ฉบับที่
๑๑
๓-๒๕๕๒ พฤษภาคม - มิถุนายน
จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 1
ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔ ที่ปรึกษา อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช รุ่น ๓๓ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน รุ่น ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ รุ่น ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช รุ่น ๔๔ วรชาติ มีชูบท รุ่น ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี รุน่ ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ รุน่ ๕๙ วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐
ฉบับที่ ๑๑ ๓-๒๕๕๒ พฤษภาคม-มิถุนายน
ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ สาราณียกร อาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑ บรรณาธิการ กิตติเดช ฉันทังกูล รุ่น ๗๓ คณะบรรณาธิการ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา รุ่น ๖๕ กอบกิจ จ�ำจด รุ่น ๗๐ อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ รุ่น ๗๑ กรด โกศลานันท์ รุ่น ๗๑ เขต ณ พัทลุง รุ่น ๗๑ ภพ พยับวิภาพงศ์ รุ่น ๗๑ พิชิต ศรียานนท์ รุ่น ๗๒ มณฑล พาสมดี รุ่น ๗๓ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รุ่น ๗๓ รัฐพล ปั้นทองพันธ์ รุ่น ๗๕ พงศกร บุญมี รุ่น ๗๕ ปรีดี หงสต้น รุ่น ๗๕ นรอ. สถาพร อยู่เย็น รุ่น ๗๖ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง รุ่น ๗๖ กรรณ จงวัฒนา รุ่น ๗๖ ศิริชัย กาญจโนภาส รุ่น ๗๖ ธนกร จ๋วงพานิช รุ่น ๗๗ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ จิระ สุทธิวิไลรัตน์ รุ่น ๘๓ ฝ่ายโฆษณา มณฑล พาสมดี รุ่น ๗๓ โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐ ถ่ายภาพ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๗๒ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ รุ่น ๗๗ สงกรานต์ ชุมชวลิต รุ่น ๗๗ วรุฒมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา รุ่น ๗๙
ตัวอักษร “อนุมานวสาร” ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน (รุ่น ๓๗) สัญลักษณ์ “๑๐๐ ปี วชิราวุธฯ” ออกแบบโดย นิธิ สถาปิตานนท์ (รุ่น ๓๘) ภาพปก ตึกวชิรมงกุฎ ภาพโดย ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒)
ศิลปกรรม ปฏิภาณ สานแสงอรุณ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ รุ่น ๗๙ พิมพ์ที่ พี. เพรส ๐๒ ๗๔๒ ๔๗๕๔ ผู้ช่วยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก วาสนา จันทอง ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ)
เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่/สนับสนุนการเงิน -โฆษณา/ส่ ง ข่ า ว-ประกาศประชาสัมพันธ์/ส่งข้อเขียน-บทความ ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธ วิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.oldvajiravudh.com
ห้องเพรบ ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี
๖ ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ๙ สัมภาษณ์ ๗๕ เมื่อวชิราวุธวิทยาลัยมีอายุครบ ๑๐๐ ปี ๗๘ คอลัมน์ ไหว้ครู ๘๔ เรานักเรียนมหาดเล็ก เด็กในหลวง พันธะผูกพัน รู ้ รัก โรงเรีย น ๙๒ น�้ำ น�้ำ และน�้ำ ๙๗ คอมมอนรูม ๑๐๐ ศัพท์โอวี ปล่อยควาย เล้ง ๑๐๔ ใต้หอประชุม ๑๐๘ สัมภาษณ์ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกลุ ชา ฉายานุสรณ์ หอประชุม ๑๑๑ สมุดจดพระมนู บันทึกวิมานดิน ๓๘ วชิราวุธฯ V.S. โรงเรียนนานาชาติ สนามหน้า ๔๓ จดหมายเหตุวชิราวุธฯ ๔๖ จากวังหลวง สู่สวนกระจัง คอลัมน์พิเศษ ๕๐ พระมหากรุณาธิคุณฯ จากห้องประชุมสมาคมฯ ๖๒ ระฆังกีฬา โรงเลี้ยง ๖๕ สัมภาษณ์ ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา ส้มต�ำบางกอก: อีสานคลาสสิค สนามหลัง ๑๓๘ ห้องสมุด รอยลูกปัด ๖๘ ตึกพยาบาล ๑๔๖ ลอดรั้วพู่ระหงษ์ ๗๐ วันกลับบ้าน ๑๔๘ อิทธิฤทธิ์ต ้ นกระท้ อ น ห้องเบิกของ ๑๕๑
๑๒
๑๑๘
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑. ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย ๒. อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกในทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม อันดีของประชาชน ๓. ประสานสามัคคีในหมู่สมาชิกนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนในพระบรม ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธวิทยาลัย เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญของโรงเรียน ๖. ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธวิทยาลัย ๗. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของวชิราวุธวิทยาลัย ๘. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร ๙. บ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในโอกาสอันสมควร
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ๑. สมาชิกมีสิทธิที่จะร่วมกิจการต่าง ๆ ที่สมาคมฯ จัดขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ วางไว้ ๒. สมาชิกมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ๓. สามัญสมาชิกมีสทิ ธิเสนอความคิดเห็น ตรวจดูหลักฐานและบัญชีตา่ ง ๆ ของสมาคมฯ ได้ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ ๔. สามัญสมาชิกเท่านัน้ มีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตั้งหรือรับเลือกตั้ง เป็นนายกสมาคมฯ หรือกรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิกนัน้ ค้างช�ำระค่าบ�ำรุง ๕. สามัญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระค่าบ�ำรุงตามที่กำ� หนดไว้ ๖. สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ ๗. สมาชิกมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และบริการของสมาคมฯ และสโมสร แต่ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับที่ก�ำหนดไว้
4
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ ๑. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รุ่น ๔๐ ๒. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ๓. นายตันติ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ ์ รุ่น ๔๐ ๔. นายสุรเดช บุณยวัฒน รุ่น ๔๑ ๕. นายชัยวัฒน์ นิตยาพร รุ่น ๔๒ ๖. ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รุ่น ๔๕ ๗. ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ ์ รุ่น ๔๖ ๘. นายศุภลักษณ์ เปรมะบุตร รุ่น ๔๗ ๙. ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๑ ๑๐. นายสุภรัตน์ อัลภาชน์ รุ่น ๕๑ ๑๑. นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ ๑๒. นายปฏิภาณ สุคนธมาน รุ่น ๕๒ ๑๓. นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ ๑๔. นายสัคคเดช ธนะรัชต์ รุ่น ๕๗ ๑๕. นายชาย วัฒนสุวรรณ รุ่น ๕๗ ๑๖. ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ ๑๗. นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ ๑๘. นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ ๑๙. นายภัคพงศ์ จักรษุรักษ์ รุ่น ๖๑ ๒๐. นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร รุ่น ๖๒ ๒๑. นายอาทิตย์ ประสาทกุล รุ่น ๗๑
นายกสมาคมฯ กรรมการโดยต�ำแหน่ง อุปนายก ฝ่ายสิทธิประโยชน์ อุปนายก ฝ่ายวางแผนและพัฒนา ประธานส่งเสริมความสัมพันธ์ อุปนายก ฝ่ายต่างประเทศ กรรมการและประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรรมการและนายทะเบียน กรรมการและประธานฝ่ายหารายได้ กรรมการและประธานกีฬา กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและประธานสโมสร กรรมการและรองประธานกีฬา กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการและเลขานุการ กรรมการและรองประธานสโมสร/ปฎิคม กรรมการและบรรณารักษ์ กรรมการและรองประธานกิจกรรมพิเศษ กรรมการและรองประธานกีฬา กรรมการและสาราณียกร มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 5
ห้องเพรบ จากประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวัสดีครับ โอวีที่รักทุกท่าน ก่อนจะเขียนห้องเพรบของฉบับนี้ ผม เพิ่งกลับจากมาเลเซียครับ โดยปกติพวกเราโอวีมีประเพณีที่จะไป เยือนประเทศมาเลเซียกันปีเว้นปีด้วยเหตุผล สองประการ ประการแรกเพื่ อ ไปชมรั ก บี้ ประเพณีระหว่างนักเรียนปัจจุบันของ The Malay College กับวชิราวุธฯ ของเรา ประการ ทีส่ องคือเพือ่ ไปร่วมแข่งกอล์ฟประเพณีระหว่าง ศิษย์เก่าของทั้งสองโรงเรียน กิจกรรมทั้งสอง ประการเป็นไปด้วยวัตถุประสงค์ที่จะกระชับ สัมพันธไมตรีระหว่างทัง้ สองพับบลิคสคูลทีม่ มี า ยาวนานให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น ในปีนถี้ ึงแม้การแข่งรักบี้ประเพณีมีอัน จะต้องเลือ่ นด้วยเหตุสดุ วิสยั ทีม่ นี กั เรียนของเรา คนหนึ่งป่วยเป็นหวัด และต้องสงสัยว่าเป็น ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ ท�ำให้นกั กีฬาและผู้ร่วม เดินทางต้องถูกเก็บตัว (ในความหมายแตกต่าง กั บ การเตรี ย มพร้ อ มลงเล่ น ) ประมาณ ๑ สัปดาห์ แต่การแข่งขันกอล์ฟประเพณียังคง ด�ำเนินไปอย่างปกติ และในช่วงการสังสรรค์ หลังการแข่งขันกอล์ฟนี้เอง ท�ำให้เราประจักษ์ ถึ ง น�้ ำ ใจของศิ ษ ย์ เ ก่ า มาเลย์ ค อลเลจที่ ไ ด้ รวบรวมเงินกันเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ส� ำ หรั บ นั ก เรี ย นของเราที่ ยั ง คงต้ อ งอยู ่ ใ น ประเทศเขาไปอีกสักระยะ ท�ำให้พวกเราทีอ่ ยูใ่ น งานวันนัน้ ซาบซึ้งใจเป็นอันมาก
6
การเดิ น ทางครั้ ง นี้ ท� ำ ให้ ผ มได้ เ ห็ น ศิษย์เก่า เดอะมาเลย์คอลเลจ หรือที่เรียกกัน สัน้ ๆ ว่า MCOBA ในแง่มมุ ทีแ่ ตกต่าง จากการ ทีไ่ ด้พดู คุยมากขึน้ การสัมผัสความคิดและการ ปฏิบัติของเขาอย่างใกล้ชิดกว่าเดิม ท�ำให้คิดว่า เขามี น�้ ำ ใจไมตรี อั น ดี ยิ่ ง และพร้ อ มที่ จ ะมี สัมพันธภาพกับทางเราในหลายๆ ด้าน ด้วย ความแตกต่างทางภาษา วัฒนธรรม ความสนใจ เฉพาะด้านหรืออะไรก็ตามแต่ ท�ำให้ในอดีตเรา ส่วนใหญ่ละเลยและลืมที่จะสานต่อมิตรภาพ ที่ ค รั้ ง หนึ่ ง เคยได้ ง อกงามขึ้ น แล้ ว นี้ อ ย่ า ง น่าเสียดาย ก่อนเดินทางผมและน้องๆ ทีมงานฯ ได้ มีโอกาสไปเรียนพบและพูดคุยกับพีห่ น่อ (ม.ล. ชัยนิมิตร นวรัตน) ผู้ที่ครั้งหนึง่ เคยมีโครงการ ที่ จ ะสานความสั ม พั นธ์ ร ะหว่ า ง โอวี และ MCOBA ให้แนบแน่น ซึง่ นอกจากจะท�ำให้เกิด ความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างสถาบันแล้วยังส่งผล และเอื้อประโยชน์ในอีกหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องของบุคคลต่อบุคคล เรื่องการด�ำเนิน ธุรกิจ และเผลอๆ อาจส่งผลที่ยิ่งใหญ่ไปกว่า นั้นคือการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสอง ประเทศเพื่อนบ้านด้วยซ�ำ้ ในชั้นต้นนี้อนุมานวสารจึงขอปวารณา ตนว่า นอกจากเราจะเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง โอวีด้วยกันแล้ว เราอยากจะขอท�ำหน้าที่สาน สัมพันธ์ระหว่างโอวีและ MCOBA ด้วย สื่อ
สัมพันธ์ทางความคิดผ่านข้อเขียนของทั้งสอง สถาบันนีค้ งจะได้มโี อกาสน�ำเสนอท่านผูอ้ า่ นใน วาระอันใกล้นตี้ ่อไป การท�ำหนังสืออนุมานวสาร ท�ำให้ผม กลายเป็นคนทีพ่ ยายามหาหนังสือ ภาพถ่ายและ วัตถุดิบต่างๆ เกี่ยวกับวชิราวุธวิทยาลัยมา ค้นคว้า เผอิญผมได้หนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ “พระบรมราโชวาทกับวชิราวุธวิทยาลัย” ซึ่ง พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิง ศพพระยาภะรตราชา ซึ่งท�ำให้ผมได้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งรัชกาลที่ ๖ และที่ ๗ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ให้แก่นกั เรียนโดยต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี ปีละหลายๆ ครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่ า งประมาณมิ ไ ด้ ผมอ่ า นติ ด ต่ อ กั น อยู ่ หลายคื น และจั บ ใจในพระบรมราโชวาท ครั้งสุดท้ายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ในปี ๒๔๖๕ ซึง่ กล่าวถึงสิง่ ทีพ่ วกเราเข้าใจว่าเรามีแต่ ความจริงความหมายนัน้ ลึกซึง้ กว่าทีค่ าดคิด คือ การรั ก หมู ่ ค ณะ คิ ด ถึ ง ประโยชน์ ส ่ ว นรวม มากกว่าส่วนตน “ผู้ที่รักหมู่คณะจริงจะต้องมี ความเสียสละอย่างสูงสุด อย่างที่เรียกว่า “เอส ปรีต์ เดอ คอรป์ส” (Esprit de Corps) โดยเฉพาะความรักและช่วยเหลือหมู่คณะของ ตนขึ้นมาก่อน เมื่อเพาะ เอสปรีต์ เดอ คอรป์ส ขึ้นได้แล้ว การที่จะเพาะความรักชาติบ้านเมือง ของตัวจึงจะเป็นผลดีจริงสมความปรารถนา” ผมหวั ง ว่ า จะได้ มี โ อกาสเผยแพร่ พ ระบรม ราโชวาทนีใ้ ห้แก่พวกเราชาวโอวีได้อ่านกันอย่าง ทั่วถึงในอนุมานวสารฉบับถัดๆ ไป
ส� ำ หรั บ อนุ ม านวสารฉบั บ นี้ เราได้ สัมภาษณ์โอวี รุ่น ๔๔ และรุ่น ๔๖ ท่านแรก (รุ่น ๔๖) คือ ดร.โบ๊ะ หรือ ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา ผู้เป็นนักการตลาดมือฉมัง อีกทัง้ ยัง เป็ น ผู ้ บุ ก เบิ ก ร้ า นสะดวกซื้ อ รายแรกของ ประเทศไทย เวลาพูดถึง ดร.โบ๊ะแล้ว พวกเรามัก จะสับสนระหว่างโบ๊ะเล็กกับโบ๊ะใหญ่ (อัครเดช โรจน์เมธา) นอกจากหน้าตาจะเหมือนกันราว ฝาแฝดแล้ว ยังเป็นนักการตลาดตัวยงทั้งสอง ท่าน อีกประการคือโบ๊ะใหญ่นนั้ มีชอื่ ทางสะสม พระเครื่อง (องค์เล็กๆ) ส่วนโบ๊ะเล็กนัน้ ชอบ สะสมพระองค์ใหญ่ ถึงกับมีพระประธานอยู่ใน บ้านหลายองค์ เชิญติดตามความเป็นมาของโบ๊ะ ผู้น้องได้ในฉบับนี้ ส�ำหรับอีกท่าน (รุ่น ๔๔)คือ พ.ต.ท.กฤชญาณ หรือที่ใครๆ เรียกว่า ครูอำ�่ นามเดิมคือ อ�ำรุง น้อยเศรษฐ พี่อ�่ำนัน้ ถือเป็น ครูมวยคนส�ำคัญของคณะผู้บังคับการ ผู้คอย สอดส่องมองหาเด็กทะเลาะกัน ครูอำ�่ ก็จะมีวิธี ปรองดอง โดยจับเด็กมาฝึกมวยก่อนจะลงนวม ต่อยกันให้หายอยาก (ทะเลาะ) พี่อ�่ำนอกจาก จะรับราชการต�ำรวจแล้ว ยังเป็นผู้ที่ใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์โดยการท�ำฟาร์ม Organic และสร้างบ้านหวังจะอยู่เอง ไป ๆ มาๆ กลาย เป็น Farm Stay ชื่อว่า “บ้านไร่วิมานดิน” จ.กาญจนบุ รี และครั้ ง นี้ เป็ นครั้ ง แรกที่ ที ม อนุมานวสารได้ออกสัญจรไปสัมผัสธรรมชาติที่ งดงาม อากาศที่บริสุทธิ์ มีล�ำธารใสสะอาด พร้อมทั้งยังได้เรียนรู้พืชสมุนไพรต่าง ๆ จาก พี่อ�่ำ ทุกท่านสามารถติดตามรายละเอียดได้ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 7
ขอขอบคุณ พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์ คุณธานี (จู๋) พี่ม�่ำ-รัฐฏา บุนนาค และหนูมนต์เทพ โปราณานนท์ และอีกหลายๆ ท่านที่ กรุณาบริจาคเงินสนับสนุนการพิมพ์หนังสือ อนุมานวสาร และขอขอบคุณสปอนเซอร์ทกุ ท่าน ที่ ท� ำ ให้ ห นัง สื อ ด� ำ รงอยู ่ ได้ และสุ ด ท้ า ยคื อ สมาคมฯ ซึ่งท่านนายกจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ได้ ก รุ ณาอนุมัติค่าใช้จ่ายในการด� ำเนินการ ที่เหลือทั้งหมด โดยปัจจุบันนี้ ค่าใช้จ่ายในการ พิมพ์รวมค่าส่งแต่ละครั้งเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป มีสมาชิกบางท่านขอให้พวกเราเก็บ เงินจากสมาชิกบ้าง เพือ่ ท�ำให้หนังสือด�ำเนินการ ต่อไปได้ในระยะยาว และไม่ต้องพึ่งสมาคมฯ มากจนเกินไป ซึ่งหากเก็บค่าสมาชิกก็คงจะ ประมาณ ๒๐๐ บาทต่อปี ถ้าท่านใดเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยประการใด กรุณาแจ้งทางพวก เราทราบด้วยนะครับ สิ่งหนึ่งซึ่งอยากจะกล่าวส่งท้าย คือ บัดนี้เรามีคอลัมน์พิเศษรายงานความคืบหน้า การจัดงาน ๑๐๐ ปี วชิราวุธวิทยาลัยแล้ว เริ่ม จากฉบับนี้เป็นต้นไป ทางคณะกรรมการฯ จึง ขอถือโอกาสนีเ้ ชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึง่ ของการจัดงานครั้งนี้ โดยสามารถแสดงความ คิ ด เห็ น ผ่ า นทางสมาคมหรื อ เว็ บ ไซต์ ข อง สมาคมฯ ได้ตลอดเวลา หวังว่าเราคงได้รับการ ติดต่อจากพีน่ อ้ งชาวโอวีเกีย่ วกับเรือ่ งอันส�ำคัญ ยิ่งนีน้ ะครับ สวัสดีครับ ม.ล. จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖)
8
โครงการ
ซ่อมคอมพิวเตอร์ เพื่อน้อง วชิราวุธวิทยาลัย ขอเปิดรับบริจาค เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท่านไม่ได้ใช้และอยู่ใน สภาพใช้งานได้ เพื่อน�ำไปมอบให้น้องๆ ใน ต่างจังหวัดที่ขาดแคลนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส�ำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน สภาพช�ำรุดและสามารถซ่อมแซมได้ จะถูก ท�ำการซ่อมแซมโดยนักเรียนในชมรม ซึ่งจะได้ฝึกฝนทักษะการซ่อม และน�ำไป บริจาคให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กที่ขาดโอกาส ได้ใช้เพื่อการศึกษาต่อไป ขอแรงสนับสนุนจากพี่ๆ โอวี ทุกท่าน โปรดช่วยให้น้องๆ วชิราวุธฯ มี โอกาสท�ำสิ่งๆ ดีเพื่อสังคม แจ้งความประสงค์ขอบริจาคได้ที่ คุณก�ำพล เย็นศิลป์ เจ้าหน้าที่วิชาการ ๐๒-๖๖๙-๔๕๒๖-๙ ต่อ ๒๙๗ หรือนาย ธนพล พันธุ์เพ็ง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๕ คณะดุสิต
๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี เขียนถึงอนุมานวสาร ถึงทีมงานอนุมานวสาร ผมเพิ่งอ่านคอลัมน์ “เรือนจาก: เรื่อง เล่าสนุกดี จากผองพี่โอวี ๔๔” เสร็จ บอกได้ว่า เป็นข้อเขียนที่ดีที่สุดจริง ๆ พี่ ๆ รุ่น ๔๔ ชวน ให้หวนนึกถึงเรือ่ งเก่า ๆ สมัยอยู่โรงเรียน ท�ำให้ นึกถึงปรัชญาในการอบรมและให้การศึกษาของ วชิราวุธฯ สิง่ ทีโ่ รงเรียนได้สอนนัน้ บัดนีไ้ ด้กลับ มาชัดเจนอีกครัง้ โรงเรียนวชิราวุธฯ สอนให้ผม เป็นคนทีเ่ ต็ม, สอนให้ไม่ทอ้ ถอยและกล้าเผชิญ กับปัญหาอุปสรรรคต่าง ๆ ผมขอขอบคุณทีมงานอนุมานวสารทีไ่ ด้ ผลิตหนังสือที่ดีมากให้พวกเราได้อ่านกัน ท้ายสุด อยากจะบอกว่า พวกเราทุกคน รักและคิดถึงพี่ ๆ รุ่น ๔๔ ทุกคน ขอให้พี่ แบ่งปันประสบการณ์และความคิดดี ๆ เช่นนีใ้ ห้ กับพวกเราอีกนะครับ ธานี จูฑะพันธ์ (รุ่น ๔๗) ทีมงานอนุมานวสารขอตอบ ก่อนอื่น ทางทีมงานอนุมานวสารต้อง ขอขอบพระคุณ พี่จู๋ ธานี จูฑะพันธ์ รุ่น ๔๗ และพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ทุกท่าน ส�ำหรับ ค�ำชมสุดล�้ำค่า และก�ำลังใจแสนอบอุ่น ที่มีให้ กับพวกเราทีมงานอนุมานวสาร ขอบพระคุณ ครับ
ส�ำหรับบทสัมภาษณ์ เหล่าพี่ ๆ โอวี ๔๔ ที่ลงในฉบับที่ผ่านมานัน้ ถือได้ว่าต่างจาก การไปสัมภาษณ์พี่ ๆ คนอื่น ๆ ซึ่งที่ผ่านมา พวกเรามักเลือกไปสัมภาษณ์ทีละคน หากทว่า ในวันที่พวกเราไปคุยกับพี่ ๆ รุ่น ๔๔ ครั้งนี้ บรรยากาศและความสนุกสนานที่พวกเราได้ ไปพบสัมผัส มันหาใช่เป็นการไปสัมภาษณ์แต่ อย่างใด กลับแต่เหมือนดัง่ เป็นการทีเ่ หล่าน้อง ๆ วัยหนุ่มน้อย ได้ไปนัง่ พูดคุยกับผองพี่รุ่น ๔๔ วัย (เกิน) หนุ่มพร้อมกับได้ฟังพี่ ๆ พูดคุย เล่าเรื่องแลกเปลี่ยนให้ฟังกัน ชนิดเข้าถึงความ แซ่บ ทั้งอัดแน่นด้วยสาระน่าจดจ�ำอีกด้วย พวกเราจึงคิดว่า เราก็ควรจะน�ำเสนอให้ ผู้อ่าน ได้มีโอกาสได้เข้าสัมผัส ถึงแก่นเนื้อแท้ ของบรรยากาศวันนัน้ อย่างแท้จริง เสมือนหนึง่ ได้เข้าไปร่วมอยู่ในวงสนทนานัน้ ด้วย ทางทีมงานฯ จึงตัดสินใจทีจ่ ะเรียบเรียง บทสั ม ภาษณ์ วั นนั้น ให้ ค งไว้ ซึ่ ง บรรยากาศ ธรรมชาติตามที่เกิดขึ้นจริง และบทสนทนา ของพี่ ๆ รุ่น ๔๔ ที่แท้จริง ณ วันนัน้ ให้ได้มาก ที่สุด ดัดแปลงแก้ไขให้น้อยที่สุด จนกลั่น ออกมาเป็น “...เรื่องเล่าสนุกดี จากผองพี่โอวี ๔๔...” ดังที่ท่านทั้งหลายได้อ่านครับ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 9
อนุมานวสาร ถือก�ำเนิดขึ้น เพื่อหมาย เป็นสื่อสร้างสรรค์ ของชาวโอวีทุกคน ส�ำหรับ ที่จะให้พี่ ๆ น้อง ๆ โอวีทั้งหลาย ได้มารู้จักกัน เรียนรูแ้ บ่งปันเรือ่ งราวดี ๆ ซึง่ กันและกัน ในอัน จะน�ำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และสร้าง รอยยิ้มแห่งความสุข แก่พวกเราลูกวชิราวุธฯ ทุกคน ด้วยเพราะเราคิดว่า การที่ลูกวชิราวุธฯ ทั้ ง หลายมี วั นนี้ ได้ ก็ เนื่ อ งเพราะการอบรม ศึกษาที่ได้รับจากโรงเรียนของพวกเรา เคล้า ด้ ว ยพลัง สามัค คีข องพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ทั้งหลาย เราจึงตัดสินใจที่จะร่วมแรงรวมพลัง กัน ท�ำอนุมานวสารขึ้น เพื่อหมายจะตอบแทน ทัง้ ธ�ำรงรักษาสปิรติ ของความเป็นวชิราวุธฯ นีไ้ ว้ ให้คงอยู่ตราบนานเท่านานครับ สุดท้ายนี้ ขอกราบขอบพระคุณ แด่ ทุกค�ำชมและก�ำลังใจ จากพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ชาวโอวีทกุ ๆ ท่าน พวกเราทีมงานอนุมานวสาร จะขอตั้ ง ใจท� ำ หนัง สื อ เล่ ม นี้ ให้ ดี ที่ สุ ด เพื่ อ ความสุขของชาวโอวี เพื่อตอบแทนบุญคุณของ โรงเรียน และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้าฯ ผู้ทรงเป็นพ่อของพวกเราลูกวชิราวุธฯ ต่อไป ครับ ขอบคุณครับ
10
ถึงทีมงานอนุมานวสาร พี่เพิ่งอ่านอนุมานวสารฉบับล่าสุดเสร็จ ทั้งฉบับ พี่ชอบข้อเขียนโดยเฉพาะที่อยู่ท้ายๆ เล่ม อ่านแล้วท�ำให้พรี่ สู้ กึ แปลกอย่างบอกไม่ถกู แถมยังน�ำ้ ตาไหลคลอด้วย เป็นความรูส้ กึ เหมือน พี่ได้เริงร่าอยู่ในห้วงเวลาแห่งความสุข พี่ยัง แอบยิ้มอยู่คนเดียวและบางครั้งก็กลั้นหัวเราะ ไม่ได้ โดยไม่สนใจเลยว่าจะมีใครแอบมองอยู่ หรือเปล่า อนุมานวสารฉบับนี้ดีที่สุดเท่าที่พี่ได้ อ่านมา ขอขอบคุณทีมงานฯ และนักเขียนทุกคน โดยเฉพาะน้องบิค๊ (วีรยุทธ โพธารามิก รุน่ ๖๐) พี่ อ ยากจะบอกบิ๊ ค ว่ า วิ ธี ก ารเขี ย นในเล่ ม นี้ เหมือนมืออาชีพมากๆ พีข่ อบอกว่า อนุมานวสาร ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีจริง พี่ ภู มิ ใ จกั บ การเป็ น นั ก เรี ย นเก่ า วชิราวุธฯ มาก เกิ้ล ประกิตติ บุญเกียรติ (รุ่น ๔๗) ทีมงานอนุมานวสารขอตอบ มีหลายครั้งที่ทีมงานอนุมานวสาร ได้ นั่งคุยกันว่า จุดมุ่งหมายของการท� ำหนังสือ อนุมานวสารนี้ พวกเราอยากให้ไปถึงตรงไหน ก็ มีการแสดงความคิดกันหลากหลาย แต่ในความ หลากหลายนัน้ พวกเราพอจะจับใจความได้ว่า ทุกคนในทีมงานนัน้ ตั้งใจจะให้ อนุมานวสาร เป็นเสมือนยานพาหนะ ที่คอยท�ำหน้าที่พา
พวกเรากลับไปคิดถึงโรงเรียนวชิราวุธฯ ยาน พาหนะคันนี้ เต็มไปด้วยอุปกรณ์เสริม ไม่ว่า จะเป็นเครื่องเล่นเพลงที่คอยน�ำเสียงเพลงที่เรา มักจะร่วมร้องกันในรัว้ โรงเรียนมาให้ฟงั เพลินๆ ให้ ผิ ว ปากตาม มี เครื่ อ งเล่ นดี วี ดี ฉายภาพ เคลื่อนไหวในความทรงจ�ำ ของเด็กวชิราวุธฯ หลากหลายรุน่ เราหยิบรูปภาพแห่งความทรงจ�ำ ของพวกเราออกมาดู พร้อมทัง้ เครือ่ งปรับอากาศ ที่คอยท�ำหน้าที่ส่งกลิ่นอายของใบไม้ ใบหญ้า ของสนามโรงเรียน ไว้คอยย�้ำความสุขของ นักเรียน ที่ใช้ชีวิตบนสนามหญ้า พอๆ กับใน ห้องเรียน อย่างไรก็ดี การจะให้ผู้โดยสารแต่ละ ท่านได้รับบริการที่พึงพอใจแล้วกลับมาใช้อีก ทีมงานฯ จ�ำเป็นต้องทุ่มเทมากขึ้น พัฒนามาก ขึ้น เพื่อให้สมดั่งความตั้งใจของพวกเราทุกคน ยานพาหนะคันนีจ้ ะท�ำหน้าที่ของมันได้นานอีก แค่ไหนไม่มใี ครรูไ้ ด้ ดังนัน้ ในฐานะของทีมงานฯ ที่ท�ำหน้าที่ขับเคลื่อน พวกเราก็พยายามสร้าง ทีมรุน่ ใหม่ขนึ้ มารับช่วงต่อ ยามทีพ่ วกเราคนใด คนหนึง่ เหนื่อยล้าลงไป หรือมีเวลาให้น้อยลง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ในการเดินทาง กลับไปสู่วชิราวุธฯ ที่สำ� คัญที่สุด คือ น�้ำมันเชื้อเพลิง ของ ยานพาหนะคั นนี้ ที่ ได้ ม าจากเสี ย งตอบรั บ ก�ำลังใจจากผู้อ่าน ที่จะเป็นก�ำลังหลักคอย กระตุ้น ให้ก�ำลังใจทีมงานฯ เมื่อได้อ่านค�ำ ลงท้ายของอีเมล์พี่ที่บอกว่า “พี่ภูมิใจกับการ
เป็นนักเรียนวชิราวุธฯ มาก” แล้วเหมือนเป็น ตัวชี้วัดว่า วันนี้เราสามารถน�ำผู้โดยสารร่วม เดินทางไปกับเราได้อีกหนึง่ คนแล้ว เราก็รู้สึก ภูมิใจไม่ต่างกัน ดังนัน้ ในฐานะผู้ขบั เคลือ่ นยานพาหนะ คันนี้ ทีมงานอนุมานวสารจึงขอบอกว่า “ยินดี ต้อนรับสู่การเดินทางกลับบ้านครับ” ส�ำหรับ คอลัมน์ คอมมอนรูม ของบิ๊ค (วีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐) เจ้าตัวฝากกราบ ขอบพระคุณพี่ประกิตติ ที่ชื่นชอบการเขียน และคอยให้ก�ำลังใจมาตลอด ทุกครั้งที่เจอ กัน ทีบ่ คิ๊ ท�ำได้ดคี งเป็นเพราะ บิค๊ เป็นคนจดจ�ำ เหตุการณ์ในอดีตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ อดีตของเค้าในโรงเรียนวชิราวุธฯ และมีรปู แบบ ในการถ่ายทอดตามสไตล์ของตัวเอง ที่หลาย ท่านคงพอจะจับสไตล์กันได้ ทีมงานฯ มั่นใจว่า บิค๊ และนักเขียนทุกคนในอนุมานวสารจะมุง่ มัน่ พัฒนาฝีมอื การเขียนของแต่ละคนต่อไป ให้สม กับการที่ได้มาเป็นหนึง่ ในทีมงานอนุมานวสาร สุดท้ายนี้ บิ๊ค วีรยุทธฯ ฝากเรียน ผู้อ่านทุกท่านว่าในเล่มต่อไปจากนี้ จะขอใช้ นามปากกาว่า “ยุทธน้อย” (โดยการน�ำเอาชือ่ ของ คุณพ่อและแม่มารวมกันเป็น นามปากกา) เนื่ อ งจากเจ้ า ตั ว ได้ ไ อเดี ย ในการตั้ ง ชื่ อ นามปากกาของตัวเองจากพี่ฆ้องวง (รุ่น ๔๘) ขอขอบคุณพี่ประกิตติ (พี่เกิ้ล) อีกครั้ง ครับที่ได้กรุณาติดตามอ่าน อนุมานวสาร มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 11
ใต้หอประชุม คุยกับนักเรียนเก่าฯ
12
...ดื่มด�่ำธรรมชาติอันชวนถวิล จากบ้านไร่วิมานดินออร์แกนิคฟาร์มสเตย์...
พ.ต.ท.
กฤชญาณ อภิกุลชา (อ�ำรุง น้อยเศรษฐ, ชาย) รุ่น ๔๔
ผู้ท�ำให้แจ้งแก่โลกนี้ว่า “...ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ คือ การได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ท่ามกลางวัฏจักรอินทรีย์อันบริสุทธิ์…” ๔ กุมภาพันธ์ วันแห่งความรัก วันที่ โลกทั้งใบในหัวใจของหลาย ๆ คู่หนุ่ม สาว แปรเปี่ยมไปด้วยสีชมพู วันที่หลาย ๆ คนส่วนมากใช้เวลาอยู่กับคนรัก อยู่ในเมือง ใหญ่อันแน่นไซร้ไปด้วยความเจริญ สิ่งอ�ำนวย ความสะดวกและความบันเทิงต่าง ๆ ที่มนุษย์ สร้ า งผลิ ต ออกมาอย่ า งล้ น เฟ้ อ ด้ ว ยคิ ด ว่ า สิ่งประดิษฐ์สังเคราะห์เหล่านี้เท่านัน้ นี่แหละที่
จะสนองตอบความสุขส�ำราญ รวมทั้งความรัก ของมนุษย์ได้ ทว่า ยังมีกลุ่มคนหนุ่มสาวเล็ก ๆ อีก กลุ่มหนึง่ นามว่าอนุมานวสาร ที่ปลีกตัวออก มาจากกระแสความเจริญของเมืองใหญ่ เดิน ทางมุ่งหน้าไปสู่ดินแดนที่มีแต่ระบบธรรมชาติ อันบริสุทธิ์ล้วน ๆ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 13
มีบางคนกล่าวไว้ว่า ความรักและความ สุ ข ที่ แท้ จ ริ ง นั้น ล้ ว นต้ อ งก่ อ ก�ำ เนิด มาจาก “ความงามจากธรรมชาติ” แล้วธรรมชาติ มันก่อให้เกิดความสุข แก่ชีวิตเราได้อย่างไร ก็ในเมือ่ ความทันสมัยในเมืองใหญ่ มัน ก็สามารถบันดาลความสุขให้กับเราได้ทุกเรื่อง ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส มิใช่หรือ ? ...ค�ำถามนี้เกิดขึ้นมาในใจของพวกเรา อนุมานวสาร... ณ เวลายามบ่าย ขณะที่สายลมพัด โชยโบยสบาย ๆ ผนวกด้วยแสงแดดอันอบอุ่น ใน จ.กาญจนบุรี รถตู้ ๒ คัน ของเหล่าคณะ อนุมานวสาร ก็ได้แล่นผ่านขุนเขาล�ำเนาไพร ของ จ.กาญจนบุรีอันเต็มไปด้วยผืนป่าอุดม ธรรมชาติ ทะยานตรงสู่สถานที่เป้าหมาย... “บ้านไร่วิมานดินออร์แกนิคฟาร์มสเตย์” “บ้ า นไร่ วิ ม านดิ น ออร์ แ กนิ ค ฟาร์ ม สเตย์ ” ... สถานที่ พั ก ตากอากาศเพื่ อ ดื่ ม ด�่ำ ธรรมชาติอันงดงาม ทั้งยังด�ำเนินการท�ำฟาร์ม เกษตรอินทรียผ์ สมผสาน ด้วยธรรมชาติลว้ น ๆ ไร้ซึ่งสารเคมีแม้นเสี้ยวเศษไมครอน เป็นทั้ง บ้านและธุรกิจทีพ่ กั รวมทัง้ การเกษตรของ “พีอ่ ำ�่ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (อ�ำรุง น้อยเศรษฐ, ชาย) รุ่น ๔๔” ยอดชายนายต�ำรวจ ผู้ใช้ เวลานอกราชการ ทุ ่ ม เทพลั ง ชี วิ ต ท� ำ การ เกษตรเพื่อธรรมชาติอย่างแท้จริง ใช้ชีวิตร่วม กับครอบครัวในป่าเขาลึก อันรายล้อมไปด้วย ธรรมชาติที่บริสุทธิ์อย่างหาเขตสุดไม่พบ หุ้ม
14
ด้วยอ๊อกซิเจนสะอาดแทนควันพิษ ไร้ซึ่งสิ่ง ประดิษฐ์และความเจริญจากเมืองใหญ่ใด ๆ มาแผ้วพาน มีดอกไม้สวยสดใสในฟาร์มแทน เครื่องประดับ สดับเสียงน�้ำเซาะหินในล�ำธาร แทนเสียงดนตรี แว่วเพลงกวีจากเสียงนกร้อง พร้อมกรองสารพิษ ด้วยทรัพย์ลิขิตจากผืน ป่า ฯลฯ “เอ ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติอันปลีก วิเวกเช่นนี้ มีดีอะไร? ถึงได้ท�ำให้ พี่อ�่ำ ยอด นายต� ำ รวจ ผู ้ ซึ่ ง ชี วิ ต ต้ อ งโลดแล่ น อยู ่ ใ น ยุทธจักรไล่จับผู้ร้าย ถึงกับละทิ้งเมืองใหญ่ มาติดใจการด�ำรงชีวิตกับธรรมชาติแบบนี้” มีนกั ปราชญ์บางคน ได้แถลงไว้วา่ หาก หมายจักด�ำรงชีพให้อยู่ยั้งยืนยงไปยาวนาน บนผืนพิภพแห่งนี้ได้ ก็จักต้องใช้ชีวิตชนิด กลมกลืนกับธรรมชาติ อยู่แบบธรรมชาติ กิน ใช้ธรรมชาติด้วยความเคารพธรรมชาติ และ เหนือสิ่งอื่นใด จะต้องอุทิศตน “เพื่อธรรมชาติ” ทว่า เราจะใช้ชวี ติ อยูก่ บั ธรรมชาติลว้ น ๆ ดังว่านี้ได้เยี่ยงไร ก็ในเมื่อแค่ลืมตาตื่นขึ้นมา รอบ ๆ ตัวเรา มันก็มีแต่สิ่งสังเคราะห์ สารเคมี เต็มไปหมดแล้ว เราจะลดละสารพิษสิง่ สังเคราะห์เหล่านี้ ได้จริงหรือ ? ค� ำ ตอบของค� ำ ถามที่ เ กิ ด ขึ้ นทั้ ง หมด พร้อมพรัง่ ด้วย ความรูท้ รงค่ามหาศาล ทีซ่ อ่ นเร้น อยู่ในธรรมชาติ ชนิดที่เราคาดไม่ถึง ในที่สุด ก็ได้ปรากฏขึ้น เมื่อเราเดินทาง ไปถึงสถานที่แห่งนี้ และได้พบพูดคุยกับเขา
“Like paradise on earth, may you rest here and sleep. And as I weave the moon, the stars, and the drops of evening dew, together will our hearts become.�
ผู้นี้... พี่อ�่ำ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (อ�ำรุง น้อยเศรษฐ, ชาย) รุ่น ๔๔”
ต่อยมวยในวชิราวุธฯ อนุมานวสาร: พีเ่ ล่าให้ฟงั หน่อยนะครับว่า สมัยพี่ ทีเ่ ค้ามี ต่อยมวย กันในโรงเรียน ไปเรียนมาจาก ไหน ฝึกกันยังไงครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ตอนนั้นมีพี่ พี่สุรปรีชา ชัยมงคล พีจ่ กั ร ติงศภัทร์ แล้วก็มพี เี่ ล็ก สุรพล เศวตเศรนี พี่เล็กนีจ่ ะต่อยด้วยกัน ซ้อมด้วย กันกับพี่ แต่ ค นที่ เป็ น ปรมาจารย์ เ ลยเนี่ ย ก็ คือ พี่จักรกับพี่สุรปรีชา ซึ่งพี่ทั้งสองคนนี้ก็ เรียนมาจากพี่โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ พี่คนนี้นี่ วิดน�้ำวันละ ๑๐๐ หนนะ กล้ามนี่สุดยอด!
16
ตอนนี้เป็นอาจารย์ ม.เกษตร เป็นคนสอนมวย พี่จักรกับพี่สุรปรีชา พี่ ทั้ ง สองคนนี้ เ ป็ น มวยคนละแบบ พีจ่ กั รเค้าตัวเล็ก เค้าก็จะเป็นมวยแบบ ใช้เอวไว โยกหลบ สไตล์นักมวยฟิลิปปินส์สมัยก่อน ส่วนพี่สุรปรีชา เค้าตัวสูงนี่ เค้าก็จะเป็นมวย แย๊บ ยิงยาว ๆ แย๊บต่อย ทั้ง ๒ คนนี้เป็นมวยคนละสไตล์ ซึ่ง ทั้งคู่นี้เป็นครูสอนมวยพี่มา พี่ก็ได้ความรู้เรื่อง มวยจากพี่ทั้งสองคนนี้ แล้วในสมัยก่อน เด็ก แต่ละคณะที่เป็นมวย ก็จะสอนเด็กรุ่นต่อไป เรื่อย ๆ สอนต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ อนุมานวสาร: มวยที่เล่นกันนี่เป็น มวยไทย หรือสากลครับ
พ.ต.ท.กฤชญาณ: ทั้งไทย ทั้งสากล รุ่นพี่เค้า สอนมายังไง เราก็จะสอนรุน่ น้องต่อไปอย่างนัน้ อนุมานวสาร: แล้วมีมาประชันต่อยแข่งกัน ระหว่างคณะหรือเปล่าครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ไม่มี เพราะว่าวชิราวุธฯ เค้า ไม่เล่นกีฬาแบบนี้ เค้าไม่เล่นกีฬาต่อยกัน คือจะ เป็นลักษณะว่า ต่อยกันเอง ซ้อมกันเอง เล่น กันเองอยู่ในคณะมากกว่า ไม่ได้มีส่งไปแข่งข้างนอก แต่ว่า พอพี่ เรียนจบวชิราวุธฯ แล้ว ตอนนัน้ ในซอยบ้านพี่ มันมีคา่ ยมวย พอมีคา่ ยมวยปับ๊ เราเห็น เราก็ไป สมัคร พอสมัครปั๊บ มวยธรรมดานีต่ ่อยสู้เรา ไม่ได้เลย เพราะอย่างแรก เราอยู่ในโรงเรียน ร่างกายเราฟิตเปรี๊ยะ มันแข็งแรง แล้วก็ตอน ที่ เราหั ด มวยน่ ะ เราหั ด เหมื อ นเราเล่ นกี ฬ า ยูโดน่ะ คือเราหัดเริ่มตั้งแต่ทักษะพื้นฐานไป ทีละท่ากันเลย ก็มานัง่ คิด เอ๊ะ ท�ำไมไอ้นกั มวยพวกนี้ มันสู้เราไม่ได้เลย อ๋อ ก็เพราะเราหัดมวยแบบ หัดยูโด คือเราหัดท่าเบสิก (Basic) ทุกท่า แต่ ว่าพวกนี้เขาต่อยเพื่อหาเลี้ยงชีพ ก็เพราะไม่มี จะกินแล้ว ส่วนใหญ่มาจากสลัมทั้งนัน้ เลย ซึ่ง พวกนี้ พอหัดมวย พอที่จะเตะต่อยขวาซ้ายได้ ก็เอาขึน้ ชกแล้ว ขอผมชกนะครับ ผมไม่มจี ะกิน แล้วครับ ส่วนใหญ่อะไรประมาณนี้ คือนักมวยส่วนใหญ่ ชกมวยเพื่อหา เลี้ยงชีพ ด้วยเหตุนี้ นักมวยที่จะต่อยดีจริง ๆ น่ะ มันจะมีน้อยมาก คือนักมวยมีเยอะจริง
แต่ที่จะต่อยดีจริง ๆ น่ะน้อย เพราะเค้าต่อย เพื่อหาเลี้ยงชีพ เพราะเค้าไม่มีจะกินน่ะ ถ้าไม่ ต่อยก็ไม่มีจะกิน ฉะนัน้ นักมวยพวกนีก้ ็เลยต่อยสู้เราไม่ ได้ เพราะเราเรียนมวยตามเบสิก ถูกต้องตาม ล�ำดับขัน้ เหมือนอย่างฝรัง่ ทีเ่ ข้ามาชกมวยไทย ในเมืองไทย ท�ำไม ไอ้กงั หันนรก ชาวฮอลแลนด์ เนี่ย ที่มันต่อยนักมวยคนไทยสลบหมดน่ะ ที่ สมัยนัน้ ยอดมวยคนไทยทัง้ หลายโดนมันต่อย สลบหมด ทุกคนก็ตกใจ เฮ่ย ท�ำไมไอ้ฝรั่งมัน ถึงต่อยคนไทยระดับยอดมวยสลบหมดเลย ก็เพราะฝรัง่ มันเรียนเบสิกหมดทุกอย่าง แล้วร่างกายมันพร้อม เบสิกพร้อม โครงสร้าง พร้อม ร่างกาย ทีนกี้ ็สุดยอด อย่างตอนทีพ่ ชี่ กกับฝรัง่ เนีย่ ช่วงทีพ่ ไี่ ป อยู่สหรัฐอเมริกา พี่ก็จะสอนเพื่อนต่อยมวยที่ ห้อง ก็จะมีพวกเนีย้ พวกนักเทควันโด พวกคน อิหร่านบ้าง อเมริกนั บ้าง มาท้าพีต่ อ่ ยอยูเ่ รือ่ ย ๆ พวกนี้มันมาท้าเพราะ มันนึกว่า เทควันโดของ มันเนี่ย สุดยอดแล้ว ส่วนคนอิหร่าน คนนี้มา จากกองทัพอิหร่าน พวกทหารอิหร่านที่มันมา เรียนน่ะ โหย พอมันเห็นเราปั๊บ มันบอก คอย แป๊บหนึง่ ขอไปเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อน แล้วจะมา ต่อยด้วย พอมันมาถึง พี่ก็เตะมันกระเด็นหมด ไอ้พวกนี้ พวกฝรั่งทั้งหลายที่มาท้าต่อยเนี่ย ในทีส่ ดุ เราก็เลยบอกพวกนีไ้ ปว่า คุณไป ตามอาจารย์มวยของคุณมาเลยดีกว่า คุณอย่า พยายามเลย คุณไปเรียกอาจารย์คุณมาดีกว่า วันหนึง่ พวกนีก้ ็มาบอกว่า จะมี ทัวร์นาเมนต์ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 17
(Tournament) ที่อาคันซอว์ ตอนนัน้ ผมอยู่ รัฐอาคันซอว์ พวกนีก้ บ็ อกว่า ผมต้องไปต่อยให้ ได้นะ เพราะอาจารย์มันลงแข่งในทัวร์นาเมนต์ นีด้ ้วย ในที่สุด เราก็ไปแข่ง พวกนีก้ ็พาไปแข่ง พอไปเห็นอาจารย์พวกนี้ปุ๊บ ดูเค้าซ้อม ต่อยลมอยู่ เราก็ เออ ท่าทางมันดีแฮะ แต่พอ เห็นมันขึน้ ชกจริงเท่านัน้ แหละ โอ้โหย บอกเพือ่ น ให้รีบเรียกอาจารย์มันมาชกกับพี่เลย สบาย! ก็เพราะว่า อาจารย์มัน เวลาเข้าปะทะ มันเข้าแบบครึง่ ๆ กลาง ๆ กล้า ๆ กลัว ๆ ไอ้เรา ก็รู้แล้ว ถ้า “ใจ” มันแบบนี้ เราต่อยได้สบาย เลย คือคนนี้มันเข้าปะทะจริง แต่ว่า ถ้าต่อย ลมน่ะ มันจะไปเต็มตัว แต่พอมันเจอคนคู่ชก เนี่ย มันจะไปแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ฉะนัน้ แบบ นี้ ไม่มีเจ็บ ถ้าต่อยกับคนที่ชกแบบนี้ ไม่มีเจ็บ เพราะว่า น�้ำหนักมันไม่ได้ทิ้งไปข้างหน้า เพราะ ว่ามันกลัวไง คือมันกลัว มันก็ไม่ทิ้งไปข้างหน้า ฉะนัน้ ยังไงก็ไม่เจ็บ “...ต่อยลมน่ะ เราจะต่อยสวยยังไงก็ได้ เพราะ ลม มันไม่ต่อยสวนกลับมา.......” ช่วงเรียนปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา ยังคงชกมวย ตอนนั้นหันมาชกมวยสากลที่ เมืองที่พี่เรียนอยู่ ชกครั้งแรก แพ้แชมป์ของรัฐ อาคันซอว์ เพราะเราไม่พร้อม ร่างกายเราไม่ พร้อม แต่เราอยากชกน่ะ โค้ชก็บอก เฮ่ย อย่า ชกเลย เราป่วย ร่างกายไม่พร้อม คือไอ้เราก็คิด เห็นว่าร่างกายเรามันก็ ธรรมดาน่ะ ยังไงก็ต่อยไหว ป่วยก็ต่อยได้ โค้ช
18
ห้ามเท่าไหร่เราก็ไม่ฟัง ก็ เราอยากจะต่อยน่ะ โอ้โหว แต่พอไปเห็นคู่ชกเท่านัน้ แหละ ตอนมันเดินหันหลังถอดเสื้อขึ้นไปชั่งน�้ำหนัก “โอ๊ย! พรุ่งนีก้ ญ ็ าติป่วยแล้ว” (ฮ่า ๆ) อาคันซอว์ แชมป์เปี้ยนน่ะ แชมป์ของรัฐน่ะ แถมยังอายุ น้อยกว่าเราเยอะด้วย ตอนนัน้ พี่อายุ ๒๖ แต่ คนนี้ มันเด็กเพิ่งอายุ ๑๘ ก�ำลังฟิตเลย ไอ้เรา ก็มานัง่ นึกอย่างเดียว “เอ เราจะรอดมั๊ยวะ!” พอชกกันจริง ๆ เราก็ไม่รอด เพราะร่างกายเรา ไม่พร้อม ต่อยไปได้ ๒ ยก พี่เลี้ยงก็โยนผ้า ยอมแพ้ สู้ไม่ไหว โอเค พอกลับมา ก็มาซุ่มฟิต ฟิต ๆ ๆ ตอนนัน้ ถึงจะเป็นช่วงหิมะตก แต่เราก็ยังออก วิ่ง ในที่สุด ก็กลับมาต่อยชนะ แต่ว่าไม่ได้ชนะ คนเดิมนะ ไปชนะอีกคน เป็นคนด�ำ รองแชมป์ ของอาคันซอว์ พอชกเที่ยวนีช้ นะเรียบร้อยแล้ว เราก็ เลิกชกมวยเลย เพราะร่างกายมันไม่ไหวแล้ว อายุเริ่มมากแล้ว สมัยนัน้ เหล้าก็กิน บุหรี่ก็สูบ สาว ๆ เนี่ยนะ เพียบ! (หัวเราะกันใหญ่) ก็เลยตัดสินใจ เลิกชกมวยดีกว่า คือใจ น่ะมันยังอยาก อยากจะท�ำงี้ ๆ แต่มันท�ำไม่ได้ เพราะสมองสั่ง แต่ร่างกายมันไม่ทำ� เราก็ โอเค พอเลิกแล้วหลังจากนัน้ ก็ไม่ได้ขนึ้ ชกแข่งอีกเลย อนุมานวสาร: เรียนเก่ง ภาษาเก่งได้ เพราะไป เรียนปริญญาตรีที่ “อินเดีย” พ.ต.ท.กฤชญาณ: พี่อยากจะบอกว่า ไปเรียน อินเดียเนี่ย สุดยอดแล้ว เรื่องภาษาเนี่ย
มุมสงบ มุมหนึง่ ของวิมานดินในยามพลบค�ำ่ แวดล้อม ด้วยไม้ใหญ่ , ขุนเขา และสายน�ำ้ อยู่ใกล้ๆ
ก็เพราะอินเดีย เนีย่ มันใช้ภาษาอังกฤษ แล้วเวลาสอบเนี่ยนะ มันสอบเป็นแบบเขียน บรรยายหมด ไม่มกี าถูกผิด แล้วเขียนบรรยาย เนี่ย ค�ำตอบต่อ ๑ ข้อเนี่ย ต้องตอบอย่างน้อย ๑ เล่มกระดาษ เอ ๔ มันจะมีสมุดโน๊ตเป็นเล่ม ไว้ให้เขียนค�ำตอบ ค�ำตอบ ๑ เล่มต่อ ๑ ข้อนี่ ถือว่า “อย่าง น้อย” แล้วนะ พวกแขกเนี่ย เวลามันตอบกัน มันตอบกันเป็น ๒ เล่ม ๓ เล่มกว่ากันเลย แล้วอินเดีย ตอบข้อสอบ ก็บงั คับเขียน ตอบแต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียวด้วย แล้วการ เขียนภาษาอังกฤษ ถ้าเขียนสะกดผิด เขียน ผิดหลักไวยากรณ์ ถึงจะแค่นดิ เดียว มันก็หัก
คะแนนด้วยนะ ตอนที่พี่ไปอินเดีย พี่ก็นงั่ คิด เอ... เรา จะจบได้ไงวะ เรียนวชิราวุธฯ ได้แค่ ๖๘-๖๙% เอง แล้วนี่เราจะเรียนจบได้ยังไงกัน แล้วก็ไม่ เคยเขียนด้วยนะ เขียนบรรยายน่ะ ตอนสอบที่ วชิราวุธฯ เขียนบรรยายอย่างเก่งก็ไม่เกิน ๕-๖ บรรทัด เขียนภาษาอังกฤษเนี่ย แต่นี่เราต้องมา เขียนเป็นเล่ม! แล้วมันจะไปเรียนจบได้อย่างไร ก็นงั่ คิด มันจะไปจบได้ยังไง เพราะถ้าพิจารณา จากความสามารถตอนเรียนที่วชิราวุธฯ โดย ธรรมชาติแล้ว เราไม่มีทางจบได้เลย คราวนี้ โชคดีตรงที่ พอเราไปเรียน อินเดียเนี่ย “เงินเราใหญ่” เงินที่พ่อแม่ให้ใช้ต่อ เดือนเนี่ยแหละ เท่ากับเงินเดือนศาสตราจารย์ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 19
มหาวิทยาลัยที่อินเดียเลย นั่นคือประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ รูปี เรานี่อยู่อย่างพระราชาเลย ก็ พวกคนอินเดียจึงมักชอบเรียกเด็กไทยอย่าง พวกเรา ๆ ว่า “มหาราช” กันไง (หัวเราะ) มหาราชทรัพย์ ฮ่า ๆ ๆ เมือ่ เรามีเงินเยอะขนาดนัน้ ส�ำหรับทีโ่ น่น รถเราก็ไม่ต้องใช้ แล้วก็ยังมาแชร์บ้านอยู่กับ คนอื่นอีก แชร์ค่าเช่าบ้านกัน ค่าจ้างแม่บ้านมา ดูแล ก็เดือนละแค่ ๒๕ รูปีเอง แถมยังแชร์กัน ออกด้วย ฉะนัน้ เงินมันก็เลยยิ่งเหลือเก็บ เงิน ยิ่งเหลือเยอะเข้าไปอีก เงินเหลือเก็บต่อเดือน มาก สมัยนัน้ เนือ้ วัวกิโลละเท่าไหร่ กิโลละ ๓ รูปี เอง เนื้อสันในวัวด้วยนะ ฉะนัน้ คนไทยจะกิน แต่สันในเท่านัน้ เด็กไทยเลยเลือกกินแต่ของดี ขนาดกุ้งแม่น�้ำ ตัวอย่างใหญ่เลย ยังกิโลละแค่ ๗-๘ รูปีเอง เด็กไทยที่ไปอยู่อินเดีย จึงใช้ชีวิต เยี่ยงเศรษฐีเลย คราวนี้ พอเรามีเงินเหลือเก็บจ�ำนวน มาก ก็เลย “จ้าง” พวกเด็กเรียนปริญญาโท พวกเด็กจะเรียน ป.โท ที่อินเดียได้นี่ ต้องเรียน ระดับเฟิร์สคลาส (F ifirst Class) เท่านัน้ นะ ถึง จะมีสิทธิเรียนปริญญาโทได้ ส่วนใหญ่ก็พวกที่ เป็นผู้ช่วยอาจารย์น่ะ เราก็จ้างมาสอน มาติว ให้เรา ทุกวิชาเลย จ้างมาสอนตอนเย็น ทุกวัน ๆ เป็นพิเศษ ในที่สุด เราเรียนพิเศษกับพวกนี้ เราได้ อะไร ประการแรก เราได้ภาษา ก็ภาษาเราพูด กับเค้านี่ มันต้องคุยกัน ก็เท่ากับว่า เหมือนเรา เรียนภาษาไปในตัว ทั้งการพูด การฟัง ส�ำเนียง
20
เราก็สบาย เพราะเราฟังทุกวัน ประการต่อมา คือ เราก็ได้เรียนรู้วิธีเขียน เพราะพวกนี้มัน เรียนเฟิร์สคลาสหมด มันก็คือเด็กสุดยอด ทั้งนัน้ พวกนี้เขียนเก่งมาก ด้วยเหตุนี้ เราก็ได้ เรียนรู้วิธีเขียนจากเค้า เนี่ย ตรงจุดนี้เอง ที่ท�ำให้เราเก่งถึง ได้บอก ไปเรียนอินเดียเนี่ย สุดยอดแล้ว มัน ท�ำให้คน “เปลี่ยน” ได้เลย พอไปเรียนที่อื่น มัน
ก็เลยง่ายหมด อนุมานวสาร: กลับมาเมืองไทย จึงรู้ว่าตัวเอง เรียนเก่งขึ้น พ.ต.ท.กฤชญาณ: ทีนพี้ อพีเ่ รียนจบ ป.ตรี จาก อินเดีย ก็กลับมาเมืองไทย เตรียมตัวจะไปต่อ ป.โท ที่สหรัฐอเมริกา ก่อนจะไปสหรัฐฯ ก็ไป เรียน AUA ที่รู้ว่าตัวเองเก่งเนี่ยนะ ก็เพราะ
ไปเรียน AUA มันต้องสอบ สอบ Intensive พอสอบปั๊บ ไอ้เราก็ ปิ๊งได้ระดับ ๗ เลย! นอกนัน้ รุน่ เดียวกันไม่มใี ครสอบได้ระดับ ๗ เลย ก็เลยเริม่ รูว้ า่ ตัวเองเรียนเก่ง เฮ่ย เราก็เรียนเก่ง นี่หว่า จากเมื่อก่อนที่รู้เลยนะว่า เราเรียนเก่ง คือตอนที่อยู่อินเดียไม่รู้ตัวไง มันค่อย ๆ เก่ง ขึ้นไปตามธรรมชาติ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 21
อนุมานวสาร: ต่อปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา พ.ต.ท.กฤชญาณ: จากนัน้ พี่ก็ไปต่อ ป.โท ที่ สหรัฐอเมริกา ไปสอบเข้า North Texas สมัย นัน้ เนี่ย มหาวิทยาลัยที่นี่ พอเข้าไปปุ๊บเนี่ย เค้า จะมีจัดสอบภาษาอังกฤษใหม่ เพราะตอนหลัง เค้าเริ่มรู้แล้วว่า ไอ้ GRE ที่สอบไปจากประเทศ ใครประเทศมันเนี่ย มันไม่ชัวร์ เพราะบางทีมัน มีการจ้างสอบ แล้วพอเด็กไปแล้ว ก็เรียนไม่ได้ มันก็เลยตั้งบรรทัดฐานของมหาวิทยาลัยแล้ว สอบเอง คือสอบจากประเทศของตนเองแล้วก็ ไปสอบใหม่ที่มหาวิทยาลัยที่จะเข้าอีก พี่สอบออกมาเนี่ย พี่บอก สอบผ่าน โหย เพื่อนทั้งกลุ่มงง! เพื่อนบอก ไอ้ขี้โม้ ก็ ช่วงก่อนสอบ ก็ยังไปคุยกินเบียร์กันทุกวัน จัด ปาร์ตี้ แล้วจะสอบผ่านได้ไง พอผลสอบออกมา พี่ก็สอบผ่าน ผ่านนีค่ ือ ๙๐% นะ พี่ก็ผ่าน ไอ้ พวกเพื่อนก็งง แล้วเราก็เลยเริ่มรู้ตัวเองว่า เฮ่ย เรานี่ไม่ธรรมดานี่หว่า ฉะนัน้ ถึงได้บอกว่า เรียนอินเดียเนี่ย มันดี ท�ำให้พี่จากที่เคยเรียนไม่เก่ง จนเรียน เก่งได้
กลับจากสหรัฐอเมริกา สู่เส้นทางราชการต�ำรวจ อนุมานวสาร: พอกลับจากสหรัฐอเมริกาแล้ว พี่ มาเป็นต�ำรวจเลยหรือเปล่าครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ไม่ครับ กลับจากสหรัฐฯ พี่ ก็มาท�ำงานองค์การระหว่างประเทศ ท�ำได้ปหี นึง่
22
จากนั้น พี่ก็ไปสอบเป็นเจ้าหน้าที่ปราบปราม ยาเสพติด ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ท�ำอยูป่ ระมาณ ๓-๔ ปี จากนัน้ ถึงจะโอนมาเป็นต�ำรวจ แต่พอ โอนมาเป็นต�ำรวจแล้ว ก็ไม่ได้ท�ำงานยาเสพติด เลย ท�ำแต่งานอาชญากรรมมาตลอด ไปอยู่ พัทยา แล้วก็มาอยูส่ บื สวนพิเศษ ๑๙๑ สืบสวน เหนือ มาเป็นสารวัตรปราบปราม การโจรกรรม รถยนต์ แล้วก็มาท�ำเรื่องสืบสวนคดีเศรษฐกิจ อะไรพวกเนี้ ย จากนั้ น ก็ ม าอยู ่ ส� ำ นั ก งาน ผูบ้ งั คับบัญชา แล้วจึงย้ายไปอยู่ กองอ�ำนวยการ รักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แล้วก็ ย้ายมาอยูก่ บั ท่านเสรี พลต�ำรวจเอกเสรีพสิ ทุ ธิ์ เตมียาเวส ผูบ้ ญ ั ชาการส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ พอหลังจากท่านเสรีย้ายไปช่วยราชการส�ำนัก นายกรัฐมนตรี ก็ย้ายกลับไปอยู่ กอ.รมน.
เหมือนเดิม ทีนี้ อยู่ กอ.รมน. งานค่อนข้างสบาย ไม่ค่อยมีงานอะไรมาก ก็เลยมีเวลามาท�ำงาน เกษตรอย่างนี้ได้ ก็เหมาะกับตัวเรา อนุมานวสาร: พีเ่ ริม่ ท�ำตรงนีต้ งั้ แต่ปไี หนน่ะครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: พีเ่ ริม่ ท�ำ ตอนปี พ.ศ. ๒๕๓๘ อนุมานวสาร: แล้วพีน่ กึ ยังไงถึงมาจับงานตรงนี้ ล่ะครับ จับงานไร่ ท�ำเกษตรแล้วก็ทำ� รีสอร์ทด้วย พ.ต.ท.กฤชญาณ: เนี่ย คือจริง ๆ แล้ว พี่ก็ ไม่ได้เป็นคนชอบงานไร่งานสวนอะไรอย่างเนี้ย เท่าไหร่หรอกนะ แต่ ว ่ า แต่ ก ่ อ นเนี่ ย พี่ อ ยู ่ เ กาะช้ า ง เจ้าของเกาะช้างรีสอร์ทเป็นเพื่อนรักกับพี่ แล้ว พี่ก็ช่วยเค้าท�ำรีสอร์ท ตอนนัน้ เค้าจ้างพี่เดือน ละ ๓ หมื่น วันเสาร์ อาทิตย์ ให้ไปช่วยดูงาน ด้านบริหารการขาย เกี่ยวกับสินค้าท่าเทียบเรือ ของเค้าเนี่ย เสร็จแล้ว วันหนึ่ง มีปัญหาเกิดขึ้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวงาน แต่ว่ามันเป็นปัญหาที่ ตัวเจ้าของรีสอร์ท ไปมีเรื่องกับนักการเมืองผู้มี อิทธิพลในท้องที่ เราก็แนะน�ำวิธีแก้ปัญหาให้เค้า ให้ทาง เลือกเค้าหลายทางเลยในการเคลียร์ แต่เค้าเล่น ไม่เลือกซักทางเลยน่ะ ไม่ฟังค�ำแนะน�ำเรา ไม่ เชื่อเรา ทีนี้พอไม่เชื่อเรา เราก็รู้แล้วว่ามันไปไม่ ได้ พอมันไปไม่ได้ เราก็เลยถอยออกมา เพราะ ไม่งั้น สักวันหนึง่ พ่อแม่ญาติพี่น้องของเค้าจะ
มาด่าเรา หาว่าเราไปเกาะเขากิน โดยทีแ่ บบไม่มี ความรู้ ไม่ได้รู้จริงน่ะ ฉะนั้นก็เลย ตัดสินใจ ถอยออกมา กลับมาท�ำอะไรของเราดีกว่า คือไม่ได้เลิกคบ กับคนนีน้ ะ เพียงแต่เลิกท�ำธุรกิจด้วยกัน ก็ถ้า เป็นแบบนี้ ขืนฝืนท�ำต่อไป ก็จะไปทะเลาะกับ พ่อแม่ญาติพี่น้องเค้าเปล่า ๆ ก็เลยมาท�ำธุรกิจ ของตัวเองที่นี่ ส่ ว นถ้ า ใครถามว่ า ท� ำ ไมไม่ ย ้ า ยมา ประจ�ำอยู่ทองผาภูมิ เมืองกาญจน์นี้เลยล่ะ ก็ ในเมื่อท�ำธุรกิจอยู่ที่นี่อยู่แล้วไม่ใช่เหรอ อันนีพ้ กี่ อ็ ยากจะบอกว่า คุณรับราชการ น่ะ คุณท�ำธุรกิจที่ไหน ห้ามอยู่ที่นนั่ เป็นอันขาด เพราะคุณไม่มีทางที่จะมีคนรักคุณได้ ๑๐๐% คนที่จะเกลียดคุณ ไม่คนดีก็คนชั่ว ถ้าคุณเข้า ข้างคนชั่ว คนดีก็เกลียดคุณ ถ้าคุณเข้าข้างคน ดี คนชั่วก็เกลียดคุณแน่ ๆ แล้ววันหนึง่ ถ้าคุณโดนร้องเรียน เมือ่ คุณ โดนร้องเรียน ถ้าคนชัว่ เค้าเข้าถึงนาย คุณก็โดน ย้าย แต่ถา้ คุณอยูใ่ นกรุงเทพฯ ใครก็ยา้ ยคุณไม่ ได้ ก็ทนี่ มี่ นั บ้านผม แต่ทที่ ำ� งานผมอยูก่ รุงเทพฯ พีจ่ ะบอกว่า พีย่ อมขับรถไกล แต่ใครก็ ย้ายพี่ไปไหนไม่ได้ ผมท�ำงานอยู่กรุงเทพฯ ผม ไม่ได้เป็นผู้มีอิทธิพล แล้วก็ไม่ต้องการจะเป็น ด้วย เพียงแต่ว่า “...เราช่ ว ยคนที่ ถู ก รั ง แก ช่ ว ยคน อ่อนแอที่ถูกรังแก...” มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 23
ก็เคยมีเรือ่ งกับผูม้ อี ทิ ธิพลเยอะ แต่เค้า ท�ำอะไรเราไม่ได้ เทวดาช่วย อย่างเวลาที่เค้าจะ กัดเราข้างหลังเนีย่ เราจะรูต้ วั ก่อนทุกครัง้ อย่าง ไม่น่าเชื่อ อย่างเหลือเชื่อ
แรงบั นดาลใจในการสร้างบ้านไร่ วิมานดินออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ อนุมานวสาร: อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำ� ให้พี่ อ�่ำหันมาท�ำฟาร์มสเตย์ครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: แรงบันดาลใจเหรอ ทีแรก พี่ก็ไม่ได้คิดนะ ว่าจะท�ำเป็นที่พักฟาร์มสเตย์ ท�ำการเกษตร อะไรพวกนี้หรอกนะ ในตอนแรก ก็กะจะแค่ปลูกเป็นบ้าน ของเราพักผ่อนเฉย ๆ น่ะ แต่ระหว่างที่สร้าง บ้าน หญ้าบริเวณนี้ มันเยอะมาก ก็ถามลูกน้อง ว่า จะท�ำยังไงกับหญ้าดี หญ้ามันรกเต็มไปหมด ลูกน้องเค้าก็บอกว่า อาจต้องไถปลูก ข้าวโพด ก็เลยเอารถมาไถ แล้วก็ปลูกข้าวโพด แล้วก็ท�ำโกดังเก็บ ข้าวโพดที่ปลูกได้แล้วก็เอา ไปเก็บในโกดัง ทีนี้ “หนู” ก็มาสิ คราวนี้หนู มากันเต็มเลย ก็เลยมีปัญหาว่า จะท�ำยังไงกับ ข้าวโพด ก็เราเกิดมาไม่ใช่ลูกพ่อค้าน่ะ พ่อเป็น ต�ำรวจ แม่ก็เป็นหมอ ไม่เคยค้าขาย ลูกน้องก็บอก ต้องเอาไปขายครับ เราก็ อ้าวแล้วขายใครล่ะ ลูกน้องเค้าก็พาเราไปติดต่อ เรื่องต่าง ๆ เค้าก็เอาเครื่องมาจัดการ แล้วก็ ขายไป
24
เรื่อยมาในที่สุด ก็ขยับขยายท� ำเป็น ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ แล้วก็ท�ำเป็นบังกะโลให้ นักท่องเที่ยวมาพักชื่นชมธรรมชาติ เชิงนิเวศน์ ในที่สุด ในส่วนการท�ำเป็นที่พักห้องต่าง ๆ ใน บ้านตึกหลัก เพือ่ นักท่องเทีย่ วเนีย่ พีส่ ร้างทีน่ ขี่ นึ้ มา ก็เพื่อความโรแมนติก ส�ำหรับหนุ่มสาวคู่รัก ไม่ได้สร้างให้มาให้มาเฮฮาปาร์ตี้อะไรมากนัก แต่ก็สร้างบังกะโลเพื่อรองรับกลุ่มอื่น ๆ ด้วย แต่มีต้นไม้พราง เน้นธรรมชาติ ก็ส�ำหรับเวลา คุณลงมาร่วมกิจกรรมเป็นกลุม่ เนีย่ ก็สนุกสนาน ได้ ส่วนพอเวลาอยากจะไปสวีทกัน ๒ ต่อ ๒ คุณก็กลับไปที่ห้องได้ คือจะมีบริเวณที่มีความ เป็นส่วนตัวค่อนข้างเยอะ ตัวห้องพักบังกะโลต่าง ๆ ก็จะพยาม สร้างทุกอย่างให้เป็นธรรมชาติ ในห้องเนี่ยนะ พยายามใช้ไม้ทุกซอก พยายามใช้วัตถุดิบให้ ได้บรรยากาศธรรมชาติมากทีส่ ดุ อาทิเช่น เวลา คุณเข้าห้องน�้ำ ก็จะเห็นส่วนที่เป็นกระเบื้อง นิดเดียวเท่านัน้ เอง ถามว่าท�ำไมถึงต้องใช้กระเบื้อง ทั้งที่ มันไม่ใช่วัสดุธรรมชาติ ก็เนื่องจากว่า ถ้าไม่ใช้ กระเบื้อง ใช้วัสดุอื่น ๆ พวกไม้ พวกปูน อะไร อย่างเนี้ย มันจะยุ่ง เพราะมันจะดูดกลิ่นเอาไว้ พอดูดกลิ่น ห้องน�้ำเกิดเหม็น เมื่อห้องน�้ำกลิ่น เหม็น ที่นี้ จะเป็นอะไรที่ยุ่งมาก คือหลักการส�ำคัญ ของการดูแลห้องน�ำ้ ก็คือ ท�ำไงที่จะไม่ให้มันมีกลิ่น
ฉะนัน้ โดยสรุปแล้วเนี่ย ห้องน�ำ้ จะใช้ หิน ก็เฉพาะพืน้ ที่ ทีแ่ ห้ง ส่วนพืน้ ทีท่ ใี่ ช้อาบน�ำ้ ก็ ใช้กระเบือ้ ง เพราะ น�ำ้ มันจะไหลถ่ายเทได้เร็วสุด ส�ำหรับในส่วนที่นั่งส้วม ก็ท�ำให้พื้น มันเป็นหินซะ เพราะเวลาเราเหยียบลงไปเนี่ย มันก็จะได้ความรู้สึกเหมือนกับเราได้อยู่กับ ธรรมชาติจริง ๆ ซึ่งทีแรกพี่ก็เอาหินกาบมาใช้ แต่หลัง จากนัน้ ไปอ่านหนังสือมา เขาบอกว่า การที่จะ ท�ำท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เนี่ย คุณจะต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ มีอยู่ในธรรมชาติ ณ บริเวณนัน้ ๆ พี่ก็เอ๊ะ ถ้าเราใช้หินกาบ มันก็ไม่ใช่สิ ผิดหลักการ เพราะบริเวณนี้ไม่มีหินกาบ พี่ก็ เลยเอาหินกลมมาใช้ หินกลม หินกรวดต่าง ๆ ซึ่งมันมีอยู่ในล�ำห้วยของเราเนี่ย ก็เริ่มน�ำมาใช้ ผสมผสานกัน พยายามตกแต่งให้สวยงามอย่าง กลมกลืนกับธรรมชาติ บั ง กะโลสองห้ อ งข้ า งล่ า งที่ อ ยู ่ ริ ม น�้ ำ ตอนนีต้ ิดมุ้งลวดแล้ว พี่ก็ทยอยติดมุ้งลวดไป เรื่อย ๆ ทีละหลัง จากที่ไม่มีมุ้งลวดแล้วเป็น นอนเตียงมีมุ้ง ก็เนื่องด้วย ลูกค้าหลายคน เค้าไม่ชอบ นอนมุ้งนี่ เค้ารู้สึกว่ามันอึดอัด ก็เค้าโตมาไม่ เคยนอนมุ้งนี่ อย่างพี่ ตอนเด็ก ๆ เรานอนมุง้ แล้วพอ เราไปนอนห้องที่ไม่มีมุ้ง เราก็นอนไม่หลับ เฮ่ย มันโล่งจัง พอมาเข้าเรียนอักษรเจริญ ที่นอน ไม่มีมุ้ง เราก็นอนไม่ค่อยหลับ รู้สึกแบบ มัน โล่ง โหวงเหวงไปหมด
ก็เ ลยไม่ แปลกใจ ว่ า ท� ำ ไมลู ก ค้ า ถึง ไม่ชอบนอนมุง้ บอกรูส้ กึ อึดอัด ก็เค้าเคยชินกับ การนอนไม่มีมุ้งมานี่ ฉะนัน้ คือ โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว “...พอโลกมันเปลีย่ น เราก็ตอ้ งพยายาม ปรับตัวตาม...” โดยการเอามุ้งออก แล้วก็ติดมุ้งลวด เข้าไปแทน ส่ ว นสามหลั ง ที่ เ ห็ น ติ ด เครื่ อ งปรั บ อากาศนัน้ น่ะ ที่ต้องติดก็เพราะว่า มีลูกค้าโทร มาหาพี่ เขาจะถามว่า มีแอร์มั๊ย ถ้าไม่มี เค้าก็ ไม่นอน คือลูกค้าที่ต้องการพักบังกะโล ก็มี ๒ ประเภท ทั้งอยากนอนแบบอากาศธรรมชาติ ล้วน ๆ กับพวกที่ต้องมีเครื่องปรับอากาศ ด้วย เหตุนี้เราก็จัดบริการรองรับได้ทั้ง ๒ กลุ่ม “...ก็ถ้าลูกค้าเค้าจะกินเป๊บซี่ แต่เราดัน เอาน�้ำส้มไปให้ มันจะไปขายได้ไง ใครเค้าจะ มากินของเรา เราก็ตอ้ งปรับกลยุทธ์ตามลูกค้า...” คือเราก็ต้องปรับกลยุทธ์ตามลูกค้าไป เรื่อย ๆ แต่ยังไงเสียก็ต้องมีห้องพักที่ติดแอร์ ลูกค้าจะเปิดไม่เปิดก็อีกเรื่องหนึ่ง เพื่อที่จะ สามารถสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ทุก รูปแบบ ซึ่งพี่ก็จะค่อย ๆ ทยอยติดไปเรื่อย ๆ ให้ครบทุกหลัง มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 25
วิมานฉิมพลี ที่พักเพียงหนึง่ เดียวที่ออกแบบส�ำหรับ คู่รักที่ชอบนอนชมดาวเดือน
วิมานฉิมพลี อนุมานวสาร: เห็นบังกะโลส่วนใหญ่สร้างเป็น กระท่อมกับพื้นดิน แล้วท�ำไมถึงสร้างวิมาน ฉิมพลี (บังกะโลหนึง่ เดียว ที่เสมือนหนึง่ บ้าน ทาร์ซาน ตัง้ สูงตระหง่าน อยูบ่ นยอดต้นไม้ใหญ่ ของบ้านไร่วมิ านดินแห่งนี)้ ขึน้ ไปอยูบ่ นยอดไม้ อย่างนัน้ ล่ะครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: วิมานฉิมพลีเนี่ย จริง ๆ มัน ก็คอื เป็นบ้านต้นไม้ ส่วนทีต่ งั้ ชือ่ นี้ ก็เพราะว่า ถ้า เราไปอ่านในวรรณคดีเนีย่ วิมานฉิมพลี มันเป็น บ้านของพญาครุฑ ตั้งอยู่ที่ตีนเขาพระสุเมรุ ริม
26
มหานทีศรีทันดร ก็ล�ำห้วยข้างล่าง เราก็สมมุติ ว่าเป็น มหานทีศรีทันดร เนินเขานีก่ ็เสมือน ตีน เขาพระสุเมรุ แล้วที่เห็นพี่ปลูกต้นงิ้วไว้ ๑ ต้น ก็ด้วย ฉิมพลี แปลว่า ต้นงิ้ว เมื่อฉิมพลีแปล ว่าต้นงิว้ ถ้าไม่มตี น้ งิว้ ก็อาจจะมีพวกลูกค้าทีเ่ ก่ง วรรณคดี ก็อาจจะบอก เอ๊ะ นี่มันไม่สมจริงนี่ นี่มันต้นมะเดื่อนี่หว่า พี่ก็เลยเอาต้นงิ้วมาปลูก เพื่อให้มัน สมจริง แล้วตอนนีพ้ กี่ ก็ ำ� ลังเขียนรูป พญาครุฑ ตอนอุม้ นางกากี ขึน้ ไปบนบ้านวิมานฉิมพลี จาก นั้นก็จะมีกลอนด้วยนะกลอนที่เจ้าฟ้ากุ้งแต่ง น่ะ เป็นกลอนบทกวีตอนที่ พญาครุฑเกี้ยว นางกากีนะ่ จะติดไว้ในห้อง แล้วบรรยากาศมัน จะดีมาก ต้นไม้พลิ้ว ลมดีมาก บางทีพี่ก็ชอบ
ไปนอนดูพระจันทร์ ตอนพระจันทร์เต็มดวงเนีย่ นะ มันจะสวยมาก ๆ เลย นอนเปิดหน้าต่างดู พระจันทร์ แล้วข้างบนวิมานฉิมพลีเนีย่ ถ้านัง่ เขียน หนังสือนะ จะดีมาก ๆ เลย เพราะว่ามันจะเป็น บรรยากาศที่ปลีกวิเวกจนได้ยินเสียงน�้ ำไหล แล้วมันจะสวย ทั้งให้อารมณ์สุนทรีย์อย่างมาก
สูดอ๊อกซิเจนให้เต็มปอด พ.ต.ท.กฤชญาณ: ทีบ่ า้ นไร่วมิ านดินนี่ อ๊อกซิเจน มันเยอะมาก อย่างพวกเราเนี่ย ทุก ๆ คนที่อาศัยอยู่ ในเมืองใหญ่น่ะนะ ปอดพวกเรา โดนทั้งฝุ่น มลพิษ เราหายใจเอา คาร์บอนไดออกไซด์ สาร ตะกั่ว สารปรอท อะไรก็ไม่รู้ ฯลฯ เต็มไปหมด ไอ้ที่เราเห็นมันด�ำ ๆ อยู่ในอากาศน่ะ สมมุติเรา มองออกมาจากข้างนอกแล้วขับรถเข้ามา แล้ว ก็เห็นเป็นหมอกเทา ๆ ด�ำ ๆ ไอ้นนั่ น่ะ พวก สารเคมีทั้งนั้น เคมีต่าง ๆ โมเลกุลละเอียด เล็กเป็นไมครอนเลย ทีม่ นั ลอยอยูใ่ นอากาศ ซึง่ เราไม่มีทางหลีกหนีได้เลยนะ เราก็ต้องหายใจ เข้าไป ฉะนัน้ ร่างกายเราก็แย่ แต่ว่าถ้าอยู่ที่นี่ สภาพแวดล้อมอย่าง เนี้ย มันก็ได้มาฟอกปอด แล้วก็เอาอ๊อกซิเจน เต็ม ๆ เข้าไป ก็จะช่วยฟื้นฟูเซลล์ในร่างกายที่ อ่อนแอได้ คือมาอยู่ที่นี่ สภาพแวดล้อมแบบนี้ อากาศแบบนี้ กินอาหารปลอดสารพิษสารเคมี ไร้ซึ่งยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง
อย่างในร่างกายเราทุกคนเนี้ย จะมียา ฆ่าแมลงอยู่ในตัวเยอะ หลากชนิด เพราะว่า อะไร ก็จากผักที่เรากินอยู่ทุกวันนี่แหละ ยกตัวอย่าง สมมุติว่า คุณเนี่ย เป็น เจ้าของร้านขายข้าวแกง พอเที่ยงคนเข้ามากิน เนี่ย สมมุติ ร้อยคน ถามว่า คุณมีปัญญาล้าง ผักให้สะอาดได้แค่ไหน เพราะตามทฤษฏีว่า ผักเนี่ยจะสะอาด ก็ต่อเมื่อ เราต้องแช่น�้ำส้มสายชู หรือน�้ำด่าง ทับทิม ประมาณ ๒๐ นาที จากนัน้ เราก็ต้องมา ล้างผักผ่านน�ำ้ ไหลอีกสักพัก ถามว่า ท�ำกินเอง เนี่ย ยังท�ำแทบไม่ได้เลย แล้วไปท�ำให้คนเป็น ร้อยคนเนีย่ ใครจะไปท�ำไหว ท�ำทันล่ะ ไม่มที าง นัน่ จึงหมายถึง พวกเราทุกคนเนี่ย ก็ มียาฆ่าแมลงอยู่ในตัว แล้วยาฆ่าแมลงที่ใช้ใน เมืองไทย มีตั้งหลายชนิด เพราะแมลงบางตัว บางชนิด มันดื้อยา เขาใส่ยาตัวเดียวมันไม่ได้ เขาต้องใช้หลายชนิดผสมกันฉีดลงไป แมลง มันถึงจะตาย เพราะแมลงพวกนี้มันดื้อยาแล้ว ฉะนัน้ ไอ้พวกยาฆ่าแมลงทุกชนิดที่มันฉีดลง ไป มันก็เข้าไปอยู่ในตัวเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ ร่างกายเราก็แย่ ตับ ไต ไส้ พุง ภูมิต้านทานแย่ คนกรุงเทพฯ ตอนนีถ้ ึง ได้ ไม่ ค ่ อ ยแข็ ง แรง เป็ น ภู มิ แพ้ เบาหวาน ความดั น โลหิ ต ฯลฯ เต็ ม ไปหมด เพราะ ภูมติ า้ นทานเรามันแย่ เซลล์ในร่างกายเราทีจ่ ะเอา มาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เหมือนที่เราเรียน ตอนเด็ก ๆ ว่า กินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ และ ก็ได้อยู่ในอากาศที่ดี อาหารพวกนี้ ก็จะเข้าไป มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 27
บ�ำรุงร่างกายเรา เมื่อร่างกายเราซ่อมแซมเซลล์ ที่สึกหรอทั้งหลาย แล้วก็บ�ำรุงร่างกายเรา แต่ว่าเวลานี้ กรุงเทพฯ มันไม่ใช่แล้ว มันแบบ มีแต่สารพิษทั้งนัน้ ฉะนัน้ ออกมาอยู่สภาพแบบนี้ มันดี ยิ่งถ้าท�ำเป็นค่ายมวยขึ้นมาเนี่ย โอ้โหย ยิ่งดี ใหญ่เลย แต่ทว่าตอนนี้มันยังท�ำไม่ได้ เรายัง ไม่พร้อมที่จะท�ำ
หายป่วย ด้วยธรรมชาติ พ.ต.ท.กฤชญาณ: แต่ว่า ตอนนี้ พี่กำ� ลังคิดที่ จะท�ำอยู่ ก็คือ ก�ำลังคิดที่จะท�ำเป็น “สถานที่ พักฟื้นคนไข้” ก็มีคนเค้าหาอยู่นะ แล้วก็มี อาจารย์อยู่คนหนึง่ เค้ามาท�ำน�้ำเอนไซม์ ที่กิน เข้าไปแล้ว มันจะไปช่วยบ�ำรุงเซลล์ในร่างกาย ให้แข็งแรง เมื่อเซลล์แข็งแรง มันก็จะไปท�ำการ ซ่อมแซมตัวเอง คือมนุษย์เราทุกคนเนี่ย มันจะมีกลไก วิศวกร มีฝ่ายวิศวกรในร่างกายเราทุกคน ที่ จะต้องซ่อมแซมตัวเอง แต่เนื่องจากว่าเปลี้ยไป ด้วยเคมีที่มันเป็นพิษ ซึ่งสะสมอยู่ในร่างกาย ของเราทั้งหมด เจ้ากลไกวิศวกรที่ว่านี้ ก็เลย ไม่ท�ำงาน คนเราจึงป่วย อย่างเป็นภูมิแพ้เนี่ย ไปถามหมอ ว่าแพ้อะไร หมอบอก ก็ไม้รู้เหมือ นกันน่ะมันแพ้อะไร แล้วก็จัดยาให้กิน อ่ะ เอา ไปกิน เผื่อว่าจะชนะ (ฮากันซะเชื้อโรคยอมแพ้) “...ฉะนัน้ เราจึงต้อง มาอยู่ในอากาศที่ ดี แล้วก็ต้องอากาศดี อาหารดี แล้วมันจะช่วย
28
ให้ร่างกายของเรา ท�ำการซ่อมแซมตัวเอง...” พีไ่ ปเจออาจารย์คนนี้ ก็นงั่ คุยกันอย่าง เงี้ย เค้าก็หาสถานที่อยู่ ไปคุยกันที่กรุงเทพฯ แล้วพี่ก็เลยเชิญเค้ามาดูที่บ้านไร่ฯ อาจารย์เค้า ก็บอกว่า ที่นี่แหละ ใช่เลย เพราะหนึง่ คือ มัน ต้องอยู่ในสถานที่แบบนี้ และสอง ถ้าเป็นฟาร์ม ก็ต้องเป็นฟาร์มออร์แกนิค เพื่อไม่ให้มีการรับ สารพิษ ซึง่ นัน้ ก็ตรงกับรูปแบบฟาร์มของเราเลย
ใช้ธรรมชาติ สร้างผงาดยอดมวย อนุมานวสาร: พี่ไม่สนใจท�ำค่ายมวยเหรอครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ก็มคี นชวนนะ เอาทีน่ ที่ �ำเป็น ค่ายมวย แต่ทนี่ ปี้ ญ ั หามันคือว่า การจัดการเนีย่ ถ้าเราจะท�ำเนี่ย มันจะต้องมีนกั มวยที่ดัง ๆ มา อยู่ตรงนี้ ซึ่งจริง ๆ พี่มีเพื่อนอยู่ที่อังกฤษคน หนึง่ ชือ่ เดวิด ลูกชายมันไปชกมวยทีฮ่ อลแลนด์ ไอ้เดวิดนี่ มันแต่งงานกับคนไทยนะ ลูก มันจบมัธยมบ้านเราเนี่ยแหละ พอจบปุ๊บ มันก็ ขอพ่อไปต่อยมวย พ่อมันก็บอกจะบ้าเปล่าให้ เรียนหนังสือแต่จะมาขอต่อยมวย ลูกชายมัน ก็ให้เหตุผล บอกว่า ตอนเนี้ย หนูเนี่ย อายุแค่ นี้เอง แล้วถ้าหนูชกมวยแล้วหนูได้ตำ� แหน่งนะ ได้แชมป์ได้รองแชมป์อะไรต่าง ๆ แล้วเนีย่ แล้ว พอหนูกลับมาเมืองไทย แล้วมาเปิดค่ายมวยนะ รับรองได้ว่า คนในยุโรปเนี่ย ต้องตามมาเรียน ด้วยอย่างมาก
ไอ้เดวิดก็ โอ้โหว ลูกมันคิดได้ไงวะ อ้าว โอเค ไปเลย เดีย๋ วค่อยกลับมาเรียนทีหลัง จากนัน้ ลูกชายเดวิดก็ไปต่อยมวยในยุโรป คือสมมุติว่า อย่างนี้ ลูกเดวิดกลับ มานะ แล้วก็จับมือกับมัน ให้มันติดต่อนักมวย เข้ามา แล้วก็ใช้สถานที่เราเป็นค่ายมวย ตั้งเวที ตรงที่โล่ง เอารถแมคโครมาขุด ตื่นเช้าขึ้นมา จับพวกนักมวยในค่าย ว่ายทวนน�้ำ (ฮา) แล้วก็ซ้อมอยู่ที่นี่ จันทร์ถึง ศุกร์ เสร็จแล้วพอวันเสาร์ ก็ให้ลกู น้องพาเดินป่า คือหมายถึงว่า เช้าขึน้ มาเดินป่า เดินไปแล้วก็ตงั้ แคมป์กินข้าวกลางวัน เสร็จแล้วเย็นก็เดินกลับ โหว เดินป่าเนี่ยนะ มันโหดแบบสุด ๆ เพราะมันไม่ได้เดินทางเรียบไง อย่างพวกเรา นี่มันถูกฝึกเดินทางเรียบ วิ่งทางเรียบ อย่างพี่ กับลูกน้องเนี่ยนะ ก็เดินทางเรียบด้วยกัน ไม่
ทิ้งกัน แต่พอมาเดินขึ้นเขาปั๊บ โหย Overheat อย่างงี้เลย หัวใจมันจะหลุดออกจากปาก แบบ ว่า ไม่ไหวน่ะ แล้วจับนักมวยพวกนีน้ ะ ขึน้ เขา เดินป่า พอวันอาทิตย์ก็ให้พัก วันจันทร์ก็ซ้อมต่อ คื อ ถ้ า ซ้ อ มได้ แบบนี้ แล้ ว มาอยู ่ ใน บรรยากาศธรรมชาติบริสุทธิ์แบบนี้นะ แล้ว อากาศมัน โอ้โหวสุดยอด เสร็จแล้วพาไปฝึก สมาธิที่วัดต่อ (หัวเราะกันจนส�ำลักอากาศ) ถ้า ท�ำแบบนีน้ ะ รับรองได้ว่า นักมวยที่นี่ สุดยอด หมายถึง เป็นที่เก็บตัวนักมวย เพื่อ เตรียมที่จะไปชกที่ไหนก็แล้วแต่ แล้วก็มีมือ ดี ๆ มาสอนน่ะ ซึ่งถ้าท�ำได้อย่างที่ว่านี้ พี่ว่ามันจะเจ๋ง มาก แต่ตอนนี้มันยังท�ำไม่ได้ เพราะมันยังไม่ ถึงเวลา
แก่นแท้ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยขี้วัว มูลสัตว์คัดคับแร่ธาตุ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ฟาร์มของพี่ เน้นปลูกดอกไม้ แล้วก็มีสะตอ เงาะ ล�ำไย มะเฟือง มะไฟ ลองกอง ไผ่หวาน ลิ้นวัว มะปราง มะยมชิด กระชายต่าง ๆ ฯลฯ แล้วพีก่ เ็ ลีย้ งวัว วัวนี่ ไม่ได้เลีย้ งเอาเนือ้ นะ แต่เลี้ยงเพื่อเอา “มูล (ขี้)” มัน ส�ำหรับเอา มาท�ำเป็น “ปุ๋ย” แล้วถามว่า ท�ำไมต้องเลีย้ งเอง ก็เพราะ ฟาร์มเราเป็นออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ ฉะนัน้ ปุ๋ย มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 29
ขีว้ วั ก็ตอ้ งไม่มสี ารเคมีเจือปนด้วย ฉะนัน้ เราจึง ต้องเลีย้ งวัวเอง เพือ่ ให้มนั ได้กนิ หญ้าจากฟาร์ม เราเอง ซึ่งไม่ได้มีสารเคมีอยู่ แล้วคราวนี้พอ มันถ่ายออกมา เราก็จะมั่นใจได้เลยว่า เป็นขี้วัว บริสุทธิ์แน่ ไร้สิ่งเจือปน เราก็เอามูลมันกลับไป ใส่ต้นไม้ แล้วเราก็ตัดหญ้าในไร่ให้มันกิน “...วั ว นี่ มั นจะให้ ตั ง ค์ เราทุ ก วั น ก็ คือมูลของมันเนี่ยแหละ เหลือก็เอาไปขายได้ ส่วนรายปีเนี่ย พอมันให้ลูก พอครบสองปี ลูกมันก็เป็นเงิน เอาลูกมันไปขายได้ ก็ได้ตังค์ กลับมาอีก...” เราก็ท�ำแบบนี้ แล้วเราก็ผันมูลของมัน มาเป็นปุ๋ย คือทุกอย่างที่มันอยู่ในฟาร์มน่ะ ให้ มันเป็นวัฏจักร
แบ่งงานกันท�ำ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ในฟาร์มของพี่มีคนงานอยู่ ๖ คน ซึ่งถือว่ายังไม่พอ แต่จะให้จ้างมากก็ยัง ไม่ได้ เพราะรายจ่ายตอนนี้ยังสูงอยู่ ๖ คนนี้ ดูแลทัง้ บ้านพัก ท�ำสวนทัง้ หมด ทัง้ ฟาร์ม คือทัง้ ๖ คนนี้ เมือ่ ถึงเวลามีคนมาพัก ก็จะรวมตัวกันเป็นทีมขึน้ มาดูแล พอเวลาทีไ่ ม่มี ลูกค้า ทั้ง ๖ ก็จะสลายตัวกลับไปท�ำงานในไร่ ในสวนก็แล้วแต่ ส่วนแม่บ้านเนี่ย นอกจากจะท�ำความ สะอาดบ้านกับบังกะโลทีพ่ กั แล้ว ยังต้อง “ผลิต ชา” พี่ทำ� ชาขาย “ชารางจืด”
30
ชารางจืด (แต่สรรพคุณไม่จืด)... ฟื้นฟูชีวิต ล้างพิษให้สิ้นกาย พ.ต.ท.กฤชญาณ: ชารางจืดนี่ เป็นชาล้างพิษ ซึ่งสมัยโบราณ หมอพื้นบ้าน ทั้งไทยและพม่า เค้าจะเอามาใช้ล้างพิษ เวลาใครโดนยาเบือ่ หรือ โดนอะไรทุกอย่างมา ก็จะใช้ชารางจืดนี่ล้างพิษ เพราะชารางจืดสมัยนัน้ ล้างพิษได้หมด แต่วันนีน้ ี่ มันมีการค้นพบใหม่ออกมา ว่า มันสามารถล้างสารเคมีตกค้างในร่างกาย เราได้ด้วย ตอนนี้ ที่ ร.พ. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ก�ำลังผลักดันให้คนทัง้ หลาย ใช้นำ�้ ชารางจืด มา ล้างผัก ก็เนือ่ งจากว่า มันสามารถทีจ่ ะสลายพิษ กรัมมอคโซลได้ คือถ้าคนเนีย่ ไปหาหมอทัน ๕๑% ทีจ่ ะ รอดตายจากสารชนิดนี้ ฉะนัน้ เค้าก็มคี นคิดว่า เมือ่ มันสามารถ จะสลายพิษสารชนิดนี้ในคนได้ มันก็ย่อมจะ ต้องเอาไปใช้ลา้ งผักได้ เพราะผัก ก็มสี ารชนิดนี้ ปนเปือ้ นอยูเ่ หมือนกัน ฉะนัน้ มันน่าจะล้างได้ดี ตัวพี่อยู่นี่ พี่ก็กินอยู่ตลอดเวลา แล้ว พอเวลาคนมาพัก ก็จะชงให้กิน คะยั้นคะยอ ให้กิน บอก คุณต้องกิน เพราะมันจะดีกับคุณ แล้วเผอิญมันอร่อยไง พี่เอ๋ย (ศิโรตน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รุ ่ น ๔๔ เจ้ า ของร้ า นชิ มิ บุ ฟ เฟ่ ต ์ ช าบู ญี่ ปุ ่ น แสนอร่ อ ยย่ า นสะพานควาย) มากิ นก็ ช อบ บอกเฮ่ย ชารางจืดนี่ รสชาติมันดีกว่าชาเขียว
อีกว่ะ พีเ่ อ๋ยบอก มันอร่อยกว่าชาเขียวนะนี่ ขอ ไปลองหน่อยดิ ก็เอาไปลองให้ลูกค้าที่ร้านชิมิ กินก็เวิร์ค ลูกค้าก็ติดใจถามซื้อ แล้วพี่ก็พาเพื่อนคนญี่ปุ่นไปกินที่ร้าน พีเ่ อ๋ย พอมันได้ลองชารางจืด มันก็ชอบ ปรากฏ ว่าไอ้คนกินหลักไม่ใช่เรา กลายเป็นคนญี่ปุ่น มันก็ถามเรา ชารสดีอย่างนี้ ท�ำไมไม่ท�ำขายส่ง ญี่ปุ่นเลยล่ะ เราก็บอกว่า แค่ทำ� ขายคนไทยน่ะ ยัง ท�ำแทบไม่ทันเลย ตอนเนี้ย คือว่า ของพวกเนี้ย มันไม่ได้ปลูก เรา ต้องไปเก็บจากในป่า คือชารางจืดเนี่ย มันเป็น ไม้หายาก ซึ่งตอนเราเด็ก ๆ เนี่ย ๆ เราเพียงแค่ ได้ยินว่า มันสามารถล้างพิษได้ แต่ว่า จริง ๆ แล้วเนี่ย สรรพคุณมันเยอะ ทีนี้ เวลาเราเก็บนี้ มันเก็บยาก คือว่า เข้าไปเก็บในป่า ตรงโน้นไปเก็บได้พมุ่ หนึง่ ได้มา ๓ กระสอบ เอามาผลิตได้นดิ เดียวก็หมดและ ก็ไปไหน ไปอีกพุ่มหนึง่ ซึ่งอยู่กระจัดกระจาย กันไป มันก็เลยเก็บยาก แล้วน�้ำหนักมันก็จะ หายไปบางส่วน ตอนนี้ พื้นที่ในฟาร์มพี่เต็มไง พี่ไม่มี พื้นที่ปลูกอะไรเพิ่มได้แล้ว เพราะพี่จัดฟาร์ม ทุกอย่างเป็นระบบ เป็นสัดส่วน ฉะนัน้ เราเอา มาปลูกไม่ได้ มันจะเลอะ ทว่า หน้าฝนปีนี้เนี่ย พี่กะจะลงปลูกฝั่ง ตรงข้ามจากบ้าน ข้ามล�ำธารไป (ติดภูเขา) ก็คอื ไปเจรจากับป่าไม้ว่า เดี๋ยวผมจะขอดูแลผืนป่า นี้ไม่ให้ไฟไหม้ ซึ่งมันก็ตรงกับการที่กรมป่าไม้
มีโครงการที่จะร่วมกับประชาชน ให้ประชาชน เข้าไปดูแลผืนป่า ฉะนัน้ เราก็จะรับดูแล แล้ว ปลูกชารางจืดนี่ กลับเข้าไปในป่า ตอนนี้มันขึ้นกระจัดกระจาย เราก็ปลูก มันแบบเป็นแถวเรียงเข้าไปในป่าเลย เล่นเป็น แถวเลย อาทิเช่น ทุก ๖ เมตร ลง ๑ ต้น เป็น ตาราง ก็คือ ต่อไปเนี่ย เดินไปเยี่ยมตรงไหน ก็จะเจอ แล้วเราก็สามารถเก็บเอามาใช้ได้ หลัง จากนี้ พอ ๒ ปีปุ๊บ มันก็จะโตแข็งแรงเต็มที่ “...แล้วเราก็จะได้รับสารที่มีประโยชน์ จากมันเต็มที่ ๑๐๐% ด้วยถ้าเราเอามาปลูก ที่ถ้าเป็นเคมี คุณค่ามันจะลดลง คุณค่าทาง อาหารของพืชผักทุกชนิดเนี่ย จะลดลงทันที เมื่อได้รับสารเคมี ฉะนั้น ปลูกในป่าเนี่ย มันก็จะยิ่งมี ประโยชน์ เพราะมันคือธรรมชาติจริง ๆ...” ทีบ่ า้ นไร่วมิ านดิน คือการท�ำเกษตรกรรม เลียนแบบสภาพป่า แต่บนภูเขา คือการท� ำ เกษตรกรรมในป่า ทีนี้ ก็จะมีสิ่งเปรียบเทียบ สองอย่างให้เราท�ำการศึกษาได้ต่อไป ฟาร์มของเรา คือหนึ่งในที่เรียนของ นักศึกษาปริญญาโท ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาศึกษานะ เกี่ยวกับการท�ำเกษตรผสมผสาน เค้ามาศึกษา พี่ก็บรรยายให้เค้าฟัง แต่ในวันข้างหน้า เราจะมีการเปรียบ เทียบว่า อันนีค้ ือ ท�ำเลียนแบบสภาพป่า อันนี้ คือ สภาพป่าจริง ๆ ซึ่งก็คือ วนเกษตร มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 31
“...วนเกษตร ก็ คื อ ท� ำ การเกษตร เข้าไปในป่า โดยไม่ท�ำลายโครงสร้างป่า ทั้ง ยังเป็นการบ�ำรุงรักษาป่าให้ด้วย คืออยู่ในป่า มันเป็นธรรมชาติที่สุด มันมีระบบการจัดการ ตามธรรมชาติของมันอยู่แล้ว ฟาร์มที่มนุษย์ เป็นคนจัดระบบ ต่อให้ดียังไง ก็สู้ระบบที่เป็น ธรรมชาติจริง ๆ ไม่ได้ มากไปกว่านัน้ เมื่อพืช ทีป่ ลูกมันตาย มันก็กลายเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ในป่า อีกทีหนึง่ ด้วย...” รางจืดนี้ ต้นมันอยู่กับดิน เลื้อยขึ้นมา เป็นเถา มีดอกเป็นสีม่วง ๆ สวยมาก ทีนถี้ า้ ถามว่า อย่างรางจืดเนีย่ ท�ำไมพอ ท�ำขายเป็นชาแล้ว ธุรกิจมันถึงไปได้เร็ว ก็อย่าง พี่เอ๋ยเนี่ย เค้าเอาไปขาย เค้าก็อธิบายให้ลูกค้า ฟัง ลูกค้าเค้าส่วนใหญ่ก็คนท�ำงานออฟฟิศ หลายคนก็มีอินเตอร์เน็ต เขากินเสร็จ กลับไป เค้าก็ไป Search ข้อมูลดูว่า ไอ้รางจืดที่กินเข้า ไปน่ะ มันเป็นยังไง กลายเป็นว่า ไอ้สรรพคุณทีพ่ เี่ อ๋ยพูดให้ ฟังเนี่ย มันแค่นดิ เดียวเอง ประโยชน์มันจริง ๆ มีเยอะกว่านี้อีกแยะมากมาย ด้วยเหตุนี้ ชารางจืดมันจึง ขายตัวมัน เอง คือของมันขายตัวมันเอง เพราะมันดีจริง อนุมานวสาร: แล้วพี่ทำ� ยังไงบ้างครับ เวลาขาย เวลาแปรรูป ชารางจืด พ.ต.ท.กฤชญาณ: พี่บรรจุเป็นแพ็ค แพ็คแบบ พื้นบ้านนี่แหละ เป็นแพ็คใส่ถุงพลาสติก แล้ว
32
ก็มีสติคเกอร์แปะ ตอนแรกพี่ก็เข้าไปเดินดูในศูนย์การค้า ก่อน ดูแพ็คเกจแบบต่าง ๆ มันมีกี่แบบ ดู ๆ ชอบแบบไหน ก็ ห าแบบนั้น เป็ น พื้ นฐาน ที่ สามารถซื้อกินกันได้ ตั้งแต่คนระดับล่าง ถึง ระดับบน ทุกคนใช้ได้หมด เอาแพ็คเกจทีง่ า่ ย ๆ ไม่ต้องท�ำอะไรซับซ้อนมากนัก เสร็จแล้ว ก็ ดูฉลากที่ติด เป็นยังไง ก็ออกแบบให้มันดูดี สะดุดตา จากนัน้ ก็นำ� ไปขาย พี่เพิ่งเริ่มท�ำมาได้เดือนหนึง่ เรื่องก�ำลัง การผลิต ก็ก�ำลังคุยกับลูกน้องว่า ท�ำได้มั๊ย เดือนละ ๑๐๐ แพ็ค น่ะ โหย... แค่นี้ยังเหนื่อยเลย เพราะเราต้องอย่าลืมว่า เดือนละ ๑๐๐ แพ็คน่ะ นัน่ คือประมาณ ๓๐ กิโลกว่า ๆ แต่ น�ำ้ หนักนีต่ ้องคูณ ๖ นะ จากตอนที่เก็บใบ ก็ ด้วยความที่เป็นเด็ก ก็ใบสดพอแปรรูปแล้ว น�้ำหนักมันจะหายไป ๖ เท่า เพราะมันต้อง ตากแห้ง ส�ำหรับกรรมวิธใี นการท�ำชารางจืดก็คอื เราต้องเอาใบสดไปลวกในน�ำ้ ร้อนก่อน เมือ่ ลวก เสร็จก็ทำ� การรักษาสภาพ จากนัน้ จึงน�ำไปจุม่ ใน น�ำ้ เย็น หลังจากนัน้ ถึงจะเอามาบีบน�้ำออก แล้ว จึงน�ำมาตากแห้ง เสร็จ ถึงค่อยน�ำมาคัว่ คัว่ เพือ่ ให้น�้ำมันออก ซึ่งมันก็จะท�ำให้หอม สุดท้าย ถึง จะแพ็คจัดจ�ำหน่าย ซึ่ ง เป็ นขั้ นตอนการผลิ ต ที่ เ ยอะ ทั้ ง วัตถุดิบก็ยังต้องล�ำบากในการเสาะหา
ถึงได้บอกกับลูกค้าว่า ถ้าอยากจะซื้อ มาก ๆ ผมก็ขายให้ได้ แต่จากปัญหาดังที่กล่าว มาข้างต้น ถ้าจะให้เพิม่ จากผลิตได้ครัง้ ละ ๑๐๐ ถุง เป็น ๒๐๐-๑,๐๐๐ ก็คงจะยังท�ำไม่ไหว ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่สามารถน�ำไปวาง ขายในตลาดได้อย่างจริง ๆ จัง ๆ เพราะถ้าเกิด วางแล้วเนี่ย เกิดคนซื้อมาก ขายดี แล้วเราไม่มี ของส่ง แล้วมันจะมีปญ ั หา เนีย่ แค่ตลาดใกล้ ๆ ตอนนี้ ก็ยังท�ำไม่ได้ ปัจจุบัน เลยยังท�ำได้แค่ แบบ ให้พอไปได้ก่อน แต่ ในอนาคต พี่ ว ่ า น่ า จะท� ำ ได้ ถึ ง ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ ถุง เพราะเราปลูกเข้าไปใน ป่าด้วย จากนัน้ เนีย่ ตลาดมันก็จะไปของมันเอง คนพอได้กินแล้ว เค้าก็กลับไปดูอินเตอร์เน็ต พอไปดู โห สรรพคุณมันมากมาย ประโยชน์ มันเยอะขนาดนี้เชียวหรือ คราวนี้ เค้าก็จะกลับ มาซื้ออีก ในที่สุด ตลาดเราก็จะโต อ้าว แล้วถ้าถามว่า ไม่กลัวคนอืน่ เค้าท�ำ แข่งเหรอ ก็ขนาดผมอยูก่ บั แหล่งวัตถุดบิ เองน่ะ ผมยังท�ำยากเลย แล้วคนที่อยู่ที่อื่น ที่ไม่ได้มี วัตถุดบิ น่ะ จะไปเหลืออะไรล่ะ แล้วถ้าคุณปลูก เองนะ คุณสมบัติทางยา มันก็จะลดลง เพราะ มันไม่ได้อยู่ในระบบเกษตรอินทรีย์ ข้อได้เปรียบของเราก็คอื เราใช้ธรรมชาติ แล้วเราจะปลูกเป็นธรรมชาติ ตอนนี้พี่มีเพื่อน เป็นรองนายกฯ ศูนย์การแพทย์แผนจีน ต่อไป เค้าก็จะพาคนจีนมาดูเรื่องสมุนไพร เราก็จะพา ไปดูว่า เราเก็บจากในป่า
เพราะทุกวันนี้ในวงการสมุนไพร เค้า เชื่อว่า ที่สมุนไพรมีฤทธิ์น้อยลง เนื่องจาก ว่า ปลูกในระบบปลูกแล้วคุณค่าทางยามันจึง หายไป อย่างเช่น โสม โสมทุกวันนี้ พอเป็น โสมปลูกปั๊บ คุณค่ามันหายไป เพราะมันไม่ใช่ ธรรมชาติ ตอนนี้เห็นว่า โสมธรรมชาติเหล่านี้ ต้องประมูลแล้วนะ เพราะคุณค่าของมัน ถ้า เป็นโสมเลีย้ งโสมปลูกน่ะ สูไ้ ม่ได้ โสมธรรมชาติ แพงกว่าเยอะ “...ฉะนั้น เราก็ ท� ำ ชารางจื ด แบบ ธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติดูแล มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 33
เพียงแต่เราว่า เราขยายแล้วเราไปปลูกกลับ เข้าไปในป่า ในที่ของเค้า ถ้าขืนมัวแต่รอให้ รางจืดขยายพันธุ์เองน่ะ ช้า แล้วเราก็เพียงแค่ ดูแลว่า อย่าให้ไฟไหม้ป่า แค่นนั้ เอง เราก็จะมี แหล่งที่จะผลิตให้เราได้แบบชั่วนาตาปีเลย...”
กระชายแดง ยาวิเศษใกล้ ๆ ตัว พ.ต.ท.กฤชญาณ: ปีหน้า พี่จะเอาสมุนไพร เข้าไปปลูกในป่าด้วย พวกกระชายแดง ขมิ้น ชัน ฯลฯ มันก็คือ เราย้ายที่ปลูก เข้าไปปลูกใน ป่า ตรงที่ ๆ เราจะเก็บใช้ง่าย พู ด ถึ ง กระชายแดง คุ ณ สมบั ติ ข อง มันนี่เหมือนโสมเลย เทียบเท่ากับโสมได้เลย มี ผลการวิจัยรองรับ ไปเปิดดูในอินเตอร์เน็ตได้ แล้วก็ดีกว่าโสมตรงที่ มันไม่มีพิษ โสมเนี่ยมี พิษนะ กินเยอะ ๆ ไม่ได้ แต่สมุนไพรพวกกระชายเนี่ย กระชาย เหลืองก็ได้ กระชายแดงก็ได้ มันจะมีคณ ุ สมบัติ ทางยาเท่ากับโสม แต่ดกี ว่าโสมตรงทีม่ นั ไม่มพี ษิ แล้วถ้าถามว่า อ้าว แล้วท�ำไมมันไม่ ดังล่ะ ก็คนไทยอ่านหนังสือจีนเยอะ จึงมักมี ความเชือ่ ว่า ยาวิเศษเนีย่ ต้องอยูใ่ นป่า ต้องหายาก อยู่มาเป็นพัน ๆ ปี... แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เลย “...ยาวิเศษนัน้ แท้จริงแล้ว มันอยู่รอบ ตัวเรา แล้วยาวิเศษ จริง ๆ แล้ว พวกเราก็โต มากับมัน เพราะยาวิเศษเนี่ย ก็คือ “กีฬา...”
34
คือคนที่ไม่ออกก�ำลังกาย ร่างกายไม่ แข็งแรงเนี่ยนะ ต่อให้คุณจะกินยาบ�ำรุงสักแค่ ไหน คุณก็สู้คนที่เค้าออกก�ำลังกายไม่ได้ “...คุณออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอ คุณ อย่าท�ำลายตัวเอง คุณอย่าไปกินเหล้าหัวราน�้ำ ออกก� ำ ลั ง กายสม�่ ำ เสมอ ร่ า งกายทุ ก อย่ า ง มันก็ดี...” ฉะนัน้ ยาวิเศษจริง ๆ แล้วเนี่ย มัน อยู่รอบตัวเรา อย่างกระชายเนี่ย คุณสมบัติ เท่ากับโสมเลย เอากระชายคัน้ น�ำ้ แล้วเก็บไว้ในตูเ้ ย็น ให้ อยูแ่ ค่ ๗ วัน แต่ในช่วงนัน้ นะ เราก็เอาน�้ำเข้มข้น ของมันมา แล้วก็มาใส่น�้ำผึ้ง ชงกิน แค่นี้เอง ใส่น�้ำผึ้ง ใส่โหระพาลงไปหน่อย น�้ำใบบัวบก ลงไปหน่อย มันจะท�ำให้ร่างกายเราดีมาก ช่วย ชลอความชรา มันจะมี Anti – Oxidance สูง กระชายที่ใส่ในแกงธรรมดานี่แหละ
ปุ๋ยขี้วัว บ�ำรุงพืชชัวร์ไม่มั่วสารพิษ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ฟาร์มเรา เน้นปลูกดอกไม้ แล้วก็ยังมีพวกผักผลไม้ เช่น สะตอ เงาะ ล�ำไย มะไฟ ลองกอง ไผ่หวาน ลิ้นวัว มะปราง มะยมชิด นอกจากนี้ พี่ก็ยังเลี้ยงวัว วัวนี่ ไม่ ได้เลี้ยงเอาเนื้อนะ แต่เลี้ยงเพื่อเอา “ขี้” มัน ส�ำหรับเอามาท�ำเป็น “ปุ๋ย”
แล้วถามว่า ท�ำไมต้องเลี้ยง ก็เพราะว่า วัวเนีย่ ต้องกินหญ้าของเราเอง ถ้าเป็นออร์แกนิค ฟาร์ม คือหญ้าเราเนี่ย ไม่มีเคมีแน่นอน เพราะ เราไม่เคยใช้ ทีนเี้ มือ่ มันกินหญ้าเรา เราก็เอามูลขี้ มัน มาท�ำเป็นปุย๋ กลับไปใส่ตน้ ไม้ เราก็ตดั หญ้า ในไร่ ให้มันกิน วัวนี่ มันจะให้ตังค์เราทุกวัน ก็คือ “ขี้” มันเนี่ยแหละ เหลือก็ให้เป็นปุ๋ยกับต้นไม้ใน ไร่ เราก็เอาไปขายได้ ส่วนรายปีเนี่ย พอมันให้ ลูก พอครบ ๒ ปี ลูกมันก็เป็นเงิน เอาไปขาย ได้ คัดตัวผู้ขายไป เห็นไหม มันก็เป็นรายได้ให้ เราอีกทางหนึง่ ตอนนี้พี่ก�ำลังผสมพันธุ์อยู่ ว่าจะให้ มันเป็นวัวพันธุ์กำ� แพงแสน พี่ไปเรียนหลักสูตร เกี่ยวกับวัวมาแล้ว วัวพีเ่ ป็นวัวเนือ้ ถ้าจะเลีย้ งวัวนม ปัญหา ขอมันคือ เราก็ต้องมานัง่ คอยรีดนม ต้องมา วุ่นวายต่าง ๆ เราต้องการแค่ขี้มันเอง เราก็ทำ� แบบนี้ แล้วเราก็ ผันจากขี้ของ มัน เข้ามาเป็นปุ๋ย คือให้ทุกอย่างนี้มันอยู่ใน ฟาร์ม ให้เป็นวงจร
ใช้ยาฆ่าแมลงจากวัสดุธรรมชาติ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ส่วนเรื่องแมลงรบกวน พี่ก็ ท�ำน�้ำยาฆ่าแมลง ใช้ถ่านเผา ก็เผาถ่าน ผสมน�ำ้ ผสมสมุนไพรต่าง ๆ พวกสะเดา ตะไคร้หอม หมัก แล้วก็เอามาพ่นใส่ต้นไม้
ดื่ ม ด�่ ำ ธรรมชาติ อั นชวนถวิ ล ณ บ้านไร่วมิ านดินออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ส�ำหรับภูเขาที่อยู่ด้านหลัง ล�ำธารเนี่ย มันจะช่องเขาอยู่ช่องหนึง่ มันจะมี น�้ำตก ล�ำธาร ทางที่จะเข้าไปถึงน�้ำตกเนี่ยนะ ทางค่อนข้างลึก แต่นำ�้ นี่ ใสแจ๋วมากเลย แถม ยังมีปลาตัวใหญ่อย่างงี้เลย มันว่ายน�ำ้ เนี่ยนะ เหมือนเลี้ยงไว้เลย โดยรวมแล้ว ธรรมชาติที่ นี่... “สวยมาก” ในช่องเขาเนี่ย เดินผ่านไปชั่วโมงเดียว เข้าไปตั้งแคมป์กันได้ ถ้าเริ่มเดินจากที่นี่ ก็ใช้ เวลาประมาณ ๕-๖ ชั่วโมงเห็นจะได้ บางทีพวกเพือ่ น ๆ โอวีกแ็ วะมาเทีย่ วกัน พาเมียมากันด้วย แล้วก็แกล้งนัง่ “ถ่าย” กัน ในล�ำห้วยเลย เหมือนเด็ก ๆ น่ะ เมีย ๆ ก็นงั่ ดู ตลกน่ะ ฮ่า ๆ ๆ คือมันจะเป็นล�ำธาร แล้วก็จะมีหาด ทรายขาว มีกรวดหินแบบเนีย้ ก็จะไปตัง้ แคมป์ กัน อยู่ข้างใน ส่วนใหญ่จะ Off Road กันไป อนุมานวสาร: แล้วข้างในมีสตั ว์ปา่ อะไรบ้างครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: สัตว์ ก็มพี วก เก้ง หมี หมูปา่ ก็เยอะนะ ช้างก็ยังมี....ฯลฯ
พืชพันธุ์ไม้ที่บ้านไร่วิมานดิน พ.ต.ท.กฤชญาณ: ดอกไม้ที่พี่ปลูกก็มีหลาย พันธุ์ ฟูคาร์ เฮลิโคเนีย กล้วยไม้ ฯลฯ แล้วก็ ยังมีพวกพริกไทย รางจืด มังคุด สะตอ ฯลฯ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 35
กล้วยไม้ พี่ก็มีพันธุ์ ดาหลา ดาหลา นี่ เป็นพันธุ์ที่มีอยู่ ๒ ที่คือ ที่ตรัง กับที่เรา ดาหลานี่มีลูกค้าเค้าตั้งชื่อให้ว่า “ทิวลิปวิมาน ดิน” เหมือนทิวลิปเปี๊ยบเลย แล้วก็ พอบาน แล้วจะเหมือนดอกบัว อนุมานวสาร: ในไร่นี่ พี่ใช้ใส้เดือนด้วยรึเปล่า ครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: ไส้เดือนมันมีของมันเองอยู่ แล้วในดิน ก็เพราะว่าเราไม่ใช้เคมีไง เมื่อไม่ใช้ เคมี ไส้เดือนพวกนี้มันก็จะมีชีวิตอยู่ได้
ชื่นนก ชมไม้ พ.ต.ท.กฤชญาณ: นกในที่นี่ จะเยอะมาก ถ้า ตื่นมาดูตอนเช้า ๆ นะ เพียบเลย แล้วมันจะ มี นกขุนแผน มีเป็นฝูงเลยที่นี่ แล้วก็ยังมี นกโพระดก นกขุนทอง นกแซงแซวหางปลา นกกางเขนดง นกสี่นิ้วหัวขวาน ฯลฯ นกสี่นิ้ว หัวขวานนี่ เกิดที่นี่เลยนะ เพราะพวกต้นไม้ที่ ตายแล้ว พี่ก็ปล่อยไว้ ไม่ได้ตัด มันก็จะเข้าไป ท�ำรู ท�ำรัง ไข่ไว้ นกหัวขวานที่นี่สวยมาก มันหลังแดง แล้วมันก็เป็นนกใกล้สูญพันธุ์นะ นกพวกนี้ส่วนใหญ่เกิดที่นี่ แล้วด้วย ความที่ฟาร์มเราไม่ใช้เคมี ฉะนั้นในดินก็จะ มีหนอน มีไส้เดือนเยอะ มันก็จะอยู่กันตาม ธรรมชาติ นกพวกนีก้ ็ได้กินหนอนกินไส้เดือน เป็นอาหาร
36
ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน ของฟาร์ม พ.ต.ท.กฤชญาณ: ปัญหาปัจจุบันของเรา ใน เรื่องผลผลิตและการจัดจ�ำหน่ายก็คือ เรายัง ท�ำการ Preserve (ถนอมอาหาร) มันไม่ได้ คือ ผักและผลไม้เนี่ย ถ้าเราสามารถ Preserve มันได้ มันจะไปได้ไกล แล้วก็จะจัด จ�ำหน่ายได้นาน อย่างชารางจืดน่ะ มันไปได้ไกล เพราะมันสามารถเก็บไว้ได้นาน แต่ผลไม้อย่างมะเฟืองในบ้านไร่เนี่ย สมมุติขนมะเฟืองไป ไปได้ไม่กี่สิบกิโล มันก็ เสื่อมเสียคุณภาพเยอะแล้ว แล้วไอ้ไม่กี่สิบกิโล นี่ ถึงขายหมดก็ได้เงินไม่เท่าไหร่ ฉะนัน้ ก็เลยรูส้ กึ ว่า มันยังไม่คมุ้ เท่าไหร่ ดังนี้แล้ว ดีที่สุดก็ต้องมา Preserve ท�ำให้มันแห้ง แล้วให้มันอร่อย ให้มันไปได้ไกล เนี่ย เป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ตอนนีก้ ็เลยมานัง่ นึกอยู่ว่า จะไปเรียน ทีไ่ หน ต้องไปหาวิธที ำ� มา เพราะว่า ไอ้คนท�ำสวน เนี่ย มันไม่เกิดหรอก ท�ำสวนอย่างเดียวมันไม่ ได้ท�ำให้คนอยู่ได้หรอก ยกเว้น แตกแขนงออก มา เพิ่มมูลค่าให้มัน สมมุติ อย่างชะอมเนี่ย มันขึ้นอยู่กับ พื้นที่ อย่างของพี่ พี่ก็ปลูกริมรั้วเลย เอาชะอม น่ะ เป็นแนวรั้ว เมื่อก่อนพี่ก็เคยให้ลูกน้องไปขายนะ เอาชะอม หน่อไม้ อะไรต่าง ๆในสวนไปขาย ซึง่ ตลาดก็อยู่ไม่ไกลจากสวนเรา
โน่นมีนี่ เราก็จะขายได้ง่าย แต่ความจริงตอนนี้ คือเราอยู่ไกลชุมชน จะท�ำอะไร มันก็ยาก อย่างดอกไม้เนี่ย ดอกไม้ที่พี่ลงปลูก น่ะ สมมุติ ถ้าเค้าสั่ง ๑๕๐ ดอก พี่ก็ไปส่งให้ เค้าไม่ได้หกั ค่าน�ำ้ มัน ค่าอะไรต่าง ๆ ก็หมดแล้ว ฉะนัน้ ถ้าจะสั่งดอกไม้ของฟาร์มพี่เนี่ย พี่ก็จะบอกว่า ต้องอย่างต�่ำ ๓๐๐ ดอก แล้วก็ ต้องมี พวก Sexy Pink พวกตระกูลช่อห้อย เนี่ย ๑๕๐ ดอก
แต่ปัญหามันคือว่า ชะอมมันขายไม่ ได้ เพราะมันมีกันเกือบทุกบ้าน บ้านอื่นเค้าก็ ปลูกกินเองที่บ้านได้ มันก็เลยไม่มีใครมาซื้อ ชะอมของเรา ทว่า อย่างหน่อไม้เนีย่ พีเ่ อาออกไปขาย พี่ขายได้ดี เพราะว่า เราท�ำหน่อไม้ขายเป็น เจ้าแรกได้ หน่อไม้สดเนี่ย เรียกว่า คนกินน�้ำ พริก ก็ต้องมีหน่อไม้ หน่อไม้จิ้มน�้ำพริก มัน จะหวานและกรอบ พี่ก็ขายดี แต่ที่นี้ พอผลิตออกมาได้มาก ๆ ก็ จะขายที่ตลาดนี้ได้ไม่ค่อยดีแล้ว ก็ด้วยเพราะ ตลาดมันเล็ก ถ้าผลิตมาได้มาก ๆ มันจะขายดี ก็ต่อเมื่อ เราอยู่ในชุมชนที่มันใกล้เมืองใหญ่ ถ้า เราอยู่ใกล้เมืองใหญ่เนี่ย ก็จะมีทั้งตลาดนัด มี
อนุมานวสาร: ก�ำลังการผลิตของฟาร์มพี่นี่ ประมาณเท่าไหร่ครับ พ.ต.ท.กฤชญาณ: อย่างดอกไม้นี่ มันขายเป็น อาทิตย์ครับ อาทิตย์หนึง่ ก็ตกประมาณ ๔๐๐๕๐๐ ดอก แต่บางครั้ง อาทิตย์เดียว ส่งขาย ออกไปได้ถึง ๓ ครั้งเลยนะ ก็เพราะว่า บางที ดอกไม้ที่อื่นเขาขาดไง พี่ก็ขายได้มากขึ้น แต่ อ ย่ า งปี นี้ เป็ น ปี ที่ พี่ ข ายดอกไม้ ได้น้อยสุดเลยนะ นี่ไม่ออกมาจะครึ่งปีแล้ว ดอกไม้ปีนี้ประหลาดมาก อากาศก็ประหลาด ส่วนหนึง่ ก็มาจากปัญหาภาวะโลกร้อน Climate Change พวกนี้ด ้ ว ยแหละ แต่ ป กติ แ ล้ ว ดอกไม้ในฟาร์มพี่ จะออกทุกปี ตลอดปี ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุ่น ๔๖), อาทิตย์ ประสาทกุล อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ (รุน่ ๗๑), กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓), ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖) สัมภาษณ์ ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖) เรียบเรียง ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 37
สมุดจดพระมนู
บันทึกวิมานดิน
“เฮ้ย โซดา เร็วโว้ย เดี๋ยวไม่ทันรถพี่เค้า” สิ้นเสียงค�ำพูด ชายหนุ่มสองคนและผู้สาวอีกหนึง่ นางก�ำลังตั้งหน้าตั้งตาวิ่งข้ามสะพาน ลอยหน้าห้างสะดวกซื้อแห่งใหญ่แห่งหนึง่ ของจังหวัดนครปฐมเพื่อรอรถตู้ แต่ในความเป็นจริง ทั้งสามคนมาถึงก่อนเวลานัดหมายเกือบสิบนาที เมื่อรถมาถึง เราต่างจัดแจงขนของขึ้นรถ พร้อมกับทักทายคณะเดินทาง จัดแจงที่นงั่ ให้ เรียบร้อย ก่อนที่ “ทีมงานอนุมานวสารสัญจร ครั้งที่ ๑” จะออน เดอะ เวย์ สู่อ�ำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายของสังคมเมืองหลวง ไปสัมผัสกับธรรมชาติของ เหล่าแมกไม้นานาพรรณริมแม่น�้ำ พร้อมสูดอากาศบริสุทธิ์เพิ่มอ๊อกซิเจนให้ร่างกาย (เขาว่ากัน
38
อย่างนัน้ นะ) ที่บ้านไร่วิมานดินออร์แกนิค ฟาร์มสเตย์ ของพันต�ำรวจโทกฤชญาณ อภิ กุลชา (อ�ำรุง น้อยเศรษฐ) หรือ “พี่อ�่ำ” โอวีรุ่น ๔๔ ยอดมวยแห่งคณะผู้บังคับการ ระหว่างเส้นทางสู่อ�ำเภอทองผาภูมิ ทีมงานอนุมานวสาร ได้แวะพักรถที่บ้านไร่ สายลมของอาจารย์สายลม ไวทยมงคลและ สามี อาจารย์เจริญยิ่ง เพื่อนของครอบครัว พี่หน่อง พี่ใหญ่ของเรา ท่านทั้งสองได้มา บุกเบิกที่แห่งนี้ พลิกฟื้นสภาพดินที่แห้งแล้ง จนอุดมสมบูรณ์ ปลูกพืชผักและผลไม้ได้ หลายชนิด อีกทั้งยังช่วยรักษาระบบนิเวศน์ ด้วย โดยยึดหลักพืชเศรษฐกิจท�ำรายได้ตลอด ปี โดยมีการออกผลรายวันรายฤดู และรายปี มีพืชผักสวนครัวต่าง ๆ เช่น ชะอม มะละกอ มะกรูด มะนาว ฯลฯ ผลไม้ เช่น กล้วย ตะลิงปลิง มะขามยักษ์ มะเฟือง สามารถน�ำ มาท�ำผลไม้แปรรูปได้และมีรสชาติดีอย่างยิ่ง พวกเราจึงได้ลาภปากกันไปพอสมควร และ ก่อนไปเราได้สัญญาว่าจะกลับมาทานอาหาร ฝีมืออาจารย์ก่อนกลับกรุงเทพฯ หลังจากพักรถจนถึงแก่เวลา พวกเรา จึงได้ออกเดินทางกันต่อ แต่ “กองทัพต้อง เดินด้วยท้อง” พี่หน่องจึงน�ำทีมงานเสือโหย ทั้งหลายแวะทานอาหารที่ร้าน “ท้องถิ่น” เพื่อ เป็นการบรรเทาก่อนที่เหล่าเสือโหยจะตายกัน เสียก่อน อีกทั้งยังรอทีมอนุมานวสารอีกชุดที่ ขับรถตามมาทีหลัง งานนี้ไม่ต้องบอกว่า เสาบ้านพี่หน่องคงทรุดลงอีกรอบ เมื่อมากัน
ครบ อาหารต่าง ๆ เริ่มทยอยมา บทสนทนา เริ่มน้อยลง เหลือเพียงแต่เสียงช้อนส้อมที่ ฟาดฟันกันอย่างดุเดือด... สิบห้านาทีผ่านไป ทุกอย่างกลับเข้าสู่สภาวะปกติอีกครั้ง บทสนทนาและรอยยิ้มเริ่มปรากฏให้เห็น หลังเติมพลังงานกันเสร็จเรียบร้อย ชาวคณะจึงออกเดินทางอีกครั้ง มุ่งเข้าสู่อ�ำเภอ ทองผาภูมิเพื่อไปยังพิกัดของเรา “บ้านไร่วิมาน ดินออร์แกนิคฟาร์มสเตย์” รถทั้งสองคันใช้ ถนนเลียบเขื่อนวชิราลงกรณ์ สองข้างทาง เต็มไปด้วยป่าและน�ำ้ ภาพแสงแดดที่สะท้อน กับน�ำ้ ในเขื่อนงดงามเกินกว่าจะหาค�ำใดมา พรรณนา จนในที่สุด เราก็เห็นป้ายทางเข้าสู่ วิมานของเราในค�ำ่ คืนนี้ สวรรค์แห่งทองผาภูมิ อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม “แต่... ความเป็นจริงมิได้สวยงาม เสมอไป” หนทางสู่แดนสวรรค์ของเรากลับเต็ม ไปด้วยขวากหนาม พื้นถนนจากคอนกรีต กลายเป็นดินลูกรัง แถมยังมีความลาดชันอยู่ พอตัว ท�ำให้สารถีของเราต้องน�ำเจ้าสี่ล้อคลาน ไปอย่างละเมียด แม้ว่าสองข้างทางจะมีมวล หมู่แมกไม้มายืนรอต้อนรับ แต่ไม่มีใครสนใจ ที่จะยลโฉมหรือแม้แต่ชำ� เลือง ยิ่งนานเข้า ท้องน้อยเริ่มปั่นป่วน อาหารที่ยัดเข้าไปเริ่ม อยากออกมาสู่โลกกว้างบ้างแล้ว แต่หาใช่ทาง ทวารหนักไม่... ขอไม่บรรยายต่อครับ กลัว ท่านผู้อ่านจะส�ำรอกออกมา มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 39
เมื่อเราผ่านเส้นทางหฤโหดมาแล้ว สิ่ง ที่เราได้เห็นต่อจากนี้มั่นใจว่าเราจะหาไม่ได้ ง่าย ๆ เห็นในเมืองหลวง ภาพของหมู่บ้านที่มี วิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความเป็นอยู่อย่างสบาย ถึงแม้จะห่างไกลความเจริญทางวัตถุ อีกทั้ง ยังมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน สิ่งเหล่านี้ ท�ำให้ผู้เขียนฉุกคิดได้ว่า ภาพเหล่านีค้ ือความ เป็นไทยที่แท้จริงไม่ใช่หรือ หาใช่การที่จะต้อง “เปลี่ยนแปลง” ตัวเองเพื่อให้ทันสมัยนิยม ให้ อินเทรนด์ ต้องเกาหลี ต้องมีเจป็อบ แต่ตัว กลับลืมไปว่ากลับบ้านไปยังกินข้าวกับน�ำ้ พริก และถือหนังสือเดินทางสัญชาติไทย ระหว่างที่กำ� ลังนัง่ คิดไปเพลิน สารถี ได้นำ� ทีมงานฯ มาถึงยังจุดหมายปลายทาง แล้ว “บ้านไร่วิมานดินออร์แกนิคฟาร์มสเตย์” ผู้เขียนคิดในใจเลยว่าถ้าไม่ศรัทธาจริงคงมาไม่ ได้แน่ รถตู้ทั้งสองคันเทียบท่าที่อาคารรับรอง
40
ทีมงานฯ เราเริ่มทยอยน�ำสัมภารกและ สัมภาระออกมาวางรวมกันเพื่อรอกุญแจห้อง พร้อมกับรับ Welcome Drink จากทาง รีสอร์ท คุณพ่อของพี่อ�่ำ (พล.ต.ต.อรุณ น้อย เศรษฐ) ออกมาต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี ระหว่างรอห้อง ทีมงานฯ และผู้ติดตาม (โดย เฉพาะสาว ๆ) เริ่มเก็บภาพตัวเองเป็นที่ระลึก ซึ่งทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “สวยมั่ก ๆ” และแต่ละคนก็พยายามที่จะ ถ่ายทอดความรู้สึกนี้ไปยังคนรู้จักโดยผ่าน เจ้ากล่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แต่เสียใจด้วยครับ ไม่มีสัญญาณ เมื่อพวกเราได้กุญแจห้องกันเรียบร้อย แล้วต่างก็แยกย้ายกันไปเก็บสัมภาระ โดย ทีมงานฯ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่บังกะโล “อิงธาร” และ “เดือนน้อย” แต่ผู้เขียนกับโซดา (ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง) เกิดความคิดอุตริ เลือกไปอยู่
กันสองต่อสองบน “วิมานฉิมพลี” ห้างบน ต้นไม้ที่สร้างขึ้นจากจินตนาการว่านีค่ ือรังรัก ของพญาครุฑกับนางกากี...สงสัยคืนนีจ้ ะต้อง มีการเข้าข้างหลังกันแน่ อุ้ย...คิดแล้วขนลุก ระหว่างที่รอรับประทานอาหารเย็น พี่อ�่ำ เจ้าบ้านมาถึงพอดี พวกเราจึงได้ยกพล กันไปสวัสดีตามวัฒนธรรมอันดีงามของ ประเทศสยาม หลังจากนัน้ ก็แยกย้ายกัน ชักภาพ ขอบอกเลยครับว่าวิวสวยมาก พี่ณฎั ฐ์ ช่างภาพใหญ่ของอนุมานวสารถือโอกาสนี้รัว ชัตเตอร์เก็บวิวทิวทัศน์ให้กับตัวเองและเพื่อน ฝูง พวกเราหลายคนได้เดินลงไปเล่นในธารน�ำ้ ที่ใสไหลเย็นกันจนลืมนึกไปเลยว่าเรามาท�ำงาน กัน ไม่ได้มาเที่ยว ตะวันเริ่มลับขอบฟ้า รัตติกาลเริ่มเข้า มาเยือน พวกเราจึงเริ่มทยอยกันไปที่เรือน รับรองเพื่อรับประทานดินเนอร์พร้อมกับ แลกเปลี่ยนบทสนทนากับเจ้าภาพ การคุยกัน อย่างได้อรรถรสพร้อมกับอาหารปลอดสารพิษ ชั้นเลิศท�ำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างราบรื่น ขอ ยืนยันนะครับว่าอาหารที่วิมานดินนัน้ ปลอด สารพิษเพราะเป็นผักที่ปลูกที่ไร่เอง โดยมี พี่เปิ้ล ปุณรดา ภรรยาของพี่อำ�่ เป็นแม่ครัวใหญ่ ปรุงให้เรารับประทาน หลังรับประทานกันเสร็จ ทีมงานจึงได้เริ่มงาน (จริง ๆ) สักที พี่อำ�่ เล่าถึง การซ้อมมวยระหว่างเป็นนักเรียนจนถึงการไป เปรียบกับครูมวยระหว่างเรียนที่อินเดีย แป๊ะ หล่อ (สมุนคู่ใจ) น้องฟลุ๊ค (ลูกชายหัวแก้ว หัวแหวน) น�้ำรัตนคุณ ฯลฯ ที่ส�ำคัญ พี่อ�่ำยัง
ยกย่องให้พี่เตา (บรรยง พงษ์พานิช โอวีรุ่น ๔๔) อัจฉริยะของรุ่น ไปเป็น “แป๊ะ” (ค�ำใช้ เรียกแทนพระยาภะรตราชา อดีตผู้บังคับการ ที่ล่วงลับ) อีกด้วย พอได้ฟังดังนี้ ทีมงานทุก คนถึงกับหัวเราะกันท้องแข็งเลยทีเดียว เพราะ ไม่คิดว่าจะมีคนสนับสนุนแคมเปญ “เตา for แป๊ะ” อย่างมิได้นดั หมาย (พี่เตาทบทวนดูด ี ๆ นะครับ มีคนสนับสนุนเพิ่มอีกเสียงแล้ว) ระหว่างที่บทสนทนาเริ่มเข้มข้นขึ้น พี่ เปิ้ลได้น�ำชารางจืด ชาล้างพิษที่เยี่ยมที่สุดมา ให้พวกเราได้ดื่มแก้หนาวกัน รสชาติของชานัน้ ช่างเข้มข้นและยังมีกลิ่นหอมมากอีกด้วย ซึ่ง นีก่ ็เป็นอีกหนึง่ ผลิตภัณฑ์จากบ้านไร่วิมานดิน แห่งนี้ ขณะที่คณะทีมงานก�ำลังสัมภาษณ์กัน อย่างเมามัน คณะผู้ติดตาม (สาว ๆ ทั้งหลาย) เริ่มมีการอัญเชิญเทพธิดาพยากรณ์มานัง่ ไข ความลับของสวรรค์กัน น�ำทีมโดย “พี่แอม” พี่สาวใจดีอีกคนของทีมงานอนุมานวสารเป็น โต้โผของการไขความลับผ่านไพ่ยิปซี แรกเริ่ม วงไพ่กับวงสนทนามีปริมาณคนที่เท่ากัน แต่ หลัง ๆ เริ่มมีการโอนถ่ายประชากร (เดาก็รู้ว่า วงไหนจะใหญ่กว่า) เวลาล่วงเลยมาจนจะเข้าสู่วันใหม่ หลายคนเริ่มทยอยกลับสู่ที่พัก ตัวผู้เขียนเอง ก็เช่นกัน หลังจากที่นอนบนตักคนรู้ใจอยู่นาน (จนเธอขาชาไปแล้ว) ก็ได้กล่าวราตรีสวัสดิ์ พร้อมกลับแยกตัวไปที่วิมานฉิมพลี รังรักของ เราสอง (ผู้เขียนกับสหายโซดา) แต่ราตรีนี้ยัง ไม่จบ เราสองคนเริ่มผลัดกันไปอาบน�ำ้ เปลี่ยน มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 41
เครื่องนอน นัง่ เล่นกีต้าร์ไปพลาง ระหว่างนัน้ พี่กิ๊ก (อาทิตย์ ประสาทกุล) พี่เบ็น (อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาค) และพี่ Kevin (เขต ณ พัทลุง) ได้ขึ้นมาเยือนเล็กน้อย ก่อนที่จะ กลับลงไปนอน แต่ผู้เขียนกับสหายโซดายัง ไม่ยอมแพ้ต่อความง่วง เราได้นงั่ แลกเปลี่ยน บทสนทนาพร้อมกับนัง่ เล่นกีต้าร์คลอกันไป การเมือง สังคม ความหลังครั้งเยาว์ รวม ถึงเรื่องหัวใจ (ของโซดา) ถูกหยิบยกขึ้นมา เป็นประเด็นท่ามกลางเสียงของสายธารและ อุณหภูมิที่หนาวจนควันออกปาก เราทั้งสอง สนทนากันจนเวลาล่วงเลยมาที่สามนาฬิกา ของวันใหม่ ก่อนที่ร่างกายของเราทั้งคู่จะสั่งว่า “พอได้แล้ว” เราจงแยกย้ายกันเข้าสู่นทิ รา แต่เช้าวันใหม่ของเรากลับมาถึงอย่าง รวดเร็ว ผู้เขียนเองตื่นนอนประมาณเจ็ดโมง เช้าเพื่อมานัง่ เล่นกีต้าร์พร้อมกับเสพอากาศ บริสุทธิ์ ฟังเสียงเพลงจากธารน�ำ้ ไหล จนถึง กับเคลิ้มไปเลย ไม่นานนักสหายโซดาก็ได้ตื่น มาร่วมวงสนทนาอีกครั้ง อาจเป็นเพราะเสียง กีต้าร์ก็ได้ ชายทั้งสองได้มานัง่ ประสานเสียง กันอีกครั้งในยามรุ่งอรุณ เหมือนเป็นการปลุก ให้คนที่นอนอยู่ว่า “ตื่นได้แล้ว” หลังจากที่อาบน�ำ้ อาบท่ากันเสร็จ ทีม งานอนุมานวสารจึงเริ่มเก็บของไปไว้ที่เรือน รับรองพร้อมกับทานข้าวต้มสุดแสนอร่อย หลังจากนัน้ พี่อ�่ำ เจ้าของบ้านไร่วิมานดิน ได้ น�ำทีมงานและผู้มาเยือนอีกคณะหนึง่ เยี่ยมชม ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับ
42
ตราผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (Organic Thailand) จากกรมวิชาการเกษตร มายืนยันว่าปลอด สารพิษจริง ๆ เราได้เปิดหูเปิดตากับแมกไม้ นานาพรรณ (ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยเนื่องจากว่าตนเองจ�ำไม่ได้ว่ามีอะไรบ้าง เพราะว่าเยอะจริง ๆ) หลังจากเดินชมฟาร์มเสร็จ พี่อำ�่ ได้ น�ำน�ำ้ มะเฟืองมาให้ทีมงานลองชิม อร่อยมาก ครับ แต่ต้องระวังหน่อยส�ำหรับท่านที่เป็นเบา หวาน เพราะว่าน�ำ้ มะเฟืองนัน้ หวานมาก ๆ แต่ อร่อยครับ ยืนยันอีกที หลังจากนัน้ เหล่าทีมงาน ก็ได้แยกย้ายกันไปเก็บภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนตัวผู้เขียนขอนัง่ อยู่ที่เรือนรับรองเพราะว่า ค่อนข้างง่วง เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงประมาณ ๑๑ นาฬิกา เราก็ได้ฤกษ์ที่จะต้องลาวิมานดิน แห่งนี้ไปเสียแล้ว ก่อนกลับเราได้ชักภาพร่วม กับพี่อำ�่ พร้อมกับสัญญาว่าถ้ามีโอกาสจะมา เยี่ยมวิมานดินอีกครั้ง ระหว่างทางกลับกรุงเทพฯ ผมมานัง่ คิดว่าทีมงานอนุมานวสารจะได้อะไรจากการ ไปสัญจรครั้งนี้บ้าง ส�ำหรับผมเอง พบว่าการที่ เราได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์กับสหาย และคนที่เรารักและรักเรา คือความสุขสุดยอด ที่ไม่ต้องมีค�ำบรรยายอีกแล้ว อาจจะดูเว่อร์ไป หน่อย แต่เชื่อเถอะครับว่าทีมงานทุกคนต้อง คิดเหมือนกับผมแน่ หรือไม่จริงจ๊ะ??? ศิริชัย กาญจโนภาส (หมวดพร้อม รุ่น ๗๖)
สนามหน้า
แหล่งเพาะน�้ำใจนักกีฬา
บกันอีกครัง้ ส�ำหรับนักเขียนหน้าใหม่ กระแสตอบรับในเล่มแรกน่าจะโอเค มีพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ หลายท่านโทรมาให้ทั้งก�ำลังใจและติเตียน แต่กำ� ลัง ใจมาอย่างมากมาย เลยท�ำให้ผมได้เริ่มเขียนในเล่มต่อไป ตอนนี้เราจะมาขอพูดถึงการแข่งขัน Sport Day ที่เพิ่งผ่านพ้นไปใน เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ปีนกี้ ็เป็นอีกครั้งหนึง่ ที่โอวีเราแพ้ต่อนักเรียน เกิดอะไรขึ้น
ส�ำหรับทีมกีฬาต่างๆ ของโอวี กีฬาหลักเราแพ้ นักเรียนหมดเลย แม้กระทั่งถ้วยรักบี้ประเพณี ซึ่งสมัยก่อนตอนผมยังเป็นนักเรียนอยู่ ต้องมี กติกาคือ นักเรียนเก่าฯ ที่จะเล่นรักบี้ประเพณี จะต้องจบการศึกษาไปแล้ว ๕ ปี แล้วหลังๆ เริม่ ห่างหายไป ผมว่าจบไปแล้ว ๕ ปี ยังไงเราต้อง สู้นกั เรียนได้แน่นอน ณ วันนี้ผมรู้สึกว่าบรรยากาศ เริ่มจะ รู้สึกไม่ค่อยอบอุ่นเหมือนแต่ก่อน อาจจะเป็น เพราะคนให้ความสนใจกับรักบีป้ ระเพณีระหว่าง โอวีกบั นักเรียนปัจจุบนั น้อยลง หรือเป็นเพราะ เราขี้เกียจ หรือเราเล่นมาเยอะแล้ว เลยไม่ค่อย อยากไปเล่น ในขณะที่ นักเรียนปัจจุบนั มีความตัง้ ใจ ทีจ่ ะชนะนักเรียนเก่าฯ มากขึน้ แต่อย่างไรก็ตาม ผมว่าพวกเราชาวนักเรียนเก่าฯ ต้องลองย้อน กลับมามองเรื่องรักบี้ประเพณีระหว่างนักเรียน เก่าฯ กับนักเรียนปัจจุบันกันอย่างตั้งใจมาก ยิ่งขึ้น เพราะสิ่งนีถ้ ือเป็นจุดเริ่มต้นให้นกั เรียน ปัจจุบันได้มองเห็นแบบอย่างการเล่นรักบี้ใน แบบฉบับวชิราวุธฯ ที่แท้จริงต้องเล่นอย่างไร เพื่อที่น้องๆ รุ่นหลังๆ น�ำไปพัฒนาตนเอง และ สืบสานความเป็นผู้มีน�้ำใจนักกีฬา ให้สมดัง พระราชประสงค์สืบต่อไปในอนาคต เราลองมาวิเคราะห์เกี่ยวกับผู้ชมรักบี้ สมัยปัจจุบันกับสมัยก่อน ท�ำไมคนดูสมัยก่อน ถึงเยอะกว่าสมัยปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่ง ผู ้ เขีย นเองก็เ กิด มาไม่ ทันเห็นเหมือนกัน มี ผู้ใหญ่หลายท่านเล่าให้ฟังว่า ในการแข่งขันชิง
44
ชนะเลิ ศ ประเภทนั ก เรี ย นและประเภท อุดมศึกษา คนดูจะเข้ามาเต็มสนามศุภชลาศัย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง รั ก บี้ ป ระเพณีจุ ฬ าฯ – ธรรมศาสตร์ คนดูจะมาเต็มสนามจนแน่นขนัด ที่ส�ำ คัญการแข่งขันแต่ละนัดยังเก็บค่าผ่าน ประตูด้วย ผมเลยมานัง่ คิดว่าเป็นเพราะอะไร ที่ท�ำให้คนสมัยนีด้ ูรักบี้น้อยลง เป็นเพราะกฎ กติกาที่ยุ่งยากขึ้นท�ำให้คนดูเข้าใจเกมส์การ แข่งยากหรือไม่ หรือเป็นเพราะกระแสฟุตบอล ฟี เวอร์ ที่ ยึ ด ครองใจคนรั ก กี ฬ าไปทั่ ว บ้ า น ทั่วเมือง คิ ด แล้ ว คิ ด อี ก ก็ ยั ง คิ ด ไม่ ต กว่ า เป็ น เพราะเหตุใดกันแน่ วานผู้รู้ช่วยกระซิบบอก ผมหน่อยนะครับ เคยมี ค นบอกกั บ ผมว่ า สมั ย ก่ อ นมี ลงข่าวทุกวันเรื่องรักบี้ จะมีการแข่งขันที่ไหน ใครแข่งกับใคร คนดูกม็ ารอดูกนั เต็มสนามแล้ว ผมฟังดูแล้วแปลกใจเลย ไม่ตอ้ งเป็นทีมของเรา ก็ไปดูทมี อืน่ เหมือนกันเหรอ หรือสมัยก่อนอาจ จะเป็นรักบีฟ้ เี วอร์กไ็ ด้ ปัจจุบนั นีข้ อให้คนดูเต็ม ฝั่งที่มีหลังคานัง่ เต็ม น�ำ้ ตาก็แทบไหลแล้ว ยิ่งการแข่งขันรักบี้ประเพณีวชิราวุธฯ – ราชวิทย์ฯ ที่จัดกันมาแทบทุกปี คนดูยังไม่ เต็มสนามเลย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมีการ ถ่ายทอดสดหรือเปล่า คนดูเลยประหยัดน�ำ้ มัน นัง่ นอนดูอยู่ที่บ้าน คราวนี้ให้เป็นไปตามหัวเรื่องหน่อยคือ สนามหน้า ผมก็มาขอรายงานผลให้ทุกท่านได้ ทราบถึงผลของรักบี้ในช่วงที่ผ่านมา
รายการแรกเป็นทัวร์นาเม้นต์ศึกรักบี้ ๖ ชาติ หรือ Six Nation ที่ประกอบไปด้วย ทีมจากประเทศ ทั้ง ๖ ชาติ ดังนี้ ไอร์แลนด์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวลส์, สก๊อตแลนด์, อิตาลี หลังจากอดหลับอดนอนเฝ้ารอดู รอ ลุ้นมานาน หลายเดือน ในที่สุดก็ได้ทีมแชมป์ ซึ่งได้แก่ ทีมชาติไอร์แลนด์ รายการที่ ๒ รักบี้ ๗ คนชิงแชมป์โลก ก็ปิดฉากลงเรียบร้อยแล้วเช่นกัน หลังจากจบ การแข่งขันไปทั้ง ๘ สนาม ๑. แอฟริกาใต้ ๑๓๒ คะแนน ๒. ฟิจ ิ ๑๐๒ คะแนน ๓. อังกฤษ ๙๘ คะแนน ๔. นิวซีแลนด์ ๘๘ คะแนน ๕. อาร์เจนติน่า ๖๘ คะแนน ๖. เคนยา ๖๔ คะแนน ๗. ซามัว ๔๐ คะแนน ๘. ออสเตรเลีย ๓๐ คะแนน ๙. สก๊อตแลนด์ ๒๔ คะแนน ๑๐. เวลส์ ๒๔ คะแนน หลายท่ า นที่ อ ่ า นมาทั้ ง หมดคงที่ จ ะ อยากจะทราบถึงอันดับโลกของทีมรักบี้ไทย เราบ้าง เพราะส่วนใหญ่จะเห็นแต่เฉพาะกีฬาที่ เป็นข่าวประจ�ำ เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เทนนิส และอื่นๆ อีกมากมาย ส�ำหรับกีฬารักบี้ของเรา ก็มีการจัดอันดับโลกอยู่เหมือนกัน เป็นการจัด อันดับที่รวมเอาผลงานล่าสุดของทีมที่ดีที่สุด ๑๐ ทีมแรก
นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อาร์เจนติน่า อังกฤษ เวลส์ ฟิจิ สก๊อตแลนด์ คราวนี้เรามาดูอันดับของเอเชียกันบ้าง อยากรู้แล้วใช่มั้ยครับว่าทีมไทยอยู่อันดับไหน ในโลกแล้วอันดับไหนในเอเชีย (ในวงเล็บคือ อันดับโลก ณ ปัจจุบัน) ๑. ญี่ปุ่น ๒. เกาหลีใต้ ๓. ฮ่องกง ๔. อาราเบี้ยนกลัฟ ๕. จีน ๖. ไต้หวัน ๗. สิงค์โปร์ ๘. ศรีลังกา ๙. มาเลเซีย ๑๐. ไทย
(๑๖) (๒๔) (๓๔) (๔๕) (๔๘) (๔๙) (๕๐) (๕๑) (๖๙) (๗๑)
แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ ภัคพงศ์ จักษุรักษ์ รุ่น ๖๑ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 45
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
จากวังหลวง
สู่สวนกระจัง
มื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า ฯ ให้ เจ้ า พระยาธรรมศั ก ดิ์ ม นตรี (สนั่น เทพหั ส ดิ น ณ อยุ ธ ยา) ไปเฝ้ า ทู ล ละออง ธุ ลี พ ระบาทเพื่ อ รั บ พระราชทานพระบรม ราโชบายในการจัดการศึกษาของชาติตามแนว พระราชด�ำริเมือ่ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ และในวั น เดี ย วกั นนั้น ได้ มี พ ระราชกระแส
46
ผั ง แสดงที่ ตั้ ง เรื อ นไม้ ห ลั ง คาจาก ซึ่ ง ใช้ เป็นอาคารของโรงเรียนชั่วคราว โดยตั้งอยู่ ที่สวนกระจัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ ก่อนที่จะ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอประชุมและตึกคณะ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘
ด�ำรัสสั่งให้เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีไปคิด อ่านจัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามแบบพับลิคสกูลของ อังกฤษ แล้วให้ย้ายนักเรียนมหาดเล็กข้าหลวง เดิม หรือมหาดเล็กเด็กๆ ที่ถวายตัวมาแต่ ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์และโปรดเกล้าฯ ให้ไป
เล่าเรียนอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ตามความถนัด ของแต่ละคน และเวลานั้นยังคงพักรวมกัน อยู่ที่พระราชวังสราญรมย์ ให้ย้ายมาเล่าเรียน รวมกั น เสี ย ที่ โรงเรี ย นเดี ย วกั น ให้ ทั น เปิ ด โรงเรียนในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑ มกราคม ซึ่งจะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า พอออกจากที่ เ ฝ้ า ฯ ที่ พ ระที่ นั่ง จั ก รี มหาปราสาทซึ่ ง เป็ นที่ ป ระทั บ ของพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ ทั นที นั้น เจ้ า พระยา ธรรมศักดิ์มนตรีก็ไปขอครูมาจากกระทรวง ธรรมการมา ๓ คน คือ ครูศร ครูทองอยู่ และครู ส นั่น ครู ทั้ ง สามท่ า นนี้ ล ้ ว นเป็ นครู ประกาศนียบัตรโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งเป็น สถาบันการฝึกหัดครูชั้นสูงสุดของประเทศใน เวลานัน้ เลยทีเดียว รุ่งขึ้นวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีก็จัดให้นักเรียน มหาดเล็ ก ข้ า หลวงเดิ ม ทั้ ง ๓๖ คน ย้ า ย จากพระราชวังสราญรมย์มาพักอยู่ที่ตึกยาว ริมประตูพิมานไชยศรี ที่เดิมเคยเป็นโรงเรียน ราชกุมารส�ำหรับเจ้านายทรงเล่าเรียนกัน แต่ เวลานัน้ เจ้านายทรงเจริญพระชันษาและเสด็จ ไปทรงศึ ก ษาต่ อ ที่ ต ่ า งประเทศกั น หมดแล้ ว ตึกนัน้ เลยว่าง ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ จึงได้ พระราชทานส่ ว นหนึ่ง ให้ เป็ นที่ ตั้ ง โรงเรี ย น มหาดเล็ก (ไม่มีหลวงนะครับ) เมื่อนักเรียน มหาดเล็กข้าหลวงเดิมย้ายมาเรียนที่ตึกยาวนี้ จึงได้ใช้พื้นที่ทางด้านขวาของตึก หรือ ปีก ทางด้านติดกับประตูพิมานไชยศรี ชั้นบนเป็น
ที่ น อน ชั้ น ล่ า งเป็ น สถานที่ เ ล่ า เรี ย นและ รับประทานอาหาร ในวั น เปิ ด โรงเรี ย นเมื่ อ วั น ที่ ๒๙ ธั น วาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ นั้ น เจ้ า พระยา ธรรมศักดิ์มนตรีได้จัดให้นกั เรียนทั้ง ๓๖ คน สวดมนต์ไหว้พระ แล้วยืนขึ้นหันหน้าไปทาง ที่ประทับ คือ พระที่นงั่ จักรีมหาปราสาท ให้ นักเรียนร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี นับว่า ได้ปลูกฝังจิตส�ำนึก “รู้รักชาติศาสน์กษัตริย์ เป็นฉัตรไชย” กันมาแต่เริ่มเปิดโรงเรียนเลย ทีเดียว แล้วจึงเริม่ การเรียนการสอนโดยมีครูศร เป็นครูประจ�ำชั้นคนแรก และหม่อมหลวงอุรา คเนจร นักเรียนเลขประจ�ำตัว ๓ เป็นหัวหน้า นักเรียนคนแรก ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาครั้งแรก ในรัชกาล คือ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม โรงเรียนส�ำหรับมหาดเล็กข้าหลวงเดิมนั้นว่า “โรงเรียนมหาดเล็กหลวง” พร้อมกันนัน้ ก็ได้ พระราชทานชื่อให้โรงเรียนมหาดเล็กที่มีมาแต่ รัชกาลที่ ๕ นัน้ ใหม่ว่า “โรงเรียนข้าราชการ พลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว” เสร็ จ การพระราชพิ ธี เฉลิ ม พระชนม พรรษาในตอนต้นเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้ว เจ้าพระยาธรรมศักดิม์ นตรีกบั พระยาบุรษุ รัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) จางวางมหาดเล็ก และกรรมการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงก็ได้ออก ไปตรวจหาที่ดินส่วนพระองค์ เพื่อใช้เป็นสถาน มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 47
ทีต่ งั้ โรงเรียนถาวร ในทีส่ ดุ ก็เลือกได้ทดี่ นิ ต�ำบล สวนดุสิต ในส่วนที่เรียกกันว่า “สวนกระจัง” ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อ และพระราชทานเป็นสิทธิ์แก่สมเด็จ พระศรี พั ช ริ นทราบรมราชิ นีน าถ พระบรม ราชชนนี พั น ปี ห ลวง ที่ ดิ น ผื นนี้ เป็ น พื้ นที่ สี่เหลี่ยมเนื้อที่ ๙๙ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตารางวา ด้านทิศตะวันออกจรดคลองเปรมประชากร ด้ า นทิ ศ เหนื อ จรดถนนดวงเดื อ นใน (ถนน สุโขทัย) ด้านทิศใต้จรดถนนซางฮี้ใน (ถนน ราชวิถี) ส่วนด้านทิศตะวันตกติดถนนพุดตาล เหนือ (ถนนพิชัย) และที่ท�ำการกรมรถยนต์ หลวง (ปัจจุบันเป็นหมวดรถยนต์หลวง กอง พระราชพาหนะ ส�ำนักพระราชวัง) ซึ่งในตอน ปลายรั ช กาลที่ ๕ เคยพระราชทานให้ เป็ น บ้ า นพั ก ของพระยาธรรมจรรยานุกู ล มนตรี (ทองดี โชติกเสถียร) มาก่อน โรงเรียนราชกุมารเก่า หรือตึกยาวริมประตูพิมาน ไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียน มหาดเล็กหลวงเมื่อแรกพระราชทานก�ำเนิด
48
เมื่ อ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ พระราชทานที่ดินสวนกระจังให้เป็นที่ตั้งถาวร ของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงแล้ว เจ้าพระยา ธรรมศักดิ์มนตรี กรรมการจัดการโรงเรียน มหาดเล็ ก หลวงก็ ไ ด้ ม อบหมายให้ น าย เอดเวิร์ด ฮีลี่ อาจารย์โรงเรียนเพาะช่างเป็น ผู้วางผังก่อสร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ใน เวลาเดียวกันนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวง มหาดไทย และผู ้ ต รวจการพิ เศษโรงเรี ย น มหาดเล็ ก หลวงก็ ได้ เ สด็ จ ฯ มาตรวจพื้ นที่ สวนกระจังที่จะเป็นที่ตั้งถาวรของโรงเรียน เมื่อ ได้ทอดพระเนตรพืน้ ทีส่ วนกระจังซึง่ เวลานัน้ ยัง คงเป็นท้องร่องสวน จึงได้มีรับสั่งแนะน�ำให้ขุด ดินตอนกลางพื้นที่ขึ้นมาถมท้องร่องเพื่อปรับ พืน้ ทีท่ เี่ หลือให้เป็นสนามส�ำหรับให้นกั เรียนเล่น กีฬาได้สะดวก ด้วยเหตุนจี้ ึงมีสระน�้ำเกิดขึ้น ที่กลางโรงเรียน โดยมีคูรับน�้ำเชื่อมจากคลอง
เปรมประชากรขนานไปตามถนนดวงเดือนใน และถนนซางฮี้ ใ น ไปตามแนวตะวั น ออก ตะวันตก ต่อกับคูที่ขุดขึ้นใหม่ในแนวเหนือ-ใต้ ทางฝัง่ ตะวันตกของโรงเรียน คูนำ�้ นีเ้ ป็นทีร่ ะบาย น�้ำจากสระใหญ่ซึ่งว่ากันว่า มีลักษณะคล้าย แผนที่ประเทศไทย กับคลองเปรมประชากร ในการวางผังที่ตั้งโรงเรียนนัน้ เบื้องต้น นายเอดเวิร์ด ฮีลี่ สถาปนิกได้กำ� หนดผังพื้นที่ โรงเรียนถาวรไว้โดยก�ำหนดให้หอสวดหรือที่ เราเรียกกันว่า “หอประชุม” เป็นอาคารประธาน อยูต่ รงกลางพืน้ ทีค่ อ่ นไปทางทิศตะวันออกใกล้ กับคลองเปรมประชากร โดยมีถนนผ่านหน้า หอสวดขนานกันไปกับแนวคลองเปรมประชากร จากแนวถนนดวงเดือนในทางทิศเหนือไปจน จรดถนนซางฮีใ้ นทางทิศใต้ นอกจากนัน้ พระยา บุรุษรัตนราชพัลลภยังได้จัดต้นมะฮอกกานี มาปลูกไว้ที่ริมถนนหน้าหอสวดตลอดทั้งสาย เพื่ อ ให้ รั บ กั บ พระอุ โ บสถวั ด เบญจมบพิ ต ร ดุสิตวนาราม ซึ่งอยู่คนละฟากกับปาร์ก (Park) หรือเขาดินวนา ด้วยเหตุฉะนีจ้ ึงไม่มีการสร้าง สะพานข้ามคลองเปรมประชากรตรงเข้าสู่หอ สวด และเวลาเสด็จพระราชด�ำเนินโรงเรียนจึง ต้องใช้ประตูด้านคณะจิตรลดามาเป็นทางเสด็จ เช่นเดียวกับเส้นทางเสด็จพระราชด�ำเนินไปยัง พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ผังของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนี้ นาย ฮีลไี่ ด้กำ� หนดให้หอสวดและหอนอนของครูและ นักเรียนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตามความ เชื่อทางพระพุทธศาสนา ทั้งก�ำหนดให้สระน�้ำ
อยู่ด้านหลังหอสวด เช่นเดียวกับศาสนสถาน ในเมืองสุโขทัย (โปรดสังเกตผังพื้นที่นี้ เหมือน กับผังพื้นที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน จ.ป.ร. หรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นคู่แฝด กับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเลยทีเดียว เพราะ ทั้งสองโรงเรียนนีน้ ายฮีลี่ เป็นผู้ออกแบบ) กับ หอนอนส�ำหรับครูและนักเรียนทีโ่ ปรดเกล้าฯ ให้ เรียกว่า “คณะ” ตามค�ำเรียกขานหมู่กุฏิสงฆ์ใน พระอารามอยู่ที่มุมโรงเรียนทั้งสี่มุม เมื่ อ นายฮี ลี่ ก� ำ หนดผั ง ที่ ตั้ ง โรงเรี ย น ถาวร พร้อมกับการปรับถมพื้นที่โรงเรียนเสร็จ ไปบางส่วน ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียน ชั่วคราวขึ้นในพื้นที่ฝั่งทิศใต้ของสวนกระจัง โรงเรียนที่สร้างขึ้นนั้นเป็นเรือนไม้หลังคามุง จาก ประกอบไปด้วยห้องประชุม ห้องพักครู ห้องเรียนและเรือนนอนของนักเรียนที่เรียกกัน ว่า เรือน ก. ข. ค. ง. และ จ. พร้อมเรือนพัก ครูกำ� กับเรือนนอน เมือ่ การก่อสร้างโรงเรียนชัว่ คราวทีส่ วน กระจังแล้วเสร็จลงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ หรือเพียง ๕ เดือน นับแต่เปิดโรงเรียน ชัว่ คราวทีใ่ นพระบรมมหาราชวัง จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายนักเรียนจากในพระบรมมหาราชวังมา อยู่ที่โรงเรียนใหม่ที่สวนกระจัง พร้อมกับโปรด เกล้าฯ ให้จดั การท�ำบุญขึน้ โรงเรียนใหม่ในวันที่ ๑ มิถุนายน พอรุ่งขึ้นวันที่ ๒ มิถุนายน ก็เริ่ม การเรียนการสอนที่โรงเรียนใหม่ที่สวนกระจัง เป็นวันแรก และคงเปิดสอนสืบมาจนถึงทุกวัน นี้ วรชาติ มีชูบท (รุ่น ๔๖) มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 49
คอลัมน์พิเศษ เรื่องเล่าจากนักเรียนมหาดเล็กหลวง
พระมหากรุณาธิคุณที่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ นายบัว ศจิเสวี เขียนโดย นายบัว ศจิเสวี
พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ นักเรียนที่จะเข้าโรงเรียนนี้ จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเรียน ส่วนมากจึงเป็นเชื้อพระวงศ์ อาทิ เช่น ม.จ.โวฒยากร วรวรรณ ม.ร.ว.ภาคินัย จั ก รพั น ธุ ์ ม.ล.ปิ ่ น มาลากุ ล หรื อ บุ ต ร ข้าราชการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ใกล้ ชิ ด พระยุ ค ลบาท และในสกุ ล ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานนามสกุล เช่น บุนนาค สุจริตกุล อมาตยกุ ล ฯลฯ ซึ่ ง บิ ด าได้ น� ำ ขึ้ นถวายตั ว เป็ น มหาดเล็ ก สมกั บ นามของโรงเรี ย นว่ า “โรงเรียนมหาดเล็กหลวง” ทัง้ นีพ้ ระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั พระราชทานค่าเล่าเรียน ค่าอาหาร กินอยู่หลับนอน ค่าหนังสือ ฯลฯ ให้โดยตลอด
50
แต่ ใ นจ� ำ นวนเด็ ก นัก เรี ย นมหาดเล็ ก หลวง เหล่านั้นมีเด็กซึ่งไม่มีแม้แต่นามสกุล เผอิญ มีบุญวาสนาได้เข้าไปเรียนด้วยคนหนึ่ง คือ ผู้เขียนเรื่องนี้
ไม่เคยเห็นหน้าพ่อแม่
ผมเป็นคนอาภัพ (มาก) คุณพ่อตายเมือ่ ผมอายุได้ ๒ ขวบ คุณแม่ตายเมื่ออายุได้ ๓ ขวบ มีคุณยายชื่อ “น้อย” กับคุณป้าชื่อ “นวม” และพี่สาวชื่อ “นงเยาว์” แก่กว่าผม ๑๒ ปี ช่วย กันเลี้ยงผมมา ผมจ�ำได้ท่านสอนผมไว้ว่า พ่อ ผมชือ่ “ปลิว” แม่ชอื่ “เนย” เกิดปีมะเส็ง คุณยาย คุ ณ ป้ า เล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า ผมเกิ ด ที่ บ ้ า นไม้ เป็ น ห้องแถวไม้ที่สะพานเหลือง แถวนัน้ เมื่อก่อนมี คลองชื่อคลองหัวล�ำโพง ฝั่งคลองฝั่งนี้เป็นทาง รถไฟสายปากน�้ำ บ้านที่ผมเกิดอยู่ฝั่งคลอง
ฝั่งโน้น พอผมเกิดมาปีนนั้ น�้ำท่วมใหญ่ ที่เค้า เรียกกันว่า “น�้ำท่วมปีมะเส็ง” พ.ศ. ๒๔๖๐ ยิ่งอยู่ริมคลองด้วยข้าวของลอยเป็นแพ ต้อง ขนของหนีน�้ำกันด้วยวิธีต่าง ๆ ทุลักทุเลอย่าง ยิ่ง คุณยาย คุณป้า บอกว่าตอนที่ผมเกิด มี คนเขียนวันเดือนปีเกิดของผมไว้ที่แผ่นประตู บ้ า น คงจะเขี ย นไว้ ล ะเอีย ดว่ า วันที่เท่ า ไหร่ ข้างขึ้นหรือข้างแรมกี่ค�่ำ ฯลฯ แต่เท่าที่ผมจ�ำได้ ทั้งคุณยาย คุณป้า ท่านสอนผมไว้ว่า ถ้ามีใคร ถามผมว่า “ชื่ออะไร?” ให้ตอบว่า “ชื่อบัวครับ” “เกิดวันอะไร” “วันเสาร์ครับ” “เดือนอะไร?” “เดือนแปดครับ” “ปีอะไร?” “ปีมะเส็งครับ” แต่ เวลาตกฟากรู้แต่เพียงว่าเป็นเวลา “พระออก บิณฑบาต” เท่านัน้ เอง
ไฟไหม้บ้าน
แล้วต่อมาไฟก็ไหม้บา้ นทีส่ ะพานเหลือง ไหม้ประตูที่จดวันเดือนปีเกิดของผมไว้ด้วย เป็นอันว่าวันเดือนปีเกิดของผมเหลืออยู่เพียง เท่าทีส่ อนผมไว้เท่านัน้ เอง ไม่มใี ครจ�ำได้แน่นอน ด้วยเหตุนี้ผมจึงไม่ยอมเชื่อว่า ผมเกิดวันที่ เท่าไหร่ และผมไม่ดูหมอดู ไม่ผูกดวง แต่ผม มีวนั เกิดตามทะเบียนใบสุทธิซงึ่ ผมได้มาจากครู ก�ำหนดให้ผม แล้วผมจะเล่าให้ฟังทีหลัง
ย้ายไปอยู่วรจักร
พอไฟไหม้บ้านผมก็ต้องย้ายบ้านจาก สะพานเหลืองไปอยูว่ รจักร เห็นไหมล่ะ ชีวติ ผม ได้เที่ยวตั้งแต่เล็ก ๆ ไฟไหม้ก่อน หรือคุณพ่อ
คุณแม่ผมเสียก่อน ไม่ทราบได้ คุณพ่อนั้น ไม่มีใครเคยบอกว่า ท่านประกอบอาชีพอะไร ผมเลยไม่ทราบจนบัดนี้ ส่วนคุณแม่นั้นช่วย กันกับคุณป้า เอาพวกแหวนเพชรพลอย สาย สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ฯลฯ จากกรุงเทพฯ ไป ขายตามหัวเมืองต่าง ๆ และเมื่อเอาของไปขาย ที่จังหวัดเพชรบุรี ท่านเป็นโรคอะไรก็ไม่ทราบ ถึงแก่กรรมที่นนั่ คุณป้าก็เลยท�ำบุญให้แล้วเอา ศพฝังไว้ที่ วัด “ชีสระอินทร์” ที่เมืองเพชรฯ นัน่ ก่อน โชคเหมาะเคราะห์ดีค่อยไปเผากันทีหลัง
เที่ยววัดพระพิเรนทร์
ผมเคยเล่าไว้แล้วว่าผมมีพี่สาวคนหนึง่ ผมเรียกท่านว่า “เจ๊” ที่ชื่อ “นงเยาว์” ซึ่งแก่กว่า ผม ๑๒ ปี ดังนัน้ เมื่อสิ้นคุณแม่ พี่คนนี้แหละ ที่กระเตงผมเข้ากะเอว ป้อนข้าว อาบน�้ำ ดูแล ทุกอย่างเรื่อยมาจนผมโต ยิ่งตอนผมโตนี่ผม ทั้งรักทั้งกลัวพี่สาวคนนี้เหมือนแม่ ที่วรจักรนี้ เป็นห้องแถวไม้ค่อนข้างใหม่ หันหน้าออกถนน วรจักร หันหลังให้วัดพระพิเรนทร์ หลังห้อง แถวทะลุถึงบ้านคุณนายชอุ่ม เจ้าของห้องแถว เวลาคุณป้าเอาเงินไปเสียค่าเช่าให้แก่คุณนาย ชอุ่ม ผมตามเข้าไปในบ้านนั้นด้วย บ้านเขา สบายกว่าห้องแถวทีเ่ ช่าเขาแยะ ติดกับห้องทีเ่ รา อยู่ เป็นร้านหมอแผนโบราณ เจ้าของชื่อ “เจ้า อุดม” รูปร่างอ้วนขาวหน้าตาดีมีสง่าสมเป็นเจ้า แต่ไม่ทราบเจ้าเมืองไหน จ�ำหน่ายยาเม็ด ยาผง ฯลฯ มีขนานหนึง่ ชื่อยาหอมอินทจักร คุณยาย ให้ผมไปเจียด ผมเลยได้ความรู้ว่ายาไทยสมัย มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 51
ก่อนนี้เขาไม่เรียกว่า “ซื้อ” เขาเรียกว่า “เจียด” คนสมัยนี้จะรู้จักหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ใน พจนานุกรมค�ำว่า “เจียด” ไม่ได้แปลว่า “ซื้อ” แต่มีความหมายว่า “แบ่งปันกันใช้” ก็แสดงให้ เห็นคุณธรรมของแพทย์แผนโบราณว่า เขาไม่ได้ หน้าเลือดเหมือนแพทย์บางท่านสมัยนี้ พอ วัดปรอทบอกว่ามีไข้ จัดยาให้รับประทาน ๓ ซอง คิดค่ายา ๓๕๐ บาท ที่ร้านเจ้าอุดม นอกจากมียาเม็ด ยาผง ยังมียาน�ำ้ ยาดอง ฯลฯ และตอนเย็น ๆ มีคนอุม้ เด็กมาให้เจ้าอุดมกวาด ยาให้ด้วย ค่ากวาดยาตามมีตามเกิด มีสอง สตางค์ก็สองสตางค์ มีสลึงก็สลึง ที่เล่าเรื่อง เจ้าอุดมนี้เพราะจะมีเรื่องเกี่ยวพันกันทีหลัง ผมอยู่ห้องแถวที่วรจักรห้องเดียวสอง ชั้น ขืนไม่ออกมาข้างนอกบ้างก็คงอึดอัดตาย หลังห้องแถวมีทางเดินออกไปวัดพระพิเรนทร์ ได้ เวลาคุณยายคุณป้าไปวัดผมก็ออกไปด้วย แม้คณ ุ ยาย คุณป้าไม่ออกไป พีส่ าวก็จงู ผมออก ไปเทีย่ วบ่อย ๆ ผมได้เริม่ เทีย่ วแล้ว เห็นไหมล่ะ มีลานดินกว้างใหญ่ให้ผมกระโดดโลดเต้นได้ไม่ ต้องกลัวรถทับ เพราะสมัยนัน้ ไม่มรี ถยนต์แล่น เข้าในวัด แต่ถึงอย่างไร ผมก็ไม่ได้รับอนุญาต ให้ออกไปวิ่งเล่นคนเดียวที่ลานวัดเป็นอันขาด
ทีว่ ดั ชนะสงคราม (คนแต่กอ่ นเรียกว่าวัดตองปุ) ที่ผมบอกไว้ด้วยเพื่อจะไม่ให้ค�ำว่า “วัดตองปุ” สาบสูญไปเสีย นอกจากหลวงอา ยังมีคุณย่า โยมแม่ของหลวงอาซึ่งบวชเป็นชีอยู่ที่กระต๊อบ เล็ก ๆ ในบริเวณวัดทางด้านที่ชีอยู่ คุณย่า แก่มากแล้ว อยู่ในความอุปการะของหลวงอา นอกจากคุณย่าจะมาหาที่กุฏิหลวงอา หลวงอา สอนให้ผมอ่านและเขียนหนังสืออย่างตัวต่อตัว เพราะทั้งกุฏิมีแต่หลวงอากับผมเท่านัน้ เวลาที่ หลวงอาไปลงโบสถ์หรือไปธุระที่ไหนก็ปิดกุฏิ ขังผมไว้ให้อ่านหนังสืออยู่คนเดียว ผมมีความ รู้สึกว่าหลวงอาดุ ผมกลัวท่านมาก ผมจึงไม่มี โอกาสไปเล่นซนหรือวิ่งเล่นเหมือนกับเด็กวัด คนอื่ น ๆ ผมเรี ย นหนัง สื อ อยู ่ กั บ หลวงอา
เป็นเด็กวัด
ขณะที่ผมอายุ ๓ ถึง ๔ ขวบ คุณยาย คุณป้าคงจะเห็นว่า ผมอยู่ที่วรจักรไม่ได้เรียน หนังสือ เดี๋ยวก็โง่เป็นควาย จึงเอาผมไปฝากให้ อยู่กบั หลวงอา ชือ่ “เพรียว” ชึง่ บวชเป็นพระอยู่
52
กุฏิหลวงอาที่วัดชนะสงคราม ซึ่งปิดขังผมไว้ให้อ่านหนังสือ
ประมาณ ๒ - ๓ ปี ผมก็อ่านหนังสือออก ระหว่ า งที่ ผ มเรี ย นหนั ง สื อ อยู ่ กั บ หลวงอาที่วัดชนะสงครามนี้ หลวงอาได้พาผม ไปถ่ายรูปกับหลวงอาที่ร้านคนจีนแห่งหนึง่ ซึ่ง มีฉากข้างหลังเป็นระเบียงตึก มีโต๊ะวางแจกัน ดอกไม้ มีสนุ ขั ปัน้ ด้วยปูนซีเมนต์อยูด่ ว้ ยตัวหนึง่ ผมแต่งตัวนักเรียนคือ นุ่งกางเกงขาสั้น ใส่เสื้อ เชิต้ ขาวแขนสัน้ หนีบกระดานชนวน หลวงอาห่ม จีวรยืนข้าง ๆ ผม รูปนี้มีความหมายอย่างยิ่ง
รูปถ่ายผมและหลวงอา
ส�ำหรับชีวิตผมซึ่งจะกล่าวในภายหลัง
นัง่ รถรางเที่ยว
หลวงอามีเพือ่ นคนหนึง่ ชือ่ “นายเขียน” เป็ นนายตรวจรถรางชอบมาคุ ย กั บ หลวงอา บ่อย บางครั้งนายเขียนเห็นผมอยู่แต่ในกุฏิก็ ขออนุญาตพาผมไปเดินเล่นใกล้ ๆ บ้าง พาขึ้น
รถรางบ้าง หลวงอาเกรงใจก็ยอมให้นายเขียน พาไปเทีย่ วบ้างเป็นครัง้ คราว ส�ำหรับผมนัน้ เมือ่ นายเขียนจูงออกจากวัดไปแล้วจะไปไหนบ้าง ผมไม่รจู้ กั ถ้าพาไปนัง่ รถรางผมก็นงั่ ดูอะไรเรือ่ ย ไปรู้สึกว่าสนุกมาก
เข้าวัง
ผมจ�ำได้วา่ วันหนึง่ นายเขียนขออนุญาต พาผมออกไปเทีย่ ว ขึน้ รถรางด้วย รูส้ กึ ว่าวันนัน้ ไปไกลมาก ผ่านสนามกว้างใหญ่ มียอดแหลม ๆ มีประตูใหญ่เหมือนก�ำแพงกั้นหลายชั้น ทราบ ภายหลังว่า ตรงนัน้ เขาเรียกว่า “ประตูดิน” อยู่ ท้ายวังหลวง จากประตูนนั้ ผมรู้สึกว่า มีมือใคร จูงผมจากนายเขียนไปอีกประตูหนึง่ แล้วก็จงู กัน ต่อ ๆ ไป จากมือหนึง่ ไปอีกมือหนึง่ หลายทอด หลายต่อ ผมได้เห็นผู้คนมากมายมีแต่ผู้หญิง ทั้งนัน้ ผมถูกตั้งค�ำถามต่าง ๆ ผมเคยถูกสอน ไว้ว่า ใครถามอะไรก็ให้ตอบ ผมคงจะตอบ อะไรที่ถูกใจผู้ถาม ในตอนสุดท้ายผมได้ยินว่า “เอาบัวไว้” “สมเด็จให้เอาบัวไว้” ผมไม่ทราบว่า “สมเด็จ” คืออะไร ผมถูกเอาตัวไว้จริง ๆ โดย ไม่ได้กลับออกมาหานายเขียน ไม่ได้พบกับ หลวงอาอีกเลย วันนัน้ จึงเป็นวันที่เปลี่ยนชีวิต ใหม่สำ� หรับผม ผมเข้าไปอยูใ่ นพระบรมมหาราช วังแล้ว โดยไม่ได้คาดฝัน นับเป็นเริ่มแรกที่ พระมหากรุณาธิคุณโปรยละอองมาถึงผม นายเขียนคงจะน�ำความกลับไปบอก หลวงอาว่า “สมเด็จเอาตัวบัวไว้แล้ว” หลวงอา ก็คงไม่ทราบจะท�ำอย่างไร และคุณย่า คุณยาย มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 53
คุณป้า ทราบจากหลวงอาก็คงจะตกใจ และไม่มี ทางทราบได้ว่า เมื่อไรจึงจะได้คืนออกมา ทุก คนคงจะคิดแต่เพียงว่า “ถ้านายเขียนไม่หลอก ก็เป็นบุญของบัว” เท่านัน้ เอง ส่ ว นตั ว ผมเองจ� ำ ได้ ว ่ า คนที่ พ าผม เข้าไปถึง “ในวัง” ชื่อ “ยายนิ่ม” ตั้งแต่นนั้ มาไม่ เคยพบยายนิ่มอีกเลย วันนัน้ ผมถูกจับอาบน�้ำ ขัดสีฉวีวรรณเป็นการใหญ่ เปลีย่ นเสือ้ ผ้าเครือ่ ง แต่งตัวใหม่ทั้งชุด ได้รับประทานอาหารอย่าง อิ่มหน�ำส�ำราญ ล้วนแต่เป็นอาหารแปลก ๆ ที่ ผมไม่เคยลิ้มชิมรสมาเลย คนนัน้ กอด คนนัน้ จับแก้ม คนนี้ลูบหัว คนโน้นจูบ สุดแต่ใคร อยากท�ำอะไรก็ได้ ผมไม่ร้องไห้ ใครถามมาก็ ตอบไป ผมเริ่มถูกสอนให้หมอบ ให้คลาน ให้ เดินเข่า ให้พูดค�ำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน เช่น “พ่ะย่ะค่ะ, ข้าพระพุทธเจ้า” ฯลฯ ฉะนัน้ การ ทีเ่ ด็กวัดคนหนึง่ ท�ำอะไรผิด ๆ เปิน่ ๆ ทีค่ นในวัง ไม่เคยเห็น คงจะเป็นที่ขบขัน เฮฮา สนุกสนาน กันทั้งวัง เรียกว่าผมกลายเป็นตัวตลกไปก็ได้ เพราะว่าในคืนแรกที่ผมได้นอนเตียง ผมก็ตก เตียงเสียแล้ว
กีฬาใหม่ในวัง
มีเรื่องกล่าวขวัญกันสนุกปากและทุก คนถือเป็นเรื่องแปลกประหลาด คือว่า ผมวิ่ง ไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะผมถูกขังอยู่แต่ในกุฏิ ที่วัดตามที่เล่ามาแล้วก็ได้ ผมเลยไม่ค่อยได้มี โอกาสวิ่ง จึงวิ่งไม่เก่ง ดังนัน้ ของเล่นสนุกของ ชาววังในตอนนัน้ คือช่วยกันจับแขนผมคนละ
54
ข้างแล้วพาวิ่ง เรื่องนี้มีพยานอ้างอิงได้เช่น ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช คุณหญิงสุภัทรา สิงหลกะ คุณปลอบ สุจริตกุล คุณกมะลา สุจริตกุล คุณเจรียง ลัดพลี ฯลฯ ดังนัน้ เมื่อผมเข้าไปอยู่ ในวัง จึงมีกีฬาพาวิ่งเกิดขึ้นและเป็นที่นิยมกัน มาก ซึ่งนอกจากจะได้ออกก�ำลังกายแล้วยังได้ หัวเราะขยายปอดอีกด้วย
ลูกบัว
เมื่อผมอยู่ในวัง หลายคนช่วยกันต่อ ท้ายชือ่ ผมว่า “ลูกบัวต้มน�ำ้ ตาล” และอืน่ ๆ บ้าง ตามความพอใจ แต่สมเด็จพระนางเจ้าอินทร ศักดิศจีฯ โปรดรับสัง่ เรียกผมว่า “ลูกบัว” ทุกครัง้ คนอื่นก็เลยเรียกตามไปด้วย ผมจึงกลายเป็น “ลูกบัว” ของทุก ๆ คน จนกระทั่งเดี๋ยวนีก้ ็เถิด ข้าหลวงของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าพบผมก็ทักผมว่า “นี่ลูกบัว หรือนี่ ?” ทุกคนจ�ำได้วา่ มีเด็กเล็ก ๆ ชือ่ “ลูกบัว” คนหนึง่ อยู่ในพระราชวังพญาไทสมัยนัน้ ทั้งนี้ มิใช่ว่าผมจะคิดอาจเอื้อมประการใดก็หามิได้ แต่ในส่วนลึกของน�ำ้ พระทัยของสมเด็จฯ ซึง่ ยัง ไม่มีพระราชโอรสพระราชธิดาเลย ถ้าพระองค์ จะทรงมีน�้ำพระทัยรักเด็กเล็ก ๆ คนหนึง่ ซึ่ง พระองค์ทรงเลี้ยงมาเหมือนเป็นลูกของท่าน สักแว็บหนึง่ จะเป็นไปมิได้เชียวหรือ ? เมื่อราชาภิเษกสมรสครบ ๑ ปี วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายร่วม กับสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี
ได้พี่เลี้ยง
สมเด็ จ พระนางเจ้ า อิ น ทรศั ก ดิ ศ จี พระบรมราชินขี ณะนัน้ ทรงพระสิรโิ ฉมงดงาม คมข�ำ พระวรกายแบบบางค่อนข้างเล็ก ท่าน ทอดพระเนตรเห็นผม จะด้วยอะไรก็ไม่ทราบ ท่านรับสั่งถามอะไรต่ออะไรผม ผมก็กราบ บั ง คมทู ล ตอบตามที่ ต อบได้ ท่ า นโปรดให้ เอาตัวผมไว้ ท่านทรงพระกรุณามอบให้ ข้าหลวง ผู้ใหญ่ผู้หนึง่ ชื่อ “คุณสมบุญ ชินะโชติ” เป็นพี่ เลี้ยงคอยดูแลผม ทั้งในเรื่องอาหารและเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว ผมจึงรักคุณสมบุญตั้งแต่นั้น มา คุณสมบุญเป็นข้าหลวงที่สมเด็จฯ ทรง
56
ภาพถ่ายทางอากาศหมู่พระที่นั่งพระราชวังพญาไท (จากขวา) พระทีน่ งั่ ไวกูณฐเทพยสถาน พระทีน่ งั่ พิมาน จักรี พระที่นงั่ ศรีสุทธนิวาส ด้านหลังหมู่พระที่นงั่ เป็น ที่ตั้งเมืองจ�ำลอง “ดุสิตธานี”
โปรดปรานมากทีส่ ดุ คนหนึง่ ผมเคยเห็นพระรูป ของสมเด็จฯ ลงพระนามประทานคุณสมบุญ มี ข้อความว่า “ให้สมบุญไว้เพื่อเป็นพยานความ จงรักภักดีอย่างมากมาย” ข้าหลวงที่ผมสนิทสนมอีกท่านหนึง่ คือ คุณกมะลา สุจริตกุล ซึ่งเป็นภรรยาของนาย กวด หุ้มแพร (คุณโต สุจริตกุล เป็นน้องของ สมเด็จพระนางอินทร์ฯ)
อ่านหนังสือถวาย
ความจ� ำ ของผมเริ่ ม เป็ น รู ป เป็ น ร่ า ง ขึ้นที่พระราชวังพญาไท หลับตาครั้งใดก็เห็น พระทีน่ งั่ ยาวติดต่อตลอดถึงกัน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ด้านขวา ใกล้ ๆ ห้องบรรทมเป็นห้องทรงพระอักษร ต่อมาเป็น ห้องใหญ่อกี หลายห้อง ทางปีกซ้ายเป็นทีป่ ระทับ ของสมเด็จฯ ผมอยู่ทางปีกซ้ายนี้แต่จ�ำไม่ได้ว่า อยู่ห้องไหน ผมมีหน้าที่เพียงแต่คอยเฝ้าอยู่ แทบพระบาท สุดแต่สมเด็จฯ จะโปรดทรง ใช้สอยอะไรก็ท�ำตามรับสั่ง บนพระที่นั่งของสมเด็จฯ มีสุนัขขน ปุกปุยที่ท่านทรงเลี้ยงไว้สองสามตัว ผมกลัว สุ นัข มากบรรดาข้ า หลวงต่ า งพากั น สอนผม ว่า วิธีที่จะไม่ให้สุนขั กัดหรือฮึ่มแฮ่นนั้ ต้องนัง่ พับเพียบเรียบร้อย แล้วไหว้สุนขั แล้วมันจะ ไม่ท�ำอะไรเลย ผมก็นงั่ พับเพียบเรียบร้อยไหว้ สุนขั จริง ๆ สุนขั ก็เงียบ เรื่องนี้เป็นเรื่องตลก อีกเรื่องหนึง่ ที่ผมแสดงได้ยอดเยี่ยมถึงใจผู้ชม เป็นอันมาก เมือ่ สมเด็จฯ ทรงทราบว่าผมอ่านหนังสือ ได้ ท่านก็โปรดให้ผมลองอ่านถวาย ผมก็อา่ นได้ เป็นทีพ่ อพระทัย ผมจึงมีหน้าทีอ่ า่ นหนังสือพิมพ์ ถวายสมเด็จฯ เป็นประจ�ำ ครั้นเมื่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชด�ำเนินมา ที่พระที่นงั่ ของสมเด็จฯ ทอดพระเนตรเห็นผม จะเป็ น บุ ญ ของผมอย่ า งไรก็ ไม่ ท ราบ จึ ง มี พระราชด�ำรัสให้ผมไปอ่านหนังสือถวายที่ห้อง ทรงพระอักษรของพระองค์ท่าน ผมจึงได้มี
โอกาสรับใช้ใต้ฝา่ ละอองธุลพี ระบาทอีกประการ หนึง่
โปรดเกล้าฯ ให้ถวายอยู่งานทุบ
ในห้ อ งทรงพระอั ก ษรของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ มีหนังเสือทัง้ ตัวปูเป็นพรม อยู่กลางห้อง ส่วนที่เป็นหัวเสือก�ำลังแยกเขี้ยว น่ากลัว เด็กอย่างผมไม่เคยเห็นเสือก็เดินตัวลีบ กลัวเสือกัด ใครจะนึกบ้างว่าพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ จะโปรดพระราชทานพระมหา กรุณาอุ้มผมเข้าไปใกล้ ๆ หัวเสือเป็นการหยอก ล้อ นอกจากอ่านหนังสือถวายแล้ว บางคราว พระองค์ท่านก็ทรงพระบรรทมบนพระทีซ่ งึ่ เป็น เก้าอี้นอนยาวเฉพาะพระองค์ แล้วมีพระราช ด�ำรัสให้ผมบีบที่พระเพลา (ขา) และพระบาท แต่โดยที่มือผมไม่มีก�ำลังพอที่จะบีบนวดถวาย ได้แรงพอ ท่านจึงมีพระราชด�ำรัสให้ผมก�ำมือ แล้วทุบบนพระเพลาเรื่อยลงไปจนถึงพระบาท บางครั้ ง ผมก็ ทุ บ ถวายจนพระองค์ ท ่ า นทรง พระบรรทมหลับไป ตั้งแต่นั้นมาผมก็ได้รับ พระมหากรุณาธิคณ ุ โปรดเกล้าฯ ให้มหี น้าทีอ่ า่ น หนังสือถวาย แล้วถวายอยู่งานทุบที่ห้องทรง พระอักษรและห้องบรรทมเป็นประจ�ำ ในเรื่อง ถวายอยูง่ านทุบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั นี้ ผมขออนุญาตอ้างพระนาม “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริรัตนบุษบง” ซึ่งผมได้เข้าเฝ้า กราบทูลถามเรื่องเกี่ยวกับ “วังบางขุนพรหม” เมือ่ อายุ ๖๒ ปี เมือ่ ได้กราบทูลชือ่ และนามสกุล ของผมแล้ว ท่านรับสั่งว่า “บัวนี่ใช่ไหมที่เคย มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 57
ถวายอยูง่ านทุบพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖” และ เมื่อผมได้กราบทูลว่า “ใช่พ่ะย่ะค่ะ” ท่านได้ รับสั่งต่อไปว่า “เพิ่งรู้จัก พระเจ้าอยู่หัวโปรด มากใช่ไหม? ข่าวลือมาถึงข้างนอก”
โปรดเกล้าพระราชทาน เสมา ร.ร. ๖
วั น หนึ่ง ผมได้ ไปถวายอยู ่ ง านทุ บ จน พระองค์ท่านทรงพระบรรทมหลับไป และเมื่อ บรรทมตืน่ พระองค์ท่านก็ยงั ทอดพระเนตรเห็น ผมทุบถวายอยู่ ท่านได้ทรงพระมหากรุณาโปรด เกล้าฯ พระราชทานเสมา ร.ร. ๖ ทองค�ำลงยา พร้อมสร้อยคล้องคอผมด้วยพระราชหัตถ์ ผม ถวายบังคมทีพ่ ระยุคลบาท พระมหากรุณาธิคณ ุ เป็นล้นพ้นสุดที่จะบรรยายให้เห็นถึงในหัวใจ ของผมได้
ทรงพอพระราชหฤทัยหรือไม่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ฯ จึงพระราชทานให้สมเด็จฯ ทอด พระเนตร และพระราชด�ำรัสถามเป็นท�ำนองว่า จะถูกพระทัยสมเด็จฯ หรือไม่ สมเด็จฯ ได้ กราบบังคมทูลว่า “ถูกพระทัยแล้วเพคะ” จึง รับสั่งกับผู้น�ำมาถวายว่า “ตัวอย่างนีข้ อไว้เลย นะ” แล้วยังไม่ทันรู้ตัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ทรงพระกรุณารับสั่งว่า “ลูกบัวมานี่” แล้ว พระราชทานเสมาตัวอย่างอันแรกนัน้ คล้องคอ ให้ผมด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ท่านเอง ต่อ พระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ใคร บ้างจะไม่ตื้นตันในพระมหากรุณาธิคุณสูงสุด ถึงเพียงนี้
สมเด็จฯ พระราชทานเสมา
อี ก คราวหนึ่ง ที่ พ ระราชวั ง พญาไทนี้ ผมจ�ำได้ว่ามีผู้เข้าเฝ้าฝ่าละอองธุลีพระบาทเห็น เหตุการณ์หลายคน พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเสด็จฯ มาที่พระที่นงั่ ของสมเด็จฯ ผม เฝ้าอยู่แทบเบื้องพระยุคลบาท มีข้าราชการใน พระราชส�ำนักผูห้ นึง่ น�ำตัวอย่างเข็มทองค�ำลงยา เป็นรูปนกยูงเกาะอยู่บนตัวอักษร “อ”๑ ซึ่งทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท�ำพระราชทานแก่ สมเด็จฯ เพื่อจะได้พระราชทานแก่ข้าหลวง และข้าราชบริพารขึ้นถวายทอดพระเนตรว่า จะ ๑
เสมา “ลดามหาปราสาท” ที่สมเด็จพระนางเจ้าอินทร ศักดิศจี พระบรมราชินี พระราชทานแก่ “ลูกบัว”
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกนามตราสัญลักษณ์นี้ “อ. นกยูง” นี้ว่า “ลดามหาปราสาท”
58
ภาพทางเดินยาวจากพระที่นั่งลงไปชายหาดพระราช นิเวศน์มฤคทายวันซึ่งผมเคยวิ่งเล่นตั้งแต่เป็นเด็ก
ตามเสด็จที่ต่าง ๆ
ในสมั ย ที่ ส มเด็ จ พระนางเจ้ า อิ น ทร ศักดิศจี พระวรราชชายา ทรงรุ่งเรืองถึงขีด สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึน้ เป็น “พระบรม ราชิน”ี ผมเป็นเด็กทีส่ มเด็จฯ โปรดให้น�ำมาเลีย้ ง ไว้ด้วยทรงพระเมตตาและเอ็นดูแก่เด็กก�ำพร้า คนหนึ่ง ผมจึ ง เป็ นข้ า ในพระองค์ ท ่ า นและ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ด้วย ดังนัน้ ถ้ า ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า ฯ ให้ ส มเด็ จ ฯ โดยเสด็จพระราชด� ำ เนินด้วย ไม่ว่าจะโดย รถยนต์พระที่นงั่ หรือเรือยนต์พระที่นงั่ ก็จะ มีเด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ แต่งเครื่องแบบนักเรียน มหาดเล็ ก หลวง นั่ง ชิ ด ติ ด พระบาทของทั้ ง สองพระองค์นนั้ นัน่ คือผม ผมจึงมักจะมีโอกาส ได้ตามเสด็จด้วยเสมอ และจะต้องเป็นความ
จ�ำเจอย่างมากทีเดียว ผมจึงจ�ำภาพเรือยนต์ หลวงสองล�ำซึ่งเป็นเรือน�ำเสด็จหรือเรือคุ้มกัน ได้แม่นย�ำ เป็นเรือที่ผอม ๆ เพรียว ๆ ชั้นเดียว ปล่องเดียว ขัดด้วยทองเหลืองจนสุกปลั่งเป็น เงาวับชื่อ “ครุฑเหิรเห็จ” ล�ำหนึง่ และ “กระบี่ เตร็จไตรภพ” ล�ำหนึง่ ชื่อของเรือนัน้ เขียนด้วย ตัวอักษรเอนหยักไปหยักมาเหมือนอักษรขอม เมื่อทราบความหมายของชื่อเรือก็ยิ่งรู้สึกว่า ช่างไพเราะเสียเหลือเกิน โดยเปรียบกับตัวผม เหมือนผมเป็นกระบีท่ ตี่ ามเสด็จไปทัว่ ทัง้ โลก ดู เหมือนว่าเส้นเดินทางท่องเที่ยวผมในระยะนัน้ ก�ำลังขึ้นเต็มฝ่ามือทีเดียว
ตามเสด็จซ้อมรบเสือป่า
ในสมัยนัน้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ก�ำลังสนพระราชหฤทัยในกิจการเสือป่าเป็นอัน มาก เสด็จพระราชด�ำเนินไปซ้อมรบเสือป่าที่ สนามจันทร์ บ้านโป่ง มฤคทายวัน ฯลฯ บ่อย ครั้ง ผมก็ได้ตามเสด็จ ผมจ�ำได้ว่าได้ตามเสด็จ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 59
ไปพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นเรือนไม้ ใต้ ถุ น สู ง ข้ า งล่ า งเป็ นคอนกรี ต เป็ นทางเดิ น ติดต่อกันมีลูกกรงและหลังคายาวตลอดลง ไปถึงชายหาด ยังรู้สึกว่า ท�ำไมเสาพระที่นั่ง จึงมากมายอะไรอย่างนั้น เป็นภาพที่ประทับ ตาประทับใจผมโดยไม่ลืมเลือน เพราะเป็น ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละคร เรื่อง “พระร่วง” ซึ่งเป็นบทละครที่พระองค์ทรง พระราชนิพนธ์ เนือ่ งในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ เมื่อวัน ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๖๗ และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงเป็น “นายมั่น ปืน ยาว” และมีงานเลี้ยงใหญ่ พวกมหาดเล็กรุ่น โต ๆ หลอกให้ผมดื่มแชมเปญ บอกว่าเป็นน�้ำ หวาน ผมก็ดื่ม ผมเมาถึงอาเจียน ภาพต่าง ๆ
60
ภาพภายในพระทีน่ งั่ สโมสรเสวกามาตย์ ซึง่ ใช้เป็นทีจ่ ดั เลี้ยงและแสดงละคร
ที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันจึงได้ฝังใจผมอยู่ ตั้งแต่นนั้ มา หลั ง จากพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระราช นิเวศน์ฯ แห่งนีก้ ็ถูกทอดทิ้งทรุดโทรม ปัจจุบัน กองก�ำกับการ ๑ กองบังคับการฝึกพิเศษ กรม ต�ำรวจ อันเป็นศูนย์การฝึกโดดร่มใหญ่ทสี่ ดุ ของ กรมต�ำรวจ ได้ใช้เป็นทีต่ งั้ เรียกชือ่ ใหม่วา่ “ค่าย พระรามหก”
พระราชทานนามสกุล
แต่การตามเสด็จพระราชด�ำเนินทีผ่ มได้ รับพระมหากรุณาธิคณ ุ ครัง้ ยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในชีวติ ของผม คือการได้ลงเรือ “พระที่นงั่ มหาจักรี”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ ประทับรถยนต์พระที่นงั่ เสด็จพระราชด�ำเนินในการประลองยุทธเสือป่า ผู้ที่นงั่ ที่บันไดรถยนต์ คนที่ ๑ คือ นายกวด หุ้มแพร คนที่ ๔ คุณกมะลา สุจริตกุล คนที่ ๖ คุณสมบุญ ชินะโชติ
ออกทะเล ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมเคยเห็นทะเล และเห็นเรือทีใ่ หญ่โตและงดงามทีส่ ดุ ตอนหัวที่ แหลมออกไปนอกตัวเรือเป็นหงส์สที องอร่ามตา ภายในกว้างขวาง วิง่ ได้เหมือนอยูบ่ นบก ได้ถา่ ย รูปนัง่ พิง เจ้าพระยารามราฆพ ขณะทีเ่ รือจอดที่ เกาะสีชงั ซึง่ โปรดเกล้าฯ ให้ผมเรียกว่า “เจ้าคุณ ปู่” นัน่ ก็ส�ำคัญมาก ระหว่างทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ประทั บ อยู ่ ใ นเรื อ พระที่ นั่ ง มหาจั ก รี นั้ น วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ มีพระราช ด�ำรัสถามว่า “บัวมีนามสกุลหรือยัง?” เด็กอายุ ๗ - ๘ ขวบเท่านัน้ จะมีนามสกุลได้อย่างไร ก็ได้กราบบังคมทูลเบา ๆ ไปว่า “ไม่มีพะย่ะค่ะ” เท่านั้นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็
ประกาศพระราชทานนามสกุล “ศจิเสวี” ในราชกิจจา นุเบกษา
ทรงหยิบกระดาษขึ้นมาเขียนพระราชทานว่า “ศจิเสวี” ณ ทีน่ นั้ เอง ซึง่ พระองค์ท่านได้ทรงน�ำ ค�ำท้ายของพระนาม “อินทรศักดิศจี” ของสมเด็จฯ มาตั้งเป็นนามสกุลพระราชทานแก่ผม เป็น พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ อันจะติดตัวผม ไปจนตลอดชีวิต และผู้สืบสกุล (โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 61
จากห้องประชุมสมาคมฯ สรุปการท�ำงานของคณะกรรมการฯฯ ายงานจากที่ประชุมสมาคมฯ ฉบับนี้ นั บ ว่าเป็นฉบั บ แรกของคณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ ชุดใหม่ โดย ในการประชุมครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ ผ่านมา ได้มกี ารรับมอบงานจากคณะกรรมการฯ ชุดที่แล้ว ประกอบไปด้วยเรื่อง • การเป็นผู้ประสานงานหลักให้กับ โอวีในการจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี • การแลกเปลี่ ย นของบั ต รก� ำ นั ล โรงพยาบาลกรุ ง เทพเป็ น เงิ น สด (ได้รับจากการประกวดนางสาวไทย เมื่อ ๓ ปีที่แล้ว) • รับทราบสถานภาพเงินสดหมุนเวียน คงเหลือทีส่ มาคมฯ สามารถใช้จา่ ยได้ • การให้การสนับสนุนศูนย์ภูมิรักษ์ ธรรมชาติ • การแต่ ง ตั้ ง คณะอนุ ก รรมการ พิจารณาเรือ่ งการนับเลขรุน่ (ตามมติ ที่ประชุมใหญ่) • การแต่งตัง้ คณะอนุกรรมการพิจารณา เรื่องการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับ สมาคมฯ (ตามมติ ที่ประชุมใหญ่) นอกจากนีไ้ ด้มกี ารแต่งตัง้ นักเรียนเก่าฯ เพื่อเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาสมาคมฯ ขึ้น ประกอบไปด้วย พล.ต.ต.จั ก ร จั ก ษุ รั ก ษ์ , พล.อ.ต. ประยุทธ บุพพะกสิกร, ดร.สมภพ เจริญกุล,
62
พล.ร.ท.น.พ.สุ ริ ย า ณ นคร, คุ ณ สุ ร พล เศวตเศรนี, ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน, นายพระนาย สุวรรณรัฐ, รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์, พล.ต. มณฑล ไชยเสวี, ม.ล.จิรพันธ์ ทวีวงศ์, คุณสรัญ รังคศิร,ิ พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา, คุณสัตยา เทพบันเทิง, คุณวิเชษฐ ตันติวานิช, คุณสยาม สังวริบุตร, ม.ร.ว.ศศิพฤนท์ จันทรทัต, คุณ วราห์ สุจริตกุล, คุณฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์, คุณผรณเดช พูนศิริวงศ์ หลังจากการนั้น กรรมการก็เริ่มคุย กันเรื่องงานเลยครับ ซึ่งผมสังเกตได้ว่า คณะ กรรมการชุดนี้ทุกคนไฟแรงมาก ๆ (แต่ก็ไม่ ได้แปลว่าชุดที่ผ่าน ๆ มาไฟไม่แรงนะครับ J) ทุกคนได้ให้ความส�ำคัญกับการมีส่วนร่วมของ นักเรียนเก่าฯ คิดว่าจะจัดกิจกรรมฯ อย่างไร ให้สามารถตอบสนองสมาชิกได้หลากหลาย มากขึ้น และโดยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งสมาคมฯ นอกจากนี้ยังตั้งใจ กันว่าในวาระ ๒ ปีนจี้ ะด�ำเนินงานสมาคมฯ ให้ มีระบบมากที่สุด มีการจัดท�ำแผนการด�ำเนิน งานและแผนงบประมาณให้เป็นเรื่องเป็นราว เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับกรรมการรุ่นต่อ ๆ ไป ก็เลยตกลงกันว่า จะมีการประชุมนอกสถานที่ เพื่อระดมสมองกัน ส�ำหรับการประชุมนอกสถานที่นนั้ ได้ มีขึ้นในวันที่ ๖ มิถุนายน ที่เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งต้องขอขอบคุณการไฟฟ้า
ฝ่ายผลิต ที่ได้ให้ความเอื้อเฟื้อด้านอาหารและ สถานที่ รวมทั้งการบริการที่สุดแสนประทับใจ โดยกรรมการได้เริ่มประชุมกันตั้งแต่ ๙ โมง (ยกเว้นพี่หม่องมา ๑๐ โมง J) จนถึง ๑ ทุ่ม ทรหดมากครับ ซึ่งสามารถสรุปสาระส�ำคัญได้ ว่า การด�ำเนินงานต้องยึดวัตถุประสงค์หลักของ การจัดตั้งสมาคมฯ เป็นแนวทางปฏิบัติ โดย กรรมการได้ศึกษาและท�ำความเข้าใจถึงสิทธิ และหน้าทีข่ องสมาชิก นอกจากนี้ ยังได้กำ� หนด ต�ำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะ กรรมการบริหารสมาคมฯ ให้สอดคล้องกับ ระเบียบข้อบังคับสมาคมฯ และภารกิจปัจจุบัน โดยกรรมการทุกคนเห็นว่าการมีส่วนร่วมของ สมาชิกเป็นสิ่งที่สำ� คัญ และนับว่าเป็นเป้าหมาย หลักของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ สมาคมฯ จึง ควรจัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถ ตอบสนองสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ได้ ในหลาย ๆ
กิจกรรมที่สมาชิกได้เริ่มต้นและท�ำได้ดีแล้ว สมาคมฯ ควรให้การสนับสนุน อาทิ การขีจ่ กั รยาน การจัดงาน All gentlemen can learn พิธีไหว้ครู การจัดกลุ่มไปเที่ยวต่างจังหวัด และอื่น ๆ รวมถึงควรมีการพิจารณากิจกรรม ใหม่ ๆ ด้วย เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่าง สมาคมฯ และมวลหมู ่ ส มาชิ ก รวมถึ ง จะ วางแผนงานการปรับปรุงสถานที่เพื่อให้สมาชิก กลุ่มต่าง ๆ ได้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่าง ทั่วถึง และอาจพิจารณาถึงเรื่องการจัดตั้งสาขา ของสมาคมฯ ในแต่ละภาค เพื่อเป็นศูนย์รวม ในการสานความสัมพันธ์ระหว่างหมูม่ วลสมาชิก ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมาคมฯ จะเน้นถึงการปรับปรุงเรื่องประชาสัมพันธ์ เร่ง ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนสมาคมฯ ให้ทันสมัย และสามารถรองรับข้อมูลการสือ่ สารกับสมาชิก ให้รวดเร็วและทันเวลามากกว่าที่เป็นอยู่ รวม
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 63
ถึงบูรณาการและบริหารจัดการ Website ของ สมาคมฯ ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น โดยได้มอบหมายให้ ผู้ทรี่ บั ผิดชอบในเรือ่ งต่าง ๆ ช่วยกันจัดท�ำแผน งบประมาณ และแผนการจัดหารายได้ให้แก่ สมาคมฯ เพื่อใช้แนวทางในการบริหารงานของ สมาคมฯ ต่อไป ส�ำหรับเรื่องการจัดเตรียมงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี นัน้ มีความคืบหน้าขึ้นมากเลยครับ ฝ่ายเลขาธิการฯ ได้ประชุมกันทุก ๒ สัปดาห์ เพื่อติดตามความคืบหน้าของงาน โดยเราได้ จัดให้มีพิธีบวงสรวงขอพระราชทานพระบรม ราชานุญาตจัดงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ในวันอังคาร ที่ ๑๖ มิถุนายน ณ พระราชานุสาวรีย์พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หอประชุม วชิราวุธวิทยาลัย มีคณะกรรมการจัดงานและ ผู้แทนรุ่น นักเรียนปัจจุบัน และคณะครู ร่วม งานกันอย่างคับคั่ง ทางด้านประชาสัมพันธ์ พี่ สมภพ เจริญกุล ก็ได้รวบรวมก�ำลังจากฝ่าย ประชาสัมพันธ์ทั้งที่เป็นโอวีและจากล็อกซ์เล่ย์ ช่วยกันจัดงานแถลงข่าว เมื่อวันพุธที่ ๑๗ มิถุนายน ที่หอประชุม มีการจัดนิทรรศการ เล็ก ๆ ซึ่งได้พี่เบะ (วรชาติ มีชูบท) และ น้อง จูเนียร์ (ชนะพล โยธีพิทักษ์) เป็นหัวเรี่ยวแรง ส�ำคัญ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ กล้วย (กิตติ แจ้งวัฒนะ) อู๋ (ธนากร โปษยานนท์) และ พี่บ่น (อนุชิต จุรีเกษ) ที่ยอมอดหลับอดนอนช่วยจัด ท�ำวิดโี อสัน้ เรือ่ งพระราชกรณียกิจของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ใน วันแถลงข่าว รุน่ พีอ่ กี ท่านหนึง่ ทีเ่ สียสละเวลา (ที่ ไม่คอ่ ยจะมีอยูแ่ ล้ว) คือ พีซ่ ดื๊ (ดุสติ นนทะนาคร)
64
ในฐานะประธานฝ่ า ยจั ด หารายได้ ไ ด้ เชิ ญ ผู ้ แทนรุ ่ นที ล ะ ๕-๑๐ รุ ่ น แบบวั น เว้ น วั น ตลอดเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ข้อมูล สอบถาม ความคิ ด เห็ น และขอรั บ การสนั บ สนุนจาก นักเรียนเก่าฯ ซึ่งก็ได้ทราบว่า ตอนนี้หลาย ๆ รุ่น ก็ได้วางแผนจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้ กัน เป็นเรื่องเป็นราว แล้วครับ อีกกิจกรรมหนึง่ ทีส่ ำ� คัญคือ การแข่งขัน กอล์ฟประเพณีกบั MCOBA (สมาคมนักเรียน เก่าของมาเลย์คอลเลจ) ทุก ๆ ปี สมาคมฯ กับ MCOBA จะจัดให้มกี ารแข่งขันกอล์ฟประเพณี ทุกปีในช่วงรักบี้ประเพณีของโรงเรียนทั้งสอง ประมาณเดือนกรกฎาคม โดยจะสลับกันเป็น เจ้าภาพแล้วแต่วา่ ปีนนั้ จะแข่งรักบีท้ ไี่ หน ส�ำหรับ ปีนี้ MCOBA จะเป็นเจ้าภาพ โดยปรกติแล้ว โอวีเราจะไปกันประมาณ ๔๐ คนทั้งนี้อาจเป็น เพราะประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ส�ำหรับปีนตี้ อน แรกโปรแกรมแข่งรักบีเ้ ป็นวันที่ ๑๑ กรกฎาคม เราก็ จ ะไปในช่ ว ง ๑๐-๑๓ กรกฎาคมซึ่ ง มี ผู้สนใจจะไปกันถึง ๖๐ คน แต่พอดีโปรแกรม แข่ ง รั ก บี้ เ ปลี่ ย นกระทั น หั น เป็ น วั น ที่ ๔ กรกฎาคม เราจึงต้องเปลี่ยนแผนเดินทางตาม ไปด้วย ท�ำให้คราวนี้มีคนไปรวมแล้วประมาณ ๓๐ คน เองครับ เสียดายจริง ๆ ครับ ส�ำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการสมาคมฯ ได้เข้าร่วมวางพวงมาลา เนือ่ งในวันคล้ายวันสวรรคตของรัชกาลที่ ๗ เมือ่ วันเสาร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ณ หน้ารัฐสภา วันนี้ ขอรายงานแค่นกี้ ่อนครับ สวัสดีครับ ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙)
โรงเลี้ยง ชวนชิมร้านอาหาร โอวี
ส้มต�ำบางกอก อีสานคลาสสิค
วัสดีชาว โอวี ทุกท่านค่ะ ถ้าถามว่าอาหารไทย ๓ อย่างที่ ถือว่าเป็นเมนูขนึ้ ชือ่ ของประเทศไทยแล้วยังถูกใจชาวต่างชาติ มากๆ ด้วย เชือ่ ได้เลยว่าค�ำตอบทีไ่ ด้มาคงจะต้องมี ต้มย�ำกุง้ ผัดไท และ “ส้มต�ำ” อย่างแน่นอน พูดถึงส้มต�ำแล้วก็เปรี้ยวปากขึ้น มาเลยนะคะเนีย่ แต่จะกินส้มต�ำอย่างเดียวก็ไม่ได้ไม่งนั้ จะไม่ถอื ว่าเป็น full course อาหารอีสาน ที่ยังต้องมีข้าวเหนียว ไก่ย่าง ลาบ ฯลฯ แต่ นีแ่ ค่คดิ แล้วก็เริม่ น�ำ้ ลายสอแล้วนะคะเนีย่ ถ้ายังไงก็ขอเชิญทุกท่านไป พร้อมกันที่ร้าน “ส้มต�ำบางกอก” กันเลยค่ะ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 65
มาถึงร้านกันแล้วนะคะ เป็นเวลาย�ำ่ ค�ำ่ พอดีที่ได้เห็นท้องฟ้าสีน�้ำเงินจัดตัดกับตัวร้าน สีขาวที่สว่างไปด้วยแสงไฟที่จัดไว้ตามต้นไม้ น้อยใหญ่นี่ ยิ่งท�ำให้บรรยากาศของมื้อเย็น วันนี้สวยงามขึ้นอีกมากทีเดียว คุณลุงอุตสาห์ ทองศรีพงศ์ รุ่น ๓๓ เจ้าของร้านก็มานัง่ คุยกับ เราพร้อมกับบอกให้เราสั่งอาหารตามสบายเลย ซึ่งร้านนีท้ ีมงานอนุมานวสารก็ได้แอบมากินกัน ก่อนหน้านีบ้ า้ งแล้วจึงท�ำให้สงั่ ได้โดยไม่ตอ้ งเปิด เมนูเลย โดยเซ็ตแรกทีส่ งั่ มาเรียกน�ำ้ ย่อยก็ได้แก่ ไก่ย่าง ส้มต�ำไข่เค็ม หมูปิ้งกะทิสด ไส้กรอก อีสาน (นี่แค่เรียกน�ำ้ ย่อยจริงๆ นะคะ) และเซ็ต หลังที่สั่งมาเพิ่มเผื่อทีมงานคนอื่นๆ ที่ตามมา สมทบอีกก็ได้แก่ ปีกไก่ทอดบางกอก จิม้ จุม่ เนือ้ ๑ ชุด ซักพักพออาหารทุกอย่างลงไปนอนยิ้ม ในท้องของพวกเราแล้ว คุณลุงอีด๊ – พิมลพงศ์ สุ ว รรณทั ต รุ ่ น ๓๓ เจ้ า ของพื้ นที่ ก็ ได้ ม า ร่วมโต๊ะกับเราแถมยังสัง่ ลาบหมูทอดมาให้พวก เราได้ลองชิมอีกด้วย ซึ่งพูดถึงรสชาติอาหาร แต่ละจานแล้วก็เรียกได้วา่ เป็นอาหารอีสานแบบ คลาสสิค รสชาติมคี วามกลมกล่อมเฉพาะตัวไม่ จัดจ้านมาก แต่ไฮไลท์ของวันนีต้ อ้ งขอยกให้เป็น ของ ปีกไก่ทอดบางกอก ที่มาเสิร์ฟแบบร้อนๆ กรอบนอกนุ่มในก�ำลังดี กับหมูปิ้งกะทิสดที่ใช้ เนื้อส่วนคอที่มีมันนิดๆ มาหมักด้วยสูตรพิเศษ ของทางร้านปิง้ มาหอมๆ และเหนียวนุม่ ลิน้ ใช้ได้ เลยค่ะ และสุดท้ายจานนีข้ อไฮไลท์สามขีดเลย นะคะกับลาบหมูทอด ที่ทางร้านปั้นมาเป็น ก้อนๆ เสียบไม้มานี่เข้มข้นถึงรสลาบมากและ
66
ด้วยความที่น�ำไปทอดจึงท�ำให้หอมกลิ่นลาบ มากๆ แซ่บหลายๆค่ะ พี่หนู – วาริศา ทองศรีพงศ์ ผู้จัดการ ร้านซึง่ เป็นลูกสาวของคุณลุงอุตสาห์กม็ าร่วมวง ด้วยอีกคน โดยพี่หนูเล่าว่าร้านส้มต�ำบางกอก เกิดมาจากความคิดของเพื่อนๆ รุ่น ๓๓ ของ
คุณพ่อที่อยากจะท�ำร้านอาหารกันก็เลยเกิด มาเป็นร้านส้มต�ำบางกอกขึ้นมากระทั่งทุกวันนี้ ร้านส้มต�ำบางกอกก็เป็นเสมือนทีน่ ดั พบของรุ่น ๓๓ ไปด้วยในตัว โดยเกือบทุกคนในรุ่นจะมา รวมตัวกันที่ร้านทุกวันอังคารต้นเดือน และ นอกจากนีก้ ็ยังมีอีกหลายรุ่นที่แวะเวียนมาจัด เลี้ยงรุ่นที่นี่ด้วย และพี่หนูยังเล่าให้ฟังอีกว่า ชอบทานอาหารอีสานแต่ส่วนใหญ่ที่ไปกินมาก็ มักจะอร่อยแต่ไม่สะอาด ก็เลยท�ำร้านอาหาร อีสานที่ทั้งอร่อยและสะอาดเลยดีกว่า ซึ่งที่ร้าน นี้พี่หนูดูแลทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการตกแต่ง ในโทนสีขาว สบายตา รวมทั้งหาสูตรเด็ดโดย แม่ครัวของร้านสั่งตรงมาจากหนองคาย ซึ่งพี่ หนูไปคัดสรรมากับมือ สามารถการันตีรสมือได้ เป็นอย่างดีไม่วา่ ใครก็ตอ้ งติดใจทัง้ นัน้ พิสจู น์ได้
ชะอมชุบไข่ทอด หรือจะเป็นประเภทจานด่วน ทานตอนกลางวันเพื่อความรวดเร็วก็มีโรตีแกง เนื้อพริกขี้หนู ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสับ ข้าวผัดปลาทู ฯลฯ ด้วยนะคะ และส�ำหรับใครที่บ้านอยู่ใน รัศมีไม่เกิน ๑.๕ กม. จากร้านและสัง่ เกิน ๒๕๐ บาททางร้านยินดีส่งอาหารให้ถึงบ้านเลยค่ะ
จากพี่หนูเล่าว่ามีชาวต่างชาติคนหนึง่ ซึ่งเวลามา เมืองไทยจะต้องพักที่โรงแรมดุสิตธานีแต่จะ ต้องมากินส้มต�ำบางกอกให้ได้ทุกครั้งไป นี่...ก็ ของเค้าดีจริงนีค่ ะ และนอกจากเมนูอาหารอีสานแล้วทาง ร้านยังมีเมนูกับข้าวอื่นๆ ให้ได้ลองชิมกันด้วย ไม่วา่ จะเป็น ไก่ผดั เม็ดมะม่วงหิมพานต์ แกงส้ม
หรือส�ำหรับท่านใดที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ซอยอารีย์ไปเป็นหัวหินก็สามารถท�ำได้ เพราะ ที่ร้านมีอีกหนึง่ สาขาที่หัวหินนัน่ เอง และตามธรรมเนียมค่ะถ้าหากชาวโอวี มารับประทานแล้วละก็สม้ ต�ำบางกอกยินดีมอบ ส่วนลด ๑๐ % ให้เลย โดยที่ร้านเปิดทุกวัน ตัง้ แต่ ๑๑.๐๐ – ๒๓.๐๐ น. ถ้ามาด้วยรถไฟฟ้า ลงสถานีอารีย์ฝั่งตรงข้ามวิลล่าแล้วเข้าซอย อารีย์ ๓ มาซักครูก่ จ็ ะเจอร้านส้มต�ำบางกอกทาง ซ้ายมือ ส่วนท่านที่น�ำรถมา ทางร้านค่อนข้างมี ที่จอดรถไว้บริการแต่ค่อนข้างมีที่จำ� กัดค่ะ โทร ถามทางหรือจองโต๊ะล่วงหน้าได้ที่ ๐๒-๖๑๙๘๖๕๙ หรือที่ www.somtumbangkok.com กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ (ลูกสาวพี่ยักษ์ รุ่น ๔๕) ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 67
ห้องสมุด
ร ยลูกปัด ส�ำนักพิมพ์ มติชน
พิมพ์สี่สีกระดาษอาร์ตมัน จ�ำนวน ๒๕๐ หน้า ราคา ๘๐๐ บาท
68
ลงานขายดี ที่กลายมาเป็นแหล่ง ค้นคว้าและอ้างอิง เรื่อง ลูกปัด ผลงานที่ เ กิ ด จากความสนใจทาง ด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ เป็ นทุ น เดิ ม ประกอบกั บ ปั จ จั ย ที่ เ อื้ อ อ� ำ นวย ท� ำ ให้ บ รรดาลู ก ปั ด ที่ หมอบัญชา พงษ์พานิช รุน่ ๔๗ ใช้เวลาตามเก็บ รวบรวมสะสมไว้เป็นจ�ำนวนมาก สามารถไข เปิดความจริงที่สูญหายไปนานหลายศตวรรษ อีกครั้ง ผลของการศึกษาท�ำให้ หมอบัญชา ถึง กับตะลึงในสิง่ ทีต่ นเองค้นพบ จนต้องเขียนออก มาเป็นหนังสือ “รอยลูกปัด” หนังสือที่คัดสรร ลูกปัด ที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาเก็บรวบรวมไว้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด จากแรกเริ่มที่ผู้เขียนเห็นเป็นเครื่อง ประดั บ ธรรมดาที่ ช าวบ้ า นในภาคใต้ มี ใ ส่ ติดตัวกันทั่วไป ได้กลายมาเป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า เพราะลูกปัดแต่ละ เม็ดนัน้ ได้เก็บเอาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไว้
ด้วย หาได้เป็นเพียงเครื่องประดับอย่างเดียว ลู ก ปั ด ที่ ค ้ น พบ มี ห ลั ก ฐานบ่ ง ชี้ ถึ ง การค้าขายและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ในดินแดนด้ามขวานของประเทศไทย โดย ด้านชายฝัง่ ทะเลอันดามันจะพบลูกปัดทีม่ าจาก อารยธรรมโลกตะวันตกและอินเดีย ส่วนทาง ด้ า นอ่ า วไทยจะพบลู ก ปั ด ที่ ม าจากซี ก โลก ตะวันออก ท�ำให้นักวิชาการต่างหันมาศึกษา หลักฐานชิน้ เล็ก ๆ เหล่านี้ เพือ่ ทีว่ า่ จะสามารถไป สู่การค้นพบดินแดนที่ถูกเรียกว่า “สุวรรณภูมิ” นัน้ แท้จริงแล้วคือชื่อที่ใช้เรียกดินแดนแห่งใด บนพื้นพิภพนี้
น อ ก จ า ก จ ะ มี ค ว า ม ส� ำ คั ญ ต ่ อ ประวัติศาสตร์แล้ว ลูกปัดเหล่านี้ยังสะท้อน เรื่อง “การออกแบบ” และเทคนิควิธีการท�ำ “ลู ก ปั ด ” ให้ ค นรุ ่ น ใหม่ ได้ น� ำ มาศึ ก ษาและ ประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือเล่มนีจ้ ะถูก เขียนโดย คนที่เป็น “หมอ” แทนที่ควรจะเป็น กู รู ท างด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ ทั้ ง หลาย แต่ นั่น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ห มายความว่ า หมอจะไม่ รู ้ เ รื่ อ ง ประวัติศาสตร์ลึกซึ้งเท่ากับนักวิชการตัวจริงทั้ง หลาย หากแต่หนังสือเล่มนี้เป็นบทพิสูจน์ว่า คนเรา ถ้าชอบและรักที่จะท�ำในสิ่งใดก็สามารถ สร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่ออกมาได้ โดยไม่ จ�ำเป็นจะต้องมีดีกรีใด ๆ มารองรับ ไม่น่าเชื่อเลยว่า ลูกปัดเม็ดเล็ก ๆ จะ บอกอะไรแก่เราได้มากถึงเพียงนี้ กิตติเดช ฉันทังกูล (รุ่น ๗๓)
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 69
ลอดรั้วพู่ระหงส์ เรื่องเล่าจากคนใกล้ ชิด
อิทธิฤทธิ์ต้นกระท้อน
ชายคนหนึง่ ของผูเ้ ขียน (อัยย นาครทรรพ รุ่น ๓๙) ซึ่งตั้งรกรากอยู่เป็นการถาวรที่ ประเทศสหรัฐอเมริกาเพิง่ กลับมาเยีย่ มเมืองไทย เมื่อไม่นานมานี้ พี่อุ๋ยจากบ้านเกิดเมืองนอนไป ตั้งแต่เพิ่งรุ่นหนุ่ม เรียนหนังสือ ท�ำงานท�ำการ และสร้างครอบครัวอยู่ที่โน่น โดยระยะแรก นานที ป ี ห นจึ ง จะกลั บ มาเยี่ ย มบ้ า นสั ก ครั้ ง เพิ่งมาระยะหลังนี้เองที่กลับมาบ่อยหน่อย เนื่องจากห่างบ้านไปตั้งแต่ยังเด็ก จึง มีความทรงจ�ำเกี่ยวกับเมืองไทยไม่มากนัก แต่ สิ่ ง หนึ่ง ที่ แจ่ ม ชั ด เสมอในมโนภาพของเธอ คือช่วงชีวิตในวชิราวุธวิทยาลัย
ต่อข้อถามของน้องสาวผู้สอดรู้สอด เห็นว่า อะไรในวชิราวุธฯ เป็นสิ่งที่จ�ำได้ไม่รู้ ลืม เธอตอบว่านอกจากชีวิตเรียน เล่น ความ รักและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างเพื่อนฝูง แล้ว สิ่งที่จำ� ได้ไม่เคยลืมเลยคือ อิทธิฤทธิ์ของ ต้นกระท้อน!! กระท้อนที่ว่านี้ ครั้งหนึ่งเคยยืนต้น อยู่กลางระหว่างตึกนอนและเรือนรับประทาน อาหารว่างของเด็กเล็ก ๑ (คณะสนามจันทร์) แผ่กงิ่ ก้านสาขาอยูบ่ ริเวณสนามราวน์เดอร์ ซึง่ ขณะที่เขียนจะยังมีสนามที่ว่านี้อยู่หรือเปล่า ก็ไม่ทราบ
ภาพลายเส้นโดย – วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา รุ่น ๗๙
70
เรื่องมีอยู่ว่า....พี่ชายของผู้เขียนซึ่งแม้ ปัจจุบันจะมีรูปร่างท้วมอย่างเกินพิกัด แต่ใน ยามเด็ก (ประมาณ ประถมศึกษาปีที่ ๖) นัน้ กลับผอมเพรียว เป็นนักกีฬาตัวยงเลยทีเดียว วันหนึ่งขณะแข่งขันฟุตบอลกันเล่นๆ ระหว่างคณะในช่วงเย็น นักกีฬาคนนี้เกิดปวด ห้องน�ำ้ อย่างเบาขึน้ มาโดยกระทันหัน จะอัน้ ไว้ก็ ใช่ที่ ครั้นจะวิ่งกลับไปคณะ การแข่งขันก็กำ� ลัง เข้าด้ายเข้าเข็ม เหลียวซ้ายแลขวาเห็นไม่มีใคร สนใจใคร จึงตัดสินใจวิ่งแจ้นไปท�ำธุระจ�ำเป็น ที่ใต้ต้นกระท้อนซึ่งอยู่ใกล้ๆ นัน่ เอง จบช่วงกีฬา อาบน�ำ้ อาบท่า รับประทาน อาหาร เข้าเพรบ และขึ้นนอนอย่างอิ่มเอม ทุก อย่ า งในชี วิ ต ประจ� ำ วั นของเด็ ก นัก เรี ย นคน หนึง่ คงจะด�ำเนินไปตามปกติ หากไม่ใช่เพราะ เหตุการณ์ที่บังเกิดในเช้าวันรุ่งขึ้นเมื่อตื่นขึ้น มาแล้วพบว่าขาของตนเองข้างหนึ่งแข็งทื่อไม่ สามารถงอได้ มิหน�ำซ�้ำสองขาที่เคยยาวเท่ากัน มาแต่ไหนแต่ไรนัน้ กลับสั้นข้างยาวข้าง!! เมื่ อ เป็ น เช่ น นี้ ผู ้ ที่ ก ลุ ้ ม ใจมากที่ สุ ด เห็ นจะได้ แ ก่ พ ่ อ แม่ ซึ่ ง รี บ ไปรั บ ลู ก รั ก จาก โรงเรียนพาไปพบแพทย์ซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อ เพือ่ จะหาสาเหตุให้ชดั ว่าทีเ่ ป็นอย่างนีเ้ พราะอะไร และจะแก้ไขให้เป็นปกติได้อย่างไร คุ ณ ลุ ง หมอเสริ ฐ (น.พ.ประเสริ ฐ นุตกุล) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกแห่ง โรงพยาบาลกลาง ได้ตรวจอย่างถี่ถ้วน การ สันนิษฐานในขัน้ แรกเข้าใจว่าเป็นวัณโรคกระดูก (T.B. Bone) แต่ต่อมาได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ใช่ และเนื่องจากไม่พบสาเหตุอันแท้จริง ลุงหมอ
จึงใช้เครื่องมือช่วยยืดขาด้วยหวังว่ากระดูก กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะค่อยๆ ยาวยืดออกมา เช่นเดิม และพร้อมกันนัน้ ก็ใส่เฝือกถึงหน้าอก เพื่อช่วยให้เดินด้วยตนเองได้ กาลเวลาผ่านไป เมื่อถึงก�ำหนดถอด เฝือก ปรากฏว่าขาไม่ยาวขึ้นดังคาด ลุงหมอ จึงให้ท�ำกายภาพ ใช้เครื่องดึงและใส่เฝือกอีก ครั้ง คราวนีจ้ ากขาขึ้นไปยังเอว กระนัน้ ความก็ ยังไม่เปลีย่ น ไม่วา่ จะตัง้ ใจรักษาสักเท่าไรอาการ ก็ไม่กระเตื้องขึ้น ถ้ า ไม่ ใช่ เพราะค� ำ แนะน� ำ ของคุ ณ ลุ ง ข้างบ้าน เราคงไม่มีโอกาสได้รู้จัก อาจารย์ เฉลิม พนักงานเทศบาลธรรมดาผู้มีหน้าที่เฝ้า กองขยะทีด่ นิ แดง แต่มคี วามเชือ่ ถือ ศึกษาด้าน พรหมศาสตร์ และมีความอารียต์ อ่ เพือ่ นมนุษย์ ด้วยกันเป็นที่ยิ่ง อาจารย์ได้ใช้วิธีตรวจกรรม และซักถามพี่อุ๋ยจนพบว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้น เกิดจากอะไร พร้อมทัง้ ชีแ้ นะว่าควรแก้ไขอย่างไร เมือ่ หมดหนทางรักษาด้วยวิธกี ารแพทย์ สมัยใหม่ พ่อและแม่จึงตัดสินใจว่า ไม่ว่าด้วย ศาสตร์ใดก็ตาม ถ้าช่วยให้ลกู หายได้แล้ว ท่านก็ ยินดีทำ� ทัง้ สิน้ ดังนัน้ จากค�ำแนะน�ำของอาจารย์ พ่อและแม่จึงตระเตรียมของ ซึ่งได้แก่เครื่อง สังฆทานและข้าวของที่ใช้ส�ำหรับการท�ำบุญใน พุทธศาสนาเพื่อน�ำมาท�ำพิธีแก้กรรมและขอ ขมาต่อสิง่ เหนือธรรมชาติทบี่ งั เอิญไปล่วงละเมิด โดยหลังจากการท�ำพิธีเป็นที่เรียบร้อย อาจารย์ ได้นำ� สังฆทานและเครือ่ งใช้เหล่านัน้ ไปถวายแด่ พระสงฆ์ ส�ำหรับอาจารย์เฉลิมเองนัน้ ถึงแม้จะ ยากจนสักเท่าใด แต่ท่านกลับไม่คิดค่ารักษา
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 71
แม้แต่สักสตางค์เดียว น่าอัศจรรย์ยิ่งนักที่ชั่วข้ามคืนหลังจาก พิธีแก้กรรม ขาที่ไม่เท่ากันสองข้างตลอดระยะ เวลา ๖ เดือนทีผ่ า่ นมาของพีอ่ ยุ๋ นัน้ กลับยืดยาว เท่ากันดังเดิม โดยไม่รอช้าพี่ชายของผู้เขียนรีบ กลับเข้าโรงเรียนในวันรุ่งขึ้นเพื่อเรียนหนังสือ ตามปกติ หากจะว่ากันเรือ่ งสภาพร่างกายก็เรียก ว่าพร้อม เพราะเดินเหินได้คล่องแคล่วแล้ว มี แต่สภาพจิตใจเท่านัน้ ที่ยังคงฝ่อๆ ออกจะให้ หวาดหวัน่ ว่าแต่นไี้ ปจะท�ำตัวอย่างไรดีหนอหาก เราจะต้องเดินผ่านต้นไม้ใหญ่อันเป็นสาเหตุนนั้ อีก โดยไม่ทราบสักนิดว่าต้นกระท้อนซึ่งยืนยง อยู่คู่กับคณะเด็กเล็ก ๑ มาเป็นเวลาหลายสิบปี บัดนี้ได้ถอนรากตนเองและล้มลงในช่วงเวลา เดียวกับการท�ำพิธแี ก้กรรมนัน้ อย่างพอดิบพอดี ถึงแม้เรื่องนี้จะจบแบบแฮ้ปปี้เอนดิ้ง คือพี่ชายของผู้เขียนหายสนิทและกลับไปใช้ ชีวิตอันแสนสุขที่โรงเรียนได้เหมือนเดิม แต่ เหตุการณ์ครัง้ นัน้ ก็เปรียบเสมือนอุทาหรณ์ให้ทงั้ ชีวิตของเขาได้ระแวดระวังถึงสิ่งอันควรมิควร และเก็บไว้เป็นเรื่องที่ไม่สามารถลืมได้เลย จน กระทั่งถึงทุกวันนี้ ไม่เชื่อก็คงต้องเชื่อว่าภายในโรงเรียน นั้นนอกจากจะมี สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธ์ ที่ ค อยปกปั ก รักษาแล้ว ยังมีสงิ่ ลึกลับมหัศจรรย์อกี มากมาย อย่างไรก็ดีถึงแม้ข้อเขียนนี้จะถูกถ่ายทอดมา จากเรื่องจริง มิได้เป็นเพียงแค่เรื่องเล่าสนุกๆ
แต่ก็อยากให้ท่านผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการ เลือกว่าควรจะเชื่อหรือไม่ และด้วยความที่เป็น เรื่องเฉพาะตน แรกๆ ผู้เขียนจึงออกจะลังเลใน อันที่จะน�ำมาเปิดเผย แต่พี่ชายผู้เป็นเจ้าของ เรื่องแทนที่จะอยากเก็บง�ำไว้ กลับสนับสนุน ว่า น�ำมาเขียนเถิดเพื่อที่ว่าวันหนึง่ เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ นี้จะได้ถูกบันทึกไว้เป็น “เรื่องเล่าใน โรงเรียน” และไม่สูญหายไปตามกาลที่ผ่านพ้น ยังมีเรื่องราวเล่าขานอีกไม่น้อยที่เคย ได้ยินได้ฟังมาเกี่ยวกับเหตุการณ์อันพิสูจน์ ไม่ ไ ด้ แ นวเดี ย วกั บ ต้ นกระท้ อ นนี้ ที ม งาน อนุมานวสารเองก็เคยด�ำริแบบลมๆ แล้งๆ ว่า น่าจะมีฉบับที่เกี่ยวกับ “เรื่องลี้ลับในโรงเรียน” สักเล่มหนึง่ คงเป็นการดีไม่น้อยหากนักเรียนเก่าฯ ท่านใดทีเ่ คยพานพบเรือ่ งราวอันแสนประหลาด แล้ว คิดจะลงมือเขียนประสบการณ์เหล่านัน้ มาแบ่งปันกันอ่าน ถือเป็นการเล่าสู่กันฟังจาก รุ่นไปสู่รุ่นเพื่อมิให้ข้อมูลของสิ่งที่เคยเกิดขึ้น ในโรงเรียน ถึงแม้จะดูว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ขาดตกสูญหาย อาจจะเป็นเรื่องราวที่ประสบพบเห็นมา และน้อยคนนักที่จะได้ทราบ เป็นส่วนหนึง่ ของ ชีวิตวัยเด็ก อาจเป็นเรื่องที่ประทับใจ เป็นเรื่อง ที่ยังจ�ำได้ไม่เคยลืม ดังเช่นเรื่องอิทธิฤทธิ์ต้นกระท้อนที่เพิ่ง เล่าจบไปแล้วนี้...เป็นต้น
หมายเหตุ : ผู ้ อ ่ า นท่ า นใดที่ นึก ถึ ง ความหลั ง แล้ ว อยากแบ่ ง ปั น เรื่ อ งราวแต่ เ ก่ า ก่ อ นผ่ า นทางอนุ ม านวสาร ท่านที่อยากเล่าแต่ไม่ถนัดการเขียน เรามีน้องๆ ทีมงานฯ ที่สามารถท�ำหน้าที่เป็นตัวแปร ถ่ายทอดค�ำพูดมาเป็น เรื่องและภาพได้ ขอเพียงแต่ท่านติดต่อเราได้ที่ ovnewsletter@yahoo.com
72
The King andThe Squire แปลเป็นภาษาไทยโดย รองศาสตราจารย์มาลิทตั พรหมทัตตเวที จัดพิมพ์โดย วชิราวุธวิทยาลัย ราคาเล่มละ ๓๕๐.- บาท เรื่องราวของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ ที่มีพระราชหัตถเลขาถึงพระสหายชาวอังกฤษ ของพระองค์ เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน มากกว่า ๒๐ ปี จดหมายแต่ละฉบับ บันทึกเรื่องราวที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงสนพระทัยใน ความเป็นไปของเรือ่ งต่างๆ ผ่านการเขียนจดหมายอธิบายจากพระสหายชาวอังกฤษ ผู้เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของโลกตะวันตก เพื่อรายงานข้อมูลทรงคุณค่า เหล่านัน้ กลับมาอย่างตรงไปตรงมา ตามแบบเพื่อนเล่าถึงเพื่อน นับได้ว่าเป็นพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่ทรงให้ความสนพระทัยในข้อมูล ข่าวสารของเหล่าประเทศมหาอ�ำนาจในยุโรป ยังผลดีต่อการตัดสินพระราชหฤทัย ต่อการด�ำเนินนโยบายส�ำคัญของสยามประเทศได้อย่างถูกจังหวะในหลายๆ เรื่องด้วยกัน เรื่องราวต่างๆ ถูกเรียบเรียง และถ่ายทอดด้วยภาษาอังกฤษที่งดงาม เต็มเปี่ยมไป ด้วยความหมายแห่งมิตรภาพ ระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน แม้แต่ฐานันดรก็ไม่ได้เป็น อุปสรรคแต่อย่างใด มีจ�ำหน่ายที่ แผนกเบิกจ่าย วชิราวุธวิทยาลัย โทร. ๐๒-๖๖๙-๔๕๒๖-๙ ต่อ ๒๐๗ และที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
ดร.สาโรจน์ ลี ส วรรค์ ผู้บังคับการ
“...ชีวิตนี้ ถ้าไม่ได้อยู่วชิราวุธฯ ก็คงไม่ได้เป็นคน อย่างทุกวันนี้ได้...”
“ผมดีใจที่มีการจัดงานนีข้ ึ้นมา นักเรียนวชิราวุธฯ ทุกคน เมือ่ จบออกไปแล้ว จะมีความรู้สกึ ผูกพันลึกซึง้ ต่อโรงเรียน ทุกคน ทุกรุน่ รูส้ กึ แบบนีเ้ หมือนกันหมด ผมคิดเสมอว่า ชีวติ นีถ้ า้ ไม่ได้อยู่ วชิราวุธฯ ก็คงไม่ได้เป็นคนอย่างทุกวันนี้ได้ ดังนัน้ อะไรที่ผมท�ำให้ โรงเรียนได้ผมก็จะท�ำ “ผมดีใจมากเป็นสองต่อ เพราะยังได้มีส่วนส�ำคัญในการ จัดงาน มีภาระหน้าทีใ่ นต�ำแหน่งเลขาธิการของงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ร่วมกับนายกสมาคมนักเรียนเก่าฯ (จุลสิงห์ วสันตสิงห์ รุ่น ๔๐) ผมมุง่ มัน่ จะท�ำให้งานเดินไปได้ดว้ ยดี ในอีกใจหนึง่ ผมก็รสู้ กึ กดดัน และรูส้ กึ ท้าทายมากด้วยเช่นกัน แต่กด็ ใี จเพราะได้รบั ความร่วมมือ เยอะจากทุกฝ่ายมาก โดยเฉพาะจากนักเรียนเก่าฯ เพราะทุกคน รู้สึกตรงกันว่าอยากกลับมาตอบแทนโรงเรียน ยิ่งเมื่อ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรุณารับเป็นประธานจัดงานฯ ตรงนีช้ ว่ ยเราได้เยอะมาก เพราะท่านมีบารมี จะติดต่อทีไ่ หนก็งา่ ยไปหมด ถ้าถามว่ากลัวงานฯ ออกมาไม่ดไี หม บอกได้เลยว่ากลัว แต่เชือ่ ว่าจะได้รบั ความร่วมมือ จากทุกฝ่าย และในที่สุดแล้วงานนีก้ ็จะออกมาดีอย่างแน่นอน ผมอยากให้นกั เรียนเก่าฯ ทุกคนมีส่วนร่วม ดร.สุเมธฯ ท่านก็ให้นโยบายไว้ว่าอยากให้นักเรียนเก่าฯ ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ทางใดก็ทางหนึง่ กรรมการที่เราตั้งขึ้นเพื่อมาช่วยกันท�ำงานก็ ไม่ได้มีการปิดกั้น ถ้าเห็นว่าตนเองมีความถนัดในด้านใด ก็ขอให้ แจ้งมาได้เลย เราเปิดรับความคิดเห็นตลอดเวลา ตอนนี้ เรามีการ ประชุมผู้แทนรุ่น ครั้งละ ๕ รุ่นพร้อมๆ กัน ตั้งแต่รุ่น ๓๐ จนถึง รุน่ ๘๐ กว่า เราเชิญมาพูดคุยกัน แล้วก็อธิบายว่างานนีเ้ ป็นอย่างไร และทุกคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร” มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 75
ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
นักข่าวหนังสือพิมพ์แนวหน้า งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปีเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะ จะท�ำให้คนภายนอกทีไ่ ม่เคยได้ร้จู กั โรงเรียนวชิราวุธฯ ได้ร้จู กั ความเป็นมา และได้รู้ว่าโรงเรียนให้ประโยชน์ ได้อบรมสั่งสอนอะไรแก่นกั เรียนบ้าง “เมื่อพูดถึงโรงเรียนวชิราวุธฯ ก็จะนึกถึงกีฬาที่เด่นคือกีฬารักบี้ โดยความรู้สึกส่วนตัวชอบที่นี่ มีอาคารเรียนดูคลาสสิค สนามกว้าง และ เด็กนักเรียนดูสมาร์ท เท่ห์ดี เวลาอยู่ในเครื่องแบบ”
สมพงศ์ ศรีสุดามหาอุทัย (รุ่น ๗๔ ) นักข่าว
“ในฐานะนักข่าว ผมรู้สึกว่าที่ผ่านมา ข่าวงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ที่ออกมานัน้ ผิวเผิน แต่วันนีท้ ี่ได้มาฟังแถลงข่าว ท�ำให้รู้ข่าวลึกมากขึ้น ส�ำหรับความรู้สึก ผมว่านักเรียนเก่าฯ ทุกคนต้องรู้สึกว่างานนี้ยิ่งใหญ่ เท่ า ที่ ผ มอยู ่ ใ นวงการสื่ อ มวลชนมา ก่ อ นหน้ า นี้ โ รงเรี ย นดู ไม่ค่อยเปิดให้สื่อมาท�ำข่าวมากสักเท่าไร มีข่าวแค่ในระดับหนึง่ ผมเห็นว่า งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี เป็นโอกาสอันดีที่จะต้องเปิดโรงเรียนให้คนภายนอก ได้รบั รู้ หลายคนอยากจะรูว้ า่ โรงเรียนวชิราวุธฯ เป็นโรงเรียนอะไร มีรปู แบบ การสอนแบบไหน เด็กที่จบออกมาเป็นอย่างไร ฯลฯ นอกจากนี้ เราก็ควร จะท�ำให้สังคมรับรู้ว่านักเรียนเก่าฯ ของเราที่จบออกมาได้ทำ� คุณประโยชน์ ต่อประเทศชาติในด้านใดและอย่างไรบ้าง เราก็มีนักเรียนเก่าฯ ที่ท�ำ คุณประโยชน์แก่สังคมอยู่มากมาย นอกจากนี้ รูปแบบและวิธีการเรียน การสอนและการใช้ชีวิตในโรงเรียนวชิราวุธฯ ก็สามารถน�ำไปปรับหรือ ประยุกต์ใช้ในโรงเรียนอื่นๆ ได้”
76
คุณไก่ วรายุทธ มิลินทจินดา ผู้จัดละครชื่อดัง
“ในความรู้สึก งานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี คือเครื่องหมายแห่งการระลึก ถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระองค์ท่านได้ทรงมีพระราชกรณียกิจหลาย อย่างทีบ่ างคนอาจจะนึกไม่ถงึ วันนีก้ เ็ พิง่ ได้ร้จู กั กับโรงเรียนทีพ่ ระองค์ท่าน ทรงสร้างขึน้ และท�ำให้ยงิ่ รูส้ กึ ว่าหากลูกหลานของเราได้มาอยูใ่ นทีด่ ๆี แห่ง นี้ ก็จะได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดีของแผ่นดิน “สิ่งที่ท�ำในงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี สาธารณชนย่อมได้ประโยชน์อยู่ แล้ว เพราะจะได้รับรู้ถึงพระราชกรณียกิจของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ รวม ทั้งการตั้งโรงเรียนแห่งนีด้ ้วย สาธารณชนจะได้รู้จักพระองค์ท่านดียิ่งขึ้น”
คุณนก ฉัตรชัย เปล่งพานิช นักแสดง
“ถือเป็นเรื่องที่ดีมากๆ การครบรอบ ๑๐๐ ปีเป็นเรื่องที่ยาวนาน หลายๆ คนคงอยากจะมาร่วมงาน โดยเฉพาะนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ต้องมา แน่ๆ จะได้กลับมาเห็นโรงเรียนของตนเองว่าเป็นอย่างไรไปถึงไหนแล้ว และ สิ่งที่จะสร้างจะพัฒนาต่อไปจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยๆ โรงเรียนวชิราวุธฯ ก็ได้สร้างบุคลากรที่ดี หรือนักเรียนใหม่ที่ก�ำลังเรียนอยู่ ก็เป็นการสร้าง บุคลากรที่ดี ผมเองก็เพิ่งทราบจากวิดีทัศน์ที่ได้ชมเมื่อสักครู่ ว่ารัชกาลที่ ๖ พระองค์ท่านได้ทรงสร้างอะไรไว้มากมาย จริงๆ แล้วน่าจะน�ำเสนอสถาบัน ที่เคารพรักของเรา สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยเรา ไม่ได้เก่งเฉพาะ การกอบกู้เอกราช ตั้งแต่สมัยอยุธยาโน่น แต่จริงแล้วพระมหากษัตริย์ทุก พระองค์สร้างพื้นฐาน สร้างสิ่งดีๆ ให้แก่ประเทศของเรา เราจึงน่าจะน�ำ เสนอจุดนีน้ ะครับ” มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 77
ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี
เมื่อวชิราวุธวิทยาลัย มีอายุครบ ๑๐๐ ปี
มื่อวชิราวุธวิทยาลัยอายุครบ ๑๐๐ ปี ก็จะ เป็น ๑ ศตวรรษของพระบรมราชานุสาวรีย์ ทางวัฒ นธรรมอัน ยิ่ง ใหญ่ ในที่ประชุม สมาคมแห่งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจะขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตตีความประวัติศาสตร์ใน รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวเสียใหม่ โดยอาศัยวชิราวุธวิทยาลัย เป็นกรณีตัวอย่าง โดยปกติเมื่อมนุษย์เราจะ มีอายุเท่าใดก็ตาม สังขารที่ประกอบด้วยนาม และรูปย่อมเสื่อมไปตามกาลเวลา แต่ส�ำหรับ สถาบันพระนามวชิราวุธนัน้ นามและรูปย่อมจะ ไม่เสื่อมสลาย เมื่อถึงเวลา ๑๐๐ ปี ทั้งนามและ รูปที่ประกอบเป็นสถาบันที่เรียกขานว่าวชิราวุธ วิทยาลัยแห่งนี้ จะเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ อันยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรมของไทย วชิราวุธ ปาฐกถา ของ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย แสดง ณ สมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย ๑๑ มกราคม ๒๕๔๐ เนื่องในวันปีใหม่ ซึ่งนักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดถวาย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี
78
วิทยาลัยได้รับการสถาปนาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ดังนัน้ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ หรือ ค.ศ. ๒๐๑๐ วชิราวุธวิทยาลัยจะมีอายุครบ ๑๐๐ ปี การทีเ่ รา จะมุ่งหน้าไปสู่อนาคตอีก ๑๐ กว่าปีข้างหน้า เพือ่ จะครบ ๑๐๐ ปี เราต้องรูจ้ กั ตนเองเสียก่อน มิฉะนัน้ เราไม่สามารถอยูก่ บั เวลาแห่งอนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวชิราวุธวิทยาลัย ต้องการ ที่จะอยู่เมื่อมีอายุครบ ๑๐๐ ปี ท่ามกลางการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรายิ่งจะต้องรู้จัก ตนเองให้มากขึน้ นัน้ คือ เราต้องรูว้ า่ เราคืออะไร ท�ำอะไร อยู่เพื่ออะไร นามและรูปของวชิราวุธ เป็นสิ่งมีชีวิต เมื่อเป็นเช่นนัน้ เราต้องค�ำนึงถึง นามหรือแนวคิดซึ่งเป็นแนวคิดพระราชด� ำริ และพระบรมราโชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาล ที่ ๖ เป็นเรื่องแรก ในขณะเดียวกันเราต้องค�ำนึงถึงอนาคต ในปี ๒๕๕๓ ซึ่งประเทศไทยจะมีประชากร ประมาณ ๖๒ ล้านคน และความเป็นเมือง ใหญ่ จากการมีประชากรร้อยละ ๓๕ เป็น ร้ อ ยละ ๔๐ สั ง คมในขณะนั้น เป็ น สั ง คมที่ ข้าพระพุทธเจ้า เรียกว่า สังคมแห่งความคิดหรือ สังคมแห่งความรู้ สังคมจะมีการแข่งขันกันมาก สังคมจะมีพลังค้นคว้าของข้อมูลข่าวสารและ เทคโนโลยี ในขณะเดียวกันสังคมก็จะมีวถิ ชี วี ติ ที่เรียกว่า การบริโภคนิยมหรือวัตถุนิยมมาก ขึ้น ชีวิตของคนในสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว พื้นที่ที่เราอาศัยอยู่จะมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม
มากขึ้น ฉะนัน้ มนุษย์ในอีก ๑๐ กว่าปีข้างหน้า ต้องค�ำนึงถึงวัฒนธรรม ศีลธรรมและความรูส้ กึ นึกคิดทางจิตใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัว และสถาบันทางสังคม วชิราวุธวิทยาลัยเป็น อะไรทีม่ ากกว่าโรงเรียนสามัญ วชิราวุธเป็นสิง่ ที่ เรียกว่า บ้าน วัด โรงเรียน ในเวลาเดียวกัน สิง่ ที่ ข้าพระพุทธเจ้าจะถวายความเห็นเกีย่ วกับวชิราวุธ ใน ๑๐๐ ปี จึงอยูบ่ นพืน้ ฐานในการคิดว่าวชิราวุธ คือ บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน สิ่งที่เราจะ ท�ำให้บ้าน วัด และโรงเรียนนีก้ ้าวหน้าทันโลก ข้าพระพุทธเจ้าขอออกความเห็นในโอกาสต่อ ไป ในขณะนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายความเห็น ในการตีความประวัตศิ าสตร์ไทยในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าหัว ซึ่งเดิม มีการตีความว่า รัชสมัยของพระองค์รัฐบาลใช้ เงินอย่างสิ้นเปลือง ข้าพระพุทธเจ้าอยากถวาย ความเห็นว่า งบการศึกษาใน พ.ศ. ๒๔๓๕ จนถึง ปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั นัน้ มีเพียงร้อยละ ๑.๖-๒.๙๖ ของงบ ทั้งหมด งบป้องกันประเทศมีประมาณร้อยละ ๒๓ งบรักษาความสงบภายในมีประมาณร้อยละ ๒๔.๗-๒๖.๙ งบส่ ว นพระองค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ มีประมาณร้อยละ ๓๕ แต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘ มีเพียง ๑๒.๘ % เท่านัน้ ในขณะเดี ย วกั น สยามได้ ทุ ่ ม เทงบประมาณ ของประเทศอย่างมาก ในการสร้างรถไฟสาย มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 79
ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี ตะวั น ออกเฉีย งเหนื อ และสายเหนื อ ในปี ๒๔๔๗ มีการกูเ้ งินปอนด์สเตอลิง ๑,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ เทียบเท่าเงินบาท เท่ากับ ๑๑ บาท ใน ปี ๒๔๔๙ มีการกู้เงินอีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ และในปี ๒๔๕๑ ก่ อ นรั ช สมั ย พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการกู้เงินอีก ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ เพราะฉะนั้นก่อนสมัย พระองค์สยามประเทศมีปัญหา ๒ ด้าน ปัญหา ด้านหนึ่งคือ เงินกู้ของเงินปอนด์ที่มีมากถึง ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ และเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๔๑.๓๑ ของเงินเดือน ทั้ ง หมด ดั ง นั้น ในปี ๒๔๕๓ ก่ อ นรัช สมัย ของพระองค์ ส ยามประเทศจึ ง มี ป ั ญ หาคน ล้ นงานแล้ ว ในขณะเดี ย วกั น รายจ่ า ยส่ ว น พระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายความเห็น ว่าพระมหากษัตริย์ไม่มีรายจ่ายส่วนพระองค์ จริงๆ แล้วเป็นรายจ่ายที่ทรงพระราชทานแก่ ผู้อื่นทั้งสิ้น งบการศึกษาของสยามในเวลานัน้ มีเพียง ๒% ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ประชากรของ ประเทศไทยมี ๘.๓ ล้านคน ประชากร ๘๓,๙๖๖ หรือร้อยละ ๑ ของประเทศอยูใ่ นระบบโรงเรียน ซึ่งในขณะนั้นมีโรงเรียนเพียง ๓,๑๑๕ โรง เท่านั้น งบการศึกษามีร้อยละ ๒ งบส่วน พระองค์มีร้อยละ ๑๒ ดังนัน้ ข้าพระพุทธเจ้า เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว ให้ใช้งบส่วนพระองค์รวมกับงบการศึกษา รวมเป็น ประมาณ ๑๔ ถึง ๑๕ เปอร์เซ็นต์
80
ข้าพระพุทธเจ้าเรียกว่า ทุนวัฒนธรรม เป็นรายจ่าย ทางวั ฒ นธรรม ซึ่ ง คนสมั ย นั้น ยั ง ไม่ ถื อ ว่ า ค่าใช้จ่ายหรือทุนทางวัฒนธรรมเป็นรายจ่าย ที่ควรจะจ่าย ทุกคนต้องการที่จะสร้างถนน หนทาง ยกตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ กรุงเทพฯ มีถนนถึง ๑๑๐ สาย มีการสร้างห้อง แถวที่สามเสน ๒๑๕ ห้อง แต่มีผู้เช่าเพียง ๒๘ ห้อง และถนนสุโขทัย ๒๓๙ ห้อง มีผู้เช่าเพียง ๒๑ ห้อง สิ่งเหล่านี้แสดงว่า สยามมุ่งพัฒนา เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากโดย ไม่มีการพัฒนาคนและไม่มีค่าใช้จ่ายลงทุนทาง วัฒนธรรมเลย ประเทศอังกฤษเป็นประเทศ ที่มีความเป็นมาอย่างยาวนานและมีรากฐาน ของวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง อังกฤษจึงไม่ต้องใช้ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางวัฒนธรรมมากนัก แต่สยามประเทศเป็นประเทศใหม่ เพราะฉะนัน้ การลงทุนทางวัฒนธรรมจึงมีความส� ำคัญใน ขณะนัน้ กระทรวงวัฒนธรรมยังไม่มี ดังนัน้ เมื่อเขารวมจ่ายของกระทรวงที่เราอาจเรียกว่า กระทรวงศึกษาและวัฒนธรรมแล้วรายจ่าย จะเป็นร้อยละ ๑๕ ของงบประมาณรายจ่าย ทัง้ หมด ซึง่ ข้าพระพุทธเจ้ามีความเห็นว่าคุณค่า ที่สยามประเทศจะสร้างคติและจิตวิญญาณ งบการใช้จ่ายในการลงทุนทางวัฒนธรรมนี้ได้ สร้างสยามประเทศมาจนบัดนี้ พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยู่หัว ทรงท�ำราชการด้วยพระองค์เอง ทั้ง
ทางการศึกษาและวัฒนธรรม และท�ำให้เป็น แบบอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ โดยทรง สถาปนาวชิราวุธวิทยาลัย ซึง่ เป็นทัง้ โรงเรียนทีม่ ี ลักษณะของหลักสูตรทีแ่ ตกต่างไปจากโรงเรียน ของกระทรวงศึกษาธิการโดยทั่วไป และเป็นวัด ในตัวเอง มีระบบการปกครองแบบ Public School ที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว พระองค์ทรง พระราชนิพนธ์โขน ละคร ถึง ๑๘๗ เรื่อง มี พระราชด�ำรัส ๑๒๙ เรื่อง มีนทิ านและเรื่อง ชวนหัว ๑๕๙ เรื่อง มีบทความ ๓๑๖ เรื่อง มี ร้อยกรอง ๑๕๑ เรื่อง และสารคดี ๑๔๙ เรื่อง เราอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการนี้เป็นกระบวน การผลิตทางวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานให้สยาม ประเทศมีจิตวิญญาณมาจนบัดนี้ เพราะแต่ เดิมนัน้ สยามสามารถรักษาได้แต่เพียงดินแดน ๓๘ วั น ก่ อ น พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ขณะยั ง ทรงเป็ น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จฯ ประเทศ อังกฤษนั้น ฝรั่งเศสได้น� ำเรือปืนเข้าปิดอ่าว เจ้าพระยาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโทมนัสเพียงใดเราคงทราบกันดี อยูใ่ นพระราชบันทึกแล้ว เหตุการณ์นคี้ งกระทบ กระเทือนพระราชหฤทัยของล้นเกล้า รัชกาลที่ ๖ เป็นอย่างมาก เพราะฉะนัน้ พระราชด�ำเนินของ พระองค์ทงั้ สองด้านจึงมีความคูก่ นั ไป คือ หนึง่ สร้างทหารให้เข้มแข็งและการสร้างวัฒนธรรม ของสยามเองให้เป็นรากฐานของคนทีจ่ ะมีความ
เข้มแข็งทัดเทียมนานาอารยประเทศ ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการอบรม จิตใจประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาด้วย พระราชนิพนธ์ของพระองค์เอง สยามมีธงชาติ เป็นครั้งแรก ใช้พุทธศักราช แทน จุลศักราช เปลี่ยนแปลงทุ่มโมงยาม เป็น นาฬิกาตามแบบ สากล มีคำ� น�ำหน้านามสตรีและเด็ก มีนามสกุล มีการตัง้ ชือ่ เมืองและถนน สนับสนุนให้มสี โมสร สมาคม เช่น วรรณคดีสโมสร หอพระสมุด แห่งชาติ กรมมหรสพ ซึ่งมาเป็นกรมศิลปากร ธนาคารออมสิน โรงเรียนเพาะช่าง และ Park เช่น สวนลุมพินวี นั พระองค์ทรงสร้าง Culture หรือ วัฒนธรรมแบบไทยสากลมิใช่เอาอย่าง ตามลัทธิเอาอย่างของฝรั่งแต่เพียงอย่างเดียว วัฒนธรรมที่ทรงสร้างขึ้นนั้นยังปรากฏอยู่ทุก วันนี้ และเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่คุ้มค่าเมื่อ เทียบกับรายจ่ายซึ่งนักประวัติศาสตร์เคยลง ความเห็นว่าเป็นรายจ่ายส่วนพระองค์ ข้าพเจ้า เห็นว่ารายจ่ายนี้ใช้รายจ่ายส่วนพระองค์ไป พระองค์พยายามที่จะให้มีการบริจาคไม่ว่าจะ เป็นเรื่องเรือรบพระร่วง หรือ แม้แต่การสร้าง วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ก็ มี ก ารขอรั บ บริ จ าคต่ า งๆ ฉะนัน้ โดยสรุปแล้ว เราอาจจะกล่าวได้ว่าเรามี ภารกิจที่จะต้องตีความประวัติศาสตร์เสียใหม่ เพราะว่าในขณะนีป้ ระเทศไทยได้มแี ผน ๘ และ เราต้องส�ำนึกเมื่อแผน ๘ นี้เองว่า วัฒนธรรม เป็นสิ่งส�ำคัญ ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ค่าใช้ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 81
ก่อนจะถึงงานวชิราวุธ ๑๐๐ ปี จ่ายทางการศึกษามามาก เวลานี้ได้มีการล่ม สลายทางสังคมโดยมีความคิดว่าวัฒนธรรมนัน้ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และพื้นฐานนี้เองที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้ แต่การคิดต้นทุน ทางเศรษฐกิจนัน้ ดูว่าการลงทุนทางเศรษฐกิจ คมนาคมจะคุ้มค่าหรือไม่ แต่การลงทุนทาง วัฒนธรรมนัน้ ได้มีการพูดกันมาก ในประการ สุ ด ท้ า ย ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ขอถวายความเห็น เรื่อง วชิราวุธ ๑๐๐ ปี โดยย่อนามและรูปของ วชิราวุธวิทยาลัยนั้น นามคือ แนวคิดหรือ พระราชด�ำริ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๔๔ สมเด็จพระบรม โอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิ ร าวุ ธ สยามมกุ ฎ ราชกุมาร ได้เสด็จฯ ไปเชียงใหม่กบั ดร.แฮริส ในการ วิธีวางศิลาฤกษ์ของโรงเรียน Prince Royal’s College ที่กล่าวว่าเมื่อ พระเจ้าเฟรเดอริก มหาราชทีเ่ สด็จสเปน พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช ทรงบันทึกว่า “Twenty Churches and Not A Single School” หมายความว่า “มีแต่โบสถ์ แต่ไม่เห็นโรงเรียน แม้แต่โรงเรียนเดียวเลย” เพราะฉะนัน้ ประวัติศาสตร์ของสเปน จึงเป็น ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ รุ ่ ง เรื อ ง แต่ ท างการศึ ก ษา ด้อยลงไปเมื่อเป็นเช่นนี้ นามของวชิราวุธฯ หรือแนวคิดนัน้ คือการศึกษาและวัฒนธรรม วชิราวุธฯ คือรูปของโรงเรียนที่เป็นแบบอย่าง แห่งวัฒนธรรม เมื่อวชิราวุธฯ มีอายุครบ ๑๐๐ ปี วชิราวุธฯ จะเป็นสถานที่ที่มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ วชิราวุธฯ จะมีสิ่งแวดล้อมที่ที่อื่น
82
ไม่มี มีอาคารเก่าที่เป็นแบบอย่างการอนุรักษ์ที่ ดี มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนาน มีขนบธรรมเนียมประเพณี มีความรู้สึกภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีคณ ุ ค่าต่างๆ เราจะด�ำเนินการสร้างวชิราวุธวิทยาลัยโดยมี เด็กเป็นศูนย์กลาง มีครู พนักงาน ภาร โรง ผู้บังคับการ ผู้ช่วยผู้บังคับการ ผู้ก�ำกับคณะ เป็นผู้สร้างสถานการณ์ที่เอื้ออ�ำนวยแก่เด็ก มีหลักสูตรที่เน้นการคิด ซึ่งเป็นวิชาที่มีการ สอนแห่ ง เดี ย วในประเทศไทยทั้ ง ในระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาและอุ ด มศึ ก ษา มี สื่ อ การสอน ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยทัดเทียมโรงเรียน นานาชาติ วชิราวุธวิทยาลัยจะมีการสอนที่เป็น วัฒนธรรม จิตใจ ศีลธรรม การปฏิบัติตัวต่อ สิ่งแวดล้อม และสิ่งต่างๆ ในประการสุดท้าย ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบบังคมทูลว่า เมือ่ วชิราวุธ วิทยาลัยมีอายุครบ ๑๐๐ ปี จะเป็น ๑ ศตวรรษ ของพระบรมราชานุสาวรีย์ทางวัฒนธรรมที่ยิ่ง ใหญ่ ซึ่งเป็นมรดกที่พระองค์ทรงมอบไว้แทน วัด ซึง่ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้ความเห็นแล้วว่าเป็น “บวร” คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ในเวลาเดียวกัน จะไม่ เป็ นการใช้ จ ่ า ยสู ญ เปล่ า เมื่ อ วชิ ร าวุ ธ ฯ อายุครบ ๑๐๐ ปี นามและรูปจะคงอยู่ตลอด ไปไม่เหมือนนามและรูปของสังขารโดยทั่วไป ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรด กระหม่อม
กองบังคับการ ครูบาอาจารย์จ�ำไว้แนบในจิตมั่นกตัญญู
ไหว้ครู
ำไหว้ครูที่ร้องประจ�ำทุกปี บางคน ซาบซึ้ง บางคนเบื่อหน่าย แต่คง ปฏิเสธมิได้ว่า “ครู” คือผู้ประสาท วิชาให้กบั นักเรียนมาทุกยุคทุกสมัย คงไม่มใี คร ส�ำเร็จการศึกษาได้หากไร้ซึ่งครู แต่กระนัน้ ครู มิได้เป็นเพียงแต่ผู้ให้สรรพวิชา โดยเฉพาะครู ในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ผู้เปรียบเสมือน พ่อ แม่ พี่ และเพื่อน ในยามที่เด็กซุกซนทั้ง หลายต้องไกลบ้าน ใครเล่าเป็นคนคอยปลอบ
84
เวลาร้องไห้คิดถึงบ้าน ใครที่คอยเคี่ยวเข็ญให้ ตั้งใจเรียนจนได้ดี ใครกันที่คอยตักเตือนยาม หลงผิด และท่านทั้งหลายเหล่านี้มิใช่หรือคือ คนสุดท้ายที่ยิ้มอย่างปิติเมื่อวันที่ลูกศิษย์รุ่น แล้วรุ่นเล่าเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร จากพระบรมวงศานุวงศ์ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน ที่ผ่านมา สมาคมนัก เรี ย นเก่ า วชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ได้ ถื อ เอาวันนี้เป็นฤกษ์งามยามดีในการจัดพิธีไหว้
“...สิบนิ้วประณมเหนือเกศ ไหว้ครูวิเศษณ์ทั้งน้อยใหญ่ ครูบาอาจารย์จ�ำไว้ แนบในจิตมั่นกตัญญู...”
ครู อ าวุ โ สที่ ห ้ อ งประชุ ม ชั้ น สองของอาคาร อั ศ วพาหุ บรรยากาศในงานเป็ น ไปอย่ า ง เรียบง่าย อุดมไปด้วยความอบอุ่น มีดนตรี บรรเลงคลอบรรยากาศให้ชวนคะนึงถึงวันเก่าๆ และความทรงจ�ำที่เก็บไว้ในลิ้นชักมานานแสน นาน น�ำทีมโดย ดร.ประทักษ์ ประทีปะเสน โอวีรุ่น ๓๓ แม้ว่าแขกผู้ร่วมงานต่างเป็นผู้ที่ มีฐานะทางสังคม บางท่านมีต�ำแหน่ง หน้าที่ การงานระดับประเทศ แต่วันนีท้ ุกท่านต่างสละ
เวลาอันมีค่าและเก็บหน้าทีก่ ารงานทางสังคมไว้ ที่บ้าน เพื่อกลับมาไหว้ “ครู” ที่รักยิ่ง ย้อนเวลา มาเป็น (อดีต) ลูกศิษย์แสนซนของครูอีกครั้ง เมื่อมีงานส�ำคัญเช่นนี้ มีหรือที่ทีมงาน อนุมานวสารจะปล่อยให้หลุดมือไปได้ โอกาส ที่เราจะได้มาแสดงความเคารพและสนทนากับ ครูผู้ประสาทสรรพวิชาให้แก่ลูกศิษย์มาแล้ว หลายยุคหลายสมัย บทความต่อจากนี้อาจ จะช่วยกระตุ้นให้เสี้ยวหนึ่งของความทรงจ�ำ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 85
ท่านผู้อ่านให้ย้อนนึกถึงคุณครูผู้อยู่เบื้องหลัง ความส�ำเร็จของท่านในวันนี้ เริม่ ต้นทีค่ ณ ุ ครูสธุ รรม ฮุนตระกูล ท่าน ร�ำลึกถึงความหลังครัง้ ยังเป็นเด็กทีเ่ ข้ามาศึกษา ทีโ่ รงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมือ่ ปีพ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๙๒ อยูค่ ณะผูบ้ งั คับการมาจนจบ ม.๘ และ ในปีสุดท้ายท่านก็ได้รับความไว้วางใจให้เป็น หัวหน้าใหญ่ของคณะ ควบกับการเป็นประธาน สมาคมบันเทิง งานหลักของประธานสมาคม บันเทิง คือการไปเช่าหนังมาฉายบนหอประชุม “ถ้าหนังไม่ดี นักเรียนก็หลับหมด แล้วก็โดนโห่” ครูสุธรรมเล่าเสริม หลังจากส�ำเร็จการศึกษาจากวชิราวุธ วิ ท ยาลั ย ครู สุ ธ รรมเข้ า รั บ การศึ ก ษาต่ อ ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่หลังจากอยู่ใน รั้วจามจุรีได้เพียง ๒ ปี ครูสุธรรมได้ย้าย ส�ำมะโนครัวไปศึกษาต่อทีป่ ระเทศสหรัฐอเมริกา
ครูสุธรรม ฮุนตระกูล
86
และกลั บ มาปี พ .ศ. ๒๕๐๓ โดยที่ ยั ง เรี ย น ไม่จบเพราะคิดว่าจะมาท�ำธุรกิจส่วนตัว แต่ โชคชะตาก็พลิกผันให้ได้เข้ามารับใช้ใต้เบื้อง พระยุคลบาท เป็นครูที่โรงเรียนที่เคยอบรม สั่งสอนตนเองจนเติบใหญ่ ครูสธุ รรมเล่าว่า “กลับมาก็มาสมัครกับ ท่านเจ้าคุณ (พระยาภะรตราชา) เลย เพราะไม่งนั้ ต้องไปเป็นทหาร คือ เป็นครูแล้วไม่ต้องเป็น ทหาร เลยช่วยชาติโดยการสอนเป็นครูดีกว่า ไปเป็นทหารไม่รู้จะไปท�ำอะไร” หลังจากมาเป็นครู ท่านได้มีโอกาส มาถ่ า ยทอดความรู ้ แ ละประสบการณ์ ส มั ย เป็ นนัก เรี ย นให้ นัก เรี ย นชั้ น ม.๗-ม.๘ ใน วิช าคณิต ศาสตร์ วิท ยาศาสตร์ และภาษา อังกฤษ แต่ในบางครัง้ ครูวชิ าหน้าทีพ่ ลเมืองและ ศีลธรรมขาด ท่านเจ้าคุณภะรตฯ ก็จะมาบอก “เอ้า สุธรรม แทน” ครูสุธรรมเลย สามารถสอนได้หมด ครูสุธรรมได้เล่าถึงวิธีการท�ำโทษให้กับ ทีมงานฯ ฟัง ครัง้ หนึง่ เคยมีนกั เรียนคุยกันขณะ ท่านสอน ซึง่ ท่านได้เตือนแล้วแต่นกั เรียนคนนัน้ ไม่เชื่อ ท่านจึงได้เรียกออกมาตี ๓ ที แล้วบอก ว่า นักเรียนคนนัน้ อาจจะโกรธครู ไม่พูดกับครู แต่เมื่อเขาคิดได้เมื่อไหร่ เขาจะมาขอโทษครู ประมาณ ๓ เดือน เขาก็เข้ามาขอโทษจริงๆ แล้ว ครูกไ็ ด้ให้นกั เรียนในห้องดูเป็นตัวอย่างของการ ท�ำผิดแล้วขอโทษ ซึ่งเป็นเรื่องส�ำคัญ ขณะนี้ ค รู สุ ธ รรมด� ำ รงต� ำ แหน่ ง กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายก�ำกับคณะ ท่านได้
ครูเอก ชมภูนชิ
ครูสอาดจิต เทวาหุดี บอกว่ า ความส� ำ คั ญ ในตอนนี้ อ ยู ่ ที่ ผู ้ ก� ำ กั บ คณะ เพราะจะต้องมีความรู้และประสบการณ์ เพื่อที่จะน�ำไปสอนนักเรียนได้ และขณะนีท้ าง กรรมการก�ำลังหายุทธวิธใี หม่ เพราะฉะนัน้ หาก ผู้ก�ำกับฯ มีปัญหาอะไร ควรมาร่วมมือปรึกษา กันเพื่อหาทางแก้ไข หลังจากนัน้ ทีมงานฯ ได้มโี อกาสสนทนา กับคุณครูจินดา เป็นครูผู้สอนครูสุธรรมมากับ มือ ครูจินดาย้อนถึงความหลังว่าหลังจากที่ สงครามมหาเอเชียบูรพาหรือ “สงครามโลกครัง้ ที่ ๒” สงบลง ท่านได้มาสมัครเป็นครูทโี่ รงเรียน นี้เลยกับท่านพระยาภะรตราชา “ส่วนนี่ ลูกศิษย์ (หันหน้าไปทางครู สุธรรม)” ครูจินดากล่าวอย่างอารมณ์ดี ครู สุ ธ รรมได้ ให้ ข้อมูลเสริมว่า “ครู จินดานีเ่ ข้ามา ก็มาอยูค่ ณะผูก้ ารเลย เป็นผูช้ ว่ ย เจ้าคุณภะรตฯ”
ครูจินดาบอกกับทีมงานอนุมานวสาร ถึงมูลเหตุที่มาสมัครที่วชิราวุธฯ นี้ เนื่องจาก สมัยก่อนท่านเป็นครูอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ ทว่าท่านต้องมาเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ก็ต้อง “วิ่งรอก” (หมายถึงต้อง เทียวไปเทียวกลับ - ผู้เขียน) สองสมัย คือช่วง เดือนพฤษภาคมและมกราคม ด้วยเหตุนที้ า่ นจึง ลาออกจากการเป็นครูที่เชียงใหม่ มาเป็นครูทนี่ ี่ แทน เพราะจะได้ไม่ต้องวิ่งรอก ทีมงานอนุมานวสารจึงได้ถามต่อไป ว่าอะไรคือสิ่งที่ครูประทับใจที่สุดในวชิราวุธ วิทยาลัย ท่านตอบอย่างไม่ลงั เลเลยว่า “ประทับ ใจลูกศิษย์เก่าๆ” นอกจากที่จ ะเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยท่ า นเจ้ า คุ ณ ภะรตฯ แล้ว ครูจินดายังมีหน้าที่คอยอบรม สั่งสอนมารยาทให้กับนักเรียนภายในคณะอีก ด้วย เรื่องนีค้ รูสุธรรมยืนยันมาด้วยตัวเอง “เวลาครูรับข้าว ครูจินดาก็จะมาเดินดู แล้วเวลาที่มีข้าวติดที่ช้อนส้อม ครูก็เคาะ ครู จินดาบอกว่า อย่าเคาะ ให้เขี่ยออก ไม่ให้มี เสียง ครูจำ� จนถึงเดี๋ยวนี้เลย” มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 87
หน้าตึกวชิรมงกุฎ จบแล้วเข้าห้องยิม สอน บาร์ สอนห่วง สอนราว เฉพาะเด็กโต” “ก้มหน้ามองหาเศษตังค์หรอ” ประโยค เด็ดนี้เป็นของใครไปไม่ได้นอกเสียจากคุณครู ชาลี เรื่องนี่ ดร.ปกรณ์ยืนยันด้วยตนเอง ครู ชาลีสอนหลายวิชา ตัง้ แต่คณิตศาสตร์ พลศึกษา
ครูถนิม อภัยพลชาญ ครู จิ นดาจบการศึ ก ษาจากโรงเรี ย น ฝึกหัดครู ท�ำให้สามารถสอนได้หมดทุกวิชา ไม่มีการแบ่งเฉพาะว่าจะต้องเรียนเฉพาะสาขา ต้องสอนได้หมดแม้กระทั่งวิชา พลศึกษา ท่าน ได้สอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ครู จินดาเล่าเสริมว่า “สมัยนัน้ หากใครสอนชัน้ ไหน ก็ตอ้ งสอนชัน้ นัน้ คนสอนชัน้ ม.๔ ก็สอนเฉพาะ ม.๔ ม.๕ ก็ ม.๕ เพราะฉะนัน้ คณิตศาสตร์ ก็ ต ้ อ งสอนทุ ก อย่ า ง เลข เรขาคณิต แล้ ว วิทยาศาสตร์ก็ต้องสอน สมัยนัน้ ไม่ได้แยก” นอกจากที่ครูจินดาจะสอนแต่วิชาการ แล้ว ตอนบ่ายครูยังสอนวิชาพลศึกษาให้กับ นักเรียนอีกด้วย ครูจินดาได้เล่าว่า “ตอนเช้า สอนถึงบ่ายโมง พอบ่ายสองโมง เขาก็แยก นัก เรีย นไปเรีย นรัก บี้ เรียนฟุ ตบอล เหลือ นักเรียนเท่าไหร่ครูเอาไว้หมด มากายบริหาร กลางสนามแบบ ราชนาวี ๑๔ ท่า บริหาร
88
ครูสมลักษณ์ สุวรรณวงศ์ สุขศึกษา ประวัติศาสตร์ นอกจากนัน้ ครูชาลี เป็นครูทคี่ มุ กีฬาของเด็กเล็ก ตัง้ แต่ ๔ โมงเย็นถึง ๕ โมงครึง่ เรือ่ งนีท้ า่ นผูบ้ งั คับการฯ (ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์) หรือ “พี่เจ๊ก” ยืนยันด้วยตนเอง “เด็กเล็กเนี่ย จะต้องมาพร้อมกันที่ สนามหน้าตึกเรียนก่อน แล้วก็วิ่ง ๕ รอบ” ท่าน ผู้บังคับการอธิบายเพิ่มเติม “ทัง้ สามคณะ เด็กเล็กสามคณะ ต้องมา รวมก่อน ถึงจะเริ่ม” ครูชาลีเล่าเพิ่มเติม เนื่ อ งจากครู ช าลี ส อนหลายวิ ช ามาก ทีมงานอนุมานวสารจึงสงสัยว่าแล้วจริงๆ ครูชาลี
ถนัดสอนวิชาอะไรที่สุด ซึ่งค�ำตอบนัน้ คือ “ไม่ มี เ ลย” ครู ช าลี ต อบมาอย่ า ง เรียบง่าย “แต่ครูชาลีสอนคณิตศาสตร์เก่งมาก นะ ผมยังทันเรียนเลย” ท่านผู้บังคับการแอบ แย้งมาเล็กน้อย ครูชาลีเล่าให้ทีมงานฯ ฟังว่า สมัยก่อน ท่านเรียนหนังสือไม่เก่ง เวลาท�ำการบ้านไม่ได้ก็ ขอดูของเพื่อนเพื่อส่งครู ท่านจึงคิดว่าต้องหา ตัวอย่างในการเป็นต้นแบบ (Role Model) ให้ ครูชาลี สาครสินธุ์
ครูพันเอกจินดา หนูไชยะ กับตัวเอง ในที่สุดท่านก็ค้นพบค�ำตอบนัน้ ซึ่ง ไม่ใช่ใครที่ไหน ท่านนัน้ คือ พระยาภะรตราชา “ครูเนีย่ เรียนหนังสือไม่เก่ง เวลาท�ำเลข ไม่ได้ ครูก็ขอเพื่อนลอกส่งครู ครูก็เลยใช้วิธีนี้ ดูซิว่าพ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราเนี่ย มีคนไหน ทีพ่ อเป็นตัวอย่างให้แก่เราได้... (หยุดคิด) ...ไม่มี เลย ผมก็มาดูในโรงเรียน พระยาภะรตฯ อายุยนื
แข็งแรง มีเงินมหาศาล ไอ้ของเราขอเพียง อย่างเดียวคือ อายุยืน แข็งแรง ไม่เป็นหนี้เขา เท่านัน้ พอแล้ว” สมัยก่อนครูชาลีเป็นครูอยู่ที่จังหวัด นครปฐม แต่แล้วอาจเป็นเพราะโชคชะตาฟ้า ลิขิตหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาล ให้ครูจิต (จิต พึง่ ประดิษฐ์) ทีก่ �ำลังไปเทีย่ วทีจ่ งั หวัดนครปฐม ขณะนัน้ ได้พบเจอ ก่อนที่จะทาบทามให้เข้ามา เป็นครูที่โรงเรียน ซึ่งท่านก็ได้ลาออกจากการ เป็นครูที่นครปฐม เพื่อมาประจ�ำการที่วชิราวุธ วิทยาลัย “ไม่รเู้ ลยว่าโรงเรียนอยูท่ ไี่ หน จนกระทัง่ แม่พามาที่บ้านครูจิต แล้วครูจิตก็พาไปหาท่าน ผู้บังคับการ” นอกจากการสอนที่เลื่องชื่อแล้ว ยังมี อีกสองเรื่องที่ถือเป็นเอกลักษณ์ประจ�ำตัวของ ครูชาลีทอี่ ยากจะหาใครมาเลียนแบบ นัน่ คือเรือ่ ง มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 89
ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ “Blue & White” และ “รัวปืนกล” ทีมงานฯ จึงขอความกระจ่างในเรื่องทั้งสองนี้ ครูชาลีจึง ได้อธิบายว่า “ก็เอาไม้เนือ้ แข็งเนีย่ เข้าโรงเลือ่ ย เลือ่ ย ไฟฟ้า เสร็จแล้วขัดให้ดี พ่นสี แล้วตั้งชื่อให้ วง เมโลดิก้า มีประมาณ ๑๐๐ คน ถ้าเผื่อเล่นไม่ดี เข้าแถวเรียงหนึง่ เสร็จแล้วตีไปเรื่อย เด็กบอก ปืนกล ทุกคนโดนหมด” “ที่เขาเรียก รัวปืนกล” หนึง่ ในทีมงานฯ เล่าเสริม ท�ำให้ทุกคนหัวเราะกันยกใหญ่ “แต่ผมก็เหนือ่ ยนะ” ครูชาลีแอบบ่นเล็ก น้อย เรียกเสียงหัวเราะเพิ่มเติม ครูชาลีบอกว่าส่วนมากเด็กโรงเรียนนี้ จะตีไม่มาก ไม่เหมือนสมัยที่ครูอยู่ที่โรงเรียน เก่าที่นครปฐม แต่ว่าจะตีแรง อย่างมาก ๒ ที เลิก แล้วครูก็จะยิ้ม ท�ำให้เด็กเกิดปฏิกิริยา อะไร รู้ว่าครูไม่ได้โกรธ แต่ว่าครูตีหนักไป
90
เท่านั้น แล้วคราวหลังพอรู้ว่าถูกตีเจ็บก็จะ ไม่เล่นไม่เกเร หรือบางครัง้ ครูชาลีจะให้นกั เรียน ที่คุยกันระหว่างสอนกีฬา ไปยืนริมรั้วพู่ระหงส์ หันหน้าออกไปนอกรั้ว แล้วให้ตะโกนคุยกันให้ ครูที่อยู่กลางสนามได้ยิน จนนักเรียนขัตติยานี ทีเ่ ดินผ่านมาหยุดมอง จนในทีส่ ดุ นักเรียนทีค่ ยุ กันก็ต้องเลิกเพราะว่าอาย ในยุ ค สมั ย ที่ ค รู ช าลี คุ ม แถวเด็ ก เล็ ก อยู่ ครูชาลีจะคอยดูแลด้านระเบียบวินัยให้ กับเหล่าเด็กซนทั้งหลาย ซึ่งตรงนีถ้ ือว่ามีความ ส�ำคัญมากเพราะเป็นการปลูกฝังเรือ่ งความเป็น ระเบียบวินัยให้ตั้งแต่เด็ก เมื่อเด็กเหล่านัน้ โต ขึน้ มาก็จะได้ซมึ ซับค�ำสอนนัน้ เข้าไปอย่างไม่รตู้ วั แต่ทว่าในปัจจุบันนี้ระบบสังคมเปลี่ยน ไปมาก การเป็ นครู จ ะท� ำ งานยากขึ้ น เพราะ ว่าอาวุธที่ใช้ในการควบคุมเด็กมีเพียงอย่าง เดียวนัน่ คือ ปาก ได้แต่บ่น ได้แต่ว่า ซึ่งท่าน ผู้บังคับการได้แสดงทัศนะว่า “การตั้งแถวแล้ว ตีเป็นปืนกลเนี่ย สมัยนีก้ ็ทำ� ไม่ได้ ผู้ปกครองก็ โวยจนถึ ง ขั้ น ไปร้ อ งเรี ย นสถานีต� ำ รวจก็ ได้ เพราะฉะนั้นวิธีการมันก็ต้องเปลี่ยนไปหมด เราจะไปตบเด็กแบบพระยาภะรตฯ ไม่ได้แล้ว” “สมัยก่อนพระยาภะรตฯ ท่านยอม ถ้า ไม่พอใจ ออกไป” ครูชาลีเสริม หลังจากที่ทีมงานฯ คุยกับคุณครูชาลี จบ เราก็ได้สัมภาษณ์คุณครูอีกท่านที่ได้เข้ามา เป็นครูสอนในโรงเรียนในปีเดียวกับครูชาลี นัน่ คือคุณครูถนิม “เริม่ เข้ามาปี พ.ศ. ๒๔๙๖ มาหลังครูชาลี (ครูชาลีมาต้นปี ครูถนิมมากลางปี) กับครู
ชาลีเนี่ย หนุ่มๆ สองคนในโรงเรียน ก็ช่วยกัน สารพัด ผมสอนศิลปศึกษา สอนวาดเขียน ปั้นดิน วิชาวาดเขียนจะเรียนตอน ๗ โมงเช้า ส่วนพอบ่ายสองโมงไปสอนปัน้ ” ครูถนิมอธิบาย พอพูดถึงวิชาศิลปะ ทีมงานฯ จึงได้นกึ ถึง ศิษย์เก่าวชิราวุธวิทยาลัยท่านหนึง่ ที่เป็นศิลปิน แห่งชาติ คือพี่จักรพันธุ์ โปษยกฤต ครูถนิม ได้พดู ถึงศิษย์รกั คนนีว้ า่ เป็นคนทีม่ แี ววมาตัง้ แต่ เด็ก เขียนหนังสือเก่ง ปั้นเก่ง จนครูสู้เด็กไม่ได้ (หัวเราะ) นอกจากนัน้ เวลามีงานพระราชทาน ประกาศนียบัตรและกีฬา (งานกรีฑา) จักรพันธุฯ์ และเทียนชัยฯ ก็จะมาช่วยวาดฉากงานแสดงอยู่ เป็นประจ�ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Helen of Troy, แห่เรือสุพรรณหงส์ ฯลฯ “เมื่อเช้าโทรมา บอกว่าผมมาไม่ได้ อด มาไหว้ครู เพราะติดงานหุ่นกระบอก โทรมาเช้า เลย” ครูถนิมได้บอกกับทีมงานฯ ปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ครูถนิมสามารถสอบ บรรจุกรมสามัญศึกษาได้ จึงเป็นเหตุที่ท�ำให้ ต้องลาออกจากการเป็นครูที่โรงเรียน ไปเป็น ข้าราชการอยูท่ กี่ รมศิลปากร จนกระทัง่ เกษียณ อายุราชการเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ระหว่างที่อยู่ ที่กรมศิลป์ฯ ครูถนิมควบคุมดูแลงานหลาย อย่าง คุมสถานที่ของหลวงและคอยดูแลแก้ไข เรื่องศิลปะ
ครูสุธรรมสอนทริก
ก่อนจะจากกันไป ทีมงานฯ บางส่วน ได้นงั่ สนทนากับคุณครูสุธรรมอีกเล็กน้อย ครู สุธรรมจึงได้ฝาก เทคนิคในการเล่นกีฬา ครูเล่า
ว่าสมัยก่อน ครูรุณ (อรุณ แสนโกศิก) สอน อยู่สนามหน้า ครูสอนอยู่สนามหลัง ครูบอก กับนักเรียนที่มาเรียนว่า “ต้องวิ่งเร็ว” ต้องหนี ให้เหมือนกับคนจะวิ่งมาท�ำร้ายเอา แล้วครู สุธรรมยังฝากเทคนิคให้กับนักรักบี้ โดยเฉพาะ เวลาเข้าสกรัม เนื่องจากเวลาใส่ลูกนัน้ ฮุคเกอร์ (hooker) ไม่สามารถมองเห็นลูกได้ ครูจึงให้ ฮุคเกอร์หลับตา แล้วฟังเสียงแทน ดังนัน้ จึงไม่มี การยกขารอก่อน ท�ำให้ไม่ผิดกติกา ครูสุธรรม เล่าถึงประสบการณ์เมื่อไปอยู่ประเทศอังกฤษ ท่านได้ไปเรียนเทนนิสกับนายทหารท่านหนึ่ง ซึ่งนายทหารท่านนัน้ ได้สอนพื้นฐานต่างๆ รวม ถึงการ “หลับตา” ขณะเสริฟลูก ครูสุธรรมจึง ได้น�ำมาประยุกต์ให้เข้ากับรักบี้ ส่วนเรื่องการ เรียน ครูสธุ รรมบอกว่าต้องทบทวนสิง่ ทีค่ รูสอน จากห้องเรียนเสมอ ต้องท่องจ�ำแล้วท�ำให้เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ นอกจากจะต้อง ได้เรื่องไวยากรณ์แล้ว ยังต้องฝึกเรื่องการฟัง การพูดให้เข้าใจอีกด้วย และที่ส�ำคัญอีกอย่าง คือ ถ้าไม่เข้าใจ ต้องถาม ครูสุธรรมบอกว่า “เพื่อนครูนถี่ ามจนได้ดีเลย” ก่อนกลับ เราได้มีโอกาสเดินไปส่งครู สุธรรมที่รถ ครูสุธรรมฝากเน้นมาด้วยว่า “อย่า ลืมนะ ต้องวิ่งเร็ว” ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุน่ ๕๙), กิตติเดช ฉันทังกูล (รุน่ ๗๓) ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง (รุ่น ๗๖), ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖) สัมภาษณ์ ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖) เรียบเรียง ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ถ่ายภาพ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 91
เรานักเรียนมหาดเล็ก เด็กในหลวง
พันธะผูกพันรู้รักโรงเรียน
เรื่องพระราชด�ำริเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ ตามที่เคยได้ถวายงานมา
ผมคงเล่าได้เพียงแต่งานทีท่ ำ� ผ่านมูลนิธิ โครงการหลวง ซึ่งก่อนหน้านี้ นัน้ คือโครงการ ชาวเขาของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ
92
เท่านัน้ พืน้ ทีโ่ ครงการนีเ้ ป็นพืน้ ทีด่ อยสูงชันและ ทุรกันดารอยูท่ างตอนเหนือของประเทศ ห่างไกล จากเส้นทางคมนาคม มีชุมชนตั้งรกรากเป็น หมู่บ้านท�ำกินโดยการเกษตร ทั้งที่ถูกและไม่ ถูกหลักวิชาการ และที่ซ�้ำร้ายหมู่บ้านเหล่านี้
พันธะผูกพันรู้รัก จากหนุ่มจนเกษียณเพียร กอบกิจถวายอาเศียร เกิดกุศลแม้นเพียงน้อย
โรงเรียน มุ่งถ้อย บรมบาท เทิดไท้ ธรณินทร์ฯ
มักจะตัง้ ขึน้ อยู่ก่อนทีจ่ ะมีการประกาศเกีย่ วกับ กฎหมายป่าไม้ ชุมชนเหล่านี้จึงอยู่ในสภาวะ จ�ำยอมที่จะต้องอยู่อย่างผิดกฎหมายป่าไม้ ในการนีท้ รงมีพระราชด�ำริแก้ไขโดยให้ มีการแบ่งเขตเกษตรและป่าไม้แยกกันให้ชดั เจน พื้นที่ใดควรเป็นป่าก็ให้เป็นป่า พื้นที่ใดควรท�ำ เกษตรก็ให้ท�ำเกษตร และในพื้นที่ป่าไม้ให้ปลูก ป่า ๓ อย่าง คือ ป่าไม้ใช้สอย ป่าไม้ฟืนและ ป่าไม้ผล ซึง่ ทัง้ หมดจะให้ประโยชน์ที่ ๔ ด้วย คือ รักษาต้นน�้ำล�ำธาร ส่วนพื้นที่เกษตรให้ก�ำหนด เป็นเขตสิทธิท�ำกิน (สธก.) โดยเริ่มจากการ ก�ำหนดเขตพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตรก่อน แล้วจึงพัฒนาปรับปรุงให้ท�ำเกษตรตามหลัก วิชาเกษตรบนทีส่ งู รวมทัง้ จัดระบบชลประทาน แล้วจึงจัดแบ่งที่ท�ำกินอันเป็นขั้นตอนสุดท้าย ของ สธก. แต่ในการนี้ หน่วยงานที่รับสนอง กลับไปให้สทิ ธิทำ� กินกับคนทีท่ ำ� กินผิดกฎหมาย ในพื้นที่ป่าไม้แทน เพียงเพื่อแก้ไขมิให้ต้อง ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ เสด็จลง ณ ท้องพระโรงศาลาเริง วังไกลกังวล อ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ หม่อมราชวงศ์แซม - แจ่มจรัส รัชนี ประธานคณะกรรมการงานวิจยั และพัฒนา เทคโนโลยีหญ้าแฝก มูลนิธิโครงการหลวงปี ๒๕๔๕ และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายสิทธิบัตรงานหญ้าแฝก มูลนิธิโครงการหลวงปี ๒๕๔๕ จ�ำนวน ๙ ฉบับ และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน เพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 93
ผิดกฎหมายป่าไม้เท่านัน้ ในการสนองพระราชด�ำริเกี่ยวกับการ ปลูกป่านัน้ การใช้ไม้ผลนัน้ เป็นกุศโลบายที่ลด ความขัดแย้งได้อย่างดี โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่ เกษตรล�้ ำ เข้ า ไปในพื้ นที่ ป ่ า ไม้ ก็ ให้ เป็ น พื้ นที่ ปลูกไม้ผลและในทางกลับกันพื้นที่ป่าไม้ล�้ำเข้า มาในพื้นที่เกษตรก็ต้องปลูกไม้โตเร็วเพื่อที่ใช้ เป็นไม้ฟืน
พระปรี ช าสามารถในเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ทรัพยากรดิน
แท้ที่จริงแล้วมันมีทั้งเรื่องที่ดินและดิน รวมอยู่ในเรื่องเดียวกัน การสนองพระราชด�ำริ ในเรื่องที่ดิน ได้กำ� หนดพื้นที่ต้นน�ำ้ ล�ำธารสูงชัน เพื่อเป็นพื้นที่ป่าไม้ ก�ำหนดให้เป็นสีแดง พื้นที่ เหมาะสมกับการเกษตรให้เป็นพืน้ ทีส่ เี ขียว ส่วน พื้นที่ที่พอจะใช้เป็นพื้นที่เกษตร ได้ก�ำหนดให้ เป็นสีเหลือง ในการจัดพื้นที่ทำ� กินก็จะมุ่งเน้น การใช้พื้นที่สีเขียวเป็นหลัก ซึ่งแบ่งย่อยออก เป็นพื้นที่นา ไร่ และพืชสวน หรือในภาพรวม ของพื้นที่นี้คือ ไร่ น าสวนผสมนั่นเอง และ หากจ�ำเป็นต้องจัดหาพื้นที่การเกษตรเพิ่มเติม ก็ให้ใช้พื้นที่สีเหลืองได้โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องมี มาตราการรักษาดินและน�้ำอย่างรอบคอบ ส่วน พื้นที่ริมฝั่งน�ำ้ ก็จะถูกก�ำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดง แต่เพียงอย่างเดียว เพื่อลดผลกระทบที่จะมี ต่อพื้นที่ตอนล่าง ส่วนในเรื่องดินนัน้ มีพระราชด�ำริเกี่ยว กับการท�ำเกษตรโดยไม่มีการไถพรวนเป็นการ
94
ลดปัญหาการชะล้างผิวหน้าดิน โดยการปลูก พืชร่วมกับพืชคลุมดิน ทรงอธิบายเพิ่มเติม ว่าพืชคลุมดินนี้คนกินเมล็ดได้ สัตว์กินต้น ได้ และดินกินปุ๋ยและซากพืชจากพืชคลุมนี้ ได้ ทรงเรียกระบบนี้ว่า ระบบ ภ.ด.ภีศเดช การสนองพระราชด�ำริในเรื่องพืชคลุมดินได้ คัดเลือกพันธุ์ถั่วลิสงป่ามาใช้เป็นพืชคลุมดิน โดยที่พืชนี้จะตายในฤดูแล้ง แต่จะงอกใหม่ ในฤดูฝนจากเมล็ดที่อยู่ในดิน นอกจากนั้น ระบบ (ภด.) นี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกัน สารไนเตรทจากพืน้ ทีเ่ กษตร มิให้ลงไปปนเปือ้ น กับแหล่งน�้ำตอนล่าง อันจะท�ำให้วัชพืชในน�้ำ เจริญได้ดเี กินไป มีผลกระทบแย่งอากาศหายใจ ของสัตว์ ในการป้องกันนี้ด�ำเนินการโดยใช้คัน ดินเป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นการจัดระบบให้น�้ำ ไหลซึมลงดินแทนการปล่อยให้น�้ำไหลบ่าหน้า ดิน และในขณะเดียวกัน ก็ไม่ทรงยอมให้สารนี้ ซึมซับลงไปปนเปื้อนกับกับระบบน�้ำใต้ดิน โดย ใช้ไม้ผลและหญ้าแฝกดูดซับกลับขึน้ มา การน�ำ ใบหญ้าแฝกกลับไปใช้ในพื้นที่เกษตรก็เท่ากับ เป็นการเวียนไนเตรทมาใช้อีกครั้งหนึง่ นัน่ เอง
พระปรีชาสามารถด้านทรัพยากรน�้ำ
ทรงเป็นปราชญ์แห่งสายน�้ำ สิ่งที่เล่า จึงเป็นเสมือนหนึง่ การมองผ่านเลนกล้องเพียง เลนเดียว เป็นเพียงเกร็ดเล็กน้อยนิดในแง่มุม หนึง่ เท่านัน้ มิใช่ภาพรวมทัง้ หมดเพราะเป็นการ เล่าถึงเรื่องน�้ำไหลบ่าบนผิวดินเท่านั้น โดยที่
น�้ำในบริเวณพื้นที่ป่าไม้เป็นการไหลปกติตาม ธรรมชาติ แต่นำ�้ ในพื้นที่การเกษตรได้ใช้ระบบ อนุรักษ์ดินและน�้ำ ในการควบคุมน�้ำให้ไหล เหมือนกับน�้ำธรรมชาติ ส่วนในร่องน�้ำขนาด เล็กให้ปลูกฝายหญ้าแฝกสลับกับฝายที่สร้าง อย่างง่ายๆ เรียกว่า “ฝายแม้ว” ส่วนร่องที่ใหญ่ ขึน้ ก็สร้างฝายชุม่ ชืน้ ทรงเล่าว่าเป็นการสร้างฤดู ฝนเทียมขึ้น โดยการรักษาความชื้นของดินใน ฤดูแล้งให้เหมือนกับในฤดูฝนไว้ให้ได้นานทีส่ ดุ ในทางวิ ช าการได้ มี ก ารประเมิ น ทรัพยากรน�้ำโดยใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา และอุทกวิทยาร่วมกับการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์,เศรษฐศาสตร์สังคม เป็นการ สนับสนุนการเสนอทางเลือกในการใช้ประโยชน์ พื้นที่หรือการเตือนภัยเหตุวิบัติล่วงหน้า ทรงเล่าด้วยพระอารมณ์ขันที่ลึกซึ้งว่า “ที่ทรงสนใจเรื่องน�้ำเพราะท่านไม่กลัวน�้ำ” และ เล่าเพิม่ เติมว่า “หากจะต้องมีการปิดประเทศใน โอกาสข้างหน้า ทุกคนจะต้องนึกถึงพระองค์” ท่าน ผมเข้าใจเองว่า บัดนี้ใกล้เวลาที่จะต้อง ปิดประเทศเพื่อการผลิตอาหารให้เพียงพอกับ การเลี้ยงดูคนทั้งประเทศแล้ว พระปรีชาสามารถในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้มพี ระราชด�ำริให้มกี ารศึกษาเกีย่ วกับ จุลินทรีย์ดินที่มีชีวิตอยู่ในระบบรากหญ้าแฝก จากการศึกษาพบว่า หญ้าแฝกมีจุลินทรีย์ดิน ที่ช่วยในการเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินเลว
โดยมีคุณสมบัติพิเศษสามารถจับไนโตรเจน ในอากาศ ละลานสิ น แร่ ฟอสฟอรั ส และ โปแท็สเซียม จากในรูปที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ให้ ใช้ประโยชน์ได้ จุลินทรีย์ในรากหญ้าแฝกช่วย ท�ำให้รากเจริญเติบโตได้ดี หาน�้ำหาอาหารมา เลี้ยงได้เก่ง ท�ำให้ทนสภาพแห้งแล้งได้ดี ได้มี การทดลองใส่จลุ นิ ทรียด์ นิ ในการเพาะเลีย้ งหญ้า แฝก พบว่าเจริญเติบโตได้ดีทั้งในด้านความสูง การแตกหน่อแตกกอ และความแข็งแรงเป็นการ ศึกษาเบื้องต้น ส�ำหรับมุมมองหญ้าแฝก เป็น วัสดุก่อสร้างทางวิศวกรรมที่มีชีวิต ได้ น� ำ ความรู ้ นี้ ม าทดลองใช้ กั บ พื ช ตระกูลหญ้าอืน่ ๆ อาทิเช่น ข้าวอันเป็นพืชอาหาร หลัก ปรากฏว่าได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจใน ระดับหนึง่ และจะหาโอกาสทดลองกับอ้อยซึ่ง เป็นพืชพลังงานในโอกาสต่อไป มี พ ระราชด� ำ ริ ใ ห้ เ พาะเลี้ ย งพั น ธุ ์ หญ้าแฝกทนเค็มในแท่งดินที่มีจุลินทรีย์ดิน บรรจุในแท่งเพาะช�ำที่ย่อยสลายได้ เพื่อน�ำไป ปลูกเป็นแนวในพื้นที่ป่าชายเลน ระบบแถบ หญ้าแฝกจะช่วยเป็นแนวก�ำแพงทีม่ ชี วี ติ ป้องกัน คลืน่ และลมชายฝัง่ เมือ่ น�ำ้ ทะเลสูงขึน้ ท่วมหญ้า แฝกนัน้ จะน�ำเอาความอุดมสมบูรณ์มาด้วย แถบหญ้าแฝกจะกักเก็บความอุดมสมบูรณ์นใี้ ห้ เป็นอาหารของสัตว์น�้ำ เมื่อน�้ำทะเลลดลง แท่ง เพาะช�ำทีย่ ่อยสลายได้จะช่วยให้หญ้าแฝกไม่ให้ ลอยเท้งเต้งได้ ครั้งหนึง่ ได้พระราชทานแนวความคิด เกี่ยวกับการใช้แนวป้องกันไฟป่าเปียก เพื่อ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 95
ป้องกันไฟป่าไหม้ลามจากพืน้ ทีแ่ ปลงหนึง่ สูพ่ นื้ ที่ อีกแปลงหนึง่ แทนการใช้แนวไฟป่าซึ่งเกิดจาก การเก็บกวาดเศษพืชแห้งซึ่งอาจจะเป็นเชื้อไฟ ให้โล่ง ต่อมาได้พระราชทานแนวคิดที่จะให้ใช้ ความเขียวชอุม่ ของหญ้าแฝกในฤดูแล้งเป็นแนว ป้องกันไฟป่าแทน โดยท�ำการเก็บกวาดเศษพืช ตามแนวทางเดินทั้งซ้ายและขวาให้สะอาด เพื่อ อ�ำนวยความสะดวกเข้าไปดับไฟป่า และความ เขียวของหญ้าแฝกจะช่วยหยุดยั้งไม่ให้ไฟป่า ลุกลามขยายตัวต่อไปได้ ทรงมีพระราชด�ำริให้ท�ำการศึกษาเพื่อ หาแนวทางเร่งรัดการย่อยสลายของใบไม้ที่ร่วง หล่นอยู่ในพื้นที่ป่าและรวมทั้งการศึกษาถึง ระดับความชื้นที่เปลี่ยนแปลงไประดับต่างกัน รวมทัง้ การเปลีย่ นแปลงของสัตว์ตา่ งๆ ทีม่ าพัก อาศัยอยู่ตามต้นไม้ เมื่อต้นไม้ได้รับความชื้น มากขึ้น ผมได้แต่รู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงอยู่ใน ใจว่า ข้าพระพุทธเจ้าพระอาญามิพ้นเกล้า ทรงอนุโมทนาแนวคิดที่จะใช้เยื่อจาก หญ้าแฝกแทนการใช้เยื่อไม้ยืนต้น เช่น ต้นสา เพื่อใช้ท�ำกระดาษสาหรือเยื่อสน หรือเยื่อของ
ยูคาลิปตัส ซึ่งต้องน�ำเข้าจากต่างประเทศ รวม ทั้งใช้เยื่อหญ้าแฝกแทนใยหินในวัสดุก่อสร้าง เพื่อมิให้เกิดพิษภัยต่อมนุษยชาติ ได้เล่าพระราชทานว่าได้เคยน�ำเอาข้าว จากพืน้ ล่างไปให้ชาวเขาเผ่ามูเซอ ทีบ่ ้านขอบด้ง อ�ำเภอฝางและภายหลังได้รับการร้องเรียนว่า ไม่ชอบ กินบ่ล�ำ (ไม่ชอบ กินไม่อร่อย) และใน ขณะเดียวกันได้น�ำข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองของ ชาวเขาเผ่าลีซอ บ้านดอยสามหมื่น อ�ำเภอ เชียงดาว ไปให้ชาวเขาเผ่าแม้วที่บ้านขุนวาง อ�ำเภอสันป่าตอง ได้รับรายงานจากหมู่แม้วว่า ดี ม้าที่เขาเลี้ยงชอบกิน นอกจากนี้ยังเคยตามเสด็จเข้าไปใน หมู่บ้านชาวเขา ทรงอธิบายว่า ฟืนที่ชาวเขาใช้ก่อไฟเพื่อความอบอุ่น นัน้ จะช่วยอบข้าวและข้าวโพดเหนือเตาให้แห้ง และควันช่วยไล่มอดแมลงและปลวกได้ ถือว่า เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวคิดการขยายผล ต่อมาคือการพัฒนาวัสดุก่อสร้างพื้นถิ่นเพื่อ สร้างที่อยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้น
เพียงรอยพระโอษฐ์แย้มยิ้ม ทรงรับรู้ผลงาน ทุกข์ทวยราษฎร์วันวาน สุขพระสกส่งสะท้อน
ส�ำราญ ทบย้อน บ�ำบัด สุขนั้น คืนองค์ฯ
ม.ร.ว.แซม – แจ่มจรัส รัชนี (รุ่น ๓๓) 96
เรานักเรียนมหาดเล็ก เด็กในหลวง
น�้ำ น�้ำ และน�้ำ น�้ำ ๓ น�้ำ นีก้ ็คือ น�ำ้ แล้ง น�้ำท่วม และ น�ำ้ เน่า พวกเราคนไทยทีเ่ คยฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์กค็ งจะได้รบั ทราบโดย ทั่วกันแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเอาพระทัยใส่ในเรื่องน�้ำเหล่านี้ ด้วยความ เป็นห่วงคนไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยจะเห็นว่า พระองค์ ได้ พ ระราชทานพระราชด� ำ ริ ต ่ า งๆ เพือ่ เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาน�ำ้ แล้ง น�ำ้ ท่วม และ น�ำ้ เน่า อยูเ่ สมอมานับเป็นเวลาหลายสิบปีจวบจน ปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เสด็จฯ ไปในพื้นที่ เพื่อทรงงานเหมือนเมื่อ ๕๐-๖๐ ปีก่อนก็ตาม แต่ ก็ ท รงติ ด ตามศึ ก ษา คิ ด ค้ น หาแนวทาง มาแก้ปัญหา และจะพระราชทานวิธีการให้ ผูท้ เี่ กีย่ วข้อง เข้าเฝ้ารับพระราชด�ำริไปด�ำเนินการ เป็นระยะๆ เสมอมา แนวทางและวิธกี ารของพระองค์เท่านัน้ มีมากมายหลายอย่าง ซึง่ ก็ขนึ้ อยูก่ บั แต่ละพืน้ ที่ มีปัญหาไม่เหมือนกัน แต่ในที่นี้ผู้เขียนอยาก จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับ “แก้มลิง” ซึ่งเป็นวิธีหนึง่ ที่เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับน�้ำและฮิตติดปาก ผู้คนอยู่ในปัจจุบันนี้
“แก้มลิง” ที่เรียกกันนี้ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงอธิบายว่า ลิงนัน้ เวลากิน อาหารมันมีกระพุ้งแก้มที่สามารถใส่อาหารเข้า ไปเก็บสต็อกไว้ได้และก็ค่อยๆ ทยอยเคี้ยวกิน ไปเรื่อยๆ ในยามที่ต้องการ ในเวลาเดียวกัน ก็ทรงคิดว่าวิธีนจี้ ะใช้ได้ในกรณีที่เราจะเก็บน�้ำ ไว้ในพื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นสระหรือเป็น ที่ เ ก็ บ กั ก น�้ ำ ขนาดต่ า งๆ จนถึ ง ขนาดใหญ่ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 97
เปรียบเสมือนหลุมขนมครกที่น�ำน�้ำมากักเก็บ ไว้ก็จะได้ใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับแก้มลิง กล่าวคือ เมื่อน�้ำมามากก็จะได้น�ำมา เก็บไว้ในหลุมขนมครกเพือ่ ป้องกันและบรรเทา น�้ำท่วมได้ ตลอดจนเมื่อยามแล้ง น�ำ้ ไม่พอใช้ก็ สามารถน�ำน�้ำจากหลุมขนมครกหรือแก้มลิงนี้ มาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ในกรณีน�้ำท่วมนี้ มิได้เฉพาะเจาะจง อยู่ในกรุงเทพฯ เท่านัน้ แต่รวมถึงล�ำน�้ำต่างๆ ทั่วประเทศที่สองฝากฝั่งยามหน้าน�ำ้ หลาก จะ มีน�้ำท่วมเอ่อล้นริมตลิ่งและขยายวงไปจนถึง ไร่นาราษฎรเป็นเหตุให้ผลผลิตของชาวบ้าน เสียหายมากมาย กรณีเช่นนี้ก็ควรหาทางท�ำ แก้มลิงไว้เพื่อรับน�้ำที่ไหลหลากมาเก็บไว้ ก็จะ ท�ำให้น�้ำไม่ท่วมอีก หรือบรรเทาเบาบางลงไป มาก และที่เก็บน�้ำไว้นี้ยังสามารถน�ำมาใช้ใน ยามแล้งได้ด้วย ส�ำหรับกรณีในกรุงเทพฯ นี้ ยังมีแก้ม ลิงทีส่ ระพระราม ๙ จังหวัดปทุมธานี ซึง่ มีเนือ้ ที่ ส�ำหรับเก็บน�้ำได้ ๒,๒๐๐ กว่าไร่ เก็บน�้ำได้ ประมาณ ๒๗ ล้านลูกบาศก์เมตร ทีน่ อกจากจะ ช่วยบรรเทาน�้ำท่วมกรุงเทพฯ และใช้ประโยชน์ ในการกสิกรรมแล้ว ยังสามารถช่วยบรรเทาน�ำ้ เน่าเสียได้อีกด้วย โดยการปล่อยน�้ำจากสระ พระราม ๙ นีไ้ ปไล่นำ�้ เสียตามคลองในกรุงเทพฯ ให้ไหลลงสู่ทะเล ซึ่งพระองค์ทรงเรียกวิธีการนี้ ว่า “ชักโครก” พูดถึงน�้ำท่วมแล้ว ก็อยากจะเล่าเกร็ด เล็กเกร็ดน้อยให้ฟังสักเล็กน้อย เรื่องก็มีอยู่ว่า
98
พระองค์ท่านทรงเล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งน�ำ้ ท่วม ใหญ่กรุงเทพฯ พระองค์ทรงขับรถออกจากวัง เป็นการส่วนพระองค์ ไปตามถนนแบบสามัญชน ธรรมดาๆ เพือ่ ทีจ่ ะไปดูไปเห็นไปรับทราบปัญหา ที่แท้จริง ถึงความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อที่ จะได้หาวิธีการแก้ปัญหาได้ถูกจุดและรวดเร็ว ขึ้น เมื่อทรงขับรถไปถึงสี่แยกหนึง่ ก็ติดไฟแดง พระองค์ ท รงหยุ ด รถในช่ อ งทางหนึ่ง เพื่อ รอ ไฟเขียว ระหว่างนัน้ ก็มีรถอีกคันหนึง่ มาหยุด อยู่ในช่องทางข้างๆ รถพระองค์ท่าน ผู้หญิงที่ นัง่ หน้าข้างคนขับคันนัน้ หันมามองพระองค์ ท่านแล้วก็หันหน้ากลับไปแบบไม่รู้ไม่ชี้... แต่ ในบัดดล ผู้หญิงคนนัน้ แสดงอาการสะดุ้งเล็ก น้อย แล้วหันขวับมาที่พระองค์ท่านอีกทีพร้อม กับยกมือประณมไหว้ก่อนที่รถจะแล่นออกไป ผมคิดว่าผู้หญิงท่านนัน้ คงจะตกใจและงงเอา มากๆ ทีไ่ ม่นกึ ไม่ฝนั ว่าจะพบพระเจ้าอยูห่ วั ฯ มา จอดรถติดไฟแดงอยูข่ า้ งๆ รถเธอ และคงจะมึน ด้วยความดีใจมาจนทุกวันนี้ ที่ เ ล่ า มานี้ ก็ เพื่ อ จะแสดงให้ เห็ น ว่ า พระองค์ทา่ นทรงท�ำงานจริงๆ ไม่ได้นงั่ รอข้อมูล จากเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยเดียว แต่ทรง “ลุย” ไปในพืน้ ที่ ต่างๆ ที่เป็นปัญหาด้วยพระองค์เองเพื่อให้พบ “ของจริง” คือทรงพบปัญหาทีป่ ระชาชนเดือดร้อน จริงๆ ในลักษณะทุกข์ของประชาชนก็คือทุกข์ ของพระองค์ท่านเช่นกัน ไม่มีใครหรอกครับ ที่จะเห็นทุกข์ของเราและหาวิธีแก้ปัญหานั้นๆ ให้เราได้มากเท่ากับ “ในหลวง” พิมลศักดิ์ สุวรรณทัต (รุ่น ๓๓) ๙ มิ.ย. ๒๕๕๒
คอมมอนรูม เรื่องสบายสไตล์โอวี
คนเราเวลามีความสุข หรือได้ท�ำอะไร ที่ต้องใช้ความสนใจตลอด พอนึกขึ้นได้ มักจะ พูดประโยคเด็ดว่า เผลอแป๊บเดียว เวลาผ่าน
100
ไปเท่านู้น เท่านี้แล้ว แต่ถ้าหากจะให้นกึ ถึงช่วงเวลาที่เรารู้สึกนานที่สุด ใจจดใจจ่อ นับวันให้ถึงวัน ที่รอคอยสักที ส�ำหรับผมคงเป็นหนึง่ เดือนแรกที่เข้ามาอยู่ในรั้วโรงเรียนวชิราวุธฯ เพราะสมัยนัน้ ที่ ผมเข้ามาปีแรก ครบเดือนหนึง่ โรงเรียนจะอนุญาตให้กลับบ้านครัง้ หนึง่ และระหว่างเดือนก็จะอนุญาต ให้ผู้ปกครองมาเยี่ยมนักเรียนได้ อาทิตย์แรก ผมยังใช้เวลาปรับตัวและให้ความสนใจกับสิง่ แวดล้อมใหม่รอบตัว ไม่ว่าจะ เป็นเพื่อนใหม่ ห้องนอน ห้องน�ำ้ ใหม่ ประเพณีใหม่ๆ จึงยังมีความรู้สึกเพลิดเพลินและเบี่ยงเบน ความสนใจ จนพอจะกลบความคิดถึงบ้านและพ่อแม่ไปได้บา้ ง แต่พอถึงวันอาทิตย์หลังจากทีห่ มด เวลาเยีย่ มแล้วนีส่ ิ หลังจากทีพ่ อ่ แม่กลับไป ความรูส้ กึ เปรียบเทียบระหว่างบ้านกับโรงเรียนมันชัดเจน เหลือเกินและยังเหลือเวลาอีกสามอาทิตย์กว่าจะได้กลับบ้าน แค่นกึ ถึงก็รสู้ กึ ได้ถงึ ความยาวนานจน อยากจะให้มันเป็นวันพรุ่งนีจ้ ริงๆ ครบหนึง่ เดือนแรกของการเป็นเด็กวชิราวุธฯ เสียงกริง่ หมดคาบเรียนสุดท้ายของวันเสาร์ ที่จะได้กลับบ้านดังขึ้น ไม่ว่าเสียงกริ่งจะแผดเสียงดังแสบแก้วหูเพียงไหน แต่มันก็เป็นเสียงหลาย เดซิเบลทีผ่ มรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ คาบเรียนสุดท้ายในวันนัน้ ไม่มวี ชิ าความรูส้ อดแทรกเข้าไปใน แก่นสมองของผมเลยซักนิด เพราะในสมองของผมตอนนัน้ มีแต่หน้าของผู้หญิงคนหนึง่ อัดแน่น เต็มสมอง เต็มความรู้สึกตอนนัน้ ไปหมด เก็บของเครื่องเรียนลงกระเป๋า เร็วเหมือนเก็บของหนีไฟไหม้ เดินจ�้ำอ้าว สลับวิ่งจาก ตึกเรียนมุ่งหน้ากลับไปคณะสราญรมย์ ผ่านคณะสนามจันทร์ นันทอุทยาน เห็นผู้ปกครองคนอื่น ยืนรอลูกตัวเอง ความตื่นเต้นดีใจ ยิ่งเพิ่มทวีคูณ ข้ามประตูเข้าคณะสราญรมย์ได้ สายตา สอดส่องมองหาผู้หญิงคนหนึง่ ที่คิดถึงมาตลอดเดือนที่ผ่านมา เจอแล้ว...“แม่” ไม่รอช้า วิ่งตาตั้ง โผเข้ากอด ดีใจสุดชีวิต น�ำ้ ตาไหล ผมไม่เคยถามแม่เลยว่าเวลาผมอยู่ในโรงเรียน แม่คิดถึงผมหรือเปล่า ถึงแม้ว่าส่วนตัว แล้วผมเองก็อยากจะมาอยู่โรงเรียนนีต้ ามพี่ชายก็ตาม แต่ก็ไม่วายคิดต่อไปว่าถ้าคิดถึงแล้ว ท�ำไม ถึงส่งผมมาอยู่ในโรงเรียนประจ�ำล่ะ แต่นนั่ ก็เป็นความคิดแว็บหนึง่ ตอนเด็กๆ เพราะผมผมรู้ว่าแม่ ต้องคิดถึงผมเหมือนกัน แม่ ต้องคิดถึงลูกทุกคน ไม่มแี ม่คนไหนอยากให้ลกู ไปอยูท่ ไี่ กลๆ ห่างจาก การดูแลของแม่นกั หรอก จนถึงวันนี้ผมไม่คิดหาค�ำตอบนัน่ อีกเพราะค�ำตอบมันอยู่ในตัวผมทั้งหมด ผมไม่ได้ ประสบความส�ำเร็จอะไร แต่ผมเชือ่ ว่าผมเป็นคนคิดดี ท�ำดี เป็นคนมีสงั คม เป็นคนมีความรู้ สามารถ เอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ ส่วนหนึง่ เป็นเพราะโรงเรียนวชิราวุธฯ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 101
ผมเคยเขียน ในเล่มก่อนไว้ว่า ไม่ ว่าจะเวลาไหน ทั้งยาม ทุกข์ ยามสุข ถ้ามีเวลา ที่จะคิดถึงอะไร ผมมัก จะนึกถึงโรงเรียน
แต่ที่ส�ำคัญที่สุด คือ ความเสียสละของ พ่อและแม่ที่ท�ำงานหาเงินมาส่งเสียค่าเล่าเรียน ลูก ยอมปล่อยลูกจากอ้อมอกให้มาศึกษา วิชาความรู้และวิชาเอาตัวรอดในการดูแล ของคนอื่น เรามักพูดถึงตัวตนของเราใน ฐานะเด็กวชิราวุธฯ ว่าเราภูมใิ จทีไ่ ด้มาร�ำ่ เรียน ที่ ในโรงเรี ย นที่ เรารั ก แต่ ในขณะเดี ย วกั น บนความภูมิใจของพวกเรามีคนคนหนึ่งที่ต้อง เสียสละทุ่มแรงกายแรงใจ ยอมอดทนคิดถึงลูก แต่ พวกเราก็มกั ไม่คอ่ ยพูดถึงท่านเท่าไหร่นกั ในยามพวกเราอยู่ ด้วยกันเพราะยามใดทีเ่ ราเจอกันเราคุยกันอยูเ่ รือ่ งเดียว คือ เรือ่ งของพวก เราในโรงเรียน วันนีเ้ ลยจะมาชวนพวกเราร�ำลึกถึงคนทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังในการเป็นลูกวชิราวุธฯ ของพวกเรา สักหน่อย โดยเฉพาะ “แม่” การเป็นแม่ของเด็กวชิราวุธฯ อาจจะไม่แตกต่างจากการเป็นแม่ของนักเรียนโรงเรียนอื่น เท่าใดนักบนพื้นฐานของความเป็นแม่ แต่ด้วยวิถีความเป็นอยู่ในโรงเรียน แม่ ของนักเรียนวชิราวุธฯ อาจจะต้องเจอะเจอและรับมือกับเรือ่ งบางเรือ่ งทีไ่ ม่คอ่ ย เหมือนคนอื่นเค้าบ้าง แม่ของเด็กนักเรียนวชิราวุธฯ บางครั้งต้องรับโทรศัพท์ที่บ้านโดย มีเสียงเด็กคราวลูกขอพูดกับสามีตัวเอง แถมเรียกไอ้อย่างสนิทชิดเชื้อ นัน่ เป็นเพราะตัวเองไปแต่งงานกับเด็กวชิราวุธฯ พวกรุ่นพี่ของลูกจึงเรียก ชื่อลูกในโรงเรียนตามชื่อสามีตนเอง ที่เป็นรุ่นพี่ของรุ่นพี่อีกที แม่ของเด็กวชิราวุธฯ มักจะตั้งค�ำถามกับตัวเองเสมอว่า ฉันส่งพวกมันเข้าไปในโรงเรียนวชิราวุธฯ เพือ่ ให้ถกู สอนให้ทำ� อะไรเอง แต่ไหงกลับมาบ้านก็ยังไม่เคย ซักผ้าเอง ปูที่นอนเอง เหมือนเดิม แม่ของเด็กวชิราวุธฯ มีความสามารถในการจัดกระเป๋าให้ ลูกมากกว่าคนอื่นเพราะต้องจัดเสื้อผ้าใส่ถุงผ้าให้ลูกตั้งแต่ ป.๓ จน ม.๖ แม่ของเด็กวชิราวุธฯ ต้องคอยต้อนรับเพื่อนลูกที่จะคอย ยกโขยง มากิน มานอน อยูท่ บี่ า้ น ใช้ขา้ วของของลูกชายเสมือนข้าวของเครือ่ ง ใช้ของตัวเอง คิดเสมือนว่าเป็นบ้านตัวเอง ปฏิบตั ติ อ่ คนในบ้านเหมือนเป็นคน
102
สายเลือดเดียวกัน ยกเว้นลูกสาว แม่ของเด็กวชิราวุธฯ ต้อง มีจิตใจเข้มแข็ง อดทน เห็นลูกกลับบ้าน มาพร้อมรอยฟกช�้ำ ด�ำเขียว แถมพอ ถามว่าเป็นอะไร ค�ำตอบเดียวที่ได้รับ คือ “ไม่เป็นอะไร” แม่ของเด็กวชิราวุธฯ ไม่ กล้าไปหาข้าวกินแถวราชวัตร เพราะ กลัวเจอลูกตัวเองนัง่ กินอยู่โต๊ะข้างๆ แม่ของเด็กวชิราวุธฯ ไม่อยาก ไปไหนกับลูกชาย เวลาลูกชายต้องไปเจอเพือ่ นเก่าทีว่ ชิราวุธฯ เพราะต้อง ไปฟังเรือ่ งท�ำนองเดียวกันกับเรือ่ งทีเ่ คยได้ฟงั ซ�้ำแล้ว ซ�้ำเล่า ในวงสนทนา ของสามีตัวเองกับเพื่อนสามี นี้เป็นเพียงเรื่องเบาๆ ที่พอนึกได้ แต่จริงแล้วสิ่งที่พวกเรานึกไม่ออกและแม่ก็ ไม่เคยบอก ว่าแม่ต้องอดทนแค่ไหน คิดถึงพวกเราแค่ไหน เวลาพวกเราไปอยู่ในโรงเรียน ผมรู้ว่า แม่ไม่บอก เพราะแม่คิดว่านี่ คือ สิ่งที่แม่ต้องเสียสละเพื่อลูกชาย ไม่จำ� เป็นต้องไปบอกใครว่ารู้สึก อย่างไร เพราะแม่ ไม่ต้องการความเห็นใจจากใคร ลึกๆ แล้ว ผมว่าแม่คงรู้สึกดีใจและภูมิใจด้วย ซ�้ำ ที่ได้ทำ� ให้ลูกชาย จนถึงวันนี้ แม่กย็ งั คงปฏิบตั กิ บั เราเหมือนเดิมไม่เสือ่ มคลาย ผมเคยเขียนในเล่มก่อนไว้ว่า ไม่ว่าจะเวลาไหน ทั้งยามทุกข์ ยามสุข ถ้ามีเวลาที่จะคิดถึงอะไร ผมมักจะนึกถึงโรงเรียน แต่ผมว่า จริงๆ แล้วผมคงคิดถึงแม่มากกว่า ผมขออุทิศ บทความนี้ให้แก่ผู้หญิง ที่อยู่เบื้องหลังการเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ ทุกคน ขอ ให้รู้ว่าพวกเราคิดถึงพวกท่านตลอดเวลาและขอยกย่องในความรัก ความอดทน ของพวกท่านที่มี ให้กับพวกเราตลอดเวลา ไม่ว่าในฐานะแม่ของนักเรียนวชิราวุธฯ หรือภรรยาของนักเรียนวชิราวุธฯ โดยเฉพาะ คุณย่า - อุ่นเรือน โพธารามิก ที่เป็นคุณแม่และคุณย่าที่น่ารักและแข็งแกร่งของ นักเรียนวชิราวุธฯ อีกคนหนึง่ ที่เพิ่งจะยุติการเดินทางบนโลกผืนนีด้ ้วยวัย ๙๖ ปี ผมเชื่อว่า ความรัก ของท่านที่มีให้กับพวกเราและความรักของเราที่มีให้กับท่าน จะยังคงท�ำหน้าที่ของมันใน ฐานะแม่ลูกและย่าหลานอยู่ตลอดไป...คิดถึงคุณย่าครับ โดย ยุทธน้อย
...แต่ผมว่า จริงๆ แล้วผมคง คิดถึง
“แม่ ” มากกว่า
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 103
ศัพท์โอวี เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ
ปล่อยควาย
ปล่อยควาย (กริยา) ควาย (Buffalo, Bison) เป็นสัตว์สี่ขา สองเขา ผิวคล�้ำ มีพละก�ำลังสูง ร่างกายก�ำย�ำล�ำ่ สัน อึดถึกและบึกบึน ทนแดด ทนฝน ไม่ขี้บ่นขี้งอน ผู้คนยุโรปได้ยกย่อง “ควาย” ให้เป็นสัตว์ที่มี คุณค่าแก่การยกย่อง หากบุคคลหรือกลุม่ คนใดได้รบั การยกย่องให้มสี มญานามว่า “The Buffalo” หรือ “The Bison” แล้ว ย่อมหมายถึงบุคคลหรือกลุ่มคนนัน้ อุดมไปด้วยสมรรถภาพร่างกาย อันดีเลิศ กล้ามเนื้ออันแข็งแกร่งดั่งหินผา ยากที่จะหาผู้ใดเปรียบ แต่เมือ่ เปรียบเทียบกับบ้านเรา (โดยเฉพาะประเทศไทย) ควายเป็นสัตว์ทถี่ กู ให้ความส�ำคัญ น้อยพอสมควร ผู้คนมักจะมองว่า “ควาย” เป็นสิ่งมีชีวิตที่โง่ งี่เง่า ไร้ซึ่งสมองและสติ มีแต่แรง และก�ำลัง จึงมีค�ำหรือวลีเปรียบเปรยบุคคลที่มีคุณลักษณะคล้ายกับคุณสมบัติดังที่กล่าวมาว่า “โง่เป็นควาย” “เขางอกแล้ว ไปไถนา ไป!!!” เอ่อ...ฟังดูแล้วไม่น่ารื่นรมย์สักเท่าไหร่เลย แต่หากพูดถึง “ปล่อยควาย” แล้ว นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยรุน่ กลางจนถึงรุน่ ปัจจุบนั คงจะ มีอาการร้อนๆ หนาวๆ กันแน่ อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นการดีใจ ครั่นเนื้อครั่นตัวที่จะได้ท�ำบุญท�ำกุศล ครั้งใหญ่ ไถ่ชีวิตโคกระบือนะขอรับ เพราะการ “ปล่อยควาย” นอกจากจะไม่ได้บุญและยังไม่ได้ ขึ้นสวรรค์ด้วย เพราะมันคือการตกนรกทั้งเป็น ย�ำ้ อีกครั้ง ตกนรกทั้งเป็น ของเหล่านักเรียน (ใน คราบควาย) อีกด้วย อยากให้ทุกท่านจินตนาการตามผู้เขียนก่อนนะครับ ถนนเส้นหลักภายในโรงเรียน เริ่มต้น บริเวณหน้าคณะผู้บังคับการ ผ่านหน้าหอประวัติ (ตึกพยาบาลเก่า) ตรงไปเรื่อยๆ จนถึงทางแยก เข้าคณะดุสิต แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านหน้ากองบังคับการ มาถึง ทางแยกให้เลี้ยวขวาผ่านหน้าตึกเพชรรัตน์ ก่อนเลี้ยว
104
ซ้ายผ่านอาคารอินดอร์ ตรงไปเรือ่ ยๆ จนถึงหัวมุมคณะจิตรลดา เลีย้ วซ้ายผ่านถนนหน้าหอประชุม ก่อนเลี้ยวซ้าย (อีกที) ตัดสนามหน้าบริเวณก่อนถึงคณะพญาไท ผ่านถนนหน้าอาคารเวชสุกรรม สถิตย์ (บริเวณแนวเรือนจากเก่า) ตึกโสตฯ แล้วมาสิ้นสุดที่หน้าคณะผู้บังคับการ อีกครั้ง รวม ระยะทางทัง้ สิน้ ประมาณ ๘๐๐ เมตร...ไม่ได้นำ� เทีย่ วนะครับ อย่าเข้าใจผิด แต่ขอให้ทดไว้ในใจก่อน กลับมาที่ค�ำศัพท์ ปล่อยควายคือการท�ำโทษชนิดหนึง่ ในช่วงเวลากลางวัน นิยมเริ่มปฏิบัติ กันก่อนเข้าแถวกีฬาหรือเข้าแถวกีฬาเสร็จ (ประมาณ ๑๕.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.) จนหมดเวลา กีฬา (ประมาณ ๑๘.๐๐ น.) - อาจจะมีทดเวลาบาดเจ็บเล็กน้อยสัก ๑๕ นาที – โดยสาเหตุของ การปล่อยควายเกิดจากการท�ำผิดของนักเรียนผูน้ อ้ ย แต่หาใช่ความผิดร้ายแรงใหญ่โต เช่นไม่ตงั้ ใจ เรียนจนครูฝากรุ่นพี่มาเตือน เข้าแถวช้า ไม่ตั้งใจซ้อมกีฬา ฯลฯ อะไรประมาณนี้ การปล่อยควายจะแยกคนอยูส่ องจ�ำพวก คือ ผูก้ ระท�ำ (Active) ส่วนใหญ่คอื พีอ่ าวุโส และ ผู้ถูกกระท�ำ (Passive) คือน้อง (ควาย) น้อย ตัวเล็กๆ ตาด�ำๆ ชั้นมัธยมต้น โดยผู้กระท�ำมีหน้าที่ จัดล�ำดับคิวของผูถ้ กู กระท�ำ (ขอแทนด้วยค�ำว่า “ควาย”) ตัวไหนก่อนหลังก็วา่ กันไปตามสถานการณ์ และสถานภาพ เมื่อปล่อยควายวิ่งออกจากคอกแล้ว ควายมีหน้าที่ใช้พละก�ำลังและกีบทั้งสองข้าง ใส่เกียร์หมาวิง่ ไปตามทางทีท่ า่ นทดไว้ในใจ โดยมีการ จับเวลา ควบคูก่ นั ไปด้วย โดยเฉลีย่ ประมาณ ๓ นาที ๑๕ – ๓๐ วินาที ต่อการวิ่งหนึง่ รอบ หากควายตัวไหนสามารถท�ำเวลาได้ตามก�ำหนด ก็ อาจจะได้พกั (บ้าง) ส่วนทีไ่ ม่ทนั ก็เรียงคิวรอเข้าโรงเชือดได้เลย ซึง่ จุดนีไ้ ม่สามารถคาดการณ์ได้วา่ จะเกิดอะไรขึน้ บ้าง นอกเหนือไปกว่านัน้ ทีมผู้กระท�ำอาจมีการกระจายกองก�ำลังไว้ ดักจับ ควายที่ กระท�ำความผิด ไม่ว่าจะเป็นการซุ่มตามสถานที่ต่างๆ จนถึงขั้นวิ่งตาม ปั่นจักรยานตามกันเลยก็มี ส่วนหน้าที่ของผู้ถูกกระท�ำ ไม่มีอะไรมากนอกจาก “เก็บแรง เก็บแรง และเก็บแรง” เอาไว้ เพื่อวิ่ง วิ่ง แล้วก็วิ่ง เพราะการปล่อยควายนัน้ จะต้องวิ่งตามเส้นทางที่กล่าวมา ไม่ตำ�่ กว่า ๕-๖ รอบ ยิ่งกว่านัน้ อาจมีการวิ่งในถนนสายรอง เช่น สนามหน้า สนามหลัง สนามบาส ขั้นบันได สุดแท้
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 105
แต่รุ่นพี่จะคิดกันได้ ดังนัน้ เหล่านักเรียนที่รู้ (และไม่รู้) ชะตากรรมของตนเอง หากได้ยินข่าวโคมลอย (Gossip) จาก เพื่ อ นหรื อ พี่ ค นสนิท มา ก็ จ ะรี บ หาอาณาบริ เวณเพื่ อ หลับนอนเอาแรง คล้ายๆ กับควายไปนอนในปลักโคลน อย่างนัน้ เลย เพื่อป้องกันอาการล้าขณะโดนท�ำโทษ แม้ว่า จะนอนได้แค่ครึ่งชั่วโมงหรือ ๑๕ นาทีก็ยังดี เมื่อถึงเวลาเชือด จะ มีพวก “ควายหัวหมอ” คอยหาหนทางให้วิ่งน้อยที่สุด ไม่ว่าจะ เป็นการเผาผลาญเวลาในการอบอุ่นร่างกาย (ยืดกล้ามเนื้อ นานกว่าทีม ชาติ) วิ่งลัดเลาะตามถนนหนทางและซอกซอย ต่างๆ เพื่อให้ทัน เวลา หนักเข้าหน่อยก็แกล้งเป็นตะคริวเลย เพื่อจะ ได้ไม่ต้องวิ่งอีก (แต่อย่างหลังนี่ไม่ ทราบว่าท�ำกันมากน้อยเพียงใด เพราะผู้เขียนไม่เคยท�ำ) เฮ้อ...ท�ำไมดูเหนื่อยจังเลย แต่ใช่ว่าปล่อยควายจะมีแต่ข้อเสีย เพราะอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ร่างกายของท่านจะแปลง สภาพจากคนเป็นควาย หนักเข้าก็กลายเป็นไซบอร์กกันไปเลย มัดกล้ามที่เคยหย่อนยานจะกลับ มากระชับเหมือนกามนิตหนุ่ม เรี่ยวแรงที่เคยถดถอยจะฟื้นฟูกลับมาให้ความกระชุ่มกระชวยกัน อีกครั้ง ท่านชายจะรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นยอดนักมนุษย์ แรงไม่มีหมดตลอดการแข่งขัน ต่อรอบ (อีกยก)...เอ๊ย...ต่อเวลาก็ยังไหว จนกลายเป็น “The Buffalo” “The Bison” กันเลย วันหยุดว่างๆ นัดเพื่อนฝูงร�ำลึกความหลัง ไป (โดน) ปล่อยควายกันนะครับ May The Force Be With You!!! ศิริชัย กาญจโนภาส (รุ่น ๗๖)
เล้ง (ค�ำนาม) ส�ำหรับนักช้อปปิ้งทั้งหลายทั้งปวง เมื่อเอ่ยถึงชื่อ “เล้ง” คงจะนึกถึงเถ้าแก่เนี้ยชาวจีนที่มา เปิดร้านขายของอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิตใกล้ๆ กับสนามบินดอนเมือง...
106
แต่ส�ำหรับชาวโอวีในเจนเนอร์เรชั่น ๖๐ ปลายๆ จนถึง ๗๐ แล้วละก็..ความหมาย มันต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ ศัพท์โอวีค�ำนี้ เป็นภาษาท้องถิ่น ๑๐๐% ไม่มีที่ใดภายนอกรั้วโรงเรียนของเราใช้พูดใน ความหมายเดียวกันอีก ค�ำว่า “เล้ง” ในความหมายของชาวโอวีรุ่นใกล้เคียงกับผู้เขียน มีความหมายว่า “น่องขา” ครับ น่องขาเฉยๆ ไม่มีอะไรมากไปกว่านัน้ เพียงแต่ มันจะต้องเป็นน่องขาของนักกีฬา ซึ่งเมื่อเรา ใส่ถุงเท้าสั้น (เช่นเวลาใส่ชุดนักเรียนหรือ ชุดกีฬาที่จงใจพับถุงเท้าลงมาเพื่อโชว์ “เล้ง” นั่นเอง) และเดินไปไหนต่อ ไหน น่องขาที่เป็น “เล้ง” มัน จะปูดขึ้นมาเป็นกล้าม เนื้อที่เห็นชัดเจน (เราจะ พบว่า ฝั่งเด็กเล็ก จะไม่ค่อยรู้จักค�ำว่า “เล้ ง ” เพราะ เด็กๆ ยังไม่มี “เล้ง”) ค น ที่ไม่สามารถท� ำ ให้นอ่ งขาปูด ขึ้ น มาในขณะ เดิ นธ ร ร ม ดาๆ ได้ จะไม่ ได ้ รั บ ก า ร ย ก ย ่ อ ง ว ่ า มี “เล้ง” หรอก นะครับ มันเป็น ได้แค่ “น่อง” อย่างเดียว ค� ำ ว่ า “เล้ ง ” จึ ง เปรียบได้กับยศถา บรรดาศักดิส์ ำ� หรับพวก บ้าพลังเท่านัน้ ที่จะได้รับ “เล้ง” ทีไ่ ด้รบั การยอมรับ ว่าสมบูรณ์แบบ จะมีรูปร่างลักษณะ เป็นหัวใจคว�ำ่ คือด้านล่างต้องหยักโค้งและบุม๋ ตรงกลางขึน้ ไปเล็กน้อยจึงจะได้รบั การยอมรับว่าเป็น “เล้ง” ที่ทรงพลังจริงๆ ส�ำหรับประโยชน์ในการแสดงออกของพลังแห่ง “เล้ง” นัน้ ก็จะมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น ความเร็วในการวิ่ง ความหนักในการเตะลูกรักบี้ (รวมทั้งเด็กๆ ที่ท�ำความผิด) ความทรงพลัง ในการดันสกรัม หรือการกระโดดในแถวทุ่มเป็นต้น โชเบ นักเรียนนายเรืออากาศ สถาพร อยู่เย็น (รุ่น ๗๖)
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 107
ฉายานุสรณ์
เสียงหัวเตา หัวหน้าใหญ่คณะ ผบก. แผดก้อง เด็กใหม่ในห้องเงียบกริบ มันฟังแล้วกลัวเสียง หรือฟังไม่รู้เรื่อง ไม่กล้าตัดสินใจ ยากที่จะคาด เดา แต่เด็กบ้านนอกส�ำเนียงเหน่อจากเมืองจันท์กลับยกมือขึ้นอย่างมั่นอกมั่นใจ “ลื้อ เล่นอะไรเป็น” “ฆ้องครับ” “อะไร... ฆ้อง” หัวเตาสงสัย “ฆ้องวง ดนตรีไทยครับ” เสียงอ่อยๆ จากวันนัน้ พ.ศ. ๒๕๑๔ ถึงวันนี้ นามฆ้องวง หรือไอ้ฆ้อง จึงเปรียบเสมือน ฉายานุสรณ์ ที่หัวเตา (ใหญ่) ตั้งให้ด้วยเหตุบังเอิญ แปลกนะ นามนี้แทบไม่มีที่ซำ�้ ซ้อนกับใคร ไม่รู้ว่ารุ่นหลังๆ จะมีหรือได้ยินได้ฟัง ชื่อนีก้ ันหรือไม่ อย่างไร ไม่ต้องสงสัยหรอก.. จากวันนัน้ ถึงวันนีญ ้ าติโกโหติกา วงศาคนาญาติ ไม่มีใครได้ ย่างกรายเข้ามาเรียนที่วชิราวุธฯ อีกเลยลูกเต้าก็ไม่มี ด้วยฆ้องยังโสด ไร้เมีย แต่ไม่มีใครรู้ว่า ความลับว่า ฆ้องวงไร้น�้ำยาด้วยหรือไม่ ว่ากันตามพจนานุกรม (เอามันทุกฉบับนัน่ แหละ ถึงจะน่าเชื่อถือมากที่สุด) ฉายา : ชื่อตั้งให้กันเล่นๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ อนุสรณ์ : เครื่องระลึก, ที่ระลึก ฉายา+อนุสรณ์ คลอดออกมาเป็น “ฉายานุสรณ์” ในที่สุด ไล่ล่าบ้าบอ ต่อชื่อนามกันตาม สะดวกเท่าที่นกึ จ�ำกันได้ ในอดีตสมัยที่คณะในยังมี ๔ คณะ ผู้บังคับการ ดุสิต จิตรลดา พญาไท พอเรียกน�้ำย่อยหรือเอาแค่น�้ำจิ้มกันก่อน แค่รุ่นเดียวกันชื่อเสียงเรียงนาม ฉายาพอเป็นตัวอย่างก็ ว่ากันไม่หวาดไม่ไหว
108
คณะผูบ้ งั คับการ
พวกมีฉายา - โร (แร) ถี (ปุน๋ ,ป๋อง) แฝดพี่ แฝดน้อง ไฝ เบรน ติด้ จิก๊ แก่ (วรสิทธิ)์ เต้ย เบิม้ ใหม่ ยักษ์ กวง เปา พุ่ม แจ้ วัว ภูเก็ต โบโซ่ บังก้า (ป๊อด) และ ฆ้องวง พวกไร้ฉายา - สามารถ พีระพล จุลวงศ์
คณะจิตรลดา
พวกมีฉายา - หยา ปู๋ แจ๋น หนอน จ๋วย แหลม แก่ (โอฬาร) ปาน ปิ๊บ โจ๊ย เหนียว ชิ จ๊อย จิ๊บ ติ๊ก พวกไร้ฉายา - นรชัย ชนก
คณะดุสิต
พวกมีฉายา - ย่น หนูผี ใหญ่ โจ๊ก เฮ้ว หน่อจี๊ ป้อม เหมียว นิด หัวลิง เล็ก ตง กบ กิ้ม หัวแบน ฝืด บ๊อง เจ๊ก อ๋อย บ๊ะ พวกไร้ฉายา - ไชย อดิศร์ ชิษณุพร บุญเกิด
คณะพญาไท พวกมีฉายา - ด่าง โช้ค งึน้ (ป้า,อู) หัวกลม ต้อย เฉ่า ยวน ปาเช็ง (คุณอิ่ม) เหนาะ บีเวอร์ ปิ๊ก ยุ้ย พวกไร้ฉายา - จักรกริช
โอ๊ย... ว่ากันมันระเบิด เถิดเทิงเลยแหละ แค่จับเรื่องไอ้ย่นมาผูกโยงกับไอ้หนูผีเท่านัน้ ว่ากันสามวันสามคืนไม่จบ เพราะเรือ่ งราวทีพ่ ่อเจ้าประคุณทัง้ สองนัน้ ท�ำไว้มนั เป็นต�ำนาน เช่น เรือ่ ง ขากไอ้ย่นถึงไอ้หนูผีมันดันอยู่คณะเดียวกันด้วยแหละ แต่อยู่คนละห้องเรียน ไอ้ย่นอยู่ ห้อง ก. ไอ้หนูผีอยู่ห้อง ค. ตลอด มันมีทั้งรสหวาน เปรี้ยว มัน เค็ม ใครไม่รู้ว่าความรักเพื่อนเป็นเช่นไร การเสียสละเป็นอย่างไร ก็ได้ซาบซึง้ กับรสชาติ นีล่ ะครับ คือรสชาติแห่งชีวติ ในวัยเด็กและวัยรุน่ ทีห่ ล่อหลอมกันมาจนท�ำให้ รู้รสที่แท้จริงแห่งการให้อภัย เพื่อน ก็คือเพื่อน พี่ก็คือพี่ น้องก็คือน้อง ท�ำให้ทุกคนมีความรู้สึก ดีๆ มอบให้กัน เท่านัน้ ยังๆ ไม่พอ ใครนะ เป็นคนตั้งฉายาให้ครู อาทิเช่น ครูภาษาไทยคนหนึง่ ถูกเรียกว่า “งิ้ว” ครูภาษาอังกฤษ คนหนึง่ ถูกเรียกว่า “หยัง” ครูเรขาคณิต ถูกเรียกว่า “จิ๋ม” ครูฝรั่งเศส ถูก เรียกว่า “โอลีฟ” ฯลฯ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 109
ภาร โรง พวกเราก็ไม่ยกเว้น ตั้งฉายาให้ นายเทือง เราเรียกว่า “เทือกหลอก” นายมา เราเรียก ว่า “มาต๋อย” ฯลฯ คนในครัว โดยเฉพาะคณะผู้บังคับการ มีคนแก่คนหนึง่ พวกเราเรียกว่าป้าแก่ แครี่ อีกคนหนึง่ ด�ำล�่ำบึ้ก เรียกว่า บ๋อยคอง (คิงคอง) ยามแขกที่มาจากอินเดีย เฝ้าประตูหน้าบ้าน ผู้บังคับการ เราเรียกว่า “บาบู” ฯลฯ ใครก็ได้ ที่เรียกชื่อเหล่านีข้ ึ้นมาสักชื่อหนึง่ ก็ท�ำเอาพวกเราอมยิ้ม นึกถึงวันเก่าๆ โลกและ อาณาจักรของพวกเราผุดพรายขึ้น เหมือนเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านัน้ เกิดขึ้นเมื่อวันวาน มันเกิดขึ้น จริงจับต้องได้ มีบรรยากาศและรู้สึกได้จริง รับรสแห่งความสุข หนึง่ ร้อยหก – หนึง่ ร้อยห็อก พวกเราหัวเราะกันทั้งคณะ เมื่อยามใดก็แล้วแต่ที่มีการนับแถว หก กลายเป็น ห็อก ด้วยส�ำเนียงแบบเด็กใต้คนจังหวัดภูเก็ต จึงกลายมาเป็นฉายาของเขาติดตัว ไปใช้อยู่ทุกวันนี้ ไอ้ห็อก เห็นมั้ยล่ะ อิทธิพลของ ฉายา ที่ทำ� ให้มี ฉายานุสรณ์
ฉา เอ๋ย ฉายา ปรากฏ นามเพื่อน น้องพี่ ครูบา อาจารย์ ก็มี เจ้าหน้าที่ นักการ ภารโรง แม่ครัว คนเสิร์ฟอาหาร ร้านค้า เรือนจาก ปากโพล่ง ผู้ปกครอง หลานลูก ผูกโยง เค้าโครง ได้สาระ อมตะเอย
110
ฆ้องวง (รุ่น ๔๘) โอวี จันทบุรี
หอประชุม
วชิราวุธวิทยาลัย
โรงเรียนนานาชาติ มี ลู ก ศิ ษ ย์ ห ญิ ง ระดั บ ปริ ญ ญาโทของ ผู้เขียนคนหนึ่งมาปรึกษาเรื่องส่วนตัว (ปกติผ้เู ขียนไม่ค่อยรับปรึกษาเพราะยุ่ง มาก) เนือ่ งจากทุกคนมีปญ ั หาส่วนตัวกันเยอะ ๆ ทั้งนั้นและผู้เขียนก็ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการฝึกฝน มาทางจิ ต วิ ท ยาแบบนัก ให้ ค� ำ ปรึ ก ษาอาชี พ (Counselor) และนิสิตที่เกษตรฯ มักมีปัญหา ส่วนตัวประเภทปัญหาหัวใจมาปรึกษาอยูบ่ อ่ ย ๆ ซึ่งผู้เขียนออกจะจนปัญญาเพราะอายุมากแล้ว และไม่ได้มีเรื่องรักคนนีด้ ้วยใจภักดิ์ แต่รักคน นัน้ ด้วยใจปองมานานจนลืมไปแล้วว่าไอ้เรื่อง รัก ๆ ใคร่ ๆ ของวัยรุ่นนัน่ เป็นยังไง (กลัวจะให้ ค�ำปรึกษาแบบพากันเข้ารกเข้าพงกันไปหมด) แต่เรือ่ งทีล่ กู ศิษย์คนนีม้ าปรึกษาเป็นเรือ่ งทีม่ ขี อ้ ยกเว้นเพราะเธอมาปรึกษาเรื่องจะย้ายลูกชาย ของเธอที่เรียนอยู่ชั้นประถมต้นจากโรงเรียน
นานาชาติมาสอบเข้าโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เธออ้างเหตุผลในการขอค�ำปรึกษาเรื่องส่วนตัว ของเธอว่าในฐานะทีผ่ เู้ ขียนเป็นโอวี จึงเป็นความ รับผิดชอบของสถานภาพของผู้เขียนที่จะต้อง ให้ความเห็นในเรื่องนีด้ ้วย เมื่ อ เธอมี เหตุ ผ ลหนัก แน่ น แสดงว่ า ได้ท�ำการบ้านมาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้เขียนจึง ตกลงทีจ่ ะฟังปัญหาของเธอโดยออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนได้จบการศึกษาจากวชิราวุธฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ นับเนื่องมาถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ ก็เป็น เวลา ๔๓ ปี มาแล้ว จริงอยู่ที่ผู้เขียนก็ยังคง แวะเวียนไปที่โรงเรียนบ่อย ๆ และในช่วงต้น พ.ศ. ๒๕๔๗ ผู้เขียนได้รับค�ำเชิญให้เข้าไปช่วย ศึกษาถึงวิธีการปรับปรุงการเรียนการสอนของ โรงเรียนวชิราวุธฯ จากอดีตผู้บังคับการ ศ.ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิชเป็นระยะเวลาสัน้ ๆ เท่านัน้ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 111
และเรื่องโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยก็ เคยไปเยี่ ย มชมและศึ ก ษาด้ ว ยตนเองอย่ า ง ผิวเผินเต็มที ดังนั้นอย่าได้ถือเรื่องที่ผู้เขียน จะให้ค�ำปรึกษาจริงจังมากนัก ขอให้ถือว่าเป็น ความเห็นหนึง่ เท่านัน้ ก็แล้วกันเนื่องจากผู้เขียน ไม่อยากถูกด่าหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นกับ ลูกเต้าของคนอื่น หลั ง จากตกลงกั น เรื่ อ งกติ ก ากั น เรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนก็ถามว่า “เมื่อ ลู ก โตขึ้น แล้ ว อยากให้ลูกเป็น อะไร” ลูกศิษย์ก็เลยหัวเราะแล้วพูดว่า “อาจารย์เล่นเอาเรื่อง MBO (Management By Objective) มาใช้กับการเลี้ยง ลูกเลยหรือ”
112
ผู้เขียนต้องอธิบายว่าการเอาวิชาการ มาประยุ ก ต์ ใช้ กั บ ชี วิ ต ประจ� ำ วั นนั้นคื อ การ ศึกษาที่แท้จริงและไม่ใช่เอาเฉพาะเรื่องวิชาการ บริหารเท่านั้นหากแต่ต้องเอาวิชาสังคมวิทยา และวิชาประวัติศาสตร์มาใช้ด้วยกล่าวคือแต่ เดิมมาสังคมไทยเป็นสังคมการเกษตร ซึ่งการ ท�ำการเกษตรนัน้ เป็นงานที่หนักมาก ดังนัน้ เมื่อ ผู้คนแก่เฒ่าลงก็ไม่มีก�ำลังที่จะท�ำงานหนักใน ท้องไร่ท้องนาได้ก็ต้องหวังพึ่งแรงงานลูกเพื่อ จะได้ด�ำรงชีวิตต่อไปได้ในยามเฒ่าชราลง ครั้น สังคมไทยได้พัฒนาขึ้นตามกาลเวลากลายเป็น สังคมอุตสาหกรรมและสังคมข้อมูลข่าวสาร ไปแล้ว จึงมีวิถีชีวิตแปรเปลี่ยนไป พ่อแม่ยาม แก่ชราก็มีเงินบ�ำเหน็จบ�ำนาญไว้ใช้เลี้ยงชีพ ไม่ ต้องหวังพึ่งพิงลูกเหมือนสมัยที่ยังเป็นสังคม
การเกษตรอยู่ แต่กลับเป็นไปว่าพ่อแม่ต้อง คอยช่วยเหลือลูกยาวนานขึ้นไปอีกแบบว่าลูก อายุ สี่สิบกว่าขวบแล้วยังต้องขอสตางค์พ่อใช้ อยู่เป็นนิจ ประเด็นทีจ่ ะต้องตีให้แตกเรือ่ ง “เมือ่ ลูก โตขึ้นแล้ว อยากให้ลูกเป็นอะไร” มีให้เลือก ๒ ข้อเท่านัน้ เอง คือ ๑. อยากให้ลกู เป็นอย่างทีเ่ รา (พ่อ-แม่) ต้องการ (ชอบ) ๒. อยากให้ เป็ น อย่ า งที่ ลู ก ต้ อ งการ (ชอบ) ส�ำหรับข้อแรกนั้นดูเหมือนพ่อแม่ใน เมืองไทยจะเป็นแบบนี้กันเยอะ คือเลี้ยงลูก แบบท�ำโปรเจ็ค คือตัวเองอยากเป็นอะไรแล้ว ไม่ได้เป็น อาทิ พ่ออยากเป็นนายต�ำรวจหรือ อยากเป็นนายทหารแต่ไม่ได้เป็นก็หันมาทุ่มเท เอากับลูกให้เป็นตัวแทน (Vicariously) ซึ่ง หากลูกต้องการ (ชอบ) อย่างเดียวกันก็ดีไปแต่ ถ้าลูกชอบอย่างอื่นก็มักจะมีโศกนาฏกรรมเกิด ขึ้นอยู่เสมอ ๆ ผู้เขียนเห็นบ่อยจนเซ็ง เช่นพ่อต้องการ ให้ลูกเป็นนักปกครอง (นายอ�ำเภอ, ข้าหลวง) จึงบังคับให้ลูกเรียนรัฐศาสตร์ แต่ลูกดันชอบ เรื่องโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ไปเสียนีก่ ็เลย เกิดอาการกบฏไม่เรียนมันเสียดื้อ ๆ ร้อนถึง อาจารย์ที่ปรึกษา (ผู้เขียนนัน่ แหละ) ต้องปวด กบาลไปด้วย อีกกรณีหนึ่งหรือสองกรณีที่คล้าย ๆ กัน คือพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นนักวิทยาศาสตร์
ซึ่งลูกก็ท�ำได้ดีในช่วงต้นขนาดสอบชิงทุนไป เรียนเมืองนอกได้ แต่พอเรียนไปสองปีลูกเกิด ตระหนักว่าตัวเองไม่ชอบเป็นนักวิทยาศาสตร์ คนหนึ่ง อยากเป็ นนัก เขี ย นเลยหั น มาเอาดี ทางการเป็นนักประพันธ์แต่ก็ยังเรียนหนังสือ เพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ต่อไปเป็นงานอดิเรก แบบว่าเรียนไปให้พอไม่สอบตกก็พอแต่หันมา เขียนหนังสืออย่างจริงจังซึ่งก็เขียนได้ดีได้รับ รางวัลระดับชาติด้วย ส่ ว นคนที่ ส องอาการหนั ก กว่ า มาก แบบว่าเลิกเรียนเลยจนถูกส่งตัวกลับซึ่งเขาก็ ก�ำลังแสวงหาสิ่งที่เขาต้องการ (ชอบ) อยู่ใน ปัจจุบัน แต่ที่แน่ ๆ คือเขาไม่ชอบที่จะเป็นนัก วิทยาศาสตร์ เรื่ อ งชอบไม่ ช อบในอาชี พ นี่ ส� ำ คั ญ จริ ง ๆ นะครั บ เนื่ อ งจากเป็ นความสุ ข ของ มนุษย์เราทุกคนกล่าวคือหากเรามีความสุข เนื่องจากชอบอาชีพของเราก็จะทุ่มเทในการ ท�ำงานอย่างไม่รจู้ กั เหน็ดเหนือ่ ยและย่อมท�ำงาน ได้ดีประสบความส�ำเร็จในชีวิตโดยไม่รู้สึกว่า ตัวเองได้ท�ำงานเลยชีวิตการท�ำงานก็เหมือน กับ Everyday is a holiday ขออนุญาตยก กรณีตัวอย่างของตัวผู้เขียนเองที่ตัวเองชอบ อ่านหนังสือ มีความสุขจากการอ่านหนังสือและ ชอบเล่าเรือ่ งหรือพูดคุยเรือ่ งทีไ่ ด้อา่ นมากับใคร ก็ได้ที่ยอมฟัง ดังนัน้ เมื่อมีอาชีพสอนหนังสือ ในมหาวิทยาลัยก็เลยเป็นอาชีพในฝันที่รับจ้าง รัฐบาลอ่านหนังสือแล้วก็มีคนต้องนัง่ ฟังเรื่องที่ อ่านมาเป็นร้อยเป็นพันแบบว่าถ้าหากไม่นงั่ ตัง้ ใจ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 113
ฟังดี ๆ ในเรื่องที่ผู้เขียนคุยในชั้นก็มีโอกาสที่ จะสอบตกเอาง่าย ๆ อาชีพของผู้เขียนในฐานะ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจึงเป็นการท�ำงานแทบ ทุกวันที่เหมือนกับ Holiday ยังไงยังงั้นเลย แต่ ห ากคนเราไม่ ช อบอาชี พ ที่ ตั ว เอง ท�ำอยู่ การท�ำงานทุกวันก็ดูเหมือนจะเป็นการ ทนทุกข์ทรมานยังไงพิกล พอถึงเช้าวันจันทร์ แต่ละสัปดาห์ก็เหมือนกับจะตายให้ได้ หากมี โอกาสจะเบี้ยวงานได้ก็จะเบี้ยวทุกโอกาสและ อยู่ที่ท�ำงานแต่ละวัน ดูมันเจ็บปวดเป็นทุกข์ เป็ น ร้ อ นเหลื อ เกิ น ความทุ ก ข์ ข องคนที่ เกลียดงานของตัวเองนัน้ มันใหญ่หลวงนัก ครับ ! ดังนัน้ หากรักลูกจริง อยากให้ ลูกมีความสุขในการด�ำรงชีวิตไม่ใช่หวังจะให้ ลูกเป็นโน่นเป็นนี่อย่างทั่วพ่อแม่ปรารถนาก็ ควรต้องศึกษาว่าลูกนัน้ ชอบไปในทางไหน แต่ ก็มิได้หมายความว่าปล่อยให้ลูกเลือกเอาเอง อย่างเต็มที่ ๑๐๐% เนือ่ งจากลูกยังเป็นเด็กไม่มี ประสบการณ์ในชีวติ ถ้าให้เลือกเองก็คงจะเรียน นิเทศศาสตร์หรือไม่กอ็ ยากเป็นดาราภาพยนตร์ หรือ ที.วี. กันแทบทั้งนั้น พ่อแม่ต้องคอย สังเกตและส่งเสริมในสิ่งที่เขาถนัดและท�ำได้ดี และให้โอกาสลูกทดลองในวิชาการและวิชาชีพ ที่หลากหลายเพื่อลูกจะได้รู้แน่ ๆ ว่า ตัวเอง ชอบอะไรและอยากเป็นอะไร เพราะว่าเด็ก ๆ มักมีลักษณะหลงใหลคลั่งไคล้ (Infatuation) สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ง่าย ๆ แต่ไม่ใช่เป็นการถาวร เหมือนกับบรรดาวัยรุน่ ทีห่ ลงใหลคลัง่ ไคล้ดารา 1
ข้อมูลจาก ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์
114
นักร้อง นักแสดงคนใดคนหนึ่งอย่างบ้าคลั่ง แต่ก็เป็นอยู่ชั่วระยะเวลาสั้น ๆ แบบเห่อแฟชั่น นั่นแหละ อย่ารีบร้อนตัดสินว่าลูกชอบอะไร อยากเป็นอะไรเร็วจนเกินไป ครั้ น ได้ ค� ำ ตอบเรื่ อ งเมื่ อ ลู ก โตแล้ ว อยากให้ลกู เป็นอะไร ว่าเป็นแบบพ่อแม่ตอ้ งการ หรือตามแบบที่ลูกต้องการแล้วก็จึงจะมาถึงว่า ระหว่างโรงเรียนวชิราวุธฯ กับโรงเรียนนานาชาติ นัน้ โรงเรียนแบบใดจึงจะเหมาะสมกับลูก (พ่อ แม่ตอ้ งตัดสินใจนะครับ จะใช้ความคิดเห็นของ ลูกซึง่ เป็นเด็กเป็นบรรทัดฐานไม่ได้เพราะเด็กยัง ไม่มีประสบการณ์ชีวิต ผ่านโลกมาน้อย จะฟัง เด็กข้างเดียวไม่ได้ เหมือนครูอาจารย์ถามลูก ศิษย์ว่า “วันนีจ้ ะเรียนไหม” หรือว่า “วันนีจ้ ะ สอบไหม” ซึ่งค�ำตอบก็คงเดาได้ไม่ยากนักว่า “ไม่เรียน” และ “ไม่สอบ” เท่านัน้ เอง เอาละ ! ลองเปรี ย บเที ย บระหว่ า ง โรงเรียนวชิราวุธฯ V.S. โรงเรียนนานาชาติดู ๑. เรื่องที่ส�ำคัญมาก ๆ ถ้าไม่ใช่ส�ำคัญ ที่สุดก็คือ ค่าใช้จ่ายในการส่งลูกเรียนระหว่าง โรงเรียนวชิราวุธฯ กับโรงเรียนนานาชาติ (ซึ่ง โดยมาตรฐานก็มีแบบอังกฤษกับแบบอเมริกัน) ๑.๑ ค่าเล่าเรียน (Fees & Tuition) โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย1 มี ๓ เทอม เทอมละ ๕๐,๐๐๐ บาท รวมปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท ๑.๒ ค่าเล่าเรียน (Fees & Tuition) โรงเรียนนานาชาติ แบบอเมริกัน (ISB) 2
๑. ค่าใบสมัคร ๔,๕๐๐ บาท ๒.ค่า ธรรมเนียมลงทะเบียนแรกเข้า (ค่าแป๊ะเจีย๊ ะนัน่ แหละ) ๒๔๐,๐๐๐ บ. ๓. ค่าธรรมเนียมประจ�ำ ปี (เงินกินเปล่า) ๒๐,๐๐๐ บาท ๔. ค่าเล่าเรียน (ประถม) ปีละ ๓๙๔,๐๐๐ บาท ๕. ค่ า เล่ า เรี ย น (มั ธ ยมต้ น ) ปี ล ะ ๖๘๑,๐๐๐ บาท ๖. ค่าเล่าเรียน (มัธยมปลาย) ปีละ ๗๑๔,๐๐๐ บาท ๑.๓ ค่าเล่าเรียน (Fees & Tuition) โรงเรียนนานาชาติแบบอังกฤษ (ยกตัวอย่าง โรงเรียนแฮโรว์ในไทย) 3 ๑. ค่าใบสมัคร ๕,๐๐๐ บาท ๒. ค่า แป๊ะเจี๊ยะ ๑๕๐,๐๐๐ บาท ๓. ค่าประกัน (ได้ คืนตอนออก) ๗๕,๐๐๐ บาท ๔. ค่าเล่าเรียน ม.ปลาย ปีละ ๕๘๔,๗๒๐ บาท ส่วนประถม – มัธยมต้นเริ่มที่ ๕๐๕,๕๘๐ บ.- ๕๗๙,๓๘๐ บาท ดั ง นั้น เรื่ อ งค่ า ใช้ จ ่ า ยก็ ห มดเรื่ อ งไป เนื่องจากมันเทียบกันไม่ได้ แต่หากมีเงินเยอะ จนกลุ้มใจก็ให้ลกู เรียนทีโ่ รงเรียนนานาชาติกไ็ ม่ ผิดกติกาแต่อย่างใด ๒. ส่ ว นเรื่อ งภาษาอังกฤษ แน่นอน โรงเรี ย นนานาชาติ ย ่ อ มต้ อ งดี ก ว่ า โรงเรี ย น วชิราวุธฯ แน่นอนเพราะเขาใช้ภาษาอังกฤษใน การเรียนการสอน ข้อนี้ Uncontested ๓. ทางเลื อ กส� ำ หรั บ นัก เรี ย นที่ จ ะมี โอกาสเลือกสิง่ ทีต่ นเองชอบและเหมาะทีย่ ดึ เป็น 2
และ 3 ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
แนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต ข้อนี้ ทั้งวชิราวุธฯ และโรงเรียนนานาชาติดูจะสูสี เสมอกันเพราะทิ้งห่างโรงเรียนของรัฐบาลไทย แบบไม่เห็นฝุน่ เนือ่ งจากโรงเรียนของรัฐบาลไทย มี ก ารเรี ย นการสอนแบบเจ้ า ขุ น มู ล นายและ ใช้วิธีการสอนและจัดระบบเพื่อเตรียมนักเรียน ออกไปท�ำงานในโรงงานอุตสาหกรรม กล่าว คือสอนให้เชื่อฟัง อยู่ในกรอบและห้ามคิดซึ่ง วิธีการของคลื่นลูกที่หนึง่ (เกษตรกรรม) และ คลื่นลูกที่สอง (อุตสาหกรรม) ในขณะที่โลก ปั จ จุ บั น ได้ เข้ า สู ่ ค ลื่ น ลู ก ที่ ส ามคื อ ยุ ค ข้ อ มู ล ข่าวสารคอมพิวเตอร์กันนานแล้ว การบริ ห ารงานที่ เ ลวร้ า ยที่ สุ ด ของ โรงเรียนรัฐบาลไทยคือสอนและติวเข้มเฉพาะ ห้องคิงส่วนนักเรียนห้องอื่น ๆ ก็ช่างหัวมันและ การติวก็คือการเอาข้อมูลมาป้อนมาก ๆ และ ท�ำแบบฝึกหัดทั้งวัน ไม่ค่อยได้คบได้เล่นหัว กับใคร บรรดาเด็กที่จบออกมาจากการเรียน การสอนแบบห้องคิงแล้วก็มกั จะดูขาด ๆ เกิน ๆ ยังไงพิกล แบบว่าเข้ากับสังคมล�ำบาก โรงเรียนวชิราวุธฯ และโรงเรียนนานาชาติ มีวิธีการสอนแบบให้ คิดเป็น ท�ำเป็น และ เลือกเป็น เพราะยุคข้อมูลข่าวสารคอมพิวเตอร์ นีจ้ ะมีขอ้ มูลปริมาณมากมายมหาศาลต้องเลือก ทิง้ เสียมากหากเลือกไม่เป็นจะถูกข้อมูลทับตาย หรือเลือกผิดก็อาจตายได้ง่าย ๆ เหมือนกัน ส�ำหรับวชิราวุธฯ นัน้ เน้นการศึกษาแบบ ๔ ขา (มั่นคงดี) แบบมุ่งหมายให้เด็กวชิราวุธฯ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 115
เป็นผู้ดี เป็นผู้ที่มีศาสนาคือ ๑. พุทธิศกึ ษา คือ วิชาการความรูท้ วั่ ไป ซึ่งโรงเรียนทั่วไปมักเน้นแต่พุทธิศึกษาเพียง อย่างเดียวแต่การศึกษาแบบนีท้ ำ� ให้ผเู้ รียนออก มาเป็นแบบหัวโต ส่วนตัวและแขนขาลีบไปหมด ๒. จริยศึกษา คือ ความรู้ที่เน้นสอน ให้คนเป็นคนดีด้วยการน�ำศาสนาเข้ามาสอนใน โรงเรียนและความสุภาพอ่อนโยน มีมารยาทใน การเข้าสังคม โดยนักเรียนวชิราวุธฯ ทุกคนต้อง มีศาสนา (ไม่จำ� กัด) เนื่องจากศาสนาทุกศาสนา สอนคนให้เป็นคนดี ๓. พลศึกษา คือ ความรู้ที่มุ่งสอนให้ ผูเ้ รียนมีรา่ งกายแข็งแรง รูจ้ กั การท�ำงานเป็นทีม ดูคนออก มีน�้ำใจนักกีฬา รู้จักกาลเทศะ ๔. หัตถศึกษา คือ เรียนการใช้มือ เช่น ท�ำเวรคือท�ำความสะอาดคณะ งานปั้น งาน วาดเขียน รวมทั้งศิลปะและดนตรี แบบว่าใช้ มือเป็นว่างั้นเถอะ ส่วนโรงเรียนนานาชาตินนั้ เขาเน้นทีพ่ ทุ ธิ ศึกษากับพลศึกษาและหัตถศึกษาส่วนเรื่อง จริยศึกษาเขาไม่ค่อยเน้นเท่าไรนัก โรงเรียนของไทยอืน่ ๆ ทัง้ โรงเรียนหลวง และโรงเรียนราษฎร์มักเน้นแต่พุทธิศึกษาอย่าง เดียว คือให้เก่งแต่ทางวิชาการเท่านัน้ น่ากลุ้ม ใจนัก ถ้าท�ำส�ำเร็จก็จะได้แต่คนหัวโต ตัวและ แขนขาลีบ และเห็นแก่ตัว แต่ส่วนใหญ่ของ 4
นักเรียนมักไม่ค่อยส�ำเร็จกลายเป็นคนสุก ๆ ดิบ ๆ น่ากลุ้มใจ แบบเด็กแว้นท์ เด็กสะก๊อยที่ เห็น ๆ กันนัน่ แหละ แต่ทงั้ วชิราวุธฯ และโรงเรียนนานาชาติ 4 ซึ่งท�ำการสอนในระดับต้น (ประถม) และระดับ กลาง (มัธยม) นัน้ มีลกั ษณะแบบ Train to Be Trainable เหมือนกันคือฝึกให้นกั เรียนมีความ สามารถเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นอะไร หรือมีอาชีพ อะไร ได้ง่ายดายมากขึ้นในการศึกษาระดับสูง (อุดมศึกษา - มหาวิทยาลัยและวิชาชีพต่าง ๆ ) ผู้เขียนสรุปว่าถ้าอยากให้ลูกใช้ชีวิต อยู ่ ในประเทศไทยก็ ค วรให้ เรี ย นที่ โรงเรี ย น วชิราวุธฯ เพราะวชิราวุธฯ สั่งสอนอบรมตาม แบบวัฒนธรรมไทย ลูกโตขึ้นจะไม่รู้สึกแปลก แยกจากสังคมไทย แต่ถ้าอยากให้ลูกใช้ชีวิต อยูต่ า่ งประเทศก็ให้ลกู เรียนทีโ่ รงเรียนนานาชาติ (หากมีเงินทองเหลือใช้อย่างว่า !) เนื่องจาก โรงเรียนนานาชาติ (ที่จริง ๆ ไม่ใช่โรงเรียน นานาชาติประเภทก�ำมะลอ ซึ่งมีเยอะเป็นบ้าใน เมืองไทย) เขาอบรมแบบเตรียมการให้เหมาะสม กับการใช้ชีวิตในสังคมตะวันตกแต่ปรับตัวให้ เข้ากับสังคมไทยยากหน่อย ดังนัน้ ควรจะไปใช้ ชีวิตในต่างประเทศดีกว่า ง่ายดีไหม ? โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (รุ่น ๓๙)
หมายเหตุ โรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยมีเยอะต้องเช็คดูให้ด ี ๆ ที่หลอกลวงมีมากกว่าของจริง ดังนัน้ ต้อง รอบคอบระมัดระวังให้ดี
116
ระฆังกีฬา คุยกับโอวีก่อนไปเข้าแถว
นักการตลาดตัวยง ผู้อยู่เบื้องหลัง
ความส�ำเร็จ
ร้านสะดวกซื้อเจ้าแรก ของประเทศไทย “เฮ้ย.. เดี๋ยวแวะ เซเว่นอีเลฟเว่น หาอะไรกินหน่อย” ทีมงานอนุมานวสารท่านหนึ่งที่นั่งด้านหลังรถกล่าวกับเพื่อน ทีมงานอนุมานวสารอีกท่านหนึง่ ทีก่ �ำลังขับรถ ในตอนเย็น ๆ ของ วันอาทิตย์วันหนึง่ ทีมงานอนุมานวสาร ๓ คนก�ำลังอยูร่ ะหว่างทางไปสมทบ กับทีมงานอนุมานวสารท่านอื่น ๆ เพื่อสัมภาษณ์นกั เรียนเก่าฯ ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา รุ่น ๔๖ นักการตลาดชั้นแนวหน้าของ ประเทศไทย
118
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 119
“ได้ยินมาว่าพี่คนนี้เป็นผู้บุกเบิกร้าน สะดวกซือ้ เซเว่นอีเลฟเว่น เข้ามาในประเทศไทย และกลายมาเป็นที่แพร่หลายจนถึงทุกวันนี้” ทีมงานอนุมานวสารอีกท่านหนึง่ ที่นงั่ ด้านหน้า กล่าว “โอวี เรานี่ เก่ ง ๆ ทุ ก คนเลยเนอะ” คนขับเปรย “ได้ยินมาว่าพี่คนนี้สมัยอยู่โรงเรียน เรียนไม่เก่ง แต่ภายหลังจบด็อกเตอร์ด้านการ ตลาดจากอเมริกา และได้ยินมาอีกว่า สู้ชีวิต น่าดูตอนอยู่ที่นนั่ ” “สู้อย่างไง” คนขับสงสัย “มหาวิทยาลัยกับบ้าน อยู่คนละเมือง กันเลย ไกลมากหลายร้อยกิโลเมตร ขับรถเป็น ชั่วโมง ๆ กว่าจะไปถึง” “ท�ำไมอ่ะ?” คนขับยังสงสัยต่อ “นัน่ นะดิ” เพื่อนที่เล่าก็สงสัย “และได้ยินเรื่องแปลก ๆ เกี่ยวกับพี่ คนนี้มาอีก คือ พี่เขาสะสมพระเต็มบ้านเลย” “ไม่เห็นแปลกตรงไหนเลย มีคนสะสม พระตั้งเยอะตั้งแยะ” คนขับแย้ง “มั น ก็ ไ ม่ แ ปลกหรอกถ้ า เป็ น พระ องค์เล็ก ๆ แต่นี้เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่มาก หน้าตักเป็นเมตรเลยนะ” “โอ้ว.. เออ.. แปลก ๆ จริง ๆ แล้วท�ำไม ถึงสะสมพระองค์ใหญ่หละ?” คนขับยอมรับ และสงสัย “เอ้า ช่างถามจริง ๆ ไม่รู้แล้ว ๆ เดี๋ยว เจอพี่เขาก็ถามเองละกัน”
120
ประวั ติส่วนตัวสมัยเรียนที่โรงเรียน จนจบด็อกเตอร์ ก่อนอื่น สิ่งแรกที่ผมได้จากโรงเรียน คื อ ไม่ ว ่ า จะเป็ น การเรี ย น ดนตรี กี ฬ า ปฏิบตั ธิ รรมใช้หลักเดียวกัน คือ ต้องหมัน่ ซ้อม แค่นนั้ จบ ตอนอยูโ่ รงเรียน ผมกับหม่อมถุง (ม.ล. จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖) เนี่ย สอบได้ที่ติด กันเรื่อยมา ห้อง ข ไป ก ห้อง ก ไป ข ตั้งแต่ ชัน้ ป.๕, ๖, ๗ เรียนไม่เก่งอยูร่ ะดับกลาง ๆ แต่ ก็เคยได้ถือใบคะแนนบ้าง พอจบจากโรงเรียนมา ผมไปเรียนบัญชี ที่มหาวิทยาลัยหอการค้า ไปเรียนแบบไม่รู้ตัว ไม่ได้ตั้งใจ เพราะเพื่อนพาไปเพื่อให้เล่นรักบี้ ด้ ว ยกัน คุ ณ เชื่อ มั้ย ตอนผมจบปริญ ญาตรี ผมแปลกใจว่า ท�ำไม Transcript ของผม หน่วยกิตจึงมากกว่าของคนอืน่ พอไปดูปรากฏ ว่าวิชาเลือกเราลงหมดเลย เค้าให้เรียน ๑๔๙ หน่วยกิต เราดันลงไปประมาณ ๑๖๐ หน่วยกิต แสดงว่า เราไม่ค่อยได้สนใจเรียนจริง ๆ จุดเปลี่ยน (Turning Point) แรก คือ ผมเรียนบัญชี แต่ผมได้ A วิชากฎหมายเยอะ เกือบทุกตัว ผมจึงตัดสินใจเรียนต่อนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นภาคบัณฑิต (ภาคค�่ำ) และตอนเช้าก็เรียนปริญญาโทด้าน การบริหารจัดการทีจ่ ฬุ าฯ ไปด้วย ทีจ่ ฬุ าฯ ผมก็ เล่นรักบีส้ าเหตุทเี่ ล่นมาจากพีท่ เี่ ค้าเป็นประธาน ชมรมซึ่งยังเรียนปริญญาตรีอยู่เป็นเด็ก ภ.ป.ร.
ชวนให้เล่นให้กับทีมสโมสรจุฬาฯ วันหนึง่ ผมเห็นพี่คนนี้ เค้านัง่ เศร้าเลย ถามว่าเกิดอะไรขึ้น พี่เค้าเล่าให้ฟังว่า เมื่อคืน น้องสาวเค้าเสียชีวติ เนือ่ งจากถูกรถสิบล้อถอย มาทับ เราก็แสดงความเสียใจไป พี่เค้าบอกว่า น้องของเขาเรียนเก่งมาก ท่องได้ทกุ อย่าง อย่าง โจทย์เลขน้องเค้าจ�ำได้ทุกข้อ เห็นข้อสอบแล้ว ไม่ต้องคิด จ�ำค�ำตอบได้หมดพร้อมวิธีท�ำด้วย ท�ำให้ผมนึกถึงตัวเองว่าตั้งแต่ผมเรียนมาจน จบ ปริญญาตรีเราไม่เคยท่องอะไรเลย ผมจึง ตั้งใจเรียนปริญญาโทมากกว่าตอนปริญญาตรี ท่องใหญ่ ท่องทุกอย่างจนเรียนจบ มันแปลก ตรงที่วิชาที่เป็น Marketing ผมได้ A หมด ผมจึงคิดตั้งแต่ตอนนัน้ ว่า สงสัยผมต้องเอาดี ทาง Marketing แล้ว ตอนนั้นคุณพ่อของผมท่านท�ำงานอยู่ ที่ธนาคาร ก็อยากให้ผมท�ำธนาคารบ้าง ท่าน เดินหมากให้ผมเรียนบัญชี ตอนบ่าย ๆ หลัง เรียนโททีจ่ ฬุ าฯ เสร็จ ผมก็จะมาท�ำงานอยูแ่ ต่ใน ออฟฟิศ เพือ่ เตรียมสอบเป็นผูส้ อบบัญชี แต่ผม ไม่ชอบ ผมมองว่าบัญชีเป็นเรื่องที่อยู่กับอดีต ลง Debit & Credit ตรวจจนริดสีดวงขึ้น และต้องท�ำถึง ๓,๐๐๐ ชม. จึงจะมีคุณสมบัติ สอบเป็นผู้สอบบัญชีได้ ท่านวางแผนว่าให้เรา เรียนจบที่จุฬาฯ และธรรมศาสตร์ฯ แล้วเป็น ผู้สอบบัญชีเลย แต่ผมไม่ชอบและคิดว่าตัวเอง ไม่ชอบอะไรที่เกี่ยวกับตัวเลขแล้ว พอผมจบโทในไทยเรียบร้อย พีช่ ายผม ชือ่ โบ๊ะใหญ่ (อัครเดช โรจน์เมธา รุน่ ๔๕) ก�ำลัง
“ปัจจุบันแพ้ชนะกัน ที่แนวคิด อย่างธุรกิจก็ business thinking เหมือนคนคิดได้ คิดไม่ได้ คิดตก คิดไม่ตก”
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 121
เรียนอยู่ที่อเมริกา เราก็อยากไปบ้าง ผมก็ไม่ ยอมบอกพีผ่ มว่าผมจบโทแล้วจะมาท�ำอะไรอีก แต่ ในใจผมก็ตอบกลับไปว่า กูอยากไปอ่ะ ผม ก็ได้ไปเรียนต่างประเทศ ตอนผมไปเรียนก็เจอ พี่แก่ (ด�ำรงศักดิ์ ศรีสุรินทร์ ผู้ก�ำกับคณะ พญาไท รุน่ ๔๖) พีจ่ อ้ น (ยิง่ ศักดิ์ ผูส้ นั ติ รุน่ ๔๖) พวกเค้าเรียนปีสุดท้ายกันแล้ว เพราะผมเรียน โทในไทยไปก่อน ผมเรียนที่อเมริกาโดยการ
122
โอนหน่วยกิตไป ท�ำให้ผมเรียนแค่อีก ๑๐ วิชา ใช้เวลาประมาณ ๒ เทอมกับอีก ๑ Summer (เรียนภาคฤดูร้อน) ก็จบ ระหว่างเรียนผมก็ท�ำงานไปด้วยท�ำให้ ผมได้พบจุดเปลี่ยนที่สองของชีวิตผมและเป็น จุดเปลีย่ นของประเทศไทยด้วย คือผมได้ทำ� งาน ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งเป็นร้านแรกเลย เป็น ของบริษัท Southland ตั้งอยู่ที่เมืองดัลลัส
รัฐเท็กซัส สมัยนัน้ เจ้าของคือตระกูล Thompson บ้านเขาก็อยู่ข้างหลังร้าน เราก็ไม่รู้เรื่องหรอก เราก็ท�ำงานขายของไป พอผมเรียนจบก�ำลังจะกลับไทยแล้ว ปรากฏว่าน้องสาวของผมมาเรียนต่ออีก ทางบ้าน ผมเลยบอกให้ผมต้องอยู่ต่อจนกว่าน้องสาวจะ จบ ก็อีกประมาณ ๒ ปี ตอนนัน้ ผมก็คิดอยู่ใน ใจว่า คนอยู่ในอเมริกาท�ำอยู่ ๒ อย่างคือ เรียน
ต่อหรือไม่ก็ติดพนัน เสียบอล จนไม่มีเงินกลับ บ้าน ผมจึงตัดสินใจเรียนต่ออีก ตอนนัน้ สอบ GMAT เพิ่ม แต่ TOFEL ไม่ต้องใช้ เพราะ เราจบโทในอเมริกาแล้ว ขณะเดียวกันก็ทำ� งาน เก็บเงินเรียนต่อไปด้วย ตอนนัน้ หม่อมถุงก็อยู่ ห้องที่ผมอยู่คล้าย ๆ สตูดิโอ วันศุกร์,เสาร์, อาทิตย์ เพื่อน ๆ ผมจะมานอนด้วยกัน เชื่อมั้ย ตั้งแต่หน้าห้องจนถึงหน้าห้องน�้ำ เผลอ ๆ ไป นอนในห้องน�ำ้ ด้วย ตอนนัน้ พี่น้อง (อโนมา) ก็ มา มีหน้าที่ทำ� ไก่อบมากินกันวันเสาร์ อาทิตย์ ผมท�ำงานที่เซเว่นอีเลฟเว่น ผมรู้สึกว่า ผมคล้ายก�ำนันเพราะคนในหมูบ่ า้ นแถวนัน้ ใคร จะมาท�ำงาน เราก็ฝากให้เข้าท�ำงานได้ เวลาตอน ผมท�ำงานคือ ๒ วัน จึงได้นอนทีหนึง่ คืออย่างนี้ ถ้าผมท�ำงานตอนเช้าจะได้ชวั่ โมงละ ๓.๘๐ เหรียญ ถ้าท�ำงานกะดึกจะได้ ๔.๖๐ เหรียญ ผมจึงเลือก ท�ำกะดึกแล้วก็เขียนจดหมายมาบอกที่บ้านว่า ผมเป็น Night Manager เป็นผู้จัดการกะดึก ที่บ้านเราดีใจกันใหญ่ จริง ๆ แล้ว กลางดึกมี ผมท�ำงานคนเดียวนัน่ แหละ ท�ำตั้งแต่ ๕ ทุ่ม- ๗ โมงเช้า ได้นอนนิด เดียว พอ ๙.๓๐ น. ทานข้าวเสร็จ ก็ขับรถไป ร้านอาหารไทย ชือ่ ร้านสวัสดี ถึงร้านก็ประมาณ ๑๐ โมงไปท�ำงานตักกับข้าวอาหารไทยถึงบ่าย ที่ ร้านเวลาขายกับข้าวจะขายเป็นชุด ชุด ๑ ชุด ๒ ชุด ๓ อย่างชุดที่ ๑ ก็เป็นข้าวผัดพร้อม Spring Roll (ปอเปี้ยะทอด) แล้วก็มี Beef Broccoli (เนื้อผัดบล็อคโคลี่) ตักใส่ถาดคล้าย ๆ ถาด กระเบื้อง ตักอยู่ ๔ ชม. มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 123
ประเด็นส�ำคัญที่สุดก็คือ พอเลิกงาน ผมก็ได้ทานข้าวเที่ยงอีก สรุปคือผมได้ทานข้าว ฟรี ๒ มื้อ พอเสร็จช่วง ๕ โมงเย็น – ตี ๒ ผม ไปเป็นเด็กเสิร์ฟอยู่ที่ร้านอาหารญี่ปุ่น ต้องขับ รถไปอีก ๔๐ ไมล์ ร้านตั้งอยู่แถวตอนเหนือ ชีวิตผมช่วงนัน้ จะมี ๑ คืนที่ได้นอนสลับกับไม่ ได้นอน ๒ คืน ท�ำให้ผมรู้จักว่า การหลับกลาง อากาศคืออะไร พอผมกลับถึงบ้าน เห็นโซฟา ก็กระโดดขึ้น คุณเชื่อมั้ย ระหว่างที่ตัวยังไม่ถึง โซฟา ผมหลับเรียบร้อยแล้ว ไม่ตอ้ งอาบน�ำ้ ด้วย พอน้ อ งสาวผมเรี ย นจบก็ พ ากั น ไป เที่ยวที่ซานดิเอโก ๓ วัน ๒ คืน ไปฮอลลีวู้ด ดู ซีเวิร์ลด์ ดูจนรู้หมดว่าแมวน�้ำมันจะตีลังกา ท่าไหนต่อไป ผมเตรียมซื้อตั๋ว เก็บของกลับ ไทยเรียบร้อยแล้ว พอดีเจอเพื่อนของรุ่นพี่ ที่เป็นอาจารย์สอนที่อ�ำนวยศิลป์ พี่เค้ามีลูก ศิษย์เรียนปริญญาเอกอยู่ที่ United States International University (USIU) ในเมือง ซานดิเอโก ผมจึงได้มีโอกาสยื่นใบสมัครเรียน ไปแต่ ผมไม่ได้หวังอะไร ก็ขับรถกลับเลยใช้ เวลา ๓ วัน ที่เมืองดัลลัสเขารู้กันหมดว่าผม ได้เรียนต่อด็อกเตอร์ แต่ตัวผมไม่รู้ ปรากฏ ตอนนัน้ วีซ่าผมหมดอายุมา ๒ ปีแล้ว กลาย เป็นโรบินฮู้ด (หลบหนีเข้าเมือง) อยู่ในอเมริกา จึงต้องรีบกลับประเทศไทย พอดีหม่อมถุงมี พี่ท�ำงานอยู่ที่กงสุลพอดี จึงช่วยนัดให้ท�ำวีซ่า ไปยื่นเอกสารเค้าก็สแตมป์ให้เสร็จออกมา พี่ เค้าก็ไม่ได้ตรวจว่าเราวีซ่าขาดอายุมานานแล้ว ตอนนัน้ ถ้าไม่ได้หม่อมถุง ผมอดเรียนด็อกเตอร์
124
ผมกลั บ ไปเรี ย นด็ อ กเตอร์ ต ่ อ ที่ ซานดิเอโก แต่พักอยู่ที่ลอสแองเจอลิส ท�ำงาน เป็นผู้จัดการปั๊มน�้ำมันโพโมนา ผมจ�ำได้ใน ห้องเรียนวันแรกอาจารย์ให้ผมแนะน�ำตัวเอง ผมเจอแต่พวกซีอีโอ ใส่สูทใส่อะไรมาเรียนกัน ส่วนผมใส่แจ๊คเก็ตกับกางเกงยีนส์ ผมก็บอกว่า ผมเป็น Gas Station Manager (ผู้จดั การปั๊ม น�ำ้ มัน) พวกนัน้ หันมามองผมกันใหญ่ ทั้งหน้า ทั้งผมของผมมันแผล็บเลยเพราะท�ำงานเสร็จ แล้วมาเรียนต่อเลย ผมเจอเพื่อนร่วมชั้นเรียน เป็นทหารเรืออายุ ๖๐ ผมจึงถามเค้ามาเรียน ท�ำไม เค้าตอบว่ามาเรียนเพื่อไปสอนหนังสือ ส่วนเค้าก็งงว่า ผมยังหนุ่มมาเรียนท�ำไม สรุป ต่างคนต่างงงกัน
“โรงเรียนเรามีหนังสือสวดมนต์ จริง ๆ แล้วมีคุณค่ามาก แต่เราสวดกันจนไม่มีคุณค่า ผมมองว่าเป็นหนังสือที่สุดยอดเล่มหนึง่ ในชีวิต” ผมต้ อ งเดิ น ทางขั บ รถตลอด จาก โพโมน่าถึงซานดิเอโกประมาณ ๑๒๐ ไมล์ เหมื อ นขั บ จากกรุ ง เทพฯ ไปประจวบฯ ผม ท�ำงานตอน ๖ โมงเช้าเลิกตอนบ่าย ๒ แล้วก็ เรียนตอน ๕ โมงเย็นถึง ๔ ทุ่ม ขาไปเรียนผม ต้องนอน ๑ ครั้ง เพราะไม่มีแรงขับรถ ในรถ ผมจะมีพริกเอาไว้ ถ้าง่วงผมจะเคี้ยวพริกเลย ขากลับจอดนอน ๒ ครั้งที่ร้านแม็คโดนัลร้าน ประจ�ำของผม ผมขับรถบ่อยจนกระทั่ง พอ เพลงขึ้นระหว่างทางผมจะรู้เลยว่าผมอยู่ที่รัฐ ไหนแล้ว เพราะรถผมมีเทปม้วนเดียวก็เปิดกลับ ไปกลับมาอยู่อย่างนัน้ ผมเรี ย นด็ อ กเตอร์ ผมลงเรีย นการ ตลาดหมดทุกตัวเลย ที่มหาวิทยาลัยนี้เป็น มหาวิทยาลัยติด ๑ ใน ๑๐ ทางจิตวิทยา เกี่ยว กับพฤติกรรมคลินิก หรือพฤติกรรมศาสตร์ ใครที่เรียนปริญญาเอก ต้องลงเรียน มี ๕ วิชา คือ ๑) Human Behavior ๒) Value & Decision Making ๓) International Perspectives อีก ๒ วิชาผมจ�ำชื่อไม่ได้ เป็น วิชาบังคับ ๕ วิชานีม้ ี Technical Terms (ศัพท์
เฉพาะ) เยอะมากและก็ยากมาก ปรากฏผม เรียนได้ A ๕ วิชาเลย ทุกคนงงหมด เพราะผม ท�ำงานหัวมันแผล็บทุกวัน ท�ำไมถึงเรียนได้ A
แล้ว ๕ วิชานี้มีความส�ำคัญกับพี่ ในการท�ำงานมากน้อยเพียงใดครับ พอผมเรียนจบด็อกเตอร์มาประมาณ ๑๐ ปี ตอนนัน้ ประมาณปี ๙๐ อธิการบดีเค้า บินมาเอเชีย มาหาศิษย์เก่าดีเด่น หาในญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และก็ไทย ผมก็บอกอธิการบดีว่า ๕ วิชานี้ไม่เกี่ยวกับ Marketing (การตลาด) แต่เมือ่ ผมออกไปท�ำงานผมได้ใช้มนั ทัง้ หมดเลย ต่อมามีงาน San Diego Alumni (ศิษย์เก่า ซานดิเอโก) ผมก็เข้าร่วมด้วย เค้าให้ผมไป นั่งกินข้าวกับคณะกรรมการใหม่ พอเสร็จก็ มีการบรรยายให้ฟัง ตกเย็นอยู่ ๆ ผมก็ได้ ติดดอกไม้ที่หน้าอกแล้วก็นั่งกินข้าวเย็นข้าง อธิการบดี พอประกาศศิษย์เก่าดีเด่น ผมได้ และผมก็เป็นต่างชาติคนแรกและคนเดียวตัง้ แต่ ตั้งมหาวิทยาลัยมา มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 125
พอเรียนจบด็อกเตอร์แล้ว พี่ท�ำงานที่ไหนต่อครับ พอผมจบ ผมก็ยังไม่กลับไทย เพราะ ความโลภผมไปท�ำงานทีป่ ม๊ั ยูโนแคล ๗๖ ปีแรก รายได้ท�ำได้เท่าไร บริษทั จะบวกให้อกี ๒๐% ปี ๒ ได้เท่าไร บวกอีก ๔๐% แล้วบวก ๒๐% ของ ปีแรกด้วย ปี ๓ ได้เท่าไร บวกอีก ๖๐% แล้ว ก็บวก % ของปี ๒ ปี ๓ ด้วย ผมตั้งใจอยู่จน ครบ ๔ ปี เพื่อให้ได้ ๘๐% ซึ่งเงินที่ได้มา ผม ใช้ซื้อบ้านหลังปัจจุบันได้ครึ่งหลัง ผมกลับมาประเทศไทย มีเพือ่ นสอนอยู่ ทีธ่ รรมศาสตร์ฯ ผมจึงไปช่วยสอนหนังสือ พอดี เจอลูกศิษย์ชวนผมไปท�ำงาน C.P. ผมจึงไป ปี นั้นที่ บ ริ ษั ท C.P. มี วุ ฒิ ส มาชิ ก จากเมื อ ง ดัลลัส รัฐเท็กซัส มาเพือ่ พบท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์ และ ดร.อาชว์ เตาลานนท์ เขา บอกว่ามีอะไรให้พวกเขาช่วยก็ให้บอก ผม คุยกับ ดร.อาชว์ ว่าให้ท่านเอา Franchise Seven-Eleven เข้ามาในไทย Fax ใบแรกที่ ไป คือ จากผม ผมเป็นคนติดต่อไป นอกจาก นัน้ แล้วผมก็ริเริ่มธุรกิจค้าปลีกให้ C.P. พวก นี้เป็นเรื่องที่ไม่เล่าที่ไหนมาก่อนนะ คือเราซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่นมา ส่วน Makro เราใช้วิธีร่วม ทุน ส่วน Sunny Super Market (ปัจจุบัน ปิดไปแล้ว) ใช้ Know-How จาก เซยู เซบุเซซอง กรุ๊ป จากญี่ปุ่น พวกนี้เป็นที่มาของกลุ่ม ธุรกิจค้าปลีกในไทยทั้งหมด
126
นอกจากนัน้ ผมเคยท�ำงานที่โรบินสัน เคยเป็น Managing Director ที่ AM&PM ของอาร์โก้ บริษัทน�้ำมันอันดับ ๓ ในอเมริกา ซึ่ ง ผมเชื่ อ ว่ า ที่ ผ มได้ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ดี เด่ น เพราะ มหาวิทยาลัยของผมคุ้นเคยกับ AM&PM มาก และเค้าก็มกี ารโหวตกัน สุดท้ายผมท�ำงาน ที่ SC Asset กับ Orange Mart ซึ่งเป็นของ ฝรัง่ เศส ตอนนัน้ เขาก�ำลังจะถอนทุนจึงหา Sale Director ผมก็เข้าไปเป็นแทนฝรั่ง แล้วต่อมา TRUE ก็เข้าไปแทน แล้วผมก็ท�ำที่ TRUE จนถึงปัจจุบันนี้
จริงไหมครับ ที่ C.P. ดูโหงวเฮ้งคนเวลารับเข้าท�ำงาน จริง ซินแสนัง่ ด้วยเวลาสัมภาษณ์งาน แต่เฉพาะผู้บริหารระดับสูงนะ
พี่ได้ประสบการณ์ อะไรตอนท�ำงาน ที่เซเว่นอีเลฟเว่นในอเมริกา ผมเป็นผู้จัดการเซเว่นอีเลฟเว่นอยู่ ๒ ปี ตอนนัน้ มีแต่คนไทยท�ำ ฝรั่งเขาใช้กะเหรี่ยง ท�ำเพราะฝรั่งไม่ท�ำอยู่แล้ว มันบอกงานกะดึก ผมมอง Key Success Factors (ปัจจัยสูค่ วาม ส�ำเร็จ) ของธุรกิจค้าปลีก คือ มันมีความเป็น กระบวนการท�ำงาน ค�ำว่า Retail (ค้าปลีก) ก็ คือ Detail (รายละเอียด) มีรายละเอียดเยอะ มาก อย่างเซเว่นอีเลฟเว่นมีสินค้ามากกว่า
๓,๐๐๐ ชิ้น Supermarket มีสินค้ามากกว่า ๒๐,๐๐๐ ชิ้น Supercenter พวก Stock Keeping Unit (SKU) มีมากกว่า ๕๐,๐๐๐ ชิ้น ห้างมีมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ชิ้น จะเอาชนะ Detail ได้ เราต้องบริหารเป็นระบบให้ได้ อย่างคนไทยเราท�ำอะไรกันไม่ค่อยเป็นระบบ ก็ล�ำบาก ถามต่อว่าท�ำไมต้องเป็นระบบก็เพื่อ ให้เกิดประสิทธิภาพน�ำไปสู่ต้นทุนการจัดการ ที่ต�่ำ เพราะเราต้องไม่ลืมว่าธุรกิจค้าปลีก มาร์ จิ้น (ส่วนต่าง) มันต�่ำ เสร็จแล้วเราก็ขยายเป็น Chain ต่อ ขยายสาขาออกไปเป็น Chain Store Management นีก่ ็เป็น Know-How หนึง่ ยิ่งเปิดต้นทุนก็ยิ่งต�่ำลงไปเรื่อย ๆ
แล้วท�ำไมเซเว่นอีเลฟเว่น จึงเพิ่งเริ่มเข้าไทยในระยะหลัง ๆ ตอนนัน้ มีงานวิจัยปี ๒๕๓๐ บอกว่า เซเว่นอีเลฟเว่นยังไม่ถึงเวลาที่จะเข้ามาเปิดใน ไทย ธุรกิจค้าปลีกจะมีวัฏจักรซึ่งต้องเริ่มจาก Supermarket ก่อน อย่างเช่น Foodland ต่อมา คือห้าง แล้วค่อยถึงร้านสะดวกซือ้ แล้วตอนนัน้ งานวิจัยยังบอกว่า ถ้าเปิดจะส�ำเร็จมากหรือไม่ ก็ไม่ประสบความส�ำเร็จเลย ปรากฏประเทศ เราเจอปั ญ หาจราจรติ ด ขั ด อย่ า งหนัก พอดี เซเว่นอีเลฟเว่นจึงเข้ามาเปิดทันที เพราะแนวคิด ร้านสะดวกซื้อ ก็คือประหยัดเวลาอยู่แล้ว
ท�ำไมเซเว่นอีเลฟเว่นจึงไม่ประสบ ความส�ำเร็จมากนักในยุโรป ผมว่าเป็นเพราะ Lifestyle พวกเค้าไม่ บ้าท�ำงานเหมือนเอเชีย อย่างญี่ปุ่นหรือฮ่องกง ถึงเวลาเลิกงานเค้าก็เลิก เขาไม่เข้าใจว่าท�ำไม ต้องท�ำงาน ๒๔ ชัว่ โมง แล้วเวลานอนท�ำไมต้อง ออกมาซื้อของกิน เขามองพวกนี้ไม่ใช่มนุษย์ เพราะไม่มีความสุนทรีย์ อย่างวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เขาก็อยู่กับครอบครัว ผมขอพูดถึงประเทศไทยหน่อย เราได้ รับวัฒนธรรมตะวันตกมาโดยไม่รู้ตัว จากทาง ภาพยนตร์บา้ ง รายการทีวบี า้ ง เพราะเมือ่ จบยุค ของการท�ำสงครามทางเศรษฐกิจก็จะต่อด้วย สงครามวัฒนธรรม ส่งออกวัฒนธรรมไม่ว่าจะ เป็นการแต่งกาย การกินอยู่ ที่อยู่อาศัยรุ่นใหม่ ต้องมีอา่ งอาบน�ำ้ ไม่มกี ข็ ายไม่ได้ ผมถามจริง ๆ ว่าหาคนไทยใช้อ่างอาบน�้ำได้กี่คนกัน การกิน ด่วน (Fast Food) เราโดน Westernized (ตะวันตกครอบง�ำหมด) หรืออย่างผับบาร์ ใน ประเทศอังกฤษเขาอากาศหนาว เค้าต้องจอดรถ กินกันไม่ถึงชั่วโมงก็ไป แต่เมืองไทยผับบาร์นงั่ กันรากงอก ตั้งแต่ ๓-๔ ทุ่ม จนถึงตี ๒-๓ เรา รับมาแล้วทุกอย่าง มันผิดไปจากเดิม
ผมเห็นคนขายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ต้องท�ำงานทุกอย่างเลย อย่ า งตอนดึ ก เราก็ ใ ห้ แ คชเชี ย ร์ ม า ท�ำความสะอาดร้านไปด้วย ไม่ได้อยู่เฉย ๆ ให้ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 127
จัดสต๊อกสินค้า รับสินค้า สินค้าจะส่งกันตอน กลางคืนเพราะรถไม่ติด ยังดีกว่าที่เราปิดร้าน แล้วเปิดไฟทิ้งไว้แล้วจ้างยามมา เราก็เปิดให้ แคชเชียร์ เป็นยามไปด้วยเลย แต่เซเว่นอีเลฟเว่น มีอัตราเทอนโอเวอร์สูง คนมีอายุท�ำไม่ได้ จ้าง แต่คนหนุ่มสาวเพราะเก้าอี้ไม่มีให้นงั่ เราจะให้ พนักงานยืนหมด แต่ละคนท�ำได้ไม่เกิน ๓ ปี เราก็ต้องเลื่อนต�ำแหน่งเป็นผู้จัดการร้านแล้ว เพราะเราเชือ่ ว่าการนัง่ คือการไม่ให้เกียรติลกู ค้า
เซเว่นอีเลฟเว่นขายดีที่สุด วัน เวลาไหนครับ กลางคืนยอดขายประมาณ ๑๐% เอง เว้นแต่คืนวันศุกร์ เสาร์ จะขายดี
สินค้าอะไรขายดีที่สุดใน เซเว่นอีเลฟเว่น เป็นความลับ
แล้วร้านโชว์ห่วยในไทยจะรอดไหม ต้องปิดกิจการไหม รอด สินค้าบางอย่าง Seven ไม่ขาย ตัวอย่างเช่น ไม้กวาด แล้วร้านโชว์หว่ ยก็มลี กู ค้า ประจ�ำ แค่เดินเข้ามาก็หยิบของให้ได้เลย รู้จัก กันดี ไม่มีเงินก็แปะโป้งไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยมา จ่ายก็ได้ นอกจากนี้ ก่อนซื้อขายกันก็มีพูดคุย ทักทายกันอีก
128
เซเว่นอีเลฟเว่นมีจุดแข็งอะไรอีกครับ เป็นเรื่องของ Know-How ในเรื่อง Chain Store Share Learning เป็น KnowHow ถูกถ่ายทอดถึงเซเว่นอีเลฟเว่นทั่วโลก ส่วนสินค้าก็จะเลือกมาวางจะเป็นเฉพาะ สินค้าอันดับ ๑ ๒ ๓ เท่านัน้ ที่อยู่ในตลาด แล้วก็เรือ่ งการค�ำนวณ เช่น รัศมีทำ� การ ตั้งร้าน จะก�ำหนดกันว่าต้องมีคนเดินผ่านมาก ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน แล้ว ๑๐% เป็นลูกค้า ของเราเท่ากับ ๑,๐๐๐ คน ให้จ่ายซือ้ ของคนละ ๔๐ บาท ก็ได้วันละ ๔๐,๐๐๐ บาท ทุกอย่างจะ ถูกค�ำนวณเป็นวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ หมด
ถ้าพวกเราอยากท�ำธุรกิจ ต้องท�ำอย่างไร รุ่นคุณ (ประมาณรุ่น ๗๐ กว่า ๆ) โหด ร้ายกว่ารุ่นผมเยอะ ผมโชคดีที่ตายก่อน ตอน ผมจบมาด้านการตลาด มีคนรู้นบั คนได้ในไทย ผมจ�ำได้มี ดร.สมภพ เจริญกุล จบการตลาด เหมือนผมเป็นเป็นนักเรียนเก่าฯ รุ่น ๓๙ ด้วย ตอนผมเรียนปริญญาผมยังใช้กระดาษโคบอลต์ อยูเ่ ลย ตอนผมเรียนด็อกเตอร์คอมพิวเตอร์เพิง่ เข้ามาและก็แพงมาก ส�ำคัญคือ คุณต้องคิดนอกกรอบให้ ได้ รุ่นผมมี ๕ ธุรกิจท�ำแล้วเป็นเศรษฐีโลก คือ ๑) ค้าปลีก ๒) น�้ำมัน ๓) อิเล็กทรอนิคส์ ๔) การเงิน ๕) พลังงาน ปัจจุบนั ศตวรรษที่ ๒๑ เปลีย่ นเป็น ๑) ธุรกิจการศึกษา ๒) Enrichment Food ๓) สิ่งแวดล้อม ๔) เอ็นเตอร์เทรน เม็นต์ ๕) อิเล็กทรอนิคส์ คุณต้องคิดต่อไปว่า ประเทศไทยเป็นยังไง แล้วคุณจะหากินยังไง
มนุษย์แพ้ ชนะกันที่จุดไหนครับ ผมเชื่อเสมอว่า “กูอาจท�ำไม่ได้เดี๋ยวนี้ แต่ต่อเวลาออกไปอีก กูก็ท�ำได้” ปัจจุบนั แพ้ชนะกันทีแ่ นวคิดอย่างธุรกิจ ก็ Business Thinking เหมือนคนคิดได้ คิดไม่ ได้ คิดตก คิดไม่ตก การคิด (Think) เป็นการ ใช้สมอง เราเรียกว่า ปรีชาญาณ (Intelligence) แต่กม็ อี กี ด้าน คือปัญญาญาณ (Intuition) เช่น ไอสไตน์ คิดสูตรต่าง ๆ ได้ เพราะใช้ปญ ั ญาญาณ
ใช้จนิ ตนาการ (Imagination) ไม่ใช่ ปรีชาญาณ (Intelligence) พวกเราถึงต้องมีทั้งทางโลกและทาง ธรรม ทางโลกคือ สิ่งที่เราเรียนกันมาใช้ท�ำ มาหากิน ส่วนทางธรรมเป็นสัจธรรม เมื่อเจอ ปัญหาวิกฤตในชีวิต คุณต้องเอาแนวคิดทาง ธรรมะมาช่วย เป็นเสมือนทางรถไฟคู่ขนานกัน เราต้องเตรียมเอาไว้ อยู่โรงเรียนเรามีหนังสือ สวดมนต์ จริง ๆ แล้วมีคุณค่ามาก แต่เรา สวดกันจนไม่มีคุณค่า ผมมองว่าเป็นหนังสือที่ สุดยอดเล่มหนึง่ ในชีวิต
สิ่งใดที่พี่ได้จากโรงเรียนมากที่สุด หลักการของโรงเรียนเรา มี ๓ ข้อคือ ๑) เป็นผู้ดี เกี่ยวกับบุคลิกภาพ ความเป็น สุภาพบุรุษ ๒) ผู้มีความรู้ เป็นเรื่องวิชาชีพใน ทางโลก เกีย่ วกับสมอง ๓) ผูม้ ศี าสนา เป็นเรือ่ ง ทางธรรมะเกี่ยวกับจิต คือมีคุณธรรม คือต้อง มีทั้งทางโลก และทางธรรมประกอบกันจึงเป็น ผู้ดี เป็นสุภาพบุรุษได้ คุณสงสัยไหม ว่าท�ำไมเราจึงต้องเล่น ดนตรีด้วย เพราะดนตรีจะสื่อถึงจิตใจได้ สมัย ผมเรียนผมเป่าปี่สก็อต ส่วนการเรียนเลขเป็น เรื่องของสมองล้วน ๆ ฉะนัน้ เราต้องท�ำทั้งสอง อย่างประกอบกัน เราต้องฝึกทั้งกายและใจ เราต้องรู้ว่ากายและใจสามารถแยกออกจาก กันได้ สุภาพบุรุษก็คือคนที่ใช้ทั้งกายและใจ ประกอบกัน มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 129
การเล่นกีฬา สิ่งส�ำคัญที่ได้ก็คือ การมี ระเบียบวินยั อย่างผมได้ความอึด ถ้าเก่งเท่ากัน รับรองแพ้ผมแน่ เพราะผมอึดกว่า พูดง่าย ๆ ก็ คือลูกบ้าเราเยอะกว่า อย่างผมเรียนแข่งกับฝรัง่ ผมรู้ว่าผมสู้มันไม่ได้ แต่ผมถือว่ามันก็เป็นคน เราก็เป็นคน ถ้าต่อระยะเวลาให้ผมยาวหน่อย ผมก็สู้มันได้ ต้องจ�ำไว้ว่า เราเป็นคน มันก็คือ คนเหมือนกับเรา
อยากให้พี่เล่าเรื่องสนุก ๆ สมัยที่พี่เป็นนักเรียนวชิราวุธฯ คุณเชื่อมั้ยผมกับเพื่อนแก้ผ้าล่อนจ้อน เล่นฟุตบอลหรือรักบีก้ นั ผมจ�ำไม่ได้แล้วตอนนัน้ ครู ค ะเน แกเดิ น ผ่ า นมาโป๊ กั น หมดทุ ก คน แกตกใจนึกว่าโดนผีหลอก กลุ่มผมตอนนัน้ มี ไอ้ไฝและอีกหลายคน อย่างวันหยุดพวกเราไม่ ได้กลับบ้านกันนะแอบปลดกลอนประตูกันไว้ แล้วก็หนีเข้ามานอนในคณะกัน ตกตอนเย็น ๆ ก็ออกไปราชวัตรไปกินไอ้มะ ดึก ๆ ก็ไปดูหนังที่ ศรีย่านดังนัน้ ผมจะอยู่โรงเรียนครบ ๓๖๕ วัน สมัยนั้นยังมีกรงลิงอยู่หน้าบ้านท่าน ผู้การแป๊ะมันเป็นคล้าย ๆ ที่นั่งเอาไว้ท�ำโทษ นักเรียนแบบให้นงั่ แล้วท่านก็จะแกล้งลืมไปเลย ผมเคยโดนอยู่ครั้งสองครั้ง นอกจากนีก้ ็มีอยู่ วันหนึง่ ผมไปนอนที่ตึกพยาบาลตอนเวลาซ้อม ปีส่ ก็อต ท่านก็ให้คนไปตามผมทันทีเลย พอผม มาถึงท่านก็ถามว่าผมชื่ออะไร ผมก็ตอบว่าชื่อ สหัส โรจน์เมธา (ซึ่งเป็นชื่อสมัยที่เป็นนักเรียน)
130
ครับ ท่านก็บอกว่าแม่งนามสกุลมีเยอะแยะดัน ตั้งโรคสุนขั ไม่ได้ทา นามสกุลเยอะแยะไม่ตั้ง ตัง้ โรจน์สนุ ขั วันนัน้ ผมก็โดนตบไปตามระเบียบ อี ก เรื่ อ งก็ มี เพื่ อ นผมคนหนึ่ง เพิ่ ง ไป ตัดผมมาสั้นเรียบร้อย ตัดมาแบบเหมือนรู้ตัว ว่าจะถูกตบ พอท่านเดินมาท่านก็ตบเพื่อนผม เลย แล้วก็บอกว่าผมยาวผิดระเบียบ เพื่อน ผมก็งงว่ามันยาวตรงไหนนีม่ นั สัน้ ทีส่ ดุ แล้ว อีก วันเพือ่ นผมก็เลยไปตัดผมมาอีก พอท่านผูก้ าร เห็นก็โดนตบอีก ท่านบอกว่าประท้วงหรือไง ถึง ตัดสัน้ ขนาดนี้ เหมือนแบบว่าท่านเอ็นดูอยากจะ ตบอ่ะใครจะท�ำไม ! ตอนนัน้ นอกจากผู้การแล้วก็มีครูอุดม ท่านจะคอยถือกรรไกรติดมือท่านไว้เห็นใคร ผมยาวท่านก็จะจับตัดผมทันที เพื่อนผมมันก็ อยากลองของเลยไปโกนผมมาเลย แทนทีจ่ ะเจอ ครูอุดมดันไปเจอท่านผู้การ ผู้การเห็นก็ถามว่า ท�ำไมถึงไปโกนผมมา เพือ่ นผมก็ตอบว่าไปบวช ครับ ผู้การถามแล้วท�ำไมไม่โกนคิว้ สุดท้ายเจอ ตบอีกไปตามระเบียบ แถมยังจะโดนตัดไฟเสีย แต่ต้นลม (ไล่ออก) เสียอีก สมั ย ก่ อ นตอนผมอยู ่ ที่ ค ณะ ผบก. ก่อนจะขึ้นสวดมนต์พวกเราก็จะสั่งราดหน้ามา กินกันแต่ก่อนห่อละ ๓ บาทสั่งกับบ๋อยที่ชื่อว่า ป้าแครี่ (Carry ทีแ่ ปลว่าแบก, ถือ) พอสวดมนต์ เสร็จเราก็มานั่งรอกันว่าเมื่อไหร่ป้าแกจะมา แกก็แบกของแกคนเดียวไม่ให้ใครช่วย ส่วนหนึง่ ที่เราสั่งกินมาจากสมัยก่อนบ๋อยแต่ละคณะจะ เป็นคนท�ำกับข้าวให้เด็กแต่ละคณะเอง ตอนนัน้
ผมยังจ�ำได้ติดตาจะมีกะทะใหญ่ ๆ ไว้หุงข้าว แล้วก็มีไม้พายเอาไว้คนหรือกวนข้าวผมเห็น กับตาผมว่า บ๋อยเอาไม้พายตีหัวหมาขี้เรื้อน ดัง ป้าบ ๆ ๆ แล้วบ๋อยก็เอาไปกวนข้าวต่ออีก ผมรู้สึกว่าสุดยอดจริง ๆ เลย ตีอยู่ได้ทุกวัน ๆ เราก็เห็นของเราทุกวันตอนเราไปเปลีย่ นชุดกีฬา จะอาบน�ำ้ แต่สดุ ท้ายเราก็ตอ้ งขึน้ ไปกินข้าวอยูด่ ี สมัยพวกคุณมีข้าวต้มแผ่นมั้ย คุณ เชื่อมั้ยข้าวต้มสมัยก่อนนะอยู่ในจานแล้ว พอ คว�่ำจานข้าวต้มยังไม่ตกมาเลย ข้าวต้มปลาก็ สุดยอดของความเหม็นคาว คนจบ ผบก. มา จะไม่กินข้าวต้มปลาอีกเลยทั้งชีวิต แต่ก่อน ผบก. มีคนต่างจังหวัดเยอะไม่ค่อยมีคนเลือก เข้าผมว่าส่วนหนึง่ ก็เพราะกับข้าวมันโหลยโท่ย นี่แหละ หรืออย่างของหวาน คณะอื่นเค้าก็เป็น กล้วยหอม ส้ม หรือผลไม้อื่นคนละลูก ของ พวกเราได้อะไรรู้มั้ย ได้ทอฟฟี่ ๒-๓ เม็ด ผม ว่ามันสุดยอดจริง ๆ แต่ก่อนห้องที่ผมอยู่ทุกคนจะเรียกว่า ห้อง VIP เพราะใครจะสูบบุหรี่ก็จะมาสูบห้อง ผม เพือ่ นผมคนหนึง่ จึงแต่งกลอนแล้วเขียนไว้ที่ ห้องว่า “สูบยาพาเพลินอย่าเลินเล่อ เทีย่ วท�ำเซ่อ สูบทิ้งไม่เป็นที่ ที่เขี่ยยาท�ำไว้ใช่ไม่มี VIP เชิญ ชวนควรนิยม” สรุปห้องผมเป็นที่ทิ้งก้นบุหรี ่ ๆ เต็มห้องไปหมด และผมว่าห้องนี้แหละเป็น สาเหตุที่ผมเรียนไม่เก่ง รุ่นพวกคุณเนี่ยห้องน�้ำดีแล้วใช่มั้ย รุ่น ผมต้องสูบบุหรีใ่ นห้องน�ำ้ เพราะยุงมันมีเป็นล้าน ตัวมันมารุมกัดเรา สูบเพื่อไล่ยุง ใครจบจาก
ผบก. ผมรู้หมดเพราะต้องก้นลายกันทุกคน ไม่เชื่อคุณลองเปิดดูได้เลย เออตอนนี้ เวลาคุ ณนั่ง ส้ ว มยองแบบ เห็นหน้ากัน คุณยังรู้สึกถึงความสันทนาการ อยู่มั้ย เข้าห้องน�้ำกันไปก็นงั่ มองหน้ากันไป แต่ เรือ่ งพวกนีเ้ ป็นสิง่ ทีม่ ปี ระโยชน์นะตอนผมได้ไป ฝึกงานที่ญี่ปุ่นเกี่ยวกับ Supermarket เขาให้ ผมอยู่หอพักคนงานเพราะคนที่จะเป็นผู้น�ำได้ ต้องท�ำเป็นตั้งแต่ระดับคนงาน ที่ญี่ปุ่นในห้อง อาบน�้ำจะมีแค่อ่างอาบน�้ำเตี้ย ๆ อันเดียว เค้า คิดว่าผมจะอยู่ไม่ได้ อาบน�้ำร่วมกับคนอื่นไม่ ได้แน่ ๆ พวกเค้าไม่รวู้ า่ ผมเป็นโอวี พอไปถึงผม ถอดผ้าเช็ดตัวออกหมด นึกในใจว่าบรรยากาศ คุ้นเคยเลย สบายมาก สรุปผมถอดแล้วอาบ แข่งกับคนในห้องน�้ำเลย เดี๋ยวนี้โรงเรียนเรายังมีกระเทยอยู่มั้ย สมัยผมเนี่ยมีน้อยมาก รุ่นหนึง่ มีแค่ ๑-๒ คน เองใครเป็นตุ๊ดเป็นกระเทยหายหมด เพราะตุ๊ด จะเจอบาทา จนหายเป็นหมดเลย แต่ไม่ใช่ผม ไม่ยอมรับนะ บางครั้งเราก็ต้องยอมรับ ถ้าโลก มันเปลี่ยนไปเป็นแบบนี้
มองการเมืองไทยเป็นอย่างไรครับ รากเหง้าประชาธิปไตยที่แท้จริงมาจาก ประเทศอังกฤษ ส.ว. ของเขามีศักดิ์ศรี ถ้าเขา ท�ำผิดเขาจะลาออกเอง แต่ประเทศไทยมันไม่ใช่ พวกนักเลงท้องถิ่น พวกหัวคะแนนก็พากัน ขึ้นมา ศักดิ์ศรีมันไม่มี ให้ออกยังไงมันก็ไม่ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 131
ยอมออก หรืออย่างในญี่ปุ่น หรือฮ่องกง ส.ส, ส.ว. ของเขาไปตีกอล์ฟแล้วเกิดรถไฟชนกัน ขึ้นมีคนตาย เขาก็ยังแสดงความรับผิดชอบ ลาออก ของเราขนาดคนตายแล้วอะไรก็แล้วก็ ยังไม่มีการลาออก ดังนัน้ พื้นฐานของประเทศเรากับเขาไม่ เหมือนกัน อังกฤษนักการเมืองเขามีคุณธรรม มาก อย่างถ้าคุณต้องการเงินมาก ต้องการท�ำ ก�ำไร คุณก็ไปท�ำธุรกิจอย่ามาเล่นการเมือง ถ้า จะท�ำการเมืองต้องท�ำให้แก่สังคมจริง ๆ
อย่ า งนั้นธุ ร กิ จ ก็ ไม่ ค วรมาสนั บ สนุน พรรคการเมือง ในอเมริ ก าธุ ร กิ จ เขาก็ ส นั บ สนุ น พรรคการเมืองนะ มันอยู่ที่เปิดเผยหรือไม่ เปิดเผยเท่านั้นแหละ ขึ้นกับว่าเราจะน�ำมัน ไปใช้แบบใดมากกว่า อย่างบิลคลินตัน กลุ่ม ธุรกิจอุตสาหกรรม E-Commerce สนับสนุน ยุคนัน้ คอมพิวเตอร์ก็รุ่งเรือง หรือ บุช พวก อุตสาหกรรมหนัก พวกอาวุธสงคราม เครือ่ งบิน โบว์ อิ้ ง สนั บ สนุน เลยท� ำ สงครามกั น ใหญ่ ประกอบกั บ บุ ช เป็ น พวกคล้ า ย ๆ คาวบอย เป็นนักเลงชอบยิงปืน ผลออกมาอเมริกาก็ทำ� สงครามกับประเทศอื่น บุชเลยต้องถูกรองเท้า ปา แต่เขาก็ยังเก่งนะ คุณเห็นมั้ย หลบรองเท้า ได้ทุกข้างเลย แต่ผมชื่นชมเขาอย่างหนึง่ ใจเค้า ไม่โกรธ ใจเขาแน่เหมือนกัน โอบามาธุรกิจที่ สนับสนุนก็กลุ่มเดียวกับคลินตันเพราะมาจาก
132
พรรคเดียวกัน ถ้ า คุ ณ ดู นิ ย ามในทางรั ฐ ศาสตร์ การเมืองเขียนไว้ชัดเจนนะว่าพวกนี้เป็นกลุ่ม ผลประโยชน์ เป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ ของตัวเอง เพียงแค่ถูกน�ำมาเขียนไว้บนโต๊ะให้ มันถูกต้องเท่านั้น บังเอิญมันไม่ใช่กลุ่มเราก็ เกิดเรือ่ ง อย่างประเทศไทยจะมีปัญหาเกีย่ วกับ การเลือกตัง้ ในเรือ่ งการซือ้ เสียง ผมมองว่าต้อง แก้กันถึงขั้นการศึกษาให้ความรู้ความเข้าใจ แก่ประชาชนเพราะพวกเขาได้แค่ ๕๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ บาท ก่อนการเลือกตั้งนักการเมือง ไหว้ประชาชนพอเลือกเสร็จประชาชนต้องไหว้ นักการเมือง คุณสังเกตมั้ย อย่างในอเมริกา กฎหมายที่ส�ำคัญ ๆ เค้าให้ประชาชนโหวต เช่นกฎหมายการท�ำแท้ง แต่ประเทศเราให้ ส.ส. โหวต ก่อนโหวตก็ไม่ เห็นมาถามเราสักค�ำ ตราบใดที่ประเทศเรายัง ซื้อเสียงกันอยู่ผมว่าล�ำบาก คุณอย่าลืมนะ ต่างจังหวัดใครได้ ส.ส. ได้เสียงจากต่างจังหวัด ได้เป็นนายกรัฐมนตรี พอได้นายกมาแล้วคน กรุงเทพฯ ก็มาล้มนายกอีก ผมว่าโครงสร้าง ประเทศเรามีปัญหา
เเต่ก็เริ่มมีนกั การเมืองรุ่นใหม่ ๆ เข้ามานีค่ รับ ๓๐ ปีที่แล้วผมยังจ�ำได้ผมยังเห็นพวก ป๋าเหนาะ พลตรีสนัน่ ผ่านมาจนถึงปัจจุบันคน พวกนีก้ ย็ งั อยู่ครบหมดตัวละครทีอ่ อกมาเล่นก็
ยังเป็นตัวเดิม คุณลองสังเกตนะคนพวกนีช้ อบ อ้างว่าท�ำเพือ่ ชาติ เห็นเสนอกันให้ยบุ สภา ให้ตงั้ รัฐบาลแห่งชาติ แต่ตอนตัวเองเป็นผมไม่เห็นว่า เค้าจะยอมยุบ พออีกฝ่ายขึ้นก็จะให้ยุบ
ท�ำไมโอวี ถึ ง ไม่ ป ระสบความส�ำเร็จใน การเมือง เท่าที่ผมสังเกตนะ เพราะมันไม่เป็น สุภาพบุรุษแต่เราเป็น เราก็จะตายก่อน อย่าง เราถือคติกันว่า ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขาย เพื่อน แต่พวกนักการเมืองมันท�ำหมด เรากิน ก็กินไม่เป็น ยิ่งเล่นการเมืองผมเห็นมีแต่จะ ยิ่งจนลง
พวกผมทราบมาว่ า พี่ มี ค วามสนใจ ธรรมะมาก อยากฟังมุมมองธรรมะ จากพี่ครับ ผมจะเล่าให้ฟัง ที่บ้านผมนัง่ สมาธิกัน ทัง้ บ้าน แฟนผมตืน่ แต่เช้ามืดมานัง่ สมาธิ ตัวผม ก็นงั่ ปีที่แล้วผมก็ไปนัง่ มา ๒๐๐ ชม. ผมเคย ฝึกนัง่ รวม ๆ แล้วถึง ๔,๐๐๐ ชม. แต่ผมก็ไม่ได้ บรรลุอะไรหรอกนะ วิชาพวกนีย้ ากกว่าสอบเป็น ด็อกเตอร์อกี เพราะเรียนปริญญาเอกเรารูเ้ ลยว่า เราจะจบเมื่อไหร่ แต่นี่เป็นวิชาทางจิต เป็นการ สะสมสมาธิเพือ่ ให้เกิดสติ เมือ่ มีสติกเ็ กิดปัญญา (Intuition) เราก็ จ ะรู ้ ว ่ า อะไรเป็ น วิ ช าหรื อ อวิชชา ความรู้นี้สามารถท�ำให้เราตัดอุปทาน
ความยึดมัน่ ถือมัน่ ตัวกูของกูได้ แล้วเราก็สนิ้ ภพ สิ้นชาติ ไม่กลับมาเกิดอีก ฟังแล้วดูเหมือน ง่ า ยแต่ จ ริ ง ๆ แล้ ว มั น ไม่ ง ่ า ย นี่ แหละคื อ การลุในมรรค อย่างผมเวลาไปฝึกจริงก็ไม่ผ่านตั้งแต่ ขั้นแรก คือขั้นสมาธิ สมาธิเหมือนกับจุด ๆ หนึง่ สติก็คือเส้นที่ลากเชื่อมระหว่างจุด เราก็ จะได้รู้จักค�ำว่าสติปฐาน ก็มีการมีสมาธิแบบ ยืดหยุ่น เป็นการรู้ตามความเป็นจริง เช่น โกรธก็ โกรธหนอ ฟั ง ก็ ก� ำ ลั ง ฟั ง หนอ นั่ง ก็ ก�ำลังนัง่ หนอ ทุกข์ก็ทุกข์หนอ พวกนี้มันเป็น วิทยาศาสตร์ทางจิต ไม่เชื่อคุณลองนั่งสมาธิ สิ นัง่ แป๊ปเดียวนิวรณ์มาเลย นิวรณ์ก็คือการ ฟุ้งซ่านนัน่ แหละ ครั้งแรกตอนปี ๒๕๓๖ ผมไปนัง่ อยู่ ที่ศาลาวัดในจังหวัดเชียงใหม่ มีเศรษฐีคนหนึง่ เดินผ่านมากับภรรยา อยูด่ ี ๆ แกก็พดู ว่า “หมอ นีท่ ่าทางมันก็ดี หน้าตามันก็ดี หน่วยก้านมันก็ ดี ไม่รู้จักท�ำมาหากิน” ผมนะควันออกหูเลย โกรธมาก โกรธหนอ ๆ เลยผมนึกในใจ “กูไม่ ยุ่งกับมึงนะ อยู่ดี ๆ มึงก็มายุ่งกับกู กูนงั่ ของ กูอยู่อย่างนี้หนักกบาลอะไรมึงวะ” แสดงว่าเรา โกรธจริงแล้ว ท�ำให้ผมรูว้ า่ ผมก็ยงั ไปไม่ถงึ ไหนเหมือน กัน ในตัวพวกเราเนีย่ มีทวารประตูอยู่ ๖ แห่งแต่ ถ้าเป็นฝรั่งจะบอกว่ามี ๕ แห่ง คือ ตา หู จมูก ลิน้ กาย พวกตะวันตกเค้าเชือ่ ในเรือ่ งของสมอง แต่ตะวันออกอย่างพวกเราจะเชื่อที่ใจ ดังนัน้ ใจ จะเป็นหนึง่ ในทวารด้วย ทวารเหล่านีม้ นั เปิดรับ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 133
แล้วก็ปรุงแต่ง เหมือนเราเห็นผู้หญิงสวยเราก็ อยากเป็นเจ้าของขึ้นมาทันทีเลย วิชาพวกนี้เป็นวิชาที่ยากแล้วก็ท้าทาย มากถ้าจะฝึกจริงจังเราต้องท�ำ อย่างแรกเลยคือ รักษาศีลให้บริสทุ ธิ์ ประการทีส่ อง คือ คุณต้อง หมั่นฝึกซ้อมเสมอถ้าไม่ทำ� สม�ำ่ เสมอมันก็เสื่อม ได้เหมือนเราเอาก้อนหินมาวางทับหญ้า ๆ มันก็ ไม่เติบโต พอเราหยุดซ้อมก็คือการเอาก้อนหิน ออกหญ้าก็คือกิเลส ตัณหา แล้วทุกอย่างก็จะ กลับมาคุณไม่ตอ้ งมาถามผมนะว่าได้ระดับไหน แล้ว ผมมีหลักง่าย ๆ ที่บอกคุณแต่แรกแล้ว ว่าไม่ว่าจะเป็นกีฬา การเรียน การดนตรี การ ปฏิบัติธรรม เราต้องซ้อม ปฏิบัติธรรมก็ต้อง นัง่ ทุกวันหรืออย่างการที่ผมได้ไปปฏิบัติธรรม ก็ เหมื อ นผมได้ อ ยู ่ ใ นห้ อ งแล็ บ ไม่ มี ใ ครมา รบกวนจึงได้สมาธิมาแรงแต่ก็เสื่อมเร็ว ถ้าเรา ไม่ฝึกอย่างสม�่ำเสมอ ผมมองว่าธรรมะ เรื่องพวกนี้ยังเป็น เรือ่ งของกฎความสมดุล ในโลกนีย้ ตุ ธิ รรมหมด ธรรมชาติจัดสรรให้คุณยุติธรรมหมด ผมเชื่อ ว่าธรรมชาติเนี่ยแสบมาก ๆ ยิ่งกว่ากฎหมาย อีกและก็ไม่มีใครหลุดรอดไปได้สิ่งที่คุณท�ำ อะไรไว้สิ่งนัน้ มันจะกลับมาตอบสนอง คุณต้อง ท�ำเหตุให้ดี แล้วผลถึงจะออกมาดี แล้วผมเชื่อ ว่าธรรมะจะเป็นตัวจัดสรร คุณเชือ่ ผมทุกครัง้ ที่ เราท�ำอะไรลงไปมันจะมีผลตอบแทนเราไม่ทาง ใดก็ทางหนึง่ และโลกก็ยุติธรรมไม่ต้องไปฎีกา ขึ้นศาลหรือฟ้องร้องอะไร ธรรมชาติมันจัดการ ให้เสร็จ สิ่งที่คุณไปรับปากอะไรกับใครไว้หรือ
134
ไปท�ำผิดศีล ต้องระวัง
ที่ท่านพุทธทาสบอกว่าทุกอย่างคือ ความว่างเปล่า พี่เข้าใจว่ายังไงครับ ถ้าคุณศึกษาศาสนาพุทธในระดับที่สูง ขึ้น มันเป็นเรื่องของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มัน คือความว่างเปล่า เมื่อวานนี้ไม่มีจริงแต่เดี๋ยวนี้ คือของจริง เลยไปแล้วคุณก็เอากลับมาไม่ได้ แล้ว มวลสารหรือธาตุต่าง ๆ มันก็มาประกอบ เป็นตัวเรา ถ้าคุณเคยอ่านหนังสือของไอน์สไตน์ ความคิดก็จะมาล้อกันกับหลักนี้ ถ้าคุณสามารถ มีสมาธิและสติที่เข้าไปจับช่องว่างของการเกิด ดับได้ คุณจะรู้ว่าทุกอย่างมันไม่มีอะไร ทุก อย่างทีค่ ณ ุ พูดก็เป็นแค่คลืน่ เสียงทีเ่ กิดการเกิด ดับ เสียงที่คุณได้ยิน เสียงดีดนิ้วเป็นแค่คลื่น เสียง ๑/๗,๐๐๐,๐๐๐ ซึ่งมันเร็วมาก ทุกอย่าง มันเกิดดับเหมือนกับการฉายหนัง ถ้าวงจรยาว ก็จะเกิด การเกิด การตั้งอยู่ การดับไป ดังนัน้ ไอน์สไตน์บอกว่า ถ้าคุณไปสติให้เห็นช่วงการ เกิดดับและช่องว่างของการเกิดดับ คุณก็จะ ได้รู้เกี่ยวกับการแยกกาย การเหาะเหินเดิน อากาศ พระพุทธเจ้าที่มาชมพูทวีป ไปไหนมา ไหนได้ ไม่ใช่เรื่องฝอยนะ แค่วิทยาศาสตร์ตาม ไม่ทันเท่านัน้ เอง ดังนั้นจริง ๆ ก่อนถึงความว่างเปล่า มั นก็ คื อ การสมมติ ทั้ ง นั้น สมมติ ว ่ า เป็ นตั ว เรา ผมอยากบอกว่ามันเป็นเหมือนคลื่นต่าง ๆ ซิกมอนท์ ฟอยด์บอกว่ามันคือ Id – Ego –
Superego คือจิตส�ำนึก จิตใต้ส�ำนึก แต่ในทาง พุทธมีอกี อันหนึง่ คือจิตไร้สำ� นึกทีจ่ ะคอยบันทึก กฎแห่งกรรมของพวกคุณเอาไว้ เราต้องสร้าง เหตุให้ดี ผลก็จะออกมาดี ก็จบแค่นนั้ คุณต้อง อยู่กับปัจจุบันเพราะอดีตไม่มีแล้วเมื่อวานไม่มี อนาคตก็ไม่มี เอาปัจจุบัน คือเราต้องรู้อาการ ในปัจจุบันของตัวเราเอง สายท่ า นพุ ท ธทาสเป็ น สายค่ อ นข้ า ง ปรัชญา กว่าจะท�ำได้หรือปฏิบัติได้ยากมาก เพราะคุณต้องเข้าใจจนตกผลึกเหมือนลัทธิ เซน แต่ถ้าเข้าใจจะไม่มีวันลบเลือน ถ้าคุณไม่ เข้าใจค�ำว่าสมาธิ ให้นกึ ถึงภาษาอังกฤษค�ำว่า Concentration คือจิตจดจ่ออยู่กับอันใด อั น หนึ่ง สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ง หรื อ คุ ณจะใช้ วิ ธี ก าร สวดมนต์ก็ได้
ถ้านอนแล้วใช้วิธีหลับตาเอา ได้มั้ยครับพี่ ได้ แต่คุณก็จะหลับไปเลยนะ ให้คุณรู้ ปัจจุบันเป็นใช้ได้ แต่ผมมีข้อสังเกตอันหนึง่ คือ ทีพ่ ระพุทธเจ้าตรัสรูจ้ ากท่านัง่ เพราะท่านีร้ า่ งกาย มันอยู่ในท่าทางที่สมดุลย์ที่สุด
พวกผมได้ข่าวว่า พี่โบ๊ะชอบสะสมพระเครื่อง ครับ แต่ผมสะสมพระใหญ่นะ ทีบ่ ้านมี องค์ใหญ่สดุ ก็ ๓๙ นิว้ มาจากสมัยสุโขทัย องค์นี้
“เราต้องมาท�ำวิจัยกัน แต่ต้องท�ำด้วยใจเป็นกลางนะ อย่าหลงตัวเอง ต้องถอดหมวกออกให้หมด เวลาเราจะคิดหรือจะท�ำอะไร เพื่อที่จะคิดให้ได้ว่า โมเดลวชิราวุธฯ”
พวกสิงคโปร์อยากได้มาก มันเคยมาประมูลซือ้ ตอนนัน้ ผมอยู่ต่างจังหวัดพอดีเพื่อนผมที่เป็น ฝรั่งเลยรีบโทรมาบอกผมให้รีบกลับกรุงเทพฯ เพราะพระองค์นี้เป็นพระในรอบ ๓๐ ปีที่หลุด ออกมาพอผมไป ผมก็ได้องค์นี้มา นอกจาก พระผมก็ชอบสะสมต้นไม้ใหญ่ ๆ หนังสือ แต่ ต้นไม้ผมสะสมแล้วไม่รุ่งเพราะผมชอบย้าย บ่อยจนต้นไม้ตาย พระพุทธรูปของแท้หรือของปลอมเห็น แค่เงาผมรูเ้ ลย มองขาดได้เลยว่าไม่ใช่กค็ อื ไม่ใช่ ต่างจากพระเครื่องซึ่งดูยากมาก พระพุทธรูป เนี่ยเขามีความเชื่อกันในสมัยโบราณว่า คนที่ จะมาปั้นพระใหญ่จะต้องถือศีล นุ่งขาวห่มขาว รูปที่ปั้นก็จะเกิดขึ้นมาจากเทพนิมิต เชื่อกันว่า ได้รับบัญชาจากสวรรค์ผ่านทางนิมิตแล้วก็ปั้น ออกมาตามนัน้ ผมชอบตืน่ นอนมาตอนดึก ๆ ประมาณ ตี ๒-๓ มามองพระ ด้านหน้าผมจะมองเห็นเป็น แบบหนึง่ พอไปมองด้านข้างผมก็เห็นเป็นแบบ หนึง่ เป็นศิลปะทีแ่ ปลก และผมก็ชอบมาก แล้ว ผมก็จะนัง่ ขัดพระไปด้วย ผมมีพระสมัยตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๖ ตั้งอยู่หน้าบ้านผม ผมไม่ต้องกลัวว่าใครจะมา ขโมยเลยเพราะขนาด ๓ คนยังยกไม่ขึ้นเลย แต่ตอนนี้ผมเริ่มหันมาให้ความสนใจแทนแล้ว คุณเชื่อมั้ย เมื่อก่อนผมต้องใช้บ้าน ๑ หลังเต็ม ๆ ในการเก็บพระ ผมเคยเชิญพระมา
136
บ้านพอท่านสวดเสร็จท่านก็บอกผมว่า บ้านโยม มีพระมากกว่าวัดอาตมาอีก ผมเลยให้ไปบ้าง ผมไม่ได้ตั้งใจเช่าพระมาเพื่อขายอยู่แล้ว เวลา ผมเจอองค์ที่ผมอยากได้ผมก็จะใช้วิธีน�ำองค์ เก่าของผม ๒-๓ องค์ที่มีไปแลกแล้วก็เพิ่มเงิน เอา หรือถ้าเพือ่ นมาบ้านขอไปบ้าง ขอเช่าไปบ้าง ผมก็ให้ไป แต่ก่อนเวลาผมเช่าพระ ผมก็จะเช่า ทีละองค์ มีใครยุผมไม่รู้ตอนนัน้ ว่าให้เช่าพระ แบบศึกษาไปเป็นยุค ๆ เลย ตอนแรกผมเช่า ๑๐ องค์ปรากฏปลอมหมดเลย ๑๐ องค์ต่อมา เรื่อย ๆ รู้เรื่องมากขึ้นเจอปลอมก็เหลือ ๘ แล้ว ก็ได้ของจริงมา ๒ แต่เวลาผมเช่าพระผมไม่ใช้ เงินสดนะ ผมจะใช้วิธีซื้อเชื่อแล้วก็ผ่อนเอา จะ ได้มีบันทึกกันไว้ เวลาผมแลกคืนหรือเปลี่ยน คืนจะได้มีหลักฐานไว้ดูกัน ผมเคยเช่าพระพม่ามาองค์หนึง่ เกศเป็น ทองค�ำผสม พอผมขัดแล้วก็ขนึ้ เป็นประกายมา เลย สวยงามมาก สมัยโบราณเค้าจะหล่อโดย ใช้ขี้ผึ้งกับดิน หล่อรวมกันส่วนทองจะมาจาก ความศรัทธาของชาวบ้าน ถ้าเขาศรัทธามากก็ จะเอาพวก สร้อยทอง แหวนทอง มาใส่ ทอง มันละลายเร็วอย่างองค์นี้เป็นกรณีที่ทองไหล ไปที่เกศพระ ในความคิดเห็นของผม สมัย สุโขทัยพระจะสวยงามที่สุด ส่วนเชียงแสนจะ เป็นพระหายาก รัตนโกสินทร์ผมมองว่าเป็น พระทีม่ าจากทีต่ า่ ง ๆ รวมกันไม่มเี ป็นเอกลักษณ์ ของตัวเอง
ฝากถึงโรงเรียนของเรา ซึ่งก�ำลังจะครบรอบ ๑๐๐ ปี ผมมองว่าพวกเราอยูโ่ รงเรียนกัน ๑๐ ปี เป็นเสมือนการจ�ำลองโลกข้างนอกขึ้นมาซึ่งใน ความเป็นจริงเราออกไปแล้วเราแพ้ เพราะโลก จริงมันโหดร้าย มันไม่เป็นสุภาพบุรุษ อย่างใน วงการธุรกิจก็มโี อวีอยูไ่ ม่เยอะ ผมมองโรงเรียน เหมื อ นบริ ษั ท ผลิ ต สิ นค้ า แบรนด์ ข องเราดี ฮาร์ดแวร์เราก็ดี เรามีตึกขาว มีหอประชุมคน ภายนอกเห็นบอกว่าสวยจังแต่เราต้องถามต่อ ไปว่าสินค้าของเราดีมยั้ สิง่ นีเ้ ป็นสิง่ ทีต่ ้องคิดต่อ สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดเราต้องท�ำการพัฒนาสินค้าแต่ ท�ำยังไงผมไม่รู้นะเพราะผมไม่ได้อยู่ในวงการ ต้องถามว่าศิษย์เก่าทีอ่ อกไปแต่ละรุน่ เราต่อสูไ้ ด้ มั้ย เราอยู่ในโลกที่สวยหรูมานานพอส่งออกไป แล้วโลกข้างนอกมันเลวร้ายหมด นักเรียนเก่าฯ ผู้ปกครอง โรงเรียน ต้องมาช่วยกันคิดว่าเรามี จุดแข็งอะไร จุดอ่อนอะไร แล้วเราก็มาพัฒนา สินค้าของเรา สมัยก่อนเรามีกีฬาแต่เดี๋ยวนี้ ผมเห็นเราก็แพ้ใช่มั้ย นักกีฬาในไทยผิดวินัย มากที่สุด ไม่มีที่ไหนหรอกที่เล่นกีฬาเก่งแล้ว กินเหล้าเก่งด้วย มันต้องไม่กินเหล้าเลยจึงจะ ถูกหลัก คุณต้องดูนะประเทศหรือโลกของเรา มันไปถึงไหนแล้วแล้วเอามาเชื่อมโยงเข้ากับ โรงเรียนเรา เช่น อย่างจุฬาฯ แต่ก่อนดังมาก เดี๋ยวนี้เค้าก็ไม่ดูกันที่มหาวิทยาลัยกัน เค้าดู กันเป็นรายคณะ อย่างวิศวะก็ต้องลาดกระบัง
สือ่ สารมวลชนก็ตอ้ งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หมอ ก็มรี ามาฯ มีศริ ริ าชฯ บริหารธุรกิจก็มอี สั สัมชัญ อักษรก็ต้องทีจ่ ฬุ าฯ แบบนีเ้ ป็นต้น เราต้องแยก ดูเป็นวิชา ๆ ไป เราต้องน�ำโอวีซึ่งอยู่ในชนชั้น ปัญญาชนกันเกือบหมดกลับมาช่วยโรงเรียน แต่คุณต้องระวังนะเพราะคนเก่ง เขาจะมีอีโก้ สูง แบบว่ากูพูดกูต้องถูกเสมอน่ะ เราต้องมาท�ำวิจัยกัน แต่ต้องท�ำด้วยใจ เป็นกลางนะ อย่าหลงตัวเอง ต้องถอดหมวก ออกให้หมดเวลาเราจะคิดหรือจะท�ำอะไรเพื่อ ที่จะคิดให้ได้ว่าโมเดลวชิราวุธฯ เป็นอย่างไร เพราะถึงแม้ปณิธานเดิมของรัชกาลที่ ๖ จะถูก แต่อาจจะผิดกาลเวลาก็เป็นได้หรืออาจจะไม่ ถูกและก็ไม่ถูกเวลาด้วยก็ได้ ที่สำ� คัญการสร้าง คนเราต้องเริ่มกันตั้งแต่ครูบาอาจารย์ อย่างใน ต่างประเทศการเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรือชั้น ประถมต้องให้อาจารย์ที่จบปริญญาเอกสอน เพราะไม่อย่างนัน้ เราจะท�ำได้แค่มงุ หลังคาแต่เรา จะตอกเสาเข็มความรูแ้ ละวิธคี ดิ ให้เด็ก ๆ ไม่ได้ อาทิตย์ ประสาทกุล กรด โกศลานันท์ อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ เอกภัทร เปรมโยธิน และ เขต ณ พัทลุง (รุ่น ๗๑), กิตติเดช ฉันทังกูล มณฑล พาสมดี และ สุทธิพงศ์ ลิม้ สุขนิรนั ด์กลุ (รุน่ ๗๓), รัฐพล ปัน้ ทองพันธ์ (รุ่น ๗๕) สัมภาษณ์ อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ (รุ่น ๗๑), รัฐพล ปั้นทองพันธ์ (รุ่น ๗๕) เรียบเรียง วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๗๙) ถ่ายภาพ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 137
สนามหลัง ข่าวสารสมาคมฯ วันเสาร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐ น. งานวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ณ ลานหน้ารัฐสภา
138
วันอาทิตย์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๒.๐๐ น. การแข่งขันกอล์ฟ รวมพลคนรักครูอรุณ ณ สนามกอล์ฟไพรเฮริ์ท รังสิต กรุงเทพฯ
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 139
140
วันที่ ๕-๖-๗ มิถุนายน ๒๕๒๕ การประชุมนอกสถานที่สมาคมฯ ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัด กาญจนบุรี
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 141
วันอังคารที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๗.๔๕ น. ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั หน้าหอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย โดยมี คุณกุศะ ปันยารชุน และ ดร.สุเมธ ตันติ เวชกุล,เป็นประธานในพิธี คุณจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นายกสมาคมฯ, ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ ผูบ้ งั คับการ วชิราวุธวิทยาลัย และนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยเข้าร่วมงาน
142
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 143
วันพุธที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. งานแถลงข่าว วชิราวุธ ๑๐๐ ปี ณ หอประชุม วชิราวุธวิทยาลัย โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานในการแถลงข่าว โดยมีคุณดุสิต นนทะนาคร, ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์, คุณสุรเดช บุณยวัฒน ร่วมในการแถลงข่าวครั้งนีด้ ้วย
144
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 145
ตึกพยาบาล วันหนึง่ ที่อากาศแสนจะร้อนอบอ้าวกับการท�ำงานบนหอผู้ป่วย ผมได้ออกตรวจผู้ป่วย ตามปกติในรอบบ่าย เพื่อประเมินผลจากการรักษาที่ได้สั่งไปในตอนเช้า ผมได้พบกับผู้ป่วยของ ผมรายหนึง่ ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ชายวัยกลางคน เป็นคนร่อนเร่พเนจร ไม่มีญาติพี่น้อง จะมีก็แต่ เพือ่ นบ้านทีไ่ ม่รวู้ า่ เรียกว่าเพือ่ นบ้านจะถูกหรือเปล่า เพราะผูป้ ว่ ยเองไม่มบี า้ น เพียงแต่วา่ ไป นอนข้างๆ บ้านของชายคนนีเ้ ท่านัน้ เค้าถูกพามาส่งโรงพยาบาลเนือ่ งจากเพือ่ นบ้านเห็นว่า นอนซึมตัวร้อนอยู่ ภายหลังจากการตรวจก็พบว่าผูป้ ว่ ยมีการติดเชือ้ ในกระแสเลือด ร่วม กับมีอาการตับท�ำงานแย่ลงอย่างมากจากการดื่มเหล้าอย่างหนักของ ผู้ป่วย ผมได้สั่งการรักษาโดยการให้ยาฆ่าเชื้อตามสมควร และ ได้รับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ ภายหลังจากได้รับยา อาการซึมของผูป้ ว่ ยดีขนึ้ แต่เนือ่ งจากการท�ำงานของตับยังแย่อยู่ ท�ำให้ของเสียในเลือดมากจนมีอาการสับสนอยู่เป็นช่วงๆ ท�ำให้ ต้องประเมินอาการอยู่เป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา
แพทย์ : ไหนบอกหมอสิว่าคุณชื่ออะไร ผู้ป่วย : สมศักดิ์ ไง (นามสมมุติ) แพทย์ : ตอนนีค้ ุณสมศักดิ์นอนอยู่ที่ไหน ผู้ป่วย : ไม่รู้ ที่บ้านมั๊ง ถามอยู่นนั่ แหละ เซ้าซี้จริง เฮ้ย... หมอ ผมเคยเจอหมอมาก่อนนะ แพทย์ : ก็ต้องเจอสิ หมอมาตรวจคุณอยู่ทุกวันนี่ วันละตั้งหลายรอบ ผูป้ ว่ ย : ไม่ใช่ ก็ผมเคยเห็นหมออยูห่ น้าโรงแรม ๒๙
ผมยืนยันนะครับว่าผมไม่เคยไปโรงแรม ๒๙ อย่าง ที่คุณสมศักดิ์บอก แต่ถ้าตอบอย่างนี้ก็แสดงว่าอาการ สับสนยังไม่ดีขึ้น คงต้องให้การรักษาต่อไปก่อน แต่ว่าสิ่งที่
146
คุณสมศักดิพ์ ดู นีส่ ามารถเรียกเสียงหัวเราะและความสนใจจากผูป้ ว่ ย ญาติเตียงข้างๆ ได้เป็นเยอะ ทีเดียว ตอนนีค้ งต้องตรวจร่างกายทั่วๆ ไปต่อ แพทย์ : คุณสมศักดิ์ นอนตะแคงให้หมอฟังปอดหน่อยว่าเป็นยังไงบ้าง ผู้ป่วย : เอาแล้วดิ พูดนิดเดียวหมอมันจะเข้าข้างหลังกูด้วย ครั้งนี้ยิ่งเรียกเสียงฮาได้มากกว่าครั้งแรกอีก แต่ว่าเหตุการณ์นกี้ ็เป็นเรื่องปกติที่เจอได้ใน คนไข้โรคตับอยู่แล้ว ปัญหาในคนไข้รายนี้ คือ ดื่มเหล้ามากจนตับท�ำงานไม่ไหว ช่วงหลังๆ ก็จะมี ปัญหาสับสนเป็นพักๆ โดยเฉพาะเวลามีการติดเชื้อในร่างกาย, เลือดออกจากทางเดินอาหาร หรือ แม้กระทั่งท้องผูกก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการสับสนได้ โรคตับจากการดื่มเหล้ามีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ถ้าดื่มเหล้าเป็นระยะเวลานาน จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็งได้ โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ ๑๐ ปีภายหลัง จากการดื่มเหล้าอย่างหนัก ซึ่งปริมาณคร่าวๆ คือ ดื่มแอลกอฮอล์ ๖๐-๘๐ กรัม/วัน ในผู้ชาย หรือเทียบเท่าเบียร์ ๒-๓ ขวด/วัน, เหล้า (ไม่ผสม) ๑-๒ แก้ว/วัน แต่ถ้าเป็น ว็อดก้าหรือเหล้าขาว ๑ - ๑ แก้ว/วัน จะเห็นว่าปริมาณที่สามารถท�ำให้เกิดตับแข็งได้นนั้ ไม่มากมายอะไรเลย และยิ่งไป ๒ กว่านัน้ ถ้าเป็นผู้หญิงปริมาณครึ่งหนึง่ ของผู้ชายก็สามารถท�ำให้เกิดตับแข็งได้แล้ว ปริมาณเหล่านี้ เป็นปริมาณโดยประมาณ อาจจะแตกต่างจากนี้ไปได้บ้างแล้วแต่คน พี่น้องที่ดื่มเหล้าเบียร์กันก็เพลาๆ ลงบ้างนะครับก่อนจะสายเกินไป ภัทรวิน ภัทรนิธิมา (รุ่น ๗๑) แพทย์ประจ�ำบ้านอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 147
วันกลับบ้าน จากทีมงานอนุมานวสาร
น่าเชื่อเลยครับ อนุมานวสารฉบับนี้ เป็นฉบับที่ ๑๑ และย่างเข้าปีที่ ๓ แล้ว หลายคนทั้งที่เป็นนักเรียนเก่าฯ และ บุคคลภายนอกที่ได้อ่านได้ติดตามตั้ง ข้อสังเกตให้ฟังว่า ทีมงานอนุมานวสารมี จุดเด่นประการส�ำคัญคือ การที่ทีมงาน ประกอบด้วยนักเรียนเก่าฯ หลายรุ่นหลายวัย ท�ำงานบนอุดมคติที่มีรากฐานจากวิธีการอบรม สั่งสอนของวชิราวุธวิทยาลัย เวลาเตรียมต้นฉบับอนุมานวสาร แต่ละเล่ม เราแบ่งงานกันท�ำเป็นทีมและ ท�ำด้วยความเพลิดเพลินเหมือนเราเล่นรักบี้ ที่ต่างคนต่างเล่น ต่างรับผิดชอบ และต่าง เสียสละในต�ำแหน่งของตนเอง โดยไว้เนื้อ เชื่อใจว่าเพื่อนพี่น้องของเราในต�ำแหน่งอื่นจะ
148
เอื้อหนุนให้ทีมของเราสามารถบุกไปข้างหน้า ไปถึงเป้าหมายในการเป็นสื่อกลางเพื่อให้ พวกเรามาท�ำอะไรดีๆ ร่วมกัน ในขณะ เดียวกัน เราก็ตั้งใจเล่น เพื่อไม่ให้คนดู พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ที่คอยให้ก�ำลังใจอยู่ห่างๆ จะต้องผิดหวัง ถึงฉบับที่ใกล้อายุ ๓ ขวบ ทีมงาน อนุมานวสารได้มานัง่ คุยกันว่า อนุมานวสารใน อนาคตจะเป็นเช่นไร จดหมายข่าวที่เราเริ่มท�ำ กัน ๓ เดือนต่อฉบับ และต่อมาขยันขันแข็ง เร่งออกมาทุก ๒ เดือนนัน้ ควรจะปรับปรุงทั้ง ในด้านเนื้อหาและรูปโฉมไปในทิศทางไหน เราพูดคุยและรับฟังความคิดเห็นจาก ทุกคนอย่างสม�ำ่ เสมอ นอกจากเสียงเชียร์ที่ คอยส่งมาให้กำ� ลังใจทั้งเมื่อพบปะกันส่วนตัว
ทั้งผ่านทางจดหมายและอีเมล์ หรือฝากผ่าน ทีมงานด้วยกันเองแล้ว เราก็ยังมีการหารือ ระหว่างทีมงานด้วยกันเองว่า เราอยากจะเห็น เรามองอนุมานวสารอย่างไร เราถามค�ำถาม เช่นนีซ้ ำ�้ ๆ และถามกันบ่อยๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า ทีมงานท่านหนึง่ ให้ความเห็นว่า อนุมานวสาร น่าจะมีการต่อยอด โดยออก
“เราหวังว่า จะมีนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ต่างรุ่นต่างวัย จะมารวมตัวกัน เพื่อท�ำประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อสนองพระราชประสงค์ ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ในการตั้งโรงเรียนแห่งนี้” หนังสืออีกฉบับในชื่อ “มานวสาร” โดย รวบรวมผลงานทางวิชาการเคร่งเครียดใน สาขาต่างๆ ไว้ด้วยกัน คล้ายๆ กับฮาวาร์ด บิสซิเนสรีวิวของฝรั่ง ทีมงานอีกท่านมีความ เห็นว่า เนื้อหาที่เน้นหนักด้านการสัมภาษณ์ นักเรียนเก่าฯ นัน้ เริ่มซ�้ำซากและจ�ำเจ อีกคน หนึง่ เสริมว่า จะต้องมีคอลัมน์ที่หลากหลาย มากขึ้น ฯลฯ
ในขณะเดียวกัน ทีมงานอนุมานวสาร เริ่มคิดกันต่อว่า นอกจากงานด้านหนังสือ แล้ว เราจะท�ำอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่อย่างไร กิจกรรมปาฐกถาอนุมานวสาร “all gentlemen can learn” ที่จัดไปแล้ว ๒ ครั้ง เป็น หนึง่ ในกิจกรรมต่อยอด และถือว่าประสบ ความส�ำเร็จ ในขณะนี้ เราก�ำลังเตรียมจัด กิจกรรมดังกล่าวเป็นครั้งที่ ๓ ซึ่งจะเป็นส่วน หนึง่ ของกิจกรรมวชิราวุธฯ ครบ ๑๐๐ ปีด้วย ตอนนี้เราเริ่มคิดตรงกันว่า สิ่งหนึง่ ที่ส�ำคัญทื่สุดซึ่งนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ จะลืม เสียไม่ได้ก็คือ การรวมตัวกันเพื่อท�ำประโยชน์ ให้แก่สังคม นอกเหนือจากการรวมกลุ่มเป็น สมาคมในหมู่พวกเรากันเอง สังคมในที่นี้มิได้ หมายถึงเฉพาะหมู่นกั เรียนเก่าวชิราวุธฯ ด้วย กัน หรือโรงเรียนเก่าของเรา หากเป็นสังคมใน ความหมายที่กว้างกว่า คือสังคมของส่วนรวม สังคมของชุมชน สังคมของผู้ด้อยโอกาส และ สังคมของประเทศชาติ เราหวังว่าจะมีนกั เรียนเก่าวชิราวุธฯ ต่างรุ่นต่างวัยจะมารวมตัวกันเพื่อท�ำประโยชน์ ให้กับสังคม เพื่อสนองพระราชประสงค์ของ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ในการตั้งโรงเรียน แห่งนี้ มาร่วมมือร่วมใจกันกับสมาคม นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ของเรากันเถิดครับ หากไม่ทราบจะเริ่มตรงไหน หรือพี่ๆ น้องๆ ท่านใดมีความคิดหรือข้อเสนอแนะดีๆ ขอให้ ติดต่อกับพวกเราได้เลยครับ มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 149
ห้องเบิกของ ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี ห้องเบิกของเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของพี่น้องชาวโอวี เพื่อให้ชาวโอวี อุดหนุนซึ่งกันและกัน หากต้องการจะลงประกาศหรือแนะน�ำธุรกิจ กรุณาแจ้งรายละเอียดพร้อม หมายเลขติดต่อมายัง ovnewsletter@yahoo.com ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�้ำ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง (รุ่น ๕๐) และ พี่โจ้ (รุ่น ๕๔) ตั้งอยู่ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียม ติดแม่น�้ำเจ้าพระยา (มีทั้งวิวริมน�้ำ และวิ ว นั ก ว่ า ยน�้ ำ ) ถนนพิ บู ล สงคราม นนทบุ รี โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐ ร้ า นครั ว กะหนก ร้ า นของภรรยา พ.ต.ท.กุ ล ธน ประจวบเหมาะ (รุน่ ๕๕) สถานทีต่ งั้ จากถนนลาดพร้าว เข้าซอยลาดพร้าว ๗๑ ประมาณ ๑๕๐ เมตรอยู่ซ้าย มือ ส�ำหรับชาวโอวีทุกท่าน รับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐% สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ ร้านอาหารห้องแถว ษาเณศวร์ โกมลวณิช (รุ่น ๖๙) รับช่วงต่อจากที่บ้านดูแลกิจการร้านอาหารเหนือสุด แสนอร่ อ ยบนถนนนิ ม มานเหมิ นทร์ ถนนสายฮิ ป แห่งเมืองเชียงใหม่ เมนูแนะน�ำคือ แกงโฮ๊ะ ปลาสลิด ทอดฟู และแหนมผัดไข่ โทร. ๐๕๓ ๒๑๘ ๓๓๓ ร้านอาหาร อิงน�ำ้ ของ พี่อึ่ง (รุ่น ๓๙) ตั้งอยู่ระหว่าง จรัญ ๗๓-๗๕ (เลย Lotus มาประมาณ ๑๐๐ เมตร) อาหารอร่อยมาก ราคาก็ไม่แพง พี่อึ่ง เป็นกันเองมาก ลองไปชิม รับรองไม่ผิดหวัง ร้านอาหาร บ้านประชาชื่น ของพี่บูน บวรพิตร พิบูล สงคราม (รุน่ ๔๖) คณะพญาไท เวลาท�ำอาหาร ๑๐.๓๐๑๕.๓๐ ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์และอาทิตย์
คนแน่นมาก ควรรีบไปแต่เนิน่ ๆ เมนูเลื่องชื่อ ข้าวแช่ ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม ที่สืบทอดสูตรมา จากต้นตระกูลสนิทวงศ์ ความอร่อยต้องไปลิ้มรสด้วย ตนเองจะดีที่สุด ตั้งอยู่ที่ ๓๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ ถ้าไปไม่ถูก หรือต้องการจองโต๊ะ โทร. ๐๒-๕๘๕๑๓๒๓ หรือ มือถือ ๐๘๙-๐๕๗๑๖๑๓, ๐๘๑-๖๑๙๒๖๑๐ ร้ า น HOW TO ภิ ญ โญ โอวี ค ณะผู ้ บั ง คั บ การ (รุ่น ๔๔) ตั้งอยู่แถวถนนเกษตรนวมินทร์ มีดนตรี แนวเพลง Acoustic Guitar และ Folk Song ส่วนลดส�ำหรับชาวโอวี ลดค่าอาหาร ๒๐% สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ OZONO PLAZA ของคมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) อยู ่ ท ้ า ยซอยสุ ขุ ม วิ ท ๓๙ (พร้ อ มพงษ์ ) หลั ง ตึ ก อิตลั ไทย เป็นแหล่งรวมร้านค้าทีต่ อบสนอง Life Style ของคน (และสัตว์เลี้ยง) ทุกรุ่น ภายในมีร้านอาหาร ร้านเฟอร์นิเจอร์ Pub, ร้านเสื้อผ้า, Coffee Shop, ร้านท�ำผม, Waxing, ร้านท�ำเล็บ, ร้านแผ่นเสียง ร้านขายสินค้าส�ำหรับสัตว์เลี้ยง, Spa อาบน�ำ้ ตัดขน สุนัขและแมว โรงแรมสุนัข โรงแรมแมว และยังมี Dog Park ส�ำหรับสมาชิกเท่านั้น ชมรายละเอียด เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ www.ozono.us หรื อ ถ้ า มาไม่ ถู ก ติดต่อ ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ ชาวโอวีทา่ นใดสนใจสมัคร สมาชิก Dog Park จะได้รับส่วนลด
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 151
The Old Phra Arthit Pier พงศ์ธร เพชรชาติ (รุ่น ๖๐) ร้านอาหารสวยริมแม่นำ�้ เจ้าพระยา ใกล้ ๆ กับ ท่าพระอาทิตย์ ส�ำหรับชาวโอวีพี่เค้ามีส่วนลดให้ ๑๐% โทรมาจองโต๊ะได้ที่ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ หรือถ้ามาไม่ถกู ติดต่อได้ที่ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒ ร้านข้าวมันไก่สิงคโปร์ Orchard สุพร สหัสเนตร ฉุน (รุ่น ๗๕) ท�ำร้านอาหารร้านข้าวมันไก่สิงคโปร์ Orchard ที่ Central World ชั้น ๗ บริเวณติด ห้าง ZEN ยินดีต้อนรับและมอบส่วนลดแก่โอวีที่มา อุดหนุน ๑๐% ติดต่อได้ที่ (ฉุน) ๐๘๙ ๖๖๘ ๔๔๖๔
ร้านอาหารชิมิ ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (รุ่น ๔๔ ) ร้ า นชาบู ช าบู แ ละยาคิ นิ คุ ในแบบของโฮมเมด (อ่ า นรายละเอี ย ดได้ ใ นคอลั ม น์ โ รงเลี้ ย ง ฉบั บ ที่ ๑/๒๕๕๒) คุณภาพเยี่ยมราคาย่อมเยาว์ เหมาะกับ การกินในช่วงหน้าหนาวพอดี อยากหาอะไรอร่อย กระแทกลิ้น เชิญได้ที่ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ โทร ไปจองโต๊ะล่วงหน้าได้ทเี่ บอร์ ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ หรือ อีเมล์ shimi_restaurant@hotmail.com
อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ ่ น ๔๔) ผลต่ อ ยอดจากไร่ วิ ม านดิ น ผลิ ต และ จ�ำหน่ายชาสมุนไพรอินทรีย์รางจืด (Babbler’s Bill Leaf) มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ สามารถล้างพิษ แก้อาการเมาค้าง และท�ำลายเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุ ของโรคเริมได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีน�้ำเอ็นไซม์ ที่สกัดมาจากพืชผักผลไม้ที่ปลูกแบบอินทรีย์เกษตร ปลอดสารเคมี ๑๐๐% สรรพคุณของน�้ำ รัตนคุณ
คือ ช่วยปรับสมดุลของเซลล์ในร่างกายและท�ำให้ ระบบก�ำจัดอนุมูลอิสระสมบูรณ์ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ ร่างกายสามารถสลายพิษ ป้องกันโรคภัย-ไข้เจ็บ และ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือชะลอความแก่ได้นนั่ เอง พี่น้องโอวีท่านใดสนใจอยากรักษาสุขภาพแบบไร้สาร หรืออยากบ�ำบัดรักษาด้วยวิธีแบบธรรมชาติ ติดต่อ ได้ที่ เบอร์ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔
ตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้าง ไอซิดฯ ภตภพ (สิทธิพงษ์) ช.เจริญยิ่ง (รุ่น ๖๖) เปิด บริษัทรับตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้างภายใต้ชื่อ บริษัทไอซิดฯ ผลงานส่วนใหญ่เป็นการตกแต่งบ้าน และคอนโด โดยเฉพาะล่ า สุ ด ที่ ค อนโดมิ เนี ย มหรู “เดอะ แอดเดรส สยามฯ” ที่เข้าไปตกแต่งหลายห้อง และรับเหมาก่อสร้างปรับปรุงห้องที่โรงแรมเดอะมา รีนา ภูเก็ต โทร. ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙ มือถือ ๐๘๑๗๓๓-๗๗๐๑ เว็บไซต์ www.icidcompany.com
152
อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ นิธิ ก านต์ (มะนาว) โรหิ ต ศุ น (รุ ่ น ๗๐) หลั ง จากผ่ า นการเป็ นนายแบบโฆษณา มาหลายชิ้ นตอนนี้ ผั นตั ว เองมาเป็ นนายหน้ า ขาย บ้าน ที่ดิน คอนโด ของ Era หากท่านใดต้องการ ขายหรือซื้อ บ้าน ที่ดิน คอนโด ติดต่อมาได้ครับ ๐๘๙-๒๑๒-๓๓๔๔ หรือ nithikarn99@gmail.com
บริการ ถ่ายรูป ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (รุ่น ๗๒) ช่างภาพใหญ่ ประจ� ำ อนุ ม านวสารลาออกจากการเป็ นนัก ข่ า วมา ประกอบธุรกิจส่วนตัวบอกว่าไม่ชอบให้ใครมาก�ำหนด เวลา ออกมาท� ำ งานอิ ส ระเสี ย เลยดี ก ว่ า ถนัด รั บ ถ่ า ยรู ป งานแฟชั่ น งานเฉลิ ม ฉลอง และถ่ า ยรู ป ในสตู ดิ โอ ทั้ ง ถ่ า ยบุ ค คลและผลิ ต ภั ณฑ์ สตู ดิ โอ ของเขาตั้งอยู่ในหมู่บ้านการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ โทร. ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ อี เ มล์ nat_vc72@ hotmail.com หรื อ แวะชมผลงานก่ อ นได้ ที่ www.natphoto.com ร้าน ENCH Tutor & Café ฉัตรชัย เทพอภิชัยกุล, สรณัฐ สุดลาภา (รุ่น ๗๖), ศราวุธ ศิริวัฒน์ (รุ่น ๗๗) และผองเพื่อน รุ่น ๗๖, ๗๗, ๗๘ กลุ่มน้องโอวี เลือดใหม่ไฟแรง ผสาน “๒ งานบริการคุณภาพ” ไว้ใน ร้านเดียวได้อย่างสร้างสรรค์ลงตัว ขอเชิ ญ ชวนลิ้ ม รส ขนมของว่ า งสุ ด แสน อร่อย พร้อมชิมน�้ำปั่นแสนสุดพิเศษ ในบรรยากาศ ร้านชวนชื่นมื่นน่ารัก กับราคาเป็นกันเอง น�ำทีมอร่อย ลิ้นอิ่มใจโดย สรณัฐ สุดลาภา (รุ่น ๗๖) ทั้งเปิดสอน พิเศษ ตั้งแต่ชั้น ประถม ๑ ถึง มัธยม ๖ และคอร์ส ติว ENTRANCE สอบเข้ามหาวิทยาลัย อ�ำนวยการ สอนโดย ฉัตรชัย เทพอภิชยั กุล (รุน่ ๗๖) บัณฑิตใหม่ วิศวะฯ จุฬา ยอดอัจฉริยะแห่งโอวีรนุ่ ๗๖ ผูค้ ว้ารางวัล เรียนดีวชิราวุธ ๑๐ ปีซ้อน ภูมใิ จขอเสนอเชิญชวน พีๆ่ เพือ่ นๆ น้องๆ โอวี พาลูกๆ หลานๆ มาพบกับกวดวิชา ชั้นคุณภาพ ด้วยราคาอันแสนจะย่อมเยาว์ครับ ENCH Tutor & Café ตัง้ อยู่ ณ ซอยสามัคคี ข้าง ร.ร.เบญจมราชานุสรณ์ ถ.สามัคคี อ.เมือง จ.นนทบุรี เริม่ เปิดบริการตัง้ แต่ตน้ เดือนพฤษภาคม ศกนี้ เป็นต้น ไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ๐๘๖–๖๑๑– ๓๖๖๔ (ฉัตรชัย รุ่น ๗๖), ๐๘๖–๖๙๙–๐๕๙๕ (สรณั ฐ รุ่น ๗๖), ๐๘๕–๙๐๙– ๙๒๒๒ (ศราวุธ รุ่น ๗๗) e-mail: ihavea_dream@hotmail.com
แฟรงค์บราเดอร์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา (รุ่น ๖๕) อดี ต หั ว หน้ า วงจุ ล ดุ ริ ย างค์ ที่ เคยน� ำ วงไปแสดงที่ โรงเรี ย นสาว ๆ ทั่ ว ราชอาณาจั ก ร หั น มาท� ำ ธุ ร กิ จ ดนตรีอย่างจริงจัง มีสาขาที่กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ขายเครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีคลาสสิก มี ไวโอลินเก่าตั้งแต่ระดับมืออาชีพ ควรค่าแก่การเก็บ สะสม จนไปถึ ง ไวโอลิ นคุ ณ ภาพดี ร าคาย่ อ มเยาว์ โทร. ๐๒-๖๓๒-๘๘๒๓-๔ ไร่ บี เอ็น จุลพงศ์ คุม้ วงศ์ (รุน่ ๔๘) พีโ่ จ้ท�ำไร่ บี เอ็น เกี่ยวกับสวนผัก ผลไม้ และดอกไม้ ที่นี่มีชื่อเรื่องลิ้นจี่ (นรก) เพราะขายแพงโคตร ๔๐๐-๗๐๐ บาท/กก. ส่ง ขายที่ห้าง เอ็มโพเรียม เซ็นทรัลเวิล์ด เท่านัน้ แต่ถ้า มาซื้อที่ไร่จะลดให้พิเศษ เหลือ ๑๐๐-๒๐๐ บาท ฝาก บอกชาวโอวีวา่ ถ้าผ่านมาเขาค้อ ก็แวะมาเยีย่ มเยือนบ้าง โทร. ๐๕๖-๗๕๐-๔๑๙ มือถือ ๐๘๑-๙๗๓-๘๕๕๒ ร้านตัดผม Sindy Lim ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพ บุรุษและสุภาพสตรีฝีมือเยี่ยมของแท้และดั้งเดิมบน ปากซอยสุขุมวิท ๔๙ (เข้าซอยอยู่ขวามือ ตรงข้าม เซเว่นอีเลฟเว่นและร้านก๋วยเตี๋ยวแซว) ของ ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๖) หากก�ำลังจะหาร้านท�ำผมเพื่อ ออกงานหรือเปลี่ยนลุคแล้วละก็ เชิญไปใช้บริการ ได้ ติดต่อไปที่ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕, ๐๒-๒๖๐-๐๗๙๓ หรือต้องการติดต่อเจ้าของร้านโดยตรง โทรตามได้ที่ ๐๘๑-๙๒๓-๒๓๗๓ โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet น.สพ.อุรินทร์ คชเสนี (รุ่น ๗๑) รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด ท�ำหมัน เอ๊กซเรย์ ขูดหินปูน อาบน�ำ้ -ตัดขน บริการนอกสถานที่ รับปรึกษาปัญหาสัตว์เลีย้ ง ฝากเลีย้ ง (pet hotel) ขาย อุปกรณ์และอาหารสัตว์ ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง จ.นนทบุรี เปิดบริการทุกวัน ๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. โทร.๐ ๒๙๖๙ ๘๔๘๙ / ๐๘๙ ๘๑๖ ๘๑๓๘
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 153
ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ ส�ำหรับสัตว์เลีย้ ง ของ กอบกิจ จ�ำจด (รุน่ ๗๐) นอกจาก จะเป็นเว็บดีไซน์เนอร์แล้วยังเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์ ส� ำ หรั บ หมาและแมวออนไลน์ ไปเยี่ย มเยื อ นได้ ที่ www.weloveshopping.com/shop/furrytail หรือ ติดต่อตรงที่ โทร. ๐๘๖ ๕๒๘-๑๐๘๕ ร้านฟูฟู เจษฎา ใยมุง (รุ่น ๖๕) และภรรยาเปิดบริการ อาบน�้ำ/ตัดขนสุนัข บริการรับฝากสัตว์เลี้ยงกลาง เมืองจันท์ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร. ๐๘๑
๓๕๓ ๒๘๖๕ และ ๐๘๖ ๓๘๙ ๙๔๕๐ บริษัท น�ำ้ -ทอง เทรดดิ้ง จ�ำกัด ภณธร ชินนิลสลับ ซอมป่อย (รุน่ ๖๘) จ�ำหน่าย: น�ำ้ มันหล่อลืน่ น�ำ้ มันหล่อลืน่ อุตสาหกรรม ทุกชนิด (ปตท. บางจาก แมกซิมา) ส�ำนักงานใหญ่: ๑๘๘/๑๐๗ หมู่ ๑ ต�ำบลคอหงส์ อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ มือถือ: ๐๘๕๓๒๔-๙๙๐๑ โทรศัพท์: ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖ , โทรสาร: ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖
โรงแรม บ้ า นไร่ วิ ม านดิ น ออร์ แ กนิค ฟาร์ ม สเตย์ จั ง หวั ด กาญจนบุรี ชาย พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (รุ่น ๔๔) ไปพักผ่อนสบาย ๆ ภายใต้บรรยากาศความ เป็นธรรมชาติด้วยราคาสบายกระเป๋า นอกจากจะ ได้มาพักผ่อนแล้ว ทางบ้านไร่วิมานดินยังจัดเตรียม อาหารปรุ ง จากผลิ ต ภั ณฑ์ อิ นทรี ย ์ เพื่ อ ล้ า งสารพิ ษ และฟื้นฟูสุขภาพของท่านให้แข็งแรง ส�ำหรับพี่น้อง ที่ ส นใจ อยากไปสั ม ผั ส ธรรมชาติ อ ย่ า งเต็ ม อิ่ ม โทรศัพท์ไปจองได้ที่ ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ หรืออยาก หาข้อมูลเพิ่มเติม ก็เข้าไปดูได้ที่ www.vimarndin farmstay.com ส�ำหรับชาวโอวี ลดราคาให้พิเศษ ดิ โอ.วี. รีสอร์ท โกมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) เปิด โรงแรมกลางเมืองจันทบุรี ชนิดทีว่ า่ ใครขับรถผ่านต้องรู้ ว่าเป็นของโอวีทนั ที เพราะเต็มไปด้วยกลิน่ อายและของ ตกแต่งสมัยอยู่โรงเรียนของตนเองและลูกชาย โทร. ๐๘๑ ๘๓๓ ๒๑๒๕ ชุ ม พรคาบานาและศู น ย์ กี ฬ าด� ำ น�้ ำ ลึ ก วริ ส ร รักษ์พันธุ์ (รุ่น ๖๑) ที่หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร ให้บริการที่พัก สัมมนา และบริการด�ำน�้ำลึก มีคอร์ส สอนด�ำน�้ำลึก และมีเรือพาออกด�ำน�้ำในทะเลชุมพร ส�ำนักงานกรุงเทพฯ โทร. ๐๒-๓๙๑-๖๘๕๙ มือถือ ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ชุมพร โทรศัพท์ ๐๗๗-๕๖๐๒๔๕-๗ เว็บไซต์ www.chumphoncabana.com
154
The Bihai Huahin ตั้งอยู่ที่ ๘๙ หมู่ ๕ บ้าน หั ว ดอน ต� ำ บลหนองแก อ� ำ เภอหั ว หิ น จั ง หวั ด ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๑๑๐ โอวีลด ๒๐% โทร. ๐๓๒๕๒๗-๕๕๗-๖๐ เว็บไซต์ www.thebihaihuahin.com ไร่ภูอุทัย ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ�ำนวยศิลป์ อุทัย (รุ่น ๗๑) และ รังสรรค์ อุทัย (รุ่น ๗๒) สัมผัสบรรยากาศบนภูอุทัยที่ล้อมรอบ ด้วยธรรมชาติของอุทยานฯ เขาใหญ่ สูดรับอากาศ บริสุทธิ์ด้วยโอโซนระดับ ๗ มีลานกว้างบนเนินเขาที่ มองเห็นทิวเขาได้ ๓๖๐ องศา พร้อมกิจกรรมมากมาย ติดต่อได้ที่ ๐๘๖-๑๓๖-๑๖๑๙ หรือ ๐๘๖ ๕๕๔ ๕๔๕๗ หรือแวะชมเว็บไซต์ก่อนที่ http://www.phu-uthai. com/ ชาวโอวีราคาพิเศษ ตาลคู่ บีช รีสอร์ท อลงกต วัชรสินธุ์ (รุ่น ๗๕) ตั้งอยู่ ใน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช รีสอร์ทสวยริมทะเล ใสใกล้เกาะสมุย กลัวไปไม่ถูก ติดต่อเจ้าตัวได้โดย ตรง ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ หรือ g_got75@hotmail.com โรงแรม รัตนาปาร์ค มาฆะ พุ่มสะอาด (รุ่น ๕๕) ท�ำงานอยู่โรงแรม รัตนาปาร์ค ที่พิษณุโลก ฝากบอก ว่าถ้าโอวีท่านไหนมาก็ให้โทรบอกได้เลย จะดูราคาค่า ห้องให้พิเศษ โทร. ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ เบอร์โรงแรม ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑
Keereeta Resort คีรีตารีสอร์ท อุรคินทร์ ไชยศิริ กิมจิ (รุ่น ๗๐) ท�ำธุรกิจ โรงแรมและรีสอร์ทอยู่เกาะ ช้างใครสนใจอยากไปพักผ่อนท่องเที่ยว จัดสัมมนา
ยินดีต้อนรับชาวโอวีทุกท่าน พร้อมให้บริการในราคา พิเศษสนใจติดต่อได้ที่ (กิมจิ) ๐๘๙ ๗๔๘ ๗๕๒๘
ออกแบบเว็บไซต์อละงานกราฟฟิค Zyplus.com สิษฐวัฒน์ ตูจ้ นิ ดา (รุน่ ๖๗) ปิดทองหลัง พระมาเสียนาน ให้บริการจดชือ่ โดเมนเนมและให้พนื้ ที่ เว็บโฮสติ้งของเว็บไซต์ โอวี www.oldvajiravudh. com มาตั้งแต่เปิดโฉมใหม่เมื่อเกือบสองปีก่อน เขา ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตมานานตั้งแต่เรียนจบ โดย เปิดบริษัทเล็ก ๆ ซึ่งมีเขาเป็นทั้งเจ้าของ ผู้จัดการ และ พนักงานเพียงคนเดียว ชื่อ “zyplus” สนใจจดชื่อโด
เมนเนมหรือเช่าเว็บโอสติง้ เข้าไปที่ www.zyplus.com หรือ โทร. ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ 22eq กอบกิจ จ�ำจด (รุ่น ๗๐) นิติศาสตร์บัณฑิต จากรั้วธรรมศาสตร์ผันตัวเป็นกราฟฟิกดีไซเนอร์ รับ ออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ทั่วราชอาณาจักร ติดต่อที่ โทร. ๐๘๖ ๕๒๘ ๑๐๘๕ หรือ www.jate.22eq.com
ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนการจัดท�ำ อนุมานวสาร ๑. ศ.น.พ.อาวุธ ศรีศุกรี (โอวีเก๋ากึก้ ส์) ๒,๐๐๐ บาท ๒. จิรายุศ แสงสว่างวัฒนะ (รุน่ ๓๑) ๒,๐๐๐ บาท ๓. จักรพันธุ์ โปษยกฤต (รุ่น ๓๓) ๓๐,๐๐๐ บาท ๔. เตช บุนนาค (รุ่น ๓๓) ๕๐๐ บาท ๕. พล.ต.อ. สันต์ ศรุตานนท์ (รุ่น ๓๔) ๓๐,๐๐๐ บาท ๖. อดิศักดิ์ เหมอยู่ (รุ่น ๓๘) ๒๐,๐๐๐ บาท ๗. โอวี ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท ๘. จุลสิงห์ วสันตสิงห์ (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท ๙. พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล (รุ่น ๔๐) ๕,๐๐๐ บาท ๑๐. คุรุจิต นาครทรรพ (รุ่น ๔๕) ๓,๐๐๐ บาท
๑๑. ศ.ดร.ทวิป กิตติยาภรณ์ (รุ่น ๔๕) ๕,๐๐๐ บาท ๑๒. ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (รุน่ ๔๖) ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๓. นรศุภ นิติเกษตรสุนทร (รุ่น ๔๖) ๑,๐๐๐ บาท ๑๔. ธานี จูฑะพันธ์ (รุ่น ๔๗) ๕,๐๐๐ บาท ๑๕. มนต์เทพ โปราณานนท์ (รุน่ ๔๙) ๓,๐๐๐ บาท ๑๖. โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๗. พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๑) ๑,๐๐๐ บาท ๑๘ อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ (รุ่น ๕๑) ๕,๐๐๐ บาท ๑๙. ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๕) ๑,๐๐๐ บาท ๒๐. ทวีสิน ลิ้มธนากุล (รุ่น ๕๖) ๑,๐๐๐ บาท
๒๑. อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ (รุ่น ๕๗) ๑,๐๐๐ บาท ๒๒. คมกฤช รัตนราช (รุ่น ๕๙) ๒,๐๐๐ บาท ๒๓. ปกรณ์ อาภาพันธุ์ (รุ่น ๕๙) ๒,๐๐๐ บาท ๒๔. วีรยุทธ โพธารามิก (รุ่น ๖๐) ๑,๐๐๐ บาท ๒๕. กมล นันทิยาภูษิต (รุ่น ๖๑) ๕,๐๐๐ บาท ๒๖. โอวี รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท ๒๗. สถิร ตั้งมโนเพียรชัย (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท ๒๘. อาทิตย์ ประสาทกุล (รุ่น ๗๑) ๑,๐๐๐ บาท
มีนาคม - เมษายน ๒๕๕๒ 155
อนุมานวสาร ฉบับย้อนหลัง อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๐
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๐ เมษายน - มิถุนายน
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๐ ฉบับ ๓ - ๒๕๕๐ กรกฎาคม – กันยายน ตุลาคม – ธันวาคม อนุมานวสาร ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๑ ฉบับ ๓ - ๒๕๕๑ เมษายน – พฤษภาคม มิถุนายน – กรกฎาคม ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๒ มกราคม – กุมภาพันธ์
156
ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๒ - ๒๕๕๒ มีนาคม – เมษายน
ฉบับ ๔ - ๒๕๕๑ สิงหาคม – กันยายน
ฉบับ ๑ - ๒๕๕๑ มกราคม – มีนาคม
ฉบับ ๕ - ๒๕๕๑ ตุลาคม – ธันวาคม
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง)