สารบัญ
ผู้จัดท�ำ
คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย ๒๕๕๐-๒๕๕๒ ที่ปรึกษา ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน รุ่น ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ รุ่น ๔๔ วรชาติ มีชูบท รุ่น ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี รุน่ ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ รุน่ ๕๙ วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ สาราณียกร อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑ คณะบรรณาธิการ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา รุ่น ๖๕ กอบกิจ จ�ำจด รุน่ ๗๐ อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ รุน่ ๗๑ กรด โกศลานันท์ รุ่น ๗๑ เขต ณ พัทลุง รุ่น ๗๑ ภพ พยับวิภาพงศ์ รุ่น ๗๑ พิชิต ศรียานนท์ รุ่น ๗๒ กิตติเดช ฉันทังกุล รุน่ ๗๓ มณฑล พาสมดี รุ่น ๗๓ สุทธิพงษ์ ลิม้ สุขนิรนั ดร์ รุน่ ๗๓ รัฐพล ปัน้ ทองพันธ์ รุน่ ๗๕ พงศกร บุญมี รุน่ ๗๕ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง รุน่ ๗๖ ศิริชัย กาญจโนภาส รุ่น ๗๖ ธนกร จ๋วงพานิช รุ่น ๗๗ กัญยดา วิชัยธนพัฒน์ ถ่ายภาพ ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๗๒ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ รุ่น ๗๗ ศิลปกรรม/พิมพ์ที่ พี. เพรส ผู้ช่วยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก วาสนา จันทอง ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ)
ห้องเพรบ ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี ใต้หอประชุม สัมภาษณ์ เกียรติคุณ ชาติประเสริฐ จดหมายเหตุวชิราวุธฯ สนามหน้า เรือนจาก สัมภาษณ์ ปฏิภาณ สุคนธมาน อรุณ แสนโกศิก บ้านสีฟ้า โรงเลี้ยง ห้องสมุด ฝากใจมาในเพลง ศัพท์โอวี ทิ่ม, ส่องไฟ ระฆังกีฬา สัมภาษณ์ ดนุชา วีระพงษ์ ลอดรั้วพู่ระหงส์ จากห้องประชุมสมาคมฯ คอมมอนรูม Take me home... สนามหลัง บ่ายวันอาทิตย์ วันกลับบ้าน ห้องเบิกของ
๔ ๖ ๑๑ ๒๔ ๓๒ ๓๕ ๕๓ ๖๗ ๗๑ ๗๕ ๗๘ ๘๒ ๙๔ ๙๖ ๑๐๐ ๑๐๗ ๑๑๕ ๑๒๒ ๑๒๔
ตัวอักษร “อนุมานวสาร” ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน (รุ่น ๓๗) ภาพปก
เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่/สนับสนุนการเงิน-โฆษณา/ ส่งข่าว-ประกาศ-ประชาสัมพันธ์/ส่งข้อเขียน-บทความ ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovewsletter@yahoo.com website: www. oldvajiravudh.com
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 1
2
§≥–°√√¡°“√∫√‘ À“√ ¡“§¡œ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ
ª√–®”ªï ประจ�ำปีÚıı-ÚııÚ ๒๕๕๐ - ๒๕๕๑
Ò. Ú. Û. Ù. ı. ˆ. ˜. ¯. ˘. Ò. ÒÒ.
𓬮ÿ≈ ‘ßÀå « —πµ ‘ßÀå ºŸâ∫—ߧ—∫°“√«™‘√“«ÿ∏«‘∑¬“≈—¬ 𓬵—𵑠ª√‘æπæ®πæ‘ ÿ∑∏‘Ï æ≈.√.µ. ÿ√‘¬“ ≥ π§√ 𓬠ÿ√‡¥™ ∫ÿ≥¬«—≤π √.».«ÿ≤‘™—¬ °ªî≈°“≠®πå ¥√.§ÿ√ÿ®‘µ π“§√∑√√æ æ≈.µ.¡≥±≈ ‰™¬‡ «’ ¡.≈. ®‘√‡»√…∞ »ÿ¢ «— ¥‘Ï π“¬»ÿ¿≈—°…≥å ‡ª√¡–∫ÿµ√ √.Õ.™¡æ≈ ¬Ÿ “ππ∑å
√ÿàπ Ù √ÿàπ Ù √ÿàπ ÙÒ √ÿàπ ÙÒ √ÿàπ ÙÚ √ÿàπ Ùı √ÿàπ ÙÙ √ÿàπ Ùˆ √ÿàπ Ùˆ √ÿàπ ıÒ
ÒÚ. π“¬ªØ‘¿“≥ ÿ§π∏¡“π ÒÛ. π“¬Õπ—πµå ®—π∑√“πÿ°Ÿ≈
√ÿàπ ıÚ √ÿàπ ıÚ
ÒÙ. 𓬙≈‘µ√—µπå ®—π∑√ÿ‡∫°…“
√ÿàπ ıÙ
Òı. Òˆ. Ò˜. Ò¯. Ò˘. Ú.
√ÿàπ ıı √ÿàπ ı˜ √ÿàπ ı˘ √ÿàπ ı˘ √ÿàπ ˆÒ √ÿàπ ˆÒ
æ.µ.∑.°ÿ≈∏π ª√–®«∫‡À¡“– 𓬠—§§‡¥™ ∏π–√—™µå ¥√.ª°√≥å Õ“¿“æ—π∏ÿå 𓬫√“°√ ∫ÿ≥¬‡°’¬√µ‘ π“¬¿—§æß»å ®—°…ÿ√—°…å 𓬫√‘ √ √—°…åæ—π∏ÿå
ÚÒ. π“¬Õ“∑‘µ¬å ª√– “∑°ÿ≈
√ÿàπ ˜Ò
𓬰 ¡“§¡œ °√√¡°“√‚¥¬µ”·Àπàß Õÿªπ“¬°ΩÉ“¬ ‘∑∏‘ª√–‚¬™πå Õÿªπ“¬°ΩÉ“¬∫√‘À“√ Õÿªπ“¬°ΩÉ“¬«“ß·ºπ·≈–æ—≤π“ Õÿªπ“¬°ΩÉ“¬«‘™“°“√ Õÿªπ“¬°ΩÉ“¬µà“ߪ√–‡∑» °√√¡°“√·≈–ª√–∏“π ‚¡ √ °√√¡°“√·≈–ª√–™“ —¡æ—π∏å °√√¡°“√·≈–π“¬∑–‡∫’¬π °√√¡°“√·≈–ª√–∏“π®—¥°“√ ª√–°«¥π“ß “«‰∑¬ °√√¡°“√·≈–‡À√—≠≠‘° °√√¡°“√·≈–ª√–∏“πΩÉ“¬ °‘®°√√¡æ‘‡»… °√√¡°“√·≈–√Õߪ√–∏“π ‚¡ √/ √Õߪ√–∏“π°’Ó (‰øø å) °√√¡°“√·≈–ª√–∏“π°’Ó °√√¡°“√·≈–√Õߪ√–∏“π°’Ó (°Õ≈åø) °√√¡°“√·≈–‡≈¢“πÿ°“√ °√√¡°“√·≈–√Õߪ√–∏“π ‚¡ √ °√√¡°“√·≈–√Õߪ√–∏“π°’Ó (√—°∫’È) °√√¡°“√·≈–ª√–∏“πª√– “πß“π ‚§√ß°“√»Ÿπ¬å¿Ÿ¡‘√—°…å∏√√¡™“µ‘ °√√¡°“√·≈– “√“≥’¬°√ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 3
2
ห้องเพรบ
จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวัสดีปีใหม่ครับ สมาชิกโอวีทุกท่าน หนังสืออนุมานวสารฉบับนี้เป็นฉบับ แรกของปี พ.ศ. ๒๕๕๒ และก็เป็นฉบับสุดท้าย ในวาระของกรรมการสมาคมฯ ชุดปัจจุบัน ที่ ก� ำ ลั ง จะหมดลง ผมขอขอบคุ ณ สมาชิ ก โอวี ทุ ก ท่ า นที่ ก รุ ณาติ ด ตามและให้ ก� ำ ลั ง ใจ ทีมงานอย่างสม�่ำเสมอ ก�ำลังใจที่ได้รับจาก ทุกท่านคือน�้ำหล่อเลี้ยงให้พวกเรามีพลังที่จะ ท�ำ หนัง สือ ให้ ดียิ่ง ขึ้นต่ อ ไป ซึ่งความส�ำ เร็จ ของหนังสือข่าวนี้ผมเห็นจะต้องยกความดีให้ “ทีมงานอนุมานวสารทุกคน” รวมทั้งท่านที่ ปรึกษาและนักเขียนประจ�ำฉบับทุกท่าน เพราะ พวกเราส่วนใหญ่มีงานประจ�ำต้องปลีกตัวเดิน ทางไปสัมภาษณ์ ถอดเทป ถ่ายรูป และจัด ท�ำต้นฉบับ พวกเราจะประชุมกันตามสถานที่ ต่างๆ คุยกันทางโทรศัพท์และอีเมล์ โดยไม่มี ส�ำนักงานเป็นตัวเป็นตน มีโอวีบางท่านเช่น นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) ได้เสนอให้ พวกเราไปใช้ส�ำนักงานโดยจะแบ่งพื้นที่ให้พวก เราท�ำงานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่พวกเรายัง เกรงใจอยู่ อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณนิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา ไว้ ณ ที่นี้ ส�ำหรับอนุมานวสาร ฉบับนีเ้ ป็นฉบับที่ ๙ แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าเราจะท�ำหนังสือกันมาร่วม ๒ ปี ผมเคยสอบถามวรชาติฯ ว่าประวัติของการ
4
ท�ำหนังสืออนุมานวสารนี้เป็นอย่างไร วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖) ได้เล่าว่าหนังสือนี้ได้เริ่มขึ้น เมือ่ ปี ๒๕๒๖ เริม่ ต้นจากพีห่ น่อ ม.ล.ชัยนิมติ ร นวรัตน์, พีป่ ง๋ิ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช และวรชาติฯ ได้จัดท�ำกันขึ้น โดยฉบับแรกๆ ท�ำในรูปของ กระดาษโรเนียวประมาณ ๘ หน้าท�ำไปได้ ๒ ปี ห ลั ง จากเปลี่ ย นคณะกรรมการก็ ห ยุ ด เพราะไม่มีคนท�ำต่อ หลังจากนัน้ หลายปี ก็มี การรื้อฟื้นอนุมานวสารขึ้นมาอีก จะเห็นได้ว่า การท�ำหนังสือข่าวนีข้ ึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ แต่ละยุคแต่ละสมัย แต่แล้วอนุมานวสาร ก็ได้ หายไปอีกครั้งจากสาเหตุเดียวกันคือไม่มีผู้ สานต่อ ผมเองปรารภกับวรชาติฯ ว่า ขณะนี้ เป็นเวลาทีก่ รรมการสมาคมฯ ชุดนีจ้ ะหมดวาระ ลง จะเป็นอวสานของหนังสืออนุมานวสาร อีกครัง้ หนึง่ หรือไม่ วรชาติฯ ก็ฟนั ธงว่าน่าจะไม่ เพราะทีมงานชุดนี้แข็งแกร่ง มีความสามารถ หลากหลาย และที่ส�ำคัญส่วนใหญ่เป็นโอวีรุ่น ใหม่ที่ไม่ได้มีแต่เพียง “ไอเดีย” (Idea) แต่มี “ไอดู” (I do) ด้วย ผมอยากเรียนให้สมาชิก ทราบถึงความมุง่ มัน่ ของน้องๆ ทีมงาน ทุกครัง้ ทีผ่ มเชิญมาประชุมทีบ่ า้ นซึง่ อยูช่ านเมือง น้องๆ ที่ต่างอยู่กันคนละฟากของกรุงเทพฯ แถบ ลาดพร้าวบ้าง สุขมุ วิทบ้าง ฝัง่ ธนฯ บ้าง จะเดิน
ทางมาโดยพร้อมเพรียง และทุกครั้ง เราพี่น้อง อนุมานวสาร จะระดมความคิดพูดคุยกันจนถึง ไม่ต�่ำกว่าหนึง่ นาฬิกาของวันใหม่ บางครั้งหาก มีแขกรับเชิญเป็นโอวีร่นุ ต่างๆ มาร่วมด้วยก็ยงิ่ ท�ำให้บรรยากาศคึกคักสนุกสนานยิ่งขึ้น ผมขอขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ ส� ำ หรั บ ทุ ก ค� ำ แนะน� ำ ทุ ก การให้ สั ม ภาษณ์ และการแบ่ ง ปั น ประสบการณ์ ใ นโรงเรี ย น ประสบการณ์ชวี ติ ทัง้ ส่วนตัวและการท�ำงาน ให้ แก่พวกเราเพื่อเผยแพร่ให้ชาวโอวีได้รับทราบ ผมอยากให้อนุมานวสารเป็นแหล่งของการ เรียนรู้ เหมือนดังชือ่ กิจกรรมทีค่ ณะอนุมานวสาร ก�ำลังจัดอย่างต่อเนื่องคือ “All Gentlemen Can Learn” ทุกการเสียสละของท่านที่มีส่วน เกีย่ วข้องท�ำให้ผมตระหนักว่า โรงเรียนได้ให้สงิ่ ที่มีค่าอย่างยิ่งแก่พวกเราทั้งหลาย ความเป็น สุภาพบุรุษที่มีความสามารถรอบด้าน ทั้งการ ศึกษา การกีฬา การเข้าสังคม การปกครอง หล่อหลอมให้พวกเราประสบความส� ำเร็จไม่ ทางใดก็ทางหนึง่ เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของ ประเทศชาติ ตามพระราชด�ำริของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ผู้เป็น “พ่อ” ของพวกเรา สวัสดีครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖)
ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนการจัดท�ำ อนุมานวสาร ๑. จิรายุศ แสงสว่างวัฒนะ (รุ่น ๓๑) ๒,๐๐๐ บาท ๒. จักรพันธุ์ โปษยกฤต (รุน่ ๓๓) ๓๐,๐๐๐ บาท ๓. เตช บุนนาค (รุ่น ๓๓) ๕๐๐ บาท ๔. อดิศักดิ์ เหมอยู่ (รุ่น ๓๘) ๒๐,๐๐๐ บาท ๕. โอวี ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท ๖. จุลสิงห์ วสันตสิงห์ (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท ๗. คุรุจิต นาครทรรพ (รุ่น ๔๕) ๓,๐๐๐ บาท ๘. ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖) ๑๐,๐๐๐ บาท ๙. นรศุภ นิติเกษตรสุนทร (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท ๑๐. มนต์เทพ โปราณานนท์ (รุ่น ๔๙) ๓,๐๐๐ บาท ๑๑. โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๒. พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๑) ๑,๐๐๐ บาท ๑๓. ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) ๑,๐๐๐ บาท ๑๔. ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๖) ๑,๐๐๐ บาท ๑๕. คมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) ๒,๐๐๐ บาท ๑๖. ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) ๒,๐๐๐ บาท ๑๗. โอวี รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท ๑๘. สถิร ตั้งมโนเพียรชัย (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท ๑๙. อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 5
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์
พี่น้อง OV ที่รัก ผมส่งจดหมายฉบับนีใ้ ห้ดู เพือ่ ยืนยันสิง่ ทีผ่ มเขียน บทความไปลงในอนุมานวสาร ในเรื่องการนับรุ่นของพวก เราชาว OV ที่ยอมนับกันผิดๆ แต่แรกด้วยความเกรงใจ พวกราชวิทย์ที่มาร่วมอยู่กับมหาดเล็กหลวงภายใต้นามที่ พระราชทานใหม่ว่า วชิราวุธวิทยาลัย ทั้งๆ ที่ชาวราชวิทย์ โดยรวมเขาไม่ได้ยินดียินร้ายด้วย สนใจเพียงจะกู้โรงเรียน กู้ชื่อเสียงประวัติศาสตร์อันมีอายุความยาวนานของเขานัน้ มาทุกยุคทุกสมัย บัดนี้ชาวราชวิทย์ก�ำลังรณรงค์ให้เปลี่ยนสมญา นามที่เรียกตัวเองว่า RV มาหลายสิบปีแล้ว ตั้งแต่ฟื้นตัว ขึ้นมาใหม่ในนามโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยในพระบรม ราชูปถัมภ์ ให้ใช้ชื่อที่ถูกต้องว่า KC สมาคมของเขาก็ออก เป็นมติแน่นอน และเรียกร้องให้ทุกคนปฏิบัติ ย้อนมาทาง OV แล้วก็ได้แต่สะท้อนใจ ไม่ทราบ ว่ายังลังเลอะไรกันอยู่ที่จะเปลี่ยนตัวเลขรุ่นให้ถูกต้องตาม ประวัติศาสตร์ เข้าใจว่าหลายคนยังติดชื่อเก่าอยู่ หรืออ้าง ว่าสับสน คนที่บอกว่าเกรงใจก็ตายไปหมดแล้ว แนวคิ ด สุ ด โต่ ง ของผม คื อ ให้ แ ก้ เ ลขรุ ่ นที่ ใช้ ๆ กันอยู่นี่แหละ บวกเข้าไปอีก ๑๘ อันเป็นจ� ำนวนปีที่ โรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวงได้ ด� ำ รงอยู ่ นั บ จากปี ที่ ได้ รั บ พระราชทานก�ำเนิดจากล้นเกล้าฯ ร.๖ ไปจนปีที่ได้รับ พระราชทานนามใหม่ว่าวชิราวุธวิทยาลัยในรัชกาลต่อมา ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ รุ่นของผมคือ ๓๗ ก็เปลี่ยนเป็น ๕๕ เป็นต้น แต่ถ้ามันยากที่จะฝืนใจ เอาอย่างนี้ได้ไหม ท�ำ graphic design เท่ห์ๆ มาเลือกกัน ถ้าเอาเลขรุ่นมาใส่ เครื่องหมาย +๑๘ ต่อท้าย เช่น ๓๗+๑๘ หรือเลียนแบบ เลขยกก�ำลังเช่น ๓๗ ๑๘ ก็ได้ ถ้าเด็กเข้าใหม่หรือคนนอก
6
ปีการศึกษา รุ่นเดิม รุ่นที่ปรับ ที่จบ ใหม่ 2503 33 50 2504 34 51 2505 35 52 2506 36 53 2507 37 54 2508 38 55 2509 39 56 2510 40 57 2511 41 58 2512 42 59 2513 43 60 2514 44 61 2515 45 62 2516 46 63 2517 47 64 2518 48 65 2519 49 66 2520 50 67 2521 51 68 2522 52 69 2523 53 70 2524 54 71 2525 55 72 2526 56 73
ปีการศึกษา รุ่นเดิม รุ่นที่ปรับ ที่จบ ใหม่ 2527 57 74 2528 58 75 2529 59 76 2530 60 77 2531 61 78 2532 62 79 2533 63 80 2534 64 81 2535 65 82 2536 66 83 2537 67 84 2538 68 85 2539 69 86 2540 70 87 2541 71 88 2542 72 89 2543 73 90 2544 74 91 2545 75 92 2546 76 93 2547 77 94 2548 78 95 2549 79 96 2550 80 97 2551 81 98 2552 82 99 2553 83 100
เห็นแล้วจะถามว่าแปลกดี ไฉนเป็นอย่างงั้นล่ะพี่ ก็ให้ตอบ ไปว่าก็ ๓๗ ปีวชิราวุธ ๑๘ ปีมหาดเล็กหลวงไงน้อง แล้ว ก็ถือโอกาสเล่าประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจของเราไปซะ ด้วยเลย เอ้า เพือ่ ความเป็นประชาธิปไตย เรามาเปิดอภิปราย กันเลยครับ จะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยก็ว่ามา สมาคมฯ เขา จะได้ตัดสินใจง่ายขึ้น ผมอยากจะเรียกร้องอีกครั้งหนึง่ ให้อนุมานวสาร เป็นสื่อที่จะสร้างความถูกต้องให้เกิดขึ้นทันปีที่โรงเรียนจะ ครบ ๑๐๐ ปีด้วย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน รุ่น (๓๗) ๕๕ ทีมงานอนุมานวสาร ขอตอบ ประมวลความเห็นเรื่องการนับรุ่นที่พี่หน่อ กรุณา หยิบยกขึน้ มาน�ำเสนอในความเห็นข้างต้นแล้ว สรุปใจความ ทั้งหมดแล้วประเด็นส�ำคัญคือ ในเมื่อเรายึดถือกันมาโดย ตลอดว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย แต่เมื่อล้นเกล้าฯ พระราชทานก�ำเนิดโรงเรียนเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ นั้น ได้พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียน มหาดเล็กหลวง” ส่วนนาม “วชิราวุธวิทยาลัย” นัน้ เพิ่งมา รับพระราชทานในรัชกาลที่ ๗ เมื่อโปรดให้ยกโรงเรียน ราชวิทยาลัยมารวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ฉะนัน้ โดย หลักฐานทางราชการทัง้ ปวงโรงเรียนมหาดเล็กหลวงจึงยังไม่ ได้ถกู ยุบเลิกไป เพียงแต่ลน้ เกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ โปรดให้เปลีย่ น ชื่อเป็น “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ แห่งสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช การทีท่ า่ นอดีตผูบ้ งั คับการ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช (รุ่น ๓๓) เริ่มนับรุ่นนักเรียนที่จบจากวชิราวุธวิทยาลัยโดย เริ่ ม นั บ รุ ่ น ที่ จ บจากโรงเรี ย นสมั ย ที่ ร วมเป็ น วชิ ร าวุ ธ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 7
วิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นรุ่นที่ ๑ จึงดู จะขัดกับประวัตศิ าสตร์ของโรงเรียนทีพ่ วี่ รชาติ มีชูบทไปค้นคว้ามาว่า พระยานเรนทรราชา (ม.ล.อุรา คเนจร) นักเรียนมหาดเล็กหลวง คนแรกที่ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาจากโรงเรี ย นใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ดังนัน้ เพื่อให้เป็นการแก้ไข ประวั ติ ศ าสตร์ ข องโรงเรี ย นให้ ถู ก ต้ อ ง จึ ง สมควรที่จะเปลี่ยนการนับรุ่นของเราเสียใหม่ ตามนัน้ ซึ่งนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยที่จะจบ การศึกษาในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ก็จะเป็นรุ่นที่ ๑๐๐ ตรงกับประวัติศาสตร์ของโรงเรียนที่จะ ครบ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อนึง่ เพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการ ปรับแก้การนับรุ่นจากระบบเดิมที่ท่ านอดีต ผู้บังคับการ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้ริเริ่ม ไว้ กับการนับรุ่นตามข้อเสนอแนะของพี่หน่อ พี่วรชาติฯ ได้เสนอตัวเลขเปรียบเทียบตัวเลข รุ่นเดิม กับตัวเลขรุ่นที่จะเปลี่ยนใหม่ไว้ด้วย กัน โดยเริ่มจากรุ่น ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่จบการศึกษาเมื่อปีการศึกษา ๒๕๐๓ เป็น ฐาน เพราะรุ่นถัดจากนัน้ ขึ้นไปท่านไม่สนใจมา นับรุน่ กันแล้วครับ เพราะท่านถือกันว่าท่านเป็น “โอวีเก๋ากึกส์” กันหมดแล้ว เพื่อความสะดวกในการเทียบเลขรุ่นที่ ตรงกับอายุทแี่ ท้จริงของโรงเรียน สามารถเทียบ ได้ตามตารางดังต่อไปนี้ ปล. ต้องรบกวนท่านผู้อ่านๆ ลายแทง (ดังนี้ เลข ๔ ตัวแรกเป็นปีการศึกษาที่จบจาก โรงเรียน เลข ๒ ตัวถัดมาเป็นชื่อรุ่นที่เรียกกัน อยู่ในปัจจุบนั เลข ๒ ตัวสุดท้ายเป็นชือ่ รุ่นตาม
8
ข้อเสนอแนะของพี่หน่อครับ ถึง ทีมงานอนุมานวสาร เมือ่ กลางเดือนธันวาคมปีทแี่ ล้ว บริษทั ที่ผมท�ำงานด้วยได้มอบหน้าที่ให้ผมแนะน�ำ และสาธิตการท�ำงานในสายวิชาชีพของผมให้ แก่นกั เรียนปัจจุบัน ผมรู้สึกว่าน้องๆ ทุกคน ให้ความสนใจและมีความกระตือรือร้นที่ได้รับ ฟังประสบการณ์จากนักเรียนเก่าฯ คอลัมน์ ใต้หอประชุมก็เป็นช่องทางเช่นเดียวกันที่เปิด โอกาสให้นกั เรียนรุ่นหลังได้มีแนวทางในการ ด�ำเนินชีวิตในหน้าที่การงานจากรุ่นพี่ๆ ผมจึง อยากให้อนุมานวสารไม่ใช่แค่เป็นผู้ถ่ายทอด ประสบการณ์ของนักเรียนเก่าฯ ในองค์กรต่างๆ ผ่านหน้ากระดาษสู่น้องๆ เท่านัน้ แต่เป็นสื่อ กลางประสานงานพี่ๆ ในองค์กรวิชาชีพต่างๆ ได้ให้โอกาสแบบนีก้ ับน้องๆ นักเรียนปัจจุบัน ด้วยเช่นกัน เด็กในวันนีค้ ือผู้ใหญ่ในวันหน้า เราอยากเห็นนักเรียนเก่าฯ ในวันหน้าเป็นเช่น ไร ผมคิดว่าเราน่าจะปลูกฝังและให้วิสัยทัศน์ ในวันนีค้ รับ สุดท้ายนี้ อนุมานวสารตั้งแต่เล่มแรก จนปัจจุบนั มีพฒ ั นาการได้ยอดเยีย่ ม แต่อย่างไร ก็ตามก็ส�ำคัญไม่เท่ากับการมีทีมงานที่มีความ ตั้งใจท�ำงานกันอย่างเต็มที่ เก็บรายละเอียด ทุกขั้นตอน ขอเป็นก�ำลังใจให้ และจะอยู่ข้างๆ ตลอดไปครับ
วิรัช เทพารักษ์ (รุ่น ๗๑)
นักบินวิรัช เทพารักษ์ (ในสุด) และ ผู้ช่วยนักบิน ธนบูลย์ รามกุล(ซ้ายสุด) รุ่น ๗๓ ขณะสาธิตการขับเครื่องบินเสมือน (flight simulator) ให้น้องๆ วชิราวุธฯ ได้รับชม
ทีมงานอนุมานวสาร ขอตอบ การสร้างวิสัยทัศน์ให้แก่เด็กนักเรียน วชิราวุธฯ เป็นหนึ่งในความคิดส�ำคัญที่ทาง ทีมงานเคยได้ร่วมพูดคุยกับโอวีหลายๆ ท่าน ก็เห็นด้วยทีโ่ อวีนา่ จะริเริม่ ท�ำโครงการแนะแนว เพื่อจุดประกายความคิดและแรงบันดาลใจให้ แก่เด็กนักเรียนปัจจุบัน เพื่อที่น้องๆ รุ่นหลังๆ ของเราจะได้จบออกไปสร้างความก้าวหน้าและ ชื่อเสียงให้แก่ทั้งตนเองและสังคม ซึ่งผลดีของ การปลูกฝังวิสยั ทัศน์ทดี่ แี บบนี้ จะส่งผลดียอ้ น กลับมาที่โรงเรียนเราด้วย เพราะสถาบั น ใดจะดี แ ละอยู ่ ต ่ อ ไป ได้ในสังคมด้วยชื่อเสียงที่ดีนั้น ก็เป็นผลมา
จากผลผลิตของโรงเรียนนัน้ ได้ออกไปท�ำคุณ ประโยชน์ ต ่ อ สั ง คมโดยรวมได้ เป็ น อย่า งดี ผลผลิตที่ว่านีก้ ็ คือ บรรดาน้องๆ โรงเรียนที่ ก�ำลังจะจบออกไป โครงการทีว่ า่ นีย้ งั คงเป็นแค่ แนวความคิดยังขาดแรงกายแรงใจ ที่จะท�ำให้ เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ถ้าโอวีท่านใดเห็นด้วย กับแนวคิดนีก้ ็ขอเชิญมาร่วมงาน All Gentle men can learn ได้ในครัง้ ต่อไปครับ เพือ่ ร่วม กันแสดงความคิดเห็นกันต่อไป ขอบคุณส�ำหรับก�ำลังใจมากๆ ครับ ทางทีมงานก็คาดหวังว่าอนุมานฯ จะเป็นสื่อที่ น�ำเอาสิ่งดีๆ ไปสู่โอวีและน้องๆ ในโรงเรียน ทุกๆ คน ครับ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 9
ตอนนี้อนุมานวสารได้เข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของ ชีวติ ประจ�ำวันของโอวีไปเรียบร้อยแล้ว หลักฐาน ส�ำคัญที่ท�ำให้ทีมงานเราสามารถกล่าวอ้างได้ อย่างเต็มภาคภูมิก็คือ รูปถ่าย ๒ รูปนี้ ที่ได้ มาจากการไปเยี่ ย มเยื อ นบ้า นของตระกู ล ที่ ราชบุรีของ วีระยุทธ โพธารามิก หรือพี่บิ๊ค นักเขียนขาประจ�ำของอนุมานวสาร ในช่วง ปีใหม่ที่ผ่านมาได้กลับไปโพธารามเพื่อเยี่ยม บ้านของคุณอาเขมชาติ โพธารามิก รุ่น ๔๐ ซึ่ง ลูกชายทั้ง ๒ คนก็เป็นโอวีด้วยคือ มยุรชาติ โพธารามิก รุ่น ๖๙ และ มยูร โพธารามิก รุ่น ๗๙ (อ่านเนื้อเรื่องเพิ่มเติมได้ที่คอลัมน์ คอมมอนรูม หน้า ๑๐๐) พี่บิ๊คเลยถือโอกาส เก็บรูปบรรยากาศที่บ้านคุณอามาฝากทางทีม งาน ด้วยความภูมิใจที่ขอน�ำเสนอรูป (ใส่รูป ที่หนังสืออนุมานในห้องน�้ำครับ) ว่า “นี้ เป็นไง อนุมานฯ เรากลายเป็ น หนัง สือ ระดับ เดีย ว กับต่วยตูนไปแล้ว” ซึ่งก็ไม่ผิดไปจากที่ทีม งานเคยได้ยินมาว่า อนุมานฯ ได้เป็นหนังสือ สามัญประจ�ำห้องน�้ำที่ทุกบ้านต้องมี แล้วพี่ บิ๊คก็เปิดรูปต่อไปให้พวกเราดู เป็นรูปหนังสือ อนุมานฯ เสียบไว้อยู่ด้านหลังของเบาะคน ขับ “นี่ อาพี่พกไปอ่านเวลาออกไปข้างนอก ด้วย” เสียงของหนึง่ ในทีมงานก็แทรกขึ้นมาว่า “นี่ อนุมานฯ เราอยู่ในระดับเดียวกับของปลุก เสกรถไปแล้วหรอเนี่ย” ทั้งหมดนีก้ ็เป็นภาพ จากทางบ้านทีส่ ง่ เข้ามาเพือ่ มาร่วมแบ่งปันความ สุขในหมู่พี่น้องโอวีด้วยกันครับ หากท่านใด มีรูปอยากจะอวดก็ขอเชิญส่งมาได้ที่ อีเมล์ ovnewsletter@yahoo.com
10
ใต้หอประชุม
คุยกับนักเรียนเก่าฯ
เกียรติคุณ ชาติประเสริฐ กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 11
มื่อกล่าวถึงนักการทูต หลายคนมักจะ นึกถึงบุคคลภูมิฐานที่มีบุคลิกดี มาดดี แต่งกายดี พูดจาสุภาพไพเราะ และเจอะเจอ ได้ตามงานสังคมต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน นัก การทู ต ยั ง มี ชี วิ ต ด้ า นอื่ น ๆ ที่ ห ลายคน อาจจะยังไม่เคยสัมผัส บทสัมภาษณ์นี้เป็น บทสัมภาษณ์นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ โอวี รุ ่ น ๕๐ กงสุ ล ใหญ่ ณ นครซิ ด นี ย ์ ประเทศออสเตรเลีย นักการทูตที่มากไปด้วย ประสบการณ์ในสายวิชาชีพของตน และได้ใช้ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนวชิราวุธฯ มาเป็น หลักในการด�ำเนินชีวติ และการท�ำงาน เอกภัทร เปรมโยธิน (รุ่น ๗๑) เรียบเรียงบทสัมภาษณ์ ต่อไปนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในคราวที่กงสุลใหญ่เกียรติ คุณฯ เดินทางมาราชการทีป่ ระเทศไทยได้อย่าง น่าสนใจ อนุมานวสาร เชื่อว่าจะท�ำให้เรารู้จัก นักการทูตในแง่มุมอื่นๆ มากขึ้น ภาพของกงสุลใหญ่เกียรติคุณ ชาติ ประเสริฐ ในสายตาของผมคือ ภาพของอดีต รองอธิบดีกรมสารนิเทศ (รองโฆษกกระทรวงฯ) กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้บังคับ บั ญ ชาของผม ที่ ก� ำ ลั ง นั่ง เป็ น ประธานในที่ ประชุม มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ กับเจ้าหน้าที่ คอยตรวจแก้งานของเจ้าหน้าที่ เสนอให้พิจารณา ดังนัน้ การสัมภาษณ์ครั้ง นี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นส�ำหรับผมเป็นอย่าง ยิ่ง เพราะจะท�ำให้ผมได้รู้จักอีกด้านหนึง่ ของ ชีวิตผู้บังคับบัญชา การสัมภาษณ์ซึ่งผมขอ อนุญาตเรียกว่าการพูดคุยในครั้งนี้มีขึ้นที่ชั้น
12
เวลาเราท�ำงานอะไร เราต้องท�ำให้ได้ และท�ำด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งงานแต่ละชิ้นที่ผมท�ำ ผมท�ำด้วยความรัก ๑๘ โรงแรมเชอราตัน ริเวอร์ไซด์ ซึ่งกงสุล ใหญ่เกียรติคณ ุ ใช้เป็นทีพ่ �ำนักระหว่างทีเ่ ดินทาง มาปฏิบตั ริ าชการทีป่ ระเทศไทยเมือ่ ปลายเดือน กันยายนทีผ่ ่านมา ผมและอาทิตย์ ประสาทกุล ซึง่ เป็นทัง้ เพือ่ นสนิทร่วมรุน่ ๗๑ และเพือ่ นร่วม งานที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมกันพูด คุยกับกงสุลใหญ่เกียรติคุณฯ โดยเราได้ถอด ความเป็นเจ้านาย-ลูกน้องออก เหลือแต่ความ
เป็นพี่-น้อง ก่อนการพูดคุยกันในครั้งนี้ “พี่ เหยิน” หรือ “พี่โจ้” ได้ออกตัวว่า “เรามานัง่ คุย กันไปเรื่อยๆ ดีกว่า และดูว่าจะมีประเด็นอะไร ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มาใช้ได้บ้าง” ในการพู ด คุ ย เราย้ อ นเวลากลั บ ไปประมาณ ๔๐ กว่ า ปี ข ณะที่ พี่ โจ้ ยั ง เป็ น ด.ช.เกียรติคุณ ชาติประเสริฐ ผู้ที่เติบโตมา ในครอบครัวนักการทูต คุณพ่อของพี่โจ้เป็น
เจ้าหน้าที่การทูตเช่นกัน ซึ่งภายหลังได้ด�ำรง ต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตและด� ำรงต�ำแหน่ง อธิบดีกรมสารนิเทศ (โฆษกกระทรวงฯ) เป็น ต�ำแหน่งสุดท้ายก่อนทีท่ ่านจะเสียชีวติ ด้วยโรค มะเร็งไขสันหลังตอนอายุ ๕๕ ปี พี่โจ้ได้เล่า ถึงสาเหตุที่เข้ามาเรียนที่วชิราวุธฯ ว่าประมาณ ปี ๒๕๐๗ คุณพ่อพี่โจ้ประจ�ำการอยู่ที่สถาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 13
มีเด็กจากโรงเรียนอักษรเจริญมาเป็นกองทัพ รู้สึกฝ่อเหมือนตัวเองเป็นแกะด�ำแต่ก็เข้าโรงเรียนได้ พระยาภะรตราชาได้เดินทางไปเยือนกรุงโรม โดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ได้มอบหมาย ให้คุณพ่อพี่โจ้เป็นผู้ดูแลพระยาภะรตราชา และวันหนึง่ พระยาภะรตราชาได้ไปรับประทาน อาหารที่บ้านพักของครอบครัวชาติประเสริฐ ตามวิสัยของเด็กช่างรู้ช่างเห็น เด็กชายโจ้ใน ขณะนั้นซึ่งถูกห้ามไม่ให้ออกมาวิ่งเล่นซุกซน ก็ได้แอบชะโงกดูผู้มาเยือน และโดยบังเอิญที่ พระยาภะรตราชาเห็นเข้า จึงเรียกมาพูดคุย ด้วย และชักชวนให้เข้าวชิราวุธฯ ซึ่งก็เหมาะ กับอาชีพของคุณพ่อทีต่ อ้ งเดินทางไปประจ�ำการ ในต่างประเทศเป็นประจ�ำ ซึง่ ลูกก็ตอ้ งย้ายตาม ไปด้วย แต่ในบางประเทศอาจไม่มีโรงเรียนที่ เหมาะสมส�ำหรับลูก คุณพ่อจึงตัดสินใจให้พโี่ จ้ เข้าโรงเรียนวชิราวุธฯ หลังจากกลับจากกรุงโรม พี่ โจ้ ได้ บ รรยายถึ ง ภาพแรกที่ จ� ำ ได้ เกี่ ย วกั บ โรงเรี ย นคื อ วั น สอบคั ด เลื อ กเข้ า โรงเรียน โดยกล่าวว่า “มีเด็กจากโรงเรียน อักษรเจริญเดินเข้าแถวมาสอบเป็นกองทัพ จึง รู้สกึ ฝ่อ เหมือนตัวเองเป็นแกะด�ำ แต่กส็ อบเข้า ได้ ซึง่ ในรุน่ นัน้ มีทงั้ หมดประมาณ ๓๐ คน เป็น เด็กที่มาจากโรงเรียนอักษรเจริญเกือบหมด มี เด็กจากโรงเรียนอื่นๆ หลงเข้ามาได้เพียง ๓-๔
14
คนเท่านัน้ ” ตอนเด็กเล็กพีโ่ จ้อยูค่ ณะสราญรมย์ ซึ่งมีครูผู้ดูแลคณะคือ ครูสุทิพย์ (สมัยนั้น ผู ้ บั ง คั บ การเป็ น ผู ้ ก� ำ กั บ คณะเด็ ก เล็ ก ) พึ่ ง ประดิษฐ์ (ภรรยาครูจติ ) เป็นผูก้ ำ� กับคณะ ส่วน ตอนเด็กโตอยู่คณะพญาไท พี่โจ้เล่าถึงการปรับตัวในช่วงแรกที่มา อยู่โรงเรียนว่า “ต้องปรับตัวเยอะมาก เพราะ ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเข้าโรงเรียนประจ�ำ และ เด็กที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็เด็กจากโรงเรียนอักษร เจริญ ซึ่งเป็นเพื่อนกันมาอยู่แล้ว พูดจาก็ สนิทสนมกัน ใช้ อั๊ว ลื้อ มึง กู ขณะที่เราเป็น เด็กจากโรงเรียนอื่น แรกๆ ได้ฟังค�ำพวกนีถ้ ึง กับตกใจเพราะเคยพูดแต่ผม คุณ นาย เรา อีกทั้งการอยู่โรงเรียนประจ�ำต้องช่วยเหลือตัว เองในหลายๆ ด้าน แต่ใช้เวลาปรับตัวไม่นาน เพราะเป็นคนปรับตัวง่ายอยู่แล้ว” พีโ่ จ้ยงั เล่าอีกว่าตอนเข้าโรงเรียนใหม่ๆ มักถูกเด็กอักษรเจริญแกล้งและล้อเลียนเสมอ และพอถึงวันกลับบ้าน พีโ่ จ้กไ็ ปร้องไห้ฟอ้ งคุณ พ่อว่าถูกล้อชื่อพ่อบ้าง ถูกกลั่นแกล้งบ้าง คุณ พ่อเลยถามพี่โจ้ว่าตอนถูกล้อโกรธมั้ย ซึ่งพี่โจ้ ก็ตอบว่าโกรธ คุณพ่อเลยหัวเราะและได้โอกาส สอนว่า นี่แหละ ยิ่งโกรธเขาก็จะยิ่งล้อ ไม่ต้อง
ไปโกรธ ท�ำเฉยเข้าไว้ อย่าไปเดือดร้อน หลังจาก นัน้ พีโ่ จ้กไ็ ด้ท�ำตามทีค่ ณ ุ พ่อแนะน�ำ ซึง่ ก็ได้ผล นับแต่นนั้ มาพีโ่ จ้จงึ เป็นคนที่ “ไม่มปี มด้อย” ไม่ ว่าจะถูกล้อว่าดั้งหัก ขาโก่ง หรือฟันเหยิน ก็ไม่ เคยโกรธอีกเลย จนเพื่อนๆ เลิกล้อไปในที่สุด และก็ท�ำให้พี่โจ้สนิทสนมกับเพื่อนๆ ได้เร็วขึ้น เมื่อกล่าวถึงคุณพ่อของพี่โจ้ ก็อดไม่ ได้ที่ถามว่าคุณพ่อมีส่วนมากน้อยแค่ไหนใน การเข้ารับราชการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งพี่โจ้บอกว่า “ไม่ได้คิดจะเข้ากระทรวงการ ต่างประเทศตั้งแต่ต้น และคุณพ่อ คุณแม่ ก็ ไม่อยากให้เข้า เพราะชีวิตข้าราชการสมัยก่อน
ค่อนข้างล�ำบาก ยิ่งถ้ามีฐานะปานกลางอย่าง ครอบครัวของเราก็ค่อนข้างล�ำบากในการพา ครอบครั ว ไปอยู ่ ต ่ า งประเทศด้ ว ยเพราะค่ า เล่าเรียนส�ำหรับลูกๆ สูงมาก ซึ่งในสมัยก่อน สวัสดิการต่างๆ ก็ยังไม่ดีเท่าไหร่ ชีวิตในวัย เด็กของผมหลังกลับจากอิตาลี จึงต้องแยก กันอยูก่ บั ครอบครัวตัง้ แต่เข้าโรงเรียนวชิราวุธฯ ตัง้ แต่ ป.๓ จนจบ มศ.๕ ทีจ่ ริงคุณพ่ออยากให้ เป็นสถาปนิกหรือวิศวกร” “ผมถูกจัดเป็นเด็กเรียนดี สอบได้ที่ หนึ่งที่สองและถือใบคะแนน (ค�ำนี้เป็นศัพท์ เก่า) มาตลอด ซึ่งเมื่อตอนเลือกเรียนสายวิทย์ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 15
สายศิลป์ อาจารย์ก็คาดหวังว่าจะให้ผมเลือก เรียนสายวิทย์ เพื่อสอบเข้าหมอหรือวิศวะและ สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน แต่ผมมีความรู้สึก ว่าผมเรียนสายวิทย์ไม่ได้แน่ๆ จะให้มาท่อง สูตรเคมีหรือฟิสิกส์ ผมคงไม่ไหว ก็เลยเลือก เรียนสายศิลป์-ฝรัง่ เศส จึงท�ำให้เราต้องมาเลือก เอ็นทราน์ดา้ นนี้ (รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) โดยปริยาย แต่สาเหตุที่ท�ำให้เข้ากระทรวงการ ต่างประเทศ คือตอนทีผ่ มอยู่ มศ.๕ คุณพ่อเริม่ ป่วยเป็นมะเร็งทีไ่ ขสันหลัง ก็เลยตัดสินใจสอบ เข้ารัฐศาสตร์ จุฬาฯ เพราะอยากเจริญรอยตาม คุณพ่อ” พีโ่ จ้กล่าวเพิม่ เติมด้วยความภาคภูมใิ จ ในคุณพ่อว่า “พ่อผมเป็นคนต่างจังหวัดและ ฐานะยากจน แต่ก็ขวนขวายจนจบปริญญาตรี จากธรรมศาสตร์ และสอบเข้ากระทรวงการ
16
ต่างประเทศตั้งแต่ยังเป็นชั้นเสมียน โดยไม่ เคยได้มีโอกาสไปเรียนต่อต่างประเทศเลย แต่ คุณพ่อก็สามารถไต่เต้าและเจริญก้าวหน้าเป็น เอกอัครราชทูตและอธิบดีกรมสารนิเทศได้กอ่ น ที่ท่านจะเสียชีวิต ซึ่งตอนนัน้ ผมยังเรียนอยู่ปี หนึง่ ที่จุฬาฯ ที่จริงตอนจบปริญญาตรีคุณแม่ อยากให้เป็นอาจารย์สอนหนังสือ และไม่อยาก ให้เข้ากระทรวงฯ เลย เพราะไม่อยากให้ชีวิต ครอบครัวของผมต้องล�ำบากและอาจต้องแยก กันอยูเ่ หมือนครอบครัวของเรา แต่ผมก็แอบไป สอบเข้ากระทรวงฯ โดยไม่บอกที่บ้าน คุณแม่ มารู้ก็ตอนที่ประกาศผลสอบสัมภาษณ์ว่าผม สอบเข้ากระทรวงฯ ได้ ก็ยังเถียงกับคุณแม่อยู่ อีกนาน เพราะช่วงนัน้ ทางคณะรัฐศาสตร์กก็ ำ� ลัง จะหาทุนให้ผมไปเรียนต่อต่างประเทศ และจะ หาต�ำแหน่งอาจารย์ให้เมื่อเรียนจบปริญญาโท”
ผมภูมิใจ ที่ได้รับการยอมรับ จากเดิมที่เป็นแกะด�ำ แต่สามารถได้เป็น หัวหน้าใหญ่คณะพญาไท กลับมาที่ชีวิตในรั้วโรงเรียน พี่โจ้ถือว่า เป็นนักเรียนแนวหน้าโดยได้ทุนของสมาคม นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ คนแรก และได้เรียนฟรี ตั้งแต่ มศ. ๑ ถึงจบ มศ. ๕ แต่พี่โจ้กล่าวว่า “ผมไม่ใช่เด็กเรียนเก่ง แต่เผอิญโชคดีทจี่ ำ� อะไร ได้งา่ ย และเก็งข้อสอบเก่งเลยสอบได้คะแนนดี ขอยื น ยั น ว่ า ไม่ ใ ช่ เด็ ก เรี ย นประเภทหนอน หนังสือ” เรื่ อ งการเรี ย นของพี่ โ จ้ ยั ง มี เ รื่ อ ง เล่าขานสมัยที่เรียนจุฬาฯ ซึ่งพี่โจ้ได้คะแนน สู ง สุ ด ในวิ ช าหนึ่ง โดยไม่ เคยเข้ า เรี ย น จน อาจารย์ต้องขอดูตัวว่าไอ้หมอนี่เป็นใครเพราะ ไม่เคยเห็นหน้า นอกจากนี้ พี่โจ้ยังเป็นบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๑ ที่มีเกรดครบทั้ง A B C และ D (ยกเว้นเกรด F) ในใบแสดงผลการ ศึกษา ซึ่งคงหาคนที่ได้เกียรตินิยมอันดับ ๑ โดยเคยได้เกรด D ยากมาก (หรืออาจมีพี่โจ้ คนเดียว) พี่ โ จ้ ยั ง เล่ า อี ก ด้ ว ยว่ า ที่ เ รี ย นจบ มหาวิทยาลัยมาได้ก็ต้องยกความดีให้เพื่อนๆ ที่คอยเอาสมุดบันทึกการเรียนไป xerox ให้พี่ โจ้ทอ่ งก่อนสอบ จนวันรับพระราชทานปริญญา เพือ่ นๆ ยังแซวเลยว่าสงสัยโจ้จะได้รบั ปริญญา
ฉบับ xerox สิ่งเหล่านีจ้ ึงสะท้อนให้เห็นว่าพี่โจ้ อาจไม่ได้เป็นคนเรียนเก่งหรือเป็นเด็กเรียน แต่ ที่แน่ๆ คือ พี่โจ้เรียนเป็นและเอาตัวรอดได้ดี นอกจากเรื่องการเรียนแล้ว พี่โจ้ยัง เป็นนักกิจกรรมตัวยง โดยเป็นทั้งนักดนตรี นักโต้วาที นักเขียน และนักกีฬา ทั้งรักบี้ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล กรีฑา และแบดมินตัน ซึ่งพี่โจ้บอกว่า “อาจไม่ถึงขั้น ติดทีมโรงเรียน แต่ก็เล่นได้หมด” และพี่โจ้ก็ เคยจมูกหักและขาหักจากการเล่นกีฬาตอน อยู่โรงเรียนด้วย ความโดดเด่นในด้านต่างๆ ของพีโ่ จ้ใน ระหว่างทีเ่ ป็นนักเรียนวชิราวุธฯ ท�ำให้พโี่ จ้ได้รบั การยอมรับ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า ใหญ่ของคณะพญาไท ซึ่งพี่โจ้ภูมิใจมากเพราะ จากเดิมที่เป็นแกะด�ำ แต่ต่อมาได้เป็นหัวหน้า ใหญ่ ซึ่งโดยปกติหัวหน้าใหญ่มักเป็นนักรักบี้ ทีมโรงเรียน แต่พี่โจ้ไม่ใช่ จึงเป็นการสะท้อน ถึงการยอมรับจากครูและเพื่อนๆ ที่มีต่อพี่โจ้ ส� ำ หรั บ หลั ก การที่ พี่ โ จ้ ใ ช้ ใ นการ ปกครองรุ่นน้องนัน้ พี่โจ้ได้ให้ข้อคิดว่า “คุณ ต้องให้ความยุติธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดี กับรุ่นน้อง อย่างเรื่องสูบบุหรี่ เล่นการพนัน มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 17
หรือหนีโรงเรียนที่ท�ำกันในหมู่เพื่อนๆ อย่า ให้ รุ ่ นน้ อ งรู ้ คื อ เราต้ อ งรู ้ จั ก บทบาทหน้ า ที่ และท� ำ หน้ า ที่ ข องเราให้ ดี ให้ เ หมาะกั บ กาลเทศะ พยายามท� ำ ให้ รุ ่ น น้ อ งไม่ รู ้ สึ ก เกรงกลั ว เรา เข้ า มาหาและคุ ย กั บ เราได้ การท�ำให้คนอื่นเชื่อถือศรัทธาเป็นเรื่องส�ำคัญ มาก” หลักการเหล่านีส้ ะท้อนให้เห็นถึงแนวทาง การปกครองผู ้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชาของพี่ โ จ้ ที่ กระทรวงการต่างประเทศในเวลาต่อมา เมื่ อ พู ด ถึ ง ความประทั บ ใจเกี่ ย วกั บ โรงเรียน พี่โจ้กล่าวว่า “ผมประทับใจสภาพ แวดล้อมและสังคมของโรงเรียน เพราะการ ที่ ผ มมาถึ ง จุ ด นี้ ได้ ผมถื อ ว่ า โรงเรี ย นปลู ก ฝั ง เรื่ อ งต่ า งๆ เช่ น การปรั บ ตั ว ให้ เข้ า กั บ คนอื่ น ๆ การเอาตั ว รอด ไม่ ว ่ า จะเป็ นการ รอดพ้นจากการถูกรุ่นพี่ใช้หรือแกล้ง การแก้ ปัญหา การสู้งาน และการท�ำงานเป็นทีม ซึ่ง ผมสามารถเข้ากับคนได้ทุกกลุ่ม ทั้งเพื่อนๆ รุ่นพี่และรุ่นน้อง ส่วนเรื่องกิจกรรมผมเอา หมดทุกด้านไม่ว่าจะเรื่องเรียน เล่นกีฬา เล่น ดนตรี รวมถึงยังเป็นเจ้ามือไฮโลเขย่าลูกเต๋า หลังห้องเรียนให้เพื่อนๆ แทงกัน ความเป็นพี่ น้องเพือ่ นฝูง ร่วมทุกข์รว่ มสุขมาด้วยกัน ท�ำให้ เรารักใคร่กันและก็ยังรักใคร่กลมเกลียวกันมา จนถึงทุกวันนี้ สิ่งเหล่านี้ผมได้จากโรงเรียนทั้ง สิ้น โรงเรียนเป็นเหมือนสังคมจ�ำลองที่ฝึกฝน เราในทุกๆ ด้าน”
18
พูดถึงเรื่องความผูกพันระหว่างเพื่อน พี่โจ้ได้เล่า ถึงตอนที่พี่โจ้ขาหักใส่เฝือก ซึ่ง เพื่อนๆ จะโดดไปราชวัตร และอยากให้พี่โจ้ ไปด้วย จึงช่วยกันประคองและยกพี่โจ้ข้ามรั้ว และคอยดูแลช่วยข้ามถนน สิ่งเหล่านี้อาจดู เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่แสดงให้เห็นถึงความรัก ใคร่ผูกพันกันในหมู่เพื่อนฝูง พี่โจ้ยังได้ตอบค�ำถามยอดฮิตที่เรามัก จะถามนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ทุกคนว่า เคยถูก ท่านพระยาภะรตราชาตบมั้ย ซึ่งพี่โจ้หัวเราะ อย่างอารมณ์ดีก่อนตอบว่า “ผมไม่เคยโดน ท่านตบ แต่เคยโดนดุ น่าเสียดาย เลยไม่ได้ เป็นวชิราวุธฯ เต็มตัว” พีโ่ จ้ยงั ได้เล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในช่วง ที่อยู่โรงเรียนให้เราฟัง ไม่ว่าจะเป็น วีรกรรม หลอกผีครู ขโมยขนมเจ๊กเฉ่า การแข่งรถ พระอินทร์หลังวันแข่งกรีฑา การยกพวกตี กันเล่นๆ แต่ครึกโครมจนต�ำรวจนึกว่ามีการ ยกพวกตีกันจริงๆ และโทรมาแจ้งผู้ก�ำกับ คณะ การแกล้งรุ่นน้องที่นอนหลับขี้เซาด้วย การยกเตี ย งไปไว้ ที่ ส นามหน้ า ตลอดทั้ ง คื น และคอยแอบดู ว ่ า ตอนตื่ น ขึ้ น มาแล้ ว น้ อ ง คนนั้นจะท� ำ ยั ง ไง หรื อ การแอบมองพี่ ส าว น้องสาวของเพื่อนๆ ในวันอาทิตย์ที่โรงเรียน อนุญาตให้ผู้ปกครองมาเยี่ยมได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นประสบการณ์ใหม่ๆ ส�ำหรับนักเรียนที่จบ มาไม่นานอย่างพวกเราทัง้ สอง ทีไ่ ด้ฟงั จากรุน่ พี่ นอกเหนือจากเรื่องประสบการณ์ใน โรงเรียนของพี่โจ้แล้ว เราทั้งสามยังสนทนา
กันเรื่องอื่นๆ รวมถึงเรื่องที่มักจะเป็นค�ำถาม ว่า ด้วยสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่ช่วย เหลือเกื้อกูลกัน ท�ำให้เด็กวชิราวุธฯ ที่จบออก ไปแข่งขันสู้เด็กที่จบจากโรงเรียนอื่นไม่ได้ ซึ่ง เรื่องนี้พี่โจ้ได้ให้ทรรศนะว่า “ก็อาจจะจริงใน ทางวิชาการ เพราะเราไม่ได้แข่งกันเรียน แต่เรา กลับคอยช่วยกันเรียน แต่ลองดูสิว่าคนที่มีชื่อ เสียงและประสบความส�ำเร็จในแวดวงต่างๆ ใน ปัจจุบัน เป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ จ�ำนวนมาก บรรยากาศแบบนัน้ ท�ำให้เราไม่ค่อยเห็นแก่ตัว แต่เด็กสมัยนีแ้ ข่งขันกันมาก ดูได้จากการทีต่ อ้ ง ไปเรียนพิเศษเพือ่ สอบแข่งขันกันตัง้ แต่เข้าเรียน ชั้นอนุบาล ซึ่งสมัยผมไม่เคยเรียนพิเศษเลย มีครั้งเดียวตอนจบจากโรงเรียน ได้ไปเรียน พิเศษกวดวิชาทีโ่ รงเรียนสมถวิลเพือ่ เตรียมเข้า มหาวิทยาลัย แต่วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อจะไป
จีบสาว ผมคิดว่าการจบวชิราวุธฯ ออกมาโดยมี ความพร้อมในการปรับตัว และมีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ มีความใฝ่รู้ ใฝ่ดี แต่ก็ ต้องมีความรู้ทางวิชาการบ้าง ก็สามารถใช้ชีวิต ในโลกภายนอกให้ประสบความส�ำเร็จได้” พี่ โ จ้ ไ ด้ ย กตั ว อย่ า งนั ก เรี ย นเก่ า วชิราวุธฯ ที่ประสบความส�ำเร็จในแวดวงการ ทูต อาทิเช่น นายเตช บุนนาค อดีตปลัดกระ ทรวงฯ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ อดีต เอกอัครราชทูตหลายประเทศและอดีตปลัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสรยุตม์ พรหมพจน์ อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ นายอนุ ส นธิ์ ชิ น วรรโณ อธิ บ ดี ก รมเอเชี ย ตะวันออก นายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรม เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และนายธนาธิป
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 19
อุปตั ศิ ฤงค์ เอกอัครราชทูตประจ�ำกระทรวงการ ต่างประเทศ เป็นต้น กับค�ำถามที่ว่ามีคน “หมั่นไส้” เด็ก วชิราวุธฯ บ้างมั้ย พี่โจ้ตอบว่า “คนภายนอก มีทัศนคติที่ดีกับเด็กวชิราวุธฯ เขารู้ว่าพวกเรา รักและสามัคคีกัน ท�ำงานได้หลายรูปแบบ มี น�้ำใจเป็นนักกีฬา มีสัมมาคารวะ มีความเป็น ผู้น�ำ ทั้งนีก้ ็อยู่ที่การวางตัวและความประพฤติ ของพวกเราเป็นส�ำคัญ แต่ก็อาจมีบ้างที่มีคน หมั่นไส้ แต่คิดว่าน้อยมาก” ส�ำหรับความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน เก่าวชิราวุธฯ กับ ภ.ป.ร. พี่โจ้กล่าวว่า “แม้ ทั้งสองโรงเรียนแข่งกันมาตลอด แต่พอจบ ออกมาก็รักใคร่กันดี เหมือนพวกเดียวกัน อย่างตอนนีท้ ี่ซิดนีย์ก็มีคนที่จบจากวชิราวุธฯ และ ภ.ป.ร. หลายคน ซึ่งก็คบหาสนิทสนม กันดี” พี่โจ้ยังได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับระบบพี่ ปกครองน้องว่า “ปัจจุบนั ระบบอาจปรับเปลีย่ น ไปตามสถานการณ์ แต่ก็ยังเห็นว่าการที่ให้รุ่น พี่ปกครองรุ่นน้อง การใช้ให้รุ่นน้องท�ำงานให้ การท�ำโทษหรือแกล้งกันบ้าง ก็ควรจะคงมีอยู่ เพราะมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทอี่ ยูใ่ นสังคม และเป็นการฝึกคนให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และพร้อมที่จะสู้โลกได้ แต่รุ่นพี่ก็ต้องค�ำนึงถึง ความถูกต้องเหมาะสมในการปกครองรุ่นน้อง โดยไม่ใช้อารมณ์หรือท�ำด้วยความสะใจ ถ้าเป็น เช่นนัน้ ก็คงไม่เป็นผลดีต่อรุ่นน้อง”
20
การสนทนาล่วงเลยมาถึงเรื่องการรับ ราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เริ่มต้น จากการสอบเข้ากระทรวงฯ ซึ่งหลายคนมัก จะมองว่ากระทรวงนี้มักจะเต็มไปด้วยลูกท่าน หลานเธอที่เข้ามาได้เพราะเส้นสาย ซึ่งเรื่องนี้ พี่โจ้ได้อธิบายว่า “ในช่วง ๒๐ กว่าปีที่ผ่าน มา กระทรวงการต่างประเทศให้ความส�ำคัญ และเข้มงวดมากในการรับข้าราชการ มีการจัด ระบบการตรวจข้อสอบที่ไม่สามารถช่วยเหลือ กันได้ ถ้าไม่มีความรู้จริงๆ ก็คงไม่ผ่านการ สอบข้อเขียน และในตอนสอบสัมภาษณ์ก็มี กรรมการหลายท่าน รวมทั้งกรรมการจากคน ภายนอกและผู้แทน กพ. ด้วย มันหมดยุค เล่นพรรคเล่นพวกไปนานแล้ว และทุกคนที่ สอบเข้ามาได้กม็ โี อกาสเจริญก้าวหน้าเป็นถึงทูต หรืออธิบดีได้โดยเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับความ รู้ความสามารถ” ในเรื่องนี้ ทั้งอาทิตย์และผม พยักหน้าอย่างเห็นด้วย เพราะตอนนัง่ ฟังอยูเ่ รา ทัง้ สองก็อดทีจ่ ะคิดถึงกระบวนการคัดเลือกเข้า กระทรวงฯ ที่มหาโหดไม่ได้ พี่โจ้ เริ่ม รับ ราชการในปี ๒๕๒๖ ที่ กรมการเมือง (สมัยนี้เปลี่ยนเป็นกรมภูมิภาค) และสับเปลี่ยนกรม กองต่างๆ เรื่อยมา ไม่ว่า จะเป็นกรมอาเซียน กรมเศรษฐกิจ ส�ำนักงาน รัฐมนตรี ฝ่ายราชการในต่างประเทศ โดยเคย ออกไปประจ�ำการที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นคร กวางโจว ประเทศจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ก่อนที่จะ มาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่สื่อมวลชน
ในฐานะรองโฆษกกระทรวงฯ (รองอธิบดีกรม สารนิเทศ) และขณะนี้ ด�ำรงต�ำแหน่งกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย พี่โจ้ได้ให้แง่คิดเกี่ยวกับการท�ำงานใน กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งน่าสนใจและเป็น ประโยชน์กบั พวกผมทัง้ ๒ เป็นอย่างยิง่ ว่า “งาน กระทรวงฯ เป็นงานที่หนักและมีความส�ำคัญ ยิ่งต่อประเทศชาติ ใครจะเข้ามาท�ำต้องมีความ พร้อมและต้องยอมรับในระบบของกระทรวงฯ ยิ่งในยุคปัจจุบัน ทุกหน่วยราชการมีบทบาท และภารกิจด้านการต่างประเทศมากขึ้น ซึ่ง กระทรวงฯ ต้องเข้าไปเกีย่ วข้อง ท�ำให้ขอบเขตงาน มากขึ้น งานด้านต่างประเทศเป็นงานที่มีความ ละเอียดอ่อน เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของ ประเทศ และทีส่ ำ� คัญคือต้องแข่งกับเวลาเพราะ ต้องติดต่อประสานงานกับทัว่ โลกซึง่ มีเวลาแตก ต่างกัน ดังนัน้ เวลาท�ำงานของกระทรวงการต่าง ประเทศจึงอาจพูดได้ว่ามีตลอด ๒๔ ชั่วโมง และแทบจะไม่มีวันหยุด ดังนัน้ จึงต้องอุทิศ เวลากับงานอย่างเต็มทีถ่ งึ แม้จะเหนือ่ ยและรูส้ กึ ว่าไม่คอ่ ยมีเวลาส่วนตัวมากนัก แต่กร็ สู้ กึ ภูมใิ จ กับงานที่เราท�ำอย่างทุ่มเท การจัดสรรเวลาจึง เป็นเรื่องส�ำคัญ นอกจากนัน้ ก็ต้องปรับตัวให้ เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ได้ ตลอดเวลาด้วย เพราะที่กระทรวงฯ จะมีการ สับเปลี่ยนงานอยู่ตลอดตั้งแต่เข้าจนเกษียณ” “อย่ า งไรก็ ต าม ข้ อ ดี ข องการเป็ น ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ คือ การได้ รับการยอมรับจากคนภายนอก งานกระทรวงฯ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 21
เป็นงานที่ท�ำให้มีโอกาสได้รู้จักผู้คนและได้เห็น โลกมากยิ่งขึ้น เป็นงานที่ท้าทายและไม่จ�ำเจ เพราะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่ความรับ ผิดชอบตลอด ทีส่ ำ� คัญอย่าเลือกงาน ต้องมอง งานทุกอย่างว่ามีความส�ำคัญเท่าๆ กัน เหมือน อวัยวะในร่างกาย เพราะแต่ละงานจะมีส่วน สนับสนุนเกื้อกูลกันหมด” พีโ่ จ้ยงั ได้ให้ขอ้ คิดเพิม่ เติมเกีย่ วกับการ ท�ำงานโดยเล่าจากประสบการณ์สว่ นตัวอีกด้วย ว่า “ไม่ควรยึดติดกับนายคนใดคนหนึง่ เท่านัน้ ในชีวติ ราชการตลอด ๒๕ ปีทผี่ า่ นมา ผมไม่เคย เลือกนายเลย ท�ำงานกับนายใหม่ตลอด ไม่ใช่ เป็นความตั้งใจ แต่ไม่เคยเรียกร้องที่จะท�ำงาน กับนายเก่า การที่เราได้ท�ำงานกับนายที่หลาก หลายจะท�ำให้เราได้เรียนรู้มากขึ้น โดยถ้าเรา เปิดกว้างทีจ่ ะเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ กับตัวเราอย่างมาก อะไรที่เป็นตัวอย่างที่ดี เรา ก็น�ำไปปฏิบัติตาม อะไรที่เรารู้สึกว่าไม่ดีหรือ เราไม่ชอบ ต่อไปเมื่อเราเป็นนายก็อย่าท�ำอย่าง นัน้ กับลูกน้อง” พีโ่ จ้ยงั ได้แนะน�ำอีกด้วยว่า การท�ำงาน ควรท�ำให้ดีที่สุด อย่าท�ำเพียงเพราะเป็นหน้าที่ และความรับผิดชอบเท่านัน้ แต่ให้ท�ำด้วยใจ คือเติมความตั้งใจเข้าไปด้วย งานจะออกมาดี ยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ พี่โจ้ยังยึดหลัก common sense ในการท�ำงาน ส�ำหรับการท�ำงาน เป็นทีม ในฐานะผู้บังคับบัญชา พี่โจ้กล่าวว่า ควรจะมีการปรึกษาหารือกันและให้โอกาสลูก
22
น้องแสดงความเห็นอย่างเต็มที่ และถ้างานออก มาส�ำเร็จก็ต้องให้ความดีความชอบกับผู้ร่วม งานทุกคนที่มีส่วน อย่าเอาเปรียบคนอื่น และ พยายามมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานทุกคน ทุกระดับ เรื่องมนุษยสัมพันธ์ก็มีความส�ำคัญ มากส�ำหรับการท�ำงานเป็นทีม พี่โจ้ย�้ำด้วยว่า “ไม่มีใครเก่งคนเดียวหมดทุกด้านหรอก” ถ้าจะกล่าวถึงผลงานเด่นๆ ในชีวิต ราชการของพี่โจ้ที่ผ่านมา ผู้คนมักจะจดจ� ำ และนึกถึงพี่โจ้ในสองเรื่อง คือ การเป็นผู้ ดู แ ลงานก่ อ สร้ า งอาคารที่ ท� ำ การกระทรวง การต่ า งประเทศ ทั้ ง ที่ ถ นนศรี อ ยุ ธ ยาและ ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งมีมูลค่าโครงการร่วม ๑,๕๐๐ ล้านบาท ในช่วงที่พี่โจ้ดำ� รงต�ำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายราชการในต่างประเทศ และการ ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงที่เป็นรองโฆษกกระทรวง การต่ า งประเทศ “ผมได้ มี โอกาสดู แ ลงาน ก่อสร้างกระทรวงฯ ทั้ง ๒ แห่ง เกือบ ๔ ปี เต็มตั้งแต่เริ่มลงเสาเข็มจนถึงการย้ายเข้า ท�ำงาน ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นงานชั้นสอง ที่ไม่มีใครอยากท�ำ ไม่ใช่งานวิชาการ ไม่ใช่ งานที่โดดเด่นแต่ผมก็ท�ำงานด้วยความสนุก ความมุ่งมั่น และสุดท้ายก็ได้รับการชมเชย จากผู้ใหญ่ รวมทั้งได้รับการยอมรับจากพี่ๆ เพือ่ นๆ และน้องๆ ในกระทรวงอย่างกว้างขวาง สิ่งนี้สอนว่า ถ้าคุณท�ำงานเป็น มองงานออก และตั้งใจท�ำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ก็สามารถท�ำให้งานบางอย่างที่ดูไม่ค่อยส�ำคัญ
กลายเป็นงานที่มีความส�ำคัญขึ้นมาได้ ขณะ เดียวกัน เราต้องพิสูจน์ว่าเราอยู่ที่ไหนก็ท�ำงาน ได้ และจะท�ำให้ดีที่สุด นอกจากนี้ ก็ต้องท�ำ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตด้วย” ส� ำ หรั บ ช่ ว งที่ เ ป็ น รองอธิ บ ดี ก รม สารนิเทศนัน้ เป็นช่วงที่ประเทศไทยต้องผ่าน สถานการณ์ส�ำคัญต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะ เป็นปัญหาชายแดนภาคใต้ เหตุการณ์กรือเซะ และตากใบ เหตุการณ์สึนามิ ปัญหาการเมือง ภายใน การปฏิวัติ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ รวม ทั้งเป็นช่วงที่มีพระราชพิธีเฉลิมฉลองวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ครบ ๖๐ ปี ซึ่งล้วนเป็นภารกิจที่มีความส�ำคัญ ยิ่งและเป็นช่วงที่พี่โจ้ยอมรับว่าเป็นช่วงที่หนัก ที่สุดในชีวิตการรับราชการที่ผ่านมา โดย ๘๕ เปอร์เซ็นต์ของเวลาช่วงนัน้ มีแต่เรื่องงาน และ เป็นงานที่ละเอียดอ่อนรวมทั้งต้องแข่งกับเวลา ช่วงทีห่ นักทีส่ ดุ คือช่วงทีเ่ กิดสึนามิ ซึง่ พีโ่ จ้บอก ว่าต้องท�ำงาน ทุ ก วั น ไม่ มี วั น หยุ ด แม้ แ ต่ วั น เดี ย ว ตลอด ๒ เดือน แม้กระทั่งช่วงวันหยุดปีใหม่ ก็ไม่ได้หยุด และช่วงงานพระราชพิธคี รองราชย์ ครบ ๖๐ ปี ก็เป็นอีกช่วงหนึง่ ที่มีความส�ำคัญ เป็นอย่างมาก ที่พวกเราทุกคนจะต้องร่วมใจ กันปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถเพื่อ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งถึง แม้งานจะหนักเพียงใด แต่พี่โจ้ก็มีความภูมิใจ ที่ได้มีส่วนส�ำคัญในงานเหล่านัน้ “ผมโชคดีที่
ครอบครัวเข้าใจและตระหนักว่าสิ่งที่ผมท�ำคือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติและให้ก�ำลังใจ เต็มที่ ครอบครัวจึงมีส่วนส�ำคัญมากในการ สนับสนุนหน้าที่การงานของผม” ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นเก่ า วชิ ร าวุ ธ ฯ ใน กระทรวงการต่างประเทศนัน้ พี่โจ้กล่าวว่า “ก็ มีอยูห่ ลายคนและทีป่ ระสบความส�ำเร็จก็มมี าก ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ถึงแม้พวกเราจะไม่ได้จับ กลุ่มกันเป็นพิเศษ แต่เราก็รู้ว่าเป็นพี่น้องกัน คอยช่วยเหลือสนับสนุนกันตามความเหมาะสม และแม้บางคนจะไม่ได้จบ มศ. ๕ แต่ก็ยังมี ความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียน และถือว่าเป็น โอวีตลอด ซึ่งปัจจุบันมีนกั เรียนเก่าวชิราวุธฯ อยู่ในกระทรวงฯ ประมาณ ๑๕ คน” กว่า ๓ ชั่วโมงที่เราทั้ง ๒ได้มีโอกาส พูดคุยกับพี่โจ้ในครั้งนี้ ถือเป็นประสบการณ์ ที่มีค่า เพราะพี่โจ้ได้ให้ข้อคิดในแง่มุมต่างๆ ที่ เป็นประโยชน์ ซึ่งหลายอย่างได้สะท้อนมาจาก ช่วงที่เป็นนักเรียนวชิราวุธฯ สิ่งที่พี่โจ้ได้กรุณา เล่าให้พวกเราฟังในครั้งนีก้ ็คงไม่ต้องสรุปอะไร เพิม่ เติมอีก เพราะทุกค�ำพูดก็ตอบได้ดถี งึ ความ ส�ำเร็จในวิชาชีพของพี่โจ้ในทุกวันนี้ ท้ายที่สุด พี่โจ้ฝากบอกพวกเราชาว วชิราวุธฯ ทุกคนว่า หากมีโอกาสแวะไปซิดนีย์ ก็อย่าลืมติดต่อไป พี่โจ้ยินดีให้การต้อนรับ อย่างเต็มที่ เอกภัทร เปรมโยธิน (รุ่น ๗๑) และอาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) สัมภาษณ์ เอกภัทร เปรมโยธิน (รุ่น ๗๑) เรียบเรียง มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 23
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
งานวชิราวุธานุสรณ์
การแข่งขันกรีฑาหน้าพระที่นงั่
สืบเนื่องจากทีมงานจัดท�ำอนุมานวสารซึ่งล้วนเป็นเด็กหนุ่มในวัย ๒๐ เศษๆ ได้ไปอ่าน หัสนิยายชุดสามเกลอ ของ ป. อินทรปาลิต ที่มีตัวเอกคือ พล นิกร กิมหงวน ไปเที่ยวงาน วชิราวุธานุสรณ์ แล้วได้หยิบยืมภาพปกของหัสนิยายดังกล่าวมาขึน้ ปกอนุมานวสารฉบับนี้ เลยชวน ให้คิดความสนุกสนานของ “งานวชิราวุธานุสรณ์” หรือ “งานวชิราวุธฯ” ที่พี่ๆ และเพื่อนๆ โอวี
24
ทัง้ หลายต่างก็เคยมีสว่ นร่วมในงานดังกล่าว ทัง้ ในฐานะกรรมการจัดงาน มหาดเล็กตั้งเครื่อง ท�ำหน้าที่เดินโต๊ะเสวย และนักดนตรีที่ไปร่วม บรรเลงในงานดังกล่าว ส� ำ หรั บ น้ อ งๆ ถั ด จากรุ ่ น ผมลงไป ไม่ เ กิ น สิ บ รุ ่ นก็ ยั ง น่ า จะทั น ได้ เที่ ย วชมงาน วชิราวุธานุสรณ์กันบ้าง แต่คงจะจ�ำภาพความ ประทับใจจากงานวชิราวุธานุสรณ์กันไม่ได้ ใน เมื่อทีมงานน� ำภาพชวนเที่ยวงานวชิราวุธานุ สรณ์มาขึ้นปก จดหมายเหตุวชิราวุธฯ ฉบับนี้ จึงถือโอกาสน�ำเรือ่ งราวของงานวชิราวุธานุสรณ์ มากล่าวน�ำ ก่อนที่พี่ๆ เพื่อนๆ และน้องจะได้ สัมผัสบรรยากาศบางส่วนจากงานวชิราวุธานุ สรณ์กันอีกครั้งในคราวฉลอง ๑๐๐ ปีโรงเรียน ที่จะมาถึงในเร็ววันนี้ งานวชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ นั้น ชื่ อ ก็ บ อก อยู ่ แ ล้ ว ว่ า เป็ น งานที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ ร� ำ ลึ ก ถึ ง พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ในพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีมูลเหตุส�ำคัญ สืบเนื่องมาจากนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง กลุ่มหนึง่ ได้น้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในล้นเกล้าฯ พระผูพ้ ระราชทานก�ำเนิดโรงเรียน จึงได้ร่วมกันด�ำริที่จะจัดสร้างพระบรมราชานุ สาวรียพ์ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ประดิษฐานไว้ที่เนินหอนาฬิกาในโรงเรียน ใน ท�ำนองเดียวกับทีพ่ สกนิกรชาวไทยเคยร่วมกัน จัดสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายเป็นพระบรม ราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ที่พระลานพระราชวังดุสิต
สภากรรมการจัดการวชิราวุธวิทยาลัย ในสมัยที่ มหาอ�ำมาตย์เอก เจ้าพระยาธรรม ศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นสภานายกฯ จึงได้น�ำความกราบบังคม ทู ล พระกรุ ณาทราบฝ่ า ละอองธุ ลี พ ระบาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอ พระราชทานพระบรมราชานุญ าตจั ด สร้ า ง พระบรมราชานุสาวรีย์ จึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ พระราชทานเงินทุนประเดิมเป็นจ�ำนวน เงิน ๑,๐๐๐ บาท และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร นักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรม ราชูปถัมภ์ ตลอดจนพสกนิกรชาวไทยจากทั่ว ประเทศได้ร่วมบริจาคสมทบอีกกว่าหมื่นบาท แต่แนวความคิดในการจัดสร้างพระบรมราชา นุสาวรีย์ประดิษฐานไว้ที่วชิราวุธวิทยาลัยนัน้ ก็ เป็นต้องสะดุดหยุดลงเพราะเกิดเสียงเรียกร้อง จากประชาชนทั่วไปว่า หากไปสร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์ไว้ภายในโรงเรียนก็จะเป็นการ กีดกันและปิดกั้นมิให้พสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ มีโอกาสเข้าไปกราบถวายบังคมได้โดยสะดวก ต่อมาคณะรัฐมนตรีในสมัยทีน่ ายพลตรี หลวงพิบลู สงคราม (จอมพล ป. พิบลู สงคราม) เป็ นนายกรั ฐ มนตรี ได้ ข อรั บ โครงการจั ด สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปด�ำเนินการ และ ได้มีมติให้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ ไว้ ณ สวนลุมพินตี ามค�ำแนะน�ำของนักเรียน เก่ามหาดเล็กหลวง หลวงเมธีนฤปกร (สดวก บุนนาค) นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 25
วิทยาลัยในเวลานัน้ เมือ่ ศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี ด�ำเนิน การปั ้ น หล่ อ พระบรมรู ป ทรงเครื่ อ งเต็ ม ยศ จอมพลทหารบก พระหัตถ์ขวาทรงถือพระ คฑาจอมพล พระหัตถ์ซ้ายทรงกุมพระแสง กระบี่ ประทับยืนเต็มพระองค์แล้วเสร็จ จะ เชิญขึ้นประดิษฐานเหนือแท่นฐานที่ด้านหน้า สวนลุมพินี แต่ก็มีเหตุให้การประดิษฐานต้อง ล่าช้าออกไป เพราะแท่นฐานที่ก่อสร้างไว้นนั้ มีขนาดเล็กหากประดิษฐานพระบรมรูปแล้ว จะไม่เป็นการสมพระเกียรติยศ จึงต้องมีการ สร้างเสริมฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ให้ได้ สัดส่วนงดงามสมพระเกียรติยศ และในการ ปรับแต่งแท่นฐานพระบรมรูปนีจ้ ำ� จะต้องจัดหา ทุนด�ำเนินการเพิ่มเติมอีกจ�ำนวนหนึ่ง คณะ กรรมการสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๖ คน ประกอบด้วย นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง หลวงเมธีนฤปกร นายกสมาคมฯ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) อุปนายกฯ หลวงสรรสารกิจ (เคล้า คชนันทน์) เลขานุการฯ พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) กรรมการฯ และนักเรียน เก่ า วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ศาสตราจารย์ ค� ำ นึง ชาญเลขา นายทะเบียนฯ ซึ่งได้มาพบกันใน การบ� ำ เพ็ ญ กุ ศ ลอุ ทิ ศ ถวายพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ณ หอประชุ ม วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ จึงได้หารือกันถึงแนวทางการ
26
รณรงค์จัดหาเงินทุนสมทบการก่อสร้างแท่น ฐานพระบรมราชานุสรณ์นนั้ ในการหารือกันครั้งนัน้ หลวงเมธีนฤป กร นายกสมาคมฯ ได้เสนอให้จัดงานออก ร้านในท�ำนองเดียวกับ “งานวัดเบญจมบพิตร” ในรัชกาลที่ ๕ และ “งานฤดูหนาว” ในรัชกาล ที่ ๖ ซึ่งคณะกรรมการสมาคมฯ ทั้ง ๖ คน ต่างก็เห็นพ้องร่วมกัน ศาสตราจารย์ค�ำนึง ชาญเลขา จึงได้เสนอให้ใช้ชื่องานนัน้ ว่า “งาน วชิราวุธานุสรณ์” เนื่องจากในตอนต้นรัชกาลพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนัน้ ได้โปรด เกล้าฯ ให้จัดงานฤดูหนาวที่สนามเสือป่าและ พระลานพระราชวังดุสิต สมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์จึง ได้ เจริ ญ รอยพระยุ ค ลบาทพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มจัดงานวชิราวุธา นุสรณ์ครั้งแรกที่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต โดยก�ำหนดให้วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตเป็นวันเริ่ม งาน และคงเริ่มงานในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ของทุกปีตลอดมา โดยในช่วงแรกมีก�ำหนด จัดงานในแต่ละปีเพียง ๓ - ๕ วัน เช่นเดียว กับงานฤดูหนาวในรัชกาลที่ ๖ แต่เมื่อจัดงาน วชิราวุธานุสรณ์มาได้เพียง ๒ ปี ก็ต้องหยุด ลงเพราะประสบภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ครั้น สงครามสงบลงและบ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะ ปกติแล้ว สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ จึ ง ได้ เริ่ ม จั ด งานวชิ ร าวุ ธ านุ ส รณ์ ขึ้ น อี ก ครั้ ง
และคงจัดที่สวนอัมพรต่อเนื่องกันมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงได้หยุดไปอีกคราวหนึง่ และ ได้เริ่มจัดกันอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ใน สมัยที่นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นนายกสมาคม นักเรียนเก่าฯ ประกอบกับในปีเดียวกันนั้น สมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้รับพระราชทานพระ มหากรุณาธิคณ ุ ให้ใช้พนื้ ทีแ่ ละอาคารในบริเวณ โรงละครพระราชวังสราญรมย์เป็นที่ท�ำการ สมาคมฯ การจัดงานในยุคที่สามนีจ้ ึงได้ย้าย จากสวนอัมพรไปจัดที่พระราชอุทยานสราญ รมย์และสนามไชย โดยเริ่มจัดงานในระหว่าง วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน – ๒ ธันวาคม ๒๕๐๓ และได้เพิม่ วันจัดงานไปจนถึงวันที่ ๓ ธันวาคม ในปีต่อๆ มา งานวชิราวุธานุสรณ์ในยุคที่สามนี้ได้ จัดขึ้นโดยจ�ำลองรูปแบบงานฤดูหนาวในช่วง ปลายรัชกาลที่ ๖ ที่จัดแบ่งพื้นที่การจัดงาน ออกเป็น ๒ ส่วน โดยพื้นที่ภายในพระราช อุทยานสราญรมย์เป็นส่วนการออกร้านของ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กรม ต�ำรวจ กรมการรักษาดินแดน กรมราชทัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการออกร้านจ�ำหน่าย สินค้าอุปโภคบริโภคของบริษัทห้างร้านเอกชน ซึ่งมีการแข่งขันกันลดแลกแจกแถมกันเป็นที่ เอิกเกริก
ภายในบริ เวณโรงละครหลวงที่ มุ ม พระราชอุ ท ยานฝั ่ ง ตรงข้ า มกรมการรั ก ษา ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งสมาคมนักเรียนเก่าฯ นัน้ นอกจากจะมีการแข่งขันพิมพ์ดีดและชวเลข ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยที่ภายในโรงละคร เป็นประจ�ำทุกคืนแล้ว ที่ด้านหน้าโรงละครยัง จัดเป็นเวทีแสดงดนตรีที่นกั ดนตรีจากวชิราวุธ วิทยาลัยทั้ง ๖ วง คือ วงโยธวาทิต วงปี่สก๊อต วงเมโลดิกา วงจุลดุริยางค์ วงหัสดนตรีหรือวง แจ๊ส และวงเครื่องสายสากลซึ่งมีเครื่องดนตรี หลักเป็นแมนโดลิน (Mandolin) และเบนโจ (Banjo) หมุนเวียนกันไปจัดแสดงเป็นประจ�ำ ทุกคืน ส่วนทีส่ นามใต้ตน้ กร่างด้านข้างโรงละคร หลวงนั้นจั ด เป็ นที่ อ อกร้ า นขายอาหารของ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ส่วนที่หน้ากองอ�ำนวย การจัดงานฯ ซึง่ เป็นตึกสีเหลืองอยูท่ มี่ มุ พระราช อุทยานสราญรมย์ฝง่ั ตะวันออกด้านถนนเจริญกรุง ริมคลองคูเมืองนั้นก็มีการบรรเลงดนตรีไทย เป็นประจ�ำทุกคืน และทีเ่ วทีลลี าศซึง่ อยูต่ รงกัน ข้ามกับกองอ�ำนวยการจัดงานฯ นัน้ นอกจาก จะมีการแข่งขันลีลาศแล้วยังจัดให้มกี ารประกวด สาวสวยในเครือ่ งแต่งกายสมัยรัชกาลที่ ๖ ด้วย ทางด้านสนามไชยนัน้ มีการปิดถนน สนามไชยช่วงจากกระทรวงการต่างประเทศ ไปจนถึงหน้ากรมการรักษาดินแดน เพื่อจัด พื้นที่ระหว่างพระราชอุทยานสราญรมย์ไปจรด ก�ำแพงพระบรมมหาราชวังให้เป็นเสมือนส่วน ที่เรียกว่า “ส�ำเพ็ง” ในงานฤดูหนาว โดยพื้นที่ ส่วนนีจ้ ัดเป็นสถานที่ออกร้านการละเล่นต่างๆ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 27
ภาพการประกวด “นางสาวไทย” ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ในสมัยนัน้ การประกวดรอบแรก จะมีการเดิน ๒ ช่วง ภาพนี้เป็นการเดินประกวดในช่วงกลางวัน
28
รวมทั้งการประชันงิ้วและลิเก ทั้งยังมีร้านของ กองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ เป็นจุด ดึงดูดผู้มาเที่ยวชมงานให้ไปทดลองขี่ม้าเทศ ของทหาร ซึ่งก็มีผู้สนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ ทดลองนัง่ บนหลังม้ากันเป็นจ�ำนวนมากทุกปี และที่ส�ำคัญเวทีประกวดนางสาวไทยก็อยู่ใน บริเวณ “ส�ำเพ็ง” นีด้ ้วย นอกจากการแบ่งพื้นที่การจัดงานออก เป็น ๒ ส่วนดังได้กล่าวแล้ว ในการจัดงานฤดู หนาวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว นอกจากจะเสด็จฯ ไปทรงร่วมงาน ในฐานะเจ้าของร้านหลวงแล้ว ในตอนดึกมัก จะเสด็จพระราชด�ำเนินไปประทับเสวยซัปเปอร์ ตามร้ า นของเจ้ า นายและข้ า ราชการผู ้ ใหญ่ เป็นประจ�ำทุกคืน เมื่อมีการจัดงานวชิราวุธา นุสรณ์ในยุคหลังนี้ คณะกรรมการสมาคมฯ จึงได้เจริญรอยพระยุคลบาทโดยได้จัดถวาย พระกระยาหารค�่ำแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา กับพระนางเจ้าสุวทั นา พระวรราชเทวี ในคืนวันที่ ๑ ธันวาคม และ สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินี ในคืนวันที่ ๓ ธันวาคม ซึ่งเป็นคืนสุดท้ายของ การจัดงาน ในการถวายพระกระยาหารค�่ำ ณ ร้าน ของสมาคมฯ ในคืนวันที่ ๑ และ ๓ ธันวาคม ของทุกปีนนั้ สมาคมฯ ยังได้ขอให้ทางโรงเรียน จัดนักเรียนที่ก�ำลังจะจบการศึกษาในปีนนั้ ไป ตั้ ง เครื่ อ งพระกระยาเสวยและร่ ว มเดิน โต๊ ะ เสวย เป็นการสนองพระเดชพระคุณในหน้าที่
มหาดเล็กตัง้ เครือ่ งสมกับทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นนักเรียน มหาดเล็กหลวง และเมื่อเสวยเสร็จแล้วยังได้ รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคณ ุ ให้นกั เรียน เหล่านัน้ ได้ตามเสด็จฯ ไปนัง่ ล้อมรอบทีป่ ระทับ ในการพระราชทานถ้วยรางวัลการประกวด สาวงามในเครื่องแต่งกายสมัยรัชกาลที่ ๖ ใน คืนวันที่ ๑ ธันวาคม และในการพระราชทาน รางวัลการประกวดนางสาวไทย ในคืนวันที่ ๓ ธั น วาคม เสมื อ นกั บ ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยโปรดเกล้าฯ ให้ นักเรียนมหาดเล็กหลวงได้เฝ้าทูลละอองธุลี พระบาทในระหว่างประทับทอดพระเนตรละคร อนึ่ง การจัดงานฤดูหนาวในรัชสมัย พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว นัน้ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อการรื่นเริง แล้ว รายได้ทั้งหมดจากการจัดงานในแต่ละ ปี ยั ง ได้ โปรดเกล้ า ฯ พระราชทานไปบ� ำ รุ ง การกุศลสาธารณะต่างๆ เช่น บ�ำรุงโรงเรียน มหาดเล็กหลวง สภากาชาดสยาม ราชนาวี สมาคมแห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อร่วมสมทบในการจัดซื้อเรือหลวงพระร่วง กองเสือป่าเพื่อสมทบการจัดซื้อปืนให้เสือป่า ฯลฯ ในส่วนการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์นั้น สมาคมนัก เรี ย นเก่ า ฯ ก็ ไ ด้ จั ด สรรรายได้ จากการจัดงานไปบ�ำรุงกิจการสาธารณกุศล ต่างๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นประจ�ำทุกปีมา ตราบจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึง่ มีการจัดงานเป็น ครั้งสุดท้าย วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖) มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 29
สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๒ เรื่อง ขอเชิญร่วมประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ๒๕๕๒ และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ เรียน สมาชิกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ตามข้อบังคับสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ หมวด ๔ การประชุม ข้อ ๒๔ ก�ำหนดให้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ภายใน ๙๐ วัน นับตั้งแต่วันสิ้นงวดการบัญชี สมาคมนัน้ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้มีมติให้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ๒๕๕๒ ขึ้น ในวันศุกร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารอัศวพาหุ ใน บริเวณวชิราวุธวิทยาลัย และเนื่องจากคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ชุดนี้ได้บริหารสมาคมฯ มา ๒ ปี ครบตามวาระ จึงจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ชุดใหม่ ไปพร้อมกัน ด้วย ส�ำหรับการประชุมใหญ่ของสมาคมฯ นี้ ข้อบังคับสมาคมฯ ข้อ ๒๖ ก�ำหนดให้ต้อง มีสามัญ สมาชิกผู้มีสิทธิเข้าประชุมไปร่วมประชุมไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน จึงจะครบเป็นองค์ประชุม โดย ระเบียบวาระการประชุม ดังนี้.วาระที่ ๑ รับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ๒๕๕๑ วาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ๒.๑ การมอบรางวัลลูกวชิราวุธดีเด่น ประจ�ำปี ๒๕๕๑ ๒.๒ การต้อนรับสมาชิกใหม่ โอวี ๘๑ วาระที่ 3 เรื่องเสนอให้ที่ประชุมทราบ ๓.๑ การด�ำเนินงานของสมาคมฯ ในรอบปี ๒๕๕๐-๒๕๕๒ ๓.๒ ความคืบหน้าการจัดงาน ๑๐๐ ปี วชิราวุธ
30
วาระที่ ๔ เรื่องเสนอที่ประชุมพิจารณา ๔.๑ รับรองสถานะการเงินสมาคมฯ ปี ๒๕๕๑ ๔.๒ แต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี ๔.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา และจัดการเลือกตั้งประจ�ำปี ๒๕๕๔ ๔.๔ การนับล�ำดับเลขรุ่นนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ๔.๕ แก้ไขระเบียบสมาคมฯ ว่าด้วยการส่งเอกสารเลือกตั้ง วาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) วาระที ๖ การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ ๖.๑ เลือกตั้งประธานการเลือกตั้งและกรรมการนับคะแนน ๖.๒ นับคะแนนและประกาศผลการเลือกตั้ง ๖.๓ นายกสมาคมฯ แถลงวิสัยทัศน์และแผนงาน อนึง่ หลังสิ้นสุดการประชุม จะมีการเลี้ยงสังสรรค์สมาชิกตามที่ได้เคยปฏิบัติเป็น ประเพณีในการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปีทุกครั้ง จึงขอเรียนเชิญสมาชิกทุกท่านได้กรุณาให้เกียรติเข้าร่วมประชุม ตามวัน เวลา และ สถานที่ดังกล่าว โดยพร้อมเพรียงกัน ขอแสดงความนับถือ ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์) กรรมการและเลขานุการสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 31
สนามหน้า
แหล่งเพาะสปิริตนักรักบี้
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวกันก่อนว่าเรา ไม่ใช่นกั เขียนแนวหน้า แต่ทนการรบเร้าของ ทีมงานท�ำหนังสือไม่ไหว เลยต้องช่วยกันเขียน แต่เล่มแรกทีเ่ ริม่ เขียนขอน�ำเอาบทความทีผ่ ม และเพือ่ นโอวีด้วยกันนามว่า ปรัชญา สุขอุดม เขียนไว้ในหนังสือรุน่ โอวี ๖๑ มาลง เพราะมัน ยังไม่จางหายไปสักทีกับการที่รักบี้ประเพณี เราพลาดท่าพ่ายแพ้ต่อคู่ปรับตลอดกาลอย่าง ราชวิทย์ฯ ไปได้ยังไง มีหลายๆ ท่านคิดแบบ เดียวกับผมหรือมีค�ำถามที่คาใจอยู่ ลองอ่าน บทความต่อไปนีด้ ู แล้วค�ำถามหรือสิ่งที่คาใจ จะหายไปไม่มากก็น้อย มันช่างเป็นวันที่เลวร้ายอะไรเช่นนั้น แดดอันร้อนแรงแผดเผาเราเหมือนกับจะให้ ละลายไป คอแห้งผาก แทบจะป่นออกมาเป็น ผง แต่ผมก็คงยังต้องวิ่งต่อไป ไม่ว่าโค้ชจะสั่ง ให้ดนั หรือให้แท็คเกิล้ ผมก็ทำ� ราวกับว่าร่างกาย ผมได้เปลี่ยนจากคนเป็นเครื่องจักร จิตใจของพวกเราหายไปไหนกันหมด ปีที่แล้ว (๒๕๒๙) วชิราวุธวิทยาลัย แชมป์ ตลอดกาล ที่ใครๆ ขนานนามให้ พ่ายแพ้ต่อ ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในการแข่งขันรักบีฟ้ ตุ บอล ชิ ง ชนะเลิ ศ ประเภทนัก เรี ย นผลการแข่ ง ขั น ครั้งนัน้ สะเทือนใจทุกคนที่เป็นลูกวชิราวุธฯ วชิราวุธฯ หมดน�ำ้ ยาแล้วหรือ… ? เกิด อะไรขึ้นกับรักบี้ของวชิราวุธฯ และท�ำไมถึง
32
เป็นเช่นนัน้ บางคนบอกอย่างผู้ชนะที่ไม่เคย แพ้ ราวกับว่าไม่มีนำ�้ ใจนักกีฬา ว่าเล่นยังไงให้ แพ้เขาวะ ? แต่เราคงต้องยอมรับว่า ภ.ป.ร. ราช วิทยาลัยพัฒนาฝีมือและขีดความสามารถขึ้น มาก ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งก็ มีคำ� ถามตามมาว่า มาตรฐานของเราต�ำ่ ลงหรือ ของเราคงที่แล้วราชวิทย์ฯ ขึ้นมาทัดเทียมกับ เรา มันเป็นค�ำถามทีห่ ลายคนไม่กล้าหาค�ำตอบ ? นักรักบี้ทุกคนในเกมวันนั้นท�ำหน้าที่ ของเขาอย่างสมบูรณ์ที่สุดแล้ว แต่กีฬาก็คือ กีฬา ต้องมีฝ่ายหนึง่ เป็นผู้แพ้และอีกฝ่ายย่อม เป็นผูช้ นะ ต่างคนต่างก็ทมุ่ เทก�ำลังกายก�ำลังใจ กันเพื่อชัยชนะ จะมีสักกี่คนที่คิดถึงสิ่งส�ำคัญ อันแท้จริงของกีฬา นัน้ คือ เราแข่ ง ขั นกี ฬ ากั น เพื่ อ อะไร ? เพื่ อ ชัยชนะอย่างเดียวนะหรือ เสี ย งโค้ ช กระตุ ้ น ให้ ผ มวิ่ ง ให้ เร็ ว ขึ้ น เพื่อนๆ หลายคนเริ่มหอบ เหนื่อยจริงๆ ให้ ตายเถอะ วันนี้มันร้อนจริงๆ ผมวิ่งมาถึงมุม สนามหน้าตึกขาว ผมสอดส่ายสายตาหาโค้ช ว่ามองอยู่หรือเปล่า ผมแว๊บขึ้นบนตึกขาว ผม แอบดื่มน�ำ้ ระหว่างการฝึกซ้อม มันเย็นชื่นใจ ดีจริงๆ ค่อยรู้สึกดีขึ้นมาหน่อยแต่แว๊บหนึ่ง ผมกลับหวนคิดว่า ผมก�ำลังเอาเปรียบเพื่อน ผมหนี ม ากิ นน�้ ำ คนเดี ย วผมไม่ ซื่ อ สั ต ย์ ต ่ อ
ตัวเองและหน้าที่ นี่นะหรือนักกีฬาของโรงเรียนที่ก�ำลัง จะแข่งรักบี้ชิงชนะเลิศอยู่อีกไม่กี่วันข้างหน้า ตั ว แทนของโรงเรี ย นมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ หน้าทีเ่ ท่านีน้ ะหรือ วินยั ของนักกีฬาหายไปไหน นะ ผมตอบตัวเองไม่ได้ แล้ววันที่ทุกคนเฝ้ารอก็มาถึง วันนัน้ พวกเราทุกคนไม่ไปเรียน เรานอนแล้วนอนอีก เพื่อเตรียมร่างกายและจิตใจให้ “พร้อม” ที่จะ ท�ำหน้าที่อันส�ำคัญ ทุกคนฝากความหวังไว้ที่เรา พวกเรา ลงสนามด้วยความหวังอันเต็มเปี่ยม ที่จะช่วง ชิงความเป็นสุดยอดของรักบี้นกั เรียน กลับมา อีกครัง้ เกมด�ำเนินไปอย่างตืน่ เต้น ไม่มใี ครเป็น รองใคร แต่น่าเสียดายที่เราสร้างสรรค์โอกาส ได้ไม่เท่า ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย เกมวันนัน้ จบลง ด้วยความพ่ายแพ้ของเรา … มันเหมือนเป็นการตอกย�้ำให้พวกเรา เจ็บปวดยิ่งขึ้นไปอีก ชัยชนะอาจไม่ใช่สิ่งที่ ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับการแข่งขัน แต่ทุกคนท�ำให้ เราคิดอย่างนัน้ แน่นอน… ลึกๆ แล้ว มนุษย์ ต้องการได้รับชัยชนะ… หลังจากการแข่งขัน เพือ่ นเราหลายคน ร้องไห้ เพื่อนเราบางคน รู้สึกว่าเป็นความผิด ที่ท�ำหน้าที่นี้ไม่ส�ำเร็จ เราอยากจะบอกเพื่อน เราว่า ไม่ใช่ความผิดของนายหรือของใครๆ หรอก นายไม่ต้องเสียใจ เพราะเราได้ท�ำหน้าที่ อย่างเต็มทีแ่ ล้ว ความผิดพลาด และไม่สมหวัง ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ มันอยู่ที่ว่าเราจะแสวงหา ประโยชน์จากความพ่ายแพ้ได้อย่างไร
เช้าวันรุ่งขึ้น บรรยากาศในโรงเรียน ช่างเงียบเหงา ไม่มีใครพูดถึงการแข่งขันเมื่อ วาน เพราะทุกคนรู้อยู่แก่ใจ สิ่งที่ทุกคนท�ำก็ คือ พยายามลืมการแข่งขันในวันนัน้ เสีย แต่… ส�ำหรับเราแล้ว ความพ่ายแพ้กลับท�ำให้เรามี “พลัง” ขึ้นมาอย่างหนึง่ พลัง…ที่เราไม่สามารถ อธิบายได้ว่ามันคืออะไร… ก่อนเปิดเทอมปีถัดมา เราโทรศัพท์ ชวนกันมาซ้อม มาวิ่งเล่นกัน ตอนนัน้ เราทุก คนต่างก็มุ่งมั่นและมีความหวัง ที่จะท�ำในสิ่งที่ เคยผิดพลาด ครั้นเปิดเทอม เราเรียกซ้อมกัน อย่างจริงจัง เราเริ่มเก็บตัวหลังจากเปิดเทอม เพียง ๒ อาทิตย์ เราตื่นตีห้าครึ่งมาวิ่งตอนเช้า ทุกวัน เราบ�ำรุงกันอย่างเต็มที่ แจกนมแจกไข่ ให้กินทุกวัน มันท�ำให้เรามีกำ� ลังกายและก�ำลัง ใจสมบูรณ์เต็มที่ โค้ช (พ.ต.ท.จักร จักษุรักษ์) ซึ่งพวก เราเรียกว่าพ่อ ทุ่มเททุกอย่างให้กับทีมอย่าง มาก ท่านตื่นมาคุมพวกเราวิ่งเช้าทุกวัน ตอน เย็นก็มาตั้งแต่ ๔ โมง ไม่เคยขาด วันอาทิตย์ ก็คุมวิ่งเช้า ขับรถตามคงไม่ใช่จะดูว่าใครเก แต่เป็นเพราะจะเสริมก�ำลังใจให้พวกเราสู้จน ส�ำเร็จมากกว่า พอวิ่งเสร็จก็เลี้ยงข้าวเช้าพร้อม ทั้ง แจกรางวัลให้กับคนที่วิ่งเข้าที่ ๑ ที่ ๒ และ ที่ ๓ ท่านท�ำให้เราเกิดความรู้สึกว่า ถ้าวันไหน ใครไม่มาซ้อม จะเป็นความผิดอย่างยิ่ง โดยที่ ท่านไม่ต้องเอ่ยปากพูดแม้สักค�ำเดียว ท่านท�ำให้เราเข้าใจถึง “วินัย” ของ นักกีฬา เราภูมิใจที่ได้พ่อมาเป็นโค้ช ซึ่งมาท�ำ หน้าทีแ่ ทนอาจารย์อรุณ แสนโกศิก ปรมาจารย์ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 33
ทางรักบี้ของเมืองไทย บางครั้งเรารู้สึกเหนื่อย หน่าย และท้อแท้ใจกับการซ้อมอย่างหนัก ตลอด ๒ เดือน เราก็จะมารวมกันและปลุก “พลัง” ที่เกิดขึ้นในครั้งนัน้ ขึ้นมาอีกครั้ง มัน ช่วยท�ำให้เราฟันฝ่าอุปสรรคหลายอย่างมาได้ ยิ่งใกล้วันแข่งขัน พวกเราต่างก็มีความกระตือ รือล้น ที่จะให้วันนัน้ มาถึงเร็วๆ ความพร้อม ท�ำให้เกิดความมั่นใจ แต่แล้วลางร้ายก็เกิดขึ้น หลังจาก แข่งขันรักบี้ ๗ คน พวกเราหลาย คนเจ็บ ความมั่นใจเปลี่ยนเป็นความไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามไม่มีใครกล้าพูดถึงเรื่องนี้ ทุกคน ได้แต่ภาวนา ขอให้พวกเราหายจากการบาดเจ็บ ก่อนวันแข่งขัน วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๑ บ่าย ๒ โมงเราไปไหว้พระแล้วเดินทางออกจากโรงเรียน พอถึงสนามเราไหว้เจ้าที่เจ้าทาง พ่อรดน�ำ้ มนต์ ให้พวกเราทุกคน เสียงกองเชียร์ของทั้งสอง โรงเรียนดังกระหึ่มทั้งสนาม เราลงสนามด้วย ความไม่แน่ใจว่า เราจะท�ำได้หรือเปล่า ภาระนี้ ดูช่างยิ่งใหญ่เหลือเกิน ทุกครั้งที่กองเชียร์ของ เราเปล่งเสียงออกมา มันหมายความว่าพวก เขาทุกคนได้ทุ่มเทใจไว้ในตัวพวกเราทุกคน เสียงนกหวีดดังกังวาน นัน่ คือสัญญาณว่านับ จากนี้ไปอีก ๗๐ นาทีเต็ม เราจะต้องทุ่มเททั้ง ก�ำลังกายและก�ำลังใจ ที่เตรียมพร้อมมาเป็น เวลา ๒ เดือน เข้าแย่งชิงต�ำแหน่งกลับมา นักกีฬาของทัง้ ๒ ฝ่ายเล่นกันอย่างเต็ม ที่ ในสนามเราฟาดฟันและเหยียบย�ำ่ แต่นอก สนามเราก็เป็นเพื่อนเที่ยวเล่นกัน ไม่มีการแบ่ง
34
แยกว่าใครเป็นใคร มันเป็นสิง่ หนึง่ ทีก่ ฬี าให้กบั เรา วชิราวุธฯ ท�ำแต้มได้ก่อน เสียงกองเชียร์ ดั ง สนั่น มั น ปลุ ก เร้ า จิ ต ส� ำ นึก ของพวกเรา ทุกคนให้สู้ต่อไป ฝ่ายราชวิทย์ฯ ก็ไม่ได้เสีย ก�ำลังใจแม้แต่นดิ เดียว มิหน�ำซ�้ำกลับฮึกเหิม บุกเรากลับอย่างหนัก เราผลัดกันรุกผลัดกันรับ ตลอดเกม สมกับเป็นคูช่ งิ ชนะเลิศ และเป็นคูท่ ี่ หลายๆ คนให้ความสนใจ นักกีฬาทุกคนลืมค�ำ ว่าเหนือ่ ยและเจ็บไปเสียแล้ว ร่างกายและจิตใจ ของทุกคนเป็นของสถาบันที่เขาอยู่ เราก� ำ ลั ง ต่ อ สู ้ เ พื่ อ เกี ย รติ ย ศและ ศักดิ์ศรีของสถาบัน ในที่สุด เสียงโห่ร้องจาก กองเชียร์ของเราก็กระหึ่มขึ้น หลังจากหมด เสียงนกหวีด สิน้ เสียงนกหวีดหมดเวลา พร้อม กับเสียงปรบมือยอมรับผลการแข่งขัน ด้วย น�้ำใจนักกีฬาและสปิริตของกองเชียร์ของฝ่าย ภ.ป.ร. การแข่งขันจบลงแล้ว ผลการแข่งขัน ได้ถูกจารึกไว้ในใจของเราอีกครั้ง เราชนะแล้ว เราไม่ได้สัมผัสกับความ รู้สึกอย่างนี้มาถึง ๒ ปีเต็มๆ แต่สิ่งที่เราได้มา มากกว่านัน้ ก็คือ เกมกีฬาสอนให้เรารู้ว่า ผู้ที่ คิดว่าตัวเองชนะอยู่เรื่อยไปโดยขาดการระวัง ไม่ว่าจะท�ำการใดๆ ก็สามารถที่จะเป็นผู้แพ้ได้ โดยง่ายและที่ส�ำคัญคือ หากพวกเราไม่เคย เป็นผู้แพ้แล้ว เราคงไม่รู้จักคุณค่าของค�ำว่าผู้ ชนะอย่างแน่นอน ผมคิดว่าอย่างนัน้ นะ…. ภัคพงศ์ จักษุรักษ์ (รุ่น ๖๑)
เรือนจาก
นักเรียนเก่าฯ เล่าเรื่องสนุก
ปฏิ ภ าณ สุ ค นธมาน นักบริหารรุ่นใหม่ มาดมั่น ไฟแรง มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 35
การที่ได้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผู้บริหาร ระดั บ สู ง ในองค์ ก รใหญ่ ร ะดั บ ประเทศ ถือว่าเป็นจุดหมายสูงสุด ในหน้าที่การงานของใครหลายๆ คนและอีก ทั้งยังเป็นจุดวัดความส�ำเร็จในสายอาชีพนัน้ ๆ ปฏิภาณ สุคนธมาน รุ่น ๕๒ นักเรียนเก่าฯ อีก ท่านหนึง่ ที่สามารถท�ำความฝันของใครหลายๆ คนได้เป็นจริง ปฏิภาณ สุคนธมาน ปัจจุบัน เป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลสายงาน ด้านบัญชีและการเงิน ของบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) เน้นย�ำ้ เสมอว่าการ ที่มาถึงจุดนี้ได้ก็เพราะได้รับการอบรมสั่งสอน มาจากวชิราวุธฯ ทั้งสิ้น ถึงแม้งานจะรัดตัวแต่ด้วยสปิริตของ ลูกวชิราวุธฯ ปฏิภาณ สุคนธมาน รับอาสา มาเป็นคณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าฯ ท�ำหน้าที่เป็นเหรัญญิกคุมถุงเงินถุงทองของ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ซึ่งก�ำลังจะหมดวาระ ในไม่ช้านี้ ทีมงานอนุมานวสารได้รับโอกาส พิเศษพูดคุยกับปฏิภาณ สุคนธมาน ตั้งแต่ เรื่องราวที่มีสาระ อย่างเรื่องวิกฤตน�้ำมันเมื่อ ช่วงกลางปี ๒๕๕๑ (ถ้าไม่ถามผู้รู้ที่อยู่วงการ แล้วเราจะถามใคร) เรื่องการเงินของสมาคม นักเรียนเก่าฯ ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน (มีใครรู้บ้างมั้ยว่าเงินสมาคมนักเรียนเก่าฯ มี เท่าไหร่) เรื่องชวนหัวเราะ อย่างเส้นทางอาชีพ ก่อนจะเป็นนักการเงินมือฉมัง เพราะแทนที่จะ เริม่ เรียนอะไรทีเ่ กีย่ วกับเงินทองหรือทีเ่ กีย่ วกับ ตัวเลขแต่กลับโดนเพื่อนวชิราวุธฯ หลอกไป
36
เรียนรัฐศาสตร์ (สมเป็นเด็กวชิราวุธฯ จริงๆ) รวมไปถึง เรื่อ งสนุก ๆ สมัย ยังเป็ นนัก เรีย น วชิราวุธฯ ของปฏิภาณ สุคนธมาน ซึ่งก็น่าฟัง ไม่แพ้กัน ท�ำไมพ่อแม่ถึงส่งมาเรียนที่วชิราวุธฯ ถ้าไปบอกเด็กๆ ว่าให้ไปอยู่โรงเรียน ประจ�ำ คงไม่มีใครอยากมาแน่นอน ผมก็ด้วย ตอนเด็กๆ ผมค่อนข้างเกเร หนังสือหนังหา ก็ไม่เรียน สุดท้ายคุณพ่อผมตัดสินใจให้ผม อยู่วชิราวุธฯ เพราะว่าตอนจะสอบที่โรงเรียน เก่า ไม่ดูหนังสือ นอนหนุนตักคุณแม่และให้ คุณแม่อ่านหนังสือให้ฟัง พอคุณพ่อเห็นแบบ นีก้ ็ถึงจุดตัดสินใจแล้ว มันไม่ไหวแล้ว ต้อง ส่ ง ผมไปอยู ่ ป ระจ�ำ ที่ ว ชิ ร าวุ ธ ฯ ซึ่ ง สมั ย นั้น วชิราวุธฯ เป็นโรงเรียนประจ�ำที่มีชื่อเสียง และ มีญาติหลายคนเคยอยู่ ไอ้เราก็รู้อยู่แล้วว่า วชิราวุธฯ เป็นโรงเรียนประจ�ำ วันทีส่ อบเข้าผมจ�ำ ได้เลยว่าไม่สบายและไม่อยากสอบด้วย เวลา รอสอบผมยังนอนหนุนตักแม่อยู่ที่ขั้นบันไดที่ ตึกพยาบาลเก่า (หรือหอประวัตใิ นปัจจุบนั ) ไม่ อยากสอบมากๆ พอถึงเวลาก็ไปสอบ ผลสอบ ออกมาผมสอบไม่ได้ สมัยนัน้ ถ้าสอบไม่ได้เรา สามารถไปขอผู้บังคับการพระยาภะรตราชาได้ แต่จะให้ลดชั้น ตอนนัน้ ผมสอบเข้าประถมสี่ ก็ลดให้เหลือประถมสามแทน ผมท�ำทุกอย่าง แล้วเพื่อไม่ให้เข้า แต่ดวงมันจะต้องเข้า ก็ต้อง เข้า อย่างทีบ่ อกผมเกเรมาก และพอรูว้ า่ ต้องไป อยู่ที่วชิราวุธฯ ผมอาละวาดสุดๆ
วชิราวุธฯ มีความส�ำคัญมากๆ ส�ำหรับผม เด็กวชิราวุธฯ สามารถ ท�ำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี สอนให้รักเพื่อนรักพ้อง สอนให้เป็นลูกน้องที่ดี สอนให้เป็นนายที่ดีด้วย สอนให้เราเอาตัวรอดให้เป็น
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 37
การส่งไปอยู่โรงเรียนประจ�ำของผม เปลี่ยนชีวิตผมหมดเลย จากที่ไม่เคยต้องท�ำ อะไร กลายเป็นต้องท�ำทุกอย่าง สมัยเด็กเล็ก สองที่ผมอยู่ มีครูโฉม (อ. โฉมศรี ศิวรักษ์) ซึ่ง ท่านดุมาก แต่ผมก็เคารพท่านมากด้วย เวลาจะ เข้าโรงเรียนทีไร ผมจะอาละวาดร้องไห้ดังลั่น ความทรงจ�ำสมัยเด็กเล็ก ตอนก่อนเข้าวชิราวุธฯ พ่อแม่บอกว่า โรงเรียนนี้โรงเรียนผู้ดีนะ ที่พ่อแม่ส่งไปเพื่อ อบรมบ่มนิสัยให้มีระเบียบวินัย ผมก็คิดว่า โรงเรียนผูด้ ี ดังนัน้ ค�ำพูดสมัยทีอ่ ยูโ่ รงเรียนเก่า อย่างค�ำว่า อั๊ว ลื้อ คงพูดไม่ได้แล้ว เพราะเป็น โรงเรียนผู้ดี คงต้องหัดเปลี่ยนค�ำพูดใหม่ พอ เข้ามาวันแรกก็ได้รับการทักทายจากเพื่อนๆ ที่
38
ส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนอักษรเจริญซึ่งพวกนี้ คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว พวกนี้มันใช้อีกภาษาหนึง่ ที่ผมไม่ได้คาดคิด คือ กู มึง ก็ช็อกอยู่เหมือน กัน แต่ผมปรับตัวได้เร็วมาก จาก อั๊ว ลื้อ เป็น กู มึง ซึ่งก็ดีทำ� ให้สนิทสนมกันเร็วมาก อีกเรื่องหนึง่ ที่จ�ำได้ ผมโดนรุ่นพี่ พี่ หน่อง (ชัชวาลย์ ธันวารชร) แกล้งสมัยที่อยู่ คณะเด็กเล็กสอง แกล้งตั้งแต่วันแรกที่ผมเข้า โรงเรียนเลย เพราะพี่เขาได้ตู้ล็อกเกอร์เบอร์ ๒๓ ของผมได้เบอร์ ๒๔ อยู่ติดกัน ต้องเจอ หน้ากันตลอด หนีไปไหนไม่พ้น พี่เขาแกล้ง จนผมโกรธ และถามผมว่าไม่พอใจเหรอ ผม ก็บอกไปว่าไม่พอใจ ทั้งๆ ที่ไม่รู้ความหมายว่า มันคือ ท้าต่อย พีเ่ ขาลากผมไปหน้าห้องน�้ำของ
คณะ ซึง่ มีพอี่ กี หลายคนล้อมรอบดูอยู่ พีเ่ ขาไม่ ได้ต่อยจริงหรอก แค่ยั่วๆ เท่านัน้ แต่ผมเอา จริง ต่อยจริง ตัวก็เล็กนิดเดียว ต่อยไปร้องไห้ ไป ต้องกระโดดต่อยนะครับ พีเ่ ขาตัวสูงกว่าผม เยอะ เผอิญมีฟลุก๊ ผมต่อยไปโดนตรงขมับของ พี่เขาอย่างเต็มแรง ก็เลยเลิกต่อย ยุติไป ความทรงจ�ำสมัยเด็กใน ตอนนั้น ผมอยู ่ มศ. ๑ เพิ่ ง เข้ า มา อยู ่ ค ณะใน ก� ำ ลั ง รั ก ชี วิ ต อิ ส ระ และตอน นั้นก็มีงานอะไรสักอย่างที่ห้องสมุด ผมไป กั บ เพื่ อ นอี ก สองคน มี ส มุ ด เซ็ น ต์ ใ นงาน พวกผมก็เข้าไปเขียนเล่น ซึ่งไม่เกี่ยวอะไร กั บ งานเลย พองานเลิ ก ครู บ รรณารั ก ษ์ คงอ่ า นดู แ ล้ ว บอกรุ ่ น พี่ ใ ห้ ล งโทษไอ้ ค นที่ เขียนเล่น ซึ่งก็คือพวกผม พอหลังสวดมนต์ ทีค่ ณะตอนกลางคืนเสร็จ พีห่ วั หน้าก็ถามว่าใคร เป็นคนท�ำเรื่องนี้ ถ้าไม่มีใครยอมรับจะลงโทษ ทั้งหมด พวกผมก็รู้กันอยู่แล้วว่าใครท�ำบ้าง จึงเดินออกไปยอมรับพร้อมกัน วันนัน้ เป็นวัน ที่ผมโดนเฆี่ยนหนักมาก มากถึงขนาดกางเกง นอนขาดทีเดียว และไม้แก้วที่ใช้ตีนนั้ แตกเป็น เสี้ยนแทงเข้าไปด้วย ตอนอยู่โรงเรียนถือว่าเรียนเก่งหรือเปล่า สมัยเด็กๆ เลยเรียนไม่ได้เรื่องเลย ครับ ไม่เรียนด้วย การบ้านคุณครูให้มา รู้ก็ รู้อยู่ว่ามีการบ้าน ไม่ท�ำซะอย่างงั้น เข้าเพรบ ก็ นั่ง เล่ น เฉยเลย พอเข้ า ห้ อ งเรี ย นโดนครู
จ� ำ รั ส หยิ ก ซะเนื้ อ เกื อ บหลุ ด ตั้ ง หลายครั้ ง สอบเทอมหนึง่ เทอมสอง สอบตกประจ�ำ แต่ ก็ ส อบผ่ า นเทอมสุ ด ท้ า ยทุ ก ที ไม่ เคยต้ อ ง ซ�ำ้ ชั้นเลย มาตั้งตัวได้ตอนอยู่ ป.๕ เริ่มขยับมา เรียนห้อง ก. บ้าง ห้อง ข. บ้าง แต่พอเข้าคณะ ในตอนโต ก็เรียนห้อง ก. เรียนสายวิทย์คณิต แต่ผมเป็นนักเรียนสายวิทย์ฯ ที่แปลก เพราะ ว่าไม่ได้เรียนฟิสกิ ส์และเคมี คือตอนนัน้ ผมติด รักบี้ทีมโรงเรียนและต้องไปแข่งขันรักบี้ พวก นักรักบี้ต้องหยุดเรียนเก็บตัวเพื่อเตรียมจะไป แข่ง พอกลับมาเรียนอีกทีเขาก็เรียนกันไปไหน ต่อไหน ผมก็เรียนตามไม่ทนั แล้ว ทีจ่ ริงครูสมัย นัน้ พยายามช่วยนะ แต่ผมขี้เกียจไปเรียนตาม หลังคนอื่น ที่พออ่านเองได้ก็มีชีวะ ผมจึงเป็น นักเรียนสายวิทย์ฯ ที่ไม่เรียนฟิสิกส์และเคมี ท� ำ ไมตอนเรี ย นปริ ญ ญาตรี ถึ ง เลื อ กเรี ย น รัฐศาสตร์ ทั้งๆ ที่ภายหลังมาท�ำอาชีพทาง ด้านการเงิน ผมคิดไว้ตั้งแต่ต้นว่าไม่อยากท�ำงาน ราชการ เพราะเงินเดือนน้อยและอารมณ์ร้อน อีกต่างหาก เอาดีทางราชการไม่น่าจะรุ่งได้ คิด อยู่ตลอดว่าอยากท�ำงานธุรกิจเอกชนมากกว่า ตอนที่ก�ำลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อนสนิท ผม กอล์ฟ (ชวาลพงศ์ ศรียาภัย) บอกว่า เรียนรัฐศาสตร์นี่แหละพ่อกูบอกว่ามันมีวิชาที่ เรียนแล้วไปท�ำภาคธุรกิจเอกชนได้ ซึ่งผมมา รู้ทีหลังว่า รัฐศาสตร์เป็นวิชาเกี่ยวกับการเมือง การปกครองและการทูต มุ่งเน้นสร้างคนเข้า มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 39
จากประสบการณ์ ที่ ผ ่ า นมา หลายคนในองค์ ก ร เมื่อได้รับโปรโมทให้เป็นหัวหน้า หรือผู้จัดการแล้ว ส่วนใหญ่จะมีปัญหา ไม่รู้จะวางตัวอย่างไร ไม่กล้าที่ จะสัง่ งานลูกน้อง ไม่สามารถเอาชนะใจลูกน้องได้ แต่ เด็กวชิราวุธฯ มักจะไม่มีปัญหาเช่นนี้ เพราะพวกเรา ได้เห็นตัวอย่างของผู้น�ำ หรือหัวหน้าหลายคน หลาย แบบ ทั้งดีและไม่ดี ตลอดชีวิตที่เราอยู่ในโรงเรียน เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองหรือกระทรวงการ ต่างประเทศโดยตรง โง่ไม่เลิกเลยเรา แต่จริงๆ แล้วก็มีสาขาวิชาที่เรียกว่ารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาย่อยอีกสองสาขา คือการบริหารงานบุคคล กับการบริหารงานคลัง เพือ่ นสนิทผมคนนีม้ นั ก็ เลือกเรียนรัฐศาสตร์ ผมก็เลยเลือกเรียนตาม เพื่อน ฉะนัน้ ตอนที่เลือกคณะ อันดับการเลือก คณะของผมจะประหลาดกว่าใครเพื่อน คือ เลือกรัฐศาสตร์ไว้อันดับหนึง่ เลย บัญชีจุฬาฯ อันดับสอง เศรษฐศาสตร์อันดับสาม พอผล ออกมา ผมก็ได้ที่เลือกไว้อันดับแรก คือ คณะ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วไปชอบการเงินได้อย่างไร พอเรียนรัฐศาสตร์ไปสักพัก ก็มีเลือก สาขา มันมีสองสาขาที่สามารถไปท�ำงานภาค ธุรกิจได้ คือการคลังและบริหารงานบุคคล เพื่อนสนิทผมมันเลือกสาขาบริหารงานบุคคล
40
และก็บอกให้ผมไปเรียนด้วยกัน แต่คราวนี้ ผมไม่หลงกลมันแล้ว เริม่ เป็นตัวของตัวเองบ้าง อยากจะตัง้ เป้าหมายให้กบั ชีวติ จริงๆ จังๆ สักที เลยเลือกสาขาการบริหารงานคลัง ซึ่งก็เรียน เศรษฐศาสตร์ การเงิน และการบัญชีเป็นหลัก (ต่อมาเพิง่ จะรูว้ า่ เดิมการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ อยู ่ กั บ คณะรั ฐ ศาสตร์ ส าขาการบริ ห ารงาน คลังนี่แหละครับ เพิ่งจะแยกออกไปเป็นคณะ เศรษฐศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้เอง) จริงๆ แล้ว มันเป็นทริคอย่างหนึง่ นะ ถ้าผมเรียนคณะบัญชี หรือเศรษฐศาสตร์ จะต้องไปเรียน ไปตัดเกรด กับเด็กเรียนเก่งทั้งหลาย คะแนนคงออกมารูด น่าดู แต่ที่สาขาวิชานีท้ ี่รัฐศาสตร์ คู่แข่งน้อยลง ไปเยอะ ท�ำให้จบปริญญาตรี ได้เกียรตินิยม อันดับสอง มาเชิดหน้าชูตาได้บ้างพอสมควร และพอหลั ง จากได้ เรี ย นบริ ห ารการคลั ง ที่ รัฐศาสตร์จุฬาฯ แล้วก็อยากเรียนบริหารการ เงินต่อ เพราะเรียนแล้วชอบ สนุก อยากท�ำก็
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 41
ตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาที่ American University เรียน MBA ด้าน Finance วชิราวุธฯ มีส่วนส�ำคัญในการท�ำงานมากน้อย ขนาดไหน วชิราวุธฯ มีความส�ำคัญมากๆ ส�ำหรับ ผม เด็กวชิราวุธฯ สามารถท�ำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ดี สอนให้รักเพื่อนรักพ้อง สอนให้เป็นลูก น้องที่ดี สอนให้เป็นนายที่ดีด้วย สอนให้เรา เอาตัวรอดให้เป็น เช่น เราจะโดนพีใ่ ช้ เราก็รจู้ กั หลบ แต่สอนให้เอาตัวรอดนี้ไม่ได้หมายความ ว่าเราเอาตัวรอดคนเดียวนะ มันรวมไปถึงคน รอบๆ ข้างและองค์กรด้วย เพราะถ้าไม่สนใจ สังคมรอบๆ ข้างเรา เราก็อยู่ไม่ได้ และผมเชื่อ ว่าตรงนี้สำ� คัญ ท�ำให้เราเป็นพลเมืองที่ดี ท�ำให้ ลูกวชิราวุธฯ ทัง้ หลายเมือ่ อยูใ่ นสังคมแล้วมีจดุ เด่นกว่าคนอื่น และเด็กวชิราวุธฯ เป็นคนจริง จังและจริงใจ พอผมเป็นหัวหน้างาน ผมสอนงานลูก น้อง ผมก็จริงใจนะ ผมไม่ปิดปังอะไร ตอน ท�ำงานผมดุมาก เวลาดุนคี่ ือดุจริงๆ แต่การดุ ของผมไม่ได้ดุแบบจิกหัวด่าให้มันสะใจ ผม สอนว่าสิง่ ทีท่ ำ� ผิด มันพลาดอย่างไร และท�ำให้ดี ขึน้ อย่างไร แต่ไม่เห็นลูกน้องกลัวผมนะ เพราะ ว่าเวลาท�ำงานผมท�ำจริงๆ เวลาเล่นผมเล่นจริงๆ เหมือนกัน นอกงานผมก็คยุ กับเขาเป็นปกติ ไม่ ถือตัว อย่างตอนที่ผมเป็นหัวหน้าคณะ เวลามี เด็กท�ำผิดผมก็ลงโทษ เวลาเล่นผมก็เรียกมา เล่นบ้างแกล้งบ้าง แต่กอ็ ยูใ่ นวิสยั ของพีท่ เี่ อ็นดู น้องๆ เราไม่จ�ำเป็นต้องเป็นหัวหน้าตลอดเวลา
42
ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นเจ้านายตลอดเวลา ถึงเวลา นอกงานหรืองานที่เบาลง เราก็สบายๆ คุยกับ ลูกน้องได้ เวลาคุยเล่นกับลูกน้องผม ลูกน้อง ผมก็ย้อนผมตลอด ซึ่งถ้าผมดุแบบกดหัว ลูกน้อง คงไม่มีลูกน้องกล้าย้อนเล่นกับผม จากประสบการณ์ทผี่ ่านมา หลายคนในองค์กร เมื่อได้รับโปรโมทให้เป็นหัวหน้า หรือผู้จัดการ แล้ว ส่วนใหญ่จะมีปญ ั หา ไม่รจู้ ะวางตัวอย่างไร ไม่กล้าทีจ่ ะสัง่ งานลูกน้อง ไม่สามารถเอาชนะใจ ลูกน้องได้ แต่เด็กวชิราวุธฯ มักจะไม่มีปัญหา เช่นนี้ เพราะพวกเราได้เห็นตัวอย่างของผู้นำ� หรือหัวหน้าหลายคน หลายแบบ ทั้งดีและ ไม่ดี ตลอดชีวิตที่เราอยู่ในโรงเรียน ยิ่งถ้าได้ มีโอกาสเป็นหัวหน้าคณะด้วยแล้ว ยิ่งจะได้มี โอกาสทดลองบทบาทของผู้น�ำมาตั้งแต่เด็กๆ ด้วย ฉะนัน้ หลายๆ เรื่องจากการท�ำงานของ ผมได้มาจากวชิราวุธฯ ทั้งนัน้ ตอนนี้อยู่ในต�ำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ดูแลสายงานด้านบัญชีและการเงิน หรือ เรียกอีกอย่างหนึง่ คือ CFO (Chief Financial Of f icer) ของบางจาก ซึ่งถือว่าเป็นต�ำแหน่ง ที่สูงมากในองค์กร มองหน้าที่การงานของตัว เองต่อไปในอนาคตอย่างไร มองในแง่ผม ผมก็วา่ ประหลาดมัง้ ผม ไม่ได้มองว่าผมจะเป็นเบอร์หนึง่ หรือ CEO (Chief Executive Of f icer) ผมไม่ได้อยากเป็น คือต�ำแหน่ง CFO ถือว่าเป็นเบอร์สอง อิทธิพล มันไม่นอ้ ย ความหมายของอิทธิพลในทีน่ คี้ อื ว่า ความรับผิดชอบของเราต่อองค์กรก็ไม่แพ้เบอร์
หนึง่ เพราะ CFO สมัยใหม่นจี่ ริงๆ แล้วมันคือ มือขวาของเบอร์หนึง่ มือขวาของ CEO ทุกเรือ่ ง การผลักดันการเพิม่ ประสิทธิภาพการท�ำงานใน องค์กร เรื่องแผนกลยุทธ์ การท�ำงานตามแผน กลยุทธ์ต่างๆ CFO ต้องเป็นคนเสนอแนะ ควบคุม ก�ำหนดตัวชี้วัด ประเมินผล และแจ้ง ข้อมูลแก่ CEO ความส�ำคัญตรงนี้เยอะมาก และถามว่าการท�ำธุรกิจทุกวันนี้เราไม่ได้มอง เพียงว่ามีบริษัท มีโรงงาน มีการผลิต และก็ ขาย มันไม่ใช่แค่นนั้ การท�ำธุรกิจสมัยใหม่ โดย เฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เรามองที่ ก ารเจริ ญ เติ บ โต การสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่มทางธุรกิจ การขยายตัวของธุรกิจไปใน อนาคต ทั้งในธุรกิจสายเดิมและธุรกิจสาย ใหม่ๆ ดังนั้นถ้าเรามองแบบของเดิมว่า มี โรงงานก็ท�ำหน้าที่ของโรงงานให้ดี วิศวกรก็ท�ำ หน้าที่ผลิต การขายก็ขายอย่างเดียว การเงิน ก็เก็บเงินไป ท�ำหน้าที่เป็นแคชเชียร์ หรือดูแล สภาพคล่องทางการเงินให้เหมาะสม แค่นนั้ มัน ไม่พอแล้วในปัจุบัน แต่การท�ำธุรกิจสมัยใหม่ การเจริญเติบโต การสร้าง Value (มูลค่า) ให้ กับบริษัท ให้กับผู้ถือหุ้น ถือเป็น Key Success (สิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้ประสบความส�ำเร็จ) และเป็นตัวชี้วัดความสามารถเชิงธุรกิจของผู้ บริหาร เพราะฉะนัน้ CFO จะต้องผลักดันเรือ่ ง แผนกลยุทธ์ ผลักดันเรื่องแผนธุรกิจ ผลักดัน เรื่องการจัดหาเงินทุนและการปรับโครงสร้าง ต่างๆ ไม่ว่าทางภาคการผลิต การขาย การ บริหารทั่วไป หรือแม้กระทั่งการจัดการด้าน ก�ำลังคน ขององค์กร เพื่อให้บริษัทมีความ
พร้อมทีจ่ ะขยายในอนาคตข้างหน้า และรวมถึง การซือ้ หรือรวมบริษทั เข้ามา เช่น ถ้าจะเข้าไปซือ้ บริษทั นีม้ ปี ระโยชน์อะไร การสร้างผลประโยชน์ ร่วมกับบริษัท และการขยายและสร้างโอกาส ในการท�ำธุรกิจต่อเนื่องออกไปได้มากน้อยแค่ ไหน รวมไปถึงราคาที่ควรจะลงทุนว่าเท่าไร และผมยังมองว่า CEO ต้องอยู่ข้างบน ต้อง ประสานความสัมพันธ์กับหน่วยงานทั้งหลายที่ จะมาเกีย่ วข้องโดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐ เช่น พวกบริษทั น�ำ้ มันต้องติดต่อหน่วยราชการเยอะ มาก รัฐบาลก็เข้ามามีส่วนก�ำหนดมาตรการ หลายๆ อย่างด้วย ผมจึงไม่ชอบถ้าเลี่ยงได้ก็ อยากจะเลี่ยง และอีกอย่างหนึง่ คือเป็นเบอร์ สอง สามารถบริหารเจ้านายได้ดว้ ย หมายความ ว่าเราติดขัดอะไร ก็จะสามารถขอให้ CEO เข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้เราในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ ดังนั้นเป็น CFO ก็พอแล้ว เป้าหมาย ของผมคือว่าผมเป็น CFO ของบริษัทใหญ่ จากนี้ไปก็คืออยู่ในบริษัทที่ใหญ่ขึ้น แต่ถ้าจะ มีโอกาสเป็น CEO ก็ไม่เกี่ยง ก็ลองดูซักตั้งก็ ย่อมได้ แต่หลักๆ ก็คือขอให้เป็นบริษัทที่ใหญ่ ขึ้น เป็นบริษัทที่เป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ อันนีจ้ ะ ท้าทายมากกว่ามาก เกิดอะไรขึ้นกับราคาน�้ำมันที่สูงมากในช่วง กลางปี ๒๕๕๑ แล้วท�ำไมปัจจุบนั นีร้ าคาน�ำ้ มัน ถึงถูกลงมาก พื้ น ฐานราคาน�้ ำ มั น จริ ง ๆ มั น จะมี การปรับตัวขึ้นลง ขึ้นอยู่กับความต้องการ น�้ำมันและการผลิตน�้ำมัน หรือดีมานด์และ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 43
ซัพพลาย กรณีมีความต้องการใช้น�้ำมันมากก็ ผลักดันให้ราคาน�้ำมันสูงขึ้น ถ้ามีการลดการ ใช้จะท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบปรับตัวลดลงไปตาม กระบวนการของมันเอง การวิจยั ในช่วงนัน้ บอก ว่า การปริมาณส�ำรองน�้ำมันดิบของโลกเหลือ น้อย โลกเรามีความต้องการใช้น�้ำมันดิบวันละ ๘๔ ล้านบาเรล และโตปีละ ๑ เปอร์เซ็นต์ คิด เป็น ๘๐๐,๐๐๐ บาเรลต่อวัน แต่กลุ่มโอเปค บอกว่าก�ำลังการผลิตส�ำรองของโลกเราเหลือ เพียง ๒ ล้านบาเรลต่อวันเท่านัน้ ดังนัน้ ถ้าโต ปีละ ๘๐๐,๐๐๐ บาเรล อีก ๒ ปีกว่าๆ น�ำ้ มัน ดิบก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการ นี่คือ เหตุผลที่ท�ำให้ราคาน�้ำมันช่วงกลางปี ๒๕๕๑ จึ ง สู ง มาก ทุ ก คนเริ่ ม คาดการว่ า มั น เริ่ ม มี โอกาสที่จะขาดแคลน เพราะดีมานด์ก�ำลังจะ
44
โตกว่าซัพพลาย และถ้าดีมานด์ไม่ลดลงก็จะ ท�ำให้ ซัพพลายที่มีอยู่จะไม่เพียงพอ พอเกิด เหตุการณ์นขี้ ึ้น พวกบริษัทวาณิชธนกิจต่างๆ และกองทุนทั้งหลายก็เข้ามาลงทุนในการเก็ง ก�ำไรจากน�้ำมันเพราะได้ผลตอบแทนสูง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาส ๓ ก็คือดีมานด์เริ่มลดลงเนื่องจากราคาน�้ำมัน ปรับตัวแพงจนเกินไปแล้ว ท�ำให้คนลดการ ใช้ และหาพลังงานอื่นมาทดแทน ประกอบ กับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มลุกลามทั่วโลก น�ำโดย สหรัฐอเมริกา (ที่หลายๆ คนเรียกว่า Hamburger Crisis) ท�ำให้คนรัดเข็มขัดและระวังใน การใช้นำ�้ มันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ราคา น�ำ้ มันลดลงอย่างมากจากจุดสูงสุดในปี ๒๕๕๑ ราคาน�้ำมับดิบดูไบอยู่ที่ ๑๔๐.๗ ดอลล่าร์
สหรัฐต่อบาเรล พอปิด ๓๑ ธันวาคม เหลือ เพียง ๓๖.๔ ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาเรล เท่านัน้ เอง เท่าๆ กับราคาน�้ำมันดิบสมัย ๔ ปีที่แล้ว ในช่วงปลายๆ ปี ๒๕๔๗ เลย เป็นไปได้ไหมว่าราคาทีส่ งู ขึน้ เกิดจากการเก็งก�ำไร แน่นอนครับ แต่ส่วนใหญ่จะมาจาก ดีมานด์และซัพพลายเป็นหลัก ถามว่าการเก็ง ก�ำไร ถ้าดีมานด์ไม่โตและซัพพลายไม่มแี นวโน้ม จะขาดแคลน เก็งก�ำไรอย่างไรก็ไม่ขึ้น การเก็ง ก�ำไรมันเหมือนเป็นตัวเร่งมากกว่า ในช่วงที่ ดีมานด์สูงในขณะที่ซัพพลายขาดแคลน ตาม หลักเศรษฐศาสตร์ก็คือราคาควรจะปรับตัว สูงขึ้น แต่พอมีพวกเก็งก�ำไรเข้ามามันก็เร่ง ให้ราคาสูงขึ้นไปอีก จนมีบางช่วงมันสูงขึ้น จนแทบอธิบายไม่ได้เลยด้วยซ�้ำว่าเป็นเพราะ อะไร ในขณะที่ราคาถ้าถูกเก็งก�ำไรขึ้นไปสูงสุด แล้ว พอเริ่มมีข่าวร้ายเกิดขึ้น เช่น ข่าววิกฤติ เศรษฐกิจ ราคาน�ำ้ มันก็จะเริ่มปรับตัวลงเพราะ เริ่มจะมีการคาดการณ์ว่าดีมานด์จะปรับตัว ลง ตอนนีก้ ็จะถูกพวกเก็งก�ำไรปั่นให้ราคาลง มามากๆ อีก เพราะพวกนีท้ �ำ short sale ถึง แม้ราคาน�้ำมันมันลดลงต่อเนื่องก็ได้ก�ำไรอยู่ดี ถ้าอย่างเราๆ คิดจะเก็งก�ำไรจากสินค้าของใช้ จ�ำเป็นอย่างพวก commodity โดยเฉพาะ น�ำ้ มันนี่ บอกได้เลยว่ายากมาก คาดเดากันไม่ ถูกเลย เราไม่มีอิทธิพลต่อตลาดมากเท่าพวก กองทุนขนาดใหญ่ๆ เหล่านัน้ เชือ่ ไหมราคาหรือ แม้กระทั่งแนวโน้มในแต่ละปีไม่เคยเหมือนกัน
เลย แปลกมากๆ การบริโภคน�้ำมันในประเทศไทยเป็นอย่างไร บ้านเราผลิตน�้ำมันดิบได้เองเหมือน กันนะ แต่น้อยมาก ไม่กี่หมื่นบาเรลต่อวัน ใน ขณะที่ประเทศเราใช้อยู่ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาเรลต่อวัน ดังนัน้ ส่วนใหญ่คือเกือบทั้งหมด ต้องน�ำเข้า ท�ำให้ต้องอิงกับราคาตลาดโลก ใน เมื่อต้นทุนอิงตามตลาดโลก ราคาขายจึงอิง ตามตลาดโลก ราคาน�้ำมันบ้านเราที่ขายปลีก ทุกวันนีน้ อกจากจะเป็นราคาของตัวเนื้อน�้ำมัน แล้ว อีกส่วนหนึง่ ก็ยังมีพวกภาษีสรรพสามิต และเงินกองทุนน�้ำมันด้วย อีกตัวที่ประชาชน ต้องจ่ายคือภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ถ้าราคาน�้ำมัน ๒๐ บาท ก็จะคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ๗ เปอร์เซ็นต์ ของ ๒๐ บาท ถ้าราคาน�ำ้ มัน ๔๐ บาท ก็คิด ๗ เปอร์เซ็นต์ของ ๔๐ บาท ในช่วงที่ราคาน�ำ้ มันแพงมากๆ คนก็ใช้ น้อยลงนะ บางส่วนก็หันไปใช้พวกแก๊ส เช่น LPG หรือ NGV แทน พอตอนนี้ราคาน�้ำมัน ถูกลงมามากคนก็เริม่ ใช้กนั มากขึน้ อีก ทีจ่ ริงผม อยากให้คนไทยมีวินัยในการใช้มากกว่า สร้าง จิตส�ำนึกของการใช้นำ�้ มันให้เป็นนิสัย ใช้อย่าง มีประสิทธิภาพน่าจะดีที่สุด การที่ราคาน�้ำมันขึ้นเป็นเพราะบริษัทน�้ำมัน เป็นบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่เกี่ยวเลย เพราะราคาน�้ำมันที่ใช้กัน อยู่ จริงๆ แล้วเป็นราคาที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก ต่าง มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 45
46
กันที่ระยะทาง โดยอิงผู้ผลิตที่ผลิตได้เยอะ ที่สุด ซึ่งก็คือกลุ่มโอเปค โอเปคมีอิทธิพลมาก เพราะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกและเป็นคน ก�ำหนดราคา เพราะฉะนัน้ อยู่เมืองไทย ราคา น�ำ้ มันทีเ่ มืองไทยคืออะไร คือราคาน�ำ้ มันโอเปค ที่ตะวันออกกลางบวกด้วยค่าขนส่งมาถึงบ้าน เรา ราคาที่สิงคโปร์คืออะไร คือราคาน�้ำมัน บวกค่าขนส่งถึงสิงคโปร์ ดังนัน้ เพื่อให้ง่ายก็ มาตั้งราคากลางขึ้นแถบบ้านเราก็เลยมาตั้งที่ สิงคโปร์ แต่ไม่ใช่ว่าเป็นราคาต้นทุน แต่เป็น ราคาที่ส่งมอบที่สิงคโปร์ แล้วจะซื้อไปที่ไหน ก็บวกค่าขนส่งออกไปอีก จากสิงคโปร์มาไทย เท่าไหร่ จากสิงคโปร์ไปญี่ปุ่นเท่าไหร่ ดังนัน้ ไม่ ว ่ า จะเป็ น รัฐ วิส าหกิจ หรือเอกชนมันเป็น ราคาตลาดที่ขายราคาเดียวกันทั่วโลก ต่างกัน ที่ค่าขนส่ง ต้นทุน และคุณภาพในการกลั่น เล็กน้อยเท่านัน้ เอง มองว่าความแตกต่างน่าจะ อยู่ที่ถ้าเป็นรัฐวิสาหกิจ รัฐอาจจะแทรกแซงได้ ง่ายกว่า (ทัง้ ทางตรงและทางอ้อม) อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้ไม่ได้เป็นธุรกิจผูกขาดอยู่แล้ว ดังนัน้ ถ้ามีบริษัทใดที่เป็นรัฐวิสาหกิจและถูกรัฐเข้า แทรกแซง สุดท้ายก็จะสู้บริษัทอื่นไม่ได้ ต่าง จากธุรกิจทีเ่ ป็นแบบผูกขาดหรือกึง่ ผูกขาด ทีร่ ฐั มีอำ� นาจในการก�ำหนดราคา อันนีไ้ ม่ตอ้ งแข่งขัน ก็มีก�ำไรได้ ที่จริงธุรกิจน�้ำมันที่แข่งขันกันเสรี น่าจะดีกับผู้บริโภคมากกว่า เพราะทุกคนจะ ต้องแข่งขันกันเพื่อดึงลูกค้าไว้ให้ได้ สุดท้าย ผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็คือผู้บริโภค
เรื่องการประกวดนางสาวไทย ซึ่งเป็นรายได้หลักของ สมาคมนักเรียนเก่าฯ มาแต่ไหนแต่ไร ก็มีคู่แข่ง มากขึ้นเรื่อยๆ มีหลายเวที แต่ก็ต้องยอมรับว่า โลโก้ที่ไปปรากฏก็เป็น สัญลักษณ์ของ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ยังขายได้อยู่ เพราะฉะนัน้ หน้าที่ของเราคือ พยายามท�ำให้นางสาวไทย ยังคงเป็นที่นิยมของ ประชาชนอยู่ เพราะถ้าไม่มีตรงนี้แล้ว บอกได้เลยว่าเหนื่อย
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 47
แต่ยังมีน�้ำมันให้ใช้อยู่อีกหลายปี ใช่ คือน�้ำมันในแต่ละหลุมตอนแรกจะ ดูดขึ้นมาได้เยอะมาก แต่พอผ่านมาจุดหนึ่ง แล้ว การวิจัยพบว่าดึงขึ้นมาได้น้อยลง เพราะ แรงดันใต้พื้นดินหมดไปและอัตราไหลน้อย ลง มันจะต้องมีวิธีการดันขึ้นมา เช่น อาจจะ อัดอากาศเข้าไปเพื่อให้มันขึ้นมา หรือสามารถ เอาน�้ำมันในหลุมอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาก็ได้ แต่อาจ จะต้องลงทุนมากขึ้น เนื่องจากสภาพของหลุม น�ำ้ มันทีเ่ หลือมีความซับซ้อนทางโครงสร้างมาก ขึ้น ซึ่งมันก็จะแปลว่าราคาน�้ำมันในอนาคตจะ ต้องสูงขึ้นอยู่ดีถึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนที่เพิ่ม ขึ้น ผลการวิจัยนี้พบว่าจะมีนำ�้ มันใช้ได้อีกราว ๕๐ ถึง ๖๐ ปี แต่ก็แปลกนะพอผ่านไปสัก สิบยี่สิบปี ผลการส�ำรวจจะพบว่าโลกเราก็ยังมี น�ำ้ มันใช้ได้อีก ๕๐ ถึง ๖๐ ปี อยู่ดี ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเทคโนโลยีในการขุดเจาะพัฒนาขึน้ เรือ่ ยๆ และเราพบแหล่งน�ำ้ มันดิบใหม่ๆ มากขึ้นด้วย ท�ำไมถึงได้อาสามาเป็นหนึง่ ในคณะกรรมการ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ผมได้ รับ การทาบทามจากรุ่นน้องที่ ก�ำลังหมดสมัยให้มาเป็นกรรมการ เขาก็บอก ว่า พี่ผมจะเสนอชื่อพี่นะ ผมก็บอกว่างานก็ยุ่ง มากอยูแ่ ล้วจะให้ผมเป็นกรรมการอีกหรอ เขาก็ ถามว่าพีจ่ บโรงเรียนไปกีป่ แี ล้ว เราก็บอกว่า ๒๐ กว่าปีมั้ง เขาถามต่อว่าแล้วพี่เคยท�ำประโยชน์ อะไรดีๆ กับโรงเรียนหรือยัง ผมมาเสนอโอกาส
48
ดีๆ ให้พี่ แล้วจะปฏิเสธได้อย่างไร สุดท้ายผม เถียงไม่ออก ผมก็ตอบตกลงเพราะเหตุผลนี้ สมาคมนัก เรี ย นเก่ า ฯ ควรจะท� ำ อะไรให้ นักเรียนเก่าฯ ผมคิดว่าสมาคมนักเรียนเก่าฯ น่าจะ เป็นจุดศูนย์กลางของนักเรียนเก่าฯ ทั้งหมด แต่มันติดว่าเราไม่มีสโมสรที่สมบูรณ์แบบ เรา ควรจะมีสโมสรที่ทุกคนมาร่วมเจอกันแล้วมัน ดูดี มีห้องนัง่ เล่นบ้าง พอใครไม่มีอะไรท�ำก็ นึกถึงสมาคม หาเหล้าหาเบียร์ลักษณะให้เป็น กึ่งๆ ผับ เราจะได้มาพบปะสังสรรค์กันได้ ประเด็นก็คือว่า หนึง่ มันไม่มีที่ สองก็คือมัน อยู่ในโรงเรียน สรุปคือมันยากมากๆ ที่จะท�ำ สโมสรให้เป็นตามฝัน หมายความว่ า ต้ อ งมี พื้ น ที่ ข องตั ว เองเลย หรือเปล่า ถ้ า ซื้ อ ที่ ก็ จ ะใช้ เงิ น มากเกิ น เหตุ ถ้ า จะเช่าที่ก็จะต้องเสียค่าเช่าในอัตราที่สูงถ้าเรา ต้องการให้สโมสรอยู่ในที่ๆ จะเป็นศูนย์กลาง ของพวกเราทุกคนได้ และอันสุดท้ายคือไม่มี ตังค์ เงินเป็นประเด็นหลัก เรื่องเงินเรื่องใหญ่ กรรมการสมาคมนักเรียนเก่าฯ ที่เข้ามาทุกชุด พยายามหาเงินทั้งนั้น ซึ่งเงินที่หามาได้ส่วน ใหญ่ก็จะน�ำมาใช้จ่ายในกิจกรรมหลักๆ ของ สมาคมนักเรียนเก่าฯ เท่านีเ้ งินทีห่ ามาได้กเ็ กือบ จะหมดแล้ว
รายได้ ห ลั ก ของสมาคมนั ก เรี ย นเก่ า ฯ มี อะไรบ้าง รายได้หลักจริงๆ คือ การประกวด นางสาวไทยอย่างเดียว ส่วนเล็กๆ น้อยๆ ก็ พวกการจั ด แข่ ง ขั นกอล์ ฟ โอวี อะไรแบบนี้ เท่ า นั้น เอง แต่ เรามีค ่ า ใช้ จ่ายในสมาคมนัก เรียนเก่าฯ เดือนละประมาณแสนกว่าบาท เช่น ค่าเช่า ค่าโน่นค่านี่ ค่าเด็กท�ำงานในสมาคม นักเรียนเก่าฯ ค่าน�้ำ ค่าไฟ สรุปค่าใช้จ่ายใน แต่ละเดือนแพงมาก และค่าใช้จ่ายกิจกรรม ที่เป็นปกติของสมาคมนักเรียนเก่าฯ อยู่แล้ว เช่น การสนับสนุนงานของโรงเรียน รักบี้ของ โรงเรียนบ้าง สนับสนุนการศึกษาบ้าง รวมไปถึง งานที่เราต้องท�ำทุกปี เช่น การแข่งขันรักบี้ ซึ่ง การส่งเข้าไปแข่งขันก็จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อยูแ่ ล้ว และเราก็ไม่อยากให้โอวีรนุ่ น้องทัง้ หลาย ที่เสียสละมาเล่นรักบี้ให้สมาคมนักเรียนเก่าฯ เขาต้องแร้นแค้นล�ำบาก เราต้องดูแลเขาให้ดี ระดับหนึง่ และก็ต้องมีเบี้ยเลี้ยงให้เขาเพราะ เขาเสียสละมา อย่างน้อยก็ต้องให้ค่ารถ เพราะ ฉะนัน้ ทุกคนที่เข้ามาเป็นกรรมการก็จะต้องหา เงิน แต่ผมบอกได้อย่างหนึง่ ว่าสมาชิกทั้งหลาย ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องความเหมาะสมในการใช้ จ่ายเงิน เพราะนายกสมาคมนักเรียนเก่าฯ พี่ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ มีนโยบายที่โปร่งใสชัดเจน ในเรื่องนี้มาก
ติดขัดอะไร ทะเบียนสมาชิกของสมาคมนักเรียน เก่าฯ เรามีประมาณ ๓,๙๐๐ กว่าคน ซึ่งต้องส่ง จดหมายกันบานตะไทเลย ได้รับจริงๆ ผมเชื่อ ว่าไม่เกินสองพันคนเป็นอย่างสูง คือข้อมูลมัน ไม่อพั เดท แต่เราต้องส่งลงทะเบียนทัง้ หมดตาม รายชื่อที่มีอยู่ในทะเบียนในกรณีที่เป็นเอกสาร ส�ำคัญ ซึ่งค่าส่งมันแพงมากๆ อีกทั้งมันไม่มี กิจกรรมที่นกั เรียนเก่าฯ จะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่ง กันและกัน นักเรียนเก่าฯ น่าจะมีกิจกรรมอะไร สักอย่าง ทีส่ ามารถหาเงินให้ได้ซกั ก้อนหนึง่ แล้ว เราจะได้น�ำเงินไปท�ำอะไรต่างๆ ได้ ทุกวันนี้ไม่รู้ ว่าจะหาเงินอย่างไร สุดท้ายเงินทีห่ ามาก็อยูไ่ ด้แค่ ปีเดียวหรือปีกว่าๆ แล้วก็ต้องหาใหม่ ก็วนอยู่ แบบนี้ การจะลงทุนกับสโมสรต้องใช้เงินเยอะ เดือนละหลายแสน ในฐานะที่เป็นเหรัญญิกควบคุมการเงินของ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ซึ่งมีปัญหาอยู่เยอะมาก ถ้าพูดถึงการแก้ไข พอจะมีแนวทางอย่างไรบ้าง แก้ให้ดีขึ้นมันมีหลายทาง การหาราย ได้มันจ�ำเป็น ไม่ได้ยากจริงๆ แล้วไม่ใช่สมาคม นักเรียนเก่าฯ ไม่มีเงิน สมาคมนักเรียนเก่าฯ มี เงินในบัญชีประมาณ ๑๒ ล้านบาท แต่เป็นเงิน ทีใ่ ช้ไม่ได้ เพราะเป็นเงินกองทุนวชิราวุธานุสรณ์ ที่มีมาตั้งแต่ตั้งสมาคมนักเรียนเก่าฯ จะน�ำเงิน นี้ไปลงทุนในกองทุนต่างๆ ให้งอกเงยเพิ่มขึ้น ในอัตราที่สูงขึ้น ก็ท�ำไม่ได้เพราะจากเอกสาร มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 49
ตราตั้งของสมาคม การลงทุนใดๆ ที่มีความ เสี่ยงจะไม่สามารถท�ำได้ และที่ถือปฏิบัติกัน มาดอกผลจากกองทุนนี้แม้ว่าเอกสารตราตั้ง สมาคมจะอนุญาตให้น�ำไปใช้ในกิจการของ สมาคมตามเงื่อนไขที่ก�ำหนดไว้ได้ แต่ก็ไม่ ปรากฏว่ากรรมการชุดใดจะเอาไปใช้ พวกเรา ได้คุยกันในคณะกรรมการหลายครั้งและเห็น ว่า ในเมื่อเงินในกองทุนวชิราวุธานุสรณ์ใช้ไม่ ได้ดังนัน้ มันก็ควรจะหาเงินทุนอีกสักก้อนหนึง่ ที่ค่อนข้างโตหน่อยแล้วน�ำไปลงทุนหาดอก ผล และดอกผลตรงนัน้ ให้สามารถน�ำมาใช้ใน กิจกรรมต่างๆ ของสมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้ ซึ่งการหาเงินอีกก้อนนีต้ ้องมาช่วยกันคิดว่าเรา จะหาอย่างไร ก็มคี นเสนอว่างานวชิราวุธฯ ๑๐๐ ปีจะท�ำเข็มต่างๆ ขาย ใครมีแรงมากก็ซื้อเข็ม เพชร แรงน้อยก็ซอื้ เข็มธรรมดาก็ได้ แล้วถ้าเกิด มันขายได้เยอะมันก็จะเป็นกองทุนได้อันหนึง่ แต่ที่เป็นห่วงก็คือ วชิราวุธฯ นี่เป็นโรงเรียน ขนาดใหญ่แต่นกั เรียนน้อยมาก จ�ำนวนสมาชิก ๓,๐๐๐ กว่าคน น้อยมากเมือ่ เทียบกับโรงเรียน อื่น อย่างโรงเรียนอื่นรุ่นหนึง่ สองร้อยคนแต่ โรงเรียนเราห้าสิบคน แล้วเราจะไปหาเงินกับ สมาชิกยังไง เพราะเราไม่ได้แสวงหาผลก�ำไรกับ สมาชิก ถึงอยากจะหาก�ำไรก็ยงั ไม่แน่ใจว่าจะได้ ก�ำไรหรือขาดทุนเลย เนือ่ งจากสมาชิกมีอยูเ่ ป็น จ�ำนวนน้อยโดยเฉพาะสมาชิกที่ active มีอยู่ เพียงแค่หลักร้อยเท่านัน้ มันไม่ได้การประหยัด ต่อขนาด (economy of scale) ก็อยากให้ บรรดานักเรียนเก่าทั้งหลายมาลงทะเบียนให้
50
เยอะที่สุดเท่าที่จะเยอะได้ แล้วอัพเดทข้อมูล ส่วนตัวตลอดเวลาผ่านทางสมาคมนักเรียน เก่าฯ อนุมานวสารและเว็บไซต์ของสมาคม นักเรียนเก่าฯ แล้ว เมื่อเรามีฐานข้อมูลที่มัน อัพเดทแล้วเราสามารถติดต่อกันได้ ได้จำ� นวน สมาชิกมากขึ้น แล้วโอกาสของการสนับสนุน เกื้อกูลกันมันก็จะกว้างขวางมากขึ้น ถือเป็น อันดับแรก อันดับที่สองก็คือตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่ จ�ำเป็น อยากจะขอร้องให้พี่ๆ น้องๆ เข้าใจว่า รายจ่ายของสมาคมนักเรียนเก่าฯ ต่างๆ อาจ จะจ่ายยากมากขึ้น ไม่ได้แปลว่าเหนียวหนีน้ ะ แต่หมายความว่าจะพิจารณาค่าใช้จ่ายอย่าง รอบคอบมากขึน้ เพราะเราต้องการลดค่าใช้จา่ ย ของสมาคมนักเรียนเก่าฯ แต่อย่างไรก็ตามราย ได้เป็นสิง่ ส�ำคัญ ซึง่ เราก็จะพยายามหาทางสร้าง รายได้เพิ่มขึ้นต่อไป เป็นปัญหาของคณะกรรมการทุกรุ่นหรือเปล่า ผมว่าน่าจะใช่นะ เวลามีกจิ กรรมจัดหา เงินทีไร ก็หนีไม่พ้นบริษัทที่มีโอวีเป็นเจ้าของ หรือมีโอวีเป็นผู้บริหารอยู่ ซ�้ำหน้ากันทุกปี ผม ไม่อยากให้บริษทั เหล่านัน้ มองว่าโอวีสร้างภาระ ให้แก่เขา เพราะผมเชื่อมั่นว่าวชิราวุธฯ สร้าง ลูกวชิราวุธฯ ให้เป็นคนที่หยิ่งในศักดิ์ศรี เรื่อง การประกวดนางสาวไทยซึง่ เป็นรายได้หลักของ สมาคมนักเรียนเก่าฯ มาแต่ไหนแต่ไร ก็มคี แู่ ข่ง มากขึ้นเรื่อยๆ มีหลายเวที แต่ก็ต้องยอมรับว่า โลโก้ที่ไปปรากฏก็เป็นสัญลักษณ์ของสมาคม นักเรียนเก่าฯ ยังขายได้อยู่ เพราะฉะนัน้ หน้าที่
ของเราคือพยายามท�ำให้นางสาวไทยยังคงเป็น ที่นิยมของประชาชนอยู่ เพราะถ้าไม่มีตรงนี้ แล้วบอกได้เลยว่าเหนื่อย พวกเราต้องช่วยกัน ของที่ระลึกต่างๆ อย่าบ่นว่ามันแพง เพราะ มันเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียน ตลาดเขาขาย ๒๐๐ กว่า เราขาย ๕๐๐ อย่าบ่นว่าแพง เพราะ ใส่แล้วเราภูมิใจ เพราะเสื้อตัวละ ๓,๐๐๐ คุณ ก็ซื้อใส่ได้ พอเสื้อตัวละ ๕๐๐ อย่าบ่นว่าแพง เลย พวกเรานี่แหละที่จะช่วยกัน ส่วนใครมี ไอเดีย ว่ า อยากได้ ข องที่ร ะลึกแบบไหนก็ส่ง ความคิดเห็นกลับมาได้ อยากได้เนคไท เข็มกลัด สติก๊ เกอร์ตดิ รถ หรือเป็นสิง่ ของทีพ่ วกเราอยาก จะซื้อใช้จริงๆ งานวชิราวุธฯ ๑๐๐ ปี จริงๆ แล้ว งานวชิราวุธฯ ๑๐๐ ปี เป็น งานของโรงเรียนไม่ใช่งานของสมาคมนักเรียน เก่าฯ แต่ในฐานะของสมาคมนักเรียนเก่าฯ ก็ ต้องหากิจกรรมสนับสนุน อันแรกก็คือ เชิญ นักเรียนเก่าฯ ทุกคนเพือ่ มาเสนอแนวความคิด ที่จะช่วยโรงเรียนในการท�ำงานวชิราวุธฯ ๑๐๐ ปี มีการพูดหลายเรือ่ ง อันแรกก็คอื เรือ่ งอัพเดท ทะเบียน ซึ่งมันก็ต้องช่วยกัน ไม่ใช่สมาคม นักเรียนเก่าฯ ท�ำอยูฝ่ า่ ยเดียว เพราะฉะนัน้ พวก เราทุกรุน่ มีตวั แทนรุน่ ก็บอกต่อๆ กัน อันต่อมา ก็คือหนังสือประวัติโรงเรียน ซึ่งก�ำลังเขียนอยู่ ซึ่งจะมีค่าที่สุดและลูกวชิราวุธฯ ทุกคนควรจะ เก็บไว้ เราคงไม่รปู้ ระวัตโิ รงเรียนทัง้ หมด เพราะ
ฉะนัน้ มันมีคณ ุ ค่ามาก นอกจากนีก้ ค็ ยุ เรือ่ งการ ศึกษา สมาคมนักเรียนเก่าฯ อยากให้ทุนการ ศึกษา สมมติว่ามีเงินก้อนหนึง่ ๕๐๐,๐๐๐ ให้ เงินทุนปีเดียวก็หมดแล้วมันไม่มีความหมาย เราพูดกันถึงว่าระดมทุนก้อนหนึง่ โตหน่อย น�ำ เอาดอกผลให้เด็กนักเรียน แล้วก็วนกลับมาอีก ว่าพวกเราจะเอาด้วยหรือเปล่า ซึ่งที่กล่าวไปทั้งหมดมันก็ต้องใช้เงิน เยอะ ผมอยากบอกผ่านอนุมานวสารว่า ลูก วชิราวุธฯ ทั้งหลาย ช่วยกันหน่อย เราไม่ได้ บอกว่าต้องเกณฑ์มาให้คนละ ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาททุกคน แต่หมายถึงใครมีมากให้มาก ใคร มีน้อยให้น้อย หรือใครไม่มีเลยอยากจะมา ช่วยแรงงานเราก็เอา เราไม่จ� ำเป็นต้องเป็น กรรมการ แต่ถ้าเราได้เข้ามา คือล�ำพังจะไปขอ รุน่ พีท่ มี่ หี น้าทีม่ ตี ำ� แหน่งก็จะเวียนกันไม่กคี่ น ก็ เกรงใจเขา แต่เขาก็ให้นะ แต่ผมอยากเห็นพลัง ของพวกเราทุกคนมากกว่า ไม่ได้อยูท่ รี่ นุ่ พีพ่ วก เราไม่กี่คน ถ้าพวกเราทุกคนช่วยกันก็จะเป็น ไปได้ สุดท้ายผมอยากฝากบอกผ่านอนุมาน วสารว่าใครอยากเข้ามาช่วยเราก็ยินดี แล้วเรา จะได้ภูมิใจที่เราได้ท�ำอะไรที่เป็นประโยชน์เพื่อ โรงเรียนของเรา อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ (รุน่ ๗๑) / ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุน่ ๗๒) สัมภาษณ์ – อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ (รุน่ ๗๑) / สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ (รุ่น ๗๓) เรียบเรียง -- ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 51
52
ชื่อคอลัมน์ ค�ำสร้อย
อรุณ แสนโกศิก ผู้ฝึกสอนรักบี้และนักกรีฑาชื่อดัง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 53
ต�ำนานหน้าหนึง่ ของวชิราวุธวิทยาลัยที่ได้รับการจดจ�ำมากที่สุดเห็นจะไม่พ้น เรือ่ งกีฬา โดยเฉพาะรักบี้ อันถือเป็นกีฬาประจ�ำโรงเรียน ทีมรักบีว้ ชิราวุธวิทยาลัยสามารถ สร้างชือ่ เสียงให้แก่โรงเรียนอย่างต่อเนือ่ งและยาวนาน จนกลายเป็นทีร่ ้จู กั มักคุ้นของคน ส่วนใหญ่ในสังคมไทยเป็นอย่างดี เมือ่ พูดถึงกีฬารักบีแ้ ล้ว คนทัว่ ไปก็มกั นึกถึงโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในทันที “อ๋อ วชิราวุธฯ ที่ชอบเล่นรักบี้ใช่ไหม?” ค�ำสร้อยทีน่ กั เรียนวชิราวุธฯ มักจะได้ยนิ จากเพือ่ นฝูงหรือคนทีเ่ พิง่ ได้ร้จู กั กัน ในคราวที่แนะน�ำตนเองว่าเรียนจบมาจากที่ไหน หลายคนลงความเห็นว่า รักบี้กับเด็ก วชิราวุธฯ นัน้ เป็นของคู่กันที่แยกออกจากกันไม่ได้ กีฬารักบี้ได้เข้ามาเป็นส่วนส�ำคัญในการหล่อหลอมเด็กหนุ่มให้รู้ว่า น�้ำใจ นักกีฬาคืออะไร และเป็นอย่างไร เพราะกีฬาประเภทนีเ้ ป็นกีฬาทีต่ อ้ งใช้ตวั ผูเ้ ล่นมากทีส่ ดุ ถึงฝ่ายละ ๑๕ คน อีกทั้งการเล่นก็มีการปะทะกันมากกว่ากีฬาประเ ภทใดๆ หากผู้เล่น ไร้ซึ่งน�้ำใจนักกีฬาแล้ว ทีมรักบี้ทีมนัน้ ก็ไม่สามารถประสบผลส�ำเร็จได้เลย ในอังกฤษ สถานทีก่ ำ� เนิดของกีฬาประเภทนีม้ กี ารเปรียบเปรยกันว่า “รักบีเ้ ป็น กีฬาส�ำหรับพวกกุ๊ยหรืออันธพาล ผู้เล่นกีฬาชนิดนี้ล้วนเป็นสุภาพบุรุษ“
54
ในราว ๒๐-๕๐ ปีก่อน ที่โรงเรียนวชิราวุธฯ มีบุคคลผู้หนึง่ ซึ่งอยู่เบื้องหลังกีฬา รักบี้ของโรงเรียน คือ ครูอรุณ แสนโกศิก หรือที่เด็กวชิราวุธฯ เรียกกันติดปากว่า “ครู’รุณ” นิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ผู้เป็นนักกีฬาตัวฉกาจของ มหาวิทยาลัย ซึง่ ต่อมาท่านอดีตผูบ้ งั คับการพระยาภะรตราชา ได้ชกั ชวนเข้ามาเป็นผูก้ ำ� กับคณะจิตรลดา นอกเหนือไปจากการดูแลนักเรียนที่คณะแล้ว หน้าที่หลักของครูอรุณฯ ก็คือการ สร้างพื้นฐานด้านกีฬาทุกชนิดโดยเฉพาะรักบี้ให้แก่นกั เรียน จนสามารถน�ำทีมสร้างชื่อเสียงให้ กับวชิราวุธวิทยาลัยในฐานะโรงเรียนชั้นยอดด้านกีฬารักบี้ และใช้เป็นเครื่องมือในการอบรมบ่ม นิสยั เด็กหนุม่ ให้เป็นสุภาพบุรษุ ผูม้ นี ำ�้ ใจเป็นนักกีฬา และมีความแข็งแรงทางกาย ไปพร้อมๆ กัน เด็กวชิราวุธฯ ที่เคยมีประสบการณ์กับครูอรุณฯ อาจจะได้รับรู้หรือคุ้นเคยกับภาพ ของครูอรุณฯ ในฐานะครูสอนรักบีแ้ ละผู้กำ� กับคณะจิตรลดาเท่านัน้ น้อยคนนักจะทราบว่า ก่อน หน้าที่จะเข้ามาสอนที่วชิราวุธฯ นัน้ ครูอรุณฯ ไม่ได้มีความสามารถในกีฬารักบี้แต่เพียงอย่าง เดียว แต่ยังมีความสามารถและชั้นเชิงในทางกีฬาอีกหลากหลายประเภท และสามารถเล่นได้ ในระดับที่ยอดเยี่ยมด้วย หากจะนิยามถึงความเป็นครูอรุณฯ อย่างที่เข้าใจได้ง่ายตามประสาพวกเรา ก็คงพูด ได้ว่า ครูอรุณฯ เป็น “สปอร์ตแมน” คนหนึง่ ท่านมีความสามารถทักษะทางกีฬาในระดับทีม ชาติหลายประเภท เช่น กรีฑา และฟุตบอล เมื่อมาเล่นรักบี้ ครูอรุณฯ ก็สามารถน�ำเอาทักษะ ในกีฬาเหล่านัน้ มาปรับใช้ให้เข้ากับการเล่นรักบี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งประสบการณ์การเล่นรักบี้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก็ท�ำให้วิชาความรู้ความสามารถทางด้าน รักบี้ของครูอรุณฯ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น จนกลายมาเป็นปรมาจารย์ผู้ฝึกสอนรักบี้ให้เด็กวชิราวุธฯ รุ่นแล้วรุ่นเล่า จนได้สร้างต�ำนานเกียรติยศชื่อเสียงของโรงเรียนให้จารึกไว้ในวงการรักบี้ไทย อนุมานวสารได้สืบค้นเอกสารเก่าๆ และได้พบเรื่องราวของครูอรุณ แสนโกศิก ตั้งแต่ ถือก�ำเนิด จนถึงประสบการณ์การเล่นกีฬาตลอดชีวติ ซึง่ ได้รบั การบันทึกไว้บนหน้าหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ จึงเห็นว่า ข้อเขียนชิ้นนี้ได้ท�ำ หน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์หน้าหนึง่ ที่ส�ำคัญของวชิราวุธวิทยาลัยไว้ และสมควรที่จะน�ำกลับมา เผยแพร่กันอีกครั้ง (หมายเหตุผู้แปล ปีปัจจุบันในบทความนี้หมายถึง ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่งในบทความนีจ้ ะใช้เป็นปีฐานในการนับ ย้อนหรือล�ำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดในชีวิตของครูอรุณฯ ขอขอบพระคุณ องอาจ นาครทรรพ รุ่น ๑๒ และคุณอโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ส�ำหรับความช่วย เหลือในการถอดความชื่อบุคคลและสถานที่จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย)
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 55
อรุณ แสนโกศิก บุรุษผู้เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ขัน ผู้ที่ดึงดูดความสนใจของสายตาทุกคู่
ในทุกๆ การแข่งขัน นักกีฬาผู้เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิค ๑๙๕๒ ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ นอกจากนี้เขายังได้เข้าร่วมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ครั้งแรก ที่กรุงนิวเดลี อีกด้วย ปัจจุบัน อรุณฯ รับหน้าที่เป็นโค้ชสอนนักกีฬารักบี้ในประเทศไทย อรุณฯ เริ่มเล่นกีฬารักบี้เมื่อตอนอายุ ทุกระดับ ๑๖ ปีและใช้เวลาไม่นานนักในการก้าวขึ้นมา หลักสูตรการอบรมโค้ชส� ำหรับกีฬา เป็นผู้เล่นแถวหน้าของวงการรักบี้เมืองไทยใน รั ก บี้ ใ นไทยนั้ น เคยมี ก ารจั ด กั น มาก่ อ น เวลานัน้ อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ส�ำคัญมากนักที่ สงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่เพิ่งจะมีระบบและ อรุณฯ เป็นนักกีฬาฟุตบอลและเป็นนักกรีฑา การจั ด การที่ เป็ น ระเบี ย บก็ เมื่ อ ก่ อ ตั้ ง เป็ น วิ่งแข่ง ๑๐๐ เมตรในระดับนานาชาติ สมาคมรักบีฟ้ ตุ บอลแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. ในฐานะผู ้ อ� ำ นวยการสอนรั ก บี้ ข อง ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘) ภายหลังจากทีน่ ายโฉลก สมาคมรักบี้แห่งประเทศไทย อรุณฯ ได้รับ โกมารกุล ณ นคร เข้ามาเป็นโค้ชรักบี้ทีมชาติ มอบหมายให้รับผิดชอบดูแลการฝึกสอนรักบี้ ซึง่ ปัจจุบนั นี้ เขาเป็นนายกสมาคมรักบีฟ้ ตุ บอล และพัฒนาวิธีสอนรักบี้ทั่วทั้งประเทศไทยและ แห่งประเทศไทย
56
การพั ฒ นาในยุ ค ปั จ จุ บั น ได้ มี ก าร จั ด ตั้ ง คณะกรรมการฝึ ก สอน รวมทั้ ง ยั ง มี ผู ้ ส นั บ สนุ น จ� ำ นวนมากที่ ช ่ ว ยผลั ก ดั น ให้ ก้าวหน้า โดยใช้การบรรยายรูปแบบวิธีการ เล่นรักบี้ การสาธิตวิธีการเล่นรักบี้ และการ พูดคุยแลกเปลีย่ นประสบการณ์เรือ่ งรักบี้ ซึง่ มี หน่วยงานหลักทัง้ ๒ องค์กรเข้ามาร่วมมือกันท�ำ คือ สมาคมรักบี้ฟุตบอลฯ และกรมพลศึกษา ถึ ง แม้ ส มาคมรั ก บี้ ฟุ ต บอลฯ จะมี ผู้ฝึกสอนอยู่เป็นจ�ำนวนมากแล้วก็ตาม แต่ บรรดาผู้ฝึกสอนเหล่านัน้ กลับกระจุกตัวอยู่ ในบางแห่งที่มีการจัดการสอนที่ดีเท่านัน้ ไม่ ได้กระจายตัวออกไปในที่อื่นๆ อรุณฯ ใน ฐานะที่เป็นผู้อ�ำนวยการฝึกสอนของสมาคม รักบี้ฟุตบอลฯ จึงตั้งใจว่าจะจัดการฝึกสอน ให้ แ ก่ ผู ้ ที่ ต ้ อ งการได้ รั บ การฝึ ก สอนให้ มี ประสิทธิภาพมากที่สุด กีฬารักบี้เริ่มเล่นในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ เมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามในตอนนัน้ ยัง ไม่มที มี สโมสร สนามหลวงถูกใช้เป็นสนามรักบี้ แม้ว่าจะมีการแข่งขันระหว่างเมืองท่าต่างๆ ใน ภูมภิ าค (Interport match) ทีมไทยมีนกั เรียน จากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นสมาชิกในทีม ๒-๓ คน ในตอนต้นของศตวรรษที่ ๒๐ ด้วย ปณิธานอย่างแรงกล้าที่ต้องการท�ำให้กีฬารักบี้ เป็นทีน่ ยิ มในประเทศไทย ประกอบกับนักเรียน ไทยหลายคนที่เคยเล่นรักบี้ที่อังกฤษกลับมา กรุงเทพฯ และได้เข้าร่วมทีมราชกรีฑาสโมสร
เพื่อแข่งกับทีมต่างๆ นอกจากนี้บรรดารายชื่อ ของผู้สนับสนุนจะได้รับเกียรติสูงสุด ด้วยการ บันทึกชื่อลงรายงานประจ�ำปีของวงการรักบี้ ไทย อาทิเช่น หลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมติ ร) อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หลวงไกรฤกษ์ราชเสวี (นับ ไกรฤกษ์) ม.จ.ประสบศรี จิรประวัติ และนายล้าน ณ ระนอง ในช่วงทศวรรษที่ ๓๐ บรรดานักกีฬา ที่กลับมาจากเมืองนอกที่มีความสนใจในกีฬา รักบี้ ก็มีส่วนผลักดันและช่วยวางรากฐาน ที่ มั่ นคงให้ แ ก่ กี ฬ ารั ก บี้ ในประเทศไทย ใน เวลาเดียวกันนั้น วชิราวุธวิทยาลัยและจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างก็ได้เริ่มก่อตั้งทีม รั ก บี้ ข องตนเองขึ้ น มา หลั ง จากนั้น ไม่ น าน พระสุทัศน์พงศ์พิสุทธิ์ (ม.ล.กิ่ง สุทัศน์) อดีต นายกสมาคมรักบี้แห่งประเทศไทย ได้ท�ำการ คัดเลือกนักกีฬาที่มคี วามกระตือรือร้น จากทั้ง ๒ ทีมเพือ่ รวมตัวกันในนามทีม “รวมดาราไทย” (All-Thai Rugby) ในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๘) มี ๔ ทีมที่ทำ� การแข่งขันกันเป็นประจ�ำ ได้แก่ ทีมราชกรีฑาสโมสร ทีมราชตฤณมัยสมาคม ทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมนายเรือ อากาศ ในที่สุดเจตนารมณ์ที่จะก่อตั้งสมาคม รักบีฟ้ ตุ บอลก็เริม่ ขึน้ นับตัง้ แต่บดั นัน้ เป็นต้นมา ค�่ำวันหนึ่งระหว่างที่ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงร่วมเสวย พระกระยาหารค�ำ่ ณ สถานทูตอังกฤษ กับท่าน มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 57
เซอร์โจไซน์ ครอสบี้ (Sir Josiah Crosbie) อัครราชทูตอังกฤษประจ�ำประเทศไทย ทั้งคู่ ได้เริ่มสนทนากันเรื่องรักบี้ ประธานเลี้ยงมื้อ ค�ำ่ ในวันนัน้ คือ นาย อี ดับบลิว ดีน (Mr. E. W. Deane) ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ ราชกรีฑาสโมสร และ ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี ผลการสนทนาได้น�ำไปสู่การร่างกฎระเบียบ ของสมาคมฯ ซึง่ นายดีน รับอาสาไปด�ำเนินการ ดังนั้น คณะกรรมการบริหารจึงได้รวมเอา ม.จ.ประสบศรีซึ่ง เป็ น ประธานราชตฤณมัย สมาคม และกัปตันของทั้ง ๔ ทีมมาอยู่ใน คณะกรรมการชุดนีด้ ว้ ย คณะกรรมการชุดนีไ้ ด้ บริหารงานอย่างต่อเนือ่ ง และได้จดั การแข่งขัน โดยมีเซอร์โจไซน์ฯ เป็นผู้จดั หาถ้วยรางวัลชนะ เลิศมาให้ จุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นทีมชนะเลิศใน การแข่งขันระดับอุดมศึกษา ส่วนราชกรีฑา สโมสรชนะเลิศในระดับสโมสร ปีตอ่ มา ในช่วงปลายฤดูกาล มหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ได้เข้าร่วมสมาคม และตามมาด้วยวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปัจจุบนั คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และ โรงเรียน นายเรือ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น สมาคมรักบี้ฯ จึงมีสมาชิกอยู่ ๗ ทีม หลั ง จากไฟสงครามได้ ป ะทุ ขึ้ น ใน ดินแดนตะวันออกไกล ยังมีการจัดการแข่งขัน ระดับโรงเรียน ซึ่งมีทีมเข้าร่วม ๔ ทีม ได้แก่ ทีมโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งหลวงสวัสดิ์สาร ศาสตรพุทธิ เป็นอาจารย์ใหญ่ ทีมโรงเรียน
58
เตรียมอุดมศึกษา เตรียมมหาวิทยาลัยวิชา ธรรมศาสตร์และการเมือง และทีมโรงเรียนเตรียม นายเรือ ในการแข่งครั้งนี้ โรงเรียนเตรียม อุดมศึกษา ทีม่ ี ม.ล.ปิน่ มาลากุล เป็นอาจารย์ใหญ่ (ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา) สามารถชนะทุกทีมและคว้าถ้วยรางวัลไปครอง สมาคมรักบี้ฯ ได้หยุดการด�ำเนินงาน ไปในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ ก็ยังมีผู้ที่รักในกีฬารักบี้ ได้พยายามจัดการ แข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการแข่งขันกัน กันระหว่างชนชาติศตั รูทถี่ กู คุมขังในค่ายกักกัน เชลยศึกและชนชาติศัตรู เมื่อสงครามสิ้นสุด ลง สมาคมรักบี้ก็ฟื้นขึ้นกลับมาด�ำเนินการ ต่อได้อย่างรวดเร็วและมีความมั่นคงในการ เติบโตอย่างมาก ปัจจุบันมีการจัดการแข่งขัน ๓ ประเภท ทุกๆ ปี ได้แก่ การแข่งขันในระดับ สโมสร อุดมศึกษา และโรงเรียน ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) อรุณฯ มีอายุในขณะนั้นเพียง ๑๖ ปีได้เข้าร่วมทีม โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง ถึงแม้จะเป็นครั้งแรกในชีวิตของ อรุณฯ ที่ได้เล่นรักบี้ก็ตาม เขาสามารถเรียน รู้การเล่นรักบี้ได้อย่างรวดเร็ว และฝึกซ้อม อย่างหนัก เพื่อให้ได้เล่นในต�ำแหน่งฟุลแบ็คที่ ตนเองปรารถนา อรุณฯ กล่าวว่า “เมื่อคราวที่ทีมผม เจอกั บ ที ม เตรี ย มอุ ด มฯ นั บ เป็ นการแข่ ง ที่ ตืน่ เต้นมาก เพราะตลอดรายการแข่งขันครัง้ นัน้ ที ม เตรี ย มอุ ด มฯ และโรงเรี ย นนายเรื อ ยั ง
ไม่เคยแพ้มาเลย” “พวกเตรียมอุดมฯ ดูมีความมั่นใจ มาก พวกเขาคิดว่าสามารถเอาชนะพวกเรา ได้ง่ายๆ เพราะทีมเราไม่ได้ถูกมองว่าเป็นทีมที่ แข็งแต่อย่างใด แต่พวกเราก็เล่นให้ดีที่สุดเท่า ที่เราท�ำได้ และผลการแข่งขันที่ออกมาเสมอ นัน้ ท�ำให้อีกฝ่ายไม่พอใจมาก และรายการนัน้ โรงเรียนนายเรือก็คว้าแชมป์ไป”
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) เป็นต้นมา อรุณฯ ก็เล่นรักบี้ให้กับทีมธรรม ศาสตร์ฯ เรื่อยมา และก็สามารถคว้าแชมป์ ได้ทุกปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐) อรุณฯ จึงได้หยุดเล่น อย่างไรก็ตาม อรุณฯ ก็ยังคงเล่นให้ สโมสรธรรมศาสตร์ ในปีพ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔) อรุณฯ ก็ได้รบั การแต่งตัง้ เป็นผูฝ้ กึ สอน ทีมชาติรักบี้ไทยคนแรก
อรุณฯ น�ำทีมรักบี้กรุงเทพฯ ๑๕ (Bangkok 15) ลงฝึกซ้อมก่อนแข่งขันที่ประเทศอังกฤษ
อรุณฯ เข้าร่วมทีมธรรมศาสตร์ตงั้ แต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ (ค.ศ. ๑๙๔๒) และถึงแม้ว่าไม่มี การแข่งขันเป็นประจ�ำเหมือนเคย แต่อย่างไร ก็ตาม ธรรมศาสตร์ก็สามารถคว้าแชมป์ ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๘-๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๕-๔๖) โดย ครูอรุณฯ เล่นต�ำแหน่งฟุลแบ็ค
เหตุ ก ารณ์ ห นึ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ใน ประวัติศาสตร์วงการรักบี้ของไทยที่ต้องจารึก ไว้ คือ สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ส่งทีมชาติไทยไปท�ำการแข่งขันที่ประเทศ อังกฤษ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐) ท่ามกลางนักกีฬารักบี้ ๒๐ คน อรุณฯ เป็นหนึง่ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 59
ในนักกีฬาทีไ่ ด้รบั การคัดเลือกในชุดนัน้ โดยลง เล่นในต�ำแหน่ง ปีก อรุณฯ ได้กล่าวถึงความรูส้ กึ ในครัง้ นัน้ ว่า “เป็นครั้งแรกในชีวิตของผมที่ได้เดินทางไป ไกลแสนไกล และได้พบกับนักเรียนไทยใน อังกฤษ พวกเรามักจะพูดคุยเกี่ยวกับประเทศ อังกฤษ ซึ่งไม่เหมือนกับที่เราพูดถึงอเมริกาใน เวลานี้ ผมยังจ�ำได้ดีว่าทีมของเรา ออกจาก กรุงเทพฯ ในตอนปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ คุณสามารถจินตนาการได้เลยว่าฤดู หนาวในประเทศอังกฤษจะเป็นอย่างไร และเมือ่ เราต้องไปเล่นในสภาพอากาศเช่นนัน้ ผมอิจฉา คนดูที่ใส่เสื้อโค้ทตัวหนาๆ มันน่าตลกมากที่ พวกเราไม่สามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว เหมือนอย่างที่เราคิดว่าเราท�ำได้ สถานที่แข่ง ส่วนใหญ่อยูใ่ นเขตลอนดอน เราแพ้ในเกมแรก ด้วยคะแนนที่มากกว่า ๒๐-๐ จุด เราชนะแค่ ๑ ครั้งเท่านัน้ ซึ่งเป็นการแข่งกับทีมรักบี้ของ สหภาพนักการธนาคาร” ในการแข่งขันครั้งหนึง่ อรุณฯ ได้รับ บาดเจ็บทีศ่ รีษะถึงขนาดล้มลงไป และเมือ่ หมอ ตรวจและรักษาแล้วก็แนะน�ำให้เขาหยุดฝึก ซ้อมนาน ๒ เดือน แต่อาการบาดเจ็บก็ไม่ได้ เป็นปัญหามากนัก เมื่อได้พักรักษาตัวเพียงพอ “การแข่งขันในต่างประเทศที่ท�ำให้ผม ตื่นเต้นมากที่สุด คือ การแข่งที่ไซง่อนในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ (ค.ศ. ๑๙๕๑) ซึ่งเป็นการแข่ง ในนามทีมชาติหลังจากกลับมาจากอังกฤษได้ ไม่นาน”
60
ทีม “รวมดาราอินโดจีน” ( All-Indochina) ถูกมองว่าเป็นทีมทีด่ ที สี่ ดุ ของเอเชีย ซึง่ ประกอบไปด้วยผู้เล่นชาวฝรั่งเศสจ�ำนวนมาก โดยทัง้ หมดมีขนาดรูปร่างทีใ่ หญ่และน�ำ้ หนักตัว มากกว่าพวกเรา แต่พวกเขาก็ยงั สามารถเล่นได้ อย่างรวดเร็ว การแข่งขันครัง้ นีห้ นักมากส�ำหรับ พวกเรา ทีเ่ พิง่ รู้ว่า ความหนักในเกมนัน้ มีความ ส�ำคัญอย่างไรต่อทีมรักบี้ “การแข่งในครั้งนี้เริ่มเล่นในตอนบ่าย ของเดือนตุลาคม ผมเล่นเป็นปีกและทั้งสนาม ถูกล้อมรอบไปด้วยผู้ชมที่มากันแน่นขนัด ซึ่ง เห็นว่าการแข่งในครัง้ นีเ้ ป็นการแข่งขันทีย่ งิ่ ใหญ่ มากในไซง่อน” “เมื่อการแข่งขันเริ่มต้นขึ้น ผู้เล่นชาว ฝรั่งเศสสร้างความประหลาดใจต่อพวกเรา มาก เมื่อพวกเขาเล่นแถวทุ่ม ปาลูกเข้ามาใน ด้านในสุด และส่งผ่านบอลในทิศทางพุ่งตรง แต่ย้อนไปด้านหลัง วิธีการแบบนี้พวกเราไม่ เคยรู้มาก่อนเลย พวกเราพยายามหาทางแก้ โดยใช้การเล่นโต้กลับฝ่ายตรงข้าม แต่ก็ยัง โดนน�ำอยู่ ๑๑-๐ จุด (๒ ทรัย ๑ ลูกโทษ) จนกระทั่งหมดครึ่งแรก พวกเรายังไม่สามารถ ตอบโต้อะไรได้เลย” “ในช่วง ๑๕ นาทีแรกของครึ่งหลัง ผม ได้บอลจากการจ่ายเร็วของ สกรัมฮาล์ฟ ซึ่ง หยิบบอลออกมาจากสกรัม ห่างจากเส้นทรัย ๕๐ หลา ผมวิ่งด้วยความเร็วที่น่าจะเป็นสถิติ สูงสุดของประเทศไทยในเวลานัน้ ได้เลย ผม อาศัยการวิง่ ซิกแซกหลบหลีกคูต่ อ่ สู้ ทีพ่ ยายาม
เข้ามาแท็คเกิ้ลผมได้ ๓ คน และผมก็หลุด เข้าไปวางทรัยได้ส�ำเร็จ ทรัยนี้เป็นคะแนนแรก ของทีมเรา แม้ทรัยนีจ้ ะไม่ใช่จดุ เปลีย่ นของการ แข่งขันครัง้ นี้ เพราะฝ่ายตรงข้ามยังน�ำเราอยู่ ๘ จุด (สมัยนัน้ วางทรัยได้ ๓ จุด เตะเปลี่ยนได้ อีก ๒ จุด – ผู้แปล) แต่อย่างไรก็ตามทรัยนี้ ท�ำให้ทีมเรายังคงมีความหวังที่จะชนะอยู่” “หลังจากนัน้ อีกเพียงแค่ ๕ นาทีถัด มา ทีมเราก็สามารถท�ำคะแนนเพิ่มได้จากการ วางทรัยและเตะเปลี่ยนประตู คะแนนจึงตาม มาอยู่ที่ ๑๑-๘ จุด ฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นคน ฝรั่งเศสได้เปรียบทางด้านรูปร่างและน�้ำหนัก ก็พยายามโหมบุกพวกเรามากขึ้น ทันใดนั้น ผูเ้ ล่นขนาดตัวก�ำย�ำเท่ายักษ์วดั แจ้งวิง่ หลุดแนว รับฝ่ายเรามาได้ และก�ำลังวิ่งตรงไปวางทรัยที่ กลางโกล์ ผมวิ่งตามหลังไปด้วยความเร็วเต็ม ก�ำลัง ที่ผมคิดว่าตัวเองไม่น่าจะท�ำได้มาก่อน และผมแน่ใจว่าความเร็วในการวิ่งครั้งนัน้ ต้อง ท�ำลายสถิติประเทศไทยในการวิ่ง ๑๐๐ เมตร อย่างแน่นอน ผมวิ่งสับเท้ามาจากระยะที่ไกล พอสมควร แล้วมุ่งตรงเข้าแท็คเกิ้ลเจ้ายักษ์ตัว นีไ้ ด้กอ่ นทีม่ นั จะหลุดเข้าไปวางทรัย และเราทัง้ คู่ก็ล้มลงไปท�ำให้เจ้ายักษ์ท�ำบอลกระเด็นหลุด ออกจากมือไปออกที่เส้นข้างสนาม เป็นอันว่า ทีมเรารอดพ้นจากการเสียทรัย” “สามนาทีกอ่ นหมดเวลาการแข่งขัน ทีม ของเราสามารถผ่านบอลได้อย่างยอดเยีย่ ม การ เคลือ่ นตัวจ่ายบอลออกไลน์ไปจนสุดปีกของเรา และก็ไม่ท�ำให้ทีมผิดหวัง เมื่อปีกของทีมเรา
สามารถวิ่งเข้าไปวางทรัยในบริเวณใกล้ๆ กับ เสาโกล์ ซึ่งพวกเราก็ไม่พลาดโอกาสที่จะพลิก ขึ้นมาน�ำคู่ต่อสู้ ด้วยคะแนน ๑๓-๑๑ จุด และ ด้วยช่องว่างของคะแนนที่ทีมเราน�ำเพียงเล็ก น้อย ก็ท�ำให้ ๒ นาทีสุดท้ายเป็นช่วงเวลาที่ทีม เราต้องสูเ้ ต็มทีเ่ พือ่ ยันคะแนนนีเ้ อาไว้จนจบการ แข่งขัน และสุดท้ายทีมเราก็เป็นฝ่ายชนะ การ แข่งขันนัดนี้เป็นการแข่งที่ท�ำให้ผมรู้สึกตื่นเต้น มากที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะผมไม่เคย เล่นรักบี้ในการแข่งขันที่เร้าใจขนาดนี้มาก่อน ชีวิตการเป็นนักกีฬารักบี้เลย” ในปัจจุบัน รายการแข่งขันที่ส�ำคัญ ที่สุดของสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย คื อ การชิ ง ถ้ ว ยวชิ ร าลงกรณ์ กั บ ที ม รั ก บี้ มาเลเซีย ซึง่ รายการนีจ้ ะจัดการแข่งขันกันทุกๆ ๒ ปี และในการแข่งครั้งแรกทีมชาติไทยก็ สามารถคว้าชัยเหนือทีมมาเลเซียอย่างขาดลอย ถึง ๔๗-๖ จุด ในการแข่งครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (ค.ศ. ๑๙๕๖) ที่มาเลเซีย อรุณฯ ได้เข้ามารับ ต�ำแหน่งผูฝ้ กึ สอนทีมชาติไทยเป็นครัง้ แรก และ ทีมชาติไทยก็ท�ำผลงานได้อย่างไม่น่าผิดหวัง เมื่อเอาชนะทีมมาเลเซียไปเบาะๆ ๖-๐ จุด การ แข่งครั้งที่ ๓ จัดที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ (ค.ศ. ๑๙๕๘) และก็เป็นอีกครั้งที่ทีมไทยยัง ตอกย�ำ้ ชัยชนะได้ ครั้งที่ ๔ จัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐) คราวนี้เล่นที่สิงคโปร์ (ซึ่งเวลานัน้ ยังมิได้แยกออกไปจากสหพันธรัฐ มลายู – ผูแ้ ปล) เสมอกันไป ๐-๐ จุด ครัง้ ล่าสุด มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 61
ครั้งที่ ๕ ทีมไทยกลับมาคว้าชัยชนะได้เหมือน เดิม และครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่ประเทศมาเลเซีย เมื่อสิบห้าปีก่อน อรุณฯ คือสุดยอด นักกีฬาชั้นแนวหน้าของเมืองไทยที่ผู้คนจดจ�ำ ในความสามารถทางการกี ฬ าหลากหลาย ประเภท เป็นทั้งนักกีฬารักบี้และฟุตบอล และ ยังเป็นนักกรีฑาอีกด้วย จนกระทั่ง โรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจ�ำแห่ง แรกของประเทศไทยที่ จั ด การแข่ ง ขั น รั ก บี้ ภายในโรงเรียนเป็นแห่งแรกได้เชิญอรุณฯ เข้า มารับต�ำแหน่งผู้ฝึกสอนทีมรักบีว้ ชิราวุธฯ และ ในปีต่อมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เชิญให้ อรุณฯ ไปเป็นผู้ฝึกสอนทั้งทีมมหาวิทยาลัย และทีมสโมสร ในระหว่ า งที่ อ รุ ณฯ เล่ น รั ก บี้ ถึ ง จุ ด สูงสุด นัน้ เขายังเป็นนักฟุตบอลดาวเด่นให้ กับทีมฟุตบอลธรรมศาสตร์ฯ อีกด้วย และทีม ฟุตบอลธรรมศาสตร์ฯ ก็สามารถคว้าเกียรติยศ จากการชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลในรายการ ต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะการแข่งฟุตบอล ประเพณี ระหว่างจุฬาฯ กับธรรมศาสตร์ฯ ที่ จัดเป็นประจ�ำทุกปี ซึ่งอรุณฯ ก็ลงเล่นให้กับ ทีมฟุตบอลธรรมศาสตร์ฯ อยู่หลายปี เมืองในต่างประเทศทีแ่ รกทีท่ มี ฟุตบอล ไทยได้ไปเล่นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือ เมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ซึ่งอรุณฯ ได้ รับการคัดเลือกให้ติดทีมในครั้งนัน้ ด้วย โดย ลงเล่นในฐานะกัปตันทีม และยืนในต�ำแหน่ง
62
เซนเตอร์ฮาล์ฟ ซึง่ เป็นต�ำแหน่งทีส่ ำ� คัญของทีม เมื่ อ สมาคมนั ก การธนาคารได้ จั ด รายการแข่งขันฟุตบอลทัวร์นาเม้นต์ขึ้นครั้ง แรก อรุณฯ ก็ได้ลงเล่นให้กับทีมธนาคาร แห่งประเทศไทยในต�ำแหน่งศูนย์หน้า และก็ สามารถน�ำทีมคว้าแชมป์มาครองได้ เมื่อยี่สิบห้าปีที่แล้วเด็กชายอรุณฯ ใน วัย ๑๓ ปีได้มีโอกาสลิ้มรสชาติแห่งชัยชนะ ที่หอมหวานจากการแข่งขันวิ่งผลัด ๔ x ๘๐ เมตรในนามทีมอ�ำนวยศิลป์ ทีมชนะโดย อรุณฯ เริม่ รับไม้เป็นทีมสุดท้าย วิง่ ตามทีมอืน่ จากด้าน หลังและแซงเข้าเส้นชัยเป็นทีมแรก นับตั้งแต่นั้นมาความส�ำเร็จในการวิ่ง แข่งของครูอรุณฯ ก็สร้างชื่อเสียงได้ไม่น้อยไป กว่าการชนะในการแข่งกีฬาประเภทอื่นๆ ใน ระหว่างที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อรุณฯ ยังสามารถคว้าเหรียญทองในการวิง่ แข่ง ๑๐๐ เมตร ๒๐๐ เมตร ๔๐๐ เมตร วิ่งข้ามรั้ว ๑๑๐ เมตร กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด วิ่ง ผลัด ๔ x ๑๐๐ เมตร และ วิ่งผลัด ๔ x ๔๐๐ เมตร นอกจากนี้ อรุณฯ ไม่เพียงแต่คว้าเหรียญ ทองกี ฬ ามหาวิ ท ยาลั ย แต่ ยั ง สามารถคว้ า เหรี ย ญทองในการแข่ ง ขั น กี ฬ าระหว่ า ง มหาวิทยาลัย ทั้งในประเภทลู่และประเภท ลาน ทัง้ นีใ้ นบางรายการอรุณฯ ก็ไม่เคยแพ้เลย ตลอด ๔ ปีติดต่อกัน ในการแข่งกรีฑาแห่งประเทศไทยที่จัด ขึ้นที่สนามกีฬาแห่งชาติ อรุณฯ วิ่งเข้าเส้นชัย เป็นที่หนึง่ ในรายการ ๑๐๐ เมตรและ ๒๐๐
เมตร อย่ า งง่ า ยดาย ต่ อ มาได้ รับ เลือ กให้ เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งเอเชียนเกมส์ ครั้งแรกที่กรุงนิวเดลี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐) ในการแข่งครั้งนัน้ อรุณฯ วิ่ง ๑๐๐ เมตรเข้าเส้นชัยด้วยเวลา ๑๑ วินาที แต่ยังดีไม่ พอเมือ่ คูแ่ ข่งชาวอินเดียชือ่ นายปินโต (L.Pinto) สามารถวิ่งเข้าเส้นชัยด้วยเวลา ๑๐.๘ วินาที คว้าเหรียญทองไปครอง อรุณฯ เล่าให้ฟังว่า “ช่วงเวลาทีผ่ มภาค ภูมใิ จมากทีส่ ดุ ในชีวติ คือการทีไ่ ด้รบั เลือกจาก คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยให้ เป็นตัวแทนนักกีฬาจากประเทศไทยเมื่ออายุ ๒๗ ปี ไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งลงแข่งใน รายการวิ่ง ๑๐๐ เมตร ซึ่งสถิติที่ดีที่สุดของผม
ที่เคยท�ำได้ คือ ๑๐.๘ วินาที” “แต่เมือ่ ไปถึงกรุงเฮลซิงกิผมวิง่ ได้เพียง ๑๑.๒ วินาที และเป็นที่แน่นอนว่า ผมไม่มี โอกาสที่จะชนะได้เลย ในเมื่อคนที่ได้เหรียญ ทองวิ่งเข้าเส้นชัยด้วยเวลา ๑๐.๔ วินาที” อรุณฯ ถือก�ำเนิดเมือ่ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่อำ� เภอเสนา จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา เป็นบุตรคนที่ ๒ ของนายหลุยส์ แสนโกศิก อรุณฯ เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียน ประจ�ำจังหวัดอ่างทอง หลังจากจบมัธยมปีที่ ๓ (เทียบได้กับประถมศึกษาปีที่ ๗ หรือมัธยม ปีที่ ๑ ในปัจจุบัน – ผู้แปล) อรุณฯ ก็ไปเข้า เรียนต่อที่โรงเรียนอ�ำนวยศิลป์จนจบมัธยม ปีที่ ๖ (เทียบได้กับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หรือ มัธยมปีที่ ๔ ในปัจจุบัน – ผู้แปล) แล้วเข้าไป
อรุณฯ พร้อมภรรยา (อภิรมย์ แสนโกศิก) และลูก (รุจ แสนโกศิก รุ่น ๔๕)
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 63
ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยวิชา ธรรมศาสตร์และการเมือง และเข้าคณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งอรุณฯ ใช้เวลาถึง ๑๐ ปี กว่าจะเรียนจบ เป็นบัณฑิต
ในตอนที่ยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย วิ ช าธรรมศาสตร์ แ ละการเมื อ งนั้น อรุ ณฯ ก็ได้แต่งงานกับสาวคณะบัญชีที่ชื่อ อภิรมย์ อุดมศิลป์และมีบุตรด้วยกันทั้งหมด ๓ คน บุตรชาย ๒ คน บุตรสาว ๑ คน เมื่อหม่อมหลวงพันธ์ ศิริวงศ์ ๑ เสีย ชีวิต อรุณฯ ก็ได้ตอบรับข้อเสนอให้เข้ามาเป็น ผูก้ ำ� กับคณะจิตรลดา ทีโ่ รงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน อรุณฯ ก็อาศัยอยู่กับ ครอบครัวและสอนเด็กวชิราวุธฯ เล่นกีฬาทุกชนิด นอกจากนี้ อรุณฯ ยังด�ำรงต�ำแหน่ง กรรมสัมปาทิกของสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่ง ประเทศไทย (ค�ำว่า “กรรมสัมปาทิก” เป็นศัพท์ เก่า แปลว่า กรรมการสมาคม – วรชาติ) และ ยังคงเป็นผูฝ้ กึ สอนรักบีอ้ กี ด้วย อรุณฯ ได้อทุ ศิ เวลาและแรงกายแรงใจอย่างมากเพือ่ ทีฝ่ กึ สอน รักบี้ให้แก่ทีมชาติไทย ซึ่งจะมีกำ� หนดการแข่ง ที่ฮ่องกง วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ นี้ กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) แปล
๑ ผูก้ ำ� กับคณะจิตรลดาคนก่อนครูอรุณฯ คือ ม.ล.พันธ์ ศิรวิ งศ์ ท่านผูน้ เี้ ป็นนักเรียนเก่าอังกฤษ ได้รบั ราชการใน กระทรวงศึกษาธิการมาโดยตลอด เคยเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ลาออกจากราชการ มาเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาที่วชิราวุธวิทยาลัยและเป็นผู้ก�ำกับคณะจิตรลดาเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๙๑ ภายหลัง จากที่พระประทัตสุนทรสาร (เหล่ง บุณยัษฐล) อาจารย์ใหญ่และผู้ก�ำกับคณะจิตรลดาคนเดิมย้ายไปเป็น ผู้ดูแลนักเรียนไทยที่สหรัฐอเมริกา ม.ล.พันธ์ คงเป็นอาจารย์ใหญ่และผู้กำ� กับคณะจิตรลดามาจนถึงแก่กรรม เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ในระหว่างที่ทีมรักบี้วชิราวุธวิทยาลัยเดินทางไปแข่งขันกับมาเลย์คอลเลจ เมื่อคณะเดินทางกลับจากมาเลย์แล้ว พระยาภะรตราชา ผู้บังคับการจึงได้ออกค�ำสั่งให้ครูจิต พึ่งประดิษฐ์ มา รักษาการผู้กำ� กับคณะจิตรลดาจนสิน้ ปีการศึกษา ๒๕๐๔ แล้วคณะกรรมการอ�ำนวยการโรงเรียนจึงได้มมี ติให้ ครูจิตไปด�ำรงต�ำแหน่งผู้กำ� กับคณะพญาไทแทนหลวงโศภณพิทยาภรณ์ (ม.ล.อุไร อิศรเสนา) ที่ลาออกไป และแต่งตั้งครูอรุณ แสนโกศิก เป็นผู้ก�ำกับคณะจิตรลดามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๐๕ และคงเป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองนักเรียนและผู้ก�ำกับคณะจิตรลดามาจนเกษียณอายุเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๒๙ โดยมีพี่เสฯ พ.ต.ท.เสรี ปัจจักขภัติ มารับต�ำแหน่งแทนตั้งแต่ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ –ข้อมูล จาก วรชาติ มีชูบท รุ่น ๔๖
64
ALL GENTLEMEN
CAN LEARN บ่ายเพลินกับซีอีโอแนวหน้า ของเมืองไทย
วันเสาร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. ณ บริษัท สยาม แอดมินนิสเทรทีฟ แมเนจเม้นท์ จ�ำกัด (SAMCO) ๓๑๓ ซอยรามค�ำแหง ๒๑ (นวศรี) แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๑๓๐ ส�ำรองที่นงั่ ได้ที่ คุณแอร์/คุณจวน โทร ๐๒-๒๔๑-๓๐๕๙ (แผนที่ด้านหลัง)
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 65
นับจากวันนัน้ ถึงวันนี้ จากวันที่พวกเขาเหล่านัน้ นอน เรียน เล่น ด้วยกันพวกเขาได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ ใดบ้างจากโรงเรียน ที่ทำ� ให้ก้าวเดินในสายอาชีพมาถึงจุดที่ต่างคนอยู่ในโลกแห่งธุรกิจ ขอเชิญโอวีทั้งรุ่นใหม่และเก่ามาร่วมฟังความรู้และประสบการณ์ ของซีอีโอระดับแนวหน้าของไทยที่หาฟังไม่ได้ที่ อื่นในโลก ในสถานที่ที่เหมือนยกตึกขาวมาวางไว้นอกโรงเรียน...
พี่เอ๊าะ อายุทธ นาครทรรพ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม แอดมินิสเทรทีฟ แมเนจเม้นท์ จ�ำกัด (SAMCO)
พี่เตา บรรยง พงษ์พานิช
ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จ�ำกัด (มหาชน)
พี่หนู พงษ์พินติ เดชะคุปต์
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จ�ำกัด (มหาชน)
พี่กิ้ม พงษ์ศักดิ์ ผลอนันต์
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท
พี่เป๋ง
ประธานกรรมการบริหาร บงล. เกียรตินาคิน
ถ. เทียนรวมมิตร
แยกรัชดา-หวยขวาง แยกรัชดา-ลาดพราว
ถ. ประชาอุทิศ
Golden Place ไปบางนา-ดาวคะนอง
SC Park รานตนซุง รามคำแหง 21
SAMCO
ถ.ประเสริฐมนูกิจ
ทางดวนเอกมัย-รามอินทรา
สน. วังทองหลาง
รามคำแหง 39
ถ. พระราม 9
ศูนยวัฒนธรรม แหงประเทศไทย
โรบินสัน
ถนนรามคำแหง
66
ถ. ลาดพราว
ฟอรจูน แยก อ.ส.ม.ท. ถ.รัชดาภิเษก
บ้านสีฟ้า 111
ความสนุกสนานในห้องคอมมอนรูม
วันอาทิตย์ เป็นวันที่แสนสบายส�ำหรับ เด็กๆ ในคณะผู้บังคับการ หลังจากสวดมนต์ ท�ำวัตรเช้าบนหอประชุมเรียบร้อย ก็แทบไม่มี กิจกรรมอะไรทั้งวัน แม้แต่การเข้าแถวกีฬาก็ เถอะ วันนีก้ ็ไม่มีครับ ถ้าจะมีก็เช่น การซ้อมระเบียบแถว เป็นต้น แม้จะเป็นกิจกรรมที่ดูน่าเบื่อส�ำหรับ เด็กๆ (ในตอนนัน้ ) แต่เมือ่ เวลาผ่านไป มานึกๆ ดู เป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์มากๆ ครับ ถามว่า แล้วเด็กๆ ท�ำอะไรกัน? เด็ก บางคนเลือกจะหาสถานที่ชารจ์แบต นอนตาม ศาลาบริเวณหลังคณะ ในขณะทีบ่ างคนเลือกที่ จะออกไปนอนข้างนอกคณะมากกว่าครับ ไม่ ว่าจะเป็นใต้ถุนหอประชุม ที่ลมเย็นสบายมาก
หรือ ตามห้องสมุดที่มีแอร์เย็นดี (ออกมานอก คณะ เพื่อหนีการเรียกใช้จากรุ่นพี่ครับ หรือที่ เรียกว่า “หมาแก่” นัน่ เอง ๕๕๕) แต่ก่อนหน้าที่จะออกไปได้นั้น เด็ก ใหม่และเด็กเก่าก็ต้องช่วยกัน “ท�ำคอม” คอม ที่ว่าไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์นะครับ แต่ย่อมา จากคอมมอนรูม เป็นห้องส�ำหรับจัดงานคณะ ในเดือนพฤศจิกายน เป็นห้องส�ำหรับดูทีวี ดู หนังในคณะ และเป็นห้องนอนพักผ่อนของ เด็กๆ อีกเช่นกัน!! (การนอนเป็นการพักผ่อน ที่ดีที่สุดครับ ๕๕) เริ่มจากการกวาดเศษขยะ จากนัน้ หา ผ้ามาคนละผืน ชุบน�ำ้ แล้วถูบริเวณพื้นที่แสน สกปรก (เนื่องจากเปิดสัปดาห์ละครั้งนัน่ เอง) มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 67
ใครอยากจะดูทีวีก็ตามอัธยาศัยครับ ส่วนใครที่อยากจะออกไปนอกคณะก็เช่นกัน แต่ต้องกลับมาทานข้าวกลางวันให้ทนั นะ (ทาน เสร็จก็ค่อยออกไปใหม่) เห็นไหมครับ แม้จะเป็นวัน “ฟรีเดย์” แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ กฎ ระเบียบนะ ย้อนไปช่วงตื่นนอนตอนเช้าหน่อยนะ ครับ ส�ำหรับ “เด็กใหม่” ในวันอาทิตย์ ก็ต้อง ตื่นประมาณตีสี่ มาท�ำเวร (ค�ำว่า “เวร” ย่อมา จากเวร ท�ำความสะอาดครับ ไม่ใช่เด็กเวรนะ ๕๕๕) แต่จะพิเศษหน่อยตรงที่ วันอาทิตย์จะ เป็นวันที่ต้องท�ำความสะอาดมากกว่าวันปกติ และมีหัวหน้าเวรมาคุมการท� ำงานของเด็กๆ ด้วย (หัวหน้าเวร เป็นเด็กชั้นอาวุโสที่สุด ซึ่งก็ คือ ชัน้ ม. ๓ โดยแต่งตัง้ มาจากพีห่ วั หน้าคณะ) หากการท�ำเวรไม่สะอาด นอกจากเด็กๆ จะซวยแล้ว หัวหน้าเวรก็ไม่รอดสันดอนครับ จึงต้องหาคนที่มี Power ที่สามารถควบคุม เด็กๆ ได้ มาเป็นหัวหน้าเวร (ส่วนใหญ่จะเป็น คนที่ตัวใหญ่ๆ และเสียงดังๆ ครับ) ถามว่า มีบอ๋ ยควายและทีมงานอยูแ่ ล้ว (คงยังจ�ำกันได้กับตอนแรกที่ผมเขียนนะครับ ๕๕) แล้วจะให้เด็กๆ มาท�ำความสะอาดคณะ อีกท�ำไมกัน? นีค่ อื เสน่หข์ องระบบในโรงเรียนประจ�ำ ครับ ก่อนทีจ่ ะเป็นผูน้ ำ� ก็ตอ้ งเป็นผูต้ าม ก่อนจะ สบายก็ต้องล�ำบากมาก่อน เด็กบางคนไม่เคย ซักผ้า ไม่เคยถูบ้าน ไม่เคยกวาดบ้าน ก็มาท�ำ
68
เป็นที่นี่แหละครับ ผมมัน่ ใจได้ลา้ นเปอร์เซนต์วา่ กระบวน การเช่นนี้ ช่วยขัดเกลาให้เด็กในวันนี้ เป็น ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในวันหน้า และเป็นสุภาพ บุรุษทั้งกาย วาจา ใจ จะมีก ารแบ่ ง หน้ า ที่กันท� ำ ครับ เช่ น ฟักกับหยะแหยง ท�ำความสะอาดที่ห้องตู้เด็ก กระท่อกกับเด้าเก่า ท�ำความสะอาดที่ห้อง เพรบใหญ่ วุ้นกับมอย ท�ำความสะอาดที่ห้อง ตูใ้ หญ่ อ�ำ่ เมาะกับอีแอกท�ำความสะอาดทีห่ อ้ งพี่ ม. ๗ ส้มวัวกับโรตี ท�ำความสะอาดปีกหัวหน้า ติ๋มหลิ๋มกับบักบานท�ำความสะอาดปีกปาเก้ กระสาบ ไข่นยุ้ ทองไหล ชูฮวย ท�ำความสะอาด รอบคณะ (อันนีซ้ วยสุดๆ ครับ ขยะก็เยอะ แอบนอนก็ไม่ได้ ซวยจริงๆ) เป็นต้น บริเวณพืน้ ห้องต่างๆ ก็ตอ้ งล้างด้วยน�้ำ ครับ ไม่เว้นแม้แต่หน้าคณะ ที่เรายืนเข้าแถว (เวลาพี่หัวหน้าสั่นระฆัง) ถ้าแห้งไม่ทันจะท�ำ อย่างไร(ตอบง่ายๆ ก็ซวยซิครับ) แต่มวี ธิ ที ที่ ำ� ให้แห้งได้ ในเวลาทีร่ วดเร็ว สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น คือ การเปิดพัดลม เพดาน ซึ่งมีความแรงและเย็นสบาย ส่วน บริเวณด้านหน้าคณะ ที่ไม่มีพัดลม ก็ให้เด็กๆ จับคู่กัน ถือผ้าเช็ดตัวคนละด้าน โบกไป โบก มา เท่านี้ พื้นก็แห้งได้โดยง่ายครับ คราวนี้ ไม่สงสัยใช่ไหมครับ ว่าท�ำไม วันอาทิตย์ เด็กๆ ถึงต้องหาที่นอน พักผ่อน
กลับมาต่อครับ หลายท่านอาจสงสัยว่า ถ้าเด็กๆ ออกไปนอกคณะหมดทุกคน รุ่นพี่จะ เรียกใช้เด็กๆ ได้อย่างไร? ข้อนี้ ไม่ตอ้ งห่วงครับ ยังพอมีเด็กเหลือ อยู่บ้างในคณะ แม้จะน้อยก็เถอะ หากไม่มี ก็ จะมีคนออกไปตามที่นอกคณะมาเอง ระบบมีการถ่วงดุลกันเสมอครับ จึง ต้องมีเด็กผู้เสียสละ อยู่ในคณะให้รุ่นพี่ใช้บ้าง อาจจะมีการนอนตามห้องตู้บ้าง (ตู้เสื้อผ้า) แม้ จะดูอนาถาแต่ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด (จะ บอกว่าพื้นห้องตู้เย็นสบายครับเพราะเป็นพื้น หินขัดน่ะ)
หลังจากรับประทานอาหารเย็น ก็จะ ไม่มีการเข้าเพรบ (ย่อมาจาก Preparation) เป็นห้องส�ำหรับท�ำการบ้าน เตรียมตัวส�ำหรับ บทเรียนในวันรุ่งขึน้ ซึง่ จะมีกจิ กรรมนอกคณะ คือ หนังกลางแปลง (ไม่ใช่ผีจ้างหนังนะ ๕๕๕) เด็กแต่ละคนถือกระดาษหนังสือพิมพ์ ถือ ไฟฉาย และขนม ซึ่งผมชอบมาก เสียดายว่า หลังๆ ไม่มีแล้ว เด็กๆ ส่วนมากจะไปดูหนังกลางแปลง ครับ มีเพียงบางคนที่อาจจะอยู่ที่ห้องเพรบ ท�ำการบ้านที่ยังค้างอยู่ก็ได้ (รายละเอียดและ ความสนุกเรื่องการดูหนังกลางแปลง ไว้ผมจะ เล่าให้ฟังในฉบับถัดๆ ไปครับ)
งานคณะ จะมี ขึ้ น ในคื น วั นที่ ๒๕ พฤศจิกายน ของทุกปี โดยพระเอกอยู่ที่ห้อง คอมมอนรูมแน่นอนครับ ภายในคืนเดียว ห้อง คอมมอนรูมที่แสนจะธรรมดา เปลี่ยนภาพ ลักษณ์เป็น เธค อย่างรวดเร็ว บรรดาเครื่อง เสียงคุณภาพดีเสียง ไฟดิสโก้ แวววับ ไม่แพ้ สถานบันเทิงข้างนอกก็แล้วกัน ก่ อ นวั นงานหลายสั ป ดาห์ บริ เวณ หน้าต่างของห้องคอมมอนรูมจะถูกปิดโดยผ้า สีดำ� เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ เห็น (เดี๋ยวจะไม่ ตื่นเต้น) โดยมีรุ่นพี่เข้าไปตกแต่ง เรียกว่า ใคร มีฝีมือก็เอามาใช้กันได้เลย ไม่ว่าจะเป็นงาน ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ความคิดสร้างสรรค์
ของพี่ๆ นี่แหละ เป็นส่วนหนึง่ ที่ท�ำให้งานนี้มี สีสันขึ้นมา อีกสีสันที่ขาดไม่ได้ คือ เด็กๆ ในคณะ ครับ ชัน้ เด็กตัง้ แต่ ป. ๖ – ม. ๓ จะต้องฝึกซ้อม ละครหรือจะซ้อมเต้นประกอบเพลงก็ได้ มา แสดงในงานคณะ เพื่อท�ำให้ทุกคนมีส่วนร่วม กับงาน และในบางปี ท่านผู้บังคับการก็ให้ เกียรติเข้ามาชมการแสดงด้วยตนเองครับ “ขออนุญาตซ้อมละคร ครับ” ไม่แปลกใจ ว่า จะมีเด็กๆ หลายคน ขออนุญาตพี่หัวหน้า ลงมาซ้อมละครด้านล่าง หลังสวดมนต์เสร็จ “ได้ แต่อย่าเกิน ๕ ทุ่มนะ”
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 69
เมื่อถึงวันงาน ที่สนามบาสข้างคณะ ช่วงเย็นจะมีการออกร้าน ซึ่งมีอาหารมาออก ร้านอยู่หลายเจ้าครับ อร่อยๆ ทั้งนั้น เช่น ข้าวมันไก่ บะหมี่หมูแดง เป็นต้น ส่วนบางปีก็ เป็นโต๊ะจีนก็มีครับ งานคณะจะมีชื่อแตกต่างกันครับ แล้ว แต่พี่ๆ จะตั้ง เช่น Young soul rebel, Harmony, Zeninz เป็นต้น และแล้ว ก็ถึงเวลา “เปิดคอม” เด็กๆ ทุกคน จะตื่นเต้นมากๆ ครับ เพราะอยากเห็น มานานแล้ว ว่าห้องที่พวกเขาใฝ่ฝัน อยากเห็น ร่วมหลายสัปดาห์ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง เสียงเพลงดังขึ้น พร้อมกับไฟดิสโก้ ตัดกับสีสะท้อนแสงที่ทาบนพื้น ควันสีขาวที่ ออกมา เหมือนคอนเสิร์ตใหญ่ สุดยอดจริง!!! ก่อนการแสดงจะเริ่มขึ้น เด็กใหม่ ต้อง ออกมาแนะน�ำตัวให้รุ่นพี่รู้จักทีละคน โดยมี พิธีกร คอยถามค�ำถาม เช่น ชื่ออะไร? (๕๕๕๕ ไม่ใช่ชื่อที่บ้านครับ แต่เรียกว่า “ฉายา” ที่ถูกพี่ๆ ชั้นโต ตั้งให้ใหม่ และส่วนใหญ่ก็ใช้ชื่อนีก้ ันจนถึงปัจจุบันครับ) ท�ำไมถึงเข้ามาที่คณะนี้? / มีพี่สาว ไหม? (ถ้ามีจะได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง ครับ) / พี่สาวมีแฟนหรือยัง? เรียกเสียงเฮฮา ลั่นห้องคอมรูม ส่วนใคร ถ้าเป็นที่รักของพี่ๆ จะถูก แกล้งครับ เช่น กระท่อกตอบค�ำถามได้ฝดื มาก จะมีรองเท้าแตะลอยมาจากทั่วสารทิศ (บางที ก็มีรองเท้าคอมแบทหรือรองเท้าที่เรียนรักษา ดินแดน) ลอยมาด้วย เรียกเสียงฮาได้เช่นกัน จากนัน้ จะเป็นการแสดงของแต่ละชั้น ซึ่งถ้าเป็นการเต้นจะไม่ค่อยมีเสียงเฮฮาเท่าไร
70
(เพราะถูกเสียงเพลงกลบ) แต่ถ้าเป็นละคร จะ มีเสียงฮาโดยตลอดครับ ท�ำไมน่ะหรือ? หนึง่ ในการแสดงนัน้ คือ การแสดงที่ ล้อเลียนรุ่นพี่ ซึ่งเด็กๆ ไม่กล้าหรอกครับ (ช่วง ซ้อมละคร จะมีพี่ๆ เข้ามาตรวจดู บางครั้ง ก็เปลี่ยนบทให้เลย เช่น จากนักเขียนการ์ตูน ธรรมดา กลายเป็นนักเขียนการ์ตนู โป๊ มีมขุ ตลก สอดแทรกแทนมุขฝืดๆ เปลีย่ นชือ่ ตัวละครเป็น ชื่อรุ่นพี่ เป็นต้น เรียกว่า จากทีเ่ ด็กๆ ก�ำกับเอง แสดงเอง แล้วเสีย่ งต่อการถูกรองเท้าแตะ กลายเป็นเสียง เฮ เสียงหัวเราะ จากทุกๆ คนครับ อย่างเพื่อนผมที่ชื่อบักบาน แค่คำ� พูด เดียว ท�ำเอาพีๆ่ ข�ำทัง้ ห้องครับ ตอนนัน้ บักบาน แสดงเป็นบ๋อยควาย เดินมาที่โถเยี่ยว (โถฉี่) แล้วบอกว่า “ต๊าย ใครมีขี้ในโถเยี่ยว เนี่ย” ค�ำพูดนี้ ต้องให้บักบาน ผู้มีบุคลิกเฉพาะตัวท�ำคนเดียว ครับถึงจะข�ำ ๕๕๕ ละครแต่ละชัน้ จบ ก็เปิดเพลงให้แดนซ์ กันครับ ซึ่งบางคนก็ไม่ได้นอนเลยก็มี วันรุ่ง ขึ้นจึงไม่มีกิจกรรมใดๆ ครับ ใครตื่นก็ตื่น ใคร จะนอนต่อก็ได้ บางคนตื่น หกโมงเย็นเลยก็มี ถือว่าเป็นวันปล่อยผีครับ(ใครตืน่ ก่อน ก็ตอ้ งมา ช่วยกันเก็บกวาดเศษขยะในห้องคอมด้วยนะ) ทั้งหมดที่ผมเล่ามา เป็นแค่ส่วนหนึง่ ในความสนุกสนานในห้องคอมมอนรูมครับ ยังมีความสนุกอีกมากมาย ซึ่งผมยังจ�ำได้และ ทุกคนก็จำ� ได้ ทั้งหมด ยังอยู่ในความทรงจ�ำเสมอมา ครับ ภพ พยับวิภาพงศ์ (รุ่น ๗๑)
โรงเลี้ยง
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 71
ร้านชิมิ สวัสดีชาวอนุมานวสาร ทุกท่านค่ะ ใน ช่วงไม่กี่เดือนมานี้หลายๆ คนคงรู้สึกได้ว่าลม หนาวได้มาเยี่ยมเยือนเรากันบ้างแล้วใช่มั้ยค่ะ แล้วอากาศหนาวๆ อย่างนีจ้ ะมีอะไรดีกว่าการ ได้กนิ อะไรร้อนๆ ละค่ะ อย่ากระนัน้ เลยอนุมาน วสารฉบับนี้ ขอพาทุกท่านไปเพิ่มความอบอุ่น ด้วยการลิ้มชิมรสชาบู ชาบูร้อนๆ ของชาวโอวี ที่ ร้าน “ชิมิ” กันเลยค่ะ เมื่อแรกเดินเข้ามาในร้านก็พบกับคุณ อาเอ๋ย - ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รุ่น ๔๔ จากคณะพญาไทอดีตวิศวกรซึง่ ตอนนีผ้ นั ตัวมา เปิดร้านอาหารด้วยใจรัก มาต้อนรับและพาพวก เราเข้าไปในร้านซึ่งต่อเติมจากหลังบ้านของคุณ อาเอง ในร้านจึงให้บรรยากาศอบอุ่นและเป็น กันเอง และทีน่ กี่ ไ็ ม่ได้มแี ค่ ชาบู ชาบู เท่านัน้ นะ คะ ท่านใดที่อยากจะกินแบบปิ้งย่าง (ยากินกิ ุ) ก็มีให้แถมยังเป็นที่นงั่ ในสวนสวยอีกด้วย พวกเราก็ไม่รอช้าคว้าเมนูขึ้นมาแล้วก็ พบว่ามีทั้งเนื้อ หมู ไก่ เครื่องใน ให้พวกเรา เลือกสรรแทบทุกส่วน ไม่วา่ จะเป็นส่วนสันนอก สันใน เนื้อลาย ตับ หัวใจ และเมื่อสั่งไปได้ไม่ นานของจริงก็เริม่ ทยอยมาเสิรฟ์ ถึงโต๊ะ แต่กอ่ น ที่เนื้อชิ้นแรกจะได้ลงไปในหม้อนัน้ หนึง่ ในทีม
72
อนุมานฯ ก็ได้บอกพวกเราว่าหลักการกินชาบู ชาบูแบบญี่ปุ่นของแท้และดั้งเดิม นัน้ ก็คือการ จิ้มเนื้อลงไปในหม้อพร้อมกับพูด “ชาบู ชาบู” แล้วให้รีบเอาเนื้อขึ้นโดยพลันเมื่อพูดจบ แต่ กระนัน้ เลย เมื่อเนื้อและผักต่างๆ ได้เรียงราย กันตรงหน้าเริ่มละลานตาไปหมด แต่ละคน ก็เริ่มพูดกันน้อยลงเพราะมีภารกิจรัดตัวทั้ง เด็ดผัก จิ้มหมู เนื้อลงหม้อกันสนุกสนาน และ เมื่อหมูค�ำแรกได้เข้าปากไปนัน้ ก็เรียกได้ว่าเนื้อ แทบละลาย ไปในค�ำแรกที่เคี้ยวทีเดียวเลยค่ะ เพราะเนื้อที่นี่สไลด์ได้บางก�ำลังดี ด้วยความทีค่ ณ ุ อาเอ๋ยชอบกินชาบู ชาบู จึงได้ลองกินมาหลายที่ แต่ก็ไม่มีที่ไหนสไลด์ เนือ้ ได้ถกู ใจเลย คุณอาจึงซือ้ เครือ่ งสไลด์เนือ้ มา สไลด์กนิ เองทีบ่ า้ นจนเกิดไอเดียเปิดร้านชิมติ าม มาภายหลัง และยิ่งเมื่อเนื้อสไลด์ที่บางก�ำลังดี นัน้ ได้พบกับน�้ำจิ้มที่มีให้เลือกหลายแบบด้วย กันทั้งน�้ำจิ้มงา น�้ำจิ้มชาบู ชาบูด�ำสไตล์ญี่ปุ่น และก็น�้ำจิ้มสุกี้ ซึ่งมีกระเทียม พริก มะนาว ไว้ให้ปรุงเพิ่มความแซ่บแบบไทยๆ มาเจอกับ น�้ำซุปใสที่ใช้ปลาในการเคี่ยวอีกก็บอกได้ค�ำ เดียวว่า ซึ – โค่ย!! (มากินอาหารญี่ปุ่นทั้งทีมัน ก็ต้องอุทานว่า “สุดยอด” เป็นภาษาญี่ปุ่นสิคะ)
นอกจากบุฟเฟ่ต์ ชาบู ชาบู แล้ว ทาง ร้านก็ยังมีเมนูอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ ที่น่ากินอีกนะ คะไม่ว่าจะเป็นซูชิหน้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้า ปลาดิบ ไข่หวาน กุ้ง ปลาหมึก สาหร่าย ฯลฯ พิซซ่าญี่ปุ่น โคร็อกเกะ ซึ่งซูชินที่ างร้านจะปั้น กันสดๆ ตามสั่งเลยค่ะ ไม่มีปั้นรอไว้ก่อนเลย ท�ำให้ซชู โิ ฮมเมดทีน่ สี่ ดใหม่ แถมยังปัน้ ได้พอดี
ค�ำ และถ้ากินอาหารญี่ปุ่น แล้วไม่มีชาเขียว มันก็เหมือนกินส้มต�ำไม่มีข้าวเหนียวใช่มั้ยคะ ส�ำหรับชาเขียวทัง้ ร้อนและเย็นของทีน่ จี่ ะมีกลิน่ หอมอ่อนๆ ของข้าวคัว่ ทีผ่ สมกันอย่างลงตัวให้ เราได้ชื่นใจกันอีกด้วย แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านีน้ ะคะ แม้จะ อิ่มกันมากจนบางคนต้องลุกขึ้นยืนบ้าง เดิน บ้างก่อนที่จะจุกจนหายใจไม่ออกกันไปก่อน แต่พอไอศกรีมสไตล์อิตาเลียนสูตรเด็ดของ ร้านมาเสิร์ฟ ก็สามารถเรียกพลังของเรากลับ มาได้อย่างไม่น่าเชื่อว่าไอศกรีมเกือบสิบลูกทั้ง รสช็อกโกแลต สมูทตีส้ ตรอว์เบอร์รที่ มี่ าพร้อม สตรอว์เบอร์รี่ชิ้นอวบ รัมเรซิ่น กาแฟ คุกกี้ แอนด์ครีม จะหมดลงไปได้ในเวลาอันรวดเร็ว ถือเป็นการปิดท้ายมือ้ พิเศษนีด้ ว้ ยความประทับใจ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 73
ส�ำหรับสนนราคาบุฟเฟ่ตช์ าบู ชาบูเสิรฟ์ ไม่อั้นนัน้ เพียงคนละ ๒๔๙ บาทและบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่างคนละ ๒๘๙ เท่านัน้ ซึ่งดูจากที่พวกเรา ได้กินไปในวันนี้แล้วเรียกได้ว่าคุ้มเสียยิ่งกว่า คุ้มจนแอบเกรงว่าเสาร้านอาเอ๋ยจะทรุดไปเล็ก น้อย อ้อ ! อีกอย่างหนึง่ คือที่นี่ไม่จ�ำกัดช่วง เวลาในการกินอย่างร้านบุฟเฟ่ต์ส่วนใหญ่ด้วย ค่ะ ชาวโอวีจึงสามารถมานัง่ สนทนาฮาเฮ ย้อน วัยสมัยยังเป็นนักเรียนได้จนหมดเรื่องคุยกัน เลยค่ะ ส่วนการเดินทางมาที่นกี่ ็สะดวกสบาย มากเพียงแค่ลงรถไฟฟ้าสถานีสะพานควายฝั่ง ตรงข้ามบิ๊กซี และเดินเข้ามาในประดิพัทธ์ซอย ๑๙ ประมาณ ๕๐ เมตร ร้านจะอยู่ทางขวามือ (แนะน�ำให้มาด้วยระบบขนส่งมวลชนจะสะดวก กว่า เพราะทางร้านมีที่จอดรถจ�ำกัด)
74
