Bookmoby Review issue 2 (2014)

Page 1

1


2

วารสาร Bookmoby Review • บรรณาธิการบริหาร ปราบดา หยุ่น บรรณาธิการ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน กองบรรณาธิการ ธนาคาร จันทิมา นักเขียนและนักแปลรับเชิญ สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์ ปาลิดา พิมพะ กร จิรศักดิ์ ปานพุ่ม อลิสา สันตสมบัติ จารุรัตน์ เทศล�ำใย นพพร สันธิศิริ ที่ปรึกษา วินัย ชาติอนันต์ ทิ​ิชากร ชาติอนันต์ ออกแบบ ปราบดา หยุ่น มานิตา ส่งเสริม ผู้พิมพ์ บริษัท บุ๊คโมบี้ จ�ำกัด 7/54 ซอยร่วมฤดี ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทรศัพท์ 02-106-3671, 086-374-3464 โทรสาร 02-106-3671 อีเมล contact@bookmoby.com เว็บไซต์ www.bookmoby.com เฟซบุ๊ค facebook.com/ bookmoby ทวิตเตอร์ twitter.com/bookmoby อินสตาแกรม instagram.com/bookmoby พิมพ์ที่ บริษัท แกรนด์พ้อยท์ จ�ำกัด 36 ซ.บรมราชชนนี 6 แขวงบางบ�ำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 โทร. 089-070-7744 โทรสาร: 02-117-1570


เรื่อง กองบรรณาธิการ

Bookmoby Review ฉบั บ นี้ จ ะชวน คุณมาส�ำรวจพรมแดนกว้างใหญ่ของ นิยายวิทยาศาสตร์ หรือ นิยายไซไฟ วรรณกรรมแนวคิ ด (Literature of Ideas) อีกรูปแบบหนึ่งที่ตั้งค�ำถามกับ ความเป็นมนุษย์ และการด�ำรงของเรา ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ถึงอนาคต และเปิด ความเป็นไปได้ให้มิติคู่ขนาน การเดิน ทางเร็วกว่าแสง สงครามอวกาศ มนุษย์ กลายพันธุ์ หุ่นยนต์สมองกล กระทั่งสิ่ง มีชีวิตต่างดาว ได้โลดแล่นอยู่บนหน้า กระดาษภายใต้ตรรกะท้าทายคนอ่าน ว่า “อะไรจะเกิดขึ้น...หาก..” (What would happen if…?) ย้อนกลับไปสูย่ คุ ทีเ่ วลายังไม่ถกู นับ และต�ำนานกับ ประวัติศาสตร์ยังไม่แยกจากกัน เดดาลัส (Daedalus) และ อิคารุส (Icarus) บุตรชาย คือมนุษย์กลุม่ แรกในปกรณัมกรีก ผูป้ รารถนาจะบิน พวกเขาถูกขังในเขาวงกตทีต่ นสร้าง เดลาลัสผู้พ่อเฝ้ามองท้องฟ้าทุกวันเพื่อหาทางหนี เขาสร้าง ปีกจากขนนกทีฉ่ าบเชือ่ มด้วยขีผ้ งึ้ จนส�ำเร็จ ปีกคูห่ นึง่ ส่งมอบ ให้อิคารุสบุตรชาย พร้อมค�ำเตือนว่าอย่าบินใกล้ดวงอาทิตย์ มากนัก แต่รสชาติของอิสรภาพท�ำให้เขาเพลิดเพลินการบิน ขีผ้ งึ้ เหลวละลาย ปีกทัง้ สองหลุดร่วง อิคารุสหล่นจากท้องฟ้า และจมหายสู่ท้องทะเล หลายศตวรรษต่อมา อิคารุสคนแล้วคนเล่ายังคง ร่วงหล่น มนุษย์สร้างประวัตศิ าสตร์การบินจากสิง่ ทีเ่ ป็นเพียง นิทาน เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo Da Vinci) แห่งยุคเรอนาซองส์ คิดออกแบบเครื่องร่อนส�ำหรับบิน ความเป็นไปได้ นั้นกลายเป็นเรื่องจริง ช่วงรอยต่อของศตวรรษที่ 19 และ 20 สองพีน่ อ้ งตระกูลไรท์ทำ� ให้โลกรูจ้ กั เครือ่ งบิน มนุษย์สามารถ พาตัวเองโบยบินสูท่ อ้ งฟ้าเเล้วกลับลงมาสูพ่ นื้ อย่างปลอดภัย

โศกนาฏกรรมการบินของอิคารุสถือเป็นตัวอย่าง มหั ศ จรรย์ ข องเรื่ อ งเล่ า ส่ ว นผสมระหว่ า งจิ น ตนาการ กั บ ความกระหายใคร่ รู ้ ข องมนุ ษ ย์ กล่ า วได้ ว ่ า นิ ย าย วิทยาศาสตร์ (Science Fiction) เรื่องแรกเกิดขึ้นพร้อม เรื่องเล่าของมนุษย์ถ�้ำ การเดินทางรอบโลกยังไม่มีอยู่แม้ ในความฝัน และทฤษฎีเกี่ยวกับไฟฟ้านั้นยังเป็นไปตาม ประสงค์ของเทพเจ้า อดีตกาล science กับ fiction ผูกพันแนบแน่น ต้นก�ำเนิดของนิยายไซไฟ แสดงให้เห็นว่าความรูแ้ ละจินตนาการ ของมนุษย์ที่ไม่เคยแยกขาดกัน น่าแปลกใจที่นิยายประเภท นี้กลับไม่ค่อยถูกพูดถึงและถูกเมินเฉยจากปัญญาชน ตลอด หลายศตวรรษที่ผ่านมา นิยายไซไฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมประชานิยม การอ่าน-การเขียนนิยายไซไฟเป็น ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้น เข้าไปมีส่วนร่วม บันทึกเหตุการณ์ความเป็นไป หรืออาจสร้างขึน้ ใหม่ เป็นทัง้ ค�ำ ท�ำนาย สัญญาณเตือนภัย รวมถึงเป็นงานเขียนประวัตศิ าสตร์ และ/หรือสร้างอนาคตให้ปัจจุบันได้เดินตาม

กรุงเทพ ร้าน Bookmoby หอศิลป์ กทม. ร้านกาแฟดริฟ หอศิลป์ กทม. ร้านกาแฟสาขาในเครือ Tom N Tom HHOM Cafe ร้านบางหลวง ร้านกาแฟนรสิงห์ ร้านศึกษิตสยาม ร้านหนังสือก็องดิด ร้านหนังสือเดินทาง

