รุ่น ๓๑ และรุ่นข้างเคียง ๓,๑๐๐ บาท จิรายุส แสงสว่างวัฒนะ ๒,๐๐๐ บาท ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ๒๐,๐๐๐ บาท โอวี ๓๓ พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ ๑๐,๐๐๐ บาท จักรพันธุ์ โปษยกฤต ๓๐,๐๐๐ บาท ด�ำรงพันธุ์ พูนวัตถุ ๕๐๐ บาท ดร.ประทักษ์ ประทีปะเสน ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๓๔ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ๓๐,๐๐๐ บาท
โอวี ๓๕ สุพจน์ ศรีตระกูล ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๗ สันติภาพ ลิมปะพันธ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๘ อดิศักดิ์ เหมอยู่ ๒๐,๐๐๐ บาท โอวี ๔๐ โอวีรุ่น ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ๑๐,๐๐๐ บาท พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๑ เปรมปรี วัชราภัย ๔,๐๐๐ บาท โอวี ๔๒ รุ่น ๔๒ ๑๐,๐๐๐ บาท เชิดชัย ลีสวรรค์ ๑๐,๐๐๐ บาท อภิชัย สิทธิบุศย์ ๑,๐๐๐ บาท นภดล บัวทองศร ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๔๓ ก๊วนกอล์ฟโอวี ๔๓ ๑๐,๐๐๐ บาท เขมทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท อิสระ นันทรักษ์ โอวี ๔๔ พงษ์พินิต เดชะคุปต์ ๓,๐๐๐ บาท รัฐฎา บุนนาค ๕,๐๐๐ บาท ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ฯ ๑๐,๐๐๐ บาท สุพล วัธนเวคิน ๕๐,๐๐๐ บาท โอวี ๔๕ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ๘,๐๐๐ บาท จีระ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท ศ.ดร.ทวิป กิตยาภรณ์ ๕,๐๐๐ บาท พงษ์เทพ ผลอนันต์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๖ โอวี รุ่น ๔๖ ๒,๐๐๐ บาท ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ ๑๘,๐๐๐ บาท ดนุช อิศรเสนา ณ อยุธยา ๒,๐๐๐ บาท ธนันต์ วงษ์เกษม ๑,๐๐๐ บาท
นรศุภ นิติเกษตรสุนทร ๑,๐๐๐ บาท ปฏิภาณ ตันติวงศ์ ๕,๐๐๐ บาท ร.อ.เปรม บุณยวิบูลย์ ๕,๐๐๐ บาท รักพงษ์ ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา ๑๐,๐๐๐ บาท ม.ร.ว.อดิศรเดช ศุขสวัสดิ์ ๓,๐๐๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท โมนัย ไกรฤกษ์ โอวี ๔๗ ธานี จูฑะพันธ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๘ ชนัตถ์ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท พ.ต.ท.พรศักดิ์ บุญมี ๑,๐๐๐ บาท ทองเปา บุญหลง ๒๐๐ บาท สัตยา เทพบรรเทิง ๕,๐๐๐ บาท เลิศศักดิ์ ผลอนันต์ ๕๐๐ บาท องอาจ อนุสสรราชกิจ ๒๐๐ บาท อนุสนธิ์ ชินวรรโณ ๔,๐๐๐ บาท โอวี ๔๙ ธนาวุฒิ สาครสินธุ์ ๑,๐๐๐ บาท นภดล เทพวัลย์ ๒,๐๐๐ บาท นาวาโท บัญชา จันทร์ไทย ๑,๐๐๐ บาท มนต์เทพ โปราณานนท์ ๘,๐๐๐ บาท อภิชัย มาไพศาลสิน ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๐ โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท น.อ.พิศิษฎ์ ทองดีเลิศ ๒,๐๐๐ บาท นพดล มิ่งวานิช ๑,๐๐๐ บาท เอกชัย วานิชกุล ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๕๑ พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา ๑๐,๐๐๐ บาท พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท วชิระ สายศิลปี ๕,๐๐๐ บาท สุวิช ล�่ำซ�ำ ๗,๕๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๕,๐๐๐ บาท อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๕๒ กุลวัฒน์ วิชัยลักษณ์ ๑,๐๐๐ บาท จุมพจน์ มิ่งวานิช ๕๐๐ บาท
anuman-online.com
นพ.ชนินทร์ ล�่ำซ�ำ ๗,๕๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๕,๐๐๐ บาท บัญชา ลือเสียงดัง ๕๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท วิเชฐ ตันติวานิช ๑,๐๐๐ บาท วิเทศน์ เรืองศรี ๒๐๐ บาท สันติ อุดมวัฒน์ทวี ๑,๐๐๐ บาท สุรจิต ลืออ�ำรุง อนันต์ จันทรานุกูล ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๓ ทินนาถ กิตยาภรณ์ ๑,๐๐๐ บาท อลงกต กฤตยารัตน์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๕ ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ๒,๐๐๐ บาท อนันต์ สันติวิสุทธิ์ ๒,๐๐๐ บาท อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๕๖ ทวีสิน ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท พรหมเมศ จักษุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๕๗ วีระวัฒน์ เนียมทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท สัคคเดช ธนะรัชต์ ๑,๐๐๐ บาท อนุวัตร วนรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๕๘ ธนา เวสโกสิทธิ ์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๙ กิตติ แจ้งวัฒนะ ๑,๐๐๐ บาท คมกฤช รัตนราช ๕,๐๐๐ บาท ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ๕,๐๐๐ บาท รวินทร์ ถิระวัฒน์ ๓,๐๐๐ บาท วรากร บุณยเกียรติ ๑,๐๐๐ บาท เวทิศ ประจวบเหมาะ ๕,๐๐๐ บาท คุณอาจ อรรถกวีสุนทร ๓๐,๐๐๐ บาท และชาตา บุญสูง อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ ๑,๐๐๐ บาท อนุวัฒน์ ชูทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท
โอวี ๖๐ วีรยุทธ โพธารามิก ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๑ กมล นันทิยาภูษิต ๕,๐๐๐ บาท นครา นาครทรรพ ๒,๐๐๐ บาท ภัคพงศ์ จักษุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๒ โกมุท มณีฉาย ๑,๐๐๐ บาท ทรงศักดิ์ ทิพยสุนทร ๑,๐๐๐ บาท ธนพร คชเสนี ๑,๐๐๐ บาท ปิยะพงษ์ บุณยศรีสวัสดิ์ ๑,๐๐๐ บาท ประภากร วีระพงษ์ ๑,๐๐๐ บาท ภัฎพงศ์ ณ นคร ๕๐๐ บาท วรรธนะ อาภาพันธุ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๓ ภูริเชษฐ์ โชติพิมพ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๖๕ วัชระ ตันธนะ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๖๕ ปรีเทพ บุญเดช ๕๐๐ บาท โอวี ๖๖ เจษฎา บ�ำรุงกิจ ๑,๐๐๐ บาท พันตรี จุณณะปิยะ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๗ กิตติวัฒน์ กิจถาวรวงศ์ ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๖๙ กิตติ ชาญชัยประสงค์ ๑,๐๐๐ บาท ธเนศ ฉันทังกูล ๕๐๐ บาท โอวี ๗๐ รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๗๑ วิรัช เทพารักษ์ ๑,๐๐๐ บาท สถิร ตั้งมโนเพียรชัย ๑,๐๐๐ บาท อาทิตย์ ประสาทกุล ๑,๐๐๐ บาท
