ฉบับที่ ๑๔ ๖-๒๕๕๒ พฤศจิกายน - ธันวาคม
จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 1
ฉบับที่ ๑๔ ๖-๒๕๕๒
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒
ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ ที่ปรึกษา อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช รุ่น ๓๓ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน รุ่น ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ รุ่น ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช รุ่น ๔๔ วรชาติ มีชูบท รุ่น ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี รุน่ ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ รุน่ ๕๙ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และบรรณารักษ์ วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ สาราณียกร อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑ บรรณาธิการ กิตติเดช ฉันทังกูล รุ่น ๗๓ คณะบรรณาธิการ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา รุ่น ๖๕ กอบกิจ จ�ำจด รุ่น ๗๐ อารยวุฒิ อิศรางกูร ณ อยุธยา รุ่น ๗๐ กรด โกศลานันท์ รุ่น ๗๑ ภพ พยับวิภาพงศ์ รุ่น ๗๑ เขต ณ พัทลุง รุ่น ๗๑ พิชิต ศรียานนท์ รุ่น ๗๒ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รุ่น ๗๓ ปรีดี หงษ์สต้น รุ่น ๗๕ รัฐพล ปั้นทองพันธ์ รุ่น ๗๕ สถาพร อยู่เย็น รุ่น ๗๖ กรรณ จงวัฒนา รุ่น ๗๖ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง รุ่น ๗๖ ศิริชัย กาญจโนภาส รุ่น ๗๖ ธนกร จ๋วงพานิช รุ่น ๗๗ ปริญญา ยุวเทพากร รุ่น ๗๗ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ จิระ สุทธิวิไลรัตน์ รุ่น ๘๓ ฝ่ายบัญชีและหารายได้ อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ รุ่น ๗๑ โฆษณา มณฑล พาสมดี รุ่น ๗๓ (โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐) ถ่ายภาพ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๗๒ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ รุ่น ๗๗ สงกรานต์ ชุมชวลิต รุ่น ๗๗ วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา รุ่น ๗๙ ศิลปกรรม ปฏิภาณ สานแสงอรุณ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ พิมพ์ที่ พี. เพรส ๐๒ ๗๔๒ ๔๗๕๔ ผู้ช่วยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก วาสนา จันทอง ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ)
ตัวอักษร “อนุมานวสาร” ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน (รุ่น ๓๗) สัญลักษณ์ “๑๐๐ ปี วชิราวุธฯ” ออกแบบโดย เปลี่ ย นแปลง-ย้ า ยที่ อ ยู ่ / สนั บ สนุนการเงิ น -โฆษณา/ส่ ง ข่ า ว-ประกาศนิธิ สถาปิตานนท์ (รุ่น ๓๘) ประชาสัมพันธ์/ส่งข้อเขียน-บทความ ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ ภาพปกโดย วิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-
ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ ๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com
website: www.oldvajiravudh.com
2
ห้องเพรบ ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี
๖ เรือนจาก ๙ คุยกันสั้นๆ กับพี่หาญ โรงเลี้ยง สนัน่ ข้าวต้มปลา ห้องสมุด ข้าแผ่นดินสอนลูก ใต้หอประชุม ๑๒ Century of Pride
สัมภาษณ์ พลากร สุวรรณรัฐ
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ ๒๗ สภากรรมการจัดการหรือคณะกรรมการ อ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ตอนที่ (๑) คอลัมน์พิเศษ ๓๑ พระเกียรติคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ หอประชุม ๓๙ ชั่วโมงปั้น (๑๔.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.) คอลัมน์พิเศษ ๔๔ นักเรียนวชิราวุธฯ วันนี้ เรานักเรียนมหาดเล็ก เด็กในหลวง ๔๘ อภิวาทสดุดี คอลัมน์พิเศษ ๕๔ ฝากความคิดถึงมาจากเชียงราย เหนือสุดแดนสยาม ศัพท์โอวี ๕๘ ปาลูกอม กองบังคับการ ๖๐ ค�ำให้พรจากคุณครูพระประทัตสุนทรสาร
๖๑ ๗๐ ๗๔ ๗๖
ระฆังกีฬา ๘๐ วุฒิชัย กปิลกาญจน์ สนามหน้า Set up or Upset ตึกขาว รางวัลพระราชทาน คอลัมน์พิเศษ พระมหากรุณาธิคุณ วชิราวุธฯ หลัง ๑๐๐ ปี เรื่องที่หลายคนคิดแต่ไม่กล้าพูด เกี่ยวกับโรงเรียนวชิราวุธฯ สนามหลัง วันกลับบ้าน ห้องเบิกของ
๙๐ ๑๐๖ ๑๐๙ ๑๒๖ ๑๓๑ ๑๔๓ ๑๔๔
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 3
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑. ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย ๒. อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกในทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม อันดีของประชาชน ๓. ประสานสามัคคีในหมู่สมาชิกนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนในพระบรม ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธวิทยาลัย เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญของโรงเรียน ๖. ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธวิทยาลัย ๗. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของวชิราวุธวิทยาลัย ๘. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร ๙. บ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในโอกาสอันสมควร
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ๑. สมาชิกมีสิทธิที่จะร่วมกิจการต่าง ๆ ที่สมาคมฯ จัดขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ วางไว้ ๒. สมาชิกมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ๓. สามัญสมาชิกมีสิทธิเสนอความคิดเห็น ตรวจดูหลักฐานและบัญชีต่าง ๆ ของสมา คมฯ ได้ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ ๔. สามัญสมาชิกเท่านัน้ มีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตั้งหรือรับเลือกตั้ง เป็นนายกสมาคมฯ หรือกรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิกนัน้ ค้างช�ำระค่าบ�ำรุง ๕. สามัญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระค่าบ�ำรุงตามที่กำ� หนดไว้ ๖. สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ ๗. สมาชิกมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และบริการของสมาคมฯ และสโมสร แต่ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับที่ก�ำหนดไว้
4
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ ๑. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รุ่น ๔๐ ๒. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ๓. นายตันติ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ ์ รุ่น ๔๐ ๔. นายสุรเดช บุณยวัฒน รุ่น ๔๑ ๕. นายชัยวัฒน์ นิตยาพร รุ่น ๔๒ ๖. ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รุ่น ๔๕ ๗. ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ ์ รุ่น ๔๖ ๘. นายศุภลักษณ์ เปรมะบุตร รุ่น ๔๗ ๙. ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๑ ๑๐. นายสุภรัตน์ อัลภาชน์ รุ่น ๕๑ ๑๑. นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ ๑๒. นายปฏิภาณ สุคนธมาน รุ่น ๕๒ ๑๓. นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ ๑๔. นายสัคคเดช ธนะรัชต์ รุ่น ๕๗ ๑๕. นายชาย วัฒนสุวรรณ รุ่น ๕๗ ๑๖. ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ ๑๗. นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ ๑๘. นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ ๑๙. นายภัคพงศ์ จักรษุรักษ์ รุ่น ๖๑ ๒๐. นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร รุ่น ๖๒ ๒๑. นายอาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑
นายกสมาคมฯ กรรมการโดยต�ำแหน่ง อุปนายก ฝ่ายสิทธิประโยชน์ อุปนายก ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ประธานส่งเสริมความสัมพันธ์ อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ กรรมการและประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรรมการและนายทะเบียน กรรมการและประธานฝ่ายหารายได้ กรรมการและประธานกีฬา กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและประธานสโมสร กรรมการและรองประธานกีฬา กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการและเลขานุการ กรรมการและรองประธานสโมสร/ปฎิคม กรรมการและบรรณารักษ์ กรรมการและรองประธานกิจกรรมพิเศษ กรรมการและรองประธานกีฬา กรรมการและสาราณียกร พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 5
ห้องเพรบ จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวัสดีปีใหม่ครับ ปีนี้เป็นปีที่สามที่ผม ได้เข้ามาท�ำอนุมานวสารร่วมกับน้อง ๆ เพือ่ น ๆ และพี่ ๆ โอวีหลากรุ่นและหลากวัย ผมรู้สึกเหมือนเวลาเพิ่งผ่านไปวันวาน เราท�ำอนุมานวสารกันด้วยความสนุก ยิง่ ท�ำยิง่ มี ทีมงานเพิ่มมากขึ้น ทั้งรุ่นเล็กที่เป็นมดงาน เรี่ ย วแรงส� ำ คั ญ และรุ ่ น ใหญ่ ที่ ข ยั น แข็ ง ขั น เลี้ ย งดู ปู เ สื่ อ หาน�้ ำ หาอาหารมาปรนเปรอให้ น้อง ๆ มดงานมีพละก�ำลังกายและใจ ผมขอ ขอบคุณพี ่ ๆ เพือ่ น ๆ โดยเฉพาะคณะกรรมการ บริหารสมาคมฯ ส�ำหรับการสนับสนุนและ ก�ำลังใจ และขอชื่นชมน้อง ๆ ที่เสียสละเวลา และแรงงานมาร่วมท�ำหนังสือเล็ก ๆ เล่มหนึง่ ที่ท�ำให้โอวีทุกคนได้นึกถึงเวลาดี ๆ สมัยอยู่ โรงเรียนและเป็นสือ่ เชือ่ มความสัมพันธ์ระหว่าง โอวีรุ่นต่าง ๆ ในการมารวมตัวกันท�ำประโยชน์ ให้กับส่วนรวมและสังคม พี่เตา บรรยง พงษ์พานิชย์ มักพูดกับ ผมและพวกเราทีมงานบ่อย ๆ ว่า อนุมานวสาร เป็น “ปรากฏการณ์” ของสังคมโอวี เพราะเป็น สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมีผลกระทบ อย่างมีนัยส�ำคัญ ผมฟังแล้วก็มีใจยินดี แต่ก็ คิดเสมอว่าจะท�ำอย่างไรให้โอวีทุกคนสมาคม นักเรียนเก่าฯ จะได้มีส่วนร่วมกับอนุมานวสาร ในทางที่ ทุ ก คนถนัด และต้ อ งการ การได้ มี โอกาสได้ท�ำอนุมานวสาร ท�ำให้ผมได้สัมผัส โอวีหลากท่านหลายรุ่น แม้ต่างยุคต่างสมัย ต่ า งผู ้ บั ง คั บ การ โอวี ทุ ก คนจะมี ใ จนึก ถึ ง
6
ทีมงานอนุมานวสารรวมตัวกันที่บ้าน “ท่าวัง” ของ บรรยง พงษ์พานิชย์ เมื่อ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๓
บุญคุณของโรงเรียน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท�ำให้ พวกเราเชื่อมถึงกัน และสามารถพูดคุยกันได้ อย่างเข้าใจกันดี ส�ำหรับผมแล้ว การท�ำงานอนุมานวสาร นี้ เ ปรี ย บเสมื อ นยาชู ก� ำ ลั ง ที่ ช ่ ว ยให้ มี แ รง ไปท�ำงานประจ�ำได้ เมื่อได้คิดถึงอะไรก็ตามที่ เกี่ยวกับอนุมานวสาร ช่วยให้หลุดไปจากโลก วุ่นวาย เหมือนมีอะไรบางอย่างที่ชวนให้คิดถึง อย่ า งไม่ เบื่ อ ผมเขี ย นถึ ง บรรทั ด นี้ก็ อ ยาก เชิญชวนทุกท่านให้มาร่วมงานร่วมเป็นส่วนหนึง่ กับสมาคมนักเรียนเก่าฯ และอนุมานวสาร โดย เฉพาะในปี ๒๕๕๓ วชิราวุธฯ ของเราก็จะมีอายุ ครบหนึง่ ร้อยปีเต็ม
ในปี ส� ำ คั ญ นี้ โรงเรี ย นและสมาคม นักเรียนเก่าฯ โดยการน�ำของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ก็ ไ ด้ เ ตรี ย มจั ด กิ จ กรรมต่ า ง ๆ มากมาย ตั้งแต่ในเรื่องการเฉลิมพระเกียรติและสนอง พระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ในด้านต่าง ๆ ที่ได้ทรงมีพระราชกรณีกิจเพื่อ ประโยชน์ ข องชาติ ไทย จนไปถึง การจัด ท� ำ ของที่ระลึกและการหารายได้ ไม่ว่าจะเป็น แสตมป์ รู ป หอประชุ ม โรงเรี ย น (ฝี มื อ การ ออกแบบโดยพี่เต้ย นิธิ สถาปิตานนท์) การ ออกเหรียญกษาปณ์ในโอกาสครบหนึง่ ร้อยปี แห่งการครองราชย์ฯ ทัง้ นี้ ผูท้ บี่ ริจาคเงินสมทบ กองทุนร้อยปีวชิราวุธ สามารถน�ำไปหักภาษี ได้และน�ำไปหักภาษีได้เป็นสองเท่าเมื่อบริจาค สมทบกองทุนสร้างตึกวชิราวุธร้อยปี
ในขณะเดี ย วกั น น้ อ ง ๆ ที ม งาน อนุมานวสารก็เกิดความคิดจากการได้พูดคุย ได้สัมภาษณ์พี่ ๆ หลายท่านว่าจะท�ำโครงการ เพือ่ “วชิราวุธหลังร้อยปี” โดยมุง่ หวังจะเป็นเวที ส�ำหรับการมองไปข้างหน้าอย่างสร้างสรร โดย อาจจะเริ่มจากการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และรับฟังข้อคิดเห็นจากนักการศึกษา ผูบ้ ริหาร โรงเรียนอื่น ๆ รวมทั้งพับบลิคสกูลในอังกฤษ และโรงเรียนประจ�ำในทีอ่ นื่ ๆ และนักเรียนเก่าฯ ทุ ก คนว่ า วชิ ร าวุ ธ ฯ ของเราควรจะก้ า วไป ข้างหน้าในอนาคตอย่างไร ขณะนี้ น้อง ๆ ได้ เริ่มคิดและมาเล่าให้ผมฟังอยู่เนือง ๆ ผมเห็น ว่าเป็นเรื่องที่ดีน่าสนใจ ในไม่ช้า น้อง ๆ น่าจะ น�ำเสนอต่อคณะกรรมการจัดงานวชิราวุธร้อยปี เพื่อเสนอเป็นอีกหนึง่ ในกิจกรรมของโรงเรียน พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 7
และสมาคมนักเรียนเก่าฯ หากพี่ ๆ เพื่อน ๆ แลน้อง ๆ ท่านใด มีข้อคิดเห็นเป็นประการใด ก็ขอความกรุณาส่งความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ มาให้พวกเราได้ทราบกันด้วย ในอนุมานวสารฉบับนี้ เราได้รบั เกียรติ จากพี่หนุ่ย พลากร สุวรรณรัฐ กรุณาพูดถึง เรือ่ งการเป็นผูน้ ำ� ทีด่ ี อนุมานวสารได้นำ� วิดที ศั น์ การสัมภาษณ์ในครั้งเดียวกันนี้มาตัดต่อและ มอบให้โรงเรียนส�ำหรับใช้ในการอบรมหัวหน้า นักเรียน นอกจากนี้ พี่วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ มาเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวแห่งความหลังสมัยยัง เป็นนักเรียน และยังมีแง่มุมดี ๆ เกี่ยวกับการ จัดการศึกษามาให้พวกเราได้ลองคิดกัน โอวี ห ลายท่ า นมั ก เล่ า ให้ ผ มฟั ง ว่ า ติดตามอ่านข้อเขียนของคุณบัว ศจิเสวี มา โดยตลอดและไม่อยากให้จบเร็ว ๆ และมักจะ ลุ้นว่าเล่มต่อไปจะยังมีหรือไม่ ผมต้องขอขอบ คุณวรชาติ มีชูบท เพื่อนผมที่ได้แนะน�ำให้ อนุมานวสารน�ำมาลง ในตอนแรกก็ตั้งใจจะน�ำ มาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและเรื่องราว ในโรงเรียน แต่ตอ่ มาก็ได้รบั ค�ำคะยัน้ คะยอจาก หลายท่าน เราจึงน�ำข้อเขียนอื่น ๆ ที่คุณบัวฯ เขียนไว้มาลงจนจบ มิให้แฟนคอลัมน์นตี้ ้อง ผิดหวัง ในฉบับนี้ หลายท่านมักสังเกตว่าการ จั ด วางศิ ล ปะและรู ป ถ่ า ยได้ พั ฒ นาขึ้ น มาก นอกจากจะเป็นเพราะความตั้งใจของฝ่ายศิลป์ (คุณปฏิภาณ สานแสงอรุณ) และโรงพิมพ์ (คุณพิพัฒน์ ปัญจนันท) ที่ช่วยด�ำเนินการให้
8
เราด้วยความทุ่มเทแล้ว อนุมานวสารก็โชคดี ที่ได้รับน้อง ๆ ที่มีความถนัดด้านการถ่ายรูป และคอมพิวเตอร์กราฟฟิกมาช่วยงานเพิ่มเติม ทั้งช่างภาพอย่างเฉลิมหัช ตันติวงศ์ (รุ่น ๗๗) และลูกชายผม วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (รุ ่ น ๗๙) และนัก ออกแบบคอมพิ ว เตอร์ กราฟฟิกอย่างสงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗) ปริญญา ยุวเทพากร (รุ่น ๗๗) และศศินทร์ วิทูรปกรณ์ (รุ่น ๗๙) ผมเห็นว่าการทีอ่ นุมานวสารก้าวมาไกล กว่ า ที่ เราเคยคิ ด ถึ ง ขนาดนี้ ก็ เพราะความ ร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย ทั้งแรงสนับสนุน ของรุ่นพี่และแรงท�ำงานของรุ่นน้องดังที่ผม ได้กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ตอนแรก รวมทั้งการ สนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สมาคมนักเรียนเก่าฯ ทุ ก คนและที ม งานที่ โ รงพิ ม พ์ ในปี ใหม่ นี้ อนุมานวสารตั้งใจจะให้มีการบริหารจัดการ อย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านการผลิตและการ เงินบัญชี ในปี ที่ ผ ่ า นมา นอกจากก� ำ ลั ง ใจที่ ทีมงานอนุมานวสารได้รับเมื่อพบกับโอวีแล้ว อนุมานวสารก็ได้รับเงินลงขันจากโอวี รวม ทั้งบรรดาเพื่อน ๆ โอวีกว่า ๒ แสนบาท ซึ่ง เงินเหล่านี้เราได้ส่งมอบให้กับสมาคมฯ อย่าง โปร่งใส (บัญชีรายรับรายจ่าย หน้า ๑๓๐) ผม ขอเรียนอย่างจริงใจว่า เหล่านีถ้ ือเป็นก�ำลังใจ ชั้นดีให้กับพวกเราทุกคน สวัสดีครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖)
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี เขียนถึงอนุมานวสาร เรียน พี่ เพื่อน และน้องโอวีทุกท่าน จากผลการแข่งขันเมือ่ วันเสาร์ทผี่ า่ นมา คงสร้างความเจ็บปวดในใจ ให้กบั พวกเราทุกคน ไม่มากก็น้อย ทั้ง ๆ ที่ฝีมือและความสามารถ ของผู้เล่นนัน้ ไม่ได้เป็นรองทางราชวิทย์ฯ เลย แต่ท�ำไม ๒-๓ ปีมานี้ แพ้ตลอดและแพ้อย่าง ที่ไม่น่าแพ้ ไม่ว่าจะเป็นแพ้เพราะกรรมการ ต่อเวลาถึง ๑๗ นาที แพ้เพราะเปลี่ยนตัว ผู้เล่นมากไป หรือแพ้เพราะไม่ยอมเปลี่ยน ผู้เล่นที่หมดแรงออก ซึ่งปัญหาเหล่านีด้ ูแล้วน่า จะหาวิธีจัดการได้ดีกว่านี้ ค�ำถามที่เกิดขึ้นในใจ คือว่า “เรายัง อยากแพ้อย่างนีต้ ่อไปในปีหน้าและปีต่อ ๆ ไป หรือเปล่า” ไม่ควรโทษใครครับ เพราะเราเข้าใจ ดีว่าทุกคนที่เข้ามาท�ำ มีความทุ่มเทและตั้งใจ ที่จะให้เราโอวีชนะกันทุกคน แต่เราสามารถ ท�ำได้ดีกว่านี้หรือเปล่า ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น จะให้ผิดซ�้ำซากหรือเปล่า พี่เกิ้น ได้เรียกผมเข้าไปคุยหลังจาก เกมส์จบว่า อะไร ๆ ก็แล้วแต่ที่มันเกิดขึ้นใน ปีที่ผ่าน ๆ มามันสามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ว่า พวกเราต้องร่วมใจกัน ตั้งแผนงานระยะเวลา ๑ ปี นับจากวันเสาร์ที่ผ่านมาเป็น Day ๑ ไป เลย ถือว่าเป็นส่วนหนึง่ ของโอกาสที่วชิราวุธฯ จะครบ ๑๐๐ ปีในปีหน้า ท�ำสิ่งที่ทำ� ให้นกั เรียน เก่าฯ ทุกคนมีความสุข ก็คือ การได้ครอง
ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีหน้าและปีต่อ ๆ ไป พี่ เ กิ้ น ได้ เ สนอสมทบทุ น ก้ อ นแรก ส�ำหรับท�ำทีม ด้วยเงิน ๑๐,๐๐๐ บาทแรก มาแล้ว แล้วอยากให้พวกเรามารวมหัวกัน น้อง ๆ ของเราที่มีความสามารถมาปรึกษาหารือกัน Set ทีมงานที่เป็นระบบ โดยดูตัวอย่างจากการ ท�ำงานเดินเฉลิมพระเกียรติที่ท�ำได้เป็นอย่างดี มาเป็นต้นแบบ รายละเอียดผมจะส่ง Update ให้ เรื่อย ๆ นะครับ สหพล พลปัถพี (รุ่น ๖๑) O.V. @ AIA พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 9
เรียน ทีมงานอนุมานวสาร สวัสดีครับ ก่อนอืน่ ผมขอออกตัวก่อน ว่าผมไม่ใช่เด็กโอวีนะครับ แต่ผมได้อา่ นหนังสือ อนุมานวสาร จากเพื่อนของผมที่เป็นศิษย์เก่า โอวี ตัง้ แต่หนังสืออนุมานวสาร ยังเป็นเล่มบาง ๆ จนตอนนี้เล่มหนาปึกแล้วก็ยังติดตาม (ยืม) อ่านมาโดยตลอดครับ ทุกครั้งที่อ่านผมรู้สึก หวนนึกถึงคืนวันดี ๆ สมัยที่ผมยังเรียนอยู่ที่ โรงเรียนเก่า และผมก็หวังไว้ลึก ๆ ว่าอยากให้ โรงเรียนของผมมีหนังสือที่เปรียบเสมือนสิ่งที่ ยึดเหนีย่ วความเป็นสถาบัน สถานทีท่ เี่ ราใช้ชวี ติ และเติบโตร่วมกับเพื่อน ๆ และรักษาสิ่งดี ๆ เหล่านัน้ เอาไว้ อย่างที่หนังสืออนุมานวสารได้ ท�ำบ้าง เมือ่ ไม่นานมานีผ้ มบังเอิญได้ไปทานข้าว ทีร่ า้ นอาหารแห่งหนึง่ แถวสยามสแควร์ ผมเห็น ผู้ชายวัยท�ำงานนั่งอ่านหนังสืออนุมานวสาร ในระหว่างที่รอลูกเรียนพิเศษ ท�ำให้ผมรู้สึกว่า หนังสืออนุมานวสาร ท�ำให้ความเป็นสถาบัน ไม่ เคยจางหายไป และท�ำ ให้ผมรู้สึกภูมิใจ แทนทีมงานอนุมานวสารทุกท่าน ที่ร่วมกันท�ำ หนังสือดี ๆ แบบนี้ออกมาครับ สุดท้ายนีผ้ มหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าทีมงาน อนุมานวสาร จะท�ำหนังสืออนุมานวสาร ในเล่ม ต่อไปให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และอยู่คู่โอวี (โรงเรียน เพื่อนผม) ไปนาน ๆ นะครับ
10
ด้วยความชื่นชม เพื่อนโอวี
เรียน บรรณาธิการอนุมานวสาร ผมขอขอบคุ ณที ม งานอนุ ม านวสาร มากครับทีก่ รุณาลงบทสัมภาษณ์คณ ุ พ่อของผม พ.ต.อ.(พิเศษ) อ�ำพล สุนทรเวช ในอนุมานวสาร ฉบับเดือน ก.ย. - ต.ค. ๕๒ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อขอแจ้งให้ทราบว่ารูปภาพที่ใช้ประกอบ บทความยังมีความคลาดเคลื่อน ดังนีค้ รับ ๑. รูปรถพระที่นงั่ ที่น�ำมาลงนัน้ ไม่ใช่ Daimler Straight Eight ปี ๑๙๕๓ แต่ เป็นรถ Buick Straight Eight รุ่นปี ๑๙๓๘ ครับ โดยเฉพาะเป็นรุ่น ๒ ประตูครับ
๑๙๓๘ Buick special, straight ๘, ๔dr (suicide doors)
๒. ขอส่งรูปรถ Jowett Jupiter ซึ่ง เป็นรถสปอร์ตที่กล่าวถึงในบทสัมภาษณ์ครับ
๓. รู ป ที่ น� ำ ลงหน้ า ๒๕ ประกอบ บทความที่กล่าวถึงบ้านของคุณพ่อนั้น ขอ แก้ข่าวว่าไม่ใช่บ้านคุณพ่อแต่อย่างใดนะครับ ทีจ่ ริงดูคล้าย ๆ กับเป็นภาพพระราชวังพญาไท แต่ก็ยังมิใช่พระที่นงั่ เทวราชสภารมย์ อันเป็น ที่ ล ้ น เกล้ า รั ช กาลที่ ๖ ทรงพระมหากรุ ณา ประกอบพิธีสมรสพระราชทานให้คุณปู่ คือ นรม. จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) และนางอมรดรุณารักษ์ (อุทมุ พร วีระไวทยะ) ผมจึงขอส่งรูปพระทีน่ งั่ เทวราชสภารมย์มาด้วยครับ ๔. ภาพครั้งที่สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ เสด็จฯ บ้านสามพรานครับ กฤตพล สุนทรเวช (รุ่น ๔๙)
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 11
ใต้หอประชุม คุยกับนักเรียนเก่าฯ
ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัฐ มนุษย์ไม่ว่าในวัฒนธรรมใดในโลกนี้ เมื่อมาอยู่รวมกันเป็น หมู่มากแล้วนัน้ ก็จ�ำเป็นที่จะต้องมี “ผู้น�ำ” ที่เป็นเหมือนหางเสือในการ น�ำพาคนในสังคมไปในทิศทางเดียวกัน ในสังคมวชิราวุธฯ ก็เช่นกัน “หัวหน้า” คือต�ำแหน่งอันทรงเกียรติที่ผ่านการเลือกสรรจากทั้งในหมู่ เพือ่ นและผูก้ ำ� กับคณะ ค�ำกล่าวทีว่ า่ “Great power comes with great responsibility” อ�ำนาจที่ยิ่งใหญ่ย่อมมาพร้อมกับความรับผิดชอบ อย่างใหญ่หลวงนัน้ เห็นจะไม่เกินจริงส�ำหรับการเป็นหัวหน้าที่เป็น หน้าทีพ่ เิ ศษทีเ่ พิม่ มาจากการเรียนหนังสือ เล่นกีฬา และดนตรี ทัง้ ยังต้อง ปกครองผู้ร่วมคณะอีกหลายชีวิตให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปรองดองกัน ทั้ ง หมดนี้ อ าจจะเป็ น หน้ า ที่ ที่ ค ่ อ นข้ า งหนัก ส� ำ หรั บ เด็ ก ชายในวั ย ๑๘ ปี แต่หลังจากเวลาได้ผ่านไปการได้เป็นหัวหน้าในวัยเด็กนั้น เป็ น สิ่ ง หนึ่ง ที่ ได้ ห ล่ อ หลอมให้ เด็ ก ชายคนหนึ่ง ได้ เติ บ โตขึ้ น เป็ น สุภาพบุรุษ ที่ซึ่งต่อมาก็ได้มีหน้าที่อันใหญ่หลวงนั่นก็คือการได้รับ พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี ผู้มีหน้าที่ถวาย ค�ำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์
12
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 13
อนุ ม านวสาร: อยากให้ พี่ พู ด ถึ ง หั ว หน้ า ใน สมัยนัน้ เป็นไงบ้างครับ พีห่ นุย่ : พอเราย้อนกลับไปดู สมัยทีเ่ ราเป็น เป็น โดยไม่ได้เตรียมตัวไม่มีการทดลองเป็น ไม่มี ปฐมนิเทศ เข้าใจว่าท่านผู้บังคับการมีความ สามารถในการเลือกคน ท่านคงจะเห็นว่าใคร เหมาะสม มีความประพฤติดใี นสายตาของท่าน พี่ก็เลยคิดว่าต้องมีการทดลองแล้ว ประเมินด้วย มีไหมที่ประเมินแล้วไม่ผ่าน อนุมานวสาร: ส่วนใหญ่ก็ไม่มีนะครับ ก็จะเริ่ม เป็นตั้งแต่มกราคม ให้เป็นหัวหน้าไปเลยครับ พี่หนุ่ย: คณะหนึง่ มีประมาณกี่คน อนุมานวสาร: ประมาณ ๕-๖ คนครับแต่ละ คณะก็มีประมาณ ๖๐-๗๐ คนได้ครับ พีห่ นุย่ : คือจากการทีห่ ลัง ๆ นีพ้ ไี่ ด้เข้าไปประชุม ที่โรงเรียนบ่อย ๆ ก็ได้รู้ว่าช่วงหลัง ๆ นี้มีการ คัดเลือกเป็นระบบมากขึน้ มีการทดลองให้เป็น มีการปฐมนิเทศ ซึ่งดีกว่าสมัยพี่มาก สมัยพี่นี้ พอท่านจะให้เป็นก็เป็น แต่การเตรียมการเป็น ระบบนีย้ งั ไม่มี ซึง่ พอมองผ่านมาแล้วก็อยากให้ โรงเรียนไปปรับปรุง เพราะมันเป็นหัวใจสูงสุด ของการปกครองในระบบอาวุโส ยกตัวอย่าง คณะ ผบก. ท่านผู้การก็ไม่ได้เข้ามาดู แต่ท่าน ก็เปิดโอกาสให้อิสระเต็มที่
14
อนุมานวสาร: สมัยนัน้ มีการเทรน (ฝึกสอน) หัวหน้าไหมครับ พี่หนุ่ย: ไม่มีเลย... ถึงได้บอกว่าอยากให้มี แบบที่สมัยนี้มี อนุมานวสาร: แล้วพระยาภะรตราชาเคยให้ โอวาทไหมครับ พี่หนุ่ย: มีนะคิดว่ามี จ�ำไม่ได้จริง ๆ เดาเอา ว่าน่าจะมีครั้งหนึง่ นะอย่างน้อยที่บ้านท่านแล้ว ท่านก็คงให้โอวาทว่า บัดนี้เธอได้รับต�ำแหน่ง อย่ า งนั้น อย่ า งนี้ แต่ ท ่ า นจะไม่ ค ่ อ ยเข้ า มาดู เข้ามาบ้างตรวจบ้างอาทิตย์ละหน รูแ้ ต่วา่ ท่านจะ ไม่เคยเกี่ยวข้องก้าวก่าย ฉะนัน้ หัวหน้ามีความ ส�ำคัญอย่างยิ่งในการปกครองนักเรียน เพราะ ลูกเต้าคนอืน่ ไปอยูภ่ ายใต้การดูแลของเด็กหนุม่ ไม่ใช่อาจารย์ ในชีวติ ประจ�ำวันของเด็กนักเรียน อย่างน้อย ๘ ชม. ทีต่ อ้ งอยูภ่ ายใต้การปกครอง ของหัวหน้ายกเว้นในชั้นเรียน เด็กหนุ่มอายุ ๑๖-๑๘ ถ้าไม่มคี ณ ุ ธรรมประจ�ำใจไม่มลี กั ษณะ ของผูน้ �ำทีด่ ี มันก็อาจจะเกิดผลกระทบแบบใน บางยุคบางสมัยมาแล้วคือการ “ลุแก่อ�ำนาจ” คื อ อย่ า ว่ า แต่ เด็ ก เลยผู ้ ใหญ่ อ ายุ ๖๐ ยั ง ลุแก่อ�ำนาจเลย แล้วนับประสาอะไรกับเด็ก ๑๗-๑๘ ฉะนัน้ โรงเรียนต้องวางกรอบให้ดีและ หมั่นประเมิน อนุมานวสาร: คล้าย ๆ ได้อ�ำนาจมาแล้วไม่รู้ จักใช้ พีห่ นุย่ : ใช่ ๆ อันนีส้ ำ� คัญมากถ้าไม่หล่อหลอม มา ฉะนัน้ การหล่อหลอมเป็นส่วนส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 15
เด็กมีพัฒนาการมากขึ้นเป็นระยะ ๆ ปีต่อปี จนสั่งสมความดีงาม มีความส�ำนึกในความ รับผิดชอบและเสียสละมากขึ้นพอที่จะเป็น หั ว หน้ า ในปี สุ ด ท้ า ยของการเป็ น นั ก เรี ย น เพราะฉะนั้น ระบบเหล่ า นี้ต ้ อ งสร้ า งมาด้ ว ย เกียรติยศ ดูวา่ ใครเป็นคนทีม่ คี ณ ุ สมบัตเิ หล่านี้ ในแต่ละรุ่น ๆ มันจะมองออกไม่ใช่แค่เล่น กีฬาเก่งอย่างเดียว
อนุมานวสาร: สมัยนัน้ ถ้าจะว่าไปก็คือเรียนรู้ จากรุ่นพี่ พีห่ นุย่ : นัน่ แหละ! มันเป็นแค่นนั้ คือมันได้อยู่ แค่นนั้ ว่าเรียนรู้จากรุ่นพี่ แต่เราน่าจะมีอะไรที่ มากกว่านัน้ ซึง่ โรงเรียนเขาก็เริม่ ท�ำแล้ว แล้วทีม่ า นี้มีใครเป็นหัวหน้ากันบ้างล่ะ (ยกมือกันหมด) งั้นก็ผ่านมาหมดแหละ พี่พูดอะไรไปทุกคน รู้หมดพูดเป็นเสียงเดียวกัน
อนุมานวสาร: ดังนัน้ คุณสมบัติเด่น ๆ ที่ท่าน พระยาภะรตราชาเลือกนีน่ ่าจะเป็น พี่หนุ่ย: ท่านดูเรื่องกีฬาและก็น่าจะเป็นเรื่อง บุคลิกภาพด้วย
อนุมานวสาร: สมัยนัน้ เด็กเกเรเยอะไหมครับ พี่หนุ่ย: ไม่ค่อยมี สมัยนัน้ ลงโทษก็มีการตีกัน เฆี่ยนกันหน้าแถว ส่วนใหญ่ใช้ระบบเฆี่ยน ทีนี้ อย่างที่บอกนะว่าถ้าระบบหัวหน้าพังโรงเรียน
เล่าจือ้ มหาปราชญ์ชาวจีนผูม้ ชี วี ติ ร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ ได้ให้นยิ ามเกีย่ วกับการ ปกครองไว้ว่า “ภายใต้การปกครองที่ดี ผู้อยู่ใต้ปกครองแทบจะไม่ได้รับรู้ถึงการใช้ อ�ำนาจ ไม่รสู้ กึ ว่าถูกปกครอง ในการปกครองชัน้ เยีย่ ม ผูค้ นจะเป็นสุข ในการปกครอง ชั้นแย่ ผู้คนจะเป็นทุกข์ ในการปกครองชั้นเลวที่สุด จะมีแต่ความแตกแยก เกลียดชัง เคียดแค้น” ส�ำหรับผูท้ เี่ คยผ่านชีวติ นักเรียนวชิราวุธฯ มาทุกคน ย่อมจะได้รบั การฝึกฝนตัง้ แต่เยาว์ ทัง้ การอยู่ใต้การปกครอง และการเป็นผู้ปกครอง มีประสบการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามนิยามข้างต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ในวัยเพียง ๑๒ ปี ผมถูกก�ำหนดให้ย้ายจากคณะเด็กเล็ก ๑ (คณะ สนามจันทร์) เข้ามาอยู่ในคณะผู้บังคับการตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๗ อย่างไม่ได้คาดไว้ก่อน ทั้งเป็น เด็กทีม่ อี ายุนอ้ ยทีส่ ดุ ในคณะ และย่อมต้องตกเป็นเป้าหมายในการโขกสับใช้สอยรวมทัง้ ในบางครัง้ ต้องโดนรังแกจากรุ่นพี่อย่างไร้เหตุผลเหมือน ๆ กับผู้ที่เคยผ่านวัยเด็กในวชิราวุธฯ ทั้งหลาย ผมโชคดีทไี่ ด้รบั มอบหมายให้เป็นเด็กรับใช้ประจ�ำตัวของหัวหน้าใหญ่คณะในเวลานัน้ (รูส้ กึ สมัยนี้เขาจะเรียกว่า “เด็กตู้” หรือ “เด็กเวร” มีหน้าที่ตั้งแต่ ชงโอวัลตินตอนเช้า ซักเสื้อและถุงเท้า กีฬา คอยฝากซื้อก๋วยเตี๋ยวนายมะตอนเย็น ตลอดจนคอยบีบนวดก่อนนอน ซึ่งพี่เขาเป็นคนที่มี เมตตา ถึงจะใช้เราแต่ก็คอยดูแล ไม่ให้ถูกรังแกจนเกินควร แบ่งปันให้รางวัล เช่น อนุญาตให้กิน โอวัลตินได้ แบ่งก๋วยเตี๋ยวให้ ไม่โขกสับจนเกินเหตุ นาน ๆ ก็ตกรางวัลค่าขนมให้บ้างเปรียบเทียบ
16
จะเสียระบบ คือถ้าได้หัวหน้าไม่ดี ผู้ปกครอง จะไม่สบายใจว่าลูกหลานเขาไม่ได้รับความ เป็นธรรมลูกหลานเขาถูกกดดัน คือต้องยอมรับ ว่าพวกเราทุกคนมีแรงกดดันลึก ๆ เหมือนกัน และด้วยความที่ยังเป็นเด็กนักเรียนประจ�ำ ถึง แม้เราจะแก้ตัวว่า มีเพื่อนเยอะไม่คิดถึงบ้าน เลยสนุก สนานเฮฮาลื ม พ่ อ ลื ม แม่ ไปอยู ่ กั บ เพื่อน แต่ลึก ๆ ก็อาจมีความกดดันอยู่บ้างใน กรอบของระเบียบ มันเป็นความกดดันที่มอง ไม่เห็นว่าต้องมีรุ่นพี่ที่ชอบหน้าเราบ้างไม่ชอบ เราบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดาของการอยู่ร่วมกัน เพราะอย่างนี้แหละการที่ให้เราไปอยู่ประจ�ำ เพื่อฝึกให้เราเรียนรู้กับมนุษย์ที่มีนิสัยผิดแผก
แตกต่างจากแต่ละครอบครัว ทีแ่ ตกต่างกันแล้ว มาอยู่ร่วมกันแล้วเป็นไง อันนีค้ ือเป้าหมายของ การมีนกั เรียนประจ�ำ คือถ้าเป็นนักเรียนประจ�ำ ที่อยู่โดยไม่มีอะไรเลย ไม่มีระเบียบวินัย ก็คง ต้องเอาหุ่นยนต์มาเป็นนักเรียน ซ้ายหันขวาหัน พร้อมกันแทน อนุมานวสาร: อย่างที่ทราบว่ารุ่นพี่หนุ่ยจะเป็น รุ่นที่มีพระยาภะรตฯ เป็นผู้บังคับการ และก็มี น้องในทีน่ อี้ ยูร่ นุ่ ดร.กัลย์ และก็รนุ่ ดร.ชัยอนันต์ ก็ได้คุยกับบิ๊ค (วีรยุทธ โพธารามิก) ว่าสมัย ดร.กัลย์ บิ๊คก็โดนแกล้งหนักอยู่เหมือนกัน
กับเพื่อน ๆ ที่เป็นเด็กตู้ของหัวหน้าหรือนักเรียนโตคนอื่น ๆ นับว่า ผมโชคดีที่สุด เพราะนักเรียนโตที่มีลักษณะทรราชบางคน โขกสับ ลูกเดียว แถมรังแกอย่างไม่มีเหตุผล บทเรียนในครั้งนัน้ ยังประทับใจผมอยู่ตลอดมา เมื่อผม ต้องเป็นหัวหน้าคน ทั้งในโรงเรียน และต่อมาในองค์กร ก็ได้ยึด แบบอย่างนีต้ ลอดมา จนค่อนข้างมั่นใจว่าผู้คนในองค์กรของ ผม “มีความสุข” ผมไม่แปลกใจเลยที่หัวหน้าใหญ่คนนี้ ต่อมาได้ ประสบความส�ำเร็จอย่างยิ่ง ในฐานะ “นักปกครอง” จน ได้รับเกียรติสูงสุด เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับ ต�ำแหน่ง “องคมนตรี” หั ว หน้ า ใหญ่ ค ณะผู ้ บั ง คั บ การ ปีการศึกษา ๒๕๐๙ ชื่อ “พลากร สุวรรณรัฐ” ครับ บรรยง พงษ์พานิช (รุ่น ๔๔)
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 17
18
อนุมานวสาร (วีรยุทธฯ): ครับ... ผมว่าเป็น ช่วงที่หนักที่สุดในประวัติศาสตร์โรงเรียนเลย ก็ว่าได้ครับ พี่ ห นุ ่ ย : “ก็ เ พราะเรื่ อ งความลุ แ ก่ อ� ำ นาจ” นัน้ แหละ กรอบจริยธรรมคุณธรรมเขาเรียกว่า code of conduct ซึ่งเราไม่มี... สมัยนั้น เราไม่มีหรอก เรามองหัวหน้าเก่า ๆ ว่าเป็นไง คือถ้ามันมี code of conduct ว่าหัวหน้า ท�ำอะไรได้บ้างไม่ได้บ้าง คุณควรท�ำอะไรหรือ คุณไม่ควรท�ำอะไรเด็ดขาด คุณก็ตอ้ งมีเขียนไว้ ลับ ๆ ระหว่างผู้บังคับการกับผู้กำ� กับคณะและ ก็ระหว่างหัวหน้าด้วยกัน ต้องเรียกมาคุยกัน ทุกเดือนอย่างเช่น “เฮ้ย! เดือนที่แล้วได้รับ รายงานว่าเอ็งไปท�ำนู่นท�ำนีท่ ี่ไม่ดีมาพอสมควร นะ” เราก็ต้องคอยก�ำกับอยู่เสมอ อย่างที่พี่ว่า ผู ้ ใหญ่ อ ายุ ๕๐-๖๐ ยั ง ขาดคุ ณธรรมและ มโนส� ำ นึก ถึ ง ได้ ลุ แ ก่ อ� ำ นาจกั น แล้ ว นั บ ประสาอะไรกับเด็กอายุ ๑๗-๑๘ จะไม่เกิดขึ้น พี่ก็เคยเกิดขึ้นกับตัวพี่โกรธเด็กขึ้นมาก็เตะมัน ดือ้ ๆ อย่างนัน้ ฉะนัน้ มันเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ดสี ำ� หรับ เด็กนะ ไอ้เราไม่เป็นไรเพราะผ่านมาแล้วก็ลมื ๆ มันไป แต่ว่าไอ้เด็กคนนัน้ มันฝังใจนะมันไม่ได้ รับความเป็นธรรมมันอาจเลินเล่อผิดพลาดไป หน่อย แต่กไ็ ม่นา่ จะถึงขนาดถูกรุน่ พีเ่ ตะอย่างนี้ ทีนี้พี่ขอกลับมาเรื่องคุณสมบัติก่อน... พี่คิดว่าการเลือกหรือการที่จะเฝ้าสังเกตว่า เด็กมีบุคลิกมีแววที่จะได้รับการเลือกให้เป็น หัวหน้าในอนาคต นอกจากความสามารถด้าน ดนตรี กีฬา คือแววของการเป็นผู้น�ำ ค�ำว่า
เป็นผู้น�ำของพี่หมายถึงคนนัน้ มันต้องเสียสละ ต้องเป็นผู้ที่ชอบเสียสละช่วยผู้อื่น เป็นผู้ที่ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น เช่น เพื่อนบางคนจะพูด ประมาณว่า “อย่าไปยุ่งกับมันเลย งานการ ช่างมันเราไม่อยากท�ำ” แต่มันจะมีเพื่อนบาง คนอาสาทุกเรือ่ งขยันอาสาทุ่มเทกับงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายมี service mind คนที่มี service mind คือคนที่ต้องสละเวลาส่วนตัว อนุ ม านวสาร: คื อ คุ ณ สมบั ติ หั ว หน้ า ต้ อ ง Balance กีฬา ดนตรี มีน�้ำใจ และมีความเป็น ผู้นำ� พี่หนุ่ย: คือนอกจากผู้น�ำหน่วย ผู้น�ำองค์กร แล้ว มีสองประการที่พี่คิดว่าส�ำคัญที่สุดก็คือ ความเป็นผูม้ เี มตตากรุณาต่อผูท้ อี่ ยูใ่ นปกครอง เหมือนกับพรหมวิหาร ๔ นัน้ เองเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แต่ประเด็นของพี่จะเน้นไปที่ เมตตา กรุณา มีจดุ มุง่ หมายอยูใ่ นใจทีจ่ ะเห็นเด็ก ในปกครองทุกระดับโดยเฉพาะเด็กเล็ก มีความ เป็นอยู่ที่อบอุ่นในแง่ของจิตใจอยู่ในสถานที่ ในหอพักที่มีหัวหน้าที่มีคุณธรรมแล้ว เขาจะ ไม่ได้รับความอยุติธรรมจากใครทั้งสิ้น ถ้าเขา ถูกรังแกเขาจะต้องมีผู้ปกป้องดูแลให้ความ เป็นธรรมกับเขา ไม่ใช่เขาเก็บกดนอนก็นอน ไม่หลับ ต้องคอยระแวงอยู่ตลอดเวลา เช่น มีคนมาขโมยของจากตู้บ้าง โดนเรียกไปเตะ กลางดึก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ ต้องมีหัวหน้า ดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ฉะนัน้ คนที่เป็นหัวหน้า ต้องมีส�ำนึกว่าตัวเองเป็นพี่ใหญ่ที่มีน้องเล็ก พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 19
อีก ๗๐-๘๐ คนต้องดูแล แต่ถา้ หัวหน้าคนไหน รูส้ กึ ว่าตัวเองเป็นหัวหน้าทีต่ อ้ งใช้อ�ำนาจต้องใช้ วิธกี ารลงโทษหรือท�ำให้กลัวแล้วถึงจะปกครอง ได้ อันนีเ้ ป็นเรือ่ งทีผ่ ดิ อย่างยิง่ เมือ่ ก่อนทีค่ ดิ ว่า หัวหน้าคนไหนตัวโต ชกมวยเก่ง เตะแรง ดุดนั มาเป็นหัวหน้าก็ดีเด็กจะได้กลัวจะได้ปกครอง ได้ราบรื่น แต่ความจริงต้องคิดใหม่แหละว่า หัวหน้าต้องเป็นคนที่อ่อนโยนสุภาพเรียบร้อย มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา... ถ้าถามว่า เรื่องเหล่านี้มันมีได้ไหม เด็ก ๑๗-๑๘ มันสร้าง เสริมได้ ทีต่ อนนีโ้ รงเรียนท�ำกันอยู่ ทีท่ า่ นผูก้ าร ท�ำกันมาตัง้ แต่ ดร.ชัยอนันต์ ดร.สาโรจน์ ก�ำลัง ท�ำอยู่ก็ตาม ถ้าพี่มีลูกแล้วพี่ส่งไปเรียนถึงแม้ เราเป็นโอวี แต่ให้ลูกไปอยู่ในระบบที่มันห่าม หัวหน้าห่วย ๆ ลุแก่อ�ำนาจแบบนี้ พี่ก็ไม่ค่อย แน่ใจ ว่าพี่จะเอาลูกไปอยู่ดีหรือเปล่า อนุมานวสาร: หัวหน้าต้องเรียนดีดว้ ยไหมครับ พี่หนุ่ย: พี่คิดว่าอันนี้เป็นข้อที่สองที่พี่ก�ำลัง จะพูดต่อไป หัวหน้าควรเป็นแบบอย่างที่ดีใน ทุก ๆ เรื่อง พอประมาณ ๆ ไม่ใช่เก่งไปทุกเรื่อง มันเป็นไปไม่ได้ แบบอย่างที่ดีคืออย่างน้อย คุณต้องขยัน คุณจะหัวดีหรือไม่ธรรมชาติ สร้างมาเองแต่คุณต้องมีความขยันตั้งใจเรียน ไม่ ใ ช่ คุ ณ เล่ น กี ฬ าเก่ ง แล้ ว คุ ณ ไม่ ต ้ อ งเข้ า ห้องเรียน พอถึงเวลาโรงเรียนก็ให้ผา่ นชัน้ ขึน้ ไป แต่ในที่สุดคุณก็เอาตัวไม่รอด คือควรเรียน พอไปได้ เอาตัวรอดมีความขยันไม่ขาดเรียน ด้านกีฬาคุณอาจจะเล่นรักบี้ไม่เก่ง แต่อาจจะ
20
เล่นเทนนิสเก่ง เล่นสควอชเก่ง ก็โอเค เรือ่ งกีฬา คุ ณ ไม่ มี ป ั ญ หา ไม่ ใช่ คุ ณต้ อ งเป็ นนัก รั ก บี้ ทีมโรงเรียนทีมชาติเสมอไป เรื่องความสะอาด ของตัวเอง บุคลิกภาพความสะอาดของเครื่อง แต่งกาย ทรงผม... มีใครผมยาวบ้าง (ทีมงาน ที่ ไปผมสั้ นทุ ก คน) เด็ ก สมั ย นี้น ะพอถึ ง วั น รับพระราชทานประกาศนียบัตร ปล่อยออกไป จากโรงเรียนปีเดียวกลับมาจ�ำไม่ได้เลย มัน ตามแฟชัน่ เกินไป อันนีก้ ไ็ ม่ได้วา่ กันนะ เพียงแต่ ว่ามันใช่บคุ ลิกภาพของเราหรือเปล่า มันเกาหลี ไปหรือเปล่า เราอยู่กันมาตั้ง ๘ ปี ไอ้เกาหลีนี้ มาแป๊บเดียวมันลากเราไปได้ แสดงว่าเราไม่มี ความมั่นคงในจิตใจหรือเปล่า อนุมานวสาร: สมมุติเด็กถูกรุ่นพี่แกล้ง เด็กก็ ไม่กล้าเข้ามาหามาฟ้องหัวหน้า ในฐานะหัวหน้า ควรท�ำตัวยังไงให้เด็กเข้ามาคุยดีครับ พี่หนุ่ย: พี่ว่าต้องท�ำตัวเหมือนพี่ชาย เสมือน หนึง่ ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นพี่ชายแท้ให้ได้ ท�ำ ยังไงที่จะรักเด็กเหล่านัน้ ให้เหมือนกับน้องชาย ตัวเอง ปรารถนาให้น้องชายอยู่ดีมีสุขมีความ อบอุน่ ให้ได้และน้องจะแสดงพลังของเด็กเล็ก ๆ ขึน้ มาจากอายุ ๑๒-๑๓ ไม่ใช่เก็บกดรอเมือ่ ไหร่ จะปิดเทอมจะได้กลับบ้าน แล้วพี่คิดว่ากว่าที่ พ่อแม่เขาจะเอาลูกเข้าโรงเรียนได้ต้องฝ่าฟัน แข่งขันหลายประการ แต่พอลูกเขาเข้ามาเรียน แล้วกลับเจอระบบหัวหน้าที่ห่วย ๆ มันเป็น เหมือนโชคร้ายของเด็กรุ่นนัน้ เลย แต่ถ้าโชคดี เอาตัวรอดมาได้ก็แข็งแกร่ง ก็ท�ำใจว่ามันผ่าน มาแล้ว อย่างไอ้บิ๊คเป็นต้น
จากซ้าย ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ กรรณ จงวัฒนา กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ ปรีดี หงษ์สต้น ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัฐ อาทิตย์ ประสาทกุล วีรยุทธ โพธารามิก และวรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
อนุมานวสาร: วิธีลงโทษเด็กที่รังแกน้องควร ท�ำอย่างไรครับ พีห่ นุย่ : อันนีพ้ คี่ ดิ ว่าเป็นเรือ่ งทีล่ ะเอียดอ่อนนะ มีวธิ กี ารหลายวิธี ซึง่ ตรงนีเ้ ป็นค�ำถามทีโ่ รงเรียน จะต้องใส่ใจบ้างอย่าไปคิดว่ามันเป็นเรือ่ งเล็ก ๆ น้อย ๆ ปล่อยมันไปให้มนั ทนไปบ้างอยู ่ ๆ ไปอีก ก็ท�ำใจได้ช่างมัน... เราช่างมันไม่ได้ ต้องหมั่น สังเกต ผู้ก�ำกับคณะก็ต้องหมั่นสังเกต เรียก หัวหน้ามาคุยบ่อย ๆ แล้วก็คอ่ ย ๆ ปรึกษากันไป เพราะหัวหน้าเองอาจเป็นตัวปัญหาก็ได้ อย่างที่ ว่าเด็กวัยรุ่น ๑๗-๑๘ มาเป็นหัวหน้ามันก็ใช่ว่า จะเป็นผู้ใหญ่แล้ว มันไม่ใช่เหมือนแต่ก่อน สมัยพี่ พีม่ คี วามรูส้ กึ เป็นผูใ้ หญ่แล้วโดยเฉพาะ ตอนทีเ่ ราเข้ามา ม.๒ (หรือปัจจุบนั คือ ป.๖) เข้า คณะผบก.ใหม่ ๆ เรามองพี ่ ๆ พีจ่ กั ร จักษุรกั ษ์
พี่นิโรธ ไกรฤกษ์ ฯลฯ พี่พวกนีน้ ะมีความรู้สึก ว่ า ถู ก เตะก็ มี ค วามสุ ข เพราะเขาเตะด้ ว ย ความเอ็นดู ไม่ได้เตะแรง อย่างเช่น... “ไอ้ พลากรมานี่” แล้วก็เขกหัวโป๊กหนึง่ เราก็รู้สึก เออเหมือนพี่ชายเรียกน้องชายไปเขกหัว ถ้าเรา รูส้ กึ อย่างนัน้ ไม่รสู้ กึ ถูกรังแก รูส้ กึ ว่าเขาเอ็นดูเรา และก็อย่างพอตกกลางคืน อาจจะเรียกไปนวด สัก ๑๐ นาทีไม่ได้นวดจริงจังหรอก แต่เรารู้ว่า เขาเรียกเราไปหลอกคุย “เป็นไง..มีความสุขไหม” “ใครใช้เอ็งซักกางเกงบ้าง” เขาจะได้เช็คเราว่าถูก ใช้มากไปหรือเปล่า “แล้วเป็นไงติดทีม A หรือ ทีม B” อะไรประมาณนี้ เขาจะหลอกถามเราคุยไป เรือ่ ย พอถึง ๑๐ นาทีกไ็ ปนอนได้ เราเลยไม่รสู้ กึ ว่ า เขามาเอาเปรี ย บหรื อ ใช้ อ ะไรเราเกิ น เหตุ แล้วเขาเรียกเราไปทีละ ๓ - ๔ คนมะรุมมะตุ้ม พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 21
กัน เขาก็จะดูว่าเราเครียดไหมระหว่างอยู่กัน ตรงนัน้ ๓-๔ คนนี้เราคุยกันได้ไหม มีความ ผ่อนคลายไหม พี่รู้สึกว่ามันเป็นเทคนิคของ หัวหน้าหรือเปล่า พี่ไม่รู้นะ สมัยนัน้ ไม่มีใคร สอนกันได้ คล้ายจะหลอกถามว่าเอ็งถูกใคร รังแกมา ไอ้พวกรุน่ พีก่ ลาง ๆ รุน่ พีโ่ ตกว่าเอ็งสัก ๒-๓ ปีมนั รังแกเอ็งบ้างหรือเปล่า ฉะนัน้ เมือ่ เรา ขึน้ มาเป็นหัวหน้าแล้ว เราก็ได้ประสบการณ์ดี ๆ จากผู้ทเี่ รามองเป็นแบบอย่างมาท�ำหน้าทีต่ รงนี้ และที่ส�ำคัญเราต้องท�ำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีใน ทุก ๆ เรือ่ ง อย่าคิดว่าเรามีอำ� นาจแล้วจะท�ำอะไร ก็ได้ช่างมันอะไรที่เป็นการละเมิดกฎโรงเรียน เพราะเราเป็นหัวหน้านีท่ �ำไม่ได้
อนุมานวสาร: หัวหน้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกันที่ ไม่ใช่หัวหน้า ปกครองกันไงครับ พี่หนุ่ย: ต้องให้เกียรติกันคือยิ่งเราเป็นหัวหน้า แล้วมีเพื่อนที่ไม่ใช่หัวหน้านี่พี่คิดว่าต้องท�ำ ตัวให้ดี เราไม่ควรไปดุด่าเขา ไม่ได้หรอกเป็น เพื่อนกัน โตมาด้วยกันแล้วอยู่มาวันหนึง่ เรา ได้เป็นหัวหน้าเอาหัวโขนมาสวม แล้วเราท�ำตัว ให้โดดเด่นแตกต่างจากเขา แล้วถือโอกาสไป เตือนไปว่าก็คงไม่ได้หรอกแต่การที่เราท�ำตัว ให้ ดีให้ เ กีย รติเขา เขายิ่ง จะต้ อ งท� ำ ตัว ให้ ดี ซึ่งพี่ก็ไม่เคยมีปัญหากับเพื่อนนะก็ยังรักกันมา จนบัดนีท้ ุกคน
อนุมานวสาร: มีหัวหน้าไม่ดีบ้างไหมครับ พี่หนุ่ย: มี เราก็เตือนกันต้องบอกท�ำอย่างนี้ไม่ ได้นะ มันเสียมาถึงหัวหน้าทุกคน เป็นเรื่องที่ ผมยอมรับไม่ได้
อนุมานวสาร (ม.ล.จิรเศรษฐฯ): รุ่นผมมีเพื่อน รุ่นเดียวกันหนีโรงเรียนถูกจับได้ แล้วหัวหน้า ซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันเฆี่ยน.....
