เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้น คืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ 4) “สีสันแห

Page 1


เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้น คืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๔)

เรื่อง สีสันแห่งฤดูพรรษา ภูมิปัญญาจากบายศรี วันเสาร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

จัดพิมพ์โดย สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กรกฎาคม ๒๕๕๘ จานวน ๖๐ เล่ม ๙๖ ถนนปรีดี พนมยงค์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ โทรสาร ๐๓๕-๒๔๑-๔๐๗ ฝ่ายวิชาการ พัฑร์ แตงพันธ์ สาธิยา ลายพิกุน

ฝ่ายส่งเสริม และเผยแพร่วิชาการ ปัทพงษ์ ชื่นบุญ อายุวัฒน์ ค้าผล อรอุมา โพธิ์จิ๋ว ฝ่ายบริหารงานทัว่ ไป ณัฐฐิญา แก้วแหวน สายรุ้ง กล่​่าเพชร ศรีสุวรรณ ช่วยโสภา ประภาพร แตงพันธ์ ยุพดี ป้อมทอง

คัดสรรข้อมูลจาก เบญจมาส แพทอง. (๒๕๔๐). บายศรี : สัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.


สารบัญ หน้า บายศรี : สัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต

ความหมายของบายศรี

ลักษณะหรือชนิดของบายศรี

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของบายศรี

๑๕

ชั้นบายศรี

๑๗

เครื่องประกอบบายศรี

๑๙

โอกาสที่ใช้

๒๕

ความสาคัญของบายศรี

๓๕

บทสรุป

๓๖


กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๔) เรื่อง สีสันแห่งฤดูพรรษา ภูมิปัญญาจากบายศรี ๑.ชื่อหลักสูตร: กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครั้งที่ ๔) สีสันแห่งฤดูพรรษา ภูมิปัญญาจากบายศรี ๒.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม สถาบันอยุธยาศึกษา ๓.หลักการและเหตุผล: บายศรี เป็นสัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยมาช้านาน โดยพบหลักฐานมา ตั้งแต่สมัยทวารวดี กล่าวได้ว่าคนไทยเริ่มสัมผัสบายศรีตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของชีวิต และด่าเนินเรื่อยมาจน สิ้นสุดวาระแห่งชีวิต นับตั้งแต่การเกิด โกนจุก การบวช การแต่งงาน พิธีท่าขวัญรับขวัญ การเซ่นสรวงบูชา เทวดาอารักษ์ ตลอดจนในปัจจุบันนี้ ยังนิยมน่ามาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องพุทธบูชาบูชาในวันส่าคัญ ทาง พระพุทธศาสนา ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นการปฏิบัติเพื่อความเจริญ มั่นคงของชีวิต และเสริมสร้าง ก่าลังใจเพื่อให้การด่าเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น ในวรรณกรรมไทยหลายเรื่อง ได้กล่าวถึงพิธีกรรมท่าขวัญและบายศรี อันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความเชื่อของคนไทยที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง และคุ้นเคยกับบายศรีในช่วงหนึ่งของ ชีวิต อาทิ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนก่าเนิดพลายงามที่กล่าวถึงการใช้บายศรีเป็นเครื่องประกอบ พิธีเรียกขวัญพลายงาม บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ตอนนางพันธุรัตน์รับขวัญพระสังข์ โดยมีพิธีเบิกบายศรีเป็นเครื่องประกอบ บายศรีมักท่าด้วย ใบตองตานี ม้วนพับ และเย็บประกอบเป็นแบบต่าง ๆ เนื่องจากใบตองตานีมีคุณสมบัติอ่อน ไม่แตกง่าย และมีอายุการใช้งานได้หลายวันไม่เหี่ยวแห้ง ง่าย การประดิษฐ์บายศรีแต่ละชนิด ต้องใช้ความประณี ต ทักษะ และสมาธิในแต่ละขั้นตอนการท่า ทั้งหมดนี้นอกจากจะเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาของคนไทยใน อดีตแล้ว ยังเป็นการสะท้อนทางด้านความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติเรื่อง “ขวัญ” ของมนุษย์อีกด้วย สถาบันอยุธยาศึกษา เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอ ยุธยา ท่าหน้าที่ใน ด้านการศึก ษา ค้น คว้า วิจัยข้ อมู ลเกี่ ยวข้ องกับ ประวัติศ าสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒ นธรรมของจัง หวั ด พระนครศรีอยุธยา จึงเห็ นสมควรจัด กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้น คืนความเป็ นไทยในภูมิปั ญ ญา ท้องถิ่นกรุงเก่า ครั้งที่ ๔ เรื่อง สีสันแห่งฤดูพรรษา ภูมิปัญ ญาจากบายศรี เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ เรี ย นรู้ ค วามเป็ น มา และประโยชน์ ข องบายศรี สามารถประดิ ษ ฐ์ บ ายศรี ทั้ ง ในเรื่ อ งของการเตรีย ม ส่วนประกอบ การฉีกใบตอง การเย็บและประกอบบายศรี โดยผู้อบรมสามารถที่จะน่าไปประกอบอาชีพ อิสระได้ ตลอดจนเป็นการปลูกจิตส่านึกและภาคภูมิใจในมรดกวัฒ นธรรม รวมทั้ง เป็นการสืบ สานภู มิ ปัญญาของชาติต่อไป


๔.วัตถุประสงค์ : ๑) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ มีความความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของบายศรีชนิดต่างๆ รวมทั้งโอกาสส่าหรับการใช้บายศรีในการประกอบพิธีกรรมทั้ง พุทธและพราหมณ์ ๒) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ มีความความรู้เกี่ยวกับ ปฏิบัติวิธีการประดิษฐ์บายศรีปากชาม การคัดเลือกวัสดุ การประกอบตัวบายศรี ๓) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจ เกิดจิตส่านึกที่ดีเห็น คุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ของไทย อันจะก่อให้เกิดความรู้สึกหวงแหนในศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และเกิดผลดีต่อประเทศชาติ สืบไป ๕. สาระสาคัญของหลักสูตร: กิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็ นไทยในภูมิปัญ ญาท้องถิ่น กรุงเก่า ครั้งที่ ๔ เรื่อง สีสันแห่งฤดูพรรษา ภูมิปัญญาจากบายศรี ๖. หัวเรื่องและขอบข่ายเนื้อหา: หัวเรื่อง: สีสันแห่งฤดูพรรษา ภูมิปัญญาจากบายศรี ขอบข่ายเนื้อหา: ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ความเป็นมา และประโยชน์ของบายศรี สามารถ ประดิษฐ์บายศรี ทั้งในเรื่องของการเตรียมส่วนประกอบ การฉีกใบตอง การเย็บและประกอบบายศรี โดยผู้ อบรมสามารถที่จะน่าไปประกอบอาชีพอิสระได้ ๗. รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม: ๗.๑ อบรมเชิงอภิปราย (บรรยายทางวิชาการ) ๗.๒ วิ ธี ก ารฝึ ก อบรม: การจั ด กิ จ กรรมบรรยายทางวิ ช าการ โดยนั ก วิ ช าการที่ มี ค วามรู้ ความสามารถ และเป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการ ๘. ระยะเวลาการฝึกอบรม: ๑ วัน ๙. จานวนผู้เข้ารับการอบรม: ๔๐ คน ๑๐. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม: นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป ๑๑. ค่าใช้จ่าย: งบประมาณแผ่นดิน (บริการทางวิชาการ) ๑๘,๐๐๐ บาท ๑๒. การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม: ๑๒.๑ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.๒ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ๑๒.๓ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปสามารถน่าความรู้ไปใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕


๑๓. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ๑) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของบายศรีชนิดต่างๆ รวมทั้งโอกาสส่าหรับการใช้บายศรีในการประกอบพิธีกรรมทั้ง พุทธและพราหมณ์ ๒) นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความความรู้เกี่ยวกับ ปฏิบัติวิธีการประดิษฐ์บายศรีปากชาม การคัดเลือกวัสดุ การประกอบตัวบายศรี ๓) นักเรียน นั กศึกษา อาจารย์ เครือข่ายทางวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป เกิดจิตส่านึกที่ดีเห็ น คุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น รวมทั้งสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ของไทย และสามารถน่าไปประยุกต์ใช้เพื่อการประกอบอาชีพได้ ๑๔. วันเวลาอบรม : วันเสาร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ๑๕. สื่อการอบรม : ๑๕.๑ เอกสารประกอบการเสวนา ๑๕.๒ จอแสดงภาพประกอบ ๑๖. สถานที่ฝึกอบรม : ภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ ณ ห้องประชุมต้นโมก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๑๗. แนววิชาโดยสังเขป ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ความเป็นมา และประโยชน์ของบายศรี สามารถประดิษฐ์บายศรี ทั้ง ในเรื่องของการเตรียมส่วนประกอบ การฉีกใบตอง การเย็บและประกอบบายศรี โดยผู้อบรมสามารถที่จะ น่าไปประกอบอาชีพอิสระได้ ๑๘. แผนการสอน วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘

เวลา

เนื้อหาวิชา

๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. ประวัติความเป็นมา และพิธีกรรมเกี่ยวกับบายศรี ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ปฏิบัติการประดิษฐ์บายศรี : การเตรียมวัสดุ การฉีก พับใบตอง ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปฏิบั ติการประดิ ษฐ์บ ายศรี : การเย็บ และประกอบบายศรี การ ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

สรุปผลการปฏิบัติการ

รวมบรรยาย ๑ ชั่วโมง รวมปฏิบัติการ ๗ ชั่วโมง


กาหนดการอบรมหลักสูตรระยะสั้นคืนความเป็นไทยในภูมิปัญญาท้องถิ่นกรุงเก่า (ครัง้ ที่ ๔)

เรื่อง สีสันแห่งฤดูพรรษา ภูมิปัญญาจากบายศรี วันเสาร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา *****************************************

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.

ลงทะเบียนรับเอกสาร แบ่งกลุ่มปฏิบัติการฝึกอบรม, บรรยายประวัติความเป็นมา และพิธีกรรมเกี่ยวกับบายศรี วิทยากรโดย อาจารย์อรุณ พุ่มไสว และอาจารย์ศรายุทธ ทองแก้ว

๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

ปฏิบัตกิ ารประดิษฐ์บายศรี : การเตรียมวัสดุ การฉีก พับใบตอง วิทยากรโดย อาจารย์อรุณ พุ่มไสว และอาจารย์ศรายุทธ ทองแก้ว

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

ปฏิบัติการประดิษฐ์บายศรี : การเย็บ และประกอบบายศรี การประดับตกแต่ง ด้วยดอกไม้ต่าง ๆ วิทยากรโดย อาจารย์อรุณ พุ่มไสว และอาจารย์ศรายุทธ ทองแก้ว

๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

สรุปผลการปฏิบัติ และมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม

*** หมายเหตุ *** รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มในระหว่างการอบรม เวลา ๑๐.๐๐ น และ ๑๔.๐๐ น.


หน้า ๑

บายศรี : สัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต

พิธีกรรมต่างๆในสังคมไทยเกิดขึ้นด้วยเหตุนานาประการอาทิจากความเชื่อจากอิทธิพลของ ศาสนา จากวิถีการดาเนินชีวิต จากการสนองตอบความความต้องการเกี่ยวกับการสนุกสนานรื่นเริงบันเทิง ใจของมนุ ษย์ ตลอดจนจากอิท ธิพ ลของต่ างชาติ เป็ น ต้น แต่โดยส่วนใหญ่ อิท ธิพ ลจากศาสนาน่ าจะมี อิทธิพลค่อนข้างสูง นอกเหนือไปจากพุทธศาสนาแล้ว ยังมีศาสนาพราหมณ์อีกศาสนาหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อ พิธีกรรมของไทยเป็น อย่างมาก จะเห็นได้ว่าพราหมณ์เป็นเจ้าลัทธิพิธีมาแต่โบราณกาล และได้รับการ อุปถัมภ์ค้าจุนจากราชสานักตลอดมา พราหมณ์เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายและกิจพิธีต่างๆ ในสมัยอยุธยา ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการตาแหน่งนาพลเรือนระบุถึงตาแหน่งและยศศักดิ์ของพราหมณ์ เป็นที่สังเกตได้ว่าพิธีกรรมต่างๆ ของไทยหลายพิธีประกอบด้วยพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์ผสมผสานกันจน บางครั้งแยกไม่ออก ดังได้ยินคากล่าวอยู่เสมอๆ ว่า “พุทธกับไสยย่อมอาศัยกัน” ทั้งนี้ด้วยความเชื่อมั่นว่า จะเกิดสุขสมบูรณ์และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต บายศรี เป็นสิ่งหนึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทยมาช้านาน กล่าวได้ว่าคนไทยเริ่มสัมผัสกับบายศรีตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของชีวิตและดาเนินเรื่อยมาจนสิ้นสุดวาระแห่ง ชีวิต จะเห็นได้ว่า ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเช่น การเกิด การโกนจุก การบวช การแต่งงาน ต้องทาขวัญ รับขวัญ รับขวัญ การเซ่นสรวงบูชา เทวดาอารักษ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการปฏิบัติ เพื่อ ความมั่นคงของชีวิต เสริมสร้างพลังใจ และการดาเนินชีวิตอย่างราบรื่น ดังนั้น บายศรีจึงเป็นสัญลักษณ์ หนึ่งของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต


หน้า ๒

ความหมายของบายศรี บายศรี คืออะไรนั้น มีผู้รู้ให้คาจากัดความไว้ต่างๆ ดังนี้ ราชบัณฑิตยสถานให้คาจากัดความไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ว่า “เครื่ อ งเชิ ญ ขวั ญ หรื อ รั บ ขวั ญ ท าด้ วยใบตอง รู ป คล้ ายกระทง เป็ น ชั้ น ๆ มี ข นาดใหญ่ เล็ ก สอบขึ้ น ไป ตามลาดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกนมีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี” ศาสตราจารย์ พระยาอนุ ม านราชธน หรื อเสฐี ยรโกเศศ นั กปราชญ์ ไ ทยผู้ ได้ รับ ยกย่อ งจาก องค์ การวิ ท ยาศาสตร์แ ละวัฒ นธรรมแห่ ง สหประชาชาติ (UNESCO) ว่ าเป็ น ผู้ มี ผ ลงานดี เด่ น ทางด้ า น วัฒนธรรมระดับโลกให้ความหมายว่า “บายศรี หมายถึง กระทงใส่อาหารให้ขวัญกิน แต่อยากให้เป็นงาน ใหญ่วิเศษขึ้น จึงทากระทงอาหารหลายใบซ้อนกัน แล้วดูมันม่อต้อไปจึงคิดทาคันรองกระทงขึ้นให้เห็นเป็น จะๆ กันเป็นชั้นๆ แล้วเห็นกระทงเปล่ามันไม่งาม จึงจัดการเจิมปากเข้า แล้วก็ลืมไปว่ามันเป็ นกระทงเจิม กันเติมเข้าอีกด้วย จึงสาเร็จรูปเลือนมาเป็นบายศรีอย่างทุกวันนี้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มณีรัตน์ จันทนะผะสิน อาจารย์ประจาภาควิชาคหกรรมศาสตร์ สถาบัน ราชภั ฏสวนดุสิต กล่าวไว้ในบทความเรื่อง บายศรี ว่า “บายศรี คือภาชนะที่จัดตกแต่ง ให้สวยงามเป็ น พิเศษด้วยใบตองและดอกไม้ เพื่อเป็นสารับใส่อาหารคาวหวานในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทาขวัญต่างๆ ทั้ง ของพระราชพิธีและของราษฎร” นายสัง คม ศรีราช นั ก วรรณศิ ล ป์ ๖ กองศิ ลปกรรม ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน ให้ ค าอธิบ ายไว้ ใน สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า “บายศรีในชั้นแรกเป็นสารับกับข้าวง่ายๆ ที่จัด ให้ผู้หรือสิ่ง ที่ ได้รับการสมโภชหรือทากับขวัญกินมาแต่เดิม...เรียกตามลักษณะที่จัดทาว่า บายศรีตองบ้าง บายศรีแก้ว บ้าง บายศรีเงินบ้าง บายศรีทองบ้าง” จากคาจากัดความข้างต้นอนุมานได้ว่า บายศรีเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อของมนุษย์ใน การทาขวัญ สมโภช บวงสรวง หรือเซ่นสังเวย ในพิธีกรรมดังกล่าวจะต้องมีบายศรีซึ่งมีหลักเป็นกระทง อาหารคาวหวาน หรือใส่ดอกไม้ ตัวบายศรีเกิดจากการประดิษฐ์ ประดับประดาอย่างประณีต งดงาม เป็น ศิลปะจากใบตองที่ทรงคุณค่ายิ่ง เมื่อพิจารณาดูแล้วจะสังเกตเห็นได้ว่า บายศรีเกิดจากคา ๒ คารวมกัน คาหนึ่งเป็นภาษาเขมร คือ “บาย” แปลว่า “ข้าว” อีกคาหนึ่งเป็นภาษาสันสกฤต คือ “ศรี” แปลว่า “มิ่งขวัญ สิริมงคล” รวม ความแล้ว บายศรี ก็คือ ข้าวขวัญ หรือข้าวที่มีสิริมงคล ในตัวบายศรีเองนั้นต้องมีข้าวสุกประกอบด้วย และ มักจะขาดไม่ได้ บายศรีจึงเกี่ยวข้องกับข้าวและเรื่องของการกิน เพราะนอกจากข้าวแล้วยังมีอาหารคาว หวานอื่นๆ ประกอบอีกด้วย จึงไปสัมพันธ์กับคาว่า “สมโภช” คือ การเลี้ยงอาหาร หรืองานฉลองในพิธี มงคลเพื่อความยินดีร่าเริงอีกประการหนึ่ง ดังปรากฏในข้อเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่อง “ดอกไม้ ธูปเทียนบายศรี” พิมพ์ลงในเอกสารประกอบคาบรรยาย มธ.๑๓๑ และ มธ. ๑๓๒ พ.ศ. ๒๕๑๕ ว่า


หน้า ๓

“เมื่อดูลักษณะบายศรีแล้ว ก็เห็นว่าเป็นเรื่องของอาหารการกินและเกี่ยวกับ การเลี้ยงดู ความจริงนั้นบายศรีนั้นใช้ในการสมโภชหรือการรับขวัญ สาหรับพิธีหลวงที่ใช้ ในการสมโภชต่างๆ มีพิเศษกว่าบายศรีธรรมดาขึ้นไป คือมีบายศรีแก้ว บายศรีทองและ บายศรีเงิน ใช้แก้ว ทอง และเงินทาเป็น บายศรีเจ็ดชั้น ส่ว นที่ชาวบ้านใช้กันทั่วไปนั้น เป็นบายศรีใบตองเป็นพื้น ในการสมโภชหรือทาขวัญนั้น หากเป็นพิธีหลวงบายศรีก็ตั้ง เอาไว้เฉยๆ ประกอบการเวียนเทียน แต่สาหรับพิธีของชาวบ้าน เช่นทาขวัญนาคหรือทา ขวัญเด็กเมื่อถึงเวลาจะโกนจุกนั้น มักจะมีการตักน้ามะพร้าวอ่อนไปให้ผู้ที่ถูกทาขวั ญซด หนึ่งช้อน เป็นนิมิตหมายว่าได้เลี้ยงดูผู้ซึ่งเดินทางมาไกลเรียกว่าเป็นการรับขวัญ เพราะ ต้องระหกระเหินในการเดินทางมานั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นการเลี้ยงส่งผู้ที่จะต้องเดินทาง ไปไกล หรือเปลี่ยนสภาพชีวิตจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่หลังจากที่ได้โกนจุกแล้ว หรือเปลี่ยน ชีวิตจากฆราวาสไปเป็นสมณะเมื่อได้เข้าอุปสมบทแล้ว บายศรีจึงเป็นการเลี้ยงส่ง หรือ เลี้ยงรับ ซึ่งคนไทยเราในสมัยโบราณได้จัดขึ้นอย่างประหยัดและรัดกุม กล่าวคือไม่ต้องมี การเลี้ยงกันจริงๆ อย่างฟุ่มเฟือย และหมดเปลือง เป็นการเลี้ยงพอเป็นพิธีและเป็นพิธีที่ งดงามน่ า จะรั ก ษาไว้ อี ก ด้ ว ย ส าหรั บ บายศรี ป ากชามนั้ น เข้ า ใจว่ า จะเป็ น บายศรี ที่ ย่อส่วนลงมาจากบายศรีใหญ่อีกชั้นหนึ่ง บายศรีปากชามนั้นใช้เซ่นเจ้า เช่น เซ่นศาลพระ ภูมิก็ได้ วัตถุประสงค์ของ บายศรีมีอยู่เพียงแค่นี้ในขนบธรรมเนียมประเพณีไ ทย ไม่มี อย่างอื่นอีกเลย” พระชลธารมุนี อนุจารีเถระ สั งฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา พระคณาจารย์แห่งมหาธาตุ วิทยาลัย อธิบายให้ข้อสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวอีกด้วยว่า “บายศรีจริงๆ นั้นคืออะไร...บาย แปลว่า ข้าว แต่มุ่งเอาข้าวสุก ศรี แปลว่า สิริมงคล มิ่งขวัญ ท่านพรรณนาไว้ว่า มนุษย์มีข้าวเป็นศรี เป็นมงคล เป็นมิ่งขวั ญ ไม่มีมงคลใด มิ่งขวัญอันใดดีกว่าเลย เพราะ เงินทองถ้าหิวขึ้นมาแล้วใส่ปากก็ไม่หายหิวเว้นข้าวแล้วชีวิตดับ แม้จะเป็นอยู่ก็ลาบาก ดังนั้นข้าวจึงเป็นมิ่ง ขวัญ เป็นมงคลที่ผู้รู้ยกย่อง เหตุนั้นการทาขวัญจึงตั้งต้นบายศรี ตัวบายศรีจึงเอาข้าวสุก นิยมใช้ข้าวปาก หม้อตกแต่งให้งาม ยกขึ้นตั้งไว้บนยอดบายศรี ถ้าขาดข้าวแล้วจะเป็นบายศรีไม่ได้” นอกจากบายศรีจะเกี่ยวข้องกับข้าวและเรื่องอาหารการกินแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับขวัญ อีกด้วย เพราะ “เป็นกระทงใส่อาหารให้ขวัญกิน” “เป็นเครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ” “เป็นสารับกับข้าวต่างๆ ให้ ผู้รับการสมโภชหรือทาขวัญกิน” ขวั ญ คื อ อะไรนั้ น ตามที่ บั ญ ญั ติ ไว้ ขวั ญ มี ค วามหมายอยู่ ๒ ประการทั้ ง ที่ เป็ น รูป ธรรมและ นามธรรม ประการแรก ขวัญมีลักษณะเป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่แลเห็นได้ หมายถึง ผมหรือขน ที่ขึ้นเวียน เป็นก้นหอยมีทั้งคนและสัตว์ โบราณมีตาราทานายขวัญ (ขน) ที่ขึ้นตามที่ต่างๆ ของร่างกายด้วย ประการที่สอง ขวัญเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่ไม่แลเห็น ไม่มีตัวตน แต่เชื่อกันว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่ ในร่างกาย สามารถหลบหนีไปได้ ดังที่เคยได้ยินบ่อยๆ ว่า ขวัญ หาย ขวัญ หนี เป็นต้น และสามารถเรียก กลับมาได้เช่นกัน เชื่อกันอีกว่า ถ้าขวัญอยู่กับตั วของผู้ใด ผู้นั้นก็จะมีความสุขกายสบายใจ ไม่เจ็บไม่ไข้ ถ้า ขวัญหนีหายไปจะเกิดอันตรายแก่ผู้คนนั้นได้


หน้า ๔

ส่วนรูปร่างลักษณะของขวัญจะเป็นอย่างไรนั้นไม่สามารถกาหนดได้ เพียงแต่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่มี พลังอย่างหนึ่ง เจริญเติบโตได้ตามตัวคน (เจ้าของขวัญ) เวลาคนยังเป็นทารก ขวัญมักตื่นเต้นตกใจง่ายและ อาจละทิ้งเจ้าของหลบหนีกระเจิดกระเจิงไปจนหายตกใจจึงจะกลับมาสู่ร่างอย่างเดิม เมื่อตัวคนเติบใหญ่ ขึ้นขวัญก็ค่อยรู้จักหนักแน่นมีสติอารมณ์ยิ่งขึ้นตามตัวคนโดยลาดับ จนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ พ่อเหย้าเจ้าเรือน ขวัญก็เป็นผู้ใหญ่ไปด้วยกัน ดังนั้นจึงเกิดความเชื่อว่า ขวัญเป็นสิ่งสาคัญและจาเป็นจะต้องมีทุกคน ก่อให้เกิดพิธีกรรมต่างๆ ที่จะทาให้ขวัญอยู่กับตัวตลอดไป จะเห็นได้ว่าในแทบทุกระยะของชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา จะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหลายอย่างที่ต้องทาให้ขวัญอยู่กับคนผู้นั้น เสมอ อาทิ การทาขวัญแรกเกิด ทาขวัญ เดือน โกนจุก บวชนาค แต่งงาน การสร้างบ้านปลูกเรือน การยกเสาเอก วางศิลาฤกษ์ เป็นต้น ตลอดจนทาขวัญ ผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้ หรือรอดพ้นอันตรายกลับมา การได้รับตาแหน่งใหม่ เลื่อนยศ เลื่อน ขั้น การกลับ สู่บ้ านเกิ ดเมือ งนอน หรือ ไปอยู่ต่ างถิ่ นนานๆ แม้ก ระทั่ ง การจะไปอยู่ในต่างถิ่ นแดนไกล นอกจากนี้ยังมีการทาขวัญในโอกาสพิเศษ เช่น การต้อนรับแขกผู้มาเยือน เป็นต้น ในวรรณกรรมไทยหลายเรื่องได้กล่าวถึง พิธีกรรมทาขวัญ และบายศรี แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่และความเชื่อของคนไทยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและคุ้นเคยกับบายศรีในช่วงๆ หนึ่งของชีวิต อาทิ เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนกาเนิดพลายงามสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยประการหนึ่งที่รอดพ้น อันตรายกลับมาได้ คือ การเรียกขวัญพลายงามเมื่อเดินทางหนีขุนช้างซึ่งลอบฆ่าตนจากสุพรรณบุรีมาหา นางทองประศรีผู้เป็นย่าที่จังหวัดกาญจนบุรี ความตอนหนึ่งว่า ครั้นพลบค่าย่าฆ้องทองประศรี เย็บบายศรีนมแมวจอกแก้วมา เทียนดอกไม้ไข่ข้าวมะพร้าวพร้อม ลูกประหล่ากาไลไขออกกอง เอาสอดใส่ให้หลานสงสารเหลือ เหมือนพ่อแผนแสนเหมือนไม่เคลื่อนคลา พลางเรียกหาข้าคนมาบนหอ บายศรีตั้งพรั่งพร้อมน้อมคานับ

เรียกยายปลียายเปลเข้าเคหา ใส่ข้าวปลาเปรี้ยวหวานเอาพานรอง น้ามันหอมแป้งปรุงฟุง้ ทั้งห้อง บอกว่าของพ่อเจ้าแต่เยาว์มา ด้วยหน่อเนื้อนึกรักเป็นหนักหนา ทั้งคู่ตาคมสันเป็นมันยับ ให้นั่งต่อต่อกันเป็นลาดับ เจริญรับมิ่งขวัญราพันไปฯ

บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอน นางพันธุรัตรับขวัญพระสังข์ ได้เอยได้ฤกษ์ ลั่นฆ้องกลองชัยเภรี จุดแว่นเวียนซ้ายย้ายขวา เซ็งแซ่แตรสังข์ประดังกัน เวียนเทียนสาเร็จเสร็จสรรพ แล้วนางอานวยอวยชัย

นางมารให้เบิกบายศรี ดีดสีตีทับฉับพลัน โห่ขึ้นสามลาขมีขมัน ฆาตฆ้องกลองลั่นสนั่นไป โบกจับจุลเจิมเฉลิมให้ ทุกข์โศกโรคภัยอย่าให้มี


หน้า ๕

ความสาคัญของขวัญยังอนุโลมไปถึงสัตว์และสิ่งของอีกด้วย จะเห็นได้ว่า การซื้อวัว ควาย ช้าง ม้า ก็ดูขวัญเป็นอันดับแรก ถ้าพบขวัญไม่ดี เช่น ขวัญ ปั่นพื้น ขวัญเรือรั่ว ขวัญดมเน่า ขวัญกบาลหัวแตก ถือกันว่าสัตว์ตัวนั้นไม่ดี ห้ามซื้อถ้าขืนซื้อมาก็เป็นอัปรีย์จัญ ไรเป็นภัยแก่ตัวเองและครอบครัว... หากพบ ขวัญดี เช่น ขวัญจอมปราสาท ขวัญห้อยหิ่ง ขวัญเศวตฉัตร ถือกันว่าสัตว์ตัวนั้นดี ราคาจะแพงเท่าไรก็ให้ซื้อ เพราะจะนาลาภมาให้ และเจ้าของก็จะเป็นสุขใจปราศจากโรคภัยทุกข์ทั้งปวง เมื่อเชื่อว่าขวัญเป็นสิ่งสาคัญ สาหรับสัตว์ สิ่งของ ด้วยเหตุผลว่าสัมพันธ์กับมนุษย์ในการพึ่งพาอาศัยกันในการทามาหากิน จึงมีการทา ขวัญ สัตว์และสิ่งของด้วย เช่น ทาขวัญวัว ควาย ช้าง ทาขวัญ นา ขวัญข้าว ทาขวัญ เสา ทาขวัญเรือ เป็น ต้น เพราะเชื่อว่าเทพารักษ์จะช่วยคุ้มครองสัตว์หรือสิ่งของของตน พิธีทาขวัญจึงเป็นแนวความคิดของมนุษย์ที่จะทาให้ขวัญอยู่กับตัวตลอดไปออกมาในรูปของการ ขอร้อ ง วิงวอน แม้ก ระทั่งหลอกล่อ ขวัญ ให้ หลงเชื่อกลับ มาหรือคงอยู่กั บเจ้าของขวัญ ตลอดไป โดยมี สิ่งจูงใจทั้งในเรื่องอาหารการกิน แม้กระทั่งคาเชิญต้องไพเราะ น่าฟัง และสละสลวยจึงเกิดคากลอนเชิญ ขวัญขึ้น และมีคนกลางในการประกอบพิธีกรรมซึ่งได้แก่พราหมณ์ หรือผู้รู้ผู้ชานาญ เรียกว่า หมอขวัญเป็น ผู้ทาพิธี ดังปรากฏในพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว ในหนังสือพระ ราชพิธีสิบสองเดือน ความตอนหนึ่งว่า “วิสัยของขวัญแล้วชอบสุนทรกถาเป็นพื้น ไม่ชอบขู่ตวาด สุนทรกถานั้น จะ เท็จหรือจะจริงก็ไม่เป็นไร เชื่อได้ทั้งนั้น เป็นต้นว่า อาหารจะขยี้ขยาเน่าบูดอย่างไร บอก ว่าประกอบด้วยนมเนยมีโอชารสวิเศษเหมือนของทิพย์ เหย้าเรือนเคหาถึงจะเป็นรังกา บอกว่าสนุกสบายวิเศษเหมือนกับวิมานพระอินทร์ ขวัญ นั้นก็เชื่อกลับมาให้ด้วย กินก็ อร่อย ด้วยตัวขวัญนั้นดูเหมือนมีแต่โสตอินทรีย์ โสตสัมผัสอย่างเดียวอินทรีย์และสัมผัส อื่นๆ อ่อนหมดทุกอย่างหรือไม่มีเลย เมื่อเข้าใจกันว่ามีตัวขวัญ อยู่เช่น นี้ การทาขวัญ ก็ กลายเป็นจะล่อลวง และยอตัวขวัญให้มาอยู่กับตัวเด็กอย่างเดียว...” เมื่อเป็นดังนี้การทาขวัญต่างๆ ดังกล่าวจะต้องมีบายศรีเข้ามาเป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรมนั้นๆ อาจ กล่าวได้ว่า บายศรีซึ่งมีหลักเป็นกระทงอาหารประกอบด้วยอาหารง่ายๆ นั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งการทาขวัญ ที่จะขาดเสียมิได้เพื่อใช้ในการหลอกล่อ วิง วอน ร้องขอ เชิญ ชวน หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ที่จะทาให้ขวัญ กลั บมาอยู่กั บ ตัว คนนั้ น ไม่ ห นี หายไปไหนประการหนึ่ ง เป็น ที่ ส ถิต แห่ ง เทพเจ้ าทั้ ง ปวงซึ่ง เป็ นที่ เคารพ สักการะตามคติพราหมณ์ดังจะเห็นได้จากประชุมบททาขวัญต่างๆ จะอัญเชิ ญเทพต่างๆ ลงมาชุมนุมและ เป็นประธานในพิธีประการหนึ่ง เป็นภาชนะใส่อาหารเพื่อเซ่นสังเวยเทวดาอารักษ์ในการไหว้ครู เซ่นสรวง บู ช า และสมโภช ทั้ ง นี้ เพื่ อ ให้ เกิ ด ความเป็ น สิ ริ ม งคลแก่ ต นเองหรื อ ส่ ว นรวมประการหนึ่ ง และเป็ น ความหมายแห่งการเลี้ยงดูเพื่อความยินดีกันอีกประการหนึ่ง


หน้า ๖

ลักษณะหรือชนิดของบายศรี บายศรีมักทาด้วยใบตองตานีม้วนพับและเย็บประกอบเป็นแบบต่างๆ เนื่องจากใบตองตานีมี คุณสมบัติอ่อน ม้วนพับง่าย ไม่แตกและใช้ทนไม่เหี่ยวแห้งง่าย บายศรี แ บ่ ง ได้ เป็ น ๒ ประเภท คื อ บายศรี ข องหลวง ได้ แ ก่ บ ายศรี ที่ ใ ช้ ใ นพิ ธี เกี่ ย วกั บ พระมหากษัตริย์หรือราชสานัก และบายศรีของราษฎร ซึ่งใช้ในพิธีกรรมที่สามัญชนจัดขึ้น ดังจาแนกแต่ละ ประเภทได้ดังต่อไปนี้ ๑.บายศรีของราษฎร ได้แก่ บายศรีที่จัดทาขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของราษฎร ซึ่งยังมีข้อ แตกต่างหรือมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ ๑.บายศรีป ากชาม เป็ น บายศรี ขนาดเล็กจัดเป็นกระทงอาหารใส่ลงไปในชามโดย นาใบตองมาม้ วนเป็นรูปกรวย ข้างในใส่ข้าวสุก ตั้ง กรวยคว่าไว้กลางชามขนาดใหญ่ อาจใช้ชาม เบญจรงค์หรือชามลายคราม หรือชามงามๆ อื่นๆ ให้ยอดแหลมของกรวยอยู่ข้างบน บนยอดมีก้าน ไม้ แ หลมๆ เสี ย บไข่ เป็ น ต้ ม สุ ก ปอกเปลือ กฟอง หนึ่ง เรียกว่า ไข่ขวัญ (ภาคอีสานใช้ไข่ไก่ต้ม) บน ยอดไข่ขวัญ ปักดอกไม้เสียบต่อขึ้นไปอีกโดยมาก ใช้ดอกมะลิ นาใบตองมาพับไปพับมาให้เป็นรูป พนม คื อ แหลมเรี ย วหลายๆ อั น ซ้ อ นทั บ ให้ เหลื่ อ มล้ ากั น เป็ น ๓ หลั่ น ๓ ชั้ น ๆ ละ ๓ ยอด ใบตองที่พับซ้อนนี้เรียกว่า นมแมว หรือปากจีบ เจิม วางนมแมวทั้ง ๓ อันนี้เรียงรอบกรวยข้าวให้ ปลายยอดของนมแมวโผล่ ขึ้ น เหนื อ ปากชาม ตอนล่างของนมแมวแต่ละอันมีทางสาหรับหักพับ และใช้มีดกลัดๆ ไว้รองใต้กรวยข้าว บางทีเรียกบายศรีปากชามนี้ว่า บายศรีนมแมว นอกจากนี้ยังเอา ใบตองมาตัดเป็นรูปคล้ายใบไม้ตัดหยักมาอย่างฟันเลื่อยลดหลั่ นกันขึ้นไป ตอนกลางตัดแหว่งเป็นหน้าจั่ว กลายๆ รวม ๓ ใบ บางทีทาเป็น ๔ ใบก็มี เรียกว่า ตัวเต่าหรือแมงดาวางแมงดาทั้ง ๓ ใบนี้แทรกระหว่าง นมแมว ตอนล่างของแมงดามีใบตองเป็นหางหักพับรับตอนล่างของหางนมแมวอีกที แล้วจัดกล้วยน้าไทย แตงกวาตัดฝานตามยาวอย่างละ ๓ ชุด และด้ายสายสิญจน์เด็ดขนาดผูกข้อมือได้พาดตามนมแมวทุกอัน บางทีใส่อ้อยตัดเป็นท่อนเล็กๆ ไว้ในตัวบายศรีก็มี บายศรีปากชามนี้ ถ้าใช้ประกอบพิธีในตอนเช้ามักนิยมจัดทาบายศรีโดยมีเครื่องประกอบ บายศรีเป็นอาหารง่ายๆ เช่น ข้าว ไข่ กล้วย แตงกวา ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ถ้าหลังเที่ ยงไปแล้วไม่นิยม ใส่ข้าว ไข่ แต่จะใช้ดอกบัวเสียบบนยอดกรวยแทน และใช้ดอกไม้ตกแต่งแมงดาแทนกล้วยและแตงกวา


หน้า ๗

๒.บายศรีใหญ่หรือบายศรีต้น เป็นบายศรีที่มี ขนาดใหญ่กว่าบายศรีปากชาม โดยการนาเอาใบตองมาม้วน และพับให้ยอดแหลมๆ อย่างยอดกระทงเจิมหลายๆ อัน เอา ใบตองที่ม้วนเป็นยอดแหลมเหล่านี้ให้ก้นชนกันเป็นคู่ๆ แล้ว โค้ ง ให้ เป็ น วงกลมอย่ า งวงก าไล เมื่ อ โค้ ง แล้ ว จะเห็ น ยอด แหลมๆ ยื่ นออกไปทั้ ง ข้างบนและข้ างล่างแล้ วเอาตรึง รอบ ขอบไม้ แ ป้ น รู ป กลม (แต่ เดิ ม ใช้ ต้ น กล้ ว ยเป็ น แกน ต่ อ มา เปลี่ยนเป็นแป้นไม้ยาวซึ่งเป็นเรื่องของวิวัฒนาการในรูปแบบ การทา) ตรงกลางแป้นเจาะรูมีไม้ยาวเป็นแกนแล่นกลาง ไม้ แป้นนี้วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ ไว้ระยะห่างพอควร แต่มีขนาด เรียวขึ้นไปตามลาดับ บนยอดบายศรีใหญ่ตั้งชามหรือโถขนาด เล็ ก หรื อ ขั น งามๆ ประดั บ ด้ ว ยพุ่ ม ดอกไม้ หรื อ บางที น า บายศรีปากชามตั้ง ไว้บ นยอดเป็น ส่วนประกอบของบายศรี ใหญ่ก็มี นอกจากนี้ยังมีไม้ไผ่สีสุกผ่าซีก ๓ ซีก พันด้วยผ้าขาว ขนาบข้างบายศรีและผูกด้วยด้ายเป็น ๓ เปลาะ นายอดตอง อ่อน ๓ ยอดปะทับปิดซีกไม้เอาผ้าอย่างดีคลุมรอบบายศรีอีก ชั้นหนึ่ง ผ้านี้เรียกว่า ผ้าห่อขวัญ (โดยมากจะใช้ผ้าตาดทอง หรือผ้าสารบับคลุม) บายศรีใหญ่นี้บางทีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บายศรีชั้น หรือ บายศรีตั้ง บายศรีชนิดนี้อาจมี การแกะสลักเป็นเรื่องราวต่างๆ ในบทละคร นิทาน นิยาย ประดับตามชั้นของบายศรีด้วย บายศรีปากชามและบายศรีต้นที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ในปัจจุบันอาจใช้วัสดุที่แตกต่างไปจากที่ กล่าว จึงพบเห็น บายศรีที่ท าด้ว ยกระดาษ ผ้ า หรือวั ส ดุท าเที ยมอื่น คล้ายใบตองมาประดั บตกแต่งใน รายละเอียด ส่วนรูปแบบโดยทั่วไปยังคงลักษณะของบายศรีอยู่ อย่างไรก็ตามกล่าวได้ว่าบายศรีที่ทาด้วย ใบตองก็ยังทรงคุณค่าทางศิลปะอย่างไม่เสื่อมคลาย นอกจากนี้ยังพบชื่อเรียกบายศรีตามที่ผู้ประดิษฐ์ทาขึ้น หรือตามโอกาสการใช้งานอีกหลายชื่อ เช่น บายศรีหน้านาค บายศรีหน้าช้าง บายศรีหางหงส์ (เป็นบายศรี ปากชามชนิดหนึ่งที่แตกต่างตรงวิธีทา จึงเรียกชื่อต่างกันออกไป) บายศรีบัลลังก์จักรี บายศรีพญานาค บายศรีจุฬามณี เป็นต้น ในปัจจุบันปรากฏว่าชาวไทยมีความเชื่อและนับถือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์และเทพเจ้ าในลัทธิต่างๆ อย่ า งกว้ างขวาง และมี ศ รั ท ธาว่ า สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละเทพเจ้ าที่ ต นนั บ ถื อ สามารถดลบั น ดาลให้ มี ค วาม เจริญรุ่งเรืองและประสบความสาเร็จมีความสุขในชีวิตได้ช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจะเห็นว่าชาวไทยนับถือทั้ง เทพเจ้าในสรวงสวรรค์ที่อยู่ในระดับชั้นพรหม ชั้นเทพ มีทั้งเทพฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง อาทิ ท้าวมหาพรหม ท้าวสหัมบดีพรหม พระศิวะ พระพิฆเณศวร พระอินทราธิราช เจ้าแม่ลักษมีเทวี พระอุมาเทวี เทพเจ้าใน ลัทธิของจีนตามคติมหายาน เทพกวนอู เซียนต่างๆ ที่ชาวจีนเคารพนับถือ เจ้าพ่อศาลหลักเมือง เจ้าพ่อ หอกลอง เทวดาอารักษ์ สถานที่ต่างๆ เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าแม่เขาสามมุข เป็ นต้น พระโพธิสัตว์ในคั มภี ร์ มหายาน มีเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น และสมมุติเทพที่เป็นบูรพกษัตริย์ในอดีตของไทยหลายพระองค์ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เสด็จพ่อ ร.๕ เป็นต้น ผู้ที่นับถือศรัทธาในเทพองค์ใดต่างก็สักการะ เทพองค์นั้นตามลัทธิพิธีของตน


หน้า ๘

บรรดาเทพเจ้าต่างๆ เหล่านั้น จะมีเทพเจ้าชั้นสูงของพราหมณ์รวมอยู่ด้วยหลายพระองค์ ผู้ ที่สืบเชื้อ สายจากพราหมณ์ หรือผู้ที่เชื่อว่าสามารถสื่อสารกับสิ่ง ศักดิ์ สิท ธิ์ไ ด้มักจัดท าบายศรีเป็นเครื่อ ง สักการะเพราะบายศรีถือเป็นของสูงของบริสุทธิ์สมควรอย่างยิ่งในการนามาสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตน นับถือ ประกอบกับบายศรีเป็นสิ่งที่ไดรับอิทธิพลมาจากพราหมณ์โดยตรง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการบวงสรวง สักการะ หรือไหว้ครูประจาปี เพื่ อขอความสิริสวัสดิมงคลแก่ตน จึงนาบายศรีไปบูชาการทาบายศรีนี้จะ แตกต่างไปจากบายศรีที่กล่าวมาแล้ว มักจัดทาขึ้นเฉพาะเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีทั้งระดับชั้นพรหม ชั้น เทพ มักเรียกว่า บายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีเหล่านี้จะสรรค์สร้างให้มีความอลัง การ งดงามวิจิตร บรรจงตามจินตนาการของผู้ประดิษฐ์และตามความสาคัญของเทพเจ้า โดยมีหลักเกณฑ์ในการสร้างบายศรี แต่ละต้นโดยมากมักนาข้อหลักธรรมในพุทธศาสนามาเป็นแนวคิดประดิษฐ์ตกแต่ง อาทิ อริยสัจ ๔ มรรค ๕ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือนาความเชื่อในระบบจักรวาล ไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์ กลางแวดล้อม ด้วยทิวเขาสาคัญ คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสเนมินธร วินตกะ และอัสกัณ หรือพรหมโลกตามคติพุทธ


หน้า ๙

ศาสนา (รูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น) สวรรค์ ๖ ชั้น (ฉกามาพจร) เป็นต้น รูปแบบการทาบายศรี นั้นแตกต่างกัน ไปในแต่ละสานัก เช่น การถือหลักนั บตัวแม่ ตัวลูกบายศรีเป็ นเกณฑ์และเป็น ที่รู้กัน ว่า บายศรี แ บบใดจะน าไปสั ก การะพรหมหรื อ เทพองค์ ใด อาทิ จ านวนตั ว แม่ ตั ว ลู ก บายศรี เป็ น เลขคู่ เป็ นบายศรีพ รหม จานวนตัวแม่ตั วลูก บายศรี เป็ นเลขคี่ เป็ น บายศรีเทพ เป็ นต้ น อย่างไรก็ต ามไม่ว่า ผู้ ประดิษฐ์สานักใดจะทาบายศรีเป็นรูปแบบใด บายศรีนั้นๆ จะมีความหมายเป็นมงคลทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมี การตั้ง ชื่อเฉพาะของบายศรีพุ ทธบู ชา บายศรีบูรพกษั ตริยาธราช บายศรีพ ระจอมเกล้าฯ บายศรีพ ระ จุลจอมเกล้าฯ บายศรีพัชรโอภาส เป็นต้น


หน้า ๑๐

จะเห็นได้ว่าประเพณีและวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยปลูกฝังไว้และสืบทอดกันต่อๆ มาได้มี วิวัฒนาการตามยุคสมัยเหมือนรูปแบบบายศรีซึ่งแต่เดิมจะเป็นงานใบตองที่เรียบง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ ด้วยศิลปะนิสัยที่มีอยู่ในสายเลือดของชาวไทยมาแต่บรรพกาล จึงสามารถจินตนาการ สร้างสรรค์ประดิษฐ์ งานใบตอง โดยเฉพาะการท าบายศรี ให้ มี รู ป แบบที่ วิ จิ ต ร ประณี ต งดงาม แสดงความหมายอั น เป็ น สัญ ลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ได้หลากหลายรูปแบบ ดังภาพที่นามาแสดง ย่อมบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของ ชาวไทยเด่นชัดที่ไม่มีชาติใดเทียบได้ ๒.บายศรี ของหลวง บายศรี ของหลวง ได้แ ก่ บายศรีที่ ใช้ ในการพระราชพิ ธี ต่า งๆ อั น เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งพระราช พิธีที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจาตามแบบแผนโบราณราชเพณี และพระราชพิธีที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดทา ขึ้น หรือ ในโอกาสพิเศษที่จัดให้มีขึ้นเฉพาะในรัชกาลนั้นๆ รวมทั้งรัฐพิธีที่รัฐบาลหรือทางราชการกาหนด ขึ้นโดยเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดาเนินทรงเป็นประธาน ในการประกอบพิธี หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จแทนพระองค์ หรืองานที่รัฐบาลจัดให้มีขึ้น

๒.บายศรี ข องหลวง ได้ แ ก่ บายศรี ที่ ใ ช้ ใ นการพ ระราชพิ ธี ต่ า งๆ อั น เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ พระมหากษัตริย์ พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งพระราชพิธีที่จัดให้มี ขึ้นเป็นประจาตามแบบแผนโบราณราชประเพณี และพระราชพิธีที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจาตามแบบแผน โบราณราชประเพณี และพระราชพิธีที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดทาขึ้น หรือ ในโอกาสพิเศษที่จัดให้มีขึ้น


หน้า ๑๑

เฉพาะในรัชกาลนั้น ๆ รวมทั้งรัฐพิธีที่รัฐบาลหรือทางราชการกาหนดขึ้นโดยเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดาเนินทรงเป็นประธาน ในการประกอบพิธี หรือโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จ แทนพระองค์ หรืองานที่รัฐบาลจัดให้มีขึ้น บายศรีของหลวงที่ใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ ในปัจจุบันมี ๓ แบบ ได้แก่ ๑.บายศรีต้น เป็นบายศรีทาด้วยใบตองมีแป้นไม้เป็นโครง ลักษณะอย่างบายศรีต้นของ ราษฎร มี ๓ ชั้น ๕ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น ๒.บายศรีแก้ว ทอง เงิน บายศรีชนิดนี้ ประกอบด้วยพานแก้วขนาดใหญ่เล็ก วางซ้อนกัน ขึ้นไปตามลาดับเป็นชั้นๆ ๕ ชั้น พานทองและพานเงินวางซ้อนกัน ๕ ชั้นเช่นเดียวกับพานแก้ว เป็น ๓ ชนิด คือ พานแก้ว พานทอง พานเงิน ตั้งบายศรีแก้วไว้ตรงกลาง บายศรีทองตั้งทางขวา และบายศรีเงินตั้ง ทางซ้ายของผู้รับการสมโภช บายศรีแก้ว ทอง เงิน นี้ ยัง แบ่งเป็น ๒ ขนาด คือ บายศรีแก้ว ทอง เงิน สารับใหญ่และ บายศรีแก้ว ทอง เงิน สารับเล็ก ความแตกต่างของทั้ง ๒ สารับนั้นอยู่ที่ขนาดของพาน กล่าวคือ บายศรี สารับใหญ่จะมีขนาดใหญ่กว่าสารับเล็ก และใช้ในงานพระราชพิธีอย่างใหญ่ หรือพระราชพิธีที่มีการสมโภช เวียนเทียนโดยวิธียืนเวียนเทียนที่ใช้วิธีนั่งเวียนเทียน


หน้า ๑๒

๓.บายศรีตองรองทองขาว คือ บายศรีที่ทาด้วยใบตองอย่างบายศรีของราษฎรที่เรียกว่า บายศรีใหญ่ หรือบายศรีต้น มีลักษณะเป็น ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น โดยมากมักทา ๗ ชั้น ตัวบายศรีม้วนเป็น กรวยมุมแหลมซ้อน ๓ ชั้น เจิมรอบแป้นไม้รัดเอวบายศรีด้วยหยวกกล้วย ตรงกลางทาเป็นดอกประจายาม ด้วยมะละกอและฟักทอง บายศรีตองชนิดนี้นาไปตั้งบนพานใหญ่ซึ่งเป็นโลหะทองขาวจึงเรียกว่า บายศรี ตองรองทองขาว ส่วนใหญ่จะตั้งคู่กับบายศรีแก้ว ทอง เงิน สารับใหญ่ด้วยและใช้ในงานพระราชพิธีอย่าง ใหญ่ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสาคัญ แต่เดิมบายศรีตอง รองทองขาวนี้ใช้ในพระราชพิธีโสกันต์ (ปัจจุบันยกเลิกแล้วเนื่องจากเจ้านายไม่ทรงนิยมไว้ผมจุกกันแล้ว) และพระราชพิธีอุปสมบทนาคหลวงที่เป็นพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป (ปัจจุบันได้งดการสมโภช ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา) บายศรีของหลวงแต่เดิมนั้นมีแต่บายศรีที่ทาด้ วยใบตอง ส่วนบายศรีแก้ว ทอง เงิน เป็นของที่ สร้างขึ้นและเพิ่งใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดให้ทาเครื่องราชูปโภคได้สร้าง บายศรีทาด้วยโลหะทองแดงเป็นปากกากลีบบัวและหุ้มด้วยทองคาสลักลายดอกไม้ เรียกว่า บัวแฉก และมี พานทองคา และเงินอย่างจานเชิง ๕ พานประจาสาหรับบายศรีทอง บายศรีเงิน ใส่อาหารคาวหวาน หรือ ดอกไม้แล้วแต่งาน ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ (บางแห่งว่ารัชกาลที่ ๒) โปรดให้ทาแก้วขึ้นเป็นเชิงอย่างพานแก้ว ซ้อนขึ้นไป เรียกว่า บายศรีแก้ว อาจเป็นด้วยเหตุที่เรานับถือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และเชื่อว่า แก้วเป็นสารพัดนึก โปรดให้ตั้งบายศรีแก้วไว้กลาง บายศรีเงินทางซ้าย และบายศรีทองทางขวา เป็นของ ถาวรมาตั้งแต่นั้นและใช้มาจนกระทั่งปัจจุบันส่วนบายศรีสาหรับเล็กน่าจะสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือ รัชกาลที่ ๕ เพื่อใช้สับเปลี่ยนกับสารับใหญ่ในบางพระราชพิธี พระวินิจฉัยของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวงศ์ในจดหมายโต้ตอบกับพระยาอนุมานราชธน ฉบับวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๒ และพระบรม ราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่อง ประมวลพระราช นิพนธ์เบ็ดเตล็ด เป็นสิ่งยืนยันถึงความเป็นมาของบายศรีแก้ว ทอง เงิน เป็นอย่างดี “มีบายศรีชนิ ดหนึ่งซึ่งเรียกว่า บายศรีต องลองทองขาว (หรือลอง พู ดผิดอาจเป็ นรองก็ได้ ) บายศรีชนิดนั้นทาใบตองเป็นชั้นบายศรีแล้วมีเครื่องรองทาด้วยทองขาวรับใบตองชั้นบายศรีให้เห็นจะแจ้ง เป็นชั้นๆ เข้าใจว่านั้นเป็นของเก่าแก่ก่อนอื่นแล้วมาทาพานเงิน พานทองรองของกินซ้อนๆ กัน เรียกว่า บายศรีทอง บายศรีเงิน มีมานานแล้ว เห็นได้ว่าถ่ายอย่างจากบายศรีตองรองทองขาวมานั่นเอง แต่บายศรี แก้วเพิ่มมีขี้นในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ ดูก็เป็นของปรุงจับเอาเครื่องแก้วอะไรที่มีเข้ามาประติประต่อกันเข้า การกระทาทั้งนี้ถือเอาคาบุโบราณที่ว่า บายศรีแก้ว บายศรีทอง บายศรีเงิน มาเป็นหลัก แต่หลงไปคาว่า บายศรีแก้ว นั้นหมายถึง เอาเครื่องอาภรณ์ซึ่งประดับพลอยมาแต่งประดับกระทงบายศรีจะเห็นได้ในบท บายศรีแก้ว แห่งกัณฑ์มหาราชมีว่า เห็นงามเรืองรอง จึ่งให้เอาทองแกมแก้ว สีขาววาวแววฝังด้วยเพชร พลอยนิล บายศรีทองก็แต่งกระทงบายศรีด้วยเครื่องอาภรณ์ทอง บายศรีเงินก็แต่งกระทงบายศรีด้วย เครื่องอาภรณ์เงิน ทาให้เป็นไปดุจเดียวกัน” “ตามความเห็นค่าของฉันว่า บายศรีเงิน บายศรีทอง ที่เป็นพานซ้อนๆ กันนี้น่าจะเกิดในปลาย แผ่นดินพระพุทธยอดฟ้านี้เอง บายศรีแก้วจะมาทีหลังด้ วยซ้าไปเพราะบายศรีเล็กมีแต่ทองกับเงิน แก้วเพิ่ง มีเพิ่มขึ้นแผ่นดินพระจอมเกล้า ไม่ปรากฏในหนังสือแห่งหนึ่งแห่งใดเก่าๆ ว่าตั้งบายศรีตอง การที่ประดับ ประดาบายศรีด้วยทอง ด้วยแก้วฉันเข้าใจว่าที่เราใช้รัดด้วยทองหน้าตะกู สลักฟักทองมะละกอติดเป็น ลวดลาย แปลว่า เงินทอง ติดแววเข้าก็เป็นพลอย ถ้าหากว่าจะได้ตกแต่งบายศรีด้วยเงิน ทอง เพชรพลอย จริงก็น่าจะเอาสายสร้อยมารัดเอวบายศรี เอาพลอยหัวแหวนต่างๆ ประดับฤาถ้าจะว่าให้แกรนด์ขึ้นไปก็มี


หน้า ๑๓

เครื่องเพชรพลอยสาหรับประดับบายศรีไว้ประจาราชการ แต่เห็นจะเป็นเอาอะไรต่ออะไรบรรดาที่มีมาผูก ติดเข้าอย่างผูกกระบังหน้าโสกันต์ใช้ชั่วคราว บายศรีจึงต้องตกแต่งกันหนักแต่งกันหนา ไม่ใช่สั่งให้ท้าวมัง ศรีเอามาตั้งง่ายๆ เช่นเดียวนี้ บายศรีที่ใช้ในกรุงเทพฯ นี้ แต่แรกคงจะใช้ไม้แกะตามธรรมเนียม จะให้งามและให้แน่นหนา จึง ได้ทาบายศรีลองทองเหลืองขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วจึงได้มี บายศรีเงิน บายศรีทองเพิ่มขึ้น บายศรีแก้วนั้นเป็น มีขึ้นภายหลังที่สุด” นอกจากบายศรีที่เป็นแก้ว ทอง เงิน แล้วยังโปรดให้สร้างแว่นเวียนเทียนเป็นแก้วเจียระไนมีด้าม ถือสาหรับติดเทียนเวียนรอบผู้ทาขวัญ ในการสมโภชเวียนเทียนเพิ่มขึ้นจากแว่นโลหะอีกด้วย เพื่อใช้การ เวียนเทียนให้ครบตามพานแก้วพานทอง และพานเงินอย่างละ ๓ แว่น บายศรี แ ก้ ว ทอง เงิ น ซึ่ งเป็ น บายศรี ข องหลวงยั ง ปรากฏในวรรณกรรมเรื่ อ งอิ เหนาและ รามเกียรติ์ ซึ่งแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๑ และ ๒ จึงเป็นข้อสนับสนุนได้อีกประการหนึ่งว่า บายศรีของหลวงที่ เป็นแก้ว ทอง เงิน เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง “ตั้งทั้งบายศรีนากทอง พานสุวรรณรองแว่นรัตนา “บายศรีแก้วกาญจน์พนมาศ แว่นวิเชียรเทียนทองชวลิต “เหล่าพวกกรมวังตั้งบายศรี หุ้มตาดสุวรรณอันอาไพ

เงินงามเรืองรองลายเลขา สุคนธาเทียนชัยรูจี” (รามเกียรติ์ ตอน สมโภชพระราม) โอภาสด้วยมณีโลหิต ครบเครื่องพิธีปราบดา” (รามเกียรติ์ ตอน อภิเษกพระราม) -เจ็ดชั้นล้วนมณีศรีใส แว่นชัยสาหรับติดเทียนทอง” (อิเหนา ตอนอภิเษกอิเหนากับนางกษัตริย์)

บายศรีของหลวงแต่ละประเภทได้กาหนดการใช้เป็นแบบแผนไว้ เป็นที่น่าสังเกตว่าถ้าเป็นงาน พระราชพิธีอย่างใหญ่ โดยมากมักมีการเวียนเทียนสมโภช จะตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน สารับใหญ่ บางพระ ราชพิธีอาจมีทั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน สารับใหญ่และบายศรีตองรองทองขาวตั้งควบคู่กันด้วย แต่ตั้งไว้ ต่างหากไม่ได้เข้าแถวกัน พระราชพิธีที่ใช้บายศรีในรัชกาลปัจจุบันมีดังต่อไปนี้ ๑.พระราชพิธีที่ปฏิบัติเป็นประจาตามแบบแผนโบราณราชประเพณี เป็นพระราชพิธีที่กระทา เป็นประจาทุกปี ได้แก่ พระราชพิ ธี เ ฉลิ ม พระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว พระราชพิ ธี นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดาริจัด ให้มีขึ้นและถือเป็นราชประเพณีมาจนรัชกาล ปัจจุ บัน กาหนดงานพระราชพิธีเป็น ๓ วัน เริ่มตั้ง แต่วัน ที่ ๕ ธันวาคม และในวัน ที่ ๖ ธัน วาคม ทรง บาเพ็ญพระราชกุศลเลี้ยงพระในวันนี้เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน สารับใหญ่ เวียนเทียนสมโภช


หน้า ๑๔

พระชัยวัฒน์พระพุทธรูปประจาพระชนมวาร พระสุพรรณบัฏ พระราชลัญจกร ดวงพระบรม ราชสมภพ โดยพระราชครูพราหมณ์และโหรหลวงเบิกแว่น ข้าราชการผู้ใหญ่ ฝ่ายทหาร และพลเรือนรับแว่นเวียน เทียน เมื่อเวียนเทียนครบ ๓ รอบ หัวหน้าพราหมณ์เจิมดวงพระบรมราชสมภพ พระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลปัจจุบันพระราชพิธีนี้ตรงกับวั นที่ ๕ พฤษภาคม ถือเป็นวัน มงคลดิถีคล้ายวันที่ได้ทรงรับนพปฏลมหาเศวตฉัตร และเครื่องราชกกุธภัณฑ์อันมีพระมหาพิชัยมงกุฎและ นพปฎลมมหาเศวตฉั ตรเป็ น ปฐมแห่ งการบรมราชาภิ เษก ก าหนดการพระราชพิ ธีที่ พ ระนั่ ง ดุ สิต มหา ปราสาท ตั้งโต๊ะเครื่องบายศรีแก้ว ทอง เงิน สารับใหญ่ เวียนเที ยนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร เครื่องเบญจ ราชกกุธภัณฑ์ พระราชลัญจกร และองค์พระมหากษัตริย์ที่ได้เสวยราชสมบัติมาบรรจบในมงคลดิถีวันบรม ราชาภิเษก พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายทหาร และพลเรือนยืนเฝ้าฯ รายล้อมตามแนวผ้าแดงรับแว่นเวียนเทียนสมโภช เมื่อเวียนครบ ๓ รอบ หัวหน้าพราหมณ์ประมวลเทียนโบกควันถวาย แล้วถวายความเคารพไปถวายเจิมนพปฎลมหา เศวตฉัตร พร้อมกับโหรหลวงผูกผ้าสีชมพูที่คันองค์นพปฎลมหาเศวตฉัตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงพระสุหร่ายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทรง กราบพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์


หน้า ๑๕

ประวัตคิ วามเป็นมา และวิวัฒนาการของบายศรี ประวัติความเป็นมาของบายศรีนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอนแต่จากวรรณกรรมมหาชาติคาหลวง กัณฑ์มหาราช “แล้ว ธ ก็ให้เบอกบายสรีบอกมิ่ง ” และศิลปวัตถุตู้ลายรดน้าสมัยอยุธยาปรากฏเรื่องราว เกี่ยวกับบายศรีอย่างไรก็ตามสันนิษฐานกันว่าบายศรีน่าจะได้คติมาจากพราหมณ์เพราะพราหมณ์เชื่อว่า ใบตองเป็นของบริสุทธิ์สะอาดไม่มีมลทินของอาหารเก่าแปดเปื้อนเหมือนถ้วยชามจึงนามาทาภาชนะใส่ อาหารเป็นรูปกระทงต่อมาได้ดัดแปลงประดับประดาให้สวยงามรวมทั้งเพิ่มเติมในเรื่องอาหารการกินด้วย อีกประการหนึ่งเชื่อว่าบายศรีนั้นเป็นการจาลองเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของพระอิศวรเท่ากับเป็น การ อัน เชิญพระอิศวรซึ่งเป็นเทพเจ้าของพราหมณ์มาเป็นประธานในพิธีด้วย นอกจากนี้ยังเปรียบว่าพุ่มบน ยอดบายศรี เป็ นวิม านของพระอิศวรไม้ไ ผ่ขนาบข้างเป็น บัน ไดเขาไกรลาสชั้นต่ างๆเป็น ที่รวมของเทพ อาหารที่ประกอบในบายศรีหลายชนิดมีความชั่วมาจากพราหมณ์ทั้ง สิ้น เช่น ไข่ แตงกวา มะพร้าว รวมตลอดถึงพิธีการ เช่น การเวียนเทียน การเจิม ซึ่งจะต้องใช้พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี จึงกล่าว่า ได้ว่าบายศรีเป็นอิทธิพลที่เราได้รับจากพราหมณ์และมีวิวัฒนาการดัดแปลงมาโดย ลาดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิฉัยเกี่ยวกับความเป็นมาของบายศรี อีกแง่มุมหนึ่งในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนความตอนหนึ่งว่า “ชะรอยบายศรีแต่เดิ มจะใช้โต๊ ะ กับข้าวโต๊ ะ หนึ่ง จานเรียงซ้อนๆกันไปสูง ๆ เหมือนแขกที่เขาเลี้ยงกันที่เมืองกลันตัน ภายหลังเห็นว่าเป็นของไม่แน่นหนาและยังไม่สูง ใหญ่โตสมปรารถนา จึงเอาพานซ้อนกันขึ้นไป ๓ ชั้น ๕ ชั้น แล้วเอาของตั้งรายตามปาก พาน ที่เป็นคนวาสนาน้อยไม่มีโต๊ะ มีพานก็เย็บเป็นกระทงซ้อนกันขึ้นไป ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น แต่ถ้าใช้กระทงเกลี้ยงๆ ดูไม่งามก็เจิมปากให้เป็นกระทง เจิมให้เป็นการงดงาม...” ความดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานการทาบายศรีของบุคคล ๒ ระดับ ระดับหนึ่งใช้กระทง อีก ระดับหนึ่งใช้จาน และการวิวัฒนาการมาเป็นพาน ในปัจ จุบั นการท าบายศรีมี วิวัฒ นาการตามความเจริญ ก้าวหน้ าของโลกกล่าวคื อ มีก ารท า บายศรีสาเร็จรูปเกิดขึ้นมา ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากวัสดุใบตองหายากมากขึ้น หาผู้รู้หรือผู้ชานาญในการทา บายศรีได้ยากมากขึ้น อาจจากัดอยู่เฉพาะในวงการโรงเรียนวิชาช่าง หรือผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคน รุ่นเก่าที่มีฝีมือการทาบายศรีโดยเฉพาะเท่านั้น นอกจากนี้ความต้องการสะดวกรวดเร็วเพิ่มมากขึ้นปัญหา เศรษฐกิ จบี บ บัง และเพี ย งเพื่ อปฏิ บัติ ให้ เป็ น ไปตามแบบแผนที่ป ฏิ บั ติสื บต่ อมา จึ ง พบเห็ น บายศรี สาเร็จรูปในรูปแบบต่างๆ มากมาย ตามแหล่งขายดอกไม้และร้านสังฆภัน ฑ์ซึ่งเป็นไปตามทานองเพื่อ การพานณิชย์ มากกว่าความสวยงามทางศิลปะการจัดทาจึไม่ประณีตและละเอียดอ่อนเท่าที่ควร อาทิ บายศรีปากชามที่ควรจัดใส่ในชามงามๆ จะเห็นบายศรีจัดใส่ในชามโฟม เป็นต้น ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ได้บรรยายไว้ในงานเขียนของท่านเรื่องของขวัญ และ ประเพณีการทาขวัญ ถึงการทาบายศรีสาเร็จรูปว่า


หน้า ๑๖

“...เขาเอาไม้มาแกะสลักเป็นรูปพระยานาค เมื่อตั้งรูปพระยานาคตามเส้น ตั้ง ศรีษะพระยานาคจะอยู่เสมอกับระดับของพื้น แต่จะเชิดเล็กน้อย ตอนลาตัวโค้งขึ้น ที่ละน้อยมีขนาดเรียวขึ้นไป...ตัวพระยานาคและศรีษะทาสีขาว ตาทาสีแดง แต่หนวด พระยานาคทาด้วยเส้นลวดแล้วในไม้แท่งเดียวกับที่แกะเป็นรูปพระยานาคแกะยื่นอกมา จากตั วพระยานาคเป็ นรูป นมแมวของบายศรีใหญ่ ซึ่ ง มีรูป วงกลมๆ มีย อดแหลมทั้ ง ข้างบนข้างล่าง ลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นห้าชั้นเป็นอย่างรูปบายศรีชั้นมีแกนกลางกลางคือ ตัวพระยานาค...บายศรีขั้นนี้ทาสีเขียวใบตองอ่อน ยกเว้นปลายยอดแหลมๆ แกะ เป็น รูปตุ่มกลมๆ เล็กๆๆ ทาสีขาว เห็นจะสมมุติให้เป็นอย่างเสียบดอกมะลิ บายศรีชั้น ยอดตรงกลางไม้แกะเป็นรูปไข่ยื่นเด่นขึ้นไปเหนือหางพระยานาค ทาสีขาวให้เห็นว่าเป็น ไข่ข วัญ ... นอกจากนี้ ยังมีบ ายศรีป ากชามแกะสลัก ด้วยไม้เหมื อรกัน วางลงในชาม ขนาดฝหญ่ถ้ากล่าวอย่างรวบยอดก็ทาอย่างบายศรีทุกอย่างนั่นเอง... บายศรีชนิดนี้จะ เรียกบายศรีสาเร็จสมัยวิทยาศาสตร์ก็เห็นจะได้


หน้า ๑๗

ชั้นบายศรี ดังได้เห็นภาพรวมของบายศรีแต่ละชนิดจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าบายศรี ปากชามนั้นไม่มีลักษณะเป็นอย่างชัดเจน ที่จริงแล้วบายศรีปากชามนั้นสามารถนับชั้นบายศรีได้จากส่วน ที่เรียกว่านมแมว ๑ ซึ่งอาจนับรวมถึงยอดของตัวแม่ด้วย (ดังภาพ) นิยม เป็นเลขคี่ มีตั้งแต่ ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น เพราะถือว่าเป็น เลขสวยและเป็นมงคล บายศรีปากชามจะมีกี่ชั้นนั้ นขึ้นอยู่กับขนาดของ ภาชนะ (ชาม) และขนาดของพิธี ส่วนบายศรีใหญ่หรือบายศรีต้นนั้นไม่มีการกาหนดชั้นตายตัวสุดแต่ผู้ทาจะเห็นว่างาม ถ้าทา มากชั้นก็ถือว่าเป็นเกียรติมาก บางครั้งอาจเพื่อจุดหมายบางอย่างหรือเป็นกรณีพิเศษ โดยมากมักทาไป เป็นเล๘คี่เสมอ มีตั้งแต่ ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น ปัจจุบันจะพบบายศรี ๙ ชั้นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องของการนาคติ ของฉัตรมารวมด้วยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงอธิบายเรื่องบายศรีใหญ่ไว้ในบันทึก เรื่องราวความรู้ต่างๆ เล่ม ๔ ว่า “บายศรีใหญ่ตามที่ใช้กันอยู่เป็นพื้น ๕ ชั้น ถ้ามี ๓ ชั้น ๗ ชั้น ก็อาจทาเป็น พิเศษ แต่ ๙ ชั้นเชื่อว่าไม่มีแน่ บายศรีใหญ่ ชั้น เดี ยวได้เคยเห็ นในงานออกร้านที่วัด เบญจมบพิ ตร ไม่ มีคั น รองรับสนมพลเรือนทาขายบูชาพระ เชื่อว่าทาขึ้นสาหรับงานนั้นโดยจาเพาะเพื่อให้ขาย ได้ด้วยราคาเล็กน้อย” ในแต่ละชั้นของบายศรีมักใส่เครื่องประกอบบายศรีจาพวกอาหาร ดอกไม้ธูปเทียน ขนมลงไป ด้วย บางครั้งก็อาจตกแต่งด้วยดอกไม้หรือแกะสลักให้เป็นรูปเรื่องราวในวรรณคดีหรือเรื่องราวที่เป็นที่ รู้จักกันทั่วไปลงในชั้นของบายศรีด้วย ขึ้นอยู่กับการนาไปใช้ในโอกาสใด มีความเชื่อว่า ชั้นต่างๆ ของบายศรีนี้เป็นที่รวมของเทพต่างๆ มาชุมนุมกันโดยมีพระอิศวรเป็น ประธาน


หน้า ๑๘


หน้า ๑๙

เครื่องประกอบบายศรี ในพิธีการทาขวัญ บวงสวรง สมโภช ไหว้ครู บางชนิดนั้น นอกจาจะมีตัวบายศรีแล้วยังมีพวก สารับอาหาร ดอกไม้ ธูปเทียน และอื่นๆ ประกอบในบายศรีด้วย เครื่องประกอบบายศรีนั้นมีอะไรบ้าง ที่จะใช้ในพิธีนั้นๆ ไม่ได้กาหนดชัดเจนแน่นอน ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยอาหารง่ายๆ เช่น ข้าว ไข่ กล้วย ดอกไม้ธูปเทียน ถ้ามีการผูกขวัญ เวียนเทียน ก็มีด้ายผูกข้อมือ แว่นเวียนเทียนและขันปักแว่น เวียนเทียน เป็นต้น อาหารง่ายๆ เหล่านั้นมักประกอบอยู่ในตัวบายศรี แต่จะเห็นว่านอกจากตัวบายศรีแล้ว ยังมีอาหารคาวหวาน ผลไม้ แยกเป็นอีกสารับหนึ่งต่างหาก

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวินิจฉัยเรื่องสารับคาวหวานที่แยกออกมา ต่างหากจากบายศรีนั้น เป็นเพราะความไม่รู้และไม่มีที่ว่างพอจะวางสารับเหล่านี้ได้ “สารับคาวหวานนี่เติมเข้าเมื่อปราศจากความรู้ว่าบายศรีเป็นสารับเสียแล้ว ไม่เป็นสิ่งซึ่งควรมี เป็ดแป้ง นี้ก็เป็นของกิน ควรจะอยู่ในบายศรี แต่ที่มีพานรองตั้ง ไว้ต่างหากนั้น จะเป็นเดิมทีจะมีเจ้าสัวเขาทาเป็ดพะโล้มาถวายเห็นว่าเป็นของกินอย่างดี จึงทาให้เอาไปตั้งสมโภชแต่จะบรรจุลงในพานบายศรีก็ไม่มีระหว่างพอ จะทาลายให้ เป็นชิ้นเล็กๆ ก็เสียดาย จะเสียงามไป จัดตั้งไว้ต่างหากเหมือนของเคียง...มะพร้าวก็ควร จะอยู่ในบายศรี แต่ที่มาอยู่ข้างนอกก็เพราะจัดลงบายศรีไม่ได้เหมือนกัน” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพ ระบรมราชวินิ จฉัยเพิ่มเติมถึง การที่ จัด สารับคาวหวานเพิ่มขึ้นนั้นเป็นเพราะต้องการให้หรูหราเป็นงานใหญ่และเห็นว่าเป็นรูปธรรมมากขึ้น


หน้า ๒๐

“สิ่งที่ เธอเห็ น ว่ าเกิน ไป สั น นิ ษ ฐานว่าผิ ด นั้ น บางที แ ต่ก่ อ นเขาจะรู้ แ ต่ อยากจะเติ ม ให้ห รู ขึ้น เพราะถื อว่ าเป็ น ของกิ น ด้ว ยกั น ท านองเครื่อ งเซ่น สั ง เวย มี แ ต่ บายศรีก็พอแล้ว เทวดาก็กินอิ่ม ฤาสมมุติว่า กินอิ่ม แต่เติมเครื่องสังเวยลงไปภายหลัง ด้วย จะเห็นว่ากินได้จริงๆ...” อย่างไรก็ตามเครื่องประกอบบายศรีเท่าที่พบเห็นทั่วไปส่วนใหญ่ประกอบด้วย ๑. ขันปักแว่นเวียนเทียน เรียกว่าขันเหม ใส่ข้าวสารสาหรับปักแว่น ๒. เทียนชัย ๓. น้ามันหอม ๔. พานใส่ใบพูล ตลับแป้งเจิม ๕. ด้ายผูกข้อมือ ๖. มะพร้าวอ่อนปลอกเปลือกเจาะปากรองพาน ๗. เป็ดปั้นด้วยแป้ง (มักจะใช้ในพิธีหลวงในปัจจุบันจะใช้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้น พระอู่เท่านั้น เรียกว่าเป็ดปากทอง) ๘. หัวหมู ๙. อาหารและขนม ๑๐. ธูปเทียนบูชา ๑๑. สิ่งอื่นๆ ตามแต่จัดหามา เครื่องประกอบบายศรีดังกล่าวนี้ ไม่จาเป้นต้องมีทุกสิ่งที่กล่าวข้างต้นนี้ครบบริบูรณ์ ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของพิธีการ หรือฐานะและกาละงทรัพย์ของเจ้าภาพ การที่ เคลื่ อ นที่ ป ระกอบบายศรี ต้ อ งมี อ าหารซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น เซ่ น ขวั ญ เซ่ น เทวดานั้ น จะ ประกอบด้วยอาหารอะไรบ้าง คาว – หวาน อย่างไรไม่ได้กาหนดชัดเจนแน่นอน แต่บางงานก็เข้มงวดจะ ขาดสิ่งนั้นสิ่งนี้ไม่ได้ เช่น ในงานทาขวัญทารก ๓ วันต้องมีขันน้าอุ่นสาหรับป้อนอาหารเด็กอ่อน เป็นต้น ในส่วนของพิธีหลวง เครื่องสังเวยจะต้องเป็นเครื่องคู่ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ หัวหมู เป็ด ไก่ กล้วยน้าไทย ขนมต้มแดงต้มขาว ทองหยิบ ฝอยทองบายศรีและเครื่องประกอบบายศรีนี้มักนาไปเปรียบ ให้เป็นปริศนาธรรม เช่น แมงดาหรือตัวเต่า เปรียบเหมือนกับเต่าตาบอด ๓ ตัว จมอยู่ในมหาสมุทรอันลึก คือ อวิชชา กล้วยน้า ๓ ชิ้น หมายถึง ๓ ภพ คือสวรรค์ มนุษย์ นรก นมแมว ( ถ้ามี ๔ อัน ) หมายถึงอริยสัจ ๔ ขนมต้ม ๓ ลูก หมายถึง พระรัตนตรัย และขนมนี้ทาจากน้าตาล แป้ง มะพร้าว ใคร รู้จักบริโภคแล้วมีรสอร่อย คือรสแห่งพระรัตนตรัย ไข่ขวัญ เป็นเครื่องหมายแห่งการเกิด ขอยกตัวอย่างนี้ที่มีผู้เปรียบเทียบบายศรีให้เป็นปริศนาธรรมในการทาขวัญบวชนาค ดังนี้ คือ ๑. บายศรีต้น ๕ ชั้น หมายถึง ศีล ๕ ข้อ ๒. บายศรีปากชาม ๓ หวี หมายถึงไตรสิกขา ๓ อย่าง (ศีล สมาธิ ปัญญา) ๓. อาหารคาวหวาน หมายถึง เนื้อหนังมังสาโลหิตในร่างกายของท่านทั้งหลายย่อมจะตั้งอยู่ ได้ไม่นาน อีกหน่อยก็เน่าเปื่อยผุพัง


หน้า ๒๑

๔. ไม้ไผ่ ๓ ซีก (ที่ค้าตัวบายศรี) เปรียบด้วยบุญ กุศล กรรม ค้าจุนชีวิตสัตว์ไว้ให้เป็นอยู่ ๕. ด้ายผูกมัดบายศรี เปรียบได้กับทิฐิ (ความเห็น)อุปทาน (ความยึดมั่น) ถือตนว่าเป็นนั่นเป็น นี่ มีความเห็นคลาดเคลื่อนไปจากทานองคลองธรรม ๖. ใบตองสด ๓ ใบ หมายถึง โลภะโสทะ เข้าห่อหุ้มจิตมิให้เห็นธรรม ๗. ผ้าหุ้มบายศรี เปรียบด้วยบุคคลที่ยังมิได้บรรพชาอุปสมบท ย่อมมืดมน อนธการ ไม่รู้จัก ผิดชอบชั่วดี บาปบุญคุณโทษไม่รู้จักแม้คุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา บายศรีที่เปิดผ้าคลุมออกหรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่า เปิดบายศรี เปรียนด้วยผู้บรรพสาอุปสมบทแล้ว ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเข้าใจ แจ่มแจ้งในคาสอนแล้ว สังวรณ์มิให้กายใจตกไปอยู่ในอานาจของความชั่ว ใบตองสดที่วางลงบนตักนาค นั้นก็เพื่อจะให้พิจารณาทางกรรมฐานว่า ร่างกายนี้ไม่จีรัง ยั่ง ยืนนานเสมือนใบตอง เมื่อแรกก็เขียวสด ครั้นนาลงมาใช้สีนั้นก็ค่อยๆ จางลงไป ที่สุดก็กลายเป็นน้าตาลไหม้เหี่ยวแห้ง ร่วงโรยไป เช่นเดียวกับ สังขารร่างกายมนุยษ์และสัตว์ทั้งหลายทั่วไป ๘. แว่นที่ติดเทียนเวียนไป ๓ รอบ ได้แก่ภพทั้ง ๓ กามภพ รูปภพและอรูปภพ ๙. การที่หมอทาขวัญเอาไฟเทียนมาจ่อที่หน้าผากของนาคนั้น เพื่อให้พิจารณาว่าไฟนี้เป็นของ ร้อน แล้วจึงเป่าให้ดับเสีย ๓ ครั้ง ๑๐. แป้งหอมละลายเจิมให้นาค เป็นเครื่องเตือนใจว่าพ่อนาคว่า จงดับไฟ ๓ กอง ได้แก่ ไฟ คือโทสะ ไฟคือราคะ ไฟคือโมหะ เมื่อไฟดับลงแล้วจะรู้สึกเย็นสบายเหมือนแป้งหอมละลายทาเจิมให้ ที่ เขียนเป็นอักษร มะ อะ อุ นั้นเป็นตัวย่อได้แก่อุปัชฌาญ์คู่สวดทั้งซ้ายขวา มะ อยู่ไหล่ขวา (เปรียบด้วยพระกรรมวาจาจารย์) อะ อยู่ไหล่ซ้าย (เปรียบด้วยพระอนุสาวนาจารย์) อุ ตรงหน้าผาก (เปรียบด้วยพระอุปัชฌาย์) ท่านทั้ง ๓ นี้จะเป็นผู้ชี้หรทางให้นาคได้บรรลุถึงนิพพานด้วยอริยมรรค ๘ ๑๑. น้ามะพร้าว เปรียบด้วยจิตของนาคอันบริสุทธิ์ยามที่จะได้บรรพชาอุปสมบท และเมื่อบวช แล้วจิตก็จงบริสุทธิ์ผ่องใสจนเกิดปัญญาสว่างไสวดุจประทีปเปลวไฟปักไว้บนยอดบายศรีให้ดวงปัญ ญา บังเกิดเห็นคุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา ผู้มีอุปการคุณ จะเห็นได้ว่าการนาบายศรีและเครื่องประกอบเปรียบเที ยบกับสิ่งนั้นสิ่งนี้นั้นเป็นแนวความคิด ของผู้รู้แต่ละคน อาจมีผู้มีความเห็นแตกต่างไปจากที่กล่าวแล้วอย่างไรก็ตามส่วนใหญ่มักเปรียบเทียบให้ เกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักธรรมดาที่เห็นกันอยู่โดยทั่วไปว่า ลัทธิพราหมณ์เข้าผสมผสานกับ พุทธศาสนาจนบางครั้งไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด ดังคากล่าวว่า “พุทธกับไสยย่อม อาศัยกัน” ดังกล่าวแล้ วว่าบายศรีเป็น อิท ธิพ ลที่ไ ด้รับ มาจากคติพ ราหมณ์ อาหารที่ ประกอบในบายศรี บางอย่างก็นาของเขามาด้วย เช่น ไข่ มะพร้าว เป็นต้น แต่คติพราหมณ์คงไม่ได้หมายให้เป็นปริศนาธรรม ฉะนั้นพอจะสันนิ ษ ฐานได้ว่าเมื่อเรานาของเขามาแล้วคงอธิบายไม่ ถูกจึงคิ ดเปรียบให้เข้ากับหลักพุท ธ ศาสนา ทาให้สอดคล้องกับความรู้สึกของคนไทย ดังที่พระยาอนุมานราชธนได้อธิบายและเสนอแนวคิด เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งเครื่อ งประกอบบายศรีแ ละอาหารคาวหวาน ซึ่ ง เห็ น ได้ อย่ างชัด เจนว่ าเราได้ ค ติม าจาก พราหมณ์ ดังนี้ ๑. เหตุที่ใช้บายศรีทาเป็นกระทงอาหารเพราะพราหมณ์นิยมใช้ใบตอง ถือว่าเป็นของบริสุทธิ์ ดังกล่าวแล้ว


หน้า ๒๒

๒. ดอกไม่ธูปเทียนในบายศรี เป็นเครื่องหมายแห่งการบูชา บางงานใช้แต่ดอกไม้ธูปเทียนใส่ใน บายศรีแทนของกิน เช่น บายศรีทาขวัญเนื่องในงานฉลองพระพุทธรูป ๓. แตงกวา กล้วยน้ า เป็น ของกิน เล่น ของขวัญ ในประเทศอิน เดี ยเชื่ อกั นว่าเทวดาชอบกิ น แตงร้าน แตงกวาของไทยในที่นี้คงจะเทียบได้กับแตงร้าน ๔. หมากพลู บุหรี่ นั้นทางภาคเหนือ ภาคอีสาน เขามีหมากพลูบุหรี่ใส่ในบายศรีด้วย แต่ทาง ภาคกลางไม่มี เพราะฉะนั้นพลูคะแนนนั้นคงหมายถึงพานหมากมาก่อน เมื่อเอามาใช้ใส่ใบพลูคะแนนเสีย แล้ว ขันหมากก็หายไปยังเหลือแต่พลูซึ่งเอาใช้ดับเทียนเวียน ดังพระวินิจฉัยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า “ขัน ซึ่ งมีใบพลู สาหรับ วางคะแนนแลดั บ ไฟนั้ น คงจะเป็ น ขัน หมากเพราะ บายศรีเป็นตัวสารับ” ๕. ขันปักแว่น แต่ก่อนคงเป็นขันน้าพานรอง ให้ขวัญกินอาหารแล้วใช้บ้วนปาก กินหมากพลู ดัง พระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “ทาขวัญอย่างเล็กๆ เขาก็มีขันน้า ตลอดจนบายศรีทอง แต่เมื่อมีเวียนเทียนไม่ มีขันน้า เหมเห็นจะเป็นขันน้าเสียจริง” ๖. ไข่ขวัญ ถือว่าเป็นอาหารคาว อาหารคาวสมัยก่อนคงมีมากกว่านี้ แต่เอาไว้ข้างนอกเพราะที่ ไม่พอ ทางคติพราหมณ์เขาถือว่าไข่เป็นมงคล พระพรหมผู้สร้างโลกก็มีกาหนดเป็นไข่ทองมาก่อน สรุปแล้ว คงเป็นเรื่องของขวัญชอบกินไข่ ๗. ผ้าขวัญ เป็นเรื่องของการใช้ขวัญจากลิ่นได้จะได้ไม่ผิดกลิ่น ทางภาคอีสานเอาเสื้อผ้าของผู้รับ ทาขวัญปูลงบนภาชนะแล้วเอาหมากเบงตั้งบนนั้นอีกทีทางภาคเหนือเอาบายศรีไปเก็บไว้ในที่นอนซึ่งก็คงมี ความหมายไปในทานองให้ขวัญจากลิ่นเจ้าของขวัญได้ ๘. ด้ายผูกข้อมือ ในบายศรีมักมีด้ายผูกข้อมือ ซึ่งถือกันว่าเป็นการผูกขวัญให้อยู่กับ เนื้อกับตัว ด้ายที่ใช้นั้นใช้ด้ายดิบเพราะหาง่ายและสะดวก อีกอย่างหนึ่งด้ายดิบเขานิยมใช้ทาด้ายสายสิญจน์ จึงเกิด ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในความรู้สึกของชาวพุทธ ลักษณะการผูกข้อมือนั้นทากันหลายอย่างหลายลักษณะแล้วแต่จะนิยมหรือเชื่อถือกันในหมู่ นั้นๆ เช่น ก่อนผูก เอาปลายด้ายปัดหลังมือ ฝ่ามือ ข้อมือ ลูบ แขนขา บางคนก็ใช้ด้ายปัดดอก ๓ หน ปัด เข้า ๓ หน ก็มี หรือปัดออก และปัดเข้าสลับกันก็มี ปัดหลายๆ ครั้งไม่มีกาหนดก็มี ใช้ด้ายปัดเข้าเส้นหนึ่ง ปัดออกอีกเส้นหนึ่งก็มี (ทางภาคอีสานนิยมวิธีนี้) บางรายปัดออกปัดเข้าแล้วเด็ ดปลายด้ายเสียนิดหนึ่งหรือ เอาปลายด้านเผาไฟเสียแล้วจึงเด็ดทิ้ง หรือไม่เด็ดทิ้งก็มี สิ่งดัง กล่าวจะแตกต่างกันในเรื่องปลีกย่อย ข้อ สาคัญต้องเอาปลายด้ายปัดเข้าปัดออกก่อนแล้วจึงผูก การผูกข้อมือนี้ถือว่าให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับขวัญ เพราะการปัดออกก็หมายถึงปัดสิ่งชั่ วร้ายออก ปัดเข้าก็ปัดสิ่งที่ดีเข้าไปหรือให้ขวัญติดตามปลายด้ายเข้าไป เวลาผูกข้อมือ ทางภาคอีสานทาเป็นปมไว้ตรงกลาง ทางภาคเหนือขอด ๓ ปม เพื่อป้องกันมิให้ สิ่งที่ดีหนีออกไป การผูกข้อมือเป็นเงื่อนตายก็คงมีความมุ่งหมายไม่ให้สิ่งดีหรือขวัญหนีหายไปเช่นกัน


หน้า ๒๓

การที่ผูกข้อมือในการทาขวัญเพราะเหตุว่าข้อมือมีชีพจรซึ่งแสดงถึงการมีสิ่งมีชีวิตอยู่เหมาะแก่ การที่จะเป็นทางให้ขวัญเข้าออกได้ทางปลายนิ้วอีกทางหนึ่งนอกจากขม่อม ๙. การเจิม ไทยได้คติมาจากอินเดียเช่นกัน ถือว่าเป็นเครื่องหมายประทานพร การเจิมเป็นรูป อุณาโลมซึ่งหมายถึง มะ อะ อุ ก็หมายถึงพระเป็นเจ้าทั้ง ๓ ของพราหมณ์มีพระวิษณุ พระศิวะและพระ พรหม แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ก่อให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้ได้รับการเจิม ๑๐. เทียนชัย ถือว่าเป็นเทียนจุดไฟที่บริสุทธิ์ คติพราหมณ์ถือว่าสิ่งที่ล้างมลทินได้ นอกจากน้า แล้วก็มีไฟอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้นการเวียนเทียนจึงเป็นการล้างมลทินด้วยไฟทาให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ๑๑. มะพร้าวอ่อน ในพิธีทาขวัญทางภาคกลางขาดมะพร้าวอ่อนไม่ได้ คติอินเดียไม่ว่าจะทาพิธี อะไรมักขาดมะพร้าวไม่ได้เพราะเขาถือว่ามะพร้าวเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบรูณ์เป็นมงคล เราคง ได้รับอิทธิพลจากเขา ซึ่งก็เป็นเรื่องของขวัญและเทวดาชอบกินมะพร้าว เหมือนกับที่ชอบกินแตงร้าน สม เด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องมะพร้าวไว้ว่า “มะพร้าวนี้ก็ควรจะอยู่ในบายศรี แต่ที่มาอยู่ข้างนอกก็เพราะจัดลงในบายศรี ไม่ได้เหมือนกัน แท้จริงแต่ก่อนคงไม่จาเป็ นต้องมีมะพร้าว ที่มาจาเป็นขึ้นเพราะมามี ธรรมเนียมกินย่อเกิดขึ้น คือ ตักของกินทั้งหลายอย่างละน้อยรวมลงในมะพร้าวแล้ว แล ตักน้ามะพร้าวจิบพอเป็นทีว่ากินแล้ว ซึ่งงานชาวบ้านยัง ทาอยู่อยู่เช่นนี้ในทุกวันนี้ แต่ ส่วนงานหลวงเห็นทาเช่นนั้นเป็นอาการอันปฏิกูลจึงย่อลงคงแต่ ตักลมข้างบายศรีเติมลง ในมะพร้าว เพราะฉะนี้มะพร้าวนอกบายศรีจึงเป็นสิ่งอันไม่จาเป็นต้องมี จะตักขนมอย่าง หนึ่งอย่างใดป้อนก็ได้เหมือนกัน” แต่อย่างไรก็ตาม การทาขวัญส่วนใหญ่มักนิยมใช้มะพร้าว นอกจากจะถือว่าเป็นมงคลแล้ว ยังใช้ น้ามะพร้าวตักกินในพิธีด้วย ๑๒. หัวหมู เป็นเรื่องของขวัญชอบกินหมู ๑๓. เป็ดแป้ง ในการทาขวัญ ของหลวงมีเป็ดแป้งซึ่งเป็นเป็ดปั้นด้วยแป้งภายในมีไ ข่ยัดอยู่ ๑ ฟอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงสันนิษฐานว่า “เป็ดแป้ง นี่ก็เป็นของกิน... เดิมทีจะมีเจ้าสัว อะไรเขาทาเป็ดพะโล้มาถวาย เห็ น ว่าเป็ น ของกิ น อย่างดี จึ งให้ เอาไปตั้ ง สมโภช แต่ จะบรรลุ ลงในพานบายศรีก็ ไ ม่ มี ระหว่างพอ จะทาลายให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก็เสียดาย จะเสียงามไป จึงตั้งไว้ต่างหากเหมือน ของเคียง ต่อมางานหลังๆ ไม่มีเจ้าสัวเอามาถวาย ครั้นจะไม่มีอย่างงานก่อนก็จะเลวไป ครั้นจะจัดทาขึ้น เป็ดไก่ก็หายาก จึงทาเป็ดมิเตชั่นขึ้นตั้งพอมิให้เกียรติยศตกต่าไปตามที่ ได้เคยมี ไม่เป็นสิ่งซึ่งควรมีเสมอไป” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายเพิ่มเติมว่า “เป็ดแป้งนั้น มันชอบกลอยู่สักหน่ อย ในท้ องมั นไม่มี ไข่อยู่ลูกหนึ่ง ทาขวัญ บายศรีน มแมวเขามี ไข่เป็ น สาคั ญ เสีย บอยู่ ยอดกรวยข้าว ท าขวัญ แล้ ว เขาให้ กิ น ไข่ นั้นเอง เรียกว่า ไข่ขวัญ คาว่าไข่ขวัญนี้ดูก็เป็นที่จับอกจับใจคน เข้าใจกันซึมทราบมาก เช่น เจ้าพระยามหินทร์แกเรียกละครของแกว่า ไข่ขวัญ ก็ดูไม่มีใครต้องถามว่า แปลว่า


หน้า ๒๔

กระไรสักคนเดียว เข้าใจหมด แต่ทาขวัญบายศรีตองฤาบายศรีอื่นๆ อย่างใหญ่ไม่มีไข่ ฤา แต่เดิมเขาจะมีไข่อยู่ในบายศรีนั้นแล้ว เมื่อไม่จัดของคาวบรรจุในบายศรีก็เลิกไข่เสียด้วย ลืมไปแล้วเลยไม่รู้มูลเหตุ ถ้าหากว่าจะมีเจ๊กเอาเป็ดมาถวาย จะไม่ใช่พะโล้จะเป็นเป็ดยัด ไส้ ในไส้นั้นจะยัดไข่เข้าไปได้ด้วยกระมัง ท่านผู้ที่ได้รับของถวายก็จะร้องว่า เออ ไข่ขาด อยู่ทีเดียวจึงได้เอาไปตั้ง แต่นั้นมาเป็ดไก่หายากอย่างเช่นที่ว่า จึงได้เอาไข่ยัดไว้ในเป็ด แป้ง ถ้าจะเลิกเป็ดจาจะต้องมีไข่ในบายศรีฤาอย่างไรจึงจะถูก” ๑๔. ใบพลูทากระแจะสาหรับดับเทียน คงต้องการให้มีควันหอมเพราะไม่มีหม้อเผากายานอย่าง ของแขก ของฝรั่ง เหตุที่ใช้ใบพลูดับเทียนอาจเป็นเพราะพลูหาง่ายและมีทุกบ้าน เพราะสมัยก่อนผู้หญิง นิยมกินหมาก เพิ่งมีกฎหมายบังคับห้ามกินหมากในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม นี่เอง


หน้า ๒๕

โอกาสที่ใช้ บายศรีจะใช้ในโอกาสใดบ้างนั้น เท่าที่พบส่วนใหญ่มักจะใช้ในพิธีทาขวัญต่างๆ ซึ่งเป็นประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา แม้แต่พิธีการที่เกี่ยวข้องกับการทามาหากิน การ บวงสรวงสังเวย เช่น ตั้งศาลพระภูมิ วางศิลาฤกษ์ บวงสรวงสังเวยเทวดาอารักษ์ การไหว้บูชาครู ไหว้ครู ช่าง ไหว้ครูศิล ปินและการสมโภชเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น การสมโภชฉลองพระพุทธรูป ท าขวัญ ช้าง กระบือ ทาขวัญข้าว ขวัญนา ขวัญแม่โพสพ และเนื่องจากบายศรีมีทั้งบายศรีปากชาม บายศรีต้น การจะ ใช้บายศรีชนิดใดในโอกาสอย่างไรนั้น สังเกตอย่างง่ายๆ คือ ก. บายศรีปากชาม มักใช้ในพิธีทาขวัญ กันในครัวเรือนอย่างเงียบๆ ไม่ใช่งานออกหน้าออกตา ใหญ่โต เช่น ทาขวัญเด็กแรกเกิด ทาขวัญเดือน หรือใช้เป็นเครื่องสังเวยเทวดา เช่น การตั้งศาลหรือถอน ศาลพระภูมิ เป็นต้น ข. บายศรีต้นหรือบายศรีใหญ่ มักใช้เป็นเครื่องบูชาเทพยดาตามลัทธิพราหมณ์ไม่ใช้บูชาพระ หรือใช้ในงานทาขวัญที่เป็นงานประชุมชนหรืองานใหญ่ครึกครื้น เช่น ทาขวัญนาค โกนจุก สมโภชในการ ฉลองพระพุทธรูป ฉลองสมณศักดิ์นอกจากนี้ยังใช้ในการไหว้ครูอีกด้วย ในบางงานหรือบางพิธีอาจจะใช้ทั้งบายศรีปากชาม และบายศรีต้นควบคู่กันไปด้วยก็มี บายศรีชนิดใด จะใช้ในงานใดนั้น มักนิยมปฏิบัติสืบต่อกันเป็นแบบแผนประเพณี จะขอกล่าวถึง พิธีกรรมต่างๆ ที่ใช้บายศรีเป็นส่วนสาคัญในพิธีกรรมนั้นๆ ดังนี้

๑.การทาขวัญ จะเห็นได้ว่า บายศรีมักเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทาขวัญ กล่าวได้ว่าเป็นหลักสาคัญของการทา ขวัญเลยทีเดียว ขวัญเป็นความเชื่อของมนุษย์ที่มีความสาคัญมาก จึงมีพิธีกรรมเพื่อไม่ให้ขวัญหนีไปจากตัว และเมื่อเกิดกรณีที่เชื่อว่าขวัญหนีไป ก็ต้องทาพิธีกรรมเรียกขวัญ รับขวัญให้กลับมาอยู่กับตน การเจ็บไข้ได้ ป่วยหรือรับขวัญผู้มาเยือน ล้วนเป็นพิธีกรรมเพื่อความเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น วิธีทาขวัญ ก. พิธีทาขวัญของชาวบ้านโดยทั่วๆ ไป การทาขวัญ ของชาวบ้ านจะใช้บายศรีชนิ ดใดก็ต้องดูตามขนาดของงานดัง ได้กล่าวไว้แล้วใน ตอนต้น แต่ในบางงานเขาใช้บายศรีทั้ง ๒ ชนิด โดยเตรียมเครื่องประกอบบายศรีให้พร้อม พอได้ฤกษ์ นาผู้รับทาขวัญนั่งกลางวงพิธี ล้อมรอบด้วยผู้หลักผู้ใหญ่และผู้มาในงาน หมอทาขวัญ พราหมณ์ หรือผู้ที่มีความรู้ในการทาขวัญนั่งข้างหน้าบายศรีและผู้รับทาขวัญ กล่าวคาเชิญขวัญซึ่งแล้วแต่ ว่าจะทาขวัญอะไรก็ว่าคาทาขวัญตามงานนั้นๆ หลังจากนี้ปลดผ้าขวัญบายศรีต้น พร้อมทั้งยอดใบตองอ่อน และให้ผู้รับขวัญถือไว้ ต่อจากนี้ผู้ทาพิธีจะเริ่มเวียนเทียนโดยการจุดเทียนที่ แว่นทั้ง ๓ แว่น จากเทียนชัย (เทียนที่จุดไว้จากกระจกส่องแดด) เอาไปเวียนขวารอบโต๊ะที่วางบายศรี ๓ รอบ จากนั้นถือแว่นทั้ง ๒ ข้าง ด้วยมือที่ ๒ ข้างคราวละแว่น ทาอาการวนอยู่ข้างหน้าในลักษณะยกขึ้นลง โดยวนออกจากตัว (บางตารา ว่าวนเข้าหาตัว) ๓ ครั้ง แล้วเอาหลังมือขวาโบกปัดควันเทียนให้ไปทางตัวผู้รับขวัญ เสร็จแล้วมอบแว่น ให้แก่คนอยู่ทางซ้ายรับไปทาอาการเดียวกัน และส่งให้คนที่อยู่ถัดไปทางซ้ายเรื่อยไปทุกคนจนครบรอบ หนึ่ง ผู้ทาพิธีหยิบใบพลูวางเป็นคะแนนจนกว่าจะครบ ๓ รอบ (บางครั้งเวียน ๕ รอบ) นาแว่นปักไว้ในขัน


หน้า ๒๖

สาหรับปักแว่น เมื่อปักครบ ๓ แว่น เอาแป้งหอมน้ามันหอมและกระแจะทาใบพลูคะแนนวางซ้อนกันทั้ง ๓ ใบ บางรายไม่ทาเฉยๆ ยังลงอักขระใบพลู แล้วปลดเทียนที่ติดไว้ที่แว่นออกพร้อมทั้งเทียนชัย เอามารวม ทับกัน ใช้ใบพลูนั้นดับเทียนและเป่าด้วย เพื่อช่วยให้ดับเร็วและเพื่อให้ควันเทียนพุ่งไปทางผู้รับ ขวัญ จุด เที ยนนั้นใหม่เอาใบพลูดับ เป่าควันไฟ ทาอย่างนี้ครบ ๓ หน จึง นาแว่นไปเสียบไว้ที่ขันตามเดิม ถ้ามีปี่ พาทย์ ฆ้อง กลอง ก็บรรเลงเรื่อยไปจนกว่าจะจบพิธี และร้องโห่ฮิ้วอวยชัย ๓ ครั้งเป็นระยะๆ ไปด้วย จากนั้นผู้ทาพิธีเจิมหน้าผากให้ผู้รับทาขวัญเป็นรูปอุณาโลม ถ้า เป็นผู้ชายทาอุณาโลมเวียนขวา ผู้หญิงเวียนซ้าย เสร็จแล้วเอาช้อนตักลมข้างๆ บายศรีไม่ลงในลูกมะพร้าวให้ผู้รับทาขวัญกิน แล้วก็ให้กินไข่ ขวัญและข้าวขวัญ ถ้าเป็นเด็กอ่อนเอาช้อนไปวนๆ ที่ปากเด็กพอเป็นพิธีว่ากินหรือไม่ก็ใช้น้าอุ่นป้อนให้เด็ก กิน (ในพิธีทาขวัญ ๓ วัน) ต่อจากนั้นผูกด้ายข้อมือให้กับผู้รับทาขวัญ ญาติผู้ใหญ่ที่มาในงานอาจทาขวัญ เด็กด้วยของขวัญเล็กๆ น้อยๆ หรือผูกข้อมือให้อีกด้วย ส่วนผ้าขวัญนั้น เอาไปไว้บนเบาะหรือบนที่นอน ของผู้รับทาขวัญมีกาหนด ๓ วัน ถ้าบายศรีไม่มีผ้าทาขวัญจะเอาใบตองอ่อนพร้อมทั้งดอกไม้เครื่องประดั บ บายศรี รวมๆ กันเข้าแล้วห่อผ้าแทนผ้าขวัญก็ได้ ครบ ๓ วัน เอาไปลอยน้า ส่วนเครื่องอาหารมักเทลงบน ใบตองนาไปเซ่นผี ข. พิธีทาขวัญของหลวง การทาขวัญ ของหลวงใช้พราหมณ์ ๓ คน พราหมณ์ผู้ใหญ่อยู่กลางประจาบายศรีแก้ว ผู้รองอยู่ ทางซ้ายประจาบายศรีทอง (ทางขวาของคนหรือสิ่งซึ่ง รับทาขวัญ ) ผู้น้อยอยู่ทางขวาประจาบายศรีเงิน (ซ้ายของคนหรือสิ่งซึ่งรับทาขวัญ) ข้างหลังมีพราหมณ์ถือสังข์ ๓ คน หรือ ๔ คน หลังพราหมณ์ถือสังข์มี พนักงานถือบัณเฑาะว์เท่ากับพราหมณ์ถือสังข์ ถ้าเป็นในพระที่นั่งจะปูผ้าแดงตามทางเวียนเทียนกันขี้ผึ้ง หยดลงบนพรม แล้ วเชิ ญ ข้ า ราชการเข้ า ยื น ประจ าริ ม ทางลาดผ้ า แดงด้ านนอกคอยรับ แว่น เริ่ ม จาก พราหมณ์ผู้เบิกแว่นควักน้ามันหอมป้ายไส้เทียนก่อนแล้วจุดเทียนชัย เอาเทียนชัยเป็นชนวนจุดเทียนที่แว่น พราหมณ์คนกลางชั้นหัวหน้าพราหมณ์เป็นผู้เบิกแว่นก่อน ต่อไปก็เป็นพราหมณ์ที่อยู่ทางซ้าย ส่งต่อรับกัน ไปทางซ้าย เอามือปัดมุ่งส่งไปยังผู้ที่ถูกให้รับขวัญสิริมงคล เวลาลงมือจุดเทียนที่แว่นพราหมณ์เป่าสังข์ไกว บัณเฑาะว์ ปี่พาทย์บรรเลง เมื่อส่งแว่นหมดแล้วหยุดเป่าสังข์ต่อเมื่อแว่น มาบรรจบรอบอีกครั้งจึงเป่า แต่ บัณเฑาะว์ไกวอยู่เสมอ ปี่พาทย์ประโคมอยู่เสมอจนสิ้นสุดการสมโภช วิธีเวียนเทียนมี ๒ อย่าง อย่างใหญ่ เวียน ๕ รอบ อย่างน้อยเวียน ๓ รอบ (ไม่มีคลุมบายศรี) อย่าง ๕ รอบคลุมบายศรี ใช้ใบตอง ๓ ใบ คลุมชั้นใน แล้วเอาผ้าตาดทองหรือแพรคลุมชั้นนอก ผ้านั้นใช้สี ต่างๆ กัน บายศรีแก้วใช้ผ้าตาดสีขาว บายศรีทองตาดเหลือง บายศรีเงินตาดเขียว เมื่อเวียนไปได้ ๓ รอบ พราหมณ์เปิดผ้าคลุมออก เอาผ้าห่อใบตองให้ผู้รับทาขวัญถือไว้ ถ้ามีผู้รับทาขวัญคนเดียวก็ให้ถือไว้ทั้ง ๓ ห่อ ถ้าหลายคนก็เฉลี่ยให้ถือได้ทั่วกัน แต่การเวียน ๕ รอบมักไม่ค่อยนิยมทา เมื่อเวียนเทียนครบ ๑ รอบ แล้วส่งให้พราหมณ์ซึ่งประจาบายศรีคนกลาง ปักแว่นอันแรกลงในเหม ส่วนอันที่ ๒-๕ นั้นปลดเอาแต่เทียน รวมติดในแว่นอันเดียวกัน เมื่อคนกลางทาแล้ว คนซ้ายและคนทางขวาทาตามลาดับ เสร็จแล้วดับไฟที่แว่นด้วยใบพลูซ้อน ทากระแจะใบใน โบกควันให้แก่ผู้รับขวัญ ต่อจากนี้พราหมณ์ทั้ง ๓ คนก็ทาหน้าที่ คนหนึ่งเอาเทียนชัยกับ ด้ายเข้าไปที่คนรับทาขวัญ เอาด้ายเส้นหนึ่งปัดออกเป็นการฟาดเคราะห์ เอาเผาไฟที่เทียนชัยนั้น แล้วเอา อีกเส้นหนึ่งปัดเข้าและผูกมือให้ ส่วนอีกคนหนึ่งตัวกลมข้างบายศรีใส่ลูกมะพร้าว บางคนเอาขนมทองหยิบ ใส่ไปในลูกมะพร้าวจริงๆ แล้วตักน้ามะพร้าวป้อนให้คนซึ่งรับทาขวัญดื่ม อี กคนหนึ่งเอาโถกระแจะไปเจิม


หน้า ๒๗

ให้แก่ผู้รับขวัญ ถ้าเป็นขวัญสิ่งไม่มีชีวิตแล้วมีแต่การเจิมอย่างเดียว พิธีของพราหมณ์ในบายศรีของหลวงมี เพียงเท่านี้ ค. โกนจุก ในสมัยโบราณมีประเพณีนิยมให้เด็กไว้ผมจุก ผมแกละ ผมโก๊ะ ผมเปีย กันแทบทั้งนั้นซึ่งน่าจะ ดัดแปลงมาจากคติพราหมณ์เพราะพระเป็นเจ้าของพราหมณ์มักไว้ผมยาว ขมวดไว้กลางศีรษะ นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าการไว้ผมให้เด็กแบบดังกล่าวจะทาให้เด็กไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เลี้ยงง่าย ซึ่งสืบเนื่องมาจากความ เชื่อเรื่องขวัญ โกนจุกเป็นพิธีที่ทาขึ้นเมื่อเด็กพ้นจากวัยเด็กเข้าสู่วัยหนุ่มสาว (เด็กชายอายุ ๑๓ ปี เด็กหญิงอายุ ๑๑ ปี ในปัจจุบันไม่ค่อยกาหนดตายตัวขึ้นอยู่กับความสะดวกและความสมควร แต่มักนิยมให้เด็กอายุเป็น เลขคี่) พิธีโกนจุกจะทารวมกับพิธีมงคลอื่นๆ ก็ได้ เช่น งานบวช ทาบุญวันเกิด ทาบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้ น จะจัดงานให้เล็กหรือให้ใหญ่โตขึ้นอยู่กับฐานะและกาลังทรัพย์ของเจ้าภาพ พิธีที่ทามีทั้งพิธีสงฆ์และพิธี พราหมณ์ บางรายจัดให้มีพิธีสงฆ์แต่เพียงอย่างเดียวและต้องทาตามฤกษ์ยามที่กาหนด สถานที่ที่ทาพิธีนั้น ถ้าจัดทาที่บ้านมักจัดเป็น ๒ วัน คือ สวดมนต์เย็นวันหนึ่งรุ่งขึ้นทาพิธีตัดจุก ตอนเย็นวันแรก เจ้าภาพต้องโกนผมเด็กรอบจุก อาบน้าแต่งตัวให้งดงามตามฐานะและกาลัง ทรัพย์ จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ หรือแต่งอย่างโบราณก็ได้เอาปิ่นปัก สวมพวงมาลัยที่จุก แล้วนาเด็กไป นั่ง ฟัง พระสวดมนต์ เมื่อพระเริ่มสวดผู้เป็นประธานต้องสวมสายสิญ จน์ ที่เตรียมไว้ลงบนศีรษะเด็ก เมื่อ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว ปลดสายสิญ จน์ออก ถือเป็นเสร็จพิธีในเย็นวันหนึ่ง ถ้ามีพิณพาทย์ มโหรีก็บรรเลงโห่ร้องเอาชัยด้วย เช้าวันรุ่งขึ้น อาบน้า แต่งตัว นุ่งขาวห่มขาวให้เด็ก แบ่งผมเด็กออกเป็น ๓ ปอย เอาแหวนนพ เก้าผูกปอยละ ๑ วง ในสมัยโบราณนิยมเอาใบเงิน ใบทอง หญ้าแพรกแซมไว้ด้วย ครั้นถึงเวลาฤกษ์ โหรลั่น ฆ้องชัย พระสงฆ์สวดยันโต เมื่อถึงบทว่า สีเส ปฐวิโปกขเร ผู้เป็นประธานในพิธีเริ่มตัดจุก ส่วนปอยที่ ๒-๓ ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่นับถือเป็นผู้ ตัดจุก หลังจากนี้จึงให้ช่างโกนผมให้เรียบร้อย พาเด็กไปนั่งบนที่ที่จัดไว้เพื่อให้แขกที่มาในงานรดน้าพระ พุทธมนต์และให้ศีลให้พร จากนั้นพาเด็กไปแต่งตัวเสียใหม่ ผู้ชายแต่งอย่างผู้ชาย ผู้หญิงแต่งอย่างผู้หญิง เพื่อแยกเพศให้ชัดเจน เด็กถวายของแต่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธีสงฆ์ซึ่งจะให้มีพิธีเพียง เท่านี้ก็ได้แต่บางรายจัดทาพิธีพราหมณ์ต่อไปอีกมักทาในตอนบ่าย คือ การทาขวัญ โกนจุกในกรณีนี้ต้อง จัดเตรียม บายศรีต้น จะเป็น ๓ ชั้น หรือ ๕ ชั้นก็ได้ เครื่องประกอบบายศรี ได้แก่ มะพร้าวอ่อน ๑ ผล กล้วยน้า ๑ หวี ขนมต้มแดง-ขาว ผลไม้ ขนมต่างๆ ขันข้าวสารสาหรับปักแว่น ใบพลู กระแจะแป้งเจิม ฯลฯ เมื่อถึงเวลาทาขวัญ นาเด็กมานั่งต่อหน้าบายศรี พราหมณ์ว่าคาเชิญขวัญจบแล้วผูกข้อมือให้เด็ก มีเวียนเทียนสมโภช ๓ รอบ บางรายเวียน ๕ รอบ เมื่อครบ ๓ รอบหรือ ๕ รอบแล้ว พราหมณ์จะเปลื้องผ้า คลุมบายศรีออกห่อขวัญ (ใบตองที่หุ้มบายศรี) ส่งให้เด็กถือเป็นมงคล (ผ้านี้จะต้องนาไปไว้ใต้ที่นอน ๓ วัน) ดับเทียน โบกควันไปทางเด็ก เจิมแป้งกระแจะที่หน้าผากเด็กและให้เด็กกินน้ามะพร้าวและไข่ขวัญเป็นอัน เสร็จพิธีท าขวัญ หลังจากนี้ เจ้าภาพก็ เลี้ยงดูแขกที่มาในงานต่อไป บางรายจัด ให้มี มหรสพสมโภชด้ วย แล้วแต่ฐานะของเจ้าภาพ ผู้มาในงานอวยพรและให้ของขวัญเด็ก หรือจะส่งของมาให้ก็ได้ ของขวัญเหล่านี้ ต้องเก็บไว้บนที่นอนเด็ก ๓ วัน ส่วนผมจุกที่ตัดทิ้งนั้นใส่กระทงบายศรีลอยไปตามแม่น้าลาคลอง


หน้า ๒๘

นอกจากนี้การโกนจุกอาจนาเด็กไปให้พราหมณ์ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า ทาพิธีให้ก็ ได้ ซึ่งจัดทาในวันแรม ๕ ค่า หรือ ๖ ค่า เดือนยี่ของทุกปี หรืออาจนาเด็กไปให้พระสงฆ์ท่านขริบผมให้เพื่อ เป็นสิริมงคล หลักจากนั้นพาเด็กไปโกนผมที่เหลือเอง เด็กที่ไว้ผมแกละ โก๊ะ เปีย คงอนุโลมเรียกว่าโกนจุก เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันไม่ค่อยได้เห็นเด็ก ไว้จุก แกละ โก๊ะ เปียกันแล้ว พิธีโกนจุกจึงค่อยจางหายไปจะมีบ้างก็แต่ในชนบท หรือที่ห่างไกลเท่านั้น ง. ทาขวัญนาค คนไทยเราถือว่าการบวชเป็นสิ่งที่สาคัญสาหรับชายไทยในพุทธศาสนา นอกจากเป็นการแสดง ความยึดมั่นในบวรพุทธศาสนาแล้วยังเป็นการตอบแทนคุณบิดา มารดาด้วย ดังนั้นชายไทยทุกคนจึงนิยม บวชเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ก่อนจะถึงวันบวช ๑ วัน จะทาขวัญนาคซึ่งมักทาในตอนย่าค่า งานนี้ถือว่าเป็นงานสาคัญ ช่วงหนึ่งของชีวิต จึงเป็นงานใหญ่และประชุมชน (แต่บางรายก็จัดอย่างเงียบๆ ไม่มีพิธีรีตองอะไรมากมาย นัก) บายศรีที่ใช้ในการทาขวัญใช้ บายศรีต้นยอดบายศรีมักเป็นบายศรีปากชาม เครื่องประกอบบายศรีที่ สาคัญๆ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ขันใส่ข้าวสารสาหรับปักแว่นเวียนเทียน เทียนชัย ช้อนเงินหรือทอง ๑ คัน ใบพลู แป้งเจิม เป็นต้น ในการทาพิธีต้องใช้พราหมณ์ หรือหมอทาขวัญ เจ้านาค (ผู้ที่จะบวช) จะนั่งกลางวงพิธี ซึ่งต้อง นั่งหันหน้าไปสู่ทิศอันเป็นมงคลของวันนั้น ผู้ว่าคาขวัญนั่งทางขวาของเจ้านาค และหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก แต่ระวังไม่ให้ตรงกับทิศที่ไม่เป็นมงคลในวันนั้น ห้อมล้อมด้วยบิดามารดา ญาติสนิท มิตรสหายพร้อมทั้งผู้มาร่วมงาน หมอขวัญหรือพราหมณ์ว่าคาเชิญขวัญ เริ่มต้นด้วยชุมนุมเทวดาจนถึงเชิญ ขวัญเจ้านาค จบลาหนึ่งๆ ตีกลองโห่ร้องเอาชัย ครั้นจบทุกบทจึงเบิกแว่นเวียนเทียน เมื่อจะเริ่มเวียนเทียน ผู้ว่าคาเชิญขวัญจะว่าบท ชยันโต ไปจนถึง สีเส ปฐวิโปกฺขเร แล้วจุดเทียนติดที่แว่นโดยจุดต่อจากเทียนชัย เวียนรอบบายศรี ๓ รอบ โดยเอามือซ้ายส่ง มือขวารับ ครั้นแล้วส่ายเทียนตรงหน้า ร้องเป็นบทว่า “ได้เอย ได้ฤกษ์ สิทธาเฒ่าให้เบิกซึ่งบายศรี” แล้วส่งต่อไปยังเจ้าภาพซึ่งอยู่ในลาดับต่อไป เวียนจากซ้ายไปขวา ร้อง ต่อบทที่ ๒ ว่า “ญาติกาพร้อมอึงมี่ จึงจุดอัคคีแล้วเวียนไป” เวียนได้รอบหนึ่งก็ใส่ใบพลูคะแนนไว้ทุกรอบ จะเวียนกี่รอบก็ได้รอบก็ได้ตอนยุติร้องว่า “ตามระบอบโบราณท่านขานไข” เมื่อจวนจะจบรอบที่เวียนเทียนนั้นให้เปลื้องเอาผ้าหุ้มใบตองเครื่องบายศรีมาให้เจ้านาคถือไว้ โดยเอามือซ้ายรอง เอามือขวาทับข้างบน แล้วรวมเวียนที่บายศรี ๓ รอบ เอาใบพลูรองเทียน ใช้มือกระพุ่ม เทียนเป่าเข้าบายศรี ดับเทียนแล้วเป่าควันเข้ามาหาเจ้านาค ๓ ครั้ง แล้วเอาเทียนชัยเจิมหน้าผากเจ้านาค ด้วยผงเจิมที่เตรียมไว้จากนั้นก็ใช้ช้อนตักขวัญในช่องบายศรีทุกช่องใส่ลงในมะพร้าว บิไข่ใส่ลงไปด้วยและ ช้อนน้ามะพร้าวให้เจ้านาคกิน ๓ ช้อน บิดารมารดาจะรับใบตองจากเจ้านาคไปเก็บไว้ในห้องนอน ๓ วัน (สมมติว่ารับขวัญไป) เป็นอันเสร็จพิธีทาขวัญนาค วันรุ่งขึ้นจึงแห่นาคไปอุปสมบทต่อไป จ. ทาขวัญแต่งงาน การแต่งงานนับว่าเป็นอีกระยะหนึ่งที่สาคัญของชีวิต เพราะเป็นการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างชายหญิ ง เป็ น จุ ดเริ่ม ต้ น ของชี วิต ครอบครั ว ในภาคกลางไม่ ค่ อยนิ ย มท าขวั ญ จะนิ ยมในภาคอี ส าน และ ภาคเหนือ ส่วนภาคใต้พบในการแต่งงานของชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในภาคอีสานนั้นถือเป็นพิธีสาคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตดังสุภาษิตของอีสานบทหนึ่งว่า “ตัดผมผิดเจ็ดวันหาย เอาผัวเมียผิดคิดจนวันตาย” สิ่งที่ใช้ในพิธีสู่ขวัญของภาคอีสานที่สาคัญคือ บายศรี ส่วนมากเป็นบายศรีขนาดเล็ก (หมากเบง) หรือบางทีเรียกว่า พาขวัญ อาจเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น ตามแต่ฐานะ ส่วนมากจะใช้พาขวัญ


หน้า ๒๙

๓ ชั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันเป็นพื้น เครื่องประกอบบายศรี ได้แก่ ดอกไม้ ข้าวต้ม ขนมทาด้วยแป้ง กล้วย ด้าย ผูกแขน เทียน รอบหัวแค่คิง (รอบศีรษะยาวแค่ช่วงตัว) ผ้าขาว ๑ วา ไข่ไก่ต้ม ๑ ฟอง แว่น หวี น้าอบ น้าหอม เทียนชัย ๑ เล่ม เหล้า ๑ ขวด ข้าวเหนียวนึ่งแล้ว ๑ปั้น (สิ่งของเหล่านี้อาจจะมีไม่ครบตามนี้ก็ได้ แต่ที่มักขาดไม่ได้คือ ไข่ไก่ ข้าวเหนียว ด้ายผูกแขน เป็นต้น) พิธีสู่ขวัญ โดยทั่วๆ ไปนั้น ผู้ ที่จะสู่ขวัญ นั่งหันหน้าเข้าหาพาขวัญ ตามทิศทางของวันสู่ขวัญ ว่า ทิศทางใดเป็นมงคล (ในพิธีแต่งงาน ผู้หญิงควรนั่งทางซ้ายของผู้ชาย) หมอสู่ขวัญ (หมอสูตร) นั่งพร้อม ผู้ จะสู่ขวัญจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พนมมือตั้งจิตอธิษฐาน หมอสูตรป่าวประกาศเทวดาแล้วจึงสวด ขวัญ คือว่าคาเชิญขวัญซึ่งแล้วแต่จะเป็นงานใดก็ว่าไปตามงานนั้นๆ อาทิ งานแต่งงาน ก็เป็นคาเชิญขวัญ เกี่ยวกับเรื่องการดาเนินชีวิตคู่ การอบรมสั่งสอนปฏิบัติตนระหว่างผัว-เมีย เป็นต้น เมื่อกล่าวคาเชิญขวัญ เสร็จแล้ว หมอขวัญ จะเอาไข่ ข้าวเหนียว วางลงบนฝ่ามือของผู้รับขวัญ และผูกแขนให้ และให้พร ในการผูกแขนผู้ที่ยังไม่ได้รับการผูกจะเอามือประคองแขนผู้ผูกและผู้อื่นก็เอามือ ประคองแขนต่อๆ กันไปทุกคน เป็นการรวมพลังจิตที่เป็นมงคลแก่ผู้ที่ได้รับการผูกแขน ในการทาขวัญ แต่งงานนั้นเมื่อหมอขวัญกล่าวคาเชิญขวัญเสร็จจะประพรมน้ามนต์หรือน้าเหล้าด้วยมื อ ที่เรียกว่า วิดฟาย และเริ่มพิธีผูกแขนโดยเอาแขนผู้หญิงมาซ้อนลงใต้แขนของผู้ชาย (แขนผู้ชายทับแขนผู้หญิง) เมื่อผูกแขน เสร็จก็เป็นอันเสร็จพิธี ด้ายที่ผูกนิยมผูกไว้ ๓ วัน จึงแกะออกได้ (ในการแต่งงานหลังจากเสร็จพิธีผูกแขน ต้องทาพิธีสมมาพาขวัญ คือ ขอขมาลาโทษผู้ใหญ่ด้วย) ส่วนทางภาคเหนือนั้ น การทาขวัญ แต่ง งานจะคล้ายๆ กัน คื อ มีบายศรีและด้ายสายสิญ จน์ สาหรับผูกข้อมือ ผู้ทาพิธีอ่านคาเรียกขวัญคู่สมรสและผูกข้อมือบ่าวสาว ฉ. การทาขวัญสัตว์และสิ่งของ ขวัญมิใช่จะมีแต่ในมนุษย์เท่านั้น สัตว์บางชนิด เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย และสิ่ง ไม่มีชีวิตบางอย่าง เช่น เสาเรือน เรือ เกวียน ข้าวเปลือก นาข้าว แม้กระทั่งบ้านเมืองก็เชื่อกันว่ามีขวัญอยู่เหมือนกัน การที่ จาเพาะเจาะจงว่าขวัญ มีเฉพาะในสัตว์และสิ่ง ของบางชนิดเป็ นเพราะสัตว์และสิ่งของ ดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ และการทามาหากิน เพราะอาชีพ หลักของคนไทยคือ เกษตรกรรม จึงต้องพึ่งพาอาศัยกัน คนโบราณเชื่อกันว่าในบรรดาสิ่งที่มีวิญ ญาณย่อมมีขวัญ มิใช่มนุษย์เท่านั้นส่วนสิ่งของ เช่น เสา เรือนและข้าวกล้า ถึงไม่มีวิญญาณก็มีเทพารักษ์ เจ้าป่าเจ้าทุ่งบารุงรักษา การทาขวัญสิ่งของก็คือ บวงบน ขอพรเทพารักษ์นั้นเอง การทาขวัญมนุษย์กับทาขวัญสัตว์และสิ่งของจึงผิดกันในข้อสาคัญ เพราะทาขวัญ มนุษย์มุ่งหมายให้สวัสดิมงคลแก่ผู้อื่น กล่าวคือ ให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของขวัญ แต่ทาขวัญสัตว์และสิ่งของเป็น การมุ่งสวัสดิมงคลหมายให้แต่ตนผู้เป็นเจ้าของสัตว์และสิ่งของนั้น ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าประเพณีเดิมจะมีแต่ ทาขวัญมนุษย์ ส่วนทาขวัญสัตว์และสิ่งของจะเป็นของเกิดขึ้นโดยอนุโลมต่อในชั้นหลัง ดังกล่าวแล้วว่าการทาขวัญสัตว์สิ่งของก็เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองทั้งในเรื่องของ ความสุขกายสบายใจ ความเจริญรุ่งเรืองในกิจการงาน และผลผลิตเป็นที่สังเกตว่าประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม การทาขวัญจึงเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ ดังจะเห็นได้จาก การทาขวัญเสาเรือน การทาขวัญนา ขวัญข้าว การทาขวัญ วัวควาย และมักจะนิยมทากั นโดยทั่วๆ ไปในทุกๆ ภาค ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันบ้าง เล็กน้อยในแต่ละท้องถิ่น


หน้า ๓๐

๒. การบวงสรวงสังเวย การบวงสรวงสังเวยนับเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งที่มีต่ออานาจเหนือมนุษย์หรือตอบแทนสิ่งที่ ตนคิดว่าเป็นการได้รับจากอานาจเหนือตน เพราะมนุษย์ในสมัยก่อนยังเชื่ อในเรื่องของอานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้เป็นไปในทางร้ายและทางดีซึ่ง ความเชื่อในเรื่องดังกล่าวก่อให้ เกิดพิ ธีกรรมต่างๆ มากมาย การบวงสรวงสังเวยจึงเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ แม้ว่าวิทยาการใหม่ๆ ได้เจริญก้าวหน้า ไปมากมายแล้ว แต่คนส่วนมากก็ยังพึงพอใจต่อการกระทาของตนที่มีต่ออานาจเหนือมนุษย์ อย่างน้อยก็ใน ด้านจิตใจ มนุษย์จึงได้หาสิ่งตอบแทน ได้แก่ โภชนาอาหารต่างๆ เป็นเครื่องบวงสรวงสังเวย โดยมี บายศรี เป็ นหลักในการทาพิ ธีกล่าวคือก่อนจะลงมือทางานสาคัญ หรือได้รับโชคลาภ ก็หาฤกษ์งามยามดีตั้งพิ ธี บวงสรวงเทวดาอารักษ์ เพื่อขอความเมตตาให้ช่วยอานวยประโยชน์ให้สาเร็จในกิจการทั้งปวงหรือขอบคุณ ที่บันดาลให้ลาภยศสรรเสริญแก่ตน

บวงสรวง หมายถึ ง การบอกกล่าวเทวดาให้ม าร่วมในพิ ธีแ ละร่ วมรับ ประทานอาหารที่ อ ยู่ใน บายศรีและเครื่องสังเวย การบวงสรวงสังเวยนี้ มีทั้งพระราชพิธีเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์และพิธีที่ ราษฎรจัดทาขึ้น การบวงสรวงของราษฎรมักใช้บายศรีปากชาม เช่น การสังเวยพระภูมิเจ้าที่ ส่วนการ บวงสรวงของหลวงมักใช้บายศรีต้น ๓ ชั้น ก. การบวงสรวงของหลวง การบวงสรวงสัง เวยของหลวงใช้ บายศรีต้น ๓ ชั้น ไม่ใช้บายศรี ปากชามอย่างของราษฎร เครื่องประกอบบายศรีมี หัวหมู ๒ หัว เป็ด ๑ คู่ ไก่ ๑ คู่ ปลาช่อนแป๊ะซะ ๑ คู่


หน้า ๓๑

ปู กุ้ง อย่างละ ๑ คู่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมต้มแดง ต้มขาว อย่างละ ๑ จาน เมี่ยงส้ม ๑ จาน ผลไม้ กล้วยน้า มะพร้าวอ่อน ๕ ผล ไข่ ๑ จาน การยาหารเหล่านี้อาจงดเว้นบางอย่างได้ ไม่ได้บังคับว่าต้องมีตามรายการนี้ทั้งหมด การทาพิธี นั้นพราหมณ์ เป็นผู้ทาพิธี กล่าวคาชุมนุมเทวดา พราหมณ์อ่านคาประกาศบวงสรวง การบวงสรวงของ หลวงเป็นพิธีใหญ่เกี่ยวกับเรื่องของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น การบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่อาเภอ ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี การบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่เชิงสะพาน พระพุทธยอดฟ้า การสังเวยพระภูมิเจ้าที่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน การบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหา กษัตราธิราชในการสมโภชกรุงรัตนโกสิน ทร์ ๒๐๐ ปี การบวงสรวงราชรถในงานพระเมรุมาศสมเด็จพระ นางเจ้ าร าไพพรรณี พระบรมราชิ นี ในรั ช กาลที่ ๗ และ สมเด็ จ พระศรี น คริน ทราบรมราชชนนี การ บวงสรวงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานมหาเจษฎาบดินทร์ เป็นต้น

๓.การไหว้ครู การไหว้ครูที่ต้ องใช้บายศรีได้แก่ก ารไหว้ค รูของพวกศิลปิน และช่างสาขาต่ างๆ ซึ่งมี กาหนด ขั้นตอนได้เป็นแบบแผน ทั้งยังปฏิบัติกันด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างเหนียวแน่นกว่าการไหว้ครูด้านอื่นๆ เพราะผู้เรีย นต้องได้รับ การถ่ ายทอดจากง่ายไปสู่ยาก จากการเป็ น ผู้ไ ม่รู้ไ ปสู้ ผู้รู้ทั้ ง ยัง น าความรู้นั้น ไป ประกอบอาชีพด้วยความมั่นใจทาให้มีความรู้สึกผูกพันและให้ความสาคัญกับครูมาก พิธีไหว้ครูโขนละครมี ๒ ระดับ คือ ระดับธรรมดา และระดับที่มีการเวียนเทียน ถ้าไหว้ครูอย่าง ธรรมดาใช้ บายศรีปากชาม ถ้ามีเวียนเทียนด้วยใช้ บายศรีต้นจะเป็นกี่ชั้นนั้นแล้วแต่ฐานะของเจ้าภาพ แต่ โดยมากมักใช้บายศรีต้น ๕ ชั้น บายศรีปากชามนั้นในกรวยบายศรีใส่ข้าวสุกปากหม้อ ยอดเสียบไข่ต้ม แต่ถ้าทาพิธีหลังเพลใช้ ดอกบัวแทนไข่ แต่ส่วนใหญ่แล้วพิธีไหว้ครูโขนละครต้องทาพิธีให้เสร็จก่อนเพล (ประมาณ ๑๒.๑๕ น.) เพราะถือว่าครูโขนละครเป็นผู้ทรงศีล พิธีไหว้ครูโขนละครประกอบด้วย บายศรีปากชาม และบายศรีต้น (ถ้ามีการเวียนเทียน) พร้อม ทั้งหัวโขนละครต่างๆ และเครื่องประกอบบายศรี (เครื่องสังเวยคาวหวาน) จะเป็นเครื่องคู่ หรือเครื่องเดี่ยว นั้นแล้วแต่ฐานะของเจ้าภาพเครื่องสังเวยดังกล่าวนี้มีทั้งเครื่องดิบและเครื่องสุก สาหรับครูโขนละครฝ่าย ยักษ์และฝ่ายมนุษย์ ดังรายการต่อไปนี้ ๑. หัวหมูดิบ พร้อมทั้งขา หาง ลิ้น ๒ หัว ๒. หัวหมูสุกพร้อมทั้งขา หาง ลิ้น ๒ หัว ๓. เป็ดดิบ (ทั้งตัว) ๒ ตัว ๔. เป็ดสุก (ทั้งตัว) ๒ ตัว ๕. ไก่ดิบ (ทั้งตัว) ๒ ตัว ๖. ไก่สุก (ทั้งตัว) ๒ ตัว


หน้า ๓๒

๗. บายศรีปากชาม ๒ ที่ ๘. มะพร้าวอ่อน, กล้วยน้า ๒ ที่ ๙. ขนมต้มแดง, ต้มขาว ๒ ที่ ๑๐. ขนมหูช้าง และเล็บมือนาง ๒ ที่ ๑๑. ปูทะเลดิบ, สุก ๒ ที่ ๑๒. ขนุน ๒ ที่ ๑๓. โรตี หรือ มะตะบะ ๒ ที่ ๑๔. นม-เนย-ขนมปัง ๒ ที่ ๑๕. ผลไม้เจ็ดอย่างใส่พาน ๑ ที่ (หมายถึงผลไม้ที่ชื่อเป็นมงคลของพ่อครูฤษี) ๑๖. ผมไม้ต่างๆ ใส่พาน ๒ ที่ ๑๗. ไข่ต้ม, ดิบ ๒ ที่ ๑๘. กับข้าวแขก ๒ ที่ ๑๙. สุรา ๒ ขวด ๒๐. ฟักทองแกงบวด ๒ ที่ ๒๑. น้าพริกเผา, น้าจิ้ม พอสมควร ๒ ที่ ๒๒. ทองหยิบ-ขนมถ้วยฟู ๒ ที่ ๒๓. ทองหยอด ๒ ที่ ๒๔. ฝอยทอง ๒ ที่ ๒๕. หมากพลู บุหรี่ ใบจาก กัญชา ยาฝิ่น (ถ้าหาได้) ๒ ที่ ๒๖. ขนมหม้อแกง ๒ ที่ ๒๗. ขนมข้าวแขก ๒ ที่ ๒๘. กุ้งดิบ, สุก ๒ ที่ ๒๙. ปลาแป๊ะซะหนึ่งตัว ๒ ที่ ๓๐. ผลไม้ป่า-เผือก-มัน-ตะโก-มะพลับ ๒ ที่ ถ้าเป็นเครื่องเดี่ยวใช้เครื่องสังเวยคาวหวานอย่างละ ๑ ที่ มีข้อสังเกตกว่าการตั้งเครื่องสัง เวย คาวหวานนี้ เครื่องสุก ควรตั้งอยู่ทางขวามือของที่บูชา เครื่องดิบ ตั้งทางซ้ายของที่บูชา และตรงกลาง ตั้ง เครื่องมังสวิรัติ การที่มีอาหารแขกอยู่ด้วยนั้นอาจเป็นเพราะพื้นฐานของวิชานาฏศิลป์มาจากพวกแขก (อินเดีย) และเพื่อให้ผู้ทรงศีล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ฉันเนื้อสามารถฉันอาหารจาพวกนี้แทนได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องที่ใช้ประกอบในพิธีดังนี้ ๑. ข้าวตอก ๒ ขันใหญ่ ๒. บาตรทาน้ามนต์ ๑ ใบ ๓. ของใช้ทาน้ามนต์ใบเงิน, ใบทอง, ใบนาก, ใบมะกรูด, ลูกมะกรูด ๓ ผลผ่าลู ก ละ ๓ ชิ้น, ฝักส้มป่อย ๔. (ใบมงคล) หญ้าแพรก, ใบเงิน, ใบทอง, ใบมะตูม, ดอกมะเขือ (ใช้ห่อทัดหู) ๕. หญ้าคาหรือใบมะยม (ใช้สาหรับพรมน้ามนต์)


หน้า ๓๓

๖. สังข์, เครื่องเจิม , กระแจะ, ผ้าสีชมพู (ใช้ห้อยหน้าครู), น้าอบ ๑ ขวดใหญ่ (ใช้สรง เทวรูป), น้าปรุงเจ้าคุณ ๑ ขวด, ทองคาเปลวอย่างแท้ ๒๐ ใบ น้ามันจัน ๑ ขวด ๗. ธูปหอม ๑๐ ห่อใหญ่ ๘. เทียนเล็ก ๑๐๐ เล่ม ๙. เทียนชัยหนัก ๖ บาท ๑ เล่ม ๑๐. เทียนเงินเทียนทองหนัก ๔ บาท อย่างละ ๑ เล่ม ๑๑. เทียนทาน้ามนต์และเวียนเทียน ๙ เล่ม ๑๒. ดอกไม้พาน และแจกันประดับที่ครูพร้อมทั้งพวงมาลัยใช้สวมหน้าครูทุกศีรษะ ๑๓. บายศรี ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น ๙ ชั้น (ของหลวง) ๑ ต้น ๑๔. ผ้าขาว ๕ เมตร ฉีกเป็น ๕ ผืน (ใช้ปูนั่ง, ปูกราบ) ๑๕. ผ้าขาวนุ่ง (หนาหน่อย) ๓ เมตร ใช้ห่ม ๔ เมตร ๑๖. ผ้าขาวนุ่งพราหมณ์ ๓ เมตร ใช้ห่ม ๓ เมตร ๑๗. ขันเงินหรือขันลงหินกานนในพิธี ผ้าเช็ดหน้าขาว ดอกไม้ ธูป ๑ ซอง เทียน ๑ เล่ม หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ด้าย เข็ม เงินค่ากานน ๓๖ บาท ๑๘. ขันกานน ๑ ใบ ผ้าเช็ดหน้า ดอกไม้ ธูป ๑ ซอง เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ด้าย เข็ม เงินค่าครอบ ๒๔ บาท (ผู้ที่จะครอบหามาทุกคน) ๑๙. ยอดตอง ๔ ยอด ๒๐. ผ้าขาวใช้ปูทางเดินครู ๓ เมตร ๒๑. แว่นเวียนเทียน ๓ แว่น ๒๒. ขันพานรองใส่ข้าวสาร, ถั่วเขียว, งา, ข้าวตอก, ดอกไม้ (เงินค่ากานน ๓๖ บาท) ๒๓. ใบพลู (ใช้ดับเทียน) ถ้าไม่เวียนเทียนบางสิ่งบางอย่างตามรายการข้างบนนี้ก็อาจตัดออกไปได้บ้าง ตามบัญชีกระยาหารดังที่กล่าวข้างต้น ที่จริงแล้วไม่ควรขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ถ้าจาเป็นแล้วขาดได้ แต่ควรมีเครื่องทดแทน เช่น ถ้าทาพิธีในบ้านของอิสลาม ซึ่งไม่กินหมู ก็สามารถใช้ปูแทนหมูได้ (ในสมัย โบราณเรียกปูว่า หมู ๑๐ ขา) หรือในกรณีที่เจ้าภาพไม่อาจจัดหาซื้อบางสิ่งบางอย่างได้เช่น หัวหมู ซึ่งมี ราคาแพงมาก ก็ใช้หมูน อนตองแทนได้ (หมูนอนตองหมายถึง หมูสามชั้น ตัดเป็นชิ้นๆ พองามวางบน ใบตอง) พอเริ่มพิธีไหว้ครู วิทยากรจะราเข้าพิธีด้วยเพลงพราหมณ์เข้าหรือเพลงดาเนินพราหมณ์ สมมุติ ว่าผู้ประกอบพิธีนั้นเป็นพราหมณ์ เรียกว่า สมมุติพราหมณ์ (ผู้สะอาด ผู้บริสุทธิ์) ราเสร็จลงนั่งเรียบร้อย เชิญประธานในที่นั้นจุดเทียนเงิน เทียนทอง เทียนชัย หรือวิทยากรจุดเอง วิทยากรบูชาพระรัตนตรัย และ ชุมนุมเทวดา ทาน้ามนต์ เริ่มบูชาครูปัธยาย (ครูทางนาฏศิลป์) เริ่มแต่พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประชุมในที่นี้ เพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งร้ายและให้มาประทับอยู่ในตัวของผู้ประกอบพิธี ให้ผู้มาในพิธีจุดธูปเทียนบูชาแล้วผู้ประกอบพิธีว่านาอัญเชิญเทพเทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งครูผีครูคน ครูพั ก ลักจา (การที่เราไปจาเขามา) พร้อ มทั้ง ครูท างดนตรีและครูศิลปะทั้ง หลาย ช่วงต่อไปเรียกหน้าพาทย์ (เพลงต่างๆ) เชิญครูแต่ละองค์ให้เสด็จมาประชุม ณ โรงพิธีนี้อีกครั้งหลังจากที่ได้บูชาอัญเชิญเรียบร้อยแล้ว ตามวิธีการนาฏศิลป์


หน้า ๓๔

ผู้ประกอบพิธีอัญเชิญหน้าพระพรตฤๅษีสวมศีรษะราเสมอเถร เข้าในโรงพิธีสมมุติว่าพระพรต ฤๅษีได้เข้ามาประชุม ณ โรงพิธีนี้เรียบร้อยแล้ว อัญเชิญเทวรูปมาลงสรง ผู้ประกอบการพิธีสรงน้าเทวรูป พร้อมทั้งบรรดาสานุศิษย์ และแขกผู้มีเกียรติเข้ามาสรงแล้วเรียกเพลงเสมอเข้าที่ (อัญเชิญ เทพเทวดาสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ให้เข้าประทับตามที่อันสมควรที่ได้จัดไว้ หลังจากได้สรงน้าแล้ว) เมื่อครูเข้านั่งที่แล้ว ผู้ประกอบ พิธีกล่าวถวายเครื่องสังเวย เรียกเพลงหน้าพาทย์นั่งกินและเซ่นเหล้า (เครื่องสังเวยที่เป็นน้า) ในระหว่างนี้ ถือว่าครูยังฉันอยู่ ในช่วงนี้ต้องทาพิธีให้เสร็จก่อน ๑๒.๑๕ น. (เชื่อกันว่าหลังจากเวลานี้ครูจะไม่ฉันเพราะ ท่านเป็นผู้ทรงศีล) หลังจากนี้เป็นพิธีครอบต่อไปซึ่งเป็นเรื่องของนาฏศิลป์จึงไม่กล่าวต่อในที่นี้ นอกจากนี้ยังมีบายศรีซึ่งใช้สักการะเทพเจ้าชั้นพรหม ชั้นเทพ ที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางใน ขณะนี้ โดยมากจะกระทาเป็นประจาปี หรือกาหนดวันเวลาแตกต่างกันไปในแต่ละสานัก เช่น ไหว้ครู ยก ครู และในการประกอบพิธีดังกล่าวอาจมีทั้งพิธีทางพุทธศาสนา และพิธีพราหมณ์ควบคู่กันไปด้วย ทั้ง นี้ เท่ากับเป็นการเชื่อมโยงความรู้สึกของพุทธศาสนิกชนกับความเชื่อซึ่งยึดถือและเชื่อมั่นไม่เสื่อมคลาย ดังที่ ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธนกล่าวไว้ในเรื่อง “การนับถือศาสนาของชาวไทย” ตอนหนึ่งว่า “ที่พิธี สงฆ์มีพิธีพราหมณ์ทางไสยศาสตร์เข้าไประคนปนอยู่ด้วยก็เพราะเกี่ยวกับความเชื่อถือของประชาชนส่วน ใหญ่ หรืออีกอย่างหนึ่งเป็นเรื่องของพิธีพราหมณ์แท้ๆ แต่ที่เอาพิธีสงฆ์เข้าไปแทรก ก็เพื่อให้เกิดความรู้สึก ทางพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณได้บ้าง” ในการไหว้ครูประจาปีหรือสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว นอกจากจะมีบายศรีต้น อันเป็นบายศรี หลักแล้ว ยังมีบายศรีที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อบูชาเฉพาะ และมีบายศรีบริวารอีกเป็นจานวนมาก ความยิ่งใหญ่ อลังการ จึงขึ้นอยู่กับระดับความสาคัญของเทพเจ้านั้นๆ

๔.การสมโภช คาว่าสมโภช พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คาจากัดความว่าการเลี้ยงอาหาร หรืองานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความยินดีร่าเริง อาจกล่าวได้ว่าเป็นการฉลองให้มาร่วมกินหรือเลี้ยงดูกัน จะ เห็นได้ว่าการสมโภชส่วนใหญ่จะเป็นพิธีของหลวง เช่น พิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสาคัญ พระราชพิธีสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พิธีสมโภชกรุง รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในส่วนของราษฎรนั้นใช้ในพิธีสมโภชฉลองพระพุทธรูป ฉลองสมณศักดิ์ เป็นต้น บายศรีที่ใช้ในการสมโภชจึงมีทั้งบายศรีปากชาม บายศรีต้น ส่วนในพิธีของหลวงใช้บายศรีแก้ว ทอง เงินตามแบบแผนที่ ก าหนดในราชประเพณี บางพิ ธี ใช้ บายศรี ต้น และบางพิ ธี ใช้ บ ายศรีตองรอง ทองขาว ควบคู่ไปด้วยดังได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องบายศรีของหลวง นอกจากบายศรีจะใช้ในโอกาสต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว บายศรียังไม่ขยายวงกว้างออกไป โดยนาไป สักการะพระพุ ท ธรูป หรือน าไปถวายแก้บนดัง ที่ พบเห็ นกั นทั่ วไปตามวัดวาอารามต่ างๆ เช่ น วัด พระ มหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดพระพุทธชินราช จังหวัด พิษณุ โลก วัดกลาง จังหวั ดกาฬสินธุ์ เป็นต้น ในการจัดหาบายศรีเพื่อถวายพระพุทธรูปในบางแห่ง ก็ไ ม่ ยากเย็นนัก มีร้านค้าได้ทาไว้เพื่อขายในบริเวณวัดนั้นด้วย การที่นาบายศรีไปเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปด้วยนี้ น่าจะเป็นเพราะการดึงเอาพุทธศาสนาเข้ามา ผสมผสานกับลัทธิพราหมณ์ ประกอบกับความเชื่อที่ว่าพระพุทธรูปมีเทวดาอารักษ์ปกปักรักษา อีกทั้ง บายศรีเป็นของสูง สมควรเป็นเครื่องสักการะอีกประการหนึ่งด้วย


หน้า ๓๕

ความสาคัญของบายศรี ความสาคัญของบายศรีอยู่ที่การเป็นเครื่องหมายหรือสัญ ลักษณ์ของพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ การทาขวัญสมโภช บวงสรวงหรือแม้ในพิธีไหว้ครู เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการทาพิธีดังกล่าว เพราะ มนุษย์มีความเชื่อในเรื่องขวัญว่าจาเป็นจะต้องมีทุกคน และควรพยายามรักษาไว้ไม่ให้หนีออกจากร่างกาย หรือถ้าหนีไปก็เรียกกลับมา ถ้าขวัญไม่กลับเชื่อว่าคนนั้นจะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยหรือตายไปเมื่อขวัญ เป็นสิ่ ง สาคัญ จึงต้องบารุงขวัญอยู่เสมอ ทุกระยะเวลาของชีวิต เช่น ในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ จนกระทั่งตาย ขวัญ จะเกี่ยวข้องกับเราเสมอ ดังได้อธิบายไปแล้วในเรื่องการทาขวัญต่างๆ มนุษย์จึงได้สร้างพิธีกรรมขึ้น เป็นการเอาใจขวัญให้อยู่กับตัวหรือเรียกร้องให้ขวัญ กลับมา จึง กล่าวได้ว่าบายศรีเป็นเครื่องหมายหรือ สัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ในทานองเดียวกันมนุษย์เชื่อในเรื่องของอานาจเหนือมนุษย์ว่าจะสามารถดลบันดาลให้มนุษย์มี อันเป็นไปทั้งในทางที่ดีและก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ได้ มนุษย์จึงต้องหาวิธีการต่างๆ นานาเอาใจเทพย ดาอารักษ์ให้ปกปักรักษาตาม ดลบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลให้แก่ตน ไม่ว่ามนุษย์จะกระทาการใดๆ ก็ตามที่ เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง มนุษย์จึงขอร้องวิงวอนอานาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นให้มนุษย์ ทาในสิ่งที่ต้องการได้สะดวกไม่มีอุปสรรค หรือในทานองติดสินบนแก่อานาจเหนือมนุษย์เหล่านั้น ในกรณีนี้ บายศรีจึงเป็นสัญลักษณ์ในการวิงวอน ขอร้อง ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในพิธีกรรมบางอย่างของมนุษย์ ซึ่งใช้ บายศรีเป็นเครื่องสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น


หน้า ๓๖

บทสรุป กล่าวได้ว่าบายศรีเป็นส่วนสาคัญในพิธีกรรมการทาขวั ญ บวงสรวง บูชา เทพยาดา บูชาครู เพื่อ ความสิริสวัสดิมงคลแกตนหรือส่วนรวม ทั้งนี้เพราะบายศรีจะใช้เฉพาะในงานที่เป็นมงคลเท่านั้น จะไม่ใช้ ในพิธีอวมงคลเลย จะเห็นได้ว่าในการทาขวัญนั้นเกิดจากแนวความคิดของการที่จะให้มีการดารงชีวิตอย่าง มีความสุข ปลอดภัยทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บและอุปัทวันอันตรายทั้งปวง อาทิ การทาขวัญทารก เพราะยังไม่ แน่ใจว่าเด็กจะรอดชีวิตตลอดไปหรือไม่ จึงปัดเป่ารังควาน เสนียดจัญไรมิให้แผ้วพาลเด็กจะได้เติบโตอย่าง สมบูรณ์ ทาขวัญเดือน เชื่อว่าเด็กรอดพ้นอันตรายแล้วจึงทาขวัญแสดงความยินดี โกนจุก เพราะเด็กย่าง เข้าสู่สภาวะพ้นจากการเป็นเด็ก นับเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สาคัญ เด็กควรจะต้องสานึกในหน้าที่ความ รับผิดชอบ และเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต บวชนาค เพื่อให้เกิดเนื้อนาบุญแก่ตนและพ่อแม่ พากเพียรปฏิบัติ ธรรมเพื่อให้สมเจตนารมณ์ของพ่อแม่ ทาขวัญ แต่งงาน เพราะคนทั้งสองจะเปลี่ยนสภาวะมาเป็นผู้ครอง เรือน ทาขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตน โดยเฉพาะการครองเรือนที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกัน และเป็นตัวอย่าง ที่ดีแก่ผู้สืบสกุลต่อไป การทาขวัญเมื่อเจ็บไข้ การไปต่างถิ่นหรือไปต่างถิ่นกลับมา เป็นการปัดสิ่งชั่วร้ายให้ ออกไปหรือฟาดเคราะห์ หรือส่งขวัญให้ไปอยู่กับตัว นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของความดีใจให้กาลังใจและ เตือนสติให้สานึกชั่วดีอยู่เสมอ การทาขวัญต้อนรับแขกผู้มาเยือน เป็นการปัดสิ่งไม่ดีที่อาจนาเข้ามาในถิ่น และนาสิ่งดีเข้าสู่ตัวผู้เป็นอาคันตุกะ ทาขวัญ เรือน เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ทาขวัญ โค กระบือ ทาขวัญ นา ขวัญ ข้ าว เพื่อ ความอุ ดมสมบูรณ์ ของผลผลิต ท าขวัญ พระพุ ทธรูป เพื่ อวิ งวอนขอพุ ทธานุ ภ าพให้ ช่ว ย คุ้มครองป้องกันภัยและบันดาลให้ร่มเย็นเป็นสุข เป็นต้น ส่วนการบวงสรวงสังเวยและบูชาครูนั้น เป็นการแสดงถึงความเคารพ และมอบสิ่งตอบแทน ให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อดลบันดาลให้ประสบความสาเร็จในกิจการงานนั้น ไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆ บันดาล ลาภยศ ความอุดมสมบูรณ์ กล่าวได้ว่าบายศรีนั้นเกิดจากความชาญฉลาดของมนุษย์ในการเชื้อเชิญ พรหมเทพทั้งหลายให้ มาร่วมประกอบพิ ธีกรรมต่ างๆ เพื่ อยังความศักดิ์ สิทธิ์สิ ริมงคล และความสาเร็จให้บั ง เกิดขึ้ น จึ งสร้าง บายศรีโดยลอกเลียนแบบมาจากแนวความคิดของเขาพระสุเมรุในไตรภูมิ โดยเชื่อว่ายอดสูงสุดของบายศรี คือเขาพระสุเมรุที่รายล้อมด้วยสัตบริภัณฑ์และเขาใหญ่น้อย พิ ธีก รรมต่ า งๆ ที่ ต้ อ งใช้ บ ายศรีเป็ น ส่ ว นประกอบส าคั ญ เหล่ านี้ ต้ อ งอาศั ย ผู้ รู้ผู้ ช านาญหรื อ พราหมณ์หรือผู้อาวุโส (ภาคอีสาน, ภาคเหนือ) เป็นสื่อกลางที่จะทาให้มนุษย์บรรลุเป้าหมายตามความเชื่อ ของตน ส่วนความเหมาะสมที่จะใช้บายศรีชนิดใดนั้นมีกาหนดไว้เป็นแบบแผนประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบต่อ กันมา จะเห็นได้ว่าบายศรีไม่ได้เป็นเพียงแต่สิ่งประกอบในพิธีกรรม แต่ได้แสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่สร้างสรรค์ศิลปะอันงดงามเป็นมรดกสืบทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจมาจนถึงทุกวันนี้ ในยุคโลกาภิวัตน์ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ได้แพร่หลายกว้างขวาง การพัฒนาประเทศมุ่งสู่ อุตสาหกรรม อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามามากจนทาให้ความเชื่อต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย รูปแบบของพิธีกรรมหลายอย่างเปลี่ยนไปดังจะเห็นบายศรีสาเร็จรูปเกิดขึ้น การทาขวัญต่างๆ เช่น ทาขวัญ เด็ก โกนจุก บวชนาค แต่งงาน หรือทาขวัญ เสาเรือน ไม่ค่อยพบเห็นกันง่ายๆ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้และ เคร่งครัดในประเพณีหายากมากขึ้น และช่างทาบายศรีนับวันจะลดน้ อยลงทุกทีเนื่องจากบายศรีเป็นของ สูงเพราะใช้เป็นเครื่องบูชาเทวดา แต่โบราณมาถือกันว่าการฝึกหัดทาบายศรีต้องทาพิธีครอบครูบายศรี ถ้า


หน้า ๓๗

มิได้ครอบห้ามทา เพราะจะเกิดความอัปรีย์จัญไรแก่ผู้ทา จึงไม่ค่อยมีผู้ทาได้แพร่หลายนัก การครอบนั้นครู จะจับมือศิษย์สอนให้พับใบตอง ตอนล่างของนมแมวและแมงดา แล้วเอาไม้กลัดตรึงให้แน่นบอกอนุญาต และอวยชัยให้พร เป็นเสร็จพิธี ในปัจจุบันการเรียนวิธีทาบายศรีกาหนดอยู่ในชั้นเรียนซึ่งมีนักเรียนจานวน มากจึงกาหนดพิธีย่นย่อลงให้ทาบายศรีได้ ดังนั้นช่างทาบายศรีจึงจากัดอยู่ในวงวิชาช่างหรือผู้ที่ได้รับการ สืบทอดต่อมาซึ่งนับว่าหายากมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังกล่าวได้ว่าพิธีกรรมที่ต้องใช้บายศรีเป็นหลักในการ ประกอบพิธีนั้นยังคงเหนียวแน่นอยู่ในบางท้องถิ่น โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ส่วนในพิธีของ หลวงนั้นกล่าวได้ว่า ยังคงรักษาและยึดมั่นในแบบแผนประเพณีอยู่อย่างสม่าเสมอ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.