ส�ำหรับในวันจันทร์ – ศุกร์ทางร้านจะมีเวลา เปิดปิดนัน้ สองช่วงคือช่วง ๑๑.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. และอีกทีในช่วง ๑๗.๓๐ – ๒๓.๐๐ น. แต่ใน วันเสาร์ – อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะ เปิดทัง้ วันค่ะ ท่านใดต้องการทราบรายละเอียด เพิ่มเติมหรือจองโต๊ะล่วงหน้าสามารถติดต่อ ได้ที่โทรศัพท์ ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ หรือทาง e-mail: shimi_restaurant@hotmail.com นะค่ะและอาเอ๋ยยังยินดีมอบส่วนลดให้แก่ชาว โอวีเป็นพิเศษอีกด้วย เวลากินชาบู ชาบูคนเดียว มันก็เหงาแย่นะค่ะ อย่างไรก็อย่าลืมชวนเพือ่ นๆ หรือคนทีร่ ้ใู จไปกินด้วยกันเยอะๆ นะค่ะ จะได้ ร่วมกันสร้างความเฮฮาให้มื้อนี้ที่ชิมิได้กลาย เป็นมื้อที่อิ่มและสนุกยังไงละค่ะ น้องฟ้า กัญยดา วิชยั ธนพัฒน์ / เรือ่ ง - เฉลิมหัช ตันติวงศ์ (รุ่น ๗๗) / ถ่ายภาพ
ห้องสมุด ชวนฟังเพลง โอวีบรรเลง
ฝากใจมาในเพลง With All Our Hearts เดี่ยวไวโอลินอัลบั้มที่สอง โดยประทักษ์ ประทีปะเสน
หลังจากอนุมานวสารเล่มที่ผ่านมาได้ส่งไปถึงมือพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ กัน เป็นที่เรียบร้อย ทางทีมงานอนุมานวสารก็ได้รับการไถ่ถามถึงผลงานอัลบั้มที่สอง ของคุณลุงประทักษ์ฯ มาอย่างไม่ขาดสาย วันนีพ้ วกเราสามารถหางานเพลงบรรเลง คุณภาพ “ฝากใจมาในเพลง – With All Our Hearts” ผลงานเดี่ยวไวโอลิน อัลบั้มที่สองของคุณลุงประทักษ์ฯ มาฟังได้แล้ว โดยอัลบั้มที่สองนี้มีเพื่อนๆ จาก วชิราวุธฯ รุ่นเดียวกันกับคุณลุงประทักษ์ฯ (รุ่น ๓๓) มาร่วมให้การสนับสนุนด้วย อย่างเต็มที่ คือ ดร.โกศัลย์ คูสำ� ราญ และ ดร.เกษมสันต์ สุวรรณรัตน์ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 75
จากบทเพลงกว่า ๒๐ – ๓๐ เพลงที่ คุณลุงประทักษ์ฯ คิดอยากจะท�ำในอัลบัม้ นี้ ถูก คัดสรรอย่างปราณีตให้เหลือเพียง ๑๒ เพลง โดยผ่านการคัดสรรมาเป็นล�ำดับอย่างดี ว่า เพลงไหนควรเป็นออเดิร์ฟ เพลงไหนจะเป็น อาหารจานหลัก เพลงไหนเป็นของว่าง เพลง ไหนเผ็ด เพลงไหนจืด เพลงไหนเปรี้ยว เพื่อ ให้รสชาติออกมาน่าประทับใจคนฟังมากที่สุด และเมื่อฟังทั้งแผ่นแล้วให้มีความสมดุลและ ความรูส้ กึ พอดีๆ จากเพลงหนึง่ ส่งทอดไปยังอีก เพลงหนึง่ ท�ำให้เราสามารถฟังเพลงจากอัลบั้ม นี้ได้ทั้งอัลบั้ม และหยิบขึ้นมาฟังแล้วฟังอีกได้ อย่างไม่รู้สึกติดขัดแต่อย่างใด
76
การอัดเสียงในอัลบั้มนี้เป็นการอัดสด ทัง้ หมด เล่นเต็มวงพร้อมกันในห้องอัด เพือ่ ให้ ได้บรรยากาศ ได้ฟีลลิ่งที่แท้จริงของนักดนตรี ที่มีการรับส่งซึ่งกันและกันในห้องอัด ซึ่งตรง กับที่เบโธเฟ่นกล่าวไว้ว่า “Music must be from heart to heart” คือเล่นออกมาจากใจ นักดนตรีส่งไปถึงใจผู้ฟัง ซึ่งในส่วนของดนตรี มีการน�ำเอาเชลโล่และฮอนท์มาใช้ ซึ่งเป็นเรื่อง ยากที่จะน�ำเครื่องดนตรีสองชนิดนี้มาใส่ไว้ใน เพลงได้อย่างลงตัว ในอัลบัม้ “ฝากใจมาในเพลง” นีม้ กี าร ผสมผสานกันในหลากหลายแนวดนตรี เป็นการ ผสมกั น ระหว่ า งวั ฒ นธรรมของตะวั น ตก
และตะวันออก มีการน�ำเพลงของสุนทราภรณ์ อย่าง หิมพานต์ และ กระซิบสวาท มาท�ำใหม่ มีทั้งเพลงท�ำนองไทยเดิมที่คุ้นหูอย่าง หวงรัก และ ค้างคาวกินกล้วย มีเพลง คืนนี้พี่คอย เจ้า, สายทิพย์, บางปะกง และค�ำคน ที่ช้าๆ หวานๆ กินใจและมีทั้งเพลงฟังสบายๆ อย่าง ชั่วฟ้าดินสลาย, เป็นไปไม่ได้, และหนึง่ ในร้อย รวมถึงเพลงที่น�ำมาเล่นในท่วงท�ำนองสนุกๆ อย่าง มองอะไร ถึงเพลงที่บรรเลงในอัลบั้ม “ฝากใจมา ในเพลง” นี้เป็นเพลงไทยเดิม แต่ก็มีจังหวะ ท่วงท�ำนองใหม่ๆ ในรูปแบบของแจ๊ส ฮิปฮอบ บอซซ่า ซึ่งท�ำให้เพลงไทยเดิมนัน้ ฟังดูแปลก ใหม่และทันสมัยขึ้นมาก ตามจุดมุ่งหมายของ คุณลุงประทักษ์ฯ ที่ต้องการดึงดูดกลุ่มนักฟัง วัยรุ่นให้มาสนใจเพลงไทยเดิมเหล่านี้มากขึ้น นอกจากนัน้ ในส่วนของนักดนตรีที่มา ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในอัลบั้ม “ฝากใจมา ในเพลง” นี้ เรียกได้ว่าเป็นการรวมตัวของนัก ดนตรีระดับชั้นน�ำของประเทศเลยก็ว่าได้ เช่น อ.ธนิต ศรีกลิ่นดี อ.เอกราช เจริญนิตย์ คุณ ประพาส อมรพันธุ์ ฯลฯ และหนึง่ ในนัน้ ก็มี ศิษย์เก่าวชิราวุธฯ รุ่น ๓๓ มาร่วมเล่นด้วย คือ คุณนิตย์ จารุศร ซึง่ ทุกคนเป็นคนทีม่ สี ไตล์ การเล่นที่โดดเด่นและผ่านการร่วมเล่นดนตรี ด้วยกันมายาวนาน ท�ำให้อัลบั้ม “ฝากใจมาใน เพลง” นี้ เต็มไปด้วยบรรยากาศของมิตรภาพ ทีร่ กั ดนตรีทถี่ กู ขับออกมาผ่านเสียงเพลงให้แด่ ผูท้ ไี่ ด้ฟงั หาซือ้ ได้แล้ววันนีท้ ี่ B2S, Imagine, CAP, ร้านน้องท่าพระจันทร์ หรือซื้อออนไลน์ ได้ที่ www.here.co.th
พร้อม จ�ำหน่าย แล้ว
เนคไท นีค้ ือ
สัญลักษณ์ของการเป็น นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย นอกจากจะใช้สวมใส่ในงานพิธีต่างๆ แล้ว ขอเชิญชวนนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ผูกเนคไทนี้ ทุกวันพฤหัสบดี อันเป็นวันถือก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย เพื่อแสดงความสามัคคี ความรักต่อโรงเรียน และแสดงตนเป็นลูกวชิราวุธให้ประจักษ์ ราคาเส้นละ ๕๐๐ บาท
มีจ�ำหน่ายที่
1. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ โทร. ๐ ๒๒๔๑ ๓๐๕๙ โทรสาร ๐ ๒๖๖๙ ๓๕๑๘ (จัดส่งทางไปรษณีย์ฟรี กรุณาโอนเงินและใช้แบบ ฟอร์มหน้าสุดท้าย) 2. ร้าน Sindy Lim Hair & Salon ปากซอย สุขุมวิท ๔๙ โทร. ๐ ๒๒๖๐ ๐๗๙๓ (ปิดวันพุธ) 3. ร้าน Nipper Records Cafeé โครงการ OZONO ซอยสุขุวิท ๓๙ โทร. ๐๒๒๕๙ ๗๖๙๕ (เปิดเวลา ๑๔.๐๐ – ๒๐.๐๐ น)
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 77
ศัพท์โอวี
เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ
ทิ่ม
(ค�ำนาม,กริยา)
สมานฉันท์ (หมายความว่า ความพอใจ ร่วมกัน, ความเห็นพ้องกัน, เช่น มีความเห็น เป็นสมานฉันท์ ป.สมาน+ฉนท, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)... ท่านผู้อ่านคงสงสัย นะครับว่าท�ำไมผมถึงเปิดบทความด้วยศัพท์คำ� นี้ ไม่มีอะไรหรอกครับ แค่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ขอย�้ำว่าไม่กปี่ ี) ผมได้ยนิ ค�ำนีบ้ ่อย (เหลือเกิน) ตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ จึงอดสงสัยไม่ได้ว่าท�ำไมเขาถึงต้อง พยายามปลูกฝังค�ำนีใ้ ห้ประชาชนอย่างเราด้วย หรือเพราะว่าบ้านเมืองเราทุกวันนี้มีแต่ความ ขัดแย้งกันหรือครับ??? เอ...คงจะไม่หรอก (มั้ง) คนไทย “สามัคคี” กันอยู่แล้ว เพราะเห็น เวลาเกิดเรื่องอะไร เราก็พร้อมใจกันไปช่วยกัน เป็นหมู่คณะ เราพร้อมใจกันตบมือ โห่ร้อง (ใช้ มือและตีนตบด้วย) ใส่เสื้อสีเหลือง แดง เดิน กันเป็นหมู่ แหม...สามัคคีกันจะตาย!!! ที่เพ้อ มาทั้งหมดก็ไม่ได้จะมาเรียกร้องอะไรหรอก ครับ แค่อยากจะบอก (หลายๆ คน) ว่าเด็กๆ เขาจะดูเป็นตัวอย่างนะครับ หมดเวลาพรรณนาเรือ่ งเหตุบา้ นการเมือง แล้ว เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ ศัพท์โอวีในวัน นีเ้ ป็นค�ำทีด่ จู ะทะลึง่ ไปหน่อยหากท่านไม่รคู้ วาม หมายทีแ่ ท้จริง ถ้าไม่เชือ่ ท่านลองเอาไปพูดกับ คุณสุภาพสตรีดคู รับ ถ้าไม่โดนด่ากระเจิง ก็คง
78
โดนมองแบบแปลกๆ แน่ ค�ำนัน้ คือ “ทิม่ ” ครับ ทิ่ม ในที่นี้เป็นทั้งค�ำนามและค�ำกริยา มีความหมายว่า ชกต่อย, ทะเลาะวิวาท มัก จะพูดและกระท�ำกันมากในช่วงเวลาที่เรียนอยู่ ฝั่งเด็กเล็ก เนื่องจากว่าเป็นช่วงเวลาที่กำ� ลังคึก คะนอง ท�ำอะไรโดยทีไ่ ม่คดิ ก่อนว่าผลทีต่ ามมา จะเกิดอะไรขึ้น ดังนัน้ การใช้กำ� ลังจึงเป็นวิธีที่ แก้ปัญหาได้ดที สี่ ดุ ในช่วงนัน้ หากว่าใครมีฝีไม้ ลายมือในการ “ทิม่ ” จะได้รบั การยอมรับนับถือ จากเพื่อนฝูง มีอ�ำนาจ บารมี และลูกสมุนไว้ คอยรับใช้ เรียกว่า ชี้ “นก” เป็น “ไม้” เพื่อน ยังต้องเชื่อเลยครับ การทิ่มเกิดได้ในทุกสถานที่ ทุกวัน และเวลา ไม่มีการเทียบน�ำ้ หนักหรือรุ่นเหมือน นักมวย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสอง ฝ่าย แต่ในบางครั้งจะมีโปรโมเตอร์จัดให้ด้วย นะครับ ก็พวกเพื่อนตัวดีทั้งหลาย หากเห็น ว่าใครก�ำลังทะเลาะหรือมีเรื่องกันอยู่หล่ะก็ โปรโมเตอร์กจ็ ะจัดไฟท์ให้เลย มีการจัดสถานที่ และเวลาให้พร้อมครับ มีคนดูอย่างกับในสนาม มวยเลย (แต่ไม่มีแต้มต่อแบบมวยนะครับ) ก่อนทีจ่ ะทิม่ กันเนีย่ จะมีการท้ากันก่อน ด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ จะเดินเข้าไปต่อย เลย มันไม่ถูก มันเลยเกิดเป็นวลียอดฮิตเลย ครับ นัน่ ก็คอื “ทิม่ ป่ะ” ซึง่ ผลทีต่ ามมาก็มหี ลาย รูปแบบ แต่ที่พอจะจ�ำแนกได้ก็มีประมาณ ๓
พวก คือ ๑. พวกที่รับค�ำท้าทันที ผลที่ตามมาก็ คือ ซัดกันตรงนัน้ เลย ไม่สนใจสถานที่ ๒. พวกที่นัดเวลาและสถานที่อย่าง เป็นทางการ พวกนีม้ กั มีกองเชียร์และผูต้ ดิ ตาม ๓. พวกทีต่ อบปฎิเสธ พวกนีจ้ ะโดนล้อ ทันทีว่า “เป็ดว่ะ” หรือ “ป๊อดว่ะ” แต่พอเข้ามาอยูเ่ ด็กในแล้ว เรือ่ งพวกนี้ ก็ซาลงทันทีครับ เพราะว่ามันมีกฎว่า หากเด็ก ในคณะเดียวกัน “ทิ่มกัน” จะโดนเฆี่ยนทั้งคู่ แถมโดนกด “ซี” กันทั้งรุ่นอีก พาลเอาคนอื่น เดือดร้อนไปด้วย หากจะว่ากันโดยละเอียดแล้ว ผมว่า ฉบับคงนีค้ งจะไม่จบหรอกครับ เพราะว่าเรื่อง มันยาวมาก เอาเป็นว่าการใช้ก�ำลังตัดสินมันไม่ ได้ประโยชน์อะไรหรอกครับ นอกจากจะท�ำให้ เจ็บเนือ้ เจ็บตัวแล้ว ยังจะท�ำให้คนอืน่ เดือดร้อน อีกด้วย ผมว่าหากมีปัญหาอะไร ก็อย่าใช้กำ� ลัง กันแบบ “เด็กๆ” เลยครับ ควรใช้ปญ ั ญาเข้าช่วย ในการแก้ปัญหา ไม่ใช่ไปต่อยตีกัน ตะโกนด่า สาดโคลนกันไปมา ไปยึดสนามบิน ไปปิดสนาม กีฬาด่ากัน ฯลฯ เฮ้อ...ปวดใจ!!! อุ้ย! ว่าจะไม่พูดเรื่องการเมืองแล้ว นะเนี่ย ๕๕๕ ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖)
ส่องไฟ
(ค�ำกริยา) เมื่อเอ่ยถึง ปฏิบัติการ “ส่องไฟ” อัน เฉียบเร็วแล้ว ก็คงจะท�ำให้พๆี่ โอวีคณะพญาไท ช่วงรุ่น ๔๐ กว่าๆ หลายๆ คน ถึงกับ ร้องอ๋อ!! พร้อมระลึกถึงความหลังด้วยรอยยิม้ บนใบหน้า ทั้งกระตุกต่อมน�้ำย่อยในห้วงกระเพาะให้พรั่ง พรู ยามหวนนึกคะนึงถึงปฏิบตั กิ ารความอร่อย นี้... “ส่องไฟ” “ส่องไฟ” เป็นค�ำกริยาของนักเรียน วชิราวุธ ช่วงรุ่น ๔๐ กว่าๆ คณะพญาไท สื่อ ความเข้าใจถึง การเปิดไฟฉายส่งสัญญาณเรียก เจ้าของร้านขายข้าวหมูแดงและราดหน้าผัดซีอวิ๊ ฝัง่ ตรงข้ามคณะพญาไท เพือ่ มารับออเดอร์และ น�ำห่ออาหารมาส่ง ให้กับนักเรียนคณะพญาไท ผู้ก�ำลัง “หิวโซ” ...ในยามวิกาล คณะพญาไทสมัยนัน้ (กระผมลองไล่ เรียงปีดแู ล้ว ก็นา่ จะเป็นราวๆ สัก พ.ศ. ๒๕๐๐ ต้นๆ) เมือ่ มองตรงออกมาจากหน้าคณะพญาไท ผ่านรั้วเหล็กหน้าโรงเรียน (เวลานัน้ ยังเป็นรั้ว พูร่ ะหงส์สเี ขียวทึบ) ข้ามคลองหน้าโรงเรียนและ ถนนพระราม ๕ แล้ว จะมี “ร้านขายข้าวผัด กับข้าวหมูแดง” แสนอร่อยอยู่ร้านหนึง่ ชื่อ ร้าน “สวนจิตร” ร้านนี้จะขายอาหารจ�ำพวก มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 79
ข้าวหมูแดง ข้าวผัด.....อะไรประมาณนี้ ก็เป็นหลักความจริงง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้ ตรรกะใดๆ ก็ร้านนี้เล่น ดั๊นนนนนนน!!!!! มี ท�ำเลมาตัง้ “ล่อลิน้ ปลิน้ น�ำ้ ลาย” อยูซ่ ะตรงข้าม คณะพญาไทอย่างโจ่งแจ้งออกซะเยี่ยงกระนี้ กอปรกับปัจจัยกระตุ้นของอาหารโรงเรียนที่ รสชาติหา “เรื่อง” ไม่ค่อยจะได้ (ไม่ได้เรื่อง) ผสมทั้งกับความ “แสบ เซียน ซน” ของเด็ก พญาไทสมัยนัน้ ที่ “ไม่ตอ้ งสืบ” ด้วยแล้ว... ข้าว ผัด จึงตกเป็น “อาหารเป้าหมาย”… ไปโดย ปริยายด้วยความโชคดี ด้วยสมัยนัน้ เทคโนโลยีมือถือยังไม่ เข้ามาสู่ประเทศไทยและในวชิราวุธ ฉะนั้น เด็กคณะพญาไท ก็จึงต้องคิดหาวิธีการ “ส่ง สัญญาณ” เพื่อเรียก “ความอร่อย” ให้มาตก ถึงท้อง “....สัตว์ทั้งหลายจ�ำต้องเรียนรู้ที่จะเอา ตัวรอดฉันใด เด็กคณะพญาไทก็ต้องคิดหา “ทาง รอด” จาก “ความหิวโหย” ฉันนัน้ ...” ในที่ สุ ด จึ ง มี เด็ ก คณะพญาไทหั ว ใส น�ำ “ไฟฉาย” มาปรับใช้เป็น เครื่องส่ง สัญญาณ ให้เจ้าของร้านสวนจิตร ซึ่งเป็นคน จีน ตัวขาวๆ เล็กๆ ตัดผมซะหัวเกรี๋ยน มารับ รายการอาหารเพือ่ น�ำไปท�ำ แล้วก็มาส่งให้เด็กๆ
80
ที่กำ� ลังหิว กินกัน ....แล้วปฏิบัติการ “ส่องไฟ” จึงได้ถือ ก�ำเนิดขึ้น ณ ช่องหน้าต่างบนคณะ ก่อนที่จะ พัฒนามาเป็นการนัง่ ส่องบนรั้วหน้าคณะ ส�ำหรับเวลาที่จะส่องไฟนัน้ นักเรียน คณะพญาไทก็จะรอให้ ครูจิต ผู้ก�ำกับคณะ พญาไทสมัยนั้น ขึ้นเรือนไปเป็นที่เรียบร้อย ก่อน ซึง่ ก็เป็นช่วงเวลาประมาณสัก ๔ ทุม่ กว่าๆ เห็นจะได้ หลังจากทิ้งช่วงเวลา ดูสถานการณ์ ลาดเลาสักพัก เพื่อให้แน่ใจว่า ครูจิต จะไม่ ออกมา “ลุย” ตรวจเด็กแล้ว จากนัน้ กลุ่มเด็ก ที่ “กระสัน” อยากจะกินข้าวผัด ข้าวหมูแดง (ซึ่งคิดว่าคงจะรวมบิลรายการสั่งไว้เรียบร้อย ตั้งแต่ยังไม่เลิกเพรบแล้ว) ก็จะส่ง “นักรบ เคลื่อนที่เร็ว” ย่องเงียบไปที่รั้วโรงเรียนพร้อม ด้วย “ไฟฉายคู่ใจ”ในมือ แล้วก็ท�ำการเปิด ไฟฉาย “ส่องไฟกะพริบๆ” ยิงตรงไปทีร่ ้านสวน จิตร... .เมื่อเจ้าของร้านเห็นแสงไฟกะพริบๆ นี้ ก็เป็นอัน “รู้กัน” ว่า “ถึงเวลาไปรับรายการสั่ง ข้าวผัด ข้าวหมูแดง ของเด็กซนๆ พวกนี้อีก แล้วซี” เจ้าของร้านก็จะรีบ “ย่องเงียบ” มาที่ ประตูคณะพญาไท ด้านตรงสี่แยกเขตดุสิต ซึ่งจะมีเด็กพญาไทอีกคนพร้อมบิลรายการใน มือ ยืนซุ่มรออยู่ เมื่อเจ้าของร้านรับรายการมา เขาก็จะรีบกลับไปผัดอย่างเร็วรวดทันที เพราะ เขารู้ว่า ชะตากรรมของเด็กเหล่านี้ฝากไว้ที่เขา (ทั้งหลายท้องที่ก�ำลังโหยหิว บวกด้วยหลาก
ชีวิตที่ก�ำลังยืนบนความเสี่ยงหาก ครูจิต ท่าน เกิดนึกครึม้ ตืน่ ออกมาลุย)... เพียงชัว่ แว๊บเดียว เจ้าของร้าน ก็หิ้วห่ออาหารมื้อพิเศษตามสั่งมา ส่งให้กบั เด็กคณะพญาไททีแ่ อบยืนรออยู่ ครัน้ จ่ายเงินทอนตังค์กันแล้วเสร็จ ทั้งหมดก็แยก สลายหายตัวไปในพริบตา แล้วเด็กๆ พญาไท กลุ่มนี้ รวมทั้งเพื่อนๆ จากต่างคณะก็แจกจ่าย ของที่สั่ง แยกย้ายกันไปซุ่มกินตามซอกมุม ต่างๆ ของคณะ ตามแต่ใจที่ใคร่ปรารถนา ในที่สุด ความหิวโหยของเด็กกลุ่มนัน้ ก็จากไป พร้อมด้วยความอิ่มอร่อยของอาหาร
มื้อดึกเข้ามาแทนที่ เติมเต็มลงกระเพาะของ พวกเขา “....เมื่อแสงไฟฉายสาดส่องปุ๊บ!!... ความอร่อยก็พร้อมส่งถึงท้องปั๊บ!!...” ขอขอบคุณผู้คิดค้นปฏิบัติการอันยิ่ง ใหญ่นี่เสียจริงๆ.... “ส่องไฟ” พี่เอ๋ย ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๔๔), พี่เบะ วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖) – เล่าเรื่อง ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) - ร้อยเรียง
พี่เบะเล่าเพิ่ม
แต่ถึงกระไร ก็ยังมีนกั เรียนคณะพญาไทบางคน ที่พลั้งพลาด โดนครูจิต จับได้!! ซึง่ การโดนจับได้ในครัง้ นี้ เสมือนเป็นจุดเริม่ ต้นแห่งศัพท์ (พญาไท) บัญญัติ “ส่องไฟ” ให้สะเทือนสั่นไหวแพร่กระจายไปสู่เด็กพญาไทอย่างถ้วนทั่ว จนเป็น กระแส “ส่องไฟลิซึ่ม” ในยุคนัน้ ...นักเรียนผู้นนั้ ก็คือ พี่เหี่ยว หรือ “หัวหน้าเหี่ยว”.... หัวหน้านักเรียน คณะพญาไท ณ ประมาณช่วงเวลานัน้ ... ในคืนหนึง่ เมือ่ อารมณ์กระหายหิวมากระทบใจกระแทกท้อง หัวหน้าเหีย่ ว ก็ออกไปนัง่ อยู่บนรั้วโรงเรียน ท�ำการส่องไฟโดยไม่รอช้า แต่ขณะที่ก�ำลังส่องไฟ อย่างจริงจังอยู่พอดีนนั้ เอง ครูจิต แกเดินมาจากเด็กเล็ก ๓ เปิดประตูเล็กเข้า มา ครั้นเห็นหัวหน้าเหี่ยวนัง่ อยู่บนรั้ว ครูจิตก็เลยถามไปว่า “กฤษฎา ท�ำอะไร?!!” หัวหน้าเหี่ยว มิรอช้า! โพล่งตอบกลับไปด้วยความภาคภูมิใจเป็นที่ยิ่งว่า “ส่องไฟ ครับ!!!!” ครูจติ แกก็ไม่อยากจะท�ำโทษอะไรให้พเี่ หีย่ วเสียหน้าแก่เด็กในคณะ เพราะ เห็นว่าเป็นหัวหน้า ก็เลยบอกไปว่า “จะส่งจะส่องอะไรก็รอให้เด็กนอนก่อนสิ เดี๋ยว เด็กจะเห็นเข้า!!” (เพราะเวลาที่ส่องไฟนัน้ เป็นเวลาเพรบพอดี) มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 81
ระฆังกีฬา
คุยกับโอวีก่อนไปเข้าแถว
82
ดนุ ช า วี ร ะพงษ์ ครีเอทความสุขผ่านชีวิตนักลงทุน อ้ นหลังกลับไปราวสิบกว่าปีก่อน ชายหนุ่มไฟแรงคนหนึง่ เพิ่งกลับ มาจากส�ำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกา เริม่ ต้นท�ำงาน ในบริษทั เงินทุนหลักทรัพย์ ก่อนจะย้ายไปรับต�ำแหน่งผูจ้ ดั การสาขา ธนาคารเอเชีย ทั้งที่เพิ่งมีอายุไม่ถึง ๓๐ ปี และได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดการสาขาที่ หนุ่มที่สุดที่ธนาคารแห่งนี้เคยมี เวลาผ่านมาสิบปีชายผู้นี้ไม่ได้ทำ� งานให้ใคร อีกต่อไป เขาเป็นผู้ก่อตั้ง ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจหลายอย่าง แต่เขายัง ยืนยันกับเราว่าถ้าจะให้ระบุอาชีพของตัวเอง ณ ปัจจุบัน อาชีพ “นักลงทุน” ที่ปล่อยให้เงินท�ำงานแทนน่าจะเป็นค�ำตอบที่ตรงที่สุด
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 83
เย็นวันนีท้ มี งานอนุมานวสารมีนดั กับดนุชา วีระพงษ์ (แดน) นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ รุน่ ๖๐ ที่ร้าน Nipper Records Café ร้านขายแผ่นเสียงที่มีเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย หนึง่ ในธุรกิจเล็กๆ ที่เจ้าตัวบอกกับพวกเราว่าแผ่นเสียงเป็นหนึง่ ในสิ่งที่รักมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ วชิราวุธฯ และมีความสุขเสมอเวลาที่ได้ท�ำอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่รัก ดนุชาอยู่ในชุดกีฬาสบายๆ หลังจากเพิง่ กลับมาจากตีเทนนิส ทัง้ ๆ ทีเ่ ป็นวันท�ำงานปรกติ ซึง่ ค่อนข้างแตกต่างจากผูบ้ ริหาร คนอืน่ ๆ ทีม่ กั จะอยูใ่ นชุดท�ำงานสวมเชิรต์ ใส่สทู ผูกไทด์ ในเกือบทุกๆ ครัง้ ทีเ่ รามีนดั สัมภาษณ์
84
เมื่อคุณจบจากที่นี่ คุณต้องรักษา ความน่าเชื่อถือตรงนี้ไว้ ให้เกียรติโรงเรียน ให้เกียรติสถาบันของคุณ เป็นโอวี คุณไม่จ�ำเป็นต้องเก่ง แต่ต้องมีความจริงใจ และพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
ก่อนมาเป็น ดนุชา วีรพงษ์ ผมเป็นเด็กชลบุรี อยูโ่ รงเรียนประจ�ำมา ตลอดชีวิต ตั้งแต่อักษรเจริญ มาต่อวชิราวุธฯ ไปกลับกรุงเทพ-ชลบุรีตลอด ที่ได้เข้ามาเรียน ที่วชิราวุธฯ ก็เพราะทางครอบครัวผมเรียน วชิราวุธฯ หมด ทางบ้านแม่ พี่ชายท่านก็เรียน วชิราวุธฯ หมด เรียนจนถึง ม.๓ แล้วก็ไป เรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา จนจบปริญญาตรี
บริหารธุรกิจ สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน จาก Bentley College มลรัฐ Massachusetts และต่อด้วยปริญญาโท บริหารธุรกิจ สาขา การตลาด จาก University of Connecticut พอจบก็ ก ลั บ มาอยู ่ เมื อ งไทย ตอน ก่อนที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเพียงไม่กี่ปี ผม เริ่ ม งานครั้ ง แรกที่ บ ริ ษั ท หลั ก ทรั พ ย์ พั ฒ น สิน และย้ายไปอยู่ฝ่ายสินเชื่อที่บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์เอ็มซีซจี ากนัน้ ก็ไปเป็นผูจ้ ดั การสาขา อยู่ธนาคารเอเชียสามสี่สาขา ต�ำแหน่งสุดท้าย ก็เป็นผู้อ�ำนวยการฝ่ายสายงานขายและบริการ คุมผู้จัดการสาขาอีกที ก่อนที่จะลาออกเพื่อ กลับมาดูแลธุรกิจของที่บ้าน ซึ่งก�ำลังจะเข้า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่บ้านผมมีธุรกิจอยู่สอง อย่างคือ แบรนด์ราชา ท�ำพวกน�้ำปลาน�้ำมัน หอยอะไรพวกนัน้ อีกบริษทั ก็ท�ำ ลีสซิง่ รถยนต์ ชื่อบริษัทตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง ตอนนี้ก็ จดทะเบียนอยูใ่ นตลาดหลักทรัพย์ ซึง่ ผมก็เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) อยู่ที่นนั่ และ นีก่ ็เป็นจุดเริ่มของความคิดที่ว่าน่าจะถึงเวลาที่ จะมีธุรกิจเป็นของตัวเองซะที สร้างธุรกิจแบบนักลงทุน จริงๆ แล้วผมท�ำธุรกิจหลายอย่างนะ มีบริษัทออกาไนเซอร์ของตัวเอง ชื่อ บริษัท คูล โซลูชั่น จ�ำกัด (Kool Solutions) ลูกค้า ผมหลักๆ ก็ Diageo เป็นบริษัทท�ำ Johnny Walker คือ ถ้าคุณเห็นพวก Black label, Red, Gold, Swing หรือพวกงานคอนเสิร์ต มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 85
ที่จัดโดย Johnny Walker อะไรพวกนั้น นั่นคือผมเป็นคนจัด บริษัทผมส่วนใหญ่จะ รับงานกลางคืนเยอะ อีเวนต์ที่ผมท�ำก็จะเป็น ปาร์ตี้ซะส่วนใหญ่ อย่างเช่น Black Planet หรือ Radio Active แม้ส่วนใหญ่จะเริ่มต้น ด้วย อีเวนต์กลางคืน ซึ่งตลาดนี้ยังมีคู่แข่ง น้อย แต่เราก็รุกเข้าแย่งงานอีเวนต์กลางวัน ได้พอสมควร อย่าง บุญรอดบริวเวอรี่ โค้ก ยูนลิ เิ วอร์ ไมโล แป้งเด็กแคร์ คอนเสิรต์ เจ เจตริน ที่อิมแพคอารีนา หรืออย่างชุดฟุตบอลทีมชาติ ไทยชุดใหม่ บริษัทผมก็เป็นคนออกแบบนะ บริษัทผมมีพริตตี้อยู่ในสังกัดประมาณ ๒๐๐ คน มีมาถ่ายแบบที่นี่บ้าง (Nipper Records Café) ซึ่งที่ออฟฟิสผมมีทุกอย่างครบ รองเท้า บูต ปีกนก คือเรามีดีไซเนอร์ของเราเอง มี พนักงานในบริษัทราวๆ ๒๐ คน เพราะลูกค้า ส่วนใหญ่ของเราเป็นรายใหญ่ บริษทั เราก็จะเซ็น สัญญากับลูกค้าเป็นปี ท�ำเป็นซีรีย์ไปออกแบบ งานให้เขา งานคอนเสิร์ตก็เยอะเหมือนกัน งาน กิจกรรมที่จัดมีตั้งแต่ระดับ ๕๐ คน เช่น งาน ไนท์กอล์ฟ ไปจนถึง ๒๐,๐๐๐ คน เช่น งาน คอนเสิรต์ เบียร์อสี านของค่ายบุญรอดบริวเวอรี่ ทีภ่ าคตะวันออกเฉียงเหนือ ในส่วนเอาเลตของ ลูกค้าเหล้าผมก็มีประมาณ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ แห่ง กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ โคราช พัทยา ในทองหล่อ เอกมัยของผมหมด แล้วผม ก็มีบริษัทออกาไนเซอร์อีกบริษัท ชื่อ นู้ค คอม มิวนิเคชัน (Nuke Communication) บริษัท นีต้ ั้งขึ้นมาเพื่อรับลูกค้าทางด้าน Technology
86
Communication อย่างเดียวเลย รับงานของ พวก ดีแทค แอลจี ซัมซุง เอาเป็นว่าแบ่งง่ายๆ แบบนี้แล้วกัน อย่างน�้ำปลาราชา มันเป็นธุรกิจเก่าแก่ของ ครอบครัวซึ่งมีอายุ ๖๐ กว่าปีแล้ว ปู่ผมเป็น คนท�ำมา คือไม่เกี่ยวอะไรกับผมเลย อย่าง ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่งนีก่ ็เกือบ ๓๐ ปีแล้ว ผมก็แค่มาสานต่อ เข้ามาท�ำให้บริษัททันสมัย น�ำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ให้มันเป็นสากล พูดง่ายๆ คือการท�ำธุรกิจครอบครัวให้เป็น ธุรกิจสากล ณ ปัจจุบันผมบริหารงานอยู่ที่นี่ มี ลูกค้าเป็นโอวีเยอะแยะ ส่วน Kool Solutions กับ Nuke Communication เป็นธุรกิจที่ผม สร้างขึ้นมาเอง นักบริหารสไตล์นกั ลงทุน โดยหลั ก การเนี่ ย ผมถื อ ว่ า ผมเป็ น นักลงทุน เป็นผู้ถือหุ้น เพราะฉะนัน้ จะมีคน ท�ำงานให้ผมเยอะ ผมแค่รับรายงานอย่าง เดียวแล้วก็คอยแก้ปัญหา หรือตัดสินใจใน เรื่องที่จ�ำเป็น ผมจะบริหารคอนเนคชั่นของ เรากับลูกค้า เพราะการที่บริษัทจะได้ลูกค้า แบรนด์ดังๆ ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ เราต้องมีเครดิต ทีด่ พี อ ในการแข่งขันพวกนี้ การทีเ่ ขาจะเอางาน ๑๐-๒๐ ล้านมาให้คุณท�ำ แล้วคุณท�ำไม่ส�ำเร็จ หรือไม่มีเงินท�ำ มันไม่ได้ เพราะการท�ำงาน พวกนี้ คุณไม่ได้เงินเลยทันที ต้องรอ ๓๐-๖๐ วัน ต้องหมุนเงินที ๕๐-๖๐ ล้านเพื่อท�ำโปร เจคไปก่อน
ท�ำงานมาจนอายุ ๔๐ ผมคิดว่าผมต้องมีโอกาสใช้ ถ้าเกิดท�ำงานถึง ๕๐-๖๐ ปี แล้วตายไป ชาติหน้าเกิดมาเป็นแมงปอ เป็นแมงมุม ก็คงไม่มีโอกาสได้ใช้
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 87
คอนเนคชัน่ ก็เป็นเรือ่ งทีส่ �ำคัญ คือคน ที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าผม เมื่อตอนอยู่ธนาคารด้วย ก็จะรู้ว่าผมไม่ใช่คน เลื่อนลอยอะไร ผมเป็นนายแบงค์มาก่อนแล้ว ผมก็ได้พาตเนอร์ที่ดีด้วย มันก็เหมือนมีการ ผสมผสานกันที่ลงตัว การลงทุนเพื่อความสุข ความจริงแล้ว ผมไม่ใช่คนทีท่ ำ� งานด้าน นี้เป็นเลยนะ เพราะผมท�ำงานมาด้านการเงิน คือ ฟังก์ชนั่ ของผมหลักๆ คือ ด้านแอดมิน ผม จะเป็นคนไปคุยกับเจ้าของหรือผู้บริหารระดับ CEO พวกแกรมมี่ ยูนิลิเวอร์ หรือ Diageo นีค่ ือหน้าที่ผม แต่หลังจากประชุมแล้วรับงาน แล้ว เป็นหน้าที่ของเด็ก ผมจะดูแลในเรือ่ งของ การเงินกับทางด้านแอดมินมากกว่า จริงๆ แล้วผมเริ่มต้นจากสิ่งที่ผมมีความสุขที่จะท�ำ
88
อย่างธุรกิจร้านแผ่นเสียง Nipper Records Café นี่ ก็ไม่มีใครท�ำเพราะมัน niche จริงๆ ผมมีความสุขกับการได้ท�ำตรงนี้ คือผมโตมา กับแผ่นเสียงตัง้ แต่เด็กๆ ตอนอยูว่ ชิราวุธฯ คน อื่นฟังเทปกันแต่ผมฟังแผ่นเสียงนะ มีเครื่อง เล่นแบบมีฝาปิดอยู่ในห้องนอน คือเรามาท�ำ ในทางที่เราคิดว่าเรามีความสุขไม่ได้ไปหวังผล ก�ำไรอะไรมากมาย แต่ในฐานะนักลงทุน จะท�ำ อะไรก็ต้องให้มีกำ� ไรด้วย ถ้าจะให้ผมระบุอาชีพของตัวเอง ผมเป็นนักลงทุนมากกว่า คืออายุขนาด นี้แล้ว ก�ำลังย่างเข้า ๔๐ ตั้งแต่เริ่มท�ำงานมา จนถึงอายุ ๓๕ ผมเป็นลูกจ้างคนอื่นมาตลอด กินเงินเดือนเหมือนคนทั่วไป แต่พอเลยอายุ ๓๕ ผมได้เป็นเถ้าแก่ละ คือหนึ่งการที่ผม ออกมาเนี่ย ก็ออกมาท�ำงานให้พ่อด้วย แต่การ
ท�ำงานทีบ่ า้ นมันก็ไม่คอ่ ยมีอสิ ระ การมาท�ำแบบ นี้ ผมมีพาตเนอร์ทางธุรกิจเป็นคนรุ่นใหม่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของพาตเนอร์ผมเป็นเด็กอายุ ๒๘ เองนะ พวกนี้เป็นเด็กนักเรียนทุน เป็นเด็กที่มี ไฟ มีหัว อยากท�ำ แต่ไม่มีเงิน หรือใครก็ตาม ก็แล้วแต่ที่มีความสามารถ มีแนวทางธุรกิจที่ ดี คือผมเป็นคนบริหารเงิน ให้ผมมาออกแบบ อะไรแบบนี้ ผมท�ำไม่เป็น นอกจากจะมีงาน ใหญ่จริงๆ หรืองานที่ต้องใช้คอนเนคชั่นขนาด สูง ผมถึงจะออกตัว อย่างถ้ามีงานรับเสด็จฯ ผมก็ต้องออกไปเป็นตัวแทนของบริษัท จริงๆ แล้ว ถึงจุดหนึง่ ผมอยากจะเอา เงินท�ำงานมากกว่า ถ้าคุณมีธรุ กิจอะไรน่าสนใจ มาเสนอผมได้ แต่ตอ้ งไม่ท�ำให้เกิดความวุน่ วาย นะ ต้องไม่ท�ำให้ผมเครียด ผมก็มีลงทุนใน ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหุ้นก็มีขาดทุนบ้าง แต่ ก็เป็นการลงทุนที่ผมไม่ได้ลงไปนัง่ เหนื่อย ไป เครียดกับมัน ลงทุนอย่างมั่นใจและรอบคอบ ผมดูกอ่ นว่าคุณท�ำงานให้กบั ใคร รับงาน มาจากใคร ผมไว้ใจองค์กรทีท่ ำ� งานด้วย ผมจะ ท�ำแต่กับแบรนด์ระดับโลกเท่านัน้ เพราะอย่าง แรกคือผมมั่นใจได้ว่า แบรนด์ดังๆ เหล่านี้ไม่ เบี้ยวผมแน่ ในเมื่อผมเป็นคนคุมเงินทั้งหมด เวลารับงานที่เราต้องท�ำงานก่อน จ่ายเงินไป ก่อน กว่าจะได้รับเงินอีกสองสามเดือน ถ้า ผมไม่มั่นใจผมก็ไม่ท�ำ ถ้าแบรนด์ที่ผมไม่รู้จัก ผมก็ไม่เอา
Creative Designer Organizer ปัจจุบันมีบริษัทออกาไนเซอร์ เกิดขึ้น ในตลาดเยอะมากครับ ท�ำให้มีการแข่งขันสูง แต่ของผมแตกต่างจากคนอื่นนิดหนึง่ คือถ้า ดูลูกค้าผม ไม่ใช่แบรนด์ไทยอย่างเดียว แต่มี แบรนด์ต่างประเทศด้วย แล้วการจะได้ลูกค้า ต่างประเทศต้องทุนหนา คือผมไม่ได้แบบมีลา้ น เดียวแล้วมาท�ำเล่นๆ แล้วลูกค้าผมจะใช้ผมท�ำ ทัง้ ปี คือ ๑๐-๒๐ ล้านเขาจะจัดสรรงบประมาณ มาให้ทงั้ ปี ถ้าให้ผมมาท�ำแบบโปรเจคเดียวแล้ว จบ ผมต้องคิดดูก่อน คือถ้าท�ำแล้วผมไม่ได้ อะไรเพิ่มเติม ผมจะไม่เอา อย่างเปิดตัวหนัง อะไรเนี่ยผมไม่ท�ำเลย เพราะผมต้องศึกษา แบรนด์ลึกมากนะ ต้องดูว่าบริษัทพ่อบริษัท แม่เป็นยังไง หน้าตาเป็นยังไงคอนเซ็พท์ต่าง ประเทศเป็นยังไง คือเราต้องลงทุนไปทางด้าน นีค้ ่อนข้างเยอะ อย่างเบียร์การเด้น มอเตอร์ โชว์ ผมไม่ท�ำเพราะพวกนี้มันมีรูปแบบของมัน อยู่ ในเมือ่ คุณไม่สามารถไปเปลีย่ นเคาเจอร์ของ เค้าได้ คุณจะไปท�ำท�ำไม พวกนี้ไม่ต้องการผม คือบริษัทผมเป็น Creative Designer ถ้า คุณจ้างผมแพงแต่ผมเปลี่ยนอะไรไม่ได้ ผมก็ ไม่รู้จะท�ำไปท�ำไม เลือกท�ำในสิ่งที่ท�ำแล้วมีความสุข ผมอยากจะรีไทร์กอ่ นก�ำหนด ชีวติ ของ เราเนี่ย ท�ำเงินขึ้นมาก็อยากมีฐานะที่มั่นคง มี ครอบครัวที่อบอุ่น คือผมคิดว่าผมท�ำงานมา จนอายุ ๔๐ ผมต้องมีโอกาสได้ใช้ ถ้าเกิดผม มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 89
90
ผมเชื่อในเรื่องของ honor ที่ผมได้รับมาจาก โรงเรียนนะ เวลาท�ำธุรกิจ ผมแฟร์มาก จริงใจมาก เรือ่ งโกงเรือ่ งมัว่ อะไร ผมจะไม่ทำ� เลย เพราะผมคิด อยูเ่ สมอว่า ถ้าเราท�ำอะไรพวกนีไ้ ปสักครัง้ หนึง่ มัน ยากทีจ่ ะเรียกความไว้วางใจกลับคืนมา ใช้เงินกีล่ า้ น ก็ซื้อความน่าเชื่อถือกลับมาไม่ได้ ท�ำงานถึง ๕๐-๖๐ ปีแล้วตายไป ชาติหน้าเกิด มาเป็นแมงปอ เป็นแมงมุมก็คงไม่มีโอกาสใช้ คือที่จริงผมยังมีไฟที่จะท�ำ แต่ผมจะท�ำอะไร ก็ได้ที่ท�ำให้ชีวิตผมท�ำงานแค่วันละไม่กี่ชั่วโมง มีเวลาว่างไปเล่นกีฬา ตีเทนนิส มีเวลาไปไหน ก็ได้ ในวัย ๔๐ คือธุรกิจทุกอย่างที่ผมท�ำ มันต้องไม่ เครียด แล้วก็ต้องไม่ใช่เงินก้อนใหญ่มหาศาล อะไรที่ผมลงทุนไปแล้วต้องมานัง่ เครียด ดูแล ตลอดเวลา หลักๆ คือต้องไม่มากเกินไป และ ต้องอยู่ในแนวทางเดียวกัน ธุรกิจที่ผมท�ำต้อง อยูใ่ นสายตาผม ส่วนใหญ่จะอยูไ่ ม่ไกลจากบ้าน ผม ต้องตั้งอยู่ในสถานที่ที่ผมโอเคด้วย ไม่ใช่ คุณมาบอกผมว่าคุณจะไปตั้งที่พระประแดง อันนี้ผมไม่เอา ผมไม่อยากดูแล มันต้องอยู่ใน บริเวณทีผ่ มใช้ชวี ติ อยู่ ทีเ่ พือ่ นฝูงผมอยู่ คืออยู่ แถวนี้ ทองหล่อ RCA ธุรกิจหลักผมอยู่ตรง โรงพยาบาลพระรามเก้า บ้านผมก็อยูแ่ ถวนี้ จะ
ท�ำอะไรก็แล้วแต่ มีข้อแม้ว่าต้องอยู่ในสายตา ผมที่ผมสามารถดูแลได้ กิจกรรมเพื่อสังคม ตอนนีผ้ มก็เป็นคณะกรรมการอยูม่ ลู นิธิ โสสะ แห่งประเทศไทย (SOS Foundation of Thailand) เป็นมูลนิธิเด็กที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่ง ของเราก็อยูใ่ นพระบรมราชินปู ถัมภ์ ของสมเด็จ พระบรมราชินนี าถ ผมเป็นคณะกรรมการใน การหาเงิน เป็นตัวแทนในการหาเงินและรับ เงิน คือเราจะช่วยเด็กก�ำพร้าที่ไม่มีพ่อไม่มีแม่ ให้ได้เรียนสูงที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เราเป็นมูลนิธิ ที่ท�ำระยะยาวไม่ใช่มูลนิธิที่ฉาบฉวย แบบที่พอ ปีใหม่ก็เอาดาราไปท�ำบุญท�ำข่าวอะไรพวกนัน้ ส�ำหรับรุ่นน้องที่อยากจะมีธุรกิจหรือคิดจะตั้ง บริษัทเป็นของตัวเอง การจะมาถึงจุดนี้ได้เนี่ย คุณต้องมี ประสบการณ์ไม่ต�่ำกว่า ๑๐ ปี โดยที่คุณเป็น มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 91
ลูกจ้างคนอื่น ท�ำงานโดยมีเจ้านาย มีลูกน้อง โดยมีคุณเป็น middle management คุณ ต้องมีความจริงใจกับทั้งเจ้านาย กับลูกน้อง และกับผู้ร่วมงานของคุณ คุณต้องแสดงให้ เค้าเห็นว่าคุณมีความสามารถ มีความจริงใจ คือท�ำงานด้วยใจจริงๆ มีเพื่อนฝูง ไม่มีภาพ ลบ เสียชื่อเสียง ท�ำงานไม่เคยโกง ไม่เคยเบี้ยว สุดท้ายแล้วถ้าคุณผ่านตรงนัน้ มาแล้ว คุณน่าจะ มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะออกมาท�ำธุรกิจ ของตัวเองได้ จริงๆ แล้วมันขึ้นกับตัวคุณเองว่าคุณ อยากจะเลือกเป็นอะไร อย่างบางคนท�ำงาน รับเงินเดือนไปเรื่อยๆ ห้าหมื่นแสนหนึง่ เขาก็ แฮปปี้แล้ว คือไม่ได้สนใจว่าธุรกิจของใคร แต่ คุณท�ำของคุณเต็มที่ ก็โอเค นัน่ คือทางเลือก ของคุณไง มั่นคงน่ะ มั่นคงแน่ เพราะบริษัทก็
92
มีทั้งสวัสดิการ มีอะไร แต่ถ้าคุณคิดออกมาท�ำ บริษัทเอง คุณก็ต้องมีทั้งลูกน้อง มีความรับ ผิดชอบมากขึ้น สิ่งที่จ�ำฝังใจจากโรงเรียน ผมเชื่อในเรื่องของ honor (การให้ เกียรติ) ที่ผมได้รับมาจากโรงเรียนนะ อย่าง เวลามีของหายทีโ่ รงเรียน หัวหน้าจะเรียกเด็กมา รวมกันแล้วก็พดู ลักไก่วา่ “เฮ้ย! กูรนู้ ะเว้ย” “ถ้า มึงไม่ออกมา เพือ่ นมึงไม่ได้กลับบ้านหมด” แต่ หัวหน้าก็จะเรียกคนประมาณสิบกว่าคนให้กลับ บ้านได้ ก็จะมี ผม มี เพชร สมุทวณิช โดยส่วน ตัวผมเองผมก็ดีใจนะ คือเราไม่ได้ขโมยแน่ๆ แต่ในทางกลับกันด้วยความที่ครอบครัวผมมี ธุรกิจ พ่อแม่มีตังค์เนี่ย เวลามีออกเบอร์ ออก สติ๊กเกอร์อะไร ผมโดนครบ ๗ สีเลย ไม่ได้
โดนแค่คณะเดียวสีเดียว สิ่งพวกนี้เลยส่งผลให้ผมเชื่อในสิ่งที่ เขา honor เรานะ เพราะฉะนัน้ ปัจจุบันเวลา ผมท�ำธุรกิจ ผมแฟร์มาก ผมจริงใจมาก เรื่อง โกงเรื่องมั่วอะไร ผมจะไม่ท�ำเลย เพราะผมคิด อยู่เสมอว่า ถ้าเราท�ำอะไรพวกนี้ไปสักครั้งหนึง่ มันยากที่จะเรียกความไว้วางใจกลับคืนมา ใช้ เงินกี่ล้านก็ซื้อความน่าเชื่อถือกลับมาไม่ได้ ใน ธุรกิจผมก็คอยท�ำหน้าที่ประสาน คอยเคลียร์ ไม่ให้มีการมั่วเกิดขึ้นในงาน อีกเรือ่ งก็ คงเป็นครูวชั รินทร์ ชืน่ ก�ำเนิด ผมกับครูวัชรินทร์ ตีปิงปองด้วยกันตลอด เพราะเป็นกีฬาไม่มคี นตี ทีบ่ า้ นผมก็มรี ปู ของครู วัชรินทร์ แปดเก้ารูป เรียกได้ว่าผมเป็นลูกค้า รายใหญ่ของแกเลย ถ้าจะให้พดู ถึงครูวชั รินทร์ ท่านก็เป็นครูในความทรงจ�ำของผมคนหนึง่
ฝากถึงน้องๆ คือโรงเรียนวชิราวุธฯ เรานี่มีต�ำนาน มีความน่าเชื่อถือสูงมาก ไม่มีที่ไหนมีต�ำนาน เหมือนโรงเรียนเรา เพราะฉะนั้นเมื่อคุณจบ จากที่นี่ คุณต้องรักษาความน่าเชื่อถือตรงนี้ไว้ ให้เกียรติโรงเรียน ให้เกียรติสถาบันของคุณ เป็นโอวีเนี่ย คุณไม่จ�ำเป็นต้องเก่ง แต่ต้องมี ความจริงใจ และพอใจในสิง่ ทีต่ วั เองมี อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) กรด โกศลานันท์ (รุ่น ๗๑) เขต ณ พัทลุง (รุ่น ๗๑) อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ (รุ่น ๗๑) พิชิต ศรียานนท์ (รุ่น ๗๒) ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) กิตติเดช ฉันทังกูล (รุน่ ๗๓) สัมภาษณ์ -- กรด โกศลานันท์ (รุ่น ๗๑) เรียบเรียง -- ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ
ติดต่อธุรกิจแบบโอวี ความเป็ น โอวี นี่ น ะมั น มี ข ้ อ ดี อ ย่ า ง หนึง่ ในเรื่องของเวลาที่เราไปติดต่อธุรกิจ ยก ตัวอย่างเวลาผมไปคุยกับยูนลิ เี วอร์ มันเหมือน กับว่าการคุยเนี่ยมันเกิดเรื่องราวที่เป็นความ หลังขึ้นมานิดหนึง่ ถามไถ่กันถึงเรื่องคนนัน้ คน นี้ คนอืน่ ทีฟ่ งั เค้าก็จะงง คุยอะไรกัน ซึง่ สุดท้าย แล้วเราก็กลับมาคุยเรือ่ งงาน คือมันมีความเป็น พี่เป็นน้องเกิดขึ้นทันที แต่เราจะต้องไม่เอา คอนเนคชั่นไปกดดันคนอื่นให้เกิดงาน มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 93
ลอดรั้วพู่ระหงส์ เรื่องเล่าจากคนใกล้ชิด
ขนมปังไส้ไข่ของ “แม่เนื่อง”
หาก “เฉ่า” คือต�ำนานการประทังความหิวของนักเรียนวชิราวุธฯ รุ่นกลางเก่ากลางใหม่ “แม่เนื่อง” คงเปรียบเสมือนต�ำนานของความอิ่มอร่อยที่นกั เรียนวชิราวุธฯ รุ่นลายครามต่างนึกถึง ยามท้องร้อง นิวาสถานของแม่เนื่องนั้น พ่อเล่า ยามแดดร่มลมตกหลังเล่นกีฬา ถนน ให้ฟังว่าอยู่ใกล้กับสนามหลัง หากเดินจากตึก ทุกสายของเด็ก (รุ่นโตสักหน่อย) จึงต่างมุ่งไป พยาบาล (หอประวัตฯิ ในปัจจุบนั ) ไปทางคณะ ที่ครัวของแม่เนื่องเพื่อฝากปากฝากท้อง ดุสติ บ้านแม่เนือ่ งจะอยูบ่ นทางผ่านแถวหัวโค้ง ของว่ า งที่ ขึ้ นชื่ อ ของแม่ เนื่ อ งได้ แ ก่ เอาเป็นว่าถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ แม่เนื่องคงขายอาหาร น�้ำแข็งไสที่หวานเย็นชื่นใจ ขนมปังขาไก่ซึ่งไม่ อยู่แถวๆ หลังสนามเทนนิส ชะรอยแม่เนื่อง ได้มรี ปู ร่างแบบขาไก่ หากแต่เป็นขนมปังกรอบ คงจะเป็นภรรยาของเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนจึงได้ (รูปร่างคล้ายปาท่องโก๋ผา่ ครึง่ ตามยาว) ทาหน้า มีบ้านพักอยู่ที่นนั่ ด้วยน�้ำพริกเผารสกลมกล่อม แต่ที่เลื่องลือ
94
ที่สุดเห็นจะเป็น “ขนมปังไส้ไข่” ชิ้นละ ๕ สตางค์ ที่พ่อบอกว่าเป็นเมนูที่ “พลาดไม่ได้” ขนมปั ง ไส้ ไ ข่ นี้ เ ป็ น ขนมปั ง รู ป รี ๆ สอดไส้ด้วยไก่หรือหมูสับผัดด้วยเครื่องเทศ รสคล้ายแพนงห่อหุ้มด้วยไข่ที่กรอกจนเป็น แผ่นบาง แล้วน�ำไปอบหรือปิ้งจนกรอบและ หอมฉุย น่ารับประทานยิ่งนัก ขนมปังไส้ไข่นหี้ าทานได้ยากเพราะไม่มี ใครสืบทอด พ่อเล่าว่าเมือ่ นานมาแล้ว อาหมอฯ (น.พ.ศรีสกุล จารุจนิ ดา) ได้ทำ� ขนมปังทีว่ า่ นีใ้ ห้ เพื่อนๆ ชิมในวันเลี้ยงรุ่น เพื่อเป็นการระลึกถึง ความหลัง ปรากฏว่าหมดเกลี้ยงไม่เหลือหรอ ด้วยความอยากรู้ (และอยากลอง) ว่า ขนมปังไส้ไข่นี้อร่อยอย่างไร ท�ำให้ผู้เขียนเริ่ม ด�ำเนินการสอบปากค�ำบรรดาลุงๆ อาๆ รุน่ ใกล้ๆ กับพ่อทีผ่ า่ นการเทสต์รสมือของแม่เนือ่ งมาแล้ว ถึงหน้าตาและรสชาติของขนมปังที่ว่า แล้วน�ำ มาประมวลเพือ่ ทดลองท�ำ ปรากฏว่าเมือ่ ชิมแล้ว พ่อพยักหน้าหงึกหงักว่าใกล้เคียง ลองท�ำให้ใคร รับประทานก็ดูจะติดใจทุกคนไป จึงอยากขอ แนะน�ำต�ำรา “ขนมปังไส้ไข่” รุ่นดัดแปลงไว้ที่ นี่ เผื่อผู้อ่านอนุมานวสารอยากรู้ว่าขนมปังไส้ ไข่ที่โอวีรุ่นเก่าๆ กล่าวขวัญถึงนัน้ เป็นอย่างไร จะได้ลองท�ำดู รับประทานไปด้วย ท�ำให้นึกถึงภาพ นักเรียนวชิราวุธฯ สมัย ๗๐ ปีที่แล้วในชุด กีฬา ท่ามกลางลมที่โชยมาอ่อนๆ ของสนาม หลัง ยืนออกันรอชิมของโปรดหน้าเรือนไม้ของ แม่เนื่องไปด้วย ขอให้อมิ่ อร่อยกับขนมปังไส้ไข่นโี้ ดยทัว่ กันค่ะ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
ส่วนผสม ไก่สบั ๓ ขีด/ เครือ่ งแกงแพนง ๒ ช้อนโต๊ะ/ กะทิสด ๒ ถ้วย/ ใบมะกรูด / น�้ำปลา / น�้ำตาลทราย ไข่ไก่ ๔ ฟอง / น�้ำมันพืชเล็กน้อย ขนมปังฮอตดอก ๖ ชิ้น วิธีท�ำ ผัดหัวกะทิจนแตกมัน ใส่เครื่องแกงลงผัด ให้เข้ากันจนหอม เติมเนื้อไก่คลุกเคล้าจน เข้าที่ ใส่ใบมะกรูด เติมน�้ำปลาน�ำ้ ตาล ปรุง รสตามชอบ ผัดจนค่อนข้างแห้ง ตีไข่จนเนียน ตั้งกะทะแบนบนเตาทาน�ำ้ มัน พืชจนทั่ว เทไข่ลงแล็กน้อยและกรอกจน เป็นแผ่นบาง น�ำไส้ที่ผัดแล้วมาวางบนไข่เป็นรูปตามยาว พับให้ขนาดพอทีจ่ ะสอดไว้ตรงกลางขนมปัง ฮอตดอก หั่ นขนมปั ง ฮอตดอกด้ า นข้ า ง ตามยาว สอดไส้ด้วยไส้ไข่ที่เตรียมไว้ อบด้วยไฟ ๑๗๕ องศา ประมาณ ๕ นาที หรือน�ำไป ปิ้งบนไฟอ่อน จะได้ขนมปังไส้ไข่อุ่นๆที่กรอบหอม เหมาะ ส�ำหรับรับประทานกับน�้ำชาตอนบ่าย มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 95
จากห้องประชุมสมาคมฯ
นับตั้งแต่ผมส่งต้นฉบับคราวที่แล้ว สมาคมฯ ของพวกเราได้ทำ� กิจกรรมหลายเรือ่ ง มากเลยครับ แต่คงต้องขอสรุปให้ฟังกันแบบ ย่อๆ แล้วกันนะครับ เริ่ ม กั นตั้ ง แต่ วั นที่ ๖ พฤศจิ ก ายน ทีมรักบี้โอวี ได้เข้าร่วมแข่งขันกับทีมสปอร์ต คลับ ในรักบี้ประเพณีชนช้างชิงถ้วยครูอรุณ แสนโกศิก โดยปีนี้สปอร์ตคลับเป็นเจ้าภาพ ผลปรากฏว่าเราเป็นฝ่ายชนะไปด้วยคะแนน ๓๖ : ๑๒ จุด ครับ หลังแข่งก็มีงานเลี้ยงกัน อย่างสนุกสนาน ซึ่งก็ต้องขอบคุณเจ้าภาพมา ณ ทีน่ ดี้ ว้ ยครับ ต่อมาในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน นักกีฬากอล์ฟ โอวี ก็ได้ไปแข่งขัน กอล์ฟประ เพณีวชิราวุธฯ–ราชวิทย์ฯ ที่สนามกฤษดาธา นนท์ ผลปรากฏว่าเสมอกันครับ
96
ต่อมาในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน สมาคมฯ ได้จัดงาน All Gentlemen can learn ซึ่งพี่ เตา คุณบรรยง พงษ์พานิช โอวี ๔๔ ได้กรุณา ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรบรรยายให้พวกเราฟัง โดยงานจัดให้มีขึ้นที่ตึกหมวก นับว่างานนี้เป็น อีกกิจกรรมหนึง่ ที่สมาคมฯ ให้การสนับสนุน กั บ ไอเดี ย ดี ๆ ของที ม งานอนุ ม านวสาร ได้ยินว่าจัดดี มีคนสนใจเข้าฟังจ�ำนวนมาก มี งานเลี้ยงแบบ outdoor รับลมหนาว เสียดาย ผมติดภารกิจต่างประเทศ เลยอดเข้าร่วมงาน ครับ ผมว่ากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์อย่างนีน้ ่า จะมีเรื่อยๆ นะครับ จากนั้น ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ทีมรักบี้โอวีได้ร่วมแข่งขันใน รักบี้ประเพณี วชิราวุธฯ-ราชวิทย์ฯ ครั้งที่ ๑๙ ที่สนามกีฬา
กองทัพบก ผลการแข่งขันปรากฏว่าราชวิทย์ฯ เป็นฝ่ายชนะด้วยคะแนน ๒๓ : ๒๒ จุด ไม่ เป็นไรครับปีหน้าสู้ใหม่ งานนี้ผู้ใหญ่ของทั้ง สองโรงเรียนฝากชืน่ ชมกองเชียร์วา่ เป็นไปอย่าง สุภาพเรียบร้อยมากครับ นอกจากนีน้ กั เรียน เก่าของทั้งสองโรงเรียนที่ท�ำงานอยู่ AIA ยัง ได้สร้างมิติใหม่ของการเชียร์เชิงสามัคคีแบบ ใหม่ไม่แบ่งแยก ซึ่งหลายคนบอกว่าอยากให้ มีต่อไปครับ ต่อมาในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน คณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จ เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ เพื่อถวายพระพรเนื่องใน วันคล้ายวันประสูติสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ที่วังรื่นฤดี ซึ่งทางสมาคมฯ ได้เข้าร่วมแสดง ความจงรักภักดีและร่วมงานออกร้านไอศกรีม เป็นประจ�ำเช่นนี้ทุกปีครับ และในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ก็ ได้ เข้ า เฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาทในการ บ�ำเพ็ญพระราชกุศล และถวายพวงมาลา เนือ่ ง ในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ณ หอประชุมวชิราวุธ วิทยาลัย ด้วยครับ จากนัน้ เราปิดท้ายปลายเดือนด้วย การ ประกวดนางสาวไทย ซึ่งปีนี้สมาคมฯ ของ พวกเราได้ร่วมจัดกับช่อง ๙ อสมท. ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ที่สยามพารากอน โดยมี นางสาวพรรณประภา ยงค์ตระกูล นิสิตคณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ครอง ต�ำแหน่งนางสาวไทยประจ�ำปี ๒๕๕๑ ครับ
กิจกรรมสมาคมฯ ในเดือนธันวาคม เริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ ๑๐ ธันวาคม ครับ ซึง่ ผูแ้ ทนคณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ถวายพานพุ่ม เนือ่ งในวันรัฐธรรมนูญ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๗ จากนัน้ ในวันที่ ๑๔ ธันวาคม ได้ร่วม ประชุม การจัดเตรียมงาน ๑๐๐ ปี วชิราวุธ วิทยาลัย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ส�ำคัญที่สุดเรื่อง หนึ่งของโอวีทุกคนในช่วงนี้ โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานจัดงานได้เชิญโอวีที่เป็น ผู้แทนรุ่นและโอวีที่ได้น�ำเสนอกิจกรรม รวม ทั้งผู้แทนโรงเรียนมาร่วมประชุมกันที่สมาคมฯ ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมประชุมได้ประมาณ ๔๐ คนครับ ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะการแจ้งข่าวยัง ไม่ทั่วถึงและกระชั้นชิดท�ำให้ผู้แทนในหลายๆ รุ่น พลาดโอกาสมาช่วยกันแสดงความคิดเห็น ในวันนัน้ ด้วย ก็ต้องขอโทษด้วยครับ โดยทีม งานจะปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ ในการประชุม ดังกล่าว ได้มีการพิจารณาถึงโครงสร้างคณะ กรรมการจั ด งาน รวมทั้ ง ได้ มี ก ารน� ำ เสนอ แนวคิดในการด�ำเนินงานของแต่ละกิจกรรม ต่างๆ ซึ่งประธานฯ ได้ให้ความเห็นชอบใน หลักการ และขอให้แต่ละกิจกรรมกลับไป เตรียมแผนงานโดยละเอียด โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ เรือ่ งกรอบเวลาและงบประมาณ ทัง้ นีผ้ มได้มี โอกาสรับฟังความคิดเห็นจากโอวีหลายๆ ท่าน ทั้งทาง e-mail และจากการพูดคุยกัน ส่วน มากให้การยอมรับว่าทุกกิจกรรมดีหมดครับ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 97
แต่ มี ป ระเด็ น หลั ก ที่ เ ป็ น ห่ ว งก็ คื อ เรื่ อ ง งบประมาณ โดยหลายท่านให้ข้อคิดเห็นว่า ไม่ อยากให้มีค่าใช้จ่ายสูงเพราะเศรษฐกิจช่วงนี้ไม่ ค่อยดี และอยากให้กิจกรรมต่างๆ ค�ำนึงถึง การสร้างรายได้ด้วย การท�ำของออกขายก็ไม่ ควรท�ำจ�ำนวนมากเพราะจ�ำนวนผู้ซื้อมีจ�ำกัด รวมทั้งการขอ Sponsor น่าจะท�ำกันครั้งเดียว ไม่ควรขอกระปริดกระปรอย การเบิกจ่ายเงินก็ ควรให้เป็นไปอย่างมีระบบ งานนีง้ านใหญ่ครับ โอวีทา่ นไหนสนใจมาร่วมกันท�ำงาน ติดต่อได้ที่ สมาคมฯ ครับ กิจกรรมต่อมา ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม สมาคมฯ ได้ร่วมกับรุ่น ๓๙ และรุ่น ๔๐ จัด งานวันคืนสู่เหย้า ส�ำหรับงานสู่เหย้าครั้งนี้เรา เลื่อนมา โดยจัดให้มีงาน Sport Day ตั้งแต่ หลังเที่ยง มีการแข่งขันกีฬา ๖ ประเภท จาก นัน้ ตกเย็น ก็เป็นงาน Home Coming ครับ มี โอวี ร่วมงานประมาณ ๔๐๐ คน โดยได้มี พิธีมอบรางวัลโอวีดีเด่นในงานดังกล่าวด้วย ครับ งานนี้ นักกีฬาสควอชของเราหลายคนไม่ สามารถอยู่ดึกได้ เพราะวันรุ่งขึ้นมีการแข่งขัน สควอชประเพณีเหย้าเยือน กับสโมสรยิมคาน่า ซึ่งในปีนี้สโมสรยิมคาน่าแห่งจังหวัดเชียงใหม่ เป็นฝ่ายมาเยือน ผลปรากฏว่าสมาคมฯ เป็น ฝ่ายชนะ และกิจกรรมของสมาคมฯ เราปิดท้าย ปลายปีด้วยการร่วมท�ำบุญวันครบรอบการ สถาปนาโรงเรียน ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดให้มี การท�ำบุญตักบาตร ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ที่ หน้าหอประชุม
98
นอกจากเข้าร่วมกิจกรรมที่กล่าวมาใน ข้างต้นนี้แล้ว คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ยังได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันในประเด็น ต่ า งๆ อาทิ เรื่ อ งการเปลี่ ย นหมายเลขรุ ่ น ซึ่ ง ได้ มี นัก เรี ย นเก่ า อาวุ โ สได้ แ สดงข้ อ คิ ด เห็ น ในเรื่ อ งนี้ เนื่ อ งจากพระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชก�ำเนิด โรงเรี ย นมหาดเล็ ก หลวงในวั น ที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๕๓ และต่อมาพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า วชิราวุธวิทยาลัย ท�ำให้การนับหมายเลขรุ่น มิได้สอดคล้องกับการก� ำหนดของโรงเรียน มหาดเล็กหลวงอย่างแท้จริง คณะกรรมการ สมาคมฯ ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญ ในข้อนี้ จึงจะให้เป็นวาระในการประชุมใหญ่สมาคมฯ เพื่อให้สมาชิกได้พิจารณาต่อไปครับ นอกจาก นี้ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ยังได้น�ำ เรื่องการปรับปรุงสถานที่ มาปัดฝุ่นอีกครั้ง หนึง่ ครับ อยากให้บริเวณร้านอาหารสมาคมฯ มีบรรยากาศที่ดี และอาจจัดให้มีร้านขายของ ที่ระลึกแบบในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่ง คิดว่าจะใช้แบบและแนวทางการปรับปรุงตามที่ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการฯ ชุดที่แล้ว ก็ ค่อยๆ ท�ำกันไปครับ สมาคมฯ เป็นของพวกเรา ทุกคน อยากให้มาช่วยงานกันอย่างสร้างสรรค์ ครับ พีๆ่ น้องๆ ท่านใด มีขอ้ เสนอแนะ แนะน�ำ ได้ตลอดเวลา ขอบคุณครับ ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) กรรมการและเลขานุการสมาคมฯ
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 99
คอมมอนรูม เรื่องสบายสไตล์โอวี
Take me home… ...and country road 100
“นี่เธอ ไปเคี้ยวใบแก้วมาใช่มั๊ย” ตัวแสบสามคนสะดุ้งโหยง “อย่ามาหลอกชั้นซะให้ยาก นี่มันเคี้ยวกันมากี่รุ่นแล้วเธอรู้มั๊ย ... สายลมหนาวพัดหวนกลับมาให้ชนื่ ใจที่ โรงเรียนวชิราวุธฯ อีกครัง้ นัน่ หมายถึง เวลาใน ภาคการศึกษานัน้ ก�ำลังจะหมดไป สามตัวแสบ ที่ถูกส่งเข้ามาในคณะเด็กโต ก่อนเพื่อนร่วมรุ่น เดียวกัน ใช้เวลายามเย็นหลังจากเลิกแถวกีฬา เดินเล่นอยู่หน้าตึกขาว ทั้งสามรู้ว่าแม้ย่างก้าว เข้ามาปลายปีแล้ว แต่ความรู้สึกในฐานะเด็ก ใหม่ ในคณะ ในปีแรก มันดูช่างยาวนานกว่า ปีก่อนๆ ซะเหลือเกิน เกือบหนึง่ ปีที่ต้องอยู่ในฐานะนักเรียน อาวุโสน้อยที่สุดในคณะใน ทั้งสามคนต้อง ปรับตัวให้สามารถเอาตัวรอด กับการปกครอง แบบใหม่ ที่ มี รุ ่ น พี่ เ ป็ น ผู ้ ดู แ ลปกครองรุ ่ น น้อง ด้วยตัวของทั้งสามเอง ทั้งถูกเรียกใช้ ในกิจการส่วนตัวของรุ่นพี่ ทั้งภาระหน้าที่ที่ ต้องท�ำให้ส่วนรวม ไม่ว่าจะต้องเป็นเวรล้าง ห้องน�้ำ กวาดล็อคเกอร์ ท�ำความสะอาดห้อง เพรบ นี่ ยั ง ไม่ ร วมการจั ด การดู แ ลตั ว เอง และการซ้ อ มกี ฬ าที่ ห นัก ขึ้ น เป็ น เท่ า ตั ว กว่ า ตอนที่อยู่เด็กเล็ก ...ทั้งสามเพิ่งรู้สึกว่า จะมี เวลาสบายๆ ขึ้นมาหน่อย ก็ตอนที่ลมหนาว เริ่ ม พั ด ผ่ า นกลั บ มาอี ก ครั้ง กิจ กรรมที่เคย
หนักหน่วงเมื่อต้นปี ถึงตอนนี้ลดน้อยลงเยอะ แล้ว แต่สงิ่ หนึง่ ทีไ่ ม่เคยลดน้อยลงเลยในความ คิดของสามตัวแสบนีค้ ือ ...อยากกลับบ้าน ระหว่างที่ทั้งสามก�ำลังปล่อยตัวเองให้ ชิลชิล ไปกับอากาศหนาวบริเวณหน้าตึกขาว สายลมหนาวกรรโชกแรงปะทะหน้าของทั้งสาม คนพร้อมทั้งหอบหิ้วฝุ่นและใบใม้บริเวณนั้น ตลบอบอวลบริเวณที่สามคนนัน้ ยืนอยู่ ราวกับ พระพายตั้งใจเป่าลมแกล้งสามคนอย่างจงใจ เพื่อเป็นลางบอกเหตุอะไรบางอย่าง สิ้นกระแสลมแรงผ่านไป ทั้งสามคน เอามือขยี้ตาเพื่อคลายอาการเคืองตาจากผง ฝุ่นที่เข้าตา เมื่อสามารถตั้งตัวได้ ตัวแสบคน แรก เหลือบเห็นใบไม้ที่ยังคงติดอยู่บนเสื้อ ของเพื่อนอีกสองคนจึงตัดสินใจที่จะเอื้อมมือ ไปปัดใบไม้ให้เพื่อน แต่ก็ต้องหยุดชะงัก เมื่อ สังเกตลักษณะของใบไม้ใบนั้น จึงตัดสินใจ หยิบใบไม้บนเสือ้ ของเพือ่ นขึน้ มาพินจิ พิจารณา อย่างถี่ถ้วน “เฮ้ยยยย นี่มันใบแก้วรึป่าววะ” “ไหนดูดิ” ตัวแสบคนที่สองรีบคว้าจาก มือเพื่อนมาดู มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 101
“เออ ใช่แล้ววะ... ใบแก้วนี่รึป่าววะ ที่ รุ่นพี่เค้าบอกว่าถ้าเคี้ยวแล้วจะตัวร้อนจี๋เลย” “ตัวร้อนเหรอ!!!!” ทั้งสามคนเงยหน้าขึ้นมาถามพร้อมๆ กันแบบไม่ได้นดั หมาย ดวงตาเบิกโพลง ไม่ตอ้ ง บอกก็รู้ว่าทั้งสามคนคิดอะไรได้ใหม่พร้อมๆ กัน ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดที่เกิดจากก้นบึ้งของ ความคิดของเด็กใหม่สามคนนั้น คงไม่พ้น เรื่องอื่นนอกจาก ค�ำว่า “กลับบ้าน” ว่าแล้วทั้ง สามคนพร้อมใจกันเดินหยิบใบแก้วใส่กระเป๋า กางเกงกีฬาจนตุงกางเกง แล้วตบเท้ามุ่งหน้า ไปที่ตึกพยาบาลโดยไม่ต้องนัดแนะกันมาก่อน เลย ทั้งสามตัดสินใจใช้ทางเดินข้ามสะพาน ไปทางศาลากลางน�้ำ เพราะเป็นทางเดินที่ใกล้ ตึกพยาบาลทีส่ ดุ แต่ระหว่างทางหนึง่ ในนัน้ เกิด ฉุกคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาจึงหยุดเดินแล้วหัน มาถามเพื่อนอีกสองคนว่า “เฮ๊ยย เกิดเคี้ยวแล้วตัวไม่ร้อนท�ำไง วะ พวกมึงมีใครลองรึยัง” เพื่อนอีกสองคนรีบ ส่ายหน้าปฏิเสธ “แล้วใครจะลองก่อนละ” ค�ำถามวัดใจนี้ได้ผล เพื่อนรักอีกสอง คนรีบปฏิเสธส่ายหน้า อย่างพร้อมเพรียงกัน เรียกว่าถ้าแข่งความพร้อมแบบแข่งระเบียบ แถวคงได้คะแนนเต็มสิบ “ไม่ ใช่ กู แน่ ขื น เคี้ ย วไปตั ว ไม่ ร ้ อ น น�้ำลายฟูมปากขึ้นมาท�ำไง” หนึง่ ในนัน้ ออกตัว น�ำไปก่อน “งั้นกูเอง”
102
อย่างที่เค้าว่ากันว่าสถานการณ์สร้าง วีรบุรุษนัน่ แหละครับ ตัวแสบคนแรกในฐานะ ทีเ่ ป็นต้นคิดหยิบใบแก้วขึน้ มาคนแรก ขันอาสา รับหน้าที่ พร้อมกับหันไปสบตากับ ตัวแสบคน ที่สอง แล้วพยักหน้าให้กันเหมือนกับจะบอก ว่า มึงไม่ต้องกูเอง ...ช่างเท่ห์สุดสุด ว่าแล้วตัว แสบคนแรกก็ตัดสินใจล้วงใบแก้วจากกระเป๋า กางเกงขึ้นมาหนึง่ ก�ำ ทันใดนัน้ เอง เสียงฝ่ามือ แหวกอากาศปะทะลงบนโหนกหัวของตัวแสบ คนที่สามอย่างจัง “เพี๊ยะ!!!!” “โอ๊ยยย แม่งตบกบาลกูท�ำไมวะ” ตัวแสบคนที่สามหันไปด่าตัวแสบคน ที่สอง เจ้าของฝ่าลมแหวกลมหนาวเมื่อสักครู่ และพร้อมจะเอาเรื่องต่อ “ไอ้.. ชิบ..” “อ๊อกกกกก” ยังไม่ทนั ทีจ่ ะเอาเรือ่ งต่อไปอย่างไร ฮีโร่ ของเพือ่ น ทีม่ อื ก�ำใบแก้วอยูเ่ มือ่ สักครูน่ ี้ จัดการ ยัดใบแก้วที่อยู่ในมือใส่ปาก ฮีโร่ตัวจริงที่เพิ่ง โดนตบกบาลไป ตัวแสบคนที่สองเห็นดังนัน้ จึงตัดสินใจเข้าล็อคแขนฮีโร่ตัวจริงไม่ให้ขัดขืน พร้อมทั้งสั่งให้ ท่านผู้น�ำคนแรกรีบเอามือ ปิดปาก แล้วบีบปากให้ฮีโร่ตัวจริงเคี้ยวใบแก้ว ...นี่แหละทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดของจริง.. ทั้งสองคนใช้เวลาซักพักในการสร้าง วีรบุรุษใบแก้ว จึงคลายมือออกจากเพื่อนผู้ โชคร้ายนัน้ “อ้วกกก ถุยยยย” ตัวแสบคนที่สาม ส�ำรอกใบแก้วออกจากปากอย่างเร็วที่สุด แล้ว
รีบวิ่งไปไล่เตะ เพื่อนรักอีกสองคนให้หายแค้น ซะทีสองที ไล่เตะกันได้ซักพัก ตัวแสบคนที่ สามจับตัวเพื่อนรักหนึง่ ในสองคนได้ก�ำลังง้าง เท้าจะเตะ พลันเสียงเพื่อนคนที่ถูกจับตัวได้ก็ ร้องเสียงหลงขึ้นมา แต่ไม่ใช่เสียงร้องขอชีวิต แต่อย่างใด “เฮ๊ย ตัวมึงร้อนจี๋เลยวะ” ได้ผล ฮีโร่ ลดเท้าลง แล้วยกมือขึ้นไปจับหัวตัวเอง “จริงด้วยวะ” ไม่ทันขาดค�ำ ตัวแสบที่ ปฏิเสธเสียงแข็งที่จะเคี้ยวใบแก้วในตอนแรก กลั บ หั น หลั ง กลั บ วิ่ ง เต็ ม สปี ด มุ ่ ง หน้ า ไปตึ ก พยาบาลโดยไม่สนใจเพื่อนรักอีกสองคน “เฮ้ยยย รอด้วยสิวะ” สองคนที่วิ่งหนี อยู่ เมื่อสักครู่กลับวิ่งไล่คู่กรณีตามไปติดๆ พร้อมกับร้องตะโกน “กูไปก่อนล่ะ เดี๋ยวตัวแม่งหายร้อน ฮาๆๆๆๆ” มันวิ่งไปหัวเราะไป อารามดีใจว่าใน ที่สุดกูก็ได้กลับบ้านก่อนใคร เมื่อถึงตึกพยาบาล ฮีโร่ตัวจริงหยุด พักเหนื่อย และรอเพื่อนรักอีกสองคนอยู่หน้า ตึกพยาบาล “เดี๋ยวพวกมึงพยุงแขนกูขึ้นไปหาหมอ หวัน หน่อยนะ กูจะท�ำหน้าซึมๆให้เหมือนคน ป่วยหน่อย” ฮีโร่ตัวจริงที่บัดนีก้ ลับอารมณ์มาเป็น ผู้น�ำวางแผนซะเอง “โอเค” เพื่อนรักสองคน สมัครสมานสามัคคีกันท�ำตามแผน พร้อมกับ เช็คใบแก้วที่ยังเหลือในกระเป๋ากางเกง เพื่อให้ พร้อม หมายมั่นว่า ถ้าเพื่อนได้กลับบ้าน จะรีบ
หยิบใบแก้วที่เหลือมาเคี้ยวตามไปบ้าง “หมอหวันครับ เพื่อนผมไม่สบาย ตัว ร้อนจีเ๋ ลยครับ” แผนการหนีกลับบ้านขัน้ ทีห่ นึง่ เริ่มขึ้น “ไหนดูซิ” หมอหวันพูดพร้อมกับเอา มือมาจับที่หัว และ คอ “อู้หู ตัวร้อนมากเลย นะเนี่ยเรา เอ้าเดี๋ยววัดปรอทหน่อยนะ ถ้าสูง มาก หมอคงต้องให้กลับบ้าน” ว่าแล้วก็หยิบ ปรอทวัดไข้มาให้ตัวแสบคนที่สามอมไว้ใต้ลิ้น “เดี๋ยวหมอมานะ ไปเอาใบส่งตัวกลับบ้านมา เตรียมเซ็นต์ไว้ก่อน” เมื่อหมอหวันหันหลังกลับไปหยิบใบ ส่งตัวกลับบ้าน ตัวแสบสามคนหันกลับมามอง หน้ากัน แววตาเปล่งประกายเต็มไปด้วยความ ดีใจที่จะได้กลับบ้าน พร้อมทั้งล้วงกระเป๋า กางเกงเช็คใบแก้วของ สองคนที่ยังไม่ได้เคี้ยว ใบแก้ว เมื่อหมอกลับมา ก็ถามข้อมูลส่วนตัว ของตัวแสบคนที่สามเพื่อกรอกใบส่งตัวรอไว้ แต่ยังไม่ได้เซ็นต์ชื่อ แล้วก็คว้าปรอทออกจาก ปากตัวแสบคนที่สามเพื่อที่จะดูระดับไข้.... ตัว แสบสามคนไม่สนใจอย่างอื่น จิตใจจดจ่ออยู่ กับท่าทีของหมอหวันว่าจะเซ็นต์ใบส่งตัวเมื่อ ไหร่ หมอหวันก้มหน้าลงดูระดับไข้ในปรอท แล้วนิง่ ไปซักพัก แล้วเงยหน้าขึ้นมาพูดว่า... “นี่เธอ ไปเคี้ยวใบแก้วมาใช่มั๊ย” ตัว แสบสามคนสะดุง้ โหยง “อย่ามาหลอกชัน้ ซะให้ ยาก นีม่ นั เคีย้ วกันมากีร่ นุ่ แล้วเธอรูม้ ยั๊ ... ฟ้อง หัวหน้าซะดีมั๊ยเนี่ย” ว่าแล้วหมอหวันก็หยิบใบ ส่งตัวมาขย�ำทิ้งให้สะเทือนใจตัวแสบ ฮีโร่ตัว มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 103
จริงหน้าซีดเผือก ในขณะที่เพื่อนอีกสองคน เริ่มคลายมือออกจากใบแก้วในกระเป๋ากางเกง หน้าตาสิ้นหวังสุดชีวิต และด้วยความรักเพื่อน สุดชีวติ ทัง้ สองคนจึงหันมาพยักหน้ากันอีกครัง้ แล้วขยับตัวเองจะลุกออกจากหน้าโต๊ะหมอ หวัน แล้วหันไปกระซิบเบาๆ กับฮีโร่ตัวจริงว่า “เอออออ กูสองคนไปก่อนนะ ปวด เยี่ยยวหว่ะ” (รักกันจิ๊งงงพวกมึง) ตัวแสบคน ที่สามไม่ได้ตอบอะไรเพราะยังนึกอะไรไม่ออก นัง่ หน้าซีดเผือกกลัวหมอไปบอกหัวหน้า ซึ่ง อาจจะท�ำให้โดนข้อหาใหญ่ได้ ตัวแสบสอง คนแรกขยับท�ำท่าจะลุกจากโต๊ะหมอ หมอ หวันก็หันมาเรียกตัวแสบทั้งสองคน “นี่เธอจะไปไหน” สิ้นเสียงหมอ ทั้ง สองเข่าอ่อนนัง่ ทรุดลงที่เดิม ในใจคิดว่างานนี้ โดนด้วยแน่ ข้อหาสมรู้ร่วมคิด “เอ่อ คือผม ไม่ได้เอ่ออออ” ยังไม่ทันที่ตัวแสบคนแรกจะ พูดจบ เสียงหมอหวัน ก็แทรกขึ้นมา พูดกับ ตัวแสบคนแรก “ท�ำไม ตาเธอถึงแดงขนาดนัน้ ” .... “หะ หา อะ อะไรนะครับ” ตัวแสบคนแรก เงยหน้ามาพูดกลับหมอหวันด้วยความแปลกใจ หมอถามว่า “ไปท�ำอะไรมาตาถึงแดง กล�่ำขนาดนัน้ ” ตัวแสบคนแรกหันมามองหน้า เพื่อนทั้งสองคนเพื่อจะขอค�ำยืนยัน เพื่อนรัก สองคนพยักหน้ายืนยันว่าตามึงแดงจริง ก็จะ ไม่แดงได้ยังไงเมื่อกี้มึงเพิ่งโดนฝุ่นเข้าตาแบบ เต็มๆ แถมขยี้ตาอย่างแรงซะจนน�้ำตาไหล อ๋อ สงสัยจะติดจากบ๋อยที่คณะหน่ะ ครับ เมื่อวานผมถูกรุ่นพี่ใช้ให้เอาเสื้อไปฝาก
104
ซัก แล้วบ๋อยคนนัน้ ก็เป็นโรคตาแดงอยู่พอดี หน่ะครับ” สองคนที่เหลือนัง่ อ้าปากหวอ ทึ่ง กับความกะล่อนของเพื่อนรัก ที่สามารถพลิก สถานการณ์ในช่วงวิกฤตได้ “ถ้าอย่างนัน้ คงติดเชื้อมาแน่ งั้นหมอ ต้ อ งให้ ก ลั บ บ้า นนะ ไม่ งั้ นจะระบาดกั นทั้ ง โรงเรียน” ว่าแล้วหมอก็หยิบใบส่งตัว พร้อม เซ็นต์ชื่อก�ำกับยื่นให้ พร้อมบอกว่า “เดีย๋ วเอายาไปหยอดทีบ่ า้ นนะ รอเดีย๋ ว” เมือ่ หมอลุกไปหยิบยา เพือ่ นรักอีกสอง คนรีบคว้าตัวไอ้ตาแดงจอมกะล่อนไปทีห่ อ้ งน�ำ้ “เดี๋ยวๆๆ พวกมึงจะท�ำอะไร” “อยู่เฉยๆ น่า” ว่าแล้วตัวแสบสองคน ที่เหลือก็หยิบแก้วน�้ำที่อ่างล้างหน้าในห้องน�้ำ ตึกพยาบาล เปิดน�้ำใส่แก้วแล้วยื่นให้ ไอ้ตัว แสบตาแดง “อะไรวะ” ตัวแสบตาแดงถาม “มึงลืมตาในน�้ำเลย” ว่าแล้วก็ให้ตัว แสบตาแดงก้มหน้าลืมตาในแก้วน�้ำ แล้วสอง คนทีเ่ หลือ ก็กม้ หน้าลืมตาในน�ำ้ ในแก้วเดียวกัน ตามล�ำดับ “พวกมึงจะท�ำท�ำไม ก็ในเมื่อกูไม่ได้ แดงจริง” “เอาน่าเผื่อไว้ก่อน” ตกเย็นผู้ปกครอง ของตัวแสบตาแดงก็มารับ ระหว่างที่กำ� ลังเก็บ ของจากล๊อคเกอร์ เพือ่ นรักสองคนมายืนรอส่ง อยู่ แล้วพูดว่า “เดี๋ยวพรุ่งนี้ กูสองคนตามไป” ไอ้ ตาแดงเงยหน้าขึ้นมา นิง่ คิดไปสักครู่ แล้วนึก ได้ก็ ถามกลับไปว่า
“หมายความว่า” ไม่ตอ้ งรอให้ถามเพือ่ น สองคนที่เหลือก็ชิงตอบก่อน “ใช่แล้ว พอกูถึงบ้านแล้ว วันรุ่งขึ้นกู จะโทรไปหาที่บ้านมึง แล้วนัดเล่นเกมส์กันที่ บ้านมึงกัน” “โอเคเลยเพื่อน แล้วเจอกัน” เช้าวันรุ่งขึ้น ณ ห้องอาบน�้ำ ของคณะ หนึง่ ในโรงเรียนวชิราวุธฯ ตัวแสบทัง้ สองทีเ่ หลือ ยืนจ้องหน้ากันก่อนอาบน�้ำ “ไม่เห็นแดงเลยวะ” “ไม่เป็นไรกูมีวิธี” ว่าแล้วตัวแสบคนที่ สองก็หักสบู่ไว้ครึ่งนึง ส่วนอีกครึ่งนึงที่เหลือ ยื่นให้กับตัวแสบคนที่สาม “เอ้า มึงเก็บเอาไว้ พอกินข้าวเช้าเสร็จ มึงกับกูรีบวิ่งไปห้องน�้ำ เอาสบู่ป้ายตาให้แดง แล้วรีบไปขอหัวหน้าไปตึกพยาบาล พอถึงตึก พยาบาลมึงยัดที่ตาอีกทีให้แดง แล้วพอหมอ ถาม เราก็บอกว่าติดจากเพื่อนคนเมื่อวานที่ หมอให้กลับบ้านไป โอเคนะ” “โอเคเลยยมึง เรื่องชั่วๆ นี่มึงถนัดนัก” “อ้าว!! แม่งจะท�ำมั๊ยท�ำ” “โอเค ไปไหนไปด้วยอยู่แล้ว” และแล้วแผนทั้งสองคนก็สำ� เร็จลุล่วง ได้ใบส่งตัวกลับบ้านมาอยู่ในมือ ระหว่างที่ เก็บของ ตัวแสบคนที่สามหยุดชะงักเหมือน นึกอะไรขึ้นมาได้ “ชิบหาย แล้ว เกิดกลับบ้านไปแล้วตา ไม่แดงท�ำไงวะ” “ก็บอกว่ามันหายแล้วสิวะ หมอเซ็นต์ ให้อยู่บา้ นตัง้ สามสีว่ นั พ่อมึงก็ต้องว่าตามหมอ
อยู่แล้ว” “แม่ง มึงจ�ำไม่ได้เหรอ ว่าพ่อกูเป็นหมอ แล้วก็เป็นโอวีด้วย รู้ทันกูทุกอย่างนัน่ แหละ” “เออจริงด้วย งั้นกูก็ไม่รู้แล้ว มึงกลับ เองไม่ใช่เหรอ ยังมีเวลาคิด เวลานัง่ รถเมล์กลับ บ้านน่า กูกลับก่อนละ” เย็ น วั น หนึ่ ง บนรถเมล์ ส ายหนึ่ ง ท่ามกลางอากาศหนาวของกรุงเทพ และจราจร อันติดขัด อาจจะมีคนสังเกตเห็นเด็กนักเรียน ในชุดราชปะแตน นั่งอยู่ริมหน้าต่างรถเมล์ น�้ำตาไหลซิก คอยเอามือเช็ดน�้ำตา และขยี้ตา เหมือนเด็กขี้แยคนนึงที่เพิ่งไปเจอเหตุการณ์น่า เสียใจอะไรในชีวิตมาสดๆ ร้อนๆ มันช่างเป็น ภาพที่น่าสะเทือนใจแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก แต่ประชาชนผู้มีจิตใจสงสารเหล่านัน้ จะรู้มั๊ย ว่า มันคือไอ้ตวั แสบคนทีส่ าม ทีพ่ ยายามลืมตา ชะโงกหน้า ออกจากหน้าต่างรถเมล์ ให้ ลมตีเข้า ตาให้ตาแห้งและแดง เพราะเวลากลับถึงบ้านจะ ได้ให้พ่อนึกว่า เป็นตาแดงจริงๆๆ... “กริ๊งๆๆๆ กริ๊งงงงๆๆๆ ฮัลโหล มึง เองเหรอ” “เออกูเอง” “แม่งเจ๋งหว่ะกลับบ้านมาได้จริงๆ แต่กู มีข่าวร้ายหว่ะ”..... “มึงไม่ต้องพูดอะไร เพราะกูสองคนก็ แดงไปไหนไม่ได้เหมือนกัน”.... ผมเขียนบทความข้างบนที่ทุกท่านเพิ่ง อ่านจบไป จากพื้นฐานเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับ ตัวผมโดยส่วนใหญ่ เนื่องจากระหว่างที่นึก เรื่องที่จะเขียนลงในฉบับนี้ เป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่ มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 105
เทศกาลปีใหม่พอดี ซึง่ ทุกปีผมก็จะกลับบ้านไป ฉลองปีใหม่ กับพ่อแม่ และพี่น้องทุกคนที่บ้าน แถมปีนี้ยังเป็นวันหยุดยาว ผมเลยได้โอกาส ขับรถรับลมหนาวไปสวัสดีปีใหม่ อาของผมที่ บ้านราชบุรี บ้านเกิดของต้นตระกูลผม เลยได้ มีโอกาสปัดฝุน่ ภาพแห่งความทรงจ�ำของผมกับ บ้านหลังนี้ ซะหน่อย เนื่องจากตัวผมเองไม่ได้มีโอกาสใช้ ชีวิตที่บ้านนี้เลย จะมีก็แต่เวลามาหาคุณปู่เป็น ครัง้ คราว แต่เมือ่ ก้าวแรกทีม่ าถึงผมก็ได้สมั ผัส ถึงกลิ่นอายของโรงเรียนวชิราวุธฯ ที่ปรากฏ เครื่องหมายพระวชิราวุธ อยู่บนประตูทางเข้า ออกของบ้านทีร่ าชบุรี พอเดินเข้าไปในบ้านก็พบ ว่ารถยนต์เกือบทุกคัน กระจกทีป่ ระตูบา้ นอาผม ติดสติกเกอร์ โอวี หมด ที่ส� ำคัญที่สุดผม มักจะเจออาผมสวมเสื้อโอวี เกือบทุกครั้งที่ เราเจอกัน แค่นนั้ ไม่พอผมยังมีโอกาสได้เปิด อัลบั้มภาพเก่าๆ ของอาผม ที่บรรจุภาพเก่า เล่าเรื่อง ความเป็นมาของต้นตระกูลผม กับ บ้านหลังนี้ และความเกี่ยวพันของบ้านหลังนี้ กับเด็กวชิราวุธฯ เพราะตั้งแต่สมัยพ่อผม อา ผม จนถึงน้องชายผม (ลูกชายของอาเขม) ที่ต่างก็พาเพื่อนที่วชิราวุธฯ มาค้างแรม กิน อยู่หลับนอน เวลาโรงเรียนปิด ซึ่งพ่อของ เพื่อนที่เป็นเจ้าของบ้านสมัยโน้นก็คือ คุณปู่ ของผม และสมั ย นี้ก็ คื อ อาเขม ของผม (เขมชาติ โพธารามิก รุ่น ๔๐) ต่างก็ท�ำหน้าที่ ดู แ ลเพื่ อ นลู ก ให้ กิ น อยู ่ เหมื อ นลู ก เหมื อ น หลานตัวเอง เวลาผมดูรูป อาผมก็จะคอยเล่า
106
เรื่องสมัยก่อนให้ฟังตลอด จนผมรู้สึกดีใจที่ ปีใหม่ปีนี้ผมได้มีโอกาส กลับมาบ้านเก่าของ พ่อ ได้มาซึมซับที่มาที่ไปของต้นตระกูลเรา ว่า เราเป็นใครมาจากไหน แต่ที่ส�ำคัญคือ ส่วน หนึง่ ของคนในตระกูลเราได้มีโอกาสได้เข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงอย่าง โรงเรียนวชิราวุธฯ และเป็นประวัติศาสตร์ที่ ภาคภูมิใจของตระกูลเรา ที่มีต่อโรงเรียนและ บ้านหลังนี้ เพราะบ้านหลังนี้เป็นที่ให้ก�ำเนิด พวกเรา และโรงเรียนวชิราวุธฯ ก็เป็นเหมือน บ้านหลังที่สอง ที่คอยท�ำหน้าที่สั่งสอนอบรม ทัง้ วิชาความรู้ จริยธรรม และความเป็นสุภาพบุรษุ กลับบ้านที่ราชบุรีคราวนี้ ผมรู้สึกดีใจ เป็นพิเศษที่ได้มีโอกาส นัง่ คิดถึงคุณปู่ คุณพ่อ และเก็บความรู้สึกดีๆ ในอดีตของผมกับบ้าน หลังนี้และโรงเรียนวชิราวุธฯ ไปพร้อมๆ กัน และผมก็เลยตัง้ ใจว่าจะเขียนต้นฉบับนีเ้ กีย่ วกับ การกลับบ้าน และต้องกลับไปเขียนพิมพ์ทบี่ า้ น ซึง่ วันทีผ่ มนัง่ พิมพ์ตน้ ฉบับอยูน่ ี้ ผมมานัง่ พิมพ์ ทีห่ อ้ งสนามหลัง สมาคมนักเรียนเก่าฯ นัง่ พิมพ์ ไปพร้อมๆ กับ บรรยากาศเย็นๆ และ ทิวทัศน์ ของสนามหลังของโรงเรียนที่ไอ้ตัวแสบสาม คนนั้นอยากจะหนีออกมานักหนาในตอนนั้น จนถึงตอนนี้ ไม่รู้ว่าไอ้สามคนนั้น ยังอยาก กลับมานัง่ อยูท่ เี่ ดียวกันกับผมตอนนีร้ เึ ปล่า แต่ ที่แน่ๆ ต่อไปนี้ เมื่อไหร่ที่ผมอยากกลับบ้าน ผมจะไม่รีรอเลยที่จะ “กลับบ้าน” วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐)
สนามหลัง ข่าวสารสมาคม
วันพุธที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายกฯ และคณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ใน พระบรมราชูปถัมภ์ เฝ้าทูลละอองพระบาทถวายเงินรายได้จากการจัดกิจกรรมเดินการกุศลจ�ำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 107
วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ผู้แทนสมาคมนักเรียนเก่าฯ น�ำโดย นายตันติ ปริพนธ์พจนพิสูทธิ์ อุปนายกสมาคมฯ ร่วม วางพวงมาลาเนื่องในวันปิยมหาราช ณ พระลานพระราชวังดุสิต
108
วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๘.๐๐ น.
ภาพการแข่งขันรักบี้ประเพณีชนช้างระหว่างทีม O.V. - RBSC ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ผลการ แข่งขัน O.V. ชนะ RBSC ๓๖ ต่อ ๑๒ จุด
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 109
วันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เคารพศพ พล.ต.ต.ชนะ สมุทวนิช บิดาของอดีตผู้บังคับการ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช โอวี ๓๓ วัดตรีทศเทพ ศาลา ๕/๑
110
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
Golf O.V. - R.V. ๒๐๐๘ ที่ Thanont Golf ผลการแข่งขันปีนี้เสมอกัน
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 111
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
วันแข่งขันรักบี้ประเพณีวชิราวุธ-ราชวิทย์ ครั้งที่ ๑๙ ผลการแข่งขัน ราชวิทย์ชนะไปด้วยคะแนน ๒๓ - ๒๒
112
วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ผูแ้ ทนนักเรียนเก่าฯ ร่วมเฝ้าถวายชัยมงคลเนือ่ งศุภมงคลสมัยคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 113
วันอังคารที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๒.๓๐ น.
คณะผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เข้าเยี่ยมชมวชิราวุธวิทยาลัย โดยคุณดุสิต นนทะนาคร เป็นผู้กล่าวแนะน�ำ ณ ห้องสนามหลังวันอังคารที่ ๒๕ พ.ย. ๒๕๕๑ เวลา ๑๒.๓๐ น.
114
นางสาวไทย บ่ายวันอาทิตย์ ครอบครัวโอวี
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 115
ลังค�่ำคืนของการประกวดนางสาวไทยประจ�ำปี ๒๕๕๐ ผ่านพ้นไป หนึง่ ในความฝัน ยอดนิยมที่ เรามักจะได้ยินค�ำตอบจากบรรดาเด็กผู้หญิงว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร?” - “นางสาวไทยค่ะ” คงเป็นค�ำตอบที่ยังคงเป็นความฝันยอดนิยมในใจของเด็กผู้หญิงทั่ว ประเทศ วันนีค้ วามฝันที่ว่านี้ ได้กลายมาเป็นความจริงของ สาวน้อยทั้ง ๓ คน น้องบุ๋ม นางสาว ไทยคนล่าสุด มาพร้อมกับเพื่อนๆ รองนางสาวไทยอีก ๒ คน คือ ปาล์มและเดียร์ เพื่อมาร่วมงาน เลีย้ งฉลองและขอบคุณทีจ่ ดั โดยสมาคมศิษย์เก่าวชิราวุธฯ นับว่าเป็นโอกาสทีด่ ที ที่ างทีมงานอนุมาน วสาร ได้นงั่ พูดคุยกับสาวๆ ทั้ง ๓ คน ถึงความเป็นตัวตนและความคิดของพวกเธอทั้งสามคนให้ พวกเราโอวีได้รบั รูเ้ รือ่ งประกวดนางงามจากแง่มมุ ของสาวๆ ในแบบสบายๆ ของบ่ายวันอาทิตย์กนั ก่อนเข้าประกวดนางสาวไทย พอได้ยินค�ำว่า “วชิราวุธฯ หรือ โอวี” จะนึกถึงอะไรเป็นสิง่ แรก? บุ๋ม รู้จักค่ะ รู้จักวชิราวุธฯ กับนางสาวไทย มานานแล้ว และอีกอย่างก็มีญาติ ที่เป็น น้องเรียนอยู่ที่นี่ ตอนนี้อยู่ชั้นประถมฯ
116
ปาล์ม ตอนเป็นนักเรียนพยาบาลต้องนัง่ รถผ่าน อยูบ่ อ่ ยๆ ทราบแค่วา่ เป็นโรงเรียนประจ�ำ เดียร์ ไม่รู้จักค่ะ
พอได้เข้ามาในโรงเรียนวชิราวุธฯ แล้วประทับ ใจสถานที่ตรงไหนของโรงเรียนมากที่สุด? บุ๋ม ที่เขาเรียกว่าอะไรนะ ที่มีพิธีการ (หอ ประชุมครับ) ที่ชอบเพราะว่า เป็นหอ ประชุมทีไ่ ม่เหมือนแบบโรงเรียนอืน่ ทัว่ ๆ ไป แต่จะออกดูคล้ายกับสถานที่สำ� หรับ ในหลวงเสด็จฯ ออก ปาล์ม ของปาล์มจะชอบตึกที่เขามาถ่ายรูปกัน เยอะๆ ตึกที่อยู่ด้านหลังของหอประชุม ไม่ทราบว่าเรียกว่าอะไรค่ะ (ตึกขาวครับ) ที่ชอบเพราะตึกดูสวย เดียร์ ชอบตรงสะพานข้ามไปเกาะกลางน�้ำค่ะ ตรงหลังหอนาฬิกา ทีช่ อบเพราะพอได้ไป ยืนแล้วรู้สึกสบาย ดูแล้วชอบที่โรงเรียน มีที่ให้เด็กได้ผ่อนคลาย รู้สึกกดดันไหมที่ได้รับต�ำแหน่ง? บุ๋ม ไม่กดดันค่ะ เวลาอยู่ที่คณะ และด้วย ความที่เป็นคณะแพทย์ฯ มันก็จะไม่มี แบบเข้ามากรี๊ดกร๊าด หรืออะไร พี่ๆ ก็ จะเข้ามาแค่ดีใจด้วย ส่วนเด็กคณะอื่นๆ ก็ไม่ได้เข้ามา เพราะมีตึกประกบอยู่เลย ท�ำให้คณะแพทย์จะคล้ายกับโรงเรียน ประจ�ำเลย ปาล์ม ไม่กดดันอะไร เพือ่ นๆ พีๆ่ ในวอร์ดก็จะ ข�ำข�ำ เพราะงานที่นนั่ ค่อนข้างจะเครียด คนที่ไม่เคยถ่ายรูปเลยก็จะเอามือถือมา ถ่ายรูป สนุกดี
เดียร์ รู้สึกเฉยๆ รู้สึกว่ามันไม่ใช่ตัวของเราเอง เพราะว่าโดยส่วนตัวแล้ว เป็นนักดนตรี Percussion คือมันไม่เหมือนกับสังคม ที่เราเคยอยู่ มันฉีกออกมาเลย แตกต่าง มาก เหมือนอยู่คนละโลกกัน เวลาที่ เดียร์เล่นดนตรีทุกครั้ง จะโซโลเดี่ยวทุก ครั้ง ซึ่งก็จะกดดันทุกครั้งอยู่แล้ว แนวทีเ่ ล่นก็จะมีทงั้ แนว ซิมโฟนิก กับ เรกเก้ ซิมโฟนิกจะเป็นแนวทีเ่ ดียร์เล่น บ่อยมากค่ะ ส่วนใจจริงชอบเรกเก้ แต่ยงั เล่นได้ไม่ค่อยถนัด เพราะตอนนี้เจ็บมือ นี่ ล ะค่ ะ ที่ ท�ำ ไมผู ้ ห ญิ ง ถึ ง ไม่ ค ่ อ ยชอบ เล่นเครื่อง Percussion เพราะมันต้อง ใช้มือตี ถ้าอยากพบเดียร์ที่ไม่ได้เป็นรองนางสาวไทย แล้ว จะพบเจอได้ที่ไหนบ้าง? เดียร์ ก็คงจะเป็นร้านแถวๆ ข้าวสารค่ะ ร้าน ที่ไปบ่อยสุดก็คงเป็นร้าน Bird eyes view เพราะว่า ไม่ค่อยมีคนอื่นจะมีแต่ เด็กศิลปากร เด็กธรรมศาสตร์ ทั้งนัน้ แล้วของปาล์มตอนท�ำงานเป็นอย่างไรบ้างครับ? ปาล์ม คนไข้ก็จะเข้ามาทักทาย ว่ากลับมาแล้ว หรอ โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ทีก่ ลับมาหลัง จากไปเก็บตัวทีส่ โุ ขทัย บ้างคนก็เข้ามาขอ ถ่ายรูป
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 119
ภาระกิจหลักๆ ของนางสาวไทยในอนาคต? บุ๋ม เป็นฑูตวัฒนธรรมค่ะ เรา ๓ คนก็เป็นฑูต ทัง้ ๓ คนเลยค่ะ ก็จะมีไปประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่วฒ ั นธรรมไทยทีซ่ งึ่ คนไทย ก็รู้ดีอยู่แล้ว เราก็จะไปที่ต่างประเทศ ก็ จะมีหลายประเทศเชิญเราไป ตอนนี้มี การรณรงค์ค่อนข้างเยอะ แต่ตอนนีง้ าน ก็เริ่มจะกระจายๆ ด้วยเหตุผลที่มีการ เปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่าง เราก็เลยยังไม่รู้ว่าตอนนีจ้ ะต้อง ท�ำอะไรบ้าง คือตอนนี้เราก็ได้แต่รอ วิธีการประชาสัมพันธ์แบบนางสาวไทยต้อง ท�ำอย่างไร? บุ๋ม ก็จะไหว้ ยิ้ม อะไรแบบนี้ละค่ะ เข้าไป พูดคุยกับเขา อย่างวันนัน้ ที่ไปสนามบิน สุวรรณภูมิ เราก็ตอ้ งเข้าไปพูดขอโทษ นัก ท่องเทีย่ วทีท่ ำ� ให้เขากลับบ้านไม่ได้ มีนกั ท่องเที่ยวผู้หญิงคนหนึง่ ร้องไห้เลย เรา ก็ได้แต่บอกว่าอย่าไปกลัวเมืองไทยนะ คุ ณกลั บ มาเที่ ย วได้ อี ก ก็ ค งช่ ว ยได้ ประมาณนี้ นักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติรจู้ กั นางสาวไทยไหม? บุ๋ม เขาก็จะถามว่านีใ่ คร แต่เดินไปใส่มงกุฎไป เขาคงรู้ว่าต้องเป็นนางงามอะไรสักอย่าง
120
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่านางสาวไทยควรท�ำสิง่ ใด เพิ่มเติมจากปัจุบันที่เป็นอยู่? บุ๋ม คงจะท�ำให้เห็นว่าเราให้ความส�ำคัญกับ การท่องเที่ยว การที่เรามาก็คือการที่ เราเห็นความส�ำคัญ สมมติว่าถ้าจะให้ ผูช้ ายออกไปส่งนักท่องเทีย่ ว ภาพทีอ่ อก ไปก็ คือมันก็เป็นการสร้างภาพลักษณ์ อย่างหนึง่ บางทีเราก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก แต่ภาพที่ออกไปมันสวยงาม คนที่ได้ พบเห็นก็รู้สึกดี ถ้าเป็นน้องเดียร์จะใช้เพลงอะไรบรรเลงให้ นักท่องเทีย่ วฟัง เพือ่ เป็นตัวแทนความเป็นไทย? เดียร์ ก็จะใช้เพลงค้างคาวกินกล้วย เป็นที่ สนุกสนานนิดนึง แล้วก็จะเอามาเล่นกับ เครื่องดนตรีที่เดียร์เล่น ที่มีเสียงออก คล้ายกับระนาด หรือไม่ก็อาจจะเล่น เพลง ลาวดวงเดือน อาจมีเพลงพระ ราชนิพนธ์ด้วย เพื่อให้ชาวต่างชาติรู้จัก พระองค์ดียิ่งขึ้น คิ ด อย่ า งไรกั บ แนวคิ ด ที่ ว ่ า เวที ป ระกวด นางสาวไทยเป็นศักดิ์ศรีสตรีไทย? ปาล์ม เป็นแนวคิดที่ยกย่องศักดิ์ศรีสตรีไทย แล้วก็ โดยเฉพาะปีนี้เน้นถึงประกายงาม แห่งปัญญา สตรีไทยนอกจากจะมีความ งามและรอยยิม้ ทีอ่ อกมาจากใบหน้าแล้ว ก็ยังมีความสามารถอีกด้วย บุ๋ม ที่ผ่านมาผู้หญิงที่สวย อาจจะถูกมอง ว่าแค่สวย บุ๋มรู้สึกว่าเวทีนี้ได้สะท้อน
ให้เห็นถึงอะไรหลายๆ อย่าง ถ้าคัด เอาแต่คนที่สวยที่สุด เรา ๓ คนอาจ จะไม่ได้สวยที่สุด แต่ทว่า การที่เราได้ แสดงความรู้ความคิดเห็นต่างๆ บนเวที มันท�ำให้เวทีนดี้ ูแตกต่าง บุ๋มเชื่อว่าเวที นี้จะท�ำให้คนเข้าใจมากขึ้นว่า “ท�ำไม นางสาวไทยถึง ไม่ สวย (ตามใจเขา)” คือเวลาคนนอกเขาดูเขาก็จะคิดว่าคนนี้ ไม่นา่ ได้เลยนะ อยากให้คนนีไ้ ด้มากกว่า แต่ส�ำหรับเวทีนางสาวไทย บุ๋ม เชือ่ ว่าจะเป็นเวทีแรกและเป็นเวทีเดียว ที่ แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงคนๆ นี้ เป็นคน ที่เหมาะสมกับต�ำแหน่ง อาจจะแตกต่าง จากเวทีอื่นๆ ที่เขามองเรื่องความสวย ส�ำคัญมากกว่า เดียร์ ผู ้ ห ญิ ง แต่ ล ะคนจะมี ค วามสามารถ ความคิดความเห็นที่แตกต่างกัน รวม ถึงหน้าตา เดียร์ว่าคนที่เข้ามาประกวด ทุกคนสวยหมด สวยในแบบของตัวเอง สวยด้วยความเป็นตัวของตัวเอง สิ่ง ส�ำคัญ คือ ทางคณะกรรมการเองก็ดี ทางผูช้ มทางบ้านเองก็ดี แต่ละคนย่อมมี รสนิยมชมชอบผูห้ ญิงสวยไปคนละแบบ บ้างคนก็ชอบพี่บุ๋ม บ้างคนก็ชอบพี่เดียร์ สวย บ้างคนก็ชอบหนู รสนิยมความ ชอบส่วนตัวก็บอกไม่ได้ว่าใครสวยกว่า เพราะอยู่บนเวทีทุกคนก็ดูสวยหมด ทุก คนก็มีความรู้ความสามารถหมดทุกคน เพราะฉะนัน้ เวทีนางสาวไทยเป็นเวทีที่
ให้ผู้หญิงไทย มาแสดงออกว่าตนเองมี ศักยภาพอะไรบ้าง ตอนบ่ายวันอาทิตย์ชอบท�ำกิจกรรมอะไรมาก ที่สุด? บุ๋ม อ่านหนังสือ ไม่อ่านหนังสือเรียนก็ไม่รู้ จะท�ำอะไร แบบว่าขี้เกียจอยากนอน พักผ่อนอยู่บ้าน คือ เวลาปกติก็จะไป เรียน อยู่ที่บ้านน้อยมาก ตอนบ่ายวัน อาทิตย์จึงนอนอ่านหนังสืออยู่บ้าน ปาล์ม อาจจะขึ้นเวรอยู่ ส่วนใหญ่จะว่างวัน ธรรมดา เพราะวันเสาร์-อาทิตย์ พยาบาล รุ่นใหญ่ๆ จะไม่ค่อยเข้าเวรกันเพราะมี ครอบครัวแล้ว เดียร์ น่าจะเพิง่ ตืน่ ส่วนใหญ่วนั เสาร์วนั อาทิตย์ ก็จะมีคอนเสิร์ตเล่น ก็จะดูคอนเสิร์ต ตามที่ต่างๆ แล้วสถานที่ที่ชอบไปเที่ยว? บุ๋ม ชอบอยู่บ้านค่ะ เพราะแทบจะไม่ได้อยู่ บ้านเลย ถ้านอนทีค่ ณะได้คงนอนไปแล้ว ละ เคยไปครั้งหนึง่ รุ่นพี่พาไปเลี้ยง แล้ว คนมันเบียดๆ ไม่รู้จะไปกับใคร ไม่ชอบ คนเบียดๆ รู้สึกไม่ดีกับคนที่มาเบียด เดียร์ การที่เป็นนักดนตรีอยู่แล้วก็เลยต้องไป เล่นดนตรี ปาล์ม ก็ไปบ้างค่ะ ร้านแซกโซโฟน ก็ไปเรื่อยๆ แล้วก็แถวข้าวสาร มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 121
เล่นกีฬาไหม? เดียร์ ว่ายน�ำ้ วิง่ ตีแบด เตะบอลกับเพือ่ นเล็กๆ น้อยๆ ปาล์ม เต้นแอโรบิค เข้าฟิตเนสแต่ไม่คอ่ ยมีเวลา ตอนเด็กเล่นวอลเล่ย์บอล แต่บาสกับ ฟุตบอล ไม่ถนัดเลย บุ๋ม ตีเทนนิสบ้าง แต่ร่างกายไม่แข็งแรงเลย ไม่ค่อยได้เล่น อยากฝากอะไรถึงบรรดาโอวีกับการประกวด นางสาวไทย? บุ๋ม ถ้าพูดถึงเรื่องการจัดประกวดนางสาว ไทย ก็เห็นว่าทางสมาคมศิษย์เก่าฯ จัด ได้ดแี ล้ว แต่อยากให้โปรโมทเรือ่ งปัญญา ที่คิดว่าจะน�ำเสนอออกไปให้มากขึ้น เพราะการประกวดเวทีความงาม คนยังมองเรื่องความงามเป็นจุดหลัก ในเรื่องของการน�ำเสนอความรู้ความ สามารถ ที่เราจะใช้เป็นจุดหลักมากกว่า
122
ความงาม เป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่จะท�ำให้คน เข้าใจเวทีนี้มากขึ้น ปาล์ม กิ จ กรรมปี นี้ ก็ ดี เ น้ น ไปที่ เ รื่ อ งของ ภูมิปัญญาปีหน้าอาจจะเป็นภูมิปัญญา กับเทคโนโลยี ส�ำหรับกิจกรรมเก็บตัวก็ คิดว่าน่าจะนานมากขึ้นกว่านี้อีกนิดนึง เดียร์ ทุกอย่างก็ดีตามที่พี่ๆ เขาบอก แต่จะ มีเรื่องตารางเวลาที่เปลี่ยนตลอดเวลา เพราะตัวนางงามเองก็ต้องเตรียมตัว จะ ได้รู้ล่วงหน้าว่าจะต้องท�ำอะไร มงกุฎหนักไหม? บุ๋ม หนักมากกกกกกก ค่ะ กดหัวเป็นร่อง เลยค่ะ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง, ศิรชิ ยั กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖) สัมภาษณ์ กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) เรียบเรียง ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ
วันกลับบ้าน
จากทีมงานอนุมานวสาร อนุมานวสารได้ก้าวล่วงเข้าสู่ปีที่ ๓ ก�ำลังเป็นนิตยสารที่หัดเดินได้ยังไม่คล่องดีนกั เหมือนๆ กันกับบรรดาทีมงานอนุมานฯ ที่ต้อง เรียนรู้ ฝึกหัด และขบคิด ถึงแนวทางการ “ท�ำ หนังสือ” เพื่อเป็นสื่อกลางของพี่น้องพ้องเพื่อน ชาวโอวีทุกรุ่น ทุกกลุ่มอายุ ให้ได้เข้ามามีส่วน ร่วมกับหนังสือเล่มนี้ให้มากที่สุดเท่าที่หนังสือ เล่มนีจ้ ะท�ำได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของทีมงาน อนุมานฯ พบว่าบรรดาศิษย์เก่าของเรา ล้วน แล้วแต่มบี คุ คลทีม่ คี วามคิดความสามารถทีท่ �ำ สิ่งดีๆ ให้แก่ทั้งประเทศชาติ และองค์กรต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม แต่กลับไม่เป็นที่รับรู้มากนัก หรือรู้จกั แต่ไม่เข้าใจว่า โอวีแต่ละท่านทีป่ ระสบ ความส�ำเร็จมีชื่อเสียงในสังคม ก�ำลังท�ำอะไร หรือเคยท�ำสิง่ ใดมาบ้าง ตรงจุดนีเ้ องทีท่ �ำให้อนุ มานวสารต้องเข้ามารับใช้ ให้โอวีดว้ ยกันได้รจู้ กั กันมากขึ้นโดยผ่านบทสัมภาษณ์ ที่จะท�ำให้พี่ รู้จักน้อง น้องก็รู้จักพี่ สายใยความเป็นพี่เป็น น้องแบบโอวีจะได้ไม่ขาดหายไป ภายในบทสัมภาษณ์ ของแต่ละท่าน ทางทีมงานอนุมานฯ จะพยายามนัง่ คิดช่วยกัน ค้นหาข้อมูลและค�ำถาม เพื่อให้บทสัมภาษณ์ ของโอวีท่านนัน้ ๆ มีประโยชน์ ต่อผู้อ่านให้มาก ที่สุด เพราะการเรียนรู้ประสบการณ์ของแต่ บุคคลผ่านตัวบทสัมภาษณ์ จะเป็นการเรียนรู้ ที่เร็วและให้ประโยชน์ต่อคนอ่านได้น�ำกลับไป
ประยุกต์ใช้กับตนเองได้ดีทางหนึง่ แต่ละคืบ แต่ละก้าวย่างของหนังสือ อนุมานฯ คาดว่าบรรดาโอวีทุกท่านคงจะเห็น ได้ชัดมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งใดที่ท่านเห็นว่าเป็น ประโยชน์ต่อหนังสือเล่มนี้ โปรดอย่าเขินอาย หรือลังเล ทีจ่ ะส่งความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ของท่านมาแบ่งปันกันในหมู่พี่น้องโอวี พร้อม กันนีท้ างทีมงานอนุมานฯ ทุกคนก็ยินดีที่เปิด รับโอวีที่มีความฝันความอยากท�ำหนังสือเข้า มาช่วยกันสร้างสรรค์อนุมานวสารให้คงอยูค่ กู่ บั สังคมโอวีกนั ต่อไป หากท่านใดสนใจติดต่อเข้า มาที่เมล์ของทีมงานได้เลยนะครับ กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓) มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 123
ห้องเบิกของ
ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี ห้องเบิกของเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของพี่น้องชาวโอวี เพื่อให้ชาวโอวี อุดหนุนซึ่งกันและกัน หากต้องการจะลงประกาศหรือแนะน�ำธุรกิจ กรุณาแจ้งรายละเอียดพร้อม หมายเลขติดต่อมายัง ovnewsletter@yahoo.com ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�้ำ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง รุ่น ๕๐ และ พีโ่ จ้ รุน่ ๕๔ ตัง้ อยูร่ มิ สระว่ายน�ำ้ Riverline Place คอนโดมิเนียม ติดแม่น�้ำเจ้าพระยา (มีทั้งวิวริม น�ำ้ และวิวนักว่ายน�ำ้ ) ถนนพิบูลสงคราม นนทบุรี โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ ร้าน HOW TO ภิญโญ โอวีคณะผู้บังคับการ รุ่น ๔๔ ตัง้ อยู่แถวถนนเกษตรนวมินทร์ มีดนตรี แนว เพลง Acoustic Guitar และ Folk Song ส่วนลด ส�ำหรับชาวโอวี ลดค่าอาหาร ๒๐% สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ ร้านครัวกะหนก ร้านของภรรยา พ.ต.ท.กุลธน ประจวบเหมาะ รุ่น ๕๕ สถานที่ตั้ง จากถนน ลาดพร้าว เข้าซอยลาดพร้าว ๗๑ ประมาณ ๑๕๐ เมตรอยูซ่ า้ ยมือ ส�ำหรับชาวโอวีทกุ ท่าน รับส่วนลด ค่าอาหาร ๑๐% สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม โทร. ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ ร้านอาหารชิมิ ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รุน่ ๔๔ ร้านชาบูชาบูและยาคินิคุ ในแบบของโฮมเมด (อ่านรายละเอียดได้ในคอลัมน์โรงเลี้ยง) คุณภาพ เยี่ยมราคาย่อมเยาว์ เหมาะกับการกินในช่วงหน้า หนาวพอดี อยากหาอะไรอร่อยกระแทกลิ้น เชิญ ได้ที่ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ โทรไปจองโต๊ะล่วง
124
หน้าได้ที่เบอร์ ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ หรือ อีเมล์ shimi_restaurant@hotmail.com The Old Phra Arthit Pier พงศ์ธร เพชรชาติ รุ่น ๖๐ ร้านอาหารสวยริมแม่น�้ำเจ้าพระยา ใกล้ๆ กับท่าพระอาทิตย์ ส�ำหรับชาวโอวีพี่เค้ามีส่วนลด ให้ ๑๐% โทรมาจองโต๊ะได้ที่ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ หรือถ้ามาไม่ถูกติดต่อได้ที่ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒ ร้านอาหารตึกแถว ษาเณศวร์ โกมลวณิช (รุน่ ๖๙) รับช่วงต่อจากที่บ้านดูแลกิจการร้านอาหารเหนือ สุดแสนอร่อยบนถนนนิมมานเหมินทร์ ถนนสายฮิป แห่งเมืองเชียงใหม่ เมนูแนะน�ำคือ แกงโฮ๊ะ ปลาสลิด ทอดฟู และแหนมผัดไข่ โทร. ๐๕๓ ๒๑๘ ๓๓๓ ร้านอาหารอิตาลี Fratello 6th by Zeist ร้ า นอาหารขนาดกะทั ด รั ด ในซอยเอกมั ย ๑๒ (เยื้องร้านนัง่ เล่น) แห่งนีจ้ ะท�ำให้คุณได้ลิ้มชิมรส อาหารแบบอิตาลีแท้ๆ ในราคาแบบไทยๆ หาก ใครสนใจ ในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ที่จะถึงนี้ มีโปรโมชั่นส�ำหรับคู่รักด้วย รับรองได้ว่าจะเป็น ค�ำ่ คืนในความทรงจ�ำของทุกคู่ไม่รู้ลืม โทรไปจอง โต๊ะล่วงหน้าเพื่อเซอร์ไพรส์คนรักได้ที่ ๐๒-๓๙๑๙๙๔๖ หรือ ๐๘๑- ๖๖๘-๕๔๒๔ ปิดวันจันทร์เปิด บริการทั้งมื้อเที่ยงและมื้อเย็น
โรงแรม ชุ ม พรคาบานาและศู น ย์ กี ฬ าด� ำ น�้ ำ ลึ ก วริ ส ร รักษ์พันธุ์ รุ่น ๖๐ ที่หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัด ชุมพร ให้บริการที่พัก สัมมนา และบริการด�ำน�้ำ ลึก มีคอร์สสอนด�ำน�้ำลึก และมีเรือพาออกด�ำน�้ำ ในทะเลชุมพร ส�ำนักงานกรุงเทพฯ โทร. ๐๒๓๙๑-๖๘๕๙ มือถือ ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ชุมพร โทรศัพท์ ๐๗๗-๕๖๐-๒๔๕-๗ เว็บไซต์ www. chumphoncabana.com The bihai huahin ตั้งอยู่ที่ ๘๙ หมู่ ๕ บ้าน หัวดอน ต�ำบลหนองแก อ�ำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรขี นั ธ์ ๗๗๑๑๐ โอวีลด ๒๐% โทร. ๐๓๒๕๒๗-๕๕๗-๖๐ เว็บไซต์ www.thebihaihuahin.com โรงแรม รัตนาปาร์ค มาฆะ พุ่มสะอาด รุ่น ๕๕ ท�ำงานอยู่โรงแรม รัตนาปาร์ค ที่พิษณุโลก ฝาก บอกว่าถ้าโอวีท่านไหนมาก็ให้โทรบอกได้เลย จะ ดูราคาค่าห้องให้พิเศษ โทร. ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ เบอร์โรงแรม ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑ ตาลคู่ บีช รีสอร์ท อลงกต วัชรสินธุ์ รุน่ ๗๕ ตัง้ อยูใ่ น อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช รีสอร์ทสวยริมทะเล ใสใกล้เกาะสมุย กลัวไปไม่ถกู ติดต่อเจ้าตัวได้โดย ตรง ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ หรือ g_got75@hotmail.com
บ้านไร่วิมานดินออร์แกนนิคฟาร์มสเตย์ จังหวัด กาญจนบุรี ชาย พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกลุ ชา รุน่ ๔๔ ไปพักผ่อนสบายๆ ภายใต้บรรยากาศความเป็น ธรรมชาติด้วยราคาสบายกระเป๋า นอกจากจะได้ มาพักผ่อนแล้ว ทางบ้านไร่วิมานดินยังจัดเตรียม อาหารปรุงจากผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพื่อล้างสารพิษ และฟืน้ ฟูสขุ ภาพของท่านให้แข็งแรง ส�ำหรับพีน่ อ้ ง ที่สนใจ อยากไปสัมผัสธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม โทรศัพท์ไปจองได้ที่ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ หรืออยาก หาข้อมูลเพิม่ เติม ก็เข้าไปดูได้ที่ www.vimarndin farmstay.com ส�ำหรับชาวโอวี ลดราคาให้พิเศษ ไร่ภูอุทัย ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ�ำนวยศิลป์ อุทัย รุ่น ๗๑ และ รังสรรค์ อุทัย รุ่น ๗๒ สัมผัสบรรยากาศบนภูอุทัยที่ล้อมรอบ ด้ ว ยธรรมชาติ ข องอุ ท ยานฯ เขาใหญ่ สู ด รั บ อากาศบริสุทธิ์ด้วยโอโซนระดับ ๗ มีลานกว้าง บนเนินเขาที่มองเห็นทิวเขาได้ ๓๖๐ องศา พร้อม กิจกรรมมากมาย ติดต่อได้ที่ ๐๘๖-๑๓๖-๑๖๑๙ หรือ ๐๘๖-๕๕๔-๕๔๕๗ หรือแวะชมเว็บไซต์ ก่อนที่ http://www.phu-uthai.com/ ชาวโอวี ราคาพิเศษ
ออกแบบเว็บไซต์และงานกราฟฟิก Zyplus.com สิษฐวัฒน์ ตู้จินดา รุ่น ๖๗ ปิดทอง หลังพระมาเสียนาน ให้บริการจดชื่อโดเมนเนม และให้พื้นที่เว็บโฮสติ้งของเว็บไซต์ โอวี www. oldvajiravudh.com มาตั้งแต่เปิดโฉมใหม่เมื่อ เกือบสองปีก่อน เขาให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตมา นานตั้งแต่เรียนจบ โดยเปิดบริษัทเล็กๆ ซึ่งมีเขา เป็นทั้งเจ้าของ ผู้จัดการ และพนักงานเพียงคน เดียว ชื่อ “zyplus” สนใจจดชื่อโดเมนเนมหรือ
เช่าเว็บโอสติ้งเข้าไปที่ www.zyplus.com หรือ โทร. ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ 22eq กอบกิจ จ�ำจด (รุ่น ๗๐) นิติศาสตร์บัณฑิต จากรั้วธรรมศาสตร์ผันตัวเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ รับออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ทั่วราชอาณาจักร ติดต่อที่ โทร. ๐๘๖ ๕๒๘ ๑๐๘๕ หรือ www. jate.22eq.com มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 125
บริการ ถ่ายรูป ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๗๒ ช่างภาพใหญ่ ประจ�ำอนุมานวสารลาออกจากการเป็นนักข่าวมา ประกอบธุรกิจส่วนตัวบอกว่าไม่ชอบให้ใครมา ก�ำหนดเวลา ออกมาท�ำงานอิสระเสียเลยดีกว่า ถนัดรับถ่ายรูปงานแฟชัน่ งานเฉลิมฉลอง และถ่าย รูปในสตูดโิ อ ทัง้ ถ่ายบุคคลและผลิตภัณฑ์ สตูดโิ อ ของเขาตั้งอยู่ในหมู่บ้านการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ โทร. ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ อีเมล์ Nnat_vc72@ hotmail.com หรื อ แวะชมผลงานก่ อ นได้ ที่ www.natphoto.com แฟรงค์บราเธอร์ นิธิศ นวรัตน์ ณ อยุธยา รุ่น ๖๕ อดีตหัวหน้าวงจุลดุรยิ างค์ ทีเ่ คยน�ำวงไปแสดงทีโ่ รง เรียนสาวๆ ทัว่ ราชอาณาจักร หันมาท�ำธุรกิจดนตรี อย่างจริงจัง มีสาขาที่กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ขาย เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคลาสสิก มี ไวโอลินเก่าตัง้ แต่ระดับมืออาชีพ ควรค่าแก่การเก็บ สะสม จนไปถึงไวโอลินคุณภาพดีราคาย่อมเยาว์ โทร. ๐๒-๖๓๒-๘๘๒๓-๔ ไร่ บี เอ็น จุลพงศ์ คุม้ วงศ์ รุน่ ๔๘ พีโ่ จ้ทำ� ไร่ บี เอ็น เกี่ยวกับสวนผัก ผลไม้ และดอกไม้ ที่นี่มีชื่อเรื่อง ลิ้นจี่ (นรก) เพราะขายแพงโคตร ๔๐๐-๗๐๐
บาท/กก. ส่งขายที่ห้าง เอ็มโพเรียม เซ็นทรัลเวิล์ด เท่านัน้ แต่ถา้ มาซือ้ ทีไ่ ร่จะลดให้พเิ ศษ เหลือ ๑๐๐๒๐๐ บาท ฝากบอกชาวโอวีว่าถ้าผ่านมาเขาค้อ ก็แวะมาเยี่ยมเยือนบ้าง โทร. ๐๕๖-๗๕๐-๔๑๙ มือถือ ๐๘๑-๙๗๓-๘๕๕๒ ร้านตัดผม Sindy Lim ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพ บุรุษและสุภาพสตรีฝีมือเยี่ยมของแท้และดั้งเดิม บนปากซอยสุขมุ วิท ๔๙ (เข้าซอยอยูข่ วามือ ตรงข้าม เซเว่นอีเลฟเว่นและร้านก๋วยเตีย๋ วแซว) ของ ทวีสนิ ลิม้ ธนากุล (รุน่ ๕๖) หากก�ำลังจะหาร้านท�ำผมเพือ่ ออกงานหรือเปลี่ยนลุคแล้วละก็ เชิญไปใช้บริการ ได้ ติดต่อไปที่ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕, ๐๒-๒๖๐๐๗๙๓ หรือต้องการติดต่อเจ้าของร้านโดยตรง โทรตามได้ที่ ๐๘๑-๙๒๓-๒๓๗๓ ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับสัตว์เลี้ยง ของกอบกิจ จ�ำจด (รุ่น ๗๐) นอกจากจะเป็นเว็บดีไซน์เนอร์แล้วยังเปิดร้าน ขายผลิตภัณฑ์ส�ำหรับหมาและแมวออนไลน์ ไป เยี่ยมเยือนได้ที่ www.weloveshopping.com/ shop/furrytail หรือติดต่อตรงที่ โทร. ๐๘๖ ๕๒๘-๑๐๘๕
ตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้าง ไอซิดฯ ภตภพ (สิทธิพงษ์) ช.เจริญยิง่ รุน่ ๖๖ เปิด บริษทั รับตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้างภายใต้ชอื่ บริษทั ไอซิดฯ ผลงานส่วนใหญ่เป็นการตกแต่งบ้าน และคอนโด โดยเฉพาะล่าสุดที่คอนโดมิเนียมหรู “เดอะ แอดเดรส สยามฯ” ที่เข้าไปตกแต่งหลาย ห้อง และรับเหมาก่อสร้างปรับปรุงห้องที่โรงแรม เดอะมารีนา ภูเก็ต โทร. ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙ มือ ถือ ๐๘๑-๗๓๓-๗๗๐๑ เว็บไซต์ www.icidcompany.com
126
อสังหาริมทรัพย์ นิธิกานต์ (มะนาว) โรหิตศุน รุ่น ๗๐ หลังจากผ่านการเป็นนายแบบโฆษณา มาหลายชิ้นตอนนี้ผันตัวเองมาเป็นนายหน้าขาย บ้าน ที่ดิน คอนโด ของ Era หากท่านใดต้องการ ขายหรือซื้อ บ้าน ที่ดิน คอนโด ติดต่อมาได้ครับ ๐๘๙-๒๑๒-๓๓๔๔ หรือ nithikarn99@gmail.com
มกราคม - กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ 127
แบบฟอรมสำหรับติดตอสมาคมฯ ¡’ª√–‚¬™π套ßπ’È Ò) ·°â‰¢‡ª≈’ˬπ·ª≈ߢâÕ¡Ÿ≈ ¡“™‘° Û) √à«¡≈ߢ—π π—∫ πÿπ°“√®—¥∑”Õπÿ¡“π« “√ ™◊ËÕ √ÿàπ ∑’ËÕ¬Ÿà ‚∑√ ¡◊Õ∂◊Õ* Õ“™’æ ∑’Ë∑”ß“π ‚∑√ ·°â‰¢¢âÕ¡Ÿ≈ ¡“™‘° §«“¡§‘¥‡ÀÁπµàÕÕπÿ¡“π« “√
Ú) · ¥ß§«“¡‡ÀÁπ/«‘®“√≥åÕπÿ¡“π« “√ Ù) —Ëß´◊ÈÕ¢Õß∑’Ë√–≈÷° ¡“§¡œ §≥– ‚∑√ “√ Õ’‡¡≈å ‚∑√ “√
—Ëß´◊ÈÕ ®”π«π ™‘È𠇪ìπ‡ß‘π∑—Èß ‘Èπ π—∫ πÿπ°“√®—¥∑”Õπÿ¡“π« “√ ®¥À¡“¬¢à“« ¡“§¡π—°‡√’¬π‡°à“«™‘√“«ÿ∏«‘∑¬“≈—¬ ‡ªìπ®”π«π ∫“∑ ™”√–‚¥¬ ‡ß‘π ¥ ‡™Á§ —Ëß®à“¬ ¡“§¡π—°‡√’¬π‡°à“«™‘√“«ÿ∏«‘∑¬“≈—¬œ ‚Õπ‡¢â“∫—≠™’ ∏𓧓√° ‘°√‰∑¬ ‡≈¢∑’Ë Ú-Ú-ıÒ¯ıÙ- °√ÿ≥“ àß¡“∑’Ë ¡“§¡π—°‡√’¬π‡°à“«™‘√“«ÿ∏«‘∑¬“≈—¬ „πæ√–∫√¡√“™Ÿª∂—¡¿å Ò˘˘ ∂ππ√“™«‘∂’ ‡¢µ¥ÿ ‘µ °√ÿ߇∑æœ ÒÛ ‚∑√. Ú-ÚÙÒ-Ûı˘, ¯ˆ-ÛÚ˘-¯ÒÙÙ ‚∑√ “√ Ú-ˆˆ˘-ÛıÒ¯
*°√ÿ≥“„ àÀ¡“¬‡≈¢‚∑√»—æ∑å¡◊Õ∂◊Õ ‡æ√“– ¡“§¡œ ®–∑¥≈Õß àß¢à“« “√∂÷ß ¡“™‘°‚¥¬∑“ß SMS
128