ฉบับที่ ๑๒ ๔-๒๕๕๒ กรกฎาคม - สิงหาคม จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 1
ฉบับที่ ๑๒ ๔-๒๕๕๒
กรกฎาคม - สิงหาคม
ตัวอักษร “อนุมานวสาร” ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน (รุ่น ๓๗) สัญลักษณ์ “๑๐๐ ปี วชิราวุธฯ” ออกแบบโดย นิธิ สถาปิตานนท์ (รุ่น ๓๘) ภาพปกโดย ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) (ถ่ายจาก ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท)
2
ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ ที่ปรึกษา อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช รุ่น ๓๓ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน รุ่น ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ รุ่น ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช รุ่น ๔๔ วรชาติ มีชูบท รุ่น ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี รุน่ ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ รุน่ ๕๙ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และบรรณารักษ์ วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ สาราณียกร อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑ บรรณาธิการ กิตติเดช ฉันทังกูล รุ่น ๗๓ คณะบรรณาธิการ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา รุ่น ๖๕ กอบกิจ จ�ำจด รุ่น ๗๐ กรด โกศลานันท์ รุ่น ๗๑ เขต ณ พัทลุง รุ่น ๗๑ ภพ พยับวิภาพงศ์ รุ่น ๗๑ พิชิต ศรียานนท์ รุ่น ๗๒ เสฎฐวุฒิ เพียรกรณี รุ่น ๗๓ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รุ่น ๗๓ รัฐพล ปั้นทองพันธ์ รุ่น ๗๕ พงศกร บุญมี รุ่น ๗๕ ปรีดี หงสต้น รุ่น ๗๕ สถาพร อยู่เย็น รุ่น ๗๖ กรรณ จงวัฒนา รุ่น ๗๖ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง รุ่น ๗๖ ศิริชัย กาญจโนภาส รุ่น ๗๖ ธนกร จ๋วงพานิช รุ่น ๗๗ ปริญญา ยุวเทพากร รุ่น ๗๗ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ จิระ สุทธิวิไลรัตน์ รุ่น ๘๓ ฝ่ายบัญชีและหารายได้ อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ รุ่น ๗๑ โฆษณา มณฑล พาสมดี รุ่น ๗๓ (โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐) ถ่ายภาพ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๗๒ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ รุ่น ๗๗ สงกรานต์ ชุมชวลิต รุ่น ๗๗ วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา รุ่น ๗๙ ศิลปกรรม ปฏิภาณ สานแสงอรุณ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ พิมพ์ที่ พี. เพรส ๐๒ ๗๔๒ ๔๗๕๔ ผู้ช่วยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก วาสนา จันทอง ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ)
เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่/สนับสนุนการเงิน -โฆษณา/ส่ ง ข่ า ว-ประกาศประชาสัมพันธ์/ส่งข้อเขียน-บทความ ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.oldvajiravudh.com
ห้องเพรบ ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี
๖ ห้องสมุด ๙ เสือฯ ไต่ระห�่ำ...เส้นทางหฤโหด
๑๒
ใต้หอประชุม สัมภาษณ์ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ จดหมายเหตุวชิราวุธฯ ๒๖ ระเบียบการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง จากห้องประชุมสมาคมฯ ๓๐ สมุดจดพระมนู อนุมานวสารโรดโชว์ ๓๔
๘๔
ตึกขาว เมื่อ GM ม้วย ๘๗ หน้าพระ เรื่องไม่น่าเชื่อ แต่ก็จำ� ต้องเชื่อ ๙๒ ตึกพยาบาล เข่าเสีย เอ๊ะ ! อย่างไร? ๙๘ สนามหน้า ๑๐๒ วชิราวุธวิทยาลัยกับกีฬารักบี้ฟุตบอล โรงเลี้ยง มายช้อยส์ ๑๐๖ บ่ายวันอาทิตย์ ๑๑๐
๑๑๔
ระฆังกีฬา สัมภาษณ์ พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล
๔๓
เรือนจาก สัมภาษณ์กมล นันทิยาภูษิต คอลัมน์พิเศษ พระมหากรุณาธิคุณ ๕๘ เรานักเรียนมหาดเล็ก เด็กในหลวง ๖๙ ขึ้นเหนือล่องใต้ ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ๗๒ ลอดรั้วพู่ระหงส์ ๘๐ He ain’t heavy, he’s my brother
คอมมอนรูม ด.ช.ไข่ นักเรียนประจ�ำ ๑๒๔ หอประชุม ๑๓๐ กีฬาที่นกั เรียนวชิราวุธฯ แอบเล่นกันเอง ศัพท์โอวี ครูคณะ ซ่อม + ล้างบาง ๑๓๔ สนามหลัง ๑๔๐ ฉายานุสรณ์ ๑๔๖ บทที่ ๑ เด็กบ้านป่า-มากรุงฯ วันกลับบ้าน ๑๔๙ ห้องเบิกของ ๑๕๑ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 3
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑. ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย ๒. อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกในทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม อันดีของประชาชน ๓. ประสานสามัคคีในหมู่สมาชิกนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนในพระบรม ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธวิทยาลัย เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญของโรงเรียน ๖. ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธวิทยาลัย ๗. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของวชิราวุธวิทยาลัย ๘. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร ๙. บ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในโอกาสอันสมควร
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ๑. สมาชิกมีสิทธิที่จะร่วมกิจการต่าง ๆ ที่สมาคมฯ จัดขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ วางไว้ ๒. สมาชิกมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ๓. สามัญสมาชิกมีสทิ ธิเสนอความคิดเห็น ตรวจดูหลักฐานและบัญชีตา่ ง ๆ ของสมาคมฯ ได้ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ ๔. สามัญสมาชิกเท่านัน้ มีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตั้งหรือรับเลือกตั้ง เป็นนายกสมาคมฯ หรือกรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิกนัน้ ค้างช�ำระค่าบ�ำรุง ๕. สามัญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระค่าบ�ำรุงตามที่กำ� หนดไว้ ๖. สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ ๗. สมาชิกมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และบริการของสมาคมฯ และสโมสร แต่ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับที่กำ� หนดไว้
4
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ ๑. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รุ่น ๔๐ ๒. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ๓. นายตันติ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ ์ รุ่น ๔๐ ๔. นายสุรเดช บุณยวัฒน รุ่น ๔๑ ๕. นายชัยวัฒน์ นิตยาพร รุ่น ๔๒ ๖. ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รุ่น ๔๕ ๗. ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ ์ รุ่น ๔๖ ๘. นายศุภลักษณ์ เปรมะบุตร รุ่น ๔๗ ๙. ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๑ ๑๐. นายสุภรัตน์ อัลภาชน์ รุ่น ๕๑ ๑๑. นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ ๑๒. นายปฏิภาณ สุคนธมาน รุ่น ๕๒ ๑๓. นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ ๑๔. นายสัคคเดช ธนะรัชต์ รุ่น ๕๗ ๑๕. นายชาย วัฒนสุวรรณ รุ่น ๕๗ ๑๖. ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ ๑๗. นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ ๑๘. นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ ๑๙. นายภัคพงศ์ จักรษุรักษ์ รุ่น ๖๑ ๒๐. นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร รุ่น ๖๒ ๒๑. นายอาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑
นายกสมาคมฯ กรรมการโดยต�ำแหน่ง อุปนายก ฝ่ายสิทธิประโยชน์ อุปนายก ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ประธานส่งเสริมความสัมพันธ์ อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ กรรมการและประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรรมการและนายทะเบียน กรรมการและประธานฝ่ายหารายได้ กรรมการและประธานกีฬา กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและประธานสโมสร กรรมการและรองประธานกีฬา กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการและเลขานุการ กรรมการและรองประธานสโมสร/ปฎิคม กรรมการและบรรณารักษ์ กรรมการและรองประธานกิจกรรมพิเศษ กรรมการและรองประธานกีฬา กรรมการและสาราณียกร กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 5
ห้องเพรบ จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวัสดีครับโอวีและท่านผู้อ่านทุกท่าน อนุ ม านวสารฉบั บ นี้ เป็ นฉบั บ ที่ ๑๒ ประจ�ำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ขอชมเชยน้องโก้ กิตติเดช ฉันทังกูล รุน่ ๗๓ ที่ท�ำหน้าที่บรรณาธิการได้อย่างยอดเยี่ยม โก้นนั้ นอกจากจะคอยติดตามน้อง ๆ และพี่ ๆ นัก เขี ย น นัก ถอดเทปทั้ ง หลายแล้ ว ยั ง เป็ น มือสัมภาษณ์และมือเขียนทีค่ ารมคมคายท�ำงาน ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น แล้วยังเป็นหัวเรือใหญ่ในการช่วยบิ้ค วีรยุทธ โพธารามิกในการจัดงาน All Gentlemen Can Learn ให้กับพวกเราได้อย่างดีอีกด้วย ผมอยากเรี ย นท่ า นผู ้ อ ่ า นอี ก ครั้ ง ว่ า น้อง ๆ ทีมงานอนุมานวสารทุกคนท�ำงานด้วย ใจรัก อยากเห็นสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับโรงเรียนฯ และสมาคมฯ อย่างไรก็ตามอาจจะมีข้อบกพร่องอยู่ บ้างนัน้ เป็นเพราะพวกเรามีงานประจ�ำกันทุก คน บางครั้งได้สัมภาษณ์นกั เรียนเก่าฯ ไว้แล้ว หลายท่ า นแต่ ยั ง มิ ได้ น� ำ ลงจึ ง กราบขออภั ย ทุ ก ท่ า นที่ ได้ ให้ สั ม ภาษณ์ กับ พวกเราไว้ แ ละ ยังไม่ได้น�ำลงด้วยนะครับ นอกจากนั้นแล้ว ขอขอบพระคุณพี่หน่อ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน รุ่น ๓๗ และพี่เตา บรรยง พงษ์พานิช รุ่น ๔๔ ทีไ่ ด้ให้คำ� ปรึกษากับพวกเราอย่างใกล้ชดิ น้อง ๆ
6
รู้สึกประทับใจกับรุ่นพี่ทั้งสองท่านที่กรุณาให้ ค�ำแนะน�ำเพื่อที่เราจะพัฒนาอนุมานวสารให้ดี มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ส� ำ หรั บ อนุ ม านวสารเล่ ม ที่ ผ ่ า นมา ทางที ม งานฯ ได้ รั บ การตอบรั บ อย่ า งอบอุ ่ น จากพี่ น ้ อ งชาวโอวี เ กิ น กว่ า ที่ ค าดหมายไว้ มาก และที่ประทับใจคือมีเสียงตอบรับจาก ผู้ปกครองนักเรียนปัจจุบัน เพื่อน ๆ หรือญาติ พี่น้องของพวกเราได้บอกผ่านกันมาว่าชอบ หนัง สือ มาก นอกจากนั้น แล้ ว ยัง แนะน� ำ ให้ ที ม งานฯ แจ้ ง e-mail address ไว้ เ ผื่ อ จะ สอบถามได้โดยตรงกับนักเขียน ขอขอบคุณ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำจากทุกท่านนะครับ จากการไปสั ม ภาษณ์ น อกสถานที่ ที่ บ้านไร่วิมานดินแล้ว อนุมานวสารฉบับนี้จะ ขอน� ำ ท่ า นไปพบกั บ โอวี น อกกรุ ง เทพฯ เป็ น ครั้งที่สอง คือการไปเยี่ยมชม The O.V. Country Resort ของกมล นันทิยาภูษิต รุ ่ น ๖๑ พวกเราที ม งานฯ รู ้ สึ ก ประทั บ ใจ ปนทึ่ ง ที่ ไ ด้ เห็ น หลั ง คาที่ เหมื อ นโรงเรี ย นฯ ของเราตั้ ง แต่ ห ลายกิ โ ลเมตรก่ อ นจะถึ ง โดยไม่ ต ้ อ งมองหาแผนที่ เมื่ อ ไปถึ ง แล้ ว ท�ำให้ทมี อนุมานวสารเหมือนได้กลับเข้าไปอยูใ่ น โรงเรียนฯ อีกครัง้ นอกจากนัน้ แล้วพวกเรายังมี
โอกาสได้พบชาวโอวีจงั หวัดจันทบุรแี ละจังหวัด ใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด จันทบุร,ี ฆ้องวงโอวีนกั เขียน นักกลอน ทีฝ่ งั ตัว อยู่ลึกมากที่จังหวัดจันทบุรี ไม่เคยมีโทรศัพท์ มือถือ ไม่เคยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ มีความ สามารถทางดนตรีไทยเป็นเลิศ และที่ส�ำคัญ คือเป็นผูห้ นึง่ ทีส่ บื ทอดวิชาวณิพก ท่านสามารถ ติดตามรายละเอียดเรื่องชาวโอวีจันทบุรีได้ใน อนุมานวสารฉบับนี้ ในอดีตที่ผ่านมา สมาคมนักเรียนเก่า วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ฯ ได้ พ ยายามตอบแทน พระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ โดยท� ำ ประโยชน์ แ ก่ โ รงเรี ย นมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปช่วยพัฒนาด้านการให้ ทุ น การศึ ก ษาร่ ว มสร้ า งสถานที่ ส� ำ คั ญ และ ถาวรวัตถุหลายแห่งภายในโรงเรียน เริม่ ต้นจาก หอนาฬิกาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่ง ประดิ ษ ฐานไว้ ที่ ห น้ า หอประชุ ม เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ สระว่ายน�้ำเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ และ อินดอร์สเตเดียมในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้น อย่างไรก็ตามสิ่งส�ำคัญที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระประสงค์ในการสร้างวชิราวุธวิทยาลัย แทนการสร้างวัดประจ�ำรัชกาลนั้น ด้วยทรง
เล็ ง เห็ นความส� ำ คั ญ ของการศึ ก ษาของชาติ ในการสร้างคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์เสียก่อน ที่จะเน้นด้านวิชาการ ดังพระราชด�ำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ ความตอนหนึง่ ว่า “ขออนุโมทนาด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ทีท่ างโรงเรียนได้ยดึ มัน่ ในพระราชบรมราโชบาย และพระราชกระแสของพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นนโยบาย อันแน่วแน่อันหนึง่ ที่จะให้การศึกษาและอบรม นักเรียนให้เป็นผู้ดีหรือสุภาพบุรุษ ดังที่นายก กรรมการจัดการโรงเรียนได้กล่าวมา เพราะว่า คนเรานัน้ ถึงแม้จะมีความรู้วิเศษสักเพียงใด แต่ขาดความเป็นสุภาพบุรุษหรือไม่มีศีลธรรม ไร้มรรยาทและมีความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้งแล้ว ย่ อ มน� ำ ความเสื่ อ มมาสู ่ ต นเอง ครอบครั ว หมู่คณะ และประเทศชาติได้มากกว่าจะท�ำ ประโยชน์ ขอนักเรียนทั้งหลายจงมีแต่ความ อุตสาหะพยายามในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อรับ ความรู้อันเป็นมูลฐานส�ำหรับการศึกษาขั้นสูง ต่อไปและตั้งใจรับการอบรม เพื่อปลูกฝังความ เป็นผู้ดีหรือความเป็นสุภาพบุรุษไว้ในตนให้ ครบถ้วน ให้สมดังพระราชปณิธานของพระองค์ ผู้พระราชทานก�ำเนิดโรงเรียนนี้เถิด” กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 7
ดั ง นั้ น ในวาระที่ ว ชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ครบรอบ ๑๐๐ ปีนี้ ทางทีมงานอนุมานวสาร มี ค วามปรารถนาเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะท� ำ สิ่ ง ใด สิ่งหนึ่งเพื่อเป็นการสนองเบื้องพระยุคลบาท โดยมี แนวคิ ด ที่ จ ะท� ำ หนัง สื อ บั นทึ ก ความดี อันเกิดจากการสัง่ สอนของโรงเรียนทีพ่ วกเราได้ กระท�ำไว้เพื่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ตลอดจนความ ประทับใจ ความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หรือสิ่งใดก็ตามที่น่าจะบันทึกไว้ขนาดเท่ากับ ๑ โปสการ์ด โดยใช้เวลาจากนี้ไปจนถึงกลาง ปีหน้ารวบรวมข้อเขียนของพวกเรา ไม่ว่าสิ่งนัน้
จะเล็กน้อยหรือยิง่ ใหญ่มหาศาล ตัง้ แต่นกั เรียน ในโรงเรียนไปจนถึงนักเรียนเก่าฯ รุ่นแรก ๆ ผมเชื่อว่าความดีงาม ความประทับใจที่มีต่อ โรงเรียนที่พวกเราสั่งสมมาเป็นเวลาถึง ๑๐๐ ปีตามวิถีวชิราวุธฯ นั้นจะยังประโยชน์ให้กับ ตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น จนกระทั่งถึงประเทศ ชาติเหลือคณานับ สมดังปณิธานของพระองค์ ผู้พระราชทานก�ำเนิดโรงเรียนสืบไป สวัสดีครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖)
เรียน ศิษย์เก่าอักษรเจริญทุกรุ่น
เนื่องด้วยทางคณะครูและศิษย์เก่าอักษรเจริญได้ปรึกษา หารือร่วมกันจะจัดงานคืนสู่เหย้าอักษรเจริญ (ลูกหลาน ป้าครู - ครูเนี้ยน) ในช่วงประมาณปลายปี ๒๕๕๒ ทาง คณะกรรมการจัดงานใคร่ขอเรียนเชิญศิษย์เก่า อษ. ทุกรุน่ กรุณาส่งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์แอดเดรส (ถ้ามี) ปัจจุบนั เพือ่ สะดวกในการติดต่อและแจ้งข่าวสารจากโรงเรียน มาที่ Email: aksorncharoen_bkk@hotmail.com หรือ คุณเกียง ๐๘๖-๓๒๑-๒๖๖๒
8
ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี เขียนถึงอนุมานวสาร ถึงทีมงานอนุมานวสาร ขอปรบมือให้กับความยอดเยี่ยมของ ทีมงานฯ ดิฉันอ่านอนุมานวสารมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ อ่านทุกเล่ม ทุกหน้า ทุกบรรทัด ด้วย ความรู้สึกตื่นเต้นสนุกสนานอยากรู้ ตั้งแต่ หน้าแรกจนหน้าสุดท้ายภายในวันเดียว ฝีมือ ของทีมงานฯ จริงๆ ทีส่ ามารถท�ำให้ผอู้ า่ นติดตรึง ติดตามเรื่องราวต่างๆ แบบวางไม่ลงทีเดียว หน้าปกสวยทุกฉบับ เนือ้ หาและสารบัญ เล่มใหม่ล่าสุดก็เก๋ขึ้นค่ะ (ศัพท์นี้อาจจะเก่าไป แล้วเนาะ ท�ำให้รู้วัยคนเขียนเสียแล้ว) เจ๋งกว่า Reader’s Digest อีกนะคะ ไม่เพียงแค่นั้น ดิฉันยังสัมผัสได้ถึง ความตั้งใจทุ่มเท ความประณีตละเอียดลออ ความสนุกสนานท้าทาย ความเป็นพี่น้อง และ ความอบอุ ่ น ของที ม งานฯ ซึ่ ง น่ า จะเป็ น ประสบการณ์ที่หาไม่ได้ง่ายๆ ดิฉนั พอได้ยินเรื่องราวในโรงเรียนจาก ลูกๆ มาบ้าง แต่เมือ่ ได้อา่ นอนุมานวสาร ก็ทำ� ให้รสู้ กึ ว่าความเป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ นีเ้ ข้มข้นมาก อนุมานวสารเป็นเหมือนองค์ความรู้ เป็นแบบอย่าง เป็นแรงบันดาลใจ และเป็น ตัวเชือ่ มสานสัมพันธ์เพือ่ นพีน่ อ้ งได้อย่างดีเยีย่ ม ดิฉนั ยังบอกลูกว่า ถ้ามีโอกาสอยากให้ เขาไปช่วยงานของทีมงานอนุมานวสาร เพราะ จะเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามากน่าจะเปิดรับ สมัครทีมงานฯ ใหม่ๆ จะได้มีคนช่วยแบ่งเบา
แบ่งปันมากขึ้น สุดท้ายดิฉนั ขอเป็นก�ำลังใจให้ทีมงานฯ ทุกคนในการท�ำสิ่งดีงาม เพื่อตอบแทนสถาบัน นะคะ เมื่อท่านได้ให้สิ่งที่ดีที่สุด ท่านย่อมจะได้ รับสิ่งที่ดีที่สุดเช่นกันค่ะ จาก คุณแม่ของนักเรียน รุ่น ๘๑ และ รุ่น ๘๔ ถึงคุณแม่ของนักเรียนรุ่น ๘๑ และ รุ่น ๘๔ ทีมงานอนุมานวสารขอขอบคุณส�ำหรับ ก� ำ ลั ง ใจและค� ำ แนะน� ำ ของคุ ณ แม่ นัก เรี ย น รุ่น ๘๑ และ ๘๔ มากครับ ขณะนี้เราได้ส่ง อนุมานวสารให้กับทางโรงเรียนฉบับละ ๕๐๐ เล่ม เพื่อแจกจ่ายให้กับนักเรียน จดหมายจาก คุณแม่ฯ ท�ำให้เราดีใจที่ได้รู้ว่านักเรียนได้อ่าน อนุ ม านวสารจริ ง ๆ และได้ น� ำ กลั บ ไปให้ ที่ บ้านอ่านกันด้วย ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณคณะ กรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยฯ (โดยท่านนายกสมาคมฯ พี่จุลสิงห์ วสันตสิงห์ รุ่น ๔๐) ทีไ่ ด้กรุณาอนุมตั ใิ ห้เราเพิม่ ยอดพิมพ์ เพื่อส่งให้นกั เรียนวชิราวุธฯ ได้อ่าน กันโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วย น่ายินดีเป็นอย่างยิง่ ทีผ่ อู้ า่ นอนุมานวสาร ได้เพิ่มครอบคลุมไปถึงนักเรียนและครอบครัว รวมทั้งๆ เพื่อนและคนใกล้ชิดของโอวีทั้งหลาย เรามักพูดกันเสมอว่า “ครอบครัวโอวี” ของ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 9
เรานั้นไม่จ�ำกัดแต่เพียงเฉพาะนักเรียนเก่าฯ เท่านัน้ หากรวมถึง “คนรอบข้าง” ทุกคนด้วย พวกเราเคยคิดและถามกันอยูบ่ อ่ ยๆ ว่า จะมีช่องทางใดบ้างที่เราจะขยายฐานคนอ่านให้ กว้างทีส่ ดุ เหตุผลประการหนึง่ ก็เพราะเราอยาก จะแบ่งปันสิ่งดีๆ ที่เราได้รับการอบรมสั่งสอน จากโรงเรียน และจากการเป็นนักเรียนเก่าฯ ที่ มีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เป็นแรงบันดาลใจและ ตัวอย่างที่ดี อีกประการหนึง่ เราต้องการจะเป็น สื่อสัมพันธ์ที่จุดประกายความคิดให้พวกเรามา รวมตัวกันเพือ่ ท�ำประโยชน์ให้กบั สังคมโดยรวม เพื่อให้ สมดังพระราชปณิธานของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ในการสถาปนาวชิราวุธวิทยาลัย ทีมงานอนุมานวสาร เรียน ทีมงานอนุมานวสาร ผมขอแสดงความยิ น ดี ม ายั ง คณะ ผู้จัดท�ำหนังสือ “อนุมานวสาร” ที่ได้พัฒนา ไปเป็นอย่างดีมาตลอด โดยเฉพาะฉบับที่ ๑๑ ประจ�ำเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ๒๕๕๒ ซึ่ ง มี เรื่ อ งน่ า สนใจหลายเรื่ อ ง เช่ น เรื่ อ งเล่ า จากนัก เรี ย นมหาดเล็ ก หลวงและอิ ท ธิ ฤ ทธิ์ ต้นกระท้อน เป็นต้น ผมจึงขอส่งเช็คธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน เลขที่ ๑-๓๓๓-๖๗๐ จ�ำนวนเงิน ๒,๐๐๐ บาท อนึ่งผมชื่อ ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ แต่จ�ำรุ่นไม่ได้ครับ ผมเคยอยู่คณะเด็กเล็กชั้น ป.๑ และ ป.๒ และเคยไปเรียนที่บางปะอิน ด้วย ผมเองก็มีความประทับใจกับโรงเรียน
10
วชิราวุธฯ หลายอย่าง และติดตามเรื่องราว ต่างๆ ของโรงเรียนเรื่อยมา คุณพ่อของผม คุณสง่า วรรณดิษฐ์เป็นผู้รับเหมาสร้างตึกขาว และเมื่อเร็วๆ นี้มีการซ่อมแซมผมก็ได้ร่วม บริจาคด้วย ขณะนี้หลานตาของผมนายธงชัย ณ พัทลุงเป็นนักเรียนชั้น ม.๔ คณะจงรัก ภั ก ดี และธงชั ย มี ค วามภู มิ ใจที่ ได้ มี โอกาส เป็นนักเรียนวชิราวุธฯ ครับ ขอแสดงความนับถือ ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ ทีมงานอนุมานวสารขอตอบ พวกเราทุ ก คนขอน้ อ มรั บ น�้ ำ ใจที่ พี่ ชนินทร์ มี ต ่ อ หนัง สื อ อนุ ม านวสารด้ ว ยการ สนับสนุนอนุมานวสาร หนังสือที่เล่าเรื่องราว ของโอวี ท� ำ โดยโอวี เพื่ อ ความสุ ข ของโอวี พวกเราดีใจเป็นอย่างยิ่งครับที่ได้รับจดหมาย จากพี่ชนินทร์ในครั้งนี้ หากยังมีโอวีคนอื่นๆ ชอบเรื่องราวในส่วนไหนของอนุมานวสาร ก็ ส่งกันเข้ามาแสดงความเห็นกันได้นะครับ เพื่อ ที่พวกเราจะได้น�ำไปใช้พัฒนาหนังสือต่อไปให้ ถู ก ใจคนอ่ า นมากยิ่ ง ขึ้ น หากพี่ ช นินทร์ รั ก การเขียนและอยากแบ่งปันประสบการณ์ตอน ที่ย้ายไปเรียนที่วังบางปะอิน ทีมงานฯ ก็ขอ อนุญาตเชิญชวนทั้งพี่ชนินทร์และโอวีท่านอื่นๆ มาเขียนเรือ่ งเล่าสนุกๆ จากประสบการณ์สว่ นตัว ส่งกันเข้ามาได้ที่กอง บก. ตลอดเวลาเลยครับ เพราะอนุมานวสารเป็นของโอวีทุกท่านครับ
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 11
ใต้หอประชุม คุยกับนักเรียนเก่าฯ
12
อ้ นหลังไปราวประมาณ ๔๐ ปี มีเด็กวชิราวุธฯ คนหนึง่ ผู้เปรียบเสมือน “ดาว” แห่งวชิราวุธฯ เขา เป็นความหวังของเพือ่ นทัง้ โรงเรียนในการสอบทุกๆ ครัง้ ว่าจะน�ำชื่อเสียงมาสู่วชิราวุธฯ เขาผู้นนั้ ไม่ใช่ใครที่ไหน คุณหมอดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์นกั เรียนเก่าฯ รุ่น ๔๐ อีก ท่านหนึง่ ที่สามารถท�ำความฝันของใครหลายๆ คนให้ เป็นจริงได้ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 13
ผมขออนุญาตเรียกว่าพี่หมอแล้วกัน ครับ เพราะผมอยากให้รู้สึกว่าเหมือนพี่กับ น้องมานัง่ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันมากกว่า ปัจจุบันพี่หมอด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้าที่จังหวัดจันทบุรี พี่หมอเน้นย�้ำเสมอว่า การที่มาถึงจุดนี้ได้ก็ เพราะได้รับการอบรมสั่งสอนมาจากวชิราวุธฯ ทั้งสิ้น และบอกอีกว่าใครก็ตามที่ได้มาเรียน โรงเรียนนีถ้ ือว่าเป็นคนที่โชคดีมาก บ่ายวันหนึง่ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทีมงานอนุมานวสารได้รับโอกาสพิเศษพูดคุย กับพี่หมอตั้งแต่ความทรงจ�ำสมัยอยู่วชิราวุธฯ ไปจนถึงเรื่องที่มีสาระอย่างวิธีการบริหาร จัดการ โรงพยาบาลที่จันทบุรี เทคนิคการเรียน หนังสือให้เก่ง พี่หมอดาวฤกษ์ เป็นคนที่ ส่องประกายความสว่างทางด้านปัญญาสมชื่อ ตั้งแต่เรียนอยู่ที่วชิราวุธฯ และสร้างความภูมิใจให้ “พระบรมราโชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่บอกว่า แก่ผู้คนรอบข้างเสมอมา ไม่ต้องการนักเรียนที่เรียนเก่ง แต่ต้องการนักเรียนที่ เพราะครองอันดับหนึง่ และรับพระราชทานรางวัล รู้หลายๆ ด้าน และเอาตัวรอดได้ ปัจจุบันทฤษฎีนี้ได้ เรียนดีมาอย่างสม�่ำเสมอ กลายมาเป็นทฤษฎีใหม่ หรือพหุปัญญา” เมื่อตอนสมัยเรียนได้รับ พระราชทานอย่างน้อย ๙ หลังจากนัน้ เราก็ไม่กล้าถามพี่หมอเรื่องนี้อีก ปีติดต่อกัน และเป็นคนแรกทีไ่ ด้รบั ทุน เล่าเรียนในชั้น ม.ศ.๔ และ ม.ศ.๕ นอกจากนี้ ต่อไป เรื่องราวสนุก ๆ และประสบการณ์ต่าง ๆ ยังมีเรื่องชวนหัวเราะอย่างวิธีการเรียนหนังสือ ในการท�ำงานของพี่ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ ให้เก่งแต่แปลก ๆ ของพี่หมอว่า “ให้ตื่นเช้า ๆ รุ่น ๔๐ นักเรียนเก่าฯ ผู้นี้ ยังมีอีกหลาย ๆ ด้านที่จะมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องจากรุ่นพี่ถึง และให้คอยมากินน�้ำค้างตามใบหญ้า” ซึ่ง
14
รุ่นน้องซึ่งน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้กัน พี่เป็นคนแรกใช่ไหมครับที่ได้รับพระราชทาน ถ้วยวิทยาศาสตร์ ใช่ แต่ถ้วยมันหายไปแล้ว ได้อยู่ สองปีเสียดายเหมือนกัน คือถ้วยนีจ้ ะ พระราชทานให้กับคนที่ได้ที่หนึง่ ในวิชา วิทยาศาสตร์
พี่หมอมีเทคนิควิธีการเรียนยังไงครับให้ได้ที่ หนึง่ มาตลอด ตอนเรียนผมก็ไม่รู้หรอก แต่ตอนนี้ ผมเป็นหมอก็มีข้อสรุปจากนักวิชาการ คือ มันต้องเตรียมตัวตั้งแต่แรกเกิด มันเหมือน กับการวิง่ ผลัด เราต้องรูว้ า่ ออกตัวยังไงนัน่ คือ ไม้แรก ถือไม้ยังไงมันถึงจะน�ำคนอื่น ซึ่งแต่ ก่อนใครวิ่งเร็วก็วิ่งไป แต่เดี๋ยวนี้มันมีทฤษฎี ทางการแพทย์ว่าไม้แรกก็คือตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอนุบาล ส่วนไม้สองก็คือประถม ไม้สาม
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 15
“ทั้งหมดนี้โรงเรียนเรา สอนมาก แต่มันไม่อยู่ ในทฤษฎีการศึกษา ของไทย”
ก็คือมัธยม ไม้สี่ก็คือ มหาวิทยาลัย แต่ละช่วงมัน ก็ ๖ ปี ๔ ปี มันมีระยะ เวลาของมัน ประเทศไทยเรามีความรู้ในเรื่องนี้แต่ ยังไม่ได้น�ำมาปฏิบัติ ถ้าท�ำได้มันก็จะได้เด็ก ไม้แรกขึ้นมาเข้าประถม อีกข้อหนึง่ คือผมมานัง่ คิดดูแล้วว่า พื้นฐานถ้าคนมันชอบอ่านหนังสือมันก็ได้ เปรียบ สมัยผมเด็ก ๆ ก็ชอบอ่านพวกป้าย ตามร้านค้าต่าง ๆ อ่านไปทั่ว พอเราอ่านผิดแม่ ก็มาสอนว่าต้องอ่านยังไงให้ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ ก็คือพื้นฐานตั้งแต่เด็กซึ่งแต่ละคนอาจจะมีไม่ เหมือนกันนัน่ คือไม้แรก
16
แล้วไม้สองไม้สามของพี่หมอ สมัยอยู่โรงเรียนเป็นอย่างไรครับ สมัยนัน้ รุ่นผม รุ่นเดียว กับผู้บังคับการ (ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์) เรียน หนังสือโดยเฉลี่ยค่อนข้างเก่ง แต่ปรากฏว่า ผลสอบออกมาเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้เยอะเลย สมัยก่อนมหาวิทยาลัยมันมีไม่มาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพยังเป็นวิทยาลัยกรุงเทพ อยู่ ไอ้พวกสอบไม่ได้ก็ต้องไปเข้าวิทยาลัย กรุงเทพ สมัยนัน้ รามค�ำแหงก็ยังไม่เปิด เรียก ได้ว่า “เตะฝุ่น” เยอะเหมือนกัน ผมก็มา โวยวายกับครูที่สอนว่า “ครูครับผมว่า โรงเรียนเรามันสอนไม่ถูก ต้องสอนให้เด็ก สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้” มันสอบเข้าไม่ได้มัน
เสียอนาคต แต่พอถึงเวลานีก้ ็เกือบเกษียณ แล้วมองย้อนกลับไป ผมมาคิดดูอีกทีที่ผมพูด ไปวันนัน้ มันไม่ถูกต้อง โรงเรียนถูกอยู่แล้ว คือคนที่เข้ามหาวิทยาลัยได้ไม่จ�ำเป็นต้อง ประสบความส�ำเร็จในชีวิต แต่ว่าคนที่เข้า มหาวิทยาลัยไม่ได้แต่เอาตัวรอดได้ก็พอแล้ว อย่างเพื่อนผมคนหนึง่ สมัยเรียนมันสอบตก แล้วก็ไปเรียนที่ America พอจบกลับมาก็ไล่ ทัน จนตอนนี้เก่งน�ำหน้าเพื่อนฝูงเลย พระบรมราโชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่บอกว่า ไม่ต้องการนักเรียนที่ เรียนเก่ง แต่ต้องการนักเรียนที่รู้หลาย ๆ ด้าน และเอาตัวรอดได้ ปัจจุบันทฤษฎีนี้ได้กลายมา เป็นทฤษฎีใหม่หรือพหุปัญญา แล้วทฤษฎีใหม่มันเป็นยังไงเหรอครับ หมายความว่าเวลาเรานับคนเก่งเรานับ อยู่ ๒ อย่างแค่นนั้ คือ ๑. เก่งภาษากับศิลปะ ๒. เก่งคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ แต่ โรงเรียนเราไม่ใช่คนเก่ง มีทั้งเก่งกีฬา เก่งดนตรี เก่งศิลปะ และเก่งเรียน โรงเรียนจะยกย่อง คนเก่งกีฬามาก แต่พอจบออกไปข้างนอกมัน ไม่ยอมรับคนเก่งกีฬา สมัยก่อนจบไปก็ไม่รู้จะ ท�ำอะไร แต่เดี๋ยวนี้มันก็มีโรงเรียนกีฬา มีทุน และมีช่องทางมากขึ้น ก็ดีกว่าสมัยก่อนเยอะ ที่เมืองจีนประชากรมันเยอะ เขาก็ดูว่า เด็กคนไหนมันเรียนไม่ได้ก็จับไปเล่นกีฬา ถ้า เล่นกีฬาไม่ได้ก็จับไปเล่นดนตรี คือถ้าไม่ชอบ อะไรก็อย่าไปฝืน เด็กที่เราเห็นในโรงเรียน
แต่ละคนมันไม่เหมือนกัน มันเก่งคนละอย่าง แต่ระบบการศึกษาไทยนัน้ มันไม่ยอมรับเด็ก พวกนี้ ท�ำให้เด็กที่เก่งด้านอื่น ๆ มันไม่มี โอกาสเพราะไม่ถูกยอมรับ อีกทฤษฎีก็คือ “การรู้จักตัวเอง” คือ การปรับตัวเองได้ว่ามีจุดอ่อนตรงไหน เราควร จะท�ำยังไง ซึ่งโรงเรียนสอนเป็นอย่างมากใน เรื่องนีก้ ับอีกอันหนึง่ คือ “ความสัมพันธ์” Personal กับ Interpersonal ทั้งหมดนี้โรงเรียนเราสอนกันมานาน มาก แต่มันไม่อยู่ในทฤษฎีการศึกษาของไทย การที่โรงเรียนให้ความส�ำคัญกับนักกีฬามาก เกินไป อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องน�ำมาคิดใหม่ พี่หมอมีความคิดเห็นอย่างไรครับ คือมันต้องพอดี ๆ เพราะถ้าให้ความ ส�ำคัญกับมันมากเกินไปก็อาจจะเป็นผลเสีย ตามมาได้ แต่สิ่งต่าง ๆ ที่โรงเรียนสอนพอไป ท�ำงานแล้วมันหายาก เรื่องบางเรื่องคนอื่นมัน คิดไม่ถึงเพราะมันไม่ได้ถูกฝึกมา Public School ของอังกฤษสมัยก่อนมันส่งคนที่เรียน ไปปกครองเมืองขึ้นอื่น ๆ คือไปเป็นหัวหน้า ไปอยู่ที่ไหนก็ได้และก็สามารถน�ำหรือ เปลี่ยนแปลงสังคมตรงนัน้ ได้ วชิราวุธฯ นัน้ สอนเรื่องการเอาตัวรอด ในทุกสภาวะ เป็นสิ่งที่โรงเรียนอื่นไม่สอน สอนโดยที่พวกเราไม่รู้ตัว แต่การเอาตัวรอด ต้องนึกถึงคุณธรรมด้วยเพราะบางทีมันไม่ถูก ต้อง “รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาเอาตัวรอดเป็น กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 17
ยอดดี” สมัยก่อนเขาด่ากันอย่างนี้ สุนทรภู่ก็ สอนอย่างนี้
ผมตัวเล็กเล่นกีฬาก็ไม่ค่อยจะได้ จะมีก็เรื่อง เรียนหนังสือที่นี่แหละที่สู้เขาได้
เด็กวชิราวุธฯ ในมุมมองของพี่หมอเป็น อย่างไรครับ สมัยก่อนมันก็มีกลุ่มพวกเจ้า เห็น นามสกุลก็รู้ว่าลูกใครหลานใคร ตัวผมชอบ ประวัติศาสตร์ก็เพราะอย่างนี้เพราะเพื่อนผม นามสกุลแต่ละคนก็ดัง ๆ ทั้งนัน้ อีกกลุ่มหนึง่ ก็พวกลูกพ่อค้า พวกนี้ รวยเวลาบริจาคก็บริจาคเยอะ ชื่อพวกนีก้ ็จะ อยู่ต้น ๆ เลย และก็กลุ่มพวกลูกข้าราชการ ต่างจังหวัดเป็นลูกนายอ�ำเภอ ลูกผู้พิพากษา บ้าง อะไรบ้าง ผมอยู่วชิราวุธฯ มา ๑๐ ปีเต็ม ๆ เพราะฉะนัน้ ก็ต้องดูเหมือนกัน เพราะบางคน มาอยู่แค่สั้น ๆ ดังนัน้ เรื่องความรู้จักตัวเองก็ ต้องมีไม่เท่ากัน ของผมมันก็ต้องมีมากกว่า เป็นธรรมดา
แล้วพื้นฐานของการเรียนเก่งมีอะไรบ้างครับ พื้นฐานจริง ๆ มันก็ไม่มีอะไรหรอก แค่ให้รู้จัก “รักการอ่านหนังสือ อ่านแล้วจ�ำได้ จับใจความได้ จับประเด็นได้” แต่เรื่องนี้มัน ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อน ๆ ผมชอบ ถามผมว่า “มึงหนังสือก็ไม่อ่านท�ำไมมึงสอบได้ ว่ะ” ผมก็บอกมันไปว่า “กูมีคาถา มึงไม่ ต้องอ่านหรอกหนังสือ มึงเอาหนังสือที่มึง เรียนใส่ใต้หมอน แล้วท่องคาถาที่กูให้ รับรอง มันจะซึมเข้าสมองมึงเอง” สรุปเพื่อนมันก็เชื่อ โดยเฉพาะพี่ต๋อ อภิรักษ์ อารีย์มิตร เชื่อ มากกว่าคนอื่นก็ไปนอนอ่าน พอตอนหลังสอบ มันก็มาโวยวายกับผมใหญ่เลย ผมเลยถาม ย้อนไปว่า “ท่องคาถาถูกหรือเปล่า”
พี่หมอเข้ามาอยู่วชิราวุธฯ ได้อย่างไรครับ คือที่บ้านผมการศึกษานี้สำ� คัญมาก เรียกได้ว่าพ่อแม่ผมยอมอดเพื่อส่งผมเรียน ดังนัน้ ผมก็ต้องขยันเรียนให้มาก ๆ และ ตอนนัน้ พ่อผมอยากให้ผมเรียนอยู่ ๒ ที่ คือ เซนต์คาเบรียลกับวชิราวุธฯ แต่เซนต์คาเบรียล ตอนนัน้ ค่าเรียนแพงมากก็เลยได้มาเข้าเรียนที่ วชิราวุธฯ พอเข้ามาผมก็อยู่เด็กเล็ก ๒ พอมา เด็กในก็มาอยู่คณะผู้บังคับการ ตอนเด็ก ๆ
18
แล้วมีเพื่อน ๆ ที่ยึดเอาพี่เป็นแบบอย่างใน เรื่องเรียนบ้างไหมครับ ก็มีสมภพ ทับทิมทอง เป็นคนที่เรียน หนังสือไม่เก่งแต่มีความพยายามสูงมาก เป็น นักกีฬารักบี้ แต่ทีนี้มีเหตุที่ทำ� ให้สมภพได้รับ บาดเจ็บจากการตกรถมีแผลใหญ่ยักษ์ จาก คนตัวใหญ่เหลือตัวเล็กนิดเดียว ทีนกี้ ็เล่นรักบี้ ไม่ได้เพราะมีแผลเป็นมันก็มาฝึกกีฬาอื่น การ ฝึกของสมภพเนี่ยก็จะไปหาหนังสือต�ำรามา มีกรีฑา เทนนิส แบดมินตัน ไม่ได้ฝึกแบบ
น.พ.ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ ในความทรงจ�ำของ น.พ.สมภพ ทับทิมทอง ดาวฤกษ์เป็นคนที่เรียบร้อยแต่สนุกสนาน เขาไม่เคยสอบได้ตำ�่ กว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ และมักนัง่ เรียนแถวหน้าเสมอ ดาวเป็นแบบอย่างที่ดีสำ� หรับผม สมัยก่อนผมเป็นหัวหน้าและ มักหลับในเวลาเรียนช่วงบ่าย ผมมีเขาเป็นแบบอย่างก็ค่อยๆ ขยับขึ้นไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนถึง แถวสอง และในทีส่ ดุ ก็เป็นแถวหนึง่ ริมด้านข้างเพราะค่อนข้างตัวใหญ่เมือ่ สมัยเด็กๆ เวลาเรียน ก็ดูดาวฤกษ์ว่าเขาท�ำอย่างไร ผมก็มักท�ำอย่างนัน้ โรงเรียนของเราเป็นทีท่ ดี่ ที สี่ ดุ ส�ำหรับฝึกการควบคุมตนเอง ดาวฤกษ์เป็นคนคิดอะไร ละเอียดรอบคอบท�ำอะไรมีหลักการดีมาก เขาเคยบอกผมว่า “คนเราถ้ามีวิธีการที่ดีไม่จ�ำเป็น ต้องเป็นคนฉลาด แต่ส่วนใหญ่คนที่ฉลาดมักจะมีวิธีการที่ดี”
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 19
“ส�ำหรับตัวผม ผมมองว่าการที่เราได้ “ท�ำอะไร” มันดี กว่าการที่เราได้ “เป็นอะไร” บางคนอาจจะคิดว่าชีวิตนี้ อยากเป็นอะไร อยากได้อะไร อยากมีอะไร แต่ผมพอมา คิดอีกที ก็คิดว่าถ้าเราไปเป็นอย่างนัน้ เราก็จะไม่ได้มาท�ำ สิ่งนี้ ซึ่งเราชอบมากกว่าได้ท�ำอะไรเยอะกว่า บางคนท�ำ เพื่อมี แต่ผมไม่ได้คิดอย่างนัน้ คิดแค่ว่าท�ำให้ส�ำเร็จ เงินมากเงินน้อยไม่ส�ำคัญ ตรงส่วนนี้โรงเรียนได้อบรม บ่มสอนผมมาอย่างมาก” 20
ตามที่ครูจ่าสอน สมภพไปอ่านหนังสือภาษา อังกฤษนะ เปิดดิกชั่นเนอรี่แปล บางค�ำที่แปล ไม่ออกก็จดมาให้ผมช่วยแปล “มันแปลว่า อะไรวะ กูเปิดดิกฯ แปลแล้วก็ยังไม่รู้เรื่อง” สมภพถามผม เราก็ช่วยแปลบางหน้าบางตอน ให้ไป ไม่ได้แปลทั้งเล่ม ท�ำให้ผมได้รู้ว่ามัน อ่านหนังสือพวกนี้ อ่านแล้วก็ไปฝึกไปท�ำ สมัยก่อนกรีฑาวิ่ง ๑๐๐ เมตร มีไอ้คก ไอ้จ๋อม เป็นตัวเต็ง ไอ้สมภพนี่ไม่อยู่ตัวเต็งเป็นม้ามืด มันไปอ่านวิธีวิ่งแข่ง ๑๐๐ เมตร แบ่งออกเป็น ๔ ช่วง ช่วงที่ ๑ ตั้งแต่การตอนออก Start ไปจนถึงระยะ ๓๐ เมตรจะต้องท�ำอย่างไร ตอนกลางต้องท�ำอย่างไรไปจนถึงเส้นชัย แล้วก็มาฝึกเหรียญทอง พอมาสอนเด็กเล่น รักบี้ ก็สอนพวก Hooker ให้หัดงัดเก้าอี้ ม้าหิน เพราะเวลาเข้าสกรัมคอจะต้องแข็ง เข้า แถวหน้าเสียบพลั่ก! ฝั่งตรงข้ามเจ็บไปก่อน แล้วคือเข้าต้องเข้าถึงชนเลย พอยังไม่ทันส่ง ลูกต้องงัดเลยให้มันกลัว แล้วมันจะรวนเลย แล้วลูกก็จะเป็นของเรา แท็กติกแบบนีค้ รูอรุณ ก็ไม่ได้สอน ไม่รู้เดี๋ยวนี้ยังงัดม้าหินกันอยู่หรือ เปล่า สมภพเนี่ยเป็นต้นต�ำรับเลยนะ ตอนแรกผมก็คิดว่ามันนี่บ้า แต่พอผม ไปดูงานที่เยอรมันเป็นประเทศที่สุดยอดบ้าใน เรื่องการเตรียมคนไม่ได้ปล่อยไปตาม ยถากรรม จะส่งคนไปแข่งโอลิมปิกไม่ใช่สัก แต่ว่าส่ง ๆ ไป มันต้องค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หมดถึงต้องมีวิทยาศาสตร์การกีฬา และแสดง ว่าที่เยอรมันต้องมีพิพิธภัณฑ์และโรงเรียนที่
สอนเรื่องแบบนี้ เขาศึกษาตั้งแต่เริ่มเลย ดูอย่างญี่ปุ่น สมัยก่อนตัวเล็กกว่าเราแต่เดี๋ยว นีต้ ัวมันใหญ่เพราะเอาความรู้ด้านนี้มาใช้ สมัยพี่หมอเป็นนักเรียน พี่หมอได้ท�ำงาน สมาคมหนังสือพิมพ์หรือเปล่าครับ ตอนนัน้ ผมเป็นรองบรรณาธิการ แต่ ผู้บังคับการ (ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์) เขาเป็น บรรณาธิการ เขามีหน้าที่บริหารเขาบริหารเก่ง ผมเป็นคนลงมือท�ำ สมัยพี่หมอ เด็กที่เรียนเก่งนัน้ ถูกล้อบ้างหรือ เปล่าครับ ก็มีอยู่แล้วเป็นธรรมดา คือเด็กมัน อิจฉากัน ผมตัวเล็กเวลาเรียนก็ต้องนัง่ หน้า ก็จะถูกพวกข้างหลังแกล้งบ้างขว้างอะไรต่อ อะไรมาก็ไม่รู้ เด็กเรียนเก่งถูกล้อถูกเรียกว่ายังไงบ้างครับ ในสมัยพี่หมอ ก็มี “ไอ้พวกปากเหม็น” “พวกทีมชาติ” อะไรพวกนี้มีสรรพนามเยอะ แต่บางคนมัน ท่องหนังสืออย่างเดียว คนอื่นก็จะมองว่าคนนี้ เอาเปรียบเพราะมันไม่เล่นกีฬา แต่ผมตั้งใจ เรียนในห้องเรียนก็พอแล้ว สมัยผมเรียน บางครั้งอาจารย์ก็สอนไม่เข้าใจ ผมก็เลย ต้องหาวิธีเอาตัวรอดคือเรียนเอง ห้องสมุดผม เข้าประจ�ำ จนติดเป็นนิสัยไปจนถึงมหาวิทยาลัย กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 21
สมัยพี่หมอคนเก่งเยอะไหมครับ มีแต่ไม่มาก มันก็ตามสถิติ มันมีทุก โรงเรียนตามสัดส่วน มันมีทั้งเก่งและไม่เก่ง แต่พวกเตรียมอุดมเขาจะได้เปรียบเพราะการ เรียนการสอนเขาดีมันก็ได้เด็กเก่งเยอะ ครูที่ สอนก็เก่ง ของเรามันก็มีเก่ง ๑๐-๒๐ เปอร์เซ็นต์ กลุ่มไม่เก่งก็ ๑๐-๒๐ เปอร์เซ็นต์ ตรง กลางก็ ๖๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ กลุ่มที่เก่งก็ ส่งเสริมไป กลุ่มที่ไม่เก่งก็ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เอาแค่ให้ผ่านก็พอ กลุ่มกลาง ๆ ก็ต้องจับ แยกและก็พัฒนาต่อไป มันมี ๒ กระบวนการ คือกระบวน การเรียนการสอนกับกระบวนการวัดผล ซึ่ง บางคนจะสอนเก่ง แต่ออกข้อสอบไม่เก่ง ดังนัน้ เราเลยไม่รู้ว่า เด็กที่สอบได้คะแนนดีได้
22
“โรงเรียนเราได้เปรียบ เพราะเราเป็น โรงเรียนกินนอน ท�ำยังไงเราจะสังเกต หรือวิเคราะห์ออกมาได้ว่าเด็กแต่ละ คนนัน้ เป็นอย่างไร มีจุดดี จุดด้อย อะไรบ้างที่ควรต้องส่งเสริม ต้อง จดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร” เกียรตินิยมนัน้ เก่งจริงหรือเปล่า แม้กระทั่ง มหาวิทยาลัยก็เป็นปัญหานี้ ที่โรงพยาบาลผมมีโครงการรับเด็ก มัธยมที่อยากเป็นหมอมาฝึกงาน สงสัยอะไรก็ ถาม ดูงานไปเรื่อย ๆ จะเรียนไม่เหมือน มหาวิทยาลัย วิธีนจี้ ะฝึกเด็กให้รู้จักคิดรู้จัก การท�ำงานจะท�ำงานเก่งแก้ปัญหาอะไรเองได้
แต่ถ้าเรียนลึกลงไปให้เป็นระดับ สุดยอดมันอาจจะสู้คนอื่นเขาไม่ได้ แต่ถ้าเอา เฉลี่ย ๆ มันก็ได้เหมือนกับโรงเรียนเรา ถามว่า เก่งสุดยอดหรือเปล่า มันไม่เก่งสุดยอด มันจะ อยู่ตรงกลาง ๆ ซึ่งตรงกลางนีจ้ ะเป็นคนส่วน ใหญ่คืออยู่กับความเป็นจริง ไม่ใช้ทฤษฎีมาก เกินไปแก้ปัญหาได้ โรงเรียนเราได้เปรียบเพราะเราเป็น โรงเรียนกินนอน ท�ำยังไงเราจะสังเกตหรือ วิเคราะห์ออกมาได้ว่าเด็กแต่ละคนนัน้ เป็น อย่างไร มีจุดดีจุดด้อยอะไรบ้างที่ควรต้องส่ง เสริม ต้องจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเราสามารถเรียนรู้จากตรงนี้ได้ ดีกว่าปล่อย ให้มันผ่านไปเฉย ๆ โดยไม่รู้ว่าสมัยคุณเรียน หนังสือนิสัยใจคอของคุณเป็นอย่างไร ประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องการ จดบันทึกอยู่มากเมื่อเทียบกับชาติตะวันตก ปัญหาเรื่องการศึกษาระหว่างชาติตะวันตกกับ ตะวันออกต่างกันอย่างไรครับ วัฒนธรรมการหาความรู้และการใช้ ความรู้หรือการถ่ายทอดความรู้มันไม่เหมือน กัน ปราชญ์ตะวันตกเขาอ่านออกเขียนได้ ปราชญ์ของเราอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แต่เป็น ปราชญ์ อันที่สอง คือปราชญ์ของเรามันถือว่า ความรู้เฉพาะตระกูลของเราหรือเฉพาะศิษย์ รักที่ดีมีคุณธรรม แต่ของเขานัน้ ไม่มีอย่างนี้ ใครมีความรู้ก็จด ๆ ไป แล้วก็น�ำไปคิด ต่อยอดความรู้มันก็เป็นระบบ ของเรานี้รู้แต่
ถ่ายทอดไม่ได้ แต่ตะวันตกเขาถ่ายทอดได้ มันก็เป็นวัฒนธรรมที่ต่างกัน สมัยพี่หมอเป็นนักเรียนท่านพระยาภะรตราชา ได้ช่วยส่งเสริมคนที่เรียนเก่งมากน้อยเพียง ใดครับ ท่านไม่ค่อยได้ลงมาช่วยอะไรมาก คือ ตอนนัน้ ท่านอายุมากแล้วจะมีก็แต่บารมี การ ที่ท่านจะลงมาช่วยมาดูมันก็ไม่ไหวแล้ว มีอยู่ครั้งหนึง่ ท่านมาถามผมว่า “ดาวฤกษ์เธอจะไปเรียนอะไร” ผมก็ตอบว่า “แพทย์หรือไม่ก็วิศวะครับ” ท่านก็ทำ� หน้าแบบ ไม่ค่อยพอใจ ผมก็รู้ว่าท่านคงมองผมอยู่แต่ว่า ท่านไม่พูด ผมจบไปได้ไม่นานท่านก็ถึงแก่ อนิจกรรมไป ที่พี่หมอเลือกเป็นหมอเพราะต้องการเลี้ยงชีพ ตัวเอง ท�ำไมพี่หมอถึงเลือกมาเป็นหมอต่าง จังหวัดครับ คือถ้าคุณท�ำงานเอาแต่เงิน มันก็จะ สูญเสียอะไรบางอย่างไป คือเราได้มีโอกาส ท�ำงานเพราะต่างจังหวัดนัน้ ขาดหมอ และตัว ผมเองก็มีความสุขกับการท�ำงาน ยังไม่มีภาระ ที่ต้องรับผิดชอบมากมายนัก ก็เอาตัวเองให้ รอดไม่ให้เป็นภาระของครอบครัวให้ครอบครัว สบายใจ ส�ำหรับตัวผม ผมมองว่าการที่เราได้ “ท�ำอะไร” มันจะดีกว่าการที่เราได้ “เป็นอะไร” บางคนอาจจะคิดว่า ชีวิตนี้อยากเป็นอะไร กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 23
อยากได้อะไร อยากมีอะไร แต่ผมพอมาคิด อีกที ก็คิดไปว่าถ้าเราไปเป็นอย่างนัน้ เราก็จะ ไม่ได้มาท�ำสิ่งนี้ ซึ่งเราชอบมากกว่าได้ทำ� อะไร เยอะกว่า บางคนท�ำเพื่อมีแต่ผมไม่ได้คิดอย่าง นัน้ คิดแค่ว่าท�ำให้ส�ำเร็จ เงินมากเงินน้อยไม่ ส�ำคัญ ตรงส่วนนี้โรงเรียนได้อบรมบ่มสอน ผมมาอย่างมาก ความสุขในการท�ำงานของพี่หมอคืออะไรครับ คือท�ำแล้วมันส�ำเร็จมันเห็นผล ยิ่งถ้า เราได้ลงมือท�ำเองก็จะภูมิใจมาก บางทีถ้าเรา ท�ำงานในต�ำแหน่งสูง ๆ คอยแต่สั่งการไม่ได้มา ท�ำเองก็จะไม่รู้หรอกว่ามันเป็นยังไง
นี้อร่อย แต่ที่โรงเรียน Harrow ผู้ก�ำกับคณะ นัน้ มีสิทธิในการบริหารงบประมาณ คือเด็กเข้า มาเก็บเงินเท่ากันหมด แล้วถ้าผู้กำ� กับคณะคน ไหนที่เก่งเรื่องเศรษฐศาสตร์ หรือการบริหาร จัดการ หรือมีภรรยาที่ทำ� อาหารเก่งก็สามารถ ท�ำงบให้ตำ�่ ได้แล้วก็จะมีกำ� ไร ก�ำไรก็จะตกเป็น ของผู้ก�ำกับคณะ แต่ทฤษฎีนี้ผู้ก�ำกับคณะต้อง ใช้ฝีมือ คือต้องท�ำอาหารให้เด็กกินอิ่มและได้ คุณภาพครบถ้วน
โรงพยาบาลที่จันทบุรีที่พี่หมอท�ำงานอยู่ พี่หมอมีวิธีการบริหารอย่างไรครับ มันท�ำเองคนเดียวไม่ได้หรอก ผมมี คนที่ทำ� งานอยู่ด้วย ๒,๐๐๐ คน เป็น ข้าราชการ ๙๐๐ คน คนที่มีอ�ำนาจสั่งการนัน้ ไม่ได้เก่งที่สุด ซึ่งสมัยก่อนเราจะเอาแต่คนที่ เก่งที่สุดหรืออาวุโสที่สุด ระบบการบริหาร แบบใหม่ที่โรงพยาบาลผมมันจะส�ำคัญตรงที่ ว่าการน�ำคนไปใช้ให้ถูกต้องกับงานมากกว่า ซึ่งตรงนี้สำ� คัญมาก
สมมติว่าเด็กเรียนเก่งถูกแกล้งถูกรังแก โรงเรียนควรจะช่วยเหลือหรือดูแลอย่างไรครับ ต้องช่วยแต่อย่าให้มันเกินไป รุ่นผมมี อยู่คนหนึง่ มันเข้ามาตอนโตแล้ว เรียนหนังสือ เก่งแต่เรียนแบบท่อง คนนีก้ ็จะโดนแกล้งมาก เพราะเพื่อน ๆ มองว่าเขาเอาเปรียบที่ท่อง หนังสืออย่างเดียว ทีนี้บางคนมันเก่งไม่เหมือนกัน บาง คนเรียนเก่งแต่เล่นกีฬาไม่ได้เลย หรือบางคน เล่นกีฬาเก่งแต่เรียนไม่ได้เลย ฉะนัน้ เราต้อง คิดว่าท�ำยังไงถึงจะปรับจุดด้อยให้เข้ามาอยู่ใน ระดับปกติให้ได้ คือถ้าเล่นกีฬาไม่ได้อย่าง น้อยก็ต้องดูกีฬาเป็นรู้กติกาก็พอ ถ้าเรียนก็ เอาให้ผ่านก็พอ
อาหารการกินสมัยพี่หมอเป็นนักเรียนเป็น อย่างไรครับ อาหารไม่ค่อยดีไม่อร่อย คณะ ผู้บังคับการนี้สู้คณะจิตรลดาไม่ได้ อาหารคณะ
เคยโดนพระยาภะรตราชา “ตบ” ไหมครับ ผมก็โดน พอดีตอนนัน้ ท่านขึ้นไปตอน เพรบ ผมเดินออกไปข้างนอกแล้วพอเดินกลับ มาท่านก็ตบผมก่อนเลย ก่อนที่จะถามว่าไป
24
ไหนมาซะอีก บางทีท่านอาจจะคิดว่าเป็นการ สร้างความคุ้นเคยกับนักเรียนก็ได้ ในฐานะที่พี่หมอเป็นคนเรียนเก่งอยากจะให้ พี่หมอช่วยแนะน�ำน้องเรื่องการเรียนหนังสือ หน่อยครับ คือมันต้องมีทุนเดิม สมัยก่อนแม่ผม ชอบบอกให้ผมกินปลาเยอะ ๆ กินแล้วฉลาด ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์มันจริง และก็เรื่องการ ปลูกฝังให้รักการอ่านมันช่วยได้ อีกอย่างหนึง่ เวลาอยู่ในห้องเรียนผมชอบนัง่ หน้า เพราะตัว ผมเล็กมันเลยมีสมาธิ จะเล่นก็ไม่ได้ และถ้า ครูสอนไม่เข้าใจด้วยความที่รักการอ่านมันก็ เลยไปค้นคว้าไปหาอ่านเอง ผมเป็นคนชอบหา หนังสือมาอ่านเรื่อย
แต่สุดท้ายเรื่องเรียนเก่งมันไม่ใช่สิ่งที่ ส�ำคัญที่สุด มันต้องเก่งหลาย ๆ ด้าน โรงเรียนเราสอนเรื่องการรู้จักตัวเองกับการมี ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างกับสังคม สิ่ง เหล่านี้มันเป็นทฤษฎีใหม่ทางการศึกษา พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ท่านทรง ทราบมานานแล้ว นับเป็นโอกาสที่ดีของเราที่ ได้มาเรียนโรงเรียนนี้ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖) วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐) อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) สัมภาษณ์ จิระ สุทธิวิไลรัตน์ (รุ่น ๘๓) เรียบเรียง ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 25
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
ระเบียบการ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง มือ่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ก�ำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นแทน พระอารามหลวงประจ�ำรัชกาลแล้ว ในเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ระหว่างทีโ่ รงเรียนยังคงเปิด สอนเฉพาะนักเรียนมหาดเล็กข้าหลวงเดิมอยู่ที่ โรงเรียนราชกุมารเก่า ในพระบรมมหาราชวัง ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรม ศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กรรมการจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานพระบรม ราโชบายเรื่องการรับนักเรียน ตลอดจนการ จั ด การเล่ า เรี ย นในโรงเรี ย นที่ จ ะเปิ ด ใหม่ ที่ สวนกระจัง ด้วยมีพระราชประสงค์จะเปิดรับ นักเรียนทั่วไปเข้าเรียนตามสมัครด้วย เจ้าพระยาธรรมศักดิม์ นตรีจงึ จัดการได้ ยกร่างระเบียบการของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ๑ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
26
ขึ้นตามกระแสพระบรมราชโองการ แล้วได้ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ระเบี ย บการฉบั บ แรกของโรงเรี ย น มหาดเล็กหลวงนัน้ มีชอื่ ว่า “ระเบียบการโรงเรียน มหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์พิเศษ ส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื้อหาภายในของระเบียบการดังกล่าว เริ่มจากรายนามสภากรรมการจัดการโรงเรียน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นส�ำหรับ รั บ พระบรมราชโองการจั ด การตามกระแส พระราชด�ำริ ประกอบด้วย พระยาวรพงษ์ พิ พั ฒ น์ (ม.ร.ว.เย็ น อิศรเสนา) ๑ พระยาบุ รุ ษ รั ต นราชพั ล ลภ (นพ ไกรฤกษ์)
เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา)
พระยาเทพทวาราวดี (สาย ณ มหาชัย) ๒ พระยาไพศาลศิ ล ปสาตร์ (สนั่ น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ๓ นายจ่ายง ๔ โดยมีพระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหลวง ด�ำรงราชานุภาพ๕ ทรงเป็นผู้ตรวจพิเศษ ถัดไป เป็นรายนาม “ต�ำแหน่งประจ�ำการโรงเรียน” ซึ่งแบ่งเป็นแผนกปกครองและแผนกวิชาการ มีพระโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันธิน)๖ เป็น อาจารย์ใหญ่ ในส่วนการปกครองนักเรียน มีหลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (ศร ศรเกตุ)๗ เป็น ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองนักเรียน แบ่ง การปกครองนักเรียนเป็น ๒ เรือนหรือ ๒ คณะ เรียกว่า เรือน ก และเรือน ข ส่วนฝ่ายวิชาการมี หลวงอภิบาลบุรมิ ศักดิ์ (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา)๘ เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ ต่อจากนัน้ เป็นการกล่าวถึงเกณฑ์การ รับนักเรียนเข้าเรียนเริม่ แต่อายุ ๖ ขวบ เข้าเรียน ชั้นมูลเรื่อยไปจนถึงอายุ ๑๔ ปี เข้าเรียนชั้น ประโยคมัธยมพิเศษ ถัดไปเป็นเรื่องภาคเรียน ซึ่งปีหนึง่ แบ่งเป็น ๓ ภาค ประกอบด้วย ภาคต้น เรียกว่า “เทอมวิสาขะ”
สมบัติ”
ภาคกลาง เรียกว่า “เทอมเฉลิมสิริราช
ภาคปลาย เรียกว่า “เทอมมาฆะ” วันหยุดของโรงเรียนนอกจากวันหยุด ระหว่างภาคเรียนแล้ว ในระเบียบการนี้ยัง ก�ำหนดวันหยุดส�ำคัญของโรงเรียนไว้ ดังนี้ วันถือน�ำ้ พระพิพฒ ั น์สตั ยาหยุดเพือ่ ถือ น�้ำพระพิพัฒน์สัตยา วันวิสาขบูชาหยุด ๑ วัน เข้าพรรษาหยุด ๓ วัน สารทหยุด ๓ วัน เฉลิมฉัตรรัชพรรษา (วันฉัตรมงคล) หยุด ๓ วัน เฉลิมพระชนมพรรษาหยุด ๓ วัน ฉลองพระชนมพรรษาหยุด ๑ วัน มาฆบูชาหยุด ๑ วัน ตรุษหยุด ๓ วัน ก�ำหนดวันหยุดนัน้ ให้ถอื ตามหมายของ กระทรวงวังและประกาศสงกรานต์ นอกจากนั้นในระเบียบการฉบับนี้ยัง ได้กล่าวถึงกิจวัตรประจ�ำวันของนักเรียนใน ระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน ดังนี้
๒ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบ�ำเรอบริรักษ์ ๓ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ๔ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยารามราฆพ ๕ ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ๖ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาโอวาทวรกิจ ๗ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบริหารราชมานพ ๘ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภะรตราชา
กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 27
ย�่ำรุ่ง ตื่นนอน แต่งตัวส�ำหรับหัดทหาร ย�ำ่ รุง่ ๑๐ นาที กินน�ำ้ ชาเช้าในห้องเลีย้ ง ย�ำ่ รุง่ ครึง่ ถึงโมงครึง่ ตรวจชือ่ หัดทหาร หรือหัดยิมนาสติก โมงครึ่ง อาบน�้ำ แต่งตัวส�ำหรับเรียน ๒ โมงเช้า กินอาหารเช้าในห้องเลี้ยง ๓ โมงเช้ า ถึ ง เที่ ย ง ตรวจชื่ อ เข้ า ห้องเรียน เที่ยงครึ่ง กินอาหารกลางวัน บ่าย ๑ โมงครึ่งถึงบ่าย ๓ โมงครึ่ง ตรวจชื่อ เข้าห้องเรียน บ่าย ๓ โมง ๔๕ นาทีถึง ๔ โมงครึ่ง ผลัดเครื่องแต่งตัว หัดทหารหรือยิมนาสติก บ่าย ๔ โมงครึง่ กินน�้ำชาบ่าย แล้วออก เล่นในสนาม ย�ำ่ ค�ำ่ อาบน�ำ้ แต่งตัวอย่างอยูบ่ า้ น สวม กางเกงไทย๙ มีเสื้อนอก ย�่ำค�่ำครึ่ง กินอาหารเย็น
ทุ่มครึ่ง ตรวจชื่อ เข้าเรียนเป็นการ ตระเตรียมส�ำหรับวันรุ่งขึ้น ๒ ทุม่ พวกเล็กเลิกเรียนไปเข้าห้องนอน ๒ ทุม่ ครึง่ ดับไฟตอนห้องนอนพวกเล็ก ยามหนึ่ง พวกใหญ่ เ ลิ ก เรี ย นไปเข้ า ห้องนอน ยามครึง่ ดับไฟตอนห้องนอนพวกใหญ่ หมายเหตุ แต่ ๓ โมงเช้าถึงบ่าย ๓ โมง ครึ่ง ปิดห้องนอน นักเรียนจะเข้าห้องนอนไม่ ได้ เว้นไว้แต่ได้รับอนุญาตจากครูผู้ก�ำกับเรือน เวลาต่างๆ ที่กำ� หนดไว้นนั้ จะมีกระดิ่ง สั่นให้สัญญาเป็นส� ำคัญ ครั้งเดียวบ้างสอง ครั้งบ้าง ถ้าสั่นสองครั้ง ครั้งแรกให้รู้ตัวและ เตรียมตัวไว้ อนึง่ เมือ่ แรกตัง้ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง นั้น มีนักเรียนมหาดเล็กข้าหลวงเดิมที่ถวาย ตัวเป็นมหาดเล็กมาแต่ก่อนเสด็จเสวยราชย์อยู่ แล้ว ๔๑ คน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่อง “กางเกงไทย” ไว้ว่า “กางเกง ชนิดที่เรียกไว้ว่า “กางเกงจีน” นัน้ อยากให้แก้เรียกว่า “กางเกงไทย” เรื่องชื่อกางเกงนี้ ได้โจทย์กันขึ้นเมื่อ ไปทเลคราวที่แล้วมานี้เอง เวลานัน้ ฃ้าก�ำลังแค้นเจ๊กด้วยเรื่องต่างๆ จึงกล่าวติเตียนอยู่ มีใครก็จำ� ไม่ได้กล่าวขึ้น ว่าไทยเราควรขอบใจเจ๊กอยู่อย่าง ๑ ทีเ่ ราได้เอากางเกงของเฃามาใช้น่งุ เปนของสบายนัก ฃ้าจึง่ ตอบว่าในโบราณ กาลจะเปนมาแล้วอย่างไรไม่ทราบ บางทีไทยจะได้จำ� อย่างกางเกงมาจากจีนจริง แต่ไทยเราได้เคยนุ่งกางเกงมา ช้านานแล้ว เมื่อเขมรเปนนาย บังคับให้ไทยนุ่งผ้า ยังนุ่งทับกางเกงฃ�้ำไปอีกชั้น ๑ ดังปรากฏอยู่ในเครื่องต้น และเครื่องลครจนทุกวันนี้ และในปัตยุบันนีก้ างเกงที่เรียกกันว่า “กางเกงจีน” นัน้ ฃ�้ำม่เห็นเจ๊กใช้เลย เห็นแต่ ตนไทยนุ่ง กางเกงที่เจ๊กใช้นนั้ เห็นฃาแคบๆ ทั้งนัน้ เพราะเมืองเฃาหนาวนุ่งกางเกงอย่างเราๆ นุ่งกันทนไม่ได้ ฃ้าจึ่งเห็นว่ากางเกงที่พวกเราๆ ใช้นุ่งกันอยู่กับบ้านควรจะเรียกว่า “กางเกงไทย” มากกว่า “กางเกงจีน” กรมหลวงด�ำรงรับรองและยังมีคำ� อธิบายอีกชัน้ ๑ ว่า “กางเกงไทยคือกางเกงทีถ่ ลกฃาขึน้ ถ่ายปัสสาวะได้” ซึง่ เปน เดฟินชิ ั่นที่ตลกๆ แต่ก็ตรงอยู่
28
จัดนักเรียนมหาดเล็กหลวงเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) นั ก เรี ย นหลวงหมายถึ ง ผู ้ ที่ ไ ด้ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กและได้รับพระราชทาน ทุนเล่าเรียนส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาได้โปรด เกล้าฯ ให้แบ่งนักเรียนหลวงเป็น ๒ ชั้น คือ • นักเรียนหลวงชั้นที่ ๑ หรือนักเรียน มหาดเล็กข้าหลวงเดิม พระราชทาน ค่าเล่าเรียน ค่าเสื้อผ้าและค่าอาหาร ให้ทั้งหมด • นักเรียนหลวงชั้นที่ ๒ คือนักเรียน สมั ค รที่ ต ่ อ มาได้ ถ วายตั ว เป็ น มหาดเล็ก พระราชทานแต่เฉพาะค่า เล่าเรียนและค่าอาหาร ส่วนเสื้อผ้า ต้องจัดหาเอง ๒) นักเรียนสมัคร คือนักเรียนที่สมัคร เข้าเรียนโดยเสียค่าเล่าเรียน ค่าเสื้อผ้าและ ค่าอาหารเองทั้งหมด ในระเบียบการฉบับนีไ้ ด้กล่าวไว้ชดั เจน ว่ า “นัก เรี ย นหลวงกั บ นัก เรีย นสมัค รได้ รับ ความเสมอภาคเหมือนกันหมด ตลอดเวลาอยู่ ในโรงเรียน” ต่างกันแต่นกั เรียนหลวงจะต้อง ออกรับราชการเมื่อใดหรือไปศึกษาต่อถึงชั้น ใดต้องเป็นไปตามพระราชประสงค์ หรือกรม มหาดเล็กอาจคัดเลือกเข้ารับราชการเมือ่ ใดก็ได้ แต่นกั เรียนสมัครนัน้ เมื่อจบการศึกษาแล้วจะ สมัครเข้ารับราชการหรือไปศึกษาต่อในสถาบัน ๑๐ เข็มที่ระลึกนีท ้ ำ� ด้วยทองค�ำลงยา
ชั้นสูงต่อไปหรือประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตัวก็ให้ เป็นไปตามใจปรารถนา ส่ ว นการรั บ นั ก เรี ย นเข้ า เรี ย นนั้ น นอกจากนักเรียนหลวงแล้ว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ประสงค์จะส่งบุตรหลานเข้า เรียนต้องไปลงชื่อในสมุดสมัครที่จัดเตรียมไว้ ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงโดยมีผู้ซึ่งกรรมการ โรงเรียนเห็นว่ามีหลักฐานสมควรเชื่อถือได้เป็น ผูร้ บั รองและต้องช�ำระค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ ในโรงเรียนเดือนละ ๓๐ บาท ส่วนของเดือนคิด เต็มเดือนในการรับนักเรียนสมัครเข้าเรียนนัน้ ให้รับเข้าตามล�ำดับที่ได้มาขอสมัครไว้ “แต่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม ราชานุญาตไว้ว่า “บุตร์กรรมการก็ดี หรือต่อ ไปหากนักเรียนเก่าของโรงเรียนนีจ้ ะมีบุตร์ขอ สมัคเข้าเปนนักเรียนก็ดี ให้ได้เลือกรับเข้าตาม ล�ำดับก่อนผู้อื่น” และในตอนท้ายของระเบียบ การฉบับนี้ได้กล่าวถึง “เครื่องระฦกส�ำหรับ โรงเรียน” ไว้ว่า “นักเรียนที่เล่าเรียนส� ำเร็จ ออกจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง คือเรียน จบวิชาชั้นมัธยมพิเศษจะได้รับพระราชทาน เครื่องระฦกรูปคล้ายแผ่นก�ำมะหยี่ติดคอเสื้อ๑๐ ส�ำหรับแขวนที่รังดุมต้นใต้คอเสื้อ ข้างหลัง จาฤกนามและปีที่ออกจากโรงเรียนกับเลขที่ ที่ ส อบไล่ ได้ ต ามล� ำ ดั บ ที่ ในปี นั้น ” วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖/๖๓)
หนัก ๑ บาท
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 29
จากห้องประชุมสมาคมฯ สรุปการท�ำงานของคณะกรรมการฯฯ
า่ นไปแล้วอีก ๒ เดือนรวดเร็วจริงๆ ผมขอ สรุปการด�ำเนินงานทีผ่ ่านมาของสมาคมฯ ดังนีค้ รับ เนื่องในโอกาสพระชนมายุครบ ๗ รอบปีฉลูนักษัตรของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิรโิ สภาพัณณวดี ใน วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นี้ สมาคมฯ ได้ มี โ อกาสประชุ ม ร่ ว มกั บ มู ล นิธิ พ ระบรม ราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้แสดง เจตจ� ำ นงในการแสดงความจงรั ก ภั ก ดี ด ้ ว ย การจั ด เดิ น เฉลิ ม พระเกี ย รติ เนื่ อ งในโอกาส พระชนมายุครบ ๗ รอบของสมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ โดยคณะกรรมการ บริหารสมาคมฯ ได้มอบหมายให้ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ อุปนายกเป็นประธานคณะท�ำงาน เตรียมการจัดงานฯ และได้เชิญพี่หยา (สัตยา เทพบันเทิง) มาเป็นประธานคณะกรรมการ จั ด งานฯ และจากการประชุ ม ปรึ ก ษาหารื อ กั น ในเบื้ อ งต้ น ได้ ข ้ อ สรุ ป ว่ า เราจะจั ด การ เดินครั้งนี้ที่สวนลุมพินีในเช้าวันอาทิตย์ของ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน (เนื่องจากจะพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ ให้ ต รงกั บ วั นที่ มี ก ารแข่ ง ม้ า ของสปอร์ ต
30
คลับ) โดยสมาคมฯ จะจัดร่วมกับวชิราวุธ วิทยาลัย โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์และ พระอุปถัมภ์ และโรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจ ได้แก่ ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย, ร.ร.ราชินี, ร.ร.ราชินีบน, ร.ร.เขมะสิรอิ นุสสรณ์, ร.ร.ศรีอยุธยา, ร.ร.วัฒนา วิ ท ยาลั ย , ร.ร.ปริ น ส์ ร อยแยลส์ วิ ท ยาลั ย เชียงใหม่ และ ร.ร.มหาวชิราวุธสงขลา โดยคณะ กรรมการจัดงานฯ จะน�ำรายได้จากการจ�ำหน่าย เสื้อที่จะใส่ในงานซึ่งจะซื้อจากมูลนิธิพระบรม ราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยูห่ วั มาทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป จึงถือโอกาส นีข้ อเชิญชวนโอวีทกุ คนไว้ลว่ งหน้า เพราะงานนี้ นอกจากจะเป็นการถวายความจงรักภักดีแล้ว ยังเป็นโอกาสดีได้มาออกก�ำลังกายตอนเช้าร่วม กับพี่ๆ น้องๆ อีกด้วย พูดถึงเรื่องออกก�ำลังกาย ก็ขอรายงาน เรื่องการแข่งขันกอล์ฟกับ MCOBA เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ทีผ่ า่ นมา ผลการแข่งขันปรากฏว่า MCOBA เป็นฝ่ายชนะ แต่เป็นที่น่าเสียดาย ว่าการแข่งขันรักบี้ของนักเรียนได้ถูกระงับไป โดยกระทันหัน เนื่องจากวิกฤตการณ์ไข้หวัด ๒๐๐๙ ซึง่ ท�ำให้โรงเรียนมีคา่ ใช้จา่ ยเพิม่ เติม แต่ ในวันนัน้ MCOBA ก็ได้แสดงน�ำ้ ใจทันทีด้วย
การรวบรวมเงินสนับสนุนมอบให้แก่วชิราวุธ วิทยาลัยเป็นจ�ำนวนเงินประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท ซึ่งน�ำมาด้วยความซาบซึ้งใจแก่พวกเรา ทุ ก คนยิ่ ง นัก ในการนี้ ส มาคมฯ ก็ ได้ ร ่ ว ม สนับสนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางของนักเรียนซึ่ง ได้ก�ำหนดใหม่เป็น ๒-๔ ตุลาคมด้วยเช่นกัน เป็นจ�ำนวนเงิน ๓๕,๐๐๐ บาทนอกเหนือไป จากเงินก้นถุงที่สมาคมฯ มอบให้นกั กีฬาก่อน การเดิ นทางเป็ น ปรกติ อ ยู ่ แ ล้ ว นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังได้สนับสนุนค่าใช้จา่ ยให้แก่ทมี งาน อนุ ม านวสารที่ได้ เ สีย สละเวลาไปสัมภาษณ์ นายกสมาคม MCOBA กั น ถึ ง มาเลเซี ย ส�ำหรับโอวีที่สนใจจะร่วมเดินทางไปแข่งกอล์ฟ รอบสองกับ MCOBA และเชียร์รักบี้ประเพณี ในก� ำ หนดการใหม่ นี้ ขอให้ ติ ด ต่ อ ที่ พี่ จุ ๋ ม (อรรถพล วงศ์รัตน์) ไว้แต่เนิน่ ๆ ที่สมาคมฯ ส�ำหรับเรือ่ งรักบีใ้ นปีนี้ สมาคมฯ ก็ได้สนับสนุน งบประมาณและส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในรักบี้ ฟุตบอลประเภทสโมสรทั้ง ๑๕ คน และ ๗ คน ที่สมาคมรักบี้ฟุตบอลฯ จัดขึ้นเช่นเคย และได้เชิญพี่เหม (อดิศักดิ์ เหมอยู่) มาเป็น ผู้จดั การทีมรักบีข้ องสมาคมฯ มาช่วยขุนน้องๆ ตัง้ แต่ตน้ ฤดูกาล ให้พร้อมส�ำหรับรักบีป้ ระเพณี วชิราวุธฯ-ราชวิทย์ฯ ซึ่งปีนี้ราชวิทย์ฯ จะเป็น เจ้าภาพจัดที่สนามกีฬากองทัพบก วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน งานนี้แผนกกีฬาฝากชวนน้องๆ นักรักบี้โอวีฝีมือดีมาร่วมกันเตรียมทีมกันแต่ เนิน่ ๆ ใครสนใจติดต่อพี่ๆ ได้โดยตรงเลยนะ
นอกเหนือไปจากรักบีแ้ ล้ว ปีนสี้ มาคมฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกอล์ฟประเพณี วชิราวุธฯ-ราชวิทย์ฯ โดยจะปิดสนามให้นกั กอล์ฟ โอวี ไ ด้ ด วลวงสวิ ง กั บ นั ก กอล์ ฟ ราชวิ ท ย์ ฯ รายละเอียดจะน�ำเสนอกันอีกที แต่ที่แน่ๆ การ แข่งขันกอล์ฟ O.V. OPEN ส�ำหรับบุคคลทัว่ ไป ๒๒ ตุลาคมนี้ จะจัดที่สนามกอล์ฟวินเซอร์ สุวินทวงศ์ ใครสนใจชวนพรรคพวกเพื่อนฝูง มาแข่งขันได้ รายละเอียดสามารถติดต่อได้ที่ สมาคมฯ และที่ใหม่ๆ สดๆ ส�ำหรับสมาชิกที่ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษได้เตรียมไว้ส�ำหรับสมาชิก ก็คือการจัดให้มีชมรมฟุตบอลเพื่อให้นกั เรียน เก่าวชิราวุธฯ กลับมารวมตัวกันออกก�ำลังกาย ให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง อีกทั้ง เพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี และเพื่อ เป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขัน ฟุตบอลเฉลิมฉลองงาน ๑๐๐ ปี อีกด้วย ส�ำหรับเรือ่ งการบริการสมาชิก สมาคมฯ ได้พิจารณาวางแผนปรับปรุงการบริหารจัดการ Website สมาคมฯ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะมีการจัดวางโครงสร้างการท�ำงานอย่าง เป็นระบบ และจะพัฒนาให้เป็นช่องทางสื่อสาร ทีด่ สี ำ� หรับสมาชิกกับสมาคมฯ ให้ได้ รวมถึงจะ มีการปรับปรุงรูปแบบให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับทั้ง ทีมงานปัจจุบนั ผูใ้ ช้และโปรแกรมเมอร์ คาดว่า เราคงได้เห็น Website โฉมใหม่ของสมาคมฯ เร็วๆ นี้ นอกจากนีแ้ ล้วในส่วนของงานทะเบียน สมาชิ ก ก็ ก� ำ ลั ง เร่ ง ปรั บ ปรุ ง ทะเบี ย นสมาชิ ก กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 31
นักเรียนเก่าฯ ให้มคี วามทันสมัยทีส่ ดุ เพราะโอวี หลายคนขาดการติดต่อกับสมาคมฯ เนื่องจาก ข้อมูลสมาชิกของสมาคมไม่ Updated งานนี้ ต้องรบกวนผู้แทนทุกรุ่นช่วยส่งข้อมูลติดต่อ ในรุ่นที่ Updated ที่สุดให้สมาคมฯ ด้วย เพราะคราวนีท้ ีมงานฯ ตั้งใจจะยกเครื่องระบบ ทะเบียนกันอย่างจริงจัง นอกจากนีแ้ ล้ว สมาคมฯ ยังได้สนับสนุนงบประมาณส�ำหรับการซ่อมแซม ห้องน�้ำและห้องแต่งตัวเอาไว้รองรับบริการ สมาชิก นอกเหนือไปจากการร่วมกับโรงเรียน ในการวางแผนจัดสรรการใช้พนื้ ทีบ่ ริเวณอาคาร อัศวพาหุ โดยจะพยายามให้มีสถานที่ไว้คอย บริการสมาชิก อาทิ ห้อง Common Room และห้องขายของทีร่ ะลึก เป็นต้น โดยในเบือ้ งต้น ผูบ้ งั คับการได้แจ้งว่า วชิราวุธวิทยาลัยจะท�ำการ ปรับปรุงรัว้ ด้านทีจ่ อดรถของสมาคมฯ เป็นรัว้ ทึบ เหมือนฝั่งของโรงเรียนและจะติดตราสมาคมฯ ไว้ด้านหน้า ส�ำหรับสมาชิกที่สนใจจะซื้อของที่ ระลึก ขณะนี้เรามีทั้ง Sticker ตราสมาคมฯ ส� ำ หรั บ ติ ด รถยนต์ แ บบใส เสื้ อ โปโล (แบบ สีเหลือง และแบบสีนำ�้ เงิน) แก้วน�ำ้ เน็คไท และ พวงกุญแจ เป็นต้น ไว้วางจ�ำหน่ายที่ที่ท�ำการ สมาคมฯ การประกวดนางสาวไทยนั บ เป็ น อี ก กิ จ กรรมที่ ส� ำ คั ญ อี ก กิ จ กรรมหนึ่ง ในปี นี้ สมาคมฯ ได้ปรับปรุงรูปแบบการท�ำงานให้อยู่ ในรูปแบบของคณะอนุกรรมการ โดยมีพี่ตันติ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ อุปนายกฯ เป็นประธาน คณะอนุกรรมการประสานงานจัดการประกวด
32
และการด�ำเนินกิจกรรมนางสาวไทย ส�ำหรับ ปีนสี้ มาคมฯ จะร่วมมือกับบริษทั อสมท. จ�ำกัด (มหาชน) ในการจั ด ประกวดแต่ จ ะมี ก าร บู ร ณาการรู ป แบบการจั ด ประกวดและการ บริหารเรื่องกิจกรรมของนางสาวไทยให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าการประกวด นางสาวไทยประจ�ำปี ๒๕๕๒ รอบตัดสินจะ มีขึ้นในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ที่โรงละครอักษรา กรุงเทพฯ โดยทีมงานฯ จะเริ่มประชาสัมพันธ์ กันตัง้ แต่ตน้ เดือนกันยายน และจะเริม่ รับสมัคร ในราวต้นเดือนตุลาคม โอวีทา่ นใดสนใจทีจ่ ะมา ช่วยกันท�ำงานหรือเป็นผู้สนับสนุนในกิจกรรม นี้ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เลขานุการ สมาคมฯ ท้ายที่สุดแต่คงจะส�ำคัญที่สุด ก็คือ การเตรียมงานเฉลิมฉลองวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ซึ่ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก คื อ เพื่ อ เผยแพร่ พระเกี ย รติ คุ ณ พระบาทสมเด็ จ มงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยู่หัว และมีเป้าหมายหลักคือการจัดท�ำ ศู น ย์ ส ่ ง เสริ ม การศึ ก ษาที่ จ ะช่ ว ยกระตุ ้ น ให้ นักเรียนเกิดความรูร้ กั ใฝ่เรียนไว้สำ� หรับวชิราวุธ วิทยาลัยไว้ใช้พัฒนากุลบุตรให้เป็นคนที่ดีและ มีคุณภาพให้แก่ประเทศอย่างต่อเนื่องสืบไป สมาคมฯ ในฐานะผูแ้ ทนนักเรียนเก่าฯ ได้ให้การ สนับสนุนงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี อย่างเต็มที่ โดยได้อนุมัติงบประมาณ ๒ ล้านบาท เพื่อ เป็นเงินเริ่มต้นส�ำหรับกองทุนวชิราวุธ ๑๐๐ ปี นอกจากนีน้ กั เรียนเก่าฯ รุ่นต่างๆ ได้วางแผน ร่วมกันจัดกิจกรรมกันอย่างกระตือรือล้น ทั้ง
ในนามรุ ่ น และเป็ นกลุ ่ ม ตามความถนัด และ ความสนใจ ทั้งนี้เพื่อรวบรวมเงินช่วยการสร้าง อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปีไว้ใช้เป็นศูนย์ส่งเสริม การเรียนรู้ที่ได้กล่าวมาข้างต้น อนึง่ ส�ำหรับผู้ ที่จะสนับสนุนเงินเพื่อเข้ากองทุนวชิราวุธ ๑๐๐ ปี จะสามารถท�ำเรื่องขอยกเว้นภาษีได้ ๒ เท่า ส�ำหรับกิจกรรมที่ผ่านมาล่าสุดนัน้ สมาคมฯ ได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่ คณะกรรมการ จัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ซึ่งได้ร่วมกับทีมงาน อนุมานวสารจัดให้มีการแสดงปาฐกถา All Gentlemen Can Learn ครั้งที่ 3 เรื่อง Esprit de Corp ขึ้นที่หอประชุมเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็น
ผู้บรรยาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ นักเรียนเก่าฯ ถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ซึ่งงานนี้ มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ ๓๐๐ คน โดยภายใน งานได้จัดให้มีการแสดงนิทรรศการภาพถ่าย และอาหารว่างแบบโบราณเพือ่ รือ้ ฟื้นความหลัง ทีบ่ ริเวณใต้ถนุ หอประชุมและเพือ่ ความรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ อีกไม่นานพวกเราจะได้ พบกับ Website วชิราวุธ ๑๐๐ ปี ไว้สำ� หรับเป็น ศูนย์กลางรายงานความคืบหน้าเกีย่ วกับวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ให้พวกเราได้ทราบกันอย่างทัว่ ถึงต่อไป ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) กรรมการและเลขานุการ สมาคมฯ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 33
สมุดจดพระมนู บันทึกอนุมานวสาร
อนุมานวสาร โรดโชว์เมืองจันทบุรี
ใน
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ บ้านเราดูเหมือนจะสนุกกับการจัด ‘Road Show’ กันไปทั่วทุกวงการ นอกเหนือจากดารานักร้องซึ่งโร้ดโชว์กันเป็นปกติอยู่แล้ว บรรดาของกินของใช้ แบรนด์ไหนแบรนด์นนั้ ต้องมีการเดินสายไป อวดสรรพคุณสินค้าของตัวเองในที่ต่าง ๆ ตอกย�้ำผู้บริโภคให้จงรัก ภักดีในแบรนด์ไม่หนีไปไหน
34
กระทัง่ คณะรัฐมนตรีเอง ซึง่ ทัง้ ประเทศ ก็มีอยู่คณะเดียว ไม่มียี่ห้ออื่นให้เปลี่ยนก็ยัง อุตส่าห์ท�ำโร้ดโชว์กับเขาด้วยเหมือนกัน ดูแล้วอนุมานวสารจึงคิดว่าตัวเองก็น่า จะมีโร้ดโชว์กับเขาด้วยอันหนึง่ โดยถือเสียว่าถึงไม่รู้จะโชว์ใครก็โชว์ กันเองก็ยังดี เพราะตอนนี้อนุมานวสารก็ทำ� มา ได้สองปีแล้ว ควรจะได้ยกเครื่องตรวจสอบ กันสักทีหนึง่ ว่ามีส่วนไหนยังติดขัดส่วนไหนยัง ไม่ถูกใจผู้บริโภคและปีใหม่นจี้ ะวิ่งต่อไปกัน ท่าไหน แถมจะได้เป็นโอกาสออกไปเสาะหา ยอดคนโอวีที่เร้นกายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศเพื่อสัมภาษณ์ เอาเรื่องราวมา น�ำเสนอให้ได้อ่านทั่ว ๆ กัน อย่าว่าแต่สมาชิก กองบรรณาธิการอนุมานวสารทุกคนก็ดูจะ พออกพอใจว่าการได้เปลี่ยนที่กินที่ดื่มยาม ท�ำการประชุมกองฯ บ้างก็ออกจะเป็นเรื่องควร สรรเสริญอยู่ คิดได้อย่างนี้ อนุมานวสารจึงตกลง กันว่าจะจัดทริปไปต่างจังหวัดเพื่อประชุมและ สัมภาษณ์โอวี โดยประเดิมเอาที่วิมานดิน รีสอร์ทกาญจนบุรีเป็นจังหวัดแรกและตามมา ด้วยจันทบุรีเป็นจังหวัดล่าสุด ทั้งนี้เพราะนอกจากจันทบุรีจะเป็น จังหวัดที่ “น�้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ ฯลฯ” แล้วก็ยังมี “โอวี” อยู่ กันอย่างชุกชุม
หรืออย่างที่ท่านสาราณียกรอธิบาย ด้วยศัพท์ธรรมชาติวิทยาว่าจันทบุรี น่าจะมี ‘Geographical Distribution/การกระจาย ตัวเชิงภูมิศาสตร์’ ของโอวีมากที่สุด ซึ่งคนฟัง แล้วก็ได้แต่พากันสาธุด้วยความเลื่อมใส เราเริ่มออกเดินทางตั้งแต่เช้าของวันที่ ๑ พฤษภาคม โดยมีครอบครัวคุณตา (องอาจ นาครทรรพ รุน่ ๑๒) พีบ่ กิ๊ (วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐), พี่แท่ก (นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา รุ่น ๖๕) พี่โก้ (กิตติเดช ฉันทังกูล รุ่น ๗๓), ปิ่น, ฟ้า, โชเบ (สถาพร อยู่เย็น รุ่น ๗๖), โซดา (ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง รุ่น ๗๖) หมวดพร้อม (ศิริชัย กาญจโนภาส รุ่น ๗๖), เชี่ยน (กรรณ จงวัฒนา รุ่น ๗๖), เบี่ยง (เฉลิมหัช ตันติวงศ์ รุ่น ๗๗) และผมอาสา เป็นหน่วยทะลวงฟันคือไปก่อน โดยคณะ ของพี่หน่อง พี่น้อง (ม.ล.จิรเศรษฐ และ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา) และพี่กิ๊ก (อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑) นัน้ จะตามมา เมื่อวันรุ่งขึ้นคือวันที่อันเป็นวันงานเลยทีเดียว ที่ท�ำอย่างนี้เพราะหน่วยทะลวงฟัน เล็งเห็นแล้วว่าการสัมภาษณ์และการประชุม นัน้ เป็นเรื่องใหญ่ จะท�ำโดยร่างกายไม่พร้อม ไม่ได้จึงต้องไปเสียก่อนหนึง่ วันเพื่อ ‘เก็บตัว’ โดยการตั้งกองกินเลี้ยงสุราอาหารให้ถึงขนาด แล้วพักผ่อนรอเวลาท�ำงานอยู่จึงจะดี พอขึ้นรถ โอวีก็แสดงความเป็นโอวี ออกมาตรงตามโผ คือเอาเรื่องสมัยเมื่ออยู่ โรงเรียนมาแข่งกันเล่าสู่กันฟังอย่างไม่ลดละ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 35
หลาย ๆ เรื่องก็ฟังมาแล้วเสียมาก แต่พอเล่า แล้วก็ยังตบเข่าฉาด ๆ ข�ำกันอยู่นนั่ เหมือนคน ไม่เคยฟังหรือมิฉะนัน้ ก็สติไม่ดี กระทั่งฟ้ากับปิ่นซึ่งไม่มีโอกาสเรียน โรงเรียนชายล้วนอย่างคนอื่นก็ยังพลอย ผสมโรงข�ำไปด้วยอย่างไม่สมเหตุสมผล ซึ่งมี แต่จะยิ่งท�ำให้บรรดาโอวีอย่างหมวดพร้อม โซดา และเบี่ยงพากันขุดหาเรื่องมาเล่าเข้าไป อีก แบบคอเป็นเอ็นเพื่อเรียกหัวเราะจากสาว ให้มากขึ้น เสียงหัวเราะมาซบเซาเอาเมื่อเวลาเลย เที่ยงไปแล้วโดยไม่มีทีท่าว่ารถจะจอดเข้าเทียบ ร้านอาหาร บรรดาโอวีที่เสียงกระหึ่มเป็น มรรคทายกอยู่เมื่อครู่เริ่มออกอาการ กระวนกระวาย โดยเฉพาะเมื่อผ่านอะไรที่มีคำ� ว่า ‘ครัว’ ‘ทะเล’ ‘ซีฟู้ด’ หรืออะไรเทือก ๆ นี้ โดยรถไม่ชะลอความเร็ว หนัก ๆ เข้าก็เริ่มมี การถามปริศนาธรรมขึ้นลอย ๆ เป็นท�ำนอง ว่า “จะรอให้ถึงเกาะกงเลยมั๊ยกว่าจะได้กิน ข้าว” ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีใครตอบได้และก็ ไม่มีใครตอบ สมาชิกมาได้ค�ำตอบเอาเมื่อพี่บิ๊ก ซึ่งขับรถน�ำหน้าอยู่อีกคันหนึง่ โฟนอิน เข้ามาบอกว่าหลงทางพร้อมทั้งอนุมัติ ให้รถเข้าจอดยังร้านอาหารร้านแรกที่ เห็นได้ทันที ซึ่งปรากฏว่าเป็นร้าน อาหารริมชายทะเลชื่อว่า “จันทร์จ้าว” ไม่นานทุกคนก็เข้ามานัง่ พร้อมหน้ากันอยู่ในร้านบนโต๊ะต่อ
36
ยาวขนาดสามส�ำรับ โดยพี่บิ๊กพิจารณาแรงม้า ของสมาชิกแล้วก็พยายามแยกเด็ก สตรี และ คนชรา ให้อยู่คนละมุมโต๊ะกับกลุ่มพี่โก้ หมวดพร้อม โซดา ป้าย เบี่ยง ซึ่งพี่บิ๊กเรียกว่า เป็น ‘สายวัดป่า’ นัยว่ากินแต่ละครั้งได้ หนักแน่นยาวนานเหมือนพระป่าซึ่งฉันเอกาได้ เพียงวันละมื้อ และก็เป็นจริงดังว่าทุกประการ เพราะ สมาชิกซึ่งเผาหัวเทียนรออาหารมาตั้งแต่อยู่บน รถต่างพากันท�ำให้ซีฟู้ดกลายเป็นฟาสต์ฟู้ดไป ต่อหน้าต่อตา ด้วยการซัดกันคนละหนุบละ หนับอย่างไม่ลดราวาศอก จนไม่ว่าปูผัดผง กระหรี่เอย ปูนิ่มทอดกระเทียมเอย ปลาหมึก นึง่ มะนาวเอย กุ้งเผาเอย ไข่เจียวปูเอย และอีก
สารพัดเอย ไม่นานก็เหลือแต่เพียงจานเปล เปล่า ๆ วางระเกะระกะอยู่ สรุปแล้วกว่าบรรดาพระกัมมัฏฐาน สายวัดป่าจะยอมอิ่มและยถาสัพพีฯ ได้ ก็ ท�ำให้พี่บิ๊กซึ่งเป็นเจ้าภาพเลี้ยงเพลในครั้งนัน้ โดนไปกว่าครึ่งหมื่น แต่พี่บิ๊กก็ดูเหมือนจะไม่ ออกอาการตื่นตระหนกแถมยังเล่าอีกว่า ศักยภาพของนักเรียนวชิราวุธฯ นัน้ เป็นที่รู้แก่ สาธารณชนมานานแล้ว อย่างน้อยก็ตั้งแต่ครั้ง ร้านบุฟเฟ่ต์เนื้อย่างไดโดมอนสาขาบ้านคุณ หลวงซึ่งท�ำท่าว่าจะก�ำไรดีเพราะมีดีกรีเป็นถึง ธุรกิจใหญ่ แต่พอนักรักบี้ทีมโรงเรียนจาก วชิราวุธฯ ไปอุดหนุนหลังซ้อมเสร็จ บ่อย ๆ เข้าก็เห็นเจ๊งไปได้ง่าย ๆ เหมือนกัน หลังจากออกจากร้านอาหารเพียงไม่ นานคณะก็ลุถึงยัง ‘ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท’ ของพี่ปู กมล นันทิยาภูษิต รุ่น ๖๑ อันเป็น จุดหมาย พอทุกคนลงจากรถและเห็นอะไรต่อ อะไรถนัดก็ต่างพากันอุทาน “โอ้โฮ” กันอยู่อื้อ อึง เพราะสิ่งแรกที่เตะตาคณะสัญจรก็คือ หลังคาปูด้วยกระเบื้องว่าวสีนำ�้ เงินตัดขอบส้ม ไม่ผิดเพี้ยนไปจากที่นกั เรียนวชิราวุธฯ ทุกคน จ�ำได้ จะขาดไปก็แต่รอยแหว่งวิ่นสีอ่อน ๆ เทา ๆ อันเป็นพยานของการฝึกเตะลูกรักบี้กับ หลังคาตึกขาวและช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ คันทวยต่าง ๆ ซึ่งโรงแรมคงไม่รู้จะเอาไปท�ำ อะไร
ยิ่งหันไปทางซ้ายก็จะพบกับ สัญลักษณ์วชิราวุธฯ เด่นหราอยู่บนหน้าจั่ว ของอาคารชื่อว่า “เรือนดุสิต” ซึ่งเป็นอีกหนึง่ โรงแรมในเครือของพี่ปู ตกแต่งภายในด้วยรูป ถ่าย รูปเขียน ค�ำบรรยาย และสารพัดของ จิปาถะอืน่ ๆ สุดแต่จะให้แสดงอารมณ์โรงเรียน โดยเฉพาะพระบรมฉายาลักษณ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ขนาดสูงเท่าผนังตรงทางเดินเข้า อาคาร ดู ๆ ไปแล้วก็ก่อให้เกิดความรู้สึกขึ้น มาอย่างหนึง่ ว่า สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้แท้จริงก็ คืออนุสรณ์แสดงความรัก ความคิดถึง โรงเรียนของผู้เป็นเจ้าของ ไม่ได้สร้างเอา เหมือนแต่สร้างเพียงพอให้มีสื่อที่จะน�ำความ คิดกลับไปถึงโรงเรียนเท่านัน้ เพราะอย่างไร เสียโรงเรียนที่อยู่ในความทรงจ�ำของทุกคนนัน้ ก็สร้างไม่ได้ ได้แต่ชวนให้ระลึกถึงแต่สิ่งที่ ระลึกได้นนั่ เองที่กลับจะจริงแสนจริงที่สุด นึกอย่างนี้แล้ว เพียงเครื่องหมาย สามารถที่วางอยู่ในตู้เพียงชิ้นเดียวก็ออกจะให้ ความรู้สึกมากมายพอดูอยู่ ซึ่งคนที่จะรู้สึก เช่นนี้ได้ก็เห็นจะมีแต่นกั เรียนเก่าฯ ด้วยกัน เท่านัน้ เมื่อคณะฯ ขนของเข้าสู่ห้องเสร็จ เรียบร้อยแล้ว พี่บิ๊กก็นดั เวลาข้าวเย็นพร้อม ถามความประสงค์ของสมาชิกซึ่งอยากดูปลา โลมาเพื่อที่พี่บิ๊กจะได้พาไปดูพร้อมกับลูกสาว แฝดสองคนของพี่บิ๊ก (ดูพี่บิ๊กตื่นเต้นกว่าลูก ซะอีก) แต่ปรากฏว่าเมื่อคณะได้ทราบก�ำหนด กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 37
เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของข้าวเย็นแน่ชัด สมใจแล้วก็ดูจะไม่แสดงอาการอยากทราบ เรื่องอื่น ๆ อีก ต่างพากันเดินถ่ายรูปตาม ระเบียบวิธีปฏิบัติของนักท่องเที่ยว ฉุบ ๆ ฉับ ๆ แล้วก็เห็นแยกย้ายเข้าห้องนอนรอเวลา ข้าวเย็นอยู่ มื้อเย็นคืนแรกในเมืองจันทบุรีมื้อนัน้ เต็มไปด้วยความอุ่นหนาฝาคั่งเป็นพิเศษ เพราะไม่เพียง
แต่จะประกอบด้วย คณะอนุมานวสารกว่า ๑๕ ชีวิต แล้วยังมีโอวี เมืองจันท์ซึ่งทยอยกันมาสมทบและต้อนรับ คณะอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นพี่จ๋อง รุ่น ๖๓, พี่ เป้ง รุ่น ๖๕, พี่โจ๊ก รุ่น ๖๕ ฯลฯ บรรยากาศเย็นสบายจากลมริมบึง ก็ ยิ่งท�ำให้การพบปะพูดคุยยิ่งด�ำเนินไปก็ยิ่ง คล่องขึ้นและเมื่อตกดึกขึ้นอีก คณะก็ได้พบ กับพี่ฆ้องวง
38
พี่ฆ้องวงผ่านชีวิตมามาก และก็ทำ� งาน หลากหลายทั้งนักเขียน นักปั่นจักรยาน นักกฎหมาย กวี ครูสอนดนตรีไทย และก็ วณิพก ที่มาวันนัน้ พี่ฆ้องวงยังพกเอาหนังสือ รวมบทกวีของตัวเองมาแจกพร้อมเซ็นให้กับ น้อง ๆ แทบจะถ้วนทุกคน ใครได้เห็นก็จะรู้สึกว่าพี่ฆ้องวงเป็น ศิลปินและก็ใช้ชีวิตอย่างศิลปินโดยแท้ เพราะ พอพี่ฆ้องวงเห็นรุ่นน้องมาชุมนุมกันมาก ๆ และเกิดบันดาลใจว่าเป็นฤกษ์ที่ สมควรการขับเสภา พี่ ฆ้องวงก็วานให้พวกเราไป หยิบเอากรับจากรถซึ่งไม่เคย ล็อคประตูของพี่ฆ้องวง ว่าแล้ว ก็เริ่มขับเสภา “สยามานุสติ” ในทันทีเพื่อ “ระลึกถึงพ่อ” กลาง ร้านอาหารบัดเดี๋ยวนัน้ นัน่ เอง พอได้เวลาสมควร พี่บิ๊กก็ สั่งเช็คบิล พี่ ๆ ท่านอื่นหลายท่าน ที่เห็นสภาพภาชนะอาหารใหญ่น้อย ที่พวกเรากินไว้กองอยู่เหมือน สังเวชณียสถานย่อม ๆ ก็พากันร่วมท�ำบุญ เลี้ยงน้องกันตามก�ำลังศรัทธา ในวันนัน้ ไม่รู้ว่าหลังจากร�ำ่ สุรากันถึงที่ สุดแล้ว ทุกคนจะเหลือสติไปนึกถึงสยามกัน ได้มากน้อยเพียงใด รู้ก็แต่ว่าในวงสีน�้ำเงินของ พวกเรานัน้ ไม่มีการแบ่งแดงเหลืองอะไรอย่างที่ ใครเขาก�ำลังแบ่งกัน …
เช้าวันรุ่งขึ้น ไม่ค่อยมีสมาชิกตื่นมา เท่าไร แต่เมื่อเวลาใกล้มื้อกลางวันสมาชิกก็เริ่ม ออกมาเดิน ๆ ท�ำตัวให้เป็นที่น่าสนใจอยู่ บริเวณล็อบบี้ ซึ่งก็ได้ผลตามคาดเพราะเมื่อ คณะของพี่หน่อง พี่น้องเดินทางตามมาถึงก็ ชวนน้อง ๆ ให้ขึ้นรถไปทานข้าวกลางวันกันที่ “ร้านลิ้มหมูสะเต๊ะ” ร้านนี้เป็นร้านมีชื่อของเมืองจันทบุรี ดังนัน้ เวลาเที่ยงจึงเป็นเวลาที่ร้านก�ำลังคนแน่น ที่สุด ต้องใช้เวลากว่าจะจัดสรรให้สมาชิกทุก คนได้ที่นงั่ ครบกันหมด เปิดโอกาสให้สมาชิก ได้พิจารณาเมนูอย่างถ้วนถี่และก็สั่งกันยิบตา ตั้งแต่จ�ำพวกสัตว์บก เช่น ข้าวหน้าเป็ด ข้าว มันไก่ ข้าวหมูแดงหมูกรอบ บะหมี่ที่ประกอบ ด้วยเนื้อสามอย่างข้างต้น ไปจนกระทั่งจ�ำพวก สัตว์ทะเล เช่น กุ้งแช่น�้ำปลา และข้าวพริกกะ เกลือ ซึ่งปรุงด้วยปลาหมึกสด ๆ ลวก โดยไม่ ลืมขนมจีบ หมูสะเต๊ะ และขนมปัง บรรดาที่ ไม่ต้องเสียเวลารออีกไม่ได้นับจาน เพื่อให้สิ้น สงสัยว่าร้านนี้อร่อยอย่างไร จนพี่แท่กถึงกับ
ออกปากว่า “โหน้องกินไม่คุมธีมกันเลย” ซึ่ง ใครก็รู้ว่าจริง ๆ แล้วพี่แท่กไม่ได้ใช้คำ� ว่ากิน เมื่อกลับถึงที่พักในช่วงบ่าย สมาชิกซึ่ง ตาชักจะปรือ ๆ ก็ท�ำท่าจะเข้าเก็บตัวในห้องอีก พี่บิ๊กและพี่โก้เห็นท่าไม่ดีจึงโทรตามให้ทุกคน ไปรวมกันที่ห้องประชุมเพื่อจะได้ท�ำงานท�ำการ อย่างที่ตั้งใจกันมาประกอบกับคณะพี่กิ๊กก็ตาม มาถึงในเวลาไล่เลี่ยกัน การประชุมผู้ถือหุ้น ใหญ่ประจ�ำปีของอนุมานวสารจึงได้ฤกษ์เริ่มขึ้น ระหว่างนี้พี่ปูก็คอยเสิร์ฟน�้ำส�ำรอง เต้าฮวยนมสด เครื่องดื่มไม่ให้ขาด ฝ่ายพี่น้อง ก็แกะถั่ว แกะชอคโกแลต เครื่องขบเคี้ยวดี ๆ ต่างมาบ�ำรุงให้น้อง ๆ ประชุมไปได้ตลอดรอด ฝั่ง กระทั่งพี ่ ๆ โอวีเมืองจันท์ท่านอื่นๆ ตาม มาสมทบก็ยังอุตส่าห์เข้ามานัง่ สังเกตการณ์ คอยให้กำ� ลังใจ พร้อมเอ่ยปากชมว่าทีมงานฯ ดู เป็นหลักเป็นฐานไม่ใช่เล่น แสดงความเห็น วิจารณ์เนื้อหาของอนุมานวสารกันจริงจัง ทั้ง จ�ำนวนก็ไม่ใช่น้อย พี่หน่องผู้เป็นใหญ่ในที่นนั้ ฟังค�ำอนุโมทนาแล้วก็ได้แต่หัวเราะหึ ๆ พร้อม กระซิบบอกว่า “จริง ๆ แล้ว นี่เป็นการ ประชุม (ใหญ่) ครั้งแรกของอนุมานวสาร ในรอบสองปี” ซึ่งจะได้คติว่าอย่างไรนัน้ ก็ สุดจะเดา หลังจากการประชุมอันเข้มข้น ผ่านพ้นไป ก็เป็นทีของการสัมภาษณ์พี่ ปูเจ้าของสถานที่ ท�ำให้เราได้รู้ว่าพี่ปู ตั้งใจสะกดชื่อสถานที่เป็นอักษรไทย ว่า “ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท” ด้วย กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 39
ความคิดว่าชื่ออย่างนีค้ นทั่วไปเห็นเข้าก็ไม่ทัน นึกอะไร แต่ถ้าเป็นโอวีแล้วลองได้เห็นชื่อ ประกอบกับสีหลังคาก็ไม่มีที่จะนึกเป็นอย่าง อื่นได้ ยิ่งกว่านัน้ ที่สำ� คัญกว่าชื่อและสีหลังคา ก็คือการบริการที่นี่ ซึ่งพี่ปูบอกว่าพี่ปูสอนให้ พนักงานมีหัวใจเซอร์วิสอย่างที่บรรดานักเรียน ชั้นเล็กของโรงเรียนเราถูกสั่งสอนกันมา เราสัมภาษณ์พี่ปู กันจนถึงเวลาเย็น แทบจะพอดีกับที่ท่านผู้ว่าพูลศักดิ์ ประณุท นรพาล โอวี รุ่น ๔๐ ของเราเดินทางมาถึง เพื่อให้สัมภาษณ์เป็นรายต่อไป ท่านผู้ว่าฯ แสดงความประหลาดใจในจ�ำนวน ผู้สัมภาษณ์ซึ่งนัง่ ล้อมหน้าล้อมหลังท่านกัน อยู่หลายชั้นคล้าย ๆ จะเป็นการออกตรวจ ท้องที่อยู่เต็มที พี่หน่องก็เลยอธิบายว่าเป็นปกติของ อนุมานวสารซึ่งจะไปสัมภาษณ์กันเป็นหมู่คณะ เสมอ ๆ เพราะรู้สึกเหมือนเป็นการไปเยี่ยมพบ พี่ ๆ ส�ำหรับในส่วนเนื้อหาของการสัมภาษณ์ จะเป็นอย่างไรนัน้ ก็ขอให้ติดตามเอาได้จาก คอลัมน์ระฆังกีฬา (หน้า ๑๑๔) ซึ่งบันทึกไว้ ครบถ้วนอยู่แล้ว เมื่อเสร็จการสัมภาษณ์ ทุกคนได้ร่วม กันรับประทานอาหารเย็นที่ ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ทครั้งนีก้ ็เป็นอีกโอกาสหนึง่ ที่พี่ฆ้องวง ขอแสดงความกตัญญูต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ด้วยการขับเสภา “สยามานุสติ” ซึ่งถ้า เปรียบเป็นรถเก๋งแล้ว ครั้งนีก้ ็ต้องเรียกว่าเป็น อย่าง ‘Full Options’ เมื่อเทียบกับการ
40
ขับเสภาเมื่อคืนก่อน เพราะ ครั้งนีค้ รบกระบวนตั้งแต่การไหว้ครู ผิวขลุ่ย เคาะกรับ และก็การขับบทเพลงวณิพก ไม่ เพียงเท่านัน้ พี่ฆ้องวงยังแถมการร้องเพลง นิทานพื้นบ้านตบท้ายว่าด้วยแม่ยายลูกเขย ซึ่ง ฟังไปฟังมาก็ได้ความว่าสัปดนแท้ ๆ ทีเดียว พี่บิ๊กรับช่วงท�ำหน้าที่เอ็นเตอร์เทนทุก คน ต่อด้วยการคอยจัดสรรให้บรรดาพี ่ ๆ น้อง ๆ ได้หมุนเวียนออกมาร้องเพลงขับกล่อม งาน โดยถือโอกาสท�ำการสัมภาษณ์เล็ก ๆ ไป ด้วยพร้อมกัน อย่างไรก็ดีเมื่อท�ำไปแล้ว ปรากฏว่าไม่ได้ผลเป็นความสุนทรีย์อย่างเวที อคาเดมีหรือเดอะสตาร์ หรือบางทีก็ฟังแทบไม่ ได้เสียเลยนัน้ พี่บิ๊กจึงเปลี่ยนยุทธศาสตร์มา เป็นการตัดเข้าสัมภาษณ์อย่างเดียวเลยโดยไม่ ต้องให้ใครร้อง เพื่อที่จะได้ไม่มีใครต้องฟัง
ช่วงนี้เองที่เป็นโอกาสที่เราได้ยินได้ฟัง ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับอนุมานวสารของผู้ที่ ได้มีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องกับอนุมานวสารใน บทบาทต่าง ๆ กัน บางทีก็เป็นผู้อยู่ในฐานะ คนอ่าน บางทีก็ผู้อยู่ในฐานะคนท�ำ เป็นผู้รับ ผิดชอบโดยหน้าที่บ้าง เป็นผู้รับผิดชอบโดย ไม่มีหน้าที่บ้าง หรือแม้แต่ผู้ที่ควรจะรับผิดชอบ ก็มีแต่ทุกคนดูจะมาเหมือนกันในแง่ของความ เมตตาและมุทิตาต่อความงอกงามของ อนุมานวสารว่าเป็นของที่ดีที่น่าสนับสนุน เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเชื่อมสายสัมพันธ์วชิราวุธฯ ให้แนบแน่นด้วย “Peculiarly Pleasant Feeling” ที่ทุกคนมีร่วมกันต่ออดีตใน โรงเรียน แม้กระทั่งผู้ที่ความจริงได้เสียสละ ต่าง ๆ เพื่อช่วยกันท�ำต้นฉบับก็กลับจะเห็น เป็นบุญคุณของอนุมานวสารเสียอีกว่าได้ช่วย ท�ำให้คนท�ำมีความสุขมากกว่าจะนึกทวงบุญ คุณอะไร ซึ่งความรู้สึกเช่นนี้อาจไม่มี เครื่องหมายสามารถเป็นเครื่องแสดง แต่ก็นับ เป็นความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่และน่าสรรเสริญ ต่อเมื่อพี่บิ๊กได้สัมภาษณ์ทุกคนเกือบ ครบแล้ว พี่บิ๊กจึงเห็นเป็นเวลาสมควรแก่การ ปิดงานให้ทุกคนได้แยกย้ายไปพักผ่อน อย่างไรก็ดียังมีโอวีบางส่วนที่ยังไม่เห็น ความจ�ำเป็นต้องพักผ่อน โดยเฉพาะโอวีรุ่น เด็ก ๆ ซึ่งพากันประท้วงโอวีรุ่นพี่ว่ายังรู้สึกว่า พวกตนยังมาไม่ถึงเมืองจันท์ และต้องการให้ พวกพี่เจ้าถิ่นพาไปให้ถึงให้จงได้
แต่รายละเอียดในส่วนที่ว่าในที่สุดแล้ว โอวีต่างถิ่นจะไปถึงเมืองจันท์กันหรือไม่ และ ไปถึงโดยวิธีใดนัน้ ก็เห็นจะเป็นเรื่องที่ผู้อ่านจะ ต้องไปติดตามไต่ถามเอาจากเจ้าตัวเอง... เวลาเช้าวันกลับกรุงเทพฯ จะเกิดอะไร ขึ้นบ้างนัน้ ผมไม่มีโอกาสได้รู้เพราะมาตื่นเอา ก็เมื่อใกล้เที่ยงเต็มทีแล้ว เคราะห์ยังดีที่ยังตื่น ทันติดรถพี่หน่องพี่น้องไปซื้อพลอยพร้อมกับ สมาชิกที่ฟื้นตัวเร็วท่านอื่น ๆ กระนัน้ เมื่อไปถึง ร้านพลอยแล้วก็ไม่ปรากฏว่าสมาชิกส่วนใหญ่ จะให้ความสนใจกับพลอยสักเท่าไร ดังนัน้ พอ ต้องรอสมาชิกบางส่วนท�ำการคัดสรรอัญมณี สมาชิกที่เหลือจึงออกไปถ่ายรูปบ้าง บ้างก็เดิน ไปซื้อชาเย็น บ้างก็ทรุดนัง่ และท�ำหน้าเป็นไก่ ไม่ได้พลอยอยู่ตรงหน้าร้านนัน่ เอง อย่างไรก็ตาม พอกลับถึงที่พักและ เช็คเอาท์เรียบร้อยทุกคนก็มาพร้อมกันอยู่หน้า พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๖ กราบถวาย บังคมลาก่อนจะขนของขึ้นรถและมุ่งหน้าไป กินข้าวกลางวันมื้อสุดท้ายก่อนกลับกรุงเทพฯ อาหารกลางวันมื้อนัน้ มีความพิเศษ ไม่ เฉพาะแต่ว่าเป็นอาหารทะเลเมืองจันท์ที่ขึ้นชื่อ ว่าทั้งสดทั้งดี แต่ยังเป็นอาหารทะเลที่เราลงไป กินกันแทบจะในทะเล คือต้องนัง่ เรือไปกินกัน ในป่าโกงกาง แรก ๆ คณะก็ยังกระตือรือร้นต่อการ กินอย่างที่ว่าพิเศษนี้ เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันว่า ป่าชายเลนนัน้ เป็นอนุบาลสัตว์น�้ำ ดังนัน้ จึงต่าง พากันมั่นใจว่าสัตว์นำ�้ จะต้องก�ำลังมีคุณภาพ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 41
ชีวิตที่ดีเต็มที่ก่อนจะถูกเรากินและความกรอบ ความหวานของเนื้ออุดมไอโอดีนก็คงจะไม่ไป ไหนเสีย อย่างไรก็ดี ในเมื่อร้านนี้เป็นเกาะแก่ง ตั้งอยู่เข้าไปในทะเล จะไปได้ก็แต่โดยทางเรือ เท่านัน้ ซึ่งทางร้านจัดไว้เพียง ๒ ล�ำที่คอยรับ ผู้โดยสารจากท่าไปส่งที่ร้าน อีกทั้งชาวคณะก็ มีจ�ำนวนเกินหนึง่ เที่ยวเรือ ยังไม่นับว่าต้อง แบ่งที่นงั่ กันกับบุคคลอื่น ๆ ที่ก็รู้จักกินของดี เหมือน ๆ กับเราอีก ชาวคณะจึงได้แต่นงั่ รอ ในขณะที่เวลาก็ล่วงเลยเที่ยงไปทุก ๆ ทีบางคน หนัก ๆ เข้าก็เริ่มจะมองรถขายปลาหมึกซึ่งมา ป้วนเปี้ยนอยู่แถวนัน้ ด้วยสายตาอันไม่สู้ดี จนต้องเตือนกันให้อดเปรี้ยวไว้กินหวานให้ วุ่นวายไป เดชะบุญว่าในที่สุด เรือของโนอาห์ใน พระคัมภีร์ก็มาโปรดพวกเราให้รอดพ้นจาก ภัยน�ำ้ (ย่อย) ท่วมไปได้ทันเวลา แต่เมื่อไปถึง ร้านก็ท�ำท่าว่าจะต้องรออีกเพราะโต๊ะยังเก็บไม่ เรียบร้อย บรรดาโอวีเห็นเด็กเสิรฟ์ งก ๆ เงิน่ ๆ เก็บจานเช็ดโต๊ะอยู่ไม่ทันใจ จึงพากันเข้า เคลียร์พื้นที่ด้วยตนเอง คนนีก้ วาดเศษอาหาร ลงรวมกัน คนนัน้ รวบรวมช้อนส้อมใช้แล้ว ไม่นานโต๊ะก็สะอาดเอี่ยมไม่แพ้โต๊ะโรงเลี้ยง ในฤดู “เข้าระเบียบ” หรือ “เฮี้ยบ” เราเคยเห็น คนโมโหหิวมาก็มาก แต่คนที่ขยันเพราะหิวนีก่ ็ เพิ่งจะได้ดูกันชัด ๆ วันนัน้ หลังจากนัน้ น�้ำย่อยที่สะสมก�ำลังมา ช้านานท�ำให้อาหารแต่ละจานที่วางลงหาย
42
สาบสูญไปในชั่วระยะเวลาน่าใจหาย จนบางครั้ง บางส�ำรับก็มีการประท้วงกันว่าอาหารจานนัน้ ๆ ยังไม่มาลงส�ำรับนี ้ ๆ สักที หากันไปหากันมา จึงได้รู้ว่าอาหารลงมาแล้ว แต่ก็กินหมดกันไป ในช่วงคลาดสายตาต่างหากจึงต้องมีการ สั่งเบิ้ลเพื่อปลอบประโลมตามมา ทั้งนี้อาหาร ทุกอย่างมีความสดและอวบเป็นสมบัติ ไม่ว่า จะเนื้อปลาชิ้นโต ๆ ลวกพอรักษารสหวานไว้ ภายในเนื้อกุ้งแน่น ๆ อร่อยเหงือก และปูนิ่มที่ กินได้อย่างก�ำซาบฟันปรุงมาด้วยกระบวนการ เท่า ๆ ที่เคยมีบัญญัติกันไว้ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ย่าง ลวก และหลน พอเจออย่างนีน้ าน ๆ เข้า แม้กระทั่ง โอวีที่เริ่มมาด้วยการพับสนามบุกก็เริ่มออก อาการ “เล่นไม่ออก” คือชักจะกินไม่ไหว และ ถึงขนาดกินไม่เข้ากันเลยทีเดียวเมื่อเมนู สุดท้ายมาถึงเป็นปลาเก๋าขนาดทรงอิทธิพล จนต้องแยกตัวท�ำทอดน�้ำปลามาก่อนและ ส่วนหัวค่อยตามมาเป็นต้มย�ำหม้อไฟ กว่าเราจะออกจากร้านมาได้ก็เป็นเวลา เย็นย�ำ่ เต็มที และกว่าเราจะไปถึงถนนกลับ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจุดที่เราลงจากรถไปร�ำ่ ลาพี ่ ๆ เมืองจันท์ที่ขับน�ำมาฟ้าก็มืดเกินกว่าจะถ่ายรูป รวมสวย ๆ ได้เสียแล้ว ณ จุดนัน้ ถ้าหากจะมีใครไปถามพี่โก้ บรรณาธิการอนุมานวสารว่า การมาโร้ดโชว์ ครั้งนี้สมประสงค์หรือไม่ ก็จะได้คำ� ตอบว่า “น้องท�ำงานให้คุ้มกับที่กินไปก็แล้วกัน” ธนกร จ๋วงพานิช (รุ่น๗๖)
เรือนจาก นักเรียนเก่าฯ เล่าเรื่องสนุก
กมล นันทิยาภูษิต กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 43
เช้าวันหนึง่ ในอากาศแบบสบาย... สบาย ทีมงานอนุมานวสารก�ำลัง อยู่ระหว่างการเดินทางไปสัมภาษณ์นกั เรียน เก่าฯ ในภาคตะวันออกซึ่งจังหวัดที่ทีมงานฯ ก�ำลังจะไปนีค้ ือ จังหวัดจันทบุรีเมืองแห่ง น�ำ้ ตก ผลไม้ และอัญมณี “เอ่อ !! ไปจันท์เที่ยวนีจ้ ะไปนอน ที่ไหนกัน” ทีมงานฯ ท่านหนึง่ ถามขึ้นในรถตู้ ระหว่างที่ท่านอื่น ๆ ก�ำลังขะมักเขม้นกับการ รับประทานแซนวิซเป็นอาหารเช้า “เอ้า... ก็พักที่ ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท ไง” ทีมงานฯ ท่านหนึง่ กล่าวตอบ “ขนาดชื่อรีสอร์ทยังขนาดนี้ แล้วตัว อาคารจะเป็นแบบไหนนี่” “เดี๋ยว...ไปถึงแล้วก็เห็นเอง แต่เขาว่า กันว่าพักที่รีสอร์ทนี้แล้วจะรู้สึกเหมือนได้อยู่ โรงเรียนเลย” เพื่อนอีกคนหนึง่ เสริม
44
“แล้วนีค่ งไม่ต้องบอกอีกนะว่าเจ้าของ เป็นใคร” “คร้าบ (ลากเสียงยาว) เป็นใครไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ เป็นนักเรียนเก่าฯ แน่นอน” “พี่เขาชื่อกมล นันทิยาภูษิต เห็นว่า ตระกูลพี่เขาเรียนที่วชิราวุธฯ กันทุกคนเลย” หลังจากพักทานข้าวกลางวันเรียบร้อย แล้ว ขณะรถตู้พาทีมงานฯ เข้าสู่รีสอร์ท “โอ้ !! ที่นชี่ ัวร์ เห็นหลังคามาแต่ไกล เลย” “นี่ไม่แปลกใจเลยนะนี่ ถ้าอยู่แล้วจะ รู้สึกเหมือนได้อยู่โรงเรียน อะไรดลจิตดลใจ ให้พี่เขาท�ำรีสอร์ทแบบนี้” “เอ้า...อยากรู้เดี๋ยวเจอพี่เขาแล้วก็ถาม เองแล้วกัน”
อยากให้พี่เล่าความเป็นมาว่าท�ำไม ทั้ง ๆ ที่ เป็นเด็กเมืองจันท์ถึงเลือกที่จะเข้าโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัย วันหนึง่ พ่อแม่ได้จูงมือไปสอบเข้า ตอนนัน้ ก็ไม่รู้จักหรอกว่าวชิราวุธฯ คือ โรงเรียนแบบไหน รู้เพียงแต่ว่าเป็นโรงเรียน ประจ�ำ เราก็ไม่อยากจะเข้า แต่หลังจากนัน้ ก็รู้ ว่าญาติส่วนใหญ่เรียนที่วชิราวุธฯ หมดทุกคน จึงคิดว่าลูกผู้ชายทุกคนจะต้องเข้าโรงเรียนนี้ ซึ่งตอนนัน้ ก็มีลูกพี่ลูกน้องเรียนอยู่ และก็มีลูก ของน้าชายเข้าวชิราวุธฯ ด้วยกัน และก็มีลูก ของน้าชายคนสุดท้องก็เข้าวชิราวุธฯ ด้วย เช่นกัน นีก่ ็เลยเป็นที่มาที่ไปว่าท�ำไมต้องไป เรียนที่วชิราวุธฯ ก็คงเช่นเดียวกับ
อีกหลาย ๆ ตระกูลที่มักจะส่งลูกชายเข้า วชิราวุธฯ และพอมีลูกก็เลยส่งลูกเข้า วชิราวุธฯ เช่นเดียวกัน เพราะเราคิดว่า วชิราวุธฯ เป็นโรงเรียนที่เหมาะที่จะสามารถ ฝากชีวิตลูกของเราไว้ ซึ่งขณะนี้ลูกจบการ ศึกษาแล้วรุ่น ๗๙ อยากให้เล่าถึงธุรกิจที่ท�ำอยู่ (โรงแรม) คือ ทุกคนที่เข้ามาถึงต้องอุทานเป็นเสียงเดียวกัน ว่า “โอ้โห้! ต้องขนาดนี้เลยหรอ” อะไรเป็น แรงบันดาลใจให้ท�ำรูปแบบคล้ายกับโรงเรียน ครอบครัวมีโรงแรมอยู่แล้วซึ่งเป็น โรงแรมของคุณยายและคุณตาที่สร้างไว้ พอ เรียนจบกลับมาจากเมืองนอกก็กลับมาท�ำ โรงแรม (กงสี) มีโรงแรมอยู่ ๒ แห่ง (๕ ดาว กับ ๓ ดาว) ได้ทำ� โรงแรมเก่าคือ ๓ ดาว เนื่องจากถูกแม่บังคับให้กลับ มาท�ำโรงแรมที่เมืองจันท์ ซึ่ง
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 45
ตอนนัน้ เรียนอยู่เมืองนอกไม่อยากกลับมาท�ำ อยากท�ำงานที่กรุงเทพฯ ตอนนัน้ อยากท�ำที่ ภัทร จึงไปขอให้พ่อจักร (จักร จักษุรักษ์ รุ่น ๓๓) ฝากเข้าให้ เนื่องจากเพื่อน ๆ อยู่กันเยอะ เหมือนอยู่ AIA ในตอนนี้ แต่สุดท้ายขัดแม่ ไม่ได้เลยต้องกลับมาท�ำโรงแรม ในช่วงแรกท�ำ โรงแรมเก่า (อยากท�ำโรงแรมใหม่มากกว่า) ก็ เข้ามาปรับปรุงโรงแรมใหม่พอเข้าไปท�ำแล้วรู้ว่า รายได้มันค่อนข้างดีก็เกิดการเปรียบเทียบ ระหว่าง ๒ โรงแรม เรามีความรู้สึกว่าโรงแรม ๓ ดาว (เพราะกลุ่มลูกค้าคือบรรดา Sale และตัวแทนบริษัทต่าง ๆ) เรารู้สึกว่ามันง่าย กว่า รายได้ดีกว่า แต่โรงแรมชั้นหนึง่ นี่รายได้ ค่อนข้างยาก หลัก ๆ คือมาจากนักท่องเที่ยว เขาจะมานอนก็คืนวันศุกร์กับวันเสาร์ไม่ต้อง เอาอะไรมากง่าย ๆ เลย ขอถามพวกเราหน่อย ว่าเคยมีความคิดไหมว่าจะมาเที่ยวจันท์
46
(ทุกคนส่ายหัวหมด) นี่แหละคือที่มาท�ำไมถึง เลือกท�ำโรงแรม ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท ใน ระดับนี้ (๓ ดาว) ท�ำไมโรงแรมต้องท�ำในรูปแบบวชิราวุธฯ เริ่มต้นจากพอมาปรับปรุงโรงแรมเก่า เรียบร้อยแล้ว ท�ำให้รายได้เยอะขึ้นมากจนเรา เห็นแล้วตกใจ ท�ำให้เราเห็นว่าการท�ำโรงแรม มันดีอย่างนีน้ ี่เอง แต่ทำ� ทุกบาททุกสตางค์นจี่ ะ ให้คุณยายหมดเพราะเป็นของกงสี ส�ำหรับพี่ ได้เป็นเงินเดือน ทีนี้พอเห็นว่ารายได้ดีเราก็ เลยคุยกันกับแฟนว่าเราน่าจะต้องมีอะไรเป็น ของตัวเองแล้ว อยากท�ำโรงแรมเพราะเราเดิน มาทางนี้แล้ว ก็เลยคุยกับแม่ว่าอยากจะท�ำ โรงแรม ขอซื้อที่ต่อจากแม่แห่งหนึง่ เพื่อจะท�ำ โรงแรม ก็เริ่มต้นเขียนแบบก็จะท�ำรูปแบบ เหมือนเมืองนอก เนื่องจากไปเรียนต่างประเทศ
มา ก็จะเป็นลักษณะไม้ ๆ แต่พอท�ำ ๆ ไปรู้สึก ว่ามันค่อนข้างตันและวัสดุอุปกรณ์ก็หายาก ทีนี้ภรรยาก็เลยจุดประกายว่า ถ้าเราท�ำ โรงแรมแบบวชิราวุธฯ ได้ไหม ตอนนัน้ ก็ยังไม่ เข้าใจนะ แต่ด้วยความที่เขาอยู่กับเรามานาน รวมปีนกี้ ็ ๒๐ ปีพอดี และเขาก็รู้จักเพื่อนของ เราเป็นอย่างดี แต่เราไม่รู้จักเพื่อนของภรรยา นะ เพราะเราดึงเขามาทางฝั่งเรา ดังนัน้ เพื่อนที่ เขามีส่วนใหญ่ก็คือเพื่อนเรา งงไหม? (หัวเราะ) ตั้งแต่เขาบอกว่าจะท�ำแบบวชิราวุธฯ ได้ไหม เราคิดว่าจะท�ำได้หรือ เพราะถึงแม้มัน จะเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจริง แต่มันเป็นของสูง และจะสามารถท�ำได้รึเปล่า เราก็เลยคุย รูปแบบของโรงแรมกันก่อนสองคนว่าจะท�ำ โรงแรมโดยเลือกในสิ่งที่สามารถน�ำมาสร้างได้ และก็เหมาะสมก็เลยเลือกมา เช่น หลังคาก็ บอกผู้รับเหมาว่าจะต้องเป็นสีนคี้ ือเหลือง น�้ำเงินเท่านัน้ และเป็นกระเบื้องว่าว และพี่โชคดี ที่ผู้ผลิตกระเบื้องชนิดนี้โรงงานอยู่ที่จันทบุรี พอดีและก็เป็นเพื่อนกับพี่ พี่ก็เลยบอกว่า อยากได้กระเบื้องท�ำหลังคาแบบของโรงเรียน ท�ำได้ไหม เขาบอกว่าท�ำได้ เราก็เลยเริ่มจาก หลังคาก่อน ต่อมาก็เป็นเรื่องของสีอย่างฝ้า หรือเพดานจะเป็นสีแดงแล้วก็จะตัดด้วยสี เหลือง เขียว ตีเป็นช่อง ๆ แล้วตัวกรอบ หน้าต่างก็เป็นสีเขียว ส่วนตัวตึกก็จะเป็นสี ครีมเหมือนสีโอรส แต่ไปถามที่โรงเรียนแล้ว (ถามพี่สาโรจน์) ตอนนัน้ ตึกใหม่สร้างพอดี (ตึกเวสสุกรรม) เพิ่งสร้างใหม่ ก็เลยไปถามว่า
ใช้สียี่ห้ออะไร เบอร์อะไร ปรากฏว่าเป็นสีที่เขา ผสมเอง ก็เลยพยายามเลือกสีที่มันใกล้เคียง เพราะถ้าเรามาผสมเองก็คงได้ไม่เหมือน และ ก็วกกลับมาตอนคิดจะสร้าง ก็ไปปรึกษา ผู้ใหญ่ก่อนก็มี ครูอุดม (รักตประจิต) และก็มี พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ และ ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาส แต่ละส่วนที่จะท�ำเหมาะสม ไหมอย่างเช่น เรื่องของสี เรื่องของแบบ เรื่อง ของตราสัญลักษณ์ ของเราจะใช้เป็นรูปแบบ ของหอนาฬิกา แล้วก็ชื่อ ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท ก็เลยถามว่าใช้ได้ไหม ถ้าเป็นคนทั่วไป เห็นชื่อที่เขียนเป็นภาษาไทยก็จะไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าเป็นวชิราวุธฯ นี่ เห็นชื่อปุ๊บ ดิ โอวี บวก กับสีหลังคานีช่ ัวร์ ว่าเป็นของศิษย์เก่าโรงเรียน แน่นอน ถ้าเห็นไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็ต้องเลี้ยว เข้ามาแน่นอน หลังจากออกแบบเสร็จ เรียบร้อยก็เป็นแรงบันดาลใจว่าต้องเป็น วชิราวุธฯ มีคนถามเยอะว่าใครเป็นคน ออกแบบ ใครเป็นคนดีไซน์ ค�ำตอบคือไม่มี กว่า ๙๐ เปอร์เซนต์จะเป็นการออกแบบโดย ภรรยา คือเขาจะไปถ่ายรูปมาเหมือนเอามาต่อ จิ๊กซอ อันนี้มาประกอบอันนี้ อันนีต้ ่ออันนี้ แล้วก็เลือกอันที่เหมาะสม อย่างตรา สัญลักษณ์เราก็จะใช้พระวชิราวุธแต่ไม่ร้อย เปอร์เซนต์และจะไม่น�ำเลข ๖ เข้ามาด้วย เพราะท่านไม่ได้พระราชทานให้พี่คนเดียว ซึ่งจะน�ำไปติดไว้บนหลังคา แต่พอเวลามองมา ปุ๊บกว่า ๘๐ เปอร์เซนต์นดี่ ูคล้ายอันไหนที่ไม่ เหมาะสมก็จะไม่นำ� มาใช้แล้ว วชิระก็จะอยู่ที่ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 47
เดียวของตึกคือสูงที่สุด แล้วก็ตอนท�ำโรงแรม นี่พอเสร็จก็ไปจุดธูปที่โรงเรียนไปขอท่านจะท�ำ โรงแรมในแบบที่พี่เล่านี่ ถ้ามีอะไรที่ไม่ดีก็ขอ ให้ติดขัด แต่ถ้าไม่มีอะไรไม่ดี (เป็นสิ่งที่ดี) ก็ ขอให้ผ่านไปได้ด้วยดีก็สามารถสร้างเสร็จได้ ภายใน ๑ ปี แล้วก็มีเรื่องขอใบอนุญาต พี่นี่ จะติดเรื่องนี้เพราะมันติดกับโรงพยาบาล เพราะมีกฎว่ารั้วกับรั้วนีจ่ ะต้องห่างกัน ๑๐๐ เมตร โรงแรมจะต้องห่างจากโรงพยาบาล โรงเรียนและสถานศึกษา ๑๐๐ เมตร ถ้าไม่ถึง จะต้องขึ้นกับดุลยพินจิ ของ มท.๑ คนเดียว เท่านัน้ เราสร้างโดยที่เราไม่รู้ก็ติดเรื่องของ ใบอนุญาต ในเรื่องใบอนุญาตนีจ่ ะต้องออก จากจังหวัดก่อนโดยจะมีปลัด นายอ�ำเภอ โดยที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน แล้วก็ จะเรียกประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน เช่น สถาปนิก โยธา มาประชุมว่าเห็นควรให้ อนุญาตไหม แล้วจึงน�ำเรื่องเสนอเข้ากระทรวง มหาดไทย ก็เป็นขั้นตอนไปจนกระทั่งถึง ม.ท. ๑ ติดอยู่ก็ไม่รู้จะท�ำอย่างไร แต่พอดีพี่อานนท์ พรหมนารทย้ายมาเป็นรองผู้ว่าพอดี และผู้ว่า นีก่ ็เป็นเพื่อนกับพี่อานนท์ พอแกมาเห็น พี่ก็เรียกเราไปพบ ก็บอกพี่ว่าผมติดเรื่องใบ อนุญาต ท่านก็เรียกประชุมเลยเดือนเดียวใบ อนุญาตก็เรียบร้อยหมดส่งเห็นควรว่าอนุญาต ให้เปิดได้ เพราะฉะนัน้ เลยบอกว่าวชิราวุธฯ นี่ เป็น Connection ทุกคนจะรู้สโลแกนเลย คือเรารักกันแค่นนั้ เอง ส�ำหรับพี่อานนท์พอรู้ ว่าเราเป็นวชิราวุธฯ นีท่ ่านก็ช่วยเต็มที่ไม่เสีย
48
เงินสักบาทเดียว ซึ่งช่วงแรกนี่พี่บอกเลยว่าถ้า ใครเอาใบอนุญาตมาวางนะ เท่าไรเราก็ต้อง จ่าย คือเราเชื่อว่าโรงแรมที่เราสร้างนีค่ ือไม่มี อะไรเป็นแค่ที่พัก ไม่มีอาบอบนวด ไม่มี คาราโอเกะ ซึ่งมันจะก่อให้เกิดความเสียหาย ท่านก็เห็นและก็ช่วย เพราะฉะนัน้ มันก็เลยเกิด เป็นแรงบันดาลใจว่าถ้าเราท�ำเป็นโรงแรมอื่น เช่นแต่งเป็นโมเดิลล็อคเคบิลหรือเป็นโรงแรม อื่น ๆ มันก็อาจจะไม่ได้เปิดเพราะมันติดข้อ กฎหมายตรงนี้ และตอนที่ทำ� นี่ไม่ได้คิดอย่าง อื่นเลยคิดแต่ว่าท�ำอย่างไรให้พวกเราเห็นแล้ว ต้องเข้ามาถามมาคุยต้องการแค่นนั้ เอง ส่วน คนอื่นนี่เราไม่สนใจความรู้สึก คือเข้ามานี่เห็น แต่รูป ร.๖ กับโรงเรียนวชิราวุธฯ มีไหมครับที่แขกเข้ามาพักแล้วบ่น พอแขกเข้ามาเขาก็จะบ่นแต่กับเด็กนะ ไม่ใช่พี่ ก็จะถามว่าอะไร มันเป็นยังไงวชิราวุธฯ นีท่ �ำไมต้องขนาดนี้ เราก็คือตอนที่ท�ำนี่ไม่ได้ สนใจความรู้สึกคนอื่น “ก็กูจะท�ำแบบนี้” เราชอบ เรารัก ก็เราเห็นทุกวันแต่ว่าคนอื่นเขา ไม่เห็น
แขกบางคนก็ชอบนะ แขกบางคนก็ สนใจไปยืนอ่านดู คิดว่าท�ำไมไม่เป็นสวน กุหลาบ ไม่เป็นเตรียมอุดม ก็ไม่รู้นะเราชอบ แบบนีน้ ่ะ มีแบบในแง่ดี ๆ ไหมครับ แบบไม่ต้องเป็น เด็กวชิราวุธฯ นะ เป็นคนนอกที่เข้ามาแล้ว รู้สึกว่าดี ก็มีนะ คือพอเราท�ำแบบนี้แล้วการ บริการก็ต้องเป็นพิเศษ ก็ต้องท�ำแบบสุภาพ ในเรื่องที่เราถูกอบรมสั่งสอนมา ก็จะต้องน�ำ มาใช้ แต่ที่นกี่ ็จะมีลูกของเพื่อนกันก็จะมาถาม ว่าอยากให้ลูกเข้าวชิราวุธฯ จะต้องท�ำอย่างไร
เข้าชั้นไหน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ก็มีเข้าไป ๒ คน ก็คือตอนนีก้ ็อยู่ ม.๑ ก็พาเขาไป สมัคร ไปสัมภาษณ์ ว่าจะต้องท�ำอย่างไร เตรียมตัวอย่างไร ล่าสุดนี่เป็นลูกของร้านขาย ของบรรจุภัณฑ์ก็มาหา ถามว่าจะส่งลูกเข้า วชิราวุธฯ ท�ำอย่างไร คือลูกเขาถึงเวลาที่จะ ต้องตัดสินใจเลือกเข้าโรงเรียนใดโรงเรียนหนึง่ เราก็บอกว่า เราพูดในสิ่งที่เราเจอมาและเป็น เรื่องจริง เราจะไม่วิจารณ์โรงเรียนอื่น เราจะไม่ บอกว่าโรงเรียนนีด้ ีอย่างนี้ โรงเรียนนีด้ ้อยกว่า แบบนี้ เราจะพูดแต่ว่าถ้าเข้าวชิราวุธฯ แล้วจะ ได้อะไร ประการแรกเลยคือเรื่องเพื่อน อย่าง โรงเรียนไปกลับนี่ได้เพื่อนเหมือนกัน แต่มันจะ
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 49
50
ไม่สนิทเท่ากันกับอยู่วชิราวุธฯ สังเกตได้จาก เวลาไปเลี้ยงรุ่นจะสามารถคุยกันได้อย่างสนิท มากกว่า ซึ่งตรงนี้เราเชื่อว่าเพื่อนนี่หาซื้อไม่ได้ เราเชื่อว่ามันหาได้ยากในสังคมปัจจุบัน และก็ ยังมีรุ่นพี่รุ่นน้องที่ยังเห็นกัน พูดกันแต่เรื่อง เก่า ๆ แบบลงรายละเอียดและให้ความช่วย เหลือกันอยู่เสมอ คือได้เรียนรู้ชีวิตมาด้วยกัน ทั้งความสุขความเศร้า เวลาที่สนุกมาด้วยกัน บางคนก็เคยยืมเงินแล้วไม่ใช้ แต่ก็ยังเป็น เพื่อนกันก็ต้องให้ยืม รู้ว่ายืมแล้วไม่คืนแต่ก็ยัง ให้เพราะเราเป็นเพื่อนกัน “เฉย ๆ จ่ายครึ่ง หน้าบึ้งหายกัน” อะไรแบบนี้ เป็นต้น พูดถึงโรงแรม ตอนนี้มี ๒ แห่ง คือ ดิ โอวีฯ และเรือนดุสิตทั้งหมดมีรวมกันกี่ห้องครับ ตอนนี้มี ๒ โรงแรม ทั้งหมดมี ๑๔๕ ห้องที่ ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ทมี ๗๒ ห้อง ที่ใหม่ชื่อเรือนดุสิต มี ๗๓ ห้อง สาเหตุที่ชื่อ เรือนดุสิตเพราะว่าจบคณะดุสิต ตอนแรกจะ ตั้งชื่อว่าคณะดุสิตมันก็ออกจะแรงไปก็เลยชื่อ เรือนดุสิต ทั้ง ๒ โรงแรมเกรดเดียวกัน กลุ่ม ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน มีหลักการอะไรในการมัดใจ ในขณะที่ใช้ชื่อ โอวี เป็นชื่อโรงแรมเหมือนกับต้องแบกรับ ชื่อเสียงไว้หรือไม่ คือการบริการของโรงแรม เด็กทุกคน อันดับแรกก็คือต้องยิ้ม พูดเพราะ มีหางเสียง “ครับ” เหมือนเราพูดกับรุ่นพี่ท�ำได้ไม่ได้
ครับไว้ก่อน ตัวอย่างเช่น “มึงไปซื้อขนมเรือน จากให้กูที คิดในใจตังค์ล่ะครับพี่” เฮ้ยไม่ให้ ตังค์แต่ใช้ไปซื้อ เป็นต้น คือสรุปแล้วเด็กทุก คนต้องสุภาพ ส่วนเรื่องห้องเป็นมาตรฐานของ โรงแรมอยู่แล้วว่าจะต้องสะอาด แต่เราจะเน้น คนเป็นหลักคือการบริการต้องมาเป็นอันดับ หนึง่ แล้วก็ทักทายปราศรัยกับลูกค้า ช่วงเช้า พี่ก็จะทักทายเป็นปกติ ตอนบ่ายก็ดูแลว่าอะไร เสียซ่อมได้ก็ซ่อม พอตอนเย็นก็มาทักทาย ลูกค้าที่มาใหม่ และก็รอจนลูกค้าเข้าห้อง เรียบร้อย ซึ่งถ้าดึก ๕ ทุ่ม ก็นอนรอเขา เหมือนเราเป็นพี่ที่ต้องนอนหลังเด็ก หลักการเดียวกัน ส่วนในการปกครองเด็ก (ลูกจ้าง) จะใช้หลักเดียวกันในการปกครองที่ โรงเรียน คือถ้าท�ำผิดสถานเบา เช่น สมมติเรา สั่งว่าเวลาเปิดห้องให้เอากุญแจแล้วน�ำไปเปิด ห้องให้แขก แต่เด็กยื่นกุญแจให้แขกเลย มัน จะเหมือนกับว่าไม่บริการเขา เราจะสั่งเด็กเลย ว่าเคาเตอร์ต้องยื่นกุญแจให้เด็ก มีลืมในช่วง แรกเพราะไม่ได้สนใจ บางทีเราดูวงจรปิดเรา เห็น “ผิดใช่ไหม คัดไทย ๒๐๐ จบ” แล้ว พรุ่งนี้เอามาส่ง ให้เขียนว่า “ต่อไปนีจ้ ะไม่ยื่น กุญแจให้แขก ต้องยื่นกุญแจให้เด็ก” เขาก็จะ จ�ำ นอกนัน้ ก็มีวิดพื้น, ซิดอัพ, ให้ยืนนัง่ ลม, ยืนยกแขน เป็นต้น อย่างกรณีที่ความผิดไม่ รุนแรงอย่างเช่น ใส่รองเท้าแตะมาท�ำงานก็จะ โดนท�ำโทษแบบลหุโทษคือไม่ซีเรียส แต่กฎที่ เป็นความผิดที่รุนแรงแบบว่ายอมไม่ได้คือ ทุจริต แล้วก็ขโมยของแขก ห้ามเด็ดขาด ตรง กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 51
นี้ไม่ได้เลยเป็นเรื่องซีเรียส เฆี่ยนนีก่ ็เตรียมไว้ เหมือนกันนะอยากจะตีเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้ ฟ้องกันง่าย สังเกตว่าริมรั้วนีจ่ ะปลูกต้นยี่โถ เพราะว่าตอนเด็ก ๆ อยู่ดุสิตไง ริมสนามบาส พอตอนเย็นวิ่งกีฬากลับมามีคนไปตัด มาคิด ละวันนี้ใครจะโดน นี่ในความฝังใจเราเลยปลูก ต้นยี่โถและก็จะปลูกต้นลีลาวดี เคยมีโอวีที่เคยมาพักและว่ามั้ย ว่าคิดอย่างไร เอาโรงเรียนมาท�ำโรงแรม ผมเคยได้เห็นในเว็บ ถ้าเคยไปเปิด อ่านนะ เรื่องของรูปปั้น เรื่องของอะไรอย่างนี้ เราก็บอกว่าบางอย่างเนี่ยเราจะไม่ดึงของสูง ลงมา แต่ว่าถ้าอันไหนบางอย่างที่มีกระแสมา บอกว่าอันนี้ไม่ดีจริง ๆ มันไม่เหมาะสมจริง ๆ และก็เป็นค�ำติงจากผู้ใหญ่เป็นจ�ำนวนที่เยอะ และทุกคนเห็นว่าอันนี้ไม่เหมาะสมโอเคเราก็จะ ถอดออกไป ความคิดของคนเราควบคุมไม่ได้ บางคนเห็นว่าตรงนี้ไม่เหมาะ เห็นว่าตรงนี้ เหมาะ บางคนถามว่าท�ำไมต้องท�ำอย่างนี้ ท�ำไมถึงไม่ท�ำอย่างนี้เราก็จะชี้แจงเหตุผลไว้ ว่าที่เราท�ำเพราะอะไร และพอเราชี้แจงไปเขาก็ โอเคนะ ก็มีพี่เขาก็เข้าใจ อย่างเช่น รูปปั้น อย่างนี้รูปปั้นของเด็กที่อยู่ตามทางเดินก็คือ การตะเบ๊ะ แล้วก็ใส่ชุดอย่างนี้ คือเรามองว่า ถ้าโรงแรมทั่วไปสังเกตจะเป็นตุ๊กตาแล้วก็ไหว้ ซึ่งไปหาซื้อตามจตุจักรที่ไหนก็ได้ แต่ว่าเรามี ความรู้สึกว่าถ้าเราเป็นเอกลักษณ์ของเรา เรามี คนตะเบ๊ะแบบนีก้ ็คือการท�ำความเคารพซึ่งพี่
52
มองว่าการท�ำความเคารพ หรือการไหว้นี่เป็น สิ่งที่ดีเวลาเจอหน้ากัน จะเด็กกว่าหรือผู้ใหญ่ก็ คือการทักทายของคนไทยคือ สวัสดีครับ การ ท�ำความเคารพคือไหว้ เราถูกสอนให้ไหว้มา ตั้งแต่เด็ก ๆ ใช่มั้ย รุ่นน้องไหว้รุ่นพี่อะไรแบบ นี้ ไหว้ครูเวลาเจอนี่บางคนไหว้หมดเลยวิ่งไป ผ่านตึกเพชรก็ไหว้ ผ่านตึกขาวก็ไหว้ ผ่าน หอประชุมก็ไหว้เพราะทุกที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หมด พระรูปนี่เราผ่านเราต้องไหว้อยู่แล้ว สมัยก่อน ต้องไหว้วันหนึง่ ไม่ต�่ำกว่าสามรอบเพราะต้อง วิ่งรอบโรงเรียน วิ่งรอบโรงเรียนสามรอบ ผ่าน รอบหนึง่ ก็ไหว้ วิ่งสามรอบก็ต้องไหว้สามรอบ ใช่มั้ย ตึกเพชรก็มีรูป ตึกขาวก็มีรูป ผ่านตรง
เหลือผักทิ้งไว้ แถมยังตักกับข้าวหกเลอะเทอะ ไหนเราก็สอนให้ไหว้ซึ่งมันก็ติดเป็นนิสัยว่า พี่ก็เลยไปถือเอาไม้มาตีโต๊ะเปรี้ยง! ทุกคน ต้องไหว้ หยุดหมด แล้วหันมามอง “หยุดทุกคนหยุด ส่วนมากไม่เคยเจอแต่จะเจออยู่เคส เดียวเรื่องของรูปปั้นอันนี้ ส่วนอันอื่นเท่าที่มาก็ ห้ามกินเอากลับไปคืนที่” เด็กก็เงียบหมด “เอา กลับไปคืนหมด เข้าแถวใหม่เป็นระเบียบ” พี่ก็ จะมีมาเยอะมากมีหลายรุ่น ก็มีรุ่น ๔๐, ๔๑ เดินเข้าไปถามพวกเด็กที่ตักอาหารก่อนว่า ก็มีมาและก็มีรุ่นสามสิบกว่าก็มีเยอะก็ยังไม่ “คนข้างหลัง... เพื่อนกันหรือเปล่า” คนข้าง ค่อยมีคนติ และโรงเรียนก็เพิ่งจะมาสัมมนา หลังไม่ได้กินใช่มั้ย เพื่อนกันหรือเปล่าและก็ กันทีน่ เี่ มือ่ สักเดือนทีแ่ ล้วนีเ่ อง ก็มากันทัง้ เริ่มสอนก็หยิบแจกคนละสองไม้สามไม้ ทุก โรงเรียน ก่อนหน้านัน้ ก็จะมีนกั เรียนมาท�ำ โครงการ เขาจะมีโครงการพระราชด�ำริอ่าวคุ้ง คนก็ได้กิน ครูก็มาบอกเออดีเพราะว่าเด็กสมัย นี้ ตีไม่ได้ ตีเดี๋ยวโดนฟ้อง กระเบน เขาก็จะมีมานอนที่นี่ เออลงโทษก็ไม่ได้ เดี๋ยวโดน และมากินข้าวกลางวันที่นี่ “ผิดใช่ไหม คัดไทย ฟ้องศาลปกครอง เราก็บอก ๒๐๐ จบ แล้วพรุ่งนี้ ว่านัน่ เป็นครูนี่เป็นผม เดี๋ยว แล้วเด็ก ๆ ว่าอย่างไรบ้าง เอามาส่ง ให้เขียนว่า ใครมีปัญหาตีเลย ครับ ต่ อ ไปนี จ ้ ะไม่ ย น ่ ื กุ ญ แจ เด็กที่มานีจ่ ะเป็นเด็ก ให้แขกต้องยื่นกุญแจ รูปวาดตามโถงทางเดินนี่เป็น ป.๖ ทุกคนก็จะโอ้ว! เหมือน ผลงานของใครครับ มานอนโรงเรียน ท�ำไมออกมา ให้เด็ก เขาก็จะจ�ำ” คือรูปวาดนี่มีของ จากโรงเรียนแทนที่จะไปเที่ยว ก็มานอนโรงเรียนอีกอะไรแบบนี้ แต่มาที่นี่เด็ก อาจารย์วัชรินทร์บ้างแต่น้อย แต่ว่าหลัก ๆ ป.๖ และก็ครูมาอยู่ ๓-๔ คนและก็ตอนนัน้ ก็ ภรรยาจะวาดเองไม่ก็เป็นรูปที่ไปจ�ำถ่ายรูปมา มีครูนราทิพย์ ครูวิไลวรรณพามา ๙๐ คน ก็ บ้าง นึกเอาบ้าง ถ้ารูปอาจารย์วัชรินทร์เขาจะ วาดตามแพทเทิร์นเป็นรูปที่เหมือนกับว่าใครก็ เปิดห้องให้นอนชั้น ๓ เลย และก็กินข้าวที่นี่ เห็นเป็นมุมอะไรแบบนี้ ทีนี้เราก็จะนึกเอาบ้าง พอกินข้าวก็จะมีพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กที่นี่ จะจัดอาหารมาช่วยมี หมูสะเต๊ะ มีบะหมี่ปู มี อย่างเช่น บางรูปก็จะเป็นเก้าอี้บนหอประชุม อะไรแบบนี้ มาถึงเราก็ตั้งเป็นบุฟเฟ่ต์ พอเด็ก อะไรแบบนี้ แล้วรูปเก้าอี้ก็ไปเห็นในหนังสือ คนแรกไปถึงหยิบหมูสะเต๊ะสิบไม้ คนยี่สิบคน ของวารสารของการบินไทยที่ชื่อ “สวัสดี” ไป หมูหมดไอ้คนหลังก็ เฮ้ย! ผมยังไม่ได้กินเลย อ่านเจอ ตอนนัน้ บินไปไหนไม่รู้เห็น เฮ้ย! วชิราวุธฯ รูปนี้โอ้! ใช่เลย มันไม่มีอะไรมาก และก็โวยวาย เราก็เห็น และเด็กก็ตักแต่หมู กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 53
ของการสื่อก็คือเก้าอี้หอประชุมแค่นนั้ เองไม่มี อะไรมาก พอเราเห็นแล้วภาพมันมาเต็มไป หมด “เก้าอี้อย่างนีน้ งั่ แล้วเมื่อยก็เมื่อยแต่ก็ยัง หลับได้ คอก็ไม่มีที่พิง ร้อนก็ร้อนเราก็ยังหลับ ได้” พอมีภาพความทรงจ�ำมันก็ออกมาหมดก็ มีความรู้สึกว่า เออ! อย่างบางภาพนี่ไม่มีอะไร มากมีแค่เสารักบี้อย่างนี้ พอเห็นเสารักบี้ปุ๊บมา หมดเลย ร้อน กลิ่นเหงื่อ หญ้า กินน�ำ้ ก็ไม่ได้ เห็นน�้ำอยู่ข้างหน้าจะกินก็กินไม่ได้นะ เขาก็ไม่ ได้ห้ามนะว่าไม่ให้เรากินน�้ำ แต่ถ้าเราออกไป กินเพื่อนเราก็ไม่ได้กิน แบบนี้เราก็มีความรู้สึก ไปเองรูปพวกนีท้ �ำให้เรานึกถึงความทรงจ�ำใน อดีตได้ โครงการในอนาคต ถ้าเกิดต้องสร้างโรงแรม อีกจะยึดแนวเดิมมั้ย หรือว่าจะสร้างแนวใหม่ คือการสร้างโรงแรมเนี่ย พอเราสร้าง คือเริ่มจากหนึง่ เราต้องมองไปถึงอนาคต ถามว่าจะสร้างอีกมั้ย ก็อาจจะเป็นไปได้ถ้า เศรษฐกิจอ�ำนวยเป็นไปได้นะ ตั้งใจไว้เลยว่าที่ ตรงนี้พี่มีอยู่ประมาณสัก ๕๐-๖๐ ไร่ ก็จะแบ่ง เป็นตั้งใจไว้เลยว่าจะท�ำโรงแรมสี่มุมแล้วตรง กลางนีจ่ ะเป็นเหมือนอาคารอเนกประสงค์ เหมือนหอประชุมที่โรงเรียน เพราะว่าตอนนี้ ตั้งใจว่าจะเป็นสองมุม คือเรือนดุสิตและก็ ดิ โอวี ฯ ชื่อต่อไปตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว
54
แต่เป็นชื่อของพระราชวังนะครับ ค�ำว่าดุสิตก็เป็นชื่อพระราชวังเหมือน กันแต่เราอาจต้องท�ำให้ภาพของชื่อที่เป็น พระราชวังเนี่ยหายไป โดยที่คงคอนเซ็ปไว้ อย่างเดิมคือมองปุ๊บก็จะรู้ว่านีค่ ือชื่ออะไร อีก ชื่อหนึง่ ก็คงจะเป็นสนามจันทร์เพราะลูกชาย เรียนตอนเด็ก ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าคณะ อื่นจะไม่ท�ำนะ ถ้ามีโครงการต่อไปก็คงจะใช้ ครบคือเป็นโครงการที่ตั้งใจไว้ แต่เรือนพญานีจ่ ะไม่สร้างแน่ใช่ไหมครับ อันนีค้ งต้องขออนุมัติก่อน
๗๓ ห้องเพราะเวลาท�ำอะไรแล้วต้องมีความ ก้าวหน้า และขนาดของตึกมันก็ลงที่ ๗๓ ด้วยเหมือนกัน แล้วที่ ๗๓ ห้องเพราะว่าจะ แบ่งเป็นตามขนาดของเตียงซึ่งเตียงคู่จะมี ๑๒ ห้อง เตียงเดี่ยวมี ๖๑ ห้อง ซึ่งเตียงเดี่ยวนีจ่ ะ เท่ากับรุ่นที่จบพอดี ตั้งใจสร้างแบบนี้เลย กลายเป็น ๗๓ ห้อง
อย่างเรือนดุสิตมีปัญหาติดขัดตอนสร้าง หรือไม่ครับ ติดในเรื่องข้อกฎหมาย คือถ้ามี จ�ำนวนห้องเกิน ๘๐ ห้อง จะต้องมีการตรวจ สิ่งแวดล้อม ซึ่งมันจะวุ่นวายมากซึ่งไม่ใช่ว่ามี เงินแล้วจะผ่านนะ เราก็เลยจะเลี่ยงโดยแต่ละ ที่จะท�ำไม่เกิน ๘๐ ห้อง ที่ ดิ โอวี ฯ มี ๗๒ ห้อง ที่เรือนดุสิตมี ๗๓ ห้อง สาเหตุที่ ดิ โอวี ฯ มี ๗๒ ห้องเพราะว่าความยาวของ ตึก และมีจ�ำนวน ๓ ชั้นเลข ๓ ท�ำให้หาร ๗๒ ได้ลงตัวแล้วมันจะพอดีกับที่ดิน ทั้งยัง เป็นปีเฉลิมพระชนมายุ ๗๒ พรรษาพอดี เรา ก็เลยสร้างที่ ๗๒ ห้อง ส่วนที่เรือนดุสิตมี
ในอนาคตตั้งใจปรับปรุงอะไรเพิ่มไหมครับ ตั้งใจไว้อยู่แล้วนะ อยากจะสร้างมาก ๆ เลย คือจะสร้างหอนาฬิกาจะสร้างไว้อยู่ข้าง หน้า ดิ โอวี ฯ ซึ่งได้เตรียมที่ไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ที่ยังไม่ได้ท�ำเนื่องจากติดปัญหาในเรื่องของ แบบเพราะกลัวสร้างไปแล้วจะติดปัญหาเรื่อง ลิขสิทธิ์หรือเปล่า เรื่องแบบของกรมศิลป์ สองก็คือถ้าท�ำให้ใกล้เคียงแล้วดูไม่ เหมือนนีจ่ ะท�ำให้ดูแปลก ๆ หรือเปล่า ได้ ปรึกษาผู้ใหญ่หลายคนแล้วยังไม่มีใครให้ ค�ำตอบได้ก็เลยชะลอไว้ก่อน แต่ตั้งใจไว้ว่า วันหนึง่ จะต้องมีให้ได้ นอกเหนือจากนี้ในส่วน ของโรงแรมก็จะมีห้องสนุกเกอร์และฟิตเน็ต ส่วนสระว่ายน�้ำไม่มี เนื่องจากลูกค้าของเราไม่ ค่อยว่ายน�ำ้ อีกทั้งยังดูแลรักษาล�ำบากและ ค่าใช้จ่ายบ�ำรุงรักษาค่อนข้างสูง และยังใช้ ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่า นอกจากนีก้ ็ยังมีส่วน ของลานฟุตซอลอยู่ด้านหน้า แต่เน้นในเรื่อง ของที่พักมากกว่า กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 55
สังเกตว่าพนักงานที่นจี่ ะไม่มีเครื่องแบบ หรือครับ เครื่องแบบของเราจะเปลี่ยนไปตาม วาระ อย่างเช่น วันตรุษจีนก็จะใส่สีแดง วัน สงกรานต์ ก็จะใส่เสื้อลายดอก แต่ถ้า ยูนิฟอร์มของโรงแรมจริง ๆ ก็จะเป็นเสื้อมีตรา ของโรงแรมเป็นรูปหอนาฬิกาอยู่ แล้วข้างหลัง ก็จะเขียน ดิ โอวี หรือเรือนดุสิต ตอนนีก้ ็จะ เป็นเสื้อยืด เช่น เขียนว่า “อะไรอะไรก็กู” “กู ผิดเสมอมึงถูกตลอด” ซึ่งสโลแกนเหล่านี้เรา คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วที่โรงเรียนเหมือนเราเป็น เด็ก ยังไงพี่ก็ถูกไม่มีโอกาสผิด จนกว่าเราจะ โตก็จะไปหาคนที่ผิดแทนเรา ก็เป็นวัฒนธรรม
56
ที่มันยังด�ำรงอยู่ ซึ่งพี่มองว่ามันไม่ได้ร้ายแรง มันเป็นอะไรที่ได้ใจนะ ย้อนกลับมาที่โรงเรียน อะไรเป็นสิ่งที่ท�ำให้พี่ รักและประทับใจในโรงเรียนวชิราวุธฯ ตลอดมาเป็นเพราะอะไร? ที่รักและประทับใจมาก ๆ คือค�ำว่า เพื่อน ความสามัคคี และก็วัฒนธรรมของ โรงเรียน ซึ่งอย่างที่บอกมาตั้งแต่ต้นมัน แสดงออกถึงวัฒนธรรมของโรงเรียนเรารู้อยู่ แล้วว่าของเรานี่ไม่เหมือนใคร และก็ไม่มีใคร สามารถลอกเลียนแบบได้ ซึ่งถามว่าตอนที่เรา อยู่โรงเรียนนี่เราเฉย ๆ เราไม่รู้สึกอะไรถ้า
เข้าไปใหม่ ๆ ช่วง ป.๓ ก็อยากให้มันผ่านไป เร็ว ๆ เพราะอยากกลับบ้านเร็ว ๆ แต่พอ ม.๖ ใกล้ ๆ วันจบ กลับอยากให้มันผ่านไปช้า ๆ เพื่อจะได้อยู่โรงเรียนนาน ๆ พี่ช่วยกล่าวถึงเพื่อน ๒ คนที่รักที่สุดหน่อย ครับ ถ้าสนิทมาก ๆ เลย คือหนึง่ ชื่อกิ้ม (ธนากร ผลอนันต์) เป็นคนจันทบุรีด้วย และ ก็อยู่กันมาตั้งแต่ ป.๓ อยู่คณะเดียวกันคือ เด็กเล็กสอง เข้าคณะในก็อยู่ดุสิตเหมือนกัน และก็เข้าจุฬาฯ เหมือนกัน และตอนไปอยู่ เมืองนอกนี่แยกกันเพราะกลัวเรียนไม่จบ เลย แยกกันอยู่คนละเมือง จนทุกวันนีก้ ็จะสนิทกัน มาก และก็จะมีอีกคนชื่อเอกวัฒน์ หอมเศรษฐี ชื่อเล่นชื่อโด๊ะ และก็มีอีกคนแต่เสียชีวิตไป แล้วชื่อเชษฐกร บุญอนันต์ แต่ส่วนมากก็จะ สนิทหลายคน แต่ถ้าเที่ยวด้วยกันบ่อย ๆ ซี้ กันมากก็มีอยู่ ๒-๓ คนนี้ ถามถึงครู มีครูท่านใดบ้างที่เคารพและนับถือ มากที่สุด ครูนถี่ ้าเคารพมากและไปมาหาสู่กัน ประจ�ำและเคารพมากที่สุดคือครูอุดม รักตประจิต เพราะดูเรามาตั้งแต่เด็กตั้งแต่ ม.๑ จนกระทั่งจบ ม.๖ และยังให้ข้อคิดเรา แม้แต่ตอนเราจบแล้วก็ตาม ท่านมีอะไรก็จะ บอกและแนะน�ำเราอยู่เรื่อย ๆ ก็จะมีครูอุดม ที่เคารพมาก
พูดถึงความรักและประทับใจในโรงเรียน พูด ถึงครูแล้ว ทีนถี้ ามถึงวีรกรรมที่เกิดขึ้นที่พอ นึกถึงแล้วหัวเราะได้ทุกที เหตุการณ์ที่นกึ ถึงนะ ที่จ�ำได้แม่นเลย คือพี่ถูกเฆี่ยนเป็นคนแรกของรุ่น ตอนนัน้ เข้า มา ม.๑ ตอนกินข้าวกลางวันก็จะมาเข้าแถว ก่อน ระหว่างเข้าแถวก็เหมือนเรามาแทรกก็มี การทะเลาะกันพอเข้าไปในห้องอาหารก็ยังด่า กัน ด่ากันไปด่ากันมา พอไปนัง่ ในห้องอาหาร เพื่อนเอารองเท้าปาใส่แต่ไม่โดน ไปลงชามข้าว พอดี พี่หัวหน้ามาพอดีเห็นว่าทะเลาะกัน กลางคืนก็เรียบร้อยกลับมาจากเรียนตอนเย็น เห็นคนตัดไม้สงสัยกูแน่เลย (หัวเราะ) ปรากฏ โดนจริง ๆ ไม่ลืมโดนไป ๓ ที ครั้งแรกแล้ว เรารู้สึกว่ามันหนักมาก พ่อแม่ยังไม่ลงโทษ ขนาดนัน้ เด็ก ๆ ครูก็ตีมือคือมันไม่หนัก พอ โดนเฆี่ยนรู้สึกว่าหนักมาก ตอนนัน้ ถ้าฟ้องศาล ปกครองได้คงฟ้องไปแล้ว แต่พอนึกย้อนกลับ ไปก็รู้ว่าเราไม่ควรจะทะเลาะกันซึ่งก็ได้น�ำมา ปรับใช้กับการปกครองของที่รีสอร์ทด้วย ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) อาทิตย์ ประสาทกุล อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ (รุ่น ๗๑) กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖) ธนกร จ๋วงพานิช (รุ่น ๗๗) สัมภาษณ์ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) กรรณ จงวัฒนา (รุ่น ๗๖) เฉลิมหัช ตันติวงศ์ (รุ่น ๗๗) ถ่ายภาพ สุทธิพงศ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ (รุ่น ๗๓) เรียบเรียง กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 57
คอลัมน์พิเศษ เรื่องเล่าจากนักเรียนมหาดเล็กหลวง
พระมหากรุณาธิคุณที่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ นายบัว ศจิเสวี เขียนโดย นายบัว ศจิเสวี
ครั้งที่ผมได้มีโอกาสเห็น “เรือ พระที่ นั่ง มหาจั ก รี ” ขาวผ่ อ ง ลอยล�ำอยู่ในแม่น�้ำเจ้าพระยา ผมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ท่านอยู่ไม่เว้นวาย จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ เรือ พระที่นั่ง มหาจัก รีถู กปลดระวางเป็นเรือ
58
ผมได้รับพระราชทานนามสกุลบนเรือพระที่นั่ง มหาจักรีล�ำนี้
พี่ เ ลี้ ย งเรื อ ด� ำ น�้ ำ และเปลี่ ย นชื่ อ ใหม่ เป็ น เรื อ “อ่างทอง” ตัวหงส์ที่อยู่ปลายหัวเรือถูกตัด ออก สีที่เคยเป็นสีขาวก็ถูกทาใหม่ด้วยสีหมอก แม้ แต่ เรื อ พระที่ นั่ง ยั ง ต้ อ งรั บ กรรมไปด้ ว ย
เห็นแล้วจ�ำไม่ได้เลยว่าเคยเป็นเรือพระที่นั่ง มหาจักรี ในทีส่ ดุ เมือ่ เกิดสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ก็ถกู ข้าศึกทิง้ ระเบิดจมอยู่ทอี่ ่าวสัตหีบเมือ่ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๘๘
ในพระราชวังพญาไท
ผมจ�ำได้ ว ่ า ที่พ ระราชวังพญาไทตรง กลางมี ด าดฟ้ า ยื่ น ออกมาใกล้ ห ลั ง คาท้ อ ง พระโรง ซึ่งใช้เป็นโรงละครที่ดาดฟ้านี้พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯ โปรดเสด็จออกมาประทับพักผ่อนกลางแจ้ง เสวยเครื่องว่าง ทอดพระเนตรการซ้อมละคร
เมืองจ�ำลองดุสิตธานี หรือบ้านเล็กเรือนน้อยซึ่งมี บ้านช่อง วัดวาอาราม สะพาน และถนน ส�ำหรับเดิน เที่ยวได้จริง
บางครั้งก็มีดนตรีบรรเลงถวาย ฯลฯ ยิ่งยาม เดือนหงายลมพัดเย็นสบายที่สุด ผมได้รับพระ มหากรุณาธิคณ ุ ให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาท อยูใ่ กล้ ๆ ได้พบได้เห็นชีวติ ในราชส�ำนักทีเ่ กิดมา อีกร้อยชาติก็ไม่ได้ประสบเช่นนี้
ดุสิตธานี
สุดพระที่นงั่ ด้านขวามีบ่อน�้ำคอนกรีต รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรูปเทวดาถือศรยืนอยู่บน แท่นกลางบ่อ ข้างหลังเข้าไปมีบ้านเล็กเรือน น้อยหรือที่เรียกว่า “ดุสิตธานี” สร้างย่อของ จริงเหมือนกับสภาพอาคารตึกรามบ้านช่องใน กรุงเทพฯ สมัยนั้นมีสะพานข้ามคลอง ฯลฯ ผมชอบบ้านเล็กเรือนน้อยนี้เหลือเกิน มีโอกาส ครั้งใดเป็นต้องเข้าไปเดินเที่ยวเล่น หลังออกไป จนสุดเขตพระราชวังมีภูเขาสร้างขึ้นไว้ ส�ำหรับ ประดิษฐาน “เจ้าพ่อหิรัญฮู” ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเชื่อว่าเจ้าองค์นคี้ อยระวัง ภยันตรายถวายพระองค์ท่านอยู่ตลอดเวลา แถบนี้ค่อนข้างเปลี่ยว ผมกลัวไม่ค่อยกล้า เข้าไปใกล้ ความที่เป็นเด็กเล็ก ๆ ในสมัยนัน้ ไม่ ทราบเลยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ทรง มีพระราชด�ำริทจี่ ะริเริม่ ทดลองให้มกี ารปกครอง ระบอบประชาธิปไตย คงเห็นแต่เป็นที่ส�ำหรับ เสด็จพระราชด�ำเนินประพาสส�ำราญพระราช หฤทัยเท่านัน้ และน่าเสียดายที่เมื่อสิ้นรัชกาล ของพระองค์ ท ่ า นแล้ ว ก็ มิ ได้ มี ก ารบู ร ณะไว้ ต่อ ปล่อยให้สถานที่อันงดงามนี้สูญสลายไป (ขณะนีท้ ราบว่าทางโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ โดย กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 59
พลโท น.พ.สุปรีชา โมกขะเวส เจ้ากรมแพทย์ ทหารบกและคุณสุมัณฑนา โมกขะเวส ภรรยา ได้เริ่มบรูณะใหม่แล้ว)
และมหาดเล็กที่โต ๆ กว่า หัดให้ผมโผไปเกาะ หลักปักอยู่กลางสระแล้วให้โผกลับมาที่บันได ต่อมาหัดให้ผมใช้ลูกมะพร้าว ๒ ลูกผูกติดกัน เอาตัวผมพาดไว้ตรงกลาง ผมก็พอกระทุ่มน�้ำ ไปได้ บทต่อไปเหลือแต่มะพร้าวลูกเดียวให้ผม กอดผมก็หมุนติ้วไปเท่านัน้ แต่ก็ยังว่ายไม่เป็น ในที่สุดเขาเลยใช้วิธีเด็ดขาดจับผมโยนลงไปใน บ่อ ความกลัวจมน�ำ้ ตายผมต้องตะเกียกตะกาย ว่ายจนเป็น แต่ก็สำ� ลักน�ำ้ พุงกาง ที่จ�ำเรื่องนี้ได้ ก็เพราะส�ำลักน�้ำแทบตายนี่เอง
หนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต”
ท้าวพิรันยพนาสูร หรือท้าวหิรัญฮู ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นและประดิษฐาน ณ พระราชวังพญาไท
หัดว่ายน�้ำ
ลึกเข้าไปด้านหลังพระราชวังพญาไท มีบ้านหลายหลัง หลังหนึ่งซึ่งจ�ำไม่ได้ว่าเป็น บ้านใคร ปลูกอยู่ริมน�้ำใหญ่มีบันไดลงน�้ำ ๒ ที่นี่เองเป็นที่ผมถูกหัดให้ว่ายน�้ำ โดยข้าหลวง
60
มี ส ถานที่ ที่ ผ มชอบมากอยู ่ อี ก แห่ ง หนึ่ ง ในพระราชวั ง พญาไทนี้ คื อ ส� ำ นั ก งาน หนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” จะอยู่ตึกไหนตรง ไหนจ�ำไม่ได้ จ�ำได้แต่เพียงว่าอยู่ชั้นล่าง ผม สนใจมากถึงกับเข้าไปประจบคุณพระประสิทธิ์ บรรณการ (แฉล้ม กฤษณามระ) ซึ่งท่านเป็น “บรรณานุการ” เข้าไปขออ่านหนังสือดุสิตสมิต แทบทุกเล่ม จนผมสามารถจ�ำฉันท์พระราช นิ พ นธ์ ห ลั ง ปกหนัง สื อ ดุ สิ ต สมิ ต ได้ จ นบั ด นี้ หมึกพิมพ์ที่ผมได้กลิ่นในครั้งนั้นช่างมีเสน่ห์ ติดใจผมงมงายไม่มวี นั จางจนตราบเท่าทุกวันนี้ ผมได้ ถ ่ า ยรู ป หน้ า ปกและหลั ง ปกหนั ง สื อ “ดุสติ สมิต” ลงไว้ให้ผทู้ ยี่ งั ไม่เคยเห็นได้ทราบไว้ ด้วย ท่านทีส่ นใจอยากจะอ่านฉบับจริงเชิญอ่าน ได้ที่ “หอวชิราวุธานุสรณ์” ท่าวาสุกรี เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต คุณพระประสิทธิ์
บรรณการสมรสกับคุณสมบุญ คุณข้าหลวง ของสมเด็จฯ มีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคนแต่ เมื่อบุตรสาวคนเดียวนัน้ อายุประมาณ ๘ ขวบ ก�ำลังน่ารักก็มาถึงแก่กรรมด้วยโรคร้าย คุณพระ ประสิทธิ์บรรณการเสียใจมากถึงกับล้มป่วย และถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ต่อจากนัน้ คุ ณ สมบุ ญ บ�ำ เพ็ญ ตนเป็ น อุบาสิกาที่ศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ถืออุโบสถรักษาศีลทุกวัน ธรรมสวนะ และยังคงแต่งตัวไว้ทุกข์อยู่จน กระทั่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ ๘๐ ปีเศษ ผม ขอกราบขอบพระคุณที่ได้กรุณาแก่ผมเมื่อเป็น เด็กแล้วยังอุตส่าห์หารูปผมทีถ่ า่ ยกับเจ้าพระยา รามราฆพน�ำมาให้ผม และบอกกับผมด้วยว่า ฉันตั้งใจเก็บไว้ให้ “ลูกบัว” หกสิบกว่าปีมาแล้ว
ปกหน้าและปกหลังหนังสือ “ดุสิตสมิต”
เข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ช่วย ให้ผมรอดเป็นตัวเป็นตนมาจนบัดนี้ ก็คือทรง พระมหากรุ ณาโปรดเกล้ า ฯ ให้ ผ มไปเรี ย น หนังสือที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โดยเป็น นัก เรี ย นในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ ทุ ก ประการ ในสมัยนั้นนักเรียนที่โรงเรียนนี้แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือประเภทอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร้อยเปอร์เซ็นต์ คือพระราชทานทุกอย่างหมด ค่าเล่าเรียน ค่าอาหาร ค่าหนังสือ ค่าเครื่อง แต่งตัว ฯลฯ อย่างเช่นผมเป็นตัวอย่าง เวลานัน้ ผมไม่ได้นกึ ถึงอะไร ทราบแต่ว่าเป็นโรงเรียน ของในหลวง ประเภทที่สอง คือโปรดเกล้าฯ พระราชทานเฉพาะค่าเล่าเรียนและค่าอาหาร กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 61
กินอยู่หลับนอนที่โรงเรียน ส่วนค่าหนังสือและ ค่าแต่งกายผู้ปกครองออกเอง และประเภท ที่ ส าม คื อ โปรดเกล้ า ฯ ให้ เ ข้ า โรงเรี ย น มหาดเล็กหลวงได้เท่านัน้ ค่าใช้จ่ายทุกประการ ผู้ปกครองต้องออกเอง ก่ อ นที่ ผ มจะเล่ า ถึ ง ชี วิ ต และความ ประทับใจในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ผมขอ อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๖ มาไว้ ณ ที่นี้ “เจ้าเหล่านี้ ข้าถือเหมือนลูกของข้า ส่วนตัวเจ้า เจ้าก็ต้องรู้สึกว่าข้าเป็นพ่อเจ้า ธรรมดาพ่อกับลูก พ่อย่อมอยากให้ลูกดีเสมอ ถ้าลูกประพฤติตวั ดีสมใจพ่อ พ่อก็มใี จยินดี ถ้า ลูกเหลวไหลประพฤติแต่ความเสื่อมเสีย พ่อก็ โทมนัส ลูกคนใดทีป่ ระพฤติตนเลวทรามต�ำ่ ช้า เป็นเหตุให้พ่อได้ความโทมนัส ลูกคนนัน้ เป็น ลูกเนรคุณพ่อ” พระบรมราโชวาทนี้ จ ารึ ก ไว้ ใ ต้ พระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ ข องพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่หน้า หอประชุ ม ใหญ่ ในโรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวง เตือนใจให้นกั เรียนทุกคนปฏิบัติตามพระบรม ราโชวาทนี้อยู่เสมอ ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ เช้าวันจันทร์ก็ มีรถยนต์หลวงรับผมจากพระราชวังพญาไทไป ส่งที่โรงเรียน พอเที่ยงวันเสาร์ก็มีรถยนต์หลวง รับจากโรงเรียนกลับมาที่พระราชวังพญาไท ตามทะเบียนผมเข้าเป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวง
62
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับเลข ประจ�ำตัว ๔๘๔ ท่านอาจารย์ใหญ่สมัยนัน้ คือ เจ้าคุณบรมบาทบ�ำรุง (พิณ ศรีวรรธณะ) วันแรก ที่ ผ มไปโรงเรี ย น ท่ า นอาจารย์ เรี ย กผมไป ให้ ถ อดเสมาที่ค ล้ อ งคออยู ่ ฝ ากไว้ กับ ท่ า นที่ โรงเรียนท่านบอกว่าเดี๋ยวจะหาย โรงเรียน แบ่งเป็น ๔ คณะ อยู่ ๔ มุมของบริเวณ ผมอยู่ คณะเด็กเล็ก เครื่องแบบนักเรียน คือเสื้อนอก แขนยาวสีขาวคอปิดแบบราชการ กระดุม ๕ เม็ด ต้องกลัดให้ครบ แถบคออีก ๒ อันต้อง กลัดด้วย แล้วยังมีแผงคอบังคับให้คอแข็งตั้ง ตรงเป็นสง่า หมวกหนีบสีนำ�้ เงิน กางเกงขาสั้น สีน�้ำเงินกรมท่าสีเดียวกับหมวก ถุงเท้ารองเท้า สีด�ำ การที่นกั เรียนสวมเครื่องแบบเรียบร้อย
เช่นนี้ ท�ำให้ผสู้ วมรูส้ กึ มีเกียรติและรักษาระเบียบ อันเคร่งครัดของโรงเรียนไว้ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมาเป็น “โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย” จะเรียกอาจารย์ ใหญ่ว่า “ผู้บังคับการโรงเรียน” ส่วนครูผู้ดูแล นักเรียนประจ�ำหอนอน (คณะ) จะเรียกว่า “ผู้กำ� กับคณะ” และภรรยาผู้กำ� กับคณะเรียกว่า “แม่บ้าน”
กิจวัตรของนักเรียน
ขอเล่ า ความทรงจ� ำ ในชี วิ ต ที่ เ ป็ น นักเรียนมหาดเล็กไว้สกั เล็กน้อย โรงเรียนนีช้ าว บ้านนอกเดินผ่านก็ลงนัง่ ยอง ๆ ประณมมือไหว้ นึกว่าวัด เพราะหอประชุมใหญ่และตึกคณะ ทรงไทยรูปร่างคล้ายกุฏิพระ เครื่องแบบก็โก้ เสือ้ นอกขาวคอปิดแบบราชการ กระดุมทัง้ ๕ เม็ด
คณะบรมบาทฯ ซึง่ จัดเป็นคณะเด็กเล็กของโรงเรียน มหาดเล็กหลวง
ตลอดทั้งแถบคออีก ๒ ต้องกลัดให้ครบ มี แผงบังคับให้คอแข็งตัง้ ตรงเป็นสง่า หมวกหนีบ สีนำ�้ เงิน สวมเพล่ก็ไม่ได้ กางเกงขาสั้นสีนำ�้ เงิน กรมท่าเหมือนหมวกรับกับถุงเท้ารองเท้าหนัง สีด�ำ ท�ำให้นักเรียนผู้สวมรู้สึกมีเกียรติและ รักษาระเบียบอันเคร่งครัดของโรงเรียน อัน เริ่มจากตื่นแต่เช้าตามระฆังปลุกท�ำที่นอนให้ เรียบร้อยแล้วเข้าแถวไปล้างหน้าอาบน�้ำกลับ มาแต่งตัวเข้าแถวไปรับประทานอาหารเช้ามี ข้าวต้มเป็นส่วนใหญ่ พักสักครู่เข้าแถวไปเข้า ห้องเรียน ตอนกลางวันเข้าแถวไปรับประทาน อาหารกลางวัน เสร็จแล้วพักพอสมควร บ่าย เข้าแถวเข้าห้องเรียน บ่าย ๓ โมงเลิกเรียน ต่อ ไปเป็นเวลาของกีฬา จนเย็นจึงเข้าแถวจะต้องไป กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 63
ภาพนักเรียนมหาดเล็กหลวง ฝีพระหัตถ์พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
อาบน�้ำตอนนี้มีครูมาตรวจร่างกาย ให้แลบลิ้น ถามว่าถ่ายอุจจาระหรือเปล่า กี่ครั้ง จะโดนกิน ยาก็ตอนนี้ แล้วเข้าห้องอาบน�้ำ ห้องน�้ำมิดชิด ใหญ่พอที่จะอาบน�้ำพร้อม ๆ กันได้สัก ๕๐ คน เพราะมีถังน�้ำก่อด้วยซีเมนต์สูงแค่หน้าอกใส่ น�้ำเต็ม ทุกคนแก้ผ้าใช้ขันตักอาบน�ำ้ มีสบู่ ขัน แปรงสีฟัน ยาสีฟันของตนเองแต่ละคน เสร็จ แล้วเข้าห้องแต่งตัว ตอนเย็นเป็นชุดกางเกงจีน ผ้ า ขาวเสื้อ ขาวบางคอกลม เข้าแถวไปห้อง รั บ ประทานอาหาร โต๊ ะ อาหารเป็ น โต๊ ะ ยาว โต๊ะละประมาณ ๑๒ คน แก้วน�้ำและกับข้าว วางอยู่พร้อม นักเรียนต้องตักข้าวเองและเลือ่ น
64
หม้อข้าวส่งต่อ ๆ กันไป ใครเคยนั่งที่ไหนก็ ต้องนัง่ ทีน่ นั่ เสร็จแล้วพักพอสมควร แล้วเข้าห้อง ท�ำการบ้านจนถึงเวลานอนจึงเข้าห้องสวดมนต์ สวดมนต์เสร็จเข้าแถวเข้าห้องนอน ต่างคน ต่ า งนอนคนละเตี ย งประจ� ำ ที่ ข องตน พอ ล้มตัวลงนอนครูจะดับไฟ นักเรียนจะต้องท่อง ข้อความว่า “ข้าดียิ่ง ๆ ขึ้นทุก ๆ วัน เป็นล�ำดับ ไป” คนละ ๒๐ ครั้ง แต่โดยมากพอท่องไปได้ สัก ๑๐ ครั้ง ค�ำว่า “เป็นล�ำดับไป” ก็จะค่อย ๆ กลายเป็น “หลับไป” และนักเรียนก็หลับจริง ๆ ยานอนหลับขนานนี้ผมยังจ�ำไว้ใช้จนบัดนี้ แต่ ตอนทีอ่ ายุมาก ๆ ความชรามันแก่กล้าขึน้ บางที ท่องตัง้ ๑๐๐ ครัง้ ก็ยงั ไม่หลับ ใครทีน่ อนไม่หลับ อยากจะน�ำไปใช้ก็เชิญไม่สงวนลิขสิทธิ์ ผมจ�ำคุณครูที่ท่านสอนภาษาอังกฤษ ได้เป็นคุณหลวงอะไรไม่ทราบ นิ้วที่ท่านจิ้ม บนหนังสือบอกให้ผมอ่านนัน้ เล็บเป็นสีเหลือง เพราะท่านสูบบุหรี่มาก หนังสือภาษาอังกฤษที่ ท่านสอนชื่อ “The boy’s own book” ปกสีฟ้า ตั้งแต่ออกจากโรงเรียนมาแล้วผมไม่เคยเห็น หนังสือชนิดนี้อีกเลย เวลาเย็น ๆ เลิกโรงเรียน แล้วคุณครูคนนีช้ อบขึ้นว่าวจุฬาให้นกั เรียนชัก ผมตัวเล็กนิดเดียวชักไม่ไหววิ่งจู๊ดตามว่าวไป เลย คุณครูต้องคอยถือท้ายสายป่านไว้ให้ เรื่องชีวิตประจ�ำวันของนักเรียนประจ�ำ แบบนี้ ผู้ใดได้เข้าไปสัมผัสก็รู้และจดจ� ำได้ ทุ ก คน แต่ ผู ้ ที่ เป็ นนัก ประพั นธ์ ห รื อ ศิ ล ปิ น จะบรรยายได้ละเอียด ผู้อ่านจะเข้าใจได้ง่าย
นึก ภาพตามข้ อ เขี ย นเหมื อ นได้ สั ม ผั ส ด้ ว ย ตนเองนีค่ อื บทประพันธ์ของนักเขียนทีด่ ี อีกท่าน หนึง่ ทีบ่ รรยายชีวติ เช่นนีไ้ ด้หมดจดเข้าใจง่าย คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติผลู้ ว่ งลับ ไปแล้ว
มีดปักเท้า
คุณครูอีกท่านหนึ่งที่ผมจ�ำได้แม่นย�ำ ไม่มวี นั ลืม คือคุณครูสนัน่ แพทยานนท์ เป็นครู พละศึกษาและเป็นครูผู้ช่วยประจ�ำคณะ เพราะ แต่ละคณะจะต้องมีคณ ุ ครูประจ�ำคณะท่านหนึง่ เช่น คุณครูพระประทัตสุนทรสาร เป็นครูประจ�ำ คณะ นัก เรีย นก็เรีย กคณะนั้นตามชื่อครูว่า “คณะประทัตฯ” คุณครูสนัน่ มีหน้าที่ดูแลทั่วไป ใกล้ชดิ กับนักเรียนมากตัง้ แต่ตนื่ นอนจนกระทัง่ เข้านอน เรื่องที่ผมจะจ�ำคุณครูสนัน่ ได้แม่นย�ำ เนื่องจากวันหนึง่ ตอนเย็นก่อนถึงเวลา รับประทานอาหาร ผมไปยืนดูเพื่อนนักเรียนที่ โตกว่าเขาเล่นขว้างมีดปักกับตันไม้ ถ้าผมจ�ำไม่ ผิดเป็นต้นมะหวด มีดที่ใช้ขว้างคงจะเป็นมีด ที่น�ำมาจากประเทศเยอรมัน มีที่เปิดอะไรต่อ อะไรมากมายหนักพอดู เผอิญเพือ่ นคนหนึง่ ชือ่ “จักรกฤษณ์” คือ พ.อ.พิเศษ จักรกฤษณ์ หงสไกร ขว้างมีดไปที่ต้นไม้ แต่ไม่ติดมีดเลย กระดอนตกลงมาบนหลังเท้าของผม เลือดไหล โจ๊กถึงมันจุก คุณครูสนัน่ ทราบเรื่องก็มาช่วย อุ้มผมไปใส่ยาพันแผล อุ้มผมไปรับประทาน อาหาร อุ้มจากห้องอาหารไปห้องนอน ฯลฯ อุ้มกันอยู่ ๒ - ๓ วัน จนผมเขยกได้ ผมถึงจ�ำ
คุณครูสนัน่ ได้ด้วยเหตุนี้เอง ความมีระเบียบของโรงเรียนนี้อีกอย่าง คือ บรรดาผลไม้ในโรงเรียน เช่น มะม่วง ซึ่งมี ผลดกมาก โรงเรียนห้ามปีนขึน้ ไปเด็ด ห้ามสอย ห้ามขว้างปาโดยเด็ดขาด แต่ก็มิใช่จะหวงไว้ทำ� ประโยชน์อนื่ ใด พอมะม่วงแก่ครูกใ็ ห้ภารโรงเก็บ ใส่ตะกร้า ให้นกั เรียนเข้าแถวแล้วแจกมะม่วง เป็นรายตัวคนละ ๔ หรือ ๕ ผล ตามแต่จะ เก็บได้มากน้อย โดยเหตุนจี้ ึงจะไม่เห็นนักเรียน มหาดเล็กหลวงขว้างปามะม่วงเลย (แต่มะม่วง แจกนัน้ มันจืดชืดไม่เป็นรสเลยสู้ขว้างเอาเองไม่ ได้หรอกครับ อร่อยกว่า)
ของเล่นที่โรงเรียน
ของเล่นที่ประทับใจผมที่สุดที่โรงเรียน คือการแข่งรถยนต์ คณะเรียนแต่ละคณะที่ อยู่ ๔ มุมของโรงเรียนนัน้ สร้างเป็นทรงไทย เหมือนวัด แล้วยังมีอาคารหลังใหญ่อยู่ตรง กลางเหมือนพระอุโบสถ ยิ่งดูเหมือนวัดยิ่งขึ้น ผมเห็นเด็กที่มาจากต่างจังหวัดลงนั่งยกมือ ไหว้ก็เคย ตึกใหญ่ของแต่ละคณะมีลานหิน หน้าห้องเรียนยาวตลอดตึกประมาณ ๔๐-๕๐ เมตรเป็นที่ส�ำหรับเข้าแถว ไม่ว่าจะปล่อยกลับ บ้าน จะไปรับประทานอาหาร จะไปประชุม ฯลฯ ก็ต้องมาเข้าแถวกันที่นี่แหละ และพวกเราก็ใช้ ลานหินเรียบนี้แหละเป็นสนามแข่งรถ สมัยนัน้ มีรถยนต์เด็กเล่นไขลานคันยาวเกือบคืบ รูป ร่างเป็นรถแข่งลักษณะเหมือนรถ “รอมิวลุส” ของพระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 65
เดช เจ้าชายนักแข่งรถทีค่ นไทยรูจ้ กั ในพระนาม ว่า “พีระ” รถแข่งไขลานนี้ทาสีเหลืองทุกคัน เลขหมายรถก็เลข ๓ เหมือนกันทุกคัน วิธีแข่ง ของพวกเราก็คอื เอาด้ายหลอดขึงตัง้ แต่ตน้ ทาง ถืงปลายทางเพือ่ ไม่ให้รถเลีย้ วออกนอกทาง แล้ว ไขลานรถของตัวเองให้เต็มที่วางลงบนพื้นหิน ให้ล้อคาบอยู่บนเส้นด้ายพอนับ หนึง่ สอง สาม ก็ปล่อยสตาร์ทพร้อมกัน ของใครไปได้ไกลกว่า คนนัน้ เป็นผูช้ นะ ผมมานึกถึงเมือ่ เขียนเรือ่ งนีว้ า่ ผมได้รถยนต์ของเล่นมาจากไหน? ที่โรงเรียน ไม่มีขายตลอดเวลาที่อยู่ในพระราชวังพญาไท ไม่เคยมีสตางค์เลยสักสตางค์เดียว มาโรงเรียน ก็ไม่ได้สตางค์ เห็นจะเป็นคุณสมบุญนัน่ แหละ ซื้อให้ผม
ญาติเยี่ยมที่โรงเรียน
ผมเข้ามาอยู่ในรั้วในวังแล้ว ก็ดูเหมือน ผมลืมญาติเสียสนิท แต่จะท�ำอย่างไรได้ผม อายุ ๗ ขวบเข้ามาอยู่ในวังอย่างที่ไม่มีคุณ พ่อคุณแม่น�ำเข้าเฝ้าถวายตัวแล้วจะให้มีญาติ ที่ไหนไปเยี่ยมได้อย่างไร ผมเองก็ไปไหนไม่ถูก ถ้าไม่ได้ออกไปเพราะตามเสด็จก็ไม่เคยโผล่ ออกนอกวัง ผมจึงจ�ำได้วา่ คุณยาย คุณป้าและ พีส่ าว เคยไปเยีย่ มผมทีโ่ รงเรียนมหาดเล็กหลวง ครั้งเดียวหรือสองครั้งเท่านัน้ ความจริงท่าน อยากไปเยี่ยมที่พระราชวังพญาไทเหมือนกัน แต่พบยาก คุณยาย คุณป้า และพีส่ าว ไปเยีย่ ม ครั้งแรกเอาขนมไปฝากที่โรงเรียน ผมก็บอกว่า โรงเรียนมีขนมรับประทานทุกมือ้ อยูแ่ ล้ว ผมจึง
66
พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นงั่ ดุสิตมหาปราสาท
ขอร้องให้เอาล�ำไยแห้งหรือลิน้ จีแ่ ห้ง ซึง่ สมัยนัน้ บรรจุกล่องมาจากเมืองจีนไปฝากผม ความจริง ก็ไม่ใช่ของรับประทานที่มีเนื้อมีหนังอิ่มหน�ำ อะไรหรอก แต่มันสนุกตรงที่ใครมีล�ำไยแห้งที่ มี “อีตัว” แข็งกว่ากัน ดังนัน้ เมื่อได้ล�ำไยแห้งที่ บ้านเอามาเยี่ยมแล้วก็เอาไปโขกกับเพื่อน ๆ ถ้า ของเราแข็งกว่าก็ได้ล�ำไยหรือลิ้นจี่ของเพื่อนที่ แพ้มากิน สนุกเหลือเกิน
ในหลวงเสด็จสวรรคต
ความสุขสบายของคนเรานัน้ อย่านึก ว่าจะจีรังยั่งยืนตลอดไป อยู่ ๆ ผมก็ประสบกับ เรือ่ งเศร้าทีส่ ดุ ในชีวติ เช้าวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ผมได้ทราบข่าวว่า “พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต” ที่เขาพูดกันว่า เหมือนร่มโพธิ์ร่มไทร หักสะบั้นนัน้ ยังน้อยไปส�ำหรับผม ผมมีความ รู้สึกว่าทั้งฟ้าทั้งแผ่นดินและโลกได้แตกสลาย ดับลงไปต่อหน้าผมเคว้งคว้าง ผมต้องออกจาก โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ผมเข้ามาอยูก่ บั สมเด็จ
พระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ อย่างไม่มีใครฝาก แล้วใครเล่าจะเป็นคนมารับผมออกไป เวลา นัน้ ถ้าผมสามารถได้ยินคุณยาย คุณป้าของผม ร�ำพัน ท่านคงจะพูดว่า “บัวมันหมดบุญแค่นนั้ เอง” ส�ำหรับผมนัน้ ผมคิดว่า
“เคยหมอบเฝ้าใกล้ชิดติดพระบาท พระทรงราชย์เป็นร่มเกล้าฯ เหล่าปักษา สิ้นแผ่นดินสิ้นเงาพระรามา ฝูงนกกาไร้ร่มก็ซมซาน” เวลานั้นผมไร้ที่พึ่ง ผมซมซานจริง ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสวรรคต ก็เหมือนวังแตก บรรดาคนทัง้ หลายทีเ่ คยได้รบั พระมหากรุณาธิคุณต่างก็หมดที่พึ่ง กระเซอะ กระเซิงยิ่งกว่าถูกไฟไหม้บ้าน ขณะนัน้ สมเด็จฯ ท่านก็คงจะก�ำลังทรงยุ่งกับเรื่องพระบรมศพ และเรื่องของพระองค์ท่านเอง ท่านคงจะทรง เศร้าโศกยิ่งกว่าผมหลายเท่านัก ไหนเลยท่าน จะมีเวลามานึกถึงผม ซึง่ ขณะนัน้ เปรียบเหมือน เมล็ดทรายเมล็ดหนึง่ ที่ไม่มีใครมองเห็นใครก็ ไม่ทราบพาผมไปอยู่กับท่านเจ้าพระยาสุธรรม มนตรี ท่านบิดาของสมเด็จฯ ที่บ้านประตูน�้ำ ภาษีเจริญโดยสมเด็จฯ มิได้เสด็จไปประทับอยู่
ด้วย ลาแล้ววังพญาไท ลาก่อนบ้านเล็กเรือน น้อยที่ผมรัก ก็อย่างที่เรียกว่า “วังแตก” นัน่ แหละครับ เหตุการณ์มันสับสนวุ่นวายไปหมด คุณสมบุญและคุณกมะลาที่รักและเคารพของ ผมหายไปไหนก็ไม่ทราบ ผมจะได้ไปถวาย บังคมพระบรมศพหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ผมออก จากพระราชวังพญาไทไปอย่างไรก็จ�ำไม่ได้ มี สมบัติอะไรติดตัวไปบ้างก็จำ� ไม่ได้ สิ้นแผ่นดิน จริง ๆ ซมซานจริง ๆ จะแปลกอะไร ถ้าผม เข้าวังอย่างคนตัวเปล่า ผมก็ควรที่จะออกจาก วังอย่างคนตัวเปล่า พระพรหมท่านโหดเหี้ยม เหลือเกินเที่ยวนี้
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 67
ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนการจัดท�ำอนุมานวสาร • โอวี รุ่น ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท • ก๊วนกอล์ฟโอวี ๔๓ ๑๐,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๗๙ ๒,๐๐๐ บาท • ศ.น.พ.อาวุธ ศรีศุกรี (โอวีเก๋ากึ้กส์) ๒,๐๐๐ บาท • ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ (รุ่น ๒๕) ๒,๐๐๐ บาท • อโนทัย สังคาลวณิช (รุ่น ๓๐) ๑,๐๐๐ บาท • จิรายุศ แสงสว่างวัฒนะ (รุน่ ๓๑) ๒,๐๐๐ บาท • จักรพันธุ์ โปษยกฤต (รุ่น ๓๓) ๓๐,๐๐๐ บาท • ด�ำรงพันธุ์ พูนวัตถุ (รุ่น ๓๓) ๕๐๐ บาท • พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ (รุ่น ๓๔) ๓๐,๐๐๐ บาท • สุพจน์ ศรีตระกูล (รุ่น ๓๕) ๑,๐๐๐ บาท • อดิศักดิ์ เหมอยู่ (รุ่น ๓๘) ๒๐,๐๐๐ บาท • จุลสิงห์ วสันตสิงห์ (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท • พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท
68
• อภิชัย สิทธิบุศย์ (รุ่น ๔๒) ๑,๐๐๐ บาท • เขมทัต อนิวรรตน์ (รุ่น ๔๓) ๕๐๐ บาท • พงษ์พินติ เดชะคุปต์ (รุ่น ๔๔) ๓,๐๐๐ บาท • ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๔๔) ๒,๐๐๐ บาท • คุณรัฐฎา บุนนาค (รุ่น ๔๔) ๕,๐๐๐ บาท • ศ.ดร.ทวิป กิตยาภรณ์ (รุ่น ๔๕) ๕,๐๐๐ บาท • คุรุจิต นาครทรรพ (รุ่น ๔๕) ๓,๐๐๐ บาท • พงษ์เทพ ผลอนันต์ (รุ่น ๔๕) ๕,๐๐๐ บาท • ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุน่ ๔๖) ๑๓,๐๐๐ บาท • นรศุภ นิติเกษตรสุนทร (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท • ปฎิภาณ ตันติวงศ์ (รุ่น ๔๖) ๒,๐๐๐ บาท • ธานี จูฑะพันธ์ (รุ่น ๔๗) ๕,๐๐๐ บาท • มนต์เทพ โปราณานนท์ (รุน่ ๔๙) ๕,๐๐๐ บาท • นพดล มิ่งวานิช (รุ่น ๕๐) ๑,๐๐๐ บาท • พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๑) ๑,๐๐๐ บาท • อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ (รุ่น ๕๑) ๕,๐๐๐ บาท
• สุวิช ล�่ำซ�ำ (รุ่น ๕๑) และ น.พ.ชนินทร์ ล�่ำซ�ำ (รุ่น ๕๒) ๒,๐๐๐ บาท • บัญชา ลือเสียงดัง (รุ่น ๕๒) ๕๐๐ บาท • วิเชฐ ตันติวานิช (รุ่น ๕๒) ๒,๐๐๐ บาท • ทินนาถ กิตยาภรณ์ (รุ่น ๕๓) ๑,๐๐๐ บาท • ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) ๑,๐๐๐ บาท • ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ (รุ่น ๕๕) ๒,๐๐๐ บาท • ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๖) ๑,๐๐๐ บาท • อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท • อนุวัตร วนรักษ์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท • คมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) ๒,๐๐๐ บาท • ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) ๕,๐๐๐บาท • วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐) ๑,๐๐๐ บาท • กมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) ๕,๐๐๐ บาท • โกมุท มณีฉาย (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • เจษฎา บ�ำรุงกิจ (รุ่น ๖๖) ๑,๐๐๐ บาท • สถิร ตั้งมโนเพียรชัย (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท
• อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท • ธัชกร พัทธวิภาส (พจนะ พันธุ์เพ็ง) (รุ่น ๗๕) ๑,๐๐๐ บาท • ภวัตพงศ์ เทวกุล ณ อยุธยา (รุ่น ๗๙) ๕๐๐ บาท • ธนทัต อนิวรรตน์ (รุ่น ๘๐) ๕๐๐ บาท • รชต ชื่นชอบ (รุ่น ๘๑) ๑,๐๐๐ บาท • สมพร ไม้สุวรรณกุล (ผู้ปกครอง) ๒๐๐ บาท
เรานักเรียนมหาดเล็กเด็กในหลวง สนองเบื้องพระยุคลบาท
ขึ้นเหนือล่องใต้ เคยมี โ อกาสได้ รั บ สนองเบื้ อ ง พระยุคลบาทในการท�ำงานเกีย่ วกับ การพัฒนาในโครงการต่างๆ ทีเ่ รียกว่า โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ วั น หนึ่ ง ผมไปจั ง หวั ด เชี ย งรายเพื่ อ ประสานงานในเรื่องที่เกี่ยวกับโครงการดอยตุง ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พอ ท�ำงานเสร็จก็พักแรมอยู่ในโครงการ ๑ คืน เช้าวันรุง่ ขึน้ ก็จะกลับกรุงเทพฯ เพือ่ ต่อเครือ่ งบิน ไปตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ ทรงงานอยู่จังหวัดนราธิวาส เช้าวันนั้นหลังจากรับประทานอาหาร เช้าอย่างเอร็ดอร่อยที่คุณชาย ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระ ศรีนครินทราบรมราชชนนี กรุณาจัดมาให้บน ดอยตุงท่ามกลางอากาศอันสดใสแล้ว คุณชายก็ เอ่ยถามพวกเราว่าจะไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยูห่ วั ฯ ทีน่ ราธิวาสเย็นนีใ้ ช่ไหม ว่าแล้ว ก็บอกว่าสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี จะฝากดอกไม้ ที่ ป ลู ก บนดอยตุ ง ไปถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วย พวกเราก็ รับดอกไม้นนั้ ไปสนามบินเชียงรายด้วย พวกเรา ในที่นี้ห มายรวมถึง ดร.สุ เมธ ตันติเวชกุ ล รุ่น ๓๐ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะในครั้งนีด้ ้วย สัมภาระทุกชิน้ ของผูโ้ ดยสารจ�ำเป็นต้อง เข้าเครื่องตรวจเอ็กซเรย์ และดอกไม้ดังกล่าวนี้ ซึง่ บรรจุอยูใ่ นกล่องกระดาษกว้างประมาณ ๑๕ นิ้ว หนาประมาณ ๖ นิ้ว ยาวประมาณ ๑ เมตร ก็ถูกส่งล�ำเลียงเข้าเครื่องเอ็กซเรย์ด้วยเช่นกัน ในบั ด ดล ก็ มี เ สี ย งเจ้ า หน้ า ที่ ส าวที่ ควบคุมเครื่องเอ็กซเรย์พูดขึ้นมาด้วยน�้ำเสียง อันดังปนสงสัยว่า “อะไรกันนี่ ท�ำไมกล่องนี้ ไม่ Load ไปกับเครื่องจะหิ้วขึ้นเครื่องได้ยังไง” พลั น เธอเหลื อ บไปเห็ นกระดาษที่ ติ ด อยู ่ บ น กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 69
กล่องก็เลยท�ำให้เธอวิ่งหายเข้าไปใน Off ice (คงจะให้ใครสักคนมาช่วยเธอตัดสินใจว่าจะ ท�ำยังไงดี) เพราะกล่องนี้มีกระดาษกาวติดไว้ โดยเขียนข้อความว่า “สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีฝากถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ” เจ้าหน้าที่การบินไทยซุบซิบอะไรกัน อยู่ครู่หนึ่ง ก็มาอัญเชิญดอกไม้และพวกเรา ไปนั่งห้องวีไอพี พอถึงเวลาขึ้นเครื่องบินเขา ก็อัญเชิญดอกไม้ขึ้นไปวางบนที่นงั่ แถวหน้าสุด โดยวางพาดไว้บนเก้าอี้สองตัว ส่วนพวกเรานัง่ เฝ้าดอกไม้อยู่แถวๆ นัน้ นัน่ แหละ ครั้นเครื่องบินมาถึงดอนเมือง ก็มีรถ วีไอพีวิ่งมา ๑ คัน เพื่อรับดอกไม้นี้โดยเฉพาะ พวกเราเลยได้อาศัยบารมีของดอกไม้นั่งรถ วีไอพีไปด้วย นัง่ พักอยู่ที่ดอนเมืองพักใหญ่ๆ ก็เดิน ทางต่อไปหาดใหญ่ เพือ่ นัง่ รถต่อไปยังนราธิวาส ส่วนดอกไม้นนั้ พวกเราหายห่วงเพราะทางการ บิ น ไทยดู แ ลให้ เป็ น อย่ า งดี จ นถึ ง สนามบิ น หาดใหญ่ หลังจากนัน้ เราก็เชิญขึ้นรถต่อไปยัง นราธิวาส ถ้าจ�ำไม่ผิดเครื่องบินไปถึงหาดใหญ่ ประมาณบ่ายโมงและเราต้องนัง่ รถไปนราธิวาส อีกประมาณ ๒ ชัง่ โมงกว่า ก็ใกล้เวลาทีพ่ ระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะเสด็จฯ ออกทรงงาน พอดี และเพื่อไม่ให้เสียเวลา ขณะที่รถวิ่งไปเรา ก็เปลีย่ นเสือ้ ผ้ากันไปซึง่ ต่างคนต่างก็ขลุกขลักๆ อยู่ในรถ ทั้งนีก้ ็เพื่อให้พร้อมในการตามเสด็จฯ
70
ได้ทันที
จนกระทั่งมาถึงนราธิวาสและโชคเข้า ข้างเราพอดีเหมือนกันที่รถเราสามารถวิ่งมาต่อ ขบวนเสด็จฯ ได้พอดิบพอดี และดร.สุเมธฯ ก็ อัญเชิญดอกไม้นนั้ ไปถวาย ณ ทีป่ ระทับทรงงาน วันนัน้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ ที่บ้านโคกกูแว ต�ำบลพร่อน อ�ำเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งโครงการโคกกูแวนี้ เป็นโครงการที่พระองค์ท่านได้มีพระราชด�ำริ ที่จะให้มีการบริหารจัดการน�้ำให้เป็นประโยชน์ แก่ประชาชนมากที่สุด กล่าวคือการน�ำน�้ำจืด ในคลองหนึ่งไปผลักดันน�้ำเค็มที่จะบุกรุกเข้า มาในแม่น�้ำล�ำคลองอื่น จนราษฎรไม่สามารถ จะประกอบอาชีพได้ตลอดจนส่งน�้ำจืดเข้าไป ในพื้นที่เกษตรกรรมให้แก่หมู่บ้านต่างๆ หลาย หมู่บ้าน พระองค์ ท รงงานอยู ่ จ นค�่ ำ มื ด ค่ อ น ข้างดึกจึงได้เสด็จฯ กลับ และต่อมาโครงการ โคกกูแวนีก้ ็ได้ยังผลให้ประชาชนในละแวกนัน้ สามารถประกอบอาชีพลืมตาอ้าปากได้อย่างมี ความสุขจนทุกวันนี้ ระหว่างที่ผมก�ำลังทานอาหารเย็นอยู่ ในโครงการที่อยู่ชายแดนใต้สุดของไทย ก็คิด อยู่ในใจว่าเมื่อตอนเช้ายังทานอาหารเช้าอยู่ที่ เชียงรายอยู่เลย พอตกบ่ายก็มาทานข้าวเที่ยง บนเครือ่ งบินเหนืออ่าวไทย และตกเย็นก็ไปทาน อาหารค�ำ่ ทีน่ ราธิวาส คืนนัน้ ผมนอนทีน่ ราธิวาส พอตื่นเช้ามายังงงอยู่เลยว่าผมอยู่ที่ไหนกันแน่ พิมลศักดิ์ สุวรรณทัต (รุ่น ๓๓)
การแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริ โสภาพัณณวดี
พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย
เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขอเชิญชม นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ การขับร้องและร�ำถวายพระพร และตื่นตาตื่นใจกับการแสดงดนตรีของ นักดนตรี นักร้อง และนักแสดงมากกว่า ๕๐๐ คน อาทิ วงหัสดนตรี วงจุลดุริยางค์ วงโยธวาทิต วงปี่สก๊อต วงดนตรีไทย วงเมโลดิก้า วงเครื่องสายสากลเด็กเล็ก และวงโยธวาทิตเด็กเล็ก
วันเสาร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ บริเวณสนามหน้าตึกวชิรมงกุฎ
ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี พระอุปถัมภิกางานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
(สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานพระกรุณารับงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปีไว้ในพระอุปถัมภ์)
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 73
ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
เล่าขานงาน ๑๐๐ ปี กล้งาน ๑๐๐ ปีโรงเรียนเข้ามาทุกที แต่ จากการที่ท่านเลขาธิการคณะกรรมการ อ�ำนวยการจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ซึ่ง ก็คือท่านผู้บังคับการ ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ และท่านนายกสมาคมนักเรียนเก่าฯ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี ่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ โอวีหลายท่าน และมีเสียงตอบรับ ตรงกันว่า ยังไม่ทราบเลยว่า ๑๐๐ ปีโรงเรียน คราวนีจ้ ะมีอะไรบ้าง ท่านเลขาธิการใหญ่ทงั้ สอง จึงได้มอบหมายให้อนุมานวสารเป็นสื่อกลาง รวบรวมข่าวสารการเตรียมงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี มาเรียนให้สมาชิกได้รบั ทราบเป็นล�ำดับต่อไป ข่าวส�ำคัญข่าวแรกทีข่ อรายงานให้ทราบ คือสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน ราชสุดา สิร ิ โสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณารับ การจัดงาน “วชิราวุธ ๑๐๐ ปี” ไว้ในพระอุปถัมภ์ นั บ เป็ น พระกรุ ณาธิ คุ ณ แก่ ค ณะกรรมการ จัดงานตลอดจนนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย และผู้เกี่ยวข้องทุกคน การจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ได้เริ่มขึ้น อย่างเป็นทางการแล้วเมือ่ เช้าวันที่ ๑๖ มิถนุ ายน ๒๕๕๒ โดยพระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้า พราหมณ์ประจ�ำพระราชส�ำนักได้กรุณารับเป็น
74
เจ้าพิธีอ่านโองการบวงสรวงสังเวยพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ มณฑลพิธี หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ ด้านหน้าหอประชุม เสร็จแล้ว ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธาน อ�ำนวยการจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ได้กล่าว ถวายราชสดุดี แล้วคุณเชือ้ พร รังควร (รุน่ ๕๘) ผู้ช่วยผู้บริหารงานในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี อัญเชิญพานพุ่มของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ วางที่หน้าพระบรมรูปเป็นปฐม ต่อด้วยท่าน นายกกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย คุณกุศะ ปันยารชุน (รุ่น ๘) ผู้อาวุโสสูงสุด วางพานพุ่มในนามคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ต่ อ ด้ ว ยท่ า นประธานจั ด งานฯ ดร.สุ เ มธ ตันติเวชกุล ท่านผูบ้ งั คับการ ท่านนายกสมาคมฯ ผู้แทนครู ผู้แทนพนักงาน และผู้แทนนักเรียน ทั้ง ๙ คณะ (เด็กโต ๖ คณะ เด็กเล็ก ๓ คณะ) เสร็จพิธีแล้วนักเรียนแยกย้ายกันกลับ คณะ ส่วนนักเรียนเก่าฯ ที่มาร่วมงานต่างก็ได้ รับประทานอาหารเช้าที่ทางโรงเรียนจัดไว้ให้ มี ข้าวต้มหมู ขนมครกที่แคะกันร้อน พร้อมด้วย น�้ำชากาแฟ แต่ที่ดูจะผิดหวังมากที่สุดเห็นจะ เป็นข้าวต้มหมูที่ไม่มีกลิ่นอายของข้าวต้มแผ่น
ที่เคยเป็นอาหารหลักของบรรดาโอวีรุ่นเก่า ๆ หลงเหลืออยูเ่ ลย ถึงกับมีผอู้ าวุโสบางท่านเปรย ขึน้ มาว่า “ข้าวต้มวันนีข้ าดมาตรฐาน ข้าวไม่เป็น แผ่น แถมตักไปยังเจอแต่เนื้อหมูเป็นก้อน ๆ ไม่มีวิญญาณหมูเหมือนเมื่อก่อนเลย” เรื่องข้าวต้มไม่ได้มาตรฐานนี้ ท่าน ผู้บังคับการ ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ (รุ่น ๔๐) ได้ฝากชี้แจงมาว่า อยากจะจัดให้ตามความ ต้องการของพี่ ๆ น้อง ๆ เหมือนกัน แต่แม่ครัว ยุคนั้นล้มหายตายจากไปหมดแล้ว และคน รุ่นปัจจุบันก็ไม่ได้สืบทอดวิทยายุทธ “ข้าวต้ม แผ่น” ไว้ เลยจนปัญญาจริง ๆ รับประทานอาหารเช้ากันอิม่ หน�ำแล้ว ก็ เป็นรายการน�ำชมศิลปวัตถุล�้ำค่าของโรงเรียน ก่อนที่จะจัดให้ผู้สื่อข่าวได้ชมกันในวันรุ่งขึ้น แล้ ว ก็ แ ยกย้ า ยกั น กลั บ โดยมี สู จิ บั ต รพิ ธี บวงสรวง ซึ่งจัดพิมพ์มาด้วยจ�ำนวนจ�ำกัดตาม นโยบายของท่านประธานฝ่ายกิจกรรมสุรเดช บุณยวัฒน (รุ่น ๔๑) ที่ว่า “ของดีต้องมีจำ� กัด” เสร็จ จากงานแล้ ว ดู เหมือ นจะมีเหลืออยู่อีก นิดหน่อย ท่านที่อยากจะคงต้องไปขอรับจาก ท่านผู้บังคับการกันเอาเอง รุ่งขึ้นวันที่ ๑๗ มิถุนายน เวลาบ่าย สองโมงมีการแถลงข่าวการจัดงาน ๑๐๐ ปี บนหอประชุม งานนีไ้ ด้รบั ความอนุเคราะห์จาก ดร.สมภพ เจริญกุล (รุ่น ๔๐) และทีมงานฯ
จากบริษัท ล็อกซเล่ย์ จ�ำกัดรับเป็นแม่งาน มี ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที (รุ่น ๓๙) ประธาน ฝ่ายจัดนิทรรศการงาน ๑๐๐ ปี เป็นแม่งาน จั ด เตรี ย มสถานที่ โดยมี น ้ อ งเล็ ก ชนะพล “จูเนียร์” โยธีพิทักษ์ ร่วมเป็นออร์แกไนเซอร์ ส่วนวิดที ศั น์เฉลิมพระเกียรติทนี่ ำ� เปิดก่อนการ แถลงข่าวนัน้ เป็นผลงานของ “นายอู๋” ธนากร โปษยานนท์ (รุน่ ๖๒) ร่วมกับ “นายบ่น” อนุชติ จุรีเกษ (รุ่น ๕๐) โดยมี “พี่ตุ๋ย”คณิต คุณา วุฒิ (รุ่น ๔๐) ทายาท “อาจือ” วิจิตร คุณาวุฒิ (รุ่น ๑๓) อ�ำนวยความสะดวกและท�ำหน้าที่ ก�ำกับการตัดต่อส�ำเร็จเป็นวิดีทัศน์ความยาว ๑๒ นาที ส�ำหรับรายละเอียดในการแถลง ข่าวขออนุญาตไม่กล่าวถึง เพราะมีสื่อมวลชน ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นมือ อาชีพน�ำเสนอกันไปแล้ว ในโอกาสนี้จ ะกล่ า วถึ ง แต่ เบื้ อ งหลั ง การจัดท�ำวิดีทัศน์เฉลิมพระเกียรติสักหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่เพิ่งคิดขึ้นในการประชุมฝ่าย ประชาสัมพันธ์เมือ่ เย็นวันที่ ๒ มิถนุ ายน และที่ ประชุมได้มมี ติมอบหมายให้ “พีแ่ ดง” ฉัตรวิชยั พรหมทัตตเวที ประธานฝ่ายนิทรรศการเป็น แม่งานจัดท�ำวิดีทัศน์ชุดนี้ ทันทีที่เลิกประชุม กรรมการชุดใหญ่ พี่แดงก็เรียกประชุมคณะ ท�ำ งานและแบ่ ง งานกัน ไปท� ำ โดย “พี่แดง”, “จูเนียร์” และผมรับหน้าที่จัดท�ำบทวิดีทัศน์ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 75
ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี กับจัดหาภาพประกอบ “พี่ตุ๋ย” และ “นายอู๋” พระเอกรูปงามรับหน้าที่ตัดต่อและบันทึกภาพ และเสียง โดยมี “นายบ่น” อนุชิต จุรีเกษ รับ หน้าทีผ่ บู้ รรยาย งานทัง้ หมดนีแ้ ล้วเสร็จภายใน เวลาเพียง ๑๔ วัน ซึ่งหากมิใช่เพราะส�ำนึกแห่ง ความจงรักภักดีและความกตัญญูทถี่ กู บ่มเพาะ มาจากโรงเรียนแต่เยาว์วัยแล้ว ก็คงยากที่จะ
ท�ำให้สำ� เร็จได้ในเวลาอันจ�ำกัดเยีย่ งนี้ ยิง่ มีเสียง ตอบรับจากผูส้ อื่ ข่าวทีไ่ ด้ชมวิดที ศั น์ชดุ นีว้ า่ เพิง่ จะได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่ทรงท�ำไว้หลายเรื่องก็คราวนี้ ส� ำ หรั บ กิ จ กรรมอื่ น ๆ ซึ่ ง อยู ่ ในขั้ น การเตรียมการกันนัน้ พอจะสรุปมาเป็นตาราง ให้ได้ทราบกันดังนี้
ตารางกิจกรรม งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี กิจกรรม
ก�ำหนดเวลา
กิจกรรมบรรยายและเสวนา ปาฐกถาอนุมานวสาร ครั้งที่ ๓ เรื่อง “Esprit de Corps” คุณธรรม ๑๕ ส.ค. ๒๕๕๒ ของหมู่คณะ รู้สละได้เพื่อส่วนรวม โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เวลา ๑๕.๐๐ น. การจัดเสวนาวิชาการ ศตวรรษามหาธีรราชานุสรณ์ (รวม ๗ เรื่อง) มกราคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๓ การจัดนิทรรศการพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจกรรมการจัดท�ำหนังสือ การจัดท�ำหนังสือศิลปสถาปัตยกรรมในวชิราวุธวิทยาลัย สิงหาคม ๒๕๕๓ การจัดท�ำหนังสือที่ระลึกของโรงเรียน มิถุนายน ๒๕๕๓ กิจกรรมการจัดการแข่งขัน การจัดการแข่งม้า ณ สนามราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ การจัดการแข่งม้า ณ สนามราชกรีฑาสโมสรฯ การจัดการแข่งขันกีฬา ๑๐๐ ปี มกราคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๓
76
กิจกรรม
ก�ำหนดเวลา
กิจกรรมหารายได้ การหารายได้ (เงินบริจาค) การจัดท�ำแสตมป์ที่ระลึก วชิราวุธ ๑๐๐ ปี การจัดท�ำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก วชิราวุธ ๑๐๐ ปี การจัดท�ำของที่ระลึก การจัดดินเนอร์ทอล์ก กิจกรรมการแสดง การแสดงละครพระราชนิพนธ์ เรื่อง “หลวงจ�ำเนียรเดินทาง” แสดงที่วชิราวุธวิทยาลัย แสดงที่หอวชิราวุธานุสรณ์ แสดงในงาน วชิราวุธ ๑๐๐ ปี การจัดแสดงคอนเสิร์ตวชิราวุธ ๑๐๐ ปี การจัดแสดงรถโบราณ การจัดประกวดนางสาวไทย กิจกรรมประชาสัมพันธ์ การจัดท�ำเว็บไซต์ www.vajiravudh100.com
๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ธันวาคม ๒๕๕๒
๒๘ - ๓๑ มกราคม ๒๕๕๓ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
การจัดท�ำสารคดี “พระมหาธีรราชเจ้า” เผยแพร่ทางไทยพีบีเอส (ITV เดิม)
กันยายน ๒๕๕๒ – ธันวาคม ๒๕๕๓ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๓
อนุมานวสารฉบับนีค้ งมีข่าวงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี มารายงานให้ทราบแต่เพียงเท่านีก้ ่อน พบกันใหม่ฉบับหน้าครับ วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖/๖๓)
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 77
Century of Pride
Century of Pride
ติดตรา ไปรษณียากร ชื่อและที่อยู่ผู้ฝาก
ชื่อและที่อยู่ผู้รับ
ชื่อ ....................................... รุ่น ......... ชื่อสกุล ................................................ ที่อยู่ .................................................... ซอย .................................... หมู่ที่ ...... ถนน .................................................... แขวง/ต�ำบล .......................................... เขต/อ�ำเภอ ........................................... จังหวัด ................................................. รหัสไปรษณีย์ .......................................
รหัสไปรษณีย์
ตู้ ปณ. ๗๔
ปณจ. ราชด�ำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพฯ
1 0 2 0 0
ติดตรา ไปรษณียากร ชื่อและที่อยู่ผู้ฝาก
ชื่อและที่อยู่ผู้รับ
ชื่อ ....................................... รุ่น ......... ชื่อสกุล ................................................ ที่อยู่ .................................................... ซอย .................................... หมู่ที่ ...... ถนน .................................................... แขวง/ต�ำบล .......................................... เขต/อ�ำเภอ ........................................... จังหวัด ................................................. รหัสไปรษณีย์ .......................................
รหัสไปรษณีย์
ตู้ ปณ. ๗๔
ปณจ. ราชด�ำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพฯ
1 0 2 0 0
ตามคำเรียกรอง
สนับสนุนอนุมานวสาร ตั้งแต ๕๐๐ บาทขึ้นไป รับเสื้อ
all gentlemen can learn
สำหรับกำลังใจที่มีใหทีมงาน ฯ
ตามคำเรียกรอง
สนับสนุนอนุมานวสาร ตั้งแต ๕๐๐ บาทขึ้นไป รับเสื้อ
all gentlemen can learn
สำหรับกำลังใจที่มีใหทีมงาน ฯ
กรุณากรอกรายละเอียดและส่งกลับสมาคมฯ
ชือ่ ...................................... นามสกุล .................................................................. รุน่ ............... ที่อยู่ ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................................... โทรศัพท์ ..................................... อีเมล์ ............................................................................... ประสงค์จะสนับสนุนอนุมานวสารเป็นจ�ำนวน ....................................... บาท โดยสนับสนุนเป็น เงินสด เช็คสั่งจ่าย สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ โอนเงินทีบ่ ญ ั ชีธนาคารกสิกรไทย เลขที่ ๐๒๐-๒-๕๑๘๕๔-๐ และแฟกซ์ใบโอนเงินมาที่ ๐๒-๖๖๙-๓๕๑๘ ติดต่อ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) ๐๘๑-๗๕๕-๖๙๙๙ วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐) ๐๘๔-๖๔๖-๔๔๖๖ อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ๐๘๙-๑๒๑-๑๑๒๐ กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) ๐๘๑-๓๔๔-๔๒๗๓ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) ๐๘๗-๙๗๕-๓๖๙๗
สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒-๖๖๙-๓๕๑๘ กรุณากรอกรายละเอียดและส่งกลับสมาคมฯ
ชือ่ ...................................... นามสกุล .................................................................. รุน่ ............... ที่อยู่ ...................................................................................................................................... ............................................................................................................................................... โทรศัพท์ ..................................... อีเมล์ ............................................................................... ประสงค์จะสนับสนุนอนุมานวสารเป็นจ�ำนวน ....................................... บาท โดยสนับสนุนเป็น เงินสด เช็คสั่งจ่าย สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ โอนเงินทีบ่ ญ ั ชีธนาคารกสิกรไทย เลขที่ ๐๒๐-๒-๕๑๘๕๔-๐ และแฟกซ์ใบโอนเงินมาที่ ๐๒-๖๖๙-๓๕๑๘ ติดต่อ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) ๐๘๑-๗๕๕-๖๙๙๙ วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐) ๐๘๔-๖๔๖-๔๔๖๖ อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ๐๘๙-๑๒๑-๑๑๒๐ กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) ๐๘๑-๓๔๔-๔๒๗๓ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) ๐๘๗-๙๗๕-๓๖๙๗
สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒-๖๖๙-๓๕๑๘
ลอดรั้วพู่ระหงส์ เรื่องเล่าจากคนใกล้ ชิด
He ain’t heavy, he’s my
brother เป็นข่าวลือหรืออย่างไรหนอที่เขาว่ากันว่านักเรียนวชิราวุธฯ นี่ รักกันเหมือนพีเ่ หมือนน้องมากกว่าจะเป็นเพียงเพื่อนร่วมโรงเรียน ธรรมดาเฉกเช่นโรงเรียนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเคยอยู่ร่วมกันมา เคยเพียงเห็นหน้ากันมา หรือไม่เคยแม้จะทัน เห็นหน้ากัน แต่หากรู้ว่าเป็นลูกวชิราวุธฯ แล้วไซร้ ความเป็นพี่เป็นน้องก็ดู เหมือนจะบังเกิดขึ้นในบัดดล เหมือนมีสายใยที่มองไม่เห็นโยงเข้าไว้ด้วยกันโดย อัตโนมัติ อาจจะเป็นเพราะเขาเหล่านัน้ ใช้ชีวิตแบบกินด้วยกัน นอนด้วยกัน เรียน ด้วยกัน ท�ำผิดถูกมาด้วยกัน โอวีที่เติบโตมาด้วยกัน ส่วนใหญ่จึงรักกันเหลือ แสน ไม่ว่าจะรวยหรือจน แข็งแกร่งหรืออ่อนแอ ล�้ำหน้าหรือล้าหลัง ไม่มีอะไร ท�ำให้พวกเขารู้สึกแปลกแยกจากกันได้ แม้แต่อุปสรรคทางร่างกาย เมื่อวันที่เราจัด All gentlemen can learn ครั้งที่ ๒ ที่บริษัท Siam Administrative Management (Samco) นัน้ มีศิษย์เก่ารุ่นต่าง ๆ มาร่วม งานกันมากมายพอควร ทั้งรุ่นเดอะและรุ่นเด็ก แต่ที่สะดุดตาผู้เขียนคือหนุ่ม โอวีผิวขาวหน้าตาสะอาดสะอ้านคนหนึง่ ที่นงั่ อยู่บนเก้าอี้รถเข็น หนุ่มนี้รื่นเริง
80
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 81
พูดจากับใครต่อใครด้วยความสนุกสนาน แถมมีคารมอันคมคาย ด้วยโปรแกรมที่จัดไว้ไม่ได้มีเฉพาะ การฟังปาฐกถาโดยองค์ปาฐกเท่านัน้ หากแต่มี การเดินชมสถานที่ซึ่งเป็นการเรียนรู้อีกอย่าง หนึง่ ท�ำให้ผู้เขียนห่วงใยอยู่ครามครันว่า “เขา” บนเก้าอี้ตัวนัน้ จะร่วมวงชมสถานที่กับผู้อื่นได้ อย่างไร ในที่สุดก็ปลงใจคิดว่าเขาคงมีโอกาส ฟังเพียงปาฐกถา.... จริง ๆ แล้ววชิราวุธวิทยาลัยเปิด โอกาสให้มีนกั เรียนพิเศษเช่นนี้มาทุกยุคทุก สมัยโดยไม่มีการแบ่งแยก อย่างที่เขาเรียกว่า ให้โอกาสโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ดูอย่างพี่เป๋ผู้เป็นที่จดจ�ำได้ของรุ่น ราว ๆ ๓๐ กว่า ๆ นัน่ ปะไร ฟังมาว่าพี่เป๋เป็นนักเรียนในพระบรม ราชินูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และอาศัยอยู่ในวังสวนจิตรฯ ของพระองค์ท่าน
82
เมื่อได้ยินใครสักคนที่รุ่นราวคราวเดียวกันพูด ถึงพี่เป๋ นอกจากสมญานามที่เรียกพี่เขาแล้ว คงไม่มีใครนึกว่าพี่เป๋เป็นโปลิโอและเดินได้ ล�ำบากยากยิ่ง เนื่องจากส�ำเนียงที่พูดถึงนัน้ เต็มไปด้วยความรัก ชื่นชม ห่วงใย ระคน หมั่นไส้ที่ในพฤติกรรมที่พี่เป๋เล็ดลอดโรงเรียน ไปเที่ยวได้ถึงขั้นที่เรียกว่า “เซียน” หรืออย่างพี่หล�ำผู้มีอาการเดียวกับ พี่เป๋ ที่รุ่น ๔๐ กว่า ๆ กล่าวขวัญถึงความเป็น นักฟุตบอลตัวยง ที่สามารถวิ่งเลี้ยวลดอย่าง ช�ำนาญ และเตะบอลด้วยขา “ข้างนัน้ ” ได้ อย่างแรงเป็นพิเศษ ไม่มีค�ำดูถูกหรือส�ำเนียงดูแคลนใน ความบกพร่องของเพื่อน มีแต่น�้ำเสียงของ ความรักและความทรงจ�ำที่ดีเมื่อเอ่ยถึง หรือ เป็นเพราะโรงเรียนนี้ได้สอนให้มีการยอมรับ ข้อดีของปัจเจกบุคคลและการอยู่ร่วมกันอย่าง เท่าเทียม โอวีเหล่านีจ้ ึงได้ “มองข้าม” สิ่งที่
คนอื่นอาจเรียกว่า ข้อด้อย แต่เลือกที่จะดู ข้อเด่น ของเขาเหล่านัน้ บริษัทแซมโก้นนั้ กว้างใหญ่เพราะสร้าง ในแนวราบ ประกอบด้วยตึกสองชั้นออกแบบ ให้อยู่เป็นหมวดหมู่แต่สามารถเดินถึงกันโดย ทางเชื่อม ด้วยความที่มีเพียงสองชั้นนี้เองจึง ไม่มีลิฟท์เพื่อทุ่นแรง การจะดูให้ถ้วนทั่วต้อง อาศัยการขึ้นลงบันได ซึ่งแม้แต่คนที่สุขภาพ แข็งแรงก็ยังรู้สึกแหยง ๆ เวลาแห่งการเยี่ยมชมใกล้เข้ามาทุกที ท่ามกลางความวุ่นวาย ผู้คนเดินขวักไขว่กัน อย่างโกลาหล เสียงทักทายด้วยความยินดี หนาหูจนฟังไม่ได้ศัพท์ ความนึกคิดของ ผู้เขียนกลับย่อลงจนเหลือขนาดเท่าเลนส์ กล้องถ่ายรูป จับจ้อง “น้องคนนัน้ ” อย่างใจ จดใจจ่อว่าเขาจะท�ำเช่นไร คงนัง่ หงอย ๆ คอย เพื่อนจนกว่าผู้คนจะกลับมา จะมีใครอยู่เป็น เพื่อนเขาบ้างไหม ฯลฯ ความคิดช่าง กระเจิดกระเจิงไปไกล ณ ห้องโถงกลาง เมื่อการบรรยาย คร่าว ๆ เกี่ยวกับบริษัทฯ จบลง จุดแรก แห่งการทัศนศึกษาจึงเริ่มด้วยการขึ้นบันไดที่ ใคร ๆ ว่าเหมือนดังตึกขาวทอดยาวไปสู่ชั้นบน ผู้เขียนก้มหน้าลง... แล้วถอนใจ และในพริบตา โดยปราศจากความ ลังเลและโดยมิได้ซักซ้อมนัดหมาย บรรดา ผองเพื่อนที่รายล้อมหนุ่มน้อยคนพิเศษผู้นนั้ ได้ท�ำหน้าที่คนละไม้คนละมือ ช่วยกันยก ประคับประคอง แบกขึ้นบ่าราวกับเป็นเรื่อง
ธรรมดา ราวกับเคยท�ำสิ่งนัน้ อย่างสม�ำ่ เสมอ ราวกับคุ้นชินกับการปฏิบัติเช่นนี้มานานแสน นาน ตลอดทางสายยาวที่รายล้อมบริษัทฯ หนุ่มน้อยได้เห็นทุกซอกทุกมุมที่เพื่อนเห็น ขึ้นแล้วลง ลงแล้วขึ้น ชมกิจการผ่าน กระบวนการเรียนรู้อีกขั้นตอน จนมาจบตรง ทางเดินที่วงล้อรถเข็นค่อย ๆ หมุนเพื่อน�ำเขา เข้าสู่ห้องโถงใหญ่อีกครั้ง ท่ามกลางเสียง ปี่สก็อตอันกระหึ่ม รายล้อมด้วยเพื่อน พี่ และน้อง ซึ่งไม่เคยทอดทิ้งหรือห่างไปไกล งานปาฐกถาโดยองค์ปาฐกพี่โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ก�ำลังจะเริ่มขึ้น แต่สำ� หรับ ผู้เขียนนัน้ อยากจะให้ใคร ๆ รู้เหลือเกินว่า “ออล เจนเทิลเมน แคน เลอร์น” ได้เริ่มขึ้น ก่อนหน้านัน้ แล้ว เริ่มขึ้นตั้งแต่สายตาได้เห็น ภาพแห่งความห่วงใยความเอื้ออาทร ได้เห็น ภาพของผองเพื่อนที่ช่วยกันยกรถเข็น และ แบกเขาขึ้นบนบ่าทั้งสองราวกับไร้นำ�้ หนัก ในบัดนัน้ พร้อม ๆ กับความรู้สึกที่เต็มตื้น พลันได้ยินเสียงคล้ายกับเพลงอมตะของ The Hollies ดังแว่วมาจากไกลแสนไกล But I’m strong… strong enough to carry him… He ain’t heavy… he’s my brother. อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 83
ห้องสมุด
ส�ำนักพิมพ์ ศรีปัญญา จ�ำนวน ๒๕๖ หน้า ราคา ๒๐๐ บาท
84
เรือ่ งราวของผู้รักการปั่นเป็นชีวติ จิตใจ ที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านตัวอักษรออก มาเป็ น หนัง สื อ “เสื อ ฯ ไต่ ร ะห�่ ำ ...เส้ นทาง หฤโหด” เป็นบันทึกการเดินทางท่องเทีย่ วไปกับ จักรยานคู่ชีพ ทั้งยังสอดแทรกความเป็นอยู่ และชีวติ ของผู้คนทีห่ ลากหลายทีไ่ ด้พบเจอ ทัง้ รูปแบบการด�ำรงชีวิต วัฒนธรรม รวมไปถึง พื้นฐานทางด้านจิตใจ เทพย์-สิทธานี (พี่ฆ้อง) หนุ่มจากเมือง จันทบุรผี เู้ คยฝันอยากจะขีจ่ กั รยานรอบโลก วัน นี้ “เขา” ได้เดินตามความฝันทีละย่างก้าวไป พร้อมกับเสือภูเขาคู่ใจ เริ่มการเดินทางโดยไม่ ได้รู้เรื่องเสือภูเขามากนัก แต่อย่างไรก็ตามเขา ก็ได้เรียนรู้สิ่งเหล่านีจ้ ากประสบการณ์และจาก ค�ำแนะน�ำของเพื่อนผู้ที่มีความฝันคล้ายๆ กัน การเดินทางไกลข้ามน�้ำข้ามแผ่นดินถึง ๔ ประเทศด้วยสองล้อกับหนึง่ แรงถีบ ผ่าน ทิวทรรศน์ที่งดงามตามธรรมชาติ เทือกเขา ล�ำธาร ท้องทุง่ ตลอดจนท้องนาทีด่ เู หลืองอร่าม สุดลูกหูลูกตา
อึ้ด อึ้ด อึ้ดๆๆๆ...ทีละหน้า ทีละภาพ ทีละบท ทีละตอน ของบันทึกเล่มนี้เป็นการ ถ่ายทอดระหว่าง “คน” กับ “เสือฯ” จากไทย ไปจีน ผ่านลาว และปิดท้ายที่เวียดนาม “กว่า ๒๔ วันของการเดินทาง” “กว่าระยะทาง ๑,๕๐๐ กิโลเมตร” อะไรที่ท�ำให้หนุ่มเหลือน้อยผู้นี้ผ่านมา ได้? พลังกาย พลังใจ พลังความกล้าบ้าบิ่น หรือพลังแห่งความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะเดินตามความฝัน ของชายผู้นี้ นอกจากจะท� ำ ให้ เ รารั บ รู ้ ถึ ง ความ ผูกพันระหว่าง “เขา” กับ “เสือฯ” แล้ว การเดิน ทางที่ แ สนจะวิ เศษครั้ ง นี้ ยั ง ได้ ส ร้ า งความ ประทับใจทั้งจากผู้คนต่างแดน ต่างถิ่นฐาน และทีส่ ำ� คัญจากเพือ่ นร่วมเดินทางทีแ่ สนพิเศษ อีกด้วย พร้อมหรือยังครับ? ที่ร่วมผจญภัยใน การเดินทางอีกรูปแบบหนึง่ ไปกับ “เขา” และ “เสือฯ” สุทธิพงศ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ (รุ่น ๗๓)
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 85
เล่นกอล์ฟ ๒ สนาม และเชียร์รักบี้ที่มาเลเซีย โดยสายการบินไทยแอร์เอเซีย
๒ – ๔ ตุลาคม ๒๕๕๒
วันศุกร์ที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สนามบินสุวรรณภูมิ – ปีนงั ๐๕.๐๐ น. คณะ O.V. พร้อมกันทีส่ นามบินสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารขาออก เคาน์เตอร์ D สายการบินไทยแอร์เอเซีย ๐๗.๒๕ น. ออกเดินทางโดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ FD ๓๕๔๓ ๑๐.๐๕ น. เดินทางถึงสนามบินปีนงั ประเทศมาเลเซีย หลังจากผ่านกรรมวิธีเข้าเมือง น�ำคณะ เดินทางไปเล่นกอล์ฟทีส่ นาม Bukit Jawi เสร็จแล้วเดินทางเข้าทีพ่ กั ทีโ่ รงแรม Cititel หรือ Bayview วันเสาร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปีนงั – กัวลากังซาร์ – ปีนงั ๐๖.๓๐ น. อาหารเช้าที่โรงแรม อิสระตามอัธยาศัย ๑๓.๓๐ น. น� ำ คณะเดิ นทางไปเชี ย ร์ รั ก บี้ ป ระเพณี MCKK – VC ที่กัวลากังซาร์ อาหารเย็นระหว่างทางกลับที่พัก พักที่โรงแรม Cititel หรือ Bayview
วันอาทิตย์ที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปีนงั – สนามบินสุวรรณภูมิ ๐๖.๐๐ น. อาหารเช้าที่โรงแรมและเช็คเอ๊าท์ ๐๖.๓๐ น. น� ำ คณะเดิ น ทางไปเล่ น กอล์ ฟ ที่ ส นาม Penang Golf Resort เสร็จแล้วเดินทาง ไปสนามบิน ๑๗.๐๕ น. ออกเดินทางโดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ FD ๓๕๔๔ ๑๗.๔๕ น. เดินทางกลับถึงสนามบินสุวรรณภูมิโดย สวัสดิภาพ
อัตราค่าบริการ
ท่านละ ๑๑,๙๐๐ บาท เล่นกอล์ฟที่สนาม Bukit Jawi (รวมค่าสนาม+รถและประกัน) ท่านละ ๑,๘๐๐ บาท เล่นกอล์ฟที่สนาม Penang Golf Resort (รวมค่าสนาม+รถ และประกัน) ท่านละ ๑,๘๐๐ บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๕,๕๐๐ บาท นอนคนเดียวเพิ่ม ท่านละ ๒,๕๐๐ บาท
ค่าบริการนี้รวม บัตรโดยสารเครื่องบินสายการบินไทยแอร์เอเชีย ภาษีสนามบินสุวรรณภูมิและปีนงั (กระเป๋าเดิน ทาง ๑ ใบ น�ำ้ หนักไม่เกิน ๑๕ กิโลกรัม) ที่พักห้องละ ๒ ท่าน อาหารตามรายการ รถรับ-ส่ง ตลอดจนการเดิน ทางไปตามสถานที่ต่างๆ ที่ระบุ ค่าบริการนี้ไม่รวม ภาษีบริการหัก ณ ที่จ่าย ๓% ภาษีมูลค่าเพิ่ม ๗% ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ
ตึกขาว คาบเรียนรู้วิชาการ
เมื่อ
ม้วย ใหญ่ที่ดังในวงการธุรกิจทุกวันนี้ ไม่น่าจะมี ข่าวใดเกินการล้มละลายของบริษัท General Motor จ�ำกัด ซึ่งเป็นหมายเลข ๑ ของบริษัท รถยนต์และบริษัททั่วโลกหลายปี การที่ยักษ์ใหญ่อย่าง General Motor ล้มนี้ เป็นสัจธรรมตามที่ Charles Darwin
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 87
วางไว้ทุกอย่าง โดย Darwin กล่าวไว้ว่า Survival of The F ittest เป็นเรื่องที่ไม่ผิด แม้แต่น้อย มีค�ำถามมากมายว่าท�ำไมรถของ ค่ายนี้ไม่สามารถขายได้ ทั้ง ๆ ที่มีทั้งเงินทุน มหาศาลในการท�ำ Campaign มีทงั้ เทคโนโลยี ใหม่ ๆ มากมาย และมีแบบให้เลือกมากที่สุด ค�ำตอบมีงา่ ยมากคือ ก็เพราะคนไม่ชอบมันและ ไม่คิดจะซื้อมัน ถ้าใครเคยเรียนที่อเมริกาและเคยใช้ รถอเมริกัน จะพบว่ารถอเมริกันเป็นรถที่ใหญ่ โตแต่ใช้ประโยชน์ได้นดิ เดียว รถถูกออกแบบ ตามความสะดวกของผูผ้ ลิตมากกว่าตามความ ต้องการของผู้ใช้ ท้องถนนในอเมริกามียาว เหยียดและต้องอยู่ในรถนาน ๆ ทุกคนใช้รถ และท�ำทุกอย่างบนรถ เช่น ไป Drive Through ที่แบงค์ ดูหนัง และอื่น ๆ ที่จะท�ำได้ รถจึง เหมือนปัจจัยที่ ๖ และที่ ๗ ภาษีนำ� เข้ารถถูก ทุกคนอาศัยรถและรถก็อาศัยน�้ำมัน เมือ่ น�ำ้ มัน แพงขึน้ ฐานทุกอย่างอยูบ่ นน�ำ้ มันก็แพงขึน้ ด้วย รถที่ใช้น�้ำมันมากกว่าก็จะขายไม่ออกทันที ความจริงบริษัทรถของอเมริกาทราบ ปัญหานี้ และก็เคยประสบปัญหานี้ ท�ำให้เกิด Hero ขึ้นมาในอดีต เช่น Lee Iacooca ผู้ซึ่ง พลิกฟืน้ Chrysler ออกจากเหวได้ในปี ๑๙๗๙ ปัญหาของวัฒนธรรมอเมริกาคือ ชอบ ท�ำทุกอย่างเป็นตัวเลขไปหมด เมือ่ มองตัวเลขก็ ไม่เห็นของจริง รถอเมริกันมาจากตลาดที่เรียก ว่าผู้ขายผู้ซื้อน้อยราย หรือที่ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Oligopolistic ที่มีเส้นหยัก ๆ ที่เรียก
88
ส�ำนักงานใหญ่ บริษัท เจนเนอร์รัลมอเตอร์ส ที่เมือง ดิทรอยต์ ภาพจาก http://en.wikipedia.org
ว่า Link Demand Curve ไอ้เส้นบ้านี้มักจะ หยัก ๆ ปิดมุม อธิบายง่าย ๆ ก็คือท�ำมากขึ้นก็ ขายได้กำ� ไรเพิม่ นิดเดียว เพราะฉะนัน้ อย่าไปท�ำ มันมากเลยเอาแค่พอขาย แรก ๆ ที่ ญี่ ปุ ่ น เริ่ ม ผลิ ต รถยนต์ นั้น บริษัทอเมริกันเห็นเข้าหัวเราะกลิ้งแถมยังถาม ว่า นีห่ รือเรียกว่ารถยนต์ หน้าตาอัปลักษณ์มาก แต่ญปี่ นุ่ ท�ำอะไรมีหลักการ รถ Corolla ทีท่ �ำขึน้ ครั้งแรก ได้อาศัยรากฐานของรถ Beetle หรือ โฟลค์เต่านีเ้ ป็นหลัก โดยน�ำข้อดีและข้อเสียของ รถเต่ามาปรับปรุง เพียงไม่กี่ปีจากรุ่น KE ๑๐ ซึ่งเป็นรุ่นแรก ตอนนี้เป็นรุ่นที่เท่าไรนับไม่ทัน แล้ว ยอดขาย Corolla เป็นยอดขายที่สูงสุด ทัว่ โลก คนทีเ่ คยหัวเราะก็หวั เราะไม่ออก อย่าว่า
แต่บริษทั อเมริกนั เลย แม้แต่บริษทั Mercedes Benz ซึง่ เคยหัวเราะ Toyota ทีท่ ำ� Lexus ออก มาขายว่า จะขายใครได้นนั้ ก็เริ่มเกาหนังศีรษะ แกรก ๆ แล้วเพราะยอดขาย Lexus เบียดยอด ขายรถ Benz ของตัวเองไปมาก เรียกว่าแย่ง ตลาดไปอย่างเห็น ๆ Benz มีรุ่นไหน ราคาไหน Lexus ก็มีตามทุกรุ่น กะเอาให้ตายไปเลยก็ว่า ได้ วัฒนธรรมอีกอย่างที่เป็นปัญหาในบริษัท อเมริกนั คือการยอมรับนวัตกรรมใหม่ในการมา ดัดแปลงใช้กับรถของตัวเอง เคยมีภาพยนตร์ เรื่องหนึง่ เกี่ยวกับคดี Intermittent Wiper หรื อ เรี ย กอี ก อย่ า งว่ า ที่ ป ั ด น�้ ำ ฝนที่ มี จั ง หวะ หยุด เรื่องมีอยู่ว่าอาจารย์ Robert Kearns บังเอิญไปพบว่า ถ้าสามารถหยุดที่ปัดน�้ำฝนได้ ชัว่ คราวขณะฝนตกพร�ำ ๆ ก็จะท�ำให้ทศั นียภาพ ดีขึ้น เมื่อคิดได้อย่างนัน้ แล้วก็น�ำไปเสนอขาย ให้กับบริษัทต่าง ๆ แต่ไม่มีใครสนใจ ก็เลยไป จดลิขสิทธิ์ที่เรียกว่า Infringement ต่อมาไม่ นานนัก บริษัทอเมริกันก็เริ่มสนใจและผลิต Intermittent Wiper ดังนัน้ Robert Kearns ก็เอา Case นี้ไปฟ้องว่าละเมิดลิขสิทธิ์ บริษัท รถยนต์ อ ้ า งว่ า ไม่ ได้ คิ ด อะไรใหม่ ขึ้ น มาเลย Transistor ก็ดี อุปกรณ์อีเลคโทรนิคส์ก็ดี ล้วนแต่มีในท้องตลาดทั้งสิ้น แต่ Kearns แย้ง ต่อศาลโดยหยิบหนังสือ A Tales of Two Cities ขึ้นมาแล้วถามศาลว่า ตัวอักษรใน แต่ละประโยคก็เป็นตัวอักษรที่เป็น A ถึง Z เท่านัน้ แต่ท�ำไมถึงมีลิขสิทธิ์ได้ แล้วท�ำไมเรื่อง นีถ้ ึงจะมีลิขสิทธิ์ไม่ได้จากการประกอบกันเป็น
Intermittent Wiper ผลก็คือแพ้ครับ บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง ๒ จ่ายค่าที่ต้องละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเงินมากมาย คิดสุทธิจากรายได้จากการฟ้องหักค่าทนายแล้ว เหลืออีกร่วม ๑๖ ล้านเหรียญ คดีนี้ใช้เวลานาน หลายปี นาย Kearns เอาลูกมาท�ำงานนีจ้ นเก่ง กฎหมายโดยไม่ต้องไปเรียนใน Law School ให้เสียเงินเลยก็ว่าได้ งานนี้เรียกว่าบริษัทยักษ์ ใหญ่เสียค่าโง่เป็นเงินมหาศาล นี่เป็นตัวอย่าง เล็ก ๆ ของการไม่สนใจนวัตกรรมของบริษัท รถยนต์อเมริกัน ปัญหาส�ำคัญของตัวผลิตภัณฑ์รถยนต์ อเมริกนั คือไม่คอ่ ยยอมรับฟังความคิดเห็นของ พวก Worker ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นมาก ในโรงงาน รถยนต์อเมริกนั ใช้คนงานแค่แรงงานแต่ไม่ได้ใช้ หัว โดยคิดว่าพวกทีเ่ ป็นหัวคือพวกทีม่ ปี ริญญา ยาว เรียนสูง แต่พวกนีข้ าดความคิดนวัตกรรม หรือที่เรียกว่า Unconventional Thinking ตรงข้ามกับบริษัทญี่ปุ่น หากพนักงานระดับ ล่ า งส่ ง อะไรขึ้ น ไปได้ รั บ การตอบสนองและ รับฟังทัง้ หมด นอกจากนี้ ใครทีม่ คี วามสามารถ ก็สามารถเป็นหัวหน้าได้ มีรถบรรทุกยี่ห้อหนึง่ ในเมื อ งไทยนี่ เ อง มี หั ว หน้ า ใหญ่ ฝ ่ า ยเดิ น ท่อเบรค จบการศึกษาสูงมากครับคือ ป.๔ แต่เป็นหัวหน้าใหญ่ภาคพื้นเอเชียในการเดิน ท่อเบรครถดังกล่าว และรถยี่ห้อนี้แม้ราคาจะ สูงกว่าทุกยี่ห้อแต่ลูกค้ายอมควักจ่าย และไม่ เคยมีปัญหาเรื่องเบรคให้ได้ยินเลย กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 89
ในอเมริกานัน้ มีมหาวิทยาลัยมากทีส่ ดุ ในโลกและมีคนจบการศึกษาสูงมาก แต่การ ท�ำงานนัน้ ต่างจากการเรียนตรงทีก่ ารท�ำงานไม่มี หลักสูตร ไม่มีสูตรส�ำเร็จ ไม่มีค�ำว่าเป่านกหวีด หมดเวลา และไม่มีค�ำว่าผู้น�ำตลอดกาล เมื่อ คนจบการศึกษาทุกคนก็มุ่งหน้าท�ำงานโดยฟัง จากทฤษฎีต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายและก็พยายาม ยึดติดทฤษฎีนนั้ ๆ จนเกินไป โดยไม่สนใจใน เรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งต้องไป พร้อม ๆ กับการบริหาร ตั ว อย่ า งที่ เห็ น ได้ ชั ด อี ก เรื่ อ งคื อ การ พัฒนาเครื่อง Diesel หลังจากที่ Mr.Rudolf Diesel ได้คิดเครื่อง Diesel เมื่อพ.ศ ๒๔๓๖ แล้ว ระบบของเครื่อง Diesel แทบไม่ได้มีการ พัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมเลยจนเกือบ ๑๐๐ ปี ใน อเมริกาซึง่ ต้องใช้รถยนต์วงิ่ เป็นระยะทางไกล ๆ กลับไม่สนใจเรื่องนี้มากนัก จนกระทั่งมีการท�ำ ระบบ Commonrail ขึ้นมาโดยบริษัทเยอรมัน ระบบ Diesel จึงแจ้งเกิดอย่างเต็มภาคภูมิ ถ้ า ใครดู ห นัง เรื่ อ ง Back to The Future ก็จะเห็นรถยนต์ประตูปีกนก เป็น รถยนต์ที่ผลิตโดย John Z. Delorean อดีต เคยเป็นผูจ้ ดั ใหญ่ของ Buick ซึง่ เป็น Division หนึง่ ของ GM รถแบบนี้ ถ้าจะให้ GM สร้าง ชาตินนี้ าย Delorean คิดว่าคงไม่ได้สร้างแน่ ทั้งนี้เพราะระบบของ GM เป็นระบบที่เรียก ว่า Hard Concrete Bureaucracy จะท�ำ อะไรแต่ละเรื่องล้วนเป็นระบบ จะไปทางซ้ายก็ ไม่ได้ จะไปทางขวาก็ไม่ได้ จะขึ้นก็ไม่ได้ จะลง
90
ก็ไม่ได้ ที่เรียกว่า Wall of Mallace เหมือน ฟองน�้ำหยุ่น ๆ Delorean เองจึงลาออกแล้ว ลงทุนสร้างรถดังกล่าว แม้ว่ายอดขายของรถ จะไม่ดีและราคาสูงกว่าที่คาดไว้ แต่ก็นับว่า ปฏิวัติแนวการสร้างรถยนต์ออกไปมาก ต่อมา Toyota ก็ได้น�ำมาท�ำในรถรุ่น Sena ซึ่งได้รับ การตอบรับอย่างพอควร นอกจากนี้ ระบบการบ�ำรุงรักษาของ บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้กลับไม่ได้รับการตอบ สนองเช่นบริษัทรถญี่ปุ่น รถยนต์ทุกคันในโลก
สายการผลิตรถปิคอัพ GMT800 ภาพจาก http:// en.wikipedia.org
นี้มีการบ�ำรุงรักษาเป็นหัวใจ เพราะหากรถใช้ ไม่ได้แล้วก็ไม่ตา่ งจากเศษเหล็กเท่าไร การบ�ำรุง รักษาเป็นเรื่องที่เจ้าของรถต้องการทั้งคุณภาพ ทีด่ ี บริการทีร่ วดเร็ว และได้มาตรฐาน ทีส่ �ำคัญ คือราคาของการซ่อมอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทางญี่ ปุ ่ นทุ ่ ม ทุ น ให้ ท างมหาวิ ท ยาลั ย ต่ า ง ๆ ทั่วโลกที่มีคณะวิศวกรรมให้มีห้องปฏิบัติการ ที่ใช้เครื่องยนต์ของตน เมื่อจบไปวิศวกรและ ช่างฯ เหล่านีก้ ็ช�ำนาญในเครื่องญี่ปุ่นที่ตนเคย
เรียน คนใช้ก็ชอบเพราะวางแผนการซ่อมได้ ไม่ต้องทิ้งรถไว้ค้างคืน ตรงกันข้ามกับบริษัท อเมริกัน ใครอยากเรียนก็ไปเรียน ได้เกรด B มาก็เบิกค่าหน่วยกิตได้เท่านัน้ ไม่คิดวางแผน อนาคตเท่าไร เอาเพียงแต่ว่าก�ำไรให้มาก ๆ เดี๋ยวก็ย้ายไปที่อื่น ๆ แล้วที่หนักไปกว่านัน้ ที่ ท�ำให้ GM ต้องล้มละลายคือปรากฏการณ์ ที่เรียกว่า Product Cannibalism ค� ำว่า Cannibalism มาจาก Cannibal แปลว่า มนุษย์กนิ คน ทีเ่ รียกว่าอย่างนีแ้ ปลว่าผลิตภัณฑ์ กินกันเอง เรือ่ งก็มอี ยูว่ า่ GM จะผลิตรถรุน่ หนึง่ จะมีตัวถังเดียวกันแต่ต่างกันตรงที่การตกแต่ง โดยมีตงั้ แต่ Chevrolet, Buick, Pontiac และ Olds mobile จะมีแยกเพิ่มก็ตรงที่มี Saturn ที่ฉกี ออกไป Chevrolet มีหลักว่าเป็น low End ครับ และสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็น Buick และ Pontiac ปัญหามีว่าเมื่อพัฒนารถไปแล้วไม่มี ใครอยากใช้ Low End เลยกลายเป็น Inferior Good เช่นเดียวกันกับ Kmart ที่ล้มกิจการไป ในที่สุด หรือไม่ก็พัฒนาแล้วกลายเป็นผู้ซื้องง เพราะไม่เห็นความแตกต่างของสินค้าอย่างเห็น ได้ชัด เป็นต้น ต้นทุนที่ทำ� ให้รถอเมริกันแพง ๒ อย่าง คื อ ค่ า แรงแพงและค่ า รั ก ษาพยาบาลต่ า ง ๆ Lee Iacooca ผู้ซึ่งสามารถ Turn Around Chrysler เมื่อปี ๑๙๘๐ กล่าวไว้ว่า ค่าใช้จ่าย ด้านค่าแรงซึ่งแพงมากนี้เองเป็นอุปสรรคต่อ ต้นทุนสินค้าในอเมริกาและค่ารักษาพยาบาล ต่าง ๆ ของพนักงานบริษัทเหล่านี้ล้วนแต่เป็น
เหตุให้ต้นทุนของรถอเมริกันในราคาที่เท่ากัน แล้วไม่สามารถให้ได้กับรถของประเทศคู่แข่ง รถก็แพง ของก็ให้น้อย บริการก็งั้น ๆ แบบก็ ไม่ได้มีอะไรใหม่ ถ้าเป็นคุณจะซื้อไหม ค�ำตอบ คือไม่ ทั้งนี้เพราะไม่คุ้มนัน่ เอง ภาษามวยเขาเรียกหมัดบวกครับ คือ หมัดนีจ่ ะหนักก็ต้องมี ๒ อย่างคือ หมัดเรา หนักประกอบกับคู่ต่อสู้เดินมาหา เช่นเดียวกัน กับ GM ครับ คือเกิด Hamburger Crisis ล้มกันทั่วหน้าเป็นผลให้ยอดการจ�ำหน่ายรถ ตกลงไปด้วย และที่มาบวกเพิ่มอีกคือค่าน�ำ้ มัน ครับ เรียกว่าความชั่วร้ายมาพร้อม ๆ กัน ผลก็ คือเรียบร้อย Chapter ๑๑ ยักษ์นนั้ ไม่ต่างกับ ช้าง ปัญหาของช้างคือต้องกินทั้งวันเพราะ ตัวโต เช่นเดียวกันกับ GM Overhead สูง ดังนัน้ เมื่อเกิดปัญหาสายป่านที่เคยยาวก็ถูก สาวอย่างรวดเร็วจนตั้งตัวไม่ทันนัน่ เอง วงการภายในคาดการณ์ว่า GM คงจะ ล้มละลายและเหลือเพียง Chevrolet ซึ่งเป็น Division ที่แข็งแกร่งที่สุดที่จะอยู่ต่อไปที่เขา เรียกว่าสูงสุดคืนสู่สามัญอย่างไรอย่างนัน้ เรื่อง นี้เป็นบทเรียนที่ให้ผู้ที่อยู่ในองค์กรทุกท่านได้ ตระหนักว่า ไม่ว่าท่านจะอยู่ในองค์กรทีเ่ ก่าและ มัน่ คงเพียงใดความแน่นอนคือความไม่แน่นอน และสิ่งที่ Darwin พูดเสมอคือ Survival of The F ittest จริงไหม? นพดล สุรทิณฑ์ (รุ่น ๔๖) กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 91
หน้าพระ เวลากลัวผีเรามักหนีไปที่...
เรื่องไม่น่าเชื่อ แต่ก็จ�ำต้องเชื่อ อพระราชทานกราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี ข้าพระพุทธเจ้า หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล ได้รับฉันทานุมัติให้เป็นผู้เล่าถวาย ประจ�ำปีนี้ ถ้าใต้ฝ่าพระบาททรงจ�ำได้ ข้าพระพุทธเจ้าเล่าถวายมาครั้งหนึง่ ที่โรงแรม ดุสิตธานี ครั้งนัน้ ข้าพระพุทธเจ้าเริ่มต้นด้วย ค�ำขอพระราชทานไม่ใช้ราชาศัพท์ ด้วยเหตุผล ที่ว่าครั้งนัน้ ต้องการที่จะเล่าให้คนทั่วไปฟัง ถึงการที่เกิดมาเป็นเจ้า คนทั่วไปมักนึกถึงว่ามี บุญหนักศักดิ์ใหญ่ แต่ความจริงคนที่เกิดมา นัน้ ถือว่าเป็นทุกข์แสนสาหัส แต่ในครั้งนี้
ข้าพระพุทธเจ้าขอเล่าถวายโดยเฉพาะ เพราะ ว่าเรื่องที่ข้าพระพุทธเจ้าจะเล่า มีหลายท่าน หลายคนที่ทรงรู้จักมักคุ้นเคยมาก่อนแล้ว แต่ ขณะเดียวกัน ข้าพระพุทธเจ้าต้องขอประทาน อนุญาตอีกอย่างหนึง่ คือว่าครั้งนัน้ ที่พูดไปมี คนมากระซิบว่าข้าพระพุทธเจ้าพูดนานไป จะ เข้าห้องน�ำ้ ก็เข้าไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงขอ ประทานอนุญาตครั้งนี้ว่าถ้าใครจะเข้าห้องน�ำ้ ก็ ขอพระราชทานพระอนุญาตให้ลุกขึ้นถวาย ค�ำนับ แล้วก็เข้าห้องน�ำ้ กลับมาถวายค�ำนับอีก สักครั้งก็คงจะดี
เขียนโดย หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล ทรงบรรยายถวาย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมือ่ วันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๘ เดวิด รัสเซลล์ฝากมาให้อ่าน (มี ๒ ตอนจบ)
92
เรื่องที่จะเล่าถวายเป็นเรื่องที่ ข้าพระพุทธเจ้าได้ประสบพบเห็นมาด้วย ตนเอง ไม่ใช่ฟังใครเขาเล่ามาจากไหน อีก อย่างหนึง่ ก็มาจากพี่น้องที่เล่าสู่กันฟัง เพราะ ฉะนัน้ เรื่องที่จะเล่าเป็นเรื่องที่เชื่อถือได้ เรื่อง แรกที่จะเล่าถวายเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจว่า “ผีขว้างบ้าน” ข้าพระพุทธเจ้ามีน้าแท้ๆ ๒ คน ซึ่งไม่มีสามี บ้านอยู่ซอยรามบุตรี บ้านหันหน้า เข้าหากัน ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าจ�ำความได้น้า ๒ คนนี้ไม่พูดกัน ทั้งๆ ที่ตอนนัน้ ญาติผู้ใหญ่ ก็ยังได้พยายามไกล่เกลี่ยเท่าไรก็ไม่ส�ำเร็จ ไม่ ถูกกันไม่เฉพาะน้าเท่านัน้ เด็กคนใช้ก็ไม่ถูกกัน แม้แต่สุนขั ยังกัดกันเป็นประจ�ำ ข้าพระพุทธเจ้า ตอนนัน้ อายุเพิ่งเริ่ม ๒๐ เรียนอยู่มหาวิทยาลัย เวลาไปเยี่ยมน้าคนใดคนหนึง่ ก็ต้องไปเยี่ยม น้าอีกคนหนึง่ ให้เหมือนกัน ไม่เช่นนัน้ จะเป็นที่ น้อยเนื้อต�่ำใจ วันหนึง่ น้าคนน้องป่วยเป็นโรควัณโรค ซึ่งคนโบราณไม่ชอบรักษาตัวที่โรงพยาบาล รักษาตัวอยู่ที่บ้าน วันหนึง่ ข้าพระพุทธเจ้าไป เยี่ยมน้าคนพี่ แล้วก็เลยไปเยี่ยมน้าคนน้อง เอ๊ะ! ท�ำไมหน้าต่างปิดหมด ก็สงสัยว่าคงจะ ไม่อยู่ ข้าพระพุทธเจ้าก็โผล่ไปดูนดิ หนึง่ อ้าว! ก็อยู่ที่บ้านกันหมด ก็ไปถามน้าและบอกว่าไม่ สบายโรคอย่างนีต้ ้องการอากาศบริสุทธิ์ แต่ น้าก็ปิดประตูเสียหมด ท�ำไมน้าจึงปิดประตูหน้าต่างเสียหมด น้าก็ตอบว่า “มีก้อนอิฐขว้างเข้ามาในบ้าน” ก็ ถามต่อว่าต้นเหตุมันเป็นอย่างไร ต้นเหตุเกิด
จากสุนขั กัดกัน เด็กทะเลาะกัน แล้วเด็กบ้าน พี่ก็เอาอิฐไปขว้างบ้านน้อง ข้าพระพุทธเจ้า ถามว่า แล้วน้าท�ำอย่างไร น้าก็บอกว่า “ก็ไป บอกต�ำรวจที่สถานีที่อยู่หน้าวัดชนะสงคราม เขามาเห็นเด็กก�ำลังจะขว้างก็เลยจับตัวไป เป็นเด็กผู้หญิงอายุ ๑๒ ขวบ จับไปนัง่ ที่ โรงพักตกเย็นก็ไล่กลับ” ข้าพระพุทธเจ้าก็ถาม น้าต่อไปอีกว่าแล้วมีอะไรต่อไป น้าก็ตอบว่า “พอรุ่งขึ้นก็ขว้างอีก” ก็ถามต่อ แล้วน้าท�ำ อย่างไร น้าก็บอกว่า “ก็ให้คนไปบอกต�ำรวจ อีก ต�ำรวจก็มาซุ่มอยู่แต่ไม่เห็นคนขว้างก็เลย กลับไป” ข้าพระพุทธเจ้าก็บอกว่า “เอ๊ะ ไม่น่า จะเป็นไปได้” แล้วก็ถามว่าอิฐเข้ามาทางไหน บ้านเป็นเรือนโบราณ ๒ ชั้น ปรากฏว่าอิฐเข้า มาทางช่องลม ข้าพระพุทธเจ้าก็เอาอิฐมา ตรวจดู เป็นอิฐมอญในบ้านนัน้ เอง ก็ซักถาม อีก “อิฐเข้ามาทุกครั้งหรือ กระทบข้างฝาบ้าง หรือเปล่า” และเข้ามาแล้วกระทบเพดานก่อน จะมาถูกตัวน้าหรือไม่ ตอบว่าไม่ ไม่กระทบ อะไรทั้งสิ้นอิฐมันลอยมาถูกตัวอย่างเดียว ข้า พระพุทธเจ้ายิ่งไม่เชื่อใหญ่ เพราะถ้าจะไม่ให้ อิฐกระทบเพดานก็ต้องไปยืนบนกิ่งมะม่วงข้าง เรือนแล้วหยอดเข้ามาทางช่องลม ซึ่งก็ไม่มี ทางที่เข้ามาถูกตัวน้าเป็นรอยเขียวจ�ำ้ ไปได้ ข้าพระพุทธเจ้ากลับบ้านแล้วไม่รู้จะพูดอย่างไร ก็ไปเล่าถวายท่านหญิงจงฯ พี่สาวของ ข้าพระพุทธเจ้าฟัง ท่านก็บอกว่าเหลวไหล เธอไม่ได้เรื่อง กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 93
วันต่อมาข้าพระพุทธเจ้าก็ไปเยี่ยมอีก ปรากฏว่าคราวนีน้ ้านอนอยู่บนเตียงในมุ้ง ร่างกายก็ผ่ายผอม เนื้อตัวเป็นจ�้ำเขียวไปหมด เลย มีกองก้อนอิฐอยู่ในมุ้ง ซักถามได้ความ ว่า อยู่ในมุ้งก็ยังมีก้อนอิฐมาถูกตัวโดยมุ้งไม่ ขาด ข้าพระพุทธเจ้าเห็นไม่มีทางเชื่อได้ซัก อย่าง จึงกลับมาเล่าถวายพี่สาวท่านหญิงจงฯ คราวนีท้ ่านเหมาเอาว่าข้าพระพุทธเจ้าพลอย เป็นบ้าไปด้วย คืนนัน้ น้าก็ยกโขยงนัง่ แท็กซี่มา มีเด็ก คนใช้มา ๒ คน มาขอประทานอาศัยท่านหญิง จงฯ อยู่ ท่านหญิงจงฯ ก็จัดห้องให้เรียบร้อย ข้าพระพุทธเจ้าไปมหาวิทยาลัยก็แวะไปเยี่ยม ถามว่าน้าเป็นอย่างไรบ้าง น้าบอกว่าเมื่อคืน นอนหลับสบายดีมีเสียงก้อนอิฐขว้างอีกแล้ว แต่ไม่เข้าห้องมันถูกฝา ข้าพระพุทธเจ้าก็คิด เอะใจว่ามันยังไงกันแน่ ใจก็คิดไปว่าเป็นเด็ก คนใช้ที่เอามาด้วยคงกินสินบาทคาดสินบนมา รุ่งขึ้นก็ไปเยี่ยมอีกก่อนไปมหาวิทยาลัย น้า บอกว่าก้อนอิฐเข้ามาแล้ว ก็เอาอิฐมาดู ก็เป็น ก้อนอิฐปูนโรยถนนบ้านท่านหญิงจงฯ นัน่ เอง ข้าพระพุทธเจ้าก็บอกว่า เอ๊ะมันไม่น่าจะเป็น ไปได้ น้าเห็นท่าทางข้าพระพุทธเจ้าไม่เชื่อ ก็ว่า ท่านชายนัง่ ตรงประตูนนั่ แหละ แล้วน้านัง่ กลางห้อง ให้เด็ก ๒ คนนัง่ ๒ ข้าง ข้างขวา เป็นห้องมีเฟี้ยมกั้น ข้างซ้ายเป็นหน้าต่างปิด ด้านหลังของน้าเป็นหน้าต่างปิดอยู่ตรงหน้า ข้าพระพุทธเจ้าพอดี
94
แล้วข้าพระพุทธเจ้าก็นงั่ คุย อิฐก็ลอย มาต่อหน้าต่อตาข้าพระพุทธเจ้า และเกือบถูก ตัวข้าพระพุทธเจ้าด้วย พอหายตะลึง ข้าพระพุทธเจ้าก็วิ่งไปที่หน้าต่าง มองลงไป ข้างล่างเห็นเจ๊กท�ำสวนกวาดหญ้าอยู่กลาง สนาม ถามเจ๊กว่าเห็นมีใครข้างล่างนี่ไหม เจ๊ก บอกว่าไม่มีใคร ดังนัน้ ความคิดที่สงสัยเด็ก ทั้ง ๒ คน จึงเป็นไปไม่ได้เพราะมันต่อหน้า ต่อตาข้าพระพุทธเจ้าเอง หลังจากนัน้ เหตุการณ์ ผันแปรจากก้อนอิฐก้อนหินกลายเป็นของ โสโครกเป็นอุจจาระ เป็นเรื่องที่อื้ออึงกันไปทั่ว วังและทั้งในละแวก ผู้คนก็บุกรุกกันมาดูโดย ไม่เกรงใจเจ้าของต�ำหนัก คนในบ้านก็กลัวผี กัน เคยนอนในมุ้งละคนสองคนก็กลายเป็น สามสี่คน พี่สาวข้าพระพุทธเจ้าท่านหญิงจงฯ ก็หมดปัญญาที่จะห้ามปราม เมื่อมีผู้คนเสนอ ให้ไปตามอาจารย์กลดเป็นหมอผีเคยบวชอยู่ วัดสระเกศมาช่วยก็ต้องทรงยอมรับ เมื่ออาจารย์กลดมาเป็นเวลาพลบ มี แขกที่ไม่ได้รับเชิญบุกรุกมาคอยดูอยู่เต็ม อาจารย์จับยามดูแล้วบอกว่า เขาใช้ผีแขกท�ำ แกสู้ไม่ได้ แต่ไหนๆ ก็มาแล้ว ก็ช่วยไปเท่าที่ จะท�ำได้ แกจุดธูปเทียนท�ำน�้ำมนต์เสกข้าวสาร ซัดแล้วเอาสายสิญจน์มาผูกข้อมือน้าและ เด็ก ๒ คนด้วย พอลากลับก็มีก้อนหินจาก ที่ไหนไม่รู้ตกเกือบถูกหัวอาจารย์กลด แกสั่น หัวแล้วก็ลงบันไดไป พออาจารย์คล้อยหลัง มีอุจจาระแปะลงบนสายสิญจน์รอบข้อมือน้า และก็มีนำ�้ ลายขาวโพลนเป็นฟองบนหัวและ
หน้าเห็นได้ชัด ทั้งๆ ที่คนดูอยู่เต็มชานเรือน แรกๆ น้าเป็นคนโดน เด็กสองคนไม่โดนจึง สงสัยเด็ก แต่ตอนนี้โดนทั้งน้าและเด็กอื้ออึง กันไปทั่ว ท่านหญิงมารยาตรฯ พี่สาว ข้าพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึง่ และประทับอยู่ ที่นนั่ ด้วย ก็เอาเรื่องนี้ไปเล่าให้เจ้าคุณศรีวิสาร วาจาฟัง เจ้าคุณฯ ก็บอกว่า “กระหม่อมมี พระดี” แล้วก็อุ้มเอาพระพุทธรูปมาท�ำน�้ำมนต์ ช่วยให้จนเรียบร้อย รุ่งขึ้นเหตุการณ์ก็ปกติ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไปดูอยู่ด้วย เหตุการณ์ผ่าน ไปร่วมเดือนก็สุขสบายดี จนกระทั่งมาวันหนึง่ ข้าพระพุทธเจ้า กลับมาจากมหาวิทยาลัย ได้ทราบว่าน้าทูลลา ออกไปแล้ว ซักถามได้ความว่ามีอุจจาระตก เกือบถูกท่านหญิงจงฯ ท่านก็ตกพระทัย ร้อง วุ้ย! ไม่เอาแล้ว น้าก็เกรงพระทัย ก็ย้ายไป เช่าบ้านอยู่ข้างวัดเทวราชกุญชรจนตายที่นนั่ ข้าพระพุทธเจ้าตามไปเยี่ยมหาบ้านเจอก็จาก กลิ่นอุจจาระ และเมื่อน้าตายแล้วทุกสิ่งทุก อย่างก็คืนสู่สภาพปกติ นี่เป็นสิ่งหนึง่ ซึ่ง ครั้งแรกข้าพระพุทธเจ้าไม่เชื่อ แต่ต่อมา ท�ำงานราชการไปต่างประเทศไปเล่าเรื่องนี้ให้ ฝรั่งฟัง ฝรั่งอึ้งไปตามๆ กัน แต่ลงท้ายมีแขก ซึ่งไปร่วมอบรมอยู่กับข้าพระพุทธเจ้า แกบอก ว่าเรื่องอย่างนี้ในอินเดียมีเยอะเป็นเรื่อง ธรรมดาสามัญ ข้อสนับสนุนอีกอย่างหนึง่ คือ ข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านหนังสือของ พ.ต.อ.ชลอ
อุทกภาชน์ คุณชลอบอกว่าเรื่องผีขว้างบ้าน ท�ำนองนี้เป็นเรื่องธรรมดา ข้าพระพุทธเจ้ามี น�้ำหนักสนับสนุนให้ต้องเชื่อขึ้นมาอีกคือ คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ซึ่งใช้นามปากกาว่า “นิตยา นาฎยสุนทร” คุณหญิงเขียนเกี่ยวกับ เรื่อง “พระธาตุลอยมา” ข้าพระพุทธเจ้ารู้จัก กับครอบครัวของเธอ รู้จักกับสามีของเธอ คือ คุณวิลาศ มณีวัต ตัวเธอเองเป็น รองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นผู้มีใจบุญ สุนทาน เรื่องเกี่ยวกับพระธาตุลอยมานี้ มี เรื่องเล่าแทรกได้คือ มีเพื่อนเอาพระธาตุมา ฝากข้าพระพุทธเจ้า ปรกติข้าพระพุทธเจ้า ถือว่าพระธาตุเป็นของสูงไม่บังควรมาเก็บ รักษาไว้ที่บ้าน แต่เมื่อเพื่อนมายัดเยียดให้ก็ เลือกไว้เพียงสองชิ้น แล้วไปหาผอบมาใส่ตั้ง บูชาบนหิ้งพระ ถึงปีตอนสงกรานต์ ข้าพระพุทธเจ้าสรงน�้ำพระที่บ้านทุกปี ก็เลย สรงพระธาตุด้วยเป็นที่แปลกประหลาด เดิมมี สองชิ้นกลับเพิ่มจ�ำนวนเป็นหลายชิ้น จนต้อง แบ่งให้ลูกชายไปบ้าง ปีต่อมาพบว่าพระธาตุ เปลี่ยนเป็นมีสีได้ด้วย ต้องเรียกว่าเหลือเชื่อ พยายามหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย ให้ตัวเอง นึกถึงกฎของไอน์สไตน์ ที่เรียกว่า ทฤษฎีสัมพันธ์ที่เขียนสมการ E=MC ก�ำลัง ๒ โดย E เป็นพลังงาน M เป็นมวล และ C คือความเร็วแสง ทฤษฎีนที้ �ำให้ไอน์สไตน์พบ ระเบิดปรมาณู แร่กัมมันตภาพรังสีสลายตัว เป็นพลังงานมหาศาล และในมุมกลับกัน ทุก วันนีน้ กั วิทยาศาสตร์ก็ยังเชื่อว่าเอกภพหรือ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 95
ระบบจักรวาล ทุกวันนี้เกิดจากการระเบิดครั้ง ยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า Big Bang หรือพลังงาน เปลี่ยนกลับมาเป็นมวล นับว่าเป็นเหตุพอรับ ฟังให้เชื่อถือได้ ข้าพระพุทธเจ้าสรุปให้ตัวเอง ฟังว่า ในโลกและจักรวาลทุกวันนี้ยังมี พลังงานที่คนไม่รู้ไม่เห็นอยู่ เรื่องที่ ๒ ที่จะเล่าถวาย เป็นเรื่อง สะกดจิตตอนที่ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ที่อเมริกา ตอนนัน้ ไปอยู่เมืองทูซาน มลรัฐอริโซนา สถานที่ท�ำงานอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัย อริโซนา วันหนึง่ เขามีประกาศที่ออดิโตเรียมว่า จะมีการสะกดจิตคนดูทั้งโรง ข้าพระพุทธเจ้า เห็นว่าน่าสนใจเพราะเคยอ่านแต่ในหนังสือ คือต้องการมาจ้องตา หรือเอาลูกตุ้มมาแกว่ง ให้จิตสงบ ที่เขาจะทดลองที่ออดิโตเรียมรู้สึก ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เข้าไปดูซื้อตั๋วเหรียญ เดียว คนที่มาเป็นผู้แสดงคือ โปรเฟสเซอร์ ด๊อกเตอร์ ๒ คนผัวเมีย เขาเบิกโรงว่าการ สะกดจิตเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสยศาสตร์ แต่จะสะกดจิตได้ผู้นนั้ ต้องมีจิตปกติแต่ผู้ใด มีจิตไม่ปกติจะสะกดไม่ได้ผล เมื่อเขาบรรยายอยู่นนั้ ทั้งสองโปรเฟส เซอร์อยู่บนเวทีอย่าว่าแต่จะมองไม่เห็นเลย หน้าตาก็ไม่รู้ชัดแล้วจะสะกดจิตคนดูได้ อย่างไร พอถึงเวลาแสดงเขาก็ขอให้ผู้ชมสงบ ท�ำใจให้สงบและสบายเขาพูดซ�้ำๆ อย่างนี้ แล้วก็เริ่มปิดไฟเพดานหอประชุมไล่ลงมาที ละแถวโดยไล่จากหลังโรงมาหน้าเวที พอมา ถึงหน้าเวทีเขาก็ปิดไฟพรึบทั้งโรง แล้วฉาย
96
สปอร์ตไลท์มาที่วงกลมสีแดงสะท้อนแสงที่ ติดไว้บนม่านหน้าเวที ความรู้สึกในตอนนัน้ เหมือนมีคนมาจ้องตารู้สึกวูบเลยทีเดียว จากนัน้ ก็เปิดไฟสว่างทั้งโรง ประกาศว่าโปรด ส�ำรวจดูคนนัง่ ข้างๆ ถ้าเห็นใครหลับให้ยกมือ ขึ้น ปรากฏว่ามีคนยกมือกันครึ่งค่อนโรง เขา ก็ประกาศอีกว่าคนที่หลับนัน้ บางคนอาจจะ ตื่นกลางทางแล้วตกใจโวยวาย ขอกรุณาช่วย เตือนให้รู้ตัวก่อน จากนัน้ เขากับทีมงานก็ลง มาช่วยเลือกผู้ที่ถูกสะกดหลับอยู่ให้ขึ้นไปบน เวที เขาเลือกเอาคนลักษณะต่างๆ กันขึ้นไป มีตั้งแต่คาวบอยหนวดเครารุ่มร่ามเปิดอกหรา ไปจนถึงนักเรียนสาวสวย และอาจารย์ผู้หญิง ของมหาวิทยาลัยสูงอายุผู้หนึง่ ที่เป็นที่ชื่นชอบ ของนักเรียนเพราะที่ประชุมจะเฮฮากันมาก บางคนก็ตื่นระหว่างทาง ที่เหลือบนเวทีนนั้ โปรเฟสเซอร์ผู้สะกดบอกว่าพวกนีจ้ ิตปกติ จะ ปลุกให้ตื่นแล้วสะกดเมื่อไรก็ได้ เขาก็ทำ� ให้ดู ดีดนิ้วเป๊าะ! บอกตื่นได้แล้วครับ พวกนีก้ ็ ลืมตาท�ำหน้างงงวยว่าขึ้นมาบนเวทีได้อย่างไร เขาก็อธิบายให้ฟังพร้อมกับขอความร่วมมือ ต่อไป แล้วเขาก็ดีดนิ้วอีกเป๊าะ! พูดว่าหลับได้ หลับให้สบายๆ ทุกคนก็คอพับไปทันทีเหมือน กับแกล้ง จากนัน้ เขาก็เริ่มแสดงโดยออกค�ำสั่ง ให้คาวบอยนัน้ เป็นผู้หญิงแม่ลูกอ่อนที่ก�ำลัง อุ้มลูกอยู่ บอกว่าลูกร้องหิวนมท�ำไมนัง่ เฉย อยู่ได้ เจ้าคาวบอยรีบท�ำมือช้อนเหมือนอุ้ม เด็กจับให้ดูดนมของตัวเองเป็นที่เฮฮา เขา บอกหญิงสาวสวยว่านัง่ อยู่กลางกองมดได้
อย่างไรไม่กลัวมดกัดรึ หญิงสาวลุกขึ้น กระทืบพื้นเตรียมจะถอดกระโปรง เขาบอกว่า มดไปหมดแล้ว ทีนี้เขาหันมาบอกอีกว่าเธอ เป็นเบตตี้ เกรเบิลดาราน่องทอง คนเขาอยาก ดูไม่ไปแสดงตัวหน่อยรึ แม่นกี่ ็ออกไปเดิน นวดนาดท�ำท่าเป็นดาราจริงๆ ฝ่ายอาจารย์ หญิงคนดังนัน้ เขาก็ว่าคุณเป็นมาดามไอเซ็น เฮาว์ ชื่อเล่นว่า “แมมมี่” ระยะนัน้ นายพล ไอเซ็นเฮาว์ดังมาก ก�ำลังสมัครรับเลือกเป็น ประธานาธิบดี เขาบอกว่า แมมมี่คุณไม่ไป ช่วยหาคะแนนเสียงให้ท่านนายพลหน่อยรึ อาจารย์เธอก็เดินออกมาหน้าเวทีพยักพเยิด กับผู้ชม บรรดานักเรียนลูกศิษย์ก็กรูเกรียว มาขอลายเซ็นกันเป็นการใหญ่ ที่บรรยาย ถวายมานี้สรุปได้ว่า จิตคนมีพลังถ้าสามารถ ฝึกได้ก็จะใช้ประโยชน์ได้ พร้อมกันนัน้ ก็ นึกถึงการปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ที่ ส�ำคัญคือต้องมี “สติ” หาไม่อาจถูกใครสะกด ได้หรือที่เรียกว่า “ผีเข้า” นัน่ เอง คนฟุ้งซ่าน ผียังเข้ายากกว่า ถึงตอนนีข้ ้าพระพุทธเจ้าขอแทรกเล่า ถวายว่าตอนที่ข้าพระพุทธเจ้ารับราชการอยู่ ไปประชุมที่เมืองเจนีวา วันหนึง่ ประชุมเลิกเร็ว เห็นมีประกาศว่าที่พิพิธภัณฑ์มีการแสดง นิทรรศการยุโรปสมัยกลาง ซึ่งข้าพระพุทธเจ้า ก�ำลังสนใจอยู่ก็ขึ้นรถเมล์ไปดูคนเดียว มีห้อง จัดแบบโบราณห้องหนึง่ เข้าใจว่าเป็นของ
พระ เพราะมีโต๊ะไม้กางเขนอยู่กลางห้องมี เตียงนอนแต่ไม่มีตู้เสื้อผ้า เขาใช้เก็บในหีบไม้ วางรอบๆ ห้อง ขณะที่ชมนัน้ ข้าพระพุทธเจ้า อยู่คนเดียว ห้องก็มืดๆ ทึบๆ ข้าพระพุทธเจ้า รู้สึกเหมือนจะเป็นลม ขนลุกเกรียว และมี เหงื่อออกตัวเย็น ความรู้สึกเหมือนไปให้เขา ทดลองสะกดจิตที่อเมริกาไม่มีผิด ถ้าตอนนัน้ จะมีพระฝรั่งเข้ามาทักทาย ข้าพระพุทธเจ้าก็ จะไม่แปลกใจเลย แต่ข้าพระพุทธเจ้ายังมีสติ และตอนนัน้ ยังห้อยพระหลวงพ่อทวดอยู่ เลย รีบบอกว่าหลวงพ่อต้องช่วยผมแล้ว คิดจบก็ มีฝรั่งอิตาเลียนคนหนึง่ เดินเข้ามาอีกทางหนึง่ ข้าพระพุทธเจ้าก้าวขาออกก็เลยรีบเดินจ�ำ้ ไม่ ยอมเหลียวหลังออกไปเลย หลังประชุม ข้าพระพุทธเจ้าขึ้นไปเฝ้าฯ สมเด็จพระราชชนนี บนเขา รับสั่งคุยธรรมะกับข้าพระพุทธเจ้าด้วย แต่ข้าพระพุทธเจ้าไม่กล้าเล่าเรื่องนีถ้ วาย กลับ มาถึงบ้านก็เล่าให้ลูกสาวฟัง เขาก�ำลังอ่าน หนังสือเรื่องอย่างนี้พอดี เขาก็ว่าคุณบุญมี เมธางกูร ก็ไปประชุมเหมือนพ่อและก็ไปเจอดี ที่พิพิธภัณฑ์นนั้ เหมือนกัน แต่คนละห้อง เขา ไปเจอที่ห้องอาวุธโบราณและได้ยินเสียง เหมือนอาวุธกระทบกันมีเสียงปืนประกอบ ด้วย ซึ่งห้องนัน้ ข้าพระพุทธเจ้าก็เข้าไปชม แต่ไม่มีเหตุการณ์เช่นว่าสรุปว่าการฝึกจิตนัน้ ตรงกับการฝึก “ฌาน” ในการปฏิบัติธรรม
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 97
ตึกพยาบาล
เข่าเสีย
เอ๊ะ ! อย่างไร ?
ตอนที่ 1
สมัยอยู่โรงเรียนทุกคน คงเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ “เข่าเสีย” กันมาบ้าง บางทีอาจจะเห็นรุ่นพี่อดีต นักรักบี้ทีมโรงเรียนที่เกษียณตัวเองเพราะ เข่าเสีย เวลาออกก�ำลัง (โดยเฉพาะท่ากระโดด นัง่ ยอง ที่เราเรียกกันว่าหยองๆ) รุ่นพี่ก็จะบอกว่าให้ท�ำ อย่างนีต้ ามทฤษฎีจะได้ไม่เป็นเข่าเสีย จริงๆ แล้ว เข่าเสียนีม้ นั คืออะไรกันแน่ แล้วถ้าเราออกก�ำลัง ไม่ถูกวิธี มันจะท�ำให้เข่าเสียจริงหรือ? ข้อเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีความซับซ้อนและรับภาระมากที่สุดตลอดอายุขัย ของมัน ข้อเข่าเป็นข้อชนิดบานพับแบบพิเศษ ลองนึกภาพบานพับประตูทขี่ ยับได้เปิดกับปิดในแนว เดียว แต่เข่าของเราสามารถขยับในแนวหมุนรอบแกนได้อกี เล็กน้อย จึงเรียกเป็นแบบบานพับพิเศษ (Modified Hinge Type) เนื่องจากเข่ารับภาระการเคลื่อนไหวและน�ำ้ หนักมาก จึงต้องมีการเสริม ความมัน่ คงของเข่าให้มคี วามแข็งแรง จากรูปข้อเข่าจะเห็นได้วา่ มีเส้นเอ็นขนาดใหญ่อยูร่ อบข้อเข่า เกือบจะรอบด้าน โดยเส้นเอ็นเหล่านีจ้ ะท�ำหน้าที่ยึดข้อเข่าไม่ให้เคลื่อนไหวออกนอกแกนที่ควรจะ เป็น
98
ภายในข้อบริเวณหัวของกระดูกต้นขากับกระดูกหน้าแข้งจะมีกระดูกอ่อนคลุมและมี น�้ำหล่อข้ออยู่ในเยื่อหุ้มข้อ กระดูกอ่อนและน�้ำหล่อนี้เปรียบเสมือนข้อต่อกับน�้ำมันเครื่องที่ท�ำ หน้าที่ลดการเสียดสีของกระดูกเวลาที่เคลื่อนไหว ถ้าพูดตามทางการแพทย์แล้ว เข่าเสียหรือ เข่าเสือ่ ม น่าจะหมายถึงการเสือ่ มสภาพของเข่า ท�ำให้ทำ� งานได้ไม่เต็มที่ ซึง่ ส่วนมากจะเป็นในผูส้ งู อายุ ทีใ่ ช้งานข้อเข่ามานานๆ หรือเคยได้รบั อุบตั เิ หตุบาดเจ็บบริเวณข้อทีท่ ำ� ให้กระดูกอ่อนเสียหาย หรือ เป็นโรคข้อบางชนิด ในเด็กๆ วชิราวุธฯ ที่เป็นหนุ่มรุ่นกระทงแข็งแรงดีจะบอกว่าเข่าเสื่อมหรือเสีย แล้ว ก็ดูจะแปลกไปหน่อย ถ้าเช่นนัน้ “เข่าเสีย” ของเด็กวชิราวุธฯ นัน้ น่าจะหมายถึงอะไรกันแน่? เวลาออกก�ำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนือ้ ต้นขาด้วยท่าหยองๆ (ท่าถูกซ่อมทีต่ วั ผูเ้ ขียนเอง ค่อนข้างเกลียดเป็นที่สองรองจากแบกโลก) เด็กวชิราวุธฯ มักจะบอกต่อๆ กันว่า เวลาท�ำจบชุด สุดท้ายแล้วไม่ควรรีบลุก ให้นงั่ ยองๆ ไว้ก่อนเดี๋ยวเข่าจะเสีย กรณีนี้ผมคิดว่าเด็กวชิราวุธฯ น่าจะ หมายความถึงภาวะทีภ่ ายหลังการออกก�ำลังกายแล้วเกิดมีกาอากรเข่าบวม ปวดเข่า เวลาขยับจะตึง ถ้าลงน�ำ้ หนักจะปวดมาก ภาวะนีเ้ กิดจากความเครียดสะสมในเส้นเอ็นของกล้ามเนือ้ ต้นขาทีว่ งิ่ ผ่าน หัวเข่ามายึดตรงกระดูกแข้งส่วนต้น กล้ามเนือ้ ชุดนีม้ หี น้าทีอ่ อกแรงเหยียดขา (ซึง่ ก็คอื การกระโดด หยองๆ นัน่ แหละ) ความเครียดสะสมนีก้ ่อให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อเส้นนี้ ภาวะนี้ เรียกว่า Pre-Patella Tendinitis การอักเสบของเส้นเอ็นนี้ เป็นภาวะที่อยู่ภายนอกข้อเข่า ดังนัน้ การเรียกภาวะนี้ว่าเข่าเสียจึงไม่ถูกต้องซะทีเดียว อีกภาวะหนึง่ ที่พบได้บ่อยและดูจะเหมาะสมกับค�ำว่า “เข่าเสีย” มากกว่าคือ การฉีกขาด ของเส้นเอ็น ACL หรือชื่อเต็มว่า Anterior Cruciate Ligament ภาวะนีด้ ูจะพบบ่อยเสีย เหลือเกิน เฉพาะรุ่นผมเองก็ดูเหมือนจะมีคนโชคร้ายเป็นภาวะนี้สัก ๔ คนได้ (เฉพาะที่รู้) ภายใน ข้อเข่าจะมีเส้นเอ็นอยู่สองเส้นวางไขว้กันเหมือนนิ้วเราเวลาท�ำท่าอุ๊บอิ๊บ (ไขว้นิ้วกลางกับนิ้วชี้... แน่ะ ท�ำตามกันอยู่ล่ะซิ แก่ปูนนี้แล้วยังมาท�ำท่าน่ารัก) ชื่อ Anterior Cruciate Ligament กับ Posterior Cruciate Ligament (PCL) เส้นเอ็นสองเส้นนี้มีหน้าที่จำ� กัดการเคลื่อนของกระดูก หน้าแข้ง ไม่ให้ขยับไปทางด้านหน้ากับด้านหลังมากเกินไปตามล�ำดับ เส้นเอ็น PCL ไม่คอ่ ยพบการ บาดเจ็บสักเท่าไร เนือ่ งจากมักจะต้องเกิดจากการกระแทกจากด้านหลังโดยทีเ่ ท้านัน้ วางนิง่ และยึด อยู่กับพื้น (ลองนึกภาพคนยืนอยู่ ขาเหยียดตรงแล้วถูกผลักที่หลังในขณะที่เท้าถูกเหยียบไว้กับ พื้นไม่ให้ขยับไปไหน จะเห็นว่ามันดูแปลกพิสดารเหลือเกินที่ชีวิตประจ�ำวันเราจะท�ำท่านัน้ ) ดังนัน้ ACL จึงเป็นซินเดอเรลล่าที่มักจะเป็นผู้รับกรรมเวลามีการบาดเจ็บของข้อเข่าเสมอๆ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 99
การฉีกขาดของ ACL ในเด็กวชิราวุธฯ น่าจะมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. กลุ่มที่มีการฉีกขาดของ ACL อย่างเดียว เนื่องจาก ACL ท�ำหน้าที่ยึดข้อเข่าไม่ ให้เลื่อนไปด้านหน้าและไม่ให้หมุนไปด้านใน มากเกินไป ตามแผนภาพ ถ้าในขณะเล่นกีฬา มีจงั หวะทีเ่ ท้าเราอยูก่ บั พืน้ แล้วมีการหมุนบิด ข้อเข่าอย่างแรงไปด้านตรงข้าม อาจเกิดการ ขาดของ ACL ได้ ท่าทีม่ กั จะพบการบาดเจ็บ แบบนี้ เช่น นักบาสเก็ตบอลขณะเบรกและ หมุนตัวเปลี่ยนทิศทันที ฟูลแบ็กที่วิ่งกลับไป รับลูกแดนหลังแล้วเบรกพร้อมทัง้ พลิกตัวหัน หลังกลับโดยแรงเพื่อที่จะพาลูกกลับไปข้าง หน้า การบาดเจ็บชนิดนี้มันไม่ค่อยเกิดจาก ถูกปะทะคือจะเป็นแบบวิ่งๆ อยู่กลับตัวแล้ว ก็ โอ๊ย! ลงไปกองเอง ไม่ได้โดนใคร
100
2. กลุ่มที่มีการบาดเจ็บของส่วนอื่นของเข่า ร่วมด้วย กลุ ่ ม นี้ มี ชื่ อ เรี ย กในหมู ่ นั ก กี ฬ าว่ า Unhappy Triad หรือ Terrible Triad ขอ แปลตรงๆ ภาษาเด็กวชิราวุธฯ ว่า “ความซวย สามดอก” ละกันนะครับ อันนี้จะเป็นการ บาดเจ็ บ ของ ACL ร่ ว มกั บ Medial Collateral Ligament และ Medial Lemniscus ถ้ า อยากรู ้ ว ่ า อะไรอยู ่ ต รง ไหน ก็ย้อนไปดูรูปแรกนะครับมีเขียนไว้ ให้ดูแล้ว อาการบาดเจ็บในส่วนนี้มักพบใน นักฟุตบอล นักรักบี้ก็พบได้ แต่พบบ่อยใน พวกอเมริกนั ฟุตบอลมากกว่า เพราะเกิดจาก ถูกแรงกระแทกจากทางด้านข้างของข้อเข่า เช่น โดนกระโดดเสียบขาคู่จากทางด้านข้าง ขณะเลีย้ งบอล หรือขณะ No. 8 คว้าลูกออก จาก Ruck ก็โดน Flanker ตาไวฝ่ายตรงข้าม อ้อม Ruck มาซัดเข้าเต็มๆ จากทางด้านข้าง (เนื่องจาก No. 8 มักจะสูงแล้ว Flanker มัก จะตัวเตี้ยๆ ตันๆ ดังนัน้ มักจะ Tackle ได้ ต�ำ่ ) ใครโดนเข้าไปก็มกั จะร้องครวญครางตาม ชื่อ Unhappy Triad การฉีกขาดของ ACL มีผลท�ำให้ข้อเข่า เสีย Stability ไปอย่างมาก เนื่องจากเป็น หนึง่ ในสีจ่ ตุรเทพแห่ง Ligament ทีใ่ ห้ความ แข็งแรงของข้อเข่า เข่าของผู้ป่วยจะสามารถ เลื่อนมาด้านหน้าได้ ดูตามรูปนะครับ
สมัยผมอยูโ่ รงเรียนเวลาไปนวดรุน่ พีค่ นหนึง่ ที่เคยเป็นเข่าเสีย จ�ำได้ว่าขาของเขามันเลื่อนออก มาได้จริงๆ สมัยนัน้ ยังไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร พอไปเรียนแพทย์ อาจารย์สอนเรื่องนี้ปั๊ป ท�ำให้ผมนึกถึงรุ่นพี่คนนีข้ ึ้นมาทันที เนื่องจากการขาดของ ACL มี ผลต่อสมรรถภาพของข้อเขาค่อนข้างมาก จึงมีวิธีรักษาหลากหลายและซับซ้อนซึ่ง พื้นที่ฉบับนีท้ ่าจะไม่พอซะแล้ว จึงจะขอยก ไปฉบับหน้านะครับ จุดมุ่งหมายของการ Tackle ในเกมรักบี้ นัน้ คือ หยุดการพาลูกรุกคืบหน้าของคู่ต่อสู้ ไม่ใช่การท�ำลายตัวคู่ต่อสู้ เนื่องจากในเกมผู้เล่นมี โอกาสจะสร้างความเสียหายให้กับร่างกายคู่ต่อสู้ได้ตลอดเวลา ที่รักบี้ถูกเรียกว่ากีฬาสุภาพบุรุษ นัน้ ก็เพราะว่าท่ามกลางการแข่งขันปะทะกัน ผู้เล่นก็ยังสามารถยับยั้งชั่งใจไม่สร้างความเสียหาย ดังกล่าวตัง้ ใจเพียงหยุดการรุกเท่านัน้ ดูทา่ ทางหัวหน้าทีมกีฬาสีแห่งประเทศไทยทัง้ สามสีทเี่ ล่นกัน มาจะสี่ปีอยู่แล้ว คงไม่เคยเล่นรักบี้กระมังครับ น.พ.ตวงธรรม เอนกภูริธนัง (รุ่น ๗๒)
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 101
สนามหน้า แหล่งเพาะน�้ำใจนักกีฬา
วชิราวุธวิทยาลัย
กับกีฬารักบี้ฟุตบอล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีสายพระเนตรไกล ทรงเห็นว่า การศึกษานัน้ เป็นเครื่องมืออันส�ำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศชาติให้ ก้าวหน้าสมสมัย (ศัพท์คำ� ว่า “สมสมัย” นี้สมเด็จกรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพฯ ทรงใช้ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าฟังดูดีกว่า “ทันสมัย” เป็นไหน ๆ) รัชกาลที่ ๖ ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาฉบับแรกเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๖๔ อันเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับของ ประเทศไทย คือบังคับให้เด็กทุกคนต้องเรียนหนังสือนัน่ เอง ประเทศที่ เจริญแล้วและเป็นประชาธิปไตยทุกประเทศก็ต้องบังคับคนให้ได้เรียนกัน ถ้วนหน้า ซึ่งปี พ.ศ. ๒๕๔๗ นี้เป็นปีที่ ๘๓ ของความก้าวหน้าของ ประเทศไทยเรานี้ ในขณะที่อินโดนีเซียมีกฎหมายการศึกษาภาคบังคับเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ นี้เอง ส่วนประเทศรอบ ๆ บ้านเราก็ยังไม่มีทีท่าจะมีการศึกษา ภาคบังคับกันเลย เพราะมัวแต่รบราฆ่าฟันกันเอง
102
ด้วยการที่ทรงเห็นความส�ำคัญของ การศึกษานี้เอง ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ จึงทรง ได้เปลี่ยนแปลงราชประเพณีที่มีการสร้างวัด ขึ้นประจ�ำรัชกาลมาเป็นการสร้างโรงเรียนแทน และโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนประจ�ำรัชกาลที่ ๖ คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยนัน้ เอง เมื่อตอน ก่อตั้งเริ่มแรกนัน้ มีชื่อว่า “โรงเรียนมหาดเล็ก หลวง” ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อ เฉลิมพระเกียรติล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ในฐานะที่โรงเรียนวชิราวุธฯ เป็น โรงเรียนประจ�ำรัชกาลที่ ๖ จึงมีลักษณะที่ ผิดแผกไปจากโรงเรียนทั่วไป กล่าวคือ เป็น โรงเรียนประจ�ำเอาแบบมาจากโรงเรียนแบบ พับลิคสคูลของอังกฤษ ซึ่งท่านผู้อ่านต้อง
ระวังค�ำภาษาอังกฤษจากอังกฤษเหมือนกับ ภาษาบาลีในภาษาไทยนัน่ แหละ ที่หากแปลกัน ตรง ๆ ก็เจ๊งไปเลย เพราะพับลิคสคูลแบบ อังกฤษไม่ใช่โรงเรียนหลวงที่เปิดให้เยาวชนเข้า เรียนได้โดยทั่วไปเหมือนของพับลิคสคูลใน ประเทศต่าง ๆ แต่หากเป็นโรงเรียนราษฎร์ และค่าเล่าเรียนแพงระยับ ต้องจองล่วงหน้า กันเป็นเวลานาน ๆ และไม่ใช่ว่ามีเงินก็จะเข้า เรียนได้ เขาต้องดูถึงโคตรเหง้าและทดสอบ ไอ.คิว. ด้วย ความจริง แรกทีเดียวพับลิคสคูลของ อังกฤษเป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นกึ่งโรงเรียน ดัดสันดานกึ่งโรงเรียนประชาสงเคราะห์ เก็บ เด็กข้างถนนที่ไม่มีพ่อแม่มาเลี้ยงดูและให้การ ศึกษา วิธีการดัดสันดานที่ใช้ระเบียบวินัย
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 103
รักบี้ฟุตบอลจึงเป็นกีฬา ที่ประกาศเกียรติคุณ ของสุภาพบุรุษ และประจานความต�่ำต้อย ของศักดิ์ศรีในความเป็นคน ให้รู้ให้เห็นกันได้ในเวลา ไม่ถึง ๒ ชั่วโมง
104
อย่างเข้มงวดนัน้ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดา ขุนนางและคหบดีผู้มั่งคั่งทั้งหลาย ซึ่งมักจะ เลี้ยงดูลูกแบบเทวดา มีข้าทาสบริวารรองมือ รองตีนมากมายจนลูกท�ำอะไรไม่เป็น และ เอาแต่ใจตัวเองเหมือนลูกคนรวยสมัยนี้แหละ พ่อแม่เองก็ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก จึงรวมหัวกันส่งลูกเข้าพับลิคสคูล พับลิคสคูล จึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นโรงเรียนชั้นสูง ด้วย เหตุผลดังกล่าว รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระราชหัตถเลขา เป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโรงเรียนที่ท่านทรง ตั้งขึ้น โดยทรงอธิบายถึงหลักการและ วัตถุประสงค์ในการตั้งโรงเรียนแห่งนีข้ ึ้นมาให้ เป็นอย่างไร พระราชทานแก่เจ้าพระยา พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการในสมัยนัน้ วัตถุประสงค์ของพับลิคสคูลของ อังกฤษและวชิราวุธวิทยาลัยนัน้ คือ การปั้น เยาวชนให้เป็นสุภาพบุรุษ และสุภาพบุรุษ อังกฤษก็เน้นอยู่ที่ค�ำศักดิ์สิทธิ์ว่า “แฟร์เพลย์” คือการไม่เอารัดเอาเปรียบฝ่ายตรงข้าม ซึ่งค่านิยมนี้เองคือคุณสมบัติของผู้ดีอังกฤษ ตัวอย่างของสุภาพบุรุษอังกฤษในนิยายก็ เห็นจะไม่มีใครเกินกว่านายพรานรพินทร์ ไพรวัลย์จากเรื่องเพชรพระอุมา ประพันธ์โดย “พนมเทียน” แต่บังเอิญ นายพรานรพินทร์ ไพรวัลย์ ไม่ได้จบจากวชิราวุธวิทยาลัย เท่านัน้ เอง
คราวนี้มาถึงวิธีการอบรมบ่มนิสัยให้ เป็นผู้ดีหรือสุภาพบุรุษ บรรดาพับลิคสคูลของ อังกฤษและวชิราวุธฯ ได้ใช้กีฬาเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬารักบี้ฟุตบอลที่มีความ เหมาะสมในการสร้างบุคลิกลักษณะนิสัย ที่พึงประสงค์ของเด็กให้เป็นสุภาพบุรุษหรือผู้ดี ได้ ๔ ประการ คือ ๑. กีฬารักบี้ฟุตบอลใช้คนเล่นมาก คือฝ่ายละ ๑๕ คน ท�ำให้การมีส่วนร่วมของ นักเรียนมีมาก ไม่เหมือนกีฬาบางประเภทที่ใช้ ผู้เล่นเพียง ๒ หรือ ๓ คน เช่น ชกมวย หรือ สควอช การเล่นกันมากนัน้ ท�ำให้มีการร่วม ทุกข์ร่วมสุข ร่วมเหนื่อย ก่อให้เกิดความ สามัคคีในหมู่คณะตามมา อันเป็นคุณธรรมที่ พึงปรารถนาอย่างยิ่งในทุกหมู่เหล่า ๒. รักบี้ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ใช้ทีมเวิร์ค (Team work) อย่างสูง เป็นการฝึกฝนให้ นักกีฬารู้จักหน้าที่ของตนไม่เอาเด่นเอาดีเข้า ตัวอยู่คนเดียว ประเทศที่เจริญแล้วประชาชน จะรู้จักการท�ำงานเป็นทีมเวิร์คเป็นอย่างดี ๓. กติการักบี้ฟุตบอลมีความแน่ชัด ในเรื่องการส่งลูกจะต้องส่งไปข้างหลังโดย ตลอด การจับคู่ต่อสู้ที่เรียกว่า “แท็คเกิ้ล” นัน้ จับได้เฉพาะผู้ที่ครองลูกเท่านัน้ ไม่ใช่จับกันมั่ว ไปหมดเหมือนอเมริกันฟุตบอล การมีกติกา อย่างเคร่งครัดนี้เป็นการฝึกให้ผู้เล่นต้องมี ระเบียบวินัยและเคารพในกฎเกณฑ์ ๔. รักบี้ฟุตบอลเป็นกีฬาที่เล่นตุกติก และเล่นสกปรกได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะการเอา
รัดเอาเปรียบกัน เพราะมีการชุลมุนบ่อยครั้ง ที่สุด โดยเฉพาะการเข้าสกรัม โอกาสที่จะจิก ผม ถ่มน�ำ้ ลาย จิกลูกตา เตะหน้าแข้ง ใช้ ลูกส้นหรือกระทืบจะท�ำได้ง่าย ๆ และจับตัว คนท�ำไม่ค่อยได้ รักบี้ฟุตบอลจึงเป็นกีฬาที่ พิสูจน์ความเป็นผู้ดีหรือสุภาพบุรุษกับอุดมคติ แฟร์เพลย์ได้อย่างชัดแจ้งและง่ายดายที่สุด คนดูและผู้เล่นจะรู้ได้ว่า ภายในเกมกีฬารักบี้ ฝ่ายใดเป็นผู้ดีฝ่ายใดเป็นกุ๊ย รักบี้ฟุตบอลจึงเป็นกีฬาที่ประกาศ เกียรติคุณของสุภาพบุรุษและประจานความ ต�่ำต้อยของศักดิ์ศรีในความเป็นคนให้รู้ให้เห็น กันได้ในเวลาไม่ถึง ๒ ชั่วโมง ดังนัน้ พับลิคสคูลของอังกฤษกับความ เป็นสุภาพบุรุษและกีฬารักบี้ฟุตบอลจึงมีความ เกี่ยวพันกันอย่างแน่นแฟ้นและแยกสิ่งใด สิ่งหนึง่ ออกไปก็จะขาดความสมบูรณ์ทันที ปัจจุบัน ความเป็นสุภาพบุรุษดูจะ เลือน ๆ หายไปจากการอบรมสั่งสอนของ โรงเรียนต่าง ๆ แต่ยังคงไม่สายเกินไปนักที่ กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัย (รวมทั้งวชิราวุธวิทยาลัยด้วย) จะร่วมมือกัน ฟื้นฟูความส�ำคัญของการเป็นสุภาพบุรุษ ความเป็นผู้ดีให้แก่นกั เรียน นิสิต นักศึกษา ของไทย ให้เจริญงอกงาม และใช้กีฬารักบี้ ฟุตบอลเป็นเครื่องทดสอบความส�ำเร็จหรือ ความล้มเหลวของจริยศึกษาแบบเก่าที่ถูก ทอดทิ้งไปแล้วว่าได้ผลแค่ไหนเพียงใด ภัคพงศ์ จักษุรักษ์ (รุ่น ๖๑) เรียบเรียง ใหม่
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 105
โรงเลี้ยง ชวนชิมร้านอาหาร โอวี
106
มายช้ อ ยส์ The living legend สวัสดีค่ะ คอลัมน์โรงเลี้ยงของเราจะไม่ได้พาทุกท่านไปชิม
ลุงหน่อย พิชิต จารุศร รุ่น ๓๖ .
มายช้อยส์ ๑๑.๐๐ – ๒๒.๐๐ น โทร ๐๒-๒๕๙-๙๔๗๐
อาหารอร่อยๆ เหมือนอย่างเคยแล้วละค่ะ แต่วันนี้เราจะพา ทุกท่านไป “ตอกย�ำ้ ” ถึงความอร่อยระดับต�ำนานของอาหาร ไทยกันที่ร้าน “มายช้อยส์” อันที่จริงได้ยิน ชื่อมายช้อยส์นกี้ ็นานมาแล้ว จากการที่ ทุกครั้งเวลาขับรถผ่านคุณแม่ก็จะท�ำหน้าที่ เสมือนเป็นประชาสัมพันธ์ร้านคอยบอกว่า สมัยก่อนถ้าใครอยากกินอาหารไทยต้องมา กินที่นที่ ี่เดียวเลยนะ ร้านนี้เขาดังมากจริงๆ แต่จนแล้วจนรอดเราก็ยังไม่เคยได้มาลอง ชิมกันสักทีเลยค่ะ พอรู้ว่าอนุมานวสาร สานฝันให้เป็นจริงพามาชิมในวันนี้แล้วก็ ตื่นเต้นมากเลยค่ะ ยังไงก็ขอเชิญท่านผู้อ่าน ไปร่วมเปิดต�ำนานมายช้อยส์ด้วยกันเลยนะคะ จากที่เคยได้แต่ผ่านไปผ่านมา พอได้เลี้ยวรถเข้าไปใน ร้านแล้วก็ได้พบว่าเป็นร้านใหญ่แถมยังมีต้นไม้ใหญ่มากมาย สร้างความร่มรื่นให้บริเวณสวนที่นงั่ ทานข้าวได้เป็นอย่างดี เมนูของทางร้านก็มีอาหารไทยมากมายหลากหลาย เราเลยขอ ความอนุเคราะห์จากคุณลุงหน่อย-พิชิต จารุศร รุ่น ๓๖ ผู้ดำ� เนินการร้านและคุณลุงนิโรธ ไกรฤกษ์ รุ่น ๓๔ เพื่อนรัก ต่างรุ่นช่วยแนะน�ำเมนูเด็ดมาให้เราได้ชิมหลายจานด้วยกัน โดยเริ่มตั้งแต่ ย�ำถั่วพู แกงเขียวหวาน ย�ำมายช้อยส์ เป็ดอบ
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 107
ต�ำลึง ซึ่งสองจานหลังนี้รับประกันความอร่อย โดยแม่ช้อยนางร�ำด้วยนะคะ ซึ่งพอพวกเราได้ ชิมแล้วก็ต้องขอร่วมรับประกันด้วยอีกแรง ในขณะที่อาหารชุดแรกยังไม่ทันจะ พร่องลุงหน่อยก็สั่งเซ็ตสองตามมาติด ๆ ได้แก่ ข้าวผัดเนื้อเค็มเสิร์ฟพร้อมไข่ดาวทอด แบบกรอบก�ำลังดี แกงไตปลารสจัดจ้านแบบ ปักษ์ใต้แท้ ๆ ปูหลนรสกลมกล่อม แกงคั่ว หอยขม และเป็ดอบต�ำลึงอีกรอบตามค�ำขอ ของพวกเรา ลุงหน่อยเล่าให้ฟังถึงเส้นทางการมาท�ำ ร้านมายช้อยส์ให้ฟังว่า แรกเริ่มเดิมทีนนั้ ตนเอง เป็นสถาปนิก แต่สุดท้ายก็จับพลัดจับผลูได้ เข้ามาท�ำด้วยความบังเอิญ แต่กระนัน้ ลุงหน่อย ก็ยังใช้ความเป็นสถาปนิกมาผสมผสานกับการ ท�ำร้านอาหารได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการคิด เมนูแปลก ๆ แต่เป็นที่ติดใจของนักชิมทั้งหลาย
108
เช่น “มะระทอด” ซึ่งไม่ขมเลยแถมยังเป็นของ ทานแกล้มเบียร์ยอดฮิตของที่นี่อีกด้วย หรือ จะเป็นการน�ำลูกของต้นตีนเป็ดน�ำ้ ในสวนไป ประดิษฐ์เป็นของตกแต่งภายในร้านเพิ่มความ เก๋ให้กับร้านอีกมาก จนมีคนขนานนามลุง หน่อยว่าเป็น “Food Architect” เลยทีเดียว พอรับประทานกันเรียบร้อยแล้วก็มา ร่วมโหวตให้กับเมนูในดวงใจกันดีกว่าค่ะ แต่ พอเอาเข้าจริง ๆ ก็ล�ำบากน่าดูเลยเพราะที่ได้ ชิมไปวันนีน้ นั้ อร่อยทุกจานเลยค่ะ แต่ที่ดูเป็น
ที่ถูกอกถูกใจของทีมงานฯ หลาย ๆ คนคง จะต้องยกให้ “เป็ดอบต�ำลึง” ที่ถูกสั่งซ�ำ้ มาก ที่สุด ฟังจากชื่อเป็ดกับต�ำลึงอาจจะดูน่าสงสัย ว่าจะเข้ากันได้หรือ แต่พอได้ชิมแล้วความ สงสัยก็หายไปทันที เนื้อเป็ดนุ่มมาก ๆ แถม ชุ่มไปด้วยความกลมกล่อมของน�้ำราดต�ำรับ มายช้อยส์ ซึ่งพอทานต�ำลึงเข้าไปด้วยก็ช่วย เพิ่มความกรุบกรอบให้จานนีท้ านได้เพลินมาก ๆ แถมยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอีกนะคะ
พูดถึงเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ คุณลุง หน่อยเล่าให้ฟังย้อนกลับไปเมื่อสมัยแรกเปิด ร้านนัน้ เรียกได้ว่า มายช้อยส์เป็นร้านแรก ๆ เลยที่ใช้สมุนไพรมาเป็นตัวชูโรงในการท�ำ อาหารเพื่อสุขภาพด้วยอาทิเช่น แกงส้ม กระเจี๊ยบหรือย�ำต่าง ๆ ที่จะมีสมุนไพรเข้ามา
เป็นส่วนประกอบช่วยเพิ่มกลิ่นและความ จัดจ้านให้ย�ำแต่ละจานจี๊ดจ๊าดโดนใจมาก ไม่ว่าจะเป็น ย�ำตะไคร้ ย�ำใบมะกรูด ทอด พริกไทยอ่อน บวกกับรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวแล้วท�ำให้ในช่วงปี ๒๕๒๐ นัน้ เป็น ช่วงที่มายช้อยส์กลายเป็น Talk of The Town ขนาดว่ามีวันหนึง่ ขณะที่ลุงหน่อย ตีกอล์ฟอยู่ก็ถูกทางร้านโทรตามให้กลับมาด่วน เพราะคนเยอะมากจนล้นออกมานอกร้านแล้ว นอกจากนี้ร้านมายช้อยส์ยังได้รับ เลือกให้เป็นร้าน “อาหารเพื่อสุขภาพ” จาก โรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ โดยในช่วงนัน้ ทาง ร้านได้เข้าไปช่วยคิดเมนูให้คนไข้รับประทาน แต่คนไปเยี่ยมไข้ที่ได้ชิมก็ยังติดใจในรสชาติ และยังได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ว่าเป็น “The art of eating adventurously” การันตีรสชาติอีกด้วยนะคะ ส่วนท่านใดที่อยากจะไปสัมผัสกับ ต�ำนานอาหารไทยที่มายช้อยส์นกี้ ็สามารถไป ได้ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. และการเดินทางมายังสะดวก สบายทั้งด้วยรถไฟฟ้าและรถยนต์ค่ะ รถไฟฟ้า ลงสถานีทองหล่อฝั่งไปรษณีย์แล้วเดินเข้าไป ในซอยสุขุมวิท ๓๖ เพียงเล็กน้อยก็จะเจอร้าน อยู่ทางซ้ายมือ หรือถ้าน�ำรถยนต์ไปก็มีที่จอด รถกว้างขวางค่ะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร ๐๒-๒๕๙-๙๔๗๐ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ (ลูกสาวพี่ยักษ์ รุ่น ๔๕) เฉลิมหัช ตันติวงษ์ สงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗) ถ่ายภาพ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 109
บ่ายวันอาทิตย์ ครอบครัวโอวี
110
วัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ วันนี้เรามีปฏิบัติการ พิเศษมาให้ทุกท่านได้ร่วมลุ้นไปด้วยกันว่าจะท�ำ ส�ำเร็จหรือไม่ อย่าเพิ่งตกใจคิดว่าอนุมานวสาร จะก่อการอะไรนะคะ ภารกิจที่ว่านัน่ ก็มาจากทีมงาน อนุมานวสารได้มอบหมายให้ไป “ตัดผม” ที่ร้าน Sindy Lim ของพี่สิน - ทวีสิน ลิ้มธนากุล รุ่น ๕๕ ซึ่งพี่ๆ ได้ให้ ข้อมูลมาคร่าวๆ ว่าท�ำเลที่ตั้งร้านอยู่ในซอยสุขุมวิท ๔๙ และพี่สินนี่เป็นช่างผมระดับแถวหน้า ที่อยู่เบื้องหลังทรงผม สุดเก๋ของเซเลบริตี้และดาราหลายคนด้วยนะ แต่ปฏิบัติการ ครั้งนีข้ อให้เป็นความลับสุดยอด อย่าให้พี่สินรู้ว่าเรามาจาก อนุมานวสารนะน้องฟ้า! รับทราบ เอ้ย! ได้เลยค่ะ
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 111
แล้ววันปฏิบัติการจริงก็มาถึง เรามา ถึงร้าน Sindy Lim ตามเวลาที่ได้โทรนัดไว้ ล่วงหน้า ก็พบว่าพี่สินนัง่ รออยู่แล้วและ ต้อนรับเราด้วยรอยยิ้ม ก่อนที่จะให้พนักงาน พาไปสระผมซึ่งเพลิดเพลินมากทีเดียวเพราะ พี่เขานวดให้ด้วยขณะสระผม สบายจนเกือบ ลืมไปเลยว่ายังมีภารกิจที่ต้องท�ำอยู่นะเนี่ย ระหว่างที่สระผมเสร็จแล้วนัง่ รออยู่ที่หน้า กระจก นี่แหละค่ะเป็นโอกาสอันดีที่เราจะหา สัญลักษณ์แสดงความเป็น ‘โอวี’ ในร้านเพื่อ จะได้ใช้เป็นตัวเปิดการสนทนา พลันสายตาก็ เห็นหอนาฬิกาตั้งอยู่บนตู้เป็นที่น่าประทับใจ เพราะเวลาไปที่ไหนก็มักจะเห็นชาว โอวี มีของ ประดับตกแต่งในบ้านหรือสถานที่ท�ำงาน ท�ำให้เห็นว่าแม้ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ แต่ ความรักและผูกพันกับโรงเรียนก็ยังคงอยู่ใน ใจของลูกวชิราวุธฯ ทุกคนเสมอ จนพี่สินถามว่า “อยากตัดทรงอะไร ครับ” ค�ำตอบที่ได้อาจเป็นค�ำตอบที่ช่างผม ต้องเผชิญนัน่ ก็คือ “ทรงอะไรก็ได้แล้วแต่พี่ เลยค่ะ แต่อยากให้เปลี่ยนไปเลยค่ะ” สิ้นเสียง ตอบเสียงกรรไกรฉับแรกก็ดังขึ้นมาแทนที่ พี่สินเริ่มงานทันทีหลังจากดีไซน์ทรงใหม่อย่าง รวดเร็ว จากนัน้ ไม่นานก็มีเสียงค�ำถามใหม่ ดังขึ้นมาแทนที่ “ขอโทษนะคะ พี่เป็น โอวี เหรอคะ” (นี่…เนียนสุดๆ ค่ะ ฮ่าๆ) พี่สินดูจะแปลกใจนิดหนึง่ ว่ารู้ได้ไง ทางเราก็ยังเนียนต่อไปว่า “เห็นหอนาฬิกานะค่ะ พอดีที่บ้านเป็นโอวีกันหมดเลย” เหมือนเป็น
112
Before ธรรมเนียมของ โอวี ที่มักจะถามไถ่กันว่าคุณ พ่อชื่ออะไรอยู่รุ่นไหนคณะอะไร เลยท�ำให้ แปลกใจมากเพราะพี่สินบอกว่าอยู่รุ่น ๕๕ ซึ่ง พลาดจากที่เดาไว้ทีแรกว่าพี่สินน่าจะอยู่สัก ประมาณรุ่น ๖๑ - ๖๒ นะเนี่ย จากนัน้ ก็เรียก ได้ว่าเครื่องติดแล้วละค่ะ ก็ถามโน่นถามนี่ไป เรื่อยและพี่สินก็น่ารักมากก็เล่าให้ฟังถึงชีวิต วัยเรียนแถมยังชวนคุยเรื่องอื่นสร้าง บรรยากาศในร้านให้สดใสขึ้นอีกมากมาย ถามถึงที่มาของการมาเป็นช่างผมมือ อาชีพของพี่สินว่าเริ่มอย่างไร เริ่มตั้งแต่สมัย เป็นนักเรียนเลยรึเปล่าคะ พี่สินหัวเราะก่อน บอกว่าไม่ใช่ๆ สมัยนัน้ เพื่อนๆ แต่ละคนนี้ หัวเกรียนชนิดที่ว่าจับไปไม่ติดผมขึ้นมาเลยซัก
นิดเดียว มาเริ่มก็เมื่อตอนเรียนจบปริญญาตรี ด้านโฆษณาแล้วพี่สินก็บินลัดฟ้าจะไปเรียนต่อ ปริญญาโทด้านเดิมที่ประเทศอังกฤษ แต่ เนื่องจากมหาวิทยาลัยที่ไปสมัครนัน้ เขา Require ประสบการณ์การท�ำงานก่อนสร้าง ความหนักใจให้พี่สินเป็นอันมาก แต่ครั้นจะ กลับไปมือเปล่าก็ไม่ได้ไม่เช่นนัน้ คงต้องถูกคุณ พ่อคุณแม่เอาเรื่องเป็นแน่ ประกอบกับตอนนัน้ พี่สินสนใจด้านการตัดผมอยู่แล้วจึงตัดสินใจ ลงเรียนตัดผมที่ Alan International จน แน่ใจว่าชอบจึงตัดสินใจลงเรียนที่อื่นๆ อีก ได้แก่ที่ Tony and Guy, London School of Makeup จนพอกลับมาเมืองไทยได้เริ่ม เป็นช่างตัดผมจริงๆ ก็เปลี่ยนพี่สินจาก “ชอบ” เป็น “รัก” ในอาชีพนี้ไปเลย
After
จนถึงวันนีก้ ็เป็นเวลา ๑๐ กว่าปีแล้วที่ พี่สินโดดเด่นอยู่ในวงการท�ำผมของไทย แต่ แม้จะคุยไปตัดไปแต่พี่สินก็ทำ� งานแบบมือ อาชีพมาก ไม่มีสะดุดเลยแม้แต่น้อย แถม พี่สินยังใส่ใจทุกรายละเอียดและเนี้ยบมาก แล้วการตัดผมครั้งนี้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอ รู้ตัวอีกทีกระจกตรงหน้าก็สะท้อนให้เห็น ผลงานสมบูรณ์แบบของพี่สิน แทบตะลึงกับ ภาพตรงหน้าเลยค่ะ เพราะเป็นทรงที่เปลี่ยนไป จริงๆ อย่างที่ขอพี่สินไว้ทีแรก พูดได้คำ� เดียว เลยว่าชอบทรงนี้มากจริงๆ ปลื้มจังเลยค่ะ เมื่อภารกิจเสร็จสิ้นเรียบร้อย แม้พี่สิน จะดูแอบสงสัยเล็กน้อยว่าเราจะขอถ่ายรูปไป ท�ำไม แต่พี่สินยังใจดีลดราคาให้เป็นกรณี พิเศษถึง ๒๐% ด้วย ต้องขอขอบพระคุณพี่ สินมา ณ โอกาสนีด้ ้วยนะคะ แล้วก่อนจะจาก กันพี่สินยังเชิญให้มาอีก อย่างนี้ไม่มาอีกไม่ได้ แล้วละค่ะ ส�ำหรับพี่น้องชาว โอวี ท่านใดหาก อยากจะเปลี่ยนลุค หรือเพิ่มความหล่อ สามารถแวะเวียนมาหาพี่สินได้ที่ร้าน Sindy Lim ซอยสุขุมวิท ๔๙ เลี้ยวเข้าซอยมาเพียง นิดเดียวก็จะเห็นป้ายร้านโดดเด่นอยู่ทางฝั่ง ขวา ส่วนท่านใดที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าสามารถ ลงได้ทั้งสถานีพร้อมพงษ์ หรือทองหล่อแล้ว เดินย้อนมานิดหน่อยค่ะ โทรนัดพี่สินได้ที่เบอร์ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕, ๐๒-๒๖๐-๐๗๙๓ หรือ เบอร์สายตรงของพี่สินเอง ๐๘๑-๙๒๓๒๓๗๓ พี่สินยินดีต้อนรับเสมอค่ะ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ (ลูกสาวพี่ยักษ์ รุ่น ๔๕) กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 113
ระฆังกีฬา คุยกับโอวีก่อนไปเข้าแถว
พูลศักดิ์
ประณุ ท นรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี “ขอโทษค่ะ คุณปู”
114
เสียงขัดจังหวะของพนักงานต้อนรับประจ�ำโรงแรม ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท ดังขึ้นในระหว่างที่พวกเราก�ำลังคุยกับพี่กมล นันทิยาภูษิต เจ้าของโรงแรมอย่างสนุกสนาน “ท่านผู้ว่าฯ ขอเลื่อนเวลาพบเร็วขึ้นค่ะ อีกสิบนาทีท่านจะมาถึง” “......................................” “พรึบ!!!” พวกเราทั้งโต๊ะลุกขึ้นจัดสถานที่อย่างรวดเร็วเพื่อเตรียม ต้อนรับคุณพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๐ ซึ่งก�ำลังเดินทางมายังโรงแรม ที่พักของพวกเราส�ำหรับการสัมภาษณ์ในเย็นนี้ แสงอาทิตย์อัสดงส่องผ่านเข้ามาพร้อม ๆ กับประตูกระจกที่เปิด อ้าออกให้แก่ชายวัยกลางคนท่านหนึง่ ในชุดล�ำลองแบบสบาย ๆ “สวัสดี ครับ” “สวัสดี ๆ น้อง ๆ ทุกคน”
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 115
บทสนทนาในวันนัน้ เป็นไปอย่าง เรียบง่ายและกันเองในห้องอาหารโรงแรม ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท ประกอบด้วยกอง บรรณาธิการอนุมานวสารและนักเรียนเก่าฯ ชาวจันทบุรี ท่านได้ถามถึงระบบการจัดการ ของอนุมานวสาร อีกทั้งยังเล่าเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตการเรียนและการท�ำงานของ ท่าน โดยบทสัมภาษณ์นจี้ ะเป็นเหมือน ค�ำแนะน�ำให้แก่รุ่นน้องได้น�ำไปยึดถือปฏิบัติ ในการท�ำงานต่อไป อยากให้พี่เล่าว่า สมัยที่อยู่โรงเรียนตอนนัน้ เป็นอย่างไรบ้างครับ ผมอยู่คณะพญาไทกับครูจิต พึ่ง ประดิษฐ์ เพื่อนที่สนิท ๆ ก็อย่าง อ๋อง นรฤทธิ์ โชติกเสถียร แล้วก็มีไอ้แซม แซม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อย่างแซมนี่เขาเก่งภาษาอังกฤษ มาก ผมว่าเขาเก่งกว่าครูภาษาอังกฤษอีกนะ เพราะเขาไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองนอก แล้วก็มาโตเมืองไทย แล้วถ้าเวลาเราไปถาม Grammar ว่าไอ้อันนี้มันเป็นยังไง มันบอก กูก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าอันนีถ้ ูกก็แล้วกัน คือมันเป็น ธรรมชาติเหมือนพูดภาษาไทย มันท�ำข้อสอบ ได้เกือบร้อยคะแนนเต็ม แล้วก็ยังมีเพื่อนอีก คนที่ตอนนี้เป็นต�ำรวจอยู่สันติบาลชื่อ พล.ต.ต.จิรยุส ยุกตะเสวี สามคนจะสนิทกัน มาก มีผม แซม จิรยุส ไปไหนมาไหนด้วยกัน ตลอด พอจบก็ยังไปเรียน มช. ก็ยังไปด้วย กัน แต่ผมไปช้ากว่าปีหนึง่ เพราะว่าผมไปอยู่ที่
116
สงขลานครินทร์แล้วปีต่อมาก็ไปสอบใหม่ ตอนนัน้ มีใครอยู่สงขลาบ้างครับ ผมไปสงขลานครินทร์ที่เป็นรุ่น ๑ นะ ตอนนัน้ ยังไม่ไปอยู่ภาคใต้เป็น Pioneer เรียน อยู่ที่ตรงแถว ๆ โรงพยาบาลสงฆ์ แล้วเราก็ไม่ ชอบ คือผมคิดว่ามันน่าเบื่อก็เลยไปสอบใหม่ พี่ไปอยู่ที่วชิราวุธฯ ได้อย่างไร มีคนใน ตระกูลอยู่มาก่อนหรือเปล่าครับ ก็พอดีว่าน้าผมเป็นครูอยู่ที่วชิราวุธฯ ครูถนอม บัวทองศรี ตอนนัน้ อยู่บ้านเดียวกัน เลย แล้วตอนหลัง ๆ นี่ ท่านก็ย้ายไปรู้สึกว่า ตอนนีท้ ่านอยู่ที่หมู่บ้านเสรี
พวกผมก็ทันกับคุณครูถนอม อ้าว ! นีท่ ันกันเหรอ ตอนนีท้ ่านก็ยัง แข็งแรงอยู่นะ แข็งแรงดี แล้วการที่พี่เป็นหลานคุณครูถนอม ท�ำให้เข้า โรงเรียนง่ายขึ้นหรือเปล่าครับ ตอนนัน้ ผมว่าวชิราวุธฯ ไม่ได้เข้ายาก นะ ไม่ได้มีกติกาหรือพิธีรีตองอะไรมาก เหมือนปัจจุบัน สมัครไปก็สอบเข้าได้เลย สอบสัมภาษณ์ก็ยังไม่มีนะเพราะคนยังอยาก เข้าน้อยอยู่ คือพอเข้าได้แล้วก็ไปพบ ผู้บังคับการ ส่วนหนึง่ ที่คนเข้าน้อยคงเป็น เพราะยังกลัวโรงเรียนประจ�ำอยู่ เมื่อก่อน เดือนหนึง่ ได้กลับบ้านหนเดียว ตอนผมอยู่กลับบ้านวันเสาร์ เข้าเช้า วันจันทร์ ก็คือกลับมานอนบ้านสองคืนแล้ว ผมก็ต้องกลับบ้านเองนะเพราะว่าพ่อแม่อยู่ ต่างจังหวัด ตอนอยู่เด็กเล็กสามนีก่ ็มีคุณครู ถนอมไปรับไปส่งแต่พอมาอยู่พญาไทก็ไปกลับ ได้เอง แล้วปรับตัวได้ทันทีหรือเปล่าครับ หรือว่ามี ญาติผู้ใหญ่แล้วจะท�ำให้ปรับตัวได้ง่ายขึ้น ญาติผู้ใหญ่นี่ไม่ได้มีส่วนช่วยนะ ไม่มี เส้นหรอก ถ้าถามว่าปรับตัวได้ไหม ผมก็ใช้ เวลาพอสมควรเพราะอยู่บ้านเราสบาย อยู่ โรงเรียนต้องท�ำเตียงเอง เดี๋ยวนีก้ ็ยังท�ำเอง ใช่ไหม พอท�ำแล้วครูเดินมาตรวจก็เอาเหรียญ โยน ถ้ามันไม่เด้งนีก่ ็ต้องท�ำใหม่ อีกสิ่งที่
โรงเรียนสอนมาก็คือเรื่องอาหารการกิน ต้อง กินได้ทุกอย่าง ตอนนัน้ แต่ละคณะจะแยกท�ำ อาหารไม่มีครัวรวม แล้วเด็กเล็กสามกับ จิตรลดานีจ่ ะอาหารดีที่สุด สมัยก่อนสถานที่ยอดนิยมยามราตรี มีที่ไหนบ้างครับ สมัยก่อนส่วนใหญ่ก็ไปประตูนำ�้ ไป กินข้าว มันเป็นเหมือนกับความเท่ห์อย่างหนึง่ คือเราหนีโรงเรียนแล้วไม่โดนจับได้ ออกไปกิน ข้าวราชวัตร หรือไม่ก็หอยทอดประตูน�้ำ ตอนอยู่โรงเรียนมีกิจกรรมอะไรที่ท�ำให้พี่ ประทับใจบ้างครับ เช่น กีฬา ดนตรี ไม่ค่อยมีหรอก ปกติเราถึง Season ไหนก็ไปเล่นกีฬาชนิดนัน้ ใช่มั้ยครับ เรื่อง ดนตรีนี่ผมก็เป่าปี่สก๊อต พญาไทจะมีเป่าปี่ สก๊อตอยู่ไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่พญาไทกับ จิตรลดาจะออกไฮโซ แต่พวกดุสิตกับ ผู้บังคับการจะออกแนวลุย ๆ บู๊ ๆ พญาไทนี่ จะหรูพอ ๆ กับจิตรลดา หรูนคี่ ือคุณภาพชีวิตดีกว่าหรืออย่างไรครับ นัน่ แหละ คือเราไม่ได้ท�ำตัวหรู แต่ การเฮี้ยบการอะไรของผู้ก�ำกับคณะจะไม่ค่อย มากนัก ตอนนัน้ จิตรลดาก็มีครูอรุณ ครูดุสิต และก็ครูอุดม คณะผู้บังคับการนีก่ ็ตัวท่าน พระยาภะรตราชาเองเลย ไม่ต้องพูดถึงนะ แต่ไอ้เรื่องการหนีโรงเรียนนี่ผมว่ามันน้อยมาก กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 117
คือน้อยมากที่จะไม่หนี แล้วเมื่อก่อนพญาไท เราก็ใช้วิธีส่องไฟ เดี๋ยวนีค้ งไม่มีแล้ว ตอนนี้ใช้การท�ำใบครับ คือรวม ๆ รายการมา แล้วก็จ้างบ๋อยออกไป ก็คงคล้าย ๆ กัน เมื่อก่อนเราก็ไปส่อง ส่องเรียกให้มารับรายการ แล้วก็ส่องเพื่อจะไป เอาอาหารมา พอมาถึงนีก่ ็ไม่ใช่จะได้กินแบบ เป็นสุข เพราะรวยเพื่อนไง แย่งกันกิน ช้อนก็ ไม่มีหรอก แกะห่อออกมาปุ๊บ! ก็พรึบ! รวด เดียวหมด น่าจะเหมือนกัน อย่างบางคนนี่ มันถุยน�้ำลายไว้เลย แต่เด็ก ๆ เราก็ไม่มีกลัว ถุยได้ถุยไปกูจะกินซะอย่าง อย่างผมตอนอยู่พญาไทนีก่ ็รู้สึกว่าจะ เป็นพวกสุขนิยม คือกีฬาก็เล่นเอาสนุก นีก่ ็คล้าย ๆ กัน คือเราจะโดนเพื่อน อิจฉาเพราะเราเฮฮากว่ากินดีกว่า แล้วชีวิตในโรงเรียนสอนอะไรที่น�ำมาใช้ใน ปัจจุบันได้อีกครับ ผมว่าการที่เราจบมาจากวชิราวุธฯ สิ่ง ที่ได้คือการปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ คือถูกสอนมาตั้งแต่เด็กที่มานอนกันที่สนาม รักบี้หน้าโรงเรียน แล้วตอนนีท้ ี่ผมมาอยู่สาย ปกครอง เวลาท�ำอะไรก็ไม่ต้องเสแสร้งเพราะ มันเป็นอะไรที่เราเคยท�ำมา โรงเรียนจะสอนให้ เราอยู่ได้ทุกรูปแบบหรูก็ได้ติดดินก็ได้ ตรงนี้ ผมได้เอามาใช้เยอะมากในการท�ำงาน โดย เฉพาะเรื่องการคบเพื่อน รุ่นผมมีคนหนึง่ ที่เป็น
118
ลูกเจ้าของร้านตัดผม คือทุก ๆ คนอยู่ใน สถานะเดียวกันหมด ไม่มีใครรวยใครจน สิ่งที่เราได้การสอนมาเช่นนีจ้ ะหายากที่โรงเรียน อื่น นี่ไม่ได้คุยทับนะแต่เป็นเรื่องจริง เมื่อก่อนก็มีคนเล่าว่า มีพวกขายควายมา เรียนอะไรแบบนี้ ก็จริงนะ เมื่อก่อนมีจริง ๆ แล้วมีคน หนึง่ เป็นเจ้ามือไพ่ชื่อชัยวัฒน์ สงฆ์เปรื่อง พอ จบมาก็ไปอยู่ที่เกษตรศาสตร์ แล้วก็ไปท�ำสวน เขามีพรสวรรค์เรื่องแจกไพ่นนี่ ะ แจกให้ใคร ป๊อกได้หมดเลย แต่เขาไม่โกงมันเลยมีคนเล่น กับเขาเยอะ แล้วก็ไปเล่นที่โรงเรียนบ่อย แต่ หลัง ๆ เขาเป็นมะเร็ง ตอนนีก้ ็เสียชีวิตแล้ว เสียไปสักสองสามปีแล้วมั้ง น่าจะมีคนเคยเจอ นะ ชัยวัฒน์นกี่ ็เหมือนวันชัย หงษ์เหิน เดี๋ยวนี้ มันยังไปโรงเรียนอยู่หรือเปล่า พี่โจ๊ยนี่ยังไปเกือบทุกวันเลยครับ ลงไปเล่น รักบี้ เล่นทีมรวมชราด้วย มันยังแข็งแรงอยู่นะใช่มั้ย ? แล้ว เดี๋ยวนีท้ ี่ไปก็มี พล.ต.ต.เจตนากร แล้วก็ สุรพงษ์ ทองมา สุรพงษ์นี่เดี๋ยวนี้มันก็ยังอยู่ แถวนี้ มันรุ่นน้องผมสัก ๒-๓ รุ่นละมั้ง รู้สึก จะรุ่น ๔๓ วันก่อนมันมาหาผม มาบอกว่า “พี่ ผมอยู่แถวนีน้ ะ” เดี๋ยวนี้มันข้ามชายแดน ข้ามไป ๆ มา ๆ ทางโป่งน�้ำร้อน ข้ามสบายเลย มันบอกว่ามันเป็นน้องผู้ว่าฯ
นักเรียนเก่าฯ รุ่นเดียวกันที่อยู่ฝ่ายปกครองนี่ มีใครบ้างครับ อย่างพี่จุลสิงห์ รุ่นผมนี่ จุลสิงห์ไม่ได้เป็นฝ่าย ปกครองนะ เขาเป็นอัยการ ฝ่ายปกครองรุ่น ผมนี่ไม่มีเลยมั้ง รู้สึกจะมีผมคนเดียว ต�ำรวจ ก็รู้สึกจะมีน้อยรับราชการกันน้อยมาก พี่ตั้งใจจะท�ำงานสายนีต้ ั้งแต่จบจากวชิราวุธฯ เลยหรือเปล่าครับ คืออย่างนี้ พ่อผมท่านเป็นต�ำรวจ ผม ก็มองเหรียญด้านเดียวคือด้านที่เป็นต�ำรวจ ผมเลยมาคิดว่าต�ำรวจนี่เราไม่เป็นเด็ดขาด เพราะบางทีเดือนหนึง่ ผมไม่เจอพ่อแม่เลย อย่างที่บอกว่ากลับบ้านเองทุกวันเสาร์ พ่อแม่ อยู่ต่างจังหวัดพอกลับบ้านไปก็ไปอยู่กับ
คุณครูถนอมนี่แหละท่านก็เป็นคนดูแล ดังนัน้ เราเลยคิดว่าไม่เป็นต�ำรวจ แต่เราไม่เคยเห็น ด้านที่เป็นฝ่ายปกครอง พอเรียนจบมาตอนนัน้ มีการเปิดสอบนายอ�ำเภอ ผมก็ไปสอบ ครั้งแรกไปเป็นนายอ�ำเภอที่ไหนครับ ครั้งแรกเลยนะ ผมไปเป็นนายอ�ำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก ผมว่ามันเป็นที ่ ๆ สุดยอดเลยสมัยนัน้ ใน ๑๐ อ�ำเภอที่กันดาร ที่สุดนีต่ ้องมีท่าสองยางติด ๑ ใน ๑๐ ทั้งอ�ำเภอมีร้านอาหารร้านเดียว ปิดตอน สองทุ่มด้วยนะ ถ้าออกตรวจพื้นที่แล้วกลับดึก ก็จะไม่มีอะไรกิน ผมไม่กินบะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป ตั้งแต่ออกจากท่าสองยางจนปัจจุบัน คือได้ กลิ่นก็จะอาเจียนแล้ว ตอนนัน้ ถ้ากลับมาเร็ว กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 119
ร้านเปิดอยู่ เราก็จะเข้าไปกินแล้วก็ไม่ต้องสั่ง อาหารเพราะเขาก็จดว่าเมื่อวานนายอ�ำเภอกิน อะไร วันนีต้ ้องให้กินอะไร เขาก็ยกมาเลย เงิน ก็ยังไม่ต้องจ่าย สิ้นเดือนจ่ายทีเดียว แต่ถ้า วันไหนกลับมาดึก ก็เอาบะหมี่หักใส่จานเติม น�้ำร้อนเข้าไปไม่ต้องมีเนื้อไม่ต้องมีผัก ตั้งแต่ท�ำงานมา เหตุการณ์ไหนที่ตื่นเต้นที่สุด ในการท�ำงานครับ ผมว่าเรื่องที่ตื่นเต้นที่สุดก็ตอนอยู่ ท่าสองยางนี่แหละ มันเป็นอ�ำเภอชายแดนติด กับพม่า แล้วก็มีพวกชนกลุ่มน้อย พวก กะเหรี่ยง มันยิงกันประจ�ำทุก ๆ คืนก็จะได้ยิน
120
สิ่งหนึง่ ที่โรงเรียนสอนเรามา อย่างยิ่งก็คือการเป็น ผู้มีความกตัญญูรู้คุณ ส�ำนึกนีจ้ ึงมีคติธรรม กตัญญูประจ�ำฝังจิต เสียงปืน ถ้าคืนไหนเงียบนี่ผิดปกติแสดงว่า วันนัน้ ต้องมีเหตุการณ์ร้าย ถ้าเงียบนีค่ ือมัน เริ่มไม่ดีละ อย่างเวลาผมนัง่ ท�ำงานอยู่ ก็จะมี คนเตะฟุตบอลกัน แล้วฝั่งนู้นก็มีเสียงปืน ยิง กันไปยิงกันมา ไม่น่าเชื่อว่าเราจะเคยชินได้ ขนาดนัน้ แล้วทีนี้มันมีอยู่วันหนึง่ พวกกะเหรี่ยง ที่เป็นสายข่าวก็มาบอกเราว่า วันนี้สองทุ่มพม่า
จะบุกเข้าค่ายกะเหรี่ยง โดยจะใช้วิธีอ้อมมาฝั่ง ไทยแล้วเข้าตีจากทางด้านหลัง พอผมรู้ก็ไป กระจายข่าวให้ประชาชนออกจากบ้านมานอน บนถนน คืนนัน้ ยิงกันไฟไหม้เลยเสียหายไป ๑๗ ล้าน พวกที่อยู่ตอนนัน้ ก็มีฝ่ายปกครอง ต�ำรวจ ทหาร เราใช้ปืน ค. ยิงขู่เข้าไป มันก็ สวนกลับมาคือเราพยายามไม่ให้มันเข้า ขู่มัน ว่าไง ๆ ก็ห้ามเข้ามันก็ไม่เข้ามา วันนัน้ เป็นเหตุการณ์ที่ลืมไม่ลง เราก็ จะแย่แล้วแต่ก็ยังต้องคอยดูแลชาวบ้านด้วย ท�ำสองอย่างคือปะทะด้วยแล้วก็ต้องสร้าง มวลชนด้วย เหตุการณ์ครั้งนัน้ ถือว่าใกล้ตัวที่สุดแล้วหรือ เปล่าครับ ใกล้ตัวที่สุดแล้ว ผมคิดว่าอาจจะตาย ก็ได้เพราะบ้านใกล้ ๆ ผมพังหมด อย่างบ้าน ข้าง ๆ ของสัสดีอำ� เภอก็ยุบไปทั้งหลัง กอง ร้อยอาสาสมัครก็พัง บ้านผมมีแค่กระจกแตก ไม่น่าเชื่อ มีพระอะไรหรือเปล่าครับ ผมบูชาท่านหลวงปู่ทวดนะ อย่างนี้มันเป็นการละเมิดอธิปไตยไม่ใช่เหรอ ครับ ใช่ แต่เราก็ได้ค่าชดเชยกลับคืนมา คือตอนที่เหตุการณ์มันสงบแล้ว ผมก็ให้ปลัด อ�ำเภอไปส�ำรวจความเสียหาย แล้วก็ส่ง
รายงานผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ได้ ค่าชดเชยมา ๑๗ ล้าน ก็มันยิงเข้ามาฝั่งไทย เสียหายหมดเลย ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ อย่างโทรศัพท์นที่ ั้งอ�ำเภอมีสองเครื่อง เป็น ตู้สาธารณะหน้าอ�ำเภอเครื่องหนึง่ อีกเครื่อง อยู่ที่ร้านอาหาร เวลามีโทรศัพท์มาหาผมเขาก็ ขี่รถมาตาม หลัง ๆ ผมก็เลยไปลากเบอร์มา จากแม่สอด เช่าคู่สายเดือนละพันบาท สมัยนัน้ แพงเหมือนกันนะ จากการที่พี่ได้ท�ำงานร่วมกับบุคคลภายนอก ท่านคิดว่าพวกเขามองเด็กวชิราวุธฯ อย่างไร ครับ ผมว่าเขามองดีนะ เขามองว่าเรา สามารถเข้ากับประชาชนได้เป็นอย่างดีเลย ผมมั่นใจเช่นนัน้ อย่างที่นกี่ ็เห็นว่าเรามี Connection กันดีมาก วันก่อนที่คุณตันติพา นางสาวไทยมา ก็มานอนที่นี่ (โรงแรม ดิ โอวี คันทรี รีสอร์ท - ผู้เรียบเรียง) คนเขาก็แปลกใจ ว่าพวกวชิราวุธฯ มาต้องมานอนโรงแรมของ วชิราวุธฯ คือเราช่วยกันได้มากในภาคเอกชน ภาคธุรกิจ อย่างสุรพล เศวตเศรณี รองผู้ว่าการท่องเที่ยวฯ ก็ช่วยผมได้เยอะ โดยสรุปนะ ผมว่าโรงเรียนได้สอนให้ เราทุกคนปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ได้ เป็นสิ่งซึ่งพวกเราน่าจะภาคภูมิใจ ถ้าเป็น โรงเรียนอื่นที่เช้าไปเย็นกลับความผูกพันมันก็ น้อย อย่างพวกเราเวลาไม่มีกินก็ไม่มีกินด้วย กัน เวลามีกินก็มีกินด้วยกันผูกพันกันมาก กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 121
เพราะเราอยู่ด้วยกันตั้งแต่เด็กแก้ผ้าอาบน�้ำ ด้วยกันมา ในโอกาสที่วชิราวุธฯ จะครบ ๑๐๐ ปี พี่ อยากจะเห็นอะไรตรงนีค้ รับ ผมว่าวชิราวุธฯ เรานี่อยู่ได้เพราะ พระเจ้าอยู่หัวฯ นะครับ ทางสมาคมฯ น่าจะ จัดกิจกรรมบางอย่างเพื่อเทิดทูนพระองค์ท่าน เพราะว่าโรงเรียนเรา ส่วนหนึง่ ก็คือค่าใช้จ่าย ส่วนพระองค์ที่พระราชทานมาช่วยมากพอ สมควร คิดว่าถ้าใครมีปัจจัยสักก้อนก็เอามา ท�ำโครงการถวาย นี่ผมก็แค่คิดนะ แต่ต้อง ฝากเป็นหน้าที่สมาคมฯ คือแบบนีน้ ่ะ ผมว่า ลูกวชิราวุธฯ ทุกคนเต็มใจจะช่วยเหลืออยู่แล้ว และสิ่งซึ่งพวกเราต้องภูมิใจมากที่สุดคือโอกาส ที่ได้มาเรียนวชิราวุธฯ โอกาสที่เราได้มาเป็น ลูกวชิราวุธฯ เรารู้อยู่แล้วว่าโรงเรียนเราไม่เน้น เรื่องการเรียน แต่ถึงอย่างนัน้ เราก็มีนกั เรียนที่ ได้ที่ ๑ ประเทศไทยนะ อย่างรุ่นผมก็มี ดาวฤกษ์ หมอดาวฤกษ์นกี่ ็น่าจะลองไป สัมภาษณ์เขาดูบ้าง วันก่อนผมยังโทรคุยกัน อยู่เลยจะขอวัคซีนป้องกันหวัดสายพันธุ์ใหม่ ซะหน่อย ปกติเขาไม่ฉดี ให้หรอกแต่บางทีเรา ลงพื้นที่ก็ร้องขอไป ตั้งแต่พี่มาอยู่จันทบุรี มีเรื่องอะไรที่ท�ำให้ ล�ำบากใจไหมครับ ไม่มีหรอก คือเราอยู่ที่ไหนก็ได้ โรงเรียน สอนมาแบบนี้เรามีความสุขก็ท�ำงานได้สบาย
122
ตอนอยู่สุรินทร์ผมก็สร้างศาลหลักเมือง มาอยู่ นีก่ ็มีหลวงพ่อรูปหนึง่ ท่านจะสร้างพุทธมณฑล ก็ไปช่วยท่านหาเงิน ถวายท่านไปล้านหนึง่ แล้ว แล้วที่นกี่ ็มีนกั เรียนเก่าฯ เยอะนี่ อย่างโรงแรม ของปูนกี่ ็มีคนมานอนบ่อย ๆ Connection มันเยอะ จริง ๆ ถ้าหนังสือคุณลงไปว่าใครอยู่ ในธุรกิจอะไรบ้างมันก็จะช่วยได้เยอะมากนะ เช่น ที่ชุมพรคาบาน่า ตอนผมเป็นรองผู้ว่าฯ อยู่ที่นครนายก เขาก็ไปท�ำศูนย์ภูมิรักษ์เราก็ไป ช่วยเขาตั้งแต่เริ่มบุกเบิก มีพวกพี่ดุสิต นนทะนาคร พี่ภราเดช พยัฆวิเชียร ก็เจอกัน บ่อย ในฐานะที่พี่ได้ผ่านชีวิตมีประสบการณ์ มามาก อยากให้พี่ฝากข้อคิดให้แก่นกั เรียน วชิราวุธฯ ทุกคนครับ ผมว่าข้อคิดนีค่ ือเราได้มีโอกาสเข้าไป เรียนในโรงเรียนที่ดีที่สุดในประเทศไทย วชิราวุธฯ ไม่ได้สอนเฉพาะเรื่องของการเรียน หนังสือ แต่ยังสอนเรื่องการเข้าสังคม เรื่อง การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ ซึ่งโรงเรียนอื่นไม่ ได้สอนอย่างเรา มันเป็นโอกาสอันดีที่เราได้มา เป็นลูกวชิราวุธฯ ไม่ว่าจะรุ่นปัจจุบันหรือรุ่นที่ จบไปแล้วก็ตาม ซึ่งถ้าพวกเรามีโอกาสน่าจะ ท�ำอะไรก็ตามที่สนองพระราชด�ำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพราะพระองค์ทรง ดูแลเอาใจใส่ พระราชทานปัจจัยต่าง ๆ ช่วยเหลือเรามาโดยตลอด พวกเราควรจะ ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และสิ่งหนึง่ ที่
โรงเรียนสอนเรามาอย่างยิ่งก็คือการเป็นผู้มี ความกตัญญูรู้คุณ ส�ำนึกนีจ้ ึงมีคติธรรม กตัญญูประจ�ำฝังจิตให้ นี่อย่างหนึง่ และอีก อย่างคือการปรับตัวได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องมาเปิดต�ำราว่าเจอเรื่องนี้ เราต้องมาท�ำ แบบนี้ แต่วชิราวุธฯ สอนว่า ถ้าเจอแบบนี้ แล้วเราจะต้องท�ำอย่างไร มันเข้าไปอยู่ใน จิตวิญญาณ
ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) อาทิตย์ ประสาทกุล อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ (รุ่น ๗๑) กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖) ธนกร จ๋วงพานิช (รุ่น ๗๗) สัมภาษณ์ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) กรรณ จงวัฒนา (รุ่น ๗๖) เฉลิมหัช ตันติวงศ์ (รุ่น ๗๗) ถ่ายภาพ สถาพร อยู่เย็น (รุ่น ๗๖) เรียบเรียง กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 123
คอมมอนรูม เรื่องสบายสไตล์โอวี
ไข่
ด.ช. นักเรียนประจ�ำ
ตอน บทเรียนแรก
หลังจากที่จบวิชาการเอาตัวรอดในโรงเรียนประจ�ำระดับประถม ๕ และยังคงเหลือวิชา ขั้นสุดท้ายของฝั่งเด็กเล็กในระดับประถม ๖ อีกปีหนึง่ จากนัน้ ทางโรงเรียนจะต้องให้ย้ายข้าม ฝั่งจากคณะเด็กเล็กเข้ามาสู่แดนสนธยา ที่มีหลักสูตรอีก ๖ ปี หรือที่พวกเราเรียกว่า “คณะใน” แต่ “ไข่” เด็กชายจากแดนใต้ที่พ่อแม่ส่งให้มาเรียนหนังสือที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยตามพ่อและ พี่ชายกลับถูกส่งตัวเข้ามาคณะในก่อนเวลาอันควร สาเหตุจากที่ “ไข่” สามารถสอบวิชา “วานรตาใส” ได้คะแนนดีเกินกว่าพวกเพื่อนในรุ่น ด้วยความสามารถส่วนตัวทีม่ รี ะดับความซนน้อยกว่าลิงนิดหน่อย อีกทัง้ ยังมีระดับความดือ้ เข้าขัน้ ดื้อตาใสคือ พอครูว่าก็รับปากแต่พอลับหลังก็ท�ำต่อไป และประกอบกับไข่มีพี่ชายคนกลางที่ ค่อนข้างสนิทกันและแก่กว่าไข่หนึ่งปีที่ถึงคิวที่จะต้องย้ายข้ามฟากมาก่อน คุณครูสุทิพย์ เจ้าคณะเด็กเล็กสามสมัยนัน้ จึงตัดสินใจส่งไข่ข้ามฟากมาพร้อมกับพี่ชาย เพื่อต้องการให้ไข่ได้รับ การถ่ายทอดวิชาเอาตัวรอดขั้นสูงสุดจากบรรดารุ่นพี่ก่อนเวลานิดหนึง่ และหวังว่าจะช่วยให้วิชา วานรตาใสของไข่ลดระดับลงมาให้อยู่ในระดับปกติ
124
ไข่ถูกส่งเข้ามาเด็กในพร้อมกับรุ่นพี่ชายและเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันที่มีระดับวานรตาใสสูง พอๆ กันอีก ๙ คน เข้ามาอยู่คณะในเป็นคณะที่คนในตระกูลของไข่ต่างก็เคยเรียนมาก่อนหน้า แล้วตั้งแต่ พ่อ อา และพี่ชายคนโต วันแรกของการได้เข้ามาอยู่ในคณะในนัน้ ตั้งแต่ก้าวแรกที่ก้าวลงจากรถพ่อที่มาส่ง ไข่ก็ สามารถสัมผัสได้ถึงความลี้ลับที่ส่งรัศมีเข้ามาจับบริเวณต้นคอจนขนลุก แต่ถ้าจะให้สรุปความ รู้สึกวันนัน้ ละก็คงสรุปได้ว่า วันนัน้ คงเป็นวันที่ไข่รู้สึกว่าตัวเล็กที่สุดในชีวิตแล้ว หลังจากทีเ่ ก็บข้าวของเข้าตูส้ ว่ นตัวแล้ว ก็ถงึ เวลาทีจ่ ะออกไปเจอรุน่ พีอ่ กี ประมาณร้อยกว่า คน “แล้วจะต้องท�ำยังไงบ้างล่ะเนี่ย” ไข่นกึ ในใจ ไข่ยังโชคดีที่มีพี่ชายคนโตเข้ามาก่อนแล้วหลายปี จึงพอจะได้รบั การถ่ายทอดวิชาการเอาตัวรอดอยูบ่ า้ ง สิง่ ทีพ่ ชี่ ายคนโตก�ำชับนักก�ำชับหนากับไข่ดำ� เลยคือ “จ�ำไว้เดินก้มหลังเข้าไว้ เวลาเดินผ่านรุ่นพี่” “เอาละวะ ก้มมันตั้งแต่เดินออกจากตู้เลยแล้วกัน” ไข่คิดในใจ พอตัวเริ่มพ้นห้องตู้เก็บ ของส่วนตัว ไข่รีบปรับระดับสายตาในการน�ำทางให้ตำ�่ ลงมาด้วยการก้มหลัง จนอยู่ในระดับเห็น พืน้ ครึง่ หนึง่ และเห็นทางข้างหน้าครึง่ หนึง่ ก้าวออกมาได้ไม่มกี กี่ า้ วก็มเี สียงแผดก้องมาจากบริเวณ ช่องลมของคณะ “เด็กกกกกกกก...เด็กกกก คน” ไข่เหลียวมองต้นเสียงจากช่องลม โอ้ววว! ที่ช่องลมเต็มไปด้วยบรรดาจอมขมังเวทย์รุ่น พี่ ที่แต่ละคนล้วนแล้วแต่ชื่อเสียงโด่งดังทั้งนัน้ นัน่ มัน ‘พี่พจน์ เดอะ เมจิค’ สุดยอดฟลายฮาล์ฟ ที่สามารถโยกตัวหลอกคู่ต่อสู้ให้ยืนจังงัง เหมือนโดนมนต์สะกดหลอกเอาลูกเข้าไปวางทรัยแบบ หน้าตาเฉย โอ้ววว! แม่เจ้า! วันนี้ได้เห็นตัวเป็นๆ แล้ว โอ้วววว! แล้วนัน่ ‘พี่ทศ มาราโดน่า’ ฮุค เกอร์ที่มีรูปร่าง ลีลาการเล่นและความอึดเปรียบได้กับมาราโดน่าของวงการรักบี้เลย แล้วนัน่ พี่... “เพี๊ยะๆๆๆๆ” “โอ๊ยย” ไข่ร้องเสียงหลง หลังจากรู้สึกเหมือนมีอะไรมากระแทกบริเวณโหนกหัว ขัด จังหวะการชื่มชมซุปเปอร์สตาร์รุ่นพี่อย่างขัดใจ หันกลับไปดูที่มาของวัตถุลี้ลับนัน้ จึงได้รู้ว่าเป็น ฝ่ามือที่เหวี่ยงว่ามาแบบเบิร์ดๆ หรือที่เรียกว่า ‘เบิร์ดกระบาล’ จากรุ่นพี่คนหนึง่ ที่เดินออกมาจาก ห้องตู้ตามหลังไข่มา “พี่เขาเรียก เด็กคนหนึง่ ท�ำไมลื๊อไม่ไปวะ” “เออ... ผมไม่ทราบครับ” “เวลาเขาตะโกนว่า ‘เด็ก’ หรือ ‘เด็กคน’ นัน่ หมายถึงพี่เขาต้องการใช้ให้รุ่นน้องไปท�ำอะไร ให้ แล้วใครที่อยู่แถวนัน้ ที่ได้ยินเสียงแล้วรู้ตัวว่าเด็กที่สุดต้องรีบวิ่งไปหาพี่เขาทันที” รุ่นพี่คนนัน้ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 125
บทเรียนแรก วิชาเสนอหน้ารุ่นพี่ วัตถุประสงค์ รับใช้รุ่นพี่ ให้รุ่นพี่เห็นว่าเราเต็มใจรับใช้ เคล็ดลับ หลีกเลีย่ งการเดินผ่านช่องลมคนเดียวกรณีเป็นเด็กใหม่ หรือพยายามเดินไป พร้อมๆ กับพวกอาวุโสน้อยกว่ากรณีที่อาวุโสขึ้นมาหน่อย ถ้าไปพร้อมเพื่อนให้ชิงจังหวะออกตัว หลังนิดหนึง่ แล้วแกล้งให้ไปถึงเวลาใกล้เคียงกัน พร้อมกับแสดงอาการหืดหอบเหมือนกับกูตงั้ ใจ มาให้พใี่ ช้กอ่ นใจจะขาดแต่มาไม่ทนั (ข้อควรระวัง: อย่าไปเผลอวิง่ ช้ากว่าเพือ่ นทีอ่ ว้ นมากๆ เพราะ มันจะท�ำให้รุ่นพี่จับได้แล้วจะซวยหนัก) ขยายความ “แล้วกูจะรู้มั๊ยเนี่ย” ไข่นกึ ในใจ “เอ.... แล้วพี่ก็เป็นเด็กกว่าพวกพี่นนั่ ท�ำไมไม่ไปล่ะ?” ไข่ยังนึกสงสัยต่อไปในใจ “ก้ออั๊ว อาวุโสกว่าลื้อเห็นลื้อยืนอยู่อั๊วก็เลยไม่ไปน่ะสิวะ” อ้าววว นี่มัน ได้ยินได้ไงวะนีก่ ูคิดในใจชัดๆ โห! ต้องส�ำเร็จวิชาหูทิพย์มาแล้วแน่ๆ เลย ขณะที่ไข่ทำ� ท่าขยับจะ เดินไปที่ช่องลม “เฮ้ย ไม่ต้องแล้วมีคนไปแล้วนัน่ ไง” แบบนี้ไม่หูทิพย์อย่างเดียวแล้วพี่เขาต้องมี ตาทิพย์ด้วยแน่ๆ ไข่จึงรีบเดินออกจากบริเวณนัน้ พร้อมกับคิดต่อไปว่าคราวหน้าถ้าได้ยินเสียง เรียกเด็กอย่างนี้อีกจะต้องท�ำยังไง ไข่เดินออกจากบริเวณช่องลมมองหาพีช่ ายและกลุม่ เด็กใหม่เพือ่ รวมตัวกันไว้ เพราะเวลานี้ ไม่รจู้ ะต้องเจออะไรอีก ดังนัน้ รวมกันไว้กอ่ นดีกว่ายังไงก็คนุ้ หน้าคุน้ ตามาตัง้ แต่เด็กเล็ก แต่ระหว่าง เดินไปหากลุม่ เด็กใหม่ มันช่างเป็นช่วงทีก่ ระอักกระอ่วนมากทีส่ ดุ ไม่รจู้ ะต้องก้มหลังตอนไหนบ้าง ถ้าเดินผ่านกันซึ่งๆ หน้าแล้ว ก้มหลังก็เข้าใจได้ แต่ไอ้ที่เห็นรุ่นพี่ยืนอยู่ลิบๆ แถมไม่ได้หันมามอง ด้วยจะต้องก้มหลังมั๊ยเนี่ย “เอาวะ ก้มก็ก้มวะ กันไว้ก่อนว่าแล้ว” ไข่ก็ตัดสินใจเดินก้มหลังไป ตลอดทางที่จะเดินไปรวมกลุ่มกับเพื่อนเด็กใหม่ “ไอ้ไข่ มึงเดินก้มหลังให้หมาท�ำไมวะ” ไข่รีบมองบริเวณรอบข้างตัวเองเพื่อดูว่ามีหมาอยู่แถวนัน้ รึป่าว แล้วรีบเงยหน้าไปหาเสียง ทักที่คุ้นเคยเมื่อสักครู่ ใช่แล้วเป็นของใครอื่นไม่ได้นอกจากเสียงของ “ป้อง” เพื่อนสนิทตั้งแต่เด็ก เล็ก และเป็น ๑ ใน ๙ คน ที่ถูกส่งเข้ามาก่อนพร้อมกันกับไข่ด้วยข้อหาเดียวกัน “ป้อง” มาจากครอบครัวคนจีนมีพี่น้องหลายคนอยู่ในโรงเรียนเหมือนกัน ทางบ้านมี ฐานะร�่ำรวยจากการประกอบธุรกิจส่วนตัว จริงๆ แล้วไอ้ป้องมันชื่อ “ป้อม” แต่เนื่องจากตอนอยู่ เด็กเล็ก วันอาทิตย์ที่ทางโรงเรียนให้ผู้ปกครองมาเยี่ยม อาม่าของป้อมก็มาเยี่ยมแล้วตะโกนเรียก หลานชายว่า “อาป้อง...อาป้องมาหาอาม่าหน่อย” ตัง้ แต่นนั้ มาเลยไม่มใี ครเรียกไอ้ปอ้ งว่าป้อมอีกเลย
126
“ไอ้เชี่ยป้องไม่เห็นหมาซักตัว กูก้มหลังให้รุ่นพี่โว๊ย นี่มึงหาว่ารุ่นพี่เป็นหมาเหรอมึง” “อ้าวไอ้ไข่ พูดเบาๆ สิวะ เดี๋ยวก็ซวยกันหมดพอดี” “ทีหยั่งงี้ให้กูพูดเบา ทีแซวกูว่าก้มหลังให้หมาแม่งพูดซะ ดังเชียวมึง” ทั้งสองทักทายกันต่ออย่างถูกคอเพราะสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก เล็ก ทั้งสองใช้เวลารวมตัวกันอยู่ที่ห้องเพรบ ปะปนไปกับเด็กใหม่ เวลาช่วงบ่ายวันแรกผ่านไปอย่างเงียบเชียบจนอาบน�้ำ เปลี่ยน ชุดนอน กินข้าวเย็น เข้าเพรบ สวดมนต์ และเข้านอน ก็ยังไม่มี กิจกรรมอะไรที่แตกต่างจากตอนอยู่เด็กเล็กนัก กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 127
นักเรียนใหม่เข้านอนพร้อมเพรียงกันที่ห้องนอนเด็ก ไข่และป้องถูกจัดให้นอนติดกัน ทั้งสองเข้านอนอย่างเงียบเชียบเพราะห้องนอนเด็กไม่ได้มีแต่เด็กใหม่อย่างเดียว แต่ยังมีรุ่นพี่ที่ เข้ามาก่อนรุ่นสองรุ่น นอนอยู่ในห้องเดียวกันเรียงกันเป็นตับระบายอากาศด้วยการเปิดหน้าต่าง และพัดลมขาตั้งยาวไม่กี่ตัว ที่ถูกน�ำไปจ่อไว้กับเตียงชั้นล่างของรุ่นพี่ขาใหญ่ประจ�ำห้องนอนเด็ก ถึงแม้อากาศจะค่อนข้างจะอบอ้าวอยูพ่ อสมควร แต่ทงั้ ไข่และป้องก็พยายามจะข่มตาหลับ และนอนให้นงิ่ เพือ่ ไม่ให้เกิดเสียงลัน่ ของเตียงยามขยับตัว แต่กไ็ ม่ยากเย็นเท่าไหร่สำ� หรับทัง้ สองที่ เคยชินกับอากาศในห้องนอนมาตั้งแต่เด็กเล็กแล้ว ไข่เริ่มจะเคลิ้มหลับแต่ทันใดนัน้ เอง “ไอ้ไข่ ไอ้ไข่” เสียงไอ้ป้องเรียกมาจากเตียงข้างๆ พร้อมกับเขย่าตัวไข่เบาๆ “อะไรของมึงวะไอ้ป้อง” “กูปวดเยี่ยว” ป้องรีบแจ้งเจตนารมย์ในการปลุกเพื่อนครั้งนี้ “มึงก้อไปเยีย่ วสิวะ มาปลุกกูทำ� ไม” ไข่ค่อนข้างหงุดหงิดเพราะกว่าจะข่มตาหลับได้ต้องใช้ เวลาพอสมควร ครั้นพอเริ่มจะหลับได้เพื่อนรักดันมาปลุกซะอีก “กูรู้ แต่ห้องนอนนี่ไม่มีกระป๋องเยี่ยวตั้งไว้เหมือนตอนเด็กเล็กแล้วนะเว๊ยย.. ต้องออกไป เยี่ยวที่ห้องน�้ำข้างนอก” ป้องอธิบายเสริม “แม่งงง..รู้แล้วก็ไปสิวะ” “กูกลัวผีอ่ะ” ค�ำตอบสุดท้ายท�ำให้ไข่ตัดสินใจลุกขึ้นไปเข้าห้องน�้ำกับเพื่อนรัก เพราะรู้ว่า ไอ้ป้องมันเป็นคนกลัวผีขึ้นสมอง จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานชมรมขนหัวลุกมาตั้งแต่เด็กเล็ก ขืนไม่ลุกไปตอนนี้ไอ้ป้องก็คงไม่ลดละความพยายามปลุกไอ้ไข่ให้ลุกไปเข้าห้องน�้ำเป็นแน่แท้ ทั้ง สองคนค่อยๆ ปีนลงมาจากเตียงชั้นสองให้เสียงเบาที่สุด กลัวว่ารุ่นพี่ที่นอนอยู่เตียงชั้นล่างจะตื่น ขึ้นมาเพราะเตียงเขยื้อน พาลจะไม่ได้เข้าห้องน�้ำเสียฉิบ ป้องและไข่คอ่ ยๆ เดินออกมาจากห้องนอนเด็ก มุง่ หน้าห้องน�ำ้ ทีก่ อ่ อิฐขึน้ มาเป็นรางส�ำหรับ ปัสสาวะอยู่ระหว่างห้องอาบน�้ำกับห้องส้วม ทั้งสองเดินจวนจะถึงรางปัสสาวะ ก็ได้ยินเสียงคนตัก น�้ำอาบอยู่ในห้องน�้ำที่มีหน้าต่างเปิดออกมาตรงรางปัสสาวะพอดี ไอ้ป้องหยุดกึกทันที “เฮ้ยยย มีคนอาบน�้ำอยู่ด้วยวะ ต้องเป็นรุ่นพี่แน่ๆ เลย” “ไปเหอะ” ไอ้ป้องฉุดแขนไอ้ไข่ให้เดินกลับ “เดี๋ยวก่อนมึงไม่เยี่ยวแล้วเหรอ” ไอ้ไข่ทักท้วง “ไปเยี่ยวแถวพงหญ้าหน้าห้องนอนก็ได้ มึงไม่ไปกูไปก่อนละ” ว่าแล้วไอ้ป้องหันหลังเดิน กลับ ไอ้ไข่จึงทักท้วงขึ้นอีก “ไอ้ป้องแล้วมึงไม่กลัวผีแล้วเหรอ”
128
ไอ้ปอ้ งไม่หนั มามองแต่ตอบกลับมาลอยๆ พร้อมกับก้าวกลับไปปัสสาวะหน้าห้องนอนเด็ก ว่า “กูกลัวไอ้ที่อาบน�้ำอยู่ในห้องน�้ำนัน่ มากกว่าวะ” ไอ้ไข่ส่ายหัวกับความกลัวแบบแปลกๆ ของ เพื่อน และก�ำลังจะก้าวเดินตามไอ้ป้องกลับห้องนอนเด็ก ทันใดนัน้ เอง “นัน่ เสียงใครวะ” ไอ้ไข่หยุดขาตัวเองทันทีและหันกลับไปหาเจ้าของเสียงที่อยู่ในห้องน�้ำ “ครับพี่” ไอ้ไข่ส่ง เสียงเรียกพี่กลับไปเพราะมั่นใจว่าดึกขนาดนี้แล้วคนที่จะมาอาบน�ำ้ ตอนนี้ได้ก็มีแต่รุ่นพี่ มอห้า มอหกเท่านัน้ “มานีด่ ิ” สิ้นเสียงค�ำสั่ง ไอ้ไข่กึ่งวิ่งกึ่งเดินไปพบเจ้าของเสียงที่หน้าต่างห้องน�้ำ “ยังไม่นอนเหรอมึง” ไอ้ไข่ยังยืนก้มหน้าเพราะไม่กล้าสบตา ตอบรุ่นพี่ต่อไปว่า “มาเข้าห้องน�ำ้ ครับพี่” “มึงชื่ออะไร” “ผมชื่อไข่ครับพี่” ไข่ยังก้มหน้าตอบอยู่ “รู้จักชื่อกูมั๊ย” โอ้ววว แม่เจ้า ถามได้ไงเนี่ย กูเพิ่งจะเข้ามาวันนี้แถมยังก้มหน้าตอบ แล้วจะรู้ได้มั๊ยครับ ว่าพี่ชื่ออะไร ไอ้ไข่ได้แต่นกึ ในใจและตอบต่อไปว่า “ไม่ทราบครับ” “งั้นแบมือมา” อะไรอีกวะเนี่ย ไอ้ไข่ไม่กล้าขัดค�ำสั่ง รีบแบมือและยื่นออกไปหารุ่นพี่ในห้องน�ำ้ แต่คราว นี้ไอ้ไข่เผยอหน้าขึ้นเล็กน้อยด้วยความสงสัยว่าจะให้ยื่นมือไปท�ำอะไร แล้วภาพที่ไอ้ไข่นกึ ไม่ถึงก็เกิดขึ้น รุ่นพี่คนนัน้ ยกแขนขึ้นข้างหนึง่ แล้วเอามืออีกข้างหนึง่ ถอนขนจั๊กแร้ของตนเองออกมา ไม่เพียงแค่นนั้ รุ่นพี่คนนัน้ ยังเอาขนจั๊กแร้เส้นนัน้ วางลงบนมือที่ แบอยู่ของไอ้ไข่ แล้วพูดว่า “เอ้าก�ำเอาไว้ กูชื่อสืบ ณ บางคล้า พรุ่งนี้เอามาคืนกูแล้วจ�ำชื่อกูให้ ได้ด้วย ไปได้” ไอ้ไข่เดินกลับมาถึงเตียงนอนพร้อมกับขนจั๊กแร้หนึง่ เส้นในมือ หันไปมองทางไอ้ป้องตัว ต้นเหตุซึ่งหลับสนิทไปเรียบร้อยแล้วด้วยความหงุดหงิด ใจนึกอยากจะเอาขนจั๊กแรของพี่สืบยัด จมูกไอ้ป้องให้หายแค้น แต่ก็กลัวหายเดี๋ยวไม่มีไปรายงานตัวพรุ่งนี้ คืนแรกในคณะในของไอ้ไข่ เต็มไปด้วยความกระวนกระวายนอนก�ำมือแน่น ไม่ใช่วา่ กลัวว่า จะจ�ำชือ่ พีเ่ ค้าไม่ได้หรอกเพราะพีส่ บื ณ บางคล้า แกเป็นเจ้าของสถิตวิ งิ่ หนึง่ ร้อยเมตรของโรงเรียน ใครๆ ก็จำ� ชื่อได้แต่ไอ้ขนจั๊กแร้ของมนุษย์ลมกรดนี่สิ จะหลุดมือไปตอนไหนก็ไม่รู้ เฮ้อ!!! ไอ้ป้อง นะไอ้ป้อง...ติดตามต่อฉบับหน้า ยุทธน้อย กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 129
หอประชุม
กีฬาที่
นักเรียนวชิราวุธฯ แอบเล่นกันเอง ารกีฬาเป็นหัวใจของการศึกษาส�ำหรับบรรดาพับลิค สกูลแบบอังกฤษเนื่องจากหลักการศึกษาของโรงเรียน เหล่านีถ้ ือว่าการศึกษาที่สมบูรณ์นนั้ ต้องอาศัยองค์ ประกอบ ๔ ประการคือ ๑. พุทธิศึกษา คือการศึกษาวิชาการทั้งหลายในสาขา มนุษยศาสตร์ อาทิ ปรัชญา ภาษาศาสตร์ ดนตรี ฯลฯ ใน สาขาสังคมศาสตร์ก็มี รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ในสาขาวิทยาศาสตร์ก็มี คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา เป็นต้น ๒. จริยศึกษา คือการศึกษาที่มุ่งฝึกฝนอบรมให้ผู้เรียน มีความดีงามของกาย วาจา ใจ ๓. พลศึกษา คือ การศึกษาเพื่อร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ นอกจากนี้พลศึกษาที่ใช้กีฬาประเภท ที่ต้องเล่นเป็น ทีม เช่น รักบี้ฟุตบอล บาสเก็ตบอลหรือแอสโซซิเอชั่นฟุตบอล (ค�ำย่อของแอสโซซิเอชั่นฟุตบอลคือแอสซ๊อกซึ่งพวกป่าเถื่อนอเมริกันเลยเรียกเป็น ซ๊อกเกอร์ส่งไปเลย)
130
4. หัตถศึกษา คือการศึกษาวิชาชีพ นัน่ เอง ที่วชิราวุธฯ ก็จะเป็นวิชาปั้น ศิลปกรรม และคอมพิวเตอร์นนั่ แหละ ที่โรงเรียนวชิราวุธฯ นัน้ ก็ด�ำเนินการ ตามบรรดาพับลิคสกูลแบบอังกฤษเนื่องจาก ยึดเขาเป็นแม่แบบอยู่แล้วแต่ก็ได้ปรับให้เข้า กับประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน จริยศึกษา ทางโรงเรียนก็นิมนต์พระภิกษุของ พระพุทธศาสนามาเทศนาอบรม ซึ่งทางพับ ลิคสกูลแบบอังกฤษนัน้ เขาก็เชิญนักบวช คริสต์ศาสนามาอบรมสั่งสอนนักเรียนของเขา ส�ำหรับทางด้านพลศึกษานัน้ วชิราวุธ วิทยาลัยกับพับลิคสกูลแบบอังกฤษนัน้ แทบ จะเหมือนกันแบบพิมพ์เดียวกันเลยเพราะเน้น ความเป็น Sporting Spirit หรือการมีนำ�้ ใจ เป็นนักกีฬาเป็นเรื่องส�ำคัญที่สุด ซึ่งจุดสุดยอด ของ Sporting Spirit คือ Fairness อย่างที่ เราเรียกทับศัพท์ว่าแฟร์นนั่ แหละครับ แฟร์คือ “ความยุติธรรม” ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร กีฬาที่เป็นหลักที่ส�ำคัญส�ำหรับ Sporting Spirit คือรักบี้ฟุตบอลนัน่ เอง เพราะว่ารักบี้ฟุตบอลต้องใช้คนเล่นมากคือ ข้างละ ๑๕ คน ซึ่งการเล่นกีฬาเป็นทีมนัน้ ต้องเล่นกันแบบร่วมมือกันทั้ง ๑๕ คนเป็น หนึง่ เดียว ทุกคนท�ำตามหน้าที่อย่างสุดความ สามารถ เป็นกีฬาที่มีทั้ง Co-Operation และ Co-Ordination อย่างสมบูรณ์ คือทั้งร่วมมือ สุดก�ำลังและต้องประสานงานกันอย่างดีด้วย การเล่นต้องอาศัยความเร็ว (Speed) และ
จังหวะเวลา (Timing) ซึ่งจ�ำเป็นต้องอาศัย ไหวพริบแบบ Thinking while Moving รักบี้ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ช่วยสร้างความ สามัคคีและเป็นกีฬาที่ท�ำให้รู้ซึ้งถึงสันดาน ของคนในเวลาไม่ถึง ๒ ชั่วโมงของการเล่น เนื่องจากในกีฬารักบี้นนั้ เล่นสกปรกได้ง่าย ที่สุด เพราะมีสถานการณ์ชุลมุนอยู่บ่อยๆ กรรมการในสนามไม่สามารถที่จะเห็นการเล่น ได้ตลอดเวลาและทั่วถึง ดังนัน้ การใช้ลูกส้น กับคนที่ล้มหรือกระทืบเอาดื้อๆ รวมทั้งการ ชกหมัดสั้น ล้วง ควักบีบอวัยวะนานาประเภท ท�ำได้สบายมาก ดังนัน้ สนามรักบี้จึงเป็น สถานที่ในการเรียนรู้ Character ของคนว่า ใครเป็นผู้ดีประเภท Gentleman ที่ไม่เล่น เอาเปรียบใคร (Fair Play) หรือใครเป็นกุ๊ย ไม่มีน�้ำใจนักกีฬา ต่อไปภายหน้าจะได้จ�ำเอา ไว้จะได้ไม่เอามันคนนัน้ มาเป็นรัฐมนตรีใน คณะรัฐมนตรีในอนาคต มีกีฬาอีกชนิดหนึง่ ที่โรงเรียนวชิราวุธฯ ดูเหมือนจะลืมไปหรือว่าแกล้งท�ำเป็นลืมก็ไม่ ทราบคือ มวยสากล ซึ่งเดิมทีเป็นกีฬาที่ฮิต มากในอังกฤษและเป็นกีฬาอีกชนิดหนึง่ ที่ อังกฤษได้กำ� หนดกฎกติกาไว้เป็นมาตรฐาน ของโลกจนปัจจุบันเช่นเดียวกับฟุตบอล รักบี้ฟุตบอล เทนนิส คริกเกต ฯลฯ ความจริงกีฬาที่คนอังกฤษหรือใคร ชาติไหนที่คิดขึ้นมาเล่นโดยมีกฎกติกากันนัน้ ก็ มาจากสัญชาตญาณการต่อสู้ของมนุษย์ทั้งสิ้น แต่ถ้าสู้กันตัวต่อตัวก็ถึงตาย หรือถ้าหากยก กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 131
พวกเป็นกองทัพเข้าต่อสู้กันก็คือสงคราม ซึ่งก็ ต้องตายกันเยอะแยะ แต่สัญชาตญาณเป็นของที่ติดตัวมา กับมนุษย์และสัตว์ทุกผู้ เพียงแต่มนุษย์เรานัน้ แย่กว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก (เดรัจฉาน แปลว่า “สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังขนานกับพื้น” ส่วนมนุษย์หมายถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังตั้ง ฉากกับพื้นดิน) เพราะว่าสัตว์เดรัจฉานทุก ชนิด เช่น หมู หมา กา ไก่ เมื่อสู้กันจนแพ้ ชนะโดยอีกฝ่ายยอมแพ้แล้วก็จะไม่มีการฆ่า กัน แต่มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่ฆ่าคนที่ ยอมแพ้แล้วได้ ดังนัน้ เราต้องยอมรับ สัญชาตญาณการต่อสู้ของมนุษย์ แต่แทนที่จะ ยกพวกไปฆ่าท�ำลายล้างกันหรือสู้กันตัวต่อตัว ก็เปลี่ยนมาเล่นกีฬาแทน โดยก�ำหนดกฎ กติกาเสียก็จะได้ไม่ต้องฆ่ากัน แถมยังสนุก และได้เชื่อมความสามัคคีกันอีก ผลพลอยได้ อีกอย่างของการเล่นกีฬาคือท�ำให้ร่างกาย แข็งแรงห่างไกลจากโรคาพยาธิ มวยสากลเป็นกีฬาที่ทางอังกฤษได้ ริเริ่มให้มีกฎกติกาที่ใช้เป็นมาตรฐานใน ปัจจุบัน คือกฎของมาร์ควิสแห่งควีนสเบอร์รี (Marquees of Queensberry Rules) อันมี หลักการว่า “ท่านจะไม่ชกกันเพียงเพื่อชัยชนะ การชกกันโดยไม่ยับยั้งไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เพราะท่านต้องชนะด้วยกฎกติกา” กฎของมาร์ควิสแห่งควีนสเบอร์รีมีอยู่ ๑๒ ข้อ มีทั้งการก�ำหนดขนาดและรูปร่างของ เวทีมวย การห้ามกอดปล�้ำกัน ก�ำหนดเวลา
132
การชกเป็นยกคือก�ำหนดให้ชกกันยกละ ๓ นาที พัก ๑ นาที ต้องใส่นวม เมื่อถูกชกล้ม แล้วไม่สามารถลุกขึ้นมาได้ในเวลา ๑๐ วินาที ถือว่าแพ้ เป็นต้น การแข่งขันชกมวยในโรงเรียนและ มหาวิทยาลัยของอังกฤษสมัยก่อนนี่เขาจัดให้ ชกกันทั้งวันเลยนะครับ แบบว่าให้ชกกันจน ได้แชมเปี้ยนเลยละ อาจารย์นิยม ทองชิต ครูมวยของโผน กิ่งเพชรท่านไปเรียนที่ อังกฤษช่วงนัน้ ท่านก็เคยดูมวยประเภทชก กันวันเดียวเป็นร้อยคู่เพื่อหาแชมป์ในวันเดียว ท่านเล่าว่าได้ดู Jimmy Wilds ชกในครั้งนัน้ ด้วย ซึ่งจิมมี่ ไวส์นตี่ ่อมาก็ได้เป็นแชมเปี้ยน โลกรุ่นฟลายเวทคนแรก และเป็นเจ้าของหมัด แย๊ปซ้ายที่ครูนิยมจ�ำมาสอนโผนจนได้เป็น แชมเปี้ยนโลกรุ่นเดียวกับจิมมี่ ไวส์นนั่ เองเมื่อ หลายสิบปีต่อมา มหาวิทยาลัยแบบอ๊อกซ์ฟอร์ดกับ เคมบริดจ์นี่ เขาเคยมีทุนนักมวยให้กับ นักศึกษาด้วยนะครับ ท�ำเป็นเล่นไป แต่ ตอนหลังมีการชกกันตายบนเวทีเข้า ท�ำให้ ความนิยมของกีฬามวยสากลจึงลดลงไป เนื่องจากพ่อแม่และผู้ปกครองของนักเรียน ต่างกลัวลูกของเขาเด็กของเขาตายจึงลดการ สนับสนุนกีฬามวยลงไปอย่างฮวบฮาบ ส�ำหรับที่โรงเรียนวชิราวุธฯ นัน้ ดูเหมือนจะมีแต่คณะผู้บังคับการเท่านัน้ ที่พอ มีร่องรอยของการแอบฝึกกีฬามวยสากลอยู่ บ้าง เนื่องจากผู้เขียนผู้เป็นนักเรียนรุ่นที่ ๓๙
เมื่อเข้าไปอยู่ที่คณะผู้บังคับการก็เห็นมีนวม ชกมวยพร้อมอยู่แล้ว เพราะมีนกั มวยที่แอบ ไปชกบนเวทีต่างจังหวัดมาแล้วสองคนเป็น หัวหน้าคณะด้วย คือ อภิรมย์ พงศ์หิรัญ รุ่น ๓๗ และประสาน บุญสูง รุ่น ๓๗ ผู้เขียนส�ำรวจพบเสาแขวนกระสอบ ทรายสภาพยังดีอยู่พิงไว้ข้างห้องน�้ำ ก็เข้าใจว่า แต่เดิมคงมีการตั้งเสาเปิดเป็นค่ายมวยเป็น งานเป็นการเลยทีเดียว แต่การที่มีการถอนเสา แขวนกระสอบทรายไปสันนิษฐานว่าคงจะมี การเทปูนใหม่บริเวณนัน้ บังเอิญช่วง พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นช่วงที่มีการก่อสร้างสระว่ายน�้ำ ของโรงเรียนก็เลยมองเห็นช่องทางที่จะตั้ง เสาแขวนกระสอบขึ้นมาอีกครั้งหลังคณะ ผู้บังคับการ การปักเสากระสอบทรายใหม่มีผู้สมรู้ ร่วมคิดกันหลายคน อาทิ มนตรี เภกะนันท์ รุ่น ๓๙ ดวงดรุณ (ดุ้น) ศิริวงศ์ ณ อยุธยา รุ่น ๔๐, สมบูรณ์ (ไพลินหรือฉิม) ศรีตระกูล รุ่น ๔๐, ธีรศักดิ์ (ไชแอน) สุขะจาติ รุ่น ๔๐, ตรีฉตั ร (ไก่ ) ศิริอังกูร รุ่น ๔๐, จักร ติงศภัทย์ รุ่น ๔๓ สุรปรีชา (ยุ่น) ชัยมงคล รุ่น ๔๓ ฯลฯ พวกเราซื้อไม้มาต่อเข้ากับเสาเดิม เพราะเราตั้งใจจะขุดหลุมเทปูนฝังเสากันเป็น งานเป็นการเลย โดยไปขโมยปูนซีเมนต์ ทราย และหินมาจากสถานที่ก่อสร้างตอนกลางคืน พอได้ฤกษ์งามยามดี ไชแอนนายช่างใหญ่ (ต่อมาไชแอนก็เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่
สร้างสาขาธนาคารทหารไทยหลายแห่ง แบบ ว่าแววออกตั้งแต่เด็ก) ปรากฏว่าปูนที่ขโมยมามีปริมาณน้อย ไป แต่ได้ผสมปูนและเทลงไปในหลุมแล้ว ซึ่ง ต้องการเพิ่มทันทีทันใด ท�ำเอาผู้เขียนหน้ามืด หันรีหันขวางเจอเอา เอกชัย ชินณพงศ์ รุ่น ๔๐ ก็บอกว่าเชิงข่มขู่ให้ไปเอาปูนมาอีกให้ได้ ภายในยี่สิบนาทีซึ่งเอกชัยก็บ่นตุ๊บตั๊บ แต่ก็ เดินไปที่ก่อสร้างสระว่ายน�ำ้ และเจรจากับ ผู้รับเหมาสักครู่ก็มีคนงานแบกปูนมาส่งถึงที่ ครึ่งถุง ตอนนัน้ ผู้เขียนถอนหายใจเฮือกใหญ่ นึกในใจว่าไม่น่าเสียเวลาอดหลับอดนอนขโมย ปูนเลยให้เอกชัยไปขอดี ๆ ก็คงจะง่ายกว่านี้ เยอะ เอกชัยผู้นี้ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาศาล ฎีกา อย่างว่าละครับแววออกมาแต่เด็ก เหมือนกัน ตกลงที่คณะผู้บังคับการก็มีเสาแขวน กระสอบทรายใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่ง ก็ผ่านยุคสมัยอันยาวนานกว่า ๔๐ ปี มีการ ซ่อมแซมเสาอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งมีการ ปรับปรุงคณะครั้งใหญ่ พ.ศ. ๒๕๕๒ นี่แหละ ครับ ผู้เขียนโผล่ไปที่คณะผู้บังคับการ ปรากฏว่าหาเสาไม่เจอแล้วครับ! ฤาว่ากีฬามวยสากลจะหายไปจาก วชิราวุธฯ เด็ดขาดแล้วหรือ? โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (รุ่น ๓๙) กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 133
ศัพท์โอวี เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ
ครูคณะ (ค�ำนาม)
“ครูคณะ” ศัพท์ที่นักเรียนวชิราวุธฯ ทุกคนรู้จักกันดี ใช้มากันตัง้ แต่แรกเริม่ ก�ำเนิดคณะเด็กเล็ก ล่วงตราบเลย มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้ ครูคณะ คือ เหล่าคุณครูผสู้ อนหนังสือในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โดยอาจจะเป็นคุณครู ฝั่งเด็กเล็กสอนชั้นประถมหรืออาจจะเป็นคุณครูฝั่งเด็กในสอนมัธยมก็ได้ที่มี “จิตอาสา” เสียสละ ก้าวเข้ามาท�ำหน้าทีอ่ นั ทรงคุณค่ามาคอยปกครองดูแลนักเรียนคณะเด็กเล็กในแต่ละคณะทัง้ ๓ คณะ อันได้แก่ เด็กเล็ก ๑, ๒ และ ๓ (คณะสนามจันทร์,นันทอุทยานและสราญรมย์ในปัจจุบัน) ทุ่มเท หยาดเหงื่ อ แรงกายนอกเวลาสอนหนัง สื อ เพื่ อ อบรมบ่ ม ความประพฤติ เด็ ก วั ย ก� ำ ลั ง ซนปน ง้องแง้งทัง้ หลายให้ใช้ชวี ติ ในช่วงทีเ่ ป็นนักเรียนคณะเด็กเล็กได้อย่าง (พอจะ) เรียบร้อย แม้นจะต้อง คอยจับปูใส่กระด้งกันตลอดเวลาแต่ท่านก็ไม่หวั่น เท่าทีป่ ระวัตศิ าสตร์วชิราวุธวิทยาลัยด�ำเนินล่วงมาจวบจนจะครบ ๑๐๐ ปี คุณครูทงั้ หลาย ที่ก้าวเข้ามาเป็นครูคณะเด็กเล็กล้วนแล้วมีแต่คุณครู “ผู้หญิง” แทบทั้งสิ้นครูคณะในความทรงจ�ำ ของนักเรียนวชิราวุธฯ รุ่นอาวุโสมีอาทิ ครูพร้อม เศวตโสภณ, ครูสังวร (บุญเกตุ) ไกรฤกษ์, ครูจ�ำรัส จันทรางศุ, ครูมณี เอมะศิริ, ครูบรรจง ลวพันธุ์, ครูบุญชู พงษ์พานิช, ครูสอาดจิต เทวาหุดี, ครูบรรจง โถลานนท์, ครูสุทิพย์ พึ่งประดิษฐ์, ครูสมใจ เทียมสมบูรณ์, ครูนราทิพย์ ศรีเมธากุล ฯลฯ น้อยครั้งมากที่จะเห็นคุณครูผู้ชายก้าวเข้ามาเป็นครูคณะ ถึงแม้ว่าในบางช่วงของ ประวัติศาสตร์โรงเรียนจะมีการตั้งพี่ๆ โอวี มาเป็นผู้ก�ำกับคณะเด็กเล็กบ้างก็ตาม
134
ส�ำหรับเหล่าคุณครูผู้หญิงทั้งหลายที่ก้าวเข้ามาเป็นคุณครูคณะ ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็น คุณครูผู้สั่งสมบารมีมาในโรงเรียนเป็นเวลานาน อายุของท่านๆ จึงขึ้นด้วยเลข ๓ เลข ๔ หรือเลข ๕ กันทั้งนัน้ นานๆ ครั้งถึงจะมีคุณครูสาวๆ สวยๆ วัยใสๆ ก้าวเข้ามาท�ำหน้าที่นี้ ฉะนัน้ ยามใด ทีม่ ีคณ ุ ครูวัยสาวใสเข้ามาเป็นครูคณะ คุณครูท่านนัน้ ก็จะกลายเป็น “เทพธิดาใจดี” ของเด็กๆ อย่าง ไม่ต้องสงสัยเลย คุณครูคณะทัง้ หลายเหล่านี้ นับว่าเป็นผู้ทมี่ กี ระแสแห่งความเมตตาและความปรารถนาดี ต่อเหล่านักเรียนที่ท่านดูแลเป็นอย่างสูง ทั้งท่านยังเป็นผู้มีความสามารถพิเศษอย่างถึงยิ่งอีกด้วย นัน่ ก็คือ ท่านสามารถแปลงร่างเป็น “นางฟ้าใจดี” กับ “แม่มดใจร้าย” ทั้ง ๒ ร่างภายในกายเดียวกัน ได้ทุกเวลาตามแต่สถานการณ์อันสมควร ในเวลาทีน่ กั เรียนนัง่ ร้องไห้คดิ ถึงบ้านอยูบ่ ริเวณระเบียงหน้าคณะ ท่านก็จะรีบแปลงร่างเป็น นางฟ้าใจดีตรงปรีเ่ ข้ามาปลอบโยนด้วยความอบอุน่ จนน�้ำตาของเด็กคนนัน้ จางหาย แต่เมือ่ ใดก็ตาม ที่ท่านจับได้ว่าเด็กคนไหนท�ำผิด ไม่ว่าจะเป็นแอบคุยแอบเล่นไม่ยอมเข้าห้องเพรบ แอบเอาขนม มากิน ฯลฯ เมื่อนัน้ นางฟ้าใจดีก็จะแปรเปลี่ยนเป็นแม่มดใจร้ายในทันที โดยที่หนังตายังมิทันได้ กะพริบลงมือท�ำโทษเด็กๆ เหล่านัน้ ตีดว้ ยไม้เรียวให้เจ็บแปลบแสบๆ คันๆ หลาบจ�ำกันไปจนไม่รลู้ มื ทว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณครูคณะทุกท่านท�ำ ก็ด้วยปรารถนาที่จะอบรมนักเรียนคณะเด็ก เล็กให้ดีที่สุด เป็นพื้นฐานส�ำหรับการก้าวเข้าไปสู่คณะเด็กโต จวบจนจบออกจากโรงเรียนไปเป็นคน ดีของสังคมต่อไป ขอแสดงความระลึกถึงพระคุณของคุณครูคณะทุกท่านมา ณ โอกาสนีด้ ้วยครับ (ยังมีต่อ) เฉียด! ครูคณะ ในช่วงเย็นวันหนึง่ ของเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ณ คณะเด็กเล็ก ๒ (คณะนันทอุทยาน ในปัจจุบัน) หลังจากรับประทานอาหารเย็นเสร็จเรียบร้อยช่วงประมาณสักหกโมงครึง่ กว่าๆ เห็นจะได้ เด็กๆ นักเรียนก็พากันลงมาวิ่งเล่นกันบริเวณต่างๆ รอบคณะตามประสาของเด็กวัยก�ำลังซนเล่น สนุกสนานซึ่งก็พอจะมีเวลาให้เด็กๆ เหล่านี้ได้วิ่งเล่นให้หายสนุกกันบ้าง ก่อนจะต้องเข้าห้องเพรบ ไปท�ำการบ้านอันแสนสุดน่าเบื่อ เมื่อถึงเวลาหนึง่ ทุ่มตรง ยิ่งด้วยวันนัน้ สายฝนจากฟากฟ้าก็ได้ร่วงทอลงมาพร�ำๆ อันท�ำให้อากาศช่วงเย็นวันนัน้ แสนเย็นสุดสบายจนท�ำให้เด็กๆ ทั้งหลายไม่อยากจะต้องเข้าห้องเพรบเอาเสียเลย กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 135
ณ บริเวณใต้ถุนตึกพักครูคณะเด็กเล็ก ๒ ซึ่งมีทาง เดินไปขึน้ บันไดด้านข้างตึกคณะเด็กเล็ก ๒ เป็นเส้นทางเดียว เท่านัน้ ที่จะใช้เดินขึ้นตึกคณะเด็กเล็ก ๒ จากบริเวณ ใต้ถุนดังกล่าวนี้ ใต้ถุนที่ว่านี้ประกอบด้วยเสาหลาย ต้น อันขนาดความกว้างของเสาก็พอจะบังร่างเล็กๆ ของเด็กวัยประถมได้อย่างสนิทมิด ฉะนัน้ ใต้ถุนนี้ จึงเสมือนดั่ง “สวรรค์” ของนักเรียนคณะเด็กเล็ก ๒ ในการเล่นเกมส์ “ซ่อนแอบ” แบบ “ไล่จับ” ในเย็นวันนัน้ นักเรียนชั้น ป.๓ กลุ่มหนึง่ ก�ำลังวิ่งเล่นกันอย่างเมามัน โดยมีคู่ซี้ผิวคล�ำ้ เข้มนัน่ ก็คือ เด็กชายด�ำ (นาวาเอกสิทธิพูน ไชยนันทน์ รุ่น ๔๓) กับเด็กชายเทพสัน (พลเรือตรีเทพรังสรรค์ ศิลปบรรเลง รุ่น ๔๓) ร่วมวงเล่นอยู่กับเด็กกลุ่มนัน้ ด้วย ขณะก�ำลังเล่นกันอย่างสนุกจนฉุดไม่อยู่ ระฆังคณะบอกเวลาหนึง่ ทุ่มตรง อันเป็นสัญญาณบอกว่าต้องเข้าห้องเพรบแล้ว แต่ด้วยอารมณ์สนุกที่ยังคั่งค้างอยู่เด็กกลุ่ม นีจ้ งึ ยังคงเล่นต่อไปด้วยเพราะคิดว่าคุณครูคณะคงยังไม่รบี มาไล่จบั ไล่ตใี ห้ไปเข้าเพรบเดีย๋ วนีห้ รอก หาได้เป็นเช่นนัน้ ไม่!!! ในทันใดคุณครูสอาดจิต เทวาหุดี (ครูคณะเด็กเล็ก ๒) ก็โผล่เข้ามา ณ ประตูตรงบันได ทางขึ้นคณะเด็กเล็ก ๒ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยมาพร้อมกับ “ไม้เรียวคู่ใจ” ครูสอาดจิต: “...พวกเธอเล่นอะไรกัน มาเข้าเพรบได้แล้ว!” คุณครูทา่ นตะโกนออกมาด้วย น�้ำเสียงสุดดุ เด็กๆ ทั้งหลายก็กรูกันวิ่งขึ้นบันไดพร้อมกับถูกไม้เรียวจนแสบๆ ซี้ดๆ ของคุณครูท่าน กันไปคนละที ก่อนจะเข้าห้องเพรบ ทันใดนัน้ เด็กชายเทพสัน: “เฮ้ย ไอ้ดำ� หลบ!” แล้วทัง้ ๒ คน ก็รบี วิง่ หลบเข้าหลังเสาคนละต้น ก่อนจะหลบเด็กชายเทพสันก็ได้วงิ่ เข้าไป ปิดสวิตซ์ไฟใต้ถุนนีจ่ นบริเวณใต้ถุนมืดสนิท เด็กชายด�ำ: “เฮ้ย เทพสัน ลื้อท�ำเหี้ยไรวะ!” เด็กชายเทพสัน: “ไอ้ห่า ขึ้นไปตอนนี้ ก็โดนไม้เรียวแกสิวะ!” กระนัน้ ก็ยังมิอาจเล็ดลอดสายตาของคุณครูคณะท่านนี้ไปได้
136
คุณครูสอาดจิต: “เธอสองคนน่ะ ออกมาเดี๋ยวนีน้ ะ ชั้นเห็นนะ!” หลังจากตีเด็กคนอืน่ หมดแล้ว คุณครูกร็ บี เดินลงมาจากบันไดดังกล่าวตรงรีเ่ ข้ามายังใต้ถนุ อันมืดมิด เนื่องด้วยถูกปิดไฟไว้หมดแล้ว คุณครูคณะท่านนีค้ ่อยๆ จ�้ำเท้าเข้ามาใกล้บริเวณเสาสอง ต้นที่เด็กทั้งสองคนยืนหลบอยู่ เด็กชายด�ำกระซิบ “เฮ้ย เทพสันแกใกล้มาถึงแล้ว เอาไงดีวะ!” เด็กชายเทพสันกระซิบตอบ “เสามุมโน้น หลบ!!” เด็กทั้งสองก็รีบปรี่เข้าไปหลบหลังเสา ๒ ต้น ตรงมุมท้ายสุดของใต้ถุนอย่างรวดเร็ว นับ ว่าเป็นโชคดีอย่างถึงยิ่งที่คืนนัน้ เป็นคืนเดือนมืด ภาพที่เข้ามากระทบตาคุณครูจึงเป็นเพียงเงาขาวๆ (เสื้อนอน) ด�ำๆ (สีผิว) ของเด็กทั้งสองคนที่วิ่งเข้าไปหลบเท่านัน้ คุณครูสอาดจิต: “หนอย หลบเรอะ! ออกมาเดี๋ยวนีน้ ะ หนีไม่รอดหรอก” แล้วคุณครูก็ รีบจ�้ำตรงไปยังเป้าหมายในทันใด เด็กชายด�ำเริม่ กระสับกระส่ายพร้อมกับกระซิบถามเด็กชายเทพสันว่า “เฮ้ย เทพสันเอาไง ดีวะทีนี้ แกจะมาถึงแล้วตรงนี้มุมอับหลบไม่ได้แล้วด้วย เทพสันเงียบคิดอยู่ครู่หนึง่ แล้วในที่สุดก็กระซิบไปว่า “ไอ้ด�ำ...แก้ผ้า!” เด็กทั้ง ๒ คนนัน้ ก็ได้ถอดเสื้อนอนกับกางเกงจีนขาวที่สวมใส่อยู่จนหมดสิ้น แล้วเอาขึ้น มากอดไว้กับอก เด็กชายเทพสัน: “วิ่งๆๆ” ไม่ต้องเสียเวลาคิด เด็กทั้ง ๒ คน โกยอ้าวด้วยความเร็วสุดขีดอย่างไม่คิดชีวิต (ยิ่งกว่า ลองแข่งกรีฑาเสียอีก) สวนทางผ่านหน้าคุณครูท่านนี้ไปในพริบตา จนคุณครูคณะถึงกับตะลึง! (ไม่ คิดว่ามันจะกล้าคิดแบบนี้ได้) กว่าคุณครูจะตั้งสติได้ แล้วตะโกนสั่งให้เด็ก ๒ คนนี้หยุดวิ่งก็ไม่ทันเสียแล้ว เด็ก ๒ คน นัน้ หนีขึ้นคณะไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยความทีเ่ ป็นคืนเดือนมืดไร้แสงจันทร์ส่องช่วยประกอบกับใต้ถนุ ทีม่ ดื สนิท (เพราะถูก ปิดไฟ) และสีผิวอันด�ำคล�้ำเข้ม ช่วยเป็นเครื่องอ�ำพรางตัวอย่างดีในความมืดมิดของเด็ก ๒ คนนี้ ท�ำให้คุณครูคณะจึงมิสามารถเล็งเห็นได้เลยว่าเด็ก ๒ คนนี้ คือใคร! ในที่สุดเด็กชายด�ำกับเด็กชายเทพสัน จึงพูดว่า “เฉียดไม้เรียวของครูคณะ ไปได้อย่าง หวุดหวิด!” พลเรือตรี เทพรังสรรค์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๔๓) เล่าให้เห็น ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) เค้นเป็นเรื่อง กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 137
ซ่อม+ล้างบาง (ค�ำกริยา)
[เพลง: ซ่อมได้ ศิลปิน: ธงไชย แมคอินไตย] เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาได้มีโอกาสนัง่ เปิดดูรูปเก่าสมัยอยู่ที่โรงเรียนและเปิดเพลงเก่าๆ คลอ ไปด้วย (เหมือนคนแก่เลย) เผอิญว่าเพลงนีด้ ันทะลึ่งดังขึ้นมาน�ำให้มีไอเดียในการเขียนศัพท์ใน เล่มนี้ ผมค่อนข้างมั่นใจว่าเด็กรั้วพู่ระหงส์ทุกคนต้องรู้จักมัน (เป็นอย่างดี) แน่ทั้งในฐานะผู้กระท�ำ และผู้ถูกกระท�ำ หลังจากที่ฉบับที่แล้วผมเสนอค�ำว่าปล่อยควายไป ท่านผู้อ่าน (ที่เป็นคนนอก) อาจจะคิด ว่านี่เป็นลงโทษที่รุนแรงที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วมัน “เบา” ที่สุด วันนี้ศัพท์โอวีขออนุญาตน�ำ เสนอซีรี่ส์ที่ ๒ ของการท�ำโทษนัน่ ก็คือ “ซ่อม” และ “ล้างบาง” “ซ่อม” เป็นทั้งค�ำนาม ค�ำกริยา ค�ำขู่ ค�ำพูดที่ไม่อยากได้ยิน ฯลฯ ซ่อมคือการลงโทษ ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มใหญ่ภายในคณะ การซ่อมจะมีความโหดร้ายกว่าการปล่อยควายตรงที่ การซ่อมจะเป็นการฝึกกายบริหาร (ฟังดูน่ารักเนอะ) เช่น วิดพื้น Sit Up แบกโลก (คือการท�ำท่า สะพานโค้ง) อะไรประมาณนัน้ เป็นจ�ำนวนตั้งแต่ ๗๐๐ - จน... เอ่อ...ไม่สามารถนับได้ เอาเป็นว่า ใช้เวลาครั้งหนึง่ ไม่ต�่ำกว่า ๓-๔ ชั่วโมงละกัน ปกติจะซ่อมกันในเวลากลางคืนตั้งแต่ ๔-๕ ทุ่ม จนถึง เวลา ๒-๓ นาฬิกาของวันใหม่เรียกว่าซ่อมกันข้ามวันเลยทีเดียวเชียว
138
ซ่อมก็เหมือนกับปล่อยควายในแง่ทจี่ ะมีทงั้ ผูก้ ระท�ำและผูถ้ กู กระท�ำ ในยุคผูเ้ ขียนอยูท่ คี่ ณะ ผู้บังคับการ นักเรียนชั้น ม.๔ จะเป็น “เจ้าหน้าที่หลัก” ในการ “ปรับปรุงและซ่อมแซม” น้องๆ ที่ เตรียมโดนเชือด (ยกเว้นชั้น ม.๓ ที่เป็นชั้นติดกันเพราะถือว่าเป็นเพื่อนกัน) เพราะบางครั้งหัวหน้า คณะจะไม่ลงมือเองให้เสียเวลา แต่จะใช้ชั้น ม.๔ แทน ส่วนชั้น ม.๓ นัน้ พี่ ม.๗ (ม.๕) จะเป็น ผูล้ งมือเอง แต่กอ่ นทีจ่ ะมีการลงมือซ่อมทุกครัง้ จะต้องมีตวั แทนของรุน่ ไปท�ำการส่งสารให้กบั หัวหน้า เวรในวันนัน้ ก่อน ถ้าหัวหน้าไม่อนุญาตก็หมดสิทธิ์ซ่อมไปโดยปริยาย การที่จะ “ซ่อมเด็ก” นัน้ ต้องมีที่มาที่ไป มิใช่แต่จะเอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง โดยส่วนใหญ่การที่ จะซ่อมเด็กนัน้ จะเกิดจากการที่เด็กท�ำผิดในหลายข้อหา เช่น ไม่เกรงใจ แหกกฎ ปีนเกลียว หนีเวร เป็นต้น สะสมกันเป็นเวลานานจนพี่ทั้งชั้นโหวตให้มีการซ่อม ถึงแม้ว่าเด็กที่ทำ� ผิดอาจจะเป็นเพียง แค่บางกลุ่มแต่ในเมื่อเราถูกสอนกันมาว่า “รับผิดชอบร่วมกัน” การซ่อมนัน้ ไม่ใช่จะมีแต่ข้อเสีย ข้อดีของมันคือท�ำให้ร่างกายแข็งแรง เด็กทุกคนจะกลับ มามีระเบียบเหมือนกับการส่งของไปซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้เหมือนเดิม นอกเหนือไปจากนัน้ ยัง ท�ำให้เพื่อนกันมีความสามัคคีกันมากขึ้น เพราะจะช่วยตักเตือนกันเองไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางอีก (เพราะกลัวโดนซ่อมอีก) ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖) ปล. อยากฝากไว้เป็นแง่คดิ ให้แก่นกั เรียนรุ่นน้อง เนือ่ งจากได้ข่าวมาว่ามีหลายคนทีเ่ ป็นแฟนของคอลัมน์นี้ หวังว่าบทความนีจ้ ะช่วยให้นกั เรียนวชิราวุธฯ รุ่นปัจจุบันเข้าใจเหตุผลที่มาของการลงโทษที่เรียกว่า “ซ่อม” กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 139
สนามหลัง ข่าวสารสมาคมฯ วัน อัง คารที่ ๓๐ มิถุน ายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ หน้าตึกพัฒนาบุคลากร (ตึก หมวก) สุรเดช บุณยวัฒน อุปนายกสมาคมฯ เป็น ตัวแทนสมาคมนักเรียนเก่าฯ มอบเงินสนับสนุน ให้ นั ก รั ก บี้ ฟุ ต บอลวชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย เพื่ อ ไปแข่งขันรักบีป้ ระเพณีวชิราวุธ – มาเลย์คอลเลจ กัวลากังซาร์ เป็นจ�ำนวนเงิน ๓๕,๐๐๐ บาท
140
วันที่ ๓ - ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ณ ประเทศ มาเลเซีย สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ร่วมกับนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ได้ส่ง ทีมกอล์ฟ O.V. เข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟ ประเพณีกบั สมาคมนักเรียนเก่ามาเลย์คอลเลจ กัวลากังซาร์ (MCOBA) ครั้งที่ ๑๗ ณ สนาม กอล์ฟ Awana Golf Club เมือง GentingHighland ประเทศมาเลเซีย ระหว่างนัน้ สรุป ผลการแข่งขันกอล์ฟดังกล่าวนี้ ๑. จ�ำนวนนักกอล์ฟ O.V. เข้าร่วมการ แข่งขันทั้งหมด ๒๕ คน ๒. จ�ำนวนนักกอล์ฟ O.V. และผู้ร่วม เดินทางทั้งหมด ๔๐ คน ๓. ผลการแข่งขัน MCOBA ชนะการ แข่งขันไปด้วยคะแนน ๕๓๙ : ๔๒๙ คะแนน
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 141
142
วันเสาร์ที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๓๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ โดยสุรเดช บุณยวัฒน อุปนายกสมาคมฯ และทีมงานอนุมานวสาร ได้จัดงานปาฐกถา All gentlemen can learn ครั้งที่ ๓ เรื่อง Esprit de Corps ขึ้นที่หอประชุมโดยมี สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นองค์ปาฐกถาในครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจนักเรียนเก่าฯ ถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ซึ่ง มีผู้เข้าร่วมงานรวมทั้งสิ้นประมาณ ๓๐๐ คน
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 143
144
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 145
ฉายานุสรณ์
บทที่ ๑
เด็กบ้านป่า-มากรุงฯ ใคร ๆ ก็ไปกันได้ ต�ำรวจไม่จับ จะไป เที่ยวไปเรียน ไปท�ำงาน หรือไปอยู่.. สารพัด สารพันเหตุผลหลากหลายที่จะไปทุกคนย่อม ท�ำได้ ความฝันแรก ๆ ของเด็กบ้านนอก (เป็นชาวชนบทว่างั้นเถอะ) พอเรียนจบระดับ ประถมศึกษา ก็อยากไปต่อโรงเรียนมัธยมใน กรุงเทพฯ กันทั้งนัน้ แล้วแต่ความพร้อมของ แต่ละคนแต่ละครอบครัว นีค่ ือความทะเยอ ทะยานแรกสุดของชีวิตในวัยเรียนแรกรุ่น “เอ้อ แต่โรงเรียนไหนละที่จะไปเรียน ต่อ” ท่านล่ะตอบได้ไหมครับ เท่าที่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามกันในตอน นัน้ โรงเรียนยอดฮิตของเด็กผู้ชายคือ “สวน กุหลาบวิทยาลัย” โรงเรียนยอดฮิตของเด็ก ผู้หญิงคือ “สตรีวิทยา” แต่ไฉนเลยเล่า ถึงเข้าโรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัย ก็เมื่อมาสอบติดจาก ๖๙ คน ข้อเขียนได้ที่ ๕ คัดไว้ ๙ คน เมื่อสอบ สัมภาษณ์ประกาศผลได้ที่ ๖ คัดไว้เพียง ๖
146
คนที่โหล่หรือที่สุดท้ายนี่แหละท�ำให้ตัดสินใจ เลือกเรียนที่นี่และสละสิทธิ์โรงเรียนสวน กุหลาบไปโดยปริยาย เหตุผลส�ำคัญที่สุดคือ ที่นี่เป็นโรงเรียนประจ�ำ ถ้าไปเรียนที่อื่นจ�ำเป็น ต้องล�ำบากพึ่งพาญาติพี่น้องหรือหาหอพัก อยู่อีก วชิราวุธฯ รับนักเรียนตั้งแต่ประถม ๓ จนถึงชั้น ม.ศ. ๕ ๑๐ ชั้น ก็เรียน ๑๐ ปี (การ ศึกษาสมัยนัน้ ) นักเรียนแม้เข้า ม.ศ.๑ ก็ต้อง มาเข้าเรียนรวมกับนักเรียนเก่าฯ ของโรงเรียน ม.ศ.๑ มี ๓ ห้องเรียน ห้อง ก (เรียนเก่ง) ห้อง ข (กลาง ๆ) ห้อง ค (ขี้เกียจเรียน) เด็กใหม่สมัยนัน้ เข้าไปเรียนห้อง ค กันทั่วทุกตัวคน ไอ้ปิ๊บ (เป็นหม่อมหลวงเสียด้วย), ไอ้ บ๊อง (แพร่แห่ระเบิด), ไอ้เหนียว (สกลนคร), ไอ้ภูเก็ต (มาจากภูเก็ต), อดิศร (ต่างจังหวัด เหมือนกัน) แล้วก็ไอ้ฆ้องวง จากเมืองจันท์
ท่านละ เคยเรียนเลื่อนห้องไหม? ถ้าการเรียนของใครดี จากห้อง ค ภาคเรียนแรก (ภาควิสาขบูชา) ภาคเรียนสอง (ภาคปวารณา) ก็เลื่อนไปอยู่ห้อง ข ภาคสาม (ภาคมาฆบูชา) ก็ได้อยู่ห้อง ก นีค่ ือการเรียน ใน ม.ศ.๑ เด็กบ้านนอกที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ สู้เด็กเมืองกรุงได้ทุกวิชา ไม่ว่าจะเป็น เลข สังคม วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาไทยกลับเก่งกว่า เด็กกรุงเทพฯ เสียอีก ส่วนวิชาที่แพ้ลิบลับสู้ ไม่ได้เอาเสียเลยคือวิชาภาษาอังกฤษ เรียน ไม่รู้ ดูไม่ทัน พลันจะปวดเศียรเวียนเกล้า พาลให้เกลียดเบื่อไปเลย ท่านเห็นหรือยังล่ะ อ�ำนาจของภาษาอังกฤษ ไอ้เริญหรือคุณบิ๊กของใครบางคน ท�ำตัวเหมือนเจ้าพ่อในห้อง ค เกะกะระรานไป ทั่วเดินผ่านใครก็ต้องตบกบาลเคาะกะโหลก เขาร�่ำไป พร้อมกับด่าชื่อพ่อ “ไอ้เหนาะ” “เฮ้ย” ผัวะ ! “ไอ้บ๊อง” “....” (เงียบไม่มีเสียงตอบ) “ไอ้ข้าวเหนียว” (มันคงหมายถึงเด็ก ใหม่ที่อยู่คณะจิตรลดา เฉย ๆ เงียบ ๆ ยิ้ม บ่อยด้วยอารมณ์ดี เยือกเย็น นุ่มนวล) ก็หัน มาตอบ “อะไรวะ” ผัวะ!! ไอ้เริญก็เดินไปเรื่อยเปื่อย “ไอ้ฆ้องวง” ผมหันมาท�ำตาเขียวใส่ “ว่าไง..ลื้อจะเอายังไง” “.......” (เงียบไม่มีเสียงต่อล้อต่อเถียง)
ครูมณี พรหมประพัฒน์สอนภาษา ไทยเดินเข้ามา พวกเราก็รีบเปลี่ยนอิริยาบถ ท�ำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น “ครูจะให้พวกเราท�ำหนังสือพิมพ์ คนละ ๑ ฉบับ” ครูมณีก็พูดพร้อมกับหยิบ หนังสือพิมพ์ตัวอย่าง กางให้พวกเราดู ครูมณี เอาตัวอย่างมาหลายฉบับ “เอ้า พวกเธอเอาไปดูกัน” พวกเราแต่ละคนแต่ละคณะออกไป หน้าชั้นด้วยความกระตือรือล้น แต่ละคณะก็ ร่วม ๆ ๘-๑๐ มากน้อยแตกต่างกันไป น้อย กว่าเขาหน่อยเห็นจะเป็นคณะพญาไท จิตรลดา และดุสิตดูสูสี ส่วนคณะผู้บังคับการ มากกว่าเขาหน่อย มีไอ้พุ่ม, ไอ้เปา, ไอ้ยักษ์ (เล็ก), ไอ้โบโซ่, ไอ้ภูเก็ต, ไอ้เบรน ไอ้แฝดพี่-แฝดน้อง (วิชัย-วินจิ ), ไอถี, ไอ้กวง แล้วก็ ไอ้ฆ้องวง เลือกกันแล้วมีมติให้ไอ้ฆ้องวงเป็น บรรณาธิการ ไอ้พุ่ม เป็นฝ่ายศิลป์ ไอ้เปา เป็นผู้ช่วยฝ่ายศิลป์ด้วยลายมือ ดีอ่านง่าย หลาย ๆ คนชอบเรียกมันเต็มยศว่า “คุณทองเปา” บุญไฮเฟ่นหลง (บุญ-หลง) ไอ้โบโซ่ เป็นผู้ประสานงาน และมี ครูมณีเป็นที่ปรึกษา เป็นครั้งแรกที่พวกเราเข้าใจกันดีว่า นามปากกาในการเขียนหนังสือคืออะไร ส�ำคัญ อย่างไร พวกเราเลยริเริ่มตั้งนามปากกาของ ตัวเองกัน เมื่อตอนเรียน ม.ศ. ๑ ตอนที่ท�ำ กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 147
หนังสือพิมพ์ส่งครูภาษาไทย .................
“โครม” “ไอ้เ ี้ยฆ้อง”
เสียงไอ้เริญตกใจใหญ่ “เออ อั๊วเอง อั๊วหยอกเล่น เห็นชอบ ตบกบาลนีน่ า” พวกพญาไทหลายคนมามุงดู ไอ้โช้ค หน้าตาเหรอหรากว่าเพื่อน เพราะจู่ ๆ ไม่คิดว่า ไอ้ฆ้องวงจะมีลูกบ้า ตอบโต้ไอ้เริญขาใหญ่ ประจ�ำห้อง ค โดยการยกโต๊ะนักเรียนที่มันใช้ เรียนหนังสือทุ่มใส่เข้าให้ จากวันนัน้ ไอ้เริญดูหยอง ๆ ไป เงียบ จนผิดสังเกตจนเพื่อน ๆ อดแปลกใจไม่ได้ มันไม่ค่อยแกล้งเพื่อนเหมือนเมื่อก่อน อย่างดี ก็แค่เอานิ้วจิ้มหลังเพื่อนแล้วตะคอกเพื่อนท�ำ เสียงขู่ ๆ “ไอ้เหนาะ” พูดขึ้นว่า “แหะ ๆ ๆ” ประคัลภ์ ยิ้ม “ดีแต่ว่าไอ้เริญไม่เคยมาเล่นรักบี้รุ่น เล็กร่วมกับพวกเรา ไม่เช่นนัน้ คงมีลีลาทีเด็ด แก้แค้นกันในสนามแน่ ๆ” ด้วยมันสูงยาวกว่าเพื่อน เป็นนักกีฬา ว่ายน�้ำทีมโรงเรียนไปแข่งขันข้างนอกกับ โรงเรียนอื่นเสียนี่ ในห้อง ค เห็นจะพูดถึงไม่ได้เลยคือ ไอ้เฮ้วกับไอ้โจ๊กอยู่คณะดุสิตด้วยกันทั้งคู่ เหมือนมันเป็นคู่หูกัน ไปไหนไปนัน่ ติดกันยัง กับปาท่องโก๋ แม้แต่วีรกรรมทุ่มโต๊ะของ
148
ไอ้ฆ้องวง ก็อยู่ในสายตาของคนทั้งคู่ และมัน ก็เข้าข้างไอ้ฆ้องวง ต่อจากนัน้ มันยังช่วยประสานงานไม่ ให้คนทั้งคู่ (ไอ้ฆ้องวงกับไอ้เริญ) ถือโทษโกรธ กัน เพื่อนก็คือเพื่อน มันว่าของมันอย่างนัน้ “ไอ้ฆ้องวงเสือกใจร้อน” ไอ้โจ๊กว่า “ไอ้เริญก็แกล้งอยู่ได้ รู้ว่าเพื่อนไม่ ชอบ” ไอ้เฮ้วสมทบ “...... ” ไอ้ฆ้องวงมองท�ำตาปริบ ๆ ๆ “ขอโทษโว้ย” ไอ้เริญท�ำเสียงอ่อย ๆ “ไอ้ อ่า เอ๊ย จับมือกัน” ไอ้โจ๊กจอม จัดแจงว่าเข้านัน่ และแล้วเหตุการณ์ก็เข้าสู่สภาวะปรกติ ห้อง ค ก็ยังคงเป็นที่รวมของเซียนทั้งหลายที่ ขี้เกียจเรียน นัง่ หลับ อืดอาด ยืดยาด เชื่องช้า มึนงง มึนชา ซึม ไร้ความรู้สึกเรื่องวิชาการ ไม่รู้สึกรู้สา ฯลฯ แต่คุณไม่รู้เลยใช่ไหมว่า ห้อง ค เนี่ย แหละ คือทีร่ วมของขุนพลทัพนักกีฬาตัวเยีย่ ม ๆ ของโรงเรียนไม่ว่าจะเป็น ไอ้พุ่ม (ผบก.), ไอ้หนูผี (ดุสิต) ไอ้โช้ค (พญาไท) ไอ้ปู๋ ไอ้แก่ โอฬาร (จิตรลดา) ที่ว่ามานี่แค่นำ�้ จิ้มนะ ไอ้กวงนี่รู้จักไหม มันติดรักบี้ทีม โรงเรียนนานกว่าเพื่อนติดอยู่หลายปีจน ผองเพื่อนเข้ามหาวิทยาลัยไปจนหมดแล้ว มันก็ยังตั้งหน้าตั้งตาเรียนอยู่ที่โรงเรียน ใครนะปากปีจอเรียกมันว่า “ปู่กวง” ฆ้องวง (รุ่น ๔๘) โอวี จันทบุรี
วันกลับบ้าน จากทีมงานอนุมานวสาร
มื่อช่วงเดือนกรกฎาคมทีมงานอนุมานวสาร ได้รับโอกาสจากทางสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธฯ ให้เดินทางไปยังมาเลเซียเพื่อ ท�ำการสัมภาษณ์พูดคุยกับนายกสมาคม นักเรียนเก่ามาเลย์คอลเลจ กัวลากังซาร์ (MCOBA) และนักเรียนเก่าฯ คนอื่นๆ ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงาน รัฐและบริษัทเอกชน ทริปนี้เราไปกันสั้นๆ ๔ วัน ๓ คืนที่รวมเอาทุกปัญหาที่จะพึงมีได้ใน การไปทริปครั้งหนึง่ เริ่มตั้งแต่มที ีมงานฯ ตก เครื่องบิน, ตามหาคนหาย, หลงทาง, เลื่อนนัด, ที่พักเหม็นสี, รักบี้โดนพิษไข้หวัด ๒๐๐๙ เลย เลื่อนการแข่งไปเดือนตุลาคมแทน และอีก
นานาสารพัดปัญหาหยุมหยิมที่เกิดขึ้นได้ทุก ชั่วโมง ทริปนีท้ �ำเอาทีมงานฯ เราล้าไปแยะแต่ ไม่มีท้อ เพราะผลลัพธ์ที่จะได้จากการไปครั้งนี้ คือทีมงานฯ เราตั้งใจจะท�ำหนังสือขึ้นมาเล่ม หนึง่ เพื่อสานสัมพันธ์ MCOV (อ่านว่า มะ-โค-วี หรือ เอ็ม-ซี-โอวี) ในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีเดียวกันกับ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยครบรอบ ๑๐๐ ปี ด้วย ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เราโอวีทั้งหลาย จะเข้ามาช่วยกันสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นทั้ง แก่โรงเรียนฯ และสมาคมฯ การเตรียมท�ำต้นฉบับหนังสือที่ว่านี้ ท�ำให้ทีมงานฯ เราต้องมีงานเพิ่มขึ้น ๒ เท่า
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 149
เพราะนอกจากจะท�ำต้นฉบับอนุมานวสารเล่ม ที่ ๑๒ ก.ค. - ส.ค. แล้วเรายังต้องท�ำต้นฉบับ หนังสือครบรอบ ๕๐ ปี MCOV ไปพร้อมกัน ด้วย เล่มนี้ยังเป็นฉบับพิเศษเล่มแรกของ อนุมานวสารที่เราท�ำชิมลางเป็นฉบับ ๒ ภาษา เนื้อหาทุกอย่างก็ต้องแปลกลับไปกลับมา ไทย-อังกฤษ แถมยังต้องกลับมาไปสัมภาษณ์ ผู้รู้เรื่องเหล่านี้โดยตรงกันอีก ซึ่งพวกเราก็ได้ เรียนรู้เรื่องราวดีๆ ที่ไม่เคยได้ยินก็ได้รู้มากขึ้น ท�ำให้พอจะมองเห็นสายธารประวัติศาสตร์ของ โรงเรียนเราและมาเลย์คอลเลจ มีประวัติ สายสัมพันธ์กันตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ และมี การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันไปมาอย่าง แนบแน่นกันมาทุกยุคทุกสมัย นอกจากนี้พวกเราก�ำลังท�ำหนังสือที่ อาจจะใช้ชื่อว่า “A Century of Pride” ซึ่ง เป็นหนังสือที่ทำ� ขึ้นเพื่อฉลองวชิราวุธ ๑๐๐ ปี หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดที่ว่า เป็นเสมือนสมุดพกของโรงเรียนและเป็นสมุด บันทึกของนักเรียนทุกคนที่เขียนขึ้นเพื่อถวาย ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ให้สมดังพระราชด�ำรัส ที่ว่า “เจ้าเหล่านีข้ ้าถือเหมือนลูกของข้า” พวกเราทีมงานฯ จึงขอฝากผู้อ่าน อนุมานวสารมาช่วยกันเล่าเรื่องความภาคภูมิใจ, ความดีงามที่ท�ำให้แก่สังคม หรือจะเป็น ประสบการณ์จริงที่ตนเองรู้สึกว่าได้รับอะไร บ้างจากโรงเรียนที่นกึ ถึงแล้วต้องยิ้มกรุ้มกริ่ม อยู่ในใจตนเองเสมอ ครั้งนีจ้ ึงเป็นโอกาสอันดี ที่โอวีทุกคนไม่ว่าจะอายุมากน้อยเพียงใดก็
150
สามารถมีส่วนร่วมกับหนังสือเล่มนี้ได้เสมอกัน หากนึกขึ้นได้แล้วอย่าลืมเกิดอาการ คันตามนิ้วมือ รีบเขียนส่งมาแบ่งปันกันได้ที่ “กล่องจดหมายโอวี” เพื่อเราจะได้นำ� มาลงใน อนุมานวสารไปทุกๆ ฉบับต่อจากนี้ และพอ ใกล้ถึงวันงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ทีมงานฯ ก็นำ� เอาทุกบทความแห่งความภาคภูมิใจมา รวมเล่มตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือส�ำหรับ พวกเราทุกคนเก็บไว้เป็นเครื่องเตือนจิตใจและ ยังเป็นเครื่องมือสื่อสารไปสู่นกั เรียนวชิราวุธฯ รุ่นหลังสืบต่อไป อาจเรียกได้ว่าใครเขียนส่ง เข้ามาก็จะมีชื่อปรากฏอยู่บนหนังสือเล่มนี้ไป อีกอย่างก็ ๑๐๐ ปีข้างหน้า พวกเราทีมงานฯ เชื่อว่าเป็นเช่นนัน้ จริงๆ ในเดือนกันยายน ทีมงานอนุมานวสาร จะส่งน้องๆ ในทีมงานฯ ไปฝึกอบรมการท�ำ หนังสือที่สำ� นักพิมพ์อัมรินทร์ นับว่าเป็นการ สร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่ทีมงานฯ เพื่อเอามารับใช้ อนุมานวสารให้ดียิ่งๆ ขึ้น แต่ทว่าหนังสือดีนนั้ ก็ต้องการ “คน” เข้ามาช่วยกันท�ำ ขอบอก ณ ที่นี่เลยครับ ทีมงานอนุมานวสารเปิดรับ สมาชิกตลอดเวลาไม่เกี่ยงรุ่นอายุใดๆ ทั้งสิ้น ขอเพียงเป็นคนที่รักการเขียนหนังสือ สนุกที่ ได้พูดคุยกับคนหลากหลายแบบ และมีเวลา สละให้อนุมานวสาร เท่านี้พวกเราโอวีก็จะมี อนุมานวสารให้อ่านกันตลอดไปได้ ทีมงาน อนุมานวสารก�ำลังรอต้อนรับสมาชิกใหม่ แล้ว เจอกันเล่มหน้าครับ ทีมงานอนุมานวสาร
ห้องเบิกของ ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี ห้องเบิกของเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของพี่น้องชาวโอวี เพื่อให้ชาวโอวี อุดหนุนซึ่งกันและกัน หากต้องการจะลงประกาศหรือแนะน�ำธุรกิจ กรุณาแจ้งรายละเอียดพร้อม หมายเลขติดต่อมายัง ovnewsletter@yahoo.com ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�ำ้ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง (รุ่น ๕๐) และ พี่โจ้ (รุ่น ๕๔) ตั้งอยู่ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียม ติดแม่น�้ำเจ้าพระยา (มีทั้งวิวริมน�้ำ และวิ ว นั ก ว่ า ยน�้ ำ ) ถนนพิ บู ล สงคราม นนทบุ รี โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ ร้ า นครั ว กะหนก ร้ า นของภรรยา พ.ต.ท.กุ ล ธน ประจวบเหมาะ (รุน่ ๕๕) สถานทีต่ งั้ จากถนนลาดพร้าว เข้าซอยลาดพร้าว ๗๑ ประมาณ ๑๕๐ เมตรอยู่ซ้าย มือ ส�ำหรับชาวโอวีทุกท่าน รับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐% สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ ร้านอาหารห้องแถว ษาเณศวร์ โกมลวณิช (รุ่น ๖๙) รับช่วงต่อจากที่บ้านดูแลกิจการร้านอาหารเหนือสุด แสนอร่ อ ยบนถนนนิ ม มานเหมิ นทร์ ถนนสายฮิ ป แห่งเมืองเชียงใหม่ เมนูแนะน�ำคือ แกงโฮ๊ะ ปลาสลิด ทอดฟู และแหนมผัดไข่ โทร. ๐๕๓ ๒๑๘ ๓๓๓ ร้านอาหาร อิงน�้ำ ของ พี่อึ่ง (รุ่น ๓๙) ตั้งอยู่ระหว่าง จรัญ ๗๓-๗๕ (เลย Lotus มาประมาณ ๑๐๐ เมตร) อาหารอร่อยมาก ราคาก็ไม่แพง พี่อึ่ง เป็นกันเองมาก ลองไปชิม รับรองไม่ผิดหวัง ร้านอาหาร บ้านประชาชื่น ของพี่บูน บวรพิตร พิบูล สงคราม (รุน่ ๔๖) คณะพญาไท เวลาท�ำอาหาร ๑๐.๓๐๑๕.๓๐ ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์และอาทิตย์
คนแน่นมาก ควรรีบไปแต่เนิน่ ๆ เมนูเลื่องชื่อ ข้าวแช่ ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม ที่สืบทอดสูตรมา จากต้นตระกูลสนิทวงศ์ ความอร่อยต้องไปลิ้มรสด้วย ตนเองจะดีที่สุด ตั้งอยู่ที่ ๓๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ ถ้าไปไม่ถูก หรือต้องการจองโต๊ะ โทร. ๐๒-๕๘๕๑๓๒๓ หรือ มือถือ ๐๘๙-๐๕๗๑๖๑๓, ๐๘๑-๖๑๙๒๖๑๐ ร้ า น HOW TO ภิ ญ โญ โอวี ค ณะผู ้ บั ง คั บ การ (รุ่น ๔๔) ตั้งอยู่แถวถนนเกษตรนวมินทร์ มีดนตรี แนวเพลง Acoustic Guitar และ Folk Song ส่วนลดส�ำหรับชาวโอวี ลดค่าอาหาร ๒๐% สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ OZONO PLAZA ของคมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) อยู ่ ท ้ า ยซอยสุ ขุ ม วิ ท ๓๙ (พร้ อ มพงษ์ ) หลั ง ตึ ก อิตลั ไทย เป็นแหล่งรวมร้านค้าทีต่ อบสนอง Life Style ของคน (และสัตว์เลี้ยง) ทุกรุ่น ภายในมีร้านอาหาร ร้านเฟอร์นิเจอร์ Pub, ร้านเสื้อผ้า, Coffee Shop, ร้านท�ำผม, Waxing, ร้านท�ำเล็บ, ร้านแผ่นเสียง ร้านขายสินค้าส�ำหรับสัตว์เลี้ยง, Spa อาบน�ำ้ ตัดขน สุนัขและแมว โรงแรมสุนัข โรงแรมแมว และยังมี Dog Park ส�ำหรับสมาชิกเท่านั้น ชมรายละเอียด เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ www.ozono.us หรื อ ถ้ า มาไม่ ถู ก ติดต่อ ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ ชาวโอวีทา่ นใดสนใจสมัคร สมาชิก Dog Park จะได้รับส่วนลด
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 151
The Old Phra Arthit Pier พงศ์ธร เพชรชาติ (รุ่น ๖๐) ร้านอาหารสวยริมแม่นำ�้ เจ้าพระยา ใกล้ ๆ กับ ท่าพระอาทิตย์ ส�ำหรับชาวโอวีพี่เค้ามีส่วนลดให้ ๑๐% โทรมาจองโต๊ะได้ที่ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ หรือถ้ามาไม่ถกู ติดต่อได้ที่ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒ ร้านข้าวมันไก่สิงคโปร์ Orchard สุพร สหัสเนตร ฉุน (รุ่น ๗๕) ท�ำร้านอาหารร้านข้าวมันไก่สิงคโปร์ Orchard ที่ Central World ชั้น ๗ บริเวณติด ห้าง ZEN ยินดีต้อนรับและมอบส่วนลดแก่โอวีที่มา อุดหนุน ๑๐% ติดต่อได้ที่ (ฉุน) ๐๘๙-๖๖๘-๔๔๖๔
ร้านอาหารชิมิ ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๔๔ ) ร้ า นชาบู ช าบู แ ละยาคิ นิ คุ ในแบบของโฮมเมด (อ่ า นรายละเอี ย ดได้ ใ นคอลั ม น์ โ รงเลี้ ย ง ฉบั บ ที่ ๑/๒๕๕๒) คุณภาพเยี่ยมราคาย่อมเยาว์ เหมาะกับ การกินในช่วงหน้าหนาวพอดี อยากหาอะไรอร่อย กระแทกลิ้น เชิญได้ที่ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ โทร ไปจองโต๊ะล่วงหน้าได้ทเี่ บอร์ ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ หรือ อีเมล์ shimi_restaurant@hotmail.com
อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ ่ น ๔๔) ผลต่ อ ยอดจากไร่ วิ ม านดิ น ผลิ ต และ จ�ำหน่ายชาสมุนไพรอินทรีย์รางจืด (Babbler’s Bill Leaf) มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ สามารถล้างพิษ แก้อาการเมาค้างและท�ำลายเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุ ของโรคเริมได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีน�้ำเอ็นไซม์ที่ สกัดมาจากพืชผักผลไม้ที่ปลูกแบบอินทรีย์เกษตร ปลอดสารเคมี ๑๐๐% สรรพคุณของน�้ำ รัตนคุณ
คือ ช่วยปรับสมดุลของเซลล์ในร่างกายและท�ำให้ ระบบก�ำจัดอนุมูลอิสระสมบูรณ์ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ ร่างกายสามารถสลายพิษป้องกันโรคภัย-ไข้เจ็บ และ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือชะลอความแก่ได้นนั่ เอง พี่น้องโอวีท่านใดสนใจอยากรักษาสุขภาพแบบไร้สาร หรืออยากบ�ำบัดรักษาด้วยวิธีแบบธรรมชาติ ติดต่อ ได้ที่ เบอร์ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔
ตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้าง ไอซิดฯ ภตภพ (สิทธิพงษ์) ช.เจริญยิ่ง (รุ่น ๖๖) เปิด บริษัทรับตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้างภายใต้ชื่อ บริษัทไอซิดฯ ผลงานส่วนใหญ่เป็นการตกแต่งบ้าน และคอนโด โดยเฉพาะล่ า สุ ด ที่ ค อนโดมิ เนี ย มหรู “เดอะ แอดเดรส สยามฯ” ที่เข้าไปตกแต่งหลายห้อง และรับเหมาก่อสร้างปรับปรุงห้องที่โรงแรมเดอะมา รีนา ภูเก็ต โทร. ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙ มือถือ ๐๘๑๗๓๓-๗๗๐๑ เว็บไซต์ www.icidcompany.com
152
อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ นิธิ ก านต์ (มะนาว) โรหิ ต ศุ น (รุ ่ น ๗๐) หลั ง จากผ่ า นการเป็ นนายแบบโฆษณา มาหลายชิ้ นตอนนี้ ผั นตั ว เองมาเป็ นนายหน้ า ขาย บ้าน ที่ดิน คอนโด ของ Era หากท่านใดต้องการ ขายหรือซื้อ บ้าน ที่ดิน คอนโด ติดต่อมาได้ครับ ๐๘๙-๒๑๒-๓๓๔๔ หรือ nithikarn99@gmail.com
บริการ ถ่ายรูป ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ช่างภาพใหญ่ ประจ� ำ อนุ ม านวสารลาออกจากการเป็ นนัก ข่ า วมา ประกอบธุรกิจส่วนตัวบอกว่าไม่ชอบให้ใครมาก�ำหนด เวลา ออกมาท� ำ งานอิ ส ระเสี ย เลยดี ก ว่ า ถนัด รั บ ถ่ า ยรู ป งานแฟชั่ น งานเฉลิ ม ฉลอง และถ่ า ยรู ป ในสตู ดิ โอ ทั้ ง ถ่ า ยบุ ค คลและผลิ ต ภั ณฑ์ สตู ดิ โอ ของเขาตั้งอยู่ในหมู่บ้านการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ โทร. ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ อี เ มล์ nat_vc72@ hotmail.com หรื อ แวะชมผลงานก่ อ นได้ ที่ www.natphoto.com ร้าน ENCH Tutor & Café ฉัตรชัย เทพอภิชัยกุล, สรณัฐ สุดลาภา (รุ่น ๗๖), ศราวุธ ศิริวัฒน์ (รุ่น ๗๗) และผองเพื่อน รุ่น ๗๖, ๗๗, ๗๘ กลุ่มน้องโอวี เลือดใหม่ไฟแรง ผสาน “๒ งานบริการคุณภาพ” ไว้ใน ร้านเดียวได้อย่างสร้างสรรค์ลงตัว ขอเชิ ญ ชวนลิ้ ม รส ขนมของว่ า งสุ ด แสน อร่อย พร้อมชิมน�้ำปั่นแสนสุดพิเศษ ในบรรยากาศ ร้านชวนชื่นมื่นน่ารัก กับราคาเป็นกันเอง น�ำทีมอร่อย ลิ้นอิ่มใจโดย สรณัฐ สุดลาภา (รุ่น ๗๖) ทั้งเปิดสอน พิเศษ ตั้งแต่ชั้น ประถม ๑ ถึง มัธยม ๖ และคอร์ส ติว ENTRANCE สอบเข้ามหาวิทยาลัย อ�ำนวยการ สอนโดย ฉัตรชัย เทพอภิชยั กุล (รุน่ ๗๖) บัณฑิตใหม่ วิศวะฯ จุฬา ยอดอัจฉริยะแห่งโอวีรนุ่ ๗๖ ผูค้ ว้ารางวัล เรียนดีวชิราวุธ ๑๐ ปีซ้อน ภูมใิ จขอเสนอเชิญชวน พีๆ่ เพือ่ นๆ น้องๆ โอวี พาลูกๆ หลานๆ มาพบกับกวดวิชา ชั้นคุณภาพ ด้วยราคาอันแสนจะย่อมเยาว์ครับ ENCH Tutor & Café ตัง้ อยู่ ณ ซอยสามัคคี ข้าง ร.ร.เบญจมราชานุสรณ์ ถ.สามัคคี อ.เมือง จ.นนทบุรี เริม่ เปิดบริการตัง้ แต่ตน้ เดือนพฤษภาคม ศกนี้ เป็นต้น ไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ๐๘๖–๖๑๑– ๓๖๖๔ (ฉัตรชัย รุ่น ๗๖), ๐๘๖–๖๙๙–๐๕๙๕ (สรณัฐ รุ่น ๗๖), ๐๘๕–๙๐๙–๙๒๒๒ (ศราวุธ รุ่น ๗๗) e-mail: ihavea_dream@hotmail.com
แฟรงค์บราเดอร์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) อดี ต หั ว หน้ า วงจุ ล ดุ ริ ย างค์ ที่ เคยน� ำ วงไปแสดงที่ โรงเรี ย นสาว ๆ ทั่ ว ราชอาณาจั ก ร หั น มาท� ำ ธุ ร กิ จ ดนตรีอย่างจริงจัง มีสาขาที่กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ขายเครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคลาสสิก มี ไวโอลินเก่าตั้งแต่ระดับมืออาชีพ ควรค่าแก่การเก็บ สะสม จนไปถึ ง ไวโอลิ นคุ ณ ภาพดี ร าคาย่ อ มเยาว์ โทร. ๐๒-๖๓๒-๘๘๒๓-๔ ไร่ บี เอ็น จุลพงศ์ คุม้ วงศ์ (รุน่ ๔๘) พีโ่ จ้ท�ำไร่ บี เอ็น เกี่ยวกับสวนผัก ผลไม้ และดอกไม้ ที่นี่มีชื่อเรื่องลิ้นจี่ (นรก) เพราะขายแพงโคตร ๔๐๐-๗๐๐ บาท/กก. ส่ง ขายที่ห้าง เอ็มโพเรียม เซ็นทรัลเวิล์ด เท่านัน้ แต่ถ้า มาซื้อที่ไร่จะลดให้พิเศษ เหลือ ๑๐๐-๒๐๐ บาท ฝาก บอกชาวโอวีวา่ ถ้าผ่านมาเขาค้อ ก็แวะมาเยีย่ มเยือนบ้าง โทร. ๐๕๖-๗๕๐-๔๑๙ มือถือ ๐๘๑-๙๗๓-๘๕๕๒ ร้านตัดผม Sindy Lim ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพ บุรุษและสุภาพสตรีฝีมือเยี่ยมของแท้และดั้งเดิมบน ปากซอยสุขุมวิท ๔๙ (เข้าซอยอยู่ขวามือ ตรงข้าม เซเว่นอีเลฟเว่นและร้านก๋วยเตี๋ยวแซว) ของ ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) หากก�ำลังจะหาร้านท�ำผมเพื่อ ออกงานหรือเปลี่ยนลุคแล้วละก็ เชิญไปใช้บริการ ได้ ติดต่อไปที่ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕, ๐๒-๒๖๐-๐๗๙๓ หรือต้องการติดต่อเจ้าของร้านโดยตรง โทรตามได้ที่ ๐๘๑-๙๒๓-๒๓๗๓ โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet น.สพ.อุรินทร์ คชเสนี (รุ่น ๗๑) รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด ท�ำหมัน เอ๊กซเรย์ ขูดหินปูน อาบน�ำ้ -ตัดขน บริการนอกสถานที่ รับปรึกษาปัญหาสัตว์เลีย้ ง ฝากเลีย้ ง (pet hotel) ขาย อุปกรณ์และอาหารสัตว์ ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง จ.นนทบุรี เปิดบริการทุกวัน ๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. โทร.๐๒-๙๖๙-๘๔๘๙ / ๐๘๙-๘๑๖-๘๑๓๘
กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 153
ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับสัตว์เลีย้ ง ของ กอบกิจ จ�ำจด (รุน่ ๗๐) นอกจาก จะเป็นเว็บดีไซน์เนอร์แล้วยังเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์ ส� ำ หรั บ หมาและแมวออนไลน์ ไปเยี่ย มเยื อ นได้ ที่ www.weloveshopping.com/shop/furrytail หรือ ติดต่อตรงที่ โทร. ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ ร้านฟูฟู เจษฎา ใยมุง (รุ่น ๖๕) และภรรยาเปิดบริการ อาบน�้ำ/ตัดขนสุนัข บริการรับฝากสัตว์เลี้ยงกลาง เมืองจันท์ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร. ๐๘๑-
๓๕๓-๒๘๖๕ และ ๐๘๖-๓๘๙๙๔๕๐ บริษัท น�้ำ-ทอง เทรดดิ้ง จ�ำกัด ภณธร ชินนิลสลับ ซอมป่อย (รุ่น ๖๘) จ�ำหน่าย: น�้ำมันหล่อลื่น น�ำ้ มัน หล่อลืน่ อุตสาหกรรมทุกชนิด (ปตท. บางจาก แมกซิมา) ส�ำนักงานใหญ่: ๑๘๘/๑๐๗ หมู่ ๑ ต�ำบลคอหงส์ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ มือถือ: ๐๘๕๓๒๔-๙๙๐๑ โทรศัพท์: ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖ , โทรสาร: ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖
โรงแรม บ้ า นไร่ วิ ม านดิ น ออร์ แ กนิค ฟาร์ ม สเตย์ จั ง หวั ด กาญจนบุรี ชาย พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ่น ๔๔) ไปพักผ่อนสบาย ๆ ภายใต้บรรยากาศความ เป็นธรรมชาติด้วยราคาสบายกระเป๋า นอกจากจะ ได้มาพักผ่อนแล้ว ทางบ้านไร่วิมานดินยังจัดเตรียม อาหารปรุ ง จากผลิ ต ภั ณฑ์ อิ นทรี ย ์ เพื่ อ ล้ า งสารพิ ษ และฟื้นฟูสุขภาพของท่านให้แข็งแรง ส�ำหรับพี่น้อง ที่ ส นใจ อยากไปสั ม ผั ส ธรรมชาติ อ ย่ า งเต็ ม อิ่ ม โทรศัพท์ไปจองได้ที่ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ หรืออยาก หาข้อมูลเพิ่มเติม ก็เข้าไปดูได้ที่ www.vimarndin farmstay.com ส�ำหรับชาวโอวี ลดราคาให้พิเศษ ดิ โอ.วี. คันทรี รีสอร์ท โกมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) เปิดโรงแรมกลางเมืองจันทบุรี ชนิดที่ว่าใครขับรถผ่าน ต้องรู้ว่าเป็นของโอวีทันที เพราะเต็มไปด้วยกลิ่นอาย และของตกแต่งสมัยอยูโ่ รงเรียนของตนเองและลูกชาย โทร. ๐๘๑-๘๓๓-๒๑๒๕ ชุ ม พรคาบานาและศู น ย์ กี ฬ าด� ำ น�้ ำ ลึ ก วริ ส ร รักษ์พันธุ์ (รุ่น ๖๑) ที่หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร ให้บริการที่พัก สัมมนา และบริการด�ำน�้ำลึก มีคอร์ส สอนด�ำน�้ำลึก และมีเรือพาออกด�ำน�้ำในทะเลชุมพร ส�ำนักงานกรุงเทพฯ โทร. ๐๒-๓๙๑-๖๘๕๙ มือถือ ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ชุมพร โทรศัพท์ ๐๗๗-๕๖๐ ๒๔๕-๗ เว็บไซต์ www.chumphoncabana.com
154
The Bihai Huahin ตั้งอยู่ที่ ๘๙ หมู่ ๕ บ้าน หั ว ดอน ต� ำ บลหนองแก อ� ำ เภอหั ว หิ น จั ง หวั ด ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๑๑๐ โอวีลด ๒๐% โทร. ๐๓๒๕๒๗๕๕๗-๖๐ เว็บไซต์ www.thebihaihuahin.com ไร่ภูอุทัย ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ�ำนวยศิลป์ อุทัย (รุ่น ๗๑) และ รังสรรค์ อุทัย (รุ่น ๗๒) สัมผัสบรรยากาศบนภูอุทัยที่ล้อมรอบ ด้วยธรรมชาติของอุทยานฯ เขาใหญ่ สูดรับอากาศ บริสุทธิ์ด้วยโอโซนระดับ ๗ มีลานกว้างบนเนินเขาที่ มองเห็นทิวเขาได้ ๓๖๐ องศา พร้อมกิจกรรมมากมาย ติดต่อได้ที่ ๐๘๖-๑๓๖-๑๖๑๙ หรือ ๐๘๖-๕๕๔-๕๔๕๗ หรือแวะชมเว็บไซต์ก่อนที่ http://www.phu-uthai. com/ ชาวโอวีราคาพิเศษ ตาลคู่ บีช รีสอร์ท อลงกต วัชรสินธุ์ (รุ่น ๗๕) ตั้งอยู่ ใน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช รีสอร์ทสวยริมทะเล ใสใกล้เกาะสมุย กลัวไปไม่ถูก ติดต่อเจ้าตัวได้โดย ตรง ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ หรือ g_got75@hotmail.com โรงแรม รัตนาปาร์ค มาฆะ พุ่มสะอาด (รุ่น ๕๕) ท�ำงานอยู่โรงแรม รัตนาปาร์ค ที่พิษณุโลก ฝากบอก ว่าถ้าโอวีท่านไหนมาก็ให้โทรบอกได้เลย จะดูราคาค่า ห้องให้พิเศษ โทร. ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ เบอร์โรงแรม ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑
Keereeta Resort คีรีตารีสอร์ท อุรคินทร์ ไชยศิริ กิมจิ (รุ่น ๗๐) ท�ำธุรกิจ โรงแรมและรีสอร์ทอยู่เกาะ ช้างใครสนใจอยากไปพักผ่อนท่องเที่ยว จัดสัมมนา ยินดีต้อนรับชาวโอวีทุกท่าน พร้อมให้บริการในราคา พิเศษสนใจติดต่อได้ที่ (กิมจิ) ๐๘๙-๗๔๘-๗๕๒๘ “ณัฐฐาวารีน�้ำพุร้อน” ภวิษย์พงศ์ พงษ์สิมา (รุ่น ๗๖) หันมาเปิดรีสอร์ทเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ จังหวัดกระบี่ เชิญพักผ่อนแบบสบายๆ อาบน�ำ้ แร่แช่ น�้ำร้อนท่ามกลางธรรมชาติ โดยมีทีเด็ดที่มัจฉาบ�ำบัด น�ำเข้าปลาจากต่างประเทศมาช่วยกระตุ้นให้ระบบการ ไหลเวียนของเลือดดีขึ้น โดยปลานับพันจะกินเซลล์
ผิวหนังที่ตายแล้วของเราซึ่งจะช่วยบ�ำรุงสุขภาพผิว ให้ดียิ่งขึ้น ภายในณัฐฐาวารีประกอบด้วยสระน�้ำร้อน เล็กใหญ่จ�ำนวน ๗ สระ สระว่ายน�้ำ และบ่อปลามัจฉา บ�ำบัด ซึ่งหากต้องการการอาบน�้ำแร่แบบส่วนตัวเรา ยังมีห้องอาบน�้ำแร่ส่วนตัวอีก ๒๐ ห้อง ในส่วนของ รีสอร์ทขณะนี้ก�ำลังก่อสร้างคาดว่าจะเสร็จในเดือน ธันวาคม สนใจติดต่อ ๐๘๙-๗๘๐-๖๔๗๖ หรือ ๐๗๕๖๐๑๐๔๒ ส�ำหรับโอวีเราลดให้พิเศษอยู่แล้วครับ ดู รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.natthawaree.com
ออกแบบเว็บไซต์และงานกราฟฟิค Zyplus.com สิษฐวัฒน์ ตูจ้ นิ ดา (รุน่ ๖๗) ปิดทองหลัง พระมาเสียนาน ให้บริการจดชือ่ โดเมนเนมและให้พนื้ ที่ เว็บโฮสติ้งของเว็บไซต์ โอวี www.oldvajiravudh. com มาตั้งแต่เปิดโฉมใหม่เมื่อเกือบสองปีก่อน เขา ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตมานานตั้งแต่เรียนจบ โดย เปิดบริษัทเล็ก ๆ ซึ่งมีเขาเป็นทั้งเจ้าของ ผู้จัดการ และ พนักงานเพียงคนเดียว ชื่อ “zyplus” สนใจจดชื่อ
โดเมนเนมหรือเช่าเว็บโอสติ้งเข้าไปที่ www.zyplus. com หรือ โทร. ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ 22eq กอบกิจ จ�ำจด (รุ่น ๗๐) นิติศาสตร์บัณฑิต จากรั้วธรรมศาสตร์ผันตัวเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ รับ ออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ทั่วราชอาณาจักร ติดต่อที่ โทร. ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ หรือ www.jate.22eq.com
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐๒-๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐๒-๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง) กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๒ 155
อนุมานวสาร ฉบับย้อนหลัง อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๐
ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๐ ฉบับ ๓ - ๒๕๕๐ กรกฎาคม – กันยายน ตุลาคม – ธันวาคม อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๑ มกราคม – มีนาคม
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๑ ฉบับ ๔ - ๒๕๕๑ ฉบับ ๓ - ๒๕๕๑ เมษายน – พฤษภาคม มิถุนายน – กรกฎาคม สิงหาคม – กันยายน ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๕ - ๒๕๕๑ ตุลาคม – ธันวาคม
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๒ มกราคม – กุมภาพันธ์
ฉบับ ๔ - ๒๕๕๒ กรกฎาคม - สิงหาคม
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๐ เมษายน - มิถุนายน
156
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๒ มีนาคม – เมษายน
ฉบับ ๓ - ๒๕๕๒ พฤษภาคม - มิถุนายน