เอกสารประกอบการอบรม เรื่องสตรีกับเครื่องหอม วัฒนธรรมงามอย่างไทย

Page 1


เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตรระยะสั้นงานศิลป์ถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓)

“สตรีกับเครื่องหอม วัฒนธรรมงามอย่างไทย” วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พฤษภาคม ๒๕๕๗ จานวน ๘๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗

จัดทาเอกสาร: ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

จัดการอบรม:

สนับสนุนการดาเนินงาน:

ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว

ฝ่ายบริหารงานทัว่ ไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่ําเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์


กิจกรรม อบรมหลักสูตรระยะสั้นงานศิลป์ถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓) เรื่อง สตรีกับเครื่องหอม วัฒนธรรมงามอย่างไทย วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๑.ชื่อหลักสูตร: กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นงานศิลป์ถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓) เรื่องสตรีกับเครื่องหอม วัฒนธรรมงามอย่างไทย ๒.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๓.หลักการและเหตุผล: เครื่องหอม เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้ใช้ความสังเกต และทดลองจาก จุดเล็ก ๆ โดยเริ่ม จากการสัม ผัสกลิ่น ดอกไม้ ที่โชยกลิ่ นหอมมาสัม ผัส จมูก ทําให้เ กิดความพอใจและมี ความสุข ต่อมาจึงสังเกตความหมอที่เกิดจากส่วนอื่น ๆ ของต้นไม้เช่น ใบ เปลือก ราก เนื้อไม้ และยางของ ต้นไม้ และสังเกตต่อไปถึงกลิ่นหอมในตัวสัตว์เช่น ชะมด ปลาวาฬ และตัวบีเวอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยัง รู้จักสกัดน้ํามันหอมจากพืชและสัตว์ นํามาใส่ภาชนะเก็บไว้ได้อีก วิวัฒนาการจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ใช้ เวลานานนับพันปี กว่าจะได้เครื่องหอมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นมนุษย์ยังคิดค้นสิ่งทดแทนธรรมชาติ โดยการผสมปรุงแต่ง ออกมาเป็นเครื่องหอมสังเคราะห์นอกเหนือจากสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา สําหรับเครื่องหอมไทย หรือของหอมไทยนั้น เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งในการรักษาสุขภาพแบบองค์ รวม นอกจากความหอมจะให้ความสดชื่นรื่นรมย์แล้ว ยังช่วยในเรื่องของจิตใจ ช่วยผ่อนคลายความตึง เครียด และการรักษาด้วยความหอมนั้นก็มีมานานแล้วตั้ ง แต่กรุงสุโขทัย ดังปรากฏหลักฐานในวรรณคดี ไทยหลายเรื่อง ที่กล่าวถึงความงามของสตรีกับความหอมของน้ําอบ น้ําปรุง แป้งร่ํา ทั้งวิธีการทํา วิธีการใช้ ประโยชน์เพื่อรักษาโรคและบํารุงความงามไว้อย่างชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้การใช้เครื่องหอมไทยถูกมองว่า เชย ล้าสมัย แต่ในปัจจุบันเนื่องจากกระแสการบําบัดสุขภาพด้วยวิธี สปา และอโรมาเทอราฟี่ ที่กําลังนิยม กัน อยู่ ใ นขณะนี้ ทํ า ให้ ค นยุ ค ใหม่ หั น มาให้ ค วามสนใจเครื่ อ งหอมไทยกั น มากขึ้ น โดยใช้ วั ต ถุ ดิ บ จาก ธรรมชาติเสมือนว่าเราได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด สถาบันอยุธยาศึกษา เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ทําหน้าที่ใน ด้านการศึกษา ค้น คว้า วิจัยข้ อมูลเกี่ยวข้ องกับ ประวั ติศาสตร์ โบราณคดี ศิ ลปวัฒ นธรรมของจัง หวั ด พระนครศรีอยุธยา จึงเห็นสมควรจัดโครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้นงานศิลป์ถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓) เรื่อง “สตรีกับเครื่องหอม วัฒนธรรมงามอย่างไทย” เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิต ผลงานเครื่องหอม ไทยอันประกอบด้วย น้ําอบ ,น้ําปรุง ,แป้งร่ํา และบุหงา ได้ด้วยตนเองตามกรรมวิธีแบบโบราณ ผู้อบรม สามารถที่จะนําไปดัดแปลง สร้างสรรค์กลิ่นใหม่ ๆ ประกอบอาชีพอิสระและยังนําไปประยุกต์กับงานอื่นๆ ได้ ตลอดจนเป็นการปลูกจิตสํานึกและภาคภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาติต่อไป


๔.วัตถุประสงค์ : ๑) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความความรู้ เกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาศิลปะการปรุงเครื่องหอมไทย ๒) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป สามารถปฏิบัติ วิธีการปรุงเครื่องหอมไทย และสามารถประดิษฐ์สร้างสรรค์กลิ่นหอมที่มีลักษณะเฉพาะตนได้ ๓) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป เกิดจิตสํานึกที่ดี เห็นคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมแขนง ต่างๆ ของไทย อันจะก่อ ให้เ กิด ความรู้สึ กหวงแหนในศิลปะและวั ฒนธรรมของชาติ และเกิ ดผลดีต่ อ ประเทศชาติสืบไป ๕. สาระสาคัญของหลักสูตร: กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นงานศิลป์ถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓) เรื่อง สตรีกับเครื่องหอม วัฒนธรรมงามอย่างไทย ๖. หัวเรื่องและขอบข่ายเนื้อหา: หัวเรื่อง: สตรีกับเครื่องหอม วัฒนธรรมงามอย่างไทย ขอบข่ายเนื้อหา: เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิต ผลงานเครื่องหอมไทยอันประกอบด้วย น้ําอบ, น้ําปรุง ,แป้งร่ํา และบุหงา ได้ด้วยตนเองตามกรรมวิธีแบบโบราณ ผู้อบรมสามารถที่จะนําไป ดัดแปลง สร้างสรรค์กลิ่นใหม่ ๆ ประกอบอาชีพอิสระและยังนําไปประยุกต์กับงานอื่นๆ ได้ ๗. รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม: ๗.๑ อบรมเชิงอภิปราย (บรรยายทางวิชาการ) ๗.๒ วิ ธี ก ารฝึ ก อบรม: การจั ด กิ จ กรรมบรรยายทางวิ ช าการ โดยนั ก วิ ช าการที่ มี ค วามรู้ ความสามารถ และเป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการ ๘. ผู้ฝึกอบรม อาจารย์จันทนา ภู่เจริญ และ อาจารย์วรัญญู เตียวงศ์สมบัติ อาจารย์ประจําสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษา พระนครศรีอยุธยา ๙. ระยะเวลาการฝึกอบรม: ๑ วัน ๑๐. จานวนผู้เข้ารับการอบรม: ๔๐ คน ๑๑. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม: นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป ๑๒. ค่าใช้จ่าย: งบประมาณแผ่นดิน (บริการทางวิชาการ) ๒๕,๗๘๘ บาท


๑๓. การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม: ๑๓.๑ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๓.๒ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๓.๓ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปสามารถนําความรู้ไปใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๔. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ๑) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความความรู้เกี่ยวกับ ประวัติและความเป็นมาของศิลปะการปรุงเครื่องหอมไทย ๒) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป สามารถปฏิบัติวิธีการ ปรุงเครื่องหอมไทย และสามารถประดิษฐ์สร้างสรรค์กลิ่นหอมที่มีลักษณะเฉพาะตนได้ ๓) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป เกิดจิตสํานึกที่ดีเห็น คุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ของไทย และสามารถนําไปประยุกต์ใช้เพื่อการประกอบอาชีพได้ ๑๕. วันเวลาอบรม : วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ๑๖. สื่อการอบรม : ๑๖.๑ เอกสารประกอบการเสวนา ๑๖.๒ จอแสดงภาพประกอบ ๑๖.๓ อุปกรณ์การทําเครื่องหอม ๑๗. สถานที่ฝึกอบรม : ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ ณ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๑๘. แนววิชาโดยสังเขป ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องผลิตผลงานเครื่องหอมไทยตามกรรมวิธีแบบโบราณ อันประกอบด้วย ๑๘.๑ กรรมวิธีการการทําน้ําอบ ๑ ขวด ๑๘.๒ กรรมวิธีการปรุงน้ําปรุง ๑ ขวด ๑๘.๓ กรรมวิธีการผลิตแป้งร่ํา ๑ กระปุก ๑๘.๔ กรรมวิธีการทําบุหงา ๑ ตลับ


๑๙ .แผนการสอน วันที่

เวลา

เนื้อหาวิชา

๑๐ พ.ค. ๕๗ ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเครื่องหอมไทย แนะนําวัสดุอุปกรณ์ที่ ใช้ในการทํางานตามขั้นตอนสาธิตการผลิตจริง ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ปฏิบัติการผลิตน้ําอบ และการปรุงน้ําปรุง ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปฏิบัติการทําแป้งร่ํา และบุหงา ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ประเมิน และสรุปผลงาน รวมบรรยาย ๒ ชั่วโมง รวมบรรยาย ๑ ชั่วโมง ปฏิบัติการ ๖ ชั่วโมง


กาหนดการอบรมหลักสูตรระยะสั้นงานศิลป์ถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๓) เรื่อง สตรีกับเครื่องหอม วัฒนธรรมงามอย่างไทย วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น.

ลงทะเบียนรับเอกสาร

๐๘.๓๐ – ๐๘.๔๕ น.

พิธีเปิดการอบรม โดย ดร.จงกล เฮงสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา

๐๘.๔๕ - ๐๙.๐๐ น.

แบ่งกลุ่มปฏิบัติการฝึกอบรม, แนะนําวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางานตามขั้นตอนสาธิต การผลิตชิ้นงานจริง วิทยากรโดย อาจารย์จันทนา ภู่เจริญ และอาจารย์วรัญญู เตียวงศ์สมบัติ

๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

ฝึกปฏิบัติการทําน้ําอบ และปรุงน้ําปรุง วิทยากรโดย อาจารย์จันทนา ภู่เจริญ และอาจารย์วรัญญู เตียวงศ์สมบัติ

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ปฏิบัติการทําแป้งร่ํา และบุหงารําไป วิทยากรโดย อาจารย์จันทนา ภู่เจริญ และอาจารย์วรัญญู เตียวงศ์สมบัติ

๑๖.๐๐ – ๑๖.๒๐ น.

ประเมิน และสรุปผลงานที่ทํา (ผู้อบรมได้ผลงาน ๔ ชิ้น) วิทยากรโดย อาจารย์จันทนา ภู่เจริญ และอาจารย์วรัญญู เตียวงศ์สมบัติ

๑๖.๒๐ น.

พิธีมอบเกียรติบัตร และปิดการอบรม โดย ดร.จงกล เฮงสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันอยุธยาศึกษา


สารบัญ บทนา กําเนิดเครื่องหอมไทย

หน้า ๑

บทที่ ๒ แหล่งที่มาของเครื่องหอม

บทที่ ๓ กรรมวิธีในการผลิตเครื่องหอมไทย

บทที่ ๔ เครื่องหอมไทยประเภทปรุงกลิ่น

๑๔

บทที่ ๕ เครื่องหอมไทยประเภทประทินโฉม

๒๔

บทที่ ๖ เครื่องหอมไทยประเภทปรุงแต่ง

๓๑


หน้า ๑

บทนา กาเนิดเครื่องหอมไทย

จันทนา ภู่เจริญ. เก้ากลิ่นอยุธยา. สืบค้นเมื่อ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก www.๙klin.com

เครื่องหอมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมนุษย์ได้ใช้ความสังเกตและทดลองจาก จุด เล็ ก ๆ โดยเริ่ม จากการสั มผั สกลิ่ น ดอกไม้ ที่ โชยกลิ่ น หอมมาสั มผั ส จมู ก ทาให้เ กิ ดความพอใจและมี ความสุข ในชั้นต้นก็เพียงเด็ดดมแล้วทิ้งไป ต่อมาก็นาเอาดอกไม้หอมเหล่านั้นมาประดับตามร่างกาย ดูแล้ว สวยงาม แถมผู้ประดับยังหอมอีกด้วย จากกลิ่นหอมที่เกิดจากดอกไม้เหล่านี้เอง มนุษย์เริ่มสังเกตต่อไปถึง กลิ่นหอมที่เกิดจากส่วนอื่นของต้นไม้เช่น ใบ เปลือก เนื้อไม้ ราก และยางของต้นไม้ และสังเกตต่อไปถึง กลิ่นหอมในตัวสัตว์เช่น ชะมด ปลาวาฬ และตัวบีเวอร์ เป็น ต้น นอกจากนี้ยังรู้จักสกัดเอาน้ามันหอมจาก พืชและสัตว์ นามาใส่ภาชนะเก็บไว้ได้อีก วิวัฒนาการจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ใช้เวลาเป็นพันๆ ปีกว่าจะ เป็นเครื่องหอมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นด้วย ความหลักแหลมของมนุษย์ยังคิดค้นสิ่งที่แทนธรรมชาติ โดยการผสมผสานปรุงแต่ง ออกมาเป็นเครื่องหอมสังเคราะห์นอกเหนือจากที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา


หน้า ๒

ความหมายของเครื่องหอม ความหมายของคาว่า “เครื่องหอม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๒๕:๑๙๕) ได้ ให้คาจากัดความไว้ว่า “เครื่อง” หมายถึง สิ่ง สิ่งของสิ่งที่สาหรับประกอบกัน หรือเป็นพวกเดียวกัน ส่วน คาว่า “หอม” หมายถึง ได้รับกลิ่นดี กลิ่นหอม “เครื่องหอม” หมายถึง สิ่งที่นามาประกอบกันแล้วมีกลิ่น บุหงา คือ ดอกไม้ซึ่งปรุงให้หอมใช้ใส่ในถุงผ้าโปร่ง เพื่อแจกในงานสมรส หรืองานเนื่องในโอกาส พิเศษต่างๆ จะเย็บถุงเป็นรูปอะไรก็สุดแต่ชอบ เช่น บรรจุในโคมไฟญี่ปุ่น รูปหมวกแก๊ป หนังสือ ฯลฯ บุหงา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๒๕:๔๗๗) หมายถึงดอกไม้ชนิดต่างๆ ที่ปรุง ด้วยเครื่องหอม บรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็กๆ ทาเป็นรูปต่าง๑ บุหงา คือ ดอกไม้ผสมเครื่องหอม เป็นส่วนผสมระหว่างกลีบดอกไม้หลายๆ ชนิดและเครื่องเทศ สมุนไพรหอม น้ามันหอม คลุกเคล้าผสมกันและแต่ง กลิ่นให้เกิดความหอมทน เพื่อนาไปใช้ในกิจกรรม ต่างๆ เช่น แจกเป็นของชาร่วย ให้เป็นของขวัญที่ระลึก

จันทนา ภู่เจริญ. เก้ากลิ่นอยุธยา. สืบค้นเมื่อ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก www.๙klin.com

ประวัติเครื่องหอม ความเป็นมนต์เสน่ห์สาหรับมนุษย์ ผู้ที่ชื่นชมใน รูป รส กลิ่น เสียง ในชนทุกระดับชั้นต่างหาสิ่ง หอมมาประทินผิวกาย เพื่อสร้างความพึง พอใจให้แก่ตนเองและผู้ชิดใกล้ ในรูปลักษณะที่แตกต่างกั น ออกไปอาทิเช่น หาดอกไม้มาแซมผม นาความหอมของไม้ยางมาปรุง อบร่าในเสื้อผ้า อาหาร ทาผิวกาย

นันทวัน กลิ่นจาปา. เครื่องหอมไทย ภูมิปัญญาไทย. (กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส, ๒๕๔๕) หน้า ๑๒.


หน้า ๓

เครื่องหอมต่างๆ ของไทยมีมาแต่โบราณกาลโดยทาขึ้นมาใช้เองจากวัสดุแลสมุนไทรหอมที่ปลูกในเมืองไทย และสืบทอดต่อๆ มาตามคาบอกเล่า มิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรใดๆ จากการศึกษาประวัติความเป็นมาชองเครื่องหอมใน ENCYCLOPAEDIA หลายเล่ม ไม่มีการ บันทึกการสกัดน้าหอมจากดอกไม้ว่า เริ่มตั้งแต่เมื่อใดนอกจากจะกล่าวถึงสมัยโบราณ มนุษย์เผาไม้หอม บางชนิดที่มียางและมีกลิ่นหอมในพิธีทางศาสนา ปรากฏว่ากลิ่นที่ลอยมากับควันอันอบอวลอยู่ในบริเวณ งาน ได้สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ พวกเขายังเอาของเหลวที่ไ หลซึม ออกมาจากไม้ที่เผา มาจุ่มน้าและน้ามันแล้วนามาลูบถูตามร่างกายทาให้กลิ่นหอมติดตัวทนนาน ณ จุดนี้ เป็นที่มาของน้าหอมฝรั่งเศส ซึ่งตั้งชื่อเครื่องหอมผ่านควันไฟนี้ว่า PREFUME ซึ่งมาจากภาษาบาลาตินสอง คา คือ PER แปลว่า THROUGH หรือ ผ่าน และ FUME แปลว่า SMOKE หรือคัน ชาวอียิปต์ได้ค้นพบเครื่องหอมนี้กว่า ๓ พันปีล่วงมาแล้วในสมัยฟาโรห์ ต่อมาพวกกรีกและโรมัน เรียนรู้ เครื่อ งหอมจากอี ยิปต์ และในต้นคริสต์ศ ตวรรษที่ ๑๒ พวกคริส ต์เตีย นที่มาทาสงครามศาสนา (CRUSADERS) ได้นาเครื่องหอมจากดินแดนปาเลสไตน์ ไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส จากนั้นไม่นานจึงได้มี การค้าขายเครื่องเทศและเครื่องหอมกันอย่างกว้างขวาง ระหว่างตะวันออกกับยุโรป และในสตวรรษที่ ๑๕ น้าหอม (PERFUME) กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในยุโรป แต่หลักฐานบางตาราอ้างว่า ในสมัยโบราณชาวจีน ฮินดู อียิปต์ อิ สราเอล อาหรับ กรีก และ โรมัน ได้รู้จักและเรียนรู้ศิลปะของการทาเครื่องหอมมานานแล้ว แม้ในคัมภีร์ใบเบิ้ลก็ปรากฏว่ามีสูตรของ การทาน้าหอมอยู่ด้วย เครื่องหอม ของหอม เป็นส่วนประกอบที่สาคัญในเครื่องสาอางทุกชนิด ยกเว้น เครื่องสาอางของ ผู้เป็นโรคภูมิแพ้ ผิวหนังแพ้ง่ายจาเป็นจะต้องใช้เครื่องสาอางพวก NON-ALLERGENIC ซึ่งผลิตขึ้นมาเป็น พิเศษ

ประวัติศาสตร์น้าหอม. (๒๕๕๖). สืบค้นเมื่อ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก www.ohperfume.com/wp/๒๘/๐๔/๒๐๑๓/ประวัติศาสตร์น้าหอม

ชาวอียิปต์โบราณได้ค้นพบการทาเครื่องหอมมากว่า ๓ พันปี


หน้า ๔

บทที่ ๒ แหล่งที่มาของเครื่องหอม

จันทนา ภู่เจริญ. เก้ากลิ่นอยุธยา. สืบค้นเมื่อ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก www.๙klin.com

บุหงาทรงหัวใจ วัตถุดิบที่นิยมใช้ในการทาเครื่องหอมนั้น สามารถจาแนกได้เป็น ๒ แขนงใหญ่ ๆ คือ ๑.ของหอม จากธรรมชาติ ซึ่งมักได้จากดอก เปลือก เมล็ดของพืช รวมถึงได้จากส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ และ ๒.ของหอม ที่ได้จากสารสังเคราะห์ ที่มนุษย์ได้คิดค้นและมีการปรุงแต่งขึ้นมาจากสารเคมี และผสมผสานให้มีกลิ่นหอม ตามธรรมชาติ


หน้า ๕

๑.ของหอมจากธรรมชาติ ๑.๑ ของหอมจากสัตว์ ๑.๑.๑ AMBERGRIS AMBERGRIS เป็นสัตว์วัตถุได้จากมูลของปลาวาฬพันธุ์สเปิร์ม แหล่งที่มาของ AMBERGRIS เกิดจากสารซึ่งหลั่งออกมาจากปลาวาฬสเปิร์ม เป็นของเหลวที่ขับออกมาจากลาไส้ของปลาวาฬและ ของเหลวชนิดนี้ มีคุณสมบัติพิเศษคือเมื่ออยู่ในน้ามันจะอ่อนนุ่ม แต่เมื่อพ่นน้ามาอยู่ในที่ที่มีลมโกรกจะ กลายเป็นของแข็งเรียก อาพันมูลปลา มีสีขาว สีดา สีเทา และถือกันว่าอาพันปลาสีเทาเป็นอาพันปลาที่ดี ที่สุดราคาแพงมาก โดยจะให้สารที่มีความหอมคือ AMBERGRIS ร่วม BENZOLC ACID และสารอื่นเช่น CHOLESTEROL และ FATTY OIL ระเหยง่ายเมื่อถูกความร้อน ติดไฟเมื่ อเผา และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ติดทนมากๆ ประโยชน์ของ AMBERGRIS ใช้สกัดทาสารตรึงกลิ่นในเครื่องหอมต่างๆ

รู้หรือไม่ ? ที่ประเทศอังกฤษ เคน วิลแมน ชายชราผู้พบ มูลปลาวาฬหัวทุย หนักเกือบ ๓ กิโลกรัมบน ชายหาดเข้าโดยบังเอิญ กลายเป็นเศรษฐีเมื่อ สามารถขายมู ล ปลาวาฬก้อนนั้นได้ ในราคา มากกว่า ๕ ล้านบาท ที่มา: news.voicetv.co.th

๑.๑.๒ CASTOREUM หรือ CASTOR CASTOREUM หรือ CASTOR เป็นสารที่หลั่งออกมาจากกะเปาะใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ของบี เวอร์ เป็นน้าหอมจากต่อมในไข่ดันกลิ่นของ CASTOREUM เมื่ออยู่มรสภาพที่เข้มข้น จะมีกลิ่นแรงไม่ชวน ดม จะกลิ่นหอมเมื่อได้รับการเจือจาง ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เป็นตัวทาให้หอมติดทนนานในน้าหอมที่มีกลิ่น ฉุนเช่น กลิ่น CHYPRE BOUQUET ประโยชน์ของ CASTOREUM ใช้เป็นตัวตรึงกลิ่นให้หอมติดทนในน้าหอมใช้ผสมในน้ายาขัด เครื่องหนัง


หน้า ๖

๑.๑.๓ CIVET – ชะมดเช็ด, ชะมด CIVET – ชะมดเช็ด, ชะมด เป็นน้ามันที่ขับถ่ายจากกะเปาะของต่อมคู่ใกล้เคียงกับอวัยวะ สืบพันธุ์ของชะมดทั้งเพศผู้และเพศเมีย ชะมดมีส่วนประกอบที่สาคัญคือ ดีโตน ที่เรียกว่า ZIRETONE ซึ่ง เป็นสารที่สาคัญ ใช้ตรึงกลิ่นในหัวน้าหอม ชะมดอีกอย่างหนึ่ง มาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่า ชะมดเชียง (MUSK) ซึ่งได้มากต่อมที่อยู่ใต้ท้องชะมดที่เป็นตัวผู้เท่านั้น ประโยชน์ของชะมดเช็ด ใช้ผสมทาน้าปรุง น้าอบไทย ใส่ในยาหอม แก้ลม หรือผสมในยาสูบ จะทาให้ยาสูบมีกลิ่นดี ๑.๑.๔ MUSK MUSK เป็นสิ่งขับถ่ายที่ได้จากกะเปาะข้างๆ อวัยวะสืบพันธุ์ของกวางชะมดตัวผู้ MUSK มี ลักษณะหนืดคล้ายน้าผึ้ง มีสีน้าตาลปนแดง อยู่ในกะเปาะที่เป็นถุง หนัง เมื่อแห้ง จะเป็นเกล็ด และมีสี น้าตาลดา ส่วนประกอบที่สาคัญ คือ CHILESTROL, FAT, WAX, ALBUMIN และสารให้กลิ่นซึ่งเป็นสาร ให้กลิ่นซึ่งเป็นสารพวก KETONE ที่เรียกว่า MUSCONE โดยมีอยู่ประมาณ ๒๗ ประโยชน์ของ MUSK เป็นตัวตรึงกลิ่นให้หอม ทาให้เครื่องหอมมีกลิ่นทนนาน ทาน้าปรุงน้า อบไทย บุหงาแห้ง ฯลฯ ๑.๒ ของหอมจากพืช กลิ่นหอมที่ได้จากพืชมี ๒ ลักษณะคือ - กลิ่นหอมสกัดเป็นหอม ESSENTIAL OIL - จากยางของไม้ (RESIN, GUM, EUSEDTALES) ของหอมที่ได้จากส่วนต่างๆ ของพืช จะได้จาก ๑. ดอก เช่น ดอกกุหลาบ คาร์เนชั่น มะลิ อิลัง อิลัง จาปา กระดัง งา จันทร์กะพ้อ พิกุ ล ชามะนาด ลาเจียก เป็นต้น ๒. ใบ เช่น ใบส้ม ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบมินท์ ๓. เมล็ด เช่น ลูกจันทร์ พริกไทยดา ๔. เปลือกลาต้น เช่น อบเชย ชะลูด ๕. ราก หรือ เหง้า ๖. ทั้งลาต้นและใบ เช่น ไม้จันทร์ กฤษณา ซีดาร์ ๗. ยางไม้ เช่น หนาด กายาน


หน้า ๗

ลักษณะ คุณสมบัติและประโยชน์ของพันธุ์ไม้หอม พันธุ์ไม้หอมที่นามาใช้ประโยชน์ในเรื่องของเครื่องหอม มีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดให้ความ หอมต่างกันออกไป ตามลักษณะของคุณสมบัติพันธุ์ไม้นั้นๆ

๒.ของหอมจากการสังเคราะห์ เป็นเครื่องหอมที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นมาจากสารเคมี และผสมผสานให้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เช่น ดอกมะลิ (JASMINE) ทาจากน้ามันดาจากถ่านหิน (COAL TAR) กลิ่นกุหลาบก็เช่นเดียวกัน ทาจาก น้ามันดาจากถ่านหินและแอลกอฮอล์กับน้ามันดอกหญ้า (CITRONELLA) กลิ่นคาร์เนชั่นทาจากน้ามันไม้ (CLOVE) การเปลี่ยนแปลงของน้​้าหอม หัวน้าหอมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งกายภาพ ทางเคมี และทางเภสัชวิทยา ทั้งนี้เนื่องจาก น้ามันหอมเป็นสารที่ไวต่อแสง อุณหภูมิอากาศ เมื่อหัวน้าหอมถูกแสงนานจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม กลิ่นจะ เปลี่ยนไป การป้องกันไม่ให้เสื่อมสภาพ ต้องเก็บไว้ในที่มืด หรือเก็บในขวดที่ป้องกันแสงแดดได้ดีปิดฝาให้ สนิท


หน้า ๘

บทที่ ๓ กรรมวิธีในการผลิตเครื่องหอมไทย

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/๒๐๑๐/๐๘/K๙๕๖๒๕๔๗/K๙๕๖๒๕๔๗.html

เครื่องหอมของไทย ไม่ปรากฏว่าได้นามาใช้ตั้งแต่ยุคสมัยใด เพียงแต่คาบอกเล่ากันมาว่า ทากัน มาตั้งแต่สมัยโบราณและสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเรียนรู้มาจากชาวจีนและอินเดีย ส่วนน้าหอม (PERFUME) ได้เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่ง คุณลาวัลย์ โชตามระ กล่าวว่าเครื่องหอมแสดง ถึงความโก้หรู ซึ่งมีตั้งแต่โลชั่น เฟอร์ฟูม โคโลญจน์ และหัวน้าหอมเฟอร์ฟูม จากหนังสือ เครื่องหอมและ ของชาร่วย ของคุณ โสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้เขียนไว้ว่าจึงเป็นนิยมของคนชั้นสูงในขณะนั้นที่เรียกว่ า เห่อของนอก และได้รับอิทธิพลสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน เครื่องหอมของไทยนั้นมีหลากหลายชนิด ตามความเป็นไทย โดยการใช้วัสดุเครื่องหอมสมุนไพร ซึ่งหาได้ภายในประเทศแต่ปัจจุบันเครื่องปรุง บางอย่างต้องปรุงมาจากต่างประเทศ การทาเครื่องหอมมี สูตรที่คล้ายๆ กันแต่การปรุงแต่งให้มีคุณภาพขึ้นอยู่กับวิธีการและประสบการณ์ของผู้ปรุง การปรุงเครื่อง หอมในสมัยก่อนจะมีกลิ่นหอมเย็นตามธรรมชาติ เนื่องจากได้มาจากกลิ่นหอมดอกไม้ เนื้อไม้ ยางไม้และ ชะมด โดยวิธีอบร่าหลายๆ ครั้ง จนทาให้เกิดกลิ่นหอม เมื่อปรุงแล้วนามาใช้ดมใช้ทา ใช้อบเป็นเครื่องหอม บารุง ผิวอย่า งดี บางชนิด สามารถใช้รั กษาแก้อาการคันและเกิ ดผดผื่นได้อีก ด้วย ดัง นั้นคนไทยจึง ควร อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงนี้ให้ดารงสืบไป ซึ่งนอกจากจะประหยัดค่านาเข้าน้าหอมจากต่างประเทศ


หน้า ๙

ปีละหายล้านบาทแล้ว ยังเป็นการช่วยส่งเสริมอาชีพของคนไทยด้วยกันอีกด้วย ซึ่ง เป็นการแก้ไขเป็นการ แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปอีกทางหนึ่งเช่นกัน

๑.วิธีการผลิตเครื่องหอมของไทย การผลิตเครื่องหอมของไทยมีตารามากมายตามคาบอกเล่าต่อๆ กันมา ผู้ผลิตเครื่องหอมได้ดี จะต้องเป็นคนช่างสังเกตอาศัยความชานาญและประสบการณ์เป็นสาคัญ ก่อนที่จะผลิตเครื่องหอม จะต้องรู้จักถึงสิ่งที่จะนามาใช้ในการทาเครื่องหอมเสียก่อน เพราะ บางครั้งในการบอกสัดส่วนอาจมีการผิดพลาดได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้ดอกไม่ได้ตามความ ต้องการตามที่หนังสือ เครื่องหอมและของชาร่วย ของคุณโสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้ยกตั วอย่างไว้ว่า “การทาน้าอบไทยแต่ก่อนใช้น้าฝนต้มซึ่งตามบ้านจะใช้น้าฝนรับประทานแต่ปัจจุบันแปรเปลี่ยนไป ต้องใช้ น้าประปาแทนสิ่งนี้คือความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมทาให้สูตรที่แจ้งไว้คลาดเคลื่อน”๒ ฉะนั้น จะผลิตเครื่องหอมชนิดใดจึงควรมีการทดสอบว่าใช้ไ ด้ตามความต้ องการหรือไม่ แต่ถ้ากลิ่นยังไม่ถูกใจ อาจจะเพิ่มเติมส่วนผสมอื่นได้เช่น ให้เป็นไปตามความเหมาะสม การปรุงหรือการทาเครื่องหอมทุกชนิดเมื่อผสมเสร็จแล้วต้องเขย่าหรือหมักเพื่อให้เกิดการรวมตัว เป็นกลิ่นเดียวกันเสียก่อนจึงจะนามาดมกลิ่นเพื่อทดสอบว่าพอใจแล้วหรือยังดังนั้น การผสมให้เจือจางก่อน จะช่วยทาให้ประหยัดเวลาในการหมักและประหยัดของที่จะเสียไปจากการผสม การผสมหรือปรุงนี้จะเป็น จะต้องคอยสังเกตและตรวจสอบกลิ่นทุกวันทุกครั้งที่มีการเติมกลิ่นแต่ละกลิ่นลงไปจะต้องทาการจดบันทึก สัดส่วนของการผสมและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นเมื่อเป็ นที่พอใจในกลิ่นที่ปรุง แล้วนั้นจึง จะทา เครื่องหอมชนิดนั้นเป็นตัวอย่างแล้วนาไปทดลองใช้ เมื่อได้เป็นผลเป็นที่พึงพอใจแล้วจึงจะทาการปรุงเพื่อ เพิ่มปริมาณตามความต้องการ ให้มากขึ้นต่อไป ฉะนั้นวิชาเครื่องหอมไม่ใช่สิ่งที่เรียนรู้และเข้าใจกันอย่างง่ายนัก เพราะเป็นสิ่ งที่มองไม่เห็นจับ ต้องไม่ได้นอกจากจะทาความเข้าในในวิธีการทาตามสูตรอย่างถ่องแท้แล้ว คุณสมบัติพิเศษที่จาเป็นสาหรับ ผู้ที่มีอาชีพนี้คือ จะต้องเป็ นผู้ที่มีจมูกไวสามารถแยกกลิ่นต่างๆ ได้อย่างละเอียด ผู้มีอาชีพดมน้าหอม ประมาณ ๓๕๐คนทั่วโลกมีอยู่ไม่เกิน ๑๐ คนที่ถือว่าเป็นจมูกมหาราชและมีผู้ที่โดดเด่นคือ นายเบอร์นาร์ด แชนท์ ซึ่งสามารถแยกกลิ่นได้ถึง ๓,๐๐๐ กลิ่น ในระยะเวลา ๓๐ ปี เขาปรุงแต่งงกลิ่นมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ กลิ่ น จากหนั ง สื อ เครื่ อ งหอมและของช าร่ ว ย ของคุ ณ โสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้ อ ธิ บ าย ความสามารถของนายเบอร์นาร์ด แชนท์ เพิ่มเติมได้อีกว่า “เขาสามารถปรุงกลิ่นสัตว์ป่าตามธรรมชาติใน แถบเอเชีย ให้กับ พิพิธภั ณฑ์แห่ งประวัติศาสตร์ธ รรมชาติของอเมริ กา เพื่อใช้ สร้างบรรยากาศในห้อ ง นิทรรศการเรื่องชีวิตสัตว์ป่าในเอเชียที่มหานครนิวยอร์ก”๓ ดังนั้นวิชาเครื่องหอมถือว่าเป็นวิชาแขนงหนึ่งที่ ๒ ๓

โสภาพรรณ อมตะเดชะ. เครื่องหอมและของชาร่วย. (กรุงเทพฯ : ศรีสยามการพิมพ์, ๒๕๓๖) หน้า ๒๖. เรื่องเดียวกัน หน้า ๒๗.


หน้า ๑๐

เข้าใจยาก วิชานี้จะไม่สาเร็จแก่ผู้ใช้เวลาและความตั้งใจที่ไ ม่ถ่องแท้แต่ต้องศึกษาด้วยความจริง จังและ ความพากเพียรจึงจะประสบผล

๒.วิธีการสกัดน้ามันหอม การสกัดน้ามันหอมได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลาดับ ตั้งแต่การเผาไม้หอมนาน้ามันที่ไหลซึมออกมา จากไม้ ใช้น้ามันส่วนนี้ไปผสมกับเครื่องหอมได้ ต่อมามนุษย์สังเกตว่า การสกัดน้ามันหอมไม่สามารถใช้ได้ กับไม้ทุกชนิด มีไม้บางประเภทเท่านั้นที่สามารถทาได้จึงคิดค้นวิธีใหม่โดยการหุงด้วยความร้อน วิธี นั้นก็คือ ใช้น้ามันจากเมล็ดพืชบางชนิด เช่น น้ามันมะกอกใส่ภาชนะแล้วตั้งขึ้นไฟ จากนั้นเอาดอกไม้หรือไม้หอมป่น จนเป็นผง ใส่ลงไปเคี่ยว ความร้อนของน้ามันก็จะไประเบิดต่อมน้ามันหอมที่มีอยู่แต่วิธีนี้มีข้อจากัดอีก เพราะดอกไม้ที่นามาสกัดไม่สามารถใช้ได้กับดอกไม้ทุกชนิด ถ้าเป็นกุหลาบหรือกระดังงาไม่มีปัญหา แต่ถ้า ดอกมะลิหรือดอกไม้อื่นที่ไม่สู้ความร้อนกลิ่นก็จะเปลี่ยนไป ต่อมามนุษย์ได้ใช้ความพยายามคิดค้นโดยการหีบเพื่อเอาน้าหอม ด้วยวิธีทาไม้หอมที่ไม่ใช่ไม้ยืน ต้น เช่น ตะไคร้หอม หรือไม้อื่นที่บอบบางหน่อยเข้าเครื่องหนีบแบบหนีบเอาน้าอ้อย พฤกษาชาติที่ถูก หนีบก็จะคายน้าเลี้ยงที่มีอยู่ในลาต้นมารวมกันกับน้ามันหอม น้าเลี้ยงซึ่งหนักกว่าจะนอนก้นส่วนน้ามัน หอมก็จะลอยอยู่ส่วนบนของภาชนะ วิธีสกัดดังกล่าวนี้ ได้ใช้มาเป็นพันๆ ปี จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ แพทย์ชาวอาหรับชื่อ “อวิเชนนา” ได้ค้นพบวิธีสกัดเอาน้ามันหอมจากดอกไม้ชนิดแรกที่เป็นดอกไม้ และ ดอกไม้แรกที่เป็นดอกไม้ประวัติศาสตร์ที่นามาทดลองคือ ดอกกุหลาบ วิธีกลั่นน้ามันหอมจากดอกไม้หอม ของอวิเชนนา ได้แพร่หลายในหมู่ชาวอาหรับต่อ มาการสกัดน้ามันหอมได้พัฒนามาเป็นลาดับจนกระทั่ง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นได้มีอยู่ ๕ วิธีด้วยกัน ดังนี้ ๑. วิธีสกัดโดยใช้น้ามันร้อน วิธีนาเอาพืชที่มีกลิ่นหอมที่ต้องการจะสกัด ต้มกับน้ามันร้อนเดือด ไอน้าจะพาน้าหอมออกมาผ่านไอน้าเข้าเครื่องควบแน่น ไอน้าและไอของน้ามันหอมจะกลายเป็นของเหลว น้ามันที่ได้นี้ยังมีความชื้น ละลายแทรกซึมอยู่ ต้องทาให้แห้งโดยเขย่ากับสารดูดความชื้นตั้งค้างคืนแล้ว กรอง จะได้ น้ามันหอมที่ใ สสะอาดตามที่ต้องการวิ ธีสกัดโดยใช้น้าข้อนี้นิยมใช้สกัดพืชที่มีราคาถูกเช่ น น้ามันตะไคร้ และน้ามันตะไคร้หอม ๒. วิธีสกัดโดยใช้ไอน้า วิธีนี้ต้องมีหม้อต้มน้าต่างหาก ส่วนพืชที่จะสกัดบรรจุไว้ในหม้อกลั่นผ่าน ไอน้าร้อนจากหม้อน้าเข้าไปยังหม้อกลั่นผ่านไอร้ อน จากหม้อน้าไปยังหม้อกลั่น ภายใต้ความกดดัน ๔๐๕๐ ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ไอน้าจะพาเอาน้ามันหอมระเหยออกมาผ่านไอน้าผสมน้ามันหอมเข้าเครื่อง ควบแน่น จะได้ผสมน้ามันหอมเมื่อใส่กรวยแล้วแยกเอาน้าซึ่งอยู่ส่วนล่างออกเอาน้ามันหอมไปทาให้แห้ง โดยเขย่ากับสารดูดความชื้น


หน้า ๑๑

๓. วิธีสกัดด้วยตัวทาละลาย วิธีนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น ๒ วิธี คือ สกัดที่อุณหภูมิและสกัดโดยใช้ ความร้อนช่วย สกัดที่อุณหภูมิของห้องก็คือ เอาพืชที่มีกลิ่นหอมหรือดอกไม้หอม แช่ด้วยตัวทาละลายที่ อุณหภูมิของห้องตัวทาละลายที่ใช้ได้แก่ ปิโตรเลียม อีเทอร์ อะซิโตน หรือ แอททิล แอลกอฮอล์ อาจจะแช่ ๒๙-๔๘ ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ๔. วิ ธี ส กั ด โดยใช้ ไ ขมั น หลั ก การของวิ ธี นี้ มี ง่ า ยๆคื อ เกลี่ ย ไขมั น ให้ ทั่ ว หนาประมาณครึ่ ง เซนติเมตรเอาดอกไม้ที่จะสกัดมาเกลี่ยให้เต็มถาด ถาดไม้ควรมีหลายๆ ใบ เพื่อเกลี่ยดอกไม้ให้เต็มทุกถาด แล้ววางซ้อนกัน ถาดใบบนต้องมีฝาปิดสนิทตั้งทิ้งไว้ ๒๔ ชั่วโมง ให้เปลี่ยนเอาดอกไม้เก่าออก เอาดอกไม้ ใหม่วางเกลี่ยลงไปแทนที่ ทาดังนี้ติดต่อกันประมาณ ๗ วัน จนแน่ใจว่า ไขมันดูดเอากลิ่นหอมหรือน้ามัน หอมไว้ในตัวมันมากพอแล้ว ๕. วิธีบีบหรืออัด วิธีนี้ได้แยกน้ามันออกจากผิวส้ม ผิวมะนาว ผิวมะกรูด เมื่อปอกเอาเปลือกส้ม หรือผิวมะกรูด ใส่เข้าไปในเครื่องอัดหรือบีบ ภายใต้ความกดดันสูงๆ จะทาให้น้ามันปนกับน้าไหลออกมา และกรองให้สะอาดแล้วก็นาไปใส่กรวยก็จะสามารถแยกน้ามันหอมของผิวส้มหรือผิวมะกรูดออกจากกันได้ เอาไปเขย่ากับสารดูดความชื้นแล้วกรองเอาน้ามันหอมที่สะอาด หัวน้าหอมบริสุทธิ์ เป็นของเหลวข้ นออกสีน้าตาล แต่ละชนิดมี สีเข้ม ข้นจัด เมื่อน ามาผสมกั บ แอลกอฮอล์ซึ่งจะเป็นตัวละลายกลิ่นในขณะที่แอลกอฮอล์ระเหยไปเราเรียกว่า น้าหอม มีกลิ่นฟุ้งนอกจาก แอลกอฮอล์แล้ วหัวน้าหอมยัง สามารถผสมกั บสารอื่ นๆ ที่ร ะเหยได้ และอาจมีชื่ อต่างกั นออกไป เช่ น โคโลญจน์ หรือกระดาษหอม

๓.การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ มีความจาเป็นมากสาหรับการทาเครื่องหอมและของชาร่วยมี วิธีการดังนี้ การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ส้าหรับการท้าเครื่องหอม ๓.๑ เครื่องมือการทาเครื่องหอมจะมีโถกระเบื้อง หม้อเคลือบ โกร่ง กระบวย ก่อนใช้ควรล้างทา ความสะอาดและผึ่งให้แห้ง ขณะที่ทาน้าอบไทยไม่ควรล้างน้า ควรใช้การเช็ดและผึ่งแดดให้แห้งหลังจากที่ ใช้แล้วก่อนเก็บสามารทได้ ๒ วิธี คือ ถ้าไม่สกปรกมาก ให้ใช้เพียงแค่ผ้าเช็ดและผึ่งแดดให้แห้งแล้วนาไป เก็บใส่ตู้ แต่ถ้าสกปรกให้ล้างน้าสะอาดเช็ดแล้วผึ่งแดดให้แห้ง สาเหตุขณะที่ทาน้าอบไทยไม้ให้ล้าง เพราะ ถ้าล้างแล้วเช็ดให้แห้ง ยังมีติดอยู่ทาให้น้าอบไทยบูด หลังจากที่ใช้ง านเสร็จโดยบางใบใช้เฉพาะอบกลิ่ น หอมๆ จะยังคงอยู่การนามาใช้ครั้งต่อไป จะทาให้มีความหอมของภาชนะติดอยู่แล้วการอบครั้งต่อไปจะทา ให้เวลาน้อยลง สาหรับผ้าขาวบางหลังจากเลิกใช้งานแล้วซักแล้วนาไปตากให้แห้งจึงเก็บได้ ๓.๒ ตะคัน ทวน เตาอังโล่ เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้วควรนาขี้เถ้าออกให้หมดส่วนตะคั นถ้า ติดกายานให้อังไฟให้ร้อนแล้วใช้ไม้ขูดออกให้สะอาดและนาไปเก็บ


หน้า ๑๒

๓.๓ เครื่องปรุงที่เหลือจากการนามาใช้ เช่น แป้งหิน แป้ งร่า แป้งนวล ควรผึ่งแดดให้หมดกลิ่ น สาบและแห้งสนิทก่อนจึงนาไปเก็บใส่ถุง หรือนาไปอบควันเทียนเก็บไว้ในโถเพื่อให้แป้งมีกลิ่นหอม ส่วนหัว น้าหอมกลิ่นต่างๆ เช่น กายาน ชะลูด จันทน์ เทศ ให้แยกเก็บไว้เป็นส่วนๆ ต่างหากห้ามนามาปนกัน

๔.วิธีทาเครื่องหอม สามารถทาได้ ๓ วิธีคือ การอบ การร่า และการปรุง การอบ หมายถึง การนามาปรุงกลิ่นด้วยควัน หรือนามาปรุงกลิ่นด้วยดอกไม้หอม การอบให้มี กลิ่นหอมเพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่ง กลิ่นหอมจะเข้าไปในของน้าอบ โดยวัตถุที่ต้องการให้มีกลิ่นนั้น อยู่ใน ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท จะอบด้วยเทียนอบ หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีกลิ่นแรงมักจะไมใช่ดอกไม้ที่มี กลิ่นหอมเลี่ยนๆ หรือมีกลิ่นเปรี้ยว ๔.๑ การอบ การอบ ดอกไม้มี ๒ ชนิด คือ การอบน้า และการอบแห้ง ๔.๑.๑ การอบน้าคือ การลอยดอกไม้บนน้า เช่น อบน้าสาหรับรับประทาน อบน้าเชื่อม อบ น้าสรง อบน้าเพื่อจะทาน้าอบไทย เรียกว่าน้าดอกไม้สด การอบดอกไม้บนน้าควรปฏิบัติดังนี้ ก. ไม่ควรนาดอกไม้ใส่ลงภาชนะให้เต็ม ควรเว้นที่ว่างไว้ เพราะกลิ่นของดอกไม้จะได้ลงถึงน้า ข. ควรใช้ภาชนะที่มีลักษณะปากกว้าง ตื้น มีฝาปิด เวลาอบใส่น้าเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ความ หอมที่ทั่วถึง ค. ควรวางภาชนะให้เข้าที่เสียก่อน แล้วค่อยใส่น้า เวลานาดอกไม้ลงลอย น้าจะต้องนิ่งแล้ว จึงลอยดอกไม้เบาๆ ถ้าน้ากระเทือน จะทาให้เข้าดอกไม้ช้าได้ ทาให้มีกลิ่นเหม็นเขียว ง. ดอกไม้ประเภทที่มีกลีบบาง เช่น ชามะนาด จันทน์กะพ้อ สารภี พิกุล ควรใส่จอกหรือ ภาชนะเล็กๆ ลอย เพื่อป้องกันการเกิดกลีบดอกช้า จ. ดอกไม้ที่ลอยน้า ควรลอยตามเวลาที่ดอกไม้บาน ไม่ควรแช่ทิ้งไว้นานเพราะหัวน้าหอมลง อยู่ในน้าหอมแล้ว การอบดอกไม้บางชนิด อบได้นาน ๖-๘ ชั่วโมง เช่น มะลิ กุหลาบมอญ พิกุล ลาเจียก ชามะนาด ราตรี ดอกแก้ว พุทธชาด กระดังงา ดอกไม้บางชนิดลอยได้ประมาณ ๑-๓ ชั่วโมง เช่น ดอก ลาดวน ขจร สารภี ส่าหล้า กรรณิการ์ แก้ปัญหาได้โดยการนาดอกไม้ใส่จอกเล็กๆ ลอย ฉะนั้น การลอย ดอกไม้ควรลอยเวลาค่า และนาขึ้นตอนเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ฉ. การลอยดอกไม้เพื่อให้กลิ่นหอม ควรทาการศึกษาว่า ดอกไม้ชนิดใดบานในเวลาใด เช่น - ดอกที่บานเวลาเช้ามืด จะส่งกลิ่นเวลาประมาณ ๐๕.๐๐-๐๖.oo น. คือดอกพิกุล ดอก สารภี ดอกจาปา ดอกสายหยุด ดอกจันทน์กระพ้อ


หน้า ๑๓

- ดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. ได้แก่ ดอกลาเจียก ดอกมะลิ ดอก พุทธชาด ดอกส้ม ดอกลาดวน - ดอกไม้ที่บานเวลาค่า เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. ได้แก่ดอกชามะนาด ดอกขจร ดอก กรรณิการ์ ฉะนั้น ดอกไม้ที่ออกกลิ่นเวลาใด ต้องคอยอบเวลานั้น พอหมดกลิ่นรีบเอาออกก่อนที่ดอกไม้ จะช้า จ. ดอกไม้ที่จะนามาอบถ้ามีต้น ก็เกิดใช้ในเวลาที่ต้องการได้เลย แต่ถ้าซื้อตอนเช้า เพราะยัง พรมน้าจากจะทาให้กลิ่นหอมของดอกไม้หมดไป และดอกไม้จะช้า เรียกว่า ดอกไม้สาลักน้า ๔.๑.๒ การอบแห้ง คือ การวางดอกไม้บนขนม หรือสิ่งของต่างๆ ควรจะใช้ภาชนะเล็กๆ วาง ไว้บนของที่อยู่ในโถ มีฝาปิดสนิท การอบแห้งควรอบตามเวลาดอกไม้บาน เมื่อถึงตอนเช้าควรเอาดอกไม้ ออกถ้าทิ้งไว้นานอาจทาให้กลิ่นเสีย วิธีใช้ดอกกระดังงาดอกไม้ชนิดอื่นพอเก็บก็นามาอบได้เลย แต่ดอกกระดังงาต้องมาอบควัน เทียนเสียก่อน บางครั้งเรียกว่า “กระดังงาลนไฟ” จากหนังสือ เครื่องหอมและของชาร่วย ของคุ ณโสภา พรรณ อมตะเดชี ได้กล่าวถึงวิธีการลนไฟไว้ว่า โดยใช้มือรวบปลายกลีบดอกแล้วคั่วดอกลนไฟให้ตายนิ่ง เวลาจะปลิดกลีบดอกออกจากดอก ใช้มือจับที่กระเปาะดอกให้กลีบรวงจะทาให้กลิ่นหอมแรงกว่าปลิดทีละ กลีบ แล้วฉีกแต่ละกลีบตามแนวยาว กลีบละ ๒-๓ เส้นดังภาพ การใช้เทียนอบ เทียนอบใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้จะต้องจุดไส้เทียนให้ไหม้ถึงตัวเทียน เนื่องจากกลิ่น หอมอยู่ที่ตัวเทียน เทียนที่ใช้แล้ว เก็บไว้นานๆ ไส้เทียนจะแข็ง จะต้องจุดไฟก่อนเพื่อให้ไส้เทียนอ่อนตัว


หน้า ๑๔

จันทนา ภู่เจริญ. เก้ากลิ่นอยุธยา. สืบค้นเมื่อ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก www.9klin.com

การอบด้วยเทียนน้​้าอบ ๔.๒ การร่้า การร่า หมายถึง การอบกลิ่นหอมหลายอย่าง และทาโดยภาชนะเผาไฟแล้วใส่เครื่องหอม เพื่อให้ เกิดควันที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมของยางไม้ กลิ่นน้ามัน กลิ่นเนื้อไม้ ฯลฯ การร่าเครื่องหอมต้องใช้ ภาชนะที่สาคัญ คือ โถกระเบื้อง การที่จะร่าต้องใส่ทวนไว้ตรงกลางโถ นาตะคันเผาไฟให้ร้อน แล้วนาไปวง ไว้บนทวน ดังภาพ

จันทนา ภู่เจริญ. เก้ากลิ่นอยุธยา. สืบค้นเมื่อ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก www.9klin.com

การท้าแป้งร่้า


หน้า ๑๕

๔.๓ การปรุง การปรุง หมายถึง การรวมของหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ในกรณีการปรุงเครื่องหอมคือการนา แป้งพิมเสน หัวน้าหอม ชะมดเช็ด มาบดผสมเข้าด้วยกัน แล้วนาไปปรุงกับน้าอบไทย หรือเครื่องหอมอื่นๆ แต่มีข้อสังเกตตรงที่ว่า การที่จะใส่หัวน้าหอมชะมดเช็ด จะต้องบดแป้งนวล หรือแป้งหินเสียก่อนเพื่อให้ แป้งซับน้ามันให้หมดแล้วจึงนาไปผสมหรือกวนน้าต่อไปเช่น การทาน้าอบไทยจะต้องอบร่าและปรุงจึงถือ ได้ว่าประสบความสาเร็จในการทาน้าอบไทย

จันทนา ภู่เจริญ. เก้ากลิ่นอยุธยา. สืบค้นเมื่อ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗, จาก www.9klin.com

น้​้าอบไทย


หน้า ๑๖

บทที่ ๔ เครื่องหอมไทยประเภทปรุงกลิ่น

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/08/K9562547/K9562547.html

เป็นวิธีการปรุงเครื่องหอมแบบไทยๆ ที่มีสืบต่อกันมานานตั้งแต่อดีต จนมาถึงปัจจุบัน ก็ยังมีอยู่ แต่จะหาได้ยากนักที่จะเป็นการปรุงเครื่องที่ถูกวิธี ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องปรุงในการทาเครื่ องหอมประเภทปรุง กลิ่นมัก จะเป็น พืชสมุน ไพร หรือสิ่งที่ มาจากธรรมชาติ เช่ น ลาเจียก ดิ นสอพอง แก่น จันทน์เ ทศ ขี้ผึ้ ง พิมเสน ชะมดเช็ด ฯลฯ หรือแม้แต่กระทั่งพืชสมุนไพร ผลหมากรากไม้ที่หาได้ง่านที่ริวรั้ว เช่น ใบเตยหอม มะกรูด ดอกมะลิ กระดังงา กุหลาบ ฯลฯ ส่วนด้านในของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตก็หาได้จากในครัวแบบ ไทยๆ ของเราเอง เช่น ขวดโหล โถกระเบื้อง ผ้าขาวบาง กระบวยตักน้า เตาอั้งโล่ เทียนอบ เป็นต้น ซึ่ง เครื่ อ งหอมไทยประเภทปรุ ง กลิ่ น ที่ เป็ น ที่ นิย มและน่ า สนใจในวิ ธี การปรุง อุ ปกรณ์ และวัต ถุ ดิ บ เช่ น น้าดอกไม้สด น้าอบไทยไม่ใช้ดอกไม้สด ผ้าชุบน้าอบอย่างเปียก น้าปรุง ออดิโคโลญจน์ และน้าหอม โดย เครื่องหอมชนิดต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีวิธีการปรุงที่สลับซับซ้อนต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างมากใน ทุกขั้นตอน ซึ่งหากสนใจจะศึกษาวิธีการปรุง ก็คงไม่ยากเกินมือของคนไทยที่จะทาของไทยๆ ใช้เองใน ครัวเรื อน จากการศึกษาและค้นคว้ามาจากหนัง สือ “เครื่องหอมไทยและของชาร่วย” ซึ่ง จะกล่าวถึง


หน้า ๑๗

เครื่อ งปรุ ง เครื่องมือเครื่องใช้ วิธีทา อุป กรณ์ ในการทาและคุณประโยชน์ที่มี ของเครื่ องไทยประเภท ปรุงกลิ่นไว้ดังนี้

๑.น้าดอกไม้สด น้าดอกไม้สดนั้นเป็นที่นิยมกันมานาน ใช้ดื่ม เช่น น้าลอยดอกมะลิสาหรับดื่ม ทาน้าเชื่อม ปรุง ส่วนผสมของขนม ใช้ล้างมือ มือสาหรับเจ้านายใช้สรงน้พ เครื่องใช้ ๑. โถกระเบื้อง โถแก้ว หม้อเคลือบหรือภาชนะที่ปากกว้าง มีฝาปิด ๒. เทียนอบ หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ๓. ทวน หรือภาชนะเล็กๆ ลอยน้า วิธีที่ ๑ น้าฝนสะอาดที่ต้มแล้ว พักไว้ให้เย็นเวลาค่าลอยดอกมะลิ ลอยกระดังงาไทย ชามะนาด ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ อย่างก็ได้ เวลาเช้าให้นาดอกไม้ที่ลอยไว้ออกอย่างเบา มือ ถ้าเป็นดอกไม้ที่ซื้ออาจจะไม่มั่นใจว่า มียาฆ่าแมลงหรือไม้ ควรนาดอกไม้ใส่ภาชนะปากกว้าง แล้วลอย บนน้า วิธีที่ ๒ ล้างโถกระเบื้องหรือภาชนะที่จะใช้อบให้สะอาด นาทวนวางไว้กลางโถ แล้วจุดเทียนอบ ใส่ลงบนทวน อาจจะลนตรงกลางเทียนอบให้อ่อนแล้วติดไว้กับฝาโถ จะทาให้สะดวก ปิดไว้ประมาณ ๓-๕ นาที แล้วเปิดขณะที่มีควันเทียนอยู่ จึงเทน้าลงไปตามความต้องการ เพื่ อให้น้าผสมควันเทียนแล้วจึงค่อย ลอยดอกมะลิ ดอกพิกุล กระดังงาลนไฟ ชามะนาด อย่างใดอย่างหนึ่ง วิธีที่ ๓ นาน้าใส่โถกระเบื้องแล้ววางเทียนอบไว้บนทวน ตั้งไว้กลางโถ หรือติดเทียนอบที่ฝาตาม อัธยาศัย แล้วจุดเทียนอบไว้สัก ๑๐-๑๕ นาทีสัก ๒-๓ ครั้ง ใช้สาหรับอบน้า อบน้าเชื่ อม น้ากะทิ หรืออบ ขนม

๒.น้าอบไทยดอกไม้สด น้าอบไทยเป็นเครื่องหอมที่สาคัญที่สุด ในกระบวนการทาเครื่องหอม เพราะน้าอบไทยมีประโยชน์ หลายอย่าง ใช้ผสมทาแป้งร่า ทากระแจะเจิมหน้า ผสมกับดินสอพองแป้งหินแป้งร่าทาตัวยามร้อน แก้ผด ผื่น คัน และทาให้ ห อมชื่น ใจ สมท าบุห งาสด สรงน้ าพระ รดน้ าผู้ ใหญ่ และใช้ ในโอกาสต่า งๆ ได้ต าม ประสงค์


หน้า ๑๘

เครื่องใช้ ๑.ขวดโหล ๒.โถกระเบื้องสาหรับอบร่า ๓.โกร่ง สาหรับบดเครื่องปรุง ๔.พวน ใช้วางกลางโถกระเบื้องเพื่อรองรับตะคัน ๕.ตะคัน ใช้เผาไฟวางบนทวน สาหรับใส่เรื่องปรุงกายาน ๖.ผ้าขาวบาง ๗.กระบวนสาหรับตักน้าอก ๘.คีมคีบถ่าน ๙.เตาอั้งโล่ ๑๐.หม้อเคลือบ ใช้ต้มน้าหรือาจใช้สาหรับอบร่าก็ได้ ๑๑.เทียนอบ เครื่องปรุง ใบเตยหอม ๘ ใบ ชะลูด ๑ กามือ แก่นจันทน์เทศ ๑ กามือ ขี้ผึ้งแท้ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ น้าตาลทรายแดง ๑/๒ ช้อนโต๊ะ น้าตาลทรายขาว ๑/๒ ช้อนโต๊ะ พิมเสนอย่างดี ๑/๒ ช้อนชา แป้งหินหรือแป้งนวล ๕ ถ้วยตวง ดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอม เช่น มะลิ กุหลาบมอญ กระดัง งา จาปา ชามะนาด จันทน์ กะพ้อ ลาดวน พุทธชาด ดอกส้ม สารภี พิกล ลาเจียก เทียนกิ่ง หรือดอกไม้หอมที่พอจะหาได้ ๒-๓ อย่างก็ได้ ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้ว ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว หัวน้าหอมกลิ่นต่างๆ จานวน ๑ ออนซ์ เช่น กลิ่นกุหลาบ กระดัง งา มะลิ ลาเจียก พิกุล ชามะนาด จันทน์กระพ้อและไฮซิน ไฮซินคือช่วยน้าอบไทยหอมยิ่งขึ้น (หรืออาจเลือกกลิ่นตามใจชอบ) ต้องการให้กลิ่นไหนนา ก็ใส่กลิ่นนั้นมากกว่ากลิ่นอื่นๆ ผิวมะกรูด ๑/๔ ช้อนโต๊ะ จันทน์เทศป่นหยาบ ๕ ช้อนโต๊ะ


หน้า ๑๙

วิธีท้า ๑) วิธีชงน้​้าอบ ต้มน้าให้เดือด โดยใช้น้า ๓ ลิตร ต่อใบเตย ๕ ใบ ตัดเป็นท่อนๆ ชะลูด ๑ กามือ จันทน์เทศสับ ๑ กามือ กระดังงาไทย ๗-๘ ดอก ชงทิ้งไว้สักครู่ ประมาณ ๑๕-๒๐ นาที กรองด้วยผ้าขาวบางที่ซักสะอาด และแห้ง เปิดฝาปล่อยให้เย็น (ควรใช้น้าฝนจะดีกว่าน้าประปา) แต่ถ้าทาน้าอบไทยเป็นจานวนมาก ควรใช้วิธีต้มจะสะดวกกว่าน้า ๑๐-๑๒ ลิตร ชะลูด ๒ กามือ จันทน์เทศสับ ๑ กามือ นาไปตั้งไฟให้เดือด ลดไฟให้เดือด ลดไฟลง ต้มรุมๆ แล้วใส่ใบเตยตัดท่อนประมาณ ๘ ใบ กระดังงาไทย ๗-๘ ดอก ดูว่าสีของน้าต้มได้สีเหลืองเข้ม ถ้าต้องการให้สีเข้มอีกให้ต้มต่อไปจนได้สี ตามต้องการแล้วดับไฟพักไว้ประมาณ ๑๕-๓๐ นาที หรือพออุ่นกรองด้วยผ้าขาวบางที่แห้ง แล้วปล่อยให้ เย็น วิธีนี้ของน้าอบไทยจะเข้มข้นและมีกลิ่นหอมซึมเข้าไปในเนื้อดีกว่าวิธีแรก ๒) อบดอกไม้ พอค่าเมื่อน้าเย็นแล้ว ให้นาน้าที่เตรียมไว้แบ่งออกเป็นหลายๆ โถ (ถ้าไม่มีโถจะใช้หม้อเคลือบ แทนก็ได้) ใส่น้าให้น้อย เพื่อต้องการอบน้าหอมให้ทั่วกัน ก่อนอบดอกไม้ต้องวางภาชนะไว้บนที่เรียบและ อยู่กับที่ให้น้านิ่งเสียก่อนจึงค่อยลอยดอกไม้ คือไม่ต้องการให้น้ากระเทือนเพราะอาจทาให้ดอกไม้ช้าได้ การอบดอกไม้ควรอบในเวลาค่า ประมาณ ๑๙.๐๐ นาฬิกา เพราะดอกมะลิเริ่มแย้มบานค่อยๆ ปลิดก้านออกวางเบาๆ บนน้าที่เตรียมไว้ ดอกลาเจียกฉีกเป็นฝอย ดอกจาปาต้องปลิดเป็นกลีบๆ กระดังงา ไทย รวมกลีบดอกนาตรงกระเปาะลนควันเทียนแล้วฉีกตามกลีบสัก ๒ หรือ ๓ เส้น ฉีกตามยาว กุหลาบ มอญ ปลิดใช้แต่กลีบเช่นกัน ดอกพิกุล และดอกไม้กลีบบาง ต้องใส่ภาชนะเล็กๆ หรือจอกลอยบนน้า กัน ไม่ให้กลีบช้าตกลงไปในน้า ในปัจจุบันดอกไม้ส่วนใหญ่จะซื้อจากตลาด เพื่อความปลอดภัย ควรนาดอกไม้ ทั้งหมดใส่ภาชนะเล็กๆ ลอยบนน้าเพราะเกรงว่ายาฆ่าแมลงที่ติดอยู่กับกลีบดอกไม้จะละลายน้า นอกจาก ดอกไม้ ดั ง กล่ า ว ท่ า นจะใส่ ด อกไม้ อื่ น ได้ ต ามต้ อ งการที่ มี ก ลิ่ น หอมเย็ น แต่ ถ้ า ดอกไม้ ไ ม่ ไ ด้ จ ะใช้ ม ะลิ กระดังงา จาปา และพิกุล ก็เพียงพอแล้ว ดอกไม้ทุกชนิดที่หาได้วางลอยบนน้าเบามือ ปิดฝาให้สนิท ๑ คืน รุ่งเช้าราว ๔-๕ นาฬิกา ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นให้ช้อนดอกไม้ที่ลอยไว้อย่างเบามือ สาหรับผู้ที่ลอยดอกไม้บน น้า ถ้าเก็บช้ากว่านี้ ดอกไม้จะเริ่มช้า จะทาให้กลิ่นของน้าอบเสีย นาน้าอบดอกไม้ไว้กรองด้วยผ้าขาวบาง รวมกัน


หน้า ๒๐

๓) การร่้าน้​้าอบ การร่าน้าอบจะต้องเตรียมเครื่องปรุงดังนี้ เครื่องปรุง กายานป่น น้าตาลทรายแดง น้าตาลทรายขาว แก่นจันทน์เทศ ขี้ผึ้งอย่างดีขูด ผิวมะกรูด น้ามันจันทน์ ๒-๓ หยด ผสมข้อ ๑-๗ ให้เข้ากัน

๒ ช้อนโต๊ะ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ ๕ ช้อนโต๊ะ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ

การร่าจะต้องใช้โถกระเบื้อง หรือหม้อเคลือบไม้ควรใช้โหลแก้วอาจร้อนทาให้โหลแก้วแตกได้ ตัก น้าอบดอกไม้ใส่โถกระเบื้องประมาณ ๑/๔ ของโถ หรือใส่แต่น้อย เพื่อให้น้าหอมทั่วกัน นาทวนตรงกลาง โถ เอาตะคันเผาไฟให้ร้อน อย่าให้ร้อนจนแดง เพราะจะทาให้เครื่องปรุงไหม้ การปิด -เปิด ขณะทาการร่า ต้องทาโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ควันออกมา เมื่อนาตะคันวางบนทวนแล้ว นาเครื่องปรุงใส่ครั้งละครึ่งช้อนชารีบ ปิดผาโถโดยเร็วถ้าปิดฝาโถไม่สนิทให้ใช้ผ้าคลุมทับไว้ ปิดไว้ประมาณ ๓-๕ นาที ไม่ต้องให้ควันหมด เปิดฝา โถ รีบเอาตะคันเก่าออก รีบใส่ตะคันใหม่ แล้วตักเครื่องปรุงกายานใส่อีก ทาอย่างนี้ประมาณ ๕ ครั้ง แต่ละ ครั้งเมื่อนาตะคันออก ควรกวนน้าทุกครั้ง เพื่อความให้ความหอมที่จับอยู่บนผิวหน้าซึมซับเข้าไปในน้าให้ ทั่ว ร่าครบ ๕ ครั้ง แล้วเทน้าออกไว้ แล้วทาใหม่จนหมดน้า น้าที่ร่านี้จะอุ่น บางครั้งไม่สามารถอบเทียนต่อ ได้เลย ทาให้ย่นระยะเวลาการทาน้าอบไทย แต่ถ้าน้าร้อน ต้องปล่อยไว้ให้เย็น แล้วตกค่าอบด้วยดอกไม้ใช้ วิธีเดียวกันกับข้อ ๒ การร่ากายานแต่ละครั้งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ “ตั้ง” เช่น จะต้องร่ากายาน ๕ ตั้ง เป็นต้น ๔) การอบดอกไม้คืนที่ ๒ ใช้วิธีการอบเช่นเดียวกับการอบดอกไม้ข้อ ๒ ๕) วิธีอบด้วยควันเทียน เช้าวันที่ ๓ ช้อนดอกไม้ออกหมดแล้ว และอบควันเทียนจะใช้เทียนอบวางบนทวน หรือติดที่ฝา โถกระเบื้อง จุดเทียนอบและดับเทียนอบ โดยใช้พัดโบกให้เปลวเทียนอบดับปิดฝาให้สนิท การอบเทียนอบ หลายๆ ครั้ง ไส้จะดาไหม้ จะต้องตัดไส้เทียนที่ไหม้ออกก่อน ถ้าปล่อยให้ไส้เทียนไหม้ น้าอบไทยจะมีกลิ่น ไหม้ด้ วย การอบควั น เที ยนครั้ งหนึ่ง ควรจะกวนน้ าให้ค วามหอมที่ จับ บนผิว หน้ า ผสมกั บน้ าภายในโถ กระเบื้อง อบควันเทียนประมาณ ๓ ครั้งๆ ละ ๑๕-๒๐ นาที


หน้า ๒๑

๕.ปรุงน้าอบ เมื่ออบและร่าน้าจนหอมมากแล้ว จะต้องนาน้านั้นมาปรุงด้วยพิมเสน ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้วและหัว น้าหอมกลิ่นต่างๆ นาพิมพ์เสนออย่างดีบดให้ละเอียดแล้วใส่แป้งร่า หรือแป้งหินบดให้เข้ากัน (การใส่แป้ง ร่านี้ ถ้าทาเป็นจานวนมาก อาจใช้แป้งหินผสม ในการบดกับหัวน้าหอมแทนได้) ใส่ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้ว แล้ว ใส่หัวน้าหอมกลิ่นต่างๆ ประมาณ ๒-๓ หยดต่อน้า ๑ ถ้วย บดให้เข้ากันกับแป้ง ตักน้าอบใส่โกรงกรวน บ่อยๆ ให้เหลวพอกรองได้เทลงไปบนผ้าขาวบาง ถ้าส่วนผสมน้ามันกับน้ายังไม่เข้ากันดี ยังมีน้ามันลอยให้ เติมแป้ง หินแล้วบดให้เข้ากัน นาไปกรองผสมในน้าอบที่เ ตรียมไว้ ต้องกวนน้าที่ผสมเครื่องปรุง ไว้บ่อยๆ เพื่อให้เข้ากันแล้วทดลงนามาทาดูและดมกลิ่นตามใจชอบ ถ้าเติมหัวน้าหอมจะต้องบดกับแป้งร่าหรือแป้ง หินเสียก่อน ถ้าหยดลงไปในน้าเลยทีเดียวจะไม่เข้ากัน หัวน้าหอมจะลอยบนน้า แป้งร่า แป้งหิน ใส่พอควร ใส่มากน้าจะข้น ก่อนจะกรอกใส่ขวดต้องกวนน้าบ่อยๆ เพื่อให้แป้ง หัวน้าหอมเข้ากันได้ดี ขวดน้าที่จะนามาใส่น้าอบไทย จะต้องล้างให้สะอาดและแห้งเสียก่อน ในบางครั้งอาจจะอบควัน เทียนในขวดไว้ก็ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้าอบเหม็นสาบเร็วโดยการจุดเทียนอบแล้วดับ ควันเทียนจะลอย ให้ นาปากขวดไว้ตรงควันเทียน ควันเทียนจะลอยให้นาปากขวดไว้ตรงกลางเทียน ควันเทียนจะลอยเข้าไปใน ขวดนั้น ในกรณีที่ทาจานวนน้อยๆ น้​้าอบไทยไม่ใช้ดอกไม้สด น้าอบไทยไม่ใช้ดอกไม้ ในปัจจุบันนี้ผู้ปรุงน้าอบไทยโดยทั่วไปมักใช้วิธีนี้ เพราะดอกไม้หอมนับวัน จะหายากขึ้น และทาให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย จึงขอเสนอวิธีการทาน้าอบไทยไม่ใช้ดอกไม้ เครื่องใช้ ขวดโหล โถกระเบื้องสาหระบอบร่า โกร่ง สาหรับบดเครื่องปรุง ทวน ใช้วางกลางโถกระเบื้องเพื่อรองรับตะคัน ตะคัน ใช้เผาไฟวางบนทวน สาหรับใส่เครื่องปรุงกายาน ผ้าขาวบาง กระบวนสาหรับตักน้าอบ คีมคีบถ่าน เตาอั้งโล่ หม้อเคลือบ ใช้ต้มน้าหรืออาจใช้สาหรับอบร่าก็ได้ เทียนอบ


หน้า ๒๒

เครื่องปรุง ใบเตยหอม ๘ ใบ ชะลูด ๑ กามือ แก่นจันทน์เทศ ๑ กามือ ขี้ผึ้งแท้ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ น้าตาลทรายแดง ๑/๔ ช้อนโต๊ะ น้าตาลทรายขาว ๑/๒ ช้อนโต๊ะ พิมเสนอย่างดี ๑/๒ ช้อนชา แป้งหินหรือแป้งนวล ๕ ถ้วยตวง ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้วเท่าเม็ดถั่วเขียว หัวน้าหอมกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นกุหลาบ มะลิ พิกุล ไฮซิน จันทน์กะพ้อ ลาเจียก กระดังงา หรืออาจเลือกกลิ่นที่แตกต่างจากนี้ หรือเพิ่มมากขึ้นหรือลดลงก็ได้ สาหรับกลิ่นไฮซินต้องใส่เสมอไป เพราะ เป็นกลิ่นที่ร่วมผสมผสานให้กลิ่นน้าอบไทยหอมยิ่งขึ้นหรือถ้าผู้รู้ต้องการให้กลิ่นไหนนาก็ให้ใส่กลิ่นนั้นเพิ่ม มากกว่ากลิ่นอื่นๆ แก่นจันทน์เทศป่นหยาบ ๕ ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูดป่น ๑/๔ ช้อนโต๊ะ วิธีท้า ต้มน้​้า ๑๐-๑๒ ลิตร ใส่ชลูด ๒ กามือ จันทน์เทศสับ ๑ กามือต้มให้เดือดแล้วรมไฟหรือลดไหให้ อ่อนลง แล้วใส่ใบเตยหอมตัดเป็นท่อนประมาน ๘ ใบแล้วต้มต่อไปประมาณ ๑๕ นาที จะได้น้าสีเหลืองเข้ม ยกพักไว้ประมาณ ๓๐ นาที ตั้งจนกว่าจะอุ่นหรือกรองด้วยผ้าขาวบางที่แห้งสนิท พักทิ้งไว้ให้เย็น อบควันเทียน หลังจากน้าเย็นแล้วแบ่งน้าใส่ภาชนะหลายๆ ที่ ให้แต่ละที่มีน้าประมาณ ๑/๓ ของภาชนะอบด้วยควันเทียน ประมาณ ๕ ครั้งๆ ละ ๑๕-๒๐ นาที การอบแต่ละครั้ง เมื่อเปิดฝาโถหรือ ภาชนะ จะต้องกวนน้า เพื่อให้ความหอมที่จะอยู่ผิวหน้า ซึมซับและผสมกับน้าที่อยู่ส่วนล่าง หรือถ้ามี ภาชนะไม่มาก ให้ใช้วิธีอบควันเทียนในหม้อใหญ่ที่ใช้ต้ม แล้วค่อยตักน้า แบ่งมาร่ากายาน แล้วเทใส่อีก ๑ หม้อ แล้วอบควันเทียนอีก จะทาให้เพิ่มความหอมในน้าได้เช่นกันและไม่ต้องใช้ภาชนะหลายใบ ร่้าน้​้าอบ การร่าน้าอบต้องเตรียมเครื่องปรุงดังนี้


หน้า ๒๓

เครื่องปรุง กายานป่น น้าตาลทรายแดง น้าตาลทรายขาว แก่นจันทน์เทศป่นหยาบ ขี้ผึ้งอย่างดีขูด ผิดมะกรูดป่น

๒ ช้อนโต๊ะ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ ๕ ช้อนโต๊ะ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ

การที่จะอบร่าจะต้องใช้ โถกระเบื้องหรือหม้อเคลือบ เพราะถ้าใช้ขวดโหลแก้ว อาจจะร้อนจัดทา ให้แก้วแรกร้าวได้ ตักน้าอบดอกไม้ใส่ในโถกระเบื้องประมาณ ๑/๔ ของโถ หรือใส่แต่น้อย เพื่อให้น้าหอม ทั่วกัน นาทวนตั้งตรงกลางโถ เอาตะคันเผาไฟให้ร้อนอย่าให้ร้อนจนแดง เพราะจะให้เครื่องปรุงไหม้ การ ปิด-เปิดขณะทาการร่า ต้องทาโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ควันออกมา เมื่อนาตะคันวางบนทวนแล้วนาเครื่องปรุงใส่ ครั้งละครึ่งช้อนชา แล้วรีบปิดฝาโถโดยเร็ว ถ้าฝาโถไม่สนิท ให้ใช้ผ้าคลุ มทับไว้ ปิดไว้ประมาณ ๓-๕ นาที ไม้ต้องถึงควันหมดก็เปิดฝาโถ รีบเอาตะคันออก เปลี่ยนตะคันใหม่ใส่แล้วตักเครื่องปรุงกายานใส่อีก ทา อย่างนี้ประมาณ ๕ ครั้ง แล้วเทน้าออกใส่โถพักไว้ แล้วทาใหม่จนหมดน้า น้าที่ร่านี้จะอุ่นบางครั้งไม่ สามารถอบเทียนต่อได้ ถ้าน้าเย็นแล้วจึงอบควันเทียนต่อได้ ก็จะย่นเวลาการทาน้าอบไทยการร่ากายานแต่ ละครั้งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ตั้ง เช่นจะต้องร่ากายาน ๕ ครั้งเป็นต้น

๔. ปรุงน้าอบ เมื่ออบน้าด้วยเทียนอบจนน้าหอมมากแล้ว จะต้องมีการปรุงด้วยพิมเสน ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้วและ หัวน้าหอมกลิ่นต่างๆ นาพิมเสนอย่างดีอบให้ละเอียด ใส่แป้งร่าบดให้เข้ากัน (การใส่แป้งร่านี้ถ้าทาเป็น จานวนมาก อาจใช้แป้งหินผสมในการบดกับหัวน้าหอมได้) ใส่ชะมอเช็ดที่ฆ่าแล้ว ใส่หัวหอมกลิ่นต่างๆ ประมาณ ๒-๓ หยด ต่อน้า ๑ ถ้วยบดให้เข้ากันกับแป้ง ตักน้าอบใส่โกร่งกวนค่อยๆให้เหลวพอกรองได้ เท ลงไปบนผ้าขาวบาง ถ้าบดแล้วส่วนผสมน้ามันกับน้าอบยังไม่เข้ากันดียังมีน้ามันลอยให้เติมแป้งหินแล้วบด ให้เข้ากัน นาไปกรองไปผสมกับน้าอบที่เตรียมไว้ ต้องกวนน้าที่ผสมเครื่องปรุงไว้บ่อยๆ เพื่อให้เข้ากันแล้ว ทดลองนามาทาดู และดมดูกลิ่นตามใจชอบ ถ้าจะเติมหัวน้าหอม จะต้องบดกับแป้งร่าหรือแป้งหินเสียก่อน ถ้าหยดลงไปในน้าเลยทีเดียว จะไม่เข้ากัน หัวน้าหอมจะลอยบนน้า แป้งร่าแป้งหินใส่พอควรใส่มากจะข้น ก่อนจะกรอกใส่ขวดต้องกวนน้าบ่อยๆเพื่อให้แป้ง หัวน้าหอม น้า เข้ากันดี ขวดที่จะนามาใส่น้าอบไทย จะต้องล้างให้สะอาด และแห้งเสียก่อน บางครั้งอาจอบควันเทียนไว้ในขวดก็ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้าอบไทย เหม็นสาปเร็ว โดยการจุดเทียนอบควันจะลอยให้นาปากขวดไว้ตรงควันเทียน ควันเทียนจะลอยเข้าไปใน ขวดนั้น ในกรณีที่ทาจานวนน้อยๆ


หน้า ๒๔

ผ้าชุบน้​้าอบอย่างเปียก เครื่องปรุง น้าอบไทย หัวน้าหอมกลิ่นต่างๆ พิมเสนอย่างดี ใบเตยหอม เทียนอบ ดอกมะลิ ดอกกระดังงา และดอกไม้หอมอื่นๆ ผ้าขนหนูเล็ก หรือผ้าเช็ดหน้า ริบบิ้น อบผ้าให้หอมซักผ้าให้สะอาดอบร่าด้วยดอกไม้สด ควันเทียนอบ โรยพิมเสนเล็กน้อยปิดฝาให้ สนิท เปลี่ยนดอกไม้สดทุกวัน อบประมาณ ๒-๓ วัน อบน้​้าอบไทย น้าอบไทยที่จะใช้จะต้องอบน้าและปรุงตามวิธีอบน้าไทย แต่ต้องปรุงกลิ่นเข็มกว่า น้าอบไทยที่ใช้ทั่วไป เครื่องหอม ใช้หัวน้าหอมกลิ่นต่างๆตามใจชอบ ผสมกับพิมเสนที่บดขยี้ละเอียด แบ่งน้าอบที่ปรุง ไว้ พรมผ้าที่อบร่าหอมแล้วพรมให้เปียกพอจับจีบกลีบพับไปพับมา ใช้ริบบิ้นผูกให้เป็นโบว์ ๒ ชาย ใช้แจก ในเวลาหน้าร้อน น้​้าปรุง น้าปรุงเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่ง ที่มีกลิ่นหอมเย็นให้ความรู้สึกแบบไทยๆ ชวนให้ราลึกถึงอดีตที่ น่าภูมิใจ สตรีในสมัยโบราณนอกจากจะมีการปะแป้งแต่งตัว ลูบตัวด้วยน้าอบน้าปรุงแต่มาบัดนี้ สตรีส่วน ใหญ่รู้จักแต่น้าหอม ออดิโคโลญจน์ มาแทน เครื่องปรุง หัวน้าหอมกลิ่นมะลิ กุหลาบ พิกุล กระดังงา ลาเจียก รวงผึ้ง ไฮซิน พิมเสนเกล็ดอย่างดี ๑/๒ ออนซ์ ใบเนียม ๒๐ ใบ หรือเตยหอม ๑๐ ใบ ดอกมะลิ กระดังงา พิกุล หรือดอกไม้หอมอื่นๆ เอธิลแอลกอฮอล์แปรสภาพแล้ว ๑ ปอนด์ น้าสะอาดต้มแล้ว ๓ ออนซ์

๑/๒ ออนซ์


หน้า ๒๕

เทียนอบ ตัวดับกลิ่นแอลกอฮอล์ กายาน

๑/๔ ออนซ์ ๑/๒ ช้อนชา

เครื่องใช้ ขวดโหลดหรือโถกระเบื้องปากกว้าง สาหรับอบดอกไม้ ๑ ใบ ขวดแก้วใบใหญ่ สาหรับปรุง ๑ ใบ ขวดแก้วทรงกระบอก ๑ ใบ สาหรับแช่ใบเนียมหรือใบเตย กรวย ถ้วยตวง กระดาษกรอง วิธีท้า นาตัวดับกลิ่นแอลกอฮอล์แปรสภาพ ๑ ปอนด์ เขย่าให้เข้ากันพักไว้ประมาณ ๓ วัน น้าสะอาดต้มเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ๓ ออนซ์ อบด้วยดอกไม้หอมไว้ ๑ คืน แล้อบด้วยควันเทียน ๓ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ นาที ใบเนียมหรือใบเตยหอมตัดเป็นท่อนๆใส่ขวดทรงกระบอก ใส่เอธิลแอลกอฮอล์พอท่วมแช่นาน ประมาณ ๓๐-๕๐ นาที จนเป็นสีเขียวจัด พิมเสนเกล็ด ๑/๒ ช้อนชา แช่เอธิลแอลกอฮอล์ประมาณ ๑ ๑/๒ ออนซ์ พยายามเขย่าให้ละลาย นาหัวน้าหอมแต่ละชนิดแช่กับเอธิลแอลกอฮอล์ ๑ ๑/๒ ออนซ์ ชนิดละขวด นาข้อ ๓-๕ มาผสมกันในขวดใบใหญ่ปากเล็กๆเพื่อให้เครื่องปรุงต่างๆ ผสมกันมากๆยิ่งดี สาหรับ การปรุงครั้งแรกจะมีสีใบเตยหรือใบเนียมมากๆ ยิ่งดี เพราะเก็บไว้นานๆสีจะจางไปเองก่อนจะผสมน้าที่อบ ด้วยดอกไม้หอมให้ลองดมดู ว่าต้องการกลิ่ นไหนเพิ่ม ให้เติมกลิ่นที่ต้องการเขย่าให้เข้ากันดีจึงค่อยๆ เต็ม น้าที่ละ ๑ ออนซ์ เขย่าให้เข้ากันมากๆ จนน้าที่เติมหมด วิธีนี้จะทาให้น้าปรุงไม่ขุ่นหลังจากนั้น นาไปเก็บไว้ ประมาณ ๓ วัน จึงนามากรองด้วยกระดาษกรอง และกรวยแก้ว ข้อควรระวัง ควรเก็บในที่เย็น ไม่โดนแสง ส่อง ประโยชน์ใช้ทาตัวให้หอม ใช้ฉีดถุงบุหงาของชาร่วย ผ้าเช็ดหน้า ผ้าแพรเพลาะ ถ้าทาเป็นจานวน มากก็ให้เพิ่มไปตามสูตร


หน้า ๒๖

ออดิโคโลญจน์ ใช้ทาตัวในหน้าร้อนตัวทาให้เย็น และหอมชื่นใจ บางครั้งผสมน้าชุบผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู ใช้ เช็ดหน้าทาให้สดชื่นขึ้น ออดิโคโลญจน์ มีหลายกลิ่น แต่เสนอเพียง ๑ กลิ่น เครื่องปรุง น้ามันเบอร์กามอท น้ามันผิวส้ม น้ามันโรสเมรี่ น้ามันผิวมะนาว น้ากระวาน น้ามันก้านพลู เอธิลแอลกอฮอล์แปรสภาพ มัส ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ตัวดับกลิ่นแอลกอฮอล์ น้าบริสุทธิ์

๑/๕ ออนซ์ ๑/๕ ออนซ์ ๑/๕ ออนซ์ ๑/๕ ออนซ์ ๒/๕ ออนซ์ ๑/๖ ออนซ์ ๑ ปอนด์ ๑ ออนซ์ ๑/๕ ออนซ์ ๓ ออนซ์

วิธีท้า นาส่วนผสมข้อ ๑-๘ ใส่ขวดปากแคบ เขย่ารวมกันให้มากที่สุด แล้วใส่ตัวดับกลิ่นแอลกอฮอล์ เขย่าให้ละลายเข้ากัน จึงค่อยๆเติมน้าที่ละ ๑ ออนซ์ เขย่าไปจนน้าหมด ๓ ออนซ์ การผสมออดิโคโลญจน์ หรือน้าหอม จะต้องพยายามเขย่าผสมกันให้มากที่สุดเพราะถ้าเขย่าน้อยจะทาให้กลิ่นไม่กลมกลืนกัน

น้าหอม น้าหอมสามารถเลือกและปรุงกลิ่นได้ในปัจจุบัน ร้านขายผลิตภัณฑ์เครื่องหอมมีกลิ่นที่ให้เลือก มากมาย หรือถ้าสนใจต้องการกลิ่นหอมที่แปลกออกไป จะสามารถซื้อหัวน้าหอมแล้วนามาปรุงกลิ่นผสมได้ ตามต้องการ เครื่องปรุง หัวหอมน้าหอมกลิ่นที่ต้องการ มัส ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เอธิลแอลกอฮอล์แปรสภาพ ตัวดับกลิ่น น้าบริสุทธิ์

๓ ออนซ์ ๑ ออนซ์ ๑ ปอนด์ ๑/๕ ออนซ์ ๑ ออนซ์


หน้า ๒๗

วิธีท้า นาข้อ ๑-๓ มาเขย่ารวมกันแล้วใส่ข้อ ๔ เขย่ารวมกัน แล้วเติมน้าบริสุทธิ์ ๑ ออนซ์ เขย่าให้เข้า กัน แล้ วพั กไว้ ๑ สั ปดาห์ จึ งน ามาดมกลิ่ นดู ถ้ าถู ก ใจให้ กรองด้ว ยกระดาษ เก็บ ไว้ ใ นที่ เย็ นปราศจาก แสงแดดถ้าถูกแสงแดดจะทาให้น้าหอมมีสีเหลืองเข้ม


หน้า ๒๘

บทที่ ๕ เครื่องหอมไทยประเภทประทินโฉม

เครื่องหอมไทยมีแตกต่างกันหลายชนิดออกไป แล้วแต่ลักษณะการนาไปใช้และกรรมวิธีการผลิต ที่มีการนาเอาพืชหอมธรรมชาติ ที่มีอยู่ในเมืองไทยมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ และประยุกต์ให้เข้ากับยุกต์สมัย เป็นความคิดที่มีมานานตั้งแต่สมัยก่อนโดยการนาเอาความบริสุทธิ์จากธรรมชาติ มาจรรโลงให้เข้ากับการ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน เครื่องหอมไทยประเภทประทินโฉมนี้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ดินสอพอง แป้ง หอม แป้งผงกลิ่นไทย แป้งร่า แป้งเกสรดอกไม้ แป้งพวงเครื่องหอมไทยนี้เป็นการนาเอาธรรมชาติ ล้วนๆ ไม่มีการเจือปนด้วยสารสังเคราะห์หรือสารเคมีทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เป็นภูมิปัญญาของคน ไทยสมัยโบราณที่ทุกวันนี้เริ่มจะจางหายด้วยสารเคมีทางวิทยาศาสตร์ที่สังเคราะห์ขึ้นมาแทนที่ ในส่วนของ กรรมวิธีในการทาก็มีแตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบว่าเราจะต้องการเมื่อมีวิธีการทาก็ต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ใน การทาซึ่งสามารถหาได้ง่ายจากการที่ได้ศึกษาและค้นคว้ามาจากหนังสือ “เครื่องหอมไทยและขอลชาร่วย” ซึ่งจะกล่าวถึงเครื่องปรุง เครื่องมือเครื่องใช้ วิธีทา อุปกรณ์ในการทา และคุณประโยชน์ที่มีของเครื่องหอม โดยเป็นผู้แต่งพิมพ์ครั้งที่ พ.ศ. ได้กล่าวถึงการทาเครื่องหอมไทยประเภทประทินโฉมไว้ดังนี้


หน้า ๒๙

เครื่องใช้ ดินสอพอง กรวยสังกะสี หรือทองเหลือง หรือหัวหยอดขนมคุกกี้ ผ้าขาวบาง กระด้ง หรือถาด สารส้ม วิธีท้า ดินสอพองเป็นดินที่ขุดจากพื้นผิวดิน เป็นสีขาว หรือบางคนเรียกว่า ดินสุก พบมากที่จังหวัด ลพบุรีเมื่อขุดดินได้มากตามความต้องการแล้ว นามาแช่ในถังไม้หรือในบ่อที่ขุดไว้บนพื้นดินกวนดินและน้า ให้เหลวกรองด้วยตะแกรง แล้วพักดินไว้ให้ดินนอนก้น แล้วนามากรองด้วยผ้าขาวบางอีกที ๒-๓ ชั้น หรือ อาจจะใช้ผ้าเนื้อละเอียด เพื่อกรองกรวดทราย แล้วพักดินรินน้าใสที่อยู่บนส่วนที่อาจจะมีละอองดาๆ ลอย อยู่พร้อมทั้งช้อนหน้าดินที่เป็นสีดาออก แล้วกวนดินสอพองให้เหนียว เพราะส่วนก้นถัง จะเหนียวและแข็ง ส่วนบนจะเหลว จึงจาเป็นต้องกวนให้ผสมกัน แล้วนาไปหยอดเป็นเม็ดกลม ยอดแหลม เม็ดเท่าปลาย นิ้วก้อย ถ้านาไปใช้งานไม้ งานขัดกระจก โป๊ะผิวด้านนอกของหัวโขน จะทาเป็นกลมๆ ดินสอพองที่ใช้ผัดหน้า ทาตัว มักจะต้องกรองอีกครั้ง และแกว่งสารส้มอย่างเจือจางกรองด้ว ยผ้า ละเอียด รินน้าที่มีละอองทิ้ง ต้องพยายามฟอกดินสอพองให้ขาวสะอาด แล้วพักให้ดินสอพองนอนก้น การ ผสมสารส้มลงในดินสอพอง นอกจากดินสอพองจะขาวขึ้นแล้วแล้วทาให้ดินสอพองนอนก้นเร็ว และแก้ผด ผื่นคันตามตัว รักษาผิวหน้าได้ดีอีกด้วย เมื่อผสมดินสอพองได้ตามต้องการ คือข้นพอหยอดได้ (กวนแป้งดินสอพองให้เหนียวเพราะจะได้ ไม่เปราะ แตกง่าย) ให้หยอดบนผ้าขาวที่วางไว้ในกระด้งหรือตะแกรง แล้วนาไปผึ่งแดดให้แห้ง ตากสัก ๑๒ แดด เมื่อแห้งสนิทดี นาไปอบร่าด้วยกายาน และเทียนอบให้หอม เพื่อนาไปใช้ ประโยชน์ ๑.ใช้ผสมน้าอบไทย ทาตัวแก้ร้อน ผด ผื่น คัน ๒.ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษเผ็ดที่โดนพริก ใช้ดินสอพองผสมน้าทาบริเวณที่ร้อน ๓.ผสมน้ามะกรูด หรือน้ามะนาว ทาแก้หัวโน ๔.ใช้ล้างยางของผักหัว เช่น มัน เผือก โดยนาดินสอพองผสมน้า แล้วน้าไปล้าง เผือกมัน ให้ ยางออก แล้วจึงล้างน้าให้สะอาดอีกครั้งหนึ่ง ๕.ใช้สาหรับอุดรูไม้หรือขัดกระจก โป๊ะผิวด้านนอกของหัวโขน


หน้า ๓๐

แป้งหอม เครื่องปรุง ๑.แป้งหิน หรือแป้งนาล ๒.เทียนอบ ๓.ดอกไม้หอม มะลิ พิกุล กุหลาบ กระดั่งงา ลาเจียก จันทน์กะพ้อ วิธีท้า นาแป้งหินหรือแป้งนวล ใส่กระทะทองเหลืองตั้งบนไฟอ่อนๆคนให้ทั่วจนเนื้อแป้งยุ่ย จึงนาไป ร่อนด้วยแร่งให้ละเอียดประมาณ ๒ ครั้ง เพื่อให้เศษผงออกแล้วนาไปอบด้วยไม้ในเวลากลางคืน โดยวาง ดอกไม้บนภาชนะไม่ควรวางบนแป้ง จะทาให้แป้งชื้น และเวลาเก็บดอกไม้อาจจะช้า ทาให้เหม็นเขี ยว จากนั้นอบด้วยควันเทียนให้หอม จะทาให้เก็บไว้ใช้ได้นาน

แป้งผงกลิ่นไทย สมัยก่อนนั้นแป้งกระป้องแบบปัจจุบันไม่มี หายาก จึงเป็นสิ่ ง ที่จาเป็นที่สตรีในยุคนั้นต้องรู้จัก ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ มาประทินผิวให้สวยงาม การปรุงเครื่องหอมส่วนใหญ่มักผสมพิมเสน เพราะกลิ่ น ของพิมเสนดมแล้วหอมชื่นใจ และยังทาให้เย็นอีกด้วย ถ้าใส่จานวนน้อย เครื่องปรุง ๑.แป้งนวล หรือแป้งหิน ๒.พิมเสน ๓.ขัณฑสกร ๔.หัวน้าหอมกลิ่นมะลิ กุหลาบ ไฮซิน ๕.ชะมดเช็ดฆ่าแล้วขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวหรือใช้มัส ๖.เอธิลแอลกอฮอล์แปรสภาพ ๗.ตัวดับกลิ่นแอลกอฮอล์

๒ ลิตร ๑/๒ ช้อนชา ๑/๒ ช้อนชา ๑๐ หยด ๑๐ หยด ๒ ออนซ์ ๑๐ หยด

วิธีท้า นาหัวน้าหอมกลิ่นต่างๆชะมดที่ฆ่าแล้วหรือใช้มัส ๑๐ เปอร์เซ็น ๑๐ หยด แทนชะมดเช็ดใส่ใน เอธิลแอลกอฮอล์แปรสภาพ แล้วเขย่ารวมกันพักทิ้งไว้ ๒ คืน แล้วนาแอลกอฮอล์ที่ผสมเป็นน้าหอม มาฉีด บนแป้งหินที่ตากแดดให้หมดกลิ่นสาปแล้วและผึ่งไว้ให้แอลกอฮอล์ระเหยเหลือแค่น้าหอม และรอจนแป้ง


หน้า ๓๑

แห้งสนิทดี นาไปบดให้ละเอียดแล้วร่อนด้วยแร่ง หรืออาจใช้วิธีนาผ้ามัสลินครอบบนปากชามใช้มือรวบ ชายผ้าไว้ก้นชาม แล้วค่อยๆ ตักแป้งกรองลงในชาม วิธีนี้จะได้แป้งที่ละเอียด

แป้งร่า เครื่องใช้ ๑.โถกระเบื้อง ๒.โกร่ง ๓.ทวน ๔.ตะคัน ๕.คีมคีบถ่าน ๖.เตาอั้งโล่ ๗.ใบตอง หรือถุงพลาสติก ๘.มีด ๙.ไม้กลัด เครื่องปรุง ๑.แป้งหิน หรือแป้งนวล ๒.น้าอบไทย ๓.น้าดอกไม้ ๔.ชะมดเข็ม ๕.พิมเสนอย่างดี ๖.กายาน ๗.ผิวมะกรูด ๘.น้าตาลทรายแดง ๙.น้าตาลทรายขาว ๑๐.หัวน้าหอมกลิ่นมะลิ กลิ่นลาเจียก ไฮซิน กลิ่นกุหลาบ จะใช้หัวน้าหอมกี่ชนิดก็ได้ แต่ จะต้องใส่กลิ่นไฮซินผสมลงไปด้วย เพื่อช่วยชูกลิ่นและเป็นตัวประกอบประสานของน้าหอมกลิ่นต่างๆ ๑๑.สีที่ใช้ผสมจะใช้สีของดอกไม้ สีส้ม ใช้ก้านดอกกรรณิการ์ สีม่วงใช้ดอกอัญชัน สีแดงใช้ ครั่งหรืออาจใช้สีผสมอาการเพียงเล็กน้อยพอควร สีเขียวใช้สีของใบเนียมหรือใบเตย


หน้า ๓๒

วิธีท้า แป้งหินหรือแป้งนวล ประมาณ ๓ ถ้วยตวง เก็บผงและผึ่งแดดให้หายสาป สัก ๑ แล้วนาใส่โถ กระเบื้อง โดยตั้งทวงวางไว้กลางโถ ใส่แป้งหินหรือแป้งนวลรอบๆทวน แล้วอบเทียนให้หอม วิธีปรุงแป้งร่้า ปั่นกายานให้ละเอียด ๒ ช้อนโต๊ะ น้าตาลทรายแดง น้าตาลทรายขาว ๑ ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูด เล็กน้อย เคล้าให้เข้ากัน นาตะคันไปเผาไปถ่านให้ร้อนจัด นาไปวางลงบนทวน ตักเครื่องปรุงกายานใส่ครึ่ง ช้อนชา ทิ้งไว้ประมาณ ๓-๕ นาที แล้วคีบออกเอาตะคันออก เปลี่ยนใส่อันใหม่ ทาเช่นนั้นอีกสัก ๓-๕ครั้ง หรือจนหมดเครื่องผสมกายาน แล้วปิดฝาโถให้สนิทอบค้างไว้ ๑ คืน ตอนกลางคืนจะอบด้วยดอกไม้ด้วยยิ่ง ดี เพราะจะเพิ่มความหอมหวนให้กับแป้งยิ่งขึ้น วันรุ่งขึ้นนาพิมเสนอย่างดีประมาณ ๑/๓ ช้อนชา บดผสม หญ้าฝรั่น (หญ้าฝรั่นมีราคาแพงมาก) เพียงเล็กน้อย ทาให้เหลืองนวล เอาแป้งที่อบไว้ในโถ บดให้ละเอียด ในโกร่ง ใส่น้าดอกไม่เทศ หัวน้าหอมต่างๆ ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้วบดให้ละเอียด จึงเอาส่วนผสมที่บดใส่ลงในโถ กระเบื้อง แล้วกวนให้เข้ากัน เติมน้าอบไทยให้ข้นพอหยอดได้ ถ้ากลิ่น ใส่น้อยไปให้เติมหัวน้าหอม โดยการ บดกับแป้งเสียก่อน ถ้าข้นไปเติมน้าอบไทย เมื่อผสมแล้วควรพักไว้ ๒ ชั่วโมง เพื่อแป้ง และน้าอบไทย น้าหอมเข้ากันดี ในขณะนี้อาจอบกายานหรือเทียนอบเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมยิ่งขึ้นแล้วจึงตักลงในกรวยหยอด ลงบนผ้าขาวบางให้เม็ดเล็กๆสูงๆ ยอดแหลมๆ ผึ่งลมไว้แห้งสนิท จึงเก็บใส่โถอบร่าด้วยกายานจนหอม เข้าเนื้อแป้ง และใช้สาลีชุบน้าหอมทิ้งไว้ในโถอบให้หอมอยู่เสมอ กรวยที่ใช้หยอด ปัจจุบันใช้ใบตองทากรวย ซึ่งหาได้ง่าย แต่แป้งจะติดใบตองครั้งละมากๆ จึงมีผู้ ดัดแปลงใช้ถุงพลาสติกตัดมุมถุงทาเป็นกรวยแทนใบตอง หรือการทากรวยจากทองเหลือง สังกะสี มีรู้เล็กๆ หรือใช้ใบลานทาเป็นช้อนเล็กๆตักหยอดก็ได้ ภาชนะที่หยอดแป้งร่า ใช้ใบตองให้ทางนวลขึ้น หยอดเป็นแถวๆ เม็ดเล็กๆ วางใบตองลงบนถาด เพื่อสะดวกในการเก็บ หรือใช้หยอดบนผ้าขาวบาง จะแห้งเร็วและสะดวกในการเก็บยิ่งขึ้นเพียงแต่ยกผ้ า แป้งก็จะหลุดออกจากผ้า


หน้า ๓๓

ประโยชน์ ๑.ใช้ปรุงน้าอบไทย ๒.ใช้ผสมกับน้าอบไทย อย่าให้เหลวมากนักเรียนว่า แป้งกระแจะใช้ในพิธีมงคลสมรสเจิมคู่ บ่าวสาว เจิมบ้านใหม่ รถใหม่ สิ่งที่เราเฉลิมฉลอง ๓.ใช้เป็นของชาร่วย ของกราบผู้ใหญ่วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ ใส่ในตลับใบลาน ๔.ใช้ผสมน้าอบไทย หรือผสมน้าทาตัวการทาแป้งร่าบางตารา ใช้ขูดขุยของกายานที่ติออยู่ที่ ฝาโถ ใส่บดผสมลงไปในแป้ง

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/08/K9562547/K9562547.html

แป้งร่้า

แป้งเกสรดอกไม้ แป้งเกสรดอกไม้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามความประสงค์ของผู้ปรุง บ้างก็เรียกแป้งสารภี แป้ง พิกุล ขึ้นอยู่กับผู้ปรุงมีความประสงค์ต้องการกลิ่นใดนา เครื่องใช้ ๑.โกร่ง ๒.หม้อเคลือบสาหรับต้มน้า


หน้า ๓๔

เครื่องปรุง ๑.แป้งหินหรือแป้งนวล ๒.เกสรดอกสารภี เกสรดอกบุนนาค ดอกพิกุล หรือดอกไม้หอมชนิดต่างๆ ที่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง ๓.พิมเสนอย่างดี ๔.เทียนอบ ๕.แฝดหอม ๖.แก่นจันทน์เทศ ๗.ใบเตยหอม

๓ ถ้วยตวง ๑ ช้อนโต๊ะ ๑/๔ ช้อนชา ๑ อัน ๒ กรัม ๒ กรัม ๓ ใบ

วิธีท้า นาแป้งหินตากแดดให้หมดกลิ่นสาปและเก็บผงออกให้หมด แล้วใส่โถอบควันเทียน อบมะลิ ดอก กระดังงา พอให้แป้งมีกลิ่นหอม วิธีที่ ๑ ให้นาแฝดสับเป็นท่อนๆพร้อมทั้งจันทน์เทศใส่หม้อเคลือบ ใส่น้าสะอาดพอสมควร ต้ม เคี่ยวให้เปลือกไม้จืด และเคี่ยวให้เหลือน้าแต่น้อยก่อนยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น กรองน้าด้วยผ้าขาวบางแล้วพักไว้ บดพิมเสนให้ละเอียด แล้วใส่เกสรดอกสารภี บุนนาค พิกุล นิดหน่อย ใช้ต้มไว้ หยดพอเปียกพอบดได้ นา แป้งหินแช่น้าไว้กับน้าต้มสักครู่ แล้วนนาเครื่องปรุงที่บดไว้บดเข้าด้วยกันผสมน้าพอหยอดเป็นเม็ดได้หยอด ลงบนทางนวลของใบตอง หรือหยอดลงบนผ้าขาวบางวางผึ่งแดดให้ดี ใสโถอบควันเทียน ดอกมะลิ ดอก กระดังงา วิธีที่ ๒ มีวิธีทาเหมือนแป้งร่าแต่ให้บดผสมเกสรดอกสารภี หรือดอกพอกุล เท่านั้นก็ได้ โดยบด ผสมกับแป้งหิน แป้งนวล หรือดินสองพองก็ได้ วิธีที่ ๓ นาแป้งหินที่อบควันเทียนไว้ แล้วผสมกับพิมเสนอย่างดี เล็กน้อย บดให้ละเอียดกับเกสร ดอกสารภี ใช่เฉพาะสีเหลือง ใส่น้ามันหอมต่างๆ จะช่วยหนุนกลิ่นสารภีให้หอมยิ่งขึ้น แล้ วบดผสมกับน้า อบไทยให้ข้นพอหยดได้ แล้วนาไปใส่กรวย หรือถุงพลาสติก ตัดปลายหยอดเป็นเม็ดเล็กๆเท่ากันผึ่งไอแดด ให้แห้งสนิท อบด้วยควันเทียนอีก ๒-๓ ครั้ง ประโยชน์ ทาแก้ผดผื่น และแก้ร้อน โดยผสมกับน้าอบไทย ประ ทาตัว


หน้า ๓๕

แป้งพวง เมื่อนาแป้งหยอดบนเส้นด้ายแล้วนามารวมกันเรียกว่า แป้งพวง เป็นศิลปะอย่างหนึ่งของคนไทย ซึ่งนามาแป้งเหล่านั้น ผูกกับดอกไม้ แต่งผม ปักมวยผม จะได้กลิ่นหอม สวยงามดี ใช้เป็นของชาร่วยและใช้ ติดเสื้อได้ดีอีกด้วย เครื่องใช้ ๑.ด้าย ๒.ใบตอง หรือฝากล่อง ๓.ถุงพลาสติก ๔.เทปกาว เครื่องปรุง ๑.แป้งหิน หรือแป้งนวล ๒.สีธรรมชาติที่ได้จากพืช เช่น หญ้าฝรั่นให้สีเหลือง หรือสีผสมอาหาร ๓.น้าอบไทย ๔.หัวน้าหอมกลิ่นที่ต้องการ ๕.ดอกไม้หอมกกลิ่นต่างๆ ๖.เทียนอบ วิธีท้า นาหญ้าฝรั่นมาบดให้ละเอียด ใส่แป้ง หิน บดให้ละเอียด ผสมน้าอบไทยกวนให้เข้ากัน ให้ข้น มากๆ พักกรวยใบตอง หรือกรวยพลาสติก หรือใช้มุมถุงพลาสติกแทนกรวยก็ได้ ขึงได้บนใบตองยาว ๓๐ ซม. หยอดเพียง ๒๐ ซม. ตัดกลางจะได้ ๒ เส้น ติดเทปกาวปลายด้านทัง ๒ ข้าง หยอดให้เม็ดกลม ขนาด เท่ากัน และระยะห่างเท่ากัน หรืออาจขึงด้ายบนฝากล่องโดยให้ด้ายตรงกลางไม่ติดพื้นกลอง เวลาหยอด จะได้เม็ดกลม หยอดเสร็จแล้วผึ่ง ลมหรือไอแดด พอแห้งสนิทยกปลายเส้นด้ายอีกด้านหนึ่งมา รวมกับปลายเส้นดายอีกด้านหนึ่งรวมกันหลายๆเส้น เป็นพวง นาไปอบเทียนอบ อบดอกไม้หอม หรืออาจ ใช้สาลีชุบน้าหอมอบไว้ด้วย แล้วนาไปผูกกับดอกไม้ไ ทย เช่น ชามะนาว กุหลาบ นมแมว ดอกไม้อื่นๆ บางครั้งอาจจะนาแป้งร่าหรือแป้งเกสรหยอดแทนก็ได้


หน้า ๓๖

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/08/K9562547/K9562547.html

แป้งพวง


หน้า ๓๗

บทที่ ๖ เครื่องหอมไทยประเภทปรุงแต่ง

การทาเครื่องหอมไทย ส่วนมากจะใช้พฤกษาจากธรรมชาติมาสกัดให้ได้กลิ่นแล้วนามารวมกันกับ วัสดุอื่นๆเพื่อใช้ต่อไป เช่นเดียวกับเครื่องหอมไทยประเภทปรุงแต่ง ซึ่งจะนาความหอมที่ ได้มาประยุกต์ใช้ ให้เข้ากับชีวิตประจาวัน เช่น การซักผ้าให้หอม ทายาดม ยาหม่อง ซึ่งมีวิ ธีการทาวัสดุอุปกรณ์ที่แตกต่า ง ออกไปการน าเครื่ องหอมประเภทนี้ม าประยุกต์เ ราต้องรู้สรรพคุณของวัส ดุ ที่นามาทานั่ นคือ พฤกษา ธรรมชาติ ต้นไม้ ใบไม้ รากไม้ ดอกผล หรือแม้กระทั่งเมล็ดของมันมีสรรพคุณอย่างไร และจะทาการสกัด โดยวิธีไ หนที่ดีที่สุดเพื่อจะได้ความหอมออกมามีคุณค่าและประโยชน์ จากนั้นเราก็นาความหอมที่ไ ด้มา ประกอบเข้ากับวัสดุที่จะใช้ประยุกต์ใช้ปริมาณที่เหมาะสม เมื่อได้ตัวผลิตภัณฑ์ที่ทาขึ้นจากความหอมแล้วก็ ต้องรู้การนาเอาไปใช้ให้ถูกต้องตามลักษณะการใช้งานของแต่ละประเภท จากการที่ได้ศึกษาและค้นคว้ามา จากหนังสือ “เครื่องหอมไทยและของชาร่วย” ซึ่งจะกล่าวถึง เครื่องปรุง เครื่องมือเครื่องใช้ วิธีทา อุปกรณ์ ในการทา และคุณประโยชน์ที่มีของเครื่องหอม โดย เป็นผู้แต่ง พิมพ์ครั้งที่ พ.ศ. ได้กล่าวถึงการทาเครื่อง หอมไทยประเภทปรุงแต่งไว้ดังนี้


หน้า ๓๘

ร่้าหีบ ในปัจจุบันเมื่อต้องการให้เสื้อผ้าในตู้เสื้อผ้าหอม เราจะเปิดฝาขวดน้าหอม เราจะปิดฝาขวด น้าหอม น้าหอมที่ใช้หมดแล้วทิ้งไว้ในตู้เสื้อผ้า ทาให้เสื้อผ้าหอม ไทยแต่เดิมมาก็มีวิธีร่าหีบใส่เสื้อผ้าให้หอม เช่นเดียวกัน เมื่อต้องการให้เสื้อผ้าหรือของหอมโดยไม่ต้องพรมน้าหอมกันอย่างทุกวันนี้ หีบที่จะนามาใช้ร่า ต้องเป็นหีบไม้เนื้ออ่อน เช่นไม้ฉาฉา เป็นหีบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจจะยาว ๒ ฟุตครึ่ง สูงฟุตครึ่ง กว้างฟุตครึ่งก็ได้ หรือต่อหีบขนาดความต้องการ หุ้มรอบด้วยสังกะสีหรืออลูมิเนียม บาง ท่านมีหีบน้าแข็งเก่าๆ แล้วนาไม้เนื้ออ่อนมากรุด้านในการหุ้มสังกะสีนั้น เพื่อป้ องกันการระเหยของกลิ่น ควันเทียนที่อบ และเพื่อความทนทานในการใช้งาน ใช้ไม้เนื้ออ่อนทาหีบก็เพราะ ไม้เนื้ออ่อนสามารถซึมซับ กลิ่นและน้าหอมที่ทาได้ดี ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็งจะอบหรือทาน้าหอมไม่ค่อยเข้าเนื้อไม้ เครื่องปรุง กายานป่น ชะลูดป่น จันทน์เทศป่น พิมเสนอย่างดี ผิวมะกรูดหั่นละเอียด น้าตาลทรายแดง น้าตาลทรายขาว น้ามันลาเจียก น้ามันจันทน์ น้ามันมะลิ น้ามันไฮซิน ขี้ผึ้งแท้ฝานบางๆ ผงธูปหอม

๒ ช้อนโต๊ะ ๑ ช้อนโต๊ะ ๑ ช้อนโต๊ะ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ ๒ หยด ๒ หยด ๒ หยด ๒ หยด ๑ ช้อนโต๊ะ ๑ ช้อนโต๊ะ

วิธีท้า วิธีที่ ๑ นาเครื่องปรุงทั้งหมดมาคลุกเคล้าผสมรวมกัน แล้วเก็บใส่โถปิดฝาพักไว้ ก่อนจะนาหีบมา อบร่าควรต้องทาความสะอาดหีบเสียก่อน ให้ล้างด้วยสบู่หรือผงซักฟอกให้สะอาดหลายๆครั้ง จนหมดกลิ่น สาปและกลิ่นไม้ ผึ่งให้แห้งสนิท แล้วล้างหีบด้วยน้าอบไทยหรือน้าดอกไม้อีก ๓-๔ ครั้ง เพื่อให้หีบมีกลิ่น หอม ผึ่งลมที่ได้รับไอแดดนั้นจะมีทั้งลมเย็นและร้อนผสมกัน ถ้าผึ่งแดดเลยทีเดียวอาจทาให้เนื้อไม้แตกได้


หน้า ๓๙

การร่าหีบ เอาทวนวางไว้ตรงกลางหีบ แล้วใช้ตะคันเผาไฟให้ร้อนจัด แต่ไม่ให้ร้อนจนแดง นา ตะคันวางบนทวน ใส่เครื่องปรุงกายาน ใส่ประมาณครึ่งช้อนชา ปิดฝาหี บสักครู่หนึ่งประมาณ ๒-๓ นาที อย่าให้หมดควัน แล้วนาตะคันใหม่ใส่เครื่องปรุง ช้อนชา เปลี่ยนใหม่ ระหว่างที่อบกายานอยู่นั้นอาจใช้ กระแจะน้าทาที่ฝาและข้างหีบสลับกันไป หรือทาน้าอบไทย หัวน้ามันหอมกลิ่นต่างๆที่ฝา และข้างหีบให้ ทั่วหีบแทนกระแจะน้าก็ได้ ร่าประมาณวันละ ๒-๓ ครั้ง หลังจากนั้นให้อบควันเทียน บางท่านนิยมจุดธูป หอมวางไว้ในหีบ เพื่ออบหีบให้หอม ตอนค่าให้อบด้วยดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอมหวน เช่น มะลิ พิกุล กุหลาบ มอญ จาปา กระดังงาไทย ที่ลนควันเทียนหรือดอกไม้อื่นที่หาได้ เวลาเช้าให้เอาดอกไม้ออกจากหีบ แล้ว อบควันเทียน หรือควันธูป และทาหัวน้าหอมกลิ่นต่างๆ การอบดอกไม้จะอบบ้างเว้นบ้าง สุดแล้วแต่ความ ประสงค์ แต่ต้องอบควันเทียนวันละ ๒-๓ ครั้ง จนกว่าหีบจะหอมดี ใช้เวลาอบร่าประมาณ ๑๐-๒๐ วัน ใน ระหว่างนั้นท่านต้องการอบเสื้อผ้า ของชาร่วยบุหงา ท่านก็สามารถทาได้เช่นกัน วิธีที่ ๒ อาจจะใช้ส่วนผสมเครื่องปรุงกายาน แบบใช้น้าอบไทยก็ได้ และนาน้าหอมแลน้าอบไทย ทาข้างๆหีบหลายๆครั้ง ทาให้ชุ่ม พยายามถูให้ทั่วหัวน้าหอมและน้าอบไทยซึมเข้าเนื้อไม้มากๆแล้วผึ่งในที่ ร่มแห้ง จึงทาน้าอบไทยและหัวน้าหอมใหญ่ทาอย่างนี้หลายๆครั้ง พอตกค่าอบด้วยดอกไม้หอมและนาออก ในตอนเช้า ในตอนกลางวันอบร่าทุกๆวัน อบด้วยเครื่องปรุงกายานและเทียนอบสลับกันไปอบจนหีบนั้น หอม เนื้อไม้ของหีบนั้นอิ่มน้ามัน ยิ่งอบมากยิ่งดี เพราะจะมีกลิ่นหอมทน ติดทนนาน แต่ถ้าติดทนไปนานๆ กลิ่นหอมจะจางไป ให้นามาอบ และทาน้ามันใหม่ก่อนทุกครั้ง ประโยชน์ มีไว้สาหรับอบของชาร่วยจานวนมากๆ เช่นอบถุงบุหงา อบผ้าเช็ดหน้าอบเสื้อผ้า แพรเพลาะ ใช้ ไปกราบผู้ใหญ่ ในโอกาส วันเกิด วันปีใหม่ ถ้าจะอบเสื้อผ้าใช้เอง เสื้อผ้าจะมีกลิ่นหอม ไม่ต้องใช้น้าหอม

การซักผ้าให้หอม การซัก ผ้าให้ห อม เป็ นวิ ธีห นึ่ง ของหญิ ง ไทยสมัย โบราณ จะนุ่ง ห่ม ผ้า ต้องสะอาดมีก ลิ่น หอม เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีน้าหอมปรุงแต่งเหมือนปัจจุบัน เครื่องปรุง น้าสะอาด ๑ ลิตร ลูกซัดคั่วแล้ว ๑ ถ้วยตวง ชะลูดขาว ๑ กามือ ใบเตยหอม ๑๐-๑๕ ใบ เพื่อความหอมของใบเตยเป็นพื้น


หน้า ๔๐

วิธีท้า ต้มน้าให้เดือด ใส่ชลูด ใบเตยตัดเป็นท่อนยาว ๒ นิ้ว ลูกซัดที่คั่วแล้ว ต้มจนเกิดกลิ่นหอมยกลง กรองเอาแต่น้าไปซักผ้า ถ้าต้มนานสีของชะลูดและลูกซัดจะออกมา ทาให้เกิดสีเหลืองเข้ม สาหรับผ้าที่จะ นามาซักให้หอมนั้นจะต้องซักและทาความสะอาดมาแล้ว จึงนามาแช่ในน้าหอมที่ต้มเอาไว้ แช่ผ้าทิ้งไว้ ประมาณ ๑๕-๓๐ นาที แล้วบิดให้แห้งนาขึ้นตากถ้าต้องการผ้านั้นแข็ง ให้แป้งน้าหอมทีต้มไว้ไปชงกับแป้ง มันสาปะหลังให้ข้นใส แล้วนามาซักกับผ้าก่อนนาไปตาก เมื่อผ้าแห้ง แล้วพรมน้าให้หมาดทั่วกันแล้วจึง นาไปรีด จะทาให้แข็งและเป็นเงา หรืออาจนาไปอัดให้เรียบได้เช่นกัน ผ้าที่นามาซักผ้าควรเป็นผ้าสีเข้ม ผ้าลาย หรือผ้าถุง ไม่ควรใช้สีอ่อนจะทาให้ผ้ามีคล้าขึ้นถ้าจะต้ม หรือซักผ้าในน้าร้อนจะใช้ไม้ยาว ๒ อัน ลักษณะคล้ายไม้พลอง บิดผ้าให้แห้งมือได้


หน้า ๔๑

ขี้ผึ้งกะทิสีปาก สมั ย ปู่ ย่ า ตา ยาย เมื่ อ รั บ ประทานหมาก จะเห็ น ริ ม ฝี ป ากสี แ ดงเรื่ อ ๆ และอิ่ ม เอิ บ อี ก ด้ ว ย สมัยก่อนเคยเล่นเซี่ยนหมาก ซึ่งมีตลับใหญ่ๆ บรรจุ สีเสียด หมากแห้ง ยาฉุน และตลับเล็ก จะใส่เป็นขี้ผึ้ง ซึ่งมีกลิ่นหอมดีและทาให้ปากนุ่มนวลขึ้น ปัจจุบันนี้หาซื้อยาก ต้องไปแถวบางลาพู หรือวัดมหาธาตุ จึงจะมี ขาย เครื่องปรุง ขี้ผึ้งแท้หนัก หัวกะทิข้น วาสลิน ใบเตยหอม ดอกมะลิ ดอกกระดังงา กุหลาบ หัวน้าหอมกลิ่นมะลิ พิกุล ลาเจียก ไฮซิน เทียนอบ

๕ บาท ๓ ถ้วยตวง ๑/๒ ถ้วยตวง ๕ ใบ ๑ ถ้วย ๑๕ ดอก

วิธีท้า ๑.นาหัวกะทิ ใส่หม้อเคลือบ ตั้งไฟกลางพอเดือดใส่ใบเตยหอม เมื่อกลิ่นใบเตยหมดให้ตักใบเตย ขึ้น ใส่ดอกมะลิแล้วเคี่ยวต่อไป สังเกตว่ากลิ่นหอมออกหมด ตักดอกมะลิขึ้น ดอกไม้ชนิดอื่นทาเช่นเดียวกัน ๒.ใส่ขี้ผึ้งแท้หนัก ๕ บาท ใช้ไม้พายคนจนขี้ผึ้งละลายหมด เคี่ยวต่อไปจนแห้งเป็นขี้โล่ ยกลงจาก เตา ๓.กรองด้วยผ้าขาวบางโดยเร็วที่สุด ในขณะที่ขี้ผึ้งยังร้อน แล้วนาขึ้นตั้งไฟ ใส่วาสลินทีละน้อยคน ให้เข้ากัน ๔.เติมหัวน้าหอมกลิ่นที่ต้องการ แล้วกรองอีกครั้งหนึ่ง โดยกรองใส่ชามตั้งไว้ให้เย็นใช้มือแมวตัก ลงบนใบลานแห้ง นาไปอบควันเทียนจนหอมถ้าไม่ใช้มือแมวให้ใช้ผิวไม้ไผ่บางๆเหลาให้เกลี้ยงประมาณครึ่ง เซ็นติเมตร ขดเป็นวงกลม แล้วเอาเชือกผูกปลายไว้นาไปขูดขี้ผึ้ง แล้ วนาไปอบควันเทียน เพื่อเพิ่มความ หอมยิ่งขึ้น


หน้า ๔๒

ยาดมส้มมือ ยาดมส้มมือ หรือบางคนนิยมเรียกสั้นๆว่า “ส้มมือ” ใช้ดมแก้วิงเวียนศรีษะ ดมแล้วชื่นใจ เครื่องปรุง ส้มมือแห้งหรือผิวส้มโอ น้ามันบอฮออิ๊ว หัวน้าหอมกลิ่นกุหลาบ หรือกลิ่นที่ต้องการ น้ามันอบเชย น้ามันก้านพลู น้ามันสน พิมเสนอย่างดี เมนทอล ยาหอมชนิดผง

๑/๒ กิโลกรัม ๑ ช้อนชา ๑/๒ ช้อนชา ๑/๒ ช้อนชา ๑/๒ ช้อนชา ๑/๒ ช้อนชา ๑/๒ ช้อนชา ๑ ช้อนชา ๑ ช้อนชา

วิธีท้า ล้างส้มมือหรือผิวส้มโอให้สะอาดแล้วนาไปนึ่ง ให้สุก พออุ่นๆ นวดน้ามันบอฮออิ๊วให้นุ่มมือถ้า เปียกเกิน ไปผึ่ งให้ห มาด แล้ วนาเมนเทล พิมเสนนอย่างดีบดให้ละเอีย ด น้ามันก้ านพลุ น้ามันอบเชย น้ามันสน หัวน้าหอมกลิ่นกุหลาบหรือกลิ่นที่ต้องการ ผสมกับส้มมือหรือผิวส้มโอที่นวดไว้ให้เข้ากันดี จึง แบ่งใส่อับตะกั่วหรืออับเงิน ที่เจาะรูสาหรับใช้ดม

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/08/K9562547/K9562547.html

ยาดมส้มมือ


หน้า ๔๓

ยาหม่อง เครื่องปรุง วาสลิน พาราฟิน บีแวกซ์ BEE-WAX น้ามันระกา น้ามันสะระแหน่ เมนทอล การบรู พิมเสน น้ามันก้านพลู น้ามันอบเชย

๓๐ กรัม ๑๕ กรัม ๑๕ กรัม ๑ ช้อนโต๊ะ ๑ ช้อนโต๊ะ ๑๕ กรัม ๑๕ กรัม ๑๕ กรัม ๑/๓ ช้อนชา ๑/๓ ช้อนชา

สูตรนี้ได้ประมาณ ๑๕ ขวดยาหม่องขนาดเล็กถ้าต้องการยาหม่องน้า ไม่ต้องใช้วาสลินพาราฟิน บีแวกซ์ แต่ให้ใช้น้ามันแก้ว จานวน ๔ ออนซ์แทน วิธีท้า ใช้ภาชนะโลหะ หรือใช้หม้อตุ๋น ถ้าใช้ภาชนะโลหะควรตั้งบนน้าเดือด ถ้าตั้ง ที่ไฟเลยควรใช้ไ ฟ อ่อนๆถ้าไฟแรงกลิ่นจะระเหยไปหมด นาวาสลิน พาราฟิน บีแวกซ์ ใส่ภาชนะให้ถูกความร้อนจนละลายหมด ใส่น้ามันระกา น้ามัน สะระแหน่ เมนทอล การบรู พิมเสน น้ามันก้านพลู น้ามันอบเชย กวนให้ เข้ากัน ถ้าต้องการสีให้ใส่เทียน หรือน้ามันพง กวนให้ละลายหมด และกรอกใส่ขวดโดยกรองผ่านกรวยเพื่อทาให้ยาหม่องไม่ออกนอกขวด ส่วนยาหม่อง ให้นาน้ามันแก้ว ๔ ออนซ์ ใส่ขวดขนาด ๑ ปอนด์ แล้วใส่น้ามันระกา น้ามัน สะระแหน่ เมนทอล การบรู พิมเสน น้ามันก้านพลู น้ามันอบเชย เขย่าให้เข้ากัน แล้วกรองให้สะอาดกรอง ใส่ขวดเล็กที่เตรียมไว้


หน้า ๔๔

หมากหอม คนไทยสมัยก่อน นิยมรับประทานหมากกัน ฉะนั้นนอกจากจะเคี้ยวหมากอย่างเดียวแล้วก็ปรุง แต่ง รสและกลิ่น เพิ่มความอร่อยให้กับหมากด้วย บางคนหั่นใบเนียมใส่ปูนทาให้ปูนมีกลิ่นหอม บางคน ผสมผงสีเสียดบดละเอียดใส่ กับปูน นับว่าเป็นการปรุงแต่งรสอย่างหนึ่ง หมากหอมก็เช่นเดียวกัน หมาก หอมจะช่วยเพิ่มความหอมหวานให้แก่หมากยิ่งขึ้น เครื่องใช้ โกร่ง โถกระเบื้อง เทียนอบ เครื่องปรุง ดอกกระดังงาไทย พิกุล จาปา มะลิแห้งบดแล้วอย่างละ ๒ ช้องโต๊ะ พิมเสนอย่างดี ¼ ช้อนชา หมากแห้ง ๑ ช้อนโต๊ะ อบเชยญวน ๑ ช้อนโต๊ะ สมุลแว้ง ๑ ช้อนโต๊ะ การพลู ๑ ช้อนโต๊ะ ชะเอม ๑ ช้อนโต๊ะ ลูกกระวาน ๑ ช้อนโต๊ะ ลูกจันทน์ ๑ ช้อนโต๊ะ ดอกจันทน์ ๑ ช้อนโต๊ะ วิธีท้า นาดอกกระดั งงาไทย พิ กุล จ าปา มะลิ ผึ่ ง แดดให้ แห้ ง หรอบแล้ วบดให้ล ะเอีย ด หมากแห้ ง บดละเอียด อบเชยญวน สมุลแว้ง กานพลู ชะเอม ลูกกระวาน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ผึ่งแดดให้แห้งกรอบ แล้วบดให้ละเอียดเช่นเดียวกัน โดยแยกบดแต่ชนิด


หน้า ๔๕

วิธีปรุง นาดอกไม้บดแห้งทั้ง ๔ ชนิด อย่างละ ๒ ช้อนโต๊ะ เครื่องหมากแห้ง อบเชยญวน สมุลแว้ง การ พลู ชะเอม ลูกกระวาน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์อย่างละ ๑ ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน ถ้าต้องการหวานมากก็ใส่ ชะเอมเพิ่มใส่ ๑/๔ ช้อนชา หรือน้อยกว่านั้น ถ้าใส่มากจะทาให้กลิ่นพิมเสนกลบกลิ่นอื่นหมด เสร็จแล้ว นามาอบควันเทียนหลายๆครั้ง แล้วจึงห่อด้วยกาบหมาก วิธีห่อ นากาบหมากแห้งที่หลนจากต้น ตัดก้านทิ้ง นากาบหมากแช่น้าลอกใช้แ ต่เยื่อชั้นในที่เป็นเยื่อ ขาวๆนาเยื่ออ่อนที่ลอกออกมาได้นั้น ตัดเป็นเหลี่ยมเล็กๆด้านละ ๑ ๑/๒ นิ้ว แล้วนาผงหมากที่อบควัน เทียนประมาณ ๓-๕ ครั้ง จนหมอพอดี ตักใส่ตรงกลางเท่านิ้วก้อยพับริมสองข้าง แล้วห่อม้วนให้เป็นก้อน กลมยาว ส่วนชั้นนอกใช้กระดาษว่าวสีต่างๆกระดาษแก้วใส กระดาษแก้วขุ่น นามาห่อหมากหอมที่ห่อกาบ หมากไว้ใช้ด้วยรัดตรึงให้คอดทั้ง ๒ ข้างเหมือนลูกอม หรือจะปั้นเป็นลูกกลมๆเล็กๆอย่างในปัจจุบัน

สรุป ในปัจจุบันเครื่องหอมไทยนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สาคัญ และถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ในการ ดารงชีวิตซึ่งมีการปรุงแต่งอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ตั้งแต่เครื่องสาอาง ของใช้ต่างๆ ซึ่งทุกคนมีความ ปรารถนาที่อยากได้ในส่วนนั้น ของทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากจะมีสีสันน่าหยิบน่าชมแล้วกลิ่นก็เป็นอีกอย่าง หนึ่งที่คนเราให้ความสนใจและหลงใหลมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เครื่องหอมของไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทุก วันนี้เครื่องหอมไทยถูกกลบเกลื่อนด้วยน้าหอมจากต่างประเทศ และอมจากสารสังเคราะห์ ซึ่งเป็นอันตราย แก้ผู้ใช้ แต่ส่วนของเครื่องหอมไทยนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรจากธรรมชาติซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ ในด้วนต่างๆ ตามสรรพคุณของสมุนไพรที่มาทาเครื่องหอมนั้น อย่างไรก็ตามเครื่องหอมไทยจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการนาไปใช้ของแต่ละ บุคคล และรวมถึงการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับตัวพืชสมุนไพรที่จะนามาทาเครื่องหอมให้ตรงกับความ ต้องการของตนเองหรือผู้ใช้

ข้อเสนอแนะ ในการเลือกซื้อหรือเลือกใช้เครื่องหอมนั้นควรดูที่ภาชนะบรรจุ ถ้าเป็นขวดแก้ควรเป็นขวดแก้วสี ทึบเพราะเครื่องหอมบางตัวเมื่อถูกแสงแดดโดยตรงจะทาให้เปลี่ยนกลิ่น ส่วนฝาจุกก็ควรเป็นจุกแก้วหรือ ยางไม้เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้น


หน้า ๔๖

บันทึก

.......................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


หน้า ๔๗

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


หน้า ๔๘

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


หน้า ๔๙

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


หน้า ๕๐

....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.