อะไรจะเกิดขึ้น หากคุณเปิดหน้าต่อไป

ต่างจังหวัด ร้านสวนเงินมีมา ร้าน Café Little Spoon House Rama RCA ร้านต้น สุขุมวิทซอย 39 ร้านริมขอบฟ้า ร้านมะลิมะลิ ร้าน Hemlock พระอาทิตย์ ร้าน Dialogue Coffee and Gallery ผ่านฟ้า

ร้าน Farm to Table Organic Café ร้าน Old Town เฟื่องนคร ร้าน Old Man Café บางขุนนนท์ ร้าน Too Fast to Sleep ร้าน B2S (สาขาในกรุงเทพฯ) ร้าน Lamune สยามสแคว ร้านประตูสีฟ้า เอกมัย ร้าน Ceresia พร้อมพงศ์

ร้านฟรีฟอร์ม Lonely Pai แม่ฮ่องสอน ร้านเล่า เชียงใหม่ ร้านเชียงดาว เชียงใหม่ ร้านฟิลาเดลเฟีย อุบลราชธานี ร้าน Booktopia อุทัยธานี ร้านกาลครั้งหนึ่ง อุทัยธานี ร้านเฟื่องนคร นครราชสีมา ร้าน BUKUBOOK ปัตตานี ร้านบุ๊ค รีพับลิค เชียงใหม่


BACK TO

THE FUTURE นิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction) เรียกสัน้ ๆ ว่า นิยายไซไฟ (SciFi) เกิดยุคแรกพร้อมกระแสการผจญภัยแสวงหาโลกใหม่ของชาวตะวันตก เรือ่ ง เล่าจากประสบการณ์เดินทางผสมผสานจินตนาการแฟนตาซีที่มีต่อวัฒนธรรม แปลกใหม่ (ศตวรรษที่16) ได้แก่ ยูโทเปีย (Utopia) ของ เซอร์ โธมัส มอร์ ว่า ด้วยการค้นพบเกาะสมมติแห่งหนึ่งที่มีระบอบการปกครองแบบอุดมคติ เขียน เป็นภาษาลาติน หลังจากนั้นเรื่อยมาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ศตวรรษที่19) กลิ่นอายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ามาสั่นคลอนความเป็นมนุษย์ เราจึง เห็นพัฒนาการของนิยายไซไฟที่เป็น “วิทยาศาสตร์” เข้มข้นขึ้น อาทิ แฟรงเกน สไตน์ (Frankenstein) ของ แมร์รี่ เชลลีย์ นิยายบรรยากาศอึมครึมแบบกอธิก (Gothic) ว่าด้วยชีวติ ใหม่ทถี่ กู สร้างจากซากศพด้วยวิธชี อ็ ตไฟฟ้า ถือเป็นแนวคิด ท้าทายศีลธรรมและศรัทธาต่อพระเจ้าในฐานะผู้สร้าง ซึ่งเป็นจุดเด่นของนิยาย ไซไฟยุคโรแมนติก (Science Romance) ที่ตกทอดมาจากสังคมวิคตอเรียน ของประเทศอังกฤษ

4

ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โลกตะวันตกก�ำลังก้าวสูส่ ภาวะสมัยใหม่ การมาถึงของยุค เครือ่ งจักรกล การค้นพบกระแสไฟฟ้าได้สร้างนวัตกรรมครัง้ ส�ำคัญ สิง่ ประดิษฐ์ทเี่ คย เป็นเพียงจินตนาการอย่างโทรศัพท์ และหลอดไฟ กลายเป็นความจริง เทคโนโลยี การพิมพ์ก้าวหน้าขึ้นตามล�ำดับ การเติบโตของงานเขียนแนวไซไฟกลายเป็น ค่านิยมซึ่งแข่งขันกันอย่างคึกคักระหว่างวรรณกรรมสายยุโรปและสายอเมริกัน ตัวอย่างผลงานส�ำคัญในยุคนี้ คือ ใต้ทะเลสองหมืน่ โยชน์ (Twenty Thousand Leagues Under the Sea) ของ จูลส์ เวิรน์ นักเขียนฝรัง่ เศส ว่าด้วยการผจญ ภัยใต้สมุทรของเรือด�ำน�ำ้ นอติลสุ ซึง่ ถูกสร้างขึน้ มาโดยหน่วยงานลับของรัฐบาลเพือ่ ใช้เดินทางไปทัว่ โลก และนิยายของนักเขียนอังกฤษ เอช. จี. เวลส์ ได้แก่ เดอะ ไทม์ แมชชีน (The Time Machine) ว่าด้วยความส�ำเร็จของการสร้างเครือ่ งท่องเวลา ตัว ละครเดินทางข้ามเวลาไปสูอ่ นาคตและพบว่าอารยธรรมมนุษย์กำ� ลังวิวฒ ั นาการ ถอยหลังสูห่ ายนะ, มนุษย์ลอ่ งหน (The Invisible Man) ว่าด้วยการทดลองมนุษย์ ให้มดี รรชนีหกั เหเท่ากับอากาศ ท�ำให้ลอ่ งหนได้เพราะร่างกายไม่ดดู ซับหรือสะท้อน แสง เรือ่ งราวจบลงด้วยอาชญากรรมและความตาย และ สงครามระหว่างโลก (The War of the Worlds) บรรยายเหตุการณ์ทมี่ นุษย์ตา่ งดาวส่งยานอวกาศเข้ามาโจมตี กรุงลอนดอน ถือเป็นนวนิยายเรือ่ งแรกทีก่ ล่าวถึงหายนะจากการรุกรานโลกจากต่าง ดวงดาว บุคคลทัง้ สองนีไ้ ด้รบั ยกย่องในเวลาต่อมาว่าเป็นบิดาแห่งนิยายไซไฟสมัย ใหม่ เนือ่ งจากเขียนนิยายไซไฟโดยอิงหลักวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ซึง่ ช่วยก�ำหนด รูปแบบวรรณกรรมแนวนี้ให้แยกชัดจากนิยายแฟนตาซีที่มีเพียงความมหัศจรรย์

