•
•
ฉบับที่ ๑๖ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๓ anumanavasarn.com
จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔
ที่ปรึกษา สุเมธ ตันติเวชกุล ชัยอนันต์ สมุทวณิช วิโรจน์ นวลแข ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน ยอดชาย ขันธชวนะ บรรยง พงษ์พานิช วรชาติ มีชูบท กุลวิทย์ เลาสุขศรี ประชา ศรีธวัชพงศ์ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์
โอวี ๓๐ โอวี ๓๓ โอวี ๓๗ โอวี ๓๗ โอวี ๔๔ โอวี ๔๔ โอวี ๔๖ โอวี ๕๗ โอวี ๕๙
โอวี ๔๖
รองประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์และบรรณารักษ์ วีรยุทธ โพธารามิก โอวี ๖๐ สาราณียกร อาทิตย์ ประสาทกุล
โอวี ๗๑
บรรณาธิการ กิตติเดช ฉันทังกูล
โอวี ๗๓
คณะบรรณาธิการ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา กอบกิจ จ�ำจด กรด โกศลานันท์ ภพ พยับวิภาพงศ์ พิชิต ศรียานนท์ เสฎฐวุฒิ เพียรกรณี พงศกร บุญมี ปรีดี หงสต้น ร.ต.สถาพร อยู่เย็น กรรณ จงวัฒนา ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง ศิริชัย กาญจโนภาส
โอวี ๖๕ โอวี ๗๐ โอวี ๗๑ โอวี ๗๑ โอวี ๗๒ โอวี ๗๓ โอวี ๗๕ โอวี ๗๕ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖
• • • •
เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่ สนับสนุนการเงิน-โฆษณา ส่งข่าว-ประกาศ-ประชาสัมพันธ์ ส่งข้อเขียน-บทความ
๑๖
เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๓
ธนกร จ๋วงพานิช ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ จิระ สุทธิวิไลรัตน์
โอวี ๗๗ โอวี ๗๙ โอวี ๘๓
ถ่ายภาพ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ สงกรานต์ ชุมชวลิต วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
โอวี ๗๒ โอวี ๗๗ โอวี ๗๗ โอวี ๗๙
ศิลปกรรม ปริญญา ยุวเทพากร สงกรานต์ ชุมชวลิต ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ ปฏิภาณ สานแสงอรุณ
โอวี ๗๗ โอวี ๗๗ โอวี ๗๙
โฆษณา เขต ณ พัทลุง (โทร ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒) โอวี ๗๑ มณฑล พาสมดี (โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐) โอวี ๗๓ ฝ่ายบัญชีและการเงิน อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รัฐพล ปั้นทองพันธ์
โอวี ๗๑ โอวี ๗๓ โอวี ๗๕
ผู้ช่วยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก วาสนา จันทอง ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ) พิมพ์ที่ พี. เพรส ๐๒ ๗๔๒ ๔๗๕๔ หมายเหตุ ตัวอักษร ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี รุ่น ๓๗ สัญลักษณ์ “๑๐๐ ปี วชิราวุธฯ” ออกแบบโดย นิธิ สถาปิตานนท์ โอวี ๓๘ ภาพปกโดย ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.oldvajiravudh.com
สารบัญ วชิราวุธรฤก
สนามหน้า ๑๐๓ จดหมายเหตุฯ ๔๐ เมื่อรักบี้แพ้ สภากรรมการโรงเรียนฯ สมัยพระยาภะรตราชา สมุดจดพระมนู ๑๔๐ คอลัมน์พิเศษ ๔๔ ตะลุยล�ำปลายมาศ วิชาประวัติศาสตร์ที่ไม่มี ในต�ำราเรียน ฉบับสมบูรณ์ ครั้งแรกที่อนุมานวสาร
สัมภาษณ์ ใต้หอประชุม
สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ เรื่องเล่า ๑๕ จากนักเรียนเก่าฯ ๖๙ ชีวิตในโรงเรียนวชิราวุธฯ
พุทธธรรมคือพันธกิจ ของชีวิต ส่วนงานอดิเรก คือนิพพาน?
บทความ จากนักเรียนเก่า
ทุกค�ำตอบของปัญหาระบบ บริหารโรงเรียนวชิราวุธ
สถานเลี้ยงเด็กก�ำพร้า กับการเมือง !
ม.ร.ว.ศุภดิศ ดิศกุล บ่ายวันอาทิตย์ ๗๔ สนทนาประสานางสาวไทย ระฆังกีฬา ๑๑๐
นักเรียนประจ�ำอย่าง พวกโอวี กับบทบาท ทางการเมือง ลอดรั้วพู่ระหงส์ ๙๐
และครอบครัวโอวี น.พ.บัญชา พงษ์พานิช ๓๖ เรือนจาก ๕๔ หอประชุม
ท�ำดีได้ดีมีที่ไหน ไม่รู้ รู้แต่ว่าที่นี่ยิ่งท�ำดียิ่งมันส์
มีชัย วีระไวทยะ
ไปดูวิธีคิดของฝรั่ง กับการดูแลโรงเรียนประจ�ำ
วิถีวชิราวุธ ห้องสมุด ๗๓ ชีวิตชั้นๆ โรงเลี้ยง ๘๖ Cabbages & Condoms Restaurant ศัพท์ โอวี ๑๓๔ ท�ำผ้า และ โชเบ กองบังคับการ ๑๕๙ อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ตึกพยาบาล ๑๓๗ โรคหัวใจ
ข่าวสาร และกิจกรรม กล่องจดหมาย สนามหลัง จากห้องประชุม สมาคมฯ วันกลับบ้าน
๑๐ ๑๕๓ ๑๕๔ ๑๖๔
My Place to Stand
anumanavasarn.com
สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วัตถุประสงค์หลัก ของการจัดตั้งสมาคมฯ
งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของ ๑ ส่พระบาทสมเด็ จพระปรเมนทรมหา
วชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกใน ทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม อันดีของประชาชน ประสานสามัคคีในหมู่สมาชิกนักเรียน เก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนใน พระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันใน หมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธ วิทยาลัย เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญของ โรงเรียน ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธ วิทยาลัย เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของ วชิราวุธวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร
๒
๓ ๔
๕
๖ ๗ ๘ ญสาธารณประโยชน์ในโอกาส ๙ บ�อันำเพ็สมควร
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก กมีสิทธิที่จะร่วมกิจการต่างๆ ๑ สมาชิ ที่สมาคมฯ จัดขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบที่วางไว้
กมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมาย ๒ สมาชิ ของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ญสมาชิกมีสิทธิเสนอ ๓ สามั ความคิดเห็น ตรวจดูหลักฐาน และบัญชีต่าง ๆ ของสมาคมฯ ได้ ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ
ญสมาชิกเท่านั้นมีสิทธิเข้า ๔ สามั ประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตั้ง หรือรับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ หรือ กรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิก นั้นค้างช�ำระค่าบ�ำรุง
ญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระ ๕ สามั ค่าบ�ำรุงตามที่ก�ำหนดไว้ กต้องปฏิบัติตามระเบียบและ ๖ สมาชิ ข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ กมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และ ๗ สมาชิ บริการของสมาคมฯ และสโมสร
แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ที่ก�ำหนดไว้
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นายกสมาคมฯ
รุ่น ๔๐ นายปฏิภาณ สุคนธมาน กรรมการและเหรัญญิก
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย กรรมการโดยต�ำแหน่ง
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา กรรมการและประธานสโมสร
รุ่น ๕๒ รุ่น ๕๔
นายตันติ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ อุปนายก ฝ่ายสิทธิประโยชน์
รุ่น ๔๐ นายสัคคเดช ธนะรัชต์ กรรมการและรองประธานกีฬา
รุ่น ๕๗
นายสุรเดช บุณยวัฒน อุปนายก ฝ่ายวางแผนและพัฒนา
รุ่น ๔๑ นายชาย วัฒนสุวรรณ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก
รุ่น ๕๗
นายชัยวัฒน์ นิตยาพร ประธานส่งเสริมความสัมพันธ์
รุ่น ๔๒ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ กรรมการและเลขานุการ
รุ่น ๕๙
ดร.คุรุจิต นาครทรรพ อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ
รุ่น ๔๕ นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ กรรมการและรองประธานสโมสร/ปฎิคม
ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ นายวีรยุทธ โพธารามิก กรรมการและประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรรมการและบรรณารักษ์ นายศุภลักษณ์ เปรมะบุตร กรรมการและนายทะเบียน
รุ่น ๖๐
รุ่น ๔๗ นายภัคพงศ์ จักรษุรักษ์ รุ่น ๖๑ กรรมการและรองประธานกิจกรรมพิเศษ
ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๑ นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร กรรมการและประธานฝ่ายหารายได้ กรรมการและรองประธานกีฬา
รุ่น ๖๒
นายสุภรัตน์ อัลภาชน์ กรรมการและประธานกีฬา
รุ่น ๗๑
รุ่น ๕๑ นายอาทิตย์ ประสาทกุล กรรมการและสาราณียกร
นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ
anumanavasarn.com
6
ห้องเพรบ
จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์
สวัสดีครับ โอวี และท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ขณะที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้ เหตุการณ์ ไม่สงบในกรุงเทพได้สิ้นสุดลงแล้ว โล่งอก ส�ำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่ไม่เคยคิดว่าจะมี เหตุการณ์เช่นนี้ในใจกลางเมือง มีทั้งระเบิด บั้งไฟ หนังสติ๊ก เผายาง อาวุธครบทุกชนิด บินว่อนกันเต็มท้องฟ้า เหมือนพม่าเผาเมือง ความแตกแยกของคนไทยมาถึ ง จุ ด นี้ ไ ด้ อย่างไร เป็นเรื่องที่คิดไม่ถึงจริงๆ ครับ ผม เชื่อว่าพวกเราโอวีมีความแตกต่าง แต่ไม่ แตกแยก พวกเราเป็นเสมือนพี่น้องท้อง เดียวกัน เดินตามกันมา จ�ำได้ว่าเมื่อเราจะ แข่งกีฬาแต่ละครัง้ เราจะร้องเพลง “เมือ่ แมว หมา... เล่นกีฬา... มันท้ากัด... จงใจฟัด... เหวี่ยงปล�้ำ... ขม�้ำหมาย.. แต่พวกเรา... ยุวชน... คนผู้ชาย.... กีฬาหลาย... รักเล่น.. ให้ เ ป็ น คุ ณ ... ไม่ ท ะเลาะ... เบาะแว้ ง ... แย่งชนะ... ไม่เกะกะ... กวนยั่ว... ให้หัว หมุน... เพราะเรามี... มารยาท... ชาติ สกุล...” แล้วก็จ�ำไม่ได้แล้วครับเพราะเดิน แถวเสร็ จ เสี ย ก่ อ นที่ เ พลงจะจบเสี ย ทุ ก ที การเล่นกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักอภัย เป็นปัจจัยส�ำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข ผมเชือ่ ว่าถ้าคนไทยถูกสอนเหมือน ทีพ่ วกเราถูกสอนมาจากในโรงเรียนแล้ว การ ทะเลาะเบาะแว้งเช่นนีจ้ ะไม่เกิดขึน้ ไม่วา่ เรา จะมาจากไหน... สีอะไรก็ตาม เมื่อออกจาก
โรงเรียนแล้ว เรามีสีเดียวกันคือ สีน�้ำเงินฟ้า เป็นลูกพ่อเดียวกัน ใช่ไหมครับ ส�ำหรับหนังสืออนุมานวสารฉบับนี้ ทีมงานอนุมานวสาร มี โ อกาสสั ม ภาษณ์ ม.ร.ว.ศุภดิศ ดิศกุล โอวีรุ่น ๔๐ หนึ่งใน คณะกรรมการอ�ำ นวยการ ขอชี้ แ จงเพื่ อ ความเข้ า ใจและตอบข้ อ ข้ อ งใจจากบท สัมภาษณ์ของพีว่ โิ รจน์ นวลแขในฉบับทีแ่ ล้ว ซึ่งอันที่จริงแล้วคณะกรรมการอ�ำนวยการ ได้ด�ำเนินการพัฒนาและปรับปรุงโรงเรียน ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุง โครงสร้างการบริหารโรงเรียน การปรับปรุง อัตราเงินเดือนเพื่อให้โรงเรียนสามารถจัด หาบุคคลากรที่มีคุณภาพและมีความเป็น มืออาชีพ อีกทัง้ การพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้มีความก้าวหน้าทันสมัย และอีกหลายๆ ประการ ขอโปรดติดตามได้ในเล่มนะครับ นอกจากนีแ้ ล้ว ด้วยความอนุเคราะห์ จากพี่ศุภดิศ ได้อนุญาตให้หนังสืออนุมาน วสารลงบทความอันเป็นประวัติศาสตร์ใน รัชสมัยขององค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ จาก หนังสือต้นฉบับเรือ่ ง “สิง่ ทีข่ า้ พเจ้าพบเห็น” โดย ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาใน สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชนุภาพ ทรง นิพนธ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๖ ซึ่งยังไม่เคย ลงทีไ่ หนมาก่อน บทความนีเ้ ป็นบทความอัน
มี ค ่ า อย่ า งหามิ ไ ด้ ทางอนุ ม านวสารจะ คั ด เลื อ กบางตอนน� ำ มาลงตั้ ง แต่ ฉ บั บ นี้ เป็นต้นไป ขอขอบคุณพี่ศุภดิศเป็นอย่างสูง มา ณ ที่นี้นะครับ ส�ำหรับบทสัมภาษณ์ในฉบับนี้ เรา ได้ สั ม ภาษณ์ โ อวี อ าวุ โ สผู ้ มี ชื่ อ เสี ย งและ ท�ำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมาตลอด ชีวติ ตัง้ แต่การรณรงค์การวางแผนครอบครัว การรณรงค์เพื่อยับยั้งการแพร่ขยายของผู้ ป่วยโรคเอดส์ และล่าสุดการพัฒนาโครงการ ตามแนวทางพระราชด�ำริเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาการศึกษาตัวอย่างทีโ่ รงเรียน ล�ำปลายมาศ ท่านนี้ก็คือ พี่มีชัย วีระไวทยะ โอวีรนุ่ ๓๒ ทีมงานอนุมานนวสารได้เดินทาง ไปถึงจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพบกับพี่มีชัยซึ่งได้ พาพวกเราไปดูแปลงทดลองการปลูกมะนาว
ให้ออกลูกนอกฤดูกาล สามารถเพิ่มรายได้ ให้ชาวนาชาวไร่จากไร่ละ ๓-๔ หมืน่ บาทจาก การปลูกข้าว เป็นไร่ละ ๒ แสนบาท ด้วยการ ปลูกมะนาว หลังจากนั้นก็พาพวกเราไปดู โรงเรียนล�ำปลายมาศ ซึง่ พวกเราต้องพบกับ ความประหลาดใจ ที่โรงเรียนนี้ไม่มีหนังสือ เรียน นักเรียนคิดกันเองว่าจะเรียนอะไรใน แต่ละเทอม ห้องเรียนแต่ละห้องไม่มีโต๊ะ เรียน หากแต่นั่งกับพื้นล้อมกันเป็นวง ไม่มี ระฆังบอกเวลาเข้าเรียน แต่ผลการเรียนจาก การทดสอบของ O-Net นัน้ สูงเกินมาตรฐาน ของทั้งจังหวัดและประเทศไปมากอย่างไม่ น่าเชื่อ โปรดติดตามในฉบับนี้นะครับ ส� ำ หรั บ โอวี อี ก ท่ า นหนึ่ ง ผู ้ ซึ่ ง เรี ย น จบแพทย์ศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการท� ำ งานเป็ น anumanavasarn.com
8
ห้องเพรบ
แพทย์ อ าสาช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ใ นถิ่ น ทุ ร กั น ดานจนมี ค นไข้ ม าเข้ า รั บ การรั ก ษา อย่างล้นหลาม หากแต่ว่าการท�ำงานอย่าง ขยันขันแข็งนั้นมักจะขัดต่อธรรมชาติการ ท�ำงานของหน่วยงานราชการ คุณหมอจึง หันมาท�ำงานที่ตนเองใฝ่ฝันและสามารถแก้ ต้นตอของปัญหาความยากจน นั่นก็คือการ เข้าไปมีสว่ นร่วมในโครงการพัฒนาชีวติ และ สังคม ครั้งใดที่มีวิกฤติการของชาติ มักจะ มีชื่อคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ถูกเชิญเข้า มาเป็นคณะกรรมการอยู่เสมอโดยเฉพาะ ในเขตภาคใต้ และในครั้งหนึ่งคุณหมอได้มี โอกาสเข้าไปศึกษาธรรมะกับท่านพุทธทาส อย่างใกล้ชิด จนเมื่อท่านมรณะภาพไปแล้ว คุณหมอจึงได้มีโอกาสท�ำหอจดหมายเหตุ ของท่ า นพุ ท ธทาส โดยรวบรวมหนั ง สื อ และข้อเขียนของท่านที่มีอยู่มากมายและ ใกล้จะแล้วเสร็จในเร็ววันนี้ และอีกผลงาน หนึ่งของคุณหมอคือการรวบรวมที่มาของ ลูกปัดโบราณที่ขุดพบในจังหวัดต่างๆ ซึ่ง เป็นการค้นพบที่น่าพิศวงของความเป็นไป ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยว่าเหตุใด ลูกปัดที่มีเฉพาะในแถบอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ในอดีต เช่น อาณาจักรโรมันหรืออียิปต์ ปรากฏขึ้นในประเทศไทยได้อย่างไร พบกับ คุณหมอได้ในฉบับนี้นะครับ ส�ำหรับงาน ๑๐๐ ปี วชิราวุธก�ำลัง ใกล้เข้ามาทุกที เรามีกิจกรรมต่างๆ ทั้ง
การจัดเสวนา การจัดนิทรรศการ กิจกรรม กีฬา และดนตรี และอืน่ ๆ อีกมากมาย ในขณะ เดียวกัน โอวีรนุ่ ต่างๆ ก็รว่ มใจกันท�ำกิจกรรม หรือบริจาคทุนทรัพย์ให้กับโรงเรียน บางรุ่น ก็จัดท�ำของระลึก มีน้องในทีมอนุมานวสาร คนหนึง่ เห็นว่าการสวดมนต์ของเด็กนักเรียน ในปัจจุบันผิดเพี้ยนไปจากสมัยก่อนมาก จึง เรียนขออนุญาตท่านผู้บังคับการขอช�ำระ บทสวดมนต์ ร วมทั้ ง การท� ำ บทเพลงใน หนั ง สื อ ให้ เ ด็ ก นั ก เรี ย นรุ ่ น ใหม่ ไ ด้ ร ้ อ งกั น อย่างถูกต้อง น้องคนนี้จึงลงทุนไปนั่งฟัง การสวดมนต์ตามวัดต่างๆ แทบทุกวัด อัด เทปแล้วฟังเปรียบเทียบจนพบว่าแต่ละวัด นั้นมีการสวดไม่เหมือนกัน บ้างเร็ว บ้างช้า และสรุปได้ว่าโรงเรียนน่าจะสวดมนต์ตาม แบบของวั ด บวรนิ เ วศวิ ห ารน่ า จะเหมาะ ที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นวัดที่สวดมนต์ ได้ไพเราะแล้ว วัดบวรฯ ยังเป็นวัดประจ�ำ รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวอีกด้วย ดังนั้นในงาน ๑๐๐ ปี วชิราวุธนี้ คงจะมีสิ่งต่างๆ ให้พวกเราระลึก ถึงความหลังอย่างมากมาย จึงอยากจะขอ เชิญชวนพวกเราชาวโอวีเข้าร่วมงานอันเป็น ประวัติศาสตร์ที่เราจะต้องจารึกไว้ในความ ทรงจ�ำไปจนตลอดชีวิตของเราเป็นแน่ พบกันในฉบับหน้านะครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี 9 เขียนถึงอนุมานวสาร
๑๐ ซอย ๘ แยก ๑๐ ถนนกรุงเทพกรีฑา กทม. ๑๐๒๔๐ วันที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ เรียน ท่านนายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในวันที่มีการแข่งขันกอล์ฟโอวีครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ท่านนายกฯ ได้ขอให้ผมไปร่วม ประชุมใหญ่ที่จะจัดขึ้น (แต่ได้เลื่อนออกไปโดยมีก�ำหนดใหม่ในวันที่ ๒๘ เดือนนี้) ด้วยว่า คณะอนุกรรมการทีส่ มาคมฯ ได้แต่งตัง้ ให้พจิ ารณาเรือ่ งเลขรุน่ ของนักเรียนวชิราวุธฯ ทีน่ บั กัน มาผิดๆ แต่เดิม ตามทีผ่ มเคยน�ำเสนอว่าสมควรจะเปลีย่ นแปลงใหม่หรือไม่ อย่างไร ซึง่ ท่าน นายกฯ บอกว่า คณะอนุกรรมการมีมติออกมาแล้วว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ผม ได้ยินแล้วก็งงๆ อยู่ เพราะในปีที่แล้ว ที่ประชุมใหญ่ซึ่งมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ดังกล่าว ได้แต่งตัง้ ให้ผมเป็นทีป่ รึกษาในคณะอนุกรรมการนัน้ ด้วย แต่ทว่า หลังการประชุม ใหญ่คราวนั้นแล้ว ผมก็ไม่เคยได้รับเชิญไปร่วมประชุมใดๆ รวมทั้งไม่ได้รับข่าวสารจาก สมาคมฯ ในเรื่องนี้อีกเลย แม้ผมจะได้พยายามติดตามตลอดมา แต่อยู่ๆ ท่านนายกฯ ก็ มาเล่าให้ฟังว่าคณะอนุกรรมการได้ถูกแต่งตั้งขึ้นและด�ำเนินการเรื่องนี้แล้วเสร็จไปแล้ว ทั้ง ได้ลงความเห็นเด็ดขาดด้วยว่าจะให้คงใช้เลขรุ่น (ที่ผิดๆ) นั้นต่อไปตามเดิม ขณะนัน้ บรรยากาศมิได้เอือ้ อ�ำนวยทีจ่ ะซักถามรายละเอียด ทัง้ ผมเองก็ปล่อยวาง พร้อมที่จะยอมรับในเรื่องนี้ไม่ว่าผลจะออกมาประการใดก็ตาม อย่างไรก็ดี ก่อนที่เรื่องนี้จะ ยุติลง ผมขอโอกาสที่จะแถลงปิดประเด็นเป็นลายลักษณ์อักษรดังนี้ ๑. ตามทีผ่ มได้รอื้ ฟืน้ น�ำเรือ่ งการเปลีย่ นเลขรุน่ ของนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ มาน�ำเสนอ ขึ้นใหม่ใน พ.ศ. นี้ก็ด้วยเหตุผลว่า การนับรุ่นของนักเรียนวชิราวุธฯ ทั้งนักเรียนเก่าฯ และ ปัจจุบนั ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทีพ่ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชทาน ก�ำเนิดโรงเรียนนีข้ นึ้ โดยเป็นพระราชกรณียกิจส�ำคัญทีท่ รงกระท�ำเป็นล�ำดับแรกในรัชกาล anumanavasarn.com
10
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี
แทนการสร้างวัด ตามพระราชประเพณีดั้งเดิม การที่ทรงมีพระราชบันทึกโดยชัดเจนว่า วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ถือเป็นวันก�ำเนิดของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง วชิราวุธ วิทยาลัยจึงได้สืบสานวันส�ำคัญนี้ในการนับอายุโรงเรียนตลอดมา ดังที่จะมีการเฉลิมฉลอง ครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่จะมาถึง ๒. โรงเรียนที่พระราชทานก�ำเนิดด�ำเนินการมาได้ยังไม่ครบ ๑๕ ปีเต็ม พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ก็เสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เมือ่ สิน้ รัชกาลของพระองค์แล้วพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระมหากษัตริยใ์ นรัชกาล ต่อมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ากับมหาดเล็กหลวงแล้ว พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า วชิราวุธวิทยาลัย ในวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ การที่นักเรียนเก่าวชิราวุธที่เริ่มต้นนับรุ่นที่ ๑ โดยย้อนจากที่นักเรียนจบชั้นสูงสุดหลังจาก ปีนั้น จึงผิดทั้งข้อเท็จจริงที่ละเลยไม่นับเนื่องอายุความของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ท�ำให้ ขัดแย้งกับอายุแท้จริงที่โรงเรียนยึดถือปฏิบัติอยู่ และผิดที่มิได้ถวายความเคารพต่อความ ส�ำคัญในการพระราชทานก�ำเนิดโรงเรียนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดู เสมือนว่าวชิราวุธวิทยาลัยถือก�ำเนิดในรัชกาลที่ ๗ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้พระราชทานก�ำเนิดฉะนั้น ๓. การทีเ่ ลขรุน่ ของนักเรียนวชิราวุธฯ ลักลัน่ ไม่สอดคล้องกับอายุของโรงเรียน จะยัง ความสับสนต่อไปอย่างไม่รู้จบตราบเท่าที่โรงเรียนของเราจะด�ำรงอยู่ในพระราชอาณาจักร นี้ นอกเสียจากว่า เราจะร่วมใจกันแก้ไขในสิ่งผิดให้ถูกต้องเสียในวาระส�ำคัญที่โรงเรียนจะ มีอายุครบ ๑๐๐ ปีทจี่ ะถึง หากพ้นไปแล้วคงยากทีเ่ รือ่ งนีจ้ ะถูกน�ำมาเสนอให้พจิ ารณากันอีก ความจริงแล้วผมมีเหตุผลมากกว่าทั้งสามข้อที่กล่าวมา แต่ในที่นี้จะขอละไว้เสีย ท่านที่สนใจอาจย้อนกลับไปหาอ่านได้จากอนุมานวสารฉบับที่ ๑ และ ๒ เรื่องการแก้ไขตัวเลขรุ่นนี้ หลักการส�ำคัญมีอยู่ว่านักเรียนวชิราวุธฯ ที่จะจบการ ศึกษาในปีที่โรงเรียน อายุ ๑๐๐ ปี นั้น ควรจะเป็นรุ่นที่ ๑๐๐ ด้วย แต่ด้วยการนับรุ่นแบบ ที่ใช้กันมาแต่เดิม รุ่นดังกล่าวจึงเป็นเพียงรุ่นที่ ๘๓ ต่างกันอยู่ ๑๗ ปี ที่ผ่านมามีผู้สนใจ แสดงความเห็นกับผมมากมาย ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หากจะเปลี่ยนเลขรุ่นโดยการ บวกเลข ๑๗ ลงไปในเลขรุ่นเดิม ผู้ไม่เห็นด้วยก็มีเหตุผลว่าเลขรุ่นที่ใช้อยู่แล้วนั้นมีความ ผูกพันธ์มาช้านาน จึงเสียดายหากจะเปลีย่ นทัง้ เลขรุน่ ใหม่กน็ า่ จะสร้างความสับสนในระหว่าง นักเรียนเก่าฯ ได้มาก ผมใคร่ครวญดูแล้วก็เชื่อว่า การจะเปลี่ยนเลขรุ่นโดยบวก ๑๗ เพิ่มตัวเลขเดิม เข้าไปน่าจะมีปัญหาจริง หลังจากปรึกษากันในวงกว้าง มีผู้เสนอทางออกโดยการน�ำ
เลข ๑๗ มาใช้ในเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงความเคารพต่อความเป็นจริงของประวัติศาสตร์ อันศักดิ์สิทธิ์ของโรงเรียน โดยยังคงรักษาตัวเลขรุ่นเดิมเอาไว้ กล่าวคือ ให้น�ำเลข ๑๗ นั้น มาเรียงไว้ข้างหน้า หรือข้างหลังตัวเลขรุ่นเดิม เช่น ๑๗๓๗ ๑๗๕๙ ๑๗๘๐ หรือ ๔๐๑๗ ๗๙๑๗ ๖๒๑๗ เป็นต้น ส่วนนักเรียนที่จบปีการศึกษาในปี ๒๕๕๔ หรือหลังจากนั้น ก็ให้ เป็นรุ่นที่ ๑๐๐ และต่อๆ ไปให้ถูกต้องเลย ตัวเลข ๑๗ จะเป็นสัญลักษณ์ที่เรา นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ถวายความส�ำนึกต่อ พระมหากรุณาธิคุณขององค์พระผู้ราชทานก�ำเนิด ด้วยการยอมรับนัยส�ำคัญว่าโรงเรียน มหาดเล็กหลวงของพระองค์ก็คือโรงเรียนเดียวกันกับวชิราวุธวิทยาลัยจะเป็นอื่นมิได้ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยพึงใช้ตวั เลขรุน่ สีห่ ลักดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ส่วนนักเรียนเก่าฯ แต่ละรุ่น จะใช้ชื่อรุ่นกันเองเป็นตัวเลขสี่หลัก หรือสองหลักแบบเดิมๆ ก็ได้ ถือว่าเป็นปัจเจก โดยไม่นา่ จะมีความสับสนใดๆ เกิดขึน้ แต่เชือ่ ว่าเลข ๑๗ นีจ้ ะชีน้ ำ� ให้ ทุกคนได้เข้าใจประวัติความเป็นมาของโรงเรียนอย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถอธิบาย ความหมายให้บุคคลอื่น ตลอดจนอนุชนรุ่นหลังให้เข้าใจได้ ผมเสียดายที่ไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนทัศนะนี้ในคณะอนุกรรมการที่ท่านนายกฯ ได้แต่งตัง้ ขึน้ ก่อนการสรุปความเห็นดังทีท่ า่ นนายกฯ แจ้งให้ผมทราบข้างต้น หากว่ามีโอกาส ดังกล่าวแล้ว ผมคงจะได้เสนอให้คณะอนุกรรมการท�ำแบบสอบถามส่งถึงมวลสมาชิกของ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ทุกท่านผ่านเครือข่ายของอนุมานวสาร อธิบายเหตุผลถึงทีม่ า ที่ไป และแนวความคิดต่างๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลง โดยแนบแบบสอบถาม เป็นไปรษณียบัตรให้สมาชิกเลือกกากบาทในทางเลือก ก. ข. ค. ง. เหล่านั้นว่าจะเลือก อะไรแล้วส่งกลับ หลังจากได้ค�ำตอบว่าเสียงส่วนใหญ่ต้องการ อย่างไรแล้ว สมาคมฯ ก็ควรปฏิบัติตาม นั่นจึงจะกล่าวได้ว่าสมาคมฯ ของเราเป็น สังคมที่ยึดถือหลักการและมีความเป็นประชาธิปไตย การที่ผมมีหนังสือแถลงความเห็นปิดประเด็นในเรื่องนี้มาถึงท่าน น่าจะเป็นครั้ง สุดท้าย คิดว่าผมได้ทำ� หน้าทีข่ องตนเองเท่าทีจ่ ะสามารถจะกระท�ำได้แล้ว ผมคงไม่ดำ� เนินการ ที่จะเรียกร้องความถูกต้องใดๆ เพื่อใคร กับนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ในเรื่องดังกล่าวนี้อีก
ขอแสดงความนับถือ
ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน anumanavasarn.com
12
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี
เรียน ฝ่ายทะเบียนสมาชิกอนุมานวสาร ผมขอขอบคุณเป็นอย่างสูงทีไ่ ด้สง่ อนุมานวสาร ให้ผมเป็นประจ�ำ ขอชมเชยทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องทีไ่ ด้ทำ� สิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพให้พวกเราอ่านกัน และที่ส�ำคัญ คือยิ่งนับวันคุณภาพยิ่งดีขึ้นเป็นล�ำดับ น่าเสียดาย ที่ผมได้รับค�ำสั่งจากกระทรวงการต่างประเทศให้ไป ประจ�ำการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ซึ่งผมได้เดินทางไปรับหน้าที่ดังกล่าวแล้ว จึงต้องขอ งดการรับอนุมานวสารไปก่อนจนกว่าผมจะกลับมา ประจ�ำการในประเทศไทยอีกครั้ง ขอบคุณมากครับ ม.ร.ว.อดิศรเดช ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ ตอบ พี่อดิศรเดช ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณพี่เป็นอย่างสูงที่ ได้ให้ก�ำลังใจแก่ทีมงานฯ ด้วยค�ำชมเชยอันเปรียบ เสมือนน�้ำเลี้ยงต้นไม้ที่ก�ำลังดิ้นรน อยู่รอด และ เจริญเติบโต คุณภาพที่พี่กล่าวว่าก�ำลังดียิ่งขึ้นเป็น ล�ำดับนั้น เป็นเพราะทีมงานอนุมานวสารได้รับการ สนับสนุนและตอบรับอย่างดีเยีย่ มจากผองพีโ่ อวีรวม ถึงครอบครัวผู้ใกล้ชิด ทางทีมงานฯ ขอสัญญาว่า “ข้าฯ จะดียงิ่ ๆ ขึน้ ทุกวัน ทุกๆ ประการเป็นล�ำดับไป” ส�ำหรับการที่พี่ได้รับค�ำสั่งให้ไปประจ�ำการ ยังต่างแดนนั้น ทางอนุมานวสารเข้าใจว่าเป็นความ ก้าวหน้าในอาชีพการงานและขอแสดงความยินดีทพี่ ี่ ได้รับโอกาสดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การส่งอนุมาน วสารไปยังต่างประเทศเพื่อให้ชาวโอวีที่มีถิ่นฐานอยู่ นอกราชอาณาจักรนัน้ ก�ำลังเป็นวาระปรึกษาหารือกัน ในหมูพ่ วกเราอย่างจริงจังมากขึน้ ในระหว่างนี้ สมาชิก ทุกท่านสามารถรับอนุมานวสารในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ จากเว็บไซต์โอวี www.anumanavasarn.com ครับ
ด้วยนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ รุ่น ๓๘ มี ด� ำ ริ ที่ จ ะท� ำ อ่ า งบั ว แบบ โบราณ เพือ่ มอบให้โรงเรียนฯ น�ำ ไปวางไว้หน้าหอประชุมแทนของ เดิมในวาระ ๑๐๐ ปี วชิราวุธฯ “อ่ า งบั ว วชิ ร าวุ ธ ๑๐๐ ปี ” ออกแบบโดย นิธิ สถาปิตานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) โดยมีแนวคิด ท� ำ เป็ น อ่ า งบั ว แบบโบราณ มีลวดลายนูนแบบไทยผสมจีน ท�ำด้วยดินเผาเคลือบสีน�้ำเงินเข้ม และสีฟา้ อันเป็นสีของโรงเรียน มี ตราสัญลักษณ์วชิราวุธ ๑๐๐ ปีตดิ อยู่ ๒ ด้าน ปากอ่างกว้าง ๙๐ ซม. สูงจากฐาน ๘๖ ซม. แยก เป็น ๒ ส่วน คือส่วนตัวอ่างและ ฐานรอง โดยมีโรงงาน “เถ้าฮงไถ่” ที่จังหวัดราชบุรีเป็นผู้ดำ� เนินการ จัดท�ำ ภายใต้การก�ำกับดูแลของ นิธิ สถาปิตานนท์ จั ด ท� ำ ขึ้ น ๑๐๐ ใบ (จ� ำ กั ด จ�ำนวน) โดยจะมอบให้โรงเรียน ๑๒ ใบ ส่วนทีเ่ หลือเปิดโอกาสให้ นั ก เรี ย นฯ และ นั ก เรี ย นเก่ า วชิราวุธฯ สั่งจองในราคาใบละ ๒๕,๐๐๐ บาท รายได้หลังหักค่า ใช้จา่ ยจะมอบให้กบั โรงเรียนฯ ใน โอกาส ๑๐๐ ปี ต่อไป
อ่างบัววชิราวุธ ๑๐๐ ปี
ผู้สนใจเชิญแวะชมตัวอย่างอ่างได้ที่ใต้อาคารทวีปัญญา (สนามหลังของโรงเรียน) สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณไทยลักษณ์ ลี้ถาวร โอวี ๓๘ บริษัท ออมนิแอดท์ จ�ำกัด ๖๔/๒ เอกมัย ๑๐ สุขุมวิท ๖๓ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ E-mail: omniact@ji-net.co.th Website: www.omniact.co.th โทร. ๐๒-๗๑๔-๒๒๑๖ ถึง ๗ หรือที่คุณอดิศักดิ์ เหมอยู่ โอวี ๓๘ โทร. ๐๘๑-๘๒๒-๐๘๙๘ anumanavasarn.com
ใต้ ห อประชุ ม 15 คุยกับนักเรียนเก่าฯ
น.พ.บัญชา
พงษ์พานิช โอวี ๔๗ “ผมเป็นเพียงหมอจรจัด”
anumanavasarn.com
16
ใต้หอประชุม
“พ่อแม่ผมศรัทธาโรงเรียนมาก”
คุณแม่ผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีน อยู่นครศรีธรรมราช ส่วนคุณพ่อผมก็ไทย เชือ้ สายจีนอยูย่ ะลา-ปัตตานี เข้ามา ๓ - ๔ ชั่วคนแล้ว พ่อผมเป็นนักกีฬา พี่น้องผม ทุกคนก็เป็นนักกีฬา พ่อเป็นนักกีฬาค�้ำถ่อ และกระโดดสูง ตอนเรียนอยู่ปีนัง เป็น แชมป์เปี้ยนของอาณานิคมอังกฤษในแหลม มลายู ตอนหลังได้รับการคัดเลือกเป็น ตัวแทนไปแข่งเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ ๑ ที่ อินเดียในนามทีมชาติไทยแต่ไม่ได้ไปเพราะ เขาเลื่อนการแข่งขันกับพอดีจะแต่งงานด้วย พ่อผมได้ทุนไปเรียนเทคโนโลยีเคมีที่ญี่ปุ่น จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็กลับ เมืองไทยแล้วทางการไทยรับเป็นล่ามทหาร ประสานญี่ปุ่นที่เมืองนครก็เลยได้มาพบ คุณแม่ที่เมืองนคร พ่อแม่ผมศรัทธา โรงเรียนมาก น่าจะเป็นเพราะท่านเองก็ เติบโตมาอย่างนี้ พ่อผมเรียนที่ปีนังฟีสกูล ในปีนัง แม่ผมก็เรียนประจ�ำที่ราชินี น้าผมก็เรียนที่ราชินีบน จริงๆ วันสอบเข้าโรงเรียนวชิราวุธฯ ตอน ป.๕ ผมท�ำไม่ได้เลย ผมมาจากบ้าน นอก แต่พี่ผมมาอยู่ที่วชิราวุธฯ แล้ว ๓ คน คือ บรรพต บรรยง บรรจวบ ผมเป็น คนที่ ๔ ต่อจากญาติอีกหลายสายที่อยู่ วชิราวุธฯ มาก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพวก “เลขะกุล” หรือ “สถิรกุล” จ�ำได้ว่าพอเห็น ข้อสอบผมร้องไห้เลย ตอนนั้นปี ๒๕๑๐
ผมจบ ป.๕ มาจากบ้านนอกมาเจอข้อสอบ อะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้เรื่องเลย พอดีครูอุดม รักตประจิต เดินมาดูชื่อเห็นนามสกุล ท่านบอกว่า “พงษ์พานิชหรือ ไม่ต้อง ร้องไห้ๆ อยากเขียนอะไรเขียนไปเลยเธอ ไม่ต้องสนใจถูกผิด สอบได้อยู่แล้ว” ในความรู้สึกผมเมื่อย้อนคิดเรื่องนี้ ผมรู้สึกว่าถ้าครอบครัวไหนให้เกียรติ ให้ ความไว้วางใจกับโรงเรียน เป็น Royalty โรงเรียนก็จะให้การดูแลครอบครัวนั้นอย่างดี ดังนั้นท่าทีของคุณครูอุดมฯ ก็คือการดูแล และรับรอง ตอนหลังก็มีพวกพงษ์พานิช บางคนจากปราจีนบุรีมาเข้า พอเปิดเทอม มาผมเจอคุณครูหลายท่านเข้ามาต่อว่า “ท�ำไมพาน้องพาหลานมาเรียนแล้วไม่ บอก” ผมตอบไปว่าไม่มีครับ ครูท่านก็ บอกว่า “ไม่มีได้ไงโรงเรียนรับมาแล้วคน หนึ่ง” ก็ปรากฏว่าเป็นพงษ์พานิชจริง มา จากปราจีนบุรี ไม่ใช่ลูกพ่อผมแน่ไม่ได้เป็น ญาติอะไรกันเลย แต่นามสกุลตรงกัน เพราะนามสกุลเราตั้งง่ายคือตระกูลค้าขาย พงษ์พานิชในเมืองไทยมีอยู่ประมาณ ๒๐-๓๐ สาย คาดว่าน่าจะเป็นตระกูลของ คนจีนที่ท�ำการค้าขายมีแซ่เดิม แล้วพอ อยากจะมีนามสกุลเป็นไทยก็ไปที่อ�ำเภอ เสมียนอ�ำเภอก็ “ลื้อเป็นคนจีนหรอ ค้าขายใช่ไหม เอาพงษ์พานิชละกัน”
ชีวิตกิจกรรมเริ่มต้นที่วชิราวุธฯ
ผมได้นิสัยชอบท�ำกิจกรรมมาจาก วชิราวุธฯ โดยเฉพาะจากงานกรีฑาหน้า พระที่นั่งปลายปีที่จัดเป็นงานใหญ่ ซึ่งมี อยู่ ๓ ส่วนหลักๆ ส่วนแรกเป็นงาน พระราชทานประกาศนียบัตรและรางวัล ส่วนที่สองเป็นการเสด็จทอดพระเนตร ผลงานนักเรียน เพราะฉะนั้นพวกเด็กเรียน ก็ต้องมาเตรียมน�ำเสนอผลงานเด่นๆ โดย แบ่งออกเป็นห้องๆ เด็กวิทย์น�ำเสนอ เรื่องวิทย์ เด็กศิลป์ก็น�ำเสนอเรื่องศิลป์ งานวาดรูปงานช่างไม้ช่างศิลป์ถ้าไม่เอามา โชว์งานนี้ก็ไม่มีใครมาดูมีแต่พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ มาทอดพระเนตร พวกเราก็ต้อง น�ำเสนอผลงานถวายทอดพระเนตร เป็นการสะสมประสบการณ์ ในขณะที่
ลงมือสาธิตการทดลองต่างๆ ในหลวงท่าน ก็พระราชทานเวลาให้พวกเราสาธิตผลงาน ที่เอามาแสดงถวาย แล้วจะค่อยๆ ทรง พระด�ำเนินไปทีละห้องๆ ในยุคก่อนที่ผมจะ เข้าวชิราวุธฯ สักประมาณ ๑๐ ปี ในหลวง ท่านก็เสด็จฯ มาที่โรงเรียนเพื่อทรงดนตรี สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯ มาทรงเล่น ฟุตบอล แต่พอมายุคผมเหลือเพียงเสด็จฯ มาทอดพระเนตรความก้าวหน้าทาง วิชาการ ในงานแสดงผลการศึกษาที่ตึกขาวนี้ ผมเคยได้มีโอกาสทูลเกล้าฯ ถวายรูปวาด พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระองค์ท่าน ทรงชุดครุย สีน�้ำมันฝีมือตนเอง กับงานไม้ ลงรักปิดทอง เรื่องวิชาการ คุณครูถนอม anumanavasarn.com
18 ใต้หอประชุม บัวทองศรี กับ คุณครูสมลักษณ์ สุวรรณวงศ์ ให้ผมน�ำเสนอการทดสอบทางเคมีถวาย พระเจ้าอยู่หัวฯ ตอนเรียนอยู่ ม.ศ.๓ ส่วนเรื่องการเรียนทั่วๆ ไปนั้น ผมเคยสอบ ได้แค่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยระบบของ โรงเรียน ที่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าง สมัยผมอยู่มีครูบรรจง (ใหญ่) ลวพันธุ์ ครูจ�ำรัส จันทรางศุ คอยจ�้ำจี้จ�้ำไชผมมาก เพื่อแก้ข้ออ่อนวิชาภาษาอังกฤษ ถ้าท่องศัพท์ ไม่ได้ ๕ ตัวต่อวัน ก็ไม่ได้กินข้าว ไม่ได้ นอน ต้องนั่งคุกเข่า เสาร์อาทิตย์ไม่ให้ดู หนัง ให้ท่องศัพท์ ไม่ได้ไปเที่ยวเล่น ถ้า ผู้ปกครองมาเยี่ยมแต่ต่อศัพท์ยังไม่ได้ก็ ไม่ให้ไปพบผู้ปกครอง ท�ำให้เป็นจุดเปลี่ยน เรื่องภาษาอังกฤษของผม ส่วนวิชาอื่นๆ ผมพอจะมีสติปัญญาเรียนรู้ได้ พอ ป.๕ ป. ๖ ป.๗ ผมก็ไต่ขึ้นมาเรื่อย จน ม.ศ.๓ ได้มาอยู่ห้อง ก. แล้วก็ผลัดกันได้ที่หนึ่งที่ สองที่สามมาโดยตลอด พอ ม.ศ.๓ ใคร ได้ที่หนึ่งหรือคะแนนเกินร้อยละ ๙๐ ก็จะ ได้รับทุนพระราชทาน “พระยาภะรตราชา” เป็นทุนเรียนดี ท่านผู้บังคับการ พระยา ภะรตราชาถวายในหลวง แล้วในหลวง พระราชทานมาให้โรงเรียนเพื่อตั้งเป็น ทุนนี้ขึ้นมา ผมก็รับพระราชทานทุนนี้ เรียนจนจบ งานกรีฑาส่วนที่สามคือ การที่ เสด็จฯ มาทอดพระเนตรการแข่งขันกรีฑา แมตซ์ส�ำคัญ โดยเฉพาะวิ่งร้อยเมตร และ การแสดงที่สนามหน้า ซึ่งมีฉากขนาดใหญ่
บังคณะพญาไทได้ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ผม อยู่ ป.๗ ผมจะเข้ามาช่วยท�ำฉากกับทีมครู ศิลปะในตอนดึก ซึ่งเป็นช่วงเดือนสุดท้าย ของภาคเรียนและใกล้สอบ ผมก็สมัคร อาสาไปท�ำจนถึง ม.ศ. ๕ ท�ำทุกอย่างทั้ง ขึงฉาก ระบายสี วาดรูป ฯลฯ พอได้รับ อนุญาตทุ่มหนึ่งไม่ต้องเข้าห้องเพรบ ก็มา เล่นกันอยู่ตรงนี้ เล่นจนถึงหลัง ๒ ยามก็ กลับไปนอน
กิจกรรมอื่นๆ ก็มีอาทิ ผมอยู่ สมาคมหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีคุณครูมณี พรหมประพัฒน์ และ ครูบรรณารักษ์ (ครู ชนิดา ชนะภัย) เป็นผู้ดูแลการท�ำหนังสือ วชิราวุธานุสาส์นพอมาอยู่มหาวิทยาลัยผม ก็ยิ่งติดกิจกรรมมากจนตอนหลังไม่ค่อยได้ เรียนส�ำหรับตัวผมแล้ว ในสมัยอยู่โรงเรียน ก็พูดได้ว่า งานศิลป์ งานวิทย์ผมก็ถือว่าเข้า ขั้น แต่เรื่องกีฬานั้น ผมได้แค่เล่นเอามันไม่
เอาเรื่องจริงจังแบบพี่ๆ ทั้ง ๓ คน ที่ติด โล่กีฬากันคนละหลายๆ โล่ ผมติดแค่ โล่เดียว และเป็นตัวส�ำรองท้ายสุดด้วย
นักศึกษากลางก้าวหน้า ที่แพทย์เชียงใหม่
ถ้าถามผมว่าอยากเรียนอะไรตอน อยู่โรงเรียน ผมชอบเรียนศิลปะมากกว่า วิชาที่ชอบมากคือวิชาภาษาไทย ประวัติanumanavasarn.com
20 ใต้หอประชุม
ศาสตร์ และโบราณคดี อาจจะเป็นเพราะ ครูที่สอนในความเห็นของผม ครูที่สอนใน ยุคนั้นสอนสนุก อย่างคุณครูดวงเดือน ปาลเปรม ครูมณี พรหมประพัฒน์ ท�ำให้ ผมสนุกกับมัน ผมอ่านหนังสือเหมือน อ่านนิยาย อ่านนิทาน แต่พอจะสอบ เอนทรานซ์ผมเริ่มมีปัญหา ต้องเลือกสาย ศิลป์หรือสายวิทย์ก่อน แต่เพราะตอนนั้น ผมเรียนวิทย์ได้ผมก็เรียนไว้ก่อนด้วยความ เชื่อที่ว่าสายวิทย์ดีกว่า ผมก็เลยเลือกเรียน สายวิทย์ไว้ก่อน และก็คิดว่าเรียนวิทย์ก็ สามารถเป็นหมอก็ได้ เป็นอะไรได้มากกว่า สายศิลป์ พอมาเอนทรานซ์ผมคิดไว้หลาย เรื่องว่าอยากเรียนเป็นอะไรดี อันแรกคิดว่า เป็นหมอก็น่าจะไปรอดได้ อันที่สองอยาก เรียนโบราณคดี อันที่สามอยากเรียน สถาปัตย์ มัณฑนศิลป์ฯ และอันสุดท้ายผม อยากเรียนเกษตรผมชอบการท�ำสวนเป็น ชีวิตจิตใจตั้งแต่ตอนเป็นเด็กแล้ว ๔ อย่าง นี้เป็นสิ่งที่ผมอยากเรียนอยากเป็น แต่พอ มาดูที่วิชาที่ต้องสอบเอนทรานซ์ถ้าจะเป็น ทั้ง ๔ อย่างผมต้องสอบ ๑๐ กว่าวิชา สุดท้ายก็ต้องตัดเลือกแต่สายแพทย์ทั้งหมด แล้วในที่สุดผมก็ได้แพทย์เชียงใหม่ที่เลือก ไว้อันดับ ๓ อันดับหนึ่งผมเลือกจุฬา อันดับสองผมเลือกศิริราช ผมถือว่าโชคดี ที่ได้ไปเรียนที่เชียงใหม่ อีกด้านหนึ่งความ อยากเป็นหมอก็มีความท้าทาย เป็น นักศึกษาแพทย์ใครก็ให้การยอมรับ แต่ เรียนเหนื่อย แข่งขันสูง
ผมเริ่มเบื่อตอนอยู่ปี ๔ คิดจะเลิก เรียน พอเบื่อการเรียนก็หันมาท�ำกิจกรรม ไม่ค่อยเรียนเลย เพราะอยู่ในวชิราวุธฯ มานานไม่ค่อยได้เจอโลกภายนอก พอมี ฐานการท�ำกิจกรรมได้เจอกับโลกภายนอก มากขึ้นก็หันไปท�ำกิจกรรม ปีแรกที่เข้าไป ในคณะแพทย์มีวิธีการท�ำกิจกรรมอย่างหนึ่ง ของพวกนักศึกษาแพทย์ คือไปดึงพวก เรียนเก่งๆ มาติวพวกเรียนไม่เก่ง มาเฉลย มาท�ำงานกลุ่มให้พวกไม่เก่ง ให้ทุกคนเรียน ได้เท่าๆ กัน เพราะถ้าปล่อยให้พวกเรียน เก่งมากๆ จะดึงเกรดเพื่อน ผมได้มาอยู่ใน ทีมวิชาการเพื่อดูแลเพื่อนที่อยู่ต�่ำ Mean เพื่อดึงพวกนี้ขึ้นมา เมื่อเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ แพทย์เชียงใหม่มีความตื่นตัวทางเรื่อง การเมืองสูง เลยออกไปเคลื่อนไหวซะเยอะ ๒ ปีแรกนั้นผมเรียนดีมาก ผมอยู่แต่ฝ่าย วิชาการอย่างเดียว พอเกิดเรื่อง ๖ ตุลา ๑๙ ผมเรียนอยู่แพทย์ปี ๒ ก็เริ่มสนใจ เรื่องทางสังคมและการเมือง และเห็นว่า หลายเรื่องที่เกิดขึ้นไม่มีความยุติธรรม เพื่อนและรุ่นพี่ผมจ�ำนวนหนึ่งเข้าป่าไปเป็น ๑๐ คน ไปเป็นคอมมิวนิสต์ อย่างจาตุรนต์ ฉายแสงนี่ก็รุ่นพี่ผม ๒ ปี สมัยนั้น มีการแบ่งแยกว่าพวก หัวก้าวหน้า เป็นกลาง และล้าหลัง ผมถูกตี ว่าเป็น “พวกเป็นกลางที่ก้าวหน้า รักความ เป็นธรรม” ยังมีประเภท “กลางเสรี” ซึ่ง โอวีส่วนใหญ่เป็น กลางเสรี หรือไม่ก็เป็น anumanavasarn.com
22 ใต้หอประชุม พวกล้าหลัง ศักดินา นายทุน เพราะพื้น หลังครอบครัวพวกเราส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น ผมถูกเพื่อนๆ ขอให้มาช่วยในฐานะ ผู้รักความเป็นธรรม รักชาติรักประชาธิปไตย ตามสูตรการปลุกระดมในช่วงนั้น โดยเริ่ม จากมีหน้าที่ไปเยี่ยมเพื่อนที่หนีเข้าป่าเพื่อ เอาข่าวไปบอกพ่อแม่ของพวกเพื่อนที่เข้าป่า เพราะพวกที่เข้าป่าไป พ่อแม่เขาไม่มี โอกาสที่จะรู้ข่าวเลยว่าลูกตัวเองตายหรือ หายหรือเป็นอย่างไรพวกเราเลยต้องหาคน ไปเยี่ยมพ่อแม่เพื่อท�ำให้พวกเขามั่นใจว่า อย่างน้อยก็มีลกู อีกหนึ่งคนมาเยีย่ มในภาวะ ที่ไม่รู้ว่าลูกตนเองเป็นตายร้ายดีอย่างไรแต่ เมื่อมีเพื่อนของลูกมาเยี่ยม อย่างน้อยก็ เกิดความรู้สึกอุ่นใจขึ้นมาบ้าง พวกผมยัง ขาวก็มีหน้าที่มาท�ำงานตรงนี้แทนเพื่อนที่ แดงมากๆ (คอมมิวนิสต์-บก.) และก็ ท�ำงานด้านวิชาการควบคู่ไปด้วยจนสนุก มากท�ำหมดทั้งงานวรรณศิลป์ อภิปราย โต้วาที อนุรักษ์ธรรมชาติ ท�ำค่ายอาสา พัฒนา ปีสุดท้ายเป็นนายกสโมสรฯ จบ เกรดเฉลี่ย ๒ เศษๆ หลังปี ๑๙ มหาวิทยาลัยห้ามการ ท�ำกิจกรรมทั้งหมด พวกผมเป็นกลุ่มที่ พยายามฟื้นฟูกิจกรรมกลับขึ้นมาใหม่ เพราะยุคนั้นเขากลัวนักศึกษามาก แต่ด้วย ความที่ผมเป็นนักศึกษาแพทย์เวลาจะไป ออกค่ายก็จะอ้างว่าไปช่วยรักษาคนไข้ และ ก็มีที่ปรึกษาที่สนิทกันมากคือ ท่านอาจารย์ หมอเกษม วัฒนชัย ซึ่งตอนนี้เป็น
องคมนตรี เป็นที่ปรึกษา อาจารย์หมอ อาวุธ ศรีสุกรี (โอวีเก๋ากึ๊ก) เป็นคณบดี เมื่อมีร่มดีก็ฟื้นฟูกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา ตอนนั้นกิจกรรม มหาวิทยาลัยในภาคกลางยังไม่ฟื้นแต่ เชียงใหม่ฟื้นก่อน พวกเราเป็นหัวหอก น�ำร่อง มีรุ่นน้องจากวชิราวุธฯ มาเรียนที่ เชียงใหม่ บอกว่าครูที่โรงเรียนก�ำชับว่า อย่าไปเข้าใกล้บัญชามากนะ รุ่นน้องคนนั้น ก็งงถามว่าท�ำไม ก็ได้รับค�ำตอบว่า “เขา ว่าวชิราวุธฯ เสียบัญชาไปแล้ว เพราะ กลายเป็นฝ่ายซ้าย” ผมคงท�ำกิจกรรมด้าน สังคมเยอะมาก เลยถูกมองว่าเป็นอย่างนั้น จะว่าไปแล้วกิจกรรมที่ท�ำส่วนใหญ่ มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือหนึ่งเป็นกิจกรรม เชิงปรากฏการณ์ซึ่งทั้งที่ท�ำเอง ช่วยเขาท�ำ รวมทั้งไปเป็นหน้าม้าให้คนไว้มาก ซึ่งจะ เห็นภาพว่าเป็นกิจกรรม เสริมสร้างทักษะ นักศึกษาสัมพันธ์ ศิลปวัฒนธรรม บ�ำเพ็ญ ประโยชน์ ไปก่อสร้างตึก ไปร้องเพลง ประสานเสียง เปิดอภิปรายฯ ผมก็จะไป โผล่หน้าทุกกิจกรรม แต่ลึกๆ แล้วก็จะมี พวกที่ท�ำหน้าที่คอยประสานงานดูแลจัดตั้ง สร้างคนรุ่นใหม่ให้มารับงานต่อเมื่อรุ่นพี่จะ ไปรุ่นน้องก็ต้องท�ำต่อ ชมรมนี้ต้องไม่ล้ม เหมือนกับบริษัท แผนกนี้ต้องไม่ล้ม เลย ต้องสร้างคน ตั้งแต่การรับน้องใหม่ก็เริ่มดู เลยว่าใน ๑๐๐ คน ใครมีแววเรื่องอะไร พอ เจอแล้วก็มอบหมายงานกันเลย พี่หนึ่งคน
ว่าไป ผมนี้ก็เข้าข่ายพวกรักดี อยากดี มุ่งมั่นท�ำในสิ่งตัวเองเห็นและเข้าใจว่าดี พอ ท�ำงานกับคนอื่นที่เขาไม่เห็นดีเห็นงามตาม ที่เราคิดและเราเห็น ก็เลยเกิดความขัดแย้ง แล้วก็เครียดลงเอยที่ทุกข์ อันนี้ต้องเข้าใจระบบใหญ่ที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะในวงราชการและงานหมอ หมอ จบใหม่สมัยนั้นเงินเดือนได้ราวๆ ๓ – ๔ พันบาท แต่ถ้าออกไปท�ำงานเอกชนก็น่าจะ ไม่น้อยกว่า ๒ – ๓ หมื่นบาท หมอใน ระบบราชการก็กลัวมากว่าระบบราชการจะ ขาดหมอ ผ่อนปรนกันมาก อย่างผมแรก เข้าที่ตั้งใจจะท�ำงานให้เต็มร้อย พี่ๆ ก็บอก ว่า “เฮ้ย! บัญชา รับราชการท�ำงานสัก ๗๐ เปอร์เซ็นต์ก็พอ อีก ๓๐ เอาไปท�ำมา หากินให้พอมีชีวิตอยู่ได้บ้างก็ได้ จะได้พอมี แรงฮึดอยู่ในราชการได้นาน” ครั้นตัวผมนี้ มากไป อยากท�ำมันทั้งร้อยเต็มเวลาตั้งแต่ ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.ไม่ให้ขาด จนมาก เกินที่เขาท�ำๆ กันอยู่ในที่ท�ำงาน ใครๆ ก็ พากันเครียด เหนื่อย แล้วก็เกินทน คนไข้ พอมีบริการเร็วพร้อมตั้งแต่เช้ายันเย็นก็มา กันมากขึ้น ที่ศูนย์โรคปอดเมืองนครนี่ รับ คนไข้จาก ๗ จังหวัดภาคใต้ตอนบน ก็แห่ มากัน เขานั่งรถไฟ รถโดยสารหรือเหมา รถมากันไกลๆ ขอให้ได้ตรวจและพากัน กลับบ้านทันเวลาเท่านั้นแหละ ผมเองนั้น พบพุทธธรรมที่สวนโมกข์ ผมเมื่อจบหมอ มาท�ำงานก็ธรรมดา ก็เหนื่อยรวมทั้งเครียดด้วยเพราะเพื่อน ที่คิดว่ากูก็แน่พอตัว แต่ท�ำงานได้สองสาม ร่วมงานจ�ำนวนหนึ่ง กับเจ้านายเขาเครียด ปีก็เกิดทุกข์เอามากๆ เครียดมาก ถ้าจะ ส่งแรงกดดันกลับมา สารพัดวิธี แม้ไม่ได้มี
ดูแลน้อง ๕ คน และสร้างเขามาให้ได้ ชวนมาท�ำงานแบบพี่แบบน้องแล้วก็ บ่มเพาะดูแลและเลี้ยงข้าวเลี้ยงทุกอย่าง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือกิจกรรมลักษณะที่สอง การรวมตัวของโอวีที่มหาวิทยาลัย เชียงใหม่แข็งแรงมาก ตอนที่ผมอยู่มี ประมาณ ๒๐ กว่าคน แต่ผมไม่ค่อยได้ เข้าไปรวมกลุ่มเท่าไรเพราะโอวีเวลารวม กลุ่มกันก็เป็นอย่างที่บอก เป็นพวกกลาง ทางเสรี เที่ยว กินเหล้า สุขนิยม ตอนหลัง ผมเลยไม่ค่อยไป ได้แต่ทักทายกันทั่วๆ ไป หลังจากเรียนจบด้วยความที่ผมเป็น เด็กปักษ์ใต้มาเรียนอยู่ที่วชิราวุธฯ อีก ๘ ปีไม่ค่อยได้ออกไปไหนแล้วไปเรียน เชียงใหม่ได้เรียนหมอที่เชียงใหม่อีก ๖ ปี ก็ได้เที่ยวและรู้จักทางเหนือ ปลายทางของ ผมคือการกลับบ้าน แต่การเป็นหมอเพิ่ง จบจะต้องไปเป็นแพทย์ฝึกหัด (Intern) ผมเลยเลือกไปที่อีสาน ไหนๆ ก็ต้องกลับ ใต้อยู่แล้ว ขอไปเที่ยวอีสานที่สุรินทร์สัก หนึ่งปีก่อน โดยหัวใจอยากเป็นหมอชนบท เพราะบ่มเพาะตัวเองมาตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ แล้ว ไม่ได้ตั้งใจจะคิดเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางอะไร ความจริงเชียงใหม่ก็ชวน ให้เรียนเป็นอาจารย์ แต่ผมไม่คิดชอบ
anumanavasarn.com
24 ใต้หอประชุม อะไรรุนแรงแต่ก็รู้ได้ว่าไม่สนุกแน่นอน ผมก็เลยลดงานตรวจรักษาไปรับงาน ออกนิเทศทั่วทั้ง ๗ จังหวัดตั้งแต่ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สุราษฎร์ และ นครฯ จนพบว่าท�ำอย่างนี้ต่อไปไม่ได้แน่ แล้ว เพราะ ผอ. ขอให้ผมช่วยประหยัด ด้วยการขับรถไปนิเทศงานคนเดียวด้วย ตนเอง จนได้คิดว่าท�ำไมถึงท�ำดีแล้วไม่ได้ดี แถมทุกข์ทับถมอีกต่างหาก มิหน�ำซ�้ำยัง นึกไม่เข้าใจแกมเจ็บใจน้อยๆ ว่า นี่เราเป็น หมอ เรียนวิชาสารพัดทั้งจิตวิทยา จิตวิเคราะห์ จิตบ�ำบัด คนไข้เครียดวิตก กังวลมาหาเรา เราก็ตั้งท่าตรวจวินิจฉัย รักษามาก็มาก ไหงตัวเองพอเครียดแล้ว จัดการตัวเองไม่ได้ สุดท้ายผมก็เลยไปหา “วิชาพระ” เพราะคิดว่าน่าจะช่วยผมได้ ก็เลยลองบวช ก่อนบวช ตอนไปนิเทศที่สุราษฎร์ฯ ผมเคย ไปที่สวนโมกข์หลายครั้งไปพูดคุยกับพระ (ยังไม่ใช่ท่านพุทธทาส) แต่ผมก็ยังไม่ค่อย รู้เรื่องเหมือนกันจริงๆ ผมอยากรู้ว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร มีหลักค�ำสอนอะไร ที่จะเอามาใช้ได้ ปรากฏว่า ผมคุยกับพระ ไม่รู้เรื่อง เหมือนคลื่นมันไม่จูนเข้าหากัน ทั้งภาษา และกรอบความคิด เอาหนังสือ มาอ่านก็ไม่รู้เรื่อง ก็เลยหันไปหาดูใน ศาสนาอื่น ผมไปโบสถ์คริสต์ไปดูเขา ภาวนา ไปสุเหร่าไปฟังเขาสอนก็ยังไม่ใช่ เข้าไม่ถึง ส่วนใหญ่กิจกรรมในศาสนาเป็น กิจกรรมทางสังคม เป็นเรื่องผิวๆ เรื่อง
ธรรมะ ระดับลึกๆ หาค�ำตอบไม่ได้ ก็เลย ตัดสินใจบวช ปี ๒๕๒๘ หลังจากจบหมอ ปี ๒๕๒๔ เป็นหมอมา ๔ ปี บวชเพื่อหา ค�ำตอบให้กับชีวิตตนเอง ไม่คิดที่จะไม่สึก เพราะอย่างไรก็รู้ตัวเองว่าต้องสึกแน่ๆ เพราะยังอยากท�ำกิจกรรมทางโลกอยู่มี กิจกรรมทางสังคมที่ผมได้ท�ำไว้ เช่น การเปิดร้านหนังสือ ผมเป็นหมอที่เคยร่วม ท�ำคลินิกก็เลิกเพราะไม่มีเวลาอิสระต้อง รับผิดชอบต่องาน แค่เวลาท�ำงานก็เครียด แล้ว ถ้าท�ำคลินิกต่อถึง ๒ ทุ่ม ชีวิตก็ไม่ ต้องไปท�ำอย่างอื่นเลย แม้หมอจะเป็น อาชีพที่รายได้ดีแต่ก็ทรมาน ต้องพร้อม On call ๒๔ ชั่วโมง มีเงินแต่ก็ไม่ค่อยได้ ใช้ หรือใช้ได้ก็ไม่ใช่แนวอย่างที่ผมชอบ เมื่อผมบวชเพื่อหาค�ำตอบให้กับ ชีวิตก็ตั้งใจไว้ว่าถ้าบวชที่สวนโมกข์แล้วยัง ไม่ได้ค�ำตอบผมจะไปที่วัดหนองป่าพง ถ้าที่ ที่ถือว่าเป็นเอกของสายใต้ตอบผมไม่ได้ หรือผมไม่สามารถเข้าถึงท่านได้ผมก็จะไป หาส�ำนักปฏิบัติธรรมของภาคอีสาน ตั้งใจ จะไปหาท่านอาจารย์ชา ตั้งเป้าว่าบวช ๔ เดือน ถ้าปัญญาเรายังหาไม่เจอก็อย่าเป็น คนมันเลยวะ ผมกะว่าจะอยู่สวนโมกข์ เดือนเดียวแต่ปรากฏว่าผมได้รับโอกาสที่ ค่อนข้างดี ด้วยความเป็นหมอและ อุปัชฌาย์ผม ท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัดเอา ไปฝากท่านอาจารย์พุทธทาสด้วย ท่านเลย ให้มือรองของท่าน มาเป็นพระพี่เลี้ยงดูแล ผม ซึ่งตอนนี้เป็นเจ้าอาวาสของสวนโมกข์
คือท่านพระอาจารย์โพธิ์ ท่านพระอาจารย์ โพธิ์ให้ผมอยู่หลายเรื่องทั้งเป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะการชี้แนะและน�ำนั่งสมาธิ จน รู้จักวิธีเทคนิคการฝึกฝนพัฒนาจิตใจของ เราที่มันชอบฟุ้งซ่าน รู้จักวิธีท�ำให้จิตใจนิ่ง พอ สมรรถนะของจิตไม่ได้มีแค่ท�ำให้ บริสุทธิ์ ตั้งมั่นหนักแน่น และใช้งานได้ คล่อง ยังต้องรู้จักท�ำให้ ร่าเริงแจ่มใส มี ความยืดหยุ่น คล้ายๆ กับเรื่องทางกาย ที่เราออกก�ำลังกายและผ่อนคลายกันนั่น แหละ พวกเราทั้งนั้นโตมาขนาดนี้ยัง ไม่เคยสนใจ หรือรู้สักนิด อย่าว่าถึงการฝึก จิตใจเลย
วชิราวุธฯ คือที่เพาะหน่อธรรมะ
เมื่อย้อนนึกถึงวชิราวุธฯ ในเรื่อง ศาสนานั้น ผมคิดว่าโรงเรียนเราก้าวหน้า มากแม้จะไม่ถึงที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการ สวดมนต์แปล บทสวดมนต์ของเราที่ท�ำไว้ ไม่รู้เมื่อไร ผมยังจ�ำขึ้นใจอยู่หลายบท เช่น นฺตถิเม สรณํ อญฺญํ... ที่พึ่งอย่างอื่นของ ข้าพเจ้าไม่มี ที่เราสวดท�ำนองสรภัญญะกัน อยู่ทุกเช้านั้น ผมไปซื้อหนังสือสวดมนต์ จากโรงเรียนมาอ่านอีกที รู้แต่เพียงว่ารุ่น ครูบาอาจารย์ที่ตั้งวชิราวุธฯ นี้ ต้องการ กล่อมเกลาสอนคนให้เป็นคน ถึงแม้จะเป็น รูปแบบ Public School จากเมืองนอกที่ ต้องมีการเข้าโบสถ์แล้วสอน ไปดูที่ วชิราวุธฯ เราก็จะมีท�ำวัตรเช้าท�ำวัตรเย็น และมีการฟังธรรมในวันอาทิตย์ แต่ anumanavasarn.com
26 ใต้หอประชุม เสียดายที่การเทศน์นั้นน่าเบื่อมากเลย ผมเคยพยายามตั้งใจฟังแล้วก็เลิกฟังเพราะ งึมง�ำๆ เป็นปัญหาของสังคมไทยอย่างหนึ่ง ที่ไม่สามารถหาผู้สอนที่โดนใจได้ ถ้ายุคผม มีพระอาจารย์อย่างท่าน ว.วชิรเมธีบ้าง ท่านสมปองบ้างเด็กก็จะรู้สึกมันส์สนุกไป กับธรรมะแต่ท่านไปเอาอะไรก็ไม่รู้มาพูดให้ เราฟัง พอผมมาอยู่สวนโมกข์เจอบท สวดมนต์หลายค�ำ ที่ผมจ�ำได้ รู้ความหมาย ตั้งแต่ตอนอยู่ที่โรงเรียนเราท่องแบบ นกแก้วนกขุนทองไม่มีใครมาชี้แนะแต่ยัง พอจ�ำได้ วชิราวุธฯ ได้บ่มเพาะหน่อเหล่านี้ ให้กับทุกคน เพียงแต่หน่อของแต่ละคนมัน นิ่งแกร็นหรือเติบโตแค่ไหน น่าเสียดาย ถ้าเราท�ำเพิ่มต่อยอดขึ้นไปอีกหน่อย ไม่มากก็น้อยจะไปได้ดี ส�ำหรับผม เมื่อเข้าไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็อยากเรียนรู้ทุกสิ่ง ทุกอย่าง อยากไปเข้าชุมนุมพุทธก่อนที่จะ เข้าชุมนุมทั้งหลายและพบว่า เซ็งมาก เคร่งครัดจารีตมากจนเห็นเป็นว่าท�ำอะไร เหมือนคนตายซาก ความจริงเราเอาเรื่อง พุทธมาพูดคุยเป็นเรื่องสนุกๆ ก็ได้ถ้ารู้จัก เอาค�ำสอนมาคุยแบบสนุกและได้เรื่อง เป็น สิ่งที่ท�ำได้แต่ไม่ค่อยมีใครพยายามท�ำ พอมาอยู่ที่สวนโมกข์ พบว่าท่าน พุทธทาสได้ท�ำไว้หลายเรื่อง แต่ผมก็ไม่ได้ รู้จักท่านอย่างลึกซึ้งว่าท่านได้ท�ำอะไรมา แล้วบ้าง ก็คิดแค่ว่าท่านเป็นพระรูปหนึ่งที่ ขึ้นชื่อของภาคใต้ สติปัญญาผมตอนนั้นก็
ไม่ได้มีมากกว่าเด็กสมัยนี้สักเท่าไร ผมไป สวนโมกข์ตอนอายุ ๒๘ เพื่อไปหาค�ำตอบ ให้แก่ตัวเองเท่านั้น แล้วก็ได้เจอท่าน พุทธทาส พอวันนี้มานั่งมองย้อนหลังท่าน พุทธทาส จริงๆ ท่านก็โดนมองทั้ง ๓ แบบ แบบหนึ่งคือโดนมองว่าเป็นพระหัวก้าวหน้า อีกแบบหนึ่งมองว่าเป็นตัวร้ายเป็น ผู้บั่นทอนศาสนา เป็นผู้แอบแฝง เป็น คอมมิวนิสต์ที่แอบแฝงมา ท่านถูกกล่าว ร้ายใหญ่โตจะให้ขับออกจากศาสนา มี ค�ำร้องทุกข์กล่าวโทษท่านเยอะมาก อีก ส่วนก็มองว่าเป็นเพียงพระที่อยากจะท�ำ อะไรมันส์ๆ อีกสักครู่เดียวก็คงเลิกไปเอง ดูเหมือนจะไม่มีการมองท่านในแง่ดีเลยนะ ในตอนแรก ท่านพุทธทาสเริ่มบวชเมื่อตอนอายุ ๒๒ ปี พอท่านพุทธทาสอายุ ๒๖ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็ตั้งสวนโมกข์ ตอนที่ท่าน เป็นเพียงพระหนุ่ม อายุ ๒๐ กว่าๆ ท่าน น�ำค�ำแปลกๆ ออกสู่สังคม เช่น ภูเขาแห่ง วิถีพุทธธรรม ท่านคิดค�ำแรงๆ ออกมา ไป จับเอาเรื่องที่ห้ามพูดเอามาพูด ผมใกล้ชิด ท่านพุทธทาสน้อยมาก แทบไม่เคยสนทนา เป็นการส่วนตัวกับท่านเลย ตอนผมบวช ผมไม่ไปสุงสิงกับพระรูปอื่นเลย พวกพระ เขาจะมี Meeting หลังฉัน หลังสวดมนต์ ท�ำวัตร ต้องไปเข้ากลุ่มคุยกันหน่อย ผม บอกเลยว่าการบวชครั้งนี้ผมมาหาค�ำตอบ ไม่ได้มาหาเพื่อน ถ้ามาหาเพื่อนผมไม่มา หาที่นี่ เพราะผมมีเวลาไม่มากนักเพียง ๑
เดือน นอกจากพวกนี้จะมี Meeting แล้ว ยังมีการรวมตัวแห่ไปกินก๋วยเตี๋ยวกันบ้าง เที่ยวโน่นนี่กันบ้าง เป็นพวกพระที่มาบวช แล้วก็ไป ไม่ได้เป็นพระประจ�ำ ดังนั้นผมจึง ท�ำแค่สวดมนต์ นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ และ เขียนหนังสือเล่นๆ ส่งให้คนที่มาท�ำบุญ ตอนบวช อย่างน้อยท�ำให้เขาเกิดกุศลจิต รู้สึกว่าส่งผมมาบวชแล้วไม่เสียเที่ยว ผม เขียนแล้วส่งไปโรเนียวติดแสตมป์ส่งไปให้ ทุกคน เหมือนเขียนรายงานส่งทุกอาทิตย์ บังเอิญผมเจอเรื่องๆ หนึ่งที่สะกด ผมมาก ผมบวชปี ๒๕๒๘ ท่านพุทธทาส สิ้นปี ๒๕๓๖ ท่านเป็นโรคหัวใจวาย ค�ำว่า หัวใจวายคือ หัวใจล้มเหลว ท�ำงานไม่ไหว พอหัวใจเริ่มท�ำงานน้อยลงเลือดจะไม่ค่อย หมุนเวียน เฉพาะในปอดนั้นน�้ำก็จะคั่งจน ท่วมปอด ภาวะน�้ำท่วมปอดทางการแพทย์ จะถือว่าคนไข้จะมีอาการ “หิวอากาศ” (Air Hunger) หายใจแล้วไม่ลงไปถึงถุงลมปอด เพราะน�้ำมันท่วม ท�ำให้ไม่เกิดการแลก เปลี่ยนอ๊อกซิเจนและคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ในอากาศ จนทั่วทั้งร่างกายเกิดอาการขาด อ๊อกซิเจน ถ้าอยากรู้ว่าเป็นอย่างไรลองบีบ จมูกตัวเองไว้ให้นานที่สุดดู ท่านพุทธทาส เป็นแบบนี้อยู่ ๓ วันต่อเนื่อง ถ้าภาษาหมอ คนที่เป็นถึงอาการขั้นนี้จะต้องทุรนทุราย โวยวายและเสียสติ แต่ ณ วันที่ผมถูกตาม ไปดูอาการของท่านพุทธทาส ตอนนั้นมี หมอที่บวชอยู่ทั้งหมด ๓ รูป อาการที่พบ คือ หัวใจท่านช็อคไปแล้วแต่มีสติอยู่พร้อม
หายใจไม่ได้ ชีพจรแผ่วพร่าทั้งเบาและรัว มากพอตรวจดูแล้วพบว่ามีภาวะน�้ำท่วม ปอดก็ตัดสินใจขอฉีดยาขับปัสสาวะด่วน พอฉีดเอายาขับปัสสาวะออกไปแล้ว เพราะ น�้ำมันล้นอยู่ทั่วร่างกายรวมทั้งในปอดก็ต้อง รีบขับน�้ำออก น�้ำท่วมปอดก็เริ่มลดลง เริ่ม หายใจได้พอที่จะพูดคุยได้ ก็เริ่มซักถาม อาการท่านพุทธทาสจากพระพี่เลี้ยง ว่า เรื่องอาการมีการพัฒนามาอย่างไร ท่าน พุทธทาสหอบเหนื่อยมาอาทิตย์หนึ่งแล้วจน ท่านพุทธทาสพูดไม่ไหว แต่ผมก็สงสัยว่า เมื่อ ๕ วันที่แล้วท่านยังเทศน์ได้ พระ พี่เลี้ยงก็บอกว่า ต้องเทศน์สิพระพวกนั้นมา จากวัดชลประทานมากันเป็นกลุ่มบอกว่า เป็นธรรมทายาท มาถึงก็ตั้งใจมากราบขอ ให้ท่านพุทธทาสเทศน์สอน แต่ท่านก็บอก ว่าตัวท่านอาพาธอยู่สอนไม่ไหว เอาเทปชุด ที่สอนไว้ขณะที่สุขภาพยังดีแล้วสอนได้ดีๆ ไปเปิดฟังดีกว่า พระพวกนี้บอกว่าอุตส่าห์ มาถึงสวนโมกข์ต้องฟังสดๆ จากปากเป็นๆ ของท่านพุทธทาส ยืนยันจะฟังเทศน์สดๆ แม้ท่านจะบอกว่าไม่ไหว แต่สุดท้ายท่านก็ ยอมเทศน์ตามค�ำขอ พอเทศน์ไปได้สัก ประมาณ ๑๕ นาที ท่านก็บอกว่าไม่ไหว ขอหยุดจริงๆ ทีนี้ผมก็ถามพระพี่เลี้ยงที่ ดูแลว่าอาการท่านพุทธทาสเป็นอย่างไรอีก พระพี่เลี้ยงก็บอกว่า ท่านพุทธทาสเริ่มขับ เสมหะออกมาเป็นเลือดทุกวัน และสั่งให้ พระพี่เลี้ยงเอาไปกลบฝังเสียอย่าบอกให้ ใครรู้ และท่านก็นอนไม่ได้ต้องนั่งหอบ anumanavasarn.com
28 ใต้หอประชุม ช่วย เสนอว่าถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่าง กว้างขวางท�ำไมไม่คิดไปท�ำไว้ที่กลางกรุง ท่านอาจารย์โพธิ์และใครๆ ก็หนุน สุดท้าย ก็เลยออกไปหาที่จนได้ตรงสวนรถไฟ ให้ เป็นมูลนิธิฯ มีอาจารย์หมอประเวศ วะสี เป็นประธานมูลนิธิ ดร.เสนาะ อูนากูล อดีตรองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน แล้วก็ท่านองคมนตรี อาจารย์หมอเกษม วัฒนชัย เป็นประธานจัดตั้งหอ กับอาสา สมัครอีกมากมายนับไม่ถ้วน ที่เป็นโอวีก็ หลายคน ทั้งเพื่อนพี่เตา แล้วก็เพื่อนผม กับยังมีน้องๆ บางคนก็เลียบๆ เคียงๆ อยู่ เราไม่ได้ท�ำเป็นแบบหอชีวประวัติ ท่านพุทธทาส แต่เราท�ำหอจดหมายเหตุขึ้น เพื่อรวบรวมผลการศึกษางานเขียน หนังสือเสียง ภาพยนตร์หรือวีดีโอของท่าน พุทธทาสซึ่งมีอยู่เยอะมาก ท่านพุทธทาส จะเขียนอะไรไว้กี่ชิ้นกี่อย่างทั้งในเศษ กระดาษ จดหมาย หนังสือ หรือบันทึก ประจ�ำวันส่วนตัว ท่านเก็บเอาไว้หมด พอ ท่านสิ้นแล้ว ท่านอาจารย์โพธิ์สั่งทุกคนใน วัดถ้าเจอเศษกระดาษอะไรห้ามทิ้ง เก็บไว้ หอจดหมายเหตุพุทธทาส : หมดจนขึ้นรา แล้วท่านถึงตามผมไปจัดการ สวนโมกข์กรุงเทพ ความจริงตอนแรกนั้นเราตั้งใจจะท�ำ ผมจึงลาออกจากหมอ จากมหาวิทยาลัย หอกันที่สวนโมกข์ ไชยา ศึกษาหาแนวทาง ปรากฏว่าหนังสือที่เป็น Manuscripts หรือ Paper Work เราพบเอกสารรวมถึงหนังสือ กันอยู่ ๒ – ๓ ปี พอดีพี่เตาลงไปที่บ้าน ด้วยถึง ๖ แสนกว่าหน้า นอกจากนี้ยังมี เมืองนคร ผมก็ชวนแม่ น้ากับพี่น้องไป สวนโมกข์ พี่แกไปเห็นแล้วคงตกใจว่าเรา เสียงบันทึกเทปที่เป็นเสียงของท่านอีกเยอะ ท�ำกันอย่างชาววัด ทั้งๆ ที่ชิ้นงานของท่าน มาก ถ้าใช้เวลาฟังทั้งหมดก็น่าจะประมาณ พุทธทาสแต่ละชิ้นส�ำคัญมากๆ ก็อาสาเข้า ๓-๔,๐๐๐ ชั่วโมง เหนื่อยแบบอาการคนมีอาการหัวใจวายพอ ท่านเริ่มฟื้นหายจากอาการผมก็เข้าไปถาม ว่า ท�ำไมถึงท�ำอย่างนี้ ท่านพุทธทาสก็บอก ว่า “เราอยากจะรู้ว่าอาการมันเป็นอย่างไร อยากเรียนรู้ว่าภาวะใกล้ตายเป็นอย่างไร ถ้าตายก็ตาย ถ้าไม่ตายก็จะได้รู้เพิ่มอีก” สติท่านมั่นคงมากแม้ร่างกายจะทุกข์มาก ท�ำให้ผมรู้สึกว่า พระรูปนี้เอาจริงมาก หลัง จากเหตุการณ์นี้อาการท่านก็ดีขึ้นและอยู่ ต่อมาอีก ๗ ปี มีอาการอาพาธอีกหลาย เรื่อง ผมก็โดนตามตัวไปดูแลรักษาท�ำให้ ผมได้พบท่านบ่อยมากขึ้น เลยท�ำให้ผม นับถือท่านเป็นอาจารย์คนที่สอง รองลงมา จากพระพุทธเจ้า จนช่วงสุดท้ายของท่านที่ อาการหนักมากผมก็เป็นหนึ่งในทีมหมอ ที่มาดูแลอาการ ซึ่งก็มีหมอเก่งๆ จาก ในหลวงส่งมา กับอาจารย์หมอประเวศ วะสี ชวนเชิญมา ผมท�ำหน้าที่เป็นเลขาฯ ของคณะแพทย์เพื่อประสานแพทย์คนนั้น คนนี้มาช่วยกันดูแล
ท่านพุทธทาสเป็นคนที่มีความตั้งใจ ท�ำอะไรก็ตามจะท�ำด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ เห็นได้จากการเขียนบันทึกประจ�ำวัน มี ใครบ้างที่สามารถเขียนบันทึกประจ�ำวันได้ ทุกวันโดยไม่มีขาดไปแม้แต่วันเดียว ปี ๒๔๘๕ ท่านพุทธทาสบอกว่า ต่อไปนี้ เราท�ำจริงแน่วแน่จริงในการท�ำทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่าง แม้แต่การเขียนบันทึกประจ�ำ วันแล้วท่านก็เริ่มเขียนบันทึกประจ�ำวัน ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๕ จนถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๕ บันทึกเล่มนี้เขียน ขึ้นในปีที่อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีบันทึกเรื่องที่ท่านไปพบอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ที่ท�ำเนียบท่าช้าง แล้วคุยอะไรก็ เขียนเอาไว้หมด ท่านพุทธทาสเป็นคนที่ ประหลาดดี มันส์ และสนุกดี นอกจากนี้ท่านยังเคยบอกอีกว่า ช่วงที่ความคิดดีที่จะเกิดขึ้นส�ำหรับท่าน พุทธทาสมีอยู่ ๒ ช่วง เป็นความคิดที่ดี ออกมาตอนที่จิตนิ่งและบริสุทธิ์ ช่วงหนึ่ง คือแว่บความคิดตอนเดินบาตร ช่วงที่สอง คือตอนเข้านอนก่อนจะหลับ ด้วยเหตุนี้ ท่านจะพกปากกาตลอด พอคิดอะไรออก มาแม้กระทั่งตอนเดินบาตรท่านจะหยิบ ปากกามาจดความคิดนั้นลงบนฝ่ามือ ท่าน บอกว่า อย่าได้ประมาทว่าเราจะจ�ำไว้ได้ พอกลับมาถึงกุฏก็ลอกลงสมุด นี่เป็นสิ่งที่ คนเป็นเอกบุรุษเขาท�ำกัน ถ้าตอนกลางคืน ก็จะคว้าเอาปากกามาเขียนใส่กระดาษเลย จนตอนหลังลูกศิษย์ต้องหาซื้อปากกาที่มี
ไฟฉายเปิดได้มาถวายท่าน และยังมีการจด บันทึกไว้เป็นเล่มๆ ท่านตั้งชื่อว่า บันทึกนึก ได้เอง ซึ่งทางหอจดหมายเหตุพุทธทาสก็ เอามาพิมพ์เป็นหนังสือ ในปีสุดท้ายก่อนท่านจะมรณภาพก็ พบว่ามีการจดบันทึกอย่างต่อเนื่อง จดแม้ กระทั่งในกระดาษปฏิทินจนถึง ๒ วัน สุดท้ายก่อนเส้นเลือดสมองแตกจน มรณภาพ สิ่งที่ท่านเขียนเมื่อทาง หอจดหมายเหตุฯ รื้อเอาจากที่พักไว้ในกุฏิ ท่านมาเรียบเรียง จึงพบว่าเมื่อไรท่านก�ำลัง คิดเรื่องอะไรอยู่ตลอดทั้งปีนั้น จะเห็น ระบบความคิดว่าตอนนี้ท่านก�ำลังคิดเรื่อง อะไร ครุ่นค�ำนึงถึงเรื่องอะไร และเราไป ตรวจสอบว่าท่านได้บรรยายอะไรไว้บ้างใน ช่วงวาระสุดท้ายของท่าน พบท่านเขียน บันทึกว่าบวชได้อย่างไรถึง ๖๐-๗๐ ปี รวม ทั้งเรื่องสภาพจิตที่เป็นนิพพาน นอกจากนี้ ก็พบมีรูปถ่าย เผอิญมีคนถ่ายรูปท่านไว้ เยอะแล้วเอามาถวายท่าน ท่านพุทธทาสก็ เลยเอารูปแต่ละใบมานั่งเขียนค�ำกลอน ประกอบภาพเป็นปริศนาธรรม ตอนแรก ตั้งใจจะเขียนแค่ ๑๐๐ บท เขียนไปเขียน มาเป็น ๓๐๐ กว่าบท ทั้งหมดนี้เป็น ภารกิจของหอจดหมายเหตุฯ งานนี้ผม ถือว่าเป็น Mission ของชีวิต ส่วนเรื่อง ลูกปัดเป็นเพียง Hobby
anumanavasarn.com
30 ใต้หอประชุม ลูกปัด : รอยพุทธ ๒,๐๐๐ ปี ที่ภาคใต้
ด้วยความที่ผมชื่นชอบประวัติศาสตร์ และรักถิ่นฐานบ้านเกิดรักเมืองนครฯ รักปักษ์ใต้ รักประเทศไทย รักอุษาคเนย์ และรักโลก แต่ที่เราพอท�ำได้นั้นแค่ Act locally ในช่วงแรกผมรู้เพียงแต่ว่าลูกปัด นั้นเป็นเพียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อย่างหนึ่ง และรู้แต่ว่าเมื่อก่อนปักษ์ใต้เป็น Takola Emporium มีที่มาจากหนังสือ Geographia ของปโตเลมี (Ptolemy) ซึ่ง เป็นหนึ่งในนักภูมิศาสตร์คนส�ำคัญของโลก ยุคโรมันโบราณ มีชีวิตอยู่เมื่อคริสต์ ศตวรรษที่ ๒ มีฐานอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) คอยรวบรวมข้อมูลจาก บรรดานักเดินทางที่ล่องเรือไปที่ต่างๆ ทั่วโลกและมาแวะพักเรือที่อเล็กซานเดรีย เมืองท่าตรงปากแม่น�้ำไนล์ แกเขียนต�ำราว่าด้วยภูมิศาสตร์ของ โลกทั้งโลก และในส่วนหนึ่งของต�ำรามี กล่าวถึง ดินแดนหนึ่งที่ชื่อว่า Aureus Chersonesus (= Golden Peninsula) Aureus แปลว่าทอง Chersonesus แปลว่า คาบสมุทร ซึ่งในท�ำเลในแผนที่ก็คือ อุษาคเนย์ ในบริเวณนั้นมีเมืองอยู่เมือง หนึ่งที่ชื่อว่า Takola Emporium ซึ่งค�ำว่า Emporium แปลว่าที่ตั้งถิ่นฐาน ท�ำมา ค้าขายของพ่อค้าวานิช มีเรื่องเล่าจากเหล่า พ่อค้าวานิชจากทั้งเปอร์เซียและยุโรปที่
ต้องการจะไปต่อที่เมืองจีน และน�ำไปบอก เล่าต่อที่อเล็กซานเดรีย ดังนั้นเมือง Takola Emporium มี การพูดถึงมานานแล้ว โดยประวัติศาสตร์ ของประเทศไทยเรารู้ย้อนหลังไปมากสุดก็ แค่สุโขทัย ก่อนสุโขทัยคือศรีวิชัย ซึ่งอยู่ใน ราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ เก่ากว่า ศรีวิชัยคือ ทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เก่ากว่าทวารวดีเราเริ่มไม่รู้แล้ว เป็นบ้านป่า เมืองเถื่อน อาจจะมีการพูดถึง ฟูนัน เจนละ ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ส่วนสุวรรณภูมิ อาจจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔-๕ ซึ่ง หลักฐานยังไม่เป็นที่สรุปชัดเรื่องที่ตั้ง เพราะถ้าดูจากหลักฐานสมัยพระเจ้าอโศก มหาราชซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ ที่ส่งพระโสณและพระอุตระเถระมายัง สุวรรณภูมิแต่ก็ยังไม่รู้ว่าตั้งอยู่ที่ไหน ปัจจุบันนี้ก็ยังถกเถียงกันอยู่ พม่าก็ว่าอยู่ พม่า ไทยก็ว่าอยู่ไทย พระเจ้าอยู่หัวฯ ของ เราพระองค์เลยเอามาตั้งชื่อสนามบิน ส�ำหรับผมนี่เป็นโจทย์สนใจลอยๆ แรก ๆ เวียนไปดูลูกปัดที่ไชยา ก็โอเคดูมีคุณค่าแต่ ไม่คิดว่ามีประโยชน์อะไรให้คนอื่นเขาเก็บ ไว้ และยิ่งมาทางสายพระเรื่องพวกสะสม ยิ่งไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว สุดท้ายพอไปถาม ชาวบ้านที่เก็บลูกปัดพวกนี้ว่าราคาเท่าไร ผมตกใจมากว่าลูกปัดที่อยู่ในดินแค่นี้มี ราคาตั้งหมื่นสองหมื่น ผมเลยยิ่งไม่สนใจ พอเกิดเหตุการณ์สึนามิเข้าที่ฝั่ง อันดามัน ผมก็ได้เข้าไปช่วยชาวบ้าน ไปตั้ง
กลุ่มท�ำงานเล็กๆ ท�ำให้ผมสังเกตเห็นคน แถวชายฝั่งอันดามันแขวนลูกปัดกันทั้งนั้น เลย ถามว่าได้มาจากไหน ก็บอกว่ามีอยู่ ตามบ้านช่องทั้งนั้น พบบ้างขุดเก็บมาบ้าง ยิ่งถามยิ่งเจอเยอะและที่ส�ำคัญผมไปเจอ หลักฐานชิ้นส�ำคัญที่ตัดสินใจเก็บไว้ คือเจอ ตราประทับที่มีอักขระ อักษรพราหมี ซึ่ง เป็นอักษรที่ใช้ในสมัยพระเจ้าอโศก พบว่า มีอักษรพราหมีอยู่ ๔ ตัว ผมก็เอาไปให้ นักวิชาการ ทั้งอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อาจารย์สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ อาจารย์ภูธร ภูมะธนดู ท่านยืนยันว่าใช่ และแนะน�ำให้ ผมเก็บเอาไว้แต่ผมไม่มีตังค์ เลยเกิด ค�ำถามขึ้นว่าแล้วท�ำไมประเทศไทยไม่เก็บ ของพวกนี้ ชาวบ้านขุดหามานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว สูญหายขายกันไปเท่าไรแล้วก็ไม่รู้ แม้ที่ภาคใต้จะมีสถาบันทักษิณคดี (มหาวิทยาลัยทักษิณ) เก็บไว้ส่วนหนึ่งแต่ ก็ยังเป็นส่วนน้อย แล้วท�ำไมรัฐบาล กรม ศิลปากรไม่เข้ามาดูแลเรื่องนี้ อาจารย์ก็ ตอบว่าถ้ามาก็ยึดเอาเปล่าๆ ชาวบ้านก็ไม่ ให้ ที่คลองท่อมชาวบ้านกับพระบอกว่าเคย โดนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ขอไปดูแล้วก็อม หายไป ความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับ ราชการจึงย�่ำแย่ อาจารย์เลยแนะน�ำให้ผม เก็บรักษาเอาไว้เอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มา ให้ผมต้องเริ่มเก็บ ชิ้นแรกนั้นผมจ่ายไป หลายหมื่น ต้องนับว่าหนักมือใช้ได้ ตอนนั้นก็คิดว่าเก็บไว้สักอันสองอันในฐานะ หลักฐานประวัติศาสตร์ของชาติ ไม่เคยคิด
ว่าจะมากและลากยาวจนวุ่นวายหลายเรื่อง ถึงทุกวันนี้ จากตอนแรกผมขอชาวบ้านเอาไป ให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ชาวบ้านก็ใจดีให้ยืม ไป พอผมเริ่มเก็บผมก็เริ่มพบร่องรอยอะไร มากขึ้น พอเราสามารถเข้าถึงชาวบ้านที่พบ หาและตอบแทนอย่างสมเหตุสมผลกับเขา เพราะผมประเมินแล้วว่าถ้าผ่านมือชาวบ้าน มาถึงพ่อค้าคนกลางราคาจะเพิ่มขึ้นอีก เท่าไรก็ไม่รู้ สู้ผมมารับตรงจากชาวบ้านเอง แล้วก็ให้สมนาคุณสูงกว่าตลาดอีกนิดหนึ่งดี กว่าไปกดราคาชาวบ้าน ด้วยวิธีนี้พอชาวบ้าน ทั้งหลายรู้ข่าวใครมีอะไรก็เอามาให้ผมดู หมด อาจจะเป็นเพราะผมท�ำ Fair Trade ยิ่งพบยิ่งเก็บ จนเงินเก็บหมด สุดท้ายก็หา นายทุน (พี่เตา บรรยง พงษ์พานิช) ผมใช้ วิธีจัดแสดงน้อยๆ ขึ้นเชิญอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี เชิญ Michael Wright เชิญนักวิจัยต่างชาติ ทั้งฝรั่งเศส อเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน มาดู แล้วก็ชวนพี่เตามาดูด้วย แกก็ ประหลาดใจว่ามีด้วยหรือ รูปเทพกรีกโรมัน อันเท่านิ้วก้อย แต่มีรูปเทพีเอธินาแกะ อย่างละเอียดบนนั้น แล้วแกก็ออกปากช่วย จนตอนหลังบอกว่าพอสักทีได้ไหม (ฮา) ส�ำหรับผมที่สุดยอดของการค้นพบ คือหลักฐานพระพุทธศาสนาสมัย สุวรรณภูมิ ส่วนหลักฐานพวกกรีกโรมัน เปอร์เซียเป็นเรื่องเหลือเชื่อ เช่นเดียวกับ ของฝั่งเมืองจีนเราพบแค่สมัยราชวงศ์ถังก็ anumanavasarn.com
32 ใต้หอประชุม ตื่นเต้นแล้ว ปรากฏว่าเราไปเจอหลักฐาน สมัยราชวงศ์ฮั่นซึ่งเก่ากว่า ลูกปัดพวกนี้นั้นเป็นของชิ้นเล็ก อยู่ยงและมีลักษณะที่บอกความร่วมสมัยกัน จะเจอเป็นคู่ๆ ที่เมืองท่าฝั่งตะวันตกและฝั่ง ตะวันออก เช่น เมืองไชยากับตะกั่วป่าของ ที่เจอจะเหมือนกันล้วนยุคทวารวดี - ศรีวิชัย แล้วขึ้นไปด้านเหนือตรงเขาสามแก้ว ท่าชนะและภูเขาทอง ลูกปัดก็จะเหมือนกัน ประมาณยุคสุวรรณภูมิถึงทวารวดี เช่น ตรีรัตนะ พบที่สามแหล่งนี้ ที่อื่นไม่เจอ อายุของลูกปัดไล่เลี่ยกัน ส�ำหรับผมคิดว่า ตรงจุดนี้เป็นที่พักของลูกปัด และมีการ
ขนส่งจากตะวันตกเดินข้ามมายังแดน ตะวันออกเพื่อไปจีนต่อ หลักฐานจากจีนจะ พบทางฝั่งอ่าวไทยเยอะ ส่วนเครื่องเคลือบ จากเปอร์เซียและของทางตะวันตกจะพบที่ ฝั่งอันดามันเยอะ ตรงไปตรงมา ยิ่งแต่ก่อน การเดินเรือในทะเลยังไม่สามารถเดินเรือ ในทะเลลึกได้ ต้องเดินเรือค่อยๆ เลาะ ชายฝั่งมา จนตอนหลังเทคโนโลยีการเดิน เรือดีขึ้น เท่าที่ค้นคว้ามาพบว่าน่าจะ ประมาณสมัยฮั่นจีนก็สามารถเดินเรือข้าม ทะเลลึกได้แล้ว ลูกปัดที่ชาวบ้านพบส่วนใหญ่จะเล่า ว่ามีคนมาเข้าฝันว่าอยู่ตรงนั้นๆ แล้วไปขุด
ก็พบทุกครั้ง ผมว่ามีนัยยะน่าสนใจในการ พบของทั้งหลาย แต่พอมาอยู่ที่ผมก่อนเก็บ เข้าคลัง ผมเก็บไว้ในห้องนอนก็ยังไม่เคย เจออะไรสักอย่าง อันนี้ก็อยู่ที่หลักคิด จิต และเจตนาเป็นส�ำคัญในมาตรฐานวิชาการ ระดับโลกถ้าเป็นของที่ไม่ได้จากการขุดค้น อย่างถูกต้องก็จะต้องมี Question Mark ไว้ เพราะว่าอาจจะเป็นของปลอมปนหรือมี การท�ำเหมือนหรือเอาของจากที่โน่นมาไว้ที่ นี่ คือเชื่อถือไม่ได้ นักวิชาการจะต้องไม่ เชื่อไว้ก่อน หรือถ้าเอาไปอ้างอิงความน่า เชื่อถือก็จะไม่มี ส่วนถ้าเป็น Private Collection บางคนถือเป็นข้อห้ามไว้เลยว่า อาจจะท�ำให้มูลค่าเพิ่มแก่เจ้าของเมื่อผลงาน ได้รับการตีพิมพ์ เพราะฉะนั้นนักวิชาการ มักจะระมัดระวัง ดังนั้นนักวิชาการจ�ำนวน หนึ่งเขาไม่อยากจะมาขอดูของพวกนี้ เท่าที่ ผ่านมาก็มีทั้งที่มาขอดูและผมเชิญมาดู ทุก คนเมื่อแรกมาจะมีทัศนคติเป็นแบบนี้หมด แต่เผอิญวิธีที่ผมเก็บของ มีจดบันทึกที่มาที่ ไปของลูกปัดแต่ละเม็ดไว้ครบ เลยท�ำให้ หลักฐานมีความน่าเชื่อถือ คณะวิจัยของ ศูนย์วิจัยแห่งชาติฝรั่งเศสและมหาวิทยาลัย ศิลปากรมาขอดูและน�ำไปประกอบการวิจัย ล่าสุดคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากรก็เขียนเป็นบทความวิจารณ์ใน วารสารวิชาการของคณะว่ากระบวนวิธีที่ ผมท�ำมีลักษณะเป็นงานวิชาการชัดเจน เชื่อถือได้ในเชิงวิชาการ พร้อมกับส�ำทับว่า ในฐานะที่เป็นศิษย์ท่านพุทธทาส ผมคงได้
ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนและไม่มีการ สร้างหลักฐานเท็จ ในทางทฤษฎีว่าเหตุใดลูกปัดเหล่านี้ ถึงมาอยู่ที่ภาคใต้ของไทยได้นั้น นักวิชาการ บางคนก็เสนอว่าลูกปัดนั้นนอกจากจะเป็น เครื่องประดับ เครื่องแสดงบอกสถานะ ดวงตราสัญลักษณ์ และเป็นเครื่องราง และสินค้าแล้ว น่าจะเคยถูกใช้เป็นเงิน (Currency) ด้วย จึงเดินทางไกลมาพร้อม กับพ่อค้าที่เข้ามาค้า ส่วนแนวคิดเรื่อง เรือล่มก็มีความเป็นไปได้ และเรายังพบ หลักฐานว่าที่นี่ไม่ใช่เป็นเพียงที่ Trade อย่างเดียวแต่เป็นระบบ Supply Chain มี การส่งวัตถุดิบ ถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิต มาผลิตที่นี่แล้วก็ส่งไปขายเพราะ เราเจอวัตถุดิบและเครื่องมือที่นี่เยอะมาก วัตถุดิบหลายอย่างก็ไม่มีในไทยแต่เป็นของ อินเดียบ้าง ของไต้หวันบ้าง ส่วนว่าส่งไป ขายที่ไหนนั้น ยังพบหลักฐานไม่มากพอ เดาเอาว่าน่าจะเป็นที่เมืองจีน เกาหลีและ ญี่ปุ่น คนสนใจเรื่องลูกปัด ผมขอแบ่งออก เป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มแรก คือ แบบที่คนไทย เป็นมากที่สุดคือ ใส่เพื่อความสวยงาม ความขลังความเชื่อ และใส่ราคาเข้าไป กลุ่มที่ ๒ เป็นพวกนักวิทยาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ตะวันตกจะรู้เรื่องประวัติ ความเป็นมา ซึ่งชาวตะวันตกจะอยู่ในกลุ่ม นี้มาก แต่กลุ่มที่ ๓ และ ๔ เป็นมากใน ญี่ปุ่น คือกลุ่มนี้จะสนใจในเทคโนโลยีการ anumanavasarn.com
34 ใต้หอประชุม ผลิตและวิธีการผลิตใหม่ พร้อมกับการเอา Design ไปใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ ใหม่ๆ เราพบในหนังสือของญี่ปุ่นเยอะมาก กลุ่มที่ ๕ อันนี้ผมตั้งเอง มีสองแบบคือ กลุ่มคนที่สักแต่ว่าเห็นเป็นเพียงลูกปัดเป็น เช่นนั้นเอง เป็นแค่ลูกหินลูกแก้ว อีกพวก หนึ่งเห็นว่ามีความหมายแล้วก็เห็นเป็นเช่น นั้น เป็นแค่สัญลักษณ์บางอย่างเท่านั้นเอง ส�ำหรับผมลูกปัดยังบอกเล่าเรื่องราว ไว้ในตัว หลายเรื่องมันส์มาก เช่น เม็ดหนึ่ง พบที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่ มีเด็กคนหนึ่ง โทรมาหาผมขอให้ไปดูว่าจะเอาไหม ผมก็ บอกว่าท�ำไมไม่เอาไปให้ป้าที่รวบรวมอยู่ เป็นประจ�ำ เขาก็บอกว่าป้าเอาไปแล้วให้ผม ไม่เท่าที่ลุงหมอให้ เด็กคนนี้ต้องการติดต่อ ตรงกับผม ผมก็ต้องขับรถไปหา เมื่อไปถึง พบว่าเป็นเหมือนแผ่นแก้วขนาดเท่าเล็บนิ้ว ก้อยแกะสลักเป็นรูปที่เขาดูไม่ออก พอผม เห็นรูปก็เอามาแล้วรีบโทรไปถามอาจารย์ ไมเคิล ไรท์ “ไมค์ ผมเห็นรูปอะไรก็ไม่รู้ เป็นรูปคนแก่ๆ มีหมาตัวหนึ่งและก็ต้นไม้ที่ มีนกเกาะที่ต้นไม้” ไมค์คิดสักพักแล้วขอ เวลาค้น อีกสองสามวันโทรกลับมา ไมค์ ตอบว่าเป็นฉากลักพาตัวกนีมีด เรื่องมีอยู่ว่า Zeus เป็นเทพอยู่บนฟ้าแล้ววันนั้น กนีมีด (Ganymede) หนุ่มน้อยชาวทรอยพาหมาคู่ กายไปเดินเล่น กนีมีดเป็นหนุ่มน้อยรูปงาม พอ Zeus มองลงมาจากบนฟ้าแล้วเกิด ความอยากได้ตัวหนุ่มน้อย Zeus จึง แปลงกายลงมาเป็นนกอินทรี มาเกาะที่กิ่ง
ไม้เพื่อให้หนุ่มน้อยเข้ามาใกล้แล้วนกอินทรี ซีอุสตัวนี้ก็จัดการโฉบเอาขึ้นไปเป็นที่ไมเคิล ไรท์ เรียกว่า “ทาสสวาท” บนสวรรค์ ตอนหลังก็เสกให้เป็นดาว Aquarius เรื่อง เล่าที่พบนี้เป็นเรื่องของกรีกที่ต้องการสร้าง ความยิ่งใหญ่ด้วยการปราบเทพท้องถิ่น เช่น เมดูซ่าที่ถูกเทพเปอร์ซิอุสตัดหัวก็เป็น เทพท้องถิ่น กนีมีดนี้ก็เป็นเทพท้องถิ่นของ ชาวทรอย ส่วนเทพซีอุสของกรีกนั้นพอมา อินเดียก็กลายเป็นพระอินทร์ ถึงเมืองไทย ก็คือพญาแถนนั่นแหละ พวกกรีกมาถึง ถือว่าเทพฉันใหญ่กว่าจัดการตัดหัวบ้าง ลักพาตัวบ้าง เป็นการตัดไม้ข่มนาม และ เป็นการสร้างเรื่องราวให้คนท้องถิ่นยอม ศิโรราบต่อกรีก ที่คลองท่อมยังมีพบอีกชิ้น เป็นภาพไดโอมิดีส ก�ำลังลักเทพขวัญเมือง ในมหาวิหารแห่งกรุงทรอยก่อนที่จะสามารถ พิชิตศึกม้าไม้เมืองทรอย ก็เข้าข่ายท�ำนอง เดียวกันคือสร้างนิยายแสดงความเหนือ กว่าของเทพกรีกกับบรรดาเทพท้องถิ่น
ที่จริง เป็นเพียงหมอจรจัด
ในช่วงหนึ่งผมเคยได้ข้อเสนอที่ให้ ผมเป็นผู้อ�ำนวยการศูนย์วัณโรคที่ผมเริ่ม ท�ำงานแห่งแรกแต่ต้องรอ ผอ. เกษียณอายุ แต่ผมกลัวหมดไฟก็ขอย้ายตัวเองออกมา อยู่ที่เทศบาลนครศรีธรรมราช ท�ำจนไม่มี อะไรที่พัฒนาท้าทายให้ท�ำ ผมก็เลยออก จากวงการหมอ เพราะอยากไปเป็นครู ผม มีปัญหาพบว่าคนไข้ที่มาหาเรา สัก
๖๐-๗๐ เปอร์เซ็นต์ มาหาหมอเพียงเพื่อ ต้องการการรักษาตามอาการและการรักษา แบบเป็นครั้งเป็นคราว ตามเวลาที่ป่วย โรคจ�ำนวนมากเกิดจากความไม่รู้ไม่เข้าใจ และปล่อยปละชีวิตตนเองและไม่พร้อมใน การเอาจริงไปแก้ที่ต้นเหตุ เช่นเป็นโรค กระเพาะ โรคเครียด โรคนอนไม่หลับซึ่ง แก้ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีชีวิต แต่เขาก็ไม่ยอมแก้เอาแต่รอพึ่งหมอ จน ท�ำให้ผมรู้สึกว่าไม่คุ้มที่จะท�ำๆ อยู่อย่างนี้ ผมเลยเลือกที่จะมาเป็นครูไปสร้างคนไป จัดการเรื่องสุขศึกษาไปให้ความรู้เรื่อง อาการเจ็บป่วยดีกว่าเพราะเราอยู่กับการ ปะหม้อซ่อมหม้อแบบนี้ไม่มีหวัง สู้ไปปั้น หม้อเองดีกว่า อาจารย์หมอประเวศ วะสี ว่าบัญชาจะออกไปปั้นหม้อ แล้วก็ไปช่วย สร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อยู่ ๑๐ ปี เสร็จก็ออกมาท�ำงานสวนโมกข์แล้วมา สะดุดสึนามิกับลูกปัด ความจริงผมยังอาจ สะดุดได้อีกหลายอย่างเพราะอ่านหนังสือ เยอะ สนุกไปเรื่อยโดยเฉพาะเรื่องปักษ์ใต้ เรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การ พัฒนา อีกเรื่องคือผมเป็นคนชอบใช้ย่าม ซึ่งย่ามนี้ถือเป็นเครื่องใช้ของเผ่าไทที่ส�ำคัญ สัมภาษณ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี อาทิตย์ ประสาทกุล โอวี อภิพงศ์ พงศเสาวภาคย์ โอวี กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี สุทธิพงศ์ ลิ้มสุขนิรันดร์กุล โอวี
๔๖ ๗๑ ๗๑ ๗๓ ๗๓
ในอุษาคเนย์ ที่เรียกว่า Shoulder bag ผม รวบรวมย่ามเก่าของทุกเผ่าชาติพันธุ์ใน ละแวกนี้ไว้มากจนขึ้นชื่อ เพิ่งได้ยินคนใน วงการผ้าเก่าเขานินทาว่าย่ามที่ผมเก็บๆ ไว้ นั้นน่าจะมากที่สุดคนหนึ่งด้วย ยังไม่เคยขอ ดูของใคร และก็ไม่เห็นใครท�ำอะไรเรื่องนี้ สักเท่าไหร่ แบบเดียวกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะ สึนามิ ลูกปัด พระพุทธศาสนา ถ้าพอท�ำ ไหวผมก็ท�ำไปเรื่อยครับ วันก่อนมีหมอคิด ท�ำเรื่องหมาจรจัดมาชวนผมคิด คิดไป คิดมา มาพันกับตัวเองว่าไอ้เรานี่ก็พอกัน ใครๆ ชอบถามเสมอว่าผมเป็นหมออะไร ไม่รู้จะตอบว่าอะไรดีเพราะจริงๆ เลิกเป็น หมอมานานแล้ว ที่ท�ำๆ ก็ไม่เห็นเข้าข่าย หมออะไรเลย จะตอบว่าเป็นหมอ เวชปฏิบัติทั่วไปก็ไม่ถูก เป็นหมอโรคปอด หมอเทศบาลก็เลิกนานแล้ว เป็นอาจารย์ หมอหรือครูหมอในภาคใต้เขาห้ามใช้เพราะ เข้าข่ายไปทางนักเวทมนต์เล่นของ พอมา ช่วยงานสวนโมกข์จะบอกว่าเป็นหมอวัดก็ ฟังดูพิกล ลงเอยเลือกบอกใครๆ ว่าผมเป็น หมอจรจัด อันนี้เอาอย่างหมาจรจัดที่คน เขาอยากก�ำจัดนะครับ
เรียบเรียง ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง โอวี ๗๖ อาทิตย์ ประสาทกุล สถาพร อยู่เย็น โอวี ๗๖ กิตติเดช ฉันทังกูล ธนกร จ๋วงพานิช โอวี ๗๗ ถ่ายภาพ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ
โอวี ๗๑ โอวี ๗๓ โอวี ๗๗ โอวี ๗๙
anumanavasarn.com
36
หอประชุม
นักับกบทบาททางการเมื เรียนประจ� ำ อง
ได้ รั บ ค� ำ สั่ ง จากท่ า นบรรณาธิ ก าร ให้เขียนเรื่องนักเรียนประจ�ำอย่างพวกโอวี พวกเรากั น เองนี่ แ หละสามารถมี บ ทบาท ทางการเมืองได้อย่างไร ท่านว่าของท่าน อย่างนี้ละครับ “นั ก เรี ย นโรงเรี ย นประจ� ำ อย่ า ง พวกเรา สามารถมีบทบาทต่อเรื่องการเมือง ได้อย่างไร จะท�ำอย่างไรในเรื่องความคิดที่ แตกต่าง (แตกแยกหรือเปล่าผมไม่ทราบ) ทั้งๆ ที่นักเรียนประจ�ำอย่างพวกเราก็ได้รับ การอบรมสั่งสอนมาแบบเดียวกัน โตมา
ด้วยกัน เห็นนิสัยใจคอรู้ชาติสันดานกันมา ตั้งแต่เด็กจนโต อีกทั้งยังมีปัจจัยเกื้อหนุน ให้ พ วกเราส่ ว นใหญ่ มี ส ถานะทางสั ง คม ที่คนเสื้อแดงเรียกว่า อ�ำมาตย์ ก็มาก เป็น ไพร่ ก็มาก แต่เราก็อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ได้ แบ่งแยก แข่งกีฬาต่างคณะต่างสี แต่เมื่อถึง คราวต้องมาเล่นในสีเดียวกันทุกคนก็สามัคคี มี ที ม เวิ ร ์ ค มี ส ปิ ริ ต ร่ ว มแรงร่ ว มใจกั น ทั้งเชียร์ทั้งเล่น ก็ท�ำกันมาเกือบ ๑๐๐ ปี แล้ว แต่ไฉนพวกเราไม่สามารถผลักดัน สิ่งดีๆ เหล่านี้ออกไปสู่สังคมได้ เท่าที่ควร
ซ�้ ำ ร้ า ยพวกเราบางคน ยั ง หลงใหลใน ลาภยศ จนละทิง้ อุดมการณ์และผูม้ พี ระคุณ ต่อพวกเราไปอย่างง่ายดาย สุดท้ายนี้ผม ก็แค่อยากน�ำเสนอแนวคิด หรือประเด็น ที่ น ่ า น� ำ เสนอในช่ ว งเวลาที่ประเทศชาติมี ปัญหารุนแรง เพือ่ อย่างน้อยจะได้เป็นเครือ่ ง เตือนสติ ฉุกคิด หรืออะไรก็ตามที่ท�ำให้ เราเข้าใจและอยู่ร่วมกันได้โดยไม่หลงลืม รากเหง้าของตนเองกันไปง่ายๆ แบบที่เป็น กันอยู่” ผู ้ เ ขี ย นก็ เ กิ ด อาการมึ น ตึ๊ บ ขึ้ น มา หันรีหันขวางเนื่องจากเหตุการณ์เสื้อสีต่างๆ ในประเทศไทยขณะนีม้ นั สับสนปนเปจนไม่รู้ อะไรเป็นอะไร แม้ว่าผู้เขียนจะมีลูกศิษย์ ลู ก หาเพื่ อ นฝู ง และแหล่ ง ข่ า ว (ที่ มั่ ว บ้ า ง จินตนาการเอาเองบ้าง หรือเป็นเจ้ากรม ข่าวลือบ้าง) ที่ส่งข่าวแวะเวียนมาเสวนา กันเสมอแต่ก็ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ครั้น จะวิ เ คราะห์ ล งไปก็ เ ข้ า ท� ำ นองคนตาบอด ขีม่ า้ ตาบอด ก็พอดีมขี า่ วผลการเลือกตัง้ ของ อังกฤษเข้ามา ทั้งนายกรัฐมนตรีและรอง นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่ เป็นนักเรียนพับลิกสกูล (แบบที่โรงเรียน วชิราวุธฯ เป็นอยู่ในขณะนี้ ส่วนโรงเรียน ของรัฐบาลเรียกว่าสเตทสกูล) ซึ่งนับเป็น ครั้งแรกในเวลาร่วม ๕๐ ปีหลังจากที่อดีต นายกรัฐมนตรีฮาโรลด์ แมคมิลแลนผู้เป็น นักเรียนพับลิกสกูลที่ลาออกจากต�ำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ ท�ำให้ บรรดาสือ่ มวลชนของอังกฤษพากันประโคม
ข่าวกันยกใหญ่ว่าบรรดาพวกนักเรียนเก่า พับลิกสกูลโดย เฉพาะพวกที่เคยเรียนอยู่ ที่ พั บ ลิ ก สกู ล อี ตั น กลั บ มาคุ ม รั ฐ นาวาของ อังกฤษอีกครั้งหนึ่งแล้ว (นายนิก เคลกก์ รองนายกรัฐมนตรีผู้เป็นหัวหน้าพรรคเสรี ประชาธิ ป ไตยก็ เ ป็ น ศิ ษ ย์ เ ก่ า ของพั บ ลิ ก สกูลเวสมินสเตอร์) ผู้เขียนเลยถือโอกาส เอาเรื่องพับลิกสกูลของอังกฤษที่ต้นแบบ ของวชิราวุธวิทยาลัยของเรากับบทบาททาง การเมืองมาคุยกับพวกเราดีกว่าเพื่อเอาไว้ เป็ น ข้ อ คิ ด ว่ า พวกโอวี ค วรมี บ ทบาททาง การเมืองอย่างไร แบบว่าเป็นการจุดประกาย ความคิดก็แล้วกันนะครับ โรงเรียนที่จัดว่าเป็นพับลิกสกูลแบบ ดั้งเดิมในอังกฤษนั้นมีเพียง ๙ โรงเรียน เท่านั้น ดังมีรายชื่ออยู่ในพระราชบัญญัติ พับลิกสกูล พ.ศ. ๒๔๑๑ (The Public Schools Act ๑๘๖๘ (๓๑ & ๓๒ Vict. c.๑๑๘) ดังนี้ Charterhouse School Eton College Harrow School Merchant Taylors’ School Rugby School Shrewsbury School St. Paul’s School Westminster School Winchester College anumanavasarn.com
38 หอประชุม โรงเรี ย นพั บ ลิ ก สกู ล ดั้ ง เดิ ม ทั้ ง เก้ า นี้คือโรงเรียนต้นแบบของวชิราวุธวิทยาลัย แต่สันนิษฐานว่า Eton College น่าจะ เป็นต้นแบบที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรง เอามาก่ อ ตั้ ง โรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวง มากกว่าเนือ่ งจากในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้ ง แรก (พ.ศ. ๒๔๔๐) ของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เจ้านายพระองค์แรกคือพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรค วิสยั นรบดีได้รบั การตอบรับเข้าเรียนที่ Eton College แล้วแต่ไม่ทรงเข้าเรียนเนื่องจาก ยังไม่ทรงพร้อมด้านภาษาอังกฤษ (จาก การประมาณพระองค์นี้เองที่ท�ำให้พระองค์ เจ้าดิลกนพรัฐฯ ผู้เป็นพระราชโอรสของ รัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่จึงทรงเป็นคนไทยคนแรกที่จบ การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ - เป็นเจ้านาย พระองค์แรกและเป็นคนไทยคนที่ ๒ ที่จบ การศึกษาในวิชาระดับปริญญาเอก) ต่อมา เจ้ า นายจากเมื อ งไทยหลายพระองค์ โ ดย เฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๗ พระอนุ ช าร่ ว ม พระครรภ์โสทรกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ก็ ทรงศึกษาที่ Eton College อีตันนี้เป็นโรงเรียนประจ�ำที่พระเจ้า เฮนรี่ที่ ๖ ทรงก่อตั้งขึ้นริมฝั่งแม่น�้ำเทมส์ ใกล้กบั พระราชวังวินเซอร์ เมือ่ พ.ศ. ๑๙๘๓ (สมัยพระเจ้าสามพระยาตอนต้นๆ ของกรุง ศรีอยุธยา ก็มีอายุร่วม ๕๗๐ ปีแล้ว) เพื่อ
เก็บเอาเด็กเร่ร่อนจ�ำนวน ๗๐ คนมาเรียน หนังสือและพักอาศัยอยู่ในโรงเรียนท�ำนอง บ้านเมตตาสมัยนีแ้ ต่เด็กไม่ได้มโี ทษผิดอะไร นะครับ นอกจากนี้เด็กเหล่านี้ยังมีโอกาสได้ เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยฟรีด้วยนะครับ ที่ คิงส์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริจด์ซึ่ง พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๖ ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการ ศึกษาต่อเนื่องส�ำหรับนักเรียนของอีตันใน อีก ๑ ปีต่อมา (พ.ศ.๑๙๘๔) ประวัติของ Eton College ตอนต้น นี่น่าตื่นเต้นนะครับเนื่องจากเกิดสงคราม กลางเมืองขึน้ ใน พ.ศ. ๑๙๙๘ พระเจ้าเฮนรี่ ที่ ๖ ถูกจับและจ�ำคุกจนสิ้นพระชนม์ท�ำให้ อีตนั ต้องพึง่ ตัวเองตัง้ แต่นนั้ มา บรรดาอาคาร ต่ า งๆ และหอกลางของโรงเรี ย นจึ ง มี ชื่ อ ผู้บริจาคช่วยเหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อที่ ของ Roger Luptun ซึง่ เป็นชือ่ ของสิง่ ปลูกสร้าง ที่เป็นสัญลักษณ์ของอีตันหลายแห่ง โรงเรียนอีตนั วิทยาลัยทีม่ ศี ษิ ย์เก่าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษถึง ๑๙ คน จุ ด เด่ น ที่ สุ ด ของอี ตั น คื อ อะไรหรื อ ครับ ? อีตันโอลด์บอยส์เขามีบทบาททาง การเมืองมากนับตั้งแต่ ๒๔๑ ปีมาแล้วเริ่ม ทีศ่ ษิ ย์เก่าอีตนั คือเซอร์โรเบอร์ต วอลโพลได้ เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษเป็นคนแรก (ทางวิชาการนีถ้ อื ว่าเซอร์โรเบอร์ต วอลโพล นี่ เ ป็ น นายกรั ฐ มนตรี ค นแรกของอั ง กฤษ จริงๆ นะครับ คือท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๖๔- ๒๒๘๕ เนื่องจาก พระเจ้าจอร์จที่ ๑ เป็นคนเยอรมัน พูด
ภาษาอังกฤษไม่คอ่ ยได้และชอบกลับไปอยูท่ ี่ แคว้นฮาโนเวอร์ในเยอรมันครั้งละนานๆ ใน วังหลวงก็มแี ต่คนเยอรมัน พระเจ้าจอร์จที่ ๑ ก็เลยปล่อยให้พวกขุนนางปกครองกันเอง อั น เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของประชาธิ ป ไตยแบบ อังกฤษทีม่ นี ายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี นั่นแหละ ว่างๆ จะเขียนสู่กันอ่านเรื่องนี้ แปลกดี ซึ่งใครจะไปเอาอย่างอังกฤษไม่ได้ หรอกครับ) และมีศิษย์เก่าอีตันอีก ๑๘ คนที่เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรี อังกฤษคนปัจจุบันหมาดๆ นี้เองก็คือนาย เดวิด คาเมรอน ยังไงละครับ ทีน่ า่ สนใจก็คอื บรรดาบุคคลส�ำคัญใน รัฐบาล อาทิรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ของ นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ครั้งแรก ภายหลังทีไ่ ด้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วนัน้ เป็น ศิษย์เก่าของอีตันถึง ๑๓ คน ว่ากันว่าการ เล่นกีฬารักบี้กันมาตั้งแต่เด็กของนักเรียน อีตันนั้นเป็นหลักการตัดสินใจเลือกคนเข้า ท�ำงาน ส�ำคัญให้กับประเทศชาติเนื่องจาก
กีฬารักบี้เป็นกีฬาที่ต้องเล่นกันเป็นทีมไม่ใช่ การเล่นที่เอาเด่นเพียงคนเดียว ทีมสปิริตที่ ต้องประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพจึง เป็นหัวใจส�ำคัญที่สุด นอกจากนี้รักบี้ยังเป็น กีฬาที่เล่นสกปรกได้ง่ายที่สุดเพราะมีการ ชุลมุนกันอยู่แทบตลอดเวลา ดังนั้นการเตะ หน้าแข้ง การกระทืบ หรือจิกตา ฯลฯ อีกฝ่าย หนึ่งย่อมท�ำได้ง่าย ยากที่กรรมการจะเห็น ดังนั้นการเล่นรักบี้ก็จะท�ำให้คนที่เล่นรักบี้ นั้นรู้กันว่า “ใครเป็นสุภาพบุรุษและใคร เป็นกุ๊ย” ดังนั้นการคัดเลือกคนที่ท�ำงาน เพือ่ ชาติจากโรงเรียนนีน้ นั้ จึงขึน้ อยูก่ บั กีฬา รักบี้ในอดีตที่อีตันนี้เป็นส�ำคัญไม่น้อย อ้อ ! นอกจากนายกรัฐมนตรีของ อังกฤษแล้ว อีตันยังมีศิษย์เก่าที่เป็นนายก รัฐมนตรีของนอร์ทเทิร์นไอร์แลนด์ ๒ คน และนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทย อีก ๑ คน โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ โอวี ๓๙
anumanavasarn.com
40
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ
บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
สภากรรมการจัดการ หรือ คณะกรรมการอ�ำนวยการ วชิราวุธวิทยาลัย (๓)
๑
นามเดิ ม พจน์ พหลโยธิ น ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ๒ นามเดิม แปลก ขีต ตะสังคะ ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น จอมพล ป. พิบูลสงคราม
สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ คงได้ปฏิบัติหน้าที่สนอง พระเดชพระคุ ณ สื บ เนื่ อ งมาจนเกิ ด การเปลี่ ย นแปลง การปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบรมวงศ์ บางพระองค์ซึ่งทรงเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ต้องเสด็จฯ ออกไปประทับ ณ ต่างประเทศ ในขณะที่บางพระองค์ก็ สิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว กรรมการกิตติมศักดิ์ใน สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยจึงได้สิ้นสุดลงนับ แต่บัดนั้น ส่วนสภากรรมการจัดการนั้นยังคงปฏิบัติหน้าที่ สนองพระเดชพระคุณสืบต่อมาจนถึงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายก รัฐมนตรี เป็นนายกกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยต่อมา นายกรัฐมนตรีที่ได้รับหน้าที่เป็นนายกกรรมการ จัดการวชิราวุธวิทยาลัยโดยต�ำแหน่งนั้นมีอยู่ ๒ ท่าน คือ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา๑ (๑ สิงหาคม ๒๔๗๘ – ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑) นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม๒ (๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ – ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๒)
ต่อมาวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงต�ำแหน่งนายกกรรมการ จัดการวชิราวุธวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรดเกล้าฯ ให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นนายกกรรมการ อ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยโดยต�ำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนัน้ ได้มพี ระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มี การเปลีย่ นแปลงกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยต่อมาอีก หลายคราว ในชั้นต้นนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภา กรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยประกอบด้วย รัฐมนตรี นายพันเอก พระยาพหลพล พยุหเสนา ว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นนายกกรรมการ กรรมการ โดยต� ำ แหน่ ง ประกอบด้ ว ย ปลั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมพลศึกษา อธิบดีกรม อาชีวศึกษา โดยมีผู้อ�ำนวยกรรมการพระคลังข้างที่เป็น เหรัญญิก และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย เป็นเลขานุการ โดยต�ำแหน่ง นอกจากนั้นยังได้โปรดเกล้าฯ ให้ครูเก่าและ นักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมเป็นกรรมการอีกจ�ำนวนหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ คณะกรรมการจัดการ วชิราวุธวิทยาลัยในสมัยที่พลเอก มังกร พรหมโยธี เป็น นายพันเอก หลวงพิบลู สงคราม นายกกรรมการได้พิจารณาเห็นว่า การด�ำเนินการของ คณะกรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัยนั้นได้ปฏิบัติกันมา ตามประเพณีที่สืบทอดกันมา หาได้มีระเบียบข้อบังคับเป็น ลายลักษณ์อกั ษรจึงเห็นสมควรทีจ่ ะได้มกี ารยกร่างข้อบังคับ กรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยเป็นแนวทางในการ ปฏิบตั ติ อ่ ไป คณะกรรมการฯ จึงได้จดั ให้มกี ารยกร่างข้อบังคับ กรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยขึ้นและได้น�ำความ กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วจึงได้ใช้บังคับ เป็ น “ข้ อ บั ง คั บ กรรมการอ� ำ นวยการวชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย พ.ศ. ๒๔๙๕” เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ anumanavasarn.com
42 จดหมายเหตุวชิราวุธฯ ข้อบังคับกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๙๕ นี้ ได้ก�ำหนดให้ คณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยประกอบไปด้วยกรรมการ ๒ ประเภท คือ ๑) กรรมการโดยต�ำแหน่ง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัด กระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา อธิบดีกรมกรมอาชีวศึกษา อธิบดีกรมพลศึกษา ผู้อ�ำนวยการพระคลังข้างที่ และผู้บังคับการวชิราวุธ วิทยาลัย ๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ก) ผู้ที่ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามพระราชอัธยาศัย ข) ผูท้ คี่ ณะกรรมการอ�ำนวยการขอพระราชทานพระบรมราชวินจิ ฉัยเพือ่ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้น กรรมการประเภทนี้ให้มีได้ไม่เกินหนึ่ง ในสี่ของกรรมการทั้งหมด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งประเภท ๒) ก. และ ๒) ข. ให้อยู่ในต�ำแหน่งได้ไม่เกิน ครั้งละ ๓ ปี แต่เมื่อพ้นต�ำแหน่งแล้ว อาจจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นด�ำรง ต�ำแหน่งอีกต่อไปก็ได้ นอกจากนั้นในข้อบังคับคณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๙๕ ยังได้ก�ำหนดอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ไว้ดังนี้ ๑) จัดวางระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของวชิราวุธวิทยาลัย ๒) จัดหาวิธีการอันจะท�ำให้การศึกษาและกิจการของวชิราวุธวิทยาลัยเจริญขึ้น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ ผู้พระราชทานก�ำเนิดโรงเรียน ๓) พิจารณาการแต่งตั้ง ถอดถอน อาจารย์ ครูและเจ้าหน้าที่อื่นๆ ของวชิราวุธ วิทยาลัย ๔) จัดท�ำงบประมาณของวชิราวุธวิทยาลัย ข้อบังคับกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๙๕ นี้ได้ใช้บังคับต่อมา จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๑ คณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยจึงได้พิจารณายกร่างข้อ บังคับกรรมการอ�ำนวยการขึ้นใหม่ เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว คณะ กรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยได้ใช้ “ข้อบังคับกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๑” เป็นหลักปฏิบัติสืบมา ในข้อบังคับฯ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๑ นี้ ได้มีการการปรับแก้ต�ำแหน่งกรรมการ อ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย เป็นดังนี้
๑) กรรมการโดยต�ำแหน่ง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัด กระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา อธิบดีกรมกรมอาชีวศึกษา อธิ บ ดี ก รมพลศึ ก ษา เลขาธิ ก ารพระราชวั ง ผู ้ อ� ำ นวยการพระคลั ง ข้ า งที ่ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ผู้ที่ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเป็น จ�ำนวนไม่เกินกว่ากรรมการโดยต�ำแหน่ง กรรมการผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ด� ำ รงอยู ่ ใ นต� ำ แหน่ ง ได้ ไ ม่ เ กิ น ครั้ ง ละ ๓ ปี แต่ เ มื่ อ พ้นต�ำแหน่งแล้วอาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งนั้นต่อไปอีก คราวละ ๓ ปี โครงสร้างคณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยคงเป็นไปตามข้อบังคับ กรรมการอ�ำนวยการ พ.ศ. ๒๕๑๑ มาจนถึงสมัยที่นายสุขวิช รังสิตพล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ คณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยได้ประชุมพิจารณาปรับแก้โครงสร้าง คณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้มีการปรับลดจ�ำนวนกรรมการโดยต�ำแหน่งลงเหลือเพียง ๕ ต�ำแหน่ง คือ ปลัด กระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ ผู้อ�ำนวยการพระคลังข้างที่ และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย และเพิ่มจ�ำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็น ๑๓ ต�ำแหน่ง และโดยทีร่ ฐั มนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการซึง่ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกกรรมการอ�ำนวยการ โดยต�ำแหน่งมาแต่เดิม มิได้ร่วมเป็นกรรมการอ�ำนวยการฯ ตามโครงสร้างใหม่นี้ ที่ประชุม คณะกรรมการฯ จึงได้มีมติให้คณะกรรมการอ�ำนวยการฯ เลือกกันเองคนหนึ่งเป็นนายก กรรมการ และในการประชุมคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการ อ�ำนวยการฯ ได้พจิ ารณาปรับโครงสร้างกรรมการอ�ำนวยการฯ อีกครัง้ โดยให้นายกสมาคม นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นกรรมการโดยต�ำแหน่ง และได้ปรับ ลดจ�ำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิลงเหลือเพียง ๑๒ ต�ำแหน่ง ส่วนวาระการด�ำรงต�ำแหน่ง ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคงเป็นคราวละ ๓ ปีเช่นเดิม และในการประชุมคณะกรรมการ อ�ำนวยการฯ เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ได้มีมติให้แก้ไขวาระการ ด�ำรงต�ำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคราวละ ๓ ปี และให้คงด�ำรงต�ำแหน่งได้ไม่ เกิน ๒ วาระติดต่อกัน วรชาติ มีชูบท โอวี ๔๖
anumanavasarn.com
44
คอลัมน์พิเศษ
พระนิพนธ์ของ ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ (ตอนที่ ๑)
ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงไว้จุก
พระนิพนธ์เรื่อง “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” ของ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล นี้ ทรงนิพนธ์ไว้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๖ หลังจากต้นฉบับเสร็จสิ้น สมบูรณ์แล้ว มิได้น�ำออกสู่สายตาประชาชน จน กระทั่งปี ๒๕๔๒ ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงประทานให้หนังสือศิลปวัฒนธรรม พิ ม พ์ เ ผยแพร่ เ ฉพาะบางตอน คื อ เริ่ ม ตั้ ง แต่ วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ไปจนสิ้นรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเป็นเนื้อหาเรื่องราวในช่วงก่อนการ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปจนถึงช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองและจบตอนลงใน ช่วงสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ส�ำหรับบทความที่จะน�ำลง ในหนังสืออนุมานวสารนี้ ม.ร.ว.ศุภดิศ ดิศกุล โอวี ๔๐ ได้อนุญาตให้อนุมานวสารน�ำ บทความจากต้นฉบับ ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ ซึง่ ยังไม่ เคยลงตีพิมพ์ในหนังสือหรือนิตยสารเล่มใดมาก่อน พระนิพนธ์เรื่อง “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” นี้ ถือเป็นหนังสือทรงคุณค่ามหาศาลใน เชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะแบ่งได้เป็น ๔ ตอน กล่าวคือตอนแรกเป็นช่วงของรัชสมัย ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนที่สองและตอนที่สามเป็นช่วงในรัชสมัยรัชกาลที ่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปจนกระทั่งหลังการ เปลีย่ นแปลงการปกครองจนกระทัง่ สิน้ รัชกาล ซึง่ เป็นช่วงที่ ม.จ.หญิงพูนพิศสมัย ดิศกุล ทรงอยูใ่ นเหตุการณ์หลายครัง้ หลายตอน ประกอบกับพระองค์ทา่ นเป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ได้ทรงถวายงานดูแลพระราช บิดาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาที่ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ จึงได้ทรงรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ มา โดยตลอด ส�ำหรับตอนที่ ๔ ถือเป็นบทสรุป การทีก่ องบรรณาธิการได้รบั ความอนุเคราะห์ให้นำ� พระราชนิพนธ์ตอนทีส่ องมา ลงในหนังสืออนุมานวสารตัง้ แต่ฉบับนีเ้ ป็นต้นไปนัน้ ทางอนุมานวสารและสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัยฯ ขอขอบคุณ ม.ร.ว.ศุภดิศ ดิศกุลเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ anumanavasarn.com
46 คอลัมน์พิเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เป็นพระราชโอรสเจ้าฟ้าชายพระองค์ที่ ๒ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และที่ ๑ ของสมเด็จพระบรมราชินีนารถ เสาวภาผ่องศรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ตรงกับ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค�่ำ ปีมะโรงทาง จันทรคติ ทีพ่ ระต�ำหนักในพระบรมมหาราช วังแล้วเสด็จขึ้น ไปประทับอยู่บนพระที่นั่ง (เทพดนัย) กับพระราชมารดา มีหม่อมเจ้า แก้วกัลยาณ์ (หลานปูร่ ชั กาลที่ ๔) เป็นพระ พี่เลี้ยง ทรงมีเพื่อนเล่น คือเจ้านายพี่น้อง และหม่ อ มเจ้ า ต่ า งวั ง ที่ พ ระชั น ษาขนาด เดียวกันทั้งหญิงและชาย สมเด็จหญิงกลาง มาลินี นพดาราเคยทรงเล่าว่า “ทูลกระหม่อม โตพระทัยดี เรารักกันทุกคน เพราะเวลา สมเด็ จ แม่ ท รงใช้ ใ ห้ เ ข้ า ไปดู ว ่ า เรานอน กลางวันหลับหรือไม่หลับ ซึ่งโดยมากก็เล่น กันอยู่กับทูลหม่อมหญิงวลัยจริงๆ ด้วย ถ้า เป็นทูลหม่อมโตเสด็จเข้าไป ท่านก็บอกว่า “หลับเสียซี จะได้ไปทูลว่าหลับ” แล้วท่านก็ ยืนดูให้หลับ แล้วกลับออกไปทูลว่าหลับแล้ว แต่ถา้ เป็นทูลหม่อมเล็ก (จักรพงษ์) เข้ามาดุ แม้เราหลับตาแล้วก็นั่งลงเกามือเขี่ยตาดูว่า จะกะพริบหรือไม่ แล้ววิ่งกลับไปทูลว่าไม่ หลับ แกล้งท�ำเลยถูกตี“ พระเจ้าอยู่หัวตั้งต้นทรงพระอักษร ภาษาไทยแต่พระชันษาได้ ๕ ปี กับพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย ผู้แต่งมูลบทนั้น) ยัง ไม่ทันทรงได้ พระยาศรีสุนทรโวหารตาย ก็เปลี่ยนพระอาจารย์เป็นพระยาอิศรพันธ์ โศภณ (หนู อิศรางกูร) ดังได้ทรงพระราช
นิพนธ์เป็นโคลงไว้ในค�ำนมัสการในตอนขึ้น ต้นหนังสือ “พระแลค�ำหลวง” ว่าดังนี้ โกศีโอนนอบน้อม ครูบูรพ์ ผู้เริ่มประเดิมทูล พิทย์ไว้ โศภณอิศรางกูร มุสิก นามนา เธอเพาะนิไสยให้ ชอบสร้อย โคลงกลอน เสด็จพ่อก�ำลังทรงจัดตัง้ การศึกษาอยู่ ในเวลานั้น สมเด็จพระชนกนารถจึงโปรด ให้เป็นผู้ดูแลในการศึกษาของพระราชโอรส พระราชธิดาด้วย เสด็จพ่อทรงเล่าว่ามีอยู่ ๒ พระองค์ที่ทรงตั้งต้นด้วยเกลียดหนังสือ แต่แล้วกลับเป็นผู้รักหนังสือเป็นอย่างยิ่งใน เวลาทรงพระเจริญแล้ว คือ พระเจ้าอยู่หัวนี้ พระองค์หนึ่ง วันแรกที่พาเสด็จไปห้องเรียน พอเห็นครูก็ทรงพระกรรแสง เสด็จพ่อต้อง อุ้มให้ประทับอยู่บนตักเวลาทรง ก. ข. จน คุ้นไปเอง อีกพระองค์หนึ่ง คือ กรมพระ จันทบุรี ทรง ก. ข. เท่านั้นอยู่ถึงหนึ่งเดือน จึงจ�ำได้ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระอักษรกับครู ที่มุขตวันออกพระที่นั่งจักรีทุกวัน มีบางครั้ง ที่ย้ายไปที่อื่นบ้างชั่วคราว ดังได้ทรงมีลาย พระหัตถ์มาถึงเสด็จพ่อ เมื่อพระชันษาได้ ๑๐ ปี เมื่อทรงพระอักษรภาษาไทยได้แล้ว เสด็จไปทรงภาษาอังกฤษกับ Mr.Morant ที่ที่ประทับของสมเด็จพระบรมองค์เก่าทาง หน้าพระมหาปราสาท ต่อจากครูมอรานส์ก็ มี Mr. J.C. James เป็นผู้ถวายพระอักษร พร้อมๆ กับเจ้านายพี่น้องบางพระองค์
ถึง พ.ศ. ๒๔๓๒ ทรงมีพระชันษา ได้ ๙ ปี เป็นเวลาที่จะเฉลิมพระนามในทาง ราชการตามขั ติ ย ราชประเพณี ที่ ท รงเป็ น เจ้าฟ้า สมเด็จพระราชบิดาจึงโปรดให้ทรง เป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทราวดีใน พ.ศ. นั้น เรียกว่าพระราชพิธีรับพระสุพรรณบัตร์ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ถึงเวลาโสกันต์ มี พ ระราชพิ ธี เ ต็ ม ตามขั ติ ย ราชประเพณี ส�ำหรับเจ้าฟ้า กล่าวคือมีกระบวนแห่เสด็จยัง พระราชพิธมี ณฑล และมีเขาไกรลาศส�ำหรับ สรงเมื่อโสกันต์แล้ว สมเด็จพระราชบิดาโปรดให้เสด็จไป ทรงศึกษาวิชาการยังประเทศอังกฤษพร้อม กับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสวัสดิวัฒน์ วิ สิ ษ ฐ์ ผู ้ โ ปรดให้ ไ ปเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยทู ต อยู ่ ใ น ประเทศนั้น ด้วยเรื่องยุ่งยากกับพวกฝรั่งใน ร.ศ. ๑๑๒ เพิ่งแล้วเสร็จยังไม่เรียบร้อยได้ และราชทูตไทยในสมัยนั้นก็ไม่มีใครรู้ภาษา ต่างประเทศพอเพียงแก่การ ฉะนั้นสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จออกจากรุงเทพฯ ด้วย เรือชื่อ “มกุฎราชกุมาร” เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๓) เมือ่ ทรงมีพระชันษา ได้ ๑๓ ปีเศษ มีเจ้าพระยาพระเสด็จไปเป็น พระอาจารย์ภาษาไทย เป็นเวลาทีท่ รงทราบ ความทุกข์ของบ้านเมืองไปใหม่ๆ อย่างผู้ที่ มีอายุอยู่ใน teens ถึงเมืองสิงคโปร์ ทรงเปลี่ยนเสด็จ เรือเมล์เยอรมันไปขึน้ ทีเ่ มืองเนเปิล้ ประเทศ อิตาลี แล้วเสด็จผ่านไปทางเมือง Paris ข้าม ช่องแคบไปประเทศอังกฤษ ทรงพักอยู่ที่ Brighton ราว ๑ เดือนแล้วเสด็จไปประทับ อยู่ที่ Ascot อันเป็นที่อยู่ชานเมือง London
ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ กับ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ พระอนุชา และใกล้กับพระราชวัง Windsor ทรงมีพระ อาจารย์ถวายพระอักษรเป็นพิเศษทั้งภาษา ไทยและอังกฤษ รุง่ ขึน้ อีกปี คือ พ.ศ. ๒๔๓๗ ก็ได้ทรงรับต�ำแหน่งเป็น “มกุฎราชกุมาร” ของเมืองไทย เมื่ อ พระชั น ษาย่ า งเข้ า ปี ที่ ๑๕ ได้มีการสมโภชเป็นทางราชการทั้งใน พวกคนไทยและต่างประเทศในกรุงลอนดอน ทั้งนี้ควรนับว่าต้องทรงรับความรู้สึกผิดชอบ ในพระเกี ย รติ ย ศใหม่ นี้ ในเวลาที่ ท รงมี พระชันษาเพียง ๑๕ ปี และในถิ่นที่อันเป็น ต่ า งประเทศไกลจากพระบรมชนกนารถ และพระราชนนีผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าผู้ใดๆ ทรง anumanavasarn.com
48 คอลัมน์พิเศษ พระเจริญวัยขึ้นในท่ามกลางคนร่วมชาติที่ อยู่ในประเทศนั้น ที่เป็นผู้ใหญ่เพียง ๒-๓ คน กล่าวคือ ๑. กรมหมื่นสวัสดิวัฒนวิสิษฐ์ ๒. เจ้าพระยาพระเสด็จ (เปีย มาลากุล) พระอาจารย์ภาษาไทย ซึ่งอยู่พอทรงได้โดย พระองค์เองแล้วก็กลับ ๓. เจ้ า พระยาราชศุ ภ มิ ต ร์ (อ๊ อ ด ศุภมิตร์) ในต�ำแหน่งพระพี่เลี้ยง ๔. เจ้าพระยาพิชเยนทร์ฯ (อุม่ อินทร โยธิน) องครักษ์ ๕. พระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร (ม.ร.ว. สิทธิ สุทัศน์) ในต�ำแหน่งเพื่อนนักเรียน นอกจากผู้ที่ออกนามมาแล้วนี้ ก็มี พวกราชทูตของเรา กล่าวคือพวกคนดีทเี่ ป็น ชั้นข้าราชการเก่าๆ ที่ไม่รู้ภาษาต่างประเทศ พอ จึงอยู่ๆ กลับๆ กันโดยมาก เหลือพวก ที่รู้ภาษาต่างประเทศดีอยู่นาน ๆ ก็มีพระยา สุริยานุวัติ (เกิด บุนนาค) เป็นต้น ฉะนั้น ผู้ที่ห้อมล้อมสมเด็จพระบรมฯ ของเราอยู่ ในเวลานั้น แม้จะมีคนที่ซื่อและตรงอยู่บ้าง บางคนก็ดี คนทีร่ ปู้ ระวัตขิ องท่านพวกนีอ้ ย่าง ดี ก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าเขาเหล่านั้นจะ เป็นผู้สามารถผสม East กับ West ได้ตาม ควรแก่เวลา ทัง้ ความรูค้ วามสามารถของเขา นัน้ ก็นา่ สงสัยว่าจะมีดพี อทีจ่ ะ Bring up our future King หรือไม่ ? เพราะฉะนั้ น พระราชอุ ป นิ สั ย ที่ งดงาม พระปรีชาสามารถที่ทรงรอบรู้และ พระจริยานุวัติอันสอาดผ่องใส ไม่มี- สุรา, (ภาพบน) เจ้าพระยาพระเสด็จ (เปีย มาลากุล) นารี, ภาชี, กิฬบัตร์ จึงควรนับว่ามีขึ้นโดย ล�ำพังพระองค์เองโดยแท้ ไม่มีที่สงสัยเลย (ภาพล่าง) เจ้าพระยาราชศุภมิตร์
เมื่ อ ได้ ท รงด� ำ รงต� ำ แหน่ ง สมเด็ จ พระยุพราชขึ้นแล้ว ก็เป็นธรรมดาที่จะต้อง เสด็จอยูใ่ นสายตาของคนทัว่ ไปนับตัง้ แต่ The Queen Victoria เป็นต้นมา สมเด็จพระบรมฯ จึงได้ทรงคุน้ เคยกับพระราชวงศ์องั กฤษด้วย ตั้งแต่ประทับอยู่ที่ Ascot นั้น ได้เสด็จไป มายังพระราชวังวินเซอร์ตามเวลาสมควร และ King Edward VII ก็ได้ทรงช่วยจัดหา ครูดีๆ ถวายตามพระราชประสงค์ ในเวลาที่ ป ระทั บ อยู ่ ที่ แ อสค๊ อ ดนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรและเจ้าฟ้าจักรพงษ์ พระอนุชาได้เสด็จออกไปประทับเล่าเรียน ภาษาอยู ่ ด ้ ว ย จนสามารถเลี้ ย งพระองค์ ได้แล้ว สมเด็จพระราชบิดาจึงทรงย้ายส่ง ไปถวายพระเจ้ า ซาร์ แ ละพระเจ้ า ไกเซอร์ เป็ น อั น ว่ า เรามี ผู ้ แ ทนอยู ่ ต ามราชส� ำ นั ก มหาอ�ำนาจในยุโรปแทบทุกประเทศ แม้ทาง ทูตจะเข้าไม่ถึง ก็ยังมีพระราชวงศ์อันย่อม จะต้องทรงพระเมตตาต่อกันบ้างดังเคยมา เมือ่ สมเด็จพระบรมฯ ทรงช�ำนาญใน ภาษาแล้วก็เสด็จย้ายไปประทับที่ Frimley Park near Camberley เพื่อทรงเล่าเรียน วิชาทางทหาร ทรงตัง้ ต้นเรียนกับนายพันโท C.V. Hume ผู ้ เ ป็ น นายทหารปื น ใหญ่ ใ น กองทั พ อั ง กฤษ แล้ ว เสด็ จ เข้ า โรงเรี ย นที่ Sandhurst และ Woolwick ทรงเรียนได้ ๖ เดือน ก็ได้ทรงเป็นนายสิบโท Corporal ในโรงเรียนนายร้อย Sandhurst นี้สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเรียนตั้งแต่ขุดสนาม เพลาะและหน้าที่พลทหารทุกอย่างจนถึง นายสิบ เมื่อจบที่โรงเรียนนี้แล้วก็เสด็จไป ประจ�ำอยู่กรมทหารราบชื่อ “เบาเดอรัม”
Royal Durham Light Infantry ใต้บังคับ บัญชาของ Col. Woodland ที่ North Camp, Aldershort ในเวลาทรงประจ�ำการอยูใ่ นกรม ทหารนี้ได้ทรงท�ำหน้าที่ของทหารทุกชนิด มี การซ้อมรบและอยู่แคมพ์ เดินทางทั้งใกล้ และไกล ได้ทรงเรียนยิงปืนที่ Hythe และ สอบได้ ได้ทรงรับประกาศนียบัตรแม่นปืน จากทีน่ ี้ ทรงได้รบั การฝึกหัดในเรือ่ งปืนใหญ่ ที่ Oak-Hampton และเมื่อเกิดสงครามบัวร์ ในอาฟริกา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงลง พระนามสมัครไปรบกับกองทหารทีพ่ ระองค์ ทรงประจ�ำอยู่ แต่ไม่มีใครเขาจะอนุญาตให้ The Crown Prince เสด็จโดยไม่จ�ำเป็น แต่ ถ้าเขาจะยอมให้เสด็จก็หามีทางจะทรงหลีก เลี่ยงได้ไม่ เสร็จการทรงเรียนในทางทหารแล้ว ก็เสด็จไปเข้ามหาวิทยาลัย Oxford อยู่ใน คณะ Christ Church, Canterberry Quad. แล้วมีที่ประทับพิเศษอยู่ที่ Alson wood ใกล้ๆ มหาวิทยาลัยนัน้ ทรงมี Mr. A.E. Oliver และ Mr. Hassall เป็นผู้ถวายวิชาพิเศษ (Special Tutors) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงแสดงให้ปรากฏว่าพอพระราชหฤทัยใน ทางอักษรศาสตร์มาแต่ยงั ทรงพระเยาว์ และ เมื่อยังประทับอยู่ที่ Ascot กับครูก็ทรงออก หนังสือพิมพ์เด็กเรียกว่า “The Screech-Owl” เป็นรายปักษ์ได้เช่นเดียวกับเด็กผู้ดีอังกฤษ เขาท�ำกัน เพราะเป็นการหัดให้อ่าน, เขียน, ออกความคิด, ฟังความเห็นของคนส่วนมาก ตามคติของ Democracy จึงควรนับว่าได้ทรง รับการฝึกหัดในทางนี้มาแต่ทรงพระเยาว์ ครัง้ ถึงเวลาเสด็จมาเข้ามหาวิทยาลัย Oxford anumanavasarn.com
50 คอลัมน์พิเศษ ก็ทรงสามารถแต่งหนังสือเป็นเล่มเรือ่ ง “The War of the Polish Succession” เป็นภาษา อังกฤษได้ทีเดียว จึงได้ทรงเป็นสมาชิกของ Bullingdon และ Cardinal Clubs อันมีชื่อ เสียงในทางอักษรศาสตร์ได้ทั้งสองแห่ง ต่อ มาได้ทรงเป็นสมาชิกของ Cosmopolitan Club อีกแห่งหนึ่ง การที่โปรดในทางอักษร ศาสตร์นี้ ไม่ใช่โปรดอย่างมีหนังสือไว้ดผู า่ นๆ พอรู้เรื่องมิได้ ทรงโปรดอย่างเรียนลงไปให้ ถึงรากที่ทรงหยิบขึ้น Study แล้วเป็นเรื่องๆ มีเช่น เรื่องของ Shakespare คนหนึ่งที่ทรง เอาพระทัยใฝ่ในตอนนี้ นอกจากการทรงเล่า เรียนแล้ว ก็มีการขี่ม้า เช่น Hunting ที่ทรง โปรดมาก ถึงทรงเป็นสมาชิกของ Riding Club ชื่อ “Drag” ในเวลาที่ประทับอยู่ใน Oxford นั้น ในตอนนี้ มี เ รื่ อ งส� ำ คั ญ เกิ ด ขึ้ น ใน พระชนม์ชพี ของสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ซึง่ เป็น เหตุแห่งการสวรรคต ด้วยทรงประชวรเป็น โรคไส้ตันอย่างแรง เป็นคนที่ ๒ ที่หมอรู้จัก โรค คนที่เป็นโรคไส้ตันคนที่ ๑ คือบุตร์ชาย ของหมอเองและหมอทุกคนมีความเห็นว่า ต้องตัดผ่าทิ้งเสียเท่านั้น แต่การผ่าตัดท้อง ในเวลานั้นยังไม่เป็นผลส�ำเร็จดี ลูกหมอ คนนั้นจึงตาย ต่อมาถึงสมเด็จพระบรมฯ ของเรา ทรงเป็นโรคไส้ตันเมื่อเสด็จอยู่ใน อ๊อกสฟอร์ดมหาวิทยาลัยและมีพระชนม์ ได้ ๑๘ ปี ปัญหาแรกจึงมีว่าควรจะท�ำการ ผ่าตัดดังความเห็นของหมอหรือไม่ ฝ่ายหนึง่ เห็นว่าแม้ได้ผ่าตัดแล้วก็ตายดังลูกของหมอ
เอง แต่พวกหมอประชุมว่ามีทางเดียวแต่ ผ่าตัดเท่านั้นที่จะมีทางรอดได้ และพระโรค ร้ายนัน้ ไม่มเี วลาพอทีจ่ ะลังเล จึงตกลงท�ำการ ผ่ า ตั ด แล้ ว ส่ ง โทรเลขมากราบบั ง คมทู ล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกรุงเทพฯ เสด็จพ่อทรงเล่าว่ายังทรงจ�ำได้ว่าเวลานั้น ก�ำลังเสด็จประพาสทางชายทะเลอยู่ในเรือ พระที่นั่งจักรี ตั้งแต่สมเด็จพระชนกชนนี พอทรงได้รับโทรเลขแล้วก็เสด็จประพาส ต่อไปไม่ได้ โปรดให้จอดเรือพระที่นั่งคอย ฟังผลการผ่าตัดอยู่ที่ศรีราชา และเรือทั้งล�ำ นั้ น ก็ เ งี ย บหงอยราวกั บ ก� ำ ลั ง คอยพายุ ลู ก ใหญ่ สมเด็จพระชนกชนนีทรงเศร้าพระทัย ถึงเสด็จประทับได้แต่ในที่บรรทมแห่งเดียว จนทรงได้รบั ข่าวทางโทรเลขว่าการผ่าตัดเป็น ผลส�ำเร็จดีแล้วและหมอแสดงว่าสมเด็จพระ บรมฯ ทรงพ้นภัย จึงทรงเบิกบานพระราช หฤทัยและเสด็จประพาสต่อไปได้ เมื่อท�ำการผ่าตัดแล้ว หมอได้ทูลไว้ ว่าควรจะท�ำการผ่าตัดอีกครั้งหนึ่งในเวลา ต่อมาจึงจะถือได้วา่ ปลอดภัยจริงๆ แล้ว ครัง้ ถึงเวลาก็เป็นเวลาที่เสด็จขึ้นเสวยราชย์แล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองก็ได้ทรงนึกว่าจะ เสด็จไปท�ำเสียใหม่ตามค�ำหมอ แต่ทรงเพลิน อยู่กับเรื่องราชการทั้งทรงเห็นว่าก็ทรงพระ ส�ำราญดีอยู่แล้วจึงมิได้เสด็จไป ในเวลาทีป่ ระทับอยูใ่ นยุโรปนี้ สมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ เ สด็ จ ประพาศตามเมื อ ง ต่างๆ ในยุโรปประเทศ ในเวลาทีท่ รงมีโอกาส เช่นในเวลาหยุดพัก Holiday ตามระดูกาล
และในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ก็ได้เสด็จตามเสด็จ สมเด็จพระบรมชนกาธิราชไปยังราชส�ำนัก ต่าง ๆ นั้นด้วย ครั้นทรงพระเจริญขึ้น ก็ได้ ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระเจ้าแผ่นดินไทย ไปยังงานพระราชพิธีอันส�ำคัญ ๆ มีเช่น ๑. งานเสวยราชย์ได้ ๖๐ ปี ของ Queen Victoria ๒. งานฝั ง พระศพของพระราชิ นี พระองค์นี้ ๓. งานราชาภิเศกของ King Edward VII ๔. งานฝังพระศพของ Queen Louise of Denmark ๕ งานราชาภิเศกของ King Alfonso of Spain ฉะนั้ น จึ ง ควรนั บ ได้ ว ่ า สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ ท อดพระเนตร์ เ ห็ น เหตุการณ์และทราบเรือ่ งราวขนบธรรมเนียม ต่างๆ อย่างครบถ้วนตามเวลา ก่อนเสด็จกลับเมืองไทย ๔ ปี ได้ทรง รับเป็นผู้อุปถัมภ์ของ “สามัคคีสมาคม” ซึ่ง พระองค์เองได้ทรงแนะน�ำให้ตั้งขึ้นส�ำหรับ เด็กนักเรียนไทย ได้ทรงฉายพระรูปไว้กบั หมู่ นักเรียนในสมัยนั้นในกรุงลอนดอน ถึงวันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชของเราได้เสด็จ ออกจากอังกฤษเพื่อเสด็จกลับประเทศไทย เสด็จมาลงเรือเมล์เยอรมันชือ่ Furst-Bismark ที่ Sounthampton ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ไปยังเมือง New York ประเทศ America
ได้ทรงรับการต้อนรับของชนชาวอเมริกา ตั้งแต่ President Theodore Roosevelt ลงมาทั่วถึง as the young Future King of Siam เสด็จประทับที่โฮเตล Arlington ในกรุง Washington ได้เสด็จเยี่ยมและ ทอดพระเนตร์สถานที่และโรงงานต่างๆ อัน ก�ำลังเจริญอยู่ในสมัยนั้นแทบไม่มีเวลาจะ ทรงพักแล้วเสด็จโดยทางรถไฟมาทางเมือง Chicago ไปยัง San Francisco แล้วต่อไป ทาง Canada ทรงหยุดพักตามที่ส�ำคัญๆ มา ตลอดทาง จึงถึงเดือนธันวาคมจึงเสด็จลงเรือ ชื่อ “Empress” ข้ามมหาสมุทร Pacific มา ถึงประเทศญีป่ นุ่ เมือ่ วันที่ ๑๖ เดือนธันวาคม นัน้ และแน่ทเี ดียว East กับ West ก็รบั รอง กันอย่างถึงอกถึงใจ ข้าพเจ้าเคยได้ยนิ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงเล่าถึง Emperor Meiji องค์นนั้ ว่า ตรัสแต่ภาษาญีป่ นุ่ และเวลาเสด็จ เข้าไปเฝ้าต้องมีล่าม ทรงได้ยินเสียงดังๆ ว่า “โฮะ” ค�ำเดียวแล้วล่ามก็แปลต่อถวายเรื่อย มาเป็นเรือ่ งยาวๆ อย่างไรก็ตาม เอมเปอเรอ ได้ทรงรับรองมกุฎราชกุมารหนุ่มของเรา อย่างทรงสนิทสนมในฐานะพระญาติวงษ์ มี พระราชธิดาของสนมเสด็จออกมาเสวยน�้ำ ชาด้วยอย่างประเพณีญี่ปุ่นถึง ๖ พระองค์ สมเด็จพระบรมฯ เสด็จอยูใ่ นเมืองญีป่ นุ่ เป็น เวลาเกือบ ๑ เดือนได้ทอดพระเนตร์เห็น ความเจริญของประเทศอาทิตย์อุทัยไม่ขาด ตกบกพร่อง จนถึงวันที่ ๑๔ มกราคม จึงได้ เสด็จลงเรือพระที่นั่งจักรีของไทย ซึ่งออกไป รับเสด็จยังเกาะญี่ปุ่นนั้น ตามทางเรือแวะที่ anumanavasarn.com
52 คอลัมน์พิเศษ เมืองฮ่องกงและพักอยู่ ๓ วันได้เสด็จไปทอด พระเนตร์เมืองกวางตุ้งวันหนึ่ง แล้วออกเรือ มาถึงปากน�้ำเมืองไทยในวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ ๒๔๔๕ สมเด็จพระราชบิดาเสด็จพระราช ด�ำเนินไปรับโดยรถไฟสายปากน�้ำถึงเมือง สมุทรปราการ ทรงเรือเล็กออกไปยังเรือ พระที่นั่งจักรี แล้วเรือนั่นก็ถอนสมอแล่น ต่อพาสมเด็จพระราชบิดาและพระราชโอรส ขึ้นมาด้วยกันยังพระบรมมหาราชวัง เรือ พระที่ นั่ ง เที ย บท่ า ราชวรดิ ษ ฐ์ ใ นเวลาเช้ า พรั่งพร้อมไปด้วยเจ้านายและข้าราชการ ฝ่ายหน้ารับเสด็จอยู่ แล้วทรงรถม้าประทับ คู่กันแห่เข้าไปยังพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ซึง่ มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพร้อมด้วยคณะ สงฆ์คอยสวดถวายพระพรชัยอยูใ่ นพระทีน่ งั่ นัน้ เมือ่ ทรงนมัสการพระสงฆ์และทรงพบปะ กับเจ้านายข้าราชการแล้ว สมเด็จพระราช บิดาก็ทรงพาเสด็จขึ้นยังพระที่นั่งจักรี มี สมเด็จพระราชชนนีกับเจ้านายฝ่ายในรับ เสด็จอยู่ที่นั่น เสด็จประทับพัก เฝ้าสมเด็จ พระชนกชนนีอยู่จนถึงเวลาบ่ายก็เสด็จไป ยั ง วั ง สราญรมย์ มี ส วดมนต์ เ ย็ น ขึ้ น พระ ต�ำหนักนั้นและรุ่งขึ้นอีกวันเช้าก็มีเลี้ยงพระ ตามประเพณี และตอนบ่ายทรงรับแขกอย่าง Garden Party มีคณะทูตร่วมด้วย แล้วเป็น เสร็จงาน นี่แหละ คือเหตุการณ์เบื้องต้นของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชของเรา มีอะไร หรือท่านที่ควรจะติเตียน ถ้าจะเปรียบกับ
การเล่นละคร ก็น่าชมว่า- ผู้แต่งเรื่อง ผู้ บอกบทและคนร้องรวมทั้งผู้ร�ำ เข้ากันสนิท สนมกลมเกลียวดีตามหน้าที่มิได้เว้นสักคน สมเด็จพระบรมฯ ต้องเสด็จจากประเทศไป ในเวลาที่รู้สึกคับแค้น (badly impressed) ในเรื่อง ร.ศ. ๑๑๒ ไปใหม่ ๆ ซึ่งคนในสมัย นั้นเห็นกันโดยมากว่า เพราะเราไม่มีก�ำลัง พอสู้เท่านั้นเอง และถ้าจะดูตามพงศาวดาร ไทยแล้ว จะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนาได้ อบรมให้ไทยมีนิสสัยชอบสงบ แต่พวกพม่า เพื่อนบ้านอบรมให้ เ ป็ น คนไม่ ย อมให้ ใ คร แกล้งหรือรังแกเล่นตามชอบใจ เพราะพม่า มาย�่ำยีไทยอยู่ถึง ๒๐๐ ปีกว่า ท่านจะยัง พบนิสสัยไทยอันนี้ - ในชาวพื้นเมืองที่แม้ ยังไม่รู้จักค�ำว่า luxury และ Modern life ! ข้าพเจ้าเข้าใจว่านิสสัยของไทยอันนี้ที่ท�ำให้ ทรงตัง้ กองเสือป่าขึน้ เพราะต้องยอมทนครัง้ นั้นเองเป็นเหตุให้ฝังแน่น และคิดแก้ด้วย รวมกันสู้ให้ได้ทุกคนจนถึงที่สุด ดูพระราช นิพนธ์ “หัวใจนักรบ” ก็เห็นจะได้ สมเด็จพระบรมฯ เสด็จอยู่ในเมือง อังกฤษ ๙ ปี ได้ทรงรับการอบรมอย่าง Londoner แท้ จึงเสด็จกลับมาพร้อมด้วย เป็นแก้วอย่างอังกฤษ – A typical English Gentleman. ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล (ติดตามตอนต่อไปในเล่มหน้า)
54
เรือนจาก
นักเรียนเก่าฯ เล่าเรื่องสนุก
ม.ร.ว.ศุ ภ ดิ ศ ดิ ศ กุ ล กรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย “บทบาทหน้าที่และที่มาที่ไปของคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ -คณะกรรมการบริหารวชิราวุธวิทยาลัยเป็นอย่างไร?” “กรรมวิธีการสรรหาคัดเลือก ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย เป็นอย่างไร?” “โครงสร้างการบริหารวชิราวุธวิทยาลัยเป็นอย่างไร?” “การจัดการทรัพย์สินของวชิราวุธวิทยาลัย เป็นอย่างไร?” “บทบาทของนักเรียนเก่าฯ ที่มีต่อโรงเรียนควร เป็นอย่างไร?” ค�ำถามต่างๆ เหล่านี้ เป็นค�ำถามที่ค้างคาในใจของนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยจ�ำนวนมาก บางคนอาจจะเคยคิดถามขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อนตั้งแต่ยุค ดร.กัลย์ อิศรเสนาฯ ด�ำรงต�ำแหน่งผูบ้ งั คับการ บางคนอาจเริม่ สงสัยอยากรูค้ �ำตอบ เมื่ออนุมานวสารเล่มก่อนหน้าส่งถึงมือ อย่างไรก็แล้วแต่ ในบ่ายวันที่ ๙ เมษายน ที่ผ่านมา ณ บมจ.บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ ม.ร.ว.ศุภดิศ ดิศกุล กรรมการ
anumanavasarn.com
56 เรือนจาก อ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ได้ให้เกียรติสละ เวลาอันมีคา่ มาตอบค�ำถามของปัญหาต่างๆ ทีค่ าใจใครหลายๆ คน โดยมีอนุมานวสารเป็น สื่อกลางในการน�ำเสนอ ในวันนัน้ ทีมงานอนุมานวสารจ�ำนวน ๔ คนซึ่ ง ประกอบด้ ว ย “ประธานฝ่ า ย ประชาสัมพันธ์” - ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ “คลังประวัติศาสตร์วชิราวุธฯ” - อ.วรชาติ มีชบู ท “บรรณาธิการอนุมานวสาร” - กิตติเดช ฉันทังกูล และผม สถาพร อยู่เย็น ได้รับ ฟังข้อชี้แจงรวมถึงสอบถามข้อสงสัยต่างๆ และบันทึกข้อมูลเหล่านั้นมาเรียบเรียงลงใน อนุมานวสาร ดังนี้
ต�ำแหน่ง ๖ ต�ำแหน่ง ซึ่งได้แก่ ๑. ปลัด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ๒. เลขาธิ ก าร พระราชวัง ๓. ราชเลขาธิการ ๔. ผูอ้ ำ� นวยการ พระคลัง ข้างที่ ๕. นายกสมาคมนักเรียน เก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ๖. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย นี่ คือกรรมการโดยต�ำแหน่ง นอกจากนี้ยังมี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกจ�ำนวน ๑๒ คน รวมเป็น ๑๘ คน ซึ่งตรงนี้จะกล่าวถึงต่อไปว่า ๑๒ คนนี้มี ที่มาที่ไปอย่างไร ส่วนในเรื่องของวาระการ ด�ำรงต�ำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของเดิ ม ในสมั ย พ่ อ ของพี่ (ม.จ.พิ ริ ย ดิ ศ ดิศกุล) เป็นกรรมการโรงเรียนนี้ เข้าใจว่า ศุ ภ ดิ ศ ; “สื บ เนื่ อ งจากการที่ พี่ ไ ด้ อ ่ า น ไม่ได้มีก�ำหนดไว้ อนุมานวสารเล่มที่แล้ว (๑-๒๕๕๓) ซึ่งทาง พี่ช้อย (วิโรจน์ นวลแข) และพี่ปิ๋ง (อดีต วรชาติ ; “ระเบี ย บเรื่ อ งคณะกรรมการ ผู้บังคับการ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช) ได้ให้ โรงเรี ย นนี้ เพิ่ ง จะมี ม าตั้ ง แต่ ป ี ๒๔๙๕ สัมภาษณ์และมีหลายประเด็นเกีย่ วกับคณะ สมั ย ก่ อ นเปลี่ ย นการปกครองพระบาท กรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ตรงนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเลือกเองทั้งหมด พี่ ไ ม่ ค ่ อ ยสบายใจเท่ า ไร เลยจดประเด็น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจึงเริ่มมี ค�ำถามต่างๆ เอาไว้ คือว่าในรอบปี ๒๕๕๒ ทาง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นนักเรียนเก่าฯ คณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ก็ได้ด�ำเนินการ ทัง้ มหาดเล็กหลวงและราชวิทยาลัยร่วมเป็น ทางนโยบายไปไม่น้อย แต่เราไม่มีการเผย กรรมการโรงเรียน แต่ในช่วงแรกๆ นั้นยัง แพร่บทบาทการท�ำงานของคณะกรรมการ ไม่มรี ะเบียบทีว่ า่ ด้วยกรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ อ�ำนวยการฯ ให้โอวีรุ่นพี่ๆ น้องๆ ได้ทราบ จนถึงปี ๒๕๑๑ คณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ว่ า เราได้ ท� ำ อะไรไปบ้ า งในช่ ว งที่ เ ราด� ำ รง จึงได้กำ� หนดระเบียบว่าด้วยผู้ดำ� รงต�ำแหน่ง ต�ำแหน่งคณะกรรมการโรงเรียน พี่จะขอ กรรมการโรงเรี ย นขึ้ น และได้ น� ำ ความ เรียนให้ทราบเกี่ยวกับที่มาที่ไปก่อน ตามที่ กราบบั ง คมทู ล ขอพระราชทานพระบรม มีค�ำถามมาดังนี้” ราชานุ ญ าตใช้ เ ป็ น “ข้ อ บั ง คั บ กรรมการ “คณะกรรมการอ�ำนวยการวชิราวุธ อ�ำนวยการวชิราวุธฯ พ.ศ. ๒๕๑๒” แล้ว คณะ วิ ท ยาลั ย จะประกอบด้ ว ยกรรมการโดย กรรมการอ�ำนวยการฯ จึงแบ่งเป็นกรรมการ
โดยต�ำแหน่งประเภทหนึ่ง และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิมีจ�ำนวนไม่เกินกว่ากรรมการ โดยต� ำ แหน่ ง อี ก ประเภทหนึ่ง กรรมการ โดยต�ำแหน่งเวลานั้นมี ๙ คน กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิจึงมี ๙ คนเท่ากัน ในระเบียบ นี้ก�ำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระ ๓ ปี แต่โดยปกติกจ็ ะอยูก่ นั ไปเรือ่ ยๆ คือพอ ครบ ๓ ปีแล้ว นายกกรรมการฯ คือรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็จะน� ำความ กราบบั ง คมทู ล ขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ด�ำรงต�ำแหน่งต่อไปจนกว่าจะ ตายหรือไม่ไหวกันจริงๆ จึงจะมีการเปลี่ยน ตัวกัน ศุภดิศ; “พี่จ�ำได้ว่า ก่อนพี่เข้ามา พี่ปิ๋งได้ แก้ข้อบังคับไว้แล้ว เพราะตอนที่พี่เข้ามารับ ต�ำแหน่ง พี่ก็อยากรู้ที่มาที่ไปของกรรมการ โรงเรียน พี่ก็เลยได้ไปศึกษาข้อบังคับ ซึ่ง ข้อบังคับก�ำหนดว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จะอยู่ได้ ๒ วาระ วาระละ ๓ ปี พอครบ ๖ ปีแล้วต้องเว้นวรรค ๑ วาระ จะอยู่ต่อไป เรื่อยๆ ไม่ได้ ดังนั้น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ปัจจุบนั ๑๒ คน จะมีสว่ นหนึง่ ทีค่ รบก�ำหนด สองวาระในปี ๒๕๕๔ แล้วจะต้องเว้นวรรค ตรงนี้คงจะตอบค� ำถามส่ ว นหนึ่ ง เกี่ ย วกั บ ทีม่ าทีไ่ ปของคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ได้ ที่มาที่ไปนั้นก็เป็นอย่างนี้”
ประเด็นปัญหา;
“ที นี้ เ มื่ อ พี่ ไ ด้ เ ข้ า มาเป็ น กรรมการ อ�ำนวยการวชิราวุธฯ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ พี่ก็เข้ามาดูว่าประเด็นปัญหาของโรงเรียน มั น คื อ อะไร โดยการเข้ า ไปพู ด คุ ย กั บ ผู้บังคับการ ผู้ก�ำกับคณะ ครู พนักงาน เรา ถือว่าต�ำแหน่งกรรมการอ�ำนวยการฯ นี้เป็น ต�ำแหน่งที่ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นต�ำแหน่ง ที่มีเกียรติ นี่อย่างหนึ่ง สอง คือพวกเราทั้ง หลาย ถูกโรงเรียนสร้างขึน้ มา ถูกหล่อหลอม anumanavasarn.com
58 เรือนจาก มา ให้ได้มีหน้าที่การงานที่ดี มีชีวิตที่ดี มัน ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องกลับไปตอบแทน โรงเรียน เพราะการเป็นต�ำแหน่งกรรมการ โรงเรียน ก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนอะไร พี่ เลยบอกว่านี่เป็นต�ำแหน่งที่ต้องเสียสละ ถ้า ใครได้รับโปรดเกล้าฯ มาก็ต้องท�ำงานเต็มที ่ พี่ก็ดูพ่อเป็นตัวอย่าง ท่านจะมาท�ำงานให้ โรงเรียนอย่างมีความสุข จนท่านเข้าโรง พยาบาล สังขารไม่ไหวก็ขอลาออก ตรงนี้พี่ ก็เลยได้สรุปประเด็นปัญหาต่างๆ จากการ พูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียนมา ๖ เรื่องด้วย กัน ดังนี้” “อย่ า งแรก ก็ คื อ โครงสร้ า งการ บริหาร เพราะผู้บังคับการบ่นมากว่างาน หนัก ท�ำแต่งานประจ�ำเซ็นเอกสารอย่าง เดียว ไม่มีเวลาท�ำงานด้านการวางแผนเลย นั่นก็เป็นเสียงจากผู้บังคับการ” “อย่างที่สอง ก็คือเรื่องโครงสร้าง เงิ น เดื อ น เรามี ป ั ญ หาว่ า ผู ้ ก� ำ กั บ คณะมี เงินเดือนค่อนข้างต�ำ ่ เพราะมีความรับผิดชอบ ๒๔ ชั่วโมง แล้วเงินเดือนแค่นี้ จะไปหวัง อะไรจากเขา เขาออกไปหางานพิเศษ ท�ำกัน ก็ว่าไม่ได้ นี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง” “แล้ ว พี่ ก็ ไ ด้ ไ ปคุ ย กั บ พนั ก งาน เจ้าหน้าทีต่ า่ งๆ ก็เห็นว่าโรงเรียนควรมีระบบ IT ที่มีประสิทธิภาพ เรื่องเอกสารต่างๆ ใน โรงเรียนเยอะมาก จะสร้างระบบ IT ให้มี ประสิทธิภาพได้ไหม ท�ำระบบ E-document เพื่ อ จะได้ ใ ห้ เ ป็ น Paperless ขึ้ น มาเรา ก็คิดไว้” “ทีนกี้ ม็ เี รือ่ งการประเมินผูป้ ฏิบตั งิ าน ด้วย KPIs (Key Performance Indicators)
คือผูบ้ งั คับการอยากให้มกี ารประเมินผูก้ ำ� กับ คณะ อยากให้มีระบบการประเมินผลงาน เพราะตอนนีป้ ระเมินยากมากๆ พอสิน้ ปีกม็ ี การอ้างว่า ผมท�ำงานดีอย่างนั้นอย่างนี้ มัน ไม่มีตัวชี้วัดที่แน่นอน ผู้บังคับการอยากให้ ช่วยคิด ตรงนี้ขึ้นมา” “เราน�ำเอาปัญหาต่างๆ เหล่านีข้ นึ้ มา พิจารณา เอามาย่อย แล้วก็จัดท�ำ Priority ทีนใี้ นการแก้ปญ ั หา พีจ่ ะคิดเสมอว่าการเป็น กรรมการโรงเรียน เรามาชั่วคราว เราไม่ได้ อยู่นานเหมือนอย่างผู้บังคับการ เรามาท�ำ ด้านนโยบายอย่างเดียว เพราะฉะนั้นการที่ เราจะเปลีย่ นแปลงอะไรอย่างรุนแรง มันจะมี แรงต้าน แต่ถ้ามีการปรับจะมีผลกระทบ ต่ อ โรงเรี ย นน้ อ ย ก็ จ ะสามารถไปคุ ย กั บ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านในโรงเรี ย นได้ ง ่ า ย นั่ น คื อ สิ่ ง ที่ พี่ คิ ด อั น ไหนที่ เ ราไปแตะแล้ ว มั น มี ผลกระทบมาก พี่ก็ไม่เอา เพราะเราดูแล นโยบาย ต้องแยกให้ออกระหว่างหน้าที่ ของคณะกรรมการอ�ำนวยการซึ่งดูแลงาน ด้านนโยบายกับผูบ้ งั คับการทีร่ บั ผิดชอบงาน ด้านบริหาร อีกอันที่พี่คิดเสมอ คือโรงเรียน ไม่ใช่ห้างร้านบริษัทที่จะต้องคิดถึงผลก�ำไร ขาดทุน ทีนี้มีคนบอกว่า โรงเรียนวชิราวุธฯ ต้องอาศัยเงินอุดหนุนจากพระคลังข้างทีป่ ลี ะ ร้อยกว่าล้าน ถ้าเป็นบริษัทเอกชนก็ขาดทุน ย่อยยับ มันต้องลดค่าใช้จ่ายอะไรต่อมิอะไร แต่พกี่ ไ็ ม่คดิ อย่างนัน้ เพราะว่าโรงเรียนก็คอื โรงเรียน ต้องดูการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพของเด็ก คุณภาพของครู ว่าดีหรือยัง เท่าเทียมกับที่อื่นหรือไม่ ปัจจัย ความเสี่ยง ของการบริหารโรงเรียนมันก็มีเยอะ ถ้าเรา
anumanavasarn.com
60 เรือนจาก พูดถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยง ซึ่ง โรงเรียนไม่เคยน�ำมาใช้เลย จริงๆ มันเสี่ยง ไปทุกจุด ตรงนีพ้ วี่ า่ เราต้องเริม่ จากโครงสร้าง การบริหารกันก่อน”
โครงสร้างการบริหาร;
“โครงสร้างของเดิม พี่เข้าใจว่ามัน ใช้มาตั้งแต่สมัยผู้บังคับการชัยอนันต์ฯ มา จนถึงยุคของผู้บังคับการสาโรจน์ฯ ซึ่งจะ มี ๔ ฝ่าย คือฝ่ายก�ำกับคณะ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายกิจกรรม แล้วก็มีที่ ปรึกษา มีส�ำนักงานผู้บังคับการ มีกิจการ ต่างประเทศ อะไรต่างๆ ซึง่ พีด่ แู ล้วโครงสร้าง แบบนีไ้ ม่เหมาะกับการบริหารงานตอนนี้ คือ ไม่มีความชัดเจน เช่น ฝ่ายกิจกรรม ก็จะมี กิจกรรมต่างๆ เต็มไปหมดเลย คือ ศิลปะ ดนตรี กีฬา แล้วตรงนี้มันไม่มีต�ำแหน่ง ประจ�ำ คือเป็นลักษณะที่อาจจะฝากมาว่า ผู ้ ก� ำ กั บ คณะคนนี้ ดู แ ลเรื่ อ งนี้ หรื อ เอา ครูพิเศษมาสอน เราดูแล้วว่าฝ่ายกิจกรรม เป็นทีๆ่ ท�ำงานชัว่ ครัง้ ชัว่ คราว แบบนีถ้ า้ เป็น แนวทางการบริหารธุรกิจทัว่ ๆ ไป ก็ไม่นา่ จะ เป็นฝ่ายๆ หนึง่ เพราะมันไม่มตี ำ� แหน่งประจ�ำ แต่ถ้าเป็นฝ่ายวิชาการก็เห็นด้วย ฝ่ายก�ำกับ คณะ ฝ่ายบริหารก็เห็นด้วย จุดประสงค์ที่ เข้าไปจัดระเบียบโครงสร้างองค์กร อันแรก อยากให้มันชัดเจนขึ้น เพื่อคนที่ท�ำงานก็จะ รู้ว่าตัวเองท�ำงานอะไร ประเด็นที่สอง คือไม่ อยากให้โครงสร้างมันใหญ่เกินไป เพราะถ้า ใหญ่เกินไป ค่าใช้จา่ ยมันสูง อย่างทุกวันนีเ้ รา ก็รู้ว่าต้องใช้เงินอุดหนุนจากพระคลังข้างที่ ทุกปี ปีละร้อยกว่าล้าน พูดง่ายๆ ก็คือ
“วิถีวชิราวุธ” เป็นสิ่งที่ต้องเผยแพร่ ให้โรงเรียนอื่นๆ เพราะพวกเรา ตอนอยู่ในโรงเรียนนี้ มีทุกสีเลย (สีประจ�ำคณะ) แต่พอออกมาแล้ว เรามีสีเดียวคือ สีโรงเรียน”
ผูป้ กครองจ่าย ๕๐ % พระคลังให้อกี ๕๐ % โรงเรียนได้เป็นเงินเท่าไร โรงเรียนก็จะต้อง ดังนัน้ เราต้องให้พระคลังข้างทีม่ นั่ ใจว่าเราใช้ จัดท�ำงบประมาณตามวงเงินทีพ่ ระคลังข้างที่ แจ้งมา เวลานั้นค่าอาหารยังอยู่ในส่วนของ เงินของเขาอย่างเป็นประโยชน์” ผู้ก�ำกับคณะ จ�ำได้ว่าปี ๒๕๓๒ ซึ่งเป็น กิตติเดช; “เงินที่ได้จากพระคลังข้างที่เป็น ปี สุ ด ท้ า ยที่ มี ก ารท� ำ งบประมาณแบบเก่ า เงินของโรงเรียนหรือของพระคลังข้างทีค่ รับ” พระคลังข้างที่จัดสรรเงินผลประโยชน์มาให้ ๑๖ ล้านบาทเศษ งบประมาณจ�ำนวนนี้หลัง ศุภดิศ; “เป็นของพระคลังข้างที่ครับ พระ จากจัดสรรเป็นเงินเดือนและค่าตอบแทน ครูพนักงานกว่า ๖๐ % แล้ว ที่เหลือก็เป็น คลังข้างที่เอาเงินชดเชยงบประมาณให้” ค่าใช้สอยต่างๆ สุดท้ายเหลือเงินซ่อมบ�ำรุง กิตติเดช; “โรงเรียนเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ อาคารสถานที่ เ พี ย งเล็ ก น้ อ ย แม้ แ ต่ ร ถ ตัดหญ้าก็ยังไม่มีงบประมาณพอที่จะจัดซื้อ ได้จากดอกผลตรงนั้นหรือเปล่าครับ” เมื่อครูอุดมเกษียณไปแล้ว ท่านผู้บังคับการ ศุภดิศ; “ดอกผลจากทรัพย์สนิ พระคลังข้างที่ ดร.กัลย์ ได้มอบหมายให้ผมท�ำงบประมาณ ประจ�ำปี ๒๕๓๓ ด้วยความที่ไม่เคยท�ำงบ จะเป็นผู้ดูแลครับ” ประมาณกันมาก่อน ถามพี่ๆ ผู้ก�ำกับคณะ กิตติเดช; “แต่ถา้ ทรัพย์สนิ เป็นของโรงเรียน ในเวลานั้นก็ไม่มีใครทราบเรื่องงบประมาณ โรงเรีย นย่ อ มมี สิท ธิ์ ในการบริหารจัดการ โรงเรียน เลยต้องไปปรึกษาคุณจุฑา อดีต หัวหน้าแผนกบัญชีสำ� นักงาน พระคลังข้างที ่ อย่างไรก็ได้ไม่ใช่หรือครับ” แล้วก็กลับมาช่วยๆ กันท�ำงบประมาณปี ศุภดิศ; “อันนี้เราค่อยมาคุยกันภายหลัง ๒๕๓๓ จนส�ำเร็จ และเพราะความที่ไม่รู้ว่า ประเด็ น นี้ ข อไว้ ก ่ อ น พี่ ข อชี้ แ จงเรื่ อ ง แต่เดิมพระคลังข้างที่เป็นผู้ก� ำหนดวงเงิน โครงสร้ า งต่ อ นิ ด หนึ่ ง คื อ เมื่ อ เราท� ำ มาให้ แล้วโรงเรียนต้องจัดงบประมาณตาม งบประมาณออกมา แม้จะติดลบ พระคลังข้างที่ วงเงินที่พระคลังข้างที่ก�ำหนดมา ปีนั้นเรา ก็จะจัดสรรงบประมาณมาให้” เลยตั้งงบประมาณตามความต้องการของ โรงเรียนในวงเงิน ๓๘ ล้านบาทเศษ หากดู วรชาติ; “อั น นี้ ต ้ อ งขออธิบายว่า ในยุค ตัวเลขแล้วจะเห็นว่างบประมาณกระโดดขึน้ ก่อนที่ครูอุดมจะเกษียณในสมัยผู้บังคับการ มาจากปีก่อนหน้านี้มาก แต่จริงๆ แล้วปีนั้น ดร.กัลย์ นั้น การท�ำงบประมาณโรงเรียน เป็นปีแรกทีเ่ ริม่ กิจการครัวรวม พระคลังข้างที่ ในแต่ละปีนั้น พระคลังข้างที่จะก�ำหนดมา ก�ำหนดมาว่า ให้โรงเรียนส่งเงินค่าอาหาร ให้ว่า ในปีงบประมาณนั้นๆ พระคลังข้างที่ ทัง้ หมดราว ๘ ล้านบาท ให้พระคลังฯ แล้วจึง จะสามารถจั ด สรรเงิ น ผลประโยชน์ ใ ห้ ทยอยเบิกมาใช้จา่ ย ค่าอาหารจึงต้องไปรวม anumanavasarn.com
62 เรือนจาก ในงบประมาณตั้งแต่ปีนั้น และเมื่อเสนองบ ประมาณให้คณะกรรมการบริหารพิจารณา ท่านเลขาธิการพระราชวังซึ่งเป็นประธาน กรรมการพระคลังข้างที่ด้วย ท่านไม่ขัดข้อง แถมยังชมว่า ท�ำงบประมาณได้ละเอียดมี รายละเอียดชัดเจน ปีต่อมาได้รับอนุมัติงบ ประมาณเพิ่มเป็น ๕๐ ล้านบาทเศษ แล้ว ก็ เ พิ่ ม มาเป็ น หลั ก ร้ อ ยล้ า นบาทในสมั ย ผูบ้ งั คับการ ดร.ชัยอนันต์ เรือ่ ยมาจนทุกวันนี้ ศุภดิศ; “คือเรื่องที่มาที่ไปมันมาประกอบ กันอย่างไร พี่ก็ไม่ทราบ พี่ไม่ได้รู้ประวัติ โรงเรียนดีเท่าน้อง แต่ทพี่ เี่ ข้ามาสัมผัสแล้ว ดู จากโครงสร้างการบริหารเดิมมันเป็นอย่างนี้ ปัญหาคือมันไม่มคี วามคล่องตัว ดูแล้วมันไม่ เหมาะสม คณะกรรมการอ�ำนวยการฯ จึง ได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่นำ� เอาหลัก บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) มาใช้เพื่อให้มีกระบวนการตรวจสอบ มีการ ถ่วงน�้ำหนัก การบริหารงานของผู้บังคับการ นี่เป็นกลไกของสังคมปัจจุบัน ที่ต้องการให้ ผูบ้ งั คับการยอมรับการเข้ามามีสว่ นร่วมของ ทีมผู้บริหาร ผู้ปกครอง และนักเรียนให้ มากขึ้น สุดท้ายโรงเรียนก็จะได้นักเรียนที่มี คุณภาพนอกเหนือจากความเป็นสุภาพบุรษุ ตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ ๖ แล้ว อีกอย่างคือจะเห็นว่าตอนทีพ่ เี่ ข้ามาจะมีคณะ ที่ปรึกษาด้านการบริหาร ด้านวิชาการ ด้าน ก�ำกับคณะ รายงานตรงต่อคณะกรรมการ อ�ำนวยการฯ อยู่แล้ว แต่คณะกรรมการ อ�ำนวยการฯ ได้เพิม่ คณะกรรมการตรวจสอบ เข้ า มา ซึ่ ง จะมี ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ
ตรวจสอบภายในคอยตรวจสอบการท�ำงาน ของผูบ้ งั คับการ เช่น การบริหาร การประมูล การจัดซื้ออะไรต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่ได้รับการ เสนอแนะจาก สมศ. (ส�ำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) ซึง่ สมศ. เป็นองค์การมหาชน เป็นหน่วยงาน ทีค่ อยตรวจสอบสถาบันการศึกษาต่างๆ เรา ก็ควรจะเอาข้อเสนอของเขามาปรับใช้ นี่คือ สิ่งที่เพิ่มเข้ามา” “ อี ก อย่ า งที่ เ พิ่ ม มาก็ คื อ รอง ผูบ้ งั คับการด้านการบริหารและด้านวิชาการ ซึ่งด้านวิชาการนี้ จะเป็นต�ำแหน่งที่สามารถ เลื่อนขั้นจากบุคคลภายในขึ้นมา ไม่จ�ำเป็น ต้องว่าจ้างจากคนนอก แต่ที่จะต้องเพิ่มคือ ต�ำแหน่งรองผู้บังคับการด้านบริหาร ซึ่ง จะดูแลด้านการบริหารและการก�ำกับคณะ ส่วนด้านวิชาการก็จะมีฝา่ ยวิชาการและฝ่าย บริการวิชาการ ซึ่งเรายุบรวมฝ่ายกิจกรรม เข้ากับฝ่ายบริการวิชาการ” “โครงสร้ า งใหม่ นี้ จ ะท� ำ ให้ ห น้ า ที่ รับผิดชอบของการแบ่งงานมีความชัดเจน และ รองผู้บังคับการด้านบริหาร ก็อาจจะ ขึ้นมาเป็นผู้บังคับการแทนได้ การให้คน ภายในขึ้นมามีประโยชน์ที่ได้เรียนรู้งานมา ก่อน ส�ำหรับต�ำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมาตรงส่วน ของส�ำนักงานผูบ้ งั คับการนี้ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ๒ อัตรา คือ เรามอง ว่าโรงเรียนเรายังอ่อนเรื่องประชาสัมพันธ์ ขาดความสัมพันธ์กับชุมชนรอบโรงเรียน คือเราเป็นโรงเรียนที่ปิดมากๆ อย่างตัวพี่ เองเมือ่ ตอน สมศ. เข้ามาขอสัมภาษณ์คณะ กรรมการอ�ำนวยการฯ เวลาสัมภาษณ์เขาก็
บอกว่า โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนปิด นึกว่า เป็นโรงเรียนพวกโรงเรียนเจ้านายอะไรอย่าง นั้น คือไม่เปิดโอกาสให้คนนอกได้รู้จัก แต่ พอมาสัมภาษณ์ทงั้ ครูและนักเรียนแล้วเขาก็ บอกว่า “วิถีวชิราวุธ” เป็นสิ่งที่ต้องเผยแพร่ ให้โรงเรียนอื่นๆ เพราะพวกเราตอนอยู่ใน โรงเรียนนี้ มีทุกสีเลย (สีประจ�ำคณะ) แต่ พอออกมาแล้ ว เรามี สี เ ดี ย วคื อ สี โ รงเรี ย น เขาบอกว่ า ถ้ า เราผลิ ต เด็ ก ได้ ม ากกว่ า นี้ ประเทศชาติจะเจริญมาก นี่คือที่เขาพูดเลย เราฟังแล้วขนลุก อย่างชุมชนรอบๆ โรงเรียน เราแทบไม่เคยดูดำ� ดูดีกับชุมชนเลย ถ้าเรา เอาข้ อ เสนอแนะตรงนี้ ม าปรั บ ใช้ มั น ก็ จ ะ ดี ม าก และนี่ ก็ เ ป็ น ผลงานอี ก ชิ้ น หนึ่ ง ที่ คณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ได้ปรับปรุงขึน้ มา คือโครงสร้างการบริหารจัดการ”
ตั้ ง คณะกรรมการบริ ห ารขึ้ น เพื่ อ ที่ จ ะ ช่ ว ยผู ้ บั ง คั บ การซึ่ ง เวลานั้ น อายุ ม ากแล้ ว กลั่นกรองงานต่างๆ โดยก�ำหนดให้ประชุม ทุกๆ ภาคเรียน แต่ไปๆ มาๆ เกิดท�ำงาน ซ�ำ้ ซ้อน แล้วยิง่ ไปกว่านัน้ คือการมีกรรมการ สองชุด ซึ่งคณะกรรมการบริหารก็คือคณะ กรรมการอ� ำ นวยการฯ ที่ ย ่ อ ส่ ว นลงมา กรรมการส่วนใหญ่ก็เป็นคนๆ เดียวกัน ทุก เรื่องจะเข้าที่ประชุมกรรมการบริหารก่อน แล้วถึงจะไปเข้าคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ซึ่งพอไปถึงกรรมการอ�ำนวยการฯ มันก็รู้ กันอยู่แล้วเพราะว่าเป็นกรรมการบริหารให้ ความเห็นชอบมาแล้ว ต่อมาในสมัยผูก้ ารปิง๋ เมื่อ ม.จ.พิริยดิศ ดิศกุล ประธานกรรมการ บริหารสิ้นชีพิตักษัยไปแล้ว ก็ไม่ทราบว่า คณะกรรมการฯ นี้จะมีบทบาทอย่างไรบ้าง เท่าที่ทราบมาถูกยุบไปในสมัยผู้บังคับการ จิรเศรษฐ; “อย่างคณะกรรมการทีป่ รึกษาฯ สาโรจน์ฯ เพราะเห็นว่าเป็นการซ�้ำซ้อน” สมั ย ก่ อ นจะอยู ่ ใ ต้ ผู ้ บั ง คับการ ตอนนี้จะ เห็นว่าขึ้นมาอยู่ข้างบนเป็นคณะกรรมการ ศุภดิศ; “เพราะฉะนั้นตรงนี้ ที่พี่ช้อยถาม ต่างๆ เลย” ถึงที่มาที่ไปของคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ และงานด้ า นนโยบายของคณะกรรมการ ศุภดิศ; “ที่พี่ช้อยพูดถึงเรื่องคณะกรรมการ อ�ำนวยการฯ จริงๆ งานด้านบริหารจะถูก บริหาร Executive Board ตอนทีพ่ เี่ ข้ามามัน จัดการโดยผู้บริหารของโรงเรียน สไตล์การ ก็ไม่มีแล้ว ดังนั้น ที่พี่ช้อยถามว่ามันหายไป บริหารของผู้บังคับการแต่ละคนจะแตกต่าง ไหน อันนี้ก็ไม่ทราบเพราะเพิ่งเข้ามา” กันไป ถ้าสิ่งไหนที่ผู้บังคับการคนก่อนเริ่ม ไว้ดี ผู้บังคับการคนต่อไปก็ควรจะสานต่อ วรชาติ ; “อั น นี้ ต ้ อ งย้ อ นกลั บ ไปสมั ย ดั ง นั้ น จะเห็ น ว่ า ที่ ม าที่ ไ ปหรื อ การยุ บ เลิ ก ผู้บังคับการ ดร.กัลย์ ดูเหมือนว่าตอนนั้น บอร์ดบริหารตรงนี้ ก็ไม่ทราบว่ายุบเพราะ คณะกรรมการอ�ำนวยการโรงเรียน ประชุม ประชุมบ่อยกว่าหรืออะไร แต่ตามความ กันแค่ปีละหนเดียว หรือสองหนเป็นอย่าง เห็นของพี่คือ คณะกรรมการบริหาร หรือ มาก คณะกรรมการอ�ำนวยการฯ จึงได้คิด Executive Board จะเหมาะสมถ้ากรรมการ anumanavasarn.com
64 เรือนจาก อ� ำ นวยการฯ มี ก ารประชุม ปีละครั้งหรือ สองครั้ง แต่ถ้าคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ในปัจจุบันมีการประชุมทุก 2 เดือน คณะ กรรมการบริหารก็ไม่มีประโยชน์ เหมือน อย่างบริษัทหนึ่งที่พี่เคยอยู่ สมัยก่อนฝ่าย บริหารสามารถบริหารจัดการได้มีประสิทธิ ภาพมากๆ เพราะไม่มี Executive Board พอมาถึงยุคการเมืองสมัยหนึง่ เขาต้องการจะ ล้วงลูกในบริษทั นี้ เขาก็ตงั้ Executive Board ขึ้นมาอยู่เหนือกรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่ ทีนี้กรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่ต้องรายงาน ขึ้นตรงกับ Executive Board ตลอด เสร็จ แล้ว Executive Board ก็เข้ามายุ่งเรื่องการ บริหารภายใน การจัดซื้อจัดจ้างอะไรต่อมิ อะไร ล้วงลูกทุกเรื่อง อ�ำนาจของกรรมการ ผู้อ�ำนวยการใหญ่ก็หายหมด พอมาถึงยุค ปัจจุบันได้ยุบ Executive Board ไป เพราะ ฉะนั้นการมี Executive Board มันจะท�ำให้ มี การขัดแย้งกับ CEO ถ้าเป็นโรงเรียนก็คือ ผู้บังคับการ เพราะผู้บังคับการจะต้องรับผิด ชอบการบริหารงานทุกอย่าง” วรชาติ; “คื อ สาเหตุ ที่ตั้งคณะกรรมการ บริหารขึน้ มาในยุค ดร.กัลย์ เป็นเพราะว่าใน ปี ๒๕๒๙ ดร.กัลย์ ครบวาระ แล้วผลงาน ที่ผ่านมาของท่านยังไม่เป็นที่พอใจของคณะ กรรมการอ� ำ นวยการฯ เลยต้ อ งตั้ ง คณะ กรรมการบริหารขึ้นมาเพื่อช่วยผู้บังคับการ ท�ำงาน” ศุภดิศ; “ใช่ เพราะตอนทีพ่ เี่ ข้ามา บอร์ดชุด นีถ้ กู ยุบไปแล้ว แล้วก็มกี ารตัง้ คณะทีป่ รึกษา
ขึ้นมา โดยรายงานตรงต่อคณะกรรมการ อ�ำนวยการฯ ไม่ได้รายงานต่อผู้บังคับการ ดังนั้นผู้บังคับการจะมาใช้ให้ คณะที่ปรึกษา ด้ า นบริ ห ารไปดู ก ารร้ อ งเรี ย น การขึ้ น เงินเดือนผู้ก�ำกับคณะว่าไม่ได้รับความเป็น ธรรมนั้น อันนี้เขาก็จะไม่รับ เพราะงาน เขาไม่ใช่ด้านการบริหาร ถ้าแบบนั้นมันจะ
กลายเป็นว่าดึงคณะที่ปรึกษาลงมา ต่อไป ใครมีอะไรเดือดร้อนเราก็ต้องรองรับ ต้อง มาเป็นกันชน เรื่องนี้เราก็จะไม่รับ ต้องให้ ผู้บังคับการมีความรับผิดชอบด้วย เพราะ ผู้บังคับการมีเงินเดือนสูง ท�ำงานเต็มเวลา เราไม่ได้ท�ำงานเต็มเวลา”
โครงสร้างค่าตอบแทน;
เปอร์เซนต์แทน (ขออนุญาตตัดเนื้อหาส่วน ทีแ่ สดงตัวเลขเงินค่าตอบแทนออกเพือ่ ความ เหมาะสม-ผู้เรียบเรียง)” “โครงสร้างนี้เราจะให้ค่าตอบแทนที่ คิดว่าเหมาะสม โดยเฉพาะระดับ ๕-๖ คือ ผู้ก�ำกับคณะและหัวหน้าครูคณะเด็กเล็ก ที่ ให้เป็นแบบนีเ้ พราะเราต้องการผูก้ �ำกับคณะ ที่มีคุณภาพ อยากให้เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิการ ศึกษาด้วย เพราะจะต้องมาสอนหนังสือได้ อย่างสมัยก่อน ครูอดุ มฯ ก็เป็นผูก้ ำ� กับคณะ ก็สอนหนังสือด้วย แล้วเด็กคณะอืน่ ๆ ก็จะมี ความใกล้ชิด ได้มีความเป็นครู-นักเรียนต่อ กัน แล้วครูคณะเด็กเล็ก พี่มองว่ามีความ ส� ำ คั ญ มาก เพราะเขาดู แ ลทุ ก อย่ า งไม่ มี หัวหน้าคณะคอยช่วย ต้องปลุกเด็กตื่นนอน คุมเวลาตลอด คอยสอนการบ้าน เมื่อก่อน ขนาดอาบน�้ ำ ยั ง คอยมาคุ ม ให้ ถู ขี้ ไ คลเลย งานท่านจะหนักมาก พี่จ�ำได้แม่นเลย ครู บรรจง ครูจ�ำรัส ครูมณี ดูแลเหมือนแม่ ก็ เห็นสมควรให้ได้รับค่าตอบแทนเทียบเท่า ผู้ก�ำกับคณะ” “ทีนี้ตามตาราง จะเห็นว่าผู้ที่เป็นครู จะสามารถขึน้ มาเป็นหัวหน้าหมวดวิชา แล้ว ก็สามารถหมุนเวียนไปเป็นผู้ช่วยผู้ก� ำกับ คณะได้ ให้เขาได้มีการก้าวหน้าในหน้าที่ การงาน มันจะตัดปัญหาเรือ่ งทีว่ า่ ครูดๆี ของ เราหลายคน พอเห็นว่าไม่มคี วามก้าวหน้าใน โรงเรียน ก็พากันลาออกไปหมด”
“ต่อจากโครงสร้างการบริหาร คณะ กรรมการอ�ำนวยการฯ ก็มาพิจารณาปรับ โครงสร้างเงินเดือน ซึ่งเดิมมีเสียงสะท้อน ว่าโรงเรียนมีการจ่ายผลตอบแทนต�่ำ เป็น อุปสรรคในการที่จะหาคนที่มีคุณภาพจาก ภายนอกมาท�ำงาน เราก็จ้างที่ปรึกษาให้มา ศึกษา ที่ปรึกษานี้ก็มาจากบริษัทแห่งหนึ่ง ที่มีคุณสุชาดา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เป็น ผู้รับผิดชอบอยู่ ให้เขามาด�ำเนินการปรับ โครงสร้ า งเงิ น เดื อ นให้ ทางคุณสุชาดานี่ ก็เป็นคนในครอบครัวโอวี พ่อเขาเป็นโอวี สามีก็โอวี ลูกก็โอวี ก็เท่ากับเขาเป็นคนใน ครอบครัววชิราวุธฯ เราให้เขามาดูกระบอก เงินเดือน ซึ่งเรามีกระบอกอยู่ ๖ แท่ง แล้ว แต่ละอันนี้มันก็ไม่เท่ากัน จากเดิมเราใช้ วิธีขึ้นขั้นเงินเดือนแบบข้าราชการ คือขึ้น ไปทีละขั้นสองขั้น ซึ่งตอนนี้ระบบราชการ ก็ยกเลิกไปแล้ว แต่เรายังใช้กันอยู่ แล้ว กระบอกเงินเดือนแต่ละกระบอก ต่อให้ได้ปี ละ ๒ ขั้น ๑๐ ปี มันก็ยังไม่เต็มเพดานเลย โดยเฉพาะพวกพนักงานระดับล่าง มันไม่ ถูกต้อง ที่ปรึกษาเสนอปรับระบบเงินเดือน ระบบสารสนเทศ; “ในเรื่องระบบ IT ของโรงเรียน ที่ว่า ใหม่ให้โครงสร้างเหมาะสมกับค่าของงาน และยกเลิกการขึ้นเงินเดือนแบบขั้น ให้ใช้ จะท�ำให้ Paperless ตรงนี้เรามีจุดแข็งคือ anumanavasarn.com
66 เรือนจาก มี วิ สั ย ทั ศ น์ มี ค วามต้ อ งการที่ จ ะพั ฒ นา แต่ จุ ด อ่ อ นคื อ ระบบไฟฟ้ า ส� ำ รองเรายั ง ไม่มี ถ้าไฟดับเมื่อไรคือจบเลย โรงเรียน จบ เพราะไม่มีระบบ Recover System และระบบรั ก ษาความปลอดภั ย ยั ง ไม่ มี อยากได้อินเตอร์เน็ตแต่ไม่มีระบบรองรับ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ถ้ า ไม่ มี ตั ว นี้ ใครเข้ า มาใช้ คอมพิ ว เตอร์ ใ นโรงเรี ย นแล้ ว ส่ ง ข้ อ ความ อะไรที่ไม่เหมาะสมออกไป โรงเรียนเรานี่ แย่เลย ดังนั้นเราจึงต้องมีระบบรองรับพวก นี้ก่อน ส�ำหรับเรื่องคอมพิวเตอร์นั้น เรามี อยู่จ�ำนวนมากแล้วก็อายุก็มากด้วย คือมัน เก่า Software ต่างๆ ก็ไม่สามารถรองรับ ระบบใหม่ แล้วอาจารย์เราก็มีความรู้พอที่ จะใช้โปรแกรมด้านการลงทะเบียนหรือด้าน บัญชีอะไรต่างๆ ตรงนี้เราก็มี ดังนั้นสิ่งที่เรา ต้องปรับปรุงก็คอื เรือ่ งระบบ Software เรือ่ ง ระบบฐานข้อมูล และการที่เรามีเว็บไซต์ โรงเรียนแต่ไม่มีใครใช้และไม่มีใครปรับปรุง แม้แต่ผู้บังคับการเองยังใช้ Hotmail อยู่เลย บางคนก็ Yahoo Mail เรามี Website แต่ ไม่มี Email ขององค์กร” ตนัย; “ตัวผมเองก็พบปัญหาที่ว่า Website ของสมาคมนักเรียนเก่าฯ เปลี่ยนโดเมน เนมบ่อยมาก จนตอนนี้ผมจ�ำไม่ได้แล้ว คือ ผมอยากให้ใช้โดเมนเนมอันเดียวกัน แล้วก็ แยกลิงค์ว่าเป็นนักเรียนเก่าฯ หรือนักเรียน ปัจจุบัน เพราะบางทีก็อยากเข้าไปคุยกับคน อื่นๆ แต่มันไม่มีตรงนี้”
วรชาติ; “ปัญหาที่ผมพบเห็นก็คือว่า เวลา ทีผ่ บู้ งั คับการจะส่งหนังสือเวียน ยังต้องพิมพ์ ใส่กระดาษแล้วให้คนขี่จักรยานไปล่าลาย เซ็นต์ตามตึก ควรจะก�ำหนดให้บุคลากรทุก คนมี Email Address แล้วทุกคนก็จะได้รับ ข่าวสารทาง Email ทุกคนมีหน้าทีเ่ ปิดดู Mail Box ทุกๆ วัน จะได้ไม่มีปัญหาว่าไม่ทราบ เรื่อง และจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้” ศุภดิศ; “ก็จะเห็นได้วา่ จากทีเ่ ราสรุปมา คือ ระบบ IT ของโรงเรียน ยังอยู่ในขั้นพื้นฐาน มากๆ ซึง่ คนทีเ่ ป็นหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ ยังมีต�ำแหน่งเป็นหัวหน้าครูคณะเด็กเล็ก แล้วก็สอนหนังสือด้วย มันจะไปได้ยังไง” “ตอนนี้ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาด้ า น IT คือเมื่อทางโรงเรียนเริ่มจัดท� ำงบประมาณ เพื่อเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วก็ซื้อ Software ทั้งหมดนี้เป็นโครงการ ๒ ปี งบประมาณ ๑๘ ล้านบาท เราบอกว่า เฮ้ย! แบบนี้ไม่เอา ซื้อ Hardware, Software ใครๆ ก็ซอื้ ได้ แต่ปญ ั หาคือเวลาเราจะพัฒนา ระบบให้มันเข้ากันระหว่าง Hardware และ Software เราต้องมีคนที่มีความสามารถ พอที่จะมาปรับปรุง ถ้าไม่อย่างนั้นเวลาย้าย ฐานข้อมูลหรืออะไรต่างๆ แล้วเสียหายขึ้น มานีโ่ รงเรียนก็จบเลย ระบบการลงทะเบียน อะไรต่างๆ ก็จะเสียหายหมด เราเลยเข้าไป เบรคในเรื่องงบประมาณ บอกเขาไปว่าเมื่อ ท�ำโครงการแล้ว เราขอเข้าไปดู ไปตรวจ สอบ ไม่ใช่ว่าเราจะเข้าไปล้วงลูก อะไรแบบ นั้น คือเราเข้าไปดูแล้วจะบอกว่าในการออก TOR (Term of Reference) ขอให้ก�ำหนด
Spec ให้กว้างและให้เชิญบริษัทที่ใหญ่และ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ วชิ ร าวุ ธ ฯ อย่ า งเช่ น Jasmine Loxley CDG Data Pro เข้ามา ประมูลแข่งขันกัน “ที นี้ ก็ เ ลยมี บ ริ ษั ท เข้ า มาประกวด ราคา ๕ บริษัท ผลสรุปก็คือ บริษัทในเครือ ของ CDG ที่มีบรรจวบ พงษ์พานิช ท�ำอยู่ ชนะการประมูลได้ไป ซึ่งเราก็เบาใจว่ามี นักเรียนเก่าฯ ของเราดูแลอยู่”
การปรับปรุงข้อบังคับโรงเรียน;
“ข้อบังคับโรงเรียนนี่ก็เป็นจุดอ่อน อย่างหนึ่ง อย่างแรกเกี่ยวกับเรื่องที่มาที่ไป ของกรรมการ ซึ่งในการแต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะแต่งตั้งโดยให้ผู้บังคับการ เสนอแนะ แล้วนายกกรรมการฯ จะน�ำขึ้น กราบบังคมทูล โปรดเกล้าฯ คือผู้บังคับการ เป็นคนเสนอชื่อ” วรชาติ; “จริงๆ แล้วคือเมือ่ ก่อนนายกกรรม การฯ จะเป็นผู้เสนอเข้าที่ประชุมกรรมการ แล้ว นายกกรรมการฯ จึงน�ำความกราบ บังคมทูลพระกรุณา แต่ในยุคผูก้ าร ดร.กัลย์ ด้วยความที่ท่านเป็นองคมนตรีด้วย จึงอาจ จะเป็นไปได้ว่า กรรมการทั้งหลายเกรงใจ ท่าน จึงมอบให้ท่านเป็นผู้กราบบังคมทูล เสนอชือ่ กรรมการ แต่จะในฐานะองคมนตรี หรือผู้บังคับการไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด”
ศุภดิศ; “ถ้าว่าตามที่พี่ได้อ่านมาในอนุมาน วสาร บทสัมภาษณ์พี่ปิ๋ง พี่ช้อย ที่ถามกัน ว่าที่มาที่ไปของบอร์ดมาจากไหน พี่ปิ๋งก็
ตอบว่าไม่มี เสนอกันเองตัง้ กันเอง นีถ่ กู ต้อง เลย พีป่ ง๋ิ พูดถูก เพราะว่าผูบ้ งั คับการเป็นคน เสนอ แต่พอพี่เข้ามาดูแล้วรู้สึกว่ามันไม่ถูก มันต้องมีคณะกรรมการสรรหา ซึ่งคณะ กรรมการอ�ำนวยการฯ ได้อนุมตั หิ ลักเกณฑ์ ขององค์ ป ระกอบคณะกรรมการสรรหา โดยคณะกรรมการอ�ำนวยการฯ ที่เหลืออยู่ ก็ จ ะตั้ ง คณะกรรมการสรรหาจ� ำ นวน ๗ คน ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย ๑. ราชเลขาธิ ก าร ๒. เลขาธิการพระราชวัง ๓. นายกสมาคม นักเรียนเก่าวชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ในพระบรม ราชู ป ถั ม ภ์ ๔. กรรมการผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ๑ ท่าน ๕. - ๖. เป็นผูท้ รงคุณวุฒจิ ากภายนอก และเป็ น นั ก เรี ย นเก่ า ฯ ๒ ท่ า น และ ๗. ผูบ้ งั คับการวชิราวุธวิทยาลัยเป็นกรรมการ และเลขานุ ก าร โดยจะต้ อ งแต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการสรรหาก่ อ นที่ ก รรมการอ� ำ นวย การจะครบวาระ ๖๐ วัน ซึ่งเมื่อเรามีคณะ กรรมการสรรหาแล้ว จะท�ำให้มีความหลาก หลายมากขึ้น ถ้าในอนาคต เมื่อไรที่เรามี ผู้บังคับการที่ไม่ได้เป็นนักเรียนเก่าฯ ก็ยัง มีการคานอ�ำนาจผู้บังคับการได้ ไม่ใช่ว่าให้ ผู้บังคับการเสนอชื่อกรรมการ อย่างที่น้อง บอกว่าไม่เคยเห็น CEO ที่ไหนเลือก Board แต่มีอยู่ที่วชิราวุธฯ นี่แหละ ผู้บังคับการ เสนอชื่อกรรมการ CEO เลือก Board ไง ที่เราถามกันว่าท�ำไมไม่ให้อดีตผู้บังคับการ เป็น Board ก็ต้องถามว่าท�ำไมผู้บังคับการ ไม่เสนอ เพราะผู้บังคับการเสนอชื่อได้” “ตรงนีเ้ มือ่ กรรมการส่วนหนึง่ จะครบ สองวาระในปี ๒๕๕๔ เราก็จะได้กรรมการ ชุ ด ที่ ม าจากการสรรหา ซึ่ ง จะท� ำ ให้ ภ าพ anumanavasarn.com
68 เรือนจาก ลักษณ์ของคณะกรรมการอ�ำนวยการดีขึ้น” “ข้อบังคับต่อมา ที่เราปรับใหม่ก็คือ การเกษียณอายุ ซึ่งแต่เดิมเราเกษียณอายุ ที่ ๖๐ ปี แล้วต่อสัญญาปีต่อปีได้จนถึงอายุ ๖๕ นี่คือส�ำหรับผู้ก�ำกับคณะอาวุโสและ หัวหน้าครูคณะ แต่พอถึงผู้ก�ำกับคณะ เรา ให้เกษียณที่ ๖๐ เลย ซึง่ มันมีสว่ นเหลือ่ มล�้ำ ไม่เท่าเทียมกัน เราเลยจัดใหม่ให้เกษียณ อายุที่ ๖๐ ทุกต�ำแหน่ง และขยายได้ปีต่อปี จนอายุ ๗๐ คือถ้ามีคณ ุ ภาพก็ขยายไปได้จน อายุ ๗๐ มีการประเมินผลงานและประเมิน สุขภาพด้วย ไม่ใช่วา่ ประเมินผลงานผ่าน แต่ สุขภาพร่อแร่ย�่ำแย่เป็นอัลไซเมอร์จ�ำชื่อเด็ก ไม่ได้ มันก็ไม่ไหว” “แล้วตรงที่ว่ามีการประเมินผลงาน การประเมิ น ผลงานของเดิ ม มี อ ยู ่ ว ่ า ถ้ า บุคคลภายนอกเข้ามารับต�ำแหน่ง จะให้มี การประเมินผลงานหลังการท�ำงาน ๕ ปี แต่บุคคลภายในที่ Promote ขึ้นมา จะให้ ประเมินผลงานหลังจาก ๑ ปี พี่ก็บอกว่า ๕ ปีแล้วค่อยประเมินมันไม่ไหวหรอก มัน นานเกินไป ต้องเปลี่ยนให้เร็วขึ้น โดยให้ ประเมินผลงานบุคคลภายนอกหลังการด�ำรง ต�ำแหน่ง ๑ ปี และประเมินบุคคลภายใน หลังด�ำรงต�ำแหน่ง ๖ เดือน แล้วหลังจาก นั้นให้ประเมินทุกปี ปีละครั้ง คือของเก่าไม่ ได้บอกว่าให้ประเมินทุกปีด้วยซ�้ำ พอเราให้ มีการประเมินต่อเนื่อง มันจะเป็นผลดีกว่า” สัมภาษณ์ เรียบเรียง ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ สถาพร อยู่เย็น วรชาติ มีชูบท โอวี ๔๖ กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓
“อีกอันที่แก้ไขก็คือว่า เราจะเพิ่ม เติ ม ให้ ผู ้ บั ง คั บ การจั ด การประชุ ม กั บ รอง ผู้บังคับการ ผู้อ�ำนวยการฝ่าย ผู้ก�ำกับคณะ และหัวหน้าครูคณะเป็นประจ�ำทุกเดือน แต่ ผู้บังคับการแย้งว่า ทุกเดือนนี่จะประชุมกัน อยู่แล้ว แต่เป็นการประชุมระหว่างผู้ก�ำกับ คณะ แยกกลุม่ กันประชุม ซึง่ คณะกรรมการ อ�ำนวยการฯ ก็สรุปให้มีการประชุมทุกๆ ไตรมาสแทน ที่จริงแล้วพี่เห็นว่ามันควรเป็น Team Management ท�ำงานเป็นTeam นั่ง ประชุมร่วมกัน ทุกคนมีปัญหาก็มาพูดคุย จะได้แก้ข้อขัดแย้งท�ำให้การสื่อสารภายใน องค์กรดีขึ้น แต่ถ้าประชุมเป็นกลุ่มๆ แต่ละ กลุม่ ก็จะไม่เข้าใจปัญหาของกลุม่ อืน่ อย่างไร ก็ตาม ปัญหาต่างๆ ที่พี่ได้กล่าวถึงก็ได้รับ การแก้ไขในขั้นเริ่มต้น ซึ่งมันก็เป็นการเริ่ม ต้นที่ดี มีการลดอ�ำนาจผู้บังคับการที่มีมาก เกินไป เช่น ผู้บังคับการมีอ�ำนาจอนุมัติโดย ไม่มกี ารจ�ำกัดวงเงิน ปัจจุบนั คณะกรรมการ อ�ำนวยการได้ปรับลดให้เหลือไม่เกิน 5 ล้าน บาทต่อครั้ง เป็นต้น” “สรุ ป ผลงานของคณะกรรมการ อ�ำนวยการฯ ในรอบปีที่ผ่านมา ด�ำเนินการ เรื่องที่ส�ำคัญไปหลายเรื่อง เพื่อให้โรงเรียน มีการบริหารการจัดการที่ดี สอดคล้องไป กับการพัฒนาระบบการศึกษาให้ก้าวไปกับ สถานการณ์ปัจจุบัน” ถ่ายภาพ โอวี ๗๖ ตนัย สุจริตกุล
โอวี ๖๕
เรื่องเล่าจากนักเรียนเก่าฯ 69 โดย หม่อมเจ้า พิริยดิศ ดิศกุล
ชี(ตอนที วิต่ ๒)ในโรงเรียนวชิราวุธฯ
ในปีสดุ ท้ายของการเรียนของผม ก็ให้มเี หตุการณ์ทที่ ำ� ให้ครูทงั้ โรงเรียนหมด ความสุขไปตามๆ กัน เพราะมีการสอบตกภาษาไทยกันหลายคน ในจ�ำนวนนีม้ ผี ม พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ และหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี พระโอรสของพระราชวรวงศ์เธอกรมหมืน่ พิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ที่ได้รับการถวายพระนามว่าเป็นปราชญ์ของเมืองไทยอีกด้วย เราทั้งสองคนถูกพ่อ เล่นงาน และต่างก็ต้องอ้างซึ่งกันและกัน ท่านภีศเดชฯ ไม่กลับมาเรียนต่อแต่ ไปเรียนที่เมืองอังกฤษเลย ส่วนผมนั้นความที่พ่อจน ก็ต้องหวนกลับมาเรียน โดยไม่มีทางเลือก แต่ก็ต้องศึกษาถึงมูลเหตุของการสอบตกไว้ ซึ่งต้องรับว่าเป็น ความประมาทของตัวเองไม่ใช่จากระบบการเรียนแต่อย่างใด เพราะยุคนั้นเป็น ยุคของหนังสือนวนิยาย ๑๐ สตางค์ มีทั้งของส�ำนักพิมพ์เพลินจิตและของนาย อุเทนคนเขียน ป.อินทรปาลิต เรืองเดช เรืองฤทธิ์ เรืองยศ ท�ำให้นักเรียนติดกัน งอมแงม สมัยนั้นโรงเรียนยอมให้แขกมาส่งนมสดแก่นักเรียนเพื่อประโยชน์ทาง anumanavasarn.com
70 เรื่องเล่าจากนักเรียนเก่าฯ สุขภาพ แขกเลยถือโอกาสเอาหนังสือพวก นี้มาขายด้วยเลย นี่เป็นเพียงเหตุผลข้อหนึ่ง เท่านั้น อีกประการหนึ่งซึ่งบางคนนึกไม่ถึง คือการที่ออกไปสอบนอกโรงเรียนรวมกับ นั ก เรี ย นอื่ น ๆ ของผมปีนั้นต้องไปสอบที่ โรงเรียนสวนกุหลาบที่อยู่ติดกับถนนใหญ่ และมีเสียงรถยนต์วิ่งอยู่ตลอดเวลา สมาธิ ที่เคยมีตอนเรียนที่ตึกวชิรมงกุฎที่เงียบสงัด จึงผันแปรเป็นทางลบ ที่เคยกะให้ตกได้คือ ไวยากรณ์ไทย กลายเป็นเรียงความที่เคย ท�ำได้ดี ย่อความก็ดี แม้แต่อา่ นไทยยังพลอย ตกไปตามๆ กัน ผมไม่โทษอะไรนอกจากดวง ส่วนท่านภีศเดชฯ นัน้ ท่านโทษลายพระหัตถ์ ทั้งๆ ที่ท่านเขียนตัวเบ้อเริ่ม ผมกลับมาเรียนใหม่ด้วย ปณิธาน ใหม่ แ ละต้ อ งคุ ย อวดไว้ ด ้ ว ยว่ า ปี นั้ น ผม สอบแข่งขันกวีนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้รบั รางวัลที่ ๒ คน ที่ได้ที่ ๑ คือนายแพทย์มงคล รัตนปราการ ที่อยู่คณะเดียวกับผมและก็สอบตกภาษา ไทยมาด้วยกัน ส่วนการสอบ ม.๘ ปีนั้นเรา ผ่านไปด้วยดี หนึ่งนั้นเพราะไปสอบที่ ร.ร. วัดบวรนิเวศ บรรยากาศร่มรืน่ ของวัดจึงช่วย ได้มากดังนี้ ยิ่งไปกว่านั้นผมสอบผ่านเข้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยคะแนนค่อน ข้างดีด้วย และเราต้องชื่มชมกับการเรียน ซ�ำ้ ชัน้ ของเราเพราะเพือ่ นๆ ทีล่ ว่ งหน้า เข้าไป เรียนก่อนเรานั้นต่างก็อยู่ในสภาพซ�ำ้ ชั้นกัน เป็นแถว บางคนต้องถูกรีไทร์ หรือไม่ก็ต้อง
เปลี่ ย นคณะเรี ย น เรื่ อ งนี้ ค งไม่ ใ ช่ เ พราะ อะไรหรอกนอกจากจะเป็ น แบบฉบั บ นั ก เรี ย นกิ น นอนที่ ยั ง ติ ด นิ สั ย จั บ กลุ ่ ม กั น อย่างเหนียวแน่นนั่นเอง ส่วนผมนั้นผมผ่านการเรียน ๔ ปี ไปได้สบายๆ เพื่อนๆ พวกนั้นจบทีหลังผม ทุกคน ที่เขียนมานี้ไม่ใช่อะไรแต่ต้องการ ให้ เ ด็ ก วชิ ร าวุ ธ ฯ รุ ่ น หลั ง ได้ ส� ำ เหนี ย กไว้ เท่านั้นเอง มีเรื่องที่ไม่ควรเล่า แต่อยากเล่าอีก เรื่องหนึ่ง คือเมื่อสอบ ม.๘ แล้ว ผมได้ไป หาพ่อของผมที่เมืองปีนัง ดูท่านตื่นเต้นกับ ผมมาก เช้าวันหนึง่ ท่านเรียกผมไปพบทีห่ อ้ ง ท่านขณะก�ำลังเสวยอาหารเช้า แล้วรับสัง่ กับ ผมว่า “ตาหนูน้อยช่วยอ่านหนังสือพิมพ์ให้ พ่อฟังหน่อย” รับสั่งแล้วก็ยื่นหนังสือพิมพ์ ภาษาฝรั่งให้ผมมาฉบับหนึ่ง จะชื่ออะไรก็ จ�ำไม่ได้แล้ว ผมก็ปลื้มใจที่พ่อวางใจให้อ่าน หนังสือถวาย อ่านไปได้พกั เดียวพ่อก็โบกมือ ว่าพอ แล้วรับสั่งว่า “พ่อฟังตาหนูน้อยอ่าน ไม่รู้เรื่องเลย” เป็นความผิดหวังและเสียใจ อย่างมากของผมและไม่มีทางอ้างอะไรได้ เลยนึกได้ว่าเจ้านายสมัยเก่านั้นทุกพระองค์ จะต้องได้รับการศึกษาภาษาต่างประเทศ ควบคู่ไปกับภาษาไทยและต้องเรียนกันใน ระดับตัวต่อตัวเลยทีเดียว ดังในห้องหนังสือ ของพ่ อ ผมที่ ผ มแอบชอบไปดู รู ป หนั ง สื อ “Illustrated London News”, “Sphere” และ “Punch” ทีม่ อี ยูม่ ากเป็นประจ�ำ สังเกต ดูจะรู้ได้ว่าแทบทุกพระองค์จะรับสั่งภาษา
อังกฤษได้ดีไม่มีขัดเขินกันทั้งนั้น ทั้งนี้จะว่า ไปแล้วก็คงสืบเนือ่ งมาจากรัฐประศาสโนบาย สมัยจักรวรรดินิยมนั่นเอง ผมจึงต้องตั้ง ปณิ ธ านอี ก ครั้ ง ที่ จ ะต้ อ งหาทางกระเสื อ ก กระสนไปเปิดหูเปิดตาทีต่ า่ งประเทศให้ได้ ซึง่ โชคได้ช่วยบันดาลให้ผมได้ไปฝึกงาน ดูงาน ทั้งเรียนและได้เข้าร่วมประชุมระดับต่างๆ ของสหประชาชาติมาแล้ว ทีต่ อ้ งเรียกว่าโชค ก็เพราะไปด้วยเงินทุนของคนอื่นทั้งสิ้น ที่ต้องน�ำมาเล่าเพราะอยากเล่าให้ เด็กวชิราวุธฯ รุ่นใหม่ฟังอย่าให้เป็นอุบัติ การณ์ทพี่ อ่ ผมบอกครัง้ นัน้ เกิดขึน้ อีกเลย ยิง่ สมัยนีอ้ ปุ กรณ์ประกอบการสอนก็หาง่าย สือ่ ต่างๆ ก็มมี าก และวชิราวุธวิทยาลัยสมัยนีไ้ ม่ เหมือนสมัยผม อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรเล่า แต่อยาก เล่าก็คือนโยบายของผู้กำ� กับคณะไม่เหมือน กัน คณะผมคุณพระปวโรฯ ท่านไม่มลี กู ท่าน จึงรักและเอ็นดูเด็กในคณะเหมือนลูกเหมือน หลาน แต่มิได้หมายความว่าท่านตามใจ จนเหลิง ทุกคนจะต้องถูกเฆี่ยนเหมือนกัน แม้แต่ผมซึ่งอยู่ ม.๘ แรก และเป็นหัวหน้า คณะ บังเอิญตอนสวดมนต์เสร็จเกิดร้อง “ไชโย” ดังไปหน่อยยังถูกเฆี่ยน บังเอิญคุณ พระปวโรฯ ใครๆ ก็รู้ว่าท่านเป็นนักฟุตบอล ชื่อดังในนาม “แบ๊คป๋อ” ท่านจึงสนับสนุน กีฬาคณะเต็มที่ แข่งชนะครั้งใดเป็นต้องหา ผลไม้เป็นเข่งๆ มาเลี้ยงกันทั่วถึง แล้วแต่จะ เป็นฤดูกาลอะไร บางทีก็มีทุเรียนเป็นเข่งๆ บางทีก็เป็นลิ้นจี่ดองจากเมืองจีนเป็นไหๆ
เวลากินข้าวถ้าเกิดยังไม่อิ่มก็มีสิทธิยกมือ ขอไข่เจียวเพิ่มเติมได้ พวกผมก็ปากเสีย เอาไปคุยอวดเพื่อนๆ คณะอื่นๆ หารู้ไม่ว่า ไม่เป็นที่สบอารมณ์คุณพระประทัตฯ เป็น อย่างมากจนกระทั่งคุณพระปวโรฯ ออกไป และคุ ณ พระประทั ต ฯ มารั ก ษาการแทน ป ร ะ เ พ ณี จ ะ กิ น ไ ข ่ เ จี ย ว นี้ เ ป ็ น ร ะ บ บ ประชาธิปไตยของคณะไม่ใช่ของใครคนเดียว จะต้องช้อนเคาะจานกันหลายโต๊ะ หัวหน้าจึง ยกมือเรียกไข่เจียวได้ ซึง่ ผมในฐานะหัวหน้า ก็ต้องปฏิบัติตามนั้นไปเข้าล๊อคคุณพระประ ทัตฯ พอดี จึงโทรเรียกพี่ชายผม ดิศานุวัติ มาพบทันที จะไล่ผมออกจากโรงเรียน ด้วย เหตุผลว่าโรงเรียนนี้มีพระราชประสงค์จะ ให้นักเรียนอดทนเป็นลูกผู้ชาย ไม่ใช่เพื่อมา กินสบายนอนสบาย เมื่อน้องชายของท่าน ทนไม่ได้ก็ต้องมาเอาตัวออกไป พี่ชายผมก็ ต้องท�ำทัณฑ์บนให้น้อง ประเพณีกนิ ไข่เจียว เลยพลอยยุติแต่นั้นมา การมีโรงครัวรวม ดังปัจจุบันจึงเป็นนโยบายที่ถูกต้อง ตอนผมรั บ ราชการและต้ อ งไป ฝึกงานที่สหรัฐฯ คุณพระประทัตฯ บังเอิญ เป็นผูด้ แู ลนักเรียนไทยอยูท่ นี่ นั่ ผมก็ไปเยีย่ ม ค�ำนับตามธรรมเนียมลูกศิษย์กับครู ครูก็ ยังไม่ลืมเรื่องนี้หยิบยกมาเล่ากันอีกอย่าง สนุกสนาน เพราะครูกับลูกศิษย์นั้นความ สัมพันธ์มันล�้ำลึกเกินกว่าที่โกรธเกลียดกัน ได้ลง ครูศรีเองยังท�ำหน้าที่แม่บ้านเหมือน เดิม อนุเคราะห์พาผมไปซือ้ กระเป๋าเดินทาง โดยใช้ สิ ท ธิ ไ ม่ ต ้ อ งเสี ย ภาษี อี ก ด้ ว ย ที่ anumanavasarn.com
72 เรื่องเล่าจากนักเรียนเก่าฯ ต้องเล่าเพราะยังอยากเห็นระบบภาคทัณฑ์ มีอยู่ ไม่ใช่จะใช้ความเด็ดขาดไล่ออกอย่าง เดียว คนที่เกิดมาแล้วไม่เคยท�ำผิดไม่มีใน โลก เว้นเสียแต่จะกระท�ำชั่วโดยจงใจหรือ โดยสันดาน ไม่น่าจะลืมว่าคนที่ทนอะไรที่ ท้าทายไม่ได้มกั จะเป็นผูน้ �ำทีด่ ี ทีเ่ ป็นวีรบุรษุ ก็เป็นกันมาแล้วหลายคน สิ่ ง ที่ อ ยากพู ด ก็ คื อ สื บ เนื่ อ งมาจาก ประสบการณ์ จ ากการเป็ น อาจารย์ พิ เ ศษ ที่มหาวิทยาลัยมาหลายแห่ง การบรรยาย ทุกครัง้ นักศึกษาจะจดทีอ่ าจารย์บรรยาย และ จะขอร้องให้เขียนค�ำบรรยายเป็นโรเนียวให้ แต่เวลาสอบผมมักจะต้องการรู้ว่านักศึกษา เข้าใจหรือไม่ จึงออกข้อสอบเป็นรูปธรรมให้ นักศึกษาออกความเห็น ปรากฏว่านักศึกษา จะร้ อ งว่ า อาจารย์ ไ ม่ ไ ด้ ส อนเป็ น ดั ง นี้ เ สี ย แหละมาก แสดงว่ า นั ก ศึ ก ษาจะท่ อ งจ� ำ มากกว่ า จะหาความเข้ า ใจจากความคิ ด วชิราวุธฯ สมัยผมเรียนก็เป็นดังนี้ จึงไม่ใช่ ของประหลาดที่คนเก่งก็จะเก่งประจ�ำอยู่ นั่นแหละ เป็นการสมยอมกันโดยสมัครใจ ด้วยการลอกการบ้านกันมาตลอดในชั่วโมง “เปร๊บ” ผมต้องพูดเรื่องนี้ เพราะระบบการ ศึกษาวชิราวุธฯ ปัจจุบนั เริม่ เห็นความส�ำคัญ ให้นักเรียนรู้จักคิดแต่ต้องไม่ลืมว่าต้องมี อุปกรณ์พร้อมทัง้ สือ่ ต่างๆ เฉพาะอย่างยิง่ ผม ยังไม่ค่อยเห็นเด็กไทยชอบพกหนังสืออ่าน ติดตัวเหมือนเด็กฝรัง่ หรือว่าจะใช้ประโยชน์ จาก Internet ได้ก็ดีไป แต่วชิราวุธฯ เป็น
โรงเรียนกินนอนที่มีกิจกรรมมากอย่าง ถ้า ไม่รจู้ กั แบ่งเวลาหรือจ�ำกัดกิจกรรมของแต่ละ คนก็จะเป็นภาระหนักได้เหมือนกัน การปรับระบบการศึกษาแม้หลาย อย่ า งวชิ ร าวุ ธ ฯ จะท� ำ ได้ เ องแต่ ก็ ค งต้ อ ง มี ห ลายอย่ า งที่ ต ้ อ งเป็ น ไปตามหลั ก สู ต ร พ.ร.บ.การศึ ก ษาแห่ ง ชาติ ผ มยั ง เสี ย ดาย วิชาเก่าๆ ที่คนสมัยนี้เห็นว่าเชย เช่น การ คัดลายมือ การอ่านไทย และการท่องอาขยาน ซึ่งการท่องอาขยานนั้นผมคิดว่าจะช่วยให้ เกิดกวีของชาติในอนาคตได้ไม่มากก็น้อย ท้ายที่สุดนี้ผมต้องขอพูดเตือนสติให้ วชิราวุธฯ ทุกคนส�ำนึกว่าวชิราวุธวิทยาลัย แม้จะเป็นโรงเรียนราษฎร์ตาม พ.ร.บ. ก็จริง แต่กเ็ ป็นโรงเรียนของพระเจ้าแผ่นดิน ทีท่ รง ตั้งขึ้นเพื่อสร้างคนไปรับใช้บ้านเมือง แม้ ปัจจุบันจะเป็นยุคสมัยของประชาธิปไตย ความส�ำคัญของพระราชประสงค์ก็มิได้ลด หย่อนลงแม้แต่น้อย การรับใช้บ้านเมือง ก็ มิ ไ ด้ ห มายความว่ า จะต้ อ งรั บ ราชการ เสมอไป ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ท�ำอะไรก็ขอให้มี ความสุจริตใจต่อบ้านเมืองเท่านั้นก็น่าจะ เพียงพอแล้ว ผมภูมิใจเพื่อนร่วมคณะของ ผมเวลานัน้ ทีต่ อ้ งขอเอ่ยพระนามและนามไว้ ดังนี้ นอกจากท่าน ภีศเดช รัชนีแล้ว ยังมี พูนเพิม่ ไกรฤกษ์ ม.ล.ทวีสนั ต์ ลดาวัลย์ และ พงศ์ สารสิน ที่ยังมีผลงานของเขาปรากฏ ให้คนวชิราวุธฯ ปัจจุบันรับทราบอยู่ทั่วกัน หม่อมเจ้า พิริยดิศ ดิศกุล โอวี
ห้องสมุด
ชีวิตชั้นๆ
ม.จ.ภีศเดช รัชนี ส�ำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์
สถานภาพทางสังคม ที่ติดตัวมาแต่ก�ำเนิดเป็นสิ่ง ที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ใน ภายหลั ง ทั้ ง นี้ ก็ ขึ้ น อยู ่ กั บ “การกระท�ำ” ของตนเป็น ตัวก�ำหนด ชี วิ ต ชั้ น ๆ หนั ง สื อ อัตชีวประวัติที่แสดงให้เห็น ถึ ง แง่ มุ ม ของชี วิ ต ที่ ห ลาก หลายและต่ า งชนชั้ น ทาง สังคมไว้ด้วยกัน ผ่านการ บอกเล่าถึงประสบการณ์ของ ชีวิต ม.จ.ภีศเดช รัชนี อดีต นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ โอวี ๑๑ ในความทรงจ� ำหนึ่งที่ หลายคนรู้จกั ท่านนั้น คงหนี ไม่พ้นเรื่องการสอบไล่วิชา ภาษาไทยที่กลายเป็นเรื่อง
เล่าชวนหัว ความสนุ ก ของการ เล่ า เรื่ อ งที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ของท่ า นคื อ การเลื อ กใช้ ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย อธิบาย ได้ เ ห็ น ภาพชั ด เจน ท� ำ ให้ นึกไม่ออกว่าครั้งหนึ่งท่าน จะเคยสอบการเขี ย นเรี ย ง ความวิ ช าภาษาไทยตก ไปได้ แต่ถึงอย่างไร สาย เลือดของ น.ม.ส. ก็ยังคง ถ่ า ยทอดออกมาให้ เ ห็ น ใน งานเขียนของท่านได้อย่าง ชัดแจ้ง การเล่าเรื่องตั้งแต่ ช่ ว งแรกเริ่ ม ของชี วิ ต ใน วัยเยาว์ การเข้าโรงเรียนผับ ทั้งในไทยและอังกฤษ ช่วง เวลาที่เข้าร่วมสงครามโลก ครัง้ ที่ ๒ ในฐานะ “ไทยเสรี”
73
สมั ค รเข้ า เป็ น ทหารใน กองทัพอังกฤษ เพื่อเข้ามา ท� ำ งานเป็ น สายลั บ ในบ้ า น เกิ ด เมื อ งนอน ไปจนถึ ง ประสบการณ์การแล่นเรือใบ คนแรกๆ ของประเทศ แม้ เรื่ อ งราวจะดู เ หมื อ นไม่ น ่ า จะสอดคล้องกันได้ แต่ท่าน ก็ ส ามารถขมวดเรื่ อ งราว ทั้งหลาย เข้าเป็นเรื่องเล่า สนุกสนาน ประหนึ่งเหมือน มี ท ่ า นมานั่ ง เล่ า ให้ ฟ ั ง อยู ่ ใกล้ๆ หนังสือ ชีวิตชั้นๆ นี้ แม้จะหนาถึง ๔๒๓ หน้า แต่ ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการ อ่านแต่อย่างใดเพราะการ เล่าเรื่องเกร็ดประวัติศาสตร์ จะปลายปากกา ภ.ณ ประมวลมารค เป็นเรื่องราว ที่ เ กิ ด จากประสบการณ์ ตรงของผู ้ เ ขี ย นซึ่ ง ท� ำ ให้ ห นั ง สื อ เ ล ่ ม นี้ ดึ ง ใ ห ้ ค น อ่ า นเข้ า ใจเรื่ อ งต่ า งๆ ใน ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ด้ ก ระจ่ า ง มากยิ่ ง ขึ้ น โดยเฉพาะใน ช่วงเวลาเปลีย่ นผ่านของการ เปลี่ ย นแปลงการปกครอง และสงครามโลกครั้งที่ ๒ กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓) anumanavasarn.com
74 บ่ครอบครั ายวันอาทิตย์ วโอวี
…สนทนาประสา
นางสาวไทย รื่นเริงไปกับกลุ่มวัยรุ่นเปี่ยมความคิด… …น้องโจอี้ อรวิภา กนกนทีสวัสดิ์ น้องเพื่อน กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี น้องแนนต์ วรวิตา จันทร์หุ่น… เมื่อเอ่ยถึง น้องผู้หญิงทั้งสามคนนี้ พวกเราชาวโอวีหลายคน อาจจะนึก ไม่ออกว่าเป็นใคร แต่ถ้าได้เอ่ยว่า… “นางสาวไทย” ทุกคนก็จะต้องร้อง “อ๋อ” ณ ยามบ่าย เวลาสบายๆ ของวันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ทีมงานอนุมานวสาร ได้มีโอกาสนัดสัมภาษณ์เหล่าน้องๆ นางสาวไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๒ ณ ห้องอาหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ คอลัมน์บ่ายวันอาทิตย์ จะเป็นการพูดคุยในบรรยากาศสบายๆ แลกเปลี่ยนความคิด มุมมองดีๆ ที่หลากหลาย (Learning & Sharing) ไปกับ เหล่าสุภาพสตรี ผู้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวโอวี ไม่ว่าจะเป็น ภรรยา พี่สาว น้องสาว ลูกสาว… ฯลฯ และที่ถือเป็นอีกหนึ่งสมาชิกผู้ทรงเกียรติยิ่งส�ำหรับ ครอบครัวโอวี… นั่นก็คือ “นางสาวไทย” ด้วยเหตุฉะนี้ จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่พวกเราจะได้มาพูดคุยแลก เปลี่ยนมุมมองความคิด ไปกับน้องๆ นางสาวไทย รวมทั้งรองอันดับ ๑ และ ๒ ทั้งสามต�ำแหน่งอันทรงเกียรติดังกล่าวข้างต้น น้องๆ ทั้งสามนี้ จึงมี ภาระหน้าที่อันใหญ่ยิ่ง เปรียบเหมือนดั่ง “ตัวแทนสัญลักษณ์แห่งศักดิ์ศรีสตรีไทย” ทั้งยังต้องท�ำหน้าที่ “ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว” ของประเทศไทยอีกด้วย
anumanavasarn.com
76
บ่ายวันอาทิตย์
น้องโจอี้ อรวิภา กนกนทีสวัสดิ์
ในครั้งแรก พวกเราทีมงาน อนุมานวสาร ก็อดใคร่คิดจะสงสัยไม่ได้ เหมือนกันว่า น้องๆ ทั้งสามคนนี้ พวกเธอ ก็ยังคงเป็น เด็กสาวตามปกติกลุ่มหนึ่ง… แต่ด้วยคุณค่าสุดพิเศษที่ซ่อนอยู่ในตัวพวก น้องๆ นี้ ท�ำให้น้องๆ ทั้งสามคน ชนะใจ กรรมการประกวด มอบความไว้วางใจให้ เข้ามารับต�ำแหน่งอันทรงคุณค่านี้ สมกับ concept ปีล่าสุด “ทอแสงงามแห่งจิตใจ” ระหว่างที่พวกเรารอน้องๆ เดินทาง มาถึง ด้วยว่าความที่โตมาจากการเป็น นักเรียนประจ�ำชายล้วน ก็ล้วนอดที่จะ ตื่นเต้น และแอบเกร็งอยู่ในใจเสียมิได้ เหมือนกัน ด้วยว่าน้องๆ ทั้งสามคน หาได้ เป็นเพียงสาวใสวัยรุ่นธรรมดาไม่ หากทว่า ยังมีดีกรีเป็นถึงนางสาวไทย ๒๕๕๒ อีก ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจนัก ที่จะต้องมี อาการแอบตื่นเต้นกันบ้าง ครั้นเมื่อพวกน้องๆ ทั้งสามคนมา ถึง พวกน้องๆ ต่างก็ตรงรี่เข้ามายิ้ม ทักทายพี่ๆ ทีมงานอนุมานวสาร ด้วย บรรยากาศที่สบายๆ เป็นกันเอง จนความตื่นเต้นเคล้าแอบเกร็งอยู่ในใจ ของพี่ๆ ทั้งหลาย ล้วนหายวับไปในพริบ ตา เปลี่ยนมาเป็นบรรยากาศง่ายๆ สบายๆ กันเอง ระหว่างเหล่าพี่ๆ ชายหนุ่มอนุมานวสาร กับน้องๆ เด็กผู้หญิงสดใสใจดีทั้งสามคน พวกเราทุกคนต่างชื่นชมใน มุมมอง ทัศนคติ ความคิดของพวก น้องๆ ทั้งสามคนนี้เป็นยิ่งนัก อีกทั้งเรื่อง ราวมากมาย ที่ผู้หญิงทั้งหลายอยากจะ
บอกให้ผู้ชายทุกคนรับรู้และเข้าใจในตัว ตอบค�ำถามกรรมการ โดนทุกรอบเลยเช่น พวกเธอ…ทั้งหมดนี้ พบได้ในบทสัมภาษณ์ “เป็นหมอแล้วจะเป็นนางสาวไทยได้หรือ” นี้ครับ “จะมีเวลาให้พวกเราหรือ” แต่กรรมการ วชิราวุธฯ จะใจดีมาก ก็จะคอยบอกว่า “ใจ อนุมานวสาร ชีวิตเปลี่ยนไปไหม เย็นๆ นะ ค่อยๆ ดูไปทั้งสองเรื่อง” อะไร หลังจากที่ได้รับต�ำแหน่ง ประมาณนี้ แต่ส่วนมากทุกคนก็จะมี โจอี้ มันเปลี่ยนในเรื่องของเวลามากกว่า ตารางงาน โดยพี่เชน (ผู้จัดการนางสาว เพราะทุกคนยังต้องเรียนอยู่ด้วยและต้อง ไทย) จะดูให้ โดยผสมกับตารางเรียน ถ้า มาท�ำงานกับกองประกวดด้วย แต่เวลาไป ช่วงไหนที่มันติด พี่เชนก็จะเลื่อนให้ แต่ ไหนก็มีคนทักนะ อย่างพอเวลาท�ำงานเสร็จ ของเพื่อนจะแลกเวรกับเพื่อนเอา แต่งตัวไปเดินห้างก็จะมีคนมาทักว่าเป็น แนนต์ ของแนนต์นี่สบายสุด อย่างบางที ดาราหรือเปล่า ก็ตื่นเต้นดี และก็ได้ท�ำ งานไหนมีแค่ครึ่งวัน แนนต์ก็จะสามารถ อะไรที่แปลกๆ เช่น ใส่มงกุฎตลอดเวลา กระโดดลงรถไฟฟ้าไปเรียนได้ในเวลา ๑๕ โบกมือ ฯลฯ แต่ว่าสิ่งที่สัมผัสได้ก็คือ การ นาที แล้วก็ได้พี่เชนคอย manage (ควบคุม ที่ทุกคนรอดูเราอยู่ อย่างตอนที่ไปโรงเรียน จัดการ - กอง บก.) ให้ อย่างถ้ามีวิชาไหน มหาวชิราวุธ จ.สงขลา นักเรียนก็จะมารอ ขาดไม่ได้จริงๆ ก็จะบอกพี่เชนไว้ ซึ่ง พี่เชนจะดูให้ว่างานนั้นส�ำคัญแค่ไหน ซึ่งถ้า ดูอยู่เต็มโรงเรียน แนนต์ ถามว่าเหนื่อยไหม มันก็เหนื่อยนะ ส�ำคัญมากๆ ก็คงต้องคุยกับอาจารย์ เหมือนบางคนมาขอถ่ายรูปนะ รูปเดียว แต่เป็นรูปเดียวที่ ๓๐ – ๔๐ รูปแล้ว แต่ อนุมานวสาร แล้วก่อนที่น้องๆ จะเข้ากอง ประกวด รู้จักอะไรเกี่ยวกับวชิราวุธฯ บ้าง เราก็เข้าใจ เพื่อน เหมือนเขาเจอเราแล้วเขามีความสุข โจอี้ รู้อยู่แล้ว เพราะว่าเรียนอยู่เขมะฯ แค่เรายิ้มเท่านั้นเอง ไงคะ แล้วก็เป็นเด็กกิจกรรมด้วย เคยมา วชิราวุธฯ ครั้งหนึ่ง เราก็แบบว่า ท�ำไมไม่ อนุมานวสาร แล้วน้องๆ ปรับตัวกัน เสร็จสักที โรงเรียนใหญ่มาก (หัวเราะ) อย่างไร เพื่อน คือเราเคยเห็นสัญลักษณ์บนมงกุฎ โจอี้ อย่างเรื่องเรียนนี่ ก็... ไม่ได้เรียน นางสาวไทย ก็ตั้งค�ำถามตลอดว่า อะไรคือ อันนี้พูดตรงๆ เลย เพราะเราก็อยากให้ วชิราวุธฯ ท�ำไมถึงยิ่งใหญ่ขนาดนี้ เพราะ เวลากับกองประกวด เพื่อน แต่น้องเขาก็เก่งนะ ไม่ได้เข้าเรียน เขาอยู่กับนางสาวไทยมานานขนาดนี้ แนนต์ ก่อนที่แนนต์จะเข้ารัฐศาสตร์ แนนต์ แต่ก็ท�ำข้อสอบได้ ส่วนของเพื่อนโดน ย้ายมาจากครุศาสตร์ แล้วครุศาสตร์จะ กดดันตั้งแต่กองประกวดแล้ว คือตอนที่ anumanavasarn.com
78
บ่ายวันอาทิตย์
เป็นคณะที่เด็กวชิราวุธฯ ได้โควต้ารักบี้ เยอะมาก ในรุ่นเดียวกันก็จะมีเพื่อนเยอะ ก็เลยได้รู้จัก ได้สนิท เลยได้รู้อะไรเกี่ยวกับ วชิราวุธฯ เยอะมาก เคยมาครัว OV ก็ บ่อยอยู่ อนุมานวสาร แล้วน้องๆ ประทับใจส่วน ไหนของโรงเรียน เพื่อน โรงเรียนตึกสวยมาก แล้วก็ต้นไม้ ร่มรื่น โจอี้ อี้จะบอกว่า...ชอบนักเรียนวชิราวุธฯ มาก เพราะว่าเราอยู่โรงเรียนหญิงล้วนมา แล้วพอมาถึงทุกคน เจ๊นท์ (Gentle: สุภาพ อ่อนโยน - กอง บก.) มาก แนนต์ พอเข้ามาวชิราวุธฯ ครั้งแรกเนี่ย ก็ เกิดการนึกถึงโรงเรียนของเราว่า เอ๊ะ! ท�ำไม ถึงแตกต่างกันอย่างนี้ แต่เราก็ชอบนะ เพื่อน แนนต์ชอบวชิราวุธฯ มากจนไม่รู้จะ อธิบายยังไงเวลาอยู่ด้วยกัน อันนี้ก็วชิราวุธฯ อันนั้นรุ่นพี่ อันนั้น OV เล่นอันนู้น อันนี้ ด้วย ก็เลยเอ๊ะ! วชิราวุธฯ นี่รับผู้หญิงด้วย หรือเปล่า (หัวเราะชอบใจ) แนนต์ คืออีกอย่างเนี่ย วชิราวุธฯ เนี่ยจะ รักเพื่อนและรักโรงเรียนมากๆ คือทุกครั้งที่ มีโอกาสได้เจอเพื่อนที่เป็นนักเรียนเก่าฯ เขาก็จะถ่ายทอดทุกอย่างที่เป็นวชิราวุธฯ ให้ฟัง เช่น เรื่องระบบพี่น้อง เราก็ เออ! ที่ นี่เขาสอนเด็กให้รู้ทุกอย่างที่มันไม่ใช่แค่ใน ห้องสี่เหลี่ยม เราก็ชอบตรงนั้น แล้วเราก็ รู้สึกว่าเด็กวชิราวุธฯ เป็นผู้ใหญ่กว่าเด็ก ทั่วไป แล้วก็จะรู้โลกเยอะ ทั้งด้านมืดและ ด้านสว่าง
อนุมานวสาร หลังจากที่ได้รับต�ำแหน่ง แล้ว และได้เป็นทูตวัฒนธรรมด้วย น้องคิด ว่าต�ำแหน่งทูตวัฒนธรรมมีความส�ำคัญ อย่างไร โจอี้ ส�ำคัญมากเพราะคนส่วนใหญ่จะมอง ข้ามเรื่องวัฒนธรรมไปแล้ว มันเหมือนว่า เรา ๓ คนเป็นตัวแทนสะท้อนถึงสิ่งที่ผ่าน มาแล้วเช่น การไหว้ การวางตัว กิริยา มารยาท ที่คนมองข้ามไปแล้ว อนุมานวสาร จากสถิติการท่องเที่ยวแล้ว ภาคอีสานของไทยมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว น้อยที่สุด น้องเพื่อนจะมีวิธีเชิญชวน นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนอย่างไร ใน ฐานะที่เราตัวแทนพี่น้องชาวอีสาน โจอี้ (แอบแซว) โอ๋ๆๆ...ไม่ต้องน้อยใจนะ เพื่อน คือในแต่ละภาคก็จะมีภูมิประเทศที่ เหมาะกับการท่องเที่ยว ภาคใต้ก็มีทะเล ภาคเหนือก็มีภูเขา ทะเลหมอก แต่พอนึก ถึงภาคอีสานเนี่ย... ก็นึกถึงความแห้งแล้ง ไม่รู้จะไปท�ำไม ต้องบอกก่อนว่า การ จินตนาการถึงแต่ภูมิภาคเป็นอย่างนี้ พอนึกถึงภาคอีสานแล้ว เราต้องนั่งเกวียน ไปหรือเปล่าคือความคิดจะเป็นในแง่ลบ ตลอด แต่อยากจะบอกว่า จริงๆ แล้วไม่ว่า จะเป็นระบบชลประทาน การท�ำนาทุ่งกุลา ร้องไห้ อะไรต่างๆ เนี่ยมันเขียวขจีสมบูรณ์ แล้ว การคมนาคมก็สะดวกมากขึ้น มี ความเจริญเข้ามาแล้ว แต่สิ่งที่คุณจะได้ มากกว่าความเจริญคือ คุณจะได้สัมผัสวิถี
ชีวิตชาวบ้าน วัฒนธรรมต่างๆ คือ วัฒนธรรมอีสานจะมีประเพณี ๑๒ ที่ เช่น บุญบั้งไฟ ผีตาโขน คือในหลายๆ จังหวัด จะมีประเพณีที่แตกต่างกันออกไป สมมุติ ว่าคุณมาอยู่ ๑ ปี คุณจะได้เรียนรู้ วัฒนธรรมมากมาย เพราะแต่ละที่ แต่ละ เดือนไม่เหมือนกัน จะได้เห็นประเพณีที่หลากหลายมาก อนุมานวสาร ทั้งสามคนคิดอย่างไรเกี่ยว กับ “คุณค่าของการยิ้ม” เพื่อน อันดับแรก ยิ้มคือสัญลักษณ์ของ ประเทศไทย ยิ้มสยาม โจอี้ ยิ้มเป็นเหมือนหน้าต่างของหัวใจ นะ เป็นมิตรภาพที่มอบให้กันผ่านรอย ยิ้ม เป็นสิ่งดีๆ ที่มอบให้กันโดยที่ยัง ไม่ต้องรู้จักกันก็ได้ เพื่อน การยิ้มเป็นการยืดกล้ามเนื้อ เราไม่สามารถยิ้มให้กันโดยที่ตาไม่ไป ด้วยไม่ได้ คือการยิ้มนี่ต้องออกมา ทางตาด้วย อีกอย่างการยิ้มก็ท�ำให้สุขภาพ จิตเราดีขึ้นด้วย แนนต์ คือในเมื่อคนให้ฉายาเรามาแล้ว ว่า Thailand: Land of smile มัน ท�ำให้เราย้อนกลับไปตอบค�ำถามข้อที่ แล้วว่า จริงๆ แล้วคนไทยยังพร้อม ต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่ ดังนั้นถ้า หยิบตรงนี้มาท�ำการตลาด เราก็ อาจจะพัฒนาไปได้ดีกว่านี้ด้วย อนุมานวสาร แล้วน้องๆ มีวิธี อย่างไรที่จะท�ำให้คนไทย “ยิ้ม”
น้องเพื่อน กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี anumanavasarn.com
80
บ่ายวันอาทิตย์
น้องแนนต์ วรวิตา จันทร์หุ่น
โจอี้ อยากให้คนไทยนึกถึงในหลวง คือ เวลาที่เรานึกถึงในหลวงแล้วเนี่ย เราก็จะ ยิ้ม เพระอี้เชื่อว่าพระองค์เป็นศูนย์รวมของ คนไทย ท่านทรงสละพระวรกายเพื่อคน ไทยมาเยอะมาก ถ้าคนไทยนึกถึงในหลวง แล้วยังยิ้มได้ ก็ขอให้ยิ้มตลอด ก็จะแสดง ให้เห็นว่าคนไทยยังรักในหลวงอยู่ เพื่อน ก็คิดถึงแต่ในสิ่งที่ดีๆ มองโลกใน แง่ดี เพราะการที่เรามัวแต่หมกมุ่น คิด แต่อะไรบางอย่าง มันก็อาจจะไม่ท�ำให้ เราเจอทางออก อยากให้ลองหยุดคิด แล้วถอยออกมา แนนต์ คือถ้าอยากจะให้ยิ้มไปพร้อมๆ กัน ต้องบอกกับตัวเองก่อนว่า ถ้าเราอยากได้รอยยิ้มจากคนอื่น เราก็ยิ้มให้เขาก่อน แนนต์ค่อน ข้างเชื่อว่าคนที่ได้รับรอยยิ้มจาก คนอื่น ก็พร้อมที่จะยิ้มกลับอยู่ แล้ว ถ้าทุกคนมีรอยยิ้มให้กัน แล้ว แม้ในบางครั้งที่เรารู้สึก แย่กับสิ่งร้ายๆ ที่มันเกิดขึ้น กับตัวเรา แต่เพียงแค่เราได้ รับรอยยิ้มจากคนหลายๆ คน มาให้เรา อย่างน้อยมันก็มี ด้านดีขึ้นมาให้ชีวิตแล้ว ว่ายัง มีคนดีๆ ในโลกอีกมากมาย ที่พร้อมจะให้ความรู้สึกดีๆ กับเรา อนุมานวสาร ใน ฐานะที่ทีมงานอนุมา นวสารเป็นตัวแทน
ของนักเรียนโรงเรียนชายล้วน เวลาที่คบ กันแล้ว พอทะเลาะกัน ก็จะชอบมาโทษ ผู้หญิงว่าเป็น art ตัวแม่ (อารมณ์อยู่เหนือ เหตุผลและไม่ต้องการการเข้าใจ) โจอี้ ก็ยอมรับนะ (หัวเราะกันทั้งวง) มันก็ คือความจริงที่เราต้องยอมรับ แต่ผู้ชายก็ art ตัวพ่อเหมือนกัน (หัวเราะยกใหญ่) อย่างตอนแรกเทคแคร์เราดี แต่พอผ่านไป แล้วก็หมดโปรโมชั่น เพื่อน คือน้องโจอี้เขาค่อนข้างจะผู้หญิง หน่อย เพื่อนไม่ค่อยจะซีเรียสเท่าไหร่ มองที่เหตุผลมากกว่า แนนต์ แต่ถ้านักเรียนวชิราวุธฯ ด้วยความ ที่คุณรักเพื่อนมากจริงๆ บางทีมันก็ไม่ไหว เหมือนกันนะ อย่างเช่น “Happy Valentine นะ เดี๋ยวเค้าไปเที่ยวกับเพื่อนต่อนะ” ซึ่งใน ความเป็นเหตุผลแล้ว บางทีก็ควรตามใจ เราบ้าง
คุณก็ไม่ต้องท�ำอย่างนี้ ถ้าไม่เป็นไม่ต้องท�ำ เพราะผู้หญิงรับไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลง โจอี้ ผู้หญิงมีความคาดหวังในตัวสูง แล้ว นิสัยผู้หญิงพอเริ่มได้ก็จะอยากได้มากกว่า เดิมด้วย อนุมานวสาร ดังนั้นสิ่งที่ผู้หญิงต้องการ คือความเสมอต้น เสมอปลาย ทั้ง ๓ คน ใช่ โจอี้ คือโจอี้อยากจะบอกมากเลยว่า อยาก ให้พี่ๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้มากเลยว่า พวกผู้ชายที่ชอบดูบอลเนี่ย จะดูกันไปถึง ไหน (หัวเราะ)
อนุมานวสาร ก็เหมือนเวลาที่น้องๆ ชอบดู ซีรี่ส์เกาหลีไงครับ ความรู้สึกคล้ายๆ กัน ฮ่าๆ ขอถามแทนน้องๆ ในโรงเรียน ใน ฐานะผู้ชายแล้ว หากเราอยากจะท�ำความ รู้จักกับผู้หญิงสักคน เราควรท�ำอย่างไร อนุมานวสาร ท�ำไมเวลาที่ผู้หญิงงอนแล้ว โจอี้ โดยส่วนตัวแล้ว อี้ชอบคนเจ๊นท์ ชอบ ไม่ค่อยชอบบอก หรือผู้หญิงคิดว่าผู้ชาย สุภาพบุรุษ แล้วก็ชอบนักกีฬา ถ้าจะเข้ามา สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง ก็ชอบแบบสุภาพ พูดเพราะๆ แล้วก็ไม่ต้อง ทั้ง ๓ คน ใช่ (พูดเน้นเลย) ขี้เก๊กแบบต้องหล่อที่สุด เพื่อน สุภาพบุรุษหน่อย ถ้าจะขอเบอร์ อนุมานวสาร แต่บางทีผู้ชายก็ไม่รู้นะ เนี่ยก็ฝากคนอื่นก็ได้ ไม่ใช่เข้ามาตรงๆ โจอี้ คือบางทีเราจะบอกว่าเรางอน เขาก็จะ เพราะเราก็ท�ำหน้าไม่ถูก คือผู้หญิงถ้าอะไร บอกว่างอนเรื่องแค่นี้ แต่ในบางทีเรื่องแค่นื้ ที่เราอยากรู้ เราจะค้นหาไง ของเขา ก็เป็นเรื่องใหญ่ของเราไงคะ แล้ว โจอี้ คือผู้หญิงจะรู้สึกว่าเวลาที่ผู้ชายเข้ามา เราก็เลยเบื่อที่จะบอกว่าเรางอน ขอเบอร์เนี่ย กร้านแล้ว แสดงว่าขอบ่อย แนนต์ อีกประเด็นหนึ่งคือ การปฏิบัติใน เพื่อน ดูน่ากลัว ไม่จริงใจ ตอนเริ่มต้นกับตอนท้าย ถ้าคุณคิดว่าคุณ แนนต์ ของเราเนี่ยจะเข้าเทรนด์หน่อย ไม่สามารถทรีตเราได้เท่านี้ตลอด เริ่มต้น เช่น ถ้าเห็นเขาเล่น BB (โทรศัพท์ยี่ห้อ anumanavasarn.com
82
บ่ายวันอาทิตย์
Black Berry) ก็เอ๊ย! เราก็เล่นเหมือนกัน ขอ pin หน่อย หรือถ้าไม่รู้จักจริงๆ ก็อาจ จะเข้าไปศึกษา หาข้อมูลจากคนรู้จักก่อน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะชอบผู้ชายอยู่ไม่กี่แบบ หรอก เช่น นักกีฬา นักดนตรีเทพๆ หรือ อะไรที่มีความสามารถพิเศษ อนุมานวสาร แล้วน้องๆ มีอะไรอยากจะ
ฝากบอกผู้ชายให้เข้าใจผู้หญิงมากขึ้น โจอี้ คืออยากจะบอกว่านักเรียนวชิราวุธฯ เป็นตัวอย่างของผู้ชายนะ คือปกติผู้ชาย ที่มาจากโรงเรียนอื่น จะไม่ค่อยมีความเป็น สุภาพบุรุษ จะเห็นแก่ตัว ชอบพูดถึงผู้หญิง ในทางไม่ดี แนนต์ นักเรียนวชิราวุธฯ เนี่ย จะน่ารัก อย่างหนึ่ง คือ ถ้าคุยกับผู้หญิงที่ไม่รู้จักกัน เลยเนี่ยจะมีค�ำลงท้ายแบบ “ค่ะ” “ครับ” แล้วผู้หญิงหลายคนเนี่ยละลายเลยนะที่ คนๆ หนึ่งมาพูดค่ะขากับเรา จะรู้สึกบวก กับผู้ชายคนนั้นไปเลย เพื่อน แนนต์ชอบคนพูดเพราะ แนนต์ งั้นพี่หมอก็ชอบคนพูดไม่เพราะละซิ (หัวเราะ) เพื่อน พี่หมอก็ชอบคนพูดเพราะเหมือนกัน คือสิ่งที่ส�ำคัญส�ำหรับชีวิตคู่เนี่ย ถ้าพูดจา กันไม่ดีมันก็อยู่กันไม่รอด คือถ้าแบบตื่น เช้ามา “เฮ้ย! กินไรยังว่ะ” มันก็ไม่ใช่ คือ ถ้าผู้ชายอยากเอาใจผู้หญิง เขาต้องใส่ใจ มากขึ้น คือด้วยเพศเนี่ย ผู้ชายจะกินอันนี้ ก็ได้ อันนั้นก็ได้ แต่ผู้หญิงจะละเอียดมาก ไงคะ ผู้หญิงชอบความโรแมนติค ชอบ ความละเอียด ถ้าจ�ำอันโน้นอันนี้ได้ เขาก็
จะรู้สึกดีใจ โจอี้ แต่ห้ามถามโจอี้นะ เพราะอี้ขี้ลืม (หัวเราะ) อนุมานวสาร แล้ว “เสน่ห์” ที่แท้จริงของ ผู้ชายอยู่ตรงไหน ในมุมมองของผู้หญิง โจอี้ เสน่ห์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่างอี้ชอบคนเนี๊ยบ แต่บางทีผู้ชายมีความ ตลกก็ดูมีเสน่ห์ดี เพื่อน คล้ายๆ กัน แต่ก็ไม่ใช่แบบพวกเอา พัดมาตีหัวนะ คือแค่อยู่ด้วยกันแล้วเราไม่ เครียด แนนต์ ก็แล้วแต่คนนะ เพราะผู้หญิงไม่ เหมือนกัน ฉะนั้นจึงมีความต้องการไม่ เหมือนกัน แต่สิ่งที่แนนต์มองว่าเป็นเสน่ห์ ของผู้ชายก็คือเรื่องของการให้ความอบอุ่น ที่ท�ำให้ผู้หญิงรู้สึกว่า เขาสามารถปกป้อง เราได้ คือเวลามีเรื่องแล้ว เราสามารถบอก เขาได้ แต่สิ่งที่ส�ำคัญเลยคือ อย่าด่าเรา เพื่อน คืออย่างแรกเลย ผู้หญิงหรือผู้ชาย พอเขาท�ำผิดมาแล้วอย่าไปซ�้ำเติม ให้รับฟัง ก่อน เช่นถ้าผู้หญิงขับรถไปชนแล้วค�ำถาม แรกที่ถามคือ รถเป็นอะไรไหม... เลิกกันเลย แนนต์ คือบางทีเราก็มีอารมณ์นะ อย่างเรา ไปโมโหอะไรกับเรื่องอะไรมา โดยที่เราไม่รู้ ตัวว่าเราผิด เราก็มาเล่าให้เขาฟัง เพื่อที่จะ หาพวก ซึ่งเขาเองก็เป็นคนกลาง มันเห็น เต็มๆ ว่าเราผิด แล้วเขาก็บอก แต่จริงๆ แล้วตัวเองคิดนะ ซึ่งถ้าจะให้ดี เราต้องรับ ฟังเขาก่อน แล้วรอให้หายจากอารมณ์นั้น แล้วค่อยมาพูดแบบ “ตัวเองคะ แต่ยังไง ก็ตาม เค้าต้องขอเตือนตัวเองนิดหนึ่งนะ
เค้าคุยกับตัวเองดีๆ ก่อนนะ คือตัวเองต้อง สัญญาก่อนนะว่าจะไม่โกรธ” แล้วพยายาม เลือกใช้ค�ำพูดที่รักษาน�้ำใจมากที่สุด เพื่อน จ�ำไว้ใช้นะคะ (หัวเราะ)
เลย เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่า ทุกคนก็ยังรัก โรงเรียนนี้เหมือนกัน ขอให้คุณภาคภูมิใจ กับโรงเรียนที่คุณอยู่ รักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ แล้วขนบธรรมเนียมประเพณีอะไรที่คุณ เคยมีมา ก็ขอให้ท�ำกันต่อไป เพราะ OV ที่ อนุมานวสาร สุภาพบุรุษในทัศนคติของ เราเห็นส่วนใหญ่ก็เป็นคนคุณภาพกันทั้งนั้น น้องๆ ทั้งสามคน มีสังคมดีๆ มีเพื่อนดีๆ แสดงว่าทุกสิ่งที่คุณ โจอี้ คือให้เกียรติผู้หญิง ง่ายๆ เพราะผู้ สร้างกันมามันไม่ผิดพลาด หญิงก็คือผู้หญิง เพื่อน อยากบอกว่าคุณโชคดีที่ได้เข้ามา เพื่อน เหมือนกัน ที่นี่ คุณโชคดีตั้งแต่เข้า คุณโชคดีที่ตอน แนนต์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เพราะอย่าง ออกคุณได้รับสิ่งที่ดีๆ มากมาย นักเรียนวชิราวุธฯ ด้วยความที่สนิทกันมาก แนนต์ เรายังคิดเลยว่า ในอนาคตถ้าเรามี บางครั้งเวลาทะเลาะกัน คุณก็จะไม่อะไร ลูกชาย เราจะเอาลูกมาเรียนที่นี่ เรา แต่ไปบอกกับเพื่อน นินทากันใหญ่เลย โจอี้ อี้รู้สึกโชคดีและเป็นเกียรติมากที่ได้ คือถ้าคุณจะให้เกียรติเรา ก็ต้องทั้งต่อหน้า เป็นส่วนหนึ่งของวชิราวุธฯ และก็ยังอยาก และลับหลัง ถ้าอะไรที่เราไม่ดี คุณต้อง ให้วชิราวุธฯ สนับสนุนนางสาวไทยต่อไป บอกเรา แต่เลือกใช้ค�ำพูด และก็บอกให้ (หัวเราะ) รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ถูกที่ ถูกเวลา ของโอวี อนุมานวสาร อยากฝากอะไรถึงโรงเรียน แนนต์ ขนาดเราเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ โรงเรียนนี้ แต่เพียงแค่เราได้รู้เรื่องราว เกี่ยวกับโรงเรียนนี้ ได้รู้วิถีชีวิตของเด็กที่นี่ อาจจะเป็นเพียงแค่ด้านเล็กๆ เรายังรักที่นี่
อนุมานวสาร ค�ำถามสุดท้าย หลังจากลง จากต�ำแหน่งแล้ว สนใจมาท�ำอนุมานวสาร ไหมครับ โจอี้ เขียนได้ๆ คะ ขอแนวๆ ผู้หญิงนะ
สัมภาษณ์ ศิริชัย กาญจโนภาส โอวี ๗๖ กรรณ จงวัฒนา ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง โอวี ๗๖ เรียบเรียง สถาพร อยู่เย็น โอวี ๗๓ ศิริชัย กาญจโนภาส
โอวี ๗๖
ถ่ายภาพ สงกรานต์ ชุมชวลิต วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ
โอวี ๗๗ โอวี ๗๙
anumanavasarn.com
86 โรงเลี ้ยง ชวนชิมร้านอาหารโอวี
Cabbages &
Condoms Restaurant สวัสดีครับ
สวัสดีนักอ่าน นักกิน นักดื่ม ชาวโอวี ทุกท่าน ผม “หมวดโช้บ มาชิม” ขออนุญาตพาพี่ๆ เพื่อนๆน้องๆ ทั้งหลายทั้งปวง มารู้จักกับร้านอาหาร ทั้งหลายในคอลัมน์ “โรงเลี้ยง” นี้ อีกแห่ง หนึง่ โดยเจ้าของร้านก็มใิ ช่ใครอืน่ “พีม่ ชี ยั วี ร ะไวทยะ นั ก สั ง คมสงเคราะห์ ที่ มี ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักซึ่งผลงานของท่านก็ได้ ถูกน�ำเสนอในเล่มเดียวกันนี้ (หน้า ๑๑๐) ไปแล้วนั่นเอง เมื่อทีมงานอนุมานวสาร และผม ได้ไปพูดคุยกับพีม่ ชี ยั เป็นครัง้ ทีส่ อง พร้อมๆ กับร่วมรับประทานอาหารเย็นนัน้ ผมก็ได้ รับหน้าทีใ่ ห้เป็นผูเ้ ขียนเรือ่ งราวเอร็ดอร่อย ของร้าน Cabbages & Condoms ซึ่งมี ท�ำเลที่ตั้งอยู่ที่สุขุมวิทซอย ๑๒ เดินทางสะดวกด้วย รถไฟฟ้า BTS ลงสถานีอโศกแล้วเดินเล็กน้อยจะได้ไม่ ต้องวุน่ วายเรือ่ งทีจ่ อด เพราะคนเยอะมากกกก (แต่ถา้ ใครเอารถไป ทางร้านก็มีที่จอดให้อย่างพอเพียงครับ) พอเข้ามาในตัวร้าน ซึ่งตกแต่งด้วยน�้ำพุ ต้นไม้ ดอกไม้ ทัง้ จริงและปลอม อีกทัง้ หุน่ สีสนั สวยสดงดงาม เน้นนะครับ ว่าสีสันสวยงามจริงๆ เพราะทุกอย่างใน anumanavasarn.com
88
โรงเลี้ยง
ร้านล้วนแล้วแต่ท�ำจาก Condoms หลากสี (เข้าใจว่าเป็นของใหม่ยังไม่ได้ใช้ ซึ่งถ้าใคร อยากเห็นของจริง ผมแนะน�ำให้โทรไปที่ ๐๒-๒๒๙-๔๖๐๑ เพื่อจองโต๊ะส�ำหรับเย็น วันนี้ได้เลยครับ รายการอาหารจานแรกที่ถูกน�ำมา เสิ ร ์ ฟ ให้ แ ก่ เ หล่ า ขุ น ศึ ก ผู ้ ก ระหายหิ ว คื อ Appetizer เสมือนหนึ่งว่าน�้ำย่อยของเรา ยังไม่ทรงพลังเท่าที่ควร “ข้าวตังหน้าตั้ง” ซึ่งใช้ข้าวตังทอดมาเป็นชิ้นกลมๆ พอดีค�ำ สีเหลืองนวลชวนรับประทาน หอม กรอบ ตักหน้าตั้งหวานมันเข้มข้นราดลงข้างบน แล้ ว ใช้ นิ้ ว ชี้ กั บ นิ้ ว หั ว แม่ มื อ หยิ บ เข้ า ปาก น�้ำย่อยไหลทะลักเป็นน�้ำป่าไหลหลาก ถ้าน�ำ้ ป่าไหลหลากยังเบาไป เพิม่ เวลา น�้ำย่อยเป็นระดับสึนามิ ด้วย “หมูสะเต๊ะ” ไม้เขื่อง อวบอ้วน หอมมันด้วยกะทิเสิร์ฟ พร้ อ มขนมปั ง ปิ ้ ง โดยมี น�้ ำ จิ้ ม ช่ ว ยเพิ่ ม ความมัน แต่ถ้าใครเริ่มเลี่ยนกะทิละก็ ต้อง ตักแตงกวาอาจาดใส่ปากเพือ่ สกัดกัน้ ถ่วงดุล กับกะทิเสียก่อน เมือ่ น�ำ้ ย่อยมากพอแล้ว ก็ได้เวลาของ อาหารจานหลักทั้งหลายทั้งปวงที่ถูกยกมา เสิร์ฟตามล�ำดับ โดยเริ่มจาก “ต้มข่าเห็ด” คนละถ้วย ซึ่งเห็ดที่ใช้ก็เป็นเห็ดฟางที่ปลูก โดยนักเรียนโรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนา ทันทีที่ตักใส่ปาก... ฟันก็เลิกทะเลาะกับลิ้น เพื่อมาลิ้มลองกับความกรุบกรอบของเห็ด สด และเมือ่ ลิน้ เห็นดังนัน้ จึงไม่ยอมน้อยหน้า รี บ เชยชิ ม รสชาติ น�้ ำ แกงที่ ข ้ น กะทิ แ ละ เผ็ดร้อนด้วยข่าแก่ๆ จนหมวดโช้บเองยังต้อง ยกถ้วยขึ้นซดแบบไม่แคร์สื่อ
พอวางถ้วยลงก็พบชามใหญ่ๆ สอง ชามมาตั้งอยู่ตรงหน้า เป็นบรรจุภัณฑ์แห่ง “แกงคั่วสับปะรดกุ้ง” และ “แกงเขียวหวาน ไก่” อันสองรายการนี้ เป็นไม้เบื่อไม้เมากับ หมวดโช้บตัง้ แต่ยงั เป็นนักเรียน คือเจอเมือ่ ไร ยกมือเรียกบ๋อยขอน�ำ้ ปลาพริกคลุกข้าวเมื่อ นั้น (จะว่าไปก็น่าอิจฉาพี่ๆ รุ่นก่อนสงคราม นะครับ เรียกไข่ร้อนได้ ในขณะที่น้องๆ รุ ่ น หลานท� ำ ได้ แ ค่ น�้ ำ ปลา น่ า น้ อ ยใจจั ง ) อย่างไรก็ตามครับ เมื่อผมโดนรุ่นพี่คือท่าน บรรณาธิการสั่งมาแล้ว น้องฟ้าก็ไม่อยู่ ก็ ต้องปฏิบัติหน้าที่ “กิน” ให้ดีที่สุดละครับ แกงคั่วสับปะรดของเขาใช้สับปะรดหั่นเป็น แท่งเล็กๆ กับกุ้งตัวพอดีค�ำ อร่อยกว่าของ โรงเรียนเราท�ำไม่น้อย แกงเขียวหวานไก่ก็ ไก่จริงๆ ไม่ใช่แกงเขียวหวานมะเขือเหมือน ที่เคยเจอ มันก็เลยอร่อยไงครับ อร่อยจน บรรณาธิการของผมกินไม่หยุดเลยก็แล้วกัน ใครจะกินแกงไม่หยุดแต่ผมก็ต้อง หยุ ด เพราะจานต่ อ มาคื อ “ถั่ ว ลั น เตาผั ด กระเที ย มโทน” ที่ ใ ช้ ถั่ ว ลั น เตาเต็ ม เม็ ด
เต็มฝัก สด กรอบ น�ำมาผัดกับ กระเที ย มโทนดอง ซึ่ ง เมื่ อ เคี้ ย ว แล้ว รสเปรี้ยวของกระเทียมดอง ผสมผสานกับรสเค็มของน�ำ้ มันหอย เสริมด้วยกรุบๆ จากฝักถั่วลันเตา ยังงี้แหละที่เขาเรียก “ยอดเยี่ยม กระเทียมโทนดอง” ของดีต้องมาทีหลัง อย่างไร ก็อย่างนั้น “ปลาส�ำลีแดดเดียว” ตัวเท่า “เล้ง” (ใครไม่รู้ว่าเล้งคือ อะไร กรุณากลับไปอ่านศัพท์โอวีใน
เล่ม ๑๑; ๓-๒๕๕๒ ครับ) น�ำมาชุบเกล็ด ขนมปังทอด กรอบนอกนุ่มใน อร่อยติดลิ้น ยิ่งราดด้วยน�้ำจิ้มมะม่วงเปรี้ยวๆ หวานๆ ทานกับข้าวหอมมะลิไตรรงค์ (คือข้าวสามสี มีสีขาว สีแดง และสีนิล) หรือมิพักจะราด ด้วยน�้ำจิ้มซีฟู้ด แซ่บ ซู้ด ซี้ด เด็ดโอชารส ท�ำเอาหมวดโช้บกัดกินเกลี้ยงทั้งหัวหาง ให้ สมเป็นหนึ่งในขุนศึกโจโฉที่ได้รับการเลี้ยงดู อย่างดีนั่นเลย น�้ ำ ย่ อ ยมาหมดฤทธิ์ เ อาก็ เ มื่ อ ของ หวาน คื อ ผลไม้ ถู ก เสิ ร ์ ฟ มาเป็ น จานๆ ประกอบด้วยแตงโมเย็นเจี๊ยบที่หั่นเป็นรูป หัวใจ สับปะรดเปรี้ยวหวานแช่เย็นอร่อย
สดชืน่ ไม่พา่ ยกัน มาล้างปากด้วยชมพูก่ รอบ อี ก สั ก สองชิ้ น ก่ อ นตบท้ า ยด้ ว ยมะม่ ว ง น�้ำดอกไม้หวานฉ�่ำคนละครึ่งผล ชุ่มลิ้นควร ค่าแก่การเขียนคอลัมน์ เจอรายการแบบนี้ ไม่ว่าจะจ๊กก๊ก วุ่ยก๊ก ง่อก๊ก หรือ เหลืองก๊ก แดงก๊ก ก็จัก ต้องขอพักรบไปย่อยอาหารกันก่อน ด้วยเหตุ ที่ว่า ไม่มีที่ว่างในกระเพาะเหลือพอส�ำหรับ ไก่อบน�้ำผึ้ง ไก่ตะไคร้ กุ้งทอดกระเทียม พริกไทย สเต๊ก C&C อีกทั้ง “ย�ำถุงยาง” อันว่ารายการหลังสุดนี่ ชื่อมันก็ส่อถึงความ
แปลกประหลาดน้อยอยู่เมื่อไหร่ แต่อนิจจา กระเพาะอาหารไม่อนุมตั ทิ วี่ า่ งให้เสียแล้ว จะ ไปหวังพึง่ กระเพาะปัสสาวะมาบรรจุอาหารก็ คงไม่เป็นการสมควร จึงต้องฝากรบกวนพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ให้ช่วยไปท�ำความรู้จักกับย�ำ ถุงยางแทนเสียแล้ว โดยถ้าจะไป ก็ต้องไป ช่วง ๑๑.๐๐ - ๒๒.๐๐ นะครับ ไม่งั้นคงไม่ ได้เข้าร้านเพราะร้านไม่เปิด แล้ ว อย่ า ลื ม มาเล่ า สู ่ กั น ฟั ง บ้ า งนะ ครับว่า รายการทีผ่ มพลาดไปนัน้ อร่อยเอร็ด เด็ดสะระตีข่ นาดไหน โดย หมวดโช้บ มาชิม สถาพร อยู่เย็น โอวี ๗๖ anumanavasarn.com
90
ลอดรั้วพู่ระหงส์
เรื่องเล่าจากคนใกล้ชิด
My Place to Stand * Mr. Clive Rennie Rector, Otago Boys High school, Dunedin, New Zealand
ครั้ ง ที่ ผู ้ เ ขี ย นตั ด สิ น ใจส่ ง ลู ก ไปเรี ย นที่ ป ระเทศนิ ว ซี แ ลนด์ เ มื่ อ หลายปีมาแล้วนั้น มีความตั้งใจที่จะหาโรงเรียนให้ลูกเป็น Public School ที่มีวัฒนธรรมของตนเอง มีลักษณะใกล้เคียงกับวชิราวุธวิทยาลัย มี นักเรียนไทยไม่มาก และไม่มีนักเรียนวชิราวุธฯ เคยอยู่มาก่อนเลย ใน ที่สุดก็ได้รู้จัก Otago Boys High School หนึ่งในโรงเรียนที่ได้ชื่อว่า เก่าแก่ที่สุดโรงเรียนหนึ่งของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นโรงเรียนชายล้วน ระบบอังกฤษที่มีอายุยืนยาวเกือบ ๑๕๐ ปี ลูกมีความสุขในการเรียนที่นี่เป็นอย่างยิ่ง บ่อยครั้งเมื่อโทรศัพท์ กลับมาบ้าน เขาได้เล่าให้ฟังถึงผู้อ�ำนวยการและอาจารย์ใหญ่ซึ่งเป็น ศิษย์เก่าคนแรกที่เข้ามาบริหารโรงเรียนด้วยความชื่นชม เขาเล่าถึง Speech บนหอประชุมทีส่ ร้างแรงบันดาลใจของ Rector (เทียบเท่าต�ำแหน่ง ผู้บังคับการ) คนนี้ เขาเล่าเรื่องความน่ารักของ Rector ซึ่งมักจะนั่งดวล หมากรุกกับคุณลุงภารโรงเกือบทุกวันในเวลาเช้า เล่าถึงความเป็นกันเอง ทีบ่ างครัง้ Rector ไปร่วมรับประทานอาหารกับนักเรียนประจ�ำและต่อด้วย การเล่าประวัตศิ าสตร์ของโรงเรียน และเรือ่ งของนักเรียนเก่าฯ ซึง่ เป็นแบบ อย่างที่ดีให้พวกเขาฟังเป็นประจ�ำ * Mr. Clive Rennie เป็นนักเรียนเก่า Otago Boys High School Class of ๑๙๕๘๑๙๖๑, ก่อนศึกษาต่อด้านการศึกษา (Education) เป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติของ นิวซีแลนด์ อยู่ในวงการการศึกษามากว่า ๔๐ ปี มีประสบการณ์เป็นอาจารย์ใหญ่และ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนในนิวซีแลนด์ทั้งเกาะเหนือและ เกาะใต้
anumanavasarn.com
92
ลอดรั้วพู่ระหงส์
ผู ้ เ ขี ย นเองได้ พ บกั บ Rector ใน บางครั้งเวลาไปเยี่ยมลูก และทุกครั้งเขา ให้การต้อนรับผู้ปกครองด้วยอัธยาศัยไมตรี อันดียิ่ง ในโอกาสที่ Mr. Clive Rennie, Rector ของ Otago Boys High School เดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ทีมงานอนุมานวสารได้มี โอกาสพูดคุยและสัมภาษณ์ Mr. Rennie และขอถ่ า ยทอดบทสนทนาดั ง กล่ า วมา ณ ที่นี้ :
ในความเห็นของอาจารย์ การให้ ศิษย์เก่าฯ กลับมาบริหารโรงเรียนจะ ดีกว่าให้คนนอกเข้ามาบริหารหรือไม่ ในกรณีของผม ผมเคยเป็นอาจารย์ ทีโ่ รงเรียนอืน่ มาก่อนและได้นำ� ประสบการณ์ และวิธีการใหม่ๆ ที่ได้มาจากที่อื่นมาใช้ด้วย ผมเห็นว่าไม่ควรให้ Old boy ที่สอนอยู่ใน โรงเรียนโดยตลอดขึ้นมาบริหารอย่างเดียว เราควรมีคนนอกเข้ามาร่วมด้วย การได้ คนนอกมา โดยเฉพาะมาร่วมใน management team ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี ขึ้น เรื่องนี้มีคนวิจารณ์ผมมากเหมือนกัน บุคลากรภายในจะรู้สึกว่าการท�ำงานไม่ง่าย เหมือนก่อน จริงอยู่คนในที่อยู่มานานจะ ทราบว่าโรงเรียนเรามีระบบอย่างไร เคยท�ำ อะไรมา แต่ บางครั้ง จะไม่ทราบถึงความ ก้าวหน้าข้างนอกมากนัก ถ้าใช้แต่คนใน อย่างเดียวจะไม่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
Otago Boys High School
อาจารย์เริ่มโดยการเปลี่ยน คณะผู้บริหารเลยหรือครับ ผมอยากให้มีคนใหม่ที่อายุน้อย มี ความรู้ดีเข้ามาร่วมด้วย การมีคนใหม่ท�ำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง เมื่อปี ๒๕๔๕ โรงเรียนเราชื่อเสียงไม่ค่อยดีนัก ผู ้ บ ริ ห ารก่ อ นหน้ า นี้ เ ชื่ อ ว่ า การตั ด สิ น ใจ กระท�ำโดยคนๆ เดียว ในขณะทีผ่ มคิดว่าควร ท�ำการบริหารงานเป็นทีม เมื่อวัฒนธรรม เปลี่ยนทุกคนควรมีการเปลี่ยนแปลง สี่ปี ทีผ่ า่ นมา เรามีครูผชู้ ายไฟแรงเข้ามาร่วมทีม มีครูผู้หญิงใหม่ๆ เข้ามาด้วย คนเก่าอาจ ไม่ชอบใจ แต่ครูเหล่านี้น�ำทักษะการสอน
นิ ว ซี แ ลนด์ เ ป็ น ประเทศของนั ก กี ฬ า แต่ ส�ำหรับผมการเรียนต้องมาก่อน แต่กีฬาก็มี ความส� ำ คั ญ เช่ น กั น เด็ ก ที่ เ ล่ น กี ฬ าและ ท�ำกิจกรรมมากมักเป็นเด็กทีไ่ ม่คอ่ ยมีปญ ั หา ผมเองเป็นคนมอบรางวัลกีฬาให้กับเด็กๆ ตลอดทัง้ ปี ลองคิดดูสคิ รับ ในปีหนึง่ ๆ เด็กๆ แข่งกีฬากันตลอดปีในขณะทีส่ อบไล่กนั ปีละ ครั้ง พ่อแม่ที่อยากเห็นลูกเรียนเก่งก็ว่าผม สนใจแต่เรื่องกีฬา ผมคิดว่าเราควรจะให้ ความส�ำคัญแก่เด็กๆ ของเราไม่ว่าจะเป็น เรือ่ งวัฒนธรรม กีฬา กิจกรรมหรือการเรียน ก็ตาม
แบบใหม่เข้ามา เรามีการพัฒนาครูมากขึ้น ท�ำให้เกิด Idea ใหม่ๆ เมื่อก่อนโรงเรียนเรา ถึ ง แม้ จ ะมี ชื่ อ เสี ย งแต่ ค ่ อ นข้ า งจะเป็ น โรงเรียนที่ไม่เปิดกว้าง แต่ตอนนี้เราเริ่ม competitive มากขึ้น ผมเชื่อว่าถ้าเราไม่ เปลี่ยน ทั้งด้านการเรียน การกีฬา และ วั ฒ นธรรมของโรงเรี ย นให้ ดี ขึ้ น เด็ ก คง ไม่อยากมาเรียนที่เรา
แล้วเด็กที่จบออกมา ผลเป็นอย่างไรครับ สิ่งที่ดีส�ำหรับหลักสูตรใหม่ของเรา คือไม่ได้เน้นเฉพาะความรู้ แต่เน้นเรื่อง ทักษะด้วย ความรูท้ �ำให้เราเป็นคนกว้าง แต่ ทักษะเป็นวิธที เี่ ราจะน�ำความรูไ้ ปใช้ คุณต้อง มีทักษะจึงจะเข้ากับคนอื่นๆ ได้ ท�ำงานเป็น ทีมได้ ผมสังเกตว่านักเรียนที่มาจากเอเชีย บางคนค่อนข้างที่จะชอบท�ำงานเดี่ยว เรา ควรสอนเขาให้ท�ำงานเป็นทีมได้ด้วย
อาจารย์คาดหวังว่าเด็กที่จบออกมา จะเป็นอย่างไรครับ อาจารย์พูดถึง การศึกษา การกีฬา ทีผ่ มอยากได้คอื เด็กทีจ่ บออกไปแล้ว กิจกรรมและวัฒนธรรม ในความคิด ของอาจารย์เรื่องใดเป็นเรื่องหลักครับ เป็นเด็กที่มีความมั่นใจ สามารถอยู่ในสังคม การเรียนต้องมาก่อนครับ ถึงเด็กๆ และท�ำประโยชน์ให้กับสังคมได้ เด็กๆ ควร อยากจะมาเรี ย นที่ นี่ เ พราะกี ฬ าก็ ต าม จะทดลองท� ำ ในหลายสิ่ ง หลายอย่ า งที่ anumanavasarn.com
94
ลอดรั้วพู่ระหงส์ โรงเรียนเปิดโอกาสให้ เพื่อที่จะได้ค้นพบว่า ตนเองชอบอะไร และอยากเป็ น อะไรใน อนาคต บางคนเก่งหลักสูตรปกติ บางคน เก่งวิชาชีพ เราไม่อยากเป็นแค่โรงเรียนที่ให้ ความรู้อย่างเดียว เรามีเด็กหลายประเภท นักเรียนแต่ละคนจะเป็นผูเ้ ลือก และเราควร ให้ทั้งความรู้และทักษะควบคู่กันไป
ก็คอื เขาผ่านระดับประถมมาได้อย่างไร เด็ก บางคนมีปัญหาซึ่งเกิดจากครอบครัว ท�ำให้ เขาไม่มีความสุข ซึ่งมีผลต่อการเรียน
เด็กๆ สามารถอ่านหนังสืออะไร ก็ได้หรือครับ ควรเป็ น หนั ง สื อ ที่ เ ขาชอบ แต่ ถ ้ า เรียนไม่ทั น ก็ อ าจเป็ น หนั ง สื อ ที่ ค รู ใ ห้ อ ่ า น ส่วนใหญ่เป็นหนังสือทีเ่ หมาะกับเด็กผูช้ ายใน จุดอ่อนของโรงเรียนชายล้วน เด็กผู้ชายส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบอ่าน วัยนั้นๆ ที่นิวซีแลนด์มีหนังสือที่เหมาะกับ หนังสือครับ (ตุ๋ง - ผมจ�ำได้ว่าเรามีชั่วโมง เด็กชายแต่ละช่วงอายุ ‘อ่าน’ ด้วย) ใช่ ๒๐ นาทีทุกวัน ทุกคนต้อง ได้ยินมาว่าก่อนอาจารย์จะเข้ามา อ่านหนังสือ บริหาร ร.ร. มีนักเรียนอยู่ประมาณ ๖๐๐ ปัจจุบันมี ๙๐๐ กว่าคน อาจารย์แน่ใจได้อย่างไรครับว่าเขา อ่านจริงๆ บางครัง้ ก็ยากทีจ่ ะบอกได้ครับ เพราะ ครู บ างคนไม่ เ ห็ น ความส� ำ คั ญ ของเรื่ อ งนี้ ผมเองเชือ่ ว่าการอ่านเป็นส่วนหนึง่ ทีจ่ ะท�ำให้ เด็ ก ๆ ของเราประสบความส� ำ เร็ จ ในวั น ข้างหน้า ถ้าไม่อ่าน ไม่เขียน ก็ยากที่จะ ประสบความส�ำเร็จได้ การอ่านและเขียนใช้ กับวิชาแทบทุกวิชา แต่ถา้ เด็กคนใดอ่อนเรือ่ ง ไหน เราก็มีการสอนเสริมให้ เรามีครูซึ่ง คัดเลือกมาโดยเฉพาะว่าสามารถสอนเด็ก ผู้ชายได้ดี
มีเด็กที่อ่อนมากไหมครับ ไม่มากครับ แต่ก็มีบ้าง ประมาณ ๑๐% - ๑๕% มีปญ ั หาด้านการอ่าน ค�ำถาม
มีสมัยหนึง่ ทีเ่ ราไม่ Competitive แต่ ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้วครับ สิ่งที่ส�ำคัญมากๆ ส�ำหรับการเป็นโรงเรียนที่ดี คือ การมีครูที่ ใส่ใจในเด็กและพร้อมที่จะให้เวลากับเด็ก เวลาที่เราจะรับครูเข้ามาใหม่ ทุกครั้งผมจะ ถามเขาว่า คุณจะท�ำอะไรให้กับเด็กได้บ้าง ทั้งในและนอกเวลาเรียน ทั้งการให้ความรู้ และกิจกรรม ครูเป็นผูท้ มี่ บี ทบาทส�ำคัญทีส่ ดุ ครูตอ้ งเตรียมทีจ่ ะให้เวลากับเด็ก เด็กๆ ควร มีความสัมพันธ์อันดีต่อครูทั้งในและนอก เวลาเรี ย น ครู แ ละนั ก เรี ย นควรมี ค วาม สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผมคิดว่าการเรียนการ สอนเป็ น เรื่ อ งของสั ม พั น ธภาพนะครั บ (Teaching is about good relationship) ถ้าคุณซื้อใจเด็กไม่ได้ ก็คงไม่มีเด็กคนไหน
อยากฟังคุณสอน ครูของเราควรจริงจังใน ทุกๆ เรื่อง เราเก่งกีฬาเพราะครูของเรา จริงจังเรือ่ งกีฬา นักร้องประสานเสียงของเรา มี ชื่ อ เสี ย ง เพราะครู พ ร้ อ มจะใช้ เ วลากั บ นักเรียนนอกห้องเรียนอย่างจริงจัง อาจารย์ท�ำอย่างไรจึงได้มีนักเรียนเพิ่ม อย่างมากครับ การพูดปากต่อปากของผู้ปกครอง และคนอื่นๆ ว่าเราดูแลโรงเรียนและเด็กได้ ดี อ ย่ า งไร ผมไม่ ไ ด้ ใ ช้ เ งิ น ไปในด้ า นการ โฆษณาหรือการตลาด ผมคิดว่าการตลาด ประชาสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ท�ำให้เสียเงินไป เปล่าประโยชน์
anumanavasarn.com
96
ลอดรั้วพู่ระหงส์ ใช้วิธีพูดต่อๆ กันหรือครับ ใช่ครับ ถ้าผู้ปกครองของนักเรียน ปัจจุบนั ไม่พดู ถึงความดีของโรงเรียน คงไม่มี ใครอยากเอาลูกมาเข้าแน่ๆ อีกอย่างคือมัน อาจจะเป็นความฝันของเด็กๆ ที่ฝันจะเป็น นักรักบี้ทีมออลแบล็คส์ (หัวเราะ) อาจจะ เป็นเพราะ Richie (Richie McCaw กัปตัน ทีมออลแบ็ลคส์ปัจจุบัน จบจากโรงเรียนนี้) และช่วงนีม้ นี กั เรียนเก่าฯ ติดทีมออลแบล็คส์ สองถึงสามคน ถึงแม้เขาจะได้เป็นหรือไม่ได้ เป็น แต่เขาก็มคี วามฝัน ถ้าคุณคิดว่าเด็กคือ ศูนย์กลาง ถ้าเด็กส�ำคัญต่อคุณจริงๆ คุณ ต้องพยายามหาวิธใี ห้เด็กเหล่านัน้ ได้มโี อกาส ความฝันของบางคนอาจไม่ใช่เรื่องกีฬา เรา ก็จะพยายามสร้างโอกาสนัน้ ๆ ให้กบั พวกเขา ผมพูดกับครูของผมว่า ถ้าคุณนัง่ เฉยๆ เด็กๆ ก็จะไม่มีอะไรดีขึ้น และในที่สุดเขาก็จะออก ไปอยู ่ โ รงเรี ย นอื่ น ดั ง นั้ น เราจะต้ อ งท� ำ ผลงานของเราให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ จะใช้เวลาเท่าไรจึงจะเสร็จสิ้น กระบวนการนี้ครับ เราไม่ มี ท างมั่ น ใจได้ ห รอกครั บ เพียงแต่หวังว่าเราจะมาถูกทาง อย่างเรื่อง เทคโนโลยีเราก็ตอ้ งท�ำ แต่เทคโนโลยีมนั ไม่มี ที่สิ้นสุด และไม่สามารถจะมาทดแทนการมี ครูได้ สิ่งที่ผมเชื่อคือการเรียนการสอนเป็น เรื่องของสัมพันธภาพ งานที่ส�ำคัญที่สุดของ ผมคือ การผลักดัน การสร้างแรงจูงใจ และ สร้างโอกาสให้กบั นักเรียนทีจ่ ะได้พฒ ั นาตาม
ความสามารถของพวกเขา ทั้งนี้รวมทั้งการ พัฒนาครูด้วย เชื่อว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่โรงเรียน ต้องการจากผู้น�ำของเขา บางทีการพัฒนา ครูนอี่ าจท�ำให้คณ ุ ต้องเสียครูดๆี ไปก็เป็นได้ เรี ย กว่ า คุ ณ ก็ ต ้ อ งเสี่ ย ง คุ ณ จึ ง ต้ อ งสร้ า ง บุคลากรที่ดีใหม่ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอ โรงเรียนนีแ้ ข่งกีฬามากและบางครัง้ ต้อง ใช้เวลาเรียนไปแข่งกีฬาด้วย เป็นปัญหาของเราเลยครับ บางครั้ง บางคนต้ อ งไปแข่ ง กี ฬ าจนเสี ย การเรี ย น จริงๆ แล้วเด็กๆ ต้องจัดเวลาให้ดี ใช้เวลาให้ เป็นประโยชน์ แต่เด็กผู้ชายส่วนใหญ่ท�ำไม่ เป็นหรอกครับ (หัวเราะ) เราจึงต้องมีขอ้ แม้ ว่าเขาจะพลาดโอกาสลงแข่งถ้าเขาไม่ท�ำงาน ส่งครู ไม่ได้หวังให้เขาท�ำคะแนนให้ได้ดีขึ้น แต่ เ ขาต้ อ งท� ำ งานให้ เ รี ย บร้ อ ยตามที่ ค รู สั่งก่อน อะไรคื อ ข้ อ ดี แ ละข้ อ เสี ย ของการเป็ น นักเรียนประจ�ำครับ ผมเป็น family man ถ้าไม่จ�ำเป็นคง ไม่ เ อาลู ก ไปอยู ่ โ รงเรี ย นประจ� ำ แต่ บ าง ครอบครัวเขามีธรรมเนียมของเขาอยูน่ ะครับ สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น การอยู่โรงเรียน ประจ� ำ ท� ำ ให้ เ ด็ ก รั ก และมี ค วามผู ก พั น ระหว่างกันอย่างมาก อย่างตุง๋ อยูป่ ระจ�ำนีจ่ ะ รู้ดีว่าเขารักกันอย่างไรใช่ไหม (หันไปถาม) บางครัง้ มันก็เป็นการควบคุมความประพฤติ ให้เด็กอยู่ในระเบียบวินัย บางครอบครัว
ส่งมาเพราะต้องการให้มีแบบอย่าง (Role Model) เช่นบางทีแม่ต้องเลี้ยงลูกชายแต่ เพียงคนเดียว ไม่มี Model ก็เลยส่งมาอยู่ ประจ�ำ ดังนั้น ที่โรงเรียนนี้ผมจึงต้องมั่นใจ ว่าผมมีครูผู้ชายมากกว่าครูผู้หญิง ถึงแม้ว่า ครูผู้หญิงจะมีทักษะการสอนดีกว่าก็ตาม มีหลักเกณฑ์ ในการคัดเลือกนักเรียน เข้าอยู่ประจ�ำอย่างไรบ้างครับ อย่ า งแรกคื อ ต้ อ งไม่ เ ป็ น เด็ ก เกเร บางครั้งพ่อแม่ควบคุมดูแลลูกไม่ได้ก็ส่งมา อยู่ประจ�ำ อย่างนี้ไม่เอาครับ ส่วนใหญ่ นักเรียนประจ�ำทีน่ จี่ ะเป็นเด็กดี (หันไปถาม) ตุ๋งลองคิดถึงเพื่อนที่อยู่ประจ�ำด้วยกันซิว่า เป็นเด็กดีไหม ครูเรียกพวกเขาว่า “ทรัพย์ใน ดิน” (Salt of the Earth) เด็กส่วนใหญ่มา จากฟาร์ม ใฝ่ดี ไม่หัวสูง เป็นเด็กน่ารัก ผม ค่อนข้างภูมใิ จในนักเรียนของเราไม่วา่ จะเป็น นักเรียนไปกลับหรือนักเรียนประจ�ำ ตุ๋ง : อีกอย่างส�ำหรับเด็กประจ�ำนะครับ ที่อาจารย์บอกว่าผู้ก�ำกับคนเก่า (Mr. McGarry) ก�ำลังจะเกษียณอายุ อาจารย์มีหลักเกณฑ์ ในการคัดเลือก ผู้ก�ำกับใหม่อย่างไรครับ ยากมากตุ๋ง ครูคงต้องสรรหา ดูจาก พื้นฐานของเขา คัดเลือกกันอย่างเข้มข้น ทีเดียวละนะ ถ้าไม่มีใครเหมาะก็คงต้องหา แล้วหาอีก เพราะเป็นต�ำแหน่งที่ส�ำคัญมาก ส�ำหรับการเป็นแบบอย่างให้กับนักเรียน anumanavasarn.com
98
ลอดรั้วพู่ระหงส์ คิดว่าควรเป็นนักเรียนเก่าฯ ที่เคยอยู่ ประจ�ำมาก่อนไหมครับ ไม่ จ� ำ เป็ น ที่ นั่ ง อยู ่ นี่ ใ ครเคยเป็ น นักเรียนประจ�ำบ้าง (ตอบว่าเป็นหมดทุก คน) ไม่ทราบว่าทีเ่ มืองไทยนีเ่ ป็นอย่างไร แต่ ที่นิวซีแลนด์เมื่อ ๒๐ ปีก่อนมีการรังแกกัน (Bully) และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน ประจ�ำ เป็นเรื่องที่เราจะไม่ปล่อยให้เกิดขึ้น ผมพยายามจะเปลี่ยนวัฒนธรรมการรังแก กันนีม่ านานแล้ว (หันไปถาม) แต่ครูกย็ งั ท�ำ ไม่สำ� เร็จ ๑๐๐% ใช่ไหมตุง๋ (ตุง๋ : ส่วนใหญ่ เป็นเด็กมัธยมต้นน่ะครับ หลังจากนั้นก็ไม่ แกล้ ง กั น แล้ ว เป็ น เพื่อนกันไป) ผมเอง ท�ำโทษนักเรียนเรือ่ งนีไ้ ป ๓-๔ คน เมือ่ เดือน ที่แล้ว มี ๒ คนยังสงสัยว่าผมท�ำโทษเขา ท�ำไม เขาเข้าใจว่าไม่เห็นผิดอะไรเลย ใน ความคิดของผม การรังแกกันเป็นสิ่งที่รับ ไม่ได้ ทั้งทางร่างกายและค�ำพูด ผมคงต้อง สู้กับสิ่งเหล่านี้ต่อไป
• สามารถท�ำตัวเป็น ‘พ่อ’ และ เป็นที่พึ่งให้เด็กได้
ให้สิทธิและอ�ำนาจแก่หัวหน้ามาก แค่ไหนครับ ให้ พ อควรแต่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ห้ สิ ท ธิ ใ นการ ลงโทษอย่างเต็มที่ เพราะด้วยวัยบางครั้ง เขาอาจมี ก ารตั ด สิ น ใจที่ ผิ ด พลาดในการ ลงโทษ เขาอาจลงโทษได้บ้างซึ่งผมถือเป็น กระบวนการการเรียนรู้ ผมอยากให้หัวหน้า เป็นแบบอย่างที่ดีมากกว่า
ถ้าอาจารย์ไม่ใช่นักเรียนเก่าฯ จะมีวิธี บริหารที่ผิดแผกไปจากนี้ไหม และมี ข้อดีอะไรในการเป็นนักเรียนเก่าฯ ข้ อ ได้ เ ปรี ย บคื อ ผมรู ้ จั ก โรงเรี ย น รู ้ ค วามเป็ น มาเป็ น ไป สามารถพู ด กั บ นักเรียนและใครๆ ถึงเรื่องในโรงเรียนและ ความเปลีย่ นแปลงต่างๆ ได้ แต่หากผมไม่ใช่ นักเรียนเก่าฯ จะบริหารแตกต่างไปจากนี้ คิดว่าผู้ก�ำกับควรมีคุณสมบัติอย่างไร หรือไม่ ค�ำตอบก็คือไม่ ผมมีจุดมุ่งหมายที่ ถ้ า เราโชคดี ก็ จ ะได้ ค นที่ มี ป ระสบ จะท�ำให้ทนี่ เี่ ป็นสถานศึกษาทีด่ อี ยูด่ ี ไม่วา่ ผม การณ์ในการดูแลนักเรียนประจ�ำ รู้ว่าเด็กๆ จะเป็นนักเรียนเก่าฯ หรือไม่ก็ตาม มีความอึดอัดเรือ่ งอะไร เพราะเด็กๆ บางครัง้ มีแรงจูงใจให้อยากท� ำให้ โรงเรียนดีขึ้น จะไม่ยอมพูดออกมา เราอยากหาคนที่ • เข้ า ใจจิ ต วิ ท ยาและวั ฒ นธรรม เพราะเป็นนักเรียนเก่าฯ หรือเปล่า แน่นอนครับ ผมมี Passion ผมรัก การอยู่ประจ�ำ โรงเรียนนี้มาก มีค�ำกล่าวของชาวเมารีที่ว่า • มีประสบการณ์ในการดูแล Turangawaewae** แปลว่า My place to นักเรียนประจ�ำ stand โรงเรียน Otago Boys ส�ำหรับผมคือ
my place to stand*** ครับ ที่นี่มีความ ส�ำคัญส�ำหรับผม ผมพยายามท�ำให้เด็กมี sense of belonging ว่าทีน่ เี่ ป็นทีข่ องเขา คง เป็นสิ่งเดียวกับที่พวกคุณมีส�ำหรับวชิราวุธฯ เช่นกัน ได้ทราบว่าที่โน่นไม่ใช้ข้อสอบแบบปรนัย แต่ใช้แบบเขียนบรรยาย ครับ ต้องเขียน มีสิ่งหนึ่งที่เรายังคง ท�ำได้ไม่ดีคือเด็กมักจะชอบเลือกวิชาง่ายๆ สอบในโรงเรียน ผมอยากให้เด็กเลือกเรียน วิชาที่สอบโดยข้อสอบมาตรฐานที่เรียกว่า External มากขึ้นกว่านี้ ได้ยินว่า Otago Boys จะมีอายุครบ ๑๕๐ ปีในอีก ๓ ปีข้างหน้า วิสัยทัศน์ ในการมองไปข้างหน้าหลัง ๑๕๐ ปี ของอาจารย์เป็นอย่างไรครับ อ ย ่ า ง แ ร ก คื อ ผ ม ต ้ อ ง รั ก ษ า ประวั ติ ศ าสตร์ ข องโรงเรี ย นเอาไว้ เช่ น การสร้างพิพธิ ภัณฑ์ มีหนังสือ ประวัติ ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างองค์ความรู้ สร้างระบบของโรงเรียนให้ทันสมัยและมี ความเป็ น เลิ ศ ต้ อ งท� ำ ให้ ดี ทั้ ง ๒ เรื่ อ ง ผมคิดว่าเป็นเรื่องส�ำคัญที่จะให้คุณค่ากับสิ่ง
ที่ คุ ณ มี อ ยู ่ แต่ ต ้ อ งไม่ ใ ห้ สิ่ ง นั้ น มาเป็ น อุปสรรคในอันที่จะท�ำให้โรงเรียนก้าวหน้า มากขึ้นกว่าเดิม หมายความว่าอาจารย์คิดว่าน่าจะมี ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับโรงเรียนอีก หรือเมื่อดูเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วน�ำ Best practice ของเขามาใช้ หรือเปล่าครับ จากการที่ผมพยายามศึกษาระบบ การศึกษาโดยทั่วโลกอย่างไม่ล�ำเอียง ระบบ การศึกษาของนิวซีแลนด์ก็นับว่าใช้ได้ แต่ที่ ดีที่สุดที่ผมเห็นคือระบบของประเทศแถบ Scandinavia ความแตกต่ า งคื อ ความ สามารถของครู ทีน่ นั่ คนจะเป็นครูได้ตอ้ งเก่ง จริงๆ อย่างน้อยต้องจบปริญญาโท ผมอยูใ่ น วงการการศึกษามากว่า ๔๐ ปี เรามีคนที่มี คุณภาพขึ้นเรื่อยๆ เพราะรัฐบาลเอาใจใส่ คนในอาชีพนี้มากขึ้นถึงแม้บางครั้งรัฐบาลก็ ใช้เรื่องนี้เป็น ‘หมาก’ ตัวหนึ่งซึ่งไม่ค่อยดี เท่าไร สิง่ ที่ Scandinavian ท�ำถูกต้องคือการ สร้างคนดีคนเก่งในระบบการศึกษาขึ้นมา ตอบแทนคนเหล่านี้และสร้างมาตรฐานการ เข้าสู่อาชีพนี้อย่างดี
** Turangawaewae : The most well known and powerful Maori concept. It is often translated as ‘A Place to Stand’, a place where we feel especially empowered and connected. Our foundation, our place in the world, our home. *** A Place to Stand อาจแปลเป็นไทยว่า ถิ่นฐานบ้านเกิด
anumanavasarn.com
100 ลอดรั้วพู่ระหงส์ คิดจะน�ำไปสู่ระดับนั้นไหมครับ ผมพยายามหาครูที่ดีที่สุดเท่าที่ผม จะหาได้ ทั้งคุณสมบัติและความสามารถใน การสอน ถ้าคุณต้องการจะสอนเด็กชาย เหล่านีอ้ ย่างสบายใจละก้อ คุณต้องมีความรู้ ในเรื่องที่คุณจะสอนจริงๆ เพราะถ้าคุณไม่มี เด็กจะทราบทันที ดังนัน้ คุณสมบัตขิ องครูคอื คุณจะต้องมีไหวพริบดี เข้าใจเรื่องการเรียน การสอนและมีเทคนิคการถ่ายทอดที่ดี ที่ นิวซีแลนด์เองเราก็ยังไม่ดีพอที่จะท�ำอย่าง นั้นได้ทั้งหมด
และครูแล้วบอกพวกเขาว่า คุณยังท�ำงานได้ ไม่ดพี อ เด็กๆ ควรตัง้ ใจเรียนมากกว่านี้ เป็น ธรรมดาที่เด็กจะเรียนบ้างเล่นบ้าง แต่เรา ต้องมัน่ ใจว่าเขาเรียนมากกว่าเล่น มีคำ� กล่าว ว่า คุณสามารถจูงม้าไปที่แหล่งน�้ำได้ แต่ไม่ สามารถบังคับให้มา้ ดืม่ น�ำ้ ได้ อย่างน้อยทีส่ ดุ เราต้ อ งมั่ น ใจว่ า ในกรณี นี้ ห น้ า ที่ ข องเรา คื อ การพาม้ า ไปที่ แ หล่ ง น�้ ำ (Provide knowledge and atmosphere) แล้ว
ไม่ได้พูดกับนักเรียนโดยตรง? ไม่ครับ พูดกับผูก้ ำ� กับและครูเท่านัน้ อาจารย์พูดเรื่องต้นทุนมนุษย์ เกี่ยวกับ เพราะเขามี ห น้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบโดยตรงใน หน้าที่ครู แต่ยังไม่ได้พูดถึงนักเรียนว่า เรื่องนี้ มีปัญหาอะไรบ้าง ผมไปเข้ า ห้ อ งเพรบกั บ นั ก เรี ย น ที่ Otago Boys มีนักเรียนต่างชาติ ประจ�ำเมื่อวันก่อน ผมเห็นว่าเด็กไม่ใส่ใจที่ กี่คนครับ ประมาณ ๒๕ ครับ ไม่นับผู้ที่ย้าย จะดูหนังสือเอาเสียเลย ยกเว้นเด็กไทยนะ ครับ วันนี้ผมไปพบเอเย่นต์ที่ตึกแห่งหนึ่งซึ่ง ถิ่นฐานมาอยู่ที่นิวซีแลนด์เป็นการถาวร เรา เต็มไปด้วยนักเรียนมาเรียนกวดวิชาในช่วง มี ทั้ ง European Asian และ Pacific ปิดเทอม ผมคงขอให้เด็กผมเรียนในช่วงปิด Islander เทอมไม่ได้แน่ๆ (หัวเราะ) ช่วงก่อนสอบเรา มีติวกันบ้าง แต่ไม่ได้ตั้งอกตั้งใจกันเท่าไหร่ Ranking และความมีชื่อเสียง พวกเขาไม่เห็นความส�ำคัญของการศึกษา ของโรงเรียน เราอยู่ในอันดับ ๖ ผมว่าพวกสถิตินี่ เท่านักเรียนในแถบประเทศทางเอเชีย เชื่อถือไม่ค่อยได้ บางครั้งแต่ละโรงเรียนใช้ คนละระบบ มีเครื่องมืออีกชิ้นที่ใช้วัด คือ อาจารย์ท�ำอย่างไรกับเด็กที่ไม่ยอม ท�ำงานหรือดูหนังสือในช่วงเพรบครับ การให้ทุน เรื่องคุณภาพครู และคุณภาพ ก็เตะก้นเรียงตัวเลย (แค่พูดเล่น- นักเรียน ปีที่แล้วเราได้ ๒๑ ทุน เท่ากับหนึ่ง หัวเราะ) จริงๆ แล้ว ผมจะกลับไปที่ผู้ก�ำกับ ในสีข่ องทัง้ ภูมภิ าค ปีนนี้ า่ จะไม่ดเี ท่าปีทแี่ ล้ว
กรุณาเล่าเรื่อง Theatre Sports ได้ไหมครับ เราเลื อ กนั ก เรี ย นที่ พู ด เก่ ง และมี ความสามารถทางด้านการแสดง การแข่งขัน คือ กรรมการจะให้งานมาชิ้นหนึ่ง เด็กๆ ต้องท�ำ Script และคิดการแสดงขึ้นมาทันที เด็กต้องมีความคิดริเริ่ม ความรวดเร็ว และ ใช้จินตนาการได้ดี เรามีการแข่งขันระหว่าง โรงเรียนด้วย กีฬานี้ช่วยเรื่องความมั่นใจได้ มาก ในการแข่งระดับประเทศเมื่อปีที่แล้ว เขาให้ โ จทย์ เ ป็ น เรื่ อ งเศรษฐกิ จ New Zealand Economic Improvement เราได้ที่ ๓ นับว่าพอใช้ได้ เราโชคดีทมี่ คี รูซงึ่ ทุม่ เทให้ กับเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง ตุ๋ง : ผมมีค�ำถามครับ เมื่อตอนผมอยู่ Year ๑๒ โรงเรียนมีการแนะน�ำวิชาชีพ ให้แก่นักเรียน ผมคิดว่าส�ำคัญส�ำหรับ เรามาก อาจารย์คิดอย่างไรเกี่ยวกับ กิจกรรมนี้ เรามี Career Advisor ช่วยแนะแนว เด็กตั้งแต่ Year ๙ เขามีโปรแกรมเพื่อช่วย ให้เด็กคิดเรือ่ งอาชีพทีเ่ ขาอยากท�ำในอนาคต เขาอาจให้ทดสอบความถนัด หรือทดสอบจุด เด่นจุดด้อย แนะว่าเขาไปทางใดได้บา้ ง เรือ่ ง นีส้ ำ� คัญมากเพราะบ่อยครัง้ ทีเ่ ราพบว่าเด็กๆ ของเราตัดสินใจเลือกสิ่งที่จำ� กัดอนาคตของ เขาเอง เลิกเรียนวิชาที่ยาก มีนักเรียนมาก เหมื อ นกั น ที่ เ ราต้ อ งให้ ค� ำ แนะน� ำ อย่ า ง ต่อเนื่อง ครูคิดว่าเรื่องนี้ส�ำคัญมาก anumanavasarn.com
102 ลอดรั้วพู่ระหงส์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ เข้ามาร่วม ในกิจกรรมของโรงเรียนบ้างไหมครับ ช่วยมากครับ เราท�ำกิจกรรมร่วมกัน อยูเ่ สมอ และให้การสนับสนุนโรงเรียนอย่าง ต่อเนื่อง อาจารย์ขอไปหรือเขาเสนอเข้ามาครับ เราขอครั บ เราท� ำ โปรแกรมไป เสนอแล้ ว บอกว่ า นี่ คื อ สิ่ ง ที่ เ ราอยากได้ นักเรียนเก่าฯ จะตั้งใจช่วยเสมอ เช่น นัก รักบี้ดังๆ มานั่งอ่านหนังสือร่วมกับเด็ก เด็ก ก็คิดว่า เออ... พวกนักรักบี้นี่ก็อ่านหนังสือ ด้วยแฮะ (หัวเราะ)
ผู้เล่นทีมออลแบล็คส์อย่าง Richie McCaw โรงเรียนสร้างนักเรียนพวกนี้ ได้อย่างไรครับ โรงเรียนส่งเสริมและตัวของ Richie เขาก็ดีเองด้วย เป็นเด็กดี เรียนเก่งและขยัน มาก เขามี focus ทีช่ ดั เจน และเราก็สง่ เสริม เขาอย่างจริงจัง ขอบคุณครับ เราได้แนวทาง และความคิดใหม่ๆ จากการสัมภาษณ์นี้ มากเลยครับ ขอบคุณเช่นกันครับ ผมยินดีมากๆ และดีใจทีม่ นี กั เรียนจากวชิราวุธฯ ไปเรียนที่ โรงเรียนของเราครับ
สนใจเกีย่ วกับ Otago Boys High School สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ “ส่งเจ้าหนูไป เรียนนอก” โดย ลมเหนือ ส�ำนักพิมพ์อมรินทร์, ISBN No. ๙๗๔-๙๔๗๐๔-๓-๕ หรือ ติดต่อ northwind_th@yahoo.com สัมภาษณ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ ไชยวุฒิ พึ่งทอง อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ เขต ณ พัทลุง กิตติเดช ฉันทังกูล
โอวี โอวี โอวี โอวี โอวี
๔๖ รัฐพล ปั้นทองพันธุ์ ๕๑ วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ ๗๑ ณ อยุธยา ๗๑ ๗๓
เรียบเรียง โอวี ๗๕ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา โอวี ๗๙ ถ่ายภาพ สงกรานต์ ชุมชวลิต โอวี ๗๗ วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ โอวี ๗๙ OBOB ๒๐๐๒-๒๐๐๕
สนามหน้า
แหล่งเพาะน�้ำใจนักกีฬา
103
เมื อ ่ รั ก บี แ ้ พ้ สมัยพระยาภะรตราชา
นับตั้งแต่พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา ณ อยุธยา) เป็น ผู้บังคับการโรงเรียนนั้น รักบี้แพ้น้อยมาก เรียกว่าสมัยใครถ้าแพ้นี่ถือเป็น เรื่องที่แปลกมาก จะเป็นด้วย ร.ร.ภปร. ยังไม่เก่งมากหรือเราขยันซ้อมมาก แถมได้โค้ชดีหรือไม่นนั้ ฟังเรือ่ งทีเ่ ล่าๆ จากปากครูอรุณ แสนโกศิกและผูใ้ หญ่ ต่างๆ หลายคนก็พอจะปะติดปะต่อได้ดังนี้ โรงเรียนเราเล่นรักบี้เก่งจนคนเล่นเกเรมากในสมัยประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยเกเรกันมากทั้งทีมก็ว่าได้ ท่านผู้การก็เลยเชิญออกยกทีมไปเลย ในสมัยนัน้ เด็กทีอ่ อกไปสมัยนัน้ ก็เลยไปรวมตัวกันอยูท่ ี่ ร.ร.อ�ำนวยศิลป์ แล้ว ปีนั้นก็กลายเป็นแชมป์ไป สมัยนั้นเกมการเล่นรักบี้ไม่สนุก การเตะออก ในเขต ๒๕ หลาไม่มีการทุ่ม ณ จุดเตะ ทีมไหนได้คะแนนน�ำแล้วก็อู้โดยเตะ ออกตลอดก็ว่าได้ anumanavasarn.com
104
สนามหน้า
อาจารย์อรุณ เล่าให้ฟงั ว่า แต่เดิมนัน้ เราไม่มโี ค้ชประจ�ำ มีอาจารย์โฉลก โกมารกุล คอยมาช่วย ผูก้ ารก็เลยคุยกับอาจารย์โฉลก ว่าช่วยหาโค้ชมาสอนประจ�ำให้หน่อย ครู อรุณขณะนั้นท�ำงานอยู่ที่แบงค์ชาติก็เลยได้ รับทาบทามจากครูโฉลกให้มาช่วยสอน ซึ่ง ครูก็รับปากมาช่วยหลังเลิกงาน พอผู้การ ทราบว่าจะให้ครูอรุณมาช่วยสอนนั้น ผู้การ สมัยนั้นคือพระยาภะรตฯ ถึงกับออกปาก ชมทันทีวา่ ได้คนเล่นเก่งมาช่วยสอนเสียด้วย ตอนที่มาสอนใหม่ๆ นั้น ครูอรุณ ขนาดว่ามีชื่อเสียงทั้งเก่งและเก๋ามากนั้น ยัง โดนเด็กวชิราวุธฯ ลองของว่าจะเก่งขนาดไหน โดยตอนซ้อมก็พยายามวิ่งหลบหลีกครูให้ ได้ แต่ก็อย่างว่า มวยมันคนละรุ่น กระดูก คนละเบอร์ ไม่มีใครสามารถหลุดครูได้ พอ ตอนครูวิ่งเข้า เด็กๆ พวกนี้เจอความเก๋าเข้า ก็ไม่สามารถจับครูได้ทัน เด็กๆ พวกนี้ก็เลย เคารพเชื่อฟังมาก พอไปแพ้มาเลย์คอลเลจแล้ว หลังจาก นั้นก็สร้างทีมขึ้นมาใหม่ ทีมช่วงนั้นมีตัวผู้ เล่นไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะ ต�ำแหน่งฟูลแบคหาตัวเก่งอยู่นาน จนครู กลัวว่าทีมจะแพ้ ก็อย่างว่ากรุงศรีอยุธยาไม่ สิน้ คนดี ก็มพี คี่ นหนึง่ มาเล่นฟูลแบคประกบ กั บ มาเลย์ ฯ วิ่ ง คู ่ กั น มาเข้ า ทรั ย จนแล้ ว จนรอดมาเลย์ฯ ก็วางเราไม่ได้ ก็เลยชนะไปก็มี ช่ ว งนั้ น ที ม รั ก บี้ ข องเราตั ว ใหญ่ ๆ ทัง้ นัน้ เช่น พีเ่ จิดพงษ์ วันชัย หงษ์เหิร (โจ้ย) เรียกว่าพอเจอโรงเรียน ภปร.ราชวิทย์ฯ ทีไร ผูก้ ารก็จะดูตวั ผูเ้ ล่นก่อน พอเห็นว่าเราเหนือ
กว่าเขามากก็เลยไม่ให้เล่นก็มี บอกไปเอาตัว เล็กๆ เด็กสนามหลังให้มาเล่น ไม่อยากให้ โรงเรียน ภปร.ราชวิทย์ฯ แพ้มาก เพราะท่าน เองก็รกั โรงเรียน ภปร. ไม่นอ้ ยไปกว่าทีท่ า่ น รักโรงเรียนวชิราวุธฯ ก่อนเล่นกับ ภปร.นัน้ ผูก้ ารจะเล่าให้ ฟังว่า สมัยก่อนทีเ่ ป็นราชวิทย์ฯ นัน้ นักเรียน ราชวิทย์ฯ เก่งกีฬามากจน ร.ร.วชิราวุธฯ สมัยนั้นสู้ไม่ได้เลยก็ว่าได้ แต่เป็นที่เคราะห์ กรรมของโรงเรียน (ท่านเล่า) ว่า จะต้องถูกรวมกัน ซึ่งทุกคนเสียดาย ร.ร.ราชวิทย์ฯ มาก เพราะนักเรียนเป็นผูท้ มี่ ี ความสามารถและมีชื่อเสียงต่างๆ มากมาย เพื่อนคนหนึ่งชื่อพงศธร แสงรุจิ โอวี ๔๗ พ่อชือ่ อุทยั เป็นเจ้าของร้านวิวธิ ภูษาคาร เป็นศิษย์เก่าราชวิทย์ฯ ท่านเล่าให้ฟงั ถึงเพือ่ น ฝูงต่างๆ สมัยราชวิทย์ฯ ว่าช่วยเหลือสนิท สนมกลมเลียวกันมากและมีชื่อเสียงต่างๆ ก็หลายคน ฟังรายชื่อศิษย์เก่าราชวิทย์ฯ แล้ ว คุ ณ ภาพของ ร.ร.ราชวิ ท ย์ ฯ นั้ น คุณภาพคับแก้วจริงๆ จนท่านผู้ใหญ่หลาย คนได้สนับสนุนอย่างเต็มที่ให้ตั้ง ร.ร.ภปร. ราชวิทย์ฯ มาสานต่อราชวิทย์ฯ ของเดิม หลังจากปี ๒๕๐๗ แล้ว ครูอรุณก็ลา ออกจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพือ่ มารับ ต�ำแหน่งผูก้ ำ� กับคณะสืบต่อจากผูก้ ำ� กับคณะ คนเดิมซึ่งถึงแก่กรรม (ม.ล.พันธ์) จากที่มา สอนแค่ตอนเย็นเท่านัน้ ก็เลยมาเป็นผูก้ �ำกับ คณะ รักบี้ของเราก็เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ การที่ ค รู อ รุ ณ ลาออกจากธนาคาร แห่งประเทศไทยในสมัยนั้น ถือว่าเสียสละ
มาก เพราะครูมีเพื่อนที่แบงค์ชาติค่อนข้าง เยอะ ความทีเ่ ป็นนักกีฬาแล้วผูใ้ หญ่ในแบงค์ ชาติ ทุ ก คนรู ้ จั ก หมด พอรู ้ จั ก การติ ด ต่ อ ประสานงานอะไรก็ง่ายขึ้น โอกาสก้าวหน้า ในหน้าที่การงานยังมีอีกมาก นอกจากนี้ สวัสดิการในเรื่องบ้านและรักษาพยาบาล ต่างๆ ก็ดมี าก ขนาดไปโรงพยาบาลศิรริ าชไม่ ต้องส�ำรองจ่ายแล้วมาเบิกอย่างทีข่ า้ ราชการ ทุ ก ที่ ท� ำ กั น รวมทั้ ง ของพยาบาลของ โรงพยาบาลเองยังต้องส�ำรองจ่าย เรื่องบ้าน ไม่ต้องพูดถึง ดอกเบี้ยกู้เงินซื้อบ้านร้อยละ ๑ และร้อยละ ๓ สูงสุดก็ร้อยละ ๕ สมัย นี้ดอกถูกๆ ยังหาราคานี้ไม่ได้เลย และการ อยูท่ แี่ บงค์ชาติพร้อมๆ กับการมาสอนรักบีก้ ็ เป็นเรื่องที่ไปด้วยกันได้ แต่ครูกับเลือกทาง ที่ลาออกเพื่อให้ได้มาท� ำงานของโรงเรียน อย่างเต็มที่ พอสอนรั ก บี้ ไ ด้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ ที ม โรงเรียนก็มีตัวใหญ่ๆ เป็นกองหน้า ทีมก็มี ความแข็งแกร่งขึ้นมา จนมีนักเรียนที่อยู่ใน ชั้น ม.ศ. ๕ ติดทีมชาติพร้อมกัน ๔ คน จน หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า ครูอรุณเอาเด็กเมื่อ วานซืนไก่อ่อนมาเล่นเป็นกองหน้าทีมชาติ จ�ำนวน ๔ คน มีที่ทราบก็ประกอบด้วย พีค่ ก พีต่ ดื พีแ่ วณแล้วก็พจี่ อ๋ ม ซึง่ กระดูกยัง ไม่ถึงเบอร์ว่างั้นเถอะ หนึ่งใน ๔ ทหารเสือนั้น เล่าให้ฟังว่า พอหนังสือพิมพ์วิจารณ์อย่างนั้นแล้ว วันนั้น มีการแข่งขันระดับชาติ ลูกรักบีเ้ จ้ากรรมอยู่ ที่ไหน ๔ คนนี้ไปที่นั่นโดยตลอด เรียกว่า ใส่ไป ๒๐๐% ทั้งหมดก็ว่าได้ ตั้งแต่นั้นมา
ครูอรุณ ขนาดว่ามีชื่อเสียง ทั้งเก่งและเก๋ามากนั้น ยังโดนเด็กวชิราวุธฯ ลองของว่าจะเก่งขนาดไหน โดยตอนซ้อมก็พยายาม วิ่งหลบหลีกครูให้ได้ แต่ก็อย่างว่า มวยมันคนละรุ่น กระดูกคนละเบอร์ ไม่มีใครสามารถหลุดครูได้”
anumanavasarn.com
106
สนามหน้า
ว่าในโลกนี้ มี ๓ อย่างที่ไม่รู้ผล มันเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ทั้ง ๓ นี้ก็ ได้แก่ กีฬา สงคราม และความรัก”
ก็ไม่มีใครกล้าวิจารณ์ครูอีกเลย แถมเวลา เรียนหนังสือพี่คนนี้ก็นั่งคิดได้ด้วยว่า จะแก้ เกมส์อย่างไร จะท�ำอย่างไร เรียกว่าหนังสือ หนังหาไม่เป็นอันเรียน พอสิน้ ปี ๒ ใน ๔ คน นี้ก็เอนทรานซ์ติดธรรมศาสตร์ ร.ศ.สมยศ นาวีการ แห่งคณะพาณิชย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านเล่า ให้ฟงั ว่า ถึงท่านจะเรียนเก่งขนาดไหนก็ตาม และสอบได้ทุนมาโดยตลอด แต่เห็นการดู หนังสือของพี่คนนี้แล้วทึ่งมากเพราะดูน้อย มาก เรียกว่าถ้าอาจารย์ดูเท่าที่รุ่นพี่คนนี้ดู ก็คงสอบตก แต่นเี่ อาตัวรอดมาได้โดยตลอด ส่วนอีกคนไม่ตอ้ งพูดถึง เป็นนักล่าเล็คเชอร์ จากสาวๆ จนรอดมาได้โดยตลอด พอทีมมีทมี ชาติตดิ มากขึน้ ก็เหมือน มีตัวตายตัวแทนมาโดยตลอด รักบี้ก็ชนะ มากขึ้นๆ จนกลายเป็นว่าหลายๆ คนพอเข้า มหาวิทยาลัยพาลเลิกเล่นไปก็มี ถามว่าเล่น แล้วได้อะไร กลัวว่าเล่นแล้วการเรียนเสีย จริงๆ แล้วไม่เล่นก็ไม่เรียนหนังสือ เอาเวลา ไปเที่ยวมากกว่าไม่ก็กินเหล้าก็ว่าได้ การแข่ ง ขั น กี ฬ านั้ น ท่ า นผู ้ ก าร ต้องการให้เราท�ำให้ได้ดีที่สุด เรื่องของเรื่อง คือว่า ถ้าตัวเขาใหญ่กว่ามากเราสูไ้ ม่ได้จริงๆ ผู้การท่านไม่เคยว่า แต่ที่แพ้เพราะไม่ตั้งใจ เล่น เล่นไม่ดี ประมาทแล้ว ท่านโกรธมาก ท่านผู้การจะให้โอวาทเสมอ ว่าในโลกนี้ มี ๓ อย่างที่ไม่รู้ผล มันเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ทั้ง ๓ นี้ก็ได้แก่ กีฬา สงคราม และความรัก แต่ถา้ กีฬาแพ้แบบไม่นา่ ให้อภัยละก็เป็นเรือ่ ง รักบีว้ ชิราวุธฯ จึงถูกเรียกว่ารับด้วยวิธรี กุ คือ
รุกจนไม่มีการตั้งรับอย่างเดียวก็ว่าได้ แล้วก็มาถึงการแพ้ครัง้ แรก ในสมัยพี่ เตา (บรรยง พงษ์พานิช โอวี ๔๐) ครั้งนั้น มีรักบี้ที่เรียกว่าทหารรวมกับพลเรือนรวม แข่งกัน เพื่อสมทบทุนกาชาด โดยเอาทหาร ๓ เหล่า กับทีมมหาวิทยาลัย ๓ ทีมมีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ฯ และก็เกษตรฯ มาจับแข่ง รักบี้ ๑๐ คนแบบพบกันหมด แล้วนับแต้ม กัน แต่ส�ำหรับโรงเรียนนั้น พบกับเฉพาะ วชิราวุธฯ กับ ร.ร.เตรียมทหาร ซึ่งทุกคน คิดว่าเราน่าจะชนะ แต่มันไม่ชนะครับ เรียกว่าพกดวง มาแพ้ เล่นๆ เกิดมีการสกรัมกันกลางสนาม เราคิดว่าได้ลูกจากสกรัมเราใส่ลูกเพื่อที่จะ แน่นอนกว่าก็เลยเข้าสกรัม ๕ คน เชื่อไหม ครับลูกมันออกฝั่งเตรียมทหารที่เข้าสกรัม ๓ คนทีนี้ท�ำยังไง ตัวเขาก็เกินก็เลยหลุดไป วางทรัยได้ เหตุการณ์เป็นยังไงต่อก็เชิญถามพี่ เตาเอาเองแล้วกัน ผมทราบแต่ว่าทั้งทีมถูก เรียกมาพบที่คณะคืนนั้น ได้ยินเสียงผู้การ ดังมาถึงในคณะชั้นบนครับ ชาตินี้ขอไม่ติดทีมโรงเรียนรักบี้ว่ะ กลัวท�ำทีมแพ้ พอมาถึ ง ปี ๒๕๑๖ กองหลั ง ของ วชิราวุธฯ ค่อนข้างดี มีตั้งแต่จรวย (น้อง พี่จงใจ) อินไซด์ ตง (สมเกียรติ) (เป็น ธรรมเนียมโอวี ที่ใครชื่อสมเกียรติจะต้อง มีชื่อเล่นว่าตง) อินไซต์ตัวนอกคือ โรม (ธนากร ทับทิมทอง) และปีกก็เหี่ยวกับจุ๊ หรือ ณรงค์ฤทธิ์ เรียกว่าคมพอควร ฟูลแบค
ก็เด็ดดวง แถมมีตัวเอ็กสตราคือ โคราช คอยไล่อีกตัว เล่นแรกๆ ก็ดีพอควร ชนะมาเรื่อยๆ จนได้ถว้ ย ๑๕ คน พอก่อนไปมาเลย์ ก็มที มี มาจากออสเตรเลีย ชื่อ Hales School เรา ก็ชนะประมาณ ๔๕ ต่อ ๙ จะสังเกตว่าเรา เริ่มถูกเขาวางได้แล้ว นั่นคือ Defense ค่อน ข้างรั่วหน่อยๆ พอไปถึ ง มาเลย์ พ วกเราก็ ไ ปชนะ แมตช์ แ รกที่ ป ี นั ง แบบสบายๆ แต่ พ อมา แมตช์ ที่ ต ้ อ งพบกั บ โรงเรี ย นเตรี ย มทหาร มาเลย์แล้ว เรากลับมีอาการแย่ด้วยเหตุผล ดังนี้ ๑. ทีมเดินทางมานานประมาณ ๕ วันแล้ว (หาดใหญ่ ๒ วันและปีนังอีก ๓ วัน) ทีมเริม่ ล้ามาก แถมการเดินทางไปซ้อม ที่ ร.ร.เตรียมทหารมาเลย์ต้องนั่งรถไปถึง ๒ ชั่วโมง การเดินทางระหว่างหาดใหญ่กับ กัวลาลัมเปอร์นั้น ยังไม่มีทางด่วนแบบสมัย นี้ ต้องนัง่ อ้อมเขาไป ระยะเวลาจากหาดใหญ่ ถึงอีโปห์กค็ รึง่ วัน จากอีโปห์ถงึ กัวลาลัมเปอร์ อีกครึ่งวัน ซึ่งถ้าเป็นสมัยนี้ก็ลดลงครึ่งหนึ่ง การเดินทางมากๆ ท�ำให้ทีมล้ามาก ๒. สนามที่ แ ข่ ง ค่ อ นข้ า งกว้ า ง มากกว่าปรกติ คล้ายๆ สนามราชกรีฑา แต่มีความยาวมากกว่าหน่อย ท�ำให้การวิ่ง อ้อมปีกสามารถท�ำได้ง่าย ๓. เวลาในมาเลย์เร็วกว่าเรา ครึ่ง ชั่วโมง (ขณะนั้น) ท�ำให้แดดร้อนกว่าที่ บ้านเรามาก แข่ง ๕ โมงเย็นเหมือน ๔ โมง ยังไงยังงั้น anumanavasarn.com
108
สนามหน้า
พอถึงวันเล่น การที่เรา Pack สามสี่ (ไม่ตอ้ งมี Lock) กลับท�ำให้กลายเป็นเรือ่ งที่ เสียเปรียบ เมือ่ กรรมการปล่อยให้อกี ฝัง่ หนึง่ ไต่ข้ามสกรัมมาได้ (จริงๆ แล้วต้องลูกโทษ) ลูกก็เลยไม่ออกกองหลัง ทั้งที่เราน�ำไปก่อน ๗ ต่อ ๐ ขณะนั้น สกรัมน�ำวิธีของหลวงพี่ ฉ�่ำมาใช้ คือใส่ลูกก็ฮุคทันที กรรมการกลับ ไม่ยอมกลายเป็นว่าเราใส่ไม่ตรงแล้วให้อีก ฝ่ายใส่ตลอด สรุปว่ากรรมการก็เป่าไม่ดี เราก็ไม่ ทนแดดทนฝน ทนการเดินทางเท่าที่ควร แถมเกมส์การเล่นก็เฉี่อย เรียกว่าทุกอย่าง ผิดพลาดไปหมด พอเขาท�ำสกอร์น�ำไปได้ เป็น ๑๑ ต่อ ๗ แล้ว เรายังค่อยตื่นขึ้นมาท�ำ ทีนี้รีบจนกลายเป็นรนไป จะท�ำได้หวุดหวิด ก็มาเสียแบบไม่น่าเสีย พอนกหวี ด เป่ า หมดเวลา ผู ้ ก ารฯ กระโดดข้ามท้องร่องมาเลย ท่านเสียงเอ็ดดัง ลั่นว่า ไปเก็บของเดี๋ยวนี้ เราจะไม่ไปเล่นต่อ แล้ว... ครูอรุณเราโทรไปมาเลย์คอลเลจบอก เขาว่าเราจะไม่เล่นกับเขาแล้ว... ครับ เราเล่น ไม่ดจี ริงๆ คือมันเฉือ่ ยไปหมดทัง้ ทีม สมควร แล้วที่ถูกท่านดุเอา คือถ้ามันสู้ไม่ได้จริงๆ ก็ เรื่องหนึ่ง แต่นี่เล่นไม่ท�ำอะไรเลย ร้อนถึงครูมัทนะจากแบงค์ชาติ และ ครูอรุณต้องลงมาแก้ไขทีละจุดๆ เริ่มจาก ฮุ ก เกอร์ ม าใส่ จั ง หวะธรรมดา ตั ว โดด ปรับปรุงเล็กน้อย กองหลังก็เตรียมมาเต็มที่ เหี่ยวเจ็บให้ลงก่อนจะได้ออกเพราะถ้าลง ทีหลังแล้วเกิดเจ็บจะเปลีย่ นตัวยาก เราซ้อม กันอยู่ทั้งเช้าและเย็น เรียกว่าหนักกว่าเดิม มากและหาทางแก้ไขจุดอ่อน
วันที่เจอมาเลย์ฯ นั้น ลูกอยู่ไหนเรา อยู่นั่นกันทั้งทีม เรียกว่าลุยตั้งแต่จังหวะ นกหวีดเป่าที่แรกจนหมดเวลา แถว ๒ คู่วัน นั้น คือประภัสพงษ์กับชโยดม วิ่งแบบไม่คิด ชีวติ แต้มเดินไปเรือ่ ยๆ ชนะเกือบๆ ๓๐ ต่อ ศูนย์เห็นจะได้ ถ้าเล่นกับเตรียมทหารมาเลย์ แบบนี้ เราคงไม่แพ้หรอก ปีนนั้ ท�ำใจเรือ่ งเครือ่ งหมายสามารถ ครั บ เพราะแพ้ นี่ มั ก ไม่ ไ ด้ เ ครื่ อ งหมาย สามารถ แต่พอตอนปลายปีกป็ รากฏว่า ท่าน ผู้การให้เครื่องหมายสามารถตามสมควร นั ก รั ก บี้ ทุ ก คนที่ เ คยเป็ น ศิ ษ ย์ ค รู อรุณรู้ดีว่า การเล่นรักบี้นั้น ถ้าจะให้ครูชม ว่าเล่นดีแล้วมีน้อยมากเหลือเกิน จนรุ่นพี่ ที่ว่านี้บอกว่า มีอยู่แมตซ์หนึ่งซึ่งเล่นได้แบบ สุดๆ ก็วา่ ได้ วันนัน้ เล่นเสร็จครูกช็ มสัน้ ๆ ว่า เล่นดี แค่นั้นจริงๆ ครับ เรียกว่าภูมิใจแบบ สุดๆ ก็ว่าได้ อีกเรื่องที่ภูมิใจมากคือเรื่องที่มีการ เดินทางไปแข่งที่มาเลย์โดยแวะลงรถไฟที่ หาดใหญ่ในสมัยนั้น ท�ำให้ความสัมพันธ์ ระหว่ า งธนาคารแห่ ง ประเทศไทย สาขา ภาคใต้ กับโรงเรียนวชิราวุธฯ เป็นไปด้วย ความราบรื่น และมีปฏิสัมพันธ์กันต่อๆ มา ลูกคนแบงค์ชาติก็มาเรียนวชิราวุธฯ และ ท�ำให้นักกีฬาที่ได้ไปบางคนเมื่อเห็นบ้านพัก ของหัวหน้าส่วนเงินตรา(คุณมัทนะ หลาน สะอาด) ส�ำนักงานภาคใต้ มีความฝันว่า อี ก หน่ อ ยจะต้ อ งหาทางก้ า วหน้ า มาด� ำ รง ต�ำแหน่งแบบท่านให้ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เป็น เกียรติและได้ตอบแทนคุณแผ่นดิน นพดล สุรทิณฑ์ โอวี ๔๖
110
ระฆังกีฬา
คุยกับโอวีก่อนไปเข้าแถว
มีชัย
วีรู้เสียรสละได้ะไวทยะ ด้วยใจงาม รู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นฉัตรไชย... อีกรู้เสียสละได้ด้วยใจงาม” เป็นเนื้อร้องบางส่วนจากเพลงของโรงเรียน ที่พวกเราทุกคนน่าจะต้องระลึกร้องได้ทุกครั้งเมื่อคิดถึงวชิราวุธฯ หลายคนอาจจะท�ำได้เพียงร�ำลึกถึงเท่านั้น แต่ไม่เคยได้แม้จะเข้าใจความหมายของค�ำไม่กี่ค�ำนี้ แต่ มีชัย วีระไวทยะ ไม่ใช่หนึ่งในหลายคนนั้น พี่โอวีคนนี้น่าจะเข้าใจค�ำทุกค�ำได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะช่วงที่ร้องว่า “อีกรู้เสียสละได้ด้วยใจงาม” อาจจะมีส่วนท�ำให้โอวีคนนี้เสียสละเกือบทั้งชีวิต เพื่อช่วยเหลือคนอื่นที่ก�ำลังต้องการ และไม่เพียงแค่ช่วยเท่านั้น แต่ยังพัฒนาแบ่งโอกาสให้ ทุกๆ คนให้มีชีวิตที่ดี บนโลกที่ดีกว่าเดิม
anumanavasarn.com
112
ระฆังกีฬา
ปกติแล้วการสัมภาษณ์ใครสักคน พวกเราทีมงานอนุมานวสารจะต้องเป็น เตรียมตัวตั้งค�ำถามต่างๆ นานามาเพื่อรอ ให้ผู้สัมภาษณ์นั้นตอบไขความฉงน แต่ครั้ง นี้ที่เรามีโอกาสได้มาพบพี่มีชัย วีระไวทยะ พวกเรากลับแทบจะไม่ต้องตั้งค�ำถามใดๆ ไฟล์ดิจิตอลที่อัดเก็บช่วงเวลากับพี่มีชัยมา นั้น มีเสียงของชาวเรารอดออกมาอยู่ ประมาณสิบกว่าครั้ง ที่เหลือกลับเป็นเสียง เล่ากระฉับกระเฉงของพี่มีชัยอยู่คนเดียว พวกเราแทบจะไม่ต้องตั้งค�ำถามเปิด ประเด็นใดๆ ขึ้นมา เพราะพี่มีชัยเปิดเรื่อง เองแล้วส่งต่อไปอีกเรื่อง ท�ำเอาเราได้แต่ฟัง จนเพลินไปพร้อมกับความตื่นเต้นในแต่ละ เรื่องที่พี่เขาเล่า จนไม่แน่ใจว่าเราจะ สามารถเรียกครั้งนี้ว่าเป็นการไปสัมภาษณ์ ได้หรือไม่ ควรน่าจะเรียกว่าเป็นการไปฟัง พี่มีชัยเล่าเรื่องประสบการณ์และความคิด ของพี่เขาดูจะเหมาะกว่า หากจะให้น�ำเอา สิ่งที่พี่มีชัยเล่าทั้งหมดมาลงในหนังสือ อนุมานวสารเล่มกระจิดนี้เห็นท่าคงจะ ไม่ไหว จึงขอคัดเอาส่วนที่น่าจะได้อ่าน ความคิดดีๆ ที่น่าสนใจของพี่โอวีคนนี้ พี่มีชัยจ�ำไม่ได้ว่าตัวพี่เขาเข้าเรียนที่ โรงเรียนวชิราวุธฯ เมื่อไร พี่เขาเล่าแต่ว่า “คงต้องไปเปิดหนังสือดูแล้ว ผมเกิดปี ๑๙๔๑ ถ้าจะนับเป็นปี พ.ศ. ก็ปี ๒๔๘๔ แล้วก็นับไปสิบสองปีก่อนผมจะไป ออสเตรเลีย ผมอยู่ที่วชิราวุธฯ อยู่สามสี่ปี อยู่ตั้งแต่เด็กเล็กแล้วก็เข้ามาอยู่ที่คณะ ผู้บังคับการ แต่ผมอยู่ที่วชิราวุธฯ ไม่กี่ปีก็ ไปอยู่ป่า เป็นป่าที่ออสเตรเลีย ผมจ�ำไม่ได้
ว่าอยู่รุ่นอะไร ต้องไปเปิดหนังสือดู แต่ผม จ�ำได้ว่าเรียนกับใครบ้าง ตอนนั้นมี สราพร บุนนาค อีกคนหนึ่งผมจ�ำแต่ว่าชื่อตี๋ ส่วน ชื่อจริงผมจ�ำไม่ได้” แล้วก็ชวนเราระลึก ความหลังสมัยวัยเด็กของพี่มีชัยที่โรงเรียน “สมัยก่อนตอนผมอยู่คณะดุสิตมุงหลังคา จากนะ ถูกระเบิดตอนสงคราม แล้วก็เป็น หลังคาจากมาซะนาน จนผมนึกว่าไม่มีทาง จะเป็นเหมือนตึกอื่นเขาได้ นึกว่าจะต้อง เป็นจากไปตลอดแล้ว”
พี่มีชัยเล่าต่อเรื่องกีฬาว่า “ตอนนั้น ก็มีเราเล่นรักบี้ มีคนอื่นเขาเล่นกันไม่กี่ โรงเรียน สมัยนั้นยังไม่มีราชวิทย์ฯ ด้วยซ�้ำ ไป เรายังไม่ได้เล่นกับเขาเลย ตอนนั้นมี เล่นแข่งกับโรงเรียนเตรียมอุดมฯ โรงเรียน นายเรือ โรงเรียนนายร้อย มีไม่กี่แห่ง หรอกที่เล่นรักบี้ แต่เราก็มีอย่างอื่นที่เป็น กีฬาอังกฤษแท้ กีฬาที่ไม่มีเล่นที่อื่นอย่าง ไฟว์ อย่างสควอช ที่อื่นเขาไม่มีกันหรอก เพราะพวกนี้เป็นแบบอังกฤษทั้งนั้น
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ท่านทรงเรียนจบที่ อังกฤษ ระบบที่วชิราวุธฯ ก็เลยเอามาจาก อังกฤษ เป็น Public School ซึ่งก็เป็น ระบบที่ดี ได้อยู่ด้วยกันแบ่งเป็นคณะ เป็น แบบ Boarding School เหมือนกับที่ผมไป เรียนในออสเตรเลีย” พี่มีชัยทิ้งข้อสังเกต เกี่ยวกับเรื่องโรงเรียน Public School ให้ เราฟังว่า “แปลกนะ ที่อังกฤษโรงเรียน เอกชนกลับเรียกว่า Public School ส่วน โรงเรียนที่เป็นของรัฐเรียกว่า State anumanavasarn.com
114 ระฆังกีฬา School ส่วน Grammar School ก็เป็น ส่วนหนึ่งของ Public โดยที่ค�ำว่า Grammar ก็มาจากสมัยดึกด�ำบรรพ์ ที่ต้องใช้ภาษา ให้ถูก” ช่วงวัยเรียนที่ออสเตรเลียของ พี่มีชัย พี่เขาได้เห็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ เกี่ยวกับระบบการปกครองภายในของ Geelong Grammar School โรงเรียนที่พี่ เขาไปเรียนต่อ ซึ่งก็เป็นโรงเรียนที่ยึดตาม แบบ Public School ของอังกฤษมาเช่นกัน พี่มีชัยเห็นว่า “ที่นั่นเขาก็มี Prefects หรือ หัวหน้าของแต่ละคณะเหมือนที่วชิราวุธฯ ซึ่งก็มี House Captain เป็นหัวหน้าใหญ่ แล้วก็มี House Prefect หรือหัวหน้าอีกสี่ ห้าคนคอยช่วยกันดูแล แต่ที่นั้นเขายังมี Prefect ของโรงเรียนอีกด้วยและก็จะมีเป็น School Captain เป็นเหมือนหัวหน้าของทั้ง โรงเรียน มี School Prefect คอยช่วยดูแล เหมือนกับระดับคณะแต่นี่เป็นระดับโรงเรียน “แต่สิ่งที่น่าแปลกใจมากคือ เราก็ คาดว่าพวก Prefects นี้ตอนเรียนหนังสือ จบไปแล้ว น่าจะไปท�ำอะไรดีๆ เด่นๆ ให้ กับสังคมได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วใช้ไม่ได้เลย แม้กระทั่ง School Captain สมัยผมตั้ง หลายคน จบไปไม่ได้ท�ำอะไรให้กับมนุษย์ เลย แล้วก็ไม่ได้ไปเป็นคนที่ออกไปท�ำอะไร ได้ยอดเยี่ยมเลย ไม่มีเลย แสดงว่าคนที่ไป ท�ำอะไรดีๆ เขาไม่ได้เป็นคนที่ถูกเลือกกัน” มีหลายๆ คนมาถามคุณพ่อ คุณแม่ ของพี่เขาว่า มีชัยตอนเรียนอยู่ออสเตรเลีย เป็นอย่างไรบ้าง คุณแม่ของพี่เขาก็ตอบไป ตามตรง “แม่ของผมก็ตอบว่า ต้องคอยส่ง
จดหมายไปเตือนให้มีชัยขยันเรียนนะ แต่ พ่อแม่คนอื่นเขาบอกว่าลูกฉันเก่ง เรียนได้ อย่างนู้นอย่างนี้ แม่ผมฟังแล้วอยากอ้วก การที่ไปยกย่องลูกตัวเองนั้นผิด ไม่ต้อง ได้ที่หนึ่ง ไม่ต้องได้เกียรตินิยม “หลายคนชอบเรียกตัวเองว่า ด็อกเตอร์อยู่บ่อยๆ ผมได้ด็อกเตอร์มา ประมาณสิบแปดด็อกเตอร์ เขาให้เป็น กิตติมศักดิ์ด้วยความสงสารที่เขามีให้ผม แต่เราไม่ควรใช้ตามมารยาทสากล ได้ ด็อกเตอร์มาก็เก็บใส่ลิ้นชัก ไม่ก็ไปแขวนไว้ แต่อย่าไปเรียกตัวเองว่าด็อกเตอร์ เดี่ยวนี้ มีพวกเรียกตัวเองว่าด็อกเตอร์เยอะ พวกที่ ไปเรียนจบมาก็มี พวกที่ได้กิตติมศักดิ์ก็มี อย่างเวลาแนะน�ำตัวแทนที่จะบอกว่าผมชื่อ บุญเชิด กลับบอกว่าผมด็อกเตอร์บุญเชิด คือคล้ายว่าหน้าตาตัวเองไม่ฉลาด ต้องบอก คนอื่นว่าตัวเองมีสมองเรียนถึงด็อกเตอร์” ส่วนตัวของพี่มีชัยเองแล้วแม้จะได้ ด็อกเตอร์มา ๑๘ ใบ แต่ “เวลาผมไปพูด ที่ไหนนะ แล้วเขามีเขียนไว้ว่า ดร.มีชัย ผม ก็จะไปขีดออกให้หมด ผมไม่ใช้ด็อกเตอร์ ผมปริญญาตรีเกือบไม่จบครับ คนที่จะ เรียกตัวว่าด็อกเตอร์ได้ต้องเรียนปริญญา เอกมา ไม่ใช่มาใช้เพราะไปรับมาจากความ สงสารของคนอื่น ผมเรียนเศรษฐศาสตร์ เรียนอยู่แค่ซื้อถูกขายแพง เรียนอยู่เท่านี้” พี่มีชัยยิ้มขึ้น คงด้วยความคิดถึงสมัย วัยเรียนที่ The University of Melbourne ในประเทศออสเตรเลีย การเรียนในมหาวิทยาลัยของพี่มีชัย ไม่ได้เป็นช่วงที่ตั้งใจเรียนอะไรมาก ก็ด้วย
ค�ำที่พี่เขาบอกว่า “ผมปริญญาตรีเกือบไม่ จบครับ” ประโยคนี้ประโยคเดียว ก็น่าจะ บอกอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับตัวพี่เขาสมัย เรียนเศรษฐศาสตร์ได้บ้าง ทว่าพี่เขาไม่ได้ ใช้เวลาเสเพลไปวันๆ แต่ที่เรียนเกือบไม่จบ เป็นเพราะพี่เขาต้องเอาเวลาไปเป็นประธาน “ผมเป็นประธานของนักเรียนตอนอยู่ที่นั่น ก็เลยได้รับเชิญให้ไปพูดอะไรต่ออะไร เยอะแยะไปหมด บางครั้งต้องขับรถไปไกล เจ็ดแปดชั่วโมงไปพูด แล้วค้างคืนหนึ่งก่อน จะกลับมา ตอนนั้นผมเลยได้เรียนรู้เรื่อง คนไทยแยะ เพราะว่าผมต้องไปพูด ผมก็ ต้องพูดแต่เรื่องที่เกี่ยวกับเมืองไทยว่า มีอะไรบ้าง เพราะคนที่นั่นเขาอยากจะรู้ เรื่องไทยแลนด์ ผมก็เลยต้องหาข้อมูลเอา เอง ผมเลยรู้เรื่องเมืองไทยแยะ” พี่มีชัยยกตัวอย่างเกร็ดใน ประวัติศาสตร์ไทยที่เราคนไทยก็ไม่เคย
ได้ยินมาก่อน เป็นเรื่องในสมัยรัชกาลที่ ๔ ประมาณปี ๑๘๖๒ “พระองค์ได้ทรงเสนอ ความช่วยเหลือให้กับสหรัฐอเมริกาก่อนที่ เขาจะเสนอให้ไทยนะ เรื่องนี้มีหลักฐานไว้ หมด มีอยู่ในหนังสือที่ Library of Congress ท่านทรงเสนอความช่วยเหลือ เรื่องช้างไปให้ จดหมายที่พระองค์ทรงส่ง ไปนี่มีใจความประมาณว่าพระองค์เสนอส่ง ช้างไปให้ โดยช้างนี่สามารถใช้ประโยชน์ใน การลากนู่นลากนี่ได้หมด ถ้าจ�ำเป็นก็ สามารถใช้ในสงครามได้ แล้วช้างนี่คงจะ สามารถอยู่ในป่า ผลิตลูกผลิตหลานใน สหรัฐอเมริกาได้ แล้วก็มีจดหมายตอบ กลับมาลงนามโดยประธานาธิบดี Lincoln จดหมายที่ส่งกลับมาขอขอบคุณที่ทางไทย ได้เสนอความช่วยเหลือมาให้ แต่ป่าใน อเมริกานั้นหนาวมาก ช้างคงอยู่ไม่ไหว ส่วนที่จะใช้ในเรื่องการขนส่ง ทางสหรัฐฯ anumanavasarn.com
116
ระฆังกีฬา
มี Steam Engine หรือเครื่องจักรกลแล้ว เรื่องนี้ก็เลยเป็นการยุติไป เรื่องนี้หากมองในแง่เดียวแล้วคง ไม่มีความส�ำคัญอันใด แต่พี่มีชัยบอกว่า เรื่องนี้มีความส�ำคัญมาก “ส�ำคัญที่ท�ำไม ท่านทรงส่งจดหมายไป เพราะประเทศไทย ตอนนั้นด้านหนึ่งเป็นอังกฤษ อีกด้านเป็น ฝรั่งเศส แล้วทั้งสองชาติก็พยายามจะเอา เมืองไทยเป็นเมืองขึ้นให้ได้ พระองค์ก็เลย ต้องหาชาติที่สามารถเตะอังกฤษออกและ กันฝรั่งเศสได้ ซึ่งตอนนั้นก็มีอเมริกานี่ แหละ ด้วยความหวังว่าสักวันหนึ่งเขาอาจ จะมาช่วยเรา การให้ทางการทูตเพื่อหวัง อะไรสักอย่างนี่ ไทยเราท�ำมาก่อนโดยหวัง ว่าจะได้ให้คนมาช่วย พระองค์ท่านทรงมอง การณ์ไกลมาก เป็น State Man หรือ รัฐบุรุษคนแรกของเอเชีย ตอนนั้นมี ประเทศไทย ประเทศเดียวที่ไม่ได้เป็นเมือง ขึ้นของใคร เราไม่ได้เป็นรัฐกันชน แต่เรา เป็นประเทศที่ก�ำลังจะถูกกลืนอยู่เรื่อยๆ ฝรั่งเศสเข้ามา อังกฤษเข้ามาก็มากินเอาไป เรื่อยๆ เราไม่มีพลังที่จะเป็นกันชน เราอยู่ ระหว่างสองประเทศนี้ เราก็เลยอยากได้ อเมริกาเข้ามา เพราะไอ้กันจะได้ช่วยกัน ไว้ได้” หลังจากจบเศรษฐศาสตร์ แบบ เกือบไม่จบจาก The University of Melbourne แล้ว พี่มีชัยกลับมายังเมือง ไทย การกลับมาครั้งนี้เป็นการกลับมาที่ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตเพื่องาน สาธารณะของพี่มีชัยมาจนถึงทุกวันนี้ “ตอนแรกอยู่สภาพัฒน์ (ส�ำนักงานคณะ
กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ) แล้วก็อยู่กองประเมินผล พอ ออกไปประเมินก็เห็นว่าเด็กแยะเหลือเกิน แล้วสิ่งที่เราท�ำจะพอหรือเปล่า ผมเลย ศึกษาดูกับธนาคารโลก แล้วก็เห็นเลยว่า อัตราการเพิ่มเร็วมาก แล้วสิ่งที่เราพยายาม ท�ำให้ไม่พอแน่ ผมก็เลยคิดว่าจะเอาเงินมา จากไหน มาชะลอการเพิ่มของประชากร ผมก็พยายามท�ำ แต่ก็ต้องรอหกปีกว่า รัฐบาลจะยอม แต่สุดท้ายก็ออกจาก ราชการ เพราะรัฐบาลมีนโยบาย แต่ไม่มี งบประมาณ ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ ผมก็เลยออกมา ลุยเรื่องการให้ความรู้ และการให้บริการ ผมเริ่มท�ำตั้งแต่ตอนนั้น เป็นต้นมา ก่อนหน้าจะมาอยู่สภาพัฒน์ ผมเริ่มการเขียนคอลัมน์เป็นภาษาอังกฤษ เป็นประจ�ำทุกอาทิตย์ เขียนอยู่ประมาณสี่ ห้าปี ผมเลยได้ค้นคว้า ได้อะไรเยอะแยะ ไปหมด” จากนั้นมาพี่มีชัยเล่าให้เราฟังว่าชีวิต นี้พี่เขาแบ่งออกเป็นห้าช่วง “ชีวิตของผม แบ่งออกเป็นห้าช่วง หลังจากที่ผมออกจาก สภาพัฒน์แล้ว ผมก็ลงมาท�ำและคิดว่าจะ ท�ำอย่างไรให้คนเกิดน้อยๆ หน่อยเป็นช่วง แรก พอมีเอดส์ขึ้นมา ก็ท�ำอย่างไรให้คน ตายน้อยๆ หน่อย ก็กลายเป็นช่วงที่สอง ช่วงที่สามเป็นช่วงความยากจน ก็ท�ำ อย่างไรให้จนกันน้อยๆ ช่วงที่สี่ช่วงการ ศึกษา ก็ท�ำอย่างไรให้เขาโง่กันน้อยๆ หน่อย แล้วช่วงสุดท้ายก็ท�ำให้คนงกน้อย หน่อย แล้วมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น” anumanavasarn.com
118
ระฆังกีฬา
พี่มีชัยเล่าให้ฟังไปถึงเรื่องรางวัล เจ้าฟ้ามหิดลที่พึ่งได้รับพระราชทานรางวัล นี้ (ประจ�ำปี ๒๕๕๓) เมื่อปีที่แล้วว่า “ผม พึ่งไปอยู่กับพวกที่มหาวิทยาลัยมหิดล เพราะผมพึ่งได้รับพระราชทานรางวัล เจ้าฟ้ามหิดล ที่มหาวิทยาลัยมหิดลเขาก็ ภาคภูมิใจในตัวเจ้าฟ้ามหิดลมาก โดย เฉพาะเรื่องการสร้างแพทย์ ท่านทรงท�ำอยู่ สามอย่าง เรื่องที่หนึ่งและสอง คือ ท่าน ทรงท�ำเรื่องการศึกษาซึ่งก็กลายเป็นเรื่อง แพทย์ด้วย แต่เรื่องที่สามเป็นเรื่องที่คน มองข้ามไปหมดเลย คือ เรื่องจิตสาธารณะ ท่านทรงให้เงินส่วนพระองค์ไปสร้างอาคาร นู่นอาคารนี่แทนรัฐบาลไทยไว้เยอะแยะ อันนี้แหละคือสิ่งที่ผมอยากจะสร้างต่อไปให้ เกิดขึ้นในประเทศไทย ผมอยากให้คนมี จิตสาธารณะ” รางวัลเจ้าฟ้ามหิดล สาขา สาธารณสุข ที่พี่มีชัยพึ่งได้รับพระราชทาน ร่วมกับนายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร เป็นรางวัลที่ได้รับการยอมรับในวงการ สาธารณสุขให้เทียบเท่ากับรางวัลโนเบล ส�ำหรับวงการนี้ ปัจจุบันนี้สมาคมพัฒนาประชากร และชุมชน หรือ Population and Community Development Association (PDA) ที่พี่มีชัยก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หรือเมื่อประมาณ ๓๖ ปีที่แล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยส่งเสริมความรู้เรื่อง การวางแผนครอบครัว การอนามัยและ การสาธารณสุขในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นองค์การ
สาธารณประโยชน์ (NGO) ที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทยมีลูกจ้างกว่า ๖๐๐ คน และมี อาสาสมัครอีกกว่า ๑๒,๐๐๐ คน ผลงาน ที่เห็นได้ชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องการลด อัตราการเกิดอย่างที่พี่เขาบอก การรณรงค์ การคุมก�ำเนิดด้วยวิธีการชวนใช้อย่าง สร้างสรรค์จนคนสมัยนั้นพากันเรียกถุงยาง อนามัยกันติดปากว่า “ถุงมีชัย” แต่เรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องที่พี่มีชัย ท�ำในอดีต ตอนนี้พี่เขามีโครงการช่วยเหลือ เพื่อนมนุษย์อยู่อีกมากมายและที่น�ำมาลง ในอนุมานวสารนี้เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยไม่กี่ โครงการเท่านั้น ทุกครั้งที่เราได้ยินแนว ความคิดของแต่ละโครงการที่พี่เขาก�ำลังท�ำ ก็ท�ำเอาพวกเราตะลึงไปกับแต่ละแนวคิดที่ ไม่เคยได้คิดมาก่อน พวกเราตื่นเต้นตาม น�้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของ พี่มีชัย และยิ่งดีใจที่แต่ละโครงการนั้น ก�ำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดี “เราจะประหลาดใจมากถ้าได้ไปดู อย่างชาวบ้านในภาคใต้ที่เขาโดนสึนามิ แต่ เราจะไม่ให้เขาเป็นขอทาน เราจะจ่ายค่า จ้างให้เขาไปเช็คดูว่าบ้านไหนที่มีใครหายไป บ้าง เราจ่ายเงินให้แทนที่จะให้เขาไปฟรีๆ เขาก็จะรู้สึกว่าเขาได้ท�ำงาน พอเสร็จแล้วก็ ชวนเขาเข้ามาคุยกับกรรมการพัฒนา หมู่บ้านว่าอยากจะท�ำอะไรต่อไป ก็กลาย เป็นการช่วยเริ่มชีวิตให้เขาอีกครั้ง หรือ อย่างช่วงนั้นเรือเขาหายไปกันเยอะ เราก็ ให้เรือเขาใหม่ แต่เราให้เขาไปเปิดเป็น ธนาคารเรือให้มาเช่า ไม่ต้องเช่าทุกวันก็ได้ วันไหนที่เช่าก็จดไว้ว่ามาเช่า พอเขาจ่าย
ค่าเช่าไปสักระยะถึงตามที่ก�ำหนดไว้ เราก็ ยกเรือนั้นให้เขาไป ค่อยๆ ท�ำให้เขาเริ่ม รู้สึกว่าเขามีค่าขึ้นมา” หรืออีกโครงการหนึ่ง ที่ให้โอกาส การกลับมาใช้ชีวิตในสังคมอีกครั้ง “ตอนนี้ เรามีโครงการหนึ่งเรียกว่า ปาท่องโก๋ โครงการเป็นอย่างนี้ คือ คนหนึ่งติดเชื้อ HIVs อีกคนไม่ติด เราให้เขาทั้งคู่ท�ำงาน ด้วยกัน ถ้าผมเป็นคนติดเชื้อ ผมจะเลือก คนที่ผมรัก คนที่ผมเชื่อใจมาเป็นบัดดี้ร่วม กัน แล้วให้โอกาสได้รับการฝึกให้เป็นเรื่อง ธุรกิจที่จะท�ำ เรามีเงินกู้ให้สองหมื่นสี่ เสียดอกเบี้ยปีละหกเปอร์เซ็นต์ เดือนละ ครึ่งบาท ประมาณห้าสิบสตางค์ คนไม่ติด เชื้อเขามีหน้าที่ให้ก�ำลังใจ จี้ให้กินยาทุกวัน ตรงเวลา ให้ครบทุกเม็ด ให้ไปหาหมอทุก ครั้ง” แต่จุดที่พี่มีชัยเห็นว่าส�ำคัญกว่านั้น คือ “ต้องสร้างความเข้าใจให้กับชุมชน บอกให้รู้ว่าคนติดเชื้อเอดส์ไม่ได้เป็น อันตรายกับคนในสังคมเลยนะ อย่าไปคิด อย่างนั้น เราต้องช่วยชี้แจง ทีนี้ชีวิตของคน ติดเอดส์ก็กลายเป็นชีวิตที่ดีขึ้น พอใจมาก ขึ้น ไม่ได้อยากตายอย่างเดียว ซึ่งตอนนี้ก็ เปลี่ยนไปแยะแล้ว” เมื่อผู้ป่วยโรค HIVs ได้รับโอกาส ทางสังคมที่ดีกว่าเดิมแล้ว พี่มีชัยก็เริ่มหา คนที่ต้องการโอกาสกลุ่มอื่นต่อ “พอกลุ่ม คนติดเชื้อ HIVs ประสบความส�ำเร็จ ก็ เลยท�ำให้เราเห็นว่าเราต้องท�ำปาท่องโก๋กับ คนอื่น เช่นคนพิการกับคนไม่พิการ เขาจะ มีความสุขมากขึ้นแยะเลย มีคนที่ไม่พิการ แต่จนเหมือนกันมาท�ำธุรกิจร่วมกัน บางที
ก็แม่หม้ายกับผู้หญิงที่ไม่ใช่แม่หม้าย เด็ก ก�ำพร้ากับเด็กที่ไม่ก�ำพร้า และก็คนที่เพิ่ง ออกมาจากเรือนจ�ำ “เราจะไปฝึกคนที่อยู่ในเรือนจ�ำก่อน ที่เขาจะออกมาปีหนึ่ง อย่างตอนนี้เราก�ำลัง ท�ำร่วมกับไมโครซ็อฟต์เรื่องฝึกซ่อม คอมพิวเตอร์ เพราะถ้าไปสมัครงานที่ไหน ใครจะรับ ขอโทษผมมาจากเรือนจ�ำครับ ไม่มีบริษัทไหนเขารับทั้งนั้นละ ถ้าเขา หากินไม่ได้เขาก็ต้องกลับมาท�ำเหมือนเดิม ก็ต้องให้เขาเป็นลูกจ้างตัวเองเป็น Self – employed อาจจะตั้งเป็นบริษัทขึ้นมา ทุกคนเป็นผู้ถือหุ้น ลูกจ้างทุกคนเป็น ศิษย์เก่า (เรือนจ�ำ) หมด อยู่ด้วยกันจะได้ ไม่มีใครว่าไอ้นี่ขี้งก เพราะก็ขี้งกกันทุกคน เราต้องไปคิดถึงคนที่ปลายทางสังคม สังคมไทยถูกสอนให้มองคนที่ต้นทุนทาง สังคม คนนี้มีรถยี่สิบล้าน มีบ้านใหญ่โต เลี้ยงควายได้เป็นฝูง” ตอนนี้พี่มีชัยได้รับมอบหมายให้เข้า มาดูแลโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็น โครงการของรัฐบาล น�ำงบประมาณมา กระจายไปก่อให้เกิดประโยชน์ในหมู่บ้าน ต่างๆ ทั่วประเทศ พี่มีชัยไม่ได้เข้ามาแค่ ดูแลโครงการนี้เท่านั้น แต่ยังได้ปรับปรุง รูปแบบเพื่อให้ชาวบ้านได้มีสิทธิ์เสนอ สิ่งพวกเขาคิด พี่มีชัยให้โอกาสกับทุกคนใน ชุมชน “ผมให้เด็กอายุสิบห้าปีมีสิทธิ์ในการ ใช้งบประมาณแผ่นดิน เป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เด็กอายุสิบห้า ขึ้นไปท�ำร่วมกับกระทรวงศึกษาฯ เราให้ครู ช่วยบอกเด็ก ช่วยสอนเด็กว่า โครงการนี้ anumanavasarn.com
120
ระฆังกีฬา เป็นโครงการที่ประชาชนเป็นเจ้าของ พวกเขาต้องแสดงความเห็นเอง ให้เขา เสนอแนะเองว่าเป็นโครงการอะไรที่เขา ต้องการจะท�ำ” อีกเรื่องที่พี่มีชัยเข้ามาเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องความเชื่อเดิมๆ คือ “ผมห้ามไม่ให้ ซื้อเครื่องจักรโดยเด็ดขาด พวกเครื่องจักร ไม่ได้ท�ำให้คนจนดีขึ้น ผมจะยกตัวอย่างให้ ฟัง คนจนไม่มีที่ดิน แต่ขายแรงเกี่ยวข้าว แล้วทั้งหมู่บ้านอยากจะซื้อรถเกี่ยวข้าว ทีนี้ นอกจากผมจะจนแล้ว ผมยังต้องตกงาน ด้วย แล้วประเทศไทยอยู่กันมาได้อย่างไร ตอนไม่มีเครื่องจักร เรายังอยู่กันมาได้ เรา ต้องท�ำด้วยคนเราก็อยู่ได้” พี่มีชัยไม่ได้เลือกว่าจะให้โอกาสกับ ใครเป็นพิเศษ พี่เขาต้องการให้โอกาสกับ ทุกๆ คน เท่าๆ กัน และให้ชาวบ้านเป็น ผู้เลือก “ส�ำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยอายุ ยี่สิบถึงยี่สิบสี่ เราจะให้เขามาสมัครเลือก เป็น อบม. เยาวชน หรือองค์การบริหาร หมู่บ้านเยาวชน ซึ่งอาสาเข้ามาท�ำงาน บ�ำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ พออายุยี่สิบห้าปี แล้วต้องลาออก แต่สุดท้ายแล้วชาวบ้านก็ มาขอให้สมัคร อบต. แล้วก็ร้อยเปอร์เซ็นต์ ของคนที่ลงสมัครก็ได้รับเลือก” พอคุยกันมาถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการ เป็นผู้บริหารชุมชน พี่มีชัยก็โยงเข้าเรื่อง ความเสมอภาคทางเพศผ่านอีกมุมที่เราคิด ไม่ถึง “ผมว่าผู้ชายบ้านเรานั้นมีปัญหากับ แม่ของตัวเองแยะเลย เพราะไม่ยอมให้ ผู้หญิงมาอยู่ในต�ำแหน่งส�ำคัญๆ รัฐมนตรีก็ ไม่ค่อยมี บริษัทมหาชนก็ไม่ค่อยมี พวกนี้
ผมไม่ได้ อยากได้ก�ำไร เอาไปซื้อรถเบนซ์ หรือนาฬิกาแพงๆ ความสนุกของผมอยู่ที่ การเอาเงินมาท�ำให้สังคม เกิดการเปลี่ยนแปลงไป”
มีปัญหากับแม่ตัวเองกันทั้งนั้น อย่างที่ผม ไปมาวันนี้มีแต่ผู้ชายเป็นกรรมการทั้งชุด เลย ผมเลยบอกว่าให้เอาผู้หญิงเข้าไปเป็น กรรมการครึ่งหนึ่ง ผมบอกว่าพวกคุณมี ปัญหากับแม่ของพวกคุณพอแล้วนะ” พวก เราหยุดหัวเราะกันใหญ่ ก่อนที่พี่มีชัยจะ ชี้แจงต่อไปว่า “ผมอยากให้เขาเห็นว่าพวก เราแต่ละคน เป็นผู้เป็นคนขึ้นมาได้ก็เพราะ แม่ทั้งนั้นเลยนะ แต่เรามองข้ามไป ผมเลย บอกว่าต่อไปนี้ในแต่ละหมู่บ้านพอถึงช่วง เวลาเลือกตั้งครั้งต่อไป เลือกตั้ง อบต. ให้ เลือกผู้หญิงหนึ่ง ผู้ชายหนึ่ง ในที่สุดก็จะมี ครึ่งหนึ่ง ไม่ต้องไปรอกรุงเทพฯ หรอก สภาฯ อยู่ใกล้สวนสัตว์ ก็เลยคิดเหมือน พวกนั้นเยอะไป เรามาท�ำแบบใหม่ในต่าง จังหวัดได้เลย ไม่ต้องรอกรุงเทพฯ” วิธีแก้ปัญหาในแบบฉบับของพี่มีชัย ซึ่งพี่เขามั่นใจว่าเป็นวิธีที่ได้ผล วิธีนี้ท�ำได้ ด้วยการสอนการท�ำธุรกิจให้กับชาวบ้าน “สาเหตุที่ท�ำให้ผมต้องสอนธุรกิจแก่เขา เป็นเพราะเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของคนในเมือง ไทย ไม่ว่าจะจบอะไรมา จะเป็นลูกจ้างตัว เอง เป็น Self Employment แค่สิบ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นลูกจ้างคนอื่นเขา เป็นลูกจ้างรัฐ เป็นลูกจ้างบริษัท อะไร ต่างๆ นานา เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ต้องหา งานท�ำกันเอาเอง เราเลยต้องสอนตั้งแต่ต้น เขาอยากจะท�ำด้วยตัวเอง เขาก็จะได้ท�ำ เป็น” พี่มีชัยถามพวกเราว่า “ท�ำไมถึงต้อง ให้ทุนกับเขา” แต่ไม่ทันที่เราจะได้ตอบ เสียงของพี่มีชัยก็ดังตอบขึ้นมาทันทีว่า “ก็
เพราะเขาจน” เราต่างพยักหน้าเห็นด้วยกับ ค�ำตอบที่ง่ายและชัดเจน พี่มีชัยชวนคิดต่อ ไปว่า “แล้วท�ำไมเราไม่ไปแก้ให้เขาให้หาย จน ไปแก้ที่ต้นเหตุ อย่างทุนการศึกษามัน แก้ที่ปลายเหตุ ต้นเหตุคือการท�ำให้เขามี เงินมากขึ้น บ้านเราชอบแก้ที่ปลายเหตุ ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ เราก็เลยท�ำอย่างนี้ เมื่อก่อนเราก็ให้ทุนเด็กมัธยมต่างจังหวัด คนละไม่กี่พัน ซึ่งก็ใช้ได้ แต่เราลองหาวิธี ใหม่สอนให้เขาท�ำการค้า เราให้ทุนเขาแค่ สามเดือนเท่านั้น แต่ในระหว่างนี้เราก็ส่ง เขาเข้าไปดูในตลาด ให้เขาคิดดูเลยว่า อยากจะท�ำอะไรขาย เด็กผู้หญิงสองคนเขา อยากจะปิ้งไส้กรอกขาย หลังจากเรียน เสร็จเขาก็ไปตลาดขายอยู่วันละสองชั่วโมง ขายได้วันละสี่ร้อย ต้นทุนวันละสองร้อย ก็ได้ก�ำไรวันละสองร้อยบาท แบ่งกันคนละ หนึ่งร้อย ได้เดือนละสามพันบาท เมื่อก่อน ได้ทุนเดือนละไม่เท่าไร ตอนแรกได้เดือน ละสามพันบาท มาถึงตอนนี้ได้มากกว่านั้น แล้ว ช่วงที่เรียนหนังสือให้ปู่ย่าตายายมา ช่วยกันขาย ก็กลายเป็นเงินบ�ำนาญของ พวกเขา แค่พลิกนิดเดียวเราก็จะได้อะไร เพิ่มเยอะแล้วอย่าไปท�ำเหมือนที่อื่นเขา” การให้เงินอย่างเดียวเป็นการ สนับสนุนขอทานตามที่พี่มีชัยคิด “ถ้าเรา ไปช่วยโรงเรียนตาบอด แล้วเราหยุดให้ เขาก็จะอด จะช่วยให้ดีจริงๆ ต้องท�ำให้ ยั่งยืน เราต้องตั้งบริษัทให้เขา หาใครมา ช่วยท�ำให้เขาหายจน เมื่อรายได้ของเขา ค่อนข้างมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราก็ค่อยๆ ให้ เงินเขาน้อยลง เขาก็จะเริ่มต้นยืนได้เอง anumanavasarn.com
122
ระฆังกีฬา แล้วก็ช่วยคนอื่นต่อไปได้ด้วย” พี่มีชัย พยายามค่อยๆ ปรับทัศนคติเรื่องการรับแต่ เงินของชาวบ้านด้วยการ “ผมพยายาม ค่อยๆ จะเปลี่ยนจากการให้กู้เงิน เป็นให้ เขาไปช่วยปลูกต้นไม้มาแล้วเราถึงจะให้ กู้เงิน แล้วผมก็จะให้เขาต้องจ่ายคืน เอาละ คุณต้องคืนมาครึ่งหนึ่งก่อน หลังจากนั้น คุณค่อยคืนทั้งหมด แล้วจากนั้นค่อยเป็น ดอกเบี้ย แต่ถ้ารัฐบาลเขาจะให้ฟรีไม่ต้อง คืน ถ้าท�ำแบบนั้นผมก็ไม่ยุ่งด้วย เพราะจะ เป็นโครงการพัฒนาขอทาน ผมว่ามันผิด วินัยการเงินจะเสีย” พี่มีชัยมองว่าองค์กรที่ท�ำเรื่องเพื่อ สังคมส่วนใหญ่ ยังวางตัวเป็นขอทาน ขอ เงินอย่างเดียว “เราก็ขอ แต่เราก็ช่วย ตนเองกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ เรารู้เลยว่า วันหนึ่งเราต้องพึ่งตัวเอง ไม่มีใครรักเราเท่า พ่อแม่ของเรา แม้แต่พ่อแม่ของเรายังช่วย เราตลอดชีวิตไม่ได้เลย แล้วใครจะช่วยเรา ได้ ตอนนี้เราก็มีหน่วยงานที่ให้สตางค์เรา อยู่ แต่ต่อไปวันหนึ่งก็ต้องหมดไป เราเลย ต้องตั้งธุรกิจขึ้นมาเอง แล้วก็เอาก�ำไรมา ช่วยสังคม เราเรียกของเรากันเองว่า ธุรกิจ เพื่อสังคม แล้วเอาก�ำไรที่ได้มาใช้แบ่งเป็น สามส่วน ส่วนแรกไว้ส�ำรอง ส่วนที่สองไว้ ขยายกิจการ และส่วนที่สามไว้มาช่วย สังคม ตอนนี้ประมาณเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ที่ เราได้มาใช้ในตรงนี้ ก็มาจากก�ำไรที่ธุรกิจ เราท�ำได้ อีกสามสิบเปอร์เซ็นต์ได้มาจาก การที่มีคนมาให้ หรือหน่วยงานต่างๆ มา ให้ อย่างเราก็ได้เงินจากมูลนิธิบิล เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ซึ่ง
เขาก็ให้มา” การที่พี่มีชัยเอาก�ำไรที่ท�ำได้จาก การท�ำธุรกิจมาใช้ท�ำประโยชน์เพื่อสังคม เป็นหลัก (Social Enterprise) ไม่ได้ เป็นการสร้างภาระใดๆ ให้กับธุรกิจนั้น ทั้งสิ้น “เพราะสิ่งที่ผมท�ำมาไม่ได้เป็นภาระ ของภาคธุรกิจ ผมท�ำมาผมตั้งใจน�ำรายได้ มาช่วยตรงนี้ ถ้าอย่างที่นี่ไม่มีโรงงาน ไม่มี อาคาร ไม่มีร้านอาหารคอยช่วย ที่นี่ก็อยู่ ไม่ได้ อย่างร้าน Cabbages and Condoms ที่สุขุมวิท ซอย ๑๒ ปีที่ผ่านมาให้ทุนแก่ PDA (สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน) กว่าสี่สิบล้านบาท เฉพาะร้านอาหารร้าน เดียวเท่านั้น ร้าน Cabbages and Condoms มีทั้งหมดสิบสองสาขา มีอยู่ที่ ญี่ปุ่นด้วย ผมไม่ได้อยากได้ก�ำไรเอาไปซื้อ รถเบนซ์ หรือนาฬิกาแพงๆ ความสนุกของ ผมอยู่ที่การเอาเงินมาท�ำให้สังคมเกิดการ เปลี่ยนแปลงไป ก็เหมือนบางคนอยากได้ เงิน เอาไปสร้างบ้านใหญ่ๆ ไว้เลี้ยงควาย เป็นฝูง ผมไม่ได้อยากได้แบบนั้น ผมก็ อยากท�ำธุรกิจให้ดี อยากท�ำก�ำไรให้ดี แล้ว จะได้เอาก�ำไรนั้นมาช่วยสังคมต่อได้ เอามา ใช้เปลี่ยนแปลงโลกให้ดี” หลังจากที่พวกเราได้ยินชื่อ Cabbages and Condoms บ่อยครั้งเข้า ก็ ชวนให้สงสัยไม่ได้ว่าชื่อนี่ตั้งด้วยความสนุก หรือมีอะไรแฝงไว้กับชื่อที่สะดุดตาอย่างนี้ พี่มีชัยช่วยเฉลยให้ฟังว่า “เมื่อเราเริ่มงาน ตอนสามสิบหกปีที่แล้ว บางคนเขาบอกว่า เรามีให้ความรู้อย่างเดียวคนก็น่าจะเชื่อแล้ว แต่ผมก็บอกว่ามันคงไม่ใช่อย่างนั้นหรอก
เราควรจะต้องมีอุปกรณ์คุมก�ำเนิดด้วย ถ้า จะท�ำการวางแผนครอบครัวให้ส�ำเร็จ อุปกรณ์คุมก�ำเนิดก็ต้องหาง่ายเหมือนผักที่ อยู่ในหมู่บ้าน ผักนั่นก็คือ Cabbages (กะหล�่ำปลี) Condoms (ถุงยางอนามัย) ก็คืออุปกรณ์คุมก�ำเนิด ต้องหาได้ง่าย ไม่งั้นคนเขาก็ไม่สนใจวางแผน เราต้อง ท�ำให้หาได้ง่าย คนจะต้องมีความรู้และมี อุปกรณ์ที่หาได้ด้วย” ปัจจุบันร้าน Cabbages and Condoms เป็นที่นิยมใน หมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาก อยู่ใน หนังสือไกด์บุ๊คเกือบทุกเล่ม ซึ่งเป็นเพราะ รสชาติอาหารอร่อยถูกใจ และการตกแต่ง ร้านที่แปลกประหลาดด้วยการเอาถุงยาง อนามัยมาประดับเกือบทุกส่วนของร้าน นอกจากนี้ยังเสิร์ฟถุงยางให้แทนลูกอม มิ้นต์ตามร้านทั่วๆ ไปอีกด้วย พี่มีชัยไม่ใช่คนเดียวบนโลกนี้ที่คิด อยากจะเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีกว่าเดิม ยังมี คนอีกมากมายที่คิดเหมือนกับพี่มีชัย แต่มี คนเอเชียอีกสองคนที่ใช้แนวทางการพัฒนา ละม้ายคล้ายกับพี่มีชัยมาก “มีองค์กรที่ บังคลาเทศ เขาสร้างและบริหารโรงเรียน กว่าสี่หมื่นหกพันโรงเรียน แล้วเขายังท�ำ อย่างอื่นมากอีกแยะนะ พนักงานของเขา มีมากกว่าข้าราชการทั้งประเทศ แต่ บังคลาเทศเป็นประเทศที่จนแล้วเขาก็ได้รับ บริจาคมาเยอะ แต่เขาก็ท�ำธุรกิจด้วยอะไร ด้วย อันนี้เขาเรียกว่า BRAC – Bangladesh Rural Advancement Committee จัดตั้งโดย Fazle Hasan Abed แล้วก็มี Muhammad Yunus ที่ท�ำ Grameen
ธนาคารส�ำหรับคนจนที่พึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ไป และก็ผมทั้งสามคน นี้เริ่มต้นพร้อมกัน เราท�ำคล้ายๆ กัน แต่ก็ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่งก็มี คนมาแนะน�ำให้ได้รู้จักกัน เราก็เลยรู้จัก สนิทและคบกันมานาน จนสื่อเขาเรียกว่า The Three Trainers” เรื่องนี้คงเป็นอีก เรื่องที่ยืนยันว่าวิธีของพี่มีชัยนั้นได้เดินมา ถูกทางแล้ว ในบางครั้ง บางโครงการก็ไม่ได้ จ�ำเป็นต้องใช้เงินมากมายอะไร เหมือน โครงการเล็กๆ น่ารักๆ แต่ให้ประโยชน์ที่ ยิ่งใหญ่ “โครงการนี้ผมเริ่มด้วยของเล่น กระตุ้นให้พ่อแม่ของเด็กสี่ห้าขวบยุให้เขา เอาของเล่นมาให้เด็กในหมู่บ้าน ไม่ใช่เด็ก ยากจนนะ เป็นน้องในหมู่บ้าน เด็กใน หมู่บ้าน เด็กในหมู่บ้านนี้ก็ต้องไปท�ำงาน สาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม ไปปลูกต้นไม้ ไปเก็บขยะ ไปกวาดถนน เพื่อเอางานที่ท�ำ มาไปแลกเอาของเล่นไปเล่นได้อาทิตย์หนึ่ง ถ้ากวาดถนนห้าเมตรได้ของเล่นชิ้นเล็ก ถ้า กวาดได้สิบเมตรได้ของเล่นชิ้นกลาง ถ้าสิบ ห้าเมตรได้ของเล่นขนาดใหญ่ การท�ำอย่าง นี้ไปเรื่อยๆ เขาก็จะกลายเป็นผู้รักษา สิ่งแวดล้อมตลอดไป โดยที่รัฐบาลไม่ต้อง ยุ่งอีกต่อไป เขาจะเป็นผู้ท�ำเอง สิ่งต่างๆ ที่ เขาท�ำจะเป็นวิธีการสร้างทัศนะที่ดี “นอกจากเด็กเล็กๆ จะได้สนุกกับ ของเล่นและการท�ำประโยชน์ให้กับชุมชน แล้ว ในหมู่บ้านยังจะมีเด็กอายุแปดถึงสิบสี่ เป็นผู้จัดการห้องสมุดของเล่น เราก็ดึงเขา เข้ามาร่วมสัมมนาด้วย เขาบอกเลยว่าเขา anumanavasarn.com
124
ระฆังกีฬา อยากจะเห็นห้องสมุดของเล่นในอนาคตที่มี ของเล่นพวก Educational Toys พวกส่ง เสริมพัฒนาการ เขาขอให้มีหนังสือ และ สุดท้ายเขาขอให้มีคอมพิวเตอร์ นี่เป็นสิ่งที่ เขาอยากจะเห็นนะแต่เขาไม่ได้แบมือขอ แล้วเขาจะท�ำยังไงนั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ที่ ส�ำคัญเราได้ให้เด็กเขาคิด” พี่มีชัยให้ความส�ำคัญกับการศึกษา มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กๆ พี่มีชัย อยากเห็นโรงเรียนดีๆ ที่เด็กทุกคนมีความ สุขกับการมาโรงเรียน และที่ส�ำคัญพี่เขา ต้องการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ที่ปลาย เหตุด้วยการสักแต่ให้ทุนไปโดยที่เด็กไม่ได้ ดีขึ้น พี่มีชัยเลยคิดนอกกรอบสร้าง โรงเรียนขึ้นแทนการให้ทุน “ผมคิดนอก กรอบมาตลอด เพราะพ่อผมก็นอกกรอบ เรามีทุนการศึกษาให้มาก่อน เราก็ว่าเงิน นั้นน่าจะเข้าไปในระบบที่ดีกว่านี่ได้ ถ้าเรา มีเนื้อดีๆ ท�ำไมท�ำออกมาไม่อร่อยละ ผม เลยไปขอเงินมาจาก James Clark ซึ่ง บริษัทของเขาให้ทุนอยู่ปีละสี่ร้อยกว่าทุน ผมไปขอทุนเขามาท�ำโรงเรียนเลยไม่ดีกว่า เหรอ เขาบอกว่าดี เราก็เลยท�ำ แล้วไปเอา ระบบการศึกษาดีๆ ทั่วโลกมาและก็ที่ผม คิดเองด้วยมาใช้” ตรงนี้จึงถือเป็นจุด เริ่มต้นของโรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนา พี่มีชัยเลือกท�ำเลตั้งโรงเรียนแห่ง ใหม่บริเวณนี้ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับความ ผูกพันลึกซึ้งอะไรที่พี่มีให้คนในบุรีรัมย์หรือ คนแถวนี้ เหตุผลของพี่เขาไม่ได้ซับซ้อน อะไรทั้งสิ้น “ก็เพราะเรามีศูนย์ที่นี่อยู่สาม แห่ง แล้วเลยที่นี่ไปหน่อยก็มีศูนย์อยู่อีก
แห่ง บังเอิญเราก็มีที่ดินอยู่ เราก็เลยเลือก ตรงนี้ ผมไม่ได้ผูกพันอะไรกับที่ตรงนี้ แต่ ผมเลือกตรงนี้เพราะความพร้อมของที่นี่ เราเลยเลือกมาท�ำ” โรงเรียนล�ำปลายมาศ พัฒนา ตั้งอยู่ในอ�ำเภอล�ำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มเปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เริ่มรับเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้น อนุบาลหนึ่ง สอนไปจนถึงชั้นประถมหก และก�ำลังเริ่มเปิดสอนในระดับชั้นมัธยม การสมัครเข้าเรียนที่นี่ให้สิทธิกับ เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นเท่านั้น วิธีคัดเลือกมีอยู่ วิธีเดียวด้วยการจับฉลาก “เด็กในโรงเรียน นี้ใช้วิธีจับฉลากอย่างเดียวเลย ไม่มีรับพวก ความสามารถพิเศษ โลกนี้เป็นอะไรท�ำไม คนไหนมีความสามารถพิเศษแล้วยังจะ ต้องหาสถานที่พิเศษให้เขาอีกด้วย เขา พิเศษแล้วไม่พออีกหรอ เรามองว่าโรงเรียน นี้ต้องเป็นโรงเรียนให้เด็กธรรมดา เด็กที่ ไอคิวต�่ำก็ได้ แต่เข้ามาแล้วจะมีไอคิวสูง เด็กที่เป็นออทิสติก เด็กพิการ จะมีเป็น อย่างไรก็ตาม ถ้าจับฉลากได้ เรารับหมด ส่วนที่จับฉลากได้แล้วไม่เอา ไม่เคยมี” ใน แต่ละระดับชั้นจะมีห้องเรียนเพียงแค่ห้อง เดียวเท่านั้น และแต่ละห้องก็จะมีเด็ก นักเรียนไม่เกินสามสิบคน นอกจากวิธีการรับสมัครจะแปลก ไปจากโรงเรียนอื่นแล้ว การเรียนการสอน ก็ต่างออกไปด้วย หลักสูตรของที่นี่คือการ ไม่มีหลักสูตร พี่มีชัยขยายความเรื่องนี้ให้ ฟัง “เด็กเป็นคนเสนอว่าเทอมนี้อยากจะ เรียนเรื่องอะไรกัน กระทรวงศึกษาฯ เขามี วางไว้ว่าเด็กตอนนี้จะต้องเรียนภาษา
ตอนนี้ไม่มีคนจนแล้ว เราไม่ได้สอน เขาตกปลาอย่างเดียวแล้ว ไม่ได้สอนเฉพาะวิธีกินหรือวิธีจับ แต่เราสอนให้เขารู้ทั้งวิธีเลี้ยง วิธีเพาะปลาจนเป็น ไม่ต้องไปไล่จับที่อื่นแล้ว”
อังกฤษเท่าไร เลขเท่าไร วิทยาศาสตร์ เท่าไร แต่ของเราไปไกลกว่านั้นแยะ เราจะ ต้องท�ำขั้นต�่ำได้ แต่ไม่ได้ด้วยวิธีการเรียน ธรรมดา ที่นี่ในแต่ละเทอมเด็กจะคิดกันว่า อยากจะเรียนอะไร ช่วงปิดเทอมเขาก็จะไป คิดกันมา พอเปิดเทอมเขาก็จะเริ่ม วิเคราะห์ก่อนว่าเทอมที่แล้วเขาได้เรียนรู้ อะไร ได้อะไรและไม่ได้อะไร พอใจหรือไม่ พอใจ แล้วถึงจะมาเสนอของใหม่ เขามี อะไรหลายอย่างสนุก ได้คิดกับตัวเอง ตลอด แล้วตลอดทั้งเทอม ทั้งห้องก็จะ เรียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นทั้งหมด โดยเอาฐานความรู้ของวิชาต่างๆ มา ช่วยเสริมให้เห็นชัดขึ้นผ่านการเรียนจาก หัวข้อนี้ “ในแต่ละปี ช่วง ป.๔ ป.๕ ขึ้นไป เราจะให้เขานั่งวิเคราะห์ว่าปัญหาในสังคม ของเขาคืออะไร ในหมู่บ้าน ในประเทศ ก็ แล้วแต่ว่าเขามองว่าสังคมคืออะไร แล้วให้ วิเคราะห์ออกมาเลย ถัดไปก็ดูว่าเขาจะแก้ ปัญหาที่เขาวิเคราะห์ออกมาอย่างไร หลัง จากที่ได้วิธีแก้ แล้วก็คิดต่อว่าจะเอา ทรัพยากรมาจากไหน เขาก็เลยมีธุรกิจเกิด ขึ้น เราสอนให้เขาท�ำธุรกิจตั้งแต่ ป.๔ ซึ่ง เขาเรียนหัวข้อเรื่องการท�ำไบโอดีเซล จน เขาท�ำเป็นกันหมดแล้ว เขาท�ำทั้งด้าน ทฤษฎี และได้ปฏิบัติด้วย ผลิตให้ดูแล้วก็ เอามาใช้ในแทรคเตอร์ของโรงเรียน พอขึ้น ป.๕ ก็แบ่งไปขายชาวบ้านลิตรละยี่สิบบาท แค่นี้เขาก็เริ่มรู้วิธีท�ำมาหากินแล้ว” การวัดผลเป็นอะไรที่พี่มีชัยไม่ ประทับใจและคิดอยู่เสมอว่าเป็นสิ่งไม่ anumanavasarn.com
126 ระฆังกีฬา จ�ำเป็น “สมมุติผมอยู่กับตัวเองแล้วมีความ สุข พอมาอยู่โรงเรียนปั๊บ สอบได้ที่โหล่ มี ความทุกข์เลย อยู่กับบ้านมีความสุขสุดๆ เลย แต่พอเข้าวชิราวุธฯ ได้ที่โหล่เลย ไม่มี ความสุขเลย อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างง่ายๆ” พี่มีชัยหัวเราะร่วมไปกับพวกเราแล้วจึงเล่า ต่อ “ที่โรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนานี่ เรา ไม่มีการสอบ แต่มีการวัดในตัวเด็กคนนี้ เราวัดเลยว่าแต่ละคน เขาเปลี่ยนแปลงกัน ยังไงในหนึ่งเดือน ในสามเดือน เพราะจุด ประสงค์ของเราต้องการให้แต่ละคน ไปได้ ดีที่สุด ไปได้ไกลที่สุด โดยไม่ต้องมาเปรียบ เทียบกับคนอื่น เพราะต้นทุนเรามีแค่นี้ ให้ เทียบกับตัวเองเท่านั้น บางคนต้นทุนเขามี เพียงเท่านี้ แต่กลับเพิ่มขึ้นได้เยอะ ในขณะ ที่บางคนมีต้นทุนเยอะแต่เพิ่มได้น้อย แล้ว อย่างนี้ใครเก่งกว่ากัน” “แต่กระทรวงศึกษาเขาไม่คิดอย่างนี้ เขาอยากจะรู้คะแนนและบอกว่าเราต้องมี สอบต้องมีคะแนน เราก็เลยต้องสอบ แต่ เราไม่จัดสอบเอง ขอส่งไปสอบกับโรงเรียน อื่น โดยใช้ข้อสอบโอเน็ตอะไรของเขาเป็น ข้อสอบ จุดที่น่าสนใจคือเราไม่มีหนังสือ แจกให้เด็กเวลาเรียน เราใช้อินเตอร์เน็ต เราส่งเด็กไปสอบ สิ่งที่น่าสนใจ คือ คะแนนของเด็กล�ำปลายมาศสูงกว่าเด็กใน อ�ำเภอ สูงกว่าเด็กในจังหวัดบุรีรัมย์ สูงกว่า เฉลี่ยของอีสาน และสูงกว่าเด็กทั้ง ประเทศไทย เป็นการแสดงให้เห็นว่าถ้าเรา ให้โอกาสคน เขาจะไปได้ไกลมากเลย” แค่ ฟังเรื่องที่เด็กไม่ได้อ่านหนังสือไปสอบ แต่ กลับท�ำคะแนนได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้ง
ประเทศ ก็ท�ำให้พวกเรายิ่งสงสัยกันว่า โรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนาแห่งนี้ว่ามี เคล็ดลับอะไรในการท�ำให้เด็กมีความ สามารถได้ขนาดนี้ เคล็ดลับสูตรเด็ดของพี่มีชัยมี มากมายแยะไปหมด เพราะการสร้าง โรงเรียนที่จะสร้างเด็กออกมาดีได้นั่นไม่ใช่ เรื่องง่ายๆ และนี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง เท่านั้น “หนังสือที่เราอ่านกันสมัยตอนอยู่ วชิราวุธฯ เล่มไม่ใหญ่มาก ต่อให้ ม.๘ ก็ ไม่ได้ใหญ่มากเท่าไร แต่อินเตอร์เน็ตนี่สิ ไม่มีที่สิ้นสุด หนังสือของเด็กที่นี่ใหญ่มาก และยังมีโลกนอกห้องเรียน หลายอย่างเรา ไปเรียนนอกห้อง ต้องไปดูที่ธนาคาร ที่ สถานีต�ำรวจเอง มีครั้งหนึ่งผมยังจ�ำได้ว่า เขาไปสถานีต�ำรวจกัน เด็กคนหนึ่งก็ถาม ต�ำรวจว่า ท�ำไมฝั่งนู้นของลูกกรงถึงไม่มี ต�ำรวจบ้างละ เด็กเขาไม่โง่นะ เขารู้ว่า ต�ำรวจเป็นกันยังไง” หลายๆ คนคงเข้าใจมาตลอดว่าครู ต้องเป็นคนเก่ง มีความรู้เยอะ แต่พี่มีชัย กลับบอกว่า “ครูไม่จ�ำเป็นต้องเก่งเลย แต่ ต้องเข้าใจว่าจะเป็นครูอย่างไร ต้องมี สันดานความเป็นครู คนที่ไม่มีสันดาน ความเป็นครูอย่าเป็นครูโดยเด็ดขาด ครูที่ เราเลือกกันเข้ามาจะเป็นครูที่จบจากอีสาน ส่วนใหญ่ จะเป็นคนที่พูดเบาๆ แล้ว สามารถถ่ายทอดอะไรดีๆ ให้กับเด็กได้ ง่ายๆ แล้วเราจะให้เขาฝึกหนึ่งปี ในแต่ละ ห้องจะมีครูสองคน คอยช่วยกันสอน ถ้าได้ ไปดูเขาเรียนกันแล้วหลายคนยังไม่อยาก เชื่อเลย นายกฯ อภิสิทธิ์ก็เคยมาดู แล้ว
วันอังคารนี้ รองผู้ว่า กทม. ด้านการศึกษา จะพาคนมาดู และก็มีครูข้าราชการมาดูกัน เดือนหนึ่งก็ตกประมาณพันคน เขาแปลก ใจว่าท�ำไมโรงเรียนนี้ไม่มีแม้แต่ควายจะเดิน ผ่านด้วยซ�้ำไป แล้วท�ำไมเด็กถึงออกมาได้ อย่างนี้ แล้วท�ำไมคะแนนถึงเป็นอย่างนี้” อีกส่วนหนึ่งที่ส�ำคัญ ก็คือผู้ปกครอง ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนนี้จะต้องมา โรงเรียนด้วย ต้องมาเข้าอบรม หลายคน คงสงสัยว่าท�ำไมผู้ปกครองต้องเข้ามาอบรม ด้วย ซึ่งพี่มีชัยให้เหตุผลว่า “เราบอกเขาว่า หนึ่ง ลูกของพวกท่านท�ำกันมาเองนะ ท่าน ต้องมาช่วยเรา แล้วเขาก็ต้องมาเข้าคอร์ส โรงเรียนนี้ไม่ได้รับสตางค์เหมือนวชิราวุธฯ เรารับเฉพาะแต่แรงงาน คนจะรวยแค่ไหน เราไม่รับ คนรวยก็เท่ากับคนที่ไม่มีรองเท้า คุณมีแรงงานเขาก็มีแรงงาน สมมติหมอก็ มีแรงงาน เราก็รับเขาเข้ามาชั่วโมงละห้าสิบ ให้มาช่วยท�ำนู้นท�ำนี่ คนจะได้เริ่มเห็น ความส�ำคัญของเงิน ค่าใช้จ่ายที่เราออกให้ กับเด็กปีหนึ่งประมาณ สามหมื่นหกต่อ หัวต่อคน ซึ่งสูงกว่าราชการประมาณ สามพันเท่านั้นเอง แต่คุณภาพแตกต่าง กันเยอะ ก็เลยมีคนติดต่ออยากมาท�ำอีก สี่โรงเรียนตอนนี้ แล้วถ้าผมสามารถท�ำการ หักลดหย่อนภาษีจากกระทรวงการคลังได้ ก็จะได้มากกว่านี่แยะเลย ท�ำไมต้องให้ รัฐบาลท�ำเองหมดละ มาตั้งเป็นมูลนิธิ เด็กไม่ต้องเสียสตางค์ ไม่อย่างนั้นก็จะเป็น ว่าเด็กที่พ่อแม่มีสตางค์จึงจะได้เรียนเท่านั้น คนที่ไม่มีสตางค์ก็เรียนไม่ได้
“เด็กที่มาเรียนที่นี่ จะต้องให้พ่อแม่ หรือญาติสนิทมารับมาส่งทุกวันนะ ไม่ อย่างนั้นเราไม่รับ เราต้องสื่อสารกับพ่อแม่ ทุกวัน ว่าวันนี้เด็กเป็นอย่างนี้ ที่บ้านมี อะไรหรือเปล่า เด็กที่นี่ยังต้องเขียนไดอารี่ ด้วยว่าวันนี้เขาอึดอัดเรื่องอะไร เขาพอใจ เรื่องอะไร ไดอารี่นี้ก็เก็บไว้ส่วนตัว แต่ครูก็ ขอมาอ่านได้ มีเด็กคนหนึ่งเขาคับแค้นใจ มาก แต่ไม่ได้โกรธอะไรนะ เขาเศร้าใจ มากกว่า เพราะว่าพ่อของเขาต้องเข้าคุก พ่อเขาถูกลากไปท�ำงานก่อสร้างในกรุงเทพฯ ทีนี้เขาตีกัน พ่อของเด็กคนนี้ก็เลยติด ร่างแหเข้าไปด้วย พ่อเขาเป็นคนดี ผมก็ เลยให้ครูพาเด็กคนนั้นและก็น้องสาวไปหา พ่อ เพราะถ้าไปเองไปกันไม่ไหวแน่นอน ต้องมีค่าเดินทางค่าโรงแรมด้วย ก็ไปกัน มาสองครั้งแล้ว ตอนนี้ผมก็ก�ำลังประสาน งานดึงพ่อของเขาออกมาอยู่ เขาจะได้มี ชีวิตที่ดีขึ้น” ด้วยแนวทางการศึกษาที่เป็นทาง เลือกรูปแบบใหม่ประกอบกับความส�ำเร็จ ทางด้านการศึกษาจน ได้รับการรับรองให้ เป็นโรงเรียนมาตรฐานระดับโลก A World Class School จากคณะประเมินทางด้าน การศึกษาของ University of Tasmania จึงท�ำให้เด็กนักเรียนของโรงเรียน ล�ำปลายมาศพัฒนาไม่คิดลาออก จะมีบ้าง ก็เพราะพ่อแม่ต้องย้ายที่ท�ำงาน อีกสาเหตุ ที่ท�ำให้ไม่ค่อยมีเด็กลาออก ก็เป็นเพราะ เด็กจะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบ การเรียนตามแบบของกระทรวงศึกษาฯ ได้ อีก พี่มีชัยก็รู้เรื่องนี้ดี ถึงกับบอกเราว่า anumanavasarn.com
128 ระฆังกีฬา “ถ้าผมให้เด็กที่เรียนจากโรงเรียนประถม แล้วไปเรียนต่อที่อื่น ผมบาปกรรมตาย เลย” ด้วยเหตุนี้พี่มีชัยจึงต้องสร้างโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาเพื่อรองรับนักเรียนจาก โรงเรียนนี้ไป ตอนนี้โรงเรียนระดับมัธยมที่อยู่ติด กับโรงเรียนประถม เปิดสอนมาแล้วหนึ่งปี ซึ่งแน่นอนว่าโรงเรียนนี้ก็ยังคงให้การศึกษา คล้ายกับฝั่งประถม แต่จะมีเนื้อหาและวิธี การที่เข้มข้นขึ้น ตอนนี้ที่นั่นมีนักเรียน ระดับ ม.๑ อยู่ชั้นเดียวเท่านั้น เด็ก นักเรียนมัธยมนี้มาจากฝั่งประถมทั้งสิ้น ชุดนักเรียนที่เขาใส่เรียนกันก็มาจากฝีมือ ของเขาเองตอนที่อยู่ชั้นประถม โรงเรียน ระดับมัธยมนี้จะสอนไปจนถึงชั้นสุดท้าย คือ ม.๖ แต่พอเรียนถึงระดับ ม.๓ แล้ว พี่ มีชัยจะให้พวกเขาทุกคนย้ายไปเรียนที่ พัทยา “พอ ม.๓ ผมจะให้พวกเขาไปอยู่ไป เรียนที่พัทยาหนึ่งปี ช่วงนั้นจะเปลี่ยนโลก ของเขาเลย จะได้ไปอยู่กับทะเล ได้ศึกษา สิ่งแวดล้อมของทะเล ลงทะเล ดูสัตว์ทะเล แล้วไปอยู่ข้างสโมสรเรือใบ ก็ได้ไปดูลม แล่นเรือใบ ไปดูกองทัพเรือ ไปดูนิคม อุตสาหกรรม ไปดูอะไรหลายอย่าง แล้วก็ จะมีมหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติมา ร่วมด้วย ผมอาจจะให้พวกเขาไปเรียนบาง คอร์สของมหาวิทยาลัยเลยก็ได้” ส่วนอนาคตของนักเรียนหลังเรียน จบจากที่นี่แล้วเป็นสิ่งที่ต้องรอพิสูจน์ต่อไป มีหลายคนมาถามพี่มีชัยว่า ท�ำไมไม่สร้าง มหาวิทยาลัยด้วยเลย พี่เขาให้ค�ำตอบว่า “ผมบอกไม่เอา ผมอยากจะท�ำเป็นเหมือน วิทยาลัยครูมากกว่า แต่ก็ไม่รู้จะตั้งชื่อว่า
อะไร โรงเรียนครูหรือไม่ก็ตามแต่ อยาก จะสอนให้ครูเป็นคนดี จบมาแล้วใครอยาก เป็นครูก็เข้ามา หรือใครที่เป็นครูอยู่แล้ว อยากจะเป็นครูที่ดีกว่าก็เข้ามา ผมอยากจะ หาครูที่ดีเพราะครูเป็นส่วนส�ำคัญ เป็นที่ๆ สอนครูสอนให้เป็น Instructor เป็นที่ สอนครูให้เป็น Instructor ที่ดี ไม่ต้องเก่ง มากแต่ต้องดี” “เท่าที่ผมมอง ผมว่าเด็กพวกนี้น่า จะเป็นครูที่ดี สิบสี่ปีของการเรียน เขาได้ เรียนวิธีหาความรู้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็น ได้ พวกเขาน่าจะเป็นครูต่อไปได้ แล้วก็จะ ติดต่อมหาวิทยาลัยทั่วโลกว่าเขาสนใจจะให้ ทุนเด็กดีๆ ของเราบ้างไหม ตอนนี้ก็มี ข้อเสนอมาจากมหาวิทยาลัยหอการค้าแล้ว ให้เด็กที่อยู่ ม.๑ แต่เราก็ไม่รู้ว่าเด็กเขาจะ เอาหรือเปล่า ก็ต้องถามเขา อายุเท่านี้ก็มี ข้อเสนอมาแล้วก็เป็นเพราะว่ามันเป็นของ ใหม่ มหาวิทยาลัยยังไม่เคยเห็นมาก่อน จริงไหมละว่ามันน่าตื่นเต้น” เป้าหมายของ พี่มีชัยไม่ได้หยุดอยู่ที่มหาวิทยาลัยในเมือง ไทย ณ ตอนนี้ พี่มีชัยเริ่มให้นักเรียนใน โรงเรียนของพี่เขาเขียนจดหมายแนะน�ำตัว เองให้กับมหาวิทยาลัยระดับโลก เสนอให้ ทางมหาวิทยาลัยให้ทุนการศึกษากับเขา แล้วเขาจะท�ำอะไรตอบแทนด้วยการช่วย เหลือสังคมต่อไป พี่มีชัยคาดว่าอย่างน้อย ก็ได้ท�ำให้หลายมหาวิทยาลัยต้องแปลกใจ ว่าเด็กอายุเท่านี้ แต่มีความคิดเรื่องเรียน ต่อและช่วยเหลือสังคมแล้ว เป้าหมายการสร้างโรงเรียนของพี่ มีชัยไม่ได้มีเพียงแค่การสร้างโรงเรียนให้ เด็กได้เรียนหนังสือ เท่านั้น แต่พี่มีชัยวาง
เป้าหมายให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการ พัฒนาของทั้งชุมชน “โรงเรียนจะเป็นจุด เรียนรู้ของสิ่งต่างๆ ในชุมชน ไม่ว่าจะ เป็นการท�ำปาท่องโก๋ การท�ำอาหารให้ อร่อย เย็บเสื้อผ้า เรื่องกฎหมาย หรืออะไร ก็แล้วแต่ โรงเรียนมีสอนให้หมด โรงเรียน ไม่น่าจะเป็นที่ๆ แค่สอนเด็กให้เขาเรียนจบ แล้วก็อ�ำลาเขาไป ตอนนี้สิ่งที่ผมเริ่มท�ำคือ การเอาโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการ พัฒนาทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเรียนเรื่อง อย่างเดียว อย่างกระทรวงศึกษาฯ และ กระทรวงอื่นๆ ต่างก็มีลักษณะเป็นเหมือน ตุ่ม อยู่ในตุ่มในไห คือ กระทรวงศึกษาฯ ก็ศึกษากันไป กระทรวงสาธารณสุขก็ท�ำ แต่สาธารณสุข กระทรวงเกษตรฯ ก็เกษตร อย่างเดียว กระทรวงอุตสาหกรรมก็ท�ำ อุตสาหกรรม แต่ว่าชาวบ้านเขามีความ ต้องการหลายอย่าง เขาอยากได้แบบร้าน สะดวกซื้อที่มีทุกอย่างพร้อม แต่รัฐเอาไป
แบ่งเป็นประเภทๆ ไป เรื่องนี้เป็นเหมือน กันทุกประเทศ อย่างสมมติโรงเรียน ประถมนี้เป็นโรงเรียนที่ดี เด็กทุกคนที่ อยากเรียนก็เข้ามาเรียนได้ แต่มีเด็กบาง คนที่มาจากครอบครัวที่จนมาก เรื่องนี้ก็มี ผลให้ทั้งชีวิตและการเรียนของเด็กคนนั้น เด็กบางคนมาจากครอบครัวที่ป่วยบ่อย ก็ ส่งผลต่อเด็กและการเรียนด้วย หรือเป็น เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อ แล้วคิดหรือว่า ผลผลิตของเด็กเหล่านี้จะเหมือนกัน “กระทรวงศึกษาฯ กลับบอกว่าฉัน สอนแต่หนังสือ เรื่องอื่นฉันไม่ยุ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วมันใช้ไม่ได้ ต่อจากนี้เราจะเอาโรงเรียน เป็นศูนย์กลางการพัฒนาและก็ช่วยให้เด็ก ที่มีปัญหาให้เขาได้มีชีวิตที่ดีขึ้น อย่างที่ โรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนาประกาศเลย นะ ว่าภายในสองปีทุกครอบครัวที่มีลูก เรียนและยากจนจะพ้นความยากจน ซึ่ง ตอนนี้ก็เป็นจริงแล้ว เพราะเราสอนให้ท�ำ
anumanavasarn.com
130
ระฆังกีฬา ธุรกิจ สอนเขา ช่วยเขาเรื่องการตลาด ตอนนี้ไม่มีคนจนแล้ว เราไม่ได้สอนเขาตก ปลาอย่างเดียวแล้ว ไม่ได้สอนเฉพาะวิธีกิน หรือวิธีจับ แต่เราสอนให้เขารู้ทั้งวิธีเลี้ยง วิธีเพาะปลาจนเป็น ไม่ต้องไปไล่จับที่อื่น แล้ว” พี่มีชัยได้สร้างโรงเรียนที่ก้าวหน้า ไกลไปถึงระดับโลกแล้ว เป็นโรงเรียนที่เป็น มากกว่าโรงเรียนธรรมดาทั่วไป โรงเรียน ล�ำปลายมาศพัฒนาได้กลายเป็นตัวอย่าง การศึกษาแบบใหม่ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นการ ศึกษาที่สามารถพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียนได้มากกว่าที่รูปแบบอื่นเคยท�ำ มา ผู้เรียนในที่นี้ไม่ใช่เฉพาะเด็กนักเรียน ในโรงเรียนเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ปกครอง และชุมชนที่ล้อมรอบโรงเรียนแห่งนี้อยู่ด้วย โรงเรียนนี้ได้ยกระดับความส�ำคัญของ โรงเรียนให้ขึ้นเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ของชุมชนทั้งหมด โรงเรียนนี้ก�ำลังเติบโต เคียงคู่ไปกับชุมชนที่ก�ำลังพัฒนาขึ้นมาจาก ความยากจนสู่ความเจริญ สู่ชุมชนที่พัฒนา แล้ว การที่ได้เห็นโรงเรียนของพี่มีชัยเป็น เช่นนี้แล้ว ก็ท�ำให้พวกเราอดไม่ได้ที่จะต้อง คิดกลับไปเปรียบกับโรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัยของพวกเรา แม้ว่าพี่มีชัยจะไม่ได้กลับไปที่ โรงเรียนมานานแล้ว แต่ทุกครั้งที่เราเอ่ยถึง โรงเรียนวชิราวุธฯ พี่เขาก็อดไม่ได้ที่จะต้อง แสดงความเห็นเกี่ยวกับโรงเรียนของเรา ด้วยประสบการณ์การสร้างโรงเรียนจน ประสบความส�ำเร็จไม่ใช่แค่ระดับประเทศ
แต่เป็นระดับโลก ท�ำให้พี่มีชัยมีค�ำแนะน�ำ มากมายที่จะมาพัฒนาโรงเรียนของเราให้ ไปสู่เป้าหมายที่พวกเราอยากจะเห็น สิ่งที่พี่ มีชัยย�้ำอยู่ตลอด คือ “เราต้องคิดนอกกรอบ อย่าไปท�ำตามคนอื่นเขาหรือท�ำตามๆ กัน มา” หลายข้อแนะน�ำที่พี่มีชัยให้กับพวกเรา ล้วนแต่เป็นแนวคิดที่ไม่เคยมีใครเสนอมา ก่อนและล้วนแต่เป็นเรื่องที่ชวนพวกเราตั้ง หน้าตั้งใจฟัง พี่มีชัยเริ่มต้นด้วยการตั้งค�ำถาม เกี่ยวกับเด็กวชิราวุธฯ ว่า “ท�ำอย่างไร วชิราวุธฯ จึงจะสอนนักเรียนให้รู้จักคิด ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ได้ดีกว่าเดิม ไม่หยุด อยู่กับที่” ก่อนที่จะตอบค�ำถามให้เราว่า “เราควรจะต้องให้เขาสนุกกับการที่ได้อยู่ วชิราวุธฯ ต้องมีความสนุกในการเรียน ต้องให้เขาเกิดความรู้สึกที่มีส่วนร่วมแล้ว เขานั้นมีความหมาย” สิ่งที่จะท�ำให้เด็ก แต่ละคนมีความหมายขึ้นมาคือการให้เขา ได้มีพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิด ซึ่ง พี่มีชัยเห็นว่าสภานักเรียนน่าจะเป็นพื้นที่ ส�ำหรับการแสดงออกนี้ “ผมไม่รู้ว่าวชิราวุธฯ มีสภานักเรียนไหม ผมว่าน่าจะมี สภา นักเรียนจะต้องวางตัวและรวมตัวให้เป็นทีม จะเป็นการฝึกนักเรียนเพราะเวลาอยู่ใน บริษัท อยู่ในราชการหรืออยู่ในมหาวิทยาลัย ก็ต้องมีการจัด มีการแบ่ง เพื่อจะช่วยเหลือ ต้องมีการวางตัวเป็นผู้แทน สภานี้ให้ นักเรียนทั้งโรงเรียนเป็นคนเลือกเข้ามา เข้ามาช่วยกันเสนอแนะว่าควรจะท�ำอะไร ให้โรงเรียนของเราดีขึ้น ถ้ามีสภานี้ขึ้นมา เมื่อไรหลายอย่างน่าจะดีขึ้น เด็กจะได้มีจุด
แสดงความคิดของนักเรียน แต่ถ้าอยู่กัน อย่างนี้ต่อไป นักเรียนก็ไม่ต้องเสนออะไร เลย ถ้ามีสภานักเรียนคงจะดีขึ้น เราควร จะมี ให้ทุกอย่างมาจากการเลือกตั้ง ทั้งหมดเลย พวกเราตอนอยู่วชิราวุธฯ ก็ไม่ โง่นะ ใครที่ไม่ดีเราก็จะไม่เลือก แล้วเราก็ จะได้คนดีๆ เข้ามา ที่ส�ำคัญอย่าให้คนนี้ เป็นอยู่คนเดียว ควรจะต้องหมุนเวียนกัน ตลอด อาจจะให้คนนี้ท�ำหน้าที่สองเดือน แล้วให้คนอื่นมาท�ำต่ออีกสองเดือน “อ�ำนาจเป็นสิ่งเพียงชั่วคราว ความ รับผิดชอบเป็นของถาวรแต่อ�ำนาจไม่ใช่ อย่างผมเป็นรัฐมนตรีสี่สมัย เวลาไปสนาม บินก็หิ้วกระเป๋าเอง ผมเข้าใจดีว่าคนนั้นก็ ต้องใส่หัวโขน ช่วยตนเองผมเข้าคิวได้ ไม่ ต้องตักอาหารให้ ผมตักเองได้ ต้องสอนให้ มีตีนติดดิน อย่าไปหลงระเริงว่าเราได้ อ�ำนาจนั้นอ�ำนาจนี้ พวกนั้นมันของชั่วคราว เท่านั้น เราสอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง แล้วอย่าบูชาเงิน” พี่มีชัยแนะน�ำตัวอย่างการเรียน การสอนที่โรงเรียนล�ำปลายมาศพัฒนาให้ดู แต่พี่เขาก็ไม่ได้ต้องการให้วชิราวุธฯ ต้อง ท�ำตามทุกอย่าง ให้ท�ำตามบางอย่างที่ เหมาะกับโรงเรียนวชิราวุธฯ ก็พอ อย่าง เช่นการไปอยู่ไปเรียนที่อื่นเป็นเวลาหนึ่งปี “พอเด็กวชิราวุธฯ อยู่ ม.๓ ให้เขาไปอยู่บน ภูเขาหนึ่งปีเลย ไปเรียนหนังสือ มีครูสอน ตามปกติแต่ไปอยู่บนเขาหนึ่งปีเลย แล้ว ม.๔ ค่อยกลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ตามปกติ ผมยกบนเขาขึ้นมาเป็นตัวอย่าง แต่ถ้า อยากจะไปอยู่ใต้ทะเลก็ไปได้ คือ ผมแค่
อยากให้เด็กได้เปลี่ยนบรรยากาศ ได้ บรรยากาศใหม่ๆ จะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ อยู่ ดอยตุงหรืออยู่ที่ไหน แต่ต้องให้เปลี่ยน บรรยากาศ ให้ไปอยู่ทั้งปีเลย ทุกอย่างต้อง เปลี่ยนแปลง ให้ใช้ชีวิตแบบใหม่ ให้ได้เห็น หลายอย่าง ให้ได้ประสบการณ์ใหม่ ทุกอย่างต้องท�ำด้วยมือ ไม่อย่างนั้นแล้ว ทุกอย่างก็ต้องอยู่กับคอมพิวเตอร์ไปหมด” เรื่องที่พี่มีชัยแนะน�ำแล้วท�ำให้เรา ตื่นเต้นที่สุดคงจะหนีไม่พ้นเรื่องต่อไปนี้ “วชิราวุธฯ ควรจะมีคณะผู้หญิงบ้าง มี ผู้หญิงจะเป็นอะไรไป หรือไม่ก็เปิดวชิราวุธฯ ใหม่แล้วมีผู้หญิงด้วย หลายแห่งเขาก็รวม กันนะ อย่างโรงเรียนที่ผมเรียนใน ออสเตรเลีย แต่ก่อนก็แยกเป็นโรงเรียน หญิง โรงเรียนชาย แล้วเขาก็จับมารวมกัน ให้ทั้งหญิงทั้งชายได้เรียนด้วยกัน หรือจะ ท�ำเป็นวชิราวุธฯ ส�ำหรับผู้หญิงอย่างเดียว เลยก็ได้ ผมไม่รู้ว่าจะจับแยกกันท�ำไม เพราะสุดท้ายแล้วพอถึงมหาวิทยาลัย ผู้หญิงก็มาเจอผู้ชายอยู่ดี” ส�ำหรับการที่มีคนมากล่าวว่า วชิราวุธฯ มีแต่ลูกคนรวย พี่มีชัยบอกว่าไม่ เป็นไร “แต่อย่าให้กลายเป็นลูกคนโง่ก็แล้ว กัน วชิราวุธฯ ควรจะเป็นโรงเรียนที่ท�ำคน ให้ดีขึ้น จะมาจากไหนก็ว่ากันไป แต่จะ ต้องมีทุนการศึกษาให้ด้วย ต้องเอาคนที่ เขาน่าจะมีโอกาสแต่เขาไม่มีเงิน เราก็ต้อง ช่วยเขาด้วย โรงเรียนจะต้องมีทุนสนับสนุน ให้โอกาสคนที่เขาสมควร” ด้วยความพร้อม ด้านต่างๆ ที่โรงเรียนเรามี ไม่ว่าจะเป็น เรื่องทรัพยากร เรื่องระบบการศึกษา anumanavasarn.com
132 ระฆังกีฬา ระบบการปกครอง หรือเรื่องการกีฬาที่เรา พร้อม ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีทั้งนั้น พี่มีชัย เลยเห็นว่าเราควรแบ่งโอกาสที่ดีนี้ให้กับคน อื่นด้วย “ดีไม่ดีวชิราวุธฯ อาจจะมาเป็น โรงเรียนพี่เลี้ยง ให้กับโรงเรียนสักโรงเรียน หนึ่งก็ได้ อาจจะมาแถวๆ นี้ ให้เอาทั้งเด็ก นักเรียน ทั้งครู ทั้งโอวีมาด้วย ให้มาช่วย กันคิดอะไรให้เขา อาจจะเริ่มที่โรงเรียน ระดับประถมก่อน ให้มาช่วยของจริงเลย มาคิดดูว่าเราจะท�ำให้เขาดีขึ้นได้อย่างไรนะ โรงเรียนของเรามีอะไรดีๆ ก็มาแบ่งปันกับ เขาได้ อันนี้ง่ายๆ เลยและไม่ได้แพง” เมื่อพวกเราขอค�ำแนะน�ำส�ำหรับ วชิราวุธฯ ที่จะครบรอบหนึ่งร้อยปีในปีนี้ พี่มีชัยก็ช่วยขยายความค�ำตอบที่ตอบไป ก่อนหน้านี้แล้วว่า “เราต้องท�ำให้เด็ก วชิราวุธฯ นึกถึงสิ่งอื่นมากกว่าตัวเอง ต้อง มีจิตสาธารณะ ต้องคิดว่าฉันกินเนื้อแต่คน อื่นกินกระดูก ดูแล้วไม่สนุกเลย เราจะท�ำ ยังไงให้เขามีเนื้อกินบ้างโดยที่เราก็ไม่ต้อง ไปอดเอง เราต้องสร้างจิตสาธารณะ เรา ควรจะวางแผนมีวชิราวุธฯ อีกสิบวชิราวุธฯ อย่างนี้สิถึงเป็นวชิราวุธฯ หนึ่งร้อยปี” เหมือนที่พี่เขาได้กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่า หากของเรามีดีก็ควรต้องแบ่งปัน “เรามี ของดีเราก็ต้องขยาย ใครเขามีขนมดีๆ เขา ก็ขยาย โรงแรมดีๆ ก็ขยาย สร้างเป็น วชิราวุธฯ เหนือ ใต้ อีสาน” พี่มีชัยตั้งข้อสงสัยที่หลายคนไม่เห็น ด้วยกับแนวคิดนี้ว่า “นี่โรงเรียนของเราไม่ดี ใช่ไหม เราเลยไม่อยากขยาย” แต่พี่มีชัยก็
แย้งเองทันทีว่า “ไม่ใช่ เรามีโรงเรียนดี เรา สามารถท�ำได้ ห้าปีเปิดที่หนึ่ง หนึ่งร้อยปี ก็ได้ห้าสิบวชิราวุธฯ แล้ว เราต้องมองว่า วชิราวุธฯ เป็นโรงเรียนที่จะให้อะไรกับ มนุษย์ได้บ้าง ถ้ายังไม่ให้เราก็ไปจัดการให้ มันพร้อมซะ แล้วก็ไปให้กันมากขึ้นสิ เรา ไปหาคนที่มีสปอนเซอร์สิ หาคนที่มีเงิน เยอะแยะมาช่วย โอวีของเราอยู่ในบริษัท ดังๆ ทั้งนั้น” เรื่องหน้าที่ของโอวีเป็นอีกเรื่องที่น่า สนใจ เพราะพี่มีชัยคิดว่าต้องให้โอวีมาช่วย กัน “น่าจะรวมเอานักเรียนที่จบไปแล้วจาก วชิราวุธฯ มารวมกันแล้วอาจจะเรียกว่า โอวี จิตสาธารณะ ตั้งเป็นมูลนิธิเลยก็ได้ เป็น มูลนิธิเพื่อท�ำงานด้านสาธารณะโดยเฉพาะ เราเริ่มที่โอวีแล้วก็ย้อนกลับเข้าไปใน โรงเรียน อาจจะไปคุยกับเด็ก ป.๖ หรือ เด็ก ม.ต้น ก่อน ให้พวกที่จบมาแล้วเขาไป สอน ไปคุยกันว่าจะท�ำอะไรกันได้บ้าง แล้ว ก็จะได้มาเริ่มกัน” พี่มีชัยอยากเห็นเด็กวชิราวุธฯ เป็น เด็กที่มีจิตสาธารณะมาก “ผมคิดอยู่ว่าวัน หนึ่งจะเป็นไปได้ไหมที่นักเรียนและ นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ จะเป็นกลุ่มคนที่มี จิตสาธารณะสูงที่สุด จะท�ำได้ไหม ถ้า ท�ำได้จะเป็นสิ่งที่วิเศษยอดเยี่ยมส�ำหรับ ประเทศแล้ว ส�ำหรับครอบครัวด้วย ครอบครัวจะรู้สึกว่าลูกเราไม่งก คงต้อง สอนให้แบ่งกันก่อนตั้งแต่ที่วชิราวุธฯ คน ไหนที่กังวลว่ามีเงินเยอะจนไม่รู้จะท�ำอะไร ก็มาช่วยกันจะได้คิดออก เราต้องมาช่วย กันเปลี่ยนโลก โดยเริ่มที่โลกใบเล็กของเรา
ก่อน พวกที่จบมาแล้ว พวกโอวี พวกที่อยู่ ในโรงเรียน มาช่วยกันคิดว่าจะท�ำอะไรกัน ดี อันนี้เป็นวิธีการที่ดีที่สุดเลย เรามีโอกาส ได้เรียนในโรงเรียนที่ดี ออกมามีงานดีๆ แล้วเราก็จะได้ท�ำให้ชีวิตของคนอื่นๆ เขาดี ได้บ้าง เราก็ต้องดูแลตัวเราเอง แต่เราก็ ต้องใช้อีกส่วนหนึ่งไปช่วยคนอื่นด้วย ที่จริง แล้วพวกเราในสังคมใช้เวลาช่วยสังคมน้อย กว่าคนเล่นกอล์ฟเสียอีก ถ้าเอาแค่ครึ่งหนึ่ง ของเวลาเล่นกอล์ฟไปช่วยสังคม แค่นี้ก็จะ ได้ประโยชน์อีกแยะเลย แล้วเลิกสักทีเถอะ ไอ้ประกวดนางงาม หันไปให้รางวัล ‘คนงาม’ ดีกว่า ร้อยปีแรกไม่เป็นไรจัดไปเถอะ นางงาม ร้อยปีที่สองอย่าไปท�ำก็พอ” “วันนี้เป็นจุดเริ่มต้น มาคุยกัน ที่ไหนก็ได้ ที่กรุงเทพฯ ที่พัทยาก็ได้ หรือ ที่ไหนก็มาได้ มานั่งคุยกันอย่างนี้ แล้วคิด กันดูว่าสิ่งที่เราน่าจะท�ำมีอะไรบ้าง วันนี้ก็ คือแค่จุดประกายเล็กๆ แล้วก็มาท�ำด้วยกัน เห็นเป็นหนุ่มๆ ที่ยืนกันอยู่ตรงนี้ อีกไม่ นานก็แก่กันหมด รีบท�ำซะ” พี่มีชัยไม่ลืมที่ จะทิ้งทายด้วยการชวนให้พวกเราทุกคนมา ร่วมกันเสียสละและแบ่งปัน เหมือนที่พี่เขา ได้ท�ำมาตลอดทั้งชีวิต อย่างที่ได้เกริ่นไปตั้งแต่ย่อหน้าแรกๆ แล้วว่าบทสัมภาษณ์นี้เป็นบทความที่คัดเลือก เอามาได้เพียงเฉพาะประเด็นเด่นๆ ที่น่า
สนใจเท่านั้น พี่มีชัยได้เล่าเรื่องราวมากมาย แต่ละเรื่องก็เรียกความสนใจจากเราได้ไป หมดทุกเรื่อง น่าเสียดายที่เราถ่ายทอด ความคิดของพี่เขามาได้เพียงบางส่วน และ ยิ่งน่าเสียดายไปใหญ่ที่ผู้อ่านทุกคนไม่ได้ พบตัวจริงของพี่โอวีคนนี้ เพราะการได้ฟัง เรื่องเล่าจากพี่มีชัยตัวจริงเสียงจริงนั้น สนุก และประทับใจมากกว่าการอ่านบทสัมภาษณ์ ชิ้นนี้แน่นอน ไม่ว่าต่อจากนี้ไปในอีกหนึ่งร้อยปี ข้างหน้าของวชิราวุธฯ เราจะมีโรงเรียน หลายสิบสาขาทั่วประเทศ หรือจะมีทุน การศึกษาให้กับคนที่เข้าต้องการได้ปีละ ร้อยทุน หรือจะยกเลิกประกวดนางสาวไทย แล้วกลายเป็นประกวดคนงาม คนดีของ ประเทศแทน หรืออะไรอีกมากมายที่อาจ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ เราก็ไม่อาจจะรู้ได้ แต่ อย่างน้อยที่สุดแล้ว การได้มาฟังหรือได้ อ่าน สิ่งที่พี่มีชัย วีระไวทยะ เล่ามาแต่ละ เรื่อง และแต่ละครั้งที่พี่มีชัยชี้จุดเล็กๆ ที่ เราลืมคิด โชว์จุดใหญ่ๆ ที่เราไม่เคยมอง เห็น ก็ยิ่งเป็นการจุดประกายไฟในใจของ พวกเราแต่ละคน ให้เริ่มรู้สึกอยากที่จะ เสียสละด้วยใจงาม สมกับเป็นลูกวชิราวุธฯ ที่ไม่ได้สักแต่อ้าปากร้องเพลงนี้เพียงอย่าง เดียว “รู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็น ฉัตรไชย... อีกรู้เสียสละได้ด้วยใจงาม”
สัมภาษณ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ ธนกร จ๋วงพานิช อาทิตย์ ประสาทกุล โอวี ๗๑ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓ เรียบเรียง ศศินทร์ วิทูรปกรณ์
ถ่ายภาพ โอวี ๗๗ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๙ สงกรานต์ ชุมชวลิต วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ โอวี ๗๙
โอวี ๗๒ โอวี ๗๗ โอวี ๗๙
anumanavasarn.com
134
ศัพท์ โอวี
เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ
ทำ�ผ้า “ทำ�ผ้า” “ทำ�ผ้า” “ทำ�ผ้า” “ทำ�ผ้า” “ทำ�ผ้า”
(คำ�กิริยา) คือ การนำ�ผ้าใส่...ถุงผ้า คือ หน้าที่อย่างหนึ่งของ...เด็กตู้ หรือ เด็กเวร คือ จุดเริ่มต้นของการ...ดอยผ้า (ซึ่งเราจะกล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง) จะไม่สามารถเสร็จสมบูรณ์โดยปราศจาก...ใบทำ�ผ้า คือ อะไร?
เมื่อมาถึงจุดนี้ ท่านผู้อ่านคงเข้าใจโดยอัตโนมัติว่า ชาวโอวีนั้น “ท�ำผ้า”กันอย่างไร ผมจึงไม่ขอสิ้นเปลืองโควต้าหน้ากระดาษมากไปกว่านี้ จึงขอน�ำประสบการณ์ในการ “ท�ำ ผ้า”ของผมมาเล่าสู่กันฟังดีกว่าครับ สมัยที่ผมยังด�ำรงชั้นยศเด็กเก่าในปีการศึกษา ๒๕๔๒ นั้น ผมได้รับเกียรติให้ เป็นเด็ก “ท�ำผ้า” ของพี่ ม.๔ รุ่น ๗๔ จ�ำนวน ๓ คน (เป็นเด็กท�ำผ้านะครับ ไม่ใช่ เด็กตู้ เพราะเด็กตู้ต้องได้รับการเลี้ยงข้าว แต่ผม...อด พี่ๆ สามคนนั้นอ่านแล้วจะเลี้ยง ย้อนหลังผมก็ยินดีนะครับ) และเนื่องจากวัฒนธรรมในการดอยผ้าก�ำลังเฟื่องฟูอย่างยิ่งใน ยุคนั้น ผมจึงต้องใช้ยุทธวิธีซุกผ้า เพื่อหลีกเลี่ยงพวกขี้ดอยทั้งหลายทั้งปวง (คนละอย่างกับ การซุกหุน้ และการหนีภาษีนะครับ อย่าสับสน) โดยการน�ำผ้าของตัวเองโดยเฉพาะกางเกง แบงแบงและถุงเท้ากีฬาไปส่งรวมกับผ้าของพีๆ่ อาวุโสทัง้ สามคน เพือ่ ไม่ให้สรรพากร เอ๊ย! เพื่อนๆ ขี้ดอยมาดอยผ้าของผมได้ เหมือนการแยกหุ้นนั่นแหละครับ (เริ่มจากการท�ำผ้า ไปๆ มาๆ กลายเป็นเรื่องแบบนี้ได้ไงหว่า) โชเบ สถาพร อยู่เย็น โอวี ๗๖
โชเบ (คำ�กิริยา)
ค�ำสั่ง จงอธิบายค�ำตอบอย่างละเอียดตามความเข้าใจของท่าน การเรียนรู้สิ่งต่างๆ แน่นอนว่า สิ่งแรกที่คุณต้องรู้คือ “พื้นฐาน” หรือที่ภาษา อังกฤษเรียกว่า “เบสิค (Basic)” เพราะพื้นฐานคือสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด คือรากฐานที่มั่นคงใน การท�ำสิ่งต่างๆ เพื่อพัฒนาให้ก้าวไปสู่ความเป็นผู้ช�ำนาญ (Expert) แต่บางครั้ง (และ บางคน) ชอบที่จะ “โช(ว์)เบ” เพื่อที่จะ... หลายคนอาจจะงงว่า ผู้เขียนต้องการจะ สื่ออะไร ไม่มีอะไรหรอกครับ แค่ผู้เขียนเคยลองสังเกตพฤติกรรมของผู้คนในสังคมของ ประเทศๆ หนึ่ง แถบๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชอบที่จะ “โชเบ” กันเป็นประจ�ำ ...ท่าน ผู้อ่านหลายคนคงจะงงอีกว่า “โชเบ” คืออะไร โชเบ คือค�ำกิริยาชนิดหนึ่งที่ใช้เรียก “การแสดงท่าทางอวดดี อวดเก่ง ขี้คุย ขี้โม้ ชอบโชว์โดยไม่จ�ำเป็น” เหมือนการโชว์เบสิคอวดผู้อื่น ซึ่งเรามักจะเห็นได้บ่อยๆ ในสังคม anumanavasarn.com
136
ศัพท์ โอวี ประเทศแห่งหนึ่ง (ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม) แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไม่ใช่พม่า สปป. ลาว ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม เอ... หรือว่าจะ เป็นประเทศติมอร์ ตะวันออก นะ... ไม่รู้จริงๆ นะเนี่ย การโชเบของคนเหล่านี้ มักจะท�ำที่เหมือน “ยกตนข่มท่าน” คือจะ โชเบ ใส่ผู้ที่ (ตัวเองคิดว่า) ด้อยกว่าผู้พูด ยกตัวอย่างเช่น บ้านรวยอย่างนั้น ใช้ของดีอย่างนี้ เก่งอย่าง นั้น เก่งอย่างนี้ คิดว่าเรื่องที่ตัวเองมีในสิ่งที่คนอื่นไม่มี ข้ารู้ ข้าเห็นทุกอย่าง... นึกแล้วก็ น่าเห็นใจนะครับ ท่าทางเหมือนคนเก็บกดเลย “โชเบ” อาจเรียกได้สั้นๆ ว่า “เบ” เช่น ไอ้จิ้งมา “เบ” อีกแล้ว ว่าใช้ของหรู เป็นต้น ส่วนใหญ่ ผู้ฟัง (Audience) คนที่มา “เบ” ใส่ตนนั้น มักจะคิด “จะมาเบท�ำไม” หรือใครคิดต่างจากนี้ ส่งความคิดเห็นมาได้นะครับ เรารับฟังท่าน แต่ก็อย่างว่าครับ เรื่องแบบนี้มันห้ามกันไม่ได้ มันขึ้นอยู่ลักษณะนิสัยของแต่ละคน ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่อง เดือดร้อนอะไร เอ... ที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี่ไม่ได้กระเทือนหรือว่าใครใช่ไหมครับ ศิริชัย กาญจโนภาส โอวี ๗๖
ตึกพยาบาล
137
โรค
หัวใจ วันก่อนนี้ได้ยินว่ามีโอวี รุ่น ๔๘ คนหนึ่งเป็นเจ้าชายนิทราไปอีกคน เนื่องจากเส้นโลหิตเข้าหัวใจ อุดตัน เกิดอาการหัวใจวาย และปั๊มหัวใจขึ้นมาได้ แต่ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองประมาณ ๑๐ นาที ท�ำให้เป็นเจ้าชายนิทราไปอีกคน อาการคล้ายกับรุ่น ๔๗ คนหนึ่งที่เพิ่งเกิดเหตุคล้ายๆ กันเมื่อ ต้นปี ส�ำหรับพินิจนั้นเล่นไฟว์เป็นประจ�ำและเพิ่งเจอกันตอน AIA ไปแข่งกีฬาสี ทราบว่าเกิด อาการหลังจากเล่นไฟว์ มีพรรคพวกสันนิษฐานว่า ถ้าเล่นกีฬาเมื่ออายุมากขึ้นแล้วไม่ warm down มักจะเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหัวใจได้ง่าย คนสันนิษฐานไม่ใช่หมอนะ ไม่รู้มั่วหรือเปล่า ทีมหมออนุมานวสารน่าจะเขียนเรื่องนี้ก็น่าสนใจนะครับ โอวียิ่งมีน้อยอยู่เสียด้วย
สาเหตุของการเกิดหัวใจหยุดเต้นทันทีในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ ๗๐-๘๐% เกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะนี้ถูกเรียกชื่อหลายๆ แบบ ไม่ว่าจะเป็นโรค เส้นเลือดหัวใจตีบ ลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ชื่อนี้ ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า “โรคหัวใจขาดเลือด” ลักษณะของโรคนี้ คือ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบตัน ซึ่งโดยทั่วไปการ ตีบตันนี้จะเกิดขึ้นใน ๒ ลักษณะ ๑. การตีบตันเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป : สาเหตุเกิดจากมีไขมันแทรก เข้าไปในผิวของเส้นเลือดหัวใจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะยังไม่มีอาการ จนกว่าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจจะตีบไปมากกว่า ๗๐% แล้ว หลังจากนั้นผู้ป่วยจะ เริ่มมีอาการแน่น ลักษณะที่แน่นจะเหมือนมีอะไรมาทับบริเวณกลางหน้าอก หรือ anumanavasarn.com
138
ตึกพยาบาล
บริเวณใต้ลิ้นปี่ อาจมีเจ็บร้าวไปบริเวณกราม หัวไหล่ แขน หรือ หลัง บางคนมีอาการเหงื่อแตก ใจสั่น คลื่นไส้ร่วมด้วย ช่วงแรกอาการจะเกิดเฉพาะเวลาออกแรงหนักๆ เพราะเลือด ไม่สามารถไปเลี้ยงได้มากพอเพียงกับที่ร่างกายต้องการช่วง ออกแรง แต่ช่วงพัก เลือดยังสามารถไปเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ อยู่จึงไม่มีอาการ แต่หลังจากที่เส้นเลือดยิ่งตีบมากขึ้น การ ออกแรงเพียงเล็กน้อยก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ อาการต่างๆ มักจะดีขึ้นใน ๒๐ นาทีภาย หลังการพัก ๒. การตีบตันเกิดขึ้น เฉียบพลัน : สาเหตุเกิดจากผิว ของเส้นเลือดบริเวณที่มีไขมัน เข้าไปแทรกเกิดการปริและ แตกออก เกิดเป็นแผล ร่างกาย ตอบสนองโดยการสร้างลิ่มเลือดเพื่อ อุดแผลที่เกิดขึ้น ซึ่งลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นนี้ ถ้ามีขนาดใหญ่มากพอก็จะอุดเส้นเลือดที่ เลี้ยงหัวใจได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ก็จะมีอาการขึ้น มาทันทีที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด และต้อง ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นใน ลักษณะเดียวกันกับกลุ่มแรก แต่อาการจะไม่หายไปแม้ว่า จะพักนานเกิน ๒๐ นาทีไปแล้ว ถ้าลิ่มเลือดที่เกิดมีขนาดใหญ่ หรืออุดตันบริเวณ เส้นเลือดสำ�คัญ ก็จะทำ�ให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจบีบตัวไม่แรงพอที่จะบีบเลือดให้ ไปเลี้ยงร่างกายได้ เกิดความดันเลือดต่ำ� หรือบางคนก็หัวใจหยุดเต้นเลยก็มี ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดนี้จะเกิดอาการในลักษณะของกลุ่มใดก็ได้ อย่างไร ก็ตามพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดนั้น ประมาณ ๑ ใน ๓ ของผู้ป่วยอาจจะไม่มี อาการอะไรเลยก็ได้ แต่ไปตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ และที่ สำ�คัญผู้ป่วยประมาณ ๑๐% จะมาแสดงอาการครั้งแรกด้วยหัวใจหยุดเต้น ซึ่งเป็น สิ่งที่อันตรายที่สุด เพราะถ้าหัวใจหยุดเต้น อวัยวะทั่วทั้งร่างกายก็จะขาดเลือดไป เลี้ยงในทันที ซึ่งถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ทัน ภายในเวลาเพียง ๔ นาที ร่างกายโดย เฉพาะสมองก็จะเกิดความเสียหายอย่างถาวร อาจกลายเป็นเจ้าชายนิทราหรือ
ถ้าหัวใจหยุดเต้น อวัยวะทั่วทั้งร่างกายก็จะขาดเลือดไปเลี้ยงในทันที ซึ่งถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ทัน ภายในเวลาเพียง ๔ นาที ร่างกาย โดยเฉพาะสมองก็จะเกิดความเสียหายอย่างถาวร เสียชีวิตได้ ซี่งโดยทั่วไปหัวใจหยุดเต้นมักเกิดนอกโรงพยาบาล ดังนั้นโอกาสที่จะเกิด อาการขณะที่มีแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่สามารถ ช่วยชีวิตได้ทันท่วงทีนั้น มีน้อยมาก ทางที่ดีที่สุด คือ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ รวมทั้งการป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ประกอบไปด้วย อายุที่มากขึ้น (ผู้ชายที่อายุมากกว่า ๔๕ ปี หรือผู้หญิงที่อายุมากกว่า ๕๕ ปี) มีประวัติคนใน ครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันใน เลือดสูง ความอ้วน (ผู้ชายที่รอบเอวมากกว่า ๓๖ นิ้ว หรือผู้หญิงรอบเอวมากกว่า ๓๒ นิ้ว) และการสูบบุหรี่ โรคดังกล่าวมาแล้วนี้ ถ้าสามารถควบคุมโรคได้ดี ก็จะลดความเสี่ยงในการ เกิดโรคนี้ได้ และความเสี่ยงเหล่านี้นอกจากอายุ และประวัติคนในครอบครัวแล้ว ความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นสิ่งที่พวกเราสามารถควบคุมได้ทั้งหมด อย่างไร ก็ตาม บางคนแม้จะลดความเสี่ยงทุกอย่างแล้วก็ยังเป็นโรคนี้ก็มี แต่เป็นเพียง ส่วนน้อย อีกสิ่งหนึ่งที่สำ�คัญนอกเหนือไปจากการลดความเสี่ยงแล้ว สำ�หรับการป้องกัน ซึ่งผมอยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ โอวีได้คอยสังเกต คือ อาการแน่นหน้าอก โดยเฉพาะ อาการแน่นลักษณะอย่างที่ผมเล่าให้ฟังนั้น เป็นลักษณะของโรคนี้ครับ ถ้ามีอาการ ดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนใกล้ตัว ผมแนะนำ�ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจ เพิ่มเติมโดยเร็วนะครับ เพราะถ้าตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำ�ให้การรักษาได้ผลดี และการรักษาในปัจจุบัน แม้จะมีความเสี่ยงบ้างแต่ก็ถือว่าค่อนข้างปลอดภัย และ คุ้มค่ามาก ถ้าเทียบกับการรักษาชีวิตหนึ่งๆ เอาไว้ได้ ส่วนเรื่องการวอร์มดาวน์เกี่ยวหรือไม่กับการเกิดโรคนี้ ความเห็นผมคิดว่า ไม่เกี่ยว แต่อย่างไรก็ตามผมยังสนับสนุนให้วอร์มดาวน์อยู่นะครับ แต่ไม่ใช่ด้วย เหตุผลอันนี้ น.พ.ภัทรวิน ภัทรนิธิมา โอวี ๗๑ anumanavasarn.com
140
สมุ ด จดพระมนู บันทึกอนุมานวสาร
บรรยกาศห้องเรียน ๘ เหลี่ยมไม่มีหน้าชั้น หลังห้อง สร้างอิสระทางความคิดจินตนาการ และความรู้สึกที่อยากเรียนรู้
ตะลุยล�ำปลายมาศ ผมได้ยินชื่อ “ล�ำปลายมาศ” ครั้งแรกจากลุงช้อย (วิโรจน์ นวลแข โอวี ๓๓) ในระหว่างมื้อเย็นอันอ้อยอิ่งยาวนานด้วยฤทธิ์ของไวน์ กรองด์ครูซ์ ที่โรงแรมมาดูซี แรกๆ ผมก็ยังไม่รู้ว่าล�ำปลายมาศคืออะไร ได้แต่นึกอยู่อย่างเดียว ว่า จะเป็นอะไรก็ตาม มันช่างฟังเป็นชนบทห่างไกลอยู่เอาการ หันไปดู คนอื่นๆ ก็เหมือนจะตกอยู่ในอาการเดียวกัน เพราะเห็นต่างพากันจิ้มเนื้อ ย่างที่บริกรเพิ่งยกมาวางแล้วก็เคี้ยวกันตุ้ยๆ เงียบงันอยู่ พอฟังลุงช้อยเล่าไปเรื่อยๆ เราจึงค่อยได้รู้ว่าล�ำปลายมาศหรือ เรียกให้เต็มคือ “ล�ำปลายมาศพัฒนา” นั้น เป็นชื่อของโรงเรียนที่ก�ำลัง เป็นที่จับตาในวงการศึกษาซึ่งตั้งอยู่ที่อ�ำเภอล�ำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนนอกกระแสที่คิดหลักสูตรเอง หาสื่อการเรียนเอง หาวิธีการสอนเอง ซึ่งปกติแล้วก็น่าจะเจ๊งไปเอง แต่กลับกลายเป็นว่า โรงเรียนนี้ได้รับการประเมินขั้นดีเยี่ยมจากกระทรวงศึกษาธิการ มีคน ระดับนายกฯ อภิสิทธิ์เดินทางมาดู มีสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยมาถ่ายท�ำ โรงเรียนไปออกรายการ “ไทยมุง” สถาบันการศึกษาจากต่างประเทศก็ รับรองสั้นๆ ว่า “World-class” จนทุกวันนี้บรรดาครูใหญ่ครูน้อยจากทั่ว สารทิศพากันดั้นด้นมาบุรีรัมย์ เพื่อดูงานโรงเรียนอยู่เดือนละเป็นหลักพัน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ปราสาทพนมรุ้ง และปรากฏว่าล�ำปลายมาศยังมีความเกี่ยวข้องกับวชิราวุธฯ อีก ด้วย เพราะว่าผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อ�ำนวยการของโรงเรียนล�ำปลายมาศ พัฒนาก็คือพี่มีชัย วีระไวทยะ โอวีผู้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการ คุมก�ำเนิดจนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘Condom King’ แห่งเมืองไทย และท�ำให้ถุงยางได้ชื่อใหม่ว่า “ถุงมีชัย” นั่นเอง ฟังๆ แล้ว กอง บก.ของเราก็เลยสรุปว่าจะต้องมีการจัดรายการ “อนุมานวสาร มุง” ด้วยเหมือนกัน จะได้ไปดูให้รู้แน่ว่าโรงเรียนของพี่ มีชัยดีอย่างไร ไหนๆ เรื่องเกี่ยวกับการโรงเรียน การศึกษาทั้งหลายก็ anumanavasarn.com
142
สมุดจดพระมนู ก�ำลังอยู่ในความสนใจของอนุมานวสารอยู่ แล้ว นอกจากนั้นยังจะเป็นโอกาสให้ได้ สัมภาษณ์พี่มีชัยไปพร้อมกันด้วย อนุมานวสารจะได้ไม่น้อยหน้าพวกสื่ออย่าง TIME, CNN หรือ The New York Times ซึ่งเขาล้วนมาสัมภาษณ์พี่มีชัยไปกันจน หมดแล้ว เราออกเดินทางกันในเช้าวันอาทิตย์ ที่ ๓๑ มกราคม โดยรวมตัวกันที่ครัวโอวี คราวนี้ทีมไปกันแค่แปดคน คือพี่หน่อง พี่น้อง พี่กิ๊ก พี่ไนย์ พี่ณัฐ พี่โก้ สองห้อย ราเม็ง และผม โดยในเมื่อบุรีรัมย์นั้นเป็น ระยะทางไกล พี่ไนย์จึงเสนอให้พวกเราไป พักกินข้าวกลางวันที่บ้านของเธอก่อนที่ โบนันซ่าเขาใหญ่ เมื่อไปถึง ลุงซี้ด (ดุสิต นนทนาคร) พ่อของพี่ไนย์ได้ตั้งเต็นท์อาหารสารพัดรอ ไว้หน้าบ้านอยู่แล้ว เป็นโรงทานอย่างที่ปกติ เขามีกันที่สนามหลวงหรืองานทอดกฐิน มี ทั้งก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ข้าวหมูแดง ไก่ย่าง ส้มต�ำ หมูสะเต๊ะให้ทีมงานอนุมานวสารได้เลือก ตักตามศักยภาพ ก่อนจะน�ำขึ้นไปกินกัน บนบ้าน ซึ่งพอทุกคนวางกับข้าวที่เลือกตัก กันมาและนั่งประจ�ำที่เรียบร้อย ความจริงก็ ปรากฏว่าไม่มีใครได้เลือกตักอาหารเท่าไร ดูเหมือนทุกคนจะมีอาหารในเต็นท์ครบ ทุกอย่างด้วยกันทั้งนั้น เป็นที่น่ายินดีแทน เจ้าภาพอย่างยิ่ง เพราะ พาลา หเว นปฺปสํ สนฺติ ทานํ - คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่ สรรเสริญทาน จากนั้นวิวสนามกอล์ฟเขียวๆ หลัง บ้านและลมเขาใหญ่ที่โกรกผ่านห้องโถง
ท�ำให้คณะเดินทางได้มีโอกาสแสดงการกิน อย่างที่เรียกกันว่า ‘ติดลม’ หมูสะเต๊ะที่ถูก น�ำมาเสิร์ฟจานแล้วจานเล่าถูกเปลี่ยนให้ เหลือแต่กองไม้เสียบดูเผินๆ เหมือนมีใคร แกล้งเอากระป๋องเซียมซีมาเททิ้งไว้ มีการ เรียกเติมไอศกรีมกะทิรวมมิตรซึ่งเป็นของ หวานตบท้ายกันอย่างเอิกเกริก บางคนที่ กลัวว่าที่กินไปจะไม่อยู่ท้องยังเอา ข้าวเหนียวมะม่วงที่กินมะม่วงหมดแล้วมา ใส่ในไอติมเข้าไปอีก ในตอนนั้นกว่าพี่ไนย์ จะรู้ตัวว่าตัวเองได้ชักศึกเข้าบ้าน ก็แทบจะ ไม่เหลืออะไรให้ยกเก็บเข้าครัวสักอย่างหนึ่ง คณะอาคันตุกะกินกันพอสมควรแก่ ศักดิ์ศรีของประธานหอการค้าเจ้าภาพแล้ว ก็ลาเพื่อออกเดินทางต่อ โดยไม่ลืมที่จะ ถ่ายรูปหมู่ไว้เผื่อให้พี่ดุสิตใช้ดูต่างหน้าหรือ ไม่ก็เอาไปแจ้งความ จากนั้นจะเป็นด้วย ข้าวเหนียวมูลหรืออะไรก็ไม่แน่ชัด แต่ ปรากฏว่าพอขึ้นรถแล้วสมาชิกพากันซึมๆ แล้วก็ดับการรับรู้ไปทีละคน ก่อนจะไปหันรี หันขวางกันอีกทีก็ตอนพบว่าหาศูนย์มีชัย นางรองไม่เจอ พวกเราขับรถย้อนกลับมา อีกทีหนึ่งและพบว่าถ้าไม่ใช่ฤทธิ์กด ประสาทของข้าวเหนียวมูลแล้ว ใครผ่าน ศูนย์มีชัยจะไม่มีทางคลาดสายตาไปได้เลย เพราะหน้าศูนย์เขาติดป้ายเบ้อเร่อเบ้อร่า แถมยังมีถุงยางขนาดน่าเกรงขามตั้งอยู่ที่ ปากทาง เป็นทวารบาลคอยรับทุกคนเข้าสู่ อาณาจักรของ Condom King เมื่อเข้าไปถึงศูนย์ เราก็เห็น พนักงานเดินยิ้มออกมาต้อนรับ ที่มือมีพวง อะไรห้อยอยู่ระเกะระกะคล้ายๆ พวง
กุนเชียง พอเธอเข้ามาใกล้ เราถึงได้เห็นว่า พวงกุนเชียงที่ว่านั้น แท้ที่จริงก็คือกุญแจ ห้องพักทั้งสี่ห้องของเรา เพียงแต่ พวงกุญแจของเขาแทนที่จะเป็นแผ่นแบนๆ ธรรมดา เขากลับใช้ไม้ทั้งแท่งสลักเสลา เป็นทรงถุงยางใหญ่ ขนาด XL ชนิดที่ว่าถ้า มีพราหมณ์ผ่านเข้ามาเห็นก็จะต้องนึกว่า เรานับถือพระศิวะ ผมเอะใจขึ้นมาเลยลอง เลียบเคียงถามคุณพนักงานคนนั้นว่าเป็นไป ได้หรือเปล่าที่พวงกุญแจพวกนี้จะได้รับการ ปลุกเสกมาแล้วเหมือนปลัดขิก เพราะนี่เรา ก็อยู่บุรีรัมย์ซึ่งก็ใกล้เขมรอยู่เต็มที่และลือ กันว่าพ่อมดหมอผีอาคมดุดันนัก คุณคน นั้นแกก็ไม่ตอบ ได้แต่ยืนท�ำตาปะหลับ ปะเหลือกอยู่ หันมาดูทางพี่ไนย์ของเรายิ่ง แล้วใหญ่ รายนั้นพอเห็นกุญแจเข้าก็พูด อะไรไม่ออก เห็นแกพยายามท�ำ “โอกขิต ตะจักขุ” คือเอาตามองไปที่พื้นดินเหมือน พระกลัวอาบัติ ผมก็คอยดูๆ แกอยู่กลัวแก จะลมจับขึ้นมา แต่พอแกเดินเข้าไปในศูนย์ เรื่อยๆ ดูเหมือนแกจะรู้ไปเองว่าในศูนย์นี้ สัญลักษณ์ของถุงยางนั้นมีเยอะเสียยิ่งกว่า เห็ดโคนบนขอนขนุน ป่วยการที่จะหลบ เลี่ยง เพราะสักพักหนึ่งผมก็เห็นแกเดินหิ้ว กระเป๋า ก�ำพวงกุญแจอย่างทะมัดทะแมง ตรงไปเก็บของยังห้องของตัวเองโดยไม่ หวั่นไหวด้วยโลกธรรมใดๆ อีก เพื่อเป็นการประหยัดห้อง เนื่องจาก เราเดินทางกันไปเป็นจ�ำนวนคี่ ในขณะที่ ห้องเป็นห้องคู่ ผม สองห้อยและราเม็งเด็ก สุดสามคนจึงรวมอยู่ในห้องเดียวกัน พอมา ถึงห้องและเห็นป้ายที่หน้าห้องเขียนว่า
“ห้อง ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน” เราจึง ได้รู้ว่าทางศูนย์ได้ช่วยอัพเกรดให้ห้องของ เราเป็นห้องพิเศษซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น และมี ถึงสามเตียงจะได้ไม่ต้องนอนเบียดกัน โดย สองห้อยนั้นพอวางข้าวของเรียบร้อยก็รีบ ตรงเข้าไปเปิดทีวีส�ำรวจรายการต่างๆ พวก เราที่เหลือก็คอยลุ้นดูว่าโทรทัศน์ในศูนย์ มีชัยนี้จะมีช่องที่สาธิตเกี่ยวกับการคุมก�ำเนิด หรืออย่างน้อยก็เกี่ยวกับการท�ำให้มนุษย์ ก�ำเนิดอย่างที่บางโรงแรมเขามีบ้างหรือ เปล่า ก็ปรากฏว่าไม่มี ด้วยความผิดหวัง พวกเราจึงชวนกันออกไปนั่งเล่นรอพี่มีชัย อยู่ที่ร้านอาหาร Cabbages and Condom ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์ ชื่อร้าน “กะหล�่ำปลีกับถุงยาง” นี้ ผมฟังทีแรกก็นึกว่ามันจะอะไรกันนักหนา เพราะไอ้การที่ที่ไหนๆ ในศูนย์นี้จะมีแต่ สัญลักษณ์ของการคุมก�ำเนิดเต็มไปหมดก็ แล้วไปเถิด แต่มาเอาถุงยางเป็นชื่อร้าน อาหารเลยนี่ ใจคอจะให้เรากินถุงยางแทน ข้าวเลยหรืออย่างไรนี้ ภายหลังเราจึงได้รู้ว่า เบื้องหลังชื่อนี้ซ่อนปรัชญาแห่งการพัฒนา ประชากรด้วยการคุมก�ำเนิดไว้อย่างลึกซึ้ง ปรัชญานี้มีอยู่ว่าการคุมก�ำเนิดนั้นอาจท�ำได้ ด้วยการใช้ถุงยาง แต่ในเมื่อมนุษย์นั้นเป็น สัตว์ที่ประกอบเมถุนธรรมโดยไม่มีฤดูกาล หรือระเบียบวาระที่แน่นอน ดังนั้นการจะ คุมก�ำเนิดให้ได้ผลจึงต้องท�ำให้ถุงยางนั้นมี อยู่ทั่วไปและหาได้ง่ายเหมือนกับ ผักกะหล�่ำปลี คนหิวเมื่อไรก็จะได้เด็ดมา ต้มผัดแกงทอดให้อร่อยเหาะได้ทันที ไม่ ต้องรอ anumanavasarn.com
144
สมุดจดพระมนู
ระหว่างรอ พวกเราทุกคนล้วนมีใจ ตรงกันพากันสั่งน�้ำมะนาวปั่นกันทุกคน พอกินเข้าไปแล้วพี่น้องบอกหอมอร่อยขึ้น เป็นคนแรก สักพักพอคนอื่นได้กินบ้างก็ เริ่มส่งเสียงยืนยันกันเซ็งแซ่ จนเราชักคิด กันว่านี่อาจเป็นอุปาทานหมู่ โดยเราค่อย มารู้จากพี่มีชัยทีหลังว่าน�้ำมะนาวที่เรากิน ไปนั้นเป็นมะนาวนอกฤดู มะนาวนอกฤดู นั้นก็คือมะนาวที่เวลาถึงฤดูมันออกดอก แล้วต้องรีบเด็ดดอกทิ้งไม่ให้มันเจริญไป เป็นผล จากนั้นก็อดข้าวอดน�้ำแกล้งให้ มะนาวรู้สึกว่าตัวมันจะตาย แล้วก็รอให้ถึง เวลาที่หมดหน้ามะนาวและมะนาวขาดตลาด จึงค่อยบ�ำรุงต้นมะนาวของเราให้ถึงขนาด เพราะตอนนั้นมะนาวที่เกิดมรณานุสติ นึก ว่าตัวเองจะตายแน่แล้ว ก็จะพยายามรักษา วงศ์ของตัวเองด้วยการออกลูกอย่างไม่คิด ชีวิต ท�ำให้ได้มะนาวจ�ำนวนมาก และก็ขาย ได้ราคาดี ซึ่งพี่มีชัยบอกว่ามะนาวนอกฤดู อย่างนี้เป็นพืชแพงที่สุด “ไม่มีปลูกอะไร แล้วได้ก�ำไรมากกว่านี้ นอกจากกัญชา” พอดีกับที่น�้ำมะนาวหมดแก้ว พี่มี ชัยก็เดินเข้ามาถึง พวกเราลุกออกไปรับ ผมก็นึกว่าเดี๋ยวแนะน�ำตัวกันเรียบร้อย ไป นั่งโต๊ะสั่งกับข้าวกับปลาแล้วก็คงจะได้เริ่ม สัมภาษณ์กัน ที่ไหนได้ระหว่างที่เรายังยืนๆ แนะน�ำกันอยู่นั่นเอง พี่มีชัยก็เริ่มพูดใน สิ่งที่เป็นกถาวัตถุ ชวนให้เกิดความคิดออก มาเรื่อยๆ บก.โก้ฉุกใจขึ้นมาก่อน รีบเอา เครื่องอัดเสียงมาบันทึกเอาไว้ เพราะนานๆ ไปเราก็เริ่มรู้ว่าคนอย่างพี่มีชัยนั้น ไม่ต้อง ตั้งท่าให้สัมภาษณ์ พูดเมื่อไร หรือพูดกับ
เด็กนักเรียนต้องน�ำเสนอ โครงงานที่ไปศึกษา มารายงานความก้าวหน้า แก่ครูและเพื่อนๆ
ใครก็ฟังได้คติดีทั้งนั้น เหมือนอย่างตอนที่ พี่มีชัยให้คนงานมาเปิดโปรเจกเตอร์ฉาย สไลด์และวิดีโอให้พวกเราดู ปรากฏว่ามี ภาพขึ้นจอแต่เสียงไม่มี เราเห็นคนงานที่ มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องเทคโนโลยีกุกๆ กักๆ อยู่กับเครื่องพักหนึ่ง ก่อนจะมาบอกว่ารู้สึก ว่าสายล�ำโพงมันยังไม่ได้โยงเสียงในวิดีโอ เลยไม่ออก ทันใดนั้นเราก็ได้ยินพี่มีชัยพูด ขึ้นมาอย่างเอาใจช่วยว่า “จะให้สวดมนต์ ไหมเล่า มันจะได้หาย เดี๋ยวจะได้ช่วยๆ กันสวด” ซึ่งผมว่าฟังแล้วมันได้คติลึกซึ้ง ชอบกลอยู่ น่าจะให้แกลองไปตอบพวก รัฐบาลหรือข้าราชการฟังบ้าง บางทีอาจจะ เลิกออกมาพูดปัญหาบ้านเมืองให้เราฟัง เฉยๆ โดยไม่แก้อะไร แต่นึกอีกทีรัฐบาล หรือองค์กรต่างๆ อาจจะรู้ค�ำตอบนี้แล้วก็ เป็นได้ ทุกวันนี้เราจึงได้เห็นการจัด สวดมนต์ขนานใหญ่แก้วิกฤติกันอยู่เรื่อยๆ เราคุยกันอย่างต่อเนื่องยาวนาน จากหน้าร้านจนกระทั่งย้ายมานั่งอยู่ในร้าน เรื่อยไปจนกระทั่งตลอดมื้ออาหาร เราได้รู้ เกี่ยวกับงานและปรัชญาสังคมสงเคราะห์ สารพัดของพี่มีชัยซึ่งรายละเอียดในเรื่องนี้ คงจะปรากฏอยู่ในบทสัมภาษณ์ของ อนุมานวสารเล่มนี้แล้ว แต่สิ่งที่เราเห็นได้ ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับพี่มีชัย ดูเหมือนจะเป็น ‘พลังงาน’ ที่แกแสดงออกมาทางค�ำพูดและ แววตา ทั้งๆ ที่พี่มีงานราษฎร์งานหลวงให้ ท�ำอยู่เต็มมือ ต้องวิ่งขึ้นล่องประเทศอยู่ ตลอด แต่ท่าทางของพี่ไม่ได้เหมือนคนที่ เหนื่อยหัวซุกหัวซุนเพราะงานเลย ตรงกัน ข้ามเราดูพี่เหมือนเด็กที่ไปเจอของเล่น
ถูกใจ แล้วก็รีบวิ่งมาตะโกนเรียกเพื่อนให้ ไปร่วมเล่นด้วยกันเสียให้ได้ ท่าของพี่นั้น บอกให้เรารู้ว่าแม้มาเรียกแล้วไม่มีใครตาม ไป พี่ก็คงจะกลับไปเล่นกับของสนุกของพี่ เหมือนเดิมอยู่นั่นเอง เพราะทั้งหมดที่พี่ท�ำ ไปนั้นก็เพื่อความสนุกของพี่เองตั้งแต่ต้นอยู่ แล้ว ส�ำหรับพี่มีชัยแล้วงานสังคมสงเคราะห์ ไม่ใช่การเสียสละ แต่เป็นการเสพสุขชนิด หนึ่ง เทียบได้กับสุขที่มนุษย์อื่นเขาได้มา ด้วยการใช้เงินจับจ่ายใช้สอยนั่นเอง เพียง แต่ความต่างอยู่ที่ว่าความสุขอย่างของ พี่มีชัยนั้น นอกจากตัวเองจะสุขแล้ว มัน เป็นความสุขที่ไปพร้อมๆ กับความสุขของ คนอื่นๆ ในสังคมอีกด้วย ซึ่งผมสงสัยเหลือ เกินว่านี่เองจะเป็น ‘จิตสาธารณะ’ ที่คน เขาพูดๆ กัน พี่อาทิตย์ถามขึ้นมาว่าที่พี่ท�ำทั้งหมด นี้ ไม่เหนื่อยบ้างหรือ พี่ก็ตอบแต่เพียงว่า “ทุกขํ ชาติ ปุนปฺปุนํ พระพุทธเจ้าบอกว่า เกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร�่ำไป ดังนั้นไม่ต้อง ถามว่าเหนื่อยหรือไม่ เพราะถ้าจะไม่ให้ เหนื่อยก็ต้องรอตอนตายอย่างเดียว” ด้วยความที่วันรุ่งขึ้นต้องตื่นกันแต่ เช้าเพื่อไปดูกิจกรรมก่อนเข้าเรียนของเด็ก นักเรียนที่โรงเรียนล�ำปลายมาศฯ เราจึงคุย กันได้แค่ถึงประมาณเที่ยงคืนกว่าๆ ก็ต้อง แยกย้ายกันไปนอน โดยคืนนั้นผม สอง ห้อยและราเม็ง สาม ฯพณฯ หลับกันอย่าง ยิ่งใหญ่สมกับที่นอนห้อง นายกฯ อานันท์ แม้ก่อนนอนจะผิดหวังกันอีกคนละเล็ก น้อยเมื่อพบว่าแม้กระทั่งยามดึกมากๆ ใน โทรทัศน์ของโรงแรมก็ยังไม่มีช่องที่สอน anumanavasarn.com
146 สมุดจดพระมนู เรื่องการคุมหรือการก�ำเนิดอยู่ดี วันจันทร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์
วันนี้สมาชิกของห้อง ฯพณฯ ตื่น กันแต่เช้ามืด เพราะนึกว่าเขารวมพลกัน ตอนหกโมง ที่ไหนได้เราออกมาไม่เจอใคร สักคนหนึ่ง พวกเราเลยไปด้อมๆ มองๆ อยู่ที่ร้าน Cabbages and Condoms เพราะคิดว่าไหนๆ ขาดทุนเวลานอนแล้ว ก็ จะมาเอาก�ำไรจากเวลากินแทน โดยเรากะ จะเริ่มกินข้าวเช้าก่อนคนใดในศูนย์เสียเลย แต่ก็ไม่ส�ำเร็จ เพราะที่ร้าน อาหารยังไม่ลง มีแต่กาแฟกับชาร้อนตั้งรอไว้อยู่ แต่ในเมื่อ เราไม่ใช่พระ เราก็เลยไม่เห็นว่าล�ำพังน�้ำ ปานะพวกนี้จะท�ำให้เราหายหิวได้อย่างไร โชคดีที่ไม่นานหลังจากนั้นพี่หน่อง พี่น้องก็ มาถึงและก็ตามด้วยพี่มีชัยและก็พี่กิ๊ก พี่ ไนย์ ส่วน บก.โก้กับพี่ณัฐนั้น หลังจากมี การโฟนอินเข้าไปปลุกเล็กน้อยก็ตามมา สมทบในที่สุด เราจึงทานอาหารเช้ากัน พี่มีชัยแนะน�ำให้เราลองสั่งไข่กะทะ ของที่นี่กินดู แกบอกว่าเมนูนี้ขายดีเหลือ เกินในหมู่ฝรั่ง เพราะเวลาแกขายฝรั่ง ก็ เรียกชื่อเมนูนี้เสียใหม่ว่า Vietnam War Breakfast ซึ่งพอเราเห็นหน้าตาของมันเรา ก็เริ่มเข้าใจ เพราะมันมีไข่ดาววางมาบน กะทะขนาดเล็กๆ แล้วโรยหน้าด้วย เครื่องเคียงทุกอย่างที่แสดงออกถึง Full Breakfast ของฝรั่งที่ท�ำด้วยตู้เย็นไทย ซึ่ง เดาได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยที่ ฝรั่งอเมริกันที่มารบที่เวียดนามพักอยู่ใน เมืองไทยและเรียกร้องให้พ่อครัวไทยท�ำ
ฟูลเบรกฟาสต์ให้รับประทาน ผลก็คือ ฟูลเบรกฟาสต์ต�ำรับไทยที่มีส่วนประกอบ เหมือนกับของเดิมอย่างเดียวคือไข่ดาว โดยตรงไหนที่ต้องใช้ไส้กรอก ไทยเราก็ใส่ หมูยอมาแทน และตรงไหนที่ควรจะมี เบคอนก็ปรากฏเป็นกุนเชียงฝาน แถมยัง โรยหมูบะช่อเป็นสมนาคุณมาเสียอีกต่าง หาก ไม่รู้ว่ามันกินดีเกินไปหรืออย่างไร ไปๆ มาๆ ทหารอเมริกันกินแล้วเลยรบแพ้ เวียดนามกันหมด ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การที่พี่มีชัยตั้งชื่อเมนูนี้ว่า Vietnam War Breakfast เป็นอนุสรณ์นี่ก็นับว่าเหมาะสม แล้ว โดยน่าจะตั้งชื่อภาษาไทยเสียด้วยว่า “เบรกฟาสต์ญวน (ไม่) พ่าย” จะได้ฟังใกล้ กับพงศาวดารเข้าไปอีก ปรากฏว่าเรากินเบรกฟาสต์และฟัง พี่มีชัยเล่าอะไรต่ออะไรให้ฟังเพลินไปหน่อย ดังนั้นกว่าเราจะถึงโรงเรียนล�ำปลายมาศ เด็กก็เข้าชั้นเรียนกันไปหมดแล้ว ซึ่ง หมายความว่าเรามาไม่ทันดูการฝึกจิตก่อน เข้าชั้นเรียนของเด็กที่นี่ ความจริงพูดว่าฝึก จิตแล้วอาจหนักไปหน่อย ฟังแล้วอาจชวน ให้นึกถึงพระป่ามากกว่าเด็กอนุบาล เพราะ วิธีการฝึกจิตของเด็กที่นี่จะไม่ใช่การให้เด็ก นั่งหลับตานิ่งๆ นานๆ แต่จะเป็นการหา เกมอะไรที่เบาๆ แต่ต้องใช้สมาธิมาให้เด็ก เล่น เด็กก็นึกว่าเล่นเกม โดยไม่รู้ว่า ระหว่างที่เล่นนั้น ใจได้ถูกเกมล่อให้นิ่งไป โดยปริยาย โดยที่ต้องท�ำอย่างนี้ก็เพราะว่า เด็กเล็กๆ นั้นมีธาตุความซนอยู่มาก จะให้ จับมาเรียนทันทีทันควันนั้นก็จะเป็นการฝืน ธรรมชาติและพลอยท�ำให้การเรียนรู้ติดขัด
ดังนั้นจึงต้องอาศัยเกมกล่อมไปก่อน พอ เด็กเริ่มนิ่ง และ “มีคลื่นสมองอยู่ในระดับ เธตา ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะแก่การเรียนรู้ ที่สุด” อย่างที่ครูในโรงเรียนอธิบาย ก็จึง ค่อยเข้าสู่บทเรียน เท่านี้การสอนก็จะเป็น ไปโดยละม่อม ประหยัดแรงครู ยิ่งไปเดินดูตามห้องเรียนก็จะเห็นว่า วิธีนี้ประหยัดแรงได้จริงๆ เสียด้วย เพราะ ปกติแล้วเรามักจะเห็นว่าเวลาเด็กเล็กมาอยู่ รวมกันมากๆ ก็จะต้องแสดงอภินิหารกัน อย่างไม่มีใครยอมใคร ท�ำให้ครูส่วนใหญ่จ�ำ ต้องแสดงอภินิหารข่มให้มันยิ่งเข้าไปอีกจน ห้องเรียนแทบจะกลายเป็นรามเกียรติ์ ย่อมๆ แต่ที่ล�ำปลายมาศนี่เขาถือว่าในเมื่อ อุตส่าห์เสียเวลาปรับคลื่นสมองเด็กให้อยู่ใน ระดับเธตาแล้ว เมื่อเข้ามาในห้องเรียนครูก็ ควรจะรักษาคลื่นสมองระดับนั้นไม่ให้ แตกซ่าน โดยการไม่ใช้เสียงดังหรือท�ำตัว กะเปิ๊บกะป๊าบเสียเอง จนท�ำให้เด็กเจี๊ยวขึ้น มาอีก ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นว่าครูของที่นี่จะ เดินเหินหยิบจับอะไรก็ค่อยๆ จะพูดอะไร กับเด็กก็ใช้น�้ำเสียงเบาๆ นุ่มๆ เหมือนกับ จะบอกกรรมฐานมากกว่าสอนหนังสือ แต่ เพียงเท่านี้ เด็กก็ดูจะนั่งฟังกันแต่โดยดี อันที่จริงคุณครูบอกว่ายิ่งพูดเบา เด็กยิ่ง ต้องตั้งใจฟังมากขึ้นเอง พูดอีกอย่างก็คือ เขาต้องการฝึกให้เด็กเป็นฝ่ายฟังให้ได้ยิน มากกว่าจะให้ครูตะเบ็งเพื่อให้เด็กได้ยิน ซึ่ง คิดๆ ดูแล้วออกจะเป็นอะไรที่เหมาะกับ เมืองไทยอยู่ไม่น้อย เพราะทุกวันนี้คนของ เรายิ่งพูดกันเก่งขึ้นเรื่อยๆ แต่หาคนฟังดีๆ ได้ยากเต็มที
ถ้าจะมีอะไรที่ครูที่นี่จะต้องเหนื่อยก็ เห็นจะเป็นเรื่องการเตรียมเนื้อหาการสอน เพราะที่การสอนที่ล�ำปลายมาศไม่ได้เริ่มที่ หลักสูตรของกระทรวง แต่เริ่มมาจาก หลักสูตรของนักเรียนในชั้นเอง กล่าวคือใน แต่ละวิชาครูจะให้เด็กเป็นคนช่วยกันเสนอ ว่าอยากเรียนเรื่องอะไร แล้วก็ให้ทั้งห้องลง มติว่าจะเรียนเรื่องไหน โดยใครที่อยากให้ เรื่องของตนได้รับเลือกก็ต้องพยายามจูงใจ เพื่อนในห้องให้เห็นถึงความน่าสนใจของ เรื่องที่ตัวเองเลือกมา แต่เมื่อได้ข้อตกลง แล้วภาระจะตกแก่ครูผู้สอนที่จะต้อง พยายามโยงเรื่องที่เด็กเลือกจะเรียนให้ เข้าไปเกี่ยวกับเนื้อหาตามที่ กระทรวง บังคับให้ได้ ก็เป็นอันว่าเด็กจะได้รู้เนื้อหา ตามที่กระทรวงก�ำหนดเป็นขั้นต�่ำ และใน ขณะเดียวกันก็ได้ “อภิญญา” คือความรู้ที่ ยิ่งไปกว่านั้นตามที่ตัวเองได้เลือกจะเรียน มาตั้งแต่แรก ดังนั้นถ้าจะเห็นเด็กประถมที่ นี่แต่งนิทานแล้วใช้ตัวละครที่มีชื่อว่า “จอห์น ล็อก” “มงเตสกิเออร์” หรือ “อดัม สมิธ” ก็อย่ากระโตกกระตากไป เพราะนี่ก็ เป็นธรรมดาของเด็กมีอภิญญา หลังจากเดินดูตามห้องเรียนเด็ก อนุบาลสักพักแล้ว ก็ได้เวลาที่เราจะเข้าไป ฟังการบรรยายจากคุณวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่ของโรงเรียน ถ้าผมเคยนึกว่าครูที่นี่ ออกจะนุ่มนวลเรียบร้อยเหมือนแม่ชี พอ มาเจอครูใหญ่ก็นึกเลยว่าตัวเองเจอสมภาร เข้าแล้ว อย่างแรกก็เพราะครูใหญ่ท่านไว้ ผมทรงเดียวกับพระลงปาฏิโมกข์ แต่ที่ ส�ำคัญก็คือเสียงและวิธีการพูดของท่าน anumanavasarn.com
148 สมุดจดพระมนู ครูใหญ่มักจะนิ่งฟังคนอื่นอยู่นาน ก่อนจะ พูดอะไรออกมาสักประโยคหนึ่งด้วยน�้ำ เสียงทุ้มๆ ไม่เร่งร้อน ซึ่งพอฟังแล้ว ผมก็ ชักรู้สึกว่าคลื่นสมองของตัวเองจะกลายเป็น ระดับเธตาไปได้เอง นอกจากนั้นครูยังมีวิธี ตอบค�ำถามลึกซึ้งแบบคุรุอีกด้วย อย่างเช่น มีคนถามขึ้นมาเป็นท�ำนองว่าโรงเรียนสอน เด็กอย่างนี้แล้วจะไปสอบแข่งกับเขาไหว หรือ ครูใหญ่ท่านก็ไม่ตอบตรงๆ แต่เล่า เรื่องให้ฟังแทนว่าสมัยหนึ่งมีชายแปลกหน้า เดินเข้ามาในหมู่บ้านแล้วถามหาขวดรูป ทรงประหลาดว่าจะขอซื้อใน ราคางามๆ แต่ถามบ้านไหนๆ ก็ไม่มีขวดที่ว่า ชาย แปลกหน้าผู้นั้นจึงจากไป แต่อาทิตย์ต่อมา ปรากฏว่ามีรถเข้ามาขายของในหมู่บ้านโดย หลังรถบรรทุกขวดอย่างที่ชายแปลกหน้า เคยถามหาไว้เต็มคันรถ ชาวบ้านจึงต่างพา กันซื้อขวดที่ว่าคนละขวดสองขวดด้วยหวัง ว่าจะเก็บไว้ขายเอาก�ำไรเมื่อชายแปลกหน้า หวนกลับมาอีกครั้ง แต่สุดท้ายชายแปลก หน้าคนนั้นก็ไม่เคยกลับมาอีกเลย ทิ้งชาว บ้านให้อยู่กับขวดที่พวกเขาไม่เคยรู้ว่าจะ เอาไปท�ำประโยชน์อะไร ถึงตรงนี้ครูก็ไม่ เล่าอะไรต่ออีก กระนั้นพวกเราที่ได้ฟัง ชาดกนี้ก็เริ่มค่อยๆ จะเห็นธรรมขึ้นมาเอง ว่าที่แท้คะแนนสอบสูงๆ ของเรานี้ก็ไม่ต่าง ขวดรูปทรงประหลาดนั้น คือเป็นสิ่งที่เรา ไขว่คว้าเพราะมีคนมาท�ำให้เราเข้าใจว่ามัน มีค่า ทั้งๆ ที่เราก็ยังไม่เห็นว่ามันจะเอาไป เป็นประโยชน์อะไรได้ การศึกษาที่ควรเป็น เครื่องล้างความงมงาย ก็เลยกลายเป็นนาย หน้าค้าความงมงายเสียเอง เอวังก็มีเท่านี้
เมื่อจบการบรรยาย ก็เป็นการเดิน ตรวจดูสถานที่เรียนของนักเรียนประถม ซึ่งพี่มีชัยออกจะภูมิใจอยู่มากว่าเป็น ห้องเรียนท�ำจากไม้ไผ่ทั้งนั้น ไม่มีที่ไหน เหมือน โดยการจะไปดูโรงเรียนฝั่งประถม จะต้องเดินบนสะพานข้ามบ่อน�้ำไปก่อน เหมือนคูเมืองสมัยโบราณ พี่มีชัยอธิบายว่า สะพานนี้ตั้งชื่อว่าสะพานข้ามอวิชชาหรือ ความไม่รู้ ทั้งนี้ก็เพราะนี่เป็นสิ่งที่นักเรียน ต้องผ่านก่อนเข้าสู่ห้องเรียนอันเป็นแหล่ง รวมวิชชาความรู้ โดยหากนักเรียนมองลง ไปดูเงาในน�้ำก็จะได้เห็นว่าแท้จริงอวิชชานั้น ไม่ได้อยู่ที่ไหนนอกจากกับตัวเอง ในทาง กลับกันเมื่อเรียนเสร็จแล้วในแต่ละวัน นักเรียนก็จะต้องข้ามสะพานกลับมาพร้อม กับความรู้ เมื่อนั้นสะพานก็จะกลายเป็น สะพานแห่งวิชชาที่เมื่อเด็กก้มลงมองในน�้ำ ก็จะเห็นว่าความรู้นั้น ไม่ได้สถิตอยู่ที่ใด นอกจากกับตัวผู้เรียนนั่นเอง พอรู้อย่างนี้ ก่อน ขาเดินเข้าโรงเรียนผมเลยรีบดุ่มข้าม สะพานโดยไม่มองอะไรทั้งนั้น เพราะผม เห็นว่าตัวอวิชชาหรือตัวโง่ที่หน้าเหมือนตัว ผมเองนั้นอย่างไรเสียก็คงไม่ใช่ของน่าดู เท่าไร และถ้าไหนๆ มันก็หน้าตาเหมือน ตัวฉลาดแล้ว ค่อยกลับออกมาดูอีกทีตอน ขาออกก็คงไม่เสียหาย ในเมื่อโรงเรียนล�ำปลายมาศตั้งใจจะ สร้างเด็กสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่บ้าวัตถุ และ รู้จักรักธรรมชาติ ห้องเรียนของที่นี่จึงไม่ได้ ก่ออิฐถือปูน แต่สร้างขึ้นจากไม้ไผ่ล�ำใหญ่ๆ เรียงเป็นผนัง เว้นช่องไฟพอให้สายลม แสงแดดเข้ามาอยู่ในห้องเรียนกับเด็กได้
ลานปลูกผักไว้ยืนเคารพธงชาติในตอนเช้าพร้อมกับ ดูแลผักที่เด็กๆปลูก โดยยืนหน้ากระถางของตัวเอง
แต่หากฝนตกก็สามารถรูดม่านพลาสติกใส มากันละอองฝนสาดได้โดยไม้ไผ่ที่นี่เคลือบ น�้ำยา ซึ่งพี่มีชัยบอกว่าอยู่ได้เป็นร้อยปี ไม่ ว่าห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องพักครูก็ ท�ำในลักษณะเดียวกันนี้ทั้งสิ้นเป็นหมู่ อาศรม ซึ่งดูแล้วก็น่าเชื่อว่าจะท�ำให้เด็ก รู้สึกเป็นกันเองกับลมแดดฝุ่นฝนของ ธรรมชาติ และเริ่มเป็นไทจากห้องแอร์ ไวท์เทนนิ่ง ครีมกันแดด กระดาษซับมัน หรือบริขารอื่นๆ ที่เราสร้างขึ้นมาใช้เหมือน กับเห็นว่าเราเห็นธรรมชาติเป็นความ แปดเปื้อนอย่างหนึ่ง ในระหว่างหมู่อาศรมที่ว่านี้ มีถัง ซิเมนต์ขนาดใหญ่ส�ำหรับเก็บน�้ำวางอยู่เป็น ระยะๆ ซึ่งพี่มีชัยให้คนทาสีแล้วเขียนชื่อ นายกฯ ของประเทศไทยไว้ถังละคนสองคน
ตั้งแต่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ชาติชาย บรรหาร หรือทักษิณก็มีหมด แน่นอนถึง ตอนนี้เราก็เริ่มสังหรณ์แล้วว่านี่คงเป็น ปริศนาธรรมอะไรของพี่มีชัยอีกแน่ แต่ก็ เปล่า เพราะพี่มีชัยบอกว่าเห็นถังมันโล่งๆ ก็หาอะไรมาเขียนพอจะได้ไม่ให้มันเสีย ประโยชน์เท่านั้น อย่างน้อยเด็กจะได้รู้จัก ชื่อนายก แต่ถึงอย่างนั้นแกก็ทิ้งท้าย ชอบกลเหมือนกันว่า “ความจริงนี่ยังเหลือ ถังส้วมว่างๆ อีกนะ” ซึ่งเป็นหน้าที่ของท่าน ผู้เจริญทั้งหลายจะได้ไตร่ตรองโดยแยบคาย กันต่อไปเองว่า พี่มีชัยแกก�ำลังบอก กรรมฐานอะไรอยู่ เช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไป โรงเรียนล�ำปลายมาศนี่ก็มีสนามฟุตบอล อยู่เหมือนกัน แต่ที่ไม่เหมือนก็คือสนาม anumanavasarn.com
150 สมุดจดพระมนู บอลของที่นี่มีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งขึ้นอยู่ เกือบๆ จะกลางสนาม ซึ่งถ้าเป็นที่อื่นเราก็ ต้องนึกว่าเก็บไว้ขอหวย หรือให้รุกขเทวดา อยู่ แต่ส�ำหรับที่นี่เขาเก็บต้นไม้ไว้เพื่อ ยืนยันให้เห็นสิทธิของธรรมชาติว่าไม่จ�ำเป็น จะต้องอยู่ใต้เท้ามนุษย์เสมอไป พี่มีชัยบอก ว่าตอนปรับสนาม ช่างเข้ามาบอกว่าจะตัด ต้นไม้ทิ้ง แต่แกไม่อนุญาต โดยบอกว่าใน เมื่อเด็กมันก็ต้องวิ่งเลี้ยงบอลหลบกันเอง อยู่แล้ว ก็ให้หลบต้นไม้อีกต้นหนึ่งจะไป ยากอะไร เด็กที่นี่ก็เลยเล่นบอลกันอย่างที่ ใครเห็นแล้วก็จะต้องนึกถึงโฆษณาเป็บซี่ “Oh Africa” ซึ่งมีเด็กเป็นฝูงๆ วิ่งกวดบอล พลาง มุดลอดกิ่งไม้พลางอย่างไรอย่างนั้น เราเดินมาถึงตอนนี้เงาก็ทับเองพอดี บ่งว่าเป็นเวลาเที่ยงตรง เด็กต่างๆ ก็เริ่มกรู ไปในทิศทางที่สังหรณ์ว่าน่าจะเป็นโรง อาหาร เราซึ่งเดินกันมาจนเวียดนามวอร์ เบรกฟาสต์กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปหมด แล้วก็เริ่มจะอยากกรูตามเด็กไปเหมือนกัน ก็ให้พอดีกับที่พี่มีชัยบอกว่าได้เวลามื้อเที่ยง และเดินน�ำพวกเราไปยังโรงอาหาร ซึ่งแน่นอนว่าในเมื่อทีมงานรุ่นเด็กได้เดิน ตากแดดมาเกือบกึ่งวันจนบางคนติดน�้ำมัน หน้าหลังจนแทบจะเป็นพระยาช้างต้นอยู่ แล้ว เราก็เลยกินกันอย่างไม่เก็บอาการ อาหารกลางวันของน้องเด็กนักเรียนซึ่ง ประกอบด้วยไก่ย่าง ผัดผักรวมมิตร น�้ำพริกปลาทู ข้าวแดง ข้าวขาวอะไรจึงถูก เราคดเติมแล้วเติมอีกเหมือนจะต้องไปเอา เมืองจันท์ ระหว่างที่กินนั้นเราไม่ค่อยอยาก หันไปมองทางโต๊ะของเด็กนักเรียนสัก เท่าไร เพราะได้ข่าวมาว่าวัตถุดิบบางอย่าง
ในข้าวมื้อนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นผลมาจาก น�้ำพักน�้ำแรงของเด็กที่ช่วยกันปลูก ช่วย กันเลี้ยงมา และเราก็ไม่แน่ใจการที่เด็กได้ เห็นข้าวเห็นผักที่ตัวเองอุตส่าห์ปลูกมาถูก เคี้ยวไม่กี่ทีก็กลืนต่อหน้าต่อตานั้น มันจะ ชวนให้เกิดความรู้สึกสังคมนิยมท�ำนอง “เหงื่อกูที่สูกิน... สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซด ก�ำซาบฟัน” บ้างหรือไม่ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในเมื่อพวกที่นั่งๆ กินกันอยู่นั้นก็มีทั้ง หม่อม มีทั้งทูตน้อย มีทั้งมหาดเล็กหลวง พูดง่ายๆ ก็คืออ�ำมาตย์ทั้งโต๊ะ และตามวิถีอ�ำมาตย์เมื่อกินข้าว เสร็จแล้ว เราก็ต้องมีผลไม้ล้างปาก ทาง โรงเรียนได้จัดสับปะรดและฝรั่งซึ่งเจียน และสลักเป็นรูปใบไม้มาให้อย่างดี เราจึง ฉลองศรัทธาเสียหมดถาด โปรอุ๋ย วิรดา นิราพาธพงศ์พร ซึ่งเผอิญมาดูงานที่ โรงเรียนล�ำปลายมาศและได้นั่งทานข้าวอยู่ โต๊ะเดียวกับเราเห็นอย่างนั้นก็ช่วยถาม คุณครูที่คุมครัวว่ายังเหลือฝรั่งอีกบ้างหรือ ไม่ คุณครูก็ดีใจหายบอกว่าเดี๋ยวจะเอาออก มาเติมให้อีก แล้วก็หายเข้าครัวไปพักใหญ่ จนเรานึกว่าถ้าไม่กลัวจะถูกครหาว่าเป็นถึง อ�ำมาตย์ศักดินายังมานั่งกินฝรั่งเฉาะจิ้ม เกลือเป็นคนออฟฟิสแล้ว เราก็อยากจะ บอกครูว่าอย่าให้ยากแก่ผู้ใดเลย แม้นยก มาทั้งๆ ที่ไม่แกะสลักก็จะกินไม่ให้เหลือ อยู่ดี เรากินกันอีกสักพัก พี่มีชัยก็เดิน มาบอกว่าหากอิ่มแล้วก็ไปดู Geodesic Dome อันเป็นหอประชุมของโรงเรียนกัน ต่อได้ แต่ตัวพี่มีชัยต้องปลีกตัวไป สัมภาษณ์คนที่มาสมัครเป็นครูใหญ่ก่อน
ผมสังเกตดูมาตั้งแต่วันก่อนแล้วก็รู้สึกว่าพี่ มีชัยออกจะปลื้มๆ กับโดมนี่มากเพราะพูด ถึงบ่อยครั้ง แถมที่เก็บไว้ให้ดูเป็นรายการ สุดท้ายนี่ก็อาจจะเพราะอยากให้เราได้เห็น โดมเป็นไคลแมกซ์ก่อนกลับบ้าน ซึ่ง ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะพวกที่ เรียนสถาปัตย์มาก็จะต้องรู้ว่าจีโอเดสิก โดมที่ว่านี้เป็นผลงานการออกแบบที่มีชื่อ มากของยอดสถาปนิกบักมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ (R. Buckminster fullerene) โดยมีลักษณะเป็นโดมโค้งที่สานขึ้นจากรูป เหลี่ยมหลายๆ เหลี่ยมมาขัดกัน และโดม ของล�ำปลายมาศยังไม่เหมือนใครเพราะท�ำ จากไม้ไผ่ ดูสวยแปลกตาสมกับที่พี่มีชัย เล่าว่าคนผ่านไปผ่านมามักแวะเข้ามาถ่าย รูป ใครที่นึกไม่ออกก็ลองนึกถึงฝาชีตา ห่างๆ แต่ขยายขนาดให้ใหญ่พอจะครอบ สนามบาสฯ ได้หลวมๆ ก็คงพอจะใกล้ เคียง เมื่อเราดูเสร็จพี่มีชัยยังคงสัมภาษณ์
ผู้มาสมัครคนนั้นอยู่ พวกเราจึงได้แต่ขอ เข้าไปขอบคุณและลาพี่มีชัยกลับกรุงเทพฯ อย่างรวบรัด แต่รู้ดีว่าประเด็นที่พี่มีชัยทิ้งไว้ ให้เราขบคิดนั้นคงยังไม่จบง่ายๆ ซึ่งทุกคน คงจะหาอ่านและร่วมพิจารณาได้จากบท สัมภาษณ์ในเล่มเดียวกันนี้ ขานั่งรถกลับกรุงเทพฯ เราก็คุยกัน ถึงเรื่องล�ำปลายมาศอยู่ตลอด จะมีก็แต่โอวี รุ่นเล็ก ซึ่งพอมองข้างทางแล้วเห็นวัวควาย หรือสัตว์อื่นๆ ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ ก็มักฮือ กันขึ้นมาแล้วพูดกันแต่ว่า “ล้มวัว! ล้มวัว!” แล้วก็หัวเราะชอบใจกันเองเอิ๊กอ๊าก ท�ำนอง ว่ากระหยิ่มใจที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดในห่วงโซ่ อาหารอยู่สูงกว่าพวกตนอีก และจะเป็น ด้วยเหตุนี้หรือไม่ก็ไม่ทราบ พอรถถึง สระบุรีพี่หน่องพี่น้องเลยให้จอดรถที่ฟาร์ม โชคชัยเสียเลย จะได้พิสูจน์กันให้แน่ชัด ตารางและวิชาเรียนที่ออกแบบโดยตัวเด็กนักเรียน และตามความสนใจที่อยากจะเรียนของเด็กได้เอง
anumanavasarn.com
152
สมุดจดพระมนู
Geodesic Dome ที่สร้างด้วยไม้ไผ่ชุบน�้ำยาพิเศษ ซ่ึ่งเป็นวัสดุหลักของอาคารทั้งโรงเรียนและสระน�้ำแห่งอวิชชา
แต่การกลับกลายเป็นว่าพอลงมาอยู่ที่ สเต๊กเฮาส์หน้าฟาร์ม และมีอนุสาวรีย์วัว ตัวใหญ่ๆ ยืนคุมอยู่แล้ว เครือข่ายล้มวัวบน รถเมื่อตะกี้นี้ ก็ออกอาการเขินๆ อ้อมแอ้ม พูดคล้ายๆ ว่าอย่าให้ถึงกระนั้นเลย ไม่ จ�ำเป็นต้องกินหรอก สเต๊กอันมีราคาเหล่านี้ หาคู่ควรแก่งานอันน้อยนิดที่เราได้ท�ำไปไม่ แต่พี่หน่องผู้มีปกติแผ่เมตตาไปยังสัตว์โลก อีกทั้งยังหยั่งรู้อุปนิสัยของรุ่นน้องในบังคับ เป็นอย่างดี ก็กล่าวตัดบทว่า “เอาน่า กิน เถอะ เดี๋ยวอารมณ์ค้าง” เท่านั้นปัญหาทุก อย่างก็คลี่คลาย ว่าแล้วทุกคนก็รีบเดินตาม พี่หน่องเข้าร้านไปติดๆ อย่างกับกลัวหลง ปรากฏว่าพี่หน่องตัดสินใจถูกเผง เลยทีเดียว เพราะคนที่ท�ำท่าเหมือนจะไม่ อยากกินเมื่อตอนอยู่นอกร้านนั้น พอเข้า มาในร้านแล้วก็กินกันเหมือนกับไม่เคยมี
มื้อกลางวันเมื่อสองชั่วโมงที่แล้วของพี่มีชัย มาก่อน บรรดาริบส์ ทีโบน ฟิเลต์มิญอง ริบ อาย นิวยอร์ก คัต จานแล้วจานเล่าถูก ล�ำเลียงมาส่งที่โต๊ะรวมๆ กันแล้วมีค่าเท่าๆ กับการจูงวัวเข้ามาตัวหนึ่ง โดยพวกที่ยัง กล้าๆ กลัวๆ ก็สั่งแค่จูเนียร์ ไซส์ แต่ใครที่ มั่นใจในศักยภาพของตนก็สั่งซีเนียร์ ไซส์ ซึ่งเป็นชิ้นเนื้อปริมณฑลกว้างเกือบกลบ จานร้อนข้างใต้จนต้องแยกเครื่องเคียง จ�ำพวกผักและมันฝรั่งใส่มาอีกจาน หรือ มิฉะนั้นก็ต้องเอาอย่างท่านสาราณียกรซึ่ง สั่งซีเนียร์ ทีโบนแล้วแบ่งกันกินกับพี่ไนย์ สองคนกระหนุงกระหนิง ซึ่งผมยังนึกว่าถ้า มีการผลัดกันเช็ดเลือดมีเดียมแรร์ริมมุม ปากด้วย ก็คงจะยิ่งโรแมนติกเข้าไปอีก ต่อ เมื่อทุกคนท�ำการรบกับวัวตรงหน้าจนเหลือ แต่กระดูกหรือกะหล�่ำปลีเล็กๆ น้อยๆ แล้ว
ภายในห้องสมุดที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย โดยมุ่งเน้นคุณค่าแท้ของการศึกษาเป็นหลัก
สองห้อยช่างภาพของเราจึงได้ใช้บีบีถ่ายรูป สมรภูมิ ‘ยุทธคาวี’ บนโต๊ะ เพื่อจะได้น�ำไป ลงเฟสบุ๊กและแท็กรูปอุทิศส่วนกุศลหรือ เป็นอุทธาหรณ์ให้กับทีมงานอนุมานวสารที่ พลาดทริปนี้ต่อไป แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ตอนจบของทริปนี้ เพราะเมื่อคิดเงินเสร็จและ ออกมานอก ร้านแล้วเรายังเจอร้าน “อืมม!...มิลค์” มา ตั้งขวางทางไปยังลานจอดรถอีก ทุกคนก็ เลยจ�ำต้องกินไอศกรีมแล้วอุทานด้วยความ หอมนมว่า “อืมม!...มิลค์” อีกคนละยก โดยเด็กๆ นั้นมีโควตาไอติมคนละหนึ่งก้อน ซึ่งพี่ไนย์เป็นผู้เลี้ยง แต่ปรากฏว่าไม่รู้ว่าพี่ ท่อกเห็นว่าทีโบนของตัวเองนั้นถูกพี่ไนย์ แย่งกินเสียหมด หรือไม่ก็เห็นว่าตัวเองก็ เรื่อง ธนกร จ๋วงพานิช
ถ่ายภาพ โอวี ๗๗ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์
เป็นเด็กของพี่ไนย์ด้วยคนหนึ่งหรืออย่างไร แกถึงได้มาต่อคิวให้พี่ไนย์เลี้ยงไอติมกับเขา ด้วย โดยกินถึงสองก้อนอีกต่างหาก ซึ่งแม้ เราจะรู้สึกว่านี่เป็นพฤติกรรมสอง มาตรฐานไปบ้างแต่เราก็ให้อภัยเพราะเรา ไม่เคยมีปัญหากับอ�ำมาตย์ที่เป็นพวกของ พวกเรา ก่อนขึ้นรถทุกคนเข้ามาขอบคุณ และขออนุโมทนาบุญกับพี่หน่องพี่น้องซึ่ง คงต้องหมดเปลืองไปมากกับมื้อนี้และ ทริปนี้ แต่ดูเหมือนว่าจนแล้วจนรอดพี่หน่อง ก็ยังไม่ห่วงตัวเองอยู่นั่นเอง เพราะเห็นพี่ หน่องร�ำพึงขึ้นมาแค่ว่า “ดีนะที่พี่มีชัยไม่ได้ พาไปดูหมูหลุมที่เด็กเค้าเลี้ยงไว้ด้วย ไม่งั้น ก็หมดหลุมแน่” ว่าแล้วก็ก้าวขึ้นรถไป โอวี ๗๒
anumanavasarn.com
154
สนามหลัง
ข่าวสารสมาคม
วันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๓ สมาคมฯ จัดการการแข่งขัน OV ANNUAL GOLF 2010 ที่สนามราชคราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจ�ำนวน ๑๘๑ คน สรุปผลการแข่งขันอ่านได้จาก “จากห้องประชุมสมาคมฯ” หน้า ๑๕๗
วันเสาร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ได้ก�ำหนดให้จัด งานระลึกพระคุณครูขนึ้ ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย เวลา ๙.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. มีนกั เรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย เข้าร่วมงาน ๑๕๐ ท่าน โดยสมาคมฯ สนับสนุน งบประมาณ ๔๗,๕๑๑ บาท
anumanavasarn.com
156 สนามหลัง วันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๗.๓๐ น. สมาคมฯ ร่วมวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ณ ลาน หน้ารัฐสภา
วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓ สมาคมฯ ได้มีการประชุมใหญ่สมาคมประจ�ำปี ๒๕๕๓ และเลี้ยงต้อนรับนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย รุ่น ๘๒ เป็นสมาชิกใหม่ ได้มีผู้เข้าร่วม ประชุม และงานเลี้ยงประมาณ ๑๑๔ คน และมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น ๑๐๐,๙๗๙.๐๐ บาท
157
จากห้องประชุมสมาคมฯ
กิจกรรมสมาคมฯ ในไตรมาสนี้ เริ่ม กันตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๒๑ มีนาคม สมาคมฯ ได้จัดการแข่งขันกอล์ฟ OV Annual ๒๐๑๐ ณ สนามกอล์ ฟ ราชคราม กอล์ ฟ คลั บ จ.อยุธยา ซึ่งมีโอวีเข้าร่วมแข่งขันจ�ำนวน ถึง ๑๘๑ คน ผลการแข่งขัน ปรากฏว่า คณะจิตรลดา รางวัลชนะเลิศประเภทคณะ และรุ่น ๖๒ ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท รุ่น ส�ำหรับรางวัลชนะเลิศประเภทบุคคล Overall Low Gross ได้ แ ก่ นายกมล นันทิยาภูษิต รุ่น ๖๑ และรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล Overall Low Net ได้แก่ นายโชดึก ศิริทิพย์ รุ่น ๕๔ ๏ ต่อมาใน วันเสาร์ที่ ๓ เมษายน ที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้จัดให้มีงานระลึกพระคุณครู ณ ห้อง ประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ โดยมีคุณครู อาวุโสได้กรุณาเข้าร่วมงานรวมทั้งสิ้น ๑๐ ท่านคือ คุณครูถนิม อภัยพลชาญ คุณครู สะอาดจิต เทวาหุดี คุณครูภิญโญ บุญหนุน ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช คุณครูสมลักษณ์ สุวรรณวงศ์ คุณครูเอก ชมพูนิช คุณครู สุมล ชมพูนิช คุณครูวัชรินทร์ ชื่นก�ำเนิด คุ ณ ครู อ รวรรณ รั ต นกาฬ และคุ ณ ครู รักเกียรติ รัตนมณี โดยที่มีนักเรียนเก่าฯ เข้ารดน�้ำเพือ่ ขอพรคุณครูประมาณ ๘๐ คน ๏ จากนัน้ ในวันพุธที่ ๒๘ เมษายน สมาคมฯ ได้จัดมีการประชุมใหญ่สามัญสมาชิก และ งานเลี้ยงต้อนรับสมาชิกใหม่ โอวี รุ่น ๘๒
ซึ่งเลื่อนจากก�ำหนดการเดิมในวันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่ ปรกติทางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว โดย ได้มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น ๑๑๔ คน โดยมีมติทปี่ ระชุมใหญ่ทสี่ ำ� คัญ อาทิ การ รับรองสถานะการเงินสมาคมฯ การแต่งตั้ง ผู ้ ต รวจสอบบั ญ ชี ซึ่ ง ที่ ป ระชุ ม แต่ ง ตั้ ง ให้ คุณสม วรรณประภา เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี สมาคมประจ�ำปี ๒๕๕๓ ๏ ส�ำหรับเรือ่ งการนับเลขรุน่ นักเรียน เก่าวชิราวุธฯ นั้น ที่ประชุมมีมติให้คงนับ วิธีการนับหมายเลขรุ่นเอาไว้เช่นเดิม แต่ ส�ำหรับนักเรียนวชิราวุธฯ รุ่นที่ ๘๓ ที่ก�ำลัง จะจบการศึกษาในปี ๒๕๕๔ (หลังจากที่ โรงเรียนมีอายุครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓) ก็ให้สามารถเรียกรุน่ OV ๘๓ นี้ด้วยวงเล็บต่อท้ายได้ว่าเป็นรุ่นครบ ๑๐๐ ปี ๏ และท้ายสุดของไตรมาสนี้ เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ คณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ ได้วางพวงมาลา เนื่ อ งในวั น สวรรคตสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ณ ลานหน้ารัฐสภา ส�ำหรับกิจกรรมสมาคมในระยะเวลา อันใกล้นี้จะประกอบไปด้วย ๏ สมาคมฯ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกอล์ฟประเพณี OV-MCOBA ในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ณ สนามกอล์ฟบางปะกง โดยทาง MCOBA เห็นว่าเพื่อให้เป็นการเฉลิมฉลอง วชิราวุธ
สรุปการท�ำงานของคณะกรรมการฯ
anumanavasarn.com
158
จากห้องประชุมสมาคมฯ
๑๐๐ ปี จึงได้วางแผนจะเดินทางมาร่วม แข่งขันถึง ๘๐ คน จึงขอเชิญชวนพี่น้อง นักกอล์ฟโอวีทุกท่านร่วมแข่งขัน โดยจะมี SHOT GUN เวลา ๑๒.๐๐ น. โดยมีคา่ ใช้จา่ ย คนละ ๒,๐๐๐ บาท อยากให้นักกอล์ฟ โอวี ไ ปร่ ว มกั น เป็ น เจ้ า ภาพ รายละเอี ย ด ติดต่อได้ที่ พี่ชายน้อย โอวี ๕๗ (สัคคเดช ธนะรัตน์) และ หรั่ง โอวี ๖๒ (ทรงศักดิ์ ทิพยสุนทร) หรือที่เจ้าหน้าที่สมาคมฯ ๐๒๒๔๑-๑๗๔๓ ๏ ส�ำหรับแฟนๆ รักบี้ หากว่างเว้น จากบอลโลก ขอเชิญชวนไปร่วมกันเชียร์ทมี สมาคมฯ ในการแข่งขันประเภทสโมสร ๑๕ คน โดยมีก�ำหนดวันแข่งขัน ดังนี้ ๐ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มิถุนายน OV - ต�ำรวจ สนามเรืออากาศ ๐ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มิถุนายน OV - ทหารอากาศ สนามเรืออากาศ ๐ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มิถุนายน OV - วังเดิม สนามเกษตร ๐ วันอาทิตย์ที่ ๔ กรกฎาคม OV - บางกอกเจแปนนิส สนามเรืออากาศ โดยที่ สมาคมฯ ยังได้ส่งทีมเข้าร่วม แข่งขันประเภท สโมสร ๗ คน ในเดือน
กรกฎาคมอีกด้ วย ช่ ว ยกั นไปให้ ก�ำลัง ใจ นั ก รั ก บี้ ส มาคมฯ นะครั บ พู ด ถึ ง เรื่ อ งนี้ สมาคมฯ ก�ำลังจะจัดงานรวมพลนักรักบี้ วชิราวุธฯ ในราวปลายเดือนมิถนุ ายน หรือต้น เดือนกรกฎาคม โดยเรามุ่งหวังที่จะชักชวน นักรักบี้วชิราวุธฯ มาพบปะสังสรรค์ และ ร่วมกันพูดคุย เราต้องการ (อดีต) นักรักบี ้ ทุกรุ่น ทุกวัย มาช่วยกันระดมความคิดเห็น ช่วยกันวางแผน มาช่วยกันให้ก�ำลังใจ และ สนับสนุนทีมรักบี้ของสมาคมฯ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งทีมที่จะแข่งประเพณีกับราชวิทย์ฯ ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งให้ได้ นอกจากนี้ แ ล้ ว เรื่ อ งสุ ด ท้ า ยแต่ ส� ำ คั ญ มาก สมาคมฯ ได้ มี ม ติ อ นุ มั ติ ใ น หลักการให้ด�ำเนินการปรับปรุงพื้นที่สโมสร ด้วยการปรับปรุงบริเวณคอร์ทสควอช ให้ ออกเป็นอาคารชั้นครึ่ง สามารถใช้งานเป็น Internet Café ห้องสันทนาการ และห้อง ท�ำงานสมาคมฯ สมาชิกจะได้สามารถใช้ ในการพบปะสังสรรค์พักผ่อน โดยคาดว่า จะเริ่มเปิดประมูลภายในเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคมนี้ โดยหวังว่าจะสามารถเปิดให้ บริการ ได้ในราวปลายปี ๒๕๕๓ นี้ เพื่อ เป็นของขวัญให้แก่สมาชิกเนื่องในโอกาส วชิราวุธ ๑๐๐ ปี ปกรณ์ อาภาพันธุ์ โอวี ๕๙ กรรมการและเลขานุการสมาคมฯ
กองบังคับการ
สิบนิ้วประนมเหนือเกศ ไหว้ครูวิเศษทั้งน้อยใหญ่
159
อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
การที่นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยส่วนใหญ่ให้ความสนใจในกิจการและ ความเคลื่อนไหวของโรงเรียนนั้น ต้องถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นลักษณะ พิเศษที่หาไม่ได้ง่ายนักจากนักเรียนเก่าโรงเรียนอื่นๆ แสดงถึงความรักความ ผูกพันที่มีต่อโรงเรียนอย่างลึกซึ้ง นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยหลายท่านได้ สอบถามผู้เขียนถึงข้อมูลในโรงเรียนหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งที่อยู่ในความสนใจ คือ “อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี” ผู้เขียนในฐานะที่เกี่ยวข้องโดยตรงเนื่องจาก ได้ รั บ มอบหมายแต่ ง ตั้ ง ให้ ท� ำ งานในส� ำ นั ก เลขานุ ก ารคณะกรรมการจั ด งาน วชิราวุธ ๑๐๐ ปี รวมทั้งงานสมาคมนักเรียนเก่าฯ และงานบริหารจัดการ ภายในวชิราวุธวิทยาลัยได้ชี้แจงให้ท่านเหล่านั้นได้รับทราบบ้าง ไม่อาจจะให้ รายละเอียดได้เพียงพอเนื่องด้วยเวลาที่จ�ำกัดและสถานที่ไม่เอื้ออ�ำนวย หากไม่ให้ รายละเอียดเพียงพอปล่อยให้เป็นเรื่องคาดการณ์วิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานาไม่ น่าจะก่อให้เกิดผลดี และอาจเป็นผลร้ายเสียด้วยซ�้ำ ผูเ้ ขียนจึงขอรายงานความจริง ที่ถูกต้องมายังนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ให้เป็นที่รับทราบโดยทั่วกัน ในวาระที่ ว ชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ได้ รั บ พระราชทานก�ำ เนิ ด มาครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ นอกจากงานเฉลิมฉลอง นิทรรศการ และ กิจกรรมต่างๆ แล้ว คณะกรรมการจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ได้พิจารณาถึง การมีส่วนร่วมของนักเรียนเก่าฯ ทุกคน โดยมีด�ำริจัดตั้งกองทุนรับเงินบริจาค เพื่อใช้สร้างหรือปรับปรุงสิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณ์ส�ำหรับงานใน anumanavasarn.com
160
กองบังคับการ
ครั้ ง นี้ น ่ า เป็ น สิ่ ง ที่ มี ป ระโยชน์ ส� ำ หรั บ ถาวรวัตถุนั้น มีข้อเสนอแนะหลายประการ อาทิ เ ช่ น การบู ร ณะซ่ อ มแซมอนุ ส าวรี ย ์ อนุ ส รณ์ ส ถาน และพระราชวั ง เดิ ม ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ หลายแห่ง หอสมุ ด วชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ ที่ เ ก็ บ ต้ น ฉบั บ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าฯ ตลอดถึงการเผยแพร่พระราชนิพนธ์ แก่นักเรียนและบุคคลทั่วไปในระบบอิเล็ค โทรนิคส์ บูรณะซ่อมแซมคณะดุสติ ก่อสร้าง หอสมุ ด อาคารเรี ย นเด็ ก เล็ ก ในวชิ ร าวุ ธ วิทยาลัย และโครงการอื่นๆ อีกเป็นอันมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้ตรวจเยีย่ มสถานทีด่ งั กล่าว และพิจารณา ถึงความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ รวมถึง ข้อเด่นข้อด้อยของแต่ละโครงการอยู่หลาย ครั้งหลายคราว ท้ายที่สุดได้มีมติเลือกการ สมทบทุนก่อสร้างอาคารเรียนชั้นประถม ศึกษาในวชิราวุธวิทยาลัย โดยให้ใช้ชื่อว่า “อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี” เพื่อเป็นอนุสรณ์ ส�ำหรับวาระที่ส�ำคัญนี้ มีเหตุผลที่สนับสนุน คือ อาคารเรี ย นชั้ น ประถมเดิ ม ใช้ ง าน มากว่า ๕๐ ปี มีสภาพทรุดโทรม และ ไม่เพียงพอต่อแนวการเรียนการสอนของ โรงเรียนในปัจจุบัน ซึ่งก�ำหนดอัตราส่วนครู นักเรียนไม่เกิน ๑ : ๒๔ ต่อห้องเรียน และ การจัดห้องเรียนประจ�ำหมวดวิชาเพื่อความ พร้ อ มในการใช้ อุ ป กรณ์ ส�ำหรับการเรียน การสอน นักเรียนในปัจจุบันต้องเปลี่ยน ห้องเรียนในแต่ละคาบตามหมวดวิชา ไม่ เหมือนในอดีตทีเ่ รียนประจ�ำห้องใดห้องหนึง่ จนจบปีการศึกษา อีกทั้งยังขาดพื้นที่ใช้สอย
ในส่วนห้องพักครู ห้องประชุม ห้องสุขาครู และนักเรียน เพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ ๑๐๐ ปี ของโรงเรียน ถาวรวัตถุควรอยูภ่ ายในบริเวณ วชิราวุธวิทยาลัย และเป็นประโยชน์ทางการ ศึกษาส�ำหรับนักเรียนโดยตรง มากกว่าการ สร้างหรือบูรณะซ่อมแซมอาคารสถานที่อื่น ภายนอก โครงการก่ อ สร้ า งอาคารเพื่ อ ใช้ ประโยชน์ทางการศึกษาสามารถขอความ เห็นชอบจากระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสิทธิ น�ำเงินบริจาคไปหักลดหย่อนภาษี ๒ เท่า ของเงินที่จ่ายไปได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้ จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ทางโรงเรี ย นได้ ม อบหมายให้ ส� ำ นั ก งานสถาปนิ ก ๔๙ ของคุ ณ นิ ธิ สถาปิ ต านนท์ ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) สาขาย่อยศิลปะ สถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) ๒๕๔๕ นักเรียนเก่าฯ รุน่ ๓๘ ปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่ง กรรมการอ�ำนวยการของโรงเรียน ส�ำรวจ พื้ น ที่ แ ละออกแบบก่ อ สร้ า งแทนตึ ก เรี ย น ประถมศึกษาเดิม โดยท่านได้ออกแบบเป็น อาคารสถาปัตยากรรมไทยสูง ๕ ชั้น รูป ทรงคล้ายอาคารวชิรมงกุฎ (ตึกขาว) เดิม นอกจากพื้ น ที่ ใ ช้ ส อยในส่ ว นการเรี ย น การสอนที่ เ พิ่ ม ขึ้ น แล้ ว ในอาคารชั้ น ล่ า ง เป็นโถงโล่งใช้สอยส�ำหรับกีฬาและกิจกรรม อื่นในร่ม และยังสามารถปรับเป็นสถานที่ ในการประชุมหรือการแสดงละคร รองรับ ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นประถม (เด็ก เล็ก) ได้อย่างเพียงพอ ส่วนชั้นบนเป็นห้อง
อัตราภาษีขั้นสูงสุดในการค�ำนวนเงินได้
๑๐%
๒๐%
๓๐%
๓๗%
ยอดเงินบริจาค (บาท)
๑๐๐
๑๐๐
๑๐๐
๑๐๐
หักค่าลดหย่อน ๒ เท่า = ภาษี (บาท)*
๒๐
๔๐
๖๐
๗๔
คงเหลือเงินบริจาคสุทธิ (บาท)
๘๐
๖๐
๔๐
๒๖
(*) ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ
นิทรรศการ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีป ระยุ กต์เพื่อสื่อการเรียน การสอนที่ทันสมัยอีกด้วย กองทุน “อาคารวชิราวุธ ๑๐๐ ปี” เพื่อการจัดสร้างอาคารทางการศึกษาตามที่ โรงเรียนได้ผา่ นความเห็นชอบจากกระทรวง ศึกษาธิการ และกรมสรรพากรได้อนุมตั แิ ล้ว เมื่อกันยายน ๒๕๕๒ และสามารถใช้สิทธิ หักรายจ่าย ๒ เท่าของเงินบริจาคส�ำหรับ เงินได้พึงประเมินปี ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ซึ่ง เป็นประโยชน์อย่างมากส�ำหรับผูเ้ สียภาษีทงั้ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส�ำหรับบุคคล ธรรมดาทีต่ อ้ งเสียภาษีในอัตราสูงสุดร้อยละ ๓๗ ทุก ๑๐๐ บาทที่บริจาค ท่านจะได้สิทธิ รับลดหย่อนภาษีถึง ๗๔ บาท หรือเท่ากับ บริจาคสุทธิเพียง ๒๖ บาท เท่านัน้ ทัง้ นีต้ าม ตารางอัตราภาษีในแต่ละขัน้ เปรียบเทียบกับ เงินบริจาคสุทธิ ดังนี้ กองทุ น นี้ ไ ม่ ไ ด้ จ� ำ กั ด เฉพาะค่ า ใช้ จ่ายในการจัดสร้างอาคารเท่านั้น ค่าใช้จ่าย ส�ำหรับทุนการศึกษาถือว่าเข้าหลักเกณฑ์ ที่พึงท�ำได้เช่นกัน ทางโรงเรียนได้พิจารณา ถึ ง แนวทางการให้ ทุ น อุ ด หนุ น การศึ ก ษา ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นเก่ า วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ที่ ได้สอบผ่านเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาใน
มหาวิทยาลัยทางด้านการศึกษานอกเหนือ จากทุนการศึกษาตามปรกติที่ให้ ในระดับ มัธยมศึกษาภายในโรงเรียนเท่านัน้ โครงการ นี้เป็นโครงการระยะยาวแนวทางใหม่เพื่อ สร้างบุคลากรในฝ่าย ก�ำกับคณะและฝ่าย วิชาการทีม่ คี ณ ุ ภาพส�ำหรับวชิราวุธวิทยาลัย ในอนาคต ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับ ทุนอุดหนุนมากเพียงพอที่ไม่จ�ำเป็นจะต้อง รบกวนเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ปกครอง และมีโอกาสได้ทุนต่อเนื่องในระดับปริญญา โทหรือเอกหากมีผลการเรียน เป็นทีน่ า่ พอใจ ในวาระที่ ว ชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย มี อ ายุ ครบ ๑๐๐ ปี นี้ จึ ง ใคร่ ข อเชิ ญ ชวนให้ นั ก เรี ย นเก่ า ฯ ทุ ก ท่ า น ร่ ว มกั น บริ จ าค ร่ ว มกั น ระลึ ก ถึ ง โรงเรี ย นที่ เ คยได้ รั บ การ ศึกษา แสดงกตัญญุตาจิตร่วมพลังบริจาค เงินสนับสนุนกองทุน “วชิราวุธ ๑๐๐ ปี” จ�ำนวนเงินทีบ่ ริจาคมากน้อยไม่สำ� คัญเท่ากับ การมีส่วนร่วมของนักเรียนเก่าฯ ทุกคนใน วาระส� ำ คั ญ นี้ ท่ า นสามารถแสดงความ จ�ำนงได้ที่ฝ่ายการเงิน อาคารธุรการ ชั้น ๒ โทรศัพท์ ๐๒-๖๖๙-๔๕๒๖ ถึง ๙ ต่อ ๒๓๔ หรือ ๒๔๙ ชัยวัฒน์ นิตยาพร โอวี ๔๒
anumanavasarn.com
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดท�ำอนุมานวสาร 162 ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ โอวี OV Spirit&Web OV ๒,๐๐๐ บาท นักเรียนเก่าฯ ในเชียงใหม่ ๒,๖๐๐ บาท ธันวา ชัยจินดา ๕,๐๐๐ บาท วิวัฒน์ ถิระวันธุ์ ๓,๐๐๐ บาท สัคคเดช ธนะรัชต์ ๑,๐๐๐ บาท โอวีอาวุโส ร.ท.นุรักษ์ อิศรเสนาฯ ๓,๐๐๐ บาท ม.ล.พรสุทธิ์ ลดาวัลย์ ๕๐๐ บาท ถวัลย์ ปานะนนท์ ๕๐๐ บาท ศ.น.พ.อาวุธ ศรีศุกรี ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๑๖ เสถียร เสถียรสุต โอวี ๑๙ ปราณีต ชัยจินดา
โอวี ๔๐ โอวีรุ่น ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๕,๐๐๐ บาท พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ๕,๐๐๐ บาท
๑๕,๐๐๐ บาท
โอวี ๒๕ ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๒๘ วิชัย สุขธรรม สนั่น จรัญยิ่ง
๒,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท
โอวี ๓๐ อโนทัย สังคาลวณิช
๑,๐๐๐ บาท
โอวี ๓๑ โอวี รุ่น ๓๑ และรุ่นข้างเคียง
๕๐๐ บาท โอวี ๔๖ โอวี รุ่น ๔๖ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๓๔ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ ๑๘,๐๐๐ บาท พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ๓๐,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๕,๐๐๐ บาท จีระ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท โอวี ๓๕ ดนุ ช อิ ศ รางกู ร ณ อยุ ธ ยา ๒ ,๐๐๐ บาท สุพจน์ ศรีตระกูล ๑,๐๐๐ บาท ธนันต์ วงษ์เกษม ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๗ นรศุภ นิติเกษตรสุนทร ๑,๐๐๐ บาท สันติภาพ ลิมปะพันธ์ ๑,๐๐๐ บาท ปฏิภาณ ตันติวงศ์ ๒,๐๐๐ บาท รักพงษ์ ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๘ ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา ๕,๐๐๐ บาท อดิศักดิ์ เหมอยู่ ๒๐,๐๐๐ บาท ม.ร.ว.อดิศรเดช ศุขสวัสดิ์ ๓,๐๐๐ บาท ด�ำรงพันธุ์ พูนวัตถุ
๓,๑๐๐ บาท
จิรายุส แสงสว่างวัฒนะ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๓๓ พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๕,๐๐๐ บาท จักรพันธุ์ โปษยกฤต ๓๐,๐๐๐ บาท
โอวี ๔๗ ธานี จูฑะพันธ์
๕,๐๐๐ บาท
โอวี ๔๘ ชนัตถ์ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท ทองเปา บุญหลง ๒๐๐ บาท โอวี ๔๒ สัตยา เทพบรรเทิง ล่าสุด อภิชัย สิทธิบุศย์ ๑,๐๐๐ บาท บริจาคเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท นภดล บัวทองศร ๑,๐๐๐ บาท เลิศศักดิ์ ผลอนันต์ ๕๐๐ บาท องอาจ อนุ ส สรราชกิ จ ๒๐๐ บาท โอวี ๔๓ อนุสนธิ์ ชินวรรโณ ๒,๐๐๐ บาท ก๊วนกอล์ฟโอวี ๔๓ ๑๐,๐๐๐ บาท เขมทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท โอวี ๔๙ อิสระ นันทรักษ์ ๒,๐๐๐ บาท ธนาวุฒิ สาครสินธุ์ ๑,๐๐๐ บาท นภดล เทพวั ล ย์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๔๔ นาวาโท บัญชา จันทร์ไทย ๑,๐๐๐ บาท พงษ์พินิต เดชะคุปต์ ๓,๐๐๐ บาท มนต์เทพ โปราณานนท์ ๕,๐๐๐ บาท รัฐฎา บุนนาค ๕,๐๐๐ บาท ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ฯ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๕๐ โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท โอวี ๔๕ นพดล มิ่งวานิช ๑,๐๐๐ บาท ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ๘,๐๐๐ บาท โอวี ๕๑ รวมบริจาคใหม่ ๕,๐๐๐ บาท ศ.ดร.ทวิป กิตยาภรณ์ ๕,๐๐๐ บาท พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา ๑๐,๐๐๐ บาท พงษ์เทพ ผลอนันต์ ๕,๐๐๐ บาท พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท
สุวิช ล�่ำซ�ำ อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ โอวี ๕๒ จุมพจน์ มิ่งวานิช น.พ.ชนินทร์ ล�่ำซ�ำ บัญชา ลือเสียงดัง วิเชฐ ตันติวานิช สันติ อุดมวัฒน์ทวี โอวี ๕๓ ทินนาถ กิตยาภรณ์ โอวี ๕๔ ธนา เวสโกสิทธิ์ อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า โอวี ๕๕ ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ อนันต์ สันติวิสุทธิ์
๑,๐๐๐ บาท อนุวัฒน์ ชูทรัพย์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๖๐ วีรยุทธ โพธารามิก ๕๐๐ บาท โอวี ๖๑ ๑,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท กมล นันทิยาภูษิต ๒,๐๐๐ บาท นครา นาครทรรพ ๒๐๐ บาท ภัคพงศ์ จักษุรักษ์ โอวี ๖๒ ๑,๐๐๐ บาท โกมุท มณีฉาย ทรงศักดิ์ ทิพยสุนทร ธนพร คชเสนี ๑,๐๐๐ บาท ปิยะพงษ์ บุณยศรีสวัสดิ์ ๓,๐๐๐ บาท ประภากร วีระพงษ์ ภัฎพงศ์ ณ นคร วรรธนะ อาภาพันธุ์ ๑,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๖๕ ๒,๐๐๐ บาท ปรีเทพ บุญเดช
๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๒ กันต์ ปัจจักขภัติ
๑,๐๐๐ บาท
๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๓ ณัฐพล ลิปิพันธ์
๑,๐๐๐ บาท
๕,๐๐๐ บาท โอวี ๗๔ ๒,๐๐๐ บาท ศศิศ อุดมวัฒน์ทวี ๑,๐๐๐ บาท พฤศ อุดมวัฒน์ทวี
โอวี ๗๕ ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ธัชกร พัทธวิภาส ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท อัคร ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๙ ๒,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท โอวี รุ่น ๗๙ ๕๐๐ บาท ภวัตพงศ์ เทวกุล ณ อยุธยา ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๐ ๕๐๐ บาท ธนทัต อนิวรรตน์ ฟ้าสาง ปริวุฒิพงศ์
โอวี ๖๖ ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท เจษฎา บ�ำรุงกิจ พั น ตรี จุ ณ ณะปิ ย ะ ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๙ โอวี ๕๗ วีระวัฒน์ เนียมทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท กิตติ ชาญชัยประสงค์ ๕๐๐ บาท สัคคเดช ธนะรัชต์ ๑,๐๐๐ บาท ธเนศ ฉันทังกูล ๕๐๐ บาท อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๐ อนุวัตร วนรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๕๙ โอวี ๗๑ กิตติ แจ้งวัฒนะ ๑,๐๐๐ บาท คมกฤช รัตนราช ๕,๐๐๐ บาท สถิร ตั้งมโนเพียรชัย ๑,๐๐๐ บาท ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ๕,๐๐๐ บาท อาทิตย์ ประสาทกุล ๑,๐๐๐ บาท วรากร บุณยเกียรติ ๑,๐๐๐ บาท เวทิศ ประจวบเหมาะ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๕๖ ทวีสิน ลิ้มธนากุล พรหมเมศ จักษุรักษ์
๒๐๐ บาท ๒๐๐ บาท
โอวี ๘๑ รชต ชื่นชอบ
๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
เพื่อนโอวีและผู้ปกครอง ณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ ๑,๐๐๐ บาท สมพร ไม้สุวรรณกุล ๒๐๐ บาท
* ผู้บริจาคใหม่หรือเพิ่มเติม
anumanavasarn.com
วันกลับบ้าน 164 จากทีมงานอนุมานวสาร ในปี ๒๕๕๓ นี้ วชิราวุธวิทยาลัยจะ มีอายุครบรอบ ๑๐๐ ปี จะมีกุลบุตรที่ได้ รับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นสุภาพบุรุษ เป็น รุ่นที่ ๑๐๐ พอดี จะมีการก่อสร้างอาคาร ๑๐๐ ปี เพื่อใช้ส�ำหรับการเรียนการสอน โรงเรี ย นและสมาคมนั ก เรี ย นเก่ า ฯ มี โครงการต่างๆ มากมายที่จะจัดขึ้นเพื่อร่วม ฉลองในวาระนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ยิ่งนัก หากดวงพระวิญญาณของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ พระผู้ทรงเป็น “พ่อ” ของพวกเราทุกคน ได้ทราบฝ่าละอองธุลพี ระบาทถึงสิง่ ที่ “ลูกๆ” ของล้นกล้าฯ ก�ำลังท�ำอยู่นั้น ผู้เขียนเชื่อว่า “พ่อ” ของพวกเราคงจะทรงมีพระราชหฤทัย โสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ที่นักเรียนซึ่งเปรียบ เสมือน “ลูก” นัน้ ได้สนองพระมหากรุณาธิคณ ุ ด้วยการออกไปสร้างประโยชน์ให้แก่สยาม ประเทศ แล้วยังไม่ลืมที่จะกลับมาสนอง พระคุณให้กบั สถานทีท่ เี่ พาะบ่มและชุบเลีย้ ง พวกเขาให้เติบโตเป็น “สุภาพบุรุษ” ทั้งกาย และใจ ด้วยส�ำนึกที่ว่า “กตัญญูฝังจิตติด ดวงใจ จนเติบใหญ่จางไม่บางเบา” ผู้เขียนเคยสงสัยว่า ท�ำไมคนส่วน ใหญ่ในสังคมจึงให้ความส�ำคัญกับสิง่ ทีม่ อี ายุ เป็น “๑๐๐ ปี” มากเป็นพิเศษ เพราะจาก ตัวอย่างที่เห็นเช่น “เวลาผ่านไปครบ ๑๐๐ ปี จะเรียก ว่า ศตวรรษ” “สารคดี จดหมายเหตุฯ ๑๐๐ ปี ไกลบ้าน”
“ปฏิทิน ๑๐๐ ปี ไว้ดูดวงชะตา” “สถานที่มีอายุเกิน ๑๐๐ ปี จะขึ้น ทะเบียนเป็น โบราณสถาน” “ศาลาศิริราช ๑๐๐ ปี” “สามชุก ตลาด ๑๐๐ ปี” “เชิญเที่ยวงาน ๑๐๐ ปี หัวหิน” “สมเด็จวัดระฆังรุ่น ๑๐๐ ปี” “ในความเชื่อของคนจีน หากคนที่ มีอายุเกิด ๑๐๐ ปี เสียชีวิต ผู้ที่มาร่วม งานจะต้องสวมชุดสีแดง แทนทีจ่ ะเป็นสีด�ำ” จากข้อสันนิษฐานและหลักฐานที่มี อยู่ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่า การที่สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีอายุเกิน ๑๐๐ ปี จะต้องมีความ พิเศษอยู่เป็นแน่แท้... น่าแปลกนะครับ มีเรื่อง “แปลก” อีกเรื่องหนึ่ง อยาก จะให้ท่านผู้อ่านอนุมานวสาร (โดยเฉพาะ นักเรียนเก่าฯ) ได้มานั่งขบคิดกันเล่น เรื่อง มีอยู่ว่า วันหนึ่ง ทีมงานฯ ได้นัดประชุมและ ทานอาหารเย็ น ที่ บ ้ า นของท่ า นที่ ป รึ ก ษา ทีมงานอนุมานวสารท่านหนึ่ง (ขออนุญาต สงวนนาม เพราะเจ้าตัวขอไว้) พี่ท่านนั้นได้ ให้ข้อสังเกตว่า “หากเอาอายุ ข องตั ว เองในปี นี้ (๒๕๕๓) + รุ่นที่จบการศึกษาจากโรงเรียน จะได้เท่ากับ ๑๐๐ ปี” ยกตัวอย่าง ผูเ้ ขียน (ในตอนนี)้ อายุ ๒๔ ปี จบรุ่นที่ ๗๖ (๒๔+๗๖) = ๑๐๐ ปี ...เชือ่ แล้วครับ ว่า ๑๐๐ ปี ต้องพิเศษ จริงๆ ศิริชัย กาญจโนภาส โอวี ๗๖
ห้องเบิกของ
ธุรกิจขนาดย่อมของขาวโอวี
165
ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�้ำ มีทั้งวิวริมน�้ำและนักว่ายน�้ำ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง โอวี ๕๐ และพี่โจ้ โอวี ๕๔ ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียม ถนน พิบูลสงคราม นนทบุรี ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ WHO
WHO
ADDRESS
ร้านครัวกะหนก โอวีรับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐ % ภรรยา กุลธน ประจวบเหมาะ (ต้น) โอวี ๕๕ ลาดพร้าว ๗๑ ๑๕๐ เมตร จากปากซอย อยู่ซ้ายมือ ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ร้านอาหารอิงน�้ำ อาหารอร่อยมาก ราคาไม่แพง พี่อึ่งเป็นกันเอง พี่อึ่ง โอวี ๓๙ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ๗๓-๗๕ เลยโลตัส ๑๐๐ เมตร WHO
WHO
ADDRESS
ร้านอาหารบ้านประชาชื่น อาหารไทยสูตรต้นตระกูล สนิทวงศ์ และข้าวแช่ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม เปิดตั้งแต่ ๑๐.๓๐-๑๕.๓๐ ไม่ ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ บวรพิตร พิบูลสงคราม (พี่บูน) โอวี ๔๖ เลขที่ ๓๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ กรุงเทพฯ ๐๒-๕๘๕-๑๓๒๓, ๐๘๙-๖๑๙-๒๖๑๐
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
OZONO PLAZA แหล่งรวมร้านค้าส�ำหรับทุกสิ่ง อย่ างที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และ ร้านอาหารห้องแถว พื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงได้วิ่งเล่น ร้านอาหารเหนือล้านนาสุด คมกฤช รัตนราช โอวี ๕๙ อร่อย เมนูขึ้นชื่อ แกงโฮะ ท้ายซอยสุขุมวิท ๓๙ ปลาสลิดทอดฟู และแหนมผัดไข่ (พร้อมพงษ์) ทะลุออกถนน ษาเณศวร์ โกมลวณิช เพชรบุรีหลังตึกอิตัลไทย (ถลอก) โอวี ๖๙ www.ozono.us ถนนนิมานเหมินทร์ ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ เชียงใหม่ ๐๕๓-๒๑๘-๓๓๓ WHO
ADDRESS
ร้านอาหารชิมิ หม้อชาบูชาบูและเตาปิ้งย่าง ยาคินิคุในแบบบุฟเฟ่ต์โฮมเมด วัตถุดิบชั้นเยี่ยมราคาอิ่มสบาย ร้าน How To ศิโรฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โอวี ๔๔ ดนตรีแนว acoustic & Folk song และมีส่วนลดให้โอวี ๒๐% ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ shimi_restaurant@hotmail. ภิญโญ โอวี ๔๔ com ปากซอยอินทามระ ๒๖ ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
The Old Phra Arthit Pier ร้านอาหารสวยริมเจ้าพระยา ยามเย็น ส�ำหรับโอวีที่ไป อุดหนุนลดทันที ๑๐% พงศ์ธร เพชรชาติ โอวี ๖๐ ท่าพระอาทิตย์ ถนนพระอาทิตย์ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒
ADDRESS
TOYS Pub & Restaurant RCA ร้านอาหารกึ่งผับ ต้อนรับโอวีทั้ง วัยรุ่นและวัยท�ำงาน หรือแม้แต่ รุ่นเก๋ากึ้กส์ รับจัดเลี้ยงรุ่น, วัน เกิด ชัชวลิต ศิริทรัพย์ (บอส) โอวี ๗๐ RCA พระราม ๙ WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
anumanavasarn.com
166
ห้องเบิกของ
โรงแรม บ้านไร่วิมานดิน ออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ รีสอร์ทริมล�ำธารอิงขุนเขา บริการอาหารปลอดสารพิษ จากเกษตรอินทรีย์ ส�ำหรับโอวี ราคาพิเศษ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกลุชา (อ�ำรุง) โอวี ๔๔ อ.ทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี www.vimarndinfarmstay. com ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ WHO
WHO
ดิ. โอวี. คันทรี รีสอร์ท เอกลักษณ์การตกแต่งและ กลิ่นอายสมัยอยู่โรงเรียน กมล นันทิยาภูษิต โอวี ๖๑ กลางเมืองจันทบุรี ขับผ่านก็ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ๐๘๑-๘๓๓-๒๑๒๕ ADDRESS
WHO
โรงแรมรัตนาปาร์ค โอวีท่านใดผ่านมาโทรบอกได้ เลย ราคาห้องพิเศษ มาฆะ พุ่มสะอาด โอวี ๕๕ พิษณุโลก ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑ ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖
ADDRESS
ไร่ภูอุทัย ในวงล้อมธรรมชาติเขาใหญ่ สูดรับโอโซนระดับ ๗ บน ลานเนินกว้าง อ�ำนวยศิลป์ อุทัย โอวี ๗๑ และรังสรรค์ อุทัย โอวี ๗๒ ถนนพหลโยธินขาออกจาก จ.สระบุรี ซอยที่เป็นเส้นทาง ลัดไป อช.เขาใหญ่ www.phu-uthai.com ๐๘๐-๔๙๙-๙๐๒๔
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
Amphawa River View โฮมสเตย์ริมน�้ำ กับบรรยากาศ ตลาดน�้ำ สัมผัสวิถีชีวิตดั้งเดิม ของไทย ยินดีต้อนรับโอวีทุก ท่านในราคาเบาๆ ชโนดม โชติกพนิช (ดม) โอวี ๗๐ ตลาดน�้ำอัมพวา www.amphawariverview.com ๐๓๔-๗๕๑-๒๐๒
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ณัฐฐาวารีน�้ำพุร้อน อาบน�้ำแร่แช่น�้ำร้อนท่ามกลาง ธรรมชาติ ทีเด็ดปลามัจฉา บ�ำบัดจากต่างประเทศ บ�ำรุงผิว พรรณ ภวิษย์พงศ์ พงษ์สมิ า โอวี ๗๖ ริมถนเพชรเกษม ระหว่าง กม.ที่ ๑๓-๑๔ (กม.ที่ ๙๙๐ กระบี่-ตรัง) บ.บางผึ้ง ต.โคกยาง อ.เหนือคลอง จังหวัดกระบี่ www.natthawaree.com ๐๗๕-๖๐๑-๖๔๒ ๐๘๙-๗๘๐-๖๔๗๖ WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ตาลคู่บีช รีสอร์ท รีสอร์ทสวยริมทะเลใส อลงกต วัชรสินธุ์ (อยากเกา) โอวี ๗๕ อ.ขนอม จังหวัด ชุมพรคาบานา นครศรีธรรมราช ใกล้ และศูนย์กีฬาด�ำน�้ำลึก เกาะสมุย ให้บริการที่พัก จัดสัมมนา และ g_got75@hotmail.com บริการด�ำน�้ำลึก บริหารงานตาม ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง วริสร รักษ์พันธุ์ โอวี ๖๑ หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร
คีรีตารีสอร์ท รีสอร์ทบูทีคโฮเตลเหมาะแก่การ พักผ่อนและจัดสัมมนา ยินดี ต้อนรับโอวีทุกท่าน พร้อมได้รับ บริการในราคาพิเศษ อุรคินทร์ ไชยศิริ (กิมจิ) โอวี ๗๐ เกาะช้าง จังหวัดตราด ๐๘๙-๗๔๘-๗๕๒๘ WHO
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
The Bihai Huahin โอวีลด ๒๐% ............................. เลขที่ ๘๙ หมู่ ๕ บ้านหัว ดอน ต�ำบลหนองแก หัวหิน ๐๓๒-๕๒๗-๕๕๗-๖๐ WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
www.chumphoncabana. com ๐๗๗-๕๖๐-๒๔๕-๗ ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐
ADDRESS
ADDRESS
บริการ รับถ่ายรูป รับถ่ายรูปงานแฟชั่นโชว์, งาน ถ่ายภาพนิ่งเพื่อการโฆษณา ต่างๆ,งานเฉลิมฉลองและถ่าย รูปในสตูดิโอ ทั้งภาพ บุคคล,ผลิตภัณฑ์และสถานที่ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ สตูดิโอ ในหมู่บ้านการ์เด้น โฮม สะพานใหม่ www.natphoto.com nat_vc72@hotmail.com ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ WHO
WHO
ขวามือ ตรงข้ามเซเว่นฯ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕ ร้านฟูฟู รับอาบน�้ำตัดขนสุนัข รับฝาก สัตว์เลี้ยง เจษฎา ใยมุง โอวี ๖๕ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จังหวัดจันทบุรี ๐๘๑-๓๕๓-๒๘๖๕ WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
Zyplus.com ธุรกิจอินเตอร์เนต ให้บริการเช่า พื้นที่เว็บโฮลดิ้งของเวบไซต์และ บริการจดโดเมนเนม สิษฐวัฒน์ ตู้จินดา โอวี ๖๗ www.zyplus.com ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙
WHO
ADDRESS
ADDRESS
22EQ รับออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๗๐ www.jate.22eq.com ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๕๘ WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
บริษัท DML Export จ�ำกัด หลอดประหยัดไฟ LED bulb ประหยัดไฟมากกว่าธรรมดาถึง ๕ เท่า ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับ ธรรมชาติ และสามารถน�ำมา รีไซเคิล ๑๐๐% นฤพนธ์ สุ่นกุล (รันตู) โอวี ๗๖ ๐๘๔-๗๖๗-๖๕๒๒ WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ส�ำหรับสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet เลี้ยงผ่านทางอินเตอร์เนต กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๘๐ รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด www.weloveshopping. ท�ำหมัน เอ๊กซเรย์ ขูดหินปูน com/shop/furrytail อาบน�้ำตัดขน บริการนอกสถาน ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ ที่และรับปรึกษาปัญหาสัตว์เลี้ยง รับฝากเลี้ยง และจ�ำหน่าย บริษทั น�ำ้ -ทอง เทรดดิง้ จ�ำกัด อุปกรณ์,อาหารต่างๆ จ�ำหน่ายน�้ำมันหล่อลื่น น.สพ.อุรินทร์ คชเสนี อุตสาหกรรมทุกชนิด โอวี ๗๑ (ปตท., บางจาก, แมกซิมา) ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รัตนาธิเบศร์ ภณธร ชินนิลสลับ อ.เมือง จังหวัดนนทบุรี (ซอมป่อย) โอวี ๖๘ ๐๒-๙๖๙-๘๔๘๙ ๑๘๘/๑๐๗ หมู่ ๑ ๐๘๙-๘๑๖-๘๑๓๘ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ ร้านตัดผม Sindy Lim จังหวัดสงขลา ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖ ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพบุรุษ ๐๘๕-๓๒๔-๙๙๐๑ และสุภาพสตรี หากก�ำลังมอง หาร้านท�ำผมเพื่อออกงานสุดหรู แฟรงค์บราเดอร์ หรือเปลี่ยนลุคแล้ว เชิญไปใช้ ร้านจ�ำหน่ายและซ่อมไวโอลิน บริการได้ โอวีลดให้พิเศษ และเครื่องดนตรีคลาสิกอื่นๆ ทวีสิน ลิ้มธนากุล นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (สิน) โอวี ๕๕ โอวี ๖๕ ปากซอยสุขุมวิท ๔๙ เข้ามา ตึกชาญอิสสระ สีลม จากทางถนนสุขุมวิทอยู่ ๐๒-๖๓๒-๘๘๒๓-๔
ไอซิด รับตกแต่งภายในและรับเหมา ก่อสร้าง โดยเฉพาะบ้านและ คอนโด ภตภพ (สิทธิพงษ์) โอวี ๖๖ ช.เจริญยิ่ง www.icidcompany.com ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙ ๐๘๑-๗๓๓-๗๗๐๑
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
anumanavasarn.com
อนุมานวสาร ฉบับย้อนหลัง อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๐
ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๓ ฉบับ ๑ ฉบับ ๒ ฉบับ ๔ ฉบับ ๕ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๐ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๐ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๐ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๑ เม.ย.-พ.ค. ๒๕๕๑ ฉบับปี ๒๕๕๒ อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๗ ฉบับ ๑๐ ฉบับ ๖ ฉบับ ๘ ฉบับ ๙ มิ.ย.-ก.ค. ๒๕๕๑ ส.ค.-ก.ย. ๒๕๕๑ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๑ ม.ค.-ก.พ. ๒๕๕๒ มี.ค. เม.ย. ๒๕๕๒ ฉบับปี ๒๕๕๓ ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๑ ฉบับ ๑๒ ฉบับ ๑๔ ฉบับ ๑๕ ฉบับ ๑๓ พ.ค-มิ.ย. ๒๕๕๒ ก.ค.-ส.ค. ๒๕๕๒ ก.ย.-ต.ค. ๒๕๕๒ พ.ย.-ธ.ค. ๒๕๕๒ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๓
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง)
anumanavasarn.com