วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๙

Page 1



วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ ISSN 2229-1644 วัตถุประสงค์ :

ที่ปรึกษา :

ขอบเขตเนื้อหา : เงื่อนไขการตีพิมพ์ :

กาหนดเผยแพร่ : เจ้าของ :

ศิลปกรรม : จานวน : พิมพ์ที่ :

เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านอยุธยาศึกษา โดยพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์หรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformed Ancient Manuscripts) บทความปริทศั น์ (Review Article) ที่มีประเด็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจังหวัด พระนครศรีอยุธยา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม บทความวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บทความทีจ่ ะได้รับการตีพิมพ์ ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็นขั้นแรก แล้วจัดให้มผี ู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขานั้นๆ ร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย ๒ ท่าน โดยเป็นการประเมินแบบ Double-blind peer review คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผูแ้ ต่ง และผูแ้ ต่งไม่ทราบชือ่ ผู้พิจารณา โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ เป็นรูปเล่ม สาหรับจัดส่งให้ห้องสมุดและหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ออนไลน์ใน แบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ วารสารตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ ๒ ฉบับ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๙๖ ถนนปรีดีพนมยงค์ ตาบลประตูชัย อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐-๓๕๒๔-๑๔๐๗ เว็บไซต์ asi.aru.ac.th ปก: ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้า ตลาดลาดชะโด (พ.ศ.๒๕๔๗) โดย ชัชนันท์ ภักดี จัดรูปเล่ม: พัฑร์ แตงพันธ์ ๕๐๐ เล่ม บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จากัด

เนื้อหาและทัศนคติในบทความเป็นของผู้เขียนเท่านั้น บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย ผู้ที่ประสงค์จะนาข้อความจากบทความ หรือบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๑


คณะกรรมการกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา บรรณาธิการบริหาร : บรรณาธิการ : ผู้ช่วยบรรณาธิการ : กองบรรณาธิการ :

เลขานุการกองบรรณาธิการ : คณะทางาน :

อาจารย์ ดร.จงกล เฮงสุวรรณ อาจารย์กันยารัตน์ คงพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิรา ปูชตรีรัตน์ ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูสิทธิ์ ประดับเพ็ชร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนู บุญญานุวัตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวิตรี พิสณุพงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ ร.ท.ธนู ทดแทนคุณ อาจารย์ ดร.รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร อาจารย์ ดร.ปฤษณา ชนะวรรษ อาจารย์ ดร.บุญสมหญิง พลเมืองดี อาจารย์ ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ อาจารย์ชนิกานต์ ผลเจริญ อาจารย์ศุภกาณฑ์ นานรัมย์ อาจารย์นพดล ปรางค์ทอง อาจารย์อัมรา หันตรา นางศาริสา จินดาวงษ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ชมรมเรารักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

นายพัฑร์ แตงพันธ์ ฝ่ายบริหารงานทัว่ ไป ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย นางสาวธัญวลัย แก้วแหวน นางสาวสายรุ้ง กล่าเพชร นางสาวศรีสุวรรณ ช่วยโสภา นางประภาพร แตงพันธ์ นางยุพดี ป้อมทอง

๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ฝ่ายวิชาการและส่งเสริมวิชาการ นางสาวสาธิยา ลายพิกุน นายปัทพงษ์ ชื่นบุญ นายอายุวัฒน์ ค้าผล นางสาวอรอุมา โพธิ์จิ๋ว


ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีท่ี ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕.

รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข รองศาสตราจารย์ ดร.สุนันทา เลาหนันทน์

๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลทิพย์ แจ่มกระจ่าง ๘. อาจารย์ ดร.ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ๙. อาจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ๑๐. อาจารย์ ง่ายงาม ประจวบวัน ๑๑. อาจารย์ นงลักษณ์ สมันตรัฐ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๓


สารบัญ บทความวิชาการ สมเด็จพระเพทราชากับการแทรกแซงทางการเมืองภายในราชอาณาจักรล้านช้าง ธีระวัฒน์ แสนคา

การสารวจและวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเกาะลอย ตาบลหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คมลักษณ์ ไชยยะ

๑๙

กระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า วัดกระโดงทอง และผลต่อบริบทการอยูอ่ าศัยของชุมชนริมน้า ดร. เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร และเสฎฐวุฒิ บารุงกุล

๓๙

บทความวิจัย แนวทางการพัฒนาตลาดลาดชะโด อาเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกษรา ศรีวิเชียร

๕๓

การศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ พฤติกรรมความขัดแย้งด้านวัฒนธรรมการทางาน ของบุคลากรภายในธุรกิจโรงแรม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มนภัทร บุษปฤกษ์

๖๘

ชานวัฒนธรรมสถาบันอยุธยาศึกษา จดหมายเหตุพระนครศรีอยุธยา: เรื่องเล่าจากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู: หนึ่งในความทรงจา ๑๑๑ ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พัฑร์ แตงพันธ์

๗๕

อยุธยาพลวัต: อุณาโลมตามความเชือ่ ทางพุทธ ฮินดูและจีน ชนิกานต์ ผลเจริญ

๘๔

สอนน้องเรียนศิลป์: นิทรรศการออนไลน์ ผลงานภาพวาด จากโครงการสอนน้องเรียนศิลป์ ประจาปี พ.ศ.๒๕๕๙ อรอุมา โพธิ์จิ๋ว และอายุวัฒน์ ค้าผล

๘๙

ประวัติศาสตร์ริมรั้วโรงเรียน: แผนที่ภูมวิ ัฒนธรรมย่านตาบลสาเภาล่ม พัฑร์ แตงพันธ์

๙๑

๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


บทบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการ และงานวิจัยทางด้าน อยุธยาศึกษา โดยพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์หรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริ ว รรตเอกสารโบราณ (Transformed Ancient Manuscripts) บทความปริทัศน์ (Review Article) ที่มีประเด็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คาว่า “อยุธยา” ในความหมายของสถาบันอยุธยาศึกษา มิได้จากัดด้วยมิติทางกาลเวลา จึงหมายรวมถึงความ เป็นอดีต ที่ดาเนินต่อเนื่องมาสู่ความร่วมสมัย และแนวทางที่จะดาเนินต่อไปสู่วันข้างหน้า โดยมิได้จาเพาะแต่ศาสตร์ใด ศาสตร์หนึ่ง แต่ครอบคลุมมากกว่า ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม ทั้งเชิงวิชาการ และ เชิงสารคดี ดังนั้น “อยุธยา” ในคาจากัดความนี้ จึงเป็นอยุธยาที่มีชีวิตชีวา และอยู่เหนือกาลเวลา ดังจะเห็นได้จาก บทความต่างๆ ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษาฉบับนี้ ซึ่งมีเนื้อหาหลากหลายสาขา อาทิ บทความวิชาการ ประกอบด้วย บทความเรื่อง สมเด็จพระเพทราชากับการแทรกแซงทางการเมืองภายใน ราชอาณาจักรล้านช้าง, การสารวจและวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเกาะลอย ตาบลหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, และกระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า วัดกระโดงทอง และผลต่อบริบทการอยู่อาศัยของชุมชนริมน้า บทความวิ จั ย ประกอบด้ ว ย บทความเรื่ อ ง แนวทางการพั ฒ นาตลาดลาดชะโด อ าเภอผั ก ไห่ จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา และการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ พฤติกรรมความขัดแย้งด้านวัฒนธรรมการทางานของ บุคลากรภายในธุรกิจโรงแรม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บทความสารคดี -ปกิณกะ ในคอลัมน์ชานวัฒนธรรมสถาบันอยุธยาศึกษา ประกอบด้วย เรื่องเล่าจาก โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู: หนึ่งในความทรงจา ๑๑๑ ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, อุณาโลมตามความ เชื่อทางพุทธ ฮินดูและจีน, นิทรรศการออนไลน์ ผลงานภาพวาด จากโครงการสอนน้องเรียนศิลป์ ประจาปี พ.ศ.๒๕๕๙ และ แผนที่ภูมิวัฒนธรรมย่านตาบลสาเภาล่ม ด้วยความหลากหลายของคาว่า “อยุธยา” นั้น กองบรรณาธิการ จึงมุ่งหวังให้ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา สามารถเข้าถึง ผู้อ่านทุกกลุ่ม ทั้งนักวิชาการ อาจารย์ บุคคลทั่วไป ทั้งในท้องถิ่นอยุธยา และจังหวัดต่างๆ โดยไม่จาเพาะ แต่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้กองบรรณาธิการ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะน้อมรั บคาเสนอแนะ ติชมจากผู้อ่านทุก ท่าน เพื่อนามาพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษาต่อไป บรรณาธิการ วารสารอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๕


๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


บทความวิชาการ สาขาประวัติศาสตร์

สมเด็จพระเพทราชา กับการแทรกแซงทางการเมืองภายในราชอาณาจักรล้านช้าง Political Interference of King Phet Raja within the Kingdom of Lan Xang ธีระวัฒน์ แสนคา / Teerawatt Sankom อาจารย์ประจามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

บทคัดย่อ ในรั ช สมั ย สมเด็ จ พระเพทราชา กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยามี บ ทบาทอย่ า งมากในการแทรกแซงและแก้ ไ ขปั ญ หา ความขัดแย้งภายในราชอาณาจักรล้านช้างที่เกิดขึ้นจากเจ้ากิ่งกิจแห่งเมืองหลวงพระบางและพระไชยองค์เว้แห่งเมือง เวียงจันทน์ โดยสามารถยุติ สงครามความขั ดแย้ง ระหว่างเมื องหลวงพระบางกั บเมืองเวียงจัน ทน์ไ ด้ อย่ างสั น ติ วิ ธี และผลของการแทรกแซงทางการเมืองภายในราชอาณาจักรล้านช้ างของสมเด็จพระเพทราชา ทาให้ราชอาณาจักร ล้านช้างต้องแยกอาณาเขตการปกครองออกเป็นสองราชสานัก คือ ราชสานักเมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบาง พระไชยองค์ เ ว้ ยั งได้ ถ วายพระราชบุ ต รี เ พื่อ เชื่ อ มสั ม พัน ธไมตรี สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ท างเครื อ ญาติ และตอบแทน พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเพทราชาที่ส่งกองทัพขึ้นไปช่วยต้านทัพเมืองหลวงพระบางตามที่มีพระราชสาส์นส่ง มาอีกด้วย คาสาคัญ: สมเด็จพระเพทราชา, กรุงศรีอยุธยา, ราชอาณาจักรล้านช้าง, การแทรกแซงทางการเมือง

Abstract In the reign of King Phet Raja, the Kingdom of Ayutthaya played a critical role within the Kingdom of Lan Xang concerning political interference and conflict resolution caused by Chao King Kit, the king of Luang Prabang, and Phra Chai Ong Whe, the king of Vientiane. After King Phet Raja could peacefully end the wars and conflicts between the two kingdoms, the Kingdom of Lan Xang had been divided into 2 governing royal courts: Vientiane Royal Court and Luang Prabang Royal Court. Phra Chai Ong Whe also gave his daughter to be a wife of King Phet Raja in order to show gratitude and tie of blood relationship between the kingdoms of Vientiane and Ayutthaya. Keywords: King Phet Raja, Kingdom of Ayutthaya, Kingdom of Lan Xang, political interference วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๗


ความนา สมเด็จพระเพทราชาทรงเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๒๓๑ หลั ง สมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราชเสด็ จ สวรรคต อย่างไรก็ตามได้ทรงยึดอานาจทางการเมืองไว้ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ตั้ ง แต่ เ ดื อ นพฤษภาคมขณะเมื่ อ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราชยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ด้วยการเข้า ยึดพระราชวังที่เมืองลพบุรีซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ป ระทับ ข อ ง ส ม เ ด็ จ พ ร ะ น า ร า ย ณ์ ม ห า ร า ช ส ม เ ด็ จ พระเพทราชาทรงเป็ น ปฐมกษั ต ริ ย์ แ ห่ ง ราชวง ศ์ บ้านพลูหลวง ด้วยเหตุที่ทรงเป็นชาวบ้ านพลูห ลวงใน สุพรรณบุรีตามที่ระบุไว้ในพระราชพงศาวดาร (ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, ๒๕๕๕, หน้า ๑๕๘) ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีเหตุการณ์ปรากฏ ในพระราชพงศาวดารซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่ า งกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยากั บ ราชอาณาจั ก รล้ า นช้ า งว่ า พระเจ้ า กรุ ง ศรี สั ต นาคนหุ ต (เวี ย งจั น ทน์ ) แห่ ง ราชอาณาจักรล้านช้าง ทรงขอกองทัพกรุงศรีอยุธยาไป ช่วยรบเมืองหลวงพระบาง สมเด็จพระเพทราชาจึ ง มี พระบรมราชโองการให้พระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพ น าก าลั ง ไปช่ ว ยฝ่ า ยเมื อ งเวี ย งจั น ทน์ เมื่ อ ฝ่ า ยเมื อ ง หลวงพระบางรู้ ว่ า มี ก องทั พ กรุ งศรี อ ยุ ธ ยามาถึ งเมือง เวียงจันทน์ก็ยอมประนีประนอมยุติปัญหาสงครามกับ เมื อ งเวี ย งจั น ทน์ พระเจ้ า กรุ ง ศรี สั ต นาคนหุ ต จึ ง ส่ ง พระราชบุ ต รี ม าถวายถึ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ซึ่ ง สมเด็ จ พระเพทราชาก็ได้พระราชทานต่อให้แก่พระมหาอุปราช ตามที่ทรงขอ (ธีรวัต ณ ป้อมเพชร, ๒๕๕๕, หน้า ๑๖๐) จากเหตุการณ์ในพระราชพงศาวดารของไทยมี ความสอดคล้ อ งกั บ พงศาวดารของลาว ซึ่ ง หลั ง จาก เหตุการณ์ดัง กล่าวได้ทาให้ราชอาณาจักรล้านช้างต้อง แยกออกเป็นสองราชสานัก คือ ราชสานักเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง มีความเป็นอิสระทางการปกครอง และยั ง เกิ ด การแบ่ ง อาณาเขตการปกครองกั น อย่ า ง ๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ชัดเจน สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของกรุง ศรีอยุธยาที่มี ส่วนแทรกแซงการเมืองภายในราชอาณาจักรล้านช้าง จนท าให้ เ กิ ด การแบ่ ง อาณาเขตปกครองภายใน ราชอาณาจักรล้านช้าง ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงพยายามที่จะนาเสนอ ปัญหาความขัดแย้งภายในราชอาณาจักรล้านช้าง และ การแทรกแซงการเมื อ งภายในของราชอาณาจั ก ร ล้านช้างของกรุง ศรี อยุธ ยาในรั ช กาลสมเด็ จพระเพทราชา โดยการร้องขอจากพระเจ้า กรุง ศรี สัตนาคนหุ ต (เวียงจันทน์) จนส่ง ผลเกิดการแบ่ง อาณาเขตปกครอง ภายในราชอาณาจักรล้านช้าง จากหลักฐานพระราชพงศาวดารไทยและพงศาวดารลาว เพื่ อ แสดงให้เห็น มิติความสัมพันธ์ระหว่างกรุง ศรีอยุธยากับล้านช้างที่มี ความน่าสนใจอีกเหตุการณ์หนึ่ง

ปัญหาความขัดแย้งในราชอาณาจักร ล้านช้าง ราชอาณาจั ก รล้ า นช้ า งเกิ ด ขึ้ น ในช่ ว งปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทาการรวบรวม บ้านเล็กเมืองน้อยในลุ่มน้าโขงและลุ่มน้าสาขามีชื่อว่า “กรุงศรีสัตตนาหนหุต” หรือ “ราชอาณาจักรล้านช้าง” มีราชสานักอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง (สุรศักดิ์ ศรีสาอาง, ๒๕๔๕, หน้า ๔๙) ในช่ ว งพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๑ ความพยายาม ขยายอานาจจากเมืองหลวงพระบางลงมาตามลุ่มแม่น้า โขง เริ่มมีความเด่นชัดในรั ช สมัยพระเจ้ าโพธิ สาลราช (พ.ศ.๒๐๖๓-๒๐๙๐) ครั้นถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา ธิราช (พ.ศ.๒๐๙๑-๒๑๑๔) พระราชโอรสของพระเจ้ า โ พ ธิ ส า ล ร า ช ไ ด้ ท ร ง ย้ า ย เ มื อ ง ห ล ว ง จ า ก เ มื อ ง หลวงพระบางลงมายังเมืองเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.๒๑๐๓ (พงศาวดารล้านช้ างตามถ้อ ยคาในฉบั บเดิ ม, ๒๕๐๖, หน้า ๑๖๓)


การย้ า ยมาที่ เ มื อ งเวี ย งจั น ทน์ จึ ง อยู่ ใ กล้ กั บ กรุงศรีอยุธยาซึ่งต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ทรงทา สั ญ ญาเป็ น ไมตรี กั บ สมเด็ จ พระมหาจั ก รพรรดิ (กรม ศิลปากร, ๒๕๒๙, หน้า ๒๗๙-๒๘๕) อีกทั้งบริเวณเมือง เวี ย งจั น ทน์ มี ป ระชากรอยู่ จ านวนมาก เพราะมี ท าเล เหมาะสมแก่การทาเกษตรกรรมมากกว่า เนื่องจากมีที่ ราบกว้างขวาง อุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร สามารถ เลี้ยงดูไพร่พลจานวนมากได้ (สุรศักดิ์ ศรีสาอาง, ๒๕๔๕, หน้ า ๘๘) และเกิ ด การขยายตั ว ทางการค้ า ภายใน ภาคพื้นทวีปในช่วงเวลาดังกล่าว เมืองเวียงจันทน์มีความ เหมาะสมที่ จ ะเป็ น ศู น ย์ ก ลางการค้ า ที่ ส าคั ญ มากกว่า เมืองหลวงพระบาง (โยซิยูกิ มาซูฮารา, ๒๕๔๖, หน้า ๙๑-๙๘) อย่างไรก็ดี หลังจากย้ายศูนย์กลางการปกครอง ล ง ม า อ ยู่ ที่ เ มื อ ง เ วี ย ง จั น ท น์ แ ล้ ว เ มื อ ง ห ล ว ง พระบางซึ่ ง เคยเป็ น เมื อ งหลวงก็ ยั ง คงมี เ ชื้ อ พระวงศ์ ปกครองอยู่ จนถึ ง รั ช สมั ย พระเจ้ า สุ ริ ย วงศาธรรมิ ก ราช (พ.ศ.๒๑๘๑-๒๒๓๘) พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม ทรงเคารพในพระราช ก าหนดกฎหมายอย่ า งเคร่ งครัด ที่ สุ ด จึ ง เป็ น ที่ เ คารพ ย าเกรงและนับ ถื อ ของราษฎรทั้ งหลาย พระองค์ทรง ปกครองราชอาณาจักรล้านช้างให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่มี ข้าศึกศัตรูใดๆ ทั้งภายในและภายนอกมาราวีร บกวน ตลอดระยะเวลาอั น ยาวนานในรั ช สมั ย ของพระองค์ (สิ ล า วี ร ะวงส์ , ๒๕๔๙, หน้ า ๑๒๕) แต่ ห ลั ง จากสิ้ น รั ช สมั ย ของพระองค์ ก็ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง ขึ้ น ภายใน ราชส านั ก เมื อ งเวี ย ง จั น ทน์ จนท าให้ ช่ ว ง ก ลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๓ ภายในราชอาณาจักรล้านช้ า งได้ แยกการปกครองออกเป็น ๓ ราชสานักตามหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและเมื อ ง จาปาศักดิ์ โดยผู้ปกครองทั้งสามเมืองต่างก็มีสถานะเป็น พระมหากษัตริย์ตามรูปแบบการปกครองของรัฐจารีต แม้ ผู้ ป ก คร อง จ ะ มี ค ว ามสั ม พั น ธ์ ท าง เครื อ ญาติ

พระราชวงศ์เดียวกัน แต่ก็เป็นอิสระทางการเมืองการ ปกครองต่อกัน ดั ง นั้ น ค าว่ า “ราชอาณาจั ก รล้ า นช้ า ง” ใน บทความนี้จึงมีหมายถึงอานาจและพื้นที่การปกครองทั้ง ของราชสานักเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและ เมื อ งจ าปาศั ก ดิ์ ซึ่ ง เคยอยู่ ภ ายใต้ ก ารปกครองของ พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกันมาก่อน ผู้ปกครองมี ความสัมพันธ์กันทางเครือญาติและมีรูปแบบวัฒนธรรม ร่วมกัน แต่มีเมืองเวียงจันทน์เป็นราชสานักที่มีอานาจ และความสาคัญที่สุดในความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา ๑. การแย่งชิงราชสมบัติหลังรัชกาลพระยา สุริยธรรมิกราช หลั ง พระเจ้ า สุ ริ ย วงษาธรรมิ ก ราชเสด็ จ สวรรคตในปี พ.ศ.๒๒๓๘ พระองค์ไม่มีพระราชโอรสที่ จะครองราชย์ สื บ ต่ อ เนื่ อ งจากต้ อ งพระราชอาญา ประหารชีวิต มีเพียงเจ้ากิ่ง กิจและเจ้าอินทโสมซึ่ง เป็น พระนัดดา ส่วนพระนางสุมังคละซึ่งเป็นพระราชบุตรีของ พระองค์นั้น ทรงมีพระโอรสอยู่ ๑ องค์ คือ เจ้าองค์หล่อ ขณะนั้ น มี พ ระชั น ษาได้ ๑๓ ปี และทรงครรภ์ ไ ด้ ๖-๗ เดือน พระยาเมืองจันซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ได้ทาการ ยึดอานาจ และต้องการให้พระนางสุมัง คละเป็นมเหสี แต่พระนางไม่สมัครใจจะร่วมสัง วาสด้วย จึง หนีไ ปพึ่ง พระครูยอดแก้ววัดโพนสะเม็ก และพาไพร่พลประมาณ ๓,๐๐๐ คนหนีราชภัยลงไปยังบ้านงิ้วลาพันโสมสนุกตาม ลาแม่น้าโขง ต่อมาพระนางประสูติพระโอรสมีพระนาม ว่าเจ้าหน่อกษัตริย์ ภายหลัง ทรงมีพระนามใหม่ว่าเจ้ า สร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราช ส า นั ก น ค ร จ า ป า ศั ก ดิ์ ซึ่ ง เ ป็ น น ค ร รั ฐ หนึ่ ง ขอ ง ราชอาณาจักรล้านช้างในเวลาต่อมา (สุรศักดิ์ ศรีสาอาง, ๒๕๔๕, หน้า ๓๓๓ ; สิลา วีระวงส์, ๒๕๔๙, หน้า ๑๓๕)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๙


พระยาเมืองจันครองเมืองมาได้ ๖ เดือนก็ถูก พรรคพวกของเจ้าองค์หล่อยกกองทัพมาชิงเมืองและจับ ประหารชี วิ ต จากนั้ น ก็ อ ภิ เ ษกเจ้ า องค์ ห ล่ อ ขึ้ น เป็ น พระมหากษั ต ริ ย์ (สุ ร ศั ก ดิ์ ศรี ส าอาง, ๒๕๔๕, หน้ า ๒๐๖) เจ้าองค์หล่อขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาสั้นๆ ก็ ถูกเจ้านันทราช ผู้เป็นพระโอรสของเจ้าปุ ซึ่งหนีไปอยู่ เมืองนครแต่ก่อนนั้นยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ จับเจ้า องค์หล่อได้ก็ฆ่าเสีย แล้วจึงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ใน ปลาย พ.ศ.๒๒๓๘ เจ้านันทราชครองราชย์ไ ด้ ๓ ปี ก็ถูก เจ้าไชยองค์เว้จับได้และประหารชีวิตในปี พ.ศ.๒๒๔๑ (สุรศักดิ์ ศรีสาอาง, ๒๕๔๕, หน้า ๒๐๗. ; สิลา วีระวงส์, ๒๕๔๙, หน้า ๑๓๕-๑๓๖) พงศาวดารเมืองหลวงพระบางและพงศาวดาร เมื อ งหลวงพระบางตามฉบั บ ที่ มี อ ยู่ ใ นศาลาลู ก ขุ น กล่าวถึง เรื่องราวของพระไชยองค์เว้ (พระไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ บางเอกสารเรียกพระไชยองค์เวียต) ว่า เมื่อ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชสวรรคตก็เกิดความวุ่นวาย ขึ้นราชสานักเมืองเวียงจันทน์ หลังจากเจ้านันทราชได้ ราชสมบัติแล้วพระไชยองค์เว้ก็ขอกาลังกองทัพญวนยก มาตีเมืองเวียงจันทน์ จับเจ้านันทราชฆ่าเสีย จากนั้นก็ เสด็จขึ้นครองราชย์ และส่งท้าวนองซึ่งเป็นพระอนุชา ต่างพระบิดาไปรักษาเมืองหลวงพระบาง (พงศาวดาร เมื อ งหลวงพระบาง, ๒๕๐๗, หน้ า ๑๙๓-๑๙๔; พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง : ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลา ลูกขุน, ๒๕๔๕, หน้า ๖๖) ๒. การยึ ด ครองเมื อ งหลวงพระบางของ เจ้ากิ่งกิจ หลังจากเกิดความวุ่นวายขึ้นในราชสานักเมือง เวียงจันทน์ เจ้ากิ่ง กิจและเจ้าอินทโสม พระนัดดาของ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชกับเจ้าองค์นก (พงศาวดาร ล้านช้างตามถ้อยคาในฉบับเดิมเรียกว่า หม่อมน้อยหรือ ๑๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

เจ้าองค์คา) ก็คิดเกรงกลัวพระไชยองค์เว้ จึงพากันเสด็จ หนีไปเมืองแสนหวีสิบสองปันนา เจ้ากิ่งกิจและเจ้าองค์ นกเข้าพักอาศัยอยู่เมืองล่า เมืองพง ส่วนเจ้าอินทโสมขึ้น ไปพานักอยู่เมืองแผกับพวกข่า จึง เป็นเหตุให้พระไชย องค์เว้ต้องส่งท้าวนองซึ่งเป็นพระอนุชาขึ้นไปรักษาเมือง หลวงพระบาง (พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง, ๒๕๐๗, หน้า ๑๙๔ ; พงศาวดารล้านช้างตามถ้อยคาในฉบับเดิม, ๒๕๐๖, หน้า ๑๗๕-๑๗๖) ต่อมาเจ้ากิ่ง กิจและเจ้าองค์นกก็เกลี้ยกล่อม เอาไพร่ พ ลเมื อ งล่ า เมื อ งพง และบ้ า นเล็ ก เมื อ งน้ อ ย ใกล้ เ คี ย งเมื อ งหลวงพระบางยกลงมาตี เ มื อ งหลวง พระบาง แต่ท้าวนองเมื่อรู้ว่าเจ้ากิ่ง กิจและเจ้าองค์นก ยกทั พ มาก็ ทิ้ ง เมื อ งกวาดครั ว ลงมาเมื อ งเวี ย งจั น ทน์ พงศาวดารล้ า นช้ า งตามถ้ อ ยค าในฉบั บ เดิ ม ปรากฏ ข้อความว่า “...จัดแจงเอารี้พลกาลังทั้งหลายขอบแขวง เมืองหลวง ได้คน ๖๐,๐๐๐ ลงมารบท้าวนองในเมือง หลวงหั้นแล แต่นั้นท้าวนองกลัวเดชะแห่งเจ้า กิ่งกิจแล เจ้าองค์คา ดังนั้นจึงกวาดเอาครอบครัวข้อยไพร่ทั้งหลาย และพระแก้ว พระบาง พระแซกคา ลงไว้ในเวียงจันทน์ ปางนั้นแล” (พงศาวดารล้านช้างตามถ้อยคาในฉบับเดิม, ๒๕๐๖, หน้า ๑๗๖) จ า ก นั้ น ส ม ณ ะ พ ร า ห ม ณ า จ า ร ย์ เ ส น า พฤฒามาตย์ราชปุโรหิตทั้งหลาย ก็พร้อมใจกันอัญ เชิญ เอาเจ้ากิ่ง กิจขึ้นครองราชสมบัติในเมืองหลวงพระบาง เป็น “พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว” ถวาย พระนามว่า “พระเจ้ากิ่งกิศรธรรมิกราช” (พงศาวดาร เมื อ งหลวงพระบาง, ๒๕๐๗, หน้ า ๑๙๕.) ส่ ว น พงศาวดารล้ า นช้ า งตามถ้ อ ยค าในฉบั บ เดิ ม บั น ทึ ก เหตุการณ์เดียวกันนี้ว่า “เมื่อนั้น เจ้ากิ่ง กิจและหม่อ ม น้อยก็พาข้อยไพร่มาตั้งอยู่เมืองหลวง เจ้ากิ่งกิจลวดขึ้น นั่งเมืองเป็นเจ้าแผ่นดินทรงนามว่า พระธรรมกิจล้านช้าง ร่มขาวบรมบพิตรราชธานี กรุงศรีสัตนาคนหุตอุดมราช ธานีบุรีรมย์ยมจักรพรรดิราชเจ้า ทรงนามกรดัง นี้แล”


(พงศาวดารล้านช้ างตามถ้อ ยคาในฉบั บเดิ ม, ๒๕๐๖, หน้า ๑๗๖) การขึ้นครองเมืองหลวงพระบางของเจ้ากิ่งกิจ หากพิจารณาตามหลักฐานประวัติศาสตร์แล้ว ก็จะเห็น ได้ว่าเป็นการฟื้นฟูเมืองหลวงพระบางให้เป็นที่ตั้ง ของ ราชสานักอีกครั้ง ซึ่งเป็นราชสานักที่มีอานาจซ้อนทับกับ อานาจของราชสานักเมืองเวียงจันทน์ที่มีเจ้าไชยองค์เว้ เป็ น พระมหากษั ต ริ ย์ อ ยู่ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การใช้ สรรพนามที่ เ รี ย กว่ า “พระเจ้ า กรุ ง ศรี สั ต นาคนหุ ต ล้านช้างร่มขาว” สะท้อนให้เห็นถึงอานาจที่ซ้อนทับกัน อยู่ของราชสานักล้านช้างทั้งสองแห่ง ๓. เจ้ า กิ่ ง กิ จ ต้ อ งการยกทั พ มาตี เ มื อ ง เวียงจันทน์ ในเอกสารประวั ติ ศ าสตร์ ข องราชส านั ก ล้านช้างไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเจ้ากิ่งกิจต้องการที่ จะยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ (ยกเว้นพงศาวดารเมือง หลวงพระบางตามฉบั บ ที่ มี อ ยู่ ใ นศาลาลู ก ขุ น ซึ่ ง เป็ น เอกสารที่ มี ก ารเพิ่ ม ความในพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาลงไป) พบแต่เพียงว่าราษฎรแยกกันเป็น สองฝ่าย คือฝ่ายที่ขึ้ นกับเจ้ากิ่งกิจเมืองหลวงพระบาง และฝ่ายที่ขึ้นกับพระไชยองค์เว้เมืองเวียงจันทน์ ทาให้ ต้ อ งมี ก ารปั ก ปั นเขตแดนระหว่ า งกั นขึ้ น (พงศาวดาร ล้านช้างตามถ้อยคาในฉบับเดิม, ๒๕๐๖, หน้า ๑๗๖) แต่ พ ระราชพงศาวดารกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ฉบั บ พั น จั น ทนุ ม าศ (เจิ ม ) ปรากฏเหตุ ก ารณ์ ใ นช่ ว งปลาย รั ช สมั ย สมเด็ จ พระเพทราชาว่ า มี พ ระราชสาส์ น จาก กรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ลงมาเพื่อขอให้กรุงศรี อยุธยายกทัพขึ้นไปช่วยรับศึกที่ยกลงมาจากเมืองหลวง พระบาง ฝ่ายอัครมหาเสนาธิบดีจึงเอาศุภอักษรกราบ บัง คมทูลพระกรุณาสมเด็จพระเพทราชา มีใจความว่า “พระเจ้ า กรุ ง ศรี สั ต นา-คนหุ ต ขอถวายพระราชบุ ต รี พระองค์หนึ่ง พระชันษาได้ ๑๔ พระวษา ขอถวายมาให้

เป็นบาทบริจา ด้วยกรุง ศรีสัตนาคนหุต กับเมืองหลวง พระบางเป็นอริกัน ฝ่ายเมืองหลวงพระบางจะยกกองทัพ มาตีชิง เอากรุง ศรีสัตนาคนหุต บัดนี้จะขอเอาพระเดช เดชานุ ภ าพพระบาทสมเด็ จ บรมนาถบรมบพิ ต ร พระพุ ท ธเจ้ า อยู่ หั ว ขอกองทั พ ไปช่ ว ย” (พระราช พงศาวดารกรุ ง ศรี อยุ ธ ยา ฉบั บ พั น จั น ทนุ ม าศ (เจิ ม ), ๒๕๔๒, หน้า ๔๒๕) แต่ เ หตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า วนี้ ป รากฏในพระราช พงศาวดารระบุว่าเกิดขึ้น ณ ปีกุน ศักราช ๑๐๕๗ ซึ่ง ตรงกับปี พ.ศ.๒๒๓๘ (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒, หน้า ๔๒๕) ซึ่งเป็นปี เดี ย วกั น กั บ ปี ที่ พ ระเจ้ า สุ ริ ย วงศาธรรมิ ก ราชเสด็ จ สวรรคต สุ ร ศั ก ดิ์ ศรี ส าอาง อดี ต ผู้ อ านวยการส านั ก พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ กรมศิ ล ปากร ผู้ ศึ ก ษาเรื่ อง ล าดั บ กษั ต ริ ย์ ล าววิเ คราะห์ ว่า ปี พ.ศ.๒๒๓๘ ที่ ร ะบุนี้ น่าจะคลาดเคลื่อนเพราะตรงกับปลายรัชสมัยพระเจ้า สุ ริ ย วงศาธรรมิ ก ราช พระธรรมกิ จ ล้ า นช้ า งร่ ม ขาว (เจ้ า กิ่ ง กิ จ ) ยั ง ประทั บ อยู่ ใ นนครเวี ย งจั น ทน์ ส่ ว น พระไชยองค์ เ ว้ (พระไชยเชษฐาธิ ร าชที่ ๒) ทรงยก กองทั พ จากเมื อ งเว้ เ ข้ า มายึ ด นครเวี ย งจั น ทน์ เ มื่ อ พ.ศ.๒๒๔๑ เจ้ากิ่งกิจจึงทรงหนีราชภัยไปยัง ภาคเหนือ แล้วรวบรวมไพร่พลกลับมายึ ดเมืองหลวงพระบางเมื่อ ราว พ.ศ.๒๒๔๖ หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงน่าจะล่วง มาถึ ง พ.ศ.๒๒๔๖ ที่ ท รงได้ ร าชสมบั ติ ใ นนครหลวง พระบางแล้ว และตรงกับปีสุดท้ายของรัช สมัย สมเด็ จ พระเพทราชาพอดี (สุรศักดิ์ ศรีสาอาง, ๒๕๔๕, หน้า ๒๒๒)

การแทรกแซงการเมืองภายใน ราชอาณาจักรล้านช้างของกรุงศรีอยุธยา ราชสานักกรุงศรีอยุธยากับราชสานักล้านช้าง ทั้ง ช่วงที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและเมือง วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๑๑


เวียงจันทน์ถือว่ามีความสัมพันธ์กันมาช้านานแล้ว เช่น ในกรณีที่พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วจะประกอบพระ ราชพิธีราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ.๑๙๙๒ สมเด็จพระอินทราชา ก็ได้ส่งเครื่องมงคลราชบรรณาการมาช่วยสมโภชเป็นอัน มาก (สิ ล า วี ร ะวงส์ , ๒๕๔๙, หน้ า ๖๘) และมี ความสัมพันธ์ทางการค้าที่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ระหว่ า งกั น อย่ า งมากในช่ ว งพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ทั้ ง ในระดั บ ราชส านั ก และราษฎรทั่ ว ไป (ฟาน ฟลี ต , ๒๕๔๘, หน้า ๕๒-๕๓) นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า มี วั ง เจ้ า ลาวอยู่ ติ ด กั บ ตลาดคลองผ้าลายริมวัดป่าแดง และยังมีกรมลาวอาสา อยู่ในราชสานักกรุงศรีอยุธยาด้วย (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ๒๕๕๐, หน้ า ๑๓๙-๑๔๐) การพบข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ วั ง เ จ้ า ล า ว ใ น ก รุ ง ศ รี อ ยุ ธ ยา ส ะ ท้ อ น ใ ห้ เห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ท างการเมื อ งระหว่า งกรุ งศรี อ ยุธ ยากับ ราชอาณาจักรล้านช้างเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็เกิดความขัดแย้ง ผลประโยชน์ ท างเศรษฐกิ จ ระหว่ า งราชส านั ก กรุ ง ศรี อยุธยากับราชอาณาจักรล้านช้างเป็นระยะ เช่น ในช่วง รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่มีก ารกดขี่ พ่ อ ค้ า ล้ า นช้ า ง ท าให้ พ่ อ ค้ า กลุ่ ม นี้ ต้ อ งไปค้ า ขายที่ เ มื อ ง พิษณุโลกแทน จนต้องมีการส่งราชทูตไปยังล้านช้างเพื่อ แก้ไขปัญหาและขอให้พระมหากษัตริย์ล้านช้างส่งพ่อค้า มายังกรุงศรีอยุธยาเหมือนในกาลก่อน และทรงสัญญา ว่าพวกพ่อค้าล้านช้างจะได้รับสิทธิพิเศษมากมายและมี เสรีภาพมาก (ฟาน ฟลีต, ๒๕๔๘, หน้า ๕๒-๕๓) เป็นต้น หลั ง ความขั ด แย้งภายในราชอาณาจั ก รล้าน ช้างที่เกิดขึ้นระหว่างพระไชยองค์เว้แห่งเมืองเวียงจันทน์ กับเจ้ากิ่ง กิจแห่งเมืองหลวงพระบางเริ่มรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเจ้ากิ่ง กิ จยกกองทัพ ลงไปตีเ มืองเวียงจั น ทน์ จนทาให้พระไชยองค์เว้ต้องส่ง พระราชสาส์นขอความ ช่วยเหลือไปยัง กรุง ศรีอ ยุธยา และกรุงศรีอยุธยาก็ ถื อ โอกาสนี้เข้าแทรกแซงการเมืองภายในราชอาณาจั ก ร ๑๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ล้านช้าง โดยเฉพาะการแสดงตัวเป็นคนกลางแก้ปัญหา ความขัดแย้งภายในจนประสบความสาเร็จ ๑. พระไชยองค์ เ ว้ ข อความช่ ว ยเหลือ จาก กรุงศรีอยุธยาในการต้านกองทัพหลวงพระบาง พงศาวดารเมืองหลวงพระบางตามฉบับที่มีอยู่ ในศาลาลูกขุน ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่ามีการเพิ่มความใน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาลงไปเนื่องจากมีวิธีการ บั น ทึ ก สอดคล้ อ งกั บ ข้ อ ความในพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา แต่มีปีศักราชที่ต่างกันเล็กน้อยซึ่งอาจเกิด จากความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกก็เป็นได้ ดังปรากฏ ข้อความว่า “...จุลศักราช ๑๐๕๗ (พ.ศ.๒๒๓๘-ผู้เขียน) พระยากิงกิสะเจ้าเมืองหลวงพระบางราชธานีศรีสัตนาคนหุตเกณฑ์กองทัพยกไปตีเมืองเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต เจ้าเมืองเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตมีศุภอั กษร ลงมายั ง กรุ ง ศรี อ ยุ ท ธยาขอกองทั พ ขึ้ น ไปช่ ว ย ...” (พงศาวดารเมื อ งหลวงพระบาง : ตามฉบั บ ที่ มี อ ยู่ ใ น ศาลาลูกขุน, ๒๕๔๕, หน้า ๖๖) โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ การขอส่ ง พระราชบุ ต รี ล งมาถวายเป็ นบาทบริ จาริกา (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒, หน้า ๔๒๕) ความในพระราชพงศาวดารฉบั บ พระราชหัตถเลขาระบุว่า พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตให้แสน สุพจนาไมตรีเป็นราชทูตจาทูลพระราชสาส์น คุมเครื่อง มงคลราชบรรณาการลงมายั ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เพื่ อ ขอ ถวายพระราชบุ ต รี ขอพระราชทานกองทั พ ไปช่ ว ย ป้ อ งกั น กรุ ง ศรี สั ต นาคนหุ ต และจะขอเป็ น ข้ า ขอบ ขัณฑสีมากรุง ศรีอยุธยาไปตราบเท่ ากัลปาวสาน (พระ ราชพงศาวดารฉบั บ พระราชหั ต ถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕, หน้า ๑๕๖) จากข้อความในเอกสารประวัติศาสตร์แสดงให้ เห็นว่าในขณะนั้นไพร่พลของเมืองเวียงจันทน์อาจมีน้อย กว่ า หรื อ รู้ สึ ก ครั่ น คร้ า มต่ อ กองทั พ ของเมื อ งหลวง


พ ร ะ บาง จึ ง ท าให้ พ ร ะ ไ ชยองค์ เ ว้ ต้ อ งโ ปร ดให้ แสนสุ พ จนาไมตรี อั ญ เชิ ญ พระราชสาส์ น ลงมาถวาย สมเด็ จ พระเพทราชา เพื่ อ ขอความช่ ว ยเหลื อ ให้ ย ก กองทัพไปต้านกองทัพเมืองหลวงพระบาง ๒. สมเด็ จ พระเพทราชาโปรดให้ พ ระยา นครราชสีมาเป็นแม่ทัพยกไปเวียงจันทน์ เมื่อสมเด็จพระเพทราชาทรงทราบความใน พระราชสาส์ น แล้ ว ก็ ท รงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ พระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพ ยกพล ๑๐,๐๐๐ คน ไป ยั ง เมื อ งเวี ย งจั น ทน์ ดั ง ปรากฏความในพระราช พงศาวดารกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ฉบั บ พั น จั น ทนุ ม าศ (เจิ ม ) ความว่า “ครั้ น พระบาทสมเด็ จ บรมนาถบรมบพิ ต ร พระพุทธเจ้าอยู่หั ว ได้ทรงทราบแล้วจึ่ง มีพระราชโองการมา ณ พระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดารัสเหนือเกล้า เหนื อ กระหม่ อ ม สั่ ง อั ค รมหาเสนาธิ บ ดี ใ ห้ เ กณฑ์ กองทัพไปช่วย ให้เกณฑ์เอาพระยานครราชสีมาเป็ น แม่ทัพ ผู้รั้ง เมืองนครนายกเป็นเกียกกาย ผู้รั้ง เมือง สระบุ รี เ ป็ น ยกรบั ต ร แล้ ว เกณฑ์ ไ พร่ พ ล ๑๐,๐๐๐ สรรพไปด้วยเครื่องสาตราวุธ...” (พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒, หน้า ๔๒๕)

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้ ขยายความให้เห็นเพิ่มเติมว่า ยังมี “...พระรามคาแหง เป็นกองหน้า พระยาลพบุรีเป็นทัพหลัง ถือพลฉกรรจ์ลา เครื่อง ๑๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๓๐๐ ม้า ๔๐๐ สรรพด้วย นานาสรรพาวุธปืนใหญ่ปืนน้อยกระสุนดินประสิ วพร้อม เสร็จ ให้ยกไประงับศึกเมืองหลวงพระบาง ซึ่งยกมาตีกรุง ศรี สั ต นาคนหุ ต นั้ น ” (พระราชพงศาวดารฉบั บ พระ ราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕, หน้า ๑๕๗-๑๕๘) เมื่อกองทัพพระยานครราชสีมายกไปถึงก็หา ได้ ท าสงครามรบพุ่ ง กั น ไม่ หากแต่ พ อใกล้ ถึ ง เมื อ ง

เวี ย งจั น ทน์ ก็ ยั้ ง ทั พ แล้ ว พระยานครราชสี ม าก็ แ ต่ ง หนั ง สื อ ส่ ง ไปว่ า กล่ า วแก่ ก องทั พ เมื อ งหลวงพระบาง เพื่อให้เลิกทัพกลับโดยดี ถ้ามิเชื่อฟังยังองอาจจะต่อรบ จึงจะให้พลทหารเข้าโจมตีแตกหักต่อไป แล้วให้ทหารถือ ไปให้แม่ทัพเมืองหลวงพระบาง (พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕, หน้า ๑๕๘)

ผลการแทรกแซงการเมืองภายใน ราชอาณาจักรล้านช้างของกรุงศรีอยุธยา การยกทัพขึ้นไปของกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีพระยา นครราชสีมาเป็นแม่ทัพนั้น ไม่ได้เกิดการทาสงครามรบ พุ่ ง กั บ กองทั พ เมื องหลวงพระบางเพื่ อช่ ว ยเหลื อ เมือง เวียงจันทน์ เนื่องจากกองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ทาการไกล่ เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายคืนดีกันสาเร็จ (เติม วิภาคย์พจนกิจ, ๒๕๔๐, หน้ า ๘๐-๘๑) การเข้ า แทรกแซงการเมื อ ง ภายในราชอาณาจักรล้านช้างของสมเด็จพระเพทราชา ครั้งนี้ ทาให้ฝ่ายกรุงศรีอยุธยามีแต่ได้มากกว่าเสีย และ ยังคงความสัมพันธ์อันดีกับรัฐข้างเคียงเอาไว้ได้ดังเดิม ๑. หลวงพระบางยอมเป็นมิตรสันถวไมตรี กับเวียงจันทน์ การที่ ก องทั พ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยายกขึ้ น ไปช่ ว ย พระไชยองค์เว้แห่งเมืองเวียงจันทน์เพื่อต่อต้านทัพเมือง หลวงพระบาง แต่พระยานครราชสีมากลับให้ส่งหนังสือ ไปว่ากล่าวกองทัพเมืองหลวงพระบางให้ยกคืนและเป็น ไมตรี กั น กั บ ราชส านั ก เมื อ งเวี ย งจั น ทน์ ดั ง เดิ ม นั้ น มี ใ จ ค ว า ม ป ร า ก ฏใ น พ ร ะ ร า ช พ ง ศ า ว ด า ร ฉบั บ พระราชหัตถเลขา ความว่า “...เป็ น ใจความกล่ า วโดยไมตรี เพื่ อ จะให้ ประนีประนอมเป็นมิตรสันถวะกับกรุงศรีสัตนาคนหุต ดัง กาลก่อน มิให้เป็นเวรไพรีอ าฆาตกันสื บไป ครั้น แสนท้าวเสนาลาวแม่ทัพเมืองหลวงพระบางได้แจ้งใน หนังสือ และทราบว่ากองทัพกรุง เทพมหานครยกมา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๑๓


ช่วยกรุงศรีสัตนาคนหุตดังนั้นแล้ว ก็เข็ดขามครั่นคร้าม เดชานุ ภ าพยิ่ ง นั ก จึ ง แต่ ง หนั ง สือ ให้ เ พี้ ย กว้ า นมีชื่อ ถือมาแจ้งแก่แม่ทัพไทยรับยินยอมประนีประนอมเพื่อ จะเป็นมิตรสันถวไมตรี มิได้มีเวรอาฆาตกับกรุง ศรี สัตนาคนหุตสืบไป ก็เลิกทัพกลับคืนไปเมือง” (พระ ราชพงศาวดารฉบั บ พระราชหั ต ถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕, หน้า ๑๕๘)

พงศาวดารเมืองหลวงพระบางตามฉบับที่มีอยู่ ในศาลาลู ก ขุ น ได้ ป รากฏข้ อ ความสอดคล้ อ งกั น ว่ า “...ครั้ น นายทั พ นายกองเมื อ งหลวงพระบางแจ้ ง ใน หนังสือนายทัพนายกองกรุงศรีอยุทธยาแล้ว ก็มีความ ครั่ น คร้ า มเกรงพระเดชานุ ภ าพสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว กรุ ง ศรี อ ยุ ท ธยา จึ ง ยอมเป็ น ไมตรี กั บ เมื อ งจั น ทบุ รี ศรี สั ต นาคนหุ ต สื บ ไป ไม่ มี ค วามอาฆาตซึ่งกันและกัน ฝ่ายกองทัพกรุงศรีอยุทธยาและกองทัพเมืองหลวงพระ บางต่างคนต่างเลิกทัพกลับไปบ้านเมือง...” (พงศาวดาร เมื อ งหลวงพระบาง : ตามฉบั บ ที่ มี อ ยู่ ใ นศาลาลู ก ขุน , ๒๕๔๕, หน้า ๖๖) จากข้ อ ความในเอกสารพงศาวดารแสดงให้ เห็นว่า สาเหตุที่กองทัพเมืองหลวงพระบางยอมที่จะเป็น มิตรสันถวไมตรีกับเมืองเวียงจันทน์และเลิกทัพกลั บไป นั้น มาจากการแทรกแซงของกองทัพกรุงศรีอยุธยาอย่าง ชัดเจน ก่อนกองทัพกรุงศรีอยุธยาจะเลิกกลับ พระยา นครราชสี ม าก็ ไ ด้ ส่ ง หนั ง สื อ ไปถวายพระไชยองค์ เ ว้ พระองค์ทรงดีพระทัยและยังให้เลี้ยงดูเหล่ากองทัพให้ อิ่มหนาสาราญ พระราชทานรางวัลแก่ท้าวพระยาแม่ทัพ นายกองทั้งปวงเป็นอันมากอีกด้วย (พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕, หน้า ๑๕๘๑๕๙) ๒. พระไชยองค์ เ ว้ ถ วายพระราชบุ ต รี แ ก่ สมเด็จพระเพทราชา หลั ง จากกองทั พกรุงศรี อยุ ธยาเลิ กกลั บแล้ว พระไชยองค์เว้ก็ได้ส่งพระราชบุตรีซึ่งมีพระนามว่า “พระ ๑๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

แก้ ว ฟ้ า ” ซึ่ ง มี พ ระชั น ษาได้ ๑๕ พรรษา (พระราช พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕, หน้ า ๑๕๗) ลงมาถวายเป็ น บาทบริ จ าริ ก าสมเด็ จ พระเพทราชาตามที่พระองค์ไ ด้ระบุในพระราชสาส์น ที่ ส่งลงมาขอกองทัพขึ้นไปช่วยเหลือตั้งแต่ต้น แล้วสมเด็จ พระเพทราชาก็ทรงพระราชทานพระแก้วฟ้าแก่สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก เธอกรมพระราชวั ง บวรสถานมงคลตาม คากราบบังคมทูลขอพระราชทาน ดังความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่า “...ฝ่ า ยพระเจ้ า กรุ ง ศรี สั ต นาคนหุ ต จึ ง สั่ ง ให้ จัดแจงแต่งราชบุตรี และเสนาธิบดีกรุงศรีสัตนาคนหุต ๓ คนให้ ม าส่ง ราชบุ ต รี และนายทั พ นายกองมาถึง พระนครหลวงแล้ ว จึ่ ง ทรงพระกรุ ณ าด ารั ส เหนื อ กระหม่อม สั่ง อัค รเสนาธิบดีแต่ง เรือออกไปรั บ เป็ น หลายล า ครั้ น ราชบุ ต รี ล งเรื อ แล้ ว ก็ ม าตามทาง คลองโพเรียง ครั้นมาถึงวัดกระโจมจะเลี้ยวขึ้น ไปรอ ท านบ จึ ง มี พ ระบั ณ ฑู ร สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก เธอ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ให้รับราชบุตรีขึ้นไว้ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล แล้วสมเด็จพระเจ้าลูก เธอกรมพระราชวัง บวรสถานมงคล เสด็จ เข้ามาเฝ้า ณ พระราชวังหลวง กราบทูลพระกรุณาว่า ราชบุตรี พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตนั้น จะขอพระราชทานไว้ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ก็ทรงพระกรุณาโปรด พระราชทานให้ตามกราบทูลพระกรุณานั้น” (พระราช พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒, หน้า ๔๒๕)

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้ ขยายความให้เห็นกลุ่มชาวลาวที่ลงมาด้วยพระแก้วฟ้ า เพิ่ ม เติ ม ว่ า พระเจ้ า กรุ ง ศรี สั ต นาคนหุ ต “...ก็ จั ด แจง ตกแต่งพระราชธิดาพร้อมด้วยพระพี่เลี้ยงนางกานัล และ ทาสกรรมกรชายหญิงสิ่งละ ๑๐๐ เป็นบริวาร สรรพด้วย เครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวงพร้อมเสร็จ และให้แสนท้าว พระยาลาวสามนายถือพล ๑,๐๐๐ ช้างม้าโดยสมควร ให้อัญ เชิญ เสด็ จราชบุ ต รีขึ้น สู่ สี วิก ากาญจนยานวิ จิ ต ร


ลงไปยังกรุงเทพมหานคร...” (พระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขา (ภาคจบ), ๒๕๐๕, หน้า ๑๕๙) จากข้อความในพระราชพงศาวดารยังสะท้อน ให้เห็นถึง ความพยายามของพระไชยองค์เว้ที่จะอาศัย ความสัมพันธ์ทางเครือญาติในการสร้างสัมพันธไมตรีเป็น การถาวรกับกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูก เธอ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงมีพระนามว่า สมเด็ จ พระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้ า เสื อ ) หลั ง สมเด็ จ พระเพทราชาเสด็จสวรรคตอีกด้วย ๓. เกิดการแบ่งอาณาเขตปกครองระหว่าง ราชสานักเวียงจันทน์และหลวงพระบาง เมื่อเจ้ ากิ่งกิจได้สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็น พระมหากษั ต ริ ย์ แ ละสถาปนาราชส านั ก เมื อ งหลวง พระบางขึ้น โดยมีอิสระจากการปกครองของราชสานัก เมื อ งเวี ย งจั น ทน์ จะเห็ น ได้ ว่ า ในช่ ว งเวลาดั ง กล่ า ว แผ่ น ดิ น ราชอาณาจั ก รล้ า นช้ า งได้ ถู ก แบ่ ง ออกเป็ น ๒ ราชสานัก ผู้ปกครองทั้งสองราชสานักต่างก็มีสถานะเป็น พระมหากษัตริย์ตามรูปแบบการปกครองของรัฐจารีต แม้ ผู้ ป ก คร อง จะ มี ค ว ามสั ม พั น ธ์ ท าง เครื อ ญาติ พระราชวงศ์เดียวกัน แต่ก็เป็นอิสระทางการเมืองการ ปกครองต่ อ กัน และหลั ง การประนีป ระนอมเป็ นมิต ร สันถวไมตรีระหว่างกันของเจ้ากิ่งกิจกับพระไชยองค์เว้ โดยการแทรกแซงของสมเด็จพระเพทราชาแห่งกรุง ศรี อยุธยา ได้ทาให้เกิดการแบ่งเขตการปกครองระหว่างกัน อย่างชัดเจนขึ้น พงศาวดารเมืองหลวงพระบางตามฉบับที่มีอยู่ ในศาลาลู ก ขุ น ได้ ร ะบุ ไ ว้ ว่ า “...ฝ่ า ยกองทั พ กรุ ง ศรี อยุทธยาและกองทัพเมืองหลวงพระบางต่างคนต่างเลิก ทัพกลับไปบ้านเมือง พระยากิงกิสะเจ้าเมืองหลวงพระ บาง พระไชยองแว้เจ้าเมืองจันทบุรี พร้อมกันแบ่งปันเขต

แดน...” (พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง : ตามฉบับที่มี อยู่ในศาลาลูกขุน, ๒๕๔๕, หน้า ๖๗) ส่วนพงศาวดารเมืองหลวงพระบางได้ให้ข้อมูล วั น เวลาการแบ่ ง เขตและขอบเขตพื้ น ที่ ข องทั้ ง สอง ราชส านั ก ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น หลั ง การเข้ า แทรกแซงการเมื อ ง ภายในของกรุงศรีอยุธยาว่า “ลุศักราช ๑๐๖๑ (พ.ศ.๒๒๔๒-ผู้เขียน) ปีเถาะ เอกศก ณ วันเดือน ๘ ขึ้น ๑๔ ค่า พระเจ้ากิง กิ ศ ร ธรรมิกราช พระเจ้าแผ่นดินกรุง ศรีสัตนาคนหุตล้าน ช้างร่มขาวหลวงพระบาง พระไชยองค์เวียด พระเจ้า แผ่นดินกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ จึงทรง ผูกทางพระราชไมตรีแบ่งปันพระราชอาณาเขตให้แก่ กั น และกั น อาณาเขตพระเจ้ า ล้ า นช้ า งเวี ย งจันทน์ น้าของฝ่ายตะวันตก กาหนดเอาปากน้าเหืองเหนื อ เมื อ งเชี ย งคาน น้ าของฝ่ า ยตะวั น ออก ก าหนดเอา ปากน้ามี้ใต้เมืองเชียงคานลงไปถึง เมืองแก่งลีผี เป็น พระราชอาณาเขตของพระเจ้าล้า นช้างเวียงจั น ทน์ อาณาเขตของพระเจ้าล้านช้างหลวงพระบาง น้าของ ฝ่ า ยตะวั น ออก ก าหนดเอาปากน้ ามี้ ต่ อ พรมแดน เวียงจันทน์ น้าของฝ่ายตะวันตก กาหนดเอาปากน้ า เหืองพรมแดนเมืองเวียงจันทน์ ต่อกันขึ้นไปจนถึง ผา บันไดให้เมืองเชี ยงของ ฝ่ายซ้ายพรมแดนต่อ แขวง กรุงศรีอยุธยา กาหนดเอาภูเขาไม้ประดู่สามต้นอ้นสาม ขอยขึ้ น ไป ฝ่ า ยขวาพรมแดนต่ อ แขวงพร ะเจ้ า เวียตนาม กาหนดเอาต้นสารสามง่าน้าน่าสามแควหัว พั น ทั้ ง หกและสิ บ สองหน้ า ด่ า นจุ ไ ท เป็ น พระราช อาณาเขตของพระเจ้าล้านช้างร่วมขาวหลวงพระบาง ...” (พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง, ๒๕๐๗, หน้า ๑๙๕-๑๙๖)

จากหลักฐานดัง กล่าวได้แสดงให้เห็นว่า หลัง การแทรกแซงทางการเมืองภายในราชอาณาจักรล้าน ช้างของกรุงศรีอยุธยาได้ทาให้ราชอาณาจักรล้านช้างได้ แยกออกเป็นสองราชสานั กอย่างชัดเจน หากเอาตาม ล าแม่ น้ าโขงเป็ น แกนหลั ก ของพื้ น ที่ ก็ จ ะพบว่ า ทาง ตะวันตกเหนือปากน้าเหืองทางฝั่งขวา (ในเขตชายแดน วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๑๕


บ้านท่าดีหมี อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลยในปั จ จุ บั น ) และทางตะวันตกเหนือ ปากน้ ามี้ ท างฝั่งซ้ ายแม่น้ าโขง (เหนื อ เมื อ งสานะคาม สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตย ประชาชนลาวปั จจุ บัน ขึ้น มาเล็กน้อย) ขึ้นไปจนถึง ผา บั น ไดหรื อ ผาได (ปั จ จุ บั น อยู่ ใ นเขตอ าเภอเวี ย งแก่ น จังหวัดเชียงราย) เป็นเขตของราชสานักเมืองหลวงพระ บาง และทางตะวันออกใต้ปากน้าเหือง ทางฝั่งขวา และ ทางตะวันออกใต้ปากน้ามี้ทางฝั่งซ้า ยแม่น้ าโขง ลงไป จนถึ ง แก่ ง หลี่ ผี (ปั จ จุ บั น อยู่ ใ นเขตแขวงจ าปาศั ก ดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เป็นเขตของ ราชสานักเมืองเวียงจันทน์

บทส่งท้าย กล่าวโดยสรุปจากที่ผู้เขียนนาเสนอข้อมูลจาก หลักฐานประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยามี บ ทบาทอย่ า งมากในการแก้ ไขปั ญหา ความขัดแย้งภายในราชอาณาจักรล้านช้างที่เกิดขึ้นจาก เจ้ากิ่งกิจแห่งเมืองหลวงพระบางและพระไชยองค์เว้แห่ง เมืองเวียงจันทน์ สามารถยุติสงครามและความเสียหายที่

๑๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ก าลั ง จะเกิ ด ขึ้ น ที่ เ มื อ งเวี ย งจั น ทน์ จ ากการโจมตี ข อง กองทัพเมืองหลวงพระบางได้อย่างสันติวิธี เหตุการณ์ ดั ง กล่ า วถื อ ได้ ว่ า เป็ น การแทรกแซงปั ญ หาการเมื อ ง ภายในราชอาณาจักรล้านช้างของสมเด็จพระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยาอย่างชัดเจน ผลของการแทรกแซงทางการเมื อ งภายใน ราชอาณาจักรล้านช้างของสมเด็จพระเพทราชา ได้ทาให้ เกิดการแบ่ง อาณาเขตการปกครองออกเป็น สองส่ ว น ภายในราชอาณาจักรล้านช้าง มีราชสานัก ๒ แห่ง คือ เมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบาง ผู้ปกครองทั้ง สองเมืองต่างก็มีสถานะเป็นพระมหากษัตริย์ตามรูปแบบ การปกครองของรั ฐ จารี ต แม้ ผู้ ป กครองจะมี ความ สั ม พั น ธ์ ท างเครือ ญาติ พระราชวงศ์ เ ดีย วกั น แต่ ก็ เ ป็น อิสระทางการเมืองการปกครองต่อกัน และพบว่าผลจาก การแทรกแซงทางการเมืองดัง กล่าว ยัง ทาให้พระไชย องค์เว้ได้ถวายพระราชบุตรีเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี สร้าง ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และตอบแทนพระกรุ ณ า ของสมเด็จพระเพทราชาที่ส่งกองทัพขึ้นไปช่วยต้านทัพ เมืองหลวงพระบางตามที่มีพระราชสาส์นส่งมาอีกด้วย


บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๒๙). จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ อักษรขอม อักษรธรรม และอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (๒๕๕๐). อยุธยา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์. เติม วิภาคย์พจนกิจ. (๒๕๔๐). ประวัติศาสตร์ลาว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์. ธีรวัต ณ ป้อมเพชร. (๒๕๕๕). สมเด็จพระเพทราชา. ใน มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. (หน้า ๑๕๘-๑๖๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา. พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง. (๒๕๐๗). ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑๐ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๐ ตอนปลาย ภาคที่๑๑-๑๒). (หน้า ๑๔๙-๒๓๖). พระนคร: องค์การค้า ของคุรุสภา. พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง: ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน. (๒๕๔๕). ใน ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๙. (หน้า ๕๖-๘๔). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. พงศาวดารล้านช้างตามถ้อยคาในฉบับเดิม. (๒๕๐๖). ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๒ (ประชุม พงศาวดารภาค ๑ ตอนปลายและภาค ๒). (หน้า ๑๓๔-๑๔๘). พระนคร: องค์การค้า ของคุรุสภา. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ). (๒๕๐๕). พระนคร: โอเดียนสโตร์. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). (๒๕๔๒). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับ กาญจนาภิเษก เล่ม ๓. (หน้า ๑๐๓-๔๕๒). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ฟาน ฟลีต เขียน นันทา วรเนติวงศ์ แปล. (๒๕๔๘). รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของ ฟาน ฟลีต (วัน วลิต). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. โยซิยูกิ มาซูฮารา. (๒๕๔๖). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง สมัย คริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๗ จาก “รัฐการค้าภายในภาคพืน้ ทวีป” ไปสู่ “รัฐกึ่งเมืองท่า”. กรุงเทพฯ: มติชน. วินัย พงศ์ศรีเพียร. (๒๕๕๑). พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา เอกสารจากหอหลวง (ฉบับความสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์. สิลา วีระวงส์ เขียน สมหมาย เปรมจิตต์ แปล. (๒๕๔๙). ประวัติศาสตร์ลาว. กรุงเทพฯ: มติชน. สุรศักดิ์ ศรีสาอาง. (๒๕๔๕). ลาดับกษัตริย์ลาว. กรุงเทพฯ: สานักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ กรมศิลปากร.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๑๗


เรือจ้างหน้าวัดมณฑป เกาะลอย ๑๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ ภายโดย ชยทัต หลักดี


บทความวิชาการ สาขาพัฒนาชุมชน

การสารวจและวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเกาะลอย ตาบลหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Exploration and SWOT Analysis of Koh Loy Community in Hua Raw Sub-district, Phranakhon Si Ayutthaya Province คมลักษณ์ ไชยยะ/Komluck Chaiya อาจารย์ประจาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บทคัดย่อ ชุมชนเกาะลอย หมู่ ๒ ตาบลหัวรอ จัง หวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครที่มีอายุ ไม่มากนัก การเข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะเริ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาประมาณ ๘๐ ปีมานี้ หลังจากที่ผู้คนเริ่มขึ้นจากเรือนแพ รอบเกาะมาอาศัยบนบกแทน จึงมีผู้คนเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อยมาและมีบ้านเรือนเพิ่มขึ้นโดยแทรกตัวทับพื้นที่วัดร้าง เก่าแก่สมัยอยุธยาดังที่เห็นในปัจจุ บัน ด้วยสภาพเกาะลอยที่เป็นเกาะมีแม่น้าล้อมรอบ จึง ทาให้ชุมชนเก าะลอยมี ลักษณะทางกายภาพแยกออกจากเกาะเมือง ซึ่ง เป็นทั้ง ลักษณะที่โดดเด่นน่าดึง ดูดและอุปสรรคในการใช้ชีวิตของ ชาวบ้านในชุมชนเกาะลอยบางด้านไปพร้อมๆกัน ข้อมูลส่วนใหญ่ในบทความนี้ ได้มาจากการการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารและการสารวจเก็บข้อมูลภาคสนาม (field work) ของนักศึก ษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชนภาคพิเ ศษ หรือ กศ.บป.รุ่น ๒๕๕๔/จันทร์-พุธ-ศุกร์ ในช่วง ระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม ๒๕๕๘ ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ การเขียนอธิบายทางชาติ พันธุ์วรรณา (ethnography) รวมไปถึงการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนโดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อนและ โอกาส/อุปสรรคของชุมชน (SWOT Analysis) ร่วมกับชาวบ้านเกาะลอย จากการสารวจและวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเกาะลอยเบื้องต้นพบว่า ชุมชนเกาะลอยมีลักษณะเด่นที่เป็น ศักยภาพของชุมชน คือ สภาพที่ตั้งชุมชนอยู่บนเกาะกลางแม่น้าขนาดเล็ก ชุมชนมีความสงบเงี ยบไม่วุ่นวายและมี ทัศนียภาพสวยงามน่าอยู่อาศัย, ในชุมชนเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยอยุธยาที่มีความน่าสนใจหลายแห่ง, คนในชุมชน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดแบบเครือญาติและเพื่อนบ้าน ทาให้ชุมชนมีความเป็นปึกแผ่นค่อนข้างมาก, ผู้อาวุโสในชุมชนมี ความเป็นผู้นาสามารถประสานงานเป็นผู้นาชุมชนได้เป็นอย่างดี ส่วนในประเด็นที่เป็นปัญหาหลักของชุมชนเกาะลอย คือชุมชนไม่มีที่ทิ้งขยะหรือวิธีการกาจัดขยะที่เหมาะสมเพียงพอ และปัญหาของแหล่งโบราณสถานในชุมชนอยู่ในสภาพ ทรุดโทรมขาดการบูรณะพัฒนา ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหายที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต คาสาคัญ: การสารวจชุมชน, ศักยภาพชุมชน, การวิเคราะห์จุดอ่อน/จุดแข็ง วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๑๙


Abstract Located in Hua Raw Sub-district, Phranakhon Si Ayutthaya Province, Koh Loy is an urban community, established not so long ago, under the supervision of the Ayutthaya City Municipality. The settlement started around 80 years ago when people moved on land, from the nearby houseboats to the island. Since then, the island has been crowded with a lot of houses built in the area of the old and abandoned temples. As an island surrounded by the river and separated from the Ayutthaya City island Koh Loy is physically prominent while, at the same time, provides some difficulties for a living. The information about Koh Loy Community were gathered from the documents concerned together with the field works conducted during March to July, 2 0 1 5 by the 2011-school year students of the Community Development Program, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. The SWOT analysis and the ethnographical technique were chosen for investigating the potentiality of Koh Loy Community. It is found that Koh Loy Community has the outstanding characteristics which promote its potentiality. One is its location as an island surrounded by the river, providing gorgeous scenery and a peaceful way of life. There are also many interesting Ayutthaya historic sites on the island. Moreover, the tightly knit relationships among the members help unite the community. ๒๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

The elders in the community are found to play the leader roles and can work well with the others. In case of the difficulties facing Koh Loy Community, it is found that there are no adequate dumpsites and appropriate ways for waste disposal there. Moreover, the historic sites in the community have been ruined without conservation and restoration, increasing the risk of more damage in the near future. Key words: Exploration on community, Potentiality of the community, SWOT Analysis

บทนา เกาะลอยเป็นชุมชนหนึ่งในตาบลหัวรอ อาเภอ พระนครศรีอยุธยา จัง หวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่ง เป็น ย่านชุมชนตลาดเก่าฟากตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ เมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยา ด้ ว ยสภาพแวดล้ อ มทาง กายภาพที่มีแม่น้าลพบุรีและแม่น้าป่าสักโอบรอบด้านจึง เป็นที่มาของชื่อ “เกาะลอย” ที่เรียกกันทั่วไป อย่างไรก็ ตามถึ ง แม้ ว่ า ชุ ม ชนเกาะลอยจะอยู่ ใ นเขตพื้ น ที่ ค วาม รั บ ผิ ด ชอบของเทศบาลนครพระนครศรี อ ยุ ธ ยาและ ใกล้ ชิ ด กั บ ย่ า นตลาดใจกลางเกาะเมื อ งมาก แต่ ด้ ว ย สภาพที่เป็นเกาะกลางน้าที่แยกตัวออกไปจากแผ่นดิน ของเกาะเมือง ชุมชนเกาะลอยจึงไม่เป็นที่รู้จักสาหรับคน ทั่วไปในปัจจุบันมากนัก แม้กระทั่ง ผู้ที่อาศัยอยู่ในย่าน ตลาดหัวรอที่อยู่ใกล้ชิดกันในฟากตรงข้ามแม่น้า หลาย คนก็ยังไม่เคยนั่งเรือข้ามไปยังฝั่ง บนพื้นที่เกาะลอยเลย ผู้ เ ขี ย นเห็ น ว่า พื้นที่ ข องเกาะลอยมีค วามน่า สนใจเป็น พิเศษ โดยเฉพาะในเรื่องของสภาพทางกายภาพที่เป็น ชุมชนที่อยู่บนเกาะกลางน้าขนาดเล็กในเขตเมือง และยัง มีวัดโบราณหลายแห่งที่สาคัญตั้งอยู่บนเกาะกลางน้าแห่ง นี้ด้วย บทความ “การสารวจและวิเคราะห์ศักยภาพของ


ชุมชนเกาะลอย ตาบลหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” นี้ เ ป็ น ผลจากการส ารวจเก็ บ ข้ อมู ล ชุ ม ชน โดยผู้ เ ขี ย น ต้ อ งการอธิ บ ายให้ เ ห็ น ภาพรวมของชุ ม ชนเกาะลอย ทั้ ง ในด้ า นบริ บ ททางสั ง คม ประวั ติ ค วามเป็ น มาและ สถานที่สาคัญของชุมชน สภาพทางกายภาพของชุมชน และสภาพปัญหาในชุม ชนเกาะลอยด้วยวิธีก ารศึ ก ษา จากเอกสาร (Document) และน าข้ อ มู ล จากการ วิ เ คราะห์ SWOT ของนั ก ศึ ก ษาการพั ฒ นาชุ ม ชน ซึ่งได้ลงพื้นที่จัดประชุมระดมความคิดเห็นของชาวบ้าน เกาะลอยเข้ามาประกอบด้วย โดยหวังว่าจะช่วยให้เกิด ความเข้าใจสภาพปัญหาภายในชุมชนได้ชัดเจนกว่าการ วิเคราะห์จากคนนอกชุมชนเพียงฝ่ายเดียว

ประวัติความเป็นมาของเกาะลอยและ ชุมชนบนเกาะลอย จากข้ อ มู ล ประวั ติ ศ าสตร์ พงศาวดารอยุ ธยา ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า สภาพภู มิ ป ระเทศในพื้ น ที่ เ กาะเมื อ ง พระนครศรี อ ยุ ธ ยา และรอบๆหลายแห่ ง ล้ ว นมี ความแตกต่างจากที่คนในปัจจุบันเข้าใจ เช่นเดียวกั บ พื้นที่บริเวณที่กลายมาเป็นเกาะลอยในปัจจุบั น ซึ่งเป็น แผ่นดินเดียวกับเกาะเมื องพระนครศรีอยุธ ยามาก่ อ น หาก แต่ ไ ด้ มี ก าร ขุ ด คลอง คู เ มื อ ง หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า “คูขื่อหน้า” เชื่อมต่อระหว่างแม่น้าลพบุรีกับลาคลองที่ ขุ ด ลั ด จากแม่ น้ าป่ า สั ก เพื่ อ เป็ น คลองคู เ มื อ งส าหรั บ ป้องกันศัตรูและเหตุผลด้านการบริหารระบบน้าภายใน เกาะเมือ ง จึงทาให้ผืนดินบริเวณที่กลายเป็นเกาะลอย แยกห่างจากเกาะเมืองชัดเจนดังที่เห็นในปัจจุบัน ทั้งนี้ คู ขื่ อ หน้ า ถู ก ขุ ด ขึ้ น ตั้ ง แต่ เ มื่ อ ใดไม่ มี ห ลั ก ฐานชั ด เจน ทว่ า ตั้ ง แต่ ค รั้ น สมเด็ จ พระเจ้ า อู่ ท องสถาปนากรุ ง ศรี อยุ ธ ยา คู ขื่ อ หน้ า ก็ ก ลายมาเป็ น คลองคู เ มื อ งด้ า น ทิศตะวันออกแล้ว และปรากฏชื่อในพงศาวดารหลาย ครั้งในฐานะคลองขุดที่มีการปรับปรุงเพื่อใช้เป็นปราการ ต้ า นทานทั พ ของศั ต รู เ ข้ า สู่ พ ระนครในหลายครั้ ง

(กรมศิลปากร, ๒๕๔๕, หน้า ๒๔-๒๖ ; วันลีย์ กระจ่างวี, ๒๕๕๘, หน้า ๖๑-๖๗) นอกจากนี้บนพื้นที่เกาะลอย ยัง เป็นพื้นที่ตั้ง ของโบราณสถานสมัยอยุ ธยาถึง ๕ แห่ง คือ วัดมณฑป วัดแค วัดสะพานเกลือ วัดข้าวสารดา และวัดศรีจาปา ที่มีร่องรอยหลักฐานยืนยันได้อย่างชัดเจน๑ แต่ปัจจุบันมี เพียงวัดแคและวัดมณฑปเท่านั้นที่ยังมีพระจาพรรษาอยู่ ที่ ดิ น บนเกาะลอยส่ ว นใหญ่ จึ ง เป็ น ที่ ดิ น ของวั ด เก่ า สมัยอยุธยาทั้ง สิ้น กระทั่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่ง ได้เริ่ม การฟื้นฟูสภาพเกาะเมืองหลังจากที่มีการจัดระเบียบการ ปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นมา โดยพระองค์เจ้า วัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ได้รับตาแหน่งเป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าคนแรก แต่ต่อมาได้ย้าย ไปดู แ ลมณฑลปราจี น บุ รี ใ นปี พ.ศ.๒๔๔๖ และได้ ใ ห้ พระยาโบราณราชธานินทร์ทาหน้าที่แทน ในระหว่างที่ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ยังดารงตาแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุ ง เก่ า อยู่ นั้ น ท่ า นได้ อ าศั ย อยู่ ใ นต าหนั ก บน เกาะลอยมีชื่อเรียกกันว่า “ตาหนักสะพานเกลือ” ตาม ชื่อของวัดสะพานเกลือ ซึ่งเป็นวัดร้างสมัยอยุธยาที่ตั้งอยู่ ติ ด กั น นั่ น เอง นอกจากนี้ ในสมั ย รั ช กาลที่ ๖ ชื่ อ ของ ตาหนักสะพานเกลือยังปรากฏอยู่ในฐานะเป็นที่ประทับ เมื่อเสด็จมาพระนครศรีอยุธยา เพื่อชมการแสดงละคร ชาตรี ข องคณะละครที่ อ าศั ยอยู่ใ นบริ เวณคลองทราย หน้ า วั ด สามวิ ห าร (ศู น ย์ บู ร ณาการภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ม.ป.ป.,) ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการตั้งบริษัทผลิต ไฟฟ้าบนเกาะลอยขึ้น ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณที่กลายเป็น วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี แ ละอุ ต สาหกรรมการต่ อ เรื อ ใน ปัจจุบัน ดังเห็นหลักฐานได้จากข้อความที่ “บริษัทไฟฟ้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากัด ” ได้จารึกไว้หน้าโบสถ์ ของ “หลวงพ่อขาว”วัดศรีจาปา ในฐานะที่บริษัทไฟฟ้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นผู้บูรณะสร้างอาคารโบสถ์ ขึ้นถวายตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ชี้ให้เห็นว่าคงมีการเข้ามา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๒๑


พัฒนาบนพื้นที่เกาะลอยตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว กล่าวได้ ว่ า เกาะลอยได้ ถู ก ใช้ เ ป็ น พื้ น ที่ ตั้ ง ของวั ด สมั ย อยุ ธ ยา และต่ อ มาก็ เ ป็ นที่ พัก อาศั ยหรือ ต าหนั กที่ ป ระทั บของ กษัตริย์และเจ้านายมาก่อน การใช้พื้นที่บนเกาะลอยเพื่อ เป็นชุมชนอยู่อาศัยของชาวบ้านธรรมดา รวมไปถึงการ เปลี่ ย นพื้ น ที่ เ กาะลอยเพื่ อ ประโยชน์ ใ ช้ ส อยของ ประชาชนธรรมดามากขึ้น น่าจะเกิดขึ้นในช่วงใกล้เคีย ง หรือหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็น ต้ น มา ดั ง ที่ พ บว่ า ได้ มี ก ารก่ อ ตั้ ง วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมการต่อเรือในบริเวณที่เคยเป็นตาหนัก สะพานเกลือเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๔๒ ซึ่งทาให้นักเรียน จากฝั่ ง เกาะเมื อ งต้ อ งข้ า มไปเรี ย นบนฝั่ งเกาะลอยมา ตั้งแต่นั้น การตั้ ง ถิ่ น ฐานของชุ ม ชนเกาะลอย เริ่ ม ต้ น ในช่วงประมาณ ๘๐-๙๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งจากคาบอกเล่า ของนางอุ ไ ร ยุ ว นบุ ณ ย์ วั ย ๗๕ ปี ที่ ช าวบ้ า นบน เกาะลอยเรี ย กกั น ว่ า “ป้ า ไร” เล่ า ว่ า ตั ว เองเกิ ด บน เกาะลอยนี้ เตี่ยของป้าไรเป็นคนจีนทางานเป็นช่างบัดกรี เครื่องใช้โลหะจาพวกตะเกียงแล้วส่งขาย ส่วนแม่เป็นคน ไทยก็ ยั ง อาศั ย อยู่ บ นแพอยู่ ใ นช่ ว งแรก เดิ ม ที บ้ า นแม่ อาศัยอยู่บนแพริมน้าคูขื่อหน้า แต่ต่อมาเตี่ยของป้าไร ย้ายขึ้นมาอาศั ยอยู่ อ าศัย ในพื้น ที่ ของวั ด สะพานเกลื อ ซึ่งเป็นบริเวณที่ป้าไรและพี่น้องอยู่กันมาถึงปั จ จุ บั น นี้ ป้าไรเล่าว่าในสมัยก่อนมีบ้านไม่ กี่หลัง นอกจากจะเป็น ที่ ตั้ ง ของวั ด เก่ า ที่ มี ซ ากอิ ฐ เจดี ย์ แ ละพระพุ ท ธรู ป หลงเหลือมากกว่าในสมัยนี้ พื้นที่บนเกาะส่วนใหญ่จะ เป็นป่าหญ้ารกร้าง คนรุ่นป้าไรจึงถือได้ว่าเป็นรุ่นแรกที่ เกิดบนเกาะลอยนี้ ส่วนคนรุ่นพ่อแม่ขึ้นไปเป็นคนที่มา จากที่อื่นที่มาบุกเบิกตั้งถิ่นฐานใหม่ทั้งสิ้น ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนเกาะลอยเกิดขึ้น พร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั่วไปของอยุธยา หรื อ มณฑลกรุ ง เก่ า ในสมั ย นั้ น โดยเฉพาะหลั ง จาก

๒๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ทศวรรษ ๒๔๘๐ เป็นต้นมา รัฐบาลได้ตัดถนนเข้ามายัง เกาะเมืองโดยอาศัยสะพานปรีดี-ธารงและมีการตัดถนน ขึ้ น หลายเส้ น ในพื้ น ที่ เ กาะเมื อ ง ท าให้ ค วามนิ ย มใช้ รถยนต์สัญ จรทางถนนเพิ่มมากขึ้น จึง ทาให้ความการ สัญจรทางน้าค่อยๆ ลดบทบาทลงไป แม้ว่าในช่วงเวลา นั้นจะยังคงมีเรือนแพในแม่น้าอยู่มากก็ตาม โดยเฉพาะ ในย่านหัวรอก็ยังคงเต็มไปด้วยแพร้านค้าของชา แพขาย ข้ า ว แพตั ด เย็ บ เสื้ อ ผ้ า และแพอื่ น ๆ ที่ ยั ง คงฐานะ ศูนย์กลางการค้าของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาก็ตาม (ดูใน พัฑร์ แตงพันธ์, ๒๕๕๗, หน้า ๓๙-๔๒) ลุงสมบัติ วั ย ๗๘ ปี อาศั ย อยู่ ที่ บ้ า นตาลเอน อ าเภอบางปะหัน เล่าถึงการเดินทางจากบางปะหันมายังตลาดหัวรอในช่วง ประมาณ ๕๐ กว่าปีก่อนว่า “ไปอยุธยาต้องนั่ง เรือไป เขาเรียกเรือหางยาวอะไรเนี่ย ขึ้นหน้าบ้านมันมีหลายลา พอเวลาตีสี่ตีห้าเรือก็วิ่ง ขึ้นไปสุ ดหมู่บ้านแล้ว ก็ล่ อ งมา เรือของคนในหมู่บ้าน ไล่ลงมาเรื่อยๆ รับคนไปตามท่าไป อยุ ธ ยา เรื อ หางยาวมั น นั่ ง ได้ ห ลายคนเป็ น สิ บ คนนั่ น แหละ” (อ้างใน คมลักษณ์ ไชยยะ, ๒๕๕๗, หน้า ๕๑) การสัญจรโดยเรือประจาทางสิ้นสุดไปเมื่อใด ไม่เป็นที่แน่ ชัดนัก แต่คาดว่าในช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๐ กิจการ คมนาคมทางน้านี้น่าจะซบเซาลงมากแล้ว ดังที่ปรากฏ ในรายงานของคณะวิจั ย ที่ ศึ ก ษาสภาพเศรษฐกิ จ และ สั ง คมในต าบลทั บ น้ า อ าเภอบางปะหั น ในช่ ว งต้ น ทศวรรษ ๒๕๑๐ ได้อธิบายถึงการติดต่อของชาวบ้านใน ตาบลทับน้าที่เข้ามาซื้อของที่ตลาดหัวรอได้หันไปใช้การ เดินทางด้วยรถโดยสารประจาทางจากตัวอาเภอบางปะ หันแล้ว (บุญมา นครอินทร์ สุริยา เตชะโสภาพรรณ และ สุ พั ช ร าชั ย ปร ะ ภา, ๒ ๕ ๑ ๔ , หน้ า ๑ ๔ ๐ -๑ ๔ ๓ ) การพัฒนาที่ขยายตัวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึง เป็น ปัจจัยสาคัญอย่างหนึ่งที่ทาให้คนบนเรือนแพขึ้นมาอาศัย บนเกาะลอยมากขึ้นเช่นกัน


ชาวบ้ า นเกาะลอยเล่ า ว่า ประมาณก่อนทศวรรษ ๒๕๐๐ เล็กน้อย มีคนจากกรุงเทพมาตั้ง โรงงานผลิตน้าแข็งในพื้นที่ติดกับ วิ ท ย า ลั ย เ ท ค โ น โ ล ยี แ ล ะ อุตสาหกรรมการต่อเรือตรงข้าม กับคลองทราย โรงงานน้าแข็งบน เกาะลอยนี้ถือได้ว่าเป็นแห่งแรก ในอยุธยา เมื่อผลิตแล้วก็จะขนส่ง น้ าแข็ ง ลงเรื อ น าไปจ าหน่ า ยยั ง พื้นที่อื่นๆ จึงมีคนเข้ามาทางานใน โรงน้ าแข็ ง บนเกาะลอยเ ป็ น จานวนมาก มีบ้านพักคนงานเรียง รายหลายสิบห้อง ชาวบ้านเก่าแก่ บางคนก็ เ คยท างานในโรงงาน น้ าแข็ ง สมั ย นั้ น โดยหลั ง จากที่ โรงงานปิดกิจการไปแล้วก็อาศั ย อยู่เรื่อยมาถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ในสมัย ที่ชุมชนเริ่มก่อตัวขึ้นนั้น ชาวบ้าน อาศั ย น้ าจากแม่ น้ าเพื่ อ อุ ป โภคบริ โ ภคเป็ น หลั ก เพราะยั ง ไม่ มี ระบบประปา บ้ า นเรื อ นจึ ง มั ก ขยายตัวไปตามแนวยาวของตลิ่ง ริมน้า ถนนหนทางบนเกาะลอย ยั ง เป็ น ทางดิ น แคบๆ ในแต่ ล ะ ค รั ว เ รื อ น ก็ ยั ง ไ ม่ มี ห้ อง ส้ ว ม ชาวบ้ า นเกาะลอยอาศั ย ขั บ ถ่ าย ตามป่ า ละเมาะลึ ก เข้ า ไปภายใน เกาะ การพัฒนาเปลี่ยนแปลงใน เกาะลอยเริ่มปรากฏชัดเจนในช่วง

ประมาณ ๓๐ ปีหลังมานี้ ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ การประปาส่วนภูมิภาคก็ได้ต่อ ท่อส่งน้าประปาจากฝั่งเกาะเมืองฝังท่อผ่านใต้แม่น้าเข้ามาบนเกาะลอยครั้งแรก และในปี พ .ศ. ๒๕๔๖ ถนนภายในชุ ม ชนได้ ถู ก ปรั บ ปรุ ง เป็ น ทางคอนกรี ต เชื่อมต่อกันทั้งหมดจากการพัฒนาของหน่วยงานเทศบาล ตลอดหลายทศวรรษ ผ่านมาบ้านเรือนบนเกาะลอยจึงขยายตัวไปตามริมน้าของเกาะและรุกพื้นที่เข้า ไปบริเวณตอนกลางของเกาะมากขึ้นเรื่อยๆดังสภาพในปัจจุบัน

ภาพที่ ๑ แผนที่เดินดินชุมชนเกาะลอยหมู่ ๒ (ที่มา: นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน กศ.บป. ๒๕๕๔)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๒๓


ชุมชนเกาะลอยที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ภาพที่ ๒ ภูมิทัศน์บริเวณท่าเรือข้าม หน้าวังจันทรเกษม-วัดมณฑป

ภาพที่ ๓ สะพานข้ามหน้าสานักงานตรวจคนเข้าเมือง

๒๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ชุ ม ชนเกาะลอยตั้ ง อยู่ ใ นหมู่ ที่ ๒ ของต าบล หั ว รอ อ าเภอพระนครศรี อ ยุ ธ ยา จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา มี ส ภาพภู มิ ป ระเทศเป็ น เกาะรูป ทรงคล้าย สามเหลี่ยมมุมมน ทุกด้านถูกโอบล้อมรอบด้วยแม่ น้ า ๒ สายที่ไ หลมาบรรจบกันจากทางทิ ศเหนือ ของเกาะ คือ แม่น้าป่าสัก และแม่น้าลพบุรี ซึ่งบนเกาะลอยมีพื้นที่ ทั้งหมด ๑๔๗ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา บริเวณด้านทิศ เหนือของเกาะอีกฝั่งแม่น้าเป็นที่ตั้งของเกาะวัดช่องลม ซึ่งตั้งอยู่กลางแม่น้าใกล้กับเกาะลอยแต่มีขนาดเล็กกว่า เกาะลอยหลายเท่ า ถัดเลยขึ้นไปอีกบนฝั่ง เป็น ตั้ ง ของ วัดตองปุ ทิศตะวันออกติดต่อกับชุมชนปากคลองทราย โดยมีแม่น้าป่าสักขวางกั้นกลาง ส่วนด้านทิศตะวันตกติด กั บ บริ เ วณพื้ น ที่ ต าบลหั ว รอมี วั ด มหาโลกตั้ ง อยู่ โ ดยมี แม่น้าลพบุรีไ หลผ่าน ส่วนทางทิศใต้ ติดกับพระราชวั ง จันทรเกษม ซึ่งตั้งอยู่อีกฟากของคลองเมือง การเดินทางจากเกาะเมืองไปยังเกาะลอยทาได้ สองทาง คือ นั่ง เรือรับส่ง ข้ามฟากกับการข้ามสะพาน จากฝั่ง เกาะเมือง ซึ่ง มีท่าเรือข้ามฟากจอดรอรับคนอยู่ บริ เ วณท่ า น้ าตลาดหน้ า วั ง (พระราชวั ง จั น ทรเกษม) โดยเรือเล็กนั่ง ได้ ลาละไม่ เกิน ๕ คน ค่าบริการคนละ ๓ บาท ส่วนเรือติดเครื่องยนต์นั่งได้ ๗-๑๐ คน ค่าบริการ คนละ ๕ บาท โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านนิยมนั่ง เรือจาก ห น้ า วั ง จั น ท ร เ ก ษ ม ม า ขึ้ น ฝั่ ง ที่ ท่ า น้ า ห น้ า วั ด มณฑปที่ ฝั่ ง ตรงข้ า ม ซึ่ ง จะใช้ ท่ า น้ านี้ ไ ด้ เ ฉพาะใน ช่ ว งเวลาประมาณ ๕.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. เท่ า นั้ น พอหลังหกโมงเย็นก็ยัง มีเรือรับส่งไปจนถึง เที่ยงคืน แต่ จะต้องไปขึ้นฝั่งที่ท่าอื่นของเกาะแทน ซึ่งจะมีท่าเรือหน้า บ้ า น “ป้ า เต่ อ ” (นางเพลิ น ตา คงรอด) และท่ า เรื อ หน้ า บ้ า น “ป้ า ไร” (นางอุ ไ ร ยุ ว นบุ ณ ย์ ) ผู้ น าชุ ม ชนที่ ชาวบ้านบนเกาะลอยคุ้นเคยกันดี ส่วนอีกวิธีก็ โดยการ ข้ามสะพานจากเกาะเมืองที่ สานักงานตารวจตรวจคน เข้ า เมื อ ง จะมี ส ะพานข้ า มแม่ น้ ามายั ง หน้ า วิ ท ยาลั ย


เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพอดี ซึ่งวิทยาลัย เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือได้สร้างสะพานนี้ ขึ้นมาตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นสะพานเหล็กเชื่อมทุ่น ลอยน้าไว้ใต้สะพาน ตรงกลางสะพานสามารถออกจาก กั น ได้ เพื่ อ ใช้ ปิ ด -เปิ ด ใช้ ง านเป็ น เวลาในช่ ว งระหว่าง ๐๕.๐๐-๑๘.๐๐ น. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือฯ จะแยกสะพาน ข้ามแยกออกเพื่อให้เรือใหญ่สามารถแล่นผ่านได้ในช่วง กลางคืน และช่วยให้สวะผักตบชวาสามารถไหลไปตาม น้าได้ บ้ า นเรื อ นที่ อ ยู่ อ าศั ย บนเกาะลอยจะปลู ก เรียงรายหนาแน่นตามริม ฝั่ง แม่น้ ากระจายไปทุ ก ด้ า น ตามรู ป ทรงสามเหลี่ ย มของเกาะ ในการประชุ ม เพื่ อ จั ด ท าโครงการพั ฒ นาศั ก ยภาพหมู่ บ้ า นและชุ ม ชน (S.M.L.) ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ได้ระบุว่า บนเกาะลอยมีบ้านเรือนทั้งสิ้นเป็นจานวน ๑๒๗ หลังคา เรื อ น (เทศบาลนครพระนครศรี อ ยุ ธ ยา, ๒๕๕๔) บริเวณที่อยู่อาศัยบนเกาะลอยจะแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม บ้านย่อยๆ (๑) กลุ่มบ้านท่าใต้ คือ บริเวณบ้านที่ติดกับ วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี แ ละอุ ต สาหกรรมการต่ อ เรื อ ฯ (๒) กลุ่ ม บ้ า นท่ า เหลื อ คื อ บริ เ วณบ้ า นที่ อ ยู่ ติ ด กั บ วัดมณฑป และ (๓) กลุ่มบ้านท้ายเกาะ คือบริเวณด้าน โรงเจทางทิศเหนือของเกาะลอย ส่วนพื้นที่ตอนในของ เกาะ มีลักษณะเป็นท้องกระทะในช่วงหน้าน้าหรือฤดูฝน จึ ง มั ก เกิ ด น้ าท่ วมขัง และเป็ น พื้ น ที่ ป่ า หญ้ าและต้นไม้ ใหญ่ให้ร่มครึ้มอย่างต้นก้ามปูและต้นมะขามที่ขึ้นอยู่ใน ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพราะเจ้าของที่ดินบางรายเป็นคน ต่ า งถิ่ น ซื้ อ ที่ ดิ น ทิ้ ง ไว้ โดยยั ง ไม่ ไ ด้ เ ข้ า มาใช้ ป ระโยชน์ ที่ดินบนเกาะลอยส่วนใหญ่ แล้วเป็นที่ดินราชพัสดุ ไม่ก็ เป็นที่ดินของวัดหรือธรณีสงฆ์ แต่ก็มีพื้นที่มีโฉนดปะปน อยู่ ด้ ว ยเช่ น กั น ครั ว เรื อ นที่ อ าศั ย อยู่ ใ นพื้ น ที่ ร าชพั ส ดุ จะต้องไปจ่ายค่าเช่าที่อาเภอพระนครศรีอยุธยาโดยเสีย ค่ า เช่ า รายปี ส่ ว นครั ว เรื อ นที่ อ ยู่ ใ นเขตวั ด มณฑป

ชาวบ้านจะจ่ายค่าเช่าให้กับทางวัดโดยตรง แต่ทางวัด ไม่ไ ด้กาหนดราคาค่า เช่ าที่ แน่นอน ขึ้นกับชาวบ้า นจะ จ่ายให้ตามศรัทธา ส่วนผู้ที่อาศัยในที่ดินของวัด แคจะ เสียค่าเช่าให้วัดแคในอัตราที่กาหนดชัดเจนตามขนาด พื้นที่ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่อาศัยบนที่ธรณีสงฆ์ของวัดเก่าที่ ร้างอย่างวัดสะพานเกลือด้วย ผู้อาศัยในกลุ่มนี้จะต้อง เสียค่าเช่าให้กับกรมการศาสนาโดยไปเสียที่ศาลากลาง จั ง หวั ดทุ ก ปี ทว่ า เมื่ อ ไ ม่ กี่ ปี ม านี้ เ ท ศบ า ล น ค ร พระนครศรี อ ยุ ธ ยาได้ เ ริ่ ม อนุ ญ าตออกโฉนดที่ ดิ น บางแปลงให้แก่ชาวบ้านอาศัยอยู่มานานโดยมีการเสียค่า ที่ ดิ น ออกโฉนดตามกฎหมาย (สั มภาษณ์ ป้ า อุ ไ ร ยุ วณบุ ณย์ ) ดั ง นั้ นบนเกาะลอยจึ ง มี ทั้ ง ผู้ ที่ อ าศั ย บนที่ ราชพัสดุ ที่ธรณีสงฆ์ของวัด และที่ดินที่มีโฉนดปะปนกันไป เนื่องจากอยู่ติดกับแม่น้าทาให้เกิดน้าท่วมอยู่ บ่อยครั้ง ชาวบ้านจึง นิยมปลูกบ้านยกพื้น ใต้ถุน สูงเพื่อ ป้องกันผลกระทบจากน้าท่วม และใช้เป็ นที่เก็บข้าวของ เครื่องใช้หรือเก็บเรือพาย แต่ปัจจุบันหลายครัวเรือนได้ สร้างต่อเติมเป็นบ้านสองชั้นมากขึ้น บ้านเรือนตั้งกระจุก ตัวเรียงรายไปตามริมน้าและถนนทางเดิน บ้านเก่าที่อยู่ อาศัยมานานหน้าบ้านจะหันไปทางแม่ น้า ส่วนบ้านที่ อายุน้อยกว่า หน้าบ้านจะอยู่ติด ถนนทางเดินของชุมชน แทน แต่ละบ้านปลูกเรียงกันไปโดยรั้วเตี้ยๆหรือแนวพุ่ม ไม้ประดับปลูกไว้รอบๆพื้นที่บ้านเป็นการบ่งบอกอาณา เขตของบ้านมากกว่าการป้องกันการบุกรุก ครัวเรือนที่ อยู่ติดกันจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดแบบเครือญาติ พี่น้อง หลายครัวเรือนพื้นที่เปิด โล่งไม่มีรั้วกั้น ทั้งนี้บ้านเรือน หลายหลัง ก็ยัง มีสภาพไม่มั่นคงนักเพราะสร้ างขึ้ น จาก วัสดุ เช่น ไม้แผ่น ไม้ไผ่สังกะสี เศษไม้อัดหรือลังกระดาษ ผ้าพลาสติกกันแดดฝน และอื่นๆเท่าที่หาได้ตามมีตาม เกิด โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยในที่ดินของวัดมณฑปและ วั ด แค ซึ่ ง ย้ า ยมาอาศั ย อยู่ ใ นที่ ดิ น ของวั ด ภายหลั ง บ้านเรือนจะมีสภาพแออัดเรียงชิดติดกันเป็นแนวและไม่ มีพื้นที่บริเวณบ้านมากนัก วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๒๕


ภาพที่ ๔ สภาพบ้านเรือนและทางเดินในชุมชมเกาะลอย

ในสมัยก่อนที่จะมีการสร้างถนนคอนกรีตใน ชุมชนขึ้น ชาวบ้านต้องเดินไปบนทางพื้นดินแคบๆ สลับ กั บ ถนนทางเดิ น ที่ ปู ด้ ว ยอิ ฐ แดงโบราณก้ อ นใหญ่ แ ล้ ว นามาเรียงต่อกันไปบนพื้นดินเพื่อทาเป็นถนนลัดเลาะไป ตามบ้านและข้างทางเดิน เป็นที่ว่างรกร้างมีหญ้าและไม้ ใหญ่ขึ้นปกคลุมจนรกครึ้มสองข้างทาง ช่วงหน้าฝนการ เดินทางสัญจรจะลาบากมาก กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาได้ดาเนินการจัด สร้าง ถนนคอนกรีตขนาดกว้างประมาณ ๒ เมตร ถนนยกสูง กว่ า ระดั บ ผิ ว ดิ น ที่ ชั้ น ล่ า งบ้ า น ซึ่ ง จะอยู่ ต่ าลงไปกว่ า ผิวถนนเพื่อแก้ปัญหาน้าท่วมในช่วงฤดูฝน ทั่วทั้งเกาะจึง เชื่อมโยงกันด้วยถนนคอนกรีตภายในชุมชน พอที่จะใช้ จั ก รยานและจั ก รยานยนต์ ส วนกั น ได้ ส่ ว นบริ เ วณ ศูนย์กลางของชุมชนและถูกใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้านจะอยู่ด้านวัดสะพานเกลือ ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านที่ เข้ า มาตั้ ง ถิ่ น ฐานก่ อ นกลุ่ ม อื่ น บ้ า นเรื อ นจึ ง ค่ อ นข้ า ง ๒๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

หนาแน่น และมีศาลาเอนกประสงค์ของชุมชนสาหรับใช้ จัดประชุมหรือกิจกรรมของชุมชน และมีหอกระจายข่าว ติดตั้งอยู่ในบริเวณนี้ด้วย ทั้งนี้บนเกาะลอยมีร้านค้าขาย อาหารตามสั่งและร้านขายของจาแทรกอยู่ตามคุ้ม บ้าน ต่ า งๆ กระจายอยู่ ร อบเกาะทั้ ง หมด ๙ ร้ า น ร้ า นค้ า เหล่ า นี้ จ ะมี ลู ก ค้ า คื อ ครู แ ละนั ก เรี ย นจากวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี แ ละอุ ต สาหกรรมการต่ อ เรื อ ปกติ ใ นช่ ว ง กลางวันชุมชนเกาะลอยจะค่อนข้างเงียบ เพราะคนวัย ทางานจะออกไปทางานนอกเกาะเหลือเพียงผู้สู ง อายุ และเด็ ก เล็ ก ที่ อ ยู่ ต ามบ้ า นเป็ น ส่ ว นใหญ่ ซึ่ ง จากการ สารวจจานวนประชากรบนเกาะลอยปัจจุบัน พบว่ามี ประชากรบนเกาะลอยทั้งหมด ๙๑๒ คน แบ่งเป็นชาย ๔๒๗ คน หญิ ง ๔๘๕ คน (เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, มีนาคม ๒๕๕๘) ด้ ว ยสภาพภู มิ ป ระ เทศที่ เ ป็ น เก าะ แ ยก โดดเดี่ยวจากผืนดิน บนชุมชนเกาะลอยจึง มี อุป สรรค บางอย่างที่เป็นปัญ หาแตกต่างไปจากผู้อ าศัย บนเกาะ เมือง ประการแรก คือ พวกเขาไม่สามารถนารถยนต์ ขึ้ น มาใช้ ไ ด้ เ ลย แม้ แ ต่ ร ถจั ก รยานยนต์ ก็ มี อ ยู่ ไ ม่ ถึ ง ๑๐ คัน ในชุมชนใช้การเดินเท้าไปมาหาสู่ กัน บ้างก็ใช้ รถจักรยาน และหากจะนารถจักรยานยนต์เข้ามาใช้ก็ ต้ อ งยกข้ า มสะพานขึ้ นที่ ห น้า วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีและ อุตสาหกรรมการต่ อเรือ ขึ้นมาใช้ไ ด้ เฉพาะบนเกาะไม่ สามารถนาข้ามไปมาได้สะดวกนัก ในฝั่งเกาะเมืองจึง มี จุ ด ที่ ค น ใน ชุ ม ชน เก าะ ลอ ยอ าศั ย จอ ดหรื อ ฝาก รถจักรยานยนต์และรถยนต์อยู่หลายจุด เช่น หลังตลาด หั ว รอ, โรงน้ าแข็ ง ฝั่ ง คลองทราย, ส านั ก งานตรวจคน เข้าเมือง, วัดเขียนตลาดหัวรอ หน้าวังจันทรเกษม และที่ ทาการศาลเจ้าพ่อจุ้ยในตลาดเจ้าพรหม เป็นต้น ขึ้นกับ ว่าบ้านใครอยู่ใกล้ตรงไหน โดยมีทั้งฝากจอดรถฟรีแ ละ เสี ย ค่ า ฝากจอดเป็ น รายเดื อ น (สั ม ภาษณ์ น ายดิ เ รก ไวโชติกา อายุ ๓๙ ปี) ประการที่สอง จากอุปสรรคของ การเดินทางข้ามฝั่งจากเกาะเมืองไปยังเกาะลอยทาให้


ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ บนเกาะลอยมักจะมีราคาสูงกว่า ที่ขายบนเกาะเมืองเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ขึ้นไปบนเกาะอีกต่ อหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุ ป กรณ์ ก่อสร้าง เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย ฯลฯ ที่ขนส่งขึ้นบนเกาะ ลอยจะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมาก ประการที่สาม ในกรณีที่ เกิดเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน ดังเช่น กรณีเจ็บป่วยไม่ส บาย หรือเกิดอุบัติเหตุในชุมชน การช่วยเหลือก็อาจจะเข้าถึง ได้ยากหรือเสียเวลามากกว่าปกติ ชาวบ้านบนเกาะลอย จึง ต้องมีเบอร์โทรศัพท์ของคนขับเรือรับจ้างติดบ้านไว้ เสมอเพื่อเรียกใช้ในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนได้ทันที เป็นต้น

วัดและโบราณสถานสาคัญบนเกาะลอย เกาะลอยเป็นที่ตั้งของวัดเก่าสมัยอยุธยา ทั้ง วั ด ที่ มี พ ระจ าพรรษาและวัด ร้า ง ซึ่ ง คนในชุ ม ชนได้ให้ ความเคารพนับถือมีการและมีการบูรณะดู แลกันเองใน ชุมชนเรื่อยมา จากคาบอกเล่ าของชาวบ้ านเกาะลอย บอกว่ า ในอดี ต จะมองเห็ น ร่ อ งรอยของโบราณสถาน โบราณวัตถุในวัดเก่าเหล่านี้ได้ มากกว่าปัจจุบัน แต่จาก การที่วัดโบราณสถานเหล่านี้ขาดการดูแลบูรณะรักษาจึง ถูกทาลายทรุดโทรมลงทั้งจากธรรมชาติและน้ามือมนุษย์ ซึ่งในอดีตเคยมีการขุดค้นพบเครื่องประดับทองคาของ เก่าโบราณได้เป็นจานวนมาก ทาให้คนรู้ข่าวเข้ามาขุดหา ทองและของเก่ า กั น ยกใหญ่ ชาวบ้ า นเชื่ อ กั น ว่ า เป็ น สมบัติที่คนสมัยอยุธยานาไปทิ้งน้าเอาไว้เพื่อให้พ้นจาก ทหารพม่าในสมัยเสียกรุงครั้งที่สอง คาดว่ากรุเจดีย์เก่า ของวัดร้างบนเกาะลอยหลายแห่งก็ถูกขุดทาลายไปใน ลักษณะเดียวกันนี้ด้วยเช่นกัน อ ย่ า ง ไ ร ก็ ต า ม ใ น ปั จ จุ บั น วั ด เ ก่ า แ ล ะ โบราณสถานบนเกาะลอย ก็ยังคงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจที่ ชาวบ้านเกาะลอยให้ความเคารพนับ ถืออย่ างสูง และ ยังคงคุณค่าในฐานะส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อยุธยา ทั้ ง สิ้ น ดั ง เช่ น (๑) วั ด มณฑป ตั้ ง อยู่ ท างทิ ศ ตะวันตก เฉียงใต้ของเกาะลอยตรงข้ามกับพระราชวังจันทรเกษม

ชื่ อ ของวั ด มณฑปมี ป รากฏอยู่ ใ นราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาในเหตุการณ์ ที่กบฏธรรมเถียรปลอมเป็น เจ้ า ฟ้ า อภั ย ทศ เพื่ อ ท าศึ ก กั บ อยุ ธ ยาในสมั ย สมเด็ จ พระเพทราชา (พ.ศ.๒๒๓๑-๒๒๔๖) โดยยกพลมาหยุด ยืนช้างที่วัดมณฑป และ ช่วงสมัยเสียกรุง ครั้ง ที่ ส องปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่ายกทัพมาหยุดทัพ หน้าวัดมณฑปเพื่อโจมตีพระนคร เพราะเป็นยุทธภูมิที่ เข้าโจมตีอยุธยาได้ง่ายกว่าด้านอื่น (ดูเพิ่มเติมในปวัต ร์ นวะมะรั ต น, ๒๕๕๗: ๒๒๓-๒๒๖) ปั จ จุ บั น ริ ม ฝั่ ง คู ขื่ อ หน้ า ฝั่ ง วั ง จั น ทรเกษมจะมี ท่ า เรื อ ข้ า มฟากและมี เรื อ หางยาวรั บ จ้ า งจอดคอยบริ ก ารชาวบ้ า นและ นักท่องเที่ยวอยู่บริเวณนั้น (๒) วัดแคหรือวัดราชานุวาส ตั้งอยู่บริเวณทิศ เหนื อ ของเกาะลอยติ ด กั บ แม่ น้ าป่ า สั ก ใกล้ กั บ เกาะ ช่องลม เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาที่มีชื่อเสียงจากประวัติ ของพระเกจิชื่อดัง คือ “หลวงปู่ทวด” ที่เคยมาจาวัดอยู่ ที่วัดแคเป็นวัดแรกในสมัย ของสมเด็ จพระเอกาทศรถ ทางวัดได้ สร้างหุ่น หลวงปู่ทวดขนาดใหญ่ ตั้ง อยู่บริเวณ ริมน้าหน้าวัด ซึ่ง มีผู้ศรัทธาเดินทางมาสักการบูชาที่วัด อยู่เสมอ (๓) วั ด สะพานเกลื อ เป็ น วั ด ร้ า งตั้ ง อยู่ ริ ม คูขื่อหน้าติดกับวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการ ต่อเรือ ปัจจุบันยัง คงมองเห็น ซากอิ ฐปูน ของหอระฆั ง และแนวกาแพงเก่า ตามแบบดั้งเดิม ชาวบ้านเล่าว่าใน อดี ต จะมองเห็ น ฐานโบสถ์ ข องวั ด สะพานเกลื อ ซึ่ ง มี พระพุทธรูปเก่าประดิษฐานอยู่ และใกล้กับหอระฆังก็มี ซากเจดีย์เก่าหลายองค์ ซึ่งในปัจจุบันไม่หลงเหลือให้เห็น แล้วและพื้นที่ของวัดเดิมได้มีบ้านเรือนเข้าไปปลูกสร้าง แทน อย่างไรก็ตามยังคงเหลือสภาพของฐานโบสถ์เก่า ซึ่ ง มี อ งค์ พ ระพุท ธไร้ เ ศีย รหลงเหลื อ มาก่ อนนี้ แต่ ด้ ว ย สภาพของโบสถ์ แ ละพระพุ ท ธรู ป เก่ า ทรุ ด โทรมมาก ถู ก ปล่ อ ยปละละเลยไม่ มี ห น่ วยงานไหนเข้ า มาบู รณะ ซ่ อ มแซม ชาวบ้ า นในละแวกนั้ น ที่ อ าศั ย อยู่ บ นพื้ น ที่ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๒๗


วัดสะพานเกลือจึงช่วยกันบูรณะซ่อมสร้างขึ้นมาใหม่เมื่อ หลายสิบปีก่อน ปัจจุบันองค์พระพุทธรูปเก่า จึงถูก คลุม ทับปั้นขึ้นใหม่และมีการนาหินศิลาแลงบริเวณเดี ยวกัน มาสร้างเป็นพระพุทธรูปเพิ่มเติมด้วย (๔) วัดศรีจาปาหรือวัดอินทราวาส เป็นวัดร้าง เก่าแก่สมัยอยุธยาตอนกลางร่วมสมัยเดียวกันกับวั ดแค ตั้งอยู่ภายในพื้นที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม การต่อเรือติดแม่น้าป่าสักด้านทิศตะวันออก หลงเหลือ เพียงพระพุทธรูปหลวงพ่อขาวที่เป็นพระประธานของ โบสถ์เก่า แต่ไ ม่เหลือร่องรอยของโบสถ์เก่าให้เห็นแล้ว โดยบริษัทการไฟฟ้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากัด ได้ เข้ามาบูรณะสร้างอาคารโบสถ์ขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.๒๔๗๐ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือก็ได้ สร้างอาคารอีกหลัง ต่อเติมมาทางด้านหน้าโบสถ์หลวง พ่อขาว เพื่อใช้เป็นห้องพระพุทธศาสนา ชาวบ้านเกาะ

ลอยอธิบายว่าหลวงพ่อขาวน่าจะเป็นองค์เก่าดั้งเดิมแต่ ได้ทาสีภายนอกให้ดูใหม่ขึ้น ทั้ง นี้ ในวงการพระเครื่อง ยังมีกล่าวถึงพระจากกรุวัดศรีจาปาในฐานะพระเครื่อง เนื้อดินเผาที่มีศิลปะสกุลช่างสมัยอยุธยาที่โดดเด่น (อ้าง ถึงใน มโนมัย อัศวธีระนันท์, ๒๕๕๖) (๕) วัดข้าวสารดา เป็นวัดร้างไม่ทราบประวัติ แน่ชัด ตั้งอยู่ตอนในของเกาะลอยบนพื้นที่รกเต็มไปด้วย หญ้าวัชพืช บริเวณโบสถ์ เก่า มี ลัก ษณะเป็นกองพู น สู ง จากพื้นดิน ชาวบ้านได้บูรณะสร้างศาลาเปิดโล่งขนาด เล็ก สาหรับประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดเล็กสามองค์ ภายในศาลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าที่ทรุดโทรมเสียหาย ชาวบ้ า นเกาะลอยจึ ง ได้ บู ร ณะซ่ อ มแซมสร้ า งกั น เอง เหมือนกับที่วัดสะพานเกลือ ปัจจุบันชาวบ้านเกาะลอย ยังคงจัดงานทาบุญ ภายในกลุ่มบ้านใกล้เคียงในบริ เวณ วัดข้าวสารดาประจาทุกปี

ภาพที่ ๕ พื้นที่ตั้งโบสถ์ที่บูรณะใหม่ (ซ้าย) และหอระฆังเก่าของวัดสะพานเกลือ (ขวา)

ภาพที่ ๖ วัดข้าวสารดา (ซ้าย), หลวงพ่อขาววัดศรีจาปาในพื้นที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ (ขวา) ๒๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


บริบททางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ของชุมชน ย่านหัวรอและเรือนแพรอบเกาะลอยในอดีต ถือว่าเป็นย่านตลาดการค้าที่คึกคักมากที่สุดในบริเวณ เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แม้ในยุคที่ผู้คนเริ่มจะขึ้น จากแพมาอาศัยบนพื้นดินแล้ว ก็ยังพบว่ามีแพค้าขายอยู่ ต่อมา จนกระทั่งการคมนาคมทางบกได้ เข้ ามาแทนที่ ทางน้ าในช่ ว งทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็ น ต้ น มา คนบน เกาะลอยแต่เดิมอาศัยประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลักใน บริเวณริมฝั่งแม่น้าป่าสัก ตลาดหัวรอ ซึ่งมีร้านขายข้าว ผักสด ขนมนางเล็ด ข้าวเกรียบทอด และสินค้าทางการ เกษตรและสินค้าอื่นๆ บ้างก็พายเรือรับ-ส่งคนข้ามฟาก บ้างออกเรือจับปลาในแม่น้า บ้างก็ทาขนมหวานข้ามไป ขายยังเกาะเมือง ซึ่งตั้งแต่ที่มีการตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมการต่อเรือขึ้น ชาวบ้านบางครอบครัวก็ มีรายได้จากการขายอาหารบนเกาะลอยและในวิทยาลัย เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือด้วย ในช่ ว งที่ ก ระแสการพั ฒ นาในช่ ว งทศวรรษ ๒๕๓๐ สภาพของเกาะเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วตามการ ขยายตั ว ของเมื อ งและนิ ค มอุ ต สาหกรรมที่ ผุ ด ขึ้ น ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลายแห่ง ชาวบ้านเกาะลอย สังเกตเห็นว่าในช่วงนั้นมีคนที่ทางานในพื้นที่เกาะเมือง เข้ามาอาศัยบนเกาะลอยมากขึ้นด้ วย เช่น ครู ลูกจ้างใน สานักงานผู้พิพากษาและอัย การ การซื้อขายที่ ดิ น บน เกาะลอยที่เปลี่ยนมือไปเป็นกรรมสิ ทธิ์ ของคนต่ า งถิ่ น ก็ ล้ ว นแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การขยายตั ว ของเมื อ งที่ เ ริ่ ม ส่ ง อิ ท ธิ พ ลไปถึ งเกาะลอยมากขึ้ นเรื่ อยมา ขณะเดี ย วกัน ลูกหลานชาวบ้านเกาะลอยก็เรียนหนังสือจบการศึกษา สูงขึ้น และมีอาชีพที่หลากหลาย เช่น รับราชการ รับจ้าง ค้าขาย และทางานในโรงงานนิคมอุตสาหกรรม เมื่ อ อ านาจบริ ห ารจากส่ ว นกลางและส่ ว น ภูมิภาคได้โอนถ่ายอานาจบริหารปกครองมาสู่ท้องถิ่น

ตั้ ง แต่ ท ศวรรษ ๒๕๔๐ ได้ มี ก ารจั ด ตั้ ง โครงสร้ า ง คณะกรรมการชุมชนขึ้นทาหน้าที่ติดต่อประสานงานกับ หน่ ว ยงานราชการเพื่อ ท างานพัฒนาชุ ม ชนด้ านต่างๆ โดยมีคณะกรรมการชุมชนเป็นคณะทางานรวมทั้ง หมด ๑๐ คน ปัจจุบันมีนายสรรคอนุพงษ์ จันทร์สุคนธ์ เป็น ประธานชุมชน ส่วนงานด้านสาธารณสุขจะมีอาสาสมัคร สาธ าร ณ สุ ข ปร ะ จ าหมู่ บ้ า น หรื อ อ สม. มี ห น้ า ที่ ประสานงานระหว่ า งชุ ม ชนกั บ เจ้ า หน้ า ที่ ส าธารณสุข จัง หวัดโดยมีนางเพลินตา ทองรอด เป็นประธานกลุ่ม อสม. นอกจากนี้ในชุมชนได้ มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อดาเนิน กิจกรรมทางสังคมด้านต่างๆ ทั้งรูปแบบที่จัดตั้งขึ้นโดย หน่ ว ยงานรัฐ และกลุ่ ม ที่ ช าวบ้ า นจั ด ตั้ ง ขึ้ นเอง ดั ง เช่น “กลุ่ ม กองทุ น หมู่ บ้ า นและชุ ม ชนเมื อ ง” หรื อ กองทุ น หมู่ บ้ า น ๑ ล้ า นบาท และมี ก ารจั ด ตั้ ง “กองทุ น สวั สดิ ก าร ชุ ม ชน ” เมื่ อ วั น ที่ ๗ เดื อ น สิ ง หาค ม พ.ศ.๒๕๕๑ โดยการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (พ.อ.ช.) และสานักงานพัฒนาสัง คมและความ มั่ น คงของมนุ ษ ย์ จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา และใน พ.ศ.๒๕๕๕ มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมรายได้และลดรายจ่าย ในครั ว เรื อ น ดั ง เช่ น กลุ่ ม ท าของช าร่ ว ยเที ย นหอม, กลุ่ ม น้ าหมั ก ชี ว ภาพ, กลุ่ ม น้ ายาเอนกประสงค์ และ กลุ่ ม ดอกไม้ จ ากต้ น โสน เป็ น ต้ น มี ส มาชิ ก ประมาณ ๓๐ คน แต่เนื่องจากกลุ่มประสบปัญหาจากการดาเนินที่ ไม่ จ ริ ง จั ง รวมไปถึ ง ขาดเงิ น ทุ น และตลาดรองรั บ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ กลุ่มอาชีพจึงได้ยุติบทบาทลงไป (ข้อมูล จากกองสวั ส ดิ ก ารสั ง คม, เทศบาลนครพระนคร ศรีอยุธยา) ส่ ว นกลุ่ ม ชาวบ้ า นที่ ด าเนิ น การกั น เองจะมี ชีวิตชีวาและเข้มแข็ง มากกว่าที่จัดตั้ง โดยหน่วยงานรัฐ อย่างเห็นได้ชัด ดังเช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีการรวมตัวกัน ราไทเก็กทุกเย็นวันจันทร์-ศุกร์ และการจัดงานประเพณี ต่ า งๆ โดยเฉพาะงานท าบุ ญ ทางศาสนา นอกจากนี้ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๒๙


ชาวบ้านเกาะลอยยังได้ตั้งกลุ่มฌาปนกิจที่ช่วยสนับสนุน ค่าจัดงานศพขึ้นในชื่อ “กองทุนฌาปนกิจตาบลหัวรอ” ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งตาบลหัวรอราว ๒๐๐ คน แต่ได้ เชื่อมเครือข่ายร่วมกับกองทุนฌาปนกิจของตาบลบางป่า โคและวัดมหาโลก จึงมีจานวนสมาชิกรวมกว่า ๕๐๐ คน กองทุนฌาปนกิจนี้ตั้งขึ้นจากความต้องการของคนใน ชุมชนเอง เริ่มมาได้ประมาณ ๗ ปีแล้ว ปัจจุบันนางอุไร ยุ ว บุ ณ ย์ ห รื อ ป้ า ไรเป็ น ประธานกลุ่ ม โดยมี ข้ อ ตกลง ร่วมกันว่า เมื่อมีสมาชิกในกลุ่มเสียชีวิต ทางกลุ่มจะช่วย ค่าจัดงานศพๆละ ๗,๐๐๐ บาท พร้อมกับพวงหรีด ซึ่ง เงินที่ใช้ในกองทุนนี้มาจากเงินที่สมาชิกช่วยกันเก็บออม วันละ ๑ บาท หรือเดือนละ ๓๐ บาทนั่นเอง แต่อย่างไร ก็ตามเนื่องจากเงินกองทุนช่วยเหลื อค่ าฌาปนกิ จ เป็ น จานวนไม่มากนัก ป้าไรจึงได้นาเงินส่วนตัวของตนเอง จานวน ๕๐,๐๐๐ บาท ตั้งเป็นเงินสารองจ่ายตั้งต้นใน อีกกองทุนหนึ่ง เพื่อสนับสนุน ค่า ท าศพเพิ่ มเติ ม ให้ แ ก่ ญาติผู้ตาย ซึ่งจะเก็บเงินจากสมาชิกกลุ่มเพิ่มเติมเมื่ อมี คนตาย ศพละ ๒๐ บาท จะได้ เ งิ น อุ ด หนุ น เพิ่ ม อี ก ประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อราย เพิ่มเติมจากค่าจัดงาน ศพที่กองทุนฌาปนกิจจ่ายให้ศพละ ๗,๐๐๐ บาท ดังนั้น ท้ า ยที่ สุ ด แล้ ว ญาติ ผู้ ต ายจะได้ เ งิ น ช่ ว ยเหลื อ จากทั้ ง ๒ กองทุน รวมเป็นเงินรวมประมาณ ๑๗,๐๐๐ บาทต่อ ราย (สัมภาษณ์นางอุไร ยุวบุณย์ อายุ ๗๕ ปี) ซึ่งถือว่า เป็นการดาเนินการที่เกิดขึ้นจากชาวบ้านภายในชุมชน เอง แม้จะมีสภาพเป็นสังคมเมืองแต่ความสัมพันธ์ แบบเครื อ ญาติ แ ละกลุ่ ม เพื่ อ นบ้ า นยั ง คงเป็ น พื้ น ฐาน สาคัญของชุมชนเกาะลอย ภายในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่ม ผู้ สู ง อายุ จ ะรู้ จั ก สมาชิ ก ในชุ ม ชนทุ ก บ้ า นและมี ก าร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างสม่าเสมอ ชาวบ้านในชุมชน ก็ ส ามารถจ าแนกระหว่ า งคนในกั บ คนนอกชุ ม ชนได้ ชัดเจน ร้านค้าในละแวกบ้านจะเป็นพื้นที่แลกเปลี่ ย น ข้ อ มู ล ข่ า ว สาร ที่ ช าว บ้ าน แว ะ เ วี ยน มา ส น ท น า ๓๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

เช่ น เดี ย วกั บ พื้ น ที่ บ ริ เ วณละแวกบ้ า นที่ ส ามารถเห็ น ชาวบ้านจับกลุ่มสนทนากันในช่วงตกเย็นและเวลาว่าง อื่นๆ นอกจากนี้กิจกรรมสาคัญตามประเพณี เช่น การ ทาบุญในวันสาคัญทางศาสนาของวัดตามวาระต่างๆ ก็ สะท้อนให้เห็นถึงความใกล้ชิดสัมพันธ์ของคนในชุมชนได้ อย่างชัดเจน นอกจากนี้ประเพณีที่ชาวบ้านเกาะลอยยึดถือ ปฏิบัติ ล้วนเป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา พุทธของคนไทยทั้งสิ้น เมื่อถึงวันพระหรือวันสาคัญของ ศาสนาพุทธ ชาวบ้านเกาะลอยก็จะไปที่วัดมณฑปและ วั ด แคเป็ น หลั ก แต่ น อกจากวั ด มณฑปและวั ด แค ชาวบ้านก็ยัง จัดงานทาบุญ ที่วัดร้างต่างๆบนเกาะลอย อย่างสม่าเสมอทุ กปี ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ใครอาศัยอยู่ใกล้ หรือ ในพื้นที่ข องวัดไหนก็ จะท าบุ ญ ที่ วั ด นั้ น ซึ่ ง จะมี วั ด สะพานเกลื อ วั ด ศรี จ าปา และ วัดข้าวสารดา การทาบุญที่วัดร้างจะทาในกลุ่มเครือญาติ และเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ๆกันในกลุ่มบ้าน ส่วนการทาบุญ รวมกันของคนทั้ง ชุมชนจะจั ดขึ้น ตามประเพณี ท าบุ ญ กลางบ้านที่ศาลาเอนกประสงค์ใกล้กับต้นมะขามใหญ่ กลางชุมชน แม้ชาวบ้านเกาะลอยจะมีเครือญาติสืบเชื้อ สายจีนในรุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่ าตายายอยู่หลายครอบครัว แต่ในปัจจุบัน หลายครอบครัวไม่ไ ด้ ใ ห้ค วามสาคั ญ กั บ ความเป็นจีน ไม่ว่าจะในด้านธรรมเนียมประเพณี ปฏิบัติ หรือความเชื่อแบบที่คนไทยเชื้อสายจี นในตลาดหัว รอ ยึดถือและไม่ไ ด้เป็นสมาชิกในกลุ่มศาลเจ้าแต่อย่ า งใด ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างคนบนเกาะลอยกับคนคนเชื้อ สายจี น ในตลาดหั ว รอก็ มี อ ยู่ ต ามปกติ ทั่ ว ไปในฐานะ สมาชิกตาบลเดียวกัน ซึ่ง มีบางครอบครัวที่ปฏิบัติตาม ประเพณี จี น ตามเครื อ ข่ า ยความสั ม พั น ธ์ ส่ ว นบุ ค คลที่ ครอบครัวตนเองมีอยู่ อย่างไรก็ตามทางทิศเหนือของเกาะลอย เป็น ที่ตั้ง ของโรงเจและมีศาลเจ้าที่คนจีนกราบไหว้บูชา ซึ่ง ปกติศาลเจ้านี้จะปิดเงียบไม่มีกิจกรรมหรือคนเข้าไปบ่อย


นัก เว้นแต่ในช่วงงานเทศกาลทิ้งกระจาดหรือที่เรียกใน ภาษาจี น ว่ า “ซี โ กว” ในช่ ว งเดื อ นเจ็ ด ตามปฏิ ทิ น จั น ทรคติ ข องจี น ซึ่ ง มั ก จะตรงกั บ ช่ ว งประมาณเดือน กั น ยายน พื้ น ที่ โ รงเจจะถู ก ใช้ ส าหรั บ การจั ด งาน ทิ้ ง กระจาดตามประเพณี ค วามเชื่ อ ของชาวจี น จะมี คน ไ ทยเชื้ อ สายจี น ที่ เ ป็ น เถ้ า นั๊ ง จากย่ า นหั ว รอ และกลุ่มศาลเจ้านอกเกาะมาร่วมพิธีที่เชื่อว่าประตูนรก จะเปิดออก ทาให้วิญญาณบรรพบุรุษ ผี สัมภเวสีต่างๆ ออกมาบนโลกมนุษ ย์ ชาวจี น จึ ง ท าบุ ญ อุ ทิ ศ ส่ ว นกุศล ให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ สัมภเวสี ผีไม่มีญ าติ ซึ่ง จะมี การแจกข้าวสารอาหารให้กับคนยากไร้ด้วย ทาให้ในช่วง จัดงานมีคนจานวนหลายร้อยเดินทางเข้ามารับของแจก ที่โรงเจบนเกาะลอย ทั้งนี้เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าแต่ละปี โรงเจเกาะลอยจะเป็นที่แรกในพื้นที่เกาะเมืองจัง หวัด พระนครศรีอยุธยาที่จัดงานทิ้งกระจาด แล้วจึงจะเวียน ไปยัง ศาลเจ้าอื่นๆรอบเกาะเมืองโดยครั้งสุดท้ายจะไป สิ้นสุดที่วัดพนัญเชิงวรวิหารเป็นประจาทุกปี (Stephen F. Tobiss, 1971, 66-68)

การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนบ้านเกาะลอย ปาริชาติ วลัยเสถียร (๒๕๕๒, หน้า ๑๖๕) ได้ กล่าวถึง การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนว่า “การวิเคราะห์มี ความจ าเป็ น ต่ อ การสร้ า งขบวนการเข้ า ใจและเรียนรู้ ชุ ม ชนทั้ ง ในเรื่ อ งของคนและสั ง คมหมู่ บ้ า น สิ่ ง ที่ นักพัฒนาจะต้องวิเคราะห์ก็คือ สภาพความเป็นมาของ หมู่ บ้ า นตั้ ง แต่ อ ดี ต สภาพการด ารงอยู่ ข องชุ ม ชนใน ปัจจุบันและการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตของชุมชน นั้ น ซึ่ ง เป็ น ผลดี ต่ อ การพั ฒ นาและการปฏิ บั ติ ง านใน ชุมชน ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ สามารถตอบสนองความสมบูรณ์ของการปฏิบัติการนั้นๆ มากที่สุด” ซึ่ง หลังจากที่นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนา ชุมชนภาคพิเศษรุ่น ๒๕๕๔ จันทร์ -พุธ -ศุกร์ ได้ลงเก็บ ข้อมูลในพื้นที่ชุมชนเกาะลอยหลายครั้ง กระทั่งคุ้นเคย

กั บ ชาวบ้ า นและได้ ข้ อ มู ล ชุ ม ชนเกาะลอยเพี ย งพอใน ระดับหนึ่ง แล้ว จึง ได้นัดหมายชาวบ้านจัดการประชุ ม สนทนากลุ่ม (focus group) ในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ อาคารอเนกประสงค์ของ ชุมชนเกาะลอย ทั้ง นี้เป้าหมายของการสนทนากลุ่มก็ เพื่อให้ไ ด้ข้อมูลจากมุมมองของคนในชุมชนสาหรั บ ใช้ ประกอบการวิ เ คราะห์ ศั ก ยภาพชุ ม ชนเกาะลอยได้ ชัดเจนขึ้น การจั ด ประชุ ม กลุ่ ม (focus group) เพื่ อ ขอ ความคิดเห็นชาวบ้านเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศักยภาพของ ชุ ม ชนในครั้ ง นี้ กลุ่ ม นั ก ศึ ก ษาการพั ฒนาชุ ม ชน มรภ. พระนครศรีอยุธยาได้นัดหมายชาวบ้านไว้ก่อนล่วงหน้า แล้ ว เนื่ อ งจากเป็ น วั น ที่ ห น่ ว ยงานเทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยามาให้บริการตรวจสุขภาพให้กับคนใน ชุมชนเกาะลอยพอดี จึงเป็นวันที่ชาวบ้านเกาะลอยจะมา รวมตัวกันเพื่อรอตรวจสุขภาพจานวนมากกว่าวันปกติ โดยกิ จ กรรมได้ จั ด ขึ้ น บริ เ วณศาลาส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ใจกลางชุ ม ชน ผู้ เ ข้ า ร่ ว มส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ผู้ สู ง อายุ อ ายุ ๖๐ ปีขึ้นไป แต่ก็มีคนวัยทางานมาร่วมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในการจัดประชุมกลุ่มโดยทั่วไป จะเป็นการนั่ง สนทนา กันระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์เป็นกลุ่มประมาณ ๖-๑๒ คน แต่บางกรณีอาจยกเว้นให้มีได้ประมาณ ๔-๕ คน ซึ่งใน ระหว่างการสนทนาจะมีผู้ดาเนินการสนทนาเป็นผู้ คอย จุดประเด็นเพื่อเป็นการชักจูงใจให้แสดงความคิดเห็นต่อ ประเด็น (ปาริชาติ วลัยเสถียร: อ้างแล้ว, ๑๔๓) ซึ่ง ใน การระดมความเห็นชาวบ้านเกาะลอยครั้งนี้ อาศัยการ สุ่มขอความคิดเห็นจากชาวบ้านที่มารอรับบริการตรวจ สุ ข ภาพ ซึ่ ง ได้ ผู้ ที่ เ ข้ า มาร่ วมให้ข้ อ มูล ทั้ ง หมด ๑๖ คน ทั้ง หมดเป็นชาวบ้านเกาะลอยที่เข้ามารับบริการตรวจ สุขภาพในเช้าวันนั้น นักศึกษาทาหน้าที่เป็นผู้ดาเนินการ (facilitators) จัดประชุมสนทนากลุ่มได้เชิญ ชาวบ้านที่ สะดวกให้ความเห็นเข้ามาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นเป็นกลุ่มๆละ ๓-๕ คน นั่งล้อมวงคุยพร้อมๆกัน วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๓๑


ชาวบ้านที่มาให้ความคิดเห็นต่างก็รู้จักกันดีเพราะเป็น คนในชุ ม ชนด้ ว ยกั น แต่ ส่ ว นใหญ่ ไ ม่ รู้ จั ก กั บ ผู้ จั ด การ ประชุ ม กลุ่ ม มาก่ อ นยกเว้ น ผู้ น าชุ ม ชนบางคนที่ ไ ด้ ติดต่อกันมาก่อนนี้ สาหรับการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนครั้งนี้ ได้ ใช้ เ ทคนิ ค การวิ เ คราะห์ จุ ด แข็ ง /จุ ด อ่ อ นและโอกาส/ อุ ป สรรค (SWOT Analysis) เพื่ อ เป็ น แนวทางในการ รวบรวมความคิ ด เห็ น ของชาวบ้ า นที่ มี ต่ อ ชุ ม ชนของ ตนเองโดยอาศั ย ค าถามหลั กที่ แ บ่ ง ตามการวิ เ คราะห์ ปั จ จั ย ภายในชุ ม ชน (จุ ด แข็ ง /จุ ด อ่ อ น) และปั จ จั ย ภายนอกชุมชน (โอกาส/อุปสรรค) ดังเช่น ท่านเข้าใจว่า จุ ด แข็ ง หรื อ ข้ อ เด่ น ของชุ ม ชนนี้ คื อ อะไร, ท่ า นคิ ด ว่ า จุดอ่อนหรือปัญหาของชุมชนเกาะลอยคืออะไร, ท่านคิด ว่าชุมชนเกาะลอยมีโอกาส(ปัจจัยภายนอก) ที่อย่างไร บ้าง และท่านคิดว่าชุมชนเกาะลอยมีอุปสรรคอะไรบ้าน ในการพัฒนา เป็นต้น ในระหว่างสนทนากลุ่ม ชาวบ้าน ก็จะพูดคุยปรึกษากันก่อนแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นการ ตรวจสอบข้อมูลความคิดเห็นของกันและกันด้วย ขณะที่ ผู้ ด าเนิ น การจั ด ประชุ ม กลุ่ ม ท าหน้ า ที่ ซั ก ถามและจด บันทึกรวบรวมความคิดเห็นจากวงสนทนา เมื่อการถามตอบในวงสนทนาแล้วเสร็จ ก็จะเริ่มกระบวนการสนทนา กลุ่มกับชาวบ้านที่เข้ามากลุ่มใหม่ต่อไป หลั ง จากที่ ไ ด้ ร วบรวมข้ อ มู ล จากการแสดง ความคิ ด เห็ น ในแต่ ล ะกลุ่ ม สนทนาแล้ ว ผลจากการ ประชุ ม กลุ่ ม (focus group) พบว่ า ความคิ ด เห็ น ส่ ว น ใหญ่มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน ผู้ดาเนินการได้ส รุ ป ความเห็ น ของผู้ เ ข้ า ร่ ว มออกเป็ น ประเด็ น ตามหั ว ข้ อ จุ ด แข็ ง , จุ ด อ่ อ น, โอกาส และอุ ป สรรค ( SWOT Analysis) ลงบนกระดาษชาร์ท (chart) แผ่นใหญ่เพื่อให้ ชาวบ้ า นที่ ม าร่ ว มแสดงความคิ ด เห็ น รั บ รู้ โ ดยทั่ ว กั น ถึ ง แม้ ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ จ ะเป็ น ความเห็ น ของชาวบ้ า นที่ รวบรวมจากการสนทนากลุ่ม แต่ก็ได้ผ่านการตี ค วาม แปลความหมายและจัดระเบียบจากผู้รวบรวมและสรุป ๓๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ข้อมูลมาแล้วชั้นหนึ่ง จึง อาจกล่าวได้ว่าข้อมูลจากการ สนทนากลุ่มนี้ ได้ประกอบขึ้นจากความเห็นของคนใน ชุมชนส่วนหนึ่ง และจากคนนอกชุมชน นั่นคือนักศึกษา และผู้ เ ขี ย นอี ก ส่ ว นหนึ่ง ถึ ง แม้ ว่ า เป็ น ข้ อ จ ากัด ในการ กล่าวอ้างความเป็นตัวแทนหรือเสียงชาวบ้านในชุมชนได้ ทั้ง หมดได้ แต่อย่างน้อยก็น่าจะช่ว ยสะท้ อนมุ ม มองที่ ชาวบ้านเกาะลอยมีต่อชุมชนของตนเองและเติมเต็มการ รับรู้เข้าใจในศักยภาพและปัญหาของชุมชนเกาะลอยที่ เป็นอยู่ได้ไม่มากก็น้อย โดยผลสรุปประเด็นการวิเคราะห์ ชุมชนเกาะลอยจากการสนทนากลุ่มด้วยมีดังต่อไปนี้

ผลการจัดทา SWOT เพื่อวิเคราะห์ ศักยภาพชุมชน ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง (Strength) (๑) ผู้นาชุมชนและแกนนาชุมชนมีความเป็น ผู้นาและมีศักยภาพในการทางาน ชาวบ้านเกาะลอยรู้สึก มั่นใจในตัวผู้นาชุมชน ซึ่งทาให้การทางานต่างๆประสบ ผลสาเร็จได้ (๒) คนในชุมชนมี ความคุ้น เคยกัน ดี แ ละมี การร่วมมือช่วยเหลือกันในกิจกรรมต่างๆของชุมชนและ ค่อนข้างเป็นชุมชนที่สงบ ดังที่เห็นได้จากการร่วมกันจัด งานท าบุ ญ ประเพณี ต่ า งๆในชุ ม ชน เพราะชาวบ้ า น คุ้นเคยกันดีไม่มีการทะเลาะวิวาททาร้ายร่างกายกัน ไม่มี คดีจี้ ปล้น ชิงทรัพย์ ชุมชนจะมีความสงบสุขเป็นชุมชนที่ น่าอยู่ (๓) มี แ หล่ ง โบราณสถานที่ มี คุ ณ ค่ า ทาง ประวัติศาสตร์และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน หลายแห่ ง เช่ น วั ด มณฑป และวั ด แค ซึ่ ง ชาวบ้ า นใน ชุมชนละแวกบ้านยังคงเข้าวัดทาบุญกันอยู่เสมอ แม้ว่า บางวัดจะเป็นวัดร้าง เช่น วัดสะพานเกลือ วัดข้าวสารดา วัดศรีจาปา แต่ชาวบ้านก็ยังร่วมกันจัดทาบุญเป็นประจา ทุกปี


ภาพที่ ๗ การจัดประชุมชาวบ้านเกาะลอยเพื่อประเมินศักยภาพชุมชนในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๘

(๔) ขนาดของเกาะลอยที่เล็กและร่มรื่น มีวิว ทิ ว ทั ศ น์ ริ ม น้ าสวยงามและมี วั ด ส าคั ญ ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง โดยเฉพาะวั ด แค ซึ่ ง เคยเป็ น ที่ พ านัก ของหลวงปู่ทวด ชาวบ้านให้เคารพนับถือมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้ศรัทธา จากภายนอกเข้ามากราบไหว้บูชาเป็นจานวนมาก (๕) การจั ด ตั้ ง กลุ่ ม องค์ ก รชุ ม ชน เช่ น ออมทรั พ ย์ เ พื่ อ การผลิ ต กองทุ น หมู่ บ้ า น และกลุ่ ม ฌาปนกิจมีความเข้มแข็ง ช่วยให้สมาชิกกลุ่มผ่อนคลาย ภาระค่าใช้จ่ายในช่วงที่ครอบครัวประสบกับปัญหาได้ ปัจจัยภายในที่เป็นจุดอ่อน (Weak) (๑) ในชุมชนไม่มี พื้น ที่รองรับขยะเพียงพอ กั บ ปริ ม าณการทิ้ ง และไม่ มี ร ะบบก าจั ด ขยะที่ ไ ด้ มาตรฐาน กองขยะถูกกองทิ้งมีกลิ่นเหม็นและมีแมลงวัน รบกวน บางคนก็ทิ้งขยะลงในแม่น้าก็มี ชาวบ้านบางราย

ใช้วิธีกาจัดขยะโดยการเผา ซึ่งทาให้มีกลิ่นควันรบกวน และอาจเกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมได้ (๒) นั ก ศึ ก ษาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี แ ละ อุตสาหกรรมการต่อเรือเข้ามาใช้พื้นที่ชุมชนมากขึ้น ซึ่ง อาจก่อความวุ่นวายแก่ชุมชน เนื่องจากบนเกาะลอยมี ร้านค้าที่ให้บริการโต๊ะ สนุกเกอร์ จึงมีนักศึกษาที่เ ข้ าไป เล่นกันเป็นกลุ่มๆ บางครั้งก็ทาให้วิตกว่าอาจมีการมั่วสุม ในรูปแบบอื่นๆหรือเกิดทะเลาะวิวาทกันตามมาได้ (๓) ชาวบ้านยัง ขาดความรู้ ค วามเข้ า ใจใน การรวมกลุ่ ม อาชี พ เนื่ อ งจากมี ห ลายคนอาศั ย อยู่ บน เกาะลอยไม่ มี อ าชี พ เสริ ม แม้ จ ะเคยมี ห น่ ว ยงานมา ส่ ง เสริ ม แต่ ก็ ยั ง ไม่ ส ามารถจั ด ตั้ ง เป็ น กลุ่ ม สร้ า งอาชี พ ขึ้นมาได้

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๓๓


(๔) ชาวบ้านในหลายครอบครัวอาศัยอยู่บน ที่ดินราชพัสดุและธรณีสงฆ์ เพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน ของตนเองแม้จะอยู่บนเกาะลอยมาเป็นเวลานานแล้วก็ ตาม จึง ขาดความจูง ใจในการร่วมพัฒนาชุมชนให้เกิ ด ประโยชน์ด้านอื่นๆได้อย่างเต็มที่ เช่น การปรับปรุงพื้นที่ รกร้างรอบๆบ้านให้ดีขึ้นหรือการบูรณะวัดร้างที่อยู่ใกล้ๆ บ้าน เป็นต้น (๕) การเดินทางคมนาคมไม่สะดวก ชาวบ้าน ที่อาศัยบนเกาะลอยต้องจอดยานพาหนะ ทั้งรถยนต์และ จักรยานยนต์ทิ้งไว้ที่ฝั่งเกาะเมือง ซึ่งบางพื้นที่ต้องเสียค่า เช่าฝากจอด ทาให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส (Opportunity) (๑) ชุ ม ชนเกาะลอยตั้ ง อยู่ ใ กล้ กั บ พื้ น ที่ อุทยานประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพระราชวัง จั น ทรเกษมมี ย่ า นตลาดหั ว รออยู่ ใ กล้ ๆ กั น ซึ่ ง ท าให้ มี นักท่องเที่ยวเดินทางผ่านเข้ามาเป็นจานวนมาก บางครั้ง ก็ข้ามแม่น้าเข้ามาในเกาะลอยด้วยเพราะการเดินทาง ง่ายสะดวก หากมีการพัฒนาการท่องเที่ยวต่ อยอดใน ชุ ม ชน ก็ จ ะสามารถท าให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วโดยเฉพาะ ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเกาะลอยได้มากขื้น ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในชุมชน ได้ (๒) เนื่ อ งจากบนเกาะลอยเป็ น ที่ ตั้ ง ของ วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี แ ละอุ ต สาหกรรมการต่ อ เรื อ ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาสามารถสร้าง ประโยชน์กับชุมชนได้ ดังเช่น การที่มีครู อาจารย์ และ นักศึกษาก็ทาให้ชาวบ้านบนเกาะลอยบางคนเปิดร้านค้า ขายอาหารแก่ ค รู อาจารย์ และนั ก ศึ ก ษาในชุมชนได้ นอกจากนี้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่อเรือก็ มี โ ครงการบริ ก ารสั ง คม เช่ น การให้ บ ริ ก ารซ่ อ ม เครื่องใช้ไ ฟฟ้าต่างๆ ซึ่งก็เกิดประโยชน์ต่อชุมชนเกาะ ลอยด้วยเช่นกัน หากมีการสานต่อโครงการเหล่านี้ก็จะ ๓๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ทาให้เป็นโอกาสในการพัฒนาของชุมชนเกาะลอยได้มาก ขึ้น ปั จ จั ย ภา ย น อ กชุ ม ชน ที่ เ ป็ น ข้ อ จ า กั ด (Threat) (๑ ) ง บปร ะ มาณที่ ไ ด้ รั บ จั ด สร ร จ า ก หน่ ว ยงานราชการทั้ ง ในส่ ว นท้ อ งถิ่ น และจั ง หวั ด มี ค่อนข้างจากัด ทาให้การพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่างๆ ไม่ เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้านในชุมชน (๒) ในแง่ ข องการพั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว โบราณสถานและวั ด ส าคั ญ บนเกาะลอย ยั ง ขาดการ ประชาสัมพันธ์อย่างเพียงพอ ไม่มีป้ายบอกเส้นทางและ คาอธิบายประวัติศาสตร์โบราณสถานต่างๆ โดยเฉพาะ วัดร้างเก่าแก่อย่างวัดสะพานเกลือ วัดข้าวสารดา และ วั ด ศรี จ าปา หรื อ แม้ แ ต่ วั ด แคที่ มี ค นภายนอกเข้ า มา สักการะหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่เป็นจานวนมากก็ตาม การ เดินทางเข้ามายังสถานที่ท่องเที่ยวในเกาะลอยก็ยัง ไม่มี การจัดการให้เป็นระบบที่ ชัดเจน ซึ่ง หากมีการทาป้าย แผนที่บอกเส้นทางและข้อมูลอธิบาย (๓) โบราณสถานบนเกาะลอยอยู่ภายใต้การ ควบคุมดูแลของหน่วยงานราชการ เช่น กรมศิลปากร และกรมการศาสนา ชุมชนจึง ไม่สามารถเข้าไปบูรณะ พัฒนาหรือจัดการใดๆได้ ทาให้วัดร้างค่อนข้างทรุดโทรม ลงมาก ขาดการดูแลจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ อย่างเพียงพอ

สรุปผลและข้อเสนอแนะจากการสารวจ และวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนเกาะลอย ข้อมูลจากการประชุมกลุ่มในภาพรวมเห็น ได้ ว่ า ชุ ม ชนเกาะลอยมี ต้ น ทุ น ทางสั ง คมและวั ฒ นธรรม ค่ อ นข้ า งสู ง จุ ด แข็ ง หรื อ จุ ด เด่ น ในชุ ม ชนมี ม ากกว่ า ข้อจากัดหรือ อุปสรรคที่มีอยู่ ซึ่ง ถือว่าเป็นปัจจัยสาคัญ ต่ อ การขั บ เคลื่ อ นงานพั ฒนาชุ ม ชนในอนาคต ดั ง เช่น


ลั ก ษณะทางกายภาพของชุ ม ชนที่ เ ป็ นเกาะขนาดเล็ก ตั้งอยู่กลางแม่น้าลพบุรีและป่าสักที่มีทัศนียภาพสวยงาม ก า ร มี แ ห ล่ ง โ บ ร า ณ ส ถ า น ที่ มี ค ว า ม ส า คั ญ ท า ง ประวัติศาสตร์ตั้งอยู่หลายแห่ง และอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่ เกาะเมือง การมีผู้นาชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้เขียน ได้ น าข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากส ารวจ การสั ม ภาษณ์ และการ ประชุมกลุ่มชาวบ้านเพื่ อรั บฟัง ข้อ มู ลความคิ ดเห็ น มา วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน มาสรุปถึงศักยภาพและ ข้ อ จ ากั ด ของชุ ม ชนเกาะลอยที่ เ ห็ น ได้ ชั ด พร้ อ มให้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ประการแรก แม้ว่าชุมชนเกาะลอยจะตั้งอยู่ใน เขตเทศบาลนคร แต่ด้วยสภาพที่เ ป็นเกาะมีแ ม่ น้ ากั้ น กลางและมีช่องทางเข้าชุมชนที่จากัด โดยปกติทั่วไปใน ชุ ม ชนบนเกาะลอย จึ ง ไม่ มี ผู้ ค นภายนอกเข้ า มา พลุกพล่านมากนัก หรือมีอย่างค่อนข้างจ ากัด ในเวลา กลางวั น ส่ ว นในเวลากลางคื น ยิ่ ง มี น้ อ ยหรื อ ไม่ มี เ ลย ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนจึงรู้สึกใช้ชีวิตได้อย่างเงียบ สงบและปลอดภัย ไม่ต้องวิตกกังวลจากความวุ่นวายที่ อาจมาพร้อมกับคนต่างถิ่นภายนอกชุมชน และถึงจะมี นักท่องเที่ยวเข้ามาก็เฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้น ใน ชุมชนไม่พบปัญหาการลักขโมย การทะเลาะวิวาท ความ สับสนวุ่นวายหรือปัญหาสังคมอื่นๆ อย่างที่อาจจะพบใน พื้ น ที่ ชุ ม ชนฝั่ ง เกาะเมื อ ง ขณะที่ ช าวบ้ า น ยั ง คง ความสั ม พั น ธ์ แ บบเพื่ อ นบ้ า นที่ ใ กล้ ชิ ด คุ้ น เคยกั น เป็ น อย่างดี ด้วยลักษณะดังกล่าว ชาวบ้านเกาะลอยจึงอยาก ให้ชุมชนสงบเรียบร้อยดังที่เป็นอยู่ต่อไป แม้จะไม่มีก าร พัฒนาความเจริญเข้ามาบนเกาะมากไปกว่านี้ก็ตาม ซึ่ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า พวกเขาให้ ค วามส าคั ญ กับ การใช้ ชีวิต อย่างสงบในชุมชนมากกว่าความสะดวกสบายหรือความ เจริญ ทางวัตถุที่อาจนาความวุ่นวายตามเข้ามามากขึ้น ด้วย ประการที่สอง บนเกาะลอยมีโบราณสถานที่ สาคัญ ทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น

วัดแค วัดมณฑป วัดสะพานเกลือ วัดศรีจาปา และวัด ข้าวสารดา แม้ว่าหลายวัดจะกลายเป็นวัดร้างไปแล้ว แต่ ก็ยังคงมีร่องรอยโบราณวัตถุและโบราณสถานที่เ ห็นได้ ชัดเจน ทว่าน่าเสียดายที่แหล่ง โบราณสถานวัดร้างบน เกาะลอยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพทรุดโทรมและมีแนวโน้มที่ จะถูกทาลายโดยความเปลี่ยนตามธรรมชาติมากยิ่งขึ้น จึง ควรที่จะเร่ง บูรณะพัฒนาและอนุรักษ์เพื่อไม่ให้เ กิ ด ความเสื่ อ มเสี ย หายไปมากกว่ า ที่ เ ป็ น อยู่ เนื่ อ งจาก โบราณสถานเหล่ า นี้ มีค วามส าคั ญ ทางประวัติ ศ าสตร์ และก็ยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในชุมชนด้วย ดั ง เห็ น ได้จ ากในปัจ จุ บั นชาวบ้ า นก็ ยัง คงจั ด พิธี ทาบุญ เลี้ยงพระขึ้นที่แหล่งโบราณสถานเหล่านี้เป็นประจาทุกปี แม้ ว่ า ชาวบ้ า นจะท าหน้ า ที่ ดู แ ลรั ก ษาแหล่ ง โบราณ สถานที่ อ ยู่ ใ กล้ บ้ า นตั ว เองมาโดยตลอดแต่ ก็ ข าดการ จัดการแหล่ง โบราณสถานอย่างถูกต้องเป็นระบบตาม หลักวิชาการ หากมีบูรณะพัฒนาและจัด ทาป้ายข้อมูล แหล่ ง โบราณสถานเพื่ อ พั ฒ นาเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ท าง ประวัติศาสตร์ ตลอดจนมีการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนใน การดู แ ลรั ก ษาแหล่ ง โบราณสถานภายในชุ ม ชนของ ตนเอง ก็จะช่วยให้ชุมชนเกิดความตระหนัก ถึง คุ ณ ค่ า ความสาคัญของโบราณสถานเหล่านี้มากยิ่ง ขึ้น นาไปสู่ การอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป ประการที่สาม ชุมชนเกาะลอยมีผู้นาชุมชนที่ เข้มแข็ง มีกลุ่มคนทางานอาสาสมัครในชุมชน ซึ่ง ช่วย ประสานงานกับหน่วยงานจากภายนอกได้อย่างดี เช่น ประธานชุมชน อสม. และผู้อาวุโสในชุมชน ซึ่งเป็นผู้นา แบบไม่ เ ป็ น ทางการที่ ช าวบ้ า นให้ ค วามเคารพนั บ ถื อ กลุ่มผู้นาชุมชนเหล่านี้ช่วยให้ชุมชนสามารถดาเนินการ กิ จ กรรมโครงการต่ า งๆที่ เ ข้ า มาได้ ต ามเป้ า หมาย แต่ อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนชุมชนก็จะขึ้นอยู่กับบทบาท ความสามารถเฉพาะตัวของผู้นาชุมชนด้วยเช่นกัน ดัง กรณี ข องกลุ่ ม ออมทรั พ ย์ ฌ าปนกิ จ ซึ่ ง เป็ น กองทุ น สวัสดิการชุมชนที่ชาวบ้านก่อตั้งขึ้นเองจนสามารถระดม วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๓๕


กองทุนได้เติบโตและเข้มแข็งขึ้นมาเรื่อยๆ โดยไม่ต้อง พึ่งพาหน่วยงานราชการภายนอก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ บทบาทความเป็นผู้นาของป้าอุไร ยุวนบุณย์ วัย ๗๕ ปี ซึ่งเป็นผู้อาวุโสที่คนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ รวม ไปถึ ง กิ จ กรรมประเพณี ก ารท าบุ ญประจ าปี ข องวัดใน ชุมชนเกาะลอยที่ป้าอุไรยังคงเป็นเรี่ยวแรงสาคัญในการ ด าเนิ น งาน ขณะที่ ค นหนุ่ มสาวส่ วนใหญ่อ อกไปเรียน หนังสือหรือทางานนอกชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ของชุมชนมากนัก ดังนั้นหากขาดผู้นาที่ชาวบ้านให้การ ยอมรับนับถือ กิจกรรมของชุมชนก็อาจมีอุปสรรคหรือ ยุ ติ ล งก็ เ ป็ น ได้ จึ ง ควรต้ อ งขยายการมี ส่ ว นร่ ว มของ ชาวบ้านให้มากขึ้น ไม่จากัดอยู่เฉพาะกับกลุ่มผู้อาวุโสใน ชุมชนเท่านั้น ประการที่สี่ พื้นที่บนเกาะลอยในปัจจุบันเป็น ที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่และนักศึกษาในช่วงเวลากลางวัน บางครั้ง ก็มีการใช้พื้นที่สาธารณะบนเกาะร่วมกัน จึงควรมีการ สร้างความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับ ชุมชนในการช่วยกันพัฒนาและดูแลความสงบเรียบร้อย และการรักษาสภาพแวดล้อมบนเกาะ สถานศึกษาอาจ สามารถให้ ก ารบริ ก ารทางวิ ช าการแก่ ชุ ม ชนตามที่ ชาวบ้ า นต้ อ งการ ดั ง เช่ น การเปิ ด หน่ ว ยบริ ก ารซ่ อ ม อุปกรณ์ไฟฟ้าในชุมชน การจัดโครงการจิตอาสาพัฒนา ชุมชนของนักศึกษาในวิทยาลัย เป็นต้น ก็จะช่วยสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาในพื้นที่ และนาไปสู่การพัฒนาไปแบบเสริมกันและกันและกันได้ อย่างดี ประการสุดท้าย ปัญหาหลักสาคัญของชุม ชน เกาะลอย จากการประชุมสนทนากลุ่ม ชาวบ้ านแสดง ความเห็ น ตรงกั น ว่ า “ปั ญ หาขยะในชุ ม ชน” มี ความสาคัญเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขปัญหาเป็นอันดับแรก ซึ่ง หากไม่มีการกาจัด ขยะที่ถูกต้องและรวดเร็วก็จะทาให้ เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น เกิดมลภาวะทางอากาศและ ๓๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

น้า, กลิ่นเหม็น รบกวน, โรคติดต่อจากแมลงวัน ที่ เ ป็ น พาหะ เป็นต้น แต่ทว่าจากสภาพพื้นที่เกาะลอยที่เป็ น เกาะมีแม่น้ากั้นขวาง การเดินทางจากฝั่งเกาะเมืองต้อง ใช้เรือหรือเดินข้ามสะพานหน้าวิทยาลัยเทคโนโลยี และ อุตสาหกรรมการต่อเรือ รถเก็บขยะของเทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยาไม่สามารถเข้ามาจัดเก็บได้ นอกจาก จะขนย้ายข้ามแม่น้าออกไปเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ชาวบ้าน บางส่วนใช้วิธีเผาและทิ้งขยะลงในแม่น้าโดยตรง ซึ่งทา ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก ขยะจึงเป็นปัญหา ใหญ่ ส าคั ญ เร่ ง ด่ ว นที่ อ าจต้ อ งอาศั ย ความร่ วมมื อ จาก หลายฝ่ า ยในการแก้ ปั ญ หา ซึ่ ง ชุ ม ชนเกาะลอยอาจ จาเป็นต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังเช่น เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเทคโนโลยีและ อุ ต สาหกรรมการต่ อ เรื อ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวัด ส านั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ร่วมกันวางแผนหาวิธีการกาจัดหรือ ลดปริ ม าณขยะในพื้ น ที่ ชุ ม ชนที่ เ หมาะสมแ ละมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษา สภาพแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

บทส่งท้าย การสารวจและวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน เกาะลอย ตาบลหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้ง นี้ อาศั ย ข้ อ มู ล จากการศึ ก ษาชุ ม ชน ด้ ว ยวิ ธี ก ารสั ง เกต สัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม แม้ ว่าจะเป็นการศึกษา ชุมชนขนาดเล็กที่มีขอบเขตจากัด แต่ก็ช่วยให้เข้าใจถึง บริ บ ทความเป็ น มาและความเปลี่ ย นแปลงที่ ชุ ม ชน เกาะลอยเข้าไปเกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้าง สังคมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ จากการศึกษาพบว่า ในอดีตสมัยอยุธยา พื้นที่เกาะลอยเป็นที่ตั้งของวัด สาคัญ เช่น วัดมณฑป วัดแค วัดศรีจาปา วัดสะพานเกลือ และ วัดข้าวสารดา ซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารอยุธยาใน ฐานะเส้นทางยุทธศาสตร์การตั้งทัพของพม่าเมื่อเข้ามา


โจมตี พ ระนคร และต่ อ มาในสมั ยรัช กาลที่ ๕ ได้ มี ก าร ฟื้นฟูสภาพกรุงเก่า เกาะลอยได้ถูกใช้เป็นที่พานักของ เจ้านายสมั ยมณฑลกรุงเก่า แต่ชุมชนเกาะลอยเกิดขึ้น อย่ า งแท้ จ ริ ง ประมาณช่ ว งสมั ย หลั ง เปลี่ ย นแปลงการ ปกครองปีพ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมา เนื่องจากนโยบายที่ เริ่ ม อนุ ญ าตให้ ป ระชาชนขึ้ น ไปอาศั ย อยู่ บ นบกได้ บ้ า นเรื อ นแพของผู้ ค นที่ อ าศั ย อยู่ ใ นแม่ น้ าจึ ง เริ่ ม ปรับเปลี่ยนไปอยู่บนบกแทน เกาะลอยก็เป็น พื้นที่หนึ่ง ในบริเวณย่านตลาดหัวรอที่เริ่มมีคนเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้น เรื่อยมาหลายยุคสมัยจนถึงวันนี้ ปัจจุบันชุมชนเกาะลอยอยู่ภายใต้การดูแลของ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ซึ่งแม้จะอยู่ในเขตเมือง แต่ ชุ ม ชนก็ ค่ อ นข้ า งเงี ย บสงบมาก ด้ ว ยสภาพทาง กายภาพที่เป็นเกาะ ทาให้การเดิน ทางติดต่อของชุมชน กับฝั่งเกาะเมืองจึงมีจากัดด้วยการนั่งเรือข้ามฟากหรือ เดิ น ข้ า มสะพานเฉพาะในช่ ว งเวลากลางวั น เท่ า นั้ น ขณะที่การขยายตัวของชุมชนจากการสร้างบ้านที่อาศัย ขึ้นใหม่ก็ค่อนข้างยาก ชาวบ้านในชุมชนจึงรู้จักคุ้นเคย กันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งเป็น กลุ่มหลักในการทากิจกรรมต่างๆของชุมชน เนื่องจาก กลุ่ ม วั ย รุ่ น และผู้ ใ หญ่ วั ย ท างานมั ก จะไม่ อ ยู่ ใ นเวลา กลางวั น เนื่ อ งจากการประกอบอาชี พ ของคนใน เกาะลอยล้วนอยู่นอกชุมชนทั้งสิ้น บนเกาะลอยจะพบ เพียงผู้ประกอบอาชีพค้าขายเล็กๆน้อยและอาชีพขับเรือ รับจ้างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพชุมชนที่เป็นเกาะ กลางแม่น้ามีทัศนียภาพสวยงาม มีโบราณสถานเก่าแก่ อยู่ บ นเกาะหลายแห่ ง และอยู่ ต รงข้า มกับ พระราชวัง จั น ทรเกษม เกาะลอยจึ ง มั ก ดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าไปเยี่ยมชมอยู่เสมอ ดังนั้น หากมี ก ารสนับ สนุนให้ชุ ม ชนสามารถดึ ง เอาศั กยภาพ ชุ ม ชนที่ มี อ ยู่ ม าใช้ ใ นอนุ รั ก ษ์ แ หล่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ โบราณสถานและสภาพแวดล้อมควบคู่กั บการพั ฒ นา ชุมชนอย่างยั่งยืนก็น่าจะทาได้ไม่ยากนัก

เชิงอรรถ ๑จากข้อมูลคาบอกเล่าและเอกสาร

ปรากฏชื่อของ “วัดงู” อีกวัดหนึ่งในฐานะวัดร้างบนเกาะลอยด้วย แต่ ไม่ มี ข้ อ มู ล หลั ก ฐานยื น ยั น ชั ด เจน ชาวบ้ า นเกาะลอย อธิบายถึงวัดงูแตกต่างกันใน ๒ ลักษณะ คือ ๑.อธิบาย ว่าวัดงูเป็นวัดร้างเก่าแก่อีกวัด ตั้งอยู่ในที่ดินที่กลายเป็น บ้านเรือนของชาวบ้านในที่ดินเก่าของผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งในสมัยที่เขาบุกเบิกที่ดินได้ไถกลบร่องรอยของวัดงูไป หมดแล้ว และ ๒. อธิบายว่าวัดงู ก็คือวัดเดียวกับ วั ด มณฑป แต่ เ ป็ น ชื่ อ ที่ ช าวบ้ า นสมั ย ก่ อ นเรี ย กบริ เ วณที่ กลายเป็นวัดมณฑป ซึ่งมีงูอาศัยอยู่อย่างชุกชุม ๒วิทยาลัยช่างต่อเรือ แต่เดิมคือโรงเรียนหัตถกรรม พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเริ่มจากการสอนต่อเรือพื้นเมือง ทั่วไปที่ใช้ในแม่น้าลาคลอง ต่อมาก็ ไ ด้มีการขยายและ ปรับปรุง หลักสูตรมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ภายหลัง ในช่วง ปลายทศวรรษ ๒๔๙๐ นอกจากการสอนด้านการต่อเรือ แล้ว ยังมีการเปิดสอนวิชาชีพช่างหลายสาขาวิชา โดยมี นักเรียนทั้งแบบไปเช้าเย็นกลับและแบบอาศัยอยู่ประจา ตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๑๐ กระทรวงศึกษาธิการได้มีคาสั่งให้ วิทยาลัยช่างต่อเรือปรับโครงสร้างที่ต้องยุบรวมบ้างแยก ออกบ้างจากสถาบันการศึกษาอื่นในจังหวัดอยู่หลายครั้ง ครั้งล่าสุดในปีพ.ศ.๒๕๓๗ จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นวิทยาลัย เทคโนโลยี แ ละอุ ต สาหกรรมการต่ อ เรื อ พระนครศรี อยุธยาจนถึงปัจจุบัน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๓๗


บรรณานุกรม กรมการพัฒนาชุมชน. (ม.ป.ป.). เครื่องมือสาหรับการทางาน พัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ทีบีเอส เพรส. กรมศิลปากร. (๒๕๔๕). คลองและท่าเรือจ้างสมัยโบราณ กรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. คมลักษณ์ ไชยยะ. (๒๕๕๗). วิถีชีวิตริมคลองกับการปรับตัว ในช่วงฤดูน้าหลากในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บุญมา นครอินทร์ สุริยาเตชะโสภาพรรณ และสุพัชรา ชัย ประภา. (๒๕๑๔). รายละเอียดของตาบลทับน้า จังหวัดอยุธยา. ใน วารสารสังคมศาสตร์ฉบับพิเศษ รายงานเบื้องต้นการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย ทางสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปวัตร์ นวะมะรัตน. (๒๕๕๗). อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. ปาริชาติ วลัยเสถียร. (๒๕๕๒). กระบวนการและเทคนิคการ ทางานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: ริชแมกซ์ อินเตอร์พริ้น. ______. (๒๕๕๔). คูม่ ือการทางานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พัฑร์ แตงพันธ์. (๒๕๕๗). การค้าในย่านหัวรอ อยุธยา: จาก ท้องน้าสู่ถนน. เมืองโบราณ, ๔๐(๓), มโนมัย อัศวธีระนันท์. (๒๕๕๖, ๑๔ มีนาคม). หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก. วันลีย์ กระจ่างวี. (๒๕๕๘). สมเด็จพระมหาธรรมราชากับการ เสริมศักยภาพตัวเมืองอยุธยาด้านทิศตะวันออก บริเวณคูขื่อหน้าภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๑๑๒. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, ๗(๑), ๖๑-๖๗. Tobias Stephen. (1971). The Chinese in Ayutthaya. ใน วารสารสังคมศาสตร์ฉบับพิเศษรายงาน เบื้องต้นการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยทาง สังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

๓๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์และประชุมกลุ่ม นางสาวสมศรี วินิจฉัย นายวิเชียร ผิวเผือก นางเพชรรัตน์ ตรีพัฒน์ นายสมศักดิ์ วินิจฉัย นางมานิตย์ วงศ์สุวรรณ นางอุไร ยุวนบุณย์ นายบุญเจิม ตรีพัฒน์ นางยุพิน เชื้อแพทย์ นางสมสุข คงรอด นางอุษนีย์ คงกานัน นายเกรียงศักดิ์ ฟุ้งลัดดา นางเพลินตา คงรอด นางสาวรัชนี เติมธนวัฒน์ นางแฉล้ม ทับทอง นางละเอียด ชูยศ นางทัศนีย์ ไหมสุข นายดิเรก ไวโชติกา

อายุ ๗๒ ปี อายุ ๖๖ ปี อายุ ๖๑ ปี อายุ ๗๔ ปี อายุ ๗๖ ปี อายุ ๗๕ ปี อายุ ๖๒ ปี อายุ ๖๒ ปี อายุ ๔๘ ปี อายุ ๕๗ ปี อายุ ๗๑ ปี อายุ ๖๓ ปี อายุ ๓๙ ปี อายุ ๘๗ ปี อายุ ๘๔ ปี อายุ ๕๘ ปี อายุ ๓๙ ปี


บทความวิชาการ สาขาการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม

กระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า วัดกระโดงทอง และผลต่อบริบทการอยู่อาศัยของชุมชนริมน้า The Process of the Revitalizing of the Buddha-Gesorn Water Floating Ceremony and Their Impacts on Dwelling Context ดร. เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร / TERDSAK TACHAKITKACHORN, Ph.D. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสฎฐวุฒิ บารุงกุล / SETTAWUT BAMRUNGKHUL มูลนิธิสร้างฐานถิ่น

บทคัดย่อ ประเพณี แ ห่ พ ระพุ ท ธเกษรทางน้ าเป็ น ประเพณี ท้ อ งถิ่ น ดั้ ง เดิ ม ภายในพื้ น ที่ อ าเภอเสนา จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบทการอยู่อาศัยกับลักษณะภูมิสังคมที่เป็นสังคมลุ่มน้า ได้อย่างเด่นชัด อย่างไรก็ตามระยะเวลา ๓๐ปีที่ผ่านมาประเพณี ดัง กล่ าวได้ มีการปรั บเปลี่ยนรู ป แบบการแห่ จ าก การแห่ทางน้าเป็นการแห่ ทางถนน บทความนี้มีวัตถุ ประสงค์ เพื่ อแสดงให้ เห็น ถึง กระบวนการรื้อ ฟื้น ประเพณี แ ห่ พระพุทธเกษรทางน้าของวัดกระโดงทอง และผลที่เกิดขึ้นต่อบริบทการอยู่อาศัยของชุมชนริมน้าจากการรื้อฟื้นประเพณี ดังกล่าว โดยในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของกระบวนการรื้อฟื้น กระบวนการรื้ อ ฟื้ น ประเพณี แ ห่ พ ระพุ ท ธเกษรทางน้ าเป็ น กระบวนการที่ เ กิ ด ขึ้ น จากความศรั ท ธาของ คนในชุมชนที่มีต่อองค์พระพุทธเกษร โดยประกอบด้วยขั้นตอนในการรื้อฟื้นทั้งหมด ๔ ขั้นตอนได้แก่ (๑) กระบวนการ สร้ า งความตระหนั ก รู้ (๒) กระบวนการการรวมกลุ่ ม ของชุ ม ชน (๓) กระบวนการวางแผนและจั ด เตรี ย ม และ (๔) กระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า ทั้ง นี้การรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าถือเป็น งานประเพณี ที่ เ กิด ขึ้ นจากความร่ว มมื อร่ วมใจกั นของคนภายในพื้ นที่ ภายใต้ ก ารสนับ สนุนของสถาบั นการศึ กษา และองค์การบริหารส่วนตาบลบ้านโพธิ์ โดยสามารถจาแนกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการรื้อฟื้นได้เป็น ๓ กลุ่มคือ กลุ่มของวัด กลุ่มองค์กรและสถาบันทางการศึกษาภายนอก และกลุ่มประชาชน ซึ่ง เมื่อพิจารณากลุ่มคนที่มีส่ว น เกี่ยวข้องร่วมกับขั้นตอนในการรื้อฟื้นจะพบว่ากลุ่มคนที่มีบทบาทสาคัญ ในการขับ เคลื่อนและรื้อฟื้นงานประเพณี ดังกล่าวมากที่สุดคือ กลุ่มประชาชน ในขณะที่วัดและกลุ่มองค์กรสถาบันทางการศึกษามีหน้าที่ในการสนับสนุน ผลักดัน และให้คาแนะนาในการจัดงานประเพณี วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๓๙


อย่างไรก็ตามการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธ เกษรไม่ ไ ด้ มี บ ทบาทในแง่ ข องการอนุ รั ก ษ์ ป ระเพณี ท้องถิ่นเพียงเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลให้เกิดการปรับปรุง และกระตุ้นให้เกิดการใช้งานพื้นที่และโครงข่ายทางน้า ผ่านกิจกรรมด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ประเพณี แห่พระพุทธเกษรทางน้าจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้ เห็นถึงบทบาทและความสาคัญของงานประเพณีทางน้า ในฐานะการเป็นเครื่องมือและกลไกที่สามารถน าไปสู่ การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ริมน้าอื่นๆ คาสาคัญ: ประเพณีทางน้า, การรื้อฟื้น, บริบทการอยู่ อาศัย, อยุธยา, ชุมชนริมน้า

Abstract Buddha-Gesorn water floating ceremony is a centuries- old tradition in Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. The ceremony truly shows the relation between dwelling context and geo-social aspect which is a waterbased society. However, since thirty years ago, it has been changed from water to land ceremony. The purpose of article aims to explain the process of Buddha- Gesorn water floating ceremony revitalization in Kradongthong temple and their effects in dwelling context. The data were collected using an in- depth interview method and a participant observation method. The Buddha- Gesorn water floating ceremony was revitalized from the locals' faith in Buddha-Gesorn. This ceremony revitalization consists of 4 steps; (1) Building local community awareness (2) Aggregating local community into

๔๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

revitalizing group (3) Planning and preparing (4) Revitalizing the ceremony. This ceremony revitalization was generated by its community participation within the support of education department and local governments. By observing, stakeholders in the revitalization process consist of 3 sectors; temple, education, and locals. Within these, locals sector has the most important role. Whereas, temple and education department are only to support and suggest. Nevertheless, Buddha- Gesorn water floating ceremony is not only to conserve local tradition, but also to harmonize the dwelling context with the water –based society so that people and local governments are able to adjust themselves and be encouraged to use the waterfront area and water transportation. Therefore, the ceremony is one of the example which shows the importance and the role of floating ceremony as an essential study case to revive and develop other waterfront areas. Keywords: Water Floating Ceremony, Revitalization, Dwelling Context, Ayutthaya, Waterfront Community.

๑. บทนา น้าเป็นปัจจัยสาคัญในการกาหนดลักษณะการ ตั้ ง ถิ่ น ฐานของมนุ ษ ย์ ตั้ ง แต่ อ ดี ต ทั้ ง ในบริ เ วณพื้ น ที่ สู ง พื้ น ที่ โ ค ก แ ล ะ พื้ น ที่ ร า บ เ นื่ อ ง ด้ ว ย น้ า เ ป็ น ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความจาเป็นในการดารงชีวิตของ มนุ ษ ย์ ส าหรั บ พื้ น ที่ บ ริ เวณลุ่ ม น้าเจ้ า พระยาตอนล่าง ชุมชนส่วนใหญ่นิยมตั้งถิ่นฐานอยู่ตามโครงข่ายทางน้า


ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ความสะดวกในการเข้ า ถึ ง ทรั พ ยากรและ การคมนาคมขนส่ง ความสาคัญของน้าและลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่ประกอบด้วยโครงข่ายทางน้าเป็น จ านวนมากส่ ง ผลให้ ชุ ม ชนริ ม น้ าในบริ เ วณลุ่ ม น้ า เจ้ า พระยาตอน ล่ า งมี ก ารปรั บ ตั ว ให้ ส อ ด ค ล้ อ ง กับสภาพแวดล้อมในลักษณะประสานและเกื้อกูล ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้สะท้อนผ่านลั กษณะการตั้ง ถิ่น ฐาน สถาปั ต ยกรรม วิ ถี ชี วิ ต อาชี พ ประเพณี และ ภูมิปัญญาของคนภายในพื้นที่ อย่ า งไรก็ ต ามภายหลั ง การพั ฒ นาประเทศ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๔) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ชนบท โดยการบุกเบิกสร้างถนนผ่านโครงการถนนชนบท ส่งผล ให้รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน แบบรูปที่ดิน และวิถีชีวิตของ คนในชุมชนริมน้าเริ่มเปลี่ยนแปลงไป แม้วัตถุประสงค์ ของโครงการดังกล่าวจะมุ่งเน้นเพื่ออานวยความสะดวก ในการเข้าถึงและการติดต่อกับพื้นที่ภายนอกของคนใน ชนบท (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, ๒๕๕๘, www.nesdb.go.th) แต่ กระบวนการพัฒนาระบบโครงข่ายทางถนนภายในพื้นที่ ชุมชนริมน้าโดยปราศจากการคานึงถึงลักษณะโครงสร้าง ของพื้นที่ สภาพภูมิสังคม และความสัมพันธ์แบบเกื้อกูล กั บ โครงข่ า ยทางน้ าของคนในชุ ม ชนที่ มี อ ยู่ เ ดิ ม กลั บ ส่งผลให้รูปแบบการตั้งถิ่นฐานและลักษณะทางกายภาพ ของพื้นที่เริ่มเปลี่ยนแปลง จนนามาซึ่งความเสื่อมโทรม และปัญ หาทางพื้นที่ในด้านต่างๆ นอกจากนั้นวิถีชีวิต อาชี พ ประเพณี ข องชุ ม ชนที่ เ คยสะท้ อ นภาพความ เกื้ อ กู ล กั น ระหว่ า งน้ากั บ คนก็ เ ริ่ มเลื อ นหายไป ความ เสื่อมโทรมของพื้นที่ริมน้าดังกล่าวส่งผลให้ ในปัจจุบัน ประเด็ น การฟื้ น ฟู แ ละพั ฒ นาพื้ น ที่ ริ ม น้ ากลายเป็ น ประเด็ น ส าคั ญ ที่ ไ ด้ รั บ ความสนใจทั้ ง จากภาครั ฐ และ ภาคเอกชน โดยหน่วยงานหลายฝ่ายต่างมีความพยายาม ในการหาแนวทางหรือ มาตรการเพื่อฟื้นฟู แ ละพั ฒ นา

พื้ น ที่ ชุ ม ชนริ ม น้ าที่ เ สื่ อ มโทรมให้ ส ามารถด ารงอยู่ ไ ด้ อย่างยั่งยืนอีกครั้ง บทความนี้ เ ขี ย นขึ้ น จากประสบการณ์ ที่ ไ ด้ เข้ า ร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในกระบวนการรื้ อ ฟื้ น ประเพณี แห่พระพุทธเกษรทางน้าของผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์ สาคัญ เพื่อแสดงให้ เห็น ถึง กระบวนการฟื้นฟู ประเพณี แห่พระพุทธเกษรทางน้าและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบริบท การอยู่อาศัยของชุมชนริมน้า เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการ ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ชุมชนริมน้าอื่นๆ ต่อไปในอนาคต อนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น ผู้เขียนได้ใช้ วิ ธี ก ารสั ม ภาษณ์ ข้ อ มู ล เชิ ง ลึ ก บุ ค คลส าคั ญ ร่ ว มกั บ การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ โดยใน การสั ม ภาษณ์ ข้ อ มู ล เชิ ง ลึ ก นั้ น ผู้ เ ขี ย นได้ ด าเนิ น การ สั ม ภาษณ์ บุ ค คลส าคั ญ ต่ า งๆ ที่ มี ส่ ว นในการรื้ อ ฟื้ น ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า อาทิ นายกองค์การ บริหารส่วนตาบล ผู้อานวยการโรงเรียน เจ้าอาวาสวัด และชาวบ้านผู้เข้าร่วมงาน เป็นต้น ส่วนการสังเกตการณ์ อย่ า งมี ส่ ว นร่ ว มนั้ น ผู้ เ ขี ย นได้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมต่ า งๆ กั บ ชุ ม ชนและใช้ วิ ธี ก ารสั ง เกตการณ์ ก ารด าเนิ น การ ในกระบวนการต่างๆ เป็นระยะเวลากว่า ๑ ปี ตั้ง แต่ กระบวนการสร้างความตระหนักรู้ กระบวนการรวมกลุ่ม กระบวนการพู ด คุ ย กั น ภายในชุ ม ชน กระบวนการ วางแผน ไปจนกระทั่ ง กระบวนการเตรี ย มงานและ กระบวนการรื้อ ฟื้น ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้ า ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓-๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

๒. บริบทการอยู่อาศัยภายในพื้นที่ลุ่มน้า เจ้าพระยาตอนล่าง น้าเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อ รูปแบบวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนล่าง ทั้งนี้เนื่องด้วยมนุษย์ต้องใช้น้าในการบริโภคและอุปโภค จากความสาคัญของน้าและสภาพภูมิศาสตร์ของบริเวณ ภาคกลางตอนล่ า งที่ เ ป็ น พื้ น ที่ ร าบลุ่ ม น้ าท่ ว มถึ ง วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๔๑


(floodplain) ที่ ป ระกอบด้ ว ยโครงข่ า ยทางน้ าเป็ น จ านวนมาก ส่ ง ผลให้ ใ นอดี ต คนในบริ เ วณลุ่ ม น้ า เจ้าพระยาตอนล่างมีความผูกพันกับน้าอย่างแนบแน่น ทั้งนี้ความผูกพันดัง กล่าวได้สะท้อนผ่า นบริ บทการอยู่ อาศัยและภูมิปัญญาในการดารงชีวิตของคนในอดีต เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างน้ากั บ วิ ถี ชีวิตของคนในพื้นที่ลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนล่างในอดีตผ่าน บ ริ บ ท ก า ร อ ยู่ อ า ศั ย ( dwelling context) ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย กิ จ กรรมชี ว ภาพ (biological activity) กิจกรรมการผลิต (producing activity) กิจกรรมการ คมนาคม (transportation activity) และกิ จ กรรม นันทนาการ (recreating activity) (เทิดศักดิ์ เตชะกิจ ขจร, ๒๕๔๖) จะพบว่ากิจกรรมต่างๆ ล้วนแต่แสดงให้ เห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งน้ ากั บ มนุ ษ ย์ ใ นลั ก ษณะ ประสานและเกื้ อ กู ล กั น ไม่ ว่ า จะเป็ น บ้ า นใต้ ถุ น สู ง เรื อ นแพ ตลาดน้ า ข้ า วขึ้ น น้ า (floating rice) เรื อ ขุ ด เรือต่อ หรือประเพณีทางน้าต่างๆ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาบริบทการอยู่อาศัย ของชุมชนริมน้าภายหลังการก่อสร้างโครงข่ายทางถนน และการพัฒนาระบบโครงข่ายชลประทานภายในพื้น ที่

กลั บ พบว่ า ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งน้ ากั บ มนุ ษ ย์ เ ริ่ ม เปลี่ยนแปลงไปในเชิงขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับสภาพ พื้นที่เดิม อาทิ ลักษณะบ้านเรือนที่นิยมสร้างติดพื้นดิน การเกษตรแบบชลประทาน ข้าวนาปรัง การคมนาคม ด้วยรถยนต์ ทั้งนี้สามารถสรุปตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง บริบทการอยู่อาศัยทั้ง ๔ กิจกรรมในช่วงเวลาก่อนและ หลังการก่อสร้างโครงข่ายทางถนนดังตารางที่ ๑ ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้งของบริบทการ อยู่ อ าศั ย แบบใหม่ อั น เนื่อ งจากความไม่ ส อดคล้ องกัน ระหว่างลักษณะของพื้นที่ชุมชนริมน้ากับแนวทางการ พัฒนาทางด้านกายภาพที่มุ่ง เน้นการพัฒนาโครงข่ า ย ทางถนนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเป็นหลัก ได้นามาซึ่งความ เสื่อมโทรมของพื้นที่ชุมชนริมน้าในด้ านต่ างๆ ทั้ง ด้าน กายภาพ สิ่ ง แวดล้ อ ม สั ง คม วั ฒ นธรรม ตลอดจน ภู มิ ปั ญ ญาของบรรพบุ รุษ ที่ ไ ด้ รับ การถ่ า ยทอดมาเป็น ระยะเวลานาน จนอาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาโครงข่าย ทางถนนในบริเวณพื้น ที่ ชุม ชนริ มน้ าอย่ างฉาบฉวยใน ช่วงเวลาที่ผ่านมากลายเป็นจุดเปลี่ยนสาคัญ หนึ่งที่ส่ง ผล กระทบต่ อ ลั ก ษณะทางกายภาพและวิ ถี ชี วิ ต ของคน ภายในชุมชนริมน้าในมิติต่างๆ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ

ตารางที่ ๑ ตารางสรุปการเปลี่ยนแปลงบริบทการอยู่อาศัยในพื้นที่ลุ่มน้าเจ้าพระยาตอนล่างในช่วงก่อนและหลัง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๒ ช่วงเวลาก่อนการพัฒนาภายใต้ ช่วงเวลาหลังการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนา บริบทการอยู่อาศัย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๒ แห่งชาติฉบับที่ ๒ กิจกรรมชีวภาพ บ้านใต้ถุนสูง, เรือนแพ บ้านที่สร้างติดพื้นดิน, ตึกแถว กิจกรรมการผลิต ตลาดน้า, ข้าวขึ้นน้า ตลาดบก, เกษตรกรรมแบบชลประทาน กิจกรรมการคมนาคม เรือประเภทต่างๆ, โครงข่ายทางน้า รถยนต์, โครงข่ายทางถนน ประเพณีและการละเล่นทางน้า ประเพณีและการละเล่นทางน้าถูกปรับเปลี่ยน กิจกรรมนันทนาการ ตัวอย่างเช่น ประเพณีแห่พระ, การแข่ง เป็นประเพณีและการละเล่นทางถนน เรือยาว, การตักบาตรทางน้า ตัวอย่างเช่น การแห่พระ, การแห่เทียนพรรษา

๔๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


๓. ประเพณีแห่พระพุทธเกษร : ภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของบริบท การอยู่อาศัยในสังคมริมน้า ๓.๑ ประวัติประเพณีแห่พระพุทธเกษร ประเพณีแห่พระพุทธเกษรเป็นงานประเพณี รื่นเริงที่สาคัญงานหนึ่งของท้องถิ่นอาเภอเสนา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา โดยเป็นประเพณีที่ชาวบ้านถือปฏิบัติ กันมาเป็นประจาทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ในครั้งแรก นั้ น ประเพณี แ ห่ พ ระพุ ท ธเกษรเป็ น เพี ย งการแห่ องค์ พ ระพุ ท ธเกษรที่ ป ระดิ ษ ฐาน ณ วั ด กระโดงทอง ไปตามลาคลองรางจระเข้ และคลองเจ้าเจ็ด เพื่อเข้าร่วม เฉลิมฉลองงานสมโภชพระพุทธเกษรองค์ใหม่ที่หล่อขึ้น ณ วั ด เจ้ า เจ็ ด ในเท่ า นั้ น แต่ ด้ ว ยความศรั ท ธาใน องค์พระพุทธเกษรของชาวบ้านในท้องถิ่น จึง ได้ยึดถือ งานดั ง กล่ า วเป็ น ธรรมเนี ย มประเพณี ป ฏิ บั ติ สื บ มา ง า น ป ร ะ เ พ ณี แ ห่ พ ร ะ พุ ท ธ เ ก ษ ร ป ร ะ ก อ บด้ ว ย งานประเพณีแห่พระพุทธเกษรของวัดกระโดงทองไปยัง วั ด เจ้ า เจ็ ด ใน และประเพณี แ ห่ พ ระพุ ท ธเกษรของ วั ด เจ้ า เจ็ ด ในไปวัด กระโดงทอง ทั้ ง นี้ ป ระเพณี ก ารแห่ พระพุ ท ธเกษรจั ด ขึ้ นปี ล ะ ๒ ครั้ ง ตามเวลาในปฏิทิน จันทรคติกล่าวคือ ทุกวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่า เดือน ๕ และ ทุกวันขึ้น ๒-๓ ค่า เดือน ๑๒ (เชวงเกียรติ ทิมปาวัฒน์ และคณะ, ๒๕๕๒, หน้า ๑๒-๑๓) โดยงานประเพณีแห่ พระพุทธเกษรของวัดเจ้าเจ็ดในจะจัดขึ้นหลัง งานของ วัดกระโดงทองประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ ๓.๒ การเปลี่ยนแปลงประเพณีแห่พระพุทธเกษร ประเพณีแห่พระพุทธเกษรเป็นงานปิดทองไหว้ พระประจาปีที่สาคัญของทั้ง ๒ วัด ในอดีตจะมีขบวนเรือ เข้าร่วมงานประเพณีไม่ต่ากว่า ๕๐ ลา ทั้งขบวนเรือทรง

พระพุ ท ธเกษร ขบวนเรื อ ชาวบ้ า น ขบวนเรื อ เสบี ย ง สัมภาระ เรือค้าขาย ขบวนเรือประกวดประเภทต่างๆ อาทิ ขบวนเรือตลกขบขัน ขบวนเรือสวยงาม (ภาพที่ ๑ และ ๒) ซึ่งขบวนเรือต่างๆ เหล่านี้จะแห่ไ ปตามคลอง รางจระเข้และคลองเจ้าเจ็ด รวมระยะทางไปและกลับ กว่า ๑๐ กิโลเมตร งานประเพณีแห่พระพุทธเกษรจึ ง ไม่ใช่ง านปิดทองไหว้พระทั่วไปที่จัดขึ้นเองโดยวั ด แต่ เป็ น งานประเพณี ข นาดใหญ่ ที่ ต้ อ งอาศั ย ทั้ ง แรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ และแรงศรัทธาของคนภายในชุมชนใน การจัดงานประเพณีแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเพณีแห่พระพุทธเกษร จะได้ รั บ การสื บ ทอดมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น เป็ น เวลากว่ า ๑๐๐ ปี แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบประเพณีไปตาม ยุ ค สมั ย โดยเฉพาะในช่ ว ง ๓๐ ปี ที่ ผ่ า นมา ประเพณี แห่พระพุทธเกษรได้เปลี่ยนรูปแบบจากประเพณีทางน้า มาเป็นประเพณีทางถนน (ภาพที่ ๓-๔) (จรรยาพัชญ์ แก้วมโนรมย์, ๒๕๕๗, หน้า ๔๙๖) เพื่อความสะดวกใน การจัดงานและการเข้าถึงพื้นที่ชุมชนที่มีการขยายตัวไป ตามโ คร ง ข่ า ยทาง ถน น มาก ขึ้ น ทั้ ง นี้ ข บว น แ ห่ พระพุทธเกษรได้เปลี่ยนเส้นทางการแห่จากเดิมที่แห่ใน คลองรางจระเข้และคลองเจ้าเจ็ดมาเป็นการแห่ออกจาก วัดไปตามถนนธรรมสิทธิ์เสนาไปยัง โรงหมี่ ตลาดบ้า น แพน โรงพยาบาลเสนา และวั ด เจ้ า เจ็ ด ในตามล าดั บ (ภาพที่ ๕) การเปลี่ยนแปลงเส้นทางและรูปแบบจาก การแห่ทางน้ามาเป็นการแห่ทางถนน ส่งผลให้ประเพณี แห่พระพุทธเกษรทางน้าในรูปแบบดั้งเดิม ตลอดจนภูมิ ปัญญาที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น การซ่อมเรือ การพายเรือ เริ่มเลือนหายไปจากการรับรู้ของคนรุ่นใหม่

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๔๓


ภาพที่ ๑-๒ กลุ่มเรือที่เข้าร่วมขบวนแห่พระพุทธเกษรทางน้าบริเวณคลองเจ้าเจ็ด และหน้าวัดกระโดงทอง ในช่วงประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ ที่มา: สมปอง ตรีไพชยนต์ศักดิ์, ๒๕๑๔, [ภาพนิ่ง]

ภาพที่ ๓-๔ ขบวนแห่พระพุทธเกษรทางถนนเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ บริเวณลานวัดกระโดงทอง ที่มา: จรรยาพัชญ์ แก้วมโนรมย์, ๒๕๕๕, [ภาพนิ่ง]

อาจกล่ า วสรุ ป ได้ ว่ า การเปลี่ ย นแปลงของ ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าเป็นภาพสะท้อนสาคัญ ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง การเปลี่ ย นแปลงของบริ บ ทการอยู่ อาศั ย ในมิ ติ ต่ า งๆ ของชุ ม ชนริ ม น้ าในบริ เ วณลุ่ ม น้ า เจ้าพระยาตอนล่างภายหลังจากการพัฒนาโครงข่ายทาง ถนน โดยการเปลี่ยนแปลงประเพณีแห่พระพุทธเกษร จากการแห่ทางน้าเป็นการแห่ทางถนนสะท้อนให้เห็นถึง การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของ บริบทการอยู่อาศัยของคนในพื้นที่ลุ่มน้าที่เคยมี ค วาม ใกล้ชิดและสัมพันธ์กับโครงข่ายทางน้า สู่ความสัมพันธ์ ระหว่ า งบริ บ ทการอยู่ อ าศั ย กั บ โครงข่ า ยทางบก ๔๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ตัวอย่างเช่น การปรับเปลี่ยนแปลงพื้นที่นันทนาการจาก พื้ น ที่ ริ ม น้ าและโครงข่ า ยทางน้าเป็ น โครงข่ า ยทางบก และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง การปรับเปลี่ยนการแห่ทางเรือเป็น การแห่ทางบกด้วยรถยนต์เพื่อความสะดวก และรวดเร็ว การลดลงของจ านวนชาวบ้ า นที่ เ ข้ า ร่ ว มงาน ซึ่ ง เป็ น ผลสื บ เนื่ อ งมาจากงานประเพณี นี้ จั ด ขึ้ น ตามปฏิ ทิ น จันทรคติ ซึ่ง ในบางครั้ง ไม่ตรงกับวันหยุ ด จึง ส่ง ผลให้ ชาวบ้ า นในพื้ น ที่ ที่ ท างานในโรงงานอุ ต สาหกรรมไม่ สามารถเข้ า ร่ ว มงานได้ ในขณะที่ ใ นอดี ต ชาวบ้ า น สามารถเข้าร่ วมงานได้ เป็น จานวนมากเพราะเป็นช่วง ว่างเว้นจากการทานาและฤดูน้าหลาก


ภาพที่ ๕ แผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการแห่พระพุทธเกษรทางน้าเป็นการแห่ทางถนนในอดีต ที่มา: ผู้วิจัย, ๒๕๕๘, [ภาพนิ่ง]

๔. กระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระ พุทธเกษรทางน้า การรื้ อ ฟื้ น ประเพณี แ ห่ พระพุ ท ธเกษรทางน้า เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ กันระหว่าง วั ด ชุ ม ชน องค์ ก รการปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และ สถาบั น การศึ ก ษา โดยภายหลั ง จากการส ารวจมรดก วั ฒ นธรรมชุ ม ชนริ ม น้ า บริ เ วณอ าเภอเสนา จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ของนิ สิ ต ภาควิ ช าสถาปั ต ยกรรม ศาสตร์ คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ท าให้ ไ ด้ ค้ น พบ ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าจากคาบอกเล่าของ ชาวบ้าน และผู้คนในวัด ว่าเป็นประเพณีประจาชุมชนที่ มีความสาคัญในพื้นที่แต่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไปจาก

เดิ ม จากข้ อ ค้ น พบดั ง กล่ า ว น ามาซึ่ ง การส ารวจ เชิงเอกสาร รูปถ่าย และประวัติศาสตร์จากคาบอกเล่ า ขอ ง คน ใน พื้ น ที่ เ พิ่ ม เติ ม จน ค้ น พ บว่ าปร ะเพณี แห่ พ ระพุ ท ธเกษรเป็ น ประเพณี แ ห่ พ ระทางน้ าที่ มี เอกลักษณ์และมีคุณค่าทางจิตใจกับคนในชุมชน จุ ด เ ริ่ ม ต้ น ข อ ง ก า ร รื้ อ ฟื้ น ป ร ะ เ พ ณี แ ห่ พระพุทธเกษรทางน้าเกิดขึ้นภายหลังการนาเสนอเรื่อง “ของดี บ้ า นโพธิ์ ” ของนิ สิ ต ภาควิ ช าสถาปั ต ยกรรม ศาสตร์ คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย แก่ประชาคมบ้านโพธิ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ จากการน าเสนอครั้ ง นั้ น ชาวบ้ า นเกิ ด ความตื่ น ตั ว ในเรื่ อ งคุ ณ ค่ า และความส าคั ญ ของมรดกวั ฒ นธรรม ของชุมชนมากขึ้น จนในที่สุดเกิดการรวมกลุ่ม “คนรักษ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๔๕


ภาพที่ ๖-๗ ขบวนเรือและเรือทรงพระพุทธเกษรในงานรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า ประจาปี ๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ บริเวณประตูน้าเจ้าเจ็ด ที่มา: ผู้วิจัย, ๒๕๕๗, [ภาพนิ่ง]

วัดกระโดงทอง” และร่วมกันผลักดันให้เกิดการรื้อฟื้น ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าผ่านผู้นาชุมชน และ องค์การบริหารส่วนตาบล ภายใต้คาแนะนาของคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การรื้ อ ฟื้ นประเพณี แ ห่ พระพุ ท ธเกษรทางน้า วัดกระโดงทอง จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓-๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ (ภาพที่ ๖ และ ๗) โดยได้ มี ก ารรื้ อ ฟื้ น ขั้นตอน เส้นทาง และรูปแบบขบวนแห่เดิมในอดีตก่อนที่ จะมี ก ารยกเลิ ก ไปขึ้ น ใหม่ อี ก ครั้ ง อย่ า งไรก็ ต ามการ รื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าในครั้งนี้ คณะ ผู้จัดงานได้จัดขบวนแห่ทั้งในรูปแบบขบวนแห่ทางถนน

๔๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

และขบวนแห่ ท างน้ า โดยการแห่ พ ระพุ ท ธเกษรจาก วัดกระโดงทองไปยัง วัดเจ้าเจ็ดในเป็นขบวนแห่ทางน้า เหมือนในอดีต ส่วนการแห่พระพุทธเกษรจากวัดเจ้าเจ็ด ในกลับวัดกระโดงทองนั้นเป็นขบวนแห่ทางถนน (ภาพที่ ๘) ทั้ ง นี้ มี ส าเหตุ ส าคั ญ สองประการ ประการแรกคือ ทิศทางการไหลของน้าในช่วงเวลาบ่ายที่จะสวนทางกับ ขบวนแห่ทาให้ขบวนแห่เคลื่อนที่ได้ลาบาก และประการ ที่ ส องเพื่ อ ให้ ช าวบ้ า นสามารถสั ก การะปิ ด ทององค์ พระพุ ท ธเกษรได้ อ ย่า งทั่ ว ถึ ง ทั้ ง ในพื้นที่ บ ริ เ วณชุ มชน ริมน้าและชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมถนน


ภาพที่ ๘ แผนที่แสดงเส้นทางการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าประจา ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่มา: ผู้วิจัย, ๒๕๕๘, [ภาพนิ่ง]

เมื่อพิจารณากระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแห่ พระพุทธเกษรทางน้าตั้งแต่ต้นจนถึงกิจกรรมในวันงาน ประเพณี สามารถสรุปขั้นตอนของกระบวนการรื้อฟื้น ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าได้เป็น ๔ ขั้นตอนหลัก (ภาพที่ ๙) ดังต่อไปนี้ ขั้ น ตอนที่ ๑ กระบวนการสร้ า งความ ตระหนักรู้ ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการที่ทาให้ชุมชนเกิด ความตระหนักรู้ถึงคุณค่าหรือความสาคัญในวัฒนธรรม และประเพณีของตนเองที่เริ่มสูญหายไป โดยอาศัยการ ก ร ะ ตุ้ น จาก บุ ค คลภายน อก ซึ่ ง ใน ที่ นี้ ห มายถึ ง สถาบันการศึกษาที่ เ ข้ามาดาเนินการศึกษามรดกทาง วัฒนธรรมภายในพื้นที่แ ละกระตุ้น ให้ชุ ม ชนได้ เ ห็ น ถึ ง

ความสาคัญ และคุณค่าของประเพณีแห่พระพุทธเกษร ทางน้าผ่านการนาเสนอผลงานให้แก่ประชาคมรับทราบ ขั้นตอนที่ ๒ กระบวนการการรวมกลุ่ม ของ ชุมชน ขั้นตอนนี้ถือเป็นกระบวนการสาคัญโดยภายหลัง กระบวนการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่คนในชุมชนจน เกิดความตื่นตัวแล้ว กลุ่มชาวบ้านและหน่วยงานต่ างๆ ที่มีความสนใจในกิจกรรมดังกล่าวก็ได้มีการรวมกลุ่มกัน ในนาม “กลุ่ ม คนรั ก ษ์ วั ด กระโดงทอง” ขึ้ น เพื่ อ เป็ น ตัวกลางในการรื้อฟื้นและจัดกิจกรรมประเพณีแห่พระ พุทธเกษรทางน้า

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๔๗


ภาพที่ ๙ แผนภาพแสดงขั้นตอนของกระบวนการรื้อฟื้นประเพณี แห่พระพุทธเกษรทางน้าและผู้มีบทบาทในแต่ละกิจกรรม ที่มา: ผู้วิจัย, ๒๕๕๘, [ภาพนิ่ง]

ขั้นตอนที่ ๓ กระบวนการวางแผนและจัดเตรียมงาน ขั้นตอนนี้เป็น การดาเนินงานร่วมกันระหว่างกลุ่มคนรักษ์วัดกระโดงทอง ชาวบ้าน วัดกระโดง ทอง หน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดย ในการกระบวนวางแผนและดาเนินการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า นั้น ชาวบ้านจะใช้วิธีการพูดคุยร่วมกันในหลายฝ่ายโดยแบ่งออกเป็นประเด็น ต่างๆ ได้แก่ (๑) เส้นทางการแห่พระพุทธเกษรในอดีต (๒) ขั้นตอนของพิธีการ ต่างๆ (๓) กิจกรรมในงานประเพณีแห่พระพุทธเกษร (๔) สถานที่ที่ใช้ในการจัด กิจกรรมต่างๆ (๕) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ (๖) เงินทุน (๗) การประชาสัมพันธ์ (๘) ผู้เข้าร่วมพิธี (๙)การเตรียมการและการเตรียมความพร้อม ทั้งนี้ภายหลัง การร่วมพูดคุยกันภายในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องได้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ในแต่ละส่วนโดยเชื่อมโยงกับกระบวนการทางานเดิมของวัดในแต่ละปีที่ผ่านมา

๔๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ขั้นตอนที่ ๔ กระบวนการ รื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษร ทางน้า ขั้นตอนนี้ประกอบไปด้วย กิ จ กรรมการเตรี ย มสถานที่ แ ละ ความพร้ อ มของงานก่ อ นวั น จริ ง และกิจกรรมแห่พระพุทธเกษรทาง น้าในวันจริง โดยการเตรียมสถานที่ และความพร้ อ มของงานก่ อ นวั น จริงนั้น ชาวบ้านภายในพื้นที่ที่มีจิต ศรัทธาและกลุ่มคนรักษ์วัดกระโดง ทองจะร่วมกันเตรียมความพร้ อ ม ในด้านต่างๆ ทั้ง เรือทรงพระพุทธ เกษร เรือร่วมขบวนต่างๆ อุปกรณ์ ต่ า งๆ ที่ จ าเป็ น ต้ อ งใช้ ใ นพิ ธี ก าร ทั้ ง นี้ ใ นส่ ว นของการเตรี ย มความ พ ร้ อ มใน พื้ น ที่ บ ริ เ วณนอกวั ด องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต าบลจะท า หน้ า ที่ เ ป็ น ตั ว กลางในการติ ด ต่ อ ประสานงานระหว่ า งหน่ ว ยงาน ส่วนกิจกรรมแห่พระพุทธเกษรทาง น้ า ใ น วั น จ ริ ง นั้ น จ ะ เ ป็ น ก า ร ด าเนิ น การโดยความร่ ว มมื อ ของ ทางวั ด และกลุ่ ม พุ ท ธศาสนิ ก ชน ผู้เข้าร่วมงาน ทั้ง นี้ในกิจกรรมวั น งานจะมี ก ลุ่ ม คนรั ก ษ์ วั ด กระโดง ทองคอยทาหน้าที่ดูแลและอานวย ความสะดวกให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน


๕. โครงสร้างและบทบาทของผู้มีส่วนร่วม ในกระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธ เกษรทางน้า จากการเข้าร่วมกระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแ ห่ พระพุทธเกษรทางน้าตั้งแต่เริ่มแรกพบว่า บทบาทสาคัญ ที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธ เกษรทางน้าไม่ใช่ประเด็นด้านเศรษฐกิจหรือเงิน แต่คือ ความเชื่อและความศรัทธาของคนที่มีต่อองค์พระพุทธ เกษร โดยความเชื่อและความศรัทธาดังกล่าวส่ง ผลให้ เกิดการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชนและพื้นที่ข้างเคียง เพื่อร่วมกันดาเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยแรงกายและแรงใจ อย่างเต็มที่โดยไม่หวังผลตอบแทน ทั้งนี้ชาวบ้านที่เข้า ร่วมงานประเพณีต่างมีจุดหมายร่วมกันคือเพื่อถวายเป็น พุทธบูชาแด่องค์พระพุทธเกษร การรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า สามาร ถสรุ ป ผู้ มี ส่ ว น เกี่ ยว ข้ อ ง ไ ด้ เ ป็ น ๓ ก ลุ่ ม ประกอบด้วย กลุ่มของวัด กลุ่มองค์กรและสถาบัน ทาง การศึกษาภายนอก และกลุ่มประชาชน (ภาพที่ ๑๐) กลุ่ ม ที่ ๑ กลุ่ ม ของวั ด ประกอบด้ ว ย เจ้ า อาวาส พระภายในวัด ไวยาวัจกร และกรรมการของวัด ผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งในกลุ่ มนี้ มี ห น้า ที่ แ ละบทบาทส าคัญ อย่างมากในด้านพิธีกรรม โดยบุคคลภายในกลุ่มนี้จะทา หน้าที่กาหนดวัน เวลา ลาดับขั้นตอน และพื้นที่สาหรับ การจัดกิจกรรมภายในวัดทั้งหมด อีกทั้ งยังมีหน้าที่เป็น สื่ อ กลางในการประชาสั ม พั น ธ์ ก ารจั ด งาน ให้ แ ก่ ประชาชนและคนที่มีจิตศรัทธาต่อองค์พระพุทธเกษรใน พื้นที่ต่างๆ รับทราบ กลุ่มที่ ๒ กลุ่มองค์กรและสถาบันการศึก ษา ภายนอก มีหน้าที่ ผลักดัน ตลอดจนให้คาปรึกษาและ สนับสนุนคนในพื้นที่ทั้งวัดและกลุ่มตัวแทนประชาชนใน การรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า

ภาพที่ ๑๐ โครงสร้างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรื้อฟื้นประเพณีแห่ พระพุทธเกษร ที่มา: ผู้วิจัย, ๒๕๕๘, [ภาพนิ่ง]

กลุ่มที่ ๓ กลุ่มประชาชน เป็นกลุ่มที่มีขนาด ใหญ่ แ ละความส าคั ญ มากที่ สุ ด ในการขั บ เคลื่ อ นการ รื้ อ ฟื้ น ประเพณี แ ห่ พ ระพุ ท ธเกษรทางน้ า โดยกลุ่ ม นี้ ประกอบด้วย ๓ ส่วนที่สาคัญที่คอยช่วยกันเติมเต็มและ ผลักดันให้เกิดการจัดงานได้อย่างสมบูรณ์ คือ องค์กร การปกครองส่วนท้องถิ่น ชาวบ้าน และ ผู้สนับสนุน สาหรับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมี หน้าที่สนับสนุนและอานวยความสะดวกในด้านต่างๆ ไม่ ว่าจะการเตรียมพื้นที่ การซ่อมและจัดเตรียมเรือ การ ดู แ ลเรื่ อ งความปลอดภั ย การสนั บ สนุ น เงิ น และการ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐภายนอกพื้นที่ โดยในการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าครั้งนี้ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสาคัญ อย่ า ง

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๔๙


มากในการปรั บ ปรุ ง และเตรีย มความพร้ อมของพื้นที่ ภายนอกวั ด ไม่ ว่ า จะเป็ น การตกแต่ ง ทั ศ นี ย ภาพของ คลองรางจระเข้ การก าจั ด ผั ก ตบชวา การติ ด ต่ อ ประสานงานกับประตูน้าบ้านแพน นอกจากนั้นองค์กร การปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ยั ง มี ส่ ว นส าคั ญ ในการจั ด กิจกรรมต่างๆ เพิ่มเติมจากกิจกรรมทางศาสนา เช่น การ จัดประกวดขบวนเรือประเภทต่างๆ ในส่วนของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่รอบวัดและ พื้นที่ใกล้เคียงถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสาคัญที่สุดใน การจัดงานรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า โดย ชาวบ้ า นทุ ก คนต่ า งตั้ ง ใจร่ ว มกั น จั ด งานภายใต้ ค วาม ศรั ท ธาที่ มี ต่ อ องค์ พ ระพุ ท ธเกษร ตั้ ง แต่ ก ระบวนการ จัดเตรียมงานจนกระทั่งกระบวนการสุดท้าย โดยในช่วง เวลาก่อนการจัดงาน กลุ่มชาวบ้านภายในพื้นที่ จ ะมา ร่วมกันทาความสะอาดวัด จัดเตรียมพื้นที่ อาหาร ซ่อม บารุง และจัดแต่งขบวนเรือทรง เรือร่วมขบวนต่างๆ ที่ วัด ส่วนในวันงาน ชาวบ้านก็จะเดินทางมาที่วัดและเข้า ร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าชาวบ้านได้ มี ก าร ร่วมกันในนามกลุ่มคนรักษ์วัดกระโดงทองขึ้นเพื่อเป็น ตัวกลางในการดาเนินการกิจกรรมต่างๆ ในส่ ว นสุ ด ท้ า ยคื อ ผู้ ส นั บ สนุ น ส่ ว นใหญ่ เ ป็น กลุ่มห้างร้านหรือร้านอาหารที่มีความศรัทธาต่อองค์พระ พุทธเกษรภายในพื้นที่อาเภอเสนา ทั้งในตาบลบ้านโพธิ์ ตาบลเสนา และตาบลบ้านแพน โดยกลุ่มผู้สนับสนุนใน ส่ ว นนี้ จ ะให้ ก ารสนั บ สนุ น ทั้ ง รู ป แบบของเงิ น บริ จ าค โรงทาน และเรือร่วมขบวน ด้วยเหตุนี้เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างผู้มี ส่วน ร่วมในการจัดงานร่วมกับขั้นตอนในกระบวนการรื้อฟื้น ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าจะพบว่า กลุ่มองค์กร และสถาบันการศึกษาคือกลุ่มแรกที่แสดงบทบาทในการ รื้ อ ฟื้ น โดยท าหน้ า ที่ ก ระตุ้ น ให้ ก ลุ่ ม ประชาชนเห็ น ถึ ง คุณค่าของประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า อย่างไรก็ ตามแม้กลุ่มสถาบันการศึกษาจะเป็นกลุ่มที่แสดงบทบาท ๕๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ก่ อ น หากแต่ เ มื่ อ พิ จ ารณาจากขั้ น ตอนกระบวนการ รื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าจะพบว่ากลุ่มที่มี บทบาทในเกือบทุกขั้นตอนและมีความสาคัญ มากที่สุ ด ในการขับเคลื่อนการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษร ทางน้า คือกลุ่มประชาชนผู้มีจิตศรัทธาต่อองค์พระพุทธ เกษร

๖. การรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษร ทางน้าและผลต่อบริบทการอยู่อาศัยของ ชุมชนริมน้า แม้ ว่ า การรื้ อ ฟื้ น ประเพณี แ ห่ พ ระพุ ท ธเกษร ทางน้าครั้ง นี้จะเป็นเพียงการรื้อฟื้นเฉพาะขบวนแห่ใน เ ส้ น ท า ง จ า ก วั ด ก ร ะ โ ด ง ท อ ง ไ ป วั ด เ จ้ า เ จ็ ด ใ น แต่ผลสาเร็จจากการรื้อฟื้นประเพณีดังกล่าว นอกจากจะ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีเก่าแก่ของชุมชนแล้ว ผลสาเร็จ จากการรื้ อ ฟื้ น ประเพณี ก็ ยั ง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง ความ พยายามในการเปลี่ ย นแปลงและจั ด การพื้ น ที่ ชุ ม ชน ริ ม น้ าที่ ส ามารถน าไปสู่ แ นวทางการพั ฒ นาพื้ น ที่ แ ละ บริบทการอยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อ มของ ชุมชนริมน้าในอนาคตได้ ไม่ว่าจะการกาจัดผักตบชวา บริเวณริมน้า การปรับภูมิทัศน์และทาความสะอาดที่อยู่ อาศัยบริเวณริมคลองให้สวยงาม หรือการซ่อมบารุงเรือ ที่ชารุดหรือไม่ได้ใช้งานให้สามารถใช้งานได้ เมื่ อ พิ จ ารณาผลสื บ เนื่ อ งที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการ รื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าเปรียบเทียบกับ บริ บ ทการอยู่ อ าศั ย ๔ ประการพบว่ า การรื้ อ ฟื้ น ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าส่ง ผลให้กิจกรรม ๓ ประการของคนภายในชุมชนกลับมามี ความสัมพันธ์กับ โครงข่ายทางน้า ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการผลิต กิจกรรม การคมนาคม และกิจกรรมนันทนาการ สาหรับกิจกรรม นันทนาการนั้น การรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษร ทางน้ าเป็ น การรื้ อ ฟื้ น กิ จ กรรมนั น ทนาการทางน้ าใน ท้องถิ่นที่เคยถือปฏิบัติม าเป็นประจาทุกปีให้เกิด ขึ้นอีก


ครั้ง หนึ่ง โดยผลสาคัญของการอัญเชิญพระพุทธเกษร กลั บ มาแห่ ท างน้ า นอกจากจะเป็ น การสร้ า งความ สนุกสนานแล้ว ยังส่งผลให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและ ความสาคัญ ของโครงข่ายทางน้าในฐานะเส้นทางแห่ ง ความศรัทธาหรือสายน้าแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งส่งผลให้ คนภายในชุมชนสองฝั่งคลองที่ ข บวนเรื อแห่ ผ่าน เริ่ม ฟื้นฟูและดูแลรักษาพื้นที่บริเวณริมน้าและโครงข่ายทาง น้าให้กลับมามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สาหรับกิจกรรมการคมนาคมและกิจกรรมการ ผลิ ต นั้ น เป็ น กิ จ กรรมที่ สื บ เนื่ อ งจากรื้ อ ฟื้ น กิ จ กรรม นันทนาการโดยตรง โดยการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธ เกษรทางน้าส่งผลให้เกิดการนาเรือ กลับมาซ่อมบารุง จนเกิดการสืบทอดภูมิปัญญาในการบารุงรักษาและการ ใช้ง านอีกครั้ง แม้ว่าผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากกิ จ กรรม การคมนาคม จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ และรู ป แบบการคมนาคมในชีวิ ต ประจ าวั นของคนใน ชุ ม ชน แต่ ก็ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การผลั ก ดั น และสื บ ทอดภู มิ ปั ญ ญาเกี่ ย วกั บ เรือ ซึ่ ง เป็ น ภู มิ ปั ญญาที่ พัฒนามาจาก โครงข่ายทางน้าสู่คนรุ่นหลัง ในส่วนของกิจกรรมการ ผลิตนั้นมีลักษณะคล้ายกับกิจกรรมการคมนาคม โดย เป็ น กิ จ กรรมที่ เ ป็ น ผลสื บ เนื่ อ งจากการฟื้น ฟูกิ จ กรรม นั น ทนาการเช่ นกั น โดยภายในงานจะปรากฏการนา อาหารพื้ น บ้ า นและเครื่ อ งดื่ ม มาจ าหน่ า ยในเรื อ ของ ชาวบ้าน ในส่วนของกิจกรรมชีวภาพ แม้ว่าการรื้อฟื้น ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าจะไม่ได้ส่งผลโดยตรง ต่อกิจกรรมชีวภาพ แต่ก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน พื้นที่ที่รองรับกิจกรรมดังกล่าว และกระตุ้นให้เกิดการใช้ งานในพื้นที่ริมน้ามากยิ่งขึ้น กล่าวคือมีการปรับปรุงและ ทาความสะอาดพื้นที่ริมน้าโดยรอบที่ อยู่อาศัยให้กลับมา สะอาดเพื่อรองรับกิจกรรมดังกล่าว ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่าการรื้อฟื้นประเพณีแห่ พระพุทธเกษรทางน้าเปรียบเสมือนตัวกลางสาคั ญ ใน

การส่งเสริมให้กิจกรรมอื่นๆ กลับมามีความสัมพันธ์และ เ ชื่ อ ม โ ย ง กั บ โ ค ร ง ข่ า ย ท า ง น้ า อี ก ค รั้ ง ห นึ่ ง ซึ่ ง ความสัมพันธ์ดังกล่าวที่ปรากฏขึ้นนั้นนาไปสู่การผลักดัน ให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสาคัญของโครงข่าย ทางน้า จนนาไปสู่การปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของ ชุมชนและวิถีชีวิตที่สอดคล้อง เกื้อกูลกับสภาพแวดล้อม ของบริบทสังคมปัจจุบัน

๗. บทสรุปและข้อเสนอแนะ กระบวนการรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษร ทางน้าเป็นกระบวนการรื้อฟื้นประเพณีของคนในชุมชน ริมน้าที่เกิดขึ้นจากการเห็นคุณค่าและความสาคัญของ คนในชุ ม ชน อั น เนื่ อ งจากการกระตุ้ น ของหน่ ว ยงาน ภายนอก โดยกระบวนการรื้อฟื้นเกิดจากความร่วมมือ กันระหว่ างวัด ชุมชน และหน่วยงานการศึกษาภายใต้ เงื่อนไขของความศรัทธาที่มีต่อองค์พระพุทธเกษรของ คนแต่ละกลุ่ม ทั้ง นี้กระบวนการในการรื้อฟื้นประเพณี แห่ พ ระพุ ท ธเกษรทางน้ าสามารถแบ่ ง ได้ อ อกเป็ น ๔ ขั้ น ตอน อั น ได้ แ ก่ (๑) กระบวนการสร้ า งความ ตระหนั ก รู้ ที่ มุ่ ง เน้ น ให้ ชุ ม ชนเห็ น คุ ณ ค่ า ในมรดกทาง วัฒนธรรมของตนเอง (๒) กระบวนการการรวมกลุ่มของ ชุมชน ซึ่ง เป็น การรวมกลุ่มกันของบุคคลต่างๆ ภายใน ชุมชนเพื่อทาหน้าที่เป็นตัวกลางในการรื้อฟื้นประเพณี ดังกล่าว (๓) กระบวนการวางแผนและจัดเตรียม ซึ่งเป็น กระบวนในการวางแผนและจัดเตรียมความพร้อมในการ จัดการรื้อฟื้นในประเด็นต่างๆ โดยดาเนินการผ่านการ พูดคุยกันภายในชุมชนและพยายามเชื่อมโยงกับบุคคลที่ เกี่ ย วข้ อ งในทุ ก ๆ ฝ่ า ย และ (๔) กระบวนการรื้ อ ฟื้ น ประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้า ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ ขั้นตอนการรื้อฟื้นประเพณีพระพุทธเกษรทางน้าพบว่า ชุมชนถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสาคัญมากที่สุดในการรื้อ ฟื้นประเพณีดังกล่าว

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๕๑


การรื้อฟื้นประเพณี แห่พระพุทธเกษรทางน้า ไม่ได้ส่งผลเฉพาะในมิติทางวัฒนธรรมที่เป็นการอนุรักษ์ ประเพณี ท้ อ งถิ่ น เท่ า นั้ น หากแต่ ยั ง ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การ ปรับปรุงและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานพื้นที่ โล่งว่างริมน้า และโครงข่ายทางน้าผ่านกิจกรรมด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การรื้อฟื้นประเพณีแห่พระพุทธเกษรทางน้าจึง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง บทบาทและความส าคั ญ ของงาน ประเพณี ท างน้ าในฐานะการเป็ น เครื่ องมือ และกลไก ส าคั ญ ที่ จ ะน าไปสู่ ก ารพั ฒ นาพื้ น ที่ ริ ม น้ าอื่ น ๆ ให้ เ กิ ด ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยประเด็นสาคัญที่ภาครัฐ หรื อ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งควรให้ ค วามส าคั ญ ในการ รื้อฟื้นประเพณีทางน้า คือการให้ความสาคัญกับการมี ส่ ว นร่ ว มของชุ ม ชนผู้ เ ป็ น เจ้ า ของวั ฒ นธรรมดั ง กล่ า ว โดยควรส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทหลักในกระบวนการ รื้ อ ฟื้ น หรื อ กระบวนการจั ด งานประเพณี ในขณะที่ หน่วยงานภาครัฐภายนอกควรดารงบทบาทในฐานะการ เป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุนหรือส่ งเสริมกิจกรรมต่างๆ เท่านั้น

๕๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

๘.เอกสารอ้างอิง จรรยาพัชญ์ แก้วมโนรมย์. (๒๕๕๗). การศึกษาเปรียบเทียบ ลักษณะพื้นที่รองรับกิจกรรมการรื้อฟื้นประเพณีแห่ พระพุทธเกษรทางน้า ตาบลบ้านโพธิ์ อาเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสาระ ศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๑๙, ๔๙๖-๕๐๓. เชวงเกียรติ ทิมปาวัฒน์ และคณะ. (๒๕๕๒). วัดกระโดงทอง. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จากัด. เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร. (๒๕๔๖). ธรรมชาติกับมนุษย์ : ที่มา และความจาเป็นในการศึกษาภูมิปัญญาพื้นถิ่น” ใน อรศิริ ปาณินท์ (บก.). ภูมปิ ัญญาสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตาราและเอกสารวิชาการ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๑๐ – ๒๕๑๔. ค้นเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๘, จาก www.nesdb.go.th/ Default. aspx?tabid =84.


บทความวิจัย สาขาการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม

แนวทางการพัฒนาตลาดลาดชะโด อาเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา A Development Plan for Ladchado Market in Pak-hai District, Phranakhon Si Ayutthaya Province เกษรา ศรีวิเชียร / Kessara Sriwichien มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาตลาดลาดชะโด อาเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติตลาดลาดชะโดโดยสัง เขป ๒) เพื่อค้นหาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนลาดชะโด และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดลาดชะโด ให้เป็นตลาดมีชีวิต และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่าตลาดลาดชะโดอยู่ในชุมชนลาดชะโด เป็นตลาดที่มีอายุยืนยาวมากว่าหนึ่งร้อยปี เดิมเป็น เรือนแพขายของอยู่ในคลองลาดชะโด ต่อมาอพยพขึ้นมาสร้างเป็นห้องแถวขายของบนบกบนพื้นที่ของวัดลาดชะโดและ ถูกลดบทบาทลงเนื่องจากการคมนาคมทางบกที่เข้ามาแทนที่ ทุนทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของลาดชะโดคือ การอนุรักษ์ อาคารบ้านเรือนในชุมชน จนได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเ ด่น มีประเพณีที่สาคัญ คือ ประเพณีไหว้ศาลพ่อแก่พ่อศรีไพร ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้า และประเพณีไหว้ศาลเจ้าลาดชะโดที่เป็นศูนย์รวม จิตใจของคนลาดชะโด และแนวทางทางการพัฒนาตลาดลาดชะโดได้แก่ ๑) การพัฒนาโดยใช้กระบวนการการมี ส่วนร่วม ๒) การส่งเสริมให้ตลาดลาดชะโดเป็นแหล่งเรียนรู้ ๓) การส่งเสริมการท่องเที่ยวในตลาดลาดชะโดและพื้นที่ ใกล้เคียง ๔) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และสินค้าภายในตลาดลาดชะโด คาสาคัญ : แนวทางการพัฒนา, ตลาดลาดชะโด, ทุนทางวัฒนธรรม

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๕๓


ภาพประกอบ ๑ ด้านหน้าตลาดด้านริมคลองลาดชะโด

Abstract The research has three objectives: 1 ) to study a brief history of Ladchado Market; 2) to find out cultural assets of the community; and 3) to propose a development plan for the market in order to bring back its livelihood and create economic stability to the community. The study is based on a qualitative research method. As a result, it is found that the market is in the Ladchado community which can be dated back to more than 100 years. The market used to be located on a make-shift raft in Ladchado Canal. It then moved ashore with commercial buildings in the area of Ladchado Temple. The market's importance had decreased due to land transportation, which had replaced the rivers and canals transport systems. One of Ladchado's outstanding cultural assets is the community's well-preserved historical houses, which won the excellent architectural conservation award from H.M. the King. The community's important traditions are the ๕๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ceremony for paying homage to the shrine of Poh Kae Poh Sri Prai (ancestor and protector's spirits), the ceremony for aquatic candle procession after the Buddhist lent, and the ceremony for paying homage to the Ladchado shrine, which is the community's spiritual center. The proposed development plan for Ladchado Market includes: 1) encouraging participation in the community; 2 ) promoting the market as a learning center; 3 ) promoting the market and the surrounding areas as tourism attractions; and 4) developing local products for sale in the market. Key words: Development plan, Ladchado Market, cultural asset

บทนา ชุมชนลาดชะโดมีอายุเก่าแก่ราวสมัยหลังเสีย กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ หรือ ราวปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ก่อตั้งขึ้น โดยชาวกรุ ง เก่ า ที่ อ พยพหนี ศึ ก สงครามมาในครั้ ง นั้ น พื้นที่บริเวณที่ตั้ง ชุมชนแต่เดิม เรียกว่า “บ้านจักราช” แต่การที่หมู่บ้านนี้มีชื่อว่า “บ้านลาดชะโด” น่าจะมีที่มา จาก สภาพ พื้ น ที่ ที่ เ ป็ น ที่ ล าดริ ม น้ า และ คว าม


อุดมสมบูรณ์ของคูคลองที่มีอยู่มากมายและอุดมไปด้วย ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปลาชะโด การตั้ง บ้านเรือน นิยมทาเลริมน้า อาชีพหลักของชาวบ้านคือทานา เพราะ หมู่บ้านอยู่ใกล้ทุ่งลาดชะโด ซึ่งเป็นพื้นที่ดินตะกอนปาก แม่น้าที่อุดมสมบู รณ์ มีคลองลาดชะโดซึ่ง เชื่อมต่ อ กั บ จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นทางน้าสาคัญนับว่าเป็นหมู่บ้านที่ เป็นอู่ข้าวอู่น้าในแถบนี้ (สานักงานการท่องเที่ยวและ กีฬา จัง หวัดพระนครศรีอยุ ธยา, ๒๕๕๕, ayutthaya. mots.go.th) ตลาดลาดชะโดก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี โดยพัฒนามาจากตลาดน้า ที่เดิมชุมชนชาวจีนสร้างแพ ทรงไทยค้าขายสองฝั่งคลอง เกิดเป็นรูปแบบตลาดน้า ต่ อ มาได้ ใ ช้ พื้ น ที่ ริ ม น้ า ซึ่ ง เป็ น ของวั ด ลาดชะโดสร้ า ง ตลาดไม้ ใต้ ถุ น สู ง พ้ น น้ าท าการค้ า ขาย แล้ ว ได้ ค่ อ ยๆ ขยายตัวและพัฒนาตามลาดับ จนเพิ่มขึ้นเป็นจานวนนับ ร้อยคูหา ในอดีตตลาดลาดชะโดมีความเจริญ เฟื่องฟู เป็ น อย่ า งมากในตลาดนอกจากร้ า นค้ า ที่ จ านวน สรรพสิ น ค้ า มากมายแล้ ว ยั ง มี ร้ า นขายทอง ร้ า นขาย ยาจีน ร้านขายรูป โรงหนัง-ละคร เป็นต้น จนกระทั่งปี ๒๕๑๗ การคมนาคมทางบกเริ่มขยายเครือข่ายเพิ่ มขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อชาวตลาดลาดชะโด การค้าเริ่มซบเซา เพราะการคมนาคมสะดวก ทาให้ผู้คนสามารถเข้ า ตั ว เมืองจับจ่ายสินค้าได้มากขึ้น ประกอบกับรุ่นลูกส่วนมาก จะไม่ไ ด้สืบทอดการค้าจากบรรพบุรุษ โดยมุ่ง ที่จะเข้า กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ภายหลัง พ่อ-แม่ ก็จะย้ายตามไปอยู่กับลูกๆ นั้น ร้านค้าในตลาด จึง เริ่มปิดตัวลงโดยปริยายแล้วปรับเป็นเรือนพักอาศัย ซึ่ง ปัจจุบันเหลื อเพียงร้ านดั้งเดิ มอยู่ บ างส่วนเท่ า นั้ น ที่ ยั ง คงปั ก หลั ก อยู่ อ ย่ า งเหนี ย วแน่ น (เทศบาลต าบล ลาดชะโด, ๒๕๕๕, www.nmt.or.th) ผู้ วิ จั ย ซึ่ ง มี ชี วิ ต วั ย เด็ ก อยู่ กั บ ชุ ม ชนริ ม แม่ น้ า ท่าจีน ในจัง หวัดสุพรรณบุรี มีประสบการณ์เกี่ยวข้อ ง กั บ ตลาดชุ ม ชนริ ม แม่ น้ า เนื่ อ งจากมี ลุ ง ซึ่ ง เป็ น แพทย์

ปร ะ จ าต าบล และ เปิ ด ร้ า น ขายยาอ ยู่ ใ น ตลาด บางแม่ ห ม้ า ย ซึ่ ง เป็ น ตลาดชุ ม ชนริ ม แม่ น้ าท่ า จี น ในอ าเภอบางปลาม้ า จั ง หวั ด สุ พ รรณบุ รี ได้ รั บ รู้ และซึ ม ซั บ เสน่ ห์ ข องตลาดชุ ม ชนแบบดั้ ง เดิ ม มาเป็ น ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร นอกจากนี้ การซื้อ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องอุปโภค บริโภคจากตลาด ก็ยัง ต้องนั่งเรือไปซื้อจากตลาดริมแม่น้าทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ตลาดเก้าห้อง ตลาดคอวัง หรือตลาดสุพรรณบุรี เมื่อได้ มี โ อกาสไปเที่ ย วที่ ต ลาดลาดชะโด ท าให้ พ บกั บ บรรยากาศที่ เ คยได้ สั ม ผั ส ในวั ย เด็ ก ซึ่ ง มี เ สน่ ห์ แ ละ เรียบง่าย สะท้อนภาพความเป็นตลาดชุมชนของชนบท ไทย จึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาบริบทของตลาดชุมชน ลาดชะโด เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดลาดชะโด ให้ ก ลั บ มาเป็ น ตลาด ที่ มี ชี วิ ต ชี ว าอี ก ครั้ ง อย่ า งยั่ ง ยืน หลั ง จากที่ ต ลาดซบเซามาจนถึ ง ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ เ ทศบาลต าบลลาดชะโดร่ ว มกั บ ชาวตลาด และ ชาวชุมชนลาดชะโด ประชาสัมพันธ์ และร่วมมือกันฟื้นฟู ตลาดให้กลับมาคึก คัก มีชีวิตชีวา แต่หลัง จากน้าท่ ว ม ใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ตลาดได้กลับมาสู่ภาวะซบเซา อีกครั้ง

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑.มโนทัศน์เกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชน ๑.๑ ความหมายของวัฒนธรรม วัฒนธรรม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ของคน เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่ยอมรับว่าเป็นความดี ความงาม สะท้ อ นภู มิ ปั ญ ญาที่ ผ่ า นการคั ด สรรแล้ ว สื บ ทอดผ่ า นรุ่ น สู่ รุ่ น สั ง คมหนึ่ ง ไปสู่ อี ก สั ง คมหนึ่ ง กระบวนการเกิดวัฒนธรรม เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ การท าความเข้ า ใจวั ฒ นธรรมนั้ น ต้ อ งท าความเข้ า ใจ เนื้ อ หาของวั ฒ นธรรม หรื อ ระบบคุ ณ ค่ า ที่ อ ยู่ ภ ายใต้

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๕๕


รูปแบบของวัฒนธรรม ซึ่ง ส่วนหนึ่งสามารถแสดงออก ผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การ ละครและภาพยนตร์ แม้ บ างครั้ ง อาจมี ผู้ ก ล่ า วว่ า วัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค นักมานุษยวิทยาจึงรวมความหมายของวัฒนธรรมไปถึง เทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรมเข้า ไ ปด้ ว ย (ส าร าญ ผลดี , www.thonburi-u.ac.th) ในขณะที่พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ให้ความหมาย ว่า วัฒนธรรม (Culture) หมายถึง ผลรวม แห่งการสั่ง สมสิ่งสร้างสรรค์ และภูมิธรรม ภูมิปัญญา ที่ถ่ายทอดสืบ ต่ อ กั น มาของสั ง คม เป็ น วิ ถี ชี วิ ต ของคนในสั งคม เป็ น แบบแผนการประพฤติ ป ฏิ บั ติ และการแสดงออกซึ่ ง ความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคม เดียวกันจะซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะ น าไปสู่ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของคนในสั ง คมนั้ น ๆ ส าหรั บ ความหมายในเชิงปฏิบัติการ วัฒนธรรม หมายถึง ความ เจริ ญ งอกงาม ที่ เ ป็ น ผลมาจากระบบความสั ม พั น ธ์ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับ ธรรมชาติ จาแนกเป็น ๓ ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ ที่มีการสั่งสมและสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่ง ไปสู่คนอีกรุ่น หนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง จนกลายเป็นแบบ แผนที่ ส ามารถเรี ย นรู้ และก่ อ ให้ เ กิ ด ผลิ ต กรรม และ ผลิตผลทั้ง ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม (พระเทพเวที (ประยุ ท ธ์ ปยุ ตฺ โ ต), ๒๕๓๖, หน้ า ๖) ทั้ ง นี้ องค์ ก าร ก า ร ศึ ก ษ า วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ แ ล ะ วั ฒ น ธ ร ร มแห่ ง สหประชาชาติหรือองค์การยูเนสโก (UNESCO) จาแนก วั ฒ น ธ ร ร ม อ อ ก เ ป็ น ๕ ส า ข า คื อ ๑) สาขาศิ ล ปะ (The Arts) ได้ แ ก่ ภาษา วรรณคดี ฟ้อนรา วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม ละคร ประติมากรรม ฯลฯ ๒) สาขามนุษยศาสตร์ (The Humanities) ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ปรัชญา ค่านิยมในสังคม ฯลฯ ๓) สาขากี ฬ าและนั น ทนาการ (The Sports and Recreation) ได้ แ ก่ การละเล่ น มวยไทย ฟั น ดาบ ๕๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ว่าวไทย กระบี่กระบอง ตระกร้อ ฯลฯ ๔) สาขาช่างฝีมือ ( The Practical Craft) ไ ด้ แ ก่ ก า ร เ ย็ บ ปั ก ถั ก ร้ อ ย การแกะสลัก การทอผ้า การจักสาน การทาเครื่องเงิน เครื่ อ งทอง เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผา ฯลฯ และ ๕) สาขา คหกรรมศิ ล ป์ (Domestic Arts) ได้ แ ก่ ความรู้ เ รื่ อ ง อาหาร เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ความรู้เรื่องบ้าน เรื่องผ้า การต้อนรับแขก การดูแลเด็ก ฯลฯ ๑.๒ วัฒนธรรมชุมชนกับการพัฒนา ประสบการณ์ก ารพัฒนาของประเทศไทย ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นความล้มเหลว ของการ “นาเข้า” แนวทางการพัฒนาจากต่างประเทศ และการ “ส่ง ออก” โครงการพัฒนาจากส่วนกลางคือ กรุงเทพ ฯ ไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ แนวทางพัฒนา ชนบทที่ว่างอยู่บนสถาบันหมู่บ้าน ชุมชน ไม่ไ ด้พัฒนา จากความเข้าใจในโครงสร้างและพลวัตภายในหมู่บ้าน หลายครั้งที่ การพัฒนากลับสร้างปัญหาให้ กับชาวบ้ าน (ภัคพัฒน์ ทิพยประไพ, ๒๕๔๐, หน้า ๓๒) ซึ่ง กาญจนา แก้วเทพ (๒๕๓๘, หน้า ๑๐) ได้วิเคราะห์แนวทางการ พั ฒ นาประเทศของไทยไว้ ว่ า มี แ นวทางหลั ก ในการ พัฒนา ๒ แนวทาง คือ แนวพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อการกิน ดี อยู่ดี งานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุข พัฒนาประเทศ ให้เจริญ ก้าวหน้า ทันสมัย และพัฒนาด้านการเมือง ที่ แสดงออกโดยการรวมกลุ่มต่อรองประท้วงด้านอ านาจ ตัดสินใจ แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจนี้ เป็นแนวทาง ที่สหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศผู้นาค่ายโลกเสรี ในช่วง สงครามเย็น คือหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เสนอให้ ปร ะ เทศโ ลกที่ ส ามใช้ ใ นก ารพั ฒ นาประเทศให้ เจริ ญ ก้ า วหน้ า โดยมี ค วามเชื่ อ ว่ า บรรดาวั ฒ นธรรม ธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านต่างๆ ที่เคยมีอยู่ในชุมชน ล้วนแต่เป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญ ก้าวหน้า และ ทั น สมั ย แม้ แ ต่ ก ารพั ฒ นาในแถบของเอเซีย Gunnar Myrdal (อ้ า งใน Jiang Shixue . orpheus.ucsd.edu /las/studies/pdfs/jiang.pdf) สรุ ป ไว้ ใ นหนั ง สื อ ชื่ อ


Asia Drama : An Inquiry into the Poverty of Nations ว่ า “องค์ ป ระกอบหลั ก ของวั ฒ นธรรมเป็ น อุปสรรคหลักของการทาให้ทันสมัย ไม่เพียงแต่เข้ามาสู่ หนทางของกรรมของผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ยังซึมเข้า ไปอย่ า งแข็ ง แกร่ ง และมี อ านาจเหนื อ ระบบของชาติ ทั้ ง หมดในทุ ก มิ ติ ท างสั ง คม เศรษฐกิ จ และนโยบาย” ซึ่งในระยะแรกการพัฒนาตามแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจ ดูเหมือนจะได้ผล เพราะมีการเกิดขึ้นของความเจริญทาง โครงสร้าง ในระยะแรกของการเกิ ด แนวทางพั ฒ นา เศรษฐกิจนั้น มีกระแสการพัฒนาที่ให้ความสาคั ญ กั บ วัฒนธรรม ที่เห็นว่า “สิ่งที่เรามีอยู่ ทาให้เราเป็นตัวของ ตัวเอง มีเอกลักษณ์ มีพลังสร้างสรรค์ ” แต่แนวทางนี้ ไม่สามารถค้านกระแสแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจได้ แต่ใน ระยะถั ด มา กลั บ มี ค นจนเพิ่ ม มากขึ้ น เกิ ด ความ เสื่อมโทรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม กระแสการพัฒนา ในแนวทางวัฒนธรรมถูกปลุกขึ้นอีกครั้ง เพราะเห็นว่า การพัฒนาแต่เศรษฐกิ จ จะไม่ มี ท างแก้ ปัญ หาสัง คมได้ ทั้งนี้องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้สรุปปัญหาของการ พั ฒ นาตามแนวทางเศรษฐกิ จ ว่ า การพั ฒ นาแนว เศรษฐกิ จ เป็ น การพั ฒ นาที่ น าจากภายนอกเข้ า ไป ทั้งความต้องการที่จะพัฒนา แนวคิด และวิธีการทางาน พัฒนา รวมทั้งแบบจาลองต่างๆ นอกจากเป็นการนาเข้า แล้ว ยังใช้วิธีการส่งผ่านจากบนลง สู่ล่าง (Top – down) อีกด้วย การพัฒนาแนวนี้ ทาให้ผู้วางแผนพัฒนาละเลย ความส าคั ญ ของวั ฒ นธรรมชุ ม ชน ดั ง นั้ น ในอนาคต จ าเป็ น ต้ อ งปรั บ ทั ศ นะการมอง และการประเมิ น วั ฒ นธรรมชุ ม ชน ไปพร้ อ มๆ กั บ การปรั บ การมอง เศรษฐกิจเสียใหม่ โดยต้องหาข้อดี และข้อบกพร่องของ ทั้ ง สองฝ่ า ย หาทางประสานข้ อ ดี เ ข้ า ด้ ว ยกั น และ พยายามลดข้อบกพร่องให้เหลือน้อยที่สุด

๒. ทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Ecology Theory) นิเวศวิทยาวัฒนธรรม หมายถึง วิธีการศึกษา หาหลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ซึ่ง เป็นผลกระทบมาจาก การปรั บ ตั ว เข้ า กับ สิ่ ง แวดล้ อมของมนุษ ย์แ ต่ ล ะสัง คม นักมานุษยวิทยาในกลุ่มนิเวศวิทยาวัฒนธรรม คนสาคัญ ได้แก่ จูเลียน สต๊วท (Julian H. Steward) และ เลสลี่ ไวท์ (Leslie A. White) โดยจู เ ลี ย น สต๊ ว ท เห็ น ว่ า นิ เ วศวิ ท ยาวั ฒ นธรรมเป็ น คว ามพยายาม ที่ จ ะ เสาะแสวงหากฎเกณฑ์ที่จะนามาสู่คาอธิบายถึงที่มาของ ลั ก ษณะและแบบแผนของวั ฒ นธรรมที่ มี อ ยู่ ใ นแต่ ล ะ สภาพแวดล้อม โดยสิ่งสาคัญที่สุด คือ “แก่นวัฒนธรรม” (Cultural Core) ซึ่งหมายถึงแบบแผนทางวัฒนธรรมที่ มี ค วามสั ม พั นธ์กั บ กิจ กรรมในการด ารงชี วิต และการ จั ด การทางเศรษฐกิ จ และเขาเสนอว่ าในการท าความ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางวัฒ นธรรมนั้นต้องวิเคราะห์ วั ฒ นธรรมที่ เ กี่ ย วกั บ ระบบเทคนิ ค วิ ท ยาในการผลิ ต หรือใช้ประโยชน์จ ากสิ่ง แวดล้ อม และพฤติกรรมของ มนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้เทคนิคเหล่านั้น ส่วนเลสลี่ ไวท์ เสนอ ว่ า วั ฒ นธรรม ประกอบด้ ว ย ๓ องค์ ป ระกอบ คื อ ๑) ระบบเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและ เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ต่ า งๆ ที่ ม นุ ษ ย์ ป ระดิ ษ ฐ์ คิ ด ค้ น ขึ้ น ๒) ระบบสัง คม ซึ่ง เป็นการรวมตัวกัน ขององค์ก รทาง สัง คม (Social Organization) และ ๓) ระบบความคิด (Ideology) ซึ่ง รวมถึง ความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และ ค่านิยมต่างๆ ระบบเทคโนโลยีเป็นโครงสร้างส่วนล่าง (Infrastructure) หรื อ พื้ น ฐานส าคั ญ ของวั ฒ นธรรม เพราะชีวิตมนุษย์จาเป็นต้องพึ่งพาระบบนี้ในการปรับตัว เข้ า กั บ สภาพแวดล้ อ ม ส่ ว นองค์ ก รสั ง คมและระบบ ความคิดเป็นโครงสร้างส่วนบน (Superstructure) ของ วัฒนธรรม (อ้างใน ยศ สันตสมบัติ, ๒๕๔๐, หน้า ๓๖)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๕๗


๓. แนวคิดเรื่องทุนทางวัฒนธรรม ก ร ะ แ ส ก า ร พั ฒ น า ใ น ยุ ค ปั จ จุ บั น ใ ห้ ความส าคั ญ กั บ ทุ น ทางวั ฒนธรรมมากขึ้ น โดยเห็ นว่า การใช้ประโยชน์จากทุนทางวัฒนธรรม เป็นคุณค่าที่ช่วย ให้สังคมดารงอยู่อย่างสมดุล พึ่งพาอาศัยกันในการผลิต และบริการ (ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคนอื่นๆ, ๒๕๔๗) ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาความหมาย องค์ประกอบ และ ประเภทของทุนทางวัฒนธรรม เพื่อทาความเข้าใจ และ นาไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของ ชุมชนลาดชะโด ความหมายของทุนทางวัฒนธรรม ทุ น ทางวั ฒ นธรรม (Cultural Capital) และ ทุนทางสังคม (Social Capital) เป็นคาสองคาที่แทบจะ แยกออกจากกันไม่ได้ จึงมักใช้คู่กันเสมอ หรือบางครั้งใช้ แทนกั น ก็ มี โดยแนวคิ ด เรื่ อ งทุ น ทางวั ฒ นธรรมนี้ มีพัฒนาการมาจากแนวคิดของ มาร์กซ์ (มปป. อ้างถึงใน กาญจนา แก้ ว เทพ และสมสุ ข หิ น วิ ม าน, ๒๕๕๑, หน้า ๖๙-๗๐) ที่ว่า ทรัพย์สิน เงิน ทอง จะแปรสภาพไป เป็นทุน เมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิต และทาให้เกิดมูลค่า ส่วนเกิน หรือกาไร ซึ่งต่อมา นักคิดที่ได้รับอิทธิพลทาง ความคิดของมาร์กซ์ ได้เพิ่มมิติของการให้ความหมายใน เรื่องทุน และการประยุกต์ศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม หรือศึกษาองค์การในประเด็นที่หลากหลาย เช่น แนวคิด เรื่ อ งทุ น ทางการเงิ น (Financial Capital) ที่ พู ด ถึ ง บทบาททางเศรษฐกิจ ที่มีต่อพลังการผลิต ทุนประเภท อื่นไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการค้า John Story ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านวัฒนธรรม ศึกษา มีความเห็นว่า ทุนทางวัฒนธรรม เป็นการสะสม ความรู้ ความคุ้นเคย และความรู้สึกของแต่ละบุคคลใน เรื่ อ งภู มิ หลั ง ของครอบครัว การศึ ก ษาสถานภาพทาง สังคม ทุนทางวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล จะมีอิทธิพล ต่อการรับรู้วัฒนธรรมที่ครอบงา หรืออานาจที่มีอิทธิพล ๕๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ในสังคม ดังนั้น ทุนทางวัฒนธรรม จึงหมายถึงทุนที่มิใช่ ทรัพย์สิน เงินทอง แต่เป็นทุนที่เป็นความรู้ ภูมิปัญ ญา ถ่ายทอดต่อๆกัน มา ทั้ง ในระบบครอบครัว และระบบ การศึกษา โดยทุนทางวัฒนธรรม จะมีส่วนสนับสนุนทุน ทางเศรษฐกิจ ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ กรม ส่งเสริมวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ให้นิยามว่า ทุนทางวัฒนธรรม คือ มรดกภูมิปัญ ญาทางวัฒนธรรม ของชาติ ซึ่ ง ก าหนดไว้ มี ๗ สาขา คื อ ๑) ภาษา ๒) วรรณกรรมพื้นบ้าน ๓) ศิลปะการแสดง ๔) แนวทาง ปฏิ บั ติ ท างสั ง คม พิ ธี ก รรม และงานเทศกาล ๕)งาน ช่ า งฝี มื อ ดั้ ง เดิ ม ๖) ความรู้ แ ละแนวปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ ธรรมชาติ แ ละจั ก รวาล และ ๗) กี ฬ า ภู มิ ปั ญ ญาไทย (อ้ า งใน สหวั ฒ น์ แน่ น หนา, ม.ป.ป.) แต่ ส าหรั บ ใน งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยแบ่ง ประเภทของทุนวัฒนธรรมตามที่ ยูเนสโกจาแนกสาขาวัฒนธรรมเป็น ๕ สาขา คือ สาขา ศิลปะ สาขามนุษยศาสตร์ สาขากีฬาและนันทนาการ สาขาช่างฝีมือ และสาขาคหกรรมศิลป์ มาเป็นกรอบใน การรวบรวมทุ น ทางวั ฒ นธรรมของชุ ม ชนลาดชะโด เนื่องจากพิจารณาเห็นว่ามีความชัดเจนง่ายต่อการทา ความเข้าใจ ๔. แนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เนื่องจากในปัจจุบัน กระแสการท่องเที่ยวใน ประเทศไทยเกิด การขยายตั ว เป็ นอย่า งมาก มี ก ารตั้ง กระทรวงการท่ อ งเที่ ย วและกี ฬ าขึ้ น มาเพื่ อ ท าหน้ า ที่ เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่กฎหมายกาหนดให้อานาจหน้า ที่ ของกระทรวงการท่ อ ง เที่ ย ว และกี ฬาเมื่ อ วั น ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ การท่องเที่ยวประเภทหนึ่ ง ที่ ได้ รั บ ความนิ ย มคื อ การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ (การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ๒๕๓๙) และการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมซึ่งแนวคิดที่ถูกใช้ในแวดวงการท่องเที่ยว


อย่างหลากหลายความหมาย บ้างก็หมายถึง โฮมสเตย์ บ้างก็หมายถึงการชมการแสดงแสงสี เสี ยงอลัง การใน โบราณสถานแห่งชาติ บ้างก็หมายถึงการชมการแสดง ทางวั ฒ นธรรมบ้ า งก็ ห มายถึ ง การไปตลาดน้ าบ้ า งก็ หมายถึงการไปเที่ยวหมู่บ้านชาวไทยภูเขาฯลฯ ไม่ว่าจะ ในความหมายใดก็ตามการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกาลัง ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวซึ่งทาให้องค์กรภาครัฐ หลายองค์กรได้หั นมาให้ความสาคัญในการใช้ทุ น ทาง วัฒนธรรมของแต่ละชุมชนมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ขึ้ น (โครงการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรมเกาะเกร็ ด , www.m-culture.go.th) กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้ม สุ ว รรณ (www.bu.ac.th) เสนอแนวความคิ ด ในการ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกทางวัฒนธรรม ว่าการวาง แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกทางวัฒนธรรม เป็ น หนึ่ ง ในยุ ท ธศาสตร์ ที่ ต้ อ งพั ฒ นาในประเทศไทย เพราะนอกจากการท่องเที่ยวจะเป็นอุตสากรรมหลักที่ จะสร้ า งรายได้ ให้ กับ ประเทศแล้ ว ยั ง ก่ อ ให้ เ กิด อาชีพ อันสืบเนื่องมาจากการท่องเที่ยว เช่น การผลิตหัตกรรม พื้ น ฐาน รวมถึ ง การให้ บ ริ ก ารด้ า นต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ซึ่ง หัวใจสาคัญในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมการ ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรมให้ มี ก ารเติ บ โตอย่ า งยั่ ง ยื น คื อ การรั ก ษาสมดุ ล ระหว่ า งการอนุ รั ก ษ์ ม รดกทาง วั ฒ นธรรม และการส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วัฒนธรรม ซึ่งจะสาเร็จได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือจาก ภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระและชุมชน โดยขั้นตอนของ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อนาไปสู่การ พั ฒ นาท่ อ งเที่ ย วที่ ยั่ ง ยื น นั้ น จะต้ อ งประกอบด้ ว ย การตลาดที่ตอบสนองความต้องการและสร้างความพึง พอใจให้นักท่องเที่ยว การวางแผนโครงการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงการวางแผนการใช้พื้นที่ การวางแผนการขนส่ ง การประเมิ น ผลกระทบและ ศั ก ยภาพในการพัฒ นาแหล่ งท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วัฒนธรรม

รวมไปถึงการจัดการโครงสร้างองค์กรและการจัดการที่ เหมาะสมต่ อ การพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรม การดาเนินโครงการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยว การจัดการ แหล่ง ท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม โครงสร้างพื้นฐาน และ สิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว เชิ ง วั ฒ นธรรม พร้ อ มกั บ การอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นา วัฒนธรรมให้ยั่งยืนในระยะยาว

ระเบียบวิธีวิจัย ๑. ขอบเขตของการวิจัย ๑.๑ ขอบเขตด้านเนื้อหา ก า ห น ด เ นื้ อ ห า ที่ จ ะ ศึ ก ษ า อ อ ก เ ป็ น ๓ ประเด็นหลัก ดังนี้ ๑.๑.๑ ประวั ติ ข องตลาดชุ ม ชน เพื่ อ ให้ สามารถมองเห็นภาพของการเริ่มต้นการเป็นตลาดว่ า เกิดขึ้นด้วยปัจจัยและเงื่อนไขใด ๑.๑.๒ ประเภทและที่มาของสินค้าภายใน ตลาดลาดชะโด เพื่ อ ใช้ อ ธิ บ ายภาพรวมของระบบ เศรษฐกิจของชุมชนในอดีต และปัจจุบัน ๑.๑.๓ ทุ น ทางวั ฒ นธรรมของชุ ม ชน ลาดชะโด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนาเสนอแนวทางการ พัฒนาตลาดลาดชะโด ภายใต้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ ๑.๒ วิธีวิจัย การวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป็ น การวิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นา (Research and Development) ในมุมมองของมิติทาง วั ฒ นธรรม ผู้ วิ จั ย เลื อ กใช้ วิ ธี ก ารวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ (Qualitative Research) มาใช้ในการตอบคาถามการ วิจัยว่า ตลาดลาดชะโดมี ประวัติ ค วามเป็น มาอย่ า งไร และ แนวทางการพัฒนาตลาดลาดชะโด ให้เป็นตลาดมี ชีวิต และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๕๙


๑.๓ ระยะเวลา ดาเนินการระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ – ธันวาคม ๒๕๕๗ ๑.๔ พื้นที่ ดาเนินการ ณ ตลาดลาดชะโด และชุมชน ลาดชะโด อาเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑.๕ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ ๑.๕.๑ กลุ่มผู้นาชุมชน ได้แก่ กานัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.๕.๒ กลุ่มผู้รู้ หรือผู้อาวุโสที่อยู่ในตลาด หรื อ หมู่ บ้ า นใกล้ เ คี ย ง ที่ เ ห็ น พั ฒ นาการของตลาด ลาดชะโด ๑.๕.๓ พ่ อ ค้ า หรื อ แม่ ค้ า ภายในตลาด ลาดชะโด ๒. วิธีดาเนินการวิจัย ๒.๑ เครื่ อ งมื อ และเทคนิ ค ที่ ใ ช้ ใ นการเก็บ รวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ๒.๑.๒ แนวค าถามเพื่ อ การสั ม ภาษณ์ (interview guide) ๒.๑.๓ การสั งเกต (observation) โดยใช้ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant) ทุกๆ ครั้ง ที่เข้าสู่พื้นที่วิจัย ๒.๑.๔ แบบบันทึกในสนาม (Field Note) ผู้วิจัยจึงสร้างแบบบันทึกในสนาม (Field Note) ขึ้นเพื่อ บั น ทึ ก ข้ อ มู ล ต่ า งๆ ซึ่ ง ได้ จ ากการสั ม ภาษณ์ แ ละการ สังเกต ๒.๑.๕ เครื่องมือช่วยในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ กล้องถ่ายรูป และเครื่องบันทึกเสียงระบบดิจิตอล

๖๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

กรอบแนวคิดในการวิจัย ตลาดลาดชะโด ประวัติของตลาด ทุนทางวัฒนธรรม

แนวทางพัฒนาตลาดลาดชะโด

สรุปและอภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัย ๑.ประวัติตลาดลาดชะโดโดยสังเขป จากการศึกษาประวัติของตลาดลาดชะโด โดย ใช้วิธีการศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้รู้ตามแนวทางการศึกษา ประวัติศาสตร์บอกเล่า และศึกษาจากเอกสารพบว่า ตลาด ลาดชะโดมีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี เดิมตลาดลาดชะโด เป็นตลาดเรือนแพลักษณะแยกเป็นห้องๆ หลัง คาเป็น แบบทรงไทย ที่จอดเรียงรายในคลองลาดชะโด สินค้าที่ ขายในร้านค้าเรือนแพจึง ได้แ ก่ น้ามันที่ใช้สาหรับ เติ ม เครื่องเรือ เติมตะเกียง สินค้าอุปโภค บริโภคอื่นๆ ในช่วงหน้าน้า ตลาดลาดชะโดจะมี ลั ก ษณะ เป็นตลาดเรือ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะพายเรือ มาซื้ อ ของกันแต่เช้ามืด ส่วนหน้าแล้ง ร้านค้าจะพากันอพยพ จากแพขึ้นมาตั้งขายบนบกทาเป็นแผง มีหลังคา ต่ อ มาราวปี พ.ศ. ๒๔๙๐ พ่ อ ค้ า แม่ ค้ า ที่ ค้ า ขายอยู่ ใ นแพ ได้ ร วมตั ว กั น ไปขออนุ ญ าตใช้ ที่ ดิ น วัดดุสิตมัจฉา ที่อยู่ริมคลองถัดขึ้นไปจากแพที่ทาการค้า ขึ้ น มาประมาณ ๑๐๐ เมตร เพื่ อ สร้ า งเป็ น ตลาดบก ซึ่ง จะทาให้การซื้อขายและการเดินทางไปท าบุ ญ ที่ วั ด สะดวกขึ้น ซึ่ง เมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ของวัดสร้าง ตลาด ชาวแพจึงขยับขยายขึ้นมาสร้างห้องแถวเป็นตลาด บก ลักษณะของตลาดเป็นห้องแถวไม้หันหน้าเข้าหากัน


เว้นทางเดินไว้ตรงกลาง มีจานวน ห้ อ ง ป ร ะ ม า ณ ๕ ๐ ห้ อ ง ประกอบด้ ว ย โรงภาพยนตร์ ร้านทอง โรงตี เหล็ก ตีเคียว ร้าน ถ่ า ยรู ป ร้ า น อาหาร โร ง ฝิ่ น โรงเหล้า โรงสี สิ น ค้ า เด่ น ของ ตลาด ลาดชะโด จึงได้แก่ ผลิตภัณฑ์จาก ปลาแล้ว ผลิตผลทางการเกษตรที่ ชาวบ้านผลิตเอง และนามาขาย ส่ ว นสิ น ค้ า อุ ป โภค บริ โ ภคอื่ น ๆ เช่ น สบู่ ยาสี ฟั น ผงซั ก ฟอก ผ้ า เสื้ อ ผ้ า นั้ น ส่ ง มาจากกรุ ง เทพฯ โดยทางเรื อ กั บ อี ก บางส่ ว นที่ พ่ อ ค้ า แม่ ค้ า น าบร ร ทุ ก เ รื อ เอี้ ย มจุ๊ น มาขาย เช่ น พริ ก แกง มะพร้ า ว ที่ ม าจากทางบางช้ า ง และมหาชัย ส่ ว นสิ น ค้ า ที่ ช าวลาดชะโดส่งไปขายที่กรุงเทพฯ ได้แก่ ปลาที่ ห าได้ จ ากคลองลาดชะโด บรรทุกเรือไปส่งที่สะพานปลา ซึ่ง เลยท่ า เตี ย นไปทางคลองหั ว ลาโพง เมื่ อ กาลเวลาผ่ า นไป การพัฒนาเส้นทางคมนาคมทาง บกขยายตัวขึ้น การคมนาคมทาง น้าหมดความสาคัญลง ตลาดลาดชะโดจึง ค่อยๆ ซบเซาลง ร้านค้า ทยอยปิดตัวลงเช่นเดียวกับตลาด ชุมชนริมน้าอื่นๆ

ภาพประกอบ ๒ ภายในตลาดลาดชะโด เป็นห้องแถวไม้ หันหน้าเข้าหากัน

ภาพประกอบ ๓ ด้านหน้าตลาดด้านริมคลองลาดชะโดมองจากสะพานข้ามคลองลาดชะโด

๒. ทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนลาดชะโด การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนลาดชะโดเป็นการศึกษาเพื่อ เสนอแนวทาง การพั ฒ นาตลาดลาดชะโดโดยใช้ ทุ นทางวัฒ นธรรมเป็นตัว ขับเคลื่อน พบว่า ชุมชนลาดชะโดมีทุนทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจใน ๓ สาขา คือ สาขาศิลปะ สาขามนุษยศาสตร์ และสาขาคหกรรมศิลป์

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๖๑


๒.๑ สาขาศิลปะ ชุมชนลาดชะโดมีทุนทางวัฒนธรรม ในสาขา ศิลปะที่เด่นชั ด คือ ด้านสถาปัต ยกรรม ซึ่งชาวชุ ม ชน ลาดชะโดได้ร่วมกันอนุรักษ์อาคารบ้ านเรือนในชุ ม ชน จนได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม ดี เ ด่ น ประเภทชุ ม ชนพื้ น ถิ่ น คั ด เลื อ กโดย สมาคม สถาปนิ ก สยาม ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และอาคารเรียนไม้ใต้ถุนสูง รูปตัว E ที่สร้างขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งเป็นอาคารที่ยาวที่สุดในประเทศ ไทย ของ โรงเรี ย นวัด ลาดชะโด (ประกาศวิ ท ยาคาร) ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา ที่อยู่ติดกับตลาดลาดชะโด และวัดลาดชะโด ๒.๒ สาขามนุษยศาสตร์ ทุนวัฒนธรรมในสาขามนุษยศาสตร์นี้ ได้แก่ ขนบธรรมเนี ย ม ประเพณี ปรั ช ญา ค่ า นิ ย ม สั ง คม ซึ่งชุมชนลาดชะโด มีทุนวัฒนธรรมในสาขามนุษยศาสตร์ ที่น่าสนใจ คือ ๑) ประเพณี ไ หว้ ศ าลพ่ อ แก่ พ่ อ ศรี ไ พร ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่จัดเป็น ประจ าปี ทุก ปี สืบทอดกั น มา นานกว่าร้อยปี โดยมีความเชื่อว่า ถ้าจะขอสิ่งใดให้สาเร็จ จะต้องไปขอจากพ่อแก่ศรีไพรให้ช่วยเหลือ โดยจุดธูป ๑๖ ดอก บอกเล่าเปล่งวาจาหรืออธิษฐานจิตบอกกับพ่อ แก่ศรีไ พร ว่าถ้าสาเร็จตามสิ่งที่จะนาสิ่งของที่บอกเล่า หรือบนไว้ มาแก้บนกับพ่อแก่ศรีไพร การแก้บนจะทาได้ ในช่ ว งเวลาออกพรรษาแล้ ว คนที่ ม าร่ ว มพิ ธี จ ะเป็ น ลูกหลานของชาวบ้านลาดชะโด หรือคนที่เลื่อมใสศรัทธา ถึงแม้ว่าจะย้ายไปอยู่ ณ ที่แห่งใด เมื่อถึงประเพณีไหว้ ศาลเจ้าพ่อแก่พ่อศรีไพร จะมาร่วมพิธีกันทุกคน ศาลเจ้า พ่อแก่พ่อศรีไพรสมัยโบราณจะใช้ที่นาของชาวบ้านเป็น ที่ตั้งศาล ต่อมาย้ายขยับไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม โดยการเชิญร่างทรงมาบอกว่าจะใช้สถานที่ใดเป็น ที่ตั้ง ศาลถึ ง จะเหมาะสม ปั จ จุ บั น ขอใช้ ส ถานที่ ข องทาง ราชการเป็นที่ตั้งศาล สถานที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแก่พ่อศรีไพร ๖๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ตั้ง อยู่ริมถนนผักไห่ -ลาดชะโด หมู่ที่ ๕ ตาบลหนองน้า ใหญ่ ๒) ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้าลาด ชะโดเป็นชุมชนที่อยู่ริมน้า ซึ่งในนอดีตชาวลาดชะโด แห่ เทียนพรรษาทางน้ามาตลอด โดยใช้คลองลาดชะโดเป็น เส้นทางในการแห่เทียนผ่านบ้านเรือน ผ่านตลาดลาด ชะโด จนกระทั่ ง ถึ ง วั ด ลาดชะโด แต่ ต่ อ มาราวปี พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๒๙ ได้มีการสร้างถนนสาย ลาดชะโด ผักไห่ ขึ้น ตลาดลาดชะโดเริ่มซบเซาลง ชาวบ้านก็เริ่ม หั น มาใช้ ร ถแทนเรื อ ประเพณี แ ห่ เ ที ย นพรรษา ก็ เ ริ่ ม เลือนหายไป ชาวบ้านหันมาใช้ทางบกในการแห่เทียน พรรษาแทน ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ นายเกรียงศักดิ์ พิมพ์พันธุ์ดี นายกเทศมนตรีตาบลลาดชะโด มีแนวคิดใน การฟื้ น ฟู ป ระเพณี ก ารแห่ เ ที ย นพรรษาทางน้ า จึ ง ได้ ประสานงานความร่วมมือกันระหว่าง เทศบาลตาบลลาด ชะโด ชาวตลาดลาดชะโด และชาวบ้ า นลาดชะโด จั ด งานประเพณี แ ห่ เ ที ยนพรรษาทางน้าขึ้ นมาอีกครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) สานักงานพระนครศรีอยุธยา

ภาพประกอบ ๔ การแห่เทียนพรรษาทางน้าในปัจจุบัน


๓) ศาลเจ้ า ลาดชะโด เนื่ อ งจากคนใน ชุมชนตลาดลาดชะโดโดยส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีนจึง มี ศ าลเจ้ า ประจ าตลาด ซึ่ ง แต่ เ ดิ ม นั้ น ประวั ติ ก ารเกิ ด ศาลเจ้ า นั้ น มาจากความเชื่ อ ในสมั ย ที่ มี ก ารขุ ด คลอง ลาดชะโดนั้น หลังจากขุดเสร็จสิ้นมักเกิดเหตุเพลิง ไหม้ อยู่เสมอๆ ชาวชุมชนจึงได้เชิญซินแสชาวจีนมาดูเพื่อหา สาเหตุ ได้ความว่าจะต้องสร้างศาลเจ้าขึ้นริมน้าเพื่อไม่ให้ เกิดเหตุขึ้นอีก ซินแซได้บอกว่าคลองขุด ที่ตั ด ตรงจาก ลาดชะโดไปออกแม่ น้ าน้ อ ย ที่ บ ริ เ วณหน้ า วั ด ชี โ พน อาเภอ ผักไห่ ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตรนั้น คล้าย เป็ น ปล่ อ งไฟตรงมาหมู่ บ้ า นลาดชะโด ดั ง นั้ น จึ ง ได้ มี ก่อสร้างศาลเจ้าเป็นอาคารไม้ขึ้นที่ฝั่งตรงข้ามอยู่เยื้องกับ ตลาด และได้ทาการอัญเชิญเทพเจ้า โดยการอัญ เชิญ ควันธูป มาจากศาลเจ้าใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่ นั้ น มา ก็ ไ ม่ เ คยเกิ ด เพลิ ง ไหม้ ข นาดใหญ่ ใ นเขตพื้ น ที่ ลาดชะโดอีกเลย แต่ เ นื่ อ งจากศาลเจ้ า ริ ม น้ ามั ก จะใช้ ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อไม่ได้ในช่วงเวลาน้าท่วม รวมถึ ง ความไม่ ส ะดวกในการเดิ น ทาง สมาชิ ก ชุ ม ชน ตลาดลาดชะโดจึ ง ได้ ร่ ว มกั น สร้ า งศาลเจ้ า ขึ้ น อี ก แห่ ง อยู่ติดกับตัวตลาด ศาลเจ้าลาดชะโดแห่งใหม่นี้ใช้จัดงาน หรือประกอบกิจกรรมของชุมชน อาทิ งานงิ้วซึ่งจัดเป็น ประจ าทุ ก ปี และใช้ เ ป็ น พื้ น ที่ อ อกก าลั ง กายเต้ น แอโรบิกอีกด้วย หากมีการไหว้เจ้าหรือประกอบพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องกับศาลเจ้า จะมีตัวแทนไปอัญเชิญควันธูปมา จากศาลริมคลอง แล้วจึงอัญเชิญกลับเมื่อการประกอบ พิธีเสร็จสิ้น ๒.๓ สาขาคหกรรมศิลป์ ชาวลาดชะโดมีภูมิปัญญาและความสามารถ ในการประกอบอาหารหลายอย่าง โดยเฉพาะอาหารที่ ท าจากปลาและพื ช ผั ก พื้ น ถิ่ น เช่ น ปลารมควั น ปลา กระดี่วง แกงบอน แกงขี้เหล็ก ขนมดอกโสน นอกจากนี้ ยังมีการทานากระจับ ซึ่งเป็นพืชน้าพื้นถิ่นอีกด้วย

ภาพประกอบ ๕ ภูมิปัญญาและความสามารถในการประกอบอาหาร

แนวทางการพัฒนาตลาดลาดชะโด ให้เป็น ตลาดมีชีวิต และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาประวัติและทุนทางวัฒนธรรม ของชุมชนลาดชะโด ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนา ตลาดลาดชะโดไว้ดังนี้ ๑.การพัฒนาโดยใช้กระบวนการ การมีส่วนร่วม ผู้ วิ จั ย ร่ ว มกั บ คณะกรรมการพั ฒ นาตลาด ลาดชะโด ได้ ร่ ว มกั น ไปศึ ก ษาดู ง าน และแลกเปลี่ ย น เรียนรู้ประสบการณ์ก ารพัฒนาตลาด ที่ตลาดสามชุ ก อาเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ ได้ข้อสรุปที่เป็นแนวปฏิบัติ ว่าความสาเร็จของ การพั ฒ นาตลาดสามชุ ก เกิ ด จากคนใน ได้ แ ก่ พ่ อ ค้ า แม่ ค้ า ในตลาดสามชุ ก ส่ ว นนั ก วิ ช าการ ภาครั ฐ เป็ น องค์ประกอบที่จะช่วยหนุนเสริม ดังนั้น คณะกรรมการ พัฒนาตลาดลาดชะโด และเทศบาลตาบลลาดชะโดจึง ควรมี ก ารร่ ว มกันหารื อ และก าหนดภาพอนาคตของ ตลาดลาดชะโดร่วมกัน เพื่อใช้เป็นเป้าหมายหลัก ของ การพัฒนา แล้วจึงแสวงหาแนวทางในการทางานเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ในการทางานตามแนวทางที่ ก าหนด จะต้ อ งมี ก ารด าเนิ น การอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๖๓


หมั่ น พู ด คุ ย ให้ ก าลั ง ใจกั น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง รวมถึ ง การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตลาดอื่นๆ ๒.การส่งเสริมให้ตลาดลาดชะโดเป็นแหล่ง เรียนรู้ ก าร จั ด ให้ ต ลา ด เป็ น แห ล่ ง เรี ยน รู้ ด้ า น วั ฒ นธรรม เช่ น ประสานกั บ สถานศึ ก ษา ในการ มอบหมายให้ นั ก เรี ย น ได้ สื บ ค้ น ประวั ติ ศ าสตร์ และ วัฒนธรรมดั้ง เดิม เรื่องเล่าพื้นบ้าน ความเชื่อของชาว ตลาด สูตรอาหารสร้างชื่อของตลาด สร้างเป็นหลักสูตร ท้องถิ่น ซึ่ง จะส่ง ผลให้เด็ก และเยาวชน รู้ประวัติความ เป็ น มา รากเหง้ า ของตนเอง ร่ ว มสื บ สานวั ฒ นธรรม พื้ น ถิ่ น ของตนเอง โดยผ่ า นกระบวนการสื บ ทอด วัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในตลาดลาดชะโด เช่ น การประกวดวาดภาพ การประกวดภาพถ่ า ย การแสดงของเด็ ก ๆ เป็ น ต้ น อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ตลาดลาดชะโด เป็นตลาดที่มี ชีวิตชีวา โดยเฉพาะกิจกรรมสาหรับเด็ก เพราะเมื่อเด็ก มาร่ ว มกิ จ กรรม พ่ อ แม่ ผู้ ป กครองก็ จ ะตามมาด้ ว ย เด็ก๑ คน อย่างน้อยจะมีผู้ปกครองมาด้วย ๑ คน เมื่อมี คนเข้ามาร่วมกิจกรรมมาก โอกาสที่จะขายสินค้าได้ก็จะ เพิ่มขึ้นด้วย ๓.การส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วในตลาดลาด ชะโดและพื้นที่ใกล้เคียง จากการสารวจชุมชนลาดชะโด โดยการนั่งเรือ ไปตามลาคลองลาดชะโด พบว่า ศักยภาพในการด ารง รู ป แบบสถาปั ต ยกรรม จนได้ รั บ พระราชทานรางวั ล อนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทชุมชนพื้นถิ่น และรู ป แบบวิ ถี ชี วิ ต ริ ม คลองลาดชะโด น่ า จะเป็ น อี ก จุ ด เด่ น หนึ่ ง ที่ ห ากมี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งจริ ง จั ง ต่อเนื่อง จะช่วยกระตุ้นให้นักท่ องเที่ย วเข้า มาเที่ ย วที่ ตลาดลาดชะโดเพิ่มขึ้น ซึ่งเทศบาลตาบลลาดชะโดเองมี การจัดเรือสาหรับนักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะเยี่ยม ๖๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ชมวิถีชีวิตริมคลองลาดชะโดอยู่แล้ว สาหรับกิจกรรมแห่ เทียนพรรษาทางน้านั้น ถือเป็นกิจกรรมหลักที่ทาให้ชื่อ ของตลาดลาดชะโดติ ด หู นั ก ท่ อ งเที่ ย ว และนั บ เป็ น ความสาเร็จในการสร้างชื่อเสียง เป็นทางเลือกสาหรับ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว โดยคณะผู้ วิ จั ย ได้ มี โ อกาสไปเข้ า ร่ ว ม กิจกรรมการแห่เทียนพรรษาทางน้าที่จั ดโดยเทศบาล ต าบลลาดชะ โ ด ร่ ว มกั บก าร ท่ อ ง เที่ ย ว จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา พบว่า ในวันงาน มีปริมาณการซื้อ ขายสูง มาก ภายในตลาดคลาคล่าไปด้วยนักท่องเที่ยว แต่เป็นเพียงวันเดียวในรอบปี ดัง นั้น ข้อเสนอในเรื่อง ของการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องข้างต้น น่าจะเป็น ทางออกของการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในตลาดลาดชะโด วิธีหนึ่ง นอกจากนี้ ชุมชนลาดชะโดยังมีความพร้อมใน การจั ด การท่ อ งเที่ ย วแบบพั ก ค้ า ง เนื่ อ งจากมี บ้ า นที่ จัดเป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ ทั้งที่ตลาด และบ้านริมน้าใน ชุมชนลาดชะโด รวมถึงเรือนแพที่จอดอยู่หน้าตลาดอีก ด้วย ๔.การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละสิ น ค้ า ภายใน ตลาดลาดชะโด การค้าภายในตลาดลาดชะโด แบ่ง ออกเป็ น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่ทาการค้าโดยเปิดค้าขายเป็นประจ า ตามปกติ ทุ ก วั น ขายของช า เครื่ อ งสั ง ฆภั ณ ฑ์ และ เครื่องใช้ภายในบ้าน และ ส่วนที่ค้าขายเฉพาะวัน หยุ ด เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เน้นหนักการขาย อาหาร โดยผู้วิจัยมองเห็นว่าเป็นโอกาสในการพั ฒ นา ตลาดลาดชะโด และเศรษฐกิจของชาวชุ มชนลาดชะโด คือการพัฒนาฝีมือ ด้านการท าอาหารทั้ง อาหารหวาน และอาหารคาว ที่เป็นอาหารพื้นถิ่นของคนลาดชะโด ให้มีความหลากหลาย โดยเน้นการผลิตจากคนลาดชะโด ขายโดยคนลาดชะโด ไม่ใช่สินค้าจากท้องที่อื่น ขายโดย พ่อค้า-แม่ค้า ต่างถิ่น


อภิปรายผล จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของตลาด ลาดชะโด และทุนทางวัฒนธรรมในชุมชนลาดชะโด ใน ครั้งนี้ มีประเด็นที่ควรนามาอภิปราย ดังนี้ ๑. การปรับตัวของตลาดชุมชน จากการศึ ก ษาประวั ติ ข องตลาด ชุ ม ชน ลาดชะโด มาจนถึงสภาพปัจจุบันของตลาดลาดชะโด ทา ให้เห็นพัฒนาการของตลาด ซึ่งพบว่าตลาดลาดชะโดมี ความพยายามในการปรับตัวให้เข้ากับกระแสขอบริบ ท ทาง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยการสร้างจุดขาย ของความเป็นตลาดเก่าอยู่ในที่ตั้งที่ยังมีความเป็นชุมชน ชนบทภาคกลาง ให้ผู้คนได้เข้ามาท่องเที่ยว ซึมซับความ เป็นชนบทไทย และการรื้อฟื้นประเพณีแห่เทียนพรรษา ทางน้ า ขึ้ น มาเป็ น จุ ด ดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ในห้ ว ง ระยะเวลาที่กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมก าลั ง ได้รับความนิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่ง ไบรอล (Biral) ได้ ศึ ก ษา เรื่ อ ง วิ ธี ก ารที่ เ ป็ น ทางเลื อ กใหม่ ส าหรั บ การ วิ เคร าะ ห์ ต ลาดค้ า ขายแบบดั้ ง เดิ ม โดยเ ขาไ ด้ ทาการศึกษากรณีของบาลิ เคเซอร์ (Balikesir) ในการ วิจัยครั้งนั้น ไบรอล ได้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะที่เด่นที่สุดของ ตลาดค้าขายแบบดั้งเดิมว่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง โครงสร้ า งของเมื อ งกั บ โครงสร้ า งทางสั ง คม แต่ ใ น ปัจจุบันตลาดค้าขายแบบดั้งเดิมเหล่านั้น กาลังถูกทาให้ แปรสภาพไปเป็นศูนย์การค้าใหม่ๆ ย่านบ้านเมือง ดังนั้น ตลาดค้าขายที่ อยู่ ใจกลางเมืองมาแต่เ ดิม จึง ถู กละเลย และสู ญ เสี ย คุ ณ ค่ า ที่ เ คยมี ม า ในการเป็ น สถานที่ ที่ประชาชนได้มาพบปะกัน และอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ลงเรื่ อ ยๆ แลพผลการศึ ก ษาพบว่ า ลั ก ษณะทาง โครงสร้ า งของตลาดค้ า ขายแบบดั้ ง เดิ ม ได้ สู ญ เสี ย ความส าคั ญ ที่ เ คยมี ม าแต่ เ ดิ ม ไปเกื อ บจะสิ้ น เชิ ง จนเกือบจะไม่มีใครมองเห็น การเปลี่ยนสถานที่ค้ าขาย ให้เข้ากับลักษณะทางสังคม จะต้องเปลี่ยนให้เป็นไปตาม

ลั ก ษณะที่ จ ะช่ ว ยกระชั บ ความสั ม พั น ธ์ ท างสั ง คม ระหว่ า งส่ ว นประกอบต่ า งๆ ที่ มี อ ยู่ ใ นสั ง คม ในการ เปลี่ ย นบริ เ วณตลาดค้ า ขายแบบดั้ ง เดิ ม ให้ มี ลั ก ษณะ แบบดั้ง เดิมที่เ คยมีม า โดยให้ตลาดสามารถช่ว ยสร้ า ง ความสั ม พั น ธ์ ท างสั ง คมให้ ม ากขึ้ น นั้ น จะต้ อ งมี ก าร จั ด ระบบถนนหนทาง (paths) และจั ตุ รั ส หรื อ สี่ แ ยก ต่างๆ (nodes) ใหม่ ให้มีสภาพที่จะเดินพบปะกันได้ง่าย โดยไม่ ต้ อ งกั ง วลเรื่ อ งการกี ด ขวางทางจราจรของ ยวดยานพาหนะ จัดให้มีดุลยภาพระหว่างบริเวณที่จะซื้อ ขาย กับบริเวณที่ผู้คนจะมาพบปะกันทางสังคม (Gaye Biral, 2003 : 63-74) ดังนั้น จึงเป็นประเด็นที่คณะกรรมการพัฒนา ตลาดลาดชะโด เทศบาลตาบลลาดชะโดและชาวชุมชน ลาดชะโดจะต้องขบคิดร่วมกันว่า กระบวนการในการ ปรั บ ตั ว ของตลาดลาดชะโดในอนาคตจะเป็ นอย่างไร เพื่อให้ตลาดและชุมชน ยังอยู่ได้ภายใต้บริบทของความ เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เบญจา จันทร ศึกษาแนวทางการพัฒนา ตลาดดอนหวาย อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของ ชุ ม ชน พบว่ า ตลาดดอนหวายมี ศั ก ยภาพในการเป็ น แหล่ง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมี ส่วนร่ว มของ ชุมชน เพราะมีความพร้อมด้านสิ่งอานวยความสะดวก และความสามารถในการเข้าถึง มีการบริหารจัดการใน รูปคณะกรรมการซึ่งเป็นคนท้องถิ่น และเสนอแนวทาง ในการพัฒนาตลาดดอนหวายว่าควรมีการพัฒนาใน ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านสิ่งอานวยความสะดวกขั้นสูง ควรเพิ่ม สิ่งที่ยังไม่เพียงพอให้กับนักท่องเที่ยว ๒) ด้านบุคลากร ควรมีการจัดการอบรมประชาชนในท้องถิ่นให้มีความรู้ ด้านการบริหารจัดการ การให้บริการ และการต้อนรับ นักท่องเที่ยว และ ๓) ด้านความพร้อมของชุมชน ในการ ดูแลสิ่ง แวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการเป็น แหล่งท่องเที่ยว วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๖๕


๒.การใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการพัฒนา จากการลงพื้ น ที่ วิ จั ย ได้ มี โ อกาสได้ รั บ รู้ ประวัติศาสตร์ของตลาดลาดชะโดและทุนทางวัฒนธรรม ในชุ ม ชนลาดชะโด พบว่ า ตลาดลาดชะโดมี ทุ น ทาง วั ฒ นธรรมค่ อ นข้ า งสู ง หากมี ก ารบริ ห ารจั ด การที่ เหมาะสม จะสามารถนาตลาดและชุมชนลาดชะโดไปสู่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งพรศิริ กองนวล และคณะ วิ จั ย เรื่ อ ง “การจั ด การความรู้ ก ารอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรการท่องเที่ยวตลาดคลองสวน ๑๐๐ ปี จังหวัด สมุทรปราการ” พบว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยวตลาด คลองสวน ๑๐๐ ปี จังหวัดสมุทรปราการ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑) ทรัพยากรการท่องเที่ยวธรรมชาติ ๒) ทรัพยากรประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศาสนา ๓) ทรัพยากรวัฒนธรรมประเพณี เทศกาล ปรากฏการณ์สาคัญ โดยมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สาคัญ คือ เทศกาลและปรากฏการณ์สาคั ญ อาหาร ของฝาก ของที่ระลึก และการเดินชมตลาดและบริการเรือชมวิถี ชีวิต สาหรับองค์ประกอบในการอนุรักษ์ทรั พยากรการ ท่องเที่ยวที่สาคัญคือ เทศบาลตาบลคลองสวน ที่ให้การ สนับสนุน ส่งเสริม ในรูปแบบต่างๆ มีระบบการจัดการที่ ดี มี ก า ร ด า เ นิ น ก า ร อ ย่ า ง ต่ อ เ นื่ อ ง ป ร ะ ช าชน มีความตระหนัก และภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตลาด คลอ ง สว น ร้ อ ยปี และ นั ก ท่ อ ง เที่ ย ว โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวในกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ๓. กระบวนการมีส่วนร่วมของชาวลาดชะโด การพัฒนาที่จะเกิดผลดี ควรเป็นการพัฒนาที่ เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกตลาดและ ชุมชนลาดชะโด ซึ่ง จะเป็นแรงเกาะเกี่ยวภายในชุมชน และมี อิ ส ระที่ จ ะคิ ด หาแนวทางไปสู่ อ นาคตที่ ชุ ม ชน คาดหวัง ซึ่งเรื่องของกระบวนการมีส่วนร่วมนี้ สักรินทร์ แซ่ภู่ ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทย์วงศ์ และมนต์ทวี จิระวัฒน์ทวี ที่ศึกษาเรื่อง “กระบวนการขับเคลื่อนโดยชุมชนท้องถิ่น ๖๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

ในมิติของการอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ : กรณีย่านตลาด ร้อยปีสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี” (๒๕๕๐, หน้า ๙-๘๕) ซึ่งพบว่า กลไกที่เอื้อให้เกิดการตัดสินใจต่อแนวทางการ อนุ รั ก ษ์ แ ละฟื้ น ฟู ย่ า นตลาดคื อ การร่ ว มมื อ กั น ของ สมาชิกในชุมชน และความร่วมมือของหลายๆฝ่ายทั้ ง ชุมชน หน่วยงานรัฐท้องถิ่น หน่วยงานระดับจังหวัด และ ภาคีความร่วมมืออื่นๆ และทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบกัน ได้

ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะใน ๒ ประเด็น คือ ๑. ข้ อ เสนอแนะในการน าผลการวิ จั ย ไปใช้ ประโยชน์ ๒. ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป ๑. ข้อ เสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้ ประโยชน์ จากผลการวิจัยทาให้ได้แนวทางในการพัฒนา ตลาดชุมชนลาดชะโด ให้เป็นตลาดมีชีวิต และมี ค วาม มั่นคงทางเศรษฐกิจ ดังนี้ ๑.๑ องค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่น ควรมี การกาหนดนโยบายและจัดสรรงบประมาณที่จะเข้ าไป หนุนเสริมการพัฒนาตลาด ทั้ง ด้านการประกอบอาชีพ การประชาสัมพันธ์ และช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่าง เป็นเนื้อเดียวกับชาวตลาด ๑ .๒ สถาน ศึ ก ษา คว ร ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก า ร ศึ ก ษ า ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ท้ อ ง ถิ่ น ทั้ ง ใ น แ น ว ประวั ติ ศ าสตร์ บ อกเล่ า และการสื บ ค้ น จากเอกสาร จัดทาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ๑.๓ หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวควรเข้า มาให้ ค วามรู้ และสนั บ สนุ น การให้ บ ริ ก ารด้ า นการ ท่ อ งเที่ ย ว รวมถึ ง การจั ด การท่ อ งเที่ ย วในเชิง อนุรักษ์


และเป็นพี่เลี้ยงให้กับชาวตลาด รวมถึงการจัดฝึกอบรม ให้เด็กและเยาวชนสามารถเป็นผู้นาชมได้ ๒. ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการทาวิจัยในพื้นที่ตลาดและชุมชนลาด ชะโดอีกครั้ง หลังจากการพัฒนาตลาดโดยแนวทางการ พั ฒ นาที่ น าเสนอในงานวิ จั ย นี้ เพื่ อ ศึ ก ษาคว าม เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของคนในชุมชนลาดชะโด

บรรณานุกรม กาญจนา แก้วเทพ. (๒๕๓๘). การพัฒนาแนววัฒนธรรม ชุมชน: โดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา. กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (๒๕๕๗). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. ค้น เมื่อ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ จาก www.bu.ac.th/ knowledgecenter/executive_journal/oct _dec_12/pdf/aw๐19.pdf> ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคนอื่นๆ. (๒๕๕๗). การสารวจสถานะ องค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาทุนวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์: รายงานความก้าวหน้าการวิจัย ครั้งที่ ๑. พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. เทศบาลตาบลลาดชะโด. (๒๕๕๕). ประวัติตลาดลาดชะโด. ค้นเมื่อ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕, จาก www.nmt. or.th/ayutthaya/latchado/Lists/List35/AllItem s.aspx เบญจา จันทร. (๒๕๔๕). แนวทางการพัฒนาตลาดดอนหวาย อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชน. (การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ ศศ.ม.). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (๒๕๓๖). ตัวอย่างข้อเขียนที่ น่าสนใจของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในส่วนทีเ่ กี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมกับการพัฒนา. คณะกรรมาธิการการ

ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสการ ประชุมสมัชชา ศิลปวัฒนธรรมไทย เรื่อง "ทิศทางศิลปะและ วัฒนธรรมไทย" วันที่ ๑๖ – ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ ณ ห้องประชุมรัฐสภา. ภัคพัฒน์ ทิพยประไพ. (๒๕๔๐). แนวคิดวิถีการผลิตแบบ เอเชียกับการอธิบายหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทคอมแพคท์พริ้นท์ จากัด. ยศ สันตสมบัติ. (๒๕๔๐). มนุษย์กับวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สักรินทร์ แซ่ภู่, ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ และมนต์ทวี จิระวัฒน์ทวี. ย่านตลาด ๑๐๐ ปีสามชุกกับกลไกชุมชนในมิติการ อนุรักษ์. โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไทย สานักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน). สานักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๕). สืบค้นเมื่อ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ จาก ayutthaya.mots.go.th/index.php?lay=show&a c=article&Id=53882870&Ntype=2 สานักงานวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี. (๒๕๕๗). สืบค้นเมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗. http://www.m-culture.go.th/ ewtadmin/ewt/nonthaburi/ ewt_news.php?nid=101&filename=index สาราญ ผลดี. ศิลปวัฒนธรรม. จาก www.thonburiu.ac.th/ce/artandculture.doc> Jiang Shixue. (2008). Cultural Factors and Economic Performance in East Asia and Latin America. From orpheus.ucsd.edu/las/ studies/ pdfs/jiang.pdf Story, John. (1999). Cultural Consumption and Everyday Life. London: Aruold. Gaye Biral. (2008). An Alternative Approch for Analysis of Traditional Shopping Spaces and a Case Study on Balikesir. From www.trakya.edu.tr/Enstituler/FenBilimleri /fenbilderi/index.php

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๖๗


บทความวิจัย สาขาการจัดการ

การศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ พฤติกรรมความขัดแย้ง ด้านวัฒนธรรมการทางานของบุคลากรภายในธุรกิจโรงแรม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา The Study of Satisfaction on Conflict Behavior Learning on Cultural Operation of Hotel’s Employees, Ayutthaya District in Ayutthaya มนภัทร บุษปฤกษ์ / Monnapat Bussaparoek ตาแหน่งอาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาความพึง พอใจในการเรียนรู้พฤติกรรมของบุคลากรด้านความ ขัดแย้ง และวัฒนธรรมในการทางานในธุรกิจ โรงแรม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จั ง หวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่ง การ ศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมความขัดแย้งด้านการบริหารจัดการ วัฒนธรรมการทางานของบุคลากร ภายในธุ ร กิจ โรงแรม อ าเภอพระนครศรีอ ยุธ ยา จั ง หวั ด พระนครศรี อยุ ธยา โดยมี ก ลุ่ ม ตั ว อย่ า งประชากรทั้ง หมด ๔๐๐ คน โดยการใช้การนาแบบสอบถามไปให้ผู้ตอบด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงคุณลักษณะของ ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าสูง สุด ค่าต่าสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าบุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิด เป็นร้อยละ ๕๑.๗๕ เพศชายร้อยละ ๔๘.๒๕ จากการตอบแบบสอบถามโดยภาพรวมพบว่าบุคลากรมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ พฤติกรรมด้านความขัดแย้งและวัฒนธรรมในการทางาน โดยให้ความสาคัญดังนี้ ๑. มีความพึงพอใจในการทางานที่มี อิสระ ๒. มีโอกาสในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน ๓. มีการเปิด โอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทางานร่วมกัน ตามลาดับ ซึ่งส่งผลให้บุคลากรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนา ทักษะด้านการเรียนรู้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทางานของบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คาสาคัญ : ความพึงพอใจ การเรียนรู้ ความขัดแย้ง

๖๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


Abstract The study of satisfaction on conflict behavior learning on cultural operation of hotel’s employees, Ayutthaya District, Ayutthaya aims to examine the satisfying on behavior learning of personnel conflict and cultural operation in the hotel business. In this study were analyzed the conflict behavior learning on cultural operation of hotel’s employees, Ayutthaya District, Ayutthaya. This study used self-administration collecting the data from 400 sample employees of hotels in Ayutthaya. This study used the mean, maximum, minimum, and standard deviations for data analysis. The results found that most of the participants are women with 51.75 percent and men with 48.25 percent. From the overall of respondents found that hotel’s employees are satisfied on conflict behavior learning on cultural operation. This study revealed that 1. Hotel’s employee are satisfied with freedom to work on their own, 2. They are able to make a decision to resolve problems for reducing conflict problems in workplace and 3. Employees have opportunities in consultation with their coworkers, respectively. These resulted in work creativity, initiation and develop their learning skills in order to create work motivation with the most effective of employees. Keywords: satisfaction, learning, conflict.

๑. บทนา การศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมความ เป็นอยู่ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษได้มีการสืบสานวัฒนธรรม ความเป็ น ไทย สื บ เนื่ อ งมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น มี ก ารศึ ก ษา วั ฒ นธรรมแบบดั้ ง เดิ ม เกี่ ย วกั บ จารี ต ประเพณี ก าร แต่งกาย รวมถึงกิริยามารยาทงามอย่างไทย เนื่องจาก การแต่ง กายที่ สุภ าพเรีย บร้ อยประกอบกับ อิริย าบถที่ สง่างามต่างๆแบบไทยดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็น ไทยสมัยโบราณ ซึ่งจากอดีตจนถึง ปัจจุบันมีการเติ บโต ทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวผสมผสานกับ ค่ า นิ ย ม ตะวันตกที่เข้ามาสู่ประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการ จ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง วัฒนธรรมจารีตประเพณี ไทยก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งส่งผลให้เกิด ความ หลากหลายทางด้านวัฒนธรรมที่มีการเติบโตรองรับกับ การท่องเที่ยว และส่ง ผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิ จ และ สังคมในการพัฒนาการท่องเที่ยวและการบริการ ดังนั้น ปั จ จั ย ที่ ส าคั ญ ต่ อ การอยู่ ร่ ว มกั น ในสั ง คมภาคธุ ร กิ จ บริการควรมีระเบียบแบบแผนปฏิบัติสืบทอดวัฒนธรรม ที่ดีงามแบบยั่งยืน ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่มีการแข่งขันสูงในสังคมและการทางานให้ทันกับการ เปลี่ ย นแปลงทางด้ า นสั ง คมและวั ฒ นธรรม จาก ขนบธรรมเนีย มประเพณี ไ ทยเกี่ย วกั บ วัฒนธรรมและ ความเป็ น อยู่ ไ ด้ เ ริ่ ม มี ก ารเปลี่ ย นแปลงท าให้ อิ ริ ยาบถ ต่างๆที่มีความเป็นไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงตามวิถีชีวิต ที่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลทาให้ บุคลากรในภาคธุรกิจต่างๆมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาปรับใช้มากขึ้น และ ในด้านการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมดีงามแบบไทย เริ่มสูญหาย ถือว่าเป็นสาเหตุที่ทาให้เกิดการละเลยหรือ เพิ ก เฉยต่ อ การปรั บ ตั ว เข้ า กั บ สั ง คม ซึ่ ง โดยส่ ว นใหญ่ ยึดหลักและค่านิยมแบบตะวันตกเพิ่มขึ้น โดยแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๖๙


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมโรงแรมหรือธุรกิจ การบริการซึ่ง เป็นสัง คมหนึ่งที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมมากที่สุด ไม่เพียงแต่มีความหลากหลายของ ลู ก ค้ า แต่ บุ ค ลากรในโรงแรมก็ มี ค วามหลากหลาย ทางด้ า นวั ฒ นธรรมพื้น ฐานของแต่ ล ะบุ ค คล ซึ่ ง ความ หลากหลายทางด้านวัฒนธรรมพื้นฐานของแต่ละบุคคล นั้ น มี ค วามส าคั ญ อย่ า งยิ่ ง เพื่ อ รั บ มื อ กั บ ความขั ด แย้ ง ทางด้ า นวั ฒ นธรรมระหว่ า งบุ ค ลากรภายในโรงแรม อย่างไรก็ตาม การฝึกอบรมส่วนใหญ่ในองค์กรเกี่ยวกับ ธุ ร กิ จ การบริ ก ารไม่ ไ ด้ เ น้ น ในเรื่ อ งของศี ล ธรรม จรรยาบรรณ วั ฒ นธรรมที่ เ หมาะสมในองค์ ก รซึ่ ง ส่วนใหญ่เน้นการฝึกอบรมทางด้านภาษาต่างประเทศ มากกว่ า ซึ่ ง วั ฒ นธรรมแต่ ล ะสั งคมแต่ ล ะกลุ่ ม มี ค วาม แตกต่างกันและมีคุณค่าตามหลักจรรยาบรรณของแต่ละ กลุ่ม คุณค่าทางวัฒนธรรมของกลุ่ มสัง คมนั้น แสดงให้ เห็นถึง หลักจรรยาบรรณของวัฒนธรรมนั้น อย่างไรก็ ตามหลักจรรยาบรรณของวัฒนธรรมนั้นอาจไม่มีคุณค่า กั บ อี ก กลุ่ ม สั ง คมอื่ น ดั ง นั้ น การส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ พฤติ ก รรม การฝึ ก อบรม ที่ เ กี่ ย วกั บ วั ฒ นธรรมอั น หลากหลายเป็นสิ่ง ที่จาเป็นที่ธุรกิจบริการหรือโรงแรม ต้ อ งมี ก ารฝึ ก อบรมและก าหนดหลั ก จริย ธรรมเพื่ อให้ คุณค่ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง เมื่อบุคลากรได้รับการ ฝึ ก อบรมหรื อ การให้ ค วามรู้ ใ นเรื่ อ งพฤติ ก รรมและ วัฒนธรรมที่หลากหลาย บุคลากรเหล่านั้นจะสามารถลด ความขัดแย้งระหว่างพนักงานในการรับมือกับวัฒนธรรม ที่แตกต่างและเสริมสร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้ดีขึ้นได้ (Lee และ Lee 2014) ซึ่ ง ลั ก ษณะความขั ด แย้ งทางด้ า นวัฒ นธรรม และความขั ด แย้ ง ซึ่ ง เกิ ด จากระหว่ า งบุ ค ลากรหรื อ วั ฒ นธรรมที่ แ ตกต่ า งกั น นั้ น อาจเกิ ด จากคุ ณ ค่ า ทาง วัฒนธรรมของแต่ละบุคคลต่างกันซึ่งบางวัฒนธรรมไม่ สามารถใช้วัฒนธรรมร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นประเพณี และทัศนคติที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล ปัญหาที่ เกิดขึ้นจาก ๗๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

การมีวัฒนธรรมที่ต่างกันส่งผลให้การสื่อสารนั้นมีปัญหา การหลี ก เลี่ ย งการสนทนา การหลี ก เลี่ ย งการท างาน ร่วมกันหรือการไม่ทาความเข้าใจซึ่งกันและกันเมื่อ เห็น ว่าคนอื่นมีทัศนคติที่ไม่ตรงกันกับตน (Xu: 2008) รวมถึง ความเกลี ย ดชั ง กันในที่ ท างานของบุ ค ลากร (Cerović และคนอื่นๆ 2011) มีนักวิจัยอ้างอิงไว้ว่า “การหยุดการ สนทนานั้นเป็นสิ่งที่นาไปสู่ความขัดแย้ง การฝึกทักษะ การสนทนาที่ดีและการเจรจาต่อรองจึงเป็นสิ่งที่สาคัญใน การพั ฒ นาวิ ธี ก ารแก้ ปั ญ หาอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (Silverthorne: 2005) ในฐานะผู้ วิ จั ย เป็ น อาจารย์ ป ระจ าอยู่ ค ณะ วิทยาการจัดการ สาขาการท่ องเที่ ยวจึง มี ความสนใจ เกี่ ย วกั บ การเรี ย นรู้ พ ฤติ ก รรมความขั ด แย้ ง ด้ า น วัฒนธรรมของบุคลากรภายในธุรกิจ โรงแรม เกี่ยวกับ การเรียนรู้วัฒนธรรม ค่านิยม ประเพณีของสังคมไทยอัน ดี ง ามให้ ส อดคล้ อ งกั บ บริ บ ททางสั ง คมไทย เพราะ พฤติ ก รรมการแสดงออกของแต่ ล ะบุ ค คลใน สั ง คม ปัจจุบันได้รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้าปรับเปลี่ยนวิถี ชีวิตและค่านิยมของสัง คมไทย ซึ่ง การแสดงออกด้ า น พฤติกรรมทางสัง คมนั้น ถือว่าเป็นสัง คมของผู้มีเกีย รติ (อมร สังข์นาค) เป็นสังคมแบบสยามเมืองยิ้มเพื่อนามา พัฒนาธุรกิจด้านบริการ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย อย่างยั่งยืน

๒. วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่ อ ศึ ก ษาความพึ ง พอใจต่ อ การเรี ย นรู้ พฤติกรรมของบุคลากรด้านความขัดแย้งและวัฒนธรรม ในการทางานในธุรกิจโรงแรม

๓. ขอบเขตการศึกษา ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาความพึงพอใจ ต่อการเรียนรู้พฤติกรรมความขัดแย้งด้านวัฒนธรรมการ


ท างานของบุ ค ลากรภายในธุ ร กิ จ โรงแรม อ าเภอ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา กลุ่ ม ตัวอย่างของการวิจัยคือ พนักงานทุกระดับชั้นในโรงแรม อาเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผู้วิจัยใช้การนาแบบสอบถามไปให้ผู้ตอบด้วยตนเอง ๔๐๐ ตั ว อย่ า ง เพื่ อ เป็ น การเรี ย นรู้ พ ฤติ ก รรมความ ขั ด แย้ ง ด้ า นการจั ด การวั ฒ นธรรมการท างานของ บุ ค ลากรภายในโรงแรม อ าเภอพระนครศรี อ ยุ ธ ยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอบเขตด้านประชากร/กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็น พนักงานที่ทางาน ในโรงแรมทุ ก ระดั บ ชั้ น ๔๐๐ คน ซึ่ ง ทั้ ง หมดมี ค วาม เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของบุคลากรด้านการเรียนรู้ พฤติ ก รรมความขั ด แย้ ง และวั ฒ นธรรมในการท างาน เพื่อนาไปพัฒนาพฤติกรรมของพนักงานในการปฏิบัติ หน้าที่ในการทางานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

๔. วิธีการดาเนินงานวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยเรื่องการศึ กษาความพึง พอใจต่ อ การเรียนรู้พฤติกรรมความขัดแย้งด้ านวัฒนธรรมการ ท างานของบุ ค ลากรภายในธุ ร กิ จ โรงแรม อ าเภอ พระนครศรีอยุธยา จั งหวัดพระนครศรีอยุธยา ทาการ เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ของบุ ค ลากรโรงแรมทุ ก ระดั บ ชั้ น จานวน ๔๐๐ คนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นความจริงถู กต้อง และเชื่อถือได้ให้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล แสดงคุณลักษณะของข้อมูล จานวนค่าเฉลี่ย ค่ า สู ง สุ ด ค่ า ต่ าสุ ด และค่ า เบี่ ย งเบนมาตรฐาน กลุ่ ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือพนักงานโรงแรม ใน อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุ ธยา

โดยกาหนดขนาดกลุ่ม ตั วอย่ างด้วยการหาค่า จากการ ค านวณตามสู ต รของ Yamane, 1967 ในการก าหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ ๙๕ ทา ให้ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่สามารถเชื่อถือได้จานวน ๓๘๔.๑๖ คน แต่เพื่อความสะดวกในการสุ่ มตั ว อย่ า ง แบบสอบถามจึ ง ก าหนดเป็ น ๔๐๐ ตั ว อย่ า ง ซึ่ ง เป็ น ขนาดกลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ เ หมาะสมในการอ้ า งอิ ง กลุ่ ม ประชากร วิธีการสุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้ เทคนิ คการสุ่ม ตั วอย่ างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ เ ป็ น พนั ก งานของโรงแรม ทุกระดับชั้น จานวณ ๔๐๐ คน และสุ่มโรงแรมที่ตั้ง อยู่ ในอาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ จ ะท าการเก็ บ รวบรวมข้ อมู ล ของกลุ่ ม ตั ว อย่ า งแบบ (Simple Random Sampling) ซึ่ ง ไ ด้ ก ลุ่ ม ตั ว อ ย่ า ง โรงแรม ๘ แห่ ง ได้ แ ก่ โรงแรมกรุ ง ศรี ริ เ วอร์ อยุ ธ ยา โรงแรมวรบุรีอโยธยาคอนเวนชั่นรีสอร์ท โรงแรมอโยธยา ริเวอร์ไซด์ โรงแรมริเวอร์วิว เพลส โรงแรมไอยูเดีย ออน เดอะ ริ เ วอร์ โรงแรมศาลา อยุ ธ ยา โรงแรมคลาสสิค คามิโอ โฮเต็ล แอนด์ เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ อยุธยาและ โรงแรมอโยธยา โดยผู้ วิ จั ย ท าการเก็ บ รวบรวมข้ อมูล แบบสอบถามของพนั ก งานโรงแรมดั ง กล่ า วแห่ ง ละ ๕๐ ชุ ด เพื่ อ จะได้ จ านวณขนาดกลุ่ ม ตั ว อย่ า งทั้ ง หมด ๔๐๐ ชุด

๕. ผลการวิจัย จากผลการวิ จั ย พบว่ า บุ ค ลากรส่ ว นใหญ่ ใน โรงแรมเป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ ๕๑.๗๕ มีจานวน ๒๐๗ คน เพศชายคิ ด เป็ น ร้ อ ยละ ๔๘.๒๕ มี จ านวน ๑๙๓ คน มีความพึง พอใจในการเรียนรู้พฤติกรรมของ บุคลากรด้านความขัดแย้งและวัฒนธรรมในการทางาน ในธุ ร กิ จ โรงแรม และจากการตอบแบบสอบถามโดย

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๗๑


ภาพรวม ผู้ ต อบแบบสอบถามได้ ใ ห้ ค วามส าคั ญ เรื่ อ ง ความพึงพอใจในการทางานที่มีอิสระมากที่สุด คิดเป็น ร้ อ ยละ ๓๐.๕ ซึ่ ง มี ค่ า เฉลี่ ย อยู่ ที่ ๖.๐๐ และค่ า ส่ ว น เบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ ๑.๒๗ รองลงมาคือ มีโอกาสใน การตั ด สิ น ใจในการแก้ ไ ขปั ญ หาต่ า งๆ เพื่ อ ลดปั ญ หา ความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ ๓๐ ซึ่งมี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๖.๐๐ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ ๑.๒๑ และสิ่งสุดท้ายบุคลากรสนใจในประเด็น การเปิ ด โอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทางานร่วมกัน คิด เป็นร้อยละ ๔๓.๓ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๖.๐๐ และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ ๑.๐ ตามลาดับ

๖. การอภิปรายผล การวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับผลการวิจัยของ มนภัทร บุษปฤกษ์ (๒๕๕๖) ในด้านการเรียนรู้พฤติกรรม ความขั ด แย้ ง ด้ า นวั ฒ นธรรมการท างานของบุ ค ลากร ภายในธุรกิจโรงแรม อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา พบว่างานวิจัยในครั้งนี้บุคลากรส่วน ใหญ่ มีความพึง พอใจในการเลือ กวิธี ในการท างาน ซึ่ง สอดคล้ อ งกั บ ในงานวิ จั ย ของ Dupnock (2010) เน้ น การทางานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยังสอดคล้องกับ งานวิจัยของ Wubuli (2009) มีอิสระในการตัด สิ น ใจ ทางานและมีโอกาสทางานด้วยตัวเอง เกิดความมั่นคงใน การท างานยั ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ Rumman (2011) เกิ ด การหางานใหม่ น้ อ ยลงยั ง สอดคล้ อ งกั บ งานวิจัยของ Toker (2011) กระตือรือร้นในการทางาน และสนุ ก กั บ งานท าให้ เ กิ ด ความพึ ง พอใจในเรื่ อ งของ อั ต ราเงิ นเดื อนที่ไ ด้รั บ และสอดคล้ อ งกับ งานวิจัยของ Kahya (2007) และ Deadrick และ Gardner (2008)

๗๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

๗. สรุปผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย การเรี ย นรู้ พ ฤติ ก รรมความขั ด แย้ ง ด้ า น วั ฒ นธรรมและการบริ ก ารของบุ ค ลากรภายในธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม อ า เ ภ อ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า จั ง ห วั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา เพื่ อ ศึ ก ษาความพึ ง พอใจในการ เรี ย นรู้ พ ฤติ ก รรมของบุ ค ลากรด้ า นความขั ด แย้ ง และ วัฒนธรรมในการทางานในธุรกิจโรงแรม พบว่าบุคลากร มีความพึงพอใจในการทางานที่มีอิสระและเปิดโอกาสใน การตั ด สิ น ใจในการแก้ ไ ขปั ญ หาต่ า งๆ เพื่ อ ลดปั ญ หา ความขัดแย้ง ในการปฏิบัติงานและยัง เปิดโอกาสให้ทุก คนได้มีส่วนร่วมในการทางานร่วมกัน ซึ่งเป็นผลดีต่อการ พัฒนาองค์กร บุคลากรในโรงแรมและธุรกิจการบริการ

๘. ข้อเสนอแนะ ๑. ควรมี ก ารศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ประสิทธิภาพการทางานของบุคลากรเพื่อเปรียบเที ยบ กับตาแหน่ง งานที่ไ ด้รับผิด ชอบในธุรกิ จการบริก ารใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒. ควรมี ก ารพั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพในการ ทางานต่อการตัดสินใจในการแก้ปัญหาความเสี่ยงในการ ปฏิ บั ติ ง านภายใต้ ส ภาพแวดล้ อ มที่ เ ปลี่ ย นแปลงใน ก ร ะ บ ว น ก า ร จั ด ก า ร ธุ ร กิ จ โ ร ง แ ร ม ใ น จั ง ห วั ด พระนครศรีอยุธยา ๓. นั ก วิ จั ย และนั ก วิ ช าการควรมี ก ารจั ด ฝึกอบรมในเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่าง การปรับตัวให้เข้า กั บ สั ง คมวั ฒ นธรรมอื่ น และการเรี ย นรู้ วั ฒ นธรรมใน องค์กร


๙. เอกสารอ้างอิง มนภัทร บุษปฤกษ์. (๒๕๕๖). ความสัมพันธ์ของรูปแบบการ จัดการความขัดแย้งต่อความพึงพอใจในงานของ พนักงานและผลของงานในโรงแรมระดับห้าดาวใน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การจัดการ มหาบัณฑิต วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. อมร สังข์นาค. (๒๕๕๕). วิถีธรรมวิถีไทย. ค้นเมื่อวันที่ วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ จาก www.nayoktech.

ac.th/ ~amon/in11_2.html Cerović, Z., Kvasić, S.G., Cerović, M. (2011). The impact of national culture on the hotel organizational culture. Management International Conference. Retrieved January 14, 2016 Deadrick, D. & Gardner, D. (2008). Maximal and typical measures of job performance: an analysis of performance variability over time. Human Resource Management Review, 18(3), 133-145. Dupnock, L. (2010). Independent restaurant employee job satisfaction in college towns. PhD, Indiana University of Pennsylvania. Retrieved August 16, 2012. Kahya, E. (2007). The effects of job characteristics and working conditions on job performance. International Journal of Industrial Ergonomics, 37(6), 515-523. Lee, B. & Lee, S. (2014). Ethical conflicts and cultural differences among employees in the hospitality industry, MBA Student Scholarship, 1-21. Retrieved January 13, 2016 Rumman, M. (2011). Factors affecting job satisfaction of the employees in travel and tourism companies in Amman. Euro Journals, 78-90.

Silverthorne, C. P. (2005). Organizational psychology in cross-cultural perspective, New York University Press. New York and London. Toker, B. (2011). Job satisfaction of academic staff: an empirical study on Turkey. Quality

Assurance in Education, 19(2), 156-169. Wubuli, A. (2009). A study on the factors affecting job satisfaction among employees of

fast food restaurants. Master Thesis, University Utara Malaysia. Retrieved August 16, 2012 Xu, L. (2008). A framework for intercultural training in hotel workplaces. A dissertation,

Auckland University of Technology, Retrieved January 13, 2016 Yamane T. (1967). Statistics, an introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper and Ro

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๗๓


พระปรางค์วัดเชิงท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพ: ธนิสร เพ็ชรถนอม

๗๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


จดหมายเหตุพระนครศรีอยุธยา บันทึกเหตุการณ์สาคัญเพื่อเป็นความทรงจาร่วมกันของชาวอยุธยา

โดย พัฑร์ แตงพันธ์

เรื่องเล่าจากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู: หนึ่งในความทรงจา ๑๑๑ ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

อาคารเรียน โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา ที่มา: โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา, ๒๕๕๙, www.facebook.com/จดหมายเหตุ ARU

ระยะเวลา ๑๑๑ ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่มาบรรจบรอบใน วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ นั้น มิได้เริ่มต้นจากการเป็น “มหาวิทยาลัย” และมิได้มีสถานที่ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ปัจจุบันมาตั้งแต่แรกสร้าง หากแต่ สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อร่างจนมาเป็นมหาวิทยาลัยนั้น มีพัฒนาการอย่างเป็นลาดับ เริ่มจากการเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูกรุงเก่า ตั้งอยู่หลังพระราชวังจันทรเกษม จากนั้นย้ายไปที่ตาหนักเพนียดระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายมาตั้ง อยู่ ณ กรมทหารเก่าใน ย่านหัวแหลม แล้วจึงแยกย่อยออกไปสร้างใหม่ ๒ โรงเรียน คือ โรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา หรือ ฝค.อย. ซึ่ง เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชาย มีที่ตั้งอยู่ข้างวัดวรโพธิ์ ทางตอนเหนือของตัวเมือง จึงมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “บ้าน เหนือ” และ โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา หรือ สฝ.อย. ตั้งอยู่ริมคลองมะขามเรียง ด้านใต้ของตัวเมือง เรียกกันว่า “บ้านใต้” ก่อนที่โรงเรียนฝึกหัดครูชาย จะย้ายมาตั้งอยู่ ณ พื้นที่ปัจจุบันคือ ปลายถนนปรีดี พนมยงค์ (เดิม ชื่อถนนโรจนะ) แล้วยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครู ช่วงเวลานี้เองที่ไ ด้ ยุบรวมโรงเรียนสตรีฝึ กหัด ครูไ ว้ ด้วยกัน ก่อน วิวัฒนาการมาเป็น สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตามลาดับ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๗๕


“หอ ๓” กล่าวกันว่าเป็นหอพักที่ทันสมัยที่สุดในโรงเรียน เพราะเป็นอาคารคอนกรีต ที่มา: โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๙). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา.

เค้าโครงความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรี อยุ ธยา จึ ง มี โ รงเรีย นฝึ กหั ด ครู พระนครศรีอยุธยา (ฝึกหัดครูชาย) เป็นแกนเรื่องหลัก ในขณะที่ เนื้อเรื่องของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู เป็นโรงเรียนที่ถูก ย้ า ยเข้ า มาผนวกเป็ น สถานศึ ก ษาเดี ย วกั น สิ่ ง หนึ่ ง สะท้อนได้จากการใช้ “สีเหลือง-แดง” อันเป็นสีประจา โรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา (ฝึกหัดครูชาย) มา ใช้เป็นสีประจามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ขณะที่ “สีเขียวขาว” ประจาโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู กลับเหลือไว้เ พียง ความทรงจา อีกทั้ง ร่องรอยในอดีตของโรงเรียนฝึ ก หั ด ครู พระนครศรี อ ยุ ธ ยา (ฝึ ก หั ด ครู ช าย) ก็ ยั ง ปรากฏเป็ น อนุ ส รณ์ อ ย่ า งโดดเด่ น และชั ด เจน โดยได้ รั บ การดู แ ล รักษา และใช้งานให้เกิดคุณค่าเป็นอย่างดีจากโรงเรียน ประตูชัย ซึ่งเป็นสถานศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษา ที่ ค รอบครองดิ น แดนและอาคารเรี ย นที่ เ คยเป็ น ของ โรงเรียนฝึกหัดครูเดิม ตรงข้ามกับโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู ที่ ใ นปั จ จุ บั น ถู ก ปรั บ ใช้ เ ป็ น หอพั ก นั ก ศึ ก ษาหญิ ง ของ มหาวิทยาลัยราชภั ฏพระนครศรีอยุธ ยา ทาให้จาต้ อ ง ซ่อนตัวอยู่ในรั้วกาแพงทึบ เป็นพื้นที่หวงห้าม ตามระบบ ความปลอดภัยของหอพักนักศึกษา นอกจากนี้อาคาร ๗๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

เรียนหลังเดียวของโรงเรียน ก็ไม่หลงเหลือร่องรอยใด ๆ เป็นอนุสรณ์แล้ว ส่วนเรือนนอน ๓ หลัง ที่ยังเหลืออยู่ก็มี สภาพทรุ ด โทรม และมี แ นวโน้ ม ที่ จ ะถู ก รื้ อ เพื่ อ สร้ า ง อาคารหอพักใหม่แทนที่ในเวลานี้ ด้ วยปั จจั ยต่ างๆ ข้ างต้ นนี้ เป็ นเหตุ ผลที่ ช าว ราชภัฏรับรู้ถึงการมีอยู่ของโรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา (ชาย) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ของมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยาได้ ดี ก ว่ า โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ค าถามที่ เ กิ ด ขึ้ น ตามมาก็ คื อ เบื้ อ งหลั ง ของ กลุ่มเรือนนอนของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูที่หลงเหลืออยู่ เหล่านั้น มีเรื่องราวใดๆ เกิดขึ้นบ้าง โดยเมื่อผู้เขียนได้มี โอกาสพู ด คุ ย กั บ ศิ ษ ย์ เ ก่ า แห่ ง โรงเรี ย นสตรี ฝึ ก หั ด ครู หลายท่าน ประกอบด้วย อาจารย์เฉลีย ว มีแสงเพชร อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดพระญาติการาม ศิษย์เก่า รุ่นปี ๒๔๙๑ อาจารย์อัมรา หันตรา อดีตครูประจาโรงเรียนวัด หันตรา ศิษย์เก่ารุ่นปี ๒๕๐๓ และอาจารย์อวยพร สัมมา พะธะ อดีตอาจารย์โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ ซึ่งเป็น ศิ ษ ย์ เ ก่ า ปกศ.รุ่ น ที่ ๘ ก็ ท าให้ ท ราบว่ า หลั ง ก าแพง หอพักนักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น มีเรื่อง เล่าจากความทรงจาต่างๆ ที่น่าจดจาซ่อนไว้มากมาย


อาจารย์เฉลียว มีแสงเพชร อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดพระญาติการาม ศิษย์เก่า รุ่นปี ๒๔๙๑

อาจารย์อัมรา หันตรา อดีตครูประจาโรงเรียนวัดหันตรา ศิษย์เก่า ปกศ.รุ่นปี ๒๕๐๓

โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา มี สัญ ลักษณ์เป็นรูปพระสรัสวดี ประทับเหนือนกยูง มีสี เขียว-ขาว อันเป็นสีของหางนกยูง เป็นสีประจาโรงเรียน มี พื้ น ที่ ตั้ ง อยู่ ริ ม ถนนอู่ ท อง เลี ย บคลองมะขามเรี ย ง (คลองในไก่ ) พื้ น ที่ ด้ า นหลั ง (ปั จ จุ บั น เปลี่ ย นเป็ น ด้านหน้า) จรดถนนปรีดี พนมยงค์ เริ่มเปิดทาการศึกษา ณ สถานที่ตั้งนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ก่อนที่จะย้ายไปรวมกับ วิทยาลัยครู ใน พ.ศ.๒๕๐๙ รวมระยะเวลาที่สถานที่นี้ ท าหน้ า ที่ เ ป็ น สถาน บ่ ม เพ าะ ครู สตรี ใน จั ง ห วั ด พระนครศรีอยุธยา และท้องถิ่นใกล้เคียง นานถึง ๒๖ ปี ในช่วงแรกโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู เปิดสอน ๓ ระดับ คือ หลักสูตรครูประชาบาล (ป.บ.) หลักสูตร “ครู ประกาศนี ย บั ต รจั ง หวั ด ” (ว.) และ วุ ฒิ ครู มู ล (ป.) ต่อมารัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา โรงเรียนจึง ได้เปิดสอน ปกศ. ต้น ๒ ปี ๆ ละ ๒ ห้องเรียน ๆ ละ ๔๐ คน นักเรียนที่สาเร็จการศึกษาออกมา บ้างไปเป็นครูตาม ท้ อ งถิ่ น ต่ า ง ๆ บ้ า งไปศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ปกศ.สู ง ที่ โรงเรียนเทพสตรี จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นการศึกษาวิชาชีพ ครูในระดับที่สูงขึ้น

อาจารย์อวยพร สัมมาพะธะ อดีตอาจารย์โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ ศิษย์เก่า ปกศ.รุ่นที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๐๗)

โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา เป็นโรงเรียน ประจ า หรื อ ที่ เ รี ย กกั น ว่ า “โรงเรี ย นกิ น นอน” คื อ นั ก เรี ย นที่ เ ข้ า รั บ การศึ ก ษา ไม่ ว่ า จะมี ที่ พ านัก อยู่ไ กล หรือใกล้ชิดติดขอบรั้วโรงเรียนเพียงใด ก็ต้องเข้ามากิน อยู่ ในโรงเรียนตลอดการศึ กษา สามารถกลั บบ้ า นได้ ในช่ ว งวั น หยุ ด สุ ด สั ป ดาห์ เ ท่ า นั้ น ดั ง นั้ น นอกจาก โรงเรียนจะมีอาคารเรียนสาหรับทาการศึกษาแล้ว ยัง ต้องมีเรือนนอนเพื่อเป็นสถานที่พักของนักเรียนทุกคน ประกอบด้วยหอพักต่างๆ ที่มีชื่อตามลาดับดังนี้ หอพัก นพมาศ (หอ ๑) หอพักศรีสุริโยทัย (หอ ๒) หอพักทั้ง ๒ หลัง สร้างเรียงต่อกัน และใช้แบบก่อสร้างเดียวกัน คือ เป็นเรือนไม้สองชั้น ชั้นบนเป็นเรือนนอน ส่วนชั้นล่าง เป็ น ใต้ ถุ น โล่ ง โดยชั้ น ล่ า งของ หอ ๑ ใช้ เ ป็ น ที่ เ รี ย น หนัง สือด้วย ส่วนชั้นล่างของ หอ ๒ ใช้เป็นโรงอาหาร ต่อมามีการสร้างหอ ๓ เพิ่มขึ้นภายหลัง ซึ่งกล่าวกันว่า เป็ น หอพั ก ที่ ทั นสมัย ที่ สุ ด เพราะเป็ นอาคารคอนกรีต ชั้นบนเป็นเรือนนอนที่ติดมุ้ง ลวด ส่วนด้านล่างเป็นโถง กว้าง มีเวทีสาหรับใช้เป็นหอประชุมของโรงเรียน ทั้งโรงเรียนฝึกหัดครู (ชาย) และโรงเรียนสตรี ฝึ ก หั ด ครู เปิ ด สอ น ด้ ว ยหลั ก สู ต ร เหมื อ น ๆ กั น วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๗๗


ชีวิตประจาวันจึงคล้ายคลึงกัน เพียงแต่แยกเป็นโรงเรียน ชายและโรงเรีย นสตรี มี กิ จ กรรมร่ วมกันบ้ า งเป็นครั้ง คราว เช่นงานออกร้านที่พระราชวังจัน ทรเกษม และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งสองโรงเรียนจะมีการจัดพิธีมอบ ประกาศนียบัตรสาเร็จการศึกษาร่วมกัน โดยผลัดกันเป็น เจ้าภาพคนละปี อาจารย์อวยพร เล่าถึงบรรยากาศความคึกคัก ของพิธีมอบประกาศนียบัตร เมื่อคราวที่จัดขึ้นที่ “บ้าน เหนือ” ไว้อย่างชุ่มชื่นหัวใจว่า ครั้งนั้น นักเรียนโรงเรียน ฝึ ก หั ด ครู ช ายมี ก ารแสดงร้ อ งเพลงร าตั ด ท่ อ นหนึ่ ง มี ใจความที่จาได้ทุกวันนี้ว่า “หัวแหลม หัวรอ แล้วก็ต่อ มาถึงสถานี ไปโน้น ไปโน้น มานี่ ลอดสะพานปรีดี เข้า สตรี ฝึ ก หั ด ครู ” ความหมายของเนื้ อ ร้ อ งนี้ ก็ คื อ ชื่ อ สถานที่ ตามรายทางจากโรงเรียนฝึกหัดครูชาย จนถึง โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนั่นเอง

กินข้าวหม้อเดียวกัน การใช้ ชี วิ ต อยู่ ใ นโรงเรี ย นประจ า ท าให้ ช่วงเวลา ๒ ปีแห่ง การศึกษา ของนักเรียนในโรงเรียน สตรีฝึกหัดครู มีความทรงจาที่ละเอียดลออ เทียบไม่ไ ด้ กับระยะเวลาเวลา ๒ ปี ในโรงเรียนปกติ เพราะทุกคน อยู่ร่วมกันในโรงเรียนตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้น เมื่อเหล่า ศิษย์เก่ามาพบปะกัน จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตประจาวัน ในรั้วโรงเรียนมาเล่าขานกันได้อย่างไม่รู้จบ หนึ่ง ในเรื่องที่อยู่ในความทรงจาของนักเรียน ประจาเป็นอย่างดีก็คือเรื่องการกิน จนดูเหมือนประโยค ที่ว่า “กินข้าวหม้อเดียวกัน” หรือที่จริงควรกล่าวว่ากิน ข้าวกระทะเดียวกัน จะเป็นคาที่ถูกเหล่าศิษย์เก่าหยิบ ขึ้นมาใช้อยู่เสมอๆ จนน่าสงสัยไปถึงความหมายที่ซ่อน อยู่ในประโยคนี้ อาจารย์เฉลียว ได้เล่าถึงเรื่องอาหารการกินใน โรงเรียนไว้ว่า “พอถึงเวลารับประทานอาหาร นักเรียน ทั้งหมดก็มาเข้าแถว แล้วเดินเข้าไปนั่งที่โต๊ะ ซึ่งมีอาหาร ๗๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

วางรอไว้แล้ว อาหารมีกับข้าว ๒ อย่าง ส่วนใหญ่เป็น แกง กับผัดหรือทอด แกงที่ไม่เคยได้รับประทานอีกเลย คือ แกงมะเขือ แกงแบบแกงบอน แต่ใช้มะเขือยาวแทน บอน มื้อเช้าเป็นข้าวต้ม กับข้าวที่มีประจาคือผัดผักกาด เค็ ม ใส่ ไ ข่ ถั่ ว ลิ ส งคั่ ว ปลาทู เ ค็ ม นาน ๆ จะมี ข้ า ว แปลกปลอมเข้ามาเช่นมี ผัดผัก ไข่เจียว ไข่เค็ม ปลาตัว เล็ก บางครั้งก็เป็นข้าวต้มเครื่อง” ระหว่างการรับประทานอาหารร่วมกันในโรง อาหาร นั ก เรี ย นทุ ก คนต้ อ งรั ก ษาระเบี ย บวิ นั ย อย่ า ง เข้มงวด อาจารย์อวยพรเล่าว่า ทุกคนต้องทานอาหาร โดยไม่ให้ช้อน-ส้อมกระทบกัน หรือพูดคุยเสียงดัง เกิน ควร มิเช่นนั้น จะมีเสียงกระดิ่งจากครูดังขึ้น เป็นอันรับรู้ กันว่า ทุกคนต้องหยุดทานอาหารทันที แล้วค่อยเริ่มต้น ทานใหม่อีกครั้งอย่างมีวินัย นักเรียนหลาย ๆ คน ได้มีโอกาสทานอาหารที่ ไม่เคยทานที่ไหนมาก่อน จึงย่อมมีเมนูที่ถูกปากบ้าง ไม่ ถู ก ปากบ้ า ง ต้ อ งจ าใจฝื น รั บ ประทานกั น ไป แต่ ก็ มี นักเรียนบางส่วนที่ไม่พอใจฝึมือการทาอาหารของแม่ครัว ถึงขั้นล้มโต๊ะเป็นการประท้วงก็เคยมีมาแล้ว อาจารย์อัม รา เล่าว่านั กเรียนที่ เบื่ ออาหารของโรงเรียน และพอมี สตางค์ติดตัวอยู่บ้าง ก็มักแอบสั่ง “ก๋วยเตี๋ยวชักรอก” ขึ้น ไปทานบนหอพัก คือเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ลักลอบซื้อขายกั บ แม่ครัว และแอบส่งขึ้นไปทานบนหอพักโดยการชั กรอก ขึ้นไป ตามแต่กลวิธีและช่องทางที่มี กรณีที่น่าสนใจ คือการแอบปรุงอาหารกันบน หอพั ก โดยใช้ วั ต ถุ ดิ บ เท่ า ที่ ห าได้ และประยุ ก ต์ วั ส ดุ อุปกรณ์ในการทา ดัง เรื่องเล่าของอาจารย์เฉลียวและ กลุ่ ม เพื่ อ นๆ ที่ แ อบลั ก มะละกอดิ บ ในโรงเรีย น มาท า ส้มตาทานกันบนหอพัก แม้จะไม่มีอุปกรณ์สาคัญ อย่ าง ครกและสาก แต่ ก็ ห าได้ เ ป็ น อุ ป สรรค์ อ ย่ า งใด กลุ่ ม นั ก เรี ย นน ามะละกอดิ บ ห่ อ ใส่ ผ้ า แล้ ว ทุ บ จนได้ ที่ ใช้ น้าปลา พริก และถั่วลิสงที่เก็บสะสมจากอาหารเช้ ามา เป็ น เครื่ อ งปรุ ง รส จนได้ เ มนู ส้ ม ต าสุ ด โปรด แจกจ่ า ย


รับประทานกันทุกระดับชั้น จนขนานนามส้มตาจานนั้น ว่าเป็น “ส้มตาประสานสามัคคี” เรื่ อ งเล่ า ต่ า ง ๆ เกี่ ย วกั บ อาหารการกิ น ของ ศิ ษ ย์ เ ก่ า โรงเรี ย นประจ านั้ น ท าให้ ตั้ ง ข้ อ สั ง เกตว่ า ความหมายของคาว่า “กินข้าวหม้อเดียวกัน ” นั้น อาจ ลึ ก ซึ้ ง เกิ น กว่ า ความหมายโดยผิ ว เผิ น เพราะมั น มิ ไ ด้ หมายถึ ง เรื่ อ งกิ น อย่ า งเดี ย ว แต่ ห มายรวมไปถึ ง ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันตลอดเวลา จนเกิด ความรักใคร่กลมเกลียว ซึ่งอาจเป็นเรื่ องยากสาหรับคน รุ่นใหม่ที่กินอยู่แบบ “กินใคร-กินมัน” และ “ต่างคนต่าง อยู”่ จะเข้าใจในความหมายของคานี้ได้อย่างรู้แจ้ง

ความประทับใจที่เกิดขึ้นในบ้านหลังที่สอง เมื่ อ ผู้ ป กครองมอบความไว้ วางใจ ฝากบุ ต ร หลานเข้าสู่ รั้วโรงเรียนประจาแล้ว โรงเรียนก็ทาหน้าที่ เสมื อ นบ้ า นหลั ง ที่ ส อง อาจารย์ เ ฉลี ย ว เล่ า ถึ ง ความ ประทับใจที่เกิดขึ้นในโรงเรียนว่า ท่านประทับใจในความ รักใคร่ สามัคคีกลมเกลียวของเหล่ามิตรสหาย โดยหยิบ ยกกรณี ตั ว อย่ า ง ที่ มี ผู้ ม าจ้ า งวานให้ โ รงเรี ย นท า พวงมาลั ย ส าหรั บ ใช้ ใ นงานพิ ธี ต่ า งๆ ครู ก็ ไ ด้ ข อให้ นักเรียนช่วยกันทา สิ่งที่น่าประทั บใจคือ ทุกคนเต็มใจ อาสา ช่วยกันทางานร่วมกันอย่างไม่เกี่ยงงอน โดยแบ่ง หน้าที่กันทางานจนสาเร็จลุล่วงเสมอ ด้วยความเป็นน้า หนึ่งใจเดียว คล้ายกับความประทับใจของอาจารย์ อวยพร ที่ มี ต่ อ เพื่ อ น ๆ และครู อ าจารย์ โดยยกเหตุ ก ารณ์ ที่ ตราตรึ ง อยู่ ใ นใจ ตอนจั ด พานพุ่ ม ดอกไม้ ไ หว้ ค รู ว่ า “เราใช้ดินเหนียว และดอกกุหลาบ ทาอย่างสวยงามมาก ตั้ ง ใจให้ เ พื่ อ นที่ ห น้ า ตาสวยที่ สุ ด ในห้ อ งถื อ พาน พอ เช้ามาดอกไม้เหี่ยวหมดเลย เหลือแต่ดินเหนียว จึงเป็นที่ ขาขันกันไปทั่ว ครูประจาชั้นท่านก็อายมากนะ แต่ไม่ดุ เลยซักคา แล้วคุณครูก็เอาท็อฟฟี่มาแจกคนละสองเม็ ด แล้ ว พู ด ว่ า ไปคิ ด กั น เอาเองนะ ว่ า ท าไมครู ถึ ง แจก

ท๊อฟฟี่” เหตุการณ์นี้ทาให้ ชั้นเรียนของอาจารย์อวยพร เป็นที่กล่าวขานไปทั่ว และมิวายที่ง านไหว้ ครูปี ถั ด มา ครู ท่ า นเดิ ม ยั ง ทั ก อี ก เสี ย ด้ ว ยว่ า “ปี นี้ ฉั น คงไม่ ต้ อ ง แจกท๊อฟฟี่อีกแล้วนะ” ความทรงจาปนรอยยิ้มนี้สะท้อน ได้ถึง ความประทับใจที่มีต่อเพื่อนๆ และครูประจาชั้ น ที่เป็นประสบการณ์ให้อาจารย์อวยพร ใช้เป็นกรณีศึกษา ไว้สั่งสอนนักเรียนของท่านเรื่อยมา ในขณะที่ความประทับใจของอาจารย์อัมรานั้น แตกต่างออกไปบ้าง เนื่องจากการเล่าเรียนของท่านมิได้ ราบรื่นเหมือนคนอื่นนัก เพราะบิดาของท่านมี ปั ญ หา ด้านสุขภาพระหว่างทาการศึกษา จนกระทบกระเทือน ต่อปัญหาทางการเงิน แต่ท่านก็ผ่านพ้นวิกฤตเหล่านั้นมา ได้ด้วยความช่วยเหลือของอาจารย์หลายท่าน จนทาให้ อาจารย์อัมราได้เข้าถึงความหมายของ “จิตวิญญาณแห่ง ความเป็ น ครู ” ที่ ป กป้ อ งดู แ ลลู ก ศิ ษ ย์ อ ย่ า งสุ ด หั ว ใจ โดยเฉพาะเมื่ออาจารย์อนงค์ สัง ขะวร ซึ่ง เป็นอาจารย์ ใหญ่ ทราบข่าวบิดาป่วย ก็พยายามหางานสร้างรายได้ พิเศษมาให้ทา และส่งเสริมให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น แต่ด้วยสภาพปัญหาครอบครัวในขณะนั้น ทาให้อาจารย์ อัมราจาต้องเข้าไปขออนุญ าตที่จะไม่เรียนต่อในระดับ ปกศ.สู ง ตามที่ อ าจารย์ อ นงค์ ไ ด้ ฝ ากฝั ง ไว้ ด้ ว ยจิ ต วิ ญ ญาณของความเป็ นครู ที่ ยิ่ ง ใหญ่ อาจารย์ อ นงค์ไ ด้ มอบเงินจานวน ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็นเงิน จานวนมาก มาให้เป็นการใช้จ่ายในการไปศึกษาต่อ มิเพียงเท่านั้น แม้จะพ้นจากภาระของการเป็น ศิ ษ ย์ - อาจารย์ ใ นโรงเรี ยนสตรีฝึ ก หั ด ครู พระนครศรี อยุธยาไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่าหน้าที่ของการเป็นครูด้วย จิตวิญญาณนั้นมิได้สิ้นสุดลงเลย ซึ่งสะท้อนได้จากตอนที่ ท่ า นอาจารย์ เ ฉลา วายวานนท์ ผู้ ช่ ว ยอาจารย์ ใ หญ่ โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู ทราบข่าวการเสียชีวิตของบิดา อาจารย์อัมรา ที่ขณะนั้นไปศึกษาอยู่ในระดับปกศ.สูง ที่ จัง หวัดลพบุรีแล้ว แต่ท่านอาจารย์เฉลา ยัง ได้มีความ

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๗๙


“หอ ๓” ชั้นบนเป็นเรือนนอนที่ติดมุ้งลวด ส่วนด้านล่างเป็นโถงกว้าง มีเวทีสาหรับใช้เป็นหอประชุมของโรงเรียน ที่มา: โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๙). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา.

อุตสาหะนั่ง เรือไปเรียกหาที่ท่าน้าหน้าบ้าน เพื่อสั่งให้ อาจารย์อัมราไปรั บเงินช่วยเหลือ ทุก เดือน จนกระทั่ง ส าเร็ จ การศึ ก ษา อาจารย์ อั ม ราเล่ า ผ่ า นน้ าเสี ย งที่ สั่น เครื อ สะท้ อ นความตื้ น ตั น ใจ ในความเป็ น ครู ด้ ว ยจิ ต วิญญาณที่ผูกพัน ดูแลทุกข์-สุข และปรารถนาดีต่อลูก ศิษย์อย่างเที่ยงแท้ แม้จะจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม ด้วย เหตุ นี้ ต ลอดระยะเวลาที่ รับ ราชการ อาจารย์ อั ม ราได้ ปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยจิตวิญญาณ เฉกเช่นที่เคยได้รั บมา และแม้ ภ ายหลั ง เกษี ยณราชการแล้ ว อาจารย์ ยั งคงมี เมตตา และปรารถนาดีต่อศิษย์ไม่เสื่อมคลาย ความปรารถนาของคุณครูที่อยากให้ศิษย์ได้ดี มีการศึกษาสูง ๆ ยังสอดคล้องตรงกับที่ อาจารย์อวยพร ได้ จ ดจ าค าพู ด ของครู อ าจารย์ ที่ เ ป็ น ผู้ จุ ด ประกาย อนาคตแห่งการเป็นครูของท่านว่า

๘๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

“ถ้าเธออยู่แค่นี้ เธอจะไม่สามารถค้ น พบตั ว เธอเองหรอกนะ เธอต้องไปต่ออีกก้าวหนึ่ง อย่าเรียนแค่ ปกศ.ต้น ต้องพยายามไปต่อ ปกศ.สูงให้ได้ แล้วจะรู้ว่า เธอคือใคร” คาพูดเหล่า นี้ ที่เป็นแรงผลัก ดัน ให้ อ าจารย์ อวยพร ส าเร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปกศ.สู ง ออกมาเป็ น อาจารย์ในโรงเรียนสตรีประจาจังหวัดสมดังปณิธาน

ทุกย่างก้าวยังกรุ่นด้วยความทรงจา การใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทั้ง กิน-นอน และเล่นอยู่ในนั้น ทาให้ทุกย่างก้าวของบรรดา ศิ ษ ย์ เ ก่ า ยั ง เต็ ม ไปด้ ว ยเรื่ อ งเล่ า และความทรงจ าอั น หลากหลาย แตกต่ า งกั น ไป ตามประสบการณ์ ข อง แต่ละคน


สภาพของเรือนนอน “หอ ๑” และ “หอ ๒” และบริเวณโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ที่มา: โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๙). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา.

สถานที่ ต่ า งๆ ตั้ ง แต่ อ าคารเรี ย น เรื อ นนอน โรงอาหาร บ่อน้า สวน และแม้แต่ป่าหลังโรงเรียน ล้วน เต็มไปด้วยเรื่องราวในลักษณะที่เป็นตอนสั้นๆ ซ่อนอยู่ มากมาย เช่น ความทรงจาของ อาจารย์เฉลียว เกี่ยวกับ ป่าข้างโรงเรียน ท่านเล่าว่า ท่านและเพื่อนๆ ใช้เวลาว่าง ไปนั่ง เล่นกันในป่าข้างรั้ว บ้างนั่งอ่านหนังสือ แต่ส่ว น ใหญ่นั่งเล่น นั่งคุยกันเสียมาก อาจารย์เฉลียวเล่า เกี่ยวกับเรือนนอนต่อไปอีกว่า เมื่อก่อนเรือนนอนทั้งสอง หลั ง มี ร ะเบี ย งทางเดิ น อยู่ ด้ า นหน้ า นั ก เรี ย นที่ ยั ง มี การบ้านคั่ง ค้าง หรือต้องการดูหนัง สือ ต่อ หลัง จากครู เคาะระฆังดับไฟแล้ว ก็จะจุดตะเกียง ปูเสื่ออ่านหนังสือ ในบางคืนมีปรากฏการณ์ดาวหางมาให้ชมจากระเบียง เรือนนอนด้วย แต่ภายหลังทางโรงเรียนได้มีการกั้นฝา เรือนเพื่อเพิ่มพื้นที่เรือนนอน ทาให้ระเบียงทางเดินใน ความทรงจาได้หมดสิ้นไป

นอกจากความทรงจาเกี่ยวกับอาคารเรียนและ หอพักแล้ว แม้แต่ต้นไม้ ต้นกล้วย ต้นมะละกอทั้งหลาย ที่สามารถออกผลให้สามารถแอบเด็ดมารับประทานได้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของความทรงจาด้วยเหมือนกัน อาจารย์อวยพรเล่าว่า ท่านและเพื่อนๆ เคยพา กันจับจองต้นกล้วยที่อ ยู่มุม หนึ่ง ของโรงเรียน เมื่อ สบ โอกาสในเวลากลางคืน ก็แอบปีน เก้าอี้เพื่อไปตัดเครือ กล้วยลงมา แต่กลับพลาดท่าล้มลงกับพื้น เกิดเสียงดัง พลั ก จนครู เ วรเปิ ด หน้ า ต่ า งออกมาทั ก เสี ย งหลงว่ า “อะไรน่ะ ...” ในขณะที่เหล่านักเรียนผู้ก่อการได้แต่ซุ่ม เงียบกริบอยู่ในความมืด กลายเป็นวีรกรรมที่เล่าขานกัน อย่างครื้นเครงมาจนถึงวันนี้ ภายหลังจากจบการศึกษา ทุกคนแยกย้ายกัน ไปประกอบอาชี พ โดยมี ส่ ว นหนึ่ ง ท างานในจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา และครั้งใดที่เพื่อนร่วมรุ่นได้เดินทาง วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๘๑


มาจาก ต่ า ง จั ง หวั ด ก็ มั ก จะ ขอร้ อ ง ให้ อ าจา ร ย์ อวยพร พาไปเกาะรั้วยืนดูสภาพปัจจุบันของโรงเรียนอยู่ บ่ อ ยๆ บางครั้ ง ก็ ข ออนุ ญ าตเจ้ า หน้ า ที่ รั ก ษาความ ปลอดภัยเข้าไปดูบริเวณรอบๆ เพื่อร่วมกันระลึกถึงอดีต ที่น่าจดจา ทั้งเรื่องราวของเพื่อนๆ ครู สถานที่ ตลอดจน วีรกรรมต่างๆ แต่สภาพปัจจุบัน ที่เคยเป็นโรงเรียนนั้น กลับแปรเปลี่ยนไปมาก จนท่าน และเพื่อนจาไม่ได้ว่า ต้นไม้ที่เคยจองผลไม้เอาไว้อยู่ตรงไหนบ้าง แม้สรรพสิ่งมีการผันเปลี่ ยนไปอันเป็นกฎแห่ ง ธรรมชาติ แม้ไม่มีระเบียงหอพั กทอดยาวที่เคยนั่ง -นอน อ่ านหนั ง สื อและชมดาวหาง ไม่ มี ต้ นไม้ และป่ าข้ างรั้ ว โรงเรียน แต่ถึงกระนั้นเรื่องราวต่างๆ ก็มิได้ถูกพรากไปจาก ความทรงจ าของศิษย์ เก่ าทั้ งหลาย ยังคงตราตรึง และมี ความสุขทุกครั้งที่คิดถึง และได้ถ่ายทอดเรื่องราว เหล่านั้น

รอยเท้าที่นับวันยิ่งจางหาย เมื่อทุกย่างก้าวยังคุกรุ่นด้วยความทรงจา ทว่า สิ่งที่สวนทางกันคือรอยเท้าเหล่านั้น นับวันยิ่งจางหายไป ตามกาลเวลา เพราะอาคารไม้ซึ่งเคยเป็นเรือนนอนของ โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูที่เหลืออยู่นั้น กาลังอยู่ในสภาพทรุด โทรม อันเนื่องมาจากอุทกภัยครั้งใหญ่ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ได้สร้างความเสียหายไว้แสนสาหัส และยัง ต้องเผชิญกับศัตรูไม้ตัวฉกาจอย่างปลวก ที่กาลังช่วยกัน กัด กิน และกลืนอนุสรณ์สถานแห่งนี้อยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบัน อาคารหอ ๑ และหอ ๒ ถูกใช้เป็น สถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ประสงค์ใช้งานแล้ว ซึ่งหาก ต้องการรักษาอาคารไว้ ย่อมต้องใช้งบประมาณในการ ดูแลไม่น้อย เรือนไม้ที่ไม่ถูกใช้สอยนี้จึงอยู่ในแผนการณ์ ที่จะรื้อ และทดแทนด้วยอาคารหอพักนักศึกษาหลังใหม่ แม้ดูเหมือนไม่มีปฏิกิริยาใดๆ จากศิษย์เก่า แต่ เบื้ อ งลึ ก แล้ ว ข่ า วคราวความเคลื่ อ นไหว รวมถึ ง แผน ด าเนิ น การต่ า ง ๆ อั น จะเกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ลบรอยอดี ต ของ โรงเรียนสตรีฝีกหัดครูนั้น ล้ว นอยู่ในกระแสการติดตาม ของเหล่าศิษย์เก่าเสมอมา

๘๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙

อาจารย์ อ วยพรเล่ า ถึ ง บรรยากาศในงาน เลี้ยงรุ่นศิษย์เก่าของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา ในปีที่จัดขึ้น ณ สถานที่เดิมของโรงเรียนว่า บรรดาศิษย์เก่ารุ่นต่าง ๆ ที่มางานเลี้ยงต่างสลดใจกั บ สภาพความเป็นไปของเรือนนอนที่ถูกปลวกกั ด กิ น จน ได้รับความเสียหาย พากันหารือถึง แนวทางที่จะรักษา เยี ย วยาเรื อ นนอนที่ เ หลื อ อยู่ ใ ห้ ค งอยู่ ต่ อ ไป บ้ า งก็ มี ความเห็นว่าควรรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ ตราสัญลักษณ์ ใบประกาศต่างๆ หรือแบบเรียนที่ได้เก็บรัก ษากันไว้ มา จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนรุ่นหลังได้เข้าชม เพื่อรักษา คุณค่าของอาคาร อันเป็นการประวิงเวลาออกไป เพราะ ต่ า งไม่ อ ยากให้ ร่ องรอยสุ ด ท้ า ยของโรงเรีย นถู ก รื้อไป ในช่วงชีวิตของพวกท่าน ในขณะที่ อ าจารย์ อั ม รา แสดงความเห็ น ใน ประเด็นเดียวกันนี้ว่า “...เข้าใจเรื่องของการเกิด การ เสื่อมเป็นเรื่องธรรมดา และเข้าใจว่าการใช้ประโยชน์ให้ คุ้มค่าเป็นเรื่องจ าเป็น แต่มันน่าจะได้ปรับปรุง พั ฒ นา สถานที่นั้นให้สามารถใช้ได้คุ้มค่า ในขณะเดียวกันก็ยังอยู่ เป็นความทรงจาของผู้ที่ผูกพันอยู่ด้วย อยากให้เป็นการ พัฒนา ไม่ใช่เป็นการรื้อถอนทาลาย.. อยากให้ยื้อไว้เท่าที่ จะทาได้ แต่ว่าถ้ามันเหลือบ่ากว่าแรง ก็จนใจ..” เ รื่ อ งรา วขอ งโรงเ รี ย น ส ตรี ฝึ ก หั ด ค รู พระนครศรีอ ยุธ ยานี้ สะท้อ นให้เห็นว่า กลุ่ม อาคาร เก่าๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ในหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ราชภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ซึ่ ง ดู เ หมื อ นไม่ มี คุ ณ ค่ า ส าหรั บ คนรุ่ น ปั จ จุ บั น นั้ น แท้ จ ริ ง แล้ ว คื อ อนุ ส รณ์ สถานที่เปี่ยมด้วยความทรงจา และความภาคภูมิของ บรรดาผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การประสิ ท ธิ์ ป ระสาทวิ ช า จาก โรงเรียนสตรีฝึกหัด ครูแห่งนี้ และยังกล่าวได้ว่า เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในประจั ก ษ์ พ ยานแห่ ง ความสถาพรของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาที่ยังเหลืออยู่.


ภาพโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา จากหนังสืออนุสรณ์ ปี ๒๕๐๑ ที่มา: คลังจดหมายเหตุจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์ข้อมูลอยุธยาศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา

หนังสืออนุสรณ์ โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ปี ๒๕๐๑ หน้าปกเป็นรูปตราสัญลักษณะของโรงเรียน คาดแถบสีเขียว-ขาว ขนาด ๑๘x๒๕ ซม. มีข้อมูล และภาพถ่ายที่สาคัญ เช่น ภาพคณาจารย์ และทาเนียบนักเรียน รุ่น ป.กศ.๑ และ ป.กศ.๒

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๘๓


นาภูมปิ ัญญาสู่ความทันสมัย เรียงร้อยอดีตสู่อนาคต

โดย ชนิกานต์ ผลเจริญ

อุณาโลมตามความเชื่อทางพุทธ ฮินดูและจีน ผู้ เ ขี ย นมี ค วามสนใจเรื่ อ งอุ ณ าโลม พระพุ ท ธรู ป มาตั้ ง แต่ เ มื่ อ ครั้ ง ยั ง เป็ น นั ก เรี ย น เพราะได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการโจรกรรม พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงการค้าชิ้นส่วน พระพุทธรูป โดยเฉพาะการขโมยอัญ มณี จ าก กลางพระนลาฏ (หน้ า ผาก) ของพระพุทธรูป หลายแห่ง ความสนใจของผู้เ ขีย นนี้ได้รั บ การ กระตุ้นอีกครั้ง เมื่อได้รับของขวัญ วันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๓ เป็นเข็มกลัดที่ระลึกสัญลักษณ์อุณาโลม ของหลวงพ่ อ โต หรื อ พระพุ ท ธไตรรั ตนนายก วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สืบเนื่องจากทางวัด ได้บูรณะปิดทององค์หลวง พ่อโตรวมทั้งบูรณะอุณาโลมมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ และเมื่ อ วั น เสาร์ ที่ ๑๔ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๒ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ บ ร ม โ อ ร ส า ธิ ร า ช ส ย า ม มกุฏราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดาเนินมาทรง อัญเชิญ พระอุณาโลมประดิษฐานที่พระนลาฏ พระอุณาโลมทองคาประดับพลอยสี ประดับพระนลาฏ ของหลวงพ่อพระพุทธไตรรัตนนายกหลังจากทา ของพระพุทธไตรรัตนนายก. จาก plus.google.com การบูรณะเสร็จสมบูรณ์ อุณาโลมในภาษาอังกฤษ เรียกว่า third eye ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า urna ส่วนในภาษาบาลี เรียกว่า unna และในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า byakugo การสืบค้นข้อมูลจากคาเหล่านี้ นาไปสู่การค้นพบความหมายของอุณาโลม ตามความเชื่อต่างๆ ดังนี้

๘๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


อุณาโลมทางพระพุทธศาสนา ถ้าให้ความหมายของ “อุณาโลม” ตรงตัว ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ อุณาโลม แปลว่า ขนระหว่างคิ้ว หรือเครื่องหมายรูป อย่างนี้ ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (๒๕๕๔ : ๒๗) อธิบายว่า “พระพุทธรูปไม่ใช่รูปเหมือนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นรูปสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ พระพุทธรูป แต่ละสกุลช่างแต่ละสมัยจะมีความแตกต่างกันด้าน รูปแบบไปบ้าง ทว่าพระพุทธรูปทุกองค์ล้วนแสดงถึง สั ญ ลั ก ษณ์ส าคัญ ที่ เรีย กว่ า มหาปุ ริ ส ลัก ษณะ คือ ลักษณะของมหาบุรุษทั้ง ๓๒ ประการ ซึ่งมีระบุใน ตานานว่าเป็นลักษณะของพระพุทธเจ้า เช่น มีขน ระหว่างคิ้ว เรียกว่า อุณาโลม”

หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง บันทึกภาพเมื่อ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖

จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๗ ลักขณสูตร (๓๐) ได้กล่าวถึง มหาปุริสลักษณะเรียงลาดับไว้ทั้ง ๓๒ ประการ ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ลาดับที่ ๓๑. คือมีพระอุณาโลมบังเกิด ณ ระหว่าง พระขนง มีสีขาวอ่อน ควรเปรียบด้วยนุ่นฯ (อ้างแล้ว, ๔๒๖-๔๒๗) Wikipedia (๒๐๑๖) อธิบายว่า ในทางศิลปะวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา อุณาโลม หมายถึง วงกลมที่มี ลักษณะคล้ายก้นหอย หรือจุดวงกลมที่อยู่บนหน้าผากของพระพุทธรูป แสดงถึงการตรัสรู้ เป็นสัญลักษณ์ของดวงตาที่ สาม จุดที่เปิดให้เห็นโลกแห่งความทุกข์ของทุกสรรพสิ่ง ถือเป็นลักษณะสาคัญ ๑ ใน ๓๒ ประการของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าสมณโคดมผู้เป็นมหาบุรุษ อุณาโลมเป็นลักษณะลาดับที่ ๓๑ ของมหาบุรุษคือ อุณาโลมมีลักษณะเป็นจุดที่ส่องแสง สีขาวออกมาจากบริเวณระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง อุณาโลมปรากฏอยู่บนงานปะติมากรรมตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒ เป็นต้นมา

อุณาโลมตามความเชื่อฮินดู สรุปความจากเว็บไซด์ lotussculpture.com ชาวฮินดูเชื่อว่า ตาที่สามนี้เป็นของพระอิศวรหรือพระศิวะ เทพ ผู้สร้างและผู้ทาลาย ตาข้างขวาของพระศิวะเปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ตาข้างซ้ายเปรียบเสมือนดวงจันทร์ ส่วนตาที่สาม เรียกว่า “ตรีโลจนะ” หรือ “ไตรยัมพก” เป็นดวงตาของความหยั่งรู้และญาณปัญญา เชื่อว่าพระศิวะสามารถใช้ตาที่สาม มองเห็นมากกว่าสิ่งที่ปรากฏ และใช้คุ้มครองคนดีให้ปลอดภัยจากความชั่วร้าย “นอกจากเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่แล้ว พระศิวะยังเป็นเจ้าแห่งขุนเขาและเจ้าแห่งโยคีผู้บาเพ็ญพรตทั้งปวง มีลักษณะเด่น คือมีพระเนตรที่สามหลับอยู่กลางพระนลาฏ หากลืมพระเนตรคราวใดก็จะบังเกิดเปลวไฟทาลายล้างสิ่งต่างๆ พระองค์มี พระเกศาเป็นทรงชฎามกุฏ มีพระจันทร์เสี้ยวประดับ มักแต่งองค์แบบฤษี” (อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, ๒๕๕๕ : ๗๖)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๘๕


พระศิวะ บันทึกภาพจากงานวัดแขก (สีลม) เมื่อ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘

ประเพณีฮินดูยังเชื่อว่าตาที่สามนี้คือ อัจนะ หรือจักระตาแหน่งที่ ๖ ของร่างกายมนุษย์ที่เปิดความคิดที่ทรง พลัง ช่วยให้มนุษย์มีความสามารถสื่อสารกับโลก รับข้อมูลข่าวสารจากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตาที่สามนี้มีบริเวณ ตั้งแต่ระหว่างคิ้วไปจนถึงกึ่งกลางหน้าผาก ตาที่สามไม่ได้อยู่เพียงแค่บนหน้าผากเท่านั้น แต่อยู่ลึกเข้าไปถึงต่อมพิทูอิตารี และอัจนะยังเกี่ยวข้องกับต่อมไพนีลอีกด้วย ดวงตาที่สามนี้เป็นช่องทางของพลังอานาจที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในสมองของ มนุษย์ (Wikipedia, ๒๐๑๖) ดังนั้นชาวฮินดูจึงได้รับการแต้มจุดบริเวณกึ่งกลางหน้าผากอยู่บ่อยครั้ง ตามคติฮินดู สตรีที่ แต่งงานแล้วจะแต้มสีแดงที่อาจทามาจากชาด รากไม้ หรือมูลโคไว้ที่หน้าผากเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าแต่งงานแล้ว จุดแดง นี้เรียกว่า “พินทิ” มาจากคาว่า “พินทุ” ที่แปลว่าจุด ชาวฮินดูไม่ได้รังเกียจมูลโคแต่ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เพราะถือว่า โคเป็นพาหนะของพระศิวะ หรืออีกกรณีหนึ่งไม่ว่าใครก็ตามที่เข้าไปสักการะเทวาลัยก็จะได้รับการแต้มจุดแดงนี้เช่นกัน ถ้าผู้ชายได้รับการแต้มจะเรียกจุดนี้ว่า “ติกะ”

อุณาโลมตามความเชื่อของจีน ประเพณีดั้งเดิมของจีนเชื่อว่า ถ้าฝึกสมาธิร่วมกับพลังชี่กงโดยเพ่งจิ ตไปที่ตาแหน่งตาที่สามของร่างกายจะทา ให้ผู้ฝึกสามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพลังจักรวาลและยกระดับสมาธิได้ (Wikipedia, ๒๐๑๖) ลัทธิเต๋าเชื่อว่าตาที่สาม นี้ตรงกับตาแหน่งจักระที่ ๖ ของร่างกายมนุษย์ เป็นศูนย์แห่งสมองส่วนหลัง ระบบประสาทส่วนกลาง ดวงตา และจมูก ซึ่งจุดกึ่งกลางตาที่สามนี้จะแบ่งร่างกายออกเป็นด้านซ้ายและขวาได้พอดี ชาวจีนนับถือเทพเจ้าสามตาหลายองค์ หนึ่งในนั้นคือ เทพเอ้อร์หลางหรือเอ้อหลางเสิน (Erlang Shen) ผู้เป็น เทพเจ้าแห่งความบริสุทธิ์ และความถูกต้อง ตานานหนึ่งเล่าว่าเทพเอ้อร์หลางเป็นบุตรชายคนที่สองของหลี่ปิงผู้ปราบ มั ง กรร้ า ย(เทพนที ) ที่ อ อกมาอาละวาดลงได้ ในช่ ว งปลายสมั ยราชวงศ์ ถั ง ชาวเมื อ งจึ ง สร้า งศาลหลี่ ปิ ง และศาล เอ้อร์หลางขึ้น (บริเวณอาเภอก้วนเซี่ยน มณฑลซื่อชวนในปัจจุบัน) (อู่ลี่ว์ชิง, ๒๕๕๔ : ๓๒-๓๔) อีกตานานหนึ่งเชื่อว่า เทพเอ้ อ ร์ ห ลางเป็ น เทพเจ้ า จากต่ า งแดน เพราะเป็ น บุ ต รชายคนที่ ส องของเทพเจ้ า อิ น เดี ย องค์ ห นึ่ ง ที่ มี น ามว่ า “ผีซาเหมินเทียนหวัง” หรือเจ้าแห่งทิศอุดร(ท้าวเวสสุวัณ) ผู้เป็นเทพแห่งการรบ ถือเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ไว้ในมือ ตานานจาก ๘๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


สมัยราชวงศ์ถัง (รัชศกเทียนเป่า) ค.ศ.๗๔๒-๗๕๖ เล่าว่า ครั้งหนึ่งเมืองอันซี (บริเวณขู้เชอ มณฑล ซินเจียงในปัจจุบัน) ตกอยู่ในวงล้อมของทหาร ขณะที่ทัพของราชสานักถัง อยู่ไกล ไม่สามารถไปช่วยได้ ขณะที่พระจักรพรรดิทรงกังวล พระทัยอยู่นั้น ได้ปรากฏเทวดา ๒๐๐-๓๐๐ องค์ โดยมีเทพเอ้อร์หลางเป็นนายทัพออกมาช่วยเหลือ นับแต่นั้นมาจึงมี ศาลบูชาเทพเอ้อร์หลางมากมายในประเทศจีน อย่างไรก็ตามชาวจีนไม่ค่อยยอมรับความเชื่อเทพเจ้า จากต่างแดน จึงปรับแต่งตานานในยุคต่อมาว่าเทพเอ้อร์หลางเป็น บุ ต รชายที่ เ กิ ด จากน้ อ งสาวของเทพเจ้ า หยก มารดาของเทพ เอ้ อ ร์ ห ลางถู ก จองจ าอยู่ ใ ต้ หุ บ เขาเต๋ า เพราะนางได้ ล ะเมิ ด กฎสวรรค์ไปแต่งงานกับมนุษย์ ต่อมาเทพเอ้อร์หลางปีนขึ้น จาก หุบเขาเพื่อช่วยปลดปล่อยมารดาของตนให้เป็นอิสระ แต่ไ ม่ทัน การเพราะบุตรชายของเทพเจ้าหยกมาเผานางตายไปเสียก่ อ น ด้วยความแค้นเทพเอ้อร์หลางจึงตามไล่ล่าฆ่าเทพเจ้าตายไปถึง ๙ องค์และท้ายที่สุดได้แต่งงานกับเจ้าหญิงมังกร (อ้างแล้ว, ๓๔) รูปลักษณ์ของเทพเจ้าเอ้อร์หลางเป็นบุรุษหนุ่ม ใบหน้า ขาว มีสามตา สวมเกราะทองและหมวกสามยอด มีหอกสองคม สามปลายเป็นอาวุธคู่กาย มีสุนัขสวรรค์เป็นบริวาร ดวงตาที่สาม ของเทพเอ้ อ ร์ ห ลางเป็ น ที่ รู้ จั ก กั น ว่ า เป็ น “ดวงตาสวรรค์ (heavenly eye)” ที่ ม องเห็ น ความจริ ง เท่ า นั้ น ไม่ มี อ ะไรที่ สามารถปลอมแปลง ปิดบังหรือหลอกลวงได้ รวมทั้ง ยัง มีพ ลั ง อานาจรุนแรงสามารถทาลายภูเขาขนาดใหญ่ให้กลายเป็นผุยผงได้ นอกจากนี้ชาวจีนยังมีความเชื่ อเกี่ยวกั บเทพเจ้ า องค์ เทพเอ้อร์หลาง อื่ น ๆที่ มี ส ามตา (จิ ต รา ก่ อ นั น ทเกีย รติ , ๒๕๔๔ : ๒๐๐-๒๐๓) จาก en.wikipedia.org/ wiki/Erlang_Shen ได้แก่ ๑) เจ้าแม่งั้งกวงเนี่ยเนี้ย เป็นเทพที่ช่วยให้สายตาดี และยังเป็นพระแม่ธรณี เป็นเทพประทานบุตร และเป็น แม่ซื้อคุ้มครองเด็กๆด้วย ๒) เทพอัคนีหรือเจ้าไฟ หรือบางท้องถิ่นเรียกท่านว่า น่าฮึงฮ่วงเต็กแชกุง เพราะถือเป็นเทพเจ้าประจาทิศใต้ด้วย ๓) ฮั้วกวงไต้ตี่ หรือเทพเจ้าแห่งแสงสว่างผู้ทรงพลังและมีหูทิพย์ และยังเป็นเทพผู้ควบคุมลูกน้องในการนา ของกงเต็กที่ลูกหลานได้เผาส่งให้ไปถึงมือบรรพบุรุษด้วย กล่าวโดยสรุปจากความเชื่อทางพุทธ ฮินดูและจีน “อุณาโลม” จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงนิมิตรหมายที่ดี สาหรับชาวพุทธได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นจานวนมากและให้ความสาคัญกับการทาอุณาโลมกันอย่างจริงจังเพื่อ ประดับพระพุทธรูป จากการที่ผู้เขียนได้สารวจตามท้องตลาดพบว่าอุณาโลมที่ทาจากเงินรูปทรงหยดน้าขนาดประมาณ ๓ x ๕ เซนติเมตร ฝังพลอยนพเก้าแท้ มีราคาสองถึงสามหมื่นบาท เคยพบฝังทับทิมแท้หนึ่งเม็ด มีราคาสูงถึงห้าหมื่น บาท ถือว่าการสร้างพระพุทธรูปและการถวายอุณาโลมนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยธารงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบต่อไป วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๘๗


เอกสารอ้างอิง จิตรา ก่อนันทเกียรติ. (๒๕๔๔). ทาเนียบเทพเจ้าของจีน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ลี่ว์ชิง, อู่. (๒๕๕๔). ๑๐๐ เทพและเซียนจีน/ อู่ลี่ว์ชิง : เขียน ; หลูเหยียนกวง : วาดภาพประกอบ ; ส.สิริวิทย์ : แปล จาก Bai Xian Tu. กรุงเทพฯ : อมรินทร์. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๕๔). พระพุทธรูปสาคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๕๕). ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ : เมือง โบราณ. Erlang Shen สืบค้นเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ จาก en.wikipedia.org/ wiki/Erlang_Shen The third eye in Hinduism & Buddhism สืบค้นเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ จากwww.lotussculpture.com/blog/third-eye-hinduismbuddhism/ The 32 Signs of a Great Man สืบค้นเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ จาก en.wikipedia.org/wiki/Physical_characteristics_ of_the_Buddha Third eye สืบค้นเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ จาก en.wikipedia.org/wiki/ Third eye Urna สืบค้นเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ จาก en.wikipedia.org/wiki/Urna

๘๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙


สอนน้องเรียนศิลป์ สร้างสรรค์ศิลป์ ถิ่นมรดกโลก

โดย อรอุมา โพธิ์จวิ๋ และอายุวัฒน์ ค้าผล

นิทรรศการออนไลน์ ผลงานภาพวาด จากโครงการสอนน้องเรียนศิลป์ ประจาปี พ.ศ.๒๕๕๙

สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้นาผลงานภาพวาดจากผู้เข้าร่วมโครงการ สอนน้องเรียนศิลป์ ประจาปี พ.ศ.๒๕๕๙ ซึ่งประกอบด้วยเยาวชนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ และระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ จากโรงเรียนต่างๆ ในจัง หวัด พระนครศรีอยุธยา มาจัดแสดงนิทรรศการออนไลน์ ผลงาน ภาพวาดจากโครงการสอนน้องเรียนศิลป์ ในหัวข้อ “ศิลปะและวัฒนธรรมอยุธยา” ในเว็บไซต์ของสถาบันอยุธยาศึกษา asi.aru.ac.th กิจกรรมดังกล่าวเป็นการนาเสนอภาพวาดผ่ านมุม มองต่ างๆ ของเยาวชน ทั้ง ในรูปแบบศิลปวัฒ นธรรม ประเพณีไทย และโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออก ตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิ ดประโยชน์ และเกิดความรู้สึกรักและหวงแหน ศิลปวัฒนธรรมอยุธยา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๘๙


ชมนิทรรศการออนไลน์ ผลงานภาพวาด จากโครงการสอนน้องเรียนศิลป์ ประจาปี พ.ศ.๒๕๕๙

๙๐ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๘


ประวัติศาสตร์ริมรั้วโรงเรียน เรื่องเล่าจากกิจกรรมอยุธยาศึกษาสัญจร

โดย พัฑร์ แตงพันธ์

แผนที่ภูมวิ ัฒนธรรมย่านตาบลสาเภาล่ม การเขียนแผนที่ภูมิวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่สถาบันอยุธยาศึกษา ของการจัดโครงการอยุธยา ศึกษาสัญจร เพื่อให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแก่นักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการ สัญจรครั้งที่ ๔ ณ โรงเรียนพระพินิจพิทยาคาร ตาบลสาเภาล่ม อาเภอพระนครศรีอยุธยานั้น วิทยากรของสถาบันฯ ได้ฝึกให้นักเรียนซึ่งกาลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา และพักอาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้นทั้งหมด ได้ร่วมกันสารวจ และ เขียนแผนที่ภูมิวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนเอง วิทยากรได้แบ่งกลุ่มนักเรียนตามกลุ่มบ้านพักอาศัยที่อยู่ในละแวกเดียวกัน เช่น กลุ่มวัดบางกะจะ กลุ่มวัด นางกุย กลุ่มวัดขุนพรหม กลุ่มหมู่บ้านโปรตุเกส เป็นต้น จากนั้นให้นักเรียนเขียนแผนที่ภูมิวัฒนธรรม โดยให้เริ่มต้นจาก สถานที่สาคัญของหมู่บ้าน เช่น วัดประจาหมู่บ้าน และขยายออกสู่สถานที่อื่น ๆ ที่ห่างไกลออกไป เช่น วัด มัสยิด โบราณสถาน ศาล บ้าน หมู่บ้าน และร้านค้าต่างๆ เป็นต้น หลังจากนั้นจึงให้นักเรียน ออกมาอธิบายตามความเข้าใจ ผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรมนี้คือทาให้ นักเรียนได้รู้จักวัฒนธรรมสถานในท้องถิ่นของตนเอง อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ จะนาไปสู่ความสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน ที่จะนาไปสู่การให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์แหล่งศิลปกรรมในท้องถิ่น ของตนเอง ซึ่งกิจกรรมนี้ยังทาให้ได้ผลงานแผนที่ภูมิวัฒนธรรมจากเยาวชนในท้องถิ่นตาบลสาเภาล่มที่น่าชื่นชมอีกด้วย

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๙๑


๙๒ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๘


การเสนอบทความเพื่อตีพมิ พ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา Journal of Ayutthaya Studies (JAS) ISBN 2229-1644 เป็นวารสารวิชาการของสถาบัน อยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ ค วามรู้ทางวิช าการ และงานวิจัยทางด้ า น ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอยุธยา โดยเผยแพร่ บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformation of Ancient Manuscripts) วิจารณ์ หนังสือ (Book Review) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วารสารมีกาหนดออกปีละ ๒ ฉบับ คือ มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้อง จัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็นขั้นแรก แล้วจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกในสาขานั้นๆ ร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย ๒ ท่าน ตามเกณฑ์ที่กาหนดในลักษณะ Double-blind peer review คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบ ชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา โดยเผยแพร่ออนไลน์ในรูปวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการ เผยแพร่ในรูปเล่ม สาหรับจัดส่งให้ห้องสมุดและหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ

หลักเกณฑ์ในการรับพิจารณาบทความ ๑.บทความที่จ ะได้รับพิจ ารณาตี พิมพ์ ได้แก่ บทความทางวิช าการ (Article) สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความงานวิ จั ย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริ ว รรตเอกสารโบราณ ( Transformation of Ancient Manuscripts) วิ จ ารณ์ ห นั ง สื อ (Book Review) ในสาขามนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ ที่ มี ป ระเด็ น เนื้ อ หาเกี่ ย วข้ อ งทางด้ า น ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอยุธยา ๒.บทความทางวิชาการ หรือบทความงานวิจัยนั้น ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ หรือกาลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่น ใดมาก่อน ๓.บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๔.บทความได้รับการจัดพิมพ์ ตามข้อกาหนด การจัดเตรียมต้นฉบับ ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

การจัดเตรียมต้นฉบับ ๑.พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวทั้งเรื่อง รวมภาพประกอบ ตาราง และเอกสารอ้างอิง ไม่เกิน ๑๕ หน้ากระดาษ เอ ๔ ๒.เว้นระยะขอบด้านบน และด้านซ้าย ด้านละ ๑.๒๕ นิ้ว และเว้นขอบด้านล่างและด้านขวา ด้านละ ๑.๐ นิ้ว ใส่หมายเลข หน้ากากับที่มุมบนขวามือทุกหน้า ๓.ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK และใช้เลขไทยตลอดทั้งบทความ (ยกเว้นตัวเลขอารบิคในส่วนบทคัดย่อภาษาอัง กฤษ ข้อความ หรือชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษ) ๔.ชื่อเรื่อง จัดกึ่งกลาง ขนาดอักษร ๒๐ พอยต์ ตัวหนา มีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๕.บรรทัดถัดจากชื่อเรื่อง เป็น ชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จัดชิดขอบขวา ขนาดตัวอักษร ๑๖ พอยต์ และ บรรทัดถัดจากชื่อผู้เขียน ตามด้วยตาแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงานที่สังกัด

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๙๓


๖.หัวข้อใหญ่ จัดชิดขอบด้านซ้าย อักษรขนาด ๑๘ พอยต์ ตัวหนา สาหรับหัวข้อรอง ให้จัดย่อหน้าปกติ อักษรขนาด ๑๖ พอยต์ ตัวหนา และตัวอักษรปกติขนาด ๑๖ พอยต์ ๗.บทคัดย่อ หรือ Abstract ต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และต้องกาหนดคาสาคัญ (Keyword) ไม่เกิน ๕ คา ๘.ถ้ามีภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง ให้ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง และต้องมีชื่อ พร้อมแหล่งที่มาของภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง ๙.พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี) และบรรณานุกรมท้ายบทความ ตาม ตัวอย่างการพิมพ์อ้างอิงและบรรณานุกรม ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา และจัดเรียงตามลาดับอักษร ถ้ามีบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ต่อท้ายบรรณานุกรมภาษาไทย

การส่งต้นฉบับบทความ ๑.ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความตามข้อกาหนดการจัดเตรียมต้นฉบับ จานวน ๑ ฉบับ พร้อมแนบไฟล์ภาพประกอบที่มีความละเอียด สูง พร้อมกับ “แบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา” มาทางอีเมล์ ayutthayanuruk@outlook.com ๒.เจ้าของบทความที่ได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ จะได้รับวารสารจานวน ๒ เล่ม พร้อมเกียรติบัตรจากบรรณาธิการบริหาร ๓.กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการนาบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์และสือของสถาบันอยุธยาศึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา ฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๘ ๑๓๔๓ ๕๐๗๐, ๐๘ ๔๐๒๓ ๕๐๕๓ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐๓๕ ๒๔๑ ๔๐๗

ตัวอย่างการพิมพ์อ้างอิง และบรรณานุกรม หมายเหตุ

/ //

หมายถึง ระยะเว้นวรรค ๑ ครั้ง หมายถึง ระยะเว้นวรรค ๒ ครั้ง

การพิมพ์อ้างอิง พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี) 

การพิมพ์อ้างอิงจาก หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงานการวิจัย / วิทยานิพนธ์ และสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นการรวมบทความ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/หน้า) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, หน้า ๑๕)

การพิมพ์อ้างอิงจากการการสัมภาษณ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์,/ปี,/วัน/เดือน) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, ๒๓ พฤษภาคม)

การพิมพ์อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น,/เว็บไซต์) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, asi.aru.ac.th)

การพิมพ์อ้างอิงจากภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์ (ชื่อเรื่อง,/ปีที่ผลิต,/[ชนิดของวัสดุ]) (ตลาดหัวรอ, ๒๕๕๘, [ภาพนิ่ง])

๙๔ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๘


การพิมพ์บรรณานุกรม หนังสือ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//(ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/สานักพิมพ์. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๗). พระนครศรีอยุธยาในความทรงจาของข้าพเจ้า. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา. 

สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นการรวมบทความ ผู้เขียนบทความ.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//(หน้า).//เมืองที่พิมพ์:/สานักพิมพ์. ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์. (๒๕๔๗). อาการกบต้ม (สุก). ใน มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และชับปนะ ปิ่นเงิน (บก.). นพีสีเชียงใหม่. (หน้า ๙๐ – ๙๑). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 

วารสาร ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,//ปีที่(ฉบับที่),//หน้าที่อ้าง. ประมูล สัจจิเศษ. (๒๕๔๑). ปัญหาและแนวทางแก้ไขเศรษฐกิจไทย. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, ๑๙(๒), ๓๔ – ๓๙. 

หนังสือพิมพ์ ผู้เขียน.//(ปีพิมพ์,//วัน/เดือน).//ชื่อข่าว,//ชื่อหนังสือพิมพ์,//หน้า. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๙, ๒๕ เมษายน). หวั่นถอดถอนมรดกโลกอยุธยา, สยามโพลล์, หน้า ๓๔. 

รายงานการวิจัย / วิทยานิพนธ์

การพิมพ์บรรณานุกรมวิจัย

ชื่อผู้วิจัย.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิจัย.//(รายงานผลการวิจัย).//เมืองที่พิมพ์:/สถาบัน. ฉันทนา บรรณ และศิรโิ ชติ หวันแก้ว. (๒๕๓๕). การศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส : เด็กทางาน. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การพิมพ์บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์ตามด้วยชื่อปริญญา/สาขาวิชา,//สถาบัน. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๗). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. การสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์.//(ปี,//วัน/เดือน).//ตาแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์.//หน่วยงานของผู้ให้สัมภาษณ์.//สัมภาษณ์. บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์. (๒๕๕๒, ๘ มิถุนายน). อธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์. 

แหล่งข้อมูลออนไลน์ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น).//ชื่อเรือ่ ง.//ค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี,//จาก/URL รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๐). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ. ค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๕๗, จาก www. asi.aru.ac.th /history.html 

ภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์ ชื่อเรื่อง.//(ปีที่ผลิต).//[ชนิดของวัสดุ].//สถานที่ผลิต:/ผู้ผลิต ตลาดหัวรอ. (๒๕๕๐). [แผนที่]. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา 

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ I๙๕


แบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ข้าพเจ้า  นาย  นาง  นางสาว (ไทย) ...............................................................................................................  อื่นๆ ............................ (อังกฤษ) ........................................................................................................... ตาแหน่งทางวิชาการ ............................................................ วุฒิการศึกษาสูงสุด ............................................................... ตาแหน่งงาน ....................................................................... หน่วยงานที่สังกัด ................................................................. ขอส่ง สาขา

 บทความทางวิชาการ (Article)  สารนิพนธ์ หรือบทความงานวิจัย (Research Article)  บทความปริทัศน์ (Review Article)  บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformed Ancient Manuscripts)  บทความแปล (Translated Article)  ประวัติศาสตร์  ประวัติศาสตร์ศิลปะ  โบราณคดี  ศิลปวัฒนธรรม  ศิลปกรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม  อื่นๆ (ระบุ) .............................................................................................................................................

ชื่อเรื่อง

(ไทย) ........................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. (อังกฤษ) ...................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. โดยมีผู้แต่งร่วม (ถ้ามี) สถานที่ติดต่อ

๑. ชื่อ .................................................................... ตาแหน่งทางวิชาการ ................................................. ๒. ชื่อ .................................................................... ตาแหน่งทางวิชาการ .................................................

.............................................................................. เลขที่ ................... หมู่ที่ .......................... อาเภอ/แขวง ........................................................ โทรศัพท์ ............................................................... E-mail .................................................................

วัตถุประสงค์ของการตีพิมพ์

.................................................................................................... ตาบล /ซอย ......................... ถนน ............................................. จังหวัด ................................. รหัสไปรษณีย์ ............................... โทรสาร ....................................................................................... Facebook .................................................................................

 เพื่อสาเร็จการศึกษาภาคเรียนที่ .................... ปีการศึกษา .................... ภายในวันที่ ....................  ใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนตาแหน่งทางวิชาการ/วิชาชีพ  อื่นๆ ระบุ .........................................................................................................................................

ข้าพเจ้าของรับรองว่าบทความนี้ เป็นผลงานของข้าพเจ้า และผู้ร่วมงานตามชื่อที่ระบุในบทความ (ถ้ามี) และเป็นบทความที่ไม่ได้กาลังมีการนาเสนอ หรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ลงชื่อ .......................................................................................... ( .................................................................................... ) วันที่ ............................................................................................ ๙๖ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๘



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.