•
•
ฉบับที่ ๒๑ มกราคม-เมษายน ๒๕๕๕ anuman-online.com
จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๔- ๒๕๕๖
ที่ปรึกษา สุเมธ ตันติเวชกุล โอวี ๓๐ ชัยอนันต์ สมุทวณิช โอวี ๓๓ วิโรจน์ นวลแข โอวี ๓๗ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ โอวี ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช โอวี ๔๔ วรชาติ มีชูบท โอวี ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี โอวี ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ โอวี ๕๙ วีรยุทธ โพธารามิก โอวี ๖๐ อาทิตย์ ประสาทกุล โอวี ๗๑ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
อุปนายกฝ่ายวางแผน และพัฒนา ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖
ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และสาราณียกร ผรณเดช พูนศิริวงศ์
บรรณาธิการ กิตติเดช ฉันทังกูล ศศินทร์ วิทูรปกรณ์
คณะบรรณาธิการ
กรด โกศลานันท์ ภพ พยับวิภาพงศ์ พิชิต ศรียานนท์ ปรีดี หงสต้น ร.ต.สถาพร อยู่เย็น กรรณ จงวัฒนา ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง ศิริชัย กาญจโนภาส ธนกร จ๋วงพานิช จุมพล พิจารณ์สรรค์ วีระพล รัชตานนท์ จิระ สุทธิวิไลรัตน์ ศรัน ชัยวัฒนาโรจน์ พศิน เวชพาณิชย์ มาร์ค ดิมิทอฟ วีรประภัทร กิตติพิบูลย์
ถ่ายภาพ
ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ โอวี ๗๗ โอวี ๖๖ สงกรานต์ ชุมชวลิต โอวี ๗๗ วรุตมาศ ศุขสวัสดิฯ์ โอวี ๗๙ ธนพั ฒ น์ ฑี ฆ ธนานนท์ โอวี ๗๙ โอวี ๗๓ โอวี ๗๙ สรอรรถ เลาประสพวัฒนา โอวี ๘๒
ศิลปกรรม
ปฏิภาณ สานแสงอรุณ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา โอวี ๖๕ ปริญญา ยุวเทพากร กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๗๐ สงกรานต์ ชุมชวลิต • • • •
โอวี ๗๑ โอวี ๗๑ โอวี ๗๒ โอวี ๗๕ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๗ โอวี ๗๙ โอวี ๘๐ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓
เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่ สนับสนุนการเงิน-โฆษณา ส่งข่าว-ประกาศ-ประชาสัมพันธ์ ส่งข้อเขียน-บทความ
โฆษณา
เขต ณ พัทลุง โอวี ๗๑ (โทร ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒) มณฑล พาสมดี โอวี ๗๓ (โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐)
ฝ่ายบัญชีและการเงิน อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รัฐพล ปั้นทองพันธ์ พัฒน์ ไกรเดช
โอวี ๗๑ โอวี ๗๓ โอวี ๗๕ โอวี ๗๙
ผูช้ ว่ ยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก
วาสนา จันทอง (เจ้าหน้าทีส่ มาคมฯ) ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าทีส่ มาคมฯ)
พิมพ์ที่ พี. เพรส (โทร. ๐-๒๗๔๒-๔๗๕๔) หมายเหตุ ตัวอักษร ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี ๓๗ ภาพปก “สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภา พั ณ ณวดี ในฉลองพระองค์ ค รุ ย วชิราวุธวิทยาลัย ปรับแต่งเพิ่มเติ่ม โดย ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (โอวี ๗๒)
โอวี ๗๗ โอวี ๗๗
ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.oldvajiravudh.com
๒๑
สารบัญ
ม.ค. - เม.ย.๕๕
สัมภาษณ์
วชิราวุธรฤก
ใต้หอประชุม คอลัมน์พิเศษ ๔๐ พระราชนิ พ นธ์ ประวัติ ๑๐ เที่ยวเมืองพระร่วง พระราชวังพญาไท ๑๒๐ ชมประวัติศาสตร์ ๑๘ จดหมายเหตุฯ ตึกพชรรัตน ผ่านความงามฯ พลโทศาสตราจารย์ ๓๔ บทความ จากนักเรียนเก่าฯ คลินิก ภานุวิชญ์ และครอบครัวโอวี พุ่มหิรัญ สนามข้าง ๙๘ เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เรือนจาก ๑๐๖ สิ้นเสียงนกหวีด เด็กในหลวง ก้าวต่อไปของ Vajiravudh Centenary พระประวัติ ๕๙ หอวชิราวุธานุสรณ์: Sevens ตอนที่ ๒ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ อ.จรรมนง แสงวิเชียร เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา และ เชื้อพร รังควร ข่าวสาร สิริโสภาพัณณวดี และกิจกรรม เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ กับ กล่องจดหมาย ๘ วชิราวุธวิทยาลัย ๘๐ สนามหลัง ๑๒๓ ครั้งหนึ่งในชีวิต ๘๓ โอวีราชสกุล ๙๑ ภาพงานพระราชพิธี ๙๔ พระราชทานเพลิงพระศพ เพลง พระหน่อนาถ ๙๘
anuman-online.com
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑. ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย ๒. อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกในทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม อันดีของประชาชน ๓. ประสานสามัคคีในหมูส่ มาชิกนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนในพระบรม ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธวิทยาลัย เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญของโรงเรียน ๖. ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธวิทยาลัย ๗. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของวชิราวุธวิทยาลัย ๘. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร ๙. บ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในโอกาสอันสมควร
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ๑. สมาชิกมีสิทธิที่จะร่วมกิจการต่างๆ ที่สมาคมฯ จัดขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ที่วางไว้ ๒. สมาชิกมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ๓. สามัญสมาชิกมีสิทธิเสนอความคิดเห็น ตรวจดูหลักฐานและบัญชีต่าง ๆ ของสมา คมฯ ได้ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ ๔. สามัญสมาชิกเท่านั้นมีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตั้งหรือรับเลือกตั้ง เป็นนายกสมาคมฯ หรือกรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิกนั้นค้างช�ำระค่าบ�ำรุง ๕. สามัญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระค่าบ�ำรุงตามที่ก�ำหนดไว้ ๖. สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ ๗. สมาชิกมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และบริการของสมาคมฯ และสโมสร แต่ต้องปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับที่ก�ำหนดไว้
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖
ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รุ่น ๔๕ นายกสมาคมฯ
นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ กรรมการและประธานฝ่ายหารายได้
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย กรรมการโดยต�ำแหน่ง
พ.อ.ชนินท โพธิ์พูนศักดิ์ รุ่น ๕๓ กรรมการและรองประธานกิจกรรมพิเศษ
นายสุรเดช บุณยวัฒน รุ่น ๔๑ อุปนายก ฝ่ายสิทธิประโยชน์
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ กรรมการและประธานสโมสร
นายจตุพล ปุญโสนี รุ่น ๔๓ อุปนายก ฝ่ายพัฒนาและกีฬา
นายประวิทย์ มนต์เสรีนุสรณ์ รุ่น ๕๖ กรรมการและเหรัญญิก
พล.อ.ต.วรฉัตร ธารีฉัตร รุ่น ๔๖ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ อุปนายก ฝ่ายหารายได้และต่างประเทศ กรรมการและปฏิคม ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ อุปนายก ฝ่ายวางแผนและพัฒนา
นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ กรรมการและเลขานุการ
ดร.จรัสโรจน์ บถด�ำริห์ รุ่น ๔๓ กรรมการและนายทะเบียน
นายรวินท์ ถิระวัฒน์ รุ่น ๕๙ กรรมการและรองประธานกีฬา
นายวีรนารถ วีระไวทยะ รุ่น ๔๓ กรรมการและประธานกีฬา
นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ กรรมการและรองประธานกีฬา (รักบี้)
นายทรรศนะ วิชัยธนพัฒน์ รุ่น ๔๕ กรรมการและประธานส่งเสริม ความสัมพันธ์
นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร รุ่น ๖๒ กรรมการและรองประธานกีฬา (กอล์ฟ)
ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๐ กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ
นายผรณเดช พูนศิริวงศ์ รุ่น ๖๖ กรรมการและประธานฝ่าย ประชาสัมพันธ์และสาราณียกร anuman-online.com
6 จากอุ ห้องเพรบ ปนายกฝ่ายวางแผนและพัฒนา อนุมานวสารฉบับนีก้ า้ วย่างมาสูฉ่ บับ ที่ ๒๑ แล้ว เดิมทีทางกองบรรณาธิการ เคย ตั้งใจว่าจะท�ำเนื้อหาที่เกี่ยวกับบทบาทการ ต่อต้านคอร์รัปชั่นของพี่ดุสิต นนทะนาคร อดีตประธานสภาหอการค้าไทยและพีช่ าญชัย จารุวัสตร์ อดีตผู้อ�ำนวยการสมาคมส่งเสริม กรรมการบริษัทไทย (IOD) เนื่องจากพี่ๆ ทั้ ง สองเป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ที่ จุ ด ประกายการ ต่อต้านคอรัปชั่นในสังคมไทย แต่เนื่องจาก เดือนเมษายนที่ผ่านมามีเหตุการณ์ส�ำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนวชิราวุธฯ โดยตรง กองบรรณาธิการเห็นว่าเป็นหน้าทีข่ องอนุมาน วสารที่จะต้องบันทึกเหตุการณ์ส�ำคัญนั้นไว้ เพือ่ เป็นประวัตศิ าสตร์ เราจึงต้องเลือ่ นเรือ่ ง ของพี่ดุสิตและพี่ชาญชัยไว้ในอนุมานวสาร ฉบับหน้าแทน ขอให้รอติดตามอ่านกันได้ ส่วนเหตุการณ์ส�ำคัญที่ว่านั้น ก็คือ งานพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพ สมเด็จ พระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ที่จัดขึ้นเมื่อระหว่างวันที่ ๘ - ๑๒ เมษายนที่ผ่านมา งานพระราชพิธี ในครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีความส�ำคัญต่อ ชาววชิ ร าวุ ธ ฯ นั ก เรี ย นเก่ า ฯ หลายคน ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้อยู่หลาย ท่าน ไม่นับรวมนักเรียนปัจจุบันที่ได้เข้า ร่วมขบวนพระศพอีกเกือบร้อยชีวิต ทาง กองบรรณาธิการจึงตัดสินใจที่จะอุทิศหน้า
กระดาษหลักเพื่อบันทึกเรื่องราวของเจ้าฟ้า เพชรรัตนฯ โดยเฉพาะ ในการนี้เรายังได้ รับความเอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดย ครูชยาคมน์ สมบูรณ์สนิ หัวหน้าแผนกศิลปะและช่างกล้อง มือหนึ่งของวชิราวุธวิทยาลัย น�ำมาประมวล ภาพงานพระราชพิธีนี้ไว้เป็นที่ระลึก เรื่องราวของเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ที่ ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อเหล่านักเรียนเก่า วชิราวุธฯ รุน่ แล้วรุน่ เล่า เป็นอีกประสบการณ์ หนึง่ ในชีวติ นักเรียนเก่าฯ หลายคน เนือ่ งด้วย พระองค์ ท รงมี เ มตตาโปรดให้ พ วกเราได้ เข้าเฝ้าและถวายงานรับใช้อย่างใกล้ชิดและ ต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นความ สั ม พั น ธ์ ที่ อุ ป มาได้ ดั่ ง ที่ เ คยมี พ ระกระแส รับสัง่ ว่าพระองค์ทา่ นทรงเป็นพีส่ าวและเหล่า นักเรียนวชิราวุธฯ ก็เป็นเสมือนน้องชาย ของท่าน ความทรงจ�ำทีเ่ กีย่ วกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ในหลายมุมได้ถูกบันทึกไว้ในอนุมานวสาร เล่มนี้แล้ว สามารถพลิกไปอ่านได้ในสกู๊ป พิเศษ “เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง” ระหว่ า งช่ ว งงานพระราชพิ ธี ฯ ที่ ผ่านมา หลายท่านคงมีโอกาสได้ยินเพลง “พระหน่ อ นาถ” อั น ไพเราะ ฝี มื อ ของ ไวทยากรและนักประพันธ์เพลงยุคใหม่อย่าง ทฤษฎี ณ พัทลุง ที่ได้อัญเชิญบทกล่อม “พระหน่อนาถ” พระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้า ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นเพื่อ
รับขวัญบุตรที่ก� ำลังจะลืมตาดูโลกมาเป็น เนื้อร้อง และน�ำไปผสานกับท่วงท�ำนองของ ดนตรีคลาสสิคทีเ่ ล่นโดยเครือ่ งดนตรีทงั้ ไทย และสากลอย่างลงตัว โดยอนุมานวสารได้มี โอกาสไปนั่งคุยกับน้องชนะพล โยธีพิทักษ์ (โอวี ๗๘) ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความส�ำเร็จ ของเพลงนี้ว่ามีที่ไปที่มาจากไหน กว่าจะมา เป็นเพลงนี้ได้ต้องใช้ความพยายามในการ ผลักดันเท่าไร และเบื้องหลังที่น้อยคนจะ รู้ ได้ถูกเก็บมาไว้ให้ติดตามอ่านในอนุมาน วสารเล่มนี้แล้ว ในเล่ มนี้ เ ราจะยังพาท่านผู้อ่านไป เยี่ ย มชมพระราชวั ง พญาไท ที่ มี มู ล นิ ธิ อนุรักษ์พระราชวังพญาไทในพระอุปถัมภ์ ของเจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นฯ เป็ น ผู ้ ค อยดู แ ล พระราชวังพญาไทแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตของ ศูนย์อ�ำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ที่ม ี พี่ ภ านุ วิ ช ญ์ (พลโทศาสตราจารย์ ค ลิ นิ ก ภานุวชิ ญ์ พุม่ หิรญ ั – โอวี ๔๑) เป็นผูอ้ ำ� นวยการ อยู ่ ถึ ง แม้ จ ะไม่ ใ ช่ ห น้ า ที่ โ ดยตรงของ พีภ่ านุวชิ ญ์ แต่พภี่ าณุวชิ ญ์กย็ งั อุตส่าห์พาชม พระราชวังพญาไทด้วยตัวเอง และเล่าความ ต้องการที่จะบูรณะรักษาพระราชวังแห่งนี้
ถวายเป็นพระราชกุศล รวมไปถึงเรื่องราว ชีวิตของหมอทหารในสงครามด้วย นอกจากนั้นแล้วเรายังมีเรื่องของ หอวชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ ที่ ไ ด้ ข ้ อ มู ล จากการ สัมภาษณ์ อ.จรรมนง แสงวิเชียร (โอวี ๔๓) และ เชื้อพร รังควร (โอวี ๕๘) ในเรื่อง งานปรับปรุงที่ก�ำลังเกิดขึ้นกับหอวชิราวุธา นุสรณ์และสถานที่อื่นๆ ที่จะปรับปรุงเป็น นิ ท รรศการถาวรถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ และเจ้าฟ้า เพชรรั ต นฯ รวมไปถึ ง แผนการพั ฒ นา กิจการงานด้านต่างๆ ที่สืบเนื่องจากเจ้าฟ้า เพชรรัตนฯ ว่าจะมีทิศทางด�ำเนินการต่อไป อย่างไรมาได้อ่านกัน สุ ด ท้ า ยนี้ อนุ ม านวสารในนาม จดหมายข่าวของสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยฯ ขอน้อมถวายทุกตัวอักษรและ รู ป ภาพ เพื่ อ แสดงถึ ง ความเคารพและ ความอาลัยต่อการจากไปของสมเด็จเจ้าฟ้า เพชรรัตนฯ เจ้าฟ้าผูท้ รงให้ทยี่ งิ่ ใหญ่ พระองค์ จะทรงเป็น ‘พีส่ าว’ หนึง่ เดียวในใจของพวกเรา เหล่าลูกวชิราวุธฯ ตลอดไป สวัสดีครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (โอวี ๔๖)
anuman-online.com
8 ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี เขียนถึงอนุมานวสาร จดหมายจาก
ครอบครัวเดียวกัน ของ
สวัสดีครอบครัวอนุมานทุกท่านครับ
ผู้สอนศิลปะให้เด็กวชิราวุธฯ กว่า ๓๐ ปี
กาตาร์ มี เ รื่ อ งเล่ า เล็ ก ๆ น้ อ ยๆ ที่ อ ยาก จะมาแบ่งปันความภูมิใจให้กับพี่ๆ น้องๆ ทุกคนครับ เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้มีโอกาสถวายงาน สมเด็จพระเทพฯ ซึ่งได้เสด็จฯ เยือนกาตาร์ ผมได้ ใ ช้ เ วลาส่ ว นใหญ่ ร ่ ว มกั บ คุ ณ หญิ ง อารยา พิบูลนครินทร์ ราชเลขานุการใน พระองค์ฯ โดยเมื่อคุณหญิงได้ทราบว่าผม จบจากวชิราวุธฯ คุณหญิงก็ได้พูดเกี่ยวกับ โรงเรียนของเราต่างๆ นานา ซึ่งพอจะสรุป ได้ว่า เด็กโรงเรียนนี้บ้ารักโรงเรียน บ้ารัก พวกพ้อง ภูมิใจในความเป็นวชิราวุธฯ มี ความกตัญญูรู้คุณ ดังที่เห็นได้จากตอนที่ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ สิ้นพระชนม์ สิ่งที่ พวกเราแสดงออก ได้แสดงให้เห็นถึงความ กตัญญูรู้คุณได้เป็นอย่างดี คุณหญิงฯ บอกว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นเรื่องที่ดีและน่าชื่นชมมากๆ หาได้ยาก จากเด็กโรงเรียนอื่นๆ ในสังคมปัจจุบัน เอกภัทร เปรมโยธิน (โอวี ๗๒) เลขานุการเอก ประจ�ำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์
ครูภูษิต หอมเกตุ: ครู ภู ษิ ต ได้ เ คยให้ สั ม ภาษณ์ ไ ว้ ใ น บั น ทึ ก คุ ณ ครู เ มื่ อ ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ไว้ ว ่ า “ท� ำ งานนี้ ไ ด้ ย าวนานเพราะหลงรั ก เด็ ก ๆ และบรรยากาศที่นี่ ยิ่งสอนยิ่งติดใจ ยิ่งเห็น เด็กสร้างสรรค์งานศิลปะได้ยงิ่ ภูมใิ จ ก็ไม่คดิ จะเปลี่ยน ถึงจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ แต่ก็ ชอบที่นี่เสียแล้ว...” น้อยคนนักที่จะรู้ว่าครูภูษิตนั้นป่วย เป็นโรคไตมาหลายปีแล้ว ขนาดลูกศิษย์ ที่ เ รี ย นกั บ ครู ม าหลายคน ก็ ยั ง ไม่ อ ยาก จะเชือ่ เมือ่ ทราบข่าวทีว่ า่ คุณครูปว่ ย ครูภษู ติ ในความทรงจ�ำของเด็กวชิราวุธฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ นั้นดูแข็งแรง มีรอยยิ้มให้กับ ลูกศิษย์อยู่เสมอ ถึงจะแม้ครูจะไม่ใช่คนที่ พูดเก่ง แต่พวกเราหลายๆ คนก็พอจะรับรู้ ได้ว่าครูภูษิตเป็นครูที่ใจดี เมื่ อ พวกเราได้ มี โ อกาสพู ด คุ ย กั บ ครูภูษิตจึงทราบว่า ครูได้ป่วยเป็นโรคไตมา หลายปีแล้ว แต่ไม่เคยขอความช่วยเหลือ จากใครเพราะไม่อยากสร้างความล�ำบาก ใจให้กับ ใครทั้ ง นั้ น อาการของโรคไตนั้ น ค่อยๆ แย่ลงตามกาลเวลา จนมาถึงปัจจุบัน ที่มีอาการหนักขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการ
รักษาพยาบาลสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน ต่อมาเมื่อภรรยาของครูได้พยายาม ไปยื่นเรื่องขอท�ำบัตรทอง ๓๐ บาท เพื่อใช้ สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลบางส่วน แต่กลับ ได้รับการแจ้งมาว่า ครูภูษิตจะต้องลาออก จากการเป็นครูที่วชิราวุธวิทยาลัยเสียก่อน จึงจะสามารถสมัครขอใช้สิทธิ์นั้นได้ แต่การลาออกจากโรงเรียนทีส่ อนมา นานกว่า ๓๐ ปี เป็นสิง่ ทีค่ รูไม่สามารถท�ำได้ “...การเข้ า มาสอนหนั ง สื อ ที่ นี่ เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน มีการท�ำ กิจกรรมหลายๆ อย่างด้วยกัน แล้วที่ส�ำคัญ เด็กๆ ที่นี่เป็นกันเอง เวลามีปัญหาอะไรก็ กล้าคุยกับเรา เจอเราก็ทักทาย เหมือนกับ ว่าเราเป็นครอบครัวเดียวกัน” เด็กโอวีทั้งหลายก็คงจะรู้สึกไม่ต่าง ไปจากที่ครูภูษิตได้เคยเปรียบไว้ว่า ครูกับ นักเรียนโรงเรียนนี้ก็เป็นเหมือนครอบครัว
เดี ย วกั น เพราะทั น ที ที่ ข ่ า วของครู ภู ษิ ต กระจายไปในหมู่โอวีทั้งหลาย พี่น้องโอวี ต่างรุ่นต่างมารวมกันหาความช่วยเหลือใน รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินผ่าน บัญชี การไปเยีย่ มเยียนให้กำ� ลังใจ และล่าสุด นี้ก็ร่วมกันจัดฟุตบอลนัดพิเศษซึ่งสามารถ ระดมทุนสนับสนุนได้กว่า ๑๘๗,๗๐๐ บาท ความพยายามในการช่วยเหลือครู ของเด็กโอวีครั้งนี้ จึงน่าจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ ได้ว่าเด็กชิราวุธฯ เป็นคนไม่ลืมคุณครู เมื่ อ ครู ภู ษิ ต ได้ ท ราบข่ า วความ ช่วยเหลือต่างๆ นานาที่ลูกศิษย์ช่วยกันหา มาให้ ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกซาบซึ้งและดีใจที่ ลูกศิษย์ยังไม่ลืมครู “ครู ซ าบซึ้ ง ในน�้ ำ ใจของลู ก ศิ ษ ย์ ที่ เคยสอนมา ดีใจที่เด็กนักเรียนยังไม่ลืมครู แค่ครูเจอหน้านักเรียนครูก็ดีใจแล้ว ไม่เคย คิดว่าจะได้รับความช่วยเหลือมากขนาดนี้ ถ้ามีอะไรทีค่ รูพอช่วยเหลือได้ ครูกย็ นิ ดีชว่ ย พวกเราเสมอ” สิ่งเดียวที่พวกเราจะขอให้ครูภูษิต ช่วย ก็คงจะขอให้ครูมีก�ำลังใจและสุขภาพ ที่แข็งแรงเท่านั้น *หากพีน่ อ้ งโอวีทา่ นใดอยากทีจ่ ะร่วม เป็นก�ำลังใจให้กับครู ก็สามารถติดต่อได้ที่ คุณพรทิพย์ หอมเกตุ (ภรรยาของครูภูษิต) โทร.๐๘๒-๓๓๗-๗๑๔๗ ทีมอนุมานวสาร anuman-online.com
10 ใต้ ห อประชุ ม คุยกับนักเรียนเก่าฯ
พระราชวังพญาไท
ประวัติ
พระราชวังพญาไท พระต�ำหนักกลางทุ่ง
เมือ่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ฯ เสด็จกลับจากการประพาสยุโรปครัง้ ที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ พระองค์กท็ างมีดำ� ริทจี่ ะมีพระต�ำหนักไว้สำ� หรับประทับ เปลี่ ย นพระอิ ริ ย าบถ โดยได้ ท รงใช้ พ ระราชทรั พ ย์ ส่วนพระองค์ซอื้ ทีด่ นิ บริเวณทุง่ พญาไทขึน้ ทรงโปรดให้ สร้างพระต�ำหนักส�ำหรับพระองค์และสมเด็จพระศรี พัชรินทราบรมราชินนี าถ (พระพันปีหลวง) ทรงโปรดให้ มีการปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาและท�ำนา ทั้งสอง พระองค์ทรงมีพระส�ำราญและพึงพอพระทัยในพระราช ต�ำหนักกลางทุง่ แห่งนีม้ าก แต่กเ็ สด็จมาประทับได้เพียง ช่วงระยะเวลาสัน้ ประมาณสองปีเท่านัน้ พระพุทธเจ้าหลวง ก็เสด็จสวรรคต สร้างความเศร้าโศกเสียพระทัยให้กับ พระศรีพัชรินทราฯ เป็นอันมาก
ราชส�ำนักพระพันปีหลวง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง เป็นห่วงพระราชมารดาเป็นอันมาก เนื่องจากหลังการ สวรรคตของพระพุทธเจ้าหลวงแล้ว พระราชมารดา ก็ ท รงตกอยู ่ ใ นภวั ง ค์ แ ห่ ง ความโศกเศร้ า เป็ น ระยะ เวลานาน ดังนั้นเมื่อพระราชมารดามีพระประสงค์จะ ย้ายไปประทับ ณ พระต�ำหนักพญาไทเป็นการถาวร พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาราชส�ำนักส�ำหรับ พระพันปีหลวงขึน้ อย่างสมพระเกียรติ และยังโปรดเกล้าฯ anuman-online.com
12 ใต้หอประชุม
พระที่นั่งพิมานจักรี และ พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ภาพเขียนบนเพดานห้องพระบรรทม ชั้น ๓ พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส
ให้ ส ร้ า งท้ อ งพระโรงขนาดใหญ่ ขึ้ น ใหม่ (ซึ่ ง ต่ อ มา พระราชทานนามใหม่ให้ว่า พระทีน่ ั่งเทวราชสภารมย์) เพื่อเป็นสถานที่ส�ำหรับพระราชมารดาในการเสด็จ มาทรงจัดงานต่างๆ เพื่อสร้างพระส�ำราญให้มีมากขึ้น กว่าแต่เดิม
สถาปนาพระราชวังพญาไท
เมื่ อ พระพั น ปี ห ลวงทรงเสด็ จ สวรรคตในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึง ทรงโปรดให้รื้อพระต�ำหนักพระพันปีหลวงและย้ายไป ประกอบขึ้นใหม่เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ก่อนที่พระต�ำหนักหลังนี้ จะถูกย้ายไปยังวัดราชาธิวาสราชวรวิหารในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า ฯ ทรงมี พระราชด� ำ ริ ที่ จ ะสร้ า งพระที่ นั่ ง ต่ า งๆ เพื่ อ ที่ จ ะ สถาปนาขึ้ น เป็ น พระราชวั ง ให้ ส มพระเกี ย รติ กั บ สถานที่ แ ห่ ง นี้ เ คยเป็ น ที่ ป ระทั บ ของทั้ ง พระราช บิ ด าและพระราชมารดา โดยได้ เ สด็ จ ลงมาก� ำ กั บ การวางผั ง ของพระราชวั ง รวมกั บ กลุ ่ ม นายช่ า ง ชาวอิตาลีดว้ ยพระองค์เอง หลังจากใช้เวลาในการก่อสร้าง และตกแต่งกว่า ๓ ปี ในที่สุดพระราชวังพญาไท ที่ป ระกอบด้ว ยพระที่ นั่ ง ต่ า งๆ หลายแห่ ง ทั้ ง ยั ง มี สวนโรมันและโรงละครก็ปรากฏขึ้นอย่างสง่างามในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ นอกจากนีพ้ ระองค์ยงั ทรงโปรดให้ใช้พนื้ ที่ ส่วนหนึง่ ทีต่ ดิ กับสวนโรมันเป็นพืน้ ทีส่ ำ� หรับจัดตัง้ เมือง ดุสติ ธานี หรือเมืองจ�ำลองขนาดเล็กเพือ่ เป็นการทดลอง การปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้น ทางเชื่อมอาคารเทียบรถพระที่นั่ง
anuman-online.com
14 ใต้หอประชุม
ห้องพิพิธภัณฑ์ ในพระที่นั่งพิมานจักรี
โฮเต็ลพญาไท ในช่ ว งปลายรั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าฯ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะจัดงาน สยามรั ฐ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ขึ้ น เพื่ อ ให้ เ ป็ น มหกรรมระดั บ นานาชาติ โดยมีการคาดคะเนว่าในช่วงจัดงานจะมี ชาวต่ า งประเทศเดิ น ทางเข้ า มาจ� ำ นวนมาก แต่ ใ น พระนครยั ง ไม่ มี โ รงแรมเดอลั ก ซ์ ข นาดใหญ่ ไ ว้ ค อย บริการ จึงทรงพระราชทานให้เปลีย่ นพระราชวังพญาไท เป็นโฮเต็ลพญาไท ทว่าพระองค์ก็ทรงสวรรคตก่อนที่ งานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์จะได้จัดขึ้นและโฮเต็ลพญาไท จะเปิดกิจการ เมือ่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ขึน้ ครองราชย์ ทรงโปรดให้ยกเลิกงานสยามรัฐพิพธิ ภัณฑ์ เนือ่ งจากอยู่ ในช่วงไว้ทุกข์ให้กับพระเชษฐา แต่ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ด� ำ เนิ น การจั ด ตั้ ง โฮเต็ ล พญาไทต่ อ ไป โดยมี กรมหลวงก�ำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้ซึ่งด�ำเนินกิจการ โฮเต็ ล รถไฟหั ว หิ น จนประสบความส� ำ เร็ จ มาเป็ น ผู้ด�ำเนินกิจการของโฮเต็ลพญาไท
สถานีวิทยุกระจายเสียงพญาไท ในช่วงต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จปกเกล้าฯ เป็นช่วงขณะที่กรมไปรษณีย์โทรเลขก�ำลังเร่งพัฒนา ระบบการสื่อสารทางวิทยุและก�ำลังหาสถานที่ส�ำหรับ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงที่เหมาะสม หลังจากได้ ศึกษากันดูแล้วก็พบว่าหากมาเช่าห้องชั้น ๓ ของ โฮเต็ลพญาไทจะท�ำให้ไม่ต้องลงทุนสร้างสถานีใหม่ ทั้งหมด ทางกรมไปรษณีย์โทรเลขจึงตัดสินใจเช่าห้อง ดังกล่าว และเริม่ กระจายเสียงวิทยุครัง้ แรกในวันที่ ๒๕ anuman-online.com
16 ใต้ใต้หหอประชุ อประชุมม
ห้องบรรทม ชั้น ๒ ในพระที่นั่งจักรีพิมาน
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๓ ถ่ายทอดพระราชด�ำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จากพระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง
จากเสนารักษ์พญาไท สู่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ประตูกระจกลายดอกกุหลาบ ในพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
หลั ง จากที่ โ ฮเต็ ล พญาไทเปิ ด ด� ำ เนิ น การได้ เป็นระยะเวลาเพียง ๕ ปี ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง การปกครองโดยคณะราษฎรขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ประกอบกั บ ผลการด� ำ เนิ น การของโรงแรมขาดทุ น ติดต่อกันหลายปี รัฐบาลในสมัยนั้นจึงได้สั่งให้ยกเลิก ไปและให้ใช้เป็นสถานที่ส�ำหรับเสนารักษ์พญาไทแทน โดยพระที่นั่งต่างๆ ได้ถูกใช้เป็นสถานตรวจโรค รักษา และเป็นห้องเรียนส�ำหรับเสนารักษ์ทหาร เสนารักษ์ พญาไทเป็นหน่วยรักษาพยาบาลที่มีความส�ำคัญมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก่อนที่จะถูกปรับปรุงและ ขยายต่อเนื่องมาเป็นโรงพยาบาลทหารบก จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ จึงได้มีการขอพระราชทานเปลี่ยน ชื่ อ เป็ น โรงพยาบาลพระมงกุ ฎ เกล้ า และได้ มี ก าร จั ด สร้ า งพระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ พ ระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าฯ ด้านหน้าของพระราชวังพญาไทเพื่อ เป็นการถวายเฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์ท่าน เรียบเรียงจากข้อมูลในหนังสือ พระราชวังพญาไท ในวันวารห้าแผ่นดิน โดย แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ มกราคม ๒๕๕๓ ส�ำนักพิมพ์มติชน โถงบันไดของพระที่นั่งจักรีพิมาน
anuman-online.com
18 ใต้หอประชุม
ชมประวัติศาสตร์ผ่านความงาม ณ พระราชวังพญาไท
บ่ายวันหนึง่ ของเดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา ท่ามกลางแสงแดดร้อนประจ�ำฤดูพวกเรา ทีมอนุมานวสารต่างนัดพบกันที่พระราชวัง พญาไทตามค�ำชวนของพี่ภานุวิชญ์ (พลโท ศาสตราจารย์คลินิก ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ - โอวี ๔๒) ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์อำ� นวยการแพทย์ พระมงกุฎเกล้า ที่ตั้งใจให้พวกเรามาช่วย เผยแพร่ ค วามงามและความส� ำ คั ญ ของ พระราชวั ง พญาไท หนึ่ ง ในพระราชวั ง ที่ ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
ระหว่างทางที่เดินเข้ามายังพระราชวังแห่งนี้ เราต้องผ่านอาคาร ใหญ่โตหน้าตาทันสมัยของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จนไม่คาดคิดว่า ท่ามกลางตึกสูงเหล่านีจ้ ะมีพระราชวังสไตล์โรแมนติกตัง้ อยูไ่ ด้ ทว่าเมือ่ เรา ก้าวพ้นเงาของตึกสูงไปแล้ว ภาพของพระราชวังทีต่ งั้ อยูเ่ บือ้ งหน้าก็พาให้เรา ตกใจไปกับความงามสมัยอดีตที่ยังคงอยู่ค้างมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่ อ มากั น พร้ อ มหน้ า แล้ ว พวกเราก็ เ ดิ น ไปพบพี่ ภ านุ วิ ช ญ์ ทีพ่ ระทีน่ งั่ อุดมวนาภรณ์ ซึง่ ปัจจุบนั ถูกใช้เป็นส�ำนักงานของศูนย์อำ� นวย การแพทย์พระมงกุฎเกล้าทีม่ พี ภี่ านุวชิ ญ์เป็นผูอ้ ำ� นวยการอยู่ ศูนย์อำ� นวย การแพทย์พระมงกุฎเกล้าแห่งนีเ้ ป็นศูนย์ครอบคลุมดูแลหน่วยงานย่อยใน พื้นที่บริเวณเดียวกันอีก ๕ แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก, สถาบันพยาธิวิทยา และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทหาร โดยหน่ ว ยงานเหล่ า นี้ ตั้ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ข องพระราชวั ง พญาไททั้งหมด ในห้องท�ำงานของพี่ภานุวิชญ์ มีพี่โอวีอีกหลายคน มานัง่ รอพวกเราอยูแ่ ล้ว พีๆ่ โอวีเหล่านีต้ า่ งก็เป็นโอวี ทีไ่ ด้เข้ามาท�ำงานในหน่วยงานภายใต้การดูแล ของศูนย์อำ� นวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
20 ใต้หอประชุม ซึ่งในปัจจุบันนี้มี โ อวี ท� ำ งานอยู ่ เ กื อ บ ๑๐ คน และแต่ละคนต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน การรักษาด้านอืน่ ๆ ทีไ่ ม่เหมือนกัน ถ้าพีน่ อ้ ง โอวี ค นไหนปวดไข้ ห รื อ เจ็ บ ป่ ว ยอะไรก็ สามารถแวะมาให้พี่ๆ ช่วยตรวจไข้ได้ หลังจากได้ทักทายกันตามประสาพี่ น้องโอวีกนั เสร็จแล้ว เราก็ได้พบกับผูจ้ ดั การ มูลนิธอิ นุรกั ษ์พระราชวังพญาไท คุณอารยา ศรีศิลป์โสภณ และมัคคุเทศก์จากชมรมคน รักวัง คุณศุภศิริ เพ็ญศรี ซึ่งจะมาเป็นผู้ น�ำพาคณะของพวกเราชมพระราชวังแห่งนี้ อย่างพิเศษเฉพาะ แบบที่น้อยคนจะได้มี โอกาสเข้าชม ด้านหน้าของพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
คณะของเราเริ่ ม ต้ น ออกจากห้ อ ง ท� ำ งานของพี่ ภ านุ วิ ช ญ์ ใ นพระที่ นั่ ง อุ ด ม วนาภรณ์ ซึง่ ถือเป็นหนึง่ ในอาคารทีถ่ กู สร้าง ขึ้ น ในสมั ย ราชส� ำ นั ก ของพระพั น ปี ห ลวง โดยถู ก สร้ า งขึ้ น เพื่ อ ใช้ เ ป็ น คลั ง เก็ บ ของ ต่อมาในพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรง ดัดแปลงให้เป็นทีพ่ ำ� นักและสร้างสะพานทาง เชื่อมต่อไปยังพระที่นั่งไวกูณฑเทพยสถาน พระที่ นั่ ง แห่ ง นี้ จ ะแตกต่ า งจากพระที่ นั่ ง องค์อื่นๆ ในพระราชวังพญาไท เนื่องจาก บนขอบเพดานจะไม่ มี ภ าพวาดประดั บ ตกแต่ง แต่จะให้แสงส่องกระทบกับลาย กระเบื้ อ งหิ น อ่ อ นแล้ ว สะท้ อ นขึ้ น ไปเป็ น ลวดลายประดับเพดานแทน
8 7
6 2
4
3 1 5
ถนนราชวิถี
ขณะที่เราก�ำลังสังเกตรอบๆ เพดาน อยู ่ สายตาของพวกเราก็ ถู ก สะกิ ด ด้ ว ย กระจกสี บ นประตู ที่ ถู ก จั ด วางให้ เ ป็ น รู ป ช่อกุหลาบสีสดงดงาม คุณมัคคุเทศก์คง สังเกตเห็นพวกเราจดจ่ออยู่ที่ช่อกุหลาบนั้น อยู่นาน จึงเล่าให้ฟังว่า “ดอกกุหลาบที่เห็น อยูน่ เี้ ป็นสัญลักษณ์มาจากบทพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๖ เรือ่ ง มัทนะพาธา ซึง่ พระองค์ ทรงจบบทพระราชนิพนธ์ ณ พระราชวัง แห่งนี”้ มัทนะพาธาเป็นพระราชนิพนธ์ทเี่ ล่า เรื่องราวของเทพธิดามัทนา ที่ถูกลงโทษให้ เป็นดอกกุหลาบในโลกมนุษย์และหากนาง มีรักแท้เมื่อไร นางจะต้องกลายเป็นกุหลาบ ตลอดไป เราเดินผ่านหน้าประตูลายกุหลาบ บานนั้นไป เพื่อเข้าไปในห้องประชุมของ ศูนย์อ�ำนวยการฯ ซึ่งบริเวณมุมด้านในจะมี
โรงพยาบาล พระมงกุฎ
1. อนุสาวรีย์พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว 2. พระที่นั่งพิมานจักรี 3. พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส 4. พระที่นั่ง ไวกูณฐเทพยสถาน 5. พระที่นั่ง เทวราชสภารมย์ 6. พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ 7. พระต�ำหนักเมขลารูจี 8. สวนโรมัน
