Jas9 2 2560

Page 1



วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ ISSN 2229-1644

วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านอยุธยาศึกษา โดยพิมพ์เผยแพร่ บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์หรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformed Ancient Manuscripts) บทความปริทศั น์ (Review Article) ทีม่ ปี ระเด็นเนือ้ หาเกีย่ วข้อง กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ปรึกษา : นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม ขอบเขตเนื้อหา : บทความวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และบทความสารคดีที่มีเนื้อหา เกี่ยวข้องกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เงื่อนไขการตีพิมพ์ : บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสาร วิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็นขัน้ แรก แล้วจัดให้มผี ทู้ รงคุณวุฒภิ ายนอก ในสาขานั้น ๆ ร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย ๒ ท่าน โดยเป็นการประเมิน แบบ Double-blind peer review คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบ ชื่อผู้พิจารณา โดยมีการพิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่ม ส�ำหรับจัดส่งให้ห้องสมุดและหน่วยงาน ทางวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งเผยแพร่ออนไลน์ในรูปวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ก�ำหนดเผยแพร่ : วารสารตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ ๒ ฉบับ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม เจ้าของ : สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๙๖ ถนนปรีดีพนมยงค์ ต�ำบลประตูชัย อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐-๓๕๒๔-๑๔๐๗ เว็บไซต์สถาบันอยุธยาศึกษา : asi.aru.ac.th เว็บไซต์วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา : jas.aru.ac.th/ ศิลปกรรม : ปกหน้า-หลัง : ภาพเขียนสีน�้ำของศิลปิน คุณอดิศร พรศิริกาญจน์ พิมพ์ที่ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จ�ำกัด จ�ำนวน : ๖๐๐ เล่ม เนื้อหาและทัศนคติในบทความเป็นของผู้เขียนเท่านั้น บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้ที่ประสงค์จะน�ำข้อความจากบทความ หรือบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการและผู้เขียน


คณะกรรมการกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

บรรณาธิการบริหาร : อาจารย์ ดร.จงกล เฮงสุวรรณ บรรณาธิการ : อาจารย์ชนิกานต์ ผลเจริญ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิรา ปูชตรีรัตน์ อาจารย์กันยารัตน์ คงพร กองบรรณาธิการ : ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวิตรี พิสณุพงศ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดาบเพชร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ ดร.รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา อาจารย์ศุภกาณฑ์ นานรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา อาจารย์ศิขรินทร์ แสงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา เลขานุการกองบรรณาธิการ : นายพัฑร์ แตงพันธ์ คณะท�ำงาน : ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ฝ่ายวิชาการและส่งเสริมวิชาการ ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย นางสาธิยา รื่นชล นางสาวธัญวลัย แก้วแหวน นายปัทพงษ์ ชื่นบุญ นางสาวสายรุ้ง กล�ำ่ เพชร นายอายุวัฒน์ ค้าผล นางสาวศรีสุวรรณ ช่วยโสภา นางสาวอรอุมา โพธิ์จิ๋ว นางประภาพร แตงพันธ์ นางยุพดี ป้อมทอง

2 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ผู้ทรงคุณวุฒิ

พิจารณาบทความวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐

๑. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ๒. รองศาสตราจารย์ยงยุทธ ชูแว่น ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จริยาภรณ์ รุจิโมระ ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลับพลึง คงชนะ ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดาบเพชร ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร ภู่สาระ ๘. อาจารย์ ดร.ฉันทัส เพียรธรรม ๙. อาจารย์ ดร.โดม ไกรปกรณ์ ๑๐. อาจารย์ ดร.ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร ข้าราชการบ�ำนาญ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ข้าราชการบ�ำนาญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ |

3


สารบัญ บทความวิชาการ บทความพิเศษ “การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ศรีศักร วัลลิโภดม และอาภาภิรัตน์ วัลลิโภดม

ภูมิรัฐศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยากับนโยบายการค้า ธีรพงษ์ ค�ำอุ่น และดาฬิกา เอียดล้วน

๑๗

พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร พระพุทธรูปทรงเครื่องภาคใต้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอยุธยา วรวิทย์ สินธุระหัส

๒๙

การกอบเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีคุณค่าต่อชุนชนเจ้าแม่ไทรทอง และชุมชนซอยต้นไทร ต�ำบลไผ่ลิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์

๓๙

ทวีป ดวงนิมิตร : ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานแกะสลักไม้ลายไทย กับการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ธรรมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์ และธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัติ

๕๑

บทความปริทัศน์ : “โยเดียกับราชวงศ์พม่า: เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้” โดย มิคกี้ ฮาร์ท ก�ำพล จ�ำปาพันธ์

๖๓

ชานวัฒนธรรมสถาบันอยุธยาศึกษา สายพระเนตรอันกว้างไกล ในการจัดการน�้ำของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ชนิกานต์ ผลเจริญ

๖๙

ด้วยน�้ำพระทัยที่เมตตา : สู่หัวใจอาณาประชาราษฎร์ที่วัดเสาธงเก่า ปัทพงษ์ ชื่นบุญ

๗๓

ภาพร�ำฤกวันวารเมืองอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อายุวัฒน์ ค้าผล สาธิยา รื่นชล และอรอุมา โพธิ์จิ๋ว

๗๙

จดหมายเหตุพระนครศรีอยุธยา: สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จมาบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเจ้าเจ็ดในและวัดเจ้าเจ็ดนอก พัฑร์ แตงพันธ์

๘๓

4 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


บทบรรณาธิการ เกือบ ๑ ปีแล้วที่เราชาวไทยได้สูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปอย่างไม่มีวันกลับ แต่พระองค์ยังคงสถิตย์อยู่ในใจของคนไทยอย่างไม่เสื่อมคลาย ดังจะเห็นได้ในรายงานข่าวว่ามีจ�ำนวนประชาชนเฉลี่ยวันละ กว่าหนึ่งหมื่นคนจากทุกจังหวัดของไทย เดินทางหลั่งไหลเข้าไปกราบสักการะพระบรมศพ ในส่วนของการเตรียมงานถวาย พระเพลิงนัน้ ข้าราชการจากทุกภาคส่วน อาสาสมัคร และประชาชนทุกหมูเ่ หล่าต่างน้อมใจกันรวมสรรพก�ำลัง ทุม่ เทแรงกาย แรงใจเตรียมงานกันอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะการสร้างพระเมรุมาศ เพือ่ ให้สมพระเกียรติสงู สุดตามโบราณราชประเพณีในการ ส่งเสด็จ “พ่อแห่งแผ่นดิน” กลับสู่สรวงสวรรคาลัย ในนามของคณะกรรมการกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ขอน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ อย่างหาที่สุดมิได้ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ “อยุธยา” ในทุกศาสตร์และทุกมิติ กองบรรณาธิการเปิดรับ งานเขียนทางวิชาการจากผูเ้ ขียนทุกสาขาอาชีพ เพือ่ ส่งเสริมให้ผอู้ า่ นได้รบั ความรู้ ตัง้ แต่รากเหง้าทางประวัตศิ าสตร์วฒ ั นธรรม ไปจนถึงความร่วมสมัยในทุกแง่มุมของ “อยุธยา” ซึ่งงานที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะได้รับการตีพิมพ์ตามล�ำดับ เนื้อหาในส่วนของบทความวิชาการ ประกอบด้วย ๑. บทความพิเศษ “การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม และอาจารย์อาภาภิรัตน์ วัลลิโภดม ๒.ภูมิรัฐศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยากับนโยบาย การค้า โดยคุณธีรพงษ์ ค�ำอุน่ และคุณดาฬิกา เอียดล้วน ๓. พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทมุ พร พระพุทธรูปทรงเครือ่ ง ภาคใต้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอยุธยา โดยอาจารย์วรวิทย์ สินธุระหัส ๔. การกอบเพื่อสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีคุณค่า ต่อชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง และชุมชนซอยต้นไทร ต�ำบลไผ่ลิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยคุณชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์ ๕. ทวีป ดวงนิมติ ร : ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานแกะสลักไม้ลายไทย กับการถ่ายทอดภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ โดยคุณธรรมรัตน์ ศรีสนุ ทรพาณิชย์ และคุณธรรม์มยุรา สุรตั สิ พุ พัติ และ ๖. บทความปริทศั น์ “โยเดียกับราชวงศ์พม่า: เรือ่ งจริงทีไ่ ม่มใี ครรู้ เขียนโดย มิคกี้ ฮาร์ท” โดยคุณก�ำพล จ�ำปาพันธ์ บทความในคอลัมน์ ชานวัฒนธรรมสถาบันอยุธยาศึกษา ประกอบด้วย ๑. สายพระเนตรอันกว้างไกล ในการ จัดการน�้ำของในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยอาจารย์ชนิกานต์ ผลเจริญ ๒. ด้วยน�้ำพระทัยที่เมตตา : สู่หัวใจอาณาประชาราษฎร์ ที่วัดเสาธงเก่า โดยคุณปัทพงษ์ ชื่นบุญ ๓. ภาพร�ำฤกวันวารเมืองอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยคุณอายุวัฒน์ ค้าผล คุณอรอุมา โพธิ์จิ๋ว และคุณสาธิยา รื่นชล และ ๔. จดหมายเหตุพระนครศรีอยุธยา: สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จมาบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเจ้าเจ็ดในและวัดเจ้าเจ็ดนอก โดยคุณพัฑร์ แตงพันธ์ ในนามของคณะกรรมการกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ที่ได้พิจารณา กลั่นกรอง ชี้แนะและปรับปรุงแต่ละบทความให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามวารสาร มาโดยตลอด หากมีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาแจ้งมายังกองบรรณาธิการ จักขอบพระคุณยิ่ง บรรณาธิการวารสารอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ |

5



บทความวิชาการ

บทความพิเศษ “การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”* ศรีศักร วัลลิโภดม อาภาภิรัตน์ วัลลิโภดม เมืองไทยขาดการศึกษาประวัติศาสตร์สังคม หรือประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เช่น เราเห็นแต่อดีตของอยุธยา เห็นซากปรักหักพัง แต่ไม่เห็นชีวิตของคนสมัยก่อนส่งผลให้อยุธยาถูกบดขยี้จากวังน้อย โรจนะ คนอยุธยาถูกจัดสรร พื้นที่ มีการพัฒนาพื้นที่แต่กลับไม่เห็นคน การพัฒนาจากรัฐบาล นักพัฒนา และนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งพวกเขาไม่เคยสนใจว่ามีคนอยู่ในพื้นที่ เรือ่ งนีใ้ นหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงรูม้ าโดยตลอด แต่ทา่ นเป็นพระมหากษัตริยภ์ ายใต้รฐั ธรรมนูญ ท่านไม่สามารถสัง่ การ แบบพระมหากษัตริย์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ แต่ท่านพยายามแก้ไขด้วยการ “เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา” การ เข้าถึงคนของพระองค์ท่าน เช่น ปัญหาชาวเขาท�ำไร่เลื่อนลอยที่ได้รับการแก้ไขในที่สุด ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ไม่ทรง ตรัสถึงเรื่องเชื้อชาติ แต่พระองค์ตรัสว่า “ท�ำอย่างไรจะรักษาคนที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้” ในหลวงทรงศึกษา ภูมิประเทศ ทรงใช้แผนที่ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาจาก “เชิงพระบาท” เป็นประสบการณ์จากที่พระองค์เสด็จ ไปยังที่ต่าง ๆ ท่านพัฒนาจากข้างใน ใช้แผนที่ (bottom up) ดังเช่น กรณีชาวเขาท�ำไร่เลื่อนลอย ที่ได้รับการเปลี่ยน จากการผลิตฝิ่น เป็นการผลิตผลไม้เมืองหนาวและใช้การท่องเที่ยว การใช้อุตสาหกรรมเบาแปรรูปสิ่งที่ผลิต ไม่พึ่งพา พ่อค้าคนกลาง แต่ทา่ นไม่ได้ทรงปฏิเสธอุตสาหกรรม ท่านมองแผนทีแ่ บบหนอน ท่านลงไปย�ำ่ ด้วยพระบาทถึงได้รวู้ า่ อะไรเป็นอะไร เช่น ภูมินิเวศน�้ำมาจากไหน น�ำ้ เข้ามาทางไหน รวมกับการสอบถามคนท้องถิ่น ท่านทรงแก้ไขปัญหา น�ำ้ ท่วมได้ทกุ ครัง้ ในหลวงไม่ทรงมองแผนทีแ่ บบนก เพราะจะไม่ได้ขอ้ มูลทีแ่ ท้จริง ในหลวงทรงได้รบั ข้อมูลจากข้างใน ดังนั้นถ้ามีอะไรท่านจะแก้ไขได้ตลอด แต่ท่านไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนาจากข้างนอก เพียงแต่คนท้องถิ่นต้องต่อรองเอง มีประวัติศาสตร์ของตนเอง

ภาพที่ ๑ สไลด์ประวัติศาสตร์สังคมท้องถิ่น * บทความนี้ เป็นการถอดองค์ความรูจ้ ากการอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร “การวิจยั ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ” ของสถาบันอยุธยาศึกษา ซึง่ จัดขึน้ ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และ วัดตะโก อ�ำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ |

7


ภาพที่ ๒ สไลด์ค�ำศัพท์ทางมานุษยวิทยาพื้นฐาน ๔ ค�ำ

“หัวใจของวันนี้ คือ คนในท้องถิ่นที่ต้องมี ประวัติศาสตร์ของตนเอง” ซึ่งประวัติศาสตร์สังคม ไม่ เ คยมี บ นแผ่ น ดิ น ไทยมาก่ อ นเลย ถึ ง แม้ ว ่ า จะเคย มี นั ก สั ง คมวิ ท ยาจากต่ า งประเทศมาศึ ก ษาไว้ ใ นช่ ว ง สงครามเย็ น (ค.ศ. ๑๙๔๖-๑๙๙๐) เคยมี ง านของ อาจารย์รุ่นแรก ๆ ศึกษาไว้บ้าง เช่น อาจารย์สุเทพ อาจารย์อคินทร์ ระพีพัฒน์ (อ.อคินทร์ ศึกษาสังคมไทย สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ทีโ่ ด่งดังมาก) ส่วนใหญ่เป็นงานแบบเศรษฐศาสตร์จลุ ภาค ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์แบบมหภาค เรื่องท้องถิ่น ให้ดูว่า ตั้งถิ่นฐานมากันกี่ชั่วคน ไม่ต้องย้อนไปไกลถึงสุโขทัย ถึงอยุธยา แต่ให้รู้การเปลี่ยนแปลงแต่ละรุ่น การที่นักวิจัยจะเข้าถึงคนไม่ใช่ง่าย ๆ กว่าจะ เข้าถึงทุกคนใช้เวลานานมาก ๆ กว่าเขาจะไว้ใจ นักวิจยั ใช้ทั้งวิธีที่ซื่อ และไม่ซ่ือในการหาข้อมูลล้วงความลับ ต่าง ๆ มาให้ได้ การนินทาเป็นการควบคุมสังคม (social control) รูปแบบหนึ่งที่เป็นข้อมูลให้เราได้ ถ้าความ สัมพันธ์ของเรากับเขาใกล้ชิด และถ้าเขาไว้วางใจ เขาก็ จะมาให้ข้อมูล กรณีวัดม่วง วัดจันทร์เสน ประสบความ ส�ำเร็จในการสร้างพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา เป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น จึงมีโอกาส เรียนรู้ท้องถิ่นได้มากกว่า หากรู้วิธี ก็น�ำไปจัดการได้ การรวบรวมข้อมูลจะใช้เวลาไม่นาน ทีส่ ำ� คัญคือการเข้าถึง คนใน เพราะลูกหลานเขามาเรียนกับเรา การได้ข้อมูล ประวัติศาสตร์ภายในมันได้ประวัติศาสตร์ร่วม ได้เห็น ความสัมพันธ์ ดังนี้

๑. คน หรือ มนุษย์ ๒. สังคมวัฒนธรรม ๓. ชุมชน ๔. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ท�ำให้เกิดความเป็นเจ้าของร่วมกัน (sense of belongings) ท�ำให้เกิดส�ำนึกร่วมกัน ทั้ง ทางประวัติศาสตร์ ทางชาติพันธุ์ เห็นวัฒนธรรมเห็นคน ถึ ง แม้ ว ่ า จะทะเลาะกั น แต่ ก็ ต ายร่ ว มกั น ซึ่ ง ปั จ จุ บั น ไม่มีแล้วเนื่องจากไทยสูญเสียพื้นที่วัฒนธรรมไปตั้งแต่ หนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ต้นเหตุความพินาศทางพืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรมของไทย มี ๓ ประการหลัก ได้แก่ ๑. ให้กรรมสิทธิ์ที่ดิน (cash crop) ๒. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางอ�ำนาจ ๓. การสร้างพื้นที่บริหาร เช่น ต�ำบล อ�ำเภอ จังหวัด ทับลงไปบนพื้นที่ทางวัฒนธรรม ผู้ใหญ่บ้าน ก�ำนัน นายอ�ำเภอ เป็นตัวท�ำลาย พื้นที่ทางวัฒนธรรม การไม่มี local government มีแต่ local administration ท�ำให้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับรัฐบาล ท้องถิ่นถูกท�ำลาย ไม่มีพื้นที่ให้โหยหาอดีต ไม่มี civil society การมอบอ�ำนาจให้องค์การบริหารส่วนต�ำบล ท�ำให้เกิดการกดขี่กันมาตลอด ดังนั้นชุมชนต้องเข้มแข็ง พอที่จะต่อรองกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก อาจารย์ราชภัฏต้องเป็นหัวหอกประวัติศาสตร์ สังคมท้องถิน่ ต้องพัฒนาจากข้างใน เป็นพีเ่ ลีย้ งให้ชมุ ชน เหมือนที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงท�ำมา ความรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเขาจะเป็นฐานให้เขาพัฒนา ตนเอง การอบรมนีเ้ ป็นงานวิจยั พืน้ ฐาน (basic research) จะได้ไม่ถูกหาว่าเป็นมือที่สาม อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น เวลาจะลงทุนที่ไหน เขาต้องศึกษาพื้นที่นั้นด้วยการวิจัย พื้นฐานก่อน จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง ส่วนไทย เราขาดเรื่องชีวิตวัฒนธรรม ขาดความรู้เพื่อพัฒนาคนใน ท้องถิน่ ทัง้  ๆ ทีร่ ฐั บาลควรเป็นผูช้ ว่ ยขจัดความรุนแรง แต่ คอยดูให้ดี กรณีความไม่เข้าใจในภาคใต้จะรุนแรงยิ่งขึ้น

8 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


กรณีเขตเศรษฐกิจพิเศษจะท�ำลายนับไม่ถ้วน เพราะ นายทุนจ�ำนวนหยิบมือเดียว ร้อยละ ๑๐ แต่คุมพื้นที่ มากถึงร้อยละ ๙๐ ด้วยเหตุนี้ถึงเกิดปฏิวัติในจีน และ เวียดนาม ในภาคอีสานของไทยเคยเกิด up rising ดังนัน้ จ�ำเป็นต้องพัฒนาจากภายใน ถ้าท�ำตามสหรัฐอเมริกา จีน หรือทุนนิยมที่ผสมกันมา ประเทศไทยจะแย่ คนไทย ยังไม่รู้ กรณีระเบิดแก่งในแม่น�้ำโขง ทุนจีนจะลงจาก เชียงราย มาถึง แพร่ น่าน และถึงมรดกโลกอยุธยาในทีส่ ดุ อาจารย์ราชภัฏต้องท�ำให้เกิดส�ำนึกร่วม ให้สติปัญญา คนในท้องถิ่นไปดูแลตัวเอง มนุษย์ไม่ใช่วัวควายให้เขาใช้ แต่มนุษย์เป็นจุลจักรวาล

๑. คน หรือ มนุษย์ ๒. สังคม หรือ วัฒนธรรม ๓. ชุมชน ๔. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ชุมชนไม่หยุดนิง่ แต่เป็นชีวติ วัฒนธรรมทีม่ พี ลวัต เปลี่ยนแปลงไป การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือการเข้าใจ ตนเอง เข้าใจมนุษย์ในฐานะจุลจักรวาล ถ้ารู้ว่าเราเป็น ใคร มีจุดอ่อนยังไง จะท�ำให้เราเข้มแข็งและเข้าใจตนเอง คนเป็นสัตว์สังคม คนต้องมีมิติโครงสร้างสังคม คนเกิด มายังดูแลตัวเองไม่ได้ (ไม่เหมือนสัตว์ที่เกิดมาไม่กี่นาทีก็ เดินได้) คนต้องมีครอบครัว อาศัยแม่หรือพ่อดูแล ดังนั้น ความสัมพันธ์ คน-คน ไม่พอ คนต้องสัมพันธ์กับปัจจัย ๔ ด้วย คน-ปัจจัย ๔ คน-โครงสร้าง

ภาพที่ ๓ สไลด์คนกับจักรวาล

ความรู้ที่เป็นฐานท�ำให้เกิด interdisciplinary คื อ หลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งของในหลวงรั ช กาลที่ ๙ ที่ ไ ม่ เ น้ น เชิ ง อรรถ แต่ เ น้ น เชิ ง พระบาท ที่ ท รงเสด็ จ พระราชด�ำเนินลงไปจริง ๆ ทุกพื้นที่ ความมุ่งหมาย ถ้าเราท�ำได้ ๑. จะได้ชีวิตความเป็นมาของคนในท้องถิ่น ๒. ได้อดีตที่ย้อนไปได้ เช่น ๒.๑ ได้ตำ� นาน ๒.๒ ได้ตระกูลทีเ่ ข้ามาก่อน หรือใครเข้ามา ก่อน-ถ่ายทอดมาแล้วกี่รุ่น ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ไ ด้ คื อ ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ มี ชีวิต (living history) ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่ตายแล้ว หัวใจ คือ ให้เขารู้จักตัวเอง ประวัติศาสตร์คือการ เปลีย่ นแปลงจากข้างใน ในชัว่ อายุคนของพวกเขา เป็น ประวัติศาสตร์เล็ก ๆ ส�ำคัญที่

ภาพที่ ๔ สไลด์จักรวาล

ภาพที่ ๕ สไลด์ชุมชน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ |

9


บางอย่างวิทยาศาสตร์ตอบไม่ได้ แต่ความเชื่อ จิตวิญญาณตอบได้ ยกตัวอย่างเช่น คนหลายคนนั่งรถ โดยสารแล้วรถวิ่งไปโดนระเบิด ท�ำให้ผู้โดยสารแต่ละคน ประสบชะตากรรมแตกต่างกันไป บางคนตาย บางคน แขนขาหัก บางคนแผลถลอก แต่บางคนไม่เป็นไรเลย วิทยาศาสตร์ตอบไม่ได้ว่าท�ำไมแต่ละคนจึงประสบชะตา กรรมแตกต่างกัน เมื่อมนุษย์ตอบแบบวิทยาศาสตร์ไม่ได้ จึงผลักไปตอบแบบจิตวิญญาณ

ศาสนา กับ ไสยศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไร? กับศาสนา มนุษย์สยบยอม แต่กับไสยศาสตร์ มนุษย์เอาชนะ เราต้องเข้าใจว่าคนมีมิติ ความเชื่อ จิตวิญญาณ ด้วย ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ก็เข้าใจชุมชน คนมีมิติต่าง ๆ มา ร้อยรัดไว้ด้วยกัน ท�ำให้อยู่รอดร่วมกัน วัฒนธรรมเป็น สิ่งที่คนสร้างขึ้นมาท�ำให้ด�ำรงชีวิตร่วมกันได้ วัฒนธรรม ที่ถูกดึงออกไปแล้วไม่เห็นคน ถือว่าใช้ไม่ได้ บริบททาง สังคม (social context) วัฒนธรรมต้องเห็นคน ดังนั้น ในท้องถิ่นต้องเห็นบริบทชุมชนหรือสังคม สังคมประชาธิปไตยของไทยแย่ลงเพราะรัฐบาล หลายชุ ด ได้ น� ำ Americanization เข้ า มาท� ำ ลาย วัฒนธรรมดั้งเดิม เราต้องไม่ลืมว่าแต่ละที่เขามีลักษณะ เฉพาะตัวของเขาเอง ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “ถ้าศาสนา ไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” แต่โชคดีที่คนไทยมีในหลวง รัชกาลที่ ๙ เป็นผู้น�ำทางบารมีมาเป็นเวลายาวนาน เป็น สิ่งที่คนไทยยอมรับโดยสยบยอม ท่านใช้ทศพิธราชธรรม ทศบารมี ท่านเป็นผู้ให้แบบพระโพธิสัตว์ ท้องถิ่นไทย แต่ละที่ก็โชคดีเช่นกัน เช่น ภาคอีสานมีหลวงปู่มั่น เป็น แม่ทัพธรรม หลวงพ่อรวยแห่งชุมชนบ้านตะโก ต�ำบล ดอนหญ้านาง อ�ำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่าน เป็นผู้น�ำบารมี มีเรื่องความเชื่อ ไสยศาสตร์ แต่สงั คมจาก ภายนอกมาท�ำให้ทา่ นดูเกินจริงไป ตลอด ๘๐ ปีทผี่ า่ นมา เป็นบุญของคนไทยที่มีในหลวงรัชกาลที่ ๙ และไม่เคย ว่างเว้นจากการมีผู้น�ำบารมีท้องถิ่น

วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อให้ ด� ำ รงชี วิ ต รอดร่ ว มกั น และยั ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ม นุ ษ ย์ สร้างขึ้นมาเพื่อให้มีชีวิตรอดร่วมกัน ดังนั้นจุดประสงค์ ของสัตว์สังคม คืออยู่รวมกัน สร้างเครื่องมือเพื่อให้มี ชีวิตรอด สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเรียกว่าวัฒนธรรม แต่ถ้า เป็นสัตว์อื่น ๆ พวกปลวก มด แตน สร้างขึ้นจะไม่เรียก ว่าวัฒนธรรม เช่น รังแตนมีลักษณะหรือรูปแบบเป็น ๖ เหลี่ยมมาเรียงต่อ ๆ กัน รังแบบนี้พบได้ทุกที่ ทุกเวลา พวกมันสร้าง ตามสัญชาตญาณ แตกต่างกับคน ทีล่ กั ษณะ หรือรูปแบบบ้านมีการพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลง ตรงนี้ คือวัฒนธรรมคน-กาลเทศะ ท�ำให้วฒ ั นธรรมมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงได้ ในเรื่องสังคมวัฒนธรรม นามธรรม คือ ค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา และ ประเพณี ส่วนสิง่ ทีเ่ ป็นรูปธรรม คือ อะไรทีเ่ ราเห็นด้วยตา มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ สัตว์มีสัญชาตญาณ มี sign ส่งสัญญาณ ส่วนมนุษย์มีการเรียนรู้ และมีระดับความ สามารถเหนือกว่าสัตว์ มนุษย์สร้างสัญลักษณ์ ความหมาย ซับซ้อนกว่าสัตว์ มีภาษาที่ถือว่าเป็นศักยภาพของมนุษย์ เท่านั้นที่ท�ำได้ มนุษย์ในโลกตะวันออก มีลักษณะสยบยอม จักรวาล เน้นพิธีกรรมศาสนา มีความเจริญรุ่งเรืองทาง ประเพณีและวัฒนธรรม มนุษย์ในโลกตะวันตก มีลกั ษณะท้าทายจักรวาล เอาชนะธรรมชาติ มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นวัฒนธรรมไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลง แต่การที่วัฒนธรรมอยู่เหนือบริบทมันจะอันตราย ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมต้องอยู่ในบริบทของสังคม ค� ำว่ า นวั ตกรรม (innovation) ใช้ กับ การ เปลีย่ นแปลงข้างใน มนุษย์ใช้นวัตกรรมการเปลีย่ นแปลง จากภายในเมื่อเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่เป็นอยู่มันใช้ไม่ได้ เช่น บ้านเก่า ๆ ประเพณีเก่า ๆ จึงต้องเปลี่ยนแปลงจาก ข้างใน เมื่อมนุษย์มีการติดต่อรับวัฒนธรรมเข้ามา (การ แพร่กระจายทางวัฒนธรรม (social contact/diffusion) ดังนี้

10 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


สิ่งที่ดี ขัดแย้ง

๑. ถ้ า วั ฒ นธรรมนั้ น เหมาะสมกั บ ตนก็ เ ป็ น ๒. ถ้าวัฒนธรรมนั้นไม่เหมาะสม จะเกิดความ

๓. อาจเกิดการ localization ผสมผสานหรือ ต่อรองวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ จนอยู่ด้วยกันได้ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมไทยคื อ การรั บ เอา วัฒนธรรมเข้ามาทั้งหมดและเปลี่ยนแปลงทั้งหมด เช่น การรั บ กฎหมายตะวั น ตกเข้ า มาใช้ แ ทนที่ ก ฎหมาย ตราสามดวงได้ก่อให้เกิดความหายนะในสังคมไทย การแพร่ ก ระจายทางวั ฒ นธรรม (social contact/diffusion) เช่น ดินแดนสุวรรณภูมิรับเอา วัฒนธรรมอินเดียเข้ามา (Indianization) ใช้ในการตัง้ ชือ่ ท�ำให้ชอื่ เรากลายเป็นภาษาบาลีสนั สกฤต ไม่ใช่ภาษาไทย หรือในปัจจุบันมีการรับเอาวัฒนธรรม J-Pop, K-Pop ในการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ถ้าวัฒนธรรมใหม่ มันมาเร็วเกินไปกว่าที่เราจะผสมผสานหรือต่อรองทาง วัฒนธรรม จะท�ำให้เกิดความแปลกแยก (alienation) ทางวัฒนธรรม น�ำไปสู่วัฒนธรรมล้า หรืออาจถึงขั้น วัฒนธรรมล่มสลาย (culture lag) กล่าวคือ ไม่มีการ สืบทอดต่อมาจากอดีตอีกต่อไป เช่น คนแก่แปลกแยกกับ โทรศัพท์รุ่นใหม่ ๆ ที่เอื้อมไปใช้ฟังก์ชันใหม่ ๆ ไม่ได้ หรือ กรณีเด็กวัยรุน่ แต่งตัวตามแฟชัน่ ทีด่ ไู ม่เรียบร้อยไปเข้าวัด ตัวอย่าง culture lag เช่น การปรับตัวไม่ได้ เกิดการ ล้าหลัง ดังเคยมีกรณีตัวอย่างการบริหารจัดการภาคใต้ ส่งผลให้คนภาคใต้ปรับตัวไม่ได้จนเกิดความขัดแย้ง และ กรณี ๔ จี ท�ำให้คนที่ใช้ ๒ จีปรับตัวไม่ได้ หรือการสร้าง ถนนในเชียงใหม่ ที่ทำ� ให้ในช่วงเวลานั้นคนถูกรถชนตาย มากกว่าเดิม หน้าที่ของเราคือช่วยให้ชุมชนปรับตัวหรือ รับมือได้ทัน สังคมไทยในอดีต ๕๐๐ B.C. ลงมา มีพื้นที่เป็น ชุมชนบ้าน และชุมชนเมือง ชุมชนบ้านมีศูนย์กลางคือ วัด มัสยิด โบสถ์ ศาลเจ้า คนในชุมชนท�ำพิธีกรรมร่วมกัน และรู้จักกัน ส่วนชุมชนเมืองมีการสร้างบ้าน แปลงเมือง มีบา้ นหลาย ๆ บ้าน มีหลาย ๆ ชุมชน มีศนู ย์กลางร่วมกัน หลายอย่าง มีสถานที่ประกอบพิธีกรรมขนาดใหญ่ เช่น

พระสถูป เจดีย์ และพระธาตุ มีพิธีกรรมที่ถือเป็นการ กระท�ำทางสังคมร่วมกัน (social action) เช่น งานบุญ พระเวส พระราชพิธี ๑๒ เดือน สังคมชาวนาเป็นเครือข่าย ทีเ่ ชือ่ มต่อกัน (link network) บนพืน้ ทีก่ ว้างขวางใหญ่โต

ภาพที่ ๖ สไลด์ท้องถิ่น : บ้านและเมือง

หัวใจที่เราต้องท�ำ คือ ดูความสัมพันธ์ของเขา ทัง้ เรือ่ งพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรม (cultural landscape) และ คนในสังคม พื้นที่ทางวัฒนธรรมต้องถูกก�ำหนดจากข้างใน ไม่ใช่จากข้างนอกเข้าไป ซึ่งจะท�ำให้เกิดความเสียหาย รัฐบาลไป Top down โดยที่ไม่เข้าใจว่าพื้นที่วัฒนธรรม คืออะไร เช่น กะเหรี่ยงคอยาว อ่าวไร่เลย์ เราต้องสนใจ ประวัตศิ าสตร์จากคนใน ปัจจุบนั เรามองพืน้ ทีแ่ ตกต่างไป จากคนแบบเดิม peasant (ไม่ใช่ farmer) สังคมชาวนา มองพื้นที่อีกอย่างหนึ่ง เขามอง บ้าน vs. หมู่บ้าน แต่คน ปัจจุบันมองพื้นที่การบริหารจัดการ พื้นที่ทางเศรษฐกิจ การเมือง พื้นที่การเมืองการบริหารจัดการเป็นการมอง แบบตัวเลข เป็นการท�ำลายพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดย สิ้นเชิง หัวใจของการศึกษาชุมชนท้องถิ่นคือการศึกษา คนกับชุมชน คนในสังคมอดีตจะมีพื้นที่ธรรมชาติที่มี ความโดดเด่น เช่น ภูเขา แม่นำ�้ ที่มนุษย์มองว่าเป็นพื้นที่ ศักดิส์ ทิ ธิเ์ พราะเป็นทีอ่ ยูข่ องสิง่ เหนือธรรมชาติ จึงเชือ่ ว่า ต้องบวงสรวงเพราะเชื่อว่าสิ่งเหนือธรรมชาติดูแลมนุษย์ คนที่ท�ำกิจกรรมร่วมกัน เกิดส�ำนึกร่วม เกิดประเพณี ร่วมกัน เช่น เทศกาลกินเจจากเกาะภูเก็ตได้แพร่กระจาย เป็นที่รู้จักไปทั่ว

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 11


การศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ เราต้องให้ความ สนใจ ความสัมพันธ์ระหว่าง คน-คน คน-ธรรมชาติ คนสิง่ เหนือธรรมชาติ อิทธิพลของสิง่ เหล่านีฝ้ งั ลึกอยูใ่ นความ เชื่อของคน จนน�ำมาสู่การตั้งชื่อบ้านนามเมือง (prease name) ในหลายลักษณะ ดังนี้ ๑. การตั้งชื่อตามภูมิลักษณ์ เช่น หนองจิก ดอนหญ้านาง มาจาก ดอนย่านาง (ต้นย่านางที่เป็นเถา) หรือที่จังหวัดสกลนคร มีอ�ำเภอวานรนิวาส แต่เดิมชื่อ กุดลิง (กุด แปลว่า หนองน�ำ้ ลิง คือต้นหูลิง) คือ พื้นที่ หนองน�้ำที่เต็มไปด้วยต้นหูลิง แต่ทางราชการเข้ามา เปลี่ยนชื่อเป็นวานรนิวาส เพราะเข้าใจว่าเป็นบ้านที่ลิง (monkeys) อาศัยอยู่ โดยที่ไม่ได้ถามชาวบ้านก่อน ถือ เป็นการท�ำลายชุดความรู้เดิมลงไป ๒. การตั้งชื่อตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ๓. การตั้งชื่อตามผู้นำ� ชุมชน ๔. การตั้งชื่อตามวรรณคดี ๕. การตัง้ ชือ่ ตามการใช้ประโยชน์ เช่น ทุง่ เลีย้ ง สัตว์ ๖. การตั้งชื่อตามสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น นางเลิ้ง มาจากตุ่มอีเลิ้ง ๗. การตั้ ง ชื่ อ ตามต� ำ นาน (myth) มี ฐ านะ เทียบเท่าประวัติศาสตร์ โดยคนในสร้างขึ้นมาอธิบาย สิ่งรอบตัว และคนในชุมชนเชื่อว่าเป็นจริง ต�ำนานส่งผล ต่อพฤติกรรม และการด�ำเนินวิถชี วี ติ ในทุก ๆ ด้าน เช่น ความเชื่อว่าล�ำปางเป็นเมืองต้องอาถรรพ์ เป็นต้น ความเชือ่ ว่าล�ำปางเป็นเมืองต้องอาถรรพ์ มาจาก ต�ำนานวัดพระแก้วดอนเต้า มีอยู่ว่า วันหนึ่งนางสุชาดา พบแตงลูกใหญ่มากในสวน จึงผ่าออกดู เจอหยกสีเขียว อยูข่ า้ งในแตง แต่นางมีจติ เป็นกุศลจึงน�ำหยกนัน้ ไปถวาย พระสงฆ์ ก็มีคนนินทาว่านางไปมีอะไรกับพระสงฆ์ (เหตุ มาจากคนตระกูล ณ ล�ำปาง) นางต้องโทษประหาร ใน ขณะที่แห่นางไปลานประหาร การเดินทางผ่านหมู่บ้าน สุ ด ท้ า ยของนาง ยั ง น� ำ ต� ำ นานนี้ ม าตั้ ง ชื่ อ หมู ่ บ ้ า นว่ า บ้านนางเหลียว เพื่อพิสูจน์ว่านางไม่ผิดก่อนตายนางจึง

ได้อธิษฐานขอให้เลือดของนางพุง่ ขึน้ ฟ้า และเมืองล�ำปาง จะท�ำการใดก็ไม่เจริญ ชาวบ้านจึงเชือ่ ว่าการทีค่ วามเจริญ ไปอยู่เชียงใหม่ทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ทุกอย่างต้องเดินทางผ่าน ล�ำปางก่อนก็มาจากต�ำนานนี้ กล่าวคือ ต�ำนานหรือความเชือ่ พืน้ บ้านอบอวล อยู ่ ใ นวิ ถี ชี วิ ต ไม่ ว ่ า จริ ง หรื อ ไม่ ก็ ล ้ ว นแต่ มี ผ ลต่ อ พฤติกรรม และส่งผลต่อการควบคุมพฤติกรรม หลายชื่ อ มาจากสภาพพื้ น ที่ จ ริ ง ของท้ อ งถิ่ น ผสมผสานกับต�ำนาน เช่น “เมืองลุงมีดอน นครมีท่า เมื อ งตรั ง มี น า สงขลามี บ ่ อ ” เมื อ งลุ ง คื อ พั ท ลุ ง มี ควนขนุน ควนมะพร้าว ควนถม ควนสาร (มาจากชื่อ ฤาษีแปลงสาร ให้พระรถแต่งงานกับนางเมรี) เมืองนคร คือ นครศรีธรรมราช มีท่าศาลา ท่าม้า ท่าเรือ เมืองตรัง มีนา นาลง นาโต๊ะหมิง สงขลามีบ่อ บ่อยาง บ่อทรัพย์ บ่อเตย บ่อโยง หลายชื่อมาจากสภาพจริงของพื้นที่และเสียง เพี้ยนไป เช่น วัดขนอน (วัดขนอนโปลาวาส) จังหวัด ราชบุ รี (ที่ มี ห นั ง ใหญ่ ไ ด้ รั บ รางวั ล จาก UNESCO) วัดขนอน เดิมชื่อ วัดกานอน (อีกามานอนตอนกลางคืน) ส่วนวัดกาเกาะ (คืออีกามาเกาะตอนกลางวัน) ในสมัย รัชกาลที่ ๕ ท่านจะเสด็จวัดกานอน เจ้าอาวาสจึงเปลี่ยน ชื่อวัดเป็นวัดขนอน โดยใช้ชื่อเหมือนด่านเก็บภาษี

ภาพที่ ๗ สไลด์ท้องถิ่น

12 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ดังนัน้ ทีม่ าทีไ่ ปของชุมชน ควรสัมภาษณ์มาได้วา่ ชุมชนมาจากไหน เนื่องจาก ๑. มนุษย์หาที่อยู่ในแหล่งอุดมสมบูรณ์ ๒. การลี้ภัยหรือโรคระบาด ๓. การเป็นแหล่งความเจริญ ๔. ความเชื่อว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ (ทางเหนือ เรียกว่า พื้นที่ขึด ทางอีสานเรียกว่า พื้นที่ปะรัม) ๕. อาจมาจากการ “กัลปนา” คือการอุทิศคน หรือข้าพระให้ไปดูแลศาสนสถานนั้น แต่ เ ดิ ม คนไม่ ไ ด้ ม องแม่ น�้ ำ ทั้ ง สาย แต่ ม อง เท่ า ที่ ส ายตาตั ว เองเห็ น เช่ น แม่ น�้ ำ ท่ า จี น ในเขต นครสวรรค์เรียก คลองมะขามเฒ่า แต่ในเขตนครปฐม เรียก แม่น�้ำนครชัยศรี ดังนั้นถ้าจะเข้าใจคนท้องถิ่นว่า มองแบบไหน ก็ต้องเข้าใจมุมมองของเขา พื้นที่บางแห่งมีความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อ เช่น เขาคิชกูฏ เขาหลวง เขาสามมุก ใน แม่น�้ำบางแห่งเชื่อว่ามีพญานาคอยู่ คนอีสานเรียกพื้นที่ ศักดิ์สิทธิ์ว่าปะรัม และห้ามคนอยู่อาศัยหรือห้ามสร้าง บ้าน เพราะสงวนไว้ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ดั ง นั้ น พื้ น ที่ วั ฒ นธรรมถู ก สร้ า งขึ้ น โดยคนใน คนในเท่านัน้ จึงจะรูว้ า่ ไปทางไหน การตัง้ ชือ่ บ้านนามเมือง (prease name) น�ำไปสู่แผนภูมิหรือแผนผังของเมือง (charter) จนกลายเป็ น พื้ น ที่ วั ฒ นธรรม (culture landscape) เช่ น ชาวหลวงพระบางเชื่ อ ว่ า เมื อ ง หลวงพระบางเป็นเมืองที่สร้างขึ้นโดยพญานาค กระท�ำ โดยพญานาค ทุกอย่างถูกก�ำหนดโดยพญานาค