ขณะที่งานเขียนนิยายไซไฟฝั่งยุโรปจะอิงกับความเป็นอนุรักษ์นิยมและ มักแฝงปรัชญา ฝัง่ นักเขียนอเมริกนั กลับเน้นความบันเทิงแก่ผอู้ า่ นชนชัน้ กลางและ ชนชัน้ ล่างเป็นหลัก งานเขียนไซไฟถือเป็นงานกระแสหลัก ซึง่ ได้รบั ความนิยมควบคู่ ไปกับการอ่านการ์ตนู (Comic) มีศนู ย์กลางอยูท่ นี่ วิ ยอร์ค ตัง้ แต่ทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมา โลกได้รจู้ กั กับนิยายไซไฟแนวยอดมนุษย์ อาทิ ซุปเปอร์แมน, แบทแมน, วันเดอร์วแู มน และกัปตันอเมริกา ช่วงเวลานีเ้ กิดการแข่งขันระหว่างนิตยสารไซไฟ หลายฉบับ ก่อนเกิดการเปลีย่ นถ่ายครัง้ ส�ำคัญจากนิตยสารสูก่ ารตีพมิ พ์หนังสือพ็อก เกตบุค๊ ส์ในชุด Astounding Stories ซึง่ ถือเป็นแหล่งชุมนุมใหญ่ของนิยายไซไฟแนว Social Science Fiction หรือ นิยายไซไฟสะท้อนสังคม ช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ที2่ ถือเป็นยุคทองของนิยายไซไฟ โลกตกอยูใ่ น บรรยากาศระอุของสงครามเย็น การต่อสูร้ ะหว่างค่ายทุนนิยมเสรีกบั คอมมิวนิสต์ การ แข่งขันทางเศรษฐกิจ และการช่วงชิงโอกาสส่งมนุษย์คนแรกไปยังดวงจันทร์ นักเขียน นิยายไซไฟทีท่ รงอิทธิพลในยุคนี้ ได้แก่ โรเบิรต์ เอ. ไฮน์ไลน์ (Robert A. Heinlein) ไอ แซค อาสิมอฟ (Isaac Asimov) และอาเธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke ) โรเบิร์ต เอ ไฮน์ไลน์ นักเขียนอเมริกัน เจ้าของผลงานเรื่อง Starship Trooper ว่าด้วยโลกอนาคตที่ปกครองด้วยรัฐเผด็จการ สะท้อนความล้มเหลวของ ระบอบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 20 ท่ามกลางสงครามกับกองทัพแมลงยักษ์ ไอแซค อาสิมอฟ ได้รับความนิยมสูงสุดจากนิยายชุด Foundation Trilogy แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ สถาบันสถาปนา ว่าด้วยสงครามในโลกอนาคต แต่สะท้อนปัญหาสังคม เศรษฐกิจ วิพากษ์ระบบการปกครองและศาสนา รวมถึง วิวัฒนาการความคิดของมนุษย์ในอารยธรรมตะวันตก อาเธอร์ ซี คลาร์ ก ผลงานส� ำ คั ญ ที่ มี คุ ณู ป การส� ำ คั ญ แก่ ว งการ วิทยาศาสตร์-ดาราศาสตร์ คือ นิยายชุด 2001: Space Odyssey แปลเป็นไทย ในชื่อ จอมจักรวาล ถูกน�ำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดย สแตนลีย์ คูบริค (Stanley Kubrick) มหากาพย์เรือ่ งเล่าถึงวิวฒ ั นาการมนุษยชาติ เทคโนโลยี ภูมปิ ญ ั ญาและ จักรกล โดยแสดงให้เห็นทั้งประวัติศาสตร์และอนาคตในคราวเดียว

การขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และการเติบโตของอุตสาหกรรม ภาพยนตร์ทกุ วันนี้ มีสว่ นส�ำคัญทีช่ ว่ ยให้นยิ ายไซไฟเป็นความบันเทิงทีเ่ ข้าถึงคนอย่าง กว้างขวาง เทคโนโลยีชว่ ยให้ภาพแฟนตาซีกบั โลกวิทยาศาสตร์อยูร่ ว่ มกันได้กลมกลืน ศาสตร์แห่งการตัง้ ค�ำถามและตีความช่วยให้แง่มมุ ปรัชญาทีท่ า้ ทายมนุษย์ตลอดมา และจากนีเ้ ราอาจเห็นนักวิทยาศาสตร์จำ� นวนไม่นอ้ ยได้แรงบันดาลใจคิดค้นทฤษฎี ใหม่ๆ (การค้นพบทฤษฎีดาวเทียมสือ่ สารนอกโลกจากนิยายของอาเธอร์ ซี คลาร์ก) ผูก้ ำ� กับภาพยนตร์ทปี่ ระทับใจนิยายไซไฟจนน�ำมาสร้างประวัตศิ าสตร์หน้าใหม่ใน วงการภาพยนตร์ (สตาร์ วอร์ส (Star Wars) ของ จอร์จ ลูคสั (George Lucas))


WHAT WOULD HAPPEN IF… ?

นิยายไซไฟก็เหมือนอาณาจักรพืชและสัตว์ทจี่ ำ� แนกแยกไฟลัมไปได้อกี หลายภาคส่วน แต่หากต้อง สรุปโครงสร้างพืน้ ฐานของงานเขียนแนวนีเ้ พียงประโยคเดียว นิยายไซไฟทุกเรือ่ งล้วนเริม่ ต้นจากประโยคค�ำถาม ว่า "อะไรจะเกิดขึน้ หาก..." อะไรจะเกิดขึ้น หากคุณย้อนกลับสู่อดีต เดินทางไปอนาคตไกลโพ้น หรืออยู่ในพื้นที่ต่างเวลาซึ่งอาจ เปลีย่ นแปลงการรับรูค้ วามจริงของคุณไปสิน้ เชิง อะไรจะเกิดขึน้ หากคุณต้องล่องลอยอยูก่ ลางอวกาศ ใช้ชวี ติ ด�ำรงอยูท่ า่ มกลางสงครามระหว่างต่างดวงดาว อะไรจะเกิดขึน้ หากคุณต้องเผชิญหน้ากับตัวละครอย่างเอเลีย่ น, มนุษย์กลายพันธุ,์ หุน่ แอนดรอยด์ หรือสิง่ มีชวี ติ แปลกประหลาดอืน่ ๆ อันเป็นผลจากวิวฒ ั นาการแห่งอนาคต อะไรจะเกิดขึน้ หากชีวติ ประจ�ำวันของคุณต้องคลุกคลีกบั เครือ่ งจักรสมองกล, การส่งข้อมูลภาพ-เสียงผ่าน เทเลพอร์ต จราจลทีใ่ ช้ปนื กัมมันตภาพรังสีเป็นอาวุธ อะไรจะเกิดขึน้ หากคุณอยูใ่ นโลกทีค่ น้ พบกฎวิทยาศาสตร์ใหม่ทา้ ทายฟิสกิ ส์แบบดัง้ เดิมทีเ่ คยรูจ้ กั คุณอาจ เป็นนักท่องเวลา เดินทางเร็วกว่าแสง หรือติดต่อสือ่ สารผ่านโทรจิต อะไรจะเกิดขึน้ หากสังคมทีค่ ณ ุ เคยอยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วันเปลีย่ นผันสูร่ ะบบสังคมใหม่ อาทิ โลกดิสโทเปียทีท่ กุ การเคลือ่ นไหวถูกจับตา สังคมทีถ่ กู ควบคุมความคิดให้ทกุ คนคิดเหมือนกันหมด หรือโลกทีต่ กอยูใ่ นพิบตั ิ ภัยและวันสิน้ โลก