บันไดเวียนท�ำด้วยเหล็กดัดลวดลายสวยงาม พาขึ้นไปถึงชั้นดาดฟ้าและหลังคานี้ สมาชิก ในคณะของเราได้รับโอกาสพิเศษให้ปีนวน ขึ้ น ไปดู ส ภาพด้ า นบนที่ ต อนนี้ ถู ก ปิ ด ด้ ว ย หลังคาไปแล้ว ถ้าไม่ได้มากับคณะนี้ ก็คง ไม่มีทางได้ปีนขึ้นบันไดเหล็กดัดลายสวย นั่นแน่นอน
พระที่นั่งไวกูณฑเทพยสถาน
พวกเราใช้สะพานเชือ่ มเพือ่ ข้ามถนน และคลองพญาไทจากพระทีน่ งั่ อุดมวราภรณ์ ไปยังพระทีน่ งั่ ไวกูณฑเทพยสถาน ซึง่ แต่เดิม ถูกออกแบบให้มีเพียงแค่สองชั้น ทว่าเมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเข้ามา ประทับในห้องบรรทมชั้นสอง ณ พระที่นั่ง พิมานจักรี กลับไม่ทรงโปรดเนือ่ งด้วยอากาศ ถ่ายเทไม่สะดวก จึงทรงโปรดให้ต่อเติม anuman-online.com
22 ใต้หอประชุม
ห้องพระบรรทมและห้องทรงพระอักษรเพิ่ม เข้าไปจนกลายเป็นชัน้ ๓ ของพระทีน่ งั่ แห่งนี้ เมื่อเดินขึ้นบันไดไปยังชั้น ๓ ของ พระทีน่ งั่ องค์นี้ เราก็ได้พบกับห้องพระบรรทม ที่ยังคงความงดงามของภาพเขียนสีเฟรสโก้ (Fresco) รู ป เหล่ า เทวดาน้ อ ยถื อ เครื่ อ ง ดีดสี ตี เป่า บินล้อมวงประทับอยูบ่ นเพดาน ผลงานของช่างชาวอิตาลีที่มีชื่อว่า คาร์โล ริโกลี่ (Carlo Rigoli) ผูฝ้ ากผลงานไว้ในเกือบ ทุกพระที่นั่งของพระราชวังพญาไท บริเวณผนังรอบๆ ห้องยังมีร่องรอย ของแผ่นกันเสียงและอุปกรณ์บางอย่างที่ หลงเหลื อ มาจากสมั ย ที่ ห ้ อ งนี้ เ ป็ น สถานี วิ ท ยุ ก ระจายเสี ย งแห่ ง แรกของประเทศ บริเวณด้านล่างของแผ่นกันเสียงเหล่านั้น
มีลายสลักถมทองด้วยเทคนิคจากอิตาลีที่ ท�ำให้ทองเปลวนั้นติดอยู่คงทนนานมาถึง ปั จ จุ บั น ส่ ว นพื้ น ที่ เ รายื น อยู ่ ถ ้ า ได้ ก ้ ม ลง สั ง เกต ก็ จ ะเห็ น ลายปู พื้ น ไม้ ที่ เ รี ย กว่ า การปูพื้นไม้ลายก้างปลา ซึ่งคุณมัคคุเทศก์ บอกว่า “จะพบได้เฉพาะที่พระราชวังแห่งนี้ พระราชวังสนามจันทน์ และพระราชนิเวศ มฤคทายวัน สามแห่งเท่านั้นในเมืองไทย” ใกล้ๆ กับห้องพระบรรทมยังมีห้อง สรงและห้องทรงพระอักษร คุณมัคคุเทศก์ เล่าว่า “บริเวณชัน้ ๓ ตรงนีถ้ กู จัดให้เป็นห้อง Royal Suite มีอัตราเช่าคืนละ ๑๒๐ บาท ซึง่ เป็นห้องทีแ่ พงทีส่ ดุ ในสมัยทีพ่ ระราชวังนี้ ถูกดัดแปลงให้เป็นโฮเต็ลพญาไท” ห้องทรงพระอักษรเป็นห้องสี่เหลี่ยม ขนาดไม่ใหญ่มาก ผนังด้านล่างของห้องนี้ ถูกปิดด้วยไม้สงู ประมาณครึง่ ตัว ส่วนด้านบน เปิดให้เห็นเป็นผนังฉาบทาสี เพดานยังมี ภาพวาดประดับตกแต่งอยู่ แต่ก็ถูกสายไฟ โยงระยางท�ำให้ความสวยงามถูกลดลงไป “ห้องนีย้ งั ไม่ได้รบั การบูรณะเท่าไร ในห้องนี้ จะมีช่องเจาะซ่อนไว้ที่พื้น คาดว่าน่าจะใช้ ช่องนี้เป็นช่ อ งเก็ บ สายไฟ สายไฟที่ เห็ น เยอะแยะอยู ่ บ นนี้ เป็ น ของที่ ถู ก ติ ด เมื่ อ เปลี่ ย นมาเป็ น โรงพยาบาล สมั ย ที่ เ ป็ น พระราชวังและโรงแรมจะไม่มีสายไฟตาม เพดานต่างๆ แต่ละห้องจะงามเนี้ยบมาก” คุณมัคคุเทศก์คงเสียดายที่ห้องต่างๆ ใน พระราชวังแห่งนีไ้ ม่ได้รบั การดูแลจากผูท้ เี่ ข้า มาใช้ จนท�ำให้เกิดความเสียหายกับโบราณ
ห้องทรงพระอักษร
anuman-online.com
24 ใต้หอประชุม สถานล�้ำค่าแห่งนี้ ก่อนทีจ่ ะเดินลงบันได คุณมัคคุเทศก์ ยังได้ชี้ให้ดูสัญลักษณ์ที่พวกเราคุ้นตาเป็น อั น มาก สั ก พั ก เราจึ ง ได้ รั บ ค� ำ เฉลยว่ า สัญลักษณ์นนั้ เป็นพระปรมาภิไธยย่อ “รร๖” ที่มีความหมายว่า “พระรามราชาธิบดีที่ ๖” นั่ น เอง เราสามารถสั ง เกตเห็ น ตั ว อั ก ษร “รร๖” ได้โดยรอบของพระราชวังนี้ รูปแบบ ของตัวอักษร “รร๖” ก็จะแตกต่างกันไป ตามแต่สถานที่ ซึ่งมีผู้เคยส�ำรวจแล้วพบว่า ทั้งพระราชวังมีตัวอักษรนี้อยู่ถึง ๗ รูปแบบ ด้ว ยกั น ที่ ใ ดที่ มี พ ระปรมาภิ ไ ธยย่อ นี้อ ยู่ แสดงว่าที่นั้นเป็นห้องของพระองค์ หรือของ ทรงใช้ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น
พระที่นั่งพิมานจักรี
เราลงบันไดตามคุณมัคคุเทศก์เพื่อ ไปยังพระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งเป็นพระที่นั่ง ที่ อ ยู ่ ถั ด จากพระที่ นั่ ง ไวกูณฑเทพยสถาน เพียงไม่กี่สิบเมตร ลักษณะสถาปัตยกรรม ของพระทีน่ งั่ พิมานจักรีนมี้ หี อคอยทรงโกธิค สูงเด่นอยู่ด้านหน้า แต่น่าเสียดายที่วันนั้น หอคอยด้านนอกปิดซ่อมอยู่ แต่ถึงกระนั้น คณะของพวกเราก็โชคดีที่มีพี่ภานุวิชญ์มา ร่วมเดินน�ำชมด้วย พี่เขาเลยพาพวกเรา เดินขึ้นบันไดวนไปยังชั้นสาม ชั้นสูงสุดของ หอคอยประจ� ำ พระที่ นั่ ง องค์ นี้ โดยพื้ น ที ่ เกือบทั้งหมดของชั้นสามถูกจัดให้เป็นห้อง พระประจ�ำพระราชวัง ซึง่ โดยปกติแล้วจะไม่ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมเนื่องจากบันได
ขึ้ น ลงมี ข นาดเล็ ก ไม่ ส ามารถรองรั บ คน จ�ำนวนมากได้ บริเวณด้านหน้าของประตู ห้องพระยังมีบันไดวนเล็กๆ ไว้ส�ำหรับให้ มหาดเล็กปีนขึ้นไปชักธงมหาราชประกาศ ให้ ท ราบว่ า พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงประทั บ อยู ่ แน่ น อนว่ า พวกเราย่ อ มไม่ พ ลาดโอกาส ลองเป็ น มหาดเล็ ก ปี น วนขึ้ น ไปดู บ นยอด เยี่ยงมหาดเล็กในสมัยนั้นบ้าง ลงจากห้องพระมาก็จะเจอกับห้อง ทรงพระอักษรอีกห้อง “เนื่องจากพระองค์ ทรงเป็นผู้ที่สนใจในการทรงพระอักษรมาก จึงจะมีหอ้ งพระสมุด หรือห้องทรงพระอักษร อยูท่ กุ วัง หากใครไม่ได้สง่ หนังสือขออนุญาต เข้ า เฝ้ า ก็ จ ะไม่ ไ ด้ เ ข้ า เฝ้ า พระองค์ โ ดย เด็ดขาด เนื่องจากจะทรงงานอยู่ในห้องนี้ โดยมหาดเล็กจะต้องเหลาดินสอไว้ในตอน เช้าถวายท่านวันละ ๒ โหล ทรงเขียนหมด เมื่อไรจึงจะออกจากห้อง” คุณมัคคุเทศก์ ชี้แจง ห้ อ งทรงพระอั ก ษรห้ อ งนี้ มี ผ นั ง เป็นทางโค้งกลมเพราะอยู่ในบริเวณหอคอย ตู้พระสมุดในห้องนี้ถูกออกแบบและสร้าง ให้โค้งล้อไปกับผนังห้องอย่างเข้าส่วน เหนือ ประตู ท างเข้ า ห้ อ งยั ง มี รู ป หล่ อ พญาครุ ฑ สี ท องอร่ า มประทั บ อยู ่ ซึ่ ง คุ ณ มั ค คุ เ ทศก์ บอกว่า“ถึงแม้จะเป็นครุฑทีห่ ล่อมาจากเหล็ก แต่สามารถท�ำได้อย่างอ่อนไหวและชดช้อย มาก พญาครุฑเช่นนีจ้ ะมีอยูแ่ ค่สองทีเ่ ท่านัน้ คือ ที่นี่และที่พระราชวังสวนจิตรลดา”
พระบรมราชานุสาวรีย์ครึ่งพระองค์ ในห้องทรงพระอักษร
anuman-online.com
26 ใต้หอประชุม จากห้ อ งทรงพระอั ก ษรพวกเราก็ เดินข้ามทางเดินเข้าไปยังห้องบรรณาคม และห้องพระบรรทม ทัง้ สองห้องนีอ้ ยูต่ ดิ กัน สามารถเดิ น ถึ ง กั น ได้ อ ย่ า งสะดวก ห้ อ ง บรรณาคมหรื อ ห้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ จะมี จุดเด่นอยู่ตรงที่ภาพวาดบนเพดานที่มีรูป พญามังกรห้าเล็บถือวัชระ อันเป็นปีนักษัตร มะโรงของพระมงกุฎเกล้าฯ โดยเป็นผลงาน การออกแบบของสมเด็ จ ฯ เจ้ า ฟ้ า กรม พระยานริศรานุวัดติวงศ์ บริเวณโดยรอบ เพดานห้องจะมีพระคัมภีร์สมุดใบลานจารึก ของพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นถึงความ ศรัทธาที่พระองค์ทรงมีต่อพระพุทธศาสนา เมื่ อ ชมความงามของลวดลาย ประดับบนเพดานแล้ว เราก็เข้าไปชมห้อง พระบรรทมต่ อ ไป ห้ อ งพระบรรทมนี้ ถู ก วางแบบไว้ ใ ห้ เ ป็ น ห้ อ งพระบรรทมของ ในหลวง ก่อนที่จะทรงย้ายไปยังห้องบรรทม ณ พระที่นั่งไวกูณฑเทพยสถาน แล้วจึง ได้พระราชทานห้องนี้ให้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรม ราชินี เครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์ที่จัดแสดง ในห้องนี้เป็นของใหม่ที่สร้างขึ้นมาทดแทน ของเก่าที่สูญหายและช�ำรุดไปตามกาลเวลา ภายในห้องพระบรรทมนี้ ยังมีห้องสรงน�้ำ อยู่ด้วย จุดเด่นของห้องสรงน�้ำอยู่ตรงที่มี อ่างอาบน�้ำแบบโรมันขนาดใหญ่ (Roman Baht) ปู ด ้ ว ยหิ น อ่ อ นจากเมืองคาร์ราร่า (Carrara) ในประเทศอิตาลี
ห้ อ งที่ มี ค วามส� ำ คั ญ อี ก ห้ อ งของ พระราชวั ง พญาไท คื อ ห้ อ งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของพระที่นั่งพิมานจักรี สิ่ ง ที่ ส ะดุ ด ตาพวกเรามากที่ สุ ด คงจะเป็ น พระบรมสาทิสลักษณ์สีน�้ำมันของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ฝีมอื ช่างชาวอิตาลีคนเดียวกับที่ ตกแต่งเพดานในพระทีน่ งั่ องค์อนื่ ๆ พระบรม สาทิสลักษณ์นี้ตั้งอยู่เหนือเตาผิง “ถึงเรา จะพบว่ามีท่อปล่องควันออกไปยังภายนอก แต่คิดว่าคงไม่ได้ใช้จริงเนื่องจากเมืองไทย มีอากาศร้อนอยู่แล้ว น่าจะเป็นพระราช รสนิยมตามแบบฉบับอังกฤษของพระองค์ ท่ า น” คุ ณ มั ค คุ เ ทศก์ ช ่ ว ยขยายความให้ เหนื อ พระบรมสาทิ ส ลั ก ษณ์ ขึ้ น ไปยั ง มี พระราชลัญจกรแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ที่สลักได้อย่างงามสง่ามากอยู่ด้วย อีกสิ่งที่น่าสังเกตของพระที่นั่งองค์น ี้ คือ พื้นทางเดินระหว่างห้องต่างๆ ที่ถูกปู ด้วยหินอ่อนสีขาว (คาดว่าน่าจะถูกใช้ใน อาคารของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงยุคเริ่ม แรกด้วย) และกั้นขอบด้วยหินภูเขาไฟสีส้ม ผสมน�ำ้ ตาล หากใครตาดีกจ็ ะพบเจอกับซาก ฟอสซิลทีต่ ดิ มากับหินภูเขาไฟด้วย พีข่ องเรา คนหนึ่งตาคมมองเห็นพอดี ทุกคนเลยรุม เข้าไปมุงดูกันใหญ่
พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส
เมื่ อ มุ ง ดู ฟ อสซิ ล และถ่ า ยรู ป เก็ บ กันไว้แล้ว พวกเราใช้ทางเชื่อมเดินต่อยัง พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ที่สร้างขึ้นส�ำหรับ
พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส
เป็นที่ประทับของฝ่ายใน “สิ่งที่บอกให้เรา รู้เลยว่าตอนนี้ก�ำลังอยู่ในเขตของฝ่ายใน ก็ คื อ ลวดลายดอกไม้ พรรณไม้ น านา ชนิ ด ที่ ถู ก ใช้ ป ระทั บ แทนพระปรมาภิ ไ ธย “รร๖” คุ ณ มั ค คุ เ ทศก์ บ อกเล่ า สาเหตุ ที่ ท�ำให้พระที่นั่งองค์นี้แตกต่างจากพระที่นั่ง องค์อื่นๆ พระที่นั่งองค์นี้มีห้องอยู่หลายห้อง โดยห้ อ งส่ ว นมากถู ก กั้ น ขึ้ น ในสมั ย ที่ เ ป็ น โฮเต็ลพญาไท สังเกตได้จากป้ายหมายเลข ห้องที่ติดอยู่ด้านบนยังคงอยู่ โดยส่วนมาก จะเป็ น ห้ อ งขนาดเล็ ก แต่ ภ ายในก็ ไ ด้ รั บ การตกแต่งอย่างดีเยี่ยมสมกับที่เป็นโฮเต็ล ชั้นหนึ่งของประเทศ ถึงแม้เวลาจะผ่านนาน ไปและขาดการดูแลรักษา เครือ่ งใช้ทรัพย์สนิ
ต่างๆ ก็หายไป ช�ำรุดไปหลายชิน้ แต่สงิ่ หนึง่ ที่ ยั ง คงงดงามไว้ ไ ม่ เ ปลี่ ย นคื อ ภาพวาด สีเฟรสโก้บนเพดาน ลายเส้นยังคมชัด แม้ สีสันจะดูเขรอะฝุ่นมากไปหน่อย แต่ภาพ เทวดาองค์นอ้ ยก็ยงั คงสร้างความพึงพอใจให้ กับสายตาของผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี อากาศวันนั้นค่อนข้างอบอ้าว เมื่อ พวกเราเดินลงมาถึงด้านหน้าของพระที่นั่ง พิมานจักรี เราจึงรีบเดินข้ามถนนเข้ายัง อาคารที่ เ ที ย บรถเดิ ม ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น ถู ก ปรับปรุงใหม่ให้กลายเป็นร้านกาแฟนรสิงห์ อดีตร้านกาแฟในยุคเสือป่ารุ่งเรือง ถึงแม้ อาคารหลังนี้ถูกปรับปรุงเป็นร้านกาแฟแบบ ใหม่ติ ด เครื่ อ งปรั บ อากาศเย็ น สบายแล้ ว ก็ตาม แต่บรรยากาศในร้านก็ยังคงสภาพ anuman-online.com
28 ใต้หอประชุม
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์
ความสวยงามและความประณีตภายในของ อาคารนี้ไว้ได้อย่างดี คุณมัคคุเทศก์ช่วยเล่า ให้ฟังว่า “อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นมาทีหลัง โดย ทรงต้องการให้เป็นห้องนัง่ รอก่อนทีจ่ ะขึน้ ไป เข้าเฝ้าพระองค์ท่าน มหาดเล็กทั้งหลายก็ มักจะมานัง่ รอรับสัง่ จากพระองค์ทอี่ าคารนี”้
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์
พอได้ยืนตากความเย็นในร้านกาแฟ นรสิงห์พอสมควรแล้ว พวกเราก็ออกเดินไป ยังพระทีน่ งั่ เทวราชสภารมย์ ซึง่ เป็นพระทีน่ งั่ ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงสร้างถวาย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มี ลักษณะเป็นท้องพระโรงกว้าง “ในสมัยนั้น จะใช้เป็นท้องพระโรงส�ำหรับจัดงานต่างๆ ข้าราชบริพารก็มาเฝ้าขอทูลใช้จัดงานแต่ง แสดงงานละครงานร�ำวงต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ทางมูลนิธิฯ ก็เปิดให้บุคคลภายนอกมาเช่า
จัดงานที่ไม่ใช่งานรื่นเริง โดยส่วนมากจะ เป็นงานเสวนาเชิงวิชาการ งานคอนเสิร์ต ชมวัง แต่สำ� หรับงานแต่งหรืองานแฟชัน่ โชว์ ยังไม่ได้” คุณมัคคุเทศก์ย้อนอธิบายอดีต และเลยจนมาถึงปัจจุบันที่เปิดให้ใช้เพื่อหา ง บ ป ร ะ ม า ณ ส นั บ ส นุ น ใ น ก า ร บู ร ณ ะ พระราชวังแห่งนี้ต่อไป พระที่นั่งองค์นี้เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว สมัยก่อนเป็นพืน้ ไม้ แต่เนือ่ งจากพืน้ ทีบ่ ริเวณนี้ เป็นที่ลุ่มและติดคลอง ท�ำให้ถูกน�้ำท่วมอยู่ เป็นประจ�ำ พระมงกุฎเกล้าฯ พระองค์ท่าน ทรงเล็งเห็นปัญหาตรงนี้ จึงมีพระราชด�ำริ เปลี่ยนมาเป็นพื้นหินอ่อนแทนและยกพื้น ให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต ส่ ว นของหลั ง คาถู ก ออกแบบให้ เป็นลวดลายงดงามเรียงกัน และมีภาพตรา พระปรมาภิไธย สผ ทีย่ อ่ มาจาก เสาวภาผ่องศรี (พระนามก่ อ นที่ จ ะได้ รั บ พระราชทาน
พระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชิ นี น าถ) ประทั บ อย่ า งสวยงาม น่าประทับใจ คณะของพวกเราเดิ น ออกจาก พระที่ นั่ ง ฯ แล้ ว ตรงไปกราบถวายบั ง คม สักการะพระบรมราชานุสาวรียข์ องพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทีถ่ กู สร้างขึน้ พร้อม กับการเปลี่ยนชื่อจากโรงพยาบาลทหารบก เป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พีภ่ านุวชิ ญ์ มาเล่าเบื้องหลังของเรื่องนี้ให้ฟังว่า “พอถูก เปลี่ ย นมาเป็ น โรงพยาบาลก็ มี แ ต่ ป ั ญ หา มาโดยตลอด จนกระทั่งพระองค์ท่านก็ทรง บอกผ่านคนเข้าทรงประมาณว่าวังนี้เป็น ของพระองค์ท่าน พอเปลี่ยนท�ำไมไม่ขอ อนุญาตก่อน เปลีย่ นมาเป็นโรงพยาบาลก็นำ� แต่ ของไม่ดี น�ำเอาเชื้อโรคทั้งหลายเข้ามา เพื่อ เป็นการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
การใช้ พ ระราชวั ง แห่ ง นี้ จึ ง ได้ จั ด สร้ า ง พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านขึ้น ปัญหาจึงน้อยลงไปและก็พัฒนาจนมาเป็น โรงพยาบาลชั้นน�ำ”
พระต�ำหนักเมขลารูจี
พวกเราเดิ น ตั ด ผ่ า นหน้ า พระที่ นั่ ง ศรีสุทธนิวาสเพื่ออ้อมไปยังคลองด้านข้าง เมื่อเดินไปถึงบริเวณนั้นเราก็พบกระท่อม หลั ง เล็ ก สไตล์ ช นบทของอั ง กฤษตั้ ง อยู ่ ริมคลอง ถ้าคุณมัคคุเทศก์ไม่บอกกับพวกเรา ว่า “กระท่อมหลังเล็กนั้นคือ พระต�ำหนัก เมขลารูจี ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างแรกๆ ของ พระราชวังพญาไทในรัชสมัยของพระมงกุฎ เกล้าฯ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ เป็นที่ประทั บ ชั่ ว คราวส� ำ หรั บ ให้ พระองค์ เสด็จมาทรงวางแปลนและตรวจงานก่อสร้าง พระต�ำหนักเมขลารูจี
anuman-online.com
30 ใต้หอประชุม ศาลท้าวหิรันยพนาสูร
ท้าวหิรันยพนาสูร
ของพระราชวังแห่งนี้ ต่อมาเมื่อพระที่นั่ง ต่างๆ สร้างเสร็จแล้ว ก็ทรงดัดแปลงให้เป็น ห้องบาร์เบอร์ หรือก็คือห้องตัดพระเกศา และใช้เป็นที่ส�ำหรับลงสรงน�้ำในคลอง โดย ได้มีการออกแบบห้องสรงที่พิเศษ มีช่องให้ น�้ำในคลองไหลเข้ามา แล้วเมื่อทรงขึ้นจาก การสรงน�้ำแล้ว ก็จะมีอีกช่องระบายน�้ำนั้น ออกไป” นอกจากห้องตัดพระเกศากับห้อง สรงน�้ำแล้ว พระต�ำหนักนี้ยังมีชั้นบน ที่เป็น เพียงห้องเล็กๆ ไม่มีเครื่องไม้ใช้สอยอะไร วางอยู่ ขนาดก็กว้างพอที่จะให้ปูเสื่อนอน ได้หนึ่งคน ซึ่งเรามาทราบทีหลังว่าในหลวง รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดที่จะขึ้นมาประทับ เป็นการส่วนพระองค์ในห้องนี้อยู่บ่อยครั้ง
ออกจากพระต� ำ หนั ก หลั ง น้ อ ย แล้ว พวกเราก็มุ่งหน้าไปสักการะอีกหนึ่ง สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิข์ องพระราชวังแห่งนีม้ าตัง้ แต่ใน สมัยเริม่ ก่อสร้างพระทีน่ งั่ องค์ตา่ งๆ และก็ยงั คงความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยที่ น้ อ ยคนจะรู ้ ว ่ า สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นี้ เ ป็ น ถึ ง ยั ก ษ์ ผู ้ ค อยปกปั ก ษ์ รั ก ษาพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าฯ จากภยันตรายต่างๆ นานา ตามต� ำ นานเล่ า สื บ ต่ อ กั น มาว่ า เมื่ อ ครั้ ง ที่ พ ระมงกุ ฎ เกล้ า ฯ ยั ง ทรงด� ำ รง พระอิ ส ริ ย ยศเป็ น สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร พระองค์ ไ ด้ เ สด็ จ ประพาสมณฑลพายั พ (ภาคเหนือ) ครัง้ หนึง่ ได้ทรงนิมติ รเห็นชาวป่า รูปร่างใหญ่โตผิดมนุษย์มาเดินตามพระองค์ คอยปกป้ อ งพระองค์ จ ากสิ่ ง ชั่ ว ร้ า ยต่ า งๆ เมื่ อ พระองค์ เ สด็ จ กลั บ มาพระนครจึ ง ได้ ให้ช่างสร้างรูปหล่อชาวป่าในนิมิตขึ้นแล้ว พระราชทานนามว่า “ท้าวหิรันยพนาสูร” ต่อมาเมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงทรงให้ สร้างรูปหล่อของท้าวหิรันยพนาสูรขนาด สูงกว่าสองเมตรเพื่อมาประดิษฐานในศาล ที่พระราชวังพญาไท ในปัจจุบันนี้ผู้คนที่มารักษาไข้ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก็ยงั เดินทางเข้า มาสักการะท้าวหิรันยพนาสูรอยู่อย่างคับคั่ง ด้วยเชื่อว่าท่านท้าวจะช่วยคุ้มครองให้หาย จากโรคเจ็บปวดโดยเร็วและคุม้ ครองป้องกัน อันตรายต่างๆ ที่จะมีมาถึงตนเอง
เมืองดุสิตธานี
เมื่อไหว้สักการะท้าวหิรันยพนาสูร ให้ช่วยคุ้มครองปกป้องพวกเราแล้ว คณะ ของพวกเราก็เดินย้อนกลับไปที่หมู่พระที่นั่ง ต่างๆ ระหว่างทางนั้น เราก็ต้องเดินผ่าน สนามหญ้าที่อาจจะถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น แนวคิดเรือ่ งประชาธิปไตยของสยาม เพราะ ตรงจุ ด นี้ เ คยเป็ น สถานที่ ตั้ ง ของเมื อ ง ดุ สิ ต ธานี เมื อ งที่ มี ทุ ก อย่ า งเสร็ จ สรรพ เหมือนเมืองอื่นๆ ทั่วไป จะแตกต่างกันก็ ตรงที่เมืองทั้งเมืองนั้นถูกย่อส่วนให้มีขนาด เล็กลงจนเป็นเมืองตุ๊กตา ถึงจะเป็นเมือง ตุ๊กตาแต่ก็เป็นเมืองที่มีความสวยงามและ ล�้ ำ หน้ า มาก บ้ า นเรื อ นตลอดจนสถานที่ ราชการต่างๆ ถูกออกแบบและจัดท�ำด้วย ความประณีตอย่างยิ่ง แต่ สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ กว่ า ความงามของ เมืองและเป็นเรื่องที่หลายๆ คนไม่เข้าใจถึง พระประสงค์ในการสร้างเมืองแห่งนี้ขึ้น คือ การทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยผู้ครองบ้านแต่ละหลังจะมีสิทธิ์ในการ เลือกคณะนคราภิบาลขึ้นเพื่อด�ำเนินกิจการ และดูแลความเรียบร้อยของเมือง นอกจากนี้ พระองค์ ยั ง ทรงได้ ร ่ า งธรรมนู ญ ส� ำ หรั บ การปกครองในเมืองนีข้ นึ้ อีกต่างหาก หากเรา พิ จ ารณาตามพระประสงค์ แ ละสิ่ ง ที่ เกิดขึ้นแล้ว ก็คงจะสามารถเข้าใจได้เลยว่า เมืองดุสติ ธานีนคี้ อื การทดลองปกครองแบบ ประชาธิปไตยนั่นเอง
น่าเสียดายที่ในปัจจุบันนี้บ้านเรือน และอาคารต่ า งๆ ในเมื อ งดุ สิ ต ธานี นั่ น สูญหายไปเกือบหมด แต่ก็ยังพอมีเก็บไว้ ให้เห็นอยู่บ้างที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ส่วนที่ พระราชวั ง พญาไทนั้ น มี เ ก็ บ รั ก ษาไว้ ณ พระทีน่ งั่ พิมานจักรีอยูเ่ พียงหลังเดียวเท่านัน้
สวนโรมัน
เดินผ่านที่ตั้งเดิมของเมืองดุสิตธานี ไม่เท่าไร คณะของพวกเราก็มาถึงสวนโรมัน ที่ยังคงลัก ษณะเสาหิ น และรู ป โดมดั้ ง เดิ ม ไว้อย่างชัดเจน ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในสภาพ ที่งดงามเหมือนใหม่เพราะขาดงบประมาณ ดูแล แต่ก็ยังสวยสมบูรณ์อยู่ไม่ใช่น้อย จุ ด เด่ น จริ ง ๆ ของสวนโรมั น อยู ่ ที่ รูปหล่อกลางสระน�้ำ คุณมัคคุเทศก์เล่าให้ฟงั ว่า “รูปหล่อทีย่ นื อยู่กลางสระน�ำ้ เป็นรูปของ พระวรุณซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งน�้ำ ล้นเกล้าฯ ทรงมี พ ระประสงค์ ใ ห้ น� ำ มาตั้ ง ไว้ ก ลาง สระน�้ำในพระราชวังนี้ก็เพื่อเป็นเสมือนให้ พระวรุณ ช่ว ยดู แลให้ พระราชวั งนี้ อ ยู ่ เย็ น เป็ น สุ ข เหมื อ นสายน�้ ำ ” สาเหตุ ที่ ท� ำ ให้ รู ป หล่ อ นี้ มี ค วามส� ำ คั ญ มาก ก็ เ พราะว่ า “รูปหล่อชิน้ นีเ้ ป็นผลงานของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เมื่อครั้งยังรับงานอยู่ในเมือง ฟลอเรนซ์ ประเทศอิ ต าลี ผลงานชิ้ น นี้ จึ ง เป็ น ผลงานชิ้ น แรกๆ ที่ น ่ า จะมี ส ่ ว น ให้ ศ าสตราจารย์ ศิ ล ป์ ไ ด้ เ ข้ า มาท� ำ งานใน ประเทศไทย” คุณมัคคุเทศก์ยังแอบกระซิบ อีกด้วยว่า “ที่ตั้งอยู่กลางสระน�้ำนี้เป็นของ anuman-online.com
32 ใต้หอประชุม จ�ำลอง ส่วนของจริงย้ายมาเก็บในพระราชวัง ห้ อ งพระบรรทมหลั ก ห้ อ งท้ อ งพระโรง ในพระทีน่ งั่ พิมานจักรี อย่างพระต�ำนักเมขลา แล้ว เพราะกลัวจะเสียหาย” รู จี ก็ เ พิ่ ง บู ร ณะเสร็ จ ต้ อ งท� ำ ถึ ง สองรอบ เพราะเราจ�ำเป็นต้องป้องกันน�ำ้ และความชืน้ แผนบูรณะพระราชวัง มาถึงตอนนี้ ก่อนที่พวกเราจะเดิน ที่ เ กิ ด ขึ้ น ซึ่ ง จะไปท� ำ ลายภาพสี เ ฟสโก้ ย้ อ นกลั บ ไปนั่ ง คุ ย กั บ พี่ ภ านุ วิ ช ญ์ ที่ ห ้ อ ง ได้ ตลอด ๑๕ ปีที่ผ่านมาเราสามารถระดม ท� ำ งาน เราได้ มี โ อกาสคุ ย กั บ คุ ณ อารยา ทุนได้เพียงแค่ ๖๐ กว่าล้านบาทเท่านั้น ศรี ศิ ล ป์ โ สภณ ผู ้ จั ด การมู ล นิ ธิ อ นุ รั ก ษ์ ส่วนใหญ่กจ็ ะได้รบั มาจากองค์กรทีเ่ กีย่ วข้อง พระราชวังพญาไทในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จ กับพระมงกุฎเกล้าฯ อย่างธนาคารออมสิน เจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นฯ ถึ ง เรื่ อ งการท� ำ งานที่ ปูนซีเมนต์ไทย และเราก็มีรายได้จากการ ให้เ ช่าพื้นที่แ ละพระที่ นั่ ง บางส่ ว นส� ำ หรั บ ผ่านมาและอนาคตของพระราชวังแห่งนี้ จัดกิจกรรมพวกจิบไวน์ ชมวัง ฟังเพลง คอนเสิร์ตเล็กๆ อนุมานวสาร: ที่มาที่ไปของมูลนิธิเป็น อย่างไร? คุณอารยา: เราเริ่มต้นจากกลุ่มคนที่รักวัง อนุมานวสาร: อนาคตของมูลนิธติ อ่ จากนีไ้ ป? พวกเราเป็นชมรมคนรักวังกันมาก่อน ซึ่งก็ คุ ณ อ า ร ย า : เ มื่ อ เ จ ้ า ฟ ้ า เ พ ช ร รั ต น ฯ เป็นชมรมที่รวมคนที่ชอบชมวัง รักของเก่า สิ้นพระชนม์ไป เราก็ยังไม่ได้มีการหารือถึง สวยๆ งามๆ เหมือนกัน และมีเป้าหมาย เรื่องสถานะของมูลนิธิในอนาคต แต่เราก็มี อยากจะเห็นพระราชวังแห่งนีก้ ลับมางดงาม แผนงานของเราทีจ่ ะบูรณะพระราชวังแห่งนี้ เหมือนแต่กอ่ น เราเลยเริม่ จัดกิจกรรมต่างๆ ต่อไป เราก�ำลังจะบูรณะพระที่นั่งไวกูณฑ ขึน้ แต่การทีเ่ ป็นชมรมก็ทำ� ให้เราติดขัดเรือ่ ง เทพยสถานทั้งหมด ตั้งแต่ชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ การรับบริจาคที่ไม่สามารถท�ำได้เหมือนกับ และก็สวนโรมัน ซึ่งเราได้รับงบประมาณมา มูลนิธิ เราก็เลยจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้นมา และ แล้ว ต่อจากนั้นก็จะไปบูรณะพระที่นั่งองค์ ก็ได้รับพระกรุณาจากเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ มา อื่ น ๆ ต่ อ ไปจนพระราชวั ง กลั บ มางดงาม ตามเดิ ม นอกจากเราแล้ ว ในตอนนี้ ก็ ยั ง รับมูลนิธิฯ ไว้ในพระอุปถัมภ์ ไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามารับผิดชอบอย่าง อนุมานวสาร: ปัจจุบันนี้ได้บูรณะส่วนไหน เป็นกิจจะลักษณะ เราจึงต้องท�ำของเราไป กันเรื่อยๆ การจะบูรณะพระราชวังทั้งหมด ของพระราชวังไปบ้างแล้ว? คุณอารยา: เราสามารถบูรณะไปได้บางส่วน จึงเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าได้รับการสนับสนุน บางห้องเท่านั้น อย่างเช่นห้องธารก�ำนัล อย่างต่อเนื่องก็คงต้องมีวันที่จะส�ำเร็จ
ตลอดเวลากว่าหนึง่ ชัว่ โมง ท่ามกลาง ลมร้อนและแสงแดดของฤดูรอ้ น คณะชมวัง ที่ประกอบไปด้วยพี่น้องโอวีหลายรุ่น ก็ได้ กล่ า วขอบคุ ณ และชื่ น ชมอาสาสมั ค ร มั ค คุ เ ทศก์ จากชมรมคนรั ก วั ง ที่ น� ำ พา พวกเราชมพระที่ นั่ ง และส่ ว นต่ า งๆ ของ พระราชวังแห่งนี้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย คงจะดีไม่ใช่น้อยถ้าได้เห็นเด็กวชิราวุธฯ ใน เครือ่ งแบบราชประแตนมาท�ำหน้าทีเ่ ช่นนีบ้ า้ ง ขณะที่เดินหลบแดดเข้าร่มกลับไป ยังห้องท�ำงานของพี่ภานุวิชญ์ เสียงสนทนา ของพี่ๆ น้องๆ โอวีก็ดังขึ้นเป็นระยะๆ ครั้งนี้ เราไม่ได้พูดคุยตลกโปกฮาเหมือนที่ท�ำกัน
เป็นประจ�ำ แต่กลับชวนกันคุยว่าถ้าไม่ได้มา วั น นี้ ค งจะพลาดอย่ า งแน่ น อน แม้ ว ่ า พ ร ะ ร า ช วั ง แ ห ่ ง นี้ จ ะ ตั้ ง อ ยู ่ บ น ถ น น เส้นเดียวกันทีต่ ดั ผ่านโรงเรียน แต่กม็ โี อกาส ไม่มากที่จะได้เข้ามาชมวังเช่นในวันนี้ การได้มาเดินชมวังครั้งนี้ เป็นอีก ประสบการณ์ ที่ ต ้ อ งประทั บ ใจ เพราะ นอกจากสายตาจะได้รับความเพลิดเพลิน จากความงดงามของสถาปั ต ยกรรมและ จิตรกรรมต่างๆ แล้ว สมองก็ยงั ได้รบั ความรู้ เรือ่ งประวัตศิ าสตร์อกี มากมายผ่านการเดิน ย้อนกลับไปตามกาลเวลา ณ พระราชวัง อายุกว่าศตวรรษแห่งนี้ anuman-online.com
34 ใต้หอประชุม
พลโทศาสตราจารย์คลินิก
ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ ตอนนี้ พ วกเรากลั บ มานั่ ง กั น อยู ่ ในห้ อ งท� ำ งานของพี่ ภ านุวิชญ์อีกครั้ง ใน พระที่ นั่ ง อุ ด มวนาภรณ์ หลั ง จากนั่ ง พั ก เหนื่อยดื่มน�้ำเย็นๆ กันสักพัก พวกเราก็ได้ เริ่มสนทนากับพี่ภานุวิชญ์อย่างจริงจัง
ช่วงครู่หนึ่งที่โรงเรียน
“ผมอยู ่ ว ชิ ร าวุ ธ ฯ ไม่ น านหรอก” พี่ ภ านุ วิ ช ญ์ เ อ่ ย ขึ้ น ก่ อ นที่ พ วกเราจะเริ่ ม ตั้งค�ำถาม ก่อนที่จะเล่าต่อไปว่า “พี่ไม่เคย อยู่โรงเรียนประจ�ำมาก่อนนะ พี่เข้าใหม่ เข้ามาตอน ม.ศ.๒ เผอิญลุงของพี่เป็นครู อยู่ที่โรงเรียนชื่อ ครูวรวิทย์ น่าจะเป็นครู สอนฟิสิกส์ คุณลุงก็เลยมาชวนให้ไปอยู่ที่ โรงเรียนด้วยกัน” ถึงแม้จะมีช่วงเวลาๆ สั้นในโรงเรียน แต่พี่ฟิต (ฉายาตามที่เพื่อนๆ เรียกกัน) ก็มี ความผูกพันกับโรงเรียนของเราไม่น้อยไป กว่ า โอวี ค นอื่ น ๆ พี่ ฟ ิ ต เข้ า มาอยู ่ ใ นคณะ ผูบ้ งั คับการ พร้อมกับเพือ่ นร่วมรุน่ อย่างท่าน ปลัดพระนาย สุวรรณรัฐ (โอวี ๔๒ ปัจจุบัน
ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ปลั ด กระทรวงมหาดไทย) เวลาที่อยู่กับเพื่อนในโรงเรียนเพียงแค่ ๒ ปี เพียงพอทีจ่ ะท�ำให้เกิดมิตรภาพทีย่ าวนานมา จนถึงตอนนี้ เมื่อเร็วๆ นี้พี่ฟิตยังนัดเพื่อน ร่ ว มรุ ่ น เข้ า มาชมพระราชวั ง พญาไทและ นั่งสังสรรค์กันตามประสาโอวีอีกด้วย นอกจากประสบการณ์ แ ละความ ผู ก พั น กั บ เพื่ อ นๆ แล้ ว พี่ ฟ ิ ต ก็ ยั ง ได้ รั บ ประสบการณ์ ร ่ ว มสมั ย อย่ า งเรื่ อ งอาหาร ของคณะผู้บังคับการที่พี่ฟิตเล่าไปยิ้มไปว่า “อย่างอื่นไม่อยากจ�ำ จ�ำได้อย่างเดียวว่า ของหวานทีค่ ณะผูบ้ งั คับการต้องเป็นท๊อฟฟี่ อย่างเดียว” พี่ฟิตโชคร้ายที่ไม่ได้มีประสบการณ์ โดน “ตบ” ร่วมกับพีโ่ อวีหลายๆ คน แต่ในความ โชคร้ายก็มีความโชคดีที่แสนประทับใจว่า ครั้งหนึ่งเคยได้เรียนกับผู้การแปะ “ตอนนั้น ครูฝรั่งที่สอนภาษาอังกฤษไม่มา โชคดีมาก ที่พระยาภะรตฯ เดินผ่านมา ท่านเลยเข้า มาสอนแทน อันนี้ประทับใจมาก เราได้ เป็นลูกศิษย์ท่านจริงๆ การที่ได้ท่านมาสอน anuman-online.com
36 ใต้หอประชุม หน้าห้องเป็นโอกาสที่น้อยมากนะ พี่เลย ประทับใจมาก เพราะส่วนมากพวกเรามัก จะเรียนกับท่านกลางสนาม เรียนเรื่องวินัย เรื่องระเบียบ แต่พี่โชคดีมากได้เรียนภาษา อังกฤษกับท่าน”
ตามฝันสู่การเป็นแพทย์
ใครที่ได้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ แบบวชิ ร าวุ ธ ฯ แล้ ว น้ อ ยคนนั ก ที่ อ ยาก จะย้ายออกไป ที่ต้องย้ายก็มักจะมีสาเหตุ เนื่องจากความจ�ำเป็นต่ออนาคตของชีวิต ตั ว เองจริ ง ๆ อย่ า งที่ พี่ ฟ ิตเองก็ต้องเลือก อนาคตตามความฝันของตัวเองที่อยากจะ เป็นแพทย์ “ด้วยความเป็นครอบครัวทหารจึง ทราบว่าโรงเรียนเตรียมทหารมีทนุ เข้าเรียน แพทย์ส�ำหรับนักเรียนเตรียมทหารที่เรียน ดีในล�ำดับต้นๆ บังเอิญพี่สอบเข้าเรียนที่ โรงเรียนเตรียมทหารได้ จึงต้องออกจาก โรงเรียนของเราไปเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๑ แล้วโชคดีสอบได้ทุนเรียนแพทย์ เข้าศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาลัยมหิดล เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๓” และทันที... ที่เรียนจบพี่ฟิตก็ถูกส่ง เข้าสมรภูมิเป็นแพทย์ทหารในสนามทันที “สมัยก่อนจะมีการปราบปราม ผกค. (ผู้ก่อ การร้ายคอมมิวนิสต์) ซึ่งต้องใช้ก�ำลังทหาร เข้าด�ำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคอีสานของประเทศ และกองทัพบกก็ ขาดหมอทีจ่ ะไปอยูแ่ นวหน้า พีจ่ บมาก็ไปอยู่
เป็นแพทย์สนามของกองพลทหารม้า (ส่วน หน้า) ปฏิบัติงานที่จังหวัดน่าน ซึ่งตอนนั้น ถื อ ว่ า เป็ น เขตการรบที่ ห นั ก ที่ สุ ด ที่ นั่ น มีทหารบาดเจ็บมากที่สุด ตายเยอะที่สุด ส่วนมากเกิดจากการเหยียบกับระเบิด” ท่ามกลางสมรภูมินั้น พี่ฟิตยังเป็น ผู้เริ่มใช้ยางรัดห้ามเลือดขาทหารที่เหยียบ กับระเบิด เพื่อห้ามไม่ให้เลือดไหลออกมาก เกินไป ไม่งั้นนายทหารคนนั้นอาจจะเสีย ชีวิตได้ “ตอนพี่ไปอยู่ตรงนั้นก็ช่วยให้ทหาร รอดกลับมาได้เยอะอยู่ เป็นประสบการณ์ สองปีที่ตื่นเต้นมาก” ประสบการณ์กลาง สมรภูมทิ ไี่ ด้เจอมาได้กลายเป็นข้อมูลชัน้ ยอด ส�ำหรับพีฟ่ ติ ในการร่วมเขียนคูม่ อื ค�ำแนะน�ำ การปฐมพยาบาลบาดแผลสงครามในสนาม ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นร้อยเอก กลายเป็นคู่มือ ที่ทั้งกองทัพบกเอามาใช้กันหมด ถึงแม้ว่า ตอนนี้หนังสือคู่มือเล่มนั้นจะถูกอัพเดตกัน ไปเรื่อยแล้ว แต่คนเขียนดั้งเดิมก็คือพี่ฟิต
เทิดทูนพระมงกุฎเกล้า
เ มื่ อ เ ส ร็ จ จ า ก ภ า ร กิ จ ส ม ร ภู มิ ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พี่ฟิต ได้เข้าศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางด้าน หู คอ จมูก ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก่ อ นจะได้ ทุ น ไปเรี ย นต่ อ ด้ า นโรคภู มิ แ พ้ ที่ Walter Reed Army Medical Center ซึ่ ง เป็ น โรงพยาบาลทหารที่ มี ชื่ อ เสี ย ง ของกองทั พ บกสหรั ฐ อเมริ ก า แล้ ว กลั บ มาเป็ น ทั้ ง แพทย์ ผู ้ รั ก ษาโรคของ
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และอาจารย์ สอนนั ก เรี ย นแพทย์ ท หาร ที่ วิ ท ยาลั ย แพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าไปพร้อมๆ กัน พี่ ฟ ิ ต เป็ น ผู ้ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ในการ รับราชการเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในด้านวิชาการ และด้านบริหาร ด้านวิชาการ พี่ฟิตเป็น อาจารย์แพทย์ที่มีผลงานทางด้านวิชาการ มากมาย จนได้รบั ประกาศเกียรติคณ ุ แต่งตัง้ เป็ น ศาสตราจารย์ ค ลิ นิ ก ของวิ ท ยาลั ย แพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ด้านบริหาร พี่ ฟ ิ ต เคยด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผู ้ อ� ำ นวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และผู้อ�ำนวย การวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการศูนย์ อ�ำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า พื้ น ที่ ภ ายใต้ ก ารดู แ ลของศู น ย์ อ�ำนวยการแพทย์ฯ แห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ ของพระราชวังพญาไท ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าฯ เป็นผูท้ รงโปรดให้สร้างขึน้ เช่นเดียวกับที่โรงเรียนวชิราวุธฯ พี่ฟิตใน ฐานะเด็กในหลวงคนหนึง่ ก็ยอ่ มอดไม่ได้ทจี่ ะ ต้องแสดงความกตัญญูรคู้ ณ ุ พีเ่ ขาจึงมีความ ตั้งใจอย่างมากที่จะเผยแพร่พระเกียรติคุณ ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ “พีอ่ ยากให้นกั เรียน วชิราวุธฯ ได้รู้จักพระราชวังพญาไท ซึ่งเป็น หนึ่งในพระราชวังของรัชกาลที่ ๖ อยากให้ ได้รู้ว่าพระองค์ท่านได้สร้างอะไรไว้ให้กับ ประเทศชาติบ้าง อย่างดุสิตธานีต้นแบบ เมืองประชาธิปไตย หรือประวัติต่างๆ ของ พระราชวังแห่งนี้ที่เป็นโรงแรม เป็นสถานี anuman-online.com
38 ใต้หอประชุม วิ ท ยุ แ ห่ ง แรก และก็ ม าเป็ น โรงพยาบาล ในทีส่ ดุ อยากให้ทางโรงเรียนเข้ามามีสว่ นร่วม กับทางนี้ อย่างน้อยก็อยากให้เด็กวชิราวุธฯ ได้เข้ามาเยี่ยมดู” อีกสิ่งหนึ่งที่พี่ฟิตไม่อยากให้พลาด ถ้ามีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมพระราชวังพญาไท หรือผ่านมาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ คือ ท่านท้าวหิรันยพนาสูร “พี่อยากให้เราได้ รู้เรื่องเกี่ยวกับหิรันยพนาสูร ไม่ค่อยมีคน รู้เท่าไรว่าท้าวหิรันฯ เป็นเทพารักษ์ที่คอย ปกป้องในหลวงรัชกาลที่ ๖ มาตลอด และ ก็ยังคงศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน คนที่มา หาหมอที่ โ รงพยาบาลก็ ต ้ อ งแวะมาขอให้ ท่านช่วยดูแลคุ้มครองเป็นประจ�ำ” แม้ว่าพี่ฟิตจะได้อยู่ในโรงเรียนของ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เพียงช่วงสั้นๆ แต่ สุดท้ายแล้วก็ได้กลับมาท�ำงานในพระราชวัง ของพระองค์อีก พี่ฟิตจึงเคารพและเทิดทูน พระองค์ ท ่ า นมาก นอกจากนี้ก ารเข้ามา ท�ำงานที่ศูนย์อ�ำนวยการแพทย์ฯ ยังท�ำให้
สัมภาษณ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ กิตติเดช ฉันทังกูล เขต ณ พัทลุง ศศินทร์ วิทูรปกรณ์
พี่ฟิตได้มาเจอพี่ๆ น้องๆ โอวีเกือบสิบคนที่ เลือกมาเป็นแพทย์ แล้วได้มาอยูใ่ นหน่วยงาน ต่างๆ ภายใต้การดูแลของศูนย์แห่งนี้ ซึ่งพี่ๆ โอวีในศูนย์นี้ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า พี่ฟิตเป็นพี่ที่ใจดี ให้ความเป็นกันเองกับ น้องๆ คอยเป็นห่วงเป็นใยกันอยู่เสมอๆ จากประสบการณ์ชวี ติ ทีผ่ า่ นมาท�ำให้ พีฟ่ ติ เห็นว่าประสบการณ์ในโรงเรียนได้สอน ให้พี่เขาเข้าใจเรื่องการอยู่ในสังคมได้เป็น อย่างดี “การอยู่โรงเรียนประจ�ำท�ำให้เราได้ เจอคนสามระดับ เพื่อนรุ่นเดียวกัน รุ่นพี่ และรุ่นน้อง ซึ่งก็คือสังคมในชีวิตจริงที่ต้อง เจอกัน เจอเจ้านายที่เป็นรุ่นพี่เรา เจอเพื่อน ร่วมงานรุ่นเดียวกัน และก็รุ่นน้องหรือไม่ก็ ผู้ใต้บังคับบัญชา “การที่ได้อยู่วชิราวุธฯ ท�ำให้เรา สามารถปรั บ ตั ว ให้ อ ยู ่ ใ นสั ง คมได้ และ แน่นอนที่สุดวชิราวุธฯ สอนให้เราทุกคน เป็นคนดี และให้เรากตัญญูรู้คุณคน”
ถ่ายภาพ โอวี โอวี โอวี โอวี
๔๖ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ ๗๓ ไพบูลย์ สพโชคชัย ๖๒ ๗๙
เรียบเรียง โอวี ๗๙ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์
โอวี ๗๙
40 คอลั ม น์ พิ เ ศษ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
เมือง
พระร่วง เที่ยว
บทน�ำ ที่มาของหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” เล่มนี้ พระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าฯ ในคราวเสด็จพระราชด�ำเนินเพื่อทรงศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีเรื่อง ความเกีย่ วข้องระหว่างเมืองศุโขทัย เมืองสวรรคโลก และเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ ข้อมูลทีพ่ ระองค์ทา่ น น�ำมาเขียนเป็นหนังสือเล่มนี้ได้มาจากลงไปศึกษาให้เห็นกับสายพระเนตรด้วยพระองค์เอง แล้วจึงน�ำสิง่ ทีพ่ ระองค์พบเห็นมาวิเคราะห์ถงึ ความเกีย่ วโยงกันตามหลักฐานทีพ่ บในโบราณ สถานแต่ละแห่งหนที่ได้ก้าวพระบาทประทับลง ด้วยสภาพภูมิประเทศเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บรรดาโบราณสถานหลายแห่ง ที่ปรากฏในหนังสือนี้ยังคงความสมบูรณ์ของหลักฐานที่มีคุณค่าต่อการศึกษาโบราณคดี ในเวลาต่อมา สถานที่หลายๆ แห่งยังคงถูกปกคลุมไปด้วยผืนป่าและปราศจากการรบกวน ของผู้คน จึงเป็นอุปสรรคประการหนึ่งที่ท�ำให้การเสด็จพระราชด�ำเนินต้องอาศัยพละก�ำลัง หักล้างถางพงเข้าไป และแต่ละแห่งกว่าจะเข้าถึงได้ก็ยากเย็นและไม่อาจจะเข้าไปศึกษาได้ โดยทั่วทุกแห่งหนดังพระราชประสงค์ พระราชประสงค์ที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรง พระราชนิพนธ์ไว้คือ ทรงต้องการให้ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงแหล่งข้อมูลชั้นต้น เพื่อให้บรรดาเหล่ากูรูผู้รู้รอบโบราณคดีให้เข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นในทาง
วิชาการโบราณคดีอย่างเต็มที่ โดยผู้ที่เห็นต่างสามารถท้วงติงหักล้างข้อมูลที่เผยแพร่ใน หนังสือเล่มนี้ได้ โดยที่พระองค์ทรงยินดีน้อมรับค�ำชี้แจงทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นตามมา ด้วย พระองค์ประสงค์เพียงว่าจะให้หนังสือเล่มนี้เป็น ช่องทางหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้นักวิชาการ โบราณคดีในบ้านเรามีเรื่องให้ได้แสดงออกทางความคิดให้มากยิ่งขึ้น อันเป็นผลดีต่อการ พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาโบราณคดีของไทยอีกทางหนึ่ง นอกจากนีพ้ ระองค์ยงั มีพระราชด�ำริเรือ่ ง ทัศนคติและค่านิยมของคนไทยทีม่ กั ละเลย หรือมองข้ามคุณค่าของรากเหง้าศิลปวัฒนธรรมไทย แล้วหันไปนิยมชมชอบยกย่อง วัฒนธรรมตะวันตกว่าดีกว่าภูมิความรู้โคตรเหง้าตนเอง โดยที่ไม่เคยได้ศึกษาอย่าง แท้จริง มิหน�ำซ�ำ้ กลับไปเลียนแบบตามของชาวต่างประเทศ “โดยไม่รจู้ กั เลือกสรร ว่าสิ่งไรจะเหมาะจะควรใช้ในเมืองเรา สักแต่เขาใช้ก็ใช้บ้างมีแต่ตามอย่างไป ประดุจทารกฉะนั้น” เป็นที่น่าแปลกใจอีกประการหนึ่งคือ ค่านิยมการเดินทางออกไป ท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทยในสมัยพระองค์ฯ ก็เริ่มนิยมออกไป เที่ยว หรือที่เรียกว่า “ไปตากอากาศ” ยังเมืองนอกเมืองนาเผื่อให้มี เรื่องกลับมาพูดคุย ยิ่งถ้าได้ไปถึงยุโรปก็จะเป็นอะไรที่คุยโม้โอ้อวดได้ มากว่าเป็นผูม้ ฐี านะ พระองค์จงึ คาดหวังว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะช่วยกระตุก ต่อมส�ำนึกรักบ้านเกิดของคนเหล่านัน้ ให้หนั มาสนใจแหล่งท่องเทีย่ ว ในประเทศบ้าง เพราะความงดงามทางชั้นเชิงงานศิลป์ของไทยก็ สวยงาม ไม่แพ้ของต่างชาติ เพียงแต่เป็นความงามทีม่ ลี กั ษณะเป็น เอกลักษณ์เฉพาะ ประหนึ่งสาวงามทั้งหลายย่อมมีความ สวยความงามต่างกันออกไป หาคนใดเลยจะมีลกั ษณะ งดงามไปเหมือนกันเสียทุกอย่าง พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า จึ ง ต้ อ ง พระราชประสงค์ให้คนไทยเห็นความส�ำคัญในข้อนี้ เป็นส�ำคัญ เพราะเราเลียนแบบความงามตามอย่าง ฝรั่งให้เหมือนอย่างไร ก็ยังไม่เท่ากับท�ำให้ฝรั่งเห็น ความงดงามในทางศิลป์ทมี่ าจากรากเหง้าวัฒนธรรม ของตนเอง ในส่วนของคณะผู้ช่วยจัดท�ำหนังสือฉบับนี้ ประกอบไปด้วย ข้าราชการที่ช�ำนาญงานในด้าน
42
คอลัมน์พิเศษ
ต่างๆ มาช่วยกันสรรสร้างหนังสือเล่มนี้ให้ สมบูรณ์ทงั้ เนือ้ หาสาระ การเตรียมงาน ภาพ ประกอบและแผนที่ ซึ่งท�ำให้หนังสือเล่มนี้มี เสน่ห์ดึงดูดผู้อ่านให้สนใจงานวิชาการด้าน โบราณคดีได้มากขึ้น มีพระยาอมรินทรฦา ไชย ข้าหลวงเทศภิบาลมณฑลนครสวรรค์ พระยาอุ ทั ย มนตรี ข้ า หลวงเทศาภิ บ าล มณฑลพิ ศ ณุ โ ลก พระยาวิ เ ชี ย รปราการ เป็นผู้ตรวจค้นโบราณสถานและวัตถุต่างๆ มีนายร้อยโทขุนวิจารณรัฐขันธ์ พนักงาน กรมแผนที่เสนาธิการทหารบก เป็นผู้วาด แผนที่ประกอบ และมีหลวงบุรีวราษฐเป็น ผู ้ เ ขี ย นภาพลวดลายที่ ป รากฏในโบราณ สถานที่ต่างๆ เป็นภาพประกอบ บั น ทึ ก การเดิ น ทางเล่ ม นี้ ตี พิ ม พ์ ครั้งแรกเมื่อ ร.ศ.๑๒๗ (๒๔๕๑) ในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ยังด�ำรง พระอิสริยยศเป็นสยามมกุฏราชกุมาร ก่อนที ่ จะสืบสันตติวงศ์ในอีก ๒ ปีให้หลัง หลังจากนัน้ อีก ๒๐ ปีถดั มา หนังสือ เทีย่ วเมืองพระร่วงนี้ ได้รบั การตีพมิ พ์อกี ครัง้ เป็นครั้งที่ ๒ ในโอกาสจัดท�ำเป็นหนังสือ แจกงานศพของภรรยาของพระอนุ ศาสน์ จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) หรือต�ำแหน่ง เดิ ม ก่ อ นหน้ า นี้ คื อ หลวงบุ รี ว ราษฐ ซึ่ ง เป็นหนึ่งในคณะที่ตามเสด็จไปส�ำรวจเมือง พระร่วงและเป็นผู้ที่วาดภาพลวดลายของ โบราณในตอนท้ายของทุกบท ผลงานของ ท่ า นผู ้ นี้ ที่ พ วกเราน่ า จะคุ ้ น เคยเป็ น อย่ า ง ดีคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงการท�ำ
สงครามยุ ท ธหั ต ถี ระหว่ า งสมเด็ จ พระ นเรศวรมหาราชชนช้างกับสมเด็จพระมหา อุปราชา ปัจจุบันภาพดังกล่าวนี้ ยังคงอยู่ใน สภาพทีส่ มบูรณ์ในวิหารวัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร จังหวัดอยุธยา ในโอกาสพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๗๑ นี้เอง จึงมีการตรวจและเพิ่มเติมเนื้อหาจาก เดิมที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรง พระราชวิ นิ จ ฉั ย และนิ พ นธ์ ไ ว้ ใ ห้ ส มบู ร ณ์ มากยิ่งขึ้น โดยผู้ที่ตรวจและเพิ่มเติมเนื้อหา ในครั้งนี้คือบิดาประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ด ้ ว ย เ ห ตุ ที่ ก า ร ต ร ว จ ต ร า ท า ง โบราณคดีพบปะข้อความซึ่งควรจะเพิ่มเติม และควรจะอธิบายพระราชนิพนธ์ “เที่ยว เมืองพระร่วง” ให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นได้ ยังมีอยู่ อีกหลายแง่มุมของข้อมูลที่ค้นพบใหม่ การ แก้ไขจึงใช้การท�ำเป็นเชิงอรรถประกอบค�ำ บรรยายแนบต่อท้ายในทุกบทแทน ทั้งเพื่อ ให้ต้องตามพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ที่อยากให้หนังสือ เล่มนีเ้ ป็น “โครงให้ผตู้ รวจตราภายหลังแก้ไข เพิ่มเติมตามความรู้ที่ได้พบเห็นขึ้นใหม่ให้ เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น” หนังสือเล่มนี้จึงน่าจะเป็นคู่มือการ ชมโบราณสถานของไทยเล่มแรกที่มีความ สมบูรณ์ของเนื้อหา ภาพถ่าย และแผนที่ ที่ มีความสมบูรณ์และเป็นแหล่งศึกษาข้อมูลที่ ส�ำคัญแก่วงการโบราณคดีของประเทศไทย
ตอนที่ ๑
ที่ควรดูตามไปทางก�ำแพงเพ็ชร์
หนั ง สื อ นี้ ก ล่ า วถึ ง เรื่ อ งไปเที่ ย ว ในเมืองพระร่วงก็จริง แต่ตามหนทางไปมา มีที่ซึ่งควรดูอยู่หลายแห่ง ที่เหล่านี้ถึงแม้จะ มิได้เปนทีเ่ กีย่ วข้องกับพระร่วงก็จริง แต่เปน ที่ควรดูเพราะมีเรื่องนับเนื่องเกี่ยวพันอยู่ใน เรือ่ งของชาติไทยจึงเห็นว่าแม้จะกล่าวถึงบ้าง ก็จะไม่สู้เสียเวลาอ่านนัก ข้าพเจ้าออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ร.ศ.๑๒๖ (๒๔๕๐) โดยสารรถไฟไปจนถึงปากน�้ำโพมิได้แวะ แห่งใด ที่เมืองนครสวรรค์เองมีของโบราณ ที่ปรากฏอยู่คือค่ายสันคู ซึ่งมีมาแต่เทินดิน แลคูเหลือเปนแนว ได้ทราบว่ายังพอเห็นเปน รู ป เปนร่ า งได้ แต่ ห าเวลาตรวจตรานาน ไม่ ไ ด้ ทั้ ง ไม่ เ ชื่ อ ว่ า จะค้ น พบอะไรที่ เ ปน หลักฐานฤาน่าดู จึงเลยไม่ได้พยายามต่อไป วันที่ ๖ มกราคม ออกจากนครสวรรค์ขนึ้ ทาง แควน้อยโดยเรือนางปะ การเดินทางย่อม จะต้องช้าอยู่ เพราะต้องใช้ถ่อขึ้นไปตลอด ทาง วันที่ ๗ จึงถึงที่ซึ่งมีของควรดูคือถึง บ้านหูกวาง จอดเรือที่ฝั่งตะวันตก
ของควรดูทบี่ า้ นหูกวางนีก้ ค็ อื ถนนที่ ถมข้ามบึงหูกวาง เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสือ เสด็ จ จั บ ช้ า งที่ นี่ ผู ้ ที่ แ ม่ น อยู ่ ใ นพระราช พงษาวดารกรุงเทพทราวดีก็คงจะจ�ำได้ว่า เมื่อปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๐๖๔ (๒๒๔๕) พระพุทธเจ้าเสือ ได้เสด็จโดย ขบวนเรือขึ้นไปที่นครสวรรค์ ขึ้นตั้งต�ำหนัก พลับพลาอยู่ต�ำบลบ้านหูกวาง แล้วทรงพระ กรุณาให้ตั้งค่ายปีกกาล้อมฝูงช้างเถื่อน ณ ป่ายางกองทอง แลให้ท�ำค่ายมั่นส�ำหรับจะ กันช้างเถื่อนเข้าจับนั้น ต่อนั้นมามีข้อความ กล่าวไว้ว่า ในที่ระหว่างค่ายหลวงที่ประทับ และทีค่ า่ ยล้อมช้างต่อกันนัน้ มีบงึ ใหญ่หลวง ขวางอยู่ระหว่างกลาง และเดินทางลัดตัด ตรงไปค่ายล้อมนั้น ต้องผ่าบึงใหญ่ไปจึง ใกล้ ถ้าและจะเดินหลีกไปให้พ้นบึงนั้น จะ มี ร ะยะอ้ อ มวงไปไกลนั ก จึ ง มี พ ระบรม ราชโองการตรัสสั่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้ง สองพระองค์ ให้เปนแม่กองกะเกณฑ์คนถม ถนนหลวง เปนทางสถลมารคข้ามบึงใหญ่ นั้นไปให้ส�ำเร็จแต่ในเพลากลางคืน รุ่งสาง ขึ้นจะเสด็จพระราชด�ำเนินข้ามช้างพระที่นั่ง anuman-online.com
44
คอลัมน์พิเศษ
ไป ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้นคือ ช้ า งพระที่ นั่ ง ไปตกหล่ ม กลางบึ ง และทรง พระพิโรธสมเด็จพระเจ้าลูกเธออย่างไรบ้าง นัน้ เปนเรือ่ งราวทีค่ นโดยมากย่อมจ�ำได้โดย แม่นย�ำ ไม่จ�ำเปนต้องกล่าวซ�้ำในที่นี้ บ้านหูกวางนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว ว่ายังมีอยู่ แต่ไม่เชื่อว่าถนนข้ามบึงนั้นจะยัง แลเห็นเปนขอบคันอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อ ได้ทราบข่าวจากพระยาอมรินทรฦาไชยว่า ได้ไปพบถนนนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็ตั้งใจที่จะไป ดูให้จงได้ เพราะฉะนั้นพอมีโอกาสได้ขึ้นไป เที่ยวทางเมืองเหนือ จึงได้แวะที่ต�ำบลบ้าน หูกวาง ขึ้นเดินจากฝั่งแม่น�้ำไปประมาณ ๗ เส้น ก็ถึงขอบบึงหูกวาง ถึงปลายถนนด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วเดินไปตามถนน เบ็ดเสร็จยาวประมาณ ๑๐ เส้น ยังพอ แลเห็นเปนคันได้ถนัด คะเณว่าถนนกว้าง ประมาณ ๑๐ วา ส่วนบึงนั้นในเวลาที่ไปดู สังเกตยากว่าจะหมดเขตรเพียงใดแน่ เพราะ เปนเวลาน�้ำแห้ง ในบึงเปนดงแขมรกทั่วไป ทางด้านเหนือลุ่ม มีน�้ำขังอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ด้านใต้ดอนเสียหมด มีสิ่งที่พอจะเปน เครื่องสังเกตได้ว่าแห่งใดเปนบึง แห่งใดเปน ที่ดอนนั้น คือในที่บึงมีแต่ต้นไม้ย่อมๆ ที่ ดอนมีต้นไม้เขื่องๆ คะเณว่าบึงนั้นทางยาว ประมาณ ๑๐๐ เส้น กว้างประมาณ ๑๐ เส้น ตามขอบบึงด้านตะวันตกเฉียงใต้มีป่ายาง สู ง แลเห็ น ทิ ว ไม้ ต ลอดไปจนต่ อ กั บ เนิ น ทิศเหนือของบึง ซึง่ ราษฎรเรียกชือ่ ว่า “เนินทอง” นี่คือกองทองที่กล่าวถึงในพงษาวดาร ส่วน
ค่ า ยปี ก กาซึ่ ง ตั้ ง ล้ อ มฝู ง ช้ า งเถื่ อ นครั้ ง นั้ น น่าจะเดาว่าตั้งยาวไปตามเส้นขอบบึงทาง ตะวันตกเฉียงใต้ไปหาเนินกองทองทางด้าน ทิศเหนือ ส่วนค่ายหลวงนั้นน่าจะตั้งอยู่ริม แม่ น�้ ำ ทางด้ า นตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ข องบึ ง เพราะฉะนั้นจึงต้องท�ำถนน เปนทางข้าม บึงลัดไปป่ายาง ถ้าแม้ค่ายตั้งทางตะวันออก เฉียงเหนือ ฤาเหนือของบึงคงจะไม่ต้องท�ำ ถนนลัด เพราะทีน่ นั้ ใกล้กองทอง เดินไปกอง ทองไม่ตอ้ งอ้อมมากมายอะไร แต่ทจี่ ะชีล้ งไป ให้แน่นนั้ ย่อมเปนการยากอยูเ่ อง เพราะค่าย คงจะท�ำด้วยไม้ส�ำหรับใช้ชั่วคราวทั้งสิ้น แต่ ส่วนถนนนั้น ถ้าจะพิจารณาดูก็จะเห็นว่าน่า จะสรรเสริญความอุตส่าห์ของผู้ท�ำ การที่ให้ ท�ำถนนกว้าง ๑๐ วา ยาว ๑๐๐ เส้นกว่า ให้แล้วภายในคืนเดียวนั้น ถึงแม้จะท�ำไปใน ทีด่ อนและในฤดูแล้ง ก็ไม่ใช่การเล็กน้อยอยู่ แล้วนี่ยังต้องท�ำข้ามบึงและท�ำในฤดูฝน น�้ำ ท่วมนองไปใช่แต่ในบึงทั้งในป่าด้วยฉะนั้น ท�ำให้เปนงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า นึกดูจึง ไม่นา่ ปลาดที่ช้างพระที่นงั่ ไปตกหล่มทีก่ ลาง บึงซึง่ เปนทีล่ มุ่ ทีส่ ดุ ยังมีทลี่ มุ่ กว่านัน้ อีกแห่ง หนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่าที่น�้ำไหล เพราะ ในฤดูน�้ำมีสายน�้ำไหลข้ามที่ตรงนี้ ถึงในฤดู แล้งก็ยังแลเห็นว่าเปนหล่มอยู่มากกว่าแห่ง อื่น จึงท�ำให้คิดไปว่า บางทีจะเปนแถบนี้เอง กระมัง ที่ช้างพระที่นั่งมาตกหล่ม แต่ที่น�้ำ ไหลนั้นไม่อยู่ที่ตรงกลางบึง อยู่ช้อนไปทาง ป่ายางทางปลายถนนด้านตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากขอบบึงทางป่ายางทางปลายถนน
ด้านตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากขอบบึงทาง ประมาณ ๒ ฤา ๓ เส้น ตรวจค้นได้เท่านี้ เดินทางตัง้ แต่บา้ นหูกวางต่อขึน้ ไป ก็ ไม่มีอะไรที่พึงดูจนกระทั่งบ้านโคน ซึ่งได้ไป ถึงเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม เวลาบ่าย ต่อเมื่อ วันรุ่งขึ้นวันที่ ๑๔ มกราคม เวลาเช้าจึงได้ ขึ้นบก ทีนี้มีปัญหาอยู่ว่าจะเปนที่ตั้งเมือง เทพนครของพระเจ้าศิริไชย เชียงแสนฤา มิ ใ ช่ เพราะฉะนั้ น จึ ง เห็ น เปนที่ ค วรขึ้ น ดู สักคราวหนึ่ง จากที่เรือจอดต้องเดินข้าม หาดทรายไปหน่อยหนึง่ ก่อน แล้วจึงถึงทีต่ ลิง่ แท้ๆ บนตลิ่งมีหมู่บ้านดูแน่นหนาตา แต่ใน ชั้นต้นยังไม่ได้ดูหมู่บ้าน แต่ได้เดินเลยออก ไปในป่า ซึ่งไม่ใช่ป่าสูง ต้นไม้ก็ไม่สู้ใหญ่นัก พอเดินไปได้ร่มสบาย เดินไปได้ประมาณ ๒๐ เส้น ก็ไปถึงล�ำน�้ำแห่งหนึ่ง มีน�้ำขังอยู่ เปนห้วงๆ เมื่อแรกเข้าใจว่าจะเปนคูเมือง แต่ถ้าเช่นนั้นแล้วหลังล�ำน�้ำเข้าไปควรจะมี เทิน แต่เมื่อได้ข้ามคลองนั้นไปแล้วค้นดูไม่ พบเทิน ฤาเนินที่รูปร่างพอจะเหยียดเปน เทิ น ได้ เ ลย พระวิ เ ชี ย รปราการชี้ แ จงว่ า คลองนี้ออกไปต่อกับล�ำน�้ำแควน้อย เพราะ ฉะนั้นเข้าใจว่าเปนล�ำน�้ำเก่า ก็ดูชอบกลอยู่ เลยยอมเห็นตามด้วย เดินต่อไปอีกถึงวัดซึ่ง ราษฎรเรียกว่า วัดกาทึ้ง ไม่ปรากฏว่า เหตุ ใดจึงเรียกชื่อเช่นนั้น ทางตั้งแต่ท่าเรือมา ประมาณ ๔๐ เส้น สังเกตว่าวัดนีเ้ ปนวัดเก่า จริงและได้ซอ่ มแซมหลายครัง้ มีอโุ บสถย่อม ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่ๆ ถูกขุดเสียป่นปีแ้ ล้ว ที่ พื้นอุโบสถซึ่งยกสูงเหนือพื้นดินราว ๒ ศอก
นั้น ตรงกลางถูกขุดเสียจนเปนบ่อลึกถนัด พระประธานก็พระเศียรหายคงจะถูกท�ำลาย เสียด้วยเหมือนกัน เสมาไชยน่าโบสถ์ถูก ถอนขึ้นมาล้มนอนอยู่ และที่ตรงที่ตั้งเสมา นัน้ เปนหลุมลึก คงจะเปนนักเลงเล่นพระพิมพ์ เสียเปนแน่ตอ่ โบสถ์ออกไปทางทิศตะวันออก มี วิ ห ารกว้ า งขวางกว่ า โบสถ์ ค ามแบบวั ด โบราณ เสาระเบี ย งมี เ หลื อ อยู ่ บ ้ า ง แล รักแร้ผนังยังอยู่มุมหนึ่งวิหารนี้ ในชั้นแรก ใช้ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่กว้างยาวขนาดที่ก่อ ก�ำแพงกรุงทวาราวดี แต่จะบางกว่าสักหน่อย หนึ่ง แต่อิฐที่ใช้ซ่อมแซมในชั้นหลังนั้นเล็ก เพียงขนาดที่ใช้ก่อตึกกันในกาลบัดนี้ ส่วน เสาระเบียงนั้นใช้ก่อด้วยแลง พระประธาน ที่ วิ ห ารยั ง อยู ่ พ อเห็ น ได้ พ ระภั ก ตร์ ย าวๆ เช่น อย่างพวกพระก�ำแพงเพ็ชร์ ไม่ห่าง จากวิหารนักมีสระเล็กๆ อยู่สระหนึ่งยังมี เสาปักอยู่ ๔ ต้น ซึ่งเข้าใจได้ว่าเปนเสา หอไตร เสานั้นยังบริบูรณดีอยู่ ซึ่งท�ำให้ เข้าใจว่าที่วัดนี้น่าจะพึ่งทิ้งร้างไปในไม่สู้ช้า นัก คงจะพึ่งทิ้งเมื่อล�ำน�้ำเก่าซึ่งผ่านไปริม วัดนี้ เขินแห้งขึ้นมานั้นเอง ออกจากวัดนี้ เดินต่อไป ข้ามล�ำน�้ำเก่าบ่ายหน้าลงไปทาง ล�ำน�้ำใหม่ มีหมู่บ้านซึ่งเรียกว่าบ้านโคน นั้น ตั้งแต่ริมล�ำน�้ำเก่าตลอดลงไปจนถึงฝั่ง น�้ำแควน้อย สังเกตว่าบ้านเรือนตามแถบนี้ หนาแน่นและปลูกไว้เปนแถว ๒ ข้างถนน ดูท่วงทีเปนบ้านเปนเมืองทางที่ลึกเข้ามา จากล�ำน�้ำแควน้อยมีบ้านเรือนห่างๆ กัน แต่ยิ่งใกล้ล�ำน�้ำลงไปบ้านเรือนยิ่งหนาเข้ามี anuman-online.com
46
คอลัมน์พิเศษ
สวนมีไร่ติดอยู่กับเรือนดูท่าทางมั่นคง ทั้ง ราษฎรในบ้านโคนนี้ก็ดูกิริยาเปนชาวเมือง จะเปรียบกับเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ก็คล้ายกัน แลเห็นผิดกับราษฎรที่ได้พบแล้วตามทาง ที่ ไ ปมาก ด้ ว ยเหตุ เ หล่ า นี้ ท� ำ ให้ ข ้ า พเจ้ า สั น นิ ษ ฐานว่ า ที่ บ ้ า นโคนนี้ ค งจะเปนเมื อ ง มาแต่ โ บราณกาล แต่ ห าคู ฤ าเทิ น และ ก� ำ แพงไม่ ไ ด้ เ ลย จึ ง เข้ า ใจว่ า คงจะเปน เมื อ งชั่ ว คราวซึ่ ง เจ้ า แผ่ น ดิ น ได้ ม าตั้ ง พั ก อยู ่ ใ นระหว่ า งที่ จ ะเที่ ย วหาไชยภู มิ ส ร้ า ง เมืองใหม่แล้วยกราชส�ำนักนี้ไปค่ายนั้นก็รื้อ ฤาทิ้งให้โทรมไปเองโดยมิได้ซ่อมแซมอีก เพราะไม่ได้ตั้งใจให้เปนที่ตั้งรับสัตรูต่อไป ถ้ า เปนเช่ น นี้ แ ล้ ว ก็ จ ะกิ น กั บ ข้ อ ความที่ กล่ า วในเรื่ อ งต้ น แห่ ง พระราชพงษาวดาร กรุ ง ทราวดี ว ่ า พระเจ้ า ศิ ริ ไ ชยเชี ย งแสน ได้ ส ร้ า งเมื อ งเทพนครขึ้ น ส่ ว นพระเจ้ า ศิ ริ ไ ชยเชี ย งแสนซึ่ ง พงษาวดารกล่ า วว่ า เสวยราชอยู่ ณ เมืองเทพนครยีส่ บิ ห้าพรรษา นั้น ถ้าจริงเช่นนั้นคงจะต้องนับรวมทั้งที่อื่น ด้วย คือไม่ใช่สร้างเทพนครนั้นคงจะไม่สู้ นานนักก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ ส่วนข้อที่ว่า วงษ์พระเจ้าอู่ทองเดิมมาจากไหนแน่นั้นมี กล่าวกันอยู่สองทาง ทางหนึ่งว่าลงมาจาก เมื อ งเชี ย งรายจึ ง เรี ย กพระราชวงษ์นั้นใน พงษาวดารว่าวงษ์เชียงราย แต่อีกทางหนึ่ง ว่ามาแต่เมืองสุพรรณฤาสุวรรณภูมิและว่า พระนามพระเจ้ า อู ่ ท องนั้ น เองเปนพยาน อยู ่ ว ่ า เดิ ม เปนเจ้ า เมื อ งสุ ว รรณภู มิ ฤ า ท้าวอูท่ อง และเมืองท้าวอูท่ องเก่าเดีย๋ วนีก้ ย็ งั
มีอยู่ที่ใกล้เมืองสุพรรณบุรี การที่ท้าวอู่ทอง ต้องทิ้งเมืองสุวรรณภูมิมาสร้างกรุงทราวดี ขึ้ น ใหม่ นั้ น เพราะว่ า เกิ ด ห่ า ขึ้ น ในเมื อ ง สุวรรณภูมิ แต่ถ้าเปนเช่นนี้แล้วเหตุไฉน จึงยังมีพระกษัตริย์ครองเมืองสุพรรณอยู่ กล่าวคือขุนหลวงพงัว ซึ่งเปนพระเชษฐา แห่งพระอรรคมเหสีเท่านั้น และบางทีเวลา ที่ไปเปนเขยอยู่นั้นจะได้เปนอุปราชครอง กึ่งพระนครตามแบบโบราณก็ได้ ครั้นเมื่อ พระพรรษาสิ้นพระชนม์แล้ว ขุนหลวงพงัว ผู้เปนราชโอรสจึงได้ครองราชย์สมบัติสืบ พระวงษ์มา ส่วนเรื่องราวที่มีปรากฏอยู่ว่า ท้ า วอู ่ ท องได้ อ พยพหนี ห ่ า นั้ น อาจจะเปน ขุนหลวงพงัวฤาพระราชบิดาขุนหลวงพงัว ก็ได้ ไม่จ�ำจะต้องเจาะจงลงไปว่าเปนองค์ เดียวกับท่านที่ไปสร้างกรุงทราวดีภายหลัง ถ้าแม้ว่าท้าวอู่ทองที่หนีจากสุวรรณภูมิเก่า นั้นคือพระรามาธิบดีที่ ๑ กรุงเทพทราวดี แล้ ว ก็ น ่ า จะถามว่ า ถ้ า เช่ น นั้ น ขุ น หลวง พงัวได้คนที่ไหนมาสร้างสุพรรณใหม่และ ต้ อ งเข้ า ใจว่ า พวกพ้ อ งขุ น หลวงพงั ว ไม่ มี น้อยๆ ต้องมีมากจึงได้เข้ามาแย่งราชสมบัติ พระราเมศวรได้ ข้ า พเจ้ า จึ ง ค่ อ นข้ า งจะ เชื่ อ ว่ า พระรามาธิ บ ดี ที่ ๑ นั้ น เปนวงษ์ เชียงรายจริง ตามที่พงษาวดารกล่าวและ เชื่อว่าพระเจ้าศิริไชยเชียงแสนได้ลงมาจาก เชียงรายมาตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่งทางแควน้อย ความประสงค์ของพวกเชียงรายเองยังมิทัน จะเลื อ กไชยภู มิ ไ ด้ เ หมาะก็ สิ้ น พระชนม์ เสียก่อนจึงได้ตกมาเปนน่าที่พระเจ้าอู่ทอง
ผู ้ เ ปนราชโอรส เปนผู ้ ที่ เ ลื อ กหาไชยภู มิ สร้ า งกรุ ง ทวารวดี ไ ด้ ส� ำ เร็ จ ส่ ว นข้ อ ที่ ชาวเชี ย งรายจะสามารถเดิ น ลงมาถึ ง แควน้อยได้โดยไม่ถกู ศุโขทัยและก�ำแพงเพ็ชร์ กีดกั้นขัดขวางนั้น ถ้าคิดดูถึงเรื่องพระเจ้า ศรี ธ รรมไตรปิ ฎ กเมื อ งเชี ย งแสนลงมา สร้างเมืองพิศณุโลกได้แล้ว เหตุไฉนพระเจ้า ศิ ริ ไ ชยเชี ย งแสนลงมาสร้ า งเทพนครทาง แควน้อยไม่ได้ ต้องเข้าใจว่าตามความจริง พวกเชียงแสน เชียงราย ศุโขทัย ก�ำแพงเพ็ชร์ ก็ เ ปนไทยด้ ว ยกั น และมี เ กี่ ย วดองกั น อยู ่ ด้วย เพราะฉะนั้นคงจะไม่สู้เกียดกันอะไร กันนัก (๑) ในวันที่ ๑๔ มกราคมนัน้ พอได้เดินดู ทีบ่ า้ นโคนทัว่ แล้วกลับลงไปกินเข้าทีเ่ รือ แล้ว ก็ออกเรือเดินทางสัก ๒ ชัว่ โมง ก็ถงึ ทีต่ ำ� บล วังพระธาตุ ทีน่ มี่ ที ซี่ งึ่ ราษฏรตามแถบนีเ้ รียก ว่าเมืองตาชี้ปม เมื่อไปครั้งหลังนี้ข้าพเจ้าหา ได้ขึ้นไปดูไม่ เพราะได้ขึ้นไปดูเมื่อแต่ครั้ง เดินทางกลับจากมณฑลพายัพ เมือ่ ราว ร.ศ. ๑๒๔ (๒๔๔๘) นั้นแล้ว ที่เรียกว่าเมืองนั้น มีคูและเทินดินแบ่งเปน ๓ ตอน มีเจดีย์ร้าง อยูใ่ นทีน่ นั้ แห่งหนึง่ ข้าพเจ้าได้ตรวจดูตลอด แล้วสันนิฐานเปนค่ายเก่า แต่จะเปนค่ายครัง้ ใดก็เหลือที่จะก�ำหนดลงมาเปนแน่นอนได้ แต่เหนว่าภูมิฐานไม่เปนเมือง การที่เรียก กันว่าเมืองตาชี้ปมนั้นน่าจะเปนเรื่องที่คิด ผสมเข้าภายหลัง
อธิบายความเพิ่มเติมในตอนที่ ๑ (๑) เรือ่ งเมืองโบราณทีบ่ า้ นโคนนี้ ต่อมา สอบได้ความว่าตรงกับเมือง “คณฑี” ที่ ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง และ ในหนังสือจามเทวีวงศ์ เพราะฉะนั้น มิใช่เมืองเทพนคร ดังกล่าวในเรือ่ งเกร็ด ข้างต้นหนังสือพระราชพงศาวดาร อนึง่ เมื่อถึงรัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จประพาสถึง เมืองท้าวอู่ทอง ทรงพระราชวินิจฉัย เรื่องพระเจ้าอู่ทองว่าเห็นจะเป็นแต่เชื้อ สายราชวงศ์เชียงราย มาได้เป็นราชบุตร เขยเลยได้ครองกรุงอูท่ อง แล้วหนีหา่ ไป ตั้ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาเป็ น ราชธานี ส่ ว น ขุนหลวงพงัวนั้น ได้ครองเมืองสุพรรณ อย่ า งเมื อ งลู ก หลวงอยู ่ อี ก เมื อ งหนึ่ ง ต่างหาก เมื่อพระเจ้าอู่ทองย้ายไปตั้ง กรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงได้เป็นใหญ่อยู่ ทางเมืองเดิม anuman-online.com
48
คอลัมน์พิเศษ
ตอนที่ ๒
เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ วันที่ ๑๕ มกราคม เวลาเช้า ๒ โมง ออกเรื อ จากวั ง พระธาตุ พ อบ่ า ยประมาณ ๒ โมงก็ถึงเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ เมืองก�ำแพงเพ็ชร์เปนเมืองทีด่ ไู ด้งา่ ย แต่ทจี่ ะสันนิฐานเรือ่ งของเมืองนัน้ ยากกว่าดู หลายส่วน เพราะจะว่าไม่มีหลักอะไรจะยึด เลยก็ว่าได้ เรื่องราวที่เปนต�ำนานก็ไม่พบใน พงษาวดารเหนือก็ไม่กล่าวถึง ในพงษาวดาร กรุ ง ทวารวดี ที่ ก ล่ า วถึ ง ก็ ว ่ า เปนเมื อ ง ประเทศราชฝ่ า ยเหนื อ ที เ ดี ย วไม่ ป รากฏ ว่าใครสร้าง ในต�ำนานพระแก้วมรกฎนั้น ก็ ก ล่ า วถึ ง แต่ ว ่ า เปนที่ ซึ่ ง พระแก้ ว เคยไป ประดิษฐานไม่มีต�ำนานว่าใครสร้าง ที่สุด สิลาจาฤกเมืองก�ำแพงเพ็ชร์นั้น ก็ไม่เปน หลักทีจ่ ะชีท้ างให้สนั นิฐาน เพราะมีขอ้ ความ แต่เฉพาะเรื่องสร้างพระมหาธาตุเท่านั้นได้ ชัดเจน แต่คงได้ความแน่นอนจากหลักสิลา นั้นอย่างหนึ่งว่า “ศักราช ๑๒๓๗ ปีระกา เดือนแปด ออกห้าค�่ำ วันศุกร” เปนวันที่ จะนั บ จ� ำ เดิ ม อายุ แ ห่ ง พระธาตุ ซึ่ ง “พระ ญาฎไทยราชผู้เปนลูกพระญาเลือไทยเปน หลานแก่พระญารามราช” นั้น ได้สฐาปนา
ขึ้น “ในเมืองนครปุนี้ปีนั้น” จึงต้องพึงเข้าใจ ว่ า เมื อ งนครปุ ฤ าก� ำ แพงเพ็ ช ร์ มี อ ยู ่ แ ล้ ว เมื่อมหาศักราชได้ ๑๒๓๗ ปี คือ ๕๗๑ ปี ล่วงมาแล้ว แต่จะสร้างขึ้นก่อนนั้นเพียงไรก็ ไม่มีหลักอะไรที่จะก�ำหนดได้ เมื่ อ ข้ า พเจ้ า ไปเมื อ งก� ำ แพงเพ็ ช ร์ ครั้งแรก คือแวะเมื่อล่องกลับจากเชียงใหม่ ร.ศ. ๑๒๔ (๒๔๔๘) นั้นได้พักอยู่ ๓ คืน กับ ๒ วัน ได้เที่ยวดูในเมืองเก่าและตามวัด ที่นอกเมืองบ้างแต่ในเวลานั้นต้องนับว่ายัง อ่อนอยูม่ ากในทางโบราณคดี คือยังไม่ใคร่ได้ มีโอกาสตรวจค้นมาทัง้ เวลาทีอ่ ยูก่ น็ อ้ ย และ เปนคนแรกที่ได้ไปดูจะอาไศรยฟังความคิด ความเห็ น ผู ้ ใ ดๆ ก็ ไ ม่ ไ ด้ เพราะฉะนั้ น ความเห็นในเวลานั้นจึงยังไม่กล้าแสดงให้ แพร่หลายมากนัก เปนแต่ได้ท�ำรายงาน กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ตามที่ได้สังเกตเห็นด้วยตา และแสดงความ เห็นส่วนตัวบ้างเล็กน้อย ภายหลังพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้เสด็จพระราชด�ำเนิน ขึ้ น ไ ป ป ร ะ พ า ศ เ มื อ ง ก� ำ แ พ ง เ พ็ ช ร ์ ทอดพระเนตรสถานต่างๆ แล้วพระราชทาน
พระบรมราโชวาทเปนอันมาก ครั้นเมื่อได้ ทราบกระแสพระราชด�ำริห์แล้ว เมื่อปลาย ศก.๑๒๖ ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปตรวจดูสถานที่ใน เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ซ�้ำอีก จึงเห็นทางแจ่มแจ้ง ดีกว่าครั้งก่อนเปนอันมาก ที่เรียกว่าเมืองเก่าเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เปน เมืองเก่าที่สุด คือเมืองที่เรียกในสิลาจาฤก ว่าเมืองนครปุนั้น ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เมืองเก่าตั้ง อยู่เดี๋ยวนี้ เมืองนครปุนั้นสันนิฐานว่าตั้งอยู่ ทางตะวันออกของเมืองเก่าออกไปในเวลา นี้หาคูฤาก�ำแพงนครปุมิได้เลยซึ่งเปนของ ประหลาดอันใด เพราะอาจทีจ่ ะรือ้ ก�ำแพงเก่า เข้ามาท�ำก�ำแพงเมืองใหม่ที่ริมฝั่งแควน้อย นั้นได้ประการหนึ่ง ฤาอีกประการหนึ่งเมือง นครปุอาจที่จะเปนเมืองไม่มีก�ำแพงซึ่งก่อ ด้วยอิฐฤาแลงอย่างถาวรก็ได้ เมืองโบราณ ที่ไม่มีก�ำแพงเช่นนี้ก็มีตัวอย่างอยู่มากและ ยั ง อยากจะใคร่ เ ดาต่ อ ไปอี ก ว่ า ชื่ อ เมื อ ง ก�ำแพงเพ็ชร์นั้น น่าจะให้ภายหลังเมื่อได้ ยกเมื อ งลงมาตั้ ง ริ ม น�้ ำ แควน้ อ ยแล้ ว และ ได้ก่อก�ำแพงขึ้นด้วยแลงเปนที่มั่นคงจึงตื่น ก�ำแพงใหม่นั้นนักหนาจนเปลี่ยนชื่อเมือง เรียกว่าเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ คือประสงค์จะ อวดก�ำแพงนั้นเอง คราวนี้มีปัญหาซึ่งจะ ต้ อ งตอบอยู ่ ข ้ อ หนึ่ ง ว่ า เหตุ ไ รจึ ง ต้ อ งย้ า ย เมืองจากที่เดิม ตอบได้ตามความสันนิฐาน ทันทีว่าเพราะล�ำน�้ำเก่าแห้งเขิน จึงต้องย้าย เมืองลงไปหาล�ำน�้ำที่ยังมีน�้ำบริบูรณ เมื่อได้ ไปตรวจดูถึงที่แล้วก็แลเห็นพยานปรากฏอยู่ ชัดเจนว่าข้อทีส่ นั นิฐานไว้นนั้ ไม่ผดิ คือได้พบ
ล�ำน�้ำแห่งอันหนึ่ง ซึ่งได้ความว่าในฤดูแล้ง น�้ำแห้งแต่ฤดูฝนมีน�้ำไหล ล�ำน�้ำนี้ปากไป ออกแควน้อย ส่วนข้อที่ว่าเมืองเดิมจะตั้ง อยู่แห่งใดนั้น ถ้าเมื่อได้ไปดูถึงที่แล้วก็คงจะ ตอบปัญหาได้ โดยความเชื่อว่าจะไม่พลาด มากนัก คือตามทีใ่ กล้ๆ ล�ำน�ำ้ ทีก่ ล่าวมาแล้ว นั้นมีวัดร้างใหญ่ๆ อยู่ติดๆ กันเปนหลาย วัด ซึ่งพอจะเข้าใจได้ว่าคงจะไม่ได้ไปสร้าง ไว้นอกเมืองเปล่าๆ และจะต้องพึงเข้าใจอีก อย่างหนึ่งว่าถึงแม้เมื่อได้ย้ายเมืองลงมาตั้ง ริมฝั่งแควน้อยแล้วก็ยังมีบ้านคนอยู่ในที่ตั้ง นครปุเดิม เพราะยังมีถนนจากประตูสะพาน โคมด้านตะวันออกแห่งเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ ออกไปจนถึงวัดต่างๆ ในนครปุ ถนนนี้ถม สูงพ้นจากพื้นดินบางแห่งถึง ๒ ศอกเศษ ในกาลบัดนีใ้ ช้เปนทางเดินไปได้นี่เปนพยาน อยู่ว่าวัดเหล่านั้นเจ้าเมืองก�ำแพงเพ็ชร์คงจะ ยังท�ำนุบ�ำรุงเปนพระอารามหลวงอยู่และ ถ้าเช่นนั้นแล้วก็ต้องสันนิฐานได้ว่าบ้านคน คงจะต้องมีอยู่ด้วย มิฉะนั้นพระสงฆ์จะอยู่ ในวัดนั้นๆ ไม่ได้เลย ถ้าแม้จะต้องเดินเข้า มาบิณฑบาตร์ถึงในเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ทุกวัน ต้องแปลว่าเดินวันละ ๑๐๐ เส้นเศษเสมอ (๔ กิโลเมตร) อยู่ข้างจะล�ำบากมากอยู่ แต่ ยังมีพยานอื่นๆ อีกว่ามีบ้านคนอยู่ตามแถบ เมืองเดิมนั้น ซึ่งอาจจะสันนิฐานได้เมื่อพบ บ่อขุดแลงและสิ่งของอื่นๆ ซึ่งจะได้กล่าวถึง ต่ อ ไปกั บ ยั ง มี พ ยานว่ า เมื อ งเดิ ม อยู ่ ท างที่ กล่ า วแล้ ว นั้ น คื อ ข้ า งถนนที่ เ ดิ น จากเมื อ ง ก�ำแพงเพ็ชร์นั้นมีสระอยู่ ๒ สระ ราษฎร anuman-online.com
