Jas 8 2 2559

Page 1



วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๙ ISSN 2229-1644

วัตถุประสงค์ :

ที่ปรึกษา :

ขอบเขตเนื้อหา : เงื่อนไขการตีพิมพ์ :

กาหนดเผยแพร่ : เจ้าของ :

ศิลปกรรม : จานวน :

เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยทางด้านอยุธยาศึกษา โดยพิมพ์เผยแพร่บทความ ทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์หรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformed Ancient Manuscripts) บทความปริทัศน์ (Review Article) ที่มีประเด็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม บทความวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และบทความสารคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บทความทีจ่ ะได้รับการตีพิมพ์ ต้องจัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็นขั้นแรก แล้วจัดให้มผี ู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขานั้นๆ ร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย ๒ ท่าน โดยเป็นการประเมินแบบ Double-blind peer review คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผูแ้ ต่ง และผูแ้ ต่งไม่ทราบชือ่ ผู้พิจารณา โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ เป็นรูปเล่ม สาหรับจัดส่งให้ห้องสมุดและหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ออนไลน์ในรูป วารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ วารสารตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ ๒ ฉบับ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๙๖ ถนนปรีดีพนมยงค์ ตาบลประตูชัย อาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐-๓๕๒๔-๑๔๐๗ เว็บไซต์สถาบันอยุธยาศึกษา: asi.aru.ac.th เว็บไซต์วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา: jas.aru.ac.th/ ปกหน้า: เจดีย์วัดสามปลื้ม ปกหลัง: สะพานปรีดี-ธารง โดย อัญชลี บ้าสันเทียะ รูปเล่ม: พัฑร์ แตงพันธ์ ๕๐๐ เล่ม

เนื้อหาและทัศนคติในบทความเป็นของผู้เขียนเท่านั้น บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย ผู้ที่ประสงค์จะนาข้อความจากบทความ หรือบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการและผู้เขียน วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑


คณะกรรมการกองบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา บรรณาธิการบริหาร : บรรณาธิการ : ผู้ช่วยบรรณาธิการ : กองบรรณาธิการ :

เลขานุการกองบรรณาธิการ : คณะทางาน :

อาจารย์ ดร.จงกล เฮงสุวรรณ อาจารย์ชนิกานต์ ผลเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิรา ปูชตรีรัตน์ อาจารย์กันยารัตน์ คงพร ศาสตราจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูสิทธิ์ ประดับเพ็ชร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนู บุญญานุวัตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาวิตรี พิสณุพงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ ร.ท.ธนู ทดแทนคุณ อาจารย์ ดร.รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร อาจารย์ ดร.ปฤษณา ชนะวรรษ อาจารย์ ดร.บุญสมหญิง พลเมืองดี อาจารย์ ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ อาจารย์ศุภกาณฑ์ นานรัมย์ อาจารย์นพดล ปรางค์ทอง อาจารย์อัมรา หันตรา นางศาริสา จินดาวงษ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ชมรมเรารักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

นายพัฑร์ แตงพันธ์ ฝ่ายบริหารงานทัว่ ไป ว่าที่ร้อยตรีหญิง รัตติยา พาวินัย นางสาวธัญวลัย แก้วแหวน นางสาวสายรุ้ง กล่าเพชร นางสาวศรีสุวรรณ ช่วยโสภา นางประภาพร แตงพันธ์ นางยุพดี ป้อมทอง

๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙

ฝ่ายวิชาการและส่งเสริมวิชาการ นางสาวสาธิยา ลายพิกุน นายปัทพงษ์ ชื่นบุญ นายอายุวัฒน์ ค้าผล นางสาวอรอุมา โพธิ์จิ๋ว


ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทความวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีท่ี ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๙ ๑. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ๒. รองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคา ๓. รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ๔. รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วศิน ปัญญาวุธตระกูล ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ ๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม ๙. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดาบเพชร ๑๐. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพร ภู่พงศ์พันธุ์ ๑๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัชราภรณ์ อาจหาญ ๑๒. อาจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ๑๓. อาจารย์ ดร.ชาติชาย มุกสง ๑๔. อาจารย์ณชัชชญา ทองจันทร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๓


สารบัญ บทความวิชาการ แนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม กรณีนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร ธาตรี มหันตรัตน์ / นรินทร์ อุ่นแก้ว

วิเคราะห์รูปแบบบานประตูไม้จาหลักรูปทวารบาลศิลปกรรมอยุธยา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย วรวิทย์ สินธุระหัส

๒๗

ลักษณะเด่นของพระอินทร์ในไตรภูมิสมัยอยุธยา ฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ภัครพล แสงเงิน

๔๒

โรคระบาดกับสภาพสังคมวัฒนธรรมลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาสมัยอยุธยาตอนต้น กาพล จาปาพันธ์

๕๐

บทบาทพระสงฆ์กับการเมืองกรุงศรีอยุธยา สหภัส อินทรีย์

๖๒

ชานวัฒนธรรมสถาบันอยุธยาศึกษา เจดีย์กับนักเลงแห่งถนนโรจนะ พัฑร์ แตงพันธ์

๗๔

เพลงกล่อมเด็ก ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องอยู่รอดในยุค 4G ชนิกานต์ ผลเจริญ

๘๐

ประเพณีการกวนขนมอาซูรอ ขนมแห่งความสามัคคีของชาวมุสลิม สาธิยา ลายพิกุน

๘๖

ว่าด้วยเรือ่ งของ “กระทือ” สมุนไพรพื้นบ้าน ดอกสวยงาม แต่นามไม่ไพเราะ อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

๘๙

เล่าเรือ่ งบ้านดงตาลผ่านเลนส์แก้ว อายุวัฒน์ ค้าผล

๙๓

พระพิรุณรังสี: วรรณกรรมค้นพบฉบับใหม่แห่งลุ่มน้าเจ้าพระยา ปัทพงษ์ ชื่นบุญ

๙๖

๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


บทบรรณาธิการ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา เป็นวารสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมอยุธยา ที่ มุ่งหวังให้สามารถเข้าถึง ผู้อ่านหลากหลายกลุ่ม ทั้งนักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งในฉบับนี้ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ บทความวิชาการ และบทความสารคดี-ปกิณกะ ดังนี้ บทความวิ ช าการ ประกอบด้ วย บทความเรื่ อ ง แนวทางการอนุรัก ษ์แ ละคุ้ ม ครองแหล่ ง มรดกโลกทาง วัฒนธรรม กรณีนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร, วิเคราะห์รูปแบบบานประตูไ ม้จาหลั ก รู ป ทวารบาลศิลปกรรมอยุธยา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย , ลักษณะเด่นของพระอินทร์ในไตรภูมิ สมัยอยุธยา ฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส , โรคระบาดกับสภาพสัง คมวัฒนธรรมลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาสมัยอยุธยา ตอนต้น และบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองกรุงศรีอยุธยา บทความสารคดี -ปกิณ กะ ในคอลัมน์ชานวัฒนธรรมสถาบัน อยุธยาศึกษา ประกอบด้วย บทความเรื่ อ ง เจดีย์กับนักเลงแห่งถนนโรจนะ, เพลงกล่อมเด็ก : ภูมิปัญ ญาท้องถิ่นที่ต้องอยู่รอดในยุค 4G, ประเพณีการกวนขนม อาซูรอ ขนมแห่งความสามัคคีของชาวมุสลิม , ว่าด้วยเรื่องของ “กระทือ” สมุนไพรพื้นบ้าน ดอกสวยงาม แต่นามไม่ ไพเราะ และพระพิรุณรังสี: วรรณกรรมค้นพบฉบับใหม่แห่งลุ่มน้าเจ้าพระยา ในนามของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ขอขอบคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่อนุเคราะห์กลั่นกรองบทความ ให้คาแนะนาแก่เจ้าของบทความ ในการปรับปรุงทาให้บทความมีความสมบูรณ์ และขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ได้ ติดตามวารสารมาโดยตลอด หากมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะประการใด กรุณาแจ้งมายังกองบรรณาธิการที่พร้อมน้อม รับด้วยความยินดียิ่ง

บรรณาธิการ วารสารอยุธยาศึกษา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๕


๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


บทความวิชาการ

แนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม

กรณีนครประวัตศิ าสตร์พระนครศรีอยุธยา และเมืองบริวาร A Guideline to Preserve and Protect a Cultural World Heritage Site: A Case of the Historic City of Ayutthaya and Associated Historic Towns ธาตรี มหันตรัตน์ / Thatri Mahantarat นรินทร์ อุ่นแก้ว / Narin Unkaew สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ ปั จ จุ บั น ประชาคมโลกได้ ย อมรั บ ความส าคั ญ ของเมื อ งอยุ ธ ยาโดยประกาศให้ “นครประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร” เป็นแหล่ง มรดกโลก ตั้ง แต่ปี ๒๕๓๔ หลายคนตั้ง คาถามว่า “การเป็นแหล่ง มรดกโลก” แล้วเราได้ประโยชน์จากการเป็นแหล่งมรดกโลกอย่างไร และจาเป็นหรือไม่ที่เราต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ อนุสัญ ญาระหว่างประเทศหรือกฎบัตรสากล เป็นคาถามที่สะท้อนให้หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องต้องกลับมาทบทวน บทบาทภารกิจ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความหวงแหนแหล่งมรดกโลกอยุธยา จากกระแสข่าว เมื่อปลายปี ๒๕๕๐ ปรากฏหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ตีพิมพ์มีเนื้อความในทานองเดียวกันว่าอยุธยาอาจจะถูกพิจารณา ถอดถอนจากการเป็ น มรดกโลก สร้ า งความตื่ น ตระหนกแก่ ส าธารณชนจนส่ ง ผลให้ ผู้ มี ห น้ า ที่ เ กี่ ย วข้ อ งขณะนั้ น ต่างออกมายืนยันว่าอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธ ยายังไม่ถูกถอดถอนการเป็นมรดกโลกแต่อย่างใด แม้หลาย ฝ่ายจะแสดงความเป็นห่วงเรื่องการพัฒนาเมืองที่รุกเข้าไปยังเกาะอยุธยาเมืองเก่าแห่งนี้ก็ตาม เมื่อทีมงานจากยูเนสโก สานักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (กรุงเทพฯ) ได้ออกสารวจพื้นที่ ๑,๘๑๐ ไร่ ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ก็พบว่าสถานการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วง โบราณสถานบางแห่งเต็มไปด้วยร้านค้าจนส่งผลต่อทัศนียภาพ บริเวณลานหน้า ศาลากลางจังหวัดหลังเก่าที่ยูเนสโกนาป้ายมรดกโลกมาติดไว้ก็อยู่ในตาแหน่งไม่เหมาะสม นอกจากนั้นพื้นที่ดังกล่าว ยัง เป็นที่ตั้ง ตลาดนัด ขายของทุ กสั ป ดาห์ จนบดบัง สัญ ลัก ษณ์ยู เนสโกกลืน หายไป แน่นอนการถูกถอดถอนสถานะ การเป็นมรดกโลกจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในระดับนานาชาติ และยังส่งผลไปถึงจานวนนักท่องเที่ยว ที่ จ ะลดลงในอนาคตและส่ ง ผลเชื่ อ มโยงถึ ง รายได้ แ ละเศรษฐกิ จ ของชุ ม ชนด้ ว ย ปั ญ หาอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยาจึงเป็นเรื่องของคนทั้งชาติ จึงจาเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างเป็นองค์รวม แล้วสร้างระบบการ บริหารจัดการที่ยั่งยืนต่อไป วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๗


บทความวิ ช าการนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ น าเสนอแนวคิ ด และหลั ก การในการบริ ห ารจั ด การ มรดกโลกนครประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา และเมื อ งบริ ว าร ซึ่ ง มาจากการวิ เ คราะห์ ผ ลงานวิ จั ย ของผู้เขียน “เรื่องการบริหารจัดการมรดกโลกว่าด้วย มาตรการทางกฎหมายในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก ทางวั ฒ นธรรม กรณี ศึ ก ษา: นครประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร” นามาเรียบเรียง เป็นบทความเพื่อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการทางาน โดยยึดหลักการทางานลั กษณะ “บูรณาการแบบองค์ รวม” โดยทุ ก ภาคส่ ว นมี ส่ ว นร่ ว มกั น ท างาน ระบบมี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเพื่อให้การดาเนินงานบรรลุ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ในการอนุรักษ์ แ ล ะ คุ้ ม ค ร อ ง ม ร ด ก โ ล ก : น ค ร ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ พระนครศรี อ ยุ ธ ยาและเมื อ งบริ ว าร ให้ ค งอยู่ สื บ ไป มี ก า ร น า เ ส น อ เ นื้ อ ห า เ กี่ ย ว กั บ ค ว า ม เ ป็ น ม า และความส าคั ญ การบริ ห ารจั ด การ สภาพปั ญ หา อุปสรรค หลักบูรณาการทางานแบบองค์รวม แนวทาง คุ้ ม คร อง มรดกโลกโดยการบู ร ณาก ารองค์ ร วม และบทสรุป

Abstract The Historic City of Ayutthaya and Associated Historic Towns were declared as a UNESCO World Heritage Site in 1991. Since then, questions concerning the benefits of the country from the designation of a World Heritage Site and the obligation of the law enforcement have been raised. At the end of 2007, a threat concerning the withdrawal of the Historic City of Ayutthaya and Associated Historic Towns on the status had been spread in ๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙

media and caused panic among the public. UNESCO experts have expressed concern about Ayutthaya World Heritage Site after visiting it. Many have been worried that the withdrawal might affect the image and tourism of Thailand. This article aims to propose approaches and principles to Ayutthaya World Heritage management which have been analyzed in the research conducted by the author. A guideline to preserve and protect the Historic City of Ayutthaya and Associated Historic Towns, based on integrated and holistic approaches, will be suggested in this article.

ความเป็นมาและความสาคัญ นครประวั ติ ศ าสตร์ พ ระน คร ศรี อ ยุ ธ ย า และเมืองบริวาร ได้รับการยอมรับประกาศขึ้นทะเบียน เป็ น มร ดก โ ลก ท าง วั ฒ น ธ ร ร ม จ าก ก าร ป ร ะ ชุ ม คณะกรรมการมรดกโลกสมั ย สามั ญ ณ กรุ ง คาร์ เ ธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ โดยมี คุณสมบัติการเป็นแหล่งมรดกโลก คือ “เป็นสิ่งที่ยืนยัน ถึง หลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้ เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว ” (กระทรวง วัฒนธรรม, ๒๕๕๖) เป็นดินแดนถิ่น ประวัติศาสตร์ ที่ มี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า เป็นเอกลักษณ์และแหล่งที่มาทางวัฒนธรรมตั้งแต่อดี ต อันล้าค่าและเมืองประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยาเป็น แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน ศิลปะและวัฒนธรรม ทีต่ ้องปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ หรือที่ รู้ จั ก แพร่ ห ลายว่ า “อนุ สั ญ ญามรดกโลก” (World Heritage Convention) โดยอนุสัญญาฉบับนี้ได้กาหนด


มรดกโลกทางวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ อนุสรณ์สถาน (monuments) กลุ่มอาคาร (groups of building) และแหล่ ง (sites) มี ก รมศิ ล ปากรสั ง กั ด กระทรวงวั ฒ นธรรมเป็ น หน่ ว ยงานท าหน้ า ที่ บ ริ ห าร จั ด การควบคุ ม ดูแ ล และได้ ก าหนดรูป แบบการจั ดทา แผนการอนุ รั ก ษ์ และการพั ฒ นาเมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ มี พื้ น ที่ จ านวน ๑,๘๑๐ ไร่ ตั้ ง อยู่ ใ นพื้ นที่ ข องเทศบาล นครพระนครศรี อ ยุ ธ ยา จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ ๗๕ กิโลเมตร (กรมศิลปากร, ๒๕๕๑) เป็นแหล่งที่ยังคงปรากฏร่องรอย แห่ง ความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมอันยิ่ ง ใหญ่ งดงาม และทรงคุ ณ ค่ า สะท้ อ นให้ ร าลึ ก ถึง ภาพความ สง่ า งามและความเป็ น เอกลั ก ษณ์ ไ ทยของปราสาท ราชวัง วัดวาอาราม ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต นับเป็น ต้นทุนทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรการท่องเที่ยว ทางประวัติศาสตร์ที่สาคัญของประเทศ ปัจจุบันยังคงมีภาพลักษณ์การก่อสร้างอาคาร บ้ า นเรื อ น และสถานที่ ร าชการรุก ล้ าแหล่ ง มรดกโลก นครประวัต ิศ าสตร์พ ระนครศรีอ ยุธ ยา และการ อ้ า งกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น ของตนในเขตโบราณสถาน ในขณะเดี ย วกัน แหล่ ง มรดกโลกทางวัฒ นธรรมแห่ง นี้ กาลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่จะถูกขึ้นบัญชีอันตราย จากสภาพความเสื่อมโทรมของโบราณสถาน จึงจาเป็น อย่างยิ่ง ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ต้องร่วมมือ กันในการอนุรักษ์และคุ้มครอง พัฒนาแหล่งมรดกโลกนี้ ให้บรรพชนคนรุ่นหลังไว้ได้ศึกษา เรียนรู้ ถึงคุณค่าทาง วัฒนธรรมอันงดงามแห่งนี้ต่อไป

การบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเมืองบริวาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ กรมศิลปากรในฐานะ หน่ ว ยงานที่ รั บผิ ด ชอบการดู แ ลอนุ รั ก ษ์ โบราณสถาน โบราณวั ต ถุ ข องชาติ ด าเนิ น การประกาศขึ้ นทะเบียน โบราณสถาน เมื อ งอ ยุ ธ ยา จากนั้ น การอนุ รั ก ษ์ และคุ้ ม ครองนครประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา อันยิ่ง ใหญ่และทรงคุณ ค่ าได้ ด าเนินการอย่างต่อ เนื่ อ ง ตลอดมาจนปัจจุบันได้มีการปรับปรุงบัญญัติกฎหมายให้ ทันสมัยขึ้นทาให้พื้นที่แ หล่ง โบราณสถานเมืองอยุ ธ ยา ได้ รั บ การคุ้ มครอง ตามพระราชบั ญ ญัติ โบราณสถาน โบราณวั ต ถุ ศิ ล ปวั ต ถุ และพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๐๔ ต่ อ มากรมศิ ล ปากร โดยมติ จ าก คณะรัฐมนตรีเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ให้ดาเนินการ อนุ รั ก ษ์ แ ละบริ ห ารจั ด การนครประวั ติ ศ าสตร์ แ ห่ ง นี้ ภายใต้แผนงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๔) โดยมีวัตถุประสงค์ หลั ก เฉพาะในส่ ว นของการบู ร ณะโบราณสถานใน ขอบเขตพื้นที่ ในเกาะเมืองอยุธยาตามที่ กาหนดเท่ านั้น ภายหลัง จากนั้นนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้ รั บ การขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น แหล่ ง มรดกโลก เมื่ อ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๔ กรมศิลปากรได้ปรับปรุง แผนงาน อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ ดั ง กล่ า วให้ มี ข อบเขตการ ดาเนินงานที่กว้างขวางและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในรู ป ของแผนแม่บทนครประวัติ ศาสตร์ พระนครศรีอ ยุ ธ ยา ซึ่ ง ได้ รั บ ความเห็ น ชอบจากมติ ค ณะรั ฐ มนตรี เ มื่ อ ปี พุ ท ธ ศั ก ร า ช ๒ ๕ ๓ ๖ โ ด ย แ ผ น แ ม่ บ ท ดั ง ก ล่ า ว กรมศิ ล ปากรได้ ก าหนดแนวทางการด าเนิ น งานเป็ น แผนงานหลัก ๕ แผน ดังนี้ คือ (๑) แผนงานโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน (๒) แผนงานพัฒนา และปรั บ ปรุ ง สาธารณู ป โภคและสาธารณู ป การหลั ก วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๙


(๓) แผนงานบูรณะปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ ( ๔ ) แ ผ น ง า น พั ฒ น า แ ล ะ ป รั บ ป รุ ง ชุ ม ช น แ ล ะ (๕) แผนงานรื้อย้ายและปรับปรุงการใช้ประโยชน์ ที่ดิน ทั้ ง นี้ มี วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ใ ห้ น ค ร ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ พระนครศรี อ ยุ ธยาและเมือ งบริ ว าร ด ารงคุ ณ ค่ า และ เอกลั ก ษณ์ อั น โดดเด่ น เป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรมอั น ยิ่ ง ใหญ่ ข องโลกได้ ต ลอดไป (กระทรวงวั ฒ นธรรม, ๒๕๕๕) นอกจากนี้ น ครประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา และเมื อ งบริ ว าร แหล่ ง มรดกโลกทาง วัฒนธรรมยังอยู่ภายใต้การดูแล และรับผิดชอบโดยแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ที่มุ่งเน้นนโยบายการเป็นนครแห่งการท่องเที่ยวโลก โดย มี เ ป้ า ประสงค์ ต่ อการอนุรัก ษ์ แหล่ ง มรดกโลกในพื้นที่ นครประวัติศาสตร์ และใช้ประโยชน์จากแหล่งมรดกโลก ทางวั ฒ นธรรมเพื่ อ เพิ่ ม พู น มู ล ค่ า ด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมา โดยตลอดจนถึง ฉบับที่ ๑๑ และฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ ๑๒) ที่ เ น้ น การอนุ รั ก ษ์ ฟื้ น ฟู และสื บ สานมรดกทาง วัฒนธรรม เพื่อดารงไว้ซึ่งวิถีชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์ทาง สั ง คม สร้ า งค่ า นิ ย มให้ ชุ ม ชนเกิ ด ความภาคภู มิ ใ จใน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการอนุ รั ก ษ์ พั ฒ นา และสื บ ทอดวิ ถี ชี วิ ต ของชุ ม ชนอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง (สานักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , ๒๕๕๓) การบริ ห ารจั ด การพื้ น ที่ น ครประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร เมื่อประเทศไทยร่วม เป็ น ภาคี ส มาชิ ก ของอนุ สั ญ ญาว่ า ด้ ว ยการคุ้ ม ครอง มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ.๑๙๗๒ แล้ ว นั้ น โดยวั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งประเทศในการคุ้ ม ครองและอนุ รั ก ษ์ ม รดก ทางวั ฒ นธรรมและทางธรรมชาติ ใ ห้ ด ารงคุ ณ ค่ า ความโดดเด่ น เป็ น มรดกของมวลมนุ ษ ยชาติ ค งอยู่

ตลอดไป อนุสัญญามรดกโลก จะทาหน้าที่เป็นกติกาให้ นานาชาติ พึ ง ตระหนั ก ถึ ง ปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ และสิ่ ง แวดล้ อ มทางธรรมชาติ วั ฒ นธรรม จากการ ด าเนิ น งานตามแผนแม่ บ ทอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ได้ ส าเร็ จ ลุ ล่ ว งไประดั บ หนึ่ ง โดยเฉพาะการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน วัด กาแพง เมื อ ง และ คู เ มื อ ง ร ว มทั้ ง ก ารโ ยกย้ า ยโรงงาน อุ ต สาหกรรมไปตั้ ง ยั ง พื้ น ที่ อื่ น ที่ จั ด ไว้ ส่ ว นการย้ า ย บ้านเรือนที่รุกล้า เขตโบราณสถานรวมทั้ง การพั ฒ นา บุ ค ลากรและการคุ้ ม ครองมรดกทางวั ฒ นธรรมของ ท้องถิ่นกลับได้ผลน้อย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะประชาชนใน พื้นที่ยังไม่มีความสนใจ และตระหนักถึงความสาคัญของ โบราณสถานที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเองเท่าที่ควร รวมทั้ง ผู้ ที่ มี ค วามรู้ ค วามเชี่ ย วชาญ และผู้ ที่ ส นใจทางด้ า น โบราณคดีเองก็มีอยู่ไม่มาก จึง อาจส่งผลให้การอนุรักษ์ โบราณสถานดาเนินต่อไปอย่างล่าช้า

สภาพปัญหาและอุปสรรค การอนุรักษ์และ คุ้มครองแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มี ก ารขยายตั ว ทางกายภาพอย่ า งมาก ในเชิ ง พื้ น ที่ มีการขยายเขตเมือง เพื่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบดบัง ทัศนียภาพ ทาลายคุณค่าของโบราณสถาน ตลอดจน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในเขตเมือง รองรับการ คมนาคมและนั ก ท่ อ งเที่ ย วท าให้ พื้ น ที่ มี ก ารพั ฒ นา ไม่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ แหล่ง มรดกทางวัฒนธรรม เช่ น การสร้ า งเสาไฟขนาดใหญ่ ที่ ก ระจายอยู่ โ ดย ทั่ ว เขตเมื อ ง ปั ญ หาขยะมู ล ฝอย การสร้ า งบ้ า นพั ก ที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร อยู่โดยรอบโบราณสถาน และ การถมคู ค ลองต่ า ง ๆ (กระทรวงวั ฒ นธรรม, ๒๕๕๖) แม้ ว่ า เมื อ งเก่ า และเป็ น พื้ น ที่ ก ารควบคุ ม สิ่ ง ก่ อ สร้ า ง ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาและความเจริญ ในท้ อ งถิ่ น ได้ เพราะความเป็ น เมื อ งประวั ติ ศ าสตร์

๑๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


พระนครศรีอยุธยาเป็นพื้นที่เมืองใหม่ทับซ้อนกับพื้นที่ เมืองเก่า วิถีของผู้คนยังคงดาเนินไปในพื้นที่อนุรักษ์นี้ ทาให้คนท้องถิ่นอาจมีความเห็น ขัดแย้งกับแนวทางใน การอนุ รั ก ษ์ โ บราณสถาน ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาการรุ ก ล้ า แหล่งมรดกโลก ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างลงในพื้นที่ของวัด ร้าง การบุกรุกพื้นที่ การทาลายโบราณสถาน และการ อ้ า งกรรมสิ ท ธิ์ ข องตนในที่ ดิ น ภายในเขตบริ เ ว ณ โบราณสถาน จากสภาพสถานการณ์ดังกล่าว ปัญหาสาคัญ คือ การพัฒนาเขตเมือง การบังคับใช้กฎหมาย ความรู้ ความเข้ า ใจของประชาชน การบริ ห ารจั ด การ ไม่ มี หน่ ว ยงานกลางที่ รั บ ผิ ด ชอบในการบริ ห ารพื้ น ที่ น คร ประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน และประชาชนไม่ตระหนักถึง ความสาคัญของมรดกโลก จึงเป็นปัญหาและกลายเป็น ความขัดแย้งนาไปสู่การขึ้นบัญชีภาวะอันตรายถอดถอน เมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยาจากการขึ้ น ทะเบียนการเป็นแหล่งมรดกโลกต่อไป จากการศึ ก ษาเอกสาร และวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้อง สามารถนาวิธีการหรือแนวทางต่างๆ ไปปรับใช้เพื่อการ อนุรักษ์และคุ้มครองแหล่ง มรดกโลกทางวัฒนธรรมได้ ดังนี้ การบริหารจัดการด้านงบประมาณ การบู ร ณะนครประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา แหล่ ง งบประมาณเป็ น ปั จ จั ย ส าคั ญ ที่ จ ะ ดาเนินการด้วยการบริหารจัดการได้ตามวัตถุประสงค์ และเมื่ อ พิ จ ารณาย้ อ นไปถึ ง อดี ต มี ก ารก าหนดแผน งบประมาณเมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ไว้ จ านวนประมาณ ๓ พั น ล้ า นบาท ส าหรั บ ระยะเวลาด าเนิ น การ ๑๑ ปี โดยในปีแรกกรมศิลปากรยังได้เงินงบประมาณไม่เป็นไป ตามแผน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สาหรับแผนการบูรณะพื้นที่นคร ประวั ติ ศ าสตร์ จากแผนทั้ ง หมดรวมทั้ ง การบริ ห าร จั ด การ การท าความเข้ า ใจ และการมี ส่ ว นร่ ว มของ

ประชาชน แต่อย่างไรก็ตามภายหลังจากได้งบประมาณ มาในปีแรกแล้ว กรมศิลปากรก็ยังไม่ได้งบประมาณใดๆ เพิ่ ม เติ ม อี ก เลย แสดงให้ เ ห็ น ว่ า รั ฐ บาลยั ง มี ข้ อ จ ากั ด ในด้านการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานที่กาหนดไว้ การบริหารจัดการพื้นที่ซึ่งมีปัญหา โดยเฉพาะค่าใช้จ่าย ในการจัดการดูแลรัก ษาพื้น ที่ สูง อีกทั้ง ไม่มีหน่วยงาน ทีต่ ้องการรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพหลักซึ่งต่างกับประเทศ สิ ง คโปร์ ที่ มี ง บประมาณใช้ ซ่ อ มแซมอาคาร เก่ า สร้างพิพิธภัณฑ์ ทั้ง นี้ ส่วนใหญ่ประเทศไทยมักใช้เป็น งบประมาณโฆษณาและประชาสั ม พั นธ์ (advertising budget) พองบโฆษณาหมดก็จบกัน (โครงการพิทัก ษ์ มรดกสยาม, ๒๕๕๔) ตลอดจนมี ป ระเด็ น ค าถามว่ า รัฐบาลมีเงินงบประมาณให้และรายได้จากการเก็บค่าเข้า ชมโบราณสถานนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ร าว ปี ล ะ ๒ ๕ ล้ า น บาท ปร ะ ชาชน ไ ม่ ท ร าบว่ า กรมศิ ล ปากรน าไปด าเนิ น การอะไรบ้ า ง ได้ มี ก าร ด าเนิ น การบู ร ณะปฏิ สั ง ขรณ์ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งหรื อ ไม่ แต่ปัญหาและอุปสรรคต่อการอนุรักษ์มรดกโลกยัง คงอยู่ ถาวรคู่กับการจัดการด้านงบประมาณ การอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกโลกทาง วัฒนธรรมพระนครศรีอยุธยา เมื่ อ พิ จ ารณาความเป็ น เมื อ งมรดกโลกมี ทั้ ง ข้อดีและความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติ กล่าวคือ ความ รับผิดชอบการบารุงรักษาต้องรายงานสภาพต่อองค์การ ยู เ นสโกอย่ า งสม่ าเสมอ ปั จ จุ บั น มี ค วามน่ า กั ง วล และความเป็นแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาจะถูก ถอดถอน ซึ่งจะทาให้เกิดความเสียหายมหาศาล สิ่งที่น่า เป็นห่วงยิ่งคือการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ และการ สร้างบ้านเรือนในเขตเกาะเมื องอยุธ ยาจนท าให้ เ มื อ ง อยุ ธ ยาสู ญ เสี ย ภู มิ ทั ศ น์ ท างวั ฒ นธรรม (Outstanding Universal Value :OUV) หรื อ ความโดดเด่ น อั น เป็ น สากล กรณีของพระนครศรีอยุธยาอยุธยาก็คือความเป็น วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๑


เมืองที่ประชาชนอาศัยอยู่กับวัฒนธรรมน้าซึ่งเป็นเรื่อง ส าคั ญ (โคร ง ก าร พิ ทั ก ษ์ ม ร ดก สยาม, ๒ ๕ ๕ ๔ ) โบราณสถานที่ อ ยู่ ใ นวั ด จึ ง มี ปั ญ หาในการอนุ รั ก ษ์ เบื้องต้น จากภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย แม้ว่าจะเป็น เหตุ ก ารณ์ ป กติ แต่ ก็ ไ ม่ ค วรปล่ อ ยให้ โ บราณสถานถูก แช่น้าอย่างปกติ นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว โบราณสถาน ในวัดยังต้องเผชิญกับ ความต้องการจากผู้ประกอบการ ในทางพุ ท ธพาณิ ช ย์ ซึ่ ง เป็ น ตั ว ท าลายโบราณสถาน อั น ดั บ หนึ่ ง อั น ถื อ ว่ า โบราณสถานถู ก ท าลายโดย ผู้เกี่ยวข้องดูแลโบราณสถานเสียเอง (โครงการพิทักษ์ มรดกสยาม, ๒๕๕๔) ปั ญ หาและอุ ป สรรคในการอนุ รั ก ษ์ แ หล่ ง มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเริ่ มต้น จาก นโยบายขาดความต่ อ เนื่ อ ง ด้ า นเจตคติ ความรู้ ความเข้าใจของประชาชน การบุกรุกและครอบครอง พื้นที่แหล่งมรดกโลก การมีส่วนร่วม บุคลากรเฉพาะไม่ เพียงพอต่อการจัดการดูแลพื้นที่ งบประมาณขาดการ สนั บ สนุ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และการบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมาย เนื่องจากมีหน่วยงานหลายฝ่ายที่มีอานาจในการบัง คับ ใช้กฎหมายในพื้น ที่ม รดกโลก อาทิเช่น กรมศิล ปากร มีอานาจระงับยับยั้ง หรือเพิกถอนการก่อสร้างสิ่ ง ปลู ก ส ร้ า ง บ น พื้ น ที่ มร ด ก โ ล ก ต า ม พ ร ะ ร าช บั ญ ญั ติ โบราณสถาน โบราณวั ต ถุ โดยอาศั ย อ านาจตาม พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุและพิพิธภัณฑ์ แห่ ง ชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ และฉบั บ ที่ ๒ พ.ศ.๒๕๓๕ ส่ ว น อง ค์ ก ร ปก คร อง ส่ ว น ท้ อ ง ถิ่ น หรื อ ร าชก า ร ส่วนภูมิ ภาคอาศัย อานาจตามพระราชบัญญัติค วบคุ ม อาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในการ อนุญาต อนุมัติให้มีสิ่งปลูกสร้าง ภูมิสถาปัตย์ในเขตพื้นที่ ขณะเดียวกันก็มีอานาจหน้าที่จัดระบบบริการสาธารณะ และดูแลพัฒนาความเจริญในเขตพื้นที่ จึงเกิดปัญหาการ ใช้อานาจที่ทับซ้อนกัน (ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ๒๕๕๕) ข้อเสนอแนวนโยบายในการกระจาย

อานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ สร้าง ความพร้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากร งบประมาณเพื่อรองรับกับแผนกระจายอานาจให้องค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในการอนุ รั ก ษ์ หรื อ ฟื้ น ฟู จ ารี ต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การบริหารจัดการพื้นที่นครประวัตติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ๑) การประสานงานร่ว มระหว่า งหน่วยงาน การบริหารจัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีหลากหลายมิติด้วยกัน เนื่องจากเมืองอยุธยา เป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย จึงต้อง มีการประสานงานระหว่างหน่วยราชการต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็ น องค์ ก ารปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น กรมศิ ล ปากร และภาคประชาชนด้ ว ย ตั ว อย่ า งเช่ น ศู น ย์ ศึ ก ษา ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเคยมีความร่วมมือ ระหว่างประเทศ คือรัฐบาลญี่ปุ่น มีนักวิชาการญี่ปุ่นเข้า มาช่วย และนักวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัยในเมืองไทย มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ จัดการแสดงซึ่งในสมัยนั้นถือว่า ใช้เทคนิคทันสมัยที่สุด ได้พยายามให้คนเข้าใจถึงความ เป็ น เมื อ งเก่ า อยุ ธ ยาในหลายมิ ติ แต่ ห ลั ง จากนั้ น เกิ ด ปัญหาความเห็นที่แตกต่างกันในการบริหารจัดการจนมี การมอบหมายให้ อ ยู่ ใ นความดู แ ลของราชการส่ ว น จัง หวัด (โครงการพิทักษ์มรดกสยาม, ๒๕๕๔) และอีก หลายกรณีของการประสานงานระหว่างกรมศิลปากร และท้องถิ่น ๒) การมี ส่ ว นร่ ว มระหว่ า งหน่ ว ยงานและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัญหาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของพระนครศรีอยุธยา สาเหตุหนึ่งคือความรู้ ความเข้าใจของประชาชนและบุคลากรที่มีอยู่อย่างจากัด ในพื้นที่พระนครศรีอยุธยา ประชาชนทั่วไปยังขาดความ เข้าใจและไม่เห็นความสาคัญของอุทยานประวัติศาสตร์ อย่างเพียงพอ ความเห็นต่างทางการเมืองก็เป็นอุปสรรค

๑๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ต่อการจัดการอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เช่น การเป็นคะแนนเสียงให้กับนักการเมืองระดับ ชาติ และในระดับชุมชน อีกทั้งยังมีปัญหาอาชญากรรมและ ปัญ หายาเสพติดที่แพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งส่งผลต่อ การจัดการอุทยานประวัติศาสตร์ (โครงการพิทักษ์มรดก สยาม, ๒๕๕๔) แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการมี ส่ว นร่ว มของประชาชนให้เ พิ่ม ขึ้น สามารถท าได้โ ดย การน าเครื ่อ งมือ การจัด การความรู ้ (Knowledge Management : KM) มาใช้ส ร้า งเครือ ข่า ยระหว่า ง ชุม ชน เพื ่อ ให้เ กิด ชุม ชนปฏิบ ัต ิ การเสริม สร้า งให้ ประชาชนเป็น พลเมือ งที ่ด ีต ่อ นัก ท่อ งเที ่ย ว ควรให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด เห็นหรือ ให้ ค าปรึก ษา และสนับ สนุน ให้ม ีก ารพัฒ นาภูม ิป ัญ ญา ท้องถิ่นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนภาครัฐต้องเปิดโอกาสให้ ประชาชนในชุม ชน ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนเข้ า มาเป็นตัวแทนในรูป คณะกรรมการ เข้ามามีส่ว นร่ว ม อย่างจริง จัง ภายใต้การบริห ารจัด การ ในพื้นที่แ หล่ง มรดกโลก และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยใช้หลัก การบูร ณาการที ่ชื ่อ ว่า “บวร” ได้แ ก่ บ้า น วัด และ โรงเรียน เป็นแนวทางต้นแบบต่อไป (ภัทรานิษฐ์ ศุภ กิจโกศล และคณะ, ๒๕๕๔) ๓) มาตรการทางกฎหมายสาหรับการบริห าร จัดการแหล่งมรดกโลก แม้ว่าประเทศไทยจะมีมาตรการ ทางกฎหมายในการอนุรักษ์และสงวนรักษาโบราณสถาน ซึ่ ง เป็ น แหล่ ง มรดกโลกทางวั ฒ นธรรม โดยมี ก าร ต ร า ก ฎ ห ม า ย ม า บั ง คั บ ใ ช้ คื อ พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ โบราณสถาน โบราณวั ต ถุ ศิ ล ปวั ต ถุ และพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ สถานแห่ง ชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนได้ร่วมเป็นสมาชิกในอนุสัญญาระหว่าง ประเทศก็ตาม (โครงการพิทักษ์มรดกสยาม, ๒๕๕๔; ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ๒๕๕๕) แต่ก็ ยังไม่สามารถบังคับใช้เพื่อจัดการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก

ทางวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (โครงการพิทักษ์ มรดกสยาม, ๒๕๕๔) ทั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติ ก ฎหมายมาร อ ง รั บ แ ละ สนั บส นุ น ก าร อ นุ รั ก ษ์ โบราณสถานให้สอดคล้องกัน รวมทั้งประชาชนเองขาด ความรู้ ค วามเข้ า ใจในแนวทางและวิ ธี ก ารอนุ รั ก ษ์ โบราณสถาน และความรู้ความเข้าใจในแนวทาง และ วิธีการอนุรักษ์โบราณสถานที่ถูกต้อง (วิชญา ตียะไพบูลย์ สิ น , ๒๕๕๑) การก่ อ สร้ า งอาคารที่ อ ยู่ อ าศั ย บดบั ง ทัศนียภาพของแหล่งโบราณสถาน อีกทั้งยังมีปัญหาน้า ท่วมโบราณสถาน (โครงการพิทักษ์มรดกสยาม, ๒๕๕๔) การขยายเมืองเพื่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยร้านค้าบดบัง ทัศนียภาพที่สวยงามของโบราณสถานและรุกล้าพื้นที่ แหล่งมรดกโลก ตลอดจนการพัฒนาถนนหนทางภายใน เขตเมืองเพื่อรองรับการคมนาคมทาให้เขตเมืองพัฒนา เป็นไปอย่างไร้ทิศทางไม่สอดคล้องกับแผนการพัฒ นา แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม (ธาตรี มหันตรัตน์ และ สิร ิพ ัฒ ถ์ ลาภจิต ร , ๒ ๕ ๕ ๕ ) นอกจากนี้ ปั ญ หา ประสิ ท ธิ ภ าพการน ามาตรการทางกฎหมายในการ บริหารจัดการแหล่งมรดกโลกไปสู่การปฏิบัติ ยังคงเป็น ปัญหาสาคัญเนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วย การบริหารจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมโดยตรง แต่ อาศัยกฎหมายอื่นซึ่งเป็นกฎหมายที่มีอยู่แล้ว มาบังคับ ใช้ จึง เกิดปัญ หาในการบัง คับใช้กฎหมาย การกาหนด วิธีการและขั้นตอน การใช้อานาจหน้าที่ของหน่วยงาน ขาดความชัดเจน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการก าหนด นโยบาย แผนงาน มาตรการและการติดตามประเมินผล (ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ๒๕๕๕) ดังนั้น นโยบายระดับรัฐบาลจึงควรมีมาตรการ ในการอนุ รั ก ษ์ พื้ น ที่ แ ผนการอนุ รั ก ษ์ ด้ า นการจั ด การ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตควบคู่กันไปทางด้านการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรจัดทา เอกสารประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับเส้นทางท่องเที่ยวเมือง มรดกโลกผ่านสื่ออย่างต่อ เนื่อง ควรมีการสารวจและ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๓


ปรั บ ปรุ ง ปั จ จั ย พื้ น ฐานที่ เ ป็ น สิ่ ง อ านวยความสะดวก เช่น ห้องสุขา สถานที่จอดรถ ป้ายบอกทางหรือป้ายสื่อ ความหมายที่เหมาะสม ที่รองรับขยะและสิ่งปฏิกูลเพื่อ ตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการของนั ก ท่ อ งเที่ ย วและ ทางด้านบริหารจัดการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอบรมให้ ผู้ประกอบการมีจิตสาธารณะเป็นสาคัญ เป็นการอนุรักษ์ เพื่อเป็นแหล่งมรดกโลกไว้ให้กับบรรพชนรุ่นหลังต่อไป มิ ฉ ะนั้ น แล้ ว เมื่ อ กรมศิ ล ปากรและองค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นต่างมีอานาจในการบริหารจั ดการ พื้นที่โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่ในเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และต่างฝ่ายได้ใช้อานาจของตนเอง จึงเกิดปัญหาการ บังคับใช้กฎหมายที่ทับซ้อนกัน ส่งผลให้โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่ศักดิ์สิ ทธิ์เ สีย หาย ถูกทาลาย สูญหาย และภูมิทัศน์โดยรอบเกิด มลภาวะทางสายตา "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" ที่ ไ ด้ จ ดทะเบี ย นเป็ น มรดกโลกจากองค์ ก ารศึ ก ษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ ยูเนสโก: UNESCO) จึงอาจต้องขึ้น บัญชีภาวะอันตรายและอาจจะถูกถอดออกจากการเป็น มรดกโลกได้ในอนาคตเพราะการบริหารจัดการพื้นที่ใน เขตโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไม่ สอดคล้ อ งกั บ หลั ก เกณฑ์ ข องอนุ สั ญ ญาการคุ้ ม ครอง ม ร ด ก โ ล ก ( The World Heritage Convention) กาหนดไว้ (สุนีย์ ทองจันทร์ และคณะ, ๒๕๕๖) อุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จึงเป็นปัญหาที่ต้อง ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไ ขจากทุกฝ่าย ปรับวิสัยทัศน์ข อง ส่ ว นราชการ ประชาชน ชุ ม ชนให้ เ ข้ า ใจอย่ า งเข้ า ถึ ง ความสาคัญของมรดกโลกอย่างแท้จริง

หลักบูรณาการองค์รวมเพื่อความดารงอยู่ ของแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา โดยความหมายของค าว่ า “บู ร ณาการ” สามารถพิจารณาได้ ๒ ลักษณะ ได้แก่ ความหมายทั่วไป คื อ การท าให้ ส มบู ร ณ์ ห รื อ การท าให้ ห น่ ว ยย่ อ ยๆ ที่ สั ม พั น ธ์ ซึ่ ง อาศั ย กั น อยู่ เ ข้ า มาร่ ว มท าหน้ า ที่ อ ย่ า ง ประสานกลมกลืนเป็นองค์รวม ส่วนอีกความหมายหนึ่ง เป็ น คว ามหมายในสาขาวิ ช าทาง ศึ ก ษาศาสตร์ หรือคุรุศาสตร์บูรณาการ หมายถึง การนาเอาศาสตร์ สาขาวิ ช าต่ า งๆ ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ เ กี่ ย วข้ อ งกั น มา ผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการดาเนินงาน หรื อ สร้ า งการเรี ย นรู้ จึ ง จ าเป็ น ต้ อ งใช้ วิ ธี บู ร ณาการ คื อ เน้ น ที่ อ งค์ ร วมของความรู้ ม ากกว่ า เนื้ อ หาย่ อ ย ของแต่ละวิชาและเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สาคัญยิ่งกว่าการบอกเนื้อหาของครู การเรียนการสอน แบบบูรณาการจะประสบผลสาเร็จได้นั้นจาเป็นจะต้อง ได้ผู้สอนที่ดี เพื่อทาหน้าที่ให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งและ ส่งเสริมการพัฒนาความสามารถเต็มตามศักยภาพของ ตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กัลยาณี สูงสมบัติ, ๒๕๕๐) “องค์ ร วม” (Holistic ideology) หมายถึ ง แนวคิดในการทาความเข้าใจปรากฏการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ โดยค านึ ง ถึ ง องค์ ป ระกอบทั้ ง หมด (ปั จ จั ย ภายในและ ปัจจัยภายนอก) ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์หรือสิ่งนั้น ๆ และพิจารณาถึงความเชื่อมโยงและการสอดประสานกัน ในทุก ๆ ส่วนขององค์ประกอบนั้น ส าหรั บ ค าว่ า “บู ร ณาการ” (Integration) หมายถึง การทาให้สมบูรณ์ คือ ทาให้หน่วยย่อย ๆ ที่มี ความสัมพันธ์กันร่วมกันทาหน้าที่อย่างผสมกลมกลืนเป็น องค์รวมหนึ่ง เดียวที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตนเอง อีกนัยหนึ่ง คาว่า “องค์รวม” น่าจะสอดคล้องกับ คาว่ า ความคิดเชิงระบบ (System approach) ซึ่งหมายถึงสิ่ง ต่ า ง ๆ ที่ ร วมกั น และต่ า งท าหน้ า ที่ ข องตนเองอย่ า งมี

๑๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ระเบียบ โดยส่วนประกอบหรือปัจจัยต่างๆ ของระบบมี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้การดาเนินงานบรรลุ วัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ความคิดเชิงระบบเป็นสิ่งที่มีมา นานแล้วในธรรมชาติ เช่น ระบบสุริยะจักรวาล ระบบ นิเวศน์ ระบบร่างกายมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นระบบ องค์รวมใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบย่อยอีกหลายระบบ แต่ถ้าระบบย่อยในระบบองค์รวมใหญ่บกพร่ องไปหรือ ทางานไม่สัมพันธ์กับระบบใหญ่ เช่น ระบบย่อยอาหาร หรือ ระบบหายใจเกิดบกพร่องไป ก็จะทาให้องค์ร วม ใหญ่ คื อ ระบบร่ า งกายเกิด ปั ญหาขึ้ นได้ มนุ ษ ย์ จึ ง นา ความคิดเรื่องระบบมาใช้ในการบริหารและการท างาน โดยให้คานึงถึงความเป็นองค์รวมของระบบที่ครบวงจร มากขึ้น ทั้งนี้ได้ศึกษาจากงานเขียนของ อรพิน สพโชค ชั ย (๒๕๕๔) ศุ ภ วั ฒ น์ ปภั ส สรากาจณ์ (๒๕๕๔) และ กัลยาณี สูงสมบัติ (๒๕๕๐) สรุปได้ดังนี้ การบริ ห ารจั ด การในปั จ จุ บั น ได้ น าแนวคิ ด ความเป็ น องค์ ร วมมาเป็ นแนวทางในการบริ ห ารและ สร้างนวัตกรรมการบริหารมากมาย ซึ่งถ้าวิเคราะห์ให้ดี จะเห็นได้ว่าต่างอยู่บนพื้นฐานแนวคิดเดียวกัน จะต่างกัน ก็ตรงวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ต้องการนาไปใช้เท่านั้น ตัวอย่างแนวคิดและนวัตกรรมการบริหารที่มีแนวคิดเป็น องค์รวมซึ่งพอคุ้นเคยกันบ้าง ได้แก่ ๑ . ก า ร พั ฒ น า ที่ ยั่ ง ยื น ( Sustainable development) หมายถึ ง การพั ฒ นาที่ ต้ อ งค านึ ง ถึ ง ความเป็นองค์รวมของทุกๆด้านอย่างสมดุลบนพื้ นฐาน ของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มด้วยความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเอง และคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียม ซึ่งวัตถุประสงค์ของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๙-๑๐ จะมุ่ ง ให้ ทุ ก หน่ ว ยงานพั ฒ นาอย่ า งเป็ น องค์ ร วมตาม แนวคิดนี้ทั้งสิ้น รวมทั้งแนวพระราชดาริเรื่องเศรษฐกิ จ พอเพียงด้วยเช่นกัน

๒. ประธานคณะผู้ บ ริ ห ารสู ง สุ ด ขององค์ ก ร ( Chief Executive Officer : CEO) ค ว า ม ห ม า ย ใน ภาคเอกชน หมายถึง ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดของ องค์กรซึ่งมีอานาจในการที่จะตัดสินใจนาพาองค์กรไปสู่ เป้าหมายได้ดังตัวอย่าง ในส่วนของผู้ว่าราชการจัง หวัด นั้ น หมายถึ ง การเป็ น เจ้ า ภาพสู ง สุ ด ที่ ส ามารถจะ บู ร ณาการงานในจั ง หวั ด ให้ ส าเร็ จ ซึ่ ง จะต้ อ งรู้ ปั ญ หา และสามารถระดมสรรพกาลังได้ และที่สาคัญ จะต้ องมี เครื่องชี้วัดการท างานที่เ กิด ผลลัพ ธ์ที่ พึง ประสงค์ ต าม วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๓. การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็ น กระบวนการสร้ า งภาพอนาคตของอ ง ค์ ก ร และพัฒนาแนวทางการดาเนินงานเพื่อให้บรรลุตามภาพ อนาคตมีองค์ประกอบส าคัญ ๔ ประการคือ (๑) การ มุ่ ง เน้ น อนาคต (๒) การมุ่ ง เน้ น จุ ด มุ่ ง หมายรวมของ องค์กร (๓) การมุ่งเน้นกระบวนการ และ (๔) การมุ่งเน้น ภาพรวม ๔. การวิจัย (Research) หมายถึง การศึกษา ค้ น คว้ า การหาค าตอบ การหาความรู้ ใ นสิ่ ง ที่ ไ ม่ รู้ โดยวิ ธี ก ารที่ เ ป็ น ระบบหรื อ วิ ธี ก ารทางวิ ท ยาศาสตร์ ซึ่ ง การวิ จั ยมี ห ลายประเภทขึ้ น อยู่ กับ จุ ด มุ่ ง หมายของ การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ แต่ง านวิจัยที่สร้างสรรค์ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ ๆ ที่องค์กร ต่าง ๆ นิยมนามาใช้คือการวิจัยและพัฒนา (Research and experimental development) ซึ่ ง มี ทั้ ง การวิ จั ย พื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ และการพัฒนาการทดลอง ๕. การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participatory management) เ ป็ น ห ลั ก ก า ร บ ริ ห า ร อ ย่ า ง ห นึ่ ง ในยุ ค ใหม่ ที่ มี ทั้ ง การบริ ห ารให้ มี ส่ ว นร่ ว มในรู ป ของ คณะกรรมการ กลุ่มทางานหรือให้มีส่วนร่วมแสดงความ คิ ด เห็ น สนั บ สนุ น ร่ ว มก ากั บ ติ ด ตามการด าเนิ น งาน ร่ ว มระดมทรั พ ยากรมี ทั้ ง การมี ส่ ว นร่ ว มจากภายใน และการมี ส่ ว นร่ ว มจากภายนอกองค์ ก ร ซึ่ ง เป็ น การ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๕


ส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค ลากรเกิ ด ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ง าน มี ค วามรู้ สึ ก เป็ นเจ้ า ของและเกิ ดปฏิ สั มพั นธ์ที่ ดี ต่อกัน ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในองค์กร ๖. นวั ต กรรมที่ น ามาใช้ ใ นการบริ ห ารอื่น ๆ อย่างหลากหลาย อาทิเช่น ๖ .๑ Balanced Scorecard คื อ ก า ร กาหนดผลสาเร็จอย่างสมดุลรอบด้านเป็นเครื่องมือที่ใช้ ในการวางแผนและการประเมิน ผลการปฏิ บั ติ งานให้ สามารถมองเห็ น ความสมดุ ล และความสั ม พั น ธ์ ข อง การดาเนินงานด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจนทั้ง ๔ ด้าน คือ (๑) ด้ า นลู ก ค้ า (๒) ด้ า นกระบวนการภายในองค์ ก ร (๓) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และ (๔) ด้านการเงินและ งบประมาณ ๖.๒ การบริ ห ารคุ ณ ภาพทั่ ว ทั้ ง องค์ ก ร (Total Quality Management: TQM) เป็นการบริหาร คุ ณ ภาพแบบองค์ ร วม ภายใต้ ห ลั ก การ ๓ C คื อ ๑) Customer focus เป็ น การบริ ห ารที่ เ น้ น ความพึ ง พ อ ใ จ ข อ ง ลู ก ค้ า เ ป็ น ส า คั ญ ๒ ) Continuous improvement เป็ น การปรั บ ปรุ ง การท างานอย่ า ง ต่อเนื่อง และ ๓) Company-wide involvement เป็น การบริหารที่ ต้องท าให้ คนทั้งองค์ กรเข้ า มามี ส่ว นร่ ว ม ปรับปรุงคุณภาพด้วยความมุ่งมั่นเต็มใจ และมีความสุข ในการทางาน ๖.๓ วงจร PDCA คือ วงจรคุณภาพ หรือ วงจรเดรมมิ่ง ได้ แ ก่ Plan (วางแผน) Do (ปฏิ บั ติ ต าม แผน) Check (ตรวจสอบ) และ Action (ปรั บ ปรุ ง พั ฒ นา) เป็ น กระบวนการเชิ ง ระบบที่ นิ ย มใช้ ใ นการ ปรับปรุงคุณภาพได้ทุกองค์กร ๖.๔ ส านั ก บริ ก ารแบบเบ็ ด เสร็ จ (one stop service) เป็นมิติใหม่แห่งการให้บริการประชาชน โดยรวมศู น ย์ ก ารให้ บ ริ ก ารพื้ น ฐานแก่ ลู ก ค้ า และ ประชาชนจากหลาย ๆ หน่วยงานมาไว้ ณ จุดเดียวกัน มีการปรับปรุง ทั้ง ระบบสานักงาน การปฏิบัติงานของ

เจ้าหน้าที่ที่เน้นให้ปฏิบัติงานบริการลูกค้าและประชาชน ด้ ว ยจิ ต ส านึ ก แห่ ง ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารที่ ดี แ ละมี ก ารปรั บ ปรุ ง ระบบงานโดยน าระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศมาใช้ ให้ ส ามาร ถบ ริ ก าร ไ ด้ อ ย่ าง ถู ก ต้ อ ง ร ว ดเร็ ว มี ประสิทธิภาพ ฯลฯ ความเป็ น องค์ ร วมจะเกิ ด ขึ้ น ได้ ต้ อ งอาศั ย ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นาแห่งการเปลี่ยนแปลง มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล มองทุกส่วนอย่างบูรณาการไม่แยกส่วน และ สามารถจั ด องคาพยพทุ ก ส่ ว นให้ มี ค วามสั ม พั น ธ์ สอดคล้ อ งกั น อย่ า งเป็ น ระบบที่ ค รบวงจร เงื่ อ นไข ความสาเร็จของการบริหารแบบองค์รวมประการหนึ่งคือ การทางานเป็นทีม โดยทุกฝ่ายทุกกลุ่ม ทุกคนต้องพร้อม ที่ จ ะร่ ว มคิ ด ร่ ว มท า ร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบอย่ า งจริ ง จั ง และ ต่อเนื่อง ประโยชน์จากการทาระบบบริหารจัดการแบบ บูรณาการ ได้แก่ (๑) เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (๒) สามารถใช้ ท รั พ ยากรต่ า ง ๆ บุ ค ลากร ใช้ ร่ ว มกั น อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (๓) พนั ก งานท างานโดยง่ า ย สะดวก มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ พร้ อ มที่ จ ะปรั บ ปรุ ง อย่ า ง ต่อเนื่อง (๔) ลดความสูญ เปล่า ซ้าซ้อนในการบริหาร (๕) ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจติดตาม และตรวจประเมิน (๖) สร้างภาพลักษณะที่ดีแก่องค์กร ดังนั้น แนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่ง มรดกโลกทางวั ฒ นธรรม กรณี น ครประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร การบูรณาการแบบ องค์รวม ในบทความนี้ จึง หมายถึง การบริหารจัดการ มรดกโลกแบบมีส่วนร่วม การจัดองคาพยพทุก ภาคส่วน ให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่ างเป็นระบบที่ ค รบ วงจรโดยทุ ก ภาคส่ วนหรื อผู้ เ กี่ย วข้ องได้มี ส่ วนร่ วมทา หน้าที่อย่างประสานกลมกลืน การบริหารให้มีส่วนร่วม ในรูปของคณะกรรมการ กลุ่มทางานหรือให้มีส่วนร่วม แสดงความคิ ด เห็ น สนั บ สนุ น ร่ ว มก ากั บ ติ ด ตามการ ดาเนินงาน ร่วมระดมทรัพยากรมีทั้งการมีส่วนร่วมจาก

๑๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ภายในและการมีส่วนร่วมจากภายนอกองค์กร ซึ่ง เป็น การส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค ลากรเกิ ด ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ งาน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและเกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

แนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครอง แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยบูรณาการแบบองค์รวม การอนุ รั ก ษ์ แ ละคุ้ ม ครองแหล่ ง มรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร ให้เกิดผลสาเร็จตามวัตถุประสงค์ ทางเลือกแนวทางหนึ่ง ส าหรั บ การบริ ห ารจั ด การ ซึ่ ง สามารถอาศั ย หลั กการ ทางานในลักษณะ “บูรณาการแบบองค์รวม” เป็นการ ท างานร่ ว มกั น ขององค์ ก ร หน่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ และ ภาคประชาชน โดยมุ่ ง เป้ า หมายเดี ย วกั น เพื่ อ ยั ง ประโยชน์ “ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ” ต่อการ อนุรักษ์และคุ้มครองไว้ซึ่งแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ที่ เ ป็ น สมบั ติ ช าติ ส าหรั บ แนวคิ ด “การอนุ รั ก ษ์ ที่ ดี ต้องรักษาคุณค่าดั้งเดิมของสิ่งนั้น พร้อมทั้งบารุง รักษา พัฒนาองค์ความรู้ของทรัพยากรมนุษย์ในฐานะผู้มี ส่วน ร่ ว มควบคู่ กั น ไปตามกฎบั ต รสากล “อนุ สั ญ ญามรดก โลก” ซึ่งพื้นฐานในการอนุรักษ์โบราณสถานจาเป็นต้ อง ได้รับการดูแลรักษาอย่างถาวรและยั่งยืน ดั ง นั้ น แนวทางในการอนุรัก ษ์ แ ละคุ้ ม ครอง แหล่งมรดกโลกจึงต้องพิจารณาความเชื่อมโยงเกื้อกูลกัน ในเชิง บูรณาการการทางานร่วมกันจะส่งผลทาให้ ง าน บรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ห รื อ เป้ า หมายที่ ว างไว้ จากการ สัง เคราะห์ง านวิจัย ของผู้เขียน ได้ศึกษาข้อมูลเอกสาร และงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง จึ ง ขอน าเสนอแนวทางการ อนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดย ใช้หลักการทางาน “บูรณาการแบบองค์รวม” แนวทาง สาคัญ ๓ หลักการ คือ การบริหารจัดการ การอนุรักษ์ แหล่งมรดกโลก และการคุ้มครองแหล่งมรดกโลก ดังนี้

๑.ด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการ เป็น หลักการส่วนสาคัญใน การวางแผนการท างานเพื่ อ ให้ ง านนั้ น บรรลุ ต าม วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ส าหรั บ การบริ ห าร จัดการแหล่งมรดกโลก เป็นเรื่องท้าทายที่หน่วยงานหรือ ส่วนงานราชการที่รับผิดชอบต้องแสวงหาแนวทางการ ดาเนินงานและบริหารจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมาย ทั้ง นี้ต้องบริหารงานภายในองค์กร ระหว่างองค์กรและภายนอกองค์กร การประสานภาค ประชาชนรวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย โดยการบริหารจัดการ ต้องอาศัยหลักการเชิงบริหาร การดาเนินการเกี่ยวข้อง กั บ คน งบประมาณ วั ส ดุ อุ ป กรณ์ และการจั ด การ โดยการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์ พระนครศรี อ ยุ ธ ยาและเมื อ งบริ ว ารอยู่ ใ นความ รับผิดชอบของหน่วยงานกรมศิลปากร สังกัดกระทรวง วัฒนธรรม เป็นหน่วยงานที่มี อานาจและหน้าที่บริหาร จัดการและควบคุมดูแลมีการกาหนดรูปแบบการจั ดท า แผนการอนุ รั ก ษ์ แ ละการพั ฒ นาเมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยาในรูปแบบของอุทยานประวัติศาสตร์ (กรมศิ ล ปากร, ๒๕๕๑) ขณะที่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว น ท้ อ งถิ่ น เทศบาลและองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด ก็ มี อ านาจหน้า ที่ จั ด ทาบริก ารสาธารณะทางปกครอง จึงเกิดปัญหาการใช้อานาจตามกฎหมายและการตีความ (ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ๒๕๕๕) เมื่ อ กรมศิ ล ปากรและองค์ ก รปกครองส่ ว น ท้ อ งถิ่ น ต่ า งมี อ านาจในการบริ ห ารจั ด การพื้น ที่ แ หล่ง โบราณสถาน โบราณวั ต ถุ ศิ ล ปวั ต ถุ และสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่ในเกาะเมืองอยุธยา และต่างฝ่ายได้ใช้ อานาจของตนเอง จึงเกิดปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ ทับซ้อนกัน (สุนีย์ ทองจันทร์ และคณะ, ๒๕๕๖) ในขณะ ที่หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังขาดการประสานงาน ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วยเช่นกัน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๗


กระบวนการบริห ารจัด การที ่เ หมาะสมใน การอนุรักษ์แหล่งโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา จากงานศึกษาวิจัยของวิชญา ตียะ ไพบูลย์ (๒๕๕๑) ได้แก่ (๑) การกระจายงานอนุรักษ์สู่ ท้ อ งถิ่ น อาจเริ่ ม จากการ แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการ การทางานด้านอนุรักษ์และคุ้มครองในเขตพื้นที่ชุมชนที่ ตั้ ง อยู่ ภ ายในเขตอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนคร ศรี อ ยุ ธ ยา ประกอบด้ ว ยผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เจ้ า หน้ า ที่ จ าก องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรมศิลปากร และตัวแทน ภาคประชาชนจากชุมชน ให้มีหน้าที่ในการดูแล จัดเก็บ ข้อมูล สนับสนุนการอนุรักษ์ (๒) สร้างจิตสานึกความรู้ ความเข้ า ใจ ให้ แ ก่ นั ก เรีย น นั ก ศึ ก ษา และประชาชน ทั่วไป (๓) การบูรณะแหล่งโบราณสถาน ต้องมีการศึกษา ก่ อ นอย่ า งรอบคอบ โดยกระท าแบบพหุ วิ ช าการโดย สถาปนิก นักโบราณคดี นักศิลปะ และนักประวัติศาสตร์ อาจจะต้ อ งมี นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ร่ ว มด้ ว ย (๔) ปรั บ ปรุ ง กระบวนการอนุ รั ก ษ์ แ ละคุ้ ม ครองมรดกโลกให้ ส่ ว น ราชการต้ อ งตั้ ง อยู่ บ นความพร้ อ ม บริ ก ารสั ง คม (๕) ใช้ ม าตรการเผยแพร่ ค วามรู้ แ ก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว (๖) ตั้งคณะทางานเพื่อทาหน้าที่ควบคุม กากับดูแลและ อนุรักษ์ (๗) จัดสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่เขตอุท ยาน ประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา (๘) จั ด ตั้ ง ศู น ย์ ฝึ ก ฝี มื อ ช่ า ง (๙) การบรรเทาแก้ ไ ขปั ญ หาน้ า ท่ ว ม (๑๐) กฎหมายไม่มีแรงจูงใจ และ (๑๑) การตั้งกองทุน สนับสนุน (วิชญา ตียะไพบูลย์, ๒๕๕๑) การขับเคลื่อน รู ป แบบการพัฒ นาเมื องมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ต้ อ งอาศั ย หลั ก การมี ส่ ว นร่ ว ม โดยให้ มี ก ารวิ เ คราะห์ ร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสีย และนาเสนอเป็นแผนบริหาร จัดการที่ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (ปฤษณา ชนะวรรษ และนภาวงค์ คงเศรษฐกุล, ๒๕๕๓) จัดทา แผนบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่ วยงาน เพื่อลดความ ซ้าซ้อนและข้อขัดแย้ง โดยมุ่ง เน้นที่ประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์สาธารณะเป็นสาคัญ (ธาตรี มหันตรันต์

และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ๒๕๕๕) งานวิจัย ของ ภัท รา นิษฐ์ ศุภกิจโกศล และคณะ (๒๕๕๔) นาเสนอรูปแบบ การมีส ่ว นร่ว มของประชาชนในการบริห ารจัด การ แหล่ง มรดกโลกกรณีอุท ยานประวัติศ าสตร์พ ระนครศรีอ ยุธ ยา ควรมี ๓ ขั ้น ตอนคือ ๑) ขั ้น การสร้า ง พื้นฐานความรู้และความเข้าใจ ๒) ขั้นการนานโยบาย ไปสู ่ก ารปฏิบ ัต ิ ๓) ขั ้น การปลูก จิต ส านึก เพื่อ ให้เ กิด ความรักและหวงแหน การแสวงหาแนวทางการพัฒนา ศัก ยภาพการมีส ่ว นร่ว มของประชาชนให้เ พิ ่ม ขึ ้น สามารถทาได้โดย การนาเครื่องมือการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) มาใช้ การสร้า ง เครือ ข่า ยระหว่า งชุม ชน เพื ่อ ให้เ กิด ชุม ชนปฏิบ ั ต ิ การเสริม สร้า งให้ป ระชาชนเป็น พลเมือ งที ่ด ีต ่อ นักท่องเที่ยว ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นหรือให้คาปรึกษา และสนับสนุนให้มีการ พัฒ นาภูมิปัญ ญาท้องถิ่นแหล่ง ท่องเที่ยว ส่ว นภาครัฐ ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชน ภาคเอกชน และ ทุก ภาคส่ว นเข้า มาเป็น ตัว แทนในรูป คณะกรรมการ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ภายใต้การบริหารจั ดการ เพื่อเกิดการบูรณาการร่วมกัน ในพื้นที่แหล่งมรดกโลก ๒.ด้านการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก การอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเป็น การบริหารจัดการที่ซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยความชานาญ ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการและแนวทางสากลใน การอนุรักษ์ ซึ่งมีทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ ต้องปรับใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความเป็นจริง และเจตนารมณ์ ผู้รับผิดชอบและนักอนุรักษ์จึงต้องได้รับ การฝึกอบรมอย่างเข้มงวดในเรื่องวิธีการและขั้นตอนที่ ถู ก ต้ อ งเหมาะสม การวางโครงการอนุ รั ก ษ์ ใ นแต่ ล ะ โครงการจึ ง ควรได้ รั บ การศึ ก ษาและประเมิ น ผล โดยละเอียดถึง วัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ คุณ ค่ า ของ แหล่ ง มรดกโลก การอนุ รั ก ษ์ ม รดกโลกยั ง คงมี ปั ญ หา

๑๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


อุ ป สรรคหลายประการ ทั้ ง จากการขยายตั ว ของ เศรษฐกิ จ ท าให้ เ กิ ด ปั ญ หารุ ก ล้ าพื้ น ที่ เ มื อ งมรดกโลก (จิรานุช โสภา, จิราพร สุวรรณเกษม และคณะ, ๒๕๕๔) ปัจจุบันที่ปรากฏยังคงมีการก่อสร้ างอาคารบ้ านเรื อ น รุ ก ล้ าพื้ น ที่ แ หล่ ง มรดกโลกอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยา ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างลงในพื้นที่ของ วั ด ร้ า ง การบุ ก รุ ก พื้ น ที่ การท าลายโบราณสถาน และการอ้างกรรมสิทธิ์ของตนในที่ดินภายในเขตบริเวณ โบราณสถาน (ขจรจบ กุสุมาวลี, ๒๕๔๒; วิชญา ตียะ ไพบูลย์, ๒๕๕๑; ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภ จิตร, ๒๕๕๕) ปัจจุบันแหล่งมรดกโลกแห่งนี้กาลังตกอยู่ ในภาวะเสี่ ย งที่ จ ะถู ก องค์ ก ารยู เ นสโกจั ด ขึ้ น บั ญ ชี อ ยู่ ภาวะอั น ตรายและน าไปสู่ ก ารถอดออกจากทะเบียน แหล่ ง มรดกโลก ด้ ว ยสภาพความเสื่ อ มโทรมของ โบราณสถาน (วิชญา ตียะไพบูลย์, ๒๕๕๑) ดังนั้น การ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่ดีจึงต้องเป็นการอนุรั กษ์ เพื่ อ รั ก ษาสภาพโบราณสถาน โบราณวั ต ถุ และ ศิลปกรรมให้พ้นจากการเสื่อมสลายโดยธรรมชาติ และ โดยกาลเวลา พร้อมทั้งบารุงรักษาและคุ้มครองแหล่ ง มรดกทางวั ฒ นธรรมให้ ด ารงความเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ สังคมปัจจุบันตลอดไป แนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดก โลกทางวัฒนธรรมที่สาคัญในทางสากลตามอนุสัญ ญา มรดกโลก เน้นองค์ประกอบหลักสาคัญ ๓ ประการ คือ ความเป็นของแท้ดั้งเดิม ความเป็นเอกลักษณ์ และความ กลมกลื น หรื อ บู ร ณภาพกั บ สภาพแวดล้ อ มโดยรอบ (กรมศิลปากร, ๒๕๕๑) การนาแนวทางในการอนุรักษ์ โ บ ร า ณ ส ถ า น ที่ อ ยู่ ใ น แ ห ล่ ง ม ร ด ก โ ล ก ม า ใ ช้ โดยกระบวนการและแนวทางมีอยู่หลากหลายวิธี ได้แก่ การป้องกันโดยมาตรการทางกฎหมาย การสงวนรักษา วิทยาศาสตร์การอนุรักษ์ การเสริมความมั่นคงแข็ง แรง ทางวิศวกรรม การบูรณะ การสร้างรูปแบบขึ้ นมาใหม่ การซ่ อ มแซม การซ่ อ มบ ารุ ง และการรั ก ษาซาก

โบราณสถาน (วิชญา ตียะไพบูลย์, ๒๕๕๑) การอนุรักษ์ มรดกโลกทางวัฒนธรรมควรเตรียมการอย่างรอบด้าน ได้ แ ก่ การแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ของประชาชน ทุกภาคส่วน มีการประชาสัมพันธ์ การปลูกฝัง ให้คนมี จิ ต ส านึ ก ในการหวงแหน และอนุ รั ก ษ์ ม รดกโลกทาง วั ฒ น ธ ร ร มและ โ บร าณ สถ าน คว ร มี ก าร จั ด ตั้ ง คณะกรรมการหรือจัดเตรียมบุคลากรให้เพียงพอแก่การ ปฏิ บั ติ ก ารร่ ว มกั น ในการดู แ ลรั ก ษา (ชุ ม พล พื ช พั น ธ์ ไพศาล และล ายอง ปลั่ ง กลาง, ๒๕๕๔) ซึ่ ง ในการ ดาเนินการดัง กล่าวส่วนที่ส าคัญ ต้องอาศัยการท างาน แบบมีส่วนร่วม ทั้งร่วมมือระหว่ างองค์กร และภายนอก องค์กร รวมทั้งภาคประชาชน เพื่อให้การดาเนินงานเกิด การขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน มีผู้เชี่ยวชาญผู้มีความรู้หลายศาสตร์มาร่วมกันทางาน สามารถช่ ว ยลดจ านวนคนท างาน ลดโครงการ ลดงบประมาณ ลดกระบวนการทางาน ทั้ง นี้โดยอาศัยกลุ่มคนในแต่ละศาสตร์ แ ต่ ล ะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดาเนินการ สาหรับการอนุรักษ์ แหล่ง มรดกโลกกรณีที่จะมีการบูรณะซ่อมแซมโบราณ สถานที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร หากจะต้องให้ เฉพาะส่วนกรมศิลปากรรับผิดชอบฝ่ายเดียว ก็จะเป็น ภาระเกิ น กาลั ง แต่ ห ากมี ห น่ ว ยงานอื่ นที่ เ กี่ย วข้ องมา ช่วยกันทางาน เช่น ด้านศิลปกรรมต้องอาศัยผู้มีความรู้ ความเชี่ ย วชาญทางด้ า นศิ ล ปะและโบราณคดี ด้ า น วิศวกรรมหรือกรมโยธาธิการและผังเมืองมาช่วยในเรื่อง การก่อสร้าง โครงสร้างโบราณสถานจะต้องมีโครงสร้าง พื้ น ฐานอย่ า งไรที่ จ ะรองรั บ กั บ สภาพแวดล้ อ มหรื อ บูรณภาพกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ ส่วนด้านกฎหมาย ต้องนามาพิจารณาว่ามีกฎหมายใดบ้างที่เป็นข้อจากัดที่ ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไ ข นอกจากนี้ควรจัดทาคู่มือ การบริหารจัดการมรดกโลก เอกสารแนะนา แผ่นพับ หรื อ ซี ดี เ พื่ อ เผยแพร่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ ค วามส าคั ญ ของ แหล่ง มรดกโลก จัดบรรยายให้ความรู้กับทุกกลุ่มอย่าง วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๙


ทั่ ว ถึ ง ทั้ ง นั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษาประชาชนในพื้ น ที่ แ ละ ประชาชนทั่วไป บรรจุเรื่องมรดกโลกไว้ในหลักสูตรการ เรี ย นการสอนระดั บ ประถมศึ ก ษา มั ธ ยมศึ ก ษาและ อุดมศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ค วามเข้ าใจและเกิ ด ความ ตระหนั ก มี จิ ต ส านึ ก รั ก และหวงแหนแหล่ ง มรดกโลก (ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ๒๕๕๕) ๓.ด้ า นการคุ้ ม ครองแหล่ ง มรดกโลกและ โบราณสถาน ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกั บ การ คุ้มครอง อนุรักษ์และสงวนรักษาโบราณสถาน ซึ่งเป็น แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม มีการตรากฎหมายใช้ บังคับอยู่ได้แก่ พระราชบัญญัติ โบราณสถานโบราณวัตถุ ศิ ล ปวั ต ถุ แ ละพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ส ถานแห่ ง ชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และยังได้ร่วมเป็นสมาชิ ก ใน อนุ สั ญ ญาระหว่ า งประเทศที่ เ กี่ ย วกั บ การจั ด การ โบราณสถานรวมทั้ ง น าเอากฎบั ต รสากลมาใช้ ด้ ว ย (กรมศิ ล ปากร, ๒๕๕๑) แต่ ยั ง คงไม่ ส ามารถจั ด การ อนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมได้ อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เนื่ อ งจากปั ญ หาการบั ง คั บ ใช้ กฎหมายในการบริหารจัดการ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ (สุ นี ย์ ทองจั น ทร์ และคณะ, ๒๕๕๖) ยังไม่มีการออกกฎหมายมารับรองสนับสนุนการ อนุรักษ์โบราณสถานอย่างเพียงพอ (วิชญา ตียะไพบูลย์, ๒๕๕๑) งานวิจัยของธาตรี มหันตรัตน์ และสิริ พั ฒ ถ์ ลาภจิตร, ๒๕๕๕) กล่าวถึง ประสิทธิผลการนามาตรการ ทางกฎหมายในการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลกไปสู่ การปฏิบัติ เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายว่าด้วย การบริหารจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมโดยตรง แต่ อ าศั ย กฎหมายอื่ น ซึ่ ง เป็ น กฎหมายที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว ประกอบกับการนานโยบายไปสู่การปฏิบัติยังขาดความ ต่อเนื่อง จึง เกิดปัญ หาในการบังคับ ใช้กฎหมายที่ มี อ ยู่

หลายฉบับและหลายหน่วยงานรับผิดชอบ การกาหนด วิธีการและขั้นตอน การใช้อานาจหน้าที่ของหน่วยงาน ขาดความชัดเจน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการกาหนดนโยบาย ที่ดี แผนงาน มาตรการ และการติดตามประเมินผล ในขณะที่ ง านวิ จั ย ของเกี ย รติ ส กุ ล ชลคงคา (๒๕๔๘) พบว่าปัญ หาการจัด การภายใต้ก ฎหมายที่ มี ลักษณะเฉพาะ หากโบราณสถานมีการชารุดบกพร่อง และต้ อ งการซ่ อ มแซมต้ อ งได้ รั บ การอนุ ญ าตจาก กรมศิลปากรก่อนจึงจะดาเนินการได้ ซึ่งต้องเข้าสู่ระบบ ราชการบางครั้งทาให้ล่าช้าเสียหาย แนวทางมาตรการ แก้ไขให้สามารถดาเนินการได้โดยใช้มาตรการด้านการ จัดการเข้ามาดาเนินการ งานวิจัยของ จิรานุช โสภา, จิ ร าพร สุ ว รรณเกษม และคณะ(๒๕๕๔) เสนอแนะ นโยบายควรมีมาตรการในการอนุรักษ์พื้นที่ แผนการ อนุ รั ก ษ์ จั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มและวิ ถี ชี วิ ต ควบคู่ กั น ไป ดั ง นั้ น จึ ง ควรมี ม าตรการในการอนุ รั ก ษ์ ที่ เ หมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมปัจจุบันและทันสถานการณ์ โดยการบู ร ณาการแผนงาน ใช้ ก ารมี ส่ ว นร่ ว มทุ ก ภาคส่วนในการร่วมพิจารณาปัญ หา ร่วมคิด วางแผน งาน ร่วมดาเนินการและร่วมรับผลที่เกิดร่วมกัน (ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ๒๕๕๕) นาเสนอเป็น แผนบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้แผนแม่บทและกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน มาตรการในการอนุรักษ์โบราณสถานที่ มีก าร น าเสนอในการป้อ งกัน โดยมาตรการทางกฎหมาย (protection) จากกฎบัตรแห่งเมืองฟลอเรนซ์ ข้อ ๒๓ ได้กาหนดให้ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบมีภาระใน การน ามาตรการทางกฎหมายและระเบีย บก าร ปกครองที่เ หมาะสมมาใช้ป้อ งกัน และคุ้ม ครองมรดก โลกทางวัฒ นธรรมภายใต้คาแนะนาของผู้เ ชี่ย วชาญ หรือ ผู้ท รงคุณ วุฒิ การสงวนรักษาจัด ทาภายในกรอบ ของแผนการใช้ที ่ด ิน โดยต้อ งระบุไ ว้ใ นเอกสารที่ เกี่ย วข้อ งกับ การวางแผนในระดับ ภูมิภ าคและระดับ

๒๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ท้องถิ่น รวมทั้งการนามาตรการทางการเงินมาช่วยใน การบารุง รัก ษา อนุรัก ษ์ และบูร ณะแหล่ง มรดกโลก ตามแนวทางปฏิบ ัต ิก าร เพื ่อ การส่ง เสริม สนับ สนุน อ น ุส ัญ ญ า ม ร ด ก โล ก ( ก ร ม ศิล ป า ก ร , ๒ ๕ ๓ ๘ ) ก า ร ป ้อ ง ก ัน ท า ง ก ฎ ห ม า ย จ ะ เ ป ็น ไ ป อ ย ่า ง มี ประสิทธิภ าพหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับมาตรการที่กาหนด ไว้ใ นกฎหมายและการวางแผน ทั้ง นี้ค ณะกรรมการ โบราณแห่ง ชาติ สาหรับสภาการโบราณสถานระหว่าง ปร ะ เทศแห่ง ปร ะ เ ท ศไ ทย (Thailand national committee for ICOMOS) ที ่ม ีก ารประชุม เมื ่อ วัน ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๐ ได้จัดทาร่างกฎบัตรอิโคโมสไทย ว่า ด้ว ยการอนุรัก ษ์แ ละบริห ารจัด การมรดกโลกทาง วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องขึ้น โดยมีเนื้อหาครอบคลุมมรดก วัฒ นธรรม เพื ่อ ให้ห น่ว ยงานทางปกครองของรั ฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน ประชาชนชาวไทย ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ เกี ่ย วข้อ ง ได้ใ ช้เ ป็น กรอบแนวทางมาตรฐานในการ อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติร่วมกัน นอกจากนี ้ม ีก ารเสนอแนะแนวทางในการ ปก ป้อ ง คุ ้ม คร องแหล่ง โบราณสถานและมรดก วัฒนธรรมโดยการตรากฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผังเมือง การส่งเสริมและรักษา คุณ ภาพสิ ่ง แวดล้อ ม การควบคุม อาคาร ให้เ อื ้ อ ประโยชน์ต ่อ การอนุร ัก ษ์โ บราณสถานด้ว ย มีก าร รวบรวมข้อ มูล และเผยแพร่ค วามรู้แ ก่ป ระชาชนเพื่อ สร้า งความตระหนัก ถึง ความส าคัญ ของการอนุรัก ษ์ โบราณสถานและมรดกทางวัฒนธรรม โดยส่ง เสริมให้ มีก ารศึก ษาวิจ ัย ฝึก อบรม และประเมิน ผลอย่า ง ต่อเนื่อง รวมทั้งกาหนดแนวทางในการให้มีการจัด ตั้ ง ศูนย์ข้อมูลเฉพาะในการอนุรักษ์ เพื่อผลักดันประชาชน ในท้องถิ่นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพัน ธ์กับ โบราณสถาน นั้น มีสิทธิในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และบริหาร จัด การโบราณสถานในท้อ งถิ ่น ตนเอง และส่ง มอบ

ให้กับคนรุ่นต่อไปในอนาคต (www.icomosthai.org) ร่างกฎบัตรอิโคโมสไทยจึงถือได้ว่าเป็นมาตรการหนึ่ง ที่ สาคัญ ที่สมควรนามาใช้ในการอนุรักษ์โบราณสถานที่ จะท าให้ก ารอนุร ัก ษ์แ หล่ง มรดกทางวัฒ นธรรมมี ประสิทธิภาพ มาตรการในการสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรมที่ภาครัฐหลายประเทศนามาใช้ใน ก าร สนั บ สนุ น ให้ ภ า ค เอ ก ชน เข้ าม ามี ส่ ว น ร่ ว ม ซึ่ง มาตรการแรงจูง ใจก็ใช้ ในการสนับ สนุน ในด้า นการ พั ฒ นาเมื อ งอี ก ด้ ว ย ซึ่ ง จากการศึ ก ษาของกองทุ น สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทยได้ กาหนด มาตรการแรงจูงใจในการอนุรักษ์ออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ มาตรการทางกฎหมาย ทางเศรษฐศาสตร์ ทาง ผังเมือง และทางสังคม การที่รัฐใช้มาตรการแรงจูงใจมาใช้สาหรับการ อนุรักษ์ เพราะรัฐมีความประสงค์ให้มีการใช้ทรัพยากร จากแหล่ง อื่นนอกจากทุนของรัฐ หรือใช้มาตรการอื่ น นอกจากการใช้อานาจบัง คับตามกฎหมาย ซึ่งจะส่ง ผล ให้เกิดการสนับสนุนการอนุรักษ์โบราณสถานได้ผลดีกว่า และรัฐต้องชดเชยแก่เจ้าของอาคารสิ่งก่อสร้างที่อาจมี ภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการอนุรักษ์ อาคารสิ่งก่อสร้าง ซึ่งในประเทศที่ได้มีมาตรการนี้มานานแล้ว เช่น อังกฤษ สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ ฝรั่ ง เศส โดยรั ฐ ให้ เ งิ น สนั บ สนุ นเพื่อ บารุงรักษาซึ่งเป็นแรงจูงใจทางตรง ส่วนประเทศไทยยัง ไม่ เ คยมี ก ารก าหนดแรงจู ง ใจในลั ก ษณะให้ ค วาม ช่ ว ยเหลื อ เงิ น สมทบ ส าหรั บ แรงจู ง ใจทางอ้ อ ม เช่ น การลดภาษีเงินได้ให้กับเจ้าของโบราณสถานหรือเอกชน ที่มีอาคารสิ่ง ปลูกสร้าง การลดภาษีโรงเรื อนและที่ดิน เป็นมาตรการที่หลายประเทศใช้ เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สาหรับประเทศไทยยัง ไม่มีมาตรการนี้ ทาให้ เจ้าของโบราณสถานขาดความต่ อเนื่องที่ จะซ่อ มแซม บูรณะโบราณสถาน

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๒๑


ส่วนมาตรการชดเชยการเวนคืนหรือการจากัด การพั ฒ นาในพื้ น ที่ อ นุ รั ก ษ์ โดยที่ รั ฐ เวนคื น หรื อ ซื้ อ ทรัพย์สินที่มีคุณค่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์ และนามาใช้ ประโยชน์ เช่น ในอังกฤษ อเมริกา และ ญี่ปุ่น ได้จัดตั้งกองทุนแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์โบราณสถาน สาหรับประเทศไทยได้ออกข้อกาหนดในการควบคุมการ พัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ โดยเจ้าของที่ดินหรืออาคารที่ตั้งไม่ สามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ ส่งผลให้เกิดการต่อต้าน และขาดความร่วมมือ แนวทางในการปรับปรุงมาตรการ ดังกล่าว เพื่อที่จะทาให้เจ้าของที่ดินและอาคารสิ่งปลูก สร้างเต็มใจและสมัครใจในความร่วมมือ อาจจะกระทา ได้โดยการกาหนดเงินค่าชดเชยหรืออาจกาหนดพื้นที่นั้น ให้เป็นเขตพื้นที่ที่มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับแหล่งมรดก ทางวัฒนธรรมที่ต้องการอนุรักษ์ เพื่อที่จะแก้ปัญหาได้ ทันสถานการณ์ ต่ อ สภาพปัญ หา และทาให้ง านส าเร็ จ ลุ ล่ ว งได้ ต ามเป้ า ประสงค์ เกิ ด ผลดี ต่ อ การอนุ รั ก ษ์ โบราณสถานให้ ค งอยู่ เ ป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรมที่ ทรงคุณค่าต่อไป ดัง นั้น การอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่ง มรดก โลกทางวัฒนธรรมนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเมืองบริวาร เพื่อให้การขับเคลื่อนตามนโยบายและ สัญญาระหว่างประเทศเป็นไปตามมาตรฐานสากลของ มรดกโลก จึ ง ควรที่ จ ะปรั บ ปรุ ง กฎหมายหลั ก ให้ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ส ภ า พ ปั จ จุ บั น เ นื่ อ ง จ า ก ไ ท ย มี พระราชบั ญ ญั ติ โ บราณสถาน โบราณวั ต ถุ ตั้ ง แต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่ อ ให้ ก ารบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายเกี่ ย วกั บ โบราณสถานและ อนุสัญญาระหว่างประเทศ กฎบัตร สากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่ างจริงจัง ควรออก กฎหมายรับรองสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่ง โบราณสถาน เช่น ร่างกฎบัตรอิโคโมสไทย (ICOMOS) และมาตรการสร้างแรงจูงใจมาใช้สาหรับการอนุรักษ์ ที่ เหมาะสมสอดคล้ อ งกั บ สภาพ แวดล้ อ มแ ละ ทั น สถานการณ์ ภายใต้การบูรณาการแผนงานและกิจกรรม

ร่ ว มกั น โดยอาจกระท าในลั ก ษณะมาตรการทาง กฎหมาย ทางเศรษฐศาสตร์ ทางผังเมืองและทางสังคม ให้เกิดเป็นรูปธรรมดังที่กล่าวมาแล้วต่อไป

บทสรุป ปั ญ หาการอนุรั กษ์ และคุ้ ม ครองแหล่ ง มรดก โลกนครประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรีอ ยุ ธยา และเมื อ ง บริวารเป็นเรื่องของคนไทยทั้งชาติ จาเป็นต้องได้รับการ พิ จ ารณาอย่ า งเป็ นองค์ ร วม แล้ ว สร้ า งระบบจั ดการที่ ยั่ง ยืน โดยมีหน่วยงานกลางเป็น ผู้ประสานงานกั บ ทุ ก หน่วยงาน รวมถึง คนในจัง หวัดพระนครศรีอยุธยาเอง ต้องสร้างกระบวนการให้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เพื่อ ความตระหนักในปัญหาและเห็นพ้องกับระบบและกลไก ที่จะเกิดขึ้น และมีง บประมาณพิเศษสาหรับแก้ปัญ หา นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาโดยเฉพาะตัวอย่าง ของหน่วยงานกลางที่อาจทางานได้ คือ องค์การบริหาร การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ใน การอนุ รั ก ษ์ แ ละคุ้ ม ครองแหล่ ง มรดกทางวั ฒ นธรรม จาเป็นที่ต้องผสานแนวความคิ ดของการอนุรัก ษ์ แ บบ ส า ก ล ใ ห้ เ ข้ า กั บ บ ริ บ ท ข อ ง ท้ อ ง ถิ่ น เ พื่ อ ท า ใ ห้ แนวความคิดในการอนุรักษ์สามารถนามาปฏิบัติใช้ ไ ด้ จริง และสอดคล้องกับพื้นที่ แม้ว่าดูเป็น เรื่องยาก แต่ก็ จ าเป็ น ที่ จ ะต้ อ งเริ่ ม ต้ น มิ ฉ ะนั้ น แล้ ว มรดกโลกทาง วัฒนธรรมสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมทั้งหลายจะต้อง สู ญ สลายลง ด้ ว ยความรู้ เ ท่ า ไม่ ถึ ง การณ์ แ ละความ ปรารถนาดี แต่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ รู้ ว่ า ผลของการปฏิ บั ติ นั้ น ได้ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความสู ญ เสี ย ต่ อ มรดกของมนุ ษ ยชาติ ล งไป อย่างไม่อาจเรียกร้องให้กลับคืนมาได้อีกเลย (โครงการ พิทักษ์สยาม, ๒๕๕๔) การขั บ เคลื่ อ นการท างานเพื่ อ ให้ บ รรลุ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ แนวทางหนึ่ง ที่ ส าคั ญ คื อ “บู ร ณาการแบบองค์ ร วม” เป็ น หลั ก การ บริหารอย่างหนึ่ง ในยุค สมัยใหม่ที่มีทั้ง การบริหารให้ มี

๒๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ส่วนร่วมในรูปของคณะกรรมการ กลุ่มทางานหรือให้มี ส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น สนับสนุน ร่วมกากับติดตาม การดาเนินงาน ร่วมระดมทรัพยากร มีทั้งการมีส่วนร่วม จากภายในและการมี ส่ ว นร่ ว มจากภายนอกองค์ ก ร ซึ่ง เป็นการส่งเสริมให้บุคลากรเกิดความรับผิดชอบต่อ งาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักร่วมรับผิดชอบ มี ค วามรู้ สึ ก เป็ นเจ้ า ของและเกิ ดปฏิ สั มพั นธ์ที่ ดีต่อกัน ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการสร้างงานร่วมกัน ดัง นั ้น แนวทางการบริห ารจัด การ แหล่ง มรดกแหล่งโลก “บูรณาการแบบองค์รวม” จะเป็น อีก ทางออกหนึ่ง สาหรับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ ก าร อนุร ัก ษ์แ ละ คุ ้ม คร อง แหล่ง มร ดก โ ลก น คร

ประวัต ิศ าสตร์พ ระนครศรีอ ยุธ ยาและเมือ งบริว าร ท่า มกลางกระแสการพัฒ นาเมือ ง เศรษฐกิจ สัง คม และเทคโนโลยีในปัจ จุบัน โดยหลักการบริหารแบบมี ส่ว นร่ว มทุก ภาคส่ว น โดยอาศัย แนวคิด ส าคัญ ทั ้ง ๓ หลักการ คือ (๑) การบริหารจัดการ (๒) การอนุรักษ์ และ (๓) การคุ ้ม ครองมรดกโลก การด าเนิน การใน ลัก ษณะองค์ร วมโดยทุก ฝ่า ยเข้า มามีส่ว นร่ว มภายใต้ แนวทาง แผนงาน และโครงการในการบริหารจัดการ และจัดกิจกรรมเชิง บูรณาการที่กาหนดไว้ให้ สามารถ ดารงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของทรัพยากรทางวัฒนธรรมให้ บรรพชนคนรุ่นหลัง ไว้ไ ด้ศึกษา ชื่นชม ราลึกถึง คุณ ค่ า ของวัฒนธรรมอันงดงามอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๔๖). พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: บริษัท สานักพิมพ์สมาพันธ์ จากัด. กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๑). มรดกโลกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๕). ศูนย์ข้อมูลมรดกโลกวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๕, จาก www.thaiwhic.go.th/heritage_culture2. กัลยาณี สูงสมบัติ. (๒๕๕๐). Powerpoint, จาก www.uhost.rmutp.ac.th. กองแผนงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (๒๕๔๔). กฎหมายในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. เกียรติสกุล ชลคงคา. (๒๕๔๘). มิติทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรท่องเที่ยวโบราณสถาน ศิลปะและวัฒนธรรมใน จังหวัด ราชบุรี. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. ขจรจบ กุสุมาวลี. (๒๕๔๒). การจัดการพื้นที่ประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาบริเวณวิหารพระมงคลบพิตร. วิทยานิพนธ์ สังคมวิทยาและมนุษยวิทยามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โครงการพิทักษ์มรดกสยาม. (๒๕๕๔). บทสรุปการเสวนาเรื่อง “อยุธยา: มรดก(โลก)ที่น่าเป็นห่วง” วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔ ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ. คณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม วุฒิสภา. (๒๕๕๕). “การบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก พระนครศรีอยุธยา”, เอกสารประกอบการเสวนาเชิงปฏิบัติการ. วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ โรงแรมกรุง ศรีริเวอร์ อยุธยา.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๒๓


คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (๒๕๕๓). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สานักงาน กพร. จุมพล หนิมพานิช. (๒๕๔๗). การวิเคราะห์นโยบาย ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (๒๕๓๓). ทิศทางการพัฒนาชนบท ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ธาตรี มหันตรัตน์ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร. (๒๕๕๕). รูปแบบการบริหารจัดการมรดกโลกที่เหมาะสมกับนคร ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร. รายงานการวิจัยนาเสนอต่อสานักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ. นิคม จารุมณี. (๒๕๔๔). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ประสงค์ น่วมบุญลือ. (๒๕๔๖). เอกลักษณ์และคุณค่าของทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. เอกสารสอนชุด วิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวไทย หน่วยที่ ๙-๑๕. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปฤษณา ชนะวรรษ. (๒๕๕๓). อยุธยาเมืองมรดกโลกภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนาอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย. ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (๒๕๒๗). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบัน ใน ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ (บรรณาธิการ), การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โสภาการพิมพ์. ภูมิชัย สุวรรณดี, มานิตย์ จุมปา, ชิตาพร พิศลยบุตร โต๊ะวิเศษ. (๒๕๔๓). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: นิติธรรม. ภัทรานิษฐ์ ศุภกิจโกศล. (๒๕๕๔). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก กรณีอุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กาแพงเพชร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๓). “ เรื่อง มรดกอยุธยา มรดกโลก”, เอกสารประกอบการเสวนา วิชาการ. วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยศิลปากร. (๒๕๓๖). ลุ่มน้าแม่กลอง: พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: พิฆเณศพริ้นท์ติ้ง. วศิน ปัญญาวุธตระกูล. (๒๕๕๐). การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในพื้นที่ระเบียงวัฒนธรรม (กาแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์). กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. วิชญา ติยะไพบูลย์สิน. (๒๕๕๑). มาตรการในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (๒๕๓๐). ปัญหาอุปสรรคที่สาคัญของการพัฒนาชุมชน: ประชาชน ข้าราชการ และผู้นา รัฐบาล. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์. วรเดช จันทรศร. (๒๕๔๘). ทฤษฎีการนานโยบายสาธารณะไปปฏิบัต.ิ กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์. วสุ โปษยะนันทน์. (๒๕๕๒). มรดกโลกทางวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔, จาก vasuposh.blogspot.com/ 2009/08/world-cultural-heritage.html.

๒๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์. (๒๕๕๓). การจัดการและการบริหารสาธารณะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต. สถาบันดารงราชานุภาพ. (๒๕๓๙). ปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตาบล. (รายงานการวิจัย สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกองวิชาการและแผนงาน กรมการปกครอง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ส่วนท้องถิ่น. สุภางค์ จันทวานิช. (๒๕๓๑). วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR). กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สุนีย์ ทองจันทร์. (๒๕๕๖). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถาปัตย์นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: รายงานวิจัยสานักงานการวิจัยแห่งชาติ. สานักนายกรัฐมนตรี. (๒๕๔๒). ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: สานักนายกรัฐมนตรี. อรทัย ก๊กผล. (๒๕๕๐). “การบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของประชาชน,” ใน คู่มือพลเมืองยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. อรพินท์ สพโชคชัย. (๒๕๔๖). ภาคีการพัฒนาสนับสนุนแนวทางการทางานในระดับพื้นที.่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ เอกสารการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ,สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. Greffe, Xavier. (2004). Is Heritage an Asset or a Liability?. Journal of Cultural Heritage, 5, 301-309.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๒๕


ภาพที่ ๑ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงศรีสัชนาลัย สุโขทัย ที่มา: สันติ เล็กสุขุม

๒๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


บทความวิชาการ สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ

วิเคราะห์รูปแบบบานประตูไม้จาหลัก รูปทวารบาลศิลปกรรมอยุธยา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย An Analysis of Dvarapala Wood-carved Door Panels of Wat Phra Si Rattana Mahathat Chaliang, Si Satchanalai District, Sukhothai Province วรวิทย์ สินธุระหัส / Worawit Sinturahas ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ปี) สานักงานเขตสะพานสูงสังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ ทวารบาลจาหลักบานประตูไม้ประดับคูหาพระปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย จากการศึกษาเปรียบเทียบกับงานศิลปกรรมอยุธยา กล่าวได้ว่า น่าจะได้รับอิทธิพลจากงานศิลปกรรมในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ช่วงอยุธยาตอนกลางราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา ซึ่งเป็นการแผ่อิทธิพลจากกรุงศรี อยุธยาสู่สุโขทัยด้วยงานศิลปกรรม เนื่องด้วยบานประตูนี้เป็นส่วนประดับของพระปรางค์แบบอยุธยา รายละเอียด บางส่วนปรากฏรูปแบบงานศิลปะจีน เนื่องด้วยการติดต่อค้าขายและการเมือง อีกทั้งรูปแบบที่อาจมีความสัมพันธ์กับ ศิลปะสุโขทัยอย่างเทวรูปและเครื่องถ้วยสังคโลกมาผสมผสานจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คาสาคัญ: ประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล,วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง

Abstract Compared to Ayutthaya arts, it has been estimated that the Dvarapala wood-carved door panels of Wat Phra Si Rattana Mahathat Chaliang, Si Satchanalai District, Sukhothai Province would have been influenced by the arts in the reign of King Borommatrailokkanat since the middle Ayutthaya period at around the 21st B.E. As a part of the Ayutthaya prang, Chinese arts have been found to be

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๒๗


mixed in some of those because of trade and political relations among them. Sukhothai arts, also, might be related in them as uniquely seen in deity images and celadon pottery. Keywords: Dvarapala, Wat Phra Si Rattana Mahathat Chaliang

บทนา ทวารบาลจ าหลั ก บานประตู ไ ม้ ป ระดั บ คู ห า พระปรางค์ ป ระธาน วั ด พระศรี รั ต นมหาธาตุ เ ชลี ย ง ศรี สั ช นาลั ย สุ โ ขทั ย ปั จ จุ บั น ได้ น ามาจั ด แสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ รามค าแหง สุโขทัย รูปแบบ ทางศิลปกรรมของบานประตู น่าจะมีความสัมพันธ์กับ ทางกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา สั ง เกตได้ ว่ า เมื อ งต่ า งๆ ที่ อ ยู่ ใ น เครือข่ายการปกครองของกรุงศรีอยุธยามักจะมีมหาธาตุ เ จ ดี ย์ เ ป็ น ห ลั ก ข อ ง เ มื อ ง ซึ่ ง ร ว ม ทั้ ง ม ห า ธ า ตุ เมื อ งพิ ษ ณุ โ ลกและเมื อ งเชลี ย ง สร้ า งขึ้ น โดยสมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ (สั น ติ เ ล็ ก สุ ขุ ม , ๒๕๕๔, หน้ า ๑๗๕). สอดคล้ อ งตามเอกสารพระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวถึงคราวที่สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถสร้างวิหารวัดจุฬามณี พิษณุโลก และทรงพระผนวชในปี พ.ศ.๒๐๐๗ (ผิ น ชุ ณ หะวั ณ, จอมพล และเพทาย พยุ ง เวชชศาสตร์ , ๒๔๙๘, หน้า ๑๓๕) คงมีการสร้างพระปรางค์ด้วยในคราวนั้ น และอาจมีการสร้างพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียงในภายหลัง ซึ่ง มีความเป็นไปได้ว่าคงจะประดับ บานประตูหลัง นี้ภายในคูหาพระปรางค์ด้วยพร้ อ มกั บ สมัยที่สร้าง

๒๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙

ภาพที่ ๒ ประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: อาษา ทองธรรมชาติ จัดแสดงใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคาแหง สุโขทัย


ภาพที่ ๓ ประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล วัดพระศรีสรรเพชญ เปรียบเทียบกับประตูไม้จาหลักรูปทวารบาลวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา พระปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง สร้าง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ. ๒๐๑๘ (สันติ เล็กสุขุม, ๒๕๕๐, หน้า ๑๐๘ - ๑๐๙) เป็นสัญ ลักษณ์ ของพระปรางค์ประธาน แสดงถึงการขยายอานาจจาก กรุงศรีอยุธยา (ภาพที่๑) ส่วนบานประตูประดับคูหาพระ ปรางค์น่าจะได้รับรูปแบบทางศิลปกรรมอยุธยามาด้วย หากแต่รูปแบบงานศิลปกรรมนั้นจะมีความร่วมสมัยกัน

กับงานช่างสมัยพระบรมไตรโลกนาถหรือไม่นั้น ต้องทา การเปรียบเทียบระหว่างบานประตูทวารบาลจาหลักไม้ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงกับศิลปกรรมอยุธยา สมั ย พระบรมไตรโลกนาถแล้ ว ว่ า สอดคล้ อ งมากน้อย เพียงใด สิ่ง ที่เปรียบเทียบได้คือ ทวารบาลแกะสลักไม้ บานประตู ป ระดั บ คู ห าพระสถู ป เจดี ย์ ท รงระฆั ง

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๒๙


ภาพที่ ๔ เทพพนมกรอบมุมเพดานไม้จาหลักจากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เปรียบเทียบรูปแบบกับศิราภรณ์ทวารบาลประตูไม้จาหลักวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า, มปป, หน้า ๑๔๔ วัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา งานศิลปกรรม นอกราชธานีอยุธยาได้แก่ ลวดลายปูนปั้นประดับผนังที่ วัดไลย์ ท่าวุ้ง ลพบุรี ลวดลายปูนปั้นพระปรางค์ที่วัดจุฬา มณี พิษณุโลก งานศิลปกรรมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิ ษ ณุ โ ล ก ส่ ว น ง า น ศิ ล ป ก ร ร ม ใ น ศ รี สั ช น า ลั ย คือ ลวดลายปูนปั้นประดับผนังวิหารวัดนางพญา ภายใน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงเอง เช่น เพดานไม้สลักที่ พบในพระปรางค์ ป ระธานที่ น่ า จะร่ ว มสมั ย กั น มา เปรี ย บเที ย บวิ เ คราะห์ กั น ว่ า ลั ก ษณะที่ ป รากฏจะมี พัฒนาการร่วมสมัยจากลวดลายหรืองานประดับก่ อ น หน้าพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ อย่างไร จึงทาการสรุป ข้ อ คิ ด เห็ น ว่ า บานประตู ท วารบาลจ าหลั ก ไม้ ข องวั ด พระศรี รั ต นมหาธาตุ เ ชลี ย ง มี ลั ก ษณะที่ ป รากฏถึ ง งานศิ ล ปกรรมอยุ ธ ยาตั้ ง แต่ ช่ ว งสมั ย ใดบ้ า ง และมี ข้อแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของงานช่างสุโขทัยอยู่ ด้วย เพี ย งใด ซึ่ ง น่ า จะมี ก ารผสมผสานกั บ งานช่ า งอยุ ธ ยา อยู่ด้วย

สิ่ ง ที่ ก าหนดรู ป แบบพระปรางค์ ป ระธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงได้ คือในคราวที่สมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถสามารถยึดเมืองศรีสัชนาลัยคืนจาก ล้ า นนา ในปี พ .ศ. ๒๐๑๗ ซึ่ ง อยู่ ใ นต้ นพุท ธศตวรรษที่ ๒๑ รูปแบบพระปรางค์ที่เด่นชัด คือ ชุดฐานบัวลูกฟัก ๓ ฐาน ตั้งบนฐานไพทีสูงรองรับเรือนธาตุที่มีลวดบัวเชิง และบัวรัดเกล้าเป็นสันนูนหนา ซึ่ง เกี่ยวกับพระปรางค์ วัดจุฬามณีที่มีมาก่อน ทรวดทรงของปรางค์จะสูงชะลูด ขึ้นเนื่องจากมีฐานไพที สูง มารองรั บ สื่อให้เห็นถึ ง การ ครองอานาจเหนือสุโขทัยที่ได้คืนจากล้านนา (สันติ เล็ก สุ ขุ ม , ๒๕๔๑, หน้ า ๖๐) จากการก าหนดอายุ ข อง พระปรางค์ ป ระธาน ก็ ค งจะส่ ง ผลต่ อ รู ป แบบงาน ศิลปกรรมบานประตูไม้จาหลักรูปทวารนี้มาด้วย ที่น่ามี รูปแบบของงานช่างร่วมสมัยในรัชกาลสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ ที่แสดงพระราชอานาจจากกรุงศรีอ ยุธยา โดยการใช้ พ ระปรางค์ ป ระธานเชิ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ บอกขอบเขตของการปกครองของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาใน ช่วงเวลานั้น

๓๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ภาพที่ ๕ เทวรูปพระศิวะจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ เปรียบการสวมสังวาลกับประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

รูปแบบที่ปรากฏในงานศิลปกรรมอยุธยา การใช้ ป ระตู ไ ม้จ าหลั ก รูป ทวารบาลประดับ คู ห าพระสถู ป เจดี ย์ ท รงระฆั ง วั ด พระศรี ส รรเพชญ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา มาเป็ น ตั ว ตั้ ง ในการเปรี ย บเที ย บ ศึกษาก่อนนั้น เพราะว่า เป็นงานประติมากรรมนูนสูง จาหลักไม้ ลักษณะการใช้งานเหมือนกัน คือจะติดตั้งตรง ซุ้มพระสถูปเช่นเดียวกับทวารบาลจาหลักไม้ วัดพระศรี-

รั ต นมหาธาตุ เ ชลี ย ง การก าหนดอายุ ข อง ประตู ไ ม้ จาหลักรูปทวารบาลของวัดพระศรีสรรเพชญจัดว่าอยู่ ในช่ ว งอยุ ธ ยายุ ค กลางราวต้ น พุ ท ธศตวรรษที่ ๒๑ (รุ่ ง โรจน์ ธรรมรุ่ ง เรื อ ง, ๒๕๕๓, หน้ า ๑๔๑) ที่ มี รายละเอียดของเครื่องประดับมงกุฎทรงเทริด กรองศอ สังวาล ลวดลายพันธุ์พฤกษาที่มีการประดิษฐ์เป็นพิเศษ ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบทางงานช่างที่น่าจะถ่ายทอดสู่เมือง ศรีสัชนาลัยอย่างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๓๑


ภาพที่ ๖ เทวรูปพระศิวะ เปรียบเทียบการคล้องสังวาลกับประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร สิ่งที่เหมือนกัน พระพั ก ตร์ พิจารณาได้ว่ า ลัก ษณะเป็ น แบบ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยสมัยอยุธยาตอนกลางน่าจะ ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปสุโขทัย พระพักตร์ กลมถึง รูปไข่ แต่ไม่ยาวเหมือนพระพุทธรูปสุโขทัย (ศักดิ์ชัย สาย สิงห์, ๒๕๕๔, หน้า ๑๒๙) ศิ ร าภรณ์ เมื่ อ เที ย บกั บ ทวารบาลของวั ด พระศรี ส รรเพชญ แล้ ว จะเห็ น ว่ า เป็ น ระบบเดี ย วกั น

คื อ สวมมงกุ ฎ ทรงเทริ ด ประกอบด้ ว ย กระบั ง หน้ า กุ ณ ฑล รั ด เกล้ า ทรงกรวย และมี ก ารท ารั ด เกล้ า ทรงกรวยชิ้นเล็ก ๔ ชิ้นโดยรอบ เลียนแบบกรัณฑมงกุฎ ซึ่ ง แต่ เ ดิ ม คื อ ตาบในศิ ร าภรณ์ ข องเทวรู ป สมั ย สุ โ ขทั ย ซึ่ง ช่างอยุธยาได้รับอิทธิพลการประดับตาบนั้นมาด้วย แต่ ดั ด แปลงให้ เ ป็ น ยอดเล็ ก ประดั บ แทนต าแหน่ง เดิม (กรรณรส ศรีสุทธิวงศ์, ๒๕๕๒, หน้า ๒๖ – ๒๗) ซึ่งเป็น

๓๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ภาพที่ ๗ เทวรูปพระศิวะ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาแพงเพชร ที่มา: รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ลั ก ษณะเฉพาะของศิ ร าภรณ์ พ ระพุท ธรู ป สมั ย อยุ ธยา ตอนกลางมากกว่า รายละเอียดที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ตรงมุมทั้งสี่สลักเป็นรูปเทพพนมสวมเทริด เช่นเดียวกับ ทวารบาลหลังดังกล่าวด้วย คือ มีรัดเกล้าทรงกรวยชิ้น เล็กประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน (ภาพที่ ๔) จึงสะท้อนให้เห็น ถึ ง การรั บ รู ป แบบงานช่ า งจากอยุ ธ ยาตอนก ลาง ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ สังวาล ทวารบาลของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลี ย งจะห้ อ ยสั ง วาลเส้ น เดี ย วต่ า งจากทวารบาลที่

วัดพระศรีสรรเพชญที่ห้องสองเส้นไขว้ การห้อยสังวาล เส้ น เดี ย ว อ าจไ ด้ รั บ อิ ทธิ พ ลจาก เทว รู ป สุ โ ขทั ย เปรี ย บเที ย บได้ กั บ พระศิ ว ะศิ ล ปะสุ โ ขทั ย (ภาพที่ ๕) ยั ง ปรากฏในงานเทวรู ป พระศิ ว ะ กล่ า วคื อ สื บต่ อ ถึ ง ศิ ล ปะอยุ ธ ยาอายุ ร าวกลางถึ ง ปลายพุ ท ธศตวรรษ ที่ ๒๑ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ พระนคร แสดงถึงสายยัชโญปวีตที่ให้หัวงูวางบนพระอัง สะคล้อง ไหล่เฉียงเป็นวงโค้งซึ่งพบมากในศิลปะสุโขทัย (เอกสุดา

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๓๓


ภาพที่ ๘ ปูนปั้นเทวดาประดับผนังวิหารวัดไลย์ ท่าวุ้ง ลพบุรี ที่มา: ศรินยา ปาทา สิ ง ห์ ล าพอง, ๒๕๕๓, หน้ า ๑๐๗) (ภาพที่ ๖) ส่ ว น ทวารบาล วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงนั้นช่างน่าจะได้ แรงบันดาลใจจากเทวรูปในศิลปะสุโขทัยอย่างพระศิวะ มาดัดแปลง โดยทาเป็นเส้นอย่างเดียวไม่สลักเป็นหัวงู ก็อาจเป็นได้ การนุ่งผ้า จะมีการนุ่งที่คล้ายกันคือ การสลัก ของช่างจะเลียนแบบธรรมชาติ ให้ผ้าพลิ้วไหว นุ่งแบบ ผ้าจีบ ปล่อยชายผ้าออกมาด้านหน้า หันออกคนละด้าน คาดเข็มขัดทับ สวมกาไลข้อเท้า และมีผ้าตาบหน้าปลาย

แหลมด้านหน้าเหมือนกัน รูปแบบสามารถเปรียบเทียบ ได้ กั บ เทวรู ป พระศิ ว ะที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ ก าแพงเพชร ศิ ล ปะอยุ ธ ยาตอนกลางประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๑ จารึกบนฐานเทวรูประบุว่าสร้างใน พ.ศ. ๒๐๕๓ (สั น ติ เล็ ก สุ ขุ ม , ๒๕๕๓, หน้ า ๑๔๖) (ภาพที่ ๗) การถื อ อาวุ ธ ทวารบาลจะถื อ พระขรรค์ เหมือนกัน แสดงถึงการปกปักรักษาเพราะบานประตูทั้งสอง

๓๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ภาพที่ ๙ ซุ้มเรือนแก้วลายมุมดาวเพดานไม้จาหลักจากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เปรียบเทียบกับซุ้ม เรือนแก้วกับประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล จากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: เรือนไทย.วิชาการ.คอม, ๒๕๕๓, www.reurnthai.com แหงนดูศิลปะบนเพดาน หน้า ๑ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

ภาพที่ ๑๐ ซุ้มเรือนแก้วปูนปั้นประดับประตูหลอกพระปรางค์วัดจุฬามณี พิษณุโลก เปรียบเทียบกับซุ้มเรือนแก้วกับประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล จากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: วรพัทธ์ ภควงศ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๓๕


จะติ ด ตั้ ง ภายในซุ้ ม คู ห าพระสถู ป เช่ น เดี ย วกั น รูปแบบทวารบาลถือพระขรรค์นี้จะพบได้อีก คือ ปูนปั้นเทวดาประดับผนังสกัดหน้า วิหารวัดไลย์ ท่ า วุ้ ง ลพบุ รี จั ด ว่ า เป็ น อยุ ธ ยายุ ค กลาง พุ ท ธ ศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ (สั น ติ เล็ ก สุ ขุ ม , ๒๕๕๒, หน้ า ๑๗๗) (ภาพที่ ๘) ซึ่ ง จะถื อ อาวุ ธเป็นพระ ขรรค์ด้วยการพาดไหล่ เช่น เดียวกัน ซึ่งเป็น อาจ เป็นความนิยมถึงงานช่างในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน สิ่งที่ต่างกัน ซุ้ ม เรื อ นแก้ ว มี ค วามต่ า งกั น คื อ ทวารบาลของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง จะทา เป็นวงโค้ง ๓ วงเหมือนงานศิลปะจีน ซึ่งจะพบใน รู ป แบบของทวารบาลจ าหลั กประดั บ ฝ้ า เพดาน พระปรางค์ วั ด พระศรี รั ต นมหาธาตุ เ ชลี ย งด้ ว ย (ภาพที่ ๙)นอกจากนี้ลายกรอบหยักโค้งยังพบใน งานปู น ปั้ น ประตู ห ลอกพระปรางค์ วั ด จุ ฬ ามณี พิษณุโลกลวดลายที่ ใช้นี้นิย มมากในสมั ยสมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ (รุ่ ง โรจน์ ธรรมรุ่ ง เรื อ ง, ๒๕๕๔, หน้า ๑๗๑) (ภาพที่ ๑๐) อีกทั้งยังพบใน ลวดลายปู น ปั้ น ประดั บ ผนั ง วิ ห ารวั ด นางพญา ศรีสัชนาลัย ที่มีกรอบมุมหยักโค้งด้วย (ภาพที่ ๑๑) ส่วนภาพลายเส้นจะเห็นได้ว่าเครื่องทรงเทวดาก็ สอดคล้องกับ เครื่องทรงทวารบาลไม้ จ าหลั ก วั ด มหาธาตุเชลียง คือมงกุฎทรงเทริดมีกระบังหน้า รัดเกล้าทรงกรวย เป็นต้น (ภาพที่ ๑๒) ที่น่าสังเกต อีกอย่างหนึ่งคือ วงโค้ง ๓ วงนี้ เคยปรากฏมาแล้ว ในศิลปะอยุธยาตอนต้น พบในตัวอย่างเครื่องทอง พระสุวรรณภิงคาร จากกรุพระปรางค์ประธานวัด ราชบู ร ณะ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ซึ่ ง ภายในซุ้ ม มี เทวดาประทับนั่ง (ภาพที่ ๑๓) ออกช่อลายพรรณ พฤกษาและมีแ นวโน้ มว่ าน่ า จะได้ รับ อิ ทธิ พ ลมา จากศิลปะจีนเช่นกัน

ภาพที่ ๑๑ ลายกรอบหยักโค้งประดับวิหารวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ที่มา: วรพัทธ์ ภควงศ์

ภาพที่ ๑๒ ซุ้มเรือนแก้วปูนปั้นประดับประตูหลอกพระปรางค์ วัดจุฬามณี พิษณุโลก ที่มา: สันติ เล็กสุขุม, ๒๕๕๓, (๒๕๕๓), พัฒนาการของ ลายไทย : กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย, หน้า ๓๕๖

๓๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ภาพที่ ๑๓ ซุ้มเรือนแก้วเทวดาประดับอยู่ด้านข้างสุวรรณภิงคารทองคาเปรียบเทียบกับซุ้มเรือนแก้วทวารบาลไม้จาหลัก จากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: ธวัชชัย รามนัฏ,ว่าที่ร้อยตรี, มปป, มปน

ภาพที่ ๑๔ ลายพันธุ์พฤกษาปูนปั้นประดับผนังวิหารวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ที่มา: อาษา ทองธรรมชาติ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๓๗


ภาพที่ ๑๕ ดอกโบตั๋นลายมุมดาวเพดานไม้จาหลักจากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เปรียบเทียบกับดอก โบตั๋นกับประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล จากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: เรือนไทย.วิชาการ.คอม, ๒๕๕๓, www.reurnthai.com แหงนดูศิลปะบนเพดาน หน้า ๑ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

ภาพที่ ๑๖ ดอกโบตั๋นแบบกลีบหุบทวารบาลไม้จาหลักจากคูหาสถูปวัดพระศรีสรรเพชญ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ที่มา: วุฒิเวทย์ พุกกะณะสุต ๓๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ภาพที่ ๑๗ ดอกโบตั๋นในจานสังคโลกศิลปะสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ เปรียบเทียบกับดอกโบตั๋นประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล จากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ที่มา: ภุชชงค์ จันทวิช, ๒๕๔๙, หน้า ๗๒ ลวดลายพรรณพฤกษา ทาเป็นลายก้านขดต่อ ดอกเกี่ ย วกระหวั ด กั น ลั ก ษณะเช่ น นี้ พ บได้ ที่ ปู น ปั้ น ประดับผนังวิหารวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย (ภาพที่ ๑๔) สอดไขว้ ส ลั บ กั น ไปมาออกเป็ น ดอกโบตั๋ น เที ย บกั บ เทวดาประดับมุมฝ้าเพดานไม้จาหลักพระปรางค์วัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุเชลียง (ภาพที่ ๑๕) ลักษณะของลาย ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากรสนิ ย มจี น เป็ น กรอบสามเหลี่ ย ม ประกอบจากวงโค้งรูปช่อดอกโบตั๋นซึ่งประกอบอยู่กับ เทพพนมอยู่ภายในกรอบสามเหลี่ยม (สันติ เล็กสุขุม , ๒๕๕๐, หน้า ๗๐)เข้าใจว่าอาจเป็นงานช่างชุดเดียวกัน ส่วนดอกโบตั๋นนั้น จะมีการทาเป็นดอกบานกลีบแย้ม ใน ระยะเริ่มแรก ต่อมาจะทาเป็นกลีบหุบลง สันนิษฐานว่า คงอยู่ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดอกโบตั๋นที่

บานประตู แ ละฝ้ า เพดานดั ง กล่ า วน่า จะส่ งอิ ท ธิพ ลต่อ บานประตูที่วัดพระศรีสรรเพชญในเวลาต่อมา (อาษา ทองธรรมชาติ, ๒๕๕๗, หน้า ๑๒๓)ต่างจากดอกโบตั๋นที่ ประดับทวารบาลของวั ดพระศรี สรรเพชญ ที่ลักษณะ กลีบจะหุบ (ภาพที่ ๑๖) เป็นดอกโบตั๋นที่นิยมประดับใน งานช่างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางด้วย แต่ก็มีจุดแย้ง ตรงที่ว่ารูปแบบเหมือนกับลวดลายดอกโบตั๋นนี้ปรากฏ ในเครื่ องถ้วยสัง คโลกของศรีสัชนาลัยที่มีอายุลวดลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา (ภาพที่ ๑๗) แสดงถึง ความนิยมของศิลปะในท้องถิ่นสุโขทัยที่มีรสนิยมดอก โบตั๋นแบบศิลปะจีนลงไปด้วย เป็นไปได้เช่นกันว่าดอก โบตั๋นที่วัดทวารบาลและฝ้าเพดานของวัดพระศรีรัตน มหาธาตุเชลียง ช่างอาจใช้แนวคิดจากดอกโบตั๋ น จาก วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๓๙


เครื่องถ้วยสังคโลกที่ใช้กันทั่วไปในพื้นที่ กล่าวคือ สร้าง เอกลักษณ์ให้กับตนเอง แต่เครื่องทรงทวารบาลอาจจะ รับอิทธิพลจากเครื่องทรงทวารบาลวัดพระศรีสรรเพชญ มาในคราวหลังก็เป็นได้เช่นกัน

สรุป บานประตูไม้จาหลักรูปทวารบาลวัดพระศรี รัตนมหาธาตุเชลียง ได้รับอิทธิพลการสร้างจากกรุงศรี อยุธยา เพราะติดตั้งภายในพระปรางค์อันเป็นสัญลักษณ์ ของอาณาเขตกรุงศรีอยุธยา ที่กาหนดอายุไว้ราวต้นพุทธ ศตว ร ร ษที่ ๒ ๑ รู ป แบบศิ ล ปก ร ร ม เมื่ อ ศึ ก ษ า เปรี ย บเที ย บกั บ ทวารบาลวั ด พระศรี ส รรเพชญแล้วก็ น่าจะมีความสัมพันธ์ ทางด้านลวดลายประดับที่เหมือน และแตกต่างกัน ซึ่ง น่าจะสืบเนื่องจากศิลปกรรมสมั ย อยุธยาตอนกลางราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมาไม่ว่า จะเป็นลักษณะศิราภรณ์หรือเครื่องทรงของทวารบาล

ลายประดับก็มีความเกี่ยวข้องกับงานศิลปกรรมภายใน วั ด อย่ า งฝ้ า เพดานไม้ จ าหลั ก งานปู น ปั้ น ประดั บ วั ด จุฬามณี วัดไลย์ และวัดนางพญา ยัง ปรากฏลวดลาย ประดั บ ที่ ใ ช้ ศิ ล ปะจี นอย่า งเห็ นได้ ชั ด เช่ น ดอกโบตั๋น พรรณพฤกษา ตรงกั บ รั ช กาลสมเด็ จ พระบรมไตร โลกนาถ ซึ่ ง นิ ย มศิ ล ปะจี น มาประดั บ ตกแต่ ง อย่ า ง แพร่หลาย คงจะมีการติดต่อกับจีนเกี่ยวกับการเมืองและ การค้า ตรงกับรัชกาลจักรพรรดิหยงเล่อ มีความเข็มแข็ง ในเรื่ อ งกองเรื อ ที่ ส่ ง เจิ้ ง เหอไปส ารวจดิ น แดนต่ า งๆ (อาษา ทองธรรมชาติ, ๒๕๕๗, หน้า ๑๒๓) จึงส่งผลให้ ศิ ล ปะ อ ยุ ธ ยาไ ด้ รั บ รู ป แบบศิ ล ปะ จี น มาใช้ ด้ ว ย นอกจากนี้ยังมีการสันนิษฐานได้ว่า เอกลักษณ์ที่ปรากฏ เป็นงานศิลปะสุโขทัยได้แก่ ดอกโบตั๋นที่เหมือนเครื่อง ถ้วยสังคโลก เครื่องประดับบางอย่างที่แสดงอิทธิพลจาก เทวรูปสุโขทัย ซึ่งแสดงความเป็นท้องถิ่นในเมืองเชลียง เอง แม้ว่าจะมีการเชื่อมโยงจากกรุงศรีอยุธยาก็ตาม

บรรณานุกรม กรรณรส ศรีศรีสุทธิวงศ์. (๒๕๕๒). กรัณฑมงกุฎเทวดาศิลปะสุโขทัยและพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะอยุธยา ตอนกลาง. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ธวัชชัย รามนัฏ, ว่าที่ร้อยตรี. (มปป). สมุดบันทึกอยุธยาราฦก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จากัด. ผิน ชุณหะวัณ, จอมพล และเพทาย พยุงเวชชศาสตร์. (๒๔๙๘). พระราชพงศาวดาร กรุงเก่า (ฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ์). พระนคร: พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพยุงเวชชศาสตร์ (พยุง พยุงเวช). ภุชชงค์ จันทวิช. (๒๕๔๙). พิพิธภัณฑ์กรุงเทพประกันภัย. กรุงเทพฯ: บริษัทกรุงเทพประกันภัย. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (๒๕๕๓). พระพุทธปฏิมาสยาม. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส. _______. (๒๕๕๔). โครงการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม โครงการผลิตเอกสารด้าน ประวัติศาสตร์ ศิลปะ “ประมวลผลงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะของศาตราจารย์สันติ เล็กสุขุม”. กรุงเทพฯ: เอราวัณการพิมพ์. เรือนไทย วิชาการ.คอม แหงนดูศิลปะบนเพดาน. (๒๕๕๓). ลายมุมดาวเพดานไม้จาหลักจากพระปรางค์วัดพระศรี รัตนมหาธาตุเชลียงศรีสัชนาลัย สุโขทัย. ค้นเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๕๙, จาก www.reurnthai.com/index.php?topic=3463.0. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (มปป). ศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการว่า

ด้วยการศึกษา.

๔๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


สันติ เล็กสุขุม. (๒๕๔๑). ความเป็นมาของเจดีย์ราย “ทรงปราสาทยอด” วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์วิชาการ. _______. (๒๕๕๐). ความสัมพันธ์จีน - ไทยโยงใยในลวดลายประดับ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. _______. (๒๕๕๐). ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. _______. (๒๕๕๒). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. _______. (๒๕๕๓). พัฒนาการของลายไทย: กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๕๔). พระพุทธรูปสาคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. เอกสุดา สิงห์ลาพอง. (๒๕๕๓). เทวปฏิมาสยาม. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส. อาษา ทองธรรมชาติ. (๒๕๕๗). ที่มาและพัฒนาการของลายดอกโบตั๋นในงานศิลปกรรมไทย. กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาพนิ่ง ประตูไม้จาหลักรูปทวารบาล ประดับซุ้มพระสถูปทรงระฆัง วัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา. (๒๕๕๘). (ภาพนิ่ง). อยุธยา: วุฒิเวทย์ พุกกะณะสุต. ประตูไม้จาหลักรูปทวารบาลวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคาแหง. (๒๕๕๙). (ภาพนิ่ง). สุโขทัย: อาษา ทองธรรมชาติ. ปูนปัน้ เทวดาประดับผนังวิหารวัดไลย์ ท่าวุ้ง ลพบุรี. (๒๕๕๙). (ภาพนิ่ง). ลพบุรี: ศรินยา ปาทา. เทวรูปพระศิวะ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาแพงเพชร. (๒๕๕๙). (ภาพนิ่ง). กาแพงเพชร: รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล. เทวรูปพระศิวะศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐. (๒๕๕๙). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. เทวรูปพระศิวะศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒. (๒๕๕๙). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. ลายกรอบหยักโค้งประดับผนังวิหารวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย สุโขทัย. (๒๕๕๓). (ภาพนิ่ง). สุโขทัย: วรพัทธ์ ภควงศ์. ลายพรรณพฤกษาปูนปัน้ ประดับผนังวิหารวัดนางพญา ศรีสัชนาลัย สุโขทัย. (๒๕๕๓). (ภาพนิ่ง). สุโขทัย: อาษา ทองธรรมชาติ. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงศรีสัชนาลัย สุโขทัย. (๒๕๕๙). (ภาพนิ่ง). สุโขทัย: สันติ เล็กสุขุม.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๔๑


บทความวิชาการ สาขาวรรณคดีไทย

ลักษณะเด่นของพระอินทร์ในไตรภูมสิ มัยอยุธยา ฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส* Remarkable Characteristics of Indra in the National Library of Paris’s Version of Ayutthaya Tribhum ภัครพล แสงเงิน / Phakphon Sangngern อาจารย์ประจาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งศึกษาเรื่องพระอินทร์ในไตรภูมิสมัยอยุธยาฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ผลการศึกษาพบว่า เรื่องพระอินทร์ ในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส นั้นมีลักษณะร่วมกับคติพุทธศาสนาและคติศาสนาพราหมณ์ ฮินดู กล่าวคือ ในสมัยอยุธยาปรากฏความเชื่อในเรื่องของพระอินทร์ คือ ๑. พระอินทร์มีกายสีเขียว ๒. พระอินทร์ ทรงสังข์ที่มีชื่อว่า เพชรญุตรสังข์ ๓. พระอินทร์มี ๓ ตา ปรากฏการเรียกนามพระอินทร์ว่า ท้าวตรีเนตร ซึ่งปรากฏใน วรรณคดียุคหลังหลายเรื่อง ลักษณะทั้งหมดนี้จึงถือว่าเป็นลักษณะเด่นของพระอินทร์ในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่ง ชาติ กรุงปารีส ดังนั้นไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีสจึงเป็นไตรภูมิสมัยอยุธยาที่สาคัญฉบับหนึ่งที่มีคุณค่าต่อวรรณคดี สังคมและวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่ง คาสาคัญ: ลักษณะเด่น, พระอินทร์, ไตรภูมิสมัยอยุธยาฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส

Abstract This article aims to investigate Indra in the National Library of Paris’s Version of Ayutthaya Tribhum. It is found that the characteristics of Indra (the god of heaven, the god of lightning) in the National Library of Paris’s Version of Tribhum are in accordance with Buddhism and BrahmanismHinduism doctrines. In the Ayutthaya period, Indra was believed to have the following remarkable

* สรุปองค์ความรู้สาคัญทางวรรณคดีไทยจากวิทยานิพนธ์เรื่อง ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วรรณคดีไทย) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ๔๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


characteristics: 1) having a green body; 2) holding the Phetchayuttara Sankha (a weapon of god); and 3) having three eyes. Tao Tri Nate (a three-eye king) has sometimes been used to refer to Indra in many literary works. It can be suggested that the National Library of Paris’s Version of Tribhum plays significant roles in Thai literature and socio-culture. Keywords: remarkable characteristic, Indra, the National Library of Paris’s Version of Ayutthaya Tribhum

บทนา ไตรภู มิ ฉ บั บ หอสมุ ดแห่ งชาติ กรุงปารีส เป็ น ไตรภูมิตัวเขียนภาษาไทย พบต้นฉบับที่หอสมุดแห่งชาติ กรุง ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หน้าเล่มสมุดไทยบอกชื่ อ หนั ง สื อ ว่ า ไตรภู มิ พระมาไลย กรมศิ ล ปากรพิ ม พ์ เผยแพร่ เ มื่ อ พ.ศ.๒๕๕๔ ใช้ ชื่ อ หนั ง สื อ ว่ า ไตรภู มิ เอกสารจากหอสมุด แห่ง ชาติก รุงปารี ส สันนิษฐานว่ า “น่ า จะแต่ ง ขึ้ น ในสมั ย อยุ ธ ยา ช่ ว ง พ.ศ. ๒๑๕๘ ๒๓๑๐” (ภัครพล แสงเงิน, ๒๕๕๗, หน้า ๖๗) สุกัญญา สุจฉายา ว่า “ไตรภูมิฉบับนี้จัดอยู่ในคัมภีร์พุทธพราหมณ์ เพท เพราะเริ่มต้นด้วยคติไตรภพต่อด้วยคติไตรภูมิ แต่มี เนื้อหาที่สั้น กระชับ ไม่อธิบายขยายความ จึงเป็นไปได้ที่ เรื่องนี้จะตกทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา” (สุกัญญา สุ จ ฉายา, ๒๕๕๔, หน้ า ๓๙) กุ สุ ม า รั ก ษมณี ว่ า “ใน ปัจจุบันมีการค้นพบต้นฉบับลายมือเขียนเพิ่มขึ้น อาทิ วรรณคดีสมัยอยุธยาเรื่องไตรภูมิ สานัก วรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔” (กุสุมา รักษมณี, ๒๕๕๖, หน้า ๘๒) ในสมัยอยุธยานั้นมีไตรภูมิเช่นกัน แต่ไม่ได้เป็น ในรูปแบบของตัวเขียนแต่เป็นสมุดภาพ โดยฉบับที่พิมพ์

เผยแพร่และเป็นที่รู้จัก คือ สมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา และสมั ย กรุ ง ธนบุ รี ซึ่ ง คั ด ลอกมาจากสมั ย อยุ ธ ยาโดย พระบรมราชโองการของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดย บทความนี้จะใช้ภาพบางส่วนของสมุดภาพไตรภู มิส มัย อยุธยาและธนบุรีบางส่วนประกอบการศึกษาด้วย ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ถือเป็น ไตรภูมิสมัยอยุ ธยาที่เป็น “ตัวเขียน” ฉบับแรกเท่าที่มี การค้นพบในปัจจุบันนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับคติการสร้ า ง โลกทั้งแบบพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู ไตรภูมิฉบับนี้มีความน่าสนใจตรงที่พบเนื้อหาทั้งคติพุทธ และ พ ร าหมณ์ -ฮิ นดู อ ยู่ ใ นไตร ภู มิ ฉ บั บ เดี ย วกั น โดยเฉพาะเรื่องเทพและตานานทางศาสนาพราหมณ์ ฮินดูที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ทางวรรณคดีไทย ดังนั้น บทความนี้ มุ่ ง ศึ ก ษาเรื่ อ งเทพและต านานทางศาสนา พราหมณ์-ฮินดูที่ปรากฏในไตรภูมิฉบับนี้โดยใช้เอกสาร เกี่ยวกับคติทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในการวิเคราะห์

พระอินทร์ในไตรภูมิสมัยอยุธยาฉบับ หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ไตรภู มิ ฉ บั บ หอสมุ ด แห่ ง ชาติ ก รุ ง ปารี ส ว่ า พระอินทร์กาเนิดจากการทอดเลข ๗ ของมหาพรหมเทพ ราช มีกายสีเขียว ถือเพชญุตรสังข์ และพระอินทร์มี ๓ ตา เนื้อความดังนี้ ๏ จึ่งเสด็จเอาเลข ๗ ทอดลงมาเปนเทพดา ตนหนึ่ง มีพรรณดุจดั่งอินทรนีลมรกฎอ่อนเขียว พู น แสงจรัสรัศมีเต็มเรื องจักรพาฬ ขอพรท า ตระบะสมาธิ อ ยู่ เ หนื อ บั ณ ฑุ กั ม พลอาสน์ ใต้ต้นปาริกชาติทองหลางสรรพอันจรัสจรูญใน พระสุรีย์อากาศ เหนือจอมพระเมรุราชบรรพต ทรงถนิมอาภรณ์แก้วสัพพพิธรัตนมือซ้ายทรง เพชญุตรสังข์มือขวาทรงตรีศูลขรรค์ มีตาสาม สิ่ง ตาหนึ่งอยู่ซึ่ง หน้าผาก สองตาดั่งยนตรเห็น วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๔๓


กลทิพจักษุทั่วทังไตรภพ จึ่งชีพในอากาศสมาธิ เป่าสังข์ไพเราะจึ่งบังเกิดเทพนิกรทังหลายถวาย บั ง คมประนมแต่ พ ระบรมสุ ก ขสมพิ จิ ต ร มหาพรหมเทพราช ท่านชิมอรให้พระนามกร พระอิ น ทรบรมเทพธิ ราช มี อ านาจด้ ว ยเดชะ ตระบะบุญ หาผู้จะปูนปานบ่มิได้เลย จึ่งเสด็ จ เป่ า สั ง ข์ ที ห นึ่ ง เกิ ด เทพดาแต่ ส กลจั ก รพาฬ ทัง หลาย เป่าสองทีเกิดเปนเทพดาแต่แผ่นดิน ขึ้นไปเถิง อากาศเป่า สามทีเกิ ด เปนเทพดาแต่ อากาศขึ้ น ไปเถิ ง ฉอกามาพจรสวรรค์ ห กชั้ น เป่าสี่ทีเกิดเปนเทพดามหาพรหมโลกได้สิ บ หก ชั้นนั้น เหลี่ยมไศลได้นามกรชื่อพระอินทรบรม เทพธิราชมีอานาจเปนเจ้ าอ ามรสวรรค์ อันมี เทพอัปสรอามรสุรางค์นางฟ้า เจ้าบริพารมาต่อ เท่าบัดนี้แล (กรมศิลปากร, ๒๕๕๔, หน้า ๖๙) พระอินทร์กายสีเขียว ไตรภู มิ ฉ บั บ หอสมุ ด แห่ ง ชาติ ก รุ ง ปารี ส ว่ า พระอินทร์มีกายสีเขียว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุ ฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวินิจฉัยว่า “พระอินทร์ในยุค ไตรเพทมีผิวสีทอง เหตุไรมาถึงเราจึงกลายเป็นเขียวไปก็ หาทราบชัดไม่ แต่ข้าพเจ้าได้พยายามตรวจค้นดู เห็นรูป ที่เขียนๆ มาจากอินเดียก็ทาเขียว เพราะฉะนั้นไม่ใช่มา เปลี่ ย นสี ใ นเมื อ งเรา คงเปลี่ ย นมาแต่ ถิ่ น เดิ ม เอง” (พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว , ๒๕๑๓, หน้า ๘๖) ผู้ศึกษาเห็นตรงกับพระราชวินิจฉัยด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้ รู ป วาดพระอิ น ทร์ ส่ ว นใหญ่ ที่ ป รากฏใน ประเทศไทย พระอินทร์มีกายสีเขียว (มเหศวรพงศ์) พระ ยากากาศหรือพาลี (วานรพงศ์) ซึ่งเป็นลูกของพระอินทร์ กับนางกาลอัจนาก็มีกายสีเขียว หรือองคตผู้เป็นลูกของ พาลีกับนางมณโฑก็มีกายสีเขียวเหมือนพ่อและปู่ของตน (พระอินทร์) แสดงให้เห็นว่าความรับรู้เรื่องพระอินทร์มี

กายสีเขียวนี้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนอย่างน้อยตั้ง แต่ สมัยอยุธยาแล้ว ไตรภูมิฉบับใต้ (ฉบับบ้านกระบี่น้อย) อธิบาย ถึงสาเหตุที่พระอินทร์มีกายสีเขียวว่า กายของพระอินทร์ ที่ แ ท้ จ ริ ง นั้ น ก็ เหมื อ นกับ เทวดาทั้ ง หลายคื อ เป็ นสีขาว แต่เป็นเพราะเครื่องประดับร่างกายของพระอินทร์ไม่ว่า จะเป็นมงกุฎ สร้อย สังวาลที่เป็นสีเขียว เมื่อพระอินทร์ สวมใส่ เ ครื่ อ งประดั บ ต่ า งๆ จึ ง ท าให้ พ ระอิ น ทร์ มี ก าย สีเขียว (กรมศิลปากร, ๒๕๕๕, หน้า ๑๖๘) ภาพวาดของพระอินทร์ที่ปรากฏอยู่ในตัวอย่าง จิ ต รกรรมหลายชิ้ น แสดงให้ เ ห็ น ว่ า พระอิ นทร์ มีกาย เขียวปรากฏในความรับรู้ของคนไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาผู้ ศึกษาเห็นด้วยกับพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า พระอินทร์มีกายสีเขียวนั้น น่ า จะเป็ น คติ ที่ ม าจากอิ น เดี ย และปราชญ์ ต่ า งๆ ก็พยายามสรรหาคาอธิบายว่าเพราะเหตุใดพระอินทร์จึง มีกายสีเขียว แต่โดยภาพรวมแล้วแสดงให้เห็นว่า ผู้แต่ง ไตรภู มิ ฉ บั บ หอสมุ ด แห่ ง ชาติ กรุ ง ปารี ส มี ค วามรับรู้ว่า พระอินทร์มีกายสีเขียวซึ่งสอดคล้องกับคติสีกายของพระ อินทร์ในสมัยอยุธยาดังในสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี (ซึ่งคัดลอกมาจากฉบับอยุธยา) อี กทั้งยังทาให้เข้า ใจใน เรื่องกายสีเขียวของพระอินทร์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย พระอินทร์เป่าเพชญุตรสังข์ ไตรภู มิ ฉ บั บ หอสมุ ด แห่ ง ชาติ ก รุ ง ปารี ส ว่ า พระอิ น ทร์ เ ป่ า เพชญุ ต รสั ง ข์ เ กิ ด เป็ น เทวดาองค์ ต่างๆ ในสวรรค์ฉกามาพจรและพรหมโลก เรื่องพระอินทร์เป่า สั ง ข์ นี้ มี ป ร า ก ฏ ใ น ร า ม เ กี ย ร ติ์ พ ร ะ ร า ช นิ พ น ธ์ พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราช ตอนชะลอเขาพระสุเมรุ ว่า

๔๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ภาพที่ ๑ พระอินทร์บันลือกาหล ที่มา: บุญเตือน ศรีวรพจน์ และประสิทธิ์ แสงทับ, ๒๕๔๒, หน้า ๓๕๘

ภาพที่ ๒ พระอินทร์จากสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี ที่มา: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒, หน้า ๓๑ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๔๕


ภาพที่ ๓ พระอินทร์เป่าสังข์ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่มา: โอเคเนชั่นดอทเน็ต, ๒๕๕๖, หน้า เว็บไซต์ ครั้นได้ศุภฤกษ์สวัสดี โกสีย์เป่าสังข์บันลือลั่น เทวาชักฉุดพัลวัน โห่สนั่นกึกก้องทั้งแดนไตร (กรมศิลปากร, ๒๕๔๙, หน้า ๘๗) จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นแสดงให้เห็นถึงความรับรู้เรื่องพระ อินทร์เป่าสังข์มาตั้งแต่อดีต กล่าวคือ ในไตรภูมิกถาสมัย สุ โ ขทั ย กล่ า วถึ ง เทพธิ ด ามณี เ มขลา บริ ว ารของพระ อิ น ทร์ เ ป็ น ผู้ เ ป่ า สั ง ข์ พิ ชั ย สั ง ขะ ว่ า “สั ง ข์ ใ หญ่ ชื่ อ พิชัยสังขะ ผู้เป่าสังข์นี้คือ เทพธิดามณีเมขลาซึ่งเป็นเทพ ในสวรรค์ ชั้ น ดาวดึ ง ส์ ” (กรมศิ ล ปากร, ๒๕๓๕, หน้ า ๑๙๗) ส่ ว นไตรภู มิ โ ลกวิ นิ จ ฉยกถาสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์

ตอนต้น กล่าวถึง นางฟ้าในสวรรค์ด าวดึง ส์เ ป่ า สั ง ข์ ว่ า “แลนางฟ้าอันชื่อว่ามณีเมขลานั้น เป็นพนักงานเฝ้าวิชัย ยุตตรสังข์ นางบริวารทั้งหลาย ๖ หมื่นนางล้วนถือสัง ข์ ทุกๆ นาง ขณะเมื่อนางมณีเมขลาเป่า วิชัยยุตตรสังข์ ขึ้นนั้น สัง ข์ทั้ง ๖ หมื่นนางก็ดังเอง ดัง ขึ้นพร้อมเพรียง กัน” (กรมศิลปากร, ๒๕๒๐, หน้า ๑๖๘) ในนารายณ์สิบ ปางฉบับโรงพิมพ์หลวงพบเรื่องพระอินทร์เป่าสัง ข์ ว่า “พระอิศวรเป็นเจ้าจึ่งมี เทวโองการให้สมเด็จอมรินทราธิ ราช เอามหาสั ง ขพิ ไ ชยยุ ท ธไปเป่ า ปลุ ก ประทมพระ นารายณ์...” (ประพันธ์ สุคนธชาติ (เรียบเรียง), ๒๕๑๑, หน้า ๔๐) ชื่ อ ของสั ง ข์ “พิ ชั ย สั ง ขะ” หรื อ “วิ ชั ย ยุ ต ตร สังข์” ที่มณีเมขลาเทพธิดาบริวารแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

๔๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


และ “มหาสังขพิไชยยุทธ” ในนารายณ์สิบปางนี้มีความ คล้ายคลึง กับ “เพชญุตรสังข์ ” ที่พระอินทร์เป่ากาเนิด เป็นเทวดาทั้งหลายในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่ง ชาติกรุง ปารีสเป็นอย่างมาก แต่อาจต่างกันที่การสะกดคาแสดง ให้เห็นถึงลักษณะร่วมกันของชื่อสังข์ที่พระอินทร์ใช้เป่า ทั้งคติทางพระพุทธศาสนาและคติทางศาสนาพราหมณ์ ฮินดูอย่างชัดเจน

พระอินทร์มี ๓ ตา ความรั บ รู้ เ รื่ อ งพระอิ น ทร์ มี ๓ ตา ผู้ ศึ ก ษา ยกตัวอย่างวรรณคดีเรื่องต่างๆ ที่มีการเรียกพระอินทร์ ว่า “ท้าวตรีเนตร” ดังนี้ พระมาลัยคาหลวง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิ เบศร วรรณกรรมสมัยอยุธยา ตอนพระอินทร์วิสัช นา พระมาลั ย เกี่ ย วกั บ บุ พ กรรมของเทวดาเมื่ อ ครั้ ง เป็ น มนุ ษ ย์ ว่ า “...ตรี เ นตรไขตอบคดี ว่ า เทพนี้ อ ยู่ ม นุษย์ ประดาษสุดทลิท ทา เที่ยวเกี่ยวหญ้านิรันดร์ขายเลี้ยง ชี วั น อาตมา ให้ ท านกาบหึ ง ส์ ข้ า วก้ อ นหนึ่ ง เท่ า นั้ น ม้วยดลสวรรค์เสวยสวัสดิ์ มีบริสัชร้อยองค์ ด้วยผลส่ง สืบสรรค์” (กรมศิลปากร, ๒๕๔๕, หน้า ๑๖๗-๑๖๘) รามเกี ย รติ์ พระราชนิ พ นธ์ พ ระบาทสมเด็ จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตอนทศกัณฐ์แปลง กายเป็นพระอินทร์ ว่า บัดเดี๋ยวก็กลับกลายเพศ เป็นท้าวตรีเนตรเรืองศรี ทรงโฉมประโลมโลกีย์ ใครเห็นเป็นที่จาเริญนัก ผิวผ่องพึงพิศผุดผาด งามวิลาศล้าเลิศในไตรจักร กรายกรอ้อนแอ้นพริ้มพักตร์ พระยายักษ์มาสรงชลธาร (กรมศิลปากร เล่ม ๓, ๒๕๔๙:๔๑๘)

บทละครนอกสั ง ข์ ท อง พระราชนิ พ นธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนท้าวยศ วิมลต่อว่านางรจนาที่มาเยาะเย้ยถากถาง ว่า คืนนี้ตรีเนตรท่านกริ้วกราด จะตีให้ตัวขาดเป็นสองท่อน นี่หากกูอ้อยอิ่งวิงวอน ผันผ่อนผัดไว้จึงไม่ตาย เพี้ยงเอยผีสางเทวดา ให้ได้ลูกเมียมาเหมือนใจหมาย แล้วจะจับตัวต้นอีคนร้าย ฆ่าเสียให้ตายวายชีวิต (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, ๒๕๐๘, หน้า ๒๓๐) นิราศพระบาทของสุนทรภู่ ว่า องค์พระเพชรปาณีท้าวตรีเนตร เสียพระเวทผูกทวารกรุงพานถนอม สุจิตราลาตายไม่วายตรอม ล้วนเจิมจอมธรณีทั้งสี่องค์ (กรมศิลปากร, ๒๕๕๖, หน้า ๑๙๑) พระยาอุปกิตศิลปสารกล่าวถึง ความรับรู้ ของ คนไทยในอดีตที่เรียกพระอินทร์ว่า ท้าวตรีเนตร ว่า “ ค รั้ น ต ก ม า ใ น ชั้ น ห ลั ง ๆ มี ผู้ นั บ ถื อ พระอิ น ทร์ น้ อ ยลง ฤทธิ์ เ ดชก็ ล ดลง เช่ น แพ้ อิ น ทรชิ ต โอรสทศกั ณ ฐ์ บ างที สู้ อ สู ร ไม่ ไ ด้ ต้ อ ง ขอให้มนุษย์ช่วยและประพฤติเหลวไหลเป็นชู้ กั บ นางหลยา ชายาฤๅษี โ คดมจนถู กสาปให้มี โยนีเต็มตัว แล้วกลายเป็นรูปนัยน์ตาจึงปรากฏ ชื่อว่า ท้าวสหัสเนตร หรือสหัสนัยน์ (ท้าวพัน ตา) แต่ไทยเราเรียกว่า ท้าวตรีเนตรก็มี ซึ่งตาม

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๔๗


เรื่องของเขา ตรีเนตรเป็นนามพระอิศวร” (พระ ยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๐๗, หน้า ๙๒) ความสับสนในเรื่องของพระอินทร์มี ๓ ตานี้ ปรากฏในวรรณคดี สั น สกฤต คื อ คั ม ภี ร์ ย ชุ ร เวทซึ่ ง กล่ า วถึ ง พระอิ ศ วรมี ๑,๐๐๐ ตา เหมื อ นพระอิ น ทร์ (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, ๒๕๔๙, หน้า ๒๒๕) อีกทั้งชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ยังกล่าวถึง “ท้าว ตรี เ นตร” ในโองการแช่ งน้า วรรณกรรมสมั ย อยุธยา ตอนต้ น ว่ า เป็ น การผสมกั น ระหว่ า งลั ก ษณะของ พระอิศวรกับพระอินทร์ ดังนี้ “เมื่อเรียกพระอินทร์ว่า ท้าวตรีเนตร (ทั้งๆ ที่ มิได้มี ๓ ตา) ทาให้เกิดการเข้าใจผิดคิดว่า พระอินทร์มี ๓ ตาจริงๆ ตามคาที่ใช้เรียก จึงเกิดความสับสนและคิด ว่าเป็นพระอิศวรซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ มี ๓ ตาและได้ รั บ การขนานนามว่า พระตรีโลกจนะ(มี ๓ ตา) พระอินทร์ กับพระอิศวรในความคิดของคนไทยจึงปนเปกันไปหมด ทาให้ผู้แต่งเรื่องลิลิตโองการแช่งน้าให้พระอิศวรประทับ บนเขา พระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์และให้ พระอิ ศ วรทรงวั ช ระคื อ สายฟ้ า ซึ่ ง เป็ น อาวุ ธ ของ พระอิ น ทร์ นั บ ว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ ส ลั บ สั บ สนกั น ไปหมด” (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, ๒๕๔๙, หน้า ๒๒๙) จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า “คนไทยในสมัยอดีตมัก เรี ย กพระอิ ศ วรว่ า พระอิ น สวร และบางครั้ ง เขี ย นว่า อิ น สวน หรื อ พระอิ น ท์ ศ วรก็ มี อี ก ทั้ ง ยั ง อธิ บ ายว่ า การแทรกตัว น ซึ่ง เป็นเสียงนาสิกลงไปกลางคา ทาให้ ออกเสี ย งได้ ง่า ยขึ้ น ” (จิ ต ร ภู มิ ศั ก ดิ์ อ้ า งถึ ง ใน ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, ๒๕๔๙, หน้า ๒๓๐) เห็ น ได้ อ ย่ า งชั ด เจนว่ า ความรั บ รู้ เ รื่ อ งพระ อินทร์มี ๓ ตาด้วยการเรียกว่าท้าวตรีเนตรปรากฏอย่าง ชัดเจนมาตั้ง แต่อดีต ถึงแม้ว่าจะมีนักวิชาการได้แสดง ทัศนะที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ ความเข้าใจในเรื่อง พระอิ น ทร์ มี ๓ ตานี้ น่ า จะเป็ น การเข้ า ใจสั บ สนกั น

ระหว่ า งพระอิ น ทร์ กั บ พระอิ ศ วร แต่ ผู้ ศึ ก ษาเห็ น ว่ า ความรู้เรื่องเทพเจ้าของอินเดียที่เข้ามาในดินแดนสุวรรณ ภูมิในอดีตตั้งแต่อดีตกาลได้ถูกปรับให้เข้ากับบริบทตาม ความเข้าใจของคนในภูมิภาค ดังนั้นความเข้าใจในเรื่อง เทพเจ้ า จึ ง อาจจะไม่ ต รงกั บ คติ ที่ ม าจากอิ น เดี ย ทุ ก ประการ เนื่องจากปัจจัยอื่นที่เกี่ยวโยงกับความรับรู้เรื่อง ต่างๆ ในมิติทางสัง คมวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมมุข ปาฐะหรือวรรณคดีต่ างๆ ที่จะต้องมีความเคลื่อ นไหว และแปรเปลี่ยนความเข้าใจไปตามกาลเวลานั่นเอง

บทสรุป เรื่องพระอินทร์ ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่ง ชาติ กรุ ง ปารี ส มี ก ารกล่ า วถึ ง พระอิน ทร์ท รงเพชญุตรสัง ข์ ซึ่ง ชื่อสัง ข์นี้คล้ายคลึง กับสัง ข์ทั้ง ในคติทางพุทธศาสนา และคติทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นอย่างยิ่ง ส่วนเรื่อง ของพระอินทร์มีกายสีเขียวนั้น แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อย ในสมัยอยุธยาก็มีความเชื่อเรื่องพระอินทร์มีกายสีเ ขียว ซึ่ ง ความเชื่ อ เรื่ อ งพระอิ นทร์ มี ก ายสี เ ขี ย วที่ ป รากฏใน ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีสนั้นเป็นสิ่งที่ช่วย ยืนยันพระราชอธิบ ายของพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระองค์ทรงเห็นว่า คติพระอินทร์มีกาย สี เ ขี ย วนั้ น น่ า จะได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลมาจากอิ น เดี ย หรื อ เป็ น ความเชื่อของคติพราหมณ์-ฮินดูอยู่แล้ว ในส่วนของเรื่อง พระอินทร์มี ๓ ตาหรือฝ่ายไทยนิยมเรียกว่า ท้าวตรีเนตร นั้น น่าจะเป็นวัฒนธรรมมุขปาฐะซึ่ง อาจจะสับ สนกั บ พระอิศวรก็เป็นได้ ดั ง นั้ น ผู้ ศึ ก ษาเห็ น ว่ า ไตรภู มิ ฉ บั บ หอสมุ ด แห่งชาติกรุงปารีสเป็นไตรภูมิสมัยอยุธยาที่สาคัญยิ่งฉบับ หนึ่งซึ่งช่วยทาให้เข้าใจความรับรู้เรื่องราวต่างๆ ของคน ในอดี ต ในด้ า นความรู้ เ กี่ ยวกับ เทวต านานของอิน เดีย โบราณตามคติพุทธศาสนาและคติทางศาสนาพราหมณ์ ฮินดูโดยเฉพาะเรื่องพระอินทร์เพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

๔๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


เอกสารและสิ่งอ้างอิง กรมศิลปากร. (๒๕๒๐). ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ฉบับที่ ๒ (ไตรภูมิฉบับหลวง) เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. _______. (๒๕๓๕). ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: คุรุสภา. _______. (๒๕๔๒). สมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงศรีอยุธยา-ธนบุรี เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. _______. (๒๕๔๕). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๓. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. _______. (๒๕๔๙). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร. _______. (๒๕๔๙). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม ๓. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร. _______. (๒๕๕๔). ไตรภูมิเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. _______. (๒๕๕๕). ไตรภูมิฉบับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. _______. (๒๕๕๖). ประชุมวรรณคดีเรื่องพระพุทธบาท. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. กุสุมา รักษมณี. (๒๕๕๖). การวิจัยวรรณคดี. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. จิตร ภูมิศักดิ์. (๒๕๒๔). โองการแช่งน้า และข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้าเจ้าพระยา ใน วรรณลดา: รวมบทความวิจัยและบทความวิชาการภาษาและวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงาน วิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (๒๕๔๙). วรรณลดา: รวมบทความวิจัยและบทความวิชาการภาษาและวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญเตือน ศรีวรพจน์ และ ประสิทธิ์ แสงทับ. (๒๕๔๒). สมุดข่อย. กรุงเทพฯ: สตาร์ปริ๊นท์. ประพันธ์ สุคนธชาติ. (เรียบเรียง). (๒๕๑๑). นารายณ์สิบปางและพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: พระจันทร์. พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๐๘). บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพันตารวจโทโกวิท ประภาพันธ์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๘). ภัครพล แสงเงิน. (๒๕๕๗). ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีไทย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๑๓). ศกุนตลา มัทนะพาธา ท้าวแสนปม ประมวลสุภาษิต. กรุงเทพฯ: โพธิ์สามต้น. สุกัญญา สุจฉายา. (๒๕๕๔). คติไตรภูมิ-ไตรภพ ในคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์ ใน ไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุด แห่งชาติกรุงปารีส. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (๒๕๐๗). ชุมนุมนิพนธ์ ของ อ.น.ก. กรุงเทพฯ: คุรุสภา. โอเคเนชั่นดอทเน็ต. (๒๕๕๖). พระอินทร์เป่าสังข์ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ค้นเมื่อ ๑๘ ธันวาคม. ๒๕๕๖. จากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=655505. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๔๙


บทความวิชาการ สาขาประวัติศาสตร์

โรคระบาดกับสภาพสังคมวัฒนธรรม ลุ่มแม่นาเจ้าพระยาสมัยอยุธยาตอนต้น Epidemic Diseases and Socio-cultural Conditions of the Chao Phraya River Basin during the Early Ayutthaya Period กาพล จาปาพันธ์ / Kampol Champapan นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนผ่านทางสังคมวัฒนธรรมในบริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา อันเป็น ผลมาจากการจัดการของรัฐต่อโรคระบาดครั้งสาคัญ ๒ ช่วงในประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น คือ ในรัชสมัยสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ ภายหลังจากเกิดกาฬโรคระบาด และในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ภายหลังจากเกิดไข้ทรพิษ หรือโรคฝีดาษระบาดขึ้นทั่วพระนคร พบว่าการจัดการในช่วงสมัยสมเด็จพระรามาธิ บดีที่ ๑ อยู่ในรูปแบบการย้ายถิ่น ฐานอพยพหลบหนีไปจากบริเวณที่มีโรคระบาด ส่งผลโดยตรงทาให้เกิดการสถาปนาศูนย์กลางอานาจแห่ง ใหม่ของ อยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ในทางตรงข้าม การจัดการของรัฐอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ดาเนินการ ภายหลังจากโรคฝีดาษระบาด ได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานที่ทาหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์โดยตรง สะท้อนให้เห็นการ ให้ความสาคัญกับการแพทย์และการสาธารณสุขของรัฐอยุธยาครั้งสาคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมสยาม ตลอดช่วงที่ ชนชั้นนาอยุธยาต้องการสร้างพลเมือง (หรือไพร่) ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อเป็นกาลังสาคัญแก่บ้านเมือง คาสาคัญ: โรคภัยไข้เจ็บ, การเปลี่ยนผ่านทางสังคมวัฒนธรรม, สยาม, กรุงศรีอยุธยา, ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา

Abstract This article aims to study the socio-cultural transition in the Chao Phraya river basin as a result of the state management to the epidemic diseases in the two major periods of the early Ayutthaya history: the plaque (or the Black Death disease) in the reign of King Ramathibodi I and the smallpox in the reign of King Boromatrailokkanat. In the reign of King Ramathibodi I, it is found that people were evacuated from the infected areas which directly resulted in the establishment of a new power center of Ayutthaya in 1350 A.D. In the reign of King Boromatrailokkanat, on the contrary, the

๕๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


authority concerned was established to provide medical services directly which highlighted the state focus on medicine and public health for population or ‘prai’ in the history of the Siamese civilization. Keywords: epidemic disease, socio-cultural transition, Siam, Ayutthaya Kingdom, the Chao Phraya river basin

บทนา ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ มีเหตุการณ์ เรื่ อ งราวส าคั ญ ที่ ป รากฏอยู่ ใ นหลั ก ฐานทั้ ง ประเภท พระราชพงศาวดาร ตานาน และจารึก ว่ามีโรคระบาด อยู่สองชนิด คือ “โรคห่า” กับ “ไข้ทรพิษ” โรคห่าครั้ง ส าคั ญ นั้ น เกิ ด ในรั ช สมั ย สมเด็ จ พระรามาธิ บ ดี ที่ ๑ (อู่ทอง) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการย้ายที่ตั้ง เมืองจาก บริ เ วณริ ม ฝั่ ง แม่ น้ าป่ า สั ก มาเป็ น เยื้ อ งจุ ด บรรจบกั น ระหว่างแม่น้าเจ้าพระยาและแม่น้าลพบุรี (คลองเมือง อยุธยา) ขณะที่ ไ ข้ ท รพิ ษ มี เ หตุ ก ารณ์ ร ะบาดอยู่ ใ น รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งก็เป็นการระบาด หนักผู้คนล้มตายมาก แม้จะไม่ถึงกับย้ายเมืองหนีเหมือน อย่างในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทว่าก็ส่งผลทา ให้เกิดการจั ด ตั้งองค์กรที่ มีอ านาจหน้ าที่ เกี่ ยวข้ อ งกั บ การจัดการป้องกันและรักษาโรค ขึ้นในระบบศัก ดิ น า ของราชการอยุธยา ข้อแตกต่างวิธีก ารจัด การของทั้ ง สองรั ช สมั ย ได้ ถู ก กล่ า วถึ ง ในแง่ ที่ ว่ า การแพทย์ ใ น สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้นกว่าในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จึง ไม่ ต้องทิ้ง บ้านทิ้งเมืองหนีโรคระบาดเหมือนอย่างในอดีต (ประทีป ชุมพล, ๒๕๔๑, หน้า ๒๗-๒๘)

แต่ ทั้ ง นี้ โ รคระบาดที่ เ กิ ด ในทั้ ง สองยุ ค สมั ย ข้างต้น เป็นคนละโรคกัน การจัดการที่แตกต่างกันจึ ง เป็นเรื่องปกติ อีกทั้ง ขอบเขตการระบาดของยุคที่สอง อาจจ ากั ด วงแคบและไม่ ร้ า ยแรงเท่ า ในยุค ที่ ห นึ่ง ก็ไ ด้ ประเด็นที่น่าสนใจในที่นี้จึงได้แก่ การอภิปรายถึงความ เปลี่ ย นแปลงที่ เ ป็ น ผลกระทบมาจากโรคภั ย ไข้ เ จ็ บ , การจัดการของรัฐและสัง คม, บทบาทองค์ความรู้ ท าง การแพทย์ ส มั ย โบราณ เป็ น ต้ น บางที เ ราจะทราบถึง สภาพวิถีชีวิตของคนในสมัย ใดก็ ตาม ได้ดีอีกทางหนึ่ ง ก็จากเรื่องราวเกี่ยวกั บการเจ็บไข้ไ ด้ป่วยของคนในยุค สมัยดังกล่าว ในงานประชุ ม เพื่ อ ระดมความคิ ด เห็ น ทาง วิชาการด้านประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข ไทย วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ณ ห้องประชุม สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ตึกกรมสุขภาพจิต จัดโดย สานักนโยบายและแผนงานสาธารณสุข และสถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุ ข นิ ธิ เอี ย วศรี ว งศ์ ได้ ก ล่ า วถึ ง ความส าคั ญ ของประเด็ น เรื่ อ งโรคภั ย ไข้ เ จ็ บ ที่ มี ต่ อ ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม ไว้ในหัวข้อ “สถานะของ องค์ ค วามรู้ ด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ ก ารแพทย์ แ ละการ สาธารณสุขไทย” ใจความสาคัญสรุปข้างท้ายตอนหนึ่ง ว่า: “ที่ไม่พบในงานประวัติศาสตร์การแพทย์ที่ ท ามาคื อ ประวั ติ ศ าสตร์ ข องโรค เพราะ การศึ ก ษายากหรื อ อย่ า งไร คื อ หนึ่ ง พวกนั ก ประวัติศาสตร์เองก็ศึกษาเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะไม่ มี ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ โรคในทางการแพทย์ ถึ ง มี หลักฐานก็วิเคราะห์ไม่เป็นเพราะไม่รู้อะไร แต่ ว่ า ต้ อ งมี ใ ครก็ แ ล้ ว แต่ ที่ มี ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ การแพทย์ไปช่วยดูเรื่องประวัติศาสตร์ของโรค ด้วย... เรื่องของโรคเป็นเรื่องสาคัญเรื่องหนึ่งที่ คิ ด ว่ า จะช่ ว ยให้ แ สงสว่ า งทางสติ ปั ญ ญา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๕๑


( IiIuminate) แก่ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ก ารแพทย์ ไ ด้ พอสมควร” (นิธิ เอียวศรีวงศ์, ๒๕๔๕, หน้า ๓๔)

โรคภัยไข้เจ็บของคนในลุ่มแม่นาเจ้าพระยา คริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ น่ า เสี ย ดายว่ า หลั ก ฐานช่ วงคริส ต์ ศ ตวรรษที่ ๑๔-๑๖ ที่ระบุเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บมีไม่มากนัก ส่วน ใหญ่เน้นเฉพาะโรคที่มีระบาดครั้งสาคัญ ทาให้ไม่ทราบ รายละเอี ย ดว่ า มี โ ร คอะไร บ้ า ง และการแพ ทย์ แผนโบราณที่ มี บ ทบาทเช่ น จี น , อิ น เดี ย , เปอร์ เ ซี ย เป็ น อย่ า งไร มี วิ ธี ก ารรั ก ษาโรคอย่ า งไรไ ด้ บ้ า ง ถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ จึงได้ปรากฏการรวบรวมบันทึก ทางประวัติศาสตร์การแพทย์ที่เรียกว่า “ตาราพระโอสถ พระนารายณ์ ” ขึ้นมา (ชยันต์ พิเชียรสุนทร แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์, ๒๕๔๔ ; Brun, 2015: 115132) จาก บั น ทึ ก ของ ร าชทู ต ลาลู แ บร์ โร คที่ คนอยุธยาเป็นกันมาก ได้แก่ โรคป่วง, โรคบิด, โรคไข้ จับสั่น, โรคปอดบวม, โรคหวัด, หอบ, ไขข้ออักเสบ, โรค บวมทุ ก ชนิ ด , โรคปวดตามข้ อ , อั ม พาต, ลมบ้ า หมู , วั ณ โรค, โรคไต, ฝี โ พรงหนอง, ปรวด, ไฟลามทุ่ ง , โรคผิวหนัง, กามโรค, ฝีดาษ เป็นต้น (ลาลูแบร์, ๒๕๑๐, หน้า ๑๗๓-๑๗๔) นั่นคือรายการของโรคที่มีหมอยารู้จัก และสามารถรักษาได้ ยังมีโรคที่รักษาไม่หายขาด เช่น มะเร็ง หรืออย่างกรณีโรคไม่เป็นที่รู้จักและหมอก็ไม่รู้จะ รักษายังไง ก็จะนิยามโรคนั้นตามความเชื่อว่า “ผีเข้า” หมายถึง การเจ็บป่วยเพราะคุณไสยถูกคนมีวิชาอาคมทา ให้ป่วย เป็นต้น (ลาลูแบร์, ๒๕๑๐, หน้า ๑๗๔-๑๗๕) ใน “ตาราพระโอสถพระนารายณ์ ” กล่าวถึง โรคที่น่าจะเป็นกันมากในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์และขุน นาง แบ่ ง เป็ น ๕ ชนิ ด ได้ แ ก่ ๑. โรคและอาการของ ระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการลงท้อง, เบื่ ออาหาร,

เจ็บในท้อง, ริดสีดวงทวาร, อาเจียน, ท้องขึ้น, ท้องพอง, พยาธิในลาไส้, ลมจุกเสียด เป็นต้น ๒. โรคและอาการที่ เกี่ยวแก่เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และประสาท เช่น อาการ เส้นตึง, เส้นกล่อน, เส้นอัมพฤกษ์, อัมพาต, ตะคริวจับ, เมื่อยขบ เป็นต้น ๓. โรคและอาการของระบบการหายใจ และโรคตา เช่น เป็นหวัด, คัดจมูก, ปวดศีรษะ, ปวด จมูก, ริดสีดวงจมูก, เลือดกาเดา, ปวดตา, ไอ, มองคล่อ เป็นต้น ๔. โรคติดเชื้อ เช่น เป็นฝีแบบต่างๆ, เป็นแผล เปื่อย, เป็นหนอง, เป็นฝีในหู, กามโรค (ซิฟิลิส), ไส้ด้วน, ไส้ ล าม, จุ ก กระผาม, ม้ า มย้ อ ย (ไข้ จั บ สั่ น ) เป็ น ต้ น ๕. โรคและอาการไม่สบายอื่นๆ เช่น ไข้ต่างๆ ถูกสัตว์มี พิ ษ กั ด ต่ อ ย ผมร่ ว ง ปั ส สาวะไม่ อ อก เป็ น ต้ น (ชยั น ต์ พิ เ ชี ย รสุ น ทร แม้ น มาส ชวลิ ต และวิ เ ชี ย ร จี ร วงส์ , ๒๕๔๔, หน้า ๒๕) นอกจากนี้ ตามที่ ก รมศิ ล ปากรเคยรวบรวม ข้อมูลและจัดทาหนังสือเกี่ยวกับบันทึกต่างชาติ ให้ข้อมูล ว่า ความรู้การแพทย์โบราณของสยามและอุษาคเนย์นั้น ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ ๔ ชนิด คือ ดิน, น้า, ลม, ไฟ ซึ่งสามารถแบ่งแยกธาตุดังกล่าวได้เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่สามารถมองเห็นได้ เช่น กระดูก, เนื้อหนัง, เลือด ฯลฯ และส่วนที่ไม่สามารถมองเห็นได้คือ ลมและ ไฟในร่างกาย สาเหตุความเจ็บป่วยของมนุษย์เกิดจาก การแปรปรวนของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของร่างกาย มนุษย์ข้างต้น ดังนั้น การรักษาจึงออกมาในรูปการปรับ สมดุลของร่างกายเพื่อให้ธาตุองค์ประกอบทั้งสี่ กลับมา อยู่ในสภาวะปกติ เป็นต้น (โกมาตร จึง เสถียรทรั พ ย์ , หน้า ๙-๑๐ ; ศิลปากร, ๒๕๕๖, หน้า ๑๓๗)

ความหมายของคาว่า “ห่า” ในวัฒนธรรม ภาคกลางของสยาม “โรคห่า” นับเป็นโรคภัยไข้เจ็บที่มีความสาคัญ ในประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยใหม่ ถึงขั้นเป็นสาเหตุการ ล่ ม สลายกั บ การเกิ ด ขึ้ น ของเมื อ งใหม่ “ห่ า ” เป็ น ค า

๕๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


โบราณใช้นิยามปรากฏการณ์ ที่เ กิด ขึ้นในปริมาณมาก ภายในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาษาไทยมีคาเรียกฝนที่ ตกลงมามากว่ า “ฝนห่ า ” หรื อ “ห่ า ฝน” ในเอกสาร “จดหมายเหตุโหร จ.ศ. ๑๐๘๗-๑๒๑๗” ได้มีการกะ ปริมาณน้าฝน เพื่อบอกถึงความมากน้อยในปริมาณน้าที่ ตกในแต่ละปี เช่น “ปีขาล จ.ศ. ๑๐๙๒ ฝน ๔๐๐ ห่า” “ปีเถาะ จ.ศ. ๑๐๙๗ ฝน ๑๐๐ ห่า” (ประมูลธนรักษ์, ๒๕๕๑, หน้า ๕-๖) ดังนี้เป็นต้น แต่หากคานี้ ใช้กับคน เป็นคาด่า มีความหมายในแง่ลบ เช่น สบถว่า “ห่าเอ้ย” “ห่ า เหว” “ห่ า กิ น ” หรื อ ใช้ ต่ อ ว่ า อย่ า งรุ น แรง เช่ น “ไอ้ห่า” “อีห่า” “ห่าจิก” เป็นคาหยาบคาย ผสมกับชื่อ สัตว์อัปมงคลก็ยิ่งเลวร้ายหนัก เช่น “ห่าเหี้ย” และยัง ปรากฏใช้กับสิ่งสักดิ์สิทธิ์ เช่น “ผีห่า” เป็นต้น ถือตามหลักข้อนี้ “โรคห่า” ก็คือ โรคที่มีผู้ป่วย ถึงล้มตายเป็นจานวนมากในคราวเดียวกัน โรคอะไรที่ทา ให้ ค นตายมาก ก็ เ ข้ า ข่ า ยเป็ น “โรคห่ า ” ได้ ทั้ ง นั้ น เป็นนิยามศัพท์ทั่วไปสาหรับโรคระบาดในสมัยก่อน ไม่ใช่ ชื่อเฉพาะของโรค เช่น อหิวาตกโรค วัณโรค หวัด ฯลฯ โรคเหล่านี้ถ้าเป็นแล้วคนตายมากในคราวเดียวกัน ก็ถือ เป็ น “โรคห่ า ” ได้ ทั้ ง นั้ น (สุ จิ ต ต์ วงษ์ เ ทศ, ๒๕๔๔, หน้า ๑๓-๑๔) รวมถึงสถานการณ์บ้านเมืองที่เ ลวร้ า ย ผู้คนรบราฆ่าฟันกันล้มตายไปเป็นจานวนมาก ก็ถือเป็น “ห่า” อย่างหนึ่ง เพราะ “ห่า” ถูกให้ความหมายสัมพันธ์ กับการล่มสลายของบ้านเมือง ที่ไม่อาจอธิบายว่าเป็น สภาวะปกติของบ้านเมือง สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ เ มื่ อ ครั้ ง ที่ อ หิ ว าตกโรค ระบาดหนัก พ.ศ. ๒๓๖๓-๒๓๖๔ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๒) อหิวาตกโรคก็เรียกว่า “โรคห่า” ก่อนหน้านั้น บันทึก ลาลู แ บร์ ก ล่ า วว่ า โรคห่ า คื อ ฝี ด าษหรื อ ไข้ ท รพิ ษ (ลาลูแบร์, ๒๕๑๐, หน้า ๑๗๘) ภายหลังจากการระบาด ของอหิวาตกโรค กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓ ในเวลาต่อมา) ได้พยายามสอบถามวิธีการรักษาไข้ทรพิษ และอหิ ว าตกโรค จากแพทย์ ใ นคณะทู ต ของอั ง กฤษ

เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕ (ทวีศักดิ์ เผือกสม, ๒๕๕๐, หน้า ๒๕๒๖) นั่ น เป็ น ร่ อ งรอยของความรู้ จ ากอดี ต สมั ย จารี ต ที่นิยามโรคระบาด อย่างเช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ ว่า “โรคห่า” แต่หากเราจะมองว่ามันเป็นโรคภัยไข้เจ็บชนิด หนึ่ ง แล้ ว ไซร้ ปั ญ หาที่ ค้ า งคาใจส าหรั บ ผู้ ที่ อ่ าน ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้น ก็คงหลีกไม่พ้น “โรค ห่า” ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ นั้น คือโรคอะไร? ถึงได้ร้ายแรงขนาดต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านช่อง ชุมชนเดิม จากริมฝั่งแม่น้าป่าสักมาที่เยื้องตรงข้ามแนว รอยต่อระหว่างแม่น้าเจ้าพระยากับแม่น้าลพบุรี สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพใน พระนิพนธ์เรื่อง “นิทาน โบราณคดี ” ซึ่ง เป็นชิ้นเดียวกับที่ทรงมีพระวินิ จ ฉั ย ว่ า สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๑ ทรงย้ายมาจากเมืองอู่ ท อง และโรคห่ า ที่ ต้ อ งพาคนหนี ม านั้ น ทรงเห็ น ว่ า เป็ น อหิวาตกโรค บรรดามีในแถบพื้นเมืองอุษาคเนย์ (ดารง ราชานุภาพ, ๒๕๔๔, หน้า ๒๖๗) แต่เมื่อมีหลักฐานทางโบราณคดีที่ทาให้ทราบ ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ มิได้ย้ายมาจากเมืองอู่ทอง หากมาจากอโยธยาเดิม ที่ตั้ง อยู่ริมฝั่ง แม่น้าป่าสั ก เก่ า และอหิ ว าตกโรคก็ ข าดความน่ า จะเป็ น ส าหรั บ การ อพยพย้ายผู้คนหลบหนี ปล่อยให้ชุมชนเดิมรกร้างว่าง เปล่าไปสักระยะหนึ่ง แล้วถึงค่อยเข้ามาฟื้นฟูบูร ณะขึ้น ใหม่ ถึงแม้อหิวาตกโรคหรือ “โรคท้องร่วง” นั้น จะเป็น โรคติดต่อผ่านทางอาหารและน้า ทาให้เข้าข่ายเป็นโรค ระบาดได้ แต่อหิวาตกโรคไม่ทาให้เนื้อตัวผิวหนัง ผู้ ป่วย เกิดแผลอักเสบเรื้อรัง และการไม่แตะต้องศพ ยังคงเป็น ปริศนาของโรคห่าสมัยนั้นอยู่ อหิวาตกโรคระบาดมากใน สมั ย ต้ น รั ต นโกสิ น ทร์ โดยที่ ส ยามยั ง มิ ไ ด้ มี ค วามรู้ สมัยใหม่ในการจัดการกับโรคดัง กล่าวมากนัก ปรากฏ การจัดการตามความเชื่อเช่นนาเอาปืนใหญ่มายิงขับไล่ผี ด้ ว ยเชื่ อ ว่ า สาเหตุ ข องโรคนั้ น เกิ ด จากผี (โกมาตร จึ ง เสถียรทรัพย์, ๒๕๓๕, หน้า ๒๒-๒๔) วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๕๓


การไม่ทาพิธีศพในทางวัฒนธรรมคือการไม่เผา ผี เป็ น เรื่ อ งไม่ ดี ไ ม่ ง าม ญาติ ผู้ ล่ ว งลั บ หากไม่ มี ค วาม จาเป็นก็มักไม่ปฏิบัติกัน เว้นแต่มีแค้นต่อกันอย่างมาก จึงไม่ขอร่วมพิธีศพที่ถือเสมือนหนึ่งให้อภัยหรืออโหสิแก่ ผู้ล่วงลับ และหากศพไม่ได้ทาพิธีทางศาสนา ตามความ เชื่อผู้ล่วงลับก็ไม่อาจไปสู่ชาติภพใหม่ได้ เป็นมาตรการ ลงโทษหรือชาระแค้นต่อกัน แต่เมื่อไม่มีเหตุอย่างนั้นเข้า มาเกี่ยวข้อง ก็ไม่น่าที่จะไม่ทาพิธีให้แก่ผู้ล่วงลับ แต่แม้ ศพเจ้าแก้วเจ้าไท โอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ก็ยัง ต้องฝังทิ้งไว้ ภายหลังจึงทาพิธีศพให้สมพระเกียรติ แล้ว สถาปนาวัดป่าแก้วขึ้นที่บริเวณฝังพระศพนั้น (ศิลปากร, ๒๕๐๗, หน้า ๓) หากเป็นอหิวาตกโรค ก็ไม่น่าจะต้องปฏิบัติต่อ ผู้ ต ายอย่ า งนั้น สาเหตุ ก ารไม่ท าพิธี ศ พดั งกล่ า ว จึ ง ไม่ น่าจะมาจากเหตุผลทางวัฒนธรรม หากแต่เป็นไปได้ว่า จะเป็นเพราะลักษณะของโรคที่เป็นสาเหตุการตายนั้น เสี ย มากกว่ า โรคที่ ห้ า มไม่ ใ ห้ แ ตะเนื้ อ ต้ อ งตั ว ผู้ ป่ ว ย เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดการแพร่เชื้อโรค และเป็นโรคที่ ท าให้ ผู้ ค นล้ ม ป่ ว ยตายไปเป็ น จ านวนมากภายใน ระยะเวลาอันสั้น ยังน่าสงสัยและมีความเป็นไปได้ว่าจะ เป็ น โรคอื่ น ซึ่ ง ในช่ ว งสมั ย คริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ ๑๔ จาก ประวัติศาสตร์ของตะวัน ตกและจีนมีอยู่โรคหนึ่งที่แพร่ ระบาดหนักอยู่ในยุคนั้น คือ “กาฬโรค” (แปลตรงตัวมา จาก Black Death)

“โรคห่า” (กาฬโรค) ในสมัยสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๑ กับการสถาปนา กรุงศรีอยุธยา ประเด็นที่เคยมีผู้เสนอว่าโรคห่าในสมัยนั้นคือ “อหิวาตกโรค” ในเบื้องต้นเป็นข้อสรุปที่ไม่ได้มาจากการ พิจารณาในขอบเขตสากล แต่หากเราพิจารณาอโยธยาอยุธยา ในฐานะนครอันเป็นส่วนหนึ่งของโลกสากลร่วม สมัยนั้นแล้ว จะเห็นได้ว่า โลกในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔

ก าลั ง เผชิ ญ โรคระบาดที่ ลุ ก ลามไปทั่ ว ทั้ ง ในยุ โ รป ตะวันออกกลาง และจีน ก็คือ “กาฬโรค” และอยุธยาก็ มีการค้ากับจีนรุ่งเรืองมาก ดังปรากฏในตานานพระนาง สร้อยดอกหมาก-เจ้าชายสายน้าผึ้ง (ศิลปากร, ๒๕๐๔, หน้า ๓๖๖-๓๗๒) และพระราชพงศาวดารที่กล่าวถึงการ เดินทางไปศึกษาศิลปวิทยาการจากเมืองจีนของเจ้านคร อินทร์ ยุพราชแคว้นสุพรรณภูมิ เมื่อกลับมาสุพรรณบุรี ไม่นาน ก็ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ที่อยุธยาตอนต้น เป็นต้น (ศิลปากร, ๒๕๐๗, หน้า ๙) จุ ด เริ่ ม ต้ น แพร่ ร ะบาดของกาฬโรค อยู่ ที่ ดินแดนรอยต่อระหว่างยุโรปกับเอเชีย ซึ่งติดต่อไปมาหา สู่กันผ่านเส้นทางสายไหม จากนั้นก็แพร่ไปยังยุโรปและ จีน โดยมีหนูเป็นพาหะนาโรค แพร่จากสัตว์สู่สัตว์ จาก สัตว์สู่คน และจากคนสู่คนในที่สุด หนูจะมีหมัดคอยกัด กินผิวหนัง กระจายเชื้อแบคทีเรีย เมื่อหนูตาย ตัวหมัด เชื้อโรคก็จะกระโดดไปเกาะผิวหนัง สั ตว์อื่นรวมถึ ง คน ด้วย และเมื่อคนติดเชื้อ ก็จะเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคแพร่ อย่างรวดเร็ว เพราะสามารถติดต่อส่งผ่านเชื้อโรคจาก คนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โดยทางอากาศและลมหายใจได้ ด้วย เมื่อผู้ป่วยตายการเข้าใกล้หรือแตะต้องศพยังทาให้ ติดเชื้อจากคนตายได้ จึงเป็นเหตุให้ล้มป่วยและเสียชีวิต กั น เป็ น จ านวนมากในเวลารวดเร็ ว (สุ จิ ต ต์ วงษ์ เ ทศ, ๒๕๔๔, หน้า ๑๓-๑๔) เมื่อไม่มียารักษาได้ทันท่วงที การทิ้ง ถิ่นฐาน ชุมชนไปอยู่ที่อื่น จึง เป็นทางออกที่สามารถนาใช้ไ ด้ใน ยามคับขันปัจจุบัน ทันด่วน สมเด็จพระรามาธิบ ดีที่ ๑ ก็ เ ลื อ กข้ า มมาอยู่ อี กฟากหนึ่ง ของแม่ น้า พระต าหนัก เวียงเล็กหรือพื้นที่วั ดพุ ทไธศวรรย์ อยู่เยื้องถัดไปจาก บริ เ วณแหลมบางกะจะ ระหว่ า งนั้ น ก็ ท รงคอย ระแวดระวั ง สถานการณ์ ก ารระบาดของโร คอ ยู่ กับแสวงหาที่ตั้ง ศูนย์กลางแห่ง ใหม่ จึง ได้เลือกสถานที่ ตรงตาบลหนองโสนเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางชุมชนเมือง แห่งใหม่ (ศิลปากร, ๒๕๐๔, หน้า ๓๘๘-๓๙๘)

๕๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


เอกสารประเภทตานาน “พงศาวดารเหนือ” เล่าว่า ทรงให้อามาตย์ผู้หนึ่งออกไปเสาะหาที่ชัยภูมิเป็น เวลา ๑๕ วั น อ ามาตย์ ผู้ นั้ น จึ ง กลั บ มาทู ล รายงานว่ า บริเวณหนองโสนมีความเหมาะสม (ศิลปากร, ๒๕๐๔, หน้ า ๓๙๒) ทั้ ง ที่ น่ า จะทรงรู้ จั ก บริ เ วณนี้ เ ป็ น อย่ า งดี เพราะมีกลุ่มโบราณสถานในบริเวณนี้ ที่มีอายุการสร้าง มาตั้งแต่ก่อนรัชสมัยพระเจ้ารามาธิบดีอยู่หลายแห่ง เช่น วั ด มงคลบพิ ต ร ที่ พ ระเจ้ า สายน้ าผึ้ ง ทรงให้ ส ร้ า งขึ้ น , วัดธรรมิกราช ที่พระเจ้าธรรมิกราชทรงสร้างอุทิศถวาย แด่พระเจ้าสายน้าผึ้ง พระราชบิดาของพระองค์, วัดสวน หลวงสพสวรรค์ พระเจ้าสินธพอมรินทร์ (พระยาแกรก) สร้ า งขึ้ น ในสถานที่ ถ วายเพลิ ง ศพพระยาโคตรบอง, วั ด กุ ฎี ท อง พระเจ้ า สิ น ธพอมริ น ทร์ ท รงสร้ างขึ้ น ไม่ ป รากฏเหตุ ผ ลที่ ท รงสร้ า งแน่ ชั ด , วั ด แม่ น างปลื้ ม ซึ่งแม้จะไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่นอน แต่ภายใน วั ด มี เ จดี ย์ ใ หญ่ สิ ง ห์ ล้ อ ม ศิ ล ปะแบบเดี ย วกั บ เจดี ย์ ประธานวัดธรรมิกราช เป็นต้น ถึ ง แม้ จ ะอยู่ ไ ม่ ไ กลเท่ า ไรเลย จากวั ด พุ ท ไธศวรรย์ และเป็นบริเวณที่รู้จักเป็นอย่างดีอยู่แล้วก็ตาม แต่เหตุที่ต้องสารวจตรวจตราอยู่ถึง ๑๕ วัน จึงมาเข้าเฝ้า ถวายรายงานนั้ น (ศิ ล ปากร, ๒๕๐๔, หน้ า ๓๙๒) ก็อาจจะเป็นเพราะเป็นไปได้ว่าเป็นการสารวจตรวจตรา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อความแน่ ชัดว่ า บริเวณดัง กล่า วนี้ ปลอดพ้นจากการแพร่ระบาดของโรคร้ายแล้วหรื อ ยั ง นั่นเอง การเปลี่ยนย้ายจากเส้น ทางแม่น้ าป่ า สัก และ ขุดคูขื่อหน้าคั่นระหว่างชุมชนใหม่กับชุมชนเก่า มาเป็น การยึดกุมพื้นที่ชัยภูมิของแม่น้าเจ้าพระยาและบริเวณ ปลายน้าของแม่น้าลพบุรี เป็นเหตุให้นักประวัติศ าสตร์ รุ่นก่อนมองเชื่อมโยงถึงสาเหตุของโรคห่าสมัยสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๑ ว่าน่าจะโรคที่มีสาเหตุเกิ ด จากน้ า แต่การยึดกุมพื้นที่ชัยภูมิดังกล่าวยังมีความเป็นไปได้อีก ทางว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับการกุมเส้นทางการค้าภายในที่

อยุ ธ ยาตอนต้ น มี ต่ อ สุ พรรณบุ รีแ ละลพบุ รี (Kasetsiri, 1992: 75-79) ส าหรั บ การค้ า กั บ จี น แม้ อ ยุ ธ ยาตอนต้ น จะ ไม่ไ ด้ตั้ง อยู่ในเส้นทางสายไหม (ที่เชื่อมยุโรปกับเอเชีย เข้าด้วยกัน) แต่ระบบการค้า ของยุ คเส้น ทางสายไหม ก็ส่งผลต่อการขยายตัวของการค้าในภูมิอื่นที่สัมพันธ์กัน ด้วย สินค้าจากจีนที่ไปสู่ยุโรป จึงมีสินค้าจากภูมิภาคอื่น เช่น จากเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ เป็นต้น (Kasetsiri, 1992: 75-79) ระหว่างยุโรปกับจีน นั้น รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ยังไม่ปรากฏการ เข้ า มาของชาวยุ โ รป โปรตุ เ กสที่ ม าเป็ น ชาติ แ รกก็ ใ น รั ช สมั ย สมเด็ จ พระรามาธิ บ ดี ที่ ๒ (เป็ น รั ช กาลที่ ๑๐ กรณีที่นับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เป็นรัชกาลที่ ๑ แห่ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา) ยุ โ รปจึ ง ไม่ ใ ช่ ภู มิ ภ าคที่ ส่ ง กาฬโรคมา ให้กับอยุธยาตอนต้น แต่กับจีนนั้น นับเป็นชาวต่างชาติ ภาษา ที่มี การติดต่อปฏิสัมพันธ์กับอยุธยามาเนิ่นนาน และอยุธยา ก็ ด าเนิ น ความสั ม พันธ์ กับ จี นในรู ป การค้ า บรรณาการ (จิ้มก้อง) ๓ ปีต่อ ๑ ครั้ง การค้ากับจีนแม้จะนาพาความ มั่งคั่งรุ่งเรืองมาให้กับอยุธยาอย่างมาก (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๔๔, หน้า ๙๓-๑๐๒) แต่การติดต่อกันในช่ว งที่ จี น กาลังมีโรคระบาดอยู่นั้น ก่อความเสียหายให้กับอยุธยา ด้วยเช่นกัน เป็นไปได้อย่างมากว่า ในเรือสาเภาที่มาจาก จีน นอกจากจะบรรทุกสิน ค้ าแล้ว ยัง พกพาพวกหนู ๆ ที่มีหมัดเชื้อโรคร้าย มายังอยุธยาด้วย การค้าบรรณาการ มักกระทาทุกๆ ๓ ปี เมื่อจีนมีโรคระบาดก็ง่ายที่คณะฑูต กับพ่อค้าจะเป็นผู้นาเชื้อโรคมาสู่พระนครด้วย และเหตุ ที่บ้านเรือนราษฎร วัดวาอาราม และพระราชวัง ตั้งอยู่ ใกล้ชิดติดกัน ผู้คนเดินไปมาหาสู่อยู่ตลอด จึงทาให้เชื้อ โรคแพร่กระจายลุกลามไปอย่างรวดเร็ว กาฬโรคส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของไทยสยามอยู่ ห ลายประการ นอกจากการย้ า ย ศูนย์กลางที่ตั้งเมือง และทางด้านภาษาที่มีคาว่า “ห่า” วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๕๕


ดังที่กล่าวข้างต้นนี้แล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อสภาพทาง ศาสนาและวัฒนธรรม กล่าวคือ สมัยนั้นยังไม่มีความรู้ เรื่อง “เชื้อโรค” (ทวีศักดิ์ เผือกสม, ๒๕๕๐, หน้า ๑๙๒๕) เมื่อเกิดการเจ็บป่วยจนคนล้มตายเป็นจานวนมาก นักปราชญ์ปัญ ญาชนก็จะอธิบายตามคติความเชื่อทาง ศาสนา ว่าโรคร้ายนั้นเป็นผลมาจาก “กรรม” ทั้งกรรม ของบุคคล กรรมของผู้ปกครอง และกรรมของบ้านเมือง จึ ง เกิ ด ประเพณี แ ก้ ก รรมอั น เป็ น ฐานหลั ก ให้ กั บ วั ฒ นธรรมอยุ ธ ยาในเวลาต่ อ มา ได้ แ ก่ ประเพณี ก าร ทาบุญ สร้างวัด สร้างเจดีย์ หล่อพระพุทธรูป อุทิศกุศล ผลบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับและผู้ที่ยังอยู่ นอกจากนี้ความทุกข์ทรมานสาหัสร้ายแรงของ โรคภัยไข้เจ็บ ยังทาให้อาณาประชาราษฎรระลึกนึกถึง หลักปัญ จอันตรธานของพุทธศาสนา ที่ว่าด้วยยุคแห่ ง ความเสื่อม สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนถูกมองว่าเป็นไปสอดคล้อง กับ “กลียุค” หรือ “ยุคเข็ญ ” ที่ปรากฏในหลักคาสอน ดั ง กล่ า ว การสถาปนาพระนครขึ้ นใหม่ นอกจากเพื่อ แก้ไขสถานการณ์การระบาดของโรคร้ายโดยตรงแล้ ว ยังมีความหมายเพื่อเสริมสร้างกาลังใจแก่อาณาประชา ราษฎรว่า บ้านเมืองได้ผ่านพ้นกลียุคเข้าสู่ยุคใหม่เป็นที่ เรียบร้อยแล้ว จริง อยู่ว่าประเพณีและหลักค าสอนดัง กล่ า ว สามารถกระท าและเชื่ อ ถื อ กั น ด้ ว ยเหตุ ผ ลอื่ น ที่ ไ ม่ จ าเป็ น ต้ อ งเป็ น ผลมาจากโรคระบาด แต่ เ มื่ อ ลอง พิ จ ารณาว่ า ส าหรั บ ผู้ ค นพลเมื อ งที่ ล้ ว นมี ญ าติ มิ ต ร มีบรรพชน ที่ต่างล่วงลับไปในชั่วเวลาไม่นาน เพราะโรค ระบาด ประเพณีและคาสอนนี้จะมีความสาคัญต่อคนใน สั ง คมมากเพี ย งใด นั บ เป็ น สาเหตุ แ รกๆ ที่ ท าให้ พระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัดวาอาราม นับร้อย

“ไข้ทรพิษ” ในสมัยสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถ กับ การก่อตังองค์กรรัฐทาง การแพทย์ “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวง ประเสริฐ อักษรนิติ์ ” กล่าวถึง เหตุการณ์หนึ่ง ที่เ กิ ด ใน สมั ย รั ช กาลสมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ เมื่ อ พ.ศ. ๑๙๙๗ ว่า “ศักราช ๘๑๖ จอศก (พ.ศ. ๑๙๙๗) ครั้งนั้น คนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก ” (โหราธิบดี, ๒๕๔๔, หน้า ๑๖) พระราชพงศาวดารฉบับอื่นๆ ก็กล่าวตรงกัน เพียงแต่ศักราชมีความคลาดเคลื่อน จาก พ.ศ. ๑๙๙๗ (ตามพระราชพงศาวดารฉบั บ หลวงประเสริ ฐ ฯ) เป็ น พ.ศ. ๑๙๘๓ (ตามพระราชพงศาวดารฉบั บพัน จั น ทนุ มาศ) แต่ พ ระราชพงศาวดารฉบั บ หลวงประเสริ ฐ ฯ ถือเป็นฉบับเก่าไม่ไ ด้ถู กช าระในสมัย ต้นรั ตนโกสิ น ทร์ จึง เป็นที่เชื่อถือกันว่ าให้เ ลขศั กราชที่แ ม่นย ากว่ า ฉบั บ อื่นๆ ยิ่งเมื่อเทียบกับหลักฐานชิ้นต่อไปที่จะใช้ในที่นี้ ด้ ว ย อาทิ เ ช่ น “พระไอยการต าแหน่ ง นาพลเรื อ น” ในกฎหมายตามสามดวง ตั ว บทระบุ ศั ก ราชไว้ ที่ พ.ศ. ๑๙๙๘ (ศิลปากร, ๒๕๒๖, หน้า ๒๖๒-๒๖๔) ตรง เหตุการณ์ที่จะกล่าวสืบเนื่องกัน ดังนั้น ปีเกิดเหตุการณ์ ไข้ทรพิษระบาด จึงน่าจะเป็น พ.ศ. ๑๙๙๗ ห่างจากปีที่ มี โ รคห่ า ระบาดสมั ย สมเด็ จ พระรามาธิ บ ดี ที่ ๑ เป็ น ระยะเวลากว่า ๑๐๔ ปี มีข้อน่าสัง เกตอยู่ ๒ ประการ เกี่ยวกับไข้ทรพิษในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประการแรก ไข้ทรพิษแม้คนจะล้ม ตายมาก แต่คงไม่ร้ายแรงเหมือนอย่างโรคห่าในสมัยสมเด็ จพระ รามาธิบดีที่ ๑ เพราะจากพระราชพงศาวดารฉบับหลวง ประเสริฐฯ กล่าวว่า ปีต่อมา (พ.ศ. ๑๙๙๘) สมเด็จพระ บรมไตรโลกนาถทรงส่งกองทัพไปตีมะละกา และอีกปี ถัดมา (พ.ศ. ๑๙๙๙) ก็ยัง ส่ง กองทัพไปตี “เมืองลิ ส บ ทิน” (ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าหมายถึงที่ใด) ถึงกับเสด็จไป

๕๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ตั้งทัพหลวงเป็นกองหนุนเพื่อเป็นขวัญกาลังใจแก่ไพร่พล อีก (โหราธิบดี, ๒๕๔๔, หน้า ๑๖) ถึง พ.ศ. ๒๐๐๐ จึงได้ เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ น่ า จะเป็ น ผลจากไข้ ท รพิ ษ เพราะห่ า งจากระยะเวลา ระบาดไปแล้ว ถ้าเป็นโรคห่าฝังศพไว้ เวลา ๓ ปี ถือว่า เป็นช่วงระยะปลอดภัยจากการระบาดของโรค จึงขุดศพ มาทาพิธีฌาปนกิจได้เป็นที่เรียบร้อย ปร ะ ก าร ที่ ส อง โร คห่ า ใน สมั ย สมเด็ จ พระรามาธิบดีที่ ๑ นาไปสู่การย้ายที่ตั้งศูนย์กลางอานาจ ของเมื อ ง จากริ ม ฝั่ ง แม่ น้ าป่ า สั ก มายั ง ริ ม ฝั่ ง แม่ น้ า เจ้าพระยาเยื้องจุดบรรจบกับแม่น้าลพบุรี (คือบริเวณที่ เรียกในท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยาว่า “หัวแหลม” และ หนองโสน) ขณะที่ไข้ทรพิษในสมัยสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถ ถึง แม้จะไม่ถึงกับย้ ายเมือง แต่ก็ปรากฏการ จัดการผ่านการจัดองค์กรที่เรียกว่า “ทาเนียบศักดินา” คื อ มี ก ารจั ด ตั้ ง หน่ ว ยงานราชการที่ มี อ านาจหน้ า ที่ รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโรคให้ แก่ ชาวเมือง นั่นหมายความว่าประเด็นเรื่องการแพทย์ไ ด้ ขยั บ กลายเป็ น ภารกิ จ ของรั ฐ ศั ก ดิ น าอยุ ธ ยา นั บ เป็ น ภารกิจในแบบรัฐทางโลกย์ (Secular state) ควบคู่กับ การเป็ น รั ฐ ทางจิ ต วิ ญ ญาณ (Sacred state) บทบาท หน้าที่ทางด้านศาสนาและคติความเชื่อที่ถือว่ารัฐจะต้อง มีบทบาทหน้าที่อานวยการและส่งเสริมให้ผู้คนพลเมือง บรรลุจุดหมายปลายทางตามอุดมคติของศาสนา ยังคงมี ความสาคัญและเป็นความชอบธรรมของรัฐและระบบมูล นาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพ ลพุ ทธศาสนาแบบ มหายาน ที่มีผลต่อสถาบันกษัตริย์ ปวารณาพระองค์เป็น “พุทธราชา” หรือ “พระโพธิสัตว์” อีกทั้งเนื่องจากรัฐยัง ต้องการแรงงานไพร่ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อันจะ เป็ น ประโยชน์ ต่ อ รั ฐ ให้ เ กิ ด ความเข้ ม แข็ ง ทั้ ง ทาง การทหารและการสร้างสถาปัตย์ตามความเชื่อ รัฐจึงได้

เข้ า มามี บ ทบาทหน้ า ที่ ท างการแพ ทย์ เพื่ อ เป็ น หลักประกันว่าจะได้สมาชิกพลเมืองที่มีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง กล่าวคือ ใน พ.ศ. ๑๙๙๘ เพียง ๑ ปี หลังการ แพร่ ร ะบาดของไข้ ท รพิ ษ ได้ ป รากฏหลั ก ฐานตาม “กฎหมายตราสามดวง” ว่ า มี ก ารจั ด ตั้ ง หน่ว ยงานรัฐ ขึ้นในทาเนียบศักดินา ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ขึ้ น มากว่ า ๗ หน่ ว ยงาน คื อ กรมแพทยา, กรมหมอ กุ ม าร, กรมหมอนวด, กรมหมอยาตา, กรมหมอ วรรณโรค, โรงพระโอสถ เป็นต้น (ศิลปากร, ๒๕๑๖, หน้ า ๒๖๒-๒๖๔) แต่ ล ะหน่ ว ยข้ า งต้ น มี ร ายละเอี ย ด พอจะกล่าวสรุปได้ดังนี้ กรมแพทยา มีขุนนางตาแหน่งพระศรีมโหสถ ราช แพทยาธิบดี องครักษ์ เป็นผู้บังคับบัญชา แบ่งเป็น ๒ ฝ่ า ย ๒ บุ ค คล คื อ เจ้ า กรมแพทยาหน้ า ฝ่ า ยทหาร กับ เจ้ากรมแพทยาหลังฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลด้านการแพทย์ทั่วไป มีหัวหน้าแต่ละฝ่ายรับผิดชอบ คือ ฝ่ายปลัดทูลฉลองและปลัดนั่งศาล แบ่งย่อยออกเป็น ปลัดทูลฉลอง ฝ่ายทหาร ตาแหน่งขุนราชแพทยา ดูแล ส่วนกลาง, ปลัดนั่งศาล ฝ่ายพลเรือน ตาแหน่งขุนพรม เกวี ดู แ ลส่ ว นท้ อ งถิ่ น , ปลั ด ทู ล ฉลอง ฝ่ า ยพลเรื อ น ตาแหน่งขุนรัตนแพทย ดูแลส่วนกลาง, ปลัดนั่งศาล ฝ่าย พลเรื อ น ต าแหน่ ง ขุ น พรมเกวี ดู แ ลส่ ว นท้ อ งถิ่ น นอกจากนี้ยัง มีตาแหน่ง “พัน ” ซึ่ง เป็นผู้ช่วยหมอหรือ เป็นพยาบาลอีกต่อหนึ่งด้วย กรมหมอยา แบ่ ง เป็ น ๒ ฝ่ า ย คื อ ฝ่ า ยขวา มีเจ้ากรมหมอยา ตาแหน่งออกพระทิพจักร กับ ฝ่ายซ้าย มีเจ้ากรมหมอยา ตาแหน่งออกพระสิทธิสาร ในกรมหมอ ทั้ ง ฝ่ า ยขวาและฝ่ า ยซ้ า ยยั ง มี ป ลั ด พั น หั ว หมื่ น และ พัน พนักงาน อีกส่วนหนึ่ง เป็นผู้จัดยา เตรียมยา ต้มยา และแสวงหาเครื่องสมุนไพร เตรียมไว้ให้พร้อมสรรพ กรมหมอกุมาร หมอในกรมนี้มีราชทินนามว่า ขุ น กุ ม ารเพชร, ขุ น กุ ม ารแพทย์ , ขุ น กุ ม ารประสิ ท ธิ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๕๗


และขุนกุมารประเสริฐ เป็นต้น มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะ โรคเด็ก เป็นหน่วยที่ทาหน้าที่รักษาดูแลผู้ป่วยที่เป็นเด็ก เท่ า นั้ น แบ่ ง เป็ น หน่ ว ยย่ อ ยๆ อาจเป็ น ต าแหน่ ง หมอ รับผิดชอบเฉพาะโรค กรมหมอนวด เป็นกรมใหญ่ เจ้ากรมและปลัด กรม มี ศั ก ดิ น ามากกว่ า กรมอื่ น ๆ โดยเจ้ า กรมนวด ตาแหน่งออกหลวงราชรักษา มีศักดินา ๑,๖๐๐ เท่ากับ หมอหลวงและถือเป็นหมอหลวงที่ทางานราษฎร์ไปใน ขณะเดียวกันด้วย (สังเกตราชทินนาม) ขณะที่กรมอื่นๆ ส่วนใหญ่มีศักดินาอยู่ที่ ๔๐๐ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะการ รักษาด้วยวิธีนวด เป็นรูปแบบวิธีการรักษาที่สาคัญเป็นที่ นิยม เพราะอยุธยาเป็นสังคมใช้แรงงาน ความเหนื่อยล้า และปวดเมื่ อ ยตามร่ า งกายย่ อ มมี ม ากเป็ น ธรรมดา เจ้ า กรมหมอนวดมี ต าแหน่งเป็น หลวงรักษา แบ่ ง การ บริหารเป็นปลัดกรมหมอนวดฝ่ายขวา คือ หมอนวดฝ่าย ชาย มีขุนภักดีองค์เป็นปลัดกรมหมอนวดฝ่ายขวา และมี เจ้ า กรมหมอนวดฝ่ า ยซ้ า ย คื อ หมอนวดฝ่ า ยหญิ ง มีหลวงราโช เป็นหัวหน้า และขุนองครักษา เป็ นปลั ด เจ้ากรม กรมหมอยาตา รั บ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ โรคตา มีเจ้ากรมซ้ายขวาเป็นหัวหน้า ตาแหน่งขุนราชเนตร เป็น เจ้ากรมหมอยาตาฝ่ายขวา ขุนทิพเนตร เป็นเจ้ากรมหมอ ยาตาฝ่ายซ้าย นอกจากนี้ยังมีตาแหน่งรองๆ ลงมา ได้แก่ ขุน, หมื่น, พัน ดูแลรับผิดชอบในแต่ละลาดับ กรมหมอวรรณโรค รับผิดชอบเกี่ยวกับการ รักษาบาดแผลชนิดต่างๆ ที่ปรากฏบนผิวหนังร่างกาย มีหลวงสิทธิแพทย์เป็นเจ้ากรม ขุนมหาแพทย์เป็นปลัด กรมฝ่ า ยขวา ขุ น สาระแพทย์ เ ป็ น ปลั ด กรมฝ่ า ยซ้ า ย ตาแหน่งรองลงมา ได้แก่ ขุนไชยแพทย์ และตาแหน่งขุน หมื่น และพัน ตามลาดับ โรงพระโอสถ มีออกญาแพทยพงษาวิทสุทธาธิบดี เป็นผู้กากับดูแล โรงพระโอสถเป็นหน่วยงานที่เก็บ รั ก ษาดู แ ลและเสาะแสวงหายาสมุ น ไพรชนิ ด ต่ า งๆ

จึงเป็นอีกกลุ่มชนนอกเหนือจากกลุ่มพ่อค้าชาวจีน ที่มี สิทธิพิเศษในการเดินทาง เพื่อเสาะแสวงหายาสมุนไพร มาไว้สาหรับใช้ไม่ให้ขาด เปรียบเหมือนเป็นคลังยาให้กับ กรุ ง อี ก ทั้ ง ยั ง มี ห น้ า ที่ ป ระสานงานกั บ กรมอื่ น ๆ ที่ มี บทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ประสานงานกับ หมอหลวง, หมอพระและหรือบาทหลวง, และหมอเชลย ศักดิ์ที่มีอยู่ทั่วราชอาณาจักร (ศิลปากร, ๒๕๑๖, หน้า ๒๖๒-๒๖๔) ส่วนหมอหลวง ตาม “พระไอยการตาแหน่งนา พลเรื อ น” หมอหลวงหรื อ แพทย์ ข องราชส านั ก มี ราชทินนาม พระศรีมโหสถราชแพทยาธิบดีศรีองครักษ์ บางท่ า นควบต าแหน่ ง เป็ น เจ้ า กรมแพทยาหน้ า ด้ ว ย มีศักดินา ๑,๖๐๐ การแพทย์แผนที่ไ ด้รับ ความเชื่ อ ถื อ และถือเป็นสังกัดของหมอหลวง เดิมทีได้แก่ การแพทย์ แผนจีน ภายหลังเมื่อชาติตะวันตกเข้ามาค้าขาย ในเรือ สิ น ค้ า มั ก มี ห มอเดิ น ทางมาด้ ว ย และหมอที่ ม าในเรื อ สินค้าตะวันตกเช่น โปรตุเกส, ดัตช์, อัง กฤษ, ฝรั่ง เศส ก็มักจะได้รับเชิญเข้าสู่ราชสานัก ควบคู่กับที่บาทหลวงที่ เข้ามาเผยแผ่ศาสนา ก็มักทาหน้าที่หมอรักษาคนไข้ไป ด้วย (Pombejra, 1992: 25-43) ส าหรั บ แพทย์ แ ผนพื้ น เมื อ ง วิ ธี ก ารรั ก ษาที่ พื้นฐานที่สุดนั้น ลาลูแบร์เล่าว่า “ในกรุงสยามนั้น ถ้าใคร ป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มทาให้เส้นสายยืดโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ ในทางนี้ ขึ้นไปบนร่างกายของคนไข้ และใช้เท้าเหยียบๆ กล่าวกันว่า หญิงมีครรภ์มักจะใช้ให้เด็กเหยียบ เพื่อให้ คลอดบุตรง่าย” (ลาลูแบร์, ๒๕๑๐, หน้า ๑๗๔-๑๗๕) ที่มาของยานอกจากได้จากการเสาะแสวงหาด้วยตนเอง ของโรงพระโอสถแล้ว ยัง มีผู้รวบรวมนาเอามาขายยั ง สถานที่ เ รี ย กว่ า "ตลาดป่ า ยา” ปรากฏหลั ก ฐานตาม เอกสาร “คาให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม: เอกสาร จากหอหลวง” ระบุว่า “มีร้านขายเครื่องเทศเครื่องไทย ครบสรรพคุ ณ ยาทุ ก สิ่ ง ชื่ อ ตลาดป่ า ยา” (ศิ ล ปากร, ๒๕๕๕, หน้า ๒๐)

๕๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า ยาซึ่งเป็นพืช สมุนไพร จะสามารถซื้อหาได้จากตลาดทั่วไปทั้งตลาด บกและตลาดน้าที่มีอยู่รายรอบเมืองพระนครศรีอยุธยา หน้ า ที่ ข อง ออก พ ร ะ แพ ทย พ ง ษ า ผู้ ก ากั บ ดู แ ล โรงพระโอสถนั้ น นอกจากคอยระวั ง และรั ก ษาโรค ระบาดในกรุงแล้ว ยังมีอานาจหน้าที่ในการเดินทางเสาะ แสวงหายาสมุ น ไพรจากทั่ ว ราชอาณาจั ก ร มาไว้ ยั ง โรงพระโอสถ เพื่อเป็นคลังยา เมื่อเวลาฉุกเฉิน โดยออก พระแพทยพงษาจะมี “ตะบองแดง” เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แสดงตน หากชุมชนหมู่บ้านใด ไม่อนุญาตหรือให้ความ ร่วมมือในการเก็บยา ก็จะมีโทษ แต่ในความเป็นจริงออก พระแพทยพงษา คงเดินทางไปไม่ไกลจากเมืองหลวง เท่าใดนัก

สรุปและข้อเสนอแนะ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ อันเป็นช่วงที่ การแพทย์แผนตะวันตกยังไม่เ ข้า มามีบ ทบาทมากนั ก ความรู้ทางการแพทย์แบ่งออกเป็น ๒ สาขา คือ “แพทย์ แผนพื้ น เมื อ ง” กั บ “แพทย์ แ ผนจี น ” ถึ ง จะเป็ น ยุ ค ที่ ก า ร แ พ ท ย์ แ ผ น ต ะ วั น ต ก ยั ง ไ ม่ มี บ ท บ า ท เ ท่ า คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ และหลังจากนั้นเรื่อยมา ก็ไม่อาจ กล่าวได้ว่า แนวคิดการแพทย์แผนพื้นเมืองที่ไ ด้รับการ ยกย่องเป็น “การแพทย์แผนไทย” ในภายหลังนั้น เป็น แนวคิ ด ที่ มี แ พร่ ห ลายในดิ น แดนอุ ษ าคเนย์ อื่ น ๆ ด้ ว ย เพราะเป็นการแพทย์ที่ได้รับอิทธิพลความรู้ในเรื่องธาตุ ทั้ง สี่ของกรีกโบราณ ส่งผ่านมายังอุษาคเนย์โดยมีชาว มุสลิมและอินเดีย เป็นผู้นาเข้ามา (Reid, 1988: 52-53) เนื่องจากเป็นสังคมที่มีการใช้แรงงานเป็นอัน มาก ความเจ็ บ ป่ ว ยที่ มี ใ นชี วิ ต ประจ าวั น ของไพร่ จึ ง น่าจะได้แก่ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย การรักษาด้วย วิธีการนวดเป็นที่นิยม เพราะเป็นวิธีการรักษาที่เรียบง่าย และสะดวกเป็ น ที่ สุ ด เมื่ อ เที ย บกั บ วิ ธี ก ารใช้ ย ารักษา อีกทั้งความรู้เรื่องยา ถึงแม้จะเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถ

หาได้ ง่ า ยในท้ อ งถิ่ น แต่ ค วามจ ากั ด ขององค์ ค วามรู้ เกี่ยวกับยาสมุนไพร การจาแนกประเภทพืชว่า พืชชนิด ไหนเป็นยาสมุนไพร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง เป็นความรู้ที่ ไม่มีการถ่ายทอดอย่างเป็นสาธารณะ หากแต่จากัดการ ถ่ายทอดแต่เฉพาะในวงศ์ตระกูล สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ อภิสิทธิ์ของคนเป็นหมอ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ สังคมอยุธยา เผชิ ญ ปั ญ หาโรคระบาดอยู่ ๒ ช่ ว งเวลาด้ ว ยกั น คื อ “โรคห่ า ” ในรั ช สมั ย สมเด็ จ พระรามาธิ บ ดี ที่ ๑ และ “ไข้ ท รพิ ษ ” หรื อ “โรคฝี ด าษ” ในรั ช สมั ย สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ การจัดการกับโรคระบาดทั้ง สอง ช่วงเป็นทั้งสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงและเป็นผลลัพธ์ จากความเปลี่ยนแปลงโดยตัวมันเอง การจัดการกับโรค ห่าในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ในรูปแบบการ ย้ายเมืองหนีนั้นเป็นที่มาของการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓ นั่นหมายความว่า โรคห่าเป็นสาเหตุทาให้ เกิดกรุงศรีอยุธยาใหม่ และการจัดการกับไข้ทรพิษในรัช สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็มีผลต่อการเกิดขึ้น ของหน่วยงานสาคัญ ในทาเนียบศักดินา อันเป็นผลมา จากการปฏิ รู ป การเมื อ งการปกครองในรั ช กาล นั่นหมายความว่า รัฐได้แสดงบทบาทการเป็นผู้นาทาง โลกย์ (Secular state) ควบคู่ กั บ เป็ น ผู้ น าทางจิ ต วิญ ญาณ (Sacred state) และบทบาทแรกก็ จะค่ อ ยๆ มีอิทธิพลกาหนดจนกลายเป็นบทบาทหลักของสถาบัน กษัตริย์อยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ การเข้ า มามี บ ทบาททางการแพทย์ อ ย่ า งสูง ของชาติตะวันตก ทั้งในรูปหมอหลวงและบาทหลวงใน คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ส่งผลให้เกิดการปรับตัวทางความรู้ ชุดใหญ่ จนเป็นที่มาของการรวบรวมตาราที่ชื่อ “ตารา พระโอสถพระนารายณ์ ” เริ่ ม รวบรวมตั้ ง แต่ ใ นสมั ย สมเด็จพระนารายณ์ แต่มาแล้วเสร็จตกในรัชสมัยสมเด็จ พระศรีสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) แต่ทว่า “ตาราพระ โอสถพระนารายณ์ ” แทนที่จะแสดงออกถึง อัตลักษณ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๕๙


พื้นถิ่นของอยุธยา ปรากฏว่าบันทึกการรักษาเหล่านั้น กลับแสดงให้เห็นอิทธิพลต่างชาติและการผสมผสานอยู่ หลายอย่าง ซึ่งสามารถศึกษาให้ละเอียดลงลึกได้ในงาน ชิ้นอื่นต่อไป ความเข้ า ใจที่ ว่ า การแพทย์ ส มั ย ใหม่ กั บ การแพทย์แผนตะวันตกเป็นการแพทย์แผนเดียวกันนั้น นับเป็นความเข้า ใจที่ ผิ ดพลาด ขาดการมองในมิ ติ เ ชิ ง ประวัติศาสตร์ เพราะการแพทย์แผนตะวันตกนั้นเข้ามา มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การแพทย์ แ ผนที่ นิย ามว่า เป็ นการแพทย์ แผนไทยนั้น มาเป็นเวลานานก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ แล้ว อีกทั้งก่อนหน้านั้นการแพทย์แผนตะวันตก ก็ ยั ง มี ก ารแพทย์ แ ผนจี น และอิ น เดี ย ที่ แ ฝงอยู่ ใ น การแพทย์พื้นเมืองอุษาคเนย์ เนื่องจากสภาพอากาศคล้ายคลึงกัน อาหาร การกิ น ก็ ค ล้ า ยกั น ลั ก ษณะการใช้ ร่ า งกายแรงงานก็

คล้ายกันอีก ซ้ายัง มีอิทธิพลความรู้การแพทย์แ บบจี น และอินเดียอยู่ในท้องถิ่นเหมือนกันอีก ก็ทาให้ทั้งความ เจ็บไข้ไ ด้ป่วยและวิธีการรักษาโรคของบ้านเมืองต่างๆ ในอุษาคเนย์ช่วงเวลาเดียวกั นนั้น มีความคล้ายคลึง กัน ตามมา แต่ สิ่ ง ส าคั ญ ที่ ม ากกว่า ความคล้ า ยคลึง กันนั้น ก็คือประเด็นคาถามที่ว่า การจัดการกับโรคภัยไข้ เ จ็ บ ของรัฐและสัง คมในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละสัง คมนั้น ส่งผลอย่างไรต่อความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างคาตอบกว้างๆ หรือแนวทางที่ได้จาก การศึ ก ษาในงานชิ้ น นี้ ก็ ไ ด้ แ ก่ โรคระบาดนั้ น เป็ น ประเด็นสาคัญเกี่ยวข้องกับการสถาปนาศูนย์กลางของ ราชอาณาจักรสาคัญในประวัติศาสตร์ไทยอย่างกรุงศรี อยุธยา อีกทั้ง ยัง เป็นสาเหตุเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งทาง สังคมที่เรียกกันว่า “ระบบศักดินา” ในสังคมสยามเช่น ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (๒๕๓๕). แนวคิดไทยเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงานการพัฒนา การแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย. ชยันต์ พิเชียรสุนทร แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์. (๒๕๔๔). คาอธิบายตาราพระโอสถพระนารายณ์ฉบับเฉลิม พระเกียรติ ๗๒ พรรษามหาราชา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์การพิมพ์และมูลนิธิภมู ิปัญญา. ดารงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (๒๕๔๔). นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของ ชาติ สานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ทวีศักดิ์ เผือกสม. (๒๕๕๐). เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๔๕). “สถานะขององค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุขไทย วาระการ วิจัยและแนวทางการศึกษาในอนาคต” ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และชาติชาย มุกสง (บก.). (๒๕๔๕). พรมแดนความรู้ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ประทีป ชุมพล. (๒๕๔๑). ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย การศึกษาจากเอกสารตารายา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร. ประมูลธนรักษ์, พระยา. (๒๕๕๑). “จดหมายเหตุโหรฉบับพระยาประมูลธนรักษ์” ใน ประชุมจดหมายเหตุโหร รวม ๓ ฉบับ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ต้นฉบับ.

๖๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ลาลูแบร์, ซิมองต์ เดอ. (๒๕๑๐). จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร, กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า. ศิลปากร, กรม. (๒๕๐๔). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เล่ม ๒ พงศาวดารเหนือฉบับพระวิเชียรปรีชา (น้อย). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. ศิลปากร, กรม. (๒๕๐๗). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์คลังวิทยา. ศิลปากร, กรม. (๒๕๑๖). กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. ศิลปากร, กรม. (๒๕๕๕). คาให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม: เอกสารจากหอหลวง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ศิลปากร, กรม. (๒๕๕๖). “การแพทย์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ” ใน นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสาร ต่างประเทศ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: สานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๔๔). อยุธยายศยิ่งฟ้า: ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มติชน. โหราธิบดี, พระ. (๒๕๔๔). พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ แสงดาว. Brun, Viggo. (2015). “Traditional Thai Medicine” in Selin Helaine. (ed.). (2015). Medicine Across Cultures: History and practice of medicine in non-Western cultures. Dordercht: Kluwer Acedemic publishers. Kasetsiri, Charnvit. (1992). “Ayudhya: Capital-port of Siam and Chinese connection in fourteenth and fifteenth centuries” Journal of the Siam Society (JSS). 80,1. Pombejra, Dhiravat na. (1992). Court, Company and Campong: Essays on the VOC presence in Ayutthaya. Pra nakorn Sri Ayutthaya: Ayutthaya Historical Centre. Reid, Anthony. (1988). Southeast Asia in the Age of Commerce 1450-1680: Volume One: The lands below the winds. New Haven and London: Yale University Press.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๖๑


บทความวิชาการ สาขาประวัติศาสตร์

บทบาทพระสงฆ์กับการเมืองกรุงศรีอยุธยา Role of Monks in Ayutthaya Politics สหภัส อินทรีย์ / Sahapat Insee อาจารย์ประจาสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ กรุงศรีอยุธยาเป็นดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของบ้านเมือง พระมหากษัตริย์ในกรุงศรีอยุธยาทรงเป็นพระจักรพรรดิราชตามคติของจักรวาลวิทยา ชาวกรุงศรีอยุธยาเชื่อว่าการสร้าง วั ด จะท าให้ ไ ด้ บุ ญ มาก เพื่ อ ให้ ผ ลบุ ญ ส่ ง ผลให้ มี ชี วิ ต ที่ ดี ใ นโลกหน้ า จึ ง ส่ ง ผลให้ มี ก ารสร้ า งวั ด กั น อย่ า งแพร่ ห ลาย นอกจากนั้นส่งผลให้พระสงฆ์มีจานวนมากตามจานวนวัด บทบาทของพระสงฆ์มีผลต่อสภาพสังคมและการเมืองในกรุง ศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก ทั้งการเมืองในอาณาจักร บทบาทการเมืองระหว่างอาณาจักร และตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาจนถึง ยุคปัจจุบันนี้พระสงฆ์ยังคงมีบทบาทต่อสังคมไทย คาสาคัญ: พระสงฆ์, การเมือง, กรุงศรีอยุธยา

Abstract Ayutthaya Kingdom was located in Southeast Asia where Buddhism was its main religion. Ayutthaya kings were considered as the emperors according to the cosmological doctrines. Ayutthaya people believed that, by building a temple, a lot of merit could be gained together with the good effects on a new life. This belief brought about a lot of temples built with a large number of the monks there. Accordingly, monks had an important role in Ayutthaya social and political conditions both inside and outside the kingdom. Nowadays, monks are still found to have a major role in Thai society. Keyword: monk, politics, Ayutthaya Kingdom

๖๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


บทนา กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาเป็ น ราชธานี ที่ มี อ ายุ ย าวนาน ที่สุดของดินแดนไทย ลักษณะการปกครองของกรุงศรี อยุธยานั้นมีการแบ่งออกเป็นสองส่วนตั้งแต่ ที่ สมเด็ จ พระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งมี ลักษณะ ใกล้ เ คี ย งปั จ จุ บั น กล่ า วคื อ การปกครองอาณาจั ก ร ซึ่ ง ผู้ ป กครองสู ง สุ ด นั้ น ก็ คื อ พระมหากษั ต ริ ย์ และ ศาสนจักร เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร พุทธศาสนาเป็น ศาสนาที่ ร าษฎรส่ ว นใหญ่ใ นอาณาจั กรมีค วามเคารพ นับถืออย่างมาก สังคมอยุธยาจึงมีพระสงฆ์เป็นจ านวน มาก จึงต้องมีการปกครองพระสงฆ์ขึ้น โดยการปกครอง พระสงฆ์ในศาสนาพุทธนั้น พระมหากษัตริย์จะสถาปนา หรื อ แต่ ง ตั้ ง พระสงฆ์ ที่ มี ค วามรู้ ใ นก ารปก คร อ ง และแตกฉานในพระธรรมวินั ย อีกทั้งยังเป็นที่เลื่อมใส ของราษฎรและภิกษุ สงฆ์ทั่ วไปขึ้นปกครองศาสนจั ก ร โดยการปกครองนี้ จ ะมี ก ารล าดั บ ขั้ น ไม่ ต่ า ง จาก การปกครองบ้านเมืองของขุนนางตาแหน่งต่างๆ อย่างไร ก็ดีพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ในการปกครองบรรดาพระสงฆ์ ยังมีบทบาทต่อการปกครองบ้านเมืองอีกด้วย การแบ่ง สมณศักดิ์มีดังนี้ “ฝ่ายพระสงค์ไซ้, สมเด็จพระสัง คราช ค า ม า ว สี , อ รั ญ ว า สี ,” ( พ ร ะ ม ห า นิ พ น ธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า๑๒๓) ซึ่งพระสงฆ์ในกรุงศรีอยุธยา มีการแบ่งเป็นฝ่ายคามวาสี และฝ่ายอรัญวาสี กล่าวคือ ฝ่ า ยคามว าสี เ ป็ น พ ร ะ สง ฆ์ ใ น เมื อ ง มี ก าร ศึ ก ษา พระไตรปิฎกเป็นหลัก ฝ่ายอรัญวาสีเป็ นพระฝ่ายวัดป่ า หรื อ วั ด นอกเมื อ ง มี ก ารศึ ก ษาด้ า นวิ ปั ส นา ดั ง นั้ น พระสงฆ์ในระดับต่างๆ จึงมีความสาคัญต่อบ้านเมือง

เนือหา กรุงศรีอยุธยามีฐานะเป็นราชธานีของสยามใน อดี ต ถึ ง ๔๑๗ ปี นั บ เป็ น ราชธานี ที่ ย าวนานที่ สุ ด พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาต่างๆ ที่มีการ นับถือในกรุงศรีอยุธยาโดยมีทั้งศาสนาพราหม์ – ฮินดู

ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ที่มีการนับถือในเหล่าบรรดา ชาวตะวันตก ศาสนาอิสลามมีการนับถือในบรรดาขุ น นางที่มีเชื้อสายแขกกลุ่มสายต่างๆ อย่างไรก็ดีศาสนาที่มี การนับถืออย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลต่อสัง คมมาก ที่สุดคือศาสนาพุทธ พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทรง เป็นองค์สมมุติเทพตามคติพราหมณ์ – ฮินดูในทางการ ปกครอง แต่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุ ทธศาสนิ ก ชน โดยมักจะสร้างศาสนสถาน บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เพื่อสะสมบุญ บารมีทั้ง เพื่อพระองค์เอง หรือแม้แต่ผู้ที่ เกี่ยวข้องกับพระองค์ ซึ่ง สามารถยกตัวอย่างได้เช่นวัด พระศรีสรรเพชญ์ (วัดเชตุพน วิมลมังคลาราม, ๒๕๓๕, หน้า ๖) แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังมาก่อน เมื่อ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์พระองค์ดาริ ให้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ขึ้นเพื่อเป็นวัดในพระราชวัง เพื่อใช้ในการบาเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์หรือของ พระบรมวงศ์ชั้นสูง, วัดสบสวรรค์ สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิง สมเด็จพระนเรศวร วั ด วรเชษฐ์ สมเด็ จ พระเอกาทศรถทรงสร้ า งเพื่ อ เป็น อนุสรณ์ต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าปราสาท ทอง ทรงสร้างวัดไชยวัฒนาราม (กรมศิลปากร, ๒๕๑๕, หน้า ๓๒๖) เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดป่า) ณ บริเวณนิเวศ สถานเดิมของพระพันปีหลวง ซึ่งในการนี้สมเด็จพระเจ้า ปราสาทองได้แต่ง ตั้ง เจ้าอาวาสให้ด ารงสมณศัก ดิ์ เ ป็ น พระอชิ ต เถรราชาคณะฝ่ า ยอรั ญ วาสี (กรมศิ ล ปากร, ๒ ๕ ๔ ๘ , ห น้ า ๖ ) เ ป็ น ต้ น ดั ง นั้ น จ ะ เ ห็ น ไ ด้ ว่ า พระมหากษัตริย์เป็นผู้สร้างวัดและยังสถาปนาสมณศักดิ์ ให้กับพระสงฆ์ได้ตามพระราชอานาจ สถาบันสงฆ์จึงมี บทบาททางสังคมตลอดจนทางการปกครองด้วย อนึ่งศาสนาพุทธเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนสยาม หรือสุวรรณภูมิตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ ในสมัยพระเจ้า อโศกมหาราช จากนั้ น ศาสนาพุ ท ธได้ เ ข้ า มาอี ก เป็ น ระยะๆ ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พ่อขุนศรีอินทรา ทิตย์ได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และในรัชสมัย วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๖๓


พ่อขุนรามคาแหงมหาราช พระองค์ทรงนาศาสนาพุทธ นิกายลัง กาวงศ์ได้เข้ามาเป็นศาสนาประจากรุงสุโขทัย โ ด ย พ ร ะ อ ง ค์ ไ ด้ รั บ เ อ า ศ า ส น า พุ ท ธ ม า จ า ก นครศรีธรรมราชที่มีการนับถือ มาก่อน ส่งผลให้เกิดการ สร้างศาสนสถานขึ้นมาจานวนมาก นอกจากนี้ยังนาศา สนสถานของพราหมณ์ – ฮินดูที่ไม่ได้ใช้แล้ว มาปรับปรุง ให้เป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ พระสงฆ์ในสมัยพ่อ ขุ น รามค าแหงมหาราชมีบ ทบาทมากในการอบรมสั่ง สอนในราษฎรเป็ น คนดี มี ศี ล ธรรม นั บ ตั้ ง แต่ พ่ อ ขุ น รามคาแหงมหาราชได้นาศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์จาก นครศรีธรรมราช ศาสนาพุทธได้ เจริญรุ่งเรืองขึ้ น มาก และเจริญ สูง สุดในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ พญาลิ ไ ท มี ก ารแต่ ง วรรณกรรมทางพระพุ ท ธศาสนา ตลอดจนมีการนาเอาหลักพระพุทธศาสนามาใช้หลักการ ปกครอง พระสงฆ์จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากมีการ นาเอาหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง ดังนั้นวัดจึงเป็น ศู น ย์ ร วมของผู้ ค นในสั ง คมเพื่อ ประกอบกิ จ กรรมทาง ศาสนา และยั ง มี ห น้ า ที่ เ ป็ น ศู น ย์ เ รี ย นรู้ ใ นด้ า นการ ปกครอง และวิชาชีพต่างๆ เพื่อให้ราษฎรส่งบุตรหลาน มาศึกษา พระสงฆ์จึงมีบทบาทหน้าที่สาคัญต่ออาณาจักร และมีบทบาทต่อการปกครองของอาณาจักรทั้งทางตรง และทางอ้อมอีกด้วย เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นมาทางภาคกลางตอนล่าง ของดินแดนลุ่มน้าเจ้าพระยา กรุงศรีอยุธยาจึงได้มีก าร ติดต่อกับกรุงสุโขทัย จากนั้น พ.ศ. ๑๙๑๔ (กรมศิลปากร, ๒๕๑๕, หน้ า ๔๔๔ )ในรั ช สมั ย สมเด็ จ พระ บรม ราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) สามารถยึดครองกรุ ง สุ โ ขทั ย เป็ น เมื อ งประเทศราช กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาจึ ง ได้ รับ มรดกความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนาและ ด้านอื่นๆสืบต่อจากกรุงสุโขทัย ดังนั้นเมื่อศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีการนับถือกันอย่างแพร่หลายดังจะเห็นว่า กรุงศรีอยุธยามีวัดอยู่จานวนมาก ซึ่งส่งผลให้จานวนของ

พระสงฆ์มีอยู่มากเช่นกัน กอปรด้วยระบบชนชั้นในสังคม กรุงศรีอยุธยาที่พระสงฆ์ได้รับอภิสิทธิ์ในสังคม พระสงฆ์ เป็นกลุ่มคนในสังคมที่มีฐานะสูงและไม่ต้องสังกัดมูลนาย ไม่ต้องเกณฑ์แรงงาน ดังนั้นจึงส่งผลให้ในกรุงศรีอยุธยา จึงมีพระสงฆ์จานวนมาก ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิชได้ กล่ า วในหนั ง สื อ ฐานั น ดรไพร่ ว่ า “เลกวั ด ” ( ขจร สุขพานิช, ๒๕๕๖, หน้า ๒๕) ซึ่งกล่าวถึงวัดมีคนในบังคับ เช่นเดียวหน่วยงานราชการ หรือขุนนาง (การสักเลขเป็น การสารวจกาลังพลเพื่อใช้ในยามสงคราม เริ่มใช้ในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒)ของไพร่ในสังกัดอย่างเด่นชัด ดั ง นั้ น พระสงฆ์เ ป็ นผู้ ที่ มี บ ทบาทในการขั ด เกลาสัง คม และวัดก็มีคนในบังคับไว้คอยรับใช้พระสงฆ์หรือทางาน ต่ า งๆ ในอาณาบริ เ วณวั ด หรื อ ที่ พ ระสงฆ์ จ ะให้ ไ ปท า จานวนพระสงฆ์ในกรุง ศรี อยุ ธยาจึง มี มากด้ วยเหตุ ผ ล ดังกล่าว อย่างไรก็ดีวัดถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของราษฎร ตลอดจนเป็นแหล่ง เรียนรู้ศิลปะวิทยาการทั้งหลาย อีก ทั้ ง คณะสงฆ์ ยั ง มี ก ารจดบั น ทึ ก เรื่ อ งราวต่ า งๆ เพื่ อ สามารถนามาศึกษาเรื่องราวในอดีต ซึ่ง พลตรี หม่อม ราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี ได้กล่าวในหนังสือพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงานคัด สรรว่า “คัมภีร์จุลวงษ์นี้ เองที่เป็นพระราชพงศาวดาร ฝ่ายสงฆ์ที่เรียนรู้กันมาในสมัยอยุธยา” (ศุภวัฒย์ เกษม ศรี, ๒๕๕๒, หน้า ๘๘) จะเห็นได้ว่าพระสงฆ์เป็นผู้บันทึก เพื่อใช้ในการศึกษานั้นเอง ในกรุง ศรีอยุธยาราชสานักจึง ต้ องมีการดู แ ล บรรดาพระสงฆ์ โดยใช้ พ ระสงฆ์ ป กครองกั น เองเพื่ อ ความเหมาะสมในการปกครอง ซึ่ ง มี ก ารแบ่ ง การ ปกครองตามลาดับขั้น ดังคาให้การชาวกรุงเก่าได้กล่าว ว่ า เกี่ ย วกั บ การสถาปนาอ านาจให้ กั บ พระสงฆ์ ดั ง นี้ “พระองค์จึงได้สร้างพระอารามต่างๆ เป็นการทานุบารุง พระพุทธศาสนาฝ่ายพุทธจักร ได้อาราธนาพระสังฆราช ผู้รู้ปริยัติธรรมแตกฉาน มาอยู่ในพระอารามหลวงตาบล วัดท่าทรายแห่งหนึ่ง ให้เป็นประธานสงฆ์และบอกกว่าสั่ง

๖๔ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


สอนพระปริยัติธรรมไตรปิฎกแก่พระภิกษุสงฆ์ทั้ง ปวง” (กรมศิลปากร, ๒๕๑๕, หน้า ๔๗) ดังนั้นสถาบันสงฆ์ถือ ว่ า มี ค วามส าคั ญ ทางสั ง คมที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ใ ห้ ความสาคัญ เพราะพระสงฆ์มีความใกล้ชิดกับประชาชน ในฐานะผู้ให้ความรู้ด้านต่างๆ จากข้อความข้างต้นพระสงฆ์นั้นมีความสาคัญ ในสังคมกรุงศรีอยุธยา และบางครั้งจะพบว่ามีพระสงฆ์ที่ บวชด้ ว ยเหตุ ผ ลทางการเมื อ ง ซึ่ ง จากการศึ ก ษาจาก พงศาวดารและเอกสารทางประวัติศาสตร์ พบว่าผู้เข้า เข้ามาบวชด้วยเหตุผลทางการเมืองจะเป็นผู้ที่มีตาแหน่ง หน้ า ที่ ใ นการปกครองบ้ า นเมือ งหรือ เชื้ อพระราชวงศ์ นั้นเอง พระสงฆ์ที่มีเชื้อสายราชวงศ์บางรูปได้บวชเรียน จนได้ รั บ สมณศั ก ดิ์ ก็ มี พระสงฆ์ ที่ ท รงสมณศั ก ดิ์ ยั ง มี บทบาททางการเมืองทั้งในพระอาณาจักรและระหว่าง อาณาจักร ดังจะกล่าวต่อไปนี้

บวชเพื่อหลบภัยการเมือง การที่เชื้อพระราชวงศ์ออกผนวชทางการเมือง มี อ ยู่ จ านวนไม่ น้ อ ย พระสงฆ์ ที่ ม าบวชการเมื อ งก็ มี เหตุผลของแต่ละรูป แต่หลักๆ ก็คือการหลบหนีจากราช ภัยทางการเมือง เช่นการออกผนวชของพระเฑียรราชา ซึ่ ง พงศาวดารหลายฉบั บ ได้ ก ล่ า วตรงกั น ว่ า ในช่ ว งที่ สมเด็ จ พระไชยราชาสวรรคตใน พ.ศ.๒๐๗๐นั้ น พระเฑียรราชาพระอนุชาต่างพระมารดาทรงกล่าวว่ า “ครั้นกูจะหยู่ไนคราวาสะบัดนี้, เห็นภัยจะบังเกิดมีเปน มั่นคง, ไม่เห็นสิ่งไดที่จะเปนที่พึ่งได้. เห็นแต่พระพุทธ สาสนา, และผ้ า กาสาวพั ต ร, อั น เปนทงชั ย แห่ ง พระ อรหันต์, จะเปนที่พานักพ้นภัยอุปัทวอันตราย. ครั้นดา หริแล้ว, ก็ออกไปอุปสมบท, เปนภิกสุภาวะหยู่นะวัดราช ประดิสถาน” (พระมหานิพนธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า๑๖) พระเฑี ย รราชาทรงหนี ภั ย การเมื อ งโดยการบวชเป็ น พระสงฆ์ ทรงลี้ภัยการเมืองเนื่องจากขณะนั้นพระนางศรี สุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชสามารถกุมอานาจไว้ไ ด้

หากพระเฑี ย รราชาหนี ไ ปซ่ อ งสุ ม อ านาจยั ง หั ว เมื อ ง ภายนอกกรุงศรีอยุธยาอาจจะเสี่ยงต่อการถูกกวาดล้าง ได้ ดั ง นั้ น การบวชเป็ น สิ่ ง ที่ ดี ที่ สุ ด ขณะเดี ย วกั น นั้ น พระองค์สามารถรวบรวมข้าทาสไว้ได้เพราะวัดสามารถมี ไพร่หรือทาสในสังกัดได้ นอกจากนี้ยังมีกรณีพระศรีศิลป์พระโอรสองค์ เล็กของสมเด็จพระไชยราชากับพระนางศรีสุดาจันทร์ที่ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงรับมาเลี้ยง ได้ก่อกบฏใน พ.ศ.๒๐๘๗ ดั ง มี ป รากฏในพงศาวดารว่ า “ลุ สั ก ราช ๙๐๖ ปีมะโรงฉสก, ฝ่าพระสรีสิลป์ ผู้น้องพระยอดฟ้ า พระองค์ เ อามาเลี้ ย งไว้ , จนอายุ ไ ด้ ส ามสิ บ สี่ ปี , จิ่ ง ให้ ออกไปบวดเปนสามเนรหยู่ น ะวั ด ราชประดิ ส ถาน, พระสรีสิลป์มิได้ตั้งหยู่ไนกตัญญูส้องสุมพลคิดการกบด” (พระมหานิพนธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า๔๗) การบวชของ พระศรีศิลป์ครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน ตามที่ ส มเด็ จ พระมหาจั ก รพรรดิ เ ห็ น ชอบ ซึ่ ง สมเด็ จ พระมหาจักรพรรดินาพระศรีศิลป์ มาเลี้ ยงดู (คุรุสภา, ๒๕๐๔ , หน้า ๓๖) เนื่องจากเห็นเป็นพระราชนัดดา โดย ตามปกติแล้วพระศรีศิลป์จะต้องถูกสาเร็จโทษด้วยท่อน จันทร์ตามพระมารดาลงไปตามกฎมณเฑียรบาล ดังนั้น การทาผิดจารีตประเพณีเช่นนี้จึงเป็นการที่เสี่ยงมากต่อ พระราชบัลลังก์ และเมื่อยิ่งอยู่ในฐานะของพระสงฆ์หรือ สามเณรจึงส่งผลให้วัดเป็นที่ประชุมหรือชุมนุมของกบฏ ที่ มี หั ว หน้ า เป็ น เชื้ อ พระวงศ์ ม าบวช จากเหตุ ก ารณ์ ที่ พระศรี ศิ ล ป์ เป็ นกบฏนั้น ได้ ส่ ง ผลให้ ผู้ ส มรู้ร่ว มคิดนั้น ต้องโทษตามกันไปถึงแม้เป็นพระสงฆ์ก็ตาม เมื่อเกิดกบฏ หลายครั้ ง จะขอยกตั ว อย่ า งของกบฏพระศรีศิ ล ป์ ที่ไ ด้ กล่าวข้างต้นว่า “สมเด็ดพระมหาจักรพัดิราชาธิราชาเจ้า , ก็สเด็ดคืนเข้าพระราชวัง. ครั้นรู้ว่าพระพรรนรัตน์วัดป่า แก้วไห้เริกส์พระสรีสิลป์เปนแท้, ก็ให้เอาพระพรรนรัตน์ วัดป่าแก้ว, แลพระยาเดโช พระยาท้ายน้า, พระยาพิชัย รนริทธ์, หมื่นภัคดีสวรรค, หมื่นไพนรินทรค่าเสีย, เอาไป เสียบไว้นะตแลงแกง, กับพระศรีสิลป์.” (พระมหานิพนธ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๖๕


เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า ๔๘) หากดูจากผู้ก่อการกบฏครั้งนี้ มีขุนนางระดับชั้นตั้งแต่พระยา หมื่น ตลอดจนพระสงฆ์ ทรงสมณะศักดิ์ มีสามเณรพระศรีศิลป์เป็นหัวหน้ากบฏ มีพระพรรนรัตน์เป็นพระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์มีศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้าร่วมจานวนหนึ่ ง ถึงจะ เป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์หากได้เข้าร่วมการกบฏตาม ซึ่ ง ตามกฎหมายจึ ง ต้อ งประหาร หากมองเจตนาของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิในการสาเร็จโทษพระภิกษุเป็น การปรามพระสงฆ์ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งก่อนที่ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น พระมหากษั ต ริ ย์นั้ น พระองค์ เ คยต้ อ งออกผนวชเป็น พระสงฆ์ อ ยู่ ช่ ว งระยะหนึ่ ง เพื่ อ หนี ภั ย ทางการเมื อ ง พระองค์คงจะรู้ว่าการอยู่ในฐานะภิกษุสงฆ์สามารถมั่ว สุ ม เป็ น กบฏได้ ดั ง นั้ น พระองค์ จ าต้ อ งท าบาปหนั ก ที่ สังหารพระสงฆ์เพื่อแลกกับความสงบในบ้านเมืองตลอด รัชกาลของพระองค์ หลั ง จากที่ ส มเด็ จ พระมหาจั กรพรรดิ ได้ สละ ราชสมบัติให้สมเด็จพระมหินทราธิราชใน พ.ศ.๒๐๙๕ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงออกผนวชอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๐๙๗ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการที่พระเทพกษัตรีถูกลักพา ตัวไปยัง กรุงหงสาวดี และหลังจากที่สมเด็จพระมหินท ราธิราชกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชร่วมมือกันตีเมืองพระ พิษณุโลกของสมเด็จพระมหาธรรมราช โดยมีพงศาวดาร ระบุไว้ว่า “สมเด็ดพระมหาจักรพัดิพระเจ้าช้างเผือกก็ เสด็ดออกซงผนวด, ข้าราชการก็ออกบวดโดยสเด็ดเป็น อันมาก.” (พระมหานิพนธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า ๗๐) หากวิเคราะห์จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าเป็นการบวช เพื่ อ หนี ค วามวุ่ น วาย พระองค์ อ าจจะออกผนวชเพื่ อ ต้องการความสงบ ซึ่งพระองค์ทรงชรามากแล้ว โดยมี ข้าราชการขุนนางออกผนวชตามด้วยนั้น การเข้าร่วมใน การบวชครั้ง นี้ของขุนนางข้าราชการจึงเป็นการแสดง ความจงรั ก ภั ก ดี แ ก่ ส มเด็ จ พระมหาจั ก รพรรดิ หรื อ

อาจจะบวชเพื่อเป็นการเปิดทางให้กับขุนนางของสมเด็จ พระมหินทราธิราชก็เป็นได้ ปลายกรุง ศรีอยุธยามีการออกผนวชของเชื้อ พระวงศ์ที่มีความสาคัญทางประวัติศาสตร์ ผู้เขียนจะขอ นาเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกั บเจ้าฟ้ านเรนทร พระโอรส พระองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่ง ใน ระหว่ า งที่ พ ระราชบิ ด าประชวรใกล้ ส วรรคตพระองค์ ยังคงสมณะเพศนั้น โดยปกตินั้นพระองค์ถือเป็นผู้อยู่ใน ฐานะในการขึ้ น ครองราชย์ ส มบั ติ ไ ด้ แต่ เ หตุ ก ารณ์ เปลี่ยนไปเมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงดาริให้เจ้าฟ้า อภัยขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระองค์ โดยมีการระบุ ในพระราชพงศาวดาร ฉบั บ พระราชหั ต ถเลขา ไว้ ว่า “เจ้าฟ้านเรนทรซึ่งเป็นกรมขุนสุรเรนทรพิทักษ์เป็นภิกษุ ภาวะ เมื่อมิไ ด้รับซึ่ง ราชสมบัติ จึง มิไ ด้ลาผนวชออก” (กรมศิลปากร, ๒๕๔๘, หน้า ๑๐๗) เพื่อไม่ให้เกิดการรบ พุ่งกันระหว่างพระองค์กับพระอนุชา เจ้าฟ้านเรนทรจึง ไม่ไ ด้ทาการสึกออกมาเพื่อรับราชสมบัติ ตามที่สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระสั่ง เสียไว้ อี กทั้ง จะได้ไ ม่ต้องชิง ราชสมบัติกับเจ้าฟ้าอภัย อย่างไรก็ดีพระองค์ไม่สามารถ หยุดยั้ง สงครามกลางเมืองไว้ไ ด้ สงครามกลางเมื อ งนี้ เกิ ด ขึ้ น ระหว่ า งเจ้ า ฟ้ า พร (พระอนุ ช าในสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) กับเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศ เมื่อสงครามเสร็จสิ้นเจ้าฟ้าพรปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในรัชสมัยนี้มีเหตุการณ์สาคัญ ที่ พระมหาอุปราช เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศหรือเจ้าฟ้ากุ้งต้อง หนี ร าชภั ย ไปบวช อนึ่ ง เนื่ อ งจากเจ้ า ฟ้ า ธรรมธิ เ บศ กรมขุนเสนาพิทักษ์ได้คิดปองร้ายกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้านเรนทร) ที่อยู่ในสมณะเพศ แต่ไม่ได้ทาอันตราย ถึงชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าวพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ ทรงประชวรอยู่ได้ทราบว่าเจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศทาร้าย กรมขุ น สุ เ รนทรพิ ทั ก ษ์ ก็ ท รงพิ โ รธ ส่ ง ผลให้ เ จ้ า ฟ้ า ธรรมาธิเบศต้องออกผนวช ซึ่ง พงศาวดารได้ระบุไว้ว่า “กรมหลวงอภั ย นุ ชิ ต , พระชนนี ก รมขุ น เสนาพิ ทั ก ส์ ,

๖๖ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


สเด็ดตามไปอ้อนวอนว่า, ถ้าพ่อมิช่วยก็เห็นน้องจะตาย. กรมขุนสุเรนทพิทักส์ตรัดว่า, จะช่วยได้ก็แต่กาสาวพัตร, อันเปนทงชัยพระอรหัต. กรมหลวงอภัยนุชิตได้สติขึ้น, จึง สเด็ดเข้าไปซงพระวอ, ซ่อนพากรมขุนเสนาพิ ทั ก ส์ ออกทางประตูฉนวนไป, ไห้ซงผนวดนะวัดโคกแสง, หยู่ ด้วยกับกรมขุนสุเรนทพิทักส์นั้น. พระเจ้าหยู่หัวไห้ค้นหา ตัวไม่พบ. ได้แต่พระองค์เทส, พระองค์ชื่น, ก็ไห้ประหาร เสียด้วยท้อนจัน.” (กรมศิลปากร, ๒๕๔๘, หน้า ๑๒๔) จากเหตุการณ์ดังกล่าวหากกรมขุนเสนาพิทักษ์ไ ม่เ สด็ จ หนีราชภัยออกผนวช พระองค์คงจะต้องถูกสาเร็จโทษ ด้วยท่อนจันท์ อย่างไรก็ดีกรมขุนเสนาพิทักษ์ก็ต้องพระ ราชอาญาในคดี ลั ก ลอบเสพสังวาสกั บ เจ้า ฟ้า สัง วาลย์ พระสนมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนต้องทิวงคต ลงไป ในปลายรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าฟ้า เอกทั ศ กรมขุ น อนุ รั ก ษ์ ม นตรี ตามความอาวุ โ สและ ฐานั น ดรที่ จ ะขึ้ น เป็ น พระมหาอุ ป ราชได้ แต่ พระ เจ้าอยู่หัวบรมโกษทรงไม่ต้ องการให้เ จ้าฟ้ า เอกทั ศ ขึ้ น ช่วยราชการแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเห็นควรให้ เจ้ า ฟ้ า อุ ทุ ม พรนั้ น ขึ้ น ว่ า ราชการในต าแหน่ ง พระมหา อุปราชจะเหมาะกว่า โดยระบุไว้ในพงศาวดาร ฉบับหัตถ เลขา ว่า“จึงดารัสสั่งเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีว่า จง ไปบวชเสีย อย่า ให้ กีด ขวางเลย เจ้าฟ้ากรมขุนอนุ รั ก ษ์ มนตรีมิอาจขัดพระราชโองการได้กลัวพระราชอาญาก็ ต้องจาพระทัยทูลลาไปทรงผนวช”(กรมศิลปากร, ๒๕๔๘, หน้ า ๑๒๔.) ซึ่ ง จะเห็ น ว่ า เจ้ า ฟ้ า เอกทั ศ จ าใจที่ จ ะออก ผนวช เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้พระบรม ราชโองการรับสั่งเอาไว้ เจ้าฟ้าเอกทัศจึงต้องบวชในทาง การเมื อ งเพื่ อ รั ก ษาชี วิ ต เอาไว้ อย่ า งไรก็ ดี เ มื่ อ เจ้ า ฟ้ า อุ ทุ ม พรหรื อ เจ้ า ฟ้ า ดอกเดื่ อ ขึ้ น ครองราชย์ ส มบั ติ เ ป็น พระมหากษัตริย์ พระองค์เห็นว่าเจ้าฟ้าเอกทัศ ซึ่งเป็น พระเชษฐายังมีพระชนม์อยู่จึงถวายราชสมบัติให้กับเจ้า ฟ้าเอกทัศ “พระองค์สมเด็ดไปถวายสมบั ติ แก่ ส มเด็ ด

พระเชตถาธิราช. แล้วพระองค์ก็สเด็ดซงเรือพระที่นั่ง กิ่งเปนขบวนพยุหะมาตรา, ไปซงผนวดนะวัดเดิม แล้ว สเด็ดไปอยู่ นะ วัดประดู่” (พระครูปลัดจะเด็ด ญาณุตฺต โร, ๒๕๔๙, หน้ า ๔๙๖) จะเห็ น ได้ ว่ า พระเจ้ า อยู่ หั ว อุทุมพรจึง ออกบวชเพื่อให้เจ้าฟ้าเอกทัศที่ ใคร่ในราชย์ สมบัติมากกว่านั้นขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แล้วพระองค์ ทรง หลีกหนีไปบวชจากความวุ่นวายทางการเมือง นอกเหนือจากเชื้อพระวงศ์ออกบวชเพื่อหนีภัย การเมือง ขุนนางก็มีการบวชหนีภัยการเมืองเช่นกัน ซึ่ง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช เมื่ อ พระองค์ ท รงทราบว่ า พระเพทราชากับ หลวงสรศักดิ์ร่วมมือกันยึดราชสมบั ติ จึง ได้มีพระราช โองการถึงขุนนางที่ใกล้ชิดให้มาเข้าเฝ้า มีปรากฏในพระ ราชพงศาวดาร ฉบับ พระราชหัตถเลขาดังนี้ “จึงมีพระ ราชดารัสให้หาบรรดาชาวที่ชาววังซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม ประมาณสิบห้าคนเข้ามาเฝ้าในพระมหาปราสาทที่ นั่ ง สุธาสวรรย์ที่เสด็จทรงพระประชวรอยู่แล้วนั้น จึงมีพระ ราชโองการตรัสว่า บัดนี้ อ้ายสองคนพ่อลูกมันคิดการ เป็นกบฏ ฝ่ายเราก็ป่วยทุพลภาพหนักอยู่แล้ว เห็นชีวิต จะไม่ ต ลอดไปจนสามวั น และซึ่ ง ท่ า นทั้ ง หลายจะอยู่ ในฆารวาสนั้นเห็นว่าอ้ายกบฏพ่อลูกมันจะฆ่าเสียสิ้นอย่า อยู่เป็นคฤหัสถ์เลย จงบวชในพระบวรพุทธศาสนา เอา ธงชั ย พระอรหั น ต์ เ ป็ น ที่ พึ่ ง เถิ ด จะได้ พ้ น ภั ย ”(กรม ศิ ล ปากร, ๒๕๔๘, หน้ า ๖๒) สมเด็ จ พระนารายณ์ มหาราชเมื่อพระองค์ได้ดาริให้ขุนนางออกบวช พระองค์ จึ ง ได้ พ ระราชทานพระราชวั ง ที่ ป ระทั บ ให้ เ ป็ น เขต พุทธาวาสเพื่อให้ขุนนางได้ออกบวช ดังนั้นในช่วงก่อนที่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะสวรรคต พระองค์ทรงได้ ถวายพระราชวัง เป็นเขตพุทธาวาสและให้ขุนนางบวช เพื่อหนีภัยการเมือง

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๖๗


พระสงฆ์เชือพระวงศ์กบฏ การก่อกบฏมีหลายหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบ การยึดอานาจเบ็ ดเสร็ จ โดยขุนนาง เชื้อพระราชวงศ์ หรือแม้พระสงฆ์แต่อยู่ในสมณะเพศก็ยังสามารถก่อกบฏ ได้ ด้วยเหตุที่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระมหากษัตริย์นั้นมี อานาจมาก ส่ง ผลให้การก่อกบฏนั้นคุ้มที่จะก่อการยึด อานาจ เพราะเมื่อก่อการสาเร็จจะอยู่ในฐานะกษัตริย์ และมี อ านาจมากที่ สุ ด ในแผ่ น ดิ น ผู้ เ ขี ย นจะขอ ยกตัวอย่างของการก่อกบฏจากสงฆ์ โดยคนแรกที่อยู่ใน สมณะเพศแล้วกระทาการเป็นกบฏคือ สามเณรพระศรี ศิ ล ป์ ไ ด้ ตั้ ง ตนเป็ น กบฏต่ อ สมเด็ จ พระมหาจั ก รพรรดิ มูลเหตุทั้งหมดเกิดขึ้นจากการที่เมื่อขุนพิเรนทรเทพ ได้ ร่ ว มกั บ ขุ น นางหั ว เมื อ งเหนื อ ชิ ง ราชสมบั ติ จ ากขุ น วรวงศาธิราชกับพระนางศรีสุดาจันทร์มาให้กับพระเฑียร ราชา อย่างไรก็ดีด้วยเหตุที่พระศรีศิลป์เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระไชยราชากับพระนางศรีสุดาจันทร์ พระเฑียร ราชาเมื่ อ ขึ้ น ครองราชย์ ส มบั ติ เ ป็ น สมเด็ จ พระมหา จักรพรรดิ พระองค์ทรงไม่สาเร็จโทษพระศรีศิลป์ด้วย ท่อนจันทท์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงดาริให้พระศรี ศิลป์ไปบวชเป็นสามเณรเพื่อ ป้ องกันอันตรายจากเชื้ อ พระวงศ์ที่ไม่เห็นด้วยในการชุบเลี้ยงพระศรีศิลป์ จากนั้น เมื่อพระศรีศิลป์เติบใหญ่ขึ้นมาไม่ได้ตั้งอยู่ในสุจ ริ ต คิ ด เป็นกบฏ โดยที่มีขุนนางลาดับชั้นต่างๆ ช่วยเหลือในการ กบฏครั้งนี้ ตลอดจนพระพรรนรัตน์ (พนรัตน์/พันรัตน์/ วันรัตน์) วัดป่าแก้วก็เข้าการกบฏครั้งนี้ด้วย ส่งผลให้พระ ศรีศิลป์ ขุนนางที่ร่วมก่อกบฏ ตลอดจนพระพรรนรัตน์ ต้องโทษประหารกันทุกคน การกบฏของพระศรีศิลป์ถือ เป็นตัวอย่างที่การก่อกบฏไม่สาเร็จ ซึ่งแต่ต่างจากการ กบฏของพระศรีศิลป์อีกพระองค์หนึ่ง กล่าวคือพระศรี ศิลป์องค์นี้เข้าใจว่าจะเป็นพระโอรสองค์หนึ่งในสมเด็ จ พระเอกาทศรถ โดยพระราชพงสาวดารกรุงสรีอยุธยา ฉบับความสมเด็ดกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่มสองได้ กล่าวไว้ว่า “ลุสักราช 964 พระสรีสิลป์บวดอยู่วัดระคัง,

เพราะรู้ ไ ตรปิ ด กสั น ทั ด ได้ ส มนะถานั น ดร เป็ น พระ พิมลธัมอนันตปรีชา,” (จันทร์ กตปุญฺโญ, ๒๕๔๙, หน้า ๒๕๗) พระศรีศิลป์องค์นี้มีผู้นับถืออยู่มาก เมื่อบวชเรียน ก็ ส ามารถพั ฒ นาตนเองขึ้ น มามี ส มณศั ก ดิ์ ที่ พ ระพิ ม ล ธรรม มีลูกศิษย์อยู่มากพอสมควร กอปรด้วยสมเด็จพระ ศรี เ สาวภาคย์ ทรงไม่ ไ ด้ มี ค วามพร้ อ มที่ จ ะขึ้ น ครอง แผ่นดินตั้งแต่เริ่มแรก พระพิมลธรรมเมื่อขึ้นครองราชย์ สมบัติทรงพระนามว่าพระเจ้าทรงธรรม และเหตุการณ์ ก่ อ จะขึ้ น ครองราชย์ ส มบั ติ มี ดั ง นี้ “พระพิ ม ลเข้ า ไน พระราชวังได้ ไห้กุมเอาพระเจ้าแผ่นดินไปไห้พันทนาไว้ ไห้มั่นคง รุ่งขึ้นไห้นิมนต์พระสงค์บังสุกุลร้อยหนึ่ง ไห้ธูป เทียนสมาแล้ว ก็ไห้สาเร็ดโทสด้วยท่อนจัน เอาพระสพ ไปฝัง เสียนะวัดโคกพระยา พระสรีเสาวภาคหยู่ไ นราช สมบั ติ ปี ห นึ่ ง กั บ สองเดื อ น” (พระมหานิ พ นธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า ๒๑) จากข้อความดังกล่าวจะเห็นว่ าพระ พิ ม ลธรรม เข้ า ใจว่ า เป็ น บาปมากในการส าเร็ จ โทษ สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ มีการนิมนต์พระสงฆ์จานวน มากถึ ง ร้ อ ยรู ป เพื่ อ ใช้ ใ นการบั ง สกุ ล สมเด็ จ พระศรี เสาวภาคย์ก่อนการสาเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ พระสงฆ์กับการเมืองการปกครอง บทบาทสงฆ์กับการเมืองเริ่มขึ้นที่กรุง สุโขทัย “การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมบ้านเมืองก็มี ลักษณะเช่นเดียวกับการใช้กาลังทหาร” (มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมมาธิราช, ๒๕๕๗, หน้า ๓ - ๑๖) ดังนั้นหาก ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมดินแดน พระสงฆ์ จึงมีหน้าที่สาคัญในการสั่ง สอนราษฎรในการดารงชีวิ ต หากแต่ ใ นเอกสารล้ า นนานั้ น ได้ พ บว่ า มี ก ารพู ด ถึ ง พระสงฆ์กับการเมือง ช่วงที่ล้านนาในรัชสมัยพระเจ้ า ติโลกราชทาสงครามกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือ “อันพระยาใต้บวชแล้วหื้อมาขอเมืองชะเลียง หื้อเป็นค่า เข้าบิณฑิบาตนั้น ” (สมหมาย เปรมจิตต์, ๒๕๔๐, หน้า ๘๐) จากความข้ า งต้น จะเห็ น ว่ า สมเด็ จ พระบรมไตร

๖๘ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


โลกนาถทรงออกผนวชเป็นพระสงฆ์ ได้ส่งพระสงฆ์เข้า ไปบิณฑบาตเพื่อขอดินแดนที่ล้านนายึดครองอยู่คืน พระสงฆ์ในกรุงศรีอยุธยามีบทบาทเกี่ยวข้อง กับพระมหากษัตริย์อยู่มาก ตั้งแต่เมื่อพระมหากษัตริย์ ขึ้นครองราชย์สมบัติตลอดจนเมื่อยามคับขันมีเกี่ ยวกับ บ้านเมือง พระสงฆ์ก็มีบทบาทอยู่ไ ม่น้อ ย ดัง ตัวอย่ า ง ต่ อ ไปนี้ เมื่ อ พระเฑี ย รราชาขึ้ น ครองราชย์ ส มบั ติ พระสงฆ์ยังแสดงบทบาท โดยถวายสมัญญานามให้แก่ พระมหากษัตริย์ “สมเด็ดพระสังคราชพระราชาคนะ, เสนาพรึ ท ธามาตยปโรหิ ต ถวายพระนามพระเจ้ า แผ่นดิน ” (พระมหานิพนธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า ๔๙) จากความขางต้นจะเห็นได้ว่ารายนามผู้ที่ร่วมกันถวาย พระนามให้กับพระมหากษัตริย์ มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชรวมทั้งพระราชาคณะ นอกจากนี้บทบาทในการช่วยราชการแผ่นดิน ในระดับต่างๆ ของพระสงฆ์ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อมีศึกมา ประชิด พระสงฆ์ยังมีหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางในด้าน การเมืองอีกประการหนึ่งเช่น พระราชพงสาวดารกรุง สรี อยุ ธ ยา ฉบั บ ความสมเด็ ด กรมพระปรมานุ ชิ ต ชิ โ นรส กล่าวในตอนที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เข้ามีรบพุ่งกับ เมืองพระพิษณุโลกดังนี้ “สมเด็ดพระมหาธัมราราเจ้าจึง นิมนต์พระสงค์สี่รูปออกไปฟังราชการ, พระสงค์ออกไป. สมเด็ดพระเจ้าหงสาวดีไห้นาพระสงค์ไปดูมู ล ดิน, แล บันไดหกบันไดพาด. แล้วไห้เอาข่าวไปแจ้งแก่น้องเรา. ถ้าน้องเรามิออกมา, จะไห้ทหานถือมูลดินแต่คนละก้อน ถมเมืองเสียไห้เต็มแต่ไนชั่วนาลิกาเดียว. พระสงค์ไปดู แล้วกลับมาแจ้งแก่พระมหาธัมราชาเจ้าโดยได้เห็น, แล พระเจ้าหงสาวดีแจ้งมาทุกประการ” (พระมหานิพนธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า ๕๕) นอกจากนี้บทบาทของพระสงฆ์ยังสามารถเป็น สักขีพยานในกิจกรรมทางการเมืองได้ อนึ่ง พระสงฆ์มี วั ต รปฏิ บั ติ ที่ ดี งามตั้ งอยู่ ใ นหลั ก ธรรม มี สั จ จะวาจา มี ความหน้าเชื่อถือ หากไม่ใช่พระสงฆ์ก็อาจจะได้ความ

เท็จกลับมาหรืออาจจะเสียชีวิตลงก็เป็นได้ นอกจากนี้ ขณะพระเจ้ า หงสาวดี บุ เ รงนองยกทั พ มาในคราวศึ ก ช้างเผือก พระสงฆ์ไ ด้มีบทบาทอี กครั้ง หนึ่ง ในการเป็น สักขีพยานซึ่งในพงศาวดารได้กล่าวว่า “สมเด็ดพระเจ้าพี่ เราไห้อาราธนาพระพุทธปติมากรเจ้า, พระธัมเจ้า, พระ สงค์เจ้า, มาเปนประธานก็ดีหยู่แล้ว, ขอจงเปนสัก ขี ทิ ยานเถิด” (พระมหานิพนธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า ๖๐) เมื่อดูจากสิ่ง ที่พระเจ้า หงสาวดีไ ด้ก ล่าวให้ สมเด็ จ พระ มหาจักรพรรดิอันเชิญพระสงฆ์มาเป็นพยาน ดังจะเห็น ว่าพระสงฆ์นั้นอยู่ในฐานะที่มีการเคารพนับถือเป็นอัน มาก ในช่วงระยะที่การเมืองระหว่างกรุงศรีอยุธยา กับกรุงหงสาวดีได้ทาสงครามกันนั้น ปรากฏว่าทางฝ่าย กรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาพจายอมต้องส่งพระยารามแม่ ทั พ ที่ สู้ ร บกั บ ทหารพม่ า อย่ า งกล้ า หาญ ออกไปเพื่ อ ต้องการยุติศึกในครั้งนี้ พระสงฆ์มีส่วนสาคัญในการเป็น สักขีพยานในการเมืองระหว่างสองอาณาจักรดังกล่าวไว้ ในพระราชพงสาวดารกรุง สรีอยุธยา ฉบับความสมเด็ ด กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ว่า“สมเด็ดพระมหินทราธิ ราชเจ้าแผ่นดินจึงตรัดสั่งนายก้อนทอง, ไหเออกไปทูน แก่พระมหาธัมราชาว่า, จะส่งพระยารามออกไปกาหนด ไห้มารับ. ครั้นนายก้อนทองไปแล้ว, พระเจ้าแผ่นดินไห้ จาพระยาราม, แต่งคนคุมออกไปส่งอาราธนาพระสัง ค ราชกับภิกสุสี่องค์ออกไปด้วย, ครั้นพระสังคราช, แลผู้ คุมพระยารามไปถึง, สมเด็ดพระมหาธรรมราชาไห้ถอด จาพระยารามออก, แล้วก็พาเข้าไปถวายบังคมพระเจ้ า หงสาวดี, ๆ ก็ไห้เบิกพระสังคราชเข้ามา, แล้วตรัดไห้หา พระมหาอุปราช, แลท้าวพระยาผู้ไหย่ทั้งปวงมาประชุม ไนหน้าพลับพลา, พระเจ้าหงสาวดีก็ตรัดแก่ท้าวพระยา ทั้ง หลายว่ า, พระเจ้ ากรุง พระมหานครสรี อยุ ธยา, ไห้ พระสังคราชเอาพระยารามผู้ก่อเหตุมาส่งแก่เรา, แลว่า จะขอเปนพระราชไมตรี ด้ วยเราดุ จก่ อน, ท้ า วพระยา ทั้ง หลายจงพิพากสา, ยัง จะชอบรับเปนพระราชไมตรี วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๖๙


หรือประการได. ท้าวพระยาทั้งหลายทูนว่า, ซึ่งได้พระ ยารามออกมาแล้วดั่งนี้, เสมอได้แผ่นดินสรีอยุธยา, อัน จะเปนราชไมตรีนั้นหาต้องการไม่, ขอไห้ยกเข้าหักเอา กรุงจงได้. พระเจ้าหงสาวดีตรัดว่าเราเปนกสัตรจะท า การสงครามสืบไป, ซึ่งจะทาดั่งนี้หาควนไม่ แล้วสั่งนาย ทัพนายกองทั้งปวงไห้รักสาแต่มั่นไว้หย่าไห้ประชิดรบพุ่ง เข้าไป ฝ่ายชาวพระนครก็มิได้รบ, ต่างคนต่างสงบหยู่ทั้ง สองฝ่าย. จึงพระเจ้าหงสาวดี, ก็สั่งพระสังคราชเข้ามาว่า ถ้าพระเจ้ากรุงพระมหานครสรีอยุธยา, จะเปนพระราช ไมตรีด้วยเราจิงไห้พระเจ้าแผ่นดิน, แลท้าวพระยาไหย่ ทั้งปวงมาถวายบังคม,จึงจะรับเปนราชไมตรีด้วย.” (พระ มหานิพนธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า ๘๔ - ๘๕) ก่ อ นที่ ก รุ ง ศรี อ ยุ ธยาจะตกเป็ นประเทศราช ของพม่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ ทรงออกผนวช และให้สมเด็จพระมหินทราธิราชปกครองแทน อย่างไรก็ ดีเมื่อเหตุการณ์ไม่สู้ดีนักสมเด็จพระมหินทราธิราชและ เหล่าบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ได้ร้องขอให้สมเด็จพระมหา จักรพรรดิทรงลาผนวชออกมาครองราชย์สมบัติอีกครั้ง ดังมีปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า “กราบทูลแก่ พระมหาจั ก รพรรดิ พ ระเจ้ า ช้ า งเผื อ ก แล้ ว อั ญ เชิ ญ พระองค์ ใ ห้ ท รงลาผนวชออกครองราชย์ ส มบั ติ ” (วั ด พระเชตุพน วิมลมังคลาราม, ๒๕๓๕, หน้า ๔๓) จะเห็น ได้ว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิถึงจะทรงออกผนวชแล้ว ก็ ต าม ดั ง นั้ น พระองค์ จึ ง เป็ น อี ก ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ของ พระสงฆ์ที่มีความเชื่อมโยงกับการเมือง สุดท้ายพระองค์ ก็ต้องลาผนวชออกว่าราชการอีกครั้ง เพื่อช่วยพระราช โอรสรับศึกสงคราม รัชสมัยพระนเรศวรมหาราชพระสงฆ์มีบทบาท อย่างมากในการเมืองให้เห็นเด่นชัดดังข้อความต่อไปนี้ “ครั้นนะวันอาทิจเดือนเจ็ดแรมสิบห้าค่า, สมเด็ดพระพน รัตนป่าแก้ว, แลพระราชาคนะยี่สิบห้ารูป, เข้ามาถวาย พระพรถามข่าว, ซึ่ง สเด็ดงานราชสงครามไดกะทายุ ธ หัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราช สมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวก็

แถลงการซึ่ง ปราบปัจจามิตรไห้ฟังทุกประการ สมเด็ด พระพนรัตนจึ่งถวายพระพรว่า, พระราชสมภารมีไชยแก่ ข้าสึกอีก, เปนไฉนข้าราชการทั้งปวงจึงต้องราชทันท์เล่า สมเด็ดพระพุทธเจ้าหยู่หัวจึงตรัดบอกว่า, นายทัพนายก องเหล่านี้, หยู่ไ นขบวนทัพโยม, มันกลัวข้าสึกมากกว่า โยม, ละไห้โยมสองคนพี่น้องฝ่าเข้าไปในท่ามกลางสึก, จนได้กะทายุธหัตถีกับมหาอุปราชมีชัยชานะแล้ ว, จึงได้ เห็นหน้ามัน นี้หากว่าบารมีของโยม, หาไม่แผ่นดินจะ เปนของชาวหงสาวดีเสียแล้ว เพราะเหตุดั่งนี้โยมจึงไห้ลง โทสพระอัยการสึก สมเด็ดพระพนรัตนจึงถวายพระพร ว่า, อาตมภาพพิเคราะห์ดูอันข้าราชการเหล่านี้, จะไม่รัก ไม่กลัวพระราชสมภารเจ้านั้นหามิได้ แลเหตุทั้งนี้จะไห้ พระเกียรติยสพระราชสมภารเจ้าเปนมหัสจรรย, เหมือน สมเด็ดพระสรรเพชญพุทธเจ้า, เมื่อพระองค์สเด็ดเหนือ อปราชิตบันลังก์, ควงพระมหาโพธิ์นะเพลาสายันหครั้ง นั้ น เทพเจ้ า มาเฝ้ า พร้ อ มหยู่ ทั้ ง หมื่ น จั ก รวาล, แล พระยาวสวัติมารยกพลเสนามารมาผจนครั้ง นั้น ถ้าได้ เทพดาเจ้า เปนบริ วาร, แลมีชัยแก่พระยามาร, ก็หาสู้ เปนมหามหั ส จรรยนั ก ไม่ ” (พระมหานิ พ นธ์ เขมโก, ๒๕๔๙, หน้า๑๕๙) เมื่อดูข้อความดังกล่าวจะเห็นได้ว่ า สมเด็จพระพนรัตน์สานักวัดป่าแก้ว (วัดป่าแก้วปัจจุบันนี้ ก็คือวัดใหญ่ชัยมงคล ในยุคนั้นสานักวัดป่าแก้วเป็นวัดใน เขตอรัญวาสีหรือวัดป่านั้นเอง) สมเด็จพระพนรัตน์องค์นี้ ไม่แน่ใจว่าจะเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวร มหาราชเมื่อตอนประทับอยู่นครหงสาวดีหรือไม่ แต่จาก พฤติกรรมของสมเด็จพระพนรัตน์สามารถอนุมานว่าต้อง เป็นที่นับถือเลื่อมใสของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็น อย่างมาก สมเด็จพระพนรัตน์สามารถขอบิณฑบาตชีวิต เหล่าบรรดาแม่ทัพนายกองที่ต้องโทษประหารจากกฎ พระอัยการศึก หากสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วไม่ไ ด้ บิ ณ ฑบาตชี วิ ต ของแม่ ทั พ นายกองทั้ ง หลาย กรุ ง ศรี อยุ ธ ยาคงจะประสบปั ญ หาทางด้ า นการเมื อ งภายใน เพราะขุนนางถูกประหารในครั้งนี้

๗๐ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


บทบาทพระสงฆ์ทางการเมืองระหว่าง อาณาจักร

ความหน้าเชื่อถือมากที่ สุ ดในอาณาจักรเพราะทั้ ง สอง อาณาจักรล้วนนับถือศาสนาพุทธ

ในอดีตมีอยู่หลายครั้งที่ พระสงฆ์ มีบ ทบาทที่ เกี่ยวการเมืองระหว่างอาณาจักรต่ออาณาจักร ซึ่งในรัช สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์ทรงเผชิญ กับ สงครามกับกรุงหงสาวดีหลายครั้งเช่น ทาให้พระองค์เสีย พระมเหสีจากการทายุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร จากนั้น เสียพระราเมศวรและช้างเผือกสี่เชือก ดังนั้นพระองค์จึง หาพันธมิตรเพื่อต่อต้านทหารหงสาวดี และหลักฐานการ ผู ก มิ ต รมี ร ะบุ ไ ว้ ใ นจารึ ก การสร้ า งเจดี ย์ ศ รี ส องรั ก ที่ จัง หวัดเลย ระบุชัดว่ากรุงศรีอยุ ธยากั บกรุง ศรี สั ต นาคนหุตล้านช้างร่มขาว และบริเวณเจดีย์ศรีสองรักในอดีต เป็นปริมณฑลของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยากับอาณาจักร กรุง ศรีสัตนาคตหุตล้านช้างร่ม ขาว ใจความจารึก การ สร้างเจดีย์ศรีสองรักมีดังนี้ “จึงพร้อมกันทั้งสอง กษัตริย์ ให้ไปนิมนต์เอาพระสงฆ์เจ้าตนอันมีศีลอันบริสุทธ์ ตนชื่อ ว่าพระมหาอุปรี(อุบาลี)ตน ๑ แล้วจึงนิมนต์พระอริยะ กัสสปตน๑ แล้วจึงนิมนต์พระมหาธรรมเสนาบดี ตน ๑ แล้วจึงนิมนต์พระพุทธวิลาสมหาเถรตน ๑ แล้วจึงนิมนต์ พระสุธรรมรังสีมหาเถรตน ๑ แล้วจึงนิมนต์พระวิริยาธิก มุนีตน ๑ พระสงฆ์เจ้าทั้ง ๗ ตนนี้มีลูกศิษย์บัวระบัด ๑๐ ตน ซุ่ตนแล และสงฆ์เจ้าอันอยู่ฝ่ายกรุงศรีอโยธยาตน ๑ ชื่อว่าพระครูบรมจาริยะตน ๑ พระอาริยะมุนีตน ๑ มี พระศรีวิสุทธอุตตมเป็นเค้าเป็นประธาน แลมีพระครูสุ เมธารุ จิ วิ ญ ญาตน ๑ มหาสุ ธ รรมมาตุ ล ยตน ๑ มี มหาพรหมสาร ๑ มีมหาราชมุนีตน ๑ และพระสงฆ์เจ้า ๗ ตนนี้มีลูกศิษย์บัวระบัด ๑๐ ตน” (สานักวัฒนธรรม จังหวัดเลย, ๒๕๔๗, หน้า ๓๐) จากจารึกการสร้างพระ เจดีย์ศรีสองรัก ซึ่งเป็นการร่วมมือร่วมใจกันเพื่อต้องการ ขยายอานาจของพม่า จะเห็นได้ว่ามีการนิมนต์พระสงฆ์ ที่ มี ส มณศั ก ดิ์ สู ง มาเป็ น สั ก ขี พ ยานและอยู่ ใ นฐานะผู้มี

สรุป เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้สถาปนาขึ้นมาในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ ประชาชนนับถือศาสนาพุ ทธ เป็นหลัก ศาสนสถานของศาสนาพุทธจึงก็เป็นศูนย์รวม ของสั ง คม มี ก ารท าบุ ญ มี ก ารศึ ก ษาวิ ท ยาการต่ า งๆ ส่ง ผลให้พระสงฆ์ในกรุง ศรีอยุธยาก้าวขึ้นมามีบทบาท ทางด้านการเมือง กล่าวคือ เชื้อพระวงศ์บางองค์ได้ออก บวช และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็กระทาการชิงอานาจ จากพระมหากษั ต ริ ย์ ซึ่ ง บางครั้ ง เมื่ อ ท าส าเร็ จ ก็ ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เช่น พระพิมลธรรม สามารถชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ และ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และเมื่อชิง ราชสมบัติ ไม่ไ ด้จึง กลายเป็นกบฏเช่น สามเณรพระศรีศิ ล ป์ ที่ ก่ อ กบฏในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อถูกจับกุม ได้จึงต้องโทษประหาร นอกจากนี้การบวชยัง เป็นที่หลบราชภัยจาก การเมืองได้อีกด้วย เช่น ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศได้กระทาความผิด พระราช มารดาจึง ให้ออกผนวชเพื่อหนีโทษการเมือง การเมือง ระหว่างดินแดน เพราะพระสงฆ์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน การเป็นสักขีพยานหลายครั้งในประวัติศาสตร์ เช่น ใน การผูกมิตรกันระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระ เจ้ า ไชยเชษฐาธิ ร าช จะเห็ น ได้ ว่ า พระสงฆ์ ใ นกรุ ง ศรี อยุธยามีบทบาทที่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการเมือง ในกรุงศรีอยุธยาได้

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๗๑


บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๑๕). คาให้การชาวกรุงเก่า คาให้การขุนหลวงหาวัดและพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวง ประเสริฐอักษรนิติ์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนคร: เจริญธรรม. กรมศิลปากร. (๒๕๔๘). พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่มที่ ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. นครปฐม: นครปฐมการพิมพ์. ขจร สุขพานิช. (๒๕๕๖). ฐานนันดรไพร่. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพ: สันติศิริการพิมพ์. พระมหานิพนธ์ เขมโก. (๒๕๔๙). พระราชพงสาวดารกรุงสรีอยุธยา ฉบับความสมเด็ดกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่มหนึ่ง ตั้งแต่สร้างกรุงสรีอยุธยา ถึง สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนเรสวรมหาราช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สหธรรมิก. จันทร์ กตปุญฺโญ. (๒๕๔๙). พระราชพงสาวดารกรุงสรีอยุธยา ฉบับความสมเด็ดกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่ม ๒ ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็ดพระเอกาทสรถ ถึง สิ้นแผ่นดินสมเด็ดพระนารายน์มหาราช. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก. พระครูปลัดจะเด็ด ญาณุตฺตโร. (๒๕๔๙). พระราชพงสาวดารกรุงสรีอยุธยา ฉบับความสมเด็ดกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่มสาม ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็ดพระเพทธิราช ถึง สิ้นกรุงสรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เล่ม ๑ ฉบับ พระจักรพรรดิพงศ์(จาด). (๒๕๐๔). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา สมหมาย เปรมจิตต์. (๒๕๔๐). ตานานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับสอบชาระ. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สานักวัฒนธรรมจังหวัดเลย. (๒๕๔๗). พระธาตุศรีสองรัก ดินแดนแห่งสัจจะและไมตรี อาเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. เลย: รุ่งแสงธุรกิจการพิมพ์. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ,มรว ,พลตรี. (๒๕๕๒). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต และผลงาน คัดสรร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี. วัดเชตุพน วิมลมังคลาราม. (๒๕๓๕). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและจุลยุทธการวงศ์. กทม: โรงพิมพ์มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช. (๒๕๕๗). ประวัติศาสตร์ไทย หน่วยที่ ๑-๗. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

๗๒ I วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๗๓


จดหมายเหตุพระนครศรีอยุธยา บันทึกเหตุการณ์สาคัญเพื่อเป็นความทรงจาร่วมกันของขาวอยุธยา

โดย พัฑร์ แตงพันธ์

เจดีย์วัดสามปลื้ม โดย อัญชลี บ้าสันเทียะ

เจดีย์กับนักเลงแห่งถนนโรจนะ เมื่อใครสักคนหนึ่งพูดถึง “เจดีย์นักเลง” คนอื่นก็จะเข้าใจทันที ว่าหมายถึงเจดีย์องค์หนึ่งที่ตั้งอยู่กลางวงเวียน บนถนนโรจนะ ก่อนเข้าสู่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่เรียกขานกันเช่นนั้น เพราะเจดีย์องค์นี้ตั้ง อยู่กลางถนนที่มี การจราจรคับคั่งตลอดทั้งวันโดยไม่หลีกหนี เมื่อผู้คนจะสัญจรผ่านก็จะต้องขับรถหลบเจดีย์ ประหนึ่งเป็นนักเลงที่ยืนกีด ขวางกลางถนน ให้ผู้อื่นต้องหลบเลี่ยงไปทางอื่น คาว่า “เจดีย์นักเลง” จึงถูกเรียกขานอย่างแพร่หลายในห้วงทศวรรษที่ผ่ านมา ตั้ง แต่เรียกกันด้วยความ คะนอง กระทั่งกลายเป็นคาเรียกอย่างสามัญ โดยไม่ใคร่มีผู้ใดสนใจว่า เจดีย์องค์นี้มาตั้งอยู่กลางถนนได้อย่างไร

๗๔ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


“เจดีย์” กับคนอยุธยา เจดี ย์ นั ก เลง ที่ ก ล่ า วถึ ง กั น นี้ ที่ แ ท้ มี ชื่ อ ว่ า “เจดีย์วัดสามปลื้ม” เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ที่ไม่ ปรากฏหลักฐานทางเอกสารเกี่ยวกับประวัติการสร้า ง เป็ น เจดี ย์ รุ่ น เก่ า ก่ อ อิ ฐ ไม่ ส อปู น แบบเจดี ย์ อ โยธยา นักประวัติศาสตร์ศิลปะจึงสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาตอนต้ น (กรมศิ ล ปากร, ๒๕๕๑, หน้ า ๑๖๘) จึงเป็นโบราณสถาน ที่มีอายุมากกว่า ๖๐๐ ปี แต่ เ ดิ ม คนอยุ ธ ยา เรี ย กเจดี ย์ อ งค์ นี้ สั้ น ๆ ว่ า “เจดี ย์ ” ทุ ก คนจะเข้ า ใจตรงกั น ว่ า หมายถึ ง สี่ แ ยก วงเวี ย นเจดี ย์ วั ด สามปลื้ ม เช่ น ค าพู ด ที่ ว่ า “นั่ ง รถ รอบเมืองไปลงที่เจดีย์ ” หรือ “ไปซื้อกับข้าวที่เจดีย์ ” โดยไม่หลงคิดไปว่าเป็นเจดี ย์องค์อื่น ทั้งที่อยุธยาเป็ น เมืองโบราณ มีวัดและเจดีย์อยูห่ ลายองค์ก็ตาม ย่านเจดีย์วัดสามปลื้ม เป็นศูนย์กลางการค้ า ขายขนาดย่อมๆ ของคนในบริเวณนั้น เพราะเป็นชุมทาง ที่สาคัญ คือทางทิศเหนือสามารถเดินทางไปยังเทศบาล

เมืองอโยธยา และตลาดน้าซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับ ความนิยมมากแห่งหนึ่ง ของจังหวัด ทางด้านทิศใต้เ ป็น เส้นทางสัญ จรไปยัง วัดใหญ่ชัยมงคล และวัดพนัญ เชิง ทางด้านตะวันออกเป็นเส้นทางสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๒ (สายเอเชีย) และทิศตะวันตกมุ่งสู่ตัวเมืองอยุธยา ย่านนี้จึงมีเป็นที่หยุดรถโดยสารหลายสาย และ เป็นจุดรับส่งพนักงานที่ท างานในนิ คมอุ ตสาหกรรมต่ างๆ ด้ วย บริ เวณนี้ จึ งเป็ นแหล่ งชุ มชน และหอพั ก เป็ นแหล่ ง ค้ าขายอาหารและกั บข้ าว พร้ อมด้ วยร้ านสะดวกซื้ อ ตั้ ง รวมอยู่ ใ นบริ เ วณนั้ น โดยเฉพาะในช่ ว งเย็ น ที่ นี่ จ ะ กลายเป็ น ตลาดที่ ค่ อ นข้ า งคึ ก คั ก มี ผู้ ค นมาเลื อ กซื้ อ อาหารจากรถเข็น แผงลอย และร้านค้าในบริเวณนั้ น อย่างจอแจ นอกจากนี้ ย่านเจดีย์วัดสามปลื้มยังเป็นแหล่ง ธุรกิจ มีอาคารพาณิชย์ที่ขายสินค้าและบริการหลายชนิด เช่น ร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านแก๊ส ร้านทอง ร้านขายยา คลินิกรักษาโรค ร้านค้าส่ง และร้านรับจานา เป็นต้น

ภาพถ่ายทางดาวเทียม Google Earth บริเวณวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๗๕


ที่มา: ชาวอยุธยาร่วมสามัคคีชุมชน ห่มผ้าเจดีย์วัดสามปลื้ม. (๒๕๕๙, ๒๔ เมษายน). มิติชน.

“เจดีย์” กับความศรัทธา เจดีย์วัดสามปลื้ม เป็นสถานที่ ศัก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข อง ชาวอยุธยา เป็นที่สักการะกราบไหว้ ขอพร ของผู้ค น ทั่วไป และผู้ประกอบกิจการการค้าต่างๆ ให้มีโชคลาภ ในการค้าขาย ส่วนข้าราชการที่จะเลื่อนตาแหน่งที่ สูงขึ้น ก็มักจะมาขอพร ให้ประสบความสาเร็จยิ่งใหญ่เหมือน องค์พระเจดีย์ และมักแก้บนด้วยการถวายผ้ าห่ ม องค์ พระเจดีย์ การแสดงออกถึงความศรัทธาของผู้คนที่มี ต่อ เจดีย์วัดสามปลื้ม ได้ถูกสะท้อนจากประเพณีแห่ ผ้าห่ม องค์เจดีย์ ที่ชาวบ้านและร้านค้าต่างๆ ในย่านนั้น ร่วมกัน จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี และจัดมาเป็น ระยะต่ อ เนื่ อ งกว่ า ๓๐ ปี จนภายหลั ง ได้ รั บ การ สนับสนุนจากเทศบาลเมืองอโยธยา องค์การบริหารส่วน จังหวัด ตลอดจนสื่อมวลชนหลายสานัก

ผู้ร่วมพิธีจะเขียนชื่อของตน และครอบครัวบน ผืน ผ้าที่จะนาไปห่ มองค์เ จดีย์ ก่อนนาผืน ผ้าชูไ ว้ เ หนื อ ศีรษะ และแห่เวียนรอบเจดีย์สามรอบ พร้อมด้วยขบวน แห่แตรวง แล้วจึงนาผ้าขึ้นห่มองค์เจดีย์ โดยระหว่างการ แห่ ก็จะมีประชาชน และนักท่องเที่ยวจานวนมากที่ผ่าน ไปมา พากั น จอดรถ และเดิ น ร่ ว มขบวนแห่ ไ ปรอบๆ เจดียด์ ้วย นอกจากนี้ ใ นช่ วงค่ าคื น ยัง มี การปิ ดช่ อ งทาง การจราจรส่ ว นหนึ่ ง เพื่ อ ฉายหนั ง กลางแปลง หรื อ จัดการแสดงคอนเสิร์ตลูกทุ่ง ลิเก หรือการแสดงต่างๆ ให้ชาวบ้าน และคนทั่วไปได้ชมอีกด้วย จากพิธีกรรมและความเชื่อเหล่านี้ สะท้อนให้ เห็ น ว่ า คนในท้ อ งถิ่ น ปฏิ บั ติ ต่ อ เจดี ย์ วั ด สามปลื้ ม ด้วย ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

๗๖ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


เจดีย์วัดสามปลื้ม หลังการบูรณะ พ.ศ.๒๕๐๐ จากหนังสือโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักรของกรมศิลปากร จากภาพแสดงให้เห็นพระพุทธรูปหิน ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นไม้หน้าองค์เจดีย์

นักเลงแห่งถนนโรจนะ เดิมทีเจดีย์สามปลื้ม หาได้ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว และกีดขวางกลางถนนอย่างที่เ ป็นอยู่ ในวันนี้ หากแต่ เป็นเจดีย์ประธานของวัดสามปลื้ม ที่ประดิษฐานพระ บรมอัฐิธาตุ โดยมีพระอุโบสถ และพระวิหาร รวมทั้ง เจดีย์ต่างๆ รายรอบ ตามแบบอย่างองค์ประกอบของวัด ทั่ ว ไปในสมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ซึ่ ง เมื่ อ ดู จ ากที่ ตั้ ง ทาง ภู มิ ศ าสตร์ ข องวั ด แล้ ว ถื อ เป็ น วั ด ที่ ตั้ ง อยู่ ใ นชั ยภูมิที่ดี สามารถเดินทางสะดวก เพราะทางด้านทิศตะวันตกของ วัดติดกับคลองปากข้าวสาร และทางด้านทิศเหนืออยู่ ใกล้ ค ลองกระมัง ซึ่ ง เป็ น เส้ น ทางสั ญ จรของผู้ ค นสมัย โบราณ

เจดีย์วัดสามปลื้ม พ.ศ.๒๕๕๒ ตั้งตระหง่านอยู่กลางวงเวียน ที่มีการจราจรที่คับคั่ง มีร่องรอยการกะเทาะของปูนที่หลุดร่วงไปตามกาลเวลา

กระทั่ง ความสูญ เสีย จากสงครามเสียกรุงศรี อยุธยา ครั้ง ที่ ๒ ใน พ.ศ.๒๓๑๐ ได้แปรเปลี่ยนให้ วั ด สามปลื้ ม กลายสภาพเป็ น วั ด ร้ า ง ตั้ ง อยู่ ก ลางทุ่ ง นาน มากกว่าศตวรรษ จนเมื่อเข้าสู่ พุทธทศวรรษที่ ๒๔๘๐ อั น เป็ น ห้ ว งเวลาที่ รั ฐ บาลยุ ค หลั ง เปลี่ ย นแปลงการ ปกครอง มีนโยบายพัฒนาระบบขนส่งทางรถยนต์ โดย การตัดถนนพหลโยธินมุ่งสู่หัวเมืองทางภาคเหนือ ดังนั้น ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงต้องตัดถนนเพื่อแยก จากถนนพหลโยธินที่บริเวณอาเภอวังน้อย มุ่งหน้าเข้าสู่ ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ถนนสายนี้ ซึ่ ง มี ชื่ อ เรี ย กภายหลั ง ว่ า “ถนน โรจนะ” ได้ตัดผ่านกลางวัดร้างหลายแห่งตามรายทาง รวมทั้งเจดีย์วัดสามปลื้ม ก่อนข้ามแม่น้าป่าสักที่สะพาน วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๗๗


ปรี ดี - ธ ารง เพื่ อ ไปสิ้ น สุ ด ที่ ห น้ า ศาลากลางจั ง หวั ด พระนครศรีอ ยุธ ยา ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ ใ จกลางตั วเมื อง อั น เป็น ช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีโครงการวางผังเมืองใหม่ในเกาะ เมืองอยุธยา เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งชุมชนเมือง ช่วงเวลาดังกล่าว จึงนับว่าเป็นเวลาที่น่ากังวล ว่า โบราณสถานหลายๆ แห่งในอยุธยา กาลังเสี่ยงต่อ การถู ก รื้ อ ไถ เพื่ อ สร้ า งถนนหนทางให้ เ กิ ด ความ เจริญก้าวหน้า ตามนโยบายการพัฒนาบ้านเมืองยุคใหม่ ในขณะที่ ก รมศิ ล ปากร ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานราชการที่มี บทบาทด้านทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม และสงวนรักษา โบราณสถานของชาติ ก็ได้มีความเคลื่ อนไหว โดยส่ ง หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ หัวหน้ากองโบราณคดี เดินทางมา ตรวจสอบโบราณสถานที่ ก าลั ง ได้ รั บ ผลกระทบจาก โครงการผังเมืองใหม่หลายแห่ง ทั้งในและนอกเกาะเมือง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๓ และหนึ่งในรายการที่ คณะของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เดินทางมาตรวจสอบก็คือ วัดสามปลื้มที่กาลังจะถูกถนนโรจนะตัดผ่านด้วย ถัดจากนั้น ๑ ปี ได้มีประกาศ “แจ้งความกรม ศิลปากร กาหนดจานวนโบราณสถานสาหรับชาติ ” ใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ปรากฏ รายชื่อ วัดสามปลื้ม เป็น ๑ ใน ๓๘ โบราณสถานของ จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยาที่ ไ ด้ รั บ การขึ้ น ทะเบี ย น โบราณสถานแห่งชาติครั้งนี้ ทาให้เจดีย์องค์นี้ได้รับการ คุ้มครอง มิให้บุคคลหรือหน่วยงานราชการทาลายหรือ เปลี่ยนแปลงโบราณสถาน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย โบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์ แห่งชาติ กรมทางจึงตัดถนนโรจนะเรียบผ่านไปทางด้าน เหนือขององค์เจดีย์ ต่อมาในรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีโครงการ “บูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ในช่วง พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๐ เพื่อฟื้นฟูจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้มีสภาพ “คืนดีดังเดิม” คือบูรณะวัด และถนนหนทาง

ให้สามารถใช้งานได้อย่างดี สมเกียรติแห่งอดีตราชธานี ของไทย จอมพล ป. ได้ มี ค าสั่ ง ผ่ า นคณะกรรมการ บูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้บูรณะเจดีย์วัดสาม ปลื้ ม แห่ ง นี้ และพิ จ ารณาให้ ส ร้ า งอนุ ส าวรี ย์ ส มเด็ จ พระเจ้าตากสินไว้ที่วงเวียนเจดีย์แห่งนี้ อันสอดคล้องกับ เหตุการณ์ตอนที่ สมเด็ จพระเจ้ าตากสิน ขณะยัง ดารง ต าแหน่ ง เป็ น พระยาตาก ได้ เ คลื่ อ นพลผ่ านบริเวณนี้ เพื่อมุ่งหน้าสู่หัวเมืองภาคตะวันออก ก่อนกลับมากอบกู้ เอกราช รวมทั้งให้ปรับวงเวียน ให้มีศูนย์กลางอยู่ที่องค์ เจดีย์ด้วย นอกจากนี้ การปรั บ ปรุ ง ถนนสายที่ ๕ หรื อ ถนนโรจนะช่วงในเกาะเมือง (ปัจจุบันคือ ถนนปรีดี พนม ยงค์) ให้คล้ายกับถนนราชดาเนินในกรุงเทพฯ โดยมีการ สร้างตึกแถวสองข้างถนนบริเวณเชิง สะพานปรีดี -ธ ารง เลี ย นแบบนั้ น เมื่ อ เปรี ย บแผนผั ง ของถนนโรจนะที่ อยุธยา กับถนนราชดาเนินในกรุงเทพฯ แล้ว เจดีย์วัด ส า ม ป ลื้ ม จึ ง เ ป รี ย บ ก ล า ย ๆ ไ ด้ กั บ อ นุ ส า ว รี ย์ ประชาธิปไตย ที่ตั้งตระง่านอยู่กลางจัตุรัสที่สาคัญ ก่อน เข้าสู่ศูนย์กลางตัวเมืองนั่นเอง ทว่า โครงการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโครงการใหญ่ที่มีแผนดาเนินงานหลายรายการ ซึ่งใช้ งบประมาณจ านวนมาก ประกอบกั บ ปั ญ หาทาง การเมืองของไทยในช่วงเวลานั้น ทาให้ในที่สุด ก็บูรณะ แต่ เ พี ย งองค์ เ จดี ย์ วั ด สามปลื้ ม จนแล้ ว เสร็ จ ด้ ว ย งบประมาณ ๙๕,๐๐๐ บาท โดยไม่ ไ ด้ มี ก ารสร้ า ง อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินตามที่วางแผนไว้แต่ประการใด อย่างไรก็ตาม การดาเนินการของรัฐบาลใน ห้วงเวลานี้เอง ได้กาหนดบทบาทให้เจดีย์วัดสามปลื้มทา หน้าที่เป็น “จุดสังเกต” (landmark) หรือเป็น “หมาย เมือง” โดยตั้งตระหง่านอยู่กลางสี่แยกสาคัญก่อนเข้า สู่ ตั ว เมื อ ง คอยเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ใ ห้ นั ก เดิ น ทางรู้ ว่ า การ

๗๘ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


เดินทางสู่เมืองพระนครศรีอยุธยาของเขาใกล้สิ้น สุด ลง แล้ว ภายหลั ง การคมนาคมในละแวกตั ว เมื อ ง พระนครศรีอยุธยา เริ่มคับคั่งมากขึ้น จึงมีการขยายถนน โรจนะออกไปจนสุดที่กว้างได้ ทาให้รถยนต์ รถโดยสาร และ ร ถบร ร ทุ ก ขน าดใหญ่ วิ่ ง ผ่ า น ไ ปมา สร้ า ง แรงสั่นสะเทือน และสะสมรอยแตกร้าวให้กับองค์เจดีย์ อยู่ตลอดเวลา และภาพลักษณ์ขององค์เจดีย์องค์นี้ ใน ฐานะที่เป็นสัญ ลั กษณ์ ส าคัญ ในการเดิน ทางสู่ ตั ว เมื อ ง อยุ ธ ยา ก็ ยิ่ ง ถู ก ลดทอนความลงไป ด้ ว ยบรรดาป้ า ย โฆษณาน้อย-ใหญ่ และป้ายหลอดไฟ LED ขนาดยักษ์ ที่ พากันช่วงชิงความสนใจจากสายตาของผู้คนที่สัญจรผ่าน ไปเสี ย สิ้ น จนในที่ สุ ด ความหมายของเจดี ย์ อ งค์ นี้

ก็กลายเป็น “นักเลง” ที่ยืนขวางกลางถนน ในสายตา ของผู้คนที่สัญจรไป-มา นั่นเอง เมื่ อ ทบทวนจากข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ น าเสนอไปใน บทความนี้ น่าจะเห็นแล้วว่า เจดีย์วัดสามปลื้มองค์นี้คือ ผู้ถูกกระทาให้จาต้องอยู่ โดดเดี่ยวกลางถนนเช่นนั้น จึง สมควรแล้วหรือ ที่จะถูกคนรุ่นหลัง กล่าวครหาว่ า เป็ น “เจดีย์นักเลง” อย่างไร้ความเคารพเช่นทุกวันนี้ และ ในทางกลับกัน ผู้ที่คู่ควรกับคาว่า “นักเลง” นั้น ควรจะ หมายถึงใครต่อใครกัน ที่ตัดถนนผ่านกลางวัดจนเหลือ แต่องค์เจดีย์อันโดดเดี่ยว และใครต่อใครกัน ที่ไ ม่เคย แยแสถึ ง การมาก่ อ น-มาหลั ง ระหว่ า งถนนหรื อ เจดีย์ แล้วพากันคะนองปาก ปรักปราเจดีย์ว่าเป็นนักเลง แท้จริงแล้วใครกันที่ควรได้ชื่อว่าเป็น “นักเลง”

บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๕๑). อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมฯ. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๒๔๙๙). การซ่อมแซมพระปรางวัดราชบูรณะและเจดีย์วัดสามปลื้มจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. ศธ.๒.๒.๑/๒๖ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๒๔๙๙-๒๕๐๐). บันทึกการประชุมคณะกรรมการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒๔๙๙-๒๕๐๐. ศธ.๐๗๐๑.๒๖.๑.๒/๑๕ ชาวอยุธยาสืบสานประเพณีร่วมห่มผ้าเจดีย์วัดสามปลื้ม. (๒๕๕๙, ๒๔ เมษายน). ข่าวสด. ชาวอยุธยาร่วมสามัคคีชุมชน ห่มผ้าเจดีย์วัดสามปลื้ม. (๒๕๕๙, ๒๔ เมษายน). มิติชน. แจ้งความกรมศิลปากร กาหนดจานวนโบราณสถานสาหรับชาติ. (๒๔๘๔, ๑๘ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๘ หน้า ๕๘๓. เจดีย์วัดสามปลื้ม พ.ศ.๒๕๐๐. (๒๕๐๐). [ภาพนิ่ง]. ใน โบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักร. หน้า ง. กรมศิลปากร.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๗๙


นาภูมปิ ัญญาสู่ความทันสมัย เรียงร้อยอดีตสู่อนาคต

โดย ชนิกานต์ ผลเจริญ

เพลงกล่อมเด็ก ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตอ้ งอยู่รอดในยุค 4G มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธ ยาเป็ น มหาวิทยาลัยที่ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยมิได้จากัด สถานภาพของผู้เรียน นักศึกษาหลายคนที่แต่งงานและมี บุตรแล้วยัง สามารถเรียนจนจบการศึกษาได้ ถ้าหากมี ความรับผิดชอบและเอาใจใส่การเรียนอย่างสม่าเสมอ เมื่อปลายเดือนมีนาคม ๒๕๕๙ ผู้เขียนได้ให้คาปรึกษา แก่ ก ลุ่ ม บั ณ ฑิ ต ที่ จ บการศึ ก ษาและก าลั ง วางแผนเพื่อ ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ปริ ญ ญาโท มี บั ณ ฑิ ต รายหนึ่ ง มา ปรึกษาอย่างละเอียด เพราะต้องการศึกษาต่อ แต่ติ ด ตรงที่ชีวิตส่วนตัวของเขายังต้องเลี้ยงลูกในวัยทารก เขา ชอบใช้ วิ ธี เ ปิ ด เพ ลงคลาสสิ ก ของโมซาร์ ท ขอ ง บีโธเฟนจากไอแพดตอนกล่อมลูกเข้านอน เพราะสะดวก ดี และเขาเชื่อว่าทานองเพลงประเภทนี้ดีกว่าเพลงกล่อม เด็กของไทย เพราะจะทาให้ลูกฉลาด มีพัฒนาการทาง สมองดีเลิศ ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะการเลี้ยงเด็ ก คน หนึ่งให้ฉลาดมาจากหลายปัจจัย ส่วนเรื่องเพลงคลาสสิก นั้น บริษัทผู้ขายย่อมต้องโหมโฆษณาเพื่อให้ขายดีอยู่แล้ว อีกประการหนึ่ง ไม่ควรดูถูกเพลงกล่อมเด็ก ภูมิปัญญา ท้ อ งถิ่ น ดั้ ง เดิ ม ของไทยที่ สั่ ง สมและสร้ า งคนมาตั้ ง แต่ บรรพบุรุษ จากกรณีนี้ทาให้ผู้เขียนตระหนักว่านอกจาก เรื่ อ งความทั น สมั ย ของเทคโนโลยี แ ล้ ว ความคิ ด ของ มนุ ษ ย์ ก็ เ ป็ น อี ก อุ ป สรรคหนึ่ ง ที่ ส่ ง ผลต่ อ การสื บ ทอด ภูมิปัญ ญา โดยเฉพาะเรื่องเพลงกล่อ มเด็ก ที่นับ วั น จะ สูญหายไป

บทความนี้นาเสนอความหมาย ประเภทและ ความสาคัญ ของภูมิปัญญาท้องถิ่น การสืบทอดวิถีชีวิต ผ่านเพลงกล่อมเด็ก ประกอบด้วยความหมายของเพลง กล่อมเด็ก ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กในท้องถิ่นแถบภาค กลางของไทยนอกเหนือจากเพลงกล่อมเด็กมาตรฐานที่ รู้จักกันดี ผู้เขียนได้ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กมาจากความ ทรงจาในวัยเด็ก ทั้งจากที่บ้านและโรงเรียน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ? ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) หรือ ภูมิ ปัญญาชาวบ้าน (popular wisdom) หรือ เทคนิควิทยา พื้นบ้าน หรือ เทคโนโลยีพื้นบ้าน ล้วนแล้วแต่เป็นคาที่มี ความหมายเดียวกัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวไทยเราได้ คิดค้น เรียนรู้ สะสม พัฒนา แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดจาก รุ่ น สู่ รุ่ น ท าให้ ช าวไทยแต่ ล ะกลุ่ ม สามารถยื น หยั ด ท่ามกลางวิกฤตทางสัง คมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลาย ครั้ ง และด าเนิ น ชี วิ ต ได้ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข เราคนไทย จาเป็นต้องช่วยกันสืบสานภูมิปัญญาไทยที่ถือเป็นความ ชาญฉลาดของบรรพบุรุษไทยให้คงอยู่ต่อไป ในปัจจุบัน การศึกษาภูมิปัญญาไทยได้ถูกนาเข้ามาใช้ในการจัดการ เรียนการสอน นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่ง ชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๙) แผนพัฒนา การศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๕๙) เพื่อสร้างความ

๘๐ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ตระหนั ก รู้ ภู มิ ปั ญญาท้ อ งถิ่ นให้ เ ยาวชนรุ่ นใหม่ สร้ า ง ความภาคภูมิใจ เผยแพร่ สืบทอดภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ ต่อไป เอกวิ ท ย์ ณ ถลาง (๒๕๔๐: ๑๑-๑๒) ได้ ใ ห้ ความหมายว่า ภู มิ ปั ญ ญา หมายถึ ง ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความชัดเจน ที่กลุ่มชนได้จาก ประสบการณ์ สั่ ง สมไว้ ใ นการปรั บ ตั ว และด ารงชี พใน ระบบนิ เวศน์ หรื อสภาพแวดล้ อมทางธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ได้พัฒนาการสืบ สานกันมา ภูมิปั ญญาเป็นความรู้ ความคิด ความเชื่ อ ความสามารถ ที่เป็นผลของการใช้สติปัญญาปรับตัวกับ สภาวะต่ า งๆ ในพื้ น ที่ ที่ ก ลุ่ ม ชั้ น นั้ น ๆ และมี ก าร แลกเปลี่ยน สนทนาทางวัฒนธรรมกับกลุ่มชนอื่นที่มีการ ติดต่อสัมพันธ์กันแล้ว รับเอาหรือปรับเปลี่ยนนามาสร้าง ประโยชน์ หรือแก้ปัญหาของชุมชนได้ ภูมิปัญญาจึงเป็นทั้ง ภู มิ ปั ญ ญาดั้ ง เดิ ม อั น เกิ ด จากประสบการณ์ ในพื้ น ที่ ภูมิปัญญาที่มาจากภายนอก และภูมิปัญญาใหม่ พระยาอนุ ม านราชธน (๒๕๑๕: ๘๙) แบ่ ง ประเภทภูมิปัญญาไว้ ๒ ประเภท ดังนี้ ๑. ภู มิ ปั ญ ญาทางวัต ถุ เป็ น เรื่ อ งเกี่ ยวกับ สุข กาย เพื่อได้อยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายในการครอง ชีพ ภูมิปัญญาประเภทนี้ ได้แก่ สิ่งจาเป็นเบื้องต้นในชีวิต ๔ อย่ า ง และสิ่ ง อื่ น ๆ เช่ น เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ยานพาหนะ ตลอดจนอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ ที่ เ ป็ น เครื่ อ ง ป้องกันตัว ๒. ภูมิปัญญาทางจิตใจ เป็นสิ่งที่ทาให้ปัญ ญา และจิตใจมีความเจริญงอกงาม ได้แก่ การศึกษา วิชา ความรู้อันบารุงความคิด ทางปัญญา เช่น ศาสนาและ จริยธรรม ศิลปะและวรรณคดี กฎหมายและระเบี ย บ ประเพณี ซึ่งส่งเสริมความรู้สึกทางจิตใจให้งอกงามหรือ สบายใจ ประเวศ วะสี (๒๕๓๔: ๑๔) เสนอแนวคิดใน การก าหนดขอบเขตของภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น โดยได้

แนวคิดมาจากนโยบายทางด้านภูมิปัญญา ซึ่งจัดขึ้นโดย องค์การยูเนสโก ณ กรุงเวนิส ประเทศอิตาลี ที่จัดแบ่ง ประเภทของภูมิปัญญาตามหลักสากล ดังนี้ ๑. ศิลปกรรม ภาษาและวรรณคดี การละคร นาฏศิ ล ป์ วิ จิ ต รศิ ล ป์ การดนตรี สถาปั ต ยกรรม ประติมากรรม ศิลปกรรมที่เกิดใหม่ ด้านวิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนต์ ๒. มนุษยศาสตร์ ศาสนา จริยธรรม ปรัชญา ธรรมเนียม ประเพณี มานุษยวิทยา อุดมการณ์ ทัศนคติ ของคนในชาติ กฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัย ฯลฯ ๓. การช่างฝีมือ การทอ การแกะสลัก การเย็บ ปักถักร้อย การทาเครื่องเขิน การทาเครื่องเงิน เครื่อง ทอง เครื่ อ งถม การท าเครื่ อ งปั้ น ดิ น เผา การจั ก สาน ช่างเหล็ก ช่างไม้ ฯลฯ ๔. การกีฬาและนันทนาการ การกีฬาพื้นเมือง การละเล่ น ต่ า งๆ การต่ อ ยมวย การฟั น ดาบ กระบี่ กระบอง ฯลฯ ๕. คหกรรมศาสตร์ อาหารการกิน เสื้อผ้า การ แต่ ง กาย การตกแต่ ง บ้ า นเรื อ น การเลี้ ย งดู อ บรมลู ก มารยาทการต้อนรับ การอยู่กันเป็นครอบครัว นิ ค ม ช ม ภู ห ล ง ( ๒ ๕ ๔ ๘ : ๘ ) ก ล่ า ว ถึ ง ความส าคั ญ ของภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ต่ อ สั ง คม มี ห ลาย ประการ ดังนี้ ๑. ทาให้เกิดความสงบสุขทั้งในชุมชน หมู่บ้าน หรื อ ในส่ ว นตั ว ของชาวบ้ า นเองและสามารถปรั บ ประยุกต์หลักธรรมคาสอนทางศาสนามาใช้กับวิถีชีวิตได้ อย่างเหมาะสม ๒. ทาให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณีในการลดการ พึ่งพาตนเองจากสังคมภายนอก ๓. ช่ ว ยสร้ า งสมดุ ล ระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ สั ง คม และสิ่ง แวดล้อมทางธรรมชาติไ ด้อย่างยั่ง ยืน และช่วย ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตคนไทยให้เหมาะสมได้ตามยุคสมัย วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๘๑


๔. ใช้ในการกาหนดแนวทางการทางานของ กลุ่ ม บุ ค คล หรื อ เจ้ า หน้ า ที่ ข องหน่ ว ยงานต่ า งๆให้ สอดคล้องและผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ๕. ทาให้ผู้เรียนรู้จักท้องถิ่น รักและภาคภูมิใจ ในท้องถิ่น เป็นการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างภูมิปัญญา ท้องถิ่นกับความรู้สมัยใหม่ กล่ า วโดยสรุ ป ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น เป็ น องค์ ความรู้ที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นมา และได้ทดลองใช้ เรียนรู้ สะสม พัฒนา แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดจากรุ่น สู่รุ่น เพื่อ อานวยความสะดวกและสร้างความสุขในการดารงชีวิต ของมนุ ษ ย์ ตั้ ง แต่ เ กิ ด จนตาย สื บ ต่ อ กั น มาตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น ภู มิ ปั ญ ญาถื อเป็ นวัฒนธรรมที่ ส ามารถ เกิดขึ้น คงอยู่ รุ่ง เรือง เสื่อมสลาย และพัฒนาตามยุค สมัยและตามความต้องการนาไปใช้ได้ เช่น นาไปขายเพื่อ สร้างรายได้ให้ตนเองและชุมชนได้ สร้างความรักความ สามัคคีระหว่างชุมชนได้

การสืบทอดวิถีชีวิตผ่านเพลงกล่อมเด็ก ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่ อ มเด็ ก ภาษาอั ง กฤษ เรี ย กว่ า mother goose ในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า lullaby เพลง กล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สะท้ อนให้ เห็นความเชื่อ ค่านิยมของคนในท้องถิ่นต่างๆ คนทุกชาติ ทุ ก ภาษาในโลกมี บ ทเพลงกล่ อ มเด็ ก ด้ ว ยกั น ทั้ ง นั้ น สันนิษฐานว่าเพลงกล่อมเด็กมี วิวัฒนาการจากการเล่า นิทานให้เด็กฟังก่อนนอน ดังนั้นเพลงกล่อมเด็กบางเพลง จึงมีลักษณะเนื้อร้องที่เป็นเรื่องเป็นราว เช่น จันทรโครพ ไชยเชษฐ์ พระรถเสน เป็นต้น การที่ต้องมีเพลงกล่อม เด็ ก ก็ เ พื่ อ ให้ เ ด็ ก เกิ ด ความเพลิ ด เพลิ น หลั บ ง่ า ย เกิ ด ความอบอุ่นใจ ลักษณะกลอนของเพลงกล่อมเด็กจะเป็น กลอนชาวบ้าน ไม่มีแบบแผนแน่นอน เพียงแต่มีสัมผัส คล้ อ งจองกั น บ้ า ง ถ้ อ ยค าที่ ใ ช้ ใ นบางครั้ ง อาจไม่ มี

ความหมาย เนื้ อ เรื่ อ งเกี่ ยวกั บ ธรรมชาติ สิ่ ง แวดล้อม เรื่องราวในชีวิต ความเป็นอยู่ สะท้อนให้เห็น ความรั ก ความห่วงใยจากแม่สู่ลูก สั่งสอนและเสียดสีสังคม (วิกิ พี เดีย, ๒๕๕๙) เพลงกล่ อ มเด็ ก ของไทย ใช้ ภ าษาง่ า ยๆไม่ ซับซ้อน เนื้อร้องสั้นๆ จาง่าย เข้าใจง่าย แต่ก็มีค วาม ลึกซึ้งทางด้านศีลธรรม มีเนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับวิถีชีวิต ทั่วไปของคนไทยสมัยโบราณ เป็นการเล่าถึงการใช้ชีวิต ของคนรุ่นก่อนๆผ่านการทางาน ศาสนา ความเชื่อ และ สิ่งที่ควร ไม่ควร เพื่อปลูกฝังให้เด็กๆเป็นคนดี ให้ซึมซับ เอาความดี ความรู้ไ ปใช้ และส่ง ต่อให้ ลู กหลานสื บ ไป (จริยา ผลเจริญ, ๒๕๕๙) ตั ว อ ย่ า ง เ พ ล ง ก ล่ อ ม เ ด็ ก ใ น ท้ อ ง ถิ่ น แถบภาคกลาง ๑.“ โอละเห่ โอละหึก ทิดมาตื่นแต่ดึกจะไปไถ นา ตาดีก็ไปส่งข้าว ตั้งแต่เช้ายังไม่เห็นมา ” เพลงนี้แสดงให้เห็นการแบ่งหน้าที่กันระหว่าง คนในบ้าน เห็นวิถีชีวิตการดารงชีพด้วยการทานาข้าวซึ่ง เป็นงานหลักของคนในสมัยโบราณ สมัยก่อนการทานา ใช้แรงงานคนและควาย ที่ไม่ใช่ควายเหล็ก คาว่า “ทิด” ใช้เรียกนาหน้าชื่อชายที่บวชเรียนมาแล้ว “ทิดมาตื่นแต่ ดึกจะไปไถนา” คนทานาจึง เตรี ยมไถนาตั้ง แต่เ ช้ า มื ด เพราะถ้ า รอจนสายอากาศจะร้ อ นมาก “ตาดี ก็ ไ ปส่ ง ข้าว” หมายถึง ตาดีเอาข้าวและกับข้าวตามไปส่งให้ทิด มาที่ไปทานา การทานาสาคัญมากเพราะข้าวเป็นอาหาร หลักที่ทุกชุมชนต้องปลูกไว้กินเอง ซึ่งนอกจากจะปลูก ข้ า วไว้ กิ น แล้ ว ยั ง น าข้ า วไปแลกกั บ ข้ า วของอื่ น ๆหรื อ นาไปขายได้ ส่วนอาหารอื่นๆใช้การแลกเปลี่ยนระหว่าง ชุมชน เช่น ใช้ข้าวไปแลกผัก ใช้พริกแลกปลา แลกผลไม้ หรือแลกของกินอื่นๆที่ชุมชนตัวเองผลิตไม่ไ ด้หรือไม่มี สมัยนั้นจึงไม่จาเป็นต้องใช้เงิน และยังไม่ได้มีร้านค้าปลีก

๘๒ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตให้ซื้อหาข้าวของได้มากมายเหมื อน ในปัจจุบัน ๒.“ ม้าขาวเอยหางยาวเลื้อยดิน เป็นที่นั่งทรง ของพระองค์อินทร์ หางยาวเลื้อยดินนะเจ้าม้าขาวเอย ” เพลงนี้อธิบายถึงม้าขาว ความหมายโดยตรง คื อ ม้ า สี ข าวเป็ น ม้ า ทรงของพระอิ น ทร์ เมื่ อ พิ จ ารณา ความหมายโดยนัยแล้วจะพบว่า คาว่าพระองค์อินทร์นี้ ไม่ได้หมายถึงพระอินทร์ที่เป็นเทพของศาสนาพราหมณ์ ฮินดูเท่านั้น แต่คาว่า อินทร์ หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่ เพลงนี้ จึง อธิบายถึง ม้าสีขาว เป็นม้าทรงของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จะพบว่า ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา เวลากษัตริย์จะเสด็จพระราชดาเนิน ไปที่ใด จะทรงราชรถที่มีม้า ๑ คู่ลากรถไป สมัยนั้นคนยัง ไม่ มี ร ถยนต์ ใ ช้ คนจึ ง ใช้ ม้ า เป็ น สั ต ว์ พ าหนะหลั ก กั น โดยทั่วไป ช้างก็เป็นสัตว์พาหนะที่สาคัญ แต่ช้างเป็นสัตว์ ใหญ่ จึงไม่ใช่ว่าใครก็จะเลี้ยงได้ นอกจากนี้คนไทยยัง มี ความเชื่อเรื่องพระชัยมงคล พระภูมิ -เจ้าที่ จึงถวายสัตว์ พาหนะช้างและม้าไว้ให้เป็นบริวารของท่านที่ศาลพระ ภูมิทั้ง ๔ ทิศ ม้าจึงเป็นสัตว์พาหนะที่สาคัญ ทั้งของคน และเทพยดา เด็กๆต่างก็ได้รับการปลูกฝังมาจากเพลง กล่อมเด็ก จากการเล่นขี่ม้าก้านกล้วย ขี่ม้าส่งเมือง ซึ่ง เป็นการวางพื้นฐานให้เด็กไม่กลัวม้า และใช้ม้าได้เมื่อโต ขึ้น ๓.“ หมาจูเอ๊ ยนั่งอยู่บนเรือน แม่ไ ม่ให้ลงดิน กลัวเท้าจะเปื้อน นั่งอยู่บนเรือนเหมือนอย่างคนนี่เอย ” เพลงนี้แสดงให้เห็นว่า หมาจูเป็นสัตว์เลี้ยงของ คนไทยมานานแล้ว หมาจูเป็นหมาจาพวก Pekingese dog ซึ่ ง เป็ น หมาขนาดเล็ กจากประเทศจี น จากเพลง กล่อมเด็กเพลงนี้ได้แสดงออกถึงความเมตตากรุณาความ เอ็นดูสัตว์เลี้ยงของคนไทย ถึงขนาดนาหมาจูขึ้นมาเลี้ยง บนบ้าน ดูแลอย่างดี อยู่ร่วมกับคนในบ้านโดยที่ไม่ยอม ให้ ห มาจู อ อกไปเพราะกลั ว ว่ า เท้ า หมาจู จ ะเปื้ อ นดิ น เปื้อนโคลน รวมทั้งขนของหมาจูที่ค่อนข้างยาว ถ้าเปื้อน

ภาพที่ ๑ ชาวนากับควาย สืบค้นจาก www.dreamstime.com

ภาพที่ ๒ ม้าไม้สาหรับเด็ก สืบค้นจาก www.lelong.com.my

ภาพที่ ๓ หมาจู สืบค้นจาก vectortoons.com/product-tag/carnal/

ก็จะเปื้อนหมดและต้องเสียเวลาอาบน้ากันใหม่ ซึ่ง ถ้า ปล่อยให้มันวิ่ง เข้าวิ่ง ออกจากบ้าน พื้นบ้านจะสกปรก คนในบ้านเองจะล าบากเพราะต้องเช็ ด ถูพื้นอยู่ ต ลอด ปกติแล้วคนไทยสมัยก่อนนิยมเลี้ยงหมาพันธุ์ไทยไว้ใต้ถุน เรื อ น เพื่ อ ให้ เ ฝ้ า บ้ า น ให้ กิ น น้ าข้ า วและเศษอาหารที่ เหลื อ หมาพั น ธุ์ ไ ทยตั ว ใหญ่ ก ว่ า หมาจู ม าก มี ข นสั้ น เกรียน ดุร้ายกว่าหมาจู หมาพันธุ์ไทยมีลักษณะโดยรวม ไม่น่ารัก ไม่น่าเอ็นดูเหมือนกับหมาจู วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๘๓


๔.“กุ้งฝอยเอยกองละร้อยห้าสิบ พวกขี้เมากิน แกล้มเหล้ากันดิบๆ ทาตาปริบๆนะเจ้ากุ้งฝอยเอย ” เพลงนี้บรรยายถึงกุ้งฝอยในตลาดที่ขายเป็ น กอง กองละหนึ่ง ร้อยห้าสิบสตางค์ หรือหกสลึง ทาให้ เห็นราคาของกินสมัยก่อน ในกองจะมีกุ้งฝอยที่ตายแล้ว บางส่วนยั ง เป็นๆอยู่ คนที่ดื่มเหล้านิยมนามากินแกล้ม เหล้าแบบดิบๆ หลายคนที่เห็นจึงสงสารกุ้งฝอยถูกกิน ทั้งๆที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ก็ทาอะไรไม่ได้ ก็ต้องวางเฉยหรือ วางอุเบกขาเสีย คิดว่าเป็นกรรมของกุ้งฝอยนั้น เพลงนี้ ไม่ได้สอนให้เด็กๆโตขึ้นแล้วไปกินกุ้งฝอยแกล้มเหล้าเป็น แน่ ๕.“วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ จะปลูกข้าวโพดสาลี ยาม ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี โอ้เจ้าข้าวโพด สาลี ป่านฉะนี้จะโรยรา ” เพลงนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่ การแต่งงานขึ้นอยู่กับพ่อแม่ของแต่ละฝ่ายด้วย ยามมั่งมี ก็ยินดีให้แต่งงานกัน แต่ยามลูกเขยยากจนลง แม่ยายก็ เอาตัวลูกสาวกลับไป จึงไม่มีใครเอาใจใส่ดูแลข้าวโพด สาลี อี ก ต่ อ ไป แต่ บ างท้ อ งที่ ก็ ร้ อ งเพลงกล่ อ มเด็ ก คล้ายๆกัน ดังนี้ “พรวนดินกันเสียให้หมด จะปลูกข้าวโพดสาลี พรวนดินกันเสียให้หมด จะปลูกข้าวโพดสาลี โอ้แม่ดวง ดารา เจ้าไม่เมตตาตัวพี่ ข้าวโพดสาลี ข้าวโพดสาลี ป่าน ฉะนี้จะโรยรา” เพลงนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของคู่รักที่ร่วมกัน ปลู ก ข้ า วโพดสาลี เมื่ อ เลิ ก คบหากั น ก็ ไ ม่ มี ใ ครดู แ ล ข้าวโพดสาลีอีกต่อไป

ตัวอย่างเพลงกล่อ มเด็ก เหล่ านี้ม าจากความ ทรงจ าของผู้ เ ขี ย น ซึ่ ง ได้ ม าจากที่ บ้ า นและที่ โรงเรียน เป็นเพลงกล่อมเด็กที่ร้องกันในท้องถิ่นแถบภาคกลาง บริ เ วณจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธยา และจั ง หวั ด ลพบุรี นอกเหนือจากเพลงกล่อมเด็กที่เป็นมาตรฐานที่เรารู้จัก กันดี เช่น เพลงนกกาเหว่า เพลงนกขมิ้น เพลงจันทร์เจ้า เป็นต้น เพลงกล่อมเด็กของแต่ละท้องถิ่นจะมีเนื้อร้อง แตกต่างกันออกไป แต่แฝงไว้ด้วยการอธิบายวิถีชีวิตของ คนสมัยก่อน กับคาสอนทางศีลธรรมที่แยบคาย ถึงแม้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ในสมัยก่อนจะอ่านและเขียนภาษาไทย ไม่ไ ด้ แต่ก็อาศัยเพลงกล่อมเด็กเป็นมุขปาฐะ หรือการ บอกเล่าแบบปากต่อปากให้ลูกหลานฟัง เพลงกล่อมเด็ก ของไทยทาให้เด็กได้พัฒนาทักษะการฟัง การเรียนรู้เพื่อ พูดภาษาไทย และสืบสานความคิด ความเชื่อจากบรรพ บุรุษ เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้คนไทยสามารถธารงความเป็น ชาติเอาไว้ได้มาจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยกาลังเป็นยุค 4G ที่กาลังจะก้าวไปสู่ ยุค 5G โจทย์ใหญ่ของเราคนไทยคือจะสืบสานภูมิปัญญา ดั้ง เดิมอันทรงคุณค่าของไทย และส่ง ต่อไปให้ถึงคนรุ่น ใหม่ ก่อนที่ภูมิ ปัญ ญาเหล่านั้นจะสูญหายไปได้อย่างไร ตามมาด้ ว ยค าถามรองอี ก มากมายว่ า แล้ ว ใครเป็ น ผู้รับผิดชอบ จะใช้วิธีใด งบประมาณเท่าไร มันตรงหรือ สามารถเข้ากับยุทธศาสตร์ฯหรือตัวชี้วัดได้หรือไม่ เป็น ต้น

๘๔ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


เอกสารอ้างอิง ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก ภาคเหนือ สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/เพลงกล่อมเด็ก_ภาคเหนือ เมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ นิคม ชมภูหลง. (๒๕๔๘). ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การเรียนรู้. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์. ประเวศ วะสี. (๒๕๓๔). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการ ดาเนินงานด้านวัฒนธรรมกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. พระยาอนุมานราชธน. (๒๕๑๕). ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: หจก.สื่อการค้า. สัมภาษณ์. คุณครูจริยา ผลเจริญ. เมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๙ เอกวิทย์ ณ ถลาง. (๒๕๔๐). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค:วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. โครงการ กิตติเมธีสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาพประกอบ ภาพที่ ๑ ชาวนากับควาย สืบค้นจาก https://www.dreamstime.com/illustration/thai-farmer.html เมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ ภาพที่ ๒ ม้าไม้สาหรับเด็ก สืบค้นจาก http://www.lelong.com.my/toys-and-games/toys/?D=6 เมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ ภาพที่ ๓ หมาจู สืบค้นจาก http://vectortoons.com/product-tag/carnal/ เมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๘๕


เรื่องเล่าจากท้องถิ่น โดย สาธิยา ลายพิกุน

ประเพณีการกวนขนมอาซูรอ ขนมแห่งความสามัคคีของชาวมุสลิม

การกวนขนมอาซูรอของชาวมุสลิมชุมชนบ้านท่ากายี ฟาลักกี้ เส้นขาว : ถ่ายภาพ

คาว่า อาซูรอ (‫ عاشورا‬: Ashura) เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน โดยการนาเอาวัตถุดิบ ต่างๆ ทีม่ ีอยู่ในครัวเรือนและในท้องถิ่น อาทิ ข้าวสาร ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย มัน เผือก ข้าวโพด และถั่วชนิดต่างๆ มา กวนรวมกั น กั บ กะทิ การกวนขนมอาซู ร อถื อ เป็ นประเพณี ข องชาวไทยมุ ส ลิ ม ในภู มิ ภ าคต่ า งๆ ส าหรั บ ในจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยายั ง คงปรากฏให้ เ ห็ น อยู่ เช่ น บริ เ วณชุ ม ชนมุ ส ลิ ม บ้ า นท่ า กายี หลั ง มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรีอยุธยา กาหนดเวลาในการกวนขนมอาซูรอ จะทากันเพียงปีละ ๑ ครั้ง คือ ในวันที่ ๑๐ ของเดือนมุฮัรรอม (‫ ُم َح َّرم‬: Muharram) ถือเป็นเดือนแรกของปฏิทินอิสลาม (ปีใหม่) ซึ่งจะตรงกับช่วงเวลาประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ความเป็นมาของการกวนขนมอาซูรอ ตามความเชื่อของชาวมุสลิมโดยมีตานานเล่ากันมาว่า ในวันที่ 10 ของ เดือนมุฮัรรอมของทุกปี เป็นวันที่เรือของท่านนบีนูฮ (ศาสดาท่านหนึ่งในศาสนาอิสลาม) หรือโนอาห์ ที่ได้รับคาสั่งจาก พระเจ้าให้ต่อเรือลาใหญ่ขึ้นและนาสัตว์ต่างๆ ขึ้นเรือเป็นคู่ๆ เมื่อผ่านพ้นเหตุการณ์น้าท่วมโลกจนน้าลดสู่สภาวะปกติ แล้ว ท่านนบีนูฮจึงได้ประกาศให้เหล่าสาวกของท่าน นาวัตถุดิบต่างๆที่พอจะหาได้เอามากองรวมกัน แล้วให้นาวัตถุดิบ เหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับประทานอาหารโดยพร้อมเพรียงกัน และทาให้เกิดความสามัค คี ก ลม เกลียวภายในหมูค่ ณะ ๘๖ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ประเพณีการกวนขนมอาซูรอของชุมชน มุสลิมบ้านท่ากายี บริ เ วณหลั ง มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรีอยุธยา พี่น้องมุสลิมในชุมชนมุสลิมบ้านท่ากายี มีการ นัดแนะและชักชวนมากวนขนมอาซูรอร่วมกัน โดยได้มี การนาวัตถุดิบต่างๆ ที่ตนเองนามาจากครัวเรือน และที่ มีผู้สมทบทุนบริจาคเงิน เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบในการกวน ขนมอาซูรอมาเพิ่มเติมมาทาขนมอาซูรอร่วมกัน ผู้หญิงในชุมชนจะมีหน้าที่ในการจัดเตรียมทา ความสะอาด หั่น ปั่น วัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆ เตรียม ไว้ ในสมัยก่อนชาวบ้านจะช่วยกันปอกมะพร้าว และคั้น

น้ากะทิ แต่ในปัจจุบันนิยมซื้อน้ากะทิสาเร็จรูปที่คั้นแล้ว จากตลาดมาทาขนมแทนเพื่อความสะดวกสบาย และลด ระยะเวลาในขั้นตอนการทา ส่วนผู้ชายจะมีหน้าที่สาคัญ คือ การกวนขนม อาซูรอ โดยจะมีการผลัดเปลี่ยนผู้กวนหมุนเวียนสลับกัน อย่างสนุกสนาน ใครเหนื่อยก็พัก แล้วคนอื่นก็ลุกไปช่วย กวนขนมแทน จนส่วนผสมทุกอย่างรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อได้ที่แล้วจึงตักใส่ถาดอลูมิเนียม รอให้แห้ง แล้วจึงตัด ออกเป็นชิ้นๆ แจกจ่ายให้คนที่มาช่วยกันทาขนมอาซูรอ แบ่ง กัน ไปรับประทานที่บ้านและนาไปทาบุญ ร่วมกันที่ มัสยิดอีกด้วย

มาทาขนมอาซูรอกันเถอะ วัตถุดิบ ๑.ข้าวสาร ๒.ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย มัน เผือก ข้าวโพด ฟักทอง เป็นต้น ๓.ถั่วชนิดต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดา ถั่วแดง เป็นต้น ๔.กะทิ ๕.น้าตาล ๖.เกลือ วิธีทา ๑.นาผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย มัน เผือก ข้าวโพด ฟักทอง มาล้างทาความสะอาดและหั่นด้วยมีดเป็นชิ้น เล็กๆ ๒.นาถั่วชนิดต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่ว ดา ถั่วแดง มาแช่น้าและปั่นลงในเครื่องปั่น ๓.น ากระทะใบใหญ่ ตั้ ง ไฟ เตรี ย มไม้ พ าย สาหรับกวนขนมอาซูรอ

อุปกรณ์ ๑.กระทะ ๒.ไม้พาย ๓.เตาแก๊ส ๔.ถาดอลูมิเนียม ๕.เครื่องปัน่ ๖.มีด ๗.เขียง

๔.นาน้าเปล่า ข้าวสาร ใส่ลงในกระทะใบใหญ่ เมื่ อ น้ าเดื อ ดให้ น าน้ ากะทิ เ ทรวมไปต้ ม จนเดื อ ด เมื่ อ น้ากะทิเดือดให้นาผลไม้ต่างๆ และถั่วชนิดต่างๆ ที่หั่น และปั่นละเอียดแล้วใส่ลงในกระทะ และคนด้วยไม้พาย ๕.กวนจนส่ ว นผสมทุ ก อย่ า งรวมเป็ น เนื้ อ เดียวกัน (ใช้เวลาประมาณ ๗ ชั่วโมง) แล้วจึงตักแบ่งใส่ ถาดอลูมิเนียม รอให้แห้งแล้วจึงตัดออกเป็นชิ้นๆ หมายเหตุ สูตรการทาขนมอาซูรอและวัตถุดิบ อาจแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๘๗


สาหรับชุมชนมุสลิมของจังหวัดทางภาคใต้ จะ มีวิธีทาขนมอาซูรอที่แตกต่างออกไปบ้าง คือจะทาแบบ คาว โดยจะเพิ่มเครื่องปรุง เช่น เครื่องแกง ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า กุ้ง เนื้อสัตว์ ปลา ผักชี หอม หั่นฝอย เป็นต้น

สรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหาร - ข้าวสาร ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยป้องกัน โรคเหน็บชา ปากนกกระจอกลดการเป็นตะคริ ว ช่วย การเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน สร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง - กล้ ว ย รั ก ษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่ ว ย ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ ช่วยรักษาอาการ ท้องผูก เพราะกล้วยมีเส้นใยและกากอาหารซึ่งจะช่วยให้ ขับถ่ายได้อย่างปกติ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือ เส้นเลือดฝอยแตกได้ - มัน บารุงม้ามไต แก้เมาคลื่น แก้ไขข้ออักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยลดไขมันในเลือด เป็นยาแก้บิด แก้ไขข้ออักเสบ - เผือก ช่วยบารุงธาตุในร่างกาย ใช้เป็นยาลด ไข้ ช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยทาให้กระดูกแข็งได้ บารุงลาไส้ และแก้อาการท้องเสียได้ด้วย ช่วยบารุงไต - ข้าวโพด ช่วยบารุงกระเพาะอาหาร บารุง ปอดและหัวใจ ช่วยแก้ไข้ทับระดู เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ เบาหวาน - ฟั ก ทอง มี ส ารต่ อ ต้ า นอนุมูล อิ ส ระที่ มีส่วน ช่วยในการชะลอวัยและความแก่ชรา ช่วยบารุงรักษา สายตา บ ารุ ง ประสาท มี ไ ขมั น น้ อ ย กากใยสู ง ช่ ว ย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจ - ถั่วลิสง บารุงปอด กระเพาะอาหาร บารุง สมอง เสริ ม ความจ า และลดความเสี่ ย งต่ อ การ เป็ น หลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนช่วยในการเผาผลาญไขมัน

- ถั่วเหลือง บารุงม้าม ขับร้อน ถอนพิษ ช่วย กระตุ้ น การเจริ ญ เติ บ โตของกระดู ก ป้ อ งกั น การขาด แคลเซียมในกระดูก บารุง ระบบประสาทในสมองเพิ่ม ความทรงจา ลดไขมันและ คอเลสเตอรอลในร่างกาย - ถั่วเขียว บารุงตับ บารุงสายตา ช่วยขับร้อน ถอนพิ ษ ขั บ ของเหลวในร่ า งกาย ช่ ว ยกระตุ้ น ระบบ ประสาทและช่วย ลดความดันโลหิต - ถั่วดา บารุงไต บารุงเลือด บารุงสายตา ขจัด พิษขับลมและขับของเหลวในร่ างกาย แก้ร้อนในและ ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ - ถั่ ว แดง บ ารุ ง หั ว ใจ บ ารุ ง ประสาท บ าบั ด อาการเหน็บชา อาการใจสั่น อาการ ปวดประจาเดือน ผิ ด ปกติ ช่ ว ยขั บ พิ ษ ขั บ ของเหลวในร่ า งกายบรรเทา อาการปวดตามข้อต่อกระดูก - กะทิ บรรเทาอาการของการเจ็บคอและแผล และเป็นทางเลือกสาหรับผู้แพ้แลคโตสหรือแพ้นมจาก สัตว์ บารุงผิวให้ชุ่มชื้นและบรรเทาผิวแห้งและผื่น ข น ม อ า ซู ร อ น อ ก จ า ก จ ะ มี คุ ณ ค่ า ท า ง โภชนาการแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็น “ขนมแห่งความสามัคคี ของชาวมุ ส ลิ ม ” เพราะการท าขนมอาซู ร อ เป็ น กิ จ กรรมที่ เ ชื่ อ มความสั ม พั น ธ์ ข องคนในชุ ม ชน เป็ น โอกาสอันดีให้ได้พบปะพูดคุย และช่วยเหลือเกื้อกู ลซึ่ง กันและกัน.

อ้างอิง ผลไม้ (Fruit) ประโยชน์และรายชื่อผลไม้ทุกชนิด. ค้นเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙, จาก medthai. com/fruit การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ). ค้นเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙, จาก www.prapayneethai. com

๘๘ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


มรดกพืนบ้านอยุธยา โดย อรอุมา โพธิ์จวิ๋

ว่าด้วยเรื่องของ “กระทือ” สมุนไพรพืนบ้าน ดอกสวยงาม แต่นามไม่ไพเราะ

เหง้ากระทือ ใครที่ถูกเรียกว่า “นางดอกกระทือ ” หรือ “แม่ดอกกระทือ ” อาจจะรู้สึกแสบไปถึงทรวงในกันเลยทีเดียว เพราะคาว่า “ดอกกระทือ” ในสมัยก่อนนั้นถือเป็นคาไม่สุภาพ ใช้เป็นคาด่าผู้หญิงซึ่งมีความหมายในทางลบ หากสังเกต ดีๆ ลักษณะและสีของดอกกระทือนั้นจะคล้ายกับอวัยวะเพศชาย (จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ ) ความหมายจะ คล้ายๆ กับคาว่า “ดอกทอง” นั่นเอง แหม...มันช่างน่าสงสารชีวิตเจ้าดอกกระทือเสียจริงๆ เกิดมาเป็นสมุนไพรอยู่ดีๆ ออกดอกก็สวยงาม ไหนเลย กลับมาถูกใช้เป็นคาด่าได้เสียนี่ นอกจากนี้หลายคนอาจจะเคยได้ยินวลีจากเจ้าสมุนไพรชนิดนี้ นอกเหนือจากคาว่า ดอกกระทือ อย่างเช่น ซึมกระทือ ที่มักถูกใช้เรียกคนที่ มีพฤติกรรมเหงาหงอย ไม่ค่อยพูดค่อยจา นิ่งเฉย หรือไม่อยากสนใจอะไร หลายท่าน อาจสงสั ย ว่ า เอ๊ ะ ...แล้ ว เจ้ า ดอกกระทื อ หรื อ สมุ น ไพรที่ ชื่ อ ว่ า กระทื อ นอกจากชื่ อ ที่ ไ ม่ ค่ อ ยจะไพเราะแล้ ว แถม ความหมายยังส่อไปในลบอีกนี่ มันมีดีบ้างหรือเปล่านะ แต่ถ้าหากท่านได้ทราบประโยชน์ของเจ้าสมุนไพรชนิดนี้แล้วล่ะก็ เวลาที่ใครด่าว่า “นางดอกกระทือ” ท่านอาจจะเปลี่ยนทัศนคติมาด้านบวกก็เป็นได้ บทความนี้เราจะมาทาความรู้จักกับเจ้าสมุนไพรมหัศจรรย์ชนิดนี้กันค่ะ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๘๙


ลักษณะของลาต้นและใบของกระทือ กระทื อ จั ด เป็ น ไม้ ล้ ม ลุ ก เป็ น พื ช ตระกู ล เดียวกับขิง ข่า และไพล มีลาต้นอยู่เหนือดินสูงราว ๐.๙๑.๕ เมตร และมีเหง้าอยู่ใต้ดินเรียกว่า “เหง้ากระทือ ” หรือ “หัวกระทือ” เปลือกนอกของเหง้ามีสีน้าตาลแกม เหลือง ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม มีรสขม และ เผ็ดเล็กน้อย ต้นจะโทรมในหน้าแล้งแล้วจะงอกขึ้นใหม่ ในหน้าฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือที่เรียกว่า หั ว เจริ ญ เติ บ โตได้ ดี ใ นดิ น ร่ ว นซุ ย ในที่ ที่ มี ค วามชื้ น พอสมควร และมีแสงแดดส่องตลอดวัน ใบกระทือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลั บ ใน ระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบคล้ ายรูป หอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบ และแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้าง ประมาณ ๕-๗.๕ เซนติเมตร และยาวประมาณ ๒๐-๓๐ เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลาต้น ดอกกระทือ จะออกเป็นช่อโผล่ขึ้นมาจากเหง้า ใต้ดิน ลักษณะคล้ายรูปไข่มีกลีบซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้าย เกล็ดปลา มีดอกจริงขนาดเล็กแทรกอยู่ระหว่างเกล็ด แต่ ละเกล็ด ช่อดอกตั้งอยู่บนก้านสีเขียวที่ชูพ้นพื้นดิน สีของ เกล็ดซึ่งประกอบเป็นช่อดอกนั้นมีทั้งสีเขียว และสีแดง

สด เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ใครเห็นก็ต้องสะดุดตาเป็น ธรรมดา ประโยชน์ของกระทือนั้นมีมากหลาย อาทิ ใช้ ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยในสถานที่ต่างๆ หรือ นาดอกกระทือ ไปใช้ปักแจกันประดับบ้านได้ ส่วนเหง้า มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้ อ งเฟ้ อ จุ ก เสี ย ด ปวดท้ อ ง บ ารุ ง ธาตุ ขั บ ปั ส สาวะ เสมหะเป็นพิษ โดยนาเหง้ามาใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่ง เนื้อในจะมีรสขมขื่นเล็กน้อย ก่อนนากระทือมาปรุง อาหารต้องหั่นแล้วขยากับน้าเกลือนานๆ จะช่วยขจัดรส ขมและขื่นลงได้ โดยเมนูที่นิยมได้แก่ แกงปลาไหลใส่ก ระทื อ แกงปลาดุกใส่กระทือ หน่อกระทืออ่อนต้มจิ้มน้าพริ ก เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่ว่าจะหารับประทานกันได้ง่ายๆ เพราะ ตามท้ อ งตลาดก็ ไ ม่ ค่ อ ยมี ใ ครแกงขายกั น เพราะหั ว กระทือค่อนข้างจะหายาก และถ้าหากไม่ใช่คนรุ่นพ่อรุ่น แม่ หรือคนสมัยก่อน ก็มักจะทาทานกันไม่เป็น หรือไม่ นิยมรับประทาน เพราะว่ามีรสขมเจือปนอยู่นั่นเอง พูด ง่ายๆ หาทานได้ตามต่างจัง หวัดหรื อตาม “บ้านนอก” นั่นเอง

๙๐ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ดอกกระทือ สาหรับบทความนี้เราจะได้นาเสนอเมนู ผัดเผ็ดปลาไหลใส่กระทือ เป็นอีกหนึ่งเมนูโบราณที่หาทานได้ยากใน ปัจจุบัน ทั้งยังช่วยบารุงสุขภาพได้ดีอีกด้วย โดยมีส่วนผสมและวิธีการทา ดังนี้

ส่วนผสม ๑.เหง้ากระทือหั่นฝอย ๒.ปลาไหล ๓.พริกแกง ๔.กล้วยน้าหว้าดิบต้ม ๕.กระชายหั่นฝอย ๖.พริกไทยอ่อน

๗.พริกชี้ฟ้า ๘.ใบกระเพรา ๙.น้ามันพืช ๑๐.น้าปลา ๑๑.ผงชูรส/ผงปรุงรส

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๙๑


ขยาหัวกะทือกับเกลือให้เข้ากัน จนน้าในหัวกะทือไหลออกมา จากนั้นก็นาไปล้างหลายๆน้า เพื่อให้ความเค็มหมดไป ก่อนจะแช่น้าทิ้งไว้พักหนึง่

วิธีการทา ๑.ผัดพริกแกงเข้ากับน้ามันพืชให้หอม จากนั้น เติมน้าเล็กน้อย พอเดือดให้ใส่ปลาไหลหั่นชิ้นลงไป (ห้าม คนปลาไหลเพราะจะมีกลิ่นคาว ให้ใช้วิธีกลับปลาไหล จากด้านล่างขึ้นด้านบนแทน) ๒. เมื่อปลาไหลใกล้จะสุก ให้ใส่กระชายหั่ น ฝอย กล้วยน้าหว้าดิบต้มหั่นเป็นแว่นๆ และตามด้วยลูก พริกไทยสด กระทือที่หั่นเตรียมไว้ (อย่าลืมขยากระทือ กั บ เกลื อ ให้ เ ข้ า กั น เพื่ อ ลดความขมของกระทื อ ออก เสียก่อน) พริกชี้ฟ้าซอย และใบกระเพรา จากนั้นปรุงรส

ด้วยน้าปลา และปรุง รสตามชอบ คนให้เข้ากันอย่าให้ เนื้อปลาไหลเละ พอสุกตักใส่จานพร้อมเสริฟ์กับข้าวสวย ร้อนๆ เป็นอันเสร็จ ***หมายเหตุ วัตถุดิบ และวิธีการทาอาจจะ แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เมนูผัดเผ็ดปลาไหลใส่กระทือ ถือเป็นอีกหนึ่ง เมนูเพื่อสุขภาพที่น่าลิ้มลอง เหมาะสาหรับผู้ที่ชื่นชอบ รสชาติขมและเผ็ดร้อ น อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของสมุ น ไพรไทยที่ ด อกสวยงาม และสารพั ด คุณประโยชน์ นามว่า “กระทือ”

บรรณานุกรม กระทือ (Shampoo Ginger) มหัศจรรย์สมุนไพรดอกแดง. ค้นเมื่อ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙, จาก www.xn03camj5ak4hpc.com/2016/01/27/1982 จับกระทือสมุนไพรไทย มาเฉิดไฉไลบนโต๊ะอาหาร. ค้นเมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙, จาก many-food-review.blogspot.com/2011/06/blog-post_26.html?m=1 สืบค้นเมื่อ “ป้ากี”. (๒๕๕๙, ๑๙ มิถุนายน). สัมภาษณ์.

๙๒ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


ภาพราฤกวันวารเมืองอยุธยา โดย อายุวัฒน์ ค้าผล

เล่าเรื่องบ้านดงตาลผ่านเลนส์แก้ว

ชมรมถ่ายภาพพระนครศรีอยุธยา

“บ้านดงตาล” แห่งตาบลสาเภาล่ม อาเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นแหล่งผลิตน้าตาลสดของกลุ่มครัว เรือน ชาวมุสลิม ที่ทาขายตามท้องตลาดในอยุธยา นับเนื่องกันมาหลายรุ่น แต่ทว่า วิถีชีวิตของชาวบ้านดงตาลได้แปรเปลี่ยน ไปตามบริบทของสังคม คนที่เก็บน้าตาลจากยอดตาลเหลือน้อยลง จนมีแนวโน้มว่าอีกไม่นานการทาน้าตาลสดแห่ง บ้าน ดงตาล ก็คงจะหมดสิ้นไปในที่สุด ในทางวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา ได้ดาเนินการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management-KM) โดย ได้เลือกสรรประเด็นความรู้ เรื่องการทาน้าตาลสด บ้านดงตาล มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อนาไปสู่การแสวงหาแนวทางใน การรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้คงอยู่สืบไป ส่วนในทางศิลปะ ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามถ่ายทอดชีวิตชีวาของบ้านดงตาล จนทาให้ภูมิปัญญาการทา น้าตาลสดของที่นี่ เริ่มเป็นที่รู้จักไม่น้อย ก็คือ “ชมรมถ่ายภาพพระนครศรีอยุธยา” ซึ่งมีผลงานเผยแพร่ใน facebook ได้อย่างน่าสนใจ อันเป็นบทบาทของการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกบทบาทหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม. ติดตามผลงานของ “ชมรมถ่ายภาพพระนครศรีอยุธยา” ได้ใน www.facebook.com ศึกษาข้อมูลการทาน้าตาลสด บ้านดงตาล ตาบลสาเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของสถาบันอยุธยาศึกษา เพิ่มเติมได้ใน http://jas.aru.ac.th/ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๙๓


บน: ภาพโดย พงศธร เฮงสุวนิช ล่างซ้าย: ภาพโดย อัครวัฒน์ ใจเพ็ชร ล่างขวา: ภาพโดย สุธี นุพงษ์ไทย ๙๔ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๙๕

ภาพโดย อัครวัฒน์ ใจเพ็ชร


สืบสานวรรณกรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาและเรื่องเล่าจากเอกสารโบราณในศูนย์ข้อมูลอยุธยาศึกษา

โดย ปัทพงษ์ ชื่นบุญ

พระพิรุณรังสี: วรรณกรรมค้นพบฉบับใหม่ แห่งลุ่มนาเจ้าพระยา

พระพิรุณรังสี เป็น วรรณกรรมที่ พบในคลัง เก็บรักษาเอกสารโบราณ ของศูนย์ข้อมูลสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในขณะที่ผู้วิเคราะห์ทาการจัดหมวดหมู่เอกสารใหม่เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๘ นั้น ไม่ ปรากฏหลักฐานที่มาว่าใครเป็นผู้มอบให้ หรือได้รับการบริจาคมาจากที่ใด พบอยู่เพียงฉบับเดียว มีจานวน ๑ เล่มสมุด ไทย ได้แก่ เอกสารหมายเลขทะเบียน ๘๓๑/๒๕ เป็นเอกสารฉบับพลัด มีจานวนหน้าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เหลือเพียง ๒๘ หน้า หน้าปลายเรื่องตั้งแต่แผ่นที่ ๑๖ ขาดหายไป ลักษณะเอกสารเป็นสมุดไทยขาว เขียนด้วยเส้นหมึกดาด้วย อักษรไทยหน้าละ ๖ บรรทัด ลายมือบรรจงสวยงาม แต่มีร่องรอยการแก้ไขบ่อยครั้ง เอกสารมีขนาดความกว้าง ๑๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๓๖ เซนติเมตร หนา ๐.๔ เซนติเมตร สภาพโดยทั่วไป ชารุดเปื่อยขาดตามรอยพับ มีร่องรอยของเชื้อรา รวมทั้งตัวอักษรบางส่วนลบเลือน ๙๖ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


วรรณกรรมฉบับดังกล่าว ในทะเบียนแต่เดิมระบุว่าเป็นเรื่อง “เทพสามฤดูกลอนอ่าน” แต่เมื่อทาการปริวรรต แล้ว ปรากฏว่ามีเนื้อหาที่ไม่สัมพันธ์กันกับชื่อเรื่อง เมื่อผู้วิเคราะห์ได้ทาการสอบเนื้อหาโดยละเอียดกับวรรณกรรมเรื่อง “สามฤดู” ฉบับโรงพิมพ์วัดเกาะ หรือโรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ ตีพิมพ์เมื่อรัตนโกสินทร์ศก ๑๐๘ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๓ จึงลง ความเห็นว่า วรรณกรรมเล่มดังกล่าวนี้ควรใช้ชื่อ “พระพิรุณรังสี” เพราะไม่ว่าจะเป็นชื่อของตัวละครหลัก หรือการ ดาเนินเรื่อง โดยเฉพาะการกล่าวถึงการกาเนิดพระเอกของเรื่องนั้น เมื่อคราวประสูติก็ปรากฏเหตุอัศจรรย์คือ ฝนแก้ว เจ็ดประการตกไปทั่วเมือง ดังเนื้อความต่อไปนี้ ...ด้วยเดชะกุศลของสมภาร จึงบันดาลธรณีอันแน่นหนา ให้หวั่นไหวไปทั่วทั้งสุธา กลางนภามืดคลุ้มชอุ่มบน มหาเมฆเนาวรัตน์เจ็ดประการ ก็บันดาลตกลงมาดังห่าฝน พระผ่านเกล้าเจ้าพิภพจบสกล ให้ขนเข้ายังท้องพระคลังใน... ...................................... ...พระบิตุรงทรงแสนพิศวาส ให้พระยอดเยาวราชโอรสา ประทานนามตามวงศ์พระลูกยา ด้วยเหตุว่าห่าฝนแก้วเจ็ดประการ ให้ชื่อว่าพระพิรุณรังสี รัศมีพรรณรายดูเฉิดฉาน ดุจดวงจันทร์แจ่มฟ้านภาพาน แต่เหล่าบริวารงามบวร... ส่วนเนื้อหาในเรื่อง “สามฤดู” หรือ “เทพสามฤดู” นั้นมีความแตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดกล่าวคือ ตัวเอก ของเรื่องมีถึง ๓ องค์ ประกอบด้วย พระพิรุณสุริยวงษ์ มณีเมขลา และพระราหูสุริยักษ์ ลงมาเกิดยังโลกมนุษย์ในเมือง อุดมเทพประสิทธิ์ ตามคาบัญชาบัญชาจากท้าวหัศตรีเนตร (โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ, สามฤดูเล่ม ๑, รศ.๑๐๘ , หน้า ๓) เข้าใจว่าเมื่อครั้งที่สานักศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยาได้รับมอบมานั้น ผู้มอบคงจะระบุว่าเป็นเรื่องเทพ สามฤดู อาจเป็นเพราะน่าจะเกิดความสับสนกับชื่อ พระพิรุณสุริยวงษ์ ซึ่งเป็นตัวละครในเรื่องเทพสามฤดู ดังที่กล่าว มาแล้วข้างต้น

ผู้แต่ง และสมัยที่แต่ง ในหน้าต้นของเรื่องปรากฏชื่อ “นายบัว” ซึ่งเป็นใครนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ตามบทร้อยกรองที่ปรากฏนั้น ผู้ แต่งออกตัวว่าเป็นผู้เยาว์ปัญญา ไม่ชานาญในเรื่องการแต่งกลอน แต่มีคาสั่งจากเจ้านายให้แต่งนิทานถวาย ดังนั้นอาจจะ ไม่ไพเราะดังที่ต้องการ สันนิษฐานว่า “เจ้านาย” ที่กล่าวไว้น่าจะเป็นระดับเจ้าหรือเชื้อพระวงศ์ ดังเนื้อความต่อไปนี้ ...ข้าพเจ้ายังเยาว์ปัญญานัก อารมณ์รักแต่งกลอนอักษรสาร ชื่อนายบัวแกเป็น...(ข้อความลบเลือน) (ไม)ชานาญในกลอนอักษรเลย ไม่ไพเราะเพราะโสตสนองสาร ในนิทาน...(ข้อความลบเลือน)... ...................................... ...ใช้ให้แต่งเรื่องนิยาย ทูลถวายตามเรื่องนิทารมณ์... วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๙๗


ในส่วนของสมัยที่แต่งนั้น ไม่สามารถกาหนดชี้ชัดลงไปได้ว่า วรรณกรรมเรื่องนี้แต่งขึ้นเมื่อพ.ศ.ใด เพราะมิได้มี การระบุช่วงเวลาที่แต่งเอาไว้ในหน้าต้น เมื่อพิจารณารูปแบบอักษรที่ใช้นั้น วรรณกรรมเรื่องพระพิรุณรังสี ยังปรากฏว่า มีการใช้รูปแบบตัวอักษรไทยที่นิยมใช้กันในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งมี อักขระวิธีที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่หากพิจารณาในส่วนอื่นๆ คือ การใช้ฉันทลักษณ์ที่เป็นกลอนสุภาพ ภาษา รวมถึง ช่วงสมัยที่มีความนิยมในการใช้กลอนสุภาพแต่งวรรณกรรมต่าง ๆ นั้น สันนิษฐานว่าวรรณกรรมเรื่องพระพิรุณรังสีน่าจะ มีอายุไม่เก่าไปกว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และไม่น่าจะเกินเกินไปกว่ารัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เหตุเพราะด้วยยุคก่อนหน้า นี้ การแต่งวรรณกรรมท้องถิ่นด้วยกลอนสี่ กลอนหก กลอนแปด มักจะไม่นิยมบันทึกลงในสมุดไทย หรือหนังสือบุด แต่ มักจะใช้ไหวพริบปฏิภาณโต้ตอบกันด้วยปากเปล่า ตามแบบขนบการเล่นละครชาตรี มโนห์รา หนังตะลุง และเพลงบอก (ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ,พระยาชมพู, ๒๕๒๗, หน้า ๑๐) จากการวิเคราะห์ “พระพิรุณรังสี” น่าจะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ ไม่ได้เป็นการคัดลอกจากฉบับเดิม โดยเหตุใน การแต่งนั้นเป็นการถวายแก่เจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่สานวนถ้อยคาหรือการ ใช้ภาษานั้น ยัง คงลักษณะความเป็นภาษาชาวบ้านที่อ่า นเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ค่อยปรากฏคาราชาศัพท์มากนัก ภาษายังไม่ถึงขั้นงดงามดังเช่นวรรณคดีในราชสานัก หรือระดับฝีปากกวีเอก ผู้วิเคราะห์จึงจัดไว้ในหมวดวรรณกรรม ท้องถิ่น ประเภทวรรณกรรมประโลมโลก คือเป็นเรื่องในแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ มีการผจญภัย ชิงรักหักสวาท เพราะยังไม่ พบต้นฉบับเรื่องเดียวกันนี้ในที่อื่นใดเลย

รูปแบบฉันทลักษณ์ ลักษณะวรรณกรรมท้องถิ่นของภาคกลางนั้น ที่สารวจพบส่วนใหญ่จะนิยมเลือกใช้ฉันทลักษณ์ที่หลากหลาย ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย และอีกประเภทหนึ่งที่ใช้สาหรับสวดอ่านตามวัดที่เรียกว่า “กลอนสวด” แต่โดยทั่วไป แล้วกวีท้องถิ่นมักนิยมแต่งด้วยกลอนสุภาพ และกลอนสวดที่มีลักษณะเหมือนกาพย์ มากกว่าฉันทลักษณ์ประเภทอย่าง อื่น เพราะไม่เคร่งครัดในเรื่องการกาหนดครุ ลหุ และระบบเสียงสูงเสียงต่าซึ่งต่างจากร่าย โคลง ฉันท์ ที่เคร่งครัดใน เรื่องของการใช้คาครุ ลหุ อันเป็นการแสดงความสามารถทางกวีขั้นสูงจึงมักจะปรากฏในวรรณคดีราชสานักมากกว่า สาหรับวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระพิรุณรังสี นายบัวซึ่งเป็นกวีผู้แต่ง เลือกที่จะใช้ฉันทลักษณ์ประเภทกลอน แปด หรือกลอนสุภาพในการประพันธ์ ประกอบด้วยสัมผัสนอก และสัมผัสใน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ...ปักษานางวางกุมารแล้วบินหนี

พระมุนีรีบเร่งไปรับได้ ๑ บท

สงสารทารกเจ้าตกใจ

กรรแสงไห้อยู่บนหัตถ์พระสิทธา สัมผัสระหว่างวรรค

แสนสงสารพระพิรุณดรุณเรศ

ชลเนตรฟูมฟายทั้งซ้ายขวา ๑ บท

พระกายสั่นขวัญหนีดังตีปลา

พระโศกากัมปนาทเพียงขาดใจ...

๙๘ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


โครงสร้างของเรื่อง ประณามบท ประณามบท หรือบทไหว้ครู เป็นธรรมเนียมนิยมประการหนึ่งที่กวีมักจะใช้เป็นบทนาในการแต่งร้อยกรองไม่ ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณทั้งหลาย โดยเริ่มต้นด้วยการกล่าวบูชาคุณของพระ รัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ (ตรีศิลป์ บุญขจร, ๒๕๔๗) ครูพักอักษร (เสยย์ เกิดเจริญ , ๒๕๓๑) ตลอดจนสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ตนเองเคารพนับถือ เพื่อให้ช่วยเป็นขวัญกาลังใจ ตลอดจนคุ้มครองให้ปราศจากอุปสรรคในการแต่ง วรรณกรรมจนจบ ดังตัวอย่างที่ปรากฏในเรื่องพระพิรุณรังสี ...(ตัวอักษรลบเลือน)... ทั้งพระสงฆ์ทรงพรหมจารี ...(ชารุด)..ชนนีที่คานบ พระคุณสอนบทกลอนอักษรไทย ทั้งฤๅษีครุฑาสุรารักษ์ ทั้งอินทร์พรหมยมเรศเวสสุวรรณ

เป็นที่ระงับดับโศกเกษมศรี อันทรง(ศีล)สังวอนวินัย พระคุณลบล้าโลคะวิสัย ทั้งดินน้าลมไฟช่วย...(ชารุด)... พระจอมจักรเมืองมิ่งมไหยสวรรค์ ช่วย (ป้อง)กันอันตรายภัยแผ้วพาน...

เนื้อเรื่องย่อ (ตั้งแต่หน้าที่ ๑-๑๕) มีนครใหญ่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเชิงผาหิมพานต์มีนามว่า “ไกรนคร” (ในหน้าต้นไม่ทราบชื่อเมืองเนื่องจาก เอกสารชารุด แต่ทราบความในพับด้านหลังสมุดไทย ) เป็นเมืองที่มั่งคั่งและมีความสุขเกษมสาราญมาก นครแห่งนี้มีการ ปกครองด้วยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิศราชธรรม นามว่าท้าวไกรธิบดี มีพระมเหสีทรงพระสิริโฉมงดงามพระนามว่า “จันทรฐา” วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๙๙


อยู่มาในคืนหนึ่ง นางจันทรฐา เข้าบรรทมได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า ขณะที่กาลังออกประพาสป่า พระอาทิต ย์ก็ ตกลงจากฟากฟ้ามาสู่พระหัตถ์นาง และส่องสว่างเป็นสีเหลืองทอง นางจันทรฐาทรงดีพระทัยอุ้มพระอาทิตย์กลับเมือง ทั้งพระนครก็เรื่อเรืองด้วยแสงสีทอง ทันใดนั้นก็มีราหูมาจับพระอาทิตย์ไป นางจึงร่าให้ด้วยความเศร้าโศกจนกระทั่งตื่น บรรทม เมื่อนาความมากราบทูลพระสวามี ก็ท รงโปรดให้พราหมณ์โหราเฒ่าผูกดวงทานายจึงได้ความว่า นางจันทรฐา จะประสูติพระราชกุมารที่มีฤทธิ์บุญญาธิการมากดั่งดวงอาทิตย์ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ และจะปราบปัจจามิตร ไปทั่วทุกแว่นแคว้น แต่เมื่อประสูติมาเป็นพระราชกุมารนั้นชะตาตก จะต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองยาวนานถึง ๑๕ ปี จึงจะกลับมาครองเมืองดั่งเดิม จนกระทั่งเมื่อนางจันทรฐาทรงครรภ์ครบถ้วนทศมาสประสูติพระโอรสที่มีพระสิริโฉมที่งดงาม ก็บังเกิดเหตุ อัศจรรย์สองประการคือ แผ่นดินไหวไปทั่วทั้งทวีป และบังเกิดห่าฝนแก้วเจ็ดประการตกลงมาจากฟากฟ้าเป็นจานวน มาก ท้าวไกรธิบดีจึงให้ขนเข้าไปเก็บยังท้องพระคลัง ต่อมาก็ให้ตั้งพิธีสมโภชพระกุมารประทานนามว่า “พระพิรุณรังสี” พร้อมทั้งให้จัดหาแม่นมที่ต้องตามคุณสมบัติ รวมทั้งทารกบริวารที่เกิดในวันเดียวกัน และทาสอีก ๑๐๑ นคร ไว้สาหรับ ดูแลปรนนิบัติพระพิรุณรังสี จนกระทั่งเมื่อพระพิรุณรังสีมีพระชัณษาได้ ๓ ขวบปี ถึงคราวที่จะต้องพลัดพรากจากบ้านจากเมือง อยู่มาวัน หนึ่ง นางจันทรัฐาก็เกิดเหตุร้อนรุ่มไม่สบายกายสบายใจ ในขณะเดียวกันพระพิรุณรังสีก็มาทูลขออนุญาตไปเที่ยวเล่นใน สวนขวัญ จึงชวนเหล่ากุมาร ๕๐๐ และพระพี่เลี้ยงไปเล่นน้าในลาธาร โดยพระพิรุณรังทรงทรงผลัดเครื่องทรงเป็นผ้า รัตนะกัมพลสีแดง มีนางนกหัสดินตัวหนึ่ง อาศัยอยู่บนไม้ใหญ่ใกล้กับอาศรมพระฤๅษีในป่าหิมวันต์ บินมาแสวงหา อาหาร เห็นพระพิรุณรังสีทรงผ้ากัมพลสีแดงเล่นอยู่ในธารน้าก็เข้าใจว่าเป็นชิ้นเนื้อ จึงตรงเข้าบินโฉบคาบพระกุมารไปที่ รังในป่าหิมวันต์หมายจะเป็นอาหาร แต่ด้วยบุญของพระกุมาร วันนั้นพระฤๅษีออกไปป่าเที่ยวหาผลไม้ ได้ยินเสียงร้องไห้ของทารกบนรังนางนก หัสดิน จึงร่ายเวทส่งเสียงขับไล่จนนางนกตกใจคายพระกุมารที่อยู่ในปาก พระฤๅษีรับไว้ได้และเลี้ยงดูพระกุมารด้วย ความเวทนาสงสาร พร้อมทั้งสั่งสอนวิชาอาคมให้จนหมดสิ้น... (พับด้านหลัง ของหน้าที่ ๑-๑๕) เนื้อความไม่ต่อกัน เนื่องจากต้นฉบับตั้งแต่หน้าสมุดไทยที่ ๑๖ ขาดหายไปทั้งหมด เป็นเหตุการณ์ในเมืองยักษ์ กล่าวถึงการรบกันระหว่างยักษ์กับมนุษย์ ซึ่งน่าจะหมายถึงพระพิรุณรังสี กับพระยายักษ์จักกระพิณ และโอรสคือไอย รัตน์ แต่ฝ่ายยักษ์ต้องแพ้พ่าย พระยายักษ์กับโอรสสิ้นพระชนม์ในสนามรบ นางยักษ์ซึ่งเป็นมเหสีจึงเศร้าโศกซึ่งมีบทตัด พ้อราพึงว่า สวามีและโอรสประมาทฝีมือมนุษย์ และหลงเสน่ห์นางสุมาลีจึงต้องมาตายกลางสนามรบเช่นนี้ ตอนต่อมากล่าวถึงพระพิรุณรังสี เข้าหานางสังวาลย์วรรณ ซึ่งเป็นธิดาของนางสุมาลี นางสังวาลย์วรรณพาไป เข้าเฝ้าพระมารดาคือนางสุมาลี พระพิรุณรังสีจึงเล่าความเป็นมาของตนเองทั้งหมด นางสุมาลีดีพระทัยว่าได้พระราช บุตรเขยที่มีบุญญาธิการ และเชิญให้พระพิรุณรังสีครองเมืองต่อไป...เนื้อความจบลงเท่านี้

๑๐๐ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


จุลภาคของเรื่อง การวางโครงเรื่องพระพิรุณรังสีนั้น เป็นไปตามขนบของการแต่งวรรณกรรมประโลมโลกประเภทจักรๆ วงศ์ๆ ทั่วไปกล่าวคือ เน้นความมีบุญของตัวเอก การพลัดพรากจากบ้านเมือง การผจญภัยและได้ของวิเศษ การต่อสู้กับเหล่า ยักษ์ซึ่งถูกกาหนดให้เป็นตัวร้ายของเรื่อง การได้ภรรยาหลายคน และอาจจะนาไปสู่การผจญภัยในชั้นลูกหลาน โดยแบ่ง จุลภาคตามที่พบต้นฉบับดังนี้ ๑. กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของเมืองไกรนคร ๒. มีกษัตริย์ปกครองคือท้าวไกรธิบดี กับพระนางจันทรฐา ๓. นางจันทรฐา ทรงสุบินว่ารับพระอาทิตย์มาไว้ในอุ้งมือ แต่ถูกราหูมาจับพระอาทิตย์นั้นไป ๔. นางจันทรฐา ประสูติโอรสมีบุญญาธิการ เกิดฝนแก้วเจ็ดประการตกไปทั่วเมือง ๕. ท้าวไกรธิบดีให้พราหมณ์โหรามาทานายพระราชกุมาร ได้ความว่าจะต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองแต่ยัง เยาว์ แต่จะกลับมาครองเมืองอีกครั้งเมื่อพระชันษา ๑๕ ปี ๖. พระราชกุมารประสูติ เกิดเหตุอัศจรรย์แผ่นดินไหว และห่าฝนแก้วเจ็ดประการตกลงมาทั่วเมือง ท้าวไกรธิ บดีให้ขนเข้าเก็บในท้องพระคลัง ๗. มีการสมโภชพระกุมาร ถวายพระนามว่า “พระพิรุณรังสี” ตามเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้ง จัดหาแม่นม พระกุมาร ๕๐๐ องค์ และทาสบริวารจาก ๑๐๑ นคร ให้เป็นบริวารพระพิรุณรังสี ๘. เมื่อพระพิรุณรังสีมีอายุได้ ๓ ปี ถึงเกณฑ์พลัดพรากจากบ้านเมือง พระราชมารดาเกิดเหตุร้อนรุ่ม พระ พิรุณรังสีมาทูลขออนุญาตไปเที่ยวเล่นในสวนกับพระกุมารอีก ๕๐๐ องค์ พระพิรุณรังสีทรงผ้ารัตนกัมพลสีแดงลงเล่นน้า ในลาธาร ๙. นางนกหัสดินเห็นพระพิรุณรังสีลงเล่นน้า เข้าใจว่า เป็นเนื้อสดจึงบินโฉบคาบกลับไปยังรังที่ป่าหิมพานต์ หมายจะกินเป็นอาหาร ๑๐. พระฤๅษีมาช่วยไล่นก และเลี้ยงดูพระพิรุณรังสี (ความขาดหายไป) ๑๑. (เนื้อเรื่องไม่ต่อกัน) กล่าวถึงการสู้รบของพระยายักษ์จักกระพิณ และโอรสนามว่าไอยรัตน์ โดยต่อสู้กับ มนุษย์คือพระพิรุณรังสี ๑๒. ฝ่ายยักษ์พ่ายแพ้เสียชีวิตลงหมดสิ้น ไม่สามารถนาพระศพในป่าออกมาได้ ๑๓. มเหสีของยักษ์จักกะพิณ คร่าครวญถึงพระสวามี และโอรสที่เสียรู้แก่มนุษย์และนางสุมาลี ๑๔. พระพิรุณรังสี ขี่ม้าเหาะมาในอากาศเข้าหานางสังวาลย์วรรณ ๑๕. นางสังวาลย์วรรณพาพระพิรุณรังสีเข้าเฝ้าพระราชมารดาคือ นางสุมาลี ๑๖. นางสุมาลีดีพระทัยที่พระพิรุณรังสีปราบยักษ์ได้สาเร็จ และรับเป็นพระราชบุตรเขยพร้อมกับมอบนาง สังวาลย์วรรณให้เป็นมเหสี ๑๗. พระพิรุณรังสี เล่าความเป็นมาของตนให้นางสุมาลีฟัง (อนุภาคย่อย)

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๐๑


ตัวอย่างสานวนโวหาร จากการวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องพระพิรุณรังสีฉบับดังกล่าวนี้ แม้ว่าจะเป็นฉบับพลัดที่ไ ม่สมบูรณ์ และ บางครั้งก็ไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องของคาสัมผัส ดังที่นายบัวผู้แต่ได้กล่าวปรารภไว้ในหน้าต้นแล้วว่า “ไม่ชานาญในกลอน อักษรเลย” แต่ผู้แต่งก็มีความพยายามที่ควบคุมการใช้ฉันทลักษณ์ให้เกิดความถู กต้องมากที่สุด รวมทั้งพบว่ามีการใช้ ปฏิภาณกวีแทรกอยู่ในหลายบทหลายตอน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ๑. การเล่นคา ตอนที่ท้าวไกรธิบดีตรัสกับพระนางจันทรฐาเมื่อทราบคาทานายว่า จะได้โอรสมีบุญแต่ต้องพลัดพรากจาก บ้านเมือง ...จะปรากฏเปรื่องเรืองฤทธิหาริย์หาญ แต่จะจากพรากพลัดบุรีไป

จะเปรียบปานสุริยาก็ว่าได้ ต่อโตใหญ่จึงจะคืนเข้านคร...

๒. การเปรียบเทียบ มีการใช้บุคลาธิษฐานเปรียบเปรยบุคคลกับสิ่งสาคัญ ดังตัวอย่างในตอนที่นางยักษ์ ราพึงราพันถึงสวามีและ โอรสที่ต้องแพ้สงคราม และตายในสนามรบอย่างน่าเวทนา โดยกษัตริย์ เปรียบดั่ง ร่มโพธิ์แก้วร่มโพธิ์ทอง หากเป็น สถาบันครอบครัว ก็เป็นเสมือนเสาหลักในครอบครัว รวมทั้งมีการใช้สัมผัสใน ดังนี้

...ครั้นฟื้นองค์ทรงโศกโศกาลัย โอ้พระร่มโพธิ์แก้วของเมียเอ๋ย เคยได้พิงพระบรมสมภาร แต่นี้นับเดือนปีจะลี้ลับ เพราะภารเกล้าเจ้าพิภพจบสกล เพราะพระอาจองค์ทะนงศักดิ์ โอ้สงสารโอรสยศไกร นางสนมว่าพระร่มโพธิ์ทองทิพย์ มเหสีลดระทดองค์ ผัวตายแล้วมินานมาซ้าบุตร โอ้นับวันห้องหลวงจะร่วงโรย

แล้วร่าไรรักเจ้าจอมกระหม่อมมาร พระคุณเคยอยู่ปราสาทราชฐาน แต่ก่อนมารเคยเป็นสุขทุกตาบล ดังเดือนดับสิ้นแสงทุกแห่งหน สิ้นพระชนม์สู่สวรรค์ครรไลย จึงพาลูกรักไปตักษัย เจ้าบรรลัยตามเสด็จพระบิตุรงค์ จะลับลิบอยู่ในไพรระหง กาสรดทรงโศกถวิลอยู่ดินโดย ยิ่งแสนสุดเสียดายมิวายโหย จะกอบโกยกินน้าตาไม่ราวัน...

๓. การบรรยายภาพพจน์ ฉากบรรยายตอนที่พระพิรุณรังสี ถูกนางนกหัสดีคาบมา จนกระทั่งพระฤๅษีช่วยไว้ได้ทัน กวีได้พรรณาถึงความ เศร้าโศกของพระกุมารดังนี้

๑๐๒ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


...แสนสงสารพระพิรุณดรุณเรศ ทนเทวษมาในปากนางปักษิน พระเหลียวชะแง้แลดูพระบุริน ก็สูญสิ้นทั้งนางสนมใน เห็นไรไรอยู่แต่สายชละเชี่ยว เหงาเปลี่ยวเปลี่ยวอยู่แต่ปากพฤกษาไสว ลอยละลิ่วปลิวฟ้าอยู่ไรไร จวนจะใกล้อาศรมพระมุนี ...................................... ...สงสารทารกเจ้าตกใจ กรรแสงไห้อยู่บนหัตถ์พระสิทธา แสนสงสารพระพิรุณดรุณเรศ ชละเนตรฟูมฟายทั้งซ้ายขวา พระกายสั่นขวัญหนีดั่งตีปลา พระโสกากัมปนาทเพียงขาดใจ...

คุณค่าของวรรณกรรม วรรณกรรมเรื่องพระพิรุณรังสีฉบับของสถาบันอยุธยาศึกษานี้ ถึงแม้ว่าจะมีเนื้อหาที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน แต่ก็ แฝงความเชื่อ ค่านิยมผ่านพฤติกรรมของตัวละคร รวมทั้งสะท้อนอุปนิสัยของกวีผู้แต่งในหลายประการ เช่น ๑. ความรัก และเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ในฐานะบุคคลผู้มีบุญญาธิการ หลายช่วงหลายตอนจากการวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องพระพิรุณรังสีพบว่า ผู้แต่งแฝงความรู้สึกของตน และให้ ความสาคัญกับระบอบกษัตริย์อย่างยิ่ง นับตั้งแต่ในบทประณามพจน์ที่กล่าวบูชา “พระจอมจักรเมืองมิ่งมไหยสวรรค์” หรื อ ในความต่ อ มาที่ ก ล่ า วว่ า ได้ แ ต่ ง นิ ท านเรื่ อ งนี้ขึ้ น เพื่ อ ถวายแก่ เ จ้ า นาย เมื่ อ เริ่ ม เข้ า สู่ เ นื้ อ เรื่ อ ง ก็ มั ก จะเน้ น ย้ า ความสาคัญของกษัตริย์ในฐานะผู้มีบุญอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเนื้อความที่นางยักษ์มเหสีและนางสนมของพระยายักษ์จัก กระพิณ ราพึงราพันถึงพระสวามีที่สิ้นพระชนม์ในสนามรบว่า ทรงเป็นเหมือนร่มโพธิ์แก้วร่มโพธิ์ทอง หากไม่มีกษัตริย์ แล้วไซร้ บ้านเมืองก็จะหาความสุขมิได้อีกต่อไป ๒. ความเชื่อเรื่องการทานายฝัน และลางบอกเหตุ เรื่องของความฝัน และการทานายฝัน รวมถึงความเชื่อเรื่องโชคลางต่าง ๆ นับว่าเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมา แต่โบราณ แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ เรื่องของความฝันและการทานายทายทัก ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบความเชื่อขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ ที่ยังคงดารงอยู่มาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะในหมู่คนไทยเท่านั้น รวมถึงไปถึงอีกหลาย ๆ ชาติพันธุ์ในทุก มุมโลกด้วย ในวรรณกรรมเรื่องพระพิรุณรังสีได้ส ะท้อนความเชื่อในเรื่องของความฝันและการทานายฝัน โดยเฉพาะ เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับตัวเอกของเรื่องได้แก่ พระนางจันทรฐา และเชื่อมโยงไปผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์คือ ท้าวไกรธิบดี พระพิรุณรังสี และพราหมณ์โหรา กล่าวโดยสรุป วรรณกรรมกลอนสุภาพเรื่องพระพิรุณรังสี จึงนับว่าเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นลุ่มน้าเจ้าพระยาอีก เรื่องหนึ่งที่มีคุณค่า อาจเรียกได้ว่าเป็นวรรณกรรมที่เกือบถูกลืม หากครูบาอาจารย์ของวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา รุ่นก่อนมิได้ใส่ใจนามาเก็บบารุงรักษาไว้ เราคงสูญเสียภูมิปัญญาของบรรพชนในอดีตไปอีกชิ้นหนึ่งอย่างไม่มี วันกลับ อย่างไรก็ตามที่ยกตัวอย่างมีนี้ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาของวรรณกรรมเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จึง เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ น่าสนใจศึกษาและหาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นอย่างยิ่งต่อไปในอนาคต.

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๐๓


บรรณานุกรม ชาญชัย คงเพียรธรรม. (๒๕๕๔). ขนบประณามพจน์ในวรรณคดีเขมร. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรกฎาคม – ธันวาคม. ดิเรก พรตตะเสน. (๒๕๒๗). พระยาฉัททันต์. นครศรีธรรมราช: ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช. ตรีศิลป์ บุญขจร. (๒๕๔๗). วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภาคกลาง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สถาบัน ไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เรี่ยม ศรีทองเพชร, ผศ. (๒๕๒๙). วรรณกรรมท้องถิ่นจากสมุดข่อย. พระนครศรีอยุธยา: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา วิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์, ผศ. พ.ท. (๒๕๔๐). อักษรไทยและอักษรขอมไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคาแหง. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (๒๕๕๙). หนังสือเก่าชาวสยาม. ค้นเมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๙, จาก www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main

เสยย์ เกิดเจริญ. (๒๕๓๑). พระสุธน ฉบับบ้านไร่มะตูม อาเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย. สุพจน์ พฤกษะวัน. (มปป.). นิราศฉลาง ฉบับวัดลาย ตาบลโตนด อาเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. พิษณุโลก: ศูนย์ วัฒนธรรมวิทยาลัยครูพิบูลย์สงคราม. สามฤดู เล่ม ๑. (รศ.๑๐๘). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ.

๑๐๔ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


การเสนอบทความเพื่อตีพมิ พ์ วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา Journal of Ayutthaya Studies (JAS) ISBN ๒๒๒๙-๑๖๔๔ เป็นวารสารวิชาการของสถาบัน อยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ค วามรู้ทางวิช าการ และงานวิจัยทางด้ า น ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอยุธยา โดยเผยแพร่ บทความทางวิชาการ (Article) สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความงานวิจัย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformation of Ancient Manuscripts) วิจารณ์ หนังสือ (Book Review) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วารสารมีกาหนดออกปีละ ๒ ฉบับ คือ มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้อง จัดเตรียมอย่างถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรฐานวารสารวิชาการ โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเป็นขั้นแรก แล้วจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกในสาขานั้นๆ ร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย ๒ ท่าน ตามเกณฑ์ที่กาหนดในลักษณะ Double-blind peer review คือ ผู้พิจารณาไม่ทราบ ชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา โดยเผยแพร่ออนไลน์ในรูปวารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการ เผยแพร่ในรูปเล่ม สาหรับจัดส่งให้ห้องสมุดและหน่วยงานทางวิชาการต่างๆ

หลักเกณฑ์ในการรับพิจารณาบทความ ๑.บทความที่จ ะได้รับพิจ ารณาตี พิมพ์ ได้แก่ บทความทางวิช าการ (Article) สารนิพนธ์ต้นฉบับหรือบทความงานวิ จั ย (Research Article) บทความแปล (Translated Article) บทความปริ ว รรตเอกสารโบราณ ( Transformation of Ancient Manuscripts) วิ จ ารณ์ ห นั ง สื อ (Book Review) ในสาขามนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ ที่ มี ป ระเด็ น เนื้ อ หาเกี่ ย วข้ อ งทางด้ า น ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอยุธยา ๒.บทความทางวิชาการ หรือบทความงานวิจัยนั้น ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ หรือกาลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่น ใดมาก่อน ๓.บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๔.บทความได้รับการจัดพิมพ์ ตามข้อกาหนด การจัดเตรียมต้นฉบับ ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา

การจัดเตรียมต้นฉบับ ๑.พิมพ์ต้นฉบับด้วยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวทั้งเรื่อง รวมภาพประกอบ ตาราง และเอกสารอ้างอิง ไม่เกิน ๑๕ หน้ากระดาษ เอ ๔ ๒.เว้นระยะขอบด้านบน และด้านซ้าย ด้านละ ๑.๒๕ นิ้ว และเว้นขอบด้านล่างและด้านขวา ด้านละ ๑.๐ นิ้ว ใส่หมายเลข หน้ากากับที่มุมบนขวามือทุกหน้า ๓.ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK และใช้เลขไทยตลอดทั้งบทความ (ยกเว้นตัวเลขอารบิคในส่วนบทคัดย่อภาษาอั ง กฤษ ข้อความ หรือชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษ) ๔.ชื่อเรื่อง จัดกึ่งกลาง ขนาดอักษร ๒๐ พอยต์ ตัวหนา มีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๕.บรรทัดถัดจากชื่อเรื่อง เป็น ชื่อผู้เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จัดชิดขอบขวา ขนาดตัวอักษร ๑๖ พอยต์ และ บรรทัดถัดจากชื่อผู้เขียน ตามด้วยตาแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงานที่สังกัด

วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๐๕


๖.หัวข้อใหญ่ จัดชิดขอบด้านซ้าย อักษรขนาด ๑๘ พอยต์ ตัวหนา สาหรับหัวข้อรอง ให้จัดย่อหน้าปกติ อักษรขนาด ๑๖ พอยต์ ตัวหนา และตัวอักษรปกติขนาด ๑๖ พอยต์ ๗.บทคัดย่อ หรือ Abstract ต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และต้องกาหนดคาสาคัญ (Keyword) ไม่เกิน ๕ คา ๘.ถ้ามีภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง ให้ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง และต้องมีชื่อ พร้อมแหล่งที่มาของภาพประกอบ แผนที่ หรือตาราง ๙.พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี) และบรรณานุกรมท้ายบทความ ตาม ตัวอย่างการพิมพ์อ้างอิงและบรรณานุกรม ของวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา และจัดเรียงตามลาดับอักษร ถ้ามีบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ต่อท้ายบรรณานุกรมภาษาไทย

การส่งต้นฉบับบทความ ๑.ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความตามข้อกาหนดการจัดเตรียมต้นฉบับ จานวน ๑ ฉบับ พร้อมแนบไฟล์ภาพประกอบที่มีความละเอียด สูง พร้อมกับ “แบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา” มาทางอีเมล์ ayutthayanuruk@outlook.com ๒.เจ้าของบทความที่ได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ จะได้รับวารสารจานวน ๒ เล่ม พร้อมเกียรติบัตรจากบรรณาธิการบริหาร ๓.กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการนาบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์และสือของสถาบันอยุธยาศึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา ฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๘ ๑๓๔๓ ๕๐๗๐ , ๐๘ ๔๐๒๓ ๕๐๕๓ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐๓๕ ๒๔๑ ๔๐๗

ตัวอย่างการพิมพ์อ้างอิง และบรรณานุกรม หมายเหตุ

/ //

หมายถึง ระยะเว้นวรรค ๑ ครั้ง หมายถึง ระยะเว้นวรรค ๒ ครั้ง

การพิมพ์อ้างอิง พิมพ์เอกสารอ้างอิงในเนื้อหา (แบบนาม-ปี) 

การพิมพ์อ้างอิงจาก หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงานการวิจัย / วิทยานิพนธ์ และสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นการรวมบทความ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/หน้า) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, หน้า ๑๕)

การพิมพ์อ้างอิงจากการการสัมภาษณ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์,/ปี,/วัน/เดือน) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, ๒๓ พฤษภาคม)

การพิมพ์อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ (ชื่อผู้แต่ง,/ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น,/เว็บไซต์) (รัตนไชย วาสุกรี, ๒๕๕๘, www.asi.aru.ac.th)

การพิมพ์อ้างอิงจากภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์ (ชื่อเรื่อง,/ปีที่ผลิต,/[ชนิดของวัสดุ]) (ตลาดหัวรอ, ๒๕๕๘, [ภาพนิ่ง])

๑๐๖ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙


การพิมพ์บรรณานุกรม  หนังสือ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//(ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/สานักพิมพ์. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๗). พระนครศรีอยุธยาในความทรงจาของข้าพเจ้า. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา.

 สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นการรวมบทความ ผู้เขียนบทความ.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ผู้แต่ง.//ชื่อหนังสือ.//(หน้า).//เมืองที่พิมพ์:/สานักพิมพ์. ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์. (๒๕๔๗). อาการกบต้ม (สุก). ใน มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และชับปนะ ปิ่นเงิน (บก.). นพีสีเชียงใหม่. (หน้า ๙๐ – ๙๑). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 วารสาร ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,//ปีที่(ฉบับที่),//หน้าที่อ้าง. ประมูล สัจจิเศษ. (๒๕๔๑). ปัญหาและแนวทางแก้ไขเศรษฐกิจไทย. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, ๑๙(๒), ๓๔ – ๓๙.

 หนังสือพิมพ์ ผู้เขียน.//(ปีพิมพ์,//วัน/เดือน).//ชื่อข่าว,//ชื่อหนังสือพิมพ์,//หน้า. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๙, ๒๕ เมษายน). หวั่นถอดถอนมรดกโลกอยุธยา, สยามโพลล์, หน้า ๓๔.

 รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ชื่อผู้วิจัย.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิจัย.//(รายงานผลการวิจัย).//เมืองที่พิมพ์:/สถาบัน. ฉันทนา บรรณ และศิรโิ ชติ หวันแก้ว. (๒๕๓๕). การศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส: เด็กทางาน. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//วิทยานิพนธ์ตามด้วยชื่อปริญญา/สาขาวิชา,//สถาบัน. รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๔๗). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

 การสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์.//(ปี,//วัน/เดือน).//ตาแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์.//หน่วยงานของผู้ให้สัมภาษณ์.//สัมภาษณ์. บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์. (๒๕๕๒, ๘ มิถุนายน). อธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สัมภาษณ์.

 แหล่งข้อมูลออนไลน์ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่ผลิตหรือปีที่สืบค้น).//ชื่อเรือ่ ง.//ค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี,//จาก/URL รัตนไชย วาสุกรี. (๒๕๕๐). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลาดหัวรอ. ค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๕๗, จาก www. asi.aru.ac.th

 ภาพนิ่ง ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ และวีดิทัศน์ ชื่อเรื่อง.//(ปีที่ผลิต).//[ชนิดของวัสดุ].//สถานที่ผลิต:/ผู้ผลิต ตลาดหัวรอ. (๒๕๕๐). [แผนที่]. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙ I๑๐๗


แบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ข้าพเจ้า  นาย  นาง  นางสาว (ไทย) ...............................................................................................................  อื่นๆ ............................ (อังกฤษ) ........................................................................................................... ตาแหน่งทางวิชาการ ............................................................ วุฒิการศึกษาสูงสุด ............................................................... ตาแหน่งงาน ....................................................................... หน่วยงานที่สังกัด ................................................................. ขอส่ง สาขา

 บทความทางวิชาการ (Article)  สารนิพนธ์ หรือบทความงานวิจัย (Research Article)  บทความปริทัศน์ (Review Article)  บทความปริวรรตเอกสารโบราณ (Transformed Ancient Manuscripts)  บทความแปล (Translated Article)  ประวัติศาสตร์  ประวัติศาสตร์ศิลปะ  โบราณคดี  ศิลปวัฒนธรรม  ศิลปกรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม  อื่นๆ (ระบุ) .............................................................................................................................................

ชื่อเรื่อง

(ไทย) ........................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. (อังกฤษ) ...................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. โดยมีผู้แต่งร่วม (ถ้ามี) สถานที่ติดต่อ

๑. ชื่อ .................................................................... ตาแหน่งทางวิชาการ ................................................. ๒. ชื่อ .................................................................... ตาแหน่งทางวิชาการ .................................................

.............................................................................. เลขที่ ................... หมู่ที่ .......................... อาเภอ/แขวง ........................................................ โทรศัพท์ ............................................................... E-mail .................................................................

วัตถุประสงค์ของการตีพิมพ์

.................................................................................................... ตาบล /ซอย ......................... ถนน ............................................ จังหวัด ................................. รหัสไปรษณีย์ .............................. โทรสาร ....................................................................................... Facebook ................................................................................

 เพื่อสาเร็จการศึกษาภาคเรียนที่ ....................

ปีการศึกษา .................... ภายในวันที่ ...................... O ใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนตาแหน่งทางวิชาการ/วิชาชีพ  อื่นๆ ระบุ ......................................................................................................................................

ข้าพเจ้าของรับรองว่าบทความนี้ เป็นผลงานของข้าพเจ้า และผู้ร่วมงานตามชื่อที่ระบุในบทความ (ถ้ามี) และเป็นบทความที่ไม่ได้กาลังมีการนาเสนอ หรือตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ลงชื่อ .......................................................................................... ( .................................................................................... ) วันที่ ............................................................................................

๑๐๘ I วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา I ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๙



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.