1 ข้อเขียนหลังมรณกรรม

ของนักประพันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ | บทจร

นิยายวิทยาศาสตร์แบบฮาร์ดไซไฟ (Hard Science Fiction) ให้ความส�ำคัญเป็นพิเศษ กับความถูกต้องของข้อมูล และการอธิบายทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ เช่น กฎฟิสิกส์ หรือชีวเคมี, ข้อเท็จจริงทางดาราศาสตร์ หรือความแม่นย�ำของการพรรณนาโลกที่ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีบางอย่าง โดยแสดงแนวโน้มสภาพสังคมได้ใกล้เคียงความ เป็นจริงตามหลักอนาคตศาสตร์ (Futurology) งานแนวนีส้ ร้างคุณปู การและต่อยอดให้ นักวิทยาศาสตร์พัฒนาความคิดและประยุกต์ใช้ได้จริง ตัวอย่างนิยายฮาร์ดไซไฟที่ กลายเป็นภาพยนตร์ อาทิ Metropolis, 2001: A Space Odyssey, Gattaca, Contact, Moon, Alien, Blade Runner เป็นต้น นักเขียนไทยที่สร้างสรรค์งานแนวนี้อย่างต่อ เนือ่ ง คือ ชัยวัฒน์ คุประตกุล, วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ และ วินทร์ เลียววาริณ เป็นต้น

2 พ่อ แม่ เต้า เต๋อ จิง | ปลากระโดด 3 ความจริงเนรมิต | มาคอนโด 4 กว่าจะสิ้นลมหายใจ | ไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง

5 อสรพิษและเรื่องอื่นๆ | สามัญชน 6 จุดเทียนทั้งปลายทั้งโคน

นิยายวิทยาศาสตร์แบบซอฟต์ไซไฟ หรือ นิยายไซไฟสะท้อนสังคม มีรปู แบบหลากหลาย อาจให้ความส�ำคัญกับความถูกต้องหรือความเป็นไปได้ของทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์นอ้ ย กว่าฮาร์ดไซไฟ เพราะเน้นการเสนอผลกระทบของเทคโนโลยีท่ีมีต่อมนุษยชาติ ทั้งใน ด้านจิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา งานเขียนแนวนี้ จึงยืดหยุน่ ให้ผเู้ ขียนใช้จนิ ตนาการแต่งโครงเรือ่ ง ตัวละคร และฉากได้อย่างอิสระ งาน แนวนีไ้ ด้แก่ The Time Machine, The Foundation, Do Androids Dream of Electric Sheep?, Stargate, Startrek, ID4, Back to the future, Dune, The Matrix เป็นต้น งานแนวซอฟต์ไซไฟนี้ รวมถึง นิยายไซไฟสะท้อนสังคมทีจ่ ำ� ลองโลกยูโทเปียและดิสโทเปียแก่ผู้อ่านด้วย ได้แก่ Nineteen Eighty-Four, Brave New World, A Clockwork Orange, Fahrenheit 451, Cloud Atlas และ The Hunger Game เป็นต้น นักเขียนไทยทีส่ ร้างสรรค์งานแนวนีไ้ ด้นา่ สนใจ ได้แก่ วิมล ไทรนิม่ นวล, ปราบดา หยุน่

| บางล�ำพู

7 อุดมการและกลไกอุดมการของรัฐ | text

8 ก่อนหน้านี้ | ไต้ฝุ่น 9 ฝนเอยท�ำไมจึงตก | เยติ 10 ณ ที่สิ้นสุดของบางสิ่ง | ไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง

5


INTERVIEW ชัยคุปต์ หรือ รศ.ดร.ชัยวัตน์ คุประตกุล ถือเป็นนักเขียน นักแปลและนัก วิทยาศาสตร์ คนส�ำคัญผูผ้ ลักดันให้เกิดพืน้ ทีก่ ารเขียน การแปล และการประกวด/ตีพมิ พ์ งานเขียนแนวไซไฟอย่างต่อเนือ่ ง ปัจจุบนั เป็นคอลัมน์นสิ ต์ให้กบั นิตยสาร HUG, นิตยสาร Update และนิตยสารต่วย’ตูน พิเศษ และยังจัดรายการวิทยุทางสถานี FM 101 RR1 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 05.00-06.00น. ผลงานล่าสุดของชัยคุปต์ คือนิยายเรือ่ ง ผูพ้ ทิ กั ษ์ ว่าด้วยการมาเยือนของมนุษย์จากดาวอื่นและความอยู่รอดของมนุษยชาติ ตีพมิ พ์ปี พ.ศ.2549 ขณะเดียวกันเขายังเป็น “ผูพ้ ทิ กั ษ์” แห่งวงการนิยายไซไฟไทยทีท่ ำ� ให้งาน เขียนแนวนีย้ งั คึกคักอยูเ่ สมอ