โอวี ๗๒ กันต์ ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท ประยุทธ์ จีรบุณย์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๗๓ นักเรียนเก่าฯ รุ่น ๗๓ ๗,๕๐๐ บาท ณัฐพล ลิปิพันธ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๔ พฤศ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท ปณิธิ นอบไทย ๑,๐๐๐ บาท ศศิศ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท โอวี ๗๕ ธัชกร พัทธวิภาส ๑,๐๐๐ บาท อัคร ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๗ วิชชุ วุฒานุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๙ โอวี รุ่น ๗๙ ๒,๐๐๐ บาท ภวัตพงศ์ เทวกุล ณ อยุธยา ๕๐๐ บาท วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๐ ธนทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท ฟ้าสาง ปริวุฒิพงศ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๘๑ รชต ชื่นชอบ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๒ เมธัส ไกรฤกษ์ ๕,๐๐๐ บาท เพื่อนโอวีและผู้ปกครอง ณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ ๑,๐๐๐ บาท วิฑูรย์ จอมมะเริง ๑,๐๐๐ บาท ผู้ปกครอง ด.ช.จอม จอมมะเริง ๘๔๐๘ /สจ.๑๗ ผู้ปกครอง ๒,๐๐๐ บาท ด.ช.เมธิชัย ชินสกุล ร.ศ.พญ.ผจง คงคา ๕,๐๐๐ บาท สมพร ไม้สุวรรณกุล ๒๐๐ บาท * ตัวเข้มผู้บริจาคใหม่หรือเพิ่มเติม
ห้องเบิกของ 125
ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี
ร้านอาหาร
ร้านรับลมริมน�้ำ ร้าน How To มีทั้งวิวริมน�้ำและนักว่ายน�ำ้ ดนตรีแนว acoustic & Folk song พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง โอวี ๕๐ และพี่โจ้ โอวี ๕๔ และมีส่วนลดให้โอวี ๒๐% ริมสระว่ายน�ำ ้ Riverline Place คอนโดมิเนียม ภิญโญ โอวี ๔๔ ถนนพิบูลสงคราม นนทบุรี ปากซอยอินทามระ ๒๖ ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ร้านครัวกะหนก โอวีรับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐ % ภรรยา กุลธน ประจวบเหมาะ (ต้น) โอวี ๕๕ ลาดพร้าว ๗๑ ๑๕๐ เมตร จากปากซอย อยู่ ซ้ายมือ ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ WHO
WHO
OZONO PLAZA แหล่งรวมร้านค้าส�ำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับ สัตว์เลี้ยง และพื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงได้วิ่งเล่น คมกฤช รัตนราช โอวี ๕๙ ท้ายซอยสุขุมวิท ๓๙ (พร้อมพงษ์) ทะลุออก ถนนเพชรบุรีหลังตึกอิตัลไทย www.ozono.us ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ร้านอาหารบ้านประชาชื่น อาหารไทยสูตรต้นตระกูลสนิทวงศ์ และข้าวแช่ ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม เปิดตั้งแต่ ๑๐.๓๐-๑๕.๓๐ น. ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์อาทิตย์ บวรพิตร พิบูลสงคราม (พี่บูน) โอวี ๔๖ เลขที่ ๓๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ กรุงเทพฯ ๐๒-๕๘๕-๑๓๒๓, ๐๘๙-๖๑๙-๒๖๑๐ WHO
WHO
ADDRESS
ร้านอาหารอิงน�้ำ อาหารอร่อยมาก ราคาไม่แพง พี่อึ่งเป็นกันเอง addict cafe & thing พี่อึ่ง โอวี ๓๙ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ๗๓-๗๕ เลยโลตัส ๑๐๐ เมตร ร้านกาแฟเล็กๆ จักรพันธุ์ บุญหล่อ โอวี ๗๒ ร้านอาหารห้องแถว ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ร้านอาหารเหนือล้านนา สุดอร่อย เมนูขึ้นชื่อ ๐๘๕-๓๒๓-๖๖๖๘, ๐๘๖-๗๗๔-๙๗๒๓ แกงโฮะ ปลาสลิดทอดฟู และแหนมผัดไข่ ษาเณศวร์ โกมลวณิช (ถลอก) โอวี ๖๙ The Old Phra Arthit Pier ถนนนิมานเหมินทร์ เชียงใหม่ ร้านอาหารสวยริมเจ้าพระยายามเย็น ส�ำหรับโอวี ๐๕๓-๒๑๘-๓๓๓ ที่ไปอุดหนุนลดทันที ๑๐% WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ร้านอาหารชิมิ หม้อชาบูชาบูและเตาปิ้งย่าง ยาคินิคุในแบบ บุฟเฟ่ต์โฮมเมด วัตถุดิบชั้นเยี่ยมราคาอิ่มสบาย ศิโรฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โอวี ๔๔ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ shimi_restaurant@hotmail.com ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ WHO
WHO
พงศ์ธร เพชรชาติ โอวี ๖๐ ท่าพระอาทิตย์ ถนนพระอาทิตย์ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒
ADDRESS
ADDRESS
anuman-online.com
126 ห้องเบิกของ โรงแรม บ้านไร่วิมานดิน ออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ รีสอร์ทริมล�ำธารอิงขุนเขา บริการอาหารปลอด สารพิษจากเกษตรอินทรีย์ ส�ำหรับโอวีราคาพิเศษ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (อ�ำรุง) โอวี ๔๔ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี www.vimarndinfarmstay.com ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ ดิ. โอวี. คันทรี รีสอร์ท เอกลักษณ์การตกแต่งและกลิน่ อายสมัยอยูโ่ รงเรียน กมล นันทิยาภูษิต โอวี ๖๑ กลางเมืองจันทบุรี ขับผ่านก็สามารถสังเกต เห็นได้ง่าย ๐๘๑-๘๓๓-๒๑๒๕ โรงแรมรัตนาปาร์ค โอวีท่านใดผ่านมาโทรบอกได้เลย ราคาห้องพิเศษ มาฆะ พุ่มสะอาด โอวี ๕๕ พิษณุโลก ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑, ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ ชุมพรคาบานา และศูนย์กีฬาด�ำน�ำ้ ลึก ให้บริการที่พัก จัดสัมมนา และบริการด�ำน�ำ้ ลึก บริหารงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง วริสร รักษ์พันธุ์ โอวี ๖๑ หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร www.chumphoncabana.com ๐๗๗-๕๖๐-๒๔๕-๗, ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ไร่ภูอุทัย ในวงล้อมธรรมชาติเขาใหญ่ สูดรับโอโซนระดับ ๗ บนลานเนินกว้าง อ�ำนวยศิลป์ อุทัย โอวี ๗๑ และรังสรรค์ อุทัย โอวี ๗๒ ถนนพหลโยธินขาออกจาก จ.สระบุรี ซอยที่เป็นเส้นทางลัดไป อช.เขาใหญ่ www.phu-uthai.com ๐๘๐-๔๙๙-๙๐๒๔ WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ณัฐฐาวารีน�้ำพุร้อน อาบน�ำ้ แร่แช่นำ�้ ร้อนท่ามกลางธรรมชาติ ทีเด็ด ปลามัจฉาบ�ำบัดจากต่างประเทศ บ�ำรุงผิวพรรณ ภวิษย์พงศ์ พงษ์สิมา โอวี ๗๖ ริมถนเพชรเกษม ระหว่าง กม.ที่ ๑๓-๑๔ (กม.ที่ ๙๙๐ กระบี่-ตรัง) บ.บางผึ้ง ต.โคก ยาง อ.เหนือคลอง จังหวัดกระบี่ www.natthawaree.com ๐๗๕-๖๐๑-๖๔๒, ๐๘๙-๗๘๐-๖๔๗๖ WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
The Bihai Huahin โอวีลด ๒๐% ......... ๘๙ หมู่ ๕ บ้านหัวดอน ต�ำบลหนองแก หัวหิน ๐๓๒-๕๒๗-๕๕๗-๖๐ ตาลคู่บีช รีสอร์ท รีสอร์ทสวยริมทะเลใส อลงกต วัชรสินธุ์ (อยากเกา) โอวี ๗๕ อ.ขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช ใกล้ เกาะสมุย g_got75@hotmail.com ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ คีรีตา รีสอร์ท รีสอร์ทบูทีคโฮเต็ลเหมาะแก่การพักผ่อน และจัดสัมมนา ยินดีต้อนรับโอวีทุกท่าน พร้อมได้รับบริการในราคาพิเศษ อุรคินทร์ ไชยศิริ (กิมจิ) โอวี ๗๐ เกาะช้าง จังหวัดตราด ๐๘๙-๗๔๘-๗๕๒๘ Amphawa River View โฮมสเตย์ริมน�ำ้ กับบรรยากาศตลาดน�้ำ สัมผัส วิถีชีวิตดั้งเดิมของไทย ยินดีต้อนรับโอวีทุกท่าน ในราคาเบาๆ ชโนดม โชติกพนิช (ดม) โอวี ๗๐ ตลาดน�ำ้ อัมพวา www.amphawariverview.com ๐๓๔-๗๕๑-๒๐๒