50
คอลัมน์พิเศษ
ตามแถบนัน้ เรียกว่าสระแก้วกับสระคา (คือ คงคา) สระทัง้ ๒ นีค้ งจะเปนทีข่ งั น�ำ้ ในเมือง เดิม เช่น สระและสระอื่นๆ ตระพังทอง ตระพังเงินเมืองศุโขทัยนั้นเปนต้น และเมื่อ ย้ายเมืองไปตั้งใหม่แล้วราษฏรที่ยังคงอยู่ แถบเมืองเดิมก็ยังคงได้อาไศรยน�้ำในสระนี้ เองจึงยังคงอยู่ได้ต่อไป (๑) เมื อ งก� ำ แพงเพ็ ช ร์ นี้ เ ปนเมื อ งที่ อ ยู ่ ริมทางทีค่ นขึน้ ล่องก็จริงอยู่ แต่นา่ ประหลาด ที่หาคนที่ได้เคยเที่ยวดูตลอดยากนัก การ เที่ยวของไทยเราโดยมากมักนึกถึงแต่การ เที่ยวตามตลาดและบ้านเมืองผู้คนอยู่เปน หมู่ๆ เท่านั้น เพราะฉนั้นบางคนแทบจะไม่ ทราบว่าที่ก�ำแพงเพ็ชร์มีเมืองเก่าที่จะเที่ยว ดูเล่นได้ เมื่อผ่านไปแลเห็นก�ำแพงเมืองเก่า ก็พอแต่ทราบว่ามีเมืองเก่าเท่านั้น ไม่ได้นึก อยากดูฤาอยากทราบอะไรอีกต่อไป บางคน ถึ ง กั บ เปล่ ง อุ ท านวาจาว่ า เมื อ งเก่ า นั้ น จะ ไปดู อ ะไรป่ า นนี้ จนปรั ก หั ก พั ง เสี ย หมด แล้ว เพราะคนเรามีความคิดเช่นนี้เรื่องราว ของชาติเราจึงได้สูญเร็วนัก ชาวเราไม่รู้สึก ละอายแก่ ช าติ อื่ น ๆ เขาบ้ า งเลย น่ า จะ ประสงค์ทจี่ ะอวดว่าเราเปนชาติทเี่ ก่าแก่ กลับ อยากจะลืมความแก่ของชาติเสียอยากแต่จะ ตัง้ หนึง่ ใหม่ เริม่ ด้วยสมัยเมือ่ รูส้ กึ ว่าเดินไปสู่ ทางจ�ำเริญอย่างแบบยุโรปแล้วเท่านั้น ข้อที่ ประสงค์ เ ช่ น นี้ ก็ เ พราะประสงค์ จ ะให้ ชาวยุ โ รปนิ ย มว่ า ชาติ ไ ทยไม่เ คยเปนชาติ “ป่า” เลย พอเกิดขึน้ ก็จำ� เริญเทียมหน้าเพือ่ น ทีเดียว ข้อนี้เปนข้อที่เข้าใจผิดโดยแท้ชาว
ยุโรปไม่นับถือทั้งของใหม่ทั้งชาติใหม่ นิยม ในของโบราณและชาติ ที่ โ บราณมากกว่ า ทั้งนั้น ในหมู่เมืองในประเทศยุโรปเองแข่ง กันอยู่เสมอว่าชาติไหนจะค้นเรื่องราวของ ชาติได้นานขึ้นไปกว่ากัน เพราะฉะนั้นที่ นิ ย มเห็ น ว่ า การตั ด อายุ แ ห่ ง ชาติ ต นเปน ของควรกระท� ำ นั้ น เปนความนิ ย มผิ ด เท่ากับการหมิ่นประมาทผู้ใหญ่ว่างุ่มง่ามใช้ ไม่ได้ ซึ่งเปนความคิดของคนไทยสมัยใหม่ บางจ�ำพวกนั้นแล ในชัน้ ต้นก่อนทีจ่ ะไปดูวดั ใหญ่ๆ ซึง่ ตัง้ อยูน่ อกเมือง ต้องไปเทีย่ วดูภายในก�ำแพงเสีย ก่อน เมืองก�ำแพงเพ็ชร์นรี้ ปู ชอบกลไม่ใช่เปน รูปสีเ่ หลีย่ ม ก�ำแพงด้านตะวันออกตะวันตก ยาวกว่าด้านเหนือด้านใต้หลายส่วน ด้าน เหนือด้านใต้มปี ระตูดา้ นละช่องเดียวเท่านัน้ แต่ดา้ นตะวันออกตะวันตกมีหลายช่อง ทัง้ มี ป้อมวางเปนระยะไปด้วย รูปก�ำแพงด้านทั้ง ๒ ด้านนัน้ ไม่เปนบรรทัดตรง ตัง้ โค้งๆ เพราะ ฉะนั้ น ถ้ า จะเปรี ย บรู ป เมื อ งก� ำ แพงเพ็ ช ร์ น่าจะเปรียบกับรูปเรือเป็ด ก�ำแพงเชิงเทิน ท�ำแน่นหนาก่อด้วยแลง มีใบเสมาก่อเปน แผ่นตรงขึน้ ไปสักศอกหนึง่ แล้วจึงก่อเป็นรูป หลังเจียดขึน้ ไปอีกศอกหนึง่ บนก�ำแพงมีทาง เดินได้รอบกว้างพอคนเดินหลีกกันได้สบาย นอกก�ำแพงมีคูลึก เดี๋ยวนี้น�้ำยังขังอยู่บ้าง เปนแห่งๆ มีทางน�ำ้ ไหลเข้ามาจากล�ำน�ำ้ แคว น้อยได้สังเกตว่าเปนเมืองที่แข็งแรงมั่นคง น่าจะรักษาไว้ให้มั่นได้นานๆ
ในก�ำแพงเมืองนี้ ที่ซึ่งจ�ำเป็นต้องไป ก่อนก็คือหลักเมือง ซึ่งได้ไปบวงสรวงตาม ธรรมเนียม แต่ผู้ที่ไปดูอย่าได้คิดหาหลัก เลยเพราะไม่มี หลักสิลาและรูปยักษ์ที่ตั้งไว้ เปนเครื่องหมายเดี๋ยวนี้ เชื่อว่าไม่ใช่ของที่ ตั้งอยู่แต่เดิม ออกจากหลักเมืองก็ต้องเลย ไปศาลพระอิศวร ที่นี้มีเปนฐานอยู่เข้าใจว่า เดิมคงจะท�ำเปนรูปปรางค์คล้ายๆ ศาลเสื้อ เมืองในกรุงเทพฯ เปนต้น แต่ทลายลงมา เสียสิน้ แล้วเหลือทีจ่ ะเดาถูกทีน่ นั้ มีเทวรูปอยู่ ๒ องค์ หล่อด้วยทองเหลืององค์ใหญ่ราษฎร นิยมเรียกกันว่าพระนารายณ์ แต่ข้าพเจ้าได้ ปีนขึน้ ไปตรวจจนถึงทีป่ ระดิษฐานก็เห็นได้วา่ เปนรูปพระอุมา เครื่องแต่งกายและอาภรณ์ ก็เปนอย่างเครื่องแต่งผู้หญิง และยังมีถัน ปรากฏอยูอ่ กี ด้วย ตามค�ำราษฎรกล่าวกันว่า ถ้าใครกล้าไปจับที่ทรวงเปนต้องมีเหตุป่วย ไข้ ทางทีเ่ กิดกล่าวกันเปนเรือ่ งเปนราวเช่นนี้ คงเกิดขึ้นเพราะผู้ที่รักษาเทวสถานนั้น พูด ขู่ไว้เพื่อจะมิให้ผู้ใดขึ้นไปคล�ำเทวรูปเล่นให้ มัวหมอง เมื่อมาสังเกตดูถึงความพอใจของ คนเรา ทีจ่ ะลูบคล�ำอกตุก๊ ระตาจนด�ำไปด้วย เหงื่อไคที่ติดมือแล้วก็จะต้องชมว่าความคิด ของผูร้ กั ษาเทวสถานนัน้ อยูข่ า้ งจะแยบคาย ถ้าจะห้ามเฉยๆ คงไม่ฟัง จึงต้องขู่เสียให้ กลัวเจ็บกลัวตาย ส่วนรูปพระอิศวรเองนั้น ในเวลาที่ข้าพเจ้าไปดูหาได้ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั้นไม่ได้ความว่ารูปที่เคยตั้งอยู่ที่นั้นลง มาอยู่เสียที่กรุงเทพฯ เหตุที่รูปพระอิศวรจะ มาตกอยู่ในกรุงเทพฯนั้น คือหลายปีมาแล้ว
มี ช าวเยอร์ มั น ผู ้ ห นึ่ ง ไปเที่ ย วในเมื อ ง ก�ำแพงเพ็ชร์ ได้ฉวยเทวรูปนัน้ ลงมาเสียด้วย เมืองก�ำแพงเพ็ชร์มีบอกลงมาที่กระทรวง มหาดไทย จึงได้เกิดต่อว่าต่อขานกันขึ้นกับ กงสุลเยอร์มันๆ จึงได้จัดการไปเรียกรูปนั้น คืนมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้า กรมพระยาบ�ำราบปรปักษ์ ซึ่งในเวลานั้น ได้ทรงก�ำกับราชการกระทรวงมหาดไทยได้ ทรงรับไว้เทวรูปนัน้ จึงเลยตกอยูใ่ นกรุงเทพฯ จนทุกวันนี้ ยังหาได้กลับไปอยู่ที่เทวสถาน เดิมไม่ เทวสถานนั้นจะสร้างขึ้นแต่ครั้งใด ก็บอกไม่ได้แน่ แต่นา่ จะสร้างขึน้ พร้อมๆ กับ สร้างเมืองใหม่นี้ การก่อสร้างใช้แลงเหมือน กัน ชาวเมืองก�ำแพงเพ็ชร์เขามีเรื่องเล่าถึง การสร้างศาลพระอิศวร แต่เปนเรื่องที่ไม่มี หลักฐานอันใด และสงไสยว่าจะเปนเรื่องที่ เล่าประกอบขึ้นภายหลัง ตามแบบของเรื่อง ต่างๆ โดยมาที่เกี่ยวด้วยสถานที่อย่างเดียว กับเรื่องเกาะตาม่องล่าย เกาะสามร้อยยอด เกาะนมสาว เปนต้น แต่ถงึ กระนัน้ ก็แนเรือ่ ง ที่ควรฟังจึงได้เล่าไว้ในแหล่งอื่นต่อไป ในที่เกือบจะกลางเมือง ไม่ห่างจาก หลักเมืองนัก มีทวี่ งั อยูแ่ ห่งหนึง่ เปนเกาะย่อมๆ มีครู อบและมีสระเล็กๆ สองสระ แต่เชิงเทิน ฤาก�ำแพงไม่มี จึงสันนิฐานว่าคงจะใช้ก�ำแพง อย่างระเนียด คือเปนรัว้ ไม้ปกั กับดินพอเปน เครื่องกั้นให้เปนฝารอบขอบชิดเท่านั้น ส่วน ปราสาทราชฐานไม่มเี หลืออยูเ่ ลย และทีจ่ ริง ก็ไม่คาดว่าจะเหลือเพราะเชื่ออยู่ว่าคงจะท�ำ ด้วยไม้ทั้งสิ้นอย่างเช่นวังเก่าๆ ในที่อื่นๆ anuman-online.com
52
คอลัมน์พิเศษ
ที่ข้างวังทางด้านตะวันตกมีวัดใหญ่ อยู่วัดหนึ่ง มีถนนขั้นห่างจากวังอยู่ชั่วทาง กว้างของถนนประมาณ ๔ วาเท่านั้น ที่ทาง วังตรงวัดมีเกยอยู่อันหนึ่งและมีเกยอยู่ตรง ข้ามฟากถนนอีกอันหนึง่ มีเปนเรือนรากเรือน ยาวๆ อยู่หลังหนึ่ง ที่ยังเหลืออยู่มีเปนฐาน แลงรูปสี่เหลี่ยมรี มีเสาไม้ยังฝังอยู่บ้างซึ่ง ท�ำให้เข้าใจว่าคงจะมีฐานแลงและปลูกเปน เรือนไม้ขึ้นบนฐานนั้น ถ้าจะคิดดูตามที่ตั้ง อยู่น่าจะเดาว่าเปนพลับพลาเปลื้องเครื่อง ส่วนวัดนั้นคงเปนอย่างวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ กรุ ง ทราวดี มี เ จดี ย ์ โ บสถ์ วิ ห ารใหญ่ ๆ งามๆ อยู่มาก การก่อสร้างใช้แลงเปนพื้น มี ที่ ก ่ อ ซ่ อ มแซมด้ ว ยอิ ฐ ภายหลั ง ก็ ม าก มีก�ำแพงสูงประมาณ ๓ ศอกล้อมเหมือน กัน ในที่กลางมีพระธาตุใหญ่ตั้งบนลานสูง พระวิเชียรปราการตัง้ ชือ่ ไว้วา่ วัดมหาธาตุ แต่ ที่ดูเหมือนที่จริงจะเปนวัดเดียวกับวัดริมวัง นั้นเอง วัดริมวังนั้นข้าพเจ้าเดาว่าจะเปนวัด พระแก้ว คือวัดทีไ่ ด้ประดิษฐานพระมณีรตั น ปฎิมากร เมื่อได้ไปอยู่ ณ เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ ตามที่ ก ล่ า วไว้ ใ นต� ำ นานพระแก้ ว มรกฎ นั้น แต่ก็ไม่มีหลักฐานอย่างไร ต่อมาเมื่อ ได้ทราบกระแสพระราชด�ำริห์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเมืองเก่า จึงได้ กลับความคิดเห็นว่าพระแก้วมรกฎคงจะ ได้ ม าประดิ ษ ฐานไว้ ที่ ใ นวั ด ใดวั ด หนึ่ ง ใน เมืองนครปุ คือเมือ่ พระแก้วมรกฏมาอยูเ่ มือง ก�ำแพงเพ็ชร์นั้น เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ใหม่ยัง ไม่ได้สร้างขึ้น ครั้นได้ตรวจหนังสือในหลัก
สิลาจาฤกว่าด้วยศุโขทัยมีปรากฏอยู่ว่า เมื่อ พระมหาสามีสังฆราชไปจากลังกาขึ้นไปที่ ศุโขทัยนัน้ ได้ขนึ้ บกทีเ่ มืองเชียงทอง ซึง่ เปน เมืองท่าทะเลดังนี้ ก็แลเห็นเปนพยานอยู่ว่า เมืองก�ำแพงเพ็ชร์เวลานั้น ยังเปนเมืองที่ตั้ง อยู ่ ห ่ า งล� ำ น�้ ำ แควน้ อ ย จึ ง ได้ ไ ปขึ้ น ถึ ง ที่ เชียงทอง ซึง่ เข้าใจอยูว่ า่ อยูเ่ หนือก�ำแพงเพ็ชร์ ขึ้นไป นอกจากวัดใหญ่ขา้ งวังทีก่ ล่าวมาแล้ว นั้น ยังมีวัดอยู่อีกบ้างสักสามสี่แห่งในเมือง แต่ ท ราบว่ า เปนวั ด เล็ ก และรกเต็ ม ที ไ ม่ มี เวลาที่จะถางเข้าไปดูได้ (๒) ใช่ว่าจะย่อท้อ ต่อการถาง ถ้าแม้ได้ทราบว่าแห่งใดมีที่ควร ดูได้เคยพยายามถางเข้าไปจนได้โดยมาก (ที่ศุโขทัยและสวรรคโลกต้องไปลงมือถาง เข้าไปเองหลายแห่ง)บางทีเมื่อเข้าไปถึงที่ แล้วยังดูไม่ได้ เพราะต้นไม้ขนึ้ เกาะเสียรุงรัง ต้องถางและถอนลงเสียก่อนจึงดูได้ แต่ที่ใน ก�ำแพงเพ็ชร์นี้ ไม่ได้นึกเชื่อว่าจะมีอะไรที่ สลักส�ำคัญพอที่จะยอมเสียเวลาถางจึงเลย งดไว้ไปดูนอกเมือง ที่ น อกเมื อ งไปทางด้ า นตะวั น ออก เดิ น ไปตามถนนโบราณผ่ า นสระแก้ ว สระคา ทางไปจากเมืองราว ๑๐๐ เส้นถึงหมู่ วัดใหญ่ๆ น่าดูมีอยู่หลายวัด ที่แถบนี้เปนที่ ซึง่ สันนิฐานว่าเปนทีต่ งั้ นครปุโบราณ (๑) วัด ต่างๆ ในแถบนี้เหลือที่จะดูให้ทั่ว และที่จริง ก็ไม่สู้จ�ำเปนที่จะดูให้ทุกวัด เลือกดูแต่ที่วัด ใหญ่ๆ ก็พอ วัดที่ใหญ่ที่สุดในแถวนี้ก็คือวัด ที่เรียกตามชื่อของราษฎรว่าอาวาศใหญ่ ชิ้น
ส�ำคัญในวัดนี้คือพระธาตุใหญ่ อยู่กลางลาน รอบลานมีเปนก�ำแพงสูงประมาณ ๕ ศอก บนก�ำแพงมีพระเจดีย์ย่อมๆ ก่อเปนระยะ ไว้ ร อบเปนบริ ว ารพระมหาธาตุ ตั ว พระ มหาธาตุเองตั้งบนฐานทักษิณมีบันไดขึ้นสี่ ด้าน มีก�ำแพงล้อมรอบทักษิณทั้งที่ก�ำแพง และที่ประตูมีรูปสลักงามๆ เปนยักษ์บ้าง เทวดาบ้างฝีมือสลักแลงามน่าดูนัก น่าจะ สันนิฐานว่าพระธาตุองค์นเี้ ปนองค์ทกี่ ล่าวถึง ในสิลาจาฤกเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ อันมีความ ปรากฏอยู่ว่า “ศักราช ๑๒๓๙ ปีระกา เดือนแปด ออกห้าค�ำ่ วันศุกร์ หนไทถัดเราปู ฯลฯ สกุณิ นักสัตตว เมือ่ ยามอนนสถาปนานัน้ เปนหกค�ำ่ แล้ พรญาฏไทยราชผูเ้ ปนลูกพระญาเลือไทย เปนหลานแก่พรญารามราช เมื่อได้เสวย ราชในเมื อ งศรี สั ช นาไลยศุ โ ขทั ย ได้ ร าชา ภิ เ ศกอนนฝู ง ท้ า วพรญาท้ ง หลายอนน มิศหาย อนนมีในสี่ทิศนี้แต่งกรยาตงวาย ของฝางหมากมาลามาไหว้ บนนยดดยญ อภิเษกเปนท้าวเปนพรญา จึงขึ้นชื่อศรีสุริย พรมหาธรรมราชาธิราช หากเอาพรศรีรัตน มหาธาตุอนนนี้มาสถาปนาในเมืองนครปุ นี้ปีนั้นน พระมหาธาตุอนนนี้ใช่ธาตุอนน สามาน คือพรธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลงั กา ทวีปพ้นมาดาย เอาท้งงพืชนพรศรีมหาโพธิ อนนพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นแล ฯลฯ หลขุนมาราธิราชได้ปราบแก่สรรเพชญเดญ ญาณ เปนพรพุทธ มาปลูกเบื้องหลังพรม หาธาตุนี้ ฯลฯ” (๓)
ศักราช ๑๒๓๙ ที่กล่าวในที่นี้คือ มหาศักราช คิดแต่นั้นมาจนกาลบัดนี้ (ซึ่ง เปนปีมหาศักราช ๑๘๓๐) ได้ ๕๙๑ ปี พรญาฏไทยราชนั้ น คื อ พระเจ้ า แผ่ น ดิ น กรุ ง ศุ โ ขทั ย ที่ ก ล่ า วถึ ง ในสิ ล าจาฤกเมื อ ง ศุโขทัยที่ ๒ มีนามปรากฏในนั้นว่าพระบาท สมเด็จพระกมรเตญอัตศรีสรุ ยิ พงษรามมหา ธรรมิกราชาธิราช พรญาเลือไทยนั้นตรง กับพระบาทสมเด็จพระกมรเตญอัตหฤไทย ไชยเชษฐ พรญารามราชนัน้ ก็ตรงกับพระเจ้า รามค�ำแหงในหลักสิลาจาฤกเมืองศุโขทัยที่ ๑ แต่ศกั ราชสองแห่งไม่ตรงกัน ในหลักสิลา จาฤกศุโขทัยมีปรากฏอยูว่ า่ เมือ่ มหาศักราช ๑๒๖๙ พระเจ้าธรรมราช ซึ่งเปนอุปราชอยู่ เมืองศรีสัชนาไลย ได้ยกทัพเข้าไปในเมือง ศุโขทัย ปราบปรามพวกสัตรูหมู่ร้ายแล้ว จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติแทนพระราชบิดา ที่สวรรคต ดังนี้ ศักราชผิดกันอยู่ถึง ๓๐ ปี จะเปนด้วยในเวลานั้นศักราชคิดกันเปน หลายวิธีจึงได้เลอะเทอะเช่นนั้น (๔) ที่อาวาศใหญ่นั้น นอกจากองค์พระ ธาตุและพระเจดีย์บริวารยังมีสิ่งน่าดูอยู่อีก อย่างหนึ่ง คือที่นอกก�ำแพงแก้วออกไปมี บ่อน�้ำใหญ่อยู่บ่อหนึ่งเปนรูปสี่เหลี่ยม แต่ แรกดูไม่ทราบว่าก่อด้วยอะไรครั้นพิจารณา ดูแล้วจึงได้ความว่าบ่อนั้นหาได้มีสิ่งไรก่อ เปนผนังไม่ ที่แผ่นดินตรงนั้นเปนแลงขุด บ่อลงไปในแลง ข้างๆบ่อนั้นพอถูกอากาศ ก็ แ ขงเปนศิ ล าจึ ง ดู เ หมื อ นก่ อ เรี ย บร้ อ ย เพราะฉนัน้ เปนของควรดูอย่างหนึง่ และเมือ่ anuman-online.com
54
คอลัมน์พิเศษ
ดูแล้วจะต้องออกรู้สึกอิจฉาว่าเขาท�ำบ่อได้ ดี และถาวรโดยไม่ต้องเปลืองโสหุ้ยค่าก่อ ข้างบ่อด้วยสิลาฤาอิฐปูนอะไรเลย บ่อนี้เปน พยานให้ เ ห็ น ได้ ว ่ า น่ า จะเปนวั ด ใหญ่ ม ี พระสงฆ์อยู่มาก คงจะเปนวัดส�ำคัญในนคร ปุโบราณนัน้ เปนแน่ โดยเหตุนแี้ ละสันนิฐาน ตามรูปพระเจดีย์ จึงจะเห็นว่าน่าจะเปนที่ นี้เองซึ่งเปนที่บรรจุพระศรีรัตนมหาธาตุอัน กล่าวถึงในสิลาจาฤกนั้น ยังมีวัดที่ใหญ่และที่มีพระเจดีย์ เปน ชิน้ ส�ำคัญอยูอ่ กี วัดหนึง่ คือวัดทีร่ าษฎรเรียก ว่าวัดช้างรอบ พระเจดีย์ในวัดนี้ตั้งอยู่กลาง ลานมีก�ำแพงแก้วล้อมรอบสูงประมาณ ๓ ศอก ที่ฐานทักษิณมีสลักเปนช้างครึ่งตัวยืน อยู่รอบ หันศีศะออกมาจากฐาน จึงได้เรียก นามปรากฏว่าว่าวัดช้างรอบ ส่วนองค์พระ ธาตุ นั้ น เข้ า ใจว่ า อยู ่ ใ นรู ป ระฆั ง อย่ า งทรง สูง แต่ก็ได้แต่เดา เพราะทลายลงมาเสีย แล้ว ทางขึ้นไปชั้นทักษิณมีสี่ด้าน ลวดลาย มีบ้างแต่สู้ที่อาวาศใหญ่ไม่ได้ มีวิหารอยู่ติด กับพระเจดีย์ทางด้านตะวันออก วิหารนั้น ก็ยกพื้นขึ้นบนฐานสูงประมาณ ๔ ศอก ที่ วัดนีก้ เ็ ปนวัดใหญ่นา่ จะมีพระสงฆ์ประจ�ำอยู่ พระศรีรัตนมหาธาตุนั้นนอกจากที่อาวาศ ใหญ่ จะมีที่สมควรจะบรรจุได้อีกแห่งหนึ่ง ก็ที่วัดนี้เท่านั้น ยั ง มี วั ด ที่ น ่ า ดู อ ยู ่ อี ก สองแห่ ง คื อ แห่งหนึ่งเรียกว่าวัดพระนอน แห่งหนึ่งเรียก ว่ า วั ด พระสี่ อิ ริ ย าบถ ที่ วั ด พระนอนนั้ น มี ชิ้นส�ำคัญอยู่คือวิหารพระนอน ซึ่งท�ำด้วย
วัดช้างล้อม อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (ภาพจาก วิกิพีเดีย)
ฝีมือดี การก่อสร้างใช้แลงทั้งนั้น เสาเปน เสากลมก่อด้วยแลงก้อนใหญ่ๆ รูปอย่าง ศิลาโม่ก้อนใหญ่ๆ และหนาๆ มาก ผนังวิ หารมีเปนช่องลูกกรง ลูกกรงท�ำด้วยแลง แท่งสี่เหลี่ยมสูงราว ๓ ศอก ดูทางข้าง นอกงามดีมากแต่มีความเสียใจที่องค์พระ นอนนั้น ไม่เปนรูปเสียแล้วเพราะมีนักเลง ขุดหาทรัพย์ไปท�ำลายเสียเมื่อเร็วๆ นี้เอง ได้ ค วามจากพระวิ เ ชี ย รปราการว่ า จั บ ผู ้ ที่ ท� ำ ลายได้ ได้ ฟ ้ อ งศาลๆ ตั ด สิ น จ� ำ คุ ก
แล้ว ส่วนที่วัดพระอิริยาบถนั้นมีชิ้นส�ำคัญ อยู่คือวิหาร ๔ คูหา มีพระยืนด้านหนึ่ง พระนั่งด้านหนึ่ง พระลิลาด้านหนึ่ง พระ ไสยาศน์ด้านหนึ่ง พระยืนพระนั่งพระลิลา ยั ง อยู ่ พ อเปนรู ป ร่ า งเห็ น ได้ ถ นั ด ตา แต่ พระนอนนั้นช�ำรุดจนไม่เปนรูป รอบวิหาร มีผนังลูกกรงโปร่งมองเข้าไปข้างในได้ทั้งสี่ ด้าน แต่วัดนี้เหมือนวัดพระเชตุพนที่ศุโขทัย เกือบจะไม่มีผิดแต่เล็กกว่าและฝีมือท�ำเลว กว่า เพราะฉะนั้นจึงจะไม่กล่าวถึงให้ยืดยาว นักในทีน่ ี้ รอไว้ไปกล่าวให้ละเอียดเมือ่ เล่าถึง วัดพระเชตุพนเมืองศุโขทัยทีเดียว นอกจากวัดใหญ่ๆ ทั้ง ๔ ที่กล่าวมา แล้วนี้ ยังได้ไปดูวัดเล็กอีกแห่งหนึ่งราษฎร เรี ย กกั น ว่ า วั ด ตึ ก พราหมณ์ อยู ่ ไ ม่ ห ่ า ง อาวาศใหญ่นัก และใกล้ล�ำน�้ำเก่าที่ได้กล่าว ถึงมาแล้วนั้น ที่วัดตึกพราหมณ์นั้นมีเหลือ อยู่แต่พระเจดีย์กับวิหาร ซึ่งตั้งรวมอยู่บน ลานสูง มีบันไดขึ้นไป ๔ ฤา ๕ ขั้น ทั้งพระ เจดีย์และวิหารไม่สู้โตนัก ในพระเจดีย์นั้น ได้บรรจุตุ่มเคลือบขนาดใหญ่ ชนิดที่เรียก กันว่าตุ่มนครสวรรค์นั้นไว้สามตุ่ม ถูกต่อย ทะลวงเสียแล้วทั้งสามตุ่ม เพราะฉะนั้นไม่มี อะไรเหลืออยูใ่ นนัน้ เลย ตุม่ นัน้ เขือ่ งมาก คน ผู้ใหญ่เข้าไปนั่งในนั้นได้คนหนึ่ง วิธีบรรจุ ตุ่มนั้นตุ่ม ๑ อยู่ตรงตัวระฆังพระเจดีย์อีก ๒ ตุ่ม อยู่ในฐานองค์พระเจดีย์ที่ตรงระฆัง ก็เท่ากับตุ่มนั้นเอง คือตั้งตุ่มลงก่อนแล้วก่อ แลงทับชั้นเดียว ปากตุ่มบนกับคอระฆังตรง กันและก่อยอดซ้อนขึ้นไปบนนั้น ในตุ่มทั้ง
๓ นัน้ จะมีอะไรอยูก่ ไ็ ม่ได้ความแต่นา่ จะเปน พระพิมพ์ เพราะพระพิมพ์กำ� แพงเพ็ชร์ เช่น ชนิดทีเ่ รียกกันว่าพระก�ำแพงเขย่งนัน้ ก็ขดุ ได้ จากเจดียสถานในเมืองโบราณนี้เอง เพราะ เหตุนพี้ ระเจดียว์ ดั ตึกพราหมณ์จงึ ถูกทะลวง เสียป่น พืน้ วิหารก็ถกู ขุดเสียหลายบ่อ จนชัน้ พระประธานแลงในวิหารก็ถกู เจาะทีพ่ ระทรวง จนเปนรูน่าสังเวชจริงๆ แต่การที่ถูกท�ำลายเช่นนี้มีทั่วไปใน เมืองก�ำแพงเพ็ชร์และเมืองเก่าอื่นๆ มีคน จ�ำพวกหนึ่งซึ่งเคยหาเลี้ยงชีพในทางค้นหา ทรัพย์ต่างๆ พระวิเชียรปราการเล่าว่าคน จ�ำพวกนี้ความที่ช�ำนาญจนบอกได้ว่าพระ เจดีย์รูปอย่างไรจะมีตรุฝังที่ตรงไหนตรงไป ถึงก็ท�ำลายตรงที่ต้องการทีเดียว ไม่ต้องมัว เสียเวลาค้น วิธีท�ำลายก็ออกความคิดกัน ต่างๆ ถ้ามีกำ� ลังน้อยๆ ใช้วธิ อี าไศรยแรงต้นไม้ เปนอย่างง่าย คือเอาหวายผูกโยงยอดพระ เจดีย์ไปผูกติดกับยอดไม้ซึ่งได้ดิ่งโน้มลงมา หาแล้ว พอฟันต้นไม้ก็พาพระเจดีย์โค่นลง ไปด้วยดังนี้นับว่าอยู่ข้างจะช่างคิดดี ถ้าใช้ ความคิดเช่นนีใ้ นทีอ่ นั ควรจะน่าสรรเสริญหา น้อยไม่ พระวิเชียรปราการได้เล่าต่อไปว่าวิธี ทีก่ ล่าวมาแล้วนัน้ ได้ทราบมาจากชายผูห้ นึง่ ซึ่งแต่ก่อนเปนผู้ช�ำนาญในทางท�ำลายพระ เจดียแ์ ละโบราณสถานต่างๆ เพือ่ หาตรุ ชายผูน้ ี้ บัดนี้เปนคนพิการหนังลอกกลายเปนเผือก ไปทั้งตัว และกลายเปนคนง่อยเดินไม่ได้ ไปไหนต้ อ งถั ด นี่ ถ ้ า จะนึ ก ไปก็ ค วรจะว่ า กรรมตามทันและดูไม่น่าจะสงสารเลย ใน anuman-online.com
56
คอลัมน์พิเศษ
เวลานี้เทศาภิบาลได้จัดการตรวจตราแขง แรง คอยจับคนที่ท�ำลายเจดีย์และโบราณ สถานต่างๆ และก็จับได้หลายรายแล้ว เช่น รายที่ ท� ำ ลายพระนอนในวั ด พระนอนนั้ น เปนต้น ผู้ร้ายก็ไม่ได้ทรัพย์อะไรไปมากมาย นักได้แต่พลอยเลวๆ ไปสองฤาสามเมล็ด เท่ า นั้ น แต่ ค รั้ น เมื่ อ ฟ้ อ งศาลๆ ก็ ตั ด สิ น จ�ำคุกถึงคนละ ๓ ปี การทีล่ งโทษเสียหนักเช่น นี้ดีนัก จะได้เปนตัวอย่างแก่คนอื่นๆ ต่อไป แต่ทจี่ ะให้หมดเสียทีเดียวเห็นจะยาก เพราะ ที่ทางก็กว้างใหญ่และไกลที่บ้านเรือนคนอยู่ การที่จะรักษากวดขันนักย่อมจะเปนการ ยาก เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ต้องนับว่าเปนเมือง เคราะห์ ร ้ า ยที่ มี ชื่ อ เสี ย งเสี ย แล้ ว ว่ า มี พ ระ พิมพ์ดีๆ มีอภินิหารต่างๆกัน สาตราวุธ ฟันไม่เข้ายิงไม่ออกเปนต้น ของชนิดนี้ถ้ายัง มีคนอยากจะเปนคน “เก่ง” อยู่ตราบไร ก็ คงจะยังมีคาราอยูต่ ราบนัน้ นึกๆ ดูกน็ า่ ขันที่ เอาพระพุทธรูปผูกคอไปเพือ่ ป้องกันในการที่ คิดมิชอบต่างๆ มีปล้นสะดมฤาตีรันฟันแทง เกะกะต่างๆ เปนต้น จริงอยู่ผู้ที่นับถือพระ พิมพ์ฤาเครื่องรางต่างๆ เช่น ผ้าประเจียด แหวนพิ ร อดเปนต้ น นั้ น อาจที่ จ ะเปนคน ดี และอาจที่จะประสงค์ของนั้นๆ ไปเพื่อ ป้องกันตัวในเวลาสงครามเปนต้นก็เป็นได้ แต่สมัยนี้เมืองเราสงบราบคาบไม่มีเสี้ยน หนามสัตรูมาเบียดเบียน เพราะฉนั้นการที่ คนดีๆ จะต้องการเครื่องรางจึงน้อยนักหนา ยั ง คงมี ผู ้ ต ้ อ งการเครื่ อ งรางฤาต้ อ งการมี วิทยาอาคม กระท�ำตนให้คงแก่ฟันก็ยังมี อยูแ่ ต่ผทู้ ใี่ จพาลสันดานหยาบซึง่ ต้องการแผ่
อ�ำนาจของตนเพือ่ ความพอใจของตนเท่านัน้ และเพราะตนมีใจขลาดจึงต้องผูกเครื่องราง ฤาสักยันจนเต็มไปทัง้ เนือ้ ทัง้ ตัว เพือ่ อุดหนุน ให้ใจกล้าขึ้น ถ้าคนชนิดนี้ยังคงมีอยู่ต่อไป ตราบใดพระก�ำแพงก็คงจะต้องเปนสิง่ มีราคา อยู่ตราบนั้น และสถานที่ต่างๆ ที่เปนที่ควร รักษาไว้เปนอนุสาวรีของชาติ ก็จะยังคงต้อง ถูกขุดถูกท�ำลายลงเพราะความโลภของผูข้ ดุ พระและความหลงของคน “เก่ง” ที่ต้องการ พระนั้น เพราะเปนธรรมดาความโลภและ ความหลงทั้ง ๒ ประการนี้ อาจท�ำให้คนลืม ทั้งชาติทั้งสาสนาได้ ถ้ า แม้ จ ะเล่ า ถึ ง เมื อ งก� ำ แพงเพ็ ช ร์ ให้ละเอียดไปยิ่งกว่าที่ได้เล่ามาแล้วนี้ก็คง พอจะเล่าได้ แต่เมื่อนึกดูว่าก�ำแพงเพ็ชร์นี้ ก็มีอะไรๆ คล้ายที่ศุโขทัยและสวรรคโลก โดยมากก็รู้สึกว่าไม่จ�ำจะต้องมาเสียเวลาที่ ก�ำแพงเพ็ชร์นใี้ ห้มากนัก สูเ้ ลยไปดูทศี่ โุ ขทัย และสวรรคโลกต่อไปไม่ได้ ตัง้ แต่กำ� แพงเพ็ชร์ เมื่อปลายศก ๑๒๔ นั้นแล้ว ข้าพเจ้าได้ เคยเชื่ออยู่ว่าเปนเมืองลูกหลวงของศุโขทัย (๕) ถึงแม้พงษาวดารเหนือจะมิได้กล่าว ความปรากฏไว้เช่นนี้ก็จริง แต่ครั้นเมื่อได้ ไปดูเมืองศุโขทัยแล้วก็ยงิ่ มีความเชือ่ แน่ขนึ้ ว่า ก�ำแพงเพ็ชร์เปนเมืองลูกหลวงของศุโขทัย ทัง้ เปนเมืองด่านส�ำคัญรักษาต้นทางอันหนึง่ ด้วย สรุปความว่าถ้าผูใ้ ดไม่มเี วลาพอทีจ่ ะไป ถึงเมืองศุโขทัยฤาสวรรคโลก ถ้าได้ไปดูเมือง ก�ำแพงเพ็ชร์ ก็พอจะอวดกับเขาได้บ้างแล้ว ว่าพอเดาถูกว่าเมืองพระร่วงเปนอย่างไร
อธิบายความเพิ่มเติมในตอนที่ ๒ (๑) เรื่องเมืองก�ำแพงเพ็ชร์เก่าใหม่ตรวจในสมัยต่อมาได้ความ ดังนี้ ทีเ่ รียกว่าเมือง “นครปุ” นัน้ ทีถ่ กู คือเมือง “นครชุม” เพราะ ในจารึกเขียน “นครชุม” ดังนี้ เมือ่ อ่านกันชัน้ แรกเข้าใจว่าชือ่ นครปุ ต่อภายหลังจึงพิจารณาเห็นว่า ชุม เมืองนีเ้ ป็นเมืองเดิม ทีเ่ รียกใน หนังสือพระราชพงศาวดารว่าเมืองชากังราว ตัง้ อยูฝ่ ง่ั ตะวันตกใต้ ปากคลองสวนหมาก เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ที่ริมน�้ำทางฝั่งตะวันออก เป็นเมืองสร้างทีหลัง หลังเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ออกไปทางตะวันออก ที่มีวัดสร้างไว้มากนั้น เป็นที่อรัญญิกมิใช่เมือง (๒) เรื่องวัดข้างในเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ ภายหลังมาได้ถางตรวจดู ทั้งหมดเห็นแปลกประหลาดกว่าที่อื่น คือมีที่เป็นบริเวณวัดอยู่ ๒ บริเวณ แต่ในบริเวณเดียวกันสร้างวัดเป็นหลายวัด ต่างมีโบสถ์วิหารและพระสถูปเจดีย์ อยู่ติดๆ กันไป ไม่เห็นมีที่ไหนเหมือน ตรวจค้นหาเหตุที่สร้างวัดอย่างนี้อยู่ช้านาน จึงคิดเห็น ว่าวัดทีส่ ร้างในสมัยครัง้ สุโขทัยและตอนต้นสมัยอยุธยาโดยมากสร้างเป็นอย่างอนุสาวรีย์ ไม่มี พระสงฆ์อยู่เหมือนอย่างวัดในสมัยชั้นหลัง ที่สร้างโบสถ์หลายโบสถ์ไว้ในบริเวณเดียวกัน เห็นจะเป็นแต่ให้พระสงฆ์บวชนาคได้ในวัดซึ่งสร้างเป็นอนุสาวรีย์นั้น อนึ่งสังเกตดูวัดที่สร้าง ในเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ สันนิษฐานว่าจะเป็นของสร้างชั้นหลังด้วยฝีมือเลวกว่าวัดซึ่งสร้างไว้ใน อรัญญิกข้างหลังเมืองออกไป (๓) พระมหาธาตุที่ในศิลาจารึกว่า พญาฤไทยราชสร้างนั้น ภายหลังสอบได้ความแน่ว่าอยู่ ที่เมืองนครชุมฝั่งตะวันตกที่ปากคลองสวนหมาก เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่แต่เศรษฐีกะเหรี่ยงคนหนึ่ง ปฏิสังขรณ์แปลงรูปไปเป็นพระเจดีย์พม่าเสีย (๔) สอบศิลาจารึกได้ความว่า ญาฤไทยราชที่เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัยกับ ที่สร้างพระมหาธาตุที่เมืองนครชุมเมื่อเสวยราชย์แล้วเป็นองค์เดียวกัน (๕) ชื่อเมืองก�ำแพงเพ็ชร์นี้ สังเกตดูชอบกล ในบรรดาศิลาจารึกครั้งสุโขทัยมิได้กล่าวถึงเลย มีออกชื่ออยู่ในศิลาจารึกแผ่น ๑ ก็เรียกว่าเมืองนครชุม คือเมืองที่อยู่ฝั่งตะวันตก แต่หนังสือ โบราณทางเชียงใหม่ก็ดี ทางกรุงศรีอยุธยาเช่นในกฎหมายลักษณะลักพา ซึ่งตั้งแต่ในรัชกาล พระเจ้าอู่ทองก็ดี เรียกว่าเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ทั้งนั้น แต่เป็นเมืองลูกหลวงดังทรงพระราชด�ำริ เป็นแน่ มีเมืองเช่นเดียวกันทั้ง ๔ ทิศเมืองสุโขทัย คือเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) อยู่ ทิศเหนือ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อยู่ทิศตะวันออก เมืองสระหลวง (พิจิตร) อยู่ทิศใต้ เมืองก�ำแพงเพ็ชร์อยู่ทิศตะวันตก
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
59 ฉันขอกล่าวต่อท่านทั้งปวงว่า จะพยายามบ�ำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่บ้านเมือง ด้วยความจงรักภักดีต่อบ้านเกิด และต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระประมุขของชาติ ทั้งจะได้รักษาเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นราชนารี ในมหาจักรีบรมราชวงศ์ไว้จนชั่วชีวิต *
ปฐมบทขัตติยนารี กว่า ๑๐๐ ปีทลี่ ว่ งมาแล้ว ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ บ้านเมืองสยามในยุคนั้น ก�ำลังเผชิญกับกระแสความเปลีย่ นแปลงทัง้ จากภายในและภายนอกประเทศ ความสงบสุขมัน่ คงภายในราชอาณาจักร จึงเป็นสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นพระราชหฤทัยของ พระประมุขอยู่ตลอดเวลา ทรงอาศัยพระราชอัจฉริยภาพหลายประการที่ เป็นพระคุณสมบัติประจ�ำพระองค์ในการด�ำเนินพระบรมราโชบาย ทั้งด้าน การเมืองการปกครอง ด้านการทหาร ด้านอักษรศาสตร์ และด้านศิลป วัฒนธรรม น�ำพาสยามประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมชาติอารยะ ทรงเป็น จอมปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ กระทั่งในกาลต่อมา ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” * พระด�ำรัสของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชทานในงานฉลองพระชนมายุ ๖๑ พรรษา ณ วชิราวุธวิทยาลัย, พฤศจิกายน ๒๕๒๙
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง อย่างไรก็ตาม จวบจนปลายรัชสมัย ยังคงมีพระปริวิตกประการหนึ่ง นั่นคือยัง ไม่มีพระราชโอรสเป็นพระรัชทายาทที่จะ สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ เมื่อความ มั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตราบจน พ.ศ. ๒๔๖๗ เจ้าจอม สุวัทนา (นามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์) พระสนมเอกได้ตงั้ ครรภ์และเป็นทีค่ าดหมาย ได้ว่าจะมีพระประสูติกาล จึงทรงสถาปนา เจ้าจอมขึ้นเป็น “พระนางเจ้าสุวัทนา พระ วรราชเทวี” เพื่อผดุงพระอิสริยยศพระราช กุมารที่จะประสูตินั้น ให้ทรงเป็น “สมเด็จ เจ้าฟ้า” นับแต่แรกประสูติ เพราะหากพระชนนี เป็นเพียงเจ้าจอมสามัญชน พระราชกุมาร ที่ประสูตินั้นจะทรงเป็นเพียง “พระองค์เจ้า” เดือนตุลาคม ๒๔๖๘ พระนางเจ้า สุวัทนา พระวรราชเทวีมีพระครรภ์แก่ใกล้ ประสูติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวยิ่งทรงพระโสมนัส โปรดเกล้าฯ ให้พระนางเจ้าสุวัทนาฯ เสด็จไปประทับ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหา มณเฑียร พระบรมมหาราชวัง เพือ่ “สมเด็จ เจ้ า ฟ้ า ” พระองค์ แ รก จะได้ ป ระสู ติ ใ น พระมหามณเฑียร ตามโบราณราชประเพณี อีกทั้งยังเสด็จพระราชด�ำเนินเข้าไป ประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานติด กั บ พระที่ นั่ ง เทพสถานพิ ล าสทรงรอฟั ง ข่าวพระประสูติกาลอย่างจดจ่อ แต่แล้ว เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อพระบาท
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
สมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรง พระประชวรหนักอย่างกะทันหัน ด้วยโรค พระอันตะ (ล�ำไส้) มีพระอาการรุนแรง ท วี ม า ก ขึ้ น ทุ ก ข ณ ะ นั บ แ ต ่ วั น ที่ ๑ ๑ พฤศจิกายน อันเป็นวันฉัตรมงคลในรัชกาล ของพระองค์เป็นต้นมา
61 มหาธีรราชสุดา
พระประสูติกาล
เวลา ๑๒ นาฬิกา ๕๕ นาที ของวันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระนางเจ้า สุวทั นา พระวรราชเทวีกม็ พี ระประสูตกิ าล “เจ้าฟ้าหญิง” เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ แรกและพระองค์เดียวในรัชกาลที่ ๖ …เวลานั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนักมากแล้ว เมื่อทรงทราบข่าวพระประสูติกาลว่าเป็นเจ้าฟ้าหญิง มิใช่ เจ้าฟ้าชายซึง่ ทรงตัง้ พระราชหฤทัยว่าจะได้เป็นพระรัชทายาทสืบสนองพระองค์ ก็มพี ระราช กระแสเบาๆ ว่า “ก็ดีเหมือนกัน” anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง วั น รุ ่ ง ขึ้ น เจ้ า ฟ้ า หญิ ง พระองค์ น ้ อ ย พระชนมายุเพียง ๑ วัน มีโอกาสได้เฝ้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึง่ ทรงพระประชวร หนั ก บนพระแท่ น ไม่ ส ามารถมี พ ระราช ด�ำรัสใดๆ ได้เสียแล้ว คงได้แต่ทอดพระเนตร และสั ม ผั ส พระราชธิ ด าเป็ น ครั้ ง แรก และครั้ ง สุ ด ท้ า ย ในคื น นั้ น เองพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จ สวรรคตเมื่อพ้นเที่ยงคืนย่างสู่วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ได้ราวหนึ่งชั่วโมง
ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พั น ปี ห ลวง ผู ้ ท รงเป็ น “ย่า” ของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ) ทรงเอาพระราชหฤทั ย ใส่ ดู แ ลทั้ ง ด้ า น พระอนามัย ด้านการศึกษา และการด�ำรง พระชนมชีพของเจ้าฟ้าหญิงพระองค์น้อย อย่างใกล้ชิด เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ประชวร ก็ ทรงรับไปดูแลด้วยพระองค์เอง โปรดเกล้าฯ ให้ประทับ ณ พระต�ำหนักสวนหงษ์ อันเป็น ที่ประทับเดิมส่วนพระองค์ หรือเมื่อมีงาน รืน่ เริงพิเศษก็โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปประทับ ณ วังสระปทุม เพื่อทรงพระส�ำราญร่วมกับ พระนาม พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ก เ ก ล ้ า กับเจ้านายในราชสกุลมหิดล เจ้ า อยู ่ หั ว พระราชอนุ ช าในรั ช กาลที่ ๖ เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสนองพระองค์เป็น พระมหากษัตริยร์ ชั กาลที่ ๗ และได้พระราชทาน พระนามสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาล ที่ ๖ ว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี” ซึ่งหมายความว่าลูกสาว ผู้เป็นดั่งดวงแก้วของพระมหากษัตริย์ มี พระก�ำเนิดเป็นศรีอันงามพร้อม
เจริญพระวัยใต้พระบารมี
พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ก เ ก ล ้ า เจ้าอยู่หัว พระประมุขแห่งพระบรมราชวงศ์ กับทั้งสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (ทรงเป็น “ย่า” ในรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลปัจจุบัน และทรง เป็น “ย่าใหญ่” คือพระเชษฐภคินีหรือพี่สาว
63
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
เวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง
สวนรื่นฤดี