บิดาแห่งนิยายไซไฟไทย

ติดอยูใ่ นถ�ำ้ แล้วไปเจอคัมภีร์ อ่านตัวอักษรสีค่ ำ� แล้วกลายเป็นยอดจอมยุทธ์แบบนี้ ผมเรียกเพียวแฟนตาซี แต่หากเปิดหนังสือมาเจอคูม่ อื แนะน�ำการฝึกวิชา ขัน้ แรกต้อง วอร์มร่างกาย ขัน้ สองต้องฝึกสมาธิ แบบนีเ้ ป็นวิทยาศาสตร์แฟนตาซี ส่วนประเภททีเ่ ราพูดกันว่าเป็น นิยายไซไฟ (Science Fiction) ก็ตอ้ งเน้น ความเป็นวิทยาศาสตร์ แบ่งได้ 2 ระดับ คือ ฮาร์ดไซไฟ (Hard Science Fiction) กับ ซอฟต์ ไซไฟ (Soft Science Fiction) อย่างแรกเน้นแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ในการเดินเรือ่ ง บางเรือ่ งนางเอกโผล่เข้ามาแทบไม่มคี วามหมายเลย แต่ถา้ เป็นอย่าง หลัง มักไม่เน้นทฤษฎีวทิ ยาศาสตร์แต่ไปเน้นบทบาทวิทยาศาสตร์ทมี่ ตี อ่ มนุษย์และ ผลกระทบแก่สงั คมมากกว่า แบบหลังนีม่ อี กี ชือ่ เรียกว่า นิยายไซไฟเชิงสังคม (Social Science Fiction)

กระแสนิยายวิทยาศาสตร์ไทยเริม่ ต้นประมาณ ทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา ก่อน หน้านัน้ มีหนังสือแปลเสียมาก ยุคแรกเราต้องขอบคุณ จันตรี ศิรบิ ญ ุ รอด เรายกให้เขา เป็นบิดาแห่งนิยายไซไฟของไทย ผลงานเอกคือหนังสือ “ผูด้ บั ดวงอาทิตย์” ไม่เพียงแต่ เขียนเท่านัน้ แกยังช่วยให้งานเขียนแนวนีเ้ ฟือ่ งฟูมาก เพราะแกท�ำหน้าทีเ่ ป็นบรรณาธิการ นิตยสาร “วิทยาศาสตร์ มหัศจรรย์” (ต่อมาเปลีย่ นชือ่ เป็น “วิทยาศาสตร์ อัศจรรย์”) ท�ำในนาม สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ถือเป็นยุคทองของงานเขียนแนวไซไฟ ในสังคมไทย เด็กๆ รุ่นผมเติบโตมากับหนังสือเล่มนี้ แต่ท�ำได้ไม่นานก็เลิกไปเมื่อปี พ.ศ.2505 ยุคต่อมาก็มคี นมาลองเขียนแนวนีอ้ ยูบ่ า้ ง อาทิ คุณสันต์ เทวรักษ์, คุณเสนีย์ เสาวพงศ์, คุณอนุช อาภาภิรม, คุณธีรยุทธ บุญมี พืน้ ทีข่ องนิยายไซไฟไทยหายไปนาน จนกระทัง่ ปี พ.ศ.2521 วารสารรายเดือน “ทักษะฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เกิดขึน้ อีกครัง้ โดย ทนง โชติสรยุทธ์ (ผูก้ อ่ ตัง้ บริษทั ซีเอ็ดยูเคชัน่ ) แล้วออกหัวใหม่อกี ในปีตอ่ มาชือ่ “มิตทิ ี่ 4” สองหัวนีม้ ารวมกันชือ่ นิตยสาร “รูร้ อบตัว” ในปี พ.ศ.2528 หลังจากนัน้ ก็ทำ� เรือ่ ยมา เพียงแค่เปลีย่ นชือ่ ใหม่เป็น นิตยสาร อัพเดต (Update) เมือ่ ปี พ.ศ.2535 เท่านัน้ ปัจจุบนั ยังมีขายตามแผงหนังสือ อยู่ ถือเป็นนิตยสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำ� หรับผูอ้ า่ นทัว่ ไปทีย่ งั ด�ำเนินการ อยูย่ าวนานทีส่ ดุ และมีผอู้ า่ นมากทีส่ ดุ ในปัจจุบนั

6

เคล็ดลับยอดวิชา

บางคนถามว่าอยากเป็นนักเขียนนิยายไซไฟต้องรูเ้ รือ่ งการจัดประเภทไซไฟ หรือต้องศึกษาทฤษฎีวทิ ยาศาสตร์ขนาดนัน้ ด้วยหรือ นักร้องอัจฉริยะทีฝ่ กึ ฝนด้วยตัว เองเเล้วมีชอื่ เสียงก็มากมาย หากคุณมัน่ ใจว่าสามารถเขียนหนังสือโดยไม่สร้างอะไร เชยๆ ออกมา หรือไม่กลัวทีจ่ ะผิดพลาดในสิง่ ง่ายๆ ก็ไม่ตอ้ งเสียเวลามาศึกษา ผม อยากแนะน�ำคุณว่าควรศึกษารูใ้ ห้ลกึ จนเข้าไปอยูใ่ นหัวใจ แล้วลืมมันเลย ลืมทีเ่ รียน นิยายแฟนตาซี กับ นิยายไซไฟ นิยายแฟนตาซี กับ นิยายไซไฟ ทัง้ เหมือนและต่างกัน นิยายแฟนตาซี (Fan- ทีร่ มู้ า เพือ่ สร้างสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ ออกมาเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ทไี่ ม่เคยมีใครเขียนมาก่อน tasy Fiction) มี 2 ประเภท คือ เพียวแฟนตาซี (Pure Fantasy) มีเนือ้ หาเกีย่ วกับเวทมนตร์ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ หรือเทพเจ้าไปเลย อีกประเภทเรียกว่า วิทยาศาสตร์แฟนตาซี ผลงานล่าสุด ผู้พิทักษ์ ของ ชัยคุปต์ (Science Fantasy) อาจเกีย่ วข้องกับเวทมนต์คาถา มังกร พ่อมด อาวุธในต�ำนาน เชิง หนังสือเล่มล่าสุดของผม “ผูพ้ ทิ กั ษ์” พูดถึงการเดินทางมาเยือนโลกของ แฟนตาซีได้ แต่สงิ่ ทีท่ ำ� ให้ตา่ งกันคือ ต้องมีทมี่ าทีไ่ ป ความมหัศจรรย์ทงั้ หลายไม่ได้เกิด มนุษย์ตา่ งดาว มีภารกิจเกีย่ วข้องกับความอยูร่ อดของมนุษยชาติ และอนาคตของ ขึน้ เพียงจินตนาการ แต่อย่างน้อยต้องมีเหตุผลรองรับ โลกใหม่ในจักรวรรดิกาแล็กซีทางช้างเผือก ตัวละครต่างดาวมีสถานะคล้ายพระเจ้า ผมจะเปรียบเทียบอย่างนี้ ผมชอบสะสมหนังจีนของ ชอว์ บราเดอร์ส (Shaw ของมนุษย์ ด�ำเนินเรือ่ งผ่านมุมมองตัวละครทีเ่ ป็นนักวิทยาศาสตร์สาว งานเขียนชิน้ Brothers) มากนะ ในนิยายยุทธจักรของจีน พระเอกทุกคนเป็นคนดีหมดนะครับ แต่ไม่ นี้มีทฤษฎีไอน์สไตน์ทั้งส่วนสัมพัทธภาพพิเศษและภาคทั่วไปเป็นแนวคิดของเรื่อง ค่อยทันคน พวกเขาซือ่ สัตย์แต่มกั ถูกเอาเปรียบ สูค้ นเขาไม่คอ่ ยได้ อยูม่ าวันหนึง่ ตกเหว นีเ่ ป็นตัวอย่างการผสมผสานทัง้ ฮาร์ดไซไฟและซอฟต์ไซไฟไว้ในเรือ่ งเดียวกัน