ADDRESS
ADDRESS
บริการ รับถ่ายรูป รับถ่ายรูปงานแฟชั่นโชว์, งานถ่ายภาพนิ่งเพื่อ การโฆษณาต่างๆ,งานเฉลิมฉลองและถ่ายรูปใน สตูดิโอ ทั้งภาพบุคคล,ผลิตภัณฑ์และสถานที่ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ สตูดิโอ ในหมู่บ้านการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ www.natphoto.com nat_vc72@hotmail.com ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ WHO
WHO
ADDRESS
ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ส�ำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านทาง อินเตอร์เนต กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๘๐ www.weloveshopping.com/shop/furrytail ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ WHO
WHO
ADDRESS
บริษัท น�ำ้ -ทอง เทรดดิ้ง จ�ำกัด จ�ำหน่ายน�้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรมทุกชนิด โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet (ปตท., บางจาก, แมกซิมา) รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด ท�ำหมัน เอ๊กซเรย์ ภณธร ชินนิลสลับ (ซอมป่อย) โอวี ๖๘ ขูดหินปูน อาบน�้ำตัดขน บริการนอกสถานที่และ ๑๘๘/๑๐๗ ม.๑ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ สงขลา รับปรึกษาปัญหาสัตว์เลี้ยง รับฝากเลี้ยง และ ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖, ๐๘๕-๓๒๔-๙๙๐๑ จ�ำหน่ายอุปกรณ์,อาหารต่างๆ นึกถึงประกันภัย น.สพ.อุรนิ ทร์ คชเสนี โอวี ๗๑ บ้าน, รถยนต์, อุบัติเหตุ, etc. นึกถึง Kevin..! ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง นนทบุรี Call me Bro! ๐๒-๙๖๙-๘๔๘๙, ๐๘๙-๘๑๖-๘๑๓๘ เขต ณ พัทลุง โอวี ๗๑ ร้านตัดผม Sindy Lim ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒ ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี AUTO X หากก�ำลังมองหาร้านท�ำผมเพื่อออกงานสุดหรูหรือ เปลีย่ นลุคแล้ว เชิญไปใช้บริการได้ โอวีลดให้พเิ ศษ จ�ำหน่ายรถยนต์น�ำเข้าทุกยี่ห้อ และศูนย์บริการ ซ่อมรถยนต์ทุกชนิด ด้วยอุปกรณ์ตรวจเช็คด้วย ทวีสิน ลิ้มธนากุล (สิน) โอวี ๕๕ ระบบคอมพิวเตอร์ ปากซอยสุขมุ วิท ๔๙ อยูข่ วามือ ตรงข้ามเซเว่นฯ ตุลย์ ธีระอรรถ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕ ถ.พหลโยธิน ข้างส.น.บางซื่อ ตรงข้ามอาคาร ชินวัตร ๒ ร้านฟูฟู ๐๒-๖๑๕-๕๕๓๓ รับอาบน�้ำตัดขนสุนัข รับฝากสัตว์เลี้ยง ไอซิด เจษฎา ใยมุง โอวี ๖๕ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จังหวัดจันทบุรี รับตกแต่งภายในและรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะ ๐๘๑-๓๕๓-๒๘๖๕ บ้านและคอนโด ภคภพ (สิทธิพงษ์) โอวี ๖๖ 22EQ ซ.เจริญยิ่ง www.icidcompany.com รับออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙, ๐๘๑-๗๓๓-๗๗๐๑ กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๗๐ www.jate.22eq.com ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๕๘ WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
anuman-online.com
128 ห้องเบิกของ บริการ บริษัท DML Export จ�ำกัด หลอดประหยัดไฟ LED bulb ประหยัดไฟ มากกว่าธรรมดาถึง ๕ เท่า ผลิตภัณฑ์เป็นมิตร กับธรรมชาติ และสามารถน�ำมารีไซเคิล ๑๐๐% นฤพนธ์ สุ่นกุล (รันตู) โอวี ๗๖ ๐๘๔-๗๖๗-๖๕๒๒ บจก. ๙พีเอสเมทัลชีท ผลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์หลังคา ผนัง แผ่น เหล็กเมทัลชีท, รวมถึงรับติดตั้งด้วย พลเทพ ณ สงขลา โอวี ๖๖ ๒๙/๑๓ ม.๖ ถนนเสมาฟ้าคราม ต.คูคต อ.ล�ำลูกกา จ.ปทุมธานี ๐๒-๕๓๓-๐๐๙๖ ๐๘๑-๓๐๒-๐๒๔๑ ลา โบนิต้า บาย เอส (La Bonita by S) บริการนวดสปาและขายขนมเค้ก ปรรัตถ สมัครจันทร โอวี ๗๒ ๑๑๗/๔-๕ ซอยพหลโยธิน ๗ (ซอยอารีย์) ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ ๐๒-๒๗๘-๕๐๕๕ WHO
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
Zyplus.com ธุรกิจอินเตอร์เนต ให้บริการเช่าพื้นที่เว็บโฮลดิ้ง ของเว็บไซต์และบริการจดโดเมนเนม สิษฐวัฒน์ ตู้จินดา โอวี ๖๗ www.zyplus.com ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ WHO
ADDRESS
WHO
NAPAT GRAND ELECTRIC รับจ�ำหน่าย ติดตั้ง ซ่อม และล้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า ทุกชนิด ราคาถูกกว่าห้าง ชัวร์!!!! ณภัทร (ธันว์) ยิ้มเเย้ม โอวี ๗๖ ๐๘๙-๘๔๑-๔๑๒๔ Kevin-insurance@hotmail.com
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
เสื้อยืด all gentlemen can learn ขนาด M L XL XXL และสำหรับสุภาพสตรีขนาด S M L
ราคาตัวละ ๓๐๐ บาท สั่งซื้อไดที่
อนุมานวสาร (กิตติเดช ฉันทังกูล โทร. ๐๘๑-๓๔๔-๔๒๗๓)
อนุมานวสาร 129
ฉบับย้อนหลัง
ฉบับปี ๒๕๕๐
ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๑ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๐
ฉบับ ๒ ฉบับ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๐ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๐ ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๔ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๕ เม.ย.-พ.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๖ มิ.ย.-ก.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๗ ส.ค.-ก.ย. ๒๕๕๑
ฉบับ ๘ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๑
ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๙ ม.ค.-ก.พ. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๐ มี.ค. เม.ย. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๑ พ.ค-มิ.ย. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๒ ก.ค.-ส.ค. ๒๕๕๒
anuman-online.com
ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับปี ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๓ ก.ย.-ต.ค. ๒๕๕๒ ฉบับปี ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๔ ฉบับ ๑๕ พ.ย.-ธ.ค. ๒๕๕๒ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๓ ฉบับปี ๒๕๕๔
ฉบับ ๑๖ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๓ ฉบับปี ๒๕๕๕
ฉบับ ๑๗ ก.ค.-ต.ค. ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๘ ม.ค.-เม.ย. ๒๕๕๔
ฉบับ ๒๐ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔
ฉบับ ๑๙ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๔
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่
สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง)