Jas 9 1 2560

Page 1



วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ ISSN 2229-1644

วัตถุประสงค์ : เพือ่ เผยแพร่องค์ความรูท้ างวิชาการและงานวิจยั ทางด้านอยุธยาศึกษา โดยพิมพ์เผยแพร่ บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์หรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformed Ancient Manuscripts) บทความปริทัศน์ (Review Article) ที่มีประเด็นเนื้อหา เกี่ยวข้องกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ปรึกษา : นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม ขอบเขตเนื้อหา : บทความวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และบทความสารคดีที่มี เนื้อหาเกี่ยวข้องกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เงื่อนไขการตีพิมพ์ : บทความทีจ่ ะได้รบั การตีพมิ พ์ ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสาร วิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็นขั้นแรก แล้วจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกในสาขานั้นๆ ร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย ๒ ท่าน โดยเป็นการ ประเมินแบบ Double-blind peer review คือ ผูพ้ จิ ารณาไม่ทราบชือ่ ผูแ้ ต่ง และผูแ้ ต่ง ไม่ทราบชือ่ ผูพ้ จิ ารณา โดยมีการพิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่ม ส�ำหรับจัดส่งให้หอ้ งสมุดและ หน่วยงานทางวิชาการต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ออนไลน์ในรูปวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ก�ำหนดเผยแพร่ : วารสารตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ ๒ ฉบับ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม เจ้าของ : สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๙๖ ถนนปรีดีพนมยงค์ ต�ำบลประตูชัย อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐-๓๕๒๔-๑๔๐๗ เว็บไซต์สถาบันอยุธยาศึกษา: asi.aru.ac.th เว็บไซต์วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา: jas.aru.ac.th/ ศิลปกรรม : ปกหน้า-หลัง : ภาพเขียนสีน�้ำของศิลปิน อดิศร พรศิริกาญจน์ พิมพ์ที่ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด จ�ำนวน : ๖๐๐ เล่ม เนื้อหาและทัศนคติในบทความเป็นของผู้เขียนเท่านั้น บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้ที่ประสงค์จะน�ำข้อความจากบทความ หรือบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการและผู้เขียน


คณะกรรมการกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

บรรณาธิการบริหาร : อาจารย์ ดร.จงกล เฮงสุวรรณ บรรณาธิการ : อาจารย์ชนิกานต์ ผลเจริญ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิรา ปูชตรีรัตน์ อาจารย์กันยารัตน์ คงพร กองบรรณาธิการ : ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง

มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวิตรี พิสณุพงศ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดาบเพชร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ ดร.รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา อาจารย์ศุภกาณฑ นานรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา อาจารย์ศิขรินทร์ แสงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา เลขานุการกองบรรณาธิการ : นายพัฑร์ แตงพันธ์ คณะทำ�งาน : ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายวิชาการและส่งเสริมวิชาการ ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย นางสาวสาธิยา ลายพิกุน นางสาวธัญวลัย แก้วแหวน นายปัทพงษ์ ชื่นบุญ นางสาวสายรุ้ง กลํ่าเพชร นายอายุวัฒน์ ค้าผล นางสาวศรีสุวรรณ ช่วยโสภา นางสาวอรอุมา โพธิ์จิ๋ว นางประภาพร แตงพันธ์ นางยุพดี ป้อมทอง

2 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ผู้ทรงคุณวุฒิ

พิจารณาบทความวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐.

รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี มหณรงค์ชัย รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ รองศาสตราจารย์ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลับพลึง คงชนะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดาบเพชร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร ภู่สาระ ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ดร.ภิศักดิ์ กัลยาณมิต

๑๑. อาจารย์สิทธารถ ศรีโคตร

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ |

3


สารบัญ บทความวิชาการ

ทวิพุทธปัญหาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในประชุมพระราชปุจฉา ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์

การเสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในปี พ.ศ. ๒๐๙๘ ธีระวัฒน์ แสนค�ำ

๑๙

การสถาปนาอ�ำนาจการปกครองของกษัตริย์อาณาจักรอยุธยา ผ่านพระราชพิธีถือน�ำ้ พระพิพัฒน์สัตยา ธีรพงษ์ ค�ำอุ่น

๒๗

หัตถกรรมการแกะสลักไม้แห่งบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับการสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชนรุ่นใหม่ ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต

๔๑

ปริทัศน์หนังสือ: “การจลาจลสมัยศรีอยุธยา” แต่งโดย พระบริหารเทพธานี ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

๕๕

ชานวัฒนธรรมสถาบันอยุธยาศึกษา

สายพระเนตรอันกว้างไกล ทรงน�ำมรดกไทยสู่มรดกโลก ชนิกานต์ ผลเจริญ

๖๓

เรื่องเล่าจากคนตีมีดอรัญญิก-อยุธยา ถึงองค์ราชาแห่งแผ่นดิน พัฑร์ แตงพันธ์

๖๙

แค่ได้ชมพระบารมีก็ยิ้มทั้งน�้ำตา : เมื่อฝนหลวงหยาดจากฟ้า สู่วัดบางนมโค ปัทพงษ์ ชื่นบุญ

๗๗

ภาพร�ำฤกวันวารเมืองอยุธยา เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุวัฒน์ ค้าผล

๘๓

4 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


บทบรรณาธิการ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคตแล้ว เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ถือเป็น วันมหาวิปโยคอีกวันหนึ่งของคนไทย ที่สูญเสีย “พ่อแห่งแผ่นดิน” ไปอย่างไม่มีวันกลับ ตลอดรัชสมัยกว่า ๗๐ ปี พระองค์ ทรงงานหนักเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน อย่างที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกทัดเทียมได้ ชาวจังหวัด พระนครศรีอยุธยาได้รับพระมหากรุณาธิคุณหลายครั้ง จากพระราชกรณียกิจด้านทรัพยากรน�้ำ ด้านการอนุรักษ์มรดก วัฒนธรรม ด้านโครงการศิลปาชีพพิเศษ รวมทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติว่า เป็นปรัชญาที่ให้คุณประโยชน์แก่ประเทศไทยไปจนถึงระดับโลก ในนามของคณะกรรมการกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ขอน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอย่างหาที่สุดมิได้ไว้ ณ โอกาสนี้ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ “อยุธยา” ในทุกศาสตร์และทุกมิติ กองบรรณาธิการเปิด รับงานเขียนทางวิชาการจากผูเ้ ขียนทุกสาขาอาชีพ เพือ่ ส่งเสริมให้ผอู้ า่ นเกิดการเรียนรู้ รากเหง้าทางประวัตศิ าสตร์วฒ ั นธรรม จนถึงความร่วมสมัยในทุกแง่มุมของ “อยุธยา” ซึ่งงานที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะได้รับการตีพิมพ์ตามล�ำดับ เนือ้ หาในส่วนของบทความวิชาการ ประกอบด้วย ๑. ทวิพทุ ธปัญหาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศในประชุม พระราชปุจฉา โดยคุณชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์ ๒. การเสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในปี พ.ศ. ๒๐๙๘ โดยคุณธีระวัฒน์ แสนค�ำ ๓. การสถาปนาอ�ำนาจการปกครองของกษัตริย์อาณาจักรอยุธยาผ่านพระราช พิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยคุณธีรพงษ์ ค�ำอุ่น ๔. หัตถกรรมการแกะสลักไม้แห่งบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา กับการสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชนรุ่นใหม่ โดยคุณธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต และ ๕. ปริทัศน์หนังสือ: “การจลาจลสมัยศรีอยุธยา” แต่งโดย พระบริหารเทพธานี โดยคุณก�ำพล จ�ำปาพันธ์ บทความในคอลัมน์ ชานวัฒนธรรมสถาบันอยุธยาศึกษา ประกอบด้วย ๑. สายพระเนตรอันกว้างไกล ทรงน�ำมรดก ไทยสู่มรดกโลก โดยอาจารย์ชนิกานต์ ผลเจริญ ๒. เรื่องเล่าจากคนตีมีดอรัญญิก-อยุธยา ถึงองค์ราชาแห่งแผ่นดิน โดย คุณพัฑร์ แตงพันธ์ ๓. แค่ได้ชมพระบารมีก็ยิ้มทั้งน�้ำตา : เมื่อฝนหลวงหยาดจากฟ้า สู่วัดบางนมโค โดยคุณปัทพงษ์ ชื่นบุญ และ ๔. ภาพร�ำฤกวันวารเมืองอยุธยา เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชด�ำเนิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยคุณอายุวัฒน์ ค้าผล ในนามของคณะกรรมการกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้ พิจารณากลั่นกรอง ชี้แนะและปรับปรุงแต่ละบทความให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามวารสารมา โดยตลอด หากมีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาแจ้งมายังกองบรรณาธิการ จักขอบพระคุณยิ่ง บรรณาธิการ วารสารอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ |

5



บทความวิชาการ

ทวิพุทธปัญหาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในประชุมพระราชปุจฉา Two Questions on Buddhism from King Borommakot in the King’s Quest Omnipedia

ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์/ Chanin Phongsawat นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ บทความชิ้นนี้ศึกษาและตรวจสอบวิสัชนาของพระภิกษุสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ปรากฏในพระราชปุจฉาแห่ง สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ พบว่าสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศทรงตัง้ พระราชปุจฉาต่อพระภิกษุดว้ ยกัน ๒ ประการ คือ (๑) เรื่องสังฆภัต เพราะทรงเป็นห่วงในเรื่องอปโลกนกรรมในหมู่สงฆ์ และ (๒) เรื่องการอุทิศบุญแก่เทวดาผู้เป็น ญาติ พระราชปุจฉานีไ้ ม่ใช่คำ� ถามเชิงธรรมะเมือ่ เปรียบเทียบกับพระราชปุจฉาของพระมหากษัตริยแ์ ห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์อื่น แต่เมื่อพิจารณาจากวิสัชนาแล้วแสดงให้เห็นว่า เป็นพระราชปุจฉาที่ตอบล�ำบาก พระภิกษุต้องศึกษา คัมภีร์เพิ่มเติม แล้วต้องน�ำเรื่องราวในคัมภีร์มาสนับสนุนทรรศนะของตน เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และวิสัชนา ส่วนมากเป็นการตอบนอกประเด็น ค�ำส�ำคัญ: ประชุมพระราชปุจฉา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

Abstract This paper aims to study and inspect the answers (Visajjana) of the monks in the Ayutthaya period for the two questions asked by King Borommakot (Pra-raja-puccha): (1) the food of Buddhist monks in the case of sharing food among them (Apalokanakamma); and (2) the dedication of merits to the relatives who became the angels. Both were not the questions on Buddhism when compared to many questions asked by other kings of Ayutthaya. When considering their answers, however, it was difficult to answer these two questions. It was found that, for the reliability, the monks had to do more research on the scriptures and used the details concerned to support their views. Moreover, the answers were mostly irrelevant. Keywords: The King’s Quest Omnipedia (Pra-chum-pra-raja-puccha), King Borommakot วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ |

7


บทน�ำ

ทวิ พุ ท ธปั ญ หา หมายถึ ง พระราชปุ จ ฉา ๒ ประการแห่ ง สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว บรมโกศที่ ป รากฏ ในประชุมพระราชปุจฉา๑ ถึงพุทธปัญหาแห่งสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศจะทรงตัง้ เพียง ๒ ประการ แต่กลับ เป็นพุทธปัญหาทีน่ า่ สนใจมินอ้ ยไปกว่าพระราชปุจฉาแห่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเพทราชา การตั้งพระราชปุจฉานั้นเป็นธรรมเนียมของพระมหา กษัตริย์ที่ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนาสืบมาแต่สมัยพุทธกาล ดังปรากฏในคัมภีรพ์ ทุ ธศาสนาทีพ่ ระมหากษัตริยท์ ลู ถาม พระพุทธเจ้าถึงข้อสงสัยและปัญหาธรรมต่างๆ อาทิ ใน อรรถกถาสุบินชาดกระบุว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าเพื่อทูลถามเรื่องพระสุบินร้ายทั้ง ๑๖ ของ พระองค์ หรือ กรณีพระเจ้าพิมพิสารเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพือ่ ทูลถามเรือ่ งเสียงทีท่ รงได้ยนิ ในยามวิกาล ดังทีป่ รากฏ ในอรรถกถาเปตวัตถุ๒ หรืออย่างพระมหากษัตริยท์ ลู ถาม ปัญหากับพระภิกษุ เช่น พระเจ้ามธุรราชทรงสนทนา ธรรมกับพระมหากัจจายนะด้วยเรื่องวรรณะสี่ (พระสูตร และอรรถกถาแปล มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒, ๒๕๒๕, หน้า ๙๐-๙๑) เป็นต้น ต่อมาในสมัยหลังพุทธกาลก็มีเหตุการณ์ที่พระ มหากษัตริย์ทรงสนทนาปัญหากับภิกษุ อย่างพระเจ้า มิลินท์กับพระนาคเสน ซึ่งต่อมารู้จักกันในรูปแบบของ วรรณคดีพุทธศาสนาคือ “มิลินทปัญหา” หรืออย่าง พระมหากษั ต ริ ย ์ แ ห่ ง ชมพู ท วี ป หลั ง สมั ย พุ ท ธกาลอี ก

พระองค์ คือ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงถามปัญหาธรรม กับพระโมคคลีบตุ รติสสเถระเรือ่ งบาป๓ แสดงว่าพระมหา กษัตริยท์ ที่ รงมีโอกาสเกีย่ วข้องกับพุทธศาสนาจะมีโอกาส ถามปัญหาในสิ่งที่พระองค์ทรงอยากทราบต่อพระภิกษุ ผู้เป็นเนื้อนาบุญ จนกระทั่งประเทศไทยรับพุทธศาสนาเข้ามา ตั้ ง แต่ ส มั ย ทวารวดี จ นกระทั่ ง สมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ หลักฐานที่ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ไทยโบราณทรง ตั้งพระราชปุจฉาเรื่องพุทธศาสนากับพระภิกษุก็มีขึ้นใน สมัยกรุงศรีอยุธยาดังปรากฏในประชุมพระราชปุจฉานี้ โดยหลักฐานมีปรากฏคือพระราชปุจฉาแห่งสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช พระราชปุจฉาแห่งสมเด็จพระเพทราชา และพระราชปุจฉาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การศึกษาครั้งนี้จึงเลือกศึกษาพระราชปุจฉา แห่งพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ สมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ เพือ่ วิเคราะห์การตัง้ พระราชปุจฉา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและวิสัชนาของพระ ภิกษุในรัชสมัยของพระองค์ เพื่อตรวจความถูกต้องของ การวิสชั นาว่าตรงกับข้อมูลในพระไตรปิฎกอันเป็นข้อมูล ปฐมภูมิที่น่าเชื่อถือที่สุดในการศึกษาพุทธศาสนาหรือไม่ บทความนี้ถือได้ว่าเป็นการศึกษาเพื่อตรวจสอบความ ถูกต้องในเนื้อหาวิสัชนาในพระราชปุจฉาแห่งสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

วรรณคดีพุทธศาสนาที่เป็นงานรวบรวมพระราชปุจฉาของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ว่าด้วยพระราชปุจฉา เกี่ยวกับพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์ที่ตรัสถามภิกษุชั้นผู้ใหญ่และชั้นผู้น้อยในรัชสมัยของพระองค์ (ผู้เขียน) ๒ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน เปตวัตถุ เรื่องติโรกุฑฑเปตวัตถุ และ อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องเปรตพระญาติพระเจ้าพิมพิสาร (พระสูตรและ อรรถกถาแปล ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๑ หน้า ๓๗-๖๐) ๓ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในปฐมสมันตปาสาทิกาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน้า ๙๕-๙๗ ๑

8 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ทวิพุทธปัญหาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชปุจฉาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ ที่ทรงถามพระภิกษุมีดัวยกัน ๒ ประการ ดังนี้ ๑. พระราชปุจฉาว่าด้วยเรื่องสังฆภัต ครั้ ง หนึ่ ง สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว บรมโกศ ทรงวิตกถึงการถวายสังฆภัตในพระราชฐาน จึงทรงมี พระราชโองการตั้งพระราชปุจฉาเรื่องการถวายสังฆภัต ที่ถูกต้องว่าควรกระท�ำอย่างไร พระองค์โปรดให้สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ถวายวิสัชนาเรื่องการถวายสังฆภัต แด่พระองค์ ซึ่งพระราชปุจฉามีความว่า “บพิตร (พระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ) วิตกสงสัย จึงถามถึงว่า หากผูเ้ ป็นทายกแต่งจังหัน๔ ไว้ในบ้านก็ดี ใน เรือนก็ดี แล้วถวายสังฆภัต มีสงฆ์มา ๑ รูปก็ดี ๒ รูปก็ดี ๓ รูปก็ดี มากกว่าก็ดี รับเอาจังหันนั้นฉัน เมื่อมีสงฆ์มา แต่รปู เดียวดังนัน้ จะเอาสงฆ์รปู ใดกระท�ำอปโลกนกรรม๕ เล่า อนึ่งจังหันที่ทายกถวายแก่สงฆ์ฉันเหลือแล้วสงฆ์ให้ จังหันนัน้ แก่บคุ คลผูใ้ ดกิน ผูน้ นั้ ยังจะเป็นโทษบ้างแลเป็น ประการใดฯ” (กรมศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๗๓) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จึงถวายพระพรว่า “ทายกถวายจั ง หั น เป็ น สั ง ฆภั ต ทั้ ง ปวง อาตมภาพบมิพบพานในพระวินัย ว่าให้กระท�ำอปโลกนกรรม อนึ่งครั้งเมื่อกระท�ำสังฆภัตในครั้งก่อน สมเด็จ พระอริยกัสสปกับสมเด็จพระพิมลธรรมผู้เฒ่าซึ่งล่วงไป แล้วนั้น เถียงกันด้วยพระบาลีแลเนื้อความซึ่งให้กระท�ำ อปโลกนกรรมนั้น แลสมเด็จพระพิมลธรรมบมิยอมลง จึงถามพระอุบาลีวัดเดิม ว่าไม่พบพระบาลี แลสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ จึงว่าท่านได้กระท�ำสืบๆ กันมาแล้ว

ครั้นจะว่าบัดนี้แต่ผู้เดียวเห็นจะมิควรจึงให้ผู้เชิญสมเด็จ พระพิมลธรรมลงมานั่งในโรงสวดมนต์พร้อมกันจึงจะ ปรึกษาฯ” (กรมศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๗๓-๗๔) จากนั้นพระภิกษุอันประกอบด้วย สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพิมลธรรม พระนิกรม พระธรรมเจดีย์ พระครูเฉวียง มหารัตนปาล ประชุม พร้อมกันในโรงสวดมนต์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์จึง ถามสมเด็จพระพิมลธรรมว่า “ทายกถวายจั ง หั น เป็ น สั ง ฆภั ต แลสงฆ์ ว่าบาลีอปโลกนกรรมนั้นพบบ้างแล” (กรมศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๗๔) สมเด็จพระพิมลธรรมจึงตอบว่า “ในวินัยที่ถวายจังหันเป็นสังฆภัตนั้น บ่มิ พบเห็นแต่ปรัมปราจารย์กระท�ำสืบๆ กันมาดังนี้แลฯ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์จึงว่าในวินัยบัญญัตินั้น ว่ามี ทายกมาถวายจังหันเป็นสังฆภัต แลสงฆ์รับประเคนแล้ว จึงยกไปชี้บอกแก่พระมหาเถระ จึงบังคับว่าให้สงฆ์แจก กันก็ควร พระวินัยว่าไว้ดังนี้ บุทคลหากเปรียบเทียบ กระท�ำเอาแลปรึกษาเห็นด้วยกันดังนี้พร้อมกันแล้ว อนึ่งโสด จังหันทายกถวายเป็นสังฆภัตนั้น จังหันนั้นก็เป็นของบุคคลิก ครั้นสงฆ์ฉันเหลือแล้ว สงฆ์ ให้จังหันนั้นแก่ผู้ใดกิน ผู้กินนั้นหาโทษบ่มิได้ แลปรึกษา เห็นด้วยกันดังนี้พร้อมแล้วฯ” (กรมศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๗๔) เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เข้าใจพระ บาลีแล้วจึงแต่งวิสชั นาถวายสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ

จังหัน หมายถึง ข้าว อาหาร (พระพรหมคุณาภรณ์, ๒๕๕๑, หน้า ๖๐) อปโลกนกรรม หมายถึง การบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้ทราบพร้อม กัน หรือขอความเห็นชอบร่วมกันในกิจบางอย่างของส่วนรวม (พระพรหม คุณภรณ์, ๒๕๕๑, หน้า ๔๙๘) ๔ ๕

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ |

9


2. พระราชปุจฉาว่าด้วยเรื่องอุทิศเทวดาพลี สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศทรงมีพระราช โองการสัง่ ให้เผดียง๖ สมเด็จพระสังฆราช พระพิมลธรรม พระธรรมไตรโลกเทศนา แล้วพระองค์ทรงมีข้อสงสัยใน เรื่องการอุทิศบุญแด่เทวดา พระองค์จึงตั้งพระราชปุจฉา ขึ้นดังนี้ “เกิดเป็นเทวดาได้ ๗ วันในสวรรค์คือได้ ๗๐๐ ปี ในมนุษย์นี้ จึงระลึกได้ว่า ญาติพี่น้องบ�ำเพ็ญ กุศลสิ่งใดๆ ในมนุษย์นี้อุทิศบุญนั้นไปให้แก่ญาติผู้เป็น เทวดา แลญาติซึ่งเป็นเทวดามิได้ส่วนบุญฤา แลส่วนบุญ นัน้ ไปอยูท่ ไี่ หนเล่า ฤาว่าญาติผกู้ ระท�ำบุญนัน้ ตายไปแล้ว เกิดเป็นเทวดา ครั้นครบ ๗ วันในสวรรค์คือ ๗๐๐ ปี ใน มนุษย์ จึงเทวดาผู้เป็นญาตินั้นระลึกถึงส่วนบุญอันญาติ อุทิศไปนั้น จึงอนุโมทนาเอาส่วนบุญนั้นได้ ก็พิจารณาให้ จงแจ้งฯ” (กรมศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๙๑)

วิสัชนาของพระภิกษุที่ปรากฏในพระราช ปุจฉาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมือ่ พระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศทรงตัง้ พระราชปุจฉา แด่พระภิกษุแล้ว พระภิกษุจึงแต่งวิสัชนาถวายสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศดังนี้ ๑. วิสัชนาเรื่องสังฆภัต หลังจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้รับ พระราชปุจฉาจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศว่าด้วย เรือ่ งสังฆภัต แล้วประชุมสงฆ์ยงั โรงสวดมนต์ อันประกอบ ด้วย สมเด็จพระพิมลธรรม พระนิกรม พระธรรมเจดีย์ พระครูเฉวียง มหารัตนปาล โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้สอบถามสมเด็จพระพิมลธรรมถึงพระวินัยปิฎก

เผดียง หมายถึง บอกให้รู้, นิมนต์, อาราธนา (พระธรรมกิตติวงศ์, ๒๕๔๔, หน้า ๖๑๗) ๖

ที่ว่าด้วยสังฆภัตจนเข้าใจแล้วจึงแต่งวิสัชนาถวายสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และสมเด็จพระพิมลธรรมก็ร่วม แต่งวิสัชนาถวายด้วยเช่นกัน ดังนี้๗ ๑) วิสัชนาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายพระพร ว่า สังฆภัตมีทั้งหมด ๑๔ ๘ อย่าง โดยท่านเริ่มอธิบายการ ถวายจังหันว่า เมื่อผู้ถวายจัดแต่งจังหันพอสมควรภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป ๓ รูป หรือ ๑๐ รูปก็ตาม ส�ำหรับถวายใน เรือนก็ดี ในศาลาก็ดี ผู้ถวายด้วยตนเองก็ดี ไม่ได้ถวาย ด้วยตนเองก็ดี จงกล่าวค�ำบาลีว่า “อิมํ ภิกขํ สสูปพฺยญฺ ชนํ สกลสฺส สงฺฆสฺส ทมฺมิ” แปลว่า ข้าถวายจังหันนี้แก่ สงฆ์ทั้งปวงบัดนี้ แล้วถ้าสงฆ์รูปใดมารับจังหันทุกวัน ขอ ผู้ถวายอย่าห้ามภิกษุรูปนั้นว่า ขอให้ภิกษุอื่นมารับบ้าง เถิด หรือท่านพอเถิด เพราะไม่ว่าอย่างไร ของที่ผู้ถวาย แก่ภิกษุก็ถือว่าเป็นสังฆภัตทั้งสิ้น และหากถวายสังฆภัต แก่สงฆ์ในบริเวณใดให้กล่าวค�ำบาลีดว้ ย เช่น ถวายแก่สงฆ์ ในพระราชฐานให้กล่าวว่า “อิมสฺมึ ราชเคเห อิมํ ภิกฺขํ ส สูปพฺยญฺชนํ สขาทนียํ สโภชนียํ สเภสชฺชํ สงฺฆสฺสฺ ทมฺมิ” แปลว่า ข้าพเจ้าขอถวายจังหันนี้แก่สงฆ์อันมาอยู่ใน ราชฐานนี้ฯ เป็นต้น สมเด็จฯ อธิบายการแบ่งจังหันด้วยว่า ถ้าสงฆ์เลือกเอาจังหันไปเองโดยไม่ได้ตั้งผู้แบ่ง แล้วไป พบสงฆ์อื่นต้องแบ่งจังหันเหล่านี้แก่สงฆ์นั้น และหาก สงฆ์หมูใ่ ดรับจังหันจากผูถ้ วายทีก่ ล่าวบาลีโดยไม่ได้ถวาย เป็นการเฉพาะเจาะจง จงท�ำการแบ่งจังหันโดยเริ่มจาก ภิกษุอาวุโสไปจนครบภิกษุทงั้ รูปตามจ�ำนวนพรรษา แล้ว ถ้าหมู่สงฆ์อื่นมาพอดีก็จงแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยอีก ส่วนหนึ่งของหมู่สงฆ์นี้ส่วนอีกส่วนเป็นของหมู่สงฆ์อ่ืนที่

ผู้เขียนจะเขียนย่นย่อเพื่อความกระชับของบทความ ประกอบด้วย (๑) สังฆภัต (๒) อุทเทสภัต (๓) นิมันตภัต (๔) สลากภัต (๕) ปักขิกภัต (๖) อุโปสถถิกภัต (๗) ปาฏิปทิกภัต (๘) อาคันตุกภัต (๙) คมิกภัต (๑๐) คิลานภัต (๑๑) คิลานุปัฏฐากภัต (๑๒) นิจจภัต (๑๓) กุฏิภัต และ (๑๔) วารภัต (กรมศิลปากร, ๒๕๕๐,หน้า ๗๕) ๗

10 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


มาทีหลัง แล้วท่านก็ยกเรื่องมีผู้ถวายผ้าแก่ภิกษุ ๕ รูป แต่ไม่ได้กล่าวบาลีเจาะจงว่าผ้าผืนนี้ถวายเพียงภิกษุทั้ง ๕ รูป ดังนั้น เมื่อภิกษุทั้ง ๕ รูปพบภิกษุหรือหมู่สงฆ์ที่ใด จ�ำต้องแบ่งผ้าผืนนี้อย่างเท่าเทียมเพราะเป็นของสงฆ์ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผู้ถวายจังหันหรือถวายผ้าก็ตาม แก่สงฆ์ในอารามแห่งหนึ่งที่มีสงฆ์อยู่มาก ถ้าของถวาย น้อยไม่พอสงฆ์ ให้สงฆ์แต่งตั้งภัตตุทเทสภิกษุขึ้นมาเป็น ผู้แบ่ง โดยเริ่มจากภิกษุอาวุโสแล้วเวียนไปตามภิกษุรูป อื่นด้วยเกณฑ์ตามจ�ำนวนพรรษา หากสิ้นสุดที่ภิกษุผู้มี พรรษามากก็ให้เริ่มแจกที่ภิกษุบวชใหม่แล้วเวียนไปที่ ภิกษุอาวุโส หรือหากสิ้นสุดที่ภิกษุบวชใหม่ก็ให้เริ่มไป ที่ภิกษุผู้มีพรรษามากไปถึงภิกษุผู้อาวุโส เป็นต้น (กรม ศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๗๕-๗๘) 2) วิสัชนาของสมเด็จพระพิมลธรรม เมื่ อ สมเด็ จ พระพิ ม ลธรรมศึ ก ษาพระ วินยั ปิฎกแล้วจึงถวายพระพรว่า ลักษณะสังฆภัตมีทงั้ หมด ๑๘๙ อย่าง แล้วท่านก็อธิบายลักษณะสังฆภัตแต่ละ ประเภทไป จนกระทัง่ จบทีว่ า่ การถวายวัตถุสงิ่ ของเหล่า นี้ จะถวายเป็นค�ำบาลีกไ็ ด้ หรือเป็นค�ำไทยก็ได้ ซึง่ ทานทัง้ ปวงนีใ้ ห้ตงั้ จิตเป็นประธาน ตัง้ จิตอุทศิ ว่าจะถวายทีใ่ ดก็ดี แม้ถวายแก่สงฆ์ยงั ทีอ่ ยูแ่ ห่งสงฆ์ดว้ ยตนเอง หรือจะถวาย ในเรือนของตนเอง หรือให้ผอู้ นื่ น�ำไปถวายแทน ด้วยจิตที่ ยึดมั่น สังฆทานนี้มีผลานิสงส์มากกว่าบุคคลิกทาน (การ ถวายแบบเจาะจง) และทักษิณาทาน (การท�ำบุญด้วย วัถตุแล้วอุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ) จะส�ำเร็จแก่ ญาติผู้ล่วงลับ เนื่องด้วยจากผู้รับทานเป็นผู้มีศีล ญาติ ผู้รับผลบุญได้ร่วมอนุโมทนา และผู้ถวายอุทิศผลบุญถึง ญาติผู้ล่วงลับด้วยค�ำบาลีว่า “อิทํ โน ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนฺตุ ญาตโยฯ” (กรมศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๗๘-๙๐)

ประกอบด้วย (๑) สังฆภัต (๒) อุทเทสภัต (๓) นิมันตภัต (๔) สลาก ภัต (๕) ปักขิกภัต (๖) อุโปสถิกภัต (๗) ปาฏิปทิกภัต (๘) อาคันตุกภัต (๙) คมิกภัต (๑๐) คิลานภัต (๑๑) คิลานุปัฏฐากภัต (๑๒) นิจจภัต (๑๓) กุฏิภัต (๑๔) วารภัต (๑๕) วิหารภัต (๑๖) วัสสาวาสิกภัต (๑๗) จตุกภัต และ (๑๘) คุฬภัต (กรมศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๗๙) ๙

2. วิสัชนาเรื่องอุทิศเทวดาพลี สมเด็จพระสังฆราช พระพิมลธรรม พระ ธรรมไตรโลก จึงถวายพระพรว่า๑๐ ตามในอุ ทั ย พั น ธสู ต ร๑๑ว่ า พระเจ้ า อุ ทั ย พัทธราชทรงสร้างบุญกุศลไว้จึงได้บังเกิดเป็นท้าวสักกะ เทวราช๑๒ เมื่อครบ ๗ วันสวรรค์จึงระลึกถึงค�ำสัญญาที่ มีไว้กับพระนางอุทัยพัทธราชเทวี แล้วเสด็จลงมาท�ำตาม สัญญา อาตมภาพศึกษาไม่กระจ่างในพระสูตรนี้ แต่พอ จะอธิบายได้ว่า เมื่อพระอุทัยพัทธราชโพธิสัตว์อุบัติเป็น ท้าวสักกะเทวราชยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์๑๓แล้ว มีนางฟ้า เป็นบริวารถึงสองโกฏิ ๕ ล้าน ทรงเพลิดเพลินกับทิพย สมบัติ จนลืมค�ำสัญญาที่ให้ไว้กับพระมเหสี ทรงระลึก ได้เมื่อครบ ๗ วันสวรรค์ หรือ ๗๐๐ ปีในโลกมนุษย์ เมื่อ เทวดาพระองค์นั้นจิตเป็นอาวัชนะในขัณฑิตขณะใด จึง ส่งผลให้ระลึกอดีตชาติแห่งตนตอนเป็นมนุษย์ได้ เสมือน นิทานเรื่องฉัตตมาณพ๑๔ ที่ได้ตั้งจิตอยู่ในไตรสรณคมน์ เมื่อโจรสังหารจึงไปบังเกิดเป็นเทพบุตรยังสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ แล้วได้ระลึกรู้ว่าตนเป็นเทวดาได้เพราะการตั้ง จิตในไตรสรณคมน์ในครั้งที่เป็นมนุษย์ จึงลงจากวิมาน มาปรากฏยั ง สถานที่ ฌ าปนกิ จ ศพของตน เพื่ อ แสดง ให้ชนทั้งหลายทราบถึงผลานิสงส์แห่งการตั้งจิตอยู่ใน ไตรสรณคมน์ ดังในอรรถขยายพระสูตรนี้อธิบายว่า เมื่อ เกิดเป็นเทวดาแล้วพิจารณาจึงสามารถระลึกรู้ได้ หาก ไม่พิจารณาก็มิอาจระลึกรู้ได้ ดังพระธรรมเทศนาที่ว่า แม้องค์พระพุทธเจ้าจะเป็นสัพพัญญู ย่อมเพราะด้วย อาวัชนะต่อพิจารณาก่อนจึงระลึกรู้ได้ หากไม่พิจารณา ผู้เขียนจะเขียนย่นย่อเพื่อเกิดความกระชับของบทความ และเขียนสรุป ตามความเข้าใจและการตีความของผู้เขียน ๑๑ ในพระไตรปิฎก คือ อุทัยชาดก (สามารถศึกษาชาดกเรื่องนี้พร้อมด้วย อรรถกถาเพิ่มเติมได้ที่ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๒ หน้า ๓๑-๕๐) ๑๒ ท้าวสักกะเทวราช คือ พระอินทร์ในคติทางพุทธศาสนา เป็นเจ้าผู้ ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยเทพอีก ๓๒ องค์ (ผู้เขียน) ๑๓ ดาวดึงส์ คือ สวรรค์ชั้นที่ ๒ ตามคติทางพุทธศาสนา เป็นที่อยู่ของจอม เทพ ๓๓ องค์ ตั้งอยู่เหนือเขาสิเนรุ (ปรุตม์ บุญศรีตัน, ๒๕๕๖, หน้า ๑๘๘) ๑๔ ปรากฏอยู่ในวิมานวัถตุ เรื่อง ฉัตตมาณวกวิมาน (สามารถศึกษาวิมาน วัตถุเรื่องนี้พร้อมด้วยอรรถกถาเพิ่มเติมได้ที่ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ หน้า ๔๔๑-๔๖๔) ๑๐

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 11


ก็ มิ อ าจระลึ ก รู ้ ไ ด้ และเทวดาทั้ ง ปวงมี ม โนมยจิ น ตา ก็ดี พิจารณาก่อนจึงรู้ แต่หากไม่พิจารณาก่อนจึงไม่รู้ ดัง พระยาจักรพรรดิราชผู้ทรงมีดวงแก้ว จะปรารถนาสิ่งใด ย่อมส�ำเร็จแด่พระองค์ด้วยอ�ำนาจแห่งดวงแก้ว ถ้าหาก มีบุรุษทูลขออาหารจากพระองค์ พระยาจักรพรรดิราช มิทรงสั่งนายภัตการก่อน จะประทานอาหารให้แก่บุรุษ ผู้นั้นเลยมิได้ จึงต้องทรงส่งนายภัตการก่อน ชายผู้นี้จึง จะได้รับอาหาร๑๕ ตัวอย่างแรก เมื่อญาติอุทิศบุญกุศลแก่ญาติ ผูล้ ว่ งลับ ก็มปี รากฏในมิลนิ ทปัญหาว่า ครัง้ พระเจ้ามิลนิ ท์ ตรัสพระราชปุจฉาต่อพระนาคเสนว่า ญาติได้อุทิศส่วน บุญกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับ ญาติผู้ล่วงลับจะได้รับหรือไม่ พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า ได้รับก็มี ไม่ได้รับก็มี ที่ไม่ได้ รับก็มีด้วยกัน ๓ จ�ำพวก คือ สีสัจฉินนเปรต๑๖ ขุปปิปา สานกเปรต๑๗ และ นิชฌามตัณหิกเปรต๑๘ และทีส่ ามารถ รับส่วนบุญได้คือ ปรทัตตูปชีวีกเปรต๑๙ ซึ่งเป็นเปรตที่ ต้องการให้ญาติอุทิศบุญกุศลให้เพื่อที่จะได้อนุโมทนารับ ส่วนบุญจากญาติที่อุทิศให้ ถ้าไม่ได้อนุโมทนาบุญก็ไม่ได้ รับผลบุญที่ญาติอุทิศให้๒๐ ตัวอย่างหนึง่ ทีส่ อง ในติโรกุฑฑสูตร๒๑ กล่าว ว่า พระพุทธเจ้าเทศนาแก่พระเจ้าพิมพิสารว่า พระญาติ ผู้ล่วงลับแห่งพระเจ้าพิมพิสารกลายเป็นปรทัตตูปชีวีก เปรต ย่อมต้องตามหาญาติ เมื่อญาติได้สร้างบุญแต่ไม่ได้ ระลึกถึง เพราะเปรตนั้นตอนเป็นมนุษย์มีวิสัยที่ตระหนี่

ไม่ทำ� ทาน แล้วยังห้ามขัดขวางผูท้ ำ� ทาน ด้วยอกุศลกรรม นี้จึงส่งผลให้ญาติไม่สามารถระลึกถึง จึงอุทิศบุญให้แก่ เปรตไม่ได้ หากตอนเป็นมนุษย์ไม่เป็นคนขี้ตระหนี่ ไม่ ขัดขวางการท�ำทานของผู้อนื่ หากตายเป็นปรทัตตูปชีวีก เปรต ญาติจะระลึกถึงเปรต ผลบุญจึงถึงเปรตจนสามารถ หลุดพ้นจากเปรตภูมิได้ หากญาติไม่อุทิศบุญให้แก่ญาติ ผู้เป็นเปรต ญาตินั้นจะต้องอดอาหารไปชั่วกาลนาน ตัวอย่างที่สาม พระธรรมในสารสงเคราะห์ ว่า เปรตและอสุรกาย นอกจากปรทัตตูปชีวีกเปรตนี้ มีครรภมลทิน (ก้อนเนื้อที่ออกมาพร้อมกับทารกขณะ คลอด) และเขฬสิงฆานิกา (น�้ำลาย) เป็นอาหาร เหตุ ที่ท�ำให้ญาติไม่ได้อุทิศบุญไปให้เพราะอกุศลกรรมที่ได้ กระท�ำไว้ตอนเป็นมนุษย์ได้บังบดไว้ บุญซึ่งญาติอุทิศจึง เจริญแก่ญาติผู้อุทิศ แม้อุทิศบุญแก่เทวดา แล้วเทวดาได้ ร่วมอนุโมทนาในผลบุญที่ญาติอุทิศนั้นเทวดาย่อมได้รับ ซึง่ ผลบุญนี้ แต่ถา้ ไม่อนุโมทนาผลบุญนีย้ อ่ มไม่มแี ก่เทวดา ดังพระธรรมในสุตตนิบาตว่า เมือ่ ติณณปาลมาณพอุทศิ ผล บุญแห่งการท�ำผ้าพระกฐินแด่ทา้ วสักกะเทวราช พระองค์ อนุโมทนารับผลบุญทีต่ ณ ิ ณปาลมาณพอุทศิ มานี้ จึงท�ำให้ ทิพยสมบัติของพระองค์เพิ่มพูน แล้วท้าวสักกะเทวราช ได้อุทิศส่วนบุญนี้แก่เหล่านางฟ้าผู้เป็นบริวารถึง ๒ โกฏิ ๕ ล้านนาง บรรดานางฟ้าได้ร่วมอนุโมทนาในบุญนี้ จึงส่งผลให้ทิพยสมบัติของนางฟ้าเพิ่มพูนตามไปด้วย

กรณีพระจักรพรรดิประทานอาหารแก่บุรุษนั้น สันนิษฐานว่ามาจากจักกวัตติสูตร เพราะภิกษุกล่าวถึงดวงแก้วของพระจักรพรรดิ แต่กลับไม่มีกรณีนี้ใน พระสูตร มีแต่กรณีพระจักรพรรดิประทานทรัพย์ให้แก่โจร สามารถศึกษากรณีนี้ได้ใน พระสูตรและอรรถกถาแปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๑ หน้า ๑๐๘-๑๑๑ ๑๖ สัจฉินนเปรต คือ เปรตที่ไม่มีศีรษะ มีตาและปากอยู่ที่อก เพราะเคยเป็นเพชฌฆาตประหารผู้คน (ปรุตม์ บุญศรีตัน, ๒๕๕๖, หน้า ๑๘๑) ๑๗ ขุปปิปาสานกเปรต คือ เปรตผู้มีแต่ความหิวกระหาย เพราะก่อนเคยเป็นคนที่มีแต่ความโลภ ความตระหนี่ ไม่รู้จักแบ่งปันผู้อื่น (ปรุตม์ บุญศรีตัน, ๒๕๕๖, หน้า ๑๗๖) ๑๘ นิชฌามตัณหิกเปรต คือ เปรตที่ถูกความอยากแผดเผา พลังกรรมที่ทำ�ให้เกิดเป็นเปรตประเภทนี้ คือ ความตระหนี่ การไม่เคยให้สิ่งใดแก่ใครเลย แม้จะ มีผู้มาขอก็ตาม (ปรุตม์ บุญศรีตัน, ๒๕๕๖,หน้า ๑๗๗) ๑๙ ปรทัตตูปชีวีกเปรต คือ เปรตที่อาศัยทานที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีวิต เป็นเปรตจำ�พวกเดียวเท่านั้นที่สามารถรับส่วนบุญที่เขาอุทิศให้ด้วยการอนุโมทนาส่วนกุศลที่ เขาทำ�อุทิศให้ เฝ้ารอคอยหมู่ญาติจะทำ�บุญแล้วอุทิศให้ คอยติดตามหมู่ญาติเวลาทำ�บุญด้วยความหวังจะได้รับส่วนบุญที่เขาจะอุทิศให้ ก็ผิดหวังเศร้าใจทน ทุกข์อยู่อย่างนั้นจนสิ้นพลังกรรม (ปรุตม์ บุญศรีตัน, ๒๕๕๖, หน้า ๑๗๖-๑๗๗) ๒๐ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในคัมภีร์มิลินทปัญหา เรื่อง เปตานัง อุทิสสผลปัญหาที่ ๘ หน้า ๔๒๖-๔๒๗ ๒๑ ในพระไตรปิฎกคือ ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องเปรตพระญาติพระเจ้าพิมพิสาร ๑๕

12 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ตัวอย่างทีส่ ี่ ในโลกวิจารณสูตร ในอังคุตตรนิกาย ติกกนิบาตว่า ท้าวสักกะเทวราชมีรับสั่งให้ท้าว จตุโลกบาล๒๒ ใช้เทวอ�ำมาตย์ลงมาเอาบัญชีบันทึกบุญ และบาปของมนุษย์ เทวอ�ำมาตย์ลงมายังมนุษยภูมิแล้ว สอบถามกับภุมมเทวดา๒๓ ว่า ข้าแต่ท่าน มนุษย์ทั้งหลาย อันประกอบด้วยเมตตาได้สร้างบุญแล้วอุทิศส่วนบุญให้ แก่กันยังมีอยู่หรือไม่ ภุมมเทวดาตอบว่า มนุษย์ยังสร้าง บุญและอุทิศบุญให้แก่กันยังมีอยู่ เทวอ�ำมาตย์จึงท�ำการ จดรายชือ่ ของผูท้ ำ� บุญลงบนแผ่นทอง แล้วน�ำขึน้ ไปถวาย แด่ทา้ วจตุโลกบาล เหล่าท้าวจตุโลกบาลได้จบอนุโมทนา ในรายชื่อผู้ท�ำบุญแล้วก็น�ำขึ้นถวายท้าวสักกะเทวราช เมื่อท้าวสักกะเทวราชได้รับบัญชีนี้มาก็จบอนุโมทนาขึ้น เหนือพระเศียร แล้วทรงอ่านรายชื่อของมนุษย์ผู้ท�ำบุญ กลางเทวสภา เหล่าเทวดาทั้งหลายจึงแซ่ซ้องสรรเสริญ ในการท�ำบุญของมนุษย์ พร้อมทั้งกล่าวขึ้นพร้อมกันว่า เทวโลกแห่งนี้จะเต็มบริบูรณ์ไปด้วยเทวดา อบายภูมิ ๔ จะว่างเปล่า พอถึง ๗ ค�่ำ ๑๔ ค�ำ่ ท้าวจตุโลกบาลจะใช้ เทพกุมารอันเป็นบุตรของพระองค์ลงมารับบัญชี พอถึง ๘ ค�ำ่ ๑๕ ค�่ำ ท้าวจตุโลกบาลจะเสด็จลงมารับบัญชีด้วย พระองค์เอง แล้วน�ำไปถวายท้าวสักกะเทวราช พอถึง ๗ ค�่ำ ๑๔ ค�่ำ หรือ ๘ ค�่ำ ท้าวสักกะเทวราชจะทรงใช้ เทวอ�ำมาตย์ลงมารับบัญชีบุญนี้ เมื่อเสียงกล่าวรายชื่อ มนุ ษ ย์ ผู้ท�ำบุญดังไปถึงสวรรค์ชั้นยามา๒๔ เทวดาบน สวรรค์ชั้นยามาพลอยแซ่ซ้องสรรเสริญและอนุโมทนา ไปด้วย เสียงของเทวดาบนสวรรค์ชั้นยามาก็ดังขึ้นไปถึง สวรรค์ชั้นปรนิมมิตววัตตี๒๕ หากเทวดาองค์ใดไม่มีจิต ท้าวจตุโลกบาล เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นสวรรค์ชั้น แรกตามคติทางพุทธศาสนา เป็นบริวารแห่งท้าวสักกะเทวราช ประกอบ ด้วยเทพ ๔ องค์ คือ (๑) ท้าวธตรฐ (๒) ท้าววิรุฬหก (๓) ท้าววิรูปักษ์ และ (๔) ท้าวเวสสุวรรณ (ปรุตม์ บุญศรีตัน, ๒๕๕๖, หน้า ๑๘๗) ประจักษ์ ประภาพิทยากร (๒๕๕๒, หน้า ๕๑) เสนอว่า ท้าวจตุโลกบาล หมายถึง ผู้รักษาโลกทั้ง ๔ ทิศ ๒๓ ภุมมเทวดา คือ เทวดาจำ�พวกหนึ่งที่สถิตบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา อยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ (ผู้เขียน) ๒๔ ยามา คือ สวรรค์ชั้นที่ ๓ ตามคติทางพุทธศาสนา มีท้าวสุยามเทวราช เป็นผู้ปกครอง (ปรุตม์ บุญศรีตัน, ๒๕๕๖, หน้า ๑๙๐) ๒๕ ปรนิมมิตววัตตี หรือ ปรนิมมิตวสัวดี สวรรค์ชั้นที่ ๖ ตามคติทาง พุทธศาสนา มีท้าวปรนิมมิตเทวราชเป็นผู้ปกครอง (ปรุตม์ บุญศรีตัน, ๒๕๕๖, หน้า ๑๙๑) ๒๒

เป็นอาวัชนะ แลมิได้พิจารณาก็ไม่รู้ว่า ผู้ใดอุทิศส่วนบุญ ถึงตน แต่หากพิจารณาจิตเป็นอาวัชนะ เทวดาองค์นั้น จึงสามารถรับทราบการอุทิศบุญจากผู้อื่นได้ ผลบุญนั้น ก็จะท�ำให้เทวดานั้นเจริญรุ่งเรืองในทิพยสมบัติ เว้นไว้แต่ พรหมโลก เพราะว่าพรหมจะหน่วงเอาฌานเป็นอารมณ์ อยู่เสมอ จึงไม่มีอารมณ์อื่นเข้าแทรก จึงท�ำให้พรหมไม่ ได้อนุโมทนาในบุญที่มนุษย์อุทิศให้ แต่ด้วยว่าครั้งหนึ่ง ที่พระเวสสันดรทรงบริจาคทาน ด้วยทานบารมีนี้ท�ำให้ พรหมโลกรับรู้ เหล่าพรหมจึงได้อนุโมทนาและแซ่ซ้อง ในผลแห่งทานบารมี ตัวอย่างสุดท้าย เทวดาบางประเภทไม่ได้ เลื่อมใสยินดีในการประกอบกุศลของมนุษย์ และไม่ได้ อนุโมทนาส่วนบุญทีม่ นุษย์อทุ ศิ ให้ ด้วยเพราะตอนเทวดา นั้นเป็นมนุษย์มีใจที่เป็นอกุศลคือไม่ได้เสื่อมใสในการ ท�ำทานของผู้อื่น ขณะที่สิ้นลมมีจิตเป็นกุศลจึงส่งผลให้ เกิดเป็นเทวดา เมือ่ เป็นเทวดาก็ไม่ยนิ ดีหรืออนุโมทนาใน บุญของผู้อื่น เนื่องจากถูก โลภะ โทสะ และโมหะ บดบัง น�้ำใจ ซึ่งตรงกับเรื่องของเทวดาที่สถิตยังซุ้มประตูเรือน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อเศรษฐีถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ วันละ ๕๐๐ ทุกวัน เทวดาองค์นั้นไม่ยินดีในการท�ำทาน ของเศรษฐี จึงเข้าห้ามเศรษฐีไม่ให้ท�ำทาน เทวดาว่าให้ เศรษฐีเลิกถวายทานแล้วกลับไปท�ำการค้าขายเพื่อให้ ทรัพย์สมบัติเพิ่มพูนจะดีกว่า จบด้วยการให้พจิ ารณาตนเองว่ามีองค์ธรรม หรือไม่มีองค์ธรรม แล้วจึงปฏิบัติธรรมซึ่งมี 2 อย่างด้วย กัน คือ ก�ำหนดจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน เรียกว่า “สมถะ”๒๖ และ พิจารณาตามความเป็นจริง เรียกว่า “วิปัสสนา”๒๗ (กรม ศิลปากร, ๒๕๕๐, หน้า ๙๑-๙๗)

พระพรหมคุณาภรณ์ (๒๕๕๑, หน้า ๓๙๘) เสนอว่า สมถะ หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิตจากนิวรณูปกิเลส หรือ เป็นการฝึกจิตให้สงบ เป็นสมาธิ ๒๗ พระพรหมคุณาภรณ์ (๒๕๕๑, หน้า ๓๗๓) เสนอว่า วิปัสสนา หมายถึง ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม ด้วยปัญญาที่ เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา) อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิด ในสังขารได้ ๒๖

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 13


วิเคราะห์วิสัชนาของพระภิกษุที่ปรากฏใน พระราชปุจฉาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ หลังจากศึก ษาวิสัชนาของพระภิก ษุแ ล้ ว สามารถวิ เ คราะห์ แ ละตรวจสอบวิ สั ช นาโดยอิ ง กั บ พระไตรปิฎกอันเป็นข้อมูลปฐมภูมิได้ดังนี้ ๑. วิเคราะห์วิสัชนาเรื่องสังฆภัต๒๘ เมื่อน�ำวิสัชนาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และสมเด็จพระพิมลธรรมไปศึกษาเทียบเคียงกับ ข้อมูลในพระไตรปิฎกและอรรถกถาพบว่า วิสัชนาของ ภิกษุทั้ง 2 ได้รับอิทธิพลมาจากอรรถกถา คือ อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ เสนาสนะขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสังฆภัต ซึ่งวิสัชนาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นการย่อย่น หรือสรุปใจความส�ำคัญและมีการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเข้าพระทัยใน เรื่องของการแบ่งปัน (อปโลกนกรรม) ของถวายในหมู่ สงฆ์ เช่น การแบ่งผ้าจีวร๒๙ เป็นต้น แต่ส�ำหรับวิสัชนา ของสมเด็จพระพิมลธรรมเป็นการยกประเภทของสังฆภัต ในอรรถกถามาทั้งหมด มีข้อสงสัยที่ว่า สมเด็จพระพิมลธรรมเกริ่นว่ามีสังฆภัตถึง ๑๘ ประเภท แต่ตอนจบของ วิสัชนากลับสรุปว่ามีเพียง ๑๔ ประเภท ทั้งยังอธิบาย เพียงสังฆภัต ๑๔ ประเภทเท่านั้น ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เองก็เกริ่นว่า สังฆภัตมีเพียง ๑๔ ประเภทเช่น กัน แต่ไม่ได้ยกมาอธิบายหมดอย่างวิสัชนาของสมเด็จ พระพิมลธรรม ผู้ศึกษาได้ศึกษาในอรรถกถาก็พบเพียง เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นควรศึกษาเพิ่มเติมจากวิสัชนาของสมเด็จพระ พุทธโฆษาจารย์และสมเด็จพระพิมลธรรมได้ใน พระราชปุจฉาแห่งสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หน้าที่ ๗๕-๙๐ และสามารถศึกษาเรื่องสังฆภัตได้ ในพุทธนุญาตภัตร หน้า ๑๖๕-๑๗๑ และ อรรถกถา หน้า ๒๓๐-๒๖๖ ใน พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ทุติยภาคและอรรถกถา ๒๙ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ในกรมศิลปากร ๒๕๕๐, หน้า ๗๗-๗๘) อธิบายการแบ่งผ้าจีวรของภิกษุไว้อย่างน่าสนใจว่า พุทธศาสนิกชนถวาย ผ้าแก่สงฆ์ เป็นสังฆทาน โดยไม่ได้กล่าวถวายเจาะจงภิกษุรูปใด ของที่ ถวายนี้จึงสมควรแบ่งปันแก่ภิกษุอื่นด้วย ซึ่งในวิสัชนาของสมเด็จฯ ยก ตัวอย่างว่า ถึงในวัดแห่งนั้นมีภิกษุ ๕ รูป แต่ไม่ได้กล่าวถวายขานชื่อของ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจาะจง จึงต้องแบ่งปันกันระหว่างภิกษุทั้ง 5 อย่างเท่า เทียมกัน และถ้าหากพบเจอภิกษุอื่นอีกก็ต้องแบ่งปันให้แก่ภิกษุนั้นด้วย ๒๘

๑๔ ประเภทเท่านั้น และไม่ได้อธิบายแบ่งเป็นประเภท ชัดเจนอย่างในวิสัชนาของสมเด็จพระพิมลธรรม ซึ่งถือ ได้ว่า สมเด็จพระพิมลธรรมพยายามแบ่งประเภทของ สังฆภัตในอรรถกถาที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายให้เป็น ระบบ และยังน�ำพระสูตรมาเป็นตัวอย่างเสริม เช่น เรือ่ ง เวลามพราหมณ์ถวายมหาทาน ซึง่ ปรากฏอยูใ่ นอรรถกถา เวลามสูตร๓๐ พระพิมลธรรมยกตัวอย่างว่า การถวายมหา ทานของเวลามพราหมณ์แก่ชนทั้งหลายไม่ได้ผลานิสงส์ เท่าการถวายทานแก่ทักขิณาไนย (ผู้สมควรแก่การถวาย ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า) เหตุที่สมเด็จพระพิมลธรรม น�ำเรื่องในพระสูตรนี้มาเสริม สันนิษฐานว่าอาจหมายถึง การท�ำทานในพุทธศาสนา เพราะเวลามพราหมณ์ทำ� มหา ทานนั้นเป็นช่วงที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นบนโลก พระ สาวกผู้เป็นเนื้อนาบุญก็ไม่มีปรากฏบนโลกเช่นกัน ถึง เวลามพราหมณ์จะท�ำทานมากมายเพียงใดก็ตาม ก็ไม่เท่า การถวายทานแด่บุคคลในพุทธศาสนา สั ง ฆภั ต สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง การสอนของ พระพุทธเจ้าที่ฝึกฝนให้ภิกษุเป็นสังคมตัวอย่างแห่งการ แบ่งปันและความเท่าเทียม จะเห็นได้จากวิสชั นาทีส่ มเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ยกประเด็นการแบ่งผ้าจีวรและสบง ของภิกษุ เมื่อผู้ถวายกล่าวค�ำถวายว่าถวายเป็นของสงฆ์ จึงต้องแบ่งกันอย่างทัว่ ถึง และการตัง้ ภัตตุทเทสภิกษุเพือ่ ให้เป็นผูแ้ จกของทีพ่ ทุ ธศาสนิกชนถวาย ก็แสดงให้เห็นถึง การตัง้ บุคคลกลางขึน้ มาท�ำหน้าทีแ่ บ่งปัน รวมทัง้ การแจก ของตามพรรษาของภิกษุโดยเริม่ ทีภ่ กิ ษุอาวุโส (มหาเถระ) ก่อนนั้น๓๑ แสดงให้เห็นถึงสังคมที่เคารพผู้อาวุโสอีกด้วย เวลามสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วย อนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลถาม พระพุทธเจ้าในข้อสงสัยการทำ�ทาน ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ยกตัวอย่างในอดีต พระชาติของพระองค์ครั้งเสวยพระชาติเป็นเวลามพราหมณ์ได้ทำ�ทาน มหาศาลแก่ชนทั้งหลาย แต่ก็มีผลานิสงส์ไม่เท่าการทำ�ทานกับพระพุทธเจ้า (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวลามสูตรพร้อมด้วยอรรถกถาได้ใน พระสูตรและอรรถกถาแปล อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่มที่ ๔ หน้า ๗๗๕-๗๘๘) ๓๑ สมเด็จพระพิมลธรรม (๒๕๕๐, หน้า ๗๙) เสนอว่า การแบ่งปัน (อปโลกนกรรม) นั้นต้องประกอบด้วยภิกษุ ๓ จำ�พวก คือ มหาเถระ (ภิกษุผู้อาวุโสหรือบวชมามากพรรษา) มัชฌิมเถระ (ภิกษุผู้มีพรรษามาก แต่รองจากมหาเถระ) และ นวกะ (ภิกษุบวชใหม่) ๓๐

14 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


๒. วิเคราะห์วิสัชนาเรื่องอุทิศเทวดาพลี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงตั้งพระ ราชปุจฉาซึ่งมีใจความว่า หากญาติเกิดเป็นเทวดาผ่าน ไป ๗๐๐ ปีมนุษย์แล้ว จึงสามารถระลึกถึงส่วนบุญที่ ญาติอุทิศให้แล้วอนุโมทนาในส่วนบุญนี้ แต่ถ้าเทวดา ผู้เป็นญาติไม่สามารถระลึกรู้ถึงส่วนบุญที่ญาติอุทิศได้ ส่วนบุญนี้จะเป็นเช่นไร หรือต้องให้ญาติผู้อุทิศสิ้นชีพไป เป็นเทวดาครบ ๗๐๐ ปีมนุษย์ เทวดาผู้เป็นญาติจึงจะ ระลึกและอนุโมทนาได้หรือ ภิกษุทั้ง ๓ อันประกอบด้วย สมเด็จพระ สังฆราช พระพิมลธรรม และพระธรรมไตรโลก ถวาย วิสัชนาโดยน�ำอุทัยชาดกและเรื่องราวในพระไตรปิฎก และอรรถกถามาอธิบายพระราชปุจฉานี้ รวมทั้งคัมภีร์ พุทธศาสนาเรื่องอื่น เช่น มิลินทปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องใน ประเด็นเดียวกันคือ เรื่องการอุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติ ผู้ล่วงลับและเรื่องการอนุโมทนาส่วนบุญของผู้ล่วงลับ วิสัชนาอาจดูขัดแย้งกับพระราชปุจฉา คือมีความขยาย นอกประเด็น แต่ผู้ศึกษาเข้าใจว่า ภิกษุทั้งสามพยายาม น�ำเรื่องราวในคัมภีร์พุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพระราช ปุจฉามาอธิบายให้ได้มากทีส่ ดุ แต่การท�ำเช่นนีก้ ลับท�ำให้ วิสชั นามีเนือ้ หานอกประเด็น ตามจริงควรอธิบายพระราช ปุจฉาด้วยอุทัยชาดกก็เพียงพอ ส่วนเรื่องอื่นเป็นเพียง ตัวอย่างเสริมจนพาออกนอกประเด็นพระราชปุจฉา แต่ ไม่ออกแนวประเด็นเรื่องการอุทิศบุญและการอนุโมทนา บุญแก่ผู้ล่วงลับ ส�ำหรับวิสัชนาแห่งภิกษุทั้ง ๓ ท�ำให้ทราบ ว่า เทวดาสามารถระลึกถึงส่วนบุญที่ญาติอุทิศได้ก็ต่อ เมื่อ ขณะจิตของเทวดาเป็นอาวัชนะ ซึ่งอาวัชนะคือ การ ค�ำนึงถึงอารมณ์ใหม่ (พระพรหมคุณาภรณ์, ๒๕๕๑, หน้า ๓๖๙) หากอธิบายตามหลักอภิธรรมคือ อาวัชนะ หรือ อาวัชนจิต หมายถึง ขณะจิตที่ ๔ เป็นการขึ้นสู่วิถีของ จิตเพื่อรับอารมณ์ทางใดทางหนึ่งใน ๕ ทวาร เช่น ทาง ตา จมูก หู ลิ้น และ กาย เรียกว่า “ปัญจทวาราวัชนะ” (สุนทร ณ รังษี, ๒๕๕๒, หน้า ๒๖๓) หากรับอารมณ์ทางใจ เรียกว่า “มโนทวาราวัชนะ” จะเป็นเช่นนี้ในตอนที่ฝัน

หรื อ ระลึ ก ถึ ง เหตุ ก ารณ์ ที่ ผ ่ า นมา อาจรวมไปถึ ง การ ระลึกชาติด้วย ฉะนั้นการที่เทวดาสามารถระลึกรู้ถึง ส่วนบุญที่ญาติอุทิศได้ต้องเกิดขึ้นในขณะที่จิตขึ้นสู่ขณะ จิตที่ ๔ ทางมโนทวาร (มโนทวาราวัชนะ) และเมือ่ เทวดา อนุโมทนาในส่วนบุญทีม่ นุษย์อทุ ศิ จะส่งผลให้ทพิ ยสมบัติ ของตนเพิ่มพูน อย่างที่ปรากฏในเรื่องของติณณปาล มาณพอุทศิ ส่วนบุญแก่ทา้ วสักกะเทวราช เมือ่ ท้าวสักกะเทวราชอนุโมทนาส่วนบุญนี้ ทิพยสมบัติของพระองค์จึง เพิ่มพูน เป็นต้น ผู้ศึกษาไม่เห็นด้วยกับวิสัชนาของภิกษุทั้ง ๓ ที่น�ำเหตุการณ์เทวดาอนุโมทนารายชื่อของมนุษย์ ผูส้ ร้างบุญทีป่ รากฏในโลกวิจารณสูตรมาเสริม ถึงจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับเทวดาอนุโมทนาบุญก็จริง แต่ในพระสูตรนี้ ก็ไม่ได้ระบุวา่ มนุษย์ได้อทุ ศิ ส่วนบุญให้แด่เทวดา แต่การ อนุโมทนาบุญของเทวดาในครั้งนี้เป็นเสมือนการแซ่ซ้อง เป็นความปลาบปลื้มปีติในการกระท�ำความดีของมนุษย์ เพราะการสร้างกุศลเช่นนีบ้ นั้ ปลายของชีวติ ไม่พน้ การเกิด เป็นเทวดาอย่างแน่นอน จึงไม่เกี่ยวกับเรื่องการอุทิศบุญ ตามพระราชปุจฉาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเลย และอีกเรื่องที่ไม่เห็นด้วยกับวิสัชนาคือ ประเด็นเทวดาที่ สิงสถิตในซุม้ ประตูเรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐี วิสชั นานี้ ยกเรือ่ งนีม้ าแค่บางส่วน ไม่ได้ยกมาอธิบายทัง้ หมด เทวดา พระองค์นี้เห็นว่าสมบัติของเศรษฐีหมดไปกับการท�ำบุญ สุนทานในพุทธศาสนาเป็นจ�ำนวนมาก จนท�ำให้ทรัพย์ สมบัติจะหมดคลัง เทวดาจึงกล่าวห้ามปรามเศรษฐีเพื่อ ให้หยุดท�ำบุญเพื่อสะสมทรัพย์ให้เพิ่มพูนขึ้นมาเสียก่อน แต่เศรษฐีเห็นว่าเทวดาคิดขัดขวางการท�ำทานของตน จึง ขับไล่เทวดาออกไป เทวดาพระองค์นพี้ ร้อมครอบครัวจึง ไม่มีที่สิงสถิต ต้องเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากท้าว จตุโลกบาลแต่ก็ไม่เป็นผล จนในที่สุดท้าวสักกะเทวราช จึงทรงแนะน�ำให้เทวดาไปน�ำขุมทรัพย์ในมหาสมุทรมา ให้เศรษฐี เพื่อช่วยให้เศรษฐีกลับมามั่งคั่งตามเดิม และ วิสชั นานีก้ ป็ ดิ ท้ายด้วยเรือ่ งการปฏิบตั สิ มถะและวิปสั สนา ซึ่งเป็นการภาวนาเพื่อได้ผลานิสงส์สูงกว่าการท�ำทาน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 15


สรุป ทวิพทุ ธปัญหาแห่งสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความสนพระทั ย ในพุ ท ธศาสนาของ พระองค์ ถึงจะทรงเป็นพระมหากษัตริยแ์ ห่งกรุงศรีอยุธยา ทีท่ รงมีพระราชปุจฉาน้อยทีส่ ดุ และแม้วา่ พระราชปุจฉา ของพระองค์จะไม่ได้เป็นประเด็นที่ลึกซึ้งนักหากเปรียบ เทียบกับพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น แต่ทว่า หากได้ อ่านวิสัชนาของภิกษุแล้ว จะพบว่า ไม่ใช่จะถวายวิสัชนา ที่ ง ่ า ยดาย ต้ อ งมี ก ารยกตั ว อย่ า ง โดยท� ำ ให้ เรารู ้ จั ก เรื่องราวในคัมภีร์พุทธศาสนาที่หลากหลาย เป็นการ วิ สั ช นาที่ พ ยายามแสดงหลั ก ฐานหลายชิ้ น มารั บ รอง ท�ำให้เราเห็นถึงชั้นเชิงในการวิสัชนาของภิกษุ ถึงแม้ว่า บางประเด็นจะเป็นวิสัชนาที่ออกนอกประเด็นไปก็ตาม แต่กเ็ ป็นเนือ้ หาทีเ่ ป็นไปในทางเดียวกัน เช่น วิสชั นาเรือ่ ง อุทิศเทวดาพลี ที่สมเด็จพระสังฆราช พระพิมลธรรม และพระไตรธรรม หากน�ำอุทยั ชาดกมาตอบ ก็ถอื ว่าเป็น วิสัชนาที่น่าพึงพอใจแล้ว แต่ภิกษุทั้งสามกลับน�ำเรื่อง

ในคัมภีร์พุทธศาสนาอื่นมาเสริมขยายจนกลายเป็นการ ตอบนอกประเด็ น ซึ่ ง อาจมองว่ า เป็ นข้ อ เสี ย หรื อ ข้ อ บกพร่องส�ำหรับวิสัชนา แต่การน�ำเสนอของภิกษุ ไม่ว่า จะเป็นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพิมลธรรม และพระไตรธรรม ท�ำให้เราเข้าใจ ถึงสภาพสังคมสงฆ์ผ่านเรื่องอปโลกนกรรม และการถือ ผู้อาวุโสเป็นส�ำคัญในพระราชปุจฉาและวิสัชนาเรื่อง สังฆภัต และการอธิบายเรื่องเทวดาระลึกถึงส่วนบุญที่ ญาติอุทิศให้เมื่อจิตเป็นอาวัชนะ ซึ่งต้องอธิบายด้วยหลัก พระอภิธรรม การศึกษาครั้งนี้ท�ำให้ผู้ศึกษาได้มีโอกาส สืบค้นคัมภีร์พุทธศาสนาเพื่อทราบถึงที่มาของวิสัชนาว่า ภิกษุเหล่านี้ไปน�ำข้อมูลนี้มาจากไหน จึงกลายเป็นการ ศึกษาเพือ่ เพิม่ พูนความรูไ้ ปพร้อมกับการตรวจสอบความ ถูกต้องที่เราต้องยึดพระไตรปิฎกเป็นหลัก แต่ข้อมูล ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากอรรถกถาเป็นหลัก

16 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. (๒๕๓๕). มิลินทปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. _________. (๒๕๕๐). ประชุมพระราชปุจฉา เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา. ธรรมกิตติวงศ์,พระ. (๒๕๔๔). พจนานุกรมเพือ่ การศึกษาพุทธศาสน์ ชุด ค�ำวัด. กรุงเทพฯ: ช่อระกา ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (๒๕๕๒). เทวดานุกรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ ศยาม. ปรุตม์ บุญศรีตนั . (๒๕๕๖). พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกีย่ วกับ จักรวาล โลก มนุษย์ และ สังสารวัฏ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พรหมคุณาภรณ์, พระ. (๒๕๕๑). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหามกุฎราชวิทยาลัย. (๒๕๕๔). ปฐมสมันตปาสาทิกา เล่ม ๑ ฉบับของมหามกุฎราช วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎ ราชวิทยาลัย. _______________. (๒๕๒๕). พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๖. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. _______________. (๒๕๒๕). พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. _______________. (๒๕๒๕). พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ที่ ๒ ภาคที่ ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. _______________. (๒๕๒๕). พระสูตรและอรรถกถาแปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. _______________. (๒๕๒๕). พระสูตรและอรรถกถาแปล มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาส ก์ เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. _______________. (๒๕๒๕). พระสูตรและอรรถกถาแปล อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐ ก-นวกนิบาต เล่มที่ ๔. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. _______________. (๒๕๒๕). พระวินยั ปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ทุตยิ ภาค และอรรถกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. สุนทร ณ รังษี. (๒๕๕๒). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 17



บทความวิชาการ

การเสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในปี พ.ศ. ๒๐๙๘ The Trip to Capture a White Elephant in a Forest of Muang Phetchaboon by Somdet Phra Maha Chakkraphat in B.E. 2098 ธีระวัฒน์ แสนคำ� / Teerawatt Sankom อาจารย์ประจำ�มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ของสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิในปี พ.ศ. ๒๐๙๘ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับ ซึ่งช้างเผือกที่คล้องได้ จากป่าเมืองเพชรบูรณ์ได้รบั พระราชทานชือ่ ว่า “พระแก้วทรงบาศ” และเป็นหนึง่ ในจ�ำนวน ๗ ช้างทีค่ ล้องได้ในรัชกาล ของพระองค์ จนท�ำให้พระองค์ได้รบั การถวายพระนามว่า “พระเจ้าช้างเผือก” นอกจากนี้ การเสด็จคล้องช้างเผือกทีป่ า่ เมืองเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครัง้ นัน้ ยังอาจมีความเกีย่ วข้องกับความมัน่ คงทางการเมืองของพระราช อาณาจักร และอาจเป็นทีม่ าของชือ่ โบราณสถาน “วัดช้างเผือก” ทีป่ รากฏอยูใ่ นเขตชานเมืองเพชรบูรณ์ในปัจจุบนั ด้วย คำ�สำ�คัญ : สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, ช้างเผือก, วัดช้างเผือก, เมืองเพชรบูรณ์

Abstract This paper aims to study information concerning the trip to capture a white elephant in a forest of Muang Phetchaboon by Somdet Phra Maha Chakkraphat in B.E. 2098 which had been mentioned in many issues of the Royal Chronicle of the Kingdom of Ayutthaya. This white elephant, named by the king as “Phra Kaew Song Baht” was one of the seven elephants captured in his reign. He was called “the King of the White Elephant” as a result of this. It was believed that this trip was set in order to maintain the political stability of the kingdom and was the origin of the name of a historic site called “Wat Chang Phueak” (The Temple of the White Elephant) located on the outskirts of Muang Phetchaboon nowadays. Keywords: Somdet Phra Maha Chakkraphat, white elephant, Wat Chang Phueak, Muang Phetchaboon วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 19


ความน�ำ

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ : ช้างเผือกกับ สมเด็ จ พระมหาจั ก รพรรดิ ท รงเป็ น พระมหา พระเจ้าจักรพรรดิราช

กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๙๑๒๑๐๗) ทรงมีพระนามเดิมว่า “พระเฑียรราชา” เป็น เชือ้ พระวงศ์ราชวงศ์สพุ รรณภูมิ เมือ่ สิน้ รัชกาลสมเด็จพระ ไชยราชาใน พ.ศ. ๒๐๘๙ พระเฑียรราชาทรงหลีกราชภัย ด้วยการเสด็จออกผนวช สมเด็จพระยอดฟ้าซึ่งเป็นพระ ราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชากับท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา แต่ต่อมาท้าวศรี สุดาจันทร์กลับร่วมมือขุนวรวงศาธิราชซึง่ มีความสัมพันธ์ ฉันชู้สาวปลงพระชนม์สมเด็จพระยอดฟ้า และให้ขุน วรวงศาธิราชขึ้นบริหารราชการแผ่นดินแทน ท�ำให้ขุน พิเรนทรเทพและเหล่าขุนนางซึ่งไม่พอใจร่วมกันก�ำจัด ขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ แล้วอัญเชิญพระ เฑียรราชาให้ลาผนวชและขึน้ ครองราชย์เมือ่ พ.ศ. ๒๐๙๑ (สุเนตร ชุตินธรานนท์, ๒๕๕๕, หน้า ๑๐๕.) ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีการ พบช้างเผือกในหัวเมืองต่างๆ หลายช้าง บางช้างก็เสด็จ คล้องช้างเอง บางช้างก็มีผู้คล้องแล้วน�ำมาถวาย ท�ำให้ ในรัชกาลของพระองค์มชี า้ งเผือกถึง ๗ ช้าง และพระองค์ ก็ได้รับการถวายพระนาม “พระเจ้าช้างเผือก” ในบทความนี้ ผู ้ เ ขี ย นมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมือง เพชรบูรณ์ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่ปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับ เนื่องจาก ว่าช้างเผือกที่คล้องได้จากป่าเมืองเพชรบูรณ์ถือเป็นช้าง เผือกช้างหนึ่งในจ�ำนวน ๗ ช้างที่คล้องได้ในรัชกาลของ พระองค์ จนท�ำให้พระองค์ได้รับการถวายพระนามว่า “พระเจ้าช้างเผือก” นอกจากนี้ การเสด็จคล้องช้างเผือก ทีป่ า่ เมืองเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครัง้ นัน้ ยังอาจมีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางการเมืองของ พระราชอาณาจักร และอาจเป็นทีม่ าของการสร้างวัดช้าง เผือกที่ปรากฏในเขตชานเมืองเพชรบูรณ์ด้วย

ช้างเผือกในคติพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นหนึ่ง ในจ�ำนวนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์คู่บุญของพระเจ้า จักรพรรดิราชทีป่ ระกอบไปด้วย ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุ น พลแก้ ว ขุ น คลั ง แก้ ว จั ก รแก้ ว และแก้ ว มณี โชติ นอกจากนี้ พระเจ้าจักรพรรดิราชยังเป็นราชาในอุดมคติ ที่ปกครองโดยอาศัยธรรมเป็นที่ตั้งอีกด้วย จากการศึกษาของสุเนตร ชุตนิ ธรานนท์ (๒๕๕๔, หน้า ๑๘๐-๑๘๑.) พบว่า ความเชือ่ เรือ่ งพระเจ้าจักรพรรดิ ราชปรากฏขึ้นก่อนในกรอบวัฒนธรรมพราหมณ์ แต่ ความเชื่อนี้กลับถูกเน้นให้เห็นความส�ำคัญและถูกท�ำให้ เป็นที่รู้จักแพร่หลายโดยศาสนาจารย์ทางพุทธศาสนาที่ พยายามยกฐานะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาคู่เคียงกับ พระเจ้าจักรพรรดิราช จากพื้นฐานความคิดที่ว่าบุรุษทั้ง สองประเภทต่างถือก�ำเนิดเป็นมหาบุรุษผู้เพียบพร้อม ไปด้วยมหาบุรุษลักษณะ (ลักษณะพิเศษ ๓๒ ประการที่ บ่ ง บอกให้ รู ้ ว ่ า ผู ้ ที่ เ กิ ด มาเป็ น บุ ค คลส� ำ คั ญ อย่ า งยิ่ ง หรือที่เรียกว่าพระโพธิสัตว์) และบุญบารมีอย่างสูงสุด รายละเอี ย ดในเรื่ อ งนี้ มี ป รากฏในต� ำ นานพระพุ ท ธประวัติภาคต้นว่าด้วยการพยากรณ์ของเหล่าฤๅษีหลัง พระประสูติกาลเพียงเล็กน้อย ส่วนเรื่องราวภาคพิสดาร เกี่ยวกับพระเจ้าจักรพรรดิราชมีปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาอีกหลายคัมภีร์ อาทิ ในอัฏฐานปาลิ เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย และในจักรวัตติสตู ร ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย ทีผ่ า่ นมามีการเชือ่ มโยงคติความเชือ่ เรือ่ งพระเจ้า จักรพรรดิราชกับการขยายอ�ำนาจทางการเมืองและการ ทหารด้วย ดังพบข้อมูลว่าความคิดเรือ่ งพระเจ้าจักรพรรดิ ราชเป็นแรงบันดาลใจส�ำคัญที่ผลักดันให้กษัตริย์อินเดีย โบราณสมัยโมริยะและคุปตะออกสู่สนามรบเพื่อขยาย เขตปริมณฑลการปกครองและพิสูจน์พระองค์ว่าเป็น พระเจ้าจักรพรรดิราช (สุเนตร ชุตินธรานนท์, ๒๕๕๔, หน้า ๑๘๑.) จากคติความเชื่อดังกล่าวน่าจะเป็นสาเหตุ

20 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ส�ำคัญที่ท�ำให้พระมหากษัตริย์แห่งศูนย์อ�ำนาจรัฐกรุง หงสาวดี กรุงศรีอยุธยาและอีกหลายศูนย์อ�ำนาจรัฐใน ดิ น แดนสุ ว รรณภู มิ รั บ คติ ค วามเชื่ อ ดั ง กล่ า วมา แล้ ว พยายามแสวงซึ่งสัญลักษณ์ทั้ง ๗ สิ่ง เพื่อแสดงความ ชอบธรรมและสถานะความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ของตน หนึ่งในสัญลักษณ์ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้คือ ช้างแก้วหรือช้างเผือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งศูนย์อ�ำนาจรัฐกรุงศรีอยุธยาที่รับเอาคติความเชื่อ เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิราชมา ในรัชกาลของพระองค์ มี ช ้ า งเผื อ กถึ ง ๗ ช้ า ง ซึ่ ง ได้ จ ากเมื อ งต่ า งๆ ได้ แ ก่ พระคเชนทโรดม สูง ๔ ศอกเศษ ได้จากต�ำบลกาญจนบุร,ี พระรัตนากาศ สูง ๔ ศอก ๑๐ นิ้ว ได้จากวังช้างต�ำบล ไทรย้อย, พระแก้วทรงบาศ สูง ๔ ศอกเศษ ได้จาก วังช้างต�ำบลป่าเพชรบูรณ์, พระบรมไกรสร สูง ๔ ศอก ๕ นิ้ว ได้จากป่าทะเลชุบศร, พระสุริยกุญชร สูง ๔ ศอก ๑ คืบ ได้จากต�ำบลป่าน�ำ้ ทรง และช้างเผือกสองแม่ลกู ได้ จากต�ำบลป่ามหาโพธิ (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒, หน้า ๒๓๓ และ ๒๔๕) การที่ รั ช กาลสมเด็ จ พระมหาจั ก รพรรดิ ไ ด้ ช้ า งเผื อ กมากถึ ง ๗ ช้ า ง ท� ำ ให้ เ กี ย รติ ย ศปรากฏไป นานาประเทศทั้ ง ปวง และท� ำ ให้ พ ระองค์ ไ ด้ รั บ การ ถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะ และเสนาพฤฒามาตย์ราชปุโรหิตว่า “สมเด็จพระมหา จักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือก” (พระราช พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒, หน้า ๒๔๕.) ด้ ว ยสาเหตุ ที่ ส มเด็ จ พระมหาจั ก รพรรดิ ไ ด้ ช้างเผือกมากนี้เอง ท�ำให้พระเจ้าบุเรงนองซึ่งเป็นพระ มหากษัตริย์แห่งศูนย์อ�ำนาจรัฐกรุงหงสาวดีได้ส่งราชทูต เข้ า มาทู ล ขอพระราชทานช้ า งเผื อ กจากสมเด็ จ พระ มหาจักรพรรดิเมื่อ พ.ศ.๒๑๐๖ เมื่อถูกปฏิเสธพระองค์ จึงจัดแต่งทัพพม่ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทัพพม่าสามารถ เข้ามาถึงกรุงได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิตอ้ งเสด็จออก ไปเจรจาความศึก โดยโปรดให้ตงั้ พลับพลาขึน้ ระหว่างวัด หน้าพระเมรุและวัดหัสดาวาส ยอมรับไมตรีของพม่าและ

พระราชทานช้างเผือก ๔ ช้าง ได้แก่ พระคเชนทโรดม พระบรมไกรสร พระรัตนากาศ และพระแก้วทรงบาศ พร้อมทัง้ ให้พระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามไปเป็นตัวประกันที่พม่า (พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒, หน้า ๒๕๑-๒๕๒.) ซึ่งภายหลังมีการเรียกกันในประวัติศาสตร์ ไทยว่า “สงครามช้างเผือก” (สุเนตร ชุตินธรานนท์, ๒๕๕๕, หน้า ๑๐๙-๑๑๐.)

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จคล้อง ช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ พระแก้วทรงบาศเป็นช้างเผือกในรัชกาลสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิทคี่ ล้องได้จากป่าเมืองเพชรบูรณ์ และ เป็นช้างที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระราชทานแก่ พระเจ้าบุเรงนอง ในเอกสารพระราชพงศาวดารกรุง ศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้บนั ทึกข้อมูล เกี่ยวกับการเสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิในปี พ.ศ. ๒๐๙๘ ไว้ว่า “ศักราช ๙๑๗ เถาะศก (พ.ศ.๒๐๙๘) วันจันทร์แรม ๗ ค�ำ่ เดือน ๗ ได้ชา้ งเผือกพลายต�ำบลป่าเพชบูรณ์ สูง ๔ ศอก คืบมีเศษ ชือ่ พระแก้วทรงบาต” (พระราชพงศาวดารกรุง เก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, ๒๕๔๒, หน้า ๒๒๓.) ส่วนในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) ยังได้ขยายความเพิม่ เติมว่า “ศักราช ๙๐๘ ปีมะเมียอัฐศก (พ.ศ.๒๐๘๙) เสด็จไปวังช้างต�ำบล ป่าเพชรบูรณ์ ได้ช้างเผือกพลาย สูง ๔ ศอกเศษ ให้ชื่อ พระแก้วทรงบาศ” (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ๒๕๔๒, หน้า ๒๔๕.) ซึ่ง สอดคล้องกันกับความในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน ที่บันทึก ไว้ว่า “ลุศักราช ๙๐๘ ปีมะเมียอัฐศก เสด็จไปวังช้าง ต�ำบลป่าเพชรบูรณ์ ได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ศอกเศษ ให้ ชื่อ พระแก้วทรงบาท...” (พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน, ๒๕๔๒, หน้า ๓๙.)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 21


แม้วา่ ศักราชในพระราชพงศาวดารจะไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการคัดลอกที่คาดเคลื่อนในภายหลัง แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อความในพระราชพงศาวดารก็มี ความสอดคล้องกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระมหา จักรพรรดิเสด็จมาคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ และทรงได้ช้างเผือกพลายสูงประมาณ ๔ ศอกเศษ หลัง พิธีสมโภชทรงพระราชทานชื่อว่า “พระแก้วทรงบาศ” นับเป็นช้างเผือก ๑ ใน ๗ ช้างในรัชกาลของพระองค์ แต่เป็นที่น่าสังเกตคือ ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขากลับระบุเหตุการณ์เดียวกันนี้ ว่าเกิดขึ้นที่เมืองเพชรบุรี ดังปรากฏความว่า “ลุศักราช ๙๐๘ ปีมะเมียอัฐศก (พ.ศ.๒๐๘๙) เสด็จไปวังช้างป่า เพชรบุรี ได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ศอกเศษ ให้ชื่อพระแก้ว ทรงบาศ...” (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคต้น), ๒๕๐๕, หน้า ๑๔๖.) เมือ่ พิจารณาจากหลักฐานประวัตศิ าสตร์ทงั้ หมด ที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้แล้ว ผู้เขียนสันนิษฐานว่าข้อความ ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาน่าจะเกิด จากการคัดลอกที่คาดเคลื่อนมากกว่า เนื่องจากค�ำว่า “เพชรบูรณ์” และ “เพชรบุร”ี มีวธิ กี ารเขียนทีค่ ล้ายคลึง กั น ซึ่ ง กรณี ค ล้ า ยกั น นี้ ไ ด้ ป รากฏการเขี ย นชื่ อ พระ เพชรรัตน์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ คาดเคลือ่ นว่าเป็นเจ้าเมือง เพชรบุรมี าแล้วในเหตุการณ์พระเพชรรัตน์คดิ จะดักปล้น ทัพหลวงสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. ๒๑๑๓ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กับพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ทั้ง ทีร่ าชทินนาม “พระเพชรรัตน์” เป็นราชทินนามเจ้าเมือง เพชรบูรณ์ปรากฏทัง้ ในพระไอยการเก่าต�ำแหน่งนาทหาร หัวเมือง ฉบับอยุธยาทีต่ ราขึน้ ประมาณ พ.ศ. ๑๙๙๗ และ ในพระไอยการต�ำแหน่งนาทหารหัวเมืองในกฎหมายตรา สามดวง (ธีระวัฒน์ แสนค�ำ, ๒๕๕๘, หน้า ๕๖-๕๗.)

เอกสารประวั ติ ศ าสตร์ ต ่ า งๆ ที่ ก ล่ า วถึ ง การ เสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิได้บันทึกเหตุการณ์ไว้เพียงสั้นๆ ไม่ให้ รายละเอียดของเหตุการณ์มากนัก จึงท�ำให้ไม่สามารถ ทราบได้ว่าการเสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ ครั้งนี้มีขั้นตอนหรือมีวิธีการคล้องช้างอย่างไร และมี ขุนนางหรือไพร่พลที่ตามเสด็จไปจ�ำนวนเท่าไร แต่การ เสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิในปี พ.ศ. ๒๐๙๘ อาจมีความเกีย่ วเกีย่ วข้อง กับความมั่นคงทางการเมืองของพระราชอาณาจักรก็ เป็นได้ เนือ่ งจากเมืองเพชรบูรณ์ถอื ว่าเป็นหัวเมืองส�ำคัญ ทีม่ สี ถานะเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยาทีค่ วบคุม เส้ น ทางคมนาคมระหว่ า งกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยากั บ ล้ า นช้ า ง (ต. อมาตยกุล, ๒๕๐๔, หน้า ๔๘.) และมีความเป็นไป ได้ว่าอาจมีชาวลาวจากเขตอาณาจักรล้านช้างอพยพเข้า มาตั้งหลักแหล่งในเขตเมืองเพชรบูรณ์มากขึ้น (ศรีศักร วัลลิโภดม, ๒๕๕๒, หน้า ๑๗๖.) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จมาคล้องช้างที่ เมืองเพชรบูรณ์ครั้งนี้จึงอาจเป็นการขึ้นมาศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับด่านแดนของพระราชอาณาจักรที่ต่อแดนกับ ราชอาณาจักรล้านช้างก็เป็นได้ เพราะหลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๑๐๓ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ได้ท�ำสัญญา ไมตรีกบั สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชและสร้างพระธาตุ ศรีสองรักซึง่ เป็นสัญลักษณ์เขตแดนระหว่างกรุงศรีอยุธยา กับล้านช้างขึน้ (วินยั พงศ์ศรีเพียร, ๒๕๕๔, หน้า ๕-๒๘.) นอกจากนี้ ยังอาจเป็นการขึ้นมาแสดงพระราชอ�ำนาจ ของพระองค์ที่มีอยู่เหนือเมืองเพชรบูรณ์ เพื่อป้องกัน การแข็งเมืองของเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ และเพื่อแสดง สิทธิ์ของกรุงศรีอยุธยามีอยู่เหนือเมืองเพชรบูรณ์หาก อาณาจักรล้านช้างคิดจะส่งกองทัพเข้ายึดครองหลังจาก ที่ มี ช าวลาวอพยพเข้ า มาตั้ ง หลั ก แหล่ ง อยู ่ ใ นลุ ่ ม น�้ ำ ป่าสักทางตอนเหนือเมืองเพชรบูรณ์มากขึ้น

22 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


วัดช้างเผือกที่ชานเมืองเพชรบูรณ์ : ร่องรอยความเกี่ยวข้องกับการเสด็จคล้อง ช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ของสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ (?) ในเขตอ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่ ง เป็ น ที่ ตั้ ง ของชุ ม ชนโบราณเมื อ งเพชรบู ร ณ์ พบ หลักฐานที่เป็นโบราณสถานที่ช่วยเสริมให้เชื่อได้ว่าการ คล้องช้างเผือกเชือกนี้เกิดขึ้นที่เมืองเพชรบูรณ์จากการ ที่มีชื่อวัดในเขตอ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ์ถึง ๒ วัดที่มีชื่อว่า “วัดช้างเผือก” ดังนี้ ๑. วัดช้างเผือก ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง เพชรบูรณ์ วัดนี้มีโบราณสถานและโบราณวัตถุคงไว้ เป็นหลักฐานหลายอย่าง อาทิ โบสถ์ พระเจดีย์ พระ ประธาน และพระพุทธรูปในโบสถ์อีกหลายองค์ ได้รับ การขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรตามประกาศในราช กิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ (รักชนก สมศักดิ,์ ๒๕๕๔, หน้า ๖๑.) พระประธานในโบสถ์ เ ป็ น พระพุ ท ธรู ป ส� ำ ริ ด ปางมารวิชัย สวมเครื่องทรงอย่างกษัตริย์หรือที่เรียก ว่าพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ท�ำให้บางคนเรียกว่า พระพุทธรูปปางปราบพระยาชมพูซึ่งปรากฏเรื่องราว ในพุทธประวัติ ในสมัยอยุธยาตอนกลางได้เกิดการท�ำ พระพุทธรูปสวมเครือ่ งทรงกษัตริยห์ รือพระเจ้าจักรพรรดิ ราชซึ่งเรียกกันว่า “พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย” ขึ้นมา โดยเฉพาะพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยจะสวมเครื่องทรง ไม่มากชิ้น เครื่องทรงเป็นแบบเดียวกันกับเทวดาที่สร้าง ขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน เครื่องทรงส่วนใหญ่ประกอบ ด้ ว ยมงกุ ฎ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยกระบั ง หน้ า และรั ด เกล้ า กุณฑล กรองศอซึ่งบางครั้งมีสายสร้อยประดับทับทรวง ห้อยลงมาด้วย และพาหุรัด (รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ๒๕๕๓, หน้า ๑๔๐-๑๔๑.) นักวิชาการด้านประวัตศิ าสตร์ ศิลป์สนั นิษฐานว่า พุทธศิลป์ดงั กล่าวน่าจะมีความสัมพันธ์ กับเทวรูปสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปทรงเครือ่ งในศิลปะ ล้านนาซึง่ มีมาก่อน (ศักดิช์ ยั สายสิงห์, ๒๕๕๔, หน้า ๑๐๖ ; สันติ เล็กสุขุม, ๒๕๕๐, หน้า ๑๔๕.)

เมื่อพิจารณาจากพุทธศิลป์ของพระประธาน ในโบสถ์วัดช้างเผือก และลักษณะศิลปกรรมพระเจดีย์ ที่อยู่ภายในวัดแล้ว ผู้เขียนสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุ ราวสมัยอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย (อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓) ในโบสถ์ยังมีพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทรและปางประทานอภัย หล่อด้วยส�ำริด และทองเหลือง ศิลปะอยุธยาตอนกลาง ประดิษฐานเป็น พระอันดับอยู่ด้านหน้าและด้านข้างองค์พระประธาน อีกจ�ำนวน ๑๒ องค์ด้วย แต่อย่างไรก็ดี พระประธาน และพระพุ ท ธรู ป ที่ ป รากฏในโบสถ์ วั ด ช้ า งเผื อ กใน ปัจจุบันนี้ อาจจะถูกชะลอหรือเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ในระยะหลังก็เป็นได้ จึงยากที่จะน�ำมาเป็นหลักฐานว่า มีความเกี่ยวข้องหรือสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิ

ภาพที่ ๑ พระพุทธรูปส�ำริดทรงเครื่องปางมารวิชัย ศิลปะ อยุธยาตอนกลาง เดิมประดิษฐานอยู่ภายในโบสถ์วัดช้างเผือก ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ปัจจุบันอัญเชิญมา ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารด้านข้างโบสถ์

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 23


ภาพที่ ๒ พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ประดิษฐานอยู่ภายในโบสถ์ วัดช้างเผือก ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ก่อนการ บูรณะโบสถ์ (ที่มา : รักชนก สมศักดิ์, ๒๕๕๔, หน้า ๖๔.)

ภาพที่ ๓ ร่องรอยโบราณสถานภายในวัดช้างเผือก ต�ำบลวังชมภู อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ์

๒. วัดช้างเผือก ต�ำบลวังชมภู อ�ำเภอเมือง เพชรบูรณ์ วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม “วัดหลวงพ่อ ทบ” ด้วยเป็นที่ประดิษฐานสังขารอันไม่เน่าเปื่อยของ พระครูวิชิตพัชราจารย์ (หลวงพ่อทบ ธมฺมปญฺโญ) อดีต พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดเพชรบูรณ์ วัดแห่งนี้มี ซากโบราณสถานเป็นหลักฐานหลายอย่าง อาทิ ซากฐาน โบสถ์ก่อด้วยอิฐขนาดกว้าง ๑๒.๓๐ เมตร ยาว ๑๔.๓๐ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีร่องรอยของหลุม ลูกนิมิตอยู่รอบทั้ง ๘ ทิศ ใกล้กับฐานโบสถ์ทางด้าน ทิศเหนือมีซากพระเจดีย์เก่าจ�ำนวน ๓ องค์ ฐานกว้าง ๒๔.๖ x ๒๗.๕ เมตร จากลักษณะทางศิลปกรรมของ พระเจดียอ์ งค์ทเี่ หลือร่องรอยทางศิลปกรรมสมบูรณ์ทสี่ ดุ นั้น เป็นพระเจดีย์ศิลปะอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย (อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓) การพบชื่อวัดช้างเผือกถึงสองวัดในเขตเมือง เพชรบูรณ์ อาจมีความเป็นไปได้หรือไม่ว่าวัดช้างเผือก แห่งใดแห่งหนึ่งอาจจะถูกสร้างขึ้นบริเวณที่เป็นวังช้าง หรือสถานที่คล้องช้างเผือกพระแก้วทรงบาศ เพื่อเป็น อนุสรณ์ในการเสด็จมาคล้องช้างเผือกของสมเด็จพระ

มหาจักรพรรดิ (วิโรจน์ หุ่นทอง, ๒๕๕๙, ๖ กรกฎาคม) นอกจากนี้ ในท้องถิ่นเมืองเพชรบูรณ์ยังมีต�ำนานกล่าว ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีช้างเผือกของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นช้างคู่บ้านคู่เมืองเกิดอาการตกมันมุ่งหน้ามาทาง เมืองเพชรบูรณ์ และช้างเผือกได้ล้ม (ตาย) ลงที่บริเวณนี้ พระองค์ จึ ง ได้ ส ร้ า งวั ด ขึ้ น เป็ น อนุ ส รณ์ แ ละตั้ ง ชื่ อ วั ด แห่งนั้นว่า “วัดช้างเผือก” (รักชนก สมศักดิ์, ๒๕๕๔, หน้า ๖๒.) ทั้ ง นี้ หากมี ก ารสร้ า งวั ด ในสถานที่ ส� ำ คั ญ ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ พระราชกรณี ย กิ จ ของสมเด็ จ พระมหา จักรพรรดิทเี่ มืองเพชรบูรณ์จริง ก็อาจไม่ได้มวี ตั ถุประสงค์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการคล้องช้างเผือกเพียงอย่างเดียว อาจสร้างขึน้ เพือ่ เป็นการกระชับอ�ำนาจของกรุงศรีอยุธยา ที่ มี อ ยู ่ เ หนื อ เมื อ งเพชรบู ร ณ์ ก็ เ ป็ น ได้ แต่ อ ย่ า งไรก็ ดี ประเด็นวัดช้างเผือกที่ชานเมืองเพชรบูรณ์น่าจะมีความ เกี่ยวข้องกับการเสด็จมาคล้องช้างเผือกของสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิ กระนั้นก็ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานหรือ ข้อสังเกตเบื้องต้นของผู้เขียนเท่านั้น จ�ำเป็นที่จะต้อง ศึกษาอย่างละเอียดลุ่มลึกต่อไป

24 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


บทส่งท้าย การที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จไปคล้อง ช้ า งเผื อกพลายที่ป่าเมืองเพชรบูร ณ์ต ามที่ ปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยานัน้ ท�ำให้ได้ “พระแก้ว ทรงบาศ” มาเป็นช้างส�ำคัญในรัชกาลของพระองค์ เพื่อ เสริมบารมีตามคติความเชื่อพระเจ้าจักรพรรดิราช แต่ ท้ายที่สุดพระองค์ก็ต้องพระราชทานพระแก้วทรงบาศ พร้อมช้างเผือกอีก ๓ ช้างแก่พระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเป็นไป ตามบริบททางการเมืองการปกครองในยุคจารีต การเสด็จคล้องช้างเผือกที่ป่าเมืองเพชรบูรณ์ ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิยังอาจมีความเกี่ยวข้อง กั บ ความมั่ น คงทางการเมื อ งของพระราชอาณาจั ก ร เนื่ อ งจากเมื อ งเพชรบู ร ณ์ เ ป็ น เมื อ งหน้ า ด่ า นที่ ดู แ ล เส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านช้าง และ อาจเป็นที่มาของการสร้างวัดช้างเผือกที่ปรากฏในเขต ชานเมืองเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จมา คล้องช้างเผือกของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แต่อย่างไร ก็ดี ประเด็นนี้ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานหรือข้อสังเกต

เบื้องต้นของผู้เขียน เสมือนเป็นการโยนหินถามทางที่จะ ต้องศึกษาต่อยอดหรือท�ำการวิพากษ์ตามหลักฐานทาง ประวัตศิ าสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมต่อไปในอนาคต อย่ า งไรก็ ดี การศึ ก ษาในครั้ ง นี้ อ าจชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่าการสร้างความรับรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์ กับกลุ่มบุคคลต่างระดับคือ ที่มีความรู้หนังสือ หรือ สามารถก�ำหนดให้มีการบันทึกเรื่องนี้เป็นลายลักษณ์ได้ อันอาจเป็นกลุม่ ชนในระดับบนของสังคม กับกลุม่ ทีส่ ง่ ต่อ เรื่องราวด้วยจารีตบอกเล่า มีข้อแตกต่างกันอยู่ในระดับ บนของสังคม กับกลุ่มที่ส่งต่อเรื่องราวด้วยจารีตบอกเล่า มีข้อแตกต่างกันอยู่ในรายละเอียดปลีกย่อย แต่ก็ถือได้ ว่าเป็นการรับรู้เชิงประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในสังคมระดับ ท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับศูนย์กลางอ�ำนาจ (ธิดา สาระยา, ๒๕๓๙, หน้า ๒๐๗.) ซึ่งควรมีการน�ำข้อมูลจากทั้งสอง กลุ่มมาใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดการ ขยายพรมแดนความรู้และเปิดประเด็นให้เกิดการศึกษา สืบค้นทางวิชาการประวัติศาสตร์ให้ละเอียดลุ่มลึกต่อไป

บรรณานุกรม ต. อมาตยกุล. (๒๕๐๔). นิทานประวัติศาสตร์และโบราณคดี. พระนคร: นิยมวิทยา. ธิดา สาระยา. (๒๕๓๙). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: ประวัติศาสตร์ท่ีสัมพันธ์กับสังคม มนุษย์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. ธีระวัฒน์ แสนค�ำ. (๒๕๕๘). พระเพชรรัตน์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ ผู้คิดจะปล้นทัพหลวง สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, ปีที่ ๗ (ฉบับ ที่ ๑), หน้า ๕๕-๖๐. พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. (๒๕๔๒). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับ กาญจนาภิเษก เล่ม ๑. (หน้า ๒๑๑-๒๓๓). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน. (๒๕๔๒). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๒. (หน้า ๑-๓๗๒). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 25


พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). (๒๕๔๒). ใน ประชุม พงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๓. (หน้า ๒๑๓-๔๕๒). กรุงเทพฯ: กอง วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคต้น). (๒๕๐๕). พระนคร: โอเดียนสโตร์. รักชนก สมศักดิ.์ (๒๕๕๔). วัดช้างเผือก ตามต�ำนานเล่าขานของปูย่ า่ ตายาย. วารสารศิลป วัฒนธรรมเพชบุระ, ปีที่ ๑ (ฉบับที่ ๑), หน้า ๕๙-๖๘. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (๒๕๕๓). พระพุทธปฏิมาสยาม. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส. วินัย พงศ์ศรีเพียร. (๒๕๕๔). จารึกพระธาตุศรีสองรัก: มรดกความทรงจ�ำแห่งจังหวัด เลย ว่าด้วยสัญญาทางไมตรีศรีอโยธยา-ศรีสัตนาคนหุต พ.ศ. ๒๑๐๓”. ใน ๑๐๐ เอกสารส�ำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ล�ำดับที่ ๖. (หน้า ๕-๒๘). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัย “๑๐๐ เอกสารส�ำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย” ใน ความสนับสนุนของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). วิโรจน์ หุ่นทอง. (๒๕๕๙, ๖ กรกฎาคม). นักวิชาการศึกษา. ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๕๔). พระพุทธรูปส�ำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. ศรีศักร วัลลิโภดม. (๒๕๕๒). เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. สันติ เล็กสุขุม. (๒๕๕๐). ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เมือง โบราณ. สุเนตร ชุตินธรานนท์. (๒๕๕๔). พม่ารบไทย : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน. _______________. (๒๕๕๕). สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา). ใน มูลนิธิ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. (หน้า ๑๐๕๑๑๒). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.

26 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


บทความวิชาการ

การสถาปนาอ�ำนาจการปกครองของกษัตริย์อาณาจักรอยุธยา ผ่านพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา Establishment of King Govern power in Ayutthaya Period by The Water of Allegiance

ธีรพงษ์ ค�ำอุ่น/ Teeraphong Kumoun ข้าราชการรัฐสภา และรัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Candidate) ยุทธศาสตร์และความมั่นคง มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ บทความนีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ น�ำเสนอการสถาปนาอ�ำนาจการปกครองของกษัตริยอ์ าณาจักรอยุธยาโดยอาศัย เครือ่ งมือสร้างการยอมรับอ�ำนาจของผูป้ กครอง และกษัตริยส์ มัยอาณาจักรอยุธยาใช้เครือ่ งมือ ทีเ่ รียกว่า พิธกี รรม ซึง่ เป็นการสถาปนาอ�ำนาจอย่างหนึ่งที่เรียกว่า อ�ำนาจไม้นวมหรืออ�ำนาจอ่อน (Soft Power) เพื่อการสร้างการยอมรับ และพิธกี รรมทีว่ า่ นัน้ คือ พระราชพิธถี อื น�ำ้ พระพิพฒ ั น์สตั ยาทีเ่ ป็นกุศโลบายทางจิตวิทยาของการปกครอง และพระราช พิธีถือน�ำ้ พระพิพัฒน์สัตยานี้ มีองค์ประกอบหลักด้วยกันสามส่วนคือ พราหมณ์ น�้ำ และบทสวด เรียกว่า ลิลิตโองการ แช่งน�้ำ หรือโองการแช่งน�ำ้ โดยได้รับอิทธิพลจากลัทธิพราหมณ์ฮินดู ซึ่งมีเนื้อหาในการขออ�ำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อการ ลงโทษผู้ที่คิดทรยศต่อกษัตริย์ ฉะนั้นแล้ว พิธีดังกล่าวคือ อ�ำนาจไม้นวมประเภทหนึ่งด้วยการสร้างความเชื่อ และ ความหวาดกลัว ซึ่งจะน�ำไปสู่การยอมรับอ�ำนาจ ของกษัตริย์ และกษัตริย์ผู้ได้รับอ�ำนาจการปกครองมานั้น ย่อมจะ ได้รับความชอบธรรม ค�ำส�ำคัญ พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยา การปกครองโดยอาศัยความเชื่อของลัทธิพราหมณ์ฮินดู อ�ำนาจไม้นวม

Abstract This Article aim to present on establishment of King Govern power in the Ayutthaya Period. It’s a use to create recognize the Govern power and the King used tool rite in respect. So, It’s a Soft Power and calling in rite is a Water of Allegiance. It’s a Psychological Stratagem for govern and the rite consist of Spell and Water and Brahmin. The rite is a The Water of Allegiance. It’s Influence by Brahmi-Hinduism. In the context of a Spell has penalties for traitor. So that, It’s a Soft Power in create faith and fear. This will be lead to adoption in King power and Who received Soft Power. The King has been the authority in righteous. Keywords: The Water of Allegiance Rite, The Govern by Braham-Hinduism, Soft Power วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 27


๑. บทน�ำ โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืน ฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี ภีรุอวตาอสูร แลงลาญทัก ททัคนิจรนายฯ.............................................................. .......................................................................................................... ........................................................................... ความบางตอนจากลิลิตโองการแช่งน�้ำ ที่มา : หอสมุดวชิรญาณ ค�ำประพันธ์นี้ เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาที่เรียก กันว่า ลิลิตโองการแช่งน�้ำ หรือโองการแช่งน�้ำ ซึ่งเป็น บทสวดส�ำหรับพิธีดื่มน�้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า พระราช พิ ธี ถื อ น�้ ำ พระพิ พั ฒ น์ สั ต ยาหรื อ พิ ธี พิ พั ฒ สั จ จา และ จากกลอนร่ายข้างบนนี้ เป็นบทสรรเสริญพระเจ้าของ ศาสนาพราหมณ์ฮนิ ดู ซึง่ เริม่ ด้วยการบรรยายถึงลักษณะ ประติมานวิทยา๑ ของพระนารายณ์เทพเจ้าในศาสนา พราหมณ์ฮินดู และพิธีดังกล่าวมีอิทธิพลต่อราชส�ำนัก สยามมาแต่ โ บราณจนถึ ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ อันแสดงถึงความส�ำคัญของพิธีนี้ และ พิธีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการปกครอง (http:// vajirayana.org/พระราชพิธีถือนํ้าพิพัฒน์สัจจา) ทั้ ง นี้ พระราชพิ ธี ถื อ น�้ ำ พระพิ พั ฒ น์ สั ต ยา เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ ตามการปกครอง แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทีน่ บั ถือว่า พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสมมุติเทพตามคติเทวราช ประกอบกับคนสมัย โบราณที่ถือเรื่องความซื่อสัตย์จงรักรักภักดีต่อบ้านเมือง แผ่นดินของตนเป็นเรือ่ งส�ำคัญอย่างยิง่ รวมทัง้ คนโบราณ มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องน�้ำว่า น�้ำสามารถซึมเข้าไปใน ทุกอณูร่างกายของคนเราได้อย่างดียิ่ง ดังนั้น ในการ กระท�ำพิ ธี ก รรมอันศัก ดิ์สิท ธิ์เ พื่อสร้างความขลั ง และ ความศักดิ์สิทธิ์จึงนิยมกระท�ำผ่านน�้ำ เช่น การรดน�ำ้ สังข์ เป็นต้น (เผ่าทอง ทองเจือ, ๒๕๕๐)

ประติมานวิทยา หมายถึง ศาสตร์การวิเคราะห์และตีความ รูปแบบการถ่ายทอดทางประติมากรรมตามคติความเชื่อ

วกกลับมาที่บทสรรเสริญข้างต้นจะพบว่า บท สวดนี้แสดงถึงอิทธิพลของแนวคิดพราหมณ์ฮินดูเพราะ กล่าวถึงพระนารายณ์ ซึ่งก็คือตัวแทนของกษัตริย์ และ พิธีกรรมนี้ อยู่คู่กับราชส�ำนักสยามมาแต่โบราณ เนื่อง ด้วยลิลิตหรือโคลงแช่งน�้ำนี้ ใช้ในราชส�ำนัก ซึ่งพระมหา กษัตริยใ์ ช้ในการควบคุมอ�ำนาจทางการปกครอง และพิธี ดังกล่าวมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทัง่ กลายเป็นประเพณีหรือ วัฒนธรรมต่อมา อย่ า งไรก็ ดี เครื่ อ งมื อ ในการสร้ า งอ� ำ นาจ ๒ ทางการปกครองนั้นมีหลายแบบ เช่น เครื่องมือทาง เศรษฐกิจ เครื่องมือทางการทหาร เครื่องมือทางการทูต และเครื่องมือที่เป็นขนบธรรมเนียมจากการถือปฏิบัติ หรือทีเ่ รียกว่า พิธกี รรม เป็นต้น ซึง่ เครือ่ งมือเหล่านีส้ ง่ ผล ต่อกันและกัน ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ และเป็นฐานอ�ำนาจใน ทางการปกครองของรัฐ๓ (ธีรพงษ์ ค�ำอุ่น, ๒๕๕๐) และ กษัตริย์ใช้เครื่องมือแบบต่างๆ ที่กล่าวมาเพื่อสถาปนา อ�ำนาจการปกครองแห่งรัฐ อำ�นาจ หมายถึง สภาวการณ์อย่างหนึ่งที่มีผลต่อต่อการกดดัน ข่มขู่ หรือบังคับให้ปฏิบัติตาม ชะลอการกระทำ� หยุดการกระทำ� ตามที่ผู้มีอำ�นาจต้องการ (อ้างจาก Morgenthau. Han j, Politic Among Nation Struggle for Power and Peace Alfred A. Knopf. Fifth Editions Chicago University Press : 1978.) ๓ รัฐในบทความนี้คือ รัฐจารีตหรือรัฐสมัยโบราณ ที่มีการจัด องคาพยพแบบแว่นแคว้น และไม่มีอาณาเขตที่ชัดเจน โดยอาณาเขต สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอำ�นาจบารมีของผู้ปกครองแต่ละสมัย รวมทั้งมีระบอบการปกครองโดยการอ้างอำ�นาจจากพระเจ้า หรือ อำ�นาจเทวโองการ ๒

28 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


จากเหตุดังกล่าว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพือ่ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอ�ำนาจทางการปกครอง กับการสร้างรัฐ โดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า พิธีกรรม ซึ่งเป็นการสถาปนาอ�ำนาจ๔ อย่างหนึ่งที่เรียกว่า อ�ำนาจ ไม้นวมหรืออ�ำนาจอ่อน๕ (Soft Power) เพือ่ การสร้างการ ยอมรับและน�ำไปสู่การครอบง�ำทางความคิดเพื่อความ ชอบธรรมในการปกครอง (ศุภมิตร ปิติพัฒน์, ๒๕๔๙) พิธกี รรมกับอ�ำนาจไม้นวมทีม่ ผี ลต่อการสถาปนา อ�ำนาจทางการปกครอง จะกล่าวรายละเอียดต่อไป และ ถ้ากล่าวถึงพิธีกรรมของกษัตริย์นั้นมีหลายแบบด้วยกัน เช่น พิธีบรมราชาภิเษก พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีตรียัมปวาย พิธีจองเปรียง และพิธีถือน�ำ้ พระพิพัฒน์ สัตยา เป็นต้น ซึ่งกล่าวได้ว่าในหนึ่งปีมีพิธีกรรมประจ�ำ ทุกๆ เดือน หรือที่เรียกว่า พิธีสิบสองเดือน และเป็นการ ยากที่ จ ะกล่ า วในรายละเอี ย ดให้ ค รอบคลุ ม ทั้ ง หมด (มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, มปป.) บทความนี้ จึงจะเสนอเฉพาะพระราชพิธีถือน�ำ้ พระพิพัฒน์สัตยาเท่านั้น รวมทั้งก่อนจะน�ำไปสู่ประเด็น การสร้างอ�ำนาจไม้นวมเพื่อการสถาปนาอ�ำนาจในการ ปกครองของกษัตริย์ ในที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องพิธีกรรมโดย สังเขป รวมทั้งการให้ค�ำจ�ำกัดความค�ำว่า พิธีกรรม และ พระราชพิธถี อื น�ำ้ พระพิพฒ ั น์สตั ยา ตลอดจนจะเชือ่ มโยง พิธีกรรมกับอ�ำนาจทางการปกครองให้เห็นชัดเจนขึ้น

๒. พิธีกรรมและความสัมพันธ์กับอ�ำนาจ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของ “พิธ”ี ว่า เป็นงานทีจ่ ดั ขึน้ ตาม ลัทธิหรือความเชือ่ ตามขนมธรรมเนียมประเพณีเพือ่ ความ ขลังและความเป็นศิรมิ งคล และพิธกี รรมนัน้ กินความลึก ลงไปว่า เป็นการบูชาตามแบบอย่างหรือแบบแผนต่างๆ

ทีป่ ฏิบตั ใิ นทางศาสนา (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖. หน้า ๗๘๘.) นอกจากนี้ สถาบันไทยคดีศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ให้ความหมายพิธีกรรมว่า หมายถึง การงานทีต่ อ้ งท�ำให้เป็นล�ำดับ และท�ำเสร็จได้โดยระเบียบ จึงจะเกิดผลตามวัตถุประสงค์ (สถาบันไทยคดีศึกษา, ๒๕๕๑) กล่าวโดยง่าย “พิธกี รรม” เป็นระเบียบ แบบแผน ที่ปฏิบัติกันอย่างเป็นขั้นตอนตามคติหรือความเชื่อ ส่วนพระราชพิธนี นั้ ก็คอื พิธที กี่ ษัตริยป์ ฏิบตั เิ ป็น แบบแผน ขั้นตอนและเป็นพิธีระดับรัฐเนื่องจากเป็นพิธี ของผูป้ กครองแห่งรัฐ (มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนนั ทา, มปป. หน้า ๒) ดังนัน้ พระราชพิธถี อื น�ำ้ พระพิพฒ ั น์สตั ยา จึงเป็นพิธีของกษัตริย์ที่ใช้น�้ำเป็นสื่อ และน�้ำมีความ ส�ำคัญต่อพิธีดังกล่าวเพราะเป็นสื่อหลักหรือตัวแทนใน การประกอบพิธี เนื่องจากน�้ำมีคุณสมบัติเชิงสัญลักษณ์ และคติดังนี้ นํ้าส�ำคัญกับพิธีกรรมเนื่องจาก สังคมเอเชียเชื่อ ว่า น�้ำเป็นของมงคลหรือสิ่งมงคล ด้วยการน�ำเอาความ เจริญความอุดมสมบูรณ์มาให้แก่ผู้ที่ได้รับและได้ใช้น�้ำ และคุณสมบัติของน�้ำในความเป็นมงคลมีหลายประการ ด้วยกัน ดังนี้ ประการทีห่ นึง่ นาํ้ มีลกั ษณะเหลว ไม่มกี ลิน่ ไม่มี สี ไม่มีรส คือน�ำ้ มีความใสซึ่งสื่อถึงการมีนํ้าใสใจจริงหรือ แสดงความจริงใจเหมือนนํ้า ประการที่ ส อง นํ้ า เปลี่ ย นรู ป ไปตามภาชนะ ที่ขังนํ้านั้นไว้ นํ้าจะเปลี่ยนรูปอย่างกลมกลืน นํ้าเป็น สัญลักษณ์ของการปรับตัวได้ดี ไม่ว่าภาชนะนั้นจะเป็น อะไร เปรียบเหมือนคนฉลาดปรับตัวได้ ประการที่สาม นํ้าเป็นของเหลวที่ผิวราบเรียบ เสมอ แม้จะถูกท�ำให้กระเพื่อม แต่สักพักนํ้าจะกลับมา รักษาผิวหน้าให้เรียบ สงบนิง่ เปรียบเช่นจิตใจของมนุษย์ ที่ดี คือ ท�ำให้กระเพื่อมอย่างไรก็ท�ำให้เป็นปกติได้

การสถาปนาอำ�นาจ หมายถึง การสร้างอำ�นาจในระยะก่อตัวหรือ เริ่มแรกเพื่อจะนำ�ไปสู่การยอมรับอำ�นาจ ๕ อำ�นาจไม้นวม (Soft Power) เป็นอำ�นาจในลักษณะหนึ่ง ที่เป็น อำ�นาจในเชิงการกล่อมเกลา และโน้มน้าวเพื่อให้เกิดการยอมรับ ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ๔

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 29


ประการที่สี่ นํ้ามีลักษณะที่ตัดขาดออกจากกัน ไม่ได้ เพราะน�้ำจะไหลเข้าหากัน เช่น มนุษย์ที่มีใจผูกพัน มีสายใยต่อกัน ประการที่ ห ้ า นํ้ า มี คุ ณ สมบั ติ เ ฉพาะตั ว ตาม ธรรมชาติไหลจากที่สูงสู่ที่ตํ่า จึงใช้นํ้าในการแสดงความ สัตย์ที่จะสัญญาแก่กัน เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มหาราช ทรงหลั่งน�้ำลงพสุธา เพื่อเป็นการประกาศตัด พระราชไมตรีระหว่างอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักร หงสาวดี ประการที่หก น�ำ้ มีสภาพปกติไม่แปรผัน แม้จะ ได้รบั การแปรสภาพให้รอ้ นจนกลายเป็นไอขึน้ ไป แต่เมือ่ รวมตัวกันก็สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ฉะนั้นแม้น�้ำ จะเปลี่ยนสถานะเป็นเช่นใดก็แปรสภาพเป็นแบบเดิมได้ นั่นคือ ความเป็นมงคล ประการทีเ่ จ็ด น�ำ้ เป็นของเหลวทีใ่ ช้ในการช�ำระ ล้าง และก�ำจัดสิ่งสกปรก จึงน�ำมาใช้ในพิธีกรรมเพื่อสื่อ ถึงการช�ำระบาปและความชั่วร้าย เช่น การปะพรมน�้ำ พระพุทธมนต์ เป็นต้น ประการที่แปด น�้ำเป็นสารที่มีคุณสมบัติระงับ ความร้อนและดับกระหาย น�ำ้ จึงเป็นสือ่ ของการดับความ อยาก ความหิวโหย ประการที่เก้า น�้ำเป็นของเหลวที่มีคุณสมบัติที่ จะซึมซาบเข้าไปเซลล์ต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงน�ำน�้ำมาเป็น น�้ำสัตย์สาบาน หรือน�้ำพิพัฒน์สัตยา ประการที่สิบ น�้ำเป็นปัจจัยที่มนุษย์อาศัยด�ำรง ชีวิต ดังนั้น น�้ำจึงเป็นของมีคุณค่าใกล้ตัวเพื่อยังชีพ น�ำ้ จึงมีความเป็นมงคลส�ำหรับมนุษย์ และการเลือกสรร แต่ละมงคลของน�้ำมาใช้ในพิธีการ เหมือนมนุษย์รู้จัก เลือกใช้ ปรับใช้ และประสานประโยชน์ (สถาบันไทยคดี ศึกษา, ๒๕๕๑) คุณสมบัตเิ หล่านี้ ท�ำให้นำ�้ ถูกน�ำมาเกีย่ วข้องกับ พิธีกรรมต่างๆ ในชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสิ้นชีวิต เช่น พิธีศพ ที่ใช้น�้ำล้างหน้าผู้ตายก่อนที่จะน�ำศพไปเผา เป็นต้น ซึ่งจากคุณสมบัติและสื่อเชิงสัญลักษณ์ของน�้ำที่ ส�ำคัญต่อมนุษย์ น�้ำจึงเข้ามามีบทบาทพิธีกรรมดังนี้

๑) พิธีกรรมที่ใช้น�้ำเป็นสารัตถะส�ำคัญ หรือ เป็นแกนกลางในการประกอบพิธี และเป็นเนื้อหลักของ พิธกี รรมโดยตรง คือการน�ำน�ำ้ มาใช้โดยตรง เช่น พิธเี จริญ พระพุทธมนต์ ๒) พิธีกรรมที่ใช้น�้ำเป็นส่วนประกอบรองของ พิธีกรรม เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นต้น (สถาบันไทยคดีศึกษา, ๒๕๕๑) ด้ ว ยเหตุ ที่ น�้ ำ ส� ำ หรั บ ชนชาติ ไ ทยมี ค วาม สัมพันธ์กับความเป็นอยู่และการด�ำรงชีวิต จนกลายเป็น วัฒนธรรม ประเพณี หรือกลายเป็นเครื่องมือเพื่อการ ประกอบพิธกี รรมทางความเชือ่ ในหลายรูป หรือแม้แต่นำ�้ มะพร้าว ซึง่ เป็นน�ำ้ ทีอ่ ยูใ่ นผลพืชและมีความบริสทุ ธิ์ ในแง่ นี้นำ�้ เป็นตัวสื่อถึงความมงคล โดยการน�ำเอาน�้ำมะพร้าว มาใช้ตั้งแต่ท�ำขวัญวัน ท�ำขวัญเดือน ท�ำขวัญจุก ท�ำขวัญ บวชนาค เป็นต้น นอกจากนี้ รากเหงาความเชื่อของมนุษย์คือ การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ น�้ำจึงมี สถานะความศักดิ์สิทธิ์ เพราะน�้ำสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิตตามที่กล่าวมา (วรรณนา นาวิกมูล, ๒๕๕๑ หน้า ๑) ทั้ ง นี้ พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ ค วามหมายพระราชพิ ธี ถื อ น�้ ำ พระ พิพัฒน์ว่า น�้ำที่ดื่มในเวลาถวายสัตย์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖. หน้า ๕๘๒.) หรือเรียกอีก ชื่อหนึ่งว่า พระพิพัฒน์สัจจา ซึ่งมีต้นเค้ามาจากค�ำว่า ศรีสัจปานกาล ซึ่งค�ำว่าศรีหมายถึงสิ่งที่ดี หรือความเป็น ศิรมิ งคล ส่วนสัจจาคือ ค�ำมัน่ หรือสัจจะ และค�ำว่า ปานะ แปลว่า น�้ำ เมื่อให้ความหมายโดยรวมแล้วจึงหมายถึง การดืม่ น�ำ้ ศักดิส์ ทิ ธิเ์ พือ่ การให้คำ� มัน่ สัญญา หรือพิธดี มื่ น�ำ้ เพื่อแสดงความจงรักภักดี (https://www.gotoknow. org/posts/563119) พระราชพิ ธี ถื อ น�้ ำ พระพิ พั ฒ น์ สั ต ยาจึ ง เป็ น พระราชพิธีส�ำคัญระดับแผ่นดิน ซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่า มีขึ้นสมัยอาณาจักรอยุธยาแต่ไม่ทราบ แน่ชัดว่า เกิดขึ้นในรัชสมัยกษัตริย์พระองค์ใด (https://

30 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


www.gotoknow.org/posts/563119) และพระราช พิธดี งั กล่าวมีรากฐานแนวคิดจากลัทธิพราหมณ์ ซึง่ สยาม หรือประเทศไทยนั้นรับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ฮินดูมา ตั้งแต่สมัยยุคโลหะ ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี จ�ำนวนมาก จากประติมากรรมรูปเคารพที่เกี่ยวเนื่อง กับศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยก�ำหนดอายุได้ตั้งแต่ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ และรากฐานทางการปกครองแบบเทวราชาในการ ปกครองของอาณาจักรอยุธยา สันนิษฐานว่าแพร่มา จากอาณาจักรเขมรโบราณ และพราหมณ์ในราชส�ำนัก (อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, ๒๕๕๑, หน้า ๖-๘) นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นหลักฐานว่า พระราชพิธี ถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยาเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา คือ ปรากฏงานวรรณกรรมสมัยอยุธยาที่เขียนเป็นกลอน ที่เรียกว่า ลิลิตโองการแช่งน�้ำ ซึ่งลิลิตโองการแช่งน�้ำ สันนิษฐานว่ามีฐานคติจากเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ เรียบร้อย กษัตริยจ์ งึ ให้ขนุ นางเข้าพระราชพิธเี พือ่ สาบาน ตน และมีเนื้อหาหลักโดยย่อเริ่มต้นด้วยร่ายสรรเสริญ พระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหมตามล�ำดับ ต่อจาก นั้นบรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นสลับกัน โดยมี เนื้อหา โดยสรุปกล่าวถึง ภายหลังจากไฟไหม้โลกเมื่อ สิ้นกัลป์แล้ว พระพรหมได้สร้างโลกใหม่ขึ้น มีการเกิด มนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และการก�ำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มมีพระราชาธิบดี (พระราชาผู้มีความดี) ใน หมู่คน และต่อมาเป็นบทการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง หลายมาเป็นพยาน และลงโทษผูค้ ดิ คดกบฏต่อพระราชา ส่วนผู้ซื่อสัตย์ภักดี ก็อำ� นวยพรให้มีความสุขและลาภยศ และตอนท้ายเป็นร่ายยอพระเกียรติพระราชา (https:// www.gotoknow.org/posts/563119) กล่าวโดยง่าย พระราชพิธดี งั กล่าวมีอทิ ธิพลจาก แนวคิดพราหมณ์ฮนิ ดู ซึง่ ผสมความเชือ่ จากวรรณคดีเรือ่ ง รามเกียรติ์เพราะศาสนาพราหมณ์ฮินดูเชื่อว่า กษัตริย์ หรือพระรามคือพระนารายณ์อวตาร ประกอบกับหลัก จักรวาลวิทยาที่จักรวาลนี้มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง และล้อมรอบด้วยเขาบริวาร และมหาสมุทรทั้งห้า ซึ่งน�ำ้

ในพระราชพิธีพิพัฒน์สัตยานี้ก็มาจากมหาสมุทรทั้งห้า และในอินเดียมีแม่น�้ำทั้งห้า ประกอบด้วย แม่น�้ำคงคา แม่น�้ำยมนา แม่น�้ำอจิรวดี แม่น�้ำสรภู และแม่น�้ำมหี เนื่องจากลัทธิพราหมณ์ฮินดูนั้นเชื่อว่า แม่น�้ำเหล่านั้นมี ต้นก�ำเนิดจากเขาพระสุเมรุ (ประเสริฐ ณ นคร, ๒๕๔๙) และถ้าวิเคราะห์ตามหลักคติชน เนื่องจากแม่น�้ำที่กล่าว มามีความส�ำคัญต่อการหล่อเลีย้ งอินเดียมาแต่ยคุ โบราณ ซึ่งเป็นต้นธารของแม่น�้ำน้อยใหญ่ในอินเดียและเอเชีย พระราชพิธถี อื น�ำ้ พระพิพฒ ั น์สตั ยาเป็นพระราช พิธีใหญ่ส�ำหรับแผ่นดินที่มีมาแต่โบราณ และปฏิบัติเป็น ช่วงเวลาโดยไม่มีเวลาเว้นว่าง โดยกําหนดให้มีปีละสอง ครั้ง คือในเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค�่ำครั้งหนึ่ง เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค�ำ่ ครัง้ หนึง่ และภายในเนือ้ หาค�ำสวดพระราชพิธถี อื น�ำ้ พระพิพัฒน์สัตยา มีคําอ้างถึงว่า เป็นพิธีระงับยุคเข็ญ ของบ้านเมือง และต้นเค้าพิธกี รรมดังกล่าว มาจากสภาพ สังคมอินเดียโบราณได้กำ� เนิดลัทธิทใี่ ช้นำ�้ ล้างอาวุธเป็นน�ำ้ สาบาน เดิมทีเกิดขึ้นกับสังคมนักรบหรือการทหาร และ เป็นวิถขี องขัตติยะหรือกษัตริย์ ทีถ่ อื ว่าเป็นชายชาติทหาร ถ้าอยูใ่ นระบบวรรณะ๖ ก็คอื วรรณะกษัตริย์ และในสังคม อินเดียชายชาติขตั ติยะเป็นวรรณะทีไ่ ม่ได้ประกอบอาชีพ การค้าขายหรือเพาะปลูก แต่หาเลีย้ งชีพด้วยคมอาวุธและ การท�ำสงคราม จึงมีการก�ำหนดพิธีแบบนี้ขึ้นเพื่อยืนยัน ความเชื่อระหว่างกัน (http://vajirayana.org/ พระราช พิธีถือน�ำ้ พิพัฒน์สัจจา) ดังนั้น พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยาจึง เป็ น พิ ธี ส าบานตนของขุ น นางต่ อ กษั ต ริ ย ์ เ พื่ อ ประกั น ความภักดีและความซื่อสัตย์ต่อกษัตริย์ และผู้น�ำในการ ประกอบพิธีคือพราหมณ์ ซึ่งเป็นนักบวชที่มีอิทธิพลต่อ ราชส�ำนักโบราณ เพราะพราหมณ์เป็นผูผ้ กู ขาดในการเข้า ถึงพระเจ้าตามความเชือ่ เรือ่ งวรรณะ และโดยอนุมานแล้ว พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยาในอาณาจักรอยุธยา วรรณะเป็นระบบการจัดแบ่งทางสังคมของพราหมณ์ฮินดู ที่มีความเชื่อ ว่ามนุษย์เกิดจากส่วนต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าและทำ�หน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมีห้าวรรณะด้วยกัน ประกอบด้วย วรรณะพราหมณ์ วรรณะ กษัตริย์หรือนักรบ วรรณะแพศ วรรณะศูทร และวรรณะจัณฑาล ๖

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 31


นั้นก็เพื่อสร้างความกลัว และความย�าเกรงในอ�านาจ อันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนา ซึ่งสัมพันธ์กับ การปกครองรัฐ และพิธีกรรมเหล่านี้ก�าหนดการเข้า ถึงเฉพาะชนชั้นปกครองเท่านั้น ดังนั้นถัดไปจะน�า เสนอว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอ�านาจการปกครองกับ พิธีกรรมในลักษณะนี้ในรายละเอียดต่อไป

๓. การสถาปนาอ�านาจทางการ ปกครองจากพระราชพิธีถือน�้า พระพิพัฒน์สัตยา การก่อตัวของอาณาจักอยุธยาเกิดจากการ รวมตั ว ของแคว้ น สุ พ รรณภู มิ กั บ แคว้ น ลพบุ รี ซึ่ ง เป็นเมืองส�าคัญแถบลุ่มแม่น้�าเจ้าพระยา และต่อมา มี ก ารผนวกดิ น แดนรอบนอกเข้ า มาเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของอาณาจักรแต่เดิมนั้นบริเวณใกล้ที่ตั้งศูนย์กลาง อาณาจักรอยุธยานั้นมีเมืองชื่ออโยธยาอยู่ก่อนแล้ว และสั น นิ ษ ฐานว่า อาณาจัก รอยุธยาสถาปนาขึ้ น เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๓ โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทองบริเวณหนองโสนหรือบึงพระราม (ค�าบรรยาย สุเนตร ชุตินทรานนท์, ๒๕๕๐) อาณาจั ก รอยุ ธ ยาจึ ง เป็ น การสยุ ม พร ทางการเมืองระหว่างแคว้นละโว้กับแคว้นสุพรรณ ภูมิ ซึ่งเป็นแคว้นที่มีอ�านาจทางการเมืองในระดับ หนึ่งตั้งแต่ก่อนการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา และการ เกิดขึ้นของอาณาจักรอยุธยาเกิดขึ้นจากปัจจัยการ เกื้อหนุนจากสภาพภูมิศาสตร์ ส่วนลักษณะทางกายภาพของกรุงศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นเกาะ โดยมีแม่น�้าล้อมรอบ ประกอบ ด้วย แม่น�้าป่าสักทางทิศตะวันออก แม่น�้าเจ้าพระยา ทางทิศตะวันตกและใต้ แม่น�้าลพบุรีทางทิศเหนือ และมีการขุดคลองเพื่อให้แม่น�้าสามสายบรรจบกัน จึงท�าให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะ (เพ็ญศรี กาญจโนมัย, ๒๕๓๖) และมี รู ป ลั ก ษณ์ สี่ เ หลี่ ย มคางหมู ดั ง ภาพ ต่อไปนี้

ภำพที่ ๑ แผนที่อาณาจักรอยุธยา ที่มา : สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน

ภำพที่ ๒ แผนที่แม่น�้าที่ล้อมรอบอาณาจักรอยุธยา ที่มา : สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน

32 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ลักษณะทางกายภาพดังกล่าว มีผลต่อการใช้ เส้นทางคมนาคมทางน�้ำเป็นหลัก เพราะมีแม่น�้ำล้อม รอบ และมีการขุดคลองย่อยภายใน และบริเวณรอบ พระบรมหาราชวัง รวมทั้งใช้แม่น�้ำเป็นเส้นทางการ ค้ า เนื่ อ งจากไม่ ห ่ า งไกลจากอ่ า วไทยมากนั ก กล่ า ว คือ เป็นการใช้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ ทีต่ งั้ เป็นชัยภูมใิ นการตัง้ รับข้าศึก (http : //patricklepeti.jalbum.net/AYUTTHAYA/library%๒๐/historical%city.pdf.) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สภาพภูมิศาสตร์ ของกรุงศรีอยุธยาคือเครื่อง-มือในการสร้างอ�ำนาจ และ รักษาอ�ำนาจในทางปกครองอีกมิติหนึ่ง ส่วนอ�ำนาจโดยทัว่ ไปหมายถึง สภาวการณ์อย่าง หนึ่งที่มีผลต่อต่อการกดดัน ข่มขู่ หรือบังคับให้ปฏิบัติ ตาม ชะลอการกระท�ำ หยุดการกระท�ำ และตามที่ผู้มี อ�ำนาจต้องการ (Morgenthau, 1978) และอ�ำนาจนี้มี ทั้งแบบที่เป็นรูปธรรม เช่น ทรัพยากรมั่งคั่ง ก�ำลังทหาร มีแสนยานุภาพ เศรษฐกิจเข้มแข็ง สภาพภูมิศาสตร์ที่ เหมาะสมฯ ส่วนอ�ำนาจในทางนามธรรม เช่น ศิลปะ ทางการทูต เกียรติภูมิศักดิ์ศรีของรัฐ ศีลธรรมของรัฐฯ วัฒนธรรมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นต้น ดังนั้น อ�ำนาจจึงมีทั้งแบบอ�ำนาจแข็ง และอ�ำนาจไม้นวมหรือ อ�ำนาจอ่อน (Soft Power) (ค�ำบรรยาย ศุภมิตร ปิตพิ ฒ ั น์, ๒๕๔๙.) ทั้งนี้ การปกครองจ�ำเป็นต้องอาศัยอ�ำนาจทั้ง ก่อนและหลังการขึ้นสู่ตำ� แหน่งของผู้ปกครอง อ�ำนาจจึง เป็นเครือ่ งมือและเป้าหมายในตัวของมันเอง และอ�ำนาจ ปรากฏให้เห็นด้วยตาเปล่า ดังที่กล่าวมาบ้างแล้ว และมี อ�ำนาจทีม่ องไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น ค่านิยม อุดมการณ์ วัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น พระราชพิ ธี ถื อ น�้ ำ พระพิ พั ฒ น์ สั ต ยาจึ ง เป็ น ประเพณีส�ำคัญประการส�ำคัญ ที่พระมหากษัตริย์ใช้เป็น เครื่องมือเพื่อการควบคุมอ�ำนาจ และเมื่ออ�ำนาจเป็นทั้ง เครื่องมือและเป้าหมายของผู้ปกครองแล้วนั้น พระราช พิธีดังกล่าว จึงเป็นอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์เพื่อใช้ใน การปกครองเช่นเดียวกัน

จากเหตุดังกล่าว พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์ สั ต ยาเป็ น พิ ธี ก รรมอย่ า งหนึ่ ง ในการสถาปนาอ� ำ นาจ ทางการปกครอง และสร้างอ�ำนาจการปกครองด้วยแล้ว และในที่นี้จะเสนอว่า พระราชพิธีดังกล่าวเป็นอ�ำนาจ ไม้นวมได้อย่างไรจะน�ำเสนอพอสังเขป

๔. อ�ำนาจไม้นวมเพื่อการสร้างการยอมรับ อ�ำนาจไม้นวม (Soft Power) โดยทั่วไปพอจะ เข้าใจได้ว่า เป็นการชักจูง โน้มน้าว รวมทั้งเป็นการสร้าง ความเชื่อแบบค่อยเป็นค่อยไป และมีการผลิตซ�้ำหรือ กระท�ำอยู่เป็นประจ�ำจนเป็นนิสัยเพื่อก่อให้เกิดความ เคยชิน ซึ่งจะน�ำไปสู่การยอมรับโดยปริยาย และผู้ที่อยู่ ในอ�ำนาจนัน้ ก็จะท�ำตามผูม้ อี ำ� นาจก�ำหนด รวมทัง้ อ�ำนาจ ไม้นวมมีการถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งอ�ำนาจไม้นวมนี้ เข้าได้กับคุณลักษณะบางประการของพิธีกรรมต่างๆ ที่ มีการผลิตซ�้ำ และมีกฎเกณฑ์การก�ำหนดบทบาทของ ผูท้ เี่ กีย่ วข้องในพิธกี รรม รวมทัง้ มีสอื่ ในการถ่ายทอด เช่น โคลงโองการแช่งน�้ำ เป็นต้น อีกทั้ง พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยาก็มี คุณลักษณะเช่นเดียวกับอ�ำนาจไม้นวม ที่มีแบบแผนการ สืบทอดปฏิบัติเป็นประจ�ำ และที่ส�ำคัญมีความเชื่อทาง ศาสนารองรับ และในสมัยอาณาจักรอยุธยาการปกครอง จ�ำเป็นต้องอาศัยองค์ความรูจ้ ากศาสนาพราหมณ์ฮนิ ดู ซึง่ เป็นหลักเดียวกันกับพิธกี รรมดังกล่าว และเป็นทีท่ ราบกัน ว่า ระบบปกครองในสมัยอาณาจักรอยุธยาปกครองโดย ลัทธิเทวสิทธิ์ ซึ่งเชื่อว่า กษัตริย์คือองค์นารายณ์อวตาร เปรียบเสมือนเทพเจ้ามาจุติเป็นผู้ปกครอง และเพื่อน�ำ เสนอมุมมองเรื่องอ�ำนาจไม้นวมที่หลากหลายมากขึ้น ต่อไปจะน�ำเสนอนักวิชาการที่กล่าวถึงอ�ำนาจไม้นวมไว้ ต่างๆ ดังนี้ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ โจเซฟ ไน (Joseph Nye) เป็นนักวิชาการคนแรกทีน่ ำ� เสนอว่า อ�ำนาจ (Power) นั้นไม่ได้มีเฉพาะอ�ำนาจแบบแข็ง (Hard Power) หรือ อ� ำ นาจทางการทหารเท่ า นั้ น แต่ อ� ำ นาจมี อ� ำ นาจใน ลั ก ษณะอื่ น อี ก โดยไนเสนอว่ า มี บ างสิ่ ง ที่ มี ลั ก ษณะ

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 33


คล้ายคลึงกับอ�ำนาจแบบแข็ง ซึ่งเรามักรู้จักว่า อ�ำนาจ มาจาก ขีดความสามารถทางการทหาร ขีดความสามารถ ทางเศรษฐกิจ ที่สมารถเปลี่ยนแปลงการกระท�ำของ คนอืน่ ให้กระท�ำตามทีต่ นต้องการ แต่อกี ด้านของเหรียญ หรืออีกโฉมหน้าของอ�ำนาจ คือการปลุกระดมความเชื่อ และการสร้างการยอมรับ แต่ไม่ได้มีสภาพบังคับอย่าง เด็ดขาดเหมือนอ�ำนาจทางการทหารทีก่ ล่าวมา (Joseph Nye, 2011. pp. 5-7) กล่าวโดยนัย อ�ำนาจไม้นวมนั้นประกอบสร้าง ขึ้นจากการกระตุ้นให้เกิดความนิยมชมชอบ และอ�ำนาจ ไม้นวมก็ไม่ได้มีลักษณะเหมือนอิทธิพลที่เป็นการคุกคาม หรือการจะต้องเสียประโยชน์ไป แต่อ�ำนาจไม้นวม มี ลักษณะการชักจูงให้เชื่อ นอกจากนี้ อ�ำนาจไม้นวมมีวิธีการให้เลือกที่ หลากหลายมากกว่าอ�ำนาจแบบแข็ง และยังสามารถ ควบคุมความชอบของคนอืน่ ได้หากกระท�ำส�ำเร็จ ซึง่ อาจ จะมีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับการควบคุมพฤติกรรม และมี ผลต่อความรู้สึกนึกคิดดังนั้น อ�ำนาจไม้นวมจึงเป็นการ สร้างความเห็นพ้องต้องกัน หรือการสร้างค�ำมั่นสัญญา ในลักษณะหนึ่ง (Joseph Nye, 2011. pp 5-7.) อย่างไรก็ดี อ�ำนาจไม้นวมเป็นความสามารถ ที่ท�ำให้ผู้อื่นต้องการในสิ่งที่เราต้องการ ดังนั้น ผู้สร้าง อ�ำนาจไม้นวมจ�ำเป็นต้องก�ำหนดถ้อยค�ำความต้องการ เสียก่อน หรือการสร้างวาทกรรม เพื่อน�ำไปสู่การแพร่ ขยาย และ โจเซฟ ไน ได้ขยายความว่า อ�ำนาจไม้นวมเป็น ความสามารถในการดึงดูดใจ เพือ่ น�ำไปสูก่ ารยอมรับและ การยอมรับมีความหมายในแง่บวก ซึ่งหมายถึงการเห็น พ้องต้องกัน (Joseph Nye, 2011. pp. 8-9.) ในแง่ ห นึ่ ง อ� ำ นาจไม้ น วมมี ค วามหมายว่ า ความสามารถที่ท�ำให้ผู้อื่นต้องการหรือยอมรับในสิ่งที่ ต้องการ รวมทั้งที่ในบางกรณีที่ไม่สามารถจะด�ำเนินการ เพื่อเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงที่ไม่น่าพอใจได้ แต่จ�ำใจ ยอมรับหรือจะต้องยอมรับสิ่งนั้น (กรมยุทธศึกษาทหาร เรือ, มปป. หน้า ๓๖) และอ�ำนาจไม้นวมนี้จะต้องมีการ ผลิตซ�ำ้ รวมทั้งมีการแพร่ขยายเพื่อการสร้างการยอมรับ ในวงกว้าง

โจเซฟ ไน เสนออีกว่า ทรัพยากรแห่งอ�ำนาจ ไม้นวม ถ้าพิจารณาในระดับรัฐ อ�ำนาจไม้นวมของรัฐ ประกอบด้วยพื้นฐานสามส่วนดังนี้ ๑) วัฒนธรรม วัฒนธรรมจะเป็นตัวก�ำหนด ค่านิยมของคนที่จะน�ำไปใช้และก�ำหนดคุณค่าในสังคม เช่น วรรณคดี ศิลปะ ระบบการศึกษา เป็นต้น ๒) ค่านิยมทางการเมือง ค่านิยมเป็นตัวสร้าง กรอบวิธีคิด และค่านิยมทางการเมืองเป็นกรอบในการ ก�ำหนดระบบการปกครองของรัฐ ๓) นโยบายของประเทศ นโยบายของประเทศ เป็นการก�ำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากร การบริหาร จัดการทั้งระบบทั้งศาสตร์และศิลป์ หรือเป็นแบบแผน พฤติกรรมทีจ่ ะกระท�ำ เช่น นโยบายการส่งออกวัฒนธรรม (Joseph Nye, 2011. pp. 11-13.) กล่าวโดยสรุป อ�ำนาจไม้นวมมาจากวัฒนธรรม ความเชือ่ อุดมคติทไี่ ด้รบั การยอมรับ สัง่ สมมา และมีการ ผลิตซ�ำ้ และมีการเผยแพร่ ซึง่ เป็นลักษณะของวัฒนธรรม รวมทั้งมีลักษณะดึงดูดทางจิตใจ (สุรชาติ บ�ำรุง, ๒๕๕๗) และอ�ำนาจไม้นวมเป็นอ�ำนาจในการปกครองได้อย่างไร ในส่วนต่อไปจะกล่าวถึง ส่ ว นอ� ำ นาจการปกครองเป็ น อ� ำ นาจในการ ควบคุมการบริหารงานของรัฐ ทัง้ ในมิตทิ างกฎหมายและ การยอมรับ ซึง่ ผูท้ ไี่ ด้อำ� นาจการปกครองมานัน้ ย่อมจะได้ รับความชอบธรรมเมื่อเข้าสู่อ�ำนาจ และการเข้าสู่อำ� นาจ นั้นก็มีวิถีทางที่หลากหลาย เช่น การสืบราชสมบัติ การ เลือกตั้ง การรัฐประหาร เป็นต้น กล่าวคือ การมีอำ� นาจ ทางปกครองนัน้ คือ การทีผ่ ปู้ กครองได้รบั มอบอธิปไตยให้ ด�ำเนินการใดๆ แก่รัฐ ณ ช่วงเวลานั้น (https://th.wiki pedia.org/wiki/อ�ำนาจการปกครอง) วกกลับมาที่พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยา จากที่กล่าวมาแล้วว่า พระราชพิธีถือน�้ำฯ เป็นพิธีกรรม ของผู้น�ำรัฐและชนชั้นปกครองที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู จนเป็นแบบแผนปฏิบัติของราชส�ำนักอยุธยา และมีข้อ สันนิษฐานว่า การมีพิธีกรรมดังกล่าวเพื่อสร้างความ

34 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ศักดิ์สิทธิ์ให้กับกษัตริย์ ซึ่งเป็นสมมุติเทพตามแนวคิด ของพราหมณ์ฮินดู เนื่องจากระยะแรกอาณาจักรอยุธยา เพิ่งก่อตัวขึ้น ผู้ปกครองต้องการความเป็นปึกแผ่นจึง จ�ำเป็นต้องอาศัยเทวอ�ำนาจผ่านการสร้างความเชื่อใน การยอมรับ (http://vajirayana.org/พระราชพิธีถือน�ำ้ พิพัฒน์สัจจา) กล่าวโดยง่ายพระราชพิธีนี้เป็นเครื่องมือในการ ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง โดยการสร้างความเข้มแข็งให้ แก่รัฐเป็นสิ่งส�ำคัญแก่กษัตริย์เพื่อการรักษา แสวงหา และขยายอ�ำนาจของตน และเครื่องมือพิธีกรรมจึงเป็น ทางเลือกหนึง่ ทีก่ ษัตริยจ์ ะน�ำมาใช้ เพราะพิธกี รรมมีความ อลังการ ส�ำคัญ และดูขรึมขลัง ซึ่งมีผลต่อความเชื่อทาง จิตใจ และการชักจูง และพิธีกรรมมีองค์ประกอบหลาย ส่วน เช่น ผู้น�ำพิธี เครื่องสื่อในพิธี เช่น เครื่องเซ่นสังเวย เครือ่ งไหว้ ค�ำกล่าว บทสวดในพิธี และผูเ้ ป็นเป้าประสงค์ ต่อการท�ำพิธี กล่าวคือ พิธนี นั้ จะมีกรอบความเชือ่ ทีเ่ ชือ่ ม เหตุและผลว่า เมื่อปฏิบัติแล้วจะเกิดผล อย่ า งไรก็ ต าม การปกครองของอาณาจั ก ร อยุ ธ ยาเป็ น ต้ น แบบของการปกครองอาณาจั ก ร ที่ สื บ เนื่ อ งกั น มาจนถึ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น โดย อาณาจักรอยุธยามีลักษณะการเมืองการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) และ อ�ำนาจในการปกครองจะอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียง พระองค์เดียว ซึง่ แนวคิดการปกครองนีไ้ ด้รบั แนวคิดและ อิทธิพลจากลัทธิพราหมณ์ที่เข้ามาผ่านอาณาจักรเขมร โบราณที่เคยมีอิทธิพลต่ออาณาจักรในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา มาก่อน (Woraporn Poopongpan, 2007. pp. 143146) การเข้ามาของลัทธิพราหมณ์ฮนิ ดูจากอาณาจักร เขมรโบราณส่งผลให้รูปแบบการปกครองในสมัยอยุธยา ได้เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบ “เทวสิทธิ์” หรือเทวราชา ซึ่ง การปกครองในลักษณะดังกล่าวถือว่า พระมหากษัตริย์ เป็นเสมือนเจ้าชีวิต เป็นผู้มีอ�ำนาจเด็ดขาด และอ�ำนาจ ในการปกครองของกษัตริย์นั้นได้รับจากสวรรค์ และ กษัตริย์ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง หรือสมมุติเทพ

(Woraporn Poopongpan, 2007. pp. 143-146) จากหลักคิดนี้มีผลต่อการก�ำหนดรูปแบบการ ปกครองของรัฐ ที่ก�ำหนดให้เป็นแบบลัทธิเทวสิทธิ์หรือ เทวราชา อันส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และ ประชาชนเปลีย่ นแปลงไปจากเดิมทีค่ วามสัมพันธ์ระหว่าง กษัตริยก์ บั ประชาชนยึดหลักความเคารพนับถือด้วยความ รัก ต่อมาเปลี่ยนเป็นความเกรงกลัวอ�ำนาจแทน กล่าว ได้ว่า เป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบนายกับบ่าว (อัญชลี สุสายัณห์, ๒๕๕๒ หน้า ๓) นอกจากนี้ การปกครองของอาณาจักรอยุธยา ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ จากชนชาติ มอญ ซึง่ ในคัมภีรพ์ ระธรรมศาสตร์นมี้ เี นือ้ หาหลักยกย่อง กษัตริย์เป็นเทวราชาเช่นกัน โดยสันนิษฐานว่า คัมภีร์ดัง กล่าวมีตน้ เค้ามาจากคติพราหมณ์ฮนิ ดูแล้วค่อยคลีค่ ลาย เป็นหลักของพระพุทธศาสนาแทน และหลักเทวราชานี้ ยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ จึงท�ำให้ขุนนาง และประชาชนต้องถวายความเคารพต่อกษัตริย์ในฐานะ เทพเจ้า (นิตยา กาญจนะวรรณ, ๒๕๕๗. หน้า ๑๔-๑๖.) และความเชื่อนี้เชื่อมโยงระหว่างเทวราชากับอ�ำนาจ ทางการปกครอง ตามที่กล่าวมาแต่ต้นว่า พระราชพิธีถือน�้ำพระ พิพัฒน์สัตยานั้นสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักร อยุธยา และมีการสันนิษฐานว่า การประกอบพระราช พิธีดังกล่าวนั้นมีขึ้นที่บริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเดิม เป็นพระบรมมหาราชวังสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ยุ ค แรกของอาณาจั ก รอยุ ธ ยา และในสมั ย พระบรม ไตรโลกนาถได้ถวายพระบรมหาราชวังเดิมเป็นวัดในเวลา ต่อมา และเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธี ที่ส�ำคัญ (วิสทุ ธิ์ ภิญโญวานิชกะ วัดพระศรีสรรเพชญ์ สุสานกษัตริย์ อยุธยา www.wisut.net.อยุธยา-บทความ/วัดพระศรี สรรเพชญ์) ซึง่ วัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นดังภาพหน้าต่อไป

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 35


ภำพที่ ๔ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ถ่ายโดยผู้เขียน

แผนภาพดังกล่าวข้างต้น เป็นสถานทีท่ พี่ ระมหา กษัตริย์ใช้ประกอบพระราชพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยา อันแสดงถึงศูนย์กลางแห่งอ�านาจทางสัญลักษณ์ รวมทั้ง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทฺธิ์ในพระบรมมหาราชวัง เพราะเป็น สถานที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม พระราชพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์ สัตยากลายเป็นสัญลักษณ์ของอ�านาจในการปกครอง ด้วยเหตุที่เป็นพิธีกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ทางความมั่นคง ของรัฐและสร้างอ�านาจในการปกครองให้แก่กษัตริย์ ภายในอาณาจักร และมีการปฏิบตั เิ ป็นแบบแผนขัน้ ตอน และมีคติความเชื่อทางศาสนารองรับ ซึ่งมีผลต่อการ โน้มน้าวหรือสร้างความหวาดกลัวทางจิตใจต่อขุนนาง และเป็ น อ� า นาจไม้ น วมประเภทวั ฒ นธรรม (สุ ร ชาติ บ�ารุงสุข, ๒๕๕๗. หน้า ๘) นอกจากนี้ พระราชพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยา เป็นกุศโลบายทางจิตวิทยาของการปกครองที่ส�าคัญ เพราะขั้นตอนของพิธีกรรมที่ด�าเนินไปนั้น ล้วนมุ่งที่จะ ท�าให้เกิดความเกรงกลัวต่อความผิด และความน่ากลัวใน การลงโทษจากค�าสาปแช่ง ทีก่ ระท�าผิดต่อค�าสัตย์สาบาน

ภำพที่ ๕ แผนผังวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่มา : สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ พระนครศรีอยุธยา

36 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ซึ่งท�ำให้สามารถควบคุมจิตใจ และความประพฤติของ ขุนนางให้ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ (เผ่าทอง ทองเจือ, ๒๕๕๐) สิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า พระราชพิธี ถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยามีสถานะเป็นเครื่องมือส�ำคัญใน การปกครองคือ เกิดการตราแบบแผนการเข้าร่วมพิธี ดังกล่าว โดยการตราเป็นกฎมณเฑียรบาล ซึ่งถือเป็น กฎหมายประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ และใน ตัวบทกฎมณเฑียรบาลดังกล่าว มีสาระส�ำคัญเป็นข้อห้าม และบทลงโทษเกี่ยวกับพระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์ สัตยาโดยสรุปดังนี้ ๑) ผู้ที่ขาดการเข้าร่วมพิธีถือน�้ำพิพัฒน์สัตยามี โทษถึงตายเว้นแต่ป่วยหนัก ๒) ห้ามสวมแหวนนาก แหวนทอง มาถือน�ำ้ ๓) ห้ามบริโภคอาหารหรือน�ำ้ ก่อนดืม่ น�ำ้ พิพฒ ั น์ ๔) ดื่มน�ำ้ แล้วห้ามยื่นน�ำ้ ที่เหลือให้แก่กัน ๕) ดื่มแล้วต้องราดน�้ำที่เหลือลงบนผมของตน (http://vajirayana.org/พระราชพิธถี อื น�ำ้ พิพฒ ั น์สจั จา) นอกจากนี้ พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยา พระบทก�ำหนดโทษในโองการแช่งน�้ำ ตามกฎมณเฑียรบาลว่า โทษส�ำหรับผู้ไม่เข้าร่วม หรือปฏิบัติผิดพลาด ตามแบบแผนประเพณีมสี าระส�ำคัญโดยสรุปคือ เป็นการ ระวางโทษไว้ว่าเป็นกบฏ คือ โทษใกล้ความตาย และ เพื่อประสงค์จะให้น�้ำพิพัฒน์สัตยาที่ท�ำขึ้นนั้นเป็นน�้ำ ศักดิ์สิทธิ์ (เผ่าทอง ทองเจือ, ๒๕๕๐) ในขั้นตอนการถือ น�้ำพระพิพัฒน์สัตยา ได้ก�ำหนดว่า ให้ดื่มในโอกาสแรก ของวันนั้น หรือถือน�้ำก่อนอย่างอื่น แต่ต่อมาด้วยความ ไม่คล่องตัว และมีผลต่อความสะดวกจึงได้คลายความ เคร่งนี้ลง โดยให้ขุนนางที่มีอายุมากดื่มก่อน เนื่องจาก กังวลว่าจะท�ำให้เจ็บป่วยหรือล�ำบากต่อผู้สูงอายุที่ยัง ไม่ได้ทานอะไรมาก่อน อีกทั้ง เมื่อพระราชพิธีดังกล่าวเป็นพิธีหลวง และชนชัน้ ปกครองให้ความส�ำคัญ และจัดขึน้ เป็นประจ�ำ ทุกปี รวมทัง้ มีความถีใ่ นการจัดในหลายโอกาสแบ่งได้ดงั นี้

๑) พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจ�ำ ปี กล่าวคือ ปฏิบัติเป็นประจ�ำทุกปีในช่วงเดือนห้าและ เดือนสิบ เพื่อการตรวจสอบความจงรักภักดีของขุนนาง และหัวเมืองประเทศราช ๒) พระราชพิ ธี ถื อ น�้ ำ พระพิ พั ฒ น์ สั ต ยาใน โอกาสพิเศษ กล่าวคือ จะมีการจัดพระราชพิธีดังกล่าว ในวาระพิเศษ เช่น การขึ้นเสวยราชสมบัติของพระมหา กษัตริย์ การถวายสัตย์ก่อนการท�ำสงคราม เป็นต้น (www.gotoknow.org/posts/34375 พระราชพิธี ถือน�ำ้ พระพิพัฒน์สัตยา) กล่าวโดยสรุป พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์ สัตยา ถูกผลิตซ�ำ้ และเป็นข้อก�ำหนดทีต่ อ้ งปฏิบตั ิ เปรียบ เสมือนข้อบังคับหรือกฎหมาย ดังจะเห็นจากการก�ำหนด เป็นกฎมณเฑียรบาลในภายหลัง ซึ่งวิวัฒนาการมาจาก แบบแผนประเพณีที่ปฏิบัติในราชส�ำนัก จนต้องก�ำหนด เป็นกฎหมายในที่สุด และเป็นเครื่องมือส�ำคัญทางการ ปกครองเพื่อการควบคุมทางจิตใจ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ต่อๆ กันมา อีกนัยหนึง่ ถ้ากล่าวเป็นภาษานิตศิ าสตร์ พระราช พิธีนี้เป็นบ่อเกิดแห่งกฎหมาย เนื่องจากชนชั้นปกครอง ให้ความส�ำคัญและเห็นความส�ำคัญตามทีก่ ล่าวมา รวมทัง้ พระราชพิธดี งั กล่าวมีการจัดแบบยิง่ ใหญ่ และก�ำหนดการ เข้าถึงเฉพาะชนชั้นปกครองอันแสดงถึงความส�ำคัญ โดย การอาศัยความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งมีการถ่ายทอด สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน กล่าวคือ เป็นการสร้าง ความคุ้นชินจนเห็นความจ�ำเป็นที่จะต้องปฏิบัติ โดย อาศัยความเชื่อว่า กษัตริย์มีอ�ำนาจดุจเทพเจ้า และผู้ใต้ ปกครองจะต้องเคารพ ตลอดจน ถ้ า มี ก ารอ้ า งตั ว แทนเทพเจ้ า หรื อ เทวอ�ำนาจแล้ว จะช่วยให้ลดทอนการท้าทายอ�ำนาจ หรือ พระบรมเดชานุภาพลง และเป็นการขจัดค�ำถามทีจ่ ะเกิด ขึน้ ว่า ท�ำไมจะต้องประกอบพระราชพิธถี อื น�ำ้ พระพิพฒ ั น์ สัตยาขึ้น

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 37


ถ้ า วกกลั บ มาที่ ส ่ ว นในเนื้ อ หาค� ำ สวดของ พระราชพิธีดังกล่าวนั้น มีบทสวดที่กล่าวถึงค�ำสาปแช่ง และมีบทก�ำหนดโทษไว้ เช่น ทั้งนี้ พระราชพิธีดังกล่าว มีกระบวนการสร้าง ความเชือ่ จากการขออ�ำนาจจากเทพยดา และสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ต่างๆ มาเป็นพยานและเป็นผู้ช�ำระโทษหากคิดทรยศ และเป็นการใช้วัฒนธรรมความเชื่อในรูปแบบพิธีกรรม มาเป็นเครือ่ งมือในการสร้างความชอบธรรม การยอมรับ และความเกรงกลัวอ�ำนาจจากสิง่ ทีม่ องไม่เห็น โดยอาศัย ความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งพิธีการขั้นตอนนี้จะมีความ ศักดิ์สิทธิ์ มีความยิ่งใหญ่และส�ำคัญระดับรัฐตามที่กล่าว มาแล้ว หรือกล่าวอีกนัยคือ การควบคุมทางสังคมของ กษัตริย์โดยอาศัยความเชื่อเพื่อการรักษาอ�ำนาจทางการ ปกครอง กล่าวโดยสรุป พระราชพิธีถือน�้ำพระพิพัฒน์ สัตยามีความเป็นขัน้ เป็นตอน มีระเบียบวิธเี พือ่ ให้เป็นสือ่ รวมทั้งแสดงถึงหนทางที่จะน�ำมาซึ่งความส�ำเร็จในสิ่งที่ คาดหวังไว้ ซึ่งท�ำให้เกิดความสบายใจและมีก�ำลังใจใน การปกครองของพระมหากษัตริย์

สรุป

การสถาปนาอ� ำ นาจทางการปกครองของ กษัตริย์สมัยอาณาจักรอยุธยาได้อาศัยเครื่องมือประเภท หนึ่ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองด้วย กันเอง เพื่อน�ำไปสู่การสร้างรัฐให้เป็นปึกแผ่น โดยอาศัย เครื่องมือที่เรียกว่า พิธีกรรม ซึ่งเป็นการสถาปนาอ�ำนาจ อย่างหนึง่ ทีเ่ รียกว่า อ�ำนาจไม้นวมหรืออ�ำนาจอ่อน (Soft Power) เพื่อการสร้างการยอมรับ และพิธีกรรมที่ว่านั้น คือ พระราชพิธถี อื น�ำ้ พระพิพฒ ั น์สตั ยา ซึง่ เป็นกุศโลบาย ทางจิตวิทยาของการปกครอง โดยการท�ำให้เกิดความ เกรงกลัวต่อความผิด และพิธกี รรมดังกล่าวมีคติความเชือ่ ทางศาสนาพราหมณ์ฮินดูรองรับ ซึ่งมีผลต่อการโน้มน้าว และการควบคุมทางจิตใจต่อขุนนาง และเป็นอ�ำนาจ ไม้นวมประเภทวัฒนธรรม

เอกสารอ้างอิง กรมยุทธศึกษาทหารเรือ. (ม.ป.ป.). Soft Power. นาวิกธิปัตย์สาร. ธีรพงษ์ ค�ำอุ่น. (๒๕๕๐). ดุลแห่งอ�ำนาจของมอเกนธาว. สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิตยา กาญจนะวรรณ. (๒๕๕๗). วรรณกรรมอยุธยา. ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง: กรุงเทพฯ. ประเสริฐ ณ นคร. (๒๕๔๙). อักษร ภาษา จารึก วรรณกรรม “รวมบทนิพนธ์เสาหลักทางวิชาการ ประเสริฐ ณ นคร. ส�ำนักพิมพ์มติชน: กรุงเทพฯ. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. (๒๕๔๕). นานมีบุคส์พับบลิเคชั่นจ�ำกัด: กรุงเทพฯ เผ่าทอง ทองเจือ. (๒๕๕๐ ๑๔ มิถุนายน). น�้ำพระพิพัฒน์สัตยา (ตอนที่ ๑). ไทยรัฐ. เพ็ญศรี กาญจโนมัย. (๒๕๓๖). หนังสือเรียนสังคมศึกษา ส๐๒๖ : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในโลกปัจจุบัน : ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. โรงพิมพ์คุรุสภา: กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. (ม.ป.ป.). พระราชพิธีสิบ ๑๒ เดือน. มหาวิทยาลัยฯ: กรุงเทพฯ. วรรณนา นาวิกมูล. (๒๕๕๑). เอกสารประกอบการอบรมโครงการตามรอยวรรณคดี เรือ่ ง ความเข้าใจเรือ่ งศาสนา ความเชือ่ และค่านิยมการสอนวรรณคดี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ 38 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ศุภมิตร ปิตพิ ฒ ั น์. (๒๕๔๙). ค�ำบรรยายรายวิชาทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศภาค ทฤษฎีและปฏิบัติ. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันไทยคดีศึกษา. (๒๕๕๑). น�้ำกับบทบาทพิธีกรรมของไทย. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ. สุเนตร ชุตนิ ทรานนท์. (๒๕๕๐). ค�ำบรรยายรายวิชาประวัตศิ าสตร์สงคราม. หลักสูตร รั ฐ ศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ, จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุรชาติ บ�ำรุงสุข. (๒๕๕๗). Soft Power. จุลสารความมั่นคง. ฉบับที่ ๑๖๓-๑๖๗ ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ: กรุงเทพฯ. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๕๑). เทพฮินดู ผู้พิทักษ์พุทธสถาน. ส�ำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส: กรุงเทพฯ. อัญชลี สุสายัณห์. (๒๕๕๒). ความเปลีย่ นแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคม ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). ส�ำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊ค: กรุงเทพฯ. Han j. Morgenthau. (1978). Politic Among Nation Struggle for Power and Peace. Fifth Editions Alfred A. Knopf. Chicago University Press. Joseph S. Nye. (2011). The Future of Power, Belfer Center Programs or Projects. International Security, January 31. Woraporn Poopongpan. (2007). Thai Kingship during the Ayutthaya Period : A Note on Its Divine Aspects Concerning Indra. Silpakorn University International Journal Vol. 7 https://www.gotoknow.org/posts/344378. เข้าสู่ฐานข้อมูลเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐. http ://patricklepeti.jalbum.net/AYUTTHAYA/library%20/historical%city.pdf. เข้าสู่ฐานข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐. http://vajirayana.org/ พระราชพิธีถือน�้ำพิพัฒน์สัจจา. เข้าสู่ฐานข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐. https://th.wikipedia.org/wiki/อ�ำนาจการปกครอง เข้าสู่ฐานข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐. www.wisut.net.อยุธยา-บทความ/วัดพระศรีสรรเพชญ์ เข้าสู่ฐานข้อมูลเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 39



บทความวิชาการ

หัตถกรรมการแกะสลักไม้แห่งบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับการสืบทอดภูมปิ ัญญาสู่เยาวชนรุ่นใหม่

Thai traditional wood carving at Banmaitoongmakamyong, Pranakornsiayutthaya and how to carry on this local wisdom to the new generation ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต ข้าราชการต�ำรวจตรวจคนเข้าเมือง นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (candidate) สาขายุทธศาสตร์และความมั่นคง มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาหัตถกรรมการแกะสลักไม้ของต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและเพื่อศึกษากระบวนการสืบทอดวัฒนธรรม การแกะสลักไม้ลวดลายไทย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยลงพื้นที่ภาคสนาม เครื่องมือที่ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ (๑) วิธีการสังเกตการณ์ในพื้นที่การท�ำงานของช่างแกะสลัก (๒) การสัมภาษณ์ช่างฝีมือที่มีประสบการณ์มากกว่า ๖๐ ปี ในหมู่บ้านหัตถกรรมแกะสลักไม้ ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จ�ำนวน ๑ คน และช่างฝีมือที่มีประสบการณ์มากกว่า ๔๐ ปี และเป็นผู้น�ำช่างฝีมือชาวไทยร่วมเดินทางไปท�ำงานด้านแกะสลักที่ ต่างประเทศเป็นเวลา ๑๑ ปี จ�ำนวน ๑ คน และชาวบ้านสูงวัยที่เป็นที่เคารพในต�ำบลบ้านใหม่ เพื่อสืบค้นความ เป็นมาของรากเหง้าคนในท้องถิ่นและความเป็นมาของช่างฝีมือแกะสลักไม้ ผู้ศึกษาพบว่า ด้วยบรรพบุรุษของคนไทยในพื้นที่ ต�ำบลบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง เป็นผู้อพยพจากประเทศ ลาวช่วงยุคปลายรัชกาลที่ ๓ ด้วยเหตุผลความขัดแย้งภายในนครเวียงจันทน์ โดยมีทั้งขุนนาง ช่างฝีมือ และชาวบ้าน ร่วมอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศสยามยุคนั้น ความมีทักษะเป็นช่างฝีมือ คือ ช่างทอง และช่างกระเบื้องของ บรรพบุรุษ และเมื่ออพยพเข้ามาก็ด�ำรงชีวิตด้วยอาชีพท�ำเครื่องจักสาน ท�ำให้ลูกหลานรุ่นถัดมา เมื่อได้รับการอบรม สั่งสอนจากอาจารย์ไสว เดชศรี วิชาการแกะสลักไม้ ท�ำให้มีความเข้าใจและเข้าถึงการสร้างลวดลายศิลปะไทยได้ง่าย กว่าคนไทยในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ทีไ่ ม่เคยสัมผัสหรือรับรูอ้ งค์ความรูด้ า้ นช่างฝีมอื มาเลย ประกอบกับการท�ำการตลาดของนาง ทองขาว เดชศรี ภรรยาของอาจารย์ไสวฯ ท�ำให้เกิดการค้าขายเชิงพาณิชย์ของงานแกะสลักไม้บา้ นใหม่ทงุ่ มะขามหย่อง ผลงานศิลปหัตถกรรมได้ถูกน�ำเสนอต่อสังคมภายนอก แถวเสาชิงช้า เขตเมืองพระนคร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พื้นที่ เสาชิงช้าก็ยังเป็นศูนย์กลางขายเครื่องสังฆภัณฑ์ พระพุทธรูป โต๊ะหมู่บูชา ท�ำให้การด�ำรงชีวิตด้วยอาชีพแกะสลักไม้ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 41


เป็นอาชีพที่มั่นคงและมีค่าตอบแทนค่อนข้างสูงกว่าอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย และบางครั้งมี การส่งออกผลิตภัณฑ์งานไม้แกะสลักเกี่ยวกับพิธีกรรมพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ เพราะประสบการณ์ทยี่ าวนาน การฝึกฝนทักษะการแกะสลักไม้อย่างต่อเนือ่ งของคนในชุมชนบ้านใหม่ ท�ำให้ เกิดความเชื่อมั่นในฝีมือและชื่อเสียง จนช่างฝีมือได้รับเชิญจากหน่วยงานภาครัฐ ร่วมสร้างผลงานระดับประเทศ ประกอบกับเอกลักษณ์รูปแบบงานแกะสลักไม้ของชุมชนท้องถิ่น หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๖ ต�ำบลบ้านใหม่ ยังคงรูปแบบ ของงานแกะสลักไม้ทอี่ อ่ นช้อยเป็นศิลปะช่างหลวง ยุคกรุงศรีอยุธยา จนถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่งานพืน้ ทีอ่ นื่ ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ขยายตัวทางธุรกิจ เป็นรูปแบบของงานแกะสลักไม้ที่เป็นศิลปะแบบประยุกต์ ผู้ศึกษายังพบว่า ปัจจุบันมีการถ่ายทอดองค์ความรู้งานแกะสลักไม้ไปยังเยาวชนในท้องถิ่นด้วยการสอนใน โรงเรียนปฐมวิทยาคาร ต�ำบลบ้านใหม่ ด้วย และมีการน�ำกลุ่มช่างฝีมือจากพื้นที่ภาคเหนือจากพื้นที่ราบสูง เผ่าม้ง ที่ มีพนื้ ฐานงานฝีมอื และการใช้เครือ่ งมือการแกะสลักไม้ลวดลายทางภาคเหนือเข้ามาร่วมท�ำงานด้วย และช่างฝีมอื ด้าน การต่อขึน้ รูปจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีส่ นใจเข้ามาฝึกฝนจนมีความช�ำนาญ เข้ามาช่วยงานฝีมอื ของอุตสาหกรรม ท้องถิน่ นีด้ ว้ ย แต่ผปู้ ระกอบการ เจ้าของธุรกิจ ยังคงเป็นคนท้องถิน่ ในพืน้ ที่ และมีการน�ำเทคโนโลยีเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ในการแกะสลักมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสร้างผลงาน เช่น การน�ำเรซินหล่อขึ้นรูป การใช้เลาเตอร์ เพื่อปรับพื้นไม้ให้เรียบแทนการใช้สิ่วเจาะแซะเนื้อไม้ทีละน้อย เป็นต้น ค�ำส�ำคัญ : หัตถกรรมการแกะสลักไม้ บ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง การสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชนรุ่นใหม่

Abstract The purpose of this research is to study the local wisdom of wood carving handicrafts village at Tambon Banmai,Pranakornsiayuttaya District, Pranakornsiayuttaya Province and to study the procedure of carrying on the thai wood carving tradition.This research is qualitative paper and collects data by (1) the observation in field study and (2) the interview three samples ,the first lady has more than 60 years experience of wood carving, the second one has more than 40 years experience of wood carving and had worked in abroad for 11 years, and the last one is the aged lady who is respected by the people of Tambol Banmai for narrate the migration of ancestor and the traditional professional in this area. The results of the study are as follows : 1. The Laos migrants who tranferred from Vientien City when the Rama III governed, are the ancestor of people in Tambon Banmai. Most of them were the governor, the craftsmen who made either golden handicraft or earthenwares and the villagers. 2. The ancestor had worked the traditional professional in golden handicraft, earthenwares, basketwork and agriculture for living in Pranakornsiayuttaya Province. 3. Teacher Sawai Dechsri was the respective wood carving instructor who teached the carving technique to Banmai people especially at Moo 5 and Moo 6 area. Furthermore his wife, Mrs. Thongkhaw Dechsri had managed the business on the Thai traditional wood carving that supported the Banmai peoples’ economic status. 42 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


4. Recently, the Mong tribe who came from the highland of northern region,have participated in the Thai traditional wood carving at Banmai because they are acknowledged the northern style wood carving and familiar with the wood carving equipment. The recent generation of the wood carving craftsmen are applying the technology and new equipment for creating the wood handicraft. 5. For carrying on this tradition of handicrafts, at Prathomwittayakan School, the local school at Tambon Banmai, has the three years course of the Thai traditional wood carving for the secondary students. Keywords : wood carving handicrafts, Banmaitoonmakamyong, how to carry on this local wisdom to the new generation

บทน�ำ หลังจากพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชสวรรคต เกิดปัญหาแย่งชิงราชสมบัติ ท�ำให้อาณาจักรล้านช้าง ได้แตกออกเป็น ๓ อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรหลวง พระบางหรือลาวเหนือ อาณาจักรเวียงจันหรือลาวกลาง และอาณาจักรจ�ำปาสักหรือลาวใต้ ทั้งสามอาณาจักรท�ำ สงครามบ่อยครัง้ จนกระทัง่ ปี พ.ศ. ๒๒๕๐ พระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงโปรดให้จดั ทัพไปยับยัง้ สถานการณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๒๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเข้า ปราบปรามหัวเมืองล้านช้างเพือ่ เป็นหลักประกันว่าความ ขัดแย้งภายในอาณาจักรลาวทั้งสามจะไม่มีผลให้พม่า เข้ามาตีกรุงธนบุรีได้ดังที่เคยเกิดขึ้นคราวสงครามเสีย กรุงศรีอยุธยาครัง้ ที่ ๒ ส่งผลให้อาณาจักรลาวทัง้ สามต้อง ส่งเครือ่ งราชบรรณาการมาทีก่ รุงเทพฯ จนถึงสมัยรัชกาล ที่ ๕ (ก�ำพล จ�ำปาพันธ์, ๒๕๕๘ : ๗๔) อาณาจักรลาวทั้งสามท�ำสงครามแย่งชิงความ เป็นใหญ่ระหว่างกันหลายครั้ง บวกกับการที่สยามท�ำ สงครามกวาดต้อนเอาก�ำลังคนจากอาณาจักรลาว เช่น สงครามปราบล้านช้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ และสงคราม ปราบเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงปรากฏว่ามีการ อพยพกลุ่มคนลาวในแบบที่เรียกว่า การเทครัว หมายถึง การอพยพเข้ามาทัง้ สายตระกูล รวมทัง้ ช่างฝีมอื และคนที่ มีความรู้ เข้ามายังอาณาจักรสยามหลายครั้ง จากการสัมภาษณ์คุณชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์ อายุ ๗๔ ปี ช่างคนสุดท้ายที่สามารถแกะสลักลายไทย

เชิงละเอียดได้ พบว่าในช่วงปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ ๓ ราวปี พ.ศ. ๒๓๘๐ กลุม่ คนลาวจาก นครหลวงเวียงจันทน์ อพยพโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่มแม่นำ�้ เจ้าพระยา แถบ จังหวัดสิงห์บุรี ลพบุรีและอยุธยา โดยมีสาเหตุมาจาก ความขัดแย้งภายในกลุ่มครอบครัว เครือญาติในกลุ่ม ขุนนาง โดยการน�ำของขุนนาง ชื่อ ขุนไซเนด ผู้นำ� กลุ่ม ชาวเมืองเวียงจันทน์ (และท่านยังเป็นบรรพบุรุษของ คุณส�ำเนียง ทิพย์เนตร อายุ ๗๘ ปี ชาวต�ำบลบ้านใหม่) ด้วยการเดินเท้าพร้อมช้างขนสัมภาระบนสาแหรกและ เสลี่ ย ง เดิ ม กลุ ่ ม ชาติ พั น ธุ ์ ก ลุ ่ ม นี้ ตั้ ง ถิ่ น ฐานบริ เ วณ บ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่องเนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น�้ำ เหมาะสมในการท�ำนา ซึง่ ในปัจจุบนั คือ พืน้ ทีบ่ ริเวณหมู่ ๕ และหมู่ ๖ ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในกลุ่มผู้อพยพชาวลาวนี้ ประกอบด้วยเป็นขุนนาง ซึ่งเปรียบได้ว่า เป็นผู้ปกครอง ช่างฝีมือ ได้แก่ ช่างทอง และช่างกระเบื้อง และชาวบ้าน ทั่วไป (ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์, สัมภาษณ์) จากการลงพืน้ ทีส่ มั ภาษณ์คณ ุ ส�ำเนียง ทิพย์เนตร อายุ ๗๘ ปีอาศัยอยู่ที่หมู่ ๕ ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา เป็ น บุ ค คลที่ มี ค วามทรงจ� ำ และ ได้ รั บ ความเคารพนั บ ถื อ ในต� ำ บลบ้ า นใหม่ อ� ำ เภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่าถึง “การอพยพโยกย้ายถิน่ ของลาวเวียง หรือ คนลาว อพยพ จากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วงรัชกาลที่ ๓ ตอน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 43


ปลายต่อเนือ่ งรัชกาลที่ ๔ ด้วยความขัดแย้งทางการเมือง ภายในกรุงเวียงจันทน์ เนื่องจากขาดความสามัคคี โดย มีผู้นำ� ชื่อ ขุนไซเนด มีนางพี หรือ อ�ำแดงพี เป็นภรรยา พร้อมลูกสาวที่ยังเล็ก (ซึ่งลูกสาวคนนี้ชื่อ “อก” เป็นคุณ ยายของคุณส�ำเนียง ทิพย์เนตร) โดยใช้ชา้ งและเสลีย่ ง ขน ของตามเส้นทางการอพยพ กลุ่มชนชาวลาวเวียงจันทน์ ได้ตั้งรกรากที่บริเวณวัดต้นโพธิ์ อ�ำเภอนครหลวง และ บ้านแป้ง อ�ำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และขุนไซเนด มีลูกเพิ่มที่ประเทศสยามคือนางสุก นางป้อง ตาเล็ก โดยช่วงแรกเริ่มด�ำรงชีวิตด้วยการประกอบอาชีพช่างท�ำ เครื่องปั้นดินเผา กระเบื้องและช่างท�ำทอง และท�ำการ จับจองที่ดินเพื่อท�ำนา ท�ำไร่ ในพื้นที่ทุ่งบางช้าง (เป็น พื้นที่เลี้ยงช้าง พักช้างเดิมในสมัยอยุธยา) พร้อมทั้งสร้าง วัดประจ�ำชุมชน เป็นเนือ้ ทีโ่ ดยประมาณ ๕ ไร่ โดยการวัด ด้วยวิธีก้าวเท่านับก้าว มีการถมที่ดิน สร้างก�ำแพงโบสถ์ แต่เมื่อมีการรังวัดที่ดินจากทางราชการ เนื้อที่วัดมีโดย ประมาณ ๘ ไร่ ปัจจุบันก็คือวันจันทร์ประเทศ” แต่ดั้งเดิมคนลาวเวียงจันทน์กลุ่มนี้ประกอบ อาชีพทางการเกษตร ท�ำนา และเมื่อว่างเว้นช่วงฤดูกาล ท�ำนา จะท�ำเครื่องจักสานไว้ใช้สอยภายในครัวเรือน เช่น เสื่อล�ำแพน พัด ตะกร้า กระด้ง และกระชอน เป็นต้น การรวมกลุ่มของชุมชนคนลาวในพื้นที่ มีการสร้างชุมชน ทางวัฒนธรรม ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาน�ำไปสู่ การก่อตั้งวัดประจ�ำชุมชน ชื่อว่า วัดจันทน์ต่างประเทศ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๐ สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยขนานนาม ให้สอดคล้องกับชื่อประเทศของตน ซึ่งปัจจุบันเรียกชื่อ ผิดเพีย้ นไปจากอดีต จนมีชอื่ ว่า “วัดจันทร์ประเทศ” ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ มีการเยีย่ มเยียนชุมชนชาติพนั ธุน์ โี้ ดยสมเด็จ พระสังฆราชจากประเทศลาว เมื่อทราบข่าวว่ามีกลุ่มคน

ลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา และ ยังมีการจัดกิจกรรมร�ำลึกประวัติศาสตร์ร่วมกัน โดย สถานทูตลาวประจ�ำประเทศไทยได้เชิญคนไทยเชื้อสาย ลาว เข้าร่วมกิจกรรมวันชาติในทุกๆ ปี ในช่วง ๑๐ ปี ที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันไม่มีสืบทอดการเข้าร่วมกิจกรรม ดังกล่าวเนื่องจากนักการทูตผู้รับผิดชอบโครงการได้ โยกย้ า ยไปด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ยั ง ประเทศอื่ น ตามวาระที่ ก�ำหนด (ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์, สัมภาษณ์)

ภาพที่ ๑ ป้ายประวัติวัดจันทร์ประเทศ ณ ศาลาการเปรียญ วัดจันทร์ประเทศ ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐

44 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


หมู่บ้านหัตถกรรมแกะสลักไม้ “บ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง” ๑. การเริ่มต้นเป็นหมู่บ้านแกะสลักไม้ จากทักษะของบรรพบุรษุ ทีเ่ ป็นช่างฝีมอื ทีม่ ี ความละเอียด ประณีตในทักษะวิชาชีพ ประกอบกับการ ผ่านกระบวนการเรียนรูข้ ดั เกลาทางวัฒนธรรมของคนใน ท้องถิ่น โดยอาจารย์ทองขาว ด�ำเนินโฉม ชาวบ้านหมู่ ๕ ต�ำบลบ้านใหม่ ได้สมรสกับอาจารย์ไสว เดชศรี บุตรของ นายสวาท และนางกรด เดชศรี เกิดปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ที่ บ้านต�ำบลเสาชิงช้า ใกล้ศาลเจ้าพ่อเสือ กรุงเทพมหานคร อาจารย์ไสว เดชศรี ได้ยา้ ยมาตัง้ ครอบครัวอยูก่ บั อาจารย์ ทองขาว เดชศรีท่ีต�ำบลบ้านใหม่ อาจารย์ไสวจบการ ศึกษาจากโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย พระนคร ที่ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ และช่วงก่อนสมรสเคยประกอบ อาชีพที่พระนครมาได้ระยะหนึ่ง อาจารย์ทองขาวผู้เป็น ภรรยาได้รับงานแกะสลักโต๊ะหมู่บูชา ธรรมมาสน์เทศ บุษบกจากแถวเสาชิงช้า เข้ามาให้อาจารย์ไสวท�ำได้ระยะ หนึ่ง ด้วยฝีมือช่างที่ละเอียดประณีตและสวยงาม จึงมี งานจากแถวเสาชิงช้าเข้ามามากขึ้นจนแกะสลักส่งไม่ทัน อาจารย์ไสวจึงได้อบรม สั่งสอนลูกศิษย์ในท้องถิ่นหมู่ ๕ ต�ำบลบ้านใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ (ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์, สัมภาษณ์) ถือว่าหมู่ ๕ เป็นหมู่แรกที่มีการ สอนแกะสลักจากลายไทยดัง้ เดิมและเผยแพร่ไปยังหมู่ ๖

อาจารย์ไสวได้สอนตั้งแต่การเขียนลายไทย การลงลาย และการฉลุลาย เป็นเวลามากกว่า ๗๐ ปีที่มีการสืบทอด งานแกะสลักไม้จากท่านมาหลายรุ่น จนมีการก่อสร้าง อนุ ส รณ์ เชิ ด ชู เ กี ย รติ อาจารย์ ไ สว-อาจารย์ ท องขาว เดชศรี ที่ตั้งอยู่ในวัดจันทร์ประเทศหมู่ ๖ ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา และการก่อตั้งกลุ่มหัตถกรรม ศิลปะแกะสลักไม้บา้ นใหม่ขนึ้ จนกลายเป็นสินค้าโอทอป ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน สร้างมูลค่าเชิง พาณิชย์ให้ท้องถิ่น อาจารย์ ไ สว เดชศรี แ ละภรรยาได้ ช ่ ว ย ส่งเสริมการประกอบอาชีพช่างแกะสลักไม้ ของชาวบ้าน ในบริเวณบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง จนกลายเป็นงาน แกะสลักไม้เชิงพาณิชย์ ส่งขายเครื่องไม้แกะสลัก ที่พื้นที่ เสาชิงช้า พระนคร จนถึงปัจจุบันกลายเป็นภูมิปัญญา ท้ อ งถิ่ น งานแกะสลั ก ไม้ เ กี่ ย วกั บ งานเครื่ อ งใช้ ท าง พุทธศาสนา ซึ่งปรากฎให้เห็นตามวัดไทยทั่วประเทศ เช่น ประตูโบสถ์ของวัดทุ่งสีกัน ดอนเมือง กรุงเทพฯ การบู ร ณะวั ด อรุ ณ ราชวรารามวรมหาวิ ห าร ถนน อรุณอัมรินทร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวัดอารามหลวงชั้นเอก โดยช่างฝีมือ คือ นายช่างสมศักดิ์ เจริญไทย ชาวบ้าน หมู่ ๕ ซึ่งถือว่าเป็นลูกศิษย์รุ่นที่ ๓ ของท่านอาจารย์ไสว เดชศรี และเป็ น ลู ก ศิ ษ ย์ ค นสุ ด ท้ า ยที่ ยั ง มี ชี วิ ต อยู ่ ใ น ปัจจุบัน (ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์, สัมภาษณ์)

ภาพที่ ๒ ป้ายอนุสรณ์เชิดชูเกียรติ อาจารย์ไสว-อาจารย์ทองขาว เดชศรี ที่ตั้งอยู่ในวัดจันทร์ประเทศ ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 45


๒. ช่างฝีมือของหมู่บ้าน จากการสัมภาษณ์ คุณชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์ อายุ ๗๔ ปี อาศัย อยู่หมู่ ๕ ต�ำบลบ้านใหม่ ปัจจุบันยังท�ำงานแกะสลักไม้บนแผ่นไม้เครื่องใช้เกี่ยวกับ พุทธศาสนาเป็นงานอดิเรก ซึง่ เป็นผูเ้ รียนวิชางานแกะสลักไม้จากนายเสรี เหรียญหิรญ ั ลูกศิษย์รุ่นที่ ๒ ของอาจารย์ไสว เดชศรี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ลูกศิษย์ของอาจารย์ไสว ไว้ว่า “ลูกศิษย์รุ่นแรก ได้แก่ (๑) นายอ�ำนวย ช่วงโชติ (๒) นายสมพงศ์ เหรียญหิรัญ (๓) นายสมบัติ วรรณมณฑา (๔) นายสมจิต คิดการ (๕) นายเสวียน เกิดผล จะต้องท�ำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดบทเรียนจาก อาจารย์ไสว เดชศรี จนสามารถ ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจในท้องถิน่ ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ลูกศิษย์รุ่นที่ ๒ ได้แก่ (๑) นายเสรี เหรียญหิรัญ (๒) นายณรงค์ ทวีเกิด (๓) นายสมบูรณ์ วรรณมณฑา (๔) นายถวัลย์ เดชะศรี (๕) นายเนี๊ยว อุ่นเรือน ลูกศิษย์รุ่นที่ ๓ ได้แก่ (๑) นายสมศักดิ์ เจริญไทย (ยังมีชีวิตอยู่ ๒๕๖๐) เป็นช่างหัตถกรรมแกะสลักที่ช�ำนาญทั้งงานปูนและงานไม้”

ภาพที่ ๓ ช่างสมศักดิ์ เจริญไทย ลูกศิษย์รุ่นที่ ๓ ของ ท่านอาจารย์ไสว เดชศรี ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐

46 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ภาพที่ ๔ คุณแม่ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์ แกะสลักไม้กระจังหน้า โต๊ะหมู่บูชา เป็นงานอดิเรก ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐

ภาพที่ ๕ ช่างทวีป ดวงนิมิต ร่วมบูรณะพระบรมหาราชวัง เพื่อฉลอง กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่มา : ภาพส่วนตัวของช่างทวีป ดวงนิมิต

คุณชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์ อายุ ๗๔ ปี อาศัยอยู่บ้าน เลขที่ ๓๔ หมู่ที่ ๕ ต�ำบลบ้านใหม่ (หมู่บ้านหัตถกรรมแกะสลักไม้) คุณ ชุมรัตน์ศึกษาจบระดับชั้นประถมการศึกษา ๔ ที่โรงเรียนปฐมวิทยาคาร และฝึกหัดการแกะสลักไม้หลังจบการศึกษาและประกอบเป็นอาชีพใน การเลีย้ งดูครอบครัว ปัจจุบนั ยังคงแกะสลักงานไม้ ลวดลายไทยระดับสูง เป็นงานอดิเรก ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ไม้ที่ใช้ในการแกะสลัก ส่วนใหญ่ จะใช้ไม้สักซึ่งน�ำเข้ามาจากประเทศพม่า และไม้สักในประเทศไทย ที่ มีอายุการปลูกมากกว่า ๑๐ ปี และอาจใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ตะเคียน เพราะมีสีใกล้เคียงกับไม้สัก อีกทั้งต้นใหญ่และมีราคาถูกกว่าไม้สัก (ชุมรัตน์ ศรีสุนทร-พาณิชย์, สัมภาษณ์) ผู้เขียนพบข้อมูลจากชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง (จากเว็บไซต์ ku.co.th) ว่าในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ รัฐบาลได้ ประกาศยกเลิกสัมปทานท�ำไม้ในพื้นที่ป่าบกทั้งหมด หรือที่เรียกว่า “ปิดป่า” ท�ำให้ขาดแคลนไม้สักที่จะน�ำมาท�ำโต๊ะหมู่ ในช่วงนั้นได้มีการ น�ำไม้อื่นมาทดแทน เช่น ไม้ยางพารา ไม้ขนุน ไม้มัสยา และไม้ทุเรียน (ชุมรัตน์ ศรีสนุ ทรพาณิชย์, สัมภาษณ์) แต่คณ ุ สมบัตขิ องไม้ทนี่ ำ� มาทดแทน มีคณ ุ ภาพไม่ดพี อ กล่าวคือมีความแข็งหรือเหนียวท�ำให้ลวดลายทีแ่ กะสลัก ออกมาไม่สวย และลายของไม้ก็ไม่สวยเท่ากับไม้สัก ต่อมาชาวบ้านจึงน�ำ ไม้สักจากสวนป่าที่รัฐบาลเคยสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกจนถึงปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์ นายทวีป ดวงนิมิต อายุ ๕๔ ปี ปัจจุบัน ประกอบอาชีพช่างแกะสลักไม้ศิลปะลายไทย และได้รับการขนานนาม ว่าเป็น “ปราชญ์ท้องถิ่นทางด้านงานแกะสลักไม้ลายไทย” แห่งบ้านใหม่ ทุ่งมะขามหย่อง และยังเคยร่วมบูรณะพระบรมหาราชวัง เพื่อฉลองกรุง รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อปี ๒๕๒๕ ช่างทวีป ดวงนิมติ ผูส้ ง่ ออกภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ เป็นวัฒนธรรม เชิ ง พาณิ ช ย์ ไปยั ง ต่ า งประเทศ โดยได้ เ ดิ นทางไปท� ำ งานที่ ป ระเทศ บรูไนเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยท�ำหน้าที่ ช่างแกะสลักไม้ และตบแต่งเฟอร์นิเจอร์ ประจ�ำบริษัท อันเฟริท์ดีไซน์ ที่รับโครงการก่อสร้างพระราชวังของสุลต่านบรูไน ตั้งแต่ อาคาร โรยัล บรูไน โปโลคลับ จ�ำนวน ๑๑ อาคาร วังของพระเชษฐาและพระอนุชา ของสุลต่าน ฮัดซัน โบโรเกียร์ โดยช่างทวีป ดวงนิมิต เป็นผู้บุกเบิก คนแรกในการแสดงผลงานแกะสลักไม้ของไทยให้คนต่างชาติแถบอาเซียน และได้ชักชวนเพื่อนร่วมอาชีพประมาณ ๓๐ คน จากจังหวัดต่างๆ ทัว่ ประเทศไทย อพยพย้ายถิน่ ไปประกอบอาชีพในประเทศบรูไนเป็นเวลา นานถึง ๑๑ ปี จนกระทัง่ เกิดปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศบรูไน อันเป็น ผลมาจากวิกฤติต้มย�ำกุ้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่งผลให้เศรษฐกิจตกต�ำ่ ลง มากและไม่คอ่ ยมีลกู ค้ามาสัง่ แกะสลักเฟอร์นเิ จอร์ จึงอพยพกลับภูมลิ ำ� เนา กันทั้งหมด (ทวีป ดวงนิมิต, สัมภาษณ์) วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 47


ตลอดระยะเวลา ๑๑ ปี ช่างแกะสลักไทย จ�ำนวน ๓๐ คน ได้สง่ เงินกลับมาเลีย้ งดูครอบครัว จนสามารถยกระดับสถานะ เศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ให้ดขี นึ้ เป็นอย่างมาก ช่างทวีป ดวงนิมิต มีความช�ำนาญในการเขียนลายไทย เพื่อเป็น ต้นแบบ และก�ำหนดรายละเอียดงานไม้ ตัง้ แต่ปริมาตร ความหนา ความกว้าง เพื่อใช้แกะสลักให้เกิดมิติสูง ต�่ำ ซึ่งปัจจุบันรับงาน แกะสลักทีม่ คี วามละเอียด ประณีตในระดับสูง และยังเป็นครูสอน วิชางานแกะสลักไม้ เริ่มตั้งแต่การเขียนลาย การลงลาย การเซาะ ร่องและการฉลุลาย ให้คนในท้องถิ่นอีกด้วย ด้วยฝีมืออันประณีต ละเอียดอ่อน และมีความ สามารถในการออกแบบลวดลายไทย ส่งผลให้ช่างทวีป ดวงนิมิต มีชื่อเสียง และได้รับการเชิญจากคุณสุชิณ ประสบผล ผู้รับเหมา งานของกระทรวงการต่ า งประเทศ เพื่ อ แกะสลั ก บุ ษ บก ซึ่ ง ออกแบบโดยนายช่างกรมศิลปากร นายก่อเกียรติ ทองผุด ซึ่ง ปัจจุบันเป็นผู้ออกแบบพระเมรุมาศของรัชกาลที่ ๙ และงาน แกะสลักบุษบกหลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย การสร้างมูลค่างานศิลปหัตถกรรมการแกะสลักไม้ เชิงพาณิชย์ของเครื่องใช้ทางพุทธศาสนา เช่น ธรรมอาสนบุษบก มาลา นอกจากที่จะส่งขายภายในประเทศไทย โดยเฉพาะใน กรุงเทพฯ แล้ว ได้ถูกส่งออกไปขายยังประเทศศรีลังกา ประเทศ บรู ไ น และประเทศสหรัฐอเมริก า เป็นต้น และเครื่ อ งใช้ ใน บ้าน เช่น หิ้งพระ ประตูบ้าน ตู้เสื้อผ้า ราวบันได องค์ประกอบ บ้านทรงไทย หรือเครื่องใช้ต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า จากการสัมภาษณ์ชา่ งในหมูบ่ า้ น (ไม่เปิดเผยนาม) พบว่ามีรายได้ที่ แกะสลักไม้คนละ ๒๐๐-๓๐๐ บาทต่อการรับจ้างท�ำเป็นชิ้น แต่ ส�ำหรับช่างที่มีฝีมือสูง ท�ำงานได้รวดเร็วจะมีรายได้ถึง ๕๐๐๖๐๐ บาทต่อชิ้น ส�ำหรับการแกะสลักโต๊ะหมู่เกรด A ที่ส่งไป ขายยังพระอารามหลวงในกรุงเทพฯ ที่นิยมขายอยู่ในตลาด กันกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาทนั้น ทางหมู่บ้านคิดค่าแรงแกะสลัก ๒๗,๐๐๐ บาท ค่าแรงปิดทอง ๖๐,๐๐๐ บาท ค่าหุ่น (ค่าไม้โต๊ะ หมู่) ๓๐,๐๐๐ บาท ถ้าเป็นงานพวกซุ้มประตูที่ขายอยู่ในตลาด ประมาณ ๑ ล้านกว่าบาท ค่าแรงแกะไม้คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ค่า หุ่นร้อยละ ๑๐ รวมกับค่าแรงปิดทองแท้ประมาณร้อยละ ๓๐ (สัมภาษณ์ช่างในหมู่บ้าน, ไม่เปิดเผยนาม)

ภาพที่ ๖ บุษบกวัดทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เป็น ศิลปะยุคสุโขทัย แกะสลักโดย ช่างทวีป ดวงนิมิต เป็น งานออกแบบโดยนายช่างกรมศิลปากร นายก่อเกียรติ ทองผุด ที่มา : ภาพส่วนตัวของช่างทวีป ดวงนิมิต

48 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ภาพที่ ๗ ชิ้นงานแกะไม้เป็นฐานพระนอน ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐

รายได้ของหมู่บ้านยังไม่สามารถวัดออกมา ได้เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาเก็บสถิติ เคยมี สรรพากรเข้ามาสอบถามถึงรายได้ รายได้ส่วนใหญ่ของ ชาวบ้านที่ท�ำงานแกะสลักจะเป็นรายได้ที่เกิดจากการ ว่าจ้างต่างๆ เช่น ค่าแรงแกะสลักลวดลาย ค่าแรงในการ ลงรักปิดทอง ค่าแรงต่อหุ่น (ต่อตัวโต๊ะ) ส่วนค่าไม้สัก จะเป็นไม้ของนายจ้าง หรือร้านค้าที่มาว่าจ้างจะน�ำมา ส่งให้ชาวบ้านเลยยังไม่มีรายได้พอที่จะเสียภาษีได้ แต่ เมื่อเปรียบเทียบความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่แกะสลัก จะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าหมู่บ้านที่ท�ำอาชีพอื่นๆ คนใน หมูบ่ า้ นไม่ตอ้ งไปหางานท�ำทีอ่ นื่ ก็มรี ายได้เข้ามาทุกๆ วัน (สัมภาษณ์ช่างในหมู่บ้าน, ไม่เปิดเผยนาม) จากงานวิ จั ย ของบุ ญ เรื อ ง สมประจบ (๒๕๕๓) เรื่องหัตถกรรมไม้แกะสลักภาคกลาง : การ ศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการผลิตและการพัฒนาเชิง พาณิชย์ พบว่างานแกะสลักไม้ภาคกลาง ได้มีการพัฒนา รูปแบบงาน การเพิม่ คุณค่าทางวัฒนธรรม และมูลค่าเชิง พาณิชย์ ด้วยการประยุกต์แนวความคิดและภูมิปัญญา ท้องถิ่น พัฒนาเลือกใช้วัสดุ จนสามารถตอบสนองความ ต้องการของตลาดได้ เช่น การแกะสลักแบบลายเส้น การ

แกะสลักแบบเดินเส้นเซาะร่อง ไม่เน้นเฉพาะภาพแบบ นูนต�่ำ ภาพนูนสูง ภาพลอยตัวเท่านั้น จากการลงพื้นที่บ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง ผูเ้ ขียนบทความพบว่า รูปแบบงานแกะสลักไม้ของชุมชน ท้องถิ่น หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๖ ยังคงรูปแบบของงาน แกะสลักไม้เป็นศิลปะช่างหลวง ยุคกรุงศรีอยุธยา จนถึง ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่งานพื้นที่อื่นได้แก่ อ�ำเภอ บางบาล และอ� ำ เภอบางปะหั น ที่ ข ยายตั ว ทางธุ ร กิ จ เป็ น รู ป แบบของงานแกะสลั ก ไม้ เ ป็ น ศิ ล ปะประยุ ก ต์ สอดคล้องกับการให้ขอ้ มูลของช่างทวีป ดวงนิมติ ปราชญ์ ท้องถิ่นทางด้านงานแกะสลักไม้ลายไทย และยังเป็น ผู้สืบทอดงานเขียนลายไทยโบราณมาจากมารดาของ ตน พบว่าเอกลักษณ์ของงานแกะสลักไม้ ชุมชนคนไทย ชาติ พั น ธุ ์ ล าวเวี ย งในหมู ่ ที่ ๕ และ หมู ่ ที่ ๖ ต� ำ บล บ้านใหม่ เป็นงานแกะสลักลวดลายไทยแบบสกุลช่าง สุ โขทั ย และอยุ ธ ยา และแบบสมั ย กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ตอนต้น (ทวีป ดวงนิมิต, สัมภาษณ์) และยังพบว่า งาน แกะสลักไม้ของชุมชนท้องถิ่นเหล่านั้นเป็นที่ต้องการ ของตลาดมากจนไม่สามารถผลิตได้ทัน จึงต้องมีการ น�ำเข้าช่างฝีมือจากพื้นที่ภาคเหนือ ชาวล้านนา กลุ่มคน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 49


ในพื้นที่ราบสูง เผ่าม้ง ที่มีพื้นฐานงานฝีมือและมีทักษะ ในการแกะสลักไม้อยู่แล้ว การใช้เครื่องมือการแกะสลัก ไม้ลวดลายทางภาคเหนือกลุ่มช่างจากภาคเหนือทราบ ว่ามีหมู่บ้านแกะสลักไม้ ต�ำบลบ้านใหม่ ก็รวมตัวกันเช่า บ้าน รับจ้างแกะสลักลวดลายตามแบบ ฝึกฝนท�ำลายที่ ลูกค้าต้องการสามารถสร้างรายได้กว่า ๒๐,๐๐๐ บาท ต่อเดือน บางครอบครัวท�ำ ๒ คนได้เดือนละ ๔๐,๐๐๐ บาท เพราะท�ำงานทั้งวัน ผิดกับชาวบ้านท้องถิ่น ที่มัก มีกิจกรรมทางสังคม เช่น งานบวช งานแต่ง งานศพ ภาพที่ ๘ สิ่วเล็บมือ หรือผู้สูงวัยก็จะไปหาหมอ ท�ำให้มีเวลาท�ำงานแกะสลัก ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต น้อยกว่าคนทีม่ าจากต่างถิน่ นอกจากนีย้ งั มีชา่ งฝีมอื ด้าน เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ การต่อ การขึน้ รูปจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพือ่ ช่วย งานฝีมือในอุตสาหกรรมท้องถิ่นด้วย แต่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ยังเป็นคนท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีพื้นฐานความ รู้งานแกะสลักไม้ ศิลปะหัตถกรรมการแกะสลักไม้ เป็นงานที่ ต้องใช้ความประณีต ละเอียดอ่อนในการสร้างลวดลาย บนเนื้อไม้ เพื่อสร้างภาพแบบนูนต�่ำ ภาพนูนสูง ภาพ ลอยตัว ขึ้น เป็นวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดมาแต่สมัย โบราณ การเป็นช่างแกะสลักต้องมีความรู้ ความสามารถ ในการออกแบบลวดลาย สามารถถ่ายทอดลวดลายด้วย ภาพที่ ๙ สิ่วแบน การใช้เครื่องมือและของมีคม เช่น สิ่ว ฆ้อนไม้ สมัยนี้นำ� ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต สว่านเข้ามาใช้ดว้ ยเพือ่ แกะสลักลงบนเนือ้ วัสดุนนั้ การน�ำ เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ เรซินหล่อขึ้นรูป การใช้เลาเตอร์เพื่อปรับพื้นไม้ให้เรียบ แทนการใช้สวิ่ ช่างบางคนก็มที กั ษะเฉพาะตัวในการสร้าง ลวดลายที่แตกต่างออกไป (ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์, สัมภาษณ์) นายช่างทวีป ดวงนิมิต ได้ทิ้งท้ายไว้ถึงการพัฒนาวัฒนธรรมการแกะสลักไม้ไทย ว่า “ปัจจุบนั ด้วยวิวฒ ั นาการของเทคโนโลยีเครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ในการแกะสลัก เช่น เลาเตอร์ ช่วยในการ ขุดพื้นต�่ำและสร้างลายดอก เครื่องเจียมือ ช่วยในการขัดเรียบเนื้อไม้ สว่านไฟฟ้า เป็นต้น ท�ำให้ชา่ งแกะสลักลาย ไทยยุคใหม่ จ�ำเป็นต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติม ในการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือเพื่อทุนแรงและย่นระยะเวลาของการ สร้างผลงาน แต่ปัจจุบันช่างฝีมือบางคน ยังยึดวิถีท�ำ ด้วยเครื่องมือยุคเก่า ท�ำให้ไม่สามารถสนองความต้องการ ทางการตลาดได้” (ทวีป ดวงนิมิต, สัมภาษณ์)

50 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ปั จ จุ บั น อุ ต สาหกรรมครั ว เรื อ น งาน หัตถกรรมการแกะสลักไม้ ในพื้นที่ต�ำบลบ้านใหม่ เริ่ม ขยายตัวจากหัตถกรรมในชุมชนคนไทยเชือ้ ชาติลาว หมูท่ ี่ ๕ และ หมูท่ ี่ ๖ ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอุตสาหกรรมชุมชนจาก ระดับหมู่บ้าน ต�ำบล จนถึงระดับอ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอ บางบาล อ�ำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยส่งงานฝีมือเหล่านี้ไปขายตามร้านสังฆภัณฑ์ บริเวณ เสาชิงช้า กรุงเทพฯ และตามวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการ สืบทอดเรียนรู้งานจากช่างฝีมือรุ่นเก่าๆ จากบ้านใหม่ ทุ่งมะขามหย่อง และยังมีการถ่ายทอดในโรงเรียนระดับ ท้องถิ่น ที่ “โรงเรียนปฐมวิทยาคาร” ด้วย สลักไม้

๓. การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานแกะ

“โรงเรียนปฐมวิทยาคาร” เปิดโรงเรียน สอนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่เปิดมามากกว่า ๘๐ ปี ตั้งอยู่ หมู่ ๔ ในต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนต�ำบล บ้านใหม่ (อบต.บ้านใหม่) โดยนายค�ำรณ ทานธรรม นายก องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านใหม่ ท่านได้สนับสนุน การสืบทอดภูมิปัญญาการแกะสลักไม้ นักเรียนทุกคนใน โรงเรียนนี้ต้องเรียนวิชาแกะสลักไม้ ซึ่งสอนโดยนายช่าง

ทวีป ดวงนิมิต ปราชญ์ท้องถิ่นด้านการแกะสลักไม้ ใน ปีแรกนักเรียนจะหัดเขียนลายไทย ปีตอ่ มาจะลงลาย และ ปีสดุ ท้ายจะฉลุลาย ลูกศิษย์ทผี่ า่ นการเรียนรู้ และท�ำงาน จนเชี่ยวชาญ ได้แยกตัวออกมาเพื่อท�ำธุรกิจส่วนตัว และ ออกหน้าร้านเพือ่ ตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริโภคใน เมืองใหญ่ เป็นงานศิลปหัตถกรรมเชิงประยุกต์ โดยส่งงาน ตามสัง่ ดังกล่าวกลับมายังชุมชนบ้านใหม่ทงุ่ มะขามหย่อง และอ�ำเภอใกล้เคียงเพือ่ ผลิตและส่งออกไปขายต่างพืน้ ที่ องค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านใหม่ โดยนาย ค� ำ รณ ทานธรรม นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บล บ้านใหม่ ได้เชิญช่างทวีป ดวงนิมิตเป็นวิทยากรสอน งานภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านแกะสลักไม้ โรงเรียนปฐม วิทยาคาร ตั้งแต่ระดับมัธยมต้น ปีที่ ๑ ถึง ปีที่ ๓ เป็น เวลาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ระยะเวลา ๕ ปี เนื่องจาก วิชาชีพงานแกะสลักไม้เป็นงานทีต่ อ้ งใช้เวลาในการเรียนรู้ และฝึกฝนจนเกิดความช�ำนาญ จึงก�ำหนดวิชาการสอน แต่ละระดับไว้ ดังนี้ มัธยมต้น ปีที่ ๑ เรียนวิชาเขียนลายไทย เพื่อให้ เข้าใจและรู้จักลวดลายไทยเบื้องต้น มัธยมต้น ปีที่ ๒ เรียนวิชาการใช้เครื่องมือและ สิ่วในการแกะสลักไม้ และมัธยมต้น ปีที่ ๓ เรียนวิชาการสร้างผลไม้ การแกะสลัก เช่น ป้ายชื่อ และป้ายบ้านเลขที่ โดยมี ลายไทยเป็นองค์ประกอบ

ภาพที่ ๑๐ ป้ายแกะสลักไม้ลายหน้าขบและใบเทศที่ท�ำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ของโรงเรียนปฐมวิทยาคาร ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 51


ภาพที่ ๑๒ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ แสดงผลงานการแกะสลักไม้ เป็นป้ายชื่อและป้ายบอกเลขที่บ้าน ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ ภาพที่ ๑๑ นักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ ๒ ของโรงเรียนปฐมวิทยาคาร ต�ำบลบ้านใหม่ เรียนรู้การใช้เครื่องมือการแกะสลักไม้เบื้องต้น ที่มา : บันทึกภาพโดย ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต เมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐

จากการถ่ายทอดความรูใ้ นชัน้ เรียนมัธยมต้นนัน้ นักเรียนร้อยละ ๑๐ จะประกอบอาชีพรับจ้างแกะสลักไม้ แต่นักเรียนส่วนใหญ่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สรุป จากการลงพื้ น ที่ ภ าคสนามจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา เมื่อเดือน มกราคม ๒๕๖๐ โดยผู้เขียนได้รับ ความอนุเคราะห์จากคุณแม่ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์ ที่ มีภูมิล�ำเนาในบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง น�ำทางลงพื้นที่ แนะน�ำช่างฝีมือในท้องถิ่น ท�ำให้สามารถเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลระดับปฐมภูมิ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบอาชีพ แกะสลักลวดลายไม้ที่มีเอกลักษณ์ และยังพบว่า การ สร้างสรรค์งานหัตถกรรมแกะสลักไม้เป็นของคนไทย กลุ่มชาติพันธ์ลาวเวียงจันทร์ จนได้รับการขนานนาม ว่า “หมู่บ้านหัตถกรรมแกะสลักไม้ บ้านใหม่ทุ่งมะขาม หย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ผู้เขียนเห็นว่า ด้วย

บรรพบุรุษของคนไทยในพื้นที่นี้ มีทักษะของความเป็น ช่างฝีมือ คือ ช่างทอง และช่างกระเบื้อง ท�ำให้ลูกหลาน รุ่นถัดมา เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนจากอาจารย์ไสว เดชศรี ท�ำให้มีความเข้าใจและเข้าถึงการสร้างลวดลาย ศิลปะไทย ได้ง่ายกว่า คนไทยในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่เคย สัมผัสหรือรับรู้องค์ความรู้ด้านช่างฝีมือมาเลย ประกอบ กับการท�ำการตลาดของนางทองขาว เดชศรี ภรรยา ของอาจารย์ไสวฯ ท�ำให้เกิดการค้าเชิงพาณิชย์ของงาน แกะสลักไม้บ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง ถูกน�ำเสนอต่อ สังคมภายนอก ในเขตเมืองพระนคร แถวเสาชิงช้า ตัง้ แต่ อดีตถึงปัจจุบันก็ยังเป็นศูนย์กลางขายเครื่องสังฆภัณฑ์ พระพุทธรูป โต๊ะหมู่บูชา ท�ำให้การด�ำรงชีวิตด้วยอาชีพ แกะสลักไม้เป็นอาชีพทีม่ นั่ คงและมีคา่ ตอบแทนค่อนข้าง สูงกว่าอาชีพเกษตรกรรม ซึง่ เป็นอาชีพดัง่ เดิมของคนไทย และบางครั้งยังมีการส่งออกผลิตภัณฑ์งานไม้แกะสลัก เกี่ยวกับพิธีกรรมพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศด้วย

52 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


เพราะประสบการณ์ทยี่ าวนาน การฝึกฝนทักษะการแกะสลักไม้อย่างต่อเนือ่ ง ของคนในชุมชนบ้านใหม่ ท�ำให้เกิดความเชื่อมั่นในฝีมือและชื่อเสียง จนได้รับการ เชิญจากหน่วยงานภาครัฐ ร่วมสร้างผลงานระดับประเทศ ประกอบกับเอกลักษณ์ รูปแบบงานแกะสลักไม้ของชุมชนท้องถิ่น หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๖ ต�ำบลบ้านใหม่ ยังคง รูปแบบของงานแกะสลักไม้ที่อ่อนช้อยเป็นศิลปะช่างหลวง ยุคกรุงศรีอยุธยา จนถึง ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่งานพื้นที่อื่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ขยายตัวทาง ธุรกิจ เป็นรูปแบบของงานแกะสลักไม้ที่เป็นศิลปะแบบประยุกต์

เอกสารอ้างอิง ก�ำพล จ�ำปาพันธ์. (๒๕๕๘). นาคยุดครุฑ “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ ไทย. กรุงเทพฯ : มติชน การแกะสลัก (Carving). (๒๕๖๐). เอกสารประกอบการบรรยาย, ค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐, จาก www.finearts.cmu.ac.th. ข้อมูลต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๖๐). OTOP:One Tambon One Product., ค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐, จาก www.thaitambom.com. ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (๒๕๖๐). วารสารสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐, จาก www.KU.co.th ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์. (๒๐ มกราคม ๒๕๖๐). สัมภาษณ์. ทวีป ดวงนิมิต. (๒๐ มกราคม ๒๕๖๐). สัมภาษณ์. บุญเรือง สมประจบ. (๒๕๕๓). หัตถกรรมไม้แกะสลักภาคกลาง : การศึกษา ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการผลิตและการพัฒนาเชิงพาณิชย์,มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, ดุษฎีนิพนธ์ เข้าถึงได้จาก culturalscience.msu.ac.th/th/ Thesis-new/doctor/Boonrueang/abstract.pdf 2553. ประวัติงานแกะสลัก. (๒๕๖๐). ค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ จาก kriengkraikks. files.wordpress.com. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. (๒๕๖๐). งานแกะสลักไม้. เพชรบุรี. เอกสารประกอบ การบรรยาย. ค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐. จาก www.research.pbru. ac.th. ศูนย์บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๖๐). ศิลปะการ ช่าง :การแกะสลักไม้. ค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ จาก http://www.ilwc.aru.ac.th. ส�ำเนียง ทิพย์เนตร. (๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๐). สัมภาษณ์. โรงเรียนช่างฝีมอื ในวัง (ชาย). วิชาช่างแกะสลักไม้ หรือแผนกช่างแกะสลักไม้. ค้นเมือ่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ จาก www.rcmsc.com.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 53



บทความวิชาการ

ปริทัศน์หนังสือ : “การจลาจลสมัยศรีอยุธยา” แต่งโดย พระบริหารเทพธานี

ก�ำพล จ�ำปาพันธ์ / Kampol Champapan นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนคม), พระ. (๒๕๕๘). การจลาจลสมัยศรีอยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ ๒, นนทบุรี : ส�ำนักพิมพ์ศรีปัญญา.

ความพยายามในการอธิบายสาเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยาทั้งสองครั้ง (พ.ศ. ๒๑๑๒ และ พ.ศ. ๒๓๑๐) กล่าว ได้วา่ เป็นมรดกตกทอดทางประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์ของชนชัน้ น�ำสยาม มาตัง้ แต่ครัง้ สมัยช�ำระพระราชพงศาวดารเมือ่ คราว แรกสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ ทีเ่ ป็นผลมาจากการช�ำระพระราช พงศาวดารในสมัยรัตนโกสินทร์ จัดวางโครงเรือ่ งอธิบายถึงสาเหตุการเสียกรุงทัง้ สองครัง้ ว่ามีสาเหตุมาจากความขัดแย้ง ภายในของชนชั้นน�ำอยุธยาเอง ส่วนกองทัพพม่านั้นก็เพียงแต่มาได้จังหวะเหมาะ

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 55


เมือ่ อยุธยาอยูใ่ นสภาพทีอ่ อ่ นแออยูแ่ ล้ว ประกอบ กับในความรับรูข้ องชนชัน้ น�ำสยาม ก็เข้าใจไปว่า กองทัพ ที่ยกมาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้ง พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น มิได้เป็นกองทัพกษัตริย์ ผลของสงครามครั้งที่ ๒ จึงต่าง จากครั้งที่ ๑ ที่เป็นกองทัพกษัตริย์น�ำโดยพระเจ้าบุเรง นอง เพราะกองทัพกษัตริย์มุ่งแสดงบารมีในฐานะพญา จักรพรรดิราช จึงต้องท�ำนุบ�ำรุงบ้านเมืองที่พ่ายแพ้ไว้ เป็นเมืองบรรณาการ เพื่อพระเกียรติ ไม่ได้ท�ำลายเมือง ให้ย่อยยับลงเหมือนอย่างกองทัพที่ไม่ได้น�ำโดยกษัตริย์ นักรบ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ในพระ นิพนธ์เรื่อง “ไทยรบพม่า” ถึงกับทรงประณามกองทัพ พม่าในสงครามคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ ด้วยซ�้ำไปว่า “มา รบพุ่งอย่างโจร” คือเดิมเป็นเพียงกองโจรที่เข้ามาปล้น สะดมราชอาณาจักรอยุธยา แต่เพราะอยุธยาอ่อนแอใน การป้องกันข้าศึกศัตรู เพราะมัวแต่รบแก่งแย่งชิงดีชิง เด่นกันเอง จึงพ่ายแพ้ และพม่าก็จงึ เห็นได้ทจี งึ ยกล่วงเข้า มาตีได้ถงึ ในเมืองหลวง (ด�ำรงราชานุภาพ, ๒๕๕๖: ๓๖๙) สาเหตุ ค วามอ่ อ นแอและเสื่ อ มถอยของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ตามทั ศ นะของชนชั้ น น� ำ สยามตั้ ง แต่ ต ้ น รัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ ๕ ก็คือความบกพร่องของ เสาหลักของบ้านเมือง เพราะความประพฤติไม่ถูกต้อง ตามท�ำนองครองธรรมของกษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลู หลวง โดยเฉพาะในรัชกาลสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้ า เสื อ ) (นิ ธิ เอี ย วศรี ว งศ์ , ๒๕๒๓) แต่ ใ น หลักฐานของพม่า กลับระบุตรงกันข้ามว่ากรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ยังคงสามารถจัดการ ป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็ง จนสามารถตั้งรับข้าศึก ได้นานนับปี (สุเนตร ชุตินธรานนท์, ๒๕๕๒) สงคราม กับอยุธยาเป็นสงครามใหญ่ที่อังวะต้องทุ่มเททรัพยากร เป็นอันมาก เพราะนอกจากจะต้องรบพุ่งกับทหารหาญ ของกรุงศรีอยุธยาแล้ว กองทัพพม่ายังต้องรบกับสภาพ ธรรมชาติในฤดูนำ�้ หลาก ต้องอาศัยการเตรียมการจัดวาง ยุทธศาสตร์การสงครามในระยะยาวมาเป็นอย่างดี ไม่ ยอมให้สภาพธรรมชาติมาเป็นปัจจัยให้ต้องถอยทัพกลับ

เหมือนอย่างในอดีต จึงมีการขนอิฐมาสร้างค่ายถาวรบน ที่ดอนรอบพระนคร เช่น ที่สีกุก ป่าฝ้าย บางไทร และ โพธิ์สามต้น ที่ส�ำคัญกองทัพพม่าในสงครามคราวเสียกรุง ศรีอยุธยาครั้ง พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้นเป็นกองทัพที่ส่งไปโดย กษัตริย์อังวะ (พระเจ้ามังระ) มีการจัดส่งเสบียงอาหาร และอุปกรณ์ต่างๆ ส�ำหรับสร้างค่ายต่อสู้ในฤดูน�้ำหลาก ไม่ใช่เพียงกองโจรที่ส่งมาปล้นสะดมกรุงเหมือนอย่าง ในหลักฐานไทยกล่าวเอาไว้ สุเนตร ชุตินธรานนท์ นัก ประวัติศาสตร์ที่ศึกษาหลักฐานพม่าจึงสรุปว่า สงคราม คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้ง พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น อยุธยามิได้ อ่อนแอ แต่ทพี่ า่ ยแพ้นนั่ เพราะพม่ามียทุ ธศาสตร์ทางการ ทหารที่เหนือชั้นกว่า มีความพร้อมส�ำหรับศึกสงคราม มากกว่า ด้วยเตรียมการวางแผนมาเป็นอย่างดี (สุเนตร ชุตินธรานนท์, ๒๕๕๒) สอดคล้องกับที่หม่องทินอ่อง (Maung Htin Aung) นักประวัติศาสตร์พม่า ระบุเอาไว้ ท�ำนองเดียวกันนี้ (หม่องทินอ่อง, ๒๕๕๖: ๑๗๓-๑๗๔) อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจที่ว่าสาเหตุการเสีย กรุงทั้งสองครั้ง เป็นผลสืบเนื่องมาจากความแตกแยก ภายในของชนชัน้ น�ำอยุธยาเอง ยังคงเป็นค�ำอธิบายหลัก ของแบบเรียนประวัตศิ าสตร์ไทยมาจนถึงทุกวันนี้ เมือ่ เกิด เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยระยะหลัง มานี้ ผูค้ นในสังคมไทยจึงมักจะหยิบยกเอาเหตุการณ์เสีย กรุงศรีอยุธยา มาเป็นอุทาหรณ์สอนใจ เพือ่ เรียกร้องความ สามัคคีของคนในชาติ นี่เป็นเรื่องหนึ่งซึ่งควรท�ำความ เข้าใจเสียใหม่ เพราะกรุงศรีอยุธยามิใช่รัฐชาติ อีกทั้งยัง มีระบอบการปกครองทีส่ ง่ ผลต่อความขัดแย้งภายในของ ผู้คนต่างจากปัจจุบัน ชนชัน้ น�ำต้นรัตนโกสินทร์อาศัยค�ำอธิบายสาเหตุ การเสียกรุง เพื่อรวมศูนย์ความจงรักภักดีมาที่ราชวงศ์ ใหม่ ท่ามกลางสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มอ�ำนาจต่างๆ ที่ มีผลต่อสิทธิธรรมขององค์ประมุข ไม่ว่าจะเป็นขุนนาง พระสงฆ์ ชาวต่างชาติ และไพร่ทั้งหลาย เมื่อถึงรัชกาล ที่ ๔-๕ สยามเผชิญสถานการณ์โลกในยุคอาณานิคม บทเรียนทางประวัติศาสตร์กรณีการเสียกรุงฯ ถูกใช้

56 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


เพื่อสร้างความกลมเกลียวท่ามกลางการล่าอาณานิคม ของชาติตะวันตก และปัญหาภายในอันสืบเนื่องมาจาก บทบาทขุนนางตระกูลบุนนาค เป็นต้น ค�ำอธิบายข้างต้นตกทอดมาจนถึงพระบริหาร เทพธานี (เฉลิม กาญจนคม) ผูซ้ งึ่ ถือเป็นศิษย์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ดังปรากฏในงานเขียนที่ชื่อ “การจลาจลสมัยศรีอยุธยา” จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย ส�ำนักพิมพ์ศรีปัญญา กล่าวได้ว่าผลงานชิ้นนี้เป็นความ พยายามอธิบายประวัตศิ าสตร์การเสียกรุงศรีอยุธยา ตาม แนวทางของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพเล่ม ท้ายๆ ต่อยอดจากการศึกษาของคนในรุ่นรัชกาลที่ ๔-๕ ซึง่ ขาดช่วงไปในตอนหลัง เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๖ หันไป ให้ความส�ำคัญกับประวัติศาสตร์สุโขทัยกันมาก ข้ อ ต่ า งจากงานรุ ่ น ก่ อ นของเล่ ม นี้ ก็ คื อ การ อธิบายถึงสาเหตุการเสียกรุงฯ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๑๑๒ ในขณะที่งานของเล่มอื่นๆ ก่อนหน้า มักเน้นกรณีการ เสียกรุงฯ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ โดยมุ่งอธิบายถึงการ เสียกรุงฯ ครัง้ ที่ ๑ พ.ศ. ๒๑๑๒ ว่าเป็นผลสืบเนือ่ งมาจาก ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์ต่างๆ ที่มีอ�ำนาจปกครอง อยู่ในอยุธยา ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ตอบโต้ แนวทางที่เห็นว่าที่เสียกรุงฯ ไปในครั้งนั้น เพราะความ เข้มแข็งของพระเจ้าบุเรงนอง หลั ก ฐานที่ พ ระบริ ห ารเทพธานี น� ำ เอามาใช้ วิเคราะห์ตีความ มีหลากหลายทั้งหลักฐานสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานที่บันทึกในสมัย รัตนโกสินทร์ ส่วนหลักฐานชั้นต้นที่ใช้ก็ได้แก่ พระราช พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์, ลิลิตยวนพ่าย, พระราชพงศาวดารฉบับวัน วลิต, จดหมายเหตุลา ลูแบร์, ต�ำนานพระพุทธสิหิงค์, ต�ำนานพระแก้วมรกต, ชินกาล มาลีปกรณ์, จารึกวัดจุฬามณี (ที่เมืองพิษณุโลก) เป็นต้น ช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๑ นับเป็น ช่วงส�ำคัญหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย อยุธยามีที่มา จากการรวมตัวกันของสุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย และ นครศรีธรรมราช ชนชั้นน�ำผู้สืบเชื้อสายมาจากหัวเมือง ส�ำคัญเหล่านีจ้ งึ มีบทบาทแย่งชิงความเป็นใหญ่ในอยุธยา

อยูเ่ สมอ เป็นเวลานานหลายทศวรรษทีค่ วามขัดแย้งหลัก อยูท่ รี่ าชวงศ์สพุ รรณภูมกิ บั ละโว้-อโยธยา ทัง้ สองฝ่ายผลัด กันแพ้ชนะ เมือ่ ฝ่ายใดได้รบั ชัยชนะก็ทำ� การกวาดล้างฝ่าย ตรงข้าม ตามวิธีที่เรียกว่า “ยกส�ำรับ” สุดท้ายราชวงศ์ สุพรรณภูมิซึ่งได้การสนับสนุนจากราชวงศ์สุโขทัยและ มีจีนในราชวงศ์หมิงเป็นพันธมิตรทางไกล ก็เอาชนะ ราชวงศ์ละโว้หรือฝ่ายลพบุรีได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในพุทธ ศตวรรษที่ ๒๐ ราชวงศ์สุพรรณภูมิจึงได้เป็นใหญ่เหนือ ราชอาณาจักรอยุธยาอยู่เป็นเวลานานถึง ๑๖๐ ปี ก่อน ที่จะเสียกรุงแก่พม่าใน พ.ศ. ๒๑๑๒ แต่ ก รณี ร าชวงศ์ สุ พ รรณภู มิ ใ นสงครามเสี ย กรุงครั้งที่ ๑ ก็ต่างกับราชวงศ์บ้านพลูหลวงในสงคราม เสียกรุงครั้งที่ ๒ เพราะราชวงศ์สุพรรณภูมิค่อนข้างมี เสถียรภาพเพราะมีอ�ำนาจปกครองในอยุธยามาเป็น เวลานานก่อนหน้านั้นแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่ กลุม่ อ�ำนาจเดิมเมือ่ ครัง้ สมัยราชวงศ์ละโว้เรืองอ�ำนาจ จะ พยายามก่อการยึดอ�ำนาจและประสบความส�ำเร็จ ภายใต้ การน�ำของพระนางศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราช แต่ฝา่ ยราชวงศ์สพุ รรณภูมกิ บั สุโขทัยก็พลิกฟืน้ อ�ำนาจได้ ในเวลาไม่นาน อีกทัง้ สงครามกับพม่าในศึกคราวพระเจ้า ตะเบ็งชะเวตี้ (ครั้งเดียวกับที่พระราชพงศาวดารไทย เรียกว่า “สงครามคราวเสียพระสุริโยทัย”) ฝ่ายพม่าต้อง ถอยทัพกลับไป ก็เป็นเรือ่ งทีย่ นื ยันได้เป็นอย่างดีวา่ อยุธยา ในเวลานัน้ ยังมีความเข้มแข็ง อย่างน้อยก็สามารถจัดการ ป้องกันตนเองจากข้าศึกภายนอกได้ สาเหตุปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลต่อการป้องกันข้าศึก ศัตรูในสงครามครัง้ ดังกล่าวได้นนั้ พระราชพงศาวดารไทย มักสือ่ นัยยะว่าเป็นเพราะความกล้าหาญเยีย่ งนักรบบุรษุ ของพระสุริโยทัย และพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระเจ้า แปร ผู้ปลงพระชนม์พระสุริโยทัย บังเกิดความละอาย พระทั ย ที่ สั ง หารอิ ส ตรี ที่ จ ริ ง แล้ ว เป็ น การตี ค วามที่ ค่อนข้างเกินจริงไปมาก เพราะสาเหตุที่พระเจ้าตะเบ็ง ชะเวตี้สั่งถอนทัพในศึกครั้งนั้น เป็นเพราะมีกองทัพจาก หัวเมืองเหนือ น�ำโดยออกญาธรรมราชา (สมเด็จพระมหา ธรรมราชาในกาลต่อมา) ยกลงมาเป็นทัพกระหนาบพม่า

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 57


ช่วยอยุธยาจากการถูกปิดล้อม ประกอบกับเวลานัน้ ก็ใกล้ ฤดูน�้ำหลากแล้ว อย่ า งไรก็ ต าม เนื่ อ งจากเป็ น งานเขี ย นของ นักประวัติศาสตร์รุ่นก่อนที่ขาดแคลนหลักฐานและมี มุมมองที่พร่าเลือนต่อเหตุการณ์ต่างๆ จึงปรากฏว่า เนื้อความภายในเล่มหลายช่วง ก็สะท้อนความเข้าใจที่ คลาดเคลื่อนของผู้แต่งไว้หลายแห่ง อาทิเช่น การเอา กรอบแผนที่ประเทศไทยในปัจจุบันไปทาบตัดสิน จน กล่าวประนามพระยุฐิษฐิระ พระมหาธรรมราชา และ พระยาจักรี ว่าเป็น “ผู้ทรยศชาติ”, ผู้แต่งเข้าใจไป ว่ า สุ โขทั ย เข้ า มาขึ้ น กั บ อยุ ธ ยาตั้ ง แต่ ส มั ย สมเด็ จ พระ รามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ทั้งที่จริงอยุธยากับสุโขทัยเป็น อาณาจักรเดียวกันอย่างแท้จริงก็ในสมัยสมเด็จพระมหา ธรรมราชา, กรณีลา้ นนาเชียงใหม่และปัตตานี ยิง่ สะท้อน ความเข้าใจผิดพลาดตรงนีข้ องผูแ้ ต่ง ทีร่ ะบุวา่ ทัง้ สองเป็น ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยา ทั้งๆ ที่ในกองทัพ พม่าที่โจมตีกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น มีกองทัพเชียงใหม่เป็น ทัพหน้า ส่วนปัตตานีที่กล่าวอ้างว่ายกเข้ามาช่วยในตอน แรก แต่เหตุการณ์ปรากฏว่าสุลต่านปัตตานีกลับเข้าบุก ยึดพระราชวังอยุธยา จนต้องประหัตประหารกันในเขต พระราชวัง สุลต่านกับบ่าวไพร่คนสนิทลงเรือหนีไปและ สวรรคตระหว่างทางก่อนถึงปัตตานี นอกจากนี้การตีความเกินหลักฐานยังปรากฏ อีก อาทิเช่น การมองว่าชัยชนะของอยุธยาในรัชกาล สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) นั้นมี ผลเท่ากับเป็นการผนวกรวมอาณาจักรกัมพูชา เข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา ทั้งที่กัมพูชายังคงเป็นอิสระ อยู่จนกระทั่งสมเด็จพระนเรศวรต้องท�ำศึกปราบปราม กรุงละแวกอีกครั้งในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (ก�ำพล จ�ำปาพันธ์, ๒๕๕๒: ๔๖-๖๑) บางแห่งการตีความก็เกิน เลยจนกระทัง่ เป็นการสร้างข้อมูลบิดเบือน เช่น ทีร่ ะบุวา่ สยามได้ยกทัพไปช่วยโปรตุเกสตีมะละกาจนได้ชัยชนะ โปรตุเกสจึงต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายแด่ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ของอยุธยา ทัง้ ๆ ทีห่ ลักฐานจากแหล่งข้อมูลชัน้ ต้น ต่างระบุ ว่าโปรตุเกสยึดมะละกาได้ด้วยก�ำลังของโปรตุเกสเอง ไม่

ได้มีกองทัพจากอยุธยามาช่วยเหลือแต่อย่างใด ส่วนการ เป็นไมตรีกันระหว่างอยุธยากับโปรตุเกสที่มะละกา เกิด หลังจากที่โปรตุเกสยึดมะละกาได้แล้ว เพราะโปรตุเกส ยึดมะละกาได้แต่เมืองมะละกา ไม่ได้มีอ�ำนาจแทนที่ อาณาจักรมะละกาเดิมที่ก่อตั้งมาแต่ครั้งสมัยเจ้าชาย ปรเมศวรในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และอาณาจักรมะละกา ได้แตกแยกออกเป็นยะโฮร์ ปาหัง สลังงอ (ภายใต้พวก บูกีส) อีกทั้งยังมีรัฐอาเจะห์ที่อ้างอ�ำนาจเหนือมะละกา อยู่อีกฟากหนึ่งของช่องแคบมะละกา โปรตุเกสจึงหันมา สร้างสัมพันธไมตรีกับอยุธยา เพื่อหวังคานอิทธิพลของ รัฐพืน้ เมืองในคาบสมุทรมลายูขา้ งต้น (อันดายา, ๒๕๔๙: ๙๕-๙๗) ทั้งนี้ความเข้าใจของผู้แต่งที่สอดคล้องกับการ ศึกษาในชัน้ หลัง ก็คอื ความเข้าใจทีว่ า่ มียคุ สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ อยู่ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๓ ที่เรียก ว่า “อโยธยา” ในประเด็นนี้ที่จริงสมเด็จฯ กรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพก็เคยแสดงทัศนะถึงความเป็นไปได้ที่ จะมียุคดังกล่าวด�ำรงอยู่ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๓ แต่ทรงเข้าใจ ไปว่าเป็น “สมัยขอมเรืองอ�ำนาจ” และการสถาปนากรุง ศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓ ก็ถูกตีความว่าเป็นการประกาศ เอกราชของไทยจากการปกครองของเขมร (ธนิต อยูโ่ พธิ,์ ๒๕๐๖: ๕๐-๕๑) นับเป็นอีกปัญหาหนึ่งของการตีความที่เกินกว่า หลักฐานให้ไว้เป็นอันมาก แต่กลับมีอิทธิพลต่อความ ทรงจ� ำ ทางประวั ติ ศ าสตร์ ภ ายหลั ง ในยุ ค รั ฐ ชาติ ไ ทย นอกจากนีป้ ระเด็นดังกล่าวยังกลายเป็นปัญหา เมือ่ ผูแ้ ต่ง น�ำเอามาไล่เรียงล�ำดับราชวงศ์เก่า และใช้ชื่อจ�ำแนก ต่างๆ เช่น ราชวงศ์เวียงชัยบุรี, ราชวงศ์เวียงชัยปราการ, ราชวงศ์เวียงชัยนารายณ์ โดยไม่ได้ให้รายละเอียดข้อมูล ถึงเหตุผลการก�ำหนดชื่อเรียกและล�ำดับราชวงศ์ต่างๆ ข้างต้น จนเหมือนกับว่าผู้แต่งเรียกชื่อต่างๆ ดังกล่าวขึ้น มาเองลอยๆ โดยไม่มีหลักฐานรองรับแต่อย่างใด ผู้แต่งยังพยายามวงเล็บสถานที่ตั้งในปัจจุบันให้ กับชื่อที่ปรากฏในหลักฐานไว้หลายแห่ง ซึ่งก็สอดคล้อง กับแผนที่กรุงศรีอยุธยาฉบับพระยาโบราณราชธานินทร์ เสียส่วนใหญ่ (ดูแผนที่ฉบับนี้ได้ใน โบราณราชธานินทร์,

58 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


๒๕๕๐) แต่มีบางอันที่นอกจากไม่สอดคล้องกับแผนที่ ดังกล่าว ยังอาจสร้างความสับสนเกี่ยวกับสถานที่ใน เหตุการณ์อีก เช่น ที่ผู้แต่งระบุว่า วัดโคกพระยา สถานที่ ปลงพระศพกษัตริย์ผู้ถูกชิงราชบัลลังก์นั้น ปัจจุบันตั้งอยู่ ข้างทางรถไฟ ในขณะที่มีสถานที่ที่ระบุตามแผนที่ว่า วัด โคกพระยา อยู่ ๒ แห่ง คือ วัดร้างที่ตั้งอยู่ทิศตะวันตก เฉียงเหนือติดกับวัดภูเขาทอง นอกตัวเกาะเมืองอยุธยา ริมถนนสายอยุธยา-อ่างทองในปัจจุบัน กับอีกแห่ง เป็น วัดร้างเช่นกัน ตัง้ อยูท่ ยี่ า่ นริมคลองสระบัว ทางตอนเหนือ ของเกาะเมืองอยุธยา ติดกับวัดตะไกร วัดหัสดาวาส และ วัดหน้าพระเมรุ สถานที่วัดโคกพระยา นับเป็นสถานที่ส�ำคัญที่ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปราบดาภิเษก ตลอดจนความ วุ่นวายหลายหนของอยุธยา เพราะถูกระบุเป็นสถานที่ ส�ำหรับปลงพระชนม์อดีตพระมหากษัตริยท์ ถี่ กู ยึดอ�ำนาจ แต่หลักฐานกลับไม่มีความแน่ชัดว่า วัดโคกพระยาดัง กล่าวตั้งอยู่ที่ใดกันแน่ ระหว่างวัดร้างทางทิศตะวันตก เฉียงเหนือติดกับวัดภูเขาทอง กับวัดร้างทางทิศเหนือ ในย่านริมคลองสระบัว (ดูรายละเอียดใน ปรามินทร์ เครือทอง, ๒๕๔๕ ; ปวัตร์ นวะมะรัตน, ๒๕๕๗) จากค� ำ น� ำ ผู ้ แ ต่ ง ระบุ ล งวั น ที่ ไว้ วั น ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗ แต่ปกหลังระบุวันที่พิมพ์ไว้เป็น วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ดังที่คำ� น�ำส�ำนักพิมพ์ ศรีปัญญาตั้งข้อสังเกตเอาไว้ เพื่อแสดงที่มาของต้นฉบับ

ข้อมูลตรงนี้ส�ำคัญส�ำหรับทางผู้จัดพิมพ์ ก็เพราะว่าเป็น หลักฐานยืนยันว่าผลงานชิ้นนี้มีอายุมากกว่า ๕๐ ปีล่วง มาแล้ว ไม่มปี ญ ั หาเรือ่ งลิขสิทธิ์ แต่สำ� หรับผูอ้ า่ น ข้อมูลนี้ เป็นข้อมูลส�ำคัญทีย่ นื ยันถึงความเป็นไปได้วา่ ผลงานชิน้ นี้ อาจแต่งและแก้ไขปรับปรุงต้นฉบับในราวปลายทศวรรษ ๒๔๘๐ ถึงช่วงต้นทศวรรษ ๒๔๙๐ ช่ ว งเวลาดั ง กล่ า วเป็ น ช่ ว งที่ มี เ หตุ ก ารณ์ รัฐประหาร และความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย บ่อยครั้ง จึงน่าสงสัยว่าผู้แต่งซึ่งเป็นข้าราชการ เคย ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ว่าราชการหลายจังหวัด และเป็นผู้แต่ง “พงศาวดารชาติไทย” จะถือเอาเหตุการณ์กรณีการเสีย กรุงศรีอยุธยา ทีม่ องว่ามีสาเหตุเกิดจากการแย่งชิงอ�ำนาจ ภายในชนชั้นน�ำ จนน�ำความวิบัติมาให้แก่บ้านเมือง มา ใช้เพื่อเป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์แก่กลุ่มผู้คิดอ่าน ก่อการรัฐประหาร ทว่าการเปรียบเทียบข้ามบริบทเช่นนี้ ยากจะ ประสบความส�ำเร็จ เพราะการรัฐประหารและความ ขั ด แย้ ง ทางสั ง คมการเมื อ งในช่ ว งหลั ง นั บ แต่ ก าร เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา เป็น ความขัดแย้งและการแย่งชิงอ�ำนาจระหว่างคณะราษฎร และฝ่ายกษัตริย์นิยม ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์ ต่างๆ และภายในหมู่เจ้านายในราชวงศ์เดียวกัน เหมือน อย่างเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 59


เอกสารอ้างอิง ก�ำพล จ�ำปาพันธ์. (๒๕๕๒). “การเมืองของอดีตในพระราชพิธีปฐมกรรม พ.ศ. ๒๑๒๗.” วารสารเมืองโบราณ. ๓๕, ๓ (กรกฎาคม-กันยายน). ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (๒๕๕๖). พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มติชน. ธนิต อยู่โพธิ์. (๒๕๐๖). เรื่องเมืองไตรตรึงส์ อู่ทอง และอโยธยา. พระนคร: กรมศิลปากร. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๒๓). ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา. กรุงเทพฯ: บรรณกิจเทรดดิ้ง. บริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนคม), พระ. (๒๕๕๘). การจลาจลสมัยศรีอยุธยา. นนทบุรี: ส�ำนักพิมพ์ศรีปัญญา. โบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์), พระยา. (๒๕๕๐). อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับค�ำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ฉบับช�ำระครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: กรม ศิลปากร. ปรามินทร์ เครือทอง. (๒๕๔๕). ส�ำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มติชน. ปวัตร์ นวะมะรัตน. (๒๕๕๗). อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มติชน. สุเนตร ชุตินธรานนท์. (๒๕๕๒). สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ : ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มติชน. หม่องทินอ่อง. (๒๕๕๖). ประวัตศิ าสตร์พม่า. แปลโดย เพ็ชรี สุมติ ร, กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการ ต�ำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. อันดายา, บาร์บารา วัตสัน และ อันดายา, ลีโอนาร์ด วาย. (๒๕๔๙). ประวัตศิ าสตร์มาเลเซีย. แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการต�ำราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์.

60 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


๖๓ ๖๙ ๗๗ ๘๓



บทความสารคดี

สายพระเนตรอันกว้างไกล ทรงน�ำมรดกไทยสู่มรดกโลก อาจารย์ชนิกานต์ ผลเจริญ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต ถือเป็นวันมหาวิปโยคอีกวันหนึ่งของคนไทย ที่สูญเสีย “พ่อแห่งแผ่นดิน” ไปอย่างไม่มีวันกลับ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริยท์ คี่ รองราชย์ยาวนานทีส่ ดุ ในโลก นับตัง้ แต่วนั ที่ ๙ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ตลอดรัชสมัยกว่า ๗๐ ปีที่ผ่านมาท่านทรงงานหนักเพื่อความผาสุขของประชาชนชาวไทย อย่างที่ไม่มี พระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์โลกทัดเทียมได้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ และไม่มี ปัญหาด้านการพัฒนา แต่เราชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่างเคยได้รับน�้ำพระทัยของพระองค์ผ่านโครงการหลวง นับร้อยโครงการที่ส่งผลให้พวกเรามีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การ ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ แต่น้อยคนนักที่จะรู้เบื้องหลัง ที่แท้จริงว่า กว่าที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะกลับมากลายเป็นเมืองที่เป็นศรีสง่าของประเทศ และเป็นที่ชื่นชมของ ชาวโลกนั้น มีต้นเหตุมาจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

๑. มรดกโลกนครประวัตศิ าสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชมีพระราชด�ำรัสกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดี กรมศิลปากร เมือ่ คราวเสด็จทอดพระเนตรโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทีย่ ดึ เป็นของกลางจากการลักลอบขุดกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ ณ กองก�ำกับการต�ำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ดังนี้ “...โบราณวัตถุและศิลปวัตถุทพี่ บในกรุพระปรางค์วดั ราชบูรณะขณะนี้ สมควรจะได้มี พิพธิ ภัณฑสถานเก็บรักษาและแสดงให้ประชาชนชมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรน�ำ ไปเก็บรักษาและตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่ โบราณวัตถุและศิลปวัตถุของท้องถิ่นใดก็ควรเก็บรักษา และตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานของจังหวัดนั้นๆ...” (พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มา : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม) ด้วยเหตุนี้กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาขึ้น เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดง โบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะรวมทั้งโบราณวัตถุจากแหล่งอื่นๆ ที่พบในจังหวัดนี้ โดยกระทรวง ศึกษาธิการอนุมตั ใิ ห้กรมศิลปากรเปิดรับเงินบริจาคจากประชาชน เนือ่ งจากกรมศิลปากรเห็นว่าพระพิมพ์ทไี่ ด้จากกรุวดั ราชบูรณะมีอยูม่ ากมายและซ�ำ้ แบบกัน ผูบ้ ริจาคจึงได้รบั พระพิมพ์ทพี่ บจากกรุพระปรางค์วดั ราชบูรณะไว้เป็นทีร่ ะลึก เงินบริจาคในการนี้รวมทั้งสิ้น ๓,๔๖๑,๙๘๒.๒๒ (สามล้านสี่แสนหกหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยแปดสิบสองบาทยี่สิบสอง สตางค์) (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา, ๒๕๕๖ : ๕๔) กรมศิลปากรรับผิดชอบออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 63


และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดสรรที่ดินราชพัสดุ ประมาณ ๒๖ ไร่ ต้องจ่ายค่าปราบพื้นที่เพื่อชดเชยต้นไม้ และสิง่ ปลูกสร้างของราษฎร รวมทัง้ โยกย้ายสถานีตำ� รวจ ภูธรวังโบราณไปยังพื้นที่ใหม่ สร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ รักษาพิพิธภัณฑ์ สร้างรั้วรอบเขตพิพิธภัณฑ์ สิ่งอ�ำนวย ความสะดวกรวมทัง้ อุปกรณ์ในการจัดตัง้ โบราณวัตถุและ ศิลปวัตถุภายในอาคาร รวมเป็นค่าใช้จ่าย ๑,๔๙๖,๗๘๑ บาท ในส่วนของตัวอาคารพิพธิ ภัณฑสถาน พลเอกถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มาเป็นผู้วางศิลา ฤกษ์เพือ่ ก่อสร้างอาคารเมือ่ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ การก่อสร้างได้ส�ำเร็จเรียบร้อยลงเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ค่าใช้จ่ายเฉพาะสร้างตัวอาคารเป็นเงิน ๑,๗๑๘,๕๐๐ บาท เมื่อรวมทั้งสองยอดค่าใช้จ่ายเป็น เงิน ๓,๒๑๕,๒๘๑ บาท คงเหลือเงินที่ประชาชนบริจาค อยู่อีก ๒๔๖,๗๐๑ บาท ๒๒ สตางค์ ซึ่งทางราชการได้ น�ำไปใช้จ่ายในกิจการของพิพิธภัณฑสถานตามเจตจ�ำนง ของผู้บริจาค (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา, ๒๕๕๖ : ๕๕)

อาจกล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้า สามพระยา สร้างเสร็จสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินจากกรุ มหาสมบัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้า สามพระยา) ที่โปรดให้สร้างบรรจุไว้ในกรุพระปรางค์ วั ด ราชบู ร ณะตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ. ๑๙๖๗ เพื่ อ ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ลแก่ พ ระราชบิ ด าและพระเชษฐาทั้ ง สอง พระองค์ คือ เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา ดังนั้น พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้าง พระปรางค์วดั ราชบูรณะ เป็นนามพิพธิ ภัณฑ์ และเพือ่ เป็น อนุสรณ์ถงึ เจ้าสามพระยาว่า “พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑสถาน ภูมิภาคแห่งแรกในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๔ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้า สามพระยา, ๒๕๕๖ : ๕๕) และทรงมีพระราชด�ำรัสขณะ ประทับ ณ พระทีน่ งั่ เย็นภายหลังการเสด็จพระราชด�ำเนิน เปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ดังนี้

ภาพที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่ยึดเป็นของ กลางจากการลักลอบขุดกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ ณ กองก�ำกับการต�ำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ ที่มา : http://www.finearts.go.th/chaosampraya/ index.php/parameters/คลังภาพทรงคุณค่า/item/ ภาพถ่ายเก่า-ในหลวงและพระราชินีเสด็จเยี่ยมชมพช เจ้าสามพระยา)

64 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


“...การสร้างอาคารสมัยนี้ คงจะเป็นเกียรติสำ� หรับผูส้ ร้างคนเดียว แต่เรือ่ งโบราณ สถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าขาด สุโขทัย อยุธยาและกรุงเทพฯ แล้วประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย ไม่ควรเอาของใหม่ไป ปนกับของเก่า ควรจะรักษาของเก่าไว้เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของพลเมืองและสิ่ง เหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ จึงควรรักษาไว้...”

(พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มา : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาตั้งอยู่ ที่ถนนปรีดีพนมยงค์ ต�ำบลประตูชัย อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ เปิดด�ำเนินการมากว่า ๕๖ ปีแล้ว เป็นทีเ่ ก็บรักษาและจัด แสดงโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่ง เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ตระหนัก และภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ นอกจากนี้ ป ระเทศไทยยั ง มี แ หล่ ง มรดกโลก ทางวัฒนธรรมอีก ๒ แหล่ง ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย และจั ง หวั ด อุ ด รธานี ซึ่ ง ทั้ ง สองแหล่ ง ต่ า งได้ รั บ พระ มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช จนประสบความส�ำเร็จในการอนุรักษ์ ศิลปวัตถุดังนี้

๒. มรดกโลกอุทยานประวัตศิ าสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัยและก�ำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัยและ ก�ำแพงเพชรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็เป็นผลมาจากความสนพระราชหฤทัยและ ห่วงใยโบราณสถานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชเช่นกัน ข้อมูลจากศูนย์ประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ กองอ�ำนวยการ รักษาความมัน่ คงภายในภาค ๓ พบว่า พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรใน จังหวัดสุโขทัยตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๓๕ เป็นจ�ำนวน ๗ ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

เมืองศรีสัชนาลัยเดิมมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่นำ�้ ยมด้านทิศเหนือของกรุงสุโขทัย เป็นเมืองส�ำคัญใน รัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพระยาลิไท พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๗ (บูรพา โชติชว่ ง, ๒๕๕๙) เมืองศรีสชั นาลัย จึงมีโบราณสถานส�ำคัญหลายแห่ง ศิลปวัตถุทรี่ วบรวมได้จากการขุดค้นและบูรณะ โบราณสถานในจังหวัดสุโขทัยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ น�ำมารวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามค�ำแหง ตั้งอยู่ที่ต�ำบลเมืองเก่า อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย กรม ศิลปากรได้ดำ� เนินการจัดสร้างเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จนแล้ว เสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชและสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ทรงเปิ ด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามค�ำแหง จังหวัดสุโขทัยเมื่อ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๗ (กรมศิลปากร, ๒๕๕๙) วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ภายหลัง จากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระ นเรศวรมหาราชเสร็จแล้ว ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปยัง บ้านรับรองหน่วยศิลปากรที่ ๓ เมืองศรีสัชนาลัย ทอด พระเนตรแบบจ�ำลองเมืองศรีสัชนาลัย จากนั้นเสด็จชม โบราณสถาน วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้ว อุทยานใหญ่ วัดนางพญา หลักเมือง บริเวณพระราชวัง และวัดสวนแก้วอุทยานน้อย (บูรพา โชติชว่ ง, ๒๕๕๙) ใน ครัง้ นีไ้ ด้มพี ระราชกระแสรับสัง่ กับรองอธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ นายกฤษณ์ อินทโกศัย ดังนี้

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 65


“...โบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัยนี้ เมื่อได้บูรณะเสร็จแล้วให้จัดการดูแลรักษาไว้ ให้เป็นอย่างดี อย่าให้กลับช�ำรุดทรุดโทรมลงอีก โดยเฉพาะบริเวณพระราชวังที่ได้ขุดพบ รากฐานนั้น ควรจะได้ขุดดูให้ทั่วถึง เพราะอาจพบจารึกหรือหลักฐานอันจะเป็นประโยชน์แก่ ประวัติศาสตร์...” (พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มา : สยามรัฐออนไลน์) นอกจากนี้ เ มื่ อ วั น ที่ ๒๖ ธั น วาคม ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จ เป็นการส่วนพระองค์ทอดพระเนตรโบราณสถานหลาย แห่งในจังหวัดสุโขทัย ความสนพระราชหฤทัยของทั้ง สองพระองค์ การเสด็จในแต่ละแห่งใช้เวลานานมาก ทรงเยีย่ มชมวัดเจดียเ์ จ็ดยอดทีอ่ ยูน่ อกประตูเมืองทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองศรีสัชนาลัย รถยนต์พระที่นั่ง ไปไม่ถึงจึงทรงพระราชด�ำเนินโดยพระบาทไปตามทาง คนเดิน ประมาณ ๓๐ นาที ถึงวัดเจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งอยู่ นอกก�ำแพงออกไปประมาณ ๑ กิโลเมตร ที่วัดมีเจดีย์รูป สีเ่ หลีย่ ม มีรอ่ งรอยพระพุทธรูปตัง้ อยูก่ ลางเจดีย์ แต่ชำ� รุด จนไม่มซี าก บนยอดมีเจดียเ์ ล็กๆ ล้อมรอบยอดเจดียใ์ หญ่ นับรวมได้ ๗ ยอด เป็นเจดียส์ มัยสุโขทัย เสด็จประทับพัก เหนื่อยอยู่ที่เจดีย์แห่งนี้พอควร (บูรพา โชติช่วง,๒๕๕๙) พระองค์ มี พ ระราชด�ำ รั ส ถามถึ ง โบราณสถานบริ เวณ อรัญญิก หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๓ นายมะลิ โคกสันเทียะ ได้กราบบังคลทูลว่า มีหลายแห่ง เช่น วัดยายกับตา วัด พญาด�ำ และวัดอื่นๆ ที่ไม่ทราบชื่อ พระองค์มีพระราช ด�ำรัสว่า

หลั ง จากนั้ น กรมศิ ล ปากรได้ ด� ำ เนิ น การ ตามกระแสพระราชด� ำ รั ส อนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาเมื อ ง ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย รวมทั้งเมืองเก่าสุโขทัย และ เมืองก�ำแพงเพชร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และด้วยพระบารมี กรมศิลปากรได้รับการอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรีให้ด�ำเนินการจัดท�ำแผนการอนุรักษ์และ พัฒนาเมืองศรีสชั นาลัย รวมทัง้ เมืองเก่าสุโขทัย และเมือง ก�ำแพงเพชร ในรูปแบบของอุทยานประวัติศาสตร์ ให้ ถูกต้องตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากล จนสามารถ พลิกฟืน้ เมืองให้เปลีย่ นจากเมืองทีม่ สี ภาพเสือ่ มโทรม จาก การท�ำลายของคนและธรรมชาติ ได้กลายมาเป็นเมืองที่ ปรากฏหลักฐานของอารยธรรมรุ่งโรจน์ในอดีตได้

“เรือ่ งโบราณสถานบริเวณอรัญญิก ควรได้รบั การขุดแต่ง บูรณะ และก่อสร้างถนนให้เข้าถึงด้วย” (พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มา : สยามรัฐออนไลน์)

ภาพที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทอดพระเนตรวัดเจดีย์เจ็ดแถว จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๙ ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

66 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


๓. มรดกโลกบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ ๑๓ ต�ำบลบ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัด อุดรธานี เป็นบริเวณทีม่ นุษย์ยคุ ก่อนประวัตศิ าสตร์เคยอยู่ อาศัยราว ๕,๖๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว จุดเริ่มต้นของการ จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง มาจากการพบ ภาชนะลายเขียนสี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยชาวบ้านเชียง ต่อมาปีใน พ.ศ. ๒๕๐๙ ชาวอเมริกัน ได้มาพบภาชนะ ดินเผาโดยบังเอิญจึงน�ำไปแจ้งที่กรมศิลปากร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ทางกรมศิลปากรเริ่มด�ำเนินการขุดค้นทาง โบราณคดีทบี่ า้ นเชียงอย่างจริงจังเป็นครัง้ แรก และครัง้ ที่ ๒ ขุดค้นในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้ เสด็จทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีในพร้อมกับ แหล่งอืน่ ในบ้านเชียง (พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติบา้ นเชียง, ๒๕๕๙) และมีพระราชด�ำริในการพัฒนาแหล่งโบราณคดี บ้านเชียงให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรูข้ องประชาชน รวม ทั้งเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่ผ่านขั้นตอนการอนุรักษ์ มาแล้ว ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๑๘ กรมศิลปากรร่วม กับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ร่วมมือกันขุดค้นและ หาข้อมูลใหม่เพิ่มเติม โดยเรียกโครงการนี้ว่า “โครงการ โบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติบ้านเชียง จึงได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นต้นมา ในปีพ.ศ. ๒๕๒๔ ส�ำนักงานศึกษาธิการจังหวัด อุดรธานี ร่วมกับกรมศิลปากร ได้ของบประมาณจาก ส� ำ นั ก งานสลากกิ น แบ่ ง รั ฐ บาล มาสร้ า งอาคารหลั ง แรก และนายมีชัย ฤชพันธุ์ รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายก รัฐมนตรี ได้ขอเงินงบประมาณในโครงการเงิน กสช. มาปรับสภาพพื้นที่ให้สูงขึ้นจนพ้นจากน�้ำท่วมในฤดูฝน พ.ศ. ๒๕๒๕ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ของบประมาณสร้างอาคารหลัง ที่ ๒ จากมูลนิธิ จอห์น เอฟ เคเนดี้ แห่งประเทศไทย และ กรมศิลปากรได้มงี บประมาณสนับสนุนด้านครุภณ ั ฑ์ เป็น เงินรวมทั้งสิ้น ๖,๑๐๐,๐๐๐ บาท (พิพิธภัณฑสถานแห่ง

ชาติบา้ นเชียง, ๒๕๕๙) เนือ่ งจากในวโรกาสสมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุ ๘๔ พรรษา กรม ศิลปากร ได้กราบบังคมทูลพระบรมราชานุญาตใช้ชื่อ อาคารหลังนีว้ า่ “อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง เมื่อวัน เสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ ในปัจจุบันพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติบ้านเชียง มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น ๒๕ ไร่ คือ บริเวณ พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ บ ้ า นเชี ย ง หลุ ม ขุ ด ค้ น ทาง โบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน และบ้านไทพาน ด้วยเหตุผลที่ คนบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีหลักฐานชีวิต ความเป็นอยู่ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนยุคนั้น เช่น การท�ำการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การท�ำหัตถกรรม การ หล่อส�ำริด การใช้เหล็ก และการฝังศพ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยน�ำ้ พระทัยทีเ่ ปีย่ มล้นในการดูแลทุกข์สขุ ของ ราษฎร และความสนพระราชหฤทัยในการอนุรกั ษ์มรดก ของชาติอย่างจริงจัง ท�ำให้การอนุรักษ์ศิลปวัตถุและ โบราณวัตถุของภาคราชการและภาคประชาชนเข้มแข็ง

ภาพที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอด พระเนตรการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๕ ที่มา : http://www.matichon.co.th/news/345145

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 67


ขึ้น เยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ของไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิผ่านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลายแห่ง สิ่งเหล่านี้เป็นแรง ผลักดันให้หลายสถานที่ส�ำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุโขทัย และจังหวัด อุดรธานี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในที่สุด ส่งผลให้ ๓ จังหวัดนี้ มีนกั ท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาเยีย่ มชมแหล่งมรดกโลกเป็นจ�ำนวน มาก กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ประชาชนหลากหลายอาชีพ พวกเราชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขอน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างหาที่สุดมิได้ไว้ ณ โอกาสนี้

เอกสารอ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ส�ำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา พิพธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยา. (๒๕๕๖). ๕๑ ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้า สามพระยา. กรุงเทพฯ: พระราม ครีเอชั่น กรมศิลปากร. (๒๕๕๙). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามค�ำแหง. ค้นเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ จาก www.finearts.go.th/ramkhamhaengmuseum/index.php/ ประวัติและบทบาทหน้าที่ ทอดพระเนตรหลุมขุดค้นทีแ่ หล่งโบราณคดีบา้ นเชียง จ.อุดรธานี พ.ศ.๒๕๑๕. (๒๕๕๙). ค้นเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ จาก www.matichon.co.th/news/345145 บูรพา โชติชว่ ง. “ถ้าพูดว่าไปได้เสียอย่างเดียวก็ตอ้ งได้” ‘ในหลวง’ พระราชด�ำรัสครัง้ เสด็จเมืองโบราณศรีสัชนาลัย. สยามรัฐออนไลน์ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ ค้นเมื่อ จาก ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ www.siamrath.co.th/n/4392 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙. “พระมหากรุณาธิคุณ ต่อมรดก โบราณคดี” ค้นเมือ่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ www.prachachat.net/news_detail. php?newsid=1479366941 พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา. ค้นเมือ่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ จาก www.finearts. go.th/chaosampraya/ index.php/parameters/คลังภาพทรงคุณค่า/item/ ภาพถ่ายเก่า-ในหลวงและพระราชินีเสด็จเยี่ยมชมพชเจ้าสามพระยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง. (๒๕๕๙). มรดกโลกบ้านเชียง หลุมขุดค้นทาง โบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน. (แผ่นพับ). ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ กองอ�ำนวยการรักษาความมัน่ คง ภายในภาค ๓. การเสด็จพระราชด�ำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ใน จังหวัดสุโขทัย. ค้นเมือ่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ จาก www.3armyarea-rta.com/ armyisoc3/aisoc15.htm

68 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


บทความสารคดี

เรื่องเล่าจากคนตีมีดอรัญญิก-อยุธยา ถึงองค์ราชาแห่งแผ่นดิน พัฑร์ แตงพันธ์ ช่วงเย็นของวันอังคารที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ ชาวบ้านต้นโพธิแ์ ละบ้านไผ่หนอง ต�ำบลท่าช้าง อ�ำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นกลุ่มชาวลาวที่สืบทอดอาชีพตีมีดมาจากบรรพบุรุษ ก�ำลังใช้ ชีวิตประจ�ำวันของตนตามปกตินั้น ได้มีรถยนต์คันหนึ่งแล่นฝ่าถนนลูกรังกลางหมู่บ้านทั้งสอง ผ่านบ้านไผ่หนอง ก่อนมาหยุดอยู่ ณ บ้านต้นโพธิ์

ภาพที่ ๑ นายแนบ ตรีหิรัญ ที่มา : ภาพจากผู้เขียน

เล่ากันว่า “ยายไข” แม่เฒ่าแห่งบ้านต้นโพธิ์ ที่ก�ำลังถือธนบัตรใบละ ๑ บาท เพื่อออกไปซื้อกับข้าว เป็นคนแรกที่พบเห็นผู้มาเยือน นางก้มดูพระบรมฉายา สาทิสลักษณ์บนธนบัตรในมือ สลับกับเพ่งสายตามองดูผู้ มาเยือน ก่อนตัดสินใจร้องถามว่า “ใช่พอ่ หลวงหรือเปล่า จ๊ะ” เมื่อผู้ที่นางสนทนาด้วยตอบว่า “ใช่” ถึงได้รู้กันว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ เสด็จพระราชด�ำเนินมาถึงหมู่บ้าน อย่างมิทันได้คาดคิด นายแนบ ตรีหิรัญ ผู้อยู่ในเหตุการณ์คนหนึ่ง เล่าด้วยน�้ำเสียงตื่นเต้น ราวกับบรรยากาศครั้งนั้นหวน คืนมาใหม่ว่า “อยู่..ไม่อยู่ ในหลวงประทับอยู่ใกล้ๆ ตัวผมเลย โดยผมไม่รู้ที่มาที่ไป พอเห็นว่าเป็นในหลวง ผมก็ก้มลง กราบๆ ที่พระบาทท่านเลย” ข้อเท็จจริงจากทางราชการจะเป็นเช่นไรก็ตาม แต่จากค�ำบอกเล่าของชาวบ้านทีใ่ ห้ขอ้ มูลจากความทรงจ�ำ และการรับรู้ของพวกเขา ได้ให้ความว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนิน มาเป็นการส่วนพระองค์เพียงล�ำพัง โดยไม่มีแม้แต่ผู้ตาม เสด็จเลยแม้แต่คนเดียว จึงไม่มใี ครเตรียมการรับเสด็จได้ ทัน แม้แต่ขา้ ราชการ หรือผูป้ กครองท้องทีเ่ อง ก็เพิง่ รูข้ า่ ว จากชาวบ้าน และรีบเร่งติดตามมารับเสด็จทีหลัง

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 69


ภาพที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินเยือน บ้านต้นโพธิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่มา : ภาพจาก นายพยงค์ ทรัพย์มีชัย

แต่ ข ณะเดี ย วกั น ก็ มี ข ้ อ มู ล อี ก ด้ า นหนึ่ ง ที่ เล่าจากความทรงจ�ำอันคลับคล้ายคลับคลา ว่าในห้วง ก่ อ นวั น นั้ น คล้ า ยกั บ ว่ า ชาวบ้ า นบางส่ ว นได้ รั บ ข่ า ว เล่ า ลื อ หรื อ มิ เช่ น นั้ น ก็ อ าจมี สิ่ ง หนึ่ ง สิ่ ง ใดดลให้ พ วก เขามีความรับรู้และเข้าใจกันไปว่า จะมีพระบรมวงศา นุวงศ์พระองค์หนึ่งเสด็จพระราชด�ำเนินมาที่หมู่บ้าน ทั้ ง ๆ ที่ ห าได้ มี ห มายเสด็ จ จากพระบรมวงศานุ ว งศ์ พระองค์ ใ ดทั้ ง สิ้ น และแม้ แ ต่ ก ารที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชด�ำเนิน มาที่ต�ำบลท่าช้างครั้งนั้น ก็เล่ากันว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญ กล่าวคือในวันดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จ ทอดพระเนตรปราสาทนครหลวงเป็นการส่วนพระองค์ เท่านั้น ทว่า มีผู้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบว่าที่ต�ำบล ท่าช้างแห่งนี้ มีหมูบ่ า้ นตีมดี อันเลือ่ งชือ่ ท�ำให้พระองค์เกิด ความสนพระทัย และเสด็จพระราชด�ำเนินเยือน นายบุญสม ศรีสุข เล่าว่า ก่อนวันที่พระบาท สมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช จะเสด็ จ พระราชด�ำเนินเยือนหมูบ่ า้ นนัน้ คล้ายกับมี “สิง่ ดลใจ” ให้ ตนเชื่อมั่นว่าพระองค์จะเสด็จฯ จึงได้ตระเตรียมสถานที่ รับเสด็จ ด้วยวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ใช้ก้านมะพร้าว

ตกแต่งเป็นม่านโค้ง และเตรียมเก้าอี้ไม้สักตัวหนึ่งเพื่อ เป็นที่ประทับ ไว้ที่บริเวณหน้าบ้านของตน นายแนบ ตรีหิรัญ ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า เมื่อ พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า ชาวบ้านได้เตรียมเก้าอี้ ไม้สักไว้ส�ำหรับเป็นที่ประทับรับรอง จึงทรงมีพระราช ด�ำรัสขึ้นว่า “อ่ะ..เขาจัดไว้แล้ว นั่งซะหน่อย” ก่อนที่ พระองค์จะทรงประทับลง ณ เก้าอี้ตัวนั้นอยู่ครู่หนึ่ง ช่วงเวลานั้นเอง ข่าวการเสด็จพระราชด�ำเนิน ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ก็ แพร่สะพัด จากปากต่อปากจนขยายวงกว้างออกไปอย่าง รวดเร็ว พร้อมกับการตีเกราะเคาะไม้ และป่าวสัญญาณ เขาควายไปทัว่ ทัง้ ต�ำบล ไม่นานชาวบ้านทัง้ บาง รวมไปถึง หมู่บ้านข้างเคียงที่ทราบข่าว ก็แห่แหนมารับเสด็จ และ ชื่นชมพระบารมีอย่างเนืองแน่น ก่อนที่นายอ�ำเภอและ บรรดาข้าราชการต่างๆ ที่ทราบข่าวภายหลัง จะรีบเร่ง เดินทางมารับเสด็จกันเป็นการใหญ่ ชาวบ้านต้นโพธิ์ได้ระดมก�ำลังชายฉกรรจ์ใน หมู่บ้าน มาถวายการสาธิตตีมีดให้พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทอดพระเนตรที่บ้านของ นายวิทยา กิจสุวรรณ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามของถนนอย่าง พร้อมแรงพร้อมใจ

70 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ชาวบ้านเล่าจากความรับรู้ของตนว่า พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืน ทอด พระเนตรการตีมดี อยูท่ บี่ ริเวณข้างเสาบ้านของนายวิทยา กิจสุวรรณ โดยมีขา้ ราชการ และชาวบ้านจ�ำนวนหนึง่ พา กันมานัง่ รายล้อมพระวรกายของพระองค์ ให้ทรงประทับ ห่างจากบริเวณที่ชาวบ้านตีมีดพอสมควร เนื่องจาก ชาวบ้านเกรงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการตีมีด เสียงค้อนทีร่ ะดมตีลงไปบนแผ่นโลหะทีร่ ะอุรอ้ น ก่อนขึ้นรูปเป็นใบมีดนั้นดังหนักแน่น เช่นเดียวกับเสียง หัวใจของคนตีมดี แห่งท่าช้างทีต่ า่ งรวมใจ สาธิตตีมดี ถวาย แด่องค์ราชาด้วยความภักดีในเวลานั้น

ภาพที่ ๓ บริเวณบ้านของนายวิทยา กิจสุวรรณ ที่ชาวท่าช้าง เคยถวายการสาธิตตีมีด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ แท่นปูนที่ล้อมด้วย รั้วเหล็กดัดประดับผ้าด้านหลัง คือบริเวณที่พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนทอดพระเนตรการตีมีด ที่มา : ภาพจาก ผู้เขียน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 71


ภาพที่ ๔ นายบุญสม ศรีสุข ที่มา : ภาพจาก ผู้เขียน

นายบุญสม ศรีสุข หนึ่งในผู้สาธิตตีมีดเฉพาะ พระพักตร์ และเป็นผู้ที่มีโอกาสทูลเกล้าฯ ถวายมีดดาบ แด่พระองค์ท่านในครั้งนั้น เล่าด้วยความภาคภูมิใจว่า พระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชด�ำริแก้ไขปัญหา การขาดแคลนทรัพยากรในการตีมีดให้แก่ชาวบ้าน ที่ สามารถถอดใจความออกมาประโยคหนึ่งได้ว่า “การตีเหล็กนี้ ควรน�ำเหล็กแหนบรถยนต์ทปี่ ลด ระวางแล้วมาตี เพื่อความประหยัด และเมื่อตีเสร็จแล้ว ควรน�ำไปชุบน�้ำมันเครื่อง จะมีความแข็งแรงและเหนียว ทนทาน” นอกจากนี้ ยังทรงมีพระราชด�ำริ เป็นแนวทางแก้ ปัญหาการขาดแคลนถ่านเชือ้ เพลิง ส�ำหรับน�ำมาให้ความ ร้อนในการตีมีด ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านน�ำล�ำไม้ไผ่มาเผาเป็น เชื้อฟืน แต่ทว่าไม้ไผ่ที่ชาวบ้านปลูกไว้ กลับเติบโตไม่ทัน ต่อความต้องการใช้ของชาวบ้าน พระองค์จึงทรงแนะน�ำ ให้ชาวบ้านทดลองน�ำไม้ยูคาลิปตัสมาเผาเป็นเชื้อเพลิง ทางเลือกในการตีมีด

พระองค์ ยั ง ทรงแนะน� ำ ให้ ช าวบ้ า นไป ศึ ก ษารู ป แบบ และศิ ล ปกรรมของมี ด ดาบโบราณใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ซึ่งเป็นโบราณ วัตถุที่มีคุณค่า แต่มีความช�ำรุดเสียหายตามกาลเวลา จึง ทรงพระราชทานค�ำแนะน�ำให้จ�ำลองมีดดาบตามแบบ โบราณขึ้นมา เพื่อเป็นการสืบทอดคุณค่าของโบราณ วัตถุให้คงอยูค่ แู่ ผ่นดินสืบไป และก่อนทีพ่ ระองค์จะเสด็จ พระราชด�ำเนินกลับนั้น พระองค์ได้ทรงพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จ�ำนวนหนึ่ง เพื่อให้ชาวบ้าน ริเริ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ และทรงฝากฝังให้ชาวบ้าน ต�ำบลท่าช้าง อนุรักษ์อาชีพการตีมีดที่สืบทอดมาจาก บรรพบุรุษนี้ไว้ ยังความปลาบปลื้มใจมาสู่ชาวท่าช้าง พร้อมน้อมน�ำพระราชด�ำรัสของพระเจ้าอยู่หัว ใส่เกล้า ใส่กระหม่อมเป็นมิ่งมงคลในการประกอบอาชีพเสมอมา

72 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ภาพที่ ๕ นายบุญสม ศรีสุข หนึ่งในผู้สาธิตตีมีดเฉพาะพระพักตร์ และเป็นผู้ที่มีโอกาสทูลเกล้าฯ ถวายมีดดาบ

ภาพที่ ๖ แท่นปูนที่ชาวบ้านก่อขึ้นเป็นพระราชานุสรณ์แห่งการเสด็จพระราชด�ำเนิน ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มา :ภาพจากผู้เขียน

ภายหลั ง จากการเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น เยื อ น ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในครั้งนั้น ชาวบ้านได้ท�ำเครื่องหมายไว้ ณ บริเวณที่ ทรงยืนทอดพระเนตรการตีมีด เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใด เดินข้ามหรือผ่านไปมา ก่อนทีช่ าวบ้านจะร่วมกันก่อแท่น ปูนสีเ่ หลีย่ มขึน้ คลุมพืน้ ดินบริเวณนัน้ โดยตกแต่งลวดลาย บัวคว�่ำบัวหงายด้วยปูนปั้นฝีมือแบบช่างชาวบ้าน และ ท�ำลูกกรงเหล็กดัดล้อมไว้ด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็น อนุสรณ์สถานแห่งความปลื้มปีติและภักดีที่มีต่อพระ มหาราชาแห่งแผ่นดิน

ชาวท่าช้างยังได้มโี อกาสถวายการรับใช้พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชอีกครา ในคราว เสด็จพระราชด�ำเนิน ทรงเกี่ยวข้าว ณ ท้องทุ่งมะขาม หย่อง เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 73


ภาพที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงเกี่ยวข้าว ณ แปลงนาทุ่งมะขามหย่อง ที่มา : ภาพจาก https://wasantui2013.files.wordpress.com

นายพยงค์ ทรัพย์มีชัย ชาวบ้านต้นโพธิ์ ซึ่งเป็น ผู้ท�ำเคียวถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชในครั้งนั้น ได้เล่าถึงเหตุการณ์ส�ำคัญในชีวิต ที่ มีโอกาสกราบบังคมทูล ถวายค�ำอธิบายเกี่ยวกับการท�ำ เคียวแด่พระองค์ท่านว่า “การตีเคียวนั้น ต้องตีเหล็กให้ เป็นใบ เหมือนใบข้าว” และเมื่อพระองค์ท่าน มีรับสั่ง ถามเกี่ยวกับการท�ำคอเคียว นายพยงค์กราบบังคมทูล ว่า ตนได้แบบอย่างมาจากนกกระสา หรือนกกระยาง ที่หาปลาอยู่ตามทุ่งนา มาเป็นแบบอย่างในการท�ำคอ เคียว และเมือ่ ทรงมีรบั สัง่ ถามเกีย่ วกับวงเคียว นายพยงค์ ก็กราบบังคมทูลว่า เขาได้ท�ำวงเคียว เหมือนอย่างวง พระจันทร์เสี้ยว ท�ำให้พระองค์คงมีรับสั่งชื่นชมนาย พยงค์ว่า “ช่างเหล็กนี่เก่งนะ เอาสิ่งแวดล้อมมาท�ำเป็น เคียวได้” นายพยงค์เล่าด้วยความปลาบปลื้ม และปริ่ม ด้วยน�้ำตา

ภาพที่ ๘ นายพยงค์ ทรัพย์มีชัย ชาวบ้านต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นผู้ท�ำเคียวถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่มา : ภาพจากผู้เขียน

74 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


เขายังได้เล่าถึงพระราชด�ำรัสทีท่ รงพระราชทาน ทิ้งท้ายไว้ มีใจความโดยรวมว่า ให้ช่างท�ำมีด-ท�ำเคียว ได้ ถ่ายทอดวิชาความรูแ้ ก่ลกู หลาน โดยเฉพาะการตอกลาย ไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ลงไปบนใบมีดหรือเคียว เพราะเมื่อมีดหรือเคียวเล่มนั้น ถูกน�ำไปใช้ หรือจัดแสดง อยู่ ณ ประเทศใด ก็จะเป็นที่ทราบได้ทันทีว่าเป็นมีดของ ไทย เพราะลวดลายไทยอันเป็นเอกลักษณ์ ได้ถูกจดจาร อยู่บนใบมีดเล่มนั้น หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช ทรงมีพระราชปฏิสนั ถารกับช่างตีเคียวครูห่ นึง่ พระองค์ก็เสด็จไปท�ำพิธีเกี่ยวข้าวที่แปลงนาในท้องทุ่ง มะขามหย่อง ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ตระเตรียม เคี ย วซึ่ ง มี ด ้ า นประทั บ ลวดลายมุ ก ๒ เล่ ม ที่ น ายพ ยงค์และคนอื่นๆ ได้ร่วมท�ำขึ้นในนามของชาวจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ด้ามเคียวเล่มหนึ่งประดับลวดลาย มุกว่า “ทรงพระเจริญ” อีกเล่มหนึ่งประดับลวดลายมุก ว่า “พระนครศรีอยุธยา” และทีว่ งเคียวจารลวดลายไทย และมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้น�ำ เคียวทั้ง ๒ เล่ม ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชิ นี น าถเพื่ อ ทรงเกี่ ย วข้ า ว ณ แปลงนา ทุ่งมะขามหย่อง ดังปรากฏภาพประวัติศาสตร์ ณ ผืน แผ่นดินอยุธยา

ทุกวันนี้ ชาวท่าช้างซึ่งประกอบด้วย บ้านต้น โพธิ์ และบ้านไผ่หนอง ต่างมีความปลาบปลื้มใจ ที่มี โอกาสถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรม หาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งนอกจากที่บ้านของนายวิทยา กิจสุวรรณ ที่พระองค์เสด็จทอดพระเนตรการตีมีดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ จะมีการก่อปูนท�ำเป็นอนุสรณ์สถานร�ำลึก ถึงพระองค์แล้ว ที่บ้านของนายบุญสม ศรีสุข ซึ่งได้จัด สถานที่รับเสด็จฯ พระองค์ท่านในครั้งนั้น ก็ได้จัดพื้นที่ ส่วนหนึ่งของร้าน แสดงภาพถ่ายเมื่อครั้งที่พระองค์ เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนหมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดแสดง เก้าอี้ไม้สักที่ใช้เป็นที่ประทับรับรอง ไว้ส�ำหรับเป็นที่ สักการะบูชา ในขณะที่บ้านของนายพยงค์ ทรัพย์มีชัย ก็ได้ติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชขณะทรงถือเคียวเกีย่ วข้าว ไว้ที่หน้าบ้านของตน สะท้อนถึงความจงรักภักดีที่เปี่ยม ล้นของชาวท่าช้าง เรื่ อ งราวทั้ ง หมดนี้ ถู ก ถ่ า ยทอดจากความ รับรู้ และความทรงจ�ำของคนตีมีดแห่งท่าช้าง ที่มีถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช องค์ ร าชาผู ้ เ ป็ น ที่ รั ก ยิ่ ง ของแผ่ น ดิ น ที่ ส มควร บั น ทึ ก ไว้ เ ป็ น ความทรงจ� ำ ร่ ว มกั น ของชาวจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา

อ้างอิง แนบ ตรีหิรัญ. (๒๕๖๐, ๒๕ กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์. บุญสม ศรีสุข. (๒๕๖๐, ๒๕ กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์. พยงค์ ทรัพย์มชี ยั . (๒๕๖๐, ๒๕ กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 75


ภาพที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งมาตามแม่น�้ำน้อย ขึ้นประทับ ณ วัดบางนมโค เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗ ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

ภาพที่ ๒-๓ บริเวณท่าน�้ำหน้าวัดบางนมโคในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นจุดที่เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

76 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


บทความสารคดี

แค่ได้ชมพระบารมีก็ยิ้มทั้งน�้ำตา : เมื่อฝนหลวงหยาดจากฟ้า สู่วัดบางนมโค ปัทพงษ์ ชื่นบุญ “...ตอนนั้นป้าก�ำลังเกี่ยวข้าวอยู่ในทุ่ง ทีนี้ก็ได้ยินเสียงคนเขาตะโกนว่า ...พ่อหลวงเสด็จหน้าวัด...ป้าก็ ถามไปว่า มาไงเนีย่ ? เพือ่ นป้ามันก็บอกว่า ...ท่านไปวัดสามกอ แล้วท่านก็มาวัด มาไหว้หลวงพ่อ ป้าก็ทงิ้ ทุกอย่าง ทัง้ เคียว ทัง้ หมวก รีบวิง่ ตามไปทีว่ ดั บางนมโค มาเนีย่ ก็มานัง่ กันเต็มเลย ทิง้ เคียวทิง้ หมวกเอาไว้หมด ลืมหมด...” เสียงของคุณบุญส่ง แย้มนวล ได้บอกเล่าถึงเหตุการณ์ส�ำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต ที่เกิดขึ้น ณ วัดบางนมโค เมื่อคราวที่ ตนมีอายุได้ ๑๒ ขวบ แต่ภาพแห่งความทรงจ�ำนั้นก็ยังคงแม่นย�ำ ชัดเจน ราวกับจะย้อนกลับเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ นั้นอีกครั้งหนึ่ง... หากเอ่ยถึงชือ่ วัดบางนมโคแล้ว คงมีผคู้ นจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีท่ ราบว่า พระอารามแห่งนีม้ พี ระเถระผูท้ รงวิทยาคุณ อันแก่กล้าองค์หนึง่ นัน่ ก็คอื หลวงพ่อปาน และโดยเฉพาะเหล่าผูน้ ยิ มสะสมพระเครือ่ งทัง้ หลาย ก็คงไม่มใี ครปฏิเสธว่า ไม่รู้จักหลวงพ่อปาน เนื่องด้วยท่านได้สร้างวัตถุสถานต่างๆ ให้แก่วัดบางนมโค และท่านได้สร้างพระเครื่องไว้ ๖ แบบ มีครุฑ วานร ไก่ เม่น นก ปลา นอกจากนี้ยังสร้างเหรียญ ผ้ายันต์เกราะเพชร ลูกอม ตะกรุดและแหวนพระ ท่าน ได้แจกจ่ายวัตถุมงคลเหล่านีใ้ ห้กบั บุคคลทัว่ ไป รวมทัง้ พระคาถาปัจเจกโพธิโ์ ปรดสัตว์ ผูท้ รี่ กั ษาศีลเป็นปกติ เมือ่ ได้วตั ถุ มงคลเหล่านีจ้ ะได้พบกับความส�ำเร็จ การคุม้ ครองรักษาความปลอดภัย และเป็นเครือ่ งเตือนสติในการทีจ่ ะใช้วตั ถุมงคล ของท่านให้ถูกต้องในทางที่ชอบที่เป็นกุศล วัดบางนมโค ตั้งอยู่ริมน�้ำบนฝั่งขวาของแม่น�้ำน้อย ซึ่งเป็นแควแยกจากแม่น�้ำเจ้าพระยา ห่างจากที่ว่าการ อ�ำเภอเสนา ประมาณ ๒ กิโลเมตร ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน แต่จากหลักฐานที่เป็นโบราณสถานปรากฏ ภายในวัด จึงสันนิษฐานกันว่าน่าจะมีวัดมาแล้วตั้งแต่ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่เก่าแก่มากวัดหนึ่ง ก่อนที่จะมีการปรับปรุงก่อสร้างเพิ่มเติม ดังที่เห็นปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงกับวัดบางนมโคนัน้ ยังปรากฏสถานทีส่ ำ� คัญทางประวัตศิ าสตร์อกี แห่งหนึง่ ได้แก่ “ค่ายสีกกุ ” อยู่ในเขตอ�ำเภอบางบาล ห่างจากวัดบางนมโคประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษ ตามเอกสารทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมื่อ ครั้งกองทัพจากกรุงอังวะยกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๓๐๙ นั้น กองทัพจากกรุงอังวะ น�ำโดยมังมหานรธา หลังจากที่ตีหัวเมืองทางตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยาจนมีชัยชนะเรื่อยมาตั้งแต่ ทวาย ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ก็ได้มาตั้งค่ายกองก�ำลังที่บ้านสีกุกแห่งนี้เพื่อปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นการตัดก�ำลังแหล่ง ทรัพยากรทางการเกษตร อย่างไรก็ตามหลังจากทีห่ มดฤดูนำ�้ หลาก มังมหานรธาเกิดล้มป่วยและถึงแก่กรรมทีค่ า่ ยสีกกุ ส่งผลให้เนเมียวสีหบดีซงึ่ คุมกองก�ำลังตีหวั เมืองทางฝ่ายเหนือ ขึน้ เป็นแม่ทพั ใหญ่ บังคับบัญชากองทัพแต่เพียงผูเ้ ดียว เพื่อรวมกองทัพทั้งฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ เข้าตีกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งมีชัยชนะเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 77


เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ได้รับการเล่าขานสืบทอด กันมา โดยผสมผสานเรือ่ งราวทางหน้าประวัตศิ าสตร์ กับ เรือ่ งราวทางมุขปาฐะว่า ครัง้ นัน้ เมือ่ ตอนกรุงแตกพม่าได้ ท�ำการกวาดต้อนผู้คน วัวควายในทุ่งแถบนี้ไปเป็นเชลย เป็นพาหนะ เป็นอาหาร ส�ำหรับเป็นเสบียงสนับสนุน กองทัพ เอาโคของประชาชนไปอยู่ในที่กองก�ำลัง จน กระทั่งโคของประชาชนในแถบนี้เหลือน้อยลงจนเกือบ หมด ชาวบ้านจึงได้เรียกชุมชนแถบวัดนี้ว่า “ล้างนมโค” ต่อมาประชาชนมีความคิดว่าควรจะเปลีย่ นชือ่ จาก “ล้าง นมโค” เป็น “บางนมโค” เนือ่ งจากชุมชนนีม้ วี วั มากกว่า สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ในทุ่งนี้ชาวบ้านจึงพูดติดปากว่า “บาง นมโค” ทางวัดจึงได้ชื่อมาจากเหตุดังกล่าวว่า “วัดบาง นมโค” ตามชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากสืบมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ในสมัยทีพ่ ระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ชักชวนพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันท�ำการปรับปรุง ถาวรวัตถุที่ก�ำลังทรุดโทรม ให้คืนสภาพเหมือนเดิม และ ได้วางแผนผังในการก่อสร้างเสนาสนะขึ้นใหม่ประกอบ ด้วย หอสวดมนต์ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ เจดีย์ วิหาร ถนนรอบบริเวณวัด และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ อีกมาก ที่ ยังเป็นหลักฐานมาจนถึงยุคปัจจุบัน แต่สิ่งปลูกสร้าง บางส่วนในภายหลังเกิดความช�ำรุดทรุดโทรม ทางวัด ก็ รื้ อทิ้ ง เนื่ องจากเห็นว่าซ่อมแซมไม่ไ หว และเพื่อ ให้ พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาได้มีโอกาสร่วมบริจาค เพื่อ ท�ำการก่อสร้างถาวรวัตถุที่แข็งแรงกว่าขึ้นใหม่ ส�ำหรับเจ้าอาวาสวัดบางนมโค แต่เดิมนั้นจะมี กี่รูปไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ที่พอจะสืบค้นบันทึกเป็น หลักฐานได้ก็ตั้งแต่ ล�ำดับที่ ๑ เจ้าอธิการคล้าย ล�ำดับที่ ๒ พระอธิการเย็น สุนทรวงษ์ มรณภาพ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งในสมัยของท่านมีการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดครั้งใหญ่ เป็นครั้งแรก ล�ำดับที่ ๓ ท่านพระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน) โสนันโท รับต�ำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๘

ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสได้เพียง ๒ ปี ก็มรณภาพ ลงเมื่อวันที่ ๒๖ ก.ค. ๒๔๘๐ ล�ำดับที่ ๔ พระอธิการเล็ก เกสโร ล�ำดับที่ ๕ พระอธิการเจิม เกสโร ล�ำดับที่ ๖ พระมหาวีระ ถาวโร (ฤาษีลิงด�ำ) ซึ่ง ต่อมาท่านได้ไปรับต�ำแหน่งเจ้าอาวาสทีว่ ดั จันทารามหรือ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ล�ำดับที่ ๗ พระอาจารย์อ�ำไพ อุปเสโน ล�ำดับที่ ๘ พระครูวหิ ารกิจจานุยตุ (อุไร กิตติสาร) ได้รบั การอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบัน แต่เหตุการณ์สำ� คัญอีกครัง้ หนึง่ ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ ชุมชนแห่งนีไ้ ด้จารึกไว้ ด้วยไม่มใี ครคาดคิดมาก่อนว่า ใน ช่วงบ่ายคล้อยของวันเสาร์ท่ี ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗ จะเป็นอีกวันหนึ่งที่สร้างความปีติยินดี ในพระ มหากรุณาธิคุณหาที่สุดไม่ได้ เสมือนฝนหลวงอันชื่นฉ�่ำ พร่างพรมเป็นสิริมงคลในชีวิตแก่ชาวบ้านบางนมโคและ ชาวบ้านละแวกใกล้เคียง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัย ลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ ราชกัญญา สิรวิ ฒ ั นาพรรณวดี ทรงเสด็จโดยเรือพระทีน่ งั่ มาตามแม่น�้ำน้อย หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชด�ำเนินทอดพระเนตรอุตสาหกรรม ในครอบครั ว ที่ วั ด สามกอ อ� ำ เภอเสนา ซึ่ ง การเสด็ จ พระราชด�ำเนินมายังวัดบางนมโคในครัง้ นี้ นับว่าเป็นการ เสด็จส่วนพระองค์ โดยมีนายอ�ำเภอเสนา ผูใ้ หญ่บา้ นบาง นมโค ตลอดจนชาวบ้านจ�ำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ทราบข่าว และเหตุการณ์ครั้งนั้นจึงท�ำให้ชาวบ้านจ�ำนวนดังกล่าว ได้มีโอกาสเข้าเฝ้ารับเสด็จอย่างใกล้ชิดที่สุด...

78 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


ภาพที่ ๔-๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงทักทายพสกนิกรที่มารอเฝ้ารับเสด็จ ณ วัดบางนมโค ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

“...ตอนนั้น หลวงพ่ออ�ำไพท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดบางนมโค หลวงพ่ออุไรท่านก็ยังหนุ่ม ๆ อยู่ ตอนนั้น ท่าน�้ำหน้าวัดยังไม่มีเขื่อนสูงแบบนี้ ฝั่งตรงข้ามยังเป็น ทุ่งนาอยู่ พอป้าวิ่งมาถึงหน้าวัด ท่านก็ลงมาจากมณฑป แล้ว ท่านกราบหลวงพ่อปานแล้วนะ พอเสร็จแล้วท่าน ก็ทักทายพวกเรา เราก็เป็นชาวนานะ พอท่านมาท่านก็ เอามือลูบหัว เราก็เอาผ้าปู ผ้าโพกหน้า พอปูแล้วท่านก็ ถอยหลัง ไม่เหยียบ แต่เอามือลูบหัวเราทุกคน...” คุณบุญส่ง เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วยสีหน้าแช่มชื่น และน�้ำตา คลอเบ้า พนมมือขึ้นไหว้เหนือศีรษะ “...พระราชินที า่ นสวยมาก เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ก็ด้วย ท่านมากันครบทุกพระองค์ รัชกาลที่ ๑๐ ก็มา ท่านยังหนุ่มหล่อมาก เพราะเราไม่ ต้องไปหา ท่านมาครบเลย สมเด็จพระเทพฯ ท่านก็มา เห็นแล้วก็ปลื้ม ท่านมาอยู่นานพอสมควร เดินไปทั่วเลย พวกเราก็ไปนั่งรออยู่ใต้ต้นสะตือ ท่านเข้ามณฑป เข้า โบสถ์ แล้วก็ไปกุฏหิ ลวงพ่อปาน หลังจากวันนัน้ พ่อหลวง ท่านก็ไม่ได้เสด็จมาอีกเลย จะมาก็แต่พระบรมวงศานุวงศ์ แต่มีทหารองครักษ์ ห้อมล้อมเต็มไปหมด เข้าไม่ถึงท่าน เลย ได้แต่มองห่างๆ ด้วยความชื่นชม ไม่เหมือนตอนนั้น ที่ยังเด็กๆ ได้สัมผัสถึงฝ่าเท้าของพ่อหลวง...”

ภายในพระอุโบสถของวัดบางนมโค ซึ่งสร้างขึน้ ใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ในสมัยท่านอธิการเย็นเป็น เจ้าอาวาส แทนทีห่ ลังเดิมทีช่ ำ� รุดทรุดโทรม โดยผูค้ วบคุม การก่อสร้างคือ หลวงพ่อปาน ซึ่งขณะนั้นท่านยังมีฐานะ เป็นพระลูกวัดอยู่ นอกจากภาพจิตรกรรมอันงดงามเล่า เรือ่ งมารผจญ และภาพเล่าเรือ่ งทศชาติ ทีว่ าดด้วยสีนำ�้ มัน แล้ว ที่ช่องผนังระหว่างหน้าต่างด้านซ้ายและขวา อยู่ใน ต�ำแหน่งกลางพระอุโบสถพอดีนั้น มีภาพเขียนสีน�้ำมัน เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงเสด็จ ณ วัดบางนมโคแห่งนีด้ ว้ ย

ภาพที่ ๖ ภาพจิตรกรรมภายในพระอุโบสถวัดบางนมโค ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 79


คุณบุญส่งได้อธิบายภาพนี้ให้ฟังว่า “...แต่ก่อน ป้าจ�ำได้ว่ามีภาพเขียนรูปพ่อหลวงท่านอยู่ทุกช่องผนัง แต่มาเมือ่ ไม่กสี่ บิ ปีมานี้ ภาพมันผุหลุดร่อนออก เขาก็เลย ลบ เขียนเป็นภาพเจดีย์ใส่แทน ยังเหลือแต่สองภาพนี้ที่ ยังสมบูรณ์...” คุณบุญส่งเว้นจังหวะเล็กน้อย ก่อนที่จะ เล่าต่อไปว่า “...คนในภาพนี้ก็เพื่อนป้าทั้งนั้น น่าจะมีป้า นัง่ อยูด่ ว้ ยล่ะ แต่จ�ำไม่ได้วา่ คนไหน ภาพเขียนไม่ละเอียด เหมือนภาพถ่าย ที่รู้ ๆ คือเพื่อนร่วมรุ่นในเหตุการณ์ครั้ง นั้น บางคนก็แยกย้ายถิ่นฐานไปแล้ว ตามหากันไม่เจอ บางคนก็ล้มหายตายจากไปหมด คนแก่ ๆ ที่อยู่คราวนั้น นี่ไม่ต้องถามถึงเลย ไปสวรรค์กันหมดแล้ว...” ก่อนที่จะจบการสัมภาษณ์ คุณบุญส่งยังบอก เล่าถึงความรู้สึกในใจลึก ๆ ถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นให้ฟัง อีกด้วยว่า “...ความรู้สึกครั้งนั้นที่ท่านมารู้สึกอบอุ่นใจ เหมือนพ่อของเราเอง น�้ำตาไหล ปลื้มที่สุด ท่านก็หล่อ ลูกก็หล่อก็สวยกันทุกคน งามเหมือนเทพจริง ๆ ป้าเห็น ผิวท่านงามผ่องเหมือนเนื้อทอง พ่อหลวงท่านดูเหมือน ผิวคล�้ำสักหน่อย แต่ก็แปลก เหมือนมีสะเก็ดทองอาบที่ ผิว ไม่เหมือนชาวบ้านอย่างเราที่ผิวจะด�ำก็ด�ำปี๋เลย ท่าน เหมือนเทพเจ้าจริง ๆ นะ ...”

ภาพที่ ๗-๘ คุณบุญส่ง แย้มนวล ก�ำลังเล่าเหตุการณ์ส�ำคัญ ใน ภาพจิตรกรรมภายในพระอุโบสถ เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จ ณ วัดบางนมโค ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา 80 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


จากวันนัน้ ถึงวันนี้ แม้กาลเวลาล่วงเลย ผ่านมาถึง ๔๓ ปีแล้ว แต่เหตุการณ์ส�ำคัญใน คราวนั้น ก็ยังประทับอยู่ในหัวใจของชาวบ้าน ธรรมดา ๆ คนหนึ่งอย่างมิรู้ลืม ปัจจุบันนี้คุณ บุญส่งกับสามี ได้อทุ ศิ ตนเป็นโยมอุปฏั ฐาก คอย ดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อย รวมทัง้ ให้บริการเรือ่ งดอกไม้ธปู เทียน กับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาท�ำบุญกับวัด บางนมโคแห่งนี้ “...ลูก ๆ ป้าโตกันหมดแล้ว มีการมี งานท�ำที่ดี ป้าก็หมดห่วง เขากลับมาหาพ่อแม่ ทีหนึง่ ก็อยากจะพาเราไปกินอาหารดี ๆ แพง ๆ นอกบ้าน ลุงกับป้าบอกว่าไม่จ�ำเป็นหรอกลูก แค่มาหากัน เจอกันก็มีความสุขแล้ว กินถูก กินแพงสุดท้ายลงท้องก็ย่อยเหมือนกัน อยาก ให้ลูกเก็บเงินไว้สร้างตัว สร้างอนาคตตัวเอง ท�ำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เงินทองเวลาใช้นะมัน ออกง่าย แต่เวลากลับเข้ามามันยาก อยู่อย่าง พอเพียงอย่างที่พ่อหลวงท่านสอนแบบนี้ล่ะดี ที่สุด อยู่ในบุญในกุศล เพราะมันจะติดตัวเรา ไปจนตายจริง ๆ ...” คุณบุญส่งได้ฝากข้อคิด ทิ้งท้ายไว้ในที่สุด.

ภาพที่ ๙-๑๐ ศาลาท่าน�้ำ และทางเสด็จพระราชด�ำเนิน เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

บรรณานุกรม คุรุสภา.(๒๕๑๖). ประชุมพงศาวดารเล่ม ๖. พระนครฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา. วัดบางนมโค (ม.ป.ป.). ชีวประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ.พระนครศรีอยุธยา. ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี. (๒๕๕๐). คลังแหล่งเรียนรู้อ�ำเภอเสนา ปี ๒๕๕๐ .เอกสารอัดส�ำเนา สัมภาษณ์ นางบุญส่ง แย้มนวล อายุ ๕๕ ปี เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 81


ภาพที่ ๑ ชื่อภาพ “สถิตอยู่ในดวงใจ” ทรงเสด็จวัดเจ้าเจ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๐๔, ศิลปิน คุณอดิศร พรศิริกาญจน์, Watercolor on paper, ๗๕X๕๕ cm., ๒๐๑๖

82 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


บทความสารคดี

ภาพร�ำฤกวันวารเมืองอยุธยา เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุวัฒน์ ค้าผล ภาพความทรงจ�ำเมือ่ ครัง้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ส�ำหรับชาวอยุธยาแล้ว นับเป็นความโชคดี ความปลาบปลื้มปีติ และความภาคภูมิใจที่ยังตราตรึง อยู่ในหัวใจอย่างมิเสื่อมคลาย พระองค์เสด็จหลายครั้ง หลายสถานที่ เช่น เสด็จมาบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้า พระกฐิน ณ วัดเจ้าเจ็ดใน และวัดเจ้าเจ็ดนอก ทรงเยีย่ มเยียนราษฎรทีป่ ระสบอุทกภัย ทัง้ สองพระองค์ได้เสด็จประทับ เรือยนต์ที่หัวแหลม เสด็จเลียบล�ำน�้ำ เพื่อทอดพระเนตรความเสียหายที่เกิดแก่ราษฎรในอ�ำเภอมหาราช อ�ำเภอ นครหลวง และอ�ำเภอบางปะหัน เสด็จพระราชด�ำเนินมาเพือ่ ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ รวม ทั้งการเสด็จพระราชด�ำเนินติดตามผลโครงการต่างๆ ที่ทรงเคยพระราชทานแนวพระราชด�ำริไว้ ณ ทุ่งมะขามหย่อง ดังค�ำบรรยายพอสังเขปดังนี้ วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ชาวพระนครศรีอยุธยาได้มีโอกาสชื่นชม พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในการเสด็จมาบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเจ้าเจ็ดใน และวัดเจ้าเจ็ดนอก และนับ ตัง้ แต่นนั้ มา ทางวัดเจ้าเจ็ดใน ได้ถอื น�ำวันทีพ่ ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จมาทอดพระกฐินต้น ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค�่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี จัดงานแห่พระพุทธเกสรไปตามล�ำคลองเจ้าเจ็ดมุ่งสู่วัดกระโดงทอง โดย มีขบวนเรือร่วมแห่ที่สวยงาม และเมื่อกลับจากวัดกระโดงทองแล้ว ก็จัดให้มีการถวายพระพรพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายในพลับพลาใจสมาน เพื่อเป็นพุทธบูชา และราชานุสรณ์จน มาถึงปัจจุบัน วันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทรงเยี่ยมเยียนราษฎรที่ประสบอุทกภัย ทั้ง สองพระองค์ได้เสด็จประทับเรือยนต์ที่หัวแหลม เสด็จเลียบล�ำน�้ำ เพื่อทอดพระเนตรความเสียหายที่เกิดแก่ราษฎร ในอ�ำเภอมหาราช อ�ำเภอนครหลวง และอ�ำเภอบางปะหัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องอุปโภค บริโภคแก่ราษฎรด้วยพระองค์เอง ยังความซาบซึง้ ในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของล้นเกล้าฯทัง้ สองพระองค์ตอ่ ชาวจังหวัด พระนครศรีอยุธยาอย่างหาที่สุดมิได้

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 83


ภาพที่ ๒ ชื่อภาพ “สถิตอยู่ในดวงใจ” ทรงเสด็จจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๐๗, ศิลปิน คุณอดิศร พรศิริกาญจน์, Watercolor on paper, ๕๕X๗๕ cm., ๒๐๑๖

ภาพที่ ๓ ชื่อภาพ “สถิตอยู่ในดวงใจ” ทรงเสด็จทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๓๙, ศิลปิน คุณอดิศร พรศิริกาญจน์, Watercolor on paper, ๕๕X๗๕ cm., ๒๐๑๖ 84 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


วันพุธที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมายังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อทรงเปิดพระราชา นุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เพือ่ ร�ำลึกถึงวีรกรรมของบูรพมหากษัตริยข์ องชาวอยุธยา เนือ่ งจาก พระเจ้าอูท่ อง ทรงเป็นองค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา วันอังคารที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินติดตามผลโครงการต่างๆ ทีท่ รงพระราชทานแนวพระราช ด�ำริ ณ ทุ่งมะขามหย่อง ได้แก่ โครงการส่งเสริมอาชีพปลูกพืชอายุสั้นและไม้ผล โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลา และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ในการนี้ได้ทรงเกี่ยวข้าวด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองในพื้นที่นา แปลงสาธิตของเกษตรกร นับเป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทยอีกกรณีหนึ่ง สืบเนื่องจากเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ระบายน�้ำที่ท่วมเข้าไปกักเก็บใน บริเวณสระเก็บน�้ำพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย และมีพระราชกระแสรับสั่งหลังจากน�้ำลดแล้วให้ท�ำการ ปรับปรุงพืน้ ทีส่ ระเก็บน�ำ้ เป็น ๒๐๐ ไร่ สามารถเก็บน�ำ้ ได้เพิม่ ขึน้ เป็น ๑,๐๒๙ ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นลักษณะโครงการ แก้มลิงในฤดูน�้ำหลาก และน�ำน�้ำมาช่วยพื้นที่การเกษตรโดยมีระบบชลประทานในแปลงนาจ�ำนวน ๙๒๑ ไร่ รวมทัง้ โครงการการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ และอ่างเก็บน�ำ้ พระนเรศวรมหาราชเป็นโครงการทีอ่ ำ� นวย ประโยชน์สุขและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยทั้งชาติ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ คุณลักษณะพิเศษ คือ เป็นอนุสรณ์สถานเพือ่ ร�ำลึกถึงพระเกียรติคณ ุ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นแหล่งกักเก็บน�ำ้ ส�ำหรับเกษตรกร ได้ใช้ในฤดูแล้ง เป็นแหล่งระบายน�ำ้ ท่วมขังในฤดูนำ�้ ท่วมของพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นสวนสาธารณะ ส�ำหรับประชาชนโดยทั่วไป โดยภาพทั้งหมดที่ได้น�ำเสนอนี้ เป็นผลงานภาพวาดสีน�้ำของคุณอดิศร พรศิริกาญจน์ ในโครงการสร้างสรรค์ ศิลป์ถนิ่ มรดกโลก ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ซึง่ ด�ำเนินการจัดโดยสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และได้นำ� จัดแสดงพร้อมกับ นิทรรศการ “พระบารมีปกเกล้าชาวอยุธยา” ณ หอศิลป์จงั หวัดพระนครศรีอยุธยา (ชัน้ ๒ อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ไม่เสียค่าใช้จ่าย

เอกสารอ้างอิง การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานพระนครศรีอยุธยา. “ตามรอยพระบาท เสด็จฯ อยุธยา” กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท ครีเอทมายด์ จ�ำกัด, ๒๕๕๕.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 85


ภาพที่ ๔ ชื่อภาพ “สถิตอยู่ในดวงใจ” ทรงเสด็จพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๑๓, ศิลปิน คุณอดิศร พรศิริกาญจน์, Watercolor on paper, ๗๕X๕๕ cm., ๒๐๑๖ 86 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา Journal of Ayutthaya Studies (JAS) ISSN 2229-1644 เป็นวารสารวิชาการของ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีวตั ถุประสงค์เพือ่ เผยแพร่องค์ความรูท้ างวิชาการ และงานวิจยั ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอยุธยา โดยเผยแพร่บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความ งานวิจยั (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformation of Ancient Manuscripts) วิจารณ์หนังสือ (Book Review) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วารสารมีก�ำหนดออกปีละ ๒ ฉบับ คือ มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม บทความที่จะได้รับการ ตีพมิ พ์ ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็นขัน้ แรก แล้ว จัดให้มผี ทู้ รงคุณวุฒภิ ายนอกในสาขานัน้ ๆ ร่วมกลัน่ กรอง (Peer Review) อย่างน้อย ๒ ท่าน ตามเกณฑ์ทกี่ ำ� หนดในลักษณะ Double-blind peer review คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา โดยเผยแพร่ออนไลน์ ในรูปวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการเผยแพร่ในรูปเล่ม ส�ำหรับจัดส่งให้ห้องสมุดและหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ

หลักเกณฑ์ในการรับพิจารณาบทความ

๑. บทความที่จะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ ได้แก่ บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความ งานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformation of Ancient Manuscripts) วิจารณ์หนังสือ (Book Review) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีประเด็นเนื้อหา เกี่ยวข้องทางด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอยุธยา ๒. บทความทางวิชาการ หรือบทความงานวิจัยนั้น ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ หรือก�ำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน ๓. บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๔. บทความได้รับการจัดพิมพ์ ตามข้อก�ำหนด การจัดเตรียมต้นฉบับ ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

การจัดเตรียมต้นฉบับ

๑. พิมพ์ตน้ ฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวทัง้ เรือ่ ง รวมภาพประกอบ ตาราง และเอกสารอ้างอิง ไม่เกิน ๑๕ หน้ากระดาษ เอ ๔ ๒. เว้นระยะขอบด้านบน และด้านซ้าย ด้านละ ๑.๒๕ นิ้ว และเว้นขอบด้านล่างและด้านขวา ด้านละ ๑.๐ นิ้ว ใส่หมายเลขหน้าก�ำกับที่มุมบนขวามือทุกหน้า ๓. ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK และใช้เลขไทยตลอดทัง้ บทความ (ยกเว้นตัวเลขอารบิกในส่วนบทคัดย่อภาษา อังกฤษ ข้อความ หรือชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษ) ๔. ชื่อเรื่อง จัดกึ่งกลาง ขนาดอักษร ๒๐ พอยต์ ตัวหนา มีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๕. บรรทัดถัดจากชื่อเรื่อง เป็นชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จัดชิดขอบขวา ขนาดตัวอักษร ๑๖ พอยต์ และบรรทัดถัดจากชื่อผู้เขียน ตามด้วยต�ำแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงานที่สังกัด ๖. หัวข้อใหญ่ จัดชิดขอบด้านซ้าย อักษรขนาด ๑๘ พอยต์ ตัวหนา ส�ำหรับหัวข้อรอง ให้จัดย่อหน้าปกติ อักษร ขนาด ๑๖ พอยต์ ตัวหนา และตัวอักษรปกติขนาด ๑๖ พอยต์ ๗. บทคัดย่อ หรือ Abstract ต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และต้องก�ำหนดค�ำส�ำคัญ (Keyword) ไม่เกิน ๕ ค�ำ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 81


๘. ถ้ามีภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง ให้ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง และต้องมีชื่อ พร้อมแหล่งที่มาของภาพ ประกอบ แผนที่ หรือตาราง ๙. พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี) และบรรณานุกรมท้ายบทความ ตาม ตัวอย่างการพิมพ์อ้างอิง และบรรณานุกรม ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา และจัดเรียงตามล�ำดับอักษร ถ้ามีบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ ต่อท้ายบรรณานุกรมภาษาไทย

การส่งต้นฉบับบทความ

๑. ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความตามข้อก�ำหนดการจัดเตรียมต้นฉบับ จ�ำนวน ๑ ฉบับ พร้อมแนบไฟล์ภาพประกอบ ที่มีความละเอียดสูง พร้อมกับ “แบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา” มาทางอีเมล ayutthayanuruk@outlook.com ๒. เจ้าของบทความที่ได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ จะได้รับวารสารจ�ำนวน ๒ เล่ม พร้อมเกียรติบัตรจากบรรณาธิการ บริหาร ๓. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิใ์ นการน�ำบทความทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์และสือ่ ของสถาบัน อยุธยาศึกษา สอบถามข้อมูลเพิม่ เติมได้ที่ นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา ฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๘ ๑๓๔๓ ๕๐๗๐ , ๐๘ ๔๐๒๓ ๕๐๕๓ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐๓ ๕๒๔ ๑๔๐๗

ตัวอย่างการพิมพ์อ้างอิง และบรรณานุกรม หมายเหตุ

/ //

หมายถึง ระยะเว้นวรรค ๑ ครั้ง หมายถึง ระยะเว้นวรรค ๒ ครั้ง

การพิมพ์อ้างอิง

พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี) ➢ การพิมพ์อา้ งอิงจาก หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงานการวิจยั / วิทยานิพนธ์ และสิง่ พิมพ์ทม่ี ลี กั ษณะเป็นการ รวมบทความ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/หน้า) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, หน้า ๑๕) ➢ การพิมพ์อ้างอิงจากการการสัมภาษณ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์,/ปี,/วัน/เดือน) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, ๒๓ พฤษภาคม) ➢ การพิมพ์อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น,/เว็บไซต์) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, www.asi.aru.ac.th) ➢ การพิมพ์อ้างอิงจากภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์ (ชื่อเรื่อง,/ปีที่ผลิต,/[ชนิดของวัสดุ]) (ตลาดหัวรอ, ๒๕๕๘, [ภาพนิ่ง])

82 |วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐


การพิมพ์บรรณานุกรม ➢ หนังสือ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//(ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/ส�ำนักพิมพ์. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๗). พระนครศรีอยุธยาในความทรงจ�ำของข้าพเจ้า. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา. ➢ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นการรวมบทความ ผู้เขียนบทความ.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//(หน้า).//เมืองที่พิมพ์:/ส�ำนักพิมพ์. ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์. (๒๕๔๗). อาการกบต้ม (สุก). ใน มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และชับปนะ ปิ่นเงิน (บก.). นพีสีเชียงใหม่. (หน้า ๙๐ – ๙๑). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ➢ วารสาร ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,//ปีที่(ฉบับที่),//หน้าที่อ้าง. ประมูล สัจจิเศษ. (๒๕๔๑). ปัญหาและแนวทางแก้ไขเศรษฐกิจไทย. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, ๑๙(๒), ๓๔ – ๓๙. ➢ หนังสือพิมพ์ ผู้เขียน.//(ปีพิมพ์,//วัน/เดือน).//ชื่อข่าว,//ชื่อหนังสือพิมพ์,//หน้า. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๙, ๒๕ เมษายน). หวั่นถอดถอนมรดกโลกอยุธยา, สยามโพลล์, หน้า ๓๔. ➢ รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ชื่อผู้วิจัย.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิจัย.//(รายงานผลการวิจัย).//เมืองที่พิมพ์:/สถาบัน. ฉันทนา บรรณ และศิริโชติ หวันแก้ว. (๒๕๓๕). การศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผู้ด้อย โอกาส: เด็กท�ำงาน. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์ตามด้วยชื่อปริญญา/สาขาวิชา,//สถาบัน. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๗). การศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศลิ ป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ➢ การสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์.//(ปี,//วัน/เดือน).//ต�ำแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์.//หน่วยงานของผู้ให้สัมภาษณ์.//สัมภาษณ์. บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์. (๒๕๕๒, ๘ มิถุนายน). อธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์. ➢ แหล่งข้อมูลออนไลน์ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น).//ชื่อเรื่อง.//ค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี,//จาก/URL รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๐). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ. ค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๕๗, จาก www.asi.aru.ac.th ➢ ภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์ ชื่อเรื่อง.//(ปีที่ผลิต).//[ชนิดของวัสดุ].//สถานที่ผลิต:/ผู้ผลิต ตลาดหัวรอ. (๒๕๕๐). [แผนที่]. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 83



แบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ข้าพเจ้า นาย นาง นางสาว (ไทย) ....................................................................................................................... อื่นๆ ............................ (อังกฤษ) .................................................................................................................. ตำ�แหน่งทางวิชาการ ..................................................... วุฒิการศึกษาสูงสุด .................................................................... ตำ�แหน่งงาน ................................................................ หน่วยงานที่สังกัด ....................................................................... ขอส่ง

บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์ หรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ บทความแปล (Translated Article) (Transformed Ancient Manuscripts)

สาขา

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ศิลปกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม อื่นๆ (ระบุ) ...............................................................................................................................................

ชื่อเรื่อง

(ไทย) ................................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................

(อังกฤษ) ........................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................... โดยมีผู้แต่งร่วม (ถ้ามี) ๑. ชื่อ .................................................................. ตำ�แหน่งทางวิชาการ ....................................... ๒. ชื่อ .................................................................. ตำ�แหน่งทางวิชาการ ....................................... สถานที่ติดต่อ

................................................................................................................................................................... เลขที่ ................. หมู่ที่ ................. ตำ�บล /ซอย ......................... ถนน ................................................... อำ�เภอ/แขวง ....................................... จังหวัด ................................. รหัสไปรษณีย์ ............................... โทรศัพท์ ............................................................... โทรสาร ...................................................................... E-mail ................................................................. Facebook .................................................................

วัตถุประสงค์ของการตีพิมพ์ เพื่อสำ�เร็จการศึกษาภาคเรียนที่ ....... ปีการศึกษา ............... ภายในวันที่ ..................... ใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนตำ�แหน่งทางวิชาการ/วิชาชีพ อื่นๆ ระบุ ....................................................................................................................... ข้าพเจ้าของรับรองว่าบทความนี้ เป็นผลงานของข้าพเจ้า และผู้ร่วมงานตามชื่อที่ระบุในบทความ (ถ้ามี) และเป็นบทความที่ไม่ได้กำ�ลังมีการนำ�เสนอ หรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ลงชื่อ .......................................................................................... ( .................................................................................... ) วันที่ ............................................................................................

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐ | 85




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.