ฉบับที่ ๑๕ ๑-๒๕๕๓ มกราคม - มีนาคม
จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 1
ฉบับที่ ๑๕ ๑-๒๕๕๓
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓
ตัวอักษร “อนุมานวสาร” ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน (รุ่น ๓๗) สัญลักษณ์ “๑๐๐ ปี วชิราวุธฯ” ออกแบบโดย นิธิ สถาปิตานนท์ (รุ่น ๓๘) ภาพปก ภาพปก ชัยอนันต์ สมุทวณิช วิโรจน์ นวลแข และ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน” กราฟฟิกโดย สงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗)
2
ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ ที่ปรึกษา สุเมธ ตันติเวชกุล รุ่น ๓๐ ชัยอนันต์ สมุทวณิช รุ่น ๓๓ วิโรจน์ นวลแข รุ่น ๓๗ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน รุ่น ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ รุ่น ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช รุ่น ๔๔ วรชาติ มีชูบท รุ่น ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี รุน่ ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ รุน่ ๕๙ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และบรรณารักษ์ วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ สาราณียกร อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑ บรรณาธิการ กิตติเดช ฉันทังกูล รุ่น ๗๓ คณะบรรณาธิการ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา รุ่น ๖๕ กอบกิจ จ�ำจด รุ่น ๗๐ กรด โกศลานันท์ รุ่น ๗๑ ภพ พยับวิภาพงศ์ รุ่น ๗๑ พิชิต ศรียานนท์ รุ่น ๗๒ เสฎฐวุฒิ เพียรกรณี รุ่น ๗๓ พงศกร บุญมี รุ่น ๗๕ ปรีดี หงสต้น รุ่น ๗๕ ร.ต.สถาพร อยู่เย็น รุ่น ๗๖ กรรณ จงวัฒนา รุ่น ๗๖ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง รุ่น ๗๖ ศิริชัย กาญจโนภาส รุ่น ๗๖ ธนกร จ๋วงพานิช รุ่น ๗๗ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ จิระ สุทธิวิไลรัตน์ รุ่น ๘๓ ฝ่ายบัญชีและการเงิน อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ รุ่น ๗๑ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รุ่น ๗๓ รัฐพล ปั้นทองพันธ์ รุ่น ๗๕ โฆษณา เขต ณ พัทลุง รุ่น ๗๑ มณฑล พาสมดี รุ่น ๗๓ (โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐) ถ่ายภาพ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๗๒ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ รุ่น ๗๗ สงกรานต์ ชุมชวลิต รุ่น ๗๗ วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา รุ่น ๗๙ ศิลปกรรม ปฏิภาณ สานแสงอรุณ ปริญญา ยุวเทพากร รุ่น ๗๗ สงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗) ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ พิมพ์ที่ พี. เพรส ๐๒ ๗๔๒ ๔๗๕๔ ผู้ช่วยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก วาสนา จันทอง ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ)
เปลี่ ย นแปลง-ย้ า ยที่ อ ยู ่ / สนั บ สนุ น การเงิ น -โฆษณา/ส่ ง ข่ า วประกาศ-ประชาสัมพันธ์/ส่งข้อเขียน-บทความ ติดต่อ : สมาคม นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.oldvajiravudh.com
โรงเลี้ยง ๗๖ Olive @ ๕๒ เรือนผู้การ ๘๐ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช คอลัมน์พิเศษ ๙๔ “...โอวาทจากอดีตท่านผู้บังคับการ... ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช...” รื่นเริงกัน ณ วัน ปิ๋ง ปิ๋ง บ้านสีฟ้า ๑๐๓ ศัพท์โอวี ๑๐๖ หัวโบ้ วชิราวุธฯ หลัง ๑๐๐ ปี ๑๑๔ รู้เสียสละได้ด้วยใจงาม สนามหน้า ๑๑๘ วชิราวุธฯ - ราชวิทย์ฯ กับกีฬารักบี้ฟุตบอล คอลัมน์พิเศษ ๑๒๒ ชีวิตในโรงเรียนวชิราวุธฯ ๖๘ ลอดรั้วพู่ระหงส์ ๑๒๖ I dreamed a dream ๗๒ สนามหลัง ๑๓๑ ๗๔ วันกลับบ้าน ๑๓๖ ห้องเบิกของ ๑๓๘
ห้องเพรบ ๖ ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี ๑๐ ใต้หอประชุม ๑๒ สัมภาษณ์ วิโรจน์ นวลแข จดหมายเหตุวชิราวุธฯ ๓๑ สภากรรมการจัดการหรือคณะกรรมการ อ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ตอนที่ (๒) คอลัมน์พิเศษ ๓๕ อภินิหารของท้าวหิรันยพนาสูร หอประชุม ๔๒ อนาคตการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระดับประถม-มัธยม จากห้องประชุมสมาคมฯ ๔๗ กองบังคับการ ๕๒ ครูอุดม รักตประจิต
งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี รายละเอียดการจัดการแข่งขัน กีฬาวชิราวุธ ๑๐๐ ปี Century of Pride ตารางกิจกรรม งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 3
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑. ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย ๒. อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกในทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม อันดีของประชาชน ๓. ประสานสามัคคีในหมูส่ มาชิกนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนในพระบรม ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธวิทยาลัย เพือ่ น�ำไปสูค่ วามเจริญของโรงเรียน ๖. ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธวิทยาลัย ๗. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของวชิราวุธวิทยาลัย ๘. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร ๙. บ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในโอกาสอันสมควร
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ๑. สมาชิกมีสทิ ธิทจี่ ะร่วมกิจการต่างๆ ทีส่ มาคมฯ จัดขึน้ แต่ตอ้ งปฏิบตั ติ ามระเบียบ ที่วางไว้ ๒. สมาชิกมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ๓. สามัญสมาชิกมีสิทธิเสนอความคิดเห็น ตรวจดูหลักฐานและบัญชีต่าง ๆ ของ สมาคมฯ ได้ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ ๔. สามัญสมาชิกเท่านัน้ มีสทิ ธิเข้าประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตัง้ หรือรับเลือกตัง้ เป็นนายกสมาคมฯ หรือกรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิกนัน้ ค้างช�ำระค่าบ�ำรุง ๕. สามัญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระค่าบ�ำรุงตามที่ก�ำหนดไว้ ๖. สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ ๗. สมาชิกมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และบริการของสมาคมฯ และสโมสร แต่ต้องปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับที่ก�ำหนดไว้
4
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ ๑. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รุ่น ๔๐ นายกสมาคมฯ ๒. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย กรรมการโดยต�ำแหน่ง ๓. นายตันติ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ รุ่น ๔๐ อุปนายก ฝ่ายสิทธิประโยชน์ ๔. นายสุรเดช บุณยวัฒน รุ่น ๔๑ อุปนายก ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ๕. นายชัยวัฒน์ นิตยาพร รุ่น ๔๒ ประธานส่งเสริมความสัมพันธ์ ๖. ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รุ่น ๔๕ อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ ๗. ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ กรรมการและประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ๘. นายศุภลักษณ์ เปรมะบุตร รุ่น ๔๖ กรรมการและนายทะเบียน ๙. ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๑ กรรมการและประธานฝ่ายหารายได้ ๑๐. นายสุภรัตน์ อัลภาชน์ รุ่น ๕๑ กรรมการและประธานกีฬา ๑๑. นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ ๑๒. นายปฏิภาณ สุคนธมาน รุ่น ๕๒ กรรมการและเหรัญญิก ๑๓. นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ กรรมการและประธานสโมสร ๑๔. นายสัคคเดช ธนะรัชต์ รุ่น ๕๗ กรรมการและรองประธานกีฬา ๑๕. นายชาย วัฒนสุวรรณ รุ่น ๕๗ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก ๑๖. ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ กรรมการและเลขานุการ ๑๗. นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ กรรมการและรองประธานสโมสร/ปฎิคม ๑๘. นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ กรรมการและบรรณารักษ์ ๑๙. นายภัคพงศ์ จักษุรักษ์ รุ่น ๖๑ กรรมการและรองประธานกิจกรรมพิเศษ ๒๐. นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร รุ่น ๖๒ กรรมการและรองประธานกีฬา ๒๑. นายอาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑ กรรมการและสาราณียกร มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 5
ห้องเพรบ จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวัสดีครับสมาชิกชาวโอวีและท่าน ผูอ้ า่ นทุกท่าน หนังสืออนุมานวสารฉบับนี้ ถือเป็นฉบับแรกของปี ๒๕๕๓ ด้วยฉบับ ที่แล้วคือฉบับพฤศจิกายน-ธันวาคม ออก ช้ากว่าก�ำหนดเล็กน้อย ในปีนี้ทางคณะ กรรมการสมาคมได้มีมติให้ลดขนาดและ จ�ำนวนหนังสือลงเป็นไตรมาสละ ๑ เล่ม หรือปีละ ๔ เล่ม แทนปีละ ๖ เล่ม ทั้งนี้ เพื่ อ ลดความกดดั น ให้ กั บ ที ม งานฯ ที่ มี ภาระมากขึ้น เนื่องจากได้รับหน้าที่เพิ่มใน การท�ำหนังสือข่าวประชาสัมพันธ์กจิ กรรม งาน ๑๐๐ ปี ที่จะจัดขึ้นในปีนี้ หรือการ จัดท�ำหนังสืออืน่ ๆ ทีอ่ าจจะตามมาอีกด้วย ทางทีมงานฯ จึงอยากเรียนเชิญชวนท่านที่ สนใจร่วมงานกับเราได้นะครับ ไม่จำ� เป็นว่า จะต้องมีประสบการณ์ เราท�ำงานกันแบบ จิตอาสา ไม่มีที่ท�ำงานเป็นหลักแหล่งให้ ซ�้ำซากจ�ำเจ ถ้าจะไปสัมภาษณ์ใครก็เพียง แต่แจ้งกันทางอีเมล์ หรือถ้าใครจะอาสา สมัครถอดเทปก็เพียงแต่ยกมือขึน้ ... เท่านัน้ เอง เรามีตากล้อง ๔ คนสลับกันไปกันมาน�ำ โดยณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ มีทมี นักเขียนหลายท่าน ทั้งนักเขียนหนุ่มและนักเขียนอาวุโส เช่น หลวงพี่ ม.ร.ว.แซม แจ่มจรัส รัชนี ดร.โกวิท วงศ์ สุ ร วั ฒ น์ และวี ร ยุ ท ธ โพธารามิ ก (ที่ไม่ได้หายไปไหนนะครับ เจ้าตัวบอกว่า
6
งานรัดตัวจริงๆ) ได้ช่วยเขียนให้พวกเรา ได้อ่านกันอย่างสม�่ำเสมอ มีทีมท�ำงาน Art Work ฝี มื อ เยี่ ย ม มี ที ม งานติ ด ต่ อ ประสานงานกับผู้ให้การสนับสนุน และ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง กองบรรณาธิ ก ารที่ ท�ำงานกันอย่างไม่เหน็ดเหนือ่ ย ทีส่ ำ� คัญคือ คณะทีป่ รึกษา ซึง่ นอกจากจะเลีย้ งกุง้ มังกร เนื้ อ สเต็ ก ให้ ที ม งานฯ กลั บ ไปนอนฝั น กั น แล้ ว ยั ง ให้ ค� ำ ปรึ ก ษาพวกเราอย่ า ง จริ ง จั ง ส� ำ หรั บ ข่ า วดี ล ่ า สุ ด ของที ม งาน อนุ ม านวสาร คื อ การได้ รั บ เกี ย รติ จ าก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุ ท วณิ ช กรุ ณ าร่ ว มเป็ น ที่ ป รึ ก ษาให้ กั บ พวกเราอี ก ด้ ว ย ขอเรี ย นว่ า ที ม งาน อนุ ม านวสารนั้ น ท� ำ งานด้ ว ยใจรั ก และ เสียสละเพื่อส่วนรวมกันจริงๆ ส�ำหรับหนังสืออนุมานวสารฉบับนี้ อยากจะน� ำ พวกเราไปสู ่ แ นวคิ ด ในการ พั ฒ นาโรงเรี ย นของเราว่ า หลั ง จากโรง เรียนวชิราวุธฯ มีอายุครบ ๑๐๐ ปีแล้ว ใน อีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า โรงเรียนน่าจะไปใน ทิศทางไหน โรงเรียนวชิราวุธฯ มีชอื่ เสียงว่า เก่งกีฬาโดยเฉพาะกีฬารักบี้ แต่ส� ำหรับ เรื่ อ งเรี ย นแล้ ว อาจจะเป็ น เรื่ อ งรองลง มา จนมีหลายคนเข้าใจว่าไม่ต้องเรียน ก็ได้ พระบรมราโชวาทขององค์ล้นเกล้าฯ
รัชกาลที๖่ ทีท่ า่ นไม่อยากเห็นเด็กนักเรียน ของท่านได้ชื่อว่า “มีความรู้ท่วมหัวเอาตัว ไม่รอด” นัน้ ไม่ได้แปลว่าไม่ให้เน้นเรือ่ งการ เรียน อย่างที่พี่วิโรจน์ให้สัมภาษณ์พวกเรา ว่ามีหลายคนเข้าใจผิดในเรือ่ งนี้ จริงๆ แล้ว ท่ า นหมายถึ ง สิ่ ง ที่ เรี ย นรู ้ นั้ น อย่ า ให้ เ สี ย เปล่า ต้องน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย ดังนั้น ในฉบับนี้ เราได้สัมภาษณ์นักเรียนเก่าฯ ผู้มีประสบการณ์หลายท่าน เริ่มต้นจาก ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตผูบ้ งั คับการ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ท่านที่ ๒ คือ วิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการบริหารธนาคาร กรุงไทยและบริษัทในเครือภัทรธนกิจ และ อดี ต นายกสมาคมนั ก เรี ย นเก่ า วชิ ร าวุ ธ วิทยาลัยหลายสมัย ท่านที่ ๓ คือ ม.ล. ชัยนิมิตร นวรัตน สถาปนิกผู้มีชื่อเสียง ซึ่งท�ำงานให้กับโรงเรียนและสมาคมฯ มา หลายยุคหลายสมัย นอกจากนั้นแล้วเรา ยังได้สัมภาษณ์ ครูอุดม รักตประจิต อดีต ผู ้ ก� ำ กั บ คณะดุ สิ ต ผู ้ มี ป ระสบการณ์ อั น ยาวนานกับโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยตัง้ แต่ สมัยท่านผูบ้ งั คับการพระยาภะรตราชาจน ถึงสมัยศ.ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา รายละเอียดติดตามได้ในฉบับนะครับ ............................... ผมเขี ย นบทน� ำ หนั ง สื อ อนุ ม าน วสารมา ๓ ปีแล้วในนามห้องเพรบ และ ขณะเขี ย นบทน� ำ ครั้ ง นี้ ก็ ม านั่ ง ทบทวน ดู แ ล้ ว ว่ า ยั ง ไม่ เ คยเขี ย นอะไรเกี่ ย วกั บ
ห้องเพรบจริงๆ สักที จึงจะขอเล่าเรื่อง ความประทับใจของผมเกี่ยวกับห้องเพรบ สักเล็กน้อยนะครับ อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว ห้ อ งเพรบนั้ น เป็ น สถานที่ส�ำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตนักเรียน วชิราวุธฯ ทีเดียว นอกจากจะเป็นห้อง ท�ำการบ้านอ่านหนังสือแล้ว สมัยเด็กเล็ก โต๊ ะ เพรบยั ง เป็ น เสมื อ นสวนสั ต ว์ มี ทั้ ง จิง้ หรีด หนอน ดักแด้ และปลากัด อาศัยอยู่ ในโต๊ะเด็กๆ แทบทุกคน ว่างๆ ก็เอาปลา บ้าง จิง้ หรีดบ้างมากัดกัน ตอนหลังมีความ มันส์มากขึ้น แม้กระทั่งนาฬิกาก็ยังเอามา กัดกัน นับเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ เกิดขึ้นในห้องเพรบสมัยเด็กๆ เมื่อเข้าคณะในตอน ม.ศ.๑ ผม นั่งติดกับไตรธวัช ศรีติสาร (เซ่น) จ�ำได้ว่า พี่ด�ำ (ไพบูลย์ จันทรางศุ) พี่ ม.ศ.๕ ที่ตัวสูง และด�ำที่สุดในโรงเรียน เข้มพอๆ กับพี่กี้ พระนาย (สุวรรณรัฐ) เข้ามาสแกนกรรม เด็กๆ ดูว่ามีใครลายมือสวยบ้าง เรื่องนี้จะ ว่าเป็นทุกขลาภก็คงไม่ผดิ เพราะผมเป็นคน หนึง่ ซึง่ มักจะถูกรุน่ พีใ่ ช้ให้เขียนชือ่ นามสกุล บนปกสมุดเรียนเป็นประจ�ำ ไตรธวัช... ซึ่ง เพิ่งเข้ามาใหม่ก็หวังดี อยากช่วยเพื่อน ตามทีถ่ กู ท่านสอนให้เสียสละได้ดว้ ยใจงาม ออกปากช่วยผมเขียนชื่อให้ เขียนเสร็จ มันก็เอาไปซ่อนไว้ในกองสมุด หลังงานนี้ ลุลว่ ง ผมจึงน�ำไปส่งให้พดี่ ำ� ตามนัด เชือ่ มัย้ ครับ วันรุ่งขึ้นความซวยก็มาถึง พี่ด�ำซึ่งตัว มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 7
สูงเกือบ ๒ เมตร มายืนหน้าถมึงทึง ตาแดงก�ำ่ ถามว่า “ท�ำไมมึงท�ำอย่างนี้วะ อาจหาญ มากที่มึงริอ่านแกล้งกูแต่เด็ก ไม่เจียมตัว” ผมละก็งงเป็นไก่ตาแตก... อะไรเกิดขึ้นกับ กูวะนี่ “ก็มงึ ดูซะ มึงเขียนชือ่ กูวา่ ไง...” ตาย ละวา... ไอ้เซ่น... มึงท�ำกูแล้ว มันเขียนอะไร เหรอครับ มันเขียนชื่อพี่เขาว่า ไพบูลย์ บุตรขัน (ชื่อนักแต่งเพลงและนักร้องลูกทุ่ง ประกอบกับภารโรงของโรงเรียนสมัยนัน้ ชือ่ นายขันเสียด้วย) ซะทุกเล่มเลย... เฮ้อ... ผม ต้องท�ำใจครับเรื่องนี้ ห้องเพรบตอน ม.ศ.๑ น่าจะเป็น ปีที่ยุ่งมากที่สุด นอกจากโต๊ะเพรบเด็กๆ จะเป็นที่เก็บนมและโอวัลตินที่รุ่นพี่น�ำมา ให้เพียง ๑ กระป๋อง ให้ชงดื่มได้ทั้งปีแล้ว ผมยังถูกให้เลี้ยงดูปูเสื่อสัตว์เลี้ยงตัวโปรด ของพวกรุ ่ น พี่ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง พี่ ตี๋ (ไพรั ช ลีสวุ ฒ ั น์) น�ำสัตว์ประเภททีจ่ ะเป็นกระรอก ก็ไม่ใช่ จะเป็นกระแตก็ไม่เชิง มาให้ผมเลีย้ ง “เฮ้ย... ตัวนี้ เขาเรียกว่า กระถิก” เกิดมาเพิง่ เคยได้ยนิ ครับ... “แล้วต่อไปนี้ กูจะเรียกมึง ว่า “กระถิก” ถ้ามึงท�ำกระถิกกูตาย... มึงก็ จะต้องตายตาม... เข้าใจมั้ย..” โอ้โฮ อะไร จะขนาดนัน้ แล้วจะเอาไอ้กระถิกตัวนีไ้ ปไว้ ที่ไหนละครับเนี่ย ไม่ใช่หนอนหรือจิ้งหรีด ที่จะใส่กล่องไว้ได้ทั้งวัน วันอาทิตย์ท่าน ผู้บังคับการขึ้นตรวจคณะ เดี๋ยวก็ได้เรื่อง จะเอาไปซ่อนไว้ไหน กรงก็ไม่มี วันๆ ก็วุ่น กับไอ้กระถิกตัวนี้ ไปไหนก็ต้องเอาไปด้วย
8
เก็บไว้ในโต๊ะทิ้งขนมผลไม้ไว้ก็ต้องรีบกลับ มาดู กลัวจะสิ้นลมอยู่ ในโต๊ะ บางทีไอ้ กระถิกเจ้ากรรมก็คอยแต่จะวิ่งหนี ก็ต้อง ช่วยกันจับเล่นเอาเหงื่อตก และแล้ววัน โลกาวิ น าศก็ ม าถึ ง เช้ า วั น หนึ่ ง เปิ ด โต๊ ะ เพรบ กระถิกที่รักของพี่ตี๋ก็นอนสงบนิ่ง ตัวแข็งทื่อ... ตายสนิท แย่แล้วงานนี้ คิด หาทางออกต่างๆ นาๆ ก็คิดไม่ออก จะ หาตัวตายตัวแทนก็ไม่มี เพราะหน้าตาไม่ เหมือนชาวบ้านเขา ไม่รู้จะท�ำยังไง ตาย ตามไอ้ตัวนี้แน่เลยกู... ผมคิด แต่ก็ใจดี สู้เสือเข้าไปรายงานว่า พี่ครับ... สงสัย กระถิ ก พี่ จ ะเป็ น เบาหวานครั บ มั น กิ น นมข้นเยอะไปหน่อย... ตายซะแล้วครับ “เฮ้ย..ใครเค้าเลีย้ งกระถิกด้วยนมข้นวะ” ... เอ่อ... มันกินเองครับ ! ? ! ? ! ! สมัยเข้าคณะในแรกๆ นั้นผมจ�ำได้ ว่าต้องซ้อมรักบี้ทุกวัน ไม่ได้เล่นเก่งอะไร กับเขาหรอกครับ รุ่นเล็กมันมีกันอยู่ ๑๕ คนพอดี และรุ่นเล็กคณะผู้บังคับการนั้น ตัวเล็กกันจริงๆ จ�ำได้ว่าตอนเข้าคณะใน ผมสูงแค่ ๑๔๗ ซม. เด็กที่มาจากเด็กเล็ก ที่เป็นนักกีฬาตัวใหญ่ๆ จะถูกคัดไปคณะ อื่นหมด เชื่อมั้ยครับว่าผ่านไปอีกปี พวก ผมตัวก็ยังสูงไม่เกิน ๑๕๕ ซม. ซึ่งยังอยู่ รุ่นเล็กกันอีกปีแทบทุกคน (แล้วก็เป็นเหตุ ส�ำคัญท�ำให้คณะผู้บังคับการชนะเลิศรักบี้ รุ่นเล็กในรอบ ๑๗ ปี ในปีต่อมา) ตอนเข้า คณะในใหม่ๆ นั้น หัวหน้าต้องขุนพวกเรา
เป็นพิเศษ ทุกวันหัวหน้าจะให้เราซ้อมรักบี้ ตั้งแต่ ๑๖.๐๐ น. ไปจนถึง ๑๘.๒๕ น. จึงปล่อยไปอาบน�้ำซึ่งเหลือเวลาเพียง ๕ นาที เพื่อให้ทันรับประทานอาหารเย็น ตอนเวลา ๑๘.๓๐ น. ลองคิดดูสิครับ เวลา เล่นรักบี้กลางฝน ตัวเต็มไปด้วยโคลน วิ่ง ไปอาบน�้ำและขึ้นทานข้าว นั่งประจ�ำที่ใน ห้องอาหารแล้ว ยังหอบซีโ่ ครงบานอยูเ่ ลย เหงื่อก็ไหลยังไม่ยอมหยุด มีโคลนที่ยังล้าง ไม่หมดในหูบา้ ง ตามทีต่ า่ งๆ บ้าง ทานข้าว ก็ยังไม่ลง กว่าจะเริ่มทานได้ก็หมดเวลาซะ แล้ว ต้องรีบไปซักรองเท้าและเสือ้ กีฬาของ รุ่นพี่อีกไม่รู้กี่ชุดต่อกี่ชุด หลังจากนั้นจึงได้ เข้าห้องเพรบ ซึ่งยังไม่ทันจะเริ่มท�ำอะไรก็ หมดเวลาเพรบซะแล้ว สมัยเด็กๆ นั้นจัด เวลาไม่ถูกกันจริงๆ ประมาณว่าครึ่งหนึ่ง ของเวลาเข้าเพรบคือการซักเสื้อผ้าและ สตั๊ดรุ่นพี่ อีกครึ่งก็ถูกรุ่นพี่ใช้ในกิจกรรม ต่ า งๆ พวกรั ก เรี ย นบางคนจึ ง พยายาม ท�ำการบ้านหลังเลิกเรียน บางคนก็ตื่นตี ๔ มาอ่านหนังสือ แต่ส่วนใหญ่ก็จะท�ำการ บ้านไม่เสร็จ แล้วแถมนั่งหลับในห้องเรียน อีกต่างหาก ผ่านปีแรกนีไ้ ปได้ผมว่าพวกเรา แกร่งจริงๆ เหมือนหนังจีนก�ำลังภายในที่ จะฝึกยอดวิชาได้ ก็จะต้องเปลี่ยนกล้าม เนื้อผลัดกระดูก รับใช้บีบนวดอาจารย์เสีย ก่อน ไอ้พวกที่ตื่นมาอ่านหนังสือเหล่านี้ มีความมุ่งมั่นบางอย่างและจัดเวลา (อื่น มาดูหนังสือ) เป็น ยอมอดกลั้นที่ถูกเรียก
ว่าเด็กตู้บ้าง ปากเหม็นบ้าง และในที่สุด สามารถสอบเข้าเป็นหมอเป็นวิศวกรกัน ได้ แถมมีคุณสมบัติความเป็นลูกวชิราวุธฯ ทุกประการ... ส่วนพวกทีใ่ ห้เวลากับกีฬาจน เกินไป และยังงงๆ กับชีวติ อยู่ ส่วนใหญ่จะ กระจัดกระจายกันไปคนละทิศละทาง บาง คนก็ยงั ท�ำใจให้กบั การเรียนรูว้ ชิ าไม่ได้ บาง คนตอนสมัครสอบยังไม่รู้เลยครับว่าเขา ไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันที่ไหน เมื่อนึก ย้อนกลับไป การจะให้ได้มาซึ่งความเป็น สุภาพบุรุษ รู้แพ้รู้ชนะ รู้จักแบ่งปันและ เสียสละ ความเป็นพี่เป็นน้อง ไม่ใช่เรื่อง ง่ายเลย การใช้ชีวิตในวชิราวุธฯ นั้น ทุก อย่างคือการเรียนรู้ แต่ต้องเรียนรู้ให้เป็น และต้องได้รับการแนะน�ำในการใช้ชีวิตใน โรงเรียนให้ดีด้วย เด็กนักเรียนควรเข้าร่วม กิจกรรมต่างๆ อย่างพอเหมาะพอดี ผมคิด เสมอว่า องค์ลน้ เกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ท่านคง ไม่ตอ้ งการให้เด็กของท่านมีความรูท้ ว่ มหัว แต่เอาตัวไม่รอด และในทางกลับกัน ท่าน คงไม่อยากเห็นเด็กของท่านไม่มีความรู้ถึง แม้จะเอาตัวรอดก็ตาม ถ้าจะเปรียบไป “ห้องเพรบ” ใน สมัยนั้นก็คือสถานที่ที่ใช้เรียนรู้การใช้ชีวิต อยูใ่ นวชิราวุธฯ เป็นทีซ่ งึ่ ทัง้ ให้เราใฝ่หาวิชา ความรู้ และทัง้ ฝึกการอยูใ่ ห้รอดในโรงเรียน ของเรานั่นเอง พบกันใหม่ไตรมาสหน้าครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุน่ ๔๖) มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 9
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี เขียนถึงอนุมานวสาร ถึงทีมงานอนุมานวสาร เป็นหนึ่งในผู้ติดตามผลงานของหนังสืออนุมานวสารค่ะ ปกติจะเห็นหนังสือ อนุมานวสารตั้งอยู่บนโต๊ะที่บ้านประจ�ำเนื่องจากคุณพ่อเป็นศิษย์เก่าฯ จึงแอบไปหยิบ หนังสือมาอ่าน แม้บางครัง้ อาจจะอ่านเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้างคละปะปนกันไป แต่ทกุ ครัง้ ที่ อ่านก็รสู้ กึ ได้ถงึ ความรักกลมเกลียวกันของนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธฯ ข้อคิดดีๆ ทีร่ นุ่ พีส่ อน รุ่นน้องจากบทสัมภาษณ์ต่างๆ และรู้สึกชื่นชมกับความตั้งใจของทีมงานฯ ที่ร่วมกัน ท�ำหนังสือเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน ที่ประหลาดใจก็คือวันนี้ไม่ได้เห็นหนังสืออนุมานวสารตั้งอยู่บนโต๊ะท�ำงานคุณ พ่อหรือตามบ้านเพื่อนๆ โอวีเท่านั้นค่ะ แต่กลับไปเห็นหน้าปกหนังสืออนุมานวสาร พร้อมกับคอลัมน์ศัพท์โอวี “หมี่เซฟ” ตั้งอยู่ในร้านบะหมี่ที่ขายดีที่สุดก็ว่าได้ เพราะ มีคนต่อคิวยาวเพื่อรอซื้อบะหมี่หมูแดง หมูกรอบ ในงานตลาดนัดตึกไทยพาณิชย์ที่จัด เป็นประจ�ำทุกสิ้นเดือน หน้าตู้นั้นมีหน้าปกหนังสือถูกน�ำไปใส่กรอบรูปอย่างสวยงาม สิ่ ง ที่ รั บ รู ้ ไ ด้ ก็ คื อ ร้ า นบะหมี่ ดุ สิ ต ร้ า นนี้ ค งรู ้ สึ ก ภู มิ ใจไม่ น ้ อ ยที่ ไ ด้ รั บ การกล่ า วถึ ง ใน หนังสืออนุมานวสารจึงน�ำมาตั้งโชว์ หรือนี่อาจจะเป็นอีกกลยุทธ์ของการเรียกลูกค้าให้ เข้าร้านมากขึ้น แต่ส�ำหรับอนุมานวสาร เอง สิ่งนี้ถือเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับ คนภายนอก (awareness) ซึ่งถือว่าจุด เริ่มต้นที่ดีของการสร้างแบรนด์ (branding) “อนุมานวสาร” ให้กับผู้ที่พบเห็นต่อไปใน อนาคต สิ่งที่พบเห็นในวันนี้รู้สึกปลาบปลื้ม แทนทีมงานฯ จึงน�ำมาเล่าสู่กันฟัง อย่าง น้ อ ยที่ สุ ด ก็ อ าจจะเป็ น ก� ำ ลั ง ใจให้ กั บ ทีมงานอนุมานวสารให้สร้างชื่อเสียงของ อนุมานวสารต่อไปค่ะ
10
ผู้ติดตามผลงาน
ก่อนที่จะมีบทกลอน “แต่ปางหลังยังมีฤาษีขลัง... ของ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ที่ลงในอนุมานวสารทุกฉบับนั้น ท่าน ม.ล.ปิ่นฯ ได้เขียนกลอนลงในอนุมานวสาร ฉบับแรกเมื่อมกราคม ๒๕๒๑ เลยขอคัดลอกมาให้อ่านกันครับ
วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖) มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 11
ใต้หอประชุม คุยกับนักเรียนเก่าฯ
12
“ในเวลานี้ และอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลง คือสิ่งที่โรงเรียนวชิราวุธฯ ต้องการที่สุด”
วิโรจน์ นวลแข ชื่ อ ของวิ โรจน์ นวลแข คงไม่ แ ปลกหู ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นเก่ า วชิราวุธฯ เขาเป็นทั้งอดีตนายกสมาคมฯ ๒ สมัย เป็นทั้งอดีต คณะกรรมการบริหารโรงเรียน และที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยที่สุด ก็คือ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ภัทร สถานที่ซึ่ง เคยมีนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ท�ำงานมากที่สุด ใครต่อใคร หลายคนเล่าต่อๆ กันมาว่า โอวีรุ่นก่อนๆ มักหยอกกันว่า ที่ ภัทรฯ นั้น เด็กวชิราวุธฯ เป็นตั้งแต่พนักงานระดับล่างสุด ยัน สูงสุดของบริษัท และคนนอกมักกระเซ้าว่า หากต้องการจะ รุ่งโรจน์ในหน้าที่การงานแล้วที่ภัทรฯ เห็นจะไม่พ้นต้องมี คุณสมบัติ “๓ ว” คือ คุณวุฒิ วัยวุฒิ และ “วชิราวุธฯ”
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 13
อนุมานวสารขอพบพูดคุยและขอ ค�ำปรึกษาจากเขา ซึ่งได้รับการตอบรับ ในทันที วิโรจน์ฯ เชิญทีมงานฯ ให้ไปพบที่ โรงแรมมาดูซิ ปากซอยสุขุมวิท ๑๖ ที่เขา เป็นเจ้าของ และมีลูกๆ ทั้งสองคนของ เขาเป็นผู้บริหาร เรานั่งคุยกันอยู่จนดึกดื่น อาหารบนโต๊ะถูกน�ำมาเสิร์ฟจานแล้วจาน เล่าจนครัวปิด อาหารหมดแล้ว แต่พวกเรา ก็ยังนั่งคุยกันต่อ ในวัยเกษียณ วิโรจน์ฯ หรือ “ลุง ช้อย” ของเด็กๆ สุขุมลุ่มลึกสมค�ำเล่าลือ ทุกบทสนทนาของเขามักเริ่มด้วยค�ำถาม ให้โอวีรุ่นน้องได้ฉุกคิด แล้วตามมาด้วย ค�ำตอบที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของเขา ซึง่ แสดงออกมาอย่างไม่ออ้ มค้อม ในฐานะ ทีเ่ ขาเคยเกีย่ วข้องและใกล้ชดิ กับโรงเรียนฯ มายาวนาน และในฐานะนักการเงินที่มี ทัง้ ประสบการณ์ในการบริหารองค์กร และ สายสัมพันธ์กับผู้คนในแวดวงต่างๆ ท�ำให้ วิโรจน์ฯ พูดถึงหรือวิจารณ์โรงเรียนวชิราวุธฯ ได้อย่างเข้าอกเข้าใจ ค�ำพูดและข้อคิดเห็น ของเขาสะท้อนความเป็นห่วงเป็นใย เต็ม ไปด้ ว ยความปรารถนาดี ที่ อ ยากจะเห็ น โรงเรียนก้าวหน้า โดยเฉพาะในโอกาสที่ ปี ๒๕๕๓ นี้ โรงเรียนวชิราวุธฯ จะครบ ๑๐๐ ปี เรื่ อ งที่ วิ โรจน์ ฯ เล่ า มั ก ฟั ง เพลิ น แทบทุ ก เรื่ อ งมั ก เรี ย กเสี ย งหั ว เราะจาก ผู้ฟังได้เสมอ แต่ทุกเรื่องเหล่านั้นแฝงไป
14
ด้ ว ยเรื่ อ งที่ จ ะต้ อ งคิ ด ตาม และให้ ผ ่ า น หัวไปไม่ได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยว กับโรงเรียนวชิราวุธฯ อันเป็นที่รักของเขา ก่อนเริ่มบทสนทนาและก่อนไวน์ แก้วแรกจะถูกจิบเข้าปากของทั้งผู้พูดและ ผู้ฟัง วิโรจน์ฯ บอกพวกเราว่า “เรื่องที่ เขาจะเล่ า และพู ด ถึ ง ต่ อ ไปนี้ เ ป็ น เรื่ อ งที่ ไม่ มี ใ ครอยากพู ด แต่ ผ มขอพู ด ออกมา ดังๆ พวกคุณเอาค�ำพูดของผมไปเขียนและ เผยแพร่ได้”
สิ่งที่คิดสิ่งที่เห็น เกี่ยวกับโรงเรียนวชิราวุธฯ
“สิ่งแรกที่เราควรกลับมาพิจารณา ทบทวนคื อ สิ่ ง ใดของโรงเรี ย นที่ ค วรจะ เลิก และสิ่งใดที่ควรเก็บเอาไว้ ถือว่าเป็น สิ่ ง ส� ำ คั ญ มาก คนไทยมั ก มี นิ สั ย เสี ย อย่างหนึ่ง คือ เวลาเปลี่ยนหัวหน้าหรือ ได้เป็นใหญ่ มักจะยกเลิกของที่คนก่อนๆ ท�ำเอาไว้ ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ กูอยาก ท�ำของกู ตามใจตนเองเป็นหลัก แต่องค์กร
อย่างโรงเรียนฯ มีผลกระทบต่อคนจ�ำนวน มาก ดังนั้นจึงท�ำไม่ได้และไม่ควรท�ำเป็น อย่างยิ่ง เช่นว่าจากเดิมคุณมีอยู่ ๔ คณะ ท�ำไมถึงตัง้ เพิม่ อีก ๔ คณะแล้วยุบเหลือ ๒ ค�ำถามคือท�ำไม ทัง้ ทีก่ เ็ ป็นคนกลุม่ เดียวกัน ทีบ่ ริหาร เพราะผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ มีผลต่อ นักเรียนเก่าฯ ทีจ่ บจากคณะทีถ่ กู ยุบไปด้วย สมมติถ้าเขามีลูกแล้วลูกถามว่าคณะที่พ่อ เคยอยูใ่ นวชิราวุธฯ คือคณะอะไร อ๋อ คณะ ทีพ่ อ่ เคยอยูม่ นั ยุบเลิกไปแล้ว คุณจะ Refer
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 15
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้ ทรงก�ำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่า ต้องการให้เด็กนักเรียน เป็นสุภาพบุรุษ เราถึงได้เล่นเกมกีฬามาก เพราะเกมมันสอนให้เรา รู้จักแพ้ชนะเป็นอย่างไร แต่ท่านไม่ได้บอกว่า พวกเราต้องเรียนไม่เก่ง”
16
อย่างไร นี่มันเป็นเรื่องของสปิริต เป็นเรื่อง ระยะยาว “วิ ธี ก ารบริ ห ารงานที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ปัญหานี้ เกิดขึ้นในทุกระดับของประเทศ คือบริหารกันแบบมวยวัด แม้วธิ กี ารบริหาร ประเทศตอนนี้ก็มวยวัด ประชาชนเขารู้ เขาคิ ด ออกว่ า อะไรควรท� ำ ไม่ ค วรท� ำ วชิราวุธฯ ที่ผ่านมาของเราก็เหมือนกัน ต้องดูว่าอะไรควรท�ำไม่ควรท�ำ แต่กลาย เป็นว่า อะไรไม่ควรกลับมีมาตลอด เพราะ ว่ า บริ ห ารโรงเรี ย นแบบมวยวั ด ไม่ เ อา มวยหลั ก ที่ เ ล่ น ตามทฤษฎี ดั น เล่ น ตาม อ�ำเภอใจแบบมวยวัด เวลานี้คงต้องถึง เวลาที่ ส ถาบั น อย่ า งเราต้ อ งเลิ ก ท�ำ งาน แบบมวยวัดกันสักที เราต้องท�ำงานอย่าง จริงจัง “มักมีคนถามผมว่า ท�ำไมคนรุ่น ผมไม่เอาลูกเข้าวชิราวุธฯ ก็เพราะช่วงนั้น โรงเรียนวชิราวุธฯ อยู่ในช่วงขาลง แล้วก็ ยังมีเรื่องทะเลาะขัดแย้งกันเองอีก ซึ่งการ ทะเลาะกันเองนีท้ ำ� ให้สงิ่ เลวร้ายมันปรากฏ ออกมาชัด เวลาผู้ใหญ่ทะเลาะกัน ก็มักจะ โยนของเสียใส่กันเยอะ “ส�ำหรับเรื่องโรงเรียน ผมเห็นว่า ทุกคนสามารถบริหารจัดการได้ ถ้าท�ำโดย ปราศจากทิฐิ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการ ท�ำข้อตกลงกันก่อนว่าจะมีนโยบายอย่างไร นอกจากนี้ อดีตผู้บังคับการก็ต้องเข้ามา ช่วย แม้ว่าตามหลักการบริหารแล้วจะ
ไม่ถูกต้อง แต่การบริหารจัดการโรงเรียน อดีตผูก้ ารยังมีความส�ำคัญต่อโรงเรียนและ นักเรียน ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด ผู้ปกครอง เด็ ก หลายคนก็ ม าปรึ ก ษาผมว่ า ควรเอา ลูกออกจากโรงเรียนดีไหม เพราะความ ขัดแย้งมันรุนแรงเหลือเกินและหลายฝ่าย ผมเชื่อว่ามีหลายคนเอาออก แต่ผมเชื่อ ว่ามันเป็นเรื่องที่สามารถจัดการได้ ไม่มี ใครมาท�ำให้เสียหายแน่นอน ดูอย่างพวก เราสิก็ยังผ่านพ้นมาได้ เด็กจะเก่งได้ก็ด้วย ตัวเอง โรงเรียนเพียงแต่เสริม ยิ่งเด็กเก่ง มากโรงเรียนก็ต้องยิ่งเสริมให้เก่งขึ้นไปอีก “วัตถุประสงค์ของการตั้งโรงเรียน นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงก�ำหนด ไว้ชัดเจนแล้วว่า ต้องการให้เด็กนักเรียน เป็นสุภาพบุรุษ เราถึงได้เล่นเกมกีฬามาก เพราะเกมมันสอนให้เรารู้จักแพ้ชนะเป็น อย่างไร แต่ท่านไม่ได้บอกว่าพวกเราต้อง เรียนไม่เก่ง แต่ทกุ คนก็เอามาอ้างเพราะไป ตีความผิด ยกตัวอย่างเช่นเรือ่ ง “ตูห้ นังสือ” พระองค์ทา่ นเพียงแต่บอกว่า “จะรูไ้ ปท�ำไม ถ้าใช้ไม่เป็น” ก็เท่ากับเป็นเพียงตู้หนังสือ รู ้ เ ยอะๆ เหมื อ นตู ้ ห นั ง สื อ แต่ ก ลั บ เอา ความรูท้ มี่ ไี ปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ถ้าอย่างนัน้ รู้น้อยๆ แต่สามารถน�ำไปใช้งานได้จะดี กว่าไหม ฉะนั้น โรงเรียนวชิราวุธฯ จึงควร ฝึกเด็กของเราให้เป็นไปตามแนวทางนี้ ซึ่ง ก็คือสิ่งอดีตผู้บังคับการชัยอนันต์ สมุท วณิช ท�ำ ซึง่ เข้ากับพระราชปณิธานอย่างไม่
ผิดเพี้ยน หลักสูตรการเรียนรู้แบบ “เพลิน” เป็นการเรียนรูแ้ บบ Learning by doing เด็ก ได้เรียนรู้ด้วยได้ท�ำเป็นด้วย “เห็นได้จากการจัดงานคณะของ พวกเรา เกือบทุกปีเป็นโอกาสที่ให้พวก นักเรียนได้ฝึกการจัดงาน เวลาเล่นรักบี้ แล้วไปท�ำงานกับข้างนอก เราจะเห็นความ แตกต่าง เพราะระบบการท�ำงานของบริษทั หรือหน่วยงานรัฐข้างนอกนั้นถูกอิทธิพล มาตัง้ แต่สมัยสงครามโลกครั้งทีส่ อง ที่แบ่ง การท�ำงานออกเป็น Function คุณมีหน้า ที่เป็นบัญชีคุณก็เป็นไป คุณเป็นการตลาด การผลิต แต่ละแผนกคุณจะไม่ท�ำงานข้าม Function ถ้าจะท�ำองค์กรแบบ Matrix organization ที่ให้ทุกคนช่วยกัน กลับเป็น สิง่ ทีย่ าก เพราะทุกคนทีม่ าจากแต่ละแผนก จะท�ำตัวเหมือนสิงโต มีการสร้างอาณาเขต ถ้าคนนอกเข้ามารุกล�้ำเขตแดน ก็จะต้อง ฆ่ากันไปข้างหนึ่ง ไม่ฆ่าเขาก็ถูกเขาฆ่า ถึง จะเป็นผู้ชนะได้ “แต่พวกเราไม่ใช่แบบนั้น เราเล่น รักบี้มา รักบี้สอนให้เราท�ำงานร่วมกันเป็น ทีม ท�ำงานเหมือนลงแขก เรามีต�ำแหน่ง หน้าที่ในการเล่น และเราก็ต้องเล่นทั้ง สนาม ไม่ใช่เราเล่นกองหลังจะยืนอยู่แต่ ข้างหลังอย่างเดียว กูเตะไปแล้วไม่ต้องวิ่ง ขึ้น ในกีฬารักบี้เรามีต�ำแหน่งที่ค่อนข้าง จะต้องยืนประจ�ำต�ำแหน่งอยูส่ องต�ำแหน่ง คื อ สกรั ม ฮาล์ ฟ กั บ ฟู ล แบค ในหน้ า ที่ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 17
การงานก็เหมือนกัน ถ้าเรายังแบ่งหน้าที่ กันแบบทีเ่ ป็นอยู่ เราก็จะไปถึงทางตัน หาก ท�ำแต่หน้าที่ใครหน้าที่มัน ก็จะไม่เหมือน กับเกมที่เราเล่น ก็จะไม่พัฒนา แต่พอมา ถึงตอนนี้เราก็เริ่มสับสนว่าเราควรจะท� ำ หน้าที่อย่างไร ? “กรรมการอ�ำนวยการโรงเรียนจะ ต้องมานั่งคุยกันพูดให้ชัดว่า จะเอาอะไร ไม่เอาอะไร จะยุบหรือจะเลิกมีเหตุผลอะไร หรือถ้าจะให้มไี ว้ ควรมีไว้เพือ่ อะไร จะสร้าง อะไรขึ้นใหม่เพื่อทดแทนอะไร สิ่งเหล่านี้ ต้องเป็นความรับผิดชอบของบอร์ดบริหาร โรงเรียน และช่วงเวลาเปลีย่ นผูบ้ ริหาร ควร มีการระบุให้ชัดว่าจะต้องท� ำกันอย่างไร แล้วเวลาตัดสินใจเรื่องอะไร ไม่ควรเป็น แบบ อันนี้ไม่ถูกใจ ยุบซะเลย โดยไม่ได้ให้ เหตุผลว่าท�ำไม กรรมการต้องรับผิดชอบ ผลการตัดสินใจ อย่าไปเอาตัวอย่างเมือง นอกทั้งหมด “โลกนี้มันก็เรียนมาผิดๆ กันหมด ไม่อย่างนั้นเกิดสงครามโลกตั้งสองครั้งได้ อย่างไร หรือเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซ�ำ้ ๆ ซากๆ ในอเมริกา ทั้งเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๒๙ หรือ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ผ่านมาได้อย่างไร ถ้าบอกว่าเรียนกันมาถูกแล้ว แต่อาจจะ น� ำ มาใช้ ไ ม่ เ ป็ น พอเวลาจะมาบริ ห าร จั ด การเอามาใช้ ไ ม่ ไ ด้ มี ค วามรู ้ เ ยอะก็ เหมือนตูห้ นังสือของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระองค์ท่านจึงบอกว่า ให้รู้น้อยพอเอา
18
ไปใช้เป็นก็พอ พอถึงเวลาที่ต้องใช้ความรู้ มากๆ พวกนั ก วิ ช าการก็ ไ ม่ ก ล้ า ยื น ยั น ความคิด ก็เพราะเก่งไม่จริง เวลาจะบอก ว่าเกิดสึนามิได้ไหม มันเกิดได้แน่ แต่นัก วิชาการไม่สามารถท�ำให้คนอื่นมั่นใจได้ ก็เพราะตัวเขาเองก็ไม่แน่ใจ ถามว่าวันนี้ จะมีการเมืองล่มอีกไหม เศรษฐกิจล่มอีก ไหม มีแน่ เราต้องถามว่าวันนี้เราได้เรียนรู้ อะไรจากสิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น มาก่ อ นหน้ า จาก ประวัติศาสตร์”
คณะกรรมการ อ�ำนวยการ โรงเรียนฯ
“คณะกรรมการอ�ำนวยการโรงเรียน จะต้ อ งมี คุ ณ สมบั ติ เริ่ ม จากสิ่ ง ที่ ทุ ก คนรู ้ กันดี คือ เสียสละ ทุกคนทีม่ านัง่ เป็นบอร์ด ต้องรู้จักค�ำว่าเสียสละ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดี ส�ำหรับโรงเรียน หากโรงเรียนยังไม่มี ก็ควร ไปหาแนวทางมาแล้ ว ช่ ว ยกั น พิ จ ารณา คัดสรรและตัดสินใจ หมัน่ สอบถามนักเรียน เก่าฯ และผู้ที่รู้จริงเยอะๆ แต่ถ้าบอร์ดไม่รู้ จักค�ำว่าเสียสละแล้วนะ ทุกคนก็อยากจะ นั่งเป็นบอร์ดต่อไป เพียงเพราะอยากมี ต�ำแหน่งติดตัว “ที่ ม าของคณะกรรมการอ� ำ นวย การ หรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียนยัง ไม่รู้เลยว่ามาจากไหน ใครรู้ช่วยบอกผม หน่อย วันดีคืนดี ผมก็ได้รับหนังสือให้มา เป็นคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และ
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 19
...ใครที่ท�ำให้ ประเทศชาติเสื่อมเสีย สถาบันพระมหากษัตริย์ เสื่อมเสีย โรงเรียนไหนไม่กล้า ถอดถอนประกาศนียบัตร โรงเรียนวชิราวุธฯ ต้องกล้า ท�ำเป็นสถาบันแรก...
20
วันดีคืนดีอีกเช่นกัน ผมก็ได้รับหนังสือว่า ต�ำแหน่งผมโดนยุบแล้ว เป็นเรือ่ งทีน่ า่ ตลก มาก ไม่มีการเขียนถึงที่มาที่ไปของบอร์ด “งานในบอร์ ด ไม่ ใช่ ก ารตั ด สิ น ใจ เรื่องนโยบายสักเท่าไร เพราะงานด้าน นโยบายจะถูกบริหารโดยผูบ้ ริหารโรงเรียน หมดแล้ ว คื อ ผู ้ บั ง คั บ การและบรรดา ผูก้ ำ� กับคณะต่างๆ ปีนจี้ ะเป็นอย่างไร ปีหน้า ก็เป็นแบบนี้ ใช้งบประมาณเท่าไร เอาไป ท�ำอะไรบ้าง ก็จะมีเหมือนๆ หรือคล้ายๆ กับเดิมทุกปี เอาไปแข่งรักบี้ ไม่มีอะไร แปลกใหม่ “ปัญหาของบอร์ดตอนนี้เป็นเรื่อง ส�ำคัญ เป็นเรื่องที่น่ากลัว โรงเรียนไม่ควร จะเป็นแบบนี้ โดยระบบของโรงเรียนมันดี อยู่แล้ว แต่ระบบจะต้องดันให้โรงเรียน ดียิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่ไปดึงให้ตกต�่ำลง ยก ตัวอย่างเช่น นักเรียนโรงเรียนประจ�ำจะ ต้องอยู่ในโรงเรียนเป็นเวลานานมาก เพื่อ ทีเ่ ด็กจะได้เรียนรูก้ ารเอาตัวรอดด้วยตัวเอง อย่างสมัยก่อน เด็กได้กลับบ้านเดือนละ ครั้ง แต่พอเลิกระบบนี้กลายเป็นเด็กได้ กลับบ้านทุกสองสัปดาห์ เด็กก็จะเกิดความ รู้สึกที่ไม่แตกต่างจากโรงเรียนไปมา เพียง แต่ไม่ต้องนั่งรถไปทุกวัน ยิ่งเด็กได้กลับ บ้านมากเท่าไรก็จะยิ่งไปคิดว่ากลับบ้าน ไปเมื่อไรจะหาความสุขอย่างไร แทนที่อยู่ โรงเรียนในวันอาทิตย์ที่ว่างๆ เด็กจะได้มา นั่งคิดว่าจะเอาเวลาไปศึกษาอะไรเพิ่มเติม
จะเอาหนังสือมาอ่าน จะเข้าห้องสมุด จะ เล่นกีฬากับเพื่อน มันจัดชีวิตคนละอย่าง “พอระบบเปลี่ ย น วิ ถี ชี วิ ต เด็ ก ก็ เปลี่ยน เด็กโดยมากมีพื้นฐานดีอยู่แล้ว แต่ในระบบโรงเรียนคุณยังท�ำให้เด็กเปล่ง ประกายออกมาได้ ไ ม่ ค รบทุ ก ด้ า น คุ ณ อาจจะเป็นนักกีฬารักบี้ที่ดี แต่คุณก็เป็น นักเรียนที่ดีได้ด้วย ถ้าคุณได้รับการพัฒนา ทักษะความรู้ แต่ถ้าคุณพัฒนาทักษะด้าน กีฬาอย่างเดียว โดยทีค่ ณ ุ ละเลยทักษะด้าน การเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณควรจะได้ พอมา บางยุคก็เริ่มฝึกให้เด็กมีจิตใจที่เปิดรับการ เรียนรูท้ มี่ ากกว่าด้านใดด้านหนึง่ เห็นอะไร ที่เปิดมากกว่านี้ มองโลกให้เปิดมากกว่านี้ กีฬาและการเรียน ทัง้ สองสิง่ นีไ้ ปด้วยกันได้ มันไม่มใี ครเรียนได้ตลอดทัง้ วัน มันไม่มใี คร เล่นได้ตลอดทั้งวัน ต้องแบ่งเวลาให้ดี และ กีฬาก็มีฤดูกาลของมัน “ทีนี้กระบวนการบริหารโรงเรียน กลับเน้นไปที่เรื่องกีฬามากกว่าเรื่องเรียน คนส่วนใหญ่ภายนอกก็เลยไม่แน่ใจว่าเด็ก วชิราวุธฯ จบมาจะเป็นอย่างไร เด็กบางคน จบมาส่ ว นใหญ่ ก็ เ อาแต่ เ ล่ น รั ก บี้ แต่ เรียนไม่เอาไหน บางคนก็เป็นพวกขี้หลี มาก บางคนก็เอาแต่เรียนหนังสือไม่คยุ กับ ใครเลย มันมีเด็กจบออกมาหลายประเภท มาก แต่รอู้ ย่างเดียว ไอ้พวกนีถ้ า้ เพือ่ นชวน มันไป มันเฮฮากับเพื่อน เพื่อจะให้เด็ก วชิราวุธฯ จบออกมารอบด้าน โรงเรียนต้อง
มียทุ ธศาสตร์ตอ้ งมีแผน นักเรียนวชิราวุธฯ ในรุ่นต่างๆ จะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตก ต่างกันไปในแต่ละช่วง
ทรัพยากรของโรงเรียน
“พระคลังข้างที่เป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทาน ให้ โรงเรี ย นเป็ น ทุ น ในการจั ด การศึ ก ษา (endowment) เท่าที่เราพอจะทราบกันดี อยู่แล้วเช่น ที่ดินแถวซอยมหาดเล็กหลวง ราชด�ำรินั้นเป็นที่ของโรงเรียน ตอนนี้มี แต่ตึกสูงๆ ใหญ่ๆ ทั้งนั้น ถามว่าโรงเรียน วชิราวุธฯ ได้รบั จากตรงนัน้ เท่าไร เมือ่ ๒๐ – ๓๐ ปีที่แล้วค่าเช่าที่ดินตรงนั้นเป็นจ�ำนวน เงินมหาศาลแต่โรงเรียนกลับได้เงินมาเพียง เล็กน้อย ที่เหลือมันหายไปไหน นอกจาก นี้ยังมีหุ้นในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่ดินใน ถนนข้าวสาร แต่ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน “สมัยผู้บังคับการชัยอนันต์กล้าขอ เงินจากพระคลังข้างที่ ๑๗๐ กว่าล้านเพื่อ เอามาสร้างคณะใหม่ ครั้งแรกขอไป ๒๔๐ ล้าน ซึ่งก็ได้รับอนุมัติทั้งสองปีติด ถาม ว่าขอไปมากขนาดนี้ ยังกล้าให้ต้องแสดง ว่ากองทุนของโรงเรียนจะต้องมีเยอะกว่า นี้ แต่พระคลังข้างที่ก็ยินดีให้เงินตามที่ ขอเพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน Happy แต่ยัง ตามให้ผู้รับเหมามาสร้างให้ ถ้าคุณแข็งนะ อย่างสมัยก่อน ผู้บังคับการชัยอนันต์เป็น นักเขียนนักวิชาการด้านการเมือง ผมเป็น มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 21
นักการเงิน แล้วก็มคี นอืน่ ๆ อีกทีแ่ ข็ง เขาก็ ต้องยอม พอตอนหลังมานี้เจอคนหัวอ่อน มาบริหาร เขาก็ทำ� เหมือนเดิมกลายเป็นว่า จะให้หรือไม่ให้ก็เป็นเรื่องของเขา แต่ถ้า เจอคนแข็งๆ เขาก็ไม่อยากมีเรื่อง เพราะ คิดว่าไอ้พวกนีค้ งอยูไ่ ด้ไม่เท่าไร มีกใ็ ห้ไม่มี ก็บอกว่ารอหน่อย “โรงเรียนต้องท�ำแผนงบประมาณ ไปเสนอพระคลังข้างที่ทุกปี แต่ถ้าไม่ให้ ตามที่ขอโรงเรียนก็ต้องไปเก็บเงินเด็กเพิ่ม หรือไม่กต็ อ้ งไปตัดงบประเภท Investment Budget ออกไป เช่ น พาเด็ ก ออกไป ทัศนศึกษา ซ่อมแซมหอประวัติ หอประชุม ฯลฯ “เรื่องการรู้ทรัพยากรที่แท้จริงของ โรงเรียนนี้ไม่ขัดต่อพระราชประสงค์ของ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เลย ถ้าโรงเรียน วชิราวุธฯ สามารถจัดการทรัพย์สินเอง ได้ หรืออย่างน้อยก็ทราบว่ามีทรัพย์สิน เท่าไร ตอนนี้เราก็อาจจะสามารถผลิตเด็ก ได้มากกว่าปีละ ๖๐ คน เราควรจะผลิตได้ ปีละเป็นหลักร้อยคน นักเรียนควรจะเข้าไป เรียนสักประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าคน นี่ผ่าน ไป ๑๐๐ ปี โรงเรียนไม่มีโตขึ้นเลยเพราะ งบประมาณโดนคุมไว้แค่นั้น วัตถุมากขึ้น แต่นักเรียนไม่มากขึ้น แล้วนี่ก�ำลังจะสร้าง ตึกใหม่อีกแล้ว
22
“ถ้ า เราสามารถมี ค ณะกรรมการ เป็ น เรื่ อ งเป็ น ราวมี ที่ ม าที่ ไ ปชั ด เจนมา บริหารทรัพย์สินตรงนี้ได้ก็จะเป็นเรื่องดี เปิดเผย โปร่งใส รุ่นไหนเข้าไปได้ และ ต้องเอาโอวีที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหาร จัดการกองทุนเข้าไปดูแล และต้องเข้าไป ตามบทบาทหน้าที่ ถ้านักการเงินขาดก็ตอ้ ง เอานักการเงินเข้าไป ถ้านักกฎหมายขาดก็ ต้องเอานักกฎหมายเข้าไป”
บุคลากรของโรงเรียน
“ผมเป็ น ห่ ว งเรื่ อ งผู ้ ก� ำ กั บ คณะ ซึ่ ง โรงเรี ย นต้ อ งการคนที่ มี คุ ณ ภาพและ เหมาะสม คนเป็นผู้ก�ำกับคณะโรงเรียน ต้องไปเชิญมาเพราะงานนี้จะหาคนมาท�ำ ตลอดชีวิตนั้นยาก ผมเสนอว่าเราควรไป ท�ำ Shortlist มาว่า แต่ละรุ่นในช่วงอายุที่ เหมาะสมมีใครมีคณ ุ สมบัตบิ า้ ง ดูวา่ ปีหน้า มี โ อวี ใ ครบ้ า งที่ พ อจะว่ า งอยู ่ อาจจะมี อยู่ ๕ คน ก็เลือกเอามา ๑ ใน ๕ ก็ได้ แล้วให้คนเหล่านั้นมาท�ำงานคนละ ๒ ปี จะอ้างว่ามาไม่ได้เพราะพวกเราได้เรียน ฟรี ม าแล้ ว พอครบ ๒ ปี แ ล้ ว ก็ ไ ปได้ ให้คนอื่นเข้ามาแทน ถ้าเรามีนโยบายที่ แน่นอน คนใหม่เข้ามาก็ท�ำตามสิ่งเดิมที่มี อยู่ไม่ต้องมาสร้างใหม่ มีหน้าที่แค่ท�ำตาม แนวทางเดิมให้ส�ำเร็จ คนใหม่มา คนเก่า ก็เป็นที่ปรึกษาไป อย่างนี้เราจะได้ผู้ก�ำกับ ที่มีคุณภาพ มากกว่าที่เราจ้างแบบตลอด
ชีวิต หรืออาจจะเวียนกันไปเป็นคณะ ปีนี้ ผูก้ ำ� กับคณะจิตรลดาไป ปีหน้าเป็นผูก้ �ำกับ คณะพญาไท สลับกันไป “ส� ำ หรั บ ผู ้ ก� ำ กั บ คณะควรจะเป็ น โอวีจะดีกว่า คนนอกถ้ามาแค่ ๒ ปี แล้วจะ ให้กูไปไหนต่อ ในกรณีที่หาไม่ได้ ก็อาจให้ เป็นในเชิงอาสาสมัคร ถ้าเกิดไม่มีผู้กำ� กับ ที่คณะไหนก็รับคณะนั้น หรือถ้าคนที่มา ท�ำงานระยะยาวได้ดีกว่าเราก็ต้องเก็บไว้ เราต้องไม่ปิดกั้นทุกระบบ สมมติว่าถ้าอยู่ ครบ ๒ ปี แล้วเขาท�ำงานดีมีคุณภาพและ อยากท�ำงานรับใช้โรงเรียนต่อ ก็ตอ่ สัญญา กันออกไปก็ได้ หรือจะลองจ้างผูก้ �ำกับของ โรงเรียนประจ�ำจากต่างประเทศที่ดังๆ มา อยู่ที่โรงเรียนสักปีหนึ่ง เพื่อให้พวกเราได้ เรียนรู้ และน่าจะท�ำได้เพราะพวกนั้นเขาก็ สนใจที่อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับพวก เราอยู่แล้ว “แต่ ส� ำ คั ญ ต้ อ งให้ ค นที่ ม าใหม่ สามารถรักษาการฝึกสอนนักเรียนให้เป็น ไปตามแนวทางของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ตอนนี้เราต้องคัดสรรคุณภาพของคนที่จะ มาเป็นผู้ก�ำกับให้ดีมากกว่านี้ “ผมมีเรือ่ งเป็นห่วงมากอยูเ่ รือ่ งหนึง่ ตอนผมเป็นนายกสมาคมฯ ปีสุดท้าย ผม ได้หาเงินก้อนหนึ่งให้โรงเรียนเอาไปท�ำ คอร์ส Speed reading ฝึกให้แก่นักเรียน ผมไปหาครูมา เอาเงินมาให้ เหตุที่อยาก ให้เรียนเพราะเวลาไปเรียนในขั้นโตคุณจะ
ต้องรู้ว่าอ่านเร็วอ่านอย่างไร วิธีการอ่าน เร็ว เราต้องรู้ว่าผู้เขียนเขาก�ำลังถ่ายทอด อะไรให้เรา แบ่งย่อหน้าหลัก หรือย่อยอยู่ ตรงไหน วัตถุประสงค์ของหนังสือคืออะไร โครงสร้ า งของหนั ง สื อ เป็ น อย่ า งไร มั น มี ห มด เหมื อ นกั บ การออกแบบบ้ า นมี รายละเอียดทุกอย่าง ถ้าของพวกนีเ้ รารูน้ ะ จะท�ำให้อ่านหนังสือได้เร็วมาก บางเรื่องที่ เราไม่อยากอ่าน เราก็สามารถเลือกส่วนที่ ต้องการอ่านได้ สิง่ เหล่านีผ้ มอยากจะสอน เพราะตอนผมออกมาข้างนอกถึงได้รู้ ตอน อยู่โรงเรียนผมไม่รู้ก็นั่งตะบันอ่านเข้าไป แต่จริงๆ เขามีเทคนิคการอ่าน พอคุณอ่าน มากๆ คุณจะจ�ำได้เองและจินตนาการ ต่อไปได้ ข้อไหนส�ำคัญก็อ่านช้าหน่อย หนังสือส่วนใหญ่เพ้อเจ้อเยอะ หนังสือ แนวคิดวิชาการยิ่งเพ้อเจ้อ ตอนนี้ผมเจอ หน้าผู้บริหารโรงเรียนผมจะถามเลยว่าท�ำ หรือยัง เห็นว่าท�ำได้แค่สองรุน่ ก็เลิกไป รักบี้ เราฝึกให้เด็กเล่นเป็นและต้องเก่งได้ ท�ำไม เราจะท�ำให้นกั เรียนวชิราวุธฯ อ่านหนังสือ เร็วไม่ได้ ทุกๆ อย่างในโรงเรียน ถ้าทุกท�ำ อย่างดี คุณเอาแต่ของดีๆ มาให้เด็ก เด็ก วชิราวุธฯ ได้เปรียบคนอื่นมากเลย เพราะ เด็กอยู่แต่ในโรงเรียน มีเวลาเตรียมตัวได้ ฝึกเยอะมาก”
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 23
การบริหารจัดการการศึกษา ของโรงเรียนวชิราวุธฯ
“การบริ ห ารเด็ ก ต้ อ งรู ้ จั ก หั ด ให้ เด็กได้พัฒนาตามขั้นตอนของมันอย่าไป ข้ามขั้นตอน หรือถ้าไม่ให้เด็กพัฒนา ก็ จะท�ำให้เด็กเสียไปเลยได้ เด็กจะสูญเสีย การพัฒนาในสมองถ้าหากเกิดท�ำข้ามขั้น ตอน เวลาเด็กพวกนี้โตไปจะมีช่วงเวลาที่ เด็กพวกนี้จะคิดอะไรแบบห่ามๆ เด็กควร จะได้มีโอกาสฝึกหัดพัฒนาการอยู่ร่วมกัน เวลาไม่มีผู้ปกครองดูแล เด็กพวกนี้จะขาด Sense of Management ผลก็คอื เด็กพวกนี้ จะเอาแต่อ�ำนาจเข้ามาข่ม พอโตเป็นรุ่นพี่ ได้อ�ำนาจมา จะบังคับรุ่นน้องต้องท�ำแบบ นั้นแบบนี้ เพราะมันขาดช่วงการพัฒนา และยิ่งไปยุ่งกับเด็กมาก ไอ้เด็กพวกนี้มัน ก็ยิ่งต้องรวบรัดการใช้อ�ำนาจของตัวเอง ให้เรื่องมันจบ จะไม่ใช้อ�ำนาจในระยะยาว เพื่อให้น้องๆ รัก ไม่ใช้พระคุณใช้แต่พระ เดช สาเหตุที่เด็กที่เป็นอย่างนี้เพราะถูก ผู้ก�ำกับปกครองมากจนเกินไป “ทีพ่ ดู กันบ่อยๆ ว่าวิถวี ชิราวุธฯ นัน้ concept มันมีแต่ define ยาก ดูเหมือน ว่าจะพยายามเขียนหรือท�ำให้มี แต่จริงๆ มันอาจไม่มีก็ได้ เพราะอะไร ถ้ามีอยู่จริง ต้องเป็นสิง่ ทีเ่ รียบง่าย คนทีเ่ ขาจ่ายเงินเขา อยากจะให้เราเป็นอะไร นีเ่ จ้าของเงินบอก ว่าคุณต้องเอาเด็กมาฝึกอย่างนั้นอย่าง นี้ ตรงนี้ชัดเจน เจ้าของเงินคือล้นเกล้าฯ
24
รัชกาลที่ ๖ พระองค์ท่านทรงสละพระราช ทรัพย์ให้ด้วย ใครเข้ามาก็ต้องถูกฝึกหัด ตามแบบทีพ่ ระองค์ทา่ นวางเอาไว้ นักเรียน ไม่มีสิทธิจะมาพูดอะไรเพราะว่าจ่ายแค่ หนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายที่แท้จริง ของ แบบนีอ้ ยูท่ เี่ จ้าของโรงเรียนว่ามีจดุ ประสงค์ เพื่ออะไร ถ้ามีเศรษฐีมาตั้งโรงเรียนแบบนี้ ก็จะได้อีกวิถีหนึ่งที่ต่างกันออกไป อาจจะ เป็นโรงเรียนที่ต้องฝึกหัดเด็กให้เป็น Top Man เลย เขาก็เอามาเป็นเรื่องหลักของ โรงเรียน “ เ พ ร า ะ ฉ ะ นั้ น โร ง เรี ย น จ ะ มี วิ ถี อ ย่ า งไรอยู ่ ที่ ค นแรกที่ ตั้ ง โรงเรี ย นว่ า พระองค์ทา่ นต้องการอะไร ถ้าเป็นโรงเรียน ปกติมาท�ำแบบวชิราวุธฯ ท�ำไม่ได้ คงไม่มี โรงเรียนไหนที่กล้าลดนักเรียนเป็นพันคน เหลือไม่กรี่ อ้ ยคน ทัง้ ๆ ทีพ่ นื้ ทีข่ องโรงเรียน ก็ ใ หญ่ คงไม่ มี ใ ครกล้ า มาท� ำ ยกเว้ น โรงเรียนวชิราวุธฯ เงินก็มี พื้นที่ก็มี “เพราะฉะนั้นวชิราวุธฯ ไม่จ�ำเป็น ต้องมีสมาคมผูป้ กครองเลย ถามว่าจะมีไป ท�ำไมเพราะคุณไม่ได้จ่ายอะไรให้โรงเรียน เลย ทีนี้เราพยายามจะมาบอกว่าเรามี วิถีวชิราวุธฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ปลีกย่อย ข้อ ใหญ่ก็คือว่าล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ท่าน ให้ทั้งทุนทรัพย์และแนวความคิดการสร้าง เด็กไว้ให้ ท่านมี Strategic intent ว่าต้อง ท�ำแบบนี้แล้วเอาเงินนี้ไปท�ำ ใครไม่พอใจ ก็ออกไป และถามว่าโรงเรียนอืน่ ใครอยาก
จะเอาไปเป็นแบบอย่างก็ต้องถามว่าแล้ว ใครจะเป็นคนจ่ายเงินให้ ขนาดโรงเรียนเรา มีทรัพยากรขนาดนีย้ งั มีคนบอกว่าคุณภาพ ครูยังไม่ดีเลย ก็เพราะโรงเรียนจ่ายไม่ไหว งบประมาณมันจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้อีก “ที นี้ เราก็ เ ลยจะพยายามเข้ า ไป ให้ถึงแหล่งของเงินโรงเรียนที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานไว้ ถ้าเราเอา มาบริหารจัดการดีๆ วชิราวุธฯ อาจจะดี กว่านี้ ๑๐ เท่าก็ได้ ถ้าจะเอาให้เด็กสมดัง พระบรมราชปณิธานเลยนะ ต้องมีครู ๗ คน ต่อนักเรียน ๑ คน ไม่ใช่นักเรียน ๗ คนต่อ
ครู ๑ คน เราท�ำได้ถา้ เรารูแ้ หล่งเงินทุนของ เรา ให้ครูประกบนักเรียนเลย เด็กทุกคนจะ ได้รบั การสอนการฝึกฝนทุกอย่างเอาให้เก่ง ไปเลย เด็กอยากเรียนอะไรต้องมีเตรียม พร้อมให้เด็กเรียน “ถามว่าโรงเรียนทั่วไปท�ำแบบนี้ได้ ไหม ไม่ได้ จะต้องมีใครสักคนหนึ่งที่สละ ทรั พ ย์ ส มบั ติ เ พื่ อ ให้ ค นได้ เ กิ ด ขึ้ น มาใน แนวทางนี้ นัน้ คือวิถใี หญ่ของโรงเรียน ถาม ว่าหลังจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มีใครบ้าง ที่ท�ำแบบนี้อีก มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 25
“ตอนนี้โรงเรียนเหมือนถอยหลัง มาก้าวหนึ่ง ที่ต้องถอยเพราะว่าโรงเรียน ไม่ มี ทิ ศ ทางที่ ชั ด เจน สิ่ ง ที่ ล ้ น เกล้ า ฯ รัชกาลที่ ๖ ท่านท�ำไว้คือการให้ strategic intent ไม่ใช่แค่ vision พระองค์ท่านมี พระประสงค์มงุ่ มัน่ อย่างแรงกล้า วชิราวุธฯ จะต้องเป็นสถาบันการศึกษาทีต่ อ้ งการผลิต คนตามแบบของพระองค์ทา่ น นักเรียนเก่าฯ ที่ อ อกนอกลู ่ ท างนี้ ต ้ อ งโดนถอดถอน ประกาศนียบัตร หรือใครที่ท�ำให้ประเทศ ชาติเสื่อมเสีย สถาบันพระมหากษัตริย์ เสื่อมเสีย โรงเรียนไหนไม่กล้าถอดถอน ประกาศนียบัตร โรงเรียนวชิราวุธฯ ต้อง กล้าท�ำเป็นสถาบันแรก คุณจะไม่ถอดถอน พวกคนแบบนัน้ ได้อย่างไร ในเมือ่ พวกเขาท�ำ สิ่งไม่เข้าท่า โดยเฉพาะพวกนักเรียนเก่าฯ ที่ มั น สร้ า งความเสี ย หายแก่ ผู ้ มี พ ระคุ ณ เพราะพวกเราเรี ย นมาฟรี เราต้ อ งเป็ น โรงเรียนแรกๆ ที่ท�ำการส�ำรวจนักเรียนที่ จบไปแล้วของตนเองว่า เฮ้ย ! คุณไม่อยูก่ บั ร่องกับรอย ให้โอกาสอีกสามเดือนนะ ถ้า ไม่ได้กต็ อ้ งเอาประกาศนียบัตรมาคืน ส่วน กระทรวงศึกษาจะให้ปริญญาบัตรอะไรก็ เรื่องของคุณ แต่โรงเรียนไม่ให้คุณ มันต้อง ท�ำเรือ่ งนีใ้ ห้จริงจัง เพราะพวกเราเรียนด้วย เงินของหลวง คุณต้องไม่ขายชาติ คุณเป็น คนไทยคุณต้องรับผิดชอบต่อประเทศชาติ เป็นหลักก่อน จะมาอ้างเหตุผลใดๆ ก็ไม่ ได้เพราะคุณเลือกมาเรียนที่นี่แล้วตั้งแต่
26
ต้น ไม่อย่างนั้นคนทั่วไปก็จะตั้งค�ำถามได้ ว่า “นี่ขนาดจบจากวชิราวุธฯ แล้วยังเป็น แบบนี้ได้อีกหรือ” “ผมเห็นว่ายังมีอะไรที่เราเห็นว่า ล้าสมัยในชีวิตเรา แต่เราไปเปลี่ยนมันไม่ ได้ หนทางแก้ที่ดีที่สุด ก็ต้องเปลี่ยนตัว เองก่อน แต่ความคิดการเปลี่ยนโรงเรียน นั้นต้องท�ำต่อไป พวกเราควรคิดว่าเรา ควรจะไปพู ด ที่ ไ หนเพื่ อ ให้ เ ห็ น ถึ ง ความ เปลี่ ย นแปลง แต่ พ อเวลาพู ด วิ จ ารณ์ โรงเรียนไปเหมือนพูดกับอากาศ พวกที่มี อ�ำนาจอยู่ไม่เคยเลย แม้แต่การยอมรับ ฟังรับไปปฏิบัติ พวกที่ได้ฟังได้ยินแต่ไม่รู้ เรื่องจริงก็มักจะออกอาการ พอเวลาโดน วิพากษ์วิจารณ์หน่อย “ก็เฮ้ย ! คุณแม่งเด็ก รุ่นไหนวะคุณแม่งรู้ไม่จริงหรอก “ ที นี้ ถ ้ า คุ ณ พู ด ถึ ง เ รื่ อ ง ก า ร เปลี่ยนแปลงโรงเรียนวชิราวุธฯ นั้นเป็น เรื่องใหญ่ เราไม่จ�ำเป็นต้องบอกว่าเรามี แผนแม่บทอย่างไร แต่เราเอาแนวทาง ของสถาบั น ที่ เราเห็ น ว่ า ดี ม าใส่ ร วมกั น แล้ ว เอามาพิ จ ารณา ไม่ ว ่ า จะเป็ น การ เปลี่ ย นแปลงของโรงเรี ย นประจ� ำ ใน อังกฤษ Eton ที่เปลี่ยนไปในทางเชิงบวก Harrow ที่เปลี่ยนไปในทางเชิงลบ หรือ อย่างประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรา อย่าง มาเลย์คอลเลจท�ำไมถึงตกต�่ำ แล้วท�ำไม โรงเรียน Saad Foundation ถึงดีขึ้นมาได้ เราเอาเรื่องพวกนี้มาศึกษาให้หมด แล้ว
ท�ำตุ๊กตาในแบบของเราออกมา เพราะใน โลกนี้เราไม่ได้ดีเด่นไปกว่าไอ้โรงเรียนพวก นี้หรอก แล้วเราก็ไม่ต้องเป็น good leader ในโรงเรียนประเภทเดียวกันก็ได้ เราควร เป็น good follower ให้ได้เสียก่อนแล้วเรา ก็ต้องมาเลือกว่าเราจะเป็นโรงเรียนขาลง หรือขาขึ้น สิ่งต่างๆ ในโลกนี้มีคนท�ำมา เกือบหมดแล้ว เราแค่เอามาผสมผสานและ พัฒนาปรับใช้จากจุดนี้ต่อไป”
บทบาทนักเรียนเก่าฯ กับโรงเรียน
“โอวีกับโรงเรียนถูกจัดให้อยู่คนละ พวกตลอด ผมมีความรู้สึกว่าในระบบของ วชิราวุธฯ เรามีสโมสรแต่กลับไม่มีคุณค่า ต่อโอวีส่วนรวม แต่เป็นที่ส�ำราญของคน บางกลุ ่ ม กลั บ เป็ น ที่ มั่ ว สุ ม ของคนบาง กลุม่ เป็นเหตุให้โรงเรียนเขารังเกียจ แทนที่ เราต้องท�ำสโมสรของเราให้เป็นสโมสรที่ ดี ควรเป็นห้องสมุดไว้ให้น้องๆ มาศึกษา โอวีที่เก่งจะได้กลับมาที่ห้องสมุด เราต้อง พยายามเปลี่ยนให้เกิดความรู้สึกว่า เวลา เราเข้าไปใช้ facilities ของโรงเรียนก็จะ ต้องท�ำให้ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมนักเรียน ทั้งการเรียน กีฬา ให้เป็นแหล่งพัฒนา ความรู้ เราไปคิดเรือ่ งรูปแบบสโมสร ทีต่ อ้ ง มีห้องประชุมใหญ่ๆ มากเกินไป สมัยผม เป็นนายกสมาคมฯ ยกสถานที่ให้โรงเรียน ไปเยอะ เพราะเราต้องการลดค่าใช้จ่ายใน
การจัดการที่สูง “เวลาเราอยู่โรงเรียนเราพึ่งพากัน แต่พอจบไปแล้ว เวลาไม่มีกินหลายคนก็ อายไม่มาหาเพื่อนนะ ผมมีเพื่อนหลาย คนที่ฆ่าตัวตาย ทีนี้ถ้าโอวีที่ยังไม่มีงาน หรือมีปัญหาในชีวิต เราควรที่จะตั้งหน่วย สงเคราะห์ขึ้นมา หรือใช้อนุมานวสารเป็น ตัวช่วยหางานให้โอวีก็ได้ ใครก�ำลังหาคน ท�ำงานอยู่ และใครที่ก�ำลังหางานอยู่ ก็จับ คู่กัน ใครอยากได้นักเรียนวชิราวุธฯ บ้าง ตอนผมท�ำภัทรฯ ใหม่ๆ ผมก็มาหยิบจับ จากที่สมาคมฯ ผมบอกคนหนึ่งว่าเลิกเล่น ไพ่ได้แล้ว หรือบางคนจบมาไม่มีอะไรเลย เรียนจุฬาฯ จะตกมิตกแหล่ เอาแต่เล่น กีฬา ผมก็ไปเอาตัวพวกนี้มา แล้วก็ส่งไป เรียนเพิ่ม ผมเคยบอกคนคนหนึ่งว่า “เฮ้ย ! มึงต้องไปเรียนนะ เพราะขนาดกูยังไม่รู้ เลยว่า Investment Banker เนี่ยหน้าที่มัน ท�ำอะไร” ต่อมาตอนนี้ คนนั้นก็กลายเป็น The Best Investment Banker แต่ตอนนั้น ไม่มีใครช่วยมองหรือแนะน�ำให้ “แล้วตอนนี้โรงเรียนวชิราวุธฯ มี Vision คืออะไร ถ้าคุณต้องการเป็น The Best Education Centre ที่ส่งเสริมให้คน ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตมันก็จะเปลี่ยนรูปแบบ ชีวติ เด็กนักเรียนไปอีกแบบหนึง่ คล้ายๆ ว่า เมื่อทิศทางไม่ชัดเจนทุกอย่างก็ไม่ชัดเจน หมด แล้วพอโรงเรียนไม่มีทิศทางที่ชัดเจน เด็กนักเรียนก็จะต้องรับเคราะห์ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 27
28
“พอผมมาเป็นนายกสมาคมรักบี้ฯ กลับมายังเห็นวชิราวุธฯ เล่นรักบี้กันแบบ เดิม ผมคิดว่ามันถึงเวลาทีต่ อ้ งปรับเปลีย่ น วิธีการเล่นการฝึกซ้อมได้แล้ว ผมอยาก จะเอาโค้ชจากนิวซีแลนด์มาฝึกสอนแบบ เต็มเวลา ให้ทุนเด็กไปเรียนไปฝึกจริงๆ ที่ นิวซีแลนด์ เราต้องเรียนรู้กันใหม่ ในรักบี้ สมัยใหม่ คุณต้องรู้ว่าการเตะลูกของคุณ เตะไปเพื่ออะไร เตะเพื่อกินแดน หรือเตะ เพราะจวนตั ว คุ ณ จะส่ ง ลู ก ไปให้ เ พื่ อ น เพื่อท�ำทรัย หรือไม่ให้ลูกตาย การเล่นทุก อย่างต้องคิดมีวัตถุประสงค์ ที่สำ� คัญที่สุด เราใช้พื้นที่แค่นิดเดียวเราก็ซ้อมกันได้ จะ เล่นรักบี้ให้ดี พื้นฐานต้องแน่น แต่เราซ้อม ทักษะพืน้ ฐานน้อย ในหนึง่ ชัว่ โมง คุณได้จบั ลูกกีค่ รัง้ แต่การซ้อมรักบีส้ มัยใหม่ ผูเ้ ล่นจะ ได้จบั ลูกบอลทุกวินาที ส่งออกไปจับเข้ามา สรีระกล้ามเนื้อมือจะเปลี่ยน “ผมถึ ง อยากจะหาเด็ ก วชิ ร าวุ ธ ฯ รุ่นใหม่ที่รักกีฬารักบี้ ผมจะส่งไปเรียนใหม่ เลย คราวนีไ้ ปเลย ๑๐ คน และจะต้องกลับ มาช่วยโรงเรียนแบบไม่มีตาย เพราะโลก มันเปลี่ยนไปแล้ว เช่น ผมเอามือไปจับลูก ที่อยู่บนพื้น และคุณอยู่ฝ่ายตรงข้าม ผม ถามว่าคุณจะท�ำอย่างไรเพือ่ แย่งลูกมา เชือ่ ได้เลยว่าคุณต้องตอบว่า ผมก็จะแท็คเกิ้ล เลย แต่ไม่ใช่ กติกาใหม่คณ ุ วิง่ มาถึงจับแขน ข้างหนึ่งดึงมือออกได้เลย พอดึงมือออก คุณได้ Knock on ทีมคุณได้ advantage
ทันที แล้วทีมคุณก็จะได้ลูกเอามาเล่นถ้า เล่นเสียคุณก็ไปท�ำ Knock on ใหม่ กติกา มันเปลี่ยนใหม่แล้วแต่คุณยังเล่นรักบี้แบบ โบราณ เมื่อกติกาเปลี่ยนวิธีการเล่นก็ต้อง เปลีย่ น คุณต้องมาศึกษาสิง่ เหล่านีก้ นั ใหม่”
วชิราวุธฯ อีก ๑๐๐ ปี ข้างหน้า
“โรงเรี ย นวชิ ร าวุ ธ ฯ จะต้ อ งแข็ ง ตั้ ง แต่ ร ะดั บ กรรมการโรงเรี ย นลงมาจน กระทั่ ง ถึ ง ระดั บ ข้ า งในโรงเรี ย น การ เปลี่ ย นแปลงในโรงเรี ย นเป็ น เรื่ อ งไม่ ง่าย เพราะรูปแบบโรงเรียนไม่สามารถท�ำ เชิ ง พาณิ ช ย์ ไ ด้ เพราะถ้ า ท� ำ แบบนั้ น นักเรียนจะไม่ใช่ ๘๐๐ แล้ว จะต้องมากกว่า นี้เพราะไม่งั้นจะจ่ายไม่ไหว ในที่สุดถ้าท�ำ เชิงพาณิชย์ก็จะกลายเป็นโรงเรียนปกติ โรงเรียนหนึ่ง ถ้ามองที่วัตถุประสงค์ของ การตั้งโรงเรียนและต้องการท�ำโรงเรียนให้ ดีมากๆ ในอนาคต ก็ต้องเกี่ยวข้องกับเงิน ทั้งนั้น เราจ�ำเป็นจะต้องวางแผนทั้งการใช้ เงินและการหาคน งานที่แบบต้องเสียสละ มีขอ้ จ�ำกัด อย่างเช่น ทีมงานอนุมานวสารก็ เหมือนกันที่ทุกคนมาท�ำแบบอาสาสมัคร สักวันหนึ่งพวกคุณก็ต้องมีภาระมากขึ้น แล้วก็จะท�ำไม่ไหว ท�ำให้รุ่นน้องต้องออก มาท�ำบ้าง สมาคมรักบี้ฯ ก็เหมือนกัน ใน ที่สุดแล้วมันก็ไม่รู้ว่าจะพัฒนาได้อย่างไร เล่นไปเล่นมาคนเล่นมากกว่าคนดู เป็น มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 29
แบบนี้จะอยู่ได้อีกกี่ปี ถ้าระบบยังไม่มีการ พัฒนา คนดูยังดูรักบี้ไม่เป็นเลย “ถึ ง เวลาที่ เ ราต้ อ งพู ด เรื่ อ งการ พั ฒ นาโรงเรี ย น ไม่ ใช่ เรื่ อ งเล่ น ๆ แล้ ว ทิศทางการพัฒนาขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่ เรามีแต่เราดันไม่รู้ว่าเรามีทรัพยากรอยู่ เท่าไร ถ้าเรารูว้ า่ เรามีทรัพยากรเท่าไร เราก็ สามารถวางแผนพัฒนาโรงเรียนไปได้ เช่น นักเรียนอาจจะไม่ตอ้ งเสียค่าเทอมเลยก็ได้ หรือตัง้ เป้าว่าในหนึง่ ปีการศึกษา ต้องมีเด็ก จบจากโรงเรียนไม่ต�่ำกว่า ๑๐๐ คน เพียง แค่เรารู้ว่าเรามีทรัพยากรอยู่เท่าไร เราก็ ท�ำได้ แต่นี่เราไม่รู้เลย “ผมไม่ค่อยเห็นด้วยว่า เรายังมา หาเงินสร้างตึก ผมกลับเห็นว่า โอกาส ๑๐๐ ปี ควรจะเป็นวิวัฒนาการที่ส�ำคัญ ของโรงเรียน หนึ่งด้านการจัดการ สอง ด้านบริหาร สามด้านการรับนักเรียน และ การฝึ ก สอนนั ก เรี ย น ควรจะมองไปอี ก ๑๐๐ ปีข้างหน้าว่านักเรียนวชิราวุธฯ จะ ต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ทุนทรัพย์ ๑๐๐ ล้านที่หามาได้ควรน�ำมาตั้งเป็นกอง ทุนศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงโรงเรียน จะมี ประโยชน์มากกว่า “จริ ง ๆ ตอนนี้ เราไม่ ไ ด้ ต ้ อ งการ คนบริจาคเงินสร้างตึก เราต้องการการ เปลี่ ย นแปลง เราควรหากองทุ น เพื่ อ พั ฒ นาการศึ ก ษาเล่ า เรี ย นของวชิ ร าวุ ธ วิทยาลัย และผมว่ากองทุนนั้นคือกองทุน
30
๑๐๐ ปี คุณเริ่มจากกองทุน ๑๐๐ ปี ไป พัฒนาการศึกษาของวชิราวุธฯ ให้ดีขึ้น และยิ่งดีขึ้น” “เพราะเสี ย เงิ น ไปสร้ า งตึ ก ไม่ ไ ด้ หมายความว่าจะไปพัฒนาการศึกษาของ เด็ก เราควรตั้งเป้าหมายว่าจะท� ำอะไร และจั ด ล� ำ ดั บ ความส� ำ คั ญ ประเด็ น ก่ อ น หลัง อาจจะท�ำแบบส�ำรวจว่าลูกวชิราวุธฯ อยากเห็นอะไรในอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า คุณ ต้องท�ำให้ Hardware กับ Software มัน พอดีกันได้ เราต้องหาทุนมาท�ำสิ่งเหล่านี้ แม้ แ ต่ อ นุ ม านวสารเองก็ ต ามคุ ณ ก็ ต ้ อ ง หาทุ น มาเพื่ อ พั ฒ นาข่ า วสาร ซึ่ ง ก็ คื อ อนุมานวสาร หรือมีมากกว่าอนุมานวสารก็ ได้ ซึ่งก็สามารถให้โอวีทุกคนลองให้ความ เห็นกันเข้ามาก็ได้ว่าชอบอะไรมากกว่า” ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) นิธศิ นวรัตน ณ อยุธยา (รุน่ ๖๕) อาทิตย์ ประสาทกุล อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ เขต ณ พัทลุง (รุน่ ๗๑) อารยวุฒิ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รุ่น ๗๐) กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ ่ น ๗๓) ศรเทพฤทธิ์ ศิ ล ปบรรเลง สถาพร อยูเ่ ย็น (รุน่ ๗๖) ธนกร จ๋วงพานิช สงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗) ศศินทร์ วิทรู ปกรณ์ (รุน่ ๗๙) สัมภาษณ์ สงกรานต์ ชุมชวลิต เฉลิมหัช ตันติวงศ์ (รุ่น ๗๗) ถ่ายภาพ
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
สภากรรมการจัดการ
หรือคณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ตอนที่ (๒) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชั้นต้นมีพระราชด�ำริให้ยุบ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนราชวิทยาลัย และโรงเรียนพรานหลวง ส่วนโรงเรียน มหาดเล็ ก หลวงเชี ย งใหม่ นั้ น พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว มี พ ระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกเสียก่อนที่จะเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวง ธรรมการ พระยาบรมบาทบ�ำรุง (พิณ ศรีวรรธนะ) ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และพระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์) ผู้บังคับการโรงเรียนราชวิทยาลัยต่างก็ถวาย ฎีกาคัดค้าน โดยอ้างถึงพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทีท่ รง สร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นแทนพระอารามหลวงประจ�ำรัชกาล การยุบเลิกโรงเรียน มหาดเล็กหลวงจึงเป็นเสมือนการยุบพระอารามหลวงประจ� ำรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ออก “ประกาศวางรูปการและพระราชทานนาม โรงเรียนมหาดเล็กหลวง” เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งตามประกาศฉบับนั้น นอกจากจะพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวงให้ใหม่วา่ “โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย” แล้วยังทรงก�ำหนดให้ “...ประกาศสถิติของโรงเรียนดังต่อไปนี้ คือ ๑) ให้โรงเรียนอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๒) ให้ขึ้นแก่สภากรรมการจัดการ...” ๑ ๑
“ประกาศวางรูปการและพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๓ (๑๘ เมษายน ๒๔๖๙) หน้า ๙๕ – ๙๖
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 31
และในคราวเดียวกันนัน้ ได้มี “ประกาศพระบรมราชโองการตัง้ สภากรรมการจัดการ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย” โดยมีความตอนหนึ่งว่า “...ทรงพระราชด�ำริห์ว่า กรรมการนั้นควรจะมีเปน ๒ ประเภท คือ ๑ กรรมการกิตติมศักดิ์ ๒ กรรมการจัดการ กรรมการกิตติมศักดิ์นั้น ทรง พระราชด�ำริห์ว่า จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต นายพลโท สมเด็จพระเจ้าพีย่ าเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรรี าเมศวร์ นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าพีย่ าเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ๒ นายพลตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงไว้ซึ่งพระเกียรติยศและวุฒิสามารถ สมควรที่จะมีส่วนอุปถัมภ์ โรงเรียนนี้ เพื่อให้สถาพรพัฒนายิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ และพระเจ้าพี่ยาเธอ ที่กล่าวพระนามแล้วทรงเปน กรรมการกิตติศักดิ์ ส่วนกรรมการจัดการนั้น ทรงพระราชด�ำริห์ว่า มหาอ�ำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม มหาอ�ำมาตย์เอก พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ ๓ มหาเสวกโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ๔ นายพลโท หม่อมเจ้าบวรเดช มหาอ�ำมาตย์โท พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี ๕ มหาอ�ำมาตย์ตรี พระยาสุพรรณสมบัติ ๖ ในรัชกาลปัจจุบนั ได้เฉลิมพระยศพระอัฐเิ ป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรม ราชชนก ๓ ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรทัย เสนาบดี กระทรวงต่างประเทศ ๔ ต่อมาได้รบั พระราชทานเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมืน่ พิทยลาภพฤฒิยากร เสนาบดี กระทรวงธรรมการ ๕ ต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น มหาอ�ำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศร ๖ นามเดิม ติน บุนนาค ๒
32
มหาเสวกตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ๗ สมควรเปนกรรมการจัดการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ กล่าวพระนามและนามแล้วนี้ เปนกรรมการจัดการ ส่วนต�ำแหน่งนายกและอุปนายก ผู้จะด�ำเนินการนั้น ทรงพระราช ด�ำริหว์ า่ กระทรวงธรรมการเปนเจ้าน่าทีจ่ ดั การศึกษาแห่งชาติทวั่ ไปอยูแ่ ล้ว สมควรให้มกี ารเกีย่ วข้องอยูด่ ว้ ย เพือ่ ความสะดวกในวิธกี ารของโรงเรียนต่อ ไปข้างหน้า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการเปน นายก ปลัดทูลฉลองเปนอุปนายกในสภากรรมการจัดการ...” ๘ ภายหลังจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสภากรรมการ จัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยแล้วได้ทรงพระราชด�ำริว่า “...ทรัพย์สมบัติของโรงเรียน ซึ่งสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชได้ พระราชทานไว้เปนทุน รวมทั้งส่วนที่เจ้านายข้าราชการและพศกนิกร ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จในการพระราชกุศลนี้ทั้งสิ้น ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่เปนผู้จัดการอยู่แล้ว เพื่ อ ความสดวกแก่ กิ จ การของโรงเรี ย นต่ อ ไปข้ า งหน้ า จึ ง ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อธิบดีกรมพระคลังข้างทีเ่ ปนกรรมการ มีตำ� แหน่ง เปนเหรัญญิกกิตติมศักดิแ์ ห่งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ด้วยอีกต�ำแหน่งหนึ่ง...” ๙ อนึ่ง เมื่อสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย เริ่มปฏิบัติหน้าที่มาได้ไม่นาน พระยาบรมบาทบ�ำรุง (พิณ ศรีวรรธนะ) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยในเวลานั้น ได้เสนอ ให้จัดตั้งคณะเด็กเล็กขึ้นเป็นเอกเทศเพื่อแยกนักเรียนชั้นเล็กออกจากเด็กโต แต่พระยา ไพศาลศิลปสาตร (รื่น ศยามานนท์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการและอุปนายกสภา กรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยไม่เห็นด้วย เหตุการณ์บานปลายจนถึงขัน้ พระยาไพศาล ศิลปสาตร ประกาศลาออกจากสภากรรมการจัดการฯ ๗
นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์ “ประกาศตั้งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๓, (๑๘ เมษายน ๒๔๖๙) ,หน้า ๙๖ – ๙๘. ๙ “ประกาศตั้งจ�ำแหน่งเหรัญญิกกิตติมศักดิ์แห่งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย”, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๓, (๓๐ เมษายน ๒๔๖๙), หน้า ๑๑๔ – ๑๑๕. ๘
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 33
ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกวชิราวุธวิทยาลัย ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงเหตุขัดแย้งในสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยจาก รายงานการประชุมที่นายกสภากรรมการฯ จัดส่งขึ้นไปทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว ได้ทรง พระมหากรุณาเสด็จพระราชด�ำเนินมาประทับเป็นประธานในการประชุมสภากรรมการ จัดการวชิราวุธวิทยาลัย ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ณ หอประชุม วชิราวุธวิทยาลัยด้วยพระองค์เอง และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราโชบาย ไว้เป็นบรรทัดฐานให้สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยถือปฏิบัติสืบต่อมา ทั้งยังได้ โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงต�ำแหน่งนายกและอุปนายกสภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย เป็น ดังนี้ “...ต�ำแหน่งนายกและอุปนายกผู้จะด�ำเนินการ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เปนต�ำแหน่งซึ่งคณะกรรมการจัดการเลือกในผู้ที่เปนกรรม การจัดการอยู่แล้วและตั้งขึ้น ต�ำแหน่งนายกและอุปนายกที่คณะกรรมการ จัดการเลือกตัง้ นี้ จะให้ประจ�ำหน้าทีช่ วั่ รอบปีเดียวหรือกีร่ อบปีแล้วแต่คณะ กรรมการจัดการจะตกลงกันก�ำหนด และไม่ตัดสิทธิ์ในการเลือกซ�้ำบุคคล อนึ่งกระทรวงธรรมการเปนเจ้าหน้าที่จัดการศึกษาอยู่แล้ว ทรง พระราชด�ำริห์เห็นสมควรที่จะให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการเปนกรรมการ จัดการโดยต�ำแหน่ง เพือ่ เปนอุปกรณ์สว่ นหนึง่ แห่งการจัดโรงเรียนนี้ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการเปนกรรมการจัดการ โดยต�ำแหน่งด้วยผู้หนึ่ง ๑) กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกรรมการจัดการเพิ่มขึ้นอีกสอง คือ มหาอ�ำมาตย์โท พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ๒) มหาเสวกโท พระยาไพศาลศิลปสาตร์...” ๑๐ และต่อมาวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระยาบรม บาทบ�ำรุง ไปเป็นผูช้ ว่ ยราชเลขานุการในพระองค์พร้อมกับให้พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) ย้ายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยแทน วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖) ๑๐
“ประกาศตั้งสภากรรมการจัดการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยแก้ไข และตั้งกรรมการจัดการ เพิ่มเติม”, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๓ (๒๒ สิงหาคม ๒๔๖๙), หน้า ๔๑๕ – ๔๑๗.
34
คอลัมน์พิเศษ เรื่องเล่าจากนักเรียนมหาดเล็กหลวง
อภินิหารของ
ท้าวหิรันยพนาสูร หรือ ท้าวหิรัญฮู โดย บัว ศจิเสวี
“มานวสาร” เดือนสิงหาคม ๒๕๒๕ “บั ว บาน” ได้ เขี ย นเรื่ อ งท้ า วหิ รั น ยพนา สูร หรือท้าวหิรัญฮูไว้อย่างละเอียด บัดนี้ “บัวบาน” ได้พบเรื่องเกี่ยวกับอภินิหาร ของท้าวหิรัญฮูอีกหลายเรื่อง จึงขอน�ำมา เล่าสู่กันฟัง เรื่องของท้าวหิรันยพนาสูร หรือ ท้ า วหิ รั ญ ฮู นั้ น ไม่ มี ดี เ ท่ า ประกาศ พระราชพิ ธี ซึ่ ง พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงเรียบเรียง
ตามพระราชกระแสที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานมา มีความดังนี้ “ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ผู ้ รั บ พระบรม ราชโองการมานพระพระบั ณ ฑู ร สุ ร สิงหนาทขอประกาศแก่อารักขเทพยดา ซึ่ ง จะได้ ท รงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรด กระหม่อม ให้อาราธนามารับพลีกรรม และสิงสถิตย์ในรูปนี้ ด้วยพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาวชิ ร าวุ ธ เอกอรรค มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 35
มหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถ มหาสมมตวงษ์ อ ดิ ศั ย พงษวิ ม ลรั ต น์ วรขั ติ ย ราชนิ ก โรดม จาตุ รั น ตบรม มหาจั ก รพรรดิ ร าชสั ง กาศ ปรเมนทร ธรรมิ ก มหาราชาธิ ร าช บรมนาถบพิ ต ร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชด�ำริ ว่า เมื่อครั้งยังมิได้เสด็จเถลิงถวัลยราช สมบัติ ในรัตนโกสินทรศก ๑๒๔ เสด็จ พระราชด�ำเนินประพาสมณฑลพายัพ เมือ่ จะทรงเดินทางจากเมืองอุตรดิตถ์ไปในทาง ป่า เวลานัน้ พวกทีต่ ามเสด็จพระราชด�ำเนิน มีความหวาดหวั่นเพราะเกรงกลัวความไข้ และภยันตรายต่างๆ ซึ่งจะพึงมีมาได้ใน กลางทางป่า จึงได้ทรงพระกรุณาด�ำรัส ชี้แจงว่า ธรรมดาเจ้าใหญ่นายโตจะเสด็จฯ แห่งใดๆ ก็ดี คงจะมีทั้งเทวดาและปีศาจ ฤาอสู ร อั น เป็ น สั ม มาทิ ฐิ คอยติ ด ตาม ป้องกันภยันตรายทัง้ ปวง มิให้มากล�ำ้ กราย พระองค์และบริพารผู้ตามเสด็จฯได้ ถึงใน การเสด็จพระราชด�ำเนินประพาสครั้งนี้ ก็ มีผู้ป้องกันภยันตรายเหมือนกัน อย่าให้มี ผู้หนึ่งผู้ใดมีความวิตกไปเลย ต่อนั้นไปมี ผู ้ ที่ ไ ด้ ต ามเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ผู ้ ห นึ่ ง กล่ า วว่ า นิ มิ ต ฝั น เห็ น ชายผู ้ ห นึ่ ง รู ป ร่ า ง ล�่ำสันใหญ่โต ได้บอกแก่ผู้ที่ฝันนั้นว่า ตน ชื่ อ หิ รั น ย์ เ ป็ น อสู ร ชาวป่ า เป็ น ผู ้ ตั้ ง อยู ่ ในสัมมาปฏิบัติ ในครั้งนี้จะมาตามเสด็จ พระราชด� ำ เนิ น ไปในกระบวนเพื่ อ คอย ดูแลระวังมิให้ภยันตรายทั้งปวงอันจะพึง
36
บังเกิดมีขึ้นได้ ในระยะทางกลางป่านั้นมา กล�้ำกรายพระองค์ฤาราชบริพารได้ ครั้น ทรงทราบความเช่นนั้น จึงมีพระราชด�ำรัส สั่งให้จัดธูปเทียนและเครื่องโภชนาหาร ไปเซ่ น สั ง เวยที่ ใ นป่ า ริ ม พลั บ พลา และ เวลาเสวยค�่ำทุกๆ วัน ก็ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ แ บ่ ง พระกระยาหารจากเครื่องต้นไปเซ่นสรวง เสมอ ภายหลังคราวทีเ่ สด็จพระราชด�ำเนิน ประพาสมณฑลพายั พ นั้ น แม้ จ ะเสด็ จ พระราชด�ำเนินไปแห่งใด ก่อนที่จะเสด็จฯ จากกรุ ง เทพมหานคร ราชบริ พ ารก็ ไ ด้ เคยพร้ อ มกั น น้ อ มใจเชิ ญ หิ รั น ยอสู ร ให้ ตามเสด็จฯ ด้วย และโดยมากเมื่อเสด็จ พระราชด�ำเนินไปโดยสวัสดิภาพแล้ว ก็พา กันกล่าวว่า เพราะหิรันยอสูรตามเสด็จฯ ไปด้วย บางคราวบางสมัยเมือ่ เสด็จประทับ อยู่ในหัวเมือง ถึงกับได้มีผู้อ้างว่าแลเห็น รูปคนรูปร่างกายใหญ่ลำ�่ สันยืนหรือนั่งอยู่ ใต้ต้นไม้ใกล้ที่ประทับ และอ้างว่าได้เห็น พร้อมๆ กันหลายๆ คนก็มี การที่มีผู้นิยม เชื่อถือในหิรันยอสูรเช่นนั้นมิใช่แต่เฉพาะ ในหมู่ที่เป็นราชบริพารที่ตามเสด็จไปใน กระบวน ทั้งข้าราชการฝ่ายเทศาภิบาลก็ พลอยนิยมเชื่อถือไปด้วย การที่มีผู้เชื่อถือ เช่ น นี้ จ ะมี มู ล ฤาไม่ อ ย่ า งไรก็ ดี ทรง พระราชด�ำริว่าเป็นธรรมดาคนโดยมาก ยังละเว้นความประสงค์ที่จะหาเทวดาฤา อมนุษย์เป็นที่พึ่งคุ้มกันภยันตรายต่างๆ
นั้นมิได้ขาดทีเดียว เมื่อมีที่นิยมยึดเหนี่ยว อยู่เช่น หิรันยอสูรนี้เป็นต้น ก็มักจะท�ำให้ เป็นที่อุ่นใจ การที่จะเดินทางไปในที่ถิ่น กันดารถ้าแม้ใจดีอยูแ่ ล้วก็มกั จะไม่ใคร่เป็น อันตราย เมื่อทรงพระราชด�ำริดังนี้ จึงได้ ทรงตกลงเซ่นสังเวย หิรันยอสูรต่อมา คือ ให้แบ่งพระกระยาเสวยจากเครื่อง อย่าง เช่นทีเ่ คยท�ำมาแล้วครัง้ เสด็จมณฑลพายัพ นั้น เป็นธรรมเนียมต่อมาจนกาลบัดนี้ ครัน้ รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ ได้เสด็จ เถลิ ง ถวั ล ยราชสมบั ติ แ ล้ ว ทรงค� ำ นึ ง ถึ ง หิรันยอสูร ซึ่งนิยมกันว่าได้เคยตามเสด็จ พระราชด�ำเนินมาหลายหลายแห่งหน การ เสด็จพระราชด�ำเนินในแห่งใดๆ ก็ได้เป็น ไปโดยสวัสดิภาพ และเป็นที่อุ่นใจแห่งราช บริพารทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้ช่างหล่อรูปหิรันยอสูร ด้วยทองสัมฤทธิ์แล้วเสร็จบริบูรณ์ในเดือน เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าพนักงานจัดเครือ่ งเซ่นสรวงตามสมควร ขอเชิญหิรนั ยอสูรเข้า สิงสถิตในรูปสัมฤทธิ์ นี้ และทรงขนานนามพระราชทานใหม่ว่า ท้าวหิรันยพนาสูร มีชฎาเทริดอย่างไทย โบราณและไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ สืบไป ขอเชิญท้าวหิรันยพนาสูรรับเครื่อง สังเวยสักการอันโปรดให้แต่งตั้งเป็นอามิส พลี และทรงพระราชอุทศิ ส่วนพระราชกุศล สุจริตธรรมในไตรทวารอันได้ทรงสั่งสมมา
นั้นเป็นธรรมพลี ขอจงได้รับส่วนพระราช กุศลและอนุโมทนา แล้วจงอภิบาลบ�ำรุง รักษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว เวลาเสด็จพระราชด�ำเนินประพาส ในทิศานุทิศใดๆ ขอให้ทรงเกษมส�ำราญ ปราศจากโรคภัยพิบัติอุปัทวันตรายพร้อม ทัง้ ข้าราชบริพารทัง้ ปวง แลให้ทรงพระเจริญ พระชนมายุ สุ ข ศิ ริ ส วั ส ดิ์ สมบู ร ณ์ ด ้ ว ย พระราชวรฤทธิ เ ดชานุ ภ าพแผ่ ไ พศาล สรรพศิริสมบัติวิญญาณ อวิญญาณ อัน พิเศษต่างๆ จงมาเพิม่ พูนประดับพระบารมี ให้ส�ำเร็จดังพระราชหฤทัยประสงค์จงทุก ประการเทอญ อภินิ หารครั้ง แรกของท้าวหิรัญ ฮู ก็คือเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยูห่ วั มีพระราชกระแสให้พระยาอาทร ธุระศิลป์ (ม.ล.ช่วง กุญชร) ข้าราชการ กรมศิลปากร เป็นผู้ด�ำเนินการสร้างรูป ท้ า วหิ รั ญ ฮู ขึ้ น พระยาอาทรธุ ร ะศิ ล ป์ จึงให้ ม. แกลเลตตี (M. Galletti) นายช่าง ปฏิ ม ากรรม กรมศิ ล ปากร ซึ่ ง เป็ น ชาว อิ ต าเลี ย นออกแบบหล่ อ แล้ ว เอามา ประดิ ษ ฐานในสวนดุ สิ ต ธานี พ ระราชวั ง พญาไท ปั จ จุ บั น นี้ คื อ โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี ก่อนที่จะเชิญขึ้นฐานขณะนั้น ม. แกลเลตตีใช้วธิ ตี งั้ ปัน้ จัน่ เอาเชือกผูกคอรูป ท้าวหิรนั ยพนาสูร ดึงรอกขึน้ ไปวางบนฐาน พอตั้งเสร็จแล้วพระยาอาทรฯ ต้องการ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 37
ตัว ม. แกลเลตตีเพื่อสั่งเสียการงานใน เรื่องท้าวหิรันยพนาสูร แต่ก็รับค�ำบอก เล่าจากเจ้าหน้าที่ว่าป่วย ต่างก็ไม่รู้กันว่า เป็นโรคอะไร คอยอยู่หลายวันอดรนทน ไม่ได้ พระยาอาทรฯ จึงไปเยี่ยมที่บ้าน จึง ทราบว่าคอบวมแดง เหลียวซ้ายแลขวา ไม่ได้ พระยาอาทรฯ จึงบอกว่าคงไม่ใช่ อื่ น ไกลเป็ น ด้ ว ยเอาเชื อ กรอกคอท้ า ว หิ รั น ยพนาสู ร นั่ น เอง จึ ง จั ด การซื้ อ พวง มาลัยที่ตลาดบางล�ำพู เอาไปวางหน้ารูป นั้นเพื่อขมา ม. แกลเลตตี ก็หายวันหาย คืนไปรับราชการได้ อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง พล.ต.หม่ อ มเจ้ า พิ สิ ษ ฐดิ ศ พงศ์ ดิ ศ กุ ล ขณะอยู ่ ที่ ล พบุ รี ประชวรโรคปัสสาวะเป็นเลือด ต้องเสด็จ มารักษาตัวที่เสนารักษ์พญาไท ตามเรื่อง ถึงกับจะต้องท�ำการผ่าตัดหลังจากได้ฉาย เอ็กซเรย์แล้ว ในตอนเช้าที่นายแพทย์จะ ท�ำการฉายเอ็กซเรย์ หม่อมห้ามและเจ้าพี่ เจ้าน้องในราชสกุลดิศกุล ต่างก็น�ำดอกไม้ ธูปเทียนไปสักการะท้าวหิรนั ยพนาสูร ครัน้ ต่อมาเมื่อหม่อมเจ้าพิสิษฐดิศพงศ์ได้ฉาย เอ็กซเรย์แล้วไม่ปรากฏมีพระโรคอะไรเลย เดินกลับเข้ามาห้องนอนแทนที่จะต้องใช้ เปลหามเหมือนขาไปเอ็กซเรย์ ในเรื่องนี้ ดูเหมือนหม่อมเจ้าพิสิษฐดิศพงศ์ ไม่สู้สน พระทัยนัก แต่เจ้าพี่เจ้าน้องต่างก็เห็นว่า เป็นอภินิหารของท้าวหิรันยพนาสูรทั้งสิ้น
อีกเรื่องหนึ่งคือรถพระที่นั่ง “Opel” ที่มีรูปท้าวหิรัญฮูก็มีเรื่องพิสดารดังนี้ :เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระมหา ธี ร ราชเจ้ า เสด็ จ สวรรคต เมื่ อ วั น ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ แล้ว พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ก็ได้เสด็จขึ้น เถลิงถวัลยราชสมบัติ ในตอนที่ยังมิได้ทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น วันหนึ่งได้เสด็จพระราชด�ำเนินทรงตรวจ ตราพระราชมรดกตามพระที่นั่ง และตาม ที่เก็บต่างๆ เมื่อได้เสด็จทอดพระเนตร โรงรถยนต์หลวง ได้มีพระราชกระแสว่า รถพระที่นั่งนั้นมีมากมายก่ายกองเหลือ เกิน ส่วนมากเป็นรถที่ค่อนข้างจะล้าสมัย นิยม ถ้าจะเก็บรักษาไว้ก็จะต้องเสียเงิน ค่ารักษาเป็นจ�ำนวนมากมาย ฉะนั้นจะท�ำ ฉันใดดี กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต ๑ ซึ่งได้ โดยเสด็จด้วยในขณะนัน้ ได้กราบบังคมทูล ขอน�ำไปใช้คันหนึ่งแบบทีเล่นทีจริง ซึ่งก็ได้ ทรงพระกรุณาพระราชทานให้ บังเอิญไป ทรงเลือกเอารถโอเปิ้ลซึ่งมีรูปท้าวหิรัญฮู ติดประจ�ำอยู่ที่ฝาหม้อไป ทรงเก็บรถคัน นี้ไว้ที่วังสี่แยกถนนหลานหลวง ว่าถึงโรงที่ เก็บก็เป็นโรงแคบเล็ก ซึ่งเก็บได้เฉพาะรถ คันเดียวตั้งอยู่ไม่ห่างจากพระต�ำหนักและ พระบัญชรห้องพระบรรทมเท่าใดนัก นับ เป็นที่เรียบร้อยไปประมาณหนึ่งเดือนเศษ วันหนึ่งเสด็จในกรมหมื่นอนุวัตรฯ ได้เสด็จ
ต่อมาเป็นประธานคณะผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ ๘
๑
38
ไปเฝ้ า ร่ ว มโต๊ ะ เสวยแบบต้ น ที่ พ ระที่ นั่ ง อัมพรสถาน ตอนเช้า ๑๐ นาฬิกาเศษ ครั้นประทับโต๊ะเสวยเรียบร้อยแล้วก็ได้ กราบบังคมทูลขึน้ ว่า มีเรือ่ งประหลาดทีจ่ �ำ ต้องน�ำมาเล่าถวายให้ทรงทราบ เมื่อคืนนี้ ประมาณตีสองอากาศค่อนข้างจะร้อน ข้า พระพุทธเจ้านอนไม่ใคร่จะหลับ ได้ยนิ เสียง เหมือนคนก�ำลังท�ำอะไรกุกกักอยูใ่ นโรงเก็บ รถท้าวหิรัญฮู จึงลุกขึ้นไปชะโงกหน้าต่าง ดู ทีแรกก็ไม่เห็นอะไร จึงเลยคิดว่าคงเป็น เสียงหนู แต่ในทันใดนัน้ ก็ตกใจขนลุกสะดุง้ ขึ้นทั้งตัว ถึงแม้ขณะที่พูดอยู่นี้ก็ยังขนลุก เพราะได้มีแสงไฟเปิดสว่างจ้าขึ้นมาในโรง รถทั้งๆ ที่ประตูก็ยังปิดอยู่ ความตกใจ ท�ำให้ข้าพระพุทธเจ้าตะโกนเรียกคนขับรถ และมหาดเล็กเอะอะขึ้นให้รีบไปที่โรงรถ สักพักหนึ่งเขาก็มากันพร้อม แต่เมื่อคนขับ รถได้ไขกุญแจโรงรถออก แล้วคนรถก็หน้า ซีดขาว เพราะปรากฏว่ารถได้เปิดไฟขึน้ เอง โดยไม่มคี นอยูใ่ นนัน้ เลย ยิง่ กว่านัน้ ทีแ่ ปลก ที่สุดก็คือ ตัวรถได้หมุนเอาหัวและท้ายไป ขวางไว้ทางด้านฝาประจันห้อง หมุนกลับ ไปได้อย่างไรไม่มใี ครเข้าใจสักคนเดียว กว่า จะให้หมุนกลับมาที่เดิมได้เล่นกันทุลักทุเล เกื อ บสองชั่ ว โมง ใช้ ค นถึ ง สี่ ค น ที แรก ข้าพระพุทธเจ้าก็คดิ ว่าคนรถคงจะเล่นตลก ให้ดู แต่คนขับรถกลับบอกว่า เป็นอย่างนี้ มาสองครั้ง แต่รถไม่ขวางโรงเหมือนครั้งนี้ ที่ไม่ทูลในกรมก็เพราะคิดว่าคงจะทรงขับ
เล่นในตอนที่ตัวไม่อยู่ แล้วทรงลืมเปิดไฟ ทิ้งไว้แต่กลางวัน แต่ก็แปลกใจอยู่เหมือน กันว่าท�ำไมหม้อแบตเตอรี่ถึงไม่ร้อน นี่ ข้าพระพุทธเจ้าก็เลยสั่งให้มีการบวงสรวง สังเวยเป็นการใหญ่ แล้วไม่กล้าใช้รถคันนี้ อีก เพราะใจคอไม่ดีเลย แม้กาลล่วงมาเป็นเวลานานหลาย สิบปี แต่ก็ยังมีคนกล่าวถึงอานุภาพของ ท้ า วหิ รั น ยพนาสู ร หรื อ ท้ า วหิ รั ญ ฮู อ ยู ่ เสมอ แม้ เ มื่ อ คราวสมเด็ จ พระนางเจ้ า อลิซาเบธที่ ๒ เสด็จเยีย่ มประเทศไทย เมือ่ ระหว่างวันที่ ๙ ถึงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ เกิดรถพระที่นั่งเสีย ก็ได้มีผู้กล่าว ขวัญถึงคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่าน เขียนลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตอนหนึง่ ว่า :“ ก า ร รั บ เ ส ด็ จ พ ร ะ น า ง เ จ ้ า อลิ ซาเบธที่ ๒ ซึ่งทางราชการไทยโดย เฉพาะกรรมการจัดการรับเสด็จ ได้เตรียม การและจั ด การไปแล้ ว นั้ น เรี ย กได้ ว ่ า เป็นการรับแขกเมืองทีด่ อี ย่างยอดเยีย่ ม ถูก ต้องตามแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณี ทุกประการ แต่ความผิดพลัง้ หรืออุปทั วเหตุ บางอย่ า งนั้ น ย่ อ มจะเกิ ด ขึ้ น ได้ เ สมอใน กิจการงานทุกอย่าง ไม่ว่ากิจการนั้นจะได้ ตระเตรียมมาแล้วอย่างดีเลิศเพียงใดและ ก�ำลังด�ำเนินไปอย่างดีเลิศเพียงใด เหตุที่ไม่มีใครต้องการให้เกิด แต่ ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้า มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 39
ประทับอยู่ในเมืองไทยนั้น ก็คือตอนที่รถ พระทีน่ งั่ เสียลงบนถนนสุขมุ วิท ขณะทีเ่ สด็จ พระราชด� ำ เนิ น กลั บ จากสมุ ท รปราการ รถคั น นั้ น เป็ น รถยนต์ เ ดมเลอร์ ทาง ราชการได้จดั ซือ้ มาและได้ขนึ้ ระวางเป็นรถ พระที่นั่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ มีอายุ ๑๒ ปี พอดี ก่อนที่จะได้น�ำมาใช้เป็นรถพระที่นั่ง ของสมเด็จพระนางเจ้าแห่งกรุงอังกฤษ ทางราชการก็ได้ตรวจสภาพและได้ทดสอบ รถพระที่นั่งคันนี้หลายครั้งหลายหน จน เห็นว่าบริบูรณ์ดี ไม่มีสิ่งใดเสียหายหรือ อาจเสียได้อย่างแน่นอนแล้ว จึงได้น�ำมา ใช้เป็นรถพระที่นั่งประจ�ำพระองค์สมเด็จ พระนางเจ้าฯ แต่รถพระที่นั่งนั้นก็มาเสีย ลงจนได้ ขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก�ำลัง ทรงอยู่ และเสียอย่างฉกรรจ์ถึงขนาดไม่ สามารถแก้ไขให้เครื่องเดินต่อไปได้
40
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ถวายการเลี้ยงพระกระยาหารค�่ำ เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ ๒ เจ้าชายฟิลลิป ดยุคแห่งเอดิน เบอระ และเจ้าฟ้าหญิงแอนน์ ณ พระทีน่ งั่ จักรี มหาปราสาท (ภาพจาก www.ohmpps.go.th)
ถามว่าเรื่องนี้ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ตอบว่าส�ำนักพระราชวังและคณะ กรรมการจัดงานรับเสด็จเป็นผู้รับผิดชอบ ถามว่ารถพระที่นั่งเกิดเสียขึ้นมา อย่ า งนี้ เ ป็ น ความผิ ด ของผู ้ ที่ รั บ ผิ ด ชอบ หรือไม่ ตอบว่าไม่เป็น เพราะทั้งทางส�ำนัก พระราชวั ง และคณะกรรมการจั ด การ รับเสด็จได้ตระเตรียมและตรวจสอบรถ พระที่นั่งคันนี้อย่างดีที่สุดแล้ว เท่าที่จะ สามารถท� ำ ได้ เป็ น เหตุ สุ ด วิ สั ย ที่ ไ ม่ มี ผู้ใดประสงค์ที่จะให้เกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีผู้ใด
สามารถที่จะป้องกันได้ ภาษาฝรั่งเรียกว่า Act of God แปลเป็นไทยว่าเป็นการกระท�ำ ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งก็ออกจะตรงต่อความ เป็นจริง เพราะรถเรือหรือราชพาหนะอืน่ ๆ ตลอดถึงพระยาช้างเผือก ซึ่งได้ขึ้นระวาง เป็นราชพาหนะแล้วนั้น ตามธรรมเนียม และคติของคนไทยถือว่าเป็นของศักดิส์ ทิ ธิ์ รถหรือเรือพระทีน่ งั่ นัน้ เมือ่ ถึงเวลา ทีจ่ ะเชิญออกมาใช้ราชการ เจ้าพนักงานจะ ต้องจัดธูปเทียนบูชาเสียก่อน แล้วจึงจะน�ำ ออกมาใช้ได้ เมื่อรถพระที่นั่งเกิดเสียขึ้น มาเช่นนี้ก็ต้องถือว่าเป็นการกระท�ำของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือรถพระที่นั่งนั้นเอง ถ้าจะถามอีกต่อไปว่า มีสงิ่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ อื่นใดอีกหรือไม่ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ พระที่นั่งอยู่? ก็ตอบได้ว่า มี สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือ ท้าวหิรัญฮู อมนุษย์ตนหนึ่งได้มาถวายตัว เป็นข้าในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว เมื่ อ ครั้ ง เสด็ จ ประพาสเมื อ ง สุ โขทั ย เก่ า ขณะที่ ยั ง ทรงด� ำ รงต� ำ แหน่ ง สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว พระองค์นั้นทรงพระสุบินเห็นรูปร่างท้าว หิรัญฮู และได้โปรดให้ช่างสร้างรูปท้าว หิรัญฮูขึ้นไว้ตามที่ทรงพระสุบิน รูปนั้นยัง เป็นที่เคารพนับถือของคนจ�ำนวนมากที่ โรงพยาบาลทหารบกพระราชวังพญาไท ในปัจจุบันนี้ ท้าวหิรัญฮูมีความสัมพันธ์ กับกรมรถยนต์หลวงในสมัยนั้นเป็นพิเศษ
และยังเป็นทีเ่ คารพนับถือของเจ้าพนักงาน รถยนต์หลวงมาถึงปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าคนไทยจะถือว่ารถยนต์ พระที่นั่งเป็นของศักดิ์สิทธิ์ไม่ควรละเมิด แต่ใครจะไปรู้ได้ว่าชาวต่างประเทศผู้ซึ่ง ไม่เคยอยู่ในเมืองไทย เมื่อได้เห็นรถยนต์ พระที่นั่งนั้นเข้าอาจวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น รถเก่า หรือแสดงกิริยาวาจาดูหมิ่นอย่าง ใดอย่างหนึ่งขึ้นมา เป็นเหตุให้ท้าวหิรัญฮู โกรธขึ้งขึ้นมาก็ได้ใครจะไปรู้ ท่ า นทั้ ง หลายที่ ถื อ ตนว่ า เป็ น คน สมัยใหม่ เมือ่ ได้อา่ นข้อความทีผ่ มเขียนมา นีอ้ าจเห็นไปได้วา่ ผมเป็นคนโบราณคร�ำ่ ครึ พูดจาเลอะเทอะไร้เหตุผล ถ้าท่านนึกอย่าง นัน้ จริง ผมก็ยอมรับโดยชืน่ ตา แต่ขอกล่าว ในที่นี้ว่า ค�ำพูดและเหตุผลของผมก็ไม่ เลอะเทอะไปกว่าค�ำพูดและเหตุผลของคน อังกฤษในปัจจุบันเท่าไรนัก เรื่ อ งท้ า วหิ รั ญ ฮู หรื อ ท้ า วหิ รั น ย พนาสูรนี้เป็นเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่อง ลี้ลับเกี่ยวกับพระราชกฤษฎาภินิหารใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จด�ำรงต�ำแหน่งสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเรา เรียกกันอย่างสั้นๆ ว่า สมเด็จพระยุพราช พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยูห่ วั เคยมีพระราชกระแสว่า “อภินหิ าร หรือสิ่งแปลกประหลาดนั้น อาจเป็นได้ เพราะนักวิทยาศาสตร์สมัยนั้นยังค้นไม่ พบ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 41
หอประชุม
อนาคตของ
การเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ ระดับประถม-มัธยม
ลูกศิษย์หญิงคนหนึ่งที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ร่วม ๗ ปีแล้วแต่ก็ยังแวะมาเยี่ยมเยือน สม�ำ่ เสมอโดยมีเรือ่ งมาปรึกษาปรับทุกข์เหมือนเมือ่ ครัง้ ยัง เรียนหนังสืออยู่ เมือ่ วานนี้ (๒๘ มกราคม ๒๕๕๓) เป็นวัน สุกดิบก่อนการเปิดงานประจ�ำปี “เกษตรแฟร์” เมื่อผู้เขียน ก�ำลังเก็บข้าวของจะกลับบ้านเธอก็มาถึงพอดีและเปิดฉาก ปรับทุกข์แกมประชดกับผู้เขียนว่า “เด็ ก รุ ่ น เล็ ก ที่ โรงเรี ย นวชิ ร าวุ ธ ฯเดี๋ ย วนี้ คิ ด แบบว่าทุกอย่างซื้อได้ด้วยเงินหมดหรือ ?”
42
แล้ ว เธอก็ เ ริ่ ม ต้ น ระบายความ กลั ด กลุ ้ ม ว่ า ปั จ จุ บั น นี้ เ ธอใช้ เ วลาว่ า ง จากการท� ำ งานคื อ ช่ ว งเย็ น และวั น เสาร์ อาทิตย์ไปสอนภาษาอังกฤษเด็กนักเรียน ชั้นประถมและมัธยมตามบ้านซึ่งเธอท�ำ มา ๑-๒ ปีแล้วและตอนนี้เป็นงานที่ช่วย ให้เธอมีเงินใช้เงินเก็บมากขึน้ เพราะว่าเธอ รั บ งานชุ ก เนื่ อ งจากผลงานการติ ว เตอร์ ภาษาอั ง กฤษของเธอนั้ น มั ก จะท� ำ ให้ คะแนนในการสอบภาษาอั ง กฤษของ เด็กนั้นดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจแบบว่าพิสูจน์ เชิงประจักษ์ว่าได้ผลอย่างแจ้งชัดท�ำให้มี การบอกต่อกันไปจากปากสู่ปากจึงท�ำให้ เธอมีงานสอนภาษาอังกฤษเด็กเต็มเวลา เสาร์อาทิตย์ซึ่งเธอไปที่บ้านของเด็กที่อยู่ ในละแวกเดียวกันได้ ๔-๕ บ้านใน ๑ วัน ที นี้ ป ั ญ หามั น เกิ ด ที่ บ ้ า นหนึ่ ง ที่ มี พี่น้อง ๒ คนเป็นเด็กวชิราวุธฯ เสียด้วย พี่ เรียนอยู่ในชั้นมัธยม ๔ ส่วนน้องเรียนอยู่ ชั้นมัธยม ๓ ส�ำหรับคนพี่นั้นดูไม่มีปัญหา มากนั ก เนื่ อ งจากมี ค วามตั้ ง ใจอยากจะ เรียนมหาวิทยาลัย เมื่อมาสอนได้พักหนึ่ง คะแนนการสอบภาษาอังกฤษของ โอ-เน็ต ก็ดขี นึ้ อย่างเห็นๆ แต่คนน้องไม่สนใจเรียน แบบว่าดื้อเงียบคือให้ท�ำการบ้านก็ไม่ท�ำ และเรียนภาษาอังกฤษไปแบบซังกะตาย พอถามว่ามีว่ามีปัญหาอะไร ก็ได้ค�ำตอบ ว่าไม่รู้จะเรียนไปท�ำไม มีเงินเสียอย่างจะ จ้างใครท�ำอะไรให้ก็ได้ ถ้าอยากให้ภาษา
อังกฤษดีก็ไปเรียนซัมเมอร์ที่นิวซีแลนด์ ภาษาอังกฤษก็ดีเองแหละ ใครๆ เขาก็ท�ำ กันอย่างนี้ทั้งนั้น ไม่น่าเสียเวลามาเรียน พิเศษที่บ้านเลย นัน่ ละ ! ทีเ่ ขาวิง่ โร่มาปรึกษาผูเ้ ขียน ว่าที่โรงเรียนวชิราวุธฯ เขาอบรมกันมา อย่างนี้หรือ ครับ ! ก็ว่ากันไป ผู้เขียนเลยยก สุภาษิตฝรั่งที่ว่า “You can lead a horse to water; you cannot make him drink” หมายความว่าครูที่สอนเด็กย่อมต้องการ ที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้ในวิชา รู้วิธีที่จะ จดจ� ำ ความรู ้ แ ละรู ้ วิ ธี คิ ด อย่ า งมี ต รรกะ และคิดให้เป็นระบบ แต่ครูจะเรียนรู้แทน นักเรียนไม่ได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่ต้อง ขวนขวายส่งเสียให้ลกู ได้เรียนด้วยต้องการ ให้ลูกมีวิชาความรู้เพื่อเอาไว้ท�ำมาหากิน เพื่อเลี้ยงชีพต่อไปในภายภาคหน้า แต่พ่อ แม่จะมาอยู่ในชีวิตของลูกตลอดไปไม่ได้ ดังนั้นเรื่องอย่างเจ้าเด็ก ม.๓ ของโรงเรียน วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย นั้ น เป็ น เรื่ อ งธรรมดา แบบว่าเคยมีมาก่อน ตอนนี้ก็มีอยู่และ ในอนาคตก็ต้องมีอีกเพราะว่า อวิชชาคือ ความไม่รู้และไม่อยากจะรู้เป็นเรื่องของ ธรรมชาติอยู่คู่โลกเหมือนโลกธรรม ๘ นั่น แหละ เด็กแบบนี้มีอยู่ในทุกโรงเรียนแหละ ครับ คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ซวยไป ผู้เขียนก็เลยชวนคุยเรื่องการสอน พิเศษตามบ้านของเธอก็ได้ความว่าเป็น มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 43
งานนอกเวลาทีด่ พี อๆ กับงานประจ�ำทีเ่ ธอ ท�ำอยู่ในบริษัทที่ใหญ่โตมั่นคงเลยทีเดียว ในแง่ของรายได้ และผูเ้ ขียนได้ทราบข้อมูล เรื่องการสอบภาษาอังกฤษในประเทศไทย ว่ า ในปั จ จุ บั น นี้ ไ ด้ ก ้ า วหน้ า ใหญ่ โ ตเป็ น กิ จ การหลั ก อย่ า งหนึ่ ง ของธุ ร กิ จ การ ศึกษาเลยทีเดียวและที่ส�ำคัญมีการสอบ ทุกเดือนเสียด้วยและการทีจ่ ะสอบเข้าเรียน หลั ก สู ต รอิ น เตอร์ ฯ ทั้ ง หลายทั้ ง ที่ จุ ฬ า และธรรมศาสตร์รวมทั้งการสอบเข้าเรียน ระดับบัณฑิตศึกษาคือปริญญาโท-เอก ใน ประเทศก็ต้องสอบผ่านข้อสอบ CU-TEP (Chulalongkorn University Test Of English Proficiency) และ TU-GET (Thammasat University Graduate English Test) และ หากจะไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาก็ต้อง สอบ TOEFL (Test Of English as a Foreign Language) เจ้าเก่า แต่ถ้าจะไปเรียน ที่อังกฤษ ออสเตรเลียหรือนิวซีแลนด์ก็ ต้องสอบ IELTS (International English Language Testing System) ว่าที่จริงก็ สงสารพวกเด็กสมัยนีเ้ หมือนกันเพราะต้อง เรียนพิเศษภาษาอังกฤษกันแบบหัวไม่วาง หางไม่เว้นเลยทีเดียว เนื่องจากหลักสูตร ภาษาอั ง กฤษของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ที่เราใช้กันในโรงเรียนประถมและมัธยม ทั่วประเทศมันใช้ไม่ได้จริงๆ คิดดูง่ายๆ ก็ คือเด็กคนหนึ่งหากเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ชั้นประถม ๑ จนจบชั้นมัธยม ๖ รวม
44
เวลาเรียนแล้ว ๑๒ ปีเต็ม แต่พูดภาษา อังกฤษก็ไม่ได้ อ่านภาษาอังกฤษในต�ำรา ก็ไม่ออก เขียนภาษาอังกฤษก็ไม่เป็นเรื่อง และฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ทั้งที่การ เรียนภาษาทีส่ องของประเทศทัว่ โลกเขาใช้ เวลา ๖ เดือนเท่านัน้ ก็สามารถฟัง พูด เขียน อ่านได้แล้ว ทั้งๆ ที่ภาษาจีน ภาษาไทย นั้นยากกว่าภาษาอังกฤษตั้งเยอะแยะ ไม่ เชื่อลองถามพวก Peace Crops หรือล่าม ภาษาไทยที่เป็นคนจีนดูเอาเองเถอะครับ พวกเขาไม่เรียนภาษาไทยเหมือนกับเรา เรียนภาษาอังกฤษหรอกครับ ครับ ! ภาษาเขามีเอาไว้สื่อสารให้ ติดต่อกันได้รเู้ รือ่ งไม่ใช่เอามาท่องแกรมม่า และท่อง ๑๒ Tense (กาล) และท่องกิริยา ๓ ช่องเป็นบ้าแล้วก็พูดไม่ได้ อ่านไม่ออก บ้ากันมานานเมื่อไรจะเลิกกันสักทีหนอ แน่ น อนที เ ดี ย วที่ ร ะบบการสอบ ภาษาอังกฤษในประเทศไทยที่มี TOEFL IELTS CU-TEP และ TU-GET เหล่านี้จะ ต้ อ งเปลี่ ย นโฉมหน้ า การเรี ย นการสอน ภาษาอั ง กฤษในประเทศไทยแน่ ๆ ถึ ง แม้ ว ่ า กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารจะไม่ ย อม เปลี่ ย นแปลงหลั ก สู ต รการเรี ย นการ ภาษาอั ง กฤษก็ ต าม เนื่ อ งจากบรรดา ข้อสอบภาษาอังกฤษดังกล่าวมาทั้งหมด นี้ (ในอนาคตมหาวิ ท ยาลั ย ในก� ำ กั บ รั ฐ อื่ น ๆ ไม่ ว ่ า จะเป็ น เกษตร มหิ ด ล ศิลปากร มศว. เชียงใหม่ ขอนแก่น และ
สงขลานครินทร์ ก็จะต้องมีข้อสอบภาษา อังกฤษมาตรฐานเป็นของตนเองเหมือน จุฬาฯ และธรรมศาสตร์เช่นกันเพื่อหลีก เลีย่ งการตกเป็นมหาวิทยาลัยชัน้ สอง) เป็น ข้อสอบที่เน้นทักษะ ๔ ด้าน คือ ๑.การอ่าน ๒.การฟัง ๓.การพูด ๔.การเขียน ครั บ ! ที่ ส อนภาษาอั ง กฤษตาม โรงเรียนประถม มัธยมของประเทศไทย เน้นแต่การจ�ำครับ ไม่มีการอ่าน การฟัง การพูดหรือการเขียนภาษาอังกฤษเลย! แล้วมันจะไปไหวไหมละครับ ทักษะมันต้องฝึกครับ ฝึกกับของ จริง อย่างนายแพทย์หรือทนายความ เขา เรียกการท�ำงานของสองอาชีพนี้เป็นการ Practice คือต้องท� ำกันเป็นประจ�ำ ถ้า
หมอผ่าตัดไปเป็นผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาล แล้วก็ผ่าตัดไม่ได้เรื่องหรอกครับเนื่องจาก มันขาดการฝึก เรื่องแบบนี้ก็เหมือนกับให้ ทนายไปท�ำนาสักพักก็ลมื หมดละครับเรือ่ ง ตัวบทกฎหมาย ภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนมีเพื่อนที่เรียนปริญญาตรีและโท ทีม่ หาวิทยาลัยในมลรัฐโคโรลาโดรวมเวลา ๖ ปีแล้วกลับไปท�ำงานที่จังหวัดเลย ๕ ปี ไม่ได้อ่าน พูด ฟัง และเขียนภาษาอังกฤษ เลย พอเข้ากรุงเทพฯ มาก็ไม่กล้าเจอฝรั่ง เลยละครับ เอ ! ว่าไปแล้วเจ้าเด็ก ม. ๓ โรงเรียน ของเราก็ ถู ก เหมื อ นกั น นะเพราะว่ า การ ไปเรียนซัมเมอร์ที่นิวซีแลนด์นั้นเป็นการ ฝึกหัดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด เลยคือทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน ไม่เหมือนการเรียนแบบท่องจ�ำ อย่างเรียนในโรงเรียนที่บ้านเรา ดังนั้นจะปรับปรุงวิธีการเรียนการ สอนภาษาอั ง กฤษในโรงเรี ย นวชิ ร าวุ ธ วิทยาลัยหรือไม่นั้นมันไม่ใช่ค�ำถาม แต่ เป็นเรื่องที่จะต้องท�ำกันโดยเร่งด่วนแล้ว การที่ จ ะอ้ า งว่ า ต้ อ งคอยทางกระทรวง ศึกษาธิการให้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียน การสอนภาษาอั ง กฤษเสี ย ก่ อ นก็ ค งจะ สายเกิ น ไปเสี ย แล้ ว เนื่ อ งจากกระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารเป็ น หน่ ว ยงานที่ ใ หญ่ โ ต เทอะทะ และมี ก ารเมื อ งภายในมาก เหลื อ เกิ น ดั ง นั้ น การหวั ง ที่ จ ะให้ มี ก าร มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 45
เปลี่ ย นแปลงแก้ ไ ขอะไรในกระทรวง ศึกษาธิการที่ไม่มีผลประโยชน์เป็นตัวเงิน ให้กับนักการเมืองและพรรคการเมืองจึง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว ส� ำ หรั บ ค� ำ ถามว่ า ข้ อ สอบภาษา อังกฤษของใครยากกว่ากันเท่าที่ผู้เขียน ทดลองส�ำรวจดูคร่าวๆ ไม่ได้มีงานวิจัย อะไรมารองรับก็อาจจะแนะน�ำคร่าวๆ ได้ ว่ามันเป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อม ว่าจะไปเรียนที่อเมริกาหรืออังกฤษเพราะ ภาษาอังกฤษที่พูดกันในอเมริกากับภาษา อังกฤษที่พูดกันในอังกฤษนั้นไม่เหมือน กัน ความจริงแม้แต่ภายในประเทศอเมริกา และภายในประเทศอั ง กฤษเองหากอยู ่ คนละเมื อ งกั บ คนละภาค คนละมลรั ฐ คนละจั ง หวั ด กั น ก็ สื่ อ สารกั น ล� ำ บากพอ สมควรโดยเฉพาะการฟังเล็กเชอร์กแ็ ย่แล้ว เรือ่ งนีเ้ ป็นประสบการณ์สว่ นตัวของผูเ้ ขียน ที่ไปเรียนที่อเมริกา ๒ รอบคือ ช่วงอายุ ๑๙-๒๔ ปีไปเรียนที่มลรัฐอิลลินอยส์ ซึ่ง อยูใ่ นภูมภิ าคมิดเวสต์ ส่วนรอบสองผูเ้ ขียน ไปเรียนในช่วงอายุ ๕๒-๕๓ ปีโดยไปเรียน ที่มลรัฐอลาบามา ภูมิภาคดี๊พเซ๊าท์ และ ที่อลาบามานี้ผู้เขียนเจออาจารย์ผู้สอน ส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคนิวอิงแลนด์ ซึ่ง พูดกันคนละส�ำเนียงเหมือนคนกรุงเทพฯ ไปอยู่เชียงราย แล้วไปเจออาจารย์เป็นคน ศรีสะเกษกับคนนครศรีธรรมราชนั่นแหละ ถ้าคิดให้สนุกก็สนุกดี หากจริงจังเกินไปก็ เป็นบ้าละครับ
46
ส� ำ หรั บ ส่ ว นของการอ่ า นและ การฟังของข้อสอบ TOEFLนั้นจะให้ตอบ เป็นแบบมัลติเพิลช้อยส์คือ ๔ เลือก ๑ นั่น แหละ ส่วนการอ่านและการฟังข้อสอบ IELTS นั้นจะให้ตอบแบบลอกค�ำตอบจาก เนื้อหาข้อสอบนั่นแหละลงไปในค�ำตอบ เลย ว่ากันไปแล้วของ TOEFL นั้นมีให้คิด ด้วยแต่ของ IELTS นั้นต้องใช้ความจ�ำแต่ ต้องมีทักษะในการอ่านและฟังภาษา อังกฤษรูเ้ รือ่ งก่อนนะถึงจะคิดเลือกหรือ จ�ำได้ ดังนั้นหากจะมั่วสอบแบบเดาสุ่ม เหมือนอย่างที่สอบในโรงเรียน หากยัง หวังจะใช้โชคช่วยหรือท่องจ�ำข้อสอบเก่าๆ อย่างทีท่ ำ� มาก่อนคงตกลูกเดียว เอาเป็นว่า ใครถนัดแบบไหนก็เลือกเอาเองก็แล้วกัน ส่วนข้อสอบ CU-TEP กับ TU-GET นั้นง่ายกว่าข้อสอบ TOEFL และ IELTS แน่ๆ ที่ง่ายกว่ามากๆ นั้นโดยเฉพาะส่วน การเขียน แต่สว่ นการทดสอบทักษะในการ พูดไม่มี (อันนี้ก็สำ� คัญมากเหมือนกันเมื่อ พูดไม่ได้ก็น�ำเสนอไม่ได้ เหมือนกับรู้แต่ พูดไม่ได้ก็เหมือนไม่รู้นั่นแหละครับ) แต่ดี นิดหนึง่ ทีร่ าคาค่าสอบแต่ละครัง้ นัน้ ถูกกว่า การสอบ TOEFL เยอะและสอบได้ทกุ เดือน เหมาะส�ำหรับการไปซ้อมสอบหากต้องการ ไปเรียนต่อเมืองนอกหรือเข้าเรียนหลักสูตร อินเตอร์ฯหรือเข้าเรียนในระดับปริญญา โท-เอก ในประเทศ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (รุ่น ๓๙)
จากห้องประชุมสมาคมฯ สรุปการท�ำงานของคณะกรรมการฯ
อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ขอเริ่มต้นปีใหม่กันด้วยข่าวดีของ โอวีครับ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคมที่ผ่าน มา สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ โดยนายกสมาคมฯและคณะกรรมการ บริหารสมาคมฯ ได้ร่วมแสดงความยินดี กับพี่เล็ก สุรพล เศวตเศรณี โอวีรุ่น ๔๓ ที่ ได้รับต�ำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย และพี่ แ ป๊ ะ พลต� ำ รวจตรี จักรทิพย์ ชัยจินดา โอวีรุ่น ๕๑ ที่ได้รับ ต�ำแหน่งรองผู้บัญชาการ กองบัญชาการ
ต�ำรวจนครบาล รักษาราชการผูบ้ ญ ั ชาการ ประจ�ำส�ำนักงานผู้บัญชาการต�ำรวจแห่ง ชาติ และต้องถือโอกาสนี้แสดงความยินดี กับ พี่เหม อดิศักดิ์ เหมอยู่ โอวีรุ่น ๓๘ ที่ ไ ด้ รั บ เลื อ กเป็ น ประธานสหพั น ธ์ รั ก บี้ ฟุตบอลแห่งเอเซียด้วย เป็นที่รู้กันครับว่า พี่ๆ ทั้ง ๓ คน เป็นหนึ่งในโอวีหลายๆ คน ที่ได้ช่วยเหลือและสนับสนุนกิจการของ สมาคมฯ และโรงเรียนมาโดยตลอดอย่าง ต่อเนื่องครับ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 47
นอกจากนี้ แ ล้ ว คณะกรรมการ สมาคมฯ ยังได้ขอรับพรเนือ่ งในวาระดิถขี นึ้ ปีใหม่จากดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในฐานะ โอวี อ าวุ โ สและประธานคณะกรรมการ จัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ซึ่งท่านได้กรุณา สละเวลามาช่วยน้องๆ ในทุกรูปแบบเพื่อ ให้งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ส�ำเร็จลุล่วงลง ด้ ว ยดี ซึ่ ง ในการประชุ ม ครั้ ง ที่ ผ ่ า นมา นั้น สมาคมฯ ยังได้อนุมัติงบประมาณ สนับสนุนการจัดท�ำเข็มที่ระลึกส�ำหรับผู้ที่ บริจาคตั้งแต่ ๑ แสนบาทขึ้นไป จึงใคร่ถือ โอกาสนีเ้ ชิญชวนโอวีทกุ ท่านร่วมสมทบทุน สร้างอาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี เพื่อทดแทน อาคารเรี ย นเดิ ม ของคณะเด็ ก เล็ ก ซึ่ ง ได้ ทรุดโทรมลงไปมาก อีกทั้งจะท�ำให้เป็น แหล่งเรียนรูใ้ นรูปแบบต่างๆ ทีห่ ลากหลาย สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน และอนาคต ส�ำหรับน้องๆ วชิราวุธฯรุ่น ต่อๆ ไป ส�ำหรับผู้ที่สนใจ สามารถบริจาค ได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาราชวัตร ชื่อบัญชี อาคารวชิราวุธวิทยาลัย ๑๐๐ ปี เลขทีบ่ ญ ั ชี ๑๓๐-๒๒๑๑๙๐-๕ บัญชีออมทรัพย์ โดยขอรบกวนส่งเอกสารการโอนเงินได้ที่ หมายเลขโทรสาร ๐๒-๒๔๓-๑๖๕๙ และ ๐๒-๖๖๙-๕๔๙๗ เพื่อที่ฝ่ายบัญชีจะได้ จัดท�ำหลักฐานทางการเงินซึ่งผู้ที่บริจาค สามารถน� ำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ถึง ๒ เท่า อนึ่ง ส�ำหรับรายละเอียดความคืบ หน้าเกี่ยวกับงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี สามารถ
48
ติดตามได้ที่ www.vajiravudh100.com ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ สมาคมฯ มี ค วามตั้ ง ใจที่ จ ะปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ บ ริ เวณ ด้านล่างของอาคารอัศวพาหุ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งร้านอาหาร ให้มีสภาพบรรยากาศ ที่ ดี ใ ห้ ส มาชิ ก ได้ ใช้ ป ระโยชน์ สู ง ที่ สุ ด มี สั ด ส่ ว นส� ำ หรั บ ให้ ส มาชิ ก ไว้ ส ามารถ รับรองแขกได้ รวมถึงการจัดท�ำร้านของที่ ระลึก อันที่จริงแล้วแผนการปรับปรุงพื้นที่ สมาคมฯ นี้ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ เ คยมี ด�ำ ริ ตั้ ง แต่ ส มั ย ที่ พี่ ช ้ อ ย วิ โรจน์ นวลแข เป็นนายกสมาคมเมื่อ ๕ ปีที่แล้ว อย่างไรก็ดกี ารด�ำเนินการดังกล่าวสมาคมฯ จ�ำเป็นต้องใช้งบประมาณ ซึ่งสมาคมฯ ยัง ไม่ค่อยพร้อม ณ เวลานั้น จึงได้ชะลอการ ด�ำเนินการลงไป บัดนี้ทีมงานสโมสรฯ ได้ น�ำเสนอรูปแบบการปรับปรุงสถานที่อีก ครั้งภายใต้งบประมาณแบบประหยัด จึง คาดว่ า เราคงจะได้ เ ห็ น สมาคมฯ ในรู ป โฉมใหม่ ต้อนรับครบรอบวชิราวุธ ๑๐๐ ปี อย่างแน่นอน และนอกเหนือไปจาก การปรั บ ปรุ ง แหล่ ง นั ด พบทางกายภาพ แล้ว สมาคมฯ ยังได้เริ่มปรับปรุงแหล่ง พูดคุยทางอินเทอร์เน็ตส�ำหรับชาวไซเบอร์ โอวีอีกด้วย โดยทีมงานบรรณารักษ์ก�ำลัง ปรับปรุงหน้าตาเว็บไซต์ของสมาคมฯ ที่ www.oldvajiravudh.com ให้มโี ครงหน้าตา รู ป แบบของเว็ บ ไซด์ ที่ ดู ร ่ ว มสมั ย มี โ ทน สีหลักเป็นสีนำ�้ เงิน สีฟา้ สีขาวและสีครีมตาม
สีโรงเรียน ออกโทนสว่างเพือ่ ให้งา่ ยต่อการ อ่านและเขียน ออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย ทั้งผู้ดูแล ผู้จัดท�ำเนื้อหา และผู้ใช้งาน โดย ให้มีหมวดหมู่ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งคาดว่าเร็วๆ นี้ เราคงจะได้เห็นโฉม หน้าใหม่ของ website สมาคมฯ เช่นกัน นอกจากนี้ แ ล้ ว ในปี นี้ ฝ ่ า ย กิจกรรมพิเศษของสมาคมฯ ได้ร่วมกับ โรงเรี ย น ด� ำ เนิ น โครงการทั ศ นศึ ก ษา วชิราวุธวิทยาลัยเพื่อเป็นการส่งเสริมและ เผยแพร่ เ กี ย รติ คุ ณ ของพระบาทสมเด็ จ พระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวฯ ให้กับคณะผู้ปกครองที่มีความ ประสงค์ที่ส่งบุตรหลานสมัครเข้าเรียนใน โรงเรียนวชิราวุธฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๓ ได้สมั ผัส กับข้อมูล ความรู้ ตามแนวทางพระราช ด�ำรัสของพระองค์ ซึ่งโรงเรียนได้น�ำมา เป็นแนวทางการเรียนการสอน และได้มี โอกาสสัมผัสกับสถาปัตยกรรม ความเป็น มรดกทางศิลปะของสิ่งปลูกสร้างภายใน โรงเรียน โดยได้จัดเป็น ๒ รอบ รอบที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม และรอบที่ ๒ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ผลปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมงาน มากถึง ๓๐๐ คน โดยสามารถสรุปผลการ ด�ำเนินงาน ได้ว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย และรั บ ทราบวิ ถี ค วาม เป็นอยู่ของนักเรียนที่อยู่โรงเรียนและมี ความเข้าใจมากขึน้ และผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมได้
ชืน่ ชมยุวมัคคุเทศก์ ซึง่ เป็นน้องๆ นักเรียน ปัจจุบันว่ามีความรู้และความสามารถใน การน�ำชมวชิราวุธฯเป็นอย่างยิ่งและเห็น ควรจัดโครงการนี้ทุกๆปี ส�ำหรับกิจกรรม อื่นๆที่คาดว่าจะมีขึ้นปีนี้ (ไม่รวมกิจกรรม ๑๐๐ ปี) มีดังนี้ ครับ
เดือนกุมภาพันธ์
• ส่ ง อนุ ม านวสารเล่ ม ประจ� ำ เดื อ น พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๒ • วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ งานกตัญญุตาจิตต่ออดีตผู้บังคับการ (ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช) ณ ลาน เอนกประสงค์ หลังหอประวัติวชิราวุธ วิทยาลัย
เดือนมีนาคม
• ประชุมใหญ่สามัญสมาชิก และงาน เลี้ยงต้อนรับสมาชิกใหม่ โอวีรุ่น ๘๒ • วั น อาทิ ต ย์ ที่ ๒๘ มี น าคม ๒๕๕๓ กอล์ฟ Golf O.V. Annual ๒๐๑๐ ณ สนามกอล์ ฟ ราชคราม กอล์ ฟ คลั บ จ.พระนครศรี อ ยุ ธ ยา SHOTGUN START ๑๒.๓๐ น.
เดือนเมษายน
• วันเสาร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓ งาน ระลึกพระคุณครู ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย เวลา ๐๙.๐๐ น. มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 49
เดือนพฤษภาคม
• งานปาฐกถา All Gentlemen can learn ครั้งที่ ๔ • วันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ วางพวงมาลาเนื่ อ งในวั น สวรรคต สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ ๗ ณ ลานหน้ารัฐสภา
เดือนมิถุนายน
• การแข่งขันรักบีฟ้ ตุ บอลประเภทสโมสร ๑๕ คน
เดือนกรกฎาคม
• วันพฤหัสบดีที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ กอล์ฟ OV – MCOBA • การแข่งขันรักบีฟ้ ตุ บอลประเภทสโมสร ๗ คน
เดือนกันยายน
• GOLF OV OPEN 2010
เดือนตุลาคม
• วันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ วาง พวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว รัชกาลที่ ๕ • จัดการประกวดนางสาวไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๓
50
เดือนพฤศจิกายน
• วั น เสาร์ ที่ ๖ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๓ รักบี้ประเพณีวชิราวุธฯ – ราชวิทย์ฯ ครั้งที่ ๒๒ • วั น พุ ธ ที่ ๒๔ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๓ เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ • วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ วางพวงมาลาวันสวรรคตรัชกาลที่ ๖ ณ วชิราวุธวิทยาลัย และสวนลุมพินี
เดือนธันวาคม
• วันศุกร์ที่ ๑๐ ธันวาคม วางพานพุม่ หน้า รัฐสภาสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ • ส่งทีมเข้าแข่งขันกีฬาสควอชกับสโมสร ยิมคาน่า (เชียงใหม่) • งานคืนสู่เหย้าชาวโอวีและงาน Sports Day • วันพุธที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ตักบาตร พระสงฆ์ บริ เ วณหน้ า หอประชุ ม วชิราวุธวิทยาลัย เนื่องในวันสถาปนา วชิราวุธวิทยาลัย ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) กรรมการและเลขานุการสมาคมฯ
กองบังคับการ สิบนิ้วประนมเหนือเกศ ไหว้ครูวิเศษทั้งน้อยใหญ่
52
ครูอุดม รักตประจิต
ในช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูบูรณะอาคารในโรงเรียน หลังภัยสงครามมหาเอเชียบูรพาได้ผ่านพ้นไป คณะดุสิต ในสภาพบอบช�ำ้ จากการทิง้ ระเบิดพลาดเป้าหมาย จากเดิม ที่มุ่งจะท�ำลาย โรงไฟฟ้าเฉพาะกิจที่ย้ายจากสามเสนมา ตั้งในบริเวณสนามหลังของโรงเรียนวชิราวุธฯ เป็นการ ชั่วคราว เลยเป็นเหตุคราวเคราะห์หนักของโรงเรียนที่ต้อง สูญเสียตึกคณะดุสติ ไป เหลือเพียงปีกตึกด้านทิศตะวันตก ที่ ยังคงเหลือรอดภัยสงครามยืนหยัดเคียงคูก่ บั ประวัตศิ าสตร์ ของโรงเรียนเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน เคราะห์หามยามร้ายที่กระหน�่ำโรงเรียน ส่งผลให้ พระยาภะรตราชาที่เพิ่งเข้ามารับหน้าที่ผู้บังคับการคนที่ ๔ ของโรงเรียน (พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๕๑๘) ต้องรับภาระเร่งด่วนใน การกอบกูฟ้ น้ื ฟูสภาพโรงเรียนให้ดดี งั เดิมให้ได้มากทีส่ ดุ เท่า ที่จะเป็นไปได้ ณ ขณะนั้น มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 53
ภายหลังการบูรณะตึกคณะดุสิตที่ เสียหายแล้วเสร็จไม่นานนัก คณะดุสติ ก็ได้ ผู ้ ก� ำ กั บ คนใหม่ เข้ า มาดู แ ล คื อ ครู อุ ด ม รั ก ตประจิ ต นั ก เรี ย นเก่ า ฯ รุ ่ น ก่ อ น ประวัติศาสตร์และครูสอนคณิตศาสตร์ ของโรงเรียน และจากจุดนี้เอง ครูอุดม ได้ ม าเติ ม เต็ ม ขั้ ว อ� ำ นาจในยุ ค ที่ พ ระยา ภะรตราชาเป็นผู้บังคับการ ที่เด็กนักเรียน ในห้วงเวลานัน้ ตัง้ ฉายากันว่า ๔ มหาอ�ำนาจ อันประกอบด้วย ผูก้ าร ครูจติ (พึง่ ประดิษฐ์) ครู อ รุ ณ (แสนโกศิ ก ) และครู อุ ด ม สี่ มหาอ�ำนาจนี้เป็นที่ประหวั่นพรั่นพรึงของ นักเรียนวชิราวุธฯ ในยุคนั้นเป็นอันมาก เพราะแต่ ล ะท่ า นต่ า งก็ มี บุ ค ลิ ก ลั ก ษณะ เฉพาะตัวที่สามารถท�ำให้ปกครองเด็กทั้ง โรงเรียนอยู่ในโอวาทได้ในวิถีที่แตกต่าง กันไป สิง่ ทีห่ ลงเหลืออยูใ่ นธารประวัตศิ าสตร์ ของโรงเรียน โดยเฉพาะคณะดุสิต มีเพียง สองสิ่ ง ที่ เ ป็ น เสมื อ นตั ว แทนของความ เป็น “คณะดุสิต” นั้นคือลวดลายของตึกที่ หลงเหลือ และครูอุดม รักตประจิต อดีต ผู้ก�ำกับของคณะดุสิต ที่แม้ในวันนี้สุขภาพ จะร่วงโรยไปมากทั้งยังมีโรคภัยรุมเร้าเป็น เจ้ า เรื อ นก็ ต าม แต่ ค รู อุ ด มก็ ยั ง คงอุ ทิ ศ เวลาและความรู้ความสามารถที่สั่งสมมา ช้ า นานคอยให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแก่ ผู ้ บ ริ ห าร โรงเรียนในยุคปัจจุบันที่ล้วนแต่เป็นศิษย์ รักกันมาแต่กาลก่อน
54
ยุคสมัยเรเนซองส์ของโรงเรียน
สมัยนั้นพวกนักเรียนเป็นคนตั้งว่า แต่ละคณะจะแบ่งออกตามแบบฉบับของ แต่ละประเทศ คณะผู้บังคับการก็จะเป็น แบบผู้ดีอังกฤษ คณะจิตรลดาเป็นแบบ อเมริ กั น คณะดุ สิ ต นี่ เ ป็ น แบบฝรั่ ง เศส หรูหรา ดอกไม้พราวไปหมด คณะพญาไท นี่แบบรัสเซีย จ� ำ ไว้ อ ย่ า งหนึ่ ง ครู อุ ด มอาจจะ ผิดก็ได้ แต่ครูอุดมก็อบรมที่นี่อยู่ที่นี่มา นาน พ่อแม่ครูเป็นใหญ่เป็นโตได้ก็เพราะ เจ้านายทั้งนั้น และอบรมให้พวกเรารัก พระเจ้าอยู่หัวมากที่สุด พวกเราตายแทน พระองค์ได้ทุกคน แล้วนี่เราจะไปทุบตึก ที่พระองค์ท่านเสด็จฯ มาทรงเปิดตึกได้ อย่างไร อาคารยิมเนเซียมและตึกแดงเมื่อ ก่อนรอบๆ ที่ท�ำไว้ให้เด็กออกก�ำลังกาย วันเสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิด พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังรับสั่งให้ครูอรุณ เล่นให้ดู ครูจ�ำได้เลยเพราะต้องวิ่งไปรับ หมวก แล้วครูอรุณแกก็เล่นแทบตายเลย ในเครื่องแบบขาว สักพักทรงเห็นว่าถ้าจะ ไม่ไหว ก็มีพระราชด�ำรัสว่าพอแล้วๆ แม้ ตอนนี้จะได้ข่าวว่ากลายเป็นโรงละครไป แล้ว ก็ยังดีใจที่ตึกยังไม่โดนทุบ เพราะถ้า ทุบไปแล้วความทรงจ�ำความรู้สึกนึกคิดถึง พระเจ้าอยู่หัวของโรงเรียนก็จะลดลงไป
สมัยเป็นนักเรียน
เข้ามาอยูส่ มัยพระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนธาตุผลิน) เป็นผู้บังคับการ อยู่ คณะประทัตสุนทรสารหรือคณะจิตรลดา เดิ ม ชื่ อ คณะจะตั้ ง ตามชื่ อ ผู ้ ก� ำ กั บ คณะ คณะผู้บังคับการเมื่อก่อนใช้ชื่อว่าคณะ พณิชสารวิเทศ คณะดุสิตก็คณะประคอง วิชาสมาน คณะจิตรลดาก็คณะประทัต สุนทรสาร คณะพญาไทก็คณะปวโรฬาร วิทยา แล้วท่านเจ้าคุณภะรตฯ ก็มาเปลี่ยน ขอพระราชทานชือ่ เพราะไม่อยากให้ใช้ชอื่ บุคคลก็เลยเอาชื่อพระราชวังมาตั้งทั้งนั้น สมัยอยู่ ม.๖ เกิดน�้ำท่วมกรุงเทพฯ เลยไม่ต้องสอบผ่านยกชั้นไปเลย ถ้าสอบ ครูก็ไม่รู้ว่าจะจบหรือเปล่า ในชีวิตไม่เคย เรียนเก่ง หลั ง จากครู จ บจากวชิ ร าวุ ธ ฯ ไป แล้ ว ก็ เรี ย นต่ อ เตรี ย มจุ ฬ าหรื อ เตรี ย ม อุดมศึกษาในสมัยนี้ (สมัยปี พ.ศ. ๒๔๘๒ – ๒๔๘๘ ไม่มีการสอนชั้นมัธยมปลายใน โรงเรียนสามัญ ผู้ที่จะศึกษาต่อในระดับ มหาวิทยาลัย เมื่อสอบไล่ได้มัธยมปีที่ ๖ แล้ว จะต้องไปเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียม มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น เตรียมอุดมศึกษา เตรียมมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และ การเมือง ที่เรียกว่า “เตรียม มธก. เตรียม นายร้อย เตรียมนายเรือ – บก.) ฟลุคมากที่ จบ ม.๘ มาได้เก่งที่สุด ได้มาได้อย่างไรจน ป่านนีย้ งั ไม่รเู้ ลย สงสัยก็อบปีม้ นั ส์เลย เล่น มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 55
แต่บลิ เลียดได้ตงั้ สองสามถ้วย หลังจากนัน้ ก็เข้าไปเรียนต่อทีจ่ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก่งมากนะครูอุดมเนี่ย ที่ไหนก็เรียนหมด เรียนที่จุฬาฯ ก็เรียน เรียนที่มหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก็เรียน เรียน ได้ ๒ ปีครึ่งได้วิชาหนึ่ง จุฬาฯ เรียนได้ ปีหนึ่งไม่เอาแล้วไปดีกว่า ไม่มีจบสักอย่าง จบแต่ ม.๘ ที่ฟลุคได้มานั้น
เข้ามาท�ำงานที่วชิราวุธฯ
ตอนนั้นต้องไปเกณฑ์ทหาร ครูไม่ อยากไปพ่อซึ่งรู้จักท่านเจ้าคุณภะรตฯ ก็ ช่วยฝากเข้ามาเป็นครู เพื่อจะได้ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร สมัยก่อนไม่มี รด. มีแต่ยุวชน ทหารส� ำ หรั บ ชั้ น มั ธ ยม และยุ ว ชนนาย ทหารส�ำหรับพวกเรียนมหาวิทยาลัย ถ้าจบ ยุวชนนายทหารปีสามก็ยกเว้นเป็นทหาร พอเรียนปีสองกลับเลิกเรียนเพราะไม่ชอบ แต่ เ ป็ น ครู เ ก่ ง นะมาสอนคณิ ต ศาสตร์ วันแรกที่เข้ามาสอนในโรงเรียน ครูได้รับ มอบหมายให้สอนเลข ถ้าเขาไม่รู้จะไม่ว่า เขาเลยเพราะเราสอนเขาไม่ดีเอง พอวัน ที่สองเราสอนเรื่องเดียวกันนี้อีก เขาก็ไม่รู้ เรื่องอีก แต่ที่รู้เรื่องก็มีนะ พอวันที่สาม บอกเขาว่าถ้าเธอยังไม่รอู้ กี ฉันจะตี แล้วมัน รู้เอง เพราะที่ขู่ไปนี้ เขาก็ไปถามพวกพี่ๆ ซึ่งอธิบายได้เข้าใจมากกว่าครูอุดม สอนอยู ่ เ ป็ น ปี ๆ ย้ า ยจาก ป.๖ ก็ตามไปสอน ม.๑ (เทียบเท่า ป.๕ ใน
56
ปัจจุบัน สมัยพี่ครูอุดมสอนเลขจน ป.๖ ข้อความตอนนี้น่าจะเป็น ป.๔ แล้วตาม ไป ม.๑ – บก.) สอนตั้งแต่ปี ๒๔๙๓-๙๗ ก็ออกไปท�ำธุรกิจส่วนตัว แต่ว่าตอนออก ไปก็ไม่ทงิ้ นะ ท่านเจ้าคุณภะรตฯ ก็ยงั ให้ครู อุดมกลับมาช่วยจัดดอกไม้ เวลาโรงเรียนมี งานรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในงานกรีฑา เวลามีงานกรีฑาครูอดุ มจะไม่ ได้นอน เด็กเก่งมากนะแม้มีครูช่วยท�ำฉาก แต่ฉากใหญ่มาก แล้วถ้าเจ้าคุณฯ ดูฉาก แล้วไม่ถกู ใจท่านถีบลงน�ำ้ เลย นีค่ อื ท่านเจ้า คุณภะรตฯ เล่นแต่ละเรือ่ งเด็ดๆ ทัง้ นัน้ ม้า ไม้เมืองทรอย สมเด็จพระนเรศวรประกาศ อิสรภาพ ผูป้ กครองมาชมกันเต็มสนามเลย เด็กเล่นได้ดีมาก เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานประกาศนียบัตรเสร็จแล้ว ก็ จะเสด็จฯ ลงทางบันไดหลัง ทรงพระด�ำเนิน ไปทางตึกเพชรรัตนก่อนแล้วค่อยเสด็จ พระราชด�ำเนินขึ้นตึกขาว ทรงส�ำรวจทุก ห้อง ทรงหยุดซักถามนักเรียน นักเรียนก็มอื สั่นเพราะต้องสาธิตให้ทอดพระเนตร โดย เฉพาะพวกเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จะทรง ซักถามว่าไอ้นคี่ อื อะไร ใช้ทำ� อะไร เด็กไม่ใช่ ว่าไม่รู้แต่ด้วยความเกร็งที่ต้องกราบบังคม ทูลก็มกั จะสัน่ จากทีต่ อ้ งพูด พะยะค่ะ เป็น พะยะครับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ก็ ทรงพระสรวล
ความสัมพันธ์กับครูอรุณ
ครูอรุณเข้ามาเป็นผูก้ ำ� กับคณะก่อน รู้จักกันมาตั้งนานแล้ว แม้ท่านมาสอนที่ วชิราวุธฯ แต่ก็ยังสอนที่ธรรมศาสตร์ด้วย ท�ำทีมรักบีม้ าด้วยกัน ครูอดุ มเป็นกรรมการ เป็นเหรัญญิกสมาคมรักบี้ฯ ไม่ต�่ำกว่า ๑๐ ปี เป็นหมดทุกต�ำแหน่ง
ความทรงจ�ำกับการท�ำงาน กับพระยาภะรตราชา
ท่ า นเข้ า โรงเรี ย นมาเมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เทอมสุดท้าย เทอม ๓ มาแทน พระพณิชยฯ และต้องจ�ำไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้าเมือ่ ไรได้เข้าไปท�ำงานทีไ่ หน ท่านมีหลัก สอนเราอย่างหนึ่ง วิธีการท�ำงานของท่าน คือเอาโรงเรียนเป็นตัวตั้ง เพราะฉะนั้น แล้ว เมื่อท่านเอาโรงเรียนเป็นตัวตั้งแล้ว เรื่องทุกอย่างตัดสินได้หมด ท่านใช้ค�ำว่า “โรงเรียนของพระเจ้าอยู่หัว” ใครก็ตามที่ ท�ำให้โรงเรียนของพระเจ้าอยู่หัวเสื่อมเสีย ออกเป็นออกท่านไม่มยี อมเด็ดขาด เด็กคน ไหนท�ำเรื่องเสียหายท่านก็ไล่ออก เพราะ ฉะนั้นท่านก็บริหารโรงเรียนได้สบาย ท่านเจ้าคุณภะรตฯ เป็นครูเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ท่านเป็น คนดูแลนักเรียนที่อังกฤษทั้งหมดลูกศิษย์ ท่านทั้งนั้น ครูอุดมไม่เคยขึ้นมาเรือนท่าน เวลามาต้องนั่งกลางกระได พูดถึงใจดีไหม ท่านใจดี น่ารักมาก แต่เวลานักเรียนท�ำ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 57
ผิดท่านดุ ต� ำ แหน่ ง ผู ้ บั ง คั บ การนี่ ใ หญ่ ม าก นะ แต่เขาไม่คิดว่าเขาใหญ่ (ดร.สาโรจน์) ต�ำแหน่งนี้ต้องได้รับพระมหากรุณาโปรด เกล้าฯ ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่โปรดเกล้าฯ ก็เป็นไม่ได้ พู ด ถึ ง ความไม่ ก ลั ว ใครหน้ า ไหน แล้ว ต้องนึกถึงเรื่องลูกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยังถูกไล่ออกจากโรงเรียนได้ เป็น เด็กคณะดุสิตที่ครูอุดมเป็นครูประจ�ำคณะ ดูแลอยู่เอง มีเรื่องเล่าอย่างหนึ่ง เมื่อก่อนเวลา นั่งรถคู่ไปด้วยกันกับพระยาภะรตฯ ไปกิน หูฉลามด้วยกันตลอด ถ้าวันไหนท่านไปกับ ลูกท่านจริงๆ ท่าน ดร.กัลย์ ไอ้เจ๊กเจ้าของ ร้านก็มักจะถาม “แล้วลูกชายคนเล็กไม่มา ด้วยหรอ” ท่านก็จะบอก “เฮ้ย! วันนี้ลูกคน เล็กเขาติดธุระ” พอท่านเล่าเรือ่ งนีใ้ ห้เราฟัง ครูก็หัวเราะชอบใจ เมื่ อ ก่ อ นเวลาจะตั ด สิ น ปั ญ หา โรงเรียนก็จะมาช่วยกันคิดทั้งหมด ๔ คน มี อ ะไรก็ บ อกกั น หมด ครู อุ ด มเคยชวน ครูอรุณไปรอดักที่หน้าร้านนายมะที่ตลาด ราชวัตร มารอจับเด็กหนีโรงเรียน ปรากฏ ว่ารอตั้งนานเด็กไม่ออกมาสักที ก็บอก ครูอรุณว่าไม่รอแล้วนะ เข้าไปดูข้างในกัน เถอะ พอเข้าไปดูเจอบ๋อยบอกว่าพวกเขา ไปตั้งนานแล้วค่ะคุณ
58
ประสบการณ์ตอนเป็น ผู้ก�ำกับคณะดุสิต
มาร่วมงานกับท่านรอบสอง โดน ท่านเตะยันเลย ท่านมักจะเรียกแทนตัว เองว่า กัน เรียกครูอุดมว่า อุดมศรี เพราะ คนอื่นเขาไม่มีใครเถียงท่าน มีแต่ครูอุดม นี่แหละเถียงทุกเรื่อง แต่เถียงทีไร ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ท่านถูก เราผิดแต่เราก็ยังทะลึ่ง
เถียง เก่งจะตายท่านเจ้าคุณฯ ฉลาดมาก เป็นคนเด็ดขาดมาก ยั ง มี เ รื่ อ งของเด็ ก คนหนึ่ ง ที่ ห นี โรงเรียนไปอยู่ที่ปั๊มน�้ำมัน แต่ครูอุดมไป ตามทีบ่ า้ นลพบุรี ครูอดุ มต้องไปตามจนจับ ได้ เขาเป็นเด็กคณะผู้บังคับการนะ พอพา กลับมาได้ ท่านเจ้าคุณฯ ก็ไล่ออกคงมี หลายเรื่อง ถ้ามีเรื่องเดียวท่านไม่ว่าหรอก
แต่ยงั ให้ทหารชัน้ ผูใ้ หญ่มาหาท่านเจ้าคุณฯ ท่านก็ยนั อยูค่ ำ� เดียว คนไหนท�ำให้โรงเรียน ของพระเจ้าอยู่หัวเสื่อมเสีย ท่านไม่กลัว และไม่แคร์ เด็กมันหนีโรงเรียนไปเพราะ อะไรก็ไม่รู้ อยู่โรงเรียนสนุกมากพอสิ้นปีก็พา เด็กไปเที่ยวต่างจังหวัดกัน ไปถึงสิงคโปร์ก็ มี ก็เอาเงินที่เหลือจากค่ากับข้าว แต่ต้อง รอให้สอบเสร็จหลังวันที่ ๓ เมษายน เป็น วันสอบวันสุดท้าย เด็กก็จะเก็บตัวที่คณะ ดุสิตเพื่อติวเพื่อเตรียมสอบเอนทรานช์ฟรี เด็กคณะไหนจะมาเรียนก็ได้ ครูอุดมจัด ไม่มีที่ไหนดีเท่าอาจารย์สมัย เหล่าวานิช สอนดุสิต ๑๐ กว่าปี อาจารย์ธานี อาจารย์ สอางค์ อาจารย์สธุ รรมมา อาจารย์สมปอง เดื อ นมี น าคมต้ อ งอยู ่ ที่ ค ณะดุ สิ ต หมด อยากกินอะไรกินฟรีทุกอย่าง แต่ต้องขยัน เรียนเพื่อสอบเอนทรานซ์ สมัยก่อนจะ มาลาเพื่อออกไปเรียนไปพิเศษข้างนอก ไม่ได้ สมัยครูอุดมอยู่ดูแลเด็กทั้งคณะตั้ง ๑๓๐ กว่าคนยังอยู่กันได้ ต้นต�ำรับเตียง สองชั้นเลย จบมาก็เห็นได้ดีกันทุกคน วิธี การคัดเด็กเข้าคณะใน ก็ใช้วธิ จี บั สลากตาม จ�ำนวนเด็กที่ว่างลง พวกเด็กจ�ำพวกพ่อ อยู่คณะนี้ลูกก็ต้องอยู่คณะนี้ พี่อยู่คณะนี้ น้องก็ต้องอยู่คณะนี้ ก็เข้ามาได้เลย ก็ต้อง จัดเด็กพวกนี้ก่อนแล้วเหลือเท่าไรก็ให้เด็ก แจ้งความจ�ำนงมา การให้แจ้งความจ�ำนงนี่ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 59
ดีอยู่อย่าง อย่างสมมติเด็กแจ้งความจ�ำนง มาทีค่ ณะดุสติ พอมาอยูท่ ดี่ สุ ติ ไม่พอใจโดน รุ่นพี่แกล้ง เด็กก็จะมาพูดมากไม่ได้เพราะ เด็กเลือกเอง เวลาตอนกลางคืนก็จะไปเดินตรวจ เตียงเด็ก ถ้าเจอพวกทีห่ ายตัวไม่อยูท่ เี่ ตียง ครูกจ็ ะยึดผ้าห่มไว้ แต่พวกนีม้ นั ก็ยอมสละ ผ้าห่ม ไม่มาเอาผ้าห่มคืน มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ ขายหน้าเด็กทีส่ ดุ เลย มีเด็กหนีเทีย่ ว ๒ คน เราก็ไปรอตรงบันไดคณะดุสิต ครูดันเผลอ หลับ พวกมันเดินขึ้นไปนอนเฉยเลย พอ รุ่งขึ้นเรียกมันมาถาม แต่ก็ไม่รับสารภาพ เลยต้องปล่อยไปเพราะเราดันหลับเสียเอง ตอนหลังๆ ไม่คอ่ ยเดินตรวจ อยาก หนีกห็ นีไปซิ ผูก้ ำ� กับคณะยุคนัน้ สบายทีส่ ดุ ในโลกเลย เพราะถนนนี่มืดสนิท ด้านหลัง
60
โรงเรียนก็ยังเป็นป่ารก มีรถเมล์สายเดียว ผ่าน อย่างเก่งก็หนีไปนางเลิ้ง พอไม่มีรถ ก็ต้องเดินกลับ
เคล็ดลับการเป็นผู้ก�ำกับ
ไม่มเี คล็ดลับอะไรเลย แต่เวลาดูแล เด็ก หนึ่งต้องดูพฤติกรรมของเด็กว่าเป็น อย่างไร แล้วค่อยอบรมเด็ก มีหลักการของ โรงเรียน พระบรมราโชบายของรัชกาลที่ ๖ มีอยู่หลายอย่าง ต่อให้เด็กท่องเข้าไปมัน ก็ไม่รู้และไม่ถามด้วย เจ้าคุณภะรตฯ ท่าน เรียกครูจติ ครูอรุณ ครูอดุ ม มานัง่ แล้วเอา พระราชด�ำรัสต่างๆ เอามาวินจิ วิเคราะห์ดู กันเองว่าจะสอนเด็กด้วยวิธกี ารไหนเพือ่ ให้ เป็นไปตามพระราชประสงค์ ก็ได้ออกมา ทั้งหมด ๔ ข้อ
ข้อที่ ๑ สอนให้ มี ค วามจงรั ก ภั ก ดี ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ข้อที่ ๒ อบรมให้เป็นผู้ดี มีความ กตัญญูรู้คุณคน รู้คุณบิดามารดาครูบา อาจารย์ และให้เป็นสุภาพบุรุษ ข้อที่ ๓ ให้มศี าสนา ซึง่ เรามีอยูแ่ ล้ว ทั้งสวดมนต์เช้าและก่อนเข้านอน ข้อที่ ๔ แล้วจึงให้การศึกษาวิชาการ แก่เด็ก ต้องสอนทั้ง ๓ ข้อแรกเป็นหลัก ก่อนแล้วจึงค่อยสอนข้อที่ ๔ เพราะหลัง จากพิ นิ จ ดู แ ล้ ว ถ้ า ทรงต้ อ งการหนอน หนังสือจะทรงสร้างโรงเรียนไปมาไม่ดีกว่า หรือ เพราะฉะนั้นการที่ทรงต้องการสร้าง ให้ เ ด็ ก เป็ น แบบนี้ จึ ง ทรงสร้ า งโรงเรี ย น ประจ�ำขึ้นมา ทรงต้องการให้เป็นผู้ดี แล้ว เด็กโรงเรียนเราไม่ตอ้ งไปแข่งท�ำความดีกบั ใคร เพราะมันดีก็ดีอยู่ในตัวเอง อย่างเด็ก คณะดุสิตไปสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย กั บ เพื่ อ นครู อุ ด มที่ เ คยเรี ย นที่ โรงเรี ย น เตรียมอุดมมาด้วยกัน เขาเป็นอาจารย์ที่ จุฬาฯ พอเด็กโรงเรียนเราเข้าไปในห้อง สัมภาษณ์จะแสดงกิริยาอย่างหนึ่ง พอเข้า พ้นประตูจะต้องค�ำนับ ได้รับการอบรม สั่งสอนมาอย่างดี เสื้อแขนยาวพับไม่ได้ ติดกระดุมเรียบร้อย พอเขาเห็นปุ๊บ! เขา ถามเลยว่านี่เธอเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ ใช่ ไหม เด็กก็ตอบว่าใช่ครับ ครูเขาก็บอกว่า ไปเหอะเธอเข้าได้แน่ เป็นนิสิตจุฬาฯ ได้
แน่ เสร็จแล้วเขาโทรมาหาครูอุดมว่า เขา ชอบใจเด็กโรงเรียนเรา กิริยามารยาทผิด กับเด็กที่อื่น นี่คือความภูมิใจของเราแทน นักเรียนทั้งโรงเรียน บางทีกต็ อ้ งมีเคล็ดการสอนเด็กบ้าง แรกๆ แทบจะทุกวัน บางทีรุ่นพี่ก็จับเด็ก ถอดเสื้อให้นอนกลิ้งอยู่หน้าโรงรถครู พอ เสร็จครูก็ให้รุ่นพี่คนที่สั่งลองกลิ้งดูมั่งสิว่า รู้สึกอย่างไร มันเจ็บไหมพอท�ำโทษแล้วก็ เรียกมาสอน ท�ำแบบนัน้ แล้วผูป้ กครองเขา มาเอาเรื่องครูอุดมไม่ช่วยนะ แต่ธรรมดา ครู อุ ด มช่ ว ยก่ อ นอยู ่ แ ล้ ว และยั ง เคยมี ผู้ปกครองเด็กมาขอเฆี่ยนเด็กเอง ครูบอก เขาเลยว่าไม่ได้ ในคณะดุสิตฉันใหญ่ที่สุด ใครจะมาใหญ่กว่าฉันไม่ได้ เด็กท�ำผิดจริง ฉันไม่ว่า เดี๋ยวฉันจัดการเอง แต่คุณจะมา ยุ่งไม่ได้ แล้วฉันก็ไม่ง้อด้วยนะ แล้วก็บอก เด็กว่าถ้าคิดว่าอยู่ไม่ได้ก็บอกพ่อแม่ให้ มาลาออกไป ท�ำอย่างนีผ้ ปู้ กครองถึงจะเข้า มายุง่ ไม่ได้ แม้จะเอาของอะไรมาให้กไ็ ม่รบั ในทุกวันอาทิตย์ทผี่ ปู้ กครองเยีย่ ม ครูกเ็ อา ขนมที่ผู้ปกครองมาฝากทิ้งไว้ไปแจกเด็กที่ ไม่มีผู้ปกครองมาเยี่ยม
วิธีดูแลเด็กตุ้งติ้ง
มี ก็ให้พวกนี้เล่นกีฬา ก็ไม่มใี ครเขา ยุง่ กับพวกนีด้ ว้ ย มีทกุ คณะเรารับเด็กตัง้ แต่ ประถม ๓ -๔ จะรู้ได้ไงว่ามันจะตุ้งติ้ง ไม่มี ทางรู้เลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก สอนบ้าง ด่าบ้าง มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 61
สมัยก่อนเวลามีงานโรงเรียน พวกนี้จะ ท�ำงานเก่ง
งานสมาคมนักเรียนเก่าฯ
ตอนนั้ น ครู อุ ด มเป็ น กรรมการ สมาคมฯ ชุ ด แรกเลย ที่ มี คุ ณ ประภาส (จอมพลประภาส จารุเสถียร) เป็นนายกฯ แล้วก็ไปประชุมทีบ่ า้ นคุณประภาส พวกพีๆ่ ก็เห็นว่าท่านเจ้าคุณภะรตฯ ค่อนข้างจะ ชอบครูอุดมอยู่หน่อย ก็บอกให้ครูอุดมไป ช่วยหน่อย จะขอทีท่ ำ� สมาคมฯ ขอทีด่ นิ ตัง้ สมาคมฯ เราก็มาก้อล้อก้อติกท่านเจ้าคุณฯ มั่ง ประจบมั่ง ท่านก็ยังไม่ให้ อยู่มาวัน หนึ่งท่านมาประชุมที่สมาคมฯ ครูอุดมก็ ไปประชุมกับท่าน คุณประภาสก็ถามท่าน เจ้าคุณฯ ขอทีด่ นิ อยากจะเอามาท�ำสมาคม นักเรียนเก่าฯ ท่านเกิดใจดีอย่างไรก็ไม่รู้ ตอบเฉยๆ ว่า “เอา” พอเราสองคนกลับ พวกนั้ น เขาเปิ ด เบี ย ร์ เ ปิ ด ไวน์ ฉ ลองกั น เพราะไม่คดิ ว่าท่านเจ้าคุณภะรตฯ จะตอบ ว่า “เอา” ยั ง ไม่ พ ้ น ๓ วั น เขาท� ำ หนั ง สื อ ขอบพระคุ ณ มาเลย แต่ ใ นจดหมายที่ ขอบคุณมานี่ดันเขียนไม่ดี ขอที่ดินทั้งที ดันขอแค่ ๒๐๐ ตารางเมตรท่านเจ้าคุณ ก็ เ อามาให้ ค รู อุ ด มดู บอกนี่ ดู สิ ตั้ ง ใจจะ ให้ทั้งทีดันเขียนมาแค่ ๒๐๐ ตารางเมตร แล้วท่านฉลาด ท่านอยากให้จริงๆ ก็แทง หนังสือให้นายอุดมศรีรบั ไปจัดการ จัดการ
62
วัดที่ให้สมาคมฯ ถ้าให้คนอื่นท�ำรับรอง ออกมาเป๊ะ ท่านก็รู้ ครูอุดมเลยเขียนไป ใหม่ ๒๐๐ ตารางวา หลังจากนั้นขณะก�ำลังก่อสร้างตึก สมาคมฯ พระยาภะรตฯ ท่านก็ดูคนงาน ก�ำลังปลูกตึกสมาคมฯ ที่สนามหลัง ท่านก็ เดินขึน้ ไปดูบนเนินดิน ตรงทีเ่ ป็นคอร์ดไฟฟ์ ของสมาคมฯ ท่านก็ถามขึ้นว่า “ที่มันว่าง นะ อุดมศรีไปบอกเขา ให้ถมมันเลย” เนี่ย ถึงได้ที่ที่เป็นลานจอดรถ และคอร์ดไฟฟ์ ในวันนี้ เพราะตอนนัน้ เป็นเพียงคูน�้ำเล็กๆ
เรื่องที่มีคนพูดถึงโรงเรียน ในด้านลบ
ครูอุดมก็รู้ เรื่องอื่นถ้าสาโรจน์เขา เอ็ดใครต่อใคร ครูอุดมบอกเขาเองทั้งนั้น ฉันไม่กลัวหรอก ถ้ามีเรื่องอะไรไม่ดี ฉัน ฟ้องทั้งนั้น ใครจะว่าฉันปากบอน ปาก ไม่ดี ก็ไม่สน ฉันรักโรงเรียนฉัน ถ้าคุณด่า โรงเรียนฯ ไม่ดีมากๆ ก็ลาออกไป แต่ถ้า ไม่ออกแล้วยังด่ามากๆ ถ้าเป็นฉันก็จะให้ ออก พูดจริงๆ โรงเรียนเราจะไปกลัวอะไร กันนัก ไม่อย่างนั้นโรงเรียนเราก็แย่สิ พูด ข้างในอย่างพูดข้างนอกอีกอย่าง และพูด แต่ละอย่างก็ไม่ไหวรับไม่ได้ กิตติเดช ฉันทังกูล (รุน่ ๗๓) ธนกร จ๋วง พานิช (รุ่น ๗๗) สถาพร อยู่เย็น (รุ่น ๗๖) สัมภาษณ์ สงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗) ถ่ายภาพ
64
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 65
66
งานวชิราวุุธ ๑๐๐ ปี
รายละเอียดการจัดการแข่งขัน
กีฬาวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
๑. ฟุตบอล ๗ คน วชิราวุธ ๑๐๐ ปี ถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขัน : แบ่งเป็น ๕ ประเภท ประเภท อายุไม่เกิน ๑๒ ปี (รับสมัครจ�ำนวน ๒๐ ทีม) ประเภท อายุไม่เกิน ๑๕ ปี (รับสมัครจ�ำนวน ๒๐ ทีม) ประเภท อายุไม่เกิน ๑๘ ปี (รับสมัครจ�ำนวน ๒๐ ทีม) ประเภท ประชาชนทั่วไป (รับสมัครจ�ำนวน ๒๐ ทีม)
68
ประเภทอาวุโส อายุ ๔๐ ปีขนึ้ ไป (รับสมัครจ�ำนวน ๒๐ ทีม) ระยะเวลาการแข่งขัน : กันยายน ธันวาคม ๒๕๕๓ ก�ำหนดการแข่งขันคู่แข่งขัน : ตาม ประกาศที่จะแจ้งภายหลัง สนามแข่ ง ขั น : สนามวชิ ร าวุ ธ วิทยาลัยและหน่วยงานอืน่ ๆ ตามทีก่ ำ� หนด ค่าสมัครทีมละ ๑๐,๐๐๐ บาท เงินรางวัลการแข่งขัน แบ่งออกเป็น
รางวัลชนะเลิศ ในแต่ละรุน่ จะได้รบั ถ้วยพระราชทาน พร้อมเงินรางวัล จ�ำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท รองชนะเลิศ ในแต่ละรุ่น จะได้รับ ถ้วย พร้อมเงินรางวัล จ�ำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท วั น รั บ รางวั ล ถ้ ว ยพระราชทาน ภายในธันวาคม ๒๕๕๓ ตามประกาศที่ จะแจ้งภายหลัง
๒. สคอวช วชิราวุธ ๑๐๐ ปี ถ้วยพระราชทานฯ
ก�ำหนดการแข่งขัน: ประเภทเดี่ยว กรกฎาคม-กันยายน ปี ๕๓ ๔ วัน (เสาร์-อาทิตย์ ๑๐.๐๐ น.) ประเภทที ม ตุ ล าคม-ธั น วาคม ปี ๕๓ ๔ วัน (เสาร์-อาทิตย์ ๑๐.๐๐ น.) สถานที่ แข่ ง ขั น : สนามสควอช วชิราวุธวิทยาลัย รูปแบบการแข่งขัน : เชิญนักสควอช ทั่วไปทั้งชาวไทยและเทศเข้าร่วมแข่งขัน ประเภทเดี่ยว ไม่เกิน ๖๔ คน แข่ง แบบเกมนับ ๑๑ แต้มไหล แพ้-ชนะ ๓ ใน ๕ เกม ค่าสมัคร คนละ ๑,๐๐๐ บาท ประเภททีม ๔ คน (ผู้เล่น ๓ คน ส�ำรอง ๑ คน) ไม่เกิน ๑๖ ทีม แข่งขันพบ กันหมดในสาย ทีมได้คะแนนที่ ๑ และที่ ๒ ได้ชิงชนะเลิศ เกมนับ ๑๑ แต้ม แพ้-ชนะ
๓ ใน ๕ เกม ค่าสมัครทีมๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท วั น รั บ รางวั ล ถ้ ว ยพระราชทาน ภายในธันวาคม ๒๕๕๓ ตามประกาศที่ จะแจ้งภายหลัง
๓. บาสเกตบอลวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ถ้วยพระราชทานฯ
การแข่งขันแบ่งเป็น ๔ ประเภท ประเภทรุ่นอายุไม่เกิน ๑๓ ปี (ไม่ เกิดก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๐) จ�ำนวน ๘ ทีม ประเภทรุ่นไม่เกิน ๑๖ ปี (ไม่เกิด ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๗) จ�ำนวน ๘ ทีม ประเภทรุ ่ น อาวุ โ ส อายุ ๔๕ ปี ขึ้นไป ทีมสโมสรต่างๆ สมัครเข้าร่วมการ แข่งขัน จ�ำนวน ๒๐ ทีม ค่าสมัคร : ทีมละ ๑๐,๐๐๐ บาท ทีมชนะเลิศจะได้รับรางวัล ถ้วย พระราชทาน ระยะเวลาการแข่งขัน : สิงหาคม – พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สถานที่จัดการแข่งขัน : ยิมเนเซี่ยม วชิราวุธานุสรณ์ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพฯ วั น รั บ รางวั ล ถ้ ว ยพระราชทาน ภายในธันวาคม ๒๕๕๓ ตามประกาศที่ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 69
งานวชิราวุุธ ๑๐๐ ปี
จะแจ้งภายหลัง
๔. เทนนิสวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ถ้วยพระราชทานฯ
รูปแบบการแข่งขัน : เชิญทีมเทนนิส ผู้อาวุโสของสถาบัน สโมสร องค์กรที่ ร.๖ ทรงก่ อ ตั้ ง หรื อ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ ง หรื อ มี ความสัมพันธ์กับวชิราวุธวิทยาลัย ประเภทการแข่งขัน : ทีมชายคู่สูง อายุรวม ๕ คู่ ๑. ชายคู่สูงอายุ (รวมกัน) ๘๕ ปี ๒. ชายคู่สูงอายุ (รวมกัน) ๙๕ ปี ๓. ชายคู่สูงอายุ (รวมกัน) ๑๐๕ ปี ๔. ชายคู่สูงอายุ (รวมกัน) ๑๑๕ ปี ๕. ชายคู่สูงอายุ (รวมกัน) ๑๒๕ ปี ค่ า สมั ค รเข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น : จ�ำนวน ๖ ทีมๆ ละ ๑๒,๐๐๐ บาท (รวม ทีม OV ด้วย) ก�ำหนดการแข่งขัน : พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๓ สถานที่ แข่ ง ขั น : สนามเทนนิ ส วชิราวุธวิทยาลัย คุณสมบัติผู้เข้าร่วมแข่งขัน (ตาม รายละเอียดที่จะก�ำหนด) ต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการ พนักงานของสถาบันหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งได้รับการบรรจุแล้ว เป็นต้น (ลูกจ้าง
70
ชั่วคราวตลอดจนลูกจ้างประจ�ำ ไม่มีสิทธิ เข้าร่วมการแข่งขัน) กฎกติ ก าการแข่ ง ขั น : ตามราย ละเอียดที่จะก�ำหนด รางวัลส�ำหรับการแข่งขัน : ถ้วยพระ ราชทานฯ ๑. ถ้ ว ยชนะเลิ ศ ประเภทที ม นอกจากจะครองถ้วยพระราชทานเป็น เวลา ๑ ปีแล้ว (ถ้วยพระราชทานเป็นถ้วย รางวั ล หมุ น เวี ย น ซึ่ ง การจั ด การแข่ ง ขั น ต่อเนื่องทุกปี) ยังจะได้รับถ้วยชนะเลิศ อีก ๑ ใบ ๒. ถ้วยรองชนะเลิศประเภททีม อันดับ ๑ ๓. ถ้วยรองชนะเลิศประเภททีม อันดับ ๒ วั น รั บ รางวั ล ถ้ ว ยพระราชทาน ภายในธันวาคม ๒๕๕๓ ตามประกาศที่ จะแจ้งภายหลัง
๕. มินิมาราธอนวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ถ้วยพระราชทานฯ
ประเภทการแข่งขัน : แบ่งกลุ่มชาย หญิง อายุทุกๆ ๕ ปี รางวัลชนะเลิศ : ๕ รางวัล ก�ำหนดการแข่งขัน : ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๖.๐๐ – ๐๘.๐๐ น.
เส้นทางทีใ่ ช้แข่งขัน : จุดเริม่ ต้นจาก วชิราวุธวิทยาลัย ผ่านพระบรมรูปทรงม้า ถนนศรี อ ยุ ธ ยา วั ด เบญจมบพิ ธ ถนน สวรรคโลก ถนนราชวิถี พระราชวังจิตรลดา เส้นชัยวชิราวุธวิทยาลัย ระยะทาง : ๑๐ กิโลเมตร ผู้เข้าร่วมแข่งขัน : จ�ำนวน ๓,๐๐๐ คน ค่าสมัคร : คนละ ๓๐๐ บาท ทุกคน ที่วิ่งเข้าเส้นชัยจะได้รับเหรียญเป็นที่ระลึก วันรับรางวัลถ้วยพระราชทาน : รับ วันแข่งขัน
๖. กอล์ฟวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
ก�ำหนดการแข่งขัน : ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สถานทีแ่ ข่งขัน : สนามกอล์ฟสโมสร ราชพฤกษ์ รูปแบบการแข่งขัน : ทีมทีม่ ปี ระวัตเิ กีย่ วข้องกับรัชกาลที่ ๖ และทีมบริษทั ห้างร้าน พ่อค้า ประชาชน ทั่วไปเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด ๓๖ ทีมๆ ละ ๔ คน แข่งขันแบ่งเป็น ๔ สาย สายละ ๔ ทีม รอบแรกแข่งขันแบบพบกันหมด ค่าสมัคร : ทีมละ ๕๐,๐๐๐ บาท
รางวัล : ถ้วยพระราชทานฯ (เป็น รางวัลหมุนเวียนและจัดต่อเนื่องทุกปี)
๗. รักบี้ ๗ คน วชิราวุธ ๑๐๐ ปี (๑๐๐th Vajiravudh Rugby Seven Open 2010)
ก�ำหนดการแข่งขัน : วันที่ ๑๘-๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ (เสาร์-อาทิตย์) สถานที่แข่งขัน : วชิราวุธวิทยาลัย และสนามอื่น หรือที่ก�ำหนด รูปแบบการแข่งขัน : เชิ ญ ที ม สโมสรชั้ น น� ำ ในประเทศ ไทย จ�ำนวน ๑๖ ทีม แข่งขันแบ่งเป็น ๔ สาย สายละ ๔ ทีม รอบแรกแข่งขันแบบพบกันหมด คัดทีมที่เข้ารอบที่ ๒ และตัดเชือก สุดท้ายชิงถ้วยพระราชทานฯ CUP และ PLATE, BOLW ทีมชนะแต่ละครั้งจะได้เงินรางวัล ครั้งละ ๓,๐๐๐ บาท ค่าสมัคร : ทีมละ ๑๐,๐๐๐ บาท รางวัล : ถ้วยพระราชทานฯ (เป็น รางวัลหมุนเวียนและจัดต่อเนื่องทุกปี) วั น รั บ รางวั ล ถ้ ว ยพระราชทาน : ภายในธันวาคม ๒๕๕๓ ตามประกาศที่ จะแจ้งภายหลัง มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 71
งานวชิราวุุธ ๑๐๐ ปี
Century of Pride ขอเรียนเชิญนักเรียนเก่าทุกท่าน รวมทัง้ ครอบครัวและผูใ้ กล้ชดิ ร่วมบันทึก ความภาคภูมิใจนี้ลงใน “A Century of Pride” หนังสือแห่งความภาคภูมิ จากศตวรรษที่ผ่านมา โดยอนุมานวสาร ซึ่งทุกคนมีโอกาสเป็นเจ้าของได้ ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีของโรงเรียน ข้อความ ๑ หน้าโปสการ์ดของท่านจะถูกบันทึกลงในหนังสือซึ่งจะน�ำ เสนอในรูปแบบ Memory Book ที่สวยงาม ดังนั้น นอกจากข้อความแล้ว รูปภาพ สิ่งของที่ระลึก แห่งความทรงจ�ำเก่า ๆ ในแบบของภาพจะท�ำให้ หนังสือเล่มนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
72
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 73
งานวชิราวุุธ ๑๐๐ ปี มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม การจัดเสวนา ) เรื่อง เรื่องที่ ๑ สยามยุคเปลี่ยนผ่าน เรื่องที่ ๒ ภัยคืบคลานจากต่างแดน เรื่องที่ ๓ ก�ำลังแสนเสวกามาตย์ เรื่องที่ ๔ อุบายสร้างชาติและปลุกใจ เรื่องที่ ๕ ด�ำรงไทยให้ก้าวหน้า เรื่องที่ ๖ ผลพัฒนาถึงปัจจุบัน เรื่องที่ ๗ องค์ราชันย์ของผู้ใกล้ชิด การจัดท�ำหนังสือ หนังสือที่ระลึกสถาปัตยกรรม หนังสือที่ระลึกของโรงเรียน กิจกรรมกีฬา การแข่งขันม้าราชตฤณมัย การแข่งขันม้าราชกรีฑาสโมสร นักเรียนเก่าน�ำโดยรุน่ ๔๑ จะร่วมกันจัดเอง การแข่งขันฟุตบอล ๗ คน การแข่งขันบาสเก็ตบอล การแข่งขันลอนเทนนิส การแข่งขันสควอช การแข่งขันมินิมาราธอน การแข่งขันกอล์ฟ การแข่งขันรักบี้ ๗ คน ทั่วไป การแข่งขันรักบี้ ๗ คน (invitation) กิจกรรมหารายได้ การจัดท�ำแสตมป์ การจัดท�ำพระแก้วน้อย การจัดท�ำเหรียญกษาปณ์ การจัดท�ำเหรียญที่ระลึก การจัดท�ำพระมนูสาราจารย์ การจัดดินเนอร์ทอร์ค การจัดคอนเสิร์ต กิจกรรมการแสดง การจัดนิทรรศการ การจัดแสดงละครเวที ๒๘-๓๑ มค. ๖ กพ. การจัดการแสดง วชิราวุธ ๑๐๐ ปี การจัดการประกวดนางสาวไทย กิจกรรมสารคดี
74
เมษายน
พฤษภาคม ๘-พ.ค.
แข่งขัน ๕ พค.
ตารางกิจกรรมงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี มิถุนายน ๑๒-มิ.ย. แข่งขัน
กรกฎาคม ๑๐-ก.ค. แข่งขัน แข่งขัน
สิงหาคม ๑๔-ส.ค. เสร็จ ๓๑ แข่งขัน แข่งขัน แข่งขัน
กันยายน ๒๒-ก.ย. ขาย เสร็จ-ขาย แข่งขัน แข่งขัน แข่งขัน
ตุลาคม ๙-ต.ค. แข่งขัน แข่งขัน แข่งขัน ประกวด
พฤศจิกายน ธันวาคม ๑๓-พ.ย. แข่งขัน แข่งขัน แข่งขัน แข่งขัน แข่งขัน แข่งขัน แข่งขัน ๒๑-พ.ย. ๙-พ.ย. ๑๘-๑๙ ธค. ๑๑-พ.ย. เสร็จ แสดง ๒๐-๒๖ ธค. แสดง ๒๕-๒๖ ธค. ประกวด พ.ย. ๕๓- เม.ย. ๕๔
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 75
โรงเลี้ยง ชวนชิมร้านอาหาร โอวี
76
Olive @ ๕ ๒ Ciao! ท่านผู้อ่านอนุมานวสารที่รัก อย่าตกใจที่
พี่แชฟ
รณกรณ์ รุ่น ๕๒ ร้าน Olive @ ๕๒ เปิด ๑๑.๐๐ น. - ๒๑.๐๐ น. วันจันทร์หยุด โทร. ๐๒-๗๙๓-๔๕๐๙
วันนีเ้ ราทักทายกันด้วยภาษาอิตาเลีย่ นนะคะ ก็เพราะ วันนีจ้ ะพาทุกท่านไปชิมอาหารอิตาเลีย่ น ที่อร่อยทุกเมนูที่มีในร้านเลย ก็ต้องขอ สร้างบรรยากาศตั้งแต่เริ่มหน่อยนะคะ !! แต่ ไ ม่ ต ้ อ งกลั ว ว่ า เราจะพาไปไกลถึ ง อิตาลีเลยนะคะ… แค่ทรี่ า้ น Olive @ ๕๒ ซอยวัชรพล รามอินทรา นี่เองค่ะ มาถึงร้านกันแล้วอย่างรวดเร็ว นะคะ แค่มองผ่านกระจกใสแจ๋วของร้าน เข้าไปแล้วก็อยากรีบเข้าไปมากกว่าเดิม อีกเพราะร้านน่ารักมาก มีมุมโซฟาให้ นัง่ ทานแบบสบายๆ เหมาะส�ำหรับมากับเพือ่ นเยอะๆ แล้วอยากจะนัง่ คุยกันนานๆ ได้เลย ซึง่ พีแ่ ชฟ – รณกรณ์ รุ่น ๕๒ คณะจิตรลดา เจ้าของร้านก็ยินดีต้อนรับ ทุกท่านค่ะ พี่ แชฟสั่ ง อาหารมารอพวกเราแล้ ว หลาย เมนูอันได้แก่ พิซซ่าโอลีฟสเปเชี่ยล ลาซานญ่าหมู มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 77
สปาเก็ตตีค้ รีมซอสมะเขือเทศ สลัดเห็ดย่าง ซีซาร์สลัด ผักโขมอบชีส และพอร์คช็อป มาถึงตอนนี้แล้วต้องบอกว่าตัดสินใจยาก มากที่จะให้จานไหนเป็นที่ ๑ เพราะว่า อร่ อ ยทุ ก จานเลยค่ ะ เริ่ ม จากพิ ซ ซ่ า ซึ่ ง จะเป็นพิซซ่าแป้งบางเนื้อกรอบนอกนุ่ม ในพร้อมท็อปปิ้งให้เลือกถึง ๙ หน้าด้วย กันอันได้แก่ โอลีฟสเปเชี่ยล พามาร์แฮม แซลมอน ซี ฟู ้ ด มิ ล าโนเปเปอร์ โ รนี อิตาเลี่ยนซอสเซจ แฮม สับปะรด มังสวิรัติ และมาการิตา้ เลือกไม่ถกู เลยใช่มยั้ คะว่าจะ สัง่ หน้าอะไรดี ยังไงขอแนะน�ำให้สงั่ มาทาน สักถาดหนึ่งแล้วจะติดใจจนต้องสั่งหน้า อื่นๆ มาลองบ้างจนอาจจะได้ลองครบ ทุกหน้าโดยไม่รู้ตัวก็ได้นะคะ ส�ำหรับอีก จานหนึง่ ทีท่ ำ� หน้าทีเ่ ป็น appetizer ได้อย่าง ดีเยี่ยมก็คือ “ซีซาร์สลัด” ซึ่งผักสดมาก น�้ำสลัดก็เข้มข้นก�ำลังดี และทีเด็ดที่ใครๆ พูดตรงกันก็คือเบค่อนขนาดไม่หวงของที่ กรอบบางก�ำลังดีเลย คลุกเคล้าพร้อมกัน กับขนมปังกรอบและชีสที่โรยหน้ามาด้วย แล้วนี่ต้องขอยกนิ้วให้เลยค่ะ ระหว่างที่ก�ำลังเพลิดเพลินกับเมนู ต่างๆ ข้างต้นนี้อยู่พี่แชฟก็สั่ง “แซลม่อน ย�ำแซ่บ” และ “ข้าวผัด”มาให้พวกเราได้ ลองอีก อย่าเพิง่ สงสัยนะคะว่าแล้วเจ้าสอง จานนี้อิตาเลี่ยนตรงไหน เพราะนอกจาก เมนูอาหารอิตาเลี่ยนแล้วพี่แชฟยังมีเมนู อาหารจานเดี ย วรสเด็ ด ไว้ บ ริ ก ารลู ก ค้ า
78
ไว้ให้ได้เปลี่ยนบรรยากาศหรือมีธุระต้อง รีบไปต่อให้ได้อิ่มอร่อยด้วยค่ะ แล้วต้อง ขอบอกเลยว่ า อร่ อ ยเด็ ด จริ ง ๆ อย่ า ง แซลม่อนย�ำแซ่บ นี่จะเป็นแซลม่อนหั่น ขนาดไม่ ห วงของอี ก แล้ ว ห่ อ แครอทกั บ แตงกวาหั่นเป็นแท่งแล้วราดด้วยน�้ำย�ำสุด แซ่บด้วยแล้ว บอกก่อนเลยนะคะจานเดียว ไม่พอแน่นอน อาหารอร่ อ ยทุ ก จานอย่ า งนี้ คงต้ อ งขอถามพี่ แชฟหน่ อ ยแล้ ว ว่ า ไป ร�่ำเรียนมาจากส�ำนักไหน แต่พี่แชฟบอก ว่าเปล่าเลย ทุกอย่างเริ่มจากการที่ชอบ ท� ำ อาหาร เวลาที่ ไ ปเที่ ย วต่ า งจั ง หวั ด เป็ น คณะใหญ่ กั บ เพื่ อ นๆ OV ก็ จ ะหา ร้านที่รองรับคนเยอะขนาดนี้ได้ พี่แชฟ จึงเป็นครูกุ๊กท�ำอาหารให้เพื่อนๆ ได้อิ่ม อร่อยกัน ประกอบกับก่อนหน้านี้ท�ำงาน ที่บริษัท Minor Group เจ้าของแฟรนไชส์ อาหารแบรนด์ดังหลายเจ้าอาทิเช่น Pizza
Hut, KFC จึ ง ท� ำ ให้ ไ ด้ สั ง เกตการณ์ ท� ำ อาหารแล้ ว น� ำ มาปรั บ ให้ เ ป็ น สู ต รของ ตัวเอง โดยมีเพื่อนๆ ที่ตีไฟฟ์ที่สมาคมฯ ทุกเย็นคอยชิมและติชมให้ นอกจากนี้ที่มาของชื่อร้าน Olive @ ๕๒ นีก้ ย็ งั มีทมี่ าน่าประทับใจโดยพีแ่ ชฟ เล่าว่าทีแรกทีเ่ ลือกชือ่ นีเ้ พราะมะกอกเป็น ส่วนประกอบของอาหารอิตาเลีย่ นแทบทุก จาน และอีกเหตุผลหนึง่ ทีส่ �ำคัญก็คอื ในค�ำ ว่า Olive นี้มีตัวอักษร O และ V อยู่ด้วย กันจึงเพิ่ม @ ๕๒ ซึ่งเป็นเลขรุ่นเข้าไปด้วย อีกท�ำให้ทราบได้เลยว่าร้านนี้ OV ตัวจริง เสียงจริงแน่นอนค่ะ ส� ำ หรั บ ท่ า นที่ บ ้ า นอยู ่ ใ นละแวก เดียวกับร้าน พี่แชฟก็มีบริการส่งถึงบ้าน ด้วยค่าบริการครั้งละ ๓๐ บาท โทร. มา ได้ทเี่ บอร์ ๐๒-๗๙๓-๔๕๐๙ แต่ทา่ นไหนที่ บ้านไกลหน่อยก็ขอชวนเชิญให้มาชิมกันที่ ร้านในซอยวัชรพล เข้ามาจากบริเวณปาก ซอย อยู่ใน Platinum Place หาไม่ยาก ค่ะ เพราะอย่างที่บอกไปว่าทุกเมนูอร่อย มากในราคาที่ไม่แพงเลย แถมร้านก็ยัง ตกแต่งน่ารักเหมาะกับจะมาสังสรรค์เฮฮา กับเพื่อนๆ หรือมากับครอบครัวก็ได้ค่ะ หรือหากหลงทางมาไม่ถูกก็โทร. ถามทาง กับที่ร้านได้เลยที่เบอร์ข้างต้นนะคะ ขอให้ เอร็ดอร่อยกับมื้อนี้ที่ Olive @ ๕๒ นะคะ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ (ลูกสาวพี่ยักษ์ รุ่น ๔๕) มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 79
เรือนผู้การ
นักเรียนวชิราวุธฯ จะต้องเป็น
“หนึ่งในร้อยด้านคุณธรรม และ หนึ่งเท่ากับร้อยด้านความสามารถ”
ศาสตราจารย์ ดร.
80
นักเรียนเก่าหลายคนมักพูดกันว่า เด็กวชิราวุธฯ รุ่นหลังๆ นี้โชคดี ที่พวกเขา ยังมีอดีตผู้บังคับการที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ได้ แสดงความกตัญญู อดีตผูบ้ งั คับการในอดีต มักด�ำรงต�ำแหน่งผูบ้ ริหารโรงเรียนตราบจน สิ้นอายุ ความสัมพันธ์ต่อผู้บังคับการจึง ไม่เปลี่ยนแปลง คือ เด็กนักเรียนในความ ปกครองกับอดีตผู้บังคับการ แม้ว่าจะจบ จากโรงเรียนออกมาหลายปีก็ตาม
ชยั อนันต์ สมุทวณิช ในช่วงหลังๆ นี้ อดีตผู้บังคับการ ชัยอนันต์ฯ หรือ “ผู้การปิ๋ง” ของเด็กๆ ได้ เงียบหายไปจากแวดวงสังคม ทั้งในฐานะ กรรมการของบริษัทหลายต่อหลายแห่ง หรือบทบาทในฐานะนักวิชาการที่มีความ ห่วงใยกับการเมืองไทย (ซึ่งครั้งหนึ่งเคย มีข่าวแว่วว่าเขาเป็นหนึ่งในตัวเต็งนายก รัฐมนตรี) แต่ในฐานะอดีตผู้บังคับการกับ ลูกศิษย์แล้ว เขายังได้พบปะพูดคุย และได้ รับข่าวคราวจากลูกศิษย์คนต่างๆ อยูเ่ สมอ ทัง้ หมดนีด้ ว้ ยความผูกพันและความห่วงใย ที่ เขามี ต ่ อ เด็ ก ๆ ที่ เขาได้ ดู แ ลมาตลอด ระยะเวลาในต�ำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธ วิทยาลัยถึง ๑๑ ปีเต็ม มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 81
แม้จะมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับสไตล์ บริ ห ารของอดี ต ผู ้ บั ง คั บ การชั ย อนั น ต์ ฯ แต่คงไม่มใี ครปฏิเสธได้วา่ เขาคือผูน้ �ำความ เปลีย่ นแปลงอย่างก้าวกระโดดมาสูว่ ชิราวุธ วิทยาลัย ในสมัยทีเ่ ขาเป็นผูบ้ งั คับการ เด็กๆ เรียนรู้กันอย่างมีความสุขและได้รับโอกาส มากมายและล้ น เหลื อ บนพื้ น ฐานและ แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนของ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทีท่ รงพระราชทานไว้ ภายใต้ในบริบทของโลกและสังคมสมัยใหม่ ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งหมดนี้เพื่อ ให้เป็นไปตามปณิธานที่เขาได้ตั้งไว้ตั้งแต่ วันแรกที่รับต�ำแหน่งว่า นักเรียนวชิราวุธฯ จะต้องเป็น “หนึง่ ในร้อยด้านคุณธรรม และ หนึ่งเท่ากับร้อยด้านความสามารถ” ในฐานะอดี ต ลู ก ศิ ษ ย์ และรุ ่ น น้อง อนุมานวสารมีโอกาสได้พูดคุยกับ ผู้บังคับการชัยอนันต์ฯ โดยได้รับเกียรติ จากวิโรจน์ นวลแข และ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน มาร่วมพูดคุยด้วย ในวั น นี้ เขาแก่ ขึ้ น และพู ด น้ อ ยลง มาก แต่ความคิดของเขายังเฉียบคมและ ก้าวไกลไม่เปลี่ยนแปลง
โรงเรียนวชิราวุธฯ
ที่ผ่านมา และในวันนี้
อนุมานวสาร ผู้การออกจากโรงเรียนมา สักพักแล้ว ยังมีเรือ่ งอะไรทีโ่ รงเรียนยังเป็น ห่วงอยู่หรือไม่ครับ
82
ชัยอนันต์ฯ ที่เป็นห่วงที่สุดก็คือโรงเรียน
ต้องกวดขันไม่ให้เด็กรังแกกัน ก่อนออก เราได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อกั ษรเลยว่ามี เรือ่ งอะไรบ้างทีไ่ ด้ทำ� ไปแล้ว และเรือ่ งอะไร บ้างที่ยังไม่ ได้ท�ำ แต่โรงเรียนควรต้องท�ำ ตอนนัน้ ทีท่ ำ� โรงเรียน เราตัง้ ใจให้วชิราวุธฯ เป็นโรงเรียน World Class แต่รู้อยู่ในใจว่า คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๑๐ ปี ถ้าลองมา ท�ำ Mapping จะเห็นว่ามีหลายเรื่องที่เรา ท�ำมากและเน้นเป็นพิเศษ เช่น เรื่องพา เด็กไปเข้าค่าย เรื่อง Thinking เรื่อง Mind Mapping ท�ำละคร ท�ำตึกหมวก ทั้งหมดนี้ มีวัตถุประสงค์ทั้งนั้น
อนุมานวสาร แล้วเรื่องระเบียบวินัยล่ะ ครับ
ชัยอนันต์ฯ การท�ำให้เด็กมีระเบียบนัน้ ง่าย
มาก คือแค่สั่งเด็กอย่างเดียว แต่เราเชื่อว่า ระเบียบวินัยในเด็กต้องเป็นวินัยในตนเอง เป็น Self-Discipline เราต้องตีความให้ถูก ระเบียบไม่ใช่แค่การตีระฆังให้เด็กเข้าแถว เฉยๆ ไม่ใช่การออกกฎห้ามท�ำโน่นท�ำนี่ เช่น ห้ามเด็กกลับคณะเวลาเรียน ในสมัย ใหม่นี้ บริบทของสังคมเปลีย่ นแปลงไปมาก เมื่อเด็กถูกกดอยู่ในกฎเกณฑ์ ก็เป็นไปได้ ว่าเด็กก็จะได้รบั แรงกดดัน จนไปแอบรังแก กัน โรงเรียนไม่ควรมีลวดหนาม ไม่ควรมี กล้องวงจรปิด
อนุมานวสาร ถ้าย้อนเวลากลับไปได้อยาก
แก้ไขเรื่องอะไรเป็นอันดับแรก ชัยอนันต์ฯ ก็คงเป็นเรื่องวิชาการ อยาก จะท�ำให้เข้มแข็ง ในแง่ของตัวครูเราก็ต้อง อะลุ่มอล่วย อยากให้มีครูที่มีคุณภาพดีๆ มากกว่านี้ เงินเดือนครูเราก็เพิ่มให้มาก ดีกว่าข้างนอก คือทีว่ ชิราวุธฯ เป็นโรงเรียน พื้นฐาน ประถม มัธยม จะไปหาครูดีๆ แบบในอังกฤษมันยาก ก็เลยคิดว่าถ้าเรา ส่งครูที่มีอยู่ไปฝึกอบรมเขาก็จะมีความ สามารถมากเกินกว่าวิชาที่เขาสอน แทนที่ เขาจะเป็นเพียงครูเลข ให้เขาได้ไปฝึกอบรม เรือ่ งทักษะการคิด แล้วท�ำอย่างไรให้เขาอยู่ สอน และสนุกกับสิง่ ทีเ่ ขาไปเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ๆ มา เราก็เลยมีโครงการให้ครูที่เก่งๆ ไป รับเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่ครูโรงเรียน อื่นๆ เราก็ไปรับโครงการจากภายนอก เข้ามา หนึง่ เขาได้ไปบรรยายให้คนข้างนอก ฟัง สอง เขามีความมั่นใจมากขึ้น สาม เขา มีประสบการณ์มากขึ้น สี่ ที่ส�ำคัญเขามี รายได้มากขึ้น ตอนที่ เราเข้ า ไป ครู ข องเราจบ วิทยาลัยครูกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เราต้อง เปลี่ยนมาเป็นท�ำสัญญากัน ๓ ปีก่อน ถ้า ผ่านเกณฑ์ก็ค่อยต่อเป็น ๕ ปี ถ้า ๕ ปียังดี อยู่ก็เท่ากับ ๘ ปีแล้วค่อยให้อยู่ต่อถึงอายุ ๖๐ ปี วิธีการประเมินครูก็ง่ายมาก ดูจาก คุณภาพการสอน ตั้งทุนวิจัยให้ครูมาเขียน เอกสารวิชาการ มีหลายอย่างกึ่งๆ คล้าย
มหาวิทยาลัย มีทุนฝึกอบรม สัมมนา วิจัย ไม่อั้น อยากไปเข้าคอร์สฝึกอบรมที่ไหน ไปสัมมนาที่ไหน อยากท�ำเรื่องพวกนี้ให้ มากขึ้น อยากส่งเสริมให้เด็กไปเปิดหูเปิดตา มากขึ้น อยากตั้งทุนให้เด็กได้ไปเมืองนอก เพราะไปนี่มันแพงมาก
อนุมานวสาร ระบบที่ผู้การน�ำมาใช้ใน
โรงเรียนตอนนั้น เรียกได้ว่าล�้ำหน้ากว่า ระบบการวัดผลการศึกษาแบบเก่า แล้วเรา จะท�ำอย่างไรให้เด็กได้ประโยชน์จากระบบ ใหม่ และสามารถผ่านเกณฑ์วิธีการวัดผล แบบเก่าๆ ไปได้ ชัยอนันต์ฯ เราคิดอยูเ่ สมอว่า เราจ�ำเป็นที่ เราต้องก้าวไปให้เร็วกว่าคนอืน่ เขา เช่น เรา เอากิจกรรม Duke of Edinburgh ของอังกฤษ เข้ า มาเพราะไปสั ง เกตเห็ น ว่ า ลู ก เสื อ นีอ่ าจล้าสมัยไปแล้ว อาจจะสนุกตอนรอบ กองไฟเท่านั้น ต้องมาคิดกันใหม่ เพราะ ลูกเสือเคยเป็นของใหม่เมื่อสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เวลานี้โลกมันเปลี่ยน อะไร ต่อมิอะไรมันเปลี่ยน ท�ำให้เด็กมุ่งสนใจ ไปที่ อื่ น กิ จ กรรมนี้ อั ง กฤษเขาท� ำ ใน ลักษณะ Leadership Training เป็นลักษณะ Surviving Course มีเหรียญทองเหรียญเงิน ตามกิจกรรมทีเ่ ด็กได้ผา่ นเกณฑ์ ตอนทีเ่ รา ไปสมัครเป็นสมาชิกนั้นเราเป็นโรงเรียน ไทยแห่งเดียว มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 83
84
วิโรจน์ฯ ในช่วงก่อนที่ผู้การชัยอนันต์จะ
ครบวาระ ในฐานะกรรมการบริหารของ โรงเรียน ผมได้ขอให้เอาคณะกรรมการ โรงเรียนมานั่งสัก ๓ คน มีผู้การคนเก่า และคนใหม่ ม านั่ ง ด้ ว ย แล้ ว ก็ ใ ห้ ผู ้ ก าร คนเก่าบอกถึงสิ่งที่ท�ำมาทั้งหมดมีอะไร บ้าง อะไรอยากจะเก็บไว้ อะไรอยากจะ ยกเลิกไป ส่วนผู้การคนใหม่มีข้อเสนอมี นโยบายอะไรใหม่ที่ขัดแย้งกันหรือไม่ แล้ว มาสรุปผลกัน เพื่อที่จะได้มีความต่อเนื่อง น่าเสียดายที่เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้น ผมอยากให้ ผู ้ บ ริ ห ารที่ โรงเรี ย น วชิ ร าวุ ธ ฯ ไปดู โรงเรี ย นล� ำ ปลายมาศ พัฒนา จังหวัดบุรรี มั ย์ เขาท�ำคล้ายๆ กับที่ ชัยอนันต์ท�ำ คือให้เด็กเรียนด้วยตัวเอง ไม่มีหนังสือเรียนเลย คือสอนแบบวิชานี้ ว่าไป แล้วคุณก็ไปค้นข้อมูลเอง เด็กเขา พั ฒ นาตั ว เขาเองจนสอบ O-net เป็ น ระดับต้นๆ ของประเทศเลยนะ แค่โรงเรียน ในหมู่บ้านเล็กๆ ผมได้บอกผู้บังคับการ คนปัจจุบนั ไปว่าตอนนีเ้ ขาพัฒนากันแบบนี้ ลองหาเวลาว่างไปดูมั่งสิ ซึ่งเหมือนกับ ผู้บังคับการคนเก่าเขาท�ำไว้ แนวทางใกล้ กันมากเลย อยากให้ไปดูว่าเขาท�ำได้จริง
ชัยอนันต์ฯ ตอนทีอ่ ยู่ โรงเรียน เราก็ทำ� เรือ่ ง
Creative Thinking เดี๋ยวนี้พวกโรงเรียน เทศบาล อบต. อบจ. เอาไปท�ำกันมาก เช่น ที่อุดรธานี หรือเชียงรายก็ก�ำลังท�ำอยู่
วิโรจน์ ฯ คือตอนนีท้ กุ โรงเรียนเขาตืน่ ตัวท�ำ
เรื่องนี้กันมาก ของเราน่าเสียดายที่กลาย เป็นเรื่อง On and Off ขึ้นๆ ลงๆ
ชัยอนันต์ฯ คือตอนนี้โรงเรียนเน้นเรื่อง
ระเบียบมากเกินไป เน้นการควบคุมเด็ก การศึกษาไม่ควรเน้นเรือ่ งการควบคุม แล้ว ในทีส่ ดุ มันก็ควบคุมไม่ได้ แล้วจะท�ำให้เด็ก หันกลับไปรังแกกันหนักเลย จริงๆ การ รังแกกัน การซ่อมกัน จะไปบอกเด็กอย่าง เดียวให้เลิกไม่ได้ วิธีการแก้นั้นก็คือ ต้อง บอกด้วย แต่หากิจกรรมอื่นให้เด็กท�ำให้ มากทีส่ ดุ เด็กก็จะเห็นว่ามีเรือ่ งอืน่ น่าสนใจ มากกว่าที่รังแกกัน ซ่อมกันนั้น เพราะ เห็นว่าไม่มีเรื่องอื่นที่น่าสนใจไปกว่านี้แล้ว เด็กก็ไปหมกมุน่ กับการท�ำแบบนีอ้ ยูเ่ รือ่ ยๆ
วิโรจน์ ฯ คนน้อยคนที่จะมองเห็นว่าเด็ก
ควรจะมีพัฒนาการ อยู่ๆ ในโลกนี้ก็กลาย เป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นเด็กที่ สามารถหาข้อมูลข่าวสารที่ตนต้องการได้ นัน้ มัน Smart กว่าเยอะ ไอ้พวกผูใ้ หญ่ตอ้ ง มาโกหกตั ว เองว่ า เทคโนโลยี เ ป็ น สิ่ ง ที่ Beyond life ต้องให้เด็กกลับมาอยูใ่ นระเบียบ วินัย ไอ้ระเบียบวินัยที่เราเคยว่า หลาย เรื่องก็ไม่จริง เช่น เด็กไปเถียงผู้ใหญ่ จริงๆ ไม่ใช่เถียงไม่ได้นะ เพราะในพระไตรปิฎก ของพระพุทธเจ้ายังกล่าวว่า อย่าไปเคารพ บุ ค คลที่ ไ ม่ ค วรเคารพ ผู ้ ใ หญ่ ที่ ต ่ อ ต้ า น มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 85
เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง ตอนนี้ มีเยอะมากในสังคม
อนุมานวสาร แล้วแนวคิดการเปลี่ยนให้
มีผู้หญิงมาเรียนกับเด็กของเราด้วย ผู้การ เห็นเป็นอย่างไรครับ ชัยอนันต์ฯ เราต้องมาดูว่า Public school ในอังกฤษเขาอยู่มานานกว่าเราเป็น ๑๐๐ ปีเขายังเปลี่ยนให้มีผู้หญิงมา แล้วท�ำไม เราจะท�ำไม่ได้บ้าง ก็แค่จะเอาเข้ามาแต่ ชั้นสูงๆ เท่านั้น และให้เป็นเรียนไปมา ก่อนก็ยังดี
วิโรจน์ ฯ ซึง่ เด็กผูห้ ญิงเข้ามาจะช่วยให้เด็ก
ผูช้ ายเรียนดีขนึ้ เพราะเด็กผูช้ ายมันจะอาย ว่าถ้าที่ ๑-๑๐ เป็นผู้หญิงแล้วค่อยต่อด้วย พวกเขา พออายก็จะขยันเรียนมากขึ้น
ชัยอนันต์ฯ แนวโน้มของโลกในอนาคต
ผู้หญิงจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
วิ โรจน์ ฯ คุ ณ เคยส� ำ รวจไหมว่ า ไอ้ เ ด็ ก
วชิ ร าวุ ธ ฯ โดนผู ้ ห ญิ ง จี บ หรื อ จี บ ผู ้ ห ญิ ง มากกว่ากัน เผลอๆ พวกเราโดนผู้หญิงจีบ มากกว่าไปจีบเขาเสียอีก นักเรียนวชิราวุธฯ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยตั้งความหวังเรื่องผู้หญิง ไม่มีการตั้ง Demand อะไรเลย จริงๆ คือ ว่า พวกนีเ้ มือ่ แต่งงานไปแล้วก็ตอ้ งหย่ากัน เยอะ เพราะไม่เคยได้เรียนรู้จักกับผู้หญิง
86
มาก่อน ไม่เคยตั้งหวังในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่อง ส�ำคัญมากเลยนะในชีวิต ถ้าคุณได้เมียที่ ไม่เข้าใจคุณ ชีวิตมันจะล�ำบากมากเลยนะ มัวแต่ไปตัง้ ความหวังในเรือ่ งหน้าทีก่ ารงาน มากเกินไป ชีวติ ตัวเองถ้าได้คคู่ รองเลวชีวติ ก็ฉิบหาย
ชัยอนันต์ ถึงแม้จะให้ผู้หญิงมาเรียนด้วย
ไม่ได้ อย่างน้อยก็เปิดให้ได้ไปรู้จักโรงเรียน โน่น โรงเรียนนี่ ไปเชิญมาดูละคร จิบน�ำ้ ชา ฟังดนตรีบ้าง
อนุมานวสาร มีเรื่องอะไรที่ผู้การไม่ได้ท�ำ
หรือไม่ได้สอนเด็กๆ บ้างครับ ชัยอนันต์ คงเป็นเรือ่ งการเมือง สังเกตดูวา่ ตอนเป็นผูบ้ งั คับการไม่คอ่ ยได้ไปพยายาม ปลุกเร้าเด็กในเรื่องการเมืองนี้มากเท่าไร เพราะอาจจะดูเป็นการยัดเยียดให้มากเกิน ไป ที่จริงจะสอนเรื่องการเมืองก็ไม่จ�ำเป็น ต้องบอกกับเด็กตรงๆ แค่ท�ำให้เขาสนใจ ในเรื่องรอบๆ ตัวเขา เช่นเรื่องในคณะ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด พอถึงชั้น ม.๔ - ม.๕ ก็น่าจะรู้เรื่องแล้ว จริ ง ๆ เรื่ อ งการปลู ก ฝั ง เรื่ อ ง การเมื อ งอยู ่ ที่ บ ้ า นอยู ่ ที่ ค รอบครั ว ที่ อเมริกามีกิจกรรมทางการเมืองแยะ ของ เราเพิ่งจะมามีตอนหลังๆ นี้ เรามีกิจกรรม ทางการเมืองมากขึ้นและจัดขึ้นโดยตลอด จึงท�ำให้คนตื่นตัว เห็นได้ชัดว่ามีผู้หญิง
ติดตามเรือ่ งการเมืองมากขึน้ แปลว่าจริงๆ ประชาชนมีศักยภาพอยู่แต่ไม่มีกิจกรรม รองรับความสนใจของพวกเขา
อนุมานวสาร มักมีคนพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า
“วิถีวชิราวุธฯ” กันมาก ผู้การเห็นว่าคือ อะไรครับ ชัยอนันต์ฯ คือการเป็นนักเรียนประจ�ำ ที่มีวิถีชีวิตแตกต่างไปจากโรงเรียนอื่นๆ เช่น มีการสวดมนต์ มีการปกครองในแบบ ของเราเอง มีการสอนให้รกั ชาติ ศาสนา พระ มหากษัตริย์ เป็นวิถีชีวิตที่ไม่มาโรงเรียน เพื่อการเรียนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นวิถี ชีวิตทั้งหมด ถ้าใครอยากเอาแบบเราไปใช้ ก็ต้องเอาเด็กมากินมานอนที่โรงเรียน
อนุมานวสาร ผู้การตีความพระราโชบาย
ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ อย่างไรครับ ชัยอนันต์ฯ สอนให้รักษาคุณค่าดั้งเดิม ของสั ง คมไทยไว้ โดยเฉพาะสถาบั น พระมหากษัตริย์ให้เรารู้คุณค่าเห็นความ ส�ำคัญ เสียสละสังคม รับใช้สังคมมากกว่า ตนเอง ไม่เห็นแก่ตวั เพราะเราเองมีพนื้ ฐาน ดีอยูแ่ ล้ว ต้องรักหมูร่ กั คณะ คณะต้องใหญ่ กว่าตนเอง โรงเรียนต้องใหญ่กว่าคณะ ถ้า สิ่งเหล่านี้ติดตัวเด็กไปได้ก็ดี เพราะเป็น เรื่องที่ส�ำคัญ เรื่องความเป็นสุภาพบุรุษ ความรักชาติ ในสมัยพระองค์ท่านเรื่อง พวกนี้เป็นเรื่องใหม่ การรักชาติได้มันต้อง เพาะความรักหมู่รักคณะก่อน เรื่องนี้ก็ ส�ำคัญ ทั้งหมดนี้เป็น Core value ของ โรงเรียนไม่ว่าสมัยไหนก็ยังอยู่ได้ เพียงแต่ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 87
ต้องมีตัวเสริมเรื่องที่ทันยุคทันสมัยเข้ามา ต้องรูจ้ กั การมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก่อนถึงจะค่อยสอนวิชาความรู้ วิชาการ ที่เสริมเข้ามาต้องมีเรื่องการสื่อสาร การ ท� ำ งานร่ ว มกั บ ผู ้ อื่ น การหมั่ น ศึ ก ษา ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ อยากฝากให้ พ วกเราศึ ก ษาเรื่ อ ง ล้ น เกล้ า ฯ รั ช กาลที่ ๖ ให้ ม ากเพราะ พระองค์ทา่ นก็พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์มาให้เรือ่ งการศึกษา เวลานีม้ ี คนพูดถึงพระองค์ท่านในแง่ลบมาก
กิจกรรมวชิราวุธ ๑๐๐ ปี และโรงเรียนวชิราวุธฯ ในอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า วิโรจน์ ฯ ผมมีความรู้สึกว่าเราไปสร้างตึก กันท�ำไม
ชัยอนันต์ฯ เงินพระคลังข้างทีก่ ม็ ี แล้วตอน
ผมอยู่ ก็เก็บเงินไว้ให้รอ้ ยกว่าล้าน เป็นเงิน ผลประโยชน์ วชิ ร าวุ ธ ฯ อี ก ๑๐๐ ปี ข ้ า งหน้ า เราควรคิ ด โครงการที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ ตัวนักเรียนเองด้วย เพราะตอนนี้พอพ้น ๑๐๐ ปี ก็เริ่มถอยหลังไม่ทันเขาแล้ว ต้อง ไปกระตุน้ ให้เด็กมีกจิ กรรมทีเ่ ป็นประโยชน์ อย่างสิงคโปร์ตอนนี้ท�ำ Thinking school ไปได้แยะแล้ว ก่อนที่จะออกผมพยายาม
88
ท�ำตึกหมวก ห้องฉายหนัง เอาหนังสือดีๆ ไปใส่ไว้ เพือ่ อย่างน้อยให้เด็กมันเปิดดูรปู ก็ ยังดี เราจะไปส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างเดียว ไม่ได้ ต้องให้เด็กรูจ้ กั ท�ำ อย่างการท�ำหนังสัน้ เป็นทั้ง Production และ Creativity บาง คนอาจจะมองว่าไม่เกี่ยวกับการเรียน แต่ ไม่ใช่เลย เราไม่จ�ำเป็นต้องเรียนมาด้าน การศึกษาที่จะคิดแบบนี้ได้ แต่ต้องหมั่นดู ว่าโลกเขาไปถึงไหน เขามีวธิ กี ารท�ำอย่างไร เรื่องการศึกษาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
วิโรจน์ ฯ ผมเชื่อว่า คนที่มีโอกาสประสบ
ความส�ำเร็จในชีวิตการงานต้องเป็นคนที่ คิดไม่เหมือนคนทั่วไป ต้องคิดนอกกรอบ แต่ถ้าไม่เคยเรียนแบบนอกกรอบมาก่อน ก็ยากที่จะคิดนอกกรอบได้
ชัยอนันต์ฯ เราต้องเอาของข้างนอกไปใส่
ข้างในโรงเรียนให้มาก เช่น จัดปาฐกถา เชิญคนข้างนอกมาพูด จัดเป็นซีรยี ์ เดือนนี้ คนนี้พูด เดือนต่อไปคนนั้นพูด อย่างน้อย ก็ต้องเข้าหัวเด็กไปบ้าง พอเด็กจบออกมา แล้ว โอ้ เว้ย... คนนี้เคยไปพูดให้เราฟัง แม้ว่าตอนนั้นจะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แต่ก็ ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง ครู กั บ ผู ้ ก� ำ กั บ คณะต้ อ งช่ ว ยด้ ว ย เด็ ก ตามปกติ ใ นทุ ก แห่ ง ก็ เ ป็ น แบบนี้ ที่ ส่วนหนึ่งเท่านั้นจะได้รับประโยชน์จริงๆ หน้าที่ของผู้บังคับการคือการสร้างโอกาส
เด็กคนไหนรับได้เร็ว ก็ควรจะไปชวนเพือ่ น แม้เด็กจะที่เหลือจะอายหรือไม่ยอมมาท�ำ ตามเพื่อน แต่อย่างน้อยเมื่อพวกเขาโต มาเขาก็จะจ�ำได้ อย่างเช่นผมเอา Mind Mapping เข้าไป พอจบมาเห็นข้างนอก ที่ไหนก็เข้าใจจ�ำได้ อย่างอนุมานวสารก็เป็นช่องทาง หนึ่ ง ควรคิ ด ว่ า จะท� ำ อย่ า งไรให้ เ ด็ ก ใน โรงเรียนได้อ่านด้วย แล้วสมัยที่เราอยู่ จะ สั ง เกตว่ า โรงเรี ย นมั ก จะท� ำ หนั ง สื อ เล่ ม เล็กๆ ให้เด็กอ่าน เพราะเด็กไม่ชอบอ่าน อะไรยาวๆ ดังนั้นนอกจากอนุมานวสาร แล้ ว หากมี เรื่ อ งที่ น ่ า สนใจก็ ค วรท� ำ เป็ น หนังสือให้เด็กอ่าน ยาวสัก ๑๐ หน้าก็ได้ ยิ่งมีมากเท่าไรก็ยิ่งดี เท่ากับเด็กมีความ เคยชินในการอ่าน และโดยเฉพาะครู เรา ต้องสนับสนุนให้เขียนมากขึ้น เราเห็นว่า สิ่งที่ควรจะรีบท�ำอย่าง เร่งด่วน คือการท�ำห้องสมุดใหม่ ในโอกาส วชิราวุธ ๑๐๐ ปี แทนที่จะสร้างตึกใหม่ ก็ เ อาเงิ น มาท� ำ ห้ อ งสมุ ด ให้ ทั น สมั ย มี คอมพิวเตอร์ให้ใช้ เป็นห้องสมุดที่ดี ไม่ อยากให้คิดว่า จะสร้างตึกที่มีแต่ห้องเรียน อาจลองไปดูโรงเรียนอื่น อย่างโรงเรียน ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ว่าเขาสร้างตึก ๑๐๐ ปีของเขากันอย่างไร เขาสร้างเป็น ตึก Intelligence เท่าที่ได้รับฟังมา สิ่งที่ควรท� ำน่า จะเป็นเรื่องการฟื้นฟู เพราะสิ่งที่เคยท�ำ
ไว้มันขาดตอน เราอยากให้มีการฟื้นฟู เหมือนอย่างทีว่ โิ รจน์ฯ บอกให้ไปดูโรงเรียน ล�ำปลายมาศ แล้วแนวคิด Global กับ Local ต้องท�ำให้หนักๆ เรื่องออกไปอยู่ที่ค่ายใน ต่างจังหวัดเป็นเรื่องจ�ำเป็นมาก ตอนแรก อาจให้เริม่ ให้ไปแค่ ๓ วันก่อนแล้วค่อยเพิม่ เป็น ๕ วัน ๗ วัน แล้วก็ ๒ อาทิตย์ และ ค่อยเป็นเดือน
วิโรจน์ ฯ คนอื่นเขาไปเป็นปี อย่างน้อย
ต้องท�ำต่อ เป็น Surviving course หรือ Confident-building course เข้าไปด้วย อีกเรื่องหนึ่ง ผมเห็นว่าเรื่องบอร์ด บริหารโรงเรียนก็เป็นเรื่องใหญ่ ผมเห็นว่า คณะกรรมการอ�ำนวยการโรงเรียนควรเป็น คณะกรรมการที่มีตัวแทนส่วนหนึ่งมาจาก นักเรียนเก่าฯ ในแต่ละช่วงรุ่น อย่างเช่น ๕ รุ่นมีผู้แทนคนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่อายุ ๓๕ ปี มาเลย เช่น รุ่น ๓๖-๔๐ ก็เลือกมาคนหนึ่ง จะได้รู้ว่าอะไรก�ำลังเกิดขึ้นในโลก อะไรได้ เปลี่ยนแปลงไป บอร์ดที่มีแต่ผู้อาวุโสและ ผู้สูงอายุจะไม่ใช่บอร์ดที่ดีในยุคปัจจุบัน
ม.ล.ชัยนิมิตรฯ เราต้องพูดเรื่องนี้กันให้
เข้าใจ อย่าอายหรือกลัวที่จะพูดถึง
อนุมานวสาร ท�ำไมโรงเรียนไม่ใช้ประโยชน์ จากอดี ต ผู ้ บั ง คั บ การ อย่ า งน้ อ ยก็ ค วร แต่งตั้งให้อยู่ในบอร์ด ไม่จ�ำเป็นต้องเป็น มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 89
ประธานบอร์ด แค่เป็นกรรมการคนหนึ่ง ก็น่าจะท�ำอะไรได้มากแล้ว แต่ที่ผิดปกติ คือ โรงเรียนไม่มาใช้ประโยชน์จากผู้การ ชัยอนันต์ฯ เลย มันแปลกๆ ตอนนี้ปัญหา ของโรงเรียนเริ่มชัดมากขึ้น เห็นได้จาก จ�ำนวนเด็กที่มาสมัครน้อยลง จ�ำนวนเด็ก ที่ออกมากขึ้นดูจากสถิติได้
วิโรจน์ ฯ เห็นด้วย แต่ที่มาที่ไปของบอร์ด
มาจากไหน
ชัยอนันต์ฯ ไม่มี เสนอกันเอง ตั้งกันเอง
ที่จริงผู้บังคับการก็มีส่วนบ้าง อย่างเราก็ เสนอเปลี่ยนไปเยอะแยะ เพื่อให้บอร์ดได้ มาช่วยโรงเรียนอย่างแท้จริง
วิโรจน์ ฯ ผมเห็นว่าทีค่ ณะกรรมการบริหาร
โรงเรียนที่ผม หรือดุสิต นนทะนาครเคย เป็นกรรมการอยู่โดนยุบไป นี่เป็นเพราะ ปั ญ หาส่ ว นตั ว ระหว่ า งบุ ค คลมากกว่ า แทนที่จะให้คนที่มีปัญหาออก กลับยุบ บอร์ดบริหารทั้งหมด ทั้งที่ความเป็นจริง ไม่ที่ไหนเขาท�ำกัน ตอนนี้วชิราวุธฯ เลย ไม่มบี อร์ดบริหาร หรือทีเ่ รียกว่า Executive Board ซึ่งจะมีความใกล้ชิดกับการบริหาร โรงเรียนมาก เพราะประชุมกันบ่อยกว่า พอโดนยุบไป ก็ไม่มกี ลไกนี้ คณะกรรมการ อ�ำนวยการก็ท�ำอะไรไม่ได้มาก เพราะเข้า มาประชุมกันเดือนละครั้ง
90
แต่อย่างว่าพอคนเราอายุมากขึ้น จะพูดอะไรให้ฟังคงไม่เข้าใจ ต้องท�ำให้เขา เข้าใจเอง ผมถึงอยากให้พวกเราไปดูงาน โรงเรียนอื่นๆ อย่างโรงเรียนล�ำปลายมาศ พัฒนา เราสามารถท�ำได้ดีกว่า หรืออย่าง น้อยก็ใกล้เคียงกันได้ เขายังไปได้ดี แต่ เรากลั บ ไม่ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ของสิ่ ง ที่ ท� ำ มา ที่ ล� ำ ปลายมาศมี แ ต่ ค นไปศึ ก ษาว่ า จะท� ำ อย่างไรให้ดีกว่าเขา แต่เราก�ำลังถอยหลัง อย่างแรง และคนที่ท�ำเรื่องการศึกษานี้ก็ เป็นวชิราวุธฯ ทั้งคู่ ทั้งผู้การชัยอนันต์ฯ และคุณมีชัย วีระไวทยะ
ม.ล.ชัยนิมิตรฯ ผมเห็นด้วยจริงๆ ถ้าเอา
ผู้การชัยอนันต์ฯ ไปนั่งเป็นบอร์ดโรงเรียน ต่ อ จะช่ ว ยรั ก ษาความต่ อ เนื่ อ งในการ บริหารโรงเรียน ซึ่งผมคิดว่าดีอยู่แล้วไปได้ มากทีเดียว
ชัยอนันต์ฯ โดยหลักแล้ว โรงเรียนวชิราวุธฯ
อยู่ที่ผู้บังคับการ แต่จะว่าไปแล้วบอร์ดก็ ส�ำคัญต้องไปด้วยกัน บอร์ดที่ผมอยู่ก็ให้ บอร์ดเข้ามาเกี่ยวข้องกับโรงเรียนค่อนข้าง มากเลย เอาความทันสมัยเข้ามา บางคนก็ มาดูเรือ่ งก่อสร้าง บางทีบอร์ดก็วจิ ารณ์เรา ว่าให้ท�ำกิจกรรมมากไปแล้ว แต่ที่เรากล้า เกินไปคือเราไม่มี Successor ไม่มีการท�ำ Succession plan ปีหลังๆ เราก็เริ่ม slowdown เรากับบอร์ดไม่ได้ดเู รือ่ ง Successor
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 91
ว่าใครควรจะเป็นผูบ้ งั คับการคนต่อไป และ ก็ต้องให้เข้ามาท�ำงานกับเรา อันไหนที่จะ ต้องเลิกไปก็ให้เหตุผลมา ไม่ใช่ว่าต้องเลิก หมดทุกอย่าง แต่มีบางอย่างที่จ�ำเป็นต้อง เก็บไว้เช่น Connection ดีๆ กับโรงเรียน ในนิวซีแลนด์ กับสถาบันสมิธโซเนี่ยนของ สหรัฐฯ ทั้งหมดนี้เป็นความก้าวหน้ามาก ที่เราส่งเด็กอายุ ๑๖-๑๗ ขวบ ไปสมิธ โซเนีย่ น ให้ไปเห็นความยิง่ ใหญ่ ทีเ่ ราท�ำได้ เพราะเราเอาครูฝรั่ง ชื่อ ดร.ไนล์มา ไม่ได้ ให้มาสอนภาษาอังกฤษอย่างเดียว เพราะ ดร.ไนล์ ก็มีเพื่อนมากมาย
อนุมานวสาร ผู้การอยากเห็นโรงเรียน
วชิราวุธฯ เป็นอย่างไรในอีก ๑๐๐ ปี หรือ ๑๐ - ๒๐ ปีข้างหน้าครับ ชัยอนันต์ฯ อยากจะให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกี่ ย วกั บ สั ง คมภายนอกมากขึ้ น ให้ ท� ำ โปรเจคตั้งแต่อยู่ ม.๕ ม.๖ ค้นคว้าท� ำ รายงาน ให้คุณภาพของแต่ละคนสูงขึ้น จ�ำนวนนักเรียนเท่าเดิม อาจจะมีนักเรียน หญิง ครูสอนภาษาอังกฤษต้องเป็นฝรั่งให้ หมด ต้องลงทุนในด้านการศึกษาให้มากขึน้ มีทนุ การศึกษาให้มากขึน้ ตึกก็เพียงพอแล้ว การสร้างคณะใหม่นี่ส�ำคัญ ตอน แรกคนอาจจะไม่ชิน แต่เด็กมีพื้นที่มาก ขึ้น พอมีพื้นที่มากขึ้นแล้วเด็กจะมีสภาพ ความเป็นอยู่ดีขึ้น เพราะตอนแรกที่เข้า มาสิ่งแวดล้อมสภาพความเป็นอยู่ของเด็ก
92
แย่มาก ห้องน�้ำห้องท่าแย่ไปหมด เพราะ ฉะนั้นโรงเรียนเราสวยอยู่แล้ววางผังดีอยู่ แล้ว เข้ามาทีแรกก็พยายามอนุรักษ์ตึก เก่าๆ ไว้ก่อน วิธีอนุรักษ์ตึกเก่าก็คือ ไม่ให้ มี Capacity load มากเกินไป เพราะอย่าง ว่าเด็กๆ ก็คงไม่ระวัง ใจจริงแล้วไม่อยากให้ ตึกเก่าเป็นที่พัก อยากให้เป็นห้องหนังสือ รองรับกิจกรรมที่เบาๆ มากกว่า
นักเรียนเก่าฯ กับโรงเรียน
อนุมานวสาร นักเรียนเก่าฯ สามารถเข้าไป
มีส่วนร่วมกับโรงเรียน หรือควรมีบทบาท
อย่างไรครับ เป็นเรื่องที่คนพูดถึงกันมาก ชัยอนันต์ฯ จริงๆ แล้ว ถ้าโรงเรียนอยู่ดี ไม่มีปัญหา นักเรียนเก่าฯ ก็จะไม่ค่อยเข้า มาเกี่ ย วข้ อ ง แต่ ถ ้ า มี ป ั ญ หามี วิ ก ฤต นักเรียนเก่าก็จะเข้ามาว่าจะช่วยอะไรได้ บ้าง นักเรียนเก่าฯ เรามีหลายประเภท แต่ ค วรจะสนใจโรงเรี ย นไว้ ห น่ อ ยก็ ยั ง ดี อนุมานวสารก็เป็นตัวช่วยให้นกั เรียนเก่าฯ หันมาใส่ใจโรงเรียนมากขึ้นแทนที่ว่าจะ สนใจเพราะลูกไปอยู่ จะสังเกตเห็นได้ชดั ว่า นักเรียนเก่าฯ ที่สนใจเรื่องโรงเรียนเพราะ ลูกไปอยู่ ที่จริงควรจะเป็นเรื่องต้องขยาย ไปในวงกว้าง เป็นเรื่องของนักเรียนเก่าฯ ทุกคนที่จะเป็นห่วงเป็นใยโรงเรียน
วิโรจน์ ฯ โดยทั่วไปนักเรียนเก่าฯ จะเป็น
Supporter แต่พอโรงเรียนมีวิกฤตเรากลับ เป็นตรงกันข้ามกันเลย
ชัยอนันต์ฯ ที่จริงมีกิจกรรมหลายอย่างที่
ดึงให้นกั เรียนเก่าฯ เข้ามาร่วมได้ นอกเหนือ จากการมาดูรักบี้แล้วก็ยังมี ดนตรี มีละคร มีปาฐกถา พอนักเรียนเก่าฯ เขามาแล้วก็ ถือเป็นโอกาสที่ได้พูดคุยว่าท่านไหนเป็น อย่างไร อีกหน่อยก็คงค่อยๆ ท�ำไปได้
อนุมานวสาร ผูบ้ งั คับการโรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัยจ�ำเป็นต้องเป็นนักเรียนเก่าฯ หรือไม่
ชัยอนันต์ฯ ถ้าเป็นก็ดี ถ้าไม่เป็นก็ต้อง
เคยอยู่ในโรงเรียนประเภทนี้มาก่อน ใน ต่างประเทศก็ได้ ตอนที่เป็นผู้บังคับการ ยังเคยคิดว่าอยากจะเอาฝรั่งมาเป็น Head Master ถึงได้เอา Hossick มา แต่ตอนนั้น Hoosick แก่ไปแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ ก็ น่าสนใจเหมือนกัน โรงเรียนจะก้าวกระโดด ไปมาก ผูบ้ งั คับการก็จะได้มาดูเรือ่ งบริหาร คนจะเป็นผูบ้ งั คับการก็ไม่จำ� เป็นต้องมี ดร. น�ำหน้า แต่เดีย๋ วนี้ กระทรวงศึกษาธิการเขา บังคับให้จบทางครุศาสตร์ ซึง่ ท�ำให้ตวั เลือก ยิ่งแคบมากขึ้น
อนุ ม านวสาร ตั ว เลื อ กคนที่ จ ะมาเป็ น
ผู้บังคับการหายากหรือไม่ครับ ชัยอนันต์ฯ เราก็พยายามท�ำให้งา่ ย เพราะ รู ้ ว ่ า ไม่ มี ใ ครอยากจะเป็ น เราไม่ อ ยาก ให้ ว ชิ ร าวุ ธ ฯ เป็ น เหมื อ นโรงเรี ย น ทั่ ว ไป เราเลยต้ อ งมาสร้ า งชื่ อ เสี ย งให้ ดั ง ขึ้ น เพื่ อ ที่ จ ะท� ำ ให้ ก ารที่ จ ะมาเป็ น ผู้บังคับการ เป็นสิ่งที่คนอยากจะมาท� ำ มาอยู่ในโรงเรียน นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) อาทิตย์ ประสาทกุล อภิ พ งศ์ พงศ์ เ สาวภาคย์ อารยวุ ฒิ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รุน่ ๗๐) กิตติเดช ฉัน ทังกูล (รุน่ ๗๓) ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง สถาพร อยูเ่ ย็น (รุน่ ๗๖) ธนกร จ๋วงพานิช สงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗) ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ (รุ่น ๗๙) สัมภาษณ์ วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๗๙) ถ่ายภาพ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 93
94
คอลัมน์พิเศษ
โอวาทจากอดีตผู้บังคับการ
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช มอบแด่ เหล่านักเรียนเก่าฯ ครู บุคลากร ผู้ปกครอง ณ งานแสดงกตัญญุตาจิต วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
“รื่นเริงกัน ณ วัน ปิ๋ง ปิ๋ง” ก่อนอื่น ก็ขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่มาร่วมจัดงานวันนี้ให้กับผม ตอนผมเข้ามาโรงเรียนใหม่ๆ ก็ได้พบว่า มีหลายอย่างที่จะต้องท�ำให้โรงเรียนอีก มาก หลายอย่างที่โรงเรียนควรจะต้องมี แต่ก็ยังไม่มี จ�ำได้ว่าตอนเข้ามาเป็นผู้บังคับการใหม่ๆ ในช่วง ๓ ปีแรก ท�ำงานจนดึกทุกวัน เดินกลับเรือนแบบโซเซ เป็นช่วงที่เหนื่อยมากเพราะต้องท�ำทุกอย่างเอง พอช่วงหลังได้ หลายคนเข้ามาช่วยก็เบาแรงขึ้นแยะ เป้าหมายการพัฒนาโรงเรียนนั้น ต้องพัฒนาให้เด็ก มีความสุขกับการอยู่โรงเรียนและใช้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ อย่างเห็นนักเรียน เรียนกิจกรรมลูกเสือในตอนบ่าย กลางสนามบาสแดดร้อนๆ แต่งชุดลูกเสือ... มันไม่สนุกเลย ก็เลยคิดว่า ถ้าเกิดมี Duke of Edinburg Award มานี้ มันก็คงจะมีอะไรสนุกสนาน มากขึ้นกว่านี้ ก็เลยไปซื้อที่ดินราคาถูกก็ของนักเรียนเก่าฯ เหมือนกัน เพราะฉะนั้นระยะ หนึ่ง ใครผ่านมัธยม ๑ มา ก็จะได้ไปเรียนรู้ท�ำกิจกรรมต่างๆ ที่นั่น ช่วงเวลานั้น เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่ค่อยจะมีคนพูดถึงกันมากเท่าไหร่ เราก็เป็น โรงเรียนแรกๆ ที่ท�ำเรื่องนี้อย่างจริงจัง มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 95
เพราะฉะนั้น การที่มาอยู่โรงเรียน นี้ ผมก็คิดว่าโรงเรียนเรามีทุกอย่าง ทุกวัน นี้ผ่านไป มองมาจากข้างนอก มองเข้ามา ก็จะเห็นว่าโรงเรียนเราสวยงามที่สุด ไม่มี ที่ไหนเหมือน แม้แต่ในต่างประเทศเอง เพราะฉะนั้น ก็ถือว่าทุกคนโชคดีที่ได้มา เรียนในวชิราวุธฯ แต่ว่า สิ่งที่เราต้องใส่เข้าไปก็คือว่า ท�ำอย่างไรถึงจะให้คุณภาพการเรียนดีขึ้น แล้วก็ท�ำอย่างไร ถึงจะให้นักเรียนของเรา มีหูตากว้างขวาง ได้รู้จักกับเพศตรงข้าม เพราะส่วนมากอาจจะหมกมุ่นอยู่ในเพศ เดียวกันค่อนข้างจะมาก ตอนผมเข้ามา เป็นผู้บังคับการช่วงแรกๆ รู้สึก เอ... นี่มันมากกว่าสมัยที่ผมเป็น นักเรียนอยู่แยะเลย อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า พบว่า นัก เรียนวชิราวุธฯ เมื่อจบไปแล้วมีครอบครัว แล้วเนี่ย มักจะ... เอาแต่ใจตัวเอง พอ แต่งงานไปก็ไม่คอ่ ยจะแยแสภรรยาเท่าไหร่ ฉะนัน้ ก็เลยคิดว่า ถ้าเด็กเราได้รจู้ กั กับสุภาพสตรีบ้างเสียตั้งแต่ตอนยังเป็น นักเรียน ก็คงจะเป็นประโยชน์ เรือ่ งมีกจิ กรรม กับนักเรียนหญิง ผมก็เลยพยายามท�ำ แล้วก็โดยส่วนใหญ่แล้ว นักเรียนก็ ไม่ได้เหลือขอเท่าไหร่ ที่เหลือขอมากที่สุด ก็คงจะเป็น “หัวเติบ” ( ชินพงศ์ โสภณมณี รุ่น ๖๙) ในสมัยนั้นรู้สึกจะซ่าส์มาก แต่ รวมๆ แล้วก็ยังนับว่ายังมีความประพฤติ
96
ดี ไม่ได้ออกนอกลู่นอกรอยมากจนเกินไป คือมองดูนักเรียนทุกๆ คนแล้ว ก็ คิดว่าถ้าให้เขาได้รับโอกาสมากที่สุด เท่า ที่จะมากได้แล้ว หลังจากที่พวกเขาจบไป แล้ว โดยทีเ่ ขาไม่รตู้ วั เมือ่ จบออกไปแล้วซัก วันหนึง่ สิง่ ทีเ่ ขาได้รบั ติดตัวไปจากโรงเรียน ก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ในเรื่องของ การท�ำงาน เพราะว่ า โรงเรี ย นเราอยู ่ ร ่ ว มกั น แล้วก็มีความรู้สึก มีความสัมพันธ์กันดี ฉะนั้นพอเวลาออกไปท�ำงานข้างนอก เรา ก็จะรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา สิ่งเหล่านี้ เราก็มีดีอยู่ในตัวแล้ว มีอยู่อย่างเดียว ขอให้เราได้เข้า มหาวิ ท ยาลั ย แล้ ว ก็ จ บมหาวิ ท ยาลั ย เท่านั้นก็เป็นพอ จากนั้นพวกเราก็จะมี ความก้าวหน้า แล้วก็สามารถทีจ่ ะเป็นผูน้ �ำ ไปเป็นหัวหน้าคนในองค์กรได้ ในระหว่ า งที่ ผ มเป็ น ผู ้ บั ง คั บ การ อยู ่ ๑๑ ปี ใ นโรงเรี ย นนี้ ก็ ไ ด้ เ ห็ น การ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีของโรงเรียน ใน โรงเรียนเรามีครูที่ดี มีการเปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีมากมาย มีนักเรียนเก่าฯ ที่เอา ใจใส่ เข้ามาช่วยงานผมมากทีเดียว ทั้งที่ เป็นรุ่นพี่ รุ่นปู่ก็มี แล้วก็รุ่นน้อง ก็ได้เข้ามา ช่วยโรงเรียนกัน ก็อยากจะฝากไว้ว่า ต่อไปเมื่อมอง ไปข้างหน้า เราก็มีความเป็นห่วงอยู่ว่า โรงเรียนเราจะหาตัวคนที่จะมาท�ำหน้าที่
เป็นผูก้ ำ� กับคณะ แล้วก็ผบู้ งั คับการค่อนข้าง ยาก ยิง่ ถ้าผูก้ ำ� กับคณะชุดนีเ้ กษียณไปแล้ว หลั ง จากนั้ น ก็ ค งจะต้ อ งเป็ น ภารกิ จ ของ พวกเรา ที่จะต้องคิดอย่างจริงๆ จังๆ ว่า ถ้าอายุสัก ๔๐ กว่าๆ ๕๐ แล้ว ก็ควรคิด จะมาช่วยโรงเรียนบ้าง ขณะที่ ผ มเป็ น ผู ้ บั ง คั บ การอยู ่ ใ น โรงเรียนก็จะพบว่ามีข่าวคราว มีหนังสือ นิ ต ยสาร อะไรต่ า งๆ ลงเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ โรงเรียนเรามากมายทีเดียว โดยที่เราไม่ ต้องไปเสียสตางค์ ท�ำประชาสัมพันธ์อะไร นั่นก็หมายถึงโรงเรียนเรามีชื่อเสียงมาก อันนี้ความในใจอย่างหนึ่ง ก็คือว่า ต้องการที่จะให้นักเรียนเก่าฯ มองว่าการ ที่เข้ามาอยู่ในโรงเรียนมันเป็นเกียรติ แล้ว ก็ว่ามันสามารถเอาเป็นอาชีพได้อีกอย่าง หนึง่ นะ โดยทีอ่ าชีพนีก้ ไ็ ปหาประสบการณ์ ที่อื่นไม่ได้ จะต้องอาศัยพื้นฐานจากการที่ เราเป็นนักเรียนประจ�ำมาก่อน อันนีก้ อ็ ยากฝากไว้วา่ นักเรียนเก่าฯ คนไหนอายุ ๔๐ กว่าๆ ๕๐ แล้วก็ ให้เตรียม ตัวไว้ว่า ควรจะเข้ามาเป็นผู้ก�ำกับคณะ ได้ แ ล้ ว เมื่ อ สั ก ครู ่ ไ ด้ คุ ย กั บ ดร.สาโรจน์ (ผู้บังคับการคนปัจจุบัน) ก็บอกว่ามีคนมา สมัครเป็นผู้ก�ำกับคณะเหมือนกัน แต่หา ได้ยาก แต่กย็ งั ดีใจทีไ่ ด้ยนิ ว่ามีนกั เรียนเก่าฯ คนหนึง่ หัวหน้าวงปีส่ ก๊อตเก่า แล้วก็มาหัด ปี่สก๊อตให้นักเรียน แล้วตอนนี้ก็ก�ำลังจะ
เข้าไปเป็นผู้ช่วยผู้ก�ำกับคณะแล้ว ฉะนั้น อันนี้ก็เป็นการดี ก็อยาก จะให้เข้ามาอยู่กันหลายๆ คน แล้วก็โดย เฉพาะอย่างยิง่ ก็จะได้เตรียมตัวทีจ่ ะมาเป็น ผู้บังคับการได้ เพราะว่ า เป็ น งานที่ เราคิ ด ว่ า เรา กลับมารับใช้โรงเรียน แล้วก็ที่นี่มีอะไรให้ ท�ำมาก งบประมาณก็มีอยู่อย่างค่อนข้าง จะไม่จ�ำกัด ตอนสมัยผมเป็นผู้บังคับการ ของบท�ำอะไรก็ได้รับ เพราะฉะนั้น การ ที่ เรามี กิ จ กรรมวั น เสาร์ มี อ ะไรต่ อ อะไร ในสมั ย ที่ ผ มอยู ่ เ ท่ า กั บ ว่ า เป็ น ก� ำ ไรของ พวกเรา ที่ว่าเงินเหล่านี้ที่เราเอามาจาก พระคลังข้างที่ ก็ได้น�ำประโยชน์ไปสู่ตัว นักเรียน ฉะนั้น ถ้าใครตักตวงได้มากแค่ ไหนก็ย่อมจะได้ดีแค่นั้น โรงเรียนเราที่ไม่ได้ท�ำเป็น โรงเรียน นานาชาติ ก็เพราะว่าเราไม่ต้องการจะ เสียสตางค์แยะ แต่เราก็ท�ำเป็นกลุ่มภาษา อังกฤษ Fast Track แล้วโรงเรียนเราก็มี ความก้าวหน้าในเรื่องภาษาอังกฤษเป็น พิเศษ เพราะว่าเรามีการทดสอบนักเรียน ก่ อ นแล้ ว ก็ แ บ่ ง กลุ ่ ม ตามความรู ้ ภ าษา อังกฤษ เพราะว่าในบางครัง้ บางคนอยู่ ม.๖ แต่ความรูภ้ าษาอังกฤษเท่ากับเด็ก ป.๔ ก็มี ฉะนั้น ถ้าเกิดเราแบ่งกลุ่มได้ มันก็ จะดี คนที่เรียนเก่งแล้วก็จะได้ไปท�ำอะไร ที่เขามีความสนุก มีความท้าทาย ส่วนคน ทีเ่ รียนอ่อนหน่อย ก็สามารถทีจ่ ะไปอยูก่ บั มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 97
กลุ่มที่ระดับใกล้เคียงกัน แล้วครูก็สามารถ ที่จะใช้เวลาดูแลให้ได้ ด้วยชั้นเรียนเรามี ขนาดเล็ก ครูก็สามารถที่จะเอาใจใส่ได้ อย่างทั่วถึง เวลานี้ ถึงแม้จะไม่ค่อยได้พบกัน แต่ก็ยังถามไถ่กันอยู่เรื่อย ว่าคนไหนไป ท� ำ อะไร ก็ ดี ใ จที่ ห ลายคนก็ แ ต่ ง งานมี ครอบครัวไปแล้ว ดูๆ ไปพวกเราก็ดูแล้ว รู้จักหาภรรยาที่ดี เห็นหลายคนพามาแล้ว ก็ เห็นว่า เออน่าจะเอาคนของเราอยู่ เรือ่ งนีก้ เ็ ป็นเรือ่ งส�ำคัญ ว่าอยากจะ ฝากพวกเราไว้วา่ การเลือกภรรยาเป็นเรือ่ ง ส�ำคัญมากในชีวิตของเรา เพราะฉะนั้น เราโตไปแล้วชีวิตวัยเด็กเราอย่างหนึ่ง เรา อยู่กับเพื่อน แต่เมื่อเรามีครอบครัวแล้ว ครอบครั ว นั้ น จะเป็ น สิ่ ง ที่ เ ป็ น ผู ้ ใ ห้ ก าร สนับสนุนเรา ทีส่ ามารถจะท�ำให้เราท�ำงาน ได้อย่างสบายใจ เหมือนอย่างคุณหน่า (ภรรยา) นี่ก็ ดูแลผมดีมาก ในระหว่างที่อยู่โรงเรียนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่มาวุ่นวายจุ้นจ้าน มากนัก ในบางครั้งเขาเห็นอะไรร�ำคาญๆ ก็บอกผมว่า ให้ไปดูหน่อยสิ เด็กมันอย่าง นู้นอย่างนี้ ซึ่งตอนนั้น สิ่งที่ผมไม่ค่อยชอบ ก็ คือว่าเด็กถอดเสื้อแล้วก็ออกมาวิ่งเล่นกัน อันนี้ผมก็ไปดุเรื่อยแต่บางทีคุณหน่าเห็น เด็กท�ำอะไรที่ผมมองว่า มันปล่อยๆ ไป ก็ได้นะ ผมก็บอกว่า ถ้าหน่าอยากได้สมญา
98
นามนะ ก็ให้ไปดุเด็กสิ อีกหน่อยเด็กมันจะ ตั้งชื่อให้เอง จะเรียกว่าอะไรก็ตามแต่ อันนี้ผมก็อยากจะบอกกับพวกเรา ว่า ถ้าจะหาเมียก็หาเมียให้ดีนะ เขาจะได้ เอาใจใส่เรา สนับสนุนเรา ก็ดีใจ ที่เห็นทุกคนเรียนได้ดีแล้วก็ มีหน้าที่การงานดี แล้วก็ขอบใจมากที่ได้มี การตัง้ กองทุนอะไรไว้ เพราะว่าเราจะได้มา มีความสัมพันธ์กบั นักเรียน โรงเรียนจะดีได้ ก็อยู่ที่นักเรียน อยู่ที่ตัวนักเรียน นักเรียนวชิราวุธฯ เองต้องการอะไร อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้า เราควรจะเป็น หน่วยในสังคมทีย่ งั มีความเชื่อมั่นและก็จงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์อย่างจริงจัง ถ้าใครดูตาม เว็บไซต์ติดตามเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว เรา ก็จะพบว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่จงรักภักดีต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น นักเรียนเก่าฯ ทัง้ หลาย ก็ควรจะอยู่ ในวิสัยของเราที่จะท�ำการปกป้องสถาบัน พระมหากษัตริย์ ตอนที่เป็นผู้บังคับการนี่ นักเรียน จะสังเกตว่า ผมไม่เคยพูดเรื่องการเมือง กับนักเรียนเลย ไม่ว่าบนหอประชุมหรือ ว่าที่ไหน แต่เมื่อสถาบันถูกท้าทาย ถูก วิจารณ์จนถึงขนาดมีคนข้างนอก ซึ่งเป็น ภรรยาอดีตราชเลขาธิการผู้ซึ่งถึงแก่กรรม ไปแล้ว ถึงกับรวมกลุ่มกันแล้วเข้ามาหา ผมในโรงเรียน
เราก็อดไม่ได้ ที่จะต้องร่วมกับกลุ่ม นั้น ประชุมร่วมกันหลายหนที่ข้างบนห้อง ชั้นสองของสมาคมนักเรียนเก่าฯ ส�ำหรับ วางแผนท�ำการเคลื่อนไหวอะไรต่างๆ ก็ ปรากฏว่า มีประทัดปาเข้ามาบ้าง มีการโทร มาด่าบ้าง มีการอะไรต่อมิอะไรบ้าง อันนีก้ ็ เป็นเหตุให้ กรรมการโรงเรียนบางท่าน เกิด ความไม่พอใจเหมือนกัน หาว่าผูบ้ งั คับการ น�ำความเดือดร้อนมาให้โรงเรียน แต่เราก็คิดว่าเราก็ยินดี เพราะว่า ถ้าเราเป็นลูกในหลวงอย่างที่ร้องเพลงกัน อยู่แล้ว เป็นมหาดเล็กเด็กในหลวงแล้ว ขนาดคนอื่น คนข้างนอกเขายังต่อสู้ท�ำ
อะไรต่างๆ แล้วถ้าเราจะไม่ท�ำอะไรเลย มั น ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า เป็ น การอกตั ญ ญู เหมือนกัน เพราะฉะนั้น วันนี้ก็ดีใจ ที่เราเรียก ว่าวันกตัญญุตาจิต เพราะว่าจริงๆ แล้ว ไม่ใช่แค่กตัญญูต่อผู้บังคับการ แต่กตัญญู ต่ อ โรงเรี ย นด้ ว ย แล้ ว ก็ ต ้ อ งกตั ญ ญู ต ่ อ สถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย เพราะว่าที่ พวกเราเรียนมา ๑๐ ปี ๙ ปี ๘ ปี โรงเรียน เราได้รับพระราชทานที่ดิน ได้รายได้มา ก็มาให้กับพวกเรา จะว่าไปแล้วถ้าเป็น โรงเรียนทีม่ กี จิ กรรมเต็มรูปแบบ มีเครือ่ งมือ เต็มรูปแบบ เหมือนอย่างที่โรงเรียนเรามี มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 99
อยู่แล้ว ค่าเล่าเรียนมันก็น่าจะตกปีละ ๕ แสนบาทต่อคน อันนี้ผมเคยคิดต้นทุนการ ศึกษา แต่วา่ พวกเราก็เสียกันน้อยมาก สมัย ก่อนก็เสียกันคนละ ๗ หมื่นต่อปีเท่านั้น ตอนหลังก็เพิ่มขึ้นมาหน่อย พอเราเริ่มเงิน จะร่อยหรอไป เราก็เลยเก็บค่าเรียนเพิม่ ขึน้ ก็มีคนวิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควร ส่ ว นเรื่ อ งการเก็ บ ค่ า ธรรมเนี ย ม แรกเข้าแสนหนึง่ นี่ อันนีก้ เ็ ป็นการแก้ปญ ั หา ที่มีอยู่อย่างหนึ่ง ตอนที่ผมเข้ามาเป็นผู้ บังคับการใหม่ๆ ก็คือ การที่มีกลุ่มคนบาง กลุม่ บางทีเอารถตูไ้ ปรับคนเข้ามาสอบเลย แล้วก็ไปเรียกเก็บเงินจ�ำนวนมาก ผมได้รับ การร้องเรียนมามากมาย ไปเรียกเก็บเขา ๒ แสน ๓ แสน ต่างๆ นาๆ ผมเองเคยถูกพระมาพบที่โรงเรียน แล้วก็มาขอฝากเด็กด้วย บอกว่าเป็นหลาน แต่พอแม่เด็กมาสัมภาษณ์ แม่เด็กบอกว่า พระเรียกไปแล้ว ๓ แสน พระรูปนีช้ อื่ หลวง พ่ออินเตอร์ ใครพบก็ระวังๆ นะ เพราะแก พูดคล่องมาก มีนามบัตรของเพื่อนผม ซึ่ง เป็นท่านผูห้ ญิงให้ไป ผมก็โทรไปบอกเพือ่ น ผม บอกนี่เธอถูกพระหลอกแล้วนะ ฉะนั้ น สิ่ ง เหล่ า นี้ มี ม ากมายเรา ไม่รู้จะแก้ยังไง ก็อย่างว่าผมก็ชอบเรื่อง Creative Thinking เราก็คิดว่า ถ้าอย่างนั้น ก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าดีกว่า คน จะได้หายสงสัยว่า ถ้าเข้าได้แล้วถึงค่อย มาเสีย ทีนี้ ถ้ามีใครมาเรียกว่าต้องเสียเท่านี้
100
ก่อนเข้าก็จะได้ไม่ต้องไปจ่ายเขา เพราะ ฉะนั้น อันนี้ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาของผม สิ่งเหล่านี้ก็เอามาเล่าให้ฟัง แล้ว ก็อยากจะบอกไว้ว่า ๑๑ ปีผ่านไปก็แป๊บ เดียว เป็นผูบ้ งั คับการอยูโ่ รงเรียนนี้ ก็ถอื ว่า เป็นช่วงที่ดีที่สุดของชีวิตการท�ำงานของ ผม เพราะว่าเราได้ท�ำให้กับสิ่งที่เราได้รับ มา นอกจากเป็นการตอบแทนแล้ว การ ที่ได้ท�ำงานกับเด็ก ก็ได้เห็นพัฒนาการ การเติบโตของเด็กแต่ละคนๆ ตั้งแต่ยัง เล็กๆ อยู่ แล้ ว สิ่ ง ที่ ค นอื่ น อาจจะวิ พ ากษ์ วิจารณ์ผมแยะ ก็คอื ว่า เด็กนักเรียนไม่คอ่ ยมี ระเบียบวินยั ซึง่ ผมก็ยำ�้ อยูเ่ สมอว่า คนทีจ่ ะ ต้องมาอยู่โรงเรียนประจ�ำ มันมีความทุกข์ อยูแ่ ล้ว เพราะฉะนัน้ การอยูโ่ รงเรียนประจ�ำ ควรจะมีความสุข เพราะอย่างนัน้ ก็ควรจะ ปล่อยให้นักเรียนมีอิสระ ถึงจะมีกรอบ แต่ ก็ควรจะให้เขามีอิสระ ที่ส�ำคัญคือให้เด็ก เขาได้มีทางเลือกหลายๆ ทาง ไม่ดนตรี กีฬา หรือแม้แต่การแสดงละคร แม้แต่การ ไปถ่ายรูป แม้แต่การท�ำหนังสั้น สิ่งเหล่านี้ จะท�ำให้เด็กนักเรียนที่ อยู่ในโรงเรียนเรามีความสุข แล้วถ้าใคร เหมือนกับอาทิตย์ (อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑) ที่บอกอยู่โรงเรียนแล้วมีความสุข ก็ถือว่าประสบความส�ำเร็จ
ส่วนระเบียบวินัยนี่ มันปลูกฝังกัน ได้ดว้ ยการท�ำตัวเอง (ผูบ้ ริหารโรงเรียน) ให้ เป็นแบบอย่าง เพราะฉะนัน้ ก็ขอฝากโรงเรียนไว้ให้ พวกเราได้มาช่วยกันดูแล ใครมีอะไรพอจะ มาช่วยก็ขอให้มาช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกกลุ ่ ม ที่ ท� ำ อนุ ม านวสารนี่ นั บ ว่ า ได้ ช่วยโรงเรียนมากทีเดียว รุ่นผมนี่จบออก ไป กว่าจะได้กลับมาช่วยโรงเรียนนี่ นาน มากกว่า ๒๐ ปีถงึ จะได้กลับมาช่วยโรงเรียน แต่พวกเราได้ช่วยได้สื่ออะไรต่ออะไรไป ก็ ข อขอบคุ ณ ทุ ก คนที่ จั ด งานใน วันนี้ แล้วก็ขอขอบคุณที่ได้มาพูดอะไรดีๆ เกี่ยวกับผม จริงๆ ผมจ�ำได้ว่า ผมตบเด็กนี่ ๓ ครั้งนะ ไอ้ครั้งบนหอประชุมนี่ก็พอจ�ำได้ นะ แต่บางครัง้ ก็ใช้วธิ ดี ดี หูกห็ ลายครัง้ แต่ที่ ตบไปแล้วก็เลิกตบ เพราะว่าบางทีเด็ก เขานั่ ง อยู ่ บ นโต๊ ะ นี่ ไ ปตบเขามื อ เราก็ ไ ป กระแทกโต๊ะก็เจ็บมือกลับมา หลังจากนั้น ก็ไม่อยากจะไปตบใครอีก แต่พบเพื่อนรุ่นเดียวกันทีไร ก็โดน ถามทุกทีว่า เฮ้ย ! มึงตบเด็กบ้างยังวะ ถ้าเราไม่เคยตบเด็กเลยนี่ เดี๋ยวก็คิดว่า เอ ! คงจะไม่ครบเครื่องมั๊ง กับการเป็น ผู ้ บั ง คั บ การ ฉะนั้ น ก็ เ ลยตบเด็ ก ไปคน สองคน
ก็ขอโทษ สงบการณ์ (สงบการณ์ มุง้ ทอง รุน่ ๗๕) ด้วยนะ ทีก่ ำ� ลังกินก๋วยเตีย๋ ว อยู ่ แล้ ว ผมก็ ไ ล่ ใ ห้ ขึ้ น ไปนอน จริ ง ๆ แล้วก็ยังดี แต่เอ.. ผมว่าเขาคงแอบกลับลง มากินต่ออีกทีหลังตอนเราไปแล้ว ผิดกับเพื่อนผมบางคน ซึ่งมันงก มากนะ ไม่ได้นงั่ อยูใ่ นทีน่ ี้ ก็ซอื้ ก๋วยเตีย๋ วมา ๒ ห่อ ด้วยความตะกละหรืออะไรก็ตามแต่ ก็แกะห่อที่สองรอไว้ด้วย เพื่อให้มันหาย ร้อนลงหน่อย ในระหว่ า งที่ กิ น ก็ มี ห มาตั ว หนึ่ ง มันก็ปีนขึ้นมา มาแย่งก๋วยเตี๋ยวห่อที่เขา ก�ำลังกินอยู่ เขาก็วิ่งไปไล่หมา พอกลับมา ปรากฏว่าหมาอีกตัวมากินห่อที่สองที่แกะ รอไว้ เพราะฉะนั้น ใครที่หนีออกไป กิน อะไรบ้างที่ข้างนอก ผมก็เลยไม่ค่อยอยาก จะว่าเท่าไหร่ จะว่าไปการหนีโรงเรียนแล้ว ไล่ออกมันดุร้ายเกินไปนะ เพราะว่าการ หนีโรงเรียนไปกินอะไรนี่ มันเป็นเรื่องของ ว่าอาหารโรงเรียนอาจจะไม่ดี เพราะกินมา นานๆ แล้วเบื่อก็ได้ จ�ำได้ว่า สมัยเป็นผู้บังคับการ มีอยู่ หนหนึ่งไม่รู้ใครเคยกินรึป่าว มีแกงเผ็ด เป็ดย่างด้วย ซึ่งผมคิดว่า โอ้โหย นี่มันมาก เกินไปแล้ว ปรากฏว่าค่าอาหารในเทอม นั้นน่ะ ขาดทุนไปประมาณล้านกว่าบาท มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 101
โอ้โห ! เพราะว่ามีการซื้อของดีๆ มากิน ซึง่ สิง่ เหล่านีโ้ รงเรียนประจ�ำ มันควร จะเดินสายกลาง มันควรจะให้กินอาหาร พอใช้ได้ แต่ว่าไม่ใช่กินอาหารที่มันจะต้อง ดีเหมือนกับเขาไปกินข้างนอก เพราะฉะนั้ น ในเรื่ อ งการหนี โรงเรียนนี้ก็มีจริงๆ แล้วก็เห็นหลายคน แต่ก็แกล้งท�ำเป็นไม่เห็น บางทีถ้าเขาเห็น เรา เขาก็อาจจะวิ่งหนี ยิ่งฝนตกถนนลื่นนี่ รถอาจจะชนได้ยิ่งแล้วใหญ่ ผมก็เลยท�ำ เป็นไม่รู้ไม่ชี้ไป แล้ ว ก็ ไ ม่ อ ยากจะเดิ น ตรวจนะ เพราะว่าถ้ามาอยู่โรงเรียนแล้วเดินตรวจ
ทุกๆ วัน เช้ามาก็เจอแอบอยู่ข้างตึกขาว กลางวันก็เจอเดินไปห้องเรียน บ่ายก็เจอ เย็นก็เจอ ดึกก็เจอ อันนี้ก็เท่ากับว่า ที่นี่ ไม่ใช่โรงเรียนประจ�ำแล้ว มันเหมือนเป็น สถานกักกันเด็กมากกว่า ก็เลยไม่อยากให้ โรงเรียนเราเป็นแนวคิดแบบนั้น อยากให้ โรงเรียนเป็นโรงเรียนเปิดที่แท้จริง เพราะฉะนั้น ก็ดีใจว่าอย่างน้อย ๑๑ ปีที่เป็นผู้บังคับการมาอยู่โรงเรียนนี้ ก็ ท�ำให้เด็กๆ มีความสุขได้ ทุกคนออกไป ก็สุขภาพจิตค่อนข้างดี บางครั้งอาจจะดี เกินไปด้วย ก็ขอขอบคุณอีกครัง้ นะ ทีจ่ ดั งานใน วันนี้ ขอขอบคุณครับ
ตารางรายรับรายจ่ายของงานผู้การปิ๋ง
หน่วย : บาท 35,150.00
รายได้ (จากค่าเข้างาน และค่าเสื้อ) รายจ่าย - ค่าอาหาร และเครื่องดื่ม 11,840.00 - ค่าสถานที่ และการจัดการ 13,595.00 - ค่าเสื้อ 24,000.00 รวมรายจ่าย 49,435.00 ก�ำไร (ขาดทุน) สุทธิ (14,285.00) หมายเหตุ : ได้รับบริจาคเพื่อสมทบกองทุนจ�ำนวน 2,000.00
102
บ้านสีฟ้า เรื่องเล่าจากคณะผู้บังคับการ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ คอลัมน์บ้านสีฟ้า กระผม ฤดู นักเรียนเก่า วชิราวุธฯ รุ่น ๗๐ จะมาเป็นผู้ถ่ายทอด ประสบการณ์สนุกๆ ในรัว้ วชิราวุธวิทยาลัย ของเราครับ ขอฝากเนื้อฝากตัวนักเขียน หน้าใหม่ด้วยครับ พูดถึงเรื่องผีๆ ในโรงเรียน ผมเชื่อ ว่านักเรียนเก่าฯ และนักเรียนปัจจุบัน คง ต้องได้เคยฟังต�ำนานผีต่างๆ ในโรงเรียน ของเรา ด้วยบรรยากาศทีน่ า่ สะพรึงกลัวใน ยามค�ำ่ คืน หากนักเรียนคนใดมีเหตุจำ� เป็น ต้องไปต่างคณะในยามวิกาลนี้ คงต้องชวน
เพื่อนรักไปด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน นี่ก็เป็น ช่วงวัดใจสหายรักว่าจะยินยอมพร้อมใจ ที่จะเดินไปด้วยกันหรือไม่ หรือไม่ก็ต้อง เคยโดนรุ่นพี่กระท�ำการหลอกผีรุ่นน้องใน ยามค�่ำคืนจนท�ำให้เกิดความกลัวซึ่งน�ำมา สู่เสียงหัวเราะอันสนุกสนานของเหล่าพี่ๆ และเสียงหัวเราะของผู้ที่ถูกหลอกในเวลา ต่อมา นี่เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์หลอกผี รุ่นน้องของผมที่อยากจะถ่ายทอดให้ทุกๆ คนฟังครับ เมื่อครั้งอยู่ ม.ศ. ๓ ผมเป็นเด็กเวร ของพี่ๆ ม.๘ นักกิจกรรม (ตกปลาศาลา มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 103
กลางน�้ำ) ในยามค�่ำคืน ผมมีหน้าที่เป็น ลูกมือพี่ๆ โดยมีหน้าที่เก็บข้าวสวยหลัง จากนักเรียนในคณะ ผบก. ทานกันเสร็จ เรียบร้อย ทันทีที่พี่หัวหน้าท� ำการเคาะ โต๊ะให้สัญญาณเพื่อให้นักเรียนในคณะได้ รับรู้ว่า เฮ้ย ! หมดเวลากินแล้วนะ ผมก็ ออกปฎิบตั กิ ารรวบรวมข้าวทีเ่ หลืออยูท่ นั ที เพื่อที่จะน�ำไปใช้เป็นอาหาร (ติดเบ็ด) ของ เหล่าปลาสวายในสระน�้ำหลังตึกขาว เวลาห้าทุ่มกว่าๆ ในทุกๆ คืนที่ เหล่าพีเ่ วรของผมนึกสนุก ผมก็ตอ้ งมีหน้าที่ เป็นลูกมือ หอบอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้ใน การตกปลาเพือ่ มุง่ หน้าไปยังศาลากลางน�ำ้ รุ่นพี่จะใช้เวลาประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง ในการตกปลาแต่ละครั้ง ซึ่งในทุกครั้งรุ่นพี่ แต่ละคนก็หมายมัน่ ปัน้ มือว่าคืนนีจ้ ะมีปลา ติดเบ็ดอย่างน้อยสองสามตัว ผมก็ได้แต่ ตื่นเต้นตามไปด้วย เพราะอยากเห็นเหลือ เกินว่า เวลาปลาสวายตัวเขือ่ งสูก้ บั เอ็นและ คันเบ็ดฝรัง่ ในมือรุน่ พีน่ นั้ จะเป็นอย่างไร ได้ แต่จนิ ตนาการตามว่า คงได้เห็นคนกับปลา เย่อกัน จนมีเสียงน�้ำในสระหลังตึกขาวดัง กังวานในความเงียบสงบของยามค�่ำคืน นี่คงจะเป็นเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นไม่น้อย น่าแปลกใจไม่น้อยที่ปลาสวายไม่ ค่อยจะกินข้าว (ติดเบ็ด) ซักเท่าไหร่ ไม่รู้ ว่าเป็นเพราะปลาสวายเหล่านัน้ รูท้ นั พีเ่ วร ของผมหรือไม่ ทุกๆ คืนทีเ่ ราไปตกปลานัน้ แทบจะไม่มปี ลาติดเบ็ดเลย สามสีค่ นื ถึงจะ
104
มีสักตัว ภาพอันน่าตื่นเต้นในจินตนาการ ของผมนั้นก็ค่อยๆ เลือนหายไป พร้อมๆ กับความคันเนื้อคันตัวเพราะยุงกัด กลับ กลายเป็นว่าเราท�ำบาป (อย่างที่ตั้งใจ) กัน ไม่ขึ้น แต่เราท�ำบุญอุทิศเลือดหวานๆ ใน ตัวให้กบั ฝูงยุงทีศ่ าลากลางน�้ำโดยไม่เต็มใจ มีอยูค่ นื หนึง่ หลังจากทีเ่ ราหมายใจ กันว่า เราจะต้องได้ปลาบ้าง แต่อนิจจา ปลาสักตัวก็ไม่ยอมกินเบ็ดเหมือนเช่นทุกๆ คืนที่ผ่านมา ท่ามกลางความเงียบสงัด เงียบเสียจนได้ยินเสียงยุงบินหึ่งๆ อยู่รอบ ตัว สายตาพวกเราทุกคนมองไปที่ทุ่นเพื่อ รอลุ้นว่าทุ่นจะจมเมื่อไหร่ เรามองกันแล้ว มองกันอีก ทุ่นก็ยังคงอยู่นิ่งไม่ขยับ เวลา ผ่านไปจนเกือบๆ ตีสอง รุ่นพี่คนหนึ่งนึก สนุก อยากหลอกผีรุ่นน้องในคณะ จีงสั่ง ให้ผมกลับคณะแล้วน�ำผ้าปูทนี่ อนสีขาวมา ด้วยหนึง่ ผืน ผมรีบกลับไปแล้วก็รบี กลับมา น�ำมาให้รนุ่ พี่ พอกลับมาถึงก็พบว่ามีเพือ่ น ผมอีกคนหนึ่ง ส้มวัว (จิตติพล มะอะอุ รุ่น ๗๑) ยืนรวมกลุ่มกับพี่เวรของผม จึงได้ใจ ความว่าส้มวัวจะมาเป็นผู้ช่วยผมในการ หลอกผีเด็ก หลังจากนั้นพี่ๆ ก็สั่งให้ผม ลงไปอยู่ในน�้ำพร้อมกับเอาผ้าปูเตียงผืน ขาว มาคลุมหัวและตัว ในความคิดของผม ตอนนัน้ กลับคิดว่า เวรกรรมดีแท้ แทนทีจ่ ะ ได้ยินเสียงปลาสวายดิ้นสู้เบ็ดจนน�้ำในบ่อ ดังสนั่นหวั่นไหว กลับกลายได้ยินเสียงน�้ำ ที่ดังเบาๆ จากการที่ผมต้องกระโดดลงไป
ดึกก็ดึก ยุงก็เยอะ เลอะก็เลอะ กลับไป ก็ต้องไปอาบน�้ำใหม่แทนที่จะได้เข้านอน เลย เวรแท้ๆ แต่ผมก็มีผู้ช่วยเช่นกันโดย มีส้มวัวนี่เองที่ลงไปอยู่ในน�้ำเป็นเพื่อนผม ส้มวัวท�ำหน้าที่ให้สัญญาณกับผมว่ามีเด็ก เดินมาถึงศาลากลางน�้ำแล้วหรือยัง เด็ก คนแรกถู ก ปลุ ก โดยรุ ่ น พี่ ที่ ท� ำ ที ท ่ า ว่ า ลื ม กุญแจไว้ที่ศาลากลางน�้ำ ปฐมิต ปฐพีสิน (ซัวเจ๋ง รุ่น ๗๒) ค่อยๆ เดินมาอย่างช้าๆ ด้วยท่าทางงัวเงียเพราะเพิ่งตื่นจากการ นอนหลับ ผมเองแอบดูอยูจ่ นกระทัง่ ซัวเจ๋ง เดิ น เข้ า มาใกล้ ผมก็ ต ้ อ งอยู ่ ภ ายใต้ ผ้าปูที่นอนขาว รุ่นพี่เองก็แอบๆ อยู่ไม่ให้ ซัวเจ๋งเห็น และส้มวัวก็สะกิดผมบอกว่า ให้ปฎิบัติการได้ ทันใดนั้นเอง ผมก็โผล่พุ่ง พรวดขึ้นมาจากสระน�้ำตรงศาลากลางน�้ำ คงเป็นเพราะความมืดและความตกใจ ท�ำ ให้ซัวเจ๋งกลัวสุดขีด ล้มลุกคลุกคลานอยู่ ตรงนัน้ สองมือประณมร้องขอความเมตตา จากผีผ้าปูเตียงอย่างผม แล้วก็สวดมนต์ เวอร์ชนั่ ฟังไม่ได้ศพั ท์ พร้อมกับพูดว่า “อย่า หลอกอย่าหลอนผมเลยครับ ผมกลัวแล้ว” สักพักรุ่นพี่ก็กลั้นหัวเราะไม่อยู่ หัวเราะกัน เสียงดังลัน่ ผมเห็นซัวเจ๋งกลัวมากๆ จึงเอา ผ้าออกแล้วเฉลยว่าเป็นผมเอง ไม่ใช่ผีสาง ที่ไหน ซัวเจ๋ง ใช้เวลาสักพักกว่าจะตั้งสติได้ เห็นแล้วก็สงสารน้อง เพราะมีอาการตกใจ กลัวสุดขีด ร้องไม่เป็นภาษา แต่อีกใจก็อด ข�ำไม่ได้ พอซัวเจ๋งรู้สึกตัวขึ้นมา ก็ท�ำหน้า
เลิ่กลั่ก ก่อนที่รุ่นพี่อนุญาตให้กลับไปคณะ เพือ่ เข้านอนได้ พีๆ่ ก็ได้บอกซัวเจ๋งให้ปลุก เพื่อนมาหนึ่งคน เพื่อบอกว่าพี่จะใช้ให้มา หยิบของที่ลืมไว้ที่ศาลากลางน�้ำ เขตต์ ณ พัทลุง (อีแอก รุ่น ๗๐) คือรายที่สองและเป็นรายสุดท้ายของคืน นี้ เมือ่ อีแอกเดินเข้ามาใกล้จดุ นัดพบ ส้มวัว ก็ส่งสัญญาณบอกผมเหมือนเช่นเคย ผม โผล่พรวดขึ้นมาจากสระน�้ำ ทันใดนั้นเอง อีแอกก็หันหลังวิ่งพร้อมตะโกนโหวกเหวก โวยวายเหมือนคนไร้สติ อีแอกกึ่งวิ่งกึ่ง กระโดดได้อย่างรวดเร็ว ปานกามนิตหนุ่ม เพียงแค่สามสี่ก้าว อีแอกก็สามารถน�ำพา รูปร่างเตีย้ ป้อมของตัวเองข้ามจากสะพาน หนึ่งไปสู่อีกสะพานหนึ่งได้ พี่ๆ ก็หัวเราะ ชอบใจอีกเช่นเคย คืนนั้นกว่าผมจะได้อาบน�้ำและเข้า นอนก็เป็นเวลาเกือบๆ ตีสาม ระหว่างที่ จะรอให้ตวั เองหลับนัน้ ก็อดคิดไม่ได้วา่ ถ้า ต้องไปเป็นลูกมือตกปลาอีกในวันต่อๆ ไป จะหาข้ออ้างอย่างไรดีที่จะไม่ต้องไปและ กลับมาดึกๆ เช่นนี้อีก ระหว่างคิดก็ผล็อย หลับไป ตื่นขึ้นมาก็ได้แต่หวังว่าทุกๆ คืนที่ ก�ำลังจะมาถึง ผมจะชิง่ และเชิงอย่างไรดี ที่ จะได้ไม่ต้องลงน�้ำอีก ในเวลาที่เหล่าพี่เวร สุดที่รักของผม ไม่ประสบผลส�ำเร็จในการ เย่อปลาสวายสระหลังตึกขาว อารยวุฒิ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รุ่น ๗๐) มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 105
ศัพท์โอวี เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ
หัวโบ้
(คำ�นาม)
อีกหนึ่งค�ำศัพท์ยอดฮิตติดเทรนด์ ของเหล่านักเรียนวชิราวุธฯ ช่วงสมัยรุ่น ๕๐ ต้นๆ ถึง ๖๐ ปลายๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นศัพท์ค�ำนี้... “หัวโบ้” “โบ้” เป็นศัพท์แสลงของเหล่านักเรียนวชิราวุธฯ ประเภทค�ำคุณศัพท์ (Adjective) แปลว่า “ใหญ่” (BIG) เมื่อมาประกอบกับค�ำว่า “หัว” (HEAD) ด้วยแล้ว จึงได้ความหมาย ว่า... หัว ที่มัน ใหญ่ๆ ค�ำว่า “หัวโบ้” นี้ คือค�ำที่ใช้เรียกแทน ขนมปังชนิดหนึ่งในโรงเรียนวชิราวุธฯ บัดทว่า... รากเหง้าแห่งก�ำเนิดของศัพท์คำ� นี้นั้น แท้จริงแล้ว... มันผุดเริ่มมาจาก “ห้อง อาบน�้ำ” ของนักเรียนวชิราวุธฯ ก็ด้วย ห้องอาบน�้ำของนักเรียนวชิราวุธฯ มีกายภาพเป็นห้องอาบน�้ำรวมใหญ่ๆ ที่มีศักยภาพให้นักเรียนเข้ามาอาบน�ำ้ รวมกันอย่างพร้อมเพรียงได้เป็นจ�ำนวนมาก นี่จึง น�ำพามาซึ่งวัฒนธรรมวิถีแห่งการ... แก้ผ้าอาบน�้ำรวมกัน นั่นเอง
106
เป็นทีท่ ราบกันดีอยูแ่ ล้วว่า หนึง่ ในปรัชญาการอบรมสัง่ สอนนักเรียนของโรงเรียน ก็คอื การสอนให้นกั เรียนรูจ้ กั ปกครองดูแลกันเองซึง่ กันและกัน ทัง้ นี้ การทีจ่ ะปกครองดูแล กันเองได้ดนี นั้ เด็กๆ ทุกคนก็จะต้องเรียนรูท้ จี่ ะให้ “ความสนใจ” ซึง่ กันและกัน แล้วการที่ จะสนใจกันได้ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยที่... การสังเกต (Observation) ซึ่งกันและกันก่อน นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ในเวลาที่เหล่านักเรียนทั้งหลายก�ำลังอาบน�้ำ ในห้องอาบน�้ำ เราก็จะมักได้ยินพวกเขาอุทานพูดกันอยู่เสมอๆ (อันเป็นผลมาจาก การ สังเกต อย่าง สนใจ ) ว่า... “...ฮึ่ยส์!! ท�ำไม... ของมึงโบ้ (ใหญ่) จังวะ ! ! ! มึงแม่ง... “ หัวโบ้ ” ว่ะ ! ! ! ...” ...และแล้ว ค�ำว่า “หัวโบ้” จึงได้ถือเริ่มก�ำเนิดขึ้น จากที่แห่งนี้...ในเวลาต่อมา ค�ำว่า หัวโบ้ ก็ได้ยืดขยายการท�ำหน้าที่ศัพท์แสลงของมัน ยาวต่อไปถึงโลกขนมของ ว่างในโรงเรียน ก็รู้ๆ กันดีอยู่ว่า เหล่าเด็กหนุ่มนักเรียนโรงเรียนประจ�ำชายล้วน เรื่อง ความทะลึ่งนี้ ไม่มีใครเกินอยู่แล้ว จึงมิต้องสงสัยเลยว่า จากหัวโบ้ในห้องน�้ำครั้นที่เด็กๆ เหล่านี้ได้ประสบพบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาหารหรือขนมชนิดใดชนิดหนึ่ง อันมีรูปลักษณ์ทาง กายภาพ... ละม้ายคล้าย “หัวโบ้” แล้วไซร้ เมื่อนั้น... ก็มิอาจจะรอดพ้น “จินตนาการเชิง เปรียบเทียบอันทรงพลัง” ของเด็กๆเหล่านี้ไปได้อย่างแน่นอน ย้อนกลับไปในอดีต ยุคที่ “เรือนจาก” (อดีตโรงอาหารว่างในต�ำนานเคียงคูน่ กั เรียน วชิราวุธฯ ช่วงประมาณรุ่น ๓๐ – ๖๐) ยังรุ่งเรืองอยู่นั้น หนึ่งในร้านชื่อดัง (ที่ทุกปีก่อนปิด เทอมใหญ่มกั จะต้องถูกนักเรียนวัยซน บุกโจมตี ปาหินปาขวดถล่ม ฉกเอาน�ำ้ อัดลมมาดืม่ ฟรี) ภายในเรือนจากก็คงจะหนีไม่พ้น “ร้านเจ๊กเฉ่า” ร้านเจ๊กเฉ่า ขายทั้งเครื่องดื่ม น�้ำหวาน น�้ำอัดลม รวมไปถึงขนมจุบจิบขบเคี้ยว ต่างๆ และที่ส�ำคัญอันขาดเสียมิได้ เจ๊กเฉ่า ยังขาย “เบเกอรี่” ชนิดต่างๆ อีกด้วย เบเกอรี่ ร้านเจ๊กเฉ่านี้ ทั้งหมดรับมาจากร้านสนั่นเบเกอรี่อันโด่งดังของคุณสนั่นพ่อของพี่อ๊อด รุ่น ๕๖ โดยเวลาขาย เจ๊กเฉ่าก็จะจัดเรียงเบเกอรี่ชนิดต่างๆ ใส่ไว้ในตู้กระจกใสหน้าร้าน วางเรียงโชว์ซ้อนกันเป็นตั้งๆแนบแน่นเต็มตู้ และเจ้าเบเกอรี่ชนิดหนึ่ง ที่นับได้ว่าเป็น “ดาราเด่น” !! ของตู้เบเกอรี่ร้าน เจ๊กเฉ่า ก็คอื เจ้าก้อนเบเกอรีช่ นิดหนึง่ อันมีลกั ษณะ ก้อนโตตูมใหญ่ จนเด็กๆ ตัง้ สมญา นามให้ว่า... “หัวโบ้” ! ! เป็นจ�ำนวนมากมายหลายก้อน จนกระทั่งตู้กระจกใส่เบเกอรี่ร้าน เจ๊กเฉ่า ล้นเปี่ยมไปด้วย “กองร้อยหัวโบ้” อัดแน่น มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 107
ขนมปังหัวโบ้ มีลักษณะเป็นขนมปังก้อนใหญ่บึ้ม ท�ำมาจากแป้งขนมปังปั้นเป็น แผ่นสีเ่ หลีย่ มบางๆ ยาวๆ แล้วพันเข้ามาเป็นก้อนกลม จนได้กอ้ นรูปใหญ่ ประหนึง่ ดอกบัว สุดอูมตูม กระนัน้ ก็ดี หากมองอีกมุมหนึง่ รูปร่างของขนมปังชนิดนีก้ ช็ า่ งจะบังเอิญไปคล้าย กับ... ที่เหล่านักเรียนเรียกกันว่า “หัวโบ้” ในห้องอาบน�้ำยิ่งนัก ปริมาณขนาดของหัวโบ้ ก็มีให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ใหญ่ๆ เล็กๆ จนถึง ใหญ่เบิ้มๆ หรือกล่าวอีกอย่างก็ว่า มีให้เลือกรับประทานกันตั้งแต่ โบ้เล็กๆ ไปกระทั่ง โบ้ใหญ่ๆ ก็ว่าได้ ก่อนที่จะเข้าเตาอบ แป้งขนมปังหัวโบ้ จะได้รับการเคลือบทาด้วยน�้ำตาลละลาย ทาไปบนแป้งขนมปังทุกทัว่ ผิว พร้อมด้วยเนยทาอย่างชุม่ ฉ�ำ่ ทัง้ หัวและท้ายของหัวโบ้ จาก นั้นก็น�ำเข้าเตาอบ อบด้วยความร้อนก�ำลังอุ่น จนออกมาเป็น ขนมปังหัวโบ้สีเหลืองอ่อน อร่าม ส่งกลิ่นหอมยวนเย้ากระเซ้าต่อมน�้ำลายเป็นแท้ยิ่ง เพียงสัมผัสแห่งกัดแรก ก็รับรู้ได้ถึงความนุ่มละมุนละไมในเนื้อแป้งขนมปัง ด้วย อีกทั้งรสหวานเนียนนวลของน�้ำตาลที่ละลายเข้าตรึงถึงแน่นเนื้อ กอปรกับความมันนุ่ม จากเนยที่ละลายจวบหมดจดซดเนื้อในทั้งหัวท้ายด้วยแล้ว ...เรียกได้ว่า อร่อยอย่าบอกใครเลยครับ!!... ด้วยประการฉะนี้ “หัวโบ้” จึงทะยานเป็นขนมปังแถวหน้า ของตู้กระจกร้าน เจ๊กเฉ่าได้อย่างสง่างาม ต่อมา ครัน้ เมือ่ เจ๊กเฉ่าเลิกกิจการไป ตามมาด้วยเรือนจากปิดตัวลง บัดกระนัน้ ความยิง่ ใหญ่ของหัวโบ้ ก็หาได้มลายตายตามชือ่ ไปไม่ ด้วยคุณภาพอันการันตี ของสนั่นเบเกอรี่ ฝีมือพ่อของพี่อ๊อด รุ่น ๕๖ จึงท�ำให้ทางโรงเรียน ยังคงสั่งซื้อเบเกอรี่ จากร้านนีม้ าเป็นขนมประกอบอาหารมือ้ เช้าของเหล่านักเรียน ได้กนิ กันบนโรงเลีย้ งต่อไป ควบคู่กันไปกับอาหารโรงครัวรสเยี่ยม (อันมิอาจพบพานได้ในที่ใดๆ) หัวโบ้ จากอดีตนางงามตู้กระจกร้านเจ๊กเฉ่าจึงได้ย้ายเวทีก้าวขึ้นมา “ผงาดง�้ำ ค�้ำโลก... ( โรงเลี้ยง )” แทน จึงมิต้องสงสัยเลยว่า นักเรียนวชิราวุธฯ จึงยังคงอิ่มท้องจน กระเพาะหนักได้ แม้นอาหารเช้าจากโรงครัว จะรสชาติแสนอร่อย ถึงขั้นที่น้องสุนัขยังมิ กล้าอาจชายจมูกมาดอมดม... ก็ตาม ทว่าอย่างไรก็ดี พระคุณของ “ขนมปังหัวโบ้” อันเป็นทีจ่ ดจ�ำของนักเรียนวชิราวุธ ฯ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เหล่านักเรียนชัน้ มัธยมต้นวัยก�ำลังโตผูโ้ หยหิว ก็คงจะหนีไม่พน้ ในช่วง เวลาที่ยังมีเรือนจากอยู่นั่นเอง
108
ก็ด้วย การที่เป็นขนมปังก้อนสุดใหญ่ ชนิดที่กินเข้าไปเพียงก้อนเดียว ก็ส่งผลให้ กระเพาะของเหล่านักเรียน ม. ต้นเหล่านี้ อิ่มหนักหนังท้องตึง ไปได้อย่างยาวนาน อีกทั้ง ราคาก็ยังถูกสุดๆ เพียงแค่ไม่เกิน ๕ บาทเท่านั้น ! ! เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ ช่วงเวลาพักกินอาหารว่างทีเ่ รือนจาก ก็แค่ ๒๐ นาที ๑๑.๓๐ – ๑๑.๕๐ น. จากนัน้ ก็ตอ้ งกลับเข้าไปเรียนต่อ ทว่าช่วงเวลาอันแสนสัน้ นี้ นักเรียนชัน้ ม.ต้น ยังจ�ำต้องหมดไปกับการต่อคิวซื้อข้าว ซื้อก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ ให้กับเหล่าๆ รุ่นพี่ ม.ปลาย ทั้งหลาย ผู้มาไหว้วานอีกด้วย หัวโบ้...จึงได้กลายมาเป็น “พระเอกพิฆาตความหิว” แก่นอ้ งๆ ม.ต้น ในช่วงเวลา ทีป่ รีม่ าเคาะประตูเร่ง ได้เป็นอย่างดี แวะร้านเจ๊กเฉ่าซือ้ หัวโบ้หนึง่ ก้อน พร้อมน�ำ้ หวานอีก หนึ่งขวด งับๆ ยัดๆ เข้าปากลงท้อง อย่างมากก็บริโภคเวลาแค่ไม่ถึง ๕ นาที จากนั้นก็ สามารถรีบวิ่งปรี่ไปต่อแถวซื้อข้าวซื้อก๋วยเตี๋ยวให้กับเหล่ารุ่นพี่ตามแต่อาญาบัญชา เสร็จ เรียบร้อยก็พอดีเวลาเข้าเรียนต่อ ซึง่ ก็สามารถเข้าห้องเรียนได้อย่างสบายใจ ในท้องอันอิม่ แน่นไปด้วยหัวโบ้ สุดเต็มจุ... “...เมื่อ “หัวโบ้” ตกท้องพลัน ความหิวนั้นจักคลี่คลาย...” พีอ่ อ๊ ด (รุน่ ๕๖) ทายาทสนัน่ เบเกอรี่ เจ้าของร้านสนัน่ ข้าวต้มปลา สนัน่ อาหาร ทะเล ย้อนให้เห็น ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) เค้นเป็นความ
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 109
ศัพทโอวี เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไมเปนทางการ
ตบนม (คํากริยา)
ศัพทโอวีคํานี้ ถาผูอานทานใดไมใชโอวี โดยเฉพาะอยางยิ่งคุณๆแมบาน ทั้งหลาย เมื่อไดเห็นหัวขอแลวอาจะเตรียมฟองรองหนวยงานตางๆ ไลตั้งแต สคบ.กบว.-อย. ไปจนถึง นปช.และพธม.กันนูนเลยทีเดียว แตใจเย็นๆกันกอนครับ มาดูราย ละเอียดกันกอน ทานผูอานคงทราบกันดีอยูแลววาชาวโอวีทั้งหลายทั้งปวงนั้น กินจุกันขนาด ไหน (ถาใครยังไมทราบก็ลองเรียกทีมงานอนุมานวสารไปเลี้ยงสักมื้อ แลวทานจะซึ้งถึง ดวงแด) แลวในยุคกลางชวงประมาณรุนหาสิบปลายๆจนถึงเจ็ดสิบตนๆ อาหารที่มีให มันก็ชางนอยนิดกระจิดกระจอยมิพอเลี้ยงทอง จะเรียกหา“ไขรอน” เหมือนอยางสมัย กอนกึ่งพุทธกาลก็หาไดไม ทานผูกํากับคณะก็คงทราบถึงปญหานี้ดี จึงไดจัดหาอาหาร เสริมพรอมเสิรฟกอนนอน นัยวาจะปองกันไมใหเหลาทมิฬหินชาติอยางพวกเราออกไป อุดหนุนนายมะมากจนเกินกวารานจะรับไหว “แตทานคิดวา นมกลองเดียวมันจะพอหรือ?” ปฏิบัติการ “ตบนม” จึงเริ่มตนขึ้น โดยมีวิธีการจารกรรมหลายหลาก ตั้งแต สะเดาะกุญแจตูเย็นแชนม ไปจนถึงทําตัวหนาดานหยิบออกมาทีเดียวสี่กลองอยางที่ผม เคยทําโดยไมสนใจเสียงทักทวงของเพื่อนๆที่ตอแถวอยูดานหลัง (“ก็กูหิวงะ”.....ขออางสวนตัวของผม) ยิ่งไปกวานั้น ผมยังทําตัวเปนสายลับ สืบทราบมาวาเวลาในการแจกนม ของแตละคณะมักจะเหลื่อมล้ํากัน ผมจึงมีโอกาสทําตัวเยี่ยงจารชนขามชาติ แวบไป “ตบ”นมเปรี้ยวอันเอร็ดอรอยจากคณะผูบังคับการอยูบอยครั้งจนนายโซดาตองคอย หามปรามดวยเกรงวาเด็กๆจะมีนมไมพอรับประทาน การ “ตบนม”ในความหมายของเด็กวชิราวุธนั้น ไมชวยใหทาน “อึ๋ม”...แตมัน จะทําใหทาน “อิ่ม”ไปตลอดทั้งคืน [สถาพร อยูเย็น รุน ๗๖]
110
ขอขอบคุณ
ผู้สนับสนุนการจัดท�ำ อนุมานวสาร ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ - ธันวาคม ๒๕๕๒ • โอวี รุ่น ๓๑ และ
รุ่นข้างเคียง ๓,๑๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท • ก๊วนกอล์ฟโอวี ๔๓ ๑๐,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๔๖ ๒,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๗๙ ๒,๐๐๐ บาท • O.V.Spirit&Web O.V. ๒,๐๐๐ บาท • นักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยที่อยู่เชียงใหม่ ๒,๖๐๐ บาท • เสถียร เสถียรสุต (รุ่น ๑๖) หนังสือ พระเครื่ อ งจอมสุ ร างค์ อุ ป ถั ม ภ์ แ ละส� ำ นั ก มวย ส.เพลินจิต ๑๕,๐๐๐ บาท • ศ.น.พ.อาวุธ ศรีศุกรี (โอวีเก๋ากึ้กส์) ๒,๐๐๐ บาท • ม.ล.พรสุทธิ์ ลดาวัลย์ (รุ่นอาวุโส) ๕๐๐ บาท • ร.ท.นุรักษ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (รุ่น อาวุโส) ๓,๐๐๐ บาท
112
• ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ • ศิโรฒม์ สนิทวงศ์
(รุ่น ๒๕) ๒,๐๐๐ บาท • วิชัย สุขธรรม (รุ่น ๒๘) ๒,๐๐๐ บาท • สนั่น จรัญยิ่ง (รุ่น ๒๘) ๒,๐๐๐ บาท • อโนทัย สังคาลวณิช (รุ่น ๓๐) ๑,๐๐๐ บาท • จิรายุส แสงสว่างวัฒนะ (รุน่ ๓๑) ๒,๐๐๐ บาท • จักรพันธุ์ โปษยกฤต (รุ่น ๓๓) ๓๐,๐๐๐ บาท • ด�ำรงพันธุ์ พูนวัตถุ (รุ่น ๓๓) ๕๐๐ บาท • พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ (รุ่น ๓๔) ๓๐,๐๐๐ บาท • สุพจน์ ศรีตระกูล (รุ่น ๓๕) ๑,๐๐๐ บาท • อดิศักดิ์ เหมอยู่ (รุ่น ๓๘) ๒๐,๐๐๐ บาท • จุลสิงห์ วสันตสิงห์ (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท • พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท • อภิชัย สิทธิบุศย์ (รุ่น ๔๒) ๑,๐๐๐ บาท • เขมทัต อนิวรรตน์ (รุ่น ๔๓) ๕๐๐ บาท • อิสระ นันทรักษ์ (รุ่น ๔๓) ๒,๐๐๐ บาท • พงษ์พินิต เดชะคุปต์ (รุ่น ๔๔) ๓,๐๐๐ บาท
ณ อยุธยา (รุ่น ๔๔) ๕,๐๐๐ บาท • รัฐฎา บุนนาค (รุ่น ๔๔) ๕,๐๐๐ บาท • ศ.ดร.ทวิป กิตยาภรณ์ (รุ่น ๔๕) ๕,๐๐๐ บาท • คุรุจิต นาครทรรพ (รุ่น ๔๕) ๓,๐๐๐ บาท • พงษ์เทพ ผลอนันต์ (รุ่น ๔๕) ๕,๐๐๐ บาท • ม.ร.ว.อดิศรเดช ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) ๓,๐๐๐ บาท • ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุน่ ๔๖) ๑๓,๐๐๐ บาท • ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา (รุ่น ๔๖) ๕,๐๐๐ บาท • นรศุภ นิติเกษตรสุนทร (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท • ปฏิภาณ ตันติวงศ์ (รุ่น ๔๖) ๒,๐๐๐ บาท • นรศุภ นิติเกษตรสุนทร (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท • ธนันต์ วงษ์เกษม (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท • จีระ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๔๖) ๒๐๐ บาท • ธานี จูฑะพันธ์ (รุ่น ๔๗) ๕,๐๐๐ บาท • ทองเปา บุญหลง (รุ่น ๔๘) ๒๐๐ บาท
• องอาจ อนุสสรราชกิจ
(รุ่น ๔๘) ๒๐๐ บาท • ชนัตถ์ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๔๘) ๒๐๐ บาท • มนต์เทพ โปราณานนท์ (รุน่ ๔๙) ๕,๐๐๐ บาท • ธนาวุฒิ สาครสินธุ์ (รุ่น ๔๙) ๑,๐๐๐ บาท • นาวาโท บัญชา จันทร์ไทย (รุ่น ๔๙) ๑,๐๐๐ บาท • นภดล เทพวัลย์ (รุ่น ๔๙) ๒,๐๐๐ บาท • นพดล มิ่งวานิช (รุ่น ๕๐) ๑,๐๐๐ บาท • พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๑) ๑,๐๐๐ บาท • อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ (รุ่น ๕๑) ๕,๐๐๐ บาท • สุวิช ล�่ำซ�ำ (รุ่น ๕๑) และ น.พ.ชนินทร์ ล�่ำซ�ำ (รุ่น ๕๒) ๒,๐๐๐ บาท • บัญชา ลือเสียงดัง (รุ่น ๕๒) ๕๐๐ บาท • วิเชฐ ตันติวานิช (รุ่น ๕๒) ๒,๐๐๐ บาท • จุมพจน์ มิ่งวานิช (รุ่น ๕๒) ๕๐๐ บาท • วิเชฐ์ ตันติวานิช (รุ่น ๕๒) ๒,๐๐๐ บาท • สันติ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๕๒) ๒๐๐ บาท
• ทินนาถ กิตยาภรณ์
(รุ่น ๕๓) ๑,๐๐๐ บาท • อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า (รุ่น ๕๔) ๓,๐๐๐ บาท • ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) ๑,๐๐๐ บาท • ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ (รุ่น ๕๕) ๒,๐๐๐ บาท • อนันต์ สันติวิสุทธิ์ (รุ่น ๕๕) ๒,๐๐๐ บาท • ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๖) ๑,๐๐๐ บาท • อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท • อนุวัตร วนรักษ์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท • วีระวัฒน์ เนียมทรัพย์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท • คมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) ๕,๐๐๐ บาท • ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) ๕,๐๐๐ บาท • วรากร บุณยเกียรติ (รุ่น ๕๙) ๑,๐๐๐ บาท • กิตติ แจ้งวัฒนะ (รุ่น ๕๙) ๑,๐๐๐ บาท • อนุวัฒน์ ชูทรัพย์ (รุ่น ๕๙) ๑,๐๐๐ บาท • เวทิศ ประจวบเหมาะ (รุ่น ๕๙) ๕,๐๐๐ บาท • วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐) ๑,๐๐๐ บาท
• กมล นันทิยาภูษิต
(รุ่น ๖๑) ๕,๐๐๐ บาท • นครา นาครทรรพ (รุ่น ๖๑) ๒,๐๐๐ บาท • โกมุท มณีฉาย (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • วรรธนะ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ธนพร คชเสนี (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ปิยะพงษ์ บุณยศรีสวัสดิ์ (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ประภากร วีระพงษ์ (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ทรงศักดิ์ ทิพยสุนทร (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ภัฎพงศ์ ณ นคร (รุ่น ๖๒) ๕๐๐ บาท • ปรีเทพ บุญเดช (รุ่น ๖๕) ๕๐๐ บาท • พันตรี จุณณะปิยะ (รุ่น ๖๖) ๑,๐๐๐ บาท • เจษฎา บ�ำรุงกิจ (รุ่น ๖๖) ๑,๐๐๐ บาท • ธเนศ ฉันทังกูล (รุ่น ๖๙) ๕๐๐ บาท • สถิร ตั้งมโนเพียรชัย (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท • อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท • ณัฐพล ลิปิพันธ์ (รุ่น ๗๓) ๑,๐๐๐ บาท
• ศศิศ อุดมวัฒน์ทวี
(รุ่น ๗๔) ๒๐๐ บาท • พฤศ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๗๔) ๒๐๐ บาท • ธัชกร พัทธวิภาส (พจนะ พันธุ์เพ็ง) (รุ่น ๗๕) ๑,๐๐๐ บาท • ภวัตพงศ์ เทวกุล ณ อยุธยา (รุ่น ๗๙) ๕๐๐ บาท • ธนทัต อนิวรรตน์ (รุ่น ๘๐) ๕๐๐ บาท • ฟ้าสาง ปริวุฒิพงศ์ (รุ่น ๘๐) ๑,๐๐๐ บาท • รชต ชื่นชอบ (รุ่น ๘๑) ๑,๐๐๐ บาท • ณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ (เพื่อนโอวี) ๑,๐๐๐ บาท • สมพร ไม้สุวรรณกุล (ผู้ปกครอง) ๒๐๐ บาท
ปี ๒๕๕๓ • ถวัลย์ ปานะนนท์ (รุ่นเก๋า) ๕๐๐ บาท • พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ (รุ่น ๓๓) ๕,๐๐๐ บาท • นภดล บัวทองศรี (รุ่น ๔๒) ๑,๐๐๐ บาท • สัตยา เทพบรรเทิง (รุ่น ๔๘) บริจาคเดือนละ ล่าสุด ๓,๐๐๐ บาท • เลิศศักดิ์ ผลอนันต์ (รุ่น ๔๘) ๕๐๐ บาท • พรหมเมศ จักษุรักษ์ (รุ่น ๕๖) ๑,๐๐๐ บาท • วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๗๙) ๑,๐๐๐ บาท
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 113
วชิราวุธฯ หลัง ๑๐๐ ปี ฤๅเราอยากจะให้เรือล่ม
รู้เสียสละ ได้ด้วยใจงาม 114
“ก่อนผมตาย เรามาท�ำอะไรดีๆ ร่วม กันก่อนเถอะ ผมอยากท�ำให้วชิราวุธฯ” เป็นค�ำพูดที่มีชัย วีระไวทยะบอกย�้ำอยู่ เสมอตลอดทั้งบทสนทนา หลายๆ คนคง สงสัยว่า มีชยั วีระไวทยะ คนนีเ้ ป็นใคร แล้ว เกี่ยวอะไรกับโรงเรียนแห่งนี้ หลายๆ คน คงเคยได้ยินชื่อของมีชัย วีระไวทยะ ใน ฐานะนักสาธารณสุขผู้มีแนวทางโดดเด่น ในการรณรงค์ ใ ห้ ผู ้ ค นหั น มาใช้ ถุ ง ยาง อนามัยมากขึ้นจนประสบความส�ำเร็จใน การลดปริมาณผู้ติดเชื้อ HIVs (เอดส์) ใน ประเทศไทย ซึ่ ง รางวั ล ต่ า งๆ ที่ เขารั บ มามากมาย รวมไปถึ ง ล่ า สุ ด ก็ พึ่ ง ได้ รั บ พระราชทานรางวัล “เจ้าฟ้ามหิดล” ซึ่ง เป็นรางวัลด้านสาธารณสุขระดับโลกที่มี ฐานะไม่น้อยหน้าไปกว่ากับรางวัลโนเบล เลย รางวัลมากมายที่ได้รับ คงเป็นเครื่อง พิสูจน์ชั้นเยี่ยมที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลผู้นี้ เป็นผู้ รู้เสียสละได้ด้วยใจงาม สมกับการ ที่เขาได้เคยร้องเพลงนี้ในโรงเรียนของเรา หลายๆ คนคงไม่เคยได้ยินมาก่อน ว่า มีชยั วีระไวทยะ มีฐานะเป็นนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัยคนหนึง่ ชีวติ ในโรงเรียนนี้ ของพี่มีชัยอาจจะไม่ได้ยาวเกินกว่าช่วง เวลา ๓-๔ ปี แม้ช่วงเวลานี้จะเป็นเพียง ช่วงเวลาไม่นานนัก แต่กน็ านเพียงพอทีจ่ ะ สร้างความผูกพันระหว่างเขากับโรงเรียนให้ เหนียวแน่นได้ ไม่แพ้ใครอีกหลายๆ คนที่ ใช้เวลาในโรงเรียนนานกว่านี้ จริงอยู่ที่พี่
มีชัยอาจจะไม่ได้กลับมาเหยียบโรงเรียน เก่ า นานแล้ ว เพราะช่ ว งเวลาที่ ผ ่ า นมา ทั้งชีวิต พี่เขาเลือกทางเดินที่จะอุทิศตน ท�ำงานช่วยเหลือผู้อื่นเพียงอย่างเดียว คง ไม่มีเวลาว่างมากพอที่จะมานั่งหวนร�ำลึก ถึงความสนุกสมัยเป็นนักเรียน แม้แต่เมื่อ เราได้ มี โ อกาสไปนั่ ง ชวนพี่ มี ชั ย คุ ย เรื่ อ ง ของโรงเรียน พี่เขาก็ไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องใน อดีตที่เราอยากรู้ แต่กลับชวนเราคุยไปใน อนาคต... ว่าโรงเรียนของเราควรจะเป็น เช่นไรต่อไป แล้วนักเรียนเก่าฯ อย่างเรา ควรจะท�ำอะไร พี่มีชัยไม่ได้เริ่มเล่าความคิดของ เขาเกี่ยวกับวชิราวุธวิทยาลัย แต่เริ่มเล่า เรือ่ งของโรงเรียนเล็กๆ ในชนบททีแ่ ต่กอ่ น ไม่มีแม้แต่ควายจะมาเดินผ่านสักตัว แต่ ในปัจจุบันกลับมีรถยนต์น�ำครู อาจารย์ ผู้บริหารจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนนี้อยู่ทุกวัน เดือนๆ หนึ่งก็ไม่ต�่ำกว่าหนึ่งพันคน สาเหตุที่ท�ำให้ โรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนาแห่งนี้กลาย เป็นโรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษาเป็น ตัวอย่างที่ใครๆ ต่างก็ให้ความสนใจ คง เป็นเพราะแนวทางการศึกษาทีไ่ ม่ยดึ ติดกับ หลักสูตรตามที่กระทรวงศึกษาธิการบังคับ แต่นำ� เนือ้ หาสาระในหลักสูตรมาบูรณาการ รวมกัน แล้วให้เด็กนักเรียนทั้งห้องช่วยกัน เสนอหัวข้อที่น่าสนใจ ก่อนที่จะเลือกมา หนึ่งหัวข้อแล้วใช้หัวข้อนี่เป็นแกนหลักใน มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 115
การเรียนรู้ไปตลอดทั้งเทอม เด็กนักเรียน ที่นี่จะช่วยกันวางแผนวิธีการเรียนอย่าง สร้างสรรค์ด้วยกัน ตั้งแต่แรกเริ่มด้วยการ คิดว่าอยากจะรู้อะไรบ้างที่เกี่ยวกับหัวข้อ นี้ วางแผนการเรียนรู้และค้นหาข้อมูลที่ อยากรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยกันเอง ส่วน ครูเป็นเพียงแค่ผู้กระตุ้นให้เด็กอยากที่จะ เรียนรู้เท่านั้นเอง ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น คือ โรงเรียนนี้ไม่มีการสอบเหมือนที่อื่น จะมีก็ แต่การสังเกตพัฒนาการของผูเ้ รียนเท่านัน้ วิธีการเรียนสอนแบบนี้ อาจจะถูก หลายๆ คนมองว่าเป็นวิธีที่ไม่น่าจะได้ ผลลัพธ์ที่ดี เพราะไม่เชื่อว่าเด็กนักเรียนจะ มีความสามารถพอที่จะเรียนรู้และค้นคว้า ด้วยตนเองได้ ที่ส�ำคัญไปกว่านั้น คือ การ ที่เด็กเหล่านี้จะสามารถเผชิญกับเกณฑ์ ระบบการศึกษาภายนอกได้อย่างไร ในเมือ่ ไม่เคยได้เรียนตามหลักสูตร เรื่องนี้พี่มีชัย เทียบผลการสอบระดับประเทศ (NT) ของ เด็กประถมโรงเรียนนี้ ซึ่งผลปรากฏว่าเด็ก นักเรียนโรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนา มีค่า เฉลีย่ ผลการสอบทีส่ งู กว่าทัง้ อ�ำเภอ สูงกว่า ทัง้ จังหวัด และสูงกว่าทัง้ ประเทศ นอกจาก นี้ ยั ง ได้ รั บ การประเมิ น จากส� ำ นั ก งาน รั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพ การศึกษา (สมศ.) ให้เป็นโรงเรียนมาตรฐาน ระดับดีมาก และเป็น A World-Class School จากการประเมิ น คุ ณ ภาพของ มหาวิทยาลัยทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย
116
ขณะที่พี่มีชัยเล่าเรื่องของโรงเรียน ล�ำปลายมาศพัฒนาให้พวกเราฟัง พี่เขา ก็ อ ดไม่ ไ ด้ ที่ จ ะต้ อ งย้ อ นมาถามถึ ง เด็ ก วชิราวุธวิทยาลัยอยูเ่ สมอว่า เด็กทีโ่ รงเรียน ของเราเป็นเช่นไรบ้าง เด็กชนบททีโ่ รงเรียน ล� ำ ปลายมาศพัฒ นาพอจะเที ยบได้ บ้ าง หรือเปล่า เมื่อเจอถามอย่างนี้เราก็ได้แต่ ยิ้ม เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็น่าจะ แสดงให้เห็นแล้วว่าแต่ละโรงเรียนนั้นเป็น เช่นไร เด็กวชิราวุธฯ มีหลายๆ อย่างที่ดี แต่ไม่ควรทีจ่ ะมัวหลงอยูก่ บั สิง่ ดีๆ เหล่านัน้ เพียงเท่านี้ แต่ควรจะต้องเปิดรับสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กวชิราวุธฯ เป็นเด็กที่สามารถคิดจะท�ำสิ่งต่างๆ ได้ อย่างสร้างสรรค์ เข้าใจสภาพสังคมที่เป็น อยู่มากขึ้น และที่ส�ำคัญจะต้องเป็นเด็กที่ มีจิตสาธารณะ พอพู ด ถึ ง เรื่ อ งจิ ต สาธารณะนี้ พี่ มีชัยก็ถามว่าโรงเรียนของเรามีดีจริงหรือ ถ้าโรงเรียนของเราดีจริง ท�ำไมถึงไม่ยอม แบ่งปันสิ่งดีๆ เหล่านั้นให้กับผู้อื่นเขาบ้าง วชิราวุธวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีหลายสิ่ง ทีด่ อี ยูแ่ ยะ เป็นโรงเรียนทีม่ โี อกาสมากกว่า โรงเรี ย นอื่ น ๆ พวกเราควรจะต้ อ งแบ่ ง โอกาสนี้กับผู้อื่นบ้าง การขยายโอกาสให้ กับเด็กคนอื่นๆ ในต่างจังหวัดจะเป็นการ ช่วยพัฒนาสังคมมากกว่าการมาจ�ำกัดให้ โอกาสเฉพาะเด็กในโรงเรียนเท่านัน้ พีม่ ชี ยั ชวนให้ เราคิ ด ดู ว ่ า หากพวกเราสามารถ
สร้างโรงเรียนแบบวชิราวุธฯ ให้มีครบได้ ทุกภาค จะมีเด็กที่ได้รับโอกาสดีๆ เช่นนี้ เพิ่มมากขึ้นเท่าไรกัน ถ้าเรามั่นใจว่าสิ่งที่ โรงเรียนของเรามีนั้นดีจริงๆ เราก็สามารถ สร้างเด็กทีจ่ ะโตขึน้ มาเป็นผูใ้ หญ่ทดี่ แี ล้วท�ำ ประโยชน์เพือ่ ส่วนร่วมต่อไปได้ สิง่ ทีจ่ �ำเป็น ส�ำหรับโรงเรียนในตอนนี้ คือ โรงเรียนจะ ต้องสร้างให้เด็กนักเรียนเติบโตมาพร้อม กับจิตสาธารณะที่จะช่วยเหลือสังคมให้ได้ การจะท�ำให้เด็กนักเรียนโตขึ้นมา เป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะได้นั้น เด็กนักเรียน จะต้องได้รับการปลูกฝังเรื่องนี้เป็นอย่างดี มาตัง้ แต่เล็กๆ แล้วค่อยๆ พัฒนาความคิด เรือ่ งนีข้ นึ้ มาจนกลายเป็นส่วนหนึง่ ในหัวใจ ของเด็กนักเรียนเอง อีกสิง่ หนึง่ ทีจ่ ะช่วยได้ก็ คือตัวอย่างทีด่ ี หรือก็คอื พวกนักเรียนเก่าฯ อย่างเราๆ นีเ่ อง เหล่านักเรียนเก่าฯ จะต้อง ร่วมมือกันเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง ซึ่งเรื่องนี้พี่มีชัยบอกว่าท�ำได้ไม่ยากเพราะ นักเรียนเก่าฯ ของเราจ�ำนวนมากทีป่ ระสบ ความส�ำเร็จในวงการต่างๆ มากมาย โดย อาจจะเริ่มที่การสละเวลาเข้ามาช่วยสอน หนังสือหรือมาส่งเสริมกิจกรรมด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียน ส่วนนัก เรียนเก่าฯ คนไหนทีไ่ ม่ถนัดจะสอนหนังสือ ก็สามารถมารวมตัวแล้วช่วยกันไปสร้าง
โอกาสหรือส่งเสริมให้คนอื่นๆ ได้มีชีวิตที่ ดีขึ้นกว่าเดิม พวกเราสามารถรวมตั ว กั น ท� ำ กิจกรรมต่างๆ ได้มากมายมานับครัง้ ไม่ถว้ น การรวมตัวกันในครั้งนี้คงจะไม่ใช่เรื่องยาก เกินกว่าการรวมตัวของเราครั้งอื่นๆ ครั้งนี้ จะเป็นอีกครั้งที่พวกเราจะได้รวมตัวกัน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าผลผลิตของโรงเรียนที่ เราภูมิใจกันว่าดีที่สุดนั้น ดีจริงขนาดไหน นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ หรือ โอวีอย่างพวก เรา ต่างก็ได้รับการปลูกฝั่งจนเป็นที่ขึ้นชื่อ ว่ารักในสถาบันและเพือ่ นพ้องเป็นทีส่ ดุ แต่ อีกสิ่งที่ส�ำคัญกว่านี้ คือ ท่อนในเนื้อเพลง ประจ�ำโรงเรียน ที่เราต่างก็ร้องจนขึ้นใจว่า รูเ้ สียสละได้ดว้ ยใจงาม นัน้ เป็นสิง่ ทีพ่ วกเรา เข้าใจและได้ท�ำสิ่งนี้กันมามากน้อยเพียง ใด ท�ำไมพวกเราถึงไม่มาร่วมกันท�ำสิ่งนี้ ให้เป็นที่ขึ้นชื่อไม่แพ้ไปกว่าการรักสถาบัน และเพือ่ นพ้องของพวกเรา เหมือนทีพ่ มี่ ชี ยั ได้พิสูจน์ให้เห็นโดยทั่วกันแล้วว่าการ รู้ เสียสละด้วยใจงาม นั้นเป็นเช่นไร หากมีคนถามว่าความเป็นวชิราวุธฯ นัน้ เป็นเช่นไร ค�ำตอบทีว่ า่ “เป็นผูร้ เู้ สียสละ เพื่อส่วนรวม” นั้น ฟังดูดีกว่าที่จะได้ยินแต่ “เป็นพวกรักแต่เพื่อนพ้อง” มากหลายเท่า ตัวนัก ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ (รุ่น ๗๙)
*หมายเหตุ – ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์ของพีม่ ชี ยั วีระไวทยะ รวมไปถึงข้อมูลโครงการพัฒนาสังคม อย่างยั่งยืนและเรื่องราวที่โรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนาได้ในอนุมานวสาร ฉบับหน้า
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 117
สนามหน้า แหล่งเพาะน�้ำใจนักกีฬา
วชิราวุธฯ - ราชวิทย์ฯ กับกีฬารักบี้ฟุตบอล
สถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งผลิตนักกีฬารักบี้ฟุตบอล ในประเทศไทย คือวชิราวุธวิทยาลัย และ ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ทั้งสองสถาบันจัดทีมผู้เล่นเข้าแข่งขันรักบี้ฟุตบอลกันมาเป็น เวลานาน ทั้งการแข่งขันในระดับโรงเรียนและสโมสรที่จัดโดย สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ตลอดจนการแข่งขัน รั ก บี้ ฟุ ต บอลประเพณี ตั้ ง แต่ มี ก ารแข่ ง ขั น ครั้ ง แรกในวั น ที่
118
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ จนถึงครั้งสุดท้าย ที่มีการแข่งขันในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ยาวนานถึง ๒๖ ปี แต่ในบางปีมเี หตุ จ�ำเป็นที่งดการแข่งขันไปบ้าง การแข่งขัน รักบี้ประเพณีครั้งที่ผ่านมา จึงนับได้เป็น ครั้งที่ ๒๐ นักกีฬารักบี้ฟุตบอลทั้งสอง สถาบั น หลายคนที่ มี ฝ ี มื อ ได้ รั บ เกี ย รติ คัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศในฐานะ นักกีฬาทีมชาติไทย หลายคนเป็นนักเรียน เก่าทัง้ สองสถาบันก็ยงั คงคบหาสมาคมเป็น มหามิตรกันอยูอ่ ย่างไม่เสือ่ มคลาย บางราย ร่วมงานในบริษทั เดียวกัน บางรายประกอบ อาชีพในสายธุรกิจเดียวกัน บางรายร่วม เล่ น กี ฬ ารั ก บี้ ใ ห้ ส โมสรและ/หรื อ เป็ น ตัวแทนระดับชาติด้วยกัน จากบทความลงพิ ม พ์ ใ นหน้ า สุดท้ายของสูจบิ ตั รการแข่งขันรักบีฟ้ ตุ บอล ประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ ๒๐ ได้เปิดปูมต�ำนานการแข่งขันรักบี้ฟุตบอล ครั้ ง แรกระหว่ า งวชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย และ ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๐ เวลา ๑๖.๔๕ น. ณ สนามหน้า ข้างหอประชุม วชิราวุธวิทยาลัย พร้อม ภาพถ่ายนักรักบี้ทีม ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ชุด “เลี้ยงโต๊ะจีน” นั้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้ผเู้ ขียนค้นคว้าข้อมูลเพิม่ เติมทีพ่ อจะหา ได้จากฝ่ายวชิราวุธวิทยาลัย เพราะผู้เขียน
เองอยู่ในเหตุการณ์นั้นในฐานะผู้เล่นอีก ฝ่ายหนึ่ง หากไม่ได้บันทึกไว้ตั้งแต่บัดนี้ เรื่องราวส�ำคัญในอดีตก็คงจะลบเลือนไป พร้อมกับกาลเวลาและอายุขัยของผู้อยู่ใน เหตุการณ์ครั้งกระนั้น หลังจาก ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย เปิด การสอนในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ แล้ว ในปีการ ศึกษา ๒๕๑๐ ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยได้เริม่ ส่ง ทีมนักกีฬารักบีฟ้ ตุ บอลเข้าแข่งขันประเภท โรงเรียน ที่จัดโดยสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่ง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็น ครั้งแรก ส�ำหรับวชิราวุธวิทยาลัยนั้นได้ ส่งชุดนักกีฬารักบี้ฟุตบอลเข้าแข่งขันและ ครองรางวั ล ชนะเลิ ศ ประเภทโรงเรี ย น ของสมาคมรักบี้ฟุตบอลติดต่อกันมานาน หลายปี หากจัดทีมนักกีฬารักบี้ชุด ๑๕ คนแรกของโรงเรี ย นลงแข่ ง ขั น คงจะไม่ เหมาะสมกับชุดนักกีฬารักบี้ฟุตบอลของ ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ที่เริ่มฝึกหัดเล่นรักบี้ และเข้าแข่งขันในปีแรก ครูอรุณ แสนโกศิก ผูฝ้ กึ สอนโดยอนุมตั ขิ องพระยาภะรตราชา ผู้บังคับการในขณะนั้น ได้ส่งนักกีฬารักบี้ ชุดทีส่ องเข้าท�ำการแข่งขันแทน โดยท�ำการ แข่งขันในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๐ เวลา ๑๖.๔๕ น. ณ สนามข้างหอประชุม วชิราวุธ วิทยาลัย โดยมีรายชือ่ นักกีฬารักบีฟ้ ตุ บอล วชิราวุธวิทยาลัย ดังนี้ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 119
หมายเลข
ต�ำแหน่ง
ชื่อ
ปัจจุบัน
๑
ฟูลแบค
วรวีร์ จ�ำปีรัตน์
๒
ปีกซ้าย
สิทธิพันธ์ ไชยนันท์
๓
อินไซด์ อภิรักษ์ อารีย์มิตร ทรีควอเตอร์
ที่ปรึกษาผู้บังคับการ วชิราวุธวิทยาลัย
๔
อินไซด์ ไชยณรงค์ ถนัดใช้ปืน ทรีควอเตอร์
อดีตผู้ช่วยผู้บังคับการ วชิราวุธวิทยาลัย
๕
ปีกขวา
๖
ฟลายฮาล์ฟ นภดล สุขกิจ
เจ้าของธุรกิจเบเกอรี่
๗
สกรัมฮาล์ฟ สรรศักดิ์ ศรีสุรินทร์
เสียชีวิตแล้ว
๘
พร๊อพซ้าย ชัยวัฒน์ นิตยาพร
ที่ปรึกษาผู้บังคับการ-วชิราวุธวิทยาลัย
๙
ฮุกเกอร์
ผู้อ�ำนวยการอาวุโส กลุ่มบริษัทพรีเมียร์และ กรรมการอ�ำนวยการ-วชิราวุธวิทยาลัย
๑๐
พร๊อพขวา สาโรจน์ ลีสวรรค์ (หัวหน้าชุด)
๑๑
ล็อค
อัมรินทร์ นาครทรรพ
๑๒
ล็อค
อุดมสุข ปทุมเทวาภิบาล
๑๓
วิงฟอร์เวิท์ด วีรศักดิ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เจ้าของบริษัทส่งออกวัสดุก่อสร้าง
๑๔
มิดเติร์ด
๑๕
วิงฟอร์เวิท์ด จารุจินต์ นภีตะภัฏ
วีรพล เทพหัสดิน ณ อยุธยา พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการทหารบก
สุรเดช บุณยวัฒน
โสฬส ตันไพบูลย์
ผู้เล่น สกรัมฮาล์ฟ เอกชัย ไหลมา ส�ำรอง ผู้ตัดสิน ผู้ก�ำกับเส้น
120
เสียชีวิตแล้ว
ผู้บังคับการ วชิราวุธวิทยาลัย เสียชีวิตแล้ว (ไม่มีข้อมูล) เสียชีวิตแล้ว สถาปนิกหุ้นส่วนบริษัท อาเด็ค จ�ำกัด
อาจารย์อุดม รักตประจิต
อดีตผู้ก�ำกับคณะดุสิต
วิรินทร์ จุลโลบล
(ไม่มีข้อมูล)
การแข่งขันในครั้งประวัติศาสตร์นี้ วชิราวุธฯ เป็นฝ่ายชนะด้วยคะแนน ๗๓ : ๐ จากบันทึกข้อมูลได้กล่าวถึงการแข่งขันว่า ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ได้ตอ่ สูอ้ ย่างสุดความ สามารถด้วยสปิริตนักกีฬาอย่างน่าชมเชย เนือ่ งจากว่า ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยต้องเดินทาง กลับเป็นระยะทางไกลถึงนครปฐม หลัง จากการแข่ ง ขั น พระยาภะรตราชา ผู ้ บั ง คั บ การวชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ซึ่ ง เป็ น นักเรียนเก่าราชวิทยาลัยได้จดั เลีย้ งโต๊ะจีน แก่นักกีฬาทั้งสองฝ่ายเป็นการเชื่อมความ สัมพันธ์ระหว่างกันและกันทีข่ า้ งหอประชุม ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตไว้ ๒ ประการคือ ประการแรก เป็นที่น่าประหลาดใจ ส�ำหรับผูเ้ ขียนเมือ่ ได้รบั ทราบจาก คุณสุกจิ ศรี บั ว ทอง นั ก เรี ย นเก่ า ภ.ป.ร. ราช วิทยาลัย ซึง่ ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการสมาคม ราชวิทยาลัยว่าท่านเป็นผู้เล่นต�ำแหน่ง พร๊อพขวา ฝ่าย ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ตรง กันข้ามกับผู้เขียนที่เล่นในต�ำแหน่งพร๊อพ ซ้าย ฝ่ายวชิราวุธวิทยาลัยดูจะเป็นเรื่อง บั ง เอิ ญ เอามากๆ ที่ นั ก เรี ย นเก่ า ฯ ทั้ ง สองสถาบั น ที่ เ คยร่ ว มเล่ น รั ก บี้ และทั้ ง เป็นคู่ต่อสู้ที่ได้ปะทะก�ำลัง ดันซึ่งกันและ กันในเซตสกรัมของการแข่งขันรักบี้ครั้ง ประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ได้มีโอกาสมาแลก
เปลี่ยนความหลังที่น่าชื่นชมในอดีตเมื่อ ๔๒ ปีที่แล้ว ประการที่ ส อง เป็ น ที่ น ่ า สั ง เกต ว่ า ผู ้ เ ล่ น ฝ่ า ยวชิ ร าวุ ธ ฯ ที่ ยั ง มี ชี วิ ต เป็ น ผู้มีชื่อเสียงประสพความส�ำเร็จอย่างสูงใน หน้าที่การงาน บางท่านอุทิศตนท�ำงานให้ สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย บาง ท่านถวายงานรับใช้เกี่ยวกับการศึกษาใน วชิราวุธวิทยาลัย ทัง้ นี้ ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ หั ว หน้ า ชุ ด รั ก บี้ ใ นอดี ต เป็ น ผู ้ บั ง คั บ การ วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียง บางส่วนที่สามารถค้นคว้าได้จากหอสมุด วชิราวุธวิทยาลัยเท่านั้น ยังไม่สมบูรณ์ ในส่วนรายชื่อนักเรียนเก่า ภ.ป.ร. ราช วิทยาลัยที่อยู่ในทีมรักบี้ชุดประวัติศาสตร์ ดังกล่าว นักเรียนเก่าฯ ทั้งสองสถาบันที่ ครอบครองหลักฐานข้อมูล และพอระลึก ถึงเหตุการณ์ได้กน็ า่ จะช่วยกันบันทึกไว้เป็น อนุสรณ์ส�ำหรับนักเรียนเก่าและปัจจุบัน ต่อไป ชัยวัฒน์ นิตยาพร (รุ่น ๔๒)
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 121
คอลัมน์พิเศษ เรื่องเล่าจากนักเรียนมหาดเล็กหลวง
ชีวิต
ในโรงเรียนวชิราวุธฯ หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล
เมื่ อ จะต้ อ งมาเขี ย นเกี่ ย วกั บ ประวัติศาสตร์การเรียนหนังสือของตัวเอง จึงรูส้ กึ เป็นประการแรกทีจ่ ะไหว้ครูเสียก่อน ครูคนแรกของผมก็คือ แม่ผมเอง จ�ำได้ว่า พออายุได้ ๕ ขวบ แม่ก็จับเรียนหนังสือ หนังสือเล่มแรกก็คือแบบเรียนเร็วสมัยนั้น ที่คงมีคนจ�ำได้บ้างที่เอ่ยถึง “หนูเหน็ง หนู เหล็งสองคน พี่น้อง...” หรือ “หนูหล่อพ่อ เขาพาไปดูหมี ที่นาตาหมอหลอ” เป็นต้น วิธีเรียนก็คือ เริ่มด้วยอ่าน ก.เอ๋ย ก.ไก่ จนคล่องจากนั้นแม่ก็เอาหนังสือวางบน พานเงิน เหลาไม้จิ้มให้ผมจิ้มไปตามค�ำที่ บอก ถ้าเกิดง่วงจิ้มผิดไม้นี้แหละจะกลับ มาจิ้มมือผมทุกครั้ง ก่อนจะเรียนและเมื่อ เลิกเรียนก็ต้องกราบหนังสือ มาเลิกกราบ เอาตอนมาอยู่วชิราวุธฯ เพราะเพื่อนล้อ
122
กัน และทุกๆ วันพฤหัสบดีก็ต้องไหว้ครู มี หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ใส่กระทงมาบูชา ครูตรงหน้า บังเอิญแม่ผมต้องตามเสด็จขบวน พระบรมวงศานุวงศ์ในการเสด็จประพาส ไทรโยค ผมก็ได้ไปด้วยแต่เป็นที่น่าเสียใจ ขากลับแม่ผมเป็นมาเลเรียขึ้นสมองตาย ผมก็เป็นมาเลเรียแต่รอดมาได้ ตอนนั้น อายุได้ ๖ ขวบ จึงเกิดปัญหาว่าจะจัดการ เรียนให้ผมอย่างไร พ่อผมท่านอยากให้ ลูกเก่งภาษาอังกฤษฝรั่งเพื่อมาช่วยงาน ค้นคว้าของท่าน จ�ำได้วา่ ท่านปรารภอยาก ให้ไปอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นเด็กกิน นอนหรือเรียกกันว่าเด็กใน แต่พวกพี่ๆ ผู ้ ห ญิ ง ของผมท้ ว งว่ า สงสารจะโดน บาทหลวงเฆี่ยนด้วยหางกระเบน จึงเป็น
อันว่าต้องไปเข้าโรงเรียนราชินีล่าง เป็น นักเรียนกินนอน จ�ำได้ว่าเป็นเด็กผู้ชายคน เดียวที่เขารับกินนอน เลยกลายเป็นตุ๊กตา ให้บรรดาพีผ่ หู้ ญิงจับแต่งตัวเป็นตุก๊ ตาเล่น ตามใจชอบอยู่ ๒ ปี จนถึงอายุวชิราวุธฯ ยอมรับจึงได้เข้ามาวชิราวุธฯ ได้หมายเลข ประจ�ำตัว ๒๔๙ และอยู่คณะหลวงอิงคศรี กสิการ (หรือคณะพญาไทในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ถึงตรงนี้เลยสงสัยตัวเองว่า ท�ำไมจึงไปอยู่คณะหลวงอิงฯ ทั้งๆที่เคยมี พี่ชายวีรดิศอยู่คณะผู้บังคับการหรือคณะ เจ้าคุณปรีชานุสาสน์ เลยลงมติเอาว่าคง เป็นเพราะท่านเจ้าคุณอยากเฉลี่ยบรรดา หม่อมเจ้า ซึง่ ตอนนัน้ มีอยูม่ ากองค์ไปตาม คณะต่างๆ มากกว่า คณะอื่นเวลานั้นยังมี คณะพระสันธิวิทยาพัฒน์ (คณะดุสิต) และ คณะพระประทัตสุนทรสาร (คณะจิตรลดา) คณะผมมี ห ม่ อ มเจ้ า องค์ ห นึ่ ง มี พระนามว่าหม่อมเจ้ากิตติสุริโยภาส สุริยง อยู ่ ชั้ น สู ง กว่ า ผมท่ า นมี พ ระนามเล่ น ว่ า “ท่านนิด” บังเอิญผมก็มีชื่อเล่นว่า “ท่าน นิด” เหมือนกัน จึงมีปัญหาเกิดขึ้นเพราะ พีส่ าวผมให้เด็กเอาขนมมาส่งให้เป็นประจ�ำ แต่ ไ ม่ เ คยบอกชื่ อ จริ ง ของผม ท่ า นนิ ด องค์นั้นจึงได้เสวยเป็นลาภพระโอษฐ์มา ตั้งนานกว่าความจะแตก มีอีกพระองค์ หนึ่ ง พระนามว่ า หม่ อ มเจ้ า วิ สุ ท ธิ เ กษม เกษมสันต์ องค์นี้ท�ำคุณประโยชน์ไว้อย่าง หนึ่งคือ ป้องกันไฟไหม้หอประชุมไว้ได้
ต้องเข้าใจว่าพวกเด็กนักเรียนวชิราวุธฯ ทุกคณะนั้น เมื่อถึงเวลาสอบไล่แทบทุก คนจะต้องไปบนกับพระบรมรูป ร.๖ บน หอประชุม คืนหนึ่งชั่วโมง “เปร๊บ” ท่าน วิสุทธิฯ จึงทอดพระเนตรเห็นไฟก�ำลังลุก อยู่จึงโวยวายขึ้น ต้องส่งไปตีระฆังที่หอ นาฬิกาและหอประชุม จึงได้มกี ารเฮโลจาก ทุกคณะมาดับไฟ ท่านวิสทุ ธิฯ จึงได้รบั การ ประกาศเกียรติคุณพร้อมรางวัลไป การเป็ น เจ้ า และต้ อ งมาอยู ่ วชิราวุธฯ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช เช่นนั้น ไม่ช่วยให้มีสิทธิพิเศษเหนือใคร แต่อย่างใด ทุกคนจะต้องเสมอเหมือน กันหมด ตอนผมเข้าเรียนตึกวชิรมงกุฎยัง ไม่ ไ ด้ ส ร้ า งอาคารเรี ย นยั ง เป็ น เรื อ นไม้ หลังคามุงจากยาวติดต่อกันเป็นแถว ครู คนแรกชั้น ม.๑ ของผมคือ “ครูเนี้ยน” ผม เป็นเด็กมาจากโรงเรียนราชินีที่พูดค�ำแทน ชื่อ “ฉัน” เมื่อไปพูดกับครูเนี้ยน ผลก็คือ ถูกหักนิว้ พร้อมกับบอกว่า “ทีน่ ตี่ อ้ งพูด ผม จ�ำไว้” ผมจึงติดค�ำว่า “ผม” จนทุกวันนี้ก็ เพราะครูเนี้ยนแท้ๆ เมื่อจะสร้างตึกวชิรมงกุฎได้มีการ สูบน�้ำสระทิ้งเพื่อตอกเข็มท�ำเขื่อน ตอน นี้แหละกุ้งก้ามกรามและปลาลอยกันฟ่อง มั น เห็ น จะจะจนอดใจไม่ ไ หว ทุ ก คณะ พากันไปลงงมจับเป็นการใหญ่ นับเป็น มหกรรมประวัติศาสตร์ เพราะทุกคณะจะ ถูกเฆี่ยนเหมือนกันหมด จะเป็นเจ้าหรือ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 123
ไม่ไม่ส�ำคัญ นักเรียนโตจะแนะน�ำการลด อาการแสบก้น ด้วยการเอาก้นไถกับพืน้ หิน อ่อน ปรากฏว่าได้ผลดีจริงด้วย ความประทั บ ใจที่ ไ ด้ เ ข้ า มาอยู ่ วชิราวุธฯ คือ พระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินไี ด้เสด็จพระราชด�ำเนิน มาเยี่ยมบ่อยๆ มีทั้งงานประจ�ำปี ที่ทาง โรงเรี ย นจั ด แข่ ง ขั น กรี ฑ าถวายทอด พระเนตรหรื อ บางที ก็ เ สด็ จ ฯ เป็ น การ ส่วนพระองค์ มาทรงถ่ายภาพยนตร์เล็กที่ จ�ำได้ ดักลาส แฟร์แบงก์ ดาราภาพยนตร์ ตัวพ่อมีชอื่ ระยะนัน้ มาเทีย่ วเมืองไทย และ ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพามาถ่ า ยหนั ง ให้ เ ด็ ก นั ก เรี ย นเล่ น “ขี่ม้าชิงเมือง” หรือการปล�้ำข้ามสะพาน ไม้กระดานแผ่นเดียว ที่ทอดข้ามไปเกาะ กลางข้างไหนตกน�ำ้ หมดข้างนัน้ แพ้ ผมเอง มีส่วนภูมิใจตรงที่โรงเรียนเลือกผมถวาย ช่อดอกไม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ น้องชายสุภัทรดิศถวายสมเด็จพระบรม ราชินี แต่แล้วเหตุการณ์ผันแปร เมื่อมี การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชมาเป็ น ระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นักเรียนวชิราวุธฯ ได้ยินเสียงโห่ร้องพร้อม ทั้ ง เห็ น การเคลื่ อ นไหวทางทหารผ่ า น โรงเรียนไปที่ลานพระบรมรูป เราไม่เข้าใจ ในเหตุการณ์ แต่แล้วพี่ชายผมและครูก็
124
มาเล่าอธิบายให้ฟังจึงเป็นอันว่าดวงของ วชิราวุธฯ ก็เริ่มอับแสงแต่นั้นมา ด้านส่วนตัวผม ก็ต้องผจญกับการ พลั ด พรากเพราะพ่ อ ต้ อ งถู ก คุ ม ขั ง เป็ น ตัวประกัน เมื่อพ้นมาได้ก็ต้องไปรอฟัง เหตุการณ์ที่หัวหิน โดยเสด็จฯ พระบาท สมเด็ จ พระปกเกล้ า ฯ ที่ ไ ปประทั บ ที่ พระราชวั ง ไกลกั ง วล ในที่ สุ ด ต้ อ งตาม เสด็จฯ ไปอยู่สงขลาแล้วแยกไปอาศัยอยู่ ทีเ่ กาะปีนงั จนสงครามหาเอเชียบูรพาสงบ เป็นเวลาห่างจากบ้านไปถึง ๑๐ ปี ผมนัน้ ยังคงอยูว่ ชิราวุธฯ เพราะพ่อ สัง่ ว่าจะต้องส่งเสียให้เรียนหนังสือให้จงได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พี่ชายผมดิศานุวัติ จึงต้องรับเป็นผู้ปกครองนับแต่นั้นมา อีก ปีต่อมามีการรบกันระหว่างทัพฝ่ายเหนือ ที่พระองค์เจ้าบวรเดชยกมากับทัพคณะ ราษฎร์ มีเครื่องบินบินข้ามโรงเรียนโปรย ใบปลิว และมียิงปืน ป.ต.อ. ข้ามโรงเรียน อยู ่ บ ่ อ ยครั้ ง คณะผมตอนนั้ น คุ ณ พระ ปวโรฬารวิทยามาเป็นผูก้ �ำกับคณะแล้ว จึง อพยพพาครูและนักเรียนไปพักทีบ่ า้ นท่าน ที่หน้าสถานเสาวภา จนเหตุการณ์ปกติจึง กลับมาเรียนต่อก่อนคุณพระปวโรฯ จะมา ได้มีอาจารย์ศิรประภา บุญหลง มาเป็น แทนคุณหลวงอิงฯ อยูพ่ กั หนึง่ ด้วย ท�ำนอง เดียวกันก็ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงผูบ้ งั คับการ จากเจ้าคุณปรีชาฯ มาเป็นเจ้าคุณบรมบาท บ�ำรุง และพระพณิชยสารวิเทศ จนถึงเจ้า
คุณภะรตราชา และอาจารย์กลั ย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ตามล�ำดับส่วนพระสันธิฯ ก็ เปลี่ ย นมาเป็ น หลวงประคองวิ ช าสมาน และต่ อ มาจนถึ ง ปั จ จุ บั น เท่ า ที่ ผ มจ� ำ ได้ ผูก้ ำ� กับคณะทีย่ นื ยงกว่าใครเพือ่ นก็คอื คุณ พระประทัตสุนทรสารนีเ่ อง เพราะยังมารัง้ ต�ำแหน่งผู้ก�ำกับคณะแทนคุณพระปวโรฯ อีกต�ำแหน่งหนึ่งด้วย เหตุการณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์ไทย ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าฯ จ�ำต้องเสด็จพระราชด�ำเนิน คืนสูก่ รุงเทพมหานครจากสงขลาเพือ่ เจรจา ความเมืองกับคณะราษฎร และในที่สุด ก็ ไ ด้ ตั ด สิ น พระทั ย ที่ จ ะเสด็ จ ฯ ไปรั ก ษา พระเนตรที่สหรัฐฯ จนในที่สุดก็ทรงสละ ราชสมบัติและเสด็จมาประทับอยู่ที่เมือง อังกฤษจนสวรรคต นักเรียนวชิราวุธฯ มี ส่วนถวายความจงรักภักดีเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการรวบรวมนักเรียนอย่างกะทันหัน ไปส่งเสด็จฯ ทีพ่ ระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน ส�ำรวล พุกนานนท์ วชิราวุธฯ หมายเลข ๙๐ ได้บรรยายบรรยากาศตอนนั้นอย่าง ซาบซึ้งดังจะขอคัดมาให้ปรากฏอีกครั้ง “เวลานั้นที่นั่นไม่มีกองเกียรติยศ ไม่มวี งดุรยิ างค์ ไม่มขี า้ ราชบริพาร ไม่มใี คร เลย มีแต่ครูและนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธฯ เพียงร้อยกว่าคน ยืนเข้าแถวคอยส่งเสด็จ อยู่อย่างเงียบขรึม แดดจ้าแต่กลับวังเวง และเงี ย บเหงา เราท� ำ วั น ทยหั ต ถ์ เ มื่ อ
รถยนต์พระที่นั่งผ่านแถวช้าๆ เพราะจวน จะหยุดอยู่แล้ว เพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่ ง เคยดั ง ในหั ว อกดี นั ก กลายเป็ น อดี ต ไป แถวเราใกล้พระองค์ท่านอย่างเคย สี พระพักตร์และแววพระเนตรบอกเรื่องราว ทั้งหมด ช่างแตกต่างกับเวลาที่เสด็จไป โรงเรียนเราเสียจริงๆ สังหรณ์ใจว่าจะไม่ ได้เฝ้าท่านอีก พวกเราโตๆ กันขึ้นแล้ว คง รู้สึกเหมือนๆ กัน คือเศร้า หดหู่ ว้าเหว่ และสงสารพระองค์ท่านจับหัวใจ แต่การที่ ทอดพระเนตรเห็นแถวของพวกเราโดยที่ มิได้ทรงคาดหวัง และทรงเห็นสีหน้าของ พวกเราท� ำ ให้ แววรั น ทดนั้ น แฝงแววชื่ น พระทัยอยู่ด้วย ไม่มีใครพูดอะไรถึงเรื่องนี้ กันเลย แม้กระทั่งกลับมาถึงโรงเรียนแล้ว เริ่มเข้าใจค�ำว่า “พระเจ้าอยู่หัว” หมายถึง อะไร เราฟังเพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ เพราะอยู่เป็นนาน ตั้งหลายๆ ปี” และเป็นดังส�ำรวลพรรณนาไว้จริงๆ วชิ ร าวุ ธ ฯ แต่ นั้ น มาก็ ห มดสง่ า ราศี งบ ประมาณต่างๆ ถูกตัดทอนครูฝรั่งหลาย คนของโรงเรียนต้องถูกบอกเลิกสัญญา แต่ พวกเราก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ดั้งเดิมของเรา ด้ ว ยความเป็ น ปกติ เ สมอมา เช่ น การ เดินแถวไปถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า ทุกๆ วันที่ ๒๓ ตุลาคม รวมถึงการไปรับผ้า พระกฐินที่พระราชทานวัดเบญจมบพิตร จนทุกวันนี้ (อ่านตอนต่อไปฉบับหน้า) มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 125
ลอดรั้วพู่ระหงส์ เรื่องเล่าจากคนใกล้ ชิด
I dreamed a dream
ไม่ว่าคุณจะเรียกสิ่งนี้ว่า องุ่นเปรี้ยว หรือความ อิจฉาริษยา แต่มันเป็นสิ่งที่อยู่ในใจฉันมาโดยตลอด... ความฝันที่จะได้เป็นลูกวชิราวุธฯ – ความฝัน ที่ไม่สามารถจะเป็นไปได้ด้วยเหตุผลเพียงประการ เดียวคือการที่เกิดเป็น ‘เด็กหญิง’ โรงเรียนนี้จะดีสักแค่ไหนกันเชียว...ฉันพยายาม ปลอบใจตนเองด้วยความคิดอย่างพาลๆ พยายาม หาเหตุผลร้อยแปดพันประการมาเพื่อสนับสนุนความ คิดของตน และมองย้อนไปหลายยุคเพื่อที่จะพบความ จริงที่ถูกแบ่งคั่นด้วยกาลเวลาและคงจะต้องเริ่มตั้งแต่...
126
สมัยพ่อ...
ที่วชิราวุธวิทยาลัยเป็นเพียง
แค่โรงเรียนที่สร้างขึ้นแทนการสร้างวัดประจ�ำรัชกาล ¤ แค่ Public school แห่ ง แรกของสยามประเทศ โรงเรี ย นกิ น นอนที่ แตกต่างอย่างที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘stand out’ ¤ แค่โรงเรียนทีผ ่ ลิตคนทีเ่ ป็นก�ำลังให้แก่ชาติ ในวันทีส่ ถานทีใ่ ห้การศึกษา ยังมีเพียงน้อยนิด ¤ แค่โรงเรียนทีพ ่ อ่ รักจับใจ และมีน�้ำเสียงทีภ่ าคภูมเิ สียเหลือเกินในยามพูดถึง ¤ แค่โรงเรียนทีส ่ ร้างชีวติ ของพ่อและสอนพ่อให้เป็นคนดี... พ่อพูดว่าอย่างนัน้ ¤
ก็แค่เป็นโรงเรียน ‘พิเศษ’ในความรู้สึกของพ่อ
สมัยพี่ และเพื่อนพ้อง... วชิราวุธฯ เป็นเพียง
แค่โรงเรียนที่สอนความหมายของค�ำว่า ‘สุภาพบุรุษ’ ¤ แค่โรงเรียนที่ไม่เพียงแต่สร้างนักกีฬา แต่ยังสร้างสปิริตแห่งนักกีฬา ¤ แค่โรงเรียนทีเ่ สาะหาครูบาอาจารย์ทเี่ ชือ ่ ว่าดีทสี่ ดุ ของยุคสมัยในทุกด้าน มาสอนเด็กนักเรียนที่เรียนบ้างหลับบ้าง ¤ แค่โรงเรียนที่ผู้บังคับการสูงอายุมีภาพลักษณ์ชวนให้คิดถึงค�ำว่าคร�่ำครึ แต่แท้จริงแล้วมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเฉียบคม ¤ แค่โรงเรียนที่ใช้เด็กเป็นศูนย์กลางก่อนที่ใครจะเคยคาดคิด และเข้าใจ ถึงศักยภาพในความแตกต่าง ¤ แค่แหล่งก�ำเนิด บุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคม นักวิชาการระดับชาติ นัก ดนตรีที่เป็นเอก นักกีฬาชั้นเลิศ และศิลปินแห่งชาติ อย่างนับไม่ถ้วน ¤ แค่สถานศึกษาทีเ่ พลงประจ�ำโรงเรียนท่อนหนึง ่ มีเนือ้ ความว่า...รูร้ กั ชาติ ศาสน์กษัตริย์เป็นฉัตรชัย อีกรู้เสียสละได้ด้วยใจงาม ¤ แค่ที่ที่ปลูกฝังรากแก้วแห่งมิตรภาพอันยั่งยืน ให้ผู้ที่เคยอยู่ได้ระลึกถึง ด้วยความสุขอย่างไม่มีที่ใดเหมือน… พี่พูดว่าอย่างนั้น ก็แค่เป็นโรงเรียน ‘พิเศษ’ ในสายตาของพี่ ¤
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 127
สมัยลูก... ก็ยังเป็นเพียง
แค่โรงเรียนทีเ่ ปิดโอกาสให้เด็กได้ คิด และ ท�ำ ตามศักยภาพสูงสุดทีเ่ ขา พึงมี ¤ แค่โรงเรียนที่ให้เด็กได้เรียนรู้และเล่นด้วยความเพลิดเพลิน ¤ แค่โรงเรียนที่ให้ทุกสิ่งเพื่อที่จะเสริมสร้าง Competency (ความรู้ความ สามารถ) Quality (ความเป็นคนที่มีคุณภาพ) และ Integrity (ความ ภูมิใจในเกียรติภูมิ) ¤ แค่สถาบันอันเป็นเอกลักษณ์ที่ท�ำให้เด็กรู้สึกว่าเขาได้หมุนทันโลกและ ย่างก้าวอย่างมีศักดิ์ศรี ¤ แค่ความทรงจ�ำที่ท�ำให้เด็กคนใดก็ตาม ได้ย้อนระลึกถึงด้วยความซึ้งใจ และขอบคุณ.....ลูกพูดว่าอย่างนั้น ¤
ก็แค่ไม่ใช่โรงเรียนธรรมดา แต่เป็นโรงเรียนที่มีความ ‘พิเศษ’ ในจิตใจของลูก... เท่านั้นเอง ถึงฉันจะเบื่อค�ำว่า ‘พิเศษ’ นี้เต็มที และถึงแม้ผลผลิตที่ออกมาจะ เปรียบเสมือนเหรียญทีม่ สี องด้าน แต่ดว้ ยความพิเศษนีก้ ระมังทีท่ ำ� ให้หลาย ต่อหลายคนฝันใฝ่อยากมีชื่อเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ และ เรียกตนเองว่า โอวี เมื่อจากมา มีบางยุคบางสมัยที่ฉันห่างเหินและไม่ได้สัมผัส แต่ก็วางใจว่าความ เป็นตัวตนนั้นยังคงอยู่ ใครบางคนเคยพูดว่า การสร้างนั้นยาก การ ท�ำลายนั้นง่าย แต่การรักษาไว้นั้นยากยิ่งกว่าสิ่งใด ดังนั้น ค�ำว่าพิเศษ ในทีน่ ี้ จึงไม่ตอ้ งการการหล่อหลอมเพือ่ ให้เกิดเพียงค�ำว่า ‘เหมือน’ หากแต่ ต้องการความมีศักยภาพ วิสัยทัศน์ ความเป็นผู้น�ำ ความเสียสละ และการ เป็นแบบอย่าง ในอันที่จะ ปรับ เพื่อ แปลงให้ความพิเศษนั้นเข้ากับวาระ อันผันแปรของโลก
128
ถึงจะเต็มไปด้วยความริษยา แต่บางครั้งก็นึกขอบคุณโชคชะตาที่ ท�ำให้ฉันได้รายล้อมโดยผู้คนที่ได้สัมผัสกับความพิเศษเช่นนั้นหลายต่อ หลายคน ต่างคนต่างแบบ ทั้งที่ท�ำให้เกิดความซาบซึ้งกับค�ำว่าเสียสละ เพื่อก่อให้เกิดสิ่งที่ดีงาม และทั้งที่ท�ำให้รู้สึกเสียดายกับความไม่แยแสที่จะ หวงแหนสิ่งมีค่าที่ตนเคยมีนั้นไว้ ฉันมีความหวังอย่างเหลือเกินว่าสักวันหนึง่ จะได้ตอ่ เติมบทความนี้ อีกครั้งในย่อหน้า ‘สมัยหลาน’ และเมื่อเวลามาถึง แม้โลกจะเปลี่ยนแปลง ไปสักเท่าใด ฉันยังคงฝันว่าความเป็นตัวตนที่ท�ำให้วชิราวุธฯ แตกต่างจาก โรงเรียนอื่นนั้นจะยังด�ำรงคงอยู่ จนบัดนี้ วชิราวุธวิทยาลัย ก็ยังคงเป็นโรงเรียนในฝันของฉัน เป็นความฝันที่สวยงามนัก ส�ำหรับคนที่เฝ้าแต่ฝันและไม่เคยมีโอกาส ก็คงได้แต่เพียงหวังว่า ผู้โชคดีที่ได้พานพบความภาคภูมิแห่งการเป็นลูกวชิราวุธฯ จะช่วยกันดูแล ปกป้อง ‘จิตวิญญาณ’ แห่งสถาบันนี้ไว้ และรักษาให้คงอยู่ตลอดไป ขอได้โปรดอย่าท�ำลายความฝันของฉัน...อย่าให้เหมือนบทสุดท้าย ของเพลงจากละครโด่งดังเรื่อง Les Miserables ที่เขียนไว้ว่า…
So different now from what it seemed Now life has killed the dream… I dreamed.
อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 129
สนามหลัง ข่าวสารสมาคมฯ วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๓.๓๐ น. โดยนายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง ประธานฝ่ายกิจกรรมพิเศษสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมกับวชิราวุธวิทยาลัย จัดโครงการทัศนศึกษา ภายในโรงเรียนวชิราวุธฯ เพื่อพาผู้ปกครองเข้าเยี่ยมชมสถานที่ ภายในโรงเรียน
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 131
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ มูลนิธิชัยพัฒนา นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นายกสมาคมฯ และ ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยพร้อม ทั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ น�ำกระเช้าเข้าคารวะ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
132
วันจันทร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นักเรียนเก่าฯ รุ่น ๔๗ จัดท�ำโครงการ “โอวี ๔๗ รักษ์ ปี่สก๊อต” มอบเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการบ�ำรุงรักษาปี่สก๊อตในปีวงเงินปีละ ๔๐,๐๐๐ บาท เป็นระยะเวลา ๖ ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๒-๒๕๕๗ รวมวงเงินทั้งสิ้น ๒๔๐,๐๐๐ บาท เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี วชิราวุธวิทยาลัย
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 133
วันอังคารที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุม อาคารอัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ร่วมแสดงความยินดี แก่ นายสุรพล เศวตเศรณี โอวี ๔๓ ทีไ่ ด้รบั ต�ำแหน่งผูว้ า่ การ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย และ พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา โอวี ๕๑ ได้รับต�ำแหน่ง ผบช.ประจ�ำส�ำนักงาน ผบ.
134
ปากซอยสุขมุ วิท ๔๙ โทร. ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕, ๐๒-๒๖๐-๐๗๙๓
วันกลับบ้าน จากทีมงานอนุมานวสาร
จากวั น แรกที่ ผ มได้ เ ดิ น เข้ า ไปขอ ร่วมเป็นทีมงานอนุมานวสาร มาจนถึงวัน นี้ก็เป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว หนึ่งปีที่ผ่าน มานี้ ผมค่อยๆ ซึมซับรับเอาบรรยากาศ การท�ำงานที่ “ประหลาด” ไม่เหมือนใคร แต่กลับมีเสน่ห์มัดใจจนผมไปไหนไม่ได้ ที่ผมใช้ค�ำว่า “ประหลาด” นี้ เป็นเพราะ การท�ำงานของทีมงานอนุมานวสารนั้น ก็ “ประหลาด” จริงๆ จะมีการประชุม งานที่ไหนอีกหรือ ที่จะนั่งคุยกันบนพื้น พร้อมกับจิบเครื่องดื่มและแกล้มอาหาร ไปพลางๆ คุยเรื่องเฮฮาข�ำขันกันอยู่ดีๆ ก็ เปลีย่ นโทนกลายเป็นเรือ่ งงานคุยกันจริงจัง เอาดื้อๆ หรือวันดีคืนดีก็นัดไปสัมภาษณ์ ใครต่อใครได้รวดเร็วไม่ทนั ตัง้ ตัว เหมือนกับ ครัง้ ทีผ่ า่ นมา ทีอ่ ยูด่ ๆี ผมก็ได้รบั อีเมล์บอก เลื่อนให้ไปจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสัมภาษณ์ คุณลุงมีชัย วีระไวทยะ เร็วกว่าก�ำหนด เดิมตั้งเกือบเดือน ถึงแม้ว่าผมจะต้องยอม พลาดเรื่องส�ำคัญอย่างการเรียนไปถึงหนึ่ง วันเต็ม แต่จะให้ท�ำอย่างไรได้ เมื่อผมโดน เสน่ห์ของทีมงานอนุมานวสาร มัดไว้แน่น ขนาดนั้นแล้ว
การเดินทางครั้งนี้ของผมนั้นคุ้มยิ่ง กว่าคุม้ เสียอีก เพราะเมือ่ ขึน้ ชือ่ ว่าเป็นการ เดินทางไปกับทีมงานอนุมานวสาร จะให้ เป็นการเดินทางธรรมดาๆ ไม่ได้ เพราะ ทีมงานอนุมานวสาร มักจะท�ำให้การเดิน ทางแต่ละครั้งนั้นเป็นเรื่องไม่ธรรมดาอยู่ เสมอไป เช่นเดียวกับครัง้ นีท้ อี่ าจจะไม่นาน นัก กินเวลาเพียงแค่สองวันหนึง่ คืนเท่านัน้ แต่กย็ าวเพียงพอทีจ่ ะกินใจของผมได้อย่าง ไม่ มี ข ้ อ สงสั ย สาเหตุ ที่ ส�ำ คั ญ ย่ อ มต้ อ ง เป็นการได้ฟังคุณลุงมีชัย เล่าเรื่องสารพัด ตั้งแต่ที่มาของไข่กระทะ ไปถึงเรื่องการ พัฒนาสังคมอย่างไร จึงจะท�ำให้ยั่งยืนได้ ผมได้แต่นงั่ อึง้ กับความรูค้ วามคิดทีพ่ รัง่ พรู มาจากคุณลุงมีชยั เหมือนกับว่าสิง่ เหล่านัน้ มีมากจนไม่มีที่สิ้นสุด ปริมาณที่ว่ามาก แล้ว แต่คณ ุ ภาพมีอยูม่ ากกว่าหลายเท่าตัว ความคิดแต่ละเรื่องที่คุณลุงมีชัยเล่าให้ฟัง เป็ น เหมื อ นกั บ หมั ด ที่ น็ อ คเอาความคิ ด เก่าๆ ไร้สาระในหัวของผมออกไปเกือบ หมด รอยช�ำ้ ทีไ่ ด้รบั ยิง่ ย�ำ่ ลงไปในสมองของ ผม ท�ำให้ผมคิดได้วา่ ตัวเองเสียสละเพือ่ ตัว เองมาเพียงพอแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องเริ่ม มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 137
เสียสละให้คนอื่นบ้าง เพียงแค่นี้ผมก็แพ้ น็อคให้กับความคิดของคุณลุงมีชัยตั้งแต่ ระฆังยกแรกยังไม่ดังด้วยซ�้ำ สิ่งที่ผมได้จากคุณลุงมีชัยเป็นเรื่อง ที่สร้างแรงบันดาลใจที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอ มา เช่นเดียวกับการเดินทางไปกับทีมงาน อนุมานวสาร ครั้งนี้ก็เป็นการเดินทางที่ ท�ำให้ผมประทับใจที่สุดจนลืมไม่ลง เพราะ นอกจากการดูแลอันแสนอบอุน่ น่ารัก และ อิ่มเอมแบบเป็นกันเองสุดๆ แล้ว ตลอด การเดินทางครั้งนี้ผมท�ำให้ผมเชื่อว่าคนที่ มีอะไรเหมือนๆ กัน มักจะต้องโคจรมา เจอกันอยู่เสมอ ผมค่อนข้างจะมั่นใจว่า อย่างน้อยที่สุด ผมและพี่ๆ ในทีมงาน อนุมานวสารทุกคน เรามีสิ่งหนึ่งที่มีส่วน ร่วมเหมือนกัน พวกเราล้วนแต่มีความ ผูกพันกับความเป็นวชิราวุธฯ ไปไม่น้อย กว่ากันเลย แม้ว่าเวลาจะเพิ่มระยะห่างไม่ ให้เราได้เจอกันตอนอยูโ่ รงเรียน แต่สดุ ท้าย แล้วความผูกพันนี้ก็พาเราโคจรมาพบกัน จนได้ สิ่งที่มายืนยันว่าเรื่องนี้เป็นจริง ก็ คงเป็ น บทสนทนาในการเดิ น ทางครั้ ง นี้ เกือบทั้งหมด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความ เป็นวชิราวุธฯ เกือบทั้งสิ้น เราแบ่งกันคุย ในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นมุกตลกสมัยยังเป็น เด็กในโรงเรียน หรือจะวีรกรรมที่ตอนเด็ก
138
เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย แต่พอมาเล่า ใหม่ตอนนี้กลับกลายเป็นเรื่องชวนข�ำขัน พวกเราคุยเลยจากอดีตไปจนถึงอนาคต ทางเดินของโรงเรียนที่ไม่อยากเห็นเดินซ�ำ้ ย�่ำอยู่กับอดีตเท่านั้น นอกจากบทสนทนาหลากรสหลาย เรื่องของโรงเรียนแล้ว การดูแลอันแสน อบอุ ่ น เป็ น กั น เองสุ ด ๆ ของครอบครั ว อนุมานวสาร เป็นการพิสูจน์ความผูกพัน ชาววชิราวุธฯ ได้เป็นอย่างดี พีแ่ ละน้องต่าง ผลัดกันดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน น้องๆ ช่วยถือของ พี่ๆ ก็เลี้ยงข้าวน้องๆ จนอิ่ม อร่อยทุกมื้อ เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่าง พี่กับน้องที่คุ้มกว่าคุ้มเสียอีก ความรู้และความสนุกอาจจะเป็น สองสิ่งแรกที่ผมได้รับตอนไปบุรีรัมย์ครั้ง นี้ แต่ เ มื่ อ การเดิ น ทางครั้ ง นี้ จ บไปแล้ ว ผมพบว่าสิ่งที่ผมได้รับมามากที่สุด เป็น ความสุขที่ผมสามารถบอกตัวเองได้ว่าผม เป็นวชิราวุธฯ เพราะถ้าผมไม่ได้เป็นหรือ มีความผูกพันกับสถาบันแห่งนี้ ผมคงไม่ ได้ ม านั่ ง พิ ม พ์ บ ทความให้ ไ ด้ อ ่ า นกั น ใน อนุมานวสารฉบับนี้ และผมก็คงจะไม่ได้ ร่วมการเดินทางที่ประทับใจไม่ลืมครั้งนี้ แน่นอน ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ (รุ่น ๗๙)
ห้องเบิกของ ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี ห้องเบิกของเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของพี่น้องชาวโอวี เพื่อให้ ชาวโอวีอุดหนุนซึ่งกันและกัน หากต้องการจะลงประกาศหรือแนะน�ำธุรกิจ กรุณาแจ้ง รายละเอียดพร้อมหมายเลขติดต่อมายัง ovnewsletter@yahoo.com ไม่มคี า่ ใช้จา่ ยใด ๆ
ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�้ำ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง (รุ่น ๕๐) และ พี่โจ้ (รุ่น ๕๔) ตั้งอยู่ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียมติดแม่น�้ำเจ้าพระยา (มีทั้งวิวริมน�้ำ และวิ ว นั ก ว่ า ยน�้ ำ ) ถนนพิ บู ล สงคราม นนทบุ รี โทร. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ ร้านครัวกะหนก ร้านของภรรยา พ.ต.ท.กุลธน ประจวบเหมาะ (รุน่ ๕๕) สถานทีต่ งั้ จากถนนลาดพร้าว เข้าซอยลาดพร้าว ๗๑ ประมาณ ๑๕๐ เมตรอยูซ่ า้ ยมือ ส�ำหรับชาวโอวีทุกท่าน รับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐% สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม โทร. ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ ร้านอาหารห้องแถว ษาเณศวร์ โกมลวณิช (รุน่ ๖๙) รับช่วงต่อจากที่บ้านดูแลกิจการร้านอาหารเหนือ สุดแสนอร่อยบนถนนนิมมานเหมินทร์ ถนนสายฮิป แห่งเมืองเชียงใหม่ เมนูแนะน�ำคือ แกงโฮ๊ะ ปลาสลิด ทอดฟู และแหนมผัดไข่ โทร. ๐๕๓ ๒๑๘ ๓๓๓ ร้านอาหาร อิงน�ำ้ ของพีอ่ งึ่ (รุน่ ๓๙) ตัง้ อยูร่ ะหว่าง จรัญ ๗๓-๗๕ (เลย Lotus มาประมาณ ๑๐๐ เมตร) อาหารอร่อยมาก ราคาก็ไม่แพง พี่อึ่ง เป็นกันเอง มาก ลองไปชิม รับรองไม่ผิดหวัง ร้านอาหาร บ้านประชาชื่น ของพี่บูน บวรพิตร พิบลู สงคราม (รุน่ ๔๖) คณะพญาไท เวลาท�ำอาหาร ๑๐.๓๐-๑๕.๓๐ น. ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มวี นั หยุด เสาร์
และอาทิตย์ คนแน่นมาก ควรรีบไปแต่เนิ่น ๆ เมนู เลือ่ งชือ่ ข้าวแช่ ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบลู สงคราม ที่ สืบทอดสูตรมาจากต้นตระกูลสนิทวงศ์ ความอร่อย ต้องไปลิ้มรสด้วยตนเองจะดีที่สุด ตั้งอยู่ที่ ๓๗ ซอย ประชาชื่น ๓๓ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ ถ้าไปไม่ถูก หรือ ต้องการจองโต๊ะ โทร. ๐๒-๕๘๕๑๓๒๓ หรือ มือถือ ๐๘๙-๐๕๗๑๖๑๓, ๐๘๑-๖๑๙๒๖๑๐ ร้าน HOW TO ภิญโญ โอวีคณะผู้บังคับการ (รุ่น ๔๔) ตั้งอยู่ปากซอยอินทามระ ๒๖ มีดนตรี แนว เพลง Acoustic Guitar และ Folk Song ส่วนลด ส� ำ หรั บ ชาวโอวี ลดค่ า อาหาร ๒๐% สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ OZONO PLAZA ของคมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) อยู่ท้ายซอยสุขุมวิท ๓๙ (พร้อมพงษ์) หลังตึก อิตลั ไทย เป็นแหล่งรวมร้านค้าทีต่ อบสนอง Life Style ของคน (และสัตว์เลี้ยง) ทุกรุ่น ภายในมีร้านอาหาร ร้านเฟอร์นิเจอร์ Pub ร้านเสื้อผ้า Coffee Shop ร้านท�ำผม Waxing ร้านท�ำเล็บ ร้านแผ่นเสียง ร้านขายสินค้าส�ำหรับสัตว์เลี้ยง Spa อาบน�้ำ ตัดขน สุนัขและแมว โรงแรมสุนัข โรงแรมแมว และยังมี Dog Park ส�ำหรับสมาชิกเท่านั้น ชมรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ www.ozono.us หรือถ้ามาไม่ถูก ติดต่อ ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ ชาวโอวีท่านใดสนใจ สมัครสมาชิก Dog Park จะได้รับส่วนลด
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 139
The Old Phra Arthit Pier พงศ์ธร เพชรชาติ (รุ่น ๖๐) ร้านอาหารสวยริมแม่น�้ำเจ้าพระยา ใกล้ ๆ กับท่าพระอาทิตย์ ส�ำหรับชาวโอวีมสี ว่ นลดให้ ๑๐% โทรมาจองโต๊ะได้ที่ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ หรือถ้ามาไม่ ถูกติดต่อได้ที่ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒ TOYS Pub and restaurant RCA ชัชวลิต ศิรทิ รัพย์ (บอส รุ่น ๗๐) ผันตัวเองจาก VJ Channel [V] มาท�ำ ร้านอาหารกึง่ ผับแถว RCA เปิดต้อนรับโอวีทงั้ วัยรุน่ วัยท�ำงาน หรือแม้แต่รุ่นเก๋ากึ้กส์ จะเลี้ยงรุ่น เลี้ยง วันเกิด สามารถแวะเวียนมาได้ บอสยินดีจัดสรรทั้ง
สถานที่ และราคาส่วนลดให้อย่างเต็มที่ สนใจติดต่อ ๐๘๑-๓๗๒-๘๒๗๑ เปิดทุกวันที่ RCA พระราม๙ ร้านอาหารชิมิ ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (รุน่ ๔๔ ) ร้ า นชาบู ช าบู แ ละยาคิ นิ คุ ในแบบของโฮมเมด (อ่านรายละเอียดได้ในคอลัมน์โรงเลี้ยง ฉบับที่ ๑/๒๕๕๒) คุณภาพเยี่ยมราคาย่อมเยาว์ เหมาะกับ การกินในช่วงหน้าหนาวพอดี อยากหาอะไรอร่อย กระแทกลิ้น เชิญได้ที่ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ โทร ไปจองโต๊ะล่วงหน้าได้ที่เบอร์ ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ หรือ อีเมล์ shimi_restaurant@hotmail.com
โรงแรม บ้านไร่วิมานดินออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ จังหวัด กาญจนบุรี ชาย พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ่น ๔๔) ไปพักผ่อนสบาย ๆ ภายใต้บรรยากาศความ เป็นธรรมชาติด้วยราคาสบายกระเป๋า นอกจากจะ ได้มาพักผ่อนแล้ว ทางบ้านไร่วิมานดินยังจัดเตรียม อาหารปรุงจากผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพื่อล้างสารพิษ และฟื้นฟูสุขภาพของท่านให้แข็งแรง ส�ำหรับพี่น้อง ที่ ส นใจ อยากไปสั ม ผั ส ธรรมชาติ อ ย่ า งเต็ ม อิ่ ม โทรศัพท์ไปจองได้ที่ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ หรืออยาก หาข้อมูลเพิ่มเติม ก็เข้าไปดูได้ที่ www.vimarndin farmstay.com ส�ำหรับชาวโอวี ลดราคาให้พิเศษ
ชุ ม พรคาบานาและศู น ย์ กี ฬ าด� ำ น�้ ำ ลึ ก วริ ส ร รักษ์พันธุ์ (รุ่น ๖๑) ที่หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร ให้บริการทีพ่ กั สัมมนา และบริการด�ำน�ำ้ ลึก มีคอร์ส สอนด�ำน�ำ้ ลึก และมีเรือพาออกด�ำน�ำ้ ในทะเลชุมพร ส�ำนักงานกรุงเทพฯ โทร. ๐๒-๓๙๑-๖๘๕๙ มือถือ ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ชุมพร โทรศัพท์ ๐๗๗-๕๖๐ ๒๔๕-๗ เว็บไซต์ www.chumphoncabana.com
ดิ โอ.วี. คันทรี รีสอร์ท กมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) เปิดโรงแรมกลางเมืองจันทบุรี ชนิดที่ว่าใครขับ รถผ่านต้องรู้ว่าเป็นของโอวีทันที เพราะเต็มไปด้วย กลิน่ อายและของตกแต่งสมัยอยูโ่ รงเรียนของตนเอง และลูกชาย โทร. ๐๘๑-๘๓๓-๒๑๒๕
ไร่ภูอุทัย ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ�ำนวยศิลป์ อุทัย (รุ่น ๗๑) และ รังสรรค์ อุทัย (รุ่น ๗๒) สัมผัสบรรยากาศบนภูอุทัยที่ล้อมรอบ ด้วยธรรมชาติของอุทยานฯ เขาใหญ่ สูดรับอากาศ บริสทุ ธิด์ ว้ ยโอโซนระดับ ๗ มีลานกว้างบนเนินเขาที่ มองเห็นทิวเขาได้ ๓๖๐ องศา พร้อมกิจกรรมมากมาย ติดต่อได้ที่ ๐๘๐-๔๙๙-๙๐๒๔ หรือ ๐๘๑-๙๙๑๙๙๔๓ หรือแวะชมเว็บไซต์ก่อนที่ http://www. phu-uthai.com/ ชาวโอวีราคาพิเศษ
โรงแรม รัตนาปาร์ค มาฆะ พุ่มสะอาด (รุ่น ๕๕) ท�ำงานอยูโ่ รงแรม รัตนาปาร์ค ทีพ่ ษิ ณุโลก ฝากบอก ว่าถ้าโอวีท่านไหนมาก็ให้โทรบอกได้เลย จะดูราคา ค่าห้องให้พิเศษ โทร. ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ เบอร์ โรงแรม ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑
140
The Bihai Huahin ตั้งอยู่ที่ ๘๙ หมู่ ๕ บ้าน หัวดอน ต� ำบลหนองแก อ�ำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๑๑๐ โอวีลด ๒๐% โทร. ๐๓๒๕๒๗๕๕๗-๖๐ เว็บไซต์ www.thebihaihuahin.com
ตาลคู่ บีช รีสอร์ท อลงกต วัชรสินธุ์ (รุน่ ๗๕) ตัง้ อยูใ่ น อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช รีสอร์ทสวยริมทะเลใส ใกล้เกาะสมุย กลัวไปไม่ถูกติดต่อเจ้าตัวได้โดยตรง ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ หรือ g_got75@hotmail.com Keereeta Resort คีรีตารีสอร์ท อุรคินทร์ ไชยศิริ กิมจิ (รุ่น ๗๐) ท�ำธุรกิจ โรงแรมและรีสอร์ทอยู่เกาะ ช้างใครสนใจอยากไปพักผ่อนท่องเที่ยว จัดสัมมนา ยินดีตอ้ นรับชาวโอวีทกุ ท่าน พร้อมให้บริการในราคา พิเศษสนใจติดต่อได้ที่ (กิมจิ) ๐๘๙-๗๔๘-๗๕๒๘ Amphawa River view ชโนดม โชติกพนิช (ดม) (รุน่ ๗๐) เปลีย่ นบ้านพักริมแม่นำ�้ แม่กลองของตัวเองเป็น โฮม์สเตย์รมิ น�ำ้ ตลาดน�ำ้ อัมพวา กับบรรยากาศตลาด น�้ำและวิถีชีวิตของคนไทยริมฝั่งแม่น�้ำ ยินดีต้อนรับ โอวี ทุ ก ท่ า นในราคาเบาๆ ติ ด ต่ อ สอบถามได้ ที่ (๐๓๔-๗๕๑-๒๐๒, ๐๘๖-๓๒๙-๙๕๒๒) หรือเข้าชม ที่พักได้ที่ www.amphawariverview.com
“ณัฐฐาวารีนำ�้ พุรอ้ น” ภวิษย์พงศ์ พงษ์สมิ า (รุน่ ๗๖) หั น มาเปิ ด รี ส อร์ ท เพื่ อ เป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ใหม่ของจังหวัดกระบี่ เชิญพักผ่อนแบบสบาย ๆ อาบน�้ำแร่แช่น�้ำร้อนท่ามกลางธรรมชาติ โดยมี ทีเด็ดที่มัจฉาบ�ำบัด น�ำเข้าปลาจากต่างประเทศ มาช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดี ขึ้น โดยปลานับพันจะกินเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ของเราซึ่งจะช่วยบ�ำรุงสุขภาพผิวให้ดียิ่งขึ้น ภายใน ณัฐฐาวารีประกอบด้วยสระน�้ำร้อนเล็กใหญ่จ�ำนวน ๗ สระ สระว่ายน�้ำ และบ่อปลามัจฉาบ�ำบัด ซึ่งหาก ต้องการการอาบน�้ำแร่แบบส่วนตัวเรายังมีหอ้ งอาบ น�้ำแร่ส่วนตัวอีก ๒๐ ห้อง ในส่วนของรีสอร์ทขณะนี้ ก�ำลังก่อสร้างคาดว่าจะเสร็จในเดือนธันวาคม สนใจ ติดต่อ ๐๗๕-๖๐๑-๖๔๒ หรือ ๐๘๙-๗๘๐-๖๔๗๖ ส�ำหรับโอวีเราลดให้พเิ ศษอยูแ่ ล้วครับ ดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ www.natthawaree.com
บริการ ถ่ายรูป ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ช่างภาพใหญ่ ประจ�ำอนุมานวสารลาออกจากการเป็นนักข่าว มาประกอบธุรกิจส่วนตัวบอกว่าไม่ชอบให้ใครมา ก�ำหนดเวลา ออกมาท�ำงานอิสระเสียเลยดีกว่า ถนัด รับถ่ายรูปงานแฟชัน่ งานเฉลิมฉลอง และถ่ายรูปใน สตูดิโอ ทั้งถ่ายบุคคลและผลิตภัณฑ์ สตูดิโอของเขา ตัง้ อยูใ่ นหมูบ่ า้ นการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ โทร. ๐๘๗๐๕๑-๘๖๐๕ อี เ มล์ nat_vc72@hotmail.com หรือแวะชมผลงานก่อนได้ที่ www.natphoto.com ไร่ บี เอ็น จุลพงศ์ คุม้ วงศ์ (รุน่ ๔๘) พีโ่ จ้ท�ำไร่ บี เอ็น เกีย่ วกับสวนผัก ผลไม้ และดอกไม้ ทีน่ มี่ ชี อื่ เรือ่ งลิน้ จี่ (นรก) เพราะขายแพงโคตร ๔๐๐-๗๐๐ บาท/กก. ส่ง ขายทีห่ า้ ง เอ็มโพเรียม เซ็นทรัลเวิลด์ เท่านัน้ แต่ถา้ มา ซือ้ ทีไ่ ร่จะลดให้พเิ ศษ เหลือ ๑๐๐-๒๐๐ บาท ฝากบอก ชาวโอวีวา่ ถ้าผ่านมาเขาค้อ ก็แวะมาเยีย่ มเยือนบ้าง โทร. ๐๕๖-๗๕๐-๔๑๙ มือถือ ๐๘๑-๙๗๓-๘๕๕๒
โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet น.สพ.อุรินทร์ คช เสนี (รุน่ ๗๑) รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด ท�ำหมัน เอ๊ ก ซเรย์ ขู ด หิ น ปู น อาบน�้ ำ -ตั ด ขน บริ ก าร นอกสถานที่ รั บ ปรึ ก ษาปั ญ หาสั ต ว์ เ ลี้ ย ง ฝาก เลี้ ย ง (pet hotel) ขายอุ ป กรณ์ แ ละอาหาร สั ต ว์ ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รั ต นาธิ เ บศร์ อ.เมื อ ง จ.นนทบุรี เปิดบริการทุกวัน ๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. โทร.๐๒-๙๖๙-๘๔๘๙ / ๐๘๙-๘๑๖-๘๑๓๘ แฟรงค์บราเดอร์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) อดีตหัวหน้าวงจุลดุริยางค์ ที่เคยน�ำวงไปแสดงที่ โรงเรียนสาว ๆ ทัว่ ราชอาณาจักร หันมาท�ำธุรกิจดนตรี อย่างจริงจัง มีสาขาที่กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ขาย เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคลาสสิก มี ไวโอลินเก่าตั้งแต่ระดับมืออาชีพ ควรค่าแก่การเก็บ สะสม จนไปถึงไวโอลินคุณภาพดีราคาย่อมเยาว์ โทร. ๐๒-๖๓๒-๘๘๒๓-๔
มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 141
ร้านตัดผม Sindy Lim ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพ บุรษุ และสุภาพสตรีฝมี อื เยีย่ มของแท้และดัง้ เดิมบน ปากซอยสุขุมวิท ๔๙ (เข้าซอยอยู่ขวามือ ตรงข้าม เซเว่นอีเลฟเว่นและร้านก๋วยเตี๋ยวแซว) ของทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) หากก�ำลังจะหาร้านท�ำผมเพื่อ ออกงานหรือเปลี่ยนลุคแล้วละก็ เชิญไปใช้บริการ ได้ ติดต่อไปที่ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕, ๐๒-๒๖๐-๐๗๙๓ หรือต้องการติดต่อเจ้าของร้านโดยตรง โทรตามได้ที่ ๐๘๑-๙๒๓-๒๓๗๓ ร้านฟูฟู เจษฎา ใยมุง (รุน่ ๖๕) และภรรยาเปิดบริการ อาบน�้ำ/ตัดขนสุนัข บริการรับฝากสัตว์เลี้ยงกลาง เมืองจันท์ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร. ๐๘๑- ๓๕๓-๒๘๖๕ และ ๐๘๖-๓๘๙๙๔๕๐
บริษัท น�้ำ-ทอง เทรดดิ้ง จ�ำกัด ภณธร ชินนิลสลับ ซอมป่อย (รุ่น ๖๘) จ�ำหน่าย: น�้ำมันหล่อลื่น น�้ำมัน หล่อลื่นอุตสาหกรรมทุกชนิด (ปตท. บางจาก แมก ซิมา) ส�ำนักงานใหญ่: ๑๘๘/๑๐๗ หมู่ ๑ ต�ำบลคอ หงส์ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ มือถือ: ๐๘๕-๓๒๔-๙๙๐๑ โทรศัพท์: ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖ , โทรสาร: ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖ ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับสัตว์เลีย้ ง ของ กอบกิจ จ�ำจด (รุน่ ๗๐) นอกจาก จะเป็นเว็บดีไซน์เนอร์แล้วยังเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับหมาและแมวออนไลน์ ไปเยี่ยมเยือนได้ที่ www.weloveshopping.com/shop/furrytail หรือ ติดต่อตรงที่ โทร. ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕
อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เพือ่ สุขภาพ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกลุ ชา (รุ่น ๔๔) ผลต่อยอดจากไร่วิมานดิน ผลิตและ จ�ำหน่ายชาสมุนไพรอินทรีย์รางจืด (Babbler’s Bill Leaf) มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ สามารถล้างพิษ แก้อาการเมาค้างและท�ำลายเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุ ของโรคเริมได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีนำ�้ เอ็นไซม์ที่ สกัดมาจากพืชผักผลไม้ที่ปลูกแบบอินทรีย์เกษตร ปลอดสารเคมี ๑๐๐% สรรพคุณของน�้ำรัตนคุณ
คือ ช่วยปรับสมดุลของเซลล์ในร่างกายและท�ำให้ ระบบก�ำจัดอนุมูลอิสระสมบูรณ์ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ ร่างกายสามารถสลายพิษป้องกันโรคภัย-ไข้เจ็บ และ ซ่อมแซมส่วนทีส่ กึ หรอหรือชะลอความแก่ได้นนั่ เอง พี่น้องโอวีท่านใดสนใจอยากรักษาสุขภาพแบบไร้ สาร หรืออยากบ�ำบัดรักษาด้วยวิธีแบบธรรมชาติ ติดต่อได้ที่ เบอร์ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔
ตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้าง ไอซิดฯ ภตภพ (สิทธิพงษ์) ช.เจริญยิ่ง (รุ่น ๖๖) เปิด บริษัทรับตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้างภายใต้ชื่อ บริษัทไอซิดฯ ผลงานส่วนใหญ่เป็นการตกแต่งบ้าน และคอนโด โดยเฉพาะล่าสุดที่คอนโดมิเนียมหรู “เดอะ แอดเดรส สยามฯ” ทีเ่ ข้าไปตกแต่งหลายห้อง และรับเหมาก่อสร้างปรับปรุงห้องที่โรงแรมเดอะ มารีนา ภูเก็ต โทร. ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙ มือถือ ๐๘๑๗๓๓-๗๗๐๑ เว็บไซต์ www.icidcompany.com
142
อสังหาริมทรัพย์ นิธิกานต์ (มะนาว) โรหิตศุน (รุ่น ๗๐) หลังจากผ่านการเป็นนายแบบโฆษณา มาหลายชิ้นตอนนี้ผันตัวเองมาเป็นนายหน้าขาย บ้าน ที่ดิน คอนโด ของ Era หากท่านใดต้องการ ขายหรือซื้อ บ้าน ที่ดิน คอนโด ติดต่อมาได้ครับ ๐๘๙-๒๑๒-๓๓๔๔ หรือ nithikarn99@gmail.com
ออกแบบเว็บไซต์และงานกราฟฟิค Zyplus.com สิษฐวัฒน์ ตู้จินดา (รุ่น ๖๗) ปิดทอง หลังพระมาเสียนาน ให้บริการจดชื่อโดเมนเนม และให้พนื้ ทีเ่ ว็บโฮสติง้ ของเว็บไซต์ โอวี www.oldvajiravudh.com มาตั้งแต่เปิดโฉมใหม่เมื่อเกือบสองปี ก่อน เขาให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตมานานตั้งแต่ เรียนจบ โดยเปิดบริษทั เล็ก ๆ ซึง่ มีเขาเป็นทัง้ เจ้าของ ผู้จัดการ และพนักงานเพียงคนเดียว ชื่อ “zyplus” สนใจจดชื่อโดเมนเนมหรือเช่าเว็บโอสติ้งเข้าไปที่
www.zyplus.com หรือ โทร. ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ 22eq กอบกิจ จ�ำจด (รุ่น ๗๐) นิติศาสตร์บัณฑิต จากรั้วธรรมศาสตร์ผันตัวเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ รับออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ทั่วราชอาณาจักร ติดต่อที่ โทร. ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๕๘ หรือ www. jate.22eq.com
เสื้อยืด
all gentlemen can learn ขนาด M L XL XXL และสำหรับสุภาพสตรีขนาด S M L
ราคาตัวละ ๓๐๐ บาท สั่งซื้อไดที่
อนุมานวสาร (กิตติเดช ฉันทังกูล โทร. ๐๘๑-๓๔๔-๔๒๗๓) มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๓ 143
อนุมานวสาร ฉบับย้อนหลัง อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๐
ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๓ ฉบับ ๑ ฉบับ ๒ ฉบับ ๕ ฉบับ ๔ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๐ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๐ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๐ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๑ เม.ย.-พ.ค. ๒๕๕๑ ฉบับปี ๒๕๕๒ อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๗ ฉบับ ๑๐ ฉบับ ๖ ฉบับ ๘ ฉบับ ๙ มิ.ย.-ก.ค. ๒๕๕๑ ส.ค.-ก.ย. ๒๕๕๑ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๑ ม.ค.-ก.พ. ๒๕๕๒ มี.ค. เม.ย. ๒๕๕๒ ฉบับปี ๒๕๕๓ ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๓ ฉบับ ๑๔ ฉบับ ๑๕ ฉบับ ๑๑ ฉบับ ๑๒ พ.ค-มิ.ย. ๒๕๕๒ ก.ค.-ส.ค. ๒๕๕๒ ก.ย.-ต.ค. ๒๕๕๒ พ.ย.-ธ.ค. ๒๕๕๒ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๒
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง)
144