ระหว่างความวุ่นวายทางการเมือง เมื่ อ เหตุ ก ารณ์ เ ปลี่ ย นแปลงการปกครอง ใน พ.ศ.๒๔๗๕ และเหตุ ก ารณ์ ก บฏ บวรเดช สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ และพระชนนี ต ้ อ งทรงย้ า ยที่ ป ระทั บ เพื่ อ ความปลอดภัยหลายแห่ง จนเหตุการณ์ได้ ผันผ่านไป พระนางเจ้าสุวัทนาฯ จึงโปรดให้ สร้างต�ำหนักที่ประทับเป็นที่ส่วนพระองค์ ของพระธิดา ณ ทีด่ นิ บนถนนราชสีมาตัดกับ ถนนสุโขทัย ทรงขนานนามที่ประทับแห่งนี ้ ว่า “สวนรื่นฤดี”
การทรงพระอักษรเบื้องต้น
สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นราชสุ ด าฯ ทรงพระอักษรเบือ้ งต้น ณ โรงเรียนราชินี แล้ว จึงทรงพระอักษรตามหลักสูตรของกระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารกั บ พระอาจารย์ จ ากโรงเรี ย น วั ฒ นาวิ ท ยาลั ย ซึ่ ง มาถวายพระอั ก ษร ณ สวนรื่นฤดี พร้อมกับทรงเริ่มเรียนเปียโน กับพระอาจารย์ชาวต่างประเทศ
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
ในเดือนมีนาคม ๒๔๗๗ พระบาท สมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงสละ
65 ราชสมบั ติ พระบาทสมเด็ จ พระปรเมน ทรมหาอานั น ทมหิ ด ล เสวยราชย์ เ ป็ น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ คณะผู้ส�ำเร็จ ราชการแทนพระองค์จึงได้มีประกาศเปลี่ยน ค�ำน�ำพระนามสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้ทรงเป็น “ลูกพี่ลูกน้อง” กั บ สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เป็ น สมเด็ จ พระเจ้าภคินเี ธอ เนือ่ งจากทรงอ่อนพระชนมายุ กว่ า สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๘ ประมาณ ๔ เดื อ น ทั้ ง นี้ ค� ำ ว่ า “ภคิ นี ” แปลว่า “น้องหญิง” หรือ “พีห่ ญิง” ก็ได้ทงั้ สอง ความหมาย ดั ง นั้ น เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันเถลิงถวัลย ราชสมบั ติ ก็ ยั ง คงค� ำ น� ำ พระนามเดิ ม ไว้ ดังเช่นในรัชกาลที่ ๘ ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอฯ มีพระชนมายุสูงกว่าพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราว ๒ ปี
ของเจ้ า ฟ้ า หญิ ง ในช่ ว งสมั ย ที่ บ ้ า นเมื อ ง ก�ำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงทางการเมือง การปกครองด้วย ครัน้ พ.ศ. ๒๔๘๐ พระนางเจ้าสุวทั นาฯ จึ ง ทรงพาพระธิ ด าขณะพระชนมายุ ๑๒ พรรษา เสด็จจากประเทศไทยไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งขณะนั้นพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังทรงสละราช สมบัติ ได้ประทับอยู่แล้วพร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินี
นิราศประเทศไทย
สมเด็ จ พระพั น วั ส สาอั ย ยิ ก าเจ้ า และพระนางเจ้ า สุ วั ท นาฯ ทรงสั ง เกตว่ า พระอนามัยของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ มี ลักษณะพิเศษ เช่น ทรงมีความสามารถด้าน การค�ำนวณ การจดจ�ำทิศทาง และความ สนพระทัยจดจ่อต่อสิ่งต่างๆ รอบพระองค์ ที่ผิดแผกจากเด็กสามัญทั่วไป ทรงเห็นพ้อง ต้องกันให้น�ำเสด็จสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ไปทรงศึกษาต่อและประทับรักษาพระองค์ ยังต่างประเทศ ทัง้ นีย้ งั เป็นไปเพือ่ สวัสดิภาพ anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
เจ้าฟ้าหญิงแห่งกรุงสยาม
เกียรติศักดิ์ราชนารี
ณ ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ และพระชนนีประทับ ณ ต�ำหนัก แฟร์ฮิลล์ เมืองแคมเบอร์เลย์ มณฑลเซอร์เรย์เป็นแห่งแรก ต�ำหนักมีขนาดและการจัด ตกแต่งที่งดงามสมพระเกียรติ ทรงวางพระองค์อย่างประหยัด เรียบง่ายแต่เหมาะสม สง่างาม เพือ่ มิให้ชาวต่างชาติตำ� หนิครหาพระราชวงศ์ไทยได้ บรรดาผูป้ ฏิบตั งิ านในต�ำหนัก ล้วนเป็นสตรีทงั้ สิน้ ทรงตัง้ พระทัยมัน่ ในการรักษาพระเกียรติศกั ดิแ์ ห่งความเป็นราชนารี ไม่ ให้ด่างพร้อยหรือเปิดช่องให้ผู้ใดติฉินนินทา แม้ประทับห่างไกลขนบธรรมเนียมในพระบรม มหาราชวังทางเมืองไทย แต่ก็ทรงรักษาจารีตอย่างเจ้านายฝ่ายในแห่งกรุงสยามไว้อย่าง เหมาะสมกาลเทศะ
แม้ในยามล�ำบาก
ต่อมาได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น ทรงประสบปัญหาอย่างยิ่งโดยเฉพาะ ด้ า นการเงิ น ต้ อ งทรงรั บ ปั น ส่ ว นอาหาร เช่นพลเมืองอังกฤษทั่วไป ต้องทรงอพยพ ลี้ภัยไปประทับ ณ แคว้นเวลส์ ต้องทรง ท�ำงานบ้านเองอย่างสามัญชน แต่แม้ใน ความยากล�ำบากเช่นนั้น สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอฯ พร้อมด้วยพระชนนี ยังมีพระ เมตตากรุ ณ าได้ เ สด็ จ ไปทรงช่ ว ยกิ จ การ สภากาชาดอังกฤษ ทรงถักเครื่องกันหนาว และม้วนผ้าพันแผลส�ำหรับผู้ปฏิบัติงานใน แนวรบ สภากาชาดอั ง กฤษจึ ง ทู ล เกล้ า ฯ ถวายเกียรติบัตรสรรเสริญน�้ำพระทัยของ
67 ราชนารีแห่งกรุงสยามทั้งสองพระองค์ ที่ เปี่ยมด้วยมนุษยธรรม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา แม้ในยาม ที่ ท รงประสบความยากล� ำ บากโดยส่ ว น พระองค์เองอยู่แล้วเป็นทุนเดิมก็ตาม
ที่พึ่งของชาวไทยในต่างแดน
เมื่อสงครามยุติ ทรงย้ายไปประทับ ณ ต�ำหนักในเมืองไบรตัน สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอฯ ทรงเป็นศูนย์รวมน�้ำใจชาวไทย ในประเทศอังกฤษและประเทศใกล้เคียง ได้ เสด็จไปทรงร่วมงานของ สามัคคีสมาคม ใน พระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสมาคมชาวไทย ในอังกฤษอยู่เสมอ ทั้งยังมีชาวไทยมาขอ
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
นิวัตประเทศไทย-วังรื่นฤดี
เมือ่ พระอนามัยดีขนึ้ และสภาวการณ์ บ้านเมืองไทยเป็นปกติสขุ กอปรกับพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลปั จ จุ บั น เสด็จฯ นิวตั ประเทศไทยแล้ว สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอฯ และพระชนนี จึงเสด็จกลับมา ประทับ ณ ประเทศไทยเป็นการถาวร เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ ทรงซือ้ ทีด่ นิ ในซอยสุขมุ วิท ๓๘ และโปรดให้สร้างวังเป็นที่ประทับแทนสวน รื่นฤดี ถนนราชสีมา ซึ่งทรงขายแก่รัฐบาล ไปในช่วงภาวะสงคราม พระราชทานนาม วังแห่งใหม่ว่า วังรื่นฤดี และเป็นจุดเริ่มต้น ของการทรงงานเพื่อประชาชนอย่างจริงจัง ตลอดพระชนมชีพ
พึ่งพระบารมีในโอกาสต่างๆ ถึงยังต�ำหนัก ที่ประทับ ทรงพระกรุณาช่วยเหลือทุกเรื่อง เช่น นักเรียนไทยบางคนประสบปัญหาทาง สุขภาพ ก็โปรดให้แพทย์ประจ�ำ พระองค์ ช่วยดูแล บางรายคิดถึงอาหารไทยก็โปรด พระราชทานเลี้ยงอาหารให้อิ่มหน�ำส�ำราญ เป็นที่พึ่งของคนไทยในต่างแดนตลอดเวลา กว่า ๒ ทศวรรษที่ประทับ ณ ประเทศ อังกฤษ
69 งามพระจริยา
เจ้าฟ้าผู้ทรงธรรม
พระธรรมค�ำสัง่ สอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครือ่ งหล่อเลีย้ งพระหฤทัย อยูต่ ลอดพระชนมชีพ โปรดเสด็จไปทรงบ�ำเพ็ญพระกุศลตามวัดต่างๆ ทัง้ ใกล้ไกลทัว่ ประเทศ เสด็จไปทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างน้อยปีละ ๓ วัดทุกปี ทรงบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และทรงสวดมนต์ทกุ วัน โปรดสดับพระพุทธมนต์ สดับพระธรรมเทศนา ทรงอ่าน หนังสือธรรมะและทรงศึกษาธรรมะ ได้เคยเสด็จไปทรงศึกษาธรรมะกับสมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร นานนับปี และ ทรงศึกษาพระอภิธรรมอย่างจริงจัง anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
ทรงแจ่ ม แจ้ ง ในหลั ก ธรรมอย่ า ง ลึก ซึ้ง และมี พระโอวาทสั่งสอนเตือนสติ ข้าราชบริพารอยู่เสมอ เช่นครั้งหนึ่งเคย รั บ สั่ ง สอนธรรมะด้ ว ยอุ ป มาโวหาร กั บ ข้าราชบริพารซึง่ เป็นคนโมโหง่าย ว่า “โทสะ นัน้ เหมือนไฟ เช่นตะเกียงทีจ่ ดุ ไฟ ถ้ารุนแรง ขึ้ น เมื่ อ ใดก็ ใ ห้ ร ะงั บ เสี ย เหมื อ นเราดั บ ตะเกียง คือค่อยๆ หรี่ตะเกียงลง แล้วโทสะ ก็จะดับหายไปเอง”
ความเป็นไทย
แม้ประทับในต่างประเทศนานกว่า ๒๐ ปี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงนิยม และภาคภูมพิ ระทัยในความเป็นไทยอย่างยิง่ โปรดฉลองพระองค์ ผ ้ า ไหมและผ้ า ฝ้ า ย ของไทย ฉลองพระบาท กระเป๋ า ทรง ถือ เครื่องพระส�ำอางล้วนโปรดที่ผลิตใน ประเทศไทย ทั้งยังโปรดน�้ำอบไทยอย่าง มาก ทรงใช้นับแต่ทรงพระเยาว์จนตลอด พระชนมชีพ
การใช้ภาษาไทย ทรงเคร่งครัดเป็น พิเศษ ทรงเขียนและมีรับสั่งด้วยภาษาไทย ที่ถูกต้องชัดเจนตามแบบแผน จะมีรับสั่ง ภาษาอั ง กฤษหรื อ ภาษาฝรั่ ง เศสกั บ ชาว ต่างประเทศเท่านัน้ ไม่โปรดให้ผใู้ ดกราบทูล ภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศ โปรดให้ ใช้ค�ำไทย เช่น ล็อคประตู ให้กราบทูลว่า ลงกลอนประตู, ทีวี ให้กราบทูลว่า โทรทัศน์, เน็ตคลุมผม ให้กราบทูลว่า ร่างแห่คลุมผม เป็นต้น
ความเรียบง่าย
แม้ มี พ ระก� ำ เนิ ด เป็ น เจ้ า ฟ้ า มี พระเกียรติยศสูงส่ง มีขา้ ในพระองค์แวดล้อม ถวายงาน แต่กลับไม่โปรดให้รบกวนผู้ใด จนเกิ น ไปให้ ต ้ อ งล� ำ บาก จะทรงหยิ บ จั บ ใช้สอยสิ่งใด โปรดทรงท�ำเองทุกอย่าง เวลา เสด็ จ ออกไปยั ง ที่ ใ ดก็ ไ ม่ โ ปรดให้ กี ด กั น ประชาชนให้ไกลห่างไปจากพระองค์ จะ เสด็ จ ไปทอดพระเนตรสิ่ ง ใด หรื อ สถาน ที่ ใ ด ก็ ไ ม่ โ ปรดให้ ต ระเตรียมการให้เ กิน ปรกติ ส่วนใหญ่จึงโปรดเสด็จไปทรงปฏิบัติ พระกรณียกิจอย่างเงียบๆ ในลักษณะ “ปิด ทองหลังพระ” ไม่ต้องมีการป่าวประกาศ ประชาสัมพันธ์ท�ำข่าว หรือกะเกณฑ์ใดๆ ให้ยุ่งยาก ทรงวางพระองค์อย่างเป็นปรกติ รับสั่งทักทายผู้คนด้วยรอยแย้มพระสรวล สดใสเสมอ มีพระจริยวัตรที่เรียบง่ายและ สามัญธรรมดา
ความมัธยัสถ์
71
ทรงใช้ จ ่ า ยอย่ า งประหยั ด มั ธ ยั ส ถ์ การใช้จ่ายเงินส่วนพระองค์จะทรงลงบันทึก รายการอย่างชัดเจนถี่ถ้วน ทรงประหยัด ไฟฟ้า ไม่โปรดให้ผู้ใดเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ถวายไว้ล่วงหน้า จะเสด็จเข้าออกห้องใด โปรดทรงเปิดปิดเครื่องไฟฟ้าในห้องนั้นๆ เอง เมือ่ ฉลองพระองค์ชำ� รุด ก็ทรงซ่อมด้วย ฝีพระหัตถ์ เพราะโปรดงานเย็บปักถักร้อย อยู่แล้วเป็นทุนเดิม เครื่องใช้ส่วนพระองค์ ก็โปรดให้มีเท่าที่จ�ำเป็น เมื่อทรงมีสิ่งของ ใดมากเกินกว่าจะทรงใช้สอย เช่น ฉลอง พระองค์ ฉลองพระบาท กระเป๋าทรงถือ ฯลฯ ก็ไม่ทรงเก็บไว้จนเกินจ�ำเป็น แต่จะโปรด พระราชทานไปยังสภากาชาดไทย เพื่อน�ำ ออกจ�ำหน่ายหารายได้เพื่อสาธารณกุศลใน งานกาชาดเป็นประจ�ำทุกปี
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
ผลพระกรณียกิจ
ก�ำลังส�ำคัญแห่งพระราชวงศ์
สมัยที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ เสด็จนิวัตประเทศไทยเมื่อ ๕๐ ปีก่อน สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลปัจจุบนั ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะทรง แบ่งเบาพระราชภารกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ได้อย่างเต็มที่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ จึงทรงมุ่งมั่นบ�ำเพ็ญพระกรณียกิจเพื่อ แบ่งเบาพระราชภาระนั้นด้วยพระอุตสาหวิริยะ ทั้งในการเสด็จแทนพระองค์ไปในพระราช พิธี รัฐพิธี และพิธีต่างๆ ตลอดจนทรงริเริ่มเปิดวังรื่นฤดี เป็นสถานที่จัดงานการกุศลเพื่อ หารายได้สมทบทุนองค์กรสาธารณกุศล เช่น การจัดงานเดินแฟชั่น งานราตรีสโมสร และ
73 งานรืน่ เริงต่างๆ หารายได้เพือ่ การกุศล เป็น ครั้งแรกๆ ในประเทศไทย โดยมีสมเด็จ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนิน มาทรงเป็นประธาน ทั้ ง ยั ง ทรงงานร่ ว มกั บ พระบรม วงศานุวงศ์ทกุ พระองค์ เช่น ทรงสร้าง “โรงเรียน เพชรรัตนราชสุดา” เป็นโรงเรียนต�ำรวจ ตระเวนชายแดน ณ จังหวัดสระแก้ว ตาม พระราโชบายของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทรงบริจาคทรัพย์สว่ นพระองค์ จ�ำนวนมากเพื่อสมทบทุนมูลนิธิต่างๆ เช่น มู ล นิ ธิ ร าชประชานุ เ คราะห์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์, มูลนิธิชัยพัฒนา, มูลนิธิอาสา เพือ่ นพึง่ (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ฯลฯ อยู ่ เ ป็ น นิ ต ย์ เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ บ� ำ บั ด ทุ ก ข์ บ�ำรุงสุขแก่ประชาราษฎร
ปั จ จุ บั น ทรงพระเจริ ญ แล้ ว จึ ง เสด็ จ ออก ต่างจังหวัดน้ อยลง แต่ ก็ยัง พระราชทาน ทุนทรัพย์และความช่วยเหลือประการต่างๆ เพื่อยังประโยชน์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง จนตลอดพระชนมชีพ
สืบสานพระราชปณิธานจาก พระบุพการี
แนวพระด�ำริทที่ รงยึดถือเป็นหลักใน การทรงงานคือการปฏิบตั พิ ระกรณียกิจด้วย ความกตัญญูกตเวทีตอ่ พระบุพการี ด้วยเหตุ นีจ้ งึ ทรงมุง่ มัน่ สืบสานพระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเยี่ยมราษฏร
สมเด็ จ พระเจ้ า ภคิ นี เ ธอฯ โปรด ได้เสด็จไปทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในทุก ภู มิ ภ าค และทรงพระส� ำ ราญยิ่ ง เมื่ อ ได้ ประทั บ ท่ า มกลางประชาชน ในสมั ย นั้ น การคมนาคมยังล�ำบาก ต้องเสด็จโดยรถไฟ บ้าง รถยนต์ไปตามหนทางขรุขระทุรกันดาร บ้าง ทางเรือบ้าง ทรงน�ำสิ่งของจ�ำเป็นไป พระราชทานแก่ผู้มาเฝ้าอย่างทั่วถึง ด้วย น�้ ำ พระทั ย ห่ ว งใยทุ ก ข์ สุ ข ของประชาชน ตราบจนพระชนมายุสูงขึ้น พระอนามัยไม่สู้ อ�ำนวย และพระราชโอรสธิดาในรัชกาล anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง อย่างจริงจัง ทรงรับกิจการลูกเสือ-เนตรนารี แ ล ะ อ า ส า ส มั ค ร รั ก ษ า ดิ น แ ด น ไ ว ้ ใ น พระอุปถัมภ์ ทรงสนับสนุนหน่วยทหารที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานก�ำเนิดไว้ ทรงอุปการะกิจการ ของสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ ใน รัชกาลที่ ๖ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วชิราวุธวิทยาลัย, โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย, โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วทิ ยาลัย, โรงเรียน มหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ฯลฯ รวมถึง การบูรณะซ่อมแซมพระราชฐานในรัชกาล ที่ ๖ เช่น พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัด นครปฐม, พระราชนิ เ วศน์ ม ฤคทายวั น จังหวัดเพชรบุรี และพระราชวังพญาไท ใน
บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาค้นคว้าทาง ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละศิ ล ปวั ฒ นธรรมของ ชาติ ทั้งยังทรงก่อตั้งหอวชิราวุธานุสรณ์ และมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในพระบรม ราชูปถัมภ์ เพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของ สมเด็จพระบรมชนกนาถ แม้ในส่วนของ สมเด็จพระอัยยิกาก็มิได้ทรงทอดทิ้ง ทรง อุปการะสถาบันที่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนีพนั ปีหลวง ทรงก่อตั้งไว้เป็นจ�ำนวนมาก เช่น โรงเรียน ราชิ นี , โรงเรี ย นวิ เ ชี ย รมาตุ , วิ ท ยาลั ย อาชีวศึกษาเสาวภา, สภากาชาดไทย เป็นต้น
75 ชีวิตชีวาแห่งศาสตร์และศิลป์
ด้านการดนตรี
นับแต่ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงศึกษาเปียโน อย่างจริงจังกับพระอาจารย์ชาวอังกฤษ สืบต่อจากพื้นฐานที่ทรงศึกษาเบื้องต้นในเมืองไทย พระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีจึงฉายแววขึ้นอย่างเด่นชัด ทรงสามารถจดจ�ำโน้ตเพลงและ บรรเลงได้อย่างคล่องแคล่ว แม้ทอดพระเนตรแผ่นโน้ตเพียงครัง้ เดียว ในลักษณะคล้ายการ ต่อเพลงแบบดนตรีไทย คือใช้วิธีจ�ำโน้ตเพลงโดยไม่ต้องทอดพระเนตรโน้ตอีกเลย ต่อมา ได้ทรงพัฒนาจนสามารถบรรเลงเปียโนได้แม้ไม่มีแผ่นโน้ตก็ทรงฟังเพลงที่โปรด แล้วทรง บรรเลงได้ทันที นอกจากนี้ ยังโปรดการขับร้องควบคูไ่ ปกับการทรงเปียโน ทรงสามารถร้องเพลงไทย และเพลงสากล ด้วยกระแสพระสุรเสียงไพเราะและถูกต้อง โปรดทรงฟังดนตรีทุกประเภท ทั้งไทยเดิม สากล คลาสสิก ป๊อบ แจ๊ส ทรงสามารถใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียงและเทป ตัดต่อ anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง เพลงผสานกั บ เนื้ อ ร้ อ งได้ อ ย่ า งกลมกลื น เพลงที่ โ ปรดส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เพลงจากบท พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖, เพลงพระราช นิพนธ์ในรัชกาลปัจจุบนั และวงสุนทราภรณ์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังทรงสนับสนุนและ พระราชทานก�ำลังใจแก่นักร้อง นักดนตรี และนักแสดงต่างๆ อยู่เสมอ เมื่อทรงมี โอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ก็ มักมีรับสั่งสนทนากันเรื่องเพลงและดนตรี เป็นที่ทรงพระส�ำราญ เนื่องด้วยเป็นความ สนพระทัยร่วมกันของทั้งสองพระองค์ ในทางดนตรี ไ ทย โดยเฉพาะ การขั บ ร้ อ งก็ ท รงทราบอย่ า งถ่ อ งแท้ นักดนตรีไทยของกรมศิลปากร และกรม ประชาสัมพันธ์ ที่เคยได้เฝ้าบรรเลงและ ขับร้องถวาย ทราบกันดีกว่าหากขับร้อง ไม่ถูกต้อง ก็จะมีพระวิจารณ์อย่างสุภาพ แล้วทรงสอนแนวทางการขับร้องและบรรเลง บางครั้งก็ทรงขับร้องพระราชทานให้ฟังเป็น ตัวอย่าง ด้วยเหตุมาจากที่ทรงได้รับการ อบรมจากพระนางเจ้าสุวัทนาฯ พระชนนี ซึ่งทรงเคยรับราชการเป็นต้นเสียงในกรม มหรสพในสมัยรัชกาลที่ ๖
อย่างแม่นย�ำ มักมีรบั สัง่ ถามวันเดือนปีเกิด ของผู้มาเฝ้าว่าเกิด วันที่ เดือน และปีอะไร เมือ่ กราบทูลสนองรับสัง่ แล้ว จะทรงค�ำนวณ ในพระทัยได้ทันทีว่าบุคคลนั้นเกิดตรงกับ วันอะไร อีกทัง้ ทรงมีความจ�ำแม่นย�ำยิง่ ทรง จ�ำวันเกิดและวันที่มาเฝ้าของบุคคลต่างๆ ได้เป็นจ�ำนวนมาก เป็นเหตุให้ผู้มาเฝ้าต่าง ซาบซึ้งในพระอัธยาศัยอันงดงามว่าไม่ทรง เคยลื ม ทรงจดจ� ำ ได้ แ ม้ ก ระทั่ ง สิ่ ง ของที่ บุคคลนั้นเคยน�ำมาทูลเกล้าฯ ถวาย และ มักมีรับสั่งทรงขอบใจ หรือรับสั่งย้อนระลึก ถึงสิ่งของนั้นๆ ด้วยความชื่นชมท�ำให้ผู้มา เฝ้ารู้สึกปีติยินดี
ภูมิศาสตร์
ทรงพระปรี ช าสามารถในด้ า น ภู มิ ศ าสตร์ ทรงสามารถสั ง เกตความ เปลี่ยนแปลงของแสงเงา กระแสลม ทิศทาง และสภาพแวดล้อมรอบพระองค์ได้อย่าง รวดเร็ว ทรงสามารถค�ำนวณเวลาน�้ำขึ้นลง และเวลาดวงจันทร์ขนึ้ และลงได้อย่างช�ำนาญ จากการศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง ทรง เป็ น แบบอย่ า งอั น ดี แ ก่ ผู ้ ข วนขวายศึ ก ษา เรียนรู้ และรู้จักฝึกฝนให้เกิดทักษะความ ช� ำ นาญในศาสตร์ แ ละศิ ล ป์ ที่ น ่ า สนใจอยู ่ ตลอดเวลา สมกับที่เป็นสายพระโลหิตแห่ง การค�ำนวน ความทรงจ�ำ สมเด็ จ พระเจ้ า ภคิ นี เ ธอฯ ยั ง สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ผู้ทรงเป็นจอม มี พ ระอั จ ฉริ ย ภาพอย่ า งน่ า อั ศ จรรย์ ด ้ า น ปราชญ์โดยแท้ การค� ำ นวณปฏิ ทิ น ร้ อ ยปี ไ ด้ ใ นพระทั ย
77 ดวงแก้วกลับสู่ฟ้าสุราลัย
พระชนมชีพในปัจฉิมกาล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อม ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทกุ พระองค์ ทรงยกย่องนับถือสมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอฯ ในพระฐานะ พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่มาโดยตลอด พร้อมทั้งพระราชทานพระมหากรุณาเป็นอเนกประการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดเกือบทุกตระกูล พระราชทานพระยศทหารในที่ “พลเอกหญิง” “พลเรือเอกหญิง” และ “พลอากาศเอก หญิง” ในด้านการอภิบาลพระอนามัยก็ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ โปรดเกล้าฯ ให้มีแพทย์ และพยาบาลเฝ้าดูแลถวายอย่างใกล้ชดิ มีองคมนตรีผลัดเปลีย่ นกันเชิญของพระราชทานมา ทูลเกล้าฯ ถวายทุกสองสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพระชนมายุสูงขึ้นย่างสู่ราว ๘๐ พรรษา anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง พระอนามั ย ก็ เ ริ่ ม อ่ อ นแอลงด้ ว ยพระโรค หลอดเลื อ ดสมอง ท� ำ ให้ เ สด็ จ ออกทรง ปฏิ บั ติ พ ระกรณี ย กิ จ นอกสถานที่ น ้ อ ยลง แต่ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดให้ผู้แทนองค์กร ในพระอุ ป ถั ม ภ์ แ ละที่ ท รงอุ ป การะมาเฝ้ า กราบทูลรายงานความก้าวหน้า พร้อมรับ พระราชทานทุนทรัพย์บ�ำรุงช่วยเหลืออยู่ เสมอ
ความต่อเนื่องแห่งพระกรณีย์
ด้ ว ยพระปรี ช าญาณอั น ยาวไกล สมเด็ จ พระเจ้ า ภคิ นี เ ธอฯ ได้ ท รงก่ อ ตั้ ง “มู ล นิ ธิ พ ระบรมราชานุ ส รณ์ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในพระบรม ราชู ป ถั ม ภ์ ” เพื่ อ เผยแผ่ พ ระเกี ย รติ คุ ณ
ของสมเด็ จ พระบรมราชบู ร พการี และ ทรงก่อตั้ง “มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา” ไว้ เพื่อเป็นก�ำลังหลักในการทรงบ�ำเพ็ญกุศล สาธารณะ สืบสานพระกรณียกิจโดยเฉพาะ ในยามที่ พ ระอนามั ย ไม่ เ อื้ อ อ� ำ นวย หรื อ แม้ ก ระทั่ ง เมื่ อ สิ้ น พระชนม์ แ ล้ ว กิ จ การ อันยังประโยชน์แก่ประชาชนที่ได้ทรงริเริ่ม และสนับสนุนไว้ จักยังต้องด�ำเนินสืบเนื่อง ต่อไป โดยได้พระราชทานพระนโยบายไว้ ล่วงหน้าว่า มู ลนิ ธิมี ห น้ าที่ ด� ำ เนิ นงานเพื่ อ สาธารณประโยชน์ และคอยค�้ำจุนองค์กรที่ ทรงเคยอุปถัมภ์และทรงอุปการะต่อไปตาม พระปณิ ธ านตราบนานเท่ า นาน เพื่ อ ประโยชน์สุขของแผ่นดินไทยที่ทรงผูกพัน รักและภักดีมาจนตลอดพระชนมชีพ
79 สิ้นพระชนม์
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จไป ประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก ๘๔ ปี ชั้น ๕ โรงพยาบาล ศิริราช ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามล�ำดับ และ สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๗ นาที ของวันพุธ ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ รวม พระชนมายุ ๘๕ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำ� นักพระราชวัง จัดการพระศพ ถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามโบราณราชประเพณี ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทใน ราชส�ำนักไว้ทุกข์ถวายมีก�ำหนด ๑๐๐ วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไป ครั้นถึงอวสาน แห่งการพระราชกุศลพระศพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระศพออกสู่พระเมรุ ท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิงพระศพ ในวันจันทร์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕ ถวาย พระเกียรติยศสูงสุดตามที่ทรงด�ำรงอยู่ทุกประการ anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ กับชาววชิราวุธฯ
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง ที่ทรงมีพระเมตตาเสด็จมาทรงร่วมงาน และกิจกรรมต่างๆ ที่มีโรงเรียนและสมาคมนักเรียนเก่าฯ เป็นเจ้าภาพ การเสด็จร่วมงาน ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ในแต่ละครั้งนั้นล้วนแต่สร้างความประทับใจและปลื้มปิติยินดีให้กับ ชาววชิราวุธฯ ทั้งสิ้น
81
รวบรวมภาพโดย วาสนา จันทอง และ ล�ำจวน ไชยชาติ
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
83
ครั้งหนึ่งในชีวิต วั น หนึ่ ง ของต้ น เดื อ นมี น าคม ผม ได้รับโทรศัพท์จากผู้ประสานงานราชสกุล พันเอก ม.ล.กุลชาติ ดิศกุล (กวาง) ว่า ”พี่หน่องจบจากวชิราวุธฯ ใช่มั้ยครับ ถ้า อย่างนั้นขอเรียนเชิญเข้าร่วมงานพระราช พิธีพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรัตนฯ ในวันที่ ๙ เมษายน และร่ ว มเดิ น ริ้ ว ขบวนด้ ว ย นะครับ” ผมตอบไปทันทีว่าว่างครับ ทั้งๆ ที่ก�ำลังวางแผนกันอยู่กับครอบครัวว่าจะไป เที่ยวในช่วงสงกรานต์ กวางได้บอกเพิ่มเติม ว่า “ถ้าอย่างนัน้ ขอให้มาซ้อมเดินริว้ ขบวนใน วันที่ ๑๑, ๑๘, ๒๕ และซ้อมใหญ่ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ จะเสด็จ ทรงซ้อมและร่วมเดินริ้วขบวนด้วย” ตอนนั้ น ผมหวนคิ ด ไปถึ ง พี่ ศุ ภ ดิ ศ ดิ ศ กุ ล (โอวี ๔๑) ที่ ผ มเคยไปเยี่ ย มที่ โรงพยาบาล เนื่องจากพี่เขามีอาการเส้น โลหิตอุดตันและก�ำลังพักฟืน้ จากผ่าตัดหัวใจ พี่ศุภดิศเล่าว่า “ตอนนั้นต้องไปซ้อมเดิน
ริ้ ว ขบวนงานพระศพสมเด็ จ พระพี่ น างฯ ระยะทางทีต่ อ้ งเดินประมาณ ๒ กม. จึงต้อง ซ้อมเดินสายพานทุกวัน วันละครึ่งชั่วโมง บ้าง หนึ่งชั่วโมงบ้าง ครั้งแรกๆ ก็ไม่เหนื่อย ซ้อมไปซ้อมมาเหนื่อยขึ้นทุกวัน ภายหลัง ซ้อมเดินเพียง ๕ นาทีก็เหนื่อยแล้ว จึงไป หาหมอ เลยตรวจพบว่าเป็นเพราะเส้นโลหิต เข้าหัวใจอุดตันหลายเส้น” พี่ศุภดิศเล่าต่อว่า “ต่อรองกับหมอ ว่าทานยาประทังขอไปเดินก่อนได้มั้ย หมอ ตอบว่าถ้าไปเดินริว้ ขบวน ก็อาจจะได้ตามไป ส่งเสด็จถึงที่ประทับบนสวรรค์เป็นแน่ครับ” ผมคิ ด ว่ า ถ้ า พี่ ศุ ภ ดิ ศ ไม่ ถู ก เชิ ญ ไป เดินริ้วขบวนแล้ว คงไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจ และอาจถึงแก่ชีวิตโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวก็เป็นได้ น่าจะเป็นบุญใหญ่ ยิ่งการได้มีโอกาสเข้า ร่วมเดินริ้วขบวนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรัตนฯ พระราชธิ ด าพระองค์ เ ดี ย วในพระบาท สมเด็ จ พระมงกุ ฏ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ยิ่ ง มี anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
ความหมายส�ำหรับพวกเรานักเรียนวชิราวุธฯ ที่ จะได้มโี อสาสตอบแทนพระคุณครัง้ หนึง่ ในชีวติ วั น ที่ ผ มไปปฐมนิ เ ทศวั น แรก ปรากฏว่าผมมีชอื่ อยูใ่ นกลุม่ ผูเ้ ชิญเครือ่ งราช อิสริยาภรณ์ ก�ำกับไว้ว่า “ฉลองพระองค์ ชุดพลเอก” และมีชื่อนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ อีก ๒ ท่านทีร่ จู้ กั กันดีคอื ม.ล.จีรพันธุ์ ทวีวงศ์ (จิม – โอวี ๔๕) อัญเชิญฉลองพระองค์ ชุดลูกเสือ และ ม.ล.เทวพร เทวกุล (ปี๊ป – โอวี ๔๘) อัญเชิญฉลองพระองค์ชุดล�ำลอง นอกจากนั้นแล้วยังมีนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ อีกหลายท่าน เช่น ม.ร.ว.ศศิพฤนท์ จันทรทัต (จุ๊ – โอวี.๕๔) อัญเชิญดิเรกคุณาภรณ์ ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล (อดัม – โอวี ๗๖) อั ญ เชิ ญ พระสุ พ รรณศรี ท องค� ำ และ
ม.ร.ว.ปิยฉัตร ฉัตรชัย (โอวี ๐๐) อัญเชิญ หี บ พระศรี ท องลงยา ส่ ว นอี ก ท่ า นหนึ่ ง ที ่ เคยเป็นผู้ก�ำกับคณะคือ ม.ร.ว.พันธุรังษี ภานุพันธ์ อัญเชิญปฐมจุลจอมเกล้า การเรียงล�ำดับราชสกุลในการอัญเชิญ เครือ่ งราชฯ นัน้ ไม่ได้เรียงแต่ลำ� ดับตามศักดิ์ เพียงอย่างเดียว แต่ยังเรียงตามล�ำดับความ อาวุโสของนามสกุล เช่น ในชั้นหม่อมหลวง ก็จะดูล�ำดับของต้นตระกูลว่าใครเกิดก่อน เกิดหลัง เป็นต้น แต่ที่ถือเป็นล�ำดับส�ำคัญ ที่สุด คือ ล�ำดับพระญาติที่ใกล้ชิด ซึ่งก็คือ ผู้ที่จะอัญเชิญเครื่องทองน้อยน�ำขบวน จะ ต้องเป็นผู้ที่มาจากสายราชสกุลสวัสดิวัตน์ ตามมาด้วยสายจากราชสกุลยุคล ถึงแม้ผแู้ ทน สายสวั ส ดิ วั ต น์ จ ะเป็ น ชั้ น หม่ อ มราชวงศ์
85 แต่ก็จะอยู่หน้าผู้แทนจากราชสกุลยุคลซึ่ง เป็นชัน้ หม่อมเจ้า ดังนัน้ การทีใ่ ครจะอัญเชิญ เครือ่ งราชฯ ใดก็จะถูกเรียงตามล�ำดับตามที่ กล่าวมาข้างต้น และประการสุดท้ายที่ท�ำให้ ผมถูกเลือกในงานพระศพครั้งนี้ คือ จบจาก วชิราวุธฯ ครับ การเรี ย งตามล� ำ ดั บ ข้ า งต้ น ท� ำ ให้ ผม จิม และปี๊ป ได้รับล�ำดับหมายเลข ๑๔ ๑๕ และ ๑๖ มีเรื่องเล่ากันว่าสมเด็จเจ้าฟ้า เพชรัตนฯ ท่านมีรบั สัง่ ไว้วา่ ถ้าท่านสิน้ ไป ขอ ให้นักเรียนวชิราวุธมาร่วมเดินในริ้วขบวน พระศพท่าน ดังนั้นนอกจากนักเรียนเก่าฯ แล้ว จะมีนักเรียนวชิราวุธฯ เข้าร่วมเดิน ริ้วขบวนกว่า ๒๐๐ คน ท่านถือว่าพวกเรา เป็นน้องของท่านจริงๆ ครับ หลังจากรับฟังปฐมนิเทศแล้ว ผมจึง ได้ทราบว่าไม่ได้เข้าร่วมงานพระราชพิธเี พียง วันเดียว แต่ต้องเข้าร่วมทุกวันตั้งแต่วันที่ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ และ ๑๒ เมษายน การเดินครัง้ นี ้ เป็นการเดิน ๕ ริ้วขบวนแบบจัดเต็ม เราจะ ได้เห็นพระราชพิธีทุกกระบวนการก็งานนี ้ และที่ส�ำคัญ พวกเราได้รับการบอกกล่าว ว่าขอให้เดินอย่างเต็มความสามารถ เพราะ ขบวนแห่ ค รั้ ง นี้ พ ระศพของท่ า นจะอยู ่ ใ น พระโกศจริงๆ งานนีจ้ ะเบีย้ วซ้อมหรือท�ำเป็น เล่นไม่ได้แล้ว เมื่อมาซ้อมเดินวันแรก จะมีพาน ซ้อมวางไว้ ๑๖ พาน แต่ละพานจะใส่ทราย ตามน�้ำหนักของเครื่องราชฯ ที่จะอัญเชิญ
ทุกคนอดไม่ได้ที่จะทดสอบน�้ำหนักทุกพาน และก็โหวตว่า พานที่ ๑๔ ๑๕ และ ๑๖ นั้น หนักกว่าทุกพาน และโดยเฉพาะพานที่ ๑๔ น�้ำหนักน่าจะไม่ต�่ำกว่า ๕ กก. วันแรกซ้อมเดินเพียงแค่ครึ่งชั่วโมง บริเวณหน้าสนามเสือป่า แขนของผมก็สั่น ลูกหนูขนึ้ ทีก่ ล้ามทัง้ สองข้างเสียแล้ว เลยถาม เพื่อนๆ ว่าวันจริงใช้เวลาเดินเท่าไร ค�ำตอบ ก็คือ เดินตั้งแต่เช้าเริ่มเวลา ๗.๓๐ น. กว่า จะถึงหน้าพระเมรุก็ประมาณเที่ยง เกือบ ๕ ชั่วโมง ดูน�้ำหนักและเวลาแล้วงานนี้ผมถ้า จะไม่รอดแน่ จิมและปี๊ปซึ่งเคยเดินมาแล้ว ปลอบใจว่ า วั น จริ ง เขาจะมี ส ายสะพายมา เกี่ ย วกั บ พานไว้ ช ่ ว ยผ่ อ นแรงแขนได้ บ ้ า ง แต่ ยั ง ไงก็ ต ้ อ งยกกล้ า มทุ ก วั น และซ้ อ ม เดินเอาแรงไว้อยู่ดี หลังจากนั้นผมก็เริ่ม ยกกล้ามทุกวันและก็ติดที่จะยกกล้ามมา จนถึงทุกวันนี้ ในการเดินริ้วขบวนนั้น ผู้ที่อัญเชิญ เครื่องราชฯ ดูเหมือนจะได้รับสิทธิพิเศษอยู่ บ้าง กล่าวคือถ้ามีโอกาสว่างช่วงไหนเขาจะ ให้รีบปลดสัมภาระให้เข้าไปนั่งทันที และมี น�ำ้ มาเสิรฟ์ ด้วยเกรงว่าจะเป็นลมไปเสียก่อน นอกจากพระญาติที่เดินริ้วขบวน ๑๖ คน แล้ว ยังมีพระประยูรญาติที่เดินตามเสด็จ สมเด็จพระบรมฯ และสมเด็จพระเทพฯ อีก ๖๐ ท่าน ถ้าผู้อัญเชิญเครื่องราชฯ ท่านใด เป็ น ลม ก็ จ ะมี ผู ้ ที่ จ ะมาเสริ ม ก� ำ ลั ง อย่ า ง ทั น ท่ ว งที ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น พี่ ช าย - anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง หม่อมราชวงศ์ธีรเดช รัชนี จะมาแทนพวก เราคนใดคนหนึ่งเสมอ ด้านหลังผู้อัญเชิญ เครื่องราชจะตามมาด้วยท่านพราหมณ์ ๕ ท่าน โดยเฉพาะท่านพระครูวามเทพมุนี ที่ ท่านเดินอยู่ข้างหลังผมพอดี ท่านใจดีมาก และมีประสบการณ์เดินมาหลายครั้งแล้ว ท่านจึงแนะให้ใส่สนับและสเตย์ที่หลัง และ มักจะมีเกร็ดเล็กๆ น้อยมาเล่าสู่กันฟังเสมอ ในการเดินริ้วขบวนที่หนึ่ง เป็นการ อัญเชิญพระโกศพระศพโดยพระยานมาศ สามล�ำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยั ง พระเวชยั น ตราชรถบริ เ วณหน้ า วั ด พระเชตุพลวิมลมังคลาราม เดินตามจังหวะ กลอง โดยเดินปกติระยะทาง ๘๑๗ เมตร เริ่ ม ตั้ ง ขบวนตั้ ง แต่ เ วลา ๗.๐๐น. ตาม ก� ำ หนดการพวกเราจะต้ อ งมาถึ ง ศาลา พิพิธภัณฑ์ตั้งแต่เวลา ๖.๐๐น. ทานอาหาร เช้าเสร็จก็มานัง่ ตามต�ำแหน่ง พานเครือ่ งราชฯ จะมาตั้งรออยู่ ของส�ำคัญทีล่ มื ไม่ได้ คือ สายสะพาย เกี่ยวกับพานครับ ถึงจะเหมือนว่าไม่ได้ช่วย อะไรมากนักและยังท�ำให้ปวดหลังเพิม่ เข้าไป อีก แต่ถ้าไม่มีก็จะเหมือนขาดอะไรไป พวกเราได้ สิ ท ธิ พิ เ ศษด้ ว ยการ ถู ก เรี ย กไปยื น เข้ า ขบวนช้ า กว่ า ชาวบ้ า น เล็กน้อย แต่ถึงกระนั้นแค่ยืนรอพระโกศยัง ไม่ทันจะเดินก็เริ่มปวดหลังแล้วครับ ในวัน ซ้อมวันแรกผมเห็นอดัมยืนโงนเงนอยู่หน้า ปี๊ปเหมือนง่วงนอน ถามว่าเป็นอะไรหรือ