ภาพที่ ๘ สไลด์แม่น�้ำโขง-แม่น�้ำคาน เมืองหลวงพระบาง

ชาวหลวงพระบางเชื่อว่ามีพญานาค ๑๕ ตัว ดูแลแม่นำ�้ มาจากศรีสตั นาคนหุต ล้านช้างร่มขาว เชือ่ ว่า แม่นำ�้ โขง คือ ข้างกายของพญาศรีสตั นาค (ระยะทางไปถึง จุดสิ้นสุดที่แม่น�้ำดง) ส่วนแม่น�้ำคาน บริเวณปากแม่น�้ำ มีพญานาครักษา ๑๕ ตัว กลางเมืองมีภสู ี เชือ่ ว่าเป็นรูของ พญานาคศรีสัตนาค มีบริเวณน�้ำพุ ที่เรียกว่า หนองหล่ม (แหล่งน�้ำใต้ดิน) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คนลาวเชื่อว่าใคร ก็ไปแตะต้องไม่ได้ ส่วนฝั่งตะวันออกของเมืองเป็นภูเขา มีต�ำนานนางกากี (นางเมรี) ครองเมืองอยู่ (เชื่อว่าเป็น ที่บริเวณภูช้าง) ต่อมาพระรถเข้ามาและได้แต่งงานกับ นางเมรี ต่อมาพระรถหนีไป เชื่อว่าบริเวณภูท้าวภูนาง คื อ บริ เวณที่ น างเมรี ต ามพระรถไปต่ อ ไม่ ไ ด้ จึ ง ขาดใจ ส่วนล�ำน�้ำดงคือ เชียงดงเชียงทอง

ภาพที่ ๙ แผนที่เมืองหลวงพระบาง

หลายเมื อ งมี ต� ำ นานแบบนี้ อธิ บ ายพื้ น ที่ วัฒนธรรมได้ ตัวอย่างหลวงพระบางแต่เดิมเชื่อเรื่องนาค ต่อมาเป็นพระพุทธศาสนา เห็นจากการสร้างพระธาตุ ปิดบนรูนาค ต�ำนาน มี ๒ ชุด ๑. ชุดดั้งเดิม (เช่น พญานาค) ๒. ชุดใหม่ (เช่น พระพุทธศาสนา) หลายเมืองมีลักษณะ matrix locality คือ ผู้หญิงเป็นใหญ่ เนื่องจากผู้หญิงรู้ประเพณีวัฒนธรรม ดังนั้นเราสามารถไล่เรียงดูต�ำนานจากแผนที่ได้เลย เช่น หลวงพระบาง สามารถลงจุดภูมิวัฒนธรรมบนแผนที่ได้ เช่น ภูมิวัฒนธรรมอ่าวปัตตานี

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 13


ภาพที่ ๑๐ แผนที่ภูมิวัฒนธรรมอ่าวปัตตานี

หลายเรื่องไม่ถูกต้อง เช่น รัฐ ๔.๐ ท�ำลาย วัฒนธรรมดั้งเดิม สร้างความทุกข์ให้ชาวบ้าน ส่วนทาง สกว. ก็เหลือนักวิจยั ท้องถิน่ เพียงกลุม่ เดียว มันไม่เพียงพอ ดังนั้นทางเราต้องช่วยกัน ในการสัมภาษณ์หาข้อมูล คนที่รู้เยอะ พูดได้ แต่เขียนไม่ได้ ภูมิวัฒนธรรม (culture landscape) มีนิเวศ วัฒนธรรม (culture ecology) ซ้อนอยู่ข้างใน มีชีวิต วัฒนธรรม (culture way of life) อีกด้วย เรื่องนิเวศ วัฒนธรรม เราคนนอกเข้าไปท�ำไม่ได้ แต่ต้องให้คนในท�ำ แล้วเราไปสัมภาษณ์เขา อาศัยการมองพื้นที่แบบ เล็กกลาง-ใหญ่ หรือ ใหญ่-กลาง-เล็ก ก็ได้ ภูมิวัฒนธรรม (culture landscape) คือพื้นที่ สุดลูกหูลูกตา เป็นพื้นที่เข้าใจระบบ นิเวศวัฒนธรรม (culture ecology) เป็นพื้นที่ ระดับกลาง ใช้ท�ำมาหากิน จัดการที่อยู่อาศัย ชีวติ วัฒนธรรม (culture way of life) เป็นพืน้ ที่ ระดับเล็กสุด จะเห็นเครือญาติระดับ network ดังนั้น เวลาศึกษาให้น�ำ Kinship Terminology : Cognates (Terms of Reference) เข้ า มาใช้ ด ้ ว ย (Kinship Terminology คือ ค�ำศัพท์เรียกญาติ หรือการดูความ สัมพันธ์ในระดับเครือญาติ)

นั ก วิ จั ย ต้ อ งคุ ย กั บ คนในเพราะคนในรู ้ เ ยอะ พูดได้ แต่เขียนไม่ได้ อีกประการหนึ่งต้องให้เกียรติความ เชื่อของคนใน ที่เชื่อว่าต�ำนานศักดิ์สิทธิ์ ส่วนเราเป็น คนนอก อย่าไปเอาต�ำนานของเขามาล้อเลียน เหมือน ที่มีการท�ำภาพยนตร์ ท�ำละครน�้ำเน่ากับต�ำนานของเขา หน้าที่ของเราคือหาต�ำนาน (myth) อะไร ที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะนั้นเพราะเป็นเครื่องมือที่คนใน สร้ า งขึ้ น มาอธิ บ ายประวั ติ ศ าสตร์ ข องตนเองและ ครอบครัว โดยที่นักวิจัยต้องไม่มองว่าสิ่งนั้นจริงหรือ ไม่จริง และไม่มองว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก เช่น เหตุการณ์ รศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ที่ฝรั่งเศสปกครองจันทบุรี ชาวฝรั่งเศสบอกว่าสร้างป้อมปืนไว้ แต่ชาวบ้านบอกว่า เป็นคุกขี้ไก่ (แล้วนักวิจัยจะท�ำไมล่ะ) ระวังไว้ว่าต�ำนาน เป็นของแท้ สมัยหนึง่ จะพูดอย่างหนึง่ แต่ถา้ นักวิจยั อยาก จะเข้าไปเปลีย่ นของเขา เขาจะต่อต้านแล้วเราจะเข้าพืน้ ที่ นั้นไม่ได้อีก ต�ำนานคือสิ่งที่คนท้องถิ่นสร้างขึ้นมาเพื่อ ตอบโต้กบั สภาพแวดล้อมรอบตัวเขา ดังนัน้ นักวิชาการ ต้องรู้กาลเทศะ รับรู้คุณค่าภายในของเขา ไม่ใช่ตัดสิน ว่าผิดหรือถูก เช่น บั้งไฟพญานาคที่ชาวบ้านเชื่อ ถ้า นักวิจัยไปละเมิดเขาก็เท่ากับไปท�ำลายเขา ชาวบ้าน ไม่จ�ำเป็นต้องมีเงินในกระเป๋า แต่มีการต่อตรงไปถึง ปัจจัย ๔ เช่น ในหมูบ่ า้ นปากยาม บริเวณปากน�ำ้ สงคราม ต่อจากล�ำน�้ำโขง ห้ามผู้หญิงท้องแก่ลงเล่นน�้ำยามเพราะ

14 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ปลาจะชนจนแท้งได้ หรือกรณีหมู่บ้านผีปอบ (ผีปอบ เป็น accusation) เป็นที่รวบรวมของคนที่ถูกเนรเทศ สังคมมีกลไกควบคุมความเรียบร้อย โดยการนินทาหรือ กล่าวหา ท้องถิ่นใช้หลักความเท่าเทียมกัน เช่น ถ้านาย คล้อย (ผูค้ า้ วัวควาย) ร�ำ่ รวยผิดปกติ จะถูกเนรเทศออกไป ค�ำพูดลอยลม สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในหมู่บ้าน การลงพื้นที่เปรียบเสมือนการไปออกบวช ต้อง ท�ำใจกับสภาพที่ไม่คุ้นเคย บางที่ดูสกปรก เช่น ชาวบ้าน ล้างชามแล้วคว�ำ่ ไว้หน้าห้องส้วม ส่วนการอธิบาย นักวิจัยควรอธิบายในมุมมอง ของชาวบ้าน เช่น เหมืองแร่โปแตส ที่กุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี สอดคล้องกับต�ำนาน “ผาแดงนางไอ่” ต�ำนานผาแดงนางไอ่ คือ ท้าวพญาขอมมีธิดา ชื่อ “นางไอ่” นางสวยมาก มีเจ้าชาย ๓ พระองค์มา ชอบ ซึ่งหนึ่งในนั้นชื่อ “พังคี” เป็นลูกชายของพญานาค ศรีสุทโธ พังคีแปลงกายเป็นกระรอกเผือก (หรือที่ภาษา อีสานเรียกว่า กะฮอกด่อน) เพื่อมาดูหน้านางไอ่ “ท้าว ผาแดง” คนรักของนางไอ่ ไล่จับกระรอกเผือก (กระรอก เผือกวิ่งหนีไป ๓๐ หมู่บ้าน มีหลายชื่อที่เกี่ยวข้อง เช่น หมู่บา้ นคอนสาย หมู่บา้ นปืนปัง) ลงมาเฉือนเนือ้ กิน ด้วย ความที่เป็นพญานาคยิ่งเฉือนเนื้อยิ่งเพิ่ม จนคนได้กิน เนื้อกระรอกเผือกทั้งเมือง ยกเว้นท้าวผาแดง พระ และ หญิงหม้ายอีก ๑ คนที่ไม่ได้กิน กระรอกเผือกตาย เมื่อ พญานาคศรีสุทโธรู้จึงโกรธแค้น จึงยกทัพมาถล่มเมือง จนพินาศเหลือแต่หนองน�้ำ มีผู้รอดชีวิตเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ กินเนือ้ กระรอกเผือก ท้าวผาแดงพานางไอ่ ควบม้าหนีไป ม้าชือ่ บักสาม (มีชอื่ หมูบ่ า้ นสามพลาด) แต่สดุ ท้ายนางไอ่ ไม่รอด ผาแดงจึงกลับเมือง ตรอมใจตายในที่สุด เรื่องนี้คนอีสานน�ำมาเปรียบเทียบกับการท�ำ เหมืองแร่โปแตส ภาคอีสานมีเหล็กกับเกลือ ท�ำให้คน อีสานอยูร่ อดมาได้มากกว่า ๓,๐๐๐ ปีแล้ว การท�ำเหมือง แร่โปแตส ผู้ลงทุนสามารถไปยื่นเรื่องที่รัฐบาลได้โดยตรง ไม่ต้องขอจากชาวบ้าน ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะถ้ามีบ้านอยู่

บน salt dome แล้วท�ำเหมือง ต่อมาถ้าบ้านยุบแล้วใคร จะรับผิดชอบ เหมืองแร่โปแตสสร้างงาน สร้างเงิน แต่มี ข้อเสียคือ ไอเกลือสามารถกัดกร่อนโบราณวัตถุได้ เช่น กลองวัดโบราณ คนอีสานไม่ตอ้ งการเหมืองแร่โปแตส ถ้า ท�ำเหมืองแร่โปแตสก็เหมือนกับการกินเนือ้ กระรอกเผือก เพราะกินเนื้อกระรอกเผือกเพียงวันเดียวเมืองล่มสลาย ถ้าท�ำเหมืองเมืองก็ล่มไปด้วย ท�ำนาก็ไม่ได้ สังเกตว่า คนสมัยก่อนสอนตามความเชือ่ ไม่ใช่ ตามหลักวิทยาศาสตร์ เกลือเท่ากับกระรอกเผือก ถ้า เกลือขึ้นมามากจะแย่ ปกติจะท�ำตามฤดูกาล หน้าฝน ไม่ทำ� ดังนัน้ ต�ำนานมีความรูท้ างวิทยาศาสตร์ซอ่ นเร้นอยู่ ชาวบ้านรู้มาตลอดเรื่องเกลือ ถ้าท�ำโปแตสแล้วเหลือแต่ เกลือ ธรรมชาติพัง ชาวบ้านอธิบายเป็นความเชื่อ แต่ เขาเป็นผู้รู้ธรรมชาติดีที่สุด กล่ า วโดยสรุ ป ในการศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ท้องถิ่น ควรเริ่มจาก ๑. ต้องดูมิติคนกับธรรมชาติว่ามีอะไรบ้าง แล้วเชื่อมโยงแบบองค์รวม โดยเริ่มจากส่วนเล็ก ๆ แล้วไปเชือ่ มโยงกับบริบทส่วนใหญ่ เช่น อาหาร-วรรณคดี เช่น พระราชนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ๒. อาจศึ ก ษาองค์ ร วมก่ อ น แล้ ว ค่ อ ยลง ไปในทางที่เราถนัด เช่น ความเชื่อ สังคม เทคโนโลยี การจัดการน�้ำ เช่น flood way อยุธยา จากคลองขุด (คลองกระมัง) โดยปกติน�้ำจากหัวรอไปหัวแหลม แต่ คลองขุดท�ำให้น�้ำจากหัวแหลมมายังหัวรอ คลองขุด ๒ ด้านเป็นการจัดการน�้ำโดยตรง สมัยอยุธยามีก�ำแพง เมืองสูง มีประตูน�้ำเปิดปิด ปัจจุบันไม่เหมือนสมัยก่อน ปี ๒๕๕๔ ถึงเอาไม่อยู่ อยุธยาเป็นชุมทางของแม่น�้ำ แม่นำ�้ ป่าสัก แม่นำ�้ ลพบุรี หัวรอเป็นจุดระบายน�ำ้ มากทีส่ ดุ แม่นำ�้ น้อย แม่น�้ำเจ้าพระยา เข้ามาที่หัวรอ ๓. การเลือกพื้นที่ ดูชุมชนที่มีความโดดเด่น ในเรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ อาหาร ฯลฯ และมีบริบทที่เป็นองค์รวมในการศึกษา เป็นต้น

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 15



บทความวิชาการ

ภูมิรัฐศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยากับนโยบายการค้า Geopolitics of Ayutthaya Kingdom and its Trade Policy

ธีรพงษ์ ค�ำอุ่น/Teeraphong Kumoun รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Candidate) สาขายุทธศาสตร์และความมั่นคง และข้าราชการรัฐสภา ดาฬิกา เอียดล้วน/Darika Aiatluan ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ และข้าราชการรัฐสภา

บทคัดย่อ บทความนี้ ศึกษาและวิเคราะห์ภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐ ซึ่งในบทความนี้ จะน�ำเสนอ ภูมิรัฐของกรุงศรีอยุธยากับนโยบายการค้า โดยจากการศึกษาพบว่า สภาพภูมิศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยานั้น อาศัย สภาพตามธรรมชาติ เช่น แม่น�้ำ ล�ำคลอง เป็นต้น และมีการสร้างภูมิศาสตร์เพิ่มเติมโดยการขุดคลองเพื่อประโยชน์ ในทางการค้า และภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าวก�ำหนดให้อยุธยามีนโยบายที่จะต้องท�ำการค้าระหว่างรัฐ และมีการควบคุม การค้าโดยรัฐ และจากการค้านัน้ ได้สนับสนุนอาณาจักรอยุธยาให้มคี วามมัง่ คัง่ กล่าวโดยสรุปอยุธยาใช้ภมู ศิ าสตร์เพือ่ การสนับสนุนภูมิรัฐศาสตร์ของตน เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในการเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเส้นทางการค้า ค�ำส�ำคัญ : ภูมิรัฐศาสตร์ นโยบายการค้ากรุงศรีอยุธยา

Abstract This article aims to study and analyze geopolitics related to state policy with an emphasis on the geopolitics of Ayutthaya Kingdom and its trade policy. It is found that, geographically, the Kingdom of Ayutthaya consisted of natural and man-made rivers and canals which were useful for trade. According to this geopolitics of Ayutthaya Kingdom, policies concerning international trade and trade control by the state were required to be established. The wealth gained from the trade with foreign countries made the Kingdom of Ayutthaya became prosperous. In conclusion, Ayutthaya took advantage of its geographical location, midway on the trade routes, to support its geopolitics. Keywords: geopolitics, Ayutthaya trade policy

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 17


บทน�ำ จากค�ำโบราณที่ว่า การสร้างบ้านแปงเมืองนั้น มี พั ฒ นาการจากสั ง คมร่ อ นเร่ จ นมนุ ษ ย์ อ ยู ่ เ ป็ น กลุ ่ ม ชุมชน เผ่าพันธุ์ และมีหลายตระกูล หลายเผ่าพันธุ์เข้า มาอยู่ด้วยกัน ท�ำให้มนุษย์อยู่กันเป็นสังคม และมีความ สัมพันธ์กัน รวมทั้งมีชุมชนเกิดขึ้น ซึ่งรัฐไทยมีรากเหง้า เป็นสังคมเกษตรกรรม บริเวณใดหรือที่ใดดินด�ำน�้ำชุ่มก็ จะไปตัง้ หลักแหล่งอยูอ่ าศัย เกิดเป็นบ้าน หมูบ่ า้ น ชุมชน เมื่ออยู่รวมกันหลาย ๆ บ้านก็ต้องมีศูนย์กลาง เพื่อการ แลกเปลี่ยนจนเป็นเมือง และในพื้นที่เดียวกันนี้จะเกิด ระบอบผู้ปกครอง ผู้น�ำ หรือเกิดกษัตริย์ขึ้นมา เมืองก็ จะกลายเป็นรัฐ (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, ๒๕๖๐) อาณาจักร อยุธยาก็มีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงเมือง หรือนครา และ เป็นรัฐแบบจารีตในเวลาต่อมา ทั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่มีท�ำเลที่ตั้งใน ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น�้ำ และมีสภาพเหมาะที่จะ ท�ำการเกษตร และในฤดูฝนชุกก็จะมีน�้ำหลากเอ่อล้น เข้าท่วมพื้นที่ลุ่ม ซึ่งเป็นการพัดพาความอุดมสมบูรณ์มา จากด้านบนของอาณาจักรเข้าสู่ตอนใน จนท�ำให้อยุธยา เป็นแหล่งเสบียงอาหารหล่อเลี้ยงชุมชน เมืองจากการ เพาะปลูก จากเหตุนี้ ผูเ้ ขียนจึงขอเสนอภูมริ ฐั ศาสตร์ของ กรุงศรีอยุธยากับนโยบายการค้า ซึ่งมีผลต่อการสืบทอด อ�ำนาจและการคงอยู่ของอาณาจักรเป็นระยะเวลากว่า สีร่ อ้ ยกว่าปีเศษ และเป็นมหานครที่ “รุม่ รวย” ในสมัยนัน้ ของแถบภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จึงเป็นประเด็นที่ผู้เขียน จะพยายามอธิบายโดยใช้หลักภูมิรัฐศาสตร์มาวิเคราะห์ อย่างไรก็ดี บทความนี้จะน�ำเสนอศาสตร์การ เลือกท�ำเลที่ตั้งของมนุษย์หรือภูมิศาสตร์ ที่อาศัยสภาพ แวดล้อมและธรรมชาติเพื่อความเป็นอยู่ และเพื่อใช้เป็น แนวทางการวิเคราะห์ได้ว่า ภูมิศาสตร์สัมพันธ์กับรัฐได้ อย่างไร และรัฐในบทความนีค้ อื รัฐโบราณเยีย่ งอาณาจักร อยุธยา

บทความนีจ้ งึ แบ่งการน�ำเสนอออกเป็นสามตอน ประกอบด้วย ความเป็นมาของภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ของอาณาจักรอยุธยา และภูมิรัฐศาสตร์กับนโยบายการ ค้าของอาณาจักรอยุธยา โดยผู้เขียนจะน�ำเสนอด้วยการ อธิบายในภาพรวมทัง้ อาณาจักรและจะหยิบยกเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์พอสังเขป

๑. ความเป็นมาของภูมริ ัฐศาสตร์ ถ้ากล่าวถึงภูมริ ฐั ศาสตร์ผเู้ ขียนจะน�ำเสนอค�ำว่า ภูมิรัฐศาสตร์คืออะไร และสัมพันธ์อย่างไรกับรัฐ จะเริ่ม จากการให้นิยามความหมายเสียก่อน เริม่ ต้นที่ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ ค วามหมายของภู มิ รั ฐ ศาสตร์ ว ่ า วิ ช าในหมวด สั ง คมศาสตร์ ส าขาหนึ่ ง ที่ ค ล้ า ยวิ ช าภู มิ ศ าสตร์ ท าง การเมือง แต่เน้นหนักไปทางการเมือง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๘๒๕) จาก ความหมายนี้ ยังมีความคลุมเครือและไม่ชดั แจ้งนัก แต่ถา้ มีการแยกค�ำระหว่างค�ำว่า “ภูมศิ าสตร์” กับ “รัฐศาสตร์” ออกจากกัน พอจะให้ความหมายโดยสังเขปดังนี้ ในลองแมนดิกชันนารี (Longman Dictionary) ให้ ค วามหมายภู มิ ศ าสตร์ ว ่ า คื อ การศึ ก ษาสภาพ ภูมิประเทศต่าง ๆ ในโลก รวมทั้งทะเล แม่นำ�้ เมือง และ อื่ น  ๆ บนพื้ น ผิ ว โลก (Longman Dictionary of Contemporary English, 2015) ส่วนสารานุกรมบริตานิกา (Encyclopedia Britannica) ให้ความหมายว่า ภูมิศาสตร์ คือ ศาสตร์ ที่ศึกษาพื้นผิวโลก โดยการพรรณนา วิเคราะห์ถึงความ หลากหลายทางกายภาพ ชีวภาพและสิ่งปลูกสร้างที่ มนุษย์สร้างขึน้ บนพืน้ โลก ซึง่ สัมพันธ์กนั ระหว่างลักษณะ ของแต่ละภูมิภาค (W.H. Depuy, 1899) หากพิจารณาที่รากศัพท์ค�ำว่า “ภูมิศาสตร์” มี ที่มาจาก ๒ ค�ำ คือ ค�ำว่า “ภูมิ” ซึ่งแปลว่าแผ่นดินหรือ พื้นโลก และค�ำว่า “ศาสตร์” หมายถึง วิชาความรู้ และ เมื่อผนวกเข้าด้วยกันจึงมีความหมายว่า วิชาความรู้ที่ ศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินหรือพื้นโลก โดยมีสาระของวิชา เน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ๔ ประการ ดังนี้

18 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ประการที่หนึ่ง ภาคพื้นดิน ประการที่สอง ภาคพื้นน�้ำ ประการที่สาม ภาคบรรยากาศ ประการที่สี่ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ (เว็บไซต์ baanjom yut.com) นอกจากนี้ ภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาถึงความ สัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติกับสังคมที่ ปรากฏในที่ต่าง ๆ ของโลก และเป็นการศึกษาอย่างมี เหตุมีผล โดยการใช้หลักเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ (เว็บไซต์ npru.ac.th) โดยทั่วไปภูมิศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์เชิงพื้นที่ (Spatial science) ภายใต้นิยามนี้ สาระของความรู้ จะเน้นและให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์และ สังเคราะห์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในแต่ละ พื้นที่บนพื้นโลก (ฉัตรชัย พงศ์ประยูร, ๒๕๔๙) กล่าวโดยสรุป “ภูมิศาสตร์” คือ สภาพทาง กายภาพที่ปรากฏบนพื้นโลกที่สัมพันธ์กับสังคม ความ รู้สึกนึกคิด และมีอิทธิพลต่อรัฐในโลก และกล่าวโดยย่อ คือ สภาพที่ตั้งของรัฐเชิงกายภาพ ชีววิทยาของรัฐ ส่วนค�ำว่า “รัฐศาสตร์” (Political Science) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชา สังคมศาสตร์ทศี่ กึ ษาเกีย่ วกับรัฐ ประกอบด้วย ทฤษฎีแห่ง รัฐ การวิวัฒนาการรัฐ การเกิดรัฐ สถาบันทางการเมือง กลไกการปกครอง การจัดองค์การต่าง ๆ ในทางปกครอง รูปแบบของรัฐบาล สถาบันที่ต้องออกกฎหมาย และ ความสัมพันธ์ของเอกชน กลุม่ ชนกับรัฐ และความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐกับรัฐ ตลอดจนแนวคิดทางการเมืองต่าง ๆ (ฤทธิชัย แกมนาค, ม.ป.ป., หน้า ๒-๓) และเป็นศาสตร์ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาการเมืองการ ปกครองโดยเฉพาะ (ฤทธิชัย แกมนาค, ม.ป.ป., หน้า ๔) นอกจากนี้ ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ให้ความหมายรัฐศาสตร์ว่า เป็น ศาสตร์ที่มุ่งเน้นการศึกษาทฤษฎีและพฤติกรรมของรัฐ การเมืองในระดับท้องถิ่น การเมืองของรัฐ และระหว่าง ประเทศ การท�ำความเข้าใจในสถาบันของรัฐ และศึกษา สิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับสาธารณะ รูปแบบและการส่งเสริมความ

เป็นพลเมืองของรัฐ (เว็บไซต์ polisci.washington.edu) ส่วนเมอเรียมเวบเตอร์ ดิกชันนารี ให้ความ หมายรั ฐ ศาสตร์ ว ่ า เป็ น ศาสตร์ ด ้ า นสั ง คมที่ อ ธิ บ าย และวิเคราะห์เกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง รัฐ และ กระบวนการ (เว็บไซต์ merriam-webster.com) อี ก ทั้ ง เบอร์ น าด คลิ ค (Bernard Crick) ให้ ค วามหมายว่ า รั ฐ ศาสตร์ เ ป็ นการรวบรวมเอาผล ประโยชน์หรืออุดมการณ์ที่แตกต่างกันมารวมไว้เป็นก ลุ่มเดียวกัน เพื่อความผาสุกของคนในทุกกลุ่ม และเดวิด อีสตัน (David Easton) ให้ความหมายว่า รัฐศาสตร์คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการเลือกสรรสิ่งที่ดีให้คนในสังคมได้อยู่ กิน ใช้อย่างมีคุณภาพ (เว็บไซต์ wordpress.com) อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน รัฐศาสตร์มีความหมายว่า วิชาว่าด้วยการเมืองและการ ปกครองประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เอกวิทย์ มณีธร, ๒๕๕๖, หน้า ๖-๗) ทั้งนี้ รัฐศาสตร์ มีลักษณะเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เนื่องจากรัฐศาสตร์มี ลักษณะเป็นศาสตร์ เป็นองค์ความรู้และมีการจัดหมวด หมู่อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีลักษณะเป็นศิลป์ เนื่องด้วย รัฐศาสตร์จะต้องมีการประยุกต์องค์ความรู้มาใช้ ตาม กาลเทศะ และความเหมาะสมตามฐานานุรปู ของแต่ละรัฐ กล่าวโดยสรุป รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษา เกี่ยวกับรัฐ และเป็นวิทยาการที่อยู่ภายใต้สังคมศาสตร์ และมี ก ารจั ด ระบบหมวดหมู ่ อ ย่ า งชั ดแจ้ ง เช่ น การ ปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเมืองจนอาจจะแยก ไม่ออก แต่พอจะแยกจากกันได้ว่า รัฐศาสตร์นั้นเป็น วิทยาการหรือองค์ความรู้ แต่การเมืองมีลักษณะหนักไป เชิงการกระท�ำหรือเป็นกิจกรรม วกกลั บ มาที่ ป ระเด็ น ภู มิ รั ฐ ศาสตร์ ซึ่ ง เป็ น ค�ำส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่การเสนอว่า ภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐ ซึ่งรัฐโบราณ๑ เช่น อาณาจักรอยุธยานั้นสัมพันธ์กัน อย่างไรกับนโยบายการค้า และก่อนจะเข้าสู่ประเด็นนั้น ในที่นี้ ผู้เขียนจะขอเสนอกรอบแนวคิดของภูมิรัฐศาสตร์ พอสังเขป โดยมีรายละเอียดดังนี้ รัฐโบราณ หมายถึง รัฐในยุคเก่าที่ไม่มีอาณาเขตแน่นอนตายตัว และมี ลักษณะความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจอย่างหลวม ๆ ๑

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 19


วิ กิ พี เ ดี ย สารานุ ก รมเสรี ใ ห้ ค วามหมายของ ภูมิรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาผลกระทบของภูมิศาสตร์ ที่ เ กิ ด จากมนุ ษ ย์ แ ละธรรมชาติ ที่ มี ผ ลต่ อ การเมื อ ง ระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่ง เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศ และการคาดการณ์ พฤติกรรมทางการเมืองที่มีปัจจัยทางภูมิศาสตร์เป็น ตัวแปร เช่น ภูมศิ าสตร์ ภูมภิ าคศึกษา สภาพดินฟ้าอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ และศาสตร์ตา่ ง ๆ ทีม่ กี ารพัฒนาขึน้ ในพืน้ ทีเ่ ฉพาะนัน้  ๆ เป็นต้น (เว็บไซต์ en.wikipedia.org) ส่วนเอนไซโครพีเดีย บริเทนนิกา สารานุกรม ด้านรัฐศาสตร์ ได้ให้ความหมายของภูมิรัฐศาสตร์ว่า เป็นการวิเคราะห์อิทธิพล และอ�ำนาจทางภูมิศาสตร์ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และภูมิรัฐศาสตร์ใน ศตวรรษที่ ๒๐ ได้รับความส�ำคัญเพิ่มขึ้นจนขยายไปทั่ว ยุโรป จากงานการศึกษาของนักรัฐศาสตร์ชาวสวีเดน ชื่อ รูดอลฟ คเจนเลน (Rudolf Kjellén) ในชื่อของ ภูมิศาสตร์การเมืองก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นภูมิรัฐศาสตร์ ในภายหลัง (เว็บไซต์ britannica.com) วิทยาลัยระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเยาหราล เนรู ให้ความหมายภูมริ ฐั ศาสตร์วา่ เป็นการท�ำความเข้าใจ การเมืองโลกจากสภาพพืน้ ที่ ซึง่ เกิดจากการเปลีย่ นแปลง ตามสภาพพื้นที่ (เว็บไซต์ jnu.ac.in) แนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ เป็นแนวคิดด้านรัฐศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับสูง ซึ่งใช้วิเคราะห์ความ สัมพันธ์ระหว่างการเมืองและภูมิศาสตร์ และมากไป กว่านั้นภูมิศาสตร์ยังเป็นตัวก�ำหนดรูปร่างของรัฐ เช่น เขตแดนตามธรรมชาติ สหพันธรัฐที่มีการรวมตัวกัน หลายรัฐ เช่น ความคิดทางประวัติศาสตร์ที่พัฒนามา จากพื้นที่ เช่น เรื่องนาคซึ่งมีอิทธิพลต่องานวรรณกรรม และการเกิดพิธีกรรมของรัฐในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ (Radenko, 2016, p. 84) รวมทั้ง สภาพพื้นที่มีอิทธิพล ต่อการเกิดลัทธิความเชือ่ และศาสนา ตลอดจนอารยธรรม เช่น นครรัฐกรีกโบราณ ทีเ่ ป็นเมืองท่าการค้าจึงมีการแลก เปลี่ยนและเกิดวิทยาการขึ้น จนพัฒนาเป็นต้นธารแห่ง อารยธรรมของโลกตะวันตกในเวลาต่อมา อีกทางหนึ่ง แนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ได้ครอบง�ำ แนวนโยบายหรือพฤติกรรมของรัฐ ซึง่ เป็นการคาดการณ์

อนาคตว่า รัฐจะด�ำเนินพฤติกรรมอย่างไรในอนาคต ดัง จะเห็นจากพฤติกรรมของรัฐในยุโรปช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ที่เยอรมนีมีแนวคิดขยายดินแดนตนเองออกไป เพือ่ ตอบสนองความต้องการทางการเมืองภายในประเทศ และการสร้างมหาอาณาจักรใหม่ให้แก่ชนชาติเยอรมัน โดยการผนวกดินแดนโปแลนด์มาเป็นของตนเนื่องจาก มีดินแดนติดกัน (Tuathai, 1996, p. 154) สภาพภูมิศาสตร์ของรัฐที่มีผลต่อการก�ำหนด นโยบายและพฤติกรรมของรัฐ เช่น อังกฤษ ที่แยกตัว ออกจากแผ่นดินยุโรปและมีสภาพเป็นเกาะ ท�ำให้องั กฤษ ได้เปรียบรัฐอื่น เวลาเกิดสงครามในยุโรปมักจะไม่ได้รับ ความเสียหายหรือถูกโจมตียาก เพราะการเป็นเกาะ และ มีผลดีต่ออังกฤษให้ต้องมีการพัฒนากองทัพเรือและการ เดินเรือเพื่อการใช้ป้องกันตนเอง รวมทั้งเพื่อท�ำสงคราม กับรัฐอืน่ เพราะมีสภาพเป็นเกาะ ตลอดจนมีดนิ แดนแยก จากกันหลายส่วน จึงต้องมีศักยภาพของกองทัพเรือสูง ซึ่งส่งผลต่อการล่าอาณานิคมและสนับสนุนการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศในเวลาต่อมา (อนันชัย จินดาวัฒน์, ๒๕๕๘) ทัง้ นี้ ภูมริ ฐั ศาสตร์มกี ารเชือ่ มโยงอย่างเป็นระบบ ระหว่างพื้นที่ที่สนใจกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สัมพันธ์ กับการผันแปรของการเมืองระหว่างรัฐ และรัฐในฐานะ ที่เป็นองค์กรของสังคมมนุษย์ และเปรียบเสมือนสิ่งมี ชีวิต ซึ่งลงหลักปักฐานในธรรมชาติตามสภาพแวดล้อม ดังนัน้ รัฐจึงต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อมทางภูมศิ าสตร์ (สุรศักดิ์ พันธเศรษฐ, ๒๕๕๐, หน้า ๑๒๗-๑๒๘) นอกจากนี้ ภู มิ รั ฐ ศาสตร์ คื อ ลั ก ษณะทาง กายภาพที่ เ กิ ด ขึ้ น ที่ ก� ำ หนดหรื อ เป็ น ตั ว บั ง คั บ รั ฐ ให้ ด� ำ เนิ น การใด ๆ จากสภาพพื้ น ที่ ข องตน และเป็ น ข้อก�ำหนดทีเ่ กิดขึน้ เองตามธรรมชาติและเกิดขึน้ ภายหลัง เมื่อมนุษย์สร้างขึ้น กล่าวโดยง่าย เป็นโครงสร้างทาง กายภาพที่ก�ำหนดพฤติกรรมของรัฐ เพื่อการรักษาผล ประโยชน์ของรัฐ และตอบสนองความต้องการภายในรัฐ ที่สะท้อนออกมาจากลักษณะทางกายภาพ กล่าวโดยสรุป ภูมิรัฐศาสตร์เป็นแนวคิดด้าน ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองภายในรัฐและระหว่าง รั ฐ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ในภู มิ ภ าคยุ โรปและแพร่ ข ยายในช่ ว ง

20 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


สงครามโลกครั้งที่ ๒ และสงครามเย็น รวมทั้งมีอิทธิพล ต่ อ รั ฐ มหาอ�ำนาจในการขยายดินแดนและการแสดง พฤติกรรม เช่น นโยบายต่างประเทศ นโยบายการพัฒนา กองทัพเรือของอังกฤษเพื่อสนับสนุนการล่าอาณานิคม เนือ่ งจากอังกฤษมีสภาพเป็นเกาะ และมีดนิ แดนในอาณัติ อยูใ่ นหลายทวีป ซึง่ ภูมริ ฐั ศาสตร์นสี้ ามารถสร้างให้รฐั เป็น มหาอ�ำนาจได้ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แม้วา่ แนวคิดภูมริ ฐั ศาสตร์นมี้ าจากโลกตะวันตก แต่แนวคิดดังกล่าวสามารถน�ำมาอธิบายพฤติกรรมของรัฐ ได้ หรือเป็นการท�ำความเข้าใจต่อการด�ำเนินนโยบายของ รัฐในระดับหนึ่งได้ ไม่เว้นแม้แต่ในโลกตะวันออกและรัฐ จารีตแบบอาณาจักรอยุธยา

๒. ภูมิศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยา ที่ผ่านมาที่ตั้งของอาณาจักรอยุธยาก่อน

หน้านั้น มีผู้คนเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอน ล่างของลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ แล้ว เช่น เมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรขอมและสุโขทัย

เริ่มเสื่อมอ�ำนาจลง อยุธยาจึงสถาปนาขึ้นด้วยการผนวก ก�ำลังระหว่างเมืองส�ำคัญ คือ แคว้นสุพรรณภูมแิ ละแคว้น ละโว้ โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งสันนิษฐานว่า สถาปนาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ (จิตรสิงห์ ปิยะชาติ, ๒๕๕๔, หน้า ๑๔) ในระยะแรกศูนย์กลางอ�ำนาจทางการเมืองของ อาณาจักรอยุธยายังไม่มั่นคงนัก ด้วยอิทธิพลของแคว้น สุโขทัยและเขมรพระนครที่ยังหลงเหลืออยู่ (Cotterell, 2015, p. 158-159) แต่อย่างไรก็ตาม อยุธยามีสภาพที่ ตั้งที่ ๑๓ ๑/๒ องศาเหนือของเส้นศูนย์สูตร และมีระยะ ห่างจากทะเลประมาณ ๒๐ ไมล์ทะเล ซึ่งไม่ไกลมากนัก (กรมศิลปากร, ๒๕๔๘, หน้า ๙) ก่อนนี้ อโยธยาเป็นเมืองเก่ามาก่อนจะสร้าง กรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีอยุธยาบริเวณหนองโสนย้าย มาทีหลังในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ และก่อนหน้านั้น วังกษัตริย์เห็นไม่ชัด จนสมัยพระบรมไตรโลกนาถจึงมี ที่นั่งว่าราชการเป็นการถาวร ซึ่งเมืองอโยธยา และกรุง ศรีอยุธยาที่สถาปนาขึ้นเป็นภาพต่อไป

ภาพที่ ๑ เมืองอโยธยาเก่ากับกรุงศรีอยุธยาที่สถาปนาขึ้นใหม่ ที่มา : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 21


ถ้าพิจารณาสภาพที่ตั้งและรูปลักษณ์ของกรุงศรีอยุธยาเมื่อเป็นปึกแผ่น และเจริญรุ่งเรืองแล้ว กรุงศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูดังภาพต่อไป

ภาพที่ ๒ สภาพภูมิศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ที่มา : สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน

ภาพที่ ๓ เส้นทางแม่น�้ำล้อมกรุงศรีอยุธยา ที่มา : สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน

จากภาพข้างต้น กรุงศรีอยุธยามีสภาพคล้ายเป็น เกาะโดยมีแม่นำ�้ ล้อมรอบทุกด้าน และแม่นำ�้ ทีไ่ หลล้อมตัว เกาะเมือง ได้แก่ แม่นำ�้ ลพบุรอี ยูท่ างด้านทิศเหนือ แม่นำ�้ ป่าสักอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และแม่นำ�้ เจ้าพระยาอยู่ ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ต่อมาได้มีการขุดคลอง เชื่อมแม่น�้ำลพบุรีกับแม่น�้ำป่าสัก เรียกชื่อว่า คูขื่อหน้า ซึง่ อยูท่ างด้านตะวันออกเหนือสุดของตัวเกาะเมือง แม่นำ�้ ลพบุรีจึงไหลมาลงแม่น�้ำป่าสักมากขึ้น เพราะระยะทาง ใกล้กว่า ส่งผลให้แม่น�้ำลพบุรีสายเดิมที่ไหลไปลงแม่น�้ำ เจ้าพระยา ตื้นเขินและแคบลง ปัจจุบันเรียกชื่อว่า คลอง เมือง อยูท่ างตอนเหนือสุดของตัวเกาะเมือง (สารานุกรม ไทยส�ำหรับเยาวชน, ม.ป.ป.) นอกจากการขุดคลองภายในตัวเกาะเมืองของ กรุงศรีอยุธยา และสถานที่ใกล้เคียงแล้ว ยังมีการขุด คลองลัดในล�ำน�้ำเจ้าพระยาหลายแห่ง เพื่อให้เรือเดิน ทางจากปากน�ำ้ ไปสูก่ รุงศรีอยุธยาได้สะดวก และรวดเร็ว ยิง่ ขึน้ คลองลัดส�ำคัญในแม่นำ�้ เจ้าพระยาทีข่ ดุ ขึน้ ในสมัย อยุธยา เรียงตามล�ำดับระยะเวลาในการขุด ได้แก่คลอง ลัดบางกอก ขุดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช คลองลั ด เกร็ ด ใหญ่ ขุ ด ขึ้ น ในรั ช กาลสมเด็ จ พระเจ้ า ทรงธรรม คลองลัดเมืองนนท์ ขุดขึ้นในรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าปราสาททอง คลองลัดเกร็ดน้อย ขุดขึ้นเมื่อใน

รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ คลองลัดโพธิ์ ขุดขึ้นใน รัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ นอกจากคลองลัดใน แม่นำ�้ เจ้าพระยาแล้วยังขุดเชือ่ มแม่นำ�้ เจ้าพระยากับแม่นำ�้ สายอื่น เช่น คลองส�ำโรง และคลองพระพุทธเจ้าหลวง มหาไชยชลมารค (สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน, ม.ป.ป.) อยุ ธ ยาจึ ง มี ค วามได้ เ ปรี ย บทางภู มิ ศ าสตร์ เนือ่ งจากตัง้ อยูด่ นิ แดนตอนในแต่ไม่ได้หา่ งไกลจากทะเล มากนัก รวมทั้งเหมาะแก่การสร้างบ้านเรือน เพราะการ สร้างบ้านก็จะสร้างไปตามริมน�้ำเหล่านั้น และบ้านจะ สร้างบนทีส่ งู ของสองฝัง่ น�ำ้ ตามล�ำน�ำ้ และน�ำ้ คือสิง่ จ�ำเป็น ในการด�ำรงชีวิต และการท�ำเกษตรกรรม นอกจากแม่น�้ำ ล�ำน�้ำตามธรรมชาติ เช่น แม่นำ�้ ป่าสัก แม่น�้ำลพบุรี และแม่น�้ำเจ้าพระยาแล้ว การขุด คลองดังกล่าวเพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมในการเชื่อมต่อ ระหว่างอาณาจักรตอนในกับทางออกสู่ทะเลเป็นการ สร้างเส้นทางทางยุทธศาสตร์ในเวลาต่อมา จากเหตุ นี้ ท� ำ ให้ ก รุ ง ศรี อ ยุ ธ ยามี ส ภาพเป็ น เกาะที่เกิดจากแม่น�้ำล้อมรอบ และรายรอบเกาะเป็น ก�ำแพงเมืองที่สร้างด้วยหิน และภายในมีถนนตัดยาว และมีการขุดคลองเป็นจ�ำนวนมากภายในตัวพระนคร เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมภายใน รวมทั้งเชื่อมทางออก แม่น�้ำสู่ทะเล ทั้งนี้ เพื่อจะเข้าสู่บทการวิเคราะห์แนวคิด

22 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ภูมิรัฐศาสตร์กับพฤติกรรมของอาณาจักรอยุธยา และ เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพชัดเจน ต่อไปจะน�ำแผนที่ อาณาจักรอยุธยามาประกอบการวิเคราะห์ดังภาพต่อไป

ภาพที่ ๔ อาณาจักรอยุธยา ที่มา : www.http//wikipedia.org.wiki/อาณาจักรอยุธยา

จากภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่า อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่อยู่บนภาคพื้นทวีป และค่อนข้างเป็น ศูนย์กลางของแผ่นดินใหญ่ภาคพื้นเอเชีย และเชื่อม ต่อหรือเดินทางไปอาณาจักรใหญ่อื่น ๆ ได้ง่าย เช่น อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรเขมร โบราณ และอาณาจักรหงสาวดี จากสภาพทีต่ งั้ อาณาจักร และรูปร่าง สัณฐานของกรุงศรีอยุธยา หรือมหานครกรุง ศรีอยุธยา สามารถใช้แนวคิดภูมิรัฐศาสตร์วิเคราะห์ตาม ที่จะเสนอต่อไป

๓. ภูมริ ัฐศาสตร์กับนโยบายของ อาณาจักรอยุธยา การจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้น มีปัจจัย ที่มีอิทธิพล คือ ภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นตัวก�ำหนดให้รัฐแสดง พฤติกรรมหรือนโยบายนั้น ๆ ออกมา หรือเป็นปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการแสดงออกของรัฐ ซึง่ ดูจากสภาพภูมศิ าสตร์ แล้วอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรภาคพื้นทวีป และ

เป็นแผ่นเดียวกันไม่ได้แยกออกจากกัน หรือไม่มลี กั ษณะ เป็นเกาะ ซึ่งมีผลต่อการก�ำหนดนโยบายในการควบคุม เส้นทางคมนาคมทางบก และทางน�ำ้ รวมทั้งง่ายต่อการ ควบคุมอ�ำนาจทางการเมืองการปกครองภายในด้วย เนื่องจากอยุธยาอยู่ไม่ไกลจากทะเลมากนัก ดังที่กล่าว มาแล้วว่า ไกลจากทะเลประมาณ ๒๐ ไมล์ทะเลเท่านั้น ทั้ ง นี้ นโยบายในที่ นี้ คื อ การกระท� ำ การ ด�ำเนินการ หรือพฤติกรรมที่รัฐแสดงออก หรือใช้กับ อาณาจักรใกล้ชิด และอาณาจักรที่มีอิทธิพลต่อกัน เช่น การค้า การทูต เป็นต้น เช่น การค้ากับอาณาจักรจีน และอาณาจักรอืน่ รวมทัง้ การท�ำสงครามระหว่างกันของ อาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรใกล้เคียง กลั บ มาที่ ห ลั ก การวิ เ คราะห์ โดยแนวคิ ด ภูมิศาสตร์นั้น กล่าวโดยสรุป คือ สภาพภูมิศาสตร์ทาง กายภาพ ชีวภาพ และสภาพที่ตั้ง ดินฟ้าอากาศ เช่น แม่น�้ำ ล�ำคลอง ภูมิประเทศ ป่าเขาต่าง ๆ รวมทั้งที่ มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางในการ แลกเปลีย่ นนัน้ เป็นปัจจัยก�ำหนดให้รฐั ด�ำเนินการ กระท�ำ การ หรือแสดงออก ทั้งที่ปรากฏให้เห็น และจะเกิดขึ้น ในอนาคต ดังที่กล่าวไว้แต่ต้น รัฐ คือ สังคมมนุษย์ที่มีการ จัดองคาพยพ และการเกิดพฤติกรรมตามที่ผู้ปกครอง ก�ำหนด ดังนั้น สภาพภูมิศาสตร์ คือ ต้นทุนของรัฐที่มี ตามสภาพทีต่ งั้ และท�ำเล ซึง่ ยากต่อการเปลีย่ นแปลงหาก เกิดโดยธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมบางประเภท สามารถเกิดขึ้นโดยการกระท�ำของมนุษย์ เช่น คลองขุด ในอาณาจักรอยุธยา และแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์กับการน�ำ ไปใช้ของรัฐ สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ดังนี้

องค์ความรู้ วิทยาการที่มี สภาพที่ตั้ง

ภูมิศาสตร์ กายภาพ

พลังอ�ำนาจของรัฐ ความมั่นคง ความมั่งคั่ง

พฤติกรรมรัฐ เช่น นโยบาย การกระท�ำ

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 23


จากแนวคิ ด ภู มิ รั ฐ ศาสตร์ นี้ เพื่ อ ให้ เ ห็ น ภาพ ชั ด เจน ในที่ นี้ จ ะน� ำ เสนอเฉพาะบางนโยบายของ อาณาจั ก รอยุ ธ ยา โดยเฉพาะนโยบายการค้ า และ การเมืองในบางเหตุการณ์ บางบริบทเท่านั้น การเลื อ กที่ ต้ั ง นครหลวงหรื อ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา นั้น เหมาะที่จะเป็นแหล่งเพาะปลูกเพราะโดยรอบเกาะ เมือง รอบก�ำแพงเมืองของกรุงศรีอยุธยานั้น เป็นที่ลุ่ม และเป็นพื้นที่ท้องนาเต็มไปด้วยนาข้าวและเทือกสวน ซึ่งเป็นเสบียงส�ำคัญต่อราษฎรและผู้ที่อยู่อาศัยภายใน กรุงศรีอยุธยาและรอบนอก จึงท�ำให้อาณาจักรอยุธยามี สินค้าส่งออกส�ำคัญ คือ ข้าว ด้วยอยุธยามีสภาพพื้นที่ลุ่ม ดินดอนปากแม่นำ�้ เหมาะแก่การปลูกข้าว (กรมศิลปากร, ๒๕๔๘)

ภาพที่ ๕ แผนที่กรุงศรีอยุธยา ทีม่ า : http://social-history.exteen.com/20101118/entry.

จากภาพนี้ จะมองเห็นคลองขุดภายในตัวเมือง ทีเ่ ชือ่ มต่อกันอย่างเป็นระบบ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ การ คมนาคมและการน�ำน�ำ้ เข้าไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่ง คลองหลายสายนีต้ า่ งเชือ่ มต่อกับแม่นำ�้ ทีล่ อ้ มรอบก�ำแพง เมือง โดยสรุปคลองขุดนี้มีผลต่อการคมนาคม และเป็น เส้นทางในการล�ำเลียงเสบียง สินค้าเข้าสูต่ วั เมืองได้อย่าง สะดวก มากไปกว่านี้ จากสภาพพื้นที่และความอุดม สมบูรณ์นั้นท�ำให้นิสัยชาวกรุงศรีอยุธยามีความรักสงบ รักการค้าขายและมีวัฒนธรรมประเพณี (กรมศิลปากร, ๒๕๔๘) ส่ ว นการค้ า ของอาณาจั ก รอยุ ธ ยา เป็ น การ ค้าของรัฐถือเป็นพฤติกรรมหรือนโยบายประเภทหนึ่ง

ของรัฐ โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น ข้าว ของป่า รวมทั้งอาศัยเทคโนโลยีในการสร้างการคมนาคม เพื่อ การค้า หรือนโยบายการค้าของอาณาจักรอยุธยานี้ เกิด จากสภาพที่ตั้งที่เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางทางการค้า เนื่องจากมีแม่น�้ำเชื่อมต่อยังนครอันเป็นศูนย์กลางใน การแลกเปลี่ยนสินค้า รวมทั้งมีการขุดคูคลองเพิ่ม เพื่อ เสริมจุดได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การเป็น เมืองท่า จะเห็นว่ามีหลักฐานว่า มีเรือมาจอดเทียบท่า บริเวณแม่น�้ำลพบุรี แม่น�้ำเจ้าพระยา และแม่น�้ำป่าสัก รายรอบพระนครอยูจ่ ำ� นวนมากเพือ่ ท�ำการค้า (วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ, ๒๕๕๐, หน้า ๕-๖) ซึ่งการค้าดังกล่าวนั้น รัฐเป็นผู้ด�ำเนินการ หรือเป็นการค้าโดยพระมหากษัตริย์ นั่นเอง ภูมิศาสตร์ของอยุธยาในการเป็นเมืองท่าแห่ง การค้านี้ มีท�ำเลที่เหมาะเพราะมีเส้นทางคมนาคมทาง น�้ำจากอ่าวไทยเข้าสู่ตัวพระนครในระยะไม่ไกลมากนัก โดยประมาณ ๒๐ ไมล์ทะเล (กรมศิลปากร, ๒๕๔๘) ซึ่งจากสภาพที่ตั้งของอาณาจักรอยุธยาในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้นั้น ท�ำให้ได้เปรียบในการเป็นเมืองท่าและ ควบคุมเส้นทางในภาคพื้นทวีป และหมู่เกาะตอนใต้ ด้วย เพราะเป็นอาณาจักรภาคพืน้ ทวีปทีใ่ กล้กบั ทางออก ทะเลและเป็นจุดเชือ่ มระหว่างอ่าวเบงกอลกับทะเลจีนใต้ (วรางคณา นิพัทธฺสุขกิจ, ๒๕๕๐. หน้า ๙) กล่าวโดย ง่ายอยุธยาตั้งอยู่ระหว่างสองน่านน�้ำระหว่างมหาสมุทร อินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค ทัง้ นี้ สินค้าส่วนใหญ่ทอี่ ยุธยาท�ำการค้า เช่น ข้าว เกลือ และของป่า เช่น หนังกวาง ไม้ฝาง งาช้าง นอแรด เครือ่ งเทศ ซึง่ สินค้าเหล่านัน้ ได้มาจากดินแดนตอนในทาง เหนือของอาณาจักร แต่กระนั้นอยุธยายังรับซื้อสินค้า เพือ่ ค้าขายอีกทอด กับรัฐหมูเ่ กาะทางตอนใต้ เช่น สินค้า ประเภทเครื่องเทศ ส่วนสินค้าที่น�ำเข้าจากต่างประเทศ ผ้าแพร เครื่องเหล็ก ปืน กระสุนดินด�ำ เป็นต้น (จิตรสิงห์ ปิยะชาติ, ๒๕๕๔) ส่วนสินค้าทีไ่ ด้ภายในอาณาจักรทีเ่ ป็นของป่านัน้ ได้มาจากระบบส่วย ที่ประชาชนหาได้มาจากธรรมชาติ และผลิตเองมาจ่ายแทนการถูกเกณฑ์แรงงานจากรัฐ (ธ�ำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ๒๕๕๑)

24 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


อยุธยาประสบความส�ำเร็จจากการขยายอ�ำนาจ และอิ ท ธิ พ ลเข้ า สู ่ ดิ น แดนตอนใน และน� ำ ไปสู ่ ค วาม มั่ ง คั่ ง ที่ สั่ ง สมมาจากการค้ า อั น เป็ น ผลสื บ เนื่ อ งจาก ภูมิรัฐศาสตร์ที่ตั้งภายในดินแดนที่มีประโยชน์ในการ ควบคุมหัวเมืองทางเหนือ รวมทั้งมีการค้าทางทะเล เนื่องจากมีแม่น�้ำสายหลักหลายสายตามที่กล่าวมา ไหล ล้อมรอบกรุงและไม่ห่างจากทะเลมากนัก ซึ่งสามารถ น�ำเรือสินค้าเข้าและออกประชิดก�ำแพงเมืองได้ท�ำให้ สะดวกต่อการจอดเทียบท่าในการค้า และน�ำสินค้าออก ไปขาย ตลอดจนแม่น�้ำเจ้าพระยาก็มิได้เป็นอุปสรรคต่อ การเดินเรือที่มาท�ำการค้า เพราะสมัยนั้นขนาดของเรือ สินค้าไม่ได้มรี ะวางน�ำ้ หนักและขนาดใหญ่มาก (ธ�ำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ๒๕๕๑) นับจากพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรอยุธยาได้ ขยายอ�ำนาจออกไปเพื่อควบคุมหัวเมืองทางเหนือ เช่น พิษณุโลก สุโขทัย และล้านนา เป็นต้น ทั้งนี้การควบรวม นีไ้ ม่ได้เป็นการรบชนะเป็นหลัก แต่เป็นการควบรวมด้วย กลไกทางสังคมและวัฒนธรรม ดังจะเห็นจากการแต่งงาน ของชนชั้นน�ำจากราชวงศ์ทางเหนือ นักรบ และขุนนาง ทางเหนือเข้ามาตั้งรกรากในกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น (คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร, ๒๕๕๗ หน้า ๓๕-๓๗) ด้ ว ยภู มิ ศ าสตร์ ข องอาณาจั ก รเป็ น แผ่ น ดิ น ผืนเดียวบนภาคพื้นทวีป ท�ำให้สินค้าที่มีแหล่งที่มาจาก ตอนใน เช่น เครื่องสังคโลกจากแคว้นสุโขทัย ซึ่งเป็น สินค้าส่งออกส�ำคัญ และเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัยเป็น เมืองส�ำคัญที่ผลิตเครื่องสังคโลกเพื่อการค้าทั้งภายใน อาณาจักร และการค้ากับรัฐจากแถบเปอร์เซีย รวมทั้ง รัฐหมู่เกาะตอนล่างในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กล่าวโดย ง่าย เครื่องสังคโลกถือเป็นสินค้าอุตสาหกรรมโบราณ (จิตรสิงห์ ปิยะชาติ, ๒๕๕๔) นอกจากการค้าแบบตรงแล้ว อาณาจักรอยุธยา ยังต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน เป็นประจ�ำและเรียกเครื่องบรรณาการนี้ว่า “จิ้มก้อง” ซึ่งสันนิษฐานว่า การส่งเครื่องราชบรรณาการดังกล่าว แฝงจุดประสงค์ทางการค้าไว้ด้วย คือ เมื่ออาณาจักร อยุธยาได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแล้วก็จะได้

เครื่องราชบรรณาการกลับมาเป็นมูลค่าสองเท่า และจะ มีขนุ นางและพ่อค้าเดินทางไปพร้อมกับการน�ำเครือ่ งราช บรรณาการไปถวายด้วย จึงเกิดการแลกเปลีย่ นค้าขายกัน ขึน้ ด้วย นอกจากวัตถุประสงค์ทางการเมืองในการยอมรับ อ�ำนาจจากจักรวรรดิจีน (เว็บไซต์ th.wikibooks.org) ดังที่กล่าวมา การค้าที่ส�ำคัญของอยุธยา คือ จีน ซึ่งมีการค้าระหว่างกันมาก่อนก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา แล้ว จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จีนได้กลายเป็น ตลาดใหญ่ที่ต้องการสินค้ามาก อันเนื่องมาจากการค้าที่ ได้ราคาสูง รวมทั้งสิทธิพิเศษทางการค้าที่ได้รับหลังจาก เข้าเฝ้าจักรพรรดิจนี เช่น การยกเว้นการเก็บภาษี เป็นต้น (ธ�ำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ๒๕๕๑) มากไปกว่ า นี้ อาณาจั ก รอยุ ธ ยายั ง มี ก ารค้ า กับริวกิว และญี่ปุ่น โดยริวกิวน�ำสินค้าจากญี่ปุ่นมา ขายยังอาณาจักรอยุธยา และน�ำสินค้าจากอาณาจักร อยุธยาไปขายยังญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน แต่การค้าระหว่าง อาณาจั ก รอยุ ธ ยา ริ ว กิ ว และญี่ ปุ ่ น เริ่ ม ถดถอยลง เนื่ อ งจากนโยบายการปิ ด ประเทศของโชกุ น ท� ำ ให้ การค้าโดยตรงของอาณาจักรอยุธยากับญี่ปุ่นชะงัก แต่ โชกุนอนุญาตเรือสินค้าสัญชาติจีน และดัตช์ สามารถ ท�ำการค้าได้ ดังนั้นการค้าระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่นจึง เป็นการค้าโดยอ้อม ด้วยการน�ำสินค้าจากอาณาจักร อยุธยาโดยจีนและดัตช์ไปขายอีกทอดให้กับญี่ปุ่นแทน กล่าวโดยง่ายเป็นการค้าแบบมีตัวแทนหรือคนกลาง แทนทีก่ ารค้าโดยตรง (ธ�ำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ๒๕๕๑) ส� ำ หรั บ การค้ า กั บ ชาติ ต ะวั น ตก อาณาจั ก ร อยุธยาค้าขายและติดต่อกับโปรตุเกสเป็นประเทศแรก ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และอาณาจักรอยุธยามีความ สั ม พั น ธ์ กั บ ชาติ ต ะวั น ตกในด้ า นการค้ า ขายและการ เผยแผ่ ศ าสนา โดยชาวตะวั น ตกได้ น� ำ เอาวิ ท ยาการ ใหม่ ๆ เข้ามาด้วย เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส ที่ เข้ามาค้าขายจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ ในอาณาจั ก รอยุ ธ ยา เช่ น ที่ ป รึ ก ษาด้ า นการทหาร หรือขุนนางระดับสูง เช่น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน เป็นต้น (ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กลุ , ๒๕๓๒)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 25


วกกลับมาที่การค้าของรัฐในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยเฉพาะอาณาจักรอยุธยาเกิดขึ้นก่อนการ ก่อตั้งอาณาจักร และรุ่งเรืองช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จนกระทั่งค่อย ๆ เสื่อมลงในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ และ ส�ำหรับกรุงศรีอยุธยานั้น มีความส�ำคัญเนื่องจากเป็นจุด ยุทธศาสตร์ในการขนส่งสินค้าจากทะเลฝัง่ อันดามันมายัง ฝั่งอ่าวไทย อันเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงทางการค้า ระหว่างภูมิภาค ในฝั่งตะวันตกอยุธยาจึงพยายามขยาย อ�ำนาจทางการเมืองไปยังหัวเมืองมะริด และตะนาวศรี ในฐานะเมืองท่าที่อาณาจักรอยุธยาได้ประโยชน์ เพราะ เมืองท่านี้มีความส�ำคัญต่อการค้ากับอินเดีย อาหรับ และเปอร์เซีย (ว่าที่ รต. วรพจน์ วิเศษศิริ และศิริพร ดาบเพชร, ๒๕๕๙) จากการการค้าที่รุ่งเรืองทั้งภายในอาณาจักร และระหว่ า งอาณาจั ก รก่ อ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลง โครงสร้างทางการเมืองภายในอาณาจักร โดยการก�ำเนิด หน่วยจัดเก็บรายได้เข้ารัฐดังนี้ กรมท่าซ้าย กรมท่าขวา และพระคลังหลวงในเวลาต่อมา ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากรายได้ให้กับรัฐ ซึ่งสร้าง ความมั่งคั่งแก่อาณาจักร อย่างไรก็ดี ปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการค้าของอาณาจักร อยุธยาที่มาจากสภาพภูมิศาสตร์แล้ว ผู้ปกครองจ�ำเป็น ต้องสร้างอ�ำนาจทางการเมืองหรือกษัตริย์จ�ำเป็นต้อง ควบคุมก�ำกับ โดยการออกเป็นกฎหมายรัฐเพื่อควบคุม การค้า หรือการผูกขาดทางการค้าโดยพระมหากษัตริย์ และขุนนาง (ผาสุก พงษ์ไพรจิตร และคริส เบเคอร์, ๒๕๕๗) จากที่ ก ล่ า วมา เกิ ด การควบคุ ม โดยรั ฐ หรื อ ผู ก ขาดทางการค้ า โดยรั ฐ ทั้ ง ระบบการจั ด เก็ บ ส่ ว ย ค่าธรรมเนียมและส่วนเกิน ซึ่งเป็นรายได้ส�ำคัญของรัฐ โดยกลไกการควบคุมนั้น รัฐหรือเจ้าเมืองหรือขุนนาง เป็นผู้จัดเก็บ โดยหน่วยงานที่เรียกว่า พระคลังสินค้า ที่มี กรมท่าซ้ายทีด่ แู ลการค้ากับอินเดีย อาหรับ และเปอร์เซีย และกรมท่าขวาที่ดูแลการค้ากับจีน รวมทั้งกรมท่ากลาง ดูแลการค้ากับชาติตะวันตก (เว็บไซต์ satit.up.ac.th) นอกจากนี้ อยุธยาด�ำรงสถานะเป็นเมืองท่า นานาชาติ ดังจะเห็นทีก่ ล่าวมาบ้างแล้ว เป็นทัง้ จุดก�ำเนิด

สินค้าที่ได้สินค้าจากการเก็บส่วยและหาของป่าจาก ดินแดนตอนใน การเป็นคลังสินค้าหรือที่พักสินค้าจาก การน�ำสินค้ามาจากพ่อค้าต่างชาติมาขายต่อ การเป็น ศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน อันเนื่องมาจากการเกิด ตลาดรายรอบก�ำแพงเมือง ทั้งตลาดบกและตลาดน�ำ้ อยู่ จ�ำนวนหลายแห่ง เช่น ตลาดปากคลองในไก่ ตลาดน�้ำ ปากคลองคูจาม ตลาดน�ำ้ วนบางกะจะ ตลาดปากคลอง วัดเดิม (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๕๙) จากสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเป็นเมืองท่า ค้าขาย ท�ำให้อาณาจักรอยุธยาใช้ประโยชน์จากสภาพที่ ตั้งที่เหมาะต่อการเป็นเมืองท่าในขณะนั้น ด้วยการสร้าง ความมั่งคั่งของรัฐจากการค้า ซึ่งจะน�ำไปสู่ความมั่นคง ของอาณาจักรได้จากความเจริญรุง่ เรือง และการยอมรับ จากรัฐใหญ่ในภูมิภาคตามที่กล่าวมา และอย่างไรก็ดี กล่าวโดยสรุป อาณาจักรอยุธยาใช้ต้นทุนทางภูมิศาสตร์ เพื่อสร้างนโยบายของรัฐ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้รัฐ

บทสรุป อยุธยาเป็นรัฐโบราณที่เกิดขึ้นจากการรวมสอง แคว้นใหญ่เข้าด้วยกัน และในระยะแรกที่ตั้งของกรุง ศรีอยุธยานั้นอยู่บริเวณเดิมที่เคยเป็นเมืองเก่าอยู่ก่อน แล้วคือเมือง อโยธยา ต่อมามีการย้ายเมืองมาบริเวณที่ ลุม่ คือหนองโสน ซึง่ สามารถขยายเมืองออกไปได้อกี และ การตั้งกรุงศรีอยุธยานั้นได้ใช้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์ ในการสร้างความมั่งคั่งให้แก่ตน ด้วยการอาศัยล�ำน�้ำ ตามธรรมชาติ ม าเป็ น เส้ น ทางเชื่ อ มโยงการคมนาคม และใช้เป็นเส้นทางในการควบคุมการค้ากับอาณาจักร ภายในและนครให้สามารถติดต่อกันได้ โดยเฉพาะการ ล�ำเลียงสินค้าจากตอนในเพื่อมาค้าขายยังเมืองหลวง ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ไม่ห่างไกลจากทะเลมากนัก รวมทั้ง ได้มีการขุดคลองเพื่อเสริมศักยภาพทางภูมิศาสตร์ ซึ่ง ท�ำให้เกิดประโยชน์ต่อการค้าในเวลาต่อมา และสภาพ ภูมศิ าสตร์ตามธรรมชาตินที้ ำ� ให้มอี ทิ ธิพลต่อนโยบายของ รัฐ และกล่าวโดยสรุปอาณาจักรอยุธยาใช้ประโยชน์ทาง ภูมิรัฐศาสตร์กับนโยบายการค้า

26 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๔๘). รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของ ฟาน ฟลีต (วัน วลิต). กรุงเทพฯ: กรมฯ จิตรสิงห์ ปิยะชาติ. (๒๕๕๔). แผ่นดินประวัตศิ าสตร์อยุธยา เรือ่ งราวหลากมุมรอบด้าน และสมบูรณ์ของแผ่นดินสยามสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: ยิปซี. ธ�ำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (๒๕๕๑). อยุธยา เมืองท่านานชาติ. วารสารอยุธยาศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา. พระนครศรีอยุธยา ผาสุก พงษ์ไพรจิตร์และคริส เบเคอร์. (๒๕๕๗) ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. (พิมพ์ครั้ง ที่ ๒). กรุงเทพฯ: มติชน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๒). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับบิเคชั่น. ฤทธิชัย แกมนาค. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอน รัฐศาสตร์เบื้องต้น. คณะ สังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เชียงราย. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ. (๒๕๓๐). หนังกวาง ไม้ฝาง ช้าง ของป่า การค้าอยุธยาสมัย พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. ว่าที่ รต. วรพจน์ วิเศษศิริ และศิริพร ดาบเพชร. (๒๐๑๖). ความสัมพันธ์ทางการค้า ระหว่างอยุธยากับเมืองมะริดและตะนาวศรี พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๓๑๐. การประชุม บัณฑิตศึกษาแห่งชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยยอร์คจาการ์ตา อินโดนีเซีย. ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (๒๕๖๐). การสร้างบ้านแปงเมือง. กรุงเทพฯ: มติชน ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล. (๒๕๓๒). ความสัมพันธ์ของคนในสังคม : พื้นฐานทางสังคม และวัฒนธรรม การเมืองไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน. (ม.ป.ป.). ม.ป.ท. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๕๙). อยุธยาศูนย์กลางการค้านานาชาติมีตลาดน�้ำ-บก ในเมืองนอกเมือง, ย่านการผลิต. มติชน ฉบับวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙. อนันชัย จินดาวัฒน์. (๒๕๕๘). ประวัติศาสตร์ยุโรป. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: ยิบซี. เอกวิทย์ มณีธร. (๒๕๕๖). รัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: เอ็ม ที เพรส. Cotterell, Arthur. (2015). A History Southeast Asia. Marshall Cavendish Singapore. Longman Dictionary of Contemporary English. (2015). Sixth editions, Longman U.S.A. W. H. Depuy. (1899). Encyclopædia Britannica A Dictionary of Art Science and Literature with many Article Special Vol. X. Chicago U.S.A.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 27


แหล่งข้อมูลออนไลน์ www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/feng_shui_photography/01. html www.http//wikipedia.org.wiki/อาณาจักรอยุธยา. en.wikipedia.org/wiki/Geopolitics#cite_note-Gogwilt-๗. www.britannica.com/topic/geopolitics. home.npru.ac.th/phatthaya/subjects/aj32/25432001_Lesson%20 1%๒๐Geography%20and%20 Tourism.pdf. kanchanapisek.or.th/kp6/sub/Ebook/Ebook.php. www.jnu.ac.in/SIS/CIPOD/Courses_files/MPhil-%๒๐Geopolitics%20.pdf. www.merriam-webster.com/dictionary/political%20science. www.polisci.washington.edu/what-political-science. www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/hist/111.htm.

28 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


บทความวิชาการ

พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร พระพุทธรูปทรงเครื่องภาคใต้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอยุธยา

The Buddha Images of Prince Ekkathat and Prince Uthumphon: Southern Crowned Buddha Images Inspired by Ayutthaya Arts วรวิทย์ สินธุระหัส/Worawit Sinturahas ครูวิทยฐานะครูช�ำนาญการ โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ปี) ส�ำนักงานเขตสะพานสูง สังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร จากการศึกษาเปรียบเทียบกับงานศิลปกรรมพบว่า น่าจะมีอายุ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ รูปแบบงานศิลปกรรมจัดว่าเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างใหญ่ แต่ลวดลายประดับทั้งศิราภรณ์ เครื่องทรงกลับมีรูปแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยในสมัยอยุธยาตอนกลาง ความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยาจะเป็นเรื่องของการกัลปนาวัดในเมืองพัทลุงสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และต�ำนาน ในท้องถิ่น ลักษณะพิเศษ คือ เทริดแบบโนราภาคใต้ พระพักตร์แบบชาวใต้ เครื่องทรงอาจน�ำมาจากการแต่งกาย ของเจ้าเมือง การหล่อพระพุทธรูปน่าจะหล่อขึน้ เองในพัทลุง หรือโดยช่างจากกรุงศรีอยุธยาร่วมกับช่างในเมืองพัทลุง ค�ำส�ำคัญ : พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร,พระพุทธรูปทรงเครื่องภาคใต้

Abstract When compared to the Ayutthaya arts, it is found that the Buddha Images of Prince Ekkathat and Prince Uthumphon would be traced back to the late Ayutthaya period, around 23rd century A.D. They are heavily bejeweled crowned Buddha images while the ornamental designs of the crowns and royal apparels are similar to those of the slightly bejeweled crowned Buddha images in the middle Ayutthaya period. These Buddha images are related to the Ayutthaya arts due to the Monastic Human Endowments (Kalpana) and local legends in Phatthalung during the reign of King Borommakot. Their remarkable features could be found in the Southern Nora tiaras, the southern faces, and the royal apparels applied from a governor’s costume. These Buddha images would be cast by the locals in Phatthalung, or together with Ayutthaya artisans. Keywords: Buddha images of Prince Ekkathat and Prince Uthumphon, southern crowned Buddha image วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 29


บทน�ำ วัดท่าส�ำเภาเหนือ ตัง้ อยูห่ มูท่ ่ี ๔ ต�ำบลชัยบุรี

จังหวัดพัทลุง ห่างจากเมืองเก่าเขาชัยบุรีประมาณ ๕ กิโลเมตร (ชัยวุฒิ พิยกูล, ๒๕๔๑, หน้า ๑๗๘) (ภาพที่ ๑)

ภาพที่ ๒ พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร วัดท่าส�ำเภาเหนือ ที่มา : ทิวากร เครือแก้ว, ๒๕๖๐, [ภาพนิ่ง].

ภาพที่ ๑ วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง ที่มา : ผู้เขียน

ภายในวั ด ประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรู ป เจ้ า ฟ้ า เอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร (ภาพที่ ๒) ทรงเครื่องต้นอย่าง พระมหาจักรพรรดิ ปัจจุบนั ประดิษฐานอยูภ่ ายในหอพระ วัดท่าส�ำเภาเหนือ ต�ำบลชัยบุรี อ�ำเภอเมือง จังหวัด พัทลุง รูปแบบของงานศิลปกรรมเป็นพระพุทธรูปทรง เครื่องอย่างใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย การที่พบงาน ศิลปกรรมอยุธยานอกราชธานี ย่อมแสดงถึงพลังศรัทธา จากส่วนกลางสู่เมืองพัทลุงในสมัยอยุธยา ชื่อของต�ำบล ชัยบุรีในปัจจุบัน คือเมืองโบราณของพัทลุงเก่าเขาชัยบุรี ร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยา

คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง แสดงถึง สัญลักษณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธรูปทรง เครื่องอย่างใหญ่ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ความหมายสื่อ ว่า พระพุทธเจ้าตอนทรมานพระเจ้าชมภูบดีจะได้รบั การ ยอมรับแพร่หลายมากทีส่ ดุ เห็นได้จากครัง้ ทีร่ าชทูตลังกา เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพื่อ ขอพระภิกษุไปบวชกุลบุตรชาวลังกา ครั้งนั้นราชทูตได้ เห็นพระพุทธรูปทรงเครื่องก็ต่างพากันสงสัย เพราะไม่มี ในลังกา จึงมีการอธิบายให้ราชทูตฟังว่า “พระพุทธพิมพ์ ที่ทรงมงกุฎเช่นนี้ ได้มีปรากฏในมหาชมภูบดีวัตถุ ขอให้ พระเจ้ากรุงลังกาทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครือ่ งเหมือน อย่างกรุงเทพมหานคร” (รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ๒๕๕๓, หน้า ๑๔๔ – ๑๔๕, อ้างถึง สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชา นุภาพ, ๒๕๔๖, หน้า ๓๑๓) ลักษณะของพระพุทธรูปจะ แสดงถึงเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมอยุธยาตอนปลาย หากปรากฏถึงพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างใหญ่ในเขต นอกราชธานีทไี่ กลอย่างเมืองพัทลุงโบราณ คงจะมีความ เกี่ยวข้องกันกับกรุงศรีอยุธยา ทั้งการเมืองการปกครอง การติดต่อเกี่ยวกับศาสนา รวมทั้งชื่อขององค์พระพุทธ รูปที่เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการถวายพระนามมาตั้งแต่สร้างพระพุทธรูปหรือไม่ และรายละเอียดของรูปแบบงานช่างของพระพุทธรูป ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปกรรมอยุธยา รายละเอียดของ งานช่างที่เป็นความแตกต่างจากศิลปกรรมอยุธยาเป็น ประเด็นในการศึกษา

30 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


จากที่มาดังกล่าว ผู้เขียนจึงขอน�ำเสนอประเด็น ในการวิเคราะห์ศึกษา รูปแบบงานศิลปกรรมอยุธยา ที่ปรากฏในพระพุทธรูปทั้งสององค์ ข้อมูลที่วิเคราะห์ ถึงการติดต่อจากกรุงศรีอยุธยาสู่เมืองพัทลุง เกี่ยวกับ การอัญเชิญพระพุทธรูปมายังวัดท่าส�ำเภาเหนือ รวม ทั้งต�ำนานในท้องถิ่น ความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์ พระพุทธรูปที่คนในชุมชนนับถือหวงแหน ซึ่งน่าจะเกิด คุณประโยชน์เกีย่ วกับการรักษาสมบัตชิ าติให้ยงั่ ยืนสืบไป พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (ภาพที่ ๓) เป็น พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างพระมหาจักรพรรดิส�ำริด ประทับยืน ปางเปิดโลก พระพักตร์เรียวเป็นรูปไข่ พระ ขนงโก่ง พระเนตรมองต�่ำ ทรงกรองคอ ทับทรวงพาหุรัด ทองพระกร รัดประคตท�ำเป็นลายดอกไม้ออกช่อก้านขด ศิราภรณ์ทรงเทริดคล้ายเทริดโนราทางภาคใต้

ภาพที่ ๓ พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง ที่มา : ทิวากร เครือแก้ว, ๒๕๖๐, [ภาพนิ่ง].

ถ้าเทียบกับเทริดโนราในปัจจุบัน (ภาพที่ ๔) เห็นว่าจะมีรปู แบบท�ำนองเดียวกันคือ มีขอบกระบังหน้า กระจังตรงเพดานเทริด มียอดเป็นปล้อง ๆ ด้านหลังเทริด ประดับลายประจ�ำยามออกช่อลายก้านขด (ภาพที่ ๕)

ภาพที่ ๔ เทริดโนราภาคใต้เปรียบเทียบกับเทริดของพระพุทธ รูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ ที่มา : ฐานข้อมูลโบราณวัตถุออนไลน์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กัลยาณิวัฒนา, ๒๕๖๐, culture.pn.psu.ac.th

ภาพที่ ๕ ด้านหลังเทริดพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ ที่มา : ทิวากร เครือแก้ว, ๒๕๖๐, [ภาพนิ่ง].

มีเส้นโค้งโผล่ออกมาประดับตรงกลางเป็นลาย ประจ�ำยาม ซึ่งในจุดนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของการประดับ ทับทรวง สวรินทร์ วชิรนานนท์ ผู้เป็นช่างฝีมือในงาน เครื่องประดับนาฏศิลป์ได้ให้ความเห็นว่าน่าจะเรียกว่า เส้นระย้าทับทรวง เครือ่ งประดับดัง้ เดิมของโนราก็เป็นได้ (สวรินทร์ วชิรนานนท์, ๒๕๖๐, ๔ มิถุนายน) เส้นโค้งนี้ เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ปางสมาธิ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา (ภาพที่ ๖) ฉลองพระบาทประดับลายประจ�ำยามออก ช่อลายก้านขด (ภาพที่ ๗)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 31


ภาพที่ ๖ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ปางสมาธิ จัดแสดง ในพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เปรี ย บเที ย บ การใช้เครื่องประดับเส้นโค้งกับพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ที่มา : ประพฤทธิ์ รื่นยศ, ๒๕๕๖, [ภาพนิ่ง].

การครองสั ง ฆาฏิ แ บบห่ ม คลุ ม บางแนบพระ วรกายแลเห็นอันตรวาสกที่มีหน้านางตกแต่งด้วยลาย ก้านต่อดอกและลายดอกจันทน์ (ชัยวุฒิ พิยะกูล, ๒๕๔๑, หน้า ๑๗๘, อ้างถึงในพิริยะ ไกรฤกษ์, ๒๕๓๑, หน้า ๙๔) พระพุทธรูปเจ้าฟ้าอุทุมพร (ภาพที่ ๙) เป็น พระพุทธรูปส�ำริด ประทับยืน พระหัตถ์ ปางประทาน อภัย ขนาดองค์ยอ่ มกว่าพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ พระ พักตร์กลมรีเป็นรูปไข่ การครองสังฆาฏิแบบห่มคลุมบาง แนบพระวรกาย นุ่งแบบหน้านาง แต่ไม่ประดับตกแต่ง ลวดลาย ศิราภรณ์ทรงเทริด ประกอบด้วยกระบังหน้า ประดับลายก้านขด ขอบท�ำเป็นกลีบบัวยอดเทริดเป็น ปล้อง ๆ ประดับกลีบบัว ด้านหลังเทริดประดับลายดอกไม้ ออกช่อเป็นก้านขด (ภาพที่ ๑๐)

ภาพที่ ๗ ฉลองพระบาทพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์

ส่วนของเครื่องทรงมีร่องรอยการประดับกระจก สี เทียบรูปแบบได้กับพระพักตร์ ศิราภรณ์ เครื่องทรง ของพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ (ภาพที่ ๘)

ภาพที่ ๙ พระพุทธรูปเจ้าฟ้าอุทุมพร วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง ที่มา : ทิวากร เครือแก้ว, ๒๕๖๐, [ภาพนิ่ง].

ภาพที่ ๑๐ ด้านหลังเทริดพระพุทธรูปเจ้าฟ้าอุทุมพร ที่มา : ทิวากร เครือแก้ว, ๒๕๖๐, [ภาพนิ่ง].

ภาพที่ ๘ พระพุทธนิมติ วิชติ มารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ ที่มา : ศศิวิมล วอนแม้น, ๒๕๕๖, [ภาพนิ่ง].

ทรงกุณฑล กรองศอ และทับทรวงประดับพลอย ภายในบรรจุลายดอกไม้ต่อด้วยก้านขด ทับทรวงท�ำ เป็นกรอบหยักโค้ง (ภาพที่ ๑๑) ทรงพาหุรัด ทองพระกร มีรอ่ งรอยการประดับกระจกสี ฉลองพระบาทประดับลาย ก้านขด (ภาพที่ ๑๒)

32 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ภาพที่ ๑๑ ทับทรวงพระพุทธรูปเจ้าฟ้าอุทุมพร ที่มา : ทิวากร เครือแก้ว, ๒๕๖๐, [ภาพนิ่ง].

ภาพที่ ๑๒ ฉลองพระบาทพระพุทธรูปเจ้าฟ้าอุทุมพร

๑. วิเคราะห์รูปแบบงานศิลปกรรมของพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร

ศิราภรณ์และเครื่องทรง เทริดของพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ มีลกั ษณะ คล้ายกับเทริดโนราภาคใต้ เป็นระบบของการสวมเครือ่ ง ทรงศีรษะชัน้ เดียว ไม่แยกระหว่างกระบังหน้ากับรัดเกล้า ซึง่ เป็นระบบเดียวกับศิราภรณ์สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็น ทรงแหลมขึ้นไปไม่ใช่กรวยเตี้ย การสวมคงจะยึดระบบ ตามอยุ ธ ยาตอนปลายที่ มี ก ารรวมกระบั ง หน้ า เครื่ อ ง ยอดที่เพรียวกว่าเดิม (วรวิทย์ สินธุระหัส, ๒๕๕๘, หน้า ๔๖ – ๔๗) กรรเจียกยังคงเป็นแบบครีบเรียบ ๆ ตามสมัย อยุธยาตอนกลาง แต่ขนาดใหญ่กว่า ซึ่งคงจะพัฒนาเป็น กรรเจียกทีม่ รี ายละเอียดซับซ้อนขึน้ ในภายหลัง ข้างหลัง ของเทริด ใส่ลายประจ�ำยาม ออกลายก้านขด ลายก้านขด ด้านหลังเทริดของเจ้าฟ้าเอกทัศน์เทียบรูปแบบได้กบั ลาย ก้านขดหลังชฏาของเทวดาไม้แกะสลักซึง่ เป็นรูปแบบของ งานศิลปะในสมัยอยุธยาตอนปลาย (ภาพที่ ๑๒) แสดง ให้เห็นว่าการท�ำลายก้านขดหลังศิราภรณ์ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้รับความนิยม

ภาพที่ ๑๓ ด้านหลังชฎาของเทวดาไม้แกะสลัก สมัยอยุธยา ตอนปลาย จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

ระบบการวางลายของศิราภรณ์แสดงถึงอิทธิพล ของลวดลายสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา คือลาย ดอกไม้ กลุ ่ ม ลายดอกสี่ ก ลี บ เทคนิ ค การท� ำ เส้ น นู น ขึ้นมาและลวดลายมีการเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ ซึ่ง น่ า จะมี ก ารผสมผสานรู ป แบบกั บ ลายพั น ธุ ์ พ ฤกษาที่ ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากศิ ล ปะจี น ซึ่ ง ปรากฏแล้ ว ตั้ ง แต่ ส มั ย อยุธยาตอนต้น ตัวอย่างเช่น เศียรพระพุทธรูปที่จัด แสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา เมื่อ เปรียบเทียบกันจะสังเกตได้ว่าส่วนกระบังหน้ามีการ เดินเส้นนูนลวดลายดอกไม้ออกช่อก้านขดเช่นเดียวกัน (ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ๒๕๕๖, หน้า ๔๑๔) (ภาพที่ ๑๔)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 33


ภาพที่ ๑๔ เศียรพระพุทธรูปทรงเครื่อง ส�ำริด ที่มา : น�ำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา, ๒๕๔๒, หน้า ๘๙

รูปกระบังหน้าเป็นเส้นนูนแบบเดียวกับพระพุทธ รูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์และเจ้าฟ้าอุทุมพร การออกแบบลาย ของช่างน่าจะใช้การแบ่งพื้นที่ของลายให้เป็นกรอบเส้น คู่ขนานประดับด้วยลายเม็ดประค�ำประดับกระบังหน้า ตามแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย (ศรินยา ปาทา, ๒๕๔๙, ๗๘ – ๗๙) ส่วนศิราภรณ์ทรงเทริดของพระพุทธ รูปเจ้าฟ้าอุทมุ พร ท�ำเป็นรูปแบบเดียวกันแต่พจิ ารณาแล้ว เทริดของพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์มคี วามคล้ายกับเทริด โนราภาคใต้มากกว่า การประดั บ กุ ณ ฑลเหมื อ นกั บ พระพุ ท ธรู ป ทรงเครื่องน้อยคือห้อยตรง ต่างจากอยุธยาตอนปลาย ที่ห้อยลงมาแบบปลายงอน (ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ๒๕๕๔, หน้า ๑๑๐) กรองศอของพระพุทธรูปทั้งสองจะท�ำเป็น กรอบหยักโค้งตกแต่งภายในด้วยลายพันธุ์พฤกษาก้านขด เป็นเส้น ทับทรวง กรอบหยักโค้ง ประดับพลอยสี องค์ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ทำ� เป็นกลีบประจ�ำยาม องค์เจ้าฟ้าอุทมุ พร จะประดับพลอยเป็นรูปดอกไม้ ลายก้านขด รูปแบบ น่าจะสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง เพราะการ ประดับทับทรวงแบบนี้ ปรากฏในพระพุทธรูปทรงเครื่อง น้อยสมัยอยุธยาตอนกลาง เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง น้อยปางประธานอภัย (ภาพที่ ๑๕) และทับทรวงของ

ภาพที่ ๑๕ ทับทรวงพระพุทธรูปทรงเครือ่ งน้อยปางประทานอภัย ที่มา : วัดเบญจมบพิตรและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร พระพุทธรูปส�ำคัญ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิต วนาราม, ๒๕๕๑, หน้า ๑๕๖

ภาพที่ ๑๖ การประดับทับทรวงพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ปางประทานอภั ย จั ด แสดงในพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ เจ้าสามพระยา

พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยปางประทานอภัยที่จัดแสดง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา (ภาพที่ ๑๖) ฉลองพระบาทมีลายพันธุ์พฤกษาเหมือนกันทั้งสององค์ นุ่งแบบจีบหน้านาง ผ้าทรงที่แนบพระวรกาย จะมีการ ตกแต่ง รัดประคต ประดับลายดอกไม้ ก้านขด ลาย กระจัง ในส่วนนี้บ่งบอกถึงความเป็นพระพุทธรูปทรง เครื่องอย่างใหญ่ที่มีการเพิ่มรายละเอียดให้มากขึ้น แต่ พระพุทธรูปเจ้าฟ้าอุทุมพรจะไม่มีการตกแต่งผ้าทรง เหมือนพระพุทธรูปทรงเครือ่ งน้อยสมัยอยุธยาตอนปลาย

34 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


๒. พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพรกับความเกี่ยวข้องกับกรุงศรีอยุธยา จากการบอกเล่ า จากคนเฒ่ า คนแก่ ว ่ า สมั ย เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก พระเจ้าฟ้าอุทุมพรได้น�ำ พระพุทธรูปจ�ำนวนมากลอยมากับเรือส�ำเภาหลายล�ำ หากไปเกยฝั ่ ง ที่ ไ หนก็ ก ลายเป็ น พระพุ ท ธรู ป ประจ� ำ วั ด นั้ น เพราะท่ า นไม่ อ ยากให้ พ ม่ า ยึ ด ไปเป็ น สมบั ติ หรือเผาท�ำลาย จนทุกวันนี้พระชุดเดียวที่ลอยเรือมา ครานั้นกลายเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของคนภาคใต้ไป แล้ว ทั้งจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา พระพุทธรูปสองพระองค์นี้ เคยถูกคนร้ายลักขโมยไปแล้ว ตามกลับมาได้ ชาวบ้านในต�ำบลชัยบุรีและใกล้เคียงจึง เคารพนับถือกราบไหว้กนั มาก (พุฒพิ งค์ ตาแก้ว, ๒๕๖๐, ๒ มิถุนายน) ส่วนต�ำนานอีกกระแสหนึ่งคือ พระพุทธรูป ทั้งสองพระองค์ หล่อขึ้นโดยพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายหลังการเสียกรุงครัง้ ที่ ๒ เพื่ออุทิศถวายเป็นพระพุทธรูปประจ�ำพระองค์ ที่เป็น พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พระมหาวิตร ฐานปุณฺโณ, ๒๕๖๐, ๑๕ กรกฎาคม) จากต�ำนานวิเคราะห์ได้ว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ ของวัดท่าส�ำเภาเหนือ มีเส้นทางที่ใกล้กับคลองปากประ มี ท ่ า เรื อ ส� ำ เภา ตามต� ำ นานเล่ า ว่ า เป็ น เคยท่ า เรื อ ที่ เรือส�ำเภาหรือเรือสินค้ามาเทียบท่าระยะห่างจากวัด ประมาณ ๑๐๐ เมตร ที่ต่อกับทะเลสาบสงขลาที่ตำ� บล ล�ำป�ำได้ (ชัยวุฒิ พิยกูล, ๒๕๔๑, หน้า ๑๘๓) แสดงถึง การติดต่อจากดินแดนภายนอก หากจะกล่าวถึงประเด็น

ทีเ่ กีย่ วของกับศาสนาในพัทลุง น่าจะเป็นเรือ่ งการกัลปนา วั ดเขาอ้ อ ปั จจุ บันอยู ่ ในต� ำบลมะกอกเหนื อ อ� ำ เภอ ควนขนุน จังหวัดพัทลุง จากเหตุการณ์สมัยสมเด็จพระเจ้า บรมโกศ พ.ศ. ๒๒๘๔ เพราะเหตุวา่ ขุนศรีสมบัตนิ ายกอง สุราเข้าไปฟ้องว่า วัดสร้างมาก่อนแล้วร้างไป เมื่อสร้าง พระอุโบสถเสร็จแล้วก็มีหนังสือบอกถวายพระราชกุศล ให้ทรงทราบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระพุทธรูปหล่อด้วยทองส�ำริดองค์หนึ่ง หล่อด้วยเงิน องค์หนึง่ (ชัยวุฒิ พิยกูล, ๒๕๔๑, หน้า ๑๐๓) อีกประเด็น คือภายหลังจากท�ำการบูรณะพระพุทธรูป และสร้าง อุโบสถเสร็จแล้ว พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระพุทธรูป แก่วัดเขาอ้อ ที่ปัจจุบันเรียกว่า “เจ้าฟ้าอิ่ม เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” ซึ่งในสมัยนั้นพระราชบังสัน (ตะตา) เป็นเจ้าเมืองครองพัทลุงเขาชัยบุรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ โปรดให้เป็นพีเ่ ลีย้ งของเจ้าฟ้าอิม่ และเจ้าฟ้าดอก มะเดือ่ ไปศึกษาวิทยาคม ณ วัดเขาอ้อ ซึง่ อยูห่ า่ งจากเมือง พัทลุงเขาชัยบุรีไม่มากนัก (ถนอม พูลวงศ์, ๒๕๕๙, หน้า ๑๙๘ - ๒๑๘) เป็นไปได้วา่ ครัง้ นัน้ อาจมีการพระราชทาน ให้สร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องที่วัดท่าส�ำเภาเหนือด้วย ก็เป็นได้ เพราะเหตุว่าชื่อเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร อาจสร้างเพื่อถวายพระเกียรติแก่ เจ้าฟ้าอิ่ม เจ้าฟ้า ดอกมะเดื่อ ซึ่งอาจเปลี่ยนชื่อภายหลัง

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 35


๓. สรุป พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร จัด ได้ว่าเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างใหญ่สมัยอยุธยา ตอนปลาย ควรจะก�ำหนดอายุได้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๓ เป็นต้นมา เพราะมีรปู แบบทางศิลปกรรมอยุธยาตอน ปลายอย่างศิราภรณ์ทรงเทริด สวมแบบชั้นเดียว ไม่แยก ระหว่างรัดเกล้ากับกระบังหน้า ยอดเทริดยืดสูงขึน้ ไม่ทำ� เป็นรัดเกล้า การประดับเครื่องทรงมากชิ้นทั้งกรองศอ ทับทรวง สร้อย พาหุรัด ทองพระกร รัดประคต ฉลอง พระบาท ผ้าทรงแบบนุง่ จีบทีม่ กี ารประดับลวดลาย มีการ สืบเนือ่ งในเรือ่ งของลวดลายประจ�ำยามก้านขด ลายพันธุ์ พฤกษาที่ประดับบนศิราภรณ์ เครื่องทรง กุณฑลห้อย แบบตรง จากพระพุทธรูปทรงเครือ่ งน้อยสมัยอยุธยาตอน กลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ครีบของเทริดทีย่ งั ไม่เป็น กรรเจียก กุณฑลที่ห้อยตรง เพราะงานสมัยอยุธยาตอน ปลายจะห้อยแบบปลายงอน ทีน่ า่ สังเกตคือ พระพุทธรูป มีความเป็นงานศิลปะท้องถิ่น อย่างพระพักตร์ถึงแม้จะ มองต�่ำแต่ก็มีพระเนตรโตแบบชาวภาคใต้ พระเนตร ไม่เรียวเท่าพระพุทธรูปทรงเครื่องทางกรุงศรีอยุธยา ฝีมือด้านงานช่างค่อนข้างประณีต ประเด็นนี้คงเป็นได้ ว่า ช่างที่หล่อพระคงมีความช�ำนาญระดับครู ซึ่งอาจจะ หล่อขึ้นที่เมืองพัทลุง โดยทางกรุงศรีอยุธยาได้จัดส่งช่าง มาร่วมกันออกแบบกับช่างในเมืองพัทลุง หรือเป็นช่าง ในท้องถิ่นเองที่มากด้วยฝีมือก็เป็นได้ ถ้าเชื่อว่าอัญเชิญ มาจากกรุงศรีอยุธยานั้น ก็คงเป็นการออกแบบจากช่าง ที่ได้ศึกษาลักษณะการแต่งกายของเจ้าเมืองในเวลานั้น เครื่องทรงที่เห็นนั้นคงรับต้นแบบมาจากเครื่องทรงที่ นิยมกันในบรรดาเจ้าเมืองทางภาคใต้ก็เป็นได้ คติการ สร้างพระพุทธรูปก็คงจะเป็นการถวายเกียรติ พระบารมี

เปรียบพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า แผ่พระมหากรุณาจาก เมืองหลวงสู่หัวเมือง การเรียกถวายพระนามยังคงเป็น ชั้นเจ้าฟ้า พระพุทธรูปองค์โตอาจหมายถึงพระเชษฐา พระพุทธรูปองค์เล็กกว่าคือพระอนุชา คงเป็นการระลึก ถึ ง พระราชโอรสในสมเด็ จ พระเจ้ า บรมโกศเพื่ อ เป็ น สิริมงคลแก่เมืองพัทลุง ปัจจุบันเมื่อประชาชนได้เข้าไป กราบไหว้ก็จะเสมือนหนึ่งได้ถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดิน ของกรุงศรีอยุธยา ลักษณะที่เป็นพิเศษของท้องถิ่นคือ ศิราภรณ์ แบบเทริดโนรา พระพักตร์คล้ายบุคคลในท้องถิ่นภาคใต้ สันนิษฐานว่าคงเป็นการออกแบบของช่างในพัทลุงเอง หรือมีการน�ำช่างมาจากกรุงศรีอยุธยามาร่วมกันออกแบบ ตกแต่ ง ร่ ว มกั บ ช่ า งในเมื อ งพั ท ลุ ง ซึ่ ง อาจเป็ น เครื่ อ ง แต่งตัวของเจ้าเมืองทางภาคใต้ในสมัยนัน้ เพราะการสร้าง พระพุทธรูปทรงเครื่องย่อมแสดงถึงความเป็นจักรพรรดิ และอาจสอดคล้องกับคติความเชื่อพระพุทธเจ้าตอน ทรมานพระเจ้าชมภูบดี ที่คงจะนิยมมากในสมัยอยุธยา ตอนปลาย เพื่ อ เป็ น แนวคิ ด ในการหล่ อ พระพุ ท ธรู ป สองพระองค์นี้ ส่วนของต�ำนานนั้นที่มาตั้งแต่เมื่อใด ไม่อาจทราบได้ ซึ่งมิตรงกับเอกสาร หากแต่ใครได้ทราบ ต�ำนานเล่าขานจากท้องถิ่นในพัทลุงกับความสัมพันธ์กับ กรุงศรีอยุธยา ก็นา่ จะเกิดความศรัทธาในองค์พระพุทธรูป ที่มีอายุเก่าแก่ ตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งความ เชื่อเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธรูปถูกโจรกรรม แล้วน�ำกลับมาได้ ในส่วนนี้น่าจะเกิดประโยชน์การสร้าง ความรัก ภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน และเป็นการดูแล รักษาศิลปวัตถุอันมีค่านี้ ให้คงอยู่คู่พัทลุงสืบไป

36 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


บรรณานุกรม ชัยวุฒิ พิยกูล. (๒๕๔๑). ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองพัทลุงเก่าเขาชัยบุรี อ�ำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศกึ ษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. ถนอม พูลวงศ์. (๒๕๕๙). ประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ฐานข้อมูลโบราณวัตถุออนไลน์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา. (๒๕๖๐). เทริด โนรา. ค้นเมื่อ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๐, จาก culture.pn.psu.ac.th/antiquePGICT_antique.detail.php?=43 พุฒิพงค์ ตาแก้ว. (๒๕๖๐, ๒ มิถุนายน). สัมภาษณ์. พระมหาวิจิตร ฐานปุณฺโณ. (๒๕๖๐, ๒ กรกฎาคม). เจ้าอาวาส วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง. สัมภาษณ์. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (๒๕๕๓). พระพุทธปฏิมาสยาม. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส. วรวิทย์ สินธุระหัส. (๒๕๕๘). เทริดโนรามาจากกรุงศรีอยุธยาหรือไม่?, วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา, ๗(๒), ๔๖ – ๔๗. สิรพิ รรณ ธิรศริโชติ. (๒๕๔๒). น�ำชมพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา. กรุงเทพฯ: ส�ำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม __________. (๒๕๕๒). ประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะไทย (ฉบับย่อ) : การเริม่ ต้นและการสืบเนือ่ ง งานช่างในศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. ส� ำ นั ก พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ กรมศิ ล ปากร. (๒๕๕๑). วั ด เบญจมบพิ ต รและ พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ วั ด เบญจมบพิ ต ร พระพุ ท ธรู ป ส� ำ คั ญ ณ วั ด เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. สวรินทร์ วชิรนานนท์. (๒๕๖๐, ๙ มิถุนายน). สัมภาษณ์. ศรินยา ปาทา. (๒๕๔๙). พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย จากพระอุระและพระพาหาซ้าย ของพระมงคลบพิตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ศักดิช์ ยั สายสิงห์. (๒๕๕๔). พระพุทธรูปส�ำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. _____________. (๒๕๕๖). พระพุทธรูปส�ำคัญในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และ ความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 37


ภาพนิ่ง พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ. (๒๕๕๙). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา: ศศิวิมล วอนแม้น. พระพุ ท ธรู ป ทรงเครื่ อ งน้ อ ย ปางสมาธิ จั ด แสดงในพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ เจ้าสามพระยา. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา: ประพฤทธิ์ รื่นยศ. พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ เจ้าฟ้าอุทุมพร วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พัทลุง: วากร เครือแก้ว. พระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พัทลุง: ทิวากร เครือแก้ว. ด้านหลังเทริดพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พัทลุง: ทิวากร เครือแก้ว. ทับทรวงพระพุทธรูปเจ้าฟ้าเอกทัศน์ วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พัทลุง: ทิวากร เครือแก้ว. พระพุทธรูปเจ้าฟ้าอุทุมพร วัดท่าส�ำเภาเหนือ พัทลุง. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พัทลุง: ทิวากร เครือแก้ว.

38 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


บทความวิชาการ

การกอบเพื่อสร้างประวัตศิ าสตร์ท้องถิ่นที่มีคุณค่าต่อ ชุนชนเจ้าแม่ไทรทองและชุมชนซอยต้นไทร ต�ำบลไผ่ลิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา๑

Information Compilation for Creating Valuable Local History of Chao Mae Sai Thong Community and Soi Ton Sai Community of Tambon Pai Ling, Phranakhon Si Ayutthaya Province ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์/Chanin Phongsawat นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาและรวบรวม (กอบ) ข้อมูลที่กระจัดกระจายจากเอกสารส�ำคัญทางราชการท้องถิ่น และการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในพื้นที่ เพื่อผลึกข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลส�ำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเป็น ข้อมูลทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อชุมชนเจ้าแม่ไทรทองและชุมชนซอยต้นไทร ต�ำบลไผ่ลงิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าชุมชนทัง้ สองแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะมีซากโบราณสถานร่วมสมัยกับสมัยอยุธยาถึง ๗ แห่ง สันนิษฐานว่าพื้นที่ตรงนี้ขาดช่วงการสืบเนื่องไปหลังจากเหตุการณ์การเสียกรุงครั้งที่ ๒ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๐๙ เริ่มมี การตัง้ รกรากถิน่ ของชุมชนสมัยใหม่ขนึ้ ในบริเวณนี้ แล้วพัฒนากลายเป็นชุมชนในระบอบการปกครองท้องถิน่ สมัยใหม่ คือ “ชุมชนซอยต้นไทร” ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ ได้แยกออกเป็นสองชุมชนมาจนถึงปัจจุบนั นอกจากการศึกษา ครั้งนี้จะเป็นการศึกษาท้องถิ่นของข้าพเจ้าเองแล้ว ทั้งหมดยังเป็นการสร้างสมบัติของชุมชนอีกด้วย ค�ำส�ำคัญ : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง ชุมชนต้นไทร พระนครศรีอยุธยา

ขอขอบพระคุณรองศาสตราจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น ผู้ให้ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแก่ผู้ศึกษาในระดับปริญญาตรีที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร และขอขอบคุณ คุณพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการประจ�ำสถาบันอยุธยาศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาที่เมตตาแนะน�ำวิธีการ ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอยุธยาศึกษาที่น่าสนใจแก่ผู้ศึกษา ทั้งยังขอขอบคุณ คุณบุญธรรม ชูศรี ประธานชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง และ คุณพรรณี น้อยอ่างประธานชุมชนซอยต้นไทรที่เมตตาเอื้อเฝือเอกสารราชการส�ำหรับเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์สำ� หรับการศึกษาในครั้งนี้ รวมทั้ง ขอขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ณ โอกาสนี้ด้วย ๑

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 39


Abstract This article aims to study and compile the scattered information from local official documents and interviews from the elders in the communities as valuable local history studies for Chao Mae Sai Thong Community and Soi Ton Sai Community of Tambon Pai Ling, Phranakhon Si Ayutthaya Province. It is found that these two communities could be traced back to the Ayutthaya period due to the remains of seven historical places from the Ayutthaya period located there. It is assumed that these areas were abandoned after the second fall of the Ayutthaya Kingdom. In B.E. 2509, people started to settle down there again and developed it into a community named “Soi Ton Sai Community” in modern local regime. Then, in B.E. 2554-2555, the community has been split into two communities until now. It should be stated that this study has been conducted not only for the researcher’s own local community but also for valuable treasure of the communities. Keywords: local history, Chao Mae Sai Thong Community, Soi Ton Sai Community, Phranakhon Si Ayutthaya

บทน�ำ พื้ น ที่ ใ ดย่ อ มมี ป ระวั ติ ศ าสตร์ ข องพื้ น ที่ นั้ น หมายความว่า ไม่ว่าสถานที่ใดย่อมมีภูมิหลัง มีความ เป็นมา และมีอดีตกาล ผู้ศึกษาพักอาศัยอยู่ในชุมชน แห่งนี้มาร่วมสิบกว่าปี๒ (ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ชุมชนแห่งนี้ ตัง้ แต่แรกเกิดก็ตาม) ได้มโี อกาสเห็นการเปลีย่ นแปลงของ ผู้คนในชุมชน และความเจริญของจุดศูนย์รวม (จังหวัด) ที่มีผลต่อชุมชนแห่งนี้ ความเจริญของวัตถุแห่งความ ทันสมัย ส่งผลให้ชุมชนแห่งนี้กลายเป็นชุมชนสมัยใหม่ ผู้ศึกษาเลือกศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนแห่งนี้ เนื่องจาก ถูกมองว่าเป็นชุมชนสมัยใหม่ ไม่ใช่ชุมชนเก่าแก่ ไม่มี ประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจของตนเอง เหมือนชุมชน อื่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่เป็นพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง กับประวัติศาสตร์ส่วนกลางของชาติ๓ จึงเป็นที่มาของ ผู้ศึกษาและครอบครัวย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนแห่งนี้ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๗ (เทศบาลเมืองอโยธยา อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา, ๒๕๕๑, หน้า ๔๙๘) ๓ “ชุมชน” หมายถึง พื้นที่... ที่มีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของอดีตและ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ชุมชน โบราณสถาน และผู้คนที่มีการสืบทอด และเปลีย่ นแปลงไปตามเงือ่ นไขบริบทของสังคม ทัง้ เป็นพืน้ ทีท่ ชี่ าวชุมชนใช้ ประกอบกิจกรรมในชีวติ ประจ�ำวัน ประเพณี วัฒนธรรม เป็นแหล่งเรียนรูท้ งั้ ของสังคมภายนอกและสมาชิกภายในชุมชนได้ใช้เป็นเวทีเพื่อแสดงออกใน การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาสังคมชุมชนในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย และตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ (ธนภน วัฒนกุล, ๒๕๕๐, หน้า ๕๑) ๒

การตั้งชื่อบทความวิชาการชิ้นนี้ว่า “การกอบเพื่อสร้าง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีคุณค่าต่อชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง และชุ ม ชนซอยต้ น ไทรจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา” ส�ำหรับค�ำว่า “การกอบเพื่อสร้าง” มีหมายความว่า การ ศึกษาครัง้ นีเ้ ป็นการรวบรวมข้อมูลเพือ่ สร้างข้อมูลความรู้ เชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น๔ ที่มีคุณค่าต่อ ๒ ชุมชนแห่งนี้ และการศึกษาครัง้ นีเ้ ลือกศึกษาชุมชนสองแห่งคือ ชุมชน เจ้าแม่ไทรทอง และ ชุมชนซอยต้นไทร ซึง่ แต่เดิมเคยเป็น ชุมชนเดียวกันมาในนาม “ชุมชนซอยต้นไทร” แล้วแยก ออกมาเป็น ๒ ชุมชน เมือ่ ราว พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ (คณะ กรรมการชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง, ๒๕๕๘, หน้า ๓) นคร พันธุ์ณรงค์ (๒๕๒๒, หน้า ๒) เสนอการศึกษาประวัติศาสตร์เช่นนี้ ว่า เป็นการศึกษา ประวัตศิ าสตร์ของภูมภิ าคใดภูมภิ าคหนึง่ หรือของท้องถิน่ ใดท้องถิน่ หนึง่ โดยเฉพาะ อาจจะเป็นเรือ่ งราวตัง้ แต่สมัยโบราณหรือเรือ่ งราว ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งทางด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ฯลฯ เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวผู้ศึกษา ซึ่งผู้ศึกษาเห็นด้วยกับทรรศนะ ของนคร พันธุ์ณรงค์ เพราะเมื่อมองชุมชนผ่านประวัติศาสตร์ก็จะเห็นเรื่อง ของการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศาสนาจริง หรือเป็นเรื่อง ของการศึกษาประวัติศาสตร์ในพื้นที่ทางกายภาพขนาดเล็ก ๆ เช่น หมู่บ้าน เมืองเล็ก ๆ แคว้น มณฑล หรือเป็นท้องถิ่นในการจัดรูปแบบใหม่ของการ ปกครอง เช่น อ�ำเภอหรือจังหวัดก็อาจนับได้ (วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, ๒๕๕๗, หน้า ๕๐) แล้วยังเป็นเรือ่ งราวในอดีตของความสัมพันธ์ของผูค้ นกับธรรมชาติ ผู้คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติกับผู้คนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน (ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ, ๒๕๕๔, หน้า ๒๘) ตรงกับต�ำนานและคติความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าแม่ไทรทอง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำชุมชนเจ้าแม่ไทรทองกับชุมชนต้นไทร

40 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


การศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ในลักษณะนีจ้ ะ ท�ำให้เกิดความเข้าใจ และตระหนักถึงความเป็นมาของ วิถีชีวิตประชาชนได้อย่างรอบด้านและลึกซึ้ง ความรู้ เหล่านีจ้ ะช่วยฟืน้ ฟูจติ ส�ำนึกประวัตศิ าสตร์ในชุมชนขึน้ มา ใหม่ (ยงยุทธ ชูแว่น, ๒๕๕๑, หน้า ๓๗๑) ฉะนั้นการ ศึ ก ษาครั้ ง นี้ จึ ง เป็ น เสมื อ นการรื้ อ ฟื ้ น และการสร้ า ง ประวัติศาสตร์ชุมชน-ท้องถิ่นจึงเป็นการคืนจินตนาการ ต่ออดีตให้กลับกลายมาเป็นความทรงจ�ำร่วมกันของ คนในชุมชน-ท้องถิ่น เพื่อที่จะร่วมกันก้าวเดินไปข้าง หน้ า อย่ า งมี พ ลั ง (อรรถจั ก ร สั ต ยานุ รั ก ษ์ ใน วศิ น ปั ญ ญาวุ ธ ตระกู ล ไพริ น ทร์ กนกกิ จ เจริ ญ พร และ สุพรรณี เกลื่อนกลาด (บรรณาธิการ), ๒๕๕๔, หน้า ๔) มั น จึ ง มี ค วามจ� ำ เป็ น และความส� ำ คั ญ มากขึ้ น ใน ปัจจุบัน เพราะความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นใน ชุมชน ทั้งส่วนที่เกิดจากพลังภายนอกและการปรับตัว ของคนในชุมชนเอง ทวีความซับซ้อนมากขึ้น จนท�ำให้ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ตกอยู ่ ใ นสภาวะที่ ต ้ อ งการฐานความรู ้ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ลักษณะ ใหม่ ที่ เ อื้ อ อ� ำ นวยให้ ชุ ม ชน-ท้ อ งถิ่ น สามารถอธิ บ าย ความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงของชุมชนได้อย่าง มีพลัง เพราะหากปราศจาก “ราก” ของชุมชน ชุมชน ก็ย่อมสูญพลังในการปรับตัวไปในที่สุด และมีแนวโน้ม ที่จะท�ำให้กลายเป็น “ชุมคน” ที่ปราศจากส�ำนึกของ ความเป็น “ชุมชน” อันจะท�ำให้เกิดปัญหาตามมาอีก มากมาย (อรรถจักร สัตยานุรักษ์, ๒๕๕๘, หน้า ๒๙๓๒๙๔) ผูศ้ กึ ษาเห็นสมควรว่า การศึกษาครัง้ นีต้ อ้ งแบ่งการ ศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ของชุมชนเจ้าแม่ไทรทองและ ชุมชนต้นไทรออกเป็นดังนี้

ภูมิหลังทางประวัตศิ าสตร์ชุมชนเจ้าแม่ ไทรทองและชุมชนซอยต้นไทร ๑. ประวัติศาสตร์ชุมชนเจ้าแม่ไทรทองและชุมชน ซอยต้นไทรสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณพื้นที่ตรงนี้ก่อนจะกลายเป็น ๒ ชุมชน สันนิษฐานว่า เคยเป็นชุมชนโบราณมาก่อน เนื่องจากมี หลักฐานคือ ซากวัดโบราณ ๗ แห่ง ได้แก่ วัดหมอโหร๕ วัดทิดมา๖ วัดไฟไหม้๗ วัดมหาทลาย๘ วัดโพธิ์เผือก๙ วัด มะกล�่ำ๑๐ และ วัดที่ไม่ปรากฏชื่อ๑๑ ปัจจุบันบางวัดได้ สาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ยังคงอยู่ในความทรงจ�ำของ ผู้คนในพื้นที่ หากหลงเหลือก็เป็นเพียงซากของก�ำแพง และวิหารเป็นส่วนใหญ่ การที่มีวัด (หรือ ศาสนสถาน) ปรากฏขึ้น แสดง ให้เห็นถึงการตัง้ ถิน่ ฐานของมนุษย์ในพืน้ ทีน่ ี้ เนือ่ งจากวัด ต้องได้รบั การอุปถัมภ์จากพุทธศาสนิกชน เป็นผูท้ ำ� อาหาร ถวายพระภิกษุ กุลบุตรต้องบวชเป็นสามเณรหรือพระ ภิกษุเพื่อเรียนหนังสือ (วัดจึงกลายเป็นแหล่งวิทยาการ ความรู้ของชุมชน) และบวชเพื่อสืบทอดอายุศาสนา (วัด จึงเป็นสถานที่รองรับความเชื่อของชุมชน) นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาของคนใน พื้นที่นี้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่พื้นที่ตรงนี้ต้องกลาย เป็นพื้นที่รกร้างหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ ๒

ปัจจุบนั ไม่มวี ดั หลงเหลือแล้ว ปัจจุบนั กลายเป็นหอพักกีรติจนิ ดา ๔ และ ได้ตั้งเป็นศาลไว้ภายในบริเวณของหอพัก เพื่อให้เป็นที่สักการะของผู้คนใน บริเวณนี้ ๖ ปัจจุบันไม่มีวัดหลงเหลือแล้ว กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรหรือทาวน์เฮ้าส์ ไป ไม่สามารถบ่งบอกต�ำแหน่งของวัดนี้ได้ แต่จากความทรงจ�ำของคุณยาย ปทุม ศรีค�ำฝาย วัย ๗๖ ปี (๒๕๕๙, ๒๙ กันยายน) ได้เล่าให้ผู้ศึกษาฟังว่า วัดทิดมาเป็นซากเจดีย์ที่มีต้นโพธิ์ขึ้นปรกอยู่ ๗ ตั้งอยู่บริเวณหน้าบ้านเลขที่ ๙๐/๗ เหลือซากก่ออิฐของฐานก�ำแพง ๘ ตั้งอยู่ภายในบริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือด้าน ข้างหอประชุมสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๙ ตั้งอยู่ภายในบริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือด้าน หลังอนุสาวรีย์นายขนมต้ม ๑๐ ตั้งอยู่ภายในบริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือด้าน ข้างสระว่ายน�้ำ ๑๑ ตั้งอยู่ภายในบริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือด้าน หลังสนามยิงปืน และที่ไม่มีชื่อเพราะไม่ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร ๕

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 41


ภาพที่ ๑ วัดหมอโหร ที่มา : ผู้วิจัย

ภาพที่ ๒ วัดมหาทลาย ที่มา : ผู้วิจัย

ภาพที่ ๓ วัดไฟไหม้ ที่มา : ผู้วิจัย

ภาพที่ ๔ วัดโพธิ์เผือก ที่มา : ผู้วิจัย

ภาพที่ ๕ วัดมะกล�่า ที่มา : ผู้วิจัย

ภาพที่ ๖ วัดไม่มีชื่อ ที่มา : ผู้วิจัย

42 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


สังเกตจากต�ำแหน่งของวัดในบริเวณนี้มีระยะที่ ไม่ห่างกัน อาจเรียกได้ว่า วัดชนวัด หรือ วัดติดวัด ก็ได้ ยิ่งภายในสนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา๑๒ มีวัดร้าง ๔ แห่ง คือ วัดมหาทลาย วัดโพธิ์เผือก วัด มะกล�่ำ และวัดที่ไม่ปรากฏชื่อ แล้วยังมีซากศาสนสถาน กระจั ด กระจายอยู่ตามชุมชนใกล้เ คียงอี ก หลายแห่ ง จึงเรียกได้ว่า อยุธยาเป็นเมืองแห่งความศรัทธาที่มีต่อ พุทธศาสนาอย่างแท้จริง หลักฐานที่บ่งบอกว่าพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นที่ตั้ง ของชุมชนเก่าแก่ นอกจากซากศาสนสถาน ๗ แห่งแล้ว ยังมีคลองโพธิ์ ซึ่งเป็นคลองเก่าที่อยู่คู่พื้นที่ตรงนี้มานาน สามารถเป็นเส้นทางคมนาคมได้ และเป็นแหล่งน�ำ้ ส�ำหรับ การอุปโภคและบริโภคได้ คุณยายปทุม ศรีค�ำฝาย วัย ๗๖ ปี (๒๕๕๙, ๒๙ กันยายน) ให้ค�ำสัมภาษณ์เกี่ยวกับ คลองโพธิ์ว่า “แต่ก่อนอาศัยอาบและดื่มน�้ำจากคลองนี้ เพราะเมื่อก่อนน�้ำสะอาดมาก แต่มาเดี๋ยวนี้น�้ำในคลอง สกปรกจนไม่สามารถใช้ได้ จึงต้องหันมาอาศัยน�ำ้ ประปา แทน” เมื่อถนนโรจนะตัดผ่านจึงท�ำให้บทบาทของคลอง โพธิ์ลดลงและไม่มีความส�ำคัญต่อการคมนาคมอีก จาก การสัมภาษณ์คุณยายปทุม ศรีค�ำฝายท�ำให้ผู้ศึกษาเริ่ม สงสัยว่า ครอบครัวของคุณยายปทุม ศรีค�ำฝาย และ ครอบครัวของคุณยายส�ำรวม ผิวแก้ว วัย ๗๘ ปี๑๓ ซึง่ เป็น คนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ อาจเป็นลูกหลาน ของบรรพชนทีต่ งั้ รกรากอยูใ่ นพืน้ ทีแ่ ห่งนีม้ าก่อนก็ได้ แต่ ส�ำหรับคุณยายทั้งสองแล้ว ท่านไม่สามารถสืบไปถึงเรื่อง ราวของบรรพบุรษุ ได้ นอกจากเพียงรูว้ า่ “อยูท่ นี่ มี้ าตัง้ แต่ เกิดแล้ว” (ราว พ.ศ. ๒๔๘๒) เท่านัน้ เราจึงไม่มหี ลักฐานที่ ยืนยันว่า ครอบครัวของคุณยายทัง้ สองสืบเชือ้ สายมาจาก ผูค้ นในชุมชนนีต้ งั้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่การสัมภาษณ์ ของคุณยายปทุม ศรีค�ำฝายช่วยให้เห็นภาพวิถีชีวิตของ ผู้คนในพื้นที่ตรงนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ใช้น�้ำในคลอง แห่งนี้ส�ำหรับอุปโภคและบริโภค รวมทั้งการสัญจรทาง น�ำ้ ได้เป็นอย่างดี และความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับวัด ซึง่ สังเกตจากซากวัดร้างทัง้ ๗ แห่ง ผูศ้ กึ ษาได้สอบถามถึง ความเป็นมาของชื่อวัด ๗ แห่งในพื้นที่นี้ คุณยายทั้งสอง ตั้งอยู่ในพื้นที่ของชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง ผู้สงู อายุในชุมชนที่ให้ค�ำสัมภาษณ์อีกท่านหนึ่ง

๑๒ ๑๓

ให้คำ� ตอบว่า “เขาเรียกกันมานานแล้ว” ซึง่ ท่านก็ไม่ทราบ ถึงสาเหตุของการเรียกชือ่ วัดเหล่านีเ้ ช่นกัน จึงไม่สามารถ ยืนยันได้วา่ ชือ่ วัดเหล่านีเ้ ป็นชือ่ เดิมหรือชือ่ ทีค่ นในพืน้ ที่ ตรงนี้เพิ่งมาเรียกกัน ๒. ประวัติศาสตร์ชุมชนเจ้าแม่ไทรทองและชุมชนซอย ต้นไทรสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน หลังจากกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย เกิดการเปลี่ยน สถานภาพความเป็นเมืองหลวงไปเป็นกรุงธนบุรีและ กรุงรัตนโกสินทร์ตามล�ำดับ สันนิษฐานว่าเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๑๐ ภายในพื้นที่ที่เคยเป็นกรุงศรีอยุธยาได้กลาย เป็นเมืองขึ้นมาอีกครั้งจากการรวมตัวของคนที่ยังรักใน ถิ่นฐานกับผู้คนที่อาศัยตามป่าแล้วย้ายเข้ามาตั้งรกราก ทางการในสมัยกรุงธนบุรจี งึ เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า “เมือง กรุงเก่า” แล้วก�ำหนดเป็นเมืองชั้นจัตวา ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ยังทรงก�ำหนดเมืองกรุงเก่าเป็นหัวเมืองชั้นจัตวาตาม เดิม จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้จัดการ ปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้ เป็นการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยรวม เมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน ๒-๓ เมืองเป็นมณฑล ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ โปรดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้นโดยผนวก เมือง กรุงเก่า เข้ากับ อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุ รี อิ น ท์ บุ รี และสิ ง ห์ บุ รี ต่ อ มาพระองค์ ท รง โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรี เข้ากับเมืองสิงห์บุรี แล้วรวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับ เมืองสระบุรี ถัดมาใน พ.ศ. ๒๔๖๙ มีการเปลี่ยนชื่อจาก มณฑลกรุงเก่าเป็น “มณฑลอยุธยา” ภายหลังได้ยกเลิก การปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ มณฑลอยุธยาจึงเปลีย่ นมาเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงปัจจุบนั (ม.ป.ผ., ๒๕๕๙, th.wikipedia.org/wiki/ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) หลั ง จากมณฑลอยุ ธ ยากลายเป็ น จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยาแล้ว พื้นที่ตรงนี้ก่อนที่จะเป็นชุมชน เจ้าแม่ไทรทองและชุมชนซอยต้นไทรน่าจะมีผู้คนเข้ามา ตั้งรกรากในพื้นที่นี้แล้ว อิงตามค�ำสัมภาษณ์ของคุณตา หนังสือที่ผู้ศึกษาจัดท�ำขึ้นเพื่อแจกเนื่องในงานท�ำบุญเจ้าแม่ไทรทอง ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๕

๑๔

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 43


จ�ำปี ผิวแก้ว วัย ๗๘ ปี ที่ปรากฏในหนังสือเรื่อง “เจ้าแม่ ไทรทอง รุกขเทวีผู้มีวิมานสถิตในต้นไทร”๑๔ ว่า พื้นที่ ตรงนีเ้ คยเป็นป่าและทีน่ าของชาวบ้านมาก่อนทีจ่ ะขายให้ กับโครงการหมูบ่ า้ นและกลายเป็นชุมชนสมัยใหม่อย่างที่ เห็นกันในปัจจุบนั (ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ,์ ๒๕๕๕, หน้า ๓๖) แสดงให้เห็นว่า พืน้ ทีต่ รงนีเ้ คยเป็นทีด่ นิ มีเจ้าของ คือเป็น พืน้ ทีส่ ำ� หรับการท�ำกสิกรรมของชาวบ้าน เป็นสมบัตขิ อง บรรพบุรุษหรือมรดกที่ตกทอดกันมา และยังมีพื้นที่บาง ส่วนเป็นที่รกร้างเพราะมีต้นไม้ขึ้นแน่นหนา ในช่วงนั้น พื้นที่ตรงนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเตาอิฐ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ มีการปรับและสร้าง ถนนโรจนะเป็น ๕ ถึง ๘ เลน ทางเทศบาลต�ำบลอโยธยา (ต่อมาเป็นเทศบาลเมืองอโยธยา) ในขณะนั้นได้ก�ำหนด ถนนโรจนะเป็ น เส้ น แบ่ ง เขตพื้ น ที่ ต รงนี้ ใ ห้ ก ลายเป็ น ชุมชนใหม่แยกออกจากชุมชนเตาอิฐ คือ “ชุมชนซอย ต้นไทร” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ เกิดการสร้างบ้านจัดสรรและ ทาวน์เฮ้าส์ขึ้น แล้วมีประชาชนย้ายเข้ามาอยู่เพิ่มมาก ขึ้นเรื่อย ๆ ท�ำให้จำ� นวนประชากรในชุมชนนี้เพิ่มมากขึ้น จากนั้นราว พ.ศ. ๒๕๔๔ ชาวบ้านในชุมชนซอยต้นไทร ได้ลงมติร่วมกันว่าจะแยกชุมชนนี้ออกเป็น ๒ ชุมชน คือ ชุมชนซอยต้นไทร และ ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง (คณะ กรรมการชุมชนซอยต้นไทร, ๒๕๕๘, หน้า ๓) จนกระทั่ง ถึงราว พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ ชุมชนซอยต้นไทรได้แยกออก เป็นสองชุมชนตามค�ำร้องขอของคุณสุนนั ทา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (คณะกรรมการชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง, ๒๕๕๘, หน้า ๓) แล้วตัง้ ชือ่ ชุมชนทีม่ อี าณาเขตติดถนนโรจนะทิศเหนือ และคลองโพธิฝ์ ง่ั ตะวันตกเป็น “ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง”๑๕ ส่วนพื้นที่เหลือยังคงเป็น “ชุมชนซอยต้นไทร” โดยมี อาณาเขตติดกับชุมชนหลวงพ่อขาวและคลองโพธิ์ฝั่ง ตะวันตก (ประกาศเทศบาลเมืองอโยธยา เรื่อง การ ก�ำหนดเขตพื้นที่ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอโยธยา, ๒๕๕๖, หน้า ๒) เพราะผูค้ นในพืน้ ทีต่ รงนีเ้ คารพนับถือเจ้าแม่ไทรทองเป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิม์ า แต่ดั้งเดิม พอพัฒนาพื้นที่ตรงนี้เป็นชุมชน จึงสถาปนาเจ้าแม่ไทรทองเป็น สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิป์ ระจ�ำชุมชนไปด้วย การตัง้ ชือ่ ชุมชนว่า “ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง” ก็เนื่องมาจากบริเวณของชุมชนเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่ไทรทอง (ผู้ศึกษา) แล้วมีการจัดงานบุญถวายสังฆทานพระสงฆ์เป็นกิจกรรมประจ�ำปีของชุมชน (คณะกรรมการชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง, ๒๕๕๘, หน้า ๓) เพื่ออุทิศบุญให้แด่ เจ้าแม่ไทรทอง

๑๕

ภาพที่ ๗ แผนที่ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง ที่มา : แผนที่ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง, ม.ป.ป., [แผนที่]

ภาพที่ ๘ แผนที่ชุมชนซอยต้นไทร ที่มา : แผนที่ชุมชนซอยต้นไทร, ม.ป.ป., [แผนที่]

ผู้ศึกษาได้สัมภาษณ์คุณบุนนาค กีรติจินดา วัย ๕๘ ปี เจ้าของหอพัก (dormitory) รายหนึ่งในชุมชน ถึงการเกิดขึ้นของธุรกิจหอพักในชุมชนสองแห่งนี้ คุณ บุนนาค (๒๕๕๙, ๓๐ กันยายน) ให้ค�ำสัมภาษณ์ที่เป็น ประโยชน์อย่างยิง่ ว่า คุณบุนนาคและครอบครัวได้เข้ามา อาศัยในพื้นที่ตรงนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ แล้วหนึ่งปีถัดมาจึง

44 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


สร้างหอพักขึ้น คือ “หอพักกีรติจินดา” เมื่อปี ๒๕๓๔ คุณบุนนาคบอกเล่าอีกว่า ตอนทีค่ ณ ุ บุนนาคกับครอบครัว ย้ายเข้ามาพักอาศัยอยูใ่ นพืน้ ทีแ่ ห่งนีไ้ ด้มผี ทู้ ำ� ธุรกิจหอพัก อยู่ก่อน คือ “หอพักเบญจวรรณ” และ “หอพักของ ตาหง่า” จากนั้นก็มีคนเข้ามาจับจองที่ดินแล้วสร้างเป็น หอพัก อพาร์ตเมนต์ (apartment) และคอนโดมิเนียม (condominium) ขึน้ อีกหลายแห่ง ซึง่ สิง่ นีเ้ ป็นตัวบ่งชีถ้ งึ การเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนที่เป็นเพียงการตั้งรกราก ถิ่นฐานแบบครอบครัวในรูปลักษณ์ของบ้านเรือน แล้ว กลายมาเป็นการพักอาศัยในหอพัก อพาร์ตเมนต์ และ คอนโดมิเนียมแทน สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ธรรมชาติและแหล่ง กสิกรรมถูกลุกลามจนกลายเป็นชุมชนคอนกรีตสมัยใหม่ มีประชาชนมาจับจองพื้นที่สร้างเป็นบ้านเรือน กลาย เป็นวิถีชีวิตแบบหมู่บ้านสมัยใหม่ (เพิ่งถูกสร้าง) เพราะ สังคมเมือง (urbanization) ออกสู่ชนบท (rural area) (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ, ๒๕๔๒, หน้า ข) มากขึ้น เพราะคนที่เข้ามาตั้งรกราก ใน ๒ ชุมชนนี้ เคยเป็นคนที่อาศัยในเกาะเมืองอยุธยา มาก่อน เช่น ครอบครัวของผู้ศึกษา เป็นต้น เนื่องจาก ตัวเมือง (เกาะเมืองอยุธยา) มีพื้นที่จำ� กัดจึงส่งผลให้เกิด การหาพื้นที่ใหม่เพื่อครอบครัว รวมทั้งความเจริญของ เศรษฐกิจ เนือ่ งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่งเสริมการ ลงทุนเขต ๒ จึงมีนิคมอุตสาหกรรมมาตั้งอยู่ในพื้นที่ของ จังหวัด ซึ่งชุมชนทั้ง ๒ ตั้งอยู่บนเส้นทางผ่านไปยังแหล่ง อุตสาหกรรม คือ นิคมอุตสาหกรรมบางหว้า (ไฮเทค๑๖ และสวนนิ ค มอุ ต สาหกรรมโรจนะ ๑๗ กั บ สวนนิ ค ม อุตสาหกรรมโรจนะ ๒ ฉะนัน้ จึงท�ำให้เกิดการสร้างหอพัก อพาร์ตเมนต์ และ คอนโดมิเนียม เพื่อรองรับกลุ่มคนที่ ย้ายมาจากถิ่นอื่นเพื่อมาท�ำงานในแหล่งอุตสาหกรรมได้ พักอาศัย

ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ (ม.ป.ผ., ๒๕๕๙, http://www.ieat.go.th/ main/default/g189-นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า%20ไฮเทค) ๑๗ ในเว็ปไซค์ของสวนนิคมอุตสาหกรรมโรจนะระบุว่า ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. ๑๙๘๘ หรือตรงกับ พ.ศ. ๒๕๓๑ (ม.ป.ผ., ๒๕๕๙, http://www.rojana. com/company_profile.html) ๑๖

“เจ้ า แม่ ไ ทรทอง” และ “ซอยต้ น ไทร” ภู มิ น ามที่ ส ะท้ อ นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง มนุษย์กับลัทธิบูชาธรรมชาติ ที่มาของชื่อ-นามของสองชุมชนนี้ อิงมาจาก ต�ำนานเจ้าแม่ไทรทอง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนในพื้นที่ นี้นับถือ เจ้าแม่ไทรทองมีประวัติความเป็นมาดังปรากฏ ในหนังสือเรื่อง “เจ้าแม่ไทรทอง รุกขเทวีผู้มีวิมานสถิต ในต้นไทร” โดยมีความว่า “คุณตาจ�ำปีจ�ำได้ดีว่า เมื่อก่อนตรงบริเวณหน้า ซอยต้นไทรมีต้นไทรใหญ่ขนาดประมาณสามคนโอบแผ่ กิ่งก้านสาขาให้ความร่มเย็นแก่ผู้ที่สัญจรไปมา ต้นไทร ใหญ่เติบโตขึ้นบริเวณริมคลอง สมัยก่อนเด็ก ๆ ก็จะพา กันมาปีนต้นไทรเล่นน�้ำกันอย่างสนุกสนาน ชาวบ้าน ในบริ เวณนั้ น ให้ ค วามเคารพศรั ท ธาต่ อ ต้ น ไทรนี้ ม าก เพราะมีคนพบเห็นว่า มีหญิงสาวรูปร่างผิวพรรณงดงาม เส้นผมสลวยดกด�ำแต่งตัวด้วยชุดไทยโบราณมาปรากฏ อยู่บริเวณต้นไทรนี้อยู่เป็นประจ�ำ” (ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์, ๒๕๕๕, หน้า ๓๖-๓๗) ตามค�ำบอกเล่าของคุณตาจ�ำปี ผิวแก้ว วัย ๗๘ ปี แสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับโอปาติกในคติพุทธ ศาสนา ที่เรียกว่า “รุกขเทวดา” แสดงให้เห็นถึงคติ พุทธศาสนาที่ครอบง�ำความเชื่อของคนในพื้นที่ว่า ต้อง เคารพต้นไทรที่มีขนาดใหญ่เพราะมีรุกขเทวดาสิงสถิต ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์ (๒๕๕๖, หน้า ๑๔-๑๖) เสนอว่า พุทธศาสนาเองถ่ายทอดความเชื่อเกี่ยวกับรุกขเทวดาดัง มีปรากฏเป็นเรื่องราวอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น (๑) นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสแด่พระพุทธเจ้า เพราะนางเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเป็นรุกขเทวดา (๒) เหล่า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ถูกรุกขเทวดารบกวน (๓) รุกขเทวดา เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะภิกษุชาวเมืองอาฬวีได้ตัด ต้นไทรซึ่งเป็นที่สิงสถิตของตน และ (๔) รุกขเทวดา ท�ำบุญอุทิศให้นางเปรตผู้เป็นอดีตภรรยาในชาติก่อน เป็นต้น การบูชารุกขเทวดาในสังคมไทยรวมทัง้ การเคารพ นับถือเจ้าแม่ไทรทองของชุมชนเจ้าแม่ไทรทองและชุมชน ซอยต้นไทรก็เนื่องมาจากอิทธิพลทางความเชื่อทางพุทธ ศาสนา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 45


แต่ในปัจจุบันไม่หลงเหลือต้นไทรต้นใหญ่ขนาด เท่า ๓ คนโอบแล้ว กลับกลายเป็นศาลที่ประดิษฐานรูป เคารพปูนปั้นเจ้าแม่ไทรทองในรูปลักษณ์ผู้หญิงแต่งกาย ด้วยชุดถือศีลแทน เนื่องจากเกิดการสร้างถนนขึ้นเพื่อใช้ เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปยังกรุงเทพมหานคร ต�ำแหน่งของต้นไทรเป็นต�ำแหน่ง ที่ถนนต้องตัดผ่านพอดี จึงจ�ำเป็นต้องตัดต้นไทรต้นนี้ ออก ทางหน่วยราชการของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะนั้นได้จัดพิธีบวงสรวงและตั้งศาลไม้ถวายเจ้า แม่ ไ ทรทอง อี ก หลายปี ต ่ อ มามี โ ครงการพั ฒ นาถนน เป็นสองเลน จึงต้องท�ำพิธีบวงสรวงแล้วย้ายศาลเจ้าแม่ ไทรทองขยับเข้าไปอีก ต่อมาราวพ.ศ. ๒๕๑๐ มีการ ปรับถนนให้เป็นขาเข้าและขาออก ถนนจึงมีความกว้าง มาถึงต�ำแหน่งศาลของเจ้าแม่ไทรทองอีก จึงจ�ำเป็น ต้องบวงสรวงเพื่อตั้งศาลใหม่ โดยขณะนั้นคุณอารีและ คุณปทุม กาญจนุปะกิจสละพื้นที่ส่วนหนึ่งในบ้านของ ตนสร้างศาลถวายเจ้าแม่ไทรทอง (ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์, ๒๕๕๕, หน้า ๓๗) ต่อมาครอบครัวของคุณอารีและคุณ ปทุมได้ขายบ้าน จึงท�ำให้ศาลของเจ้าแม่ไทรทองซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งในพื้นที่ต้องขายไปด้วย ต่อมากลายเป็นร้าน อาหารชื่อ “The Terrace” เจ้าของร้านอาหารจึงสร้าง ศาลหลังใหม่ถวายเจ้าแม่ไทรทอง โดยย้ายต�ำแหน่งขยับ เข้ามาในเขตชุมชน และบริเวณศาลเป็นลานกิจกรรม อเนกประสงค์ของชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง ส�ำหรับการ จัดการอบรมและงานประเพณีของชุมชนในเวลาต่อมา

ภาพที่ ๙ ศาลเจ้าแม่ไทรทองในบริเวณบ้านของคุณอารีและคุณ ปทุม กาญจนุปะกิจ ถ่ายเมื่อ ๒๕๕๕ ก่อนกลายเป็น ร้านอาหาร ชื่อ “The Terrace” ที่มา : ผู้วิจัย

คุณยายส�ำรวม ผิวแก้ว วัย ๗๙ ปี และคุณยาย ปทุม ศรีค�ำฝาย วัย ๗๖ ปี (๒๕๕๙, ๒๙ กันยายน) ให้ สัมภาษณ์ว่า ที่นี่บูชาเจ้าแม่ไทรทองกันมาก่อนที่ท่าน ทั้งสองจะเกิด ซึ่งอาจจะนับถือกันสืบมาเป็นร้อยกว่าปี แล้ว แต่ในตอนที่ท่านยังเด็กจ�ำได้ว่า มีต้นไทรใหญ่มาก คุณยายส�ำรวม ผิวแก้ว ถึงกับใช้คำ� ว่า “ราชา” เพื่อสื่อ ความหมายว่า ต้นไทรต้นนี้มีขนาดที่ใหญ่มากในสายตา ของท่านตอนนั้น แสดงว่าต�ำนานเจ้าแม่ไทรทองอาจ เป็นคติความเชือ่ ของคนในพืน้ ทีแ่ ห่งนีม้ านานแล้ว ฉะนัน้ ต�ำนานเจ้าแม่ไทรทองจึงเป็นคติชนวิทยา๑๘ (Folklore) ของผู้คนในพื้นที่นี้ เจ้าแม่ไทรทอง เป็นพลังทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทีก่ อ่ ให้เกิด ความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันในชุมชนคือ ระบบความเชือ่ และพิธีกรรมทางศาสนา อันเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของ คนทุกระดับในชุมชนส�ำหรับทางโลก (สุเทพ สุนทรเภสัช, ๒๕๔๐, หน้า ๗๐) นอกจากความเชื่อเรื่องการบูชา รุกขเทวีของชุมชนเจ้าแม่ไทรทองและชุมชนต้นไทรแล้ว ยังสะท้อนถึงการน�ำต�ำนาน (Myth) และคติความเชื่อนี้ มาตั้งเป็นชื่อ-นามของชุมชนด้วย ด้วยว่าแต่เดิมทั้งสอง ชุมชนแยกออกมาจากชุมชนเตาอิฐ พอตั้งบริเวณนี้เป็น หมายถึง ศาสตร์วถิ ชี วี ติ ของชาวบ้าน ตัง้ แต่นทิ านทีช่ าวบ้านเล่ากัน เพลง ที่ชาวบ้านร้องเล่น การแสดงของชาวบ้าน ความเชื่อประเพณีของชาวบ้าน ฯลฯ (ศิราพร ณ ถลาง, ๒๕๕๗, หน้า ๒)

๑๘

46 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ชุมชน และด้วยบริเวณนี้เคยมีต้นไทรใหญ่มาก่อน (ดัง ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว) จึงตั้งชื่อชุมชนแห่งนี้ว่า “ชุมชน ซอยต้นไทร” ตามความโดดเด่นของสถานที่ ซึ่งตรงกับ ทรรศนะของศรีศักร วัลลิโภคม (๒๕๕๗, หน้า ๑๕) ว่า เหตุที่ต้องมีการตั้งชื่อสถานที่ก็เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนใน ชุมชนท้องถิ่นต้องรู้จักร่วมกันซึ่งจะสื่อสารกันได้ การ ท�ำให้สถานที่ซึ่งมีความหมายในการด�ำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน มีชอื่ นัน้ ก็คอื การสร้างความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมธรรมชาตินั่นเอง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๕๔๒๕๕๕ จึงแบ่งชุมชนซอยต้นไทรออกเป็นชุมชนเจ้าแม่ ไทรทองกับชุมชนซอยต้นไทร เนื่องจากบริเวณชุมชน เจ้าแม่ไทรทองตัง้ ใกล้ศาลเจ้าแม่ไทรทอง ส่วนชุมชนซอย ต้นไทรนั้นเคยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนซอยต้นไทร จึงยัง คงชื่อเดิมไว้สืบต่อมา เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงความ เป็นชุมชนที่สัมพันธ์กับต้นไทรใหญ่ ต� ำ นานกั บ ความเชื่ อ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เจ้ า แม่ ไทรทองกลายเป็ น สิ่ ง สะท้ อ นทั ศ นคติ ก ารบู ช ารุ ก ข เทวี ข องสองชุ ม ชนแห่ ง นี้ ที่ มี พื้ น หลั ง มาจากคติ ท าง พุ ท ธศาสนา ท� ำ ให้ เ ห็ น ถึ ง ความเป็ น ภู มิ วั ฒ นธรรม (Cultural Landscape) หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพแวดล้ อ มและวั ฒ นธรรม (ศรี ศั ก ร วั ล ลิ โ ภดม, ๒๕๕๗, หน้า ๓๓) คือความสัมพันธ์ระหว่างต้นไทรใหญ่ กับคติความเชื่อเชิงวัฒนธรรมในการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ทางความเชื่อแล้วยกสถานะของต้นไทรให้กลายเป็นต้น ไม้ (สิ่ง) ศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำชุมชน สิ่งที่วิเคราะห์มานี้ทำ� ให้ เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ อ�ำนาจเหนือธรรมชาติ (ศรีศักร วัลลิโภดม, ๒๕๕๗, หน้า ๓๔) ทางชุมชนมีการจัดงานท�ำบุญเลี้ยงพระเพื่อ อุทิศผลบุญถวายแด่เจ้าแม่ไทรทองเป็นประจ�ำทุกปี โดย จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเป็นการท�ำบุญเนื่อง ในวันสงกรานต์ร่วมไปด้วย แสดงให้เห็นถึงความเชื่อ ต�ำนาน มีผลต่อการสร้างประเพณี ธรรมเนียม ปฏิบัติ ของชุมชนอีกด้วย เราจะเห็นว่าอิทธิพลของพุทธศาสนา มีผลต่อ ๒ ชุมชนนี้เป็นอย่างมาก โดยเริ่มจากความ เชื่อเรื่องรุกขเทวีที่มาจากคติทางพุทธศาสนา และน�ำ พิธกี รรมทางพุทธศาสนามาประยุกต์เพือ่ แสดงถึงการสัก การะของมนุษย์ทมี่ ตี อ่ พลังอ�ำนาจเหนือธรรมชาติ แต่หาก

ไม่มองความเชือ่ ของชุมชนด้วยแว่นสายตาแห่งความเชือ่ บรรพกาล เปลี่ยนมาสวมแว่นสายตาแห่งความเป็นไปได้ สิ่งที่ชุมชนกระท�ำต่อต้นไทรใหญ่ (เจ้าแม่ไทรทอง) ก็คือ ลัทธิการบูชาธรรมชาตินั่นเอง เป็นการตอบทดแทนคุณ ของธรรมชาติในอีกรูปแบบหนึ่ง

บทสรุป การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นเรื่องส�ำคัญ เพราะ เพื่อให้มนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ด�ำเนินการเพื่อประโยชน์ ของตนเองและสังคมได้ วิชาประวัติศาสตร์จึงมีคุณค่าที่ สอนให้รู้วิธีการที่จะเข้าใจสิ่งแวดล้อมทางสังคมอย่างมี ประสิทธิภาพ (นิธิ เอียวศรีวงศ์ และ อาคม พัฒิยะ ใน มาตยา อิงคนารถ และ วนิดา ตรงยากูร, ๒๕๕๑, หน้า ๔๔) โดยเฉพาะประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ซึง่ เป็นเรือ่ งราวของ ตนเองกับท้องถิน่ หรือชุมชน ยิง่ ท�ำให้เราเข้าใจสิง่ แวดล้อม ทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งแวดล้อมในที่นี้มิใช่ เพียงเรื่องของธรรมชาติเท่านั้น แต่เป็นเรื่องระหว่าง บุคคลไปสูจ่ ำ� นวนทีม่ ากกว่าสองคนขึน้ ไป หรือชุมชน และ สังคม ประวัตศิ าสตร์จงึ เป็นการศึกษาเรือ่ งของมนุษย์และ สังคมผ่านกาลเวลานั่นเอง จากการศึกษาภูมหิ ลังของชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง และชุมชนซอยต้นไทรจะสังเกตได้ว่า ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นการตัง้ รกรากของคนในพืน้ ทีใ่ นรูปแบบของบ้านเรือน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๓ เกิดการย้ายเข้ามาปักหลักในพืน้ ที่ นี้ของประชาชนมากขึ้น จึงเกิดการสร้างหมู่บ้านจัดสรร และทาวน์เฮ้าส์ขึ้นเพื่อรองรับการย้ายเข้ามาใหม่ของ ผู้คนจากนอกพื้นที่ ซึ่งมักเป็นคนที่ย้ายออกมาจากเกาะ เมืองอยุธยาเป็นส่วนมาก จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๓๑ จึง เกิดการสร้างหอพัก อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม ขึน้ เพือ่ รับรองพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมของต่างประเทศ ที่มาก่อตั้งที่บางหว้ากับโรจนะ เนื่องจากชุมชนทั้ง ๒ แห่งนีอ้ ยูใ่ นต�ำแหน่งเส้นทางผ่านไปสูโ่ รงงานอุตสาหกรรม พอดี ชุมชนทัง้ ๒ นีม้ กี ารพัฒนาขึน้ จากคนในถิน่ เดิมและ กลุ่มคนที่ย้ายมาจากถิ่นอื่นเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มั่นคง ให้ครอบครัว แล้วจบด้วยกลุ่มคนจากถิ่นอื่นที่เข้ามาพัก อาศัยในชุมชนเพื่อท�ำงาน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 47


สุดท้ายนี้ การศึกษาครัง้ นีท้ ำ� ให้ตระหนักถึงการเปลีย่ นแปลงของวิถชี วี ติ ของมนุษย์ และทรรศนะของมนุษย์ที่ผูกพันกับความเชื่อและธรรมชาติที่สัมพันธ์กัน สะท้อนให้เห็นว่า ถึงมนุษย์จะท�ำลายธรรมชาติเพราะความทันสมัย แต่ก็ยังมีพื้นที่ส�ำหรับความศรัทธาและ การบูชาธรรมชาติผ่านความเชื่อในรูปลักษณ์การบูชารุกขเทวี คือ “เจ้าแม่ไทรทอง” การ ศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการกอบเพื่อสร้างและรวบรวมข้อมูลภูมิหลังของชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง และชุมชนต้นไทรที่กระจัดกระจายน�ำมารวบรวมเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นสมบัติของชุมชน อย่างแท้จริง และหวังให้บทความวิชาการชิ้นนี้เป็นเอกสารลายลักษณ์ชิ้นหนึ่งที่บันทึก ประวัติศาสตร์ความทรงจ�ำของผู้คนในพื้นที่แห่งนี้มิให้สูญหายสืบไปตามกาลเวลา

บรรณานุกรม คณะกรรมการชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง. (๒๕๕๘). แผนชุมชนประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง หมู่ที่ ๖ ต�ำบลไผ่ลิง อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: ม.ป.ส. ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์. (๒๕๕๕). เจ้าแม่ไทรทอง รุกขเทวีผู้มีวิมานสถิตในต้นไทร. ม.ป.ท.: ม.ป.ส. _______. (๒๕๕๖). คติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารุกขเทวดาในสังคมไทยมีอิทธิพลมา จากศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนากันแน่?. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๑๕ (๑), ๑๔-๑๖ ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (๒๕๕๔). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: อินทนิล. เทศบาลเมืองอโยธยา อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๑). บัญชี รายชื่อผู้ที่อาศัยในชุมชนซอยต้นไทร หมู่ที่ ๖ ต�ำบลไผ่ลิง. พระนครศรีอยุธยา: ม.ป.ส. _______. (๒๕๕๕). ข้อมูลบ้านเลขที่ ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง หมู่ ๖ ต�ำบลไผ่ลิง จ�ำนวน ๓๒๔ หลัง. พระนครศรีอยุธยา: ม.ป.ส. _______. (๒๕๕๖). ประกาศเทศบาลเมืองอโยธยา เรื่อง การก�ำหนดเขตพื้นที่ของ ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอโยธยา. พระนครศรีอยุธยา: ม.ป.ส. ธนภน วัฒนกุล. (๒๕๕๐). การเมืองเรื่องพื้นที่ พลวัตทางสังคมของชุมชน (กรณีศึกษา: ชุมชนป้อมมหากาฬ). (พิมพ์ครัง้ ที่ ๓). กรุงเทพฯ: มูลนิธสิ ถาบันวิชาการ ๑๔ ตุลา. นคร พันธุณ ์ รงค์. (๒๕๒๒). เอกสารประกอบการสอน ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ . พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก. บุนนาค กีรติจนิ ดา. (๒๕๕๙, ๓๐ กันยายน) ผูป้ ระกอบการธุรกิจหอพักกีรติจนิ ดา. ม.ป.ต. สัมภาษณ์ ปทุม ศรีค�ำฝาย. (๒๕๕๙, ๒๙ กันยายน) ผู้สูงอายุในชุมชน. ม.ป.ต. สัมภาษณ์

48 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


แผนที่ชุมชนซอยต้นไทร ม.๖ ต.ไผ่ลิง. (ม.ป.ป.). [แผนที่]. พระนครศรีอยุธยา: เทศบาล เมืองอโยธยา แผนที่ชุมชนเจ้าแม่ไทรทอง ม.๖ ต.ไผ่ลิง. (ม.ป.ป.). [แผนที่]. พระนครศรีอยุธยา: เทศบาล เมืองอโยธยา พินัย อนันตพงษ์ และคณะ. (๒๕๔๒). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น:ความเป็นมาของอ�ำเภอ ส�ำคัญในประวัตศิ าสตร์. (รายงานการวิจยั ). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฝ่ายประมวล เอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอ�ำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. ม.ป.ผ. (๒๕๕๙). จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙, จาก th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ม.ป.ผ. (๒๕๕๙). นิคมอุตสาหกรรมบางหว้า. ค้นเมื่อ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙, จาก www. rojana.com/company_profile.html ม.ป.ผ. (๒๕๕๙). สวนนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ. ค้นเมือ่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙, จาก www. ieat.go.th/main/default/g189-นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า%20ไฮเทค มาตยา อิงคนารถ และ วนิดา ตรงยารถ. (๒๕๕๑). ประวัติศาสตร์นิพนธ์. (พิมพ์ครั้งที่ ๘). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง. ยงยุทธ ชูแว่น. (๒๕๕๑). ครึง่ ศตวรรษแห่งการค้นคว้าและเส้นทางสูอ่ นาคต ประวัตศิ าสตร์ ท้องถิ่นไทย ว่าด้วยความเป็นมา สถานภาพ แนวคิด วิธีการศึกษา และบทบาท ในสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). ศิราพร ณ ถลาง. (๒๕๕๗). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำ� นาน-นิทาน พื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (๒๕๕๗). ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. ส�ำรวม ผิวแก้ว. (๒๕๕๙, ๒๙ กันยายน). ผู้สูงอายุในชุมชน. ม.ป.ต. สัมภาษณ์ สุเทพ สุนทรเภสัช. (๒๕๔๐). มานุษยวิทยากับประวัตศิ าสตร์. (พิมพ์ครัง้ ที่ ๒). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ. อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (๒๕๕๔). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น-ชุมชน. ใน วศิน ปัญญาวุธตระกูล ไพรินทร์ กนกกิจเจริญพร และ สุพรรณี เกลือ่ นกลาด (บรรณาธิการ). ประวัตศิ าสตร์ ปริทรรศน์. (หน้า ๓-๔). พิษณุโลก: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. อรรถจักร สัตยานุรกั ษ์. (๒๕๕๘). ข้อเสนอในการศึกษาประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ : ประวัตศิ าสตร์ ชุมชนท้องถิน่ ภาคเหนือ. ใน ธนาพล ลิม่ อภิชาต และ สุวมิ ล รุง่ เจริญ (บรรณาธิการ). เจ้าพ่อประวัติศาสตร์ จอมขมังเวทย์ รวมบทความเพื่อเป็นเกียรติในโอกาสครบ รอบ ๖๐ ปี ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (หน้า ๒๙๓-๒๙๕). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ สยามปริทัศน์.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 49



บทความวิชาการ

ทวีป ดวงนิมิตร : ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานแกะสลักไม้ลายไทย กับการถ่ายทอดภูมปิ ัญญาท้องถิ่น

Thaweep Dungnimit : The Local Wisdom of Thai Wooden Handicraft and His Transfer the Knowledge of the Local Wisdom ธรรมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์/Thammarat Srisunthornpanich ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต/Thammayura Surattisupapat

บทคัดย่อ บทความนี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาแนวทางการถ่ายทอดภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ งานหัตถกรรมแกะสลักไม้ลายไทย ของหมูบ่ า้ นทุง่ มะขามหย่อง ใช้วธิ กี ารสัมภาษณ์เชิงลึก ของ นายช่างทวีป ดวงนิมติ ร ผูท้ ไี่ ด้รบั การยอมรับจากชาวบ้าน ในท้องถิ่นต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอยุธยา ให้เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านงานแกะสลักไม้ ลายไทย เป็นผู้ประสบความส�ำเร็จจากการประกอบอาชีพแกะสลักไม้ลายไทย เป็นอาชีพหลัก สามารถช่วยยกระดับ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวและชุมชนจากอาชีพนี้ ด้วยความรู้สามารถที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จาก ครอบครัวและชุมชน ประกอบกับการการลงมือกระท�ำจริง สัง่ สมประสบการณ์ จนได้รบั ความไว้วางในจากผูน้ ำ� ชุมชน ถ่ายทอดองค์ความรู้การเขียนลายไทยให้เยาวชนในท้องถิ่นผ่านกระบวนการศึกษาในโรงเรียนปฐมวิทยาคาร สถาบัน การศึกษาระดับชุมชนที่นายช่างทวีป ดวงนิมิตร เคยศึกษาในวัยเด็ก เปลี่ยนบทบาทจากผู้เคยรับการถ่ายทอดเปลี่ยน บทบาทมาเป็นผู้ถ่ายทอดด้วยตนเอง ค�ำส�ำคัญ : ทวีป ดวงนิมิต ปราชญ์ชาวบ้าน งานแกะสลักไม้ลายไทย การถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Abstract This article aims to study the local wisdom of Thai wooden handcraft of Thung Ma Kam Yong village in Ban Mai sub-district, Phra Nakhon Si Ayutthaya Ayutthaya district. The research methodology draws from reference materials and field studies by making the in-depth interview. Thaweep Dungnimit, who received recognition from villagers as a local wisdom villager of Thai wood carving, has succeed in Thai carved wooden maker that can help improve the economic status of families and communities. Thai wood carving skills can be transferred from family and community including the practical action. Because of his experience and knowledge community leaders have invited him to transfer the knowledge of Thai style sketching and basic of Thai wooden carving to local youth through the educational process in Prathomvitayakan school. Community-based วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 51


educational institution where Thaweep Dungnimit has studied in childhood, changes the role of the person who has been transformed to be a self-conveyor. Keywords: Thaweep Dungnimit, a local wisdom villager, Thai wood carving, transfer the knowledge, the local wisdom

บทน�ำ สื บ เนื่ อ งจากบทความเรื่ อ ง หั ต ถกรรมการ แกะสลั ก ไม้ แ ห่ ง บ้ า นใหม่ ทุ ่ ง มะขามหย่ อ ง จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา กับการสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชน รุ่นใหม่ ของวารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๐ นั้น เป็ น บทความเรื่ อ งแรกที่ ผู ้ เขี ย นมี โ อกาสได้ ลงพื้ น ที่ สั ม ผั ส กั บ วิ ถี ชี วิ ต ของคนในหมู ่ บ ้ า นแกะสลั ก บ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท�ำให้มคี วามสนใจทีจ่ ะค้นคว้า เจาะลึกวัฒนธรรมท้องถิ่น เกี่ยวกับงานหัตถกรรมแกะ สลักไม้ลวดลายไทย ว่ามีแนวทางการถ่ายทอดสืบสาน วัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ อย่างไร โดยในครัง้ นี้ ผูเ้ ขียน ได้มีโอกาสสัมภาษณ์เชิงลึกนายช่างทวีป ดวงนิมิตร ซึ่ง เป็ น ชาวบ้ า นในท้ อ งถิ่ น ที่ ยั ง คงยึ ด อาชี พ แกะสลั ก ไม้ ลายไทยเป็นอาชีพหลักในการเลี้ยงดูครอบครัว ทั้งยัง สามารถยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจจากอาชีพนี้ได้ด้วย ผู ้ เขี ย นเลื อ กนายช่ า งทวี ป ดวงนิ มิ ต ร เป็ น ผู้ให้ข้อมูลส�ำคัญเกี่ยวกับการถ่ายทอดองค์ความรู้งาน ศิลปหัตถกรรมการแกะสลักไม้ ด้วยเหตุผลส�ำคัญดังนี้ (๑) ยังประกอบอาชีพแกะสลักไม้ลายไทย เป็น อาชีพหลักในการเลี้ยงดูครอบครัว (๒) เป็ น ผู ้ น� ำ ช่ า งแกะสลั ก ของประเทศไทย จ�ำนวน ๓๐ คน ไปท�ำงานเป็นช่างแกะสลักเฟอร์นิเจอร์ ไม้ในวังของสุลต่านฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ ประเทศ บรูไน ช่วงปี ๒๕๓๐ ถึงปี ๒๕๔๑ (๓) ปัจจุบันนายช่างทวีป ดวงนิมิตร เป็นผู้ที่ ได้รับความไว้วางจากผู้น�ำท้องถิ่น คือ นายกองค์การ บริหารส่วนต�ำบลบ้านใหม่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ตั้งแต่ ระดับพื้นฐานตั้งแต่เขียนลายไทย การใช้เครื่องมือให้กับ

นักเรียน โรงเรียนปฐมวิทยาคาร ซึ่งเป็นโรงเรียนประจ�ำ ท้องถิ่นและเป็นที่ปรึกษาให้กับโรงงานอุตสาหกรรมแกะ สลักไม้ในต�ำบลบ้านใหม่ (๔) เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่คอยให้ค�ำแนะน�ำ เกี่ ย วกั บ เทคนิ ค การแกะสลั ก ลายไม้ ลวดลายต่ า ง ๆ ให้กับช่างฝีมือในหมู่บ้าน ต�ำบลบ้านใหม่ ว่าควรใช้ เครื่องมือชนิดใด ใช้สิ่วหน้าใดที่ช่วยลดเวลาและสร้าง ลวดลายได้ง่ายขึ้น (๕) นายช่างทวีป ดวงนิมติ ร ได้พฒ ั นาเครือ่ งมือ ประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นใช้ คือ สิ่วตัววี ที่ช่วยสร้างลวดลาย งานแกะสลักไม้ให้ง่ายขึ้น บทความนีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาแนวทางการ ถ่ายทอดภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ งานหัตถกรรมแกะสลักไม้ลาย ไทย ของหมู่บ้านทุ่งมะขามหย่อง ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอ เมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของ นายทวีป ดวงนิมติ โดยแบ่งบทความออกเป็น เรือ่ งความ หมายของภูมิปัญญากับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ประวัติครอบครัวนายช่างทวีป ดวงนิมิต และจุดเริ่มต้น องค์ความรู้เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ ความก้าวหน้าใน อาชีพและการแกะสลักไม้ การพัฒนาการแกะสลักไม้ ลายไทยและการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เยาวชน

๑. ความหมายของภูมปิ ัญญาท้องถิ่นกับ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ค�ำว่า “ภูมปิ ญ ั ญา” ตรงกับค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า “Wisdom” มีความหมายว่า ความรู้ ความสามารถ ความเชือ่ ความสามารถทางพฤติกรรมและความสามารถ ในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์ ส่วนค�ำว่า “ท้องถิ่น” ตรง กับค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า “Local” หมายถึง ท้องถิ่น ใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่สามารถก�ำหนดว่ามีขนาด

52 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


พื้นที่หรือจ�ำนวนประชากรหรือสิ่งต่างได้ว่าเป็นเท่าใด ภู มิ ป ั ญ ญา หมายถึ ง พื้ น ฐานความรู ้ ค วาม สามารถ ความคิด ความเชือ่ ความสามารถทางพฤติกรรม ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณ์ ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว และด�ำรงชีพในสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการ ปรับตัว และด�ำรงชีพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมทีไ่ ด้มกี ารพัฒนา สืบสานกันมา อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวให้ เข้ากับสภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐาน อยู่ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น ๆ ภูมิปัญญาจัดเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีความ ส�ำคัญยิ่งของมนุษย์ สิ่งดังกล่าวสั่งสมงอกงามขึ้นจาก ความรู้ ประสบการณ์ ผนวกด้วยความเฉียบคมในการ หยั่งรู้อย่างลุ่มลึก เพื่อการปรับเปลี่ยนสภาพทรัพยากร และองค์ ค วามรู ้ ที่ มี อ ยู ่ เ ดิ ม ให้ เ พิ่ ม พู น คุ ณ ค่ า ขึ้ น อย่ า ง สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ของชุมชน ท้องถิ่น และสังคมของตน (ชวน เพชรแก้ว, ๒๕๔๗) ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ หมายถึง ความรูป้ ระสบการณ์ ของประชาชนในท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง ได้ รั บ การศึ ก ษาอบรม สั่ ง สมและถ่ า ยทอดจากบรรพบุ รุ ษ หรื อ เป็ น ความรู ้ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรงของตนเอง ซึ่ ง ได้ เรี ย นรู ้ จ ากการท� ำ งาน จากธรรมชาติ แวดล้ อ ม สิง่ เหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่า เสริมสร้างความสามารถ ท�ำให้ คนมีชีวิตร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นความรู้ที่สร้างสรรค์ และมีสว่ นเสริมสร้างการผลิต (ชลทิพย์ เอีย่ มส�ำอาง และ วิศินี ศิลาตระกูล, ๒๕๓๔) ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นรากฐานการด�ำรงชีวิต ของกลุ่มชนที่ส�ำคัญยิ่ง เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็น สรรพวิชาความรู้ทั้งหมดที่ชุมชนท้องถิ่นใช้แก้ปัญหา หรือจรรโลงชีวิตของเขา ไม่ว่า ความรู้ที่มีการสั่งสม มี การประยุกต์ใช้มายาวนาน หรือ ความรู้ที่ชุมชนท้องถิ่น รับมาจากภายนอกล้วนแต่เป็นความรู้ที่ผ่านการพิสูจน์ มาแล้วว่าเข้ากันได้ดีกับวิถีด้านอื่น ๆ ของชุมชนท้องถิ่น (ชวน เพชรแก้ว, ๒๕๔๗)

ส�ำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๕) ได้ให้ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้ คือ ๑. ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความ สามารถทางพฤติกรรมและความสามารถในการแก้ไข ปัญหาของมนุษย์ ๒. ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความจัดเจนที่กลุ่มชนได้จากประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ ในการปรั บ ตั ว และด� ำ รงชี พ ตามสภาพแวดล้ อ มของ ธรรมชาติ ๓. ภูมิปัญญาเป็นเรื่องที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีต และเป็นเรือ่ งของการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคนกับ คน คนกับธรรมชาติแวดล้อม คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยผ่านกระบวนการทางจารีต ประเพณี การท�ำมาหากิน และพิธกี รรมต่าง ๆ เพือ่ ให้เกิดความสมดุลระหว่างความ สัมพันธ์เหล่านี้ เป้าหมายก็คือ เพื่อให้เกิดความสุขทั้งใน ส่วนที่เป็นชุมชน หมู่บ้าน และในส่วนที่เป็นปัจเจกของ ชาวบ้านเอง หากเกิดปัญหาทางด้านความไม่สมดุลกัน ขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความไม่สงบสุขทั้งในส่วนสังคม และ ในส่วนที่เป็นปัจเจกของชาวบ้านเอง ๔. ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ในการ ศึกษาเล่าเรียน การทีช่ าวบ้านรูจ้ กั วิธกี ารท�ำนา การไถนา การน�ำกระบือมาใช้ไถนา ก็เรียกว่าภูมิปัญญาทั้งสิ้น ความส� ำ คั ญ ของภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง เป็ น วัฒนธรรม เป็นความรู้ที่สั่งสมจากการปฏิบัติจริงในห้อง ทดลองทางสังคม เป็นความรู้ดังเดิมที่ถูกค้นพบมีการ ทดลองใช้ แก้ไข ดัดแปลง จนเป็นองค์ความรู้ที่สามารถ แก้ปัญหาในการด�ำเนินชีวิตและถ่ายทอดสืบต่อกันมา กล่าวโดยสรุป ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ เป็นภูมปิ ญ ั ญา ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งผ่านกระบวนการเรียนรู้ การ ถ่ า ยทอดภายในชุ ม ชน เป็ น ความรู ้ ค วามสามารถที่ ผ่ า นการสั่ ง สมเรี ย นรู ้ ลองถู ก ลองผิ ด จากการปฏิ บั ติ จริง ประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้สอดคล้องสมดุล กับวิถีชีวิตของสังคมนั้น กรณีหมู่บ้านแกะสลักไม้บ้าน ทุ่งมะขามหย่อง จึงถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของภูมิปัญญา ท้องถิ่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 53


กระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ (เอกวิทย์ ณ ถลาง, ๒๕๔๐) ได้สรุปไว้ดังนี้ ๑. การลองผิดลองถูก มนุษย์เรียนรู้ที่จะด�ำรง ชีวิตและการรักษาเผ่าพันธุ์ของตนให้อยู่รอดด้วยการ ลองผิดลองถูก ในการหาอาหาร ต่อสู้กับภัยธรรมชาติ จึงสั่งสมความรู้ ความเข้าใจของตนแล้วถ่ายทอดให้กับ ลูกหลานเผ่าพันธุ์ของตน ๒. การลงมือกระท�ำจริง มนุษย์เรียนรู้ ด้วย การลงมือกระท�ำจริง ในสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่มี อยู่จริง เช่น การเดินทาง ปลูกพืช สร้างบ้าน ต่อสู้กับภัย อันตราย ๓. การถ่ายทอดความรู้ การเรียนรู้จากการ กระท�ำจริงได้พัฒนาต่อเนื่องจนเป็นการส่งต่อแด่คน รุน่ หลัง ด้วยการสาธิตวิธกี าร การสัง่ สอนด้วยการบอกเล่า และการสร้างองค์ความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดย ทั่วไป การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านทุก ภูมิภาค จะนิยมสองวิธี คือ การสาธิตวิธีการ และสอน เป็นวาจา ๔. การเรี ย นรู ้ โ ดยพิ ธี ก รรม ในเชิ ง จิ ต วิ ท ยา พิธีกรรมมีความศักดิ์สิทธิ์และมีอ�ำนาจในการโน้มน้าว ให้คนที่มีส่วนร่วมรับเอาคุณค่าและแบบอย่างพฤติกรรม ที่ต้องการเข้าไว้ในตัวเป็นการตอกย�้ำความเชื่อ กรอบ ศีลธรรมจรรยาของกลุ่มชน ๕. การเรี ย นรู ้ โ ดยศาสนา เป็ น หลั ก การ หล่ อ หลอมบ่ ม เพาะความประพฤติ สติ ป ั ญ ญา และ อุดมการณ์ชวี ติ ทัง้ ในด้านหลักธรรมค�ำสอน ศีล และวัตร ปฏิบัติ ตลอดจนพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมที่มีวัด เป็นศูนย์กลางชุมชน ๖. การแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ประสบการณ์ ระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างกันทั้งทางชาติพันธุ์ ถิ่นฐาน การท�ำกิน รวมไปถึงการแลกเปลีย่ นกับคนต่างวัฒนธรรม ท�ำให้กระบวนการเรียนรู้ขยายตัว มีความคิดใหม่ ๗. การผลิตซ�้ำทางวัฒนธรรม เป็นการเลือก เฟ้นเอาความเชือ่ มและธรรมเนียมปฏิบตั ทิ สี่ บื ทอดกันมา ในสังคมประเพณีมาผลิตซ�ำ้ ทางวัฒนธรรม ให้ตรงกับฐาน ความเชื่อเดิม

๘. ครูพักลักจ�ำ เป็นกระบวนการเรียนรู้อีกวิธี หนึ่งที่มีมาแต่เดิม เป็นการเรียนรู้ในท�ำนองแอบเรียน แอบเอาอย่าง แอบลองท�ำดู ตามแบบอย่างที่เฝ้าสังเกต อยู่เงียบ ๆ ปาริ ช าติ วลั ย เสถี ย ร (๒๕๔๙) ได้ ก ล่ า วถึ ง ผู้มีบทบาทส�ำคัญในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ (๑) องค์ ก รพั ฒ นาเอกชน (๒) ผู ้ น� ำทางศาสนาหรื อ พระนักพัฒนา (๓) ปราชญ์ชาวบ้าน (๔) ผู้น�ำชุมชน แกนน�ำชุมชน (๕) ผู้น�ำทางการ (๖) ปัญญาชนท้องถิ่น (๗) นักวิชาการ (๘) รัฐ ความหมายของปราชญ์ชาวบ้าน คือ ผู้น�ำ ผู้รู้ ชาวบ้าน ผูม้ สี ติปญ ั ญา ผูม้ คี วามสามารถ มีประสบการณ์ หรือมีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการด�ำรงชีวิต รวมทั้งเป็นผู้ที่พยายามหาทางเลือกใหม่ให้กับชีวิต มุ่งสู่ การพึง่ ตนเองโดยตัง้ ต้นจากทุนรอบ ๆ ตัวทีม่ อี ยู่ (ปาริชาติ วลัยเสถียร, ๒๕๔๙) สารภี วรรณตรง (๒๕๔๗) ได้กล่าวถึง การ ถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู ้ จ ากแหล่ ง การเรี ย นรู ้ ภู มิ ป ั ญ ญา ท้องถิ่นไว้ดังนี้ คือ ๑. ครอบครั ว เป็ น การถ่ า ยทอดจากบิ ด า มารดาสู่บุตร พี่น้อง เครือญาติใกล้ชิด ถ่ายทอดแก่กัน และกันเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไว้ ความรู้หลายอย่างไม่มี การเผยแพร่ให้ผู้อื่น ๆ เพราะถือเป็นมรดกของตระกูล เช่น ความรู้เรื่องการรักษาโรค ศิลปะการแสดง ศิลปะ หัตถกรรมต่าง ๆ ๒. วัดและชุมชน วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ของชุมชนหรือศูนย์การศึกษานอกระบบ เป็นที่ฝึกอาชีพ ที่ประชุมสัมมนา ๓. ครู เจ้าส�ำนัก เป็นการถ่ายทอดโดยบุคคลที่ เป็นผู้รู้ผู้ช�ำนาญให้แก่บุคคลอื่น ๆ ลูกศิษย์ ผู้สนใจ ๔. เครือข่ายศูนย์การเรียนรูข้ องชุมชน เป็นการ รวมกลุ่มเพื่อการจัดการทรัพยากรผลผลิตและทุนของ ตนเอง จ�ำเป็นต้องมีการเรียนรู้ อาศัยการเรียนรู้จากผู้รู้ ภายนอก หรือจากการไปศึกษาดูงาน การประชุมสัมมนา การฝึกงานและการทดลองปฏิบัติ

54 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


๒. ประวัติครอบครัวและการศึกษาของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร นายช่างทวีป ดวงนิมิตร มีบิดาชื่อนายสุวรรณ ดวงนิมิตร อาชีพท�ำนา และรับจ้างทั่วไปในช่วงนอก ฤดูกาล และมารดาชือ่ นางสวงษ์ ดวงนิมติ ร อาชีพรับจ้าง แกะสลักไม้ ได้แต่งงานกันเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ มีพี่น้อง ด้วยกัน ๘ คน ประกอบด้วย ๑. นางอุทยั รัตน์ คงประเสริฐ ๒. นางอาทร วรรณมณฑา ๓. นางประทิน พึ่งตระกูล ๔. นางมลฑา ทิพย์สุข ๕. นายถวัลย์ ดวงนิมิตร ๖. นาย ทวีป ดวงนิมิตร ๗. นายอนุวัฒน์ ดวงนิมิตร และ ๘. นาง อัจฉรา ดวงนิมิตร ปัจจุบันพี่น้องในครอบครัวของคุณแม่สวงษ์ ดวงนิมิตร ยึดอาชีพแกะสลักไม้เป็นอาชีพหลัก ได้แก่ นางอาทร วรรณมณฑา นายทวีป ดวงนิมิตร นายอนุวัฒน์ ดวงนิมิตร และนางอัจฉรา ดวงนิมิตร นายช่างทวีป ดวงนิมิตร ได้สมรสกับนางรุ่งรัตน์ ดวงนิมิตร มีอาชีพแกะสลักไม้ มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ นายธรรมรัตน์ ดวงนิมิตร และ ด.ญ.ปวีณา ดวงนิมิตร จุดเริ่มต้นขององค์ความรู้งานแกะสลักไม้ นายช่างทวีป ดวงนิมิตร โดยได้รับการศึกษา ชัน้ ประถม จากโรงเรียนปฐมวิทยาคาร ในปี ๒๕๑๒ จนจบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ ในขณะนั้น โดยในช่วงที่ศึกษาอยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ (อายุ ประมาณ ๑๓ ปี) นายจินดา เกิดลาภ ซึ่งเป็นครูใหญ่ โรงเรียนปฐมวิทยาคาร ในขณะนั้น ได้เชิญ อาจารย์ สมจิต คิดการ มาสอนนักเรียนในการเขียนลายไทย จึง เป็นพื้นฐานในการให้นายช่างทวีปสามารถเขียนและ ออกแบบลายไทยได้ จนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้นนาย ช่างทวีปก็ได้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจ�ำจังหวัด ประเภทชายล้วน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘

เพราะฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี ครอบครัวของ นายช่างทวีป ดวงนิมิตร ท�ำให้ลูก ๆ ในครอบครัวต้อง ท�ำงานเพือ่ หารายได้เป็นค่าเล่าเรียน นางสวงษ์ ดวงนิมติ ร มารดาได้บอกกับนายช่างทวีป ว่า “ถ้าอยากเรียนก็ต้อง ให้ช่วยท�ำงานแกะสลักในตอนเย็นและวันหยุด” นายช่างทวีป ดวงนิมิตร กับพี่สาวของนายช่าง ทวีป ดวงนิมิตร ไปเรียนการแกะสลักไม้กับนายณรงค์ ทวีเกิด ลูกศิษย์รุ่นที่สองของอาจารย์ไสว เดชศรี ซึ่ง เป็นครูผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวศิลปหัตถกรรมการ แกะสลั ก ไม้ ล ายไทยยุ ค แรกเริ่ ม ในหมู ่ บ้ านทุ ่ ง มะขาม หย่อง หมูท่ ี่ ๕ และ ๖ ต�ำบลบ้านใหม่ จนกลายเป็นแหล่ง ผลิตสินค้าโอท็อปประเภทเครื่องใช้ในวัด ส่งจ�ำหน่าย ทั่วประเทศ (อ้างในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๐ เรื่องหัตถกรรม การแกะสลักไม้แห่งบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา กับการสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชน รุ่นใหม่) โดยฝึกหัดอยู่ประมาณ ๓ ปี ก็สามารถรับงาน มาท�ำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็นอาชีพเลี้ยงดู ครอบครัว โดยเริ่มต้นจากการแกะสลักโต๊ะหมู่บูชา เป็น ลักษณะลายไทย เช่น ลายเปลวหรือลายกระหนกเปลว และลายก้านขด และลายดอกไม้และช่อใบ และต่อมา พี่สาวแยกไปมีครอบครัว ท�ำให้ต้องลดปริมาณงานเป็น รับจ้างเป็นชิ้นงานเท่านั้น หลั ง จากจบการศึ ก ษาจากโรงเรี ย นอยุ ธ ยา วิ ท ยาลั ย ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ ๓ แล้ ว นายช่ า ง ทวี ป ดวงนิ มิ ต รได้ เข้ า ศึ ก ษาต่ อ ที่ วิ ท ยาลั ย เทคนิ ค พระนครศรีอยุธยา แผนกช่างกลโรงงาน จนจบระดับ ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ (ปวช.) ท� ำ ให้ น ายช่ างทวี ป มี ค วามรู ้ ความช� ำ นาญในการประยุ ก ต์ ใช้ เ ครื่ อ งมื อ เครื่องกล อีกทั้งประดิษฐ์เครื่องมือในการแกะสลักด้วย ตนเอง เช่น การประดิษฐ์สิ่วตัววี

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 55


๓. ความก้าวหน้าในอาชีพแกะสลักไม้ของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร หลังจากจบการศึกษาระดับ ปวช. นายช่างทวีป ได้เริ่มรับจ้างแกะสลักบานประตูและบานหน้าต่างโบสถ์ ในจังหวัดต่าง ๆ โดยไปร่วมรับท�ำงานแกะสลักกับรุน่ พี ่ ๆ ในหมู่บ้าน ต�ำบลบ้านใหม่เป็นเวลาประมาณ ๑๐ ปี โดย เน้นแกะสลักลายไทย และภาพของเทวดาประจ�ำประตู (ภาพที่ ๑) ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อปี ๒๕๒๕ นายช่าง ทวีป ดวงนิมิตร ได้มีโอกาสเข้าร่วมทีมงานช่างแกะ สลักจากบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง รายชื่อดูได้จากภาพ ที่ ๒ เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดโพธิ์ พระบรมมหาราชวัง และพิพธิ ภัณฑ์สถานแห่งชาติ เป็นการเตรียมการเพื่อฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี รับอัญเชิญเสด็จเป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ ขณะนั้นนายช่างทวีป ดวงนิมิตร มีหน้าที่ซ่อมแซมยอด ลายกนกทีห่ กั และกะเทาะรัก เพือ่ เตรียมงานให้ชา่ งลงรัก ปิดทองท�ำในขั้นตอนต่อไป จากประสบการณ์ของการบูรณะงานโบราณ สถานระดับชาติของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร ข้างต้น ในปี ๒๕๓๐ ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทจัดหางาน ที่ต้องการช่างฝีมือตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ ที่ มี ป ระสบการณ์ ด ้ า นการแกะสลั ก ไม้ ท� ำให้ น ายช่ า ง ทวีป ดวงนิมิตร ได้มีโอกาสสร้างผลงานการแกะสลักไม้ รูปแบบใหม่เป็นการแกะสลักลายหลุยส์ บนเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ผนังห้องต่าง ๆ ของพระราชวังของสุลต่าน บรูไน และสมาคมโปโลคลับของประเทศบรูไน

ภาพที่ ๑ ภาพของเทวดาประจ�ำประตู แกะสลัก ที่มา : ภาพโดยนายช่างทวีป ดวงนิมิตร ทีมงานช่างแกะสลักจากบ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง จ�ำนวนทั้งสิ้น ๑๘ คน จากอายุมากไปหาน้อยดังมีรายนามดังต่อไปนี้ ๑. นายสละ ตรีสมุทร (เสียชีวิต) ๒. นายละเอียด ทานธรรม ๓. นายฉลาด อ่อนอุไร ๔. นายชุมพล บุญกล้า ๕. นายสุเทพ คุ้มซ่อง ๖. นายบ�ำรุง อ่อนอุไร ๗. นายสมเจต ตุ้มซ่อง (เสียชีวิต) ๘. นายปริญญา เจริญไทย ๙. นายวิเชียร อาจหาร

๑๐. นายสนอง ยมนา ๑๑. นายสมศักดิ์ เต็มรัก ๑๒. นายเฉลา อ่อนอุไร (เสียชีวิต) ๑๓. นายสัมพันธุ์ จรูญเนตร ๑๔. นายชุมพล หอมหิรัญ ๑๕. นายทวีป ดวงนิมิตร ๑๖. นายประเสริฐ เต็มรัก (เสียชีวิต) ๑๗. นายจินดา บุญสถิตย์ ๑๘. นายวิชัย เกื้อกิจ

ภาพที่ ๒ ภาพของทีมงานช่างแกะสลักจากบ้านใหม่ทุ่งมะขาม หย่อง ที่ร่วมบูรณปฎิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปี ๒๕๒๕ ที่มา : สัมภาษณ์ นายทวีป ดวงนิมิตร เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐)

56 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ พบว่า “การบูรณปฎิสังขรณ์วันพระศรีรัตนศาสดาราม มี ก ารบู ร ณปฎิ สั ง ขรณ์ ค ราวใหญ่ ค ราวแรก เมื่ อ รั ช สมั ย พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั เมือ่ กรุงรัตน์โกสินทร์ อายุครบรอบ ๕๐ปี ในตอนนัน้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ พ ระเจ้ า ลู ก ยาเธอและ พระเจ้าน้องยาเธอ ช่วยกันอ�ำนวยการบูรณปฎิสงั ขรณ์ เพือ่ การเฉลิมสมโภชพระนครที่เจริญวัฒนามา จนถึง ๕๐ ปี จนกระทั่ ง ถึ ง รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยู่หัว วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งได้รับการสถาปนา ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนมาถึง รัชสมัยนี้ อายุกรุงรัตนโกสินทร์บรรจบครบ ๑๐๐ ปี และ วัดพระศรีรัตนศาสดารามก็มีอายุจะครบรอบ ๑๐๐ ปี เช่นกัน ส่วนประกอบต่าง ๆ ในการก่อสร้างขึน้ นัน้ โดยทัว่ ไป ในพระมหาอารามก็เริ่มหมดอายุ ไม่สามารถที่จะด�ำรงทรง สภาพต่อไปได้เริ่มมีสิ่งที่ปรักหักพังและช�ำรุดไม่เป็นสิ่งที่พึง จะเป็นไปในพระมหาอารามคู่บ้านคู่เมืองแห่งนี้พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการ บูรณปฎิสังขรณ์สร้างเสริมและตกแต่งด้วยความประณีต วิจิตรศิลป์ต่าง ๆ ให้บริบูรณ์ถาวรอารามแห่งนี้คราวใหญ่ เป็นครั้งที่สอง ต่ อ มาในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้าอยู่หัว อายุของกรุงรัตนโกสินทร์ มาจนบรรจบครบ ๑๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ในการฉลองสมโภชน์ พระนครในครั้งนั้น จะต้องด�ำเนินการ ปฎิสังขรณ์ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม พระมหาอารามเพื่อ ถวายเป็น ศาสนบูชา ดังนั้นวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงได้รับการ บูรณปฎิสังขรณ์เพื่อแก้ไขสิ่งที่ช�ำรุดเสื่อมสภาพ ในศาสน สถานทั่วไปทั้งหมด ภายในพระมาหอารามเพื่อให้คืนคง ความงาม ให้สมกับพระมหาอารามส�ำคัญของชาติสืบไป การบูรณปฎิสังขรณ์คราวนี้เป็นการคราวใหญ่ครั้งที่ ๓ เมื่ อ ครั้ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ร าชธานี แ ห่ ง สยาม ประเทศ มีความเจริญรุ่งเรือง จะบรรจบครบ ๒๐๐ ปี ในปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ ซึ้งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการฉลองสมโภชน์ พระนคร คือ จะต้องด�ำเนินการปฎิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระมหาอารามคู่บ้านคู่เมือง ถวายเป็น ศาสนบูชา ดังนั้นวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงได้รับการ บูรณปฏิสังขรณ์แก้ไขการช�ำรุดเสื่อมสภาพในศาสนสถาน

ทั่วไปทั้งหมด ภายในพระมหาอาราม ให้คืนความงามให้สม กับพระมหาอารามส�ำคัญของชาติสบื ไป การบูรณปฎิสงั ขรณ์ คราวนี้เป็นการคราวใหญ่ครั้งที่ ๔ ในการเตรี ย มงานฉลองสมโภช ๒๐๐ ปี กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ เมื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๒๕ ทางราชการ ได้ ค� ำ นึ ง ถึ ง โบราณราชประเพณี ว ่ า การจั ด การฉลอง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ แ ต่ อ ดี ต กาล แต่ ล ะคราวนั้ น ได้ มี ก าร บูรณปฎิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นให้ใหม่หมด จนสวยงาม เพื่อถวายเป็นศาสนบูชา แต่พระพุทธมหา มณีรัตนปฎิมากรเป็นคราวใหญ่ทุกครั้งเช่นกัน ในโอกาส ที่ทางราชการด�ำริจะจัดงานฉลองสมโภช ๒๐๐ ปี ก รุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ นี้ ค วรที่ จ ะได้ ด� ำ เนิ น การบู ร ณปฎิ สั ง ขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถวายเป็นศาสนบูชาตามโบราณ ราชประเพณี ดังทีพ่ งึ ถือปฎิบตั เิ ป็นธรรมเนียมอันดีประการ หนึ่งแล้วยังจะเป็นโอกาสในการที่จะอนุรักษ์ศิลปะสมบัติ ในด้านพุทธสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตกรรม และ ประณีตศิลป์ต่าง ๆ อันเป็นแบบแผนทางการช่างศิลปะไทย ชัน้ สูงซึง่ ตกทอดมาแต่อดีต ให้ดำ� รงอยูใ่ ห้เป็นทีเ่ ชิดชูสำ� หรับ บ้านเมืองสืบไป การด� ำ เนิ น งานบู ร ณ์ ป ฎิ สั ง ขรณ์ วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม ในโอกาสฉลองสมโภช ๒๐๐ ปี กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ คราวนี้ จั ด เป็ น งานใหญ่ เ พื่ อ อ� ำ นวยการ บูรณปฎิสงั ขรณ์ วัดพระศรีรตั นศาสดารามแต่เนิน่  ๆ โดยเริม่ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ มีเวลาท�ำการบูรณปฎิสังขรณ์ ให้ส�ำเร็จเสร็จทันงานฉลองสมโภชน์พระนครนานถึง ๕ ปี การบูรณปฎิสงั ขรณ์วดั พระศรีรตั นศาสดารามและพระบรม มหาราชวัง การบูรณปฎิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวังในครัง้ นีน้ บั เป็นการบูรณะครัง้ ใหญ่ เป็นครั้งที่ ๔ นับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็น ราชธานีแห่งสยามประเทศ การบูรณะโดยมุ่งผดุงรักษา แบบแผนของการช่าง และแบบอย่างศิลปะ ประเพณีไทย ร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่ โดยเฉพาะเรือ่ งของการเสริมสร้าง ความมั่นคงแข็งแรง เพื่อการธ�ำรงรักษา ให้เป็นศรีสง่าอยู่คู่ กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเกียรติยศในแผ่นดินสืบไป” สรุปความจาก สารานุกรมไทยส�ำหรับเยาวชนโดย พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 57


นายช่างทวีป ดวงนิมติ ถือว่าเป็นช่างแกะสลักไม้คนแรกทีไ่ ปท�ำงานประเทศบรูไน และเมือ่ ประสบความส�ำเร็จได้ชกั ชวนช่างฝีมอื แกะสลักไม้ในหมูบ่ า้ น ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอ พระนครศรีอยุธยา จ�ำนวน ๑๓ คน และช่างฝีมอื จากภูมภิ าคต่าง ๆ ของประเทศไทยเพิม่ เติม รวมทั้งหมดประมาณ ๓๐ คนเป็นเวลา ๑๑ ปี ช่างแกะสลักแต่ละคนสามารถสร้างรายได้ ประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท ต่อเดือน (นายช่างทวีป ดวงนิมิตร, สัมภาษณ์) ท�ำให้ยกระดับ สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว สามารถได้ซื้อที่ดินปลูกบ้าน สร้างบ้าน ที่ดินเพื่อ การเกษตร และเป็นค่าใช้จา่ ยในการศึกษาของบุตรในระดับต่าง ๆ แต่ดว้ ยวิกฤติเศรษฐกิจใน ประเทศอาเซียนปี ๒๕๔๐ ท�ำให้ทงั้ คณะต้องเดินทางกลับประเทศไทยปี ๒๕๔๑ สอดคล้อง กับข้อมูลในหนังสือเดินทางของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร ตามภาพที่ ๔

ภาพที่ ๔ จากซ้ายไปขวา หนังสือเดินทางของนายทวีป ดวงนิมติ ร ออกเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ปี ๒๕๒๙ และเดินทางไปประเทศ บรูไน เมือ่ ปี ๒๕๓๐ และใช้หนังสือเดินทางทัง้ ๒ เล่มเพือ่ เดินทาง ช่วงปี ๒๕๓๐ ถึง ปี ๒๕๔๑

ภาพที่ ๕ จากซ้ายไปขวา ตราประทับขาออกเดินทางของนาย ทวีป ดวงนิมิตร จากประเทศไทยไปประเทศบรูไน และวีซ่าของ ประเทศบรูไน

ภาพที่ ๓ นายช่างทวีป ดวงนิมิตร ร่วมทีมบูรณะท่าราชวรดิฐ เป็นท่าเทียบเรือพระทีน่ งั่ เป็นส่วนหนึง่ ของโครงการบูรณปฎิสงั ขรณ์ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม พระบรมมหาราชวังและพิพธิ ภัณฑ์สถาน แห่งชาติ

58 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


๔. การพัฒนาการแกะสลักไม้ลายไทยและการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เยาวชน เมือ่ กลับมาประเทศไทย นายช่างทวีป ดวงนิมติ ร เริม่ พัฒนาฝีมอื การแกะสลัก ด้วยการศึกษาสร้างลวดลาย ไทยบนองค์บุษบก ตั้งแต่การเขียนแบบ เขียนลาย โดย เรียนรู้จากลวดลายของช่างกรมศิลปากรเป็นต้นแบบ การสร้างผลงานหัตถกรรมลายแกะสลักองค์ประกอบ ต่าง ๆ ของบุษบก เช่น ลายเปลว ลายหน้ากระดาน ลาย ลูกฟัก ลายฐานสิงห์ ลายบัวหงาย ลายก้ามปู ลายบัว คว�่ำ โดยมีช่างแกะสลักที่ช�ำนาญในแต่ละลายแกะสลัก และในแต่ละองค์ประกอบของบุษบก ร่วมกันแกะสลัก แล้วส่งโรงงานประกอบองค์บษุ บก สร้างรายได้ให้กบั ช่าง แต่ละท่านประมาณ ๒๐,๐๐๐ - ๓๐,๐๐๐ บาท ต่อเดือน (นายช่างทวีป ดวงนิมิตร, สัมภาษณ์)

จากความรู ้ ด ้ า นช่ า งกลได้ พั ฒ นาเครื่ อ งมื อ แกะสลัก คือ เครื่องมือแกะสลัก เช่น สิ่วตัววีจากวัสดุ สมัยใหม่ เหล็กไฮสปรีด และเครือ่ งเจียทีต่ ดิ กระดาษทราย เพื่อขัดเรียบบันแถลง

ภาพที่ ๗ การเขียนแบบลายไทยของนายช่างทวีป ที่มา : จากภาพส่วนตัวของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร บันทึกภาพเมื่อ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ภาพที่ ๖ ตัวอย่าง การเขียนลายไทย ลายลูกฟัก และลายก้ามปู ที่มา : จากภาพส่วนตัวของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร บันทึกภาพเมื่อ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ภาพที่ ๘ ผลงานแกะสลักไม้จากต้นแบบที่เขียน ที่มา : จากภาพส่วนตัวของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร บันทึกภาพเมื่อ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 59


ภาพที่ ๙ บุษบก ที่ช่างทวีป ดวงนิมิตร แกะสลักและไปติดตั้ง ที่วัดทุ่งเสลี่ยง จังหวัดสุโขทัย ที่มา : จากภาพส่วนตัวของช่างทวีป ดวงนิมิตร ไม่สามารถระบุ วันที่บันทึกภาพได้

ภาพที่ ๑๐ บุษบก ที่นายช่างทวีป ดวงนิมิตร แกะสลักและ ส่งออกไปติดตั้งที่วัดไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มา : จากภาพส่วนตัวของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร ไม่สามารถ ระบุวันที่บันทึกภาพได้

ภาพที่ ๑๑ สิ่วตัววีจากเหล็กไฮสปรีด ซึ่งมีคุณสมบัติแข็ง คม เหมาะสร้างเครือ่ งมือตัดรูปแบบต่าง ๆ (Cutting Tool) ประดิษฐ์ โดยนายช่างทวีป ดวงนิมิตร ที่มา : บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๒ เครื่องเจียที่ติดกระดาษทราย เครื่องมือของนายช่าง ทวีป ดวงนิมิตร เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ช่างกล ที่ศึกษาจาก สถาบันการศึกษา มาปรับใช้ในงานหัตถกรรมของหมู่บ้าน ที่มา : บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐

60 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ภาพที่ ๑๓ สัมภาษณ์ นายทวีป ดวงนิมิตร เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ภาพที่ ๑๔ สัมภาษณ์ นายทวีป ดวงนิมิตร เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐

ณ บ้านเลขที่ ๓๔ หมู่ ๕ ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของคุณ แม่ชุมรัตน์ ศรีสุนทรพาณิชย์ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๙.๑๐ น.ถึง ๒๐.๐๐ น. และ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๑๐ น.ถึง ๑๒.๐๐ น. ประสบการณ์ ความรอบรูแ้ ละความช�ำนาญด้าน ออกแบบแกะสลักลายไม้ เทคนิคการใช้เครื่องมือของ นายช่างทวีป ดวงนิมิตร นั่นเอง ท�ำให้หน่วยงานภาครัฐ เห็นความส�ำคัญของการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านใน สถาบันการศึกษาระดับท้องถิ่น เมื่อปี ๒๕๕๕ ได้รับเชิญ จาก นายค�ำรณ ทานธรรม นายกองค์การบริหารส่วน ต�ำบลบ้านใหม่และเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่อง สังฆภัณฑ์งานแกะสลักไม้ ให้เป็นวิทยากรสอนวิชาเขียน ลายไทยและแกะสลักไม้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนปฐมวิทยาคาร เป็นเวลา ๕ ปี ซึ่งลูกศิษย์ ส่วนใหญ่ก�ำลังศึกษาในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัยยัง ไม่ได้ประกอบอาชีพการแกะสลักแต่อย่างใด

๕. บทสรุป จากข้อมูลการสัมภาษณ์ประวัติของนายช่าง ทวี ป ดวงนิ มิ ต ร ผู ้ เขี ย นพบว่ า ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ศิ ล ปหั ต ถกรรมการแกะสลั ก ไม้ ล ายไทย ในชุ ม ชน หมู่บ้านทุ่งมะขามหย่อง ต�ำบลบ้านใหม่ มีการถ่ายทอด องค์ความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ จากครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายศูนย์การเรียนของ ชุมชน เช่น โรงเรียนปฐมวิทยาคาร และบ้านของนายช่าง ผูม้ ปี ระสบการณ์ เช่น อาจารย์ไสว เดชศรี และนายณรงค์ ทวีเกิด ลูกศิษย์รุ่นที่สองของอาจารย์ ไสว เดชศรี กรณีของนายช่างทวีป ดวงนิมิตร ช่วงเริ่มต้น เป็นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากครอบครัว ตั้ ง แต่ คุ ณ แม่ ส อนให้ ลู ก  ๆ ฝึ ก ฝนสร้ า งงานเพื่ อ สร้ า ง รายได้ตั้งแต่เด็ก ๆ และได้รับการถ่ายทอดจากณรงค์ ทวีเกิด ควบคู่ไปกับการเรียนในโรงเรียนประจ�ำชุมชน ในวิชาการเขียนลายไทย และเรียนวิชาช่างกลในระดับ ปวช. จนสามารถน�ำองค์ความรู้ด้านช่างกล มาประยุกต์ พัฒนาเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ในท้องถิน่ และด้วยประสบการณ์ของการท�ำงานมายาวนานทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ท�ำให้ชา่ งแกะสลักในหมูบ่ า้ นทุง่ มะขามหย่อง ต�ำบลบ้านใหม่ ต้องขอค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับ ปัญหาของลวดลายการแกะสลัก การใช้เครือ่ งมือสิว่ การ

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 61


ขึ้นลาย ขึ้นหุ่น ดังนั้น นายช่างทวีป ดวงนิมิตร จะเป็นเปรียบเสมือน “ปราชญ์ชาวบ้านทาง ด้านงานแกะสลักไม้” เพราะสามารถถ่ายทอดเทคนิคการใช้เครื่องมือ เทคนิคการแกะสลัก ล�ำดับขั้นการแกะสลัก สร้างลาย เมื่อช่างฝีมือมีปัญหา ช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการสร้าง ผลงาน และลดความเสียหายของชิ้นงานได้เป็นอย่างดี ประสบการณ์ ความรอบรู้และความช�ำนาญด้านออกแบบแกะสลักลายไม้ เทคนิค การใช้เครือ่ งมือของนายช่างทวีป ดวงนิมติ ร ท�ำให้หน่วยงานภาครัฐเห็นความส�ำคัญของการ ถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านในสถาบันการศึกษาระดับท้องถิ่น เมื่อปี ๒๕๕๕ ได้รับเชิญจาก ผู้น�ำท้องถิ่น ให้เป็นวิทยากรสอนวิชาเขียนลายไทยและแกะสลักไม้ ระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ณ โรงเรียนปฐมวิทยาคาร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่นายช่างทวีป ดวงนิมิตร เคยศึกษา ตั้งแต่วัยเด็กและเรียนวิชาพื้นฐานการแกะสลักเมื่อครั้งอดีต

เอกสารอ้างอิง ก�ำพล จ�ำปาพันธ์. (๒๕๖๐). อยุธยา จากสังคมเมืองท่านานาชาติ สูม่ รดกโลก ประวัตศิ าสตร์ ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์. นนทบุรี: มิวเชียมเพลส. ข้อมูลต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๖๐). OTOP: One Tambon One Product. ค้นเมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๐, จาก www. thaitumbon.com. ความหมายภูมิปัญญา. ค้นเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๐, จาก https://sites.google.com/ site/naramit303/khwam-hmay-khxng-phu-mi-payya-elea-wathnthrrmthiy. จดหมายเหตุการบูรณปฎิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวังในการ ฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ เจียมจิต บวชไธสง. (๒๕๕๖). การด�ำเนินงานสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นของห้องสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย. ค้นเมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๐, จาก http:// digital_collect.lib.buu.ac.th/ dcms/files /51911428/chapter2.pdf. ทวีป ดวงนิมิตร. (๒๕๖๐, ๑๓ พฤษภาคม). สัมภาษณ์. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. ค้นเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๐, จาก http:// www. udru.ac.th/attachments/elearning/10/08.pdf. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔, จาก http://www.royin.go.th/ dictionary/ วิภาวี บริบรู ณ์ อัครเรย เปรมานุพนั ธ์ และเรณู คนเล็ก. (๒๕๕๓). พืน้ ฐานการเขียนลายไทย. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊ค. สารานุกรมไทยส�ำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การบูรณปฎิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง. ค้น เมือ่ ๒๔ มิถนุ ายน ๒๕๖๐, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/ book.php?book=16&chap=1&page=t16-1-l1.htm 62 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


บทความปริทัศน์

บทความปริทัศน์ : “โยเดียกับราชวงศ์พม่า: เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้” โดย มิคกี้ ฮาร์ท ก�ำพล จ�ำปาพันธ์/Kampol Champapan นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ฮาร์ท, มิคกี้. (๒๕๕๕). โยเดียกับราชวงศ์พม่า : เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. “ข้าพเจ้าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่เรา (หมายถึงคนที่อาศัยอยู่ภูมิภาคอุษาคเนย์นี้) ต้องลุก ขึ้นมาพิจารณาศึกษาประวัติศาสตร์ใหม่ว่า สงครามในประวัติศาสตร์คืออะไร ท�ำไปเพื่ออะไร และคนโบราณเขาเกลียดชังกันจริง ๆ หรือไม่ หรือรบไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพเท่านั้น หาก เขาไม่ได้เกลียดชังกัน แล้วท�ำไมเราซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่จะต้องเกลียดชังกัน ให้อดีตผ่านไป น�ำ ชัยชนะเป็นเครื่องเตือนใจมิให้ฮึกเหิม ส่วนการพ่ายแพ้หรือสูญเสียก็เป็นบทเรียนเตือนใจ มิให้ ผิดพลาดซ�้ำ จะไม่ดีกว่าหรือ” (ฮาร์ท, ๒๕๕๕: ๙) “โยเดียกับราชวงศ์พม่า : เรือ่ งจริงทีไ่ ม่มใี ครรู”้ เป็นหนังสือดีทไี่ ม่คอ่ ยเป็นทีร่ จู้ กั เท่าไรนัก เขียนโดย มิคกี้ ฮาร์ท (Myint Hsan Heart) ศิลปินและนักเขียนชาวพม่า จบการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยร่างกุง้ ยึดอาชีพท�ำงานเป็นศิลปินเขียนภาพสไตล์อิมเพรสชั่นนิสม์และเรียลลิสม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้เดินทางออกนอก ประเทศพม่า มาใช้ชีวิตอยู่ที่ไทยและสิงคโปร์ ฮาร์ทยังใช้เวลาว่างศึกษาด้านศิลาจารึก ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และอารยธรรมของชนชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 63


แรงบันดาลใจในการค้นคว้าและเขียนหนังสือ เล่มนีอ้ อกมาเป็นภาษาไทย ฮาร์ทเล่าไว้ในค�ำน�ำผูเ้ ขียนว่า เพราะครัง้ หนึง่ เคยเห็นนักท่องเทีย่ วไทยไปเทีย่ วประเทศ พม่า ด้วยว่าจะไปไหว้พระท�ำบุญให้เกิดสิรมิ งคลแก่ตวั เอง และครอบครัว แต่พอลงจากเครื่องบินเหยียบแผ่นดิน พม่าเป็นครั้งแรก นักท่องเที่ยวไทยก็มักจะกระทืบเท้า แผ่นดินสามครั้ง ฮาร์ทสอบถามด้วยความสงสัยว่า ท�ำไม จึงท�ำเช่นนั้น เขาตอบว่า “มันเคยมาเผาบ้านเผาเมืองกู กูจะแช่งให้มันจมดินไปเลย” เมื่ อ ไปเที่ ย วพระราชวั ง พระเจ้ า บุ เรงนองที่ หงสาวดี กลุ่มคณะทัวร์ไทยก็มักเกิดอาการของขึ้น พุ่ง เข้าไปท�ำลายต้นไม้ประดับและสวนดอกไม้ที่อยู่รอบ ๆ พระราชวัง ใช้เท้ากระทืบต�ำหนักไม่หยุดเลย เจ้าหน้าที่ ดูแลพระราชวังออกมาขอร้อง ก็ไม่หยุด สุดท้ายเจ้าหน้าที่ สั่งเด็ดขาดให้มัคคุเทศก์ของบริษัททัวร์ น�ำคณะออกไป จากพระราชวังทันที มิฉะนัน้ จะด�ำเนินการตามกฎหมาย แน่นอนพฤติกรรมเปิ่น ๆ แปลก ๆ ของนักท่องเที่ยว ไทย อันเป็นผลมาจากการรับรู้และมีความทรงจ�ำที่ผิด ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-พม่า ยังมีอีกมาก อีกกรณีที่สะเทือนใจผู้เขียน ก็คือกรณีที่เคยพบ หลายครอบครัวทีอ่ าศัยอยูบ่ ริเวณชายแดนไทย-พม่า เล่า ให้ฟังว่า พี่น้องท้องเดียวกันแท้ ๆ แต่กลับต้องถือคนละ สัญชาติ เพราะวันดีคืนดีผู้มีอ�ำนาจก็มาตีเส้นแบ่งเขต และแยกสัญชาติ ปัจจุบันตระกูลของสองพี่น้องนี้กลาย เป็นคนละชาติ อยู่กันคนละฟากไปแล้ว ไม่รู้จักกันยังไม่ พอ ยังถือเป็นศัตรูกันโดยปริยาย เพราะเรื่องของทั้งสอง ชาติที่ไม่ค่อยจะลงรอยกัน เนือ้ หาหนังสือจึงอภิปรายเกีย่ วกับความสัมพันธ์ ระหว่างผู้คนทั้งสองชาติ ในมิติที่แตกต่างจากแบบเรียน ประวัติศาสตร์ไทย ที่เน้นแต่เรื่องรบราฆ่าฟันกัน (สุเนตร ชุตินธรานนท์, ๒๕๔๒) ความสัมพันธ์ไทย-พม่าในแง่มุม ทางประวัติศาสตร์ยังมีมิติเรื่องอื่น ๆ ให้ศึกษาหรือพูดถึง ได้ อาทิเช่น เรื่องการค้า การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และศาสนา ที่พิเศษแตกต่างจากเล่มอื่น ๆ ที่วิพากษ์ เรื่องความสัมพันธ์ไทย-ลาว ก็คือเล่มนี้พยายามให้ภาพ สายสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างคนไทยกับพม่า ทั้งใน ระดับระหว่างราชวงศ์ ชนชั้นน�ำ และประชาชนพลเมือง

“โยเดีย” หรือ “โยดะยา” เป็นค�ำทีช่ าวพม่าเรียก ชาวสยามมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ค�ำนี้กร่อนมาจากค�ำว่า “อโยธยา” ชื่อเมืองศูนย์กลางของลุ่มแม่นำ�้ เจ้าพระยาที่ พัฒนามาเป็นกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา “โยดะยา” พม่า ใช้เรียกไทยในทางดูถูกเหยียดหยาม ว่าหมายถึง “ผู้แพ้” แต่น่าสังเกตว่าค�ำนี้เชลยชาวอยุธยาในพม่าก็ใช้เรียก ตัวเอง เหตุที่ตรงกันพอเหมาะพอดีกับค�ำว่า “อโยธยา” ยังมีความเป็นไปได้ว่า “โยดะยา” จะมาจากภาษาพูด ของคนในท้องถิ่นอโยธยาเอง (วิรัช นิยมธรรม, ๒๕๕๑: ๑๒๖-๑๓๐) เช่น ที่ปัจจุบันค�ำว่า “อยุธยา” ชาวบ้าน ในท้องถิ่นยังนิยมเรียกโดยตัดการออกเสียง “อะ” และ “ทะ” ออกไป เหลือเป็น “ยุดยา” ค�ำว่า “พิษณุโลก” เรียกเป็น “พิดโลก” ค�ำว่า “นครสวรรค์” เรียกว่า “คอนหวัน” ค�ำว่า “สุโขทัย” เรียกเป็น “โขทัย” ค�ำว่า “ราชบุรี” เรียกว่า “ราดรี” ค�ำว่า “เพชรบุรี” เรียกว่า “เพดรี” อย่างนี้ เป็นต้น ส่วนชือ่ “โยเดีย” หรือ “โยดะยา” ทีพ่ ม่าใช้เรียก นั้นเบื้องต้นหมายถึงกลุ่มคนที่มาจากโยเดียหรืออโยธยา ไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนไทย เพราะผูค้ นทีถ่ กู กวาดต้อนไป ยังหงสาวดีในช่วงหลังจากเสียกรุงครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๑๑๒ นั้นรวมถึงคนมอญ ลาว เขมร ยวน จาม แขก มลายู ฯลฯ คนเหล่านี้เคยเข้ามาอยู่อโยธยา จนเป็นส่วนหนึ่งของ อโยธยา มาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ร่นขึ้นไป แต่เมื่อถูกกวาดต้อนไปอยู่เมืองพม่า คนเหล่านี้ก็หลอม รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ความรับรู้และการก�ำหนดนิยาม เรียกชุมชนชาวโยเดียในพม่า ว่าเป็น “คนไทยในพม่า” จึง ไม่ใช่ความรับรูแ้ ละการก�ำหนดนิยามเรียกทีถ่ กู ต้องเท่าไร นัก (ดูรายละเอียดใน ทันทุน, ๒๕๔๔, หน้า ๑๐๓-๑๒๘ ; หม่องทินอ่อง, ๒๕๔๔, หน้า ๑๒๙-๑๔๘) กล่าวโดยสรุป ในทัศนะของฮาร์ท ปัญหาของ การเขียนประวัติศาสตร์ของไทยกับพม่า ประการแรก สื บ เนื่ อ งมาจากความสั บ สนปนเปกั น จนแยกไม่ อ อก ระหว่าง “ประวัติศาสตร์” (History) กับ “พงศาวดาร” (Chronicle) น�ำไปสู่การเขียนประวัติศาสตร์ภายใต้ ระเบียบวิธีวิทยาแบบสมัยใหม่ แต่กลับมักน�ำไปสู่การ เขี ย นเพื่ อ ยกย่ อ งวี ร กษั ต ริ ย ์ ตามอย่ า งประเพณี ก าร แต่งพระราชพงศาวดาร ซึ่งมีมาก่อนหน้าที่จะเกิดวิชา ประวัติศาสตร์ ประการที่สอง แนวคิดทางชาตินิยมของ

64 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ชนชั้ น น�ำทั้งสองประเทศ ที่ส่งเสริมการคั ด เลื อ กเอา ประวัติศาสตร์บางฉบับมาน�ำเสนอมากกว่าฉบับอื่น ๆ ส่วนนี้ฮาร์ทอภิปรายเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ท่าน อื่น ๆ ที่วิพากษ์แนวคิดชาตินิยมในประวัติศาสตร์นิพนธ์ ซึ่งสะท้อนว่าฮาร์ทได้อ่านผลงานของนักวิชาการไทย และอุษาคเนย์ ที่นำ� เสนอและถกเถียงในประเด็นเหล่านี้ มาเป็นอย่างดี รั ฐ ชาติ ที่ เ กิ ด ใหม่ ภ ายหลั ง ทั้ ง ในรั ฐ ไทย และพม่า ต่างใช้ประวัติศาสตร์เ ป็นเครื่ อ งมื อ ในการ สร้ า งความชอบธรรม เพื่ อ ท� ำ ให้ ศั ต รู ข องชนชั้ น น� ำ คู ่ แข่งขันในยุคหลัง กลายเป็นศัตรูของประชาชนไปด้วย ยิ่งบทบาทของกองทัพยังมีมากในทั้งสองประเทศ ยิ่ง มี ผ ลท� ำ ให้ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ท างด้ า นศึ ก สงคราม ถู ก ใช้ และเน้ น ย�้ ำ มากกว่ า มิ ติ ท างด้ า นอื่ น  ๆ พม่ า ภู มิ ใจใน ความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าบุเรงนอง และไม่ชอบสมเด็จ พระนเรศวร กษั ต ริ ย ์ ไ ทยที่ เ คยรบชนะกองทั พ พม่ า เช่นเดียวกับไทยก็มคี วามภาคภูมใิ จในสมเด็จพระนเรศวร วีรกษัตริยไ์ ทย ไม่ชอบพระเจ้าบุเรงนอง (วิรชั นิยมธรรม, ๒๕๕๑, หน้า ๑๘๑-๑๘๘) กล่าวเฉพาะในไทย การสร้างพม่าให้เป็นศัตรู ของชาติไทย ถูกตอบโต้อย่างมีนัยส�ำคัญ ผ่านนวนิยาย เรื่ อ ง “ผู ้ ช นะสิ บ ทิ ศ ” พระเอกของเรื่ อ งคื อ พระเจ้ า บุ เรงนองในภาพลั ก ษณ์ ขุ น พลผู ้ ท รงเสน่ ห ์ (สุ เ นตร ชุตินธรานนท์, ๒๕๔๘, หน้า ๑๔๕-๒๐๓) แต่ก็น่าสังเกต ว่าภาพลักษณ์พระเจ้าบุเรงนองในแบบที่ยาขอบ (โชติ แพร่พันธุ์) รังสรรค์ขึ้นในโลกนวนิยายนั้น จะไม่มีผลมา สู่การปรับเปลี่ยนมุมมองทางประวัติศาสตร์เท่าไรนัก เพราะยังเห็นร่องรอยอิทธิพลของมุมมองแบบที่สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ เคยเสนอไว้ใน “พงศาวดาร เรื่องไทยรบพม่า” (ด�ำรงราชานุภาพ, ๒๕๕๖) แม้ว่า ยาขอบจะออกตัวอย่างอ่อนน้อมว่า นวนิยายของเขา อาศัยข้อความจากพงศาวดารไทยเพียง ๘ บรรทัด แต่ เนือ้ เรือ่ งหลายตอนมีความสอดคล้องกับพงศาวดารมอญ ที่มีฉบับแปลเผยแพร่มาก่อนหน้านั้น (นิธิ เอียวศรีวงศ์, ๒๕๓๑, หน้า ๑๐๖-๑๑๕) ฮาร์ทพยายามค้นคว้าและสืบสาแหรกของวงศ์ ตระกูลชั้นสูงของพม่า ว่ามีผู้ใดสืบเชื้อสายหรือมีความ สัมพันธ์เกี่ยวข้องทางเครือญาติกับชาวสยามอโยธยา

ตอบค�ำถามเกี่ยวกับตัวตนของคนส�ำคัญในอดีต อย่าง เช่น เรื่องของพระสุพรรณกัลยา หรือที่ชาวพม่าเรียกว่า “พระสวน” เป็นต้น ในมุมของพม่า พระสวนถือเป็น บุคคลส�ำคัญที่ไม่เพียงมีตัวตนอยู่จริง หากแต่ยังทรงเป็น เจ้านายหญิงที่ให้ก�ำเนิดบุคคลส�ำคัญในราชวงศ์พม่าใน เวลาต่อมาอีกด้วย การอยู ่ ใ นราชส� ำ นั ก พม่ า ของพระสวนหรื อ พระสุพรรณกัลยา จากงานชิ้นนี้ให้ภาพว่าเป็นเพราะ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางเครือญาติ ผ่านการอภิเษก สมรส ไม่ใช่เรื่องการเสียสละเป็นองค์ประกันแทนสมเด็จ พระนเรศวรแต่อย่างใด กล่าวคือการตัดสินพระทัยอยูใ่ น พม่าของพระองค์ เกีย่ วข้องกับเรือ่ งครอบครัวทีท่ รงกลาย เป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์พม่าไปแล้ว มิได้เกี่ยวกับความ เสียสละเพือ่ ชาติบา้ นเมือง ดังทีม่ กี ารตีความในรูปต�ำนาน แพร่หลายอยู่ในไทย ความใกล้ ชิ ด และเป็ น ที่ โ ปรดปรานของ พระเจ้าบุเรงนอง ที่มีต่อสมเด็จพระนเรศวร ในฐานะ พระราชบิดาบุญธรรม แต่ในมุมของไทยการไปอยู่ราช ส�ำนักพม่าของสมเด็จพระนเรศวรในวัยเยาว์ เป็นเรื่อง เกี่ยวกับ “ระบอบองค์ประกัน” คือเป็นองค์ประกันเพื่อ ผูกมัดให้กรุงศรีอยุธยาภายใต้สมเด็จพระมหาธรรมราชา มีความจงรักภักดีตอ่ หงสาวดี มุมมองส่วนไหนทีไ่ ม่ตรงกัน ระหว่างหลักฐานของไทยกับพม่า ฮาร์ทใช้วิธีน�ำเสนอ ง่าย ๆ อย่างเช่น การหยิบยกเอาข้อความในหลักฐาน ของทั้งสองมาน�ำเสนอควบคู่กัน เพื่อให้เห็นมุมมองโดย เปรี ย บเที ย บ กรณี ส งครามยุ ท ธหั ต ถี ในมุ ม มองของ ไทย หลั ก ฐานพระราชพงศาวดาร ระบุ ว ่ า สมเด็ จ พระมหาอุปราชาทรงสิน้ พระชนม์จากการถูกฟันพระศอ แต่หลักฐานพงศาวดารของพม่า กล่าวถึงการต้องพระแสง ปืนสิ้นพระชนม์ เป็นต้น เนื่ อ งจากฮาร์ ท มี ค วามเชี่ ย วชาญทางด้ า น ศิ ล ปะ เขาจึ ง ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บการตี ค วามหลั กฐาน ประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ มาใช้ในงานเขียนทางประวัตศิ าสตร์ ของตน เรื่องของสุสานลินซินกอง เมืองอมรปุระ ที่ทาง การพม่ า และกรมศิ ล ปากรได้ ด� ำ เนิ น การขุ ด ค้ น และ ปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ด้วยมีความเชื่อว่าเป็น สถานที่บรรจุอัฐิของขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมหรือ พระเจ้าอุทุมพร ซึ่งถูกกวาดต้อนไปพม่า หลังเหตุการณ์

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 65


เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ ฮาร์ทมีความเชือ่ ว่า สุสานลินซินกองนัน้ เป็นสถานทีบ่ รรจุอฐั ขิ องพระเจ้าอุทมุ พร นอกจาก ผลงานเล่มนี้แล้ว เขายังเคยเสนอการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้กับนักวิชาการในไทย อย่างไรก็ตาม เรื่องของสุสานลินซินกองนั้นก็ยังมีประเด็นที่ต้องศึกษาอีกมากว่า เป็นสุสานของ ผู้ใด ใช่พระเจ้าอุทุมพรหรือไม่ เพราะหลักฐานเท่าที่มีอยู่และแม้จะมีการด�ำเนินงานขุดค้นทาง โบราณคดี แต่ ณ ขณะนีก้ ย็ งั ไม่พบสิง่ ใดทีย่ นื ยันได้แน่ชดั ว่าทีน่ นั่ คือสุสานของพระเจ้าอุทมุ พร เรือ่ ง นี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักประวัติศาสตร์ที่ไม่เชื่อเรื่องสุสานพระเจ้าอุทุมพรไปต่าง ๆ นานา เช่น พิจารณาว่าเป็นเพียงความพยายามที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ก�ำลังเฟื่องฟูในพม่า (ดูรายละเอียดใน ม.ป.ผ., ๒๐๑๓) อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องสุสานลินซินกองจะยังคงเป็นเพียงความเชื่อของคนกลุ่มหนึ่ง แต่ โดยรวมผลงานชิน้ นีก้ ย็ งั คงมีคณ ุ ค่าทางวิชาการ โดยเฉพาะในแง่ทเี่ ป็นงานเขียนทางประวัตศิ าสตร์ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-พม่า จากสายตาของนักวิชาการอิสระชาวพม่า ผู้พ�ำนักอาศัยอยู่ใน ประเทศไทยมาเป็นเวลานาน จนเชื่อได้ว่าฮาร์ทเขียนงานชิ้นนี้ขึ้นด้วยความปรารถนาดี ที่อยาก จะจรรโลงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับพม่า แก้ไขข้อบกพร่องที่สืบเนื่องมาจากแบบเรียน ประวัติศาสตร์ฉบับชาตินิยมของทั้งสองประเทศ

เอกสารอ้างอิง ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (๒๕๕๖). พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน. ทันทุน. (๒๕๔๔). เชลยอยุธยาในราชส�ำนักพม่า. ใน สุเนตร ชุตินธรานนท์. (บก.). (๒๕๔๔). พม่าอ่านไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และศิลปะไทยในทัศนะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๓๑). ประวัติศาสตร์ที่เหนือประวัติศาสตร์ในผู้ชนะสิบทิศของยาขอบ. ศิลปวัฒนธรรม. ๑ (๑๐). ม.ป.ผ. (๒๐๑๓). อ่านเอาเรือ่ ง : จริงหรือเข้าใจผิด พบพระบรมอัฐขิ นุ หลวงหาวัดในแดนอิรวดี?. ค้นเมื่อ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙, จาก www.sarakadee.com/2013/12/13/tomb-sking/3/ วิรัช นิยมธรรม. (๒๕๕๑). คิดแบบพม่า : ว่าด้วยชาติและวีรบุรุษในต�ำราเรียน. มหาสารคาม: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สุเนตร ชุตินธรานนท์. (๒๕๔๒). พม่ารบไทย : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน. _______ . (๒๕๔๘). บุเรงนอง (กะยอดินนรธา): กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย. กรุงเทพฯ : มติชน. หม่องทินอ่อง. (๒๕๔๔). เชลยไทยในมัณฑะเลย์ ใน สุเนตร ชุตินธรานนท์. (บก.). (๒๕๔๔). พม่า อ่านไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และศิลปะไทยในทัศนะพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน. ฮาร์ท, มิคกี้. (๒๕๕๕). โยเดียกับราชวงศ์พม่า: เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้. กรุงเทพฯ: สถาบัน พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. 66 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


๖๙ ๗๓ ๗๙ ๘๓



บทความสารคดี

สายพระเนตรอันกว้างไกล ในการจัดการน�ำ้ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ชนิกานต์ ผลเจริญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมืองมรดกโลกทีม่ ที ตี่ งั้ อยูใ่ กล้กรุงเทพฯ และไม่มปี ญ ั หาด้านการพัฒนา แต่เราชาว จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเคยได้รับน�้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านโครงการ อันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาเกษตรกรรมเบ็ดเสร็จตามพระราชด�ำริ ต�ำบลห่อหมก อ�ำเภอบางไทร ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โครงการก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย และพัฒนาเป็นพื้นที่รับ น�้ำตามโครงการแก้มลิง ณ ทุ่งมะขามหย่อง ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาตามพระราชด�ำริ เพื่อแก้ไขปัญหาลดความชื้นของข้าวเปลือกโดยการตากข้าว และชะลอการจ�ำหน่ายข้าวเปลือกในช่วงราคาต�่ำ พ.ศ. ๒๕๓๖ โครงการจัดหาน�้ำช่วยเหลือราษฎรเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนในเขตต�ำบลคลองน้อย และต�ำบลสองห้อง อ�ำเภอบ้านแพรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ และ พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒ โครงการปรับปรุงและขุดลอกคลองเมือง อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยาเพือ่ ปรับปรุงทัศนียภาพ พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๙ และ โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและบ�ำบัดน�้ำเสียในเขตพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๔๗ นอกจากนีย้ งั มีโครงการด้านสาธารณสุข เช่น โครงการฟันเทียมพระราชทาน เพือ่ ให้บริการใส่ฟนั เทียมฐานพลาสติกแก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไปในโรงพยาบาล ๑๖ แห่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๑ (ส�ำนักงาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ๒๕๕๙) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริดังกล่าว ได้ส่งผลให้พวกเราชาวจังหวัด พระนครศรีอยุธยามีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ถึงแม้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะไม่มีปัญหาด้านการพัฒนา แต่ประสบปัญหาอุทกภัยอย่างหนักทุกปี เนือ่ งจากสภาพภูมศิ าสตร์ทลี่ อ้ มรอบด้วยแม่นำ�้ หลายสายจึงเป็นปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดพืน้ ทีน่ ำ�้ ท่วมซ�ำ้ ซาก เช่น อ�ำเภอ บางบาล อ�ำเภอเสนา อ�ำเภอผักไห่ อ�ำเภอบางปะหัน อ�ำเภอบางไทร และอ�ำเภอท่าเรือ ส่งผลกระทบต่อการด�ำเนิน ชีวิตของคนในท้องถิ่น การที่มีแม่น�้ำหลายสายจึงท�ำให้ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใช้การคมนาคมทางน�้ำไปทาง ทิศเหนือจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ แล้วใช้สาขาของแม่น�้ำเจ้าพระยา คือ แม่นำ�้ ปิง แม่นำ�้ วัง แม่นำ�้ ยม และแม่น�้ำน่าน เดินทางไปยังก�ำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย ส่วนการเดินทางไปทางใต้สามารถใช้แม่น�้ำเจ้าพระยาไปถึงพระประแดง แล้วต่อเรือไปภาคใต้ จากพระนครศรีอยุธยาสามารถใช้แม่น�้ำเจ้าพระยาและแม่น�้ำบางปะกงเดินทางไปฉะเชิงเทรา นครนายกและปราจีนบุรีได้ ส่วนทางตะวันตกสามารถใช้แม่น�้ำเจ้าพระยา แม่น�้ำน้อยและแม่น�้ำท่าจีน เดินทางไป นครปฐม สุพรรณบุรี แล้วใช้คลองเชื่อมไปถึงกาญจนบุรี ราชบุรีและเพชรบุรีได้ นอกจากนี้ยังใช้แม่น�้ำป่าสักเดินทาง ไปยังสระบุรีและเพชรบูรณ์ได้ (ปฤษณา ชนะวรรษ และศุภกาณฑ์ นานรัมย์, ๒๕๕๗) นอกเหนือจากการมีแม่น�้ำหลายสายที่มักจะมีน�้ำท่วมใหญ่บริเวณจุดบรรจบแม่น�้ำแล้ว ปัญหาอุทกภัยของ จังหวัดพระนครศรีอยุธยามาจากหลายสาเหตุ ดังนี้ ๑. การไหลบ่าของน�ำ้ อย่างรวดเร็วมาจากพืน้ ทีภ่ าคเหนือของประเทศไทย เนือ่ งจากการขาดแคลนป่าไม้ชว่ ย ดูดซับน�ำ้ ๒. สภาพดินส่วนใหญ่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นดินเหนียว การดูดซับน�ำ้ ต�ำ่ มาก น�ำ้ ฝนเกือบทัง้ หมด จึงไหลไปบนผิวดินลงสู่พื้นที่ต�่ำและแม่นำ�้ ทันที วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 69


๓. พายุ ฝ นกระหน�่ ำ ต่ อ เนื่ อ งจนไม่ ส ามารถ ระบายน�้ำได้ทัน ผนวกกับการขยายตัวของชุมชน ที่อยู่ อาศัย การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้ท�ำลาย ระบบระบายน�้ ำ ที่ มี อ ยู ่ ต ามธรรมชาติ ซึ่ ง ชุ ม ชนที่ ตั้ ง ขึ้นใหม่และโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งได้สร้างบน พื้นที่รับน�้ำ และไม่ได้วางแผนการจัดการน�้ำ ไม่ได้สร้าง ระบบการระบายน�้ำออกจากพื้นที่อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพเพียงพอ ในหลวงรั ช กาลที่ ๙ ทรงทราบถึ ง ลั ก ษณะ ภูมศิ าสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอย่างดี โดย เฉพาะในบริเวณทุง่ มะขามหย่อง เพราะพระองค์มไิ ด้ทรง มองแผนที่แบบนก คือมองเพียงผิวเผิน หรือมองแบบ คนนอก แต่พระองค์ทรงมองแผนที่แบบหนอน หรือ อาจกล่าวได้ว่าแผนที่ของพระองค์มาจากการเสด็จออก เยี่ยมเยียนราษฎร คือมาจาก “เชิงพระบาท” (ศรีศักร วัลลิโภดม, ๒๕๖๐) ในการเสด็จพระราชด�ำเนินลงพื้นที่ จริง ร่วมกับการสอบถามข้อมูลจากคนท้องถิ่น ชาวบ้าน ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ หรือ “คนใน” ดังนั้นไม่ว่าแต่ละพื้นที่ นั้น ๆ จะประสบปัญหาใด ในหลวงรัชกาลที่ ๙ จะทรง แก้ปัญหานั้นได้ทุกครั้ง “ทุ ่ ง มะขามหย่ อ ง” มี ค วามส� ำ คั ญ ทาง ประวัติศาสตร์ ถือเป็นสมรภูมิรบระหว่างไทยกับพม่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าตะ เบงชะเวตี้ กษั ต ริ ย ์ แ ห่ ง กรุ ง หงสาวดี ห มายโจมตี ก รุ ง ศรีอยุธยา ทัพพม่ายาตราเข้ามาตั้งค่ายล้อมพระนคร ๔ ค่าย ได้แก่ ๑) ค่ายพระเจ้ากรุงหงสาวดีตั้งที่บ้านกุ่มดวง ๒) ค่ายบุเรงนองตัง้ ทีเ่ พนียด ๓) ค่ายพระเจ้าแปรตัง้ อยูท่ ี่ บ้านใหม่ทุ่งมะขามหย่อง และ ๔) ค่ายพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ทุ่งวรเชษฐ์ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๐๙๒ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิตัดสินพระทัย ยกทัพออกนอกพระนครพร้อมกับสมเด็จพระศรีสรุ โิ ยทัย ที่ทรงฉลองพระองค์เป็นชายอย่างมหาอุปราช รวมทั้ง พระราชโอรสและพระราชธิดา เพื่อบ�ำ รุง ขวั ญ เหล่ า ทหารและทอดพระเนตรกองทัพของพม่า เมื่อเสด็จถึง ทุง่ ภูเขาทองก็ปะทะกับกองทัพของพระเจ้าแปร ทัพหน้า ของหงสาวดี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงท�ำยุทธหัตถี กับพระเจ้าแปร จังหวะหนึ่งพระคชาธารของสมเด็จพระ

มหาจักรพรรดิแล่นไปข้างหน้าจึงถูกพระเจ้าแปรไล่ตาม สมเด็จพระศรีสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิตกอยู่ในภยันตราย จึงทรงบังคับช้างเข้า ขวางพระเจ้าแปร ท�ำให้พระเจ้าแปรหันมาท�ำยุทธหัตถี กับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สุดท้ายช้างทรงของสมเด็จ พระศรีสรุ โิ ยทัยเสียเปรียบ พระเจ้าแปรใช้พระแสงของ้าว ฟันสมเด็จพระศรีสุริโยทัยขาดสะพายแล่ง สวรรคตบน คอช้าง ไม่เพียงแต่ “ทุง่ มะขามหย่อง” จะมีความส�ำคัญ ทางประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ในแง่ของภูมิศาสตร์ยัง สามารถใช้เป็นพื้นที่รับน�้ำ ในปัจจุบันจะเห็นว่ามีเพียง แม่น�้ำเจ้าพระยาสายเดียวที่พาดผ่านทุ่งมะขามหย่อง แต่ ในอดี ต มี แ ม่ น�้ำ หลายสายไหลมาบรรจบในพื้ น ที่ นี้ ศาสตราจารย์พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายว่า “สมั ย ก่ อ นล� ำ น�้ ำ ที่ ไ หลผ่ า นทางนี้ เ ข้ า กรุ ง ศรีอยุธยา เรียกว่า ล�ำน�้ำมะขามหย่องเป็นสาขาหนึ่ง ของแม่น�้ำน้อย ส่วนแม่น�้ำเจ้าพระยาคือ ล�ำน�้ำบางแก้ว ไหลผ่านมาถึงบางปะหัน ถึงทุ่งวัดนนทรีย์แล้วมารวมกัน ที่ลุ่มน�้ำมะขามหย่อง ท�ำให้พื้นที่ระหว่างล�ำน�้ำมะขาม หย่องกับล�ำน�้ำลพบุรีกลายเป็นทุ่งกว้าง เลยเรียกว่าทุ่ง มะขามหย่อง” (ศรีศักร วัลลิโภดม, ม.ป.ป., หน้า ๑๓) ลักษณะภูมิศาสตร์เช่นนี้ส่งผลดียามศึกสงคราม ในอดีต เพราะข้าศึกมักจะเข้ามาตั้งค่ายแถบพื้นที่ทาง ตะวั น ตกของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา และต้ อ งล่ า ถอยไปเอง ในช่ ว งฤดู น�้ ำ หลาก นั บ เป็ น ผลดี ต ่ อ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ในการป้องกันราชอาณาจักร มีเวลาสะสมเสบียง จัด เตรียมอาวุธและไพร่พล แม้พื้นที่นี้จะมีประโยชน์ใน สมั ย โบราณยามบ้ า นเมื อ งมี ภั ย แต่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ต ่ า งอะไร กับดาบสองคม เพราะในฤดูน�้ำหลาก น�้ำไหลบ่าเข้า ท่ ว มบ้ า นเรื อ นและพื้ น ที่ เ พาะปลู ก ของชาวบ้ า น ใน ขณะที่ฤดูแล้งก็แล้งจัดเสียจนไม่มีน�้ำไว้รดต้นกล้าข้าว เมื่ อ ความทราบถึ ง พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงมีพระราชด�ำริโครงการ ก่ อ สร้ า งพระราชานุ ส าวรี ย ์ ส มเด็ จ พระศรี สุ ริ โ ยทั ย และพั ฒ นาเป็ น พื้ น ที่ รั บ น�้ ำ ตามโครงการแก้ ม ลิ ง ณ

70 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ทุง่ มะขามหย่อง ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นโครงการหนึ่งที่ปวงชน ชาวไทยได้ ป ระจั ก ษ์ ชั ด ถึ ง พระวิ สั ย ทั ศ น์ ที่ ก ว้ า งไกล พระอัจฉริยภาพด้านการจัดการน�้ำของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีพระราชด�ำริ ให้ทุ่งมะขามหย่องเป็นหนึ่งในโครงการแก้มลิง ในยาม ที่น�้ำเหนือจากแม่น�้ำเจ้าพระยาไหลบ่าลงมา ก็ผันเข้า ทุ่งมะขามหย่องเพื่อกันน�้ำท่วม ในฤดูแล้งก็ผันน�้ำเข้าสู่ แปลงนาของเกษตรกร จนผลผลิตของชาวนาดีขึ้น สิ่งนี้ แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกร พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุ ล ยเดชทรงมี พ ระราชด� ำ รั ส อธิ บ ายถึ ง โครงการ แก้มลิงที่เปรียบเหมือนลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้ม ได้คราวละมาก ๆ ว่า “ลิ ง โดยทั่ ว ไปถ้ า เราส่ ง กล้ ว ยให้ ลิ ง จะรี บ ปอกเปลือก เอาเข้าปากเคีย้ ว แล้วน�ำไปเก็บไว้ทแี่ ก้มก่อน ลิงจะท�ำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ น�ำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง” (พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มา : มูลนิธิชัยพัฒนา) วิธีการบริหารจัดการน�้ำตามโครงการแก้มลิง มี ขัน้ ตอนการด�ำเนินงานเริม่ จาก ๑) การระบายน�ำ้ ออกจาก พื้นที่โดยการปล่อยให้ไหลไปตามคลองในแนวทิศเหนือ และใต้เพื่อให้มวลน�้ำไปพักไว้ในที่พักน�้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ ในพืน้ ทีค่ ลองใกล้ทะเล ๒) เมือ่ ระดับน�ำ้ ทะเลลดต�ำ่ ลงกว่า ระดับน�้ำในคลอง จะท�ำการระบายน�้ำจากคลองพักน�้ำ ออกสูท่ ะเลทางประตูระบายน�ำ้ โดยใช้ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ของโลกตามธรรมชาติ ๓) ต่อมาจะท�ำการสูบน�ำ้ ออกจาก คลองที่ท�ำหน้าที่เป็น “แก้มลิง” เพื่อให้มวลน�้ำตอนบน ค่อย ๆ ไหลลงมา และส่งผลให้บริเวณพื้นที่นำ�้ ท่วมลดลง ๔) ในกรณีของระดับน�ำ้ ทะเลสูงกว่าระดับน�ำ้ ในคลอง จะ ท�ำการปิดประตูระบายน�้ำเพื่อป้องกันมิให้น�้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน�ำ้ ไหลทางเดียว ในการนี้ เ พื่ อ ร� ำ ลึ ก ถึ ง สมเด็ จ พระศรี สุ ริ โ ยทั ย วี ร สตรี ค นส� ำ คั ญ ในประวั ติ ศ าสตร์ ช าติ ไ ทย และการ บรรเทาทุกข์ของประชาชนตามพระราชด�ำริของพระบาท สมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมิพ ลอดุลยเดช ผนวกกั บ

การที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรง เจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาล ยุคของนายอานันท์ ปันยารชุน ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีสรุ โิ ยทัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชิ นี น าถได้ เ สด็ จ พระราชด� ำ เนิ น มาทรงประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ พระราชานุสาวรีย์ฯ ได้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ (ยิ่งยศ วงศ์อำ� มาตย์, ม.ป.ป., หน้า ๑๑) โครงการอ่างเก็บน�้ำพระราชานุสาวรีย์สมเด็จ พระสุริโยทัย หรือโครงการแก้มลิงสุริโยทัย (ทุ่งมะขาม หย่ อ ง) มี ที่ ตั้ ง โครงการ ณ ทุ ่ ง มะขามหย่ อ ง ต� ำ บล บ้ า นใหม่ อ� ำ เภอพระนครศรี อ ยุ ธ ยา มี พื้ น ที่ ทั้ ง หมด ประมาณ ๑,๑๗๑ ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อ่างเก็บน�ำ้ ประมาณ ๒๐๐ ไร่ พืน้ ทีพ่ ระราชานุสาวรียส์ มเด็จพระสุรโิ ยทัย สวน สาธารณะและอืน่  ๆ ประมาณ ๕๐ ไร่ และพืน้ ทีร่ บั น�ำ้ เพือ่ การเกษตรกรรมประมาณ ๙๒๑ ไร่ เป็นการกักเก็บน�ำ้ ใน ลักษณะอ่างเก็บน�้ำขนาดความจุประมาณ ๑,๒๐๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร (โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา, ๒๕๕๙) มีการบริหารจัดการน�ำ้ เพือ่ เข้าพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม โดยการวางระบบโรงสูบน�้ำไฟฟ้าและการวางท่อรับน�้ำ และระบายน�้ำในพื้นที่ เดิมมีจุดประสงค์เพื่อท�ำระบบ ชลประทานเพื่อการปลูกข้าวในพื้นที่ แต่ปัจจุบันแปลง สภาพการเพาะปลูกเป็นพื้นผักอายุสั้นแทนการปลูกข้าว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนทุ่งมะขามหย่อง เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ในการนี้ทรงเกี่ยวข้าวในแปลงนาที่ ทุง่ มะขามหย่อง ซึง่ ไม่เคยมีพระมหากษัตริยพ์ ระองค์ใดใน โลกท�ำเช่นนี้มาก่อน ท�ำให้เกษตรกรได้รับก�ำลังใจในการ ประกอบอาชีพ นอกจากนี้ทั้งสองพระองค์ยังทรงชื่นชม เคียว ๒ เล่มที่คุณพยงค์ ทรัพย์มีชัย ตีถวายด้วย ซึ่งสร้าง ความปลาบปลืม้ และเป็นพลังแก่ชา่ งผูส้ บื ทอดภูมปิ ญ ั ญา ครั้ ง สุ ด ท้ า ยที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น เยื อ นทุ ่ ง มะขามหย่ อ ง คื อ เมื่ อ วั น ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ครั้งนั้นทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบก เสด็จ

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 71


พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็ จ ประทั บ รถยนต์ พ ระที่ นั่ ง ออกจากโรงพยาบาล ศิริราชมายังทุ่งมะขามหย่อง จุดมุ่งหมายในการเสด็จ ครั้งนี้เพื่อทรงหาแนวทางป้องกันอุทกภัยในฤดูน�้ำหลาก ภายหลั ง จากที่ จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยาได้ ป ระสบ อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ การเสด็จครั้งนี้ได้รับ ความสนใจและยังความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรทั่วหล้า เพราะในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงพระประชวรและเสด็จ ประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช มานานแล้ว นายวิ ท ยา ผิ ว ผ่ อ ง ผู ้ ว ่ า ราชการจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยาในขณะนั้ น พร้ อ มกั บ หน่ ว ยงาน ราชการต่าง ๆ ภาคเอกชน และภาคประชาชนจัดเตรียม พืน้ ทีก่ ารรับเสด็จฯอย่างเต็มที่ มีการสร้างเวทีกลางน�ำ้ เพือ่ แสดง แสง สี เสียง ขบวนเทิดพระเกียรติ ขบวนแห่ช้าง มีการแสดงวัฒนธรรม เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ การ แสดงดนตรีไทย และการฟ้อนร�ำไทย กลุ่มแม่บ้านหลาย

กลุ่มท�ำขนมไทย และสินค้าภูมิปัญญาดั้งเดิมเพื่อถวาย ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ส่วนประชาชนจากทัว่ ทุกสารทิศต่าง เดินทางเข้ามาจับจองพืน้ ทีร่ อรับเสด็จฯ หลายวันล่วงหน้า นอกจากนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีใน ขณะนัน้ ได้ทนู เกล้าฯ ถวายโฉนดทีด่ นิ ทีเ่ คยเป็นแปลงนา ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชทรง เกีย่ วข้าวเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โฉนด ๕๐๐๙ ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ดินรวม ๗ ไร่ ๒ งาน ๑๔ ตารางวา (ยิ่งยศ วงศ์อำ� มาตย์, ม.ป.ป., หน้า ๓๕) ด้ ว ยน�้ ำ พระทั ย ที่ เ ปี ่ ย มล้ น ใส่ ใจทุ ก ข์ สุ ข ของ ราษฎร ความสนพระทั ย ในการบริ ห ารจั ด การน�้ ำ อย่างจริงจัง ท�ำให้เราชาวไทยอยู่อย่างร่มเย็นใต้พระ บารมีตลอดมา การบริหารจัดการน�้ำหลายโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริยังได้รับการยกย่องในระดับ นานาชาติ เช่น โครงการฝนหลวง ซึ่งประเทศจอร์แดน ได้ขอพระราชทานอนุญาตน�ำเทคนิคการสร้างฝนเทียม ไปใช้แก้ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๙). การด�ำเนินงานโครงการอันเนือ่ งมาจาก พระราชด�ำริในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙, จาก http://province.rid.go.th/ayutthaya ปฤษณา ชนะวรรษ, ศุภกาณฑ์ นานรัมย์. (๒๕๕๗). “บทที่ ๒ ภูมิสถาน การคมนาคม และ เศรษฐกิจอยุธยา” ใน นครประวัตศิ าสตร์พระนครศรีอยุธยา มรดกไทย-มรดกโลก. องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: เอส-ซี-เจ เอ็มซี. มูลนิธิชัยพัฒนา. (๒๕๕๙). ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน�้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน�้ำท่วมล้น. ค้นเมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙, จาก http://www.chaipat.or.th/concept-and-theory-development/ theory-of-flooding-problems.html ยิ่งยศ วงศ์อำ� มาตย์. (ม.ป.ป.). ในหลวง ณ ทุ่งมะขามหย่อง. กรุงเทพฯ: บ้านสยาม. ศรีศักร วัลลิโภดม. (๒๕๖๐). เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการศึกษา วิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วันที่ ๗-๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐. สถาบันอยุธยาศึกษา. ศรีศักร วัลลิโภดม. อ้างถึงใน ยิ่งยศ วงศ์อำ� มาตย์. (ม.ป.ป.). ในหลวง ณ ทุ่งมะขามหย่อง. กรุงเทพฯ: บ้านสยาม. ส�ำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๙). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ. ค้น เมือ่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙, จาก http://www.ayutthaya.go.th/royalthought.htm 72 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


บทความสารคดี

ด้วยน�ำ้ พระทัยทีเ่ มตตา : สูห่ วั ใจอาณาประชาราษฎร์ทวี่ ดั เสาธงเก่า ปัทพงษ์ ชื่นบุญ นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา

ภาพที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินนี าถ เสด็จโดยเรือพระทีน่ งั่ มาตามแม่น�้ำลพบุรี เสด็จพระราชทานสิ่งของแก่ผู้ประสพอุทกภัย ณ วัดเสาธงเก่า เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

“...ลองให้ตาเขาเล่าให้ฟัง ตาเขาจ�ำแม่น ยายลืมหมดแล้วว่าใครท�ำอะไร จ�ำได้แต่ว่าได้ ขึ้นไปรอเฝ้าพระราชินีบนศาลา...” “...คราวนัน้ ท่านมาตอนเดือน ๑๑ นับอย่างเดือนไทย เดือนสิบเอ็ดน�ำ้ นอง เดือนสิบสอง น�ำ้ ทรง เดือนอ้ายเดือนยี่ น�ำ้ ก็รไี่ หลลง ตอนนัน้ นะ น�ำ้ ท่วมลูกชายคนทีส่ องอายุขวบกว่า ๆ ยังเดิน เตาะแตะ ผมก็ต้องเลี้ยงเจ้าลูกคนที่สองนี้อยู่ในเรือ ส่วนยายก็ไปบนศาลาไปเฝ้าพระราชินี...” ส่วนหนึง่ จากค�ำบอกเล่าของคุณยายส�ำลี เต็มเปีย่ ม ปัจจุบนั อายุ ๘๓ ปี และคุณตาเสนาะ เต็มเปีย่ ม ปัจจุบนั อายุ ๘๘ แม้ว่าด้วยวัยของทั้งสองท่านจะล่วงเลยเข้าสู่วัยชราแล้วก็ตาม แต่สุขภาพก็ยังแข็งแรง ความทรงจ�ำถึง เหตุการณ์เสด็จพระราชด�ำเนินของล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ในครั้งนั้น ยังคงเป็นภาพจ�ำที่ชัดเจนประหนึ่งเหมือน เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 73


บ้านของคุณยายส�าลี และคุณตาเสนาะนั้นอยู่ ใกล้กับวัดเสาธงเก่า สถานที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์ ส�าคัญทางประวัติศาสตร์ในชุมชน ซึ่งยังคงเป็นที่จดจ�า และเล่าขานบอกต่อมาถึงรุ่นลูกหลานมานานกว่า ๕๒ ปี แล้ว วัดเสาธงเก่า ตั้งอยู่ที่ต�าบลเสาธง อ�าเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ตั้งของวัดเป็นบริเวณ ที่ราบลุ่มริมแม่น�้าลพบุรี ตามประวัติของวัดเสาธงเก่า ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน แต่จากค�าบอกเล่า ของชาวบ้านกล่าวว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ ตรงกับ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั วัดเสาธง เก่าจึงได้รับการบูรณะขึ้นอีกครั้ง และได้รับพระราชทาน วิ สุ ง คามสี ม าในราวปี พ.ศ. ๒๔๑๕ โดยมี ร ายนาม เจ้าอาวาสที่พอจะล�าดับได้ ดังนี้ ๑. พระอธิการโย ๒. พระอธิการก้อน ๓. พระอธิการสอน ๔. พระอธิการหว่าง ๕. พระอธิการกลั่น ๖. พระอธิการเล็ก ๗. พระครูสิริปัญญาภิรัตน์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๒ -๒๔๙๙ ๘. พระครูกิตติสุนทร ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๙ - ๒๕๐๗ ๙. พระครูประสุตปริยัติกิจ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๔๒ ๑๐. พระครูปลัดเอกสุรชัย สุวฑฺฒโน ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๒ – ปัจจุบัน ส�าหรับโบราณสถานทีส่ า� คัญภายในวัดเสาธงเก่า ได้แก่ พระอุโบสถแบบเกงจีน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ ฌาปนสถาน และกุฏิสงฆ์ จ�านวน ๘ หลัง นอกจากนี้ ยังมีพระประธานประดิษฐาน ภายในพระอุโบสถชาวบ้านเคารพนับถือกันมาก เรียกกัน ว่า “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปขนาดประมาณ ๓ เท่าของคนจริง สังฆาฏิเป็นลายดอกพิกลุ พุทธลักษณะจัด อยู่ในศิลปะต้นกรุงสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากหลวงพ่อ ใหญ่แล้ว ยังมีพระพุทธรูปศิลาแลงศิลปะสมัยสุโขทัย ขันน�า้ มนต์ขนาดใหญ่ รวมไปถึงเจดียใ์ หญ่หน้าพระอุโบสถ ก็เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านมาอย่างยาวนาน

ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เกิ ด เหตุ อุ ท กภั ย ครั้งใหญ่ในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคกลาง รวมทั้งใน พืน้ ทีอ่ า� เภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึง่ เป็น พื้นที่คาบเกี่ยวต่อเนื่องไปถึงบริเวณทุ่งรับน�้าเดิมตั้งแต่ สมัยโบราณที่เรียกว่า “ทะเลมหาราช” ปริมาณน�้าอัน มหาศาลส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในพืน้ ที่ ซึ่งส่วนใหญ่ท�านา ปลูกข้าวเป็นหลัก ถึงแม้วา่ เหตุการณ์อทุ กภัยในครัง้ นัน้ จะค่อนข้าง รุนแรงและกินระยะเวลายาวนานเป็นเดือน แต่แล้วในวัน ทีอ่ งั คารที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ชาวบ้านในเขตอ�าเภอ บางปะหัน นครหลวง และมหาราช ต่างก็ได้รับรู้ด้วย ความปีติยินดี ถึงการเสด็จมาของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ เพื่อทรงเยี่ยมเยียน และเป็นขวัญก�าลังใจในยาม ที่ราษฎรทุกข์ยาก คุณตาเสนาะได้เล่าต่อว่า “...ท่านไปทีไ่ หนมาไม่รู้ ท่านลงเรือมาที่วัดปากคลอง ที่มหาราช แล้วมาแวะที่นี่ ทีว่ ดั เสาธงเก่า มาทัง้ พระเจ้าอยูห่ วั และพระราชินี ตรงทีว่ ดั มีสะพานเดินจากท่าน�า้ ขึน้ มาบนศาลา ก�านันคอยต้อนรับ มั ว แต่ จ ้ อ งดู พ ระเจ้ า อยู ่ หั ว กั บ พระราชิ นี ก็ ถ อยหลั ง ถอยหลังจนตกน�้า (หัวเราะ) ถ้าฉันจ�าไม่ผิดที่ท่านมานี่ สมัยพระครูนึกเป็นเจ้าอาวาส (พระครูประสุตปริยัติกิจ) ...”

ภาพที่ ๒ ศาลาท่าน�้าหลังใหม่ สร้างขึ้นตรงจุดที่เคยเป็นบริเวณ ทางเสด็จพระราชด�าเนิน ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

74 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


ภาพที่ ๓ - ๔ ศาลาท่าน�้าหลังใหม่ สร้างขึ้นตรงจุดที่เคยเป็นบริเวณทางเสด็จพระราชด�าเนิน ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

ส่วนคุณยายส�าลีก็ได้เล่าเสริมว่า “...พระราชินี สวย ผิวท่านสวย ในหลวงท่านก็หล่อ ใส่ชุดเสื้อนอก แขนยาว กางเกงขายาว ถือหมวกก�านันมัวแต่จอ้ งดูพระเจ้า แผ่นดินไม่ทันระวังตัวเอง ตกลงในน�้าเปียกปอนหมด ท่านมาแค่สององค์ ที่วัดเขาก็ถ่ายรูปไว้ เมื่อก่อนนั้นนะ มี แ ต่ ภ าพขาวด� า ยั ง ติ ด ไว้ อ ยู ่ บ นศาลา ตอนนั้ น น�้ามันท่วมหมดท�าอะไรไม่ได้ ท�างานท�าการไม่ได้ ฉัน ก็ได้ไปเฝ้าอย่างเดียว ศาลาท่าน�้าเดิมเดี๋ยวนี้เขารื้อออก ท�าใหม่ มันโย้เย้จะพัง เลยสร้างเป็นศาลาปูนหมดแล้ว...” “...ตอนนัน้ ท่านมาได้แค่ประมาณสักชัว่ โมงเดียว ละกระมัง มาแบบไม่เป็นทางการ ไม่มใี ครรูม้ าก่อนว่าท่าน จะมา ตอนนั้นมีทั้งผู้ใหญ่บ้าน ก�านัน ต�ารวจ ชาวบ้านมา รับท่านเต็มศาลาไปหมด ไม่มีเสียงตามสายนะเมื่อก่อน มาเงียบ ๆ พอใครรู้ก็รีบจ�้าเรือ พายเรือกันมาเข้าเฝ้าท่าน ่ ๕) ฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาฉันภู(ภาพที ก็กราบท่ าน แต่กไ็ ม่ได้พดู อะไรหรอกนะ กลัวพูดผิดพูด มิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ถูกซึ่งเรามั นคนบ้ านนอกคอกนาไม่ เคยเข้ ารัว้ เข้าวัง ก็ได้แต่ ตรงตามค้ าบอกเล่ าของคุณยายส้าลี และคุ ณตาเสนาะ ่ ม า : ปัอทอย่ พ าง งเดี ษ์ ยชืว...” ่ น บุ ญ . (๒ ๕ ๖ ๐ ). [ภ า พ นิ่ ง ]. นั่งทีพระนครศรี พนมมื อยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา ฉลองพระองค์ จพระปรมินทรมหาภู ลยเดชในหลวงท่ และสมเด็าจนก็หล่อ ใส่ชุดเสื้อนอก ส่ภาพที วนคุ่ณ๕ยายส้ าลีก็ได้เล่พาระบาทสมเด็ เสริมว่า “...พระราชิ นีสวย ผิมวิพท่ลอดุ านสวย พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งตรงตามค�าบอกเล่าของคุณยายส�าลี และคุณตาเสนาะ แขนยาว กางเกงขายาว ถือหมวกก้านันมัวแต่จ้องดูพระเจ้าแผ่นดินไม่ทันระวังตัวเอง ตกลงในน้​้าเปียกปอน ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา หมด ท่านมาแค่สององค์ ที่วัดเขาก็ถ่ายรูปไว้ เมื่อก่อนนั้นนะมีแต่ภาพขาวด้า ยังติดไว้อยู่บนศาลา ตอนนั้น น้​้ามันท่วมหมดท้าอะไรไม่ได้ ท้างานท้าการไม่ได้ ฉันวารสารวิ ก็ได้ไปเฝ้ าอย่างเดี ยวกศาลาท่ เดิบมทีเดี่ ๒๋ยกรกฎาคม วนี้เขารื้อ–ออกท้ า ๒๕๖๐ | 75 ชาการอยุ ธยาศึ ษา | ปีทาี่ น้๙้าฉบั ธันวาคม ใหม่ มันโย้เย้จะพัง เลยสร้างเป็นศาลาปูนหมดแล้ว...”

“...ตอนนั้นท่านมาได้แค่ประมาณสักชั่วโมงเดียวละกระมัง มาแบบไม่เป็นทางการ ไม่มีใครรู้มาก่อนว่า


(ภาพที่ ๖) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

(ภาพที่ ๖) พระบาทสมเด็ พระปรมินมทรมหาภู ิพลอดุทรงจุ ลยเดชดธูทรงจุ ปเทีชยาพระรั นบูชาพระรั ตนตรั ภาพที่ ๖ พระบาทสมเด็ จพระปรมินจทรมหาภู ิพลอดุลมยเดช ปเทีดยธูนบู ตนตรั ย ย ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

(ภาพที่ ๗) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดเสาธงเก่า

ภาพที่ ๗ พระบาทสมเด็ ลอดุล่งยเดช ทรงมีพอยุระราชปฏิ ถารกั กษุสงฆ์วัดเสาธงเก่า ที่มา : ปัจทพระปรมิ พงษ์ ชื่นนบุญทรมหาภู . (๒๕๖๐).มิพ[ภาพนิ ]. พระนครศรี ธยา : สถาบัสันนอยุ ธยาศึบกคณะพระภิ ษา ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา (ภาพที่ ๗) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดเสาธงเก่า ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

76 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


(ภาพที่ ๘) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงถวายเครื่องไทยทานแก่คณะสงฆ์ ภาพที่ ๘ พระบาทสมเด็ จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงถวายเครื่องไทยทานแก่คณะสงฆ์ ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

(ภาพที่ ๘) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงถวายเครื่องไทยทานแก่คณะสงฆ์ ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

(ภาพที่ ๙) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนที่มารอเฝ้ารับเสด็จ ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ คุณยายส้าลีได้ส่งผ่านความรู้สึกลึกๆ ในใจ จากเหตุการณ์ในอดีตถึงวันนี ว่า “...ฉั นปลื้มใจ ภูมิใจเรายังได้เกิดทันได้เห็นท่านอย่างใกล้ๆ ตอนนี้ก็ยังนึกถึงท่านเรื่อยเลย เข้าไปกราบรูป (ภาพที่ ๙) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนที่มารอเฝ้ารับเสด็จ ภาพที ่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนที่มารอเฝ้ารับเสด็จ ท่าน ดูโทรทั ศน์ก็กราบไหว้ ้าตาไหล) ให้ท่านช่[ภาพนิ วยดลบั นดาลให้อเยุรามี กปรารถนากั บท่าน อยู่ได้ก็ ที่มา : ปัท(น้ พงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). ่ง]. พระนครศรี ธยา ค: วามสุ สถาบันขอยุนึธยาศึ กษา ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา เพราะท่ในช่ านวมีงท้ความสุ ขก็เพราะท่ าน จะใช้ นแต่ลาลีะบาทก็ ารณาดูน้สะึกลึดูกทๆี่แบงค์ ่เหรียญ บางครั จะซื้อตอะไร ายของการสั มภาษณ์ คุณเงิยายส้ ได้ส่งผ่พาิจนความรู ในใจทีจากเหตุ การณ์ใ้งนอดี ถึงวันนี ว่า “...ฉันปลื้มใจ ภูมิใจเรายังได้เกิดทันได้เห็นท่านอย่างใกล้ๆ ตอนนี้ก็ยังนึกถึงท่านเรื่อยเลย เข้าไปกราบรูป ท่าน ดูโทรทัศน์ก็กราบไหว้ (น้​้าตาไหล) ให้ท่านช่วยดลบันดาลให้เรามีความสุข นึกปรารถนากับท่าน อยู่ได้ก็ เพราะท่าน มีความสุขก็เพราะท่าน จะใช้เงินแต่ละบาทก็พิจารณาดูนะ ดูที่แบงค์ ที่เหรียญ บางครั้งจะซื้ออะไร

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 77


ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ คุณยายส�าลีได้ส่งผ่านความรู้สึกลึก ๆ ในใจ จาก เหตุการณ์ในอดีตถึงวันนี้ว่า “...ฉันปลื้มใจ ภูมิใจเรายังได้เกิดทันได้เห็นท่านอย่างใกล้ ๆ ตอนนีก้ ย็ งั นึกถึงท่านเรือ่ ยเลย เข้าไปกราบรูปท่าน ดูโทรทัศน์กก็ ราบไหว้ (น�า้ ตาไหล) ให้ทา่ น ช่วยดลบันดาลให้เรามีความสุข นึกปรารถนากับท่าน อยู่ได้ก็เพราะท่าน มีความสุขก็เพราะ ท่าน จะใช้เงินแต่ละบาทก็พจิ ารณาดูนะ ดูทแี่ บงค์ ทีเ่ หรียญ บางครัง้ จะซือ้ อะไรฟุม เฟอยก็นกึ เสียดาย เก็บเงินเอาไว้ ท่านสวรรคตไปแล้วก็คิดถึงท่าน ดูโทรทัศน์เห็นคนร้องไห้ เราก็ร้องไห้ ฟุตาม ่มเฟือทียก็่วัดนึกเสาธงเก่ เสียดาย าเก็เขาตั บเงิน้งเอาไว้ วก็คิดบางที ถึงท่านกดู็ชโ่วทรทั ศน์เห็นคนร้องไห้ะพระสวด เราก็ร้องไห้ก็ตชาม่วย สวดท่ฉัานสวรรคตไปแล้ นก็ไปทุกคืนเลย ยเขาถวายปาณ ทีกั่วนัดไป เสาธงเก่ าเขาตั้งสวด ฉันก็ณ ไปทุาธิกคคืุณ นเลย บางที ่วยเขาถวายปาณะพระสวด ่วยกันอไปยู่อสนองพระมหา สนองพระมหากรุ ของท่ านก็ชสอนลู กสอนหลานให้เป็ก็นชคนดี ย่างเศรษฐกิจ กรุณาธิคุณของท่าน สอนลูกสอนหลานให้เป็นคนดีอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนที่ท่านสอนไว้...” พอเพียงเหมือนที่ท่านสอนไว้...”

(ภาพที่ ๑๐) คุณยายส้าลี เต็มเปี่ยม และคุณตาเสนาะ เต็มเปี่ยม ผู้ให้ข้อมูล

ภาพที่ ๑๐ คุณยายส�ที่มาาลี: ปัทเต็พงษ์ มเปีชื่ย่นบุมญ.และคุ ณ[ภาพนิ ตาเสนาะ เต็มเปี ้ให้ขนอยุ ้อมูธยาศึ ล กษา (๒๕๖๐). ่ง]. พระนครศรี อยุธ่ยยาม : ผูสถาบั ที่มา : ปัทพงษ์ ชื่นบุญ. (๒๕๖๐). [ภาพนิ่ง]. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันอยุธยาศึกษา

สัมภำษณ์ นางส้าลี เต็มเปี่ยม อายุ ๘๓ ปี นายเสนาะ เต็มเปี่ยม อายุ ๘๘ ปี สั่อมวัภาษณ์ เมื นที่ ๒๖ กรกรฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

นางส�าลี เต็มเปี่ยม อายุ ๘๓ ปี นายเสนาะ เต็มเปี่ยม อายุ ๘๘ ปี เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

78 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


บทความสารคดี

ภาพร�ำฤกวันวารเมืองอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชด�ำเนิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (๒) อายุวัฒน์ ค้าผล สาธิยา รื่นชล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชทรงมีพระราชปรารภให้สร้างขึน้ มูลเหตุแห่งการสร้างเนือ่ งมาจากในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีผู้ร้ายกลุ่มหนึ่งลักลอบขุดกรุพระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะและได้เครื่องทองไปเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งท้ายที่สุด ต�ำรวจสามารถจับกุมผู้ร้ายกลุ่มนั้นไว้ได้ ขณะที่ทางกรมศิลปากรเองได้เข้าขุดค้นกรุพระปรางค์ต่อจากคนร้ายและ ได้พบเครื่องทองอีกจ�ำนวนหนึ่ง ข่าวการพบเครือ่ งทองซึง่ ประมาณว่ามีนำ�้ หนักมากกว่า ๑๐๐ กิโลกรัมนีไ้ ด้แพร่กระจายไปทัว่ ประเทศ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ จึง ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาทอดพระเนตรเครื่องทองดังกล่าว ณ กองก�ำกับต�ำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ โดยในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีพระราช ด�ำรัสเกี่ยวกับการบูรณะและการเก็บรักษาโบราณวัตถุเป็นความส�ำคัญหลายประการที่ส�ำคัญยิ่งคือ “ควรเก็บรักษาทรัพย์เหล่านี้ไว้ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นที่ที่ค้นพบไม่ควรน�ำไปไว้ ทีจ่ งั หวัดอืน่ เพราะจะได้ตรงกับเจตนารมณ์ของผูส้ ร้างและประชาชนชาวอยุธยาจะได้รสู้ กึ ว่าเขาเป็น เจ้าของทรัพย์เหล่านั้นด้วย” และทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอธิบดีกรมศิลปากร ว่า “โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรน�ำไปเก็บรักษาและตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่” หลังจากนั้นอีก ๑ ปีต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๐๑ ขณะที่กรมศิลปากรท�ำอุโมงค์บันไดส�ำหรับให้ ประชาชนลงไปชมภาพเขียนในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะก็ได้พบกรุบริวารเพิ่มเติม ภายในบรรจุพระพิมพ์อีกนับ แสนองค์ จึงได้น�ำพระพิมพ์ออกให้ประชาชนเช่าบริจาคและน�ำเงินที่ได้มาจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ตามพระนามของสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสถาปนาวัดราชบูรณะ

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 79


ภาพที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จทอดพระเนตรโบราณวัตถุทยี่ ดึ เป็นของกลางจากการลักลอบขุดกรุพระปรางค์วดั ราชบูรณะ ณ กองก�ำกับ ต�ำรวจภูธรพระนครศรีอยุธยา

ภาพที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชด�ำรัสเปิดพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ เจ้าสามพระยา

80 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนิน มาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท ดังนี้ “โบราณวั ต ถุ ศิ ล ปวั ต ถุ แ ละโบราณสถาน ทั้ ง หลายนั้ น ล้ ว นเป็ น ของมี คุ ณ ค่ า และจ� ำ เป็ น ต่ อ การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และ โบราณคดี เป็นสิ่งแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ไทยที่มีมาแต่อดีตกาล สมควรจะสงวนรักษาไว้ให้คงทน ถาวรเป็นสมบัตสิ ว่ นรวมของชาติไว้ตลอดกาล โดยเฉพาะ โบราณวัตถุและศิลปวัตถุควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถาน เก็บรักษาและตั้งแสดงให้นักศึกษาและประชาชนได้ชม และศึกษาหาความรู้ให้มาก และทั่วถึงยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ ในขณะนี้” ในการเสด็จครั้งนี้ ทางจังหวัดได้จัดพระสุธารส ถวาย ณ พระที่นั่งเย็นในบึงพระราม พระองค์ทอด พระเนตรเห็ น พระที่ นั่ ง เย็ น ถู ก สร้ า งใหม่ เ ป็ น อาคาร ทั น สมั ย ทั บ ลงบนซากโบราณสถานจึ ง ทรงมี พ ระราช ด�ำรัสว่า “การก่อสร้างอาคารสมัยใหม่นี้ คงจะเป็นเกียรติ ส�ำหรับผู้สร้างคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็น เกียรติของชาติ อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกัน รักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย”

ภาพที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๒๙ สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรการจัดแสดงใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

ภาพที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ ทอดพระเนตร เรื่องทอง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

นั บ จากวั น นั้ น พระบรมวงศานุ ว งศ์ ห ลาย พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ เจ้าสามพระยา อย่างเป็นระยะ ได้แก่

ภาพที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ในรัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทรเทพยวรางกู ร (ขณะนั้ น ด� ำ รงพระ อิศริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชด�ำเนินทอดพระเนตรโบราณวัตถุชุดเครื่องทอง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 81


นอกเหนือจากการเสด็จเยือนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาแล้ว ยังมี ประมวลภาพถ่ายการเสด็จพระราชด�ำเนินของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ณ สถานที่ต่าง ๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทางสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้นำ� มาจัดแสดงในนิทรรศการ “พระบารมีปกเกล้า ชาวอยุธยา” ณ หอศิลป์จงั หวัดพระนครศรีอยุธยา (ชัน้ ๒ อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เอกสารอ้างอิง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๕). ตามรอยพระบาท เสด็จฯ อยุธยา. กรุงเทพฯ: ครีเอทมายด์. ส�ำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา. (๒๕๖๐). อาคารแสดงเครือ่ งทอง พิพธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยา. กรุงเทพฯ: บางกอกอินเฮ้าส์.

82 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


พระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเจ้าเจ็ดในและวัดเจ้าเจ็ดนอก

นักวิชาการศึกษา สถาบ

บทความสารคดี

จดหมายเหตุพระนครศรีอยุธยา: สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล จดหมายเหตุ อยุธยา: เสด็ สมเด็จพระปรมิ นทรมหาภู ลอดุพระราชกุ ลยเดช เสด็จมาบาเพ็ศ ญ ลถวายผ้าพระกฐิน อดุพระนครศรี ลยเดช จมาบ� ำเพ็มิพญ พระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเจ้าเจ็ดในและวัดเจ้าเจ็ดนอก ณ วัดเจ้าเจ็ดในและวัดเจ้าเจ็ดนอก พัฑร์ แตงพันธ์ พัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษานักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา

ภาพที่ ๑-๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพ ิ ภาพที ลอดุล่ ๑-๒ ยเดชพระบาทสมเด็ เสด็จถึงท่าน�จพระปรมิ ำ้ เพือ่ บ�ำนเพ็ทรมหาภู ญพระราชกุ ศลถวายผ้ าพระกฐิ มิพลอดุ ลยเดช เสด็ จถึงท่านน้า เพื่อบ้าเพ็ญพระรา

ที่มา : อนงค์ สุมงฺคโล พระปลัด, ๒๕๕๔.

ที่มา: อนงค์ สุมงฺคโล พระปลัด, ๒๕๕๔.

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึง่ ทีพ่ ระบาทสมเด็ จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช และพระบรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัด หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล วงศานุวงศ์ เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนบ่อยครั้ง จากข้อมูลที่สถาบันอยุธยาศึกษาได้รวบรวมเพื่อจัดท�ำนิทรรศการ พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชด้าเนินเยือนบ่อยครัง จากข้อมูลที่สถาบันอยุธยาศึกษาได้รวบ “รวมพลังใจ ถวายความภักดี พระบารมีปกเกล้า ชาวอยุธยา” นั้น พบว่าพระองค์เสด็จพระราชด�ำเนินจังหวัด นิทรรศการ “รวมพลังใจ ถวายความภักดี พระบารมีปกเกล้า ชาวอยุธยา” นัน พบว่าพระอง พระนครศรีอยุธยาเป็นการส่วนพระองค์หลายครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรที่ประสบภัย เสด็จมา บ�ำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จมาประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละครั้ง ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และชาว จังหวัดใกล้เคียง ก็จะไปคอยเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น การเสด็จมาบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ วัดเจ้าเจ็ดใน และ วัดเจ้าเจ็ดนอก เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชิ สมเด็จจพระปรมิ พระเจ้นาทรมหาภู อยู่หัวมมหาวชิ ร าขณะทรงด� พระบาทสมเด็ ิพลอดุลยเดชราลงกรณ เสด็จถึงท่าน้าบดิ เพื่อนบ้าทรเทพยวรางกู เพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ พระกฐิน ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จ ภาพที่ น๑-๒ีนาถ พระบรมโอรสาธิ ราชฯด, ๒๕๕๔. สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่มา: อนงค์ สุมงฺคโล พระปลั จึงเป็นประวัติศาสตร์ ความทรงจ�ำครั้งส�ำคัญของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะผู้คนในท้องถิ่นแห่งคลอง เจ้าเจ็ดจังอ�หวัำดเภอเสนา พระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชด้าเนินเยือนบ่อยครัง จากข้อมูลที่สถาบันอยุธยาศึกษาได้รวบรวมเพื่อจัดท้า นิทรรศการ “รวมพลังใจ ถวายความภักดี พระบารมีปกเกล้วารสารวิ า ชาวอยุธชยา” นัน พบว่าพระองค์เสด็จพระราช าการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 83


พระครู เ สนาคณานุ รั ก ษ์ เจ้ า อาวาสวั ด เจ้ า เจ็ ด ใน ได้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล ถึ ง การบ� ำ เพ็ ญ พระราชกุ ศ ล ในครั้ ง นั้ น ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พระราชปรารภว่ า จะเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ถวายผ้ า พระกฐิน ณ วัดที่ตั้งอยู่ริมล�ำคลองที่ผ่านไปทางจังหวัด สุพรรณบุรี นายฟุ้ง ศรีวิจารณ์ อธิบดีกรมการศาสนาใน ขณะนัน้ จึงได้รวบรวมรายชือ่ วัดต่าง ๆ ทีต่ งั้ อยูใ่ นเส้นทาง ดังกล่าว อาทิ วัดบางนมโค วัดบ้านแพน วัดกระโดง ทอง รวมถึงวัดเจ้าเจ็ดใน และวัดเจ้าเจ็ดนอก กล่าวกัน ว่า พระองค์ทรงเลือกวัดเจ้าเจ็ดใน และวัดเจ้าเจ็ดนอก เนื่องจากมีคำ� ว่า “เจ้า” เป็นชื่อวัด เมื่ อ ถึ ง วั น เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ซึ่ ง เป็ น ช่ ว ง หน้าน�้ำ จึงมีน�้ำท่วมสูง ทางราชการจึงมีหมายเสด็จ พระราชด�ำเนินมาทางชลมารค (ทางเรือ) ทางจังหวัด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา จึ ง ได้ จั ด สรรงบประมาณให้ ท าง วัดมาสร้างพลับพลาที่ประทับริมคลองเจ้าเจ็ด บริเวณ หน้าวัดเจ้าเจ็ดในและวัดเจ้าเจ็ดนอกซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน ชาวบ้านได้ขนานนามพลับพลาหลังนี้ว่า “พลับพลา ใจสมาน” อันหมายถึงความสมัครสมานสามัคคีของ ชาวชุมชนเจ้าเจ็ด ที่ร่วมแรงร่วมใจ สร้างไว้รับเสด็จ พระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์

ชาวบ้านริมคลองเจ้าเจ็ด และละแวกใกล้เคียง ต่างลอยเรือมารับเสด็จฯ เป็นจ�ำนวนมาก เมื่อถึงเวลา ประมาณ ๑๐ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินทางชลมารค มาตามล� ำ คลองเจ้ า เจ็ ด ถึ ง ท่ า น�้ ำ วั ด เจ้ า เจ็ ด ใน และ เสด็จไปบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินภายใน พระอุโบสถ จากนั้นเสด็จมาประทับที่พลับพลา เพื่อ เสวยพระกระยาหาร ซึ่งทางวัดได้จัดให้มีอาหารพื้นบ้าน ลอยเรือล้อมพลับพลา นอกจากนีย้ งั มีจดั การแสดงหน้าที่ ประทับ ได้แก่ การเล่นเพลงเรือ การแต่งเรือพาย อีกด้วย ภายหลังจากการเสด็จมาบ�ำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้ า พระกฐิ น ในครั้ ง นั้ น ทางวั ด และชาวเจ้ า เจ็ ด ได้ถือเอาวันขึ้น ๙ ค�่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันคล้ายวัน เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น มาถวายผ้ า พระกฐิ น เป็ น วั น จัดงานเฉลิมฉลองประจ�ำปีของวัด โดยได้จัดงานแห่ พระพุทธเกสร ซึง่ เป็นพระพุทธรูปภายในวัดเจ้าเจ็ดใน ไป ตามล�ำคลองเจ้าเจ็ด สูว่ ดั กระโดงทอง โดยชาวบ้านจะร่วม กันตกแต่งเรืออย่างสวยงาม และเมือ่ กลับจากวัดกระโดง ทองแล้ว ก็มีการถวายพระพรพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พลับพลาใจสมานเพือ่ เป็นพุทธบูชา และเป็นราชานุสรณ์ จนกลายเป็นประเพณีของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จมาประทับในพลับพลาใจสมาน

ภาพที ่ ๓ พระบาทสมเด็ ที่มา : อนงค์ สุมงฺคโล พระปลัจด,พระปรมิ ๒๕๕๔. นทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จมาประทับในพลับพลาใจสมาน | วารสารวิ ธยาศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ ที่ม84 า: อนงค์ สุมงฺชคาการอยุ โล พระปลั ด, |๒๕๕๔.

ชาวบ้านริมคลองเจ้าเจ็ด และละแวกใกล้เคียง ต่างลอยเรือมารับเสด็จฯ เป็นจ้านวนมาก เมื่อถึงเวลา


ภาพที่ ๔ พลับพลาใจสมาน ที่วัดและชุมชนเจ้าเจ็ด ร่วมกันธ�ำรงรักษาไว้เป็นพระราชานุสรณ์ ที่มา : ผู้เขียน, ๒๕๖๐.

อ้างอิง สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๔๒). พระบารมีปกเกล้าฯ ชาวอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: ส�ำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. อนงค์ สุมงฺคโล, พระปลัด. (๒๕๕๔). วัดเจ้าเจ็ดใน. รายงาน เป็นส่วนหนึง่ ของวิชาการ วางแผนและควบคุมงานบริหาร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 85



การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา Journal of Ayutthaya Studies (JAS) ISSN 2229-1644 เป็นวารสารวิชาการ ของสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการ และงานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอยุธยา โดยเผยแพร่บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์ ต้นฉบับหรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสาร โบราณ (Transformation of Ancient Manuscripts) วิจารณ์หนังสือ (Book Review) ในสาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ วารสารมีก�ำหนดออกปีละ ๒ ฉบับ คือ มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม บทความที่จะได้รับ การตีพิมพ์ ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็น ขั้นแรก แล้วจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขานั้น ๆ ร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย ๒ ท่าน ตามเกณฑ์ ทีก่ ำ� หนดในลักษณะ Double-blind peer review คือ ผูพ้ จิ ารณาไม่ทราบ ชือ่ ผูแ้ ต่ง และผูแ้ ต่งไม่ทราบชือ่ ผูพ้ จิ ารณา โดยเผยแพร่ออนไลน์ในรูปวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการเผยแพร่ในรูปเล่ม ส�ำหรับจัดส่งให้ห้องสมุดและ หน่วยงานทางวิชาการต่าง ๆ หลักเกณฑ์ในการรับพิจารณาบทความ ๑. บทความทีจ่ ะได้รบั พิจารณาตีพมิ พ์ ได้แก่ บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์ตน้ ฉบับหรือบทความ งานวิจยั (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformation of Ancient Manuscripts) วิจารณ์หนังสือ (Book Review) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีประเด็น เนื้อหาเกี่ยวข้องทางด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอยุธยา ๒. บทความทางวิชาการ หรือบทความงานวิจัยนั้น ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ หรือก�ำลังเสนอตีพิมพ์ใน วารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน ๓. บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๔. บทความได้รับการจัดพิมพ์ ตามข้อก�ำหนด การจัดเตรียมต้นฉบับ ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา การจัดเตรียมต้นฉบับ ๑. พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวทั้งเรื่อง รวมภาพประกอบ ตาราง และเอกสาร อ้างอิง ไม่เกิน ๑๕ หน้ากระดาษ เอ ๔ ๒. เว้นระยะขอบด้านบน และด้านซ้าย ด้านละ ๑.๒๕ นิ้ว และเว้นขอบด้านล่างและด้านขวา ด้านละ ๑.๐ นิ้ว ใส่หมายเลขหน้าก�ำกับที่มุมบนขวามือทุกหน้า ๓. ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK และใช้เลขไทยตลอดทัง้ บทความ (ยกเว้นตัวเลขอารบิคในส่วนบทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ ข้อความ หรือชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษ) ๔. ชื่อเรื่อง จัดกึ่งกลาง ขนาดอักษร ๒๐ พอยต์ ตัวหนา มีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๕. บรรทัดถัดจากชือ่ เรือ่ ง เป็นชือ่ ผูเ้ ขียนทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จัดชิดขอบขวา ขนาดตัวอักษร ๑๖ พอยต์ และบรรทัดถัดจากชื่อผู้เขียน ตามด้วยต�ำแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงานที่สังกัด วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 87


๖. หัวข้อใหญ่ จัดชิดขอบด้านซ้าย อักษรขนาด ๑๘ พอยต์ ตัวหนา ส�ำหรับหัวข้อรอง ให้จัดย่อหน้าปกติ อักษรขนาด ๑๖ พอยต์ ตัวหนา และตัวอักษรปกติขนาด ๑๖ พอยต์ ๗. บทคัดย่อ หรือ Abstract ต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และต้องก�ำหนดค�ำส�ำคัญ (Keyword) ไม่เกิน ๕ ค�ำ ๘. ถ้ามีภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง ให้ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง และต้องมีชื่อ พร้อมแหล่งที่มาของ ภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง ๙. พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนือ้ หา (แบบนาม-ปี) และบรรณานุกรมท้ายบทความ ตาม ตัวอย่างการพิมพ์อา้ งอิง และบรรณานุกรม ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา และจัดเรียงตามล�ำดับอักษร ถ้ามีบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ ให้ พิมพ์ต่อท้ายบรรณานุกรมภาษาไทย

การส่งต้นฉบับบทความ

๑. ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความตามข้อก�ำหนดการจัดเตรียมต้นฉบับ จ�ำนวน ๑ ฉบับ พร้อมแนบไฟล์ภาพ ประกอบทีม่ คี วามละเอียดสูง พร้อมกับ “แบบเสนอขอส่งบทความเพือ่ ลงตีพมิ พ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา” มา ทางอีเมล ayutthayanuruk@outlook.com ๒. เจ้าของบทความทีไ่ ด้รบั เลือกให้ตพี มิ พ์ จะได้รบั วารสารจ�ำนวน ๒ เล่ม พร้อมเกียรติบตั รจากบรรณาธิการ บริหาร ๓. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิใ์ นการน�ำบทความทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์และหนังสือของ สถาบันอยุธยาศึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา ฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๘ ๑๓๔๓ ๕๐๗๐, ๐๘ ๔๐๒๓ ๕๐๕๓ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐๓๕ ๒๔๑ ๔๐๗

ตัวอย่างการพิมพ์อ้างอิง และบรรณานุกรม หมายเหตุ / หมายถึง ระยะเว้นวรรค ๑ ครั้ง // หมายถึง ระยะเว้นวรรค ๒ ครั้ง

การพิมพ์อ้างอิง พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี)  การพิมพ์อ้างอิงจาก หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงานการวิจัย / วิทยานิพนธ์ และสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะ เป็นการรวมบทความ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/หน้า) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, หน้า ๑๕) การพิมพ์อ้างอิงจากการการสัมภาษณ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์,/ปี,/วัน/เดือน) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, ๒๓ พฤษภาคม) 

การพิมพ์อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น,/เว็บไซต์) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, www.asi.aru.ac.th) 

88 | วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐


การพิมพ์อ้างอิงจากภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์ (ชื่อเรื่อง,/ปีที่ผลิต,/[ชนิดของวัสดุ]) (ตลาดหัวรอ, ๒๕๕๘, [ภาพนิ่ง]) 

การพิมพ์บรรณานุกรม หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง.// (ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.// (ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/สำ�นักพิมพ์. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๗). พระนครศรีอยุธยาในความทรงจำ�ของข้าพเจ้า. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา. 

สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นการรวมบทความ

ผู้เขียนบทความ.// (ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.// (หน้า).//เมืองที่พิมพ์:/สำ�นักพิมพ์. ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์. (๒๕๔๗). อาการกบต้ม (สุก). ใน มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และชับปนะ ปิ่นเงิน (บก.). นพีสีเชียงใหม่. (หน้า ๙๐ – ๙๑). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 

วารสาร

ผู้แต่ง.// (ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,//ปีที่ (ฉบับที่),//หน้าที่อ้าง. ประมูล สัจจิเศษ. (๒๕๔๑). ปัญหาและแนวทางแก้ไขเศรษฐกิจไทย. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, ๑๙ (๒), ๓๔ – ๓๙. 

หนังสือพิมพ์

ผู้เขียน.// (ปีพิมพ์,//วัน/เดือน).//ชื่อข่าว,//ชื่อหนังสือพิมพ์,//หน้า. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๙, ๒๕ เมษายน). หวั่นถอดถอนมรดกโลกอยุธยา, สยามโพลล์, หน้า ๓๔.

รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์

รายงานการวิจัย ชื่อผู้วิจัย.// (ปีพิมพ์).//ชื่อวิจัย.// (รายงานผลการวิจัย).//เมืองที่พิมพ์:/สถาบัน. ฉันทนา บรรณ และศิริโชติ หวันแก้ว. (๒๕๓๕). การศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส: เด็ก ทำ�งาน. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ผู้แต่ง.// (ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์ตามด้วยชื่อปริญญา/สาขาวิชา,//สถาบัน. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๗). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

การสัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์.// (ปี,//วัน/เดือน).//ตำ�แหน่งผู้ให้สัมภาษณ์.//หน่วยงานของผู้ให้สัมภาษณ์.//สัมภาษณ์. บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์. (๒๕๕๒, ๘ มิถุนายน). อธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

แหล่งข้อมูลออนไลน์

ชื่อผู้แต่ง.// (ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น).//ชื่อเรื่อง.//ค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี,//จาก/URL รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๐). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ. ค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๕๗, จาก www. asi.aru.ac.th

ภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์

ชื่อเรื่อง.// (ปีที่ผลิต).//[ชนิดของวัสดุ].//สถานที่ผลิต:/ผู้ผลิต ตลาดหัวรอ. (๒๕๕๐). [แผนที่]. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา | ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๖๐ | 89



แบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ข้าพเจ้า นาย นาง นางสาว (ไทย) ....................................................................................................................... อื่น ๆ ............................ (อังกฤษ) .................................................................................................................. ตำ�แหน่งทางวิชาการ ..................................................... วุฒิการศึกษาสูงสุด .................................................................... ตำ�แหน่งงาน ................................................................ หน่วยงานที่สังกัด ....................................................................... บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์ หรือบทความงานวิจัย (Research Article) ขอส่ง บทความปริทัศน์ (Review Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ บทความแปล (Translated Article) (Transformed Ancient Manuscripts) ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม สาขา ศิลปกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม อื่น ๆ (ระบุ) ............................................................................................................................................... ชื่อเรื่อง (ไทย) .............................................................................................................................................................. .......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... (อังกฤษ) ......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................ โดยมีผู้แต่งร่วม (ถ้ามี) ๑. ชื่อ .................................................................. ตำ�แหน่งทางวิชาการ ....................................... ๒. ชื่อ .................................................................. ตำ�แหน่งทางวิชาการ ....................................... สถานที่ติดต่อ ................................................................................................................................................................... เลขที่ ................. หมู่ที่ ................. ตำ�บล /ซอย ......................... ถนน ................................................... อำ�เภอ/แขวง ....................................... จังหวัด ................................. รหัสไปรษณีย์ ............................... โทรศัพท์ ............................................................... โทรสาร ...................................................................... E-mail ................................................................. Facebook ................................................................. วัตถุประสงค์ของการตีพิมพ์ เพื่อสำ�เร็จการศึกษาภาคเรียนที่ ....... ปีการศึกษา ............... ภายในวันที่ ..................... ใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนตำ�แหน่งทางวิชาการ/วิชาชีพ อื่น ๆ ระบุ ....................................................................................................................... ข้าพเจ้าของรับรองว่าบทความนี้ เป็นผลงานของข้าพเจ้า และผู้ร่วมงานตามชื่อที่ระบุในบทความ (ถ้ามี) และเป็นบทความที่ไม่ได้กำ�ลังมีการนำ�เสนอ หรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ลงชื่อ .......................................................................................... ( .................................................................................... ) วันที่ ............................................................................................




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.