“พระมนูสาร” หนังสือพิมพ์ที่นกั เรียนวชิราวุธฯ ช่วยกันท�ำเป็นตัวพิมพ์ดีด และติดบอร์ดให้อ่าน โดยทั่วกัน ฯพณฯ พลากรฯ เคยท�ำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ
22
พีห่ นุย่ : ไม่ได้! สมัยพีน่ กั เรียนโตรุน่ เดียวกันไม่ เฆี่ยน ระบบการลงโทษจะต้องมีกรอบเหมือน กันว่าปีไหนชัน้ ไหนลงไปเราถึงจะเฆีย่ นได้เพราะ ถ้าไปเฆีย่ นก็เท่ากับไปฉีกหน้าเขา เขาจะอายต่อ หน้ารุน่ น้องซึง่ มันไม่ใช่เรือ่ งดี คือการเฆีย่ นเด็ก นีท่ ำ� ได้ แต่ควรจะเป็นเด็กเล็ก โตแล้วควรจะท�ำ อย่างอื่น หรือไม่ก็คาดโทษกันว่าถ้าลื้อเอาอีกก็ ต้องรายงานผู้บังคับการ ผู้ก�ำกับคณะ อนุมาวสาร (วีรยุทธฯ): พี่หนุ่ยเป็นหัวหน้า ตอนปีสุดท้ายใช่ไหมครับ พี่หนุ่ย: พี่เป็นตอน ม.๗ กับ ม.๘ อนุมานวสาร: ถ้าให้มองย้อนกลับไปตอนที่ พี่ถูกแต่งตั้ง วันที่เป็นหัวหน้ารู้สึกภูมิใจไหม ครับ พี่หนุ่ย: ภูมิใจ ภูมิใจมาก อนุมานวสาร: ผู้ก�ำกับคณะควรจะมีบทบาท อย่างไรในการดูแลนักเรียน หรือควรจะปล่อย ให้หัวหน้าปกครองกันเองครับ พีห่ นุย่ : คือหัวหน้านีจ่ ริง ๆ มันก็เด็กนะ แต่ตอน ที่ พี่ อ ายุ ๑๑-๑๒ มองขึ้ น ไปก็ รู ้ สึ ก ว่ า เขา เป็นผู้ใหญ่กันมาก ดูแล้วน่าจะฝากความสุข ความทุกข์ไว้ด้วยได้ ซึ่งพอตอนพี่ได้เป็นก็ รู้สึกอย่างนัน้ จริง ๆ แต่พอตอนเราอายุขนาดนี้ มองย้อนกลับไปแล้วก็รู้สึกตอนนัน้ ยังเด็กมาก ความสนใจในเรื่องสังคมยังน้อยมาก ดังนัน้ ผู้ก�ำกับคณะจึงต้องเข้าไปดูแลด้วย และต้อง
เก่ ง กว่ า หัว หน้ า หลายเท่ า คื อ ผู ้ ก� ำ กับ คณะ นี่ ยั ง ต้ อ งมาจากการคั ด เลื อ กที่ ดี ม ากด้ ว ย ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่มาสมัคร ร้อยคนอาจจะมี คนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมไม่ถึงสิบคนก็ได้ บางทีเป็นคนดีแต่ไม่เก่งก็ไม่ได้ เราต้องการ คนที่ทั้งดีและเก่งเพื่อจะมาเป็นที่ปรึกษาให้เด็ก ได้จริง ๆ แล้วผู้ก�ำกับคณะนีค่ ือผู้ที่หล่อหลอม และพัฒนาหัวหน้าช่วยส่งให้หัวหน้าท�ำได้ดี ในปีสุดท้ายของพวกเค้า ซึ่งถ้าหัวหน้าท�ำได้ ดีก็เท่ากับว่าต่อไปประเทศชาติจะมีผู้น� ำที่มี คุณภาพเพิ่มขึ้นอีก ๖ คนเลยทีเดียว และ รุ่นใหม่ก็จะได้อานิสงส์ด้วยการมีรุ่นพี่เป็น แบบอย่าง ผูก้ ำ� กับคณะนีก่ ค็ อื ผูท้ เี่ ฝ้าสังเกตเด็ก ที่มีแววความเป็นผู้น�ำมาตั้งแต่เข้าคณะในเลย แต่ที่แปลกคือท่านพระยาภะรตราชานี่ อย่างกับท่านมีตาทิพย์เลยนะแม้ท่านจะไม่เข้า มายุ่งเลย สักเดือนหนึง่ จะมาที พอท่านเดินมา ก็มีคนตะโกนเตือนก่อน แล้วก็ตื่นตูมเก็บโน่น กวาดนีก่ นั ใหญ่ แต่เข้ามาท่านก็เดิน ๆ ดู ๆ เสร็จ ก็กลับขึ้นบ้านไปเท่านั้น ทุกวันนี้เราต้องหา รูปท่านมาตั้งแล้วกราบทุกคืนเลยนะ ถ้าใน ภาษาจีนอย่างท่านเหมือนเป็น “เซียน” หรือ อย่างของฝรั่งนีก่ ็เป็น “saint” เลยนะเพราะ ท่านอุทศิ ชีวติ เพือ่ การศึกษาของเด็กจริง ๆ เลย อนุมานวสาร: ขึน้ ชือ่ ว่าเด็กวชิราวุธฯ แล้วทุกคน ย่อมต้องไม่พ้นฝ่ามือตบของท่านผู้บังคับการ พี่ ห นุ ่ ย : พี่ เ ป็ น คนเดี ย วเลยนะที่ ไ ม่ โ ดน ท่านตบ แต่โดนไม้เรียวแทน ซึ่งปกติท่านไม่ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 23
เฆี่ยนนะ แต่ของพี่กรณีพิเศษตอนเด็กเล็ก ๑ ตอนกลางคืนปีนรั้วไปกินข้าวต้ม คือตอนนัน้ มี ร ถซาเล้ ง คั น หนึ่ง ขายข้ า วต้ ม มั ด พอสั ก สามทุ่มเราเข้านอนแล้วมันก็เงียบสงัดมาก ไอ้ รถซาเล้งมันก็เข็นผ่านมาแล้วก็รอ้ ง “ข้าวต้มมัด เค็ม ๆ มัน ๆ หวาน ๆ มาแล้วจ้า” อย่างนี้อยู่ สามสี่คืน ไอ้เราก็ทนนอนหิวไป จนวันหนึ่ง เลยชวนเพื่อนอีกคนโดดข้ามรั้วไปดักรอแล้วก็ ซื้อถุงใหญ่มาฝากเพื่อนด้วย ทีนี้มาคืนที่สอง กล้าหน่อยก็ไปถึงตลาดราชวัตรเลย คืนที่สาม นี่ก็ไปกินไอติมถึงตรงกิตติภัณฑ์ตัดเสื้อเลย จนมีเพื่อนคนหนึ่งไปฟ้องครูบรรจง เพราะ ตอนหลั ง มานี่ ไม่ มี อ ะไรมาฝากมั นด้ ว ยเลย (หัวเราะ) ระบบส่วยไม่ทั่วถึง ประกอบกับ เจ้าของร้านเห็นพวกเราใส่ขาสัน้ มากัน ๓ – ๔ ทุม่ ก็รู้ว่าเป็นเด็กวชิราวุธฯ ก็เป็นห่วงเลยมาบอก ครู พอเรื่องถึงผู้การท่านก็เรียกผู้ปกครองมา เลย แต่ก่อนเรียกนี่ให้โกกุ๊ด (แขกยาม) ตัด ไม้แคมาเป็นก�ำเลย เราก็เตรียมตัวใส่กางเกง ไว้สองชัน้ ก่อนเลยเพราะครูบรรจงบอกว่าเดีย๋ ว ผู้การจะเฆี่ยนพวกเธอแล้วก็ไล่ออก ตอนนัน้ นี่หนาวเลยนะ พอมาถึงโดนเฆี่ยนพี่ก็โดนเป็น คนสุดท้าย คุณหญิงท่านก็มายืนดูตรงระเบียง แล้วบอก “ท่านเจ้าคุณ นายพลากรนีเ่ ป็นหลาน ชั้นเอง… เฆี่ยนเป็นสองเท่าเลยนะ” คนอื่นโดน คนละ ๑๐ พี่เลยโดน ๒๐ แต่ท่านก็เฆี่ยน อย่างปราณี ทีนตี้ อนโดนเฆี่ยนเสร็จเดินผ่านคณะ ผู้บังคับการนี่คนก็มายืนดูเต็มเลยนะ มอง
24
ประมาณว่า “ไอ้พวกนี้มึงหนีโรงเรียนตั้งแต่ เด็ก ๆ เลยมึงเข้ามานี่โดนหนักแน่” อีก ๗ คน ทีโ่ ดนด้วยกันเลยไม่มใี ครเข้าคณะ ผบก. เลยนะ มีแต่พี่คนเดียวที่เข้า อนุ ม านวสาร : ผู ้ ก� ำ กั บ คณะควรจะเป็ น นักเรียนเก่าฯ มั้ยครับ พีห่ นุย่ : พีว่ า่ ไม่จำ� เป็น อย่างสมัยพีก่ ไ็ ม่มใี ครเป็น นักเรียนเก่าฯ ยกเว้นครูดม (อุดม รักตประจิต) คนเดียว อย่างครูจติ (จิต พึง่ ประดิษฐ์) คุณหลวง (หลวงโศภณพิทยาภรณ์ - ม.ล.อุไร อิศรเสนา) ที่พญาไท คุณพระ (พระอนุสาสน์ดรุณรัตน์ ผิว วรรณจินดา) ที่ดุสิต แล้วก็ ม.ล.พันธุ์ (ม.ล.พันธุ์ ศิรวิ งศ์) ผูก้ ำ� กับคณะจิตรลดาก็ไม่ได้ เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวง แต่พระยาภะรตฯ ท่านก็ไปสรรหามา คือถ้าเป็นมันก็เร็วแต่ก็ เป็นการจ�ำกัดกรอบในการคัดเลือกให้แคบ ลงด้วย แทนที่จะคัดได้จาก ๑๐๐ ก็เหลือให้ คัดได้แค่ ๑๐ เท่านัน้ คือคนเป็นครูนี่หัวใจ ก็ต้องเป็นครูด้วย ผู้ก�ำกับคณะก็คือครูที่จะ ถ่ า ยทอดความดี ค วามงามให้ เด็ ก ที่ จ ะเป็ น หัวหน้า พี่ว่าถ้าครูที่เป็นผู้กำ� กับคณะสามารถ เข้าถึงหัวหน้า ๖ คนนี้ได้นะ ก็เกือบๆ จะ พอแล้ว เพราะก็มีหูมีตาดูแลเด็กได้ อนุมานวสาร: ในเรือ่ งของการเรียน หัวหน้าควร จะเข้าไปดูแลเด็กที่เรียนอ่อนมั้ยครับ พี่หนุ่ย: เรื่องนี้เราก็ไม่เคยพูดถึงเลยนะ ถ้า สมัยก่อนเราก็ไม่ได้ยุ่งเหมือนกัน จะเป็นแบบ
ตั ว ใครตั ว มั น เพราะหั ว หน้ า เองก็ เ รี ย น ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เอาตัวไม่ค่อยรอดอยู่เหมือนกัน ถ้าหัวหน้ามีเพื่อนเรียนเก่งก็จะให้เพื่อนช่วย ติวมั่ง ลอกมั่งเหมือนกัน แต่หัวหน้าเองก็ ไม่เคยที่จะไปดูว่าเด็กคนไหนเรียนดีเรียนไม่ดี หรือไม่เรียน แต่ในอนาคตต่อไปนี้พี่ก็เห็นด้วย ที่ว่าหัวหน้าจะต้องเอาใจใส่ทุกข์สุขของเด็ก ทุกคน อาจจะแบ่งโควตากันไปเลยว่าใครจะดู กลุ่มไหน ก็จะต้องหาคนเรียนเก่ง ๆ และ สามารถเป็นติวเตอร์ชั้นดีมาเป็นหัวหน้าบ้าง ไม่ใช่ว่าเก่งเฉพาะรักบี้อย่างเดียว อนุมานวสาร: หลังจากเรียนจบมาแล้ว “วิชา การเป็นหัวหน้า” ทีไ่ ด้จากโรงเรียนมีผลอย่างไร ต่อชีวิตข้างหน้าของเราบ้างครับ พี่หนุ่ย: พอพี่จบมาก็เข้าจุฬาฯ ซึ่งใช้ระบบ SOTUS เข้าปีหนึง่ ไปก็ต้องผูกไทด์แล้วเดินให้ ตัวลีบ ๆ หน่อย บันไดหน้าตึกหนึง่ คณะรัฐศาสตร์ ขึน้ ไม่ได้ มาตอนเย็นก็มปี ระชุมเชียร์รนุ่ พีม่ าว๊าก เสียงดังใส่เราอีก ทีแรกก็ไม่เข้าใจจนกระทัง่ ขึน้ ปีสองว่าเค้าต้องการสร้างความกดดันให้เรารูว้ า่ มนุ ษ ย์ มี ค วามกดดั น ทางอารมณ์ แ ค่ ไ หน แค่ปีเดียวทนไม่ได้หรือยังไง ก็เลยมองย้อนไป สมัยเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ ตัง้ แต่เป็นเด็กจนโต มาเป็นหัวหน้าก็เลยเข้าใจว่าเรื่องนัน้ เรายังผ่าน มาได้เลยก็เลยทนได้ รุ่นพี่ว๊ากก็ยิ้ม ๆ แล้วพอ อยู่นอกห้องเชียร์เขาก็ดีกับเรา วชิราวุธฯ ก็ สอนให้เรายอมรับระบบได้โดยไม่มีปฏิกิริยา อะไรกับมัน
ส�ำหรับความเป็นหัวหน้าที่ได้มามัน ก็ติดตัวมาโดยที่เราก็ไม่รู้ตัวนะ แต่มันก็ฉาย แววออกมา โดยเวลาเราไปท�ำอะไรก็จะมีคนมา เชิญให้ไปเป็นประธาน หัวหน้ากลุ่มอยู่เสมอ ซึง่ เราก็ยอมรับโดยดุษฎี ไม่ได้ปฏิเสธอะไรแล้ว ก็ท�ำให้เค้าได้ เรื่องการเป็นน้องแล้วพอโตมา ก็เป็นหัวหน้า แต่เข้าสังคมใหม่ก็เป็นน้องอีกนี่ เป็น cycle ที่เราสามารถปรับตัวได้ดี อนุมานวสาร: เด็กวชิราวุธฯ และนักเรียนเก่า วชิราวุธฯ ควรจะเป็นอย่างไรในสังคมไทย ปัจจุบันนี้ พี่หนุ่ย: ในส่วนนักเรียนปัจจุบัน ถ้าเราไป ย้อนดูพระบรมราชปณิธานเบือ้ งต้นของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พี่ว่าก็ยังทันสมัยอยู่ไม่เสื่อมคลาย ที่ ว ่ า พระองค์ ท ่ า นต้ อ งการสร้ า งเด็ ก ชาย กลุ่มหนึ่งให้เติบโตขึ้นเป็นชายหนุ่มที่มีความ เป็นสุภาพบุรุษ รักชาติ ศาสนา จงรักภักดีต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์พร้อมที่จะเสียสละ ให้ แ ก่ ช าติ บ ้ า นเมื อ งและสั ง คม ลองมา ตี ค วามว่ า เด็ ก ชายที่ จ ะเติ บ โตขึ้ น เป็ น บุ รุ ษ ที่ผึ่งผายซึ่งต้องใช้เวลา ๖ – ๗ ปีนคี้ วรจะ ท�ำยังไง สิง่ ทีโ่ รงเรียนให้มาคือสิง่ ทีถ่ กู ใช่หรือไม่ ทีเ่ ป็นอยูน่ ดี้ หี รือไม่ สมัยผูบ้ งั คับการแต่ละท่าน มีการพัฒนาไปมากขนาดไหนบ้าง ซึ่งเรื่องนี้เรา ต้องขบคิดกันมากทีเดียว ส�ำหรับนักเรียนเก่าฯ นีจ่ ะมีชว่ งชีวติ หนึง่ ที่หลงลืมโรงเรียนไปก็คือช่วงเข้ามหาวิทยาลัย ช่วงเริ่มงานใหม่ ช่วงมีครอบครัว พอลูกเริ่มโต พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 25
ถึงเริ่มกลับมาโรงเรียน แต่ก็ไม่ว่ากันก็เป็น ธรรมชาติของแต่ละรุ่น ส่วนสิ่งที่ต้องท�ำที่ดี ทีส่ ดุ นอกจากเป็นตัวอย่างทีด่ ขี องนักเรียนเก่าฯ ด้วยกันแล้ว ก็คือให้ความร่วมมือกับทุกเรื่อง ที่สมาคมฯ ขอร้อง หนึง่ ก็ต้องเป็นสมาชิก สมาคมฯ สอง พยายามไปเลือกกรรมการทุกปี สาม เวลาเค้าเชิญประชุมก็ควรจะไป และ สี่ เข้าร่วมเวลาผู้แทนรุ่นเรียกประชุมเรื่องที่ สมาคมฯ ขอความร่วมมือ ในแต่ละรุน่ ก็ควรจะไป ตั้งคณะกรรมการบริหารรุ่นด้วย ไม่ใช่มีคน เดียวเป็นตลอดกาลเลย มีประธาน เหรัญญิก กรรมการ จัดประชุมกันสามเดือนครัง้ หนึง่ เลย ไม่ใช่เจอกันกินกับเที่ยวกันอย่างเดียว แล้วพอ โรงเรียนต้องการอะไรเราก็จัดแจงตอบแทนให้ เขาด้วย เรื่องที่สองก็คืออย่าขาดจากข่าวสาร ของโรงเรียน เรื่องที่สามที่พี่ยังเสียใจจนทุกวัน นีก้ ็คือครูที่สอนเรามาตั้งแต่เด็กเล็กจนจบ เมื่อ ท่านเกษียณแล้วก็ไม่ดูแลท่านต่อเลย บางท่าน ไม่มีบ�ำนาญด้วยซ�้ำ แต่ครูก็จะมีคุณลักษณะ อย่างหนึง่ คือจะไม่เอ่ยปากขอความช่วยเหลือ จากลูกศิษย์ ที่ผ่านมาพี่ก็ไม่เคยได้ทราบเรื่อง นี้เลยว่าท่านไหนมีบ�ำนาญหรือไม่มี ท่านไหน สิน้ ไปเมือ่ ไหร่ พวกเราก็มกี นั อยูใ่ นทุกวงการทัง้ หมอทัง้ อะไรก็นา่ จะช่วยกันดู เรือ่ งสุดท้ายก็คอื เรือ่ งทีเ่ ด็กปัจจุบนั ทีเ่ รียนอยูแ่ ต่มปี ญ ั หาเรือ่ งค่า ใช้จ่าย ก็น่าจะมีทุนพิเศษเพื่อกรณีนดี้ ้วย
26
อนุ ม านวสาร: ขอให้ ฝ ากข้ อ คิ ด ถึ ง รุ ่ นน้ อ ง วชิราวุธฯ ที่จะขึ้นเป็นหัวหน้าในปีนี้สักนิดครับ พี่ ห นุ ่ ย : ต� ำ แหน่ ง หั ว หน้ า นี่ เป็ นต� ำ แหน่ ง ที่ มีเกียรติสำ� หรับการเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ ได้รบั คัดเลือกจากครูบาอาจารย์และก็เป็นที่ยอมรับ จากเพือ่ นร่วมรุน่ และจากน้อง ๆ ทีจ่ ะให้มาเป็น ตั ว แทนดู แ ลพวกเขา การปกครองคนนั้น ต้องมีคุณธรรมยึดเหนี่ยวด้วย คนเป็นหัวหน้า ก็ คื อ ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ มอบอ� ำ นาจให้ ม าปกครอง ฉะนัน้ การใช้อำ� นาจก็ตอ้ งมีคณ ุ ธรรมก�ำกับด้วย ไม่ใช่ว่าจะท�ำอะไรได้ตามใจชอบ แต่กลับต้อง เป็นคนทีม่ รี ะเบียบวินยั ก�ำกับตัวเองให้มากกว่า คนอื่นเพราะเราต้องท�ำตัวเป็นแบบอย่างให้แก่ คนอื่น สุดท้ายคือต้องมีเมตตากรุณากับคน ในปกครองให้มาก ให้ถอื ว่าน้องในปกครองนัน้ เป็นน้องชายแท้ ๆ ของเรา และให้เขารู้สกึ ว่าเรา เป็นพี่ชายแท้ ๆ ที่เขาสามารถฝากความทุกข์ ความสุขไว้กับเราได้ ให้เขารู้สึกว่าเราให้ความ อบอุ่น ความเป็นกันเองแก่เขาได้ นัน่ แหละจะ ถือว่าเป็นหัวหน้าที่สมบูรณ์แบบของวชิราวุธฯ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๔) วีรยุทธ โพธารามิก (รุน่ ๖๐) มยุรชาติ โพธารามิก (รุน่ ๖๙) อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ปรีดี หงษ์สต้น (รุน่ ๗๕) กรรณ จงวัฒนา (รุน่ ๗๖) สัมภาษณ์ กรรณ จงวัฒนา (รุ่น ๗๖) และกัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ เรียบเรียง ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) และวรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๗๙) ถ่ายภาพ
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
สภากรรมการจัดการ
หรือคณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ตอนที่ (๑)
กรรมการพิเศษโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ (จากซ้าย) ๑. นายพันเอก เจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ ๒. นายพลโท หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร อุปราชมณฑลภาคพายัพ ๓. นายพลตรี เจ้าบุญวาทย์ วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครล�ำปาง ๔. นายพันเอก เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน
คณะกรรมการอ� ำ นวยการวชิ ร าวุ ธ วิทยาลัย หรือสภากรรมการจัดการวชิราวุธ วิทยาลัยในอดีตนั้น มีต้นก�ำเนิดสืบเนื่องมา จากสภากรรมการโรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นตั้งแต่ แรกสถาปนาโรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวงเมื่ อ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เนื่องจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนัน้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็นส่วน ราชการหนึง่ ในสังกัดกรมมหาดเล็ก จึง “...ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จางวางมหาดเล็กซึ่ง มีหน้าที่บังคับบัญชาการในกรมมหาดเล็กเป็น กรรมการตามหน้าที่ นอกนัน้ จะทรงพระกรุณา พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 27
เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
โปรดเกล้าฯ ตั้งผู้ใดขึ้นเป็นกรรมการพิเศษอีก ก็แล้วแต่จะทรงพระราชด�ำริเห็นสมควร ใน บัดนีก้ รรมการทีท่ รงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตัง้ ขึ้นแล้ว คือ พระยาวรพงษ์พิพัฒน์๑ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ๒ พระยาเทพทวาราวดี๓
พระยาไพศาลศิลปสาตร์๔ นายขัน หุ้มแพร๕...”๖ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาด� ำ รงราชานุ ภ าพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และเจ้าพระยา พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นผู้
๑
หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา ต่อมาได้เป็น เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ นามเดิม (นพ ไกรฤกษ์) ๓ นามเดิม สาย ณ มหาชัย ต่อมาได้เป็น พระยาบ�ำเรอบริรักษ์ ๔ นามเดิม สนัน่ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ต่อมาได้เป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ๕ นามเดิม หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ ต่อมาได้เป็น เจ้าพระยารามราฆพ ๖ แจ้งความโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรา มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒
28
พระยาบ�ำเรอบริรักษ์
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ตรวจการพิเศษ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ จันทบุรีนฤนาท เสนาบดีกระทรวงพระคลัง มหาสมบัติ และพระยาศรีวรวงษ์ (หม่อมราชวงศ์ จิตร สุทัศน์) ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนข้าราชการ พลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว ๗ เป็ นกรรมการพิ เศษ ทั้ ง ยั ง ได้ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรนี วราษฐ (ชวน สิงหเสนี) ราชเลขานุก ารในพระองค์ฝ่ายต่างประเทศ เป็นสภากรรมการเพิ่มเติมอีกนายหนึ่ง ต่อ จากนัน้ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยังได้
โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้ า ฟ้ า จุ ฑ าธุ ช ธราดิ ล ก กรมขุ น เพชรบู ร ณ์ อินทราชัย ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง และ พระยาไพศาลศิลปศาสตร์ (รื่น ศยามานนท์)๘ ปลั ด ทู ล ฉลองกระทรวงธรรมการเป็ น สภา กรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเพิ่มเติม สภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง นี้น อกจากจะมี ห น้ า ที่ ป กครองบั ง คั บ บั ญ ชา โรงเรียนมหาดเล็กหลวงแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอน
๗
ต่อมาวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานเป็น “จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย” ๘ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปรับราชการในต�ำแหน่งปลัด ทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชนกูลวิบุลยภักดี
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 29
เจ้าพระยารามราฆพ
โรงเรียนราชวิทยาลัยจากกระทรวงยุตธิ รรมมา ขึ้ น การปกครองในสภากรรมการโรงเรี ย น มหาดเล็กหลวง และเมื่อทรงพระกรุณาโปรด เกล้ า ฯ ให้ จั ด ตั้ ง โรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวง เชียงใหม่ขึ้นเมื่อปลาย พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้สภากรรมการโรงเรียน มหาดเล็กหลวงท�ำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา โรงเรียนนัน้ ด้วย แต่ ส� ำ หรั บ โรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวง เชียงใหม่ซงึ่ มีทตี่ งั้ อยูท่ ตี่ ำ� บลห้วยแก้ว เชิงดอย สุเทพ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็น ๙
พื้นที่ที่ห่างไกลและกันดารนัน้ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มีสภากรรมการเพิ่มเติมเฉพาะ โรงเรียนนี้ ประกอบด้วยอุปราชมณฑลภาค พายัพ คือ นายพลโทหม่อมเจ้าบวรเดช๙ และ มหาเสวกโท เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรนิ ทรฦาชัย (พร จารุจินดา) เป็นกรรมการตรวจการพิเศษ และกรรมการพิเศษ คือ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มหาอ�ำมาตย์โท เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผูค้ รอง นครเชียงใหม่ มหาอ�ำมาตย์โท เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน มหาอ�ำมาตย์ตรี เจ้าจักรค�ำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครล�ำพูน มหาอ�ำมาตย์โท เจ้าบุญวาทวงศมานิต เจ้าผู้ครองนครล�ำปาง ส ภ า ก ร ร ม ก า ร พิ เศ ษ โ ร ง เรี ย น มหาดเล็ ก หลวงเชี ย งใหม่ ไ ด้ ถู ก ยุ บ เลิ ก ไป พร้อมกับการยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เชียงใหม่เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ส่วนสภากรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนัน้ ก็ได้ยุบเลิกไปพร้อมกับการยุบรวมโรงเรียน มหาดเล็กหลวงและโรงเรียนราชวิทยาลัยเมื่อ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ด้วย วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖)
ต่อมาได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเป็น นายพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
30
คอลัมน์พิเศษ
พระเกียรติคุณของ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
นางอมรดรุณารักษ์ (อุทุมพร สุนทรเวช)
พูดหลังอาหารในที่ชุมนุมนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง ณ โรงแรมราชศุภมิตร วันเสาร์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๘
ท่านประธานและท่าน น.ร.ม. ที่เคารพรักทั้งหลาย ดิฉนั รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีที่ได้มีโอกาสมาพูดหลังอาหารในวันนี้ แท้จริงดิฉนั ก็ไม่ใช่ แขกแปลกหน้ามาจากไหน ดิฉนั ได้รู้สึกตัวมานานแล้วว่า ตัวเองนัน้ เป็นข้าในพระองค์ล้นเกล้าฯ เช่นเดียวกับผูเ้ ป็นมหาดเล็ก ฉะนัน้ เรือ่ งทีจ่ ะพูดก็ควรเป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ของเรา เมื่อครู่นคี้ ุณพระมหาเทพฯ (พระมหาเทพกษัตรสมุห นามเดิม เนื่อง สาคริก - บก.) ได้กล่าวว่า พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 31
พวกเรามาที่ นี่กั น อยู ่ ทุ ก เดือ นก็เพราะระลึก ถึงความหลัง ฉะนั้นดิฉันจะพูดนี้ก็เป็นเรื่อง ของความหลัง ซึ่งอาจจะฟังคล้ายนวนิยายที่มี ตัวละครหลายตัวรวมทั้งตัวดิฉนั เองด้วย แต่ โปรดอย่าเข้าใจว่าเป็นการกล่าวเพื่อโอ้อวด เรื่องส่วนตัว แท้จริงนั้นดิฉันเจตนาจะใคร่ เทิดทูนพระเกียรติคุณอันประกอบด้วยทศพิธ ราชธรรมของล้นเกล้าฯ เป็นเบื้องต้น ซึ่งดิฉนั ได้ประสบมาด้วยตนเองอย่างทีไ่ ม่อาจจะลืมได้ คือเมื่อดิฉนั อายุในวัย ๙ ขวบ มารดา ได้ น� ำ ตั ว ดิ ฉัน เข้ า เฝ้ า ถวายตั ว เป็ นข้ า หลวง ในสมเด็ จ พระศรี พั ช ริ นทราบรมราชิ นีน าถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงพระมหากรุณา รับแล้วโปรดเกล้าฯ ส่งดิฉันไปเป็นนักเรียน ประจ�ำในพระบรมราชินูปถัมภ์ที่โรงเรียนราชินี สองปี จนดิฉนั อายุยา่ งเข้า ๑๑ ปี ก็โปรดเกล้าฯ ให้ มี ก ารรวบจุ ก แล้ ว พระราชทานให้ จั ด พิธีโกนจุกที่ท้องพระโรง วังพญาไท แล้วให้ ย้ายจากนักเรียนประจ�ำมาอยู่ที่วังพญาไท แต่ ยังไปมาเรียนที่ราชินีต่อไป ต่อมาประมาณ ปีเศษ สมเด็จพระพันปีหลวงทรงมีพระราชด�ำริ จะให้ ดิ ฉัน เรี ย นวิ ช าแพทย์ ซึ่ ง ในสมั ย นั้น เมืองไทยเรายังไม่มีสตรีเรียนวิชาแพทย์ ซึ่ง ตรงกับความปรารถนาของดิฉนั ที่อยากจะเป็น แพทย์เหมือนบิดา (นายพลตรี พระยาด�ำรง แพทยาคุณ - ฮวด วีระไวทยะ - บก.) ซึ่งได้รับ ราชการเป็นนายแพทย์ประจ�ำพระองค์สมเด็จ ๑
พระพันปีหลวงอยู่ในเวลานัน้ อนึ่ง สมัยนั้นดูเหมือนจะพากันนิยม แพทย์ชาวฝรั่งเศสกันมาก เช่น หมอปัวร์ (พระยาอัศวินอ�ำนวยเวทย์)๑ หมอแบ๊งก์ หมอ โรแบรต์ เป็นต้น จึงมีพระราชเสาวนียใ์ ห้สง่ ดิฉนั ไปเรียนภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์เป็นการเตรียมตัว อย่างไรก็ดีใน ระหว่างการศึกษา ทัง้ ทางโรงเรียนราชินแี ล้วมา โรงเรียนคอนแวนต์ คราวใดสมเด็จพระพันปี หลวงเสด็จประพาสต่างจังหวัด ไม่ว่าล�ำน�้ำ หรือเมืองไหนเหนือหรือใต้ ดิฉันก็มักจะได้ รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปตามเสด็จฯ ด้วยเสมอ จนรู้สึกว่าการเรียนไม่ค่อยจะทัน เพื่อน เพราะบางคราวก็ประทับแรมนาน ๆ แต่ ดิฉนั ก็พยายามเต็มที่ คราวหนึ่งเป็นฤดูน�้ำ เสด็จประพาส ล�ำน�้ำไปจังหวัดอยุธยา ขึ้นประทับพักที่จวน เทศาภิบาลใกล้ต�ำบลหัวรอ คุณพ่อดิฉันก็มี เรือหมอตามเสด็จฯ ในขบวนตามเคย ซึ่งคุณ แม่ดฉิ นั ก็รว่ มตามเสด็จฯ ด้วย เผอิญปีนนั้ เกิด พ้องกับขบวนเรือหลวงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ฯ ซึง่ พอผ่านไปไม่ไกลก็ปรากฏว่า จอดขบวนเรือประทับพักในต�ำบลถัดไป ปีนนั้ ล�ำน�ำ้ กรุงเก่าจึงคึกคักสว่างไสวผิดธรรมดามาก ดิฉนั แม้จะอยู่ในขบวนเรือฝ่ายใน แต่อาศัยที่ ยังเด็กจึงมักออกไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ กับคุณ แม่บ้าง โดยเฉพาะวันหนึง่ คุณแม่พาไปเที่ยว
คือนายแพทย์ที่กระซิบถาม ร.๖ ในขณะทรงพระประชวรหนัก ว่า “Your Majesty, Do you want to see your baby?” พระองค์มีพระราชด�ำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงอันแผ่วเบาว่า “Yes, sure”
32
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง
พระราชวังโบราณ (วังจันทรเกษม) บังเอิญพบ เรือคุณ ๆ มหาดเล็กไปเที่ยวเช่นเดียวกัน มีพี่ จ่ายวด (นามเดิม ฉัตร โชติกเสถียร - ต่อมา เป็นพระมหามนตรีศรีองครักษ์สมุห - บก.) กับเพือ่ นมหาดเล็กอีกหลายคน เฉพาะพีจ่ า่ ยวด นั้นคุณแม่และดิฉันรู้จักคุ้นเคยกันดี เพราะ ท่านบิดามารดาชอบรักกันมาก ดิฉันนั้นรัก และนับถือ เพราะไม่เคยมีพชี่ ายก็เลยนับเป็นพี่ ในคณะของพี่จ่ายวดเท่าที่ได้ท�ำความรู้จักก็มี นายบ� ำ รุ ง ราชบทมาลย์ (นามเดิ ม เปรื่ อ ง กัลยาณมิตร - ต่อมาเป็นจมื่นเทพดรุณาทร บก.) และนายรองกวด (นามเดิม แจ่ม สุนทรเวช ต่อมาเป็นจมื่นอมรดรุณารักษ์ บก.) เวลานัน้ ดิฉนั อายุราว ๑๔ ปี รู้สึกยังเป็นเด็กซน ๆ อยู่ วันนั้นแดดจัดมากพี่จ่ายวดยังแวะซื้อหมวก ปีกกว้างมาให้ใส่ เมื่อผ่านตลาดหน้าวังคุณแม่ ก็ซอื้ กุง้ พวงใหญ่ สมัยนัน้ กุง้ ชุมมากจ�ำได้วา่ นาย รองกวดเป็นคนรับอาสาเอาไม้ตะพดคอนพวง กุ้งใส่บ่าแบกมาให้ จนเพื่อนล้อว่าเป็นเจ้าเงาะ นับว่าเป็นการรู้จักพบปะกันเป็นครั้งแรก ต่ อ มาประมาณปี เศษ คุ ณ พ่ อ ดิ ฉัน ถึงแก่อนิจกรรมและอีก ๖ เดือนต่อมาสมเด็จ พระพันปีหลวงก็เสด็จสวรรคต ระหว่างนั้น ดิ ฉันก็ ยั ง เรี ย นต่ อ จนสิ้ น ปี ก็อ อกมาอยู ่ บ ้ า น เมื่ อ ในหลวงรั ช กาลที่ ๖ เสด็ จ มาประทั บ ที่พระราชวังพญาไทแทน มักจะทรงมีละคร หลวงหลายครั้ ง กระทรวงวั ง มั ก จะออก บั ต รเชิ ญ ข้ า ราชการไปเฝ้ า ในการทรงแสดง ละครเสมอ คราวหนึง่ ทรงแสดงละครอีก มี
34
พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระคู่หมั้นเสด็จฯ ด้วย เรื่องหลวงจ�ำเนียร เดินทาง คุณแม่และดิฉนั ก็ได้ไปตามบัตรเชิญ (ซึ่ ง ต้ อ งเสี ย เงิ น ) ในคื นนั้น ดิ ฉันจ� ำ ได้ ว ่ า นายรองกวดได้ร่วมแสดงเป็นตัวนายสถานี รถไฟด้วย ละครพักครึ่งเวลาดิฉนั กับเพื่อน ๆ พากันออกมาหาเครื่องดื่ม ได้พบนายบ�ำรุง ราชบทมาลย์เข้ามาทัก เราก็พดู กันโดยมารยาท คนเคยรู้จักกัน นายบ�ำรุงราชบทมาลย์บอก ดิฉนั ว่า “คอยก่อนนะ มีคนอยากพบ” ดิฉนั ยัง ไม่ทันได้ตอบอะไรก็หายแว่บไป ครู่เดียวไปพา ตัวละครนายสถานีรถไฟเข้ามา ดิฉนั ก็ทักและ คุยถามทุกข์สุขไปตามเรื่อง ตอนนัน้ ดูเหมือน นายเสนองานประภาษ (เนื่อง สาคริก - ต่อมา เป็นพระมหาเทพกษัตรสมุห - บก.) นีก้ อ็ ยูด่ ว้ ย ไม่นานดิฉันก็แยกเข้าที่นั่งดูละคร คนอื่น ๆ ก็แยกกันไป หลังจากนั้นนายรองกวดซึ่งได้ เลือ่ นเป็นนายเล่หอ์ าวุธ มหาดเล็กหุม้ แพร ก็ได้ ไปเยีย่ มดิฉนั กับคุณแม่ทบี่ ้านอีกบ่อย ๆ จนเรา คุ้นเคยกัน และเข้าใจจิตใจซึ่งกันและกันตาม วิสัย ถึงขนาดได้มีสัญญาต่อกันอย่างมั่นคง แต่ตอ่ มาไม่นาน โดยปราศจากเมฆหมอก ดิ ฉัน รู ้ สึ ก เหมื อ นฟ้ า ผ่ า ลงมาในระหว่ า งเรา ทั้งสอง เมื่อปรากฏว่ามีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คนหนึง่ ส่งผู้คุ้นเคยมาทาบทามกับคุณแม่ว่า จะใคร่สู่ขอดิฉนั บรรดาญาติผู้ใหญ่หลายท่าน ต่างเห็นดีเห็นงาม แต่กลับเป็นข่าวร้ายส�ำหรับ ดิฉนั ยิ่งแน่ใจว่าผู้ใหญ่ตั้งใจจะรวบรัดให้เป็น เรื่องจริงจังก็ยิ่งทุกข์ โดยที่ได้มีการรับรอง
แขกผู้มีเกียรติซึ่งท่านก็เป็นท่านผู้หญิงคนหนึง่ ได้มาที่บ้านและท�ำพิธีตามแบบโบราณ คือพอ ก้าวเท้าเข้าสู่ห้องรับแขกท่านก็กล่าวค�ำมงคล ต่าง ๆ และอวยชัยให้พรเรื่องฤกษ์งามยามดี และท่านว่าได้น�ำเกียรติยศ ลาภสักการ มาให้ ด้วย จนตอนสุดท้ายเสียงท่านย�้ำค�ำว่า “เป็น อั นตกลงนะคะคุ ณ หญิ ง ทองหมั้นหีบ หนึ่ง สินสอดร้อยชัง่ เครือ่ งเพชรต่างหาก” แล้วท่านก็ ลากลับ ดิฉนั รูส้ กึ ประหลาดใจเพราะไม่เคยเห็น เหตุการณ์เช่นนีท้ �ำให้ไม่เข้าใจ จึงเรียนถามคุณ แม่วา่ เรือ่ งอะไรกัน ก็ได้ความว่าเป็นพิธกี ารสูข่ อ ซึง่ คุณแม่กต็ กลงยอมยกดิฉนั ให้แต่งงาน ดิฉนั ตกใจมากต่อว่าคุณแม่เรื่องนี้ คุณแม่ไม่เคย ปรึกษาหรือสอบถามดิฉันเลยและขอปฏิเสธ ไม่ยินยอม แต่คุณแม่ก็บอกว่าท่านได้ตกปาก ลงค�ำเขาไปแล้วจะกลับสัตย์ก็หาได้ไม่ ดิฉนั ก็ได้แต่ร้องไห้เสียใจ ในสมัยก่อนนัน้ ลูก ๆ ทั้ง หลายย่อมเกรงใจบิดามารดามากไม่กล้าแม้แต่ จะเถียง แต่ดฉิ นั ก็คดิ อยูใ่ นใจเงียบ ๆ ว่า “คอย ดูนะเราไม่ยอมหรอก ใครที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วคุณ อาล่ะ” ดิฉนั ลืมเรียนว่าดิฉนั ได้เรียกนายเล่ห์ อาวุธเป็นคุณอา เพราะเป็นน้องพระยาแพทย์ฯ (พระยาแพทยพงศาวิสทุ ธาธิบดี - สุน่ สุนทรเวช แพทย์ ป ระจ� ำ พระองค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว - บก.) ซึ่งดิฉนั เรียก ท่านว่าอาเหมือนกัน เพราะท่านเป็นแพทย์ รุ่นน้องบิดาดิฉนั ดิฉนั รู้ตัวว่าตกอยู่ในความ คับขัน เมื่อได้รับทราบว่าเขาจะมาหมั้นภายใน เร็ว ๆ นีจ้ ะติดต่อนายเล่ห์อาวุธก็ไม่กล้า นึกถึง
พี่ฉัตรขึ้นมาได้จึงโทรศัพท์ไปที่เพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นญาติและอยู่บ้านเดียวกัน ขอความ ช่วยเหลือช่วยส่งข่าวให้นายเล่หอ์ าวุธทราบด้วย โดยเล่าถึงความทุกข์ร้อนให้ทราบโดยตลอด เข้าใจว่าพี่ฉตั รได้กรุณาช่วยด่วนตามที่ดิฉนั ขอ ต่อมาอีก ๒ วัน คุณเลื่อม วิเศษกุล พนักงาน พระภูษาซึ่งชอบคุณแม่ด้วย ก็ได้เอาแพรมา ให้ดิฉันตัดเสื้อคุณท้าวอินทสุริยา (นามเดิม ม.ล.เชื้อ พึ่งบุญ เป็นคุณพนักงานพระภูษา ประจ�ำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว และเป็ น พี่ ส าวของเจ้ า พระยา รามราฆพ - บก.) ปรกติเมื่ออยู่โรงเรียน คอนแวนต์ ดิฉันได้เรียนวิชาตัดเย็บเสื้อกับ วาดเขียนด้วย ดิฉันจึงเป็นช่างตัดเย็บฉลอง พระองค์ให้เจ้านายหลายพระองค์ โดยเฉพาะ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมัย เมือ่ ทรงเป็นหม่อมสังวาย์ มหิดล กับสนับเพลา และฉลองพระองค์เจ้านายเล็ก ๆ ๓ พระองค์ คือสมเด็จพระพี่นาง (สมเด็จพระเจ้าพี่นาง เธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ – บก.) กับพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ทัง้ สอง พระองค์ (คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ และรัชกาลปัจจุบัน - บก.) สมัย ยังทรงพระเยาว์อยู่ที่วังสระปทุม ดิฉันเป็น ช่างประจ�ำทีเดียว ดังนั้นคุณแม่จึงไม่สงสัย เลยว่าในแพรตัดเสื้อคุณท้าวนั้นมีจดหมาย เล็ก ๆ แนบมาด้วยจากคุณอา ขอให้ดิฉัน รอคอยและบอกว่าก�ำลังวิ่งเต้นจะกราบบังคม ทูลล้นเกล้าฯ อยู่ ดิฉนั ก็ตอบไปว่า “ไม่ต้อง พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 35
เป็นห่วงเรื่องนี้ วันใดดิฉนั จะต้องแต่งงานกับ คนอื่นดิฉันจะยอมตาย” ต่อมาอีก ๒ วัน คุณท้าวอินทสุรยิ าท่านก็มาเองกับนายเล่หอ์ าวุธ ท่านมาขอร้องให้คุณแม่เห็นใจ สงสารดิฉัน ว่าขออย่ารับหมั้นเลย เพราะเด็กไม่สมัครใจ อนึง่ เกรงว่าล้นเกล้าฯ ทรงทราบก็อาจจะพลอย สลดพระราชหฤทัย ถึงอย่างไรภายหลังท่านก็ คงทรงช่วยเหลือให้นายเล่หอ์ าวุธได้ แต่คณ ุ แม่ คงยืนค�ำว่าท่านเสียใจทีต่ ้องเรียนว่าสายไปเสีย แล้ว เพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ และเป็นข้าราชการ ทีใ่ นหลวงก็ทรงชุบเลีย้ ง ถ้าถอนค�ำพูดก็จะเสีย ผู้ใหญ่ต่อไปใครจะนับถือ ส�ำหรับความภักดี ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนัน้ ย่อมสูงสุด ถ้า ทรงขอร้องมาแล้ว อย่าว่าแต่ลูกคนหนึง่ เลย แม้ ศี ร ษะก็ ถ วายได้ จากนั้ น พอวั น รุ ่ ง ขึ้ น คุณท้าวอินทสุริยาท่านก็มารับคุณแม่บอกว่า โปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้า เมื่อกลับจากเฝ้าในวันนั้นคุณแม่เล่า ทั้งน�้ำตาว่า ในหลวงทรงอ้างสิทธิครอบครอง ในตัวดิฉัน โดยคุณแม่ได้ถวายสมเด็จพระ พั น ปี ห ลวงทรงชุ บ เลี้ ย งมา เมื่ อ สิ้ น สมเด็ จ พระพันปีหลวงแล้วดิฉนั ก็เป็นพระราชมรดก ตกทอดที่เป็นคนของหลวง เรียกว่า “ห้าม” คุณแม่จึงหมดสิทธิ์ที่จะเอาไปยกให้ใครก็ได้ มี พระราชด�ำรัสว่า พวกห้ามนีถ้ ้าใครอยากจะได้ ก็ต้องท�ำหนังสือขอพระราชทาน มีจานเงิน จานทอง ๑ คู่ ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ๑ คู่ แล้วน�ำทูลเกล้าฯ ถวายเข้ามาตามล�ำดับ ซึง่ เป็น ประเพณีมาแต่โบราณ แต่กไ็ ม่ได้หมายความว่า
36
จะพระราชทานเสมอไป การที่จะพระราชทาน หรื อ ไม่ นั้น ย่ อ มสุ ด แต่ พ ระบรมราชวิ นิจ ฉัย ทั้งทรงอ้างสิทธิมนุษยชนที่ว่าบุคคลแม้จะเป็น ใหญ่หรือบุพการีกต็ าม ไม่ควรบังคับกดขีน่ �้ำใจ ใคร มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในตัวของตัวเอง ที่ จะเลือกเคารพบูชาหรือรัก สรรเสริญบุคคล ชาติ ลัทธิ ศาสนาใด ๆ ได้ จึงควรที่ผู้เจริญ แล้วจะเข้าใจและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย กัน เป็นอันว่าคุณแม่แพ้คดีถึงสองกระทง แต่ ล้นเกล้าฯ ก็ทรงมีพระมหากรุณาทรงปลอบ คุณแม่วา่ ขออย่าเสียใจและเข้าใจผิด การครัง้ นี้ ท่านไม่ได้ทรงกระท�ำอย่างเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ที่ใช้พระราชอ�ำนาจกดขี่ข่มเหงราษฎร แต่ทรง สงสารที่ ทั้ ง สองคนรั ก กั น และทรงมี เหตุ ผ ล ประกอบอันสมควร จึงขอให้คณ ุ แม่จงสบายใจ ว่ า จะทรงรั บ เป็ น เจ้ า ภาพฝ่ า ยชาย และจะ พระราชทานความช่วยเหลือทุกอย่างที่คุณแม่ เดือดร้อน ทรงรับรองว่าจะชุบเลี้ยงทั้งดิฉัน และนายเล่ ห ์ อ าวุ ธ ไม่ ให้ ต ้ อ งอั บ อายไปใน ภายหน้า หลังจากนัน้ ก็โปรดเกล้าฯ ให้ดิฉนั เข้ารับราชการในบางโอกาสเวลามีงานหลวง ใหญ่ ๆ ทีเ่ ชิญเสด็จพระบรมวงศ์ฝ่ายในบ่อย ๆ เช่น งานวังปารุสกวัน งานวังพญาไท ครั้งหนึง่ พระวรชายา (สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา - บก.) เคยทรงกริ้ ว ว่ า ใครเอาข้าหลวงพระนางลักษมี (พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ - บก.) มาใช้ ล้นเกล้าฯ ก็ทรง แก้วา่ ดิฉนั เป็นข้าหลวงเสด็จแม่ตา่ งหาก ระหว่าง นั้นดิฉันก็ไปเรียนวิชาพยาบาลที่จุฬาลงกรณ์
สภากาชาดจนจบได้ที่ ๑ และได้ ทุน ๖ เจ้าฟ้าซึ่งจะได้ไปเรียนต่อ ต่างประเทศ แต่บังเอิญล้นเกล้าฯ ทรงมีพระราชด�ำริว่า หมั้นกันมา ถึง ๓ ปีแล้วจะทรงจัดพิธีสมรส พระราชทานให้ นายจ่ารง (เดิม คือนายเล่ห์อาวุธ ในเวลานั้นได้ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เลื่อน บรรดาศักดิ์สูงขึ้นอีกชั้นหนึ่งแล้ว - บก.) ก็ขอร้องให้ดิฉนั สละสิทธิ์ เพื่อแต่งงานดีกว่า ดิฉนั ก็เห็นด้วย ไม่กล้าจะกราบบังคมทูลคัดค้าน เรื่องได้ทุนไปนอก จึงโปรดเกล้าฯ จัดงานสมรสพระราชทานให้ตาม ประเพณี ซึ่งแปลกกว่าสมัยนี้มาก โดยในวั นงานกระทรวง วั ง ได้ ส ่ ง บั ต รเชิ ญ คุ ณ แม่ เหมือ น นายจ่าเรศ (แจ่ม สุนทรเวช) กับ อุทุมพร วีระไวทยะ ในวันทรง ประกอบพิธีสมรสพระราชทาน วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ เชิ ญ แขก ครั้ น พอได้ ก� ำ หนดมี รถพระประเทียบพร้อมด้วยคุณเฒ่าแก่และ ทัง้ พระองค์ เจ้าพระยารามฯ ท่านก็เข้ามาจูงมือ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัง ๑ คน ไปรับดิฉันที่ ดิฉนั ไปส่งให้คล้องแขนข้างขวาเจ้าบ่าวซึง่ ยืนล�้ำ บ้านมาที่พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็น ออกไปเกือบกลางท้องพระโรง เราทัง้ สองถวาย ท้ อ งพระโรงใหญ่ ข องพระราชวั ง พญาไท ค�ำนับแล้วเดินไปยืนอยู่กลางตรงหน้ามีโต๊ะวาง พระยาศรีกฤดากร (ม.ล.วราห์ กุญชร) สมุห สมุดทะเบียนสีเงินเล่มใหญ่ แล้วพระยาบ�ำเรอ พระราชมณเฑี ย รเป็ น เจ้ า หน้ า ที่ ซั ก ซ้ อ มให้ ภักดิ์ (สนิท จารุจนิ ดา) ซึง่ ท�ำหน้าทีน่ ายทะเบียน ดิฉันกับเจ้าบ่าวปฏิบัติ เจ้าพระยารามราฆพ ได้มายืนใกล้ ๆ ถามนายจ่ารงขึ้นดัง ๆ ว่า (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้ส�ำเร็จราชการมหาดเล็ก “ท่านปรารถนาจะเต็มใจยอมรับ น.ส.อุทุมพร ท่านก็มาแลบอกว่า วันนีฉ้ นั จะท�ำหน้าที่แทน วีระไวทยะนี้เป็นภรรยาใช่หรือไม่” เจ้าบ่าว คุณพ่อของเธอนะ พอได้ฤกษ์ลน้ เกล้าฯ เสด็จลง ก็ตอบดัง ๆ ว่า “ข้าพเจ้าตั้งใจเช่นนัน้ ” ต่อมา ทรงพระภูษาฉลองพระองค์ ฉลองพระบาทแดง ดิฉนั ก็ได้ถูกถามอย่างเดียวกัน ซึ่งดิฉนั ก็ตอบ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 37
เหมือน ๆ กัน แล้วเราทัง้ สองก็กา้ วเข้าไปคุกเข่า ลงเซ็นนามในสมุดทะเบียน เสร็จแล้วก็ถอย กลับมาคอยอยู่ พระยาบ�ำเรอภักดิ์ เชิญโต๊ะ สมุดทะเบียนเข้าไปถวายให้ล้นเกล้าฯ ทรงลง พระปรมาภิไธยเป็นสักขีพยานพระองค์แรก แล้วเราทั้งสองก็เดินเข้าไปถวายค�ำนับอีกครั้ง แล้วลงคลานเข้าไปหมอบกราบ ทรงเจิมหน้า เจ้าบ่าวและดิฉนั แล้วทรงหลัง่ น�ำ้ พระพุทธมนต์ ลงบนศีรษะเจ้าบ่าวและดิฉัน ขณะเดียวกัน ก็ พ ระราชทานพร ครั้ น แล้ ว พระราชทาน พระบรมราโชวาทอยู ่ ป ระมาณ ๑๐ นาที พระราชทานเงินทุนของขวัญ ๑๐ ชัง่ (๘๐๐ บาท - บก.) เป็ น เสร็ จ พิ ธี แ ล้ ว เสด็จ ขึ้น ผู ้ ที่ได้ โปรดเกล้าฯ ให้ลงนามเป็นสักขีนนั้ มีเจ้าพระยา ธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุม้ มาลากุล) เสนาบดี กระทรวงวัง เจ้าพระยาอภัยราชามหายุตธิ รรมธร (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เจ้ า พระยาราชศุ ภ มิ ต ร (อ๊ อ ด ศุ ภ มิ ต ร) สมุหพระต�ำรวจหลวงรักษาพระองค์ เจ้าพระยา รามราฆพ ผู้ส�ำเร็จราชการมหาดเล็ก พระยา บริบรู ณ์ราชสมบัติ (ม.ร.ว.มูล ดารากร - ต่อมา เป็นเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี บก.) อธิบดีกรมพระคลังข้างที่ พระยาอนิรธุ เทวา (ม.ล.ฟืน้ พึง่ บุญ) อธิบดีกรมมหาดเล็ก พระยา อุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) อธิบดีกรมชาวที่ พระยาศรีกฤดากร พระยาแพทยพงศาวิสุทธา ธิ บ ดี (พี่ ช ายเจ้ า บ่ า ว - บก,) คุ ณ แม่ ดิ ฉัน (คุณหญิงสงวน ด�ำรงแพทยาคุณ - บก.) และ พระยาบ�ำเรอภักดิ์ แล้วรถไปรับพร้อมคุณ
38
แม่เฒ่าแก่ก็พาดิฉนั มาส่งที่บ้านเจ้าบ่าว ต่อมาอีกหลายเดือนล้นเกล้าฯ และ คุณจอมสุวทั นา เสด็จฯ มฤคทายวัน ดิฉนั ก็ได้ ไปตามเสด็จฯ ด้วย คุณจอมเริม่ ทรงพระครรภ์ อ่อน ๆ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ดิฉนั เข้าไปคอยเฝ้า ดูแลในฐานะเป็นนางพยาบาล ครัง้ เสด็จฯ กลับมา จนกระทั่งทรงพระครรภ์แก่ ทรงเลื่อนขึ้นเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี แล้วเสด็จฯ เข้ า ไปประทั บ ในหมู ่ พ ระมหามณเฑี ย รใน พระบรมมหาราชวัง วันหนึง่ คุณท้าวอินทสุริยา ก็ให้มาตามดิฉันไปเฝ้าพระนางเจ้าว่าไม่ค่อย ทรงสบาย ดิฉนั เองก็มีครรภ์แต่ก็ได้พระบรม ราชานุญาตให้เข้าวังได้เป็นพิเศษในวันนัน้ ดิฉนั เข้าไปเฝ้าก็ปรากฏว่าไม่มีพระอาการอะไรที่น่า แปลกใจ พระครรภ์ก็ยังไม่ลด ครั้งนัน้ ดิฉนั ได้ เฝ้าล้นเกล้าฯ อย่างใกล้ชิดนับเป็นครั้งสุดท้าย บัดนี้ กาลเวลาได้ผ่านมาครบ ๕๐ ปี แล้วนับแต่วนั พระราชทานมงคลสมรส ซึง่ นิยม กันว่าเป็นชีวิตสมรสที่ล�้ำค่าเรียกว่าสุพรรณ สมรสหรือ Golden Wedding เราทั้งสองก็ ยังครองคู่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันมาด้วย ความรั ก อั น มั่ นคงราบรื่ น และผาสุ ก จึ ง มี ใจร� ำ ลึ ก ถึ ง พระกรุ ณาธิ คุ ณ ล้ น เกล้ า ฯ โดย ดิฉันและคุณจมื่นขออุทิศถวายเงิน ๕,๐๐๐ บาท สมทบทุ น ในการสร้ า งหอพระสมุ ด วชิราวุธานุสรณ์ และขออธิษฐานว่าแม้ดวง พระวิญญาณจะทรงสิงสถิตอยู่ ณ แห่งใดก็ตาม ขอจงทรงทราบใต้ฝ่าพระบาทว่าเราทั้งสอง ยังคงรักภักดีอยู่ชั่วนิรันดร
หอประชุม
ชั(๑๔.๐๐ ่วโมงปั น ้ – ๑๕.๐๐ น.) ตอนที่ ๒
อนุสนธิจากการริเริ่มจะท�ำหนังสือรุ่น ของรุ ่ น พั ฒ นาศึ ก ษา ๒๕๒๔ ของผู ้ เขี ย น ในโอกาสที่ ส มเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ไ ด้ เ สด็ จ ฯ ไปทรง พระอักษรระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ในช่วง พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๙ จึงได้รบั พระราชทานหนังสือ “๒๕ ปี จิตรลดา” จากสมเด็จพระเทพฯ เพื่อเป็นตัวอย่างในการ พิจารณาท�ำหนังสือรุ่นกัน หนังสือ ๒๕ ปีจิตรลดานี้ มีพระราช นิพนธ์ของสมเด็จพระเทพฯ เรื่อง “การฝีมือ ๆ คือพลัง” ซึ่งเป็นเพชรแท้ ๆ ส�ำหรับพระราช ประวัติของสมเด็จพระเทพฯ ผู้เป็นที่เคารพ
บูชาของชาวไทยทั้งผอง จึงได้คัดเรื่องบางส่วน (ส่วนใหญ่) มาเสนอต่อสมาชิกโอวี ตอนหนึง่ ในฉบับที่แล้วโดยใช้ชื่อเรื่องว่าชั่วโมงปั้น ต่อ ไปนีค้ ือพระราชนิพนธ์เรื่อง “การฝีมือ ๆ คือ พลัง” ตอนต่อ “ส�ำหรับประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น นัน้ ทางกระทรวงศึกษาธิการมิได้ออกข้อสอบ ด้านศิลปะหรือหัตถศึกษา เพียงแต่ให้รายชื่อ วิชาช่างแขนงต่าง ๆ เป็นรายการยาวเหยียดให้ โรงเรียนสอนตามที่จะท�ำได้ และเก็บคะแนน กันเอง ในตอนนั้น อาจารย์ใหญ่เข้ามาอ่าน รายวิชาอันยาวเหยียดนั้นให้เราฟังและออก เสียงโดยเขียนในแผ่นกระดาษคนละ ๓ วิชา พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 39
ในรายวิชาเหล่านัน้ ผูเ้ ขียนสนใจอยู่ ๓ อย่างคือ ท�ำกับข้าว ช่างแก้ไฟฟ้า และช่างแก้เครื่องยนต์ อย่างแรกนั้น นอกจากจะเห็นเป็นประโยชน์ ยังเขียนลงไปด้วยความเห็นแก่กินด้วย สอง อย่างหลังนั้น นอกจากจะเห็นเป็นประโยชน์ ยั ง คิ ด ว่ า จะได้ มี โอกาสรู ้ อ ะไรแปลก ๆ ซึ่ ง ธรรมดาคงจะไม่คอ่ ยได้เรียน ปรากฏว่า ๓ วิชา ที่ เ ลื อ กนี้ เ กิ ด ไปตรงกั บ ใจเพื่ อ นในชั้ น ตั้ ง หลายคน ผลปรากฏว่ า ครู ไม่ ย อมให้ เรี ย น ช่างไฟฟ้ากับช่างเครื่องยนต์ (หรือเครื่องยนต์ ทั่วไป) บอกว่าไม่มีครู และผู้หญิงไม่น่าเรียน ! ความจริงเราก็เถียงอยู่ในใจว่า ท�ำไมจะไม่มีครู ช่างไฟฟ้าในวังก็มี จะให้สอนเขาก็คงสอนได้ ส่วนช่างแก้รถยนต์ยิ่งหาครูง่ายใหญ่ เพราะ ก็ มี อ ยู ่ ที่ ห มวดรถยนต์ ห ลวง เวลาเสด็ จ พระราชด�ำเนินไปไหนไกล ๆ โดยทางรถยนต์ ก็จะต้องมีรถยนต์คันหนึ่งเรียกว่า “รถช่าง” หรือที่เรียกอย่างเก๋เดี๋ยวนี้ว่า “วิศวะ” เรามีเวลาเรียนทั้งปี (๓ เทอม) ควรจะ พอเพียงส�ำหรับหลักสูตรต้น ๆ ซึ่งเคยเห็นเขา ฝึกอาชีพกัน ใช้เวลาเพียง ๖ เดือนบ้าง ๑ ปีบา้ ง แต่ด้วยความที่ไม่ได้รักวิชาการอย่างแท้จริง ตั้งใจจะขวางและยวนกับครูเท่านัน้ หลังจาก บ่ น อุ บ อิ บ อยู ่ ค รู ่ ห นึ่ง ก็ ลื ม ความอยากเป็ น ช่างฟิตเสียสิ้นเชิง แล้วก็ไม่ได้รณรงค์เพื่อการ ได้มาซึง่ สิทธิของการเป็นช่างฟิตนีแ้ ต่ประการใด ครู เห็นจะไปกัน ใหญ่ จึงก� ำ หนดให้ เสด็จฯ ตามที่พี่จิตรลดารุ่นหนึง่ เคยเลือกกัน ได้แก่การท�ำอาหาร ซึ่งวิชานีท้ ุกคนในห้องนัน้
40
ทัง้ หญิงและชายอยากเรียน ตกลงก็เรียน โดยมี ม.ร.ว.ดัชนี รัชนี เป็นผู้สอนให้ท�ำขนมเค้ก อะไรก็ลืมไปแล้ว ในห้อง Lab ของโรงเรียนมี เตาอบ เตาหุงต้ม ซึ่งผู้เรียนเคยแอบใช้ท�ำการ ต่าง ๆ เช่นปิ้งข้าวเกรียบเวลาอยู่เย็นเรียน ดนตรีไทย อันเป็นช่วงเวลาที่ไม่ค่อยมีใคร เหลืออยู่ที่โรงเรียน วิชา “บังคับเลือก” ที่เหลือ คือตัดเสือ้ ผ้ากับงานไม้ ดูเหมือนครูจะต้องการ ให้นกั เรียนหญิงตัดเสื้อมากกว่า ซึ่งนักเรียน เกือบทั้งชั้นเลือกตัดเสื้อ ตกลงเราห้าคน มี ผู้เขียน จี๋ อ้วน ต้อม อ๊อด เลือกงานไม้ เพราะ นึกว่าจะมีงานท�ำดี ๆ (ส่วนตุ๊ก ตอนนัน้ ไม่ค่อย สบายมาโรงเรียนไม่ได้ พอหายป่วยก็ถกู โอนมา อยู่แผนกงานไม้) พวกที่เรียนตัดเสื้อก็ไม่ทราบ ว่าเขาเรียนกันอย่างไรเหมือนกัน เพราะมีเวลา เรียนไม่มากนัก ส่วนงานไม้กส็ งสารครูประพาส เพราะโดนรับกรรมให้สอนโดยไม่มีโอกาสบอก ว่าจะอาสาสมัครหรือไม่อาสา ตั้งตัวไม่ติดเลย สองสามครัง้ แรกใช้ไปในการพัฒนาห้องหัตถะฯ กวาดถู และจัด ตอนหลังจึงให้จกั ตอกไม้ไผ่ตดิ หีบบุหรี่เป็นลายยาว ๆ ก็เพลินดีเหมือนกัน ได้ บรรยากาศเก่า ๆ ตอนเรียนหัตถศึกษาเมือ่ สมัย เด็ก ๆ ทีม่ กี ารคุยกันได้ แม้วา่ ครูประพาสจะไม่ เล่าเรื่องผีอีก เราอยู่กันน้อยคน จึงสนุกสนาน และ “เป็นกันเอง” ยิ่งกว่าอยู่หลายคน ๆ คน ฉะนัน้ จึงไม่เบื่อ วันหนึง่ มีเหตุการณ์อย่างหนึง่ (มีหนึง่ เยอะจัง) “ทูลหม่อม ๆ” เสียงใครคนหนึง่ ยืนเรียก อยู่หน้าประตูห้องหัตถศึกษา มองตามเสียงไป
เห็นเด็กรุ่นน้อง จะเป็นใครก็จำ� ไม่ได้แล้ว “บอลวันนี้มันแน่ ๆ เลย จิตรลดาสาธิตจุฬาฯ” “เออ...แล้วจะไปเชียร์” พูดพลางเอา กาวทาที่กล่องไม้ (ไม่ได้คิดไปสักหน่อย และ ตกลงจริงก็ไม่ได้ไปดู) ไม่ได้สนใจอีกต่อไป ก็ บอลเราเก่งเสียที่ไหนล่ะ คราวที่แล้วแข่งกับ พวกที่สนามศุภฯ ก็แพ้เขาราบ “ไม่ใช่อย่างง้าน....” พ่อหนูน้อยคนนัน้ พูดพลางลากเสียง “จะให้ทูลหม่อมไปช่วยเตรียมสนาม ให้ต่างหาก” ฟังเข้าอย่างนี้ นึกสนุกขึน้ มาบ้าง ตอนนัน้ ครูประพาสไปทางไหนก็ไม่ทราบ อาจจะไป โทรศัพท์ก็ได้ หันซ้ายหันขวาก็เดินออกจาก ห้องไป คนอื่น ๆ ก็เลยไปด้วยหมด เรื่อง ท� ำ สนามฟุ ต บอลมั น ก็ น ่ า จะถื อ เป็ น ศิ ล ปะ อย่างหนึง่ เหมือนกัน พวกเราก�ำลังบ้าฟุตบอล อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูเ้ ขียน ซึง่ ได้รบั อิทธิพล จากครูส�ำเริง ให้ออกก�ำลังกายด้วยการเล่น ฟุ ต บอล บอกว่ า นอกจากจะได้ วิ่ ง แล้ ว ยั ง ท�ำให้คล่องแคล่ว จังหวะดี และใช้สมองใน การวางแผนด้วย เวลาเล่นกันที่หัวหินต้อง ท�ำสนามเองโดยการวัดและโรยปูน ถ้าวันไหน ไม่มีปูนก็ขนทรายมาโรยแทน ตอนหยุดเทอม เล่นกันมาก เล่นกันดุเดือนถึงลูกถึงคน ตอน โรงเรี ย นเปิ ด หยุ ด พั ก กลางวั น ยั ง ติ ด นิ สั ย ชอบเตะฟุตบอลข้างตึก ๔ (สนามกอล์ฟ) กับ เด็กผู้ชายรุ่นน้อง จนกระทั่งอาจารย์ใหญ่ตัด
หนังสือพิมพ์มาติดไว้ที่บอร์ดว่าผู้หญิงไม่ควร เล่นฟุตบอล พวกผู้ใหญ่บอกว่าเล่นฟุตบอล ไม่ดีตรงที่โหม่งลูกบอล จะเป็นอันตรายต่อ สมอง ผู้เขียนเห็นว่าการโหม่งลูกบอลไม่เป็น อันตรายเท่าไรนัก เพราะเรารู้จังหวะโหม่งด้วย หน้าผาก อันตรายอยู่เมื่อเวลาเราท�ำการบ้าน อยู่ในห้องเรียนดี ๆ ก็มีลูกฟุตบอลตกจาก สวรรค์ ม าลงที่ ก ลางกระหม่ อ มเสี ย เฉย ๆ ตอนหลัง ๆ เราไม่ค่อยได้เตะฟุตบอลกันเท่าไร แต่ก็ได้ติดตามข่าวกีฬาทั้งในและนอกประเทศ อยู่บ้าง อ้าว... จะพูดเรือ่ งท�ำสนาม ไหงเล่าอะไร เรื่อยเปื่อยไปยืดยาว เป็นอันว่าคณะช่างไม้ก็ แปลงสภาพเป็นคณะช่างปูน เราต้องวัดสนาม ให้ได้มาตรฐาน (จ�ำขนาดไม่ได้แล้ว) บางส่วน ยังเหลือรอยปูนเก่าก็สบายหน่อย ที่โรงเรียน ไม่มีเครื่องโรยปูนซึ่งเอาปูนใส่ข้างในและกลิ้ง แบบลูกกลิ้ง เราจึงใช้กอบปูนด้วยมือเล็งแนว และวิ่งถอยหลังเร็ว ๆ กว่าจะเสร็จก็ปวดหลัง แทบแย่เหมือนกัน แล้วก็หมดชัว่ โมงหัตถศึกษา พอดี ครูประพาสออกจะโกรธ ธรรมดาครูเป็น คนอารมณ์ ดี เที่ ย วนี้ เหลื อ อดเลยไปฟ้ อ ง อาจารย์ใหญ่ ซึ่งดุว่าอย่างไรก็ลืมไปแล้ว แต่ ปรากฏว่าถึงปลายปีคะแนนหัตถศึกษาของเรา ถูกตัดกันยุบยับไปเลย ตกลงพวกเราไม่มคี วาม สามารถในการเป็นช่างไม้กันนัก ขณะที่นัก ตัดเสื้อสามารถตัดชุดอะไรยาว ๆ ซึ่งคนอื่น ไม่ ก ล้ า ใส่ นอกจากต้ อ ม ซึ่ ง รั บ ค� ำ ท้ า ของ เพือ่ น ๆ ใส่กระโปรงนีแ่ ล้วเดินไปรอบ ๆ โรงเรียน พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 41
ชักไม่รู้จะเขียนอะไร เห็นจะต้องจบ เรื่องเสียแล้ว เปิดโอกาสให้คนอื่นเขียนบ้าง หนัง สื อ จะได้ ไม่ ห นาเกิ น ไป หมู ่ นี้ข องแพง อะไร ๆ ก็ขึ้นราคา รวมทั้งกระดาษ มานึกถึง ใคร ๆ หลายคนทีไ่ ด้พบว่าวิชาศิลป์ใช้ประโยชน์ ได้ คนที่มีฝีมือสามารถหาเลี้ยงชีพได้ บาง คนถึงขั้นเป็นเศรษฐี ศิลปะทุกแขนงถือได้ว่า เป็น “อาหารใจ” ของชาวโลก มีความส�ำคัญ ยิ่งยวด งานสร้างสรรค์ต่าง ๆ หรือวัตถุที่ ใช้สอยกันอยู่ก็มีพื้นฐานมาจากสิ่งที่ท� ำด้วย มือทั้งนั้น เครื่องจักรกลมาทีหลัง การผลิต จึ ง เรี ย กว่ า MANUFACTURE มาจาก ภาษาลาติน MANUS แปลว่ามือ แต่ก็เป็นที่ น่าเสียดายว่าผู้ที่มีความสามารถทางด้านฝีมือ บางอย่ า งไม่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุน เท่ า ที่ ค วร ผูป้ กครองก็จะให้บตุ รหลานเรียนทางอืน่ แม้วา่ เด็กจะเป็นคนมีฝีมือ อันเป็นคุณสมบัติที่หา ได้ยากนัก ได้เห็นนักเรียนจิตรลดาของเรา หลายคนเป็นผู้มีความสามารถในด้านนี้ และ ก็น�ำความรู้มาหัดท�ำประโยชน์ได้ ผู้เขียนเอง ก็ เ ถอะ เดี๋ ย วนี้ต ้ อ งกลั บ มาหั ด ท� ำ อะไรต่ อ มิอะไรที่ตอนอยู่โรงเรียนไม่เคยท�ำ เช่น ปักถัก อะไรท�ำนองนี้ เป็นการพักสมองและเมื่อท�ำเอง ได้แล้ว ก็สามารถแนะน�ำผู้อื่นที่มาฝึกหัดเพื่อ เป็นอาชีพได้ อย่างครูก�ำชัยเคยเล่าว่าตอนที่ ออกจากโรงเรียน ยังได้ไปศึกษาวิชาช่าง เช่น ท�ำหัวโขนแทนหมวกเป็นความรู้ติดตัว ในเวลา สอนภาษาไทยครูก็สามารถเอาประสบการณ์
42
จากสิ่งที่เคยท�ำจริง ๆ มาเล่าให้ฟังประกอบ บทเรียนได้ ท�ำให้เรียนสนุกขึ้น ฉะนัน้ น่าจะถือ ได้ว่า “การฝีมือ ๆ คือพลัง” เรื่อง “การฝีมือ ๆ คือพลัง” นี้เป็น พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ นับว่าเป็น เรือ่ งทีห่ าอ่านได้ยากมาก นอกจากนี้ ในหนังสือ “๒๕ ปี จิตรลดา” ก็มีเรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าตาม เสด็จไปถวายพระอักษร” เขียนโดยท่านผูห้ ญิง สุนามัน ประนิช เล่าถึงการทีท่ ่านผู้หญิงได้ตาม เสด็จฯ ไปถวายพระอักษรแด่ทูลกระหม่อม ๓ พระองค์ใหญ่ เนื่องในวโรกาสที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเป็นเวลา ๖ เดือน ครึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ถึงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๔ จะขอคัด มาเป็นบางส่วน ดังนี้ “...ได้เริ่มสอนเข้าเรียน ๙ โมงเช้า เลิกเรียนบ่าย ๓ โมง หยุดวันเสาร์และอาทิตย์ ตารางสอนก็ จ ะใช้ ต ารางสอนเช่ น เดี ย วกั บ โรงเรียนจิตรลดาที่กรุงเทพฯ ขณะนั้ น ทู ล กระหม่ อ มหญิ ง ใหญ่ ทรงเรียนอยูช่ นั้ ประถมปีที่ ๔ ทูลกระหม่อมชาย ทรงเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ๓ ทั้งสองพระองค์ จึ ง ต้ อ งทรงเรี ย นทั้ ง เช้ า และบ่ า ย ส่ ว นทู ล กระหม่อมน้อย ทรงเรียนแต่ตอนเช้าเท่านัน้ เพราะทรงอยู่ชั้นอนุบาล ทูลกระหม่อมเล็กยัง ไม่ได้ทรงเข้าโรงเรียนเพราะพระชันษาเพียง
๓ พรรษา ห้องที่ใช้เรียนคือห้องรับแขกมีโต๊ะ ใหญ่ตัวหนึ่ง ประทับเรียนพร้อมกันทั้ง ๓ พระองค์ แต่ตอนถวายพระอักษรก็ตอ้ งผลัดกัน ทีละองค์ คือเริ่มด้วยทูลกระหม่อมหญิงใหญ่ วิชาแรกคือเลข อธิบายแล้วก็ให้ทรงท�ำแบบ ฝึกหัด ต่อด้วยอธิบายเลขแก่ทลู กระหม่อมชาย แล้ ว ถวายให้ ท รงท� ำ แบบฝึ ก หั ด เช่ น กั น ทูลกระหม่อมน้อยนั้น กว่าที่ข้าพเจ้าจะวน มาถึงก็ทรงกระวนกระวายพระทัย ไม่โปรด อยูเ่ ฉย บางครัง้ ก็จะทรงวิง่ ไปมาในห้องรับแขก สมกับที่ทรงได้รับพระฉายานามว่า “เจ้าหญิง สลาตัน” ในวันหลัง ๆ ต้องบอกพระพี่เลี้ยง ให้ทูลกระหม่อมน้อยเสด็จฯ มาเข้าห้องเรียน สายลง เพื่อจะได้ไม่ต้องรอ และทรงเรียนได้ เลย ข้าพเจ้าจะสอนคนเดียวทุกวิชา เพื่อที่จะ ได้ทรงเรียนทันพวกเพือ่ น ๆ ทางกรุงเทพฯ และ กลับไปสอบเลื่อนชั้น ...ถึงแม้ว่าทูลกระหม่อมน้อยจะอยู่ เพียงชั้นอนุบาล แต่ก็ทรงมีความพยายามและ ขยันขันแข็งในการเรียนอย่างมาก ทรงท�ำงาน ได้รวดเร็ว แม้แต่เลขที่ข้าพเจ้าตั้งโจทย์ไว้ให้ วันละ ๑๐ - ๑๕ ข้อ จะทรงท�ำได้ในเวลา ๑๐ นาที เท่านั้นข้าพเจ้าจะต้องมาตั้งโจทย์เพิ่มอีก... ทูลกระหม่อมน้อยทรงโปรดการอ่าน และ เขียนหนังสือตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ในตอนนัน้ ก�ำลังจะเริ่มหัดอ่าน ข้าพเจ้าก็ได้เขียนจดหมาย ไปถึ ง อาจารย์ ทั ศ นี ย ์ ใ ห้ ช ่ ว ยส่ ง หนั ง สื อ อ่ า นประกอบส� ำ หรั บ เด็ ก อนุ บ าล อาจารย์
ได้ ก รุ ณ าส่ ง ไปให้ ๘ เล่ ม จ� ำ พวกเรื่ อ ง ลูกเป็ดขี้เหร่ ข้าพเจ้าก็ตั้งใจจะสอนให้อ่าน วั น ละหน้ า วั น แรกก็ ท รงอ่ า น ๑ หน้ า ใน ห้องเรียน ตอนบ่ายซึง่ เป็นเวลาประทับพักผ่อน ทรงอยากรู้เรื่องราวต่อ จึงเอามาทรงอ่านต่อ โดยพระองค์ เ องจนจบเล่ ม ในบ่ า ยวั น นั้ น ตัวใดที่ทรงอ่านไม่ออก ก็จะให้พระพี่เลี้ยง อ่านให้เฉพาะตัวนัน้ หนังสือ ๘ เล่มที่อาจารย์ ส่งไปก็ทรงอ่านจบหมดใน ๘ วัน ระหว่างที่ อยู่ต่างประเทศนั้น ทูลกระหม่อมน้อยทรง เห็นพวกข้าหลวงและข้าพเจ้าได้จดหมายจาก ทางกรุงเทพฯ ก็ทรงอยากจะได้มีจดหมาย มาถึงพระองค์เองบ้าง จึงได้ทรงขอกระดาษ มาเขี ย นจดหมายถึ ง คุ ณ สง่ า พระพี่ เ ลี้ ย งที่ อยู่ทางกรุงเทพฯ ถ้าค�ำใดสะกดไม่ถูก เช่น “สมเด็จแม่” ก็จะถามตัวสะกด กว่าจะเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ ก็ทรงอ่านและเขียนได้คล่อง จะทรงอ่านหนังสือหรือแม้แต่เศษกระดาษทุก ชิ้นที่ทรงพบ...” ผมหวังว่าท่านผู้อ่านคงอิ่มเอิบ และ ชื่ น ชมในพระบารมี ข องสมเด็ จ พระเทพฯ เหมือนกับผมที่มีโอกาสได้อ่านเรื่องที่หาได้ ยากนี้และประสบการณ์ของพระองค์ท่านใน ระหว่างการทรงพระอักษรในวัยเรียนนั้นก็มี ความสนุกสนานประทับใจท�ำให้เชือ่ ว่าพระองค์ ท่ า นคงมี ค วามสุ ข ในพระหฤทั ย ทุ ก ครั้ ง ที่ ทรงหวนระลึกกลับไปในวัยเรียน โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (รุ่น ๓๙) พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 43
คอลัมน์พิเศษ
เด็กวชิราวุธฯ ในวันนี้
บรรยง พงษ์พานิช (รุ่น ๔๔) เล่าให้อนุมานวสารฟังว่า เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๒ เขา ได้รับเชิญจากผู้บังคับการให้ไปพูดให้นกั เรียนปัจจุบันฟังบนหอประชุม แล้วขอให้เด็กส่งบทความ มาชิงรางวัล (นับเป็นวิธีการไม่ให้คนฟังหลับที่แยบยลนัก) ปรากฏว่า บทความที่ส่งมานัน้ เขียนได้ ดีหลายฉบับ และเสนอว่านักเรียนปัจจุบันน่าจะมีส่วนร่วมในการท�ำอนุมานวสารบ้างตามสมควร อนุมานวสารจึงได้คะยั้นคะยอขออ่านบทความที่นกั เรียนส่งมา เพราะอยากรู้ว่าเขาไป พูดอะไรให้เด็กนักเรียนฟัง จนในที่สุด พี่บรรยงก็ยอมส่งบทความที่ผ่านการคัดเลือกมา ๗ ฉบับ มาให้ทีมงานได้อ่านกัน เด็ก ๆ สรุปสิง่ ทีบ่ รรยงพูดบนหอประชุม พร้อมกับแสดงข้อคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา บาง คนพูดถึงความรูส้ กึ ต่อสิง่ ทีเ่ ขาเห็นว่าไม่สมควรแต่เป็นสิง่ ทีค่ นส่วนใหญ่ประพฤติปฏิบตั ิ บางคนเล่า ประสบการณ์และแรงบันดาลใจทีพ่ วกเขามีในชีวติ พร้อมกับสะท้อนความรูส้ กึ ต่อระบบทีด่ แี ละการ ปกครองกันเองของนักเรียนที่เหมาะสมให้ทราบ อนุมานวสาร จึงได้ขออนุญาตบรรยง ในฐานะผู้พูดในวันนัน้ และเจ้าของรางวัล น�ำบาง บทความของน้อง ๆ ทีส่ ง่ มามาลงในอนุมานวสาร เพือ่ ให้พี่ ๆ โอวีทงั้ หลายได้ภาคภูมใิ จ ในบรรยากาศ พี่สอนน้องเช่นนี้เกิดขึ้นในวชิราวุธฯ มาหลายรุ่น
44
กุศะ ตรารุ่งเรือง คณะสนามจันทร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๑ กล่าวถึงความเห็น ของส่วนตัวหลังได้ฟังปาฐกถาว่า “ผมเคยมี ประสบการณ์ ส ่ ว นตั ว มาแล้ ว คื อ ผมเข้ า วชิราวุธฯ เพื่อนก็มาว่าผมว่า “เอ๋อ” เพราะผม ไม่เคยพูดค�ำหยาบและไม่ใช้ก�ำลังเลย ผมถาม ตนเองมาตลอดว่าผมท�ำถูกหรือเพื่อนผมท�ำ ถูกหลังจากผมได้ฟังคุณ (พี่เตา-บก.) พูด ผม ก็ได้ค�ำตอบว่า “ต่อให้ทุกคนในโลกพูดมันก็ หยาบอยู่ดี” จิระ สุทธิวไิ ลรัตน์ คณะดุสติ ชัน้ มัธยม ศึกษาปีที่ ๕ ได้กล่าวถึงข้อคิดที่ได้รับจากการ ฟังในวันนัน้ ว่า “๑. สิ่ ง ที่ ผิ ด ถึ ง คนทั้ ง โลกจะท� ำ กั น ก็ยัง เป็ น สิ่ง ที่ผิด สิ่ง ที่ถู กถึงไม่มีใครท�ำ กัน สิ่งนัน้ ก็ยังเป็นสิ่งที่ถูกเสมอ ข้อนีค้ ือสัจธรรม และผมเห็นด้วย แต่ถา้ เราถามว่า แล้วเราเอาอะไร มาวัดว่าสิ่งไหนที่ถูกสิ่งไหนที่ผิด ถ้าสิ่งที่ท�ำ มันเป็นสิ่งที่เราบอกว่าผิด แต่ถ้าตัวชี้วัดความ ถูกต้องคือ ความพอใจของคนส่วนใหญ่ ผมคิด ว่าบางทีสิ่งนัน้ ก็อาจจะกลับกันก็ได้ ๒. ความพ่ า ยแพ้ จ ะให้ บ ทเรี ย น มากกว่าชัยชนะเพราะจะท�ำให้เราได้รบั บทเรียน ที่ดี รวมถึงข้อผิดพลาดที่ควรปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ผมว่าคนที่ชนะนัน้ ก็มา จากคนที่แพ้แล้ว “พยายาม” มากกว่า ๓. พรสวรรค์ไม่สำ� คัญเท่าพรแสวง ผม เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะพรสวรรค์นนั้ ไม่มีทาง
ที่เราจะมีในทุก ๆ เรื่อง ดังนัน้ การจะท�ำอะไร ให้ดีนั้นควรที่จะใช้พรแสวงมากกว่า เพราะ คุณสมบัติข้อนี้สร้างได้และให้ผลลัพธ์ที่ดีและ แน่นอนกว่าพรสวรรค์ ๔. เรื่องการปกครองที่ดีของเล่าจื๊อ “การปกครองที่ดีนนั้ ผู้ที่อยู่ใต้ปกครองจะต้อง ไม่รู้สึกถึงการใช้อำ� นาจของผู้ปกครอง” นัน้ คือ การใช้อำ� นาจอย่างมีพระเดชพระคุณ ไปพร้อมกัน คือการจะได้มาซึ่งความยินยอมพร้อมใจของ ผู้ที่อยู่ใต้ปกครอง ๕. เข้มแข็งกับก้าวร้าวนัน้ แตกต่างกัน อ่อนแอกับอ่อนน้อมนัน้ เป็นคนละค�ำกัน คือ การที่บุคคลใดพยายามแสดงอาการก้าวร้าว เพื่อปิดบังความอ่อนแอของตน ซึ่งไม่เป็น ประโยชน์แก่ตัวผู้นนั้ เลย ส่วนอ่อนแอนัน้ คือ เรือ่ งของจิตใจ ดังนัน้ เราจึงควรเป็นคนทีม่ คี วาม เข้มแข็งแต่ก็รู้จักอ่อนน้อมต่อทุกคน ๖. อย่าอวดดีจนกว่าจะมีดใี ห้อวด คือ เราควรเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนไม่ให้เป็นคน ทีช่ อบอวดดี เพราะการอวดดีโดยทีเ่ ราไม่ดจี ริง จะน�ำความเดือดร้อนมาให้ ๗. อย่าเอาเปรียบเพือ่ น แต่เสียเปรียบ ไม่เป็นไร กับค�ำว่าเสียเปรียบไม่ได้นนั้ ต่างกัน เพราะถ้าเราไม่ตอ้ งการถูกเอาเปรียบผลสุดท้าย เราก็ จ ะพยายามทุ ก วิ ถี ที่ จ ะเอาชนะคนที่ เอาเปรียบเราให้ได้นนั่ ก็คือ การเอาเปรียบอยู่ดี ๘. ถ้ า อยากสู ง ต้ อ งยื ด ตั ว เองให้ สู ง คื อ การพั ฒ นาตนเองให้ ดี ขึ้ น โดยไม่ ต ้ อ งไป เบียดเบียนผู้อื่น เพราะถึงแม้ว่าเราจะท�ำคนอื่น พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 45
ให้ล้มได้ แต่นนั้ ไม่ได้หมายความเราสูงขึ้นกว่า เดิมเลย หลักการพัฒนาตนเอง จงโง่ คือ การคิดว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นยัง ไม่พอ ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จงเขลา คื อ คิ ด ว่ า เราบกพร่ อ ง ตลอดเวลาและหาทางปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น จงหิว คือ ความอยากท� ำในสิ่งที่ดี เพราะความอยากจะท� ำ ให้ เรามี ค วามเพี ย ร มากขึ้น จงกล้ า คื อ กล้ า คิ ด กล้ า ตั ด สิ น ใจ กล้าท�ำอะไรอย่างมีสติ จงกลัว คือ การประเมินตนเองว่ายัง ดีไม่พอต้องท�ำให้ดีกว่า ท�ำให้เกิดขึ้นให้ได้” ส่วนน้องธีรพงศ์ คุณปุระ ชัน้ มัธยมศึกษา ปีที่ ๕/๔.๒ คณะจงรักภักดี นอกจากจะได้ สรุปข้อคิดที่ได้ฟังมาเช่นเดียวกันกับน้อง ๆ คนอืน่ ๆ แล้ว แต่ยงั แถมท้ายด้วยข้อติเกีย่ วกับ ปาฐกถาครั้งนี้ว่า “จะขอฝากเรื่องที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับ ระยะการแสดงปาฐกถาที่สั้นมาก เนื่องจาก การแสดงปาฐกถาในครั้ ง นี้ มี ทั้ ง สาระความ สนุ ก สนานเคล้ า ความรู ้ ไปด้ ว ยกั น ท� ำ ให้ นักเรียนส่วนใหญ่เพลิดเพลินเป็นอย่างมาก จนกระทั่งจบการปาฐกถา ก็ยังรู้สึกว่าระยะ เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน เพราะฉะนัน้ ในโอกาสต่อไปผมใคร่ขอความกรุณาแสดง ปาฐกถายาวขึ้นอีก ๑๐-๒๐ นาทีจะเป็นความ
46
กรุณาอย่างสูง” ด้านบทความของน้องปิ่นภพ เสวิกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๒ คณะพญาไท แม้จะ ไม่ได้สรุปรวมเอาทุกข้อคิดที่ได้จากการฟัง ปาฐกถามาเขียน แต่ได้หยิบยกเอาข้อหนึง่ ที่ เขาเห็นว่าสามารถน�ำมาอธิบายปรากฏการณ์ ทางการเมืองระดับชาติได้ ข้อคิดที่ว่านัน้ คือ “หากอยากสูงจงยืดตัวเองให้สูง การ เตะขาคนอื่นไม่ได้ท�ำให้เราสูง ข้อนี้เป็นข้อที่ ผมชอบมากที่สุดและพยายามยึดมั่นมาโดย ตลอด ข้อนี้เป็นข้อที่สังคมไทยยุคปัจจุบัน ควรน� ำ ไปใช้ เพราะปั จ จุ บั น ในการแข่ ง ขั น ทางการค้าหลาย ๆ บริษัท (หรือทุกบริษัท) ใช้ วิ ธี ที่ ต รงข้ า มกั บ ค� ำ พู ด ของพี่ โดยสิ้ น เชิ ง เพราะทุกบริษัทเมื่อมีการแข่งขัน ต่างพยายาม ท�ำให้อกี ฝ่ายล้ม ไม่วา่ จะใช้วธิ กี ารอย่างไรก็ตาม เมื่อทุก ๆ คนในประเทศไทยล้วนท�ำกันอย่างนี้ ผลสุ ด ท้ า ยจะเป็ น อะไรไปไม่ ไ ด้ น อกจาก “คนล้มทั้งประเทศ” หรือก็คือ “ทั้งประเทศล้ม” นัน้ เอง นีเ่ ป็นเหตุผลข้อหนึง่ ทีท่ ำ� ให้ประเทศไทย ไม่เจริญเท่าที่ควรจะเป็น แต่ถ้าหากลองน�ำ ค�ำของพีม่ าปฏิบตั ิ เมือ่ คนในชาติตา่ งแข่งขันกัน เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการที่จะน�ำไป สู่ชัยชนะเป็นการยืดตัวเอง ประเทศของเราก็ จะมีคนตัวสูงและเป็นคนตัวสูงที่สูงไม่หยุดยั้ง ประเทศของเราก็ จ ะเจริ ญ ก้ า วหน้ า ไปอย่ า ง ไม่หยุดยั้งเช่นเดียวกัน แต่ที่แน่ ๆ ต้องมีคน หลายกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีของพี่ เหตุผล
เดียวก็คือการยืดตัวนั้นท�ำได้ช้าล�ำบากกว่า การไล่เตะคนอืน่ มากนัก แต่ผมต้องขอกล่าวว่า แม้ว่าการไล่เตะขาของคนอื่นและท�ำให้เขาล้ม นัน้ จะเป็นวิธีน�ำไปสู่ชัยชนะได้วิธีหนึง่ มันอาจ จะท�ำให้หลายคนได้ยนื อยูบ่ นจุดสูงสุดของการ แข่งขันนัน้ ๆ ได้ แต่มันเป็นวิธีที่ไร้ซึ่ง “เกียรติ และศักดิ์ศรี” เขาที่เป็นผู้ชนะเหล่านัน้ จะไม่มี ความภาคภูมใิ จในชัยชนะของเขาเลย เพราะเขา ทราบดีว่าเขาใช้วิธีที่ไม่ซื่อสัตย์นนั้ เอง เพราะ อย่างนีผ้ มจึงมัน่ ใจได้วา่ จะไม่มเี ด็กวชิราวุธฯ ใช้ วิธนี เี้ อาชนะผูอ้ นื่ เพราะ ๒ เหตุผลคือ ๑. เพราะ พีไ่ ด้สอนพวกผมไปแล้ว ๒. เพราะ “ข้าต้องการ สุภาพบุรุษที่ซื่อสัตย์สุจริต มีอุปนิสัยใจคอดี” น้องทั้งหมดนีค้ ือผู้ที่ได้รับรางวัลจาก การเขียนบทความส่งเข้ามาให้พี่เตาได้อ่าน แต่เนื่องจากมีน้องอีกคนหนึง่ ที่ถึงแม้จะไม่ได้ รางวัลเพราะเขียนเกินจ�ำนวนหน้าที่ก�ำหนดไว้ เพียง ๑ หน้ากระดาษเอ ๔ แต่น้องเขากลับ เขียนมาถึง ๓ หน้า เลยได้รับรางวัลชมเชย เป็นการเชิญร่วมวงรับประทานอาหารเย็น โดย พี่เตาอาสาเป็นเจ้าภาพ ปิดท้ายกันที่บทความของน้อง พศิน เวชพาณิชย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑.๑ คณะ จงรักภักดี นักเรียนวชิราวุธฯ รุ่น ๘๓ (หรือ รุน่ ๑๐๐) ได้ใช้เนือ้ ทีห่ นึง่ หน้ากระดาษสาธยาย ความรูส้ กึ ทีม่ ตี อ่ บทสัมภาษณ์ของรุน่ ๔๔ ทีล่ งใน อนุมานวสารเล่ม ๒-๒๕๕๒ ประจ�ำเดือน มีนาคม-เมษายน โดยจุดสนใจที่ท�ำให้น้อง
พศินต้องหยิบเอาอนุมานวสารเล่มนีข้ ึ้นมาอ่าน เพราะค�ำโฆษณาถึงตัวพี่เตาว่าเป็น “บุคคลที่ ถูกพระยาภะรตตบมากที่สุด” ไปจนถึงการ บรรยายความรูส้ กึ จากการได้อา่ นบทสัมภาษณ์ ที่ว่านี้ กว่าจะเข้าเรื่องที่พี่เตาพูดได้ก็กินเนื้อที่ ไปหนึ่ ง หน้ า กระดาษพอดี ซึ่ ง น้ อ งพศิ น ได้จับประเด็นลักษณะวิธีการพูดของพี่เตามา ชมเชยว่า “ทั ก ษะการพู ด ของพี่ ที่ ผ มมั ก จะไม่ ค่อยเห็น แม้ในบางทีจะเป็นคนใหญ่คนโตมาก ก็เถอะแต่บางคนนัน้ กลับไม่มีทักษะการพูดที่ ดึงดูดได้เลย ทักษะการพูดของพี่หากกล่าว เป็นภาษาอังกฤษ ก็คงต้องว่าเป็นการพูดที่ Remarkable มากครับสิ่งที่เห็นชัด ๆ ซึ่งผม เห็นความแตกต่างก็คือการพูดของพี่นนั้ แทบ จะไม่มคี ำ� เชือ่ มทีม่ กั จะเว้นกึง่ กลางนาน ๆ อย่าง ที่เห็นหลายคน เช่น พูดว่า “วันนี้ผมก็...จะ มาพูด” แต่ของพี่จะพูดเป็นประโยค ๆ ไปเลย แบ่ ง ขาดและต่ อ กั น ในแต่ ล ะประโยคอย่ า ง ชัดเจนอีกทั้งน�้ำเสียง ท่าที และถ้อยค�ำที่เป็น กันเองท�ำให้ดึงดูดผู้ฟังมาก ดูเหมือนพี่พูด โดยไม่กดดันเลย ท�ำให้มันไหลออกมาเรื่อย ๆ เป็นฉาก ๆ ไป ผมเห็นอย่างนัน้ ตอนนัน้ ก็คดิ เลย ว่าคนที่ประสบความส�ำเร็จขั้นสูงสุดอย่างพี่นนั้ ทักษะการพูดเป็นสิ่งหนึง่ ที่สำ� คัญอย่างมาก” อนุมานวสาร รายงาน พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 47
เรานักเรียนมหาดเล็กเด็กในหลวง สนองเบื้องพระยุคลบาท
อภิวาทสดุดี
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ทรงพระราชปฏิสันถารกับชาวเขาอาสาสมัคร ของชุดเฝ้าตรวจชายแดน ๔๐๒ บ้านถ�้ำเวียงแก ต�ำบลนาไร่หลวง อ�ำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (ภาพและค�ำอธิบายภาพจาก www.ohmpps.go.th)
หมู่บ้านถ�้ำเวียงแกเป็นหมู่บ้านที่ผมได้รับรับสั่งจากมูลนิธิโครงการ หลวงหรือโครงการหลวงพัฒนาชาวเขา* ในขณะนัน้ ให้เข้าไปท�ำงาน มัน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าแม้วลายที่อพยพมาจากประเทศลาว ซึ่งตั้งอยู่ใน เขตท้องที่อ�ำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในช่วงนัน้ ทางราชการได้ก�ำหนดให้ ที่นี่เป็นพื้นที่ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น ‘เขตพื้นที่สี แดง’ มีต�ำรวจตระเวนชายแดนชุดหนึง่ ตั้งฐานปฏิบัติการเป็นชุดคุ้มครอง หมู่บ้านและอีกชุดหนึง่ เป็นครูสอนในโรงเรียนชาวเขาแทนที่จะเป็นครูจาก
48
หน่วยการศึกษาของรัฐ “ผมจ่าชัฏในนามของ ฐานปฏิบัติการถ�้ำเวียงแก ขอต้อนรับอาสา สมั ค รจากมู ล นิธิ โครงการหลวงด้ ว ยความ ยินดียิ่ง” ผู้กล่าวต้อนรับเราเป็นจ่านายสิบ ต�ำรวจ แต่งกายในชุดสนาม เห็นชือ่ ทีห่ น้าอกว่า ‘เจนชัฏ’ กุลีกุจอพาลูกทีมขนสัมภาระของผม และเพื่อนร่วมงานเข้าไปยังเพิงพักภายในหลุม บังเกอร์ “ผมขอเลี้ยงท่านด้วยอาหารกลางวัน อย่างง่าย ๆ เนื่องจากขณะนี้เราอยู่ระหว่างการ สู้รบจึงไม่มีโอกาสได้แสดงฝีมือ” แม้เขาจะ กล่าวเช่นนัน้ แต่ผมก็สังเกตได้ถึงความสะอาด สะอ้านของโต๊ะอาหารและถ้วยชามทีใ่ ช้ ระหว่าง ทานอาหารมื้อนั้นด้วยกันซึ่งเอร็ดอร่อยมาก พวกเราถือโอกาสเล่านโยบายที่ได้รับในการมา ท�ำงานครั้งนี้ว่า คือการส่งเสริมรายได้ให้กสิกร และหากเป็นไปได้กใ็ ห้มกี ารปลูกพืชทดแทนฝิน่ ด้วย แต่การท�ำงานครั้งนี้มีข้อจ�ำกัดด้วยเหตุ ที่ทางโครงการฯ ต้องดูแลหลายหมู่บ้านและ หมูบ่ า้ นนีย้ งั เป็นหมูบ่ า้ นทีอ่ ยูไ่ กลเป็นพิเศษ ใกล้ ชายแดน นอกจากนี้ผมยังเป็นมือใหม่หัดขับ ด้วยแต่กต็ งั้ ใจจะท�ำงานให้บรรลุผลอย่างดีทสี่ ดุ จ่าชัฏยิ้มอย่างอารมณ์ดีและตอบว่า “พวกเรา ยินดีทจี่ ะได้ทำ� งานเคียงบ่าเคียงไหล่กบั อาจารย์ เนื่องจากเรามีจุดหมายเดียวกันและเราก็อยู่ใน
ภาวะที่มีข้อจ�ำกัดมากมายเช่นกัน” คืนนั้นจ่าชัฏนัดประชุมชาวบ้านเพื่อ แนะน� ำ ตั ว สมาชิ ก ใหม่ ข องหมู ่ บ ้ า นว่ า เป็ น คนจากโครงการของเจ้าพ่อหลวงของเราและ แจ้งว่าจะเริม่ ส�ำรวจภูมปิ ระเทศในวันรุง่ ขึน้ ทันที ชาวบ้านแสดงอาการยินดีและให้การต้อนรับ อย่างอบอุ่น ส่วนหนึง่ ของพวกเขาดูจะคุ้นเคย กับจ่าชัฏของเราเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เช้ามืดวันรุ่งขึ้นจ่าชัฏปลุกผมแต่เช้า เพื่อเตรียมตัวออกส�ำรวจภูมิประเทศโดยบอก ว่ า อากาศจะร้ อ นและอาจมี ฝ นในตอนบ่ า ย ระหว่างอาหารเช้าเขาและทีมงานที่จะไปด้วย กั นก็ ต รวจความเรี ย บร้ อ ยของอาวุ ธ ประจ� ำ ตัว จากนัน้ เราก็ออกเดินทางไปส�ำรวจดูพื้นที่ ภูมิประเทศเพื่อท�ำความคุ้นเคยกับพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร และแหล่งน�้ำบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้าน เราพบว่าชาวเขาท�ำการเกษตรโดยการ ท�ำนา ปลูกข้าว และท�ำไร่เลื่อนลอย ไม่มีไม้ผล เพราะพวกเขาเพิง่ อพยพเข้ามาตัง้ รกรากถิน่ ฐาน ได้ไม่นาน พืน้ ทีป่ ลูกฝิน่ อยูบ่ นดอยสูงไกลออก ไป เจ้าหน้าที่ไม่แนะน�ำให้เข้าไปส�ำรวจดูหรือ เกี่ยวข้องด้วยเพราะอันตรายมากเกินไป บางครั้งพอตกค�่ำจ่าชัฏก็จะพาเราไป รู้จักกับวงเหล้าหรือวงฝิ่นซึ่งเป็นวงสนทนา ของผู ้ อ าวุ โสในหมู ่ บ ้ า นเพื่อ เป็ นการประชุ ม
* ต่อมาได้พฒ ั นามาเป็นโครงการหลวงถ�ำ้ เวียงแก มีพนื้ ทีร่ บั ผิดชอบ ๓ หมูบ่ า้ น ได้แก่ บ้านถ�ำ้ เวียงแก หมูท่ ี่ ๑ บ้านน�้ำพัน หมู่ที่ ๙ และบ้านผาหมี หมู่ที่ ๑๐ ต�ำบลนาไร่หลวง อ�ำเภอสองแคว จังหวัดน่าน มีอาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือติดต่อกับบ้านปางกอม ต.ชนแดน อ.สองแคว จ.น่าน ทิศใต้ติดต่อกับ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ.เชียงกลาง จ.น่าน ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านหางทุ่ง-บ้านปางปุก อ.สองแคว จ.น่าน (กอง บก.)
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 49
กลุ่มย่อย และทุกเช้าเราก็จะมีการประเมิน ทบทวนผลจากการประชุมในคืนที่ผ่านมาเพื่อ วางแนวทางโครงการช่วยเหลือตามที่ชาวบ้าน ต้องการ เราสรุปกันว่างานส่งเสริมการเกษตร เป็นงานใหญ่จะท�ำแบบค่อยเป็นค่อยไปโดย เริ่มจากการท�ำแปลงสาธิตขึ้นในหมู่บ้านก่อน เราจะทุ่มเทส�ำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของ คนในหมู่บ้านด้วยการปรับปรุงสาธารณูปโภค สุ ข าภิ บ าล สุ ข อนามั ย และคมนาคมก่ อ น เป้าหมายส�ำคัญคือการเสริมสร้างความสามัคคี ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในพื้ นที่ โดยเว้ นที่ จ ะพู ด ถึ ง เรื่ อ ง ความคิดเห็นต่อลัทธิทางการเมืองทีแ่ ตกต่างกัน แต่จะเน้นที่การช่วยเหลือพวกเขาด้วยความ จริงใจและจริงจังเป็นส�ำคัญ ๏ เม็ดหินกรวดเศษเสี้ยว ทรายขาว ทะเลพัดถมหาดยาว โอบกั้น บอกกล่าวเล่าเรื่องราว ประจักษ์ งามหาดผืนงามนัน้ เหตุป้อง ทะเลฯ กลุ่มผู้อาวุโสในหมู่บ้านได้มารับรอง ความปลอดภัยกับผมว่าหากเกิดความรุนแรง ขึน้ ก็จะเป็นผูพ้ าเราออกจากหมูบ่ า้ นเอง เขาบอก ว่าพวกเราเป็นคนดี เมื่อรับปากว่าจะช่วยอะไร ก็ท�ำจริง ไม่พูดเลื่อนลอยเหมือนกับพวกที่อยู่ ในป่าที่รับปากว่าจะท�ำอะไรให้ก็ไม่ท�ำสักที เรา บอกว่าจะท�ำประปาในหมู่บ้านก็ท�ำให้ จะช่วย เหลือทางการเกษตรก็ท�ำให้ ถนนขึน้ มาหมู่บ้าน ก็ ป รั บ ปรุ ง ให้ ใช้ ได้ ต ลอดฤดู ก าล ผลผลิ ต
50
ทางการเกษตรก็ช่วยเอาไปขายให้ นอกจากนัน้ ยังมีหมอขึ้นมาดูแลรักษา ความส�ำเร็จเหล่านี้ แท้จริงแล้วผมได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ร่วมรุ่นโอวี คือตี๋ใหญ่ ประสงค์ศักดิ์ บุญเดช ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในศาลากลางจังหวัด น่าน สุภาพบุรุษน�้ำใจงามที่ช่วยเหลือผมโดย มิหวังสิ่งใดตอบแทนอย่างเขา จะต้องก้าวหน้า ในหน้าที่ราชการเป็นแน่แท้ การส�ำรวจพื้นที่เกษตรในระยะหลัง ๆ ชาวบ้านเริ่มอาสาที่จะพาไปดูไร่ของพวกเขา ด้ ว ยตนเองโดยรั บ หน้ า ที่ คุ ้ ม ครองความ ปลอดภัยแทนชุดปฏิบตั กิ ารให้เสร็จสรรพ จ่าชัฏ ดูจะยินดีกับความก้าวหน้าในจุดนี้แต่ก็ขอให้ แวะบอกเขาก่อนไปเพื่อรับทราบว่าถืออาวุธ อะไรไปบ้าง หากจะใช้ปืนไปยิงนกตกปลา เขาจะได้รู้ เพราะถ้ามีเสียงปืนอื่นแทรกเข้ามา ด้วยก็แสดงว่ามีการปะทะจะได้เข้าไปช่วยเหลือ ได้ทัน มีวันหนึ่งขณะไปท�ำงาน ผมเดินตาม แถวชาวเขาไปตามทางเดินในราวป่า จู่ ๆ พวก ที่อยู่ข้างหน้าก็หยุด ยกปืนขึ้นช้า ๆ เล็งเข้าไป ในป่า ผมมองตามไม่เห็นอะไรเลยสักอย่าง สักครู่ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น ๒ นัด จากปืน ๒ กระบอก แล้วชาวเขาทีอ่ ยูด่ า้ นหลังผมก็วงิ่ หาย เข้าไปในป่า กลับออกมาพร้อมกับไก่ป่าซึ่งถูก ยิงทีห่ วั พลางร้องบอกด้วยความยินดีวา่ ‘ถ้าไม่ ยิงที่หัวเนื้อจะเละ ไม่อร่อย เดี๋ยวไปฉลองใน ไร่กัน เราเอาเหล้ามาด้วยแล้ว’ ผมรู้สึกโล่งใจ ทีค่ วามเข้าใจอันดีระหว่างกันมีมากขึน้ มิฉะนัน้ หากมีการสู้รบกัน ความช�ำนาญสนามของเรา
คงจะสู้ความช�ำนาญป่าของพวกเขาไม่ได้ เรา คงจะสูญเสียมากทีเดียว การได้มีโอกาสไป สังสรรค์นอกหมู่บ้านของเราจึงเป็นสิ่งที่แสดง ให้เห็นว่าความปลอดภัยรอบนอกหมูบ่ า้ นก็เริม่ ดีขึ้นด้วยแล้วเช่นกัน อยูม่ าได้สกั พักหนึง่ ชาวบ้านก็ตกลงกันว่า จะให้ผมย้ายเข้าไปอยูใ่ นบ้านพักของครู ต.ช.ด. แทนที่จะนอนในฐานปฏิบัติการ โดยแจ้งกับ จ่ า ชั ฏ ว่ า ชาวบ้ า นจะจั ด เวรยามดู แ ลความ ปลอดภัยให้เอง จ่าของผมเห็นด้วยเพราะว่า บ้านพักครูน่าจะสะดวกสบายกว่า รวมทั้งยัง อยู่ห่างจากเขตพื้นที่ปะทะกัน บ้านพักครูนี้ เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงไม่เกิน ๑ เมตร ครู ต.ช.ด. เจ้าของบ้านบอกกับชาวเขาว่าจะให้ ผมนอนในห้องใหญ่ทวี่ า่ งอยู่ แต่พอตกค�ำ่ กลับ ชีใ้ ห้ผมไปนอนในห้องเก็บของซึง่ เป็นห้องเล็ก ๆ ทางด้านหลัง ทีแรกผมก็งง ๆ แต่ก็เดินตาม เขาอ้อมกองสัมภารกมากมายในห้อง จนเห็น ที่นอนสะอาดสะอ้านที่ปูไว้ในมุมหนึง่ มีหมอน และมุ้งกางให้ด้วย เขาเลิกเสื่อปูนอนขึ้น แล้ว ชี้ให้ดูช่องที่พื้นกระดานซึ่งเปิดออกขนาดโต พอที่คนจะลอดลงไปข้างล่างได้ ปากก็บอกกับ ผมว่า “หากมีการสู้รบ ขอให้เปิดกระดานแล้ว ลงไปนอนใต้ถนุ นี้ ผมขุดเป็นหลุมไว้แล้ว ให้รอ อยู่จนเช้า จะมีคนมาช่วย การปะทะเป็นหน้าที่ ของผม ไม่ต้องห่วง ผมเอาตัวรอดได้ ใครเข้า ตีก่อนจะชนะในตอนแรกแต่ต่อมาจะแพ้เพราะ จากนัน้ จะมีก�ำลังหนุนมาช่วย”
ในระยะแรกผมจะเข้านอนแต่หัวค�่ ำ เพราะเหน็ดเหนื่อยจากการท�ำงาน แต่มักจะ ตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วนัง่ ร�ำพึงอยู่คนเดียวว่า ภารกิจที่พวกเราตกลงกันนี้ผมจะท�ำได้หรือไม่ ผมต้องการก�ำลังใจจากใครซักคนและใครหนอ จะอาสาเป็นเธอคนนั้น ตอนนี้ก็ได้แต่นึกถึง เพลงของโรงเรียนที่ว่า “รู้รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ เป็นฉัตรชัย อีกรู้เสีย สละได้ ด้วยใจงาม” มันท�ำให้ผมมีก�ำลังใจเข้มแข็งขึ้นและ สัญญากับตัวเองว่าหากเสร็จภารกิจการท�ำงาน ให้ชาติและกษัตริย์ในโครงการนี้แล้ว เมื่อ พ้นวัยท�ำงานในช่วงบั้นปลายของชีวิตผมจะ ทุ่มเทรับใช้ศาสน์และกษัตริย์เพื่อภารกิจ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์จะได้ครบสมบูรณ์เป็นฉัตรชัย ของผมสืบไป ผู้อาวุโสในหมู่บ้านเริ่มมาเยี่ยมเยือน บ่อยขึ้นหรือบางครั้งก็ชวนไปปรึกษาหารือที่ บ้านเขา คล้าย ๆ กับการประชุมกลุ่มย่อยเรื่อง ทิศทางหมูบ่ า้ นของตนเองเลยทีเดียว ความเห็น โดยรวมจากผู้อาวุโสนัน้ สรุปได้ว่า ‘การสู้รบเพราะเพียงแต่มคี วามคิดเห็น ที่ต่างกันนัน้ ไม่ได้เป็นประโยชน์เลย มีแต่จะ ท�ำให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานไปหาผีปู่ผีย่าได้เร็วขึ้น เท่านัน้ คนเหล่านีค้ วรจะได้รับการส่งเสริมให้ เก่งโดยการเรียนรู้จากสังคมภายนอกเพื่อกลับ มาเป็นก�ำลังส�ำคัญของหมู่บ้าน ท�ำให้บ้านของ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 51
เราเจริญขึ้นเหมือนบ้านของคนพื้นราบข้างล่าง แทนที่ จ ะรอรั บ ความช่ ว ยเหลื อ จากคนของ เจ้าพ่อหลวงแต่เพียงอย่างเดียว ถึงวาระแล้วที่ เราจะได้ปักหลักอยู่เป็นทีเ่ ป็นทางเสียที ไม่ต้อง เคลื่อนย้ายอพยพไปไหน เจ้าพ่อหลวงจะได้ไม่ ต้องเป็นห่วงและคนของท่านจะได้ไปช่วยพีน่ อ้ ง ของเราซึง่ ยังล�ำบากกว่าเราได้’ ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ ชัดคือเมื่อไปเยี่ยมชาวเขาในฤดูกาลเก็บเกี่ยว พบว่าชาวบ้านเหล่านั้นจะไม่ขนผลผลิตกลับ เข้ามาในหมู่บ้านทั้งหมด คงทิ้งส่วนหนึง่ ไว้ใน พื้นที่ ท�ำเสมือนว่าขนย้ายเข้ามาไม่ทัน มืดค�่ำ เสียก่อน แต่เช้าวันรุ่งขึ้นของเหล่านัน้ ก็หายไป ซึ่งสิ่งนี้เป็นการผ่อนปรนภาวะที่จะต้องมีการ เผชิญหน้ากันในหมู่บ้าน ระบบประปาภูเขาที่ต่อมาจากแหล่ง น�้ำซับนอกหมู่บ้านมีก๊อกน�้ำอยู่ใกล้ที่พัก ทั้ง ๆ ที่ น�้ ำ ต้ น ทุ น มี น ้ อ ยเราก็ ยั ง ต้ อ งแบ่ ง มาใช้ เพียงบางส่วนเพื่อที่จะได้แบ่งให้ฝ่ายอื่นได้ใช้ ด้วย พวกชาวบ้านจะมาเอาน�้ำไปใช้ในตอนเช้า มืดและหัวค�ำ่ โดยผูท้ มี่ าก่อนก็จะสามารถตักน�้ำ ไปได้เลย ส่วนผูท้ มี่ าทีหลังก็จะต้องรอคิวรองน�ำ้ ซึ่ ง ก็ ไม่ แปลกอะไรเพราะหากจะไปเอาน�้ ำ ที่ แหล่งน�้ำก็ต้องรอคิวอยู่แล้ว เป็นการดีเสียอีก ที่ท�ำให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กัน ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาวหรือลูกเด็กเล็กแดง ผมสังเกตว่าลูกน้องของจ่าชัฏก็มักจะมาเยี่ยม ผมด้วยเช่นกัน แต่ผมก็รู้ทันพวกเขาอยู่หรอก ว่าอยากจะมาดักดูสาวแม้วอาบน�้ำมากกว่าจะ
52
อยากมาคุยกับผม ในด้านความปลอดภัยของผมก็ดีขึ้น เอามาก ๆ จ�ำได้ว่าเคยต้องรีบหนีออกจาก หมู่บ้านเพียงสองครั้งเท่านั้นตอนที่มาท�ำงาน ใหม่ ๆ แต่หลังจากนัน้ ก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย ครั้งแรกแม้วพาลัดลงเขาซึ่งชันมากไปยังบ้าน สองแควเพื่อขึ้นรถโดยสารบรรทุก ๖ ล้อ ซึ่งมี เทีย่ วเดียวไปอ�ำเภอท่าวังผา ครัง้ หลังเดินสบาย ๆ ลงไปตามถนนที่บูรณะใหม่ไปบ้านนาไร่หลวง ระหว่างที่นงั่ รอรถโดยสารซึ่งมีเพียงเที่ยวเดียว ได้เห็นต�ำรวจในชุดหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อยู่ ในรถจี๊ปวิลลี่หน้ากบซึ่งเป็นรถรุ่นใหม่ มีอาวุธ ทันสมัยครบมือ แถมมีเสื้อเกราะด้วย ผิดกับ ทีมงานทีผ่ มท�ำงานด้วยทีใ่ ส่รองเท้าแตะฟองน�ำ้ หรือรองเท้ายาง รองเท้าบูธนัน้ มีไว้ใส่เฉพาะ เมื่อถึงวันลาพักกลับบ้านเท่านัน้ อย่างไรก็ตาม ผมก็นกึ สบายใจอยู่ว่าหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นัน้ คุ้มครองการก่อสร้างทางซึ่งถ้าท�ำเสร็จก็จะ น�ำความเจริญมาให้หมูบ่ า้ นทีผ่ มท�ำงานอยู่ กลับ จะเป็นการดีเสียอีกทีท่ ำ� ให้การเตรียมรอรับการ พัฒนาไว้เป็นการล่วงหน้าของพวกผมนั้นไม่ ต้องสูญเปล่าหรือรอนานจนเกินไป “ฐานปฏิบตั กิ ารถ�ำ้ เวียงแกยินดีตอ้ นรับ ท่านด้วยอาหารฝีมือพ่อครัวชาวดอยไกลบ้าน ครับ” จ่าชัฏกล่าวต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรี อันดีในโอกาสที่ชวนผมไปกินข้าวด้วย มันเป็น อาหารที่เอร็ดอร่อยมากทีเดียว หลังจากนั้น ผมมักจะถือโอกาสและถือวิสาสะไปเยี่ยมเขา
อยู่เนือง ๆ โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการเพิ่มความ สนิทสนมคุ้นเคย เหตุผลที่แท้จริงก็คือเขาท�ำ กับข้าวได้หลากหลายมากขึ้น ผมเริ่มสังเกต เห็นว่าทีม ต.ช.ด. อยู่กันบางตาลง มีโอกาสได้ ลาพักนานขึน้ และมีระเบียบทีจ่ ะต้องฝากอาวุธ ไว้ทหี่ น่วย ไม่ตอ้ งพกพาอาวุธไปด้วยเมือ่ ลาพัก กลับบ้านเหมือนแต่ก่อนเพราะการเดินทางอยู่ ในระดับที่ปลอดภัยแล้ว ผมอดชื่นชมความ ส�ำเร็จในการน�ำสันติสุขมาสู่หมู่บ้านนีข้ องพวก เขาไม่ได้ คิดอยากให้เขาเป็นเมล็ดพันธุ์ซึ่งมิใช่ มีในหน่วยเขาแต่เพียงอย่างเดียว แต่มใี นหัวใจ ของผูค้ นทีม่ จี ติ ส�ำนึกว่าถึงแม้จะมีความคิดเห็น ที่ขัดแย้งก็สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้ในแผ่นดินนี้ ต่อมาผมได้รับค�ำสั่งให้ย้ายไปท�ำงานที่ หมู่บ้านอื่น จึงแวะไปลาและถือโอกาสขอบใจ เพื่อนตี๋ใหญ่ที่ศาลากลางจังหวัดน่าน ได้รู้ว่า ตี๋ ใหญ่ ได้ รั บ การเลื่ อ นต� ำ แหน่ ง และย้ า ยไป จังหวัดอื่นแล้ว ผมมาทราบในภายหลังว่าเขา เกษียณราชการในต�ำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ในจังหวัดใหญ่แห่งหนึ่งทางภาคอีสาน งาน เลีย้ งส่งเล็ก ๆ ในวันนัน้ ผมได้พบกับชาวต่างชาติ ซึ่งมาท�ำงานด้านการข่าว ถามผมว่าท�ำไมการ สู้รบในหมู่บ้านถ�้ำเวียงแกจึงเบาบางลง จนถึง ระดับที่ปลอดภัยไม่มีการเสียชีวิตอีกเลย ไม่ ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ผิดกับหมู่บ้านอื่นซึ่งยังคง รุนแรงอยู่ ผมตอบเขาว่าเพราะมีคนอยูเ่ บือ้ งหลัง สองคน คนหนึ่งคือผู้ที่จงรักภักดีต้องการที่
จะอัญเชิญพระบารมีปกเกล้าฯ มาให้เห็นเป็น ที่ประจักษ์ ส่วนอีกคนหนึ่งนั้นเป็นผู้ที่ยอม เหนื่อยยากที่จะท�ำตามพระราชกระแสรับสั่ง ว่ า “การพั ฒ นาชนบทนั้น เป็ น งานที่ ท� ำ ได้ โดยยาก ต้องท�ำด้วยความเฉลียวฉลาด เสียสละ และไม่หาประโยชน์ใส่ตน” เขาทั้งสองนัน้ เป็น คนคนเดี ย วกั นคื อ จ่ า นายสิ บ ต� ำ รวจเจนชั ฏ และจ่าชัฏของผมนั่นเอง เขาคือเธอผู้มุ่งมั่น ที่จะอุทิศแด่มหาชนชาวบ้าน ผู้ไร้สิทธิ์ที่จะได้ รั บ ความรื่ น รมย์ แห่ ง ชี วิ ต ในท้ อ งถิ่ นชนบท ห่างไกลของประเทศโดยการด�ำเนินงานตาม พระราชกุศโลบายของพระองค์ทา่ นด้วยวิธกี าร ปิดทองหลังพระ
เย็นศิระเพราะพระบริบาล ขอทูลเกล้าฯ ถวายพระพร ขอจงทรง พระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ ๏ โพธิ์ไทรแผ่กิ่งก้าน ร่มใบ เหล่านกกาอาศัย พักค้าง แหล่งสรรพสัตว์ใกล้ไกล พ�ำนัก เปรียบแผ่นไผทใหญ่กว้าง ทุกผู้ อยู่เย็นฯ ๏ ธ เลอยศยิ่งแล้ว บารมี ธ พสกผสานสามัคคี ทั่วแคว้น ธ ปวงปราชญ์สดุดี อภิวาท ธ โพธิสัตว์มิ่งแม้น ทิพย์แจ้ง อวตารฯ
ม.ร.ว.แจ่มจรัส รัชนี (รุ่น ๓๓)
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 53
คอลัมน์พิเศษ
คิ ด ถึ ง มาจาก เชียงรายเหนือสุดแดนสยาม ฝากความ
แมกไม้และขุนเขาเหนือสุดแดนสยาม เมื่ อ เอ่ ย ชื่ อ จั ง หวั ด เชี ย งรายทุ ก คนรู ้ ดีว ่ า อยู ่ เหนือสุดของเมืองไทย โดยเฉพาะอ�ำเภอแม่สาย คืออ�ำเภอชายแดนติดกับประเทศเมียนมาร์ มี เพียงแม่น�้ำสายกั้นเขตแดนอยู่เท่านัน้ จังหวัด เชี ย งรายมี ช าวโอวี เ รามาตั้ ง รกรากอยู ่ กั น หลายคนด้วยกันทั้งต�ำรวจ พ่อค้า ข้าราชการ และนักธุรกิจ เพราะฉะนัน้ บทความคิดถึงฉบับ นี้ เป็นเสมือนกับการฝากความปรารถนาดีของ โอวีกลุ่มหนึง่ ที่ขอเชิญชวนพี่น้องโอวีทุกคน
54
ขึ้นมาพบปะสังสรรค์ มาสัมผัสบรรยากาศ กลิ่ น อายของเมื อ งเหนื อ บรรยากาศอั น เป็ น ธรรมชาติที่รับรองว่าไม่มีที่ไหนในเมืองไทย โดยเฉพาะปีใหม่ความหนาวเหน็บไม่ต่างจาก ต่างประเทศสักเท่าใดนัก ชาวโอวี ท ่ า นใดจะเดิ น ทางมาทาง รถยนต์ ห รื อ ทางเครื่ อ งบิ นก็ ส ะดวกทั้ ง นั้น มาถึงเชียงรายที่พักมากมายราคาตั้งแต่ ๓๕๐-
๒,๐๐๐ บาทอย่างดี แอร์ น�้ำร้อน น�้ำเย็น UBC ครบเครื่อง จังหวัดเชียงรายมีโอวีใหญ่ เบ้อเริ่ม อยู่คนหนึ่งคือ พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ ผูบ้ งั คับการต�ำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ที่ จ ะอ� ำ นวยความสะดวกให้ ได้ ต ามสมควร (รายละเอียดติดต่ออยู่ท้ายเรื่อง) นอกจากนีท้ ี่ จังหวัดเชียงรายยังมีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วเยอะมาก เช่น ในตัวเมืองมีวดั เก่าแก่เหมาะแก่การท�ำบุญ ตักบาตรตอนเช้า มีหอนาฬิกากลางใจเมืองที่ ว่ากันว่าสวยงามมากในยามค�่ำคืน มีเล่นแสงไฟ
ดูสวยงามยิ่งนัก ถ้าเดินทางออกไปนอกเมือง ก็ จ ะมี วั ด ร่ อ งขุ ่ นของท่ า นอาจารย์ เฉลิ ม ชั ย โฆษิตพิพัฒน์สร้างไว้ดูอลังการงดงามมาก ๆ รุ่งขึ้นเดินทางต่อไปยังอ�ำเภอแม่สายระยะทาง ประมาณ ๖๔ กิโลเมตร อ�ำเภอแม่สายนีถ้ ือว่า เป็นอ�ำเภอที่สูงที่สุดยอดแดนสยามเลยทีเดียว เพราะแค่ เราข้ า มแม่ น�้ำ สายแล้ ว ก็ จ ะเข้ า ถึ ง ดินแดนเมียนมาร์ทันที ต�ำบลท่าขี้เหล็กคือ ต�ำบลหนึง่ ของเมียนมาร์ ซึ่งเป็นอ�ำเภอที่มีบ่อน การพนันอยูห่ ลายแห่ง มีตลาดสินค้าปลอดภาษี มากมาย สินค้าแบรนด์เนมทุกยี่ห้อมากมาย ก่ายกอง เป็นตลาดที่น่าเดินช็อปปิ้งเป็นที่สุด ที่ด่านชายแดนแม่สายมีโอวีอยู่อีกคนหนึง่ คือ โตมร นามสาย เจ้าหน้าที่ศุลกากรด่านแม่สาย โอวีรุ่น ๗๑ คณะพญาไท จะคอยอ� ำนวย ความสะดวกให้กับชาวโอวีทุกท่านในการข้าม พรมแดน ขออย่าได้เป็นห่วง เมื่อถึงต�ำบลท่าขี้เหล็ก ก่อนจะช็อปปิ้ง ก็ยังมีร้านโอวีอีกคนหนึง่ ที่มาเปิดร้านขายของ อยู ่ ที่ ต ลาดแห่ ง นี้ชื่ อ ว่ า พิ ต รพร เครื อ นิ ล รุ่น ๔๑ คณะพญาไท เปิดร้านชื่อ Burberry Shop กระผมจะคอยพาไปซื้อของได้ในราคา พิเศษ ท่านสามารถเดินเลือกซื้อสินค้าได้แบบ ไม่ต้องกลัวถูกหลอก ท่าขี้เหล็กเป็นตลาด การค้าปลอดภาษีทใี่ หญ่มาก มีรา้ นค้าประมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ร้านให้เลือกเดินซือ้ ช็อปปิง้ กันอย่าง สนุกสนาน นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยว อีกพอสมควร เช่น เจดีย์ชเวดากอง อนุสาวรีย์ บุเรงนอง (ผู้ชนะสิบทิศ) ตลาดเพชรพลอย พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 55
กะเหรี่ยงคอยาว วัด และวิหารเก่าแก่โบราณ เป็นต้น อัตราค่าผ่านแดนท่านละ ๔๐ บาท หลังจากนัน้ ข้ามกลับมาอ�ำเภอแม่สาย จะนอนค้างที่นี่สัก ๑ คืนหรือจะไปนอนอ�ำเภอ เชียงแสนก็ได้ เดินทางอีกประมาณครึ่งชั่วโมง ก็ถึงแล้ว ที่เชียงแสนมีแม่น�้ำโขงกั้นเขตแดน ของ ๓ ประเทศ คือ พม่า ไทย และลาวเรียกว่า ดินแดนสามเหลี่ยมทองค�ำ บรรยากาศวิวริม แม่นำ�้ อย่าได้บอกใครว่าสุดยอด จากเชียงแสน เลยไปก็ยังมีเชียงของ ซึ่งที่นนั่ ยังมีโอวีอีกคน หนึง่ คือ วิระ รัตนนันท์ รุ่น ๔๒ ขึ้นมาท�ำธุรกิจ รีสอร์ทอยู่ที่นี่ ที่พักน่าอยู่มาก ท�ำเป็นบ้านพัก ขนาดเล็ก ๆ กะทัดรัด อีก ๒ - ๓ ปีข้างหน้า น่าจะเป็นธุรกิจที่ไปได้ไกล จากเชียงของวกกลับลงมาเชียงรายยัง มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ควรแวะอีก เช่น ดอยตุง หอฝิ่น ดอยแม่สลอง เป็นต้น หรือจะออกรอบ ตีกอล์ฟก็ยงั มีสนามกอล์ฟทีส่ วยงามของบริษทั
56
พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์
บุญรอดบริวเวอร์รี่ไว้คอยให้บริการอีกด้วย ปลายฝนต้นหนาวนี้ ชาวโอวีเชียงราย หวังว่าคงมีพี่น้องโอวีขึ้นมาแวะเยี่ยมเยียนกัน มาดื่มด�่ำบรรยากาศธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ ที่หนาวก�ำลังดีหรือจะขึ้นมาสวัสดีปีใหม่กัน ก็เชิญได้ทุกเมื่อ สายลงและสายหมอกก�ำลังไว้ คอยต้อนรับพี่น้องโอวีทุกท่านอยู่ ด้วยรักและคิดถึง พิตรพร เครือนิล อ้วน (รุ่น ๔๑)
ท�ำเนียบนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย (เชียงราย - พะเยา) ๑. โดมเดช บุนนาค (ตึง๋ ) รุน่ ๓๘ คณะจิตรลดา ที่อยู่ ตู้ ปณ.๑๐ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ๕๗๑๑๐ โทร. ๐๘๗-๓๐๕-๐๕๔๓ อาชีพ ชาวนา ๒. ชูวงศ์ บุนนาค (เต๋า) รุ่น ๓๘ คณะจิตรลดา ที่อยู่ ๑๗๖ ม.๖ บ้านป่าอ้อ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย โทร. ๐๘๑-๙๓๕-๘๕๕๖ อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว ๓. พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์ (ใหญ่) รุ่น ๔๘ คณะดุ สิ ต ที่ อ ยู ่ กองบั ง คั บ การต�ำ รวจภู ธ ร จั ง หวั ด เชี ย งราย โทร. ๐๘๑-๕๓๒-๒๒๗๗ อาชีพ รับราชการ ๔. จาริก ทองผิว รุ่น ๔๘ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาเวียงชัย จ.เชียงราย โทร. ๐๘๑-๔๗๒-๘๔๘๓ อาชีพ นายธนาคาร ๕. พิตรพร เครือนิล (อ้วน) รุน่ ๔๑ คณะพญาไท ที่ อ ยู ่ ๖๒/๖ ม.๑ ต.สั น ป่ า เปา อ.สั นทราย จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๑๐ (ร้าน Burberry แม่สาย) โทร. ๐๘๔-๖๑๑-๐๐๑๑ และ ๐๘๓-๓๒๒-๐๓๒๒ อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว Brand Name ๖. วิชพล ไพบูลย์สิริรัตณ์ (เตียว) รุ่น ๕๖ คณะ ผ.บ.ก. ที่อยู่ ๔๓๘/๑-๑๑ ม.๙ ถ.ประตูชัย ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา (ห.จ.ก.พูลชัยทวีกจิ ) โทร. ๐๘๑-๙๕๒-๖๑๙๘ อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว ๗. ธนเชษฐ์ (ชานนท์) ศรีทองสุข (บึท) รุ่น ๖๑ คณะ ส.จ. - ผ.บ.ก. ที่อยู่ นิมมานคอร์ท ซ.๒ ถ.นิมมานเหมินท์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร. ๐๘๙-๔๓๒-๒๒๓๓ อาชีพ ธุรกิจส อีเมล์ beud.61@gmail.com
๘. สายัณฑ์ หอมคง (เป้า) รุ่น ๖๔ คณะดุสิต ทีอ่ ยู่ ๓๐๙/๓๓ ม.วังทองวิลล่า ถ.ป่าแดด-พะเยา ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา โทร. ๐๘๑-๐๑๑๘๒๗๓ อาชีพ ธุรกิจไม้ไผ่ ๙. ระพิพงศ์ พรหมนารท (หนึง่ ) รุ่น ๖๖ คณะ พญาไท ทีอ่ ยู่ ส�ำนักวิชาการจัดการ ม.แม่ฟา้ หลวง จ.เชียงราย ๕๗๑๐๐ ๐๘๑-๙๐๑-๐๖๔๗ อาชีพ อาจารย์ ๑๐. ศรากร พรสุวรรณ (เอโป) รุ่น ๗๐ คณะ ผ.บ.ก. ที่อยู่ ๕๐๖ ม.๒ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โทร. ๐๘๖-๗๓๒-๕๖๕๘ อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว (เกษตร) ๑๑. โตมร นามสาย (เก้า) รุ่น ๗๑ คณะพญาไท ที่อยู่ ด่านศุลกากรแม่สาย ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย ๕๗๑๓๐ โทร. ๐๘๖-๕๙๙-๑๖๙๙ อาชีพ รับราชการ ๑๒. วัชรพล นิลาพันธ์ (คุง้ ) รุน่ ๗๓ คณะ ผ.บ.ก. ที่อยู่ ๖๒/๑ ม.๕ ต.เวียงพางค�ำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย โทร. ๐๘๓-๖๐๘-๗๗๗๔ อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว (Champ ๔x๔) ๑๓. แสนฟ้า มานะจรรยาพงศ์ (แกลบ) รุน่ ๗๔ คณะจิ ต รลดา ที่ อ ยู ่ ๗๔๖ ม.๓ ต.เวี ย ง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โทร. ๐๘๙-๔๓๒๗๒๒๙ อาชีพ น�ำเข้า-ส่งออก
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 57
ศัพท์โอวี เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ
ปาลูกอม
(กิริยา)
ได้ยินเสียงเพลง Christmas นีท้ ีไร ภาพแรกที่ผู้เขียน นึ ก ได้ คื อ เทศกาล แห่งความสุข เทศกาลที่ครอบครัวจะได้มีโอกาสทานข้าวเย็นกัน อย่างอบอุ่น ตึกราม บ้านช่องและสองข้างทางเดินของถนนจะถูกประดับไปด้วยลูกกวาดติดไฟหลากสีสัน ผู้คนจะมีแต่ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ โลกใบนีช้ ่างสดใสเหลือเกิน ในช่วงที่ผู้เขียนยังหัวเกรียน เรียนอยู่ในรั้วโรงเรียนนัน้ ก็ได้มีโอกาสฉลองเทศกาล เหล่านีก้ บั เขาบ้างเหมือนกัน แต่การฉลองของ “ชาวเรา” รัว้ พูร่ ะหงส์ยอ่ มไม่ธรรมดาแน่นอนอยูแ่ ล้ว หากค�่ำคืนแห่งความสุขของคน (เกือบ) ทั่วทั้งโลกนัน้ จะท�ำให้การนอนหลับนัน้ เป็นไปอย่างมีความ สุข มันคงจะไม่ใช่แน่ส�ำหรับน้อง ๆ ม.ต้นที่แสนน่ารัก เพราะค�่ำคืนแห่งการ “ปาลูกอม” จะรอชาย หนุ่มเหล่านี้อยู่ “ปาลูกอม” ค�ำนีน้ ่าจะมีมาใช้ช่วงปลายยุคของดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (หรือที่
58
โอวีเรียกกันว่า “หมอปืน” บ้าง “เป๋” บ้าง ก็สุดแล้วแต่) จนถึงยุคปัจจุบัน (อันนี้ไม่ค่อยกล้าฟันธง กลัวธงหัก เพราะไม่แน่ใจว่าน้อง ๆ ยังเล่นกันอยู่หรือเปล่า ขออภัยท่านผู้อ่านด้วยครับ – ผู้เขียน) ปาลูกอมคือการน�ำลูกอมหลากสีสันและขนาด ไปแจกน้อง ๆ ที่น่ารักทั้งหลายในค�ำ่ คืนแห่งความ สุข... แหม ถ้ามันน่ารักขนาดนี้ มันคงจะไม่สนุกแน่ ๆ การแจกลูกอมที่ว่านี้ คือการน�ำลูกอมที่เหล่าพี ่ ๆ ม.ปลายในคราบซานต้าผู้ใจเหี้ยมโหด ซึ่งเตรียมมาไม่ต�่ำกว่าสี่ถึงห้าร้อยเม็ดมาปาใส่น้อง ๆ สุดแรงเกิด เท่าที่แรงแขนของพี่ ๆ จะพอ เอื้ออ�ำนวยได้ แต่ขอให้ท่านผู้อ่านทดไว้ในใจก่อนนะครับ ในค�่ำคืนแห่งการปาลูกอม (ส่วนใหญ่จะอยู่ในวัน Christmas Eve, Christmas Day จนบางครั้งอาจเลยไปถึง Boxing Day) หัวหน้าคณะที่ประจ�ำเวรในวันนัน้ จะให้น้อง ๆ ชั้นม.ต้น ทุกคนเตรียมถุงเท้ามาหนึง่ ข้าง พร้อมกับให้นอ้ ง ๆ เขียนข้อความถึงสิง่ ทีอ่ ยากได้หรือเขียนพรอะไร ก็ได้ลงในกระดาษ แล้วน�ำไปใส่ในถุงเท้า พร้อมกับน�ำถุงเท้าไปผูกไว้ทเี่ ตียง ลองจินตนาการดูว่าสิง่ ที่เด็ก ๆ จะขอมีอะไรบ้าง แน่นอนว่างานนี้ย่อมมีพวกที่รู้แล้ว (คือพวก ม.๓ และเด็กเก่า) ก็ย่อม จะเขียนกวนตี...พี่บ้างเป็นธรรมดา ส่วนพวกที่ยังไม่รู้ (เด็กใหม่) ย่อมมองโลกในแง่ดีเสมอ “ฮึฮึฮึ...น้องจ๋า โลกนี้ไม่ได้สวยงามเสมอไปหรอก” หลังจากที่เหล่าซานตาครอสทั้งหลายได้อ่านข้อความที่เด็กน้อยได้เขียนเอาไว้แล้ว พวก พี่ทั้งหลายก็จะบรรจงกระท�ำสิ่งที่ท่านผู้อ่านทดไว้ในใจ เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการน� ำข้อความ เหล่านัน้ มาเยาะเย้ยกันอีกด้วย เช่น “เฮ้ย ไอ้ไข่ มึงขอให้โลกสงบสุขหรอวะ” “มึงฝันไปป่ะ โดนซะมึง” แล้วเหล่าห่าฝนเม็ดลูกอมก็จะตกมาที่ตัวของเด็กชายไข่ “โอ๊ย ๆ อู๊ย ๆ พอแล้วพี่ ไม่เอาแล้วครับ” เสียงร้องอันคร�่ำครวญของน้อง ๆ ที่ต้องรับ ชะตากรรมกับสิ่งที่ตัวเองเขียน (ขอขอบคุณเด็กชายไข่ของคุณยุทธน้อย มา ณ ที่นดี้ ้วย) แต่แปลกนะครับท่านผู้อ่าน ตัวผู้เขียนเองผู้เคยได้สัมผัสประสบการณ์ (สยอง) นี้มา กลับไม่รู้สึกโกรธหรือเกลียดเหล่าซานตาครอสในวันนัน้ เลย กลับรู้สึกว่านีค่ ือความรัก ความสนุก ที่เหล่าพี่ ๆ เข้าใจสรรหามาเล่นกับน้อง ๆ สร้างประสบการณ์และความผูกพันจากรุ่นสู่รุ่น ไม่น่า แปลกใจเลยว่าท�ำไมคนภายนอกถึงมองคนพันธุ์ “โอวี” ว่ารักกันเหลือเกิน ผู้เขียนมองว่าอาจเป็น เพราะสิง่ ทีเ่ ราเคยผ่านมา ถึงแม้วา่ จะพวกเราจะไม่ได้อยูใ่ นยุคสมัยเดียวกัน แต่เราก็สามารถคุยกัน ได้ในเรื่องเดียวกันได้ มันแปลกดีนะครับ Merry Christmas & Happy New Year ล่วงหน้าครับ หมวดพร้อม (ศิริชัย กาญจโนภาส โอวี ๗๖) พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 59
กองบังคับการ ค�ำอวยพรเนื่องในวันครู
ค�ำให้พรจากคุณครู
พระประทัตสุนทรสาร ท่านเป็นอดีตรองผู้บังคับการและอดีตผู้ก�ำกับคณะประทัตหรือปัจจุบัน คือคณะจิตรลดา ท่านได้ให้ค�ำอวยพรแก่ลูกศิษย์ที่ไปแสดงความยินดีและ ขอพร๑ เนื่องในโอกาสวันเกิดของท่านและดูเหมือนจะเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ ท่านจะจากพวกเราไป ท่านได้บอกพวกเราว่า ท่านพูดไม่เก่งแต่เมื่อท่านให้พร เสร็จ พวกเราได้ขอให้ทา่ นกล่าวซ�ำ้ ใหม่เพือ่ จะได้จดเก็บไว้และเท่าทีผ่ มจ�ำได้พวี่ รี ะ วีระไวทยะเป็นผู้หนึ่งที่ได้จดเอาไว้และผม (สุธรรม ฮุนตระกูล) ได้ขอลอกมา อีกทีหนึ่ง จึงขอน�ำมาเผยแพร่เพื่อเป็นคติพจน์ให้ชาวพี่น้องโอวีรุ่นน้อง ๆ และ รุ่นลูกรุ่นหลานได้น�ำไปปฏิบัติ จึงจะเกิดผลดีต่อตัวท่านเอง ค�ำอวยพรดังกล่าวมีว่า ถ้าอยากอยู่สบาย ถ้าอยากจะเป็นเศรษฐี ถ้าอยากจะมีสมบัติ ถ้าอยากจะเป็นผู้รู้ ถ้าอยากจะมีมิตร ถ้าอยากจะมีพละ ถ้าอยากจะเป็นนาย ถ้าอยากจะมีผู้อุปถัมภ์ ถ้าอยากจะท�ำงานให้ได้ผล ถ้าอยากจะให้เรื่องสั้น ๑
ก็จงท�ำแต่ความดี ก็จงรู้จักประหยัด ก็จงรู้จักกตัญญู ก็จงรู้จักคบบัณฑิต ก็จงรู้จักเสียสละ ก็จงรู้จักออกก�ำลังกาย ก็จงรู้จักให้ความยุติธรรม ก็จงรู้จักเจียมตน ก็จงรู้จักขยัน ก็จงรู้จักจบเสียทันทีเดี๋ยวนี้ ครูสุธรรม ฮุนตระกูล
ผู้น้อยที่ไปอวยพรผู้ใหญ่ที่อายุเกิน ๖๐ ปีขึ้นไปเราจะต้องไปขอพรไม่ใช่ไปให้พรท่าน
60
เรือนจาก นักเรียนเก่าฯ เล่าเรื่องสนุก
คุยกันสั้น ๆ
กับพี่หาญ รุ่น ๔๗ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 61
หลังจากผมจบ ม.ศ. ๖ (มัธยมศึกษา ปีที่ ๖) ตัง้ เเต่มนี าคมปี ๑๙๗๕ ผมก็ไปเรียนต่อที่ รัฐออริกอน ประเทศสหรัฐอเมริกาเลย ตอนเเรก ที่ ผ มไปถึ ง ภาษาอั ง กฤษของผมยั ง ไม่ ดี พ อ ผมจึงต้องไปเรียนไฮสคูลที่นนั้ ก่อน ๑ เทอม เเละก็ไปเรียนภาษาอีก ๑ เทอม ก่อนที่ผมจะ เรียนต่อที่มหาวิทยาลัย Junior College เป็น เวลา ๒ ปี เรียนจบมาจะได้วุฒิอนุปริญญา เเต่การศึกษาที่อเมริกาในสมัยนัน้ เเตกต่างจาก ประเทศไทยตรงที่นกั ศึกษาสามารถเลือกเรียน อะไรก็ได้ พอนักศึกษาที่เรียนไปสักพักเเล้ว เริม่ รูว้ า่ ตัวเองอยากเป็นอะไรก็คอ่ ยเเยกไปเรียน ต่อสาขานัน้ อีกที ถ้าเป็นเมืองไทยนักศึกษาจะ ต้องเลือกไปเลยว่าอยากเป็นหมอ อยากเป็น วิศวกรตัง้ เเต่เริม่ เข้ามหาวิทยาลัย ส่วนตัวผมเอง นัน้ ก็เริ่มเรียนพวกคอมพิวเตอร์และไบโอโลจี้ เเต่ตอนหลังผมก็จบบริหารธุรกิจ สาขาไฟเเนนซ์ มา (ทั้ง ๆ ที่ทางบ้านผมเค้าอยากให้ผมเรียน วิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรม เเต่ผมไม่ชอบ) ระหว่างที่ผมเรียนไฟเเนนซ์อยู่ ผมก็ลงเรียน สาขาคอมพิวเตอร์ควบไปด้วยตั้งเเต่ปี ๑ เเต่ พอเรียนถึงปี ๓ ผมสู้ไม่ไหวเพราะเวลาไม่พอ ช่วงนัน้ สาขาคอมพิวเตอร์คะเเนนสูงมาก ผม ต้องนัง่ เขียนโปรเเกรมตอนดึก ๆ เเล้วยังต้อง ท่องหนังสือส�ำหรับวิชาไฟเเนนซ์อีก ผมกลัวว่า ถ้าผมไปทุ่มกับคอมพิวเตอร์มากไป ไฟเเนนซ์ ผมก็จะไม่ได้อีก ประกอบกับตอนที่ผมเรียน ผมก็ท�ำงานไปด้วย ดังนัน้ ผมก็เลยตัดสินใจ ดร็อปคอมพิวเตอร์ไปนัน่ เอง
62
Career
ผมเริ่มชีวิตวัยท�ำงานขณะที่ผมก�ำลัง เรียนอยูท่ อี่ เมริกา ตอนผมอยูท่ นี่ นู่ ก็จะมีเพือ่ น เป็นชาวฮ่องกงบ้าง จีนบ้าง เพื่อนผมคนหนึง่ ที่เป็นคนจีนมีญาติเปิดร้านอาหารจีนอยู่ที่จีน เขาก็เลยชวนผมท�ำงานเเฟร์ (งานเเฟร์คืองาน จัดรวมกลุ่ม เหมือนพวกงานกาชาดไทย) ไป ช่วยเสิร์ฟอาหารในงาน เเต่ผมเริม่ ท�ำงานจริง ๆ ก็คือหลังจากนั้น ไปเป็นคนล้างจานก่อนที่ ห้องอาหารในโรงเเรม เเวเร้อ ริเวอร์ อินน์ (ต้อง ขอบอกก่อนว่าตอนที่ผมท�ำงานอยู่ที่นั้นผม ท�ำงานเเบบถูกกฎหมายของอเมริกา ถูกกฎหมาย ก็คอื เมือ่ คุณจะท�ำงาน คุณจะต้องมีใบ Social
ซะก่อนจึงจะสามารถท�ำงานได้อย่างถูกต้อง เเต่สมัยผมนัน้ เราสามารถที่จะขอได้ไม่เหมือน สมัยนี)้ ต่อมาผมก็ได้เลือ่ นขัน้ มาเป็นคนท�ำสลัด ท�ำออเดิร์ฟต่าง ๆ เเต่ผมไม่ได้เป็นคนเสิร์ฟ อาหาร เพราะผมเสิรฟ์ ไม่เป็นประกอบกับภาษา ผมก็ไม่ดดี ้วย พอผมท�ำไปเรือ่ ย ๆ เจ้านายของ ผมเขาเป็นเชฟ ก็ให้ผมท�ำกับข้าวไทยให้ทาน เค้าชอบก็เลยเลื่อนต�ำเเหน่งผมไปเป็นไลน์กุ๊ก (ไลน์กุ๊กจะมีหน้าที่ท� ำอาหารตามที่ลูกค้าสั่ง เช่น ลูกค้าสั่งสเต็กมา ผมก็จะมีหน้าที่ทำ� สเต็ก ตกแต่งผักเเล้วก็เสิร์ฟใส่จานให้ลูกค้า ผมจะ ไม่ได้มหี น้าทีใ่ นการท�ำซอสหรือเครือ่ งปรุงต่าง ๆ ที่เป็นสูตรของร้านอาหาร ซึ่งงานเหล่านีจ้ ะเป็น
หน้าทีข่ องคนทีต่ ำ� เเหน่งใหญ่กว่าไลน์กกุ๊ นัน่ เอง) เเต่ชว่ งทีผ่ มท�ำงานหนักจริง ๆ คือตอนทีโ่ รงเเรม Hilton มาเปิดในเมืองที่ผมอยู่ ทางโรงเเรม ก็เลยดึงเชฟจากโรงเเรมเก่าให้ไปเป็นเชฟที่ โรงเเรมใหม่ เจ้านายผมเขารักผม พอเขาย้ายไป เป็นเชฟที่โรงเเรมใหม่ ผมจึงตามเจ้านายผมไป ด้วย เเต่ว่าที่โรงเเรมเพิ่งเปิดใหม่ ห้องอาหารก็ เปิดใหม่ ทางห้องอาหารก็ต้องการให้ผมท�ำงาน วันละ ๑๕ ชั่วโมงซึ่งท�ำให้ผมไม่มีเวลาเรียน หนังสือ ผมเลยต้องดร็อปเรียนไปหนึง่ ปีเต็ม ๆ ช่วงนัน้ ผมก็ทำ� งานอย่างเดียว เก็บเงินอย่างเดียว เเต่ผมต้องขอบอกไว้ก่อนว่าการท�ำงาน ๑๕ ชั่วโมงต่อวันก็ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้า พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 63
ท�ำงานวันละ ๘ ชั่วโมงต่อวัน ท�ำงานห้าวันต่อ สัปดาห์ก็ ๔๐ ชั่วโมง เเต่ถ้าเราท�ำเกิน เราจะได้ ค่าเเรงเป็นโอเวอร์ไทม์ (ที่คนไทยมักเรียกกัน ว่าโอที นี่เเหล่ะ) ซึ่งค่าเเรงก็จะได้เท่าครึ่งของ ปกติ เมื่อเราท�ำงานเกิน ๔๐ ชั่วโมงไปเเล้ว ปีนนั้ ผมไม่มเี วลาส่วนตัวเลย โรงเเรมเพิง่ จะเปิด ร้านอาหารก็จะยุ่งมาก ประกอบกับเชฟที่ร้าน ก็ไม่ไว้ใจคนอืน่ ชีวติ ประจ�ำวันของผมก็ตอ้ งตืน่ ๗ โมงเช้าท�ำงาน พอเที่ยงคืนผมก็กลับบ้าน ผมใช้ชวี ติ อยูเ่ เบบนีเ้ ป็นเดือน ๆ ช่วงนัน้ ผมรวย มาก (คุณผู้อ่านลองคิดภาพตามผมนะ ถ้าเรา ไปท�ำงานที่อเมริกาตอนนี้เเบบงานง่าย ๆ เราก็ จะได้ประมาณชั่วโมงละ ๘ เหรียญ เราท�ำไป ๘ ชั่วโมง ก็ ๖๔ เหรียญ เเล้วเราท�ำโออีก ๗ ชั่วโมง ก็คูณ ๑๒ เป็น ๘๔ เหรียญ น�ำมาบวก กันได้ ๑๔๘ เหรียญ พี่เขาท�ำงานทุกวัน ก็คูณ ด้วย ๓๐ เป็น ๔,๔๔๐ เหรียญ ถ้าคุณผู้อ่าน จะเปลี่ยนเป็นเงินไทยก็คูณด้วย ประมาณ ๓๓ บาทจะได้ ๑๔๖,๕๒๐ ต่อเดือน (สมัยทีพ่ เี่ ค้าไป ค่าเงินไทยน่าจะอยู่ประมาณ ๒๐ - ๒๕ บาท) เเต่ว่างานที่พี่เขาท�ำไม่ใช่งานง่าย ๆ เป็นไลน์กุ๊ก ค่าเเรงต่อชั่วโมงน่าจะเป็น ๑๐ ขึ้นไป เเล้วอีก ประการหนึง่ ทางเราก็ไม่ทราบว่าพีเ่ ขาได้ทปิ ด้วย หรือเปล่า ทั้งหมดที่กล่าวไปก็เพื่อให้คุณผู้อ่าน ได้เข้าใจมากขึ้นว่าท�ำไมพี่เค้าถึงบอกว่าช่วงนัน้ ผมรวยมาก) พอหลังจากนัน้ ผมก็ตัดสินใจว่า ผมไม่อยากเป็นพ่อครัว ผมจึงเลือกที่จะกลับ มาเรียนต่อ เเต่ผมก็ยังเปลี่ยนมาท�ำงานเฉพาะ เสาร์-อาทิตย์ในช่วงปีสุดท้ายของการเรียน
64
โดยท�ำงานในต�ำเเหน่ง ครันช์ (ครันช์คือ ท�ำ อาหารเช้าในวันอาทิตย์) วันเสาร์ผมก็จะไป เตรียมของจัดอาหารส�ำหรับวันอาทิตย์ พอวัน อาทิตย์ผมก็จะไปหั่นเนื้อหั่นเเฮมให้กับลูกค้า เขาจะเรียกกันว่า พานริบส์ (เป็นเหมือนกับ เวลาที่เราไปทานบุฟเฟ่ต์เเล้วจะมีซุ้มที่ย่างพวก เนื้อวัวเนื้อเเกะ เเล้วจะมีพนักงานคอยหั่นเนื้อ ให้กับลูกค้าใส่จานนั่นเอง) พอผมเรียนจบ ผมก็ไม่ได้กลับเมืองไทยเลยผมอยากหาอะไร ท�ำอยู่ที่นี่ก่อน ทางบ้านของผมเขาก็ไม่ได้ว่า อะไร ผมก็ยา้ ยตัวเองจากทีท่ ำ� งานในห้องอาหาร ไปเป็น Accounting Off ice เเผนก Book Keeping เเต่พอท�ำไปผมรู้สึกว่าไม่ชอบ ผม ต้องนับเงินเเล้วก็ป้อนข้อมูลตัวเลขเข้าไปใน คอมพิวเตอร์ ชีวิตมันไม่สนุกผมก็เลยออก มาเปิดร้านอาหารเองด้วย ฉะนัน้ วันจันทร์ถึง วันศุกร์ ผมก็ยังท�ำงานเป็น Accounting Off ice อยู่ พอวันเสาร์ผมก็จะมาท�ำร้านอาหาร ของผม ผมจะได้หยุดเเค่วันอาทิตย์วันเดียว ตัวผมมีครอบครัวพร้อม ๆ กับตอนที่เปิดร้าน อาหารอยูน่ นั่ เอง ผมมีภรรยาเป็นคนฝรัง่ ตอนนี้ ผมก็มีลูกสองคนคนโตอายุ ๑๙ ปีส่วนคนเล็ก ก�ำลังย่างเข้าอายุ ๑๖ ปี ตอนทีผ่ มเปิดร้านอาหาร เเล้วก็ท�ำงานที่โรงเเรมอยู่ด้วยนัน่ ช่วงไหนที่มี งานเเฟร์ ผมก็จะลาหยุดงานเพื่อไปขายอาหาร ในงาน เเต่ต้องเข้าใจว่าที่อเมริกาเมื่อเราท�ำงาน ครบหนึ่ ง ปี ขึ้ น ไปทางบริ ษั ท จะมี วั น หยุ ด ให้ พ นัก งานสองอาทิ ต ย์ ต ่ อ ปี เรี ย กกั น ว่ า Provocation ผมก็จะเอาวันหยุดช่วงนี้มา
ลางานเพื่อที่จะไปท�ำงานเเฟร์ในวันศุกร์ เสาร์ เเละอาทิตย์ พอวันจันทร์ผมก็กลับมาท�ำงานต่อ อาหารที่ผมน�ำไปขายนัน้ จะมี ผัดไทย หมูปิ้ง เเละชาเย็น เเค่ ๓ อย่างเท่านัน้ เเต่ขายดีมากจน สามารถพูดได้ว่างานเเฟร์ก็คือรายได้หลักของ ผมนั่นเอง สมมุติว่าวันเสาร์ผมขายอาหาร ที่ร้านได้ ๔ กล่อง เเต่ถ้าผมไปงานเเฟร์ ผมจะ ขายได้ ๕๐ กล่องในเวลาสามวัน ผมท�ำงาน เเฟร์มาได้ ๒๔ ปี เเต่ผมก็ยังคงขายอาหาร เเค่ ๓ อย่าง จะให้ผมขายพวกเนื้อด้วยผม ไม่เอาเพราะจะได้ไม่ยุ่งยาก เเล้วผมจะเป็น คนท�ำเองยกของเองมาตลอด จะให้จ้างคนงาน ชั่วโมงละ ๙ เหรียญก็ไม่คุ้ม ส่วนเรื่องการ ขยายกิจการหรือเเฟรนไชส์นนั่ ผมไม่ต้องการ เพราะผมต้องการที่จะเป็นร้านเล็ก ๆ สามารถ ทีจ่ ะควบคุมคุณภาพได้ มาพูดถึงรายละเอียด อาหารกันบ้าง ชื่อร้านของผมชื่อ Bangkok Grill ผัดไทยร้านผมจะไม่ใส่กุ้งและเต้าหู้ จะ ใส่ ไช้โป้ว ไข่ หอม กระเทียม ถั่วงอก น�้ำตาล ส่วนน�ำ้ ปลาก็จะไม่ใช้ ใส่เป็นซอสถัว่ เหลืองแทน เพราะลูกค้าบางคนของผมเขาเป็นมังสวิรัติ ถ้าลูกค้าจะให้ใส่หมู ก็ต้องซื้อหมูปิ้งเพิ่มเอง ผมพยายามจะท�ำให้ง่ายและเร็วที่สุด ผัดไทย ร้านผมจะขาย ๕ เหรียญ ๕๐ เซนต์ หมูปิ้ง ๒ เหรียญ ๕๐ เซนต์ ส่วนชาเย็นก็ ๒ เหรียญ ส่วนวัตถุดิบของผมน�ำเข้ามาจากเมืองไทยโดย จะไปซื้อต่อร้านขายส่งมาอีกทอดหนึง่ ซึ่งราคา จะถูกกว่าร้านขายปลีก เวลาเราขายก็จะได้กำ� ไร มากกว่าในขณะที่เราขายอาหารในราคาที่ถูก พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 65
กว่าเจ้าอื่น เเต่ต้องบอกก่อนว่าอาหารของผม ถือว่าราคาไม่เเพงเลย เเล้วร้านผมจะท�ำอาหาร ตามใจลูกค้ามาก อยากให้ใส่อะไร ไม่ใส่อะไร ก็ได้ ถ้าลูกค้าเงินไม่พอก็ไม่ต้องสั่ง Full order จะสั่งเป็น Half order ก็ได้ อีกประการหนึง่ ผมจะพยายามจ�ำชือ่ เเละรายการอาหารทีล่ กู ค้า เเต่ละคนชอบสั่ง พยายามสร้างความสัมพันธ์ ทีด่ ี ความเป็นกันเองกับลูกค้า ท�ำให้ผมมีลกู ค้า เก่า ๆ มาก ส่วนรายได้อีกทางหนึ่งของผม มาจากค่าเช่าบ้าน ผมน�ำเงินเก็บที่ได้จากการ ท�ำงานที่ Accounting Off ice ท�ำร้านอาหาร ในวันเสาร์เเละขายอาหารในงานเเฟร์ ไปซื้อ บ้าน ๗ หลัง เปิดให้คนเช่าอยู่ตอนนี้
Future
ผมก็ ค งท� ำ งานของผมทั้ ง หมดนี้ต ่ อ ไปจนถึงผมเกษียณจากงาน Accounting Off ice ก็คงได้กลับมาอยู่เมืองไทยประมาณ ๓ - ๖ เดือนต่อปี เมื่อถึงตอนนัน้ อาจจะต้อง ตัดงานเเฟร์ออกไป เพราะงานมันค่อนข้าง เหนื่อย เเต่ว่าถ้าถามผมตอนนี้ผมก็ยังไม่เลิก ทีจ่ ะท�ำงานเเฟร์ ผมคิดว่าการท�ำงานของผมมัน เหมือนเป็นการท�ำ Social ซะมากกว่า ผมไม่ได้ ต้องการไปท�ำงานเพือ่ เงิน ผมต้องการไปท�ำงาน เพื่ อ ที่ จ ะได้ เจอเพื่ อ น ๆ ลู ก ค้ า ก็ เป็ น เพื่ อ น คนอื่ น ที่ ข ายอยู ่ ใ นที่ ใ กล้ ๆก็ เ ป็ น เพื่ อ น ครอบครัวของผมทั้งภรรยาเเละลูกของผม สองคนก็ช่วยผมท�ำด้วย พวกเค้าก็ไม่เคยบอก ให้ผมเลิกท�ำ ผมพยายามที่จะหาอะไรท�ำจะ
66
ได้ไม่เหงา เเล้วถ้าพูดถึงตัวงานมันก็ค่อนข้าง เหนือ่ ยเเต่กไ็ ม่ถงึ กับมากเกินไป เพราะทุกอย่าง มันเป็นระบบไปเเล้ว
Key Success
๑. เราต้องชอบ ต้องมีความสุขในงาน ทีเ่ ราท�ำอยู่ ถ้าเราไปท�ำงานทีเ่ ราไม่ชอบทุก ๆ วัน ที่เราไปท�ำงาน เราก็จะบ่นทุกวัน ท�ำให้เราไม่มี ความสุขที่จะท�ำ ผลของงานก็จะออกมาไม่ดี ตามไปด้วย เเต่ถา้ เราชอบเเล้ว เราก็จะมีความสุข
เวลาท�ำงาน เวลาเจอลูกค้าเราก็จะยิ้มเเย้ม มีอัธยาศัย มีความเป็นกันเอง ท�ำให้ลูกค้ารู้สึก ว่าเขาเป็นคนส�ำคัญส�ำหรับเรา เขาก็จะกลับมา หาเราอีก อย่างตัวผมนัน้ ผมเป็นคนที่ชอบท�ำ อาหารอยู่เเล้วตั้งเเต่เด็ก ตอนผมอยู่ประมาณ ม. ๕ - ม. ๖ ตอนกลางคืนผมก็จะหิว ผมกับพี่ โคราช (พล.ต.ต.ธีรศักดิ์ กลิน่ พงษา) ก็จะเข้าไป ในครัวไปท�ำกับข้าวกินกัน บางทีก็ไปขโมย กับข้าวของครูเเม่บ้านมาทานบ้าง ก็สนุก ๆ ตามประสาเด็ก ๆ เเต่ที่ผมได้มีโอกาสเเละ
ได้เริ่มท�ำอาหารเองจริง ๆ ก็ตอนที่มาอยู่เมือง นอกเพราะที่นั่นอาหารค่อนข้างเเพง ฉะนั้น เวลาที่ผมไปทานอาหารในร้านที่ผมชอบ ผม ก็จะพยายามดูว่าเขาท�ำอย่างไร เเล้วก็จดจ�ำ มาท�ำตาม เเต่ที่ผมเเนะน�ำไปนี้ผมไม่อยากให้ ผู้อ่านต้องท�ำเหมือนผม หรือเอาไปเป็นเเรง บันดาลใจอยากท�ำตาม เพราะว่าทุกคนไม่ได้ ชอบเหมือนกัน อยากให้คิดเองว่าชอบท�ำอะไร หาตัวเองให้เจอก่อน ถ้าท�ำตามเเล้วไม่ชอบ
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 67
มันอาจจะไม่ประสบความส�ำเร็จก็เป็นได้ ๒. ผมขายอาหารที่เน้นคุณภาพเเละ ราคาถูก คนเราทุกคนไม่วา่ เศรษฐกิจจะกระทบ กระเทือนเเค่ไหน เเต่คนเราทุกวันก็ต้องทาน อาหาร ถ้าเราขายในราคาไม่เเพง ลูกค้าเสียเงิน แล้วเขารูส้ กึ ว่าอิม่ และอร่อย เขาก็จะมาหาเราเอง เราไม่จ�ำเป็นต้องเน้นก�ำไรเยอะ ๆ ก�ำไรน้อย ๆ ก็ พ อ เพราะถ้ า เราเน้ นที่ จ ะท� ำ ก� ำ ไรเยอะ ๆ ในการท�ำงานมันจะไม่หมือนกับที่เราชอบ เราก็ จะเน้นเเต่ที่จะเอาเปรียบลูกค้า ผลลัพธ์ลูกค้า ก็จะค่อย ๆ หายไปเเละไม่กลับมาร้านเราอีก ๓. เวลาเราท�ำงานอะไร หรือธุรกิจอะไร เราต้องรักษาคุณภาพ เเละมาตรฐานของเรา ไว้ให้ได้ตลอด ผมถึงไม่อยากขยายร้าน หรือ เเฟรนไชส์ เพราะเราจะไม่สามารถดูเเลคุณภาพ ของอาหารเราได้อย่างทัว่ ถึง อะไรทีผ่ มสามารถ ท�ำเองได้พวกยกของ ท�ำอาหาร ผมก็จะลงมือ ท�ำเองตลอด อีกประการหนึง่ ที่ส�ำคัญที่ผมได้ พูดเสมอ เราต้องพยายามท�ำอะไรที่ง่ายเข้าไว้ ไม่ยุ่งยากเเล้วก็เป็นระบบ อย่างรายการอาหาร ของผมก็จะมีเเค่สามอย่างเท่านั้น ผมท�ำมา ๒๔ ปี ไม่เคยเปลี่ยน อย่างพวกวัตถุดิบที่ร้าน เช่น พวกน�้ำตาลผมก็จะซื้อเป็นขวด ซอส ถั่วเหลืองผมก็จะซื้อเป็นเเกลลอนเพราะมัน ถูกกว่า อีกอย่างถ้ามันตกกลิ่นจะไม่เหม็น เหมือนน�้ำปลา เเล้วก็ลูกค้าของผมจะมีพวก มังสวิรัติด้วย ผมก็เลยตัดสินใจใช้เเต่ซอส ถั่วเหลืองดีกว่า เวลาผมท�ำผัดไทย ผมจะมีเตา ๔ เตา ในเเต่ละเตาก็จะท�ำได้ ๒ ที่ในหนึ่ง
68
กระทะ ผมก็จะท�ำหมุนเวียนกันไป หมายถึง เเบบว่ากระทะเเรกก็ใส่เส้นผัด ใส่กระเทียม เเล้วก็ย้ายกระทะใส่ไข่ เเล้วก็ย้ายกระทะมา ใส่ถั่วงอก ใส่ไช้โป้วอะไรประมาณนี้ เเล้วก็จะ มีลูกน้องหนึง่ คนคอยช่วย มันจะค่อนข้างเป็น ระบบ เวลาในการท�ำก็จะคงที่ด้วย ฉะนัน้ เวลา ลู ก ค้ า คนไหนต้ อ งการผั ด ไทยไม่ ใส่ ไข่ บ ้ า ง ไม่ใส่ไช้โป้วบ้าง ส่วนมากผมจะใช้เวลาประมาณ ๘ นาทีกว่ากระทะเเรกจะวนมาอีกครั้งหนึ่ง ผมก็จะบอกลูกค้าว่าถ้าคุณถึงคิวทีเ่ เปดเเล้วให้ มาบอกผมว่าจะไม่ใส่อะไรบ้าง ลูกค้าเขาก็จะได้ ผัดไทยของเขาพอดี คือร้านผมจะท�ำเหมือน เดิมตลอดเวลา ส่วนหมูปิ้งนัน่ ผมก็หากล่อง ใส่เล็ก ๆ พอลูกค้าสั่งผมก็เอาหมูใส่ลงไปในที่ ปิ้งเเล้วก็ปิดฝา ผมก็กลับไปท�ำผัดไทย พอสุก ได้ทผี่ มก็มาเปิดฝากลับข้างหมูเเล้วก็กลับไปท�ำ ผัดไทย ผมไม่ตอ้ งมานัง่ เฝ้า เเต่ถา้ ผมขายพวก
เนื้อด้วย พวกเนื้อไก่ เนื้อวัว ผมก็ต้องมีกล่อง เเช่น�้ำเเข็งอีกเเล้วก็ยังต้องทอดต้องผัดอีก ซึ่ง มันยุง่ ยาก ฉะนัน้ ผัดไทยของผมถ้าลูกค้าอยาก ได้เนื้อเพิ่ม ก็สั่งหมูปิ้งเเยกไปต่างหาก ๔. อีกอย่างที่ผมคิดว่ามันจ�ำเป็นก็คือ การเอาตัวรอด ซึง่ เป็นสิง่ ทีผ่ มได้มาจากโรงเรียน วชิราวุธฯ การเอาตัวรอดหมายความว่าอะไร ก็อาจจะหมายความว่าเราสามารถที่จะรอด ทุกครั้งเมื่อเราเกิดปัญหา หรือวิกฤตินั่นเอง เพราะว่าตอนทีเ่ ราเป็นเด็ก ระหว่าง ม. ๑ ถึง ม. ๓ พี่ใช้เราท�ำอะไรเราก็ท�ำ ซักกางเกง ซักถุงเท้า เราก็ยอมท�ำ ไม่บน่ ไม่ไปทะเลาะกับพี่ กับเพือ่ น รักกันเข้าไว้ รู้จักหลบหลีก ท�ำอย่างไรถึงจะ ไม่โดนใช้ พอผมไปเมืองนอกผมก็คงชิน ผม ก็คิดว่าผมเป็นเด็กใหม่เพิ่งเข้ามา หัวหน้าเขา ใช้ผมท�ำอะไรผมก็ท�ำ รู้จักมีสัมมาคาราวะ ท�ำให้หัวหน้าเขารัก ต่อไปผมจะท�ำอะไรมัน ก็จะสะดวกสบายกว่า ผมไปอยู่ที่นู่นผมก็จะ ไปอยู่เงียบ ๆ ไม่ทะเลาะกับใครเขา รู้จักที่จะ หลบหลีก
Memory in Vajiravudh College
เหตุ ก ารณ์ นี้ เ กิ ด ตอนที่ ผ มอยู ่ ม . ๖ ในวัน สุ ด ท้ า ยก่ อ นปิ ด เทอมผมโดนครูอรุณ เฆี่ยนเพราะะผมกับเพื่อนเอาสีน�้ำไปป้ายหน้า เด็ก เเละบังเอิญมันท� ำให้ผ้าปูที่นอนเปื้อน พอวันรุ่งขึ้นครูอรุณไม่พอใจ ครูเขาก็มาถาม หน้าเเถวตอนเช้าก่อนเข้าห้องอาหารว่าใครเป็น
คนท�ำให้ออกมานอกเเถว ตอนเเรกผมก็เฉย ๆ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคนอื่นเขารู้กันหรือเปล่า ว่าเราท�ำ เเต่บังเอิญผมก็มีเพื่อนที่เป็นหัวหน้า เขาก็หันมามองหน้าผม ผมก็เลยเดินออกมา เสร็จเเล้วครูอรุณก็ปล่อยเเถวเด็กให้ไปทาน ข้าวได้ เเล้วก็เริ่มเฆี่ยนผมและเพื่อนที่ท�ำผิด ภาพมันจดจ�ำถึงตอนนี้เลย วันสุดท้ายจะจบ เเล้วเเต่ก็ยังท�ำเรื่องจนได้ คือในเหตุการณ์ ผมก็ยอมรับนะ ทั้ง ๆ ที่ผมก็ไม่อยากยอมรับ ถ้าเพื่อนมันไม่บอก เเต่ผมก็ไม่ได้โกรธเคือง เพื่อนหรอก (เเค่เเค้นนิด ๆ) เพื่อนผมเค้า ชือ่ ดนัยเเต่ตอนนีเ้ สียชีวติ ไปเเล้ว (ต้องขอเเสดง ความเสียใจมา ณ ที่นดี้ ้วย) อีกอย่างครูอรุณ เฆี่ยนเจ็บมากเเล้วผมก็อายด้วย เพราะเด็ก ๆ ทั้งหมดในคณะเขาก็เห็นว่าผมท�ำผิด ถึงเเม้ว่า ไม่ได้เห็นตอนผมถูกเฆี่ยนก็ตาม
เเล้วก็ค�ำถามสุดท้ายที่ฮอตฮิต
เคยโดนท่านพระยาภะรตราชาตบไหม ค�ำตอบคือ ผมไม่เคยโดนทั้ง ๆ ที่หาคนที่จะ รอดยากก็ตาม ต้องบอกว่าผมไม่เข้าไปหาท่าน ไม่เคยอยู่ใกล้ ตอนผมอยู่โรงเรียน ผมจะเป็น พวกชอบด�ำน�้ำ (ด�ำน�้ำก็คือชอบหายตัวไม่ค่อย ได้ยุ่งกับใคร) พี่เขาทิ้งท้ายไว้ว่า ผมรู้สึกว่า ผมเก่งที่ผมไม่โดนตบ นี่เเหล่ะคือการเอา ตัวรอด ยอดอภิฤทธิ์ หิรัญพรวงษ์ ฤทธิ์ (รุ่น ๗๕) เรียบเรียง ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ สงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗) ภาพ ลายเส้น พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 69
โรงเลี้ยง ชวนชิมร้านอาหาร โอวี
70
สนัข้น่ าวต้มปลา สวัสดีท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านค่ะ อย่าแอบคิดว่า
สนัน่ ข้าวต้มปลา
วันจันทร์ - ศุกร์ เปิด ๑๑.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. และ ๑๗.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิด ๑๗.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. โทร. ๐๘๑-๙๘๕-๔๕๖๘
นี่มาบอกรักรับฉบับเดือนกุมภาฯ วันวาเลนไทน์กัน ล่วงหน้าหรืออย่างไรนะ เพราะ โรงเลี้ยงวันนี้ขอยึดสโลแกน “รั ก ใครให้ กิ น ปลา” เพื่ อ สุขภาพที่ดีกันถ้วนหน้านะค่ะ แต่ระดับอนุมานวสารแล้วจะ พาไปกินปลาธรรมดา ๆ ก็คง จะไม่ดีแน่ วันนี้เราจึงขอพา ทุกท่านไปกินปลาที่ ‘อร่อยมาก’ ที่ “สนัน่ ข้าวต้มปลา” กันเลยค่ะ แต่หากจะบอกว่าปลาอร่อยเพียงอย่างเดียว ก็คงจะไม่ถูกนักนะค่ะ เพราะร้านนี้ยังมี “สนัน่ เบเกอรี่” รสเด็ดที่ได้รับเกียรติให้ไปบริการชาวโอวีตั้งแต่สมัย ขายในเรือนจากชิ้นละ ๕ บาทเรื่อยมาจนกระทั่งเป็น ขนมเช้าส�ำหรับนักเรียนในปัจจุบัน “พี่อ๊อด – ภูมิพัฒน์ บุณยรัตพันธ์ รุ่น ๕๖” เจ้าของร้านมาเล่าถึงขนมแห่ง ความทรงจ�ำนี้ให้ฟังพร้อมกับยกเจ้าขนม ตัวหนอน พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 71
บัตเตอร์ฟลาย ขนมโบ้ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบ หน้ามะพร้าว ฯลฯ มาหลายจานใหญ่ให้ได้รำ� ลึก ความหลังกัน… แต่ทว่ามันจะดูนา่ กินขนาดไหน ก็ขออดใจไว้หลังอาหารหลักก่อนดีกว่านะค่ะ เพราะฟั ง จากชื่ อ ที่ พี่ อ ๊ อ ดสั่ ง มาให้ พ วกเรา ลิม้ ลองกัน เริม่ ตัง้ แต่ “ข้าวต้มปลา ราดหน้าเนือ้ หัวปลาหม้อไฟ หมี่ฮ่องกงผัดปู ปลาอินทรีย์ ผัดพริกไทยด�ำ ข้าวแห้งปลาลวกจิ้ม เนื้อลวก ผัดคะน้าปลาหมึก และเห็ดหูหนูผัดไข่” จริง ๆ แล้วส�ำหรับร้านสนั่นข้าวต้มปลานี้เป็นเพียง แค่รายชื่ออาหารที่มีอยู่ในเมนูเพียงเล็กน้อย เท่านัน้ ถึงตรงนีก้ ็เพียงพอที่จะจบคอลัมน์ได้ เลยนะค่ะ โดยไม่ต้องบรรยายความอร่อย กันอีกต่อไป เพราะร้านนีน้ กั ชิมระดับต�ำนาน ของเมืองไทย ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ได้ มาการันตีคุณภาพคู่ความอร่อยไว้แล้วด้วย เครื่องหมายเชลล์ชวนชิมค่ะ แต่มาถึงถ�้ำเสือ แล้วไม่ได้ลกู เสือออกไปนีก่ เ็ สียชือ่ อนุมานวสาร
72
ก็แย่เลยนะค่ะ เอาล่ะ ! งั้นจานแรกที่ต้อง ชิมก่อนเลยต้องเป็น “ข้าวต้มปลา” รายการ ขึ้ นชื่ อ ของร้ า นค่ ะ … แค่ ลิ้ ม ชิ ม รสจานแรก ก็เข้าใจแล้วว่าท�ำไมเชลล์ถงึ ชวนชิม เพราะข้าวที่ เรียงเม็ดก�ำลังดีผสมผสานกับน�้ำซุปรสเข้มข้น ก�ำลังดี แถมเนือ้ ปลาก็แทบจะละลายในปากมา ผสมกันนัน้ บอกได้ค�ำเดียวค่ะว่า “กลมกล่อม มาก” ซึ่ ง หากท่ า นใดยั ง ติ ด ใจกั บ ความนุ ่ ม ละลายได้ของปลาก็สามารถสั่ง “ปลาลวกจิ้ม” ที่โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวรสเลิศกับน�้ำจิ้ม สุดแซ่บมาอร่อยต่อได้นะค่ะ นอกจากนี้ยังมี “ปลาอินทรีย์ผัดพริกไทยด�ำ” ที่ผัดได้ถึงเครื่อง พริกไทยด�ำอย่างอร่อยมาก และอีกจานที่ไม่ บอกต่อไม่ได้นั่นก็คือ “เนื้อลวกจิ้ม” ที่นุ่ม ละมุนละไมและรสชาติที่เข้มข้นผสมผสานกัน อย่างลงตัวมาก และส�ำหรับจานที่ขอยกให้เป็น พระเอกส�ำหรับวันนี้เลยคงต้องเป็น “หัวปลา หม้อไฟ” ที่รสชาติจัดจ้านถึงใจแถมหอมกลิ่น
มะนาวสด ซดน�้ำอย่างเดียวก็คล่องคอมากจน หยดสุดท้าย จนต้องขอสองเลยทีเดียว นอกจากอิ่มอร่อยกับเมนูต่าง ๆ ของ สนัน่ ข้าวต้มปลากันแล้ว พี่อ๊อดยังใจดีเข้าครัว ท�ำ “ต้มย�ำกุ้งสูตรไทยโบราณ” มาให้เราได้ชิม กันอีก ซึ่งจานนี้เป็นเมนูพิเศษที่พี่อ๊อดจะท�ำ
เฉพาะในโอกาสพิเศษ ๆ เท่านัน้ บอกได้เลยว่า แซ่บถึงใจมาก นัง่ กินไปคุยไปพีอ่ อ๊ ดก็เล่าให้ฟงั ถึงที่มาของร้านว่าแต่แรกคุณพ่อท�ำร้าน “สนัน่ เบเกอรี”่ ก่อน ต่อมาด้วยความทีเ่ ป็นคนชอบชิม อาหารจึงได้ไอเดียในการมาปรุงแต่งสูตรของ ตัวเองจนอร่อยติดลมบนถึงทุกวันนีค้ ่ะ ท่ า นใดที่ อ ยากมาร่ ว มอร่ อ ยล�้ ำ กั น ที่ “สนัน่ ข้าวต้มปลา” สามารถเดินทางมาได้ อย่ า งสะดวกสบายด้ ว ยรถไฟฟ้ า ลงสถานี สะพานควายฝัง่ อตก. เดินขึน้ มาอีกนิดหนึง่ ก็จะ เห็นร้านสนัน่ ข้าวต้มปลาสว่างไสวรอรับท่านอยู่ หรือหากจะขับรถมาก็มีที่จอดรถหน้าร้านไว้ บริการค่ะ เปิดจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๑๑.๐๐ ๑๔.๐๐ น. และ ๑๗.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. วันเสาร์ อาทิตย์เปิด ๑๗.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. โทร.สอบถาม ได้ที่ ๐๘๑-๙๘๕-๔๕๖๘ พี่อ๊อดยินดีต้อนรับ ชาวโอวีทุกท่านค่ะ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 73
ห้องสมุด
ข้าแผ่นดินสอนลูก
ชื่อหนังสือ : ข้าแผ่นดินสอนลูก ผู้แต่ง: สุเมธ ตันติเวชกุล, ดร. จัดพิมพ์โดย : ส�ำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ ๖: ส�ำนักพิมพ์มติชน สิงหาคม ๒๕๕๒ จ�ำนวนหน้า: ๑๖๔ หน้า
74
หากเอ่ยถึง “ลูกวชิราวุธ” ที่มีความ เป็น “เด็กในหลวง” มากที่สุดในปัจจุบัน ผม ไม่เชือ่ ว่าจะมีคนปฏิเสธการยกต�ำแหน่งนีใ้ ห้แก่ “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล” นักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยรุ่น ๓๐ ที่เพิ่งให้เกียรติมาเป็นองค์ ปาฐกในงาน All gentlemen can learn-3rd, Esprit de Corps เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งในการปาฐกถา พี่สุเมธก็ได้เล่า ถึงประสบการณ์ดา้ นการถวายงานรับใช้ให้พวก เราฟังเล็กน้อย หลังจากงานในวันนั้น ผมได้เหลือบ สายตาไปมองเห็นหนังสือเล่มหนึง่ ที่มีรูปของพี่ สุเมธอยู่บนหน้าปก... จึงเดินเข้าไปมองใกล้ ๆ เพือ่ ความแน่ใจ และเมือ่ รูส้ กึ ตัวอีกที ผมก็กำ� ลัง นอนอ่านหนังสือ “ข้าแผ่นดินสอนลูก” อยู่บน เตียงนอนของผมเสียแล้ว เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ พี่สุเมธได้ เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กชายสุเมธ ตลอดจนชีวติ การศึกษาและการท�ำงานในฐานะ เด็กในหลวง เรื่องราวชีวิต ประสบการณ์ และ ประวัติศาสตร์การเมืองไทยผสมคละเคล้ากับ แง่คิดต่าง ๆ จากพระราชกระแสรับสั่ง และ
พระราชจริยวัตร ที่พี่สุเมธได้รับตลอดการ ถวายงานรับใช้เป็นระยะเวลาหลายทศวรรษ มาปรุงแต่งเป็นค�ำสอนของพ่อที่ตั้งใจจะสอน ลูก ให้เป็นคนดีของแผ่นดิน ผ่านทางจดหมาย ในรูปแบบ Semi-autobiography ที่มีสาระ สนุกสนานน่าอ่านจนวางไม่ลง ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะ สามารถเติมเต็มการปาฐกถา All gentlemen can learn ครั้งที่ ๓ ที่ผ่านมาให้แก่ผู้เข้า ร่วมฟังได้เป็นอย่างดี และใครทีพ่ ลาดงาน ดังกล่าว ยิ่งต้องอ่าน เพราะหนังสือเล่ม นีค้ ือ All gentlemen can learn-3rd, Esprit de Corps ในรูปแบบวรรณกรรม โดยไม่ตอ้ งถอดเทปค�ำพูดมาลงหนังสือ ให้เปลืองพลังงาน!!! ใครว่ า หนัง สือ เล่ ม นี้ “พ่อ สอนลูก” แต่มันก�ำลังจะกลายเป็น หนังสือ “พี่สอนน้อง” ในเร็ววัน!!! แนะน�ำโดย สถาพร อยู่เย็น (รุ่น ๗๖)
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 75
A Century of Pride
ผมดีใจที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยมีอายุครบ ๑๐๐ ปีในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ในฐานะนักเรียนเก่าฯ ผมภูมิใจที่เคยได้อยู่คณะเด็กเล็ก ๑ ซึ่งในยุคนั้นมีเพียง ตึกเดียว ตั้งแต่ชั้น ป.๑ - ป.๒ ในช่วงเริ่มสงครามโลกครั้งที่ ๒ โรงเรียนได้ย้ายไปที่ บางปะอิ น ผมได้ มี โอกาสไปเรี ย นที่ บ างปะอิ นด้ ว ยจนกระทั่ ง โรงเรี ย นต้ อ งปิ ด เพราะสงคราม ผมคิดว่าโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยได้ฝึกให้เรา “ลูกวชิราวุธ” มีความ เป็นสุภาพบุรุษ มีระเบียบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ รักหมู่คณะ และให้ความอบอุ่น เสมือนบ้านหลังที่ ๒ ของเราทุกคน ขณะนี้ผมอายุ ๗๕ ปีแล้ว เมื่อผ่านโรงเรียนครั้งใดผมจะคิดถึง “พระพุทธรูป” ที่อยู่ บนระเบียงชั้นบนและพวกเราก็เข้าแถวสวดมนต์กันก่อนเข้านอน นอกจากนี้ผมยัง ระลึกถึงคุณครูพร้อม คุณครูมณี คุณครูผาสุก และคุณครูเนี้ยน ผู้มีพระคุณต่อผม ในโอกาสนี้ผมขอให้โรงเรียนวชิราวุธฯ เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
76
ร.ท. ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ รุ่น ๒๕ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
ความภูมิใจของผมในการเป็นนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ตั้งแต่ชั้นป.๒-ม.๘ รุ่น ๒๙ มีผู้บังคับการโรงเรียนคือพระยาภะรตราชา มีครูประจ�ำคณะเด็กเล็ก ๑ คือ ครูบรรจง ลวพันธุ์และครูจำ� รัส จันทรางศุ มีผู้ก�ำกับคณะจิตรลดา คือ ม.ล.พันธ์ สนิทวงศ์ เมื่อผมจบม.๘ จากวชิราวุธฯ ผมสอบเข้าเป็นนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ ๕ และจบเป็นนายทหารสัญญาบัตรกองทัพอากาศและเป็นนักบินกองทัพอากาศ ได้มีโอกาสเป็นนักบินพระราชพาหนะถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประมาณ ๑๙ ปี จนได้รับพระราชทานยศเป็นพลอากาศเอก และเกษียณออกจากราชการมา ๑๐ ปีแล้ว
พล.อ.อ.ณัฐ์ธชัย (อุดมศักดิ์) มหาวสุทธิ์โชคชัย รุ่น ๒๙
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 77
A Century of Pride
เครื่องแบบราชปะแตนสีขาว สวมหมวกหนีบ รองเท้าหนัง โรงเรียนประจ�ำ ย้อนเวลา กลับไปเมื่อ ๒๒ ปีที่แล้ว ผมไม่เคยเข้าใจว่าท�ำไมคุณแม่ของผม ถึงต้องส่งผม มาอยู่ที่วชิราวุธฯ ตลอดระยะเวลา ๑๐ ปีภายใต้เครื่องแบบเด็กนักเรียนวชิราวุธฯ ด้วยความที่ผมเป็นเด็กเกเรเลยโดนท�ำโทษมาแล้วทุกระดับ (ยกเว้นโดนไล่ออก) คงจะมีเพียงครั้งเดียวที่ผมเห็นน�้ำตาคุณแม่ วันนัน้ ผมโดนพักการเรียนในปีสุดท้าย ของ ม. ๖ แม่มารับที่คณะ ขณะเดินทางกลับบ้าน ตลอดทางมีแต่ความเงียบ ไร้ค�ำกล่าวว่าดุด่าใด ๆ ทั้งสิ้น จนถึงบ้าน เรา ๒ คนนัง่ ทานข้าวเย็นด้วยกัน แม่ผม ก็เริ่มพูดทั้งน�้ำตาว่า “ขอให้ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่ลูกจะโดนท�ำโทษ แม่ส่งลูกมาเรียน โรงเรียนนี้เพราะต้องการให้รู้ว่าสุภาพบุรุษคืออะไร วันนี้แม่เสียใจ ที่ต้องมารับลูกกลับบ้านเพราะโดนพักการเรียน แม่อยากให้ลูกรู้ว่า การที่แม่ส่งลูกมาอยู่โรงเรียนประจ�ำแห่งนี้นั้น แม่ทั้งคิดถึงและ เป็นห่วงลูกอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งเดียวที่โรงเรียนแห่งนี้แตกต่างจาก ที่อื่นคือ เด็กโรงเรียนนี้มีความกตัญญูและมีความเป็นสุภาพบุรุษ” ผมนัง่ ฟังและคิดตาม วันนี้ผมอยากบอกกับแม่ที่ผมรักว่า วันนี้ผมได้เป็นอย่างที่ แม่หวังไว้ได้แล้วครับ จากการเพาะบ่มของสถานศึกษาแห่งนี้ ปีนคี้ รบรอบ ๑๐๐ ปี ผมอยากบอกแม่ว่าขอบคุณที่ส่งผมมาเรียนที่นี่
78
วุฒิชัย ตั้งเมตตาจิตตกุล รุ่น ๗๐
วชิราวุธฯ สอนให้ผมเป็นคนดี แต่ในบางครั้งการท�ำความดีทำ� ให้ผมกลายเป็นคนกลุ่มน้อย วชิราวุธฯ สอนให้ผมเป็นคนกล้า แต่ในบางครั้งการแสดงถึงความกล้า ท�ำให้ผมถูกเพ่งเล็ง วชิราวุธฯ ไม่เคยสอนให้ผมเป็นคนเก่ง แต่ในเกือบทุกครั้ง ความเก่งเป็นสิ่งที่คนอื่นตัดสินว่าผมเป็นใคร หรือผมสมควรจะได้รับโอกาสนัน้ หรือไม่ หลายครั้งผมถามตัวเองว่า ผมควรจะเป็นคนดี คนกล้า หรือคนเก่ง และทุกครั้งผมก็ได้ตอบกับตัวเองว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเสมอ ดังนัน้ ไม่ส�ำคัญว่าผมเป็นคนดี คนกล้า หรือคนเก่งหรอก แต่ผมพอใจในสิ่งที่ผมเป็น แค่นนั้ ชีวิตผมก็มีความสุขแล้ว สุดท้ายขอขอบคุณโรงเรียนวชิราวุธฯ ที่สอนให้ผมเป็นคนที่สมบูรณ์ครับ
ณัฐภัทร ลิมศิริจง รุ่น ๗๑ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 79
ระฆั ง กี ฬ า คุยกับโอวีก่อนไปเข้าแถว
วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บ่ายวันจันทร์วันหนึง่ บนอาคารอธิการบดีของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ผมกับอภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ เพื่อนร่วมรุ่น ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พี่วุฒิชัย กปิลกาญจน์ นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ รุ่น ๔๒ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนปัจจุบัน ระหว่าง ที่เรานัง่ รอให้พี่วุฒิชัยได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่นนั้ ผมได้มีโอกาส มองออกไปนอกหน้าต่างจากห้องท�ำงาน ซึ่งสามารถเห็นภาพ ทิวทัศน์ในมุมกว้างของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ว่าจะเป็น อาคารเรียนของคณะต่าง ๆ ที่รายล้อมไปด้วยความรื่นรมย์จาก ต้นไม้นานาพันธ์ุโดยเฉพาะต้นนนทรีซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ พลันอดคิดไม่ได้ว่าอาจมีบางครั้งที่พี่วุฒิชัย ใช้เวลามองออกไปที่มุมนี้ ในยามที่ก�ำลังครุ่นคิดการวางแผนการ ด�ำเนินงานเพื่อประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย นิสิต และบุคลากรต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ภายในรั้วนนทรีแห่งนี้
80
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 81
พลันที่พี่วุฒิชัยเดินเข้ามา เราก็ได้เห็น ถึงสีหน้าและแววตาที่บ่งบอกถึงความยินดีที่ พร้อมจะให้เกร็ดความรู้ต่าง ๆ แก่พวกเราใน วันนี้ ซึ่งอาจเป็นลักษณะของผู้เป็นอาจารย์ ภาพที่เคยวาดไว้ว่าอธิการบดีหรือบุคคลที่เป็น อาจารย์จะต้องดูเนี้ยบเคร่งขรึมคงแก่วิชาการ ได้มลายหายสิ้น ถูกทดแทนด้วยความใจดีที่ เอื้อเฟื้อให้ความรู้แก่พวกเราในวันนี้ การสัมภาษณ์ที่ใช้เวลาร่วมสองชั่วโมง เริ่มต้นด้วยค�ำถามยอดนิยมว่าท�ำไมถึงเข้า โรงเรียนวชิราวุธฯ ซึ่งพี่วุฒิชัยได้อธิบายว่า โดยพื้นฐานครอบครัวมีภูมิลำ� เนาที่จังหวัด สงขลา โดยคุณพ่อของพี่วุฒิชัยเป็นหมอ ประจ�ำที่จังหวัดสงขลา ซึ่งในขณะนัน้ เป็น จังหวัดที่อยู่ห่างไกลและค่อนข้างล�ำบาก คุณพ่อจึงอยากให้พี่วุฒิชัยได้มีโอกาสศึกษา เล่าเรียนที่กรุงเทพมหานคร โดยอยากให้ เรียนในโรงเรียนประจ�ำ จะได้เป็นคนที่ดูแล ตัวเองได้ ประกอบกับคุณแม่ของพี่วุฒิชัย ได้เคยเรียนที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยมาพร้อม กับครูสุทิพย์ พึ่งประดิษฐ์ (ภรรยาครูจิต พึ่งประดิษฐ์) ซึ่งในขณะนัน้ ครูครูสุทิพย์เป็นครู ที่ดูแลเด็กเล็กสาม (คณะสราญรมย์) จึงได้รับ การแนะน�ำมา โดยพี่วุฒิชัยได้มาเข้าโรงเรียน ในตอน ป. ๕ โดยพี่วุฒิชัยกล่าวติดตลกว่า “สอบครั้งเดียวติดเลย ทั้ง ๆ ที่วันนัน้ ไม่สบาย แต่เข้าได้ไม่รู้เส้นหรือเปล่า เพราะรู้ว่าเข้ายาก” เมื่อถามความรู้สึกตอนเข้าโรงเรียน ครั้งแรก พี่วุฒิชัยกล่าวว่า “ถามความเห็น
82
ส่วนตัวก็เซ็งเหมือนกัน เพราะห่างบ้านญาติที่ กรุงเทพฯ ก็ไม่มี ปิดเทอมทีถึงจะได้กลับบ้าน วันหยุดทีก็ต้องอยู่บ้านน้าที่กรุงเทพฯ วันเยี่ยมซึ่งคือพฤหัสบดี ก็มีแค่แม่บ้าน (ที่บ้านน้า) มาเยี่ยม” “เหตุการณ์ที่ประทับใจที่สุดในวันแรก ที่เข้าโรงเรียนคือกินข้าวไม่ทันเลย ทุกคนกิน เร็วหมด ผมได้กินแต่ข้าวแต่ก็ใช้เวลาแค่ วันเดียวนะก็สู้ได้ วันแรก ๆ คิดถึงบ้าน เหมือนกัน ร้องไห้พอสมควร” ผมทั้งสามนัง่ ฟังพร้อมอดคิดถึงสมัยที่พวกเราเองยังเด็กไม่ ได้ว่าก็มีความรู้สึกคล้าย ๆ กัน เมื่อพูดถึงคณะเด็กเล็กสามในเวลานัน้ หลายคนก็จะคิดถึงเรือนไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ ของคณะ พี่วุฒิชัยได้อธิบายว่า “สมัยก่อน เรือนไม้สวยมากแต่เป็นธรรมดาของเด็ก ๆ ที่อยากอยู่ตึกเพราะเรือนไม้ก็ผุพังบ้าง พอเข้า หน้าฝนน�ำ้ ก็ท่วมโดยเฉพาะน�ำ้ ท่วมห้องน�้ำ ซึ่งก็ต้องเข้ากันทั้ง ๆ แบบนัน้ อย่างไรก็ดี คณะค่อนข้างเป็นสัดส่วน ส่วนครูประจ�ำคณะ (ครูสุทิพย์) ก็ค่อนข้างใจดีกว่าเพื่อน” ในฐานะที่ปัจจุบันพี่วุฒิชัยมีต�ำแหน่ง เป็นถึงอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชั้นน�ำของ ประเทศไทยก็อดที่จะถามไม่ได้ว่าสมัย ตอนเรียนพี่วุฒิชัยเป็นเด็กเรียนหรือไม่ ซึ่งพี่วุฒิชัยกล่าวว่า ตนค่อนข้างจะเป็นเด็ก ที่เรียนดีโดยได้รับพระราชทานรางวัลทุกปี และจะถือใบคะแนนสลับกับพี่เชิดชัย ลีสวรรค์เป็นประจ�ำ
ไม่ใช่ว่าเป็นเด็กเรียนดีแล้วจะไม่มี วีรกรรม พี่วุฒิชัยยังได้เล่าถึงวีรกรรมตัวเอง เช่นกัน โดยบอกว่าตอนสมัยอยู่คณะเด็กเล็ก จะไม่ซนเท่าไหร่ แต่เมื่อข้ามฝั่งมาอยู่คณะ พญาไท ตั้งแต่ ป. ๗ ก็เริ่มที่จะมีวีรกรรม โดยจะรวมกลุ่มแกล้งเพื่อน ๆ รุ่นน้อง และจะชอบเล่นบาสเกตบอลกัน โดยกลุ่ม เพื่อนที่สนิทของพี่วุฒิชัยจะประกอบด้วย พี่นพดล บัวทองศรี พี่นิพนธ์ นิลสลับ พี่พลศักดิ์ มณีรัตน์ พี่วรพงษ์ สืบแสง และ พี่แวน เลณบุรี จากการที่เริ่มก่อวีรกรรม ก็เป็น ธรรมดาที่จะต้องถูกพระยาภะรตราชา ท่านผู้บังคับการในสมัยนัน้ ตบ ซึ่งพี่วุฒิชัยได้
กรุณาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังอย่างอารมณ์ดีและ ประทับใจกับเหตุการณ์ครั้งนัน้ เป็นอย่างยิ่งว่า “ถูกท่านผู้การตบไปที ตอนนัน้ ไปจับผีเสื้อ โดยพี่จารุจินต์ นภีตะภัฏ ซึ่งตอนนัน้ ชอบจับ แมลงสนามหลัง ได้สอนวิธีจับผีเสื้อเอามา สตัฟฟ์เป็นเรื่องเป็นราว มีการเอาฟอร์มาลีน มาฉีดและใช้ไม้ดามปีกผีเสื้อ ซึ่งมีเวลาก็จะไป จับผีเสื้อ โรงเรียนเขาหยุดให้อ่านหนังสือ ผมก็ไปจับผีเสื้อ ตอนนัน้ ผมเดินเลี้ยว ไปตรงตึกขาวเจอท่านผู้การพอดี ก็รีบโยน ถุงเก็บผีเสื้อทิ้งเลยโดนท่านผู้การอัดไปทีว่า มาท�ำไมไม่อ่านหนังสือ โชคดีที่ท่านไม่เห็นถุง ไม่งั้นคงโดนข้อหาฆ่าสัตว์อีก และตอนเย็น ท่านก็ให้ไปนัง่ อ่านหนังสือที่บ้าน ผมก็คิดใน พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 83
ใจว่าซวยแล้วพอไปที่บ้านท่าน ท่านก็ให้อ่าน ภาษาอังกฤษให้ท่านฟัง ท่านก็บอกส�ำเนียง ไม่ดีแล้วท่านก็อ่านให้ฟัง ท่านใจดีมาก พอถึง เวลานอนก็ให้ผมกลับคณะ แต่ตอนนัน้ ก็ กลัวนะ ตอนนัน้ มีหนังเรื่อง My Fair Lady ท่านก็บอกให้ไปดู จะได้รู้ว่าผู้ดีเป็นอย่างไร”
ผมคิดว่าล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระบรมราโชบายที่ดีหลายอย่าง หลายอย่างที่พระองค์ท่านทรงสอน “มีอีกครั้ง ขณะที่เดินกลับคณะ ก็เดิน เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เห็นได้ว่า พระองค์ท่านมีพระราชด�ำริที่กว้างไกล ไล่เตะกันจนมาถึงหน้าบ้านท่านผู้การ ท่านก็ เรียกและบอกว่าผูด้ เี ขาไม่ใช้ตนี กัน แต่ครัง้ นัน้ น่าจะให้พวกทะเลาะกันได้อ่าน ไม่โดนตบ” เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ผลงานต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน ที่สอน ท�ำให้พวกเราที่นงั่ ฟังอยู่อดคิดไม่ได้ว่า ไม่ว่า ความสามัคคี จิตใจ ความรักชาติ พวกเราจะมาจากไหนก็ตาม แต่เมื่อมาอยู่ใน การศึกษา ประชาธิปไตย” โรงเรียนแล้ว พวกเราจะได้รับการปลูกฝังให้
เป็นสุภาพบุรุษเหมือนกันทุกคน ซึ่งนับเป็น โชคดีของพวกเรามาก เมื่อพูดถึงเพื่อน ๆ พี่วุฒิชัยกล่าวว่า “กับเพื่อน ๆ ก็สนิทกัน วันพฤหัสบดีเวลาที่ ผู้ปกครองมาเยี่ยมก็เอาอาหารมากินด้วยกัน มาแบ่งกัน ข้อดีของวชิราวุธฯ คือเพื่อน ๆ สนิทกัน และสนิทกันจนถึงเดี๋ยวนี้ ไม่เหมือน กับเพื่อนที่อื่น เพราะพวกเราได้ใช้ชีวิตด้วยกัน รู้พื้นฐานของแต่ละคน หาได้ยาก” ในช่วงที่ศึกษาเล่าเรียนในรั้ววชิราวุธฯ พี่วุฒิชัยได้ท�ำกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งเล่นกีฬา ต่าง ๆ อาทิ บาสเกตบอล แบดมินตัน วอลเล่ย์บอล รักบี้ (ซึ่งพี่วุฒิชัยออกตัวว่าไม่ ได้โดดเด่นมากแต่ก็มีส่วนร่วมเสมอ) เล่นดนตรีวงเมโลดิกาช่วงเด็กเล็กแต่ที่ถือ
84
เป็นหนึง่ ในความภาคภูมิใจของพี่วุฒิชัยคือ การได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักเรียนยกโต๊ะ เสวยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ใน วันแข่งขันกรีฑาประจ�ำปี ซึ่งพี่วุฒิชัยอธิบายว่า “ตื่นเต้นมากถึงกับนอนไม่หลับ” พี่วุฒิชัยยังได้อธิบายถึงลักษณะพิเศษ ของแต่ละคณะในสมัยนัน้ โดยเน้นที่คณะ พญาไทของพี่วุฒิชัยว่า “คณะพญาไทนัน้ กีฬาไม่ค่อยชนะ บาสเกตบอลอาจจะชนะบ้าง แต่ถ้าเป็นกีฬาคณะดุสิตมักจะชนะ เพราะ ตัวดี ๆ อยู่เยอะ คณะจิตรลดาก็เก่ง เด็กคณะพญาไทไม่เชิงเป็นเพลย์บอย อาหาร คณะก็รสชาติปานกลางเป็นรองคณะจิตรลดา นิดหน่อย ถ้าพูดถึงความแข็งแรง คณะผู้บังคับการและคณะดุสิตจะดูเข้มแข็ง คณะพญาไทจะเป็นแบบสบาย ๆ ไม่ซีเรียส” มาถึงจุดพลิกผันในชีวิตของพี่วุฒิชัย ซึ่งก็คือตอนที่ตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน มาเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พี่วุฒิชัยได้เล่าเหตุการณ์ในครั้งนัน้ ว่า “ตอนอยู่โรงเรียนก็อยากเรียนวิศวะ ก็มาคิด ว่าหากยังเรียนที่โรงเรียนก็อาจจะสอบเข้า คณะวิศวะไม่ได้ ผมได้มองดูพี่ดาวฤกษ์ (น.พ.ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ รุ่น ๔๐) หรือพี่ สุริยา (พล.ร.ท. น.พ.สุริยา ณ นคร รุ่น ๔๐) ที่อยู่คณะผู้บังคับการทั้งคู่ ซึ่งดูว่าเขาเรียนเก่ง จบ ม. ๘ และสามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้เลย ก็กลับมาย้อนประเมินตัวเอง พบว่าไม่ได้เก่ง เหมือนพี่ทั้งสองคน ก็อาจจะเข้าคณะวิศวะ
ไม่ได้ถ้าอยู่โรงเรียนต่อ เพราะตอนนัน้ รู้สึก เหมือนตัวเองอิ่มตัว แข่งกับคนไม่กี่คนไม่มี คนมากระตุ้น ก็เลยคิดว่าควรลาออกไปเรียน ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา” จากรายละเอียด ที่พี่วุฒิชัยได้กรุณาเล่าให้พวกเราฟัง เรารู้สึก ได้ทันทีถึงการตัดสินใจที่ยากล�ำบากในครั้งนี้ เมื่อย้อนกลับมาที่โรงเรียนวชิราวุธฯ หลังจากที่ไปอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แล้ว พี่วุฒิชัยกล่าวว่า “โรงเรียนเราก็มีส่วน เยอะที่ทำ� ให้ผมมาเป็นวันนี้ได้ อาจจะได้โดยที่ เราไม่รู้ตัว การที่เรามีวิถีชีวิตแบบนี้มันซึม เข้าไป โรงเรียนสอนการใช้ชีวิต การปฏิบัติตัว และช่วยตัวเองได้ ตอนผมไปโรงเรียน เตรียมฯ ปุ๊บ ก็ได้อยู่ห้องไม่ดีเพราะคะแนน เลขไม่ดี แต่ภาษาอังกฤษดี เพราะสมัยอยู่ โรงเรียนเราเรียนกับครู Taylor ซึ่งไม่เคย พูดไทยเวลาสอนเลย จะอธิบายเป็นภาษา อังกฤษตลอด หนังสือที่เราใช้ Living English Structure เรียนกันตั้งแต่ ป. ๗ ซึ่งไปโรงเรียนเตรียมฯ ก็เรียนเล่มนี้ แสดงว่า โรงเรียนเรานีก่ ็ระดับ Advance เหมือนกัน (หัวเราะ) และสมัยที่อยู่โรงเรียนเตรียมฯ ผมก็ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าห้องด้วยเหตุผล ที่ว่าอาจารย์รู้ว่าสามารถน�ำสวดมนต์ได้” เมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พี่วุฒิชัยก็ได้รับเลือกให้เป็น ผู้แทนรุ่น และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใน เวลานัน้ ถือเป็นยุคทองของกีฬารักบี้ฟุตบอล โดยมีนกั รักบี้ฝีมือดีจากวชิราวุธฯ เข้ามา พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 85
ศึกษาต่อเป็นจ�ำนวนมากซึ่งรวมถึงพี่ต๋อ พันตรี อภิรักษ์ อารีย์มิตร ส�ำหรับชีวิตในรั้วนนทรี พี่วุฒิชัย กล่าวว่า “ชีวิตมหาวิทยาลัยซีเรียส ตีกันเรื่อย กับคณะอื่นโดยเฉพาะกับคณะวนศาสตร์ เพราะวิศวะเข้ามาทีหลังเลยโดนเขม่นตีกันเอา จริงเอาจัง ส่วนผลการเรียนก็ไม่ได้ เกียรตินิยม ก็เรียนโอเคเพราะมาท�ำกิจกรรม มีการประท้วงอาจารย์บ้างลาออกประท้วงบ้าง ซึ่งอาจารย์ก็ส่งใบลาออกไปให้พ่อ” พี่วุฒิชัย กล่าวแบบทีเล่นทีจริง สาเหตุที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนรุ่นใน สถาบันต่าง ๆ ภายหลังจากออกจากวชิราวุธฯ แล้ว พี่วุฒิชัยให้เครดิตกับการอบรมสั่งสอน
86
ของโรงเรียน “ถามว่าเพราะอะไร ผมก็ไม่ทราบ แต่อาจจะเป็นเพราะโรงเรียน ก็ต้องยกให้ โรงเรียน ผมคิดว่ารัชกาลที่ ๖ ผมว่าท่านมี พระบรมราโชบายที่ดีหลายอย่างหลายอย่างที่ ท่านทรงสอนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เห็นได้ว่า ท่านมีพระราชด�ำริที่กว้างไกลน่าจะให้พวก ทะเลาะกันได้อ่านผลงานต่าง ๆ ของท่าน ที่สอนความสามัคคี จิตใจ ความรักชาติ การ ศึกษา ประชาธิปไตย” “โรงเรียนสอนให้เรามีความเป็นสุภาพ บุรุษ รู้แพ้รู้ชนะ ให้แทรกอยู่ในชีวิตของเรา และให้มีความเป็นผู้ดี โดยไม่จ�ำเป็นต้องเป็น ลูกคนรวย รู้จักวางตัว และเมื่อจบมาจาก โรงเรียนเราก็สามารถอยู่ที่ไหนก็ได้” พี่วุฒิชัย
ผมยังยึดตามหลักของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ว่าต้องให้การศึกษาคน เพราะคนเรียนอย่างเดียวอาจจะโกง ก็ได้ คนต้องหากิจกรรมปฏิบัติ เช่น การเล่นดนตรี เล่นกีฬา อันจะเป็น ตัวเสริมให้เรามีคุณธรรมโดยอัตโนมัติ คือไม่จ�ำเป็นต้องเข้าชั่วโมงศีลธรรม แต่อาจจะสอนด้วยการเล่นกีฬา สอน จิตใจด้วยการเล่นดนตรี เห็นได้ว่า ท่านลึกซึ้งอย่างยิ่ง” กล่าวเสริม เมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเกษตรฯ พี่วุฒิชัยก็ได้เดินทางไปเรียนต่อที่ สหรัฐอเมริกา แต่ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ คุณพ่อพี่วุฒิชัยก็ได้ถึงแก่กรรมและเมื่อ เรียนจบกลับมา คุณแม่พี่วุฒิชัยก็อยากให้ ท�ำงานใกล้บ้าน พี่วุฒิชัยจึงได้สมัครเป็น อาจารย์ “พอมาสมัครเขาเห็นรูปปุ๊บเขาก็เวียน กันทั้งคณะขอความเห็น ตามที่เคยได้ก่อ วีรกรรมสมัยเรียน แต่ก็เข้ามาเป็นอาจารย์ ในปี ๒๕๒๑ แล้วปี ๒๕๒๒ เป็นเลขานุการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาเป็นรองคณบดี แล้วเป็นคณบดีในปี ๒๕๓๕ และปี ๒๕๔๕ จึง
ได้รับด�ำรงต�ำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร” พี่วุฒิชัยถือว่าเป็นอธิการบดีคนแรก ที่มาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งขัดจาก ธรรมเนียมของมหาวิทยาลัยที่อธิการบดีจะ มาจากคณะด้านเกษตร จึงเป็นค�ำถามว่าท�ำไม ถึงได้รับเลือก ซึ่งพี่วุฒิชัยกล่าวว่า “ผมท�ำงาน บริหารมาตลอด รวมถึงท�ำให้คณะ วิศวกรรมศาสตร์มีชื่อเสียง จากเดิมที่มีนิสิต อยู่ ๑๐๐ คน มาเป็น ๑,๐๐๐ คน และเปิด ภาควิชาใหม่ ๆ เช่น วิศวะการบิน ท�ำให้วิศวะ ก้าวหน้ามาได้มีชื่อเสียง จึงคิดว่าผลงานเป็น เครื่องพิสูจน์ ความซื่อสัตย์ โปร่งใส ก็เป็น สิ่งส�ำคัญ ท�ำอะไรต้องบอกกล่าว ซึ่งผมได้ยึด หลักนี้มาโดยตลอด พ่อผมเคยสอนว่าเงิน หามาให้แล้วให้ท�ำงานเอากล่องไป และคิดว่า ท�ำอะไรก็อยากท�ำให้ได้ดี อีกสิ่งที่คิดคือใน เรื่องของประเทศผมชอบเล่นการเมืองคือ อยากเห็นประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งสิ่งที่สำ� คัญที่สุดในการพัฒนาประเทศคือ การศึกษา ดังนัน้ การกระจายการศึกษาออก ไปให้ชาวบ้านก็จะท�ำให้ประเทศเจริญได้ ผม จึงพยายามท�ำมหาวิทยาลัยให้ดี ถ้าดูอย่าง ญี่ปุ่นหรือเยอรมัน ซึ่งแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้ เพราะประชาชนมี ระเบียบวินัย และมีความรู้” “นอกจากนี้ ผมยังยึดตามหลักของ รัชกาลที่ ๖ ว่าต้องให้การศึกษาคน เพราะคน เรียนอย่างเดียวอาจจะโกงก็ได้ คนต้องหา กิจกรรมปฏิบัติ เช่น การเล่นดนตรี เล่นกีฬา พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 87
อันจะเป็นตัวเสริมให้เรามีคุณธรรมโดย อัตโนมัติคือไม่จ�ำเป็นต้องเข้าชั่วโมงศีลธรรม แต่อาจจะสอนด้วยการเล่นกีฬา สอนจิตใจ ด้วยการเล่นดนตรี เห็นได้ว่าท่านลึกซึ้งอย่างยิ่ง” เมื่อถามถึงการน�ำเอาพระบรมราโชบาย ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มาใช้ในการบริหาร มหาวิทยาลัย พี่วุฒิชัยได้อธิบายให้เราเห็น ภาพกว้างกว่านัน้ ว่า “ในระดับมหาวิทยาลัย ก็มี แต่ควรต้องเป็นระดับประเทศ ในระดับ มหาวิทยาลัยมันสามารถคานในตัวอยู่แล้ว ๔ ปี เลยอยากให้อัญเชิญพระบรมราโชบายไปใช้ ในระดับประเทศ เมื่อเราน�ำมาศึกษาดู เราจะ พบว่าพระองค์ทรงพยายามให้เราเป็นชาติที่ดี แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ใครก็ออกมา
88
เอกภัทร เปรมโยธินและอภิพงศ์ พงษ์สาวภาคย์ ขณะสัมภาษณ์ ดร.วุฒิชัย กปิลกาญจน์
พูดล�ำบาก แต่เราสามารถอัญเชิญพระราช ด�ำรัสพระองค์ท่านมาได้ เพราะสิ่งที่เกิดใน บ้านเมืองปัจจุบันมันท�ำให้เราเสียโอกาส อย่างผลผลิตสินค้าเกษตรปีนดี้ ีแต่เกิด เหตุการณ์แบบนีท้ ำ� ให้โอกาสเราเสีย ผมไม่ สบายใจกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน จริงอยู่เรื่อง ประเทศมันก็ใหญ่เกินเรา แต่ถ้าคิดอย่างนี้ ทุกคนมันก็ไม่ช่วยอะไร พวกเราอาจจะไป ช่วยกันหางานพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ และร่วมกันเผยแพร่”
ในระยะเวลาการรับต�ำแหน่ง อธิการบดี พี่วุฒิชัยต้องประสบกับปัญหา ต่าง ๆ ซึ่งพี่วุฒิชัยมีแนวทางแก้ไขปัญหา เหล่านี้ว่า “ต้องฝึกหลักในการทนเรื่องปัญหา ต่าง ๆ ซึ่งออกไปในทางศาสนาหน่อย ๆ ให้ใช้ สติมีจิตใจบริสุทธิ์ในการท�ำงาน แสดงผลงาน ให้เห็น คิดดี มีความยุติธรรม ถ้าเรามีใจ บริสุทธิ์ บางทีก็ต้องใช้หลักธรรมะในการ ท�ำงาน ครอบครัวก็ช่วยเป็นก�ำลังใจให้เยอะ ส่วนหนึง่ ที่คิดในใจก็คือไม่ท�ำให้พระองค์ เสียชื่อ พระองค์ก็ถือว่าเราเป็นลูก เราก็ต้อง ไม่ทำ� ให้พระองค์เสียชื่อ สิ่งที่ผมสัญญาก็ทำ� หมดแล้ว ที่คิดไว้คือที่ได้มาด�ำรงต�ำแหน่งนี้ ถ้าไม่ได้เข้าโรงเรียนก็คงไม่ได้เป็น” ในฐานะที่พี่วุฒิชัยเป็นอธิการบดีของ มหาวิทยาลัยชั้นน�ำของประเทศไทย พวกเรา จึงขอให้พี่วุฒิชัยวิจารณ์การการศึกษาของ วชิราวุธฯ ซึ่งพี่วุฒิชัยได้ให้ความเห็นแบบ ตรงไปตรงมาว่า “สมัยนี้ ผมว่าดีขึ้นมากพอ สมควรแล้วปรับกันได้เยอะแล้ว เนื่องจากว่า มีการคัดเลือกดังนัน้ คะแนนของเราต้อง สามารถมีคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ นอกเหนือไปจากความสามารถด้านกิจกรรม ต่าง ๆ ผมเห็นด้วยกับอดีตผู้บังคับการ ชัยอนันต์ที่ให้เด็กมีความสามารถด้านอื่น นอกเหนือจากการเรียน แต่บางที พวกเรา อาจจะล�้ำสังคมไป ซึ่งสังคมบ้านเรายังไม่ รองรับกิจกรรมเหล่านี้ แต่การที่เปิดกว้างทาง ความคิดนับเป็นสิ่งที่ดี ดังจะได้เห็นจากเด็ก
เมืองนอก ซึ่งตอนนีก้ ารศึกษาบ้านเราควร ต้องปรับด้านนี้ เช่น การออกข้อสอบโดยเน้น การปรับความคิดใช้วิธีคิด ซึ่งวิชาการของ วชิราวุธฯ ควรต้องแข็งด้วย แต่ไม่ใช่ไป เคร่งเครียดมากเกินไป ควรเก่งวิชาอื่นที่ไม่ใช่ วิชาที่ถนัด ซึ่งก็คิดว่าท่านผู้บังคับการคน ปัจจุบันก็ได้สานต่อ ซึ่งการสานต่อเป็น สิ่งส�ำคัญ” ในโอกาสที่วชิราวุธฯ จะครบรอบ ๑๐๐ ปี พี่วุฒิชัยเห็นว่าโรงเรียนควรจะพัฒนา ในเรื่องของซอฟท์แวร์ โดยเฉพาะในเรื่องของ การเสริมสร้างการศึกษา ซึ่งพี่วุฒิชัยก็มี ส่วนร่วมในการให้คำ� ปรึกษาแก่โรงเรียน อย่างสม�ำ่ เสมอ นอกจากนี้ พี่วุฒิชัยยังมี ความเห็นว่าน่าจะมีคนรุ่นใหม่ไปช่วยบริหาร โรงเรียนบ้าง ก่อนจากกันพี่วุฒิชัยได้ฝากข้อคิดถึง นักเรียนวชิราวุธฯ ว่า “การที่มีจิตใจที่ดี ที่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เน้นในการเป็นสุภาพบุรุษ อย่างที่ท่านทรงวางพระบรมราโชบายไว้ การเล่นกีฬา เล่นดนตรี มันเสริมสร้างโดยที่ เราไม่รู้ตัว มันหล่อหลอมเราเข้ามาเอง ถ้าไม่มี โรงเรียนผมคงไม่มีวันนี้ และก็ไม่เคยปิดบัง เวลาใครมาถาม ก็บอกว่าเป็นที่โรงเรียน เป็นเพราะอยู่โรงเรียนวชิราวุธฯ” อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ เอกภัทร เปรมโยธิน (รุ ่ น ๗๑) สัม ภาษณ์ เอกภัท ร เปรมโยธิน (รุ ่ น ๗๑) เรี ย บเรี ย ง เฉลิ ม หั ช ตั นติ ว งศ์ (รุ่น ๗๗) ถ่ายภาพ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 89
สนามหน้า แหล่งเพาะน�้ำใจนักกีฬา
เวลาประมาณ ๑ ทุม่ ของวันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน เสร็จสิน้ การแข่งขันรักบีป้ ระเพณีราชวิทย์ฯ วชิราวุธฯ ครัง้ ที่ ๒๐ ผูแ้ ทนพระองค์ เดินทางกลับ หลังจากภารกิจการบรรยายการแข่งขันให้กับ True Visions เสร็จสิ้น ผมเดินลงจากอัฒจันทร์ ทักทายกับเพื่อน ๆ พี ่ ๆ น้อง ๆ ทั้ง ๒ โรงเรียน แสดงความยินดีกับผู้ชนะปลอบผู้แพ้ตาม ธรรมเนียม พีเ่ หม (อดิศกั ดิ์ เหมอยู่ รุน่ ๓๘) ถามผมว่า “มีความเห็น ว่าอย่างไรบ้างกับผลการแข่งขัน” ผมนิง่ สักครู่แล้วตอบว่า “มีเยอะ ด้วยครับแต่พูดทีเดียวคงไม่หมดเพราะมีหลายประเด็น ผมขอติด ไว้ก่อนแล้วจะสรุปให้พี่” แล้วผมก็มานัง่ นึกทบทวนเหตุการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เด็กที่ได้ ดูรกั บีป้ ระเพณีครัง้ แรก พ.ศ. ๒๕๒๖ (จ�ำได้วา่ ปีนนั้ เล่นรักบีร้ นุ่ เล็ก ให้คณะ) จนถึงปีนี้ พ.ศ. ๒๕๕๒ หักลบแล้ว ๒๖ ปี การแข่งขัน ทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาผมไม่เคยพลาดการดูแม้แต่ครั้งเดียว (อาจจะ ดูแบบไม่ค่อยได้สนใจบ้างในตอนที่เป็นเด็ก)
90
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 91
พอจะสรุ ป ลั ก ษณะพิ เ ศษของการ แข่งขันรักบี้ประเพณี (ตามความนึกคิดของ ผม) ดังนี้ รั ก บี้ ป ระเพณี เป็ นการแข่ ง ขั น รั ก บี้ ที่ มีความกดดันมากที่สุดในรอบปีส�ำหรับผู้ที่มี โอกาสได้ลงสนาม กดดันมากกว่าการเล่น ทีมชาติ กดดันมากว่าการเล่นนัดชิงชนะเลิศ ทุก ๆ ระดับ ความกดดันที่ต้องแบกความหวัง จากกองเชียร์ทมี่ คี วามคาดหวังให้ทมี ทีต่ นเชียร์ ชนะ (ทั้ง ๆ ที่บางคนใน ๑ ปีอาจดูรักบี้แค่ นัดเดียว) ความกดดันนีไ้ ม่ใช่เฉพาะผู้เล่น และ คนดูของทั้งสองทีมเท่านั้น ผู้ตัดสินก็กดดัน ด้วย (ไม่ค่อยมีใครอยากตัดสินรักบี้คู่นจี้ ริง ๆ) การคัดเลือกตัวผู้เล่น ทั้งสองฝ่ายก็ พยายามคัดเลือกตัวผู้เล่นที่ (ผู้ท�ำทีมคิดว่า พร้อม) ดีสุด ณ ช่วงเวลานัน้ ๆ
92
ผู้ดูแลทีม (ทั้งผู้จัดการทีม สต๊าฟโค้ช และผู้เกี่ยวข้อง) ก็พยายามที่สุดที่จะท�ำให้ ทีมพร้อมและสมบูรณ์ที่สุดในวันแข่งขัน การแข่งขันผ่านมา ๒๐ ครั้ง เราแพ้ไป ๑๓ ครั้ง ชนะ ๖ ครั้ง เสมอ ๑ ครั้ง ไม่มีข้อกังขาใด ๆ ส�ำหรับผมในเรื่อง ของความทุ่มเทการเตรียมทีมทั้งพี่เหม พี่ต้น พี่เล็ก พี่ใหญ่ พี่เผ่า และทีมงาน แล้วท�ำไมเราไม่ค่อยจะชนะล่ะ? เราน่า จะซ้อมมากกว่าเขานะ สถานทีเ่ ก็บตัว สนามซ้อม ห้องยิม และระยะเวลาในการเดินทางไปซ้อม เราได้เปรียบเขาทุกประตู ระยะหลังนี้เรายัง มีนักกายภาพที่เชี่ยวชาญอย่างดีมาช่วยดูแล นักกีฬาอีกต่างหาก (ของเขาไม่น่าจะมีหรือมี ก็ไม่น่าจะดีเท่าที่เรามี)
แล้วท�ำไมยังไม่ชนะอีกล่ะ? เราเคยตั้ง ข้อสงสัยไหมครับ? ? ? ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เรา ยังนึกไม่ถึงอีกหรือเปล่า? ความคิดเห็นของผม (ขอย�้ ำว่าเป็น เฉพาะความคิดเห็นของผม อาจจะผิดก็ได้) รักบี้ประเพณีมีลักษณะการแข่งขันเป็นแบบ แพ้คัดออก Knock Out (คล้าย ๆ ฟุตบอล FA Cup นะ แพ้แล้วไม่มีโอกาสแก้ตัว เหมือน การแข่งขันแบบ League ซึ่งจะมีการเก็บ คะแนนสะสม) อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ ในเวลา ประมาณ ๘๐ นาที ฟิตกว่าก็ใช่ว่าจะชนะเสมอ ไป ประสบการณ์ จังหวะ โชค ก็เป็นปัจจัยที่ไม่ อาจมองข้ามได้ (พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่ให้ฟิตซ้อมนะครับ) โชค เป็นสิง่ ทีฟ่ า้ ลิขติ ไม่อาจคาดเดาได้ (ส�ำนวนแบบหนังก�ำลังภายใน) แต่ประสบการณ์และจังหวะนี่สิเป็น สิ่งที่สร้างได้ แล้วมันสร้างอย่างไรล่ะ ? การฝึกซ้อม (Training) ท�ำให้ร่างกาย แข็งแกร่ง (Strength) และ มีทักษะ (Skill) ดี การแข่งขัน (Competition) ท�ำให้เกิด ประสบการณ์ (Experience) เมื่อร่างกายแข็งแรง ทักษะดี และมี ประสบการณ์ก็จะสร้างหรือหาจังหวะในการ รุกรับได้ดี เมื่อมีความสามารถในการรุกและรับดี โอกาสชนะก็มีสูง (ใช้หลักคณิตศาสตร์ ความ น่าจะเป็น)
การแข่งขันในเกมส์ที่ยากและความ กดดันสูงจะน�ำมาซึ่งประสบการณ์และจังหวะ การเล่น แล้วเราไม่มปี ระสบการณ์หรือ ? ก็ตอ้ ง บอกตรง ๆ ว่ามีแต่น้อยกว่าเขา ท�ำไมล่ะ ? ก็เรา (ต้องคิดค่าเฉลี่ยของ ผู้เล่นคณิตศาสตร์อกี แล้ว) แข่งขันน้อยกว่าเขา น้อยกว่ายังไง? ตรงนีข้ อให้ความเห็นว่า การแข่งขันทีเ่ ข้มข้นในระดับอุดมศึกษา ๑ หรือ สโมสร ๑ (ถ้วยบริติชเคาน์ซิล) เป็นตัวสร้าง ประสบการณ์ให้กับผู้เล่น ความกดดัน ความ รุนแรงของการแข่งขันมีมากกว่าอุดมศึกษา ๒ สโมสร ๒ (ถ้วยพระยาจินดารักษ์) ผู้เล่นที่ ผ่านเกมส์ที่เข้มข้น ก็จะมีประสบการณ์ไปเอง (เป็นการเรียนรู้แบบ learning by doing) ถ้าคิดแบบไม่เข้าข้างตัวเอง ๒๐ กว่าปี ผ่านมาเรามีผู้เล่นที่เล่นในระดับอุดมศึกษา ๑ และสโมสร ๑ น้อยกว่าเขาหลายเท่า แถมผูเ้ ล่น ของเขายังเป็นตัวหลักของทีมอีกต่างหาก อย่าง ยุค จิม แช่ม เดิม แก่ มาถึง โจ้ หนุ่ม ฯลฯ (ต้องยอมรับจริง ๆ ว่าเขาเล่น เกมส์บุกได้ดี กว่าเรา) แถมเขายังมีอายุการเล่นนานกว่าเราอีก จ�ำพวกเรียนปี ๓ ปี ๔ แล้วไปเข้าปี ๑ ใหม่ ประสบการณ์เขาเยอะกว่าจริง ๆ แม้กระทั่ง ยุคนีท้ ีมระดับสโมสร ๑ เขาก็มีคนเล่น (แบบ จริงจัง) มากกว่าเรา เด็กของเราส่วนใหญ่จะ เรียนจบ ๔ ปี แล้วก็ไปเมืองนอก แล้วกลับมา ท�ำงาน หาคนบ้า ๆ เล่นจนอายุเลย ๓๐ แบบ หนองได้ยาก (อันนีช้ มนะครับ) พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 93
ตรงนีข้ อให้ความเห็นว่า มันอาจจะดี ต่อทีมรักบี้คือทีมชนะ แต่ตัวผู้เล่นเล่นนาน เกินไป เวลาจะไปเริม่ งาน (ซึง่ ต้องหาเลีย้ งตัวเอง และครอบครัว) ก็จะช้ากว่าคนอืน่ เข้าข่ายมีสุข ร่วมเสพแต่มีทุกข์ไม่รู้จะมีใครช่วยหรือเปล่า อย่างน้องผีหรั่งนี่ผมว่าน่าเป็นห่วง คงไม่มีคน โชคดีแบบพี่ด๋อย พี่กฤษณ์ (สุ) มากนัก ถ้าจะอธิบายถึงเรื่องประสบการณ์ นีก่ ็ ต้องยกตัวอย่างง่าย เหมือนคนสอบเอนทรานซ์ คนหนึง่ ดูหนังสือมาทั้งปี ท�ำแบบฝึกหัดทุกวัน มี ข ้ อ สอบท� ำ ทุ ก สั ป ดาห์ อี ก คนมาติ ว เข้ ม ก่อนสอบแค่ ๑-๒ เดือนโอกาสเอนท์ติดของ คนดูหนังสือทั้งปีย่อมมากกว่า เวลาสอบก็ เจอข้อสอบที่เคยท�ำมาในแบบฝึกหัดแล้ว เขา ก็เหมือนคนดูหนังสือทั้งปี คือเล่นรักบี้ทั้งปี ก่อนสอบอาจจะพักผ่อนเต็มทีแ่ ล้วไปสอบ ส่วน เราทั้งปีไม่ค่อยดูหนังสือ หรือดูบ้างแบบไม่ จริงจัง (เล่นถ้วย ๒ ไง) มาอัดดูหนังสือก่อน สอบมากไป ข้อสอบเก่าก็ไม่ได้ท�ำ ผลสอบ ก็มีโอกาสตก (แพ้) มากกว่าไงครับ อันนี้เป็น สัจจธรรม
สรุปก็คือก�ำลังพลที่พร้อมและ เชี่ยวชาญการรบ (ประสบการณ์) ของเราน้อยกว่าเขา
อี ก เรื่ อ งก็ คื อ ความปรารถนาอย่ า ง แรงกล้าทีจ่ ะชนะ (Passion) ของเราน้อยกว่าเขา (อันนีก้ ็ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ) เริ่มแรก ต้องมานึกย้อนดูอดีต และ นึกถึงสภาพแวดล้อม
94
ของเด็กยุคผมหรือยุคก่อนหน้าผม ว่าอะไรเป็น แรงบันดาลใจให้เรามาเล่นกีฬา ส�ำหรับผมความ อยู่รอดครับ เคยอ่านกฎ ๕ ขั้นของมอสโลว์ (ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยา) ไหมครับ? (ลอกมาจากหนังสือจิตวิทยาทั่วไปนะครับเข้า มหาวิทยาลัยปี ๑ ต้องเรียนทุกคน) ดร.มอสโลว์ นักจิตวิทยาได้ให้ขอ้ คิดว่า ความต้องการของมนุษย์นนั้ สามารถแบ่งออก เป็นขัน้ ๆ ได้ ซึง่ ในการด�ำรงชีวติ มีลำ� ดับความ ส�ำคัญความต้องการของมนุษย์ ดังนี้ ขั้นที่ ๑ ต้องการปัจจัย ๔ ขั้นที่ ๒ ต้องการความปลอดภัย ขั้นที่ ๓ ต้องการสังคมกับผู้อื่น ขั้นที่ ๔ ต้ อ งการได้ รั บ การยกย่ อ ง นับถือ ขั้นที่ ๕ ต้องการให้ตัวเองมีชื่อเสียง หรือเอาความเห็นตัวเองให้ ผู้อื่นปฏิบัติตาม ขัน้ แรกปัจจัย ๔ นัน้ ทุก ๆ คนมีอยูแ่ ล้ว แต่ขั้นที่ ๒ นี่สิความต้องการความปลอดภัย ใครที่เคยอยู ่โรงเรีย นผ่า นการเลื่อนชั้นจาก เด็กเล็กมาเด็กในคงเข้าใจดีนะครับ ลองถาม ใจตัวเอง ตอนเด็ก ๆ เราเล่นกีฬาเพราะอะไร? อย่าบอกนะครับว่าเพราะชอบ (โกหกตัวเอง) มันอาจจะจริง แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่หรอก เรา ต้องเล่นกีฬาเพื่อความอยู่รอด (ปลอดภัย) Just Survive เราเล่นกีฬาเพราะต้องการให้ถกู ท�ำโทษ น้อยลงหน่อย (อยู่ในช่วงซ้อมแข่งขันโทษหนัก
จะกลายเป็นเบา โทษเบาอาจถูกรุ่นพี่ลืมได้ ถ้า แข่งกีฬาชนะ) เราเล่นกีฬาเพราะไม่อยากถูกใช้ ไม่ อยากไปเก็บลูกเทนนิสหรือต้องไปถูกรุ่นพี่ที่ เล่นกีฬาอะไรก็ไม่คอ่ ยเป็นมาคุมซ้อมให้วงิ่ รอบ โรงเรียน รอบโรงยิม และคอยหาเรื่องจับผิด เราเล่นกีฬาเพราะอยากมีสิทธิ์เท่ากับ ศูนย์ ฟังดูแล้วแปลก ๆ แปลกแต่จริงนะครับ เด็กใหม่นี่สิทธิ์ติดลบนะครับ ต�ำ่ กว่าศูนย์ ใคร โดนเข้าเด็กใน ป. ๖ (อายุ ๑๑ ปี) รู้ดี เด็กดุสิต กับเด็กจิตรลดายังดีหน่อยมีครูอรุณ ครูอุดม คอยดูแล แต่เด็ก ผบก. กับเด็กพญาไท นี่สิ... นรกชัด ๆ ถ้าเราไม่เล่นกีฬา (หมายถึงซ้อมกีฬา เพือ่ เป็นตัวแทนคณะ) เราจะมีโอกาสถูกท�ำโทษ เยอะ (รุ่นพี่ที่ไม่ค่อยเล่นกีฬานี่เขาจะมีเวลา ว่างมากส�ำหรับจับผิดเด็กโดยเฉพาะ) เราเล่นกีฬาเพราะเราอยากมีสทิ ธิพ์ เิ ศษ ได้กนิ น�ำ้ แดง ได้กนิ อาหารมือ้ พิเศษ ทีพ่ หี่ วั หน้า อนุญาตให้กินหลังสวดมนต์เสร็จ ในวันที่แข่ง กีฬาเสร็จ (แพ้หรือชนะก็ได้กิน แต่ใครไม่ติด ทีมไม่มีสิทธิ์ลงมากิน) ยอมรับ ตอนเด็ก ๆ ผมคิดแค่นจี้ ริง ๆ ครับ ไม่ได้อยากเล่นกีฬาเพราะชอบ เล่นเพื่อ ความอยู่รอดจริง ๆ ๆ มาถึงขั้นที่ ๓ ความต้องการสังคมกับ ผู้อื่น อันนี้มันแน่นอนอยู่แล้วเพราะมนุษย์เป็น สัตว์สังคม เราต้องอยู่กับเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ จะอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ (เราเป็นนักเรียนประจ�ำ นะครับ เด็กข้างนอกพวกเช้าไปเย็นกลับอาจ
จะไม่ต้องท�ำแบบเรา) ต้องมีการร่วมกิจกรรม ทั้งทุกข์สุขต่าง ๆ การเล่นกีฬาก็ทำ� ให้เราอยู่ใน สังคมโดยได้รบั การยอมรับ ท�ำกิจกรรมอย่างอืน่ เช่น ดนตรี ศิลปะ ฯลฯ ก็อาจได้รบั การยอมรับ เหมือนกันแต่มันไม่ชัดเหมือนเล่นกีฬาโดย เฉพาะรักบี้ ขัน้ ที่ ๔ ต้องการได้รบั การยกย่องนับถือ อันนี้มันก็ต่อยอดจากการยอมรับ มันเหมือน ขั้นตอนที่เราผ่านการเป็นตัวแทนของคณะแล้ว เราก็อยากเป็นตัวแทนของโรงเรียน ตอนเด็กเล็กเราไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรของ เด็กในหรอกครับ เรารู้แต่ว่าเวลาทีมโรงเรียน จะท�ำการแข่งขันจะมีการรับเสื้อบนหอประชุม ครูอรุณจะประกาศรายชื่อนักรักบี้ทีมโรงเรียน ตอนเด็กเราจ�ำชื่อ สังกาศย์เพชร สุวรรณศร พจน์ ลักษณะสมพงษ์ ณัฐพร โขมพัตร สมโภชน์ คล้ายอินทร์ ฯลฯ เสียงปรบมือของนักเรียน ทั้ ง โรงเรี ย นดั ง กึ ก ก้ อ ง เรายกย่ อ งพวกเขา เป็นฮีโร่ มันเป็นแรงบันดาลใจ แรงขับให้เรา ต้องพยายามเล่นให้เป็นตัวแทนของโรงเรียน ให้ได้ คิดอยากจะเล่นก็ไม่ใช่วา่ จะพร้อมเหมือน สมัยนี้ ลูกรักบีส้ มัยนัน้ หายากไม่เหมือนสมัยนี้ เราก็ใช้กล่องนมโฟรโมสต์ที่กินหมดแล้วล้างให้ สะอาดแล้วก็เอามาสวมทับกันใช้แทนลูกรักบี้ ขั้ นตอนที่ ๕ ต้ อ งการให้ ตั ว เองมี ชื่อเสียงหรือเอาความเห็นตัวเองให้ผู้อื่นปฏิบัติ ตาม ขั้นนี้พวกเราไม่ค่อยได้นกึ ถึง ส่วนมากจะ หยุดแค่ขั้นที่ ๔ เด็กวัย ๑๗-๑๘ ยังไม่คิดไกล ขนาดให้คนอื่นมาปฏิบัติตามความเห็นของ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 95
ตัวเอง (คงจะยังเด็กไม่มีผลประโยชน์ ไม่มี อัตตา Ego) นอกจากขั้นต่าง ๆ ที่กล่าวอ้าง แล้วยัง มีกระบวนการทีช่ ว่ ยท�ำให้เรามีความเข้มแข็งทัง้ ร่างกายและจิตใจ (Physical & Mental) ก็ คือ การฝึกซ้อมและแข่งขัน จากขอแค่ติดทีมเพื่อความอยู่รอด ก็ ขอเป็นตัวจริง จากเป็นตัวแทนคณะก็ขอเป็น ตัวแทนโรงเรียน แต่ละขัน้ ต้องแข่งขันกับคนอืน่ ความกดดัน บีบคั้น ในการฝึกซ้อม (อันนี้พวก เราอาจไม่คอ่ ยได้นกึ ถึง เช่น การจ็อกสปีดแบบ เทีย่ วสุดท้าย สุดท้าย ๆ ๆ ๆ แบบค�ำว่าสุดท้ายนี่ หมายถึงยังมีแท่งต่อไป ขึ้นจากซ้อมก็ต้องมา ปั๊มขางัดม้าหินหน้าคณะอีก ฯลฯ) ตอนเราเล่นรุ่นเล็ก จะประกบกับรุ่น กลาง รุ่นพี่ก็บอกว่า ต้องเล่นแบบนี ้ ๆ นะถ้า คนนี้หลุดมาต้องจับให้ได้ ถ้าท�ำได้ตามที่บอก ก็ดีไป ถ้าไม่ได้ก็เหนื่อย พอเราขึ้ น รุ ่ นกลาง รุ ่ น พี่ ก็ บ อกอี ก ประกบกับรุ่นเล็ก ถ้าปล่อยให้เด็กหลุดได้ก็ เหนื่อยอีก สรุปคือกดดันทั้งหมดยิ่งประกบ หรือแข่งกับคณะอื่นยิ่งกดดันอีก ลักษณะเช่นนี้มันเป็นทุกคณะ ระบบ จะท�ำหน้าที่คัดเลือกคนที่แข็งแกร่งที่สุด ตาม ทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วินคนที่แข็งแรงน้อยกว่า จะถูกคัดออกไปเพือ่ ไปเล่นกีฬาประเภทอืน่ คือ เรายึดการเล่นกีฬาเป็นสรณะ โดยส่ ว นตั ว ผมคิ ด ว่ า ระบบแบบนี้ ถูกใช้มาโดยตั้งหรือไม่ได้ตั้งใจมาตั้งแต่สมัย
96
ท่านผูบ้ งั คับการพระยาภะรตราชา จะมาเข้มข้น น้อยลงก็สักประมาณเกือบ ๒๐ ปีมานี้โดยมี กิจกรรมหลายอย่างเป็นทางเลือกมากขึ้น ทั้ง ละคร กิจกรรมนอกหลักสูตรอื่น ๆ ซึ่งก็เป็น ผลดีต่อเด็ก เพราะจริง ๆ แล้วชีวิตก็ไม่ได้ขึ้น กับการเล่นกีฬาอย่างเดียว มีอะไรอีกหลาย อย่างที่ควรจะเรียนรู้ แต่กม็ ขี อ้ ด้อยคือ Passion เราน้อยลง เพราะเราคิดว่ากีฬาเป็นแค่กิจกรรมหนึง่ (ซึ่งก็ ไม่สามารถสรุปได้ว่ามันดีหรือไม่ดี)
เมือ่ เรามี Passion น้อยลงความมุง่ มัน่ น้อยลงโอกาสที่จะได้ชัยชนะก็น้อยลง ตามไปด้วย
การฝึกซ้อมรักบี้ประเพณี ในช่วงชีวิต การเล่นรักบี้ของผม มีโอกาสได้ร่วมซ้อมทีม รักบีป้ ระเพณี ๔ ปี คือตอนอยูโ่ รงเรียน มอเจ็ด มอแปด และตอนอยู่มหาวิทยาลัย ปีหนึง่ ปี สอง (๒๕๓๐ – ๒๕๓๓) ตอนอยู่โรงเรียนก็ไป ซ้อมแบบเป็นตัวส�ำรอง (แบบส�ำรองของส�ำรอง อีกที) แบบว่าพอหมดหน้ารักบี้ของโรงเรียน แล้วเข้าหน้าบาสกับหน้าฟุตบอล ผมไม่ชอบเล่น บาสกับบอลก็วิ่งรอบโรงเรียนแล้วก็เข้าโรงยิม ช่วงนั้นก็เข้าสู่การแข่งขันรักบี้ระดับ สโมสรซึ่งอาจักรก็ดูทีมโอวีด้วยแต่จะน้อยกว่า ที่ดูทีมโรงเรียน ส่วนมากพี่ใหญ่จะเป็นคนดู ทีมโอวีโดยเป็นผู้เล่นด้วย พี่ใหญ่ก็ชวนพวก นักรักบี้ทีมโรงเรียนที่ยังอยากเล่นรักบี้อยู่ไป ช่วยซ้อม ซ้อมเสร็จส่วนมากก็จะเลี้ยงข้าว
(ประมาณว่าสมัยนัน้ เล่นเสร็จ ก็ตอ้ งกินข้าวเนือ้ ย่างติดมันกับไข่ดาวของป้าปุ้น ขี้เกียจกลับไป กินอาหารอันสุดแสนจะห่วย อาหาร ผ.บ.ก. แย่ สุดในสี่คณะ) เวลาไปแข่งไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ก็พาไปกินข้าวต่อตามภัตตาคาร แล้วค่อยกลับ โรงเรียน (อันนี้ ผมก็ไม่เคยถามว่า งบประมาณ ที่ใช้เลี้ยงนี่จากสมาคมหรือจากกระเป๋าของ อาจักรกับพีใ่ หญ่ โดยส่วนตัวเชือ่ ว่าคนดูแลทีม คงต้องออกเงินบ้างไม่มากก็น้อย) ถึงเวลาทีใ่ กล้วนั การแข่งประเพณี (ช่วง ๒ อาทิตย์สดุ ท้าย) ก็จะมีนกั รักบีเ้ ก๋า ๆ ๆ อย่าง พีจ่ รวย พีโ่ จ๊ย พีห่ น่องชัชวาลมาซ้อม พวกผมที่ ยังเป็นนักเรียนก็ยงั คงช่วยซ้อมแต่กไ็ ม่มโี อกาส ได้รับเสื้อแข่งขันหรือได้ก็เป็นแบบไม่ติดเบอร์ หรือเบอร์ ๓๑ ขึ้นไป (คือคนที่มีโอกาสได้ลง เล่นนีจ่ ะได้เสื้อเบอร์ ๑-๓๐) พอผมเข้ามหาวิทยาลัยปี ๑ ที่เกษตร ก็มีโอกาสถูกเลือกตัวให้มาร่วมซ้อมประเพณี อีก (ทีมประเพณีนไี่ ม่ใช่ใครก็มาซ้อมได้นะครับ ทางสมาคมกับสต๊าฟโค้ชจะแจ้งไปที่ต้นสังกัด เรียกมาซ้อม ก็จะมีจากจุฬาฯ ม.กรุงเทพ จปร. นายเรือ (ซึง่ ผูเ้ ล่นส่วนใหญ่ จะเล่น อ. ๑ และ ส. ๑) ผมอยู่เกษตรก็มีนกั รักบี้ที่เป็นโอวีอยู่ ๕-๖ คน เวลาแข่ง อ. ๑ หรือกีฬามหาวิทยาลัย นี่ ที่ ๔ ตลอด อ. ๑ เจอ จุฬาฯ ม.กรุงเทพ จปร. พอ กีฬามหาวิทยาลัย เจอ จุฬาฯ มศว ม.กรุงเทพ ที่ ๔ ตลอด (แบบเป็นทีมกลางตารางลีกนะ ครับ เจอบิก๊ โพร์กเ็ ล่นสูสคี รึง่ แรกแต่แพ้ในครึง่ หลัง เจอพวกทีมภูธรอย่างเชียงใหม่ ขอนแก่น พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 97
ลาดกระบังก็เหนือ่ ย คือพวกนีค้ ดิ ว่าเจอเกษตร นี่ พ อสู ้ ได้ เ ลยเล่ น เต็ ม ที่ แต่ พ อเจอจุ ฬ า ฯ ม.กรุงเทพนีถ่ อดใจโดนไปเกือบร้อยจุด) มาเก็บ ตัวซ้อมทีโ่ รงเรียนก็นอนบ้านพักนักกีฬา (เดีย๋ ว นี้เป็นตึกหมวก) เก็บตัวก็วิ่งเช้า ซ้อมเย็น ส่วน มากพีใ่ หญ่คมุ (อาจักรคงปลีกเวลามาได้ไม่มาก เพราะใช้โควต้าเวลาท�ำงานมาคุมทีมโรงเรียน ก็ ๔-๕ เดือนเข้าไปแล้ว) ตกดึกซ้อมเสร็จ ก็ไม่มอี ะไรมากเล่น ๓ กอง (ผมดูเขาเล่นนะครับ ไม่ได้เล่นเอง คอยลุ้นอย่างเดียว) หิวก็ออก ไปหาอะไรกินที่ราชวัตร ปีนนั้ ผมจ�ำได้ว่าได้รับ เสื้อเบอร์ ๓๒ ก็คือมาซ้อมแต่ไม่มีโอกาสได้ลง มาถึงตอนปี ๒ (แต่สถานภาพนิสติ ปี ๑ เพราะปีแรกผมถูกรีไทร์ แล้วก็สอบเข้าไปใหม่ ได้คณะเดิมมหาวิทยาลัยเดิม แบบว่าความรู้ เท่าเดิม) ปีนนั้ ฟิตมากติดทีมชาติเยาวชนชุด นัน้ ก็มี จิม แช่ม เดิม หนอง ต้น ไฝ่ ฯลฯ ไป เล่น Pan Pacif ic Tournament ที่ไต้หวัน เจอะ Tonga Korea Taiwan ๑ Taiwan ๒ ชนะ Taiwan ๑ แพ้ Taiwan ๒ (๑๒:๑๐) แพ้ Tonga ๑๕:๙ (แพ้น้อยมาก) แพ้ Korea ๑๗:๑๕ (แพ้นาทีสุดท้าย) ผมเล่นตลอด ทั้ง ๔ แมทช์ (ถูกเปลี่ยนออกเพราะไหปลาร้าหักนาที สุดท้าย ออกมาหมดเวลาพอดี) ปีนนั้ ถ้าไม่เจ็บ กลับมานี่มีลุ้นติดชุดใหญ่ไปชิงแชมป์เอเชีย ศรีลงั กาด้วย (ศรีลงั กานี่ คนไม่อยากไปเหมือน ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น ตัวแข่งน้อย) อันนี้ อาอ้น (เอกพล) บอกผม กลับจากไต้หวันพักไม่ เกิน ๒ เดือนก็หาย กลับมาซ้อมใหม่ ส่วนมาก
98
ก็ซ้อมเอง ตื่นเช้ามาวิ่ง ๒ รอบมหาวิทยาลัย ๒ คนกับเพื่อนผมชื่อปลิ้น (พัลลภ) วิ่งเสร็จก็มา Sprint วิดพื้น กล้ามท้อง ดึงข้อกับแป้นบาส บางทีก็หกสูงกับก�ำแพงแล้วยุบข้อลงมา (ต้าน แรงดึงดูดของโลก) ประมาณว่าบ้าแรง (สมัย นัน้ เขาใช้ค�ำนี้) เวลาว่าง ๆ ก็หาลูกเทนนิสเก่า ๆ มาบีบเล่น (ท�ำให้นวิ้ แข็งจะได้แย่งลูกได้ด)ี สมัย นั้นไม่นิยมเข้ายิมยกเหล็ก ส่วนมากจะเน้น ความเร็วและแกร่ง คือพยายามฟิตซ้อมตลอดปี หาโอกาสเล่นเกมส์ในระดับที่เข้มข้น เพื่อที่จะ ได้มีโอกาสได้เล่นรักบี้ประเพณี ในทีส่ ดุ ก็มโี อกาสนัน้ คือได้รบั เสือ้ เบอร์ ๑๘ (หมายถึงมีโอกาสได้ลงเล่น) แต่ก็ไม่ได้ลง เพราะตัวจริง ๒ ตัวนี่พี่ทึ่มกับพี่โจ้ยส�ำรองอีก ตัวก็พี่หน่อง (กฤษณ์) แต่ละคนเก๋ากว่าผม ทุกคน (คือถ้าเอาทุกคนมาวัดความฟิตนีผ่ มฟิต สุด แต่ประสบการณ์นี่ไม่ได้สร้างกันในปีหรือ สองปี) นัง่ อยูม่ า้ นัง่ ส�ำรองก็คดิ ในใจ ท�ำไมพีแ่ ม่ง ไม่เป็นตะคริวบ้างว่ะกูจะได้ลง สุดท้ายเราก็ชนะ (ก็คือทุกคนชนะหมด) แม้จะไม่ได้ลง ผิดหวัง เล็กน้อยแต่กด็ ใี จ (ขนาดหนองเพือ่ นผมชัว่ โมง นัน้ ก็ฟิตมาทั้งปีเหมือนกันยังได้ลงนาทีท้าย ๆ เลย) หมดเวลาวันนัน้ อาจักรและพี่ใหญ่กล่าว ขอบใจทุกคนที่มาช่วยซ้อมและอีกไม่กี่วันก็มี งานเลีย้ งรับเงินอัดฉีด ตัวจริงและส�ำรองทีไ่ ด้ลง ได้ ๕,๐๐๐ ส่วนตัวส�ำรองทีไ่ ม่ได้ลงได้ ๓,๐๐๐ ส่วนใหญ่เงินที่ได้ก็หมดวันนัน้ ละครับ หมดไป กับอะไร? ที่ไหน? อย่างไร ? ก็เรื่องของแต่ละ คน (แต่ส่วนมากออกไปทาง Rate X)
ที่กล่าวมานีก่ ็อยากจะบอกให้ทราบว่า รักบี้ประเพณีนะฟิตอย่างเดียวไม่พอหรอก ต้องมีประสบการณ์ด้วย อันนี้ใครที่มีโอกาส ท�ำรักบี้ประเพณีต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ให้ดี ต้องบอกผู้ที่มาซ้อมให้เข้าใจว่าเวลาชนะเรา ก็ชนะด้วยกัน วันนี้ไม่ได้ลงพยายามต่อไป วันหน้ายังมี ความพ่ายแพ้และชัยชนะในการแข่งขัน รักบี้ประเพณีทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ทุก ๆ ครั้ง ที่ผ่านมา ผมขอตั้งข้อสังเกตดังนี้ สีค่ รัง้ แรก (เราแพ้สาม เสมอหนึง่ ) ผูเ้ ล่น ส่วนใหญ่ก็มีฝีมือทัดเทียมกัน บางปีเรามีผู้มี ประสบการณ์ระดับเยอะมาก อย่างครั้งแรกนี่ มีพี่แวน พี่อั๋น พี่โจ๊ย พี่โชคเล่น เป็นพี่ ๆ ที่ มีรู ป ติด อยู ่ต ามผาหนัง ในอินดอร์สเตเดี้ยม ส่วนใหญ่เป็นผูเ้ ล่นในต�ำนาน (ขนาดพีพ่ จน์ ฮีโร่ ของพวกเรายังนัง่ ส�ำรองเลย) สี่ครั้งแรกเราไม่มีการเก็บตัว มีแต่การ ซ้อมที่สนามหลัง คือยังไม่จริงจังมาก สี่ครั้งต่อมาเราชนะตลอด (๒๕๓๐๓๓) ผู้เล่นส่วนใหญ่คงคิดว่าเราคงแพ้ต่อไป ไม่ได้อีกแล้ว ตอนนัน้ (ปี ๒๙-๓๐) ระดับทีม โรงเรียนเราก็แพ้เขา เรามีการเก็บตัววิ่งเช้า พอ ใกล้ ๆ แข่งพวกพี่ที่มีประสบการณ์มาก ๆ ก็จะ ร่วมซ้อมด้วย อย่างเช่น พีโ่ จ๊ย พีห่ น่อง (ชัชวาล) พี่จรวย โดยเฉพาะพี่จรวยนี้ซ้อมมากไม่ได้ นะครับ ซ้อมเสร็จต้องไปนวดคลายเส้น แต่ก็ เป็นคนที่เราขาดไม่ได้ นอกจากผู้เล่นที่เก๋า ๆ แล้วผู้เล่นส่วนใหญ่ส่วนมากก็จะอยู่ในช่วง
Peak ของแต่ละคน สกรัมเราไม่เสียเปรียบ แถวโดดเรามีฮุคเกอร์ดี ๆ แบบพี่หงอก พี่จมร ตัวโดดตัวสองเราสูสีกับเขา แต่ตัวสี่เรามีพี่กุ้ง ตัวเบาลอยในอากาศได้นานกว่าของเขา (สมัย นัน้ ห้ามยกนะครับ) โดดได้ตลอด แถวสาม เราได้กำ� ลังหลักจาก จปร. พีต่ กึ พีฉ่ าย พีต่ าโต บวกประสบการณ์ของพี่ใหญ่ สกรัมฮาล์ฟ เรา มีพี่ไก่อภัยต่อด้วยพี่มอด กองหลังน�ำทีมโดย พี่พจน์และมีพี่สีเทา พี่จุ๋ม พี่ไมค์ พี่บอล บิ๊ก แป้ง ฯลฯ ตัวเตะเรามีพดี่ อ๋ ยก็แม่นทัง้ ระยะใกล้ และไกลไม่แพ้ไอ้จิม แต่พี่ด๋อยแกขี้เกียจไม่ไป เล่นทีมชาติเอง (ส่วนใหญ่พี่แกจะชอบใช้ชีวิต เฉพาะเวลากลางคืนเป็นมนุษย์ค้างคาว) สรุปว่า ๔ ปีที่เราชนะติด ๆ กันนัน้ เรา มีครบทุกปัจจัยที่ทำ� ให้ทีมชนะ
ประสบการณ์ ความแข็งแกร่ง ทั้งร่างกาย จิตใจ และความมุ่งมั่น ของทุก ๆ คน
จากนั้นเราก็แพ้เกือบตลอด เพราะ ประสบการณ์โดยรวมของทีมของเขามีมากกว่า เรา เพราะเขาเล่นต่อเนื่องตลอด เล่นมากกว่า เรา ยิ่งยุครุ่งเรืองของจิม แช่มนี่เราสู้เขาไม่ได้ จริง ๆ อันนี้เราต้องยอมรับ หลังยุคจิม แช่ม เขาก็มีโจ้ หนุ่ม ไนซ์ โดยความจริงแล้วก็ฝีมือ ไม่ห่างจากผู้เล่น ของเรามาก แต่ส่วนมากเราจะแพ้เพราะเปิด เกมส์บุกไปแบบไม่รัดกุม แล้วโดนเขาโต้กลับ (Counter Attack) คื อ ความละเอี ย ดใน การเล่นของเรามีน้อยกว่าเขา พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 99
แต่ก็มีอีก ๒ ครั้งที่เราชนะเขาได้ก็คือ ๒๕๔๓ และ ๒๕๔๘ ๒๕๔๓ ที่สนามไทย-ญี่ปุ่น ชั่วโมงนัน้ เทียบตัวตัว (Head to Head) เราสู้เขาไม่ ได้เลย เขามีจิม แช่ม เดิม แก่ หนุ่ม โจ้ เอา ประสบการณ์มาวัดกันนี่เราสู้เขาไม่ได้เลย ของ เราหัวหน้าชุดก็หนองน�ำทีม แต่เราก็มีพี่ใหญ่ ผู้มากประสบการณ์ในเกมเล่นและคุมทีมรักบี้ ประเพณีมาคอยดู เด็กที่ไปซ้อมก็ตั้งใจกันดี เรื่องความฟิต ต้องบอกว่าเรามากกว่าเขา นัน้ คือ เรารู้เขาแต่เขาไม่รู้เรา เขาไม่รู้จักปฤณเด็กนักเรียนมอแปด อายุยงั ไม่เต็มสิบแปด ทีใ่ ช้ความเร็ววิง่ ปาดผ่าน แผงกองหลังทีมชาติทั้งทีมไปวางทรัย เกมส์ วันนัน้ เราเตรียมเกมส์รับมาดีมาก และไม่ได้ เปิดโอกาสรุกเท่าไหร่ ซึ่งก็ไม่เสียหายอะไร เพราะถ้าหากเปิดเกมส์บุกก็อาจถูกโต้กลับเสีย ทรัยได้ ในทั ศ นะของผมชั ย ชนะครั้ ง นั้น มี ปัจจัย คือ ความฟิต ความมุ่งมั่น และโชค โชคดีที่เขาไม่รู้จักปฤณ ไม่เคยเห็นการ เล่นของปฤณ ซึง่ การแข่งขันครัง้ ต่อ ๆ มาปฤณ ถูกจับตายกระดิกตัวแทบไม่ได้เลย ๒๕๔๘ ครั้งนัน้ เป็นครั้งเดียว ในการ แข่งขันรักบี้ประเพณีที่แข่งขันหน้าฝน (๑๑ พ.ค. ๒๕๔๘) ชัว่ โมงนัน้ ตัวผูเ้ ล่นเขาก็เหนือกว่า เรานิดหน่อย เกมส์รุกเขาดีกว่าเราแต่ดูเหมือน ฟ้าเข้าข้างเรา (โชค) วันนั้นฝนตกสนามลื่น
100
ความแน่นอนในการบุกลดลง ความผิดพลาด ในการบุกเยอะ กอปรกับความแม่นย�ำในการ เตะประตูของปฤณ วันนัน้ เป็นอีกวันที่เราชนะ ต้องขอบอกว่าวันนัน้ เราโชคดี แต่ถ้า ไม่มีการเตรียมตัวฟิตซ้อมที่ดีคงไม่ชนะ มาถึง ๔ ครัง้ หลังสุด (๒๕๔๙-๕๒) เรา แพ้แบบสูสี ไม่เกินสามจุดทุกปี ๑๑ : ๑๐ ๘ : ๕ ๒๓ : ๒๒ ๑๓ : ๑๐ ส่วนมากเราน�ำเขาตลอดในครึ่งแรก มาแพ้ตอนท้ายทุกที ท�ำไมล่ะ? อันนี้มีหลาย ประเด็นจะค่อย ๆ ชี้แจงทีละประเด็น ๑. เราโยนแต้มทิ้งไป โยนแต้มทิ้งไปอย่างไร? ค�ำตอบ เราไม่ เตะลูกโทษในระยะที่ควรเตะไง บางทีคนเล่น อาจเห็นว่าน�ำอยู่หรือต้องการเล่นเร็ว เพื่อสร้าง จังหวะ หรือเตะออกเพื่อท�ำแถวทุ่มเพื่อครอง บอลอีกที แต่ในความเป็นจริงต้องเตะลูกโทษ เตะเพื่อเพิ่มแต้ม เพื่อเพิ่มความกดดัน ให้กับฝ่ายตรงข้าม เตะเพื่อท�ำให้เกมส์ช้าลงมีโอกาสนัด แผนการเล่นอีกที เตะเพื่อฆ่าเวลาในสนามเตะลูกโทษ ๑ ครั้งใช้เวลา ๒ นาที ถ้าเตะไม่เข้าล่ะ ? ก็ไม่เสียหาย เพราะ เขาต้อง Drop Out กลับมาให้เราเล่นอีกที (มีโอกาสครองบอลอีก)
ถ้าเตะไม่ถึงล่ะ? อันนี้เป็นหน้าที่ของ คนท�ำทีมและผู้เล่นที่ต้องฝึกซ้อม ให้เตะให้ถึง ในระยะครึ่งสนาม (เป็นเหมือน Spec ของการ ท�ำทีมรักบีย้ คุ ใหม่ ต้องมีตวั เตะ ๒ คน คนหนึง่ เน้นแม่นย�ำ อีกคนเน้นเตะไกล) ถ้าวันนัน้ ๆ เราเลือกเตะลูกโทษ เราก็ อาจจะชนะหรือเสมอ (วัดตามตัวเลขนะครับ) กฎเหล็ก ของการเล่นระดับ International ที่โค้ช ย�ำ้ ก่อนลงเล่นเสมอ “ตราบใดที่ยังตาม อยู่ ๗ จุด และเหลือเวลาอีกไม่น้อยกว่า ๔ นาที ต้องเตะ ” เตะเข้าแต้มตามจะเหลือ ๔ จุด ฝ่าย ตรงข้ามต้องเตะเปิดมาให้อีกครั้ง มีโอกาส ครองบอลน�ำลูกไปวางทรัยได้ ๕ จุดคือชนะ โดยมีแต้มมากกว่าคู่ต่อสู้ ๑ จุด ถ้าโชคดีเตะ เปลี่ยนเข้าก็จะชนะ ๓ จุด ผลคือ ทีมชนะ
เตะไม่เข้า ฝ่ายตรงข้ามก็ต้อง Drop Out ออกมาให้เราเล่น ถ้าครองบอลได้มโี อกาส ท�ำทรัย ตราบใดที่ยังครองบอลอยู่เวลาเกิน ๘๐ นาที จะถูกเป่าหมดเวลาเมื่อลูกตาย ถ้า วางทรัยได้และเตะเข้าแต้มก็จะเสมอคือไม่แพ้ อันนีผ้ มว่าคนท�ำทีมทุกคนรู้ แต่อาจจะ ไม่ก�ำชับผู้เล่นให้ผู้เล่นตระหนักถึงจุดนี้ ๒. การเปลี่ยนตัว ขอปู พื้ น ฐานความเข้ า ใจของรั ก บี้ สมัยใหม่กอ่ น รักบีเ้ ล่นโดยใช้เวลา ๘๐ นาทีมผี ู้ เล่น ๑๕ คนอยูใ่ นสนาม (ไม่นบั กรณี Sin Bin) เปลีย่ นตัวได้ ๗ คน ค�ำนิยามจากโค้ชระดับโลก ส�ำหรับรักบี้ประเภท ๑๕ คน Modern Rugby 15’s is a game of 22 men เวลาในการเล่น ๘๐ นาทีกับการเล่น แบบปะทะรุนแรง (Physical Game) ไม่มใี คร สามารถเล่นได้ ๑๐๐% เหมือนตอนเล่นครึ่ง แรก ในนาทีที่ ๕๕ เป็นต้นไป จ�ำเป็นต้องเปลีย่ น ตัวผู้เล่นที่สดลงไปทดแทน ความส�ำคัญอยู่ที่ ผู้เล่นที่เปลี่ยนลงมา จะเป็นตัวชี้ขาดชัยชนะ ขอยกตัวอย่างที่เห็นชัดในการแข่งขัน รักบี้ ระดับโลกอย่าง New Zealand VS Australia ๗ ครัง้ หลังสุด Australia แพ้ตลอด มีแบบแพ้มาก กับแพ้สูสี ครั้งที่แพ้สูสีนี่ Australia เล่นดี ครึ่งแรก น�ำตลอด ๑๐ กว่าจุด ครึ่งหลัง New Zealand เปลี่ยนตัวเก๋าอย่าง Weepu พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 101
(Scrumhalf) Melamu (Hooker) ลงใช้ ความเร็ ว คล่ อ ง และประสบการณ์ เฉือ น Australia ทุกที มีครัง้ หนึง่ ผมไปดูการแข่งขันที่ Hong Kong ปีที่แล้ว ๒๐๐๘ หนังสือพิมพ์ ฉบับเช้าลง Wallabies Excellent but Kiwis Won ดูแล้วเหมือนเราเล่นกับราชวิทย์ฯ ๒-๓ ปีผ่านมาเลย เขาส่งกองหน้าที่มีประสบการณ์ และหนักกับกองหลังเก๋า ๆ (หนุม่ ) ลงมาทุบเรา ตอนช่วงท้ายเกมส์ทกุ ที ทีน่ า่ ผิดหวังทีส่ ดุ คือ ปี ที่แล้ว ๒๕๕๑ เราน�ำเขาอยู่ ๑๒ จุด แทนที่จะ เปลี่ยนตัวส�ำรองที่มีประสบการณ์ลง กลับส่ง คนทีม่ ปี ระสบการณ์นอ้ ยลงทีเดียวพร้อม ๆ กัน (จะให้เหตุผลว่าเพราะขยันซ้อม ก็เป็นเหตุผล ของคนท� ำ ที ม แต่ ค วามคิ ด เห็ น ของผม ประสบการณ์ต้องมาก่อน) เสียหายทั้งแถวทุ่ม และถูกแย่งลูกจาก Ruck ตีกลับในนาทีสดุ ท้าย ตรงนีท้ �ำให้เห็นว่าเราต้องมาแก้ไขกันโดยการ เตรียมทีมให้มตี วั ส�ำรองทีม่ ปี ระสบการณ์ เวลา แค่ ๒๐ นาที ผมว่าคนที่มีโอกาสได้ลงต้อง วิ่งสุดใจขาดดิ้นอยู่แล้ว ผู้เล่นที่อายุยังไม่เกิน ๓๐ ปี น่าจะถูกชักชวนให้เล่นทีมประเพณี ด้วย จริงอยูอ่ ายุของพวกเขานีอ้ ยูใ่ นวัยทีท่ ำ� งาน มาแล้ว ๔-๕ ปี แต่โดยความจริงแล้วร่างกาย ยังไหวอยู่ ถ้าคนท�ำทีมให้ความส�ำคัญกับเขา แจ้งให้เขารู้ล่วงหน้า ๓ เดือน ให้เขาเตรียมตัว ผมว่าเพื่อ ๒๐ นาทีสำ� คัญ ทุกคนคงไม่ปล่อย ให้พลาด
102
เรื่องการเปลี่ยนตัว แบบฆ่าเวลาก็เป็น อีกประเด็น ที่เรามองข้าม การเปลี่ยนตัวแต่ละ ครัง้ เสียเวลาไม่นอ้ ยกว่า ๑.๕ นาที ถ้าเราทยอย เปลี่ยนทีละตัว แบบเปลี่ยนขณะที่เล่นอยู่ใน แดนของฝ่ายตรงข้าม เราจะฆ่าเวลาได้ไม่น้อย กว่า ๘-๙ นาที ลดโอกาสในการบุกของเขาได้ พอสมควร รวมความแล้ ว การเปลี่ ย นตั ว ต้ อ ง ค�ำนึง เวลาและมาตรฐานการเล่นของทีมหลัง จากเปลี่ยนตัวผู้เล่นลงไป ๓. Sense ในการเล่น ดูเหมือนผู้ที่ได้ลงเล่นในช่วง ๒-๓ ปีนี้ จะเล่นเป็น Pattern มาก คือไม่เล่นไปตาม จังหวะ โดยพลิกแพลงบ้างในบางโอกาส บางครัง้ เวลาน�ำอยู่มากก็ยังเร่งเกมส์ ไม่มีการชะลอ (Delay) ให้เกมส์ชา้ ลง (ผมขอเรียกว่าไม่ดงึ เชง) คื อ ยิ่ ง เร่ ง เกมส์ โดยเล่ น ไม่ รั ด กุ ม ก็ ยิ่ ง เปิ ด ช่องว่างให้เขาตีคืนได้ ของแบบนี้ไม่รู้จะสอน อย่างไร มาจากประสบการณ์ลว้ น ๆ ๆ (ประเภท หมาแก่) ๔. ดูเหมือนซ้อมเยอะ จากที่พี่เล็กบ่นให้ฟัง บอกว่าเราซ้อม มานานแต่สลับหน้ากันมาซ้อม อันนีก้ ็ไม่รู้จะ โทษใคร แต่ต้องท�ำให้คนเล่นส�ำนึกถึงภารกิจ ที่ส�ำคัญต้องเสียสละหรือไม่ถ้าจะใช้อีกวิธีก็ ไม่ตอ้ งนัดทุกวันแต่เวลามาต้องมาให้พร้อมเพรียง เล่นให้เข้าใจกัน
รวมแล้วขอบอกว่าทีมยุค ๔ ปีหลังนี้ แพ้เขาเรื่องประสบการณ์และการวางกลยุทธ์ การเล่น และไม่จริงจัง (หมายถึงโดยรวม นะครับ บางคนตั้งใจแต่ถ้าไม่ท�ำทั้งทีมไม่มี ประโยชน์ครับ) อย่าโทษกรรมการเลยครับ ยังไงเขาก็มีแค่ ๒ ตา (มัวโทษกรรมการก็จะ ไม่นกึ ถึงข้อบกพร่องของเราเอง) ในปีหน้าจะเป็นปีที่โรงเรียนจะฉลอง ครบรอบ ๑๐๐ ปี ใคร ๆ ก็บอกว่าเราต้อง เอาชนะเขาให้ได้ แต่ในความคิดผม ผมคิดว่า เราจะเอาแค่ปเี ดียวหรือ? เราตามเขาอยู่ ๗ ครัง้ นะครับ ถ้าเราชนะเขาตลอดทุกปีติดต่อ ก็ต้อง ปี ๒๕๕๙ นะครับ เราถึงจะมีผลชนะเท่าเขา การจะท�ำให้ทีมมีโอกาสชนะ (ขอย�้ำ นะครับว่ามีโอกาส) ก็ต้องไปแก้ไขสิ่งที่เรา ผิดพลาดจากการแข่งขันทีผ่ า่ นมา กับการเตรียม ทีมให้ผเู้ ล่นมีประสบการณ์และมีความพร้อมที่ จะท�ำการแข่งขันทั้งร่างกายและจิตใจ แต่เราคงจะนึกถึงแต่ผู้เล่นของปีหน้า ไม่ได้ เราต้องมองถึงผู้เล่นที่จะเป็นก�ำลังของ เราในเวลา ๘-๑๐ ปีขา้ งหน้าด้วย บางคนตอนนี้ อาจจะยังอยู่รุ่นกลาง รุ่นเล็ก หรืออาจจะ ยังไม่เข้าโรงเรียน พวกนีต้ ้องเติบโตขึ้นมาแทน รุ่นพี่และเป็นก�ำลังหลักให้กับรุ่นต่อ ๆ ไป (ผม เล่นรักบี้รุ่นเล็กปี ๒๕๒๖ มามีโอกาสได้ลงก็ปี ๒๕๓๓ ใช้เวลา ๘ ปี เป็นอย่างน้อยนะครับ) ถ้าเราไม่เตรียมการระยะยาว ชัยชนะก็ จะเป็นแบบลุม่ ๆ ดอน ๆ (แบบแพ้มากกว่าชนะ
ที่เราประสบอยู่) วิธีการที่ใช้ในการสร้างคนในสมัยของ พวกเราแบบกดดันเข้มข้นคงจะไม่เหมาะกับ เด็กสมัยนี้แล้ว เวลาเปลีย่ นปัจจัยหลายอย่างทัง้ ตัวเด็ก ผู้ปกครอง สภาพสังคม ฯลฯ เปลี่ยนไป เราคง ใช้วิธีเก่าไม่ได้หรือใช้แล้วไม่เกิดผลดี ในเรื่องนี้ผมเคยอ่านพบ เมื่อประมาณ เกือบ ๑๐ ปีแล้วในหนังสือชื่อประมาณว่า Sports & Capitalism (กี ฬ ากั บ ระบบ ทุนนิยม) ชื่อหนังสือนี่อาจจะคลาดเคลื่อนเล็ก น้อยแต่มาดูกันที่ใจความ (เนื้อหา) ดีกว่า กล่าวถึงวิธกี ารท�ำทีมกีฬาตัง้ แต่โบราณ มาจนปัจจุบนั มีวธิ ที ำ� ให้เกิดแรงจูงใจในการเล่น กีฬาจาก ๒ วิธี คล้ า ยกั บ การจู ง ใจในการท� ำ งานคื อ มีการให้รางวัลและการลงโทษ (Reward & Punish) คนจะมีแรงจูงใจในการเล่นกีฬา เพราะ อยากได้รางวัล เกียรติยศ และชื่อเสียง (อันนี้ Capitalism) คนจะมีแรงจูงใจในการเล่นกีฬา เพราะ ไม่อยากถูกลงโทษหรือได้สิทธิ์พิเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ (Socialism) กว่า ๓๐ ปีที่แล้วนักกีฬาจากอเมริกา สู้นกั กีฬาจากโซเวียตหรือประเทศอื่นจากค่าย สังคมนิยมพวกโรมาเนีย ยูโกสลาเวียไม่ได้เลย เพราะนักกีฬาจากค่ายสังคมนิยมเจอความ กดดันที่จะต้องเล่น ต้องชนะมากกว่า (แบบว่า พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 103
ชนะแล้ว อาจจะได้สิทธิ์งดจ่ายค่ายที่พัก ค่าน�้ำ ค่าไฟ ตลอดชีพ ที่พักนี่เป็นของส่วนรวมนะ ครับ สังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์นที่ ุกอย่าง เป็นของรัฐหมด) นักกีฬาจากโลกเสรีส่วนใหญ่ เป็ น แบบสมัค รเล่ น (Amateur) เล่นเพื่อ เกียรติยศชื่อเสียง เงินทองไม่ค่อยนึกถึง มาย้อนดูตัวเองพวกเรานี่ เริ่มจากการ ไม่อยากถูกลงโทษก่อนนะครับ เรื่องชื่อเสียง รางวั ล นี่ ไม่ ค ่ อ ยนึก ถึ ง กั น หรอก ขอแค่ เ อา ตัวรอดไม่ต้องถูกท�ำโทษก่อน การฝึกซ้อมนี่ Punish ล้วน ๆ เช่น รับลูกตกวิดพื้น ระบบ การซ้อมสร้างความกดดันตลอดเวลา เหม่อลอย ไม่ตั้งใจฟังรุ่นพี่สอนก็จะถูกลงโทษ การซ้อมกีฬาเหยาะแหยะ ไม่ตั้งใจ ถือเป็นโทษหนัก ซึ่งไม่ได้บอกว่าระบบนี้ดีหรือไม่ดีนะ ครับเพราะเมือ่ ก่อนโรงเรียนประจ�ำใน England Scotland Wales เวลาซ้ อ มก็ มี ท� ำ โทษ เหมือนกัน คือระบบที่กว่า ๓๐ ปีที่แล้วใช้กัน (แต่ปัจจุบันเลิกกันหมดแล้ว โดยมีเหตุผลว่า จะไปปิดกัน้ จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของ เด็กท�ำให้ไม่กล้าคิด ไปกัดกร่อนบุคลิกภาพ) ปัจจุบันผมไม่รู้ว่าโรงเรียนใช้วิธีใด (ส่วนตัว แนะน�ำให้ยกเลิกวิธีนี้นะครับ) แต่คิดว่าของ ภ.ป.ร. เขายังคงใช้กันอยู่บ้าง กีฬายุคใหม่ ใช้แรงกระตุ้นเชิงบวก ใน การขับเคลื่อนเหมือนการท�ำธุรกิจ (ทุนนิยม แน่ น อนเพราะสั ง คมนิ ย มล่ ม สลายไปในปี ๒๕๓๒ ก� ำ แพงเบอร์ ลิ นถู ก ท� ำ ลายสหภาพ
104
โซเวียตแตกออกมาเป็นหลายประเทศ) กีฬายุคใหม่ ผู้เล่น (เด็ก) เป็นจุด ศูนย์กลาง Child Center โค้ชต้องสังเกต ศึกษาผู้เล่นแต่ละคน (เหมือนเด็กเป็นลูกค้า โค้ชเป็นเซลล์แมนไปขายของกับเด็ก) กลับกับ สมัยผม เด็กต้องดูอย่างตั้งใจว่ารุ่นพี่สอน อะไร? ต้องมีสมาธิ จ�ำและท�ำตามให้ได้โดยไม่ ผิดพลาด จุดนีเ้ คยไปสังเกตการสอนของ Jock ทีส่ อนรุน่ ตวง (ประมาณ ปี ๒๕๔๐) Jock จะมี Prof ile ของเด็กทุกคน ท�ำการวิเคราะห์จดุ แข็ง จุดอ่อนของแต่ละคน อธิบายเด็กทุกคนทีส่ งสัย แก้ไขการเล่นทุกคนเมื่อเล่นไม่ถูก Keyword ของการสอนคือ Explain Explain & Explain อธิบายจนเด็กเข้าใจ ซึ่งถูกต้องไม่ว่าเกมส์รักบี้ หรือเกมส์ชีวิต ผู้เล่นต้องเล่นด้วยความเข้าใจ เด็กยุคใหม่ฉลาดกว่าพวกเรา Internet ข้อมูลต่าง ๆ หาได้ง่ายมาก เราจะโค้ชเขาให้ ประสบความส�ำเร็จ ต้องปรับตัวเข้าหาเขา ต้อง เรียนรู้เขา ต้องรู้ว่าเขาคิดอะไร? คนสอนต้ อ งมี จิ ต วิ ท ยา ต้ อ งหา ค�ำอธิบายให้เด็กได้ ถ้าได้ค�ำตอบที่ไม่น่าพอใจ เด็กก็จะไม่มีแรงจูงใจในการเล่น อย่าไปปิดกั้นความคิดของเด็ก โดย ให้ เหตุ ผ ลว่ า สมั ย ผม (กู ) ยั ง ท�ำ ยั ง งี้ เ ลย สอนให้เด็กคิดเป็นแก้เกมส์เองได้ ดีกว่าตะโกน สั่งทุก ๆ ช๊อต เด็กทุกยุคทุกสมัยมีความคิด มีจินตนาการ What Who When Where How เป็นหัวใจของโค้ชสมัยใหม่ ที่ต้องตั้งค�ำถาม
ให้เด็กตอบ ยกตัวอย่างสมัยเรารู้อย่างเดียวว่า ต้องวิ่ง Corner Flag คนสอนก็ไม่ค่อยบอก เหตุผลว่าท�ำไมต้องท�ำอย่างนัน้ ไม่ได้อธิบาย ว่าการวิ่งตรงไปที่มุมธง ฝ่ายตรงข้ามจะต้อง วิง่ เป็นระยะทางมากกว่าเราถึงจะแท็คเกิล้ เราได้ แต่มสี งิ่ ส�ำคัญอีกสิง่ หนึง่ ทีเ่ ดิม เราเคยมี และยังคงรักษาไว้ (หรือเปล่า? ไม่รู้) คือการให้ ความส�ำคัญกับหัวหน้าชุด (Captain) Captain วิ่งออกจากสนามคนแรก แต่กลับออกมาคนสุดท้าย (อันนีก้ ีฬาประเภท อื่นไม่มี) เรือ ออกทะเลไปแล้ว การตัดสินใจ ทุกอย่างเป็นของ Captain เหมือนเราปล่อย เด็กลงสูส่ นามแล้ว ปล่อยเป็นหน้าทีข่ องเขา จะ แพ้ชนะก็สุดแต่เขา (ภาวะผู้น�ำ Leadership สร้างกันตอนนี้ละครับ) ปล่อยให้เขาคิดเอง แก้เกมส์เอง เรามีหน้าที่เตรียมเขาให้พร้อม ก่อนแข่ง แก้ไขตอนพักครึ่งและอธิบายข้อ ผิดพลาดที่ควรแก้ไขหลังแข่งเสร็จ อย่ า ไปตะโกนสั่ง ข้างสนามเลยครับ ตะโกนสั่งทุกช็อต บอกให้ท�ำแบบนั้นแบบนี้ ทุบตีเด็กเมื่อเล่นไม่ได้ตามที่ตนต้องการ อย่า ท�ำนะครับ อย่าท�ำ ผมเห็นแล้วสมเพช ทนความพ่ายแพ้ได้ครับ แต่รับกิริยา แบบที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ ไม่ใช่ไม่อยากชนะ แต่การชนะแบบที่ เราไม่ได้สร้างคน หรือชนะได้เพราะต้องคอย บอกบท ผมว่ามันไม่มีค่า มัน Spoil เด็กมัน ลดคุณค่าของเกมส์รักบี้
เราต้ อ งสร้ า งเด็ ก ของเราให้ คิ ด เป็ น คิดได้ และสืบทอดกันต่อไป ลูกศิษย์ครูอรุณทุกคนคงเข้าใจทีผ่ มพูด ๒๔๙๑ หกสิ บ เอ็ ด ปี ที่ แ ล้ ว ท่ า น ผู้บังคับการพระยาภะรตราชา ได้รับเด็กหนุ่ม อายุ ๒๓ ปี จากการแนะน�ำของอาจารย์โฉลก โกมารกุล ณ นคร (นักเรียนเก่าอังกฤษ) มา สอนกีฬารักบี้ฟุตบอลในโรงเรียนวชิราวุธฯ เด็กหนุ่มอายุ ๒๓ ปี ที่มีพรสวรรค์ ทางด้ า นกี ฬ าดี ที่ สุ ด ในประเทศในสมั ย นั้น (ติดทีมชาติ ๓ ประเภทกีฬา รักบี้ กรีฑา ฟุตบอล วิ่ง ๑๐๐ เมตร ได้ภายในเวลา ๑๐.๘ วินาทีด้วยรองเท้าตะปูแบบโบราณ บนลู่ดิน ธรรมดา และไม่ มี วิ ท ยาศาสตร์ ก ารกี ฬ า ก้ า วหน้ า เหมื อ นทุ ก วั นนี้ ) มาปู พื้ นฐานทาง ด้านกีฬา ปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรม ฯลฯ ให้กับพวกเรา อั น มี ส ่ ว นท� ำ ให้ พ วกเราได้ ยื น อยู ่ ใน สั ง คมด้ ว ยความภาคภู มิ ใ จ ในความเป็ น ลูกวชิราวุธฯ ท่านทั้งสองจากเราไปนานแล้ว เหลื อ แต่ เหล่ า ศิ ษ ย์ ข องท่ า น จะท� ำ อย่างไรกับสิ่งที่ท่านเพียรสร้าง เราจะ Set Up กันขึ้นมาใหม่ หรือจะ Upset กันต่อไป
พวกเราทุกคนคือผู้ตัดสินใจ
นครา นาครทรรพ (๔๘๘๕) นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย รุ่นที่ ๖๑ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 105
ตึกขาว คาบเรียนรู้วิชาการ
รางวัลพระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จพระราชด�ำเนินในการพระราชทาน ประกาศนียบัตรและรางวัล กับทอดพระเนตรผลงานและการกรีฑาของนักเรียน ณ วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐
งานโรงเรียนในวันสิ้นปีการศึกษานั้น เป็นวันที่สนุกมาก และในงานดังกล่าวจะมี ผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลต่าง ๆ ทั้งเรื่อง การเรียน การช่วยเหลือโรงเรียน การประกาศ ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาในชั้นมัธยมปลายใน สมัยนัน้ คือ ม.ศ. ๔ และ ๕ นอกจากนี้ ก็ยังมี การวิ่งหน้าพระที่นงั่ ผู้ที่เข้าที่ ๑ ถึง ๓ จะได้ รับเหรียญต่อหน้าพระที่นงั่ ด้วย รางวัลต่าง ๆ
106
จึ ง เป็ น เกี ย รติ แ ละสิ่ ง ที่ ภ าคภู มิ ใ จในตั ว ลูกวชิราวุธฯ ทุกคนและก็พยายามที่จะให้ได้ รางวัลเหล่านี้ ดังนัน้ จะขอแยกรางวัลและของ ที่ได้รับพระราชทานต่าง ๆ ดังนี้ รางวั ล เรี ย นดี เป็ น รางวั ล ที่ ใ ห้ กั บ นักเรียนที่สอบได้ที่ ๑ และ ๒ ในแต่ละชั้นปี คนทีส่ อบได้ทหี่ นึง่ จะได้หนังสือประมาณ ๒ ถึง ๔ เล่ม คนที่ได้ที่สองก็จะได้หนังสือ ๑ ถึง ๒
เล่ม หนังสือที่แจกจะเป็นหนังสือที่คัดแล้วว่า ดีมากและเป็นสารประโยชน์แก่ผู้อ่านมาก ที่ จ�ำได้เป็นเรื่อง เที่ยวยุโรป ตามเสด็จประพาส ของ ม.จ.วิภาวดี รังสิต และวิธีการสร้างคน และอนาคตแต่งโดยหลวงวิจิตรวาทการ หนังสือของหลวงวิจิตรวาทการเป็น หนังสือที่ดีมาก ๆ อ่านแล้วเปลี่ยนความคิด ว่าจะท�ำอย่างไรถึงท�ำงานได้เก่ง ได้มากและ มีคุณภาพ ได้เห็นความพยายามของท่านที่ ไต่เต้าจากข้าราชการชั้นผู้น้อยค่อย ๆ เลื่อน ต�ำแหน่งไปเรื่อย ๆ จนสามารถทันคนอื่นได้ พร้อมไปกับการพัฒนาเรือ่ งภาษา และทีส่ �ำคัญ คือการอยู่ในต�ำแหน่งที่ไม่สูงนัก สามารถท�ำ อะไรได้มากกว่าผู้ทอี่ ยู่ในต�ำแหน่งสูงด้วยซ�้ำไป นอกจากนี้ ยังยกตัวอย่างทูตเก่ง ๆ สมัยนัน้ นอกจากบางท่านจะหูค่อนข้างตึงแล้วบางท่าน ยังติดอ่างอีกด้วย แต่กลับเป็นทูตที่มีความ สามารถทั้งสิ้น รางวั ล เรี ย นดี นั้น ส่ ว นใหญ่ ใ นรุ ่ น ไม่ค่อยจะมีคนที่ได้ที่ ๑ ตลอดไป ยกเว้นรุ่น พี่ดาวฤกษ์ที่ได้ที่ ๑ เป็นเวลา ๑๐ ปีติดต่อกัน และที่ ๒ เป็นของพีจ่ ารุจนิ ต์ ทีเ่ พิง่ เสียไปได้ที่ ๒ เป็นเวลา ๗ หรือ ๘ ปี นอกนัน้ ก็ผลัดกันขึ้นมา รางวัลที่ ๒ คือ รางวัลที่ให้กับนักเรียน ที่สอบไล่ได้ชั้น ม.ศ. ๓ สมัยนัน้ ว่าหากผู้ใด สอบได้เกิน ๙๐% แล้วจะได้รับรางวัลเป็น ทุนการศึกษาปีละ ๗,๕๐๐ บาท โดยเสียเฉพาะ ค่าบ�ำรุงอย่างเดียว ในวันงานโรงเรียนสิ้นปี การศึ ก ษาจะประกาศชื่ อ นัก เรี ย นดั ง กล่ า ว
ส�ำหรับทุนการศึกษาที่ว่านี้ ผู้ที่ให้คือผู้ก�ำกับ คณะต่าง ๆ ผลัดเวียนกัน มีรุ่นที่ได้ทุนมาก คือ รุ่น ๔๓ และรุ่น ๔๗ ได้ทุนการศึกษา ๔ คนพร้อมกันเพราะเป็นรุ่นที่เรียนกันเก่งทั้งรุ่น รุ่น ๔๔ รุ่น ๔๕ และ ๔๖ ได้รุ่นละ ๒ คน รางวั ล ที่ ๓ คื อ รางวั ล ช่ ว ยเหลื อ โรงเรียน จะมอบให้กับนักเรียนที่เป็นหัวหน้า คณะ หัวหน้าวงดนตรี และอยูใ่ นสมาคมต่าง ๆ ของโรงเรียน รางวัลนี้ในปี ๒๕๑๖ มีผู้ได้รับ ถึง ๓ คน คือ ธนากร ทับทิมทอง จรวย ผลประเสริฐและผม โดยธนากรเป็นหัวหน้า วงปี่สก๊อตและอยู่ในสมาคมกีฬา จรวย เป็น หั ว หน้ า วงเครื่ อ งสาย และอยู ่ ใ นสมาคม หนังสือพิมพ์ ส่วนผมเป็นหัวหน้าวงจุลดุรยิ างค์ และอยู่ในสมาคมบันเทิง โดยรางวัลจะเป็น หนังสือที่ดีเช่นกันและรับต่อจากรางวัลเรียนดี รางวัลที่ ๔ คือ รางวัลคะแนนยอดเยีย่ ม จะให้ กั บ นั ก เรี ย นที่ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาในชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ ๕ ซึ่งสอบได้เกิน ๘๐% ใน บางรุ่นก็จะมีเพียง ๑ คน บางรุ่นก็ ๓ คน แล้วแต่ความยากง่ายในการสอบไล่การศึกษา ภาคปลาย โดยรางวัลจะเป็นหนังสือที่ดีเช่นกัน และรับต่อรางวัลช่วยเหลือโรงเรียน โดยรุน่ ๔๖ มี ๓ คนคือ จัดพลได้ที่ ๑ ธรรมพงษ์ได้ที่ ๒ และผมได้ที่ ๓ ในการที่ ใครจะรั บ รางวั ล นั้นจะต้ อ ง เอางาน โดยคุณครูอุดม รักตประจิตจะเป็น คนที่คอยควบคุม ถ้าเป็นหน้าเก่าท่านก็จะไล่ ไปไม่ต้องซ้อมเอางาน แต่ถ้าหน้าใหม่ก็จะต้อง พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 107
ถูกซ้อมมากหน่อย โดยการรับรางวัลนัน้ ต้อง เอางานให้สวย โดยกระดกข้อมือขึน้ ตรง ๆ แล้ว หงายมือขึ้นอย่างรวดเร็ว เรียกว่าหน้าใหม่โดน ซ้อมกันจนคล่อง หลั ง จากพระราชทานรางวั ล บน หอประชุ ม เสร็ จ แล้ ว ก็ จ ะเป็ นงานแสดงของ โรงเรียน จ�ำได้วา่ ปีทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ เสด็ จ ฯ ในปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๑๓ บรรจวบ พงษ์พานิชและผมถวายรายงานเรื่องเครื่อง กันขโมย โดยบรรจวบเป็นคนต่อวงจรส่วน ผมเป็นคนถวายรายงาน พอถวายรายงานเสร็จ ในหลวงท่านทรงรับสั่งว่า เครื่องนี้ในวังท่านก็ มีเหมือนกัน โดยเดินไปใกล้ ๆ แล้วเครื่องจะ ร้องเสียงดังแสดงว่าท่านทรงสนใจเรื่องเหล่านี้ มาก ท่านผู้การชอบเครื่องนี้มากเพราะเสียง ดังดี ในการถวายรายงานทุกครัง้ ก่อนทีใ่ นหลวง จะเสด็จฯ ท่านผูก้ ารให้ทดสอบถวายรายงานซึง่ จะต้องเริ่มต้นดังนี้ “ขอเดชะฝ่าละอองธุลพี ระบาทปกเกล้า ปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า... ขอถวาย รายงานเรื่อง...” เรียนกว่าซ้อมกันจนคล่อง ท�ำให้สามารถถวายรายงานได้ดี อย่างไรก็ตาม เรื่องถวายรายงานนี้ ท�ำทีไรมีอาการไซ้ทุกที พูดได้ไม่เหมือนซ้อม แม้ แต่ ต อนที่ส มเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ทำ� การ พุทธมณฑลเพื่อเปิดงานสายออกบัตรธนาคาร เมื่อปี ๒๕๕๐ การถวายรายงานก็เกิดอาการ ไซ้เช่นเดียวกันกับเมื่อ ๔๐ ปีก่อน
108
หลังจากนัน้ ก็จะเป็นถวายรายงานเรื่อง การทดลองด้านเคมี โดยปี ๒๕๑๖ ผมและ บรรจวบเจ้าเก่าก็ร่วมกันเป็นคนถวายรายงาน เรื่องการทดลองทางเคมี แต่เสียดายที่จำ� เรื่อง ไม่ได้ จบจากนั้ น ก็ เ ป็ น การแข่ ง ขั น กรี ฑ า หน้าพระที่นงั่ ซึ่งทุกคนอยากวิ่งหน้าพระที่นงั่ มาก โดยการแข่งขันกรีฑานัน้ จะเลือกรายการ เด็ดไว้ตอนท้าย จ�ำได้ว่าปี ๒๕๑๒ คณะผบก. ซึ่งคะแนนกรีฑาจะตัดสินถ้วยด้วยวิ่ง ๘๐๐ เมตร พี่แจ๊ค จักรกฤษณ์กุมาราวิ่งเข้าที่ ๑ ท�ำให้ได้คะแนนรวม ๕๒ คะแนนชนะได้ถว้ ยไป อย่างฉิวเฉียดน�ำที่ ๒ เพียง ๑ แต้ม เมื่อจบงาน นักเรียนชั้นปีสุดท้ายก็จะ เข็นรถพระที่นงั่ ฯ ส่งเสด็จฯ ออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นประเพณี ในการเข็นรถนี้จะต้องอยู่ ท้ า ยรถทุ ก คน ห้ า มไปอยู ่ บ ริ เวณหน้ า ต่ า ง ที่ประทับเด็ดขาด ในชีวิตที่เป็นคนล่า Prize ต่าง ๆ ที่ ได้มาทุกรางวัลที่กล่าวแล้วนีน้ นั้ จึงอยากให้ ลูกวชิราวุธฯ เราเป็นนักล่า Prize ในการท�ำงาน ต่าง ๆ เพราะนอกจากเป็นเกียรติซงึ่ เงินซือ้ ไม่ได้ แล้ว การทีจ่ ะได้ Prize นัน่ หมายถึงได้ขนึ้ ชือ่ ว่า เป็นผูท้ ที่ มุ่ เทให้กบั งานนัน้ ซึง่ จะท�ำให้องค์กรที่ เราอยูต่ ลอดจนประเทศชาติของเราเจริญสมกับ ปณิธ านที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ต้ อ งการให้ เ ราเป็ น ก� ำ ลั ง ของ ประเทศชาติสบื ไป นพดล สุรทิณฑ์ (รุน่ ๔๖)
คอลัมน์พิเศษ เรื่องเล่าจากนักเรียนมหาดเล็กหลวง
พระมหากรุณาธิคุณที่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ นายบัว ศจิเสวี เขียนโดย นายบัว ศจิเสวี เข้าโรงเรียนบ้านสมเด็จฯ
โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ ไกลจากบ้าน กุฎจี นี ประมาณ ๑ กม. เศษ ผมเดินเท้าเปล่าจาก กุฎีจีนผ่านตลาดนกกระจอก ข้ามสะพานลอย เลี้ยวขวาผ่านบ้านนายหรั่ง เรืองนาม เลี้ยวซ้าย ผ่านบ้านเจ้าพระยาพลเทพฯ เลี้ยวขวาทะลุ ตลาดแขก เลียบริมคลองตรงไปจนถึงโรงเรียน บ้านสมเด็จฯ ทางกว้างบ้างแคบบ้าง แต่ตอนที่ จะเข้าโรงเรียนนัน้ เป็นถนนใหญ่พอรถยนต์แล่น ได้ เพื่อนบางคนขี่จักรยานไปโรงเรียนโก้มาก
สภาพของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ ขณะนัน้ ก�ำลัง เริ่มก่อสร้างตึกใหม่ เช่น ตึกมัธยม ๗ และ มัธยม ๘ ทางด้านหน้า แต่ส่วนทางด้านที่ เป็นหอพักของนักเรียนประจ�ำนั้นสร้างเสร็จ
เรียบร้อยแล้ว นักเรียนทีไ่ ปเข้าเรียนชัน้ มัธยม ๔ ต้องเรียนที่ “โรงเรียน” ๑ เป็นโรงยกพื้นสูง ประมาณแค่หัวเข่า เสาใช้ไม้หมาก มุงหลังคา ด้วยตับจาก โรงหนึง่ แบ่งเป็น ๒ ชัน้ เรียน กัน้ ฝา ด้วยไม้ยาง แต่อกี ๓ ด้านไม่มฝี า อาศัยมุงจาก ออกไปกว้างมากฝนจึงสาดไม่ถงึ ไม้ทปี่ พู นื้ อ่อน พอใครลุกขึ้นเดินจะรู้สึกยวบ ๆ แม้ห้องเราจะ ไม่เดิน แต่ห้องข้าง ๆ เดินก็ยวบถึงกันจนได้ ปี แรกของโรงเรียนบ้านสมเด็จฯ ผมอยูช่ นั้ มัธยม ๔ ค. ครูประจ�ำชั้น ชื่อ “คุณครูเทียบ ลอยเพชร” ท่าน เป็นครูที่ “ดุ - ดี - ตีเจ็บ” เพียงแค่ได้ยินชื่อ “ครูเทียบ” พวกเราก็ “เงียบ” ใกล้ ๆ กับโรงจาก มีห้องเรียนเป็น เรือนไม้ยาวมาก มีระเบียงหน้าห้องตลอด เป็ น ที่ เ รี ย นชั้ น มั ธ ยม ๕ ถึ ง มั ธ ยม ๘
๑
ในสมัยนัน้ เรียกอาคารเรียนว่า “โรงเรียน”
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 109
ห้องประชุมใหญ่ชั้นล่างเป็นพื้นซีเมนต์เป็น ห้องพักครู ชั้นบนเป็นที่ประชุม มีเวทีอยู่สุด ห้องประชุม ตั้งโต๊ะหมู่บูชาและพระพุทธรูป เหนือเวทีมีภาพเขียนฝีมือ “ครูพุ่ม เนตรรังษี” ครูวาดเขียนของโรงเรียน ตรงกลางเป็นตรา ของโรงเรียนเป็นรูปพระอาทิตย์อยู่กลางเสมา มีรัศมีเป็นแฉกออกไปโดยรอบ พระอาทิตย์ นี้มาจากค�ำว่า “สุริย” อันเป็นส่วนหนึ่งของ นาม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งท่านได้ให้ที่บ้านของท่าน เป็นที่ตั้งโรงเรียนจึงได้ชื่อว่า “โรงเรียนบ้าน สมเด็จเจ้าพระยา” โรงเรียนได้สร้างศาลของ สมเด็จเจ้าพระยาองค์นี้ไว้ใกล้ ๆ กับหอพัก นัก เรี ย นประจ� ำ เป็ นที่ เคารพสั ก การะของ นักเรียนบ้านสมเด็จฯ ทุกคน ค�ำว่า “สุริย” นี้
110
เป็นค�ำที่นักเรียนถือเสมือนหนึ่งค�ำศักดิ์สิทธิ์ แม้กระทัง่ ไปเชียร์กฬี าของโรงเรียนบ้านสมเด็จฯ ก็ใช้ค�ำว่า “สุริยะ สุริยะ” ลั่นสนาม
รูปถ่ายรูปเดียวที่มีเมื่อเป็นนักเรียน
เมื่ อ เรี ย นไปได้ สั ก ๒ เดื อ นเศษ โรงเรียนได้หาช่างมาถ่ายรูปนักเรียนทุกชั้น โดยใช้เรือนไม้หลังยาวเป็นฉาก นักเรียนยืนที่ บันไดเขียนชื่อชั้นไว้ที่เสาเมื่อเปลี่ยนชั้นก็ลบ ชอล์กทีเ่ สาแล้วเขียนใหม่ แถวล่างขวาสุดคือผม
รูปถ่ายนักเรียนชั้น ม. ๔ ค. โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ
พ.ศ. ๒๔๗๔ ผมอายุ ๑๔ ปี เรียน ชั้นมัธยมปีที่ ๔ ค. อย่านึกว่าผมเป็นเด็กหนุ่ม
หรือวัยรุ่นหุ่นส�ำอาง จากรูปใบเดียวที่ผมมี ตลอดชีวิตการเป็นนักเรียนนี้จะเห็นว่าผมยัง เป็นเด็กกะโปโล ความยากจนจากโรงเรียน วัดประยุรวงศ์ยังติดตามผมมาจนถึงโรงเรียน บ้านสมเด็จฯ เพราะผมยังคงสวมเสื้อชั้นนอก ตั ว เก่ า ตั ว เดี ย วกั น กั บ ที่ เ คยใช้ ที่ โ รงเรี ย น วัดประยุรวงศ์ แขนสัน้ เต่อ ปลายแขนรุย่ มีรอย ขาดพับนิดหนึง่ และผมก็ยังคงเป็น Barefoot Scholar อยูต่ ามเดิม (เมือ่ ประมาณ ๒๐ ปีมานี้ มีภาพยนตร์เรือ่ ง Barefoot Conrtessa แสดง โดย อาวา การ์ดเนอร์ ไม่ได้สวมรองเท้า) แต่ อย่างไรก็ตามผมยังมีเหรียญทองแดงรางวัล หมั่นเรียน ๓ ปี ห้อยอยู่ที่หน้าอกด้วยความ ภูมิใจอย่างยิ่ง เมื่อดูตามรูปถ้าจะวัดความยากจนกัน ด้วยรองเท้า นอกจากผมก็ยังมีเพื่อนนักเรียน อีกหลายคนไม่ได้สวมรองเท้า แม้แต่ถกล (ป็อก) พินทุสมิต (แถวหน้าซ้ายสุด) บุตรของท่าน ขุนบูรณเวทย์ฯ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียน บ้านสมเด็จฯ ก็ไม่ได้สวมรองเท้าเหมือนผม ทั้งนี้เพราะโรงเรียนบ้านสมเด็จฯ สมัยนัน้ เป็น โรงเรียนบ้านนอกอยู่หน่อย ๆ เพราะว่าอยู่ ฝั่งธนบุรี ขณะนั้นสะพานพระพุทธยอดฟ้า ยังสร้างไม่เสร็จ ความเจริญของกรุงเทพมหานคร ยังเดินข้ามมาไม่ได้ โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ จึงอนุญาตให้นักเรียนไม่ต้องสวมรองเท้าไป โรงเรียน ผมก็เลยเป็น Barefoot Scholar จนกระทั่ ง จบมั ธ ยม ๘ (ทราบว่ า โรงเรี ย น สวนกุหลาบบังคับให้นกั เรียนสวมถุงเท้าและ
รองเท้าไปโรงเรียน) พูดถึงเรื่องรองเท้าแล้ว ก็ มี เรื่ อ งที่ จ ะเล่ า ในระหว่ า งที่ ผ มเรี ย นอยู ่ ชั้นมัธยม ๔ ถึงชั้นมัธยม ๘ นัน้ ปีไหนผม จ�ำไม่ได้ผมไม่สบายเป็นไข้ พี่บอกกับผมว่า ถ้าเดินเท้าเปล่าไปโรงเรียนเท้าจะเย็นเดี๋ยวจะ ไม่สบายมากขึ้นแล้วไปโรงเรียนไม่ได้ ตอนนัน้ ผมเป็นนักเรียนหมั่นเรียนอยู่ ถ้าหยุดแม้แต่ วันเดียวก็จะต้องเสียเงินค่าเล่าเรียนทันที จึง หยุดไม่ได้เป็นอันขาด ผมเชื่อฟังค�ำที่พี่บอก จึงสวมรองเท้าผ้าใบไปโรงเรียนโดยไม่ได้สวม ถุงเท้า พอไปถึงโรงเรียนตรงที่เป็นรั้วมะขาม เทศผมก็ถอดรองเท้าโยนเข้าไปในโรงเรียนแล้ว เดินเท้าเปล่าเข้าไป เก็บรองเท้าผ้าใบห่อไว้ ตอน เย็นเอากลับมาบ้านด้วย พอใกล้จะถึงบ้านก็ สวมไปให้พี่เห็นว่าผมได้ปฏิบัติตามค�ำสั่งแล้ว
เป็นลูกเสือ
ในรูปถ่ายนี้ ครูประจ�ำชั้นมัธยม ๔ ค. ควรจะเป็นคุณครูเทียบ ลอยเพชร แต่วันที่ ถ่ายรูป ท่านจะไปธุระทีไ่ หนไม่ทราบ จึงให้คณ ุ ครู เกริก อิงควณิช มาร่วมถ่ายรูปแทน จากรูปนี้ ยังมีนักเรียนที่ไม่ได้เป็นลูกเสืออีกหลายคน ต่ อ มาไม่ น านนัก เรี ย นทุ ก คนก็ เป็ น ลู ก เสื อ ทั้งหมดเพราะวิชาลูกเสือเป็นคะแนนช่วยอย่าง หนึ่งในการสอบไล่ ผมเป็นลูกเสือและสอบ วิชาลูกเสือโทและลูกเสือเอกได้ ในการสอบ วิชาลูกเสือเอกวิชาหุงข้าวและประกอบอาหาร ผมท�ำหมูบะช่อรู้สึกว่าอร่อยมาก แต่คุณครู ที่ชิม “หมูบะช่อ” ของผมติว่าผมใส่ตังไฉ่มาก พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 111
ไปหน่อย แต่จนบัดนี้ผมก็ยังชอบตังไฉ่อยู่ โอกาสใดที่ จ ะใส่ ตั ง ไฉ่ ได้ ผ มเป็ นต้ อ งให้ ใส่ ตังไฉ่มากไว้ก่อนเสมอ โดยเฉพาะในหมูบะช่อ ใส่ตังไฉ่มาก ๆ อร่อยเหลือเกิน ผมยังชอบอยู่ จนบัดนี้
รองเท้ากัด
เมื่อผมเป็นลูกเสือ ก็ต้องเดือดร้อนถึง พี่สาวต้องซื้อเครื่องแบบลูกเสือ เสื้อ กางเกง หมวก ผ้าพันคอ ฯลฯ คงจะหลายบาท ลูกเสือ โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ ไม่ต้องสวมรองเท้าก็ได้ แต่พอถึงคราวที่โรงเรียนจะต้องพานักเรียนไป ถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า อนุสาวรีย์ของ พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม จ�ำไม่ได้ว่าปีไหน ก็เดือดร้อนถึงพี่สาว ต้องซื้อรองเท้า ถุงเท้า ความที่ผมไม่ได้สวม รองเท้ามานาน พอเข้าแถวเดินไปไม่ถงึ พระบรม รูปทรงม้า รองเท้ากัด ยิ่งไกลยิ่งเจ็บน�้ำตาแทบ ร่วงต้องทนเดินกะโผลกกะเผลกไปจนถึง พอ ถวายบังคมเสร็จครูให้เลิกแถวผมถอดรองเท้า หิ้วกลับบ้านโดยยอมเดินเท้าเปล่า ขายหน้าจัง
วันละสิบสตางค์
โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ อยู่ไกลบ้านตาม ที่ได้กล่าวแล้ว ผมจึงไม่ต้องเดินกลับไปรับ ประทานอาหารกลางวันทีบ่ า้ น พีผ่ มให้คา่ อาหาร วันละ ๑๐ สตางค์ ถึงแม้ขณะนัน้ มีก๋วยเตี๋ยว ๒
ขายชามละ ๓ สตางค์ แต่ชามเดียวไม่อิ่มต้อง ๒ ชาม ผมจึงรับประทานข้าวราดแกง ซึ่งบ้าน เจ้าคุณราชเวทย์ฯ อยู่ตรงข้ามโรงเรียนท�ำมา ขายสะอาดกว่าและอิ่มดี คนขายตักข้าวพูน ชามไว้ก่อนที่จะหยุดพักกลางวัน พอโรงเรียน ปล่อยนักเรียนรุมเต็ม ใครรับแกงอะไรก็ตัก ราดให้แล้วเก็บสตางค์ทันที ชามละ ๕ สตางค์ แต่ถ้าอาหารพิเศษหน่อยคือ ไข่ยัดไส้ หรือหมู หรือเนื้อปั้น ๓ ก้อนมีน�้ำข้น ๆ คล้ายสะตูราด หน้า ชามละ ๖ สตางค์ ผมรับข้าวกับไข่ยัดไส้ เป็นประจ�ำแทบทุกวัน และคงจะเป็นเพราะ เหตุนี้เอง เดี๋ยวนี้ผมโกรธกับไข่ยัดไส้ชนิดที่ เรียกว่าถ้าไม่อดตายเป็นไม่ยอมรับประทาน นอกจากนัน้ ก็เป็นค่าขนม ค่าน�้ำ วันละ ๑๐ สตางค์ ยังพอมีเหลือเก็บวันละ ๑ หรือ ๒ สตางค์ หยอดกระปุกไว้ พอได้ ๑ บาท ก็เอา ไปฝากครูเพื่อเป็นคะแนนวิชาออมสินในการ สอบไล่ลูกเสือเอก ดูเหมือนในตอนสอบไล่ สตางค์ที่ผมฝากไว้ยังไม่ครบ ๕ บาท๒ ตาม ที่กำ� หนดผมต้องขอเงินจากพี่สาวอีก ๒ บาท
ฝึกหัดเป็น “หมอตี๋”
ตามทีผ่ มเคยเล่าแล้วว่าพีเ่ ขยหรือ “ลุง” เป็นแพทย์แผนโบราณ ดังนัน้ กิจกรรมพิเศษ ของผมจึงเกีย่ วข้องอยูก่ บั ยาเป็นส่วนใหญ่ อาทิ เช่น เมื่อมีชาวบ้านมาเจียดยาแก้ลม ลุงหรือพี่
ในสมัยนั้นลูกเสือที่สอบไล่ได้วิชาลูกเสือเอกแล้ว จะต้องเก็บออมเงินจากค่าขนมและจากการท� ำงาน ให้ครบ ๕ บาท โดยมีผู้รับรอง แล้วน�ำฝากไว้กับธนาคารออมสิน จึงจะถือว่าสอบไล่ได้เป็นลูกเสือเอก
112
ก็ให้ผมเขียนที่ซองยาว่า ยาหอมแก้ลมวิงเวียน รับประทานกับน�ำ้ สุกครัง้ ละ ๗ ถึง ๙ เม็ด ฯลฯ เป็นต้น แล้วก็หยิบยาใส่ซองให้ไป หนัก ๆ เข้า พีก่ เ็ ลยมอบหน้าทีใ่ ห้เลยว่า ถ้ามีคนมาเจียดยา แก้ลม ๑ บาท ก็ให้ผมเขียนหน้าซองอย่างนัน้ แล้วหยิบยาใส่ซองเท่านัน้ เม็ด ผมเลยกลายเป็น “หมอตี๋” ขึ้นมา นอกจากนัน้ ในวันโรงเรียนหยุดถ้าที่ บ้านมีการ “รางยา” คือ เอาตัวยาอันประกอบ ด้วยสมุนไพร ดอกไม้แห้ง ฯลฯ ใส่ลงในรางเหล็ก แล้วถีบลูกกลิง้ อันเป็นตัวบด บดยาให้ละเอียด ผมก็ช่วยเขาถีบ แต่ผมจะถีบได้ต่อเมื่อผู้ใหญ่ เขาถี บ จากที่ ห ยาบ ๆ จนแหลกพอสมควร แล้ ว ให้ ล ะเอี ย ดยิ่ ง ขึ้ น เพราะเมื่ อ ยั ง หยาบ มากอยู ่ นั้นถี บ ยาก ถี บ ใหม่ ๆ ลู ก กลิ้ ง จะ กระทบกั บ รางเสี ย งดั ง หนวกหู ต้ อ งหั ด ให้ น�ำ้ หนักเท้าเท่ากันจึงจะไม่มเี สียงโกร๊งเกร๊ง เมือ่ บดยาด้วยรางจนละเอียดแล้ว ตักใส่แล่งร่อน ส่ ว นที่ ป ่ น ละเอี ย ดลอดตาแล่ ง ออกมาได้ เอาไปบดด้วยหินบดยาผสมด้วยน�ำ้ ดอกไม้หรือ น�้ำอะไรตามต�ำรา ส่วนที่ยังไม่ละเอียดตกค้าง อยู่ในแล่งก็เอาลงรางถีบต่อไป ท�ำอยู่เช่นนีจ้ น ยาละเอียดทั้งหมด เมื่อบดด้วยหินบดยาโดยใช้สองมือ ไถ (โปรดดูตัวอย่างหินบดยาที่หน้าฤาษี หลัง โบสถ์วัดพระแก้ว) ละเอียดจนปั้นได้แล้ว ก็ ช่วยกันปัน้ ขนาดโตกว่าเม็ดถัว่ เขียวใส่ถาดตาก แดดอ่อน ๆ สักสองแดดพอแห้งสนิทก็เก็บได้
ไกวเปล - เลือกกากข้าว
ในวันที่โรงเรียนหยุด นอกจากงาน บดยา ปั ้ น ยาแล้ ว มี ง านที่ น ่ า เบื่ อ ที่ สุ ด คื อ ไกวเปลหลาน หลานทั้ง ๘ คน นอนเปลทุก คนงานนีจ้ ะหลบเลีย่ งไปตักปลาเข็ม กัดปลากัด เล่นลูกหิน ฯลฯ ก็ไม่ได้ เพราะเปลมันฟ้องอยู่ ถ้าเปลหยุดก็แปลว่าคนไกวไม่อยู่ นอกเสียจาก คนไกวง่วงหลับอยู่หน้าเปลนัน่ เอง จึงจะได้รับ นิรโทษกรรมไปในตัว แต่พี่ก็หาทางแก้ลำ� ไม่ให้ ผมหลับจนได้ โดยเอาข้าวใส่กระด้งใหญ่ให้ผม เลือกกากข้าวจากกระสอบใส่ตมุ่ ข้าวสารจนกว่า จะเต็มตุ่มพร้อมกับไกวเปลไปด้วย พอโดนวิธี นี้เข้า ผมก็ “เสร็จ” เดี๋ยวนี้ผมไม่เห็นบ้านไหน ให้ลูกเก็บกากข้าวสารซื้อมาอย่างไรก็หุงไป อย่างนัน้ ง่ายดี
ข้ามแม่นำ�้ เจ้าพระยาเที่ยวกรุงเทพฯ
เมื่ อ ตั ว ยาหรื อ สมุ น ไพรบางอย่ า ง หมดหรือพร่อง พี่ก็พาผมข้ามเรือจ้างที่ท่าวัด ซางตาครูสไปท่าปากคลองตลาด ขึน้ รถรางไปลง ทีห่ น้าห้างบาโรบราวน์ คนเดีย๋ วนีไ้ ม่ทราบหรอก ว่ามีรถรางชนิดคันเดียว (คือไม่มีพ่วง) แล่น เฉพาะจากท่าปากคลองตลาดมาหมดแค่หน้า ห้างบาโรบราวน์ ทั้งสายนี้มีอยู่คันเดียว พอ แล่นไปสุดทางแล้วก็ยกสาลีห่ รือลูกรอกกลับมา ข้างท้ายปล่อยขึ้นไปติดกับสายไฟฟ้า ท้ายก็ กลายเป็นหัว หัวก็กลายเป็นท้าย กลับไปกลับ มาอยู่เช่นนี้ คนละสตางค์เดียวเท่านั้น พอ ลงจากรถคั น เดี ย วพี่ ยั ง ให้ ผ มเก็ บ ตั๋ ว ไว้ ต ่ อ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 113
รถชนิดสองคันพ่วงไปลงพาหุรัดตรงปากทาง เข้าสะพานหันได้อีกด้วย มีร้านขายยาอยู่ตรง หัวมุมทางเข้าพอดี พี่ซื้อเครื่องยาทุกอย่างที่ ร้านนี้ ที่หน้าร้านมีเจ๊กขายน�้ำแข็งใส่น�้ำสละ แอบอยู่ซอกนิดเดียว น�้ำสละเจ้านี้หอมอร่อย จริง ๆ ทุกครั้งที่ไปซื้อเครื่องยาที่สะพานหัน พีใ่ ห้ผมดืม่ น�ำ้ แข็งใส่นำ�้ สละเจ้านีท้ กุ ครัง้ ไม่เคย ขาดเลย เมื่อเอารายการเครื่องยาให้เจ๊กจัดให้ แล้ว พี่จะไปซื้ออะไรผมก็ตามไปเป็นผู้ช่วย ถือของทุกครั้ง เสร็จเรื่องซื้อของแล้วจึงมารับ เครื่องยากลับบ้าน มี ร ้ า นอยู ่ ร ้ า นหนึ่ ง อยู ่ หั ว มุ ม สี่ แ ยก พาหุรดั ด้านโรงไฟฟ้าตรงข้ามกับห้างรัตนมาลา ชื่อร้าน “บัวขาว” ขายผ้าซิ่น ผ้าพื้น ผ้าลาย เสื้อนักเรียน เครื่องแบบลูกเสือ ที่นอน หมอน มุ้ง เสื่อกก พรมน�้ำมัน ฯลฯ พี่ซื้อจากร้านนี้ ทั้งนัน้ ซื้อกันจนรู้จักชอบพอกันดีเรียกภรรยา เจ้าของร้านว่าเจ๊ เดินผ่านร้านทีไรจะซื้อหรือ ไม่ซื้อพี่ก็แวะคุยกับเจ๊เสมอ เจ๊เลยรู้จักผมไป ด้วย ต่อมาผมมีธรุ ะต้องผ่านร้านนีผ้ มก็ทกั ทาย กั บ เจ๊ จ นผมโต บางที พี่ มีธุ ร ะต้ อ งซื้อ ของที่ ร้านนี้หลายอย่างก็ให้ผมถือรายการเครื่องยา ที่จะซื้อเดินล่วงหน้าไปร้านเครื่องยาก่อน ผมก็ รออยู่ที่นนั่ (ไม่ลืมรับประทานน�ำ้ แข็งใส่น�้ำสละ ๑ แก้ว) ส่วนมากขากลับเราขึ้นรถรางเพราะ มีของมาก ระยะนัน้ ผมจึงได้เที่ยวฝั่งพระนคร บ่อย ๆ บางคราวนั่งเรือจ้างข้ามฟากได้เห็น เรือพระทีน่ งั่ มหาจักรีจอดทอดสมออยูก่ ลางน�้ำ ท�ำให้คิดถึงความหลังเก่า ๆ บ้างเหมือนกัน แต่
114
มันก็เหมือนกับความฝันตืน่ ขึน้ มาแล้วก็หายไป เมื่อกลับถึงบ้าน ผมอีกนัน่ แหละเป็น ผู้แกะห่อเครื่องยาที่ซื้อมาบรรจุลงกระป๋อง ขนมปังของบริษทั ฮันทลียแ์ อนด์ปาลเมอร์ สมัย นัน้ เป็นกระป๋องสี่เหลี่ยมยาว ๆ เหมาะส�ำหรับ ใส่ เครื่ อ งยายิ่ ง นัก พี่ ซื้ อ ขนมปั ง ตุ ๊ ก ตาบ้ า ง ขนมปังบุหรี่บ้างมาให้ลูกรับประทานผมก็เคย ได้รับส่วนแบ่งด้วย แต่ถ้าให้ผมหยิบเองละก็ กระเป๋าตุงทีเดียว จึงมีกระป๋องเปล่าใส่เครื่อง ยามากมาย ทุกกระป๋องมีชื่อเครื่องยาซึ่งเขียน โดยฝีมือผมติดอยู่ ถ้าแผ่นใดลบเลือนผมก็ เป็นผู้เขียนป้ายใหม่ปิดแทน
ลุงเป็นหมอที่เก่งมาก
เมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยมาหาลุงที่บ้าน หรือลุงไปตรวจรักษาที่อื่นลุงก็จะถือกระเป๋า ใส่ยา หมอแผนโบราณเขาเรียก “ล่วมยา” ออก ไปรักษาเสมอ ท่านที่ผมนึกชื่อได้ว่าเป็นคนไข้ ของลุงคือ ท่านเจ้าพระยาพลเทพ และคุณหญิง สว่าง ท่านเจ้าคุณโกมารกุลมนตรี ท่านเจ้าคุณ โชฏึกราชเศรษฐี ฯลฯ ส�ำหรับท่านเจ้าพระยา พลเทพนัน้ ท่านสนิทสนมชอบพอกับลุงมากถึง กับให้แหนบชื่อ “พลเทพ” ติดกระเป๋าเสื้อนอก ผมเห็นลุงติดเสมอเมื่อลุงตรวจทราบสมุฏฐาน ของโรคว่าเป็นอะไรแล้ว ลุงจะจัดยาให้ไปต้ม รับประทาน ลุงบอกให้ผมหยิบกระป๋องเครือ่ งยา ที่วางเรียงอยู่ประมาณ ๑๐๐ กระป๋อง ว่าเอา อะไรบ้าง เนื่องจากผมเป็นผู้เก็บ ผมจึงจ�ำได้ ว่ากระป๋องอะไรอยู่ตรงไหน ลุงก็เอาเครื่องยา
เหล่านั้นมาชั่งแล้วมอบให้คนไข้น�ำไปต้มรับ ประทาน ยาของลุงเก่งนักลือชื่อทีเดียวไม่งั้น จะได้แหนบรึ ? ที่เล่ามานีน้ อกจากจะให้เห็นถึง หน้าทีแ่ ละงานทีผ่ มต้องท�ำแล้ว ยังจะเห็นว่าผม ได้รบั ความไว้วางใจอย่างสูง และถ้าผมสนใจจะ ด�ำเนินรอยตามทางแพทย์แผนโบราณ ผมอาจ จะได้รับช่วงต่อมาก็ได้
ลุงขยายกิจการ ขายไม้ ขายกระเบื้อง
เมื่อจ�ำนวนลูกของลุงเพิ่มขึ้นทุกที จาก ๑ เป็น ๒ เป็น ๓ จนถึง ๗ และ ๘ อาชีพทาง หมออย่างเดียวคงไม่ไหว ลุงจึงได้เริม่ กิจการค้า โดยขอเช่ า ที่ ริ ม แม่ น�้ ำ จากบาทหลวงเจ้ า วั ด ที่ตรงนัน้ มีตึกเก่า ๆ สองชั้นอยู่หลังหนึง่ เรียก กันว่า “โรงกระเบื้อง” ลุงกั้นห้องในตึกนัน้ ให้ คนจีนบ้างไทยบ้างเช่าอยู่เก็บค่าเช่า ที่ว่างริม แม่น�้ำลุงสร้างเป็นโรงไม้หลังคาสูง ซื้อไม้สัก ไม้ยาง ฯลฯ มีทั้งไม้พื้น ไม้เคร่า ไม้ฝา เสา ไม้ระแนง ฯลฯ มากองไว้ขาย คนในหมู่บ้าน กุ ฎี จี นต้ อ งการจะซื้ อ ไม้ ก็ ไม่ ต ้ อ งออกไปซื้ อ ข้างนอก พวกชาวเรือที่ผ่านไปมาก็แวะซื้ออยู่ เสมอ โรงไม้ของลุงขายดีพอใช้ ทีใ่ ต้ถนุ ตึกเก่าทีเ่ รียกว่า “โรงกระเบือ้ ง” นัน้ มีเครือ่ งท�ำกระเบือ้ งอยูป่ ระมาณ ๘ หรือ ๙ เครื่อง ลุงจ้างช่างปูนมาท�ำกระเบื้อง ผมเคยไป ดูเขาท�ำบ่อย ๆ วิธที �ำก็ผสมปูนกับน�้ำและทราย ละเอียดให้ถูกส่วน เอาแผ่นเหล็กรองข้างล่าง พิมพ์ ตักปูนที่ผสมแล้วใส่ลงไปบนแผ่นเหล็ก รองข้างล่างโผล่ขึ้นมา ยกเอาไปวางไว้บนชั้น
ทิง้ ไว้สามสีว่ นั จนแห้งสนิทจึงขนไปเข้ากองตาก แดดไว้ขาย เมื่อลุงซื้อตะปูขนาดต่าง ๆ มาขาย เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึง่ โรงไม้กระดานของลุงก็ สมบูรณ์ ใครจะปลูกสร้างหรือต่อเติมบ้าน ก็ ซื้อไม้ซื้อกระเบื้องของลุงทั่วทั้งกุฎีจีน
ขายฟืน
ในสมั ย นั้น โรงไฟฟ้ า วั ด เลี ย บ กรม อูท่ หารเรือ กรมชลประทาน ฯลฯ ใช้ฟนื ไม้แดง ไม้เบญจพรรณ ท่อนยาวประมาณศอกเศษเป็น เชื้อเพลิงเป็นจ�ำนวนมาก โดยต้องซื้อจากเรือ ทีบ่ รรทุกฟืนมาจากต่างจังหวัด ต่อมาหน่วยงาน เหล่ า นั้น เห็ น ว่ า วิ ธี ซื้ อ จรเช่ นนั้น ไม่ ส ะดวก จึงได้เปิดประมูลส่งฟืนส่งให้ถึงที่เป็นงวด ๖ เดือนหรือ ๑ ปี ตามจ�ำนวนที่แต่ละหน่วยงาน ต้องการ ลุงรู้จักคนมากเพราะเคยเป็นแพทย์ ไปรักษาคนเหล่านัน้ อยูบ่ า้ ง จึงไปประมูลส่งฟืน แก่หน่วยงานเหล่านัน้ และประมูลได้ ลุงจึงจับงาน ส่งฟืนเป็นงานหลักแม้จะต้องเหน็ดเหนือ่ ยแต่ก็ มีรายได้ดี เมื่อพี่สาวผมเห็นว่าลุงอายุมากก็ได้ ลงมือทุ่มตัวเข้าช่วยโดยเต็มที่ถึงกับไป “ตีฟืน” คื อ ออกไปกว้ า นซื้ อ ฟื นจากเรื อ จรที่ ม าจาก ต่างจังหวัดด้วยตัวเอง บางครัง้ ต้องไปถึงอยุธยา งานฟืนนีท้ ำ� ก�ำไรให้มาก ลุงและพีส่ าวผมท�ำงาน นี้ประมาณ ๒๐ กว่าปี ถึงกับได้ขยายที่เช่าริม แม่น�้ำซื้อฟืนมากองไว้สูงเป็นภูเขาเลากา มีเรือ บรรทุกฟืนหลายล�ำส�ำหรับล�ำเลียงฟืนไปส่ง หน่วยงานตามที่เขาต้องการได้ทันที บางคราว มีกรณีรีบด่วนต้องรีบเอาฟืนลงเรือ ผมก็เคย พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 115
ไปช่วย “โยน” ฟืนลงเรือด้วย ก็ตอนนัน้ ผมอายุ ๑๕ - ๑๖ ปีแล้วนีค่ รับ
นัน้ มีผู้สมัครเรียนมาก จึงแบ่งเป็น ๒ หรือ ๓ ชั้น
การเรียนที่โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ
สอบไล่ ม. ๖ ได้ที่ ๑
โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ สมัยนั้น แม้ จะต้องอยู่ “โรงจาก” บ้างก็ตาม แต่ชื่อเสียง ก�ำลังหอมฟุง้ เก่งทางกีฬา เพราะมีอาจารย์ใหญ่ ชือ่ “พระยาวิเศษศุภวัตร” และมีอาจารย์ชนั้ เยีย่ ม หลายท่าน อาทิเช่น อาจารย์ขุนบูรณเวทย์ฯ อาจารย์สงิ โต รัตกสิกร หลวงวิเทศวิทยานุศาสตร์ ฯลฯ การเรียนชั้นมัธยม ๔ และมัธยม ๕ ของผมคงเป็นไปเรื่อย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น ถ้าขี้เกียจหรือไม่ตั้งใจเรียนก็โดนไม้เรียวหรือ ไม้บรรทัดตามแต่ครูจะหาได้ แต่ครูบางท่าน สอนวิชาเรขาคณิต (ยีออเมตรี) ท่านมีวงเวียน ส�ำหรับใช้กับกระดานด�ำเป็นอุปกรณ์การสอน ถ้าไม่ตั้งใจเรียนในชั่วโมงนีก้ ็โดนด้ามวงเวียน ตี มื อ มั นชาซาบซ่ า ไปทั่ ว แขนเจ็ บ อย่ า บอก ใครเชียว การเรียนในชั้นมัธยม ๔ - ๕ ของผม ก็ปานกลาง ประมาณที่ ๙ ที่ ๑๐ ก่อนที่จะจบชั้นมัธยม ๕ ปีต่อไปขึ้น มัธยม ๖ ครูให้เลือกแผนกว่าจะเรียนแผนก วิทยาศาสตร์หรืออักษรศาสตร์ ผมนั้นชอบ อักษรเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว จึงเลือกแผนก อักษรศาสตร์ โดยไม่ตอ้ งตรึกตรองหรือปรึกษา ใคร ดังนัน้ พอสอบไล่ได้มัธยม ๕ ขึ้นมัธยม ๖ ผมก็ได้อยู่ชั้นมัธยม ๖ ก. แผนกอักษรศาสตร์ ซึ่ ง มี ชั้ น เดี ย ว เรี ย นภาษาอั ง กฤษเป็ น เอก ภาษาฝรั่งเศสเป็นโท ส่วนแผนกวิทยาศาสตร์
116
เมือ่ แยกออกมาอยูแ่ ผนกอักษรศาสตร์ แล้ว เพื่อนนักเรียนค�ำนวณทั้งหลายที่เก่ง ๆ แยกไปอยู่แผนกวิทยาศาสตร์หมด การสอบ ซ้อมประจ�ำภาคต้นผมก็ขยับจากที่ ๙ ที่ ๑๐ ขึ้นมาเป็นที่ ๒ สอบซ้อมภาคกลางผมก็ได้ ที่ ๒ อีก ครั้นถึงตอนสอบไล่ปลายปีเกิดฟลุ๊ค อย่างไรไม่ทราบ ผมสอบไล่ชั้น ม.๖ ได้ที่ ๑ พอโรงเรียนเปิดเรียนชั้นมัธยม ๗ คุณครู ประจ�ำชั้นก็เรียกไปบอกว่า โรงเรียนพิมพ์ดีด “สั ต ตดาราสถาน” อยู ่ ห น้ า วั ง บู ร พา เขามี หนังสือเชิญนักเรียนที่สอบไล่ชั้นมัธยมปีที่ ๖ ได้ที่ ๑ ของโรงเรียนไปเรียนพิมพ์ดีดและ ชวเลขฟรี ๑ คน ได้ถามนักเรียนที่ได้ที่ ๑ แผนกวิทยาศาสตร์ซึ่งเขาได้เปอร์เซนต์สูงกว่า ผมดูแล้วไม่มีใครสมัครไปเรียน คุณครูจึงถาม ผมว่าจะไปเรียนไหม ถ้าไปเรียนทางโรงเรียนก็ จะได้ท�ำหนังสือน�ำตัวส่งไป ผมเรียนคุณครูว่า ผมขอเวลาไปขออนุญาตผูป้ กครองก่อน พรุง่ นี้ ผมจะมาเรียนให้ทราบ ผมกลับไปบ้านผมก็ เรียนให้พที่ ราบ พีถ่ ามผมว่าผมอยากเรียนไหม ผมตอบว่าได้เรียนฟรีผมก็อยากไปเรียนพี่ผม จึงอนุญาต วันรุ่งขึน้ ผมจึงเรียนให้คณ ุ ครูทราบ ว่าผมจะไปเรียน ทางโรงเรียนจึงท�ำหนังสือ ให้ผมถือไปหาท่านผู้จัดการโรงเรียนพิมพ์ดีด “สัตตดาราสถาน” วิชาพิมพ์ดีดและชวเลขนี้
จะเป็นความส�ำคัญยิ่งแก่ชีวิตผมต่อไปอย่าง มากมาย
เรียนพิมพ์ดีด และชวเลข
เมื่อผมได้รับหนังสือน�ำส่งตัวจากท่าน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ ผมก็ถือไป พบท่านเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียนพิมพ์ดีด “สัตตดาราสถาน” ทีห่ น้าวังบูรพาคือ คุณหลวง มิตรธรรมพิทักษ์ ซึ่งขณะนัน้ ท่านรับราชการ กระทรวงการต่างประเทศ ท่านเป็นกรรมการ ผูก้ อ่ ตัง้ สมาคมชวเลข “เกร๊กก์” แห่งประเทศไทย ท่านสนใจในวิชาพิมพ์ดีดและชวเลขมาก ท่าน จึงได้ตั้งโรงเรียนสัตตดาราสถานขึ้น โดยให้ คุณนายนพพร ภรรยาของท่านเป็นผู้จัดการ ในขณะนั้น ประเทศไทยมี พิ ม พ์ ดี ด ที่ เป็ นที่ รู้จักกันทั่วไปอยู่ ๒ ยี่ห้อ คือ “เรมิงตัน” กับ “อันเดอร์วู๊ด” แข่งกัน คุณหลวงได้เป็นเอเยนต์ เครือ่ งพิมพ์ดดี ยีห่ อ้ “รอแยล” ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นยี่ห้อใหม่ ท่านจึงมีนโยบายจะเผยแพร่ เครือ่ งพิมพ์ดดี “รอแยล” ให้เข้าสูต่ ลาด โรงเรียน ของท่านจึงใช้เครื่อง “รอแยล” ใหม่เอี่ยม ทัง้ หมดทุกเครือ่ งทัง้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นโยบายของท่านจึงได้เชิญนักเรียนที่สอบไล่ ได้ทหี่ นึง่ ในชัน้ มัธยมปีที่ ๖ จากโรงเรียนต่าง ๆ มาเรียนโดยไม่คิดเงิน เมื่อผมไปเรียนผมจึงได้ รู ้ จั ก กั บ เพื่ อ นนั ก เรี ย นจากโรงเรี ย นวั ด ปทุมคงคา โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โรงเรียน วัดเบญจมบพิตร โรงเรียนเบญจมราชาลัย โรงเรียนสายปัญญา
เริ่มแรกทางโรงเรียนให้เรียนพิมพ์ดีด อังกฤษก่อน จนวางมือวางนิ้วได้ถูกต้องดีแล้ว จึงให้เรียนพิมพ์ดีดภาษาไทย แล้วต่อมาให้ เรียนชวเลข “เกร็กก์” ภาษาอังกฤษ แล้วต่อมา จึงเรียนชวเลขภาษาไทย คุณนายนพพรบอกกับ นักเรียนรับเชิญทุกคนว่า จะให้เรียนตลอด ๒ ปีที่เรียนชั้นมัธยม ๗ และมัธยม ๘ เอาให้เก่ง ทีเดียว นักเรียนรุน่ นีร้ วมทัง้ ผมด้วย พอโรงเรียน สามัญเลิกเรียนแล้วก็รีบมาเรียนพิมพ์ดีดทันที เพราะโรงเรียนพิมพ์ดีดก�ำหนดให้เรียนวันละ ๑ ชั่วโมง ในชั่วโมงที่แน่นอน เมื่อหมดชั่วโมง ก็ต้องลุกขึ้นเพื่อให้ที่แก่คนอื่น ส่วนการเรียน ชวเลขนัน้ ได้ครูจากโรงเรียนอัสสัมชัญซึ่งเก่ง มากชื่อ “มาสเตอร์ แบร์นาร์ด ชไนเดอร์” เริ่ม สอนชวเลข ตั้งแต่ ๑๗.๓๐ น. ถึง ๑๘.๓๐ น. ชวเลขอั ง กฤษวั น หนึ่ง ชวเลขไทยวั น หนึ่ง สลับกัน คุณครูแบร์นาร์ดได้พยายามเคี่ยวเข็น นักเรียนชวเลขรุ่นนีจ้ ากเต็มห้องประมาณ ๒๕ คน จนในที่สุดเหลือสอบเขียนชวเลขไทยได้ นาทีละ ๑๖๐ ค�ำ เป็นสถิติยอดเยี่ยมเพียง ๔ คนเท่านัน้ ซึง่ แน่นอนมีผมรวมอยู่ด้วยคนหนึง่ เมื่อ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บังคับให้คนไทยเปลี่ยน ชื่อเป็นไทยให้ถูกต้องตามรัฐนิยมนัน้ ผมได้ เสนอแนะแก่ มาสเตอร์แบร์นาร์ด ว่าตามเสียง ที่คนทั่วไปเรียกท่านว่า มาสเตอร์ “แบนา” นั้นควรจะเปลี่ยนเป็น “บรรณา” ซึ่งแปลว่า หนัง สื อ และ “ชไนเดอร์ ” ควรเปลี่ ย นเป็ น “ชโนดม” ซึง่ มีความหมายดีมาก ท่านก็ได้เปลีย่ น พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 117
เป็น “บรรณา ชโนดม” ตามที่ผมแนะน�ำจริง ๆ ต่ อ มาท่ า นได้ เ ป็ น อาจารย์ ใ หญ่ โ รงเรี ย น อัสสัมชัญ และทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้ ด�ำรงต�ำแหน่งวุฒิสมาชิก ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์มงกุฎไทย เมือ่ ท่านถึงแก่กรรม เมือ่ พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ ได้ ท รงพระกรุ ณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขมา และดิน ฝังศพที่สุสานคาทอลิก ถนนสีลม เป็นเกียรติ แก่ท่านด้วย
การแบ่งเวลา
พอโรงเรียนบ้านสมเด็จฯ เลิกผมก็รีบ จ�้ำอ้าวกลับบ้าน ถอดหมวกถอดเสื้อนอกเก็บ เอาสมุดและหนังสือเก็บ มีขนมอะไรอยู่ก็ใส่ ปากเข้าไปพอประทังหิว แล้วรีบเดินขึ้นสะพาน พระพุทธยอดฟ้าไปสัตตดาราสถานซึ่งอยู่หน้า วังบูรพา งานอะไรที่บ้านที่เคยท�ำตอนเย็นก็ เปลีย่ นเวลารีบท�ำให้เสร็จเสียตอนเช้า กว่าจะได้ เลิกจากเรียนพิมพ์ดีดชวเลขก็ค�่ำมาก ถึงบ้าน ทุ่มกว่าทุกวัน และกว่าจะอาบน�้ำรับประทาน อาหารเย็นก็สองทุ่ม ต้องท�ำทั้งการบ้านจาก โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ และการบ้านวิชาชวเลข วันหนึง่ ๆ ต้องเดินหลายกิโล เมื่อตั้งใจเรียน แล้วถึงล�ำบากก็ต้องทน ระยะนัน้ ชีพจรลงเท้า สมกับคนช่างเที่ยวจริง ๆ
การเรียนชั้นมัธยม ๗ และมัธยม ๘
การเรียนมัธยม ๗ และมัธยม ๘ ของ ผมอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะคะแนนวิชาค�ำนวณ
118
น้อย คะแนนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มาก ผมไม่ ช อบค� ำ นวณแต่ ช อบทางภาษา ผลการเรียนของผมจึงอยู่ในล�ำดับที่ค่อนข้าง ดี ไม่ว่าจะสอบไล่หรือสอบซ้อม ผมก็ไม่เคย ต�่ำกว่าล�ำดับที่ ๕ ของนักเรียนทั้งชั้น ในระหว่างที่เรียนอยู่ชั้นมัธยม ๘ ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ มีสิ่งที่ไม่นกึ ไม่ฝันคือ นายกวด หุม้ แพร หรือคุณโต สุจริตกุล น้องชายของสมเด็จ พระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชชายา ได้ ม าเป็ น อาจารย์ ส อนวิ ช าภาษาอั ง กฤษที่ โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ ผมได้พบท่านครั้งแรก หลั ง จากที่ ไ ม่ ไ ด้ พ บกั น เป็ น เวลาหลายปี ผมเข้าไปไหว้ทา่ น ท่านก็ลบู หน้าลูบหลังซักถาม ความเป็นมาเป็นไปของผม ผมก็เล่าให้ท่านฟัง ส� ำ หรั บ ท่ า นนั้ น หลั ง จากพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสวรรคตแล้ว ท่ า นได้ ไ ปศึ ก ษาต่ อ ที่ ป ระเทศอั ง กฤษอยู ่ หลายปี จบแล้วจึงได้มาเป็นอาจารย์สอนที่ โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ และเมื่อผมเรียนถามถึง คุ ณ สุ จิ นต์ น ้ อ งของท่ า น ท่ า นว่ า คุ ณ สุ จิ นต์ ถึงแก่กรรมแล้ว ผมจ�ำไม่ได้ว่าเป็นโรคอะไร นายกวด หุ้มแพรสอนอยู่ไม่นานนักก็ลาออก ไปสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ธนบุรีและท่านก็ได้เป็น ต่อมาท่านรับราชการ เป็ น เลขานุ ก ารรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง การต่ า งประเทศ และแล้ ว ต่ า งชี วิ ต ต่ า งก็ แยกย้ายกันไปตามอาชีพ ครั้งสุดท้ายผมไป เยี่ยมท่านเป็นอัมพาตอยู่ประมาณ ๖ ปี และ ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔
สอบไล่ได้ชั้นมัธยม ๘
ใน พ. ศ. ๒๔๗๘ ซึง่ เป็นปีสดุ ท้ายของ การเรียนที่โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ การสอบไล่ ปลายปีกระทรวงธรรมการเป็นผู้ออกข้อสอบ และให้นกั เรียนเรียนสับเปลี่ยนสถานที่สอบไล่ ทุกโรงเรียน นักเรียนโรงเรียนบ้านสมเด็จฯ ต้องไปสอบไล่ทโี่ รงเรียนวัดเทพศิรนิ ทร์ จึงออก จะตื่นเวทีส�ำหรับผม ข้อสอบกระทรวงสมัย นัน้ เข้มงวด คือยากมาก ชั้นที่ผมเรียนแผนก อักษรศาสตร์มีนกั เรียนทั้งชั้น ๓๓ คน ทั้ง ๆ ที่ ตัดสิน ๕๐% แต่มีผู้สอบได้เพียง ๙ คนเท่านัน้ ผมสอบไล่ได้ที่ ๔ เป็นอันว่าผมเรียนมาตั้งแต่ ต้นจนจบผมไม่เคยสอบตกเลย
อามาเยี่ยม
ในระหว่างปีทผี่ มก�ำลังเรียนชัน้ มัธยม ๘ อยู่นนั้ อาซึ่งเคยไปขอเงินจากท่านเจ้าพระยา สุธรรมมนตรีว่าจะเอาไปท�ำนา และไม่เคยมา ให้เห็นหน้าเลยเป็นเวลาเกือบ ๑๐ กว่าปี ได้ มาเยี่ยมผม จูงลูกสาวอายุ ๗ - ๘ ปี มาด้วย คนหนึง่ ผมยังจ�ำได้ประโยคแรกที่อาพูดกับ ลูกสาวคือเฉลียว “ไหว้พี่เขาเสียซิ” อาเล่าว่าได้ไปซื้อที่ดินที่ต�ำบลบางเขน แปลงหนึง่ เพือ่ ท�ำนา มีภรรยาและมีบตุ ร ๓ คน ที่มาด้วยวันนั้นเป็นบุตรสาวคนโต อาได้รับ แต่งตั้งเป็น “ผู้ใหญ่บ้าน” คิดถึงหลานจึงมา เยี่ยม ดูเหมือนพี่สาวผมยังไม่หายโกรธเรื่อง ที่อาไปเอาเงินจากท่านเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ท�ำให้ผมต้องได้รับความล�ำบากถึงขนาดต้อง
โกยดินเป็นคนสวน กินข้าวกับคนสวน และ ถูกเฆี่ยน ฯลฯ ในที่สุดขอให้อาบอกความจริง ว่าไปเอาเงินมาเท่าไร อาคงรู้สึกว่าได้กระท�ำผิด ไปแล้วจึงอ้อมแอ้มตอบพี่ว่า ได้ไปเอาเงินจาก ท่านเจ้าพระยาฯ จริง ๆ เป็นจ�ำนวน ๒๐๐ บาท ผมมาคิดได้เมื่อโตแล้วว่าอันเงินจ�ำนวน ๒๐๐ บาทสมัยนัน้ ช่างมากมายเสียเหลือเกิน ท�ำให้คน ตั้งตัวได้มีที่ดินท�ำนา และส�ำหรับตัวผมเองมี ค่าตัวเพียง ๒๐๐ บาทเท่านัน้ ถ้าเป็นสมัยนีก้ ็ ซื้อข้าวสารได้เพียงครึ่งถัง พุทโธ่เอ๋ย! เสียแรง เป็นเด็กที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระบรมราชินี ทรงเอาไปชุบเลี้ยงทั้งที ต้ อ งกลายเป็ น ไอ้ เด็ก ขัด ดอกด้ ว ยเงิน เพีย ง ๒๐๐ บาทจนได้ นี่หรือชีวิต ?
ไปเผาศพอา
เมือ่ ประมาณสัก ๒๐ ปี มาแล้ว เฉลียว ได้มาหาผมที่ท�ำงาน บอกว่าอาถึงแก่กรรม แล้วให้ผมไปเผาหน่อย ผมก็ไปและมอบเงิน ให้บ�ำเพ็ญกุศลไป ๒,๐๐๐ บาท วันที่เผาศพ อาสัปเหร่อเปิดฝาโลงเรียกให้ผมเอาน�ำ้ มะพร้าว ไปรดลงบนศพอา ขณะที่ศพอยู่บนเตาไฟลุก โพลง ผมได้เห็นศพถูกไฟงอก่องอขิงไหม้ไปต่อ หน้าต่อตา ผมยกมือไหว้ศพอาขออโหสิกรรม แต่เพียงนัน้
ได้งานครั้งแรกในชีวิต
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๘ คุณนายนพพร มิตรธรรมพิทักษ์ ภริยาคุณหลวงมิตรธรรม พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 119
พิทักษ์ (วงศ์ เศวตเลข) เจ้าของโรงเรียน พิมพ์ดีดชวเลข “สัตตดาราสถาน” ที่ผมได้ เรียนฟรีดังที่กล่าวมาแล้ว ท่านต้องการที่จะ เผยแพร่เครื่องพิมพ์ดีด “รอแยล” ซึ่งท่านเป็น ผูแ้ ทนจ�ำหน่ายจากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ ไปเสนอขายให้กับกรมศุลกากร กรมศุลกากร ก็อยากซื้อแต่เกี่ยงว่าซื้อแล้วจะไม่มีคนพิมพ์ เป็นเพราะขณะนัน้ กรมศุลกากรใช้เครื่องพิมพ์ “สมิ ท พรี เมี ย ร” ชนิด ๙ แถว ต้ อ งพลิ ก ลูกยางขึน้ ดูจงึ จะเห็นข้อความทีพ่ มิ พ์แล้ว แถม มีพนักงานพิมพ์ดีดอยู่คนเดียวทั้งส�ำนักงาน เลขานุการกรม อายุก็ ๕๕ ปีแล้ว ผมถูกส่งให้เรียนพิมพ์ดีดและชวเลข ตั้งแต่เปิดเทอม พ.ศ. ๒๔๗๗ ตลอดมาจน ปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๘ วิชาพิมพ์ดีดและชวเลข ที่เรียนมา ๒ ปีกำ� ลังใช้งานได้ดี คุณนายมิตร ธรรมพิทักษ์ เห็นผมสอบไล่ชั้นมัธยม ๘ เสร็จ แล้ว ก็ถามผมว่าอยากท�ำงานที่กรมศุลกากร หรือไม่ ผมเป็นนักเรียนยากจนไม่มีทุนเรียน ต่อมหาวิทยาลัยจึงอยากท�ำงาน คุณนายมิตร ธรรมพิทักษ์ก็พาผมไปสมัครเข้าท�ำงานเป็น เสมียนพิมพ์ดีดที่กรมศุลกากร ได้รับบรรจุ เป็นเสมียนชั่วคราว อัตราเงินเดือน ๒๐ บาท ผมก็ได้เข้าท�ำงานทันที และคุณนายมิตรธรรม พิทักษ์ ก็ขายเครื่องพิมพ์ดีด “รอแยล” ได้ด้วย สมัยนัน้ พิมพ์ดีดสัมผัสแบบ ๑๐ นิ้ว เพิ่งจะมีคนพิมพ์เป็นไม่มากนัก เครื่องพิมพ์ ประจ�ำตัวผมก็เป็นเครื่อง “รอแยล” ที่เรียนมา แล้วตัง้ ๒ ปี แถมยังมีสถิตทิ สี่ อบได้ทหี่ นึง่ แห่ง
120
ประเทศไทยการันตีอยู่แล้ว เสียงพิมพ์ดีดที่ “รัวเป็นข้าวตอกแตก” ของผมจึงท�ำให้มีคนมา มองอยูเ่ ป็นประจ�ำ เผอิญอีกนัน่ แหละโต๊ะพิมพ์ ของผมตั้งอยู่ทางเข้าห้องท่านอธิบดี ซึ่งท่าน จะต้องเสด็จฯ ผ่านเข้าออกทุกวัน บางวันก็ ทรงหยุดทอดพระเนตรการพิมพ์ดีดของผม อยู่บ่อย ๆ ผมท�ำงานเป็นเสมียนพิมพ์ดีดวิสามัญ ชั่วคราว เงินเดือน ๒๐ บาท อยู่ ๒ ปีเต็ม ๆ ไม่ได้ขนึ้ เงินเดือนเลยเพราะไม่มอี ตั รา “สามัญ” จนผ่านไป ๒ ปีเศษ จึงได้มอี ตั รา “สามัญ” อันดับ ๔ กรมศุลกากรจึงเปิดสอบขึ้น ผมซึ่งรออยู่ ๒ ปีเศษจึงสอบได้กลายเป็นข้าราชการสามัญ อันดับ ๔ ได้รบั พระราชทานเงินเดือน ๓๔ บาท
ผมมีเจ้านายเป็นอธิบดี
กรมศุลกากรในสมัยนั้นมีหม่อมเจ้า วิวัฒนไชย ไชยันต์ ทรงเป็นอธิบดี เป็นสมัย ที่กรมศุลกากรก้าวหน้ามากที่สุดพราะท่าน อธิบดีทรงจบ B.A. เกียรตินิยมจากเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างเยี่ยมยอด ทรงมีความสามารถในงาน กระทรวงการคลัง เพราะพอเสด็จฯ กลับจาก เมืองนอก ก็เข้าทรงงานกระทรวงการคลัง เริ่ม ตั้งแต่ทรงเป็นเลขานุการกระทรวงการคลัง ผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง ทรงเป็นปลัดทูลฉลอง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตัง้ แต่พระชันษา ๒๘ พรรษา ทรงเป็นอธิบดีกรมสรรพากรและ ทรงควบคุมงานกรมสรรพสามิตด้วย ดังนัน้
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
เมื่อมาทรงเป็นอธิบดีกรมศุลกากรท่านจึงได้ ทรงปรับปรุงงานของกรมศุลกากรหลายอย่าง หลายประการ ทรงออก “ค�ำสั่ง” “ระเบียบ” “พิธีการ” “ค�ำวินจิ ฉัยพิกัดอัตราอากร” ฯลฯ ออกมาใช้ ข้าราชการทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค จึงปฏิบัติงานได้สะดวกอย่างยิ่ง ทรง เปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรที่มีเพียง ๓๐ ประเภทให้เป็นระบบใหม่ตามแบบอย่างของ ต่างประเทศ โดยก� ำหนดการเสียอากรเป็น “ตามราคา” และ “ตามสภาพ” แยกประเภท สิ น ค้ า ชนิ ด ใดจะต้ อ งเสี ย ภาษี อ ย่ า งไรโดย ละเอียดเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น ๑๙๘ ประเภท ในการเปลี่ ย นแปลงอั ต ราอากรนั้น ต้องท�ำโดยไม่ให้พ่อค้ารู้ตัวล่วงหน้า เพราะ
จะเป็นโอกาสให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน ทั้งในส่วนของพ่อค้าเอง ดังนัน้ อัตราอากรของ สินค้าชนิดใดจะต้องเสียภาษีเท่าไร ท่านอธิบดี จึงทรงเขียนเองเกือบทั้งหมด ในวันที่จะต้อง ประกาศพิกัดอัตราศุลกากรนั้น ท่านสั่งให้ ปิดห้องส�ำนักงานเลขานุการกรมไม่ให้คนเข้าออก ผมต้องพิมพ์พิกัดอัตราใหม่ลงในกระดาษไข อัดส�ำเนากันในทันทีทันใด อาหารกลางวัน และอาหารเย็นเป็นข้าวห่อรับประทานในห้อง นัน้ ท่านอธิบดีเองก็เสวยในห้องท�ำงานกว่าจะ เสร็จก็ค�่ำมาก และประกาศทางวิทยุกระจาย เสียงแล้ว จึงปล่อยให้กลับบ้านได้ เมื่ อ เสร็ จ งานพิ กั ด อั ต ราศุ ล กากร ครั้งนั้นแล้ว หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ท่านอธิบดีทรงกรุณาให้ผู้ที่อยู่ท�ำงานพิเศษได้ ขึ้นเงินเดือนทันทีทุกคนคนละ ๑ ขั้น แล้วพอ สิ้นปีท่านอธิบดีก็ประทานพระกรุณาขึ้นเงิน เดือนเป็นพิเศษให้ผมอีก ๒ ขั้น ในระยะที่หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ทรงเป็นอธิบดีกรมศุลกากรอยู่นนั้ มีที่ปรึกษา กรมศุลกากรคนหนึง่ ชื่อ นายดับบลิว.ดี. รีฟ (Mr.W.D. Reeve ) เป็นชาวอังกฤษ นายรีฟ ผูน้ บี้ างครัง้ ร่างจดหมายภาษาอังกฤษเสนอท่าน อธิบดี ท่านอธิบดีทรงแก้ทำ� ให้พวกเราแปลกใจ มากว่ า คนไทยสามารถแก้ จ ดหมายภาษา อังกฤษที่คนอังกฤษเขียนได้ทีเดียวหรือ และ ข้ อ ความที่ แ ก้ นั้ น ก็ ดี จ นนายรี ฟ เองชมกั บ คนทั่ ว ไปว่ า “ภาษาอั ง กฤษของหม่ อ มเจ้ า วิวัฒนไชยดีจริง ๆ” พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 121
ผมยังจ�ำได้วา่ หัวหน้ากอง หัวหน้าแผนก ในกรมศุลกากร เมื่อจะท�ำบันทึกเสนอท่าน อธิบดีใช้ค�ำขึ้นต้นว่า “ขอประทานเสนอ” แต่ ส่วนนายรีฟเป็นฝรั่ง เมื่อท�ำบันทึกเสนอท่าน อธิ บ ดี เป็ น ภาษาอั ง กฤษ นายรี ฟ ขึ้ นต้ น ว่ า “RESPECTFULLY SUBMITTED” อย่าง น้อยที่สุดผู้อ่านเรื่องนี้ก็ได้ทราบค� ำแปลของ ค�ำว่า “ขอประทานเสนอ” หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ทรง จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ดังนัน้ ท่าน จึงโปรดที่จะทรงใช้นกั เรียนอังกฤษรับราชการ เป็นลูกมือท่าน ในระยะที่ท่านทรงเป็นอธิบดี กรมศุลกากรอยู่ ท่านทรงใช้ ม.ร.ว.ทองเถา ทองแถม B.A. จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเลขานุการกรมศุลกากร และทรงใช้นาย วัฒนา กมลปรีชา B.A. Hon. จากมหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด เป็นหัวหน้าแผนกพิกัดอัตรา ศุลกากร ทั้งสองคนนี้เมื่อท่านทรงย้ายมาเป็น ผูว้ า่ การธนาคารแห่งประเทศไทย ท่านก็ทรงเอา ทัง้ สองคน รวมทัง้ ผมด้วยเป็นสามคนมาท�ำงาน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย เนื่องจากท่านอธิบดีต้องเสด็จฯ ผ่าน ผมทุกวัน บางวันท่านก็ทรงถือข้อความสั้น ๆ มาให้พิมพ์ ท่านก็จะทรงยืนรออยู่จนผมพิมพ์ เสร็จ แล้วท่านก็ทรงถือไปเอง ต่อมาท่าน ทรงทราบว่าผมเขียนชวเลขได้ ท่านก็เรียกผม เข้าไปนั่งหน้าโต๊ะ ท่านรับสั่งบอกด้วยวาจา ผมก็ เ ขี ย นตามที่ ท ่ า นรั บ สั่ ง เป็ น ตั ว ชวเลข
122
ตอนแรก ๆ ต้องพิมพ์เป็นร่างถวายให้ทรงตรวจ แก้กอ่ น แล้วจึงพิมพ์เป็นตัวดีถวายลงพระนาม แต่ตอ่ มาเมือ่ ทรงคุน้ กับการบอกแล้ว ท่านรับสัง่ เสร็จ ผมออกไปพิมพ์เป็นตัวดีถวายลงพระนาม ได้เลย และมีหลายคราวทีเ่ ป็นงานเร่งด่วน ท่าน มายืนคุมอยูท่ เี่ ครือ่ งพิมพ์ ใส่กระดาษตราครุฑ พร้อมกระดาษคาร์บอนและกระดาษส�ำเนา ทรง บอกข้อความทีจ่ ะต้องพิมพ์ พิมพ์เสร็จเดีย๋ วนัน้ ถวายลงพระนามเดี๋ยวนัน้ ก็มีบ่อยครั้ง
ได้เข้าไปรับใช้ในวัง
ระหว่างที่ผมท�ำงานอยู่กับหม่อมเจ้า วิวัฒนไชย ไชยันต์ที่กรมศุลกากรนั้น ท่าน เห็นว่าผมเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ ท่านจึงรับสั่ง ให้ผมเอาเครื่องพิมพ์ดีดใส่รถไปพิมพ์เรื่อง ส่วนพระองค์ของท่านที่วังถนนขาว หลังโรง พยาบาลวชิระฯ วันเสาร์ครึ่งวันบางทีก็ต่อวัน อาทิตย์อีกหนึง่ วัน ถ้าเลิกค�่ำก็ให้รถยนต์ที่วัง ส่งกลับบ้าน ในการที่ ผ มไปพิ ม พ์ ห นั ง สื อ ถวาย ที่ วั ง ถนนขาวนี้ ผมเว้ น เสี ย มิ ได้ ที่ จ ะกราบ ขอบพระทัย หม่อมเจ้าหญิงพัฒนคณนา ไชยันต์ พระชายาของหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ซึ่ง ท่านทรงพระเมตตาต่อผมอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่ ผมไปท�ำงานถวายท่าน ท่านจะทรงดูแลเรื่อง อาหารและเครื่ อ งดื่ ม ให้ ผ มอิ่ ม หน� ำ ส� ำ ราญ เต็มที่ จะด้วยเหตุใดก็ไม่ทราบวันหนึง่ ท่านหญิง ได้รับสั่งถามผมว่า ผมเคยเข้าไปอยู่ในวังกับ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีฯ พระบรม
ราชิ นี ใ นพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยู่หัวหรือ ผมก็เล่าถวายตามความจริง ที่ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณมา ท่านหญิง ก็ทรงเล่าให้ผมฟังว่า ท่านทรงเป็นพระสหาย ร่วมชัน้ ร่วมโรงเรียนเดียวกันกับพระนางอินทร ศักดิศ์ จีฯ ตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๕๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัวทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางอินทร ศั ก ดิ์ ศ จี ฯ และทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า ฯ สถาปนาขึ้ น เป็ น สมเด็ จ พระบรมราชิ นี นั้ น หม่อมเจ้าหญิงพัฒนคณนา กิตยิ ากร (ขณะนัน้ ) ได้ทรงถือเครื่องสูงในพิธีอภิเษกสมรสด้วย ซึ่ง ผมได้เคยเห็นภาพนีใ้ นภายหลัง และตัง้ แต่นนั้ มา ผมรู้สึกว่าหม่อมเจ้าหญิงพัฒนคณนา ไชยันต์ ประทานความเมตตาแก่ผมมากขึ้นสืบต่อมา ดังที่จะเล่าเรื่องต่อไป เมื่ อ งานพิ ม พ์ ห นั ง สื อ ที่ วั ง เสร็ จ เรียบร้อย หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ได้ ประทานนาฬิกาข้อมือ “โมวาโด” เรือนเหลี่ยม แก่ผม ๑ เรือน สมัยนัน้ นาฬิกาสวิสที่ใช้กัน อยู่เกร่อก็มีแต่ “ไวเลอร์” ดังนัน้ เมื่อผมได้ผูก นาฬิกา “โมวาโด” จึงดีใจมาก เป็นนาฬิกาที่ ผมผูกอยู่ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี และการที่ผมได้ ไปช่วยงานทีว่ งั ครัง้ นัน้ ก็เลยท�ำให้ผมกลายเป็น “มหาดเล็กประจ�ำพระองค์” ตัง้ แต่นนั้ มา ไม่วา่ ที่ วังจะมีงานอะไร ท่านก็รบั สัง่ ให้ผมไปช่วยเสมอ เช่น งานท�ำบุญเลี้ยงพระผมก็ไปช่วยยกของ ประเคนของพระ ฯลฯ และงานสงกรานต์ทุก ปี ผมก็มีโอกาสไปรับใช้และได้ลิ้มรส “ข้าวแช่”
แบบชาววังที่มีเครื่องพร้อมเป็นประจ�ำสืบมา หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ทรงเป็น อธิบดีกรมศุลกากรอยูป่ ระมาณ ๔ ปี ทีป่ รึกษา กระทรวงการคลังทีเ่ ป็นอังกฤษ ( Mr. W.A.M. Doll) หมดเทอมได้ ก ลั บ ประเทศอั ง กฤษ ไป กระทรวงการคลั ง จึ ง แต่ ง ตั้ ง หม่ อ มเจ้ า วิวัฒนไชย ไชยันต์ เป็น “ที่ปรึกษาฝ่ายไทย” การจากไปของท่านครั้งนี้เป็นส่วนหนึง่ ในการ ที่ ท ่ า นจะมาทรงเป็ น ผู ้ ว ่ า การธนาคารแห่ ง ประเทศไทยพระองค์แรก หม่อมเจ้าวิวฒ ั นไชย ไชยันต์ เสด็จฯ มาทรงด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ที่ ป รึ ก ษาฝ่ า ยไทยใน กระทรวงการคลัง เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ ท่านได้ ทรงวางแผนท�ำงานชิ้นส�ำคัญชิ้นใหญ่ที่จะจัด ระเบียบการเงินของประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ ของธนาคารกลาง ความปรารถนาที่จะจัดตั้ง ธนาคารกลางนั้นเป็นความคิดริเริ่มมาตั้งแต่ สมั ย ของพระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมหมื่ น มหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลัง มหาสมบัติ พระบิดาของหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยั น ต์ ที่ ไ ด้ ต ามเสด็ จ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ไปในการเสด็ จ ประพาสยุ โรปครั้ ง แรกเมื่ อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เนื่ อ งจากขณะนั้น ยัง มีค วามขัด ข้ อ งอยู ่ ม าก จึงทรงด�ำริจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นมาก่อน แต่ทรงให้เรียก “บุคคลัภย์” (Book Club Association) โดยเปิ ด ท�ำ การตั้ ง แต่ วั นที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ มีส�ำนักงานอยู่ที่ บ้านหม้อ ในขั้นแรกได้ด�ำเนินธุรกิจรับฝาก พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 123
และให้กู้เงิน ต่อมาได้ทรงปรับปรุงให้มีการ ด�ำเนินงานในรูปบริษัทจ�ำกัด เพื่อด�ำเนินธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์และจดทะเบียนเป็นบริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุนจ�ำกัดสินใช้ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๙ ปัจจุบันเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) และ ขณะเดียวกันก็เตรียมที่จะเปลี่ยนเป็นธนาคาร กลางโดยสมบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติโดย กรมพระ จันทบุรีฯ เสนาบดีขณะนั้นได้ว่าจ้าง “เซอร์ เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์” ผู้เชี่ยวชาญทางการ ธนาคารชาวอังกฤษ ท่านเซอร์ได้ถวายรายงาน ว่าควรตั้งธนาคารกลางขึ้น ให้ซื้อกิจการของ แบงค์สยามกัมมาจลเป็นธนาคารกลางของ ประเทศ ควรให้มีทุน ๖,๕๐๐,๐๐๐ บาท โดย เป็นทุนช�ำระแล้วไม่น้อยกว่าครึ่งหนึง่ รัฐบาล ยัง เป็ น ผู ้ อ อกธนบัต รอยู ่ ต่อไป แต่มอบให้ ธนาคารเป็นผู้ด�ำเนินการและห้ามมิให้ธนาคาร นีป้ ระกอบธุรกิจกับประชาชนโดยตรง ข้อเสนอ นี้เงียบหายไปความด�ำริที่จะตั้งธนาคารกลาง ขึน้ มาในสมัยนัน้ จึงทิง้ อยูใ่ นแฟ้มของกระทรวง การคลังนัน่ เอง
สาเหตุที่เข้าท�ำงานที่ ธปท.
เมื่อหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ทรง ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ที่ ป รึ ก ษาฝ่ า ยไทยกระทรวง การคลัง แต่การตั้งธนาคารกลางจะให้ส�ำเร็จ โดยทันทีหาได้ไม่ เพราะจะต้องหาพนักงาน ที่ เหมาะสมและมี ค วามรู ้ ค วามช�ำ นาญก่ อ น
124
รัฐบาลจึงได้จัดตั้งส�ำนักงานธนาคารชาติไทย ขึ้นโดยให้อยู่ในความควบคุมของกระทรวง การคลัง มีหน้าที่ทำ� ธุรกิจของธนาคารกลางแต่ เฉพาะบางประเภทเท่านัน้ เช่น การรับฝากเงิน และการจั ด การเงิ น กู ้ ข องรั ฐ และองค์ ก าร สาธารณะเป็ นต้ น ขณะเดีย วกันก็เตรีย มที่ จะเปลี่ยนองค์การนี้ให้เป็นธนาคารกลางโดย สมบูรณ์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของธนาคารแห่ง ประเทศไทย เมื่ อ หม่ อ มเจ้ า วิ วั ฒ นไชย ไชยั น ต์ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายไทยกระทรวง การคลัง และผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานธนาคาร ชาติไทยอยู่ไม่นานก็เกิดสงครามขึ้นในยุโรป เมือ่ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ในระยะแรก ๆ แห่งสงครามนั้นประเทศไทยได้รับประโยชน์ เป็ น อั น มากจากนโยบายเป็ นกลางในฐานะ ที่เป็นผู้ค้าวัตถุดิบเพราะขายสินค้าได้ราคา ดี ขึ้ นทั้ ง ปริ ม าณที่ ส ่ ง ออกก็ สู ง โดยเฉพาะ จักรภพอังกฤษยังคงเป็นลูกค้าทีด่ ที สี่ ดุ ของไทย ตามเดิมและได้ซื้อข้าวเพิ่มขึ้น สรุปแล้วนับว่า ปี พ.ศ.๒๔๘๓ เป็นปีที่ประชาชนคนไทยมั่งคั่ง สมบูรณ์เนื่องจากสงครามในยุโรปขณะนัน้ ในระหว่างทีห่ ม่อมเจ้าวิวฒ ั นไชย ไชยันต์ ทรงด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นัก งาน ธนาคารชาติไทยอยู่นนั้ ท่านได้ทรงขวนขวาย หาความรู้ในเรื่องธนาคารกลางเป็นอย่างมาก จนกระทั่ ง ได้ มี ก ารจั ด ตั้ ง ธนาคารแห่ ง ประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ และหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์
ทรงเป็ น ผู ้ ว ่ า การธนาคารแห่ ง ประเทศไทย พระองค์แรก ส่ ว นผมในช่ ว งนั้น ในตอนแรกก็ ยั ง คงท� ำ งานอยู ่ ที่ ก รมศุ ล กากรอยู ่ เหมื อ นเดิ ม ต�ำแหน่งนายตรวจขาออก กองสารวัตรขาออก นอกจากบางครั้งบางคราว ถ้าท่านทรงมีงาน มากหรืองานส่วนพระองค์ ท่านก็ทรงเรียก ให้ไปรับใช้ในวังอยู่เป็นประจ�ำ ในระหว่างที่ เกิดสงครามโลก พ.ศ. ๒๔๘๔ กรมพลาธิการ ทหารบก กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ซื้อเครื่อง ใช้ยุทโธปกรณ์ส่งให้รัฐบาลใช้ในช่วงสงคราม แต่ขาดเจ้าหน้าที่ที่จะรู้เรื่องราคาสินค้า จึงท�ำ เรื่องขอเจ้าหน้าที่จากกรมศุลกากรประมาณ สิบกว่าคน ผมผู้หนึ่งที่ถูกส่งไปด้วย แต่ไป ท�ำต�ำแหน่งเลขานุการของเจ้ากรม คือหลวง สินาดโยธารักษ์ โดยมีหน้าที่เขียนชวเลขและ พิมพ์ดีดโต้ตอบหนังสือให้ท่าน ในปีนนั้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ เปิดสอบแข่งขันพิมพ์ดีดของข้าราชการและ องค์การของรัฐ ผมมีความตั้งใจอยากสอบ แข่งขัน จึงไปสอบถามทางกรมศุลกากรว่าจะ ส่งผมไปแข่งขันในนามของกรมศุลกากรหรือไม่ แต่ขณะนั้นกรมศุลกากรมีบุคคลที่จะส่งแล้ว ผมจึงไปสมัครสอบในนามของกรมพลาธิการ ทหารบก กระทรวงกลาโหม ผลปรากฏออก มาผมชนะที่หนึง่ ชนะคนของกรมศุลกากรแต่ การชนะครัง้ นัน้ ไม่ได้เป็นผลดีกบั ผมเท่าไหร่นกั เพราะคุณจรูญ สืบแสง ซึ่งเป็นอธิบดีขณะนัน้ ไม่ค่อยพอใจที่ผลชนะเลิศไม่ใช่ในนามของ
กรมศุลกากร ผมจึงมีความอึดอัดใจอยู่มาก ท�ำให้ผมได้ตดั สินใจทีจ่ ะออกจากกรมศุลกากร ง่ า ยขึ้ น จนมาถึ ง เดื อ นพฤศจิ ก ายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ใกล้จะเปิดธนาคารแห่งประเทศไทย เต็มทีแล้ว ท่านทรงมีพระทัยเปี่ยมไปด้วย พระกรุณาที่จะช่วยผมให้ได้ท�ำงานธนาคาร แห่งประเทศไทยอันเป็นสถาบันที่มั่นคง ท่าน จึงมีรบั สัง่ ให้ผมไปเฝ้าทีก่ ระทรวงการคลัง แล้ว ท่านก็ถามผมว่า ผมท�ำงานที่กรมศุลกากร “ได้ เงินเดือนเท่าไหร่ ?” ผมก็ทลู ท่านว่าผมเป็นนาย ตรวจสินค้าขาออก กองสารวัตรได้เงินเดือน เดือนละ ๖๐ บาท ท่านก็รบั สัง่ ชวนให้มาท�ำงาน ด้วยกันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผมรู้สึกว่า ท่านทรงมีความหวังดีต่อผมอยู่ตลอดมา ผม จึงรับปากโดยที่ไม่ต้องคิดและจากวันนั้นผม ก็ได้เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยมา จนกระทัง่ เกษียณอายุ รวมเวลาทีอ่ ยูใ่ นธนาคาร แห่งประเทศไทย ๓๔ ปี กับ ๗ เดือน รับ บ�ำนาญมาตลอดชีวิตเป็นพระคุณหาที่สุดมิได้ ท่านให้เงินเดือนผมขั้นแรก ๖๐ บาท โดยเป็น พนักงานชวเลขพิมพ์ดีดประจ�ำพระองค์ท่าน อยู่ที่กระทรวงการคลัง ส่วนที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยนั้น ท่านทรงมีพนักงานชวเลข พิมพ์ดีดประจ�ำพระองค์อีกคนหนึง่ ต้นฉบับที่คุณบัว ศจิเสวี ประพันธ์ ไว้จบลงเพียงนี้
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 125
วชิราวุธฯ หลัง ๑๐๐ ปี ฤๅเราอยากจะให้เรือล่ม
มุมหนึง่ ในห้องอาหาร โรงเแรม มาดูซี
(๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒) โต๊ะ กินข้าว สี่เหลี่ยมหลายตัวถูกน�ำมาต่อกันเป็นโต๊ะยาว เก้าอีว้ างอยูร่ ายรอบหลายสิบตัวถูกจับจองโดย ทีมงานอนุมานวสารตั้งแต่รุ่นใหญ่ยันรุ่นเล็ก วิโรจน์ นวลแข หรือทีพ่ วกเราเรียกกันง่าย ๆ ว่า “ลุงช้อย” นั่งเป็นประธานอยู่ตรงกลางโต๊ะ อาหารฝรั่งเศสจานย่อมถูกน�ำมาเสิร์ฟ พร้อม
126
ไวน์และเบียร์อย่างไม่ขาดสายในห้องอาหาร ของโรงแรมใจกลางย่ า นสุ ขุ ม วิ ท ที่ พี่ วิ โรจน์ เป็นเจ้าของ การสนทนาด�ำเนินไประหว่างโอวี รุ่นใหญ่ รุ่นกลาง และรุ่นเล็ก เรื่องราวต่าง ๆ ถูกหยิบยกขึ้นมาซักถาม ตามมาด้วยค�ำตอบ อั น คมกริ บ และชวนคิ ด เรื่ อ งแล้ ว เรื่ อ งเล่ า ถนนสุขุมวิทที่เมื่อเกือบห้าชั่วโมงก่อนคราคร�่ำ
ไปด้วยรถติดจอแจ บัดนี้โล่งเหลือแต่เพียง แสงไฟจากหน้ า รถกระพริ บ ให้ เ ห็ น และ เคลื่อนตัวเป็นระยะ ๆ พี่ วิ โ รจน์ เริ่ ม บทสนทนาซึ่ ง เห็ นจะ ไม่พ้นเรื่องราวเกี่ยวกับโรงเรียนวชิราวุธฯ อัน เป็นที่รักด้วยค�ำถามให้โอวีรุ่นน้องได้ฉุกคิด ตามมาด้วยความคิดเห็นทีว่ เิ คราะห์และวิจารณ์ อย่างตรงไปตรงมา การที่เขาเกี่ยวข้องและ ใกล้ชดิ กับโรงเรียนมายาวนาน ในฐานะนักเรียน เก่าฯ ผู้ส�ำนึกในบุญคุณของโรงเรียนที่ให้การ ศึกษาในวัยเด็กโดยแทบไม่มคี า่ ใช้จา่ ย ในฐานะ อดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่าฯ หลายสมัย ในฐานะอดีตกรรมการบริหารวชิราวุธวิทยาลัย และในฐานะนักการเงินที่มีประสบการณ์และ สายสัมพันธ์กับผู้คนในแวดวงต่าง ๆ ท�ำให้ พี่วิโรจน์พูดถึงหรือวิจารณ์โรงเรียนวชิราวุธฯ ได้อย่างเข้าอกเข้าใจ ค�ำพูดและข้อคิดเห็นของ เขาสะท้อนความเป็นห่วงเป็นใย เต็มไปด้วย ความปรารถนาดี ที่ อ ยากจะเห็ น โรงเรี ย น ก้ า วหน้ า สมสมั ย แบบที่ ค นฟั ง รู ้ สึ ก ได้ อ ย่ า ง ชัดแจ้งและชัดเจน แม้ ว ่ า โรงเรี ย นวชิ ร าวุ ธ ฯ จะมี แนว พระบรมราโชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ซึง่ ย่อมไม่มใี ครแย้งได้เพราะว่าดีและเหมาะสม ทีส่ ดุ เป็นแนวทางในการบริหารจัดการ โรงเรียน ชัดเจน แต่วิโรจน์มองว่า “ที่มาที่ไปและความ ชั ด เจน” ของการบริ ห ารงานของโรงเรี ย น วชิราวุธฯ ตัง้ แต่เรือ่ งงบประมาณสนับสนุนจาก พระคลังข้างที่ การแต่งตั้ง หน้าที่ ความรับผิด
และวาระของคณะกรรมการอ� ำ นวยการ รวมทั้งผู้บังคับการและผู้บริหารระดับสูง และ นโยบายในการจัดการการศึกษาที่จ�ำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นปัญหารุมเร้า ที่มีมาต่อเนื่องและยาวนาน จนเป็นอุปสรรค ส�ำคัญที่ท�ำให้การพัฒนาโรงเรียนจะต้องชะงัก ปล่อยให้โรงเรียนพับบลิคสกูลในอังกฤษและ โรงเรียนอื่น ๆ ในระดับและลักษณะที่คล้าย ๆ กั นทั้ ง ในและนอกประเทศแซงหน้ า ไปมาก จนตามไม่ทัน พี่วิโรจน์ให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานพระบรม ราโชบายในการบริหารจัดการโรงเรียน ในฐานะ แผนกลยุทธ์เพือ่ จัดการการศึกษาตามแนวทาง ที่พระองค์ทรงคาดหวัง (Strategic Intent) ซึง่ เป็นวิสยั ทัศน์ทที่ กุ คนเห็นพ้องกันว่าทันสมัย และลุ่มลึก อย่างไรก็ดี ผู้บริหารโรงเรียนที่ ต้องจัดการโรงเรียนตามพระบรมราโชบายนัน้ จะต้องตีความให้ถูกต้องและปราศจากความ ล�ำเอียง เขายกตัวอย่างว่า ในสมัยหนึ่งเด็ก วชิราวุธฯ เชื่ออย่างผิด ๆ ว่าการที่พระองค์ไม่ ต้องการ “ตูห้ นังสือทีเ่ ดินได้” ว่าคือ “ไม่ตอ้ งเรียน หนังสือ” ทั้ง ๆ ที่พระองค์น่าจะทรงหมายถึง “มีความรู้อย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องสามารถใช้ ความรู้นนั้ ในการท�ำงานเพื่อประโยชน์ของส่วน รวมได้ด้วย” ซึ่งผู้บริหารก็จ�ำเป็นต้องท�ำความ เข้าใจกับเด็ก ๆ ให้ถูกต้อง จะปล่อยไว้ไม่ได้ การทีผ่ บู้ ริหารโรงเรียนตีความพระบรม ราโชบายโดยใช้ ค วามล�ำ เอี ย งหรื อ ไม่ เข้ า ใจ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 127
อย่างถ่องแท้กอปรกับการเปลีย่ นแปลงนโยบาย และปรั ช ญาในการบริ ห ารการศึ ก ษาโดย ขึน้ อยูก่ บั ผูบ้ ริหารเป็นส�ำคัญ มีสว่ นส�ำคัญทีท่ ำ� ให้โรงเรียนไม่กา้ วหน้า หรือเป็นไปอย่างเตาะแตะ ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่โรงเรียนควรจะมีนนั้ คือ “ระบบ” ซึ่ง “มีที่มาที่ไปชัดเจน” และ “เหมาะสมกับ ยุคสมัย” นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทาง นโยบายมีผลต่อผู้ที่ท�ำงานเกี่ยวข้อง รวมทั้ง เด็ ก นั ก เรี ย นซึ่ ง จะเป็ น ผลผลิ ต ของระบบ การศึกษาที่โรงเรียนด�ำเนินไปด้วย หากมองพัฒนาการของวชิราวุธฯ ใน สมัย ๓๐ ปี ที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดเจนว่า เส้นกราฟของพัฒนาการโรงเรียนนัน้ จะสูงขึ้น แล้วต�ำ่ ลง ไม่ใช่เป็นกราฟทีแ่ ทยงพุง่ ขึน้ จากซ้าย ไปขวาตามเวลาที่ก้าวไปข้างหน้า รูปแบบการ พัฒนาแบบขึน้ ลงเช่นนีไ้ ม่ยงั่ ยืนและไม่เป็นผลดี ต่อโรงเรียนในระยะยาว ในสมัยหนึง่ วิโรจน์เคยเป็นกรรมการ บริหารของโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความ เชี่ยวชาญในแวดวงต่าง ๆ ทั้งราชการ ธุรกิจ การศึกษา การเงิน การบริหาร ฯลฯ และมี การเรียกประชุมบ่อยครัง้ เพือ่ ให้ค�ำปรึกษาด้าน การบริ ห ารโรงเรี ย นในรายละเอี ย ด ช่ ว ย สนับสนุนการด�ำเนินงานของคณะกรรมการ อ�ำนวยการ ซึ่งจะตัดสินใจในเชิงนโยบายใน ภาพรวม เมื่ อ พู ด ถึ ง เรื่ อ งนี้ วิ โรจน์ ห ยุ ด คิ ด พร้อมกับส่ายหน้า เราคะยั้นคะยอขอให้เขาเล่า เรื่องนี้ให้ฟัง เราต่างสงสัยกันว่าท�ำไมในตอนนี้ กรรมการชุดที่ว่าหายไปไหน วิโรจน์เล่าว่า
128
วันหนึ่งก็มีจดหมายแจ้งเขาว่ากรรมการชุดนี้ ได้ถกู ยุบแล้ว ซึง่ กรรมการทุกคนก็งงงวยกันไป ตาม ๆ กัน พีว่ โิ รจน์ได้พยายามขอค�ำอธิบายโดย ขอพบกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งจากคณะกรรมการ อ�ำนวยการ หรือแม้กระทัง่ ตัวประธานกรรมการ อ� ำ นวยการเองก็ ไม่ ได้ รั บ ให้ นัด หมาย จน กรรมการที่ถูกยุบในชุดนัน้ ต่างเหนื่อยหน่าย กั น ไป เรื่ อ งนี้ พี่ วิ โรจน์ ให้ ค วามเห็ น ว่ า เป็ น ตัวอย่างของการไม่มที มี่ าทีไ่ ปในการบริหารงาน ของ โรงเรียนทีช่ ดั เจน ใครเป็นคนตัดสินใจ เป็น ข้อเสนอของใคร ฯลฯ ยังไม่มีใครสามารถ ตอบได้ อีกเรือ่ งหนึง่ ทีพ่ วี่ โิ รจน์เล่าให้เราฟังด้วย น�ำ้ เสียงของความเป็นห่วงโรงเรียนว่า คือ การที่ โรงเรียนไม่รู้ว่ามีทรัพยากรในการบริหารเท่าไร นัน้ เป็นปัญหางูกินหาง เขาท้าวความพอให้เห็น ภาพว่า ในสมัยหนึง่ นักเรียนวชิราวุธฯ ได้รับ การสนับสนุนทางการเงินจากพระคลังข้างที่ ซึ่ ง เป็ น พระราชพิ นั ย กรรมของล้ น เกล้ า ฯ รั ช กาลที่ ๖ ที่ ไ ด้ ม อบไว้ ใ ห้ เ ป็ น ทุ น รอน (Endowment) ในการบริหารโรงเรียนถึง ๒ ใน ๓ ของค่าใช้จ่ายต่อคนต่อหัว ซึ่งลดลงใน สมัยต่อมาเป็น ๑ ใน ๒ ทั้งนี้ หากฟังเผิน ๆ คงไม่ใช่เรือ่ งน่าเดือดเนือ้ ร้อนใจ แต่หากมองใน ระยะยาวแล้ว การทีโ่ รงเรียนไม่รวู้ า่ มีทรัพยากร เท่าไร ไม่รู้ว่าปีนี้มีเงินเท่านี้ และปีหน้าจะมี หรือไม่นนั้ ฯลฯ จะเป็นอุปสรรคต่อการบริหาร จั ด การและการพั ฒ นาโรงเรี ย นให้ ก ้ า วหน้ า จะลงทุนในการพัฒนาบุคลากร จะลงทุนใน
อุปกรณ์การศึกษาหรือกิจกรรมที่มีความต่อ เนื่องก็เป็นไปได้ยาก ปัญหางูกนิ หางทีเ่ ป็นผลต่อเนือ่ งมาจาก ปัญหาที่เพิ่งกล่าวถึง เช่น เรื่องที่นกั เรียนเก่าฯ หลายคนมักเอื้อนเอ่ยในวงสนทนา แต่มักไม่มี ใครกล้าพูดออกมาดัง ๆ ก็คือ คุณภาพของ นักเรียนเก่าฯ ทีก่ ลับไปท�ำงานทีโ่ รงเรียน พีว่ โิ รจน์ ให้ความเห็นว่า หากเรามีผลตอบแทนสูงพอ เราก็จะได้นกั เรียนเก่าฯ ที่ดี มีความรู้ความ สามารถและพร้อมที่จะเสียสละมาท�ำงานให้ โรงเรียน หากเราไม่รู้ว่าเรามีทรัพยากร (เงิน) เท่าไร เราก็ไม่สามารถจะวางแผนงบประมาณ ในเรื่องเช่นนี้ได้ ในวาระโรงเรียนวชิราวุธฯ จะมีอายุครบ ๑๐๐ ปี ในปี ๒๕๕๓ พี่วิโรจน์เห็นต่างว่า สิง่ ทีเ่ ราควรท�ำมิใช่การระดมทุนเพือ่ “สร้างตึก” (ทางวัตถุ) หาก จะเป็นต้องมองไปข้างหน้าใน การบริหารจัดการศึกษา โดยอาจศึกษาตัวอย่าง ของโรงเรียนพับบลิคสกูลต้นแบบในอังกฤษ หรือโรงเรียนประจ�ำที่มีลักษณะคล้ายกันใน
ประเทศอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือมาเลเซีย ควรจะมีการท�ำการศึกษาและพูด คุยกันอย่างจริงจังว่าเราจะไปทางไหน โดยดูว่า คนอืน่ เขาเปลีย่ นแปลงไปอย่างไร (อาทิ เขาปรับ เปลีย่ นไปในแนวทางใด มีรปู แบบและแนวทาง การบริหารจัดการโรงเรียนอย่างไร มีกลไกใน การบริหารเช่นไร กรรมการบริหาร/ อ�ำนวยการ มาจากไหน ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีใด) และ น�ำข้อศึกษาทีเ่ ห็นว่าเหมาะสมและเป็นประโยชน์ มาเสนอโรงเรียนเพื่อปรับใช้ต่อไป นัก เรี ย นเก่ า ฯ สามารถช่ ว ยกั นท� ำ สิ่งนี้ให้เกิดขึ้นจริงจังได้ เพื่อตอบแทนบุญ คุณของโรงเรียนที่ให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาโดย ผู้ปกครองเสียสตางค์น้อยเพราะได้รับอุดหนุน จากพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชพินัยกรรม ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่พระราชทานไว้ ให้กับโรงเรียนวชิราวุธฯ และจะเป็นการเสีย สละให้กับโรงเรียนในระยะยาวอย่างแท้จริง อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑)
• อ่านบทสัมภาษณ์ วิโรจน์ นวลแข ฉบับเต็มได้ในอนุมานวสาร ฉบับหน้า • ผูเ้ ขียนอาจมีความเข้าใจในการวิเคราะห์ของวิโรจน์ นวลแขคลาดเคลือ่ น หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใด
ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว • ขณะนี้ อนุมานวสารก�ำลังจะเตรียมร่างข้อเสนอในการท�ำการศึกษา/วิจัย โรงเรียนประจ�ำต้นแบบจาก ประเทศต่างๆ ราว ๑๐ – ๒๐ โรงเรียน โดยหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิธีและกลยุทธ์ รวมทัง้ แนวคิดในการ บริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนต่างๆ ทีจ่ ำ� ต้องรับมือกับความเปลีย่ นแปลง ในปัจจุบัน นักเรียนเก่าฯ ผู้สนใจสามารถมาร่วมแรงร่วมใจกันท�ำได้ หรือสนับสนุนเงินทุนจัดตั้งเป็น กองทุน “วชิราวุธฯ อีก ๑๐๐ ปี” ข้อเสนอทัง้ หมดนีเ้ ป็นเพียงร่างความคิด ซึง่ จะเสนอต่อคณะกรรมการ จัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี เพือ่ รับฟังความเห็นและให้ความเห็นชอบการด�ำเนินการดังกล่าวในโอกาสแรก
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 129
งบประมาณการจัดท�ำอนุมานวสาร ประจ�ำปี ๒๕๕๒ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
(หน่วย : บาท)
รายได้ (จริง) เงินสนับสนุนจาก - โฆษณา - สมาชิก
๗๕,๖๕๐ ๑๖๗,๖๙๐ รวมรายได้
๒๔๓,๓๔๐
รายจ่าย เล่มที่ ๑/๒๕๕๒ - ค่าจัดท�ำ เรียบเรียง (ม.ค.-ก.พ.) - ค่าจัดพิมพ์ (พิมพ์ ๔ สี)
๓๑,๔๐๐ ๑๒๙,๔๐๐
๑๖๐,๘๐๐
เล่มที่ ๒/๒๕๕๒ - ค่าจัดท�ำ เรียบเรียง (มี.ค.-เม.ย.) - ค่าจัดพิมพ์ (พิมพ์ ๔ สี)
๑๖,๒๕๐ ๑๔๒,๒๐๐
๑๕๘,๔๕๐
เล่มที่ ๓/๒๕๕๒ - ค่าจัดท�ำ เรียบเรียง (พ.ค.-มิ.ย.) - ค่าจัดพิมพ์ (พิมพ์ ๔ สี)
๒๗,๒๕๐ ๑๖๗,๐๐๐
๑๙๔,๒๕๐
เล่มที่ ๔/๒๕๕๒ - ค่าจัดท�ำ เรียบเรียง (ก.ค.-ส.ค.) - ค่าจัดพิมพ์ (พิมพ์ ๔ สี)
๒๗,๗๕๐ ๑๗๔,๐๐๐
๒๐๑,๗๕๐
เล่มที่ ๕/๒๕๕๒ - ค่าจัดท�ำ เรียบเรียง (ก.ย.-ต.ค.) - ค่าจัดพิมพ์ (พิมพ์ ๔ สี)
๓๐,๐๐๐ ๑๙๒,๐๐๐
๒๒๒,๐๐๐
เล่มที่ ๖/๒๕๕๒ - ประมาณการ
๒๐๐,๐๐๐
๒๐๐,๐๐๐
รวมรายจ่าย
๑,๑๓๗,๒๕๐
รายได้ค้างรับจากค่าโฆษณา
(๒๐๐,๐๐๐)
130
สุทธิรายรับต�ำ่ กว่ารายจ่าย (๖๙๓,๙๑๐)
สนามหลัง ข่าวสารสมาคมฯ วันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๓๐ น. งานแถลงข่าวเดินเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ อาคารสาทรซิตี้
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 131
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. งานคืนสู่เหย้า / Sports Day “ผสานพี่ น้องทุกมวลหมู่ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่สอง”
132
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 133
วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๓๐ น. งานรักบีป้ ระเพณี ราชวิทย์ฯ - วชิราวุธฯ ครัง้ ที่ ๒๐ ณ สนามกีฬากองทัพบก ผลการแข่งขันราชวิทย์ฯ ชนะวชิราวุธฯ ๑๐ ต่อ ๘ จุด
134
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 135
วันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๓๐ น. เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันประสูติ ณ วังรื่นฤดี สุขุมวิท ๓๘ กรุงเทพฯ โดยสมาคมฯ ถวายพานพุ่มและออกร้านไอศกรีม
136
วันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ร่วมงานถวายพวงมาลา เนือ่ งในวันสวรรคตรัชกาลที่ ๖ บริเวณ ลานหน้าอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๖ วชิราวุธวิทยาลัยและสวนลุมพินี
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 137
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ งานเดินเฉลิมพระเกียรติสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ เวลา ๐๗.๐๐ น. ระยะทางเดินออกจากวชิราวุธวิทยาลัยฯ (คณะจิตรลดา) วนขวารอบโรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัย ๑ รอบ ระยะทาง ๓ กม.
138
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 139
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๖.๓๐ น. ถวาย พานพุ่ม ณ ลานหน้ารัฐสภาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ
140
วันอังคารที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๖.๔๕ น. ร่วมตักบาตรพระสงฆ์ จ�ำนวน ๔๖ รูป ณ บริเวณหน้าหอประชุม วชิราวุธวิทยาลัย
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 141
142
วันกลับบ้าน จากทีมงานอนุมานวสาร
ไป ๆ มา ๆ อนุมานวสารก็ชักจะมีหน้ามีตาขึ้นทุกวัน เริ่มแรกก็ท�ำแต่หนังสือหรือสื่อประชาสัมพันธ์แล้วก็เขยิบมาจัดงานเสวนา หลัง ๆ ยังได้รับ เกียรติให้เข้าไปเป็นลูกมือช่วยจัดเตรียมงานนิทรรศการวชิราวุธร้อยปีเพิ่มเข้ามาอีก ดู ๆ แล้วก็เหลือแต่งานจ�ำพวกกฐินผ้าป่าเท่านัน้ ที่ยังไม่ได้ลอง พูดแล้วดูเหมือนจะเป็นงานเยอะไม่นา่ จะท�ำกันหวาดไหว เมือ่ ค�ำนึงว่าบรรดาทีมงานอนุมานวสาร ไม่ ว ่ า นัก เขี ย นคนถอดเทปไปจนกระทั่ ง ช่ า งภาพล้ ว นเป็ น ผู ้ มี ฝ ี มื อ ประเภท ‘หาตั ว จั บ ยาก’ ทั้งนัน้ คือปกติกว่าจะจับตัวเป็น ๆ กันมาได้ครบก็ยากเย็น แต่ละคนมีภาระติดพันหลากหลาย ตั้งแต่ติดตามเสด็จฯ ไปจนถึงติดสอบซ่อม อนุมานวสารก็เลยต้องเลี้ยงคนเหล่านี้ เช่นเดียวกับวิธีที่โจโฉเลี้ยงคนดีมีฝีมือทั้งหลายใน สามก๊ก คือคุยกันได้ไม่กี่ค�ำก็ “แต่งโต๊ะสุราอาหารมาเลี้ยงดูกัน เสียงอึงคะนึงไปทั้งค่าย” ซึ่งก็ได้ผลทุกที เพราะพอเจออย่างนี้เข้า บรรดาผู้มีฝีมือทั้งหลายก็พากันว่างงานกันง่ายขึ้น แล้วก็อยูป่ ระชุมได้ดกึ ขึน้ อย่างน่าอัศจรรย์ ต่างสามารถนัง่ แสดงความเห็นกลางกองกับแกล้มกันได้ อย่างลืมเวลา จนบางทีเริ่มประชุมกันตอนเย็นแล้วไปลงมติเอาเมื่อเวลาผับเลิกก็มี พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 143
ยิง่ งานเยอะ การเลีย้ งอาหารยิง่ ดูเหมือน จะเยอะและบ่อยขึ้นเป็นสามเท่า ปัญหาที่ว่าเราไม่มีคนอยู่ท�ำงานประจ�ำ ก็เลยมายุตไิ ด้ดว้ ยการนัดกินกันเป็นประจ�ำ ซึง่ นี่ยังไม่นับ ‘กิจนิมนต์’ ที่ทีมงานอนุมานวสาร มีบรรดาพีโ่ อวี ๆ ใจป�ำ้ เชิญไปกินเพือ่ ให้กำ� ลังใจ อีกไม่รู้เท่าไร เอาเป็นว่า อาหารอย่างล็อบสเตอร์ และ ฟิลเลต์สเต๊กก็มีให้กินมาแล้วก็แล้วกัน ที่ ต ้ อ งพู ด อย่ า งนี้ก็ เ ผื่ อ จะให้ เห็ น ว่ า จริง ๆ แล้ว อนุมานวสารไม่ใช่เรื่องของการ อดทนท�ำ แต่ เป็ น เรื่อ งของการท� ำ ด้วยความ เพลิดเพลินส�ำราญ พั ก เรื่ อ งกุ ้ ง ล็ อ บสเตอร์ แ ละฟิ ล เลต์ สเต๊กไว้ก่อนเถิด เพราะอาหารนี้วิเศษอย่างไร ก็ย่อยหมดได้ไม่นาน แต่บทสนทนาซึง่ เดีย๋ วพีส่ อนน้อง เดีย๋ ว น้ อ งก็ ป รึ ก ษารุ ่ น พี่ และเดี๋ ย วทั้ ง น้ อ งทั้ ง พี่ ก็ หั ว เราะครื นขึ้ น พร้ อ ม ๆ กั นนั้น มั นช่ า ง เต็มไปด้วยปรัชญาชีวิตและความรู้สึกเอ็นดู ผูกพันระหว่างคนนับสิบ ๆ รุ่น ซึ่งย่อยอย่างไร ก็ไม่หมด นึกถึงเมื่อใดก็ได้แง่คิดและอิ่มเอม อารมณ์ทุกครั้ง เราถึงอยากจะชวนให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทัง้ หลาย ให้ได้มาร่วมวงอย่างทีพ่ วกเรา ก�ำลังสนุกกันอยู่ จะได้ รู ้ ว ่ า ‘Peculiar pleasant feeling’ มันหอมหวานเพียงไร ธนกร จ๋วงพานิช (รุน่ ๗๗) รายงาน สงกรานต์ ชุมชวลิต (รุ่น ๗๗) ภาพลายเส้น
144
ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนการจัดท�ำ อนุมานวสาร • โอวี รุ่น ๓๑ และ
รุ่นข้างเคียง ๓,๑๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท • ก๊วนกอล์ฟโอวี ๔๓ ๑๐,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๔๖ ๒,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท • โอวี รุ่น ๗๙ ๒,๐๐๐ บาท • O.V.Spirit&Web O.V. ๒,๐๐๐ บาท • นักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยที่อยู่เชียงใหม่ ๒,๖๐๐ บาท • เสถียร เสถียรสุต (รุ่น ๑๖) หนังสือ พระเครื่ อ งจอมสุ ร างค์ อุปถัมภ์และส�ำนักมวย ส.เพลินจิต ๑๕,๐๐๐ บาท • ศ.น.พ.อาวุธ ศรีศุกรี (โอวีเก๋ากึ้กส์) ๒,๐๐๐ บาท • ม.ล.พรสุทธิ์ ลดาวัลย์ (รุ่น อาวุโส) ๕๐๐ บาท • ร.ท.นุรักษ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (รุ่น อาวุโส) ๓,๐๐๐ บาท
• ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์
(รุ่น ๒๕) ๒,๐๐๐ บาท • วิชัย สุขธรรม (รุ่น ๒๘) ๒,๐๐๐ บาท • สนัน่ จรัญยิ่ง (รุ่น ๒๘) ๒,๐๐๐ บาท • อโนทัย สังคาลวณิช (รุ่น ๓๐) ๑,๐๐๐ บาท • จิรายุส แสงสว่างวัฒนะ (รุน่ ๓๑) ๒,๐๐๐ บาท • จักรพันธุ์ โปษยกฤต (รุ่น ๓๓) ๓๐,๐๐๐ บาท • ด�ำรงพันธุ์ พูนวัตถุ (รุ่น ๓๓) ๕๐๐ บาท • พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ (รุ่น ๓๔) ๓๐,๐๐๐ บาท • สุพจน์ ศรีตระกูล (รุ่น ๓๕) ๑,๐๐๐ บาท • อดิศักดิ์ เหมอยู่ (รุ่น ๓๘) ๒๐,๐๐๐ บาท • จุลสิงห์ วสันตสิงห์ (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท • พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท • อภิชัย สิทธิบุศย์ (รุ่น ๔๒) ๑,๐๐๐ บาท • เขมทัต อนิวรรตน์ (รุ่น ๔๓) ๕๐๐ บาท • อิสระ นันทรักษ์ (รุ่น ๔๓) ๒,๐๐๐ บาท • พงษ์พินติ เดชะคุปต์ (รุ่น ๔๔) ๓,๐๐๐ บาท
• ศิโรฒม์ สนิทวงศ์
ณ อยุธยา (รุ่น ๔๔) ๕,๐๐๐ บาท • รัฐฎา บุนนาค (รุ่น ๔๔) ๕,๐๐๐ บาท • ศ.ดร.ทวิป กิตยาภรณ์ (รุ่น ๔๕) ๕,๐๐๐ บาท • คุรุจิต นาครทรรพ (รุ่น ๔๕) ๓,๐๐๐ บาท • พงษ์เทพ ผลอนันต์ (รุ่น ๔๕) ๕,๐๐๐ บาท • ม.ร.ว.อดิศรเดช ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) ๓,๐๐๐ บาท • ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุน่ ๔๖) ๑๓,๐๐๐ บาท • ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา (รุ่น ๔๖) ๕,๐๐๐ บาท • นรศุภ นิติเกษตรสุนทร (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท • ปฏิภาณ ตันติวงศ์ (รุ่น ๔๖) ๒,๐๐๐ บาท • นรศุภ นิติเกษตรสุนทร (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท • ธนันต์ วงษ์เกษม (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท • จีระ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๔๖) ๒๐๐ บาท • ธานี จูฑะพันธ์ (รุ่น ๔๗) ๕,๐๐๐ บาท • สัตยา เทพบรรเทิง (รุ่น ๔๘) ๒,๐๐๐ บาท • ทองเปา บุญหลง (รุ่น ๔๘) ๒๐๐ บาท • องอาจ อนุสสรราชกิจ (รุ่น ๔๘) ๒๐๐ บาท • ชนัตถ์ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๔๘) ๒๐๐ บาท
• มนต์เทพ โปราณานนท์ (รุน่ ๔๙) ๕,๐๐๐ บาท • ธนาวุฒิ สาครสินธุ์ (รุ่น ๔๙) ๑,๐๐๐ บาท • นาวาโท บัญชา จันทร์ไทย (รุ่น ๔๙) ๑,๐๐๐ บาท • นภดล เทพวัลย์ (รุ่น๔๙) ๒,๐๐๐ บาท • นพดล มิ่งวานิช (รุ่น ๕๐) ๑,๐๐๐ บาท • พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๑) ๑,๐๐๐ บาท • อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ (รุ่น ๕๑) ๕,๐๐๐ บาท • สุวิช ล�่ำซ�ำ (รุ่น ๕๑) และ น.พ.ชนินทร์ ล�่ำซ�ำ (รุ่น ๕๒) ๒,๐๐๐ บาท • บัญชา ลือเสียงดัง (รุ่น ๕๒) ๕๐๐ บาท • วิเชฐ ตันติวานิช (รุ่น ๕๒) ๒,๐๐๐ บาท • จุมพจน์ มิ่งวานิช (รุ่น ๕๒) ๕๐๐ บาท • วิเชฐ์ ตันติวานิช (รุ่น ๕๒) ๒,๐๐๐ บาท • สันติ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๕๒) ๒๐๐ บาท • ทินนาถ กิตยาภรณ์ (รุ่น ๕๓) ๑,๐๐๐ บาท • อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า (รุ่น ๕๔) ๓,๐๐๐ บาท • ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) ๑,๐๐๐ บาท • ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ (รุ่น ๕๕) ๒,๐๐๐ บาท • อนันต์ สันติวิสุทธิ์ (รุ่น ๕๕) ๒,๐๐๐ บาท
• ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๖) ๑,๐๐๐ บาท • อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท • อนุวัตร วนรักษ์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท • วีระวัฒน์ เนียมทรัพย์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท • คมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) ๕,๐๐๐ บาท • ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) ๕,๐๐๐ บาท • วรากร บุณยเกียรติ (รุ่น ๕๙) ๑,๐๐๐ บาท • กิตติ แจ้งวัฒนะ (รุ่น ๕๙) ๑,๐๐๐ บาท • อนุวัฒน์ ชูทรัพย์ (รุ่น ๕๙) ๑,๐๐๐ บาท • เวทิศ ประจวบเหมาะ (รุ่น ๕๙) ๕,๐๐๐ บาท • วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐) ๑,๐๐๐ บาท • กมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) ๕,๐๐๐ บาท • นครา นาครทรรพ (รุ่น ๖๑) ๒,๐๐๐ บาท • โกมุท มณีฉาย (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • วรรธนะ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ธนพร คชเสนี (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ปิยะพงษ์ บุณยศรีสวัสดิ์ (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ประภากร วีระพงษ์ (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท • ทรงศักดิ์ ทิพยสุนทร (รุ่น ๖๒) ๑,๐๐๐ บาท
• ภัฎพงศ์ ณ นคร (รุ่น ๖๒) ๕๐๐ บาท • ปรีเทพ บุญเดช (รุ่น ๖๕) ๕๐๐ บาท • พันตรี จุณณะปิยะ (รุ่น ๖๖) ๑,๐๐๐ บาท • เจษฎา บ�ำรุงกิจ (รุ่น ๖๖) ๑,๐๐๐ บาท • ธเนศ ฉันทังกูล (รุ่น ๖๙) ๕๐๐ บาท • สถิร ตั้งมโนเพียรชัย (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท • อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท • ณัฐพล ลิปิพันธ์ (รุ่น ๗๓) ๑,๐๐๐ บาท • ศศิศ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๗๔) ๒๐๐ บาท • พฤศ อุดมวัฒน์ทวี (รุ่น ๗๔) ๒๐๐ บาท • ธัชกร พัทธวิภาส (พจนะ พันธุ์เพ็ง) (รุ่น ๗๕) ๑,๐๐๐ บาท • ภวัตพงศ์ เทวกุล ณ อยุธยา (รุ่น ๗๙) ๕๐๐ บาท • ธนทัต อนิวรรตน์ (รุ่น ๘๐) ๕๐๐ บาท • ฟ้าสาง ปริวุฒิพงศ์ (รุ่น ๘๐) ๑,๐๐๐ บาท • รชต ชื่นชอบ (รุ่น ๘๑) ๑,๐๐๐ บาท • ณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ (เพื่อนโอวี) ๑,๐๐๐ บาท • สมพร ไม้สุวรรณกุล (ผู้ปกครอง) ๒๐๐ บาท
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 145
ห้องเบิกของ ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี ห้องเบิกของเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของพี่น้องชาวโอวี เพื่อให้ชาวโอวี อุดหนุนซึ่งกันและกัน หากต้องการจะลงประกาศหรือแนะน�ำธุรกิจ กรุณาแจ้งรายละเอียดพร้อม หมายเลขติดต่อมายัง ovnewsletter@yahoo.com ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�ำ้ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง (รุ่น ๕๐) และ พี่โจ้ (รุ่น ๕๔) ตั้งอยู่ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียมติดแม่น�้ ำเจ้าพระยา (มีทั้งวิวริมน�้ ำ และวิ ว นั ก ว่ า ยน�้ ำ ) ถนนพิ บู ล สงคราม นนทบุ รี โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ ร้ า นครั ว กะหนก ร้ า นของภรรยา พ.ต.ท.กุ ล ธน ประจวบเหมาะ (รุน่ ๕๕) สถานทีต่ งั้ จากถนนลาดพร้าว เข้าซอยลาดพร้าว ๗๑ ประมาณ ๑๕๐ เมตรอยู่ซ้าย มือ ส�ำหรับชาวโอวีทุกท่าน รับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐% สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ ร้านอาหารห้องแถว ษาเณศวร์ โกมลวณิช (รุ่น ๖๙) รับช่วงต่อจากที่บ้านดูแลกิจการร้านอาหารเหนือสุด แสนอร่ อ ยบนถนนนิ ม มานเหมิ นทร์ ถนนสายฮิ ป แห่งเมืองเชียงใหม่ เมนูแนะน�ำคือ แกงโฮ๊ะ ปลาสลิด ทอดฟู และแหนมผัดไข่ โทร. ๐๕๓ ๒๑๘ ๓๓๓ ร้านอาหาร อิงน�้ำ ของพี่อึ่ง (รุ่น ๓๙) ตั้งอยู่ระหว่าง จรัญ ๗๓-๗๕ (เลย Lotus มาประมาณ ๑๐๐ เมตร) อาหารอร่อยมาก ราคาก็ไม่แพง พี่อึ่ง เป็นกันเองมาก ลองไปชิม รับรองไม่ผิดหวัง ร้านอาหาร บ้านประชาชื่น ของพี่บูน บวรพิตร พิบูล สงคราม (รุน่ ๔๖) คณะพญาไท เวลาท�ำอาหาร ๑๐.๓๐๑๕.๓๐ ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์และอาทิตย์
146
คนแน่นมาก ควรรีบไปแต่เนิน่ ๆ เมนูเลื่องชื่อ ข้าวแช่ ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม ที่สืบทอดสูตรมา จากต้นตระกูลสนิทวงศ์ ความอร่อยต้องไปลิ้มรสด้วย ตนเองจะดีที่สุด ตั้งอยู่ที่ ๓๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ ถ้าไปไม่ถูก หรือต้องการจองโต๊ะ โทร. ๐๒-๕๘๕๑๓๒๓ หรือ มือถือ ๐๘๙-๐๕๗๑๖๑๓, ๐๘๑-๖๑๙๒๖๑๐ ร้ า น HOW TO ภิ ญ โญ โอวี ค ณะผู ้ บั ง คั บ การ (รุ่น ๔๔) ตั้งอยู่แถวถนนเกษตรนวมินทร์ มีดนตรี แนวเพลง Acoustic Guitar และ Folk Song ส่วนลดส�ำหรับชาวโอวี ลดค่าอาหาร ๒๐% สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ OZONO PLAZA ของคมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) อยู ่ ท ้ า ยซอยสุ ขุ ม วิ ท ๓๙ (พร้ อ มพงษ์ ) หลั ง ตึ ก อิตลั ไทย เป็นแหล่งรวมร้านค้าทีต่ อบสนอง Life Style ของคน (และสัตว์เลี้ยง) ทุกรุ่น ภายในมีร้านอาหาร ร้านเฟอร์นิเจอร์ Pub ร้านเสื้อผ้า Coffee Shop ร้ า นท� ำ ผม Waxing ร้ า นท�ำ เล็ บ ร้ า นแผ่ น เสี ย ง ร้านขายสินค้าส�ำหรับสัตว์เลี้ยง Spa อาบน�้ำ ตัดขน สุนัขและแมว โรงแรมสุนัข โรงแรมแมว และยังมี Dog Park ส�ำหรับสมาชิกเท่านั้น ชมรายละเอียด เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ www.ozono.us หรื อ ถ้ า มาไม่ ถู ก ติดต่อ ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ ชาวโอวีทา่ นใดสนใจสมัคร สมาชิก Dog Park จะได้รับส่วนลด
The Old Phra Arthit Pier พงศ์ธร เพชรชาติ (รุ่น ๖๐) ร้านอาหารสวยริมแม่น�้ำเจ้าพระยา ใกล้ ๆ กับท่าพระอาทิตย์ ส�ำหรับชาวโอวีมีส่วนลดให้ ๑๐% โทรมาจองโต๊ะได้ที่ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ หรือถ้ามาไม่ ถูกติดต่อได้ที่ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒
ร้านข้าวมันไก่สิงคโปร์ Orchard สุพร สหัสเนตร ฉุน (รุน่ ๗๕) ท�ำร้านอาหารร้านข้าวมันไก่สงิ คโปร์ Orchard ที่ Central World ชั้น ๗ บริเวณติดห้าง ZEN ยินดี ต้อนรับและมอบส่วนลดแก่โอวีที่มาอุดหนุน ๑๐% ติดต่อได้ที่ (ฉุน) ๐๘๙-๖๖๘-๔๔๖๔
TOYS Pub and restaurant RCA ชัชวลิต ศิรทิ รัพย์ (บอส รุ่น ๗๐) ผันตัวเองจาก VJ Channel [V] มาท�ำ ร้านอาหารกึ่งผับแถว RCA เปิดต้อนรับโอวีทั้งวัยรุ่น วัยท�ำงาน หรือแม้แต่รนุ่ เก๋ากึก้ ส์ จะเลีย้ งรุน่ เลีย้ งวันเกิด สามารถแวะเวียนมาได้ บอสยินดีจัดสรรทั้งสถานที่ และราคาส่วนลดให้อย่างเต็มที่ สนใจติดต่อ ๐๘๑๓๗๒-๘๒๗๑ เปิดทุกวันที่ RCA พระราม๙
ร้านอาหารชิมิ ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๔๔ ) ร้ า นชาบู ช าบู แ ละยาคิ นิ คุ ในแบบของโฮมเมด (อ่ า นรายละเอี ย ดได้ ใ นคอลั ม น์ โ รงเลี้ ย ง ฉบั บ ที่ ๑/๒๕๕๒) คุณภาพเยี่ยมราคาย่อมเยาว์ เหมาะกับ การกินในช่วงหน้าหนาวพอดี อยากหาอะไรอร่อย กระแทกลิ้น เชิญได้ที่ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ โทร ไปจองโต๊ะล่วงหน้าได้ทเี่ บอร์ ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ หรือ อีเมล์ shimi_restaurant@hotmail.com
อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ ่ น ๔๔) ผลต่ อ ยอดจากไร่ วิ ม านดิ น ผลิ ต และ จ�ำหน่ายชาสมุนไพรอินทรีย์รางจืด (Babbler’s Bill Leaf) มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ สามารถล้างพิษ แก้อาการเมาค้างและท�ำลายเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุ ของโรคเริมได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีน�้ำเอ็นไซม์ที่ สกัดมาจากพืชผักผลไม้ที่ปลูกแบบอินทรีย์เกษตร ปลอดสารเคมี ๑๐๐% สรรพคุณของน�้ำ รัตนคุณ
คือ ช่วยปรับสมดุลของเซลล์ในร่างกายและท�ำให้ ระบบก�ำจัดอนุมูลอิสระสมบูรณ์ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ ร่างกายสามารถสลายพิษป้องกันโรคภัย-ไข้เจ็บ และ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือชะลอความแก่ได้นนั่ เอง พี่น้องโอวีท่านใดสนใจอยากรักษาสุขภาพแบบไร้สาร หรืออยากบ�ำบัดรักษาด้วยวิธีแบบธรรมชาติ ติดต่อ ได้ที่ เบอร์ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔
ตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้าง ไอซิดฯ ภตภพ (สิทธิพงษ์) ช.เจริญยิ่ง (รุ่น ๖๖) เปิด บริษัทรับตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้างภายใต้ชื่อ บริษัทไอซิดฯ ผลงานส่วนใหญ่เป็นการตกแต่งบ้าน และคอนโด โดยเฉพาะล่ า สุ ด ที่ ค อนโดมิ เนี ย มหรู “เดอะ แอดเดรส สยามฯ” ที่เข้าไปตกแต่งหลายห้อง และรับเหมาก่อสร้างปรับปรุงห้องที่โรงแรมเดอะมา รีนา ภูเก็ต โทร. ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙ มือถือ ๐๘๑๗๓๓-๗๗๐๑ เว็บไซต์ www.icidcompany.com
อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ นิธิ ก านต์ (มะนาว) โรหิ ต ศุ น (รุ ่ น ๗๐) หลั ง จากผ่ า นการเป็ นนายแบบโฆษณา มาหลายชิ้ นตอนนี้ ผั นตั ว เองมาเป็ นนายหน้ า ขาย บ้าน ที่ดิน คอนโด ของ Era หากท่านใดต้องการ ขายหรือซื้อ บ้าน ที่ดิน คอนโด ติดต่อมาได้ครับ ๐๘๙-๒๑๒-๓๓๔๔ หรือ nithikarn99@gmail.com
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 147
บริการ ถ่ายรูป ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ช่างภาพใหญ่ ประจ� ำ อนุ ม านวสารลาออกจากการเป็ นนัก ข่ า วมา ประกอบธุรกิจส่วนตัวบอกว่าไม่ชอบให้ใครมาก�ำหนด เวลา ออกมาท� ำ งานอิ ส ระเสี ย เลยดี ก ว่ า ถนัด รั บ ถ่ า ยรู ป งานแฟชั่ น งานเฉลิ ม ฉลอง และถ่ า ยรู ป ในสตู ดิ โอ ทั้ ง ถ่ า ยบุ ค คลและผลิ ต ภั ณฑ์ สตู ดิ โอ ของเขาตั้งอยู่ในหมู่บ้านการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ โทร. ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ อี เ มล์ nat_vc72@ hotmail.com หรื อ แวะชมผลงานก่ อ นได้ ที่ www.natphoto.com ร้าน ENCH Tutor & Café ฉัตรชัย เทพอภิชัยกุล สรณัฐ สุดลาภา (รุ่น ๗๖) ศราวุธ ศิริวัฒน์ (รุ่น ๗๗) และผองเพื่อน รุ่น ๗๖, ๗๗, ๗๘ กลุ่มน้องโอวี เลือดใหม่ไฟแรง ผสาน “๒ งานบริการคุณภาพ” ไว้ใน ร้านเดียวได้อย่างสร้างสรรค์ลงตัว ขอเชิ ญ ชวนลิ้ ม รส ขนมของว่ า งสุ ด แสน อร่อย พร้อมชิมน�้ำปั่นแสนสุดพิเศษ ในบรรยากาศ ร้านชวนชื่นมื่นน่ารัก กับราคาเป็นกันเอง น�ำทีมอร่อย ลิ้นอิ่มใจโดย สรณัฐ สุดลาภา (รุ่น ๗๖) ทั้งเปิดสอน พิเศษ ตั้งแต่ชั้น ประถม ๑ ถึง มัธยม ๖ และคอร์ส ติว ENTRANCE สอบเข้ามหาวิทยาลัย อ�ำนวยการ สอนโดย ฉัตรชัย เทพอภิชัยกุล (รุ่น ๗๖) บัณฑิตใหม่ วิศวะฯ จุฬา ยอดอัจฉริยะแห่งโอวีรนุ่ ๗๖ ผูค้ ว้ารางวัล เรียนดีวชิราวุธ ๑๐ ปีซอ้ น ภูมใิ จขอเสนอเชิญชวน พี่ ๆ เพือ่ น ๆ น้อง ๆ โอวี พาลูก ๆ หลาน ๆ มาพบกับกวดวิชา ชั้นคุณภาพ ด้วยราคาอันแสนจะย่อมเยาว์ครับ ENCH Tutor & Café ตัง้ อยู่ ณ ซอยสามัคคี ข้าง ร.ร.เบญจมราชานุสรณ์ ถ.สามัคคี อ.เมือง จ.นนทบุรี เริม่ เปิดบริการตัง้ แต่ตน้ เดือนพฤษภาคม ศกนี้ เป็นต้น ไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ๐๘๖–๖๑๑– ๓๖๖๔ (ฉัตรชัย รุ่น ๗๖), ๐๘๖–๖๙๙–๐๕๙๕ (สรณัฐ รุ่น ๗๖), ๐๘๕–๙๐๙–๙๒๒๒ (ศราวุธ รุ่น ๗๗) e-mail: ihavea_dream@hotmail.com
148
แฟรงค์บราเดอร์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) อดี ต หั ว หน้ า วงจุ ล ดุ ริ ย างค์ ที่ เคยน� ำ วงไปแสดงที่ โรงเรียนสาว ๆ ทั่วราชอาณาจักร หันมาท�ำธุรกิจ ดนตรีอย่างจริงจัง มีสาขาที่กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ขายเครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคลาสสิก มี ไวโอลินเก่าตั้งแต่ระดับมืออาชีพ ควรค่าแก่การเก็บ สะสม จนไปถึ ง ไวโอลิ นคุ ณ ภาพดี ร าคาย่ อ มเยาว์ โทร. ๐๒-๖๓๒-๘๘๒๓-๔ ไร่ บี เอ็น จุลพงศ์ คุม้ วงศ์ (รุน่ ๔๘) พีโ่ จ้ท�ำไร่ บี เอ็น เกี่ยวกับสวนผัก ผลไม้ และดอกไม้ ที่นี่มีชื่อเรื่องลิ้นจี่ (นรก) เพราะขายแพงโคตร ๔๐๐-๗๐๐ บาท/กก. ส่ง ขายที่ห้าง เอ็มโพเรียม เซ็นทรัลเวิล์ด เท่านัน้ แต่ถ้า มาซื้อที่ไร่จะลดให้พิเศษ เหลือ ๑๐๐-๒๐๐ บาท ฝาก บอกชาวโอวีวา่ ถ้าผ่านมาเขาค้อ ก็แวะมาเยีย่ มเยือนบ้าง โทร. ๐๕๖-๗๕๐-๔๑๙ มือถือ ๐๘๑-๙๗๓-๘๕๕๒ ร้านตัดผม Sindy Lim ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพ บุรุษและสุภาพสตรีฝีมือเยี่ยมของแท้และดั้งเดิมบน ปากซอยสุขุมวิท ๔๙ (เข้าซอยอยู่ขวามือ ตรงข้าม เซเว่นอีเลฟเว่นและร้านก๋วยเตี๋ยวแซว) ของทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) หากก�ำลังจะหาร้านท�ำผมเพื่อ ออกงานหรือเปลี่ยนลุคแล้วละก็ เชิญไปใช้บริการ ได้ ติดต่อไปที่ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕, ๐๒-๒๖๐-๐๗๙๓ หรือต้องการติดต่อเจ้าของร้านโดยตรง โทรตามได้ที่ ๐๘๑-๙๒๓-๒๓๗๓ โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet น.สพ.อุรินทร์ คชเสนี (รุ่น ๗๑) รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด ท�ำหมัน เอ๊กซเรย์ ขูดหินปูน อาบน�ำ้ -ตัดขน บริการนอกสถานที่ รับปรึกษาปัญหาสัตว์เลีย้ ง ฝากเลีย้ ง (pet hotel) ขาย อุปกรณ์และอาหารสัตว์ ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง จ.นนทบุรี เปิดบริการทุกวัน ๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. โทร.๐๒-๙๖๙-๘๔๘๙ / ๐๘๙-๘๑๖-๘๑๓๘
ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับสัตว์เลีย้ ง ของ กอบกิจ จ�ำจด (รุน่ ๗๐) นอกจาก จะเป็นเว็บดีไซน์เนอร์แล้วยังเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์ ส� ำ หรั บ หมาและแมวออนไลน์ ไปเยี่ ย มเยื อ นได้ ที่ www.weloveshopping.com/shop/furrytail หรือ ติดต่อตรงที่ โทร. ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ ร้านฟูฟู เจษฎา ใยมุง (รุ่น ๖๕) และภรรยาเปิดบริการ อาบน�้ำ/ตัดขนสุนัข บริการรับฝากสัตว์เลี้ยงกลาง เมืองจันท์ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร. ๐๘๑-
๓๕๓-๒๘๖๕ และ ๐๘๖-๓๘๙๙๔๕๐ บริษัท น�ำ้ -ทอง เทรดดิ้ง จ�ำกัด ภณธร ชินนิลสลับ ซอมป่อย (รุน่ ๖๘) จ�ำหน่าย: น�ำ้ มันหล่อลืน่ น�ำ้ มันหล่อลืน่ อุตสาหกรรมทุกชนิด (ปตท. บางจาก แมกซิมา) ส�ำนักงานใหญ่: ๑๘๘/๑๐๗ หมู่ ๑ ต�ำบลคอหงส์ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ มือถือ: ๐๘๕๓๒๔-๙๙๐๑ โทรศัพท์: ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖ , โทรสาร: ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖
โรงแรม บ้ า นไร่ วิ ม านดิ น ออร์ แ กนิค ฟาร์ ม สเตย์ จั ง หวั ด กาญจนบุรี ชาย พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ่น ๔๔) ไปพักผ่อนสบาย ๆ ภายใต้บรรยากาศความ เป็นธรรมชาติด้วยราคาสบายกระเป๋า นอกจากจะ ได้มาพักผ่อนแล้ว ทางบ้านไร่วิมานดินยังจัดเตรียม อาหารปรุ ง จากผลิ ต ภั ณฑ์ อิ นทรี ย ์ เพื่ อ ล้ า งสารพิ ษ และฟื้นฟูสุขภาพของท่านให้แข็งแรง ส�ำหรับพี่น้อง ที่ ส นใจ อยากไปสั ม ผั ส ธรรมชาติ อ ย่ า งเต็ ม อิ่ ม โทรศัพท์ไปจองได้ที่ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ หรืออยาก หาข้อมูลเพิ่มเติม ก็เข้าไปดูได้ที่ www.vimarndin farmstay.com ส�ำหรับชาวโอวี ลดราคาให้พิเศษ ดิ โอ.วี. คันทรี รีสอร์ท โกมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) เปิดโรงแรมกลางเมืองจันทบุรี ชนิดที่ว่าใครขับรถผ่าน ต้องรู้ว่าเป็นของโอวีทันที เพราะเต็มไปด้วยกลิ่นอาย และของตกแต่งสมัยอยูโ่ รงเรียนของตนเองและลูกชาย โทร. ๐๘๑-๘๓๓-๒๑๒๕ ชุ ม พรคาบานาและศู น ย์ กี ฬ าด� ำ น�้ ำ ลึ ก วริ ส ร รักษ์พันธุ์ (รุ่น ๖๑) ที่หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร ให้บริการที่พัก สัมมนา และบริการด�ำน�ำ้ ลึก มีคอร์ส สอนด�ำน�้ำลึก และมีเรือพาออกด�ำน�้ำในทะเลชุมพร ส�ำนักงานกรุงเทพฯ โทร. ๐๒-๓๙๑-๖๘๕๙ มือถือ ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ชุมพร โทรศัพท์ ๐๗๗-๕๖๐ ๒๔๕-๗ เว็บไซต์ www.chumphoncabana.com
The Bihai Huahin ตั้งอยู่ที่ ๘๙ หมู่ ๕ บ้าน หั ว ดอน ต� ำ บลหนองแก อ� ำ เภอหั ว หิ น จั ง หวั ด ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๑๑๐ โอวีลด ๒๐% โทร. ๐๓๒๕๒๗๕๕๗-๖๐ เว็บไซต์ www.thebihaihuahin.com ไร่ภูอุทัย ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ�ำนวยศิลป์ อุทัย (รุ่น ๗๑) และ รังสรรค์ อุทัย (รุ่น ๗๒) สัมผัสบรรยากาศบนภูอุทัยที่ล้อมรอบ ด้วยธรรมชาติของอุทยานฯ เขาใหญ่ สูดรับอากาศ บริสุทธิ์ด้วยโอโซนระดับ ๗ มีลานกว้างบนเนินเขาที่ มองเห็นทิวเขาได้ ๓๖๐ องศา พร้อมกิจกรรมมากมาย ติดต่อได้ที่ ๐๘๖-๑๓๖-๑๖๑๙ หรือ ๐๘๖-๕๕๔-๕๔๕๗ หรือแวะชมเว็บไซต์ก่อนที่ http://www.phu-uthai. com/ ชาวโอวีราคาพิเศษ ตาลคู่ บีช รีสอร์ท อลงกต วัชรสินธุ์ (รุ่น ๗๕) ตั้งอยู่ ใน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช รีสอร์ทสวยริมทะเล ใสใกล้เกาะสมุย กลัวไปไม่ถูก ติดต่อเจ้าตัวได้โดย ตรง ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ หรือ g_got75@hotmail.com โรงแรม รัตนาปาร์ค มาฆะ พุ่มสะอาด (รุ่น ๕๕) ท�ำงานอยู่โรงแรม รัตนาปาร์ค ที่พิษณุโลก ฝากบอก ว่าถ้าโอวีท่านไหนมาก็ให้โทรบอกได้เลย จะดูราคาค่า ห้องให้พิเศษ โทร. ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ เบอร์โรงแรม ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 149
Keereeta Resort คีรีตารีสอร์ท อุรคินทร์ ไชยศิริ กิมจิ (รุ่น ๗๐) ท�ำธุรกิจ โรงแรมและรีสอร์ทอยู่เกาะ ช้างใครสนใจอยากไปพักผ่อนท่องเที่ยว จัดสัมมนา ยินดีต้อนรับชาวโอวีทุกท่าน พร้อมให้บริการในราคา พิเศษสนใจติดต่อได้ที่ (กิมจิ) ๐๘๙-๗๔๘-๗๕๒๘ Amphawa River view ชโนดม โชติกพนิช (ดม) (รุ่น ๗๐) เปลี่ยนบ้านพักริมแม่น�้ำแม่กลองของตัวเอง เป็น โฮม์สเตย์ริมน�้ำ ตลาดน�ำ้ อัมพวา กับบรรยากาศ ตลาดน�้ำและวิถีชีวิตของคนไทยริมฝั่งแม่น�้ำ ยินดี ต้อนรับโอวีทุกท่านในราคาเบาๆ ติดต่อสอบถามได้ที่ (๐๓๔-๗๕๑-๒๐๒, ๐๘๖-๓๒๙-๙๕๒๒) หรือเข้าชม ที่พักได้ที่ www.amphawariverview.com
โฆษณาขายของกับอนุมานวสาร ฟรี ขายบ้านเดี่ยวสองชั้น พร้อมอยู่ กลางเมืองฝั่งธนฯ เลขที่ ๖๒ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ซอยสิทธิเกษม แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ราคา ๘,๕๐๐,๐๐๐ บาท (คุยได้) บ้านเดีย่ ว ๒ ชัน้ ๕๘ ตารางวา ๕ ห้องนอน ๒ ห้องน�ำ้ ๑ ห้องรับแขก ๑ ห้องรับ ประทานอาหาร ๑ ห้องเก็บเสื้อผ้า ห้องคนรถพร้อม ห้องน�้ำนอกตัวบ้านอีกหนึง่ ห้อง อีกทั้งแท้งค์-ปั๊มน�้ำ รวมแอร์ทั้งบ้าน ๗ เครื่องสถาพดีมาก ตรวจสอบเอง ทุกสัปดาห์ ประตูบ้านกว้าง ๕ เมตรสามารถจอดรถได้ ๓ ถึง ๔ คัน บ้านทาสีใหม่เรียบร้อยตัง้ อยูใ่ จกลางเมือง ธนบุรี เดินทางสะดวก ใกล้ตลาด พร้อมโอนและพร้อม ให้เข้าอยูอ่ าศัย ขายเพราะไม่คอ่ ยได้อยูแ่ ล้ว ติดต่อได้ที่ โชติวิทย์ วัฒนะคีรี (รุ่น ๗๔) ๑๑๒/๑๘๐ หมู่ ๔ ซ.เรวดี ๘ ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร: ๐๒๙๕๑๕๕๐๕ มือถือ: ๐๘-๙๒๐๖-๔๒๗๒ Email: pice43@hotmail.com
150
“ณัฐฐาวารีนำ�้ พุร้อน” ภวิษย์พงศ์ พงษ์สิมา (รุ่น ๗๖) หันมาเปิดรีสอร์ทเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ จังหวัดกระบี่ เชิญพักผ่อนแบบสบาย ๆ อาบน�้ำแร่แช่ น�้ำร้อนท่ามกลางธรรมชาติ โดยมีทีเด็ดที่มัจฉาบ�ำบัด น�ำเข้าปลาจากต่างประเทศมาช่วยกระตุ้นให้ระบบการ ไหลเวียนของเลือดดีขึ้น โดยปลานับพันจะกินเซลล์ ผิวหนังที่ตายแล้วของเราซึ่งจะช่วยบ�ำรุงสุขภาพผิว ให้ดียิ่งขึ้น ภายในณัฐฐาวารีประกอบด้วยสระน�้ำร้อน เล็กใหญ่จ�ำนวน ๗ สระ สระว่ายน�้ำ และบ่อปลามัจฉา บ�ำบัด ซึ่งหากต้องการการอาบน�้ำแร่แบบส่วนตัวเรา ยังมีห้องอาบน�้ำแร่ส่วนตัวอีก ๒๐ ห้อง ในส่วนของ รีสอร์ทขณะนี้ก�ำลังก่อสร้างคาดว่าจะเสร็จในเดือน ธันวาคม สนใจติดต่อ ๐๘๙-๗๘๐-๖๔๗๖ หรือ ๐๗๕๖๐๑๐๔๒ ส�ำหรับโอวีเราลดให้พิเศษอยู่แล้วครับ ดู รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.natthawaree.com
ออกแบบเว็บไซต์และงานกราฟฟิค Zyplus.com สิษฐวัฒน์ ตูจ้ นิ ดา (รุน่ ๖๗) ปิดทองหลัง พระมาเสียนาน ให้บริการจดชือ่ โดเมนเนมและให้พนื้ ที่ เว็บโฮสติ้งของเว็บไซต์ โอวี www.oldvajiravudh. com มาตั้งแต่เปิดโฉมใหม่เมื่อเกือบสองปีก่อน เขา ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตมานานตั้งแต่เรียนจบ โดย เปิดบริษัทเล็ก ๆ ซึ่งมีเขาเป็นทั้งเจ้าของ ผู้จัดการ และ พนักงานเพียงคนเดียว ชื่อ “zyplus” สนใจจดชื่อ
โดเมนเนมหรือเช่าเว็บโอสติ้งเข้าไปที่ www.zyplus. com หรือ โทร. ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ 22eq กอบกิจ จ�ำจด (รุ่น ๗๐) นิติศาสตร์บัณฑิต จากรั้วธรรมศาสตร์ผันตัวเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ รับ ออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ทั่วราชอาณาจักร ติดต่อที่ โทร. ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ หรือ www.jate.22eq.com
อนุมานวสาร ฉบับย้อนหลัง อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๐
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๐ เมษายน - มิถุนายน
ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๐ ฉบับ ๓ - ๒๕๕๐ กรกฎาคม – กันยายน ตุลาคม – ธันวาคม อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๑ ฉบับ ๓ - ๒๕๕๑ เมษายน – พฤษภาคม มิถุนายน – กรกฎาคม
ฉบับ ๔ - ๒๕๕๑ สิงหาคม – กันยายน
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๑ มกราคม – มีนาคม
ฉบับ ๕ - ๒๕๕๑ ตุลาคม – ธันวาคม
พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๒ 151
ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๒ มกราคม – กุมภาพันธ์
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๒ มีนาคม – เมษายน
ฉบับ ๓ - ๒๕๕๒ ฉบับ ๔ - ๒๕๕๒ พฤษภาคม - มิถุนายน กรกฎาคม - สิงหาคม
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง) ฉบับ ๕ - ๒๕๕๒ กันยายน – ตุลาคม
ฉบับ ๖ - ๒๕๕๒ พฤศจิกายน – ธันวาคม
เสื้อยืด
all gentlemen can learn ขนาด M L XL XXL และสำหรับสุภาพสตรีขนาด S M L
ราคาตัวละ ๓๐๐ บาท สั่งซื้อไดที่
อนุมานวสาร (กิตติเดช ฉันทังกูล โทร. ๐๘๑-๓๔๔-๔๒๗๓) 152