เปล่าอดัม? ..เงียบ พอพระโกศเคลื่อนออกมาเรียบร้อย ทหารสัง่ หน้าเดิน อดัมก็ไม่เดิน แถมตัวเกรง หงายหลังมาชนกับปี๊ป เป็นลมหมดสติโดย ยังไม่ทนั จะเริม่ เดินเลยครับ โชคดีทกี่ ลุม่ ๑๖ คนนีเ้ ป็นกลุม่ เป้าหมายหลักของเสนารักษ์ที่ จะเดินเอายาดมมาให้บา้ ง มาถามอาการบ้าง เพราะนอกจากทีเ่ อ่ยนามมาแล้ว ยังมีผใู้ หญ่ หลายท่านทั้งคุณชายอุ๋ย ปรีดิยาธร เทวกุล ม.ร.ว.สุขมุ พันธุ์ บริพตั รและทีม่ อี ายุสงู สุด คือ ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ ซึ่งมีอายุ ๖๗ ปี แล้ว ยังร่วมเดินและไม่เคยขาดซ้อม คุณชาย จักรรถเล่าติดตลกว่าที่เขาเชิญผมมาเดิน เป็นเพราะเขาเห็นความอุตสาหะของผมนะ เชือ่ มัย้ ว่าถ้าไม่ตดิ อะไรผมจะมางานสวดพระ ศพทุกคืน พูดง่ายๆ คือตลอดหลายเดือน ที่ผ่านมาท่านมาร่วมงานพระศพทุกวันถ้า ไม่ติดอะไร และที่หนุ่มที่สุดก็อดัมนี่ละครับ แต่เป็นลมเป็นคนแรกตั้งแต่เช้ายังไม่ทัน ออกเดินเลย ตอนหลังถามว่าอดัมอดนอนหรือ? อดัมบอกว่า “เตรียมตัวอย่างดีครับ นอน แต่หวั ค�ำ ่ แถมดืม่ กระทิงแดงเพิม่ พลัง” หมอ บอกว่าอดัมเป็นลมเพราะดื่มกระทิงแดงแต่ เช้านี่ละครับ ระดับน�้ำตาลเปลี่ยนรวดเร็ว เกินไปเลยเป็นลม ไม่น่าเชื่อ ท�ำให้เราต้อง คอยสอบถามอดัมถึงกิจกรรมตอนกลางคืน ก่อนมาเดินทุกวันว่าไปท�ำอะไรมามั่ง และ จับตาอดัมเป็นพิเศษ แล้วสัง่ กันเองเล่นๆ ว่า
87
ถ้าใครจะเป็นลมให้สง่ เครือ่ งราชฯ ไปให้คนที่ ใกล้ทสี่ ดุ ก่อนทีต่ วั เองจะหมดสติ เรียกว่าคน เดินล้มได้ แต่เครื่องราชฯ ห้ามล้ม หลังจากเดินริ้วขบวนที่ ๑ ถึงบริเวณ วัดโพธิแ์ ล้ว ริว้ ขบวนที่ ๒ คือ การเชิญพระโกศ พระศพโดยเวชยั น ราชรถ จากหน้ า วั ด พระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุ ท้ อ งสนามหลวง เริ่ ม พิ ธี เ วลา ๙.๐๐น. เป็ น การเดิ น เปลี่ ย นสู ง ประกอบเพลง พญาโศก (Slow march) ระยะทาง ๘๙๐ เมตร ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง ทุกครั้งที่เดินเรา จะออกไปตั้งขบวนก่อนประมาณครึ่งชั่วโมง ในวั น จริ ง สมเด็ จ พระบรมฯ และสมเด็ จ พระเทพฯ ท่ า นจะเสด็ จ แทนพระองค์ ประกอบพิธี โดยสมเด็จพระเทพฯ ท่านจะ
ทรงพระราชด�ำเนินในริ้วขบวนที่ ๒ นี้ด้วย ท่านจะเสด็จพระราชด�ำเนินอยูด่ า้ นหลังกลุม่ พวกเราที่อัญเชิญเครื่องราชฯ น�ำหน้าพระ ประยูรญาติ ในริ้วที่ ๒ นี้ถือว่าเป็นการเดิน ทีห่ นักสุด อากาศก�ำลังร้อนได้ทแี่ ละเป็นการ เดินสี่จังหวะ หม่อมราชวงศ์ด�ำรงเดช ดิศกุล ซึ่ง เป็นอดีตนายทหารม้าถูกก�ำหนดให้เป็นผู้ ออกค�ำสัง่ เฉพาะกลุม่ พวกเรา เช่น หน้าเดิน แถวหยุด ซ้าย-ขวา-ซ้าย กรณีเห็นพวกเรา เริ่ม เดินขาไปกั น คนละทาง เมื่ อเริ่ ม ออก เดินริ้วที่ ๒ ม.ร.ว.ด�ำรงเดชเริ่มออกค�ำสั่ง หน้าเดิน “เอ้า ป้ายหน้า หน้าพระเมรุ....” อะไรท�ำนองนี้ พวกเราเดินกันแบบทหาร เงียบกริบคงจะไม่ได้ละครับ ถ้าไม่ได้หวั เราะ anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง กั น บ้ า งคงจะแย่ แ น่ โดยเฉพาะกวาง ผู ้ ประสานงานราชสกุลและนายทหารปืนใหญ่ ผู้ดูแลพวกเราอย่างใกล้ชิด จะคอยเดินมา ก�ำกับเราตลอดเวลา “อ้าว พวกเราอย่าท�ำ หน้าอย่างนั้น ยิ้มหน่อยครับ” ในขณะที่เรา ก�ำลังเริ่มเหนื่อยและตาลาย หรือไม่ก็ “อย่า อุ้มพานนะครับ” ขณะที่เราก�ำลังจะผ่าน หน้าพระที่นั่ง หรือคอยก�ำกับเวลาเราเดิน ไม่ตรงแนวกับทหารที่ถือเครื่องสูงที่เดินอยู่ ข้างๆ เราบ้าง การเดินริว้ ขบวนนีผ้ มยอมรับครับ ว่า เหนือ่ ยมากจริงๆ แต่ตา่ งกับวิง่ เร็วแล้วเหนือ่ ย เพราะนี่เป็นการเดินที่ช้าที่สุดเท่าที่ผมเคย เดินมาและอัญเชิญเครื่องราชฯ หนักกว่า ๕ กิโลกรัมก็ไม่ธรรมดา ในวันจริงนั้นพานที่ อั ญ เชิ ญ นั้ น ใหญ่ ก ว่ า พานซ้ อ มกว่ า เท่ า ตั ว เฉพาะคอพานมือก�ำไม่รอบ บนพานจะวาง ไม้สี่เหลี่ยมหุ้มผ้าต่วนเพื่อวางฉลององค์ชุด พลเอก บนฉลององค์จะวางพระมาลาที่มี ขนนกสีน�้ำเงินวางบนฉลององค์อีกที เวลา เดินไม้บนพานก็คอยจะเลือ่ นไปมา ฉลององค์ และหมวกถ้าถือเอียงก็จะเทกันเลื่อนไปมา กับไม้ที่รองอยู่ ช่วงที่จะถึงหน้าพระเมรุอีกหนึ่งร้อย เมตรนี่ หมดแรงจริงๆ ครับ คิดในใจว่าจะไป รอดมั้ยเนี่ย แขนหมดแรงไม่เหลือแล้ว ผม ได้แต่ปลุกใจตัวเองให้เดินทีละก้าว แต่หลังก็ ปวดมากจากสายสะพายที่ห้อยกับพาน หัน ไปมองท่านอืน่ ก็ดจู ะมีสภาพไม่ตา่ งกันเท่าไร
ใจก็นกึ ถึงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ท่านครับ เราก�ำลัง อัญเชิญชุดพลเอกของพระองค์ท่านอยู่ การ ที่มาท�ำหน้าที่นี้คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ และ เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้ตอบแทนพระคุณ ของพระองค์ท่าน ในใจของผมก็อธิษฐาน ขอให้เราเดินให้ถึงด้วยเถิด
89 อีก ๕๐ เมตรนี่เหลือจะก้าว จะเร่ง การเดินก็ไม่ได้ ช่วงตีโค้งเข้าสนามหลวงนี่ ดูจะเดินสะเปะสะปะเหมือนจะแหกโค้งกัน ไปทัง้ ขบวน พอผ่านหน้าทีป่ ระทับก็รวบรวม ก� ำ ลั ง เฮื อ กสุ ด ท้ า ย เพราะถ้ า ผ่ า นหน้ า ที่ ประทับได้ ก็จะกลับมาเดินปกติและสามารถ เดินก้าวยาวเข้าที่พักไปได้เลย ในที่สุดเรา ก็เดินไปจนถึงหน้าพระเมรุส�ำเร็จ ดีใจมาก ครับ รีบเข้าที่พักดื่มน�้ำไปสัก ๕-๖ ขวด ช่ ว งนี้ ท หารจะท� ำ การอั ญ เชิ ญ พระโกฏ พระศพลงจากเวชยันราชรถลงมาประทับที่ พระยานมาศสามล�ำคานอีกครั้งเพื่อเวียน รอบพระเมรุในริ้วขบวนที่ ๓ ริ้วขบวนที่ ๓ เชิญพระโกศ โดย พระยานมาศสามล�ำคานเวียนพระเมรุ โดย อุตราวัฎ (เวียนซ้าย) ครบ ๓ รอบ แล้วเชิญ พระโกศพระศพ ประดิษฐานบนพระเมรุ ใช้ เวลาประมาณ ๓๐ นาที เมื่อพระโกศถูก อัญเชิญกลับลงมายังพระยานมาศสามล�ำคาน คือ พระยานเล็กทีม่ ที หารร่วม ๕๐ คน แบก พระโกศด้วยคาน ๓ อันแล้ว เราจะถูกเรียก กลับเข้าประจ�ำที่ ผมมองดูพานฉลององค์ พระยศพลเอกอย่างชั่งใจว่าเราจะไปต่อไหว หรือไม่ รวบรวมก�ำลังยกพานมาเข้าประจ�ำ ที่ เมื่อถือพานอยู่สักพัก แขนผมสิครับไม่ ยอมตามใจ สั่นเป็นเจ้าเข้าและท�ำท่าจะท�ำ พานหลุดมือ คือหมดจริงๆ แล้วครับ ผมเลยตัดสินใจแจ้งผู้ประสานงาน ขอเปลีย่ นตัว แล้วก็เป็นพีช่ ายธีรเดชเช่นเคย
ทีม่ าถือแทน ส่วนผมเลยไปเดินแทนพีเ่ ขาใน กลุ่มพระประยูรญาติ ไม่ต้องถืออะไร เดิน ครบ ๓ รอบ ก็มายืนคอยพระโกศทีก่ ำ� ลังถูก อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระเมรุ มองไป กลุ่ม ๑๖ คน เห็นพี่ธีรเดชท�ำหน้าบอกบุญ ไม่รับกวักมือเรียกผมท่าทางจะด่วน ไปถึง แกยื่นพานคืน “บอกว่า ไม่ไหวแล้วหนัก และล�ำบากจริงๆ แถมฉลององค์ก็เลื่อนไป เลื่อนมา เอ็งเก่งจริงๆ ที่แบกมาถึงนี่ได้” ผม กลับไปถือพานได้ไม่ถึงนาที พี่ธีรเดชซึ่งเพิ่ง กลับไปยืนที่แถวเดิม ก็มีอาการเกร็งและก็ ล้มไปทั้งยืนครับ รู้สึกผิดจริงๆ ที่ไปให้พี่เขา ถือพานแทน แต่ถ้าผมฝืนไปต่อก็น่าจะไม่ ต่างจากพี่ชายธีรเดชเป็นแน่ หลังจากจบริ้วที่ ๓ แล้ว ทั้ง ๑๖ คน นี้ยังมีภารกิจต่อคือต้องขึ้นไปนั่งประจ�ำที่อยู่ บริเวณด้านขวาของพระที่นั่งเสมือนผู้แทน ประยูรญาติเข้าเฝ้า ร่วมกับองคมนตรีและ กลุ่มนางสนองพระโอษฐ์ เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ ส�ำนักพระราชวัง หลังจากสมเด็จพระบรมฯ และสมเด็จพระเทพฯ เสด็จกลับ เราจะมี เวลา ๒ ชั่วโมงกลับไปพักและเปลี่ยนเครื่อง แต่งตัว ที่ต้องเปลี่ยนเพราะเปียกไปหมดทั้ง ชุดครับ จิมนั้นถ้าเป็นสมัยก่อนก็มีต�ำแหน่ง เท่ากับพระยา เหรียญที่ห้อยก็เต็มไปหมด เวลา เดินก็จะดังกรุ๊งๆ กริ๊งๆ ใส่สายสะพาย เข้าไปอีก ถือพานเดินกันมากว่า ๕ ชั่วโมง หลังเข้าที่พักก็นอนกองกันอยู่ที่ศาลาสหทัย พักได้แป๊บเดียวก็รีบเปลี่ยนชุดกันใหม่ เพื่อ anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง ไปรับภรรยาเพือ่ กลับมาทีง่ านพระราชพิธอี กี ครั้งภายใน ๓ โมงเย็น เมื่อมาถึงงานพระราชพิธี นับเป็น ครั้งแรกในหลายๆ ปีที่ได้มีโอกาสร่วมงาน พระราชพิธที พี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ เสด็จและได้มโี อกาสนัง่ ใกล้ๆ ทีป่ ระทับ เป็น ที่ทราบกันดีว่าเวลาพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จ งานพระราชพิธีครั้งใด ฝนจะตกปรอยๆ ทุก ครั้ง เขาบอกว่าเทวดาท่านมาโปรยน�้ำมนต์ บ้าง ท่านมาให้พรบ้าง แต่ผมเชื่อว่าด้วย พระบารมีของพระองค์ จึงเกิดปาฏิหาริย์ เป็นที่น่าอัศจรรย์ทุกครั้ง ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมเห็นแดดแรงตั้งแต่เช้าไปจนถึงเที่ยง พอ เข้าที่พักช่วงสักบ่ายโมงฝนก็ตกลงมาหนัก มาก พอช่วงบ่ายสาม แดดกลับออกและฟ้า กลับใสอีกครั้ง นี่ถ้าฝนตกตอนก�ำลังเดิน คงดูไม่จืด แน่ๆ ครับ ฉลององค์และพระมาลาที่ผมถือ อยู่ก็ไม่เห็นมีพลาสติกกันน�้ำเสียด้วยสิครับ ผมจ�ำได้วา่ หลังจากบ่ายสามแดดส่องเกือบ ๒ ชัว่ โมงถึงห้าโมงเย็น หลังจากพระเจ้าอยูห่ วั ฯ เสด็จได้สักพักเดียว ก็ได้ยินเสียงฟ้าร้องมา แต่ไกล เริ่มมีประกายสายฟ้าร้องค�ำราม ตามด้วยประกายสายฟ้าที่ตัดกับพระเมรุ มองดู เ สมื อ นสายฟ้ า นั้ น แปลกประหลาด มาก ได้ยินเสียงคนใกล้ๆ พูดขึ้นว่าเหมือน สายฟ้าขององค์วชิราวุธลงมาจุดประกาย
พระราชทานเพลิงอย่างนัน้ ผมผงกหัวพลอย เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ สมเด็ จ พระบรมฯ สมเด็จพระเทพฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ องค์อื่นๆ ทรงประกอบพิธีแล้ว ฝนก็เริ่ม ปรอยลงมา ผมเห็นคณะองคมนตรีเริ่มลุก จากที่นั่ง ก็เลยลุกขึ้นบ้างเพื่อรอองคมนตรี และด้วยคิดว่าคงเรียงตามอาวุโส แต่กลับ เห็ น พลเอกเปรมมายื น หยุ ด รออยู ่ ต รง พระประยู ร ญาติ จึ ง ทราบว่ า ให้ เ ริ่ ม จาก พระประยู ร ญาติ ก ่ อ น แล้ ว จึ ง ตามด้ ว ย องคมนตรีและคณะอื่นๆ ก็จะออกเดินตาม กันมาเพื่อขึ้นพระเมรุถวายสักการะและวาง ดอกไม้จันน์ ส่วนนายกรัฐมนตรีและคณะ รัฐบาลจะขึ้นทางฝั่งซ้ายของพระเมรุ ตอนลงจากพระเมรุผมรู้สึกหายใจ ไม่ทั่วท้องเพราะเดินลงมาเดี่ยวๆ ในขณะ ที่ ม องขึ้ น ไปที่ ป ระทั บ แล้ ว เหมื อ นเรามา ยื น อยู ่ เ ดี่ ย วๆ โดยมี ใ นหลวงท่ า นเสด็ จ ทอดพระเนตรลงมาจากที่ประทับ มีความ รู ้ สึ ก ปลื้ ม ปิ ติ จ ริ ง ๆ คิ ด ในใจว่ า วั น นี้ เ ป็ น วันพิเศษจริงๆ เป็นการส่งเสด็จพระองค์ทา่ น สู่สวรรค์ชั้นฟ้าอย่างสมพระเกียรติ และเป็นครัง้ หนึง่ ในชีวติ ของนักเรียนเก่า วชิราวุธฯ คนหนึง่ ทีจ่ ะขอจดจ�ำไปจนวันตาย ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (โอวี ๔๖)
91
โอวีราชสกุล ม.ล.เทวพร เทวกุล โอวี รุ่น ๔๘
คณะจิตรลดา และอดีตผู้ก�ำกับคณะ (พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๕๑)
ได้ มี โ อกาสสนองพระเดชพระคุ ณ ในงาน พระราชพิธีถวายพระเพลิงและพระราชทานเพลิง พระศพเจ้านายชั้นสูงมาหลายครั้ง แต่ส�ำหรับงาน พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นราชสุ ด าสิ ริ โ สภาพั ณ ณวดี ค รั้ ง นี้ นั บ เป็ น ครั้ ง ที่ มี ค วามภาคภู มิ ใ จอย่ า งยิ่ ง ในฐานะ ลูกวชิราวุธฯ ที่ได้รับคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๑๖ พระ ประยูรญาติราชสกุล ผูอ้ ญ ั เชิญเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องราชูปโภค โดยกระผมมีหน้าที่อัญเชิญ ฉลองพระองค์ล�ำลอง นับเป็นเกียรติยศทั้งต่อตัวเอง และวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้ นั ก เรี ย นวชิ ร าวุ ธ ฯ ทุ ก คนถื อ เป็ น ข้ า ฯ ใน พระองค์ แ ละพร้ อ มที่ จ ะถวายความจงรั ก ภั ก ดี ใ น ทุ ก เมื่ อ อยู ่ แ ล้ ว หม่ อ มเจ้ า หม่ อ มราชวงศ์ และ หม่อมหลวง ผูเ้ ป็นศิษย์เก่าวชิราวุธฯ และได้รบั โอกาส ปฏิบัติหน้าที่เข้าร่วมอัญเชิญเครื่องฯ ในครั้งนี้มีถึง เก้าในสิบหกท่าน anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง กระผมมั่นใจอย่างยิ่งว่า พวกเรา โอ.วี. ทุกพระองค์และทุกคนที่ท�ำหน้าที่ถวายฯ ต่างก็มีความภาคภูมิใจและเต็มใจ เฉกเช่นเดียวกับลูกวชิราวุธฯ ทุกคน ที่จะได้สนอง พระกรุณาธิคณ ุ ในภารกิจสุดท้ายด้วยความจงรักภักดีตอ่ พระองค์ผทู้ รงเป็นพระราชธิดาพระองค์ เดียวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ องค์ผู้พระราชทานก�ำเนิดโรงเรียนของเรา
ม.ร.ว.ศศิพฤนท์ จันทรทัต โอวี ๕๔ การได้ ร ่ ว มถวายงานครั้ ง นี้ ถื อ เป็ น เกี ย รติ อย่างยิง่ โดยเฉพาะในฐานะนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ถือ เป็นความภาคภูมิใจที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิต
ม.ล.จิรพันธ์ ทวีวงศ์ โอวี ๔๕ สมั ย เป็ น นั ก เรี ย นก็ ไ ด้ เ คยรั บ ใช้ เ บื้ อ ง พระยุคลบาทสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ หลายครั้ง หลายคราจนครั้งสุดท้ายที่ได้รับใช้คือตอนอยู่ มศ. ๕ ได้ เ ข็ น รถยนต์ พ ระที่ นั่ ง ส่ ง เสด็ จ จากหอประชุ ม ถึ ง ประตูโรงเรียน ซึ่งเป็นประเพณีที่ลูกวชิราวุธฯ ทุกรุ่น ทุ ก ปี ไ ด้ ก ระท� ำ มาโดยตลอด ส� ำ หรั บ พระราชพิ ธี ครั้งนี้ ถือเป็นเกียรติที่ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีและ เป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระองค์ท่านเป็นครั้ง สุดท้าย
93 รายพระนาม-รายนามพระประยูรญาติ (นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ) ผู้อัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องอิสริยยศราชูปโภค
พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี
ม.ร.ว.ศศิพฤนท์ จันทรทัต (โอวี ๕๔) อัญเชิญ ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล (โอวี ๗๖) อัญเชิญ ม.ร.ว.ปิยฉัตร ฉัตรชัย (โอวี ๖๑) อัญเชิญ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (โอวี ๔๖) อัญเชิญ ม.ล.จิรพันธุ์ ทวีวงศ์ (โอวี ๔๕) อัญเชิญ ม.ล.เทวพร เทวกุล (โอวี ๔๘) อัญเชิญ
ดิเรกคุณาภรณ์ พระสุพรรณศรีทองค�ำลงยา หีบพระศรีทองค�ำลงยาฯ ฉลองพระองค์พระยศ พลเอก ฉลองพระองค์ลูกเสือ ฉลองพระองค์ล�ำลองฯ
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี วันที่ วันที่ วันที่ วันที่ วันที่
๘ เมษายน ๒๕๕๕ พระราชกุศลออกพระเมรุ ๙ เมษายน ๒๕๕๕ เชิญพระศพออกพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพ พระราชทานเพลิงพระศพ (จริง) ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ เก็บพระอัฐิ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ พระราชกุศลพระอัฐิ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ บ�ำเพ็ญพระราชกุศล, อันเชิญพระโกศพระอัฐิขึ้นประดิษฐานบนพระวินาม บรรจุพระสรีรางคาร ณ วัดราชบพิธ ภาพถ่ายโดย ครูชยาคมน์ สมบูรณ์สิน
95
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
97
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
โอวีผู้อยู่เบื้องหลังบทเพลง
พระหน่อนาถ: ชนะพล โยธีพิทักษ์
“ในช่วงงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชร รัตนฯ ที่ผ่านมา หลายๆ คนคงมีโอกาสได้ยินเสียงเพลงท�ำนองไพเราะที่ ผสมเอาความเป็นสากลและความเป็นไทยได้อย่างเหมาะสมลงตัว เพลงที่ ว่านั้นก็คือ เพลงพระหน่อนาถ ที่น�ำบทพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ มาประกอบท�ำนองเพลงใหม่เพื่อเป็นการร่วมส่งเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้าเพชร รัตนฯ สู่สวรรคาลัย บทเพลงอันไพเราะนี้เป็นผลงานของวาทยากรดาวรุ่งชาวไทย ที่มีโอกาสได้ แสดงในเวทีระดับนานาชาติจนเป็นทีย่ อมรับในสากล แต่เพลงพระหน่อนาถ นี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากปราศจากการผลักดันของผู้ที่อยู่เบื้องหลังของ นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ คนนี้“ ภูมิหลังของครอบครัวมีความผูกพันกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ด้วยคุณทวด (หลวง โยธีพิทักษ์) รับราชการที่กระทรวงมหาดไทย และเคยเล่นละครร่วมกับรัชกาลที่ ๖ โดย แสดงเป็นตัวนาง พอมาถึงรุน่ คุณย่า คุณย่าก็มกั เล่าให้ฟงั ว่าสมัยทีย่ า่ เป็นนักเรียน ก็เคยเล่น ละครเรื่องเวนิสวาณิช ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ เช่นเดียวกัน ด้วยสาเหตุ ส่วนหนึ่งนี้เองจึงมีโอกาสได้เข้ามาศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัย ประกอบกับต้องการให้เข้ามา ฝึกความมีระเบียบวินัย จรรยา มรรยาท รวมไปถึงการมีญาติเป็นศิษย์เก่า ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ๓ ปีแรกที่เข้ามาสู่รั้ววชิราวุธวิทยาลัยได้เฝ้ารับเสด็จ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ที่วงเวียนหน้าหอประชุม ในงานพระราชทานประกาศนียบัตร
99
anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง
เพลง พระหน่อนาถ เ มื่ อ พ ร ะ น า ง เ จ ้ า สุ วั ท น า พ ร ะ วรราชเทวี (เจ้าจอมสุวทั นาในขณะนัน้ )ใกล้จะ มีพระประสูติการพระหน่อ พระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ า โปรดเกล้าฯ ให้เตรียมการอย่างอเนกปริยาย ด้วยความโสมนัสในพระราชหฤทัย กับทั้งทรง ปรับปรุงบทละครร�ำเรือ่ ง พระเกียรติรถ ให้เป็น ละครดึกด�ำบรรพ์ เพือ่ ทรงจัดแสดงในพระราช พิธีสมโภชเดือน โดยทรงพระราชนิพนธ์ “บท กล่อม” พระกุมารตามท้องเรื่อง และก�ำหนด ท�ำนองเพลง “ปลาทอง” ไว้ส�ำหรับขับล�ำน�ำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง ควบคุมการแสดงละครสมโภชด้วยพระองค์เอง ณ จิตรลดาสภาคาร พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน และมีการซ้อมวงมโหรี แต่กลับ หาได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ไม่ วั น พุ ธ ที่ ๒๕ พฤศจิ ก ายน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๖๘ พระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ๑ วันหลังจากพระเจ้าลูกเธอประสูติ บรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองยินดีกลับแทนที่ด้วยวาระอันโศกเศร้าของพระราช พิธีพระบรมศพ การสมโภชที่เคยเตรียมการมานับแรมเดือนก็พลันต้องระงับไป อย่างไม่มีใครคาดคิด “บทกล่อม” ที่ทรงพระราชนิพนธ์นี้จึงไม่ได้น�ำมาขับกล่อม อย่างทรงต้องพระราชประสงค์ไว้ กระทั่ง ๘๔ ปีผ่านไปจึงถูกน�ำมารังสรรค์ท�ำนอง ใหม่เพื่อใช้ขับกล่อม “พระหน่อแห่งพระมงกุฎเกล้า” อีกครั้งในวาระอันเป็นมงคล
101 พุทธศักราช ๒๕๕๒ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ ๗ รอบ นายทฤษฎี ณ พัทลุง วาทยกร และ นักประพันธ์เพลง รูส้ กึ ซาบซึง้ ในพระกรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงมีตอ่ พสกนิกรชาวไทย และพระ จริยวัตรอันงดงาม จึงมีความคิดจะประพันธ์เพลงถวายเพือ่ เป็นเครือ่ งเฉลิมพระขวัญ เนื่องในโอกาสอันเป็นที่น่ายินดีนี้ จึงได้เชิญ “บทกล่อม” จากเรื่องพระเกียรติรถ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ เปรียบดัง่ สายใยความ โสมนัสยินดีแห่งพระราชหฤทัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มาบรรจุทำ� นองทีป่ ระพันธ์ขนึ้ ใหม่อีกครั้ง โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี เนือ่ งในโอกาสทรงเจริญ พระชนมายุ ๗ รอบ ฉลูนกั ษัตร เพือ่ น�ำไปออกอากาศในรายการเฉลิมพระเกียรติฯ ดนตรีในเพลง “พระหน่อนาถ” นี้ นายทฤษฎี ณ พัทลุง ได้ประพันธ์ท�ำนอง ขึ้นใหม่ในรูปแบบสากล แต่ยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างลักษณะของเพลงรับร้องและการ ว่าดอกอันเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีไทยเดิม นอกจากนั้น ในช่วงที่เครื่องดนตรี ทั้งไทยและสากลร่วมกันบรรเลงรับต่อจากการว่าดอก ยังได้น�ำท�ำนองไทยเดิม เพลง ”ปลาทอง” มาบรรเลงโดยใช้เทคนิคการ ประสานเสียงในรูปแบบ Heterophony อันเป็น เอกลักษณ์ของดนตรีไทยแต่หาฟังได้ยากยิง่ ใน ดนตรีสากล จึงท�ำให้ผู้ฟังได้รับอรรถรสของ ดนตรีที่มีความกลมกลืนเฉพาะตัว เมือ่ การประพันธ์เพลงนีเ้ สร็จสมบูรณ์ ได้มกี ารหารือเรือ่ งของชือ่ บทเพลง คณะท�ำงาน จึงตัดสินใจเชิญวรรคแรกของบทพระราช นิพนธ์มาเป็นชื่อเพลงว่า “พระหน่อนาถ” เพื่อถวายพระเกียรติแด่ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรง พระราชนิพนธ์ค�ำร้องของเพลงดังกล่าว anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง ประจ�ำปี พอปีต่อๆ มาก็เห็นเพื่อนที่เรียนดี ได้เข้าไปรับพระราชทานรางวัลจากพระหัตถ์ ของพระองค์ทา่ น รางวัลทีเ่ พือ่ นสนิทได้รบั ใน ปีนนั้ นัน้ เป็นหนังสือ “สีแ่ ผ่นดิน” เป็นความ รูส้ กึ ประทับใจแทนเพือ่ นมาก และตอนเด็กๆ อยากจะเข้าไปรับรางวัลเหมือนคนอื่นเขา บ้างแต่ตนเองก็เรียนไม่เก่ง จากจุดนั้นเอง เป็นวันที่ได้รู้ว่า สมเด็จฯเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ทรงเป็ น พระราชธิ ด าพระองค์ เ ดี ย วของ พระผู้ทรงสถาปนาโรงเรียน และได้ศึกษา พระประวัติตามที่โรงเรียนให้ศึกษาต่อมา เมื่อเลื่อนมาอยู่ระดับชั้นมัธยม ก็ได้ เข้ามาอยู่วงดนตรีไทยที่จะไปเล่นถวายทุกปี ปีละ ๒ ครั้ง เป็นอย่างน้อย งานแรกที่เป็น หลักคือวันคล้ายวันประสูติที่วังรื่นฤดี ส่วน อีกงานคือการบรรเลงถวายส่วนพระองค์ที่ โรงเรียนจัดถวาย หมุนเวียนกับวงอื่นๆ โดย ท�ำหน้าที่เป็นมือตีกลองแขก จ�ำได้ว่าตอน เด็กๆ เล่นเพลงโสมส่องแสง, ลาวดวงเดือน, ราตรีประดับดาว เป็นเพลงทีไ่ ด้บรรเลงถวาย เป็นประจ�ำ พอช่วงที่พระองค์ท่านทรงมี พระชนมายุ ม ากแล้ ว วงดนตรี ว ชิ ร าวุ ธ วิทยาลัยจะไปบรรเลงถวายอย่างต่อเนื่อง เพราะดนตรีเป็นกิจกรรมที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้า เพชรรัตนฯ เชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถท�ำให้ ทรงพระส�ำราญได้ หลั ง จากจบการศึ ก ษาวชิ ร าวุ ธ วิทยาลัย ได้มาศึกษาต่อทีส่ าขาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ช่วงที่ เรียนมหาวิทยาลัยนี้ท�ำให้มีโอกาสได้พบกับ
ทฤษฎี ณ พัทลุง ซึ่งปัจจุบันเป็นวาทยกรที่มี ผลงานในระดับนานาชาติ ถือเป็นจุดเริ่มต้น ให้เข้ามารับงานบริหารจัดการเรือ่ งเบือ้ งหลัง ของงานทั้งหมดของทฤษฎี โดยดูแลงาน บริหารเป็นหลัก เรียกได้วา่ อะไรทีไ่ ม่ใช่เรือ่ ง ดนตรีซึ่งเป็นงานที่ทฤษฎีรับผิดชอบ จูเนียร์ จะรับ หน้าที่ ทั้ง หมดทุ กอย่ า ง ซึ่ ง หน้ า ที่ ก็ จะดูเหมือนเป็นผู้จัดการส่วนตัวของทฤษฎี เลยทีเดียว แต่ในการท�ำงานจริงๆ ทฤษฎี ได้เซ็นสัญญากับทาง Columbia Artists Management Inc. ไว้ ที่ ส หรั ฐ อเมริ ก า ในส่วนของตัวเราก็จะท�ำหน้าที่ดูแลเฉพาะ งานในประเทศไทยเป็นงานๆ ไป
งานแรกที่ได้ท�ำงานร่วมกับทฤษฎี คือเพลง “นิรันดร์” (Eternity) คีตาลัย ถวาย สมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ เจ้ า ฟ้ า กั ล ยาณิ วั ฒ นา กรมหลวงนราธิ ว าส ราชนครินทร์ โดยเพลงดังกล่าวบรรจุอยู่ใน อัลบั้ม “ประโคมเพลงประเลงถวาย” ซึ่งใช้ แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ ถือว่า เป็นความภาคภูมิใจมากที่ได้อยู่เบื้องหลัง งานใหญ่ตั้งแต่อายุเพียง ๒๐ ปี ต่อมา ๒๕๕๒ เป็ น ปี ที่ ส มเด็ จ พระเจ้ า ภคิ นี เ ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ ๗ รอบ ระหว่างนัน้ เป็น ช่วงเวลาเดียวกับงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ก็ได้ เข้าร่วมในคณะท�ำงาน และได้รบั มอบหมาย จากสมาคมนักเรียนเก่าฯ ไปประชุมเรื่อง งานเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ ในขณะนั้นมีความคิดร่วมกับทฤษฎี ณ พัทลุง อยู่แล้วว่าประสงค์จะแต่งเพลง ถวาย จึงได้เรียนไปยังคุณบุรณี รัชไชยบุญ ถึงความประสงค์นี้ และได้มีการน�ำเข้าที่ ประชุมแจ้งให้กรรมการทราบ ซึ่งทุกคนต่าง ก็ยินดีและต่างรอคอยฟังบทเพลงๆ นี้ตั้งแต่ รู้ข่าวว่าจะมีการผลิต โดยเพลงที่จะผลิตขึ้น ได้แรงบันดาลใจจาก “บทกล่อม” จากเรื่อง พระเกียรติรถ พระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็น บทที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพื่อจัดการแสดง สมโภชการประสูติสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ และ ทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงพระราชประวัติ ต่าง ก็มักเริ่มด้วยบทกล่อมนี้ จึงเป็นสิ่งที่เราได้รู้
103
ได้เห็น ติดหัวเรามาตัง้ แต่เด็ก จึงต้องการน�ำ มาผลิตเพื่อให้มีชีวิตอีกรอบ ความยากของการแต่ ง เพลงของ นักดนตรี คือ “อารมณ์” เพลงนั้นจะไพเราะ ได้ ก็ ต ้ อ งเกิ ด ขึ้ น จากอารมณ์ ข องผู ้ ค นนั้ น จริงๆ ในตอนแรกทางทฤษฎีเองยังหาแรง บันดาลใจในการแต่งไม่ได้ กอปรกับผู้ใหญ่ ที่ไปปรึกษาเรื่องการจัดท�ำเพลงได้แจ้งใน ที่ประชุมรับทราบว่าจะมีการจัดท�ำเพลงนี้ ขึ้น ดังนั้นกรอบระยะเวลาการท�ำเพลงนี้จึง มีระยะเวลาจ�ำกัดมาก ด้วยเหตุนี้เองการ ท�ำความเข้าใจและการท�ำข้อมูลให้แก่ทฤษฎี เพื่อแต่งเพลงให้นั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ถึงกับต้องไปหาไฟล์เสียงของคนทีเ่ คยขับร้อง ในท�ำนองเพลง “ปลาทอง” ไว้ในอดีตมาฟัง ในตอนนัน้ อารมณ์ความรูส้ กึ ในใจของจูเนียร์ คือ ความมุมานะทีจ่ ะผลิตเพลงถวายสมเด็จ เจ้าฟ้าฯ เพชรรัตนฯ ให้ส�ำเร็จ จึงอยากท�ำ เพลงทีม่ คี วามหมายดีและท่วงท�ำนองไพเราะ ถวายให้ทันวาระมงคลให้ได้ เมื่ อ ทฤษฎี เ ริ่ ม แต่ ง เพลงนี้ ก็ ท� ำ ให้ เห็ น ถึ ง ความท้ า ทายในทางดนตรี อ ยู ่ ไม่น้อย เพราะต้องผสมผสานเนื้อร้องและ ท�ำนองระหว่างดนตรีไทยและคลาสสิกเข้า ด้ ว ยกั น หลั ง จากนั้ น หนึ่ ง สั ป ดาห์ เ พลงนี้ ก็ ส� ำ เร็ จ สมบู ร ณ์ พ ร้ อ มส� ำ หรั บ การบั น ทึ ก เทปวีดิทัศน์ ที่พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท เพลง “พระหน่อนาถ” เป็นการประพันธ์ดนตรีขึ้นใหม่ โดยยังคง ใช้ค�ำร้องเดิมในการขับร้อง เครื่องดนตรีที่ anuman-online.com
เจ้าฟ้าฯ ในดวงใจ เด็กในหลวง ใช้ประกอบก็มที งั้ เครือ่ งดนตรีไทยและเครือ่ ง ดนตรีสากล บทกล่อมนีถ้ อื ได้วา่ เป็นสายใยเดียวที่ เชือ่ มโยงระหว่างพ่อและลูก เป็นบทกลอนที่ พ่อเขียนถึงลูกโดยแท้ อารมณ์ความรูส้ กึ ของ กลอนบทนีเ้ ต็มไปด้วยทัง้ ความสุข ความดีใจ ความตื่นเต้นของคนที่ก�ำลังจะเป็นพ่อคน ทุกค�ำต่างเต็มเปี่ยมด้วยความหมาย ท่อนที่ ประทับใจมากที่สุดคือ ท่อนแรกเริ่มที่กล่าว ว่า “พระเอยพระหน่อนาถ งามพิลาสดัง ดวงมณีใส พระเสด็จจากฟ้าสุราลัย มาเพื่อ ให้ฝูงชนกมลปรีดิ์” เป็นบทกลอนที่ไพเราะ มาก ส่วนท่อนสุดท้ายทีว่ า่ “เหล่าข้าทูลลออง สนองภั ก ดี ส นองพระคุ ณ ไท” เป็ น บทที่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้จัดท�ำเพลง นี้ กลอนบทนี้จึงมีความลงตัวทั้งในแง่ของ ประวัติความเป็นมาของกลอนบทนี้ เนื้อหา ที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ และช่วงเวลาที่ จัดท�ำเพลงก็เป็นโอกาสพิเศษ ทุกอย่างลงตัว ไปโดยปริยาย กระบวนการจัดท�ำเพลงนี้ถือว่าเป็น งานควบคุมการผลิตเพลงอย่างเต็มรูปแบบ ชิ้นแรกในชีวิต อุปสรรคจึงเยอะมาก เพราะ หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ คือต้องดูแลทุกส่วน ของกระบวนการผลิต ตั้งแต่ตามนักดนตรี, เสื้อผ้า, แต่งหน้าท�ำผม, อุปกรณ์ที่ใช้, การ อนุญาตใช้สถานที่พระราชวังพญาไท ฯลฯ ส�ำหรับวงดนตรีทบี่ รรเลงเพลงพระหน่อนาถ นีไ้ ม่มชี อื่ วงใดๆ ทัง้ สิน้ เพราะเป็นการรวมตัว เฉพาะกิ จ ของบรรดาสุ ด ยอดนั ก ดนตรี
มื อ หนึ่ ง ในแต่ ล ะเครื่ อ งดนตรี ช นิ ด นั้ น ๆ นอกจากทฤษฎีแล้วยังมีนักดนตรีท่านอื่นๆ เช่น คุณธีรนัยน์ ณ หนองคาย ซึง่ เป็นนักร้อง แถวหน้ า ของประเทศไทย เธอสามารถ ตีความตามอารมณ์ของบทเพลงได้ดีมาก กอปรกับช่วงทีท่ ำ� การบันทึกเพลงนัน้ คุณธีรนัยน์เองก็เพิ่งจะคลอดบุตรได้ไม่นาน ดังนั้นอารมณ์ความรู้สึกของความเป็นแม่จึง มีสว่ นส�ำคัญทีท่ ำ� ให้การถ่ายทอดอารมณ์ของ บทเพลงออกมาได้อย่างลงตัวมาก นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี นักซอสามสายชั้นครู และร้อยเอกสมนึก แสงอรุณ มือขลุ่ยวงฟองน�้ำ ร่วมถ่ายทอด งานด้วยความเป็นเลิศในทางดนตรี และ ความตรงต่ อ ขอทุ ก คนผนวกความเป็ น มืออาชีพที่แท้จริง จึงท�ำงานเดินหน้าอย่าง รวดเร็ว บันทึกเทปเพียงสองครัง้ ก็ผา่ น เพลงนี ้ จึงส�ำเร็จออกมาได้ด้วยดี เมื่ อ สมเด็ จ ฯเจ้ า ฟ้ า เพชรรั ต นฯ สิ้นพระชนม์ ทางสื่อมวลชนต่างก็ต้องการ หาเพลงเพื่อน�ำมาใช้ประกอบพระประวัติ เข้าใจว่าสื่อต่างๆ คงค้นหาผ่านทาง google และคงได้เข้าไปเจอเพลงพระหน่อนาถใน youtube เข้า ซึ่งก่อนหน้านี้ ถ้าไปค้นหา บทเพลงที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สมเด็ จ ฯ เจ้ า ฟ้ า เพชรรัตนฯ นัน้ แทบจะไม่มเี ลย มีเพียงเพลง “พระหน่อนาถ” เพียงเพลงเดียว ตัวมิวสิค วิดโี อเพลงพระหน่อนาถทีล่ งใน youtube ซึง่ น�ำลงไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปี ๒๕๕๔ มี ยอดผู้เข้าชมเพียงหกพันกว่าคนเท่านั้น แต่
105 พอเพลง “พระหน่อนาถ” นี้ได้รับกระแส ตอบรับที่ดีจากสื่อมวลชน จนน�ำไปสู่การ ออกรายการข่ า วทางช่ อง ๓ และสถานี โทรทัศน์อื่นๆ อย่างแพร่หลาย จึงท�ำให้เกิด ความสนใจเพิ่มทวีคูณมากยิ่งขึ้น จนยอด ผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นไปเป็นสี่หมื่นภายในระยะ เวลาเพียงสองอาทิตย์ (ปัจจุบันที่ก�ำลังพิมพ์ บทความนี้ยอดเข้าชมเพิ่มไปถึง ๘๒,๓๐๘) นอกจากบทเพลง “พระหน่อนาถ” ที่ คุณธีรนัยน์ ขับร้องไว้แล้วนั้น ยังมีในแบบที่ ขับร้องโดยของนักร้องชายคือ อาจารย์สุรุจ ปรีดารัตน์ ซึ่งขับร้องครั้งแรกที่หอประชุม วชิราวุธวิทยาลัย ในการแสดงดนตรี “เพชร รัตนราชสุดา วาทนะสักการ” และมีแบบ ร้องคู่ด้วย บทเพลงทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของ ทฤษฎี ณ พัทลุง แต่เพียงผู้เดียว ไม่มีการ วางจ�ำหน่ายแต่อย่างใด หากแต่มีผู้ประสงค์ จะน�ำบทเพลงนี้ไปใช้ก็สามารถน�ำไปใช้ได้ เพี ย งแต่ ท� ำ หนั ง สื อ ขออนุ ญ าตเพื่ อ บอก เจ้าของบทเพลงเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่คณะผู้จัดท�ำเพลงนี้ทุกคน มีความคาใจคือ เพลง “พระหน่อนาถ” นี้ ยั ง ไม่ ไ ด้ เ ล่ น บรรเลงถวายหน้ า พระที่ นั่ ง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ เพชรรัตนฯ สักครั้งเลยด้วย
สัมภาษณ์ กิตติเดช ฉันทังกูล ศศินทร์ วิทูรปกรณ์