มีเรื่องราวเล่าขานในม่านหมอก ที่ขอบนอกจักรวาลอันกว้างใหญ่ “ห้องสมุดแดนสนธยา”อันอ�ำไพ ที่รวมเทพนักขายจินตนาการ

Books On the Shelves

อ่านบทกวี ห้องสมุดแดนสนธยา โดย ชัยวัฒน์ คุประตกุล

มนุษย์ต่างดาวมีจริงไหม

ตลอด 50 ปีหลังมานี้ ในวงการวิทยาศาสตร์ก้าวข้ามข้อถกเถียงไปแล้ว นะว่ามนุษย์ต่างดาวมีหรือไม่มี เพราะโอกาสที่จะไม่มีมันน้อยมาก ประเด็นที่น่า สนใจคือ หากพวกเขามาเยือนแล้วจะมาแบบมิตรหรือศัตรู

ศาสนากับวิทยาศาสตร์

ผมค่อนข้างมองทุกอย่างเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ได้แยกส่วนกัน ช่วงหลัง ของชีวิตมานี้เริ่มเห็นชัด ยิ่งอยู่กับวิทยาศาสตร์ลึกเข้าไป ผมเริ่มมองเห็นว่า อ้อ ทุก สิ่งทุกอย่างมันก็เรื่องเดียวกัน เพียงแต่ว่าพัฒนาการสังคม และความหลากหลาย ของมนุษย์ท�ำให้เราแตกออกเป็นกลุ่มๆ ทว่าที่จริงแล้วมีรากเดียวกัน ตอนนี้ผมให้ ความสนใจอยู่สองเรื่อง คือ วิทยาศาสตร์ กับ ศาสนา ผมอ่านพระไตรปิฎกทุกเล่ม ท�ำความเข้าใจคริสต์ศาสนา หันมาเรียนรู้ศาสนาอิสลาม สิ่งเหล่านี้คือรากเหง้า ความคิดของมนุษย์

เดอะ ไทม์ แมชชีน | The Time Machine เอช. จี. เวลส์ เขียน | ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล แปล ส�ำนักพิมพ์สมมติ เรื่องราวการเดินทางท่องเวลาไปสู่อนาคตแปดแสนกว่าปี ข้างหน้าเพื่อพบยุคสมัยอันมืดหม่นของมนุษยชาติ ความ เสือ่ มลงทัง้ เศรษฐกิจและสังคมรวมถึงวิวฒ ั นาการถดถอย ของเผ่าพันธุ์ที่ท�ำให้มนุษย์เหลือเพียงสองกลุ่ม ได้แก่ พวกอาศัยบนดิน กับชนชั้นที่อยู่ใต้ดิน นิยายไซไฟเล่มนี้ สอดแทรกปรัชญาเศรษฐศาสตร์การเมืองที่ เอช. จี. เวลส์ ต้องการน�ำเสนอไว้เป็นทางออกส�ำหรับมนุษย์ สิ่งที่น่าทึ่ง คือ งานอมตะเล่มนี้ เขียนขึ้นเมื่อเขามีอายุได้เพียง 28 ปี เท่านั้น! คนไขลาน | A Clockwork Orange แอนโธนี เบอร์เจสต์ เขียน | ปราบดา หยุ่น แปล ส�ำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์

เหตุผลที่คนอ่านนิยายไซไฟ

นวนิยายสะท้อนภาพโลกดิสโทเปียของสังคมอังกฤษใน อนาคตซึ่งเต็มไปด้วยความรุนแรงและเรื่องเพศ น�ำเสนอ ผ่านมุมมองของ อเล็กซ์ วัยรุน่ คึกคะนองชอบก่อเรือ่ งวิวาท หนังสือเล่มนีต้ งั้ ค�ำถามกับบทลงโทษทีจ่ ำ� กัดอิสรภาพแห่ง การเลือกและความปรารถนา อเล็กซ์กลายเป็นมนุษย์ทถี่ กู ไขลาน ตั้งโปรแกรมให้ท�ำสิ่งต่างๆ ตามกลไกเพื่อเปลี่ยน “คนเลว” ให้เป็น “คนดี” นวนิยายเล่มนี้ได้รับการกล่าว ขวัญทัง้ ยกย่องและต้องห้าม ถูกน�ำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยผู้ก�ำกับ สแตนลีย์ คูบริค ในปี ค.ศ.1971

บทสนทนากับ อาเธอร์ ซี คลาร์ก

ห.ส.ร. หุ่นยนต์สากลราวี R.U.R. (Rossum’s Universal Robots) คาเรล ชาเพ็ก เขียน | ปราบดา หยุ่น แปล ส�ำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น

ผมว่างานเขียนแนวนีเ้ ป็น นอกจากเป็นการต่อยอดจินตนาการแล้วยังเป็น Warning Literature ด้วย คือเป็นค�ำเตือนถึงสิง่ ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ โดยเฉพาะสิง่ ทีน่ า่ กลัว ว่าด้วยวาระสุดท้ายของมนุษย์หรือหายนะของโลกหรือไกลกว่าโลก

ครัง้ หนึง่ ผมมีโอกาสนัง่ คุยกับอาเธอร์ ซี คลาร์ก เขาเป็นทัง้ นักเขียนและนัก วิทยาศาสตร์ทอี่ ทุ ศิ ตัวเพือ่ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ช่วงทีเ่ ราพบกัน อาร์เธอร์ ก�ำลังอยูใ่ นช่วงประท้วงสหรัฐอเมริกา ประเด็นคือสหรัฐอเมริกา เร่งรัดส่งคนไปดวง จันทร์ ทุม่ เททรัพยากรและงบประมาณทุกอย่างเพียงเพือ่ ทีจ่ ะเอาชนะรัสเซียเท่านัน้ ปรากฏว่าเมือ่ เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์ ไปถึงแล้วก็แล้วกัน ไปไม่กคี่ รัง้ ก็ไม่กลับ ไปศึกษาอีกเลย ท�ำให้ปจั จุบนั ต้องมาเริม่ นับหนึง่ กันใหม่ เขาบอกว่าเสียดายโอกาส ครัง้ นัน้ ทีค่ วรท�ำให้เกิดประโยชน์ตอ่ มนุษยชาติเต็มที่ อาร์เธอร์กเ็ ลยตัดสินใจหยุดเขียน หนังสือเพือ่ เป็นการประท้วง เป็นเวลานานกว่าเขาจะกลับมาจับปากกาอีกครัง้ หนึง่ นีเ่ ป็นตัวอย่างของนักเขียนไซไฟทีเ่ ป็นต�ำนานของนักอ่านทัว่ โลก อาเธอร์ ซี คลาร์ก เป็นบุคคลส�ำคัญในชีวติ เช่นเดียวกับ ไอแซค อาสิมอฟ ซึง่ การได้พบและสนทนาอย่าง เป็นกันเองกับบุคคลทัง้ สองนัน้ ท�ำให้ชวี ติ นีผ้ มตายตาหลับ

บทละครไซไฟร่วมสมัยเล่มนีค้ อื ต้นก�ำเนิดของค�ำว่า โรบอท 7 (Robot) โดยนักเขียนชาวเช็ค ตัง้ ค�ำถามกับความสัมพันธ์ ระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ท่ี ม นุ ษ ย์ ตั้ ง ใจ “จ� ำ ลอง มนุษย์” ในขณะที่โรบอทมีปัญญาประดิษฐ์ใกล้เคียง มนุษย์เท่าไหร่ นัน่ ก็เปิดโอกาสให้ความผิดพลาดและด้าน มืดแบบมนุษย์เกิดขึ้นกับโรบอทได้เช่นกัน การกบฏของ โรบอทครั้งนี้ก�ำลังน�ำไปสู่อวสานของมนุษยชาติภายใต้ โลกใหม่ที่ปกครองโดยหุ่นยนต์ ชิทแตก ปราบดา หยุ่น เขียน ส�ำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น นิยายไซไฟอนาคตสมมติฉากกรุงเทพฯ ไทยแลนด์เหนือ ในปี พ.ศ.2666 น�ำเสนอภาพสังคมสารสนเทศและบริโภค นิยมที่ถูกขยายให้เหนือจริงขึ้น ยุคที่มนุษย์มีเครื่องมือ สื่อสารรวดเร็วเท่าใจนึก แต่ปัญหาการปฏิสัมพันธ์กลับ ซับซ้อนขึน้ ทุกที เหล่าหนุม่ สาวต่างหมกมุน่ ในภาพลักษณ์ ความรัก และการเอาชนะ ท่ามกลางสงครามระหว่าง “คนดี” และ “คนชั่ว” และปริศนาอีกมากมายเกี่ยวกับชีวิต


คือ ดีกรีของไฟ อุณหภูมิ 451 องศาฟาเรนไฮต์ เท่ากับ 232.77 องศาเซลเซียส มาจากชือ่ นิยาย ไซไฟดิสโทเปียมืดหม่นของ เรย์ แบรดเบอรี่ ว่าด้วย โลกสมมติทหี่ า้ มการอ่านหนังสือ นักดับเพลิงจึง มีหน้าทีเ่ ผาหนังสือทุกเล่มให้มอดไหม้ กลายเป็น ชือ่ นิยาย Fahrenheit 451 หมายถึงความร้อน ณ จุดที่ท�ำให้กระดาษเผาไหม้กลายเป็นผีเสื้อสีด�ำ โบยบินในกองไฟ

คือกฏสามข้อของหุน่ ยนต์ (3 Laws of Robotics) ซึง่ ถูกโปรแกรมไว้ในทุกสมองกล เพือ่ ให้แน่ใจว่ามันจะเชือ่ ฟังและไม่กระท�ำสิง่ ทีเ่ ป็นอันตรายแก่มนุษย์ บัญญัตนิ ตี้ ราไว้ เมือ่ ปี ค.ศ.1942 โดย ไอแซค อาสิมอฟ บิดาผูส้ ร้างกฎเกณฑ์ให้แก่โรบอท และกลาย เป็นบรรทัดฐานทีถ่ กู อ้างถึงมากทีส่ ดุ 1. หุน่ ยนต์ยอ่ มไม่ทำ� ร้ายมนุษย์ กระทัง่ นิง่ เฉย หรือปล่อยให้มนุษย์มาท�ำร้าย 2. หุน่ ยนต์ตอ้ งเชือ่ ฟังค�ำสัง่ จากมนุษย์ เว้นแต่ ค�ำสัง่ นัน้ จะขัดแย้งกับกฎแรก 3. หุน่ ยนต์ตอ้ งปกป้องตัวเองตราบเท่าทีก่ าร กระท�ำนัน้ ไม่ขดั แย้งกับกฎทัง้ สองข้อ ภายหลังอาสิมอฟได้เพิ่มกฎข้อที่สี่หรือกฎ ข้อที่ศูนย์ซึ่งจะอยู่เหนือกฎอื่นทุกกฎออกมา

คือ มูลค่าต้นฉบับพิมพ์ครัง้ แรก (ค.ศ.1818) ของหนังสือนิยายไซไฟ แฟรงเกนสไตน์ วรรณกรรมแนว Science Romance เกิดขึน้ ในช่วงทีก่ ระแสโรแมนติกก�ำลังโต้กลับยุค ปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม หนังสือเล่มนีป้ ระมูลขายเมือ่ ปี ค.ศ.2004 ในราคา 95,600 ดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทย 3,111,965 บาท

คือ ช่วงเวลาที่ อาเธอร์ ซี. คลาร์ก รัฐบุรษุ แห่งนิยายไซไฟของอังกฤษ เลือกปักหลัก ชีวติ บัน้ ปลายอยูใ่ นศรีลงั กา เพือ่ ด�ำน�ำ้ ศึกษาความเปลีย่ นแปลงของโลกใต้สมุทร อา เธอร์ ซี. คลาร์ก ชอบอวกาศเป็นชีวติ จิตใจ งานเขียนของเขาเป็นแรงบันดาลใจให้นกั วิทยาศาสตร์จำ� นวนมากค้นหาความจริงนอกโลก แต่เพราะปัญหาสุขภาพ เขาไม่อาจ ตอบรับค�ำเชิญนาซ่าขึน้ ไปท่องอวกาศได้ เขาจึงเลือกการผจญภัยใต้นำ�้ แทน เนือ่ งจาก มีสภาวะใกล้เคียงกับอวกาศ เขาหลงใหลการด�ำน�ำ้ และกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ทาง ทะเลผูร้ อบรูท้ สี่ ดุ คนหนึง่

8

คือ อนาคตทีย่ งั มาไม่ถงึ แต่จนิ ตนาการของ เอช จี เวลส์ ผูเ้ ขียน The Time Machine พาเราไปถึงตัง้ แต่ ค.ศ.1895 เมือ่ นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ยานท่องเวลาส�ำเร็จ เขาท่อง เวลาไปสูอ่ นาคตปี ค.ศ.802701 เพือ่ เผชิญชะตากรรมสุดท้ายของเผ่าพันธุม์ นุษย์ การ เสือ่ มลงของอารยธรรมและการถอยหลังของวิวฒ ั นาการ โลกทีเ่ หลือมนุษย์เพียงสอง ประเภท คือ เหล่า The Overworlders มนุษย์ผรู้ กั สงบอยูบ่ นดินกับอีกพวกหนึง่ เรียกว่า The Undergrounders เป็นมนุษย์ลกั ษณะคล้ายลิงยักษ์อาศัยอยูใ่ ต้ดนิ

อมตะ วิมล ไทรนิ่มนวล เขียน ส�ำนักพิมพ์สามัญชน นิ ย ายไซไฟของไทยเพี ย งเล่ ม เดี ย วที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล วรรณกรรมระดับชาติอย่างรางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write Awards) เมื่อปี พ.ศ.2543 อมตะ ของ วิมล ไทรนิ่มนวล ว่าด้วยการต่อสู้ระหว่างมนุษย์พลังจิตกับมนุษย์โคลน ที่ ต ้ อ งการเป็ น อมตะจากการปลู ก ถ่ า ยอวั ย วะ ความ ก้ า วหน้ า ของเทคโนโลยี ไ ด้ น� ำไปสู ่ ก ารตั้ ง ค� ำ ถามทาง ศีลธรรมต่อความหมายของชีวิตและการด�ำรงอยู่ของ “จิ ต ” และ “กาย” พบการปะทะกั น ระหว่ า งแนวคิ ด แบบวิทยาศาสตร์กับมโนทัศน์ทางพุทธศาสนาและการ แสวงหาค�ำตอบเพื่อความสงบสุขชีวิต

0. หุน่ ยนต์จะไม่มวี นั ท�ำร้ายมนุษยชาติ กระทัง่ นิง่ เฉย หรือปล่อยให้มนุษยชาติมาท�ำร้าย

ใน ค.ศ.1964 สองบุรษุ ยิง่ ใหญ่ในแวดวงนิยายไซไฟทัง้ ทางฝัง่ อังกฤษและอเมริกาได้ ออกมาให้สมั ภาษณ์คำ� พยากรณ์ถงึ อนาคตในอีก 50 ปี (ค.ศ.2014) มาดูกนั ว่านักเขียน นิยายไซไฟผูม้ องเห็นอนาคตท่ามกลางหมอกควันของความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ จะท�ำนายได้แม่นสักแค่ไหน ค�ำท�ำนายของ ไอแซค อาสิมอฟ ถึงอนาคตปี 2014 “มนุษยชาติจะทุกข์ทนหม่นเศร้าอยูก่ บั โรค แห่งความเบือ่ หน่าย ซึง่ แพร่ระบาดออกไปแต่ละปี เป็นวงกว้าง โรคนีม้ ผี ลกระทบอย่างรุนแรงแก่สภาพ จิตใจและอารมณ์ของสังคมร่วมสมัย ผมกล้าพูดเลย ว่าสาขาวิชาจิตเวชจะกลายเป็นแพทย์เฉพาะทางที่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ในปี 2014“

ค�ำท�ำนาย อาเธอร์ ซี คลาร์ก ถึงอนาคตปี 2014 “เราสามารถติดต่อกันและกันได้ทนั ที ไม่ ว่าเพือ่ นของเราจะอยูท่ ใี่ ดก็ตามบนโลกใบนี้ แม้เรา ไม่รทู้ อี่ ยูแ่ น่ชดั แต่เรือ่ งนีจ้ ะเป็นไปได้ในยุคนัน้ อาจ แค่ 50 ปีจากนี้ คนเราก็จะสามารถด�ำเนินธุรกิจ จากตาฮิติหรือบาหลีได้เช่นเดียวกับที่เขาสามารถ ท�ำได้ในลอนดอน... เกือบทุกทักษะทัง้ การบริหาร หรือการปฏิบตั ใิ ดๆ ก็จะท�ำได้โดยไม่มขี อ้ จ�ำกัดเรือ่ ง ระยะทาง ผมซีเรียสจริงๆ นะครับ ทีผ่ มบอกคุณว่า วันหนึง่ เราจะผ่าตัดสมองจากเมืองเอดินบะระ ให้ คนไข้ทนี่ อนอยูใ่ นประเทศนิวซีแลนด์ได้”


Mrs Dalloway Virginia Wolf

พรหมจรรย์ของคุณนายดัลโลเวย์ โดย ประภาคารกลางท้องทะเลลึก

“เธอรุดซ่อนชุดเอาไว้ เหมือนสาวพรหมจรรย์ ก�ำลังปกป้องความบริสุทธิ์ใส และเคารพพื้นที่ส่วนตัว” นวนิยายเรื่อง Mrs Dalloway ของเวอร์จิเนีย วูลฟ์ อาจท�ำให้นกั อ่านอนุมานได้วา่ คลาริสสา ดัลโลเวย์ หรือคุณนายดัลโลเวย์มีทุกข์ทางใจเรื่องความสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อเราพิจารณาบทพูดเดี่ยวในใจ (interior monologue) ของเธอและของตั ว ละครชายอย่ า งริ ช าร์ ด ดัลโลเวย์และปีเตอร์ วอลช์ อย่างละเอียดถี่ถ้วน เรา จะพบว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ลงรอยนั้นไม่ได้มีสาเหตุมา จากฝ่