เอกสารประกอบการอบรมอยุธยาสัญจร “ประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาหลังสมัยกรุงศรีอยุธยา”

Page 1


เอกสารประกอบการอบรมหลั กสู ตร “อยุธยาศึกษาสัญจรเฉลิมพระเกียรติฯ”

ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา พัฑร์ แตงพันธ์

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จานวน ๔๐๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายบริหาร ดร.จงกล เฮงสุวรรณ กันยารัตน์ คงพร สุรินทร์ ศรีสังข์งาม อุมาภรณ์ กล้าหาญ

ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่ําเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง


สารบัญ ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา

จากธุลีกรุงศรีอยุธยา สู่เทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า

ย่านบ้านช่องชาวกรุงเก่าหลังสมัยราชธานี

ฟื้นวังจันทรเกษม ดังฟื้นชีวาราชธานี

๑๓

กรุงเก่า: ศูนย์กลางการปกครองแห่งมณฑล

๑๖

บทบาทของกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกระลึกใช้ในสมัยมณฑลกรุงเก่า

๑๙

จากกรุงเก่าถึงพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๗๖ - พ.ศ.๒๕๐๐

๒๗


หลักสูตรการอบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญจร” ๑.ชื่อหลักสูตร: การอบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญจร” ๒.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: ฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๓.หลักการและเหตุผล: “มรดกไทย” เป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรมที่ แ สดงออกถึ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ข องความเป็ น ชา ติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิ ล ปหั ต ถกรรม นาฏศิ ล ป์ แ ละดนตรี ตลอดจนถึงการดําเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกั น ของผู้ ค นในผื น แผ่ น ดิ น ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยานอกจากจะได้ รั บ การยอมรั บ ให้ เ ป็ น มรดก แห่งชาติแล้ว ยังได้รับการยอมรับจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ ง สหประชาชาติ ให้เป็นมรดกสากลแห่งมวลมนุษยชาติ หรือที่เรียกว่า “มรดกโลก”อันเป็นความภาคภู มิใ จของคนใน ชาติ และโดยเฉพาะคนในท้องถิ่นพระนครศรีอยุ ธยาที่จะต้องร่วมกั น อนุ รั ก ษ์ มรดกทางวั ฒ นธรรมนี้ ให้คงอยู่สืบไป กอปรกั บ ในวั น ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ อั น เป็ น วั น คล้ า ยวั น พระราชสมภพของสมเด็ จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้ เ ป็ น “วั น อนุ รั ก ษ์ มรดกไทย” เพื่อสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราช กุมารี ที่พระองค์ทรงเป็น “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในฐานะที่ เ ป็ น หน่ ว ยงานที่ ทําหน้าที่ในการส่งเสริมการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวั ฒ นธรรมประจํ า ท้ อ งถิ่ น พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ซึ่งมีวิสัยทัศน์เป็นศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรมอยุธยาที่มีคุณภาพ เป็นสถาบัน ที่ เ ชิ ด ชู และส่ ง เสริ มการ ประยุกต์ใช้ข้อมูลทางวัฒนธรรมอยุธยาเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่ง ยื น นั้ น เห็ น สมควรจั ด กิ จ กรรม อบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญจร” โดยมีวัตถุป ระสงค์ เ พื่ อ เป็ น การเฉลิ มพระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ และเพื่อเผยแพร่และบริการวิชาการด้าน “ประวั ติศาสตร์ ศิ ลปะและวั ฒนธรรมอยุ ธยา” ให้ แ ก่ หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ตลอดจนเป็ น การปลู ก จิตสํานึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะในท้ อ งถิ่ น พระนครศรี อ ยุ ธ ยาซึ่ ง เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของโลก รวมถึงยังเป็น การสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่ า งสถาบั น อยุธยาศึกษา กับหน่วยงานการศึกษา และสถานศึ ก ษาต่ า ง ๆ ทั้ ง ในท้ อ งถิ่ น และจั ง หวั ด ต่ า ง ๆ อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์บทบาท และพันธกิจของสถาบันอยุธยาศึกษา และมหาวิ ท ยาลั ย ราช ภัฏพระนครศรี อ ยุ ธ ยาในการเป็ น แหล่ ง รวบรวม ศึ ก ษา ค้ น คว้ า และเผยแพร่ อ งค์ ค ว ามรู้ ด้ า น วัฒนธรรมอยุธยา ตลอดจนการอนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมอยุธยาอีกด้วย


กิจกรรมการอบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญจร” ประกอบด้ ว ยการปาฐกถาพิ เ ศษ เรื่ อ ง สถา บั น อยุ ธ ยาศึ ก ษากั บ งาน อนุ รั ก ษ์ สื บ สาน ส่ ง เสริ มและเผยแพร่ วั ฒ นธรรมอยุ ธ ยา การบรรยายด้านประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะอยุ ธ ยา การบรรยายด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ อยุธยาร่วมสมัย และการบรรยายด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยา โดยคณะ ผู้บริหารและนักวิชาการประจําสถาบันอยุธยาศึกษา รวมถึงการนําเสนอนิทรรศการเรื่ อ ง “สมเด็ จ พระเทพรั ต น ราชสุ ด า ฯ สยามบรมรา ชกุ มารี กั บ การอนุ รั ก ษ์ มร ดกไทย” และนิ ท รรศกา ร “ประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมอยุธยา” โดยออกไปเผยแพร่ แ ละให้ บ ริ ก ารทางวิ ช าการแก่ อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ๔.วัตถุประสงค์: ๑) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ มารี ในโอกาส ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ อันเป็นการสํานึกในพระมหากรุ ณาธิ คุ ณ ที่พระองค์ทรงเป็น “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” ๒) เพื่อเผยแพร่และบริการวิชาการด้านประวัติศ าสตร์ ศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมอยุ ธ ยา ให้ หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ๓) เพื่อปลูกจิตสํานึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะในท้ อ งถิ่ น พระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ๔) เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่ า งสถาบั น อยุ ธ ยาศึ ก ษา กั บ หน่ ว ยงาน การศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ๕.หัวเรื่องและขอบข่ายเนื้อหา: หัวเรื่อง: ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมอยุธยา ขอบข่ายเนื้อหา : สถาบันอยุ ธ ยาศึ ก ษากั บ งานอนุ รั ก ษ์ สื บ สาน ส่ ง เสริ มและเผยแพร่ วั ฒ นธรรมอยุ ธ ยา สมเด็ จ พระเทพกั บ การอนุ รั ก ษ์ มร ดกไทย การบรรยายด้ า น ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะอยุธยา การบรรยายด้านประวัติ ศ าสตร์ อ ยุ ธ ยา ร่วมสมัย และการบรรยายด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยา ๖.รูปแบบ และวิธีการฝึกอบรม ๑) รูปแบบการฝึกอบรม: การอบรมทางวิชาการ ๒) วิธีการฝึกอบรม: การอบรมทางวิชาการ โดยวิทยากรเป็ น ผู้ บ ริ ห าร และนั ก วิ ช าการ จากสถาบันอยุธยาศึกษา ๗.ระยะเวลาการฝึกอบรม: ๑ วัน ๘.จํานวนผู้เข้ารับการอบรม: ครั้งละ ๑๐๐ คน จํานวน ๔ ครั้ง ๙.คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม: นักวิชาการ อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไป


๑๐.ค่าใช้จ่าย: งบประมาณจาก มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา (งบแผ่ น ดิ น ) จํ า นวนเงิ น ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๑๑.การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม: ๑) ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๒) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๓) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนําความรู้ไปใช้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.ผลที่คาดว่าจะได้รับ: ๑) เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมพระเกียรติสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราช กุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ๒) หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ได้ รั บ การ บริการวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมอยุธยา ๓) ผู้รับการอบรมมีจิตสํานึกเกี่ย วกั บ การอนุ รั ก ษ์ มรดกทางวั ฒ นธรรมไทย โดยเฉพาะ มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๔) สถาบันอยุธยาศึกษาสามารถสร้ า งเครื อ ข่ า ยทางวิ ช าการ กั บ หน่ ว ยงานการศึ ก ษา และสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ๑๓.วิทยากร: ๑) ดร.จงกล เฮงสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา ๒) อาจารย์สุรินทร์ ศรีสังข์งาม รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา ๓) นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา ๔) นายปัทพงษ์ ชื่นบุญ นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา ๑๔.สื่อการอบรม: ๑) เอกสารประกอบการอบรม ๒) เครื่องฉายและจอแสดงภาพประกอบ ๓) นิทรรศการ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กับการอนุรัก ษ์ มรดก ไทย” และนิทรรศการ “ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมอยุธยา” ๑๕.สถานที่ฝึกอบรม: สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันการศึกษาและโรงเรียนต่าง ๆ


กาหนดการอบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญจร” จัดโดยสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.

ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.

พิธีเปิดการอบรมทางวิชาการ “อยุธยาศึกษาสัญจร” และปาฐกถาพิเศษเรื่อง สถาบันอยุธยาศึกษากับงานอนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม อยุธยา โดย ดร.จงกล เฮงสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา

๐๙.๓๐ - ๑๐.๑๕ น.

การบรรยายเรื่อง สมเด็จพระเทพฯ กับการอนุรักษ์มรดกไทย โดย อาจารย์สุรินทร์ ศรีสังข์งาม รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา

๑๐.๑๕ - ๑๐.๓๐ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.

การบรรยายเรื่อง ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิสถานและประวัติศาสตร์ อยุธยา โดย อาจารย์สุรินทร์ ศรีสังข์งาม รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.

รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.

การบรรยายเรื่อง ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา โดย นายพัฑร์ แตงพันธ์ นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔.๔๕ – ๑๖.๐๐ น.

การบรรยายเรื่อง ภูมิวัฒนธรรมอยุธยา โดย นายปัทพงษ์ ชื่นบุญ นักวิชาการศึกษา สถาบันอยุธยาศึกษา


ประวัติผู้เขียน พัฑร์ แตงพันธ์ เป็นชาวพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ จบการศึ ก ษาชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย จากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยใน พ.ศ.๒๕๔๕ สํ า เร็ จ การศึ ก ษาศิ ล ปศาสตรบั ณฑิ ต (อุ ต สาหกรรม ท่องเที่ยว) จากมหาวิทยาลัยราชภั ฏ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา เมื่ อ พ.ศ.๒๕๔๙ และศิ ล ปศาสตรมหา บัณฑิต (ประวัติศาสตร์ไทย) จากมหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ เมื่ อ พ.ศ.๒๕๕๐ ปั จ จุ บั น เป็ น นักวิชาการศึกษา ประจําสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีค วามสนใจ ในการศึกษาประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะในสมั ย หลั ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา รวมถึ ง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมสมัย ผลงานวิจัย ๒๕๔๘

ศึกษาสภาพและปัญหาการทิ้งขยะมูลฝอยและน้าทิ้งจากร้านอาหารที่ตั้งบริเวณ ริมแม่น้าในเขตเทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยา เป็นหัวหน้าคณะวิจัย, งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาสัมมนา ปัญหาทาง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๘

๒๕๕๐

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ตลาดหัวรอ. งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา สัมมนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๕๐

๒๕๕๕

การพัฒนาชุมชนเมืองกับการอนุรักษ์โบราณสถานในเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยาและปริมณฑล พ.ศ.๒๔๘๒-๒๕๔๔ ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

๒๕๕๗

ผังเมือง และภูมิสถานทางประวัติศาสตร์ ภายในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา สมัย มณฑลอยุธยา พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๗๖

ผลงานหนังสือ ๒๕๕๕

เป็นคณะจัดทําหนังสือ “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา: มรดกไทย: มรดก โลก” จัดพิมพ์ด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับสถาบัน อยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑

จากธุลีกรุงศรีอยุธยา สู่เทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ภายหลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๑๐ เป็ นต้ นมา ใช่ ว่ า เมืองพระนครศรีอยุธยาจะรกร้างไปเสียสิ้น หากแต่ ค่ อย ๆ ฟื้ นตั ว อี กครั้ ง อย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง แม้มิได้มีสถานะเป็นราชธานีดังเดิมอีกต่ อไป แต่ ก็ ยังได้รับ การขนานนามจากราชสานักแห่งกรุงรัตนโกสิ นทร์ ว่ า “กรุ งเก่ า ” และได้รับการอุปถัมภ์ค้าชูบวรพระพุทธศาสนา และบูรณะสถานที่สาคัญที่ มีนัยทางการปกครองอย่างพระราชวังต่าง ๆ ในฐานะที่เ ป็ นอนุ ส รณ์ ส ถาน แห่งการเป็นราชธานีโบราณของคนไทย กอปรกั บ ปั จจั ยทางด้ า นความ อุดมสมบูรณ์ของสายน้าและแร่ธาตุในดิน ที่อาทรแก่ การเป็ นแหล่ งท ามา หากินของประชาราษฎร์ที่ดีเยี่ยม เป็นส่วนสาคัญในการหนุนนาให้ อยุ ธ ยา เติบโตกลายเป็ นชุ ม ชนขนาบน้ าขนาดใหญ่ ที่ มี ศั กยภาพ และศั กดิ์ ศ รี เพียบพร้อมแก่การถูกเลือกใช้เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของมณฑล อยุธยา ใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ซึ่งกว่าที่จะไปสู่จุดนั้น เมืองพระนครศรี อยุ ธ ยาได้ มีพัฒนาการเป็นลาดับดังต่อไปนี้ จากธุลีกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายชิ้น ทาให้ทราบดีว่าผลของสงครามเสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น ได้สร้างความเสียหายย่อยยับให้กับพระนครกรุงศรีอยุธยาอย่ า งนั ก จน ไม่อาจฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับคืนมาเป็นราชธานีดังเดิมได้ ด้วยสถานที่ต่าง ๆ ในพระนคร ทั้ ง ปราสาท ราชวัง วัด และศาสนสถานต่าง ๆ รวมทั้งบ้านเรือนของประชาราษฎร์ ต่างได้ รั บ ความเสี ย หายจาก การเผาผลาญ และการลุกลามต่อเนื่องของเพลิงสงคราม ที่ ส่ ง ผลให้ ช าวเมื อ งต่ า งหลบหนี เ อาชี วิ ต รอดไปคนละทาง โดยมิอาจมีผู้ใดหลบซ่อนตัวอยู่ในเมืองได้ มิเช่นนั้นก็จะถูกฆ่า หรือถู ก กวาดต้ อ นไป เป็นเชลย ดังที่ปรากฏรายละเอียดต่าง ๆ ในจดหมายเหตุคณะบาทหลวงฝรั่งเศสที่เข้า มาเมื่ อ ครั้ ง กรุ ง ศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ สมัยกรุ ง ธนบุ รี และช่ ว งต้ น กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ซึ่ ง ตี พิมพ์ ใ น


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒

ประชุ ม พงศา วดาร ภา คที่ ๓๙๑ รวมถึ ง บั น ทึ ก ภา ษา ดั ต ช์ ว่ า ด้ ว ยกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ถู ก ท า ลา ย โดยผู้เห็นเหตุการณ์ขณะนั้น ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือการปฏิวัติปลายแผ่นดินพระนารายณ์ มหาราชและ การล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ของกรมศิลปากร๒ ดังนั้น สภาพโดยทั่วไปของกรุงศรีอยุธยาในช่วงหลังสงครามสิ้น สุ ด ลงใหม่ ๆ คงจะมี ส ภาพ ไม่ต่างจากนครร้าง และเต็มไปด้วยซากอาคาร บ้านเรือน และศาสนสถานที่ได้รับความเสี ย หายจาก เพลิงไหม้ แต่ไม่นานนักหลังจากที่สงครามสงบลง ก็เริ่มมีผู้คนกลับเข้ามาอยู่ อ าศั ย และท ามาหากิ น ในละแวกพระนครกรุงศรีอยุธยาตามเดิม โดยเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายไทย และจีน ที่กลั บ เข้ า มาขุ ด หา ทรัพย์สินมีค่าที่เหลืออยู่ตามวัดต่าง ๆ หรือ ทรัพย์สมบัติที่ชาวกรุงศรีอยุธยาทอดทิ้ ง หรื อ ซุ ก ซ่ อ นไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุของบาทหลวงฝรั่งเศส ที่เดิน ทางมายั ง กรุ ง สยามและท่ อ งส ารวจไปตาม ท้องที่ต่าง ๆ ในอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๒ ซึ่งเป็นเวลา ๒ ปีหลังจากเสียกรุง๓ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนตามหัวเมืองต่างๆ เช่น ชาวเมืองพิษณุโลกและชาวเมื อ งนครราชสี มา ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เทครัวพาเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณกรุงศรีอยุธยาเดิม เพื่อฟื้นฟู ใ ห้ เ มื อ งที่ ล่ มสลาย กลับมาเป็นแหล่งชุมชนเมืองอีกครั้ง แต่สภาพของเมืองก็นั บ ว่ า ยั ง มี ผู้ ค นเบาบางอยู่ มาก และมี โ จร ผู้ร้ายชุกชุมอยู่หลายพื้นที่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง ณ เวลานั้น ล้วนมีสภาพความเป็ น อยู่ ที่ อั ต คั ด ขาด แคลนอาหาร ด้วยเหตุที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็น เชลยที่พระเจ้ า กรุ ง ธนบุ รี ก วาดต้ อ นมา จึ ง ไม่ คุ้ น เคยกั บ สภาพภูมิประเทศ และการทามาหาเลี้ยงชีพ ในรั ช สมั ย พระเจ้ า กรุ ง ธนบุ รี เป็ น ช่ ว งที่ บ้ า นเมื อ งเพิ่ ง ผ่ า นพ้ น วิ ก ฤตกา รณ์ ส งครา ม วัดวาอารามต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเป็นอันมาก และยังคงถูกทิ้งร้างภายใต้ ซ ากปรั ก หั ก พั ง ท าให้ วัดไม่อาจเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาราษฎร์ได้ ซ้ายังถูกผู้ร้ายขุดคุ้ย หาสมบั ติ และลั ก ทรั พย์ สิ น มี ค่าภายในวัดอีกด้วย ดังข้อความในจดหมายของบาทหลวงฝรั่งเศสว่า “บรรดาพระพุ ท ธรู ป และพระ เจดีย์ซึ่งได้ปิดทองกันอย่างงดงาม บัดนี้ก็ได้ทาลายหักพังเป็นผงธุลีไปหมดแล้ว ตามวัดวาอารามก็ ร้ า ง ไปหมด เพราะพวกพระสงฆ์ได้หนีทิ้งวัดไปสิ้น ผ้าเหลืองเวลานี้ไม่ใคร่มีใคร จะนั บ ถื อ เหมื อ นแต่ ก่ อ น แล้ว และถ้ามีใครขืนครองผ้าเหลืองในเวลานี้ก็ต้องอด”๔ สะท้อนให้เห็นว่า เมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยา ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นตกอยู่ใ นสภาพที่ เ รี ย กได้ ว่ า “บ้ า นแตกสาแหรกขาด” และปราศจากที่ พึ่ง ๑

หม่อมเจ้าธารงศิริ,มหาอามาตย์โท. (๒๔๗๐) ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ เรื่ องจดหมายเหตุ ข อง คณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุ ธ ยาตอนแผ่ น ดิ น พระเจ้ า เอกทั ศ กั บครั้ ง กรุ ง ธนบุ รี แล กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. พระนคร: ศรีหงส์. ๒ กรมศิลปากร. (๒๕๔๘). การปฏิวัติปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และการล่มสลายของ กรุงศรีอยุธยา. หน้า ๙๐. ๓ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. (๒๔๗๐). หน้า ๗๑. ๔ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. (๒๔๗๐). หน้า ๗๘-๗๙.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓

ทางจิตใจ จึงเป็นโอกาสให้บาทหลวงฝรั่งเศสได้เข้าไปให้การอุปถัมภ์ด้านอาหารและการรั ก ษาโรค ทาหน้าที่เป็นที่พึงทางจิตใจของผู้คนแทน โดยมีการชักชวนให้ผู้คนเข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนาเป็ น การ ใหญ่ ระยะนี้อยุธยา ถูกลดฐานะจากเมืองหลวง ลงมาเป็ น เมื อ งชั้ น จั ต วา ซึ่ ง มี บ ทบาทส าคั ญ ใน การเป็นแหล่งผลิตข้าวสาหรับเลี้ยงชาวเมืองหลวง และเก็บสารองไว้เป็นเสบียงในภาวะสงคราม โดย พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงแต่งตั้งให้พระยาอินทรอภัย เป็นผู้รักษาเมือง ๑

สภาพเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาจากหอพิสัย ศัลลัก ษณ์ พระราชวังจันทรเกษม เมื่อประมาณก่อน พ.ศ.๒๔๔๐ ที่มา: ซอมเมอร์วิลล์ แม๊กซ์เวล. (๒๕๔๔). สยามริมฝั่งเจ้าพระยา. หน้า ๑๖๙.

การก่อร่างสร้างเมือง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟูาจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุง รั ต นโกสิ น ทร์ เป็ น ราชธานี แห่งใหม่ อยุธยาก็ยังคงมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวาตามเดิม โดยมีพระยาวิ ชิ ต สิ ท ธิ ส งครามเป็ น ผู้ รั ก ษา เมือง ในรัชกาลนี้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามให้มีพระสงฆ์มาจาพรรษา ทั้ ง ในและนอกเกาะ เมือง ประกอบด้วยพระอาราม ๕ แห่ ง คื อ วั ด โลกสุ ธ าศาลาปู น วั ด สุ ว รรณดาราม วั ด พนั ญ เชิ ง ๑

เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (๒๕๒๗). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๕๐๐. หน้า ๘.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๔

วัดตูม วัดศาสดาราม และยังได้มีการถวายผ้าพระกฐินแก่พระอารามหลวงในเมืองกรุงเก่ า เป็ น ประจ า ทุกปีจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อมา ๑ การบูรณะวัดวาอารามในเมืองกรุงเก่านี้เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับมาเป็ น สถาบั น หลักของท้องถิ่น เพราะสังคมไทยเป็นสังคมชาวพุ ท ธซึ่ ง ต้ อ งมี วั ด เป็ น ศู น ย์ ร วมทางจิ ต ใจและเป็ น ที่ พึ่งพิงของประชาชน เพื่อรักษาเอกภาพของสังคมให้เป็นอั น หนึ่ ง อั น เดี ย ว หลั ง จากที่ ก่ อ นหน้ า นี้ วั ด และพระพุทธศาสนาในอยุธยาได้เสื่อมถอยไป ภายหลังสงครามเสียกรุงฯ พ.ศ.๒๓๑๐ การบูรณะพระอารามหลวงในกรุงเก่าเหล่านี้ อาจมีนัยทางการเมื อ งการปกครองด้ ว ย คื อ การอาศัยวัดเป็นพื้นที่ตัวกลางในการติดต่อระหว่างรั ฐ กั บ ผู้ ถู ก ปกครอง เนื่ อ งจากวั ด หลวงมี ค วาม เชื่อมโยงกับระบบเลกไพร่ในสังคมกึ่งศักดินา คือวัดหลวงได้รับไพร่ จ ากรั ฐ ที่ เ รี ย กว่ า เลกวั ด เป็ น วิ ธี หนึ่งที่จะรวบรวมเลกไพร่ที่กระจัดกระจายเข้ามาอยู่ในระบบได้ ๒ สาหรับบรรยากาศโดยทั่วไปในเกาะเมืองกรุงเก่าในระยะนี้ คงมี ส ภาพรกร้ า งอยู่ มาก ดั ง ที่ สุนทรภู่ ได้พรรณนาถึงสภาพของอยุธยาหลังเสียกรุงในนิราศพระบาท เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๕๐ ซึ่ ง ตรง กับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟู า จุ ฬ าโลก (รั ช กาลที่ ๑) หรื อ หลั ง เสี ย กรุ ง แล้ ว ประมาณ ๔๐ ปี มีใจความตอนหนึ่งว่า ...ถึงคลองสระปทุมานาวาราย ทั้งวังหลวงวังหลังก็รั้งรก ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา

น่าใจหายเห็นศรีอยุธยา เห็นนกหกซ้อแซ้บนพฤกษา ดังปุาช้าพงชัฏสงัดคนฯ

อย่างไรก็ดีในวรรณกรรมชุดนี้ ก็ยังได้ให้ข้อมูลของชุมชนชาวอยุธยา ที่เริ่ มกลั บ เข้ า มาอาศั ย จนกลายเป็นชุมชนบ้างแล้ว อย่างชุมชนชาวมุส ลิมในละแวกคลองตะเคี ย น ซึ่ ง เป็ น คลองลั ด แม่ น้ าที่ อยู่ทางใต้ของเกาะเมืองว่า ...เข้าในคลองตะเคียนให้โหยหา ระยะย่านบ้านช่องในคลองมา ล้วนภาษาพวกแขกตะนีอึง ดูหน้าตาก็ไม่น่าจะชมชื่น พี่แข็งขืนอารมณ์ทาก้มขึง ที่เพื่อนเราร้องหยอกมันออกอึง จนเรือถึงปากช่องคลองตะเคียน... ๑

กรมศิลปากร. (๒๕๕๒). แนวพระราชดาริในการเสด็จประพาสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว. หน้า ๒๖-๒๗. ๒ วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล. (๒๕๕๒). การเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการสร้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหลวงในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน: ข้อขัดแย้งในการอนุรักษ์โบราณสถานและ วัฒนธรรมแบบชาตินิยม. ใน ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา. หน้า ๒๒๓.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๕

กวีบทนี้เป็นตัวอย่างที่ช่วยให้ทราบข้อมูลว่าในช่วงหลังเสียกรุงไปแล้วประมาณ ๔๐ ปี ได้ มี ผู้คนกลับเข้ามาอาศัยอยู่ในละแวกเกาะเมืองกรุงเก่าบ้างแล้ว เช่นกลุ่ มแขกตานี ที่ ก ลั บ เข้ า มาอาศั ย อยู่ตามถิ่นฐานที่เคยอาศัยมาเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชการธานีอีกครั้ง ชุมชนเมืองกรุงเก่า เป็นชุมชนริมลาน้าที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้นอย่างต่ อ เนื่ อ ง จากภู มิป ระเทศที่ อานวยต่อการทามาหาเลี้ยงชีพของราษฎร เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มประกอบด้วยลาน้าน้อยใหญ่ ห ลาย สาย ไหลมาบรรจบกันบริเวณตัวเมืองกรุงเก่า ทาให้ย่านนี้เป็นเส้นทางคมนาคมที่ส าคั ญ ของประเทศ ทีส่ ามารถสัญจรผ่านขึ้นไปทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนื อ ได้ เป็ น แหล่ ง พบปะค้ า ขาย ทั้งภายในเมือง และระหว่างเมือง โดยมีตลาดแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในย่านหัวรอ ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เอื้ออานวยเช่นนี้ บริเวณกรุงเก่าจึงเป็นชัยภูมิ ที่ เ หมาะแก่ ก ารตั้ ง ถิ่ น ฐานที่อยู่อาศัย และทามาหากิน อันเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่ส่งเสริมให้เมืองอยุธยา ฟื้นตัว จากภาวะ สงครามจนกลายเป็นแหล่งชุมชนของผู้คนได้อีกครั้งหนึ่ ง

ย่านที่อยู่อาศัยของชาวกรุงเก่าในคลองเมืองอยุธยา ที่มา: คลองเมืองอยุธยา. (๒๕๕๓). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๖

สู่เทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ศูนย์กลางของชุมชนเมืองกรุงเก่า เริ่มมีหลักมีฐานชั ด เจนขึ้ น เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงเสด็จประพาสกรุงเก่า และโปรดฯ ให้ มีก ารสถาปนาพระราชวั ง จันทรเกษมขึ้นเป็นที่ประทับแรมสาหรับเสด็จแปรพระราชฐาน โดยมีพระบรมราชโองการฯ ให้ เ จ้ า เมืองกรุงเก่าย้ายจวนจากบริเวณคลองเมือง มาอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะเมื อ ง เพื่ อ ดู แ ลรั ก ษา ความปลอดภัยแก่พระราชวัง อันส่งผลให้ด้านตะวันออกของเกาะเมื อ งอั น เป็ น ที่ ตั้ ง ชุ มชนและย่ า น การค้าที่สาคัญอย่างตลาดหัวรอ กลายเป็นย่านสถานที่สาคัญทางราชการ ที่ เ ปรี ย บดั ง การคื น ชี วิ ต และศักดิ์ศรีความเป็นราชธานีให้แก่อยุธยาอีกครั้งหนึ่ง เป็นดังการลงเสาเอกแห่ ง เมื อ งกรุ ง เก่ า ที่ ก่ อ ร่างจาก เถ้าธุลีแห่งกรุงศรีอยุธยา จนกลายเป็นชุมชนเมืองขึ้นมาอีกครั้ง และพร้ อ มที่ จ ะผงาดขึ้ น มา เป็นเมืองศูนย์กลางแห่งการปกครองของมณฑลกรุงเก่า ในระยะเวลาต่อจากนี้ไป

บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (๒๕๔๘). การปฏิวัติปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และการล่ ม สลาย ของกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมฯ. ________. (๒๕๕๒). แนวพระราชดาริในการเสด็ จ ประพาสในพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: กรมฯ. เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (๒๕๒๗). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธยา ระหว่ า ง พ.ศ.๒๔๓๘ – ๒๕๐๐. พระนครศรีอยุธยา: วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. (๒๔๗๐). กรุงเทพฯ: ศรีหงส์. วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล. (๒๕๕๒). การเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการสร้ า ง และบู ร ณะปฏิ สั ง ขรณ์ วั ด หลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึ ง ปั จ จุ บั น : ข้ อ ขั ด แย้ ง ใน การอนุรักษ์โบราณสถานและวั ฒ นธรรมแบบชาติ นิ ย ม. ใน ประวั ติศาสตร์ ใ นมิ ติ วัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หม่อมเจ้าธารงศิริ,มหาอามาตย์โท. (๒๔๗๐) ประชุ ม พงศาวดารภาคที่ ๓๙ เรื่ อ งจดหมายเหตุ ของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธยาตอนแผ่ น ดิ น พระเจ้ า เอก ทัศ กับครั้งกรุงธนบุรีแลกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้ น. พระนคร: ศรีหงส์.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๗

ย่านบ้านช่องชาวกรุงเก่า หลังสมัยราชธานี สถานการณ์บ้านเมืองในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นั บ ว่ า ค่ อนข้ า งมี ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมากขึ้นกว่าในสมัยกรุงธนบุรี ผู้คนที่ เหลือรอดจาก ภัยสงครามและความอดอยากขาดแคลนตามถิ่ นฐานต่ า ง ๆ ได้ เ ข้ า มาตั้ ง ถิ่นที่อยู่อาศัยตามริมลาน้ารอบๆเกาะเมืองอยุธยาบ้างแล้ ว บ้ า นเรื อนของ ผู้ ค นตั้ งเรี ยงรายตามล าน้ าและต่ อเนื่ องไปอี ก ในระยะทางไม่ ไ กลจา ก เกาะเมืองมากนัก ประกอบด้ ว ยผู้ ค นหลากหลายเชื้ อชาติ อาศั ยรวมกั น ได้แก่ คนสยาม(ไทย) จีน ลาว และ มลายู มอญ เวียดนาม* ในสมัยนี้มีบรรดานักทัศนาจรชาวต่างชาติ เดินทางสารวจไปตามลาน้ า ผ่ า นเกาะเมื อ งกรุ ง เก่า ขึ้นไปยังหัวเมืองต่าง ๆ บ้างมีการจดบันทึกสภาพของบ้านเมือง ลั ก ษณะที่ อ ยู่ อ าศั ย ของผู้ ค นไว้ พอสมควร นักทัศนาจรบางคนได้ถ่ายภาพทิวทัศน์ต่าง ๆ ที่พบเห็น บางคนได้ คั ด ลอกภาพลายเส้ น จากภาพถ่าย ตามเทคโนโลยี ก ารบั น ทึ ก ภาพในเวลานั้ น ซึ่ ง เป็ น ประโยชน์ ต่ อ การศึ ก ษาสภาพ บ้านเรือนการตั้งถิ่นฐานของผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาในช่ ว งสมั ย ต้ น กรุ ง รัตนโกสินทร์ได้เป็นอย่างดี คาร์ล บ็อค นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ที่เดินทางส ารวจภู มิศ าสตร์ ใ นดิ น แดนต่ า ง ๆ ของไทย เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๔ ได้กล่าวไว้ในบันทึกการเดินทางของเขาว่า “จั ง หวั ด อยุ ธ ยาในปั จ จุ บั น พึ่ ง บูรณะกันใหม่เมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว ต้องนั่งเรือทวนกระแสน้าที่ไ หลเชี่ ย วไปราว ๗ ชั่ ว โมงจึ ง จะถึ ง ...”๑ ถ้าเป็นตามที่ คาร์ล บ็อค บรรยายไว้เมืองพระนครศรีอยุธยาน่าจะเติบโตเป็ น ชุ มชนเมื อ งใหญ่ มีผู้ ค น อาศัยอยู่คับคั่งในราวปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุท ธเลิศหล้า นภาลั ย (รั ช กาลที่ ๒) แต่ ก่ อ น หน้านั้น ก็คงมีผู้คนอาศัยอยู่บริเวณเกาะเมืองพระนครศรี อ ยุ ธ ยาเรื่ อ ยมาตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง ธนบุ รี บ้ า ง แล้ว * ดูใน “เล่าเรื่องเมืองไทย” ของปาลเลกัวซ์ และราชอาณาจักรและราษฎรสยามของ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง ๑ เสถียร พันธรังษี; และ อัมพร ทีขะระ. (๒๕๕๐). ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง. หน้า ๖๑.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๘

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามลาน้าเหนือกรุงเทพฯ ขึ้ น ไป นั้ น เซอร์ จ อห์ น เบาว์ริง นักการทูตชาวอังกฤษ ที่เข้ามาทาสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยาม ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สนธิสัญญาอันเป็นที่รู้จักดีคือ "สนธิสัญญาเบาว์ริง” ได้เขียนหนัง สื อ เกี่ ย วกั บ ประเทศสยาม เรื่ อ ง The Kingdom and people of siam (ราชอาณาจั ก รและราษฎรสยาม) กล่าวว่า “นักเดินทางได้รายงานไว้ว่า ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ มี เ มื อ งและหมู่ บ้ า นจ านวนมาก เรียงรายตลอดทั้ง ๒ ฟากฝั่งแม่น้าเจ้าพระยา และบรรดาที่ราบที่อ ยู่ ใ กล้ ชิ ด กั น นั้ น ส่ ว นใหญ่ ใ ช้ ป ลู ก ข้าว ในบริเวณต่างๆ ที่ตั้งมีการตั้งบ้านเรือนนั้นราษฎรผสมผสานกันหลายเชื้ อ ชาติ ... ๑ แสดงให้ เ ห็ น ว่าผู้คนสมัยนั้นมีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงกับสายน้าในหลาย ๆ ด้าน จึงเป็นเหตุ ใ ห้ ผู้ ค นนิ ย มสร้ า งเรื อ นอยู่ ริ ม แม่น้า เพื่ออาศัยคุณประโยชน์ต่าง ๆ จากลาน้า ตั้งแต่การทามาหากินด้วยการจั บ สั ต ว์ น้ ามาบริ โ ภค เป็นอาหาร รวมทั้งการนาไปค้าขายแลกเปลี่ยน ใช้ในการอุปโภค บริ โ ภค นอกจากนี้ ยั ง สะดวกต่ อ การคมนาคม ไปมาหาสู่กันระหว่างบ้าน หมู่บ้าน และหัวเมืองอื่น ๆ อี ก ทั้ ง เป็ น แหล่ ง พบปะค้ า ขาย กันตามจุดนัดหมายต่าง ๆ ส่วนพื้นที่ที่ห่างไกลจากลาน้าซึ่งเป็นที่ ลุ่ ม น้ าท่ ว มถึ ง ได้ ถู ก ใช้ ส าหรั บ การ เพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าวนั้นเป็นผลผลิตทางการเกษตรหลัก ของผู้คนในภูมิภาคนี้ ซอมเมอร์ วิ ล ล์ แม๊ ก ซ์ เ วล นั ก เดิ น ทางชาวต่ า งชาติ ที่ เ ข้ า มาอยุ ธ ยาในสมั ย รั ช กาลที่ ๕ ได้บันทึกเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามลาน้า มีข้อความตอนหนึ่ ง ว่ า “...เรื อ น อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นเรือนแพที่ลอยอยู่ในน้า เนื่องจากชาวสยามเห็น ว่ า จะท าให้ พวกเขา มี สุ ข ภาพ ดีกว่าบ้านที่อยู่บนบก”๒ ซึ่งในขณะนั้นผู้คนมีความเชื่อว่าการอาศัยอยู่บนฝั่งอย่างหนาแน่น มี ส่ ว นท า ให้เกิดการระบาดของอหิวาตกโรคขึ้ น ได้ และทางการ ก็ ไ ด้ มีก ารประกาศให้ ร าษฎรย้ า ยถิ่ น ฐาน บ้านเรือนจากบนบกลงไปอาศัยอยู่ตามเรือนแพและในเรือ อี กด้วย๓ ลักษณะเรือนแพที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยทั่ ว ไปมั ก จะปลู ก สร้ า งด้ ว ยไม้ ไ ผ่ แ ละไม้ ที่ มี น้าหนักเบา หลังคามุงจาก ภายในเรือนแพมีห้องไม่เกิน ๒ ห้ อ ง ด้ า นหน้ า เรื อ นแพส่ ว นใหญ่ มัก จะ เปิดโล่ง และมีระเบียง ๒ ด้าน ด้านหนึ่งอยู่ติดกับตัวบ้าน ส่วนอีกด้า นสร้ า งเป็ น นอกชานไว้ ส าหรั บ เป็นท่าขึ้นลงเรือ เรือนแพจะผูกติดไว้กับหลักไม้ไผ่ที่ปัก อยู่ ใ นแม่ น้ าหรื อ คลอง นอกจากนี้ เ รื อ นแพ สามารถเคลื่อนย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่อื่นๆ ตามความประสงค์ ของผู้อยู่อาศัยได้

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ; และกัณฐิกา ศรีอุดม, บรรณาธิการ. (๒๕๔๗). ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม. หน้า ๔๙. ๒ แหล่งเดิม. หน้า ๕๑. ๓ ซอมเมอร์วิลล์ แม๊กซ์เวล. (๒๕๔๔). สยามริมฝั่งเจ้าพระยา. หน้า ๑๒๕.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๙

วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ชาวสยาม สมัยรัชกาลที่ ๕ ถ่ายโดยซอมเมอร์วิลล์ แม๊กซ์เวล ที่มา: ซอมเมอร์วิลล์ แม๊กซ์เวล. (๒๕๔๔). สยามริมฝั่งเจ้าพระยา. หน้า ๑๒๗.

บริเวณย่านตัวเมืองกรุงเก่า สมัยรัชกาลที่ ๕ ถ่ายโดยซอมเมอร์วิลล์ แม๊กซ์เวล ที่มา: ซอมเมอร์วิลล์ แม๊กซ์เวล. (๒๕๔๔). สยามริมฝั่งเจ้าพระยา. หน้า ๑๖๓.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๐

สาหรับที่พระนครศรีอยุธ ยานั้ น ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ได้ ปรากฏรูปวาดลายเส้นเมืองกรุงเก่ า * ตี พิมพ์ อ ยู่ ใ นหนั ง สื อ พิ มพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่ ง เศส ฉบับวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๐๕ (ค.ศ.๑๘๖๒) ซึ่งมีคาอธิบายใต้ภาพกล่ า วถึ ง อยุ ธ ยาเมื อ งหลวง เก่าของสยาม

รูปวาดลายเส้นเมืองพระนครศรีอยุธยาสมัยรัชกาลที่ ๔ (ตีพิมพ์ พ.ศ.๒๔๐๕) ที่ มา : ไกรฤกษ์ นา นา. (๒๕๕๒). สมุ ดภาพรั ช กาลที่ ๔ วิ ก ฤติ แ ละโอกาสของ รัตนโกสินทร์ในรอบ ๑๕๐ ปี. หน้า ๙๓.

*

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีรูปวาดลายเส้นเกี่ยวกับเมืองไทยหลายภาพที่ช่างภาพชาวตะวันตก ใช้วิธีการคัดลอก จากภาพถ่ายต้นฉบับที่ถ่ายลงบนแผ่นโลหะหรือแผ่นกระจก ซึ่งนามาเขียนลายเส้นให้ภาพมีความชัดเจนขึ้น เพื่อ นาไปตีพิมพ์ลงในสิ่งพิมพ์ต่างๆ รูปวาดลายเส้นที่คัดลอกจากภาพถ่ายมีปรากฏในสิ่งพิ มพ์ร่วมสมัยอย่าง Description du Royaume Thai ou Siam (เล่าเรื่องเมืองสยามของสังฆราช ปาลเลกัวซ์) และ The Kingdom and people of siam (ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม ของ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง) เป็นต้น ดูเพิ่มเติมใน เอนก นาวิกมูล. (๒๕๓๐). ถ่ายรูปเมืองไทยสมัยแรก. กรุงเทพฯ: แสงแดด.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๑

ในภาพนั้นได้แสดงให้เห็นสภาพการตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยได้อย่างชัดเจน คื อ ตลอดสองฝั่ ง ลาน้าจะมีเรือนแพของราษฎรผูกไว้กับหลักไม้ไผ่ที่ปักอยู่ริมตลิ่ง เป็นแถวยาวติ ด ต่ อ กั น ไปตามล าน้ า มีไม้ไผ่พาดเป็นสะพานข้ามไปสู่แพ ผู้คนต่างใช้เรือเป็นพาหนะในการสัญจร บ้ า งก็ ใ ช้ เ รื อ เป็ น ทั้ ง ที่ อ ยู่ อาศัยและเป็นทั้งพาหนะเดินทาง ในละแวกชุมชนริมน้าจะมีวัดตั้งรวมอยู่ด้ ว ยซึ่ ง วั ด จะมี บ ทบาทเป็ น ศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชน นอกจากราษฎรชาวกรุงเก่าจะนิยมอยู่อาศัยในแพริมแม่น้าเป็ น ส่ ว นมากแล้ ว ยั ง มี ผู้ ค นอี ก ส่วนหนึ่งตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่บนบก รอบ ๆ เกาะเมืองอีกด้วย ลักษณะบ้านเรือนโดยทั่ ว ไปตามสมั ย นิยมมีลักษณะเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวมุงจาก ยกพื้นเรือนขึ้น จากระดับพื้นดิน ชั้นล่างจึงโล่ง เป็ น ใต้ ถุ น มี บันไดไม้ไผ่พาดขึ้นตัวเรือน ภายในเรื อ นแบ่ ง เป็ น ห้ อ ง บางเรื อ นมี ๒ ห้ อ ง บ้ า งมี ๓ ห้ อ ง ซึ่ ง ณ บริเวณกรุงเก่า ปรากฏข้อมูลว่ามีเรือนไม้ของราษฎรตั้งอยู่ริมฝั่งแม่ น้ าจ านวนไม่ น้ อ ย ดั ง ปรากฏใน จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ จ.ศ.๑๒๒๘ (พ.ศ.๒๔๐๙) เรื่อ งที่ พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงพระราชทานที่ดินให้พระไชยวิชิตผู้ รั ก ษากรุ ง เก่ า ส าหรั บ ปลู ก เรื อ นอยู่ ห น้ า วั ด ฝาง ซึ่ ง มี เ รื อ น ราษฎรอาศัยอยู่บริเวณนั้นก่อนแล้ว ในเอกสารดังกล่าวทาให้ทราบว่า ลั ก ษณะบ้ า นเรื อ นพื้ น ถิ่ น ของ ผู้คนในอยุธยาประกอบด้วยเรือน ๓ ลักษณะ คือ เรือนเครื่องสับขนาด ๓ ห้อง เรือนเครื่ อ งผู ก ขนาด ๒-๓ ห้อง และเรือนเสาไม้ไผ่ขนาด ๒ ห้อง ตั้งอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น๑ ดังนั้น ลักษณะบ้านเรือนของชาวกรุงเก่าในระยะนี้ ประกอบไปด้ ว ยผู้ ค นที่ อ าศั ย อยู่ ใ นเรื อ และเรื อ น แพ กั บ อี ก ส่ ว น หนึ่ ง ผู ก เรื อ น อา ศั ย อยู่ ริ ม สองฟา กฝั่ ง ล า น้ า ละแวกเกาะเมื อ ง พระนครศรีอยุธยา ดังทีเ่ ซอร์ จอห์น เบาว์ริง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพที่อยู่อาศัยในละแวกกรุ ง เก่ า ไว้ว่า ยิ่งไกลออกไปทางด้านเหนือของเกาะเมืองอยุธยาเท่าไร จ านวนบ้ า นเรื อ นของราษฎรยิ่ ง เบา บางลงจนหมดสิ้น ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีผู้คนเข้ า มาตั้ ง ถิ่ น ฐานอาศั ย อยู่ เป็ น ชุมชนขนาบน้ารอบ ๆ เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา กระทั่งอดีตราชธานีที่ ล่ม สลายแห่ ง นี้ ฟื้ น คื น มาเป็นแหล่งชุมชนเมืองอีกครั้ง หนึ่ง

จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ จ.ศ.๑๒๒๘ เลขที่ ๑๐๕ เรื่องให้พระยาไชยวิชิตตั้งบ้านเรือน.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๒

บรรณานุกรม ไกรฤกษ์ นานา. (๒๕๕๒). สมุ ดภาพรั ช กาลที่ ๔ วิ ก ฤติ แ ละโอกาสของรั ตนโกสิ น ทร์ ใ นรอบ ๑๕๐ ปี. กรุงเทพฯ: มติชน. คลองเมืองอยุธยา. (๒๕๕๓). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ จ.ศ.๑๒๒๘ เลขที่ ๑๐๕ เรื่องให้พระยาไชยวิชิตตั้งบ้านเรือน. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ; และกัณฐิกา ศรีอุดม, บรรณาธิการ. (๒๕๔๗). ราชอาณาจั ก รและราษฎร สยาม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย. ปาลเลอกัวซ์, ฌอง แบปติ ส ต์ , (๒๕๐๖). เล่ า เรื่ อ งเมื อ งไทย. แปลโดย สั น ต์ ท. โกมลบุ ต ร. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนคร: ก้าวหน้า. เสถียร พันธรังษี; และ อัมพร ทีขะระ. (๒๕๕๐). ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้ า หลวง. กรุ ง เทพฯ: มติชน.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๓

ฟื้นวังจันทรเกษม ดังฟื้นชีวาราชธานี พระราชวังจันทร์เกษม ตั้ งอยู่ ท างด้ า นตะวั นออกเฉี ยงเหนื อของ เกาะเมืองกรุงเก่า เดิมคือ พระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้ า ในสมั ย กรุงศรีอยุธยา อันเป็นที่ประทับของอุปราชหลายพระองค์ นั บ แต่ ส มเด็ จ พระนเรศวรเป็นต้นมา ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา พระราชวั งบวรสถาน มงคล ได้ รั บ ความเสี ย หายห นั ก และถู ก ทิ้ ง ร้ า งเนิ่ นนานมา จนเมื่ อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้ า อยู่ หั ว โปรดฯ ให้ บู ร ณปฏิ สั งขรณ์ ให้ กลับคืนเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินตามเดิม พระราชวังแห่งนี้เอง ได้กลายเป็นสถานที่สาคัญอย่ า งยิ่ ง ของเมื อ งกรุ ง เก่ า ด้ ว ยในรั ช สมั ย ต่อมาสถานที่แห่งนี้ถูกใช้เป็นที่ทาการของมณฑลกรุงเก่า และทาให้ ย่ า นนี้ ก ลายเป็ น ศู น ย์ ก ลางแห่ ง ใหม่ของชุมชนเมืองกรุงเก่าไปด้วย อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ สถานศึ ก ษา และเป็ น ย่ า นที่ อ ยู่ อาศัยเก่าแก่ เป็นรากเหง้าแท้จริงของชุมชนเมืองพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน

ฟื้นวังจันทรเกษม ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เมืองกรุงเก่ายังไม่มีศูนย์กลางการปกครองที่ ชั ด เจน ยั ง อาศั ย จวนเจ้าเมืองเป็นสถานที่ว่าราชการ และชุมชนเมืองกรุงเก่ายังมีลักษณะกระจายไปตามล าน้ าต่ า งๆ รอบเกาะเมือง จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็ จ พระราชด าเนิ น บ าเพ็ ญ พระราช กุศลบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษั ต ริ ย าธิ ร าชแห่ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ณ พระราชวั ง เดิ ม และวั ด สุวรรณดารารามที่เมืองกรุงเก่า โดยเสด็จทางชลมารคมาประทับพักแรม ณ พลับ พลาที่ ปู อ มเพชร ก็ ทรงมีพระราชดาริจะสร้างพระราชวังสาหรับเป็นที่ประทับแรมบริเวณหลังปูอมเพชร อั น เป็ น บริ เ วณ นิวาสสถานเดิมของพระมหาชนกนาถในราชวงศ์จักรี และมีพระราชดาริที่จะให้ วั ด สุ ว รรณดาราราม ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นพระอารามประจาพระราชวัง


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๔

แต่เมื่อทรงเสด็จทอดพระเนตรเห็นพื้นที่พระราชวังบวรสถานมงคล ทรงพบว่ า สถานที่ นั้ น มี ระดับพื้นที่สูงกว่าบริเวณปูอมเพชร จึงทรงเปลี่ยนพระทัยให้สร้างพระราชวั ง ขึ้ น ที่ บ ริ เ วณพระราชวั ง บวรสถานมงคลแทน และขนานนามว่า “พระราชวังจันทรเกษม” หรือบางครั้ ง เรี ย กโดยย่ อ ว่ า “วั ง จันทรเกษม”

พระราชวังจันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา ที่ มา : อร รถดา คอมั น ตร์ . (๒๕๕๔). กรุ ง เก่ า เมื่ อ กาลก่ อ น ภาพถ่ า ย ๑๐ ๐ ปี พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สยาม เรเนซองส์. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะสร้ า งให้ พระรา ชวั ง จั น ทร เกษมเพื่อเป็นที่ประทับในเวลาเสด็จมาประพาสเมืองกรุ ง เก่ า ทรงโปรดฯ ให้ ก รมหลวงวงศาธิ ร าช สนิทเป็นแม่กอง กรมขุนราชสีหวิกรมเป็นนายช่าง ในการสร้างพระราชวัง จั น ทรเกษม โดยจะสร้ า ง พระที่นั่งพิมานรัถยา ที่ยังปรากฏร่อยรอยปรั ก หั ก พั ง อยู่ ขึ้ น เป็ น ที่ ป ระทั บ รวมทั้ ง ปฏิ สั ง ขรณ์ ซ าก หอสูงที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นมาใหม่ แล้วพระราชทานนามว่ า พระที่ นั่ ง พิ ไ สยศั ล ลั ก ษณ์ และวางแนวก าแพงเขตพระราชวั ง ให้ มีบ ริ เ วณพอสมควร โดยมี ป ระตู ซุ้ ม ๔ ประตู นอกจากนั้นยังทรงโปรดฯ ให้ปลูกพลับพลาจัตุรมุขเป็นที่ประทั บ ระหว่ า งที่ ยั ง สร้ า งพระที่ นั่งพิมานรัถยาไม่แล้วเสร็จ และยังโปรดเกล้าให้บูรณะวัดเสนาสนารามซึ่ ง อยู่ ไ ม่ ไ กลจากพระราชวั ง จันทรเกษมให้เป็นพระอารามประจาพระราชวัง


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๕

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็ จ มาประทั บ ที่ พระราชวั ง จั น ทรเกษม เป็ น ครั้งคราว แม้ว่าการก่อสร้างพระที่นั่งพิมานรัถยาจะไม่เสร็จสมบูร ณ์กระทั่งสิ้นรัชกาลก็ ตาม

ดังฟื้นชีวาราชธานี การปฏิสังขรณ์พระราชวังบวรสถานมงคลจากซากปรักหักพัง จนฟื้ น ขึ้ น มาเป็ น พระราชวั ง จันทรเกษมนั้น เปรียบดั่งการคืนลมหายใจให้ กั บ เมื อ งกรุ ง เก่ า ที่ มลายลงให้ ก ลั บ คื น มามี ชี วิ ต ชี ว า เหมือนเมื่อครั้งที่เป็นราชธานีอีกครั้ง ดั ง ความปลาบปลื้ มที่ ถู ก สะท้ อ นในนิ ร าศกรุ ง เก่ า ของหลวง จักรปาณี ข้าราชสานักชาวกรุงเก่าที่กล่าวไว้ดังนี้ บุญพระจอมเจ้าหาก สฤษดิวังจันทรเกษม สนุกนิปลุกใจเอม เทียรผดุงกรุงมล้าง

ปรุงเปรม ก่อสร้าง อกราษฎร์ แลพ่อ ล่มแล้วลอยคืน หลวงจักรปาณี (ฤกษ์) เปรียญ

การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้ บู ร ณะพระราชวั ง จั น ทรเกษม ขึ้นใหม่ ยังเปรียบได้กับการปักเสาหลักของชุมชนเมืองอยุธยาไว้ ณ พื้นที่ แ ห่ ง นี้ เนื่ อ งจากในรั ช สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังจันทรเกษมได้ ถู ก ปรั บใช้ เป็ น ที่ ท าการ มณฑลกรุ ง เก่ า อั น เป็ น ศู น ย์ ก ลางทางราชการที่ สาคั ญในการปกครอง ท้ อ งถิ่ น แบบมณฑล เทศาภิบาล ของมณฑลกรุงเก่า ที่จะมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อ การเติ บโตของชุ ม ชนเมื อ งในสมั ย มณฑลกรุงเก่า และต่อ ๆ มานั่นเอง

บรรณานุกรม เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (๒๕๒๗). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธยา ระหว่ า ง พ.ศ.๒๔๓๘ – ๒๕๐๐. พระนครศรีอยุธยา: วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา โบราณราชธานิน ทร์ (พร เดชะคุ ป ต์ ) , พระยา. (๒๕๒๗). เรื่ อ งเกี่ ย วกั บพระนครศรี อ ยุ ธยา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารฉบั บกาญจนาภิ เษก เล่ ม ๕. (๒๕๔๒). กรุ ง เทพฯ: กองวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๖

กรุงเก่า: ศูนย์กลางการปกครองแห่งมณฑล รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว นั บ เป็ น สมั ย แห่งการปฏิรูปประเทศให้เจริญมีความทันสมัยในทุก ๆ ด้ า น อย่ า งชาติ ที่ ได้ชื่อว่ามีอารยะ หรือที่เรียกทับ ศั พ ท์ กันในขณะนั้ นว่ า “ความศิ วิ ไ ลซ์ ” มิ ใช่ ช าติ ที่ ล้ า หลั งและปุ า เถื่ อนอย่ า งที่ ช าติ ม หาอานาจตะวั นตกคอย ปรามาส เพื่อหาข้ออ้ า งในการรุ กรานอธิ ป ไตยของชาติ เช่ นเดี ยวกั บ ที่ กร ะท า ต่ อ ป ระ เ ท ศ เ พื่ อ น บ้ า น ขอ งส ย าม ใ นเ ว ล า เ ดี ย ว กั น นั้ น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกระบบการปกครองใน ส่วนภูมิภาคแบบเทศาภิบาลมณฑล ซึ่งเป็นแบบแผนของการปกครองที่ อังกฤษกาลังใช้ในประเทศพม่าและมลายูในขณะนั้ น นามาซึ่ ง การปฏิ รู ป การปกครองครั้งใหญ่ของสยามใน พ.ศ.๒๔๓๕ และมี การจั ด ระบบการ ปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๗ นอกจากจะ เป็นการปรับปรุงระบบการปกครองให้เป็นระบบแบบสากลให้ เ จริ ญ เพื่ อ รอดพ้นจากภัยคุกคามของชาติมหาอานาจแล้ ว ยั งมี ค วามมุ่ งหมายเพื่ อ สร้างเอกภาพทางการปกครองให้กิจการทั้งปวงในด้านการปกครองเป็ นไป อย่างมีระเบียบแบบแผนเป็นมาตรฐานเดี ยวกั น และแก้ ปั ญ หาเกี่ ยวกั บ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกั บ คดี ความต่างๆ ที่คั่งค้างมานานอีกด้วย๑

กมล มั่นภักดี, บรรณาธิการ. (๒๕๒๖). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. หน้า ๔๒.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๗

การจัดระบบการปกครองแบบเทศาภิ บ าล เป็ น การปกครองโดยจั ด ให้ มีห น่ ว ยบริ ห าร ราชการ อันประกอบด้วยตาแหน่ ง ข้ า ราชการต่ า งพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็ จ พระ เจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้ใจของรัฐบาล แบ่งรับภาระของรัฐบาลกลางออกไปปกครองในส่ ว นภู มิภ าค เป็ น การปกครองอา ณาประชา ราษฎร์ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด เพื่ อ บ าบั ด ทุ ก ข์ บ ารุ ง สุ ข อย่ า งทั่ ว ถึ ง ใน ขณะเดียวกันต้องให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย ซึ่งมีการแบ่งการปกครองเป็ น ล าดั บ ชั้ น ลง มา คือ มณฑล จังหวัด อาเภอ ตาบล และหมู่บ้าน สาหรับการปกครองแบบเทศาภิบาลในมณฑลกรุ ง เก่ า นั้ น ได้ จั ด ตั้ ง ขึ้ น เมื่ อ เดื อ นมกราคม พ.ศ.๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔) โดยในระยะแรกได้ ร วม ๘ หั ว เมื อ งเข้ า ด้ ว ยกั น ประกอบด้ ว ย กรุ ง เก่ า อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พระพุทธบาท พรหมบุรี อินทร์บุรีและสิงห์บุรี ภายหลังได้รวมเมื อ งพระพุ ท ธ บาทเข้ากับเมืองสระบุรี และรวมเมืองพรหมบุรี อินทร์บุรีเข้ากับเมืองสิ ง ห์ บุ รี ท าให้ ที่ สุ ด มณฑลกรุ ง เก่าประกอบด้วย ๕ เมือง คือ กรุงเก่า หรือพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี และสิงห์บุรี

สิงห์บุรี

ลพบุรี สระบุรี

อ่างทอง

กรุงเก่า / อยุธยา

แผนที่แสดงอาณาเขตมณฑลกรุงเก่า เมื่อรัฐบาลสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลือกสรรให้เ มื อ งกรุ ง เก่ า เป็ น ศูนย์กลางการปกครองของมณฑล จึงได้เลือกพระราชวังจันทรเกษมที่มีการบู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ ค้ า งมา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ สาหรับใช้เป็นที่ทาการมณฑล ด้วยเหตุที่ในเวลานั้ น พระราชวั ง จั น ทรเกษม เป็นสถานที่ของทางราชการที่สาคัญที่สุดในเมือง มีพื้น ที่ ใ ช้ ส อยกว้ า งพอสมควรแก่ ก ารปฏิ บั ติ ง าน บริหารราชการ มีอาคารหลายหลัง และมีรั้วรอบแข็งแรงพร้อมเป็นทุน อยู่ แ ล้ ว จึ ง ไม่ จ าเป็ น ต้ อ งหา


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๘

หรือจัดสร้างสถานที่แห่งใหม่เพื่อใช้เป็นที่ทาการมณฑลอีกแต่อย่างใด โดยได้ปรับปรุง สถานที่ ภ ายใน พระราชวังจันทรเกษมให้เป็นที่ทาการมณฑลกรุงเก่า เช่น การปฏิสังขรณ์พระที่นั่ง พิ มานรั ต ยาซึ่ ง ท า ค้างไว้และถูกทอดทิ้งให้ทรุดโทรมอยู่ ใ นรั ช กาลก่ อ น เพื่ อ ใช้ ศ าลารั ฐ บาลมณฑลกรุ ง เก่ า คื อ เป็ น สถานที่บริหารราชการของข้าหลวงเทศาภิบาล ปรับปรุงพลับพลาจัตุรมุข ให้ เ ป็ น ศาลาว่ า การเมื อ ง ส่วนอาคารหลังใหญ่ที่มุมกาแพงด้านเหนือปรับใช้เป็นศาลาว่าการอาเภอรอบกรุง เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จมาท าพิ ธี เ ปิ ด ที่ ท าการมณฑลกรุ ง เก่ า อย่างเป็นทางการ ในวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (ร.ศ.๑๑๕) หรือ ปีถัดจากการจั ด ตั้ ง มณฑลกรุ ง เก่าแล้ว นับเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ส าคั ญ อย่ า งยิ่ ง ช่ ว งเวลาหนึ่ ง ของจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ช่วงเวลาที่อยุธยากลับมาโดดเด่นเป็นศูนย์กลางการปกครองระดั บมณฑล ช่วงเวลาสั้น ๆ ที่เมืองซึ่งถูกทาลายจนย่ อ ยยั บ แห่ ง นี้ ได้ รั บ การฟื้ น ฟู จ นกลายเป็ น ชุ มชน ขนาดใหญ่อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง มีสถานที่ราชการระดับมณฑลหลายแห่ ง สถานศึ ก ษาตั ว อย่ า ง ประจามณฑล และโรงเรียนทุกระดับชั้น สถานพยาบาล ย่า นการค้ า ขายแห่ ง ใหญ่ ศู น ย์ ก ลางการ คมนาคมทางน้าแห่งภาคกลาง พร้อมทั้งมีการขนส่งระบบรางที่สะดวก รวดเร็วและทันสมัย รวมถึงเป็นช่วงเวลาแห่งการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ และการสงวนรักษาร่องรอยความรุ่ ง เรื อ ง แห่งกรุงศรีอยุธยา อันเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า “สมัยมณฑลกรุงเก่า”

บรรณานุกรม กมล มั่นภักดี, บรรณาธิการ. (๒๕๒๖). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรี อ ยุ ธยา. พระนครศรีอยุธยา: สานักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การเปิดทางรถไฟนครราชสีห์มาระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่ า แลเปิ ด ที่ ว่ า การข้ า หลวงเทศาภิ บ าล มณฑลกรุงเก่า. (๒๔๔๐ ๔ เมษายน). ราชกิ จ จานุ เบกษา. เล่ มที่ ๑๔ ตอนที่ ๑. หน้าที่ ๑๑-๑๔. รายงานข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า. (๒๔๔๒, ๕ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ มที่ ๑๕ ตอนที่ ๔๙ หน้าที่ ๕๒๖ – ๕๓๖.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๑๙

บทบาทของกรุงศรีอยุธยา ที่ถูกระลึกใช้ในสมัยมณฑลกรุงเก่า นั บ เ ป็ น เรื่ อ งป กติ ของ สั ง คมแ ต่ ล ะยุ คส มั ยที่ จะมี กา รน า ประวัติศาสตร์กลับมารับใช้สังคมในปัจจุบัน ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคื อ โครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวั ติ ศ าสตร์ เ พื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ห นึ่ งใน การประชาสัมพันธ์ความรุ่งเรืองในอดีตของชาติ หรืออีกทางหนึ่งเพื่อสร้ า ง รายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นต้น เช่นเดียวกันนี้ “อยุ ธ ยา” ก็ มักถูกหยิบยกขึ้นมารับใช้สังคมในสมัยมณฑลกรุงเก่าอยู่หลายประการ การที่ ร าชส านั ก แห่ ง ต้ น กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ขนานน ามอดี ต ราชธานี กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาว่ า “กรุงเก่า” นั้นนับเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการจากั ด ฐานะพิ เ ศษของอยุ ธ ยา ที่ เ รี ย กขานว่ า “กรุง” อันหมายถึงราชธานี แทนคาว่า “เมื อ ง” สะท้ อ นถึ ง บทบาทของอยุ ธ ยาที่ ร าชส านั ก กรุ ง รัตนโกสินทร์ยังระลึกถึงในฐานะเมืองหลวงเก่าของคนไทยอยู่เสมอนั่นเอง กอปรกั บ สายสั มพั น ธ์ ท าง วัฒนธรรมระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ที่ ไ ม่ เ คยขาดจากกั น หากแต่ ยั ง เป็ น สายใย วัฒนธรรมที่ส่งต่อ จารี ต ประเพณี ขนบธรรมเนี ย ม ศิ ล ปกรรม สถาปั ต ยกรรม ตลอดจนตั ว บท กฎหมายต่าง ๆ ที่ราชสานักกรุงรัตนโกสินทร์นามาประยุกต์ใ ช้ อ ยู่ ต ลอดเวลา ประหนึ่ ง ว่ า สองราช ธานีนี้มีลมหายใจที่ต่อเนื่องกัน สายสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงรัตนโกสินทร์เป็ น สิ่ ง จ าเป็ น ชนิ ด ที่ มิ อาจแยกออกจากกันได้ เพราะยิ่งเข้า สู่ “ยุคล่าอาณานิคม” ที่ชาติมหาอานาจตะวันตกเข้ า มารุ ก ราน บรรดารัฐต่าง ๆ ในอุษาคเนย์ ด้วยเหตุผลนานาประการ อาทิ ข้อกล่าวหาที่ว่าด้วยเรื่องความล้ า หลั ง ความไม่มีอารยธรรมที่สามารถยืนยันความเจริญในอดีตของชาติ ด้วยเหตุนี้ท าให้ ร าชส านั ก แห่ ง กรุ ง รัตนโกสินทร์ยิ่งกระตือรือร้นที่จะผูกพันตนเองเข้ากับอยุธยา เพราะสายสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อ งจากกรุ ง ศรี อยุธยามาสู่กรุงรัตนโกสินทร์นั้น ช่วยสร้างความชอบธรรมในการด ารงอยู่ ข องราชธานี ที่ มีอ ายุ ร าว ๑๐๐ ปีเศษของกรุงรัตนโกสินทร์ ให้สืบเนื่องเป็นชนชาติ เ ดี ย วกั น ดั ง เห็ น ได้ จ ากการเปลี่ ย นแปลง วิเทโศบายต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ )


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๐

อันเป็นแบบอย่างในการนาเอาความหลังของราชธานีกรุงศรีอยุธยามาระลึกใช้เพื่ อ การธ ารง อยู่ของชาติ เพราะเมื่อย่างสู่สมัยมณฑลกรุงเก่า รั ฐ บาลแห่ ง ราชส านั ก กรุ ง รั ต นโกสิ นทร์ ยั ง คงน า ประวัติศาสตร์อยุธยามาระลึกใช้อย่างต่อเนื่อง ในโอกาสและสถานการณ์ ต่ า ง ๆ เช่ น การระลึ ก ถึ ง อยุธยาในฐานะที่เป็นที่สถิตแห่งดวงพระวิญญาณบรรพกษัตริย์ไทยบ้าง ในฐานะประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ โบราณคดีแห่งชาติบ้าง และในฐานะรอยเท้าทางประวัติศาสตร์บ้าง ดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

อยุธยา ในฐานะที่สถิตแห่งดวงพระวิญญาณบรรพกษัตริย์ไทย สัญญาณที่สะท้อนถึงสายสัมพันธ์ที่ทอดระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงรัตนโกสินทร์ คื อ การที่ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมี ค วามเคารพต่ อ บรรพกษั ต ริ ย์ อ ยุ ธ ยาเสมื อ นประหนึ่ ง เครือญาติ ดังธรรมเนียมที่พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์จะต้องเสด็ จ มาบ าเพ็ ญ พระราชกุ ศ ล ที่กรุงเก่าอยู่ทุก ๆ รัชกาล๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ า อยู่ หั ว (รั ช กาลที่ ๕) ทรงเสด็ จ ประพาสกรุ ง เก่ า อยู่ ตลอดรัชสมัย ซึ่งนอกเหนือจากการเสด็จทอดพระเนตรสถานที่สาคัญทางประวัติ ศ าสตร์ ต่ า ง ๆ แล้ ว บ่อยครั้งที่ทรงทาพิธีสังเวยอดีตบรรพกษั ต ริ ย์ อ ยุ ธ ยาทั้ ง ๓๓ พระองค์ โดยทรงจุ ด เที ย นสั ก การะ พร้อมด้วยเครื่องอุทิศถวาย บางคราวมีการจาแนกฐานะของเที ย นตามพระเกี ย รติ ย ศของกษั ต ริ ย์ อยุธยาแต่ละพระองค์ ประกอบด้วย เทียนเล็ก เทียนใหญ่ เที ย นเงิ น เที ย นทอง ตามล าดั บ ฐานะ๒ แสดงถึงกตเวทีจิตที่ทรงมีต่อพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาเสมอมา แม้แต่ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชสมบั ติ เ ป็ น เวลา ๔๐ ปี เท่ากับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาที่ ข ณะนั้ น ถื อ ว่ า เป็ น พระเจ้ า แผ่ น ดิ น ที่ ครองราชย์ยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติ พระองค์ก็ทรงมีความปีติและ “เต็ มพระราชหฤทั ย จะใคร่ทรงบาเพ็ญพระราชกุศล”๓ อุทิศถวายสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และพระเจ้ า แผ่ น ดิ น กรุ ง ศรี อยุธยาทุกพระองค์ รวมถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้พระเจ้ า น้ อ งยาเธอกรม หลวงดารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นแม่งานจั ด เตรี ย มงานและสถานที่ ไ ว้ อ ย่ า ง ยิ่งใหญ่ โดยทรงเสด็จพระราชดาเนินมาบาเพ็ญพระราชกุ ศ ลรั ช มงคลที่ ก รุ ง เก่ า ระหว่ า งวั น ที่ ๒๙ พฤศจิกายน – ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๐

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๒๕๒๗). จดหมายเหตุพระราชพิธีรัชมัล คลาภิเษก ร.ศ.๑๒๖,๑๒๗. หน้า ๗. ข่าวเสดจประภาศกรุงเก่าแลเสดจกลับจากบางปอิน. (๒๔๓๑, ๒ สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕ ตอนที่ ๑๓. หน้า ๑๐๓-๑๐๔. ๓ ข่าวเสด็จพระราชดาเนิรไปทรงบาเพ็ญพระราชกุศลรัชมงคลที่กรุงเก่า. (๒๔๕๐, ๘ ธันวาคม). ราชกิจจา นุเบกษา. เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๖. หน้า ๙๒๑-๙๒๗. ๒


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๑

การบาเพ็ญพระราชกุศลสังเวยอดี ต มหาราชที่ พระราชวั ง ในกรุ ง เก่ า ได้ ป รากฏเป็ น ราช ประเพณีของพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ที่ยึดถือสืบต่อมา ดังที่พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัช กาลที่ ๗ ) และในรั ช กาลต่ อ ๆ มาทุกพระองค์ ได้เสด็จมาบาเพ็ญพระราชกุศลสังเวยอดีตมหาราชที่ ก รุ ง เก่ า ภายหลั ง จากพระราช พิธีบรมราชาภิเษกอันเป็นพระราชพิธีสาคัญในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษั ตริย์๑ แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาที่แม้จะล่มสลายและมีสภาพย่อ ยยั บ อย่ า งไร อยุ ธ ยาก็ ยั ง เป็ น สัญลักษณ์ของที่ ส ถิ ต แห่ ง ดวงวิ ญ ญาณบรรพบุ รุ ษ ของคนไทยที่ ยั ง มี ค วามเกี่ ย วเนื่ อ งผู ก พั น โดย ความรู้สึกทางจิตใจกับพระมหากษัตริย์และผู้คนในสมัยรัตนโกสินทร์อยู่เสมอมา

อยุธยา ในฐานะประวัติศาสตร์และโบราณคดีแห่งชาติ การศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี นับเป็นหนทางหนึ่ ง ที่ ร าชส านั ก กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ นามาใช้เป็นเครื่องยืนยันความ “ศิวิไลซ์” หรือความรุ่งเรืองช้านานของชาติ ในยุคที่ ช าติ มหาอ านาจ ตะวันตกกาลังเข้ามารุกรานเอกราชของรัฐต่าง ๆ ในอุษาคเนย์ โดยใช้เหตุด้านความปุาเถื่ อ น ล้ า หลั ง รวมถึงการไม่มีประวัติศ าสตร์ แ ละวั ฒ นธรรม มาเป็ น ข้ อ อ้ า งในการเข้ า ยึ ด ครอง น ามาซึ่ ง ความ กระตือรือร้น สืบค้นประวัติศาสตร์และร่องรอยทางโบราณคดีของบรรดาชนชั้นนาอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความสนพระทัยในด้านประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ โบราณคดี ดังที่ทรงเสด็จประพาสโบราณสถานในเมืองกรุงเก่าอยู่ หลายครั้ง* โดยเฉพาะทรงโปรดที่ จะเสด็จประพาสพระราชวั ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ทอดพระเนตรพระที่ นั่ ง ต่ า ง ๆ รวมไปถึ ง การเสด็ จ ทอดพระเนตรสถานที่สาคัญอื่น ๆ ทั้งในและนอกกรุง** อาทิ วิหารพระมงคลบพิ ต ร หอกลอง ศาล พระกาฬ วัดกุฎีดาว วัดอโยธยา วัดใหญ่ วัดหันตรา วัดภูเขาทอง เป็นต้น ๒ ทาให้ช่วงเวลานี้ ปรากฏ งานศึกษาด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเป็นจานวนมาก นอกจากนี้ในรัชกาลของพระองค์ ยั ง มี ก ารริ เ ริ่ มการขุ ด ค้ น ทางโบราณคดี ตามวิ ท ยาการ ตะวันตก ดังที่ทรงมีรับสั่งให้มีการขุดแต่งสารวจพระราชวั ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เพื่ อ เป็ น ข้ อ มู ล หลั ก ฐาน ๑

การเฉลิมพระราชมณเฑียรพระราชวัง บางปอิน แลการสังเวยอดีตะมหาราชาธิราช. (๒๔๕๓, ๑๑ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๗ หน้า ๒๐๘๐-๒๐๘๙. * พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานในกรุงเก่าหลายครั้ ง ทั้ ง ที่ เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานโดยเฉพาะ และเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานระหว่างการเสด็ จ ทอดผ้ า พระ กฐิน หรือบาเพ็ญพระราชกุศล อาทิ ในพุทธศักราช ๒๔๓๑, ๒๔๔๒, ๒๔๔๕, ๒๔๔๗, ๒๔๔๘, ๒๔๕๐, เป็นต้น ** ในสมัยนั้นสังคมยังคงระลึกถึงอยุธยาในสถานะที่เป็น “กรุงเก่า” ๒ ข่าวเสดจประภาศกรุงเก่าแลเสดจกลับจากบางปอิน. (๒๔๓๑, ๒ สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕ ตอนที่ ๑๓. หน้า ๑๐๓-๑๐๔. และ ข่าวเสด็จประพาศพระอารามต่าง ๆ ในกรุงเก่า. (๒๔๔๗, ๑๘ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๓๘. หน้า ๖๘๓.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๒

ทางโบราณคดีประกอบการศึกษาทางประวัติศาสตร์ เพื่อเป็ น เครื่ อ งยื น ยั น ความเป็ น ปึ ก แผ่ น มั่ น คง และเจ ริ ญ รุ่ ง เรื อ งช้ า น าน ของชาวสยาม ๑ รวมถึ ง กา รจั ด ตั้ ง โบร า ณคดี ส โมสร เพื่ อ เป็ น สถาบันการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในช่วงพระราชพิธีรัชมงคลที่ ก รุ ง เก่ า รวมถึ ง การ ประกาศสงวนที่ดินภายในเกาะเมืองกรุงเก่าเพื่อสงวนรักษาโบราณสถาน โดยทรงมีพระราชด าริ ที่ จ ะ ทาให้กรุงเก่า เป็นเมืองประวัติศาสตร์ของชาติ สาหรับต้อนรับพระราชอาคันตุก ะ ๒ ซึ่ ง ในรั ช กาลของ พระองค์ได้ทรงจัดการต้อนรับแกรนด ดยุ๊ก บอริส วลาดิมิโรวิตซ์แห่งรัส เซี ย ใน พ.ศ. ๒๔๔๕๓ และ จัดการรับรอง ดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์ ผู้ปกครอง รัฐบรันสวิก ของเยอรมนี และดั ช เชสอิ ลิ ช าเบต พระ ชายา ณ โบราณสถานต่าง ๆ ในกรุงเก่า เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒๔ สมดังพระราชปณิธานของพระองค์ อันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกให้นานาชาติเห็นซึ่งความศิวิไลซ์ในแบบฉบั บ ของชนชาติ ไทย ซึ่งเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมยาวนานต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่ง ที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า อดี ต ของอยุธยาดารงความเป็นรากเหง้าที่มิอาจตัดให้ขาดจากกรุงรัตนโกสินทร์ไ ด้เลย

สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงฉายพระรูปร่วมกับ ดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์ ที่มา: สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงฉายพระรูปร่ ว มกั บดุ๊ ก โยฮั น อั ลเบรกต์ . (๒๕๕๔). (ภาพนิ่ง). กรุงเทพฯ: สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ๑

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓. (๒๔๗๙). หน้า ๑๔๙. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๑๕๓. ๓ การรับ อิส อิม บีเรียล ไฮเนส แกรนด ดยุ๊ก บอริส วลาดิมิโรวิตซ์ กรุงรัสเซีย. (๒๔๔๕, ๑ มิถุนายน). ราช กิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๙. หน้า ๑๔๓-๑๔๖. ๔ การรับดุ๊กโยฮันอัลเบรกต์ ผู้สาเร็จราชการเมืองบรันซวิก. (๒๔๕๒, ๖ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๖. หน้า ๒๕๘๖-๒๖๐๓. ๒


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๓

อยุธยา ในฐานะรอยเท้าทางประวัติศาสตร์ ราชสานักกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ให้การยอมรับและยกย่องกรุงศรีอยุธยาในฐานะอดี ต ราชธานี อันรุ่งเรืองมาช้านาน ที่มีมหาราชและวีรกษัตรีที่ทรงพระปรีชาสามารถ ปกปูองและปกครองแผ่ น ดิ น ยาวนานถึง ๔๑๗ ปี ด้วยเกียรติยศทั้งหลายที่บรรพกษัตริย์แห่งของกรุงศรีอยุธยาได้กระท าไว้ ใ นกาล ก่อน ได้ถูกนามาระลึกใช้เสมือนเป็นรอยเท้าในอดีต ที่ เ คยก้ า วไกล เป็ น หมุ ด หมายในการปกครอง แผ่นดินของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสิ น ทร์ ใ ห้ ก้ า วล้ าน าหน้ า สู่ ค วามสถาพร ของบ้ า นเมื อ ง สืบไป ดังที่บรรดาข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มักใช้เกียรติ ย ศทางประวั ติ ศ าสตร์ ทั้ ง หลาย เป็นเครื่องยกย่องและเชิดชูพระเกียรติแก่พระมหากษัตริย์รัชกาลต่ า ง ๆ เช่ น ในคราวที่ ก รมหมื่ น มรุ พงษ์ ศิ ริ พั ฒ น์ ข้ า หลวงเทศา ภิ บ า ล ส าเร็ จ ร าชการ มณฑ ลกรุ ง เก่ า ได้ ท รงถวา ยไชยมงคล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากที่ทรงเสด็จกลับ จากการประพาสยุ โ รป ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยได้ทรงยกย่องที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้ า อยู่ หั ว เสด็ จ เยื อ นต่ า งประเทศ เพื่อแสวงประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง เปรียบดังพระมหากษั ต ริ ย์ ก รุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ๖ พระองค์ * ที่ เคยเสด็จออกนอกพระราชอาณาเขตเพื่ อประโยชน์ แห่ งราชอาณาจักร๑ พร้อมทั้งยังทรงกล่าวเปรี ย บพระปรี ช าสามารถของสมเด็ จ พระนางเจ้ า เสาวภาผ่ อ งศรี พระบรมราชินีนาถ** ที่ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สาเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยู่หัว ดังสมเด็จพระสุริโยทัยที่ร่วมกระทาศึกช่วยพระสวามี จ นสิ้ น พระชนม์ ชี พ เป็ น ตั ว อย่ า งที่ สะท้อนว่า อยุธยา เป็น ดังรอยเท้าทางประวัติศาสตร์ ดังที่ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงกล่าวว่า แม้พระราชกฤษฎาภินิหารแห่งโบราณมหากษั ตริ ย์ ซึ่ ง ได้ ท รงสามารถ ในการที่ จ ะ ปูองกันอิศรภาพ แลทานุบารุงสยามประเทศนี้ ได้มีม าแต่ ป างก่ อ นวิ เ ศษเพี ย งใด พระราช กฤษฎาภินิหารอันวิเศษเช่นนั้น หรือยิ่งกว่านั้น ย่อมพึงมีพึงเปนเห็นได้ในยุกค์ภายหลังดังครัง้ นี้ ๒ ความเจริญของกรุงสยามจึงยังไม่เสื่อมทราม

* ประกอบด้วย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ สมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ สมเด็จ พระไชยราชาธิราช สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนารายณ์ ๑ คาถวายไชยมงคลของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า. (๒๔๔๐, ๒๐ กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๔๗ หน้า ๗๙๐ – ๗๙๔ ** สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๒ คาถวายไชยมงคลของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า. (๒๔๔๐, ๒๐ กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๔๗ หน้า ๗๙๐ – ๗๙๔


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๔

นอกจากนี้ยังมีกรณีของพระยาโบราณราชธานินทร์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุ ง เก่ า คนที่ ๒ ได้กล่าวถวายไชยมงคลเนื่องในพระราชพิธีรัชมงคลที่ ก รุ ง เก่ า โดย เปรี ย บเที ย บพระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับบรรพมหากษั ตริย์กรุงศรีอยุธยาหลายพระองค์ ที่ น อกจากจะเปรี ย บ การครองราชย์สมบัติอันเป็นเวลาเท่ากับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แล้ ว ยั ง เปรี ย บการปกปู อ งอิ ศ ร ภาพของประเทศให้พ้นภัยสงครามล่าอาณานิคมกับการปูองกันราชอาณาจั กรของวี ร กษั ต ริ ย์ อ ยุ ธ ยา หลายพระองค์ อาทิ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตลอดจนเปรียบการปฏิรูปการปกครอง และระบบ ศาลยุติธรรมในรัชสมัย กับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และกษั ต ริ ย์ อ ยุ ธ ยาพระองค์ อื่ น ๆ โดยใช้ สานวนโวหารที่แสดงถึงเหตุ และผลทางประวัติศาสตร์อันหนักแน่นนานาประการ ๑ รวมถึงในรัชกาลต่อมาที่ พระยาโบราณราชธานิ น ทร์ ได้ ถ วายพระพรไชยมงคลยกย่ อ ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเที ย บเคี ย งการสื บ พระบรมราชสั น ตติ ว งศ์ โ ดย สวัสดิภาพ กับการขึ้นครองราชสมบัติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็ จ พระนเรศวร โดย ยกย่องเป็นกฤษฎาภินิหาร และเทิดทู ล พระปรี ช าสามารถของพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยู่หัว พระชนกนาถ ที่ทรงมองการไกลในการสถาปนาพระบาทสมเด็จพระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว เป็นองค์รัชทายาท๒ ประเด็นนี้เหล่านี้สะท้อนว่าอดีตของกรุงศรีอยุธยาอั น มี อ ายุ ๔๑๗ ปี ได้ ถู ก น ามาระลึ ก ใช้ เสมือนดัง “รอยเท้าทางประวัติศาสตร์” ให้สังคมไทยรุ่ น กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ไ ด้ ใ ช้ เ ป็ น หลั ก พรมแดน แห่งความเจริญก้าวหน้าในอดีต ให้สังคมไทยยุค ที่ ส ร้ า งพระนครขึ้ น ใหม่ ไ ด้ พัฒ นา บ้ า นเมื อ งขึ้ น มา ทัดเทียม และก้าวล้ารอยเท้าของกรุงศรีอยุธยาออกไป เพื่ อ ความก้ า วหน้ า สถาพรของอาณาจั ก ร สยาม และอีกประการหนึ่งเพื่อยกย่องเชิดชูพระบารมี และพระเกี ย รติ คุ ณของพระมหากษั ต ริ ย์ ก รุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ อั น เป็ น วิ ธี ก ารแสดงออกอย่ า งหนึ่ ง ถึ ง ความจ งรั ก ภั ก ดี ข องปวงชนที่ มีต่ อ องค์ พระมหากษัตริย์ของสังคมในช่วงเวลานั้น

คาถวายไชยมงคลของข้าราชการและราษฎรมณฑลกรุงเก่า. (๒๔๕๐, ๘ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๖. หน้า ๙๒๘ - ๙๓๐ ๒ คาถวายไชยมงคลที่กรุงเก่า วันที่ ๑ ธันวาคม ร.ศ.๑๒๙. (๒๔๕๓, ๑๑ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๗. หน้า ๒๐๙๓ – ๒๐๙๖.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๕

ส่งท้าย บทบาทของอดีตแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ระดับ ต่ า ง ๆ ได้ ห ยิ บ ยกขึ้ น มาใช้เหล่านี้ ทาให้ราชสานักมีความระลึกผูกพัน และเชิดชูสถานะของกรุงเก่าอยู่ ต ลอดเวลา ซึ่ ง อาจ สะท้อนได้จากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามใหม่ ข องกรุ ง เก่ า ว่า จังหวัด “พระนครศรีอยุธยา” ซึ่ ง ในการณ์ อั น นี้ ส มเด็ จ พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ เจ้ า ฟู า กรมหลวง พิษณุโลกประชานารถ ทรงกล่าวถึงสถานะที่แฝงอยู่ในนามจังหวัดว่า ข้ า พเจ้ า มี ค วา มยิ น ดี อี กข้ อหนึ่ ง ที่ น าม จั งหวั ดนี้ ไ ด้ เปลี่ ยน ชื่ อเปน จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ๆ นี้เปนนามอันศิริมงคล แลเปนนามที่ ๒ รองกรุงเทพพระมหานคร จึงทา ๑ ให้ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีมาก แลเชื่อว่าข้าราชการแลราษฎรในจังหวัดนี้ก็คงยิ นดีเช่นกัน

นามของจังหวัดพระนครศรี อ ยุ ธ ยา จึ ง อาจเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ถื อ ก าเนิ ด จากบทบาทและ สถานะพิเศษของจังหวัด ที่รัฐบาลแห่งราชสานักกรุงรัตนโกสินทร์ได้ร ะลึ ก ถื อ และตราฐานะไว้ เป็ น มิ่งมงคลอนุสรณ์ปรากฏอยู่ทุกวันนี้

สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ. ศธ.๕๐.๑/๓๕. เรื่องรายงานการเปิด โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จ.อยุธยา. (๓ กรกฎาคม – ๒๙ สิงหาคม ๒๔๖๒).


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๖

บรรณานุกรม การรับดุ๊กโยฮันอัล เบรกต์ ผู้ ส าเร็ จ ราชการเมื อ งบรั น ซวิ ก . (๒๔๕๒, ๖ มี น าคม). ราชกิ จ จา นุเบกษา. เล่ม ๒๖. หน้า ๒๕๘๖-๒๖๐๓. การรับ อิ ส อิ ม บี เ รี ย ล ไฮเนส แกรนด ดยุ๊ ก บอริ ส วลาดิ มิโ รวิ ต ซ์ กรุ ง รั ส เซี ย . (๒๔๔๕, ๑ มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๙. หน้า ๑๔๓-๑๔๖. การเฉลิมพระราชมณเฑียรพระราชวังบางปอิน แลการสังเวยอดี ต ะมหาราชาธิ ร าช. (๒๔๕๓, ๑๑ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๗ หน้าที่ ๒๐๘๐-๒๐๘๙. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๒๕๒๗). จดหมายเหตุพระราชพิธีรั ช มั ง คลาภิ เษก ร.ศ.๑๒๖,๑๒๗. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. ข่าวเสด็จประพาศพระอารามต่าง ๆ ในกรุงเก่า. (๒๔๔๗, ๑๘ ธันวาคม). ราชกิจจานุ เบกษา. เล่ ม ๒๐ ตอนที่ ๓๘. หน้า ๖๘๓. ข่าวเสดจประภาศกรุงเก่าแลเสดจกลับจากบางปอิน. (๒๔๓๑, ๒ สิ ง หาคม). ราชกิ จ จานุ เบกษา. เล่ม ๕ ตอนที่ ๑๓. หน้า ๑๐๓-๑๐๔. ข่าวเสด็จพระราชดาเนิรไปทรงบาเพ็ญพระราชกุศลรัชมงคลที่กรุงเก่า. (๒๔๕๐, ๘ ธั น วาคม). ราช กิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๖. หน้า ๙๒๑-๙๒๗. คาถวายไชยมงคลของข้าราชการและราษฎรมณฑลกรุ ง เก่ า . (๒๔๕๐, ๘ ธั น วาคม). ราชกิ จ จา นุเบกษา. เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๖. หน้า ๙๒๘ – ๙๓๐. คาถวายไชยมงคลของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า. (๒๔๔๐, ๒๐ กุ มภาพั น ธ์ ) . ราชกิ จ จา นุเบกษา. เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๔๗ หน้า ๗๙๐ – ๗๙๔. คาถวายไชยมงคลที่กรุงเก่า วั น ที่ ๑ ธั น วาคม ร.ศ.๑๒๙. (๒๔๕๓, ๑๑ ธั น วาคม). ราชกิ จ จา นุเบกษา. เล่ม ๒๗. หน้า ๒๐๙๓ – ๒๐๙๖. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓. (๒๔๗๙). กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร. สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ. ศธ.๕๐.๑/๓๕. เรื่ อ งรายงานการ เปิดโรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จ.อยุธยา. (๓ กรกฎาคม - ๒๙ สิงหาคม ๒๔๖๒).


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๗

จากกรุงเก่าถึงพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๗๖ - พ.ศ.๒๕๐๐ ใน สมั ย มณฑ ล กรุ ง เก่ า / อยุ ธ ยา (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๗๖) พื้ น ที่ ภ า ยใน เกา ะเมื อ ง พระนครศรีอยุธยา ได้ถูกสงวนไว้เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ แ ละโบราณคดี แ ห่ ง ชาติ ดั ง มี การสงวนที่ดินภายในแนวกาแพงเมืองโบราณไว้ ในขณะที่ ย่ า นชุ ม ชนของอยุ ธ ยาได้ ถู ก จั ด ให้ อ ยู่ ใ น ละแวกพระราชวังจันทรเกษม อั น เป็ น ศู น ย์ ก ลางการปกครองของมณฑลอยุ ธ ยา ประกอบด้ ว ย สถานที่ราชการ สถานศึกษา ตลาด และชุมชนที่อิงอาศัย สายน้ าหล่ อ เลี้ ย งชี พมาตั้ ง แต่ โ บราณ ซึ่ ง แตกต่างจากพระนครศรีอยุธยาในวันนี้อย่างสิ้นเชิง ที่ดารงสถานะหลายอย่ า ง เป็ น ทั้ ง แหล่ ง ชุ มชน เมือง แหล่งพาณิชย์กรรม แหล่งการศึกษา แหล่งประวัติศาสตร์ แ ละโบราณคดี แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ที่ แวดล้อมอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นแห่ง ๆ ดังนั้น บทความนี้จึงจะนาเสนอความเป็นไปเป็นมา ที่ มีค วามส าคั ญ ต่ อ การพั ฒ นาจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ในช่วงหลังสมัยมณฑลกรุงเก่า/อยุธยา พ.ศ. ๒๔๗๖ จนถึ ง พ.ศ.๒๕๐๐ อั น เป็ น ช่วงหลังโครงการบูรณะเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่ ง ช่ ว งเวลาดั ง กล่ า วเป็ น เสมื อ นสะพานแห่ ง ความเปลี่ ย นแปลงครั้ ง ส าคั ญ ที่ เ ชื่ อ มระหว่ า งเมื อ งกรุ ง เก่ า ดั้ ง เดิ ม มาสู่ ก า รเป็ น ชุ มชน เมื อ ง พระนครศรีอยุธยาเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

หลังสมัยมณฑลกรุงเก่า/อยุธยา ภายหลังเหตุ ก ารณ์ เ ปลี่ ย นแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ รั ฐ บาลคณะราษฎร์ ไ ด้ ต รา “พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๗๖” ขึ้ น ซึ่งได้จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ “จั ง หวั ด ” เป็ น เขตการปกครองย่ อ ยที่ มีร ะดั บ สู ง ที่สุด๑ แทนระบบแบ่งเขตการปกครองส่ ว นภู มิภ าคแบบมณฑลเทศาภิ บ าล จึ ง ส่ ง ผลให้ จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยาสิ้นสุดสถานะแห่งการเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลกรุ ง เก่ า / อยุ ธ ยา ที่ ดาเนินมากว่า ๓๘ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๗๖) ไปโดยปริยาย รัฐบาลคณะราษฎร์ ยังได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยา ที่ เ คยถู ก เน้ น รักษาให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์และโบราณคดีแห่งชาติ มาสู่การส่งเสริมให้เป็น แหล่ ง ที่ อ ยู่ อ าศั ย ของ ๑

พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริห ารแห่ง ราชอาณาจัก รสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๖. (๒๔๗๖, ๓ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๐ ตอนที่ ๐ก. หน้า ๗๕๑-๗๖๒.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๘

ชุมชน แหล่งพาณิชยกรรม รวมทั้งแหล่งอุตสาหกรรม โดยเริ่มต้นการวางระบบผั ง เมื อ งในภายเกาะ เมืองใหม่ ให้สอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาประเทศ ๑ เพื่ อ ก าหนดทิ ศ ทางการพั ฒ นาเมื อ งให้ เติบโตอย่างมีแบบแผน

นายปรีดี พนมยงค์

จังหวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ได้ รั บ นโยบายในการ ก่อสร้างสถานที่ราชการ ให้ มีต าแหน่ ง ถั ด ลึ ก เข้ า ไปภายใน เกาะเมื อ งที่ ข ณะนั้ น ยั ง ร กร้ า ง เพื่ อ เป็ น การ น าร่ อ งให้ ประชาชนเดินทางเข้ า ไปติ ด ต่ อ กั บ สถานที่ ร าชการ และใช้ สอยพื้นที่ในเกาะเมืองมากขึ้น๒ ทว่าในช่วงเวลานั้ น การที่ จ ะ บุกเบิกพื้นที่รกร้ า งในเกาะเมื อ งอยุ ธ ยาให้ ก ลายเป็ น แหล่ ง ชุมชนเมืองได้ ยังติดขัดด้วยข้อกฎหมาย และสถานะของการ เป็นเมืองโบราณที่รัฐ บาลมี ค วามจ าเป็ น ต้ อ งอนุ รั ก ษ์ ไ ว้ ต าม หลักการ และกฎบั ต รสากลที่ ก าหนดให้ รั ฐ บาลต้ อ งรั ก ษา คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยาไว้ อี ก ทั้งในขณะนั้ น ยั ง มี ก ารสงวนที่ ดิ น ในเกาะเมื อ งไว้ เ ป็ น ที่ ดิ น สาธารณะ ที่คอยเหนี่ยวรั้งให้ไม่สามารถจัดสรรพัฒนาที่ ดิ น ได้ ตามความต้องการของฝุายปกครอง

แต่ด้วยโอกาสพิเศษบางประการ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับจากบุ ค คลส าคั ญ ในคณะ รัฐบาล ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงกันมากว่า นายปรีดี พนมยงค์ ในสมัยที่ดารงต าแหน่ ง เป็ น รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงการคลัง ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๔ในคณะรัฐบาลของจอมพล ป. พิ บู ล สงครามนั้ น คอย ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และกาหนดทิศทางการพั ฒ นาเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยา อั น เป็ น จังหวัดบ้านเกิด จึงมีส่วนทาให้สามารถปลดข้อจากัดต่าง ๆ ที่มีมาแต่ ใ นอดี ต อี ก ทั้ ง ยั ง คอยหนุ น น า ให้เกิดโครงการพัฒนาเมืองพระนครศรีอยุ ธยาขึ้นในช่วงเวลานั้น ด้วย๓

สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย. มท.๕.๑๖.๕/๕๗. เรื่องรายงานการประชุม สภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๔๗๙). ๒ สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย. มท.๕.๑๖/๒๙. เรื่องตาแหน่งที่สร้างศาลา เทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๔๗๘-๒๔๘๐). ๓ พัฑร์ แตงพันธ์. (๒๕๕๕). การพัฒนาชุมชนเมืองกับการอนุรักษ์โบราณสถานในเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยาและปริมณฑล พ.ศ.๒๔๘๒ – ๒๕๔๔. หน้า ๖๗ – ๖๘.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒๙

การบุกเบิกพัฒนาเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้มีบทบาทส าคั ญ ในการ ส่ ง เสริ มการพั ฒ นาเมื อ งพระน ครศรี อ ยุ ธ ยาหลายประการ จ นสามารถผลั ก ดั น ให้ มีก ารตร า “พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินและที่วัดร้างภายในก าแ พง เมืองพระนครศรีอยุธยาให้แก่กระทรวงการคลัง”๑ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมี ผ ลบั ง คั บ ใช้ในวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๘๒๒ ส่งผลให้กระทรวงการคลังเป็นเจ้า ของกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น ส่ ว นใหญ่ ใ น เกาะเมือง และนาไปสู่การกาหนดผังเมืองพระนครศรีอยุธยาใหม่ โดยมี ก ารประชุ มหารื อ หลายฝุ า ย ทัง้ ฝุายปกครอง และฝุายกรมศิลปากรที่ทาหน้าที่อนุรักษ์โบราณสถานของชาติ เพื่ อ ส่ ง เสริ มให้ เ กิ ด การพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการรั ก ษา และบรรเทาความสู ญ เสี ย แหล่ ง โบราณสถานที่ จ ะได้ รั บ ผลกระทบจากการพัฒนาเมือง ทาให้ในที่สุด ที่ประชุมได้มีมติที่จะวางผังเมืองพระนครศรี อ ยุ ธ ยาใหม่ ต ามเค้ า โครงของผั ง เมืองโบราณ คือการรักษาแนวคลองโบราณสายหลั ก พร้ อ มทั้ ง ตั ด ถนนตามแนวถนนโบราณ ๓ ซึ่ ง แม้ว่าการกาหนดผังเมืองใหม่ในลักษณะนี้ จะทาให้สูญเสียโบราณสถานในส่ ว นที่ เ ป็ น ถนน สะพาน และคลองโบราณไปบ้างก็ตาม แต่ก็นับว่ า สามารถลดความสู ญ เสี ย ระบบผั ง เมื อ ง และภู มิส ถา น โบราณอื่น ๆ ไว้ได้มาก

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๐๑?). รายงานกิจการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจาปี ๒๕๐๐. หน้า ๓๙๕. ๒ พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่วัดร้างภายใน กาแพงเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้กระทรวงการคลัง พุทธศักราช ๒๔๘๑. (๒๔๘๒, ๒๔ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๖ หน้า ๓๙๙-๔๐๑. ๓

ขจรจบ กุสุมาวลี. (๒๕๔๒). การจัดการ “พื้นที่ประวัติศาสตร์” จากกรณีศึกษาบริเวณวิหาร พระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา. หน้า ๒๕.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๐

แผนผังแนวเขตที่ดินท้ ายพระราชบัญญัติโอนกรรมสิ ทธิ์ ที่ดินให้ แก่ กระทรวงการคลัง ที่มา: พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่ น ดิ น และที่ วั ด ร้ า ง ภายในก าแพงเมื อ งจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ให้ ก ระทรวงการคลั ง พุ ท ธศั ก ร าช ๒๔๘๑. (๒๔๘๒,๒๔ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐. หน้า ๓๙๙-๔๐๑. จากนั้นฝุายปกครองได้จัดสรรพื้นที่เกาะเมืองออกเป็นส่วนต่าง ๆ ประกอบด้ ว ยการก าหนด เขตส่งเสริมพาณิชยกรรมไว้ที่ริมแม่น้าปุาสักทางด้านตะวัน ออกของเกาะเมื อ ง ส่ ว นพื้ น ที่ ถั ด เข้ า มา จากแนวคลองมะขามเรียง (คลองในไก่ ) ถู ก ก าหนดให้ เ ป็ น เขตที่ อ ยู่ อ าศั ย ถั ด จากแนวถนนชี กุ น (คลองประตูจีน/คลองประตูข้าวเปลือก) กาหนดให้เป็นเขตสถานที่ ร าชการ และถั ด จากแนวคลอง ท่อ/คลองฉะไกรใหญ่มาจรดแม่น้าเจ้าพระยาด้านตะวันตก ถูกกาหนดเป็นเขตอุต สาหกรรม ส าหรั บ บริ เ วณบึ ง พระรา ม ซึ่ ง เป็ น บึ ง น้ าขนา ดใหญ่ ตั้ งอยู่ ใ จ กลางเกา ะเมื อ งได้ ถู ก ก า หนดให้ เ ป็ น สวนสาธารณะ ส่วนเขตโบราณสถานนั้น กระทรวงการคลังได้ให้กรมศิลปากรดาเนิน การส ารวจและ ประกาศเขตโบราณสถานแห่งชาติ เพื่อกันพื้นที่สาหรับการสงวนรักษาโบราณสถานเฉพาะที่ ส าคั ญ ไว้เป็นแห่ง ๆ๑ อันเป็นวิธีประนีประนอมระหว่างความต้องการพัฒนาชุมชนเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยา ๑

พัฑร์ แตงพันธ์. (๒๕๕๕). การพัฒนาชุมชนเมืองกับการอนุรักษ์โ บราณสถานในเกาะเมืองพระนครศรีอ ยุธยาและ ปริมณฑล พ.ศ.๒๔๘๒ – ๒๕๔๔. หน้า ๙๑ – ๙๒.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๑

ให้เจริญรุดหน้า กับความต้องการอนุรักษ์เมืองโบราณกรุงศรีอยุธยาไว้เป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรมของ ชาติ

แผนผังจาลองการวางผังเมืองในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาของ กระทรวงการคลัง* ในระยะนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังได้รับการอุปถัมภ์อย่างมีนั ย ยะพิ เ ศษหลายประการ โดยเฉพาะการส่งเสริมงบประมาณก่อสร้างศาลากลางจังหวัด แห่ ง ใหม่ ไ ว้ ยั ง พื้ น ที่ ใ จกลางเกาะเมื อ ง (แทนที่พระราชวังจันทรเกษมที่เคยถูกใช้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า / อยุ ธ ยา ) โดยตั ด ถนนโรจนะ จากถนนพหลโยธิน ซึ่งเป็นทางหลวงสายหลักของประเทศ จากอาเภอวังน้อยมุ่งเข้าสู่ตั ว เมื อ งมาจรด หน้าศาลากลางจังหวัด อีกทั้ง การสร้างสะพานปรีดี-ธารง ทอดข้ามแม่น้าปุาสักด้วยความยาวกว่ า ๑๖๐ เมตร ซึ่ ง เป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างสะพานสมัยใหม่ ที่เปิด ใช้ ง านอย่ า งเป็ น ทางการใน พ.ศ.๒๔๘๖ นั้ น ก็ นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสาคัญ ที่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวเมืองอยุธยาที่เคยชิ น ชากั บ การสั ญ จรทาง น้า ให้เริ่มเปิดใจยอมรับการสัญจรทางรถยนต์ซึ่งเป็นตัวเลือกที่สะดวกและรวดเร็ ว กว่ า ประกอบกั บ การพัฒนาด้านระบบประปาในเขตเทศบาลในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ๑ เป็ น อี ก ปั จ จั ย ส าคั ญ ที่ ท าให้ วิ ถี ชีวิตของชาวอยุธยาเปลี่ยนจากที่เคยเป็นชุมชนขนาบน้าเพื่อสะดวกในการใช้ ส ายน้ าเพื่ อ การสั ญ จร * ผู้เขียนจาลองแผนผังจากข้อมูลของ ขจรจบ กุสุมาวลี ใน ขจรจบ กุสุมาวลี. (๒๕๔๒). การจัดการ “พื้นที่ประวัติศาสตร์” จากกรณีศึกษาบริเวณวิหารพระมงคลบพิตร จ. พระนครศรีอยุธยา. หน้า ๒๕. ๑ สมนึก สุพรรณสาร. (๒๕๐๓). ชีวประวัติและคาอาลัยจากลูก. ใน ตานานกรุงเก่า. หน้า ค.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๒

และอุปโภค-บริโภค ให้ค่อย ๆ เปลี่ยนวิถีการดารงชีวิต และเริ่มมาใช้สอยพื้นที่ภายในเกาะเมื อ งมาก ขึ้นเป็นลาดับ

ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๐๖). รายงานประจ าปี จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ประจาปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ – ๒๕๐๕. หน้า ๖๗.

สะพานปรีดี-ธารง ที่มา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๐๖). รายงานประจ าปี จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ประจาปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ – ๒๕๐๕. หน้า ๑๐๑.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๓

ในช่วงเวลานี้ รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถานศึ ก ษาทุ ก ระดั บ ในตั ว เมื อ งอยุ ธ ยา อั น สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติที่ให้พลเมืองต้องได้รับการศึ ก ษาจนจบชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ ๔ ตามหลัก ๖ ประการที่คณะราษฎรได้วางไว้เป็นแนวทางบริหารประเทศ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การย้ า ยและ ก่อสร้างสถานศึกษาหลายแห่ง ประกอบด้วยการย้ า ยโรงเรี ย นที่ ตั้ ง อยู่ ใ นพื้ น ที่ ก รมทหารเก่ า ย่ า น หัวแหลม ที่กระทรวงการคลังต้องการใช้พื้นที่ทาโรงงานอุตสาหกรรม ให้ไปตั้งอยู่ตามพื้น ที่ ต่ า ง ๆ ใน เกาะเมือง อาทิ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร และโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี อีกทั้งการย้ายโรงเรียนตัวอย่างประจามณฑล ที่ตั้งอยู่ด้ า นหลั ง พระราชวั ง จั น ทรเกษม ซึ่ ง เป็นสถานศึกษาที่นายปรีดีเคยศึกษาเล่าเรียนในวัยเยาว์ มาตั้ ง อยู่ ใ นพื้ น ที่ ใ จกลางเกาะเมื อ ง และ เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ใน พ.ศ.๒๔๘๓๑ รวมถึง การส่ ง เสริ มและโยกย้ า ยโรงเรี ย น อาชีวะแขนงต่าง ๆ ที่อยู่นอกตัวเมือง เข้ามาอยู่ใ นเกาะเมื อ งและบริ เ วณใกล้ เ คี ย ง อาทิ โรงเรี ย น เกษตรกรรม โรงเรียนช่างไม้-ช่างปั้น และโรงเรียนช่างต่อเรือ รวมทั้งยังมีกรณีที่กรมสรรพสามิ ต ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานในสั ง กั ด ของกระทรวงการคลั ง ได้ บริจาคเงินสนับสนุนการก่อสร้างโรงเรียนต่ าง ๆ ประกอบด้วย โรงเรียนการช่างวาสุกรี โรงเรี ย นช่ า ง สตรี โรงเรียนช่างไม้ โรงเรียนสรรพสามิตบารุง โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ ๒ นอกจากด้านการส่งเสริมการศึ ก ษาแล้ ว กระทรวงการคลั ง ยั ง ได้ ด าเนิ น กิ จ การโรงงาน อุตสาหกรรมกลั่นแอลกอฮอลด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น ในพื้นที่ ด้ า นตะวั น ตกของเมื อ ง เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ แทนแผนเดิมที่จะดาเนินการปรับปรุงโรงงานสุราบางยี่ขัน ๓ ข้อมูลเหล่านี้ เป็นรายละเอียดส่วนหนึ่ง ที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า จั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา ได้รับการอุปการะจากหลายประการจากภาครัฐ ในช่ ว งเวลาเดี ย วกั บ ที่ น ายปรี ดี พนมยงค์ ด ารง ตาแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งในด้านการก่อสร้างสถานที่ราชการ การวางระบบ ผังเมืองและการคมนาคม การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม การส่งเสริมการศึกษา และการส่ง เสริ ม ที่ อ ยู่ อาศัยของประชาชน ทว่า เหตุการณ์ทางการเมืองในช่วง พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งทาให้นายปรี ดี พนมยงค์ ต้ อ งลี้ ภั ย ทาง การเมื อ งนั้ น เป็ น ช่ ว งเวลาเดี ย วกั บ ที่ ก ระทรวงการคลั ง ยกเลิ ก โครงการปรั บ ปรุ ง เกาะเมื อ ง พระนครศรีอยุธยา และโอนทรัพย์สินและกิ จ การต่ า ง ๆ ให้ ท างจั ง หวั ด เข้ า มาดู แ ลแทน โดยไม่ มี ๑

พัฑร์ แตงพันธ์. (๒๕๕๕). การพัฒนาชุมชนเมืองกับการอนุรักษ์โบราณสถานในเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยาและปริมณฑล พ.ศ.๒๔๘๒ – ๒๕๔๔. หน้า ๗๘-๘๐. ๒ พัฑร์ แตงพันธ์. (๒๕๕๕). การพัฒนาชุมชนเมืองกับการอนุรักษ์โบราณสถานในเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยาและปริมณฑล พ.ศ.๒๔๘๒ – ๒๕๔๔. หน้า ๗๘-๘๐. ๓ สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสานักนายกรัฐมนตรี. (๒) สร.๐๒๐๑.๒๒.๒.๑๔/๕. เรื่องโรงงานกลัน่ กลั่นแอลกอฮอล์อยุธยา. (๒๔๘๗-๒๔๙๖).


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๔

โครงการพัฒนาที่สาเร็จจนเห็นผลใด ๆ อีก จนถึงช่วงโครงการบูรณะจัง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยาใน พ.ศ.๒๔๙๙๑ ปรากฏการณ์เหล่านี้ สะท้อนถึงบทบาทของนายปรีดี พนมยงค์ ที่คอยให้ก ารสนั บ สนุ น การ พัฒนาเมืองพระนครศรีอยุธยา มาโดยตลอดระยะเวลาที่มีบทบาททางการเมื อ ง จนอาจกล่ า วได้ ว่ า เป็นก้าวกระโดดที่ ส าคั ญ ในการบุ ก เบิ ก พั ฒ นาพื้ น ที่ ร กร้ า งในเกาะเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธ ยาให้ มี รากฐาน และแนวทางมาสู่การเป็นแหล่งชุมชนเมืองในระยะต่อมา

โครงการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.๒๔๙๙ - ๒๕๐๐ ภายหลังโครงการปรับปรุงเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาที่ดาเนิ น มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ได้ ช ะงั ก ลงในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๐ นั้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงค่อยกลับมาได้รับโอกาสจากรั ฐ บาลในการ ส่งเสริมพัฒนาเมืองอีกครั้งในช่วง พ.ศ.๒๔๙๙ – ๒๕๐๐ จากรั ฐ บาลภายใต้ ก ารน าของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นวาระที่ ๒ (ระหว่ า ง พ.ศ. ๒๔๙๑ – พ.ศ. ๒๕๐๐) ซึ่ ง มี น โยบายบู ร ณะจั ง หวั ด พระนคร ศรี อ ยุ ธ ยา ด้ ว ยเหตุ ที่ จั ง หวั ด แห่ ง นี้ เ คยเป็ น รา ชธานี ที่ มี ความสาคัญทางประวัติศาสตร์ และขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ มีนั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งชาติ แ วะ เวียนมาทัศนาจรอยู่เสมอ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้บูรณะโบราณสถาน และก่ อ สร้ า งสิ่ ง อ านวยความ สะดวก ทั้งระบบไฟฟูาริมถนน และระบบประปา ตลอดจนร้านค้าขายของที่ ร ะลึ ก ให้ เ กิ ด ความเป็ น ระเบียบเรียบร้อย โครงการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค่อนข้างดาเนินไปอย่างเร่งรัด เนื่ อ งจากรั ฐ บาลมี เปูาหมายที่จะดาเนินงานให้เสร็จทันงานฉลอง ๒๕ พุ ท ธศตวรรษ ที่ รั ฐ บาลมี ก าหนดจั ด ขึ้ น อย่ า ง ยิ่งใหญ่ ใน พ.ศ.๒๕๐๐ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการกาหนดแผนงาน และนโยบายในการ ดาเนินงาน รวมถึงให้ความสาคัญในการเดิ น ทางมาตรวจความคื บ หน้ า ของโครงการด้ ว ยตนเอง พร้อมทั้ ง ได้ อ อกค าสั่ ง เพิ่ มเติ มรายละเอี ย ดของงานอี ก หลาย ๆ ปร ะการ ๒ ประกอบด้ ว ย การ บูรณปฏิสังขรณ์วัดและโบราณสถาน การดาเนินงานด้านการก่อสร้างสิ่งอานวยความสะดวกต่ อ การ ท่องเที่ยว และการดาเนินงานด้านการสงเคราะห์ประชาชนชาวพระนครศรีอยุธยา

เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (๒๕๒๗). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๘๒๕๐๐. หน้า ๗๐-๗๒. ๒ พัฑร์ แตงพันธ์. (๒๕๕๕). การพัฒนาชุมชนเมืองกับการอนุรักษ์โบราณสถานในเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยาและปริมณฑล พ.ศ.๒๔๘๒ – ๒๕๔๔. หน้า ๑๐๓ – ๑๐๔.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๕

จากร ายงา นการ ประชุ ม เกี่ ย วกั บ การบู ร ณะจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา ได้ให้ข้อมูลว่า จอมพล ป. พิ บู ล สงคราม ใน ฐา น ะที่ ป รึ ก ษา โคร งการ เป็ น ผู้ ก า หน ดน โยบายอนุ รั ก ษ์ โบราณสถานด้วยตนเอง โดยได้กล่าวเป็นนโยบายในที่ ป ระชุ มว่ า “การบูรณะศรีอยุธยานี้ ให้ถือหลักบูรณะ คืนสภาพเดิ ม เท่ า ที่ จ ะ ท าได้ อ ย่ า งยิ่ ง ”๑ ซึ่ ง มี ค วา มหมายไปใน ทา งฟื้ น ฟู เ กาะเมื อ ง พระนครศรีอยุธยา ให้กลับมามีสภาพเหมือนในสมัยกรุงศรี อ ยุ ธ ยา ประกอบด้วย การปฏิสังขรณ์ วิ ห ารพระมงคลบพิ ต ร การบู ร ณะ โบราณสถานต่าง ๆ โดยการ ขุดแต่งบูร ณะ ก าจั ด วั ช พื ช จั ด ท า ปูายชื่อแก่โบราณสถานทุกแห่ง และทาทางให้ ส ามารถเข้ า ไปชม โบราณสถานได้สะดวก รวมทั้งสิ้น ๕๒ แห่ ง เช่ น วั ด พระศรี ส รร เพชญ์ พระราชวังโบราณ เจดีย์วัดสามปลื้ม วัดมหาธาตุ วั ด โลกย สุธาราม วัดพระราม วัดราชบู ร ณะ วั ด ไชยวั ฒ นาราม วั ด พุ ท ไธ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สวรรย์ วัดพนัญเชิง เป็นต้น๒ ในส่วนของการบูรณปฏิสังขรณ์วัดที่มีพระสงฆ์จาพรรษานั้น คณะกรรมการด าเนิ น งาน ได้ มอบหมายให้กรมศิลปากรดาเนินงานร่วมกับกรมศาสนาในการบูรณะพระวิ ห าร และลวดลายบาน ประตู วัดหน้าพระเมรุ การสร้างกุฏิ ศาลา วัดภูเขาทอง และการบูรณะกาแพง วิ ห ารพระนอน และ สร้างกุฏิเจ้าอาวาส วัดธรรมิกราช อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในการทานุบารุงพระพุทธศาสนาของ รัฐบาล

สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมศิลปากร. กระทรวงศึกษาธิการ. ศธ.๐๗๐๑.๒๖.๑.๒/๑๕. เรื่องกรรมการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๔๙๙-๒๕๐๐). ๒ สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมศิลปากร. กระทรวงศึกษาธิการ. ศธ.๐๗๐๑.๒๖.๑.๒/๑๖. เรื่องการจัดทาป้ายชื่อบอกโบราณสถานอยุธยา. (๒๔๙๙-๒๕๐๐).


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๖

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตรวจการบูรณะโบราณสถานที่พระนครศรีอยุธยา ที่มา: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๐๐). รายงานประจาปี จั ง หวั ด พระนครศรี อยุ ธ ยาประจาปี พุทธศักราช ๒๔๙๙. ไม่มีเลขหน้า.

ส่ ว นการด าเนิ น งา นด้ า นกา รก่ อ สร้ า งสิ่ ง อ าน วยความสะดวกต่ อ กา รท่ อ งเที่ ย วนั้ น คณะกรรมการดาเนินงาน ได้มีมติให้ดาเนินการก่อสร้างอาคารรับรองอาคั น ตุ ก ะ* ที่ ริ มถนนโรจนะ สาหรับใช้เป็นที่พักรับรองแขกบ้านแขกเมือง อีกทั้งการก่อสร้างและปรั บ ปรุ ง ถนนหลายสายทั้ ง ใน และนอกเกาะเมือง รวมถึงการปรับปรุงบึงพระรามให้เป็นสวนสาธารณะ ซึ่ ง นอกจากที่ รั ฐ บาลสร้ า ง ขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวในเมืองพระนครศรีอยุ ธยาแล้ ว ภายหลั ง เสร็ จ สิ้ น โครงการ สิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นทรัพย์สินของจังหวัดพระนครศรี อ ยุ ธ ยา อั น เป็ น ส่ ว น สาคัญที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเกาะเมืองอีก ทางหนึ่งด้วย สาหรับการดาเนินงานด้านการสงเคราะห์ประชาชนชาวพระนครศรี อ ยุ ธ ยา จอมพล ป. มี ความประสงค์ให้จัดสร้างอาคารสงเคราะห์ และอาคารพาณิชย์เพิ่มเข้ามาเป็นส่ว นหนึ่ ง ของโครงการ บูรณะเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา คือการสร้าง“อาคารพิบูล สงเคราะห์ ร าษฎร์ ”๑ เป็ น ร้ า นค้ า ชั้ น เดียวบริเวณริมบึงพระราม จานวน ๔๓ ห้อง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมี ที่ อ ยู่ อ าศั ย และที่ ท ากิ น ซึ่ ง ประชาชนที่มาเช่าอาศัยอาคารสงเคราะห์ได้ประกอบอาชี พขายสิ น ค้ า พื้ น เมื อ งเป็ น ของที่ ร ะลึ ก แก่ นักท่องเที่ยว ประเภทงานหัตถกรรมสลักหิน และของใช้เก่าแก่โบราณ ซึ่งไม่ เ พี ย งเท่ า นี้ จอมพล ป. * ปัจจุบันถูกใช้เป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๕๐๑). รายงานกิจการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจาปี ๒๕๐๐. หน้า ๕๑๑.


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๗

ยังมีดาริให้สร้างอาคารสามชั้นที่บริเวณสองฝั่ ง ถนนโรจนะ ที่ บ ริ เ วณเชิ ง สะพานปรี ดี – ธ ารง ฝั่ ง ภายในเกาะเมือง โดยมีต้นแบบจากอาคารริมถนนราชดาเนินกลางในกรุงเทพฯ โดยลดทอนสั ด ส่ ว น ให้เหมาะสมแก่ตัวเมือง เพื่อจัดทาเป็ น อาคารพาณิ ช ย์ แ ละที่ อ ยู่ อ าศั ย ของประชาชน รวมถึ ง เป็ น สานักงานขององค์กรต่าง ๆ นอกเหนือจากการพัฒนาทางกายภาพแล้ว ยังมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงความรู้สึ ก ของชาวอยุ ธ ยา ไปตลอดกาล คือการเปลี่ยนนามเมือง จากอาเภอกรุงเก่า มาเป็ น อ าเภอพระนครศรี อ ยุ ธ ยา โดยมี ประกาศพระราชกฤษฎีกา “เปลี่ยนชื่ออาเภอกรุงเก่า ” เมื่อ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ การเปลี่ ย น ชื่ออาเภอครั้งนี้ มีผลกระทบต่อจิตใจของชาวอยุธยาในรุ่นนั้ น หลายคน เนื่ อ งจากคนรุ่ น ก่ อ นต่ า งมี ความภาคภูมิใจในชื่ออาเภอทีม่ ีความหมายบ่งบอกถึงการเป็นอดีตราชธานี และยั ง เป็ น อ าเภอเมื อ ง แห่งเดียว ที่ไม่ได้ใช้ชื่อว่า “อาเภอเมือง” เหมือนจังหวัดอื่น อย่างไรก็ตาม โครงการบูรณะจังหวัดพระนครศรี อ ยุ ธ ยา ได้ ด าเนิ น ไปอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตาม แผนงาน และการบัญชาของนายกรัฐมนตรีที่ออกคาสั่งเพิ่มเติมเป็ น ระยะ ๆ ท าให้ มีแ ผนงานที่ ต้ อ ง ดาเนินการเพิ่มขึ้นกว่าที่มีการประชุ มกั น ไว้ ใ นครั้ ง แรกหลายรายการ ซึ่ ง ต้ อ งใช้ ร ะยะเวลา และ งบประมาณในการดาเนินงานมากขึ้นตามไปด้วย ทว่าระหว่างการดาเนินงานเป็นช่วงเวลาที่เกิด เหตุ ค วามไม่ ส งบทางการเมื อ ง กระทั่ ง เกิ ด เหตุการณ์รัฐประหารขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๐๐ ส่งผลให้ จ อมพล ป.พิ บู ล สงคราม ต้ อ งลี้ ภั ย ทางการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ทาให้การดาเนินโครงการบูรณะจังหวัดพระนครศรี อ ยุ ธ ยาไม่ ส าเร็ จ ตามแผนงานอยู่หลายรายการ โดยภายหลังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมชุดใหม่เพื่อพิ จ ารณาด าเนิ น งานเฉพาะแผนงานที่ มี ความจาเป็นต่อไป ส่วนแผนงานที่ จอมพล ป. เคยดาริไว้หลายรายการ คณะกรรมการชุ ด ใหม่ ก็ มิไ ด้ มีการสานต่อแต่อย่างใด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข้อจากัดด้านงบประมาณ เพราะในขณะนั้ น หลาย แผนงานกาลังมีปัญหาเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณส าหรั บ ด าเนิ น งานอยู่ จึ ง ได้ ด าเนิ น งานเฉพาะ แผนงานที่มีความจาเป็น ก่อนที่จะยุติโครงการบูรณะเกาะเมือ งพระนครศรี อยุธยาลงในที่สุ ด ๑ แม้ว่าโครงการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะมี ก ารด าเนิ น การในช่ ว งเวลาอั น สั้ น คื อ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๐ ก็ตาม แต่ผลของการดาเนินการบู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ วั ด และโบราณสถาน การดาเนินงานด้านการก่อสร้างสิ่งอานวยความสะดวกต่อการท่องเที่ยว และการดาเนินงานด้ า นการ สงเคราะห์ประชาชนชาวพระนครศรีอยุธยาเหล่านี้ ได้หลงเหลือไว้เป็นมรดกอยู่ ห ลายประการ ทั้ ง ที่ เป็นคุณูปการ และที่ถูกกล่าวว่าเป็นโทษต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะข้ อ กล่ า วหาในเรื่ อ ง เกี่ยวกับการบูรณะโบราณสถานผิดหลักการสากล แต่อย่างไรก็ ต ามมิ อ าจปฏิ เ สธได้ ว่ า จอมพล ป. ๑

สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมศิลปากร. กระทรวงศึกษาธิการ. ศธ.๐๗๐๑.๒๖.๑.๒/๑๕. เรื่องกรรมการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๔๙๙-๒๕๐๐).


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๘

พิบูลสงคราม เป็นบุคคลสาคัญคนหนึ่ง ที่นาความเจริญมาสู่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาในช่ ว ง พ.ศ. ๒๕๐๐ จากข้อมูลทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ในช่วงระหว่างหลังสมัยมณฑลกรุ ง เก่ า /อยุ ธ ยา เป็นต้นมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับโอกาสพิเ ศษจากบุ ค คลส าคั ญ ในคณะรั ฐ บาลถึ ง สองคน คนแรกคื อ นา ยปรี ดี พนมยงค์ ภายใต้ บ ทบาทของรั ฐ มนตรี ว่ า กา รกระทรวงการคลั ง และ นายกรัฐมนตรี ผู้มีพื้นเพเป็นชาวอยุธยา ที่มีบทบาทหนุนนาให้ เ กิ ด การบุ ก เบิ ก พั ฒ นาพื้ น ที่ ใ นเกาะ เมือง โดยเน้นส่งเสริมพัฒนาไปในด้านสังคม การศึกษา และเศรษฐกิจ และรั บ ช่ ว งต่ อ ด้ ว ยโครงการ บูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผู้ มีบ ทบาทใน การวางนโยบาย และเร่งรัดดาเนินงาน เพื่อให้เกิดความเจริญแก่จังหวัดพระนครศรี อ ยุ ธ ยา โดยเน้ น ไปในด้านวัฒนธรรม คือการรักษาประวัติศาสตร์ การทานุบารุงศาสนา ด้านสังคม และเศรษฐกิ จ คื อ การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการสงเคราะห์ประชาชน กล่าวได้ว่า บุคคลทั้งสองเป็นผู้มีบทบาทสาคัญที่ส่งเสริมให้จังหวัด พระนครศรี อ ยุ ธ ยาได้ รั บ โอกาสในการพัฒนาในช่วงแรกเริ่มบุกเบิกพัฒนาพื้ น ที่ ภ ายในเกาะเมื อ งจนกลายเป็ น แหล่ ง ชุ มชน เมือง และยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยอีกว่า ทั้งนายปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ป. พิ บู ล สงคราม ต่ า งก็ มี ชะตากรรมที่คล้ายคลึงกันกล่าวคือ ทั้งคู่ใช้โอกาสที่มีบทบาทสาคัญทางการเมื อ ง มาส่ ง เสริ มให้ เ กิ ด การพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างก้ า วกระโดดในช่ ว งเวลาอั น สั้ น ก่อนที่จะยุติบทบาทลงด้วยสถานการณ์ทางการเมือง จนต้องลี้ภัยไปอยู่ต่ า งประเทศอย่ า งไม่ ต่ า งกั น ซึ่งชะตากรรมอันน่าประหลาดนี้ ได้กลายเป็นคาล่าลือถึงอาถรรพ์แห่งดวงวิ ญ ญาณของบรรพบุ รุ ษ ที่ ไม่ต้องการให้ผู้ใดพัฒนาเมืองอยุธยา เพื่อที่จะรักษาไว้เป็นอนุสรณ์สถานสืบไปนั่นเอง

ส่งท้าย ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๕๐๐ เปรียบดังสะพานที่เชื่อมจากยุคสมั ย ที่ ยั ง เรี ย กขาน นามเมืองว่า “อาเภอกรุงเก่า” เมืองที่ถูกสงวนรักษาไว้ซึ่งร่องรอยทางประวั ติ ศ าสตร์ แ ละโบราณคดี ของชาติ มาสู่ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็น “อาเภอพระนครศรี อ ยุ ธ ยา” อั น มี ฐ านะเป็ น แหล่งชุมชนเมือง แหล่งพาณิชยกรรม และแหล่งการศึกษา ที่ได้วิวัฒนาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งเป็ น ล าดั บ ไป พร้อม ๆ กับการคงรักษาไว้ซึ่งการเป็นแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่ค่อย ๆ เบิ ก ทางไปสู่ ก าร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญของชาติ ตามด้ ว ยการด าเนิ น งานอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาจนมี ฐ านะเป็ น อุทยานประวัติศาสตร์ และนครประวัติศาสตร์ ที่ได้รับการขึ้ น บั ญ ชี เ ป็ น แหล่ ง มรดกทางวั ฒ นธรรม ของโลก นามาซึ่งชื่อเสียง และรายได้จากการท่ องเที่ยวมาสู่ท้องถิ่นและประเทศชาติ ภายในอาณา บริเวณที่ล้อมรอบด้วยแหล่งเกษตรกรรมที่อยู่คู่กับเมืองแห่งนี้มาช้านาน ร่วมกับการเป็ น ที่ ตั้ ง ของเขต และนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายนิค ม ที่ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ความเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ และ สังคมอีกหลาย ๆ ประการ อันสมควรได้มีการนาเสนออย่างละเอียดในโอกาสต่อ ไป


ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หลังสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๙

บรรณานุกรม เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (๒๕๒๗). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมื อ งพระนครศรี อ ยุ ธยาระหว่ า ง พ.ศ.๒๔๓๘-๒๕๐๐. พระนครศรีอยุธยา: วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. ถ่ายเอกสาร. ขจรจบ กุสุมาวลี. (๒๕๔๒). การจัดการ “พื้นที่ประวัติศาสตร์” จากกรณีศึก ษาบริ เวณวิ ห ารพระ มงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ สม.ม. (มานุ ษ ยวิ ท ยา). กรุ ง เทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร. จังหวัดพระนครศรี อ ยุ ธ ยา. (๒๕๐๑?). รายงานกิ จ การจั ง หวั ดพระนครศรี อ ยุ ธยา ประจ าปี ๒๕๐๐. กรุงเทพฯ: จังหวัดฯ. พัฑร์ แตงพันธ์. (๒๕๕๕). การพั ฒนาชุ ม ชนเมื อ งกั บการอนุ รั ก ษ์ โ บราณสถานในเกาะเมื อ ง พระนครศรีอยุธยาและปริ ม ณฑล พ.ศ.๒๔๘๒ – ๒๕๔๔. ปริ ญ ญานิ พนธ์ ศศ.ม. (ประวั ติ ศ าสตร์ ) . กรุ ง เทพฯ: บั ณฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยา ลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ. อัดสาเนา. พระราชบัญญัติว่าด้ ว ยระเบี ย บราชการบริ ห ารแห่ ง ราชอาณาจั ก รสยาม พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๗๖. (๒๔๗๖, ๓ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๐ ตอนที่ ๐ก. หน้า ๗๕๑-๗๖๒. พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่ วั ด ร้ า งภายในก าแพง เมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้กระทรวงการคลัง พุทธศักราช ๒๔๘๑. (๒๔๘๒, ๒๔ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๖ หน้า ๓๙๙-๔๐๑. สมนึก สุพรรณสาร. (๒๕๐๓). ชี ว ประวั ติ แ ละค าอาลั ย จากลู ก . ใน ตานานกรุ ง เก่ า . พระยา โบราณราชธานินทร์. หน้า ก-ญ. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายฟื้ น สุพรรณสาร. สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน. (๒๕๕๗). การอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวั ตถุ . สื บ ค้ น เมื่ อ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๗, จาก www.saranukromthai.or.th ส า นั ก หอจ ดหมา ยเหตุ แ ห่ ง ชาติ . เอกสาร กรมศิ ล ปา กร. กร ะทร วงศึ ก ษาธิ ก า ร . ศธ. ๐๗๐๑.๒๖.๑.๒/๑๕. เรื่ อ งกรรมการบู ร ณะจั ง หวั ด พระนครศรี อ ยุ ธ ยา. (๒๔๙๙๒๕๐๐). สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย. มท.๕.๑๖/๒๙. เรื่ อ งต าแหน่ ง ที่ สร้างศาลาเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๔๗๘-๒๔๘๐). สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงมหาดไทย. มท.๕.๑๖.๕/๕๗. เรื่องรายงานการ ประชุมสภาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (๒๔๗๙). สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารสานักนายกรัฐมนตรี. (๒) สร.๐๒๐๑.๒๒.๒.๑๔/๕. เรื่ อ ง โรงงานกลั่นแอลกอฮอล์อยุธยา. (๒๔๘๗-๒๔๙๖).


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.