ตารางเวลางานของแต่ละคนทีว่ า่ งไม่ตรงกัน จนกระทัง่ พระองค์ทา่ นสิน้ พระชนม์ อย่างไร ก็ ต ามเพลงนี้ ยั ง ได้ มี โ อกาสมาใช้ ใ นงาน พระราชพิ ธี พ ระศพ ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น การได้ ส่งเสด็จพระองค์ทา่ นอีกทางหนึง่ ในช่วงงาน พระเมรุสื่อมวลชนต่างพร้อมใจใช้เพลงๆ นี้ อย่างที่เราไม่คาดฝัน จนกระทั่งวันอังคารที ่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา คณะผู้ผลิต เพลงพระหน่อนาถก็มีโอกาสไปแสดงเพลง ดังกล่าวทีพ่ ระเมรุ ท้องสนามหลวง ซึง่ ถือว่า เป็นการท�ำงานที่สมบูรณ์แล้วจริงๆ ทุกคน ต่างตื้นตันและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ บทเพลงๆ นี้ ในอนาคตทางกลุ ่ ม นั ก ดนตรี นี้ ยังคงสืบสานงานพระราชนิพนธ์ในรัชกาล ที่ ๖ อยู่เสมอ โดยได้น�ำบทกลอนต่างๆ มา บรรจุเพลงลงไป ที่ท�ำเสร็จไปแล้วตอนนี้ก็ มี “ราชธรรมพระธรรมราช” จากพระราช นิพนธ์เรือ่ ง “พระนลค�ำหลวง” ซึง่ ใช้บรรเลง กับวงซิมโฟนีขนาดใหญ่ และจะน�ำไปใช้ใน การแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ฯ ในงาน “SIAM SYMPHONY ศุภมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา” และจะจัด แสดงภายในสิ้นปี ๒๕๕๕ นี้
ถ่ายภาพ โอวี ๗๓ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ โอวี ๗๙
เรียบเรียง โอวี ๗๙ กิตติเดช ฉันทังกูล
โอวี ๗๓
anuman-online.com
106 เรือนจาก นักเรียนเก่าฯ เล่าเรื่องสนุก
ก้าวต่อไปของ
หอวชิราวุธานุสรณ์: อ.จรรมนง แสงวิเชียร และ เชื้อพร รังควร หอวชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ ถู ก สร้ า งขึ้ น มา ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เพือ่ ร่วมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี วันพระบรมราชสมภพของพระบาท สมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว โดยมี มล.ปิ่น มาลากุล เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ในการจัดตัง้ ขึน้ จนส�ำเร็จ หอวชิราวุธานุสรณ์ตงั้ อยูต่ ดิ กับหอสมุดแห่งชาติบริเวณท่าวาสุกรี เป็ น อาคารทรงไทยประยุ ก ต์ ข นาดใหญ่ ภายในอาคารถู ก แบ่ ง ออกเป็ น ส่ ว นต่ า งๆ ทั้งส�ำหรับจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ แหล่งค้นคว้าเอกสาร
หนังสือที่เกี่ยวกับพระองค์ท่าน และยังมี ห้องประชุมศรีอยุธยาพร้อมส�ำหรับจัดการ แสดงละครหรือปาฐกถาต่างๆ ด้วยความพร้อมและการสนับสนุน เป็นอย่างดีจากอดีตข้าราชบริพาร มหาดเล็ก เหล่าเสือป่า และประชาชนผู้มีศรัทธาใน พระมหาธี ร ราชเจ้ า หอวชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ จึ ง ได้ ก ลายเป็ น อนุ ส รณ์ ส� ำ คั ญ อี ก แห่ ง ที่เปิดให้ผู้คนเข้าร่วมร�ำลึกและเรียนรู้พระ ราชกรณียกิจด้านต่างๆ ของพระองค์ท่าน สมดังชื่อ
ถึงแม้ว่าหอวชิราวุธานุสรณ์จะได้รับ การสนับสนุนด้วยดีมาตลอดกว่าสามสิบปีที่ ผ่านมา แต่เมือ่ สภาพสังคมเปลีย่ นไป ทุกอย่าง ก็ตอ้ งปรับตาม ไม่เช่นนัน้ จะถูกคนร่วมสมัย กล่าวหาว่าล้าสมัย จนถูกละเลยไปในที่สุด หลายสิ่งหลายอย่างในหอวชิราวุธานุสรณ์ ยังคงสภาพตามแบบต้นฉบับไว้อยู่ ถึงแม้ว่า จะเป็นของดี แต่ถ้าไม่ได้รับการแต่งเติมให้ มีความร่วมสมัยเข้ามาบ้าง ก็คงจะเรียกให้ ผู้คนในสมัยนี้เข้ามาสนใจได้ยาก ความโมเดิ ร ์ น หรื อ ความทั น สมั ย น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ อาจารย์จรรมนง แสงวิเชียร (โอวี ๔๓) ในฐานะประธานของ หอวชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ แ ละที ม งานเห็ น ว่ า มี ความจ�ำเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับการพัฒนาให้
หอวชิราวุธานุสรณ์กลับมาเป็นที่สนใจของ สังคมให้ได้อีกครั้ง เนื่องจากระบบต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นส่วน Software อย่างระบบบัญชี ระบบการจัดการข้อมูล ก็ล้วนแต่ค่อนข้าง ตกสมัยไปบ้าง ท�ำให้ไม่ได้เกิดการพัฒนา ไปเท่าที่ควร “หอวชิราวุธานุสรณ์จะต้อง เลีย้ งตัวเองให้ได้” อาจารย์จรรมนงกล่าวขึน้ ก่อนจะเล่าต่อว่า “ที่นี่มีสิ่งล�้ำค่าอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาพระบรมฉายาลักษณ์สีน�้ำมัน ของพระองค์ท่าน ที่วาดโดย Galileo Chini ศิ ล ปิ น ระดั บ ชาติ ข องอิ ต าลี ที่ เ คยเข้ า มา ท�ำงานในเมืองไทย ซึง่ ถ้าหากให้ตมี ลู ค่าแล้ว น่าจะไม่ตำ�่ กว่า ๑๐ ล้านบาทในปัจจุบนั และ ก็ยังมีเครื่องใช้ส่วนพระองค์อื่นๆ อีกหลาย อย่างที่มีคุณค่ามาก เราก็คิดจะท�ำจ�ำลอง
anuman-online.com
ออกมา ท�ำเป็นโปสเตอร์ไว้ขายเป็นของที่ ระลึกเหมือนที่พิพิธภัณฑ์ทุกที่นิยมท�ำกัน” ส�ำหรับส่วน Hardware อย่างระบบ ไฟฟ้า ระบบเสียง ระบบแสง ก็มคี วามจ�ำเป็น ไม่น้อยไปกว่ากัน “อย่างแรกเลย ที่นี่ไม่มี ทางหนีไฟ” พีเ่ ชือ้ พร รังควร (โอวี ๕๘) ผูช้ ว่ ย ผู้บริหารงานในสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ซึ่ง ขณะนี้ได้เข้ามาช่วยดูแลหอวชิราวุธานุสรณ์ มองเห็นว่าเป็นลักษณะทางกายภาพที่ต้อง ได้ รั บ การปรั บ ปรุ ง เนื่ อ งจากตั ว อาคาร หอวชิราวุธานุสรณ์มีอายุมาร่วมกว่า ๓๐ ปี จ�ำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อให้ สามารถอยู่ต่อไปได้อย่างมั่นคง ปั ญ หาหลั ก ที่ พ บมาโดยตลอดคื อ เรื่ อ งของระบบไฟฟ้ า ในห้ อ งนิ ท รรศการ ถาวร ระบบไฟฟ้าของที่นี่เป็นระบบควบคุม พร้อมกันทั้งหมด จะเปิดไฟเพียงบ้างจุดไม่ ได้ ต้องเปิดพร้อมกันทัง้ ห้องเพียงอย่างเดียว ซึง่ นิทรรศการก็มขี นาดกว้างมาก การจะเปิด ระบบไฟฟ้าสักครั้ง จึงเป็นภาระค่าไฟฟ้าที่ ค่อนข้างสูง เช่นนี้แล้วเมื่อมีผู้ที่สนใจเข้ามา ติดต่อขอชมนิทรรศการเพียงคนเดียว จึงไม่ ค่อยคุม้ ทุนกับภาระทีท่ างหอวชิราวุธานุสรณ์ จะต้องแบกไว้ เรื่องนี้เป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้อง ได้รับการจัดการใหม่ รวมไปถึงรูปแบบการ เข้าชมและวิธีการน�ำเสนอที่น่าสนใจ “เราอยากจะให้คนมาที่นี่แล้วรู้เลย ว่าช่วงเวลา ๑๕ ปีที่ท่านครองราชย์ ท่านได้ ทรงท�ำอะไรไว้เพื่อประเทศชาติบ้าง หลายๆ คนในสมัยหนึ่งอาจจะไม่เข้าใจว่าท่านท�ำ
ไปเพื่ออะไร แต่เมื่อเราได้มาวิเคราะห์กัน ต่ อ จากผลที่ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว เราจึ ง เข้ า ใจได้ เลยว่าท่านทรงมีวิสัยทัศน์ล�้ำสมัยไปมาก และหลายๆ เรื่ อ งก็ น ่ า จะน� ำ มาศึ ก ษาได้ ในปัจจุบัน” อาจารย์จรรมนงชี้แจงถึงอีก จุดประสงค์ในการพัฒนาหอวชิราวุธานุสรณ์ ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้จากแนวคิดของ ปราชญ์อีกพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์ ไทย วิสัยทัศน์ที่ล�้ำสมัยของพระองค์ท่าน อย่ า งหนึ่ ง ที่ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ กั น ในวงกว้ า ง คื อ วิ สั ย ทั ศ น ์ เ รื่ อ ง ก า ร ป ก ค ร อ ง แ บ บ ประชาธิปไตยผ่านเมืองจ�ำลอง “ดุสิตธานี” เมื อ งจ� ำ ลองแห่ ง นี้ เ ป็ น สถานที่ ท ดลอง การปกครองแบบประชาธิ ป ไตยในระดั บ ท้องถิน่ ก�ำหนดให้มธี รรมนูญในการปกครอง มีการลงคะแนนเลือกกรรมการสภา มีการ ประชุมอยู่เป็นประจ�ำ ทว่าการทดลองเช่นนี้ ท�ำให้หลายคนเข้าใจว่าเป็นเพียงการเล่นบ้าน ตุ๊กตา ผลการทดลองนี้ไม่ส�ำเร็จเท่าที่ควร จึงท�ำให้ต้องล้มเลิกไป เจ้าของบ้านจ�ำลอง ต่างๆ ก็ขนย้ายบ้านของตัวเองออกจากสวน ในพระราชวังพญาไทแยกย้ายกันไป จนเมือ่ มีหอวชิราวุธานุสรณ์เกิดขึ้น ทางเจ้าหน้าที่ ก็ได้รับบ้านจ�ำลองหลายหลังที่อยู่ในสภาพ ทรุดโทรม ซึ่งเมื่อบูรณะเสร็จแล้วก็น�ำส่วน ที่ เ หลื อ ของดุ สิ ต ธานี ม าจั ด แสดงใหม่ ใ น ชัน้ บน หากใครทีอ่ ยากเห็นสภาพว่าดุสติ ธานี มีลกั ษณะสวยงามวิจติ รเช่นไร คงต้องมาเยีย่ ม ดูให้ได้ ณ หอวชิราวุธานุสรณ์แห่งนี้เท่านั้น anuman-online.com
110 เรือนจาก
พีเ่ ชือ้ พรเสริมต่อว่า “สิง่ ทีเ่ ราอยากท�ำ คือ การเปิดมุมมองทางการศึกษาต่อยอด จากงานที่ ท ่ า นทรงนิ พ นธ์ ห รื อ สิ่ ง ที่ ท ่ า น ทรงท� ำ ไว้ แ ล้ ว น� ำ มาใช้ ประโยชน์ต่อ เรา ไม่ ไ ด้ อ ยากท� ำ นิ ท รรศการที่ จ ะให้ ค นมา เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านเพียงอย่าง เดียว เราอยากให้เขาได้เรียนรู้ ได้รู้จัก พระองค์ทา่ นในหลายด้าน หลายมิต”ิ เช่นนี้ แล้วการจัดรูปแบบนิทรรศการจึงจะมีเนือ้ หา ที่หลากหลาย อธิบายผ่านหุ่นขี้ผึ้งรูปจ�ำลอง ของพระองค์ท่านในแต่ละฉากแล้วโยงไปยัง
พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องตลอด ๑๕ ปี ของการครองราชย์ อีกส่วนที่อาจารย์จรรมนงเห็นว่ามี ความส�ำคัญไม่แพ้กับตัวนิทรรศการก็ คือ ส่วนของเอกสารทางประวัติศาสตร์ “เราจะ เอาเอกสารทีม่ อี ยูท่ งั้ หมดมาสแกนเพือ่ ท�ำให้ เป็น E-document แล้วอัพโหลดขึ้นไปใน อินเตอร์เน็ต ต่อไปใครจะอยูท่ ไี่ หนก็สามารถ ทีจ่ ะเข้าถึงเอกสารเหล่านัน้ ผ่านคอมพิวเตอร์ ผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวก แล้ว เรายังมีแผนที่จะตั้งเครือข่ายห้องสมุดของ
หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับพระองค์ทา่ น อย่าง โรงเรี ย นของเรา โรงเรี ย นมหาวชิ ร าวุ ธ ที่ ส งขลา หรื อ โรงเรี ย นปริ น ซ์ ร อแยลที่ เชียงใหม่ เราจะเชื่อมฐานข้อมูลของแต่ละ ห้องสมุดเข้าด้วยกันทางอินเตอร์เน็ต ใคร ต้องการใช้ขอ้ มูลจากห้องสมุดไหนก็สามารถ ไปดึงออกมาทางออนไลน์ได้ทันที โดยไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งไปถึ ง ที่ ตั้ ง ของห้ อ งสมุ ด นั้ น ๆ” อาจารย์จรรมนงอธิบายรูปแบบเครือข่าย ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่จะเปิดช่องทางใน การเข้าถึงเอกสารและฐานข้อมูลได้อย่าง
กว้างขว้าง นอกจากเครือข่ายทางข้อมูลเอกสาร กั น แล้ ว ทางมู ล นิ ธิ พ ระบรมราชานุ ส รณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (มูลนิธิรัชกาลที่ ๖) ยังมีแผนที่จะสร้าง เครือข่ายนิทรรศการทีเ่ กีย่ วข้องกับรัชกาลที่ ๖ ตามพระราชวังต่างๆ ที่เคยเป็นที่ประทับ โดยพระราชวังแต่ละที่ก็จะเล่าเรื่องพระราช กรณียกิจของพระองค์ที่ทรงท�ำขณะประทับ อยู่ ณ ทีน่ นั้ ๆ “อย่างทีพ่ ระราชวังสนามจันทน์ เราก็จะโยงไปยังเรื่องการป้องกันประเทศ เพราะสถานที่ นั้ น เป็ น ที่ จั ด ซ้ อ มรบของ เสือป่า กิจกรรมเสือป่าอาจจะเป็นกิจกรรม ทีม่ เี ป้าหมายคล้ายกับทหาร แต่จริงๆ แล้วมี รูปแบบทีต่ า่ งกันออกไป เสือป่าจะมีลกั ษณะ เป็นเหมือนชมรมทีใ่ ห้ผคู้ นได้มาแลกเปลีย่ น ความคิดอย่างเท่าเทียม โดยไม่มีแบ่งว่า ใครสู ง กว่ า หรื อ เหนื อ กว่ า ใคร คนที่ ไ ม่ มี โอกาสได้พูดก็จะได้รับโอกาส” พี่เชื้อพร ขยายความเพิ่มเติมให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น ที่ พ ระราชวั ง สนามจั น ทน์ จ ะเน้ น เรื่ อ งการป้ อ งกั น ประเทศ ส่ ว นที่ ห อ วชิราวุธานุสรณ์หรือพระราชวังพญาไทก็จะ แสดงเรื่องการปกครองเพราะมีดุสิตธานีตั้ง อยู่ ส�ำหรับพระราชนิเวศน์มฤคทายวันคงจะ แสดงเรือ่ งความเป็นนักปราญ์และศิลปินของ พระองค์ท่าน และต่อไปในอนาคตก็อาจจะ มีที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ มา เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนี้ด้วย anuman-online.com
112 เรือนจาก ตอนนี้ เ ราได้ มี ก ารพู ด คุ ย กั น บ้ า ง แล้วว่าจะมีการปรับปรุงวังรื่นฤดี ที่ประทับ ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์แสดง พระประวัติและพระกรณียกิจในด้านต่างๆ และอาจจะมีการจัดตัง้ ศูนย์การเรียนรูต้ ลอด ชีวติ ขึน้ ภายในพืน้ ทีข่ องวัง เพราะการศึกษา เป็ น สิ่ ง ที่ ส มเด็ จ เจ้ า ฟ้ า ให้ ค วามส� ำ คั ญ มา โดยตลอด เราอยากจะให้วังที่ประทับของ พระองค์ นี้ ก ลายเป็ น ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ข อง ชุมชน ให้เด็กนักเรียนในละแวกนั้นเข้ามา เรียนรู้ มาท�ำกิจกรรมต่างๆ เรายังคิดกันด้วยว่ าอยากจะจัดตั้ง หลักสูตรการอบรมส�ำหรับครูในโรงเรียน เครื อ ข่ า ย เราอาจจะใช้ พื้ น ที่ บ างส่ ว นใน ต�ำหนักพัชราลัยที่หัวหิน ซึ่งเป็นต�ำหนัก
ตากอากาศของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ เนือ่ งจากเป็น สถานทีค่ อ่ นข้างมีความพร้อมและเหมาะสม ส่วนสาเหตุที่จะต้องเป็นครู ก็เพราะว่าครู เป็นส่วนทีส่ ำ� คัญมากในการศึกษา เราอยาก จะให้ครูได้รับข้อมูลความรู้ ความเข้าใจ ที่มีต่อพระมงกุฎเกล้าฯ อย่างถูกต้อง เผื่อ จะได้น�ำไปถ่ายทอดให้กับเด็กนักเรียนกัน ต่ อ ไปได้ ดี เรื่ อ งครู นี้ มี ค วามส� ำ คั ญ มาก ถ้าครูไม่รู้ เด็กก็จะไม่รู้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องสถานที่ไม่ว่าจะ เป็นพระราชวัง หรือต�ำหนักส่วนพระองค์ ก็คงต้องรอพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสียก่อน พวกเราแค่คิด และวางแผนที่จะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระมงกุ ฎ เกล้ า ฯ และพระราชธิ ด าของ
พระองค์ ด ้ ว ยความพยายามที่ จ ะสานต่ อ พระราชปณิ ธ านของท่ า นไว้ ด้ ว ยการ ดั ด แปลงรู ป แบบให้ เ ข้ า กั บ ยุ ค สมั ย ใน ตอนนี้” อาจารย์จรรมนงสรุปวิสัยทัศน์ใน การสร้างเครือข่ายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง กับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เพื่อประโยชน์ ของสาธารณชนผ่านการร�ำลึกถึงพระปรีชา สามารถของพระองค์ท่าน สัมภาษณ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ กิตติเดช ฉันทังกูล จุมพล พิจารณ์สรรค์ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์
ถ่ายภาพ โอวี โอวี โอวี โอวี
การสร้างประโยชน์ให้กับคนหมู่ มากเหมือนดังทีอ่ าจารย์จรรมนงกับพีเ่ ชือ้ พร และคณะท� ำ งานของหอวชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ ก�ำลังท�ำอยู่นี้ นอกจากจะมีส่วนสร้างสรรค์ สังคมไทยในยุคสมัยใหม่ให้มีความเข้าใจ และไม่มองข้ามอดีตทีผ่านมา ยังอาจจะ ถื อ ได้ ว ่ า เป็ น การแสดงความระลึ ก และ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระมงกุ ฎ เกล้ า ฯ และ พระราชธิดาได้อย่างน่าชื่นชม เรียบเรียง
๔๖ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ ๗๓ ๗๙ ๗๙
โอวี ๗๙
anuman-online.com
114 สนามข้าง แหล่งเพาะน�้ำใจนักกีฬา
นกหวีด
สิ้นเสียง Vajiravudh Centenary
Sevens
ตอนที่ ๒
(ต่อจากฉบับที่แล้ว)
แล้วผมก็ใช้เวลากว่า ๓ เดือน หาข้อมูลจาก IRB (International Rugby Board: สหพั นธ์ รั ก บี้ โ ลก) ซึ่ ง มีส ถานภาพเหมือนกับ FIFA ที่ ควบคุ ม ดู แ ลการเล่ น ฟุ ต บอล หาข้อมูลจากสมาคมรักบี้ของประเทศที่เล่นรักบี้ชั้นน�ำของโลกอย่าง อังกฤษ สก็อตแลนด์ แอฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ อเมริกา แคนนาดา (โชคดีที่ยุคนี้มีอินเตอร์เน็ตแล้ว ถ้าเป็นเวลา ก่อนหน้านี้สัก ๑๐ ปีขึ้นไป ข้อมูลพวกนี้ไม่ได้หาได้ง่ายๆ แน่นอน) ข้อมูลต่างๆ ที่ผมได้ ทีมงานจัดการแข่งขัน
อ่านมาถือว่ามีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น ประวัตคิ วามเป็นมา กฎข้อบังคับ การพัฒนา ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ รวมไปถึง แผน กลยุทธ์ (Strategy Plan) รายงานประจ�ำปี (Yearly Report) นอกจากนีย้ งั มีกฎข้อบังคับ ของสมาคมรักบี้ประเทศต่างๆ อีกด้วย แล้วผมก็ได้ข้อสังเกตซึ่งความเห็น ส่วนตัวว่า สมาคมรักบีฯ้ ของประเทศไทยนัน้ ไม่ได้มกี ารปรับตัวตามสมาคมรักบีช้ นั้ น�ำ ทัง้ ใน แง่เทคนิค ความรูค้ วามเข้าใจ การด�ำเนินงาน การตรวจสอบวั ด ผล การติ ด ตามสภาพ ความเป็นไปของวงการรักบี้โลก เป็นต้น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะโครงสร้าง สมาคมกีฬาในบ้านเรา เป็นลักษณะมูลนิธิ หรือองค์กรการกุศลมากกว่า (ที่พูดแบบนี้ ไม่ใช่ว่าจะมาติติงสมาคมรักบี้ฯ อย่างเดียว เพราะสมาคมกีฬาประเภทอื่นในบ้านเราก็ ไม่ต่างกัน) ซึ่งในลักษณะนี้สมาคมฯ จะอยู่ ได้กข็ นึ้ กับหัว (นายกสมาคม) ทีต่ อ้ งมีบารมี และเงิน มีแม่บ้าน (เลขาธิการสมาคม) ที่ ขยัน เอาใจใส่ มีความเสียสละ และยังต้อง มีทมี งานส่วนอืน่ ๆ ทีด่ ี ไม่วา่ จะเป็นเหรัญญิก ฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายจัดการแข่งขัน ฝ่าย เทคนิค ฝ่ายกรรมการผู้ตัดสิน ฯลฯ ในขณะที่องค์กรอย่าง IRB หรือ สมาคมรักบี้ฯ ของประเทศต่างๆ มีการ บริหารงานในเชิงพาณิชย์ มีโครงสร้างองค์กร เกือบจะเหมือนโครงสร้างบริษัท ซึ่งมีการ ก� ำ หนดเป้ า หมายแน่ ชั ด มี ก ารก� ำ หนด แผนการด�ำเนินงาน มีการวัดผล มีการ
กรรมการไทย ๕ คน อีก ๒ คนจากต่างประเทศ
ตรวจสอบ อันเป็นมาตรฐานสากลในโลก กีฬาปัจจุบันไปแล้ว บ้ า นเรามี ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ กี ฬ ารั ก บี ้ เชิงพาณิชย์อยู่น้อยมาก เพราะไม่มีใครเคย น�ำมาวิเคราะห์ มีแต่การเสนอข่าว (อันทีจ่ ริง แค่ขา่ วรักบีใ้ นหน้าหนังสือพิมพ์กไ็ ม่คอ่ ยจะมี อยูแ่ ล้ว) แต่ในระดับโลกแล้ว กีฬารักบีไ้ ม่ได้ เป็นอย่างที่คนไทยทั่วไปคิด เพราะกีฬารักบี้ ถือเป็นกีฬาทีม่ ขี นาดใหญ่ระดับต้นๆ ของโลก ใหญ่ถึงขั้นที่นิตยสาร The Financial Times ท�ำสรุปออกมาเป็นหนังสือเรือ่ ง Business of Rugby Union โดยเฉพาะ) รั ก บี้ ชิ ง แชมป์ โ ลก (IRB Rugby World Cup) ถือเป็น event ทางกีฬาที่ anuman-online.com
116 สนามข้าง
ป้าย Banner รอบสนามนับแล้ว ๕๕ ป้าย (บน) Lexus ยังคงให้การสนับสนุนเป็นปีที่ ๒ (ล่าง)
มีรายรับเป็นอันดับ ๓ ของโลกรองจาก โอลิมปิกฤดูร้อน และฟุตบอลโลกเท่านั้น และมีรายรับสูสกี บั ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติ ยุโรป (EURO Cup) ปัจจุบันนี้มีการจัดการ แข่งขันรักบีอ้ าชีพแล้วในยุโรป และซีกโลกใต้ (Australia, New Zealand และ South Africa) ถึงแม้วา่ รายรับของนักรักบีอ้ าจจะจะ ไม่มากเหมือนกับนักฟุตบอลในลีกระดับต้น ของประเทศต่างๆ แต่ก็มากพอที่จะดึงดูด ให้มีคนเล่นเป็นอาชีพ และแนวโน้มที่ดีขึ้น เรื่อยๆ ทีมรักบี้บางทีม (โดยเฉพาะทีมใน ประเทศฝรั่งเศส) มีงบประมาณการท�ำทีม มากกว่า ๓๐ ล้านยูโร ต่อปี ส่วนรักบี้ ๗ คน World Series ก็ เป็ นการแข่ ง ขั นที่ น� ำ พาคนจากหลายที่ใน โลกมาดูการเล่นทีต่ นื่ เต้นเร้าใจ ภายในเวลา
๒-๓ วันในช่วงสุดสัปดาห์ มีการใช้จ่ายเงิน มากมาย กระตุ้นเศรษฐกิจแก่เมืองที่จัดได้ เป็นอย่างดี ผมเคยได้รับข้อมูลอย่างไม่เป็น ทางการมาว่าทีฮ่ อ่ งกง มีรายรับจากการเป็น เจ้าภาพรักบี้ ๗ คน World Series จาก ค่าผ่านประตู ค่าของที่ระลึก ค่า Sponsor ค่าอาหารและเครือ่ งดืม่ ไม่นอ้ ยกว่า ๖,๐๐๐ ล้านบาท ในช่วงเวลาแค่ ๓ วันเท่านั้น นี่ยัง ไม่รวมค่าที่พัก ค่าดื่ม ค่ากิน ค่าเที่ยว ค่า เดินทาง ค่าซือ้ ของฝาก รวมๆ กันแล้วฮ่องกง น่าจะมีรายได้เข้ามาไม่น้อยเลยในช่วงเวลา ๓ วันของการแข่งขัน เมื่อได้ศึกษาข้อมูลตามบัญชาของ ท่านนายกฯ แล้ว ผมก็ท�ำเรื่องเสนอสมาคม รักบีฯ้ ๒ ข้อ ได้แก่ ๑.เปลีย่ นแปลงข้อบังคับ ของสมาคมฯ บางข้อ และ ๒.เสนอแนวทาง ให้สมาคมฯ ด�ำเนินกิจกรรมในเชิงพาณิชย์ มากขึ้น เรื่องเปลี่ยนแปลงข้อบังคับสมาคมฯ ก็สามารถด�ำเนินการจนส�ำเร็จ ทุกๆ สโมสร เห็ น ชอบรั บ รอง ส่ ว นเรื่ อ งการด� ำ เนิ น กิจกรรมในเชิงพาณิชย์ ซึ่งผมเน้นเลยว่า การจัดการแข่งขันใดๆ ก็ตาม ควรท�ำให้เกิด รายรับให้ได้ และต้องให้ผู้เข้าร่วมทุกๆ ฝ่าย ไม่วา่ ผูเ้ ล่น ผูช้ ม หรือแม้แต่กรรมการ สนุก กับกิจกรรมนัน้ ๆ โดยผมได้ทำ � Presentation ไปเสนอ ในที่ประชุม ก็มีเสียงหัวเราะหือๆ จากหลายๆ คนในที่ประชุม (จริงๆ แล้วก็ เกือบทุกคน ยกเว้นอาช้อย) และมีค�ำถาม ท�ำนองว่า “จะเป็นไปได้หรือ?” ซึ่งผมก็ตอบ
ไม่ได้ คงได้แต่ต้องหาทางพิสูจน์ แล้ ว ผมก็ คิ ด ได้ ว ่ า น่ า จะเอาแผนก กี ฬ ารั ก บี้ ข องสปอร์ ต คลั บ มาใช้ เ ป็ น หนู ท ดลอง ตอนนั้ น ผมเป็ น เลขานุ ก าร กิติมศักดิ์ของแผนกรักบี้ พี่มอด (โอวี ๕๙) เป็นกัปตัน หนอง (โอวี ๖๐)เป็นเหรัญญิก แล้วยังมีพกี่ งุ้ (โอวี ๕๙) พีด่ าแรน (โอวี ๕๕) เป็ น กรรมการ ผมเสนอความเห็ น ในที่ ประชุมแผนกรักบีว้ า่ อยากจะจัดรักบี้ ๗ คน หาเงินเพือ่ ใช้จา่ ยในกิจกรรมของแผนกฯ ซึง่ กรรมการทุกคนก็เห็นด้วย การแข่งขันจึงเริม่ เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ปีนนั้ เราเริม่ ด้วยการเชิญทีมในเมืองไทย ก่อน การแข่งขันก็จัดแค่วันเดียว สมาชิก พีๆ่ น้องๆ ในแผนกฯ มาช่วยกันหาสปอนเซอร์ ซึ่งส่วนมากก็หาจากคนที่รู้จัก อย่างเจ้าแอ็ป (โอวี ๗๓) ขอจาก Lexus มาได้มากหน่อย นอกจากนั้นก็มีพี่ๆ ที่ช่วยกันอีกหลายราย อย่างพีเ่ ผือก (โอวี ๔๔) แห่งหลักทรัพย์ภทั ร และพี่เต่า (โอวี ๕๑) จาก Unilever เป็นต้น
การแข่ ง ขั น ในวั น นั้ น ก็ เ ป็ น ไปด้ ว ย ความเรี ย บร้ อ ย ทุ ก ที ม เล่ น เต็ ม ที่ ไม่ มี ทะเลาะหรือชกต่อยกัน ไม่ค่อยมีคนเถียง กรรมการ ซึ่งก็อาจเป็นเพราะเป็น Friendly Tournament ก็ได้ พอเสร็จการแข่งขันก็ มีจัดเลี้ยงให้กับทุกทีม ประธานสโมสรก็ ให้เกียรติมาร่วมงานและมอบรางวัลให้กับ ที ม ที่ ช นะเลิ ศ และของที่ ร ะลึ ก กั บ ทุ ก ที ม ที ่ เข้าร่วมการแข่งขัน สรุปผลการด�ำเนินงานในวันนั้น มี รายรับ ๒๔๙,๓๘๐ บาท รายจ่าย ๑๑๕,๖๖๐ บาท ก�ำไร ๑๓๓,๗๒๐ บาท ปีตอ่ มา พ.ศ. ๒๕๕๐ หนอง (โอวี ๖๑) เป็นกัปตัน ส่วนผมก็ได้เป็นเลขาฯ ต่ออีก ปี ปีนั้นนับเป็นปีที่เป็นพิเศษส�ำหรับแผนก รักบี้ของสปอร์ตคลับด้วย เพราะเป็นปีที่ แผนกรักบี้มีอายุครบ ๑๐๐ ปี เราจึงตั้งใจ ว่าจะจัดให้ดีกว่าเดิม เราเชิญรุ่นพี่เก่าของ แผนกฯ มาร่วมงานด้วย การแข่งขันมีความ หลากหลายมากกว่าปีก่อน และแน่นอนว่า
anuman-online.com
118 สนามข้าง ต้องการรายรับมากขึ้นด้วย พวกเราเริ่ ม วางแผนงานกั น ตั้ ง แต่ ต้ น ปี เราอยากจะจั ด การแข่ ง ขั น อื่ น ๆ นอกจาก ๗ คน ก็เลยเพิ่มรายการประลอง มินิรักบี้ และรักบี้อาวุโสเข้าไปด้วย ส�ำหรับ รักบีอ้ าวุโสนี้ ผูเ้ ล่นจะต้องมีอายุ ๔๕ ปีขนึ้ ไป และจะได้เล่นกับทีมนิสติ สาวจากจุฬาฯ ด้วย ปีนั้นเราได้ทีม The Royal Selangor Club ทีเ่ ล่นประเพณีกบั สปอร์ตคลับมาไม่ตำ�่ กว่า ๘๐ ปี มาร่วมแข่งด้วย นอกจากนั้น ก็ยังมีทีมเชียร์ลีดเดอร์ส�ำหรับงานฟุตบอล ประเพณี จุ ฬ าฯ – ธรรมศาสตร์ ม าเต้ น ส่งเสียงเชียร์อีกต่างหาก การหาสปอนเซอร์ปนี นั้ ได้หนิง (โอวี ๖๑) มาช่วย โดยตั้งเป้าไว้ว่าถ้าได้เงินเยอะ พอจะพาทั้งทีมไปดู Hong Kong Sevens เราก็เลยต้องใช้วิธีเหมือนการท�ำธุรกิจหรือ ขายสินค้า โดยบอกทุกๆ คนในทีมเลยว่า เงินค่าสปอนเซอร์ทหี่ ามาได้ จะตัดให้กบั คน ทีห่ ามา ๑๐% เพือ่ เอาไปหักค่าใช้จา่ ยในการ ไปฮ่องกง เช่น สมมุติว่าใครหาสปอนเซอร์ มาได้ ๒๐,๐๐๐ บาท เวลาไปฮ่องกงก็จะได้ ส่วนลดให้ ๒,๐๐๐ บาท ถ้าค่าใช้จ่ายในการ ไปฮ่องกงอยูท่ ี่ ๑๐,๐๐๐ บาท ก็จะจ่ายเพียง แค่ ๘,๐๐๐ บาทเท่านั้น ปีนั้นทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันมาก เราได้สปอนเซอร์เจ้าใหญ่ๆ มากจาก Raimon Land, เครื่องดื่มช้าง, GSM, Lexus และอื่นๆ อีกหลายเจ้า นอกจากนั้นก็ยังมี บางรายทีใ่ ห้มาเป็นของแทนอย่างเช่น เบียร์,
ไวน์ และบัตรก�ำนัล เป็นต้น รวมแล้วปีนั้นเราได้สปอนเซอร์มา เป็นมูลค่า ๙๖๘,๐๐๐ บาท เป็นเงินสด ๗๒๐,๐๐๐ บาท เสียค่าใช้จ่ายในการจัดไป ๔๑๘,๐๐ บาท ได้ก�ำไร ๓๐๒,๐๐๐ บาท นี่นับเฉพาะรายรับจากสปอนเซอร์เท่านั้น ยังไม่รวมค่าเสือ้ ทีร่ ะลึกและขายสลาก Raffle อี ก ในวั น นั้ น เราได้ ก� ำ ไรโดยรวมอยู ่ ที่ ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาท คงถือว่าไม่เลว นะครับ ส�ำหรับการจัดแข่งรักบี้วันเดียว ต่ อ มาในปี พ.ศ.๒๕๕๑ ผมเป็ น กัปตันของแผนกก็เลยจัดต่ออีกปี แต่เลือ่ นไป จัดในเดือนมกราคม ๒๕๕๒ การด�ำเนินการ เริ่มง่ายขึ้น เพราะเรามีประสบการณ์ในการ จัดมาแล้ว ๒ ปี แผนงานทุกอย่างด�ำเนินการ แบบ Project Management (การบริหาร โครงการ) แบ่งหน้าที่เป็นหลายฝ่าย นัด ประชุ ม กั น ทุ ก ๆ ๒ อาทิ ต ย์ โดยผมจะ ท�ำหน้าที่ีเป็นเหมือน Project Manager (ผูจ้ ดั การโครงการ) คอยไล่ถามความคืบหน้า ของทุกๆ ฝ่ายที่มอบหมายไป จะเรียกว่า ไล่เบี้ยก็ได้ครับ เพราะทีมงานส่วนใหญ่เป็น โอวีรุ่นน้องเกือบทั้งหมด ปีนั้นเรางดรักบี้ อาวุโสไป เพราะผู้เล่นอาวุโสไม่พร้อม แต่ เพิ่มจ�ำนวนทีมมินิรักบี้ขึ้นมาแทน ซึ่งก็ได้ ผลตอบรับทีด่ มี ากจากผูป้ กครองเด็ก เรายัง ได้เช่าอัฒจรรย์ชั่วคราวและพัดลมมาติดตั้ง ในสนามอ�ำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าร่วม งานด้วย ส่วนทีมที่เข้าแข่งขัน นอกจากทีม ในไทยแล้ว ก็มี The Royal Selangor Club
ได้ไปฮ่องกงตามที่ตั้งเป้าไว้
ซึง่ คงติดใจไทยแลนด์มาร่วมแข่งเป็นปีทสี่ อง มี Volunteer Referee (ผูต้ ดั สินอาสาสมัคร) ๒ คน จากญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ผู้สนับสนุนหลักๆ ก็เป็นเครื่องดื่ม ช้าง, Raimon Land, โรงพยาบาลกรุงเทพ และรายย่อยๆ อีกรายหลายทีใ่ ห้มาทัง้ เงินสด และของก�ำนัลต่างๆ บ้าง รวมแล้วเราได้ สปอนเซอร์มาทั้งหมดมูลค่า ๑,๑๐๒,๐๐๐ บาท เป็นเงินสด ๕๙๐,๐๐๐ บาท มีคา่ ใช้จา่ ย ในการจัดงาน ๓๙๒,๐๐๐ บาท มีรายได้ จากการขายสลาก Raffle, อาหารเครือ่ งดืม่ , ประมูลนาฬิกา ฯลฯ รวมแล้วก็มีเงินเข้า แผนกฯ ประมาณ ๔๓๐,๐๐๐ บาท แล้ว ยังมีบัตรก�ำนัลห้องพักโรงแรม ที่เราเก็บไว้ ส�ำหรับแผนกฯ ไปกันเองด้วยอีก
การทดลองการจัดรักบี้เชิงพาณิชย์ ตามที่ผมได้เคยเสนอไว้ ได้ผลที่ออกมาเป็น ยืนยันแล้วว่า สิ่งที่ผมเคยเสนอต่อสมาคม รักบี้ฯ เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสามารถปฏิบัต ิ ได้จริง ขนาดระดับชมรมจัดยังสามารถสร้าง รายได้ขนาดนี้ ถ้าเป็นองค์กรทีใ่ หญ่กว่าก็นา่ จะสามารถหารายรับได้มากกว่านี้แน่นอน และเมื่อมีโอกาสได้รับชวนให้เข้าไป เป็นคณะกรรมการจั ด งาน ๑๐๐ ปี ข อง โรงเรียน ผมจึงเริ่มร่างภาพของการแข่งขัน รักบี้ที่ดีที่สุดส�ำหรับงานฉลองครั้งใหญ่ของ โรงเรียน (โปรดติดตามตอนต่อไป) นครา นาครทรรพ (โอวี ๖๑)
anuman-online.com
120 จดหมายเหตุ ว ชิ ร าวุ ธ ฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
ตึก
เพชรรัตน การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์นั้น กล่าวกันว่าถ้าจะให้ นักเรียนได้ความรู้ความเข้าใจในวิชาที่เรียนโดยสมบูรณ์แล้ว โรงเรียนจะต้องจัดให้การเล่าเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาค ปฏิบัติพร้อมกันไปด้วย เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เสด็จสวรรคตใน
ตึกเพชรรัตน
สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิ ริ โ สภาพั ณ ณวดี และพระนางเจ้ า สุ วั ท นา พระวรราชเทวี ทรงวางศิลาฤกษ์ตึกเพชรรัตน
พ.ศ. ๒๔๖๒ แล้ ว พระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ใ ห ้ รื้ อ ย ้ า ย พ ร ะ ต� ำ ห นั ก พ ญ า ไ ท ม า ปลู ก สร้ า งเป็ น หอเรี ย นวิ ท ยาศาสตร์ ที่ โรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวง และได้ ใ ช้ เ ป็ น หอเรี ย นวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ข องโรงเรี ย น มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๓ ต่ อ มาในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ได้ โ ปรดเกล้ า ฯ ให้ ว ชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย เปิ ด การสอนแผนก วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมปลาย เพื่อ เป็ น ทางเลื อ กของนั ก เรี ย นให้ ไ ด้ มี โ อกาส
เลือกเรียนได้ตามความถนัดของตน ในช่วง เวลานี้โรงเรี ย นจึ ง ได้ จั ด สร้ า งห้ อ งทดลอง วิทยาศาสตร์ขึ้นที่ด้านทิศใต้ของหอประชุม เป็ น ตึ ก ขนาดย่ อ มชั้ น เดี ย ว หลั ง คามุ ง กระเบื้อง ผนังทาสีเหลืองหน้าต่างประตู ทาสี เ ขี ย วและแดงเหมื อ นหน้ า ต่ า งประตู ตึกคณะทั้งสี่ อาคารหลังนี้คงใช้เป็นสถานที่ เล่ า เรี ย นวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ จ นยุ บ เลิ ก การ เรียนชั้นมัธยมปลายในปีการศึกษา ๒๔๘๒ โรงเรียนจึงได้ใช้อาคารนี้เป็นกองบังคับการ โรงเรี ย น เป็ น คลั ง เก็ บ เครื่ อ งดนตรี แ ละ เป็นสถานที่ฝึกซ้อมของวงหัสดนตรี (แจ๊ซ) ต่ อ มา จนรื้ อ ถอนไปเมื่ อ คราวปรั บ ปรุ ง สนามข้างหอประชุมใน พ.ศ. ๒๕๑๔ ต่อมา เมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชันษาครบ ๓ รอบนักษัตร ใน พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้มีพระด�ำริที่จะทรง สร้างถาวรวัตถุไว้ในวชิราวุธวิทยาลัยซึ่งเป็น พระบรมราชานุสาวรีย์ในสมเด็จพระบรม ชนกนาถ ประจวบกับเวลานั้นโรงเรียนยัง ขาดสถานที่ทดลองวิทยาศาสตร์อันทันสมัย จึ ง ได้ น� ำ ความประสงค์ นั้ น กราบทู ล ทราบ ฝ่าพระบาท ต่อจากนัน้ ได้มรี บั สัง่ ให้โรงเรียน ออกแบบและจัดท�ำผังอาคารขึ้นถวายทอด พระเนตร วชิราวุธวิทยาลัยได้ขอให้นกั เรียนเก่า มหาดเล็ ก หลวง หม่ อ มเจ้ า โวฒยากร วรวรรณ ซึ่ ง ขณะนั้ น ทรงด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ค ณ บ ดี ค ณ ะ ส ถ า ป ั ต ย ก ร ร ม ศ า ส ต ร ์ anuman-online.com
122 จดหมายเหตุวชิราวุธฯ
หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ นักเรียนเก่า มหาดเล็กหลวงผู้ออกแบบตึกเพชรรัตนถวาย โดยไม่รับค่าตอบแทน
จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ทรงร่ า งแบบ ถวายทอดพระเนตร เมื่อชอบด้วยพระด�ำริ แล้ ว จึ ง ได้ โ ปรดเกล้ า ฯ พระราชทานเงิ น ส่วนพระองค์จ�ำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ให้ เป็นทุนประเดิมในการก่อสร้างอาคาร และ ยั ง ได้ พ ระราชทานเงิ น รายได้ จ ากการจั ด แสดงละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระร่วง ซึ่ง โปรดให้จัดแสดงในวันคล้ายวันประสูติครบ ๓ รอบ สมทบอีก ๑๘๐,๐๐๐ บาท
หอเรียนวิทยาศาสตร์หลังนี้ เป็นตึก สองชั้นหลังคามุงกระเบื้องเคลือบสีน�้ำเงิน ชั้นล่างจัดเป็นห้องบรรยายและห้องปฏิบัติ การวิ ช าเคมี แ ละฟิ สิ ค ส์ ชั้ น บนจั ด เป็ น ห้องเรียนสามห้อง บริษทั โชคชัย จ�ำกัด เป็น ผู้รับเหมาก่อสร้างในวงเงินรวม ๔๖๐,๐๐๐ บาท กั บ มี ค ่ า ออกแบบและควบคุ ม การ ก่อสร้างอีก ๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งหม่อมเจ้า โวฒยากร วรวรรณ ผูท้ รงออกแบบไม่ทรงรับ ทรงอุ ทิ ศ ถวายเป็ น ส่ ว นพระราชกุ ศ ลแด่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมือ่ การก่อสร้างหอเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่ ง พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ล อดุ ล ยเดช ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานนามว่ า “เพชรรั ต น” แล้ ว เสร็จลง โรงเรียนจึงได้จัดสร้างเครื่องใช้ ในการทดลองวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งวาง ท่อน�้ำ ท่อแก๊ส และโคมไฟตามแผนผังที่ ศาสตราจารย์วรวิทย์ เงยไพบูลย์ อาจารย์ พิเศษของโรงเรียนเป็นผู้ก�ำหนด สิ้นเงิน ค่าใช้จ่ายในการนี้อีก ๑๐๕,๕๐๐ บาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เสด็จ พระราชด�ำเนินพระราชด�ำเนินทรงเปิดตึก “เพชรรัตน” เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ วรชาติ มีชูบท (โอวี ๔๖)
สนามหลัง 123 ข่าวสารสมาคม
วันศุกร์ที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๘.๓๐ น. ณ ห้องอาหารไชน่าเพรส นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ จัดงานเลีย้ งเพือ่ แสดงความยินดีแก่ ๑. ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ (โอวี ๔๐) ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก ๒. นายพระนาย สุวรรณรัฐ (โอวี ๔๒) ได้รับต�ำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ๓. นายวรวิทย์ จ�ำปีรัตน์ (โอวี ๔๓) ได้รับต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการส�ำนักงบประมาณ ๔. นายอาชวิน วิชัยดิษฐ (โอวี ๔๔) ได้รับต�ำแหน่ง รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๕. พล.อ.ท.วรฉัตร ธารีฉัตร (โอวี ๔๖) ได้รับต�ำแหน่งผู้บัญชาการวิทยาลัย วิทยาลัยเสนาธิการทหารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ๖. นายสรัญ รังคศิริ (โอวี ๔๗) ได้รับต�ำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน�้ำมัน บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน)
anuman-online.com
124 สนามหลัง
วันศุกร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ พระราชวังพญาไท นายพระนาย สุวรรณรัฐ และเพือ่ นโอวี ๔๒ ร่วมงานเลีย้ งแสดงความยินดี แก่ พล.ท.ภานุวชิ ญ์ พุม่ หิรญ ั ในโอกาสได้รบั ต�ำแหน่งผูอ้ ำ� นวยการศูนย์อำ� นวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลพระมงกุฎ
anuman-online.com
126 สนามหลัง วันจันทร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี ดร.คุรุจิต นาครทรรพ นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ พร้อม ด้วยคณะกรรมการ และ ดร.สาโรจน์ ลีสววรค์ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมกับ ม.ร.ว.เบญจาภา ไกรฤกษ์ นายกสมาคมราชินีฯ มอบเงินรายได้จากการร่วมกันจัดแสดง รีวิวการกุศล “Capture The Magic” โดยคณะนักเต้นร�ำระดับโลก Ballroom Dance Company ของ Brigham Young University (BYU) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นจ�ำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึง่ ล้านบาท) แด่ ผศ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันสุขภาพ เด็กแห่งมหาราชินี เพือ่ สมทบทุนสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราชินี (ศูนย์ การแพทย์เฉพาะทางโรคเด็ก) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี”
วันเสาร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น. ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ หน้าหอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัยฯ และ ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย เป็นผู้แทน รับมอบเงินจาก คาซึกาโนะ โอยาคาตะ หัวหน้าคณะ “นักกีฬาซูโม่” จากการแข่งขัน “ซูโม่เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ๘๔ พรรษา” เพือ่ สนับสนุนกิจกรรม ป้องกันและช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่ วชิราวุธวิทยาลัย โดยมีคณะผู้บริหาร บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ร่วมเป็นสักขีพยาน
anuman-online.com
128 สนามหลัง วันเสาร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. ณ เมเจอร์โบว์ สาขา เอสพลานาด ถนนรัชดาภิเษก สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ จัดการแข่งขัน โบว์ลงิ่ การกุศล ครั้งที่ ๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและกิจกรรมพิเศษอันเป็น สาธารณกุศลและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมนักเรียนเก่าฯ และวชิราวุธวิทยาลัย
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕ เวลา ๑๘.๐๐ น. ผู้แทนสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยฯ ร่วมแสดงความยินดีแก่ นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง (โอวี ๕๑) กรรมการบริหาร สมาคมฯ ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย
วันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ โดยอนุมานวสาร จัดโครงการ โลกนอกรั้ว + All Gentleman Can Learn ครั้งที่ ๔
anuman-online.com
130 สนามหลัง วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ อาคารส�ำนักงานใหม่สมาคม นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตนายกสมาคมฯ ดร.คุรจุ ติ นาครทรรพ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ และ ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ ผูบ้ งั คับการวชิราวุธ วิทยาลัย ร่วมกันเปิดอาคารส�ำนักงานใหม่ของสมาคมฯ วันพฤหสับดี ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องประชมุ ใหญ่ อาคารอัศวพาหุ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ประจ�ำปี ๒๕๕๕ เพื่อแถลงผลงาน และจัดเลี้ยงต้อนรับนักเรียนวชิราวุธฯ รุ่น ๘๔ ที่เพิ่ง จบการศึกษาเข้าเป็นสมาชิกสมาคมนักเรียนเก่าฯ” วันอาทิตย์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๒.๐๐ น. ณ สนาม Best Ocean สมาคม นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ได้จัดการแข่งขันกอล์ฟ OV Annual 2012
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ. มณฑลพิธที อ้ งสนามหลวง ดร.คุรจุ ติ นาครทรรพ นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ และคณะกรรมการฯ เข้าร่วมใน พระราชพิธพี ระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี
anuman-online.com
132 สนามหลัง วันอังคารที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องโถงวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร พล.อ.ท.วรฉัตร ธารีฉัตร ผบ.วสท.สปท. กรรมการสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิยาลัยฯ ร่วมแสดงความยินดีแก่ ดร.ชินภัทร ภูมมิรตั น และ รศ.วุฒชิ ยั กปิลกาญจน์ (โอวี ๔๒) ที่ได้รับมอบโล่ห์และใบประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่นวิทยาลัยเสนาธิการ ทหาร ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๕
วันอังคารที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๔.๔๑ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปยังวชิราวุธวิทยาลัย โดยเสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเปิด อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ซึ่งเป็นอาคารหลังใหม่ที่สร้างขึ้นทดแทนอาคารเรียนประถมเดิม ที่ทรุดโทรม ในการนี้ คณะกรรมาการนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จด้วย
anuman-online.com
134 สนามหลัง วันพุธที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๗.๓๐ น. ณ พระบรมราชานุสาวรียฯ์ รัชกาลที่ ๗ หน้าอาคารรัฐสภา สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ และวชิราวุธวิทยาลัย ได้น�ำพวง มาลาไปถวายเป็นราชสักการะ เพื่อเป็นการน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
วันเสาร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๘.๐๐ น. ณ หน้าอาคารวชิรมงกุฎ นักกอล์ฟ ประเพณี วชิราวุธฯ - ราชวิทย์ฯ ครั้งที่ ๒ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติต์ พระบรมราชินีนาถ ถ่ายรูปร่วมกัน หลังพิธีรับพระราชทานเสื้อบนหอปะชุม
วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องสินธู ราชนาวีสโมสร นายทรรศนะ วิชัยธนพัฒน์ และนายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา กรรมการสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิยาลัยฯ ร่วมงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ ๑. นายพระนาย สุวรรณรัฐ (โอวี ๔๒) คณะผู้บังคับการ ได้รับต�ำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ๒. นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ (โอวี๔๒) คณะดุสิต ได้รับรางวัลครุฑทองค�ำ ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ๓. ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน (โอวี๔๒) คณะจิตลดา ได้รับต�ำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๔. รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ (โอวี ๔๒) คณะพญาไท ได้รับรางวัลครุฑทองค�ำ ผู้บริหารข้าราชการพลเรือนดีเด่น
anuman-online.com
136 สนามหลัง วันศุกร์ที่ ๘ มิถนุ ายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๒.๐๐ น. ณ เลกาซีก่ อล์ฟคลับ สมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมราชวิทย์ฯ จัดการแข่งขันกอล์ฟประเพณีวชิราวุธฯ ราชวิทย์ฯ ครั้งที่ ๒ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางจ้าสิริกิติต์ พระบรมราชินีนาถ และชิงถ้วยกระชับมิตร ผลการแข่งขันราชวิทย์ฯ ชนะทั้ง ๒ รายการ
ห้องเบิกของ 137
ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี
ร้านอาหาร
ร้าน How To ร้านรับลมริมน�้ำ ดนตรีแนว acoustic & Folk song มีทั้งวิวริมน�้ำและนักว่ายน�้ำ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง โอวี ๕๐ และพี่โจ้ โอวี ๕๔ และมีส่วนลดให้โอวี ๒๐% ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียม ภิญโญ โอวี ๔๔ ปากซอยอินทามระ ๒๖ ถนนพิบูลสงคราม นนทบุรี ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ OZONO PLAZA ร้านครัวกะหนก แหล่งรวมร้านค้าส�ำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับ โอวีรับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐ % สัตว์เลี้ยง และพื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงได้วิ่งเล่น ภรรยา กุลธน ประจวบเหมาะ (ต้น) โอวี ๕๕ คมกฤช รัตนราช โอวี ๕๙ ลาดพร้าว ๗๑ ๑๕๐ เมตร จากปากซอย อยู่ ท้ายซอยสุขุมวิท ๓๙ (พร้อมพงษ์) ทะลุออก ซ้ายมือ ถนนเพชรบุรีหลังตึกอิตัลไทย ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ www.ozono.us ร้านอาหารอิงน�้ำ ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ อาหารอร่อยมาก ราคาไม่แพง พี่อึ่งเป็นกันเอง addict cafe & thing พี่อึ่ง โอวี ๓๙ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ๗๓-๗๕ เลยโลตัส ๑๐๐ เมตร ร้านกาแฟเล็กๆ จักรพันธุ์ บุญหล่อ โอวี ๗๒ ร้านอาหารห้องแถว ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ร้านอาหารเหนือล้านนาสุดอร่อย เมนูขึ้นชื่อ ๐๘๕-๓๒๓-๖๖๖๘, ๐๘๖-๗๗๔-๙๗๒๓ แกงโฮะ ปลาสลิดทอดฟู และแหนมผัดไข่ The Old Phra Arthit Pier ษาเณศวร์ โกมลวณิช (ถลอก) โอวี ๖๙ ถนนนิมานเหมินทร์ เชียงใหม่ ร้านอาหารสวยริมเจ้าพระยายามเย็น ส�ำหรับโอวี ๐๕๓-๒๑๘-๓๓๓ ที่ไปอุดหนุนลดทันที ๑๐% พงศ์ธร เพชรชาติ โอวี ๖๐ ร้านอาหารบ้านประชาชื่น ท่ าพระอาทิตย์ ถนนพระอาทิตย์ อาหารไทยสูตรต้นตระกูลสนิทวงศ์ และข้าวแช่ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒ ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม เปิดตั้งแต่ ๑๐.๓๐-๑๕.๓๐ น. ร้านอาหารชิมิ ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์อาทิตย์ หม้อชาบูชาบูและเตาปิ้งย่าง ยาคินิคุในแบบ บวรพิตร พิบูลสงคราม (พี่บูน) โอวี ๔๖ บุฟเฟ่ต์โฮมเมด วัตถุดิบชั้นเยี่ยมราคาอิ่มสบาย เลขที่ ๓๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ กรุงเทพฯ ศิโรฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โอวี ๔๔ ๐๒-๕๘๕-๑๓๒๓, ๐๘๙-๖๑๙-๒๖๑๐ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ shimi_restaurant@hotmail.com ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
anuman-online.com
138 ห้องเบิกของ โรงแรม บ้านไร่วิมานดิน ออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ รีสอร์ทริมล�ำธารอิงขุนเขา บริการอาหารปลอด สารพิษจากเกษตรอินทรีย์ ส�ำหรับโอวีราคาพิเศษ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (อ�ำรุง) โอวี ๔๔ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี www.vimarndinfarmstay.com ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ ดิ. โอวี. คันทรี รีสอร์ท เอกลักษณ์การตกแต่งและกลิน่ อายสมัยอยูโ่ รงเรียน กมล นันทิยาภูษิต โอวี ๖๑ กลางเมืองจันทบุรี ขับผ่านก็สามารถสังเกต เห็นได้ง่าย ๐๘๑-๘๓๓-๒๑๒๕ โรงแรมรัตนาปาร์ค โอวีท่านใดผ่านมาโทรบอกได้เลย ราคาห้องพิเศษ มาฆะ พุ่มสะอาด โอวี ๕๕ พิษณุโลก ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑, ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ ชุมพรคาบานา และศูนย์กีฬาด�ำน�้ำลึก ให้บริการที่พัก จัดสัมมนา และบริการด�ำน�้ำลึก บริหารงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง วริสร รักษ์พันธุ์ โอวี ๖๑ หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร www.chumphoncabana.com ๐๗๗-๕๖๐-๒๔๕-๗, ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ไร่ภูอุทัย ในวงล้อมธรรมชาติเขาใหญ่ สูดรับโอโซนระดับ ๗ บนลานเนินกว้าง อ�ำนวยศิลป์ อุทัย โอวี ๗๑ และรังสรรค์ อุทัย โอวี ๗๒ ถนนพหลโยธินขาออกจาก จ.สระบุรี ซอยที่เป็นเส้นทางลัดไป อช.เขาใหญ่ www.phu-uthai.com ๐๘๐-๔๙๙-๙๐๒๔ WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ณัฐฐาวารีน�้ำพุร้อน อาบน�้ำแร่แช่น�้ำร้อนท่ามกลางธรรมชาติ ทีเด็ด ปลามัจฉาบ�ำบัดจากต่างประเทศ บ�ำรุงผิวพรรณ ภวิษย์พงศ์ พงษ์สิมา โอวี ๗๖ ริมถนเพชรเกษม ระหว่าง กม.ที่ ๑๓-๑๔ (กม.ที่ ๙๙๐ กระบี่-ตรัง) บ.บางผึ้ง ต.โคกยาง อ.เหนือคลอง จังหวัดกระบี่ www.natthawaree.com ๐๗๕-๖๐๑-๖๔๒, ๐๘๙-๗๘๐-๖๔๗๖ WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
The Bihai Huahin โอวีลด ๒๐% ......... ๘๙ หมู่ ๕ บ้านหัวดอน ต�ำบลหนองแก หัวหิน ๐๓๒-๕๒๗-๕๕๗-๖๐ ตาลคู่บีช รีสอร์ท รีสอร์ทสวยริมทะเลใส อลงกต วัชรสินธุ์ (อยากเกา) โอวี ๗๕ อ.ขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช ใกล้ เกาะสมุย g_got75@hotmail.com ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ คีรีตา รีสอร์ท รีสอร์ทบูทีคโฮเต็ลเหมาะแก่การพักผ่อน และจัดสัมมนา ยินดีต้อนรับโอวีทุกท่าน พร้อมได้รับบริการในราคาพิเศษ อุรคินทร์ ไชยศิริ (กิมจิ) โอวี ๗๐ เกาะช้าง จังหวัดตราด ๐๘๙-๗๔๘-๗๕๒๘ Amphawa River View โฮมสเตย์ริมน�้ำ กับบรรยากาศตลาดน�้ำ สัมผัส วิถีชีวิตดั้งเดิมของไทย ยินดีต้อนรับโอวีทุกท่าน ในราคาเบาๆ ชโนดม โชติกพนิช (ดม) โอวี ๗๐ ตลาดน�้ำอัมพวา www.amphawariverview.com ๐๓๔-๗๕๑-๒๐๒
ADDRESS
ADDRESS
บริการ รับถ่ายรูป รับถ่ายรูปงานแฟชั่นโชว์, งานถ่ายภาพนิ่งเพื่อ การโฆษณาต่างๆ,งานเฉลิมฉลองและถ่ายรูปใน สตูดิโอ ทั้งภาพบุคคล,ผลิตภัณฑ์และสถานที่ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ สตูดิโอ ในหมู่บ้านการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ www.natphoto.com nat_vc72@hotmail.com ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ WHO
WHO
ADDRESS
ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ส�ำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านทาง อินเตอร์เนต กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๘๐ www.weloveshopping.com/shop/furrytail ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
บริษัท น�้ำ-ทอง เทรดดิ้ง จ�ำกัด จ�ำหน่ายน�้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรมทุกชนิด โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet (ปตท, บางจาก, แมกซิมา) รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด ท�ำหมัน เอ๊กซเรย์ ภณธร ชินนิลสลับ (ซอมป่อย) โอวี ๖๘ ขูดหินปูน อาบน�้ำตัดขน บริการนอกสถานที่และ ๑๘๘/๑๐๗ ม.๑ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ สงขลา รับปรึกษาปัญหาสัตว์เลี้ยง รับฝากเลี้ยง และ ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖, ๐๘๕-๓๒๔-๙๙๐๑ จ�ำหน่ายอุปกรณ์,อาหารต่างๆ นึกถึงประกันภัย น.สพ.อุรนิ ทร์ คชเสนี โอวี ๗๑ บ้าน, รถยนต์, อุบัติเหตุ, etc. นึกถึง Kevin..! ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง นนทบุรี Call me Bro! ๐๒-๙๖๙-๘๔๘๙, ๐๘๙-๘๑๖-๘๑๓๘ เขต ณ พัทลุง โอวี ๗๑ ร้านตัดผม Sindy Lim ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒ ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี AUTO X หากก�ำลังมองหาร้านท�ำผมเพื่อออกงานสุดหรูหรือ เปลีย่ นลุคแล้ว เชิญไปใช้บริการได้ โอวีลดให้พเิ ศษ จ�ำหน่ายรถยนต์น�ำเข้าทุกยี่ห้อ และศูนย์บริการ ซ่อมรถยนต์ทุกชนิด ด้วยอุปกรณ์ตรวจเช็คด้วย ทวีสิน ลิ้มธนากุล (สิน) โอวี ๕๕ ระบบคอมพิวเตอร์ ปากซอยสุขมุ วิท ๔๙ อยูข่ วามือ ตรงข้ามเซเว่นฯ ตุลย์ ธีระอรรถ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕ ถ.พหลโยธิน ข้าง สน.บางซื่อ ตรงข้ามอาคาร ชินวัตร ๒ ร้านฟูฟู ๐๒-๖๑๕-๕๕๓๓ รับอาบน�้ำตัดขนสุนัข รับฝากสัตว์เลี้ยง ไอซิด เจษฎา ใยมุง โอวี ๖๕ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จังหวัดจันทบุรี รับตกแต่งภายในและรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะ ๐๘๑-๓๕๓-๒๘๖๕ บ้านและคอนโด ภคภพ (สิทธิพงษ์) โอวี ๖๖ 22EQ ซ.เจริญยิ่ง www.icidcompany.com รับออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙, ๐๘๑-๗๓๓-๗๗๐๑ กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๗๐ www.jate.22eq.com ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๕๘ WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
anuman-online.com
140 ห้องเบิกของ โรงแรม
WHO
บริษัท DML Export จ�ำกัด หลอดประหยัดไฟ LED bulb ประหยัดไฟมากกว่าธรรมดา ถึง ๕ เท่า ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับธรรมชาติ และสามารถ น�ำมารีไซเคิล ๑๐๐% นฤพนธ์ สุ่นกุล (รันตู) โอวี ๗๖ ๐๘๔-๗๖๗-๖๕๒๒ บจก. ๙พีเอสเมทัลชีท ผลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์หลังคา ผนัง แผ่นเหล็กเมทัลชีท, รวมถึงรับติดตั้งด้วย พลเทพ ณ สงขลา โอวี ๖๖ ๒๙/๑๓ ม.๖ ถนนเสมาฟ้าคราม ต.คูคต อ.ล�ำลูกกา จ.ปทุมธานี ๐๒-๕๓๓-๐๐๙๖ ๐๘๑-๓๐๒-๐๒๔๑ ลา โบนิต้า บาย เอส (La Bonita by S) บริการนวดสปาและขายขนมเค้ก ปรรัตถ สมัครจันทร โอวี ๗๒ ๑๑๗/๔-๕ ซอยพหลโยธิน ๗ (ซอยอารีย์) ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ ๐๒-๒๗๘-๕๐๕๕ NAPAT GRAND ELECTRIC รับจ�ำหน่าย ติดตั้ง ซ่อม และล้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ราคาถูกกว่าห้าง ชัวร์!!!! ณภัทร (ธันว์) ยิ้มเเย้ม โอวี ๗๖ ๐๘๙-๘๔๑-๔๑๒๔ Kevin-insurance@hotmail.com WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
Zyplus.com ธุรกิจอินเตอร์เนต ให้บริการเช่าพื้นที่เว็บโฮลดิ้งของเว็บไซต์ และบริการจดโดเมนเนม สิษฐวัฒน์ ตู้จินดา โอวี ๖๗ www.zyplus.com ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
โอวี OV Spirit&Web OV ๒,๐๐๐ บาท นักเรียนเก่าฯ ในเชียงใหม่ ๒,๖๐๐ บาท ธันวา ชัยจินดา ๕,๐๐๐ บาท วิวัฒน์ ถิระวันธุ์ ๓,๐๐๐ บาท โอวีอาวุโส ร.ท.นุรักษ์ อิศรเสนาฯ ๓,๐๐๐ บาท ม.ล.พรสุทธิ์ ลดาวัลย์ ๕๐๐ บาท พล.ต.อ.เภา สารสิน ๑๐,๐๐๐ บาท ถวัลย์ ปานะนนท์ ๕๐๐ บาท ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๑๖ เสถียร เสถียรสุต ๑๕,๐๐๐ บาท โอวี ๑๙ ปราณีต ชัยจินดา ๑๐,๐๐๐ บาท โอวี ๒๕ ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ ๒,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๒๖ พงษ์ธร พรหมทัตตเวที ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๒๘ วิชัย สุขธรรม ๒,๐๐๐ บาท สนั่น จรัญยิ่ง ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๓๐ อโนทัย สังคาลวณิช ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๑ โอวี รุ่น ๓๑ และรุ่นข้างเคียง ๓,๑๐๐ บาท จิรายุส แสงสว่างวัฒนะ ๒,๐๐๐ บาท ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ๒๐,๐๐๐ บาท สม วรรณประภา ๑๐,๐๐๐ บาท โอวี ๓๓ พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ ๑๐,๐๐๐ บาท จักรพันธุ์ โปษยกฤต ๓๐,๐๐๐ บาท ด�ำรงพันธุ์ พูนวัตถุ ๕๐๐ บาท
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดท�ำอนุมานวสาร 141
ดร.ประทักษ์ ประทีปะเสน ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๓๔ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ๓๐,๐๐๐ บาท โอวี ๓๕ สุพจน์ ศรีตระกูล ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๗ สันติภาพ ลิมปะพันธ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๘ อดิศักดิ์ เหมอยู่ ๒๐,๐๐๐ บาท โอวี ๓๙ สรรชัย เกยสุวรรณ ๑๐,๐๐๐ บาท บุญเลิศ ศรีเจริญ ๒,๕๐๐ บาท พิพัฒน์ บูรณะนนท์ ๒,๕๐๐ บาท วานิช ทองชื่นจิตต์ ๒,๕๐๐ บาท โอวี ๔๐ โอวีรุ่น ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ๑๐,๐๐๐ บาท พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๑ เปรมปรี วัชราภัย ๔,๐๐๐ บาท โอวี ๔๒ รุ่น ๔๒ ๑๐,๐๐๐ บาท ชัยวัฒน์ นิตยาพร ๓,๐๐๐ บาท เชิดชัย ลีสวรรค์ ๑๐,๐๐๐ บาท อภิชัย สิทธิบุศย์ ๑,๐๐๐ บาท นภดล บัวทองศร ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๔๓ ก๊วนกอล์ฟโอวี ๔๓ ๑๐,๐๐๐ บาท เขมทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท อิสระ นันทรักษ์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๔๔ พงษ์พินิต เดชะคุปต์ ๓,๐๐๐ บาท รัฐฎา บุนนาค ๕,๐๐๐ บาท ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ฯ ๑๐,๐๐๐ บาท สุพล วัธนเวคิน ๕๐,๐๐๐ บาท
ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐
โอวี ๔๕ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ๑๓,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๕,๐๐๐ บาท จีระ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท ศ.ดร.ทวิป กิตยาภรณ์ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๕,๐๐๐ บาท พงษ์เทพ ผลอนันต์ ๕,๐๐๐ บาท สุรสิงห์ พรหมพจน์ ๔,๕๐๐ บาท โอวี ๔๖ โอวี รุ่น ๔๖ ๒,๐๐๐ บาท ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ ๑๘,๐๐๐ บาท ดนุช อิศรเสนา ณ อยุธยา ๒,๐๐๐ บาท ธนันต์ วงษ์เกษม ๑,๐๐๐ บาท น.พ.นภาดล อุปภาส ๓,๐๐๐ บาท นรศุภ นิติเกษตรสุนทร ๑,๐๐๐ บาท ปฏิภาณ ตันติวงศ์ ๕,๐๐๐ บาท ร.อ.เปรม บุณยวิบูลย์ ๕,๐๐๐ บาท รักพงษ์ ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา ๑๐,๐๐๐ บาท ม.ร.ว.อดิศรเดช ศุขสวัสดิ์ ๓,๐๐๐ บาท โมนัย ไกรฤกษ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๗ ธานี จูฑะพันธ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๘ ชนัตถ์ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท พ.ต.ท.พรศักดิ์ บุญมี ๑,๐๐๐ บาท ทองเปา บุญหลง ๒๐๐ บาท ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย ๕,๐๐๐ บาท สัตยา เทพบรรเทิง ๕,๐๐๐ บาท ตุลานราพัสตร์ ลุประสงค์ ๖๙๖ บาท เลิศศักดิ์ ผลอนันต์ ๕๐๐ บาท องอาจ อนุสสรราชกิจ ๒๐๐ บาท อนุสนธิ์ ชินวรรโณ ๔,๐๐๐ บาท โอวี ๔๙ ธนาวุฒิ สาครสินธุ์ ๑,๐๐๐ บาท นภดล เทพวัลย์ ๒,๐๐๐ บาท นาวาโท บัญชา จันทร์ไทย ๑,๐๐๐ บาท มนต์เทพ โปราณานนท์ ๘,๐๐๐ บาท อภิชัย มาไพศาลสิน ๒,๐๐๐ บาท
โอวี ๕๐ โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท น.อ.พิศิษฎ์ ทองดีเลิศ ๒,๐๐๐ บาท นพดล มิ่งวานิช ๑,๐๐๐ บาท เอกชัย วานิชกุล ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๕๑ พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา ๑๐,๐๐๐ บาท พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท วชิระ สายศิลปี ๕,๐๐๐ บาท สุวิช ล�่ำซ�ำ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๒,๕๐๐ บาท อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๕๒ กุลวัฒน์ วิชัยลักษณ์ ๑,๐๐๐ บาท จุมพจน์ มิ่งวานิช ๕๐๐ บาท นพ.ชนินทร์ ล�่ำซ�ำ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๒,๕๐๐ บาท บัญชา ลือเสียงดัง ๕๐๐ บาท วิเชฐ ตันติวานิช ๒,๐๐๐ บาท วิเทศน์ เรืองศรี ๑,๐๐๐ บาท สันติ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท สุรจิต ลืออ�ำรุง ๑,๐๐๐ บาท อนันต์ จันทรานุกูล ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๓ ทินนาถ กิตยาภรณ์ ๑,๐๐๐ บาท อลงกต กฤตยารัตน์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๕ ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ๒,๐๐๐ บาท อนันต์ สันติวิสุทธิ์ ๒,๐๐๐ บาท อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๕๖ ทวีสิน ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท พงศธร เภาโนรมย์ ๒,๐๐๐ บาท พรหมเมศ จักษุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท ปวิณ รอดรอยทุกข์ ๑,๐๐๐ บาท ประวิทย์ มนต์เสรีนุสรณ์ ๑,๐๐๐ บาท
anuman-online.com
142 ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดท�ำอนุมานวสาร โอวี ๕๗ วีระวัฒน์ เนียมทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท สัคคเดช ธนะรัชต์ ๑,๐๐๐ บาท อนุวัตร วนรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๕๘ ธนา เวสโกสิทธิ์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๙ กิตติ แจ้งวัฒนะ ๑,๐๐๐ บาท คมกฤช รัตนราช ๕,๐๐๐ บาท ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ๕,๐๐๐ บาท รวินทร์ ถิระวัฒน์ ๓,๐๐๐ บาท วรากร บุณยเกียรติ ๑,๐๐๐ บาท เวทิศ ประจวบเหมาะ ๕,๐๐๐ บาท คุณอาจ อรรถกวีสุนทร ๓๐,๐๐๐ บาท และชาตา บุญสูง อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ ๑,๐๐๐ บาท อนุวัฒน์ ชูทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๐ วีรยุทธ โพธารามิก ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๑ กมล นันทิยาภูษิต ๕,๐๐๐ บาท นครา นาครทรรพ ๒,๐๐๐ บาท ภัคพงศ์ จักษุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๒ โกมุท มณีฉาย ๑,๐๐๐ บาท ชิดชนก กฐินสมิต ๑,๐๐๐ บาท ทรงศักดิ์ ทิพยสุนทร ๑,๐๐๐ บาท ธนพร คชเสนี ๑,๐๐๐ บาท ปิยะพงษ์ บุณยศรีสวัสดิ์ ๒,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๑,๐๐๐ บาท ประภากร วีระพงษ์ ๑,๐๐๐ บาท ภัฎพงศ์ ณ นคร ๕๐๐ บาท วรรธนะ อาภาพันธุ์ ๒,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๑,๐๐๐ บาท
โอวี ๖๓ ภูริเชษฐ์ โชติพิมพ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๖๕ วัชระ ตันธนะ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๖๕ ปรีเทพ บุญเดช ๕๐๐ บาท โอวี ๖๖ เจษฎา บ�ำรุงกิจ ๑,๐๐๐ บาท พันตรี จุณณะปิยะ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๗ กิตติวัฒน์ กิจถาวรวงศ์ ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๖๙ กิตติ ชาญชัยประสงค์ ๑,๐๐๐ บาท ธเนศ ฉันทังกูล ๕๐๐ บาท โอวี ๗๐ รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๗๑ วิรัช เทพารักษ์ ๑,๐๐๐ บาท สถิร ตั้งมโนเพียรชัย ๑,๐๐๐ บาท อาทิตย์ ประสาทกุล ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๒ กันต์ ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท ประยุทธ์ จีรบุณย์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๗๓ นักเรียนเก่าฯ รุ่น ๗๓ ๗,๕๐๐ บาท ณัฐพล ลิปิพันธ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๔ พฤศ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท ปณิธิ นอบไทย ๑,๐๐๐ บาท ศศิศ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท
โอวี ๗๕ ธัชกร พัทธวิภาส ๑,๐๐๐ บาท อัคร ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๗ วิชชุ วุฒานุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๙ โอวี รุ่น ๗๙ ๒,๐๐๐ บาท ภวัตพงศ์ เทวกุล ณ อยุธยา ๕๐๐ บาท วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๐ ธนทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท ฟ้าสาง ปริวุฒิพงศ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๘๑ รชต ชื่นชอบ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๒ เมธัส ไกรฤกษ์ ๕,๐๐๐ บาท เพื่อนโอวีและผู้ปกครอง ณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ ๑,๐๐๐ บาท วิฑูรย์ จอมมะเริง ๑,๐๐๐ บาท ผู้ปกครอง ด.ช.จอม จอมมะเริง ผู้ปกครอง ๒,๐๐๐ บาท ด.ช.เมธิชัย ชินสกุล ร.ศ.พญ.ผจง คงคา ๕,๐๐๐ บาท สมพร ไม้สุวรรณกุล ๒๐๐ บาท * ตัวเข้มผู้บริจาคใหม่หรือเพิ่มเติม
อนุมานวสาร 143
ฉบับย้อนหลัง
ฉบับปี ๒๕๕๐
ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๑ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๐
ฉบับ ๒ ฉบับ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๐ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๐ ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๔ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๕ เม.ย.-พ.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๖ มิ.ย.-ก.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๗ ส.ค.-ก.ย. ๒๕๕๑
ฉบับ ๘ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๑
ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๙ ม.ค.-ก.พ. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๐ มี.ค. เม.ย. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๑ พ.ค-มิ.ย. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๒ ก.ค.-ส.ค. ๒๕๕๒
anuman-online.com
ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับปี ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๓ ก.ย.-ต.ค. ๒๕๕๒ ฉบับปี ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๔ ฉบับ ๑๕ พ.ย.-ธ.ค. ๒๕๕๒ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๓ ฉบับปี ๒๕๕๔
ฉบับ ๑๖ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๓ ฉบับปี ๒๕๕๕
ฉบับ ๑๗ ก.ค.-ต.ค. ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๘ ม.ค.-เม.ย. ๒๕๕๔
ฉบับ ๒๐ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕
ฉบับ ๑๙ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๔
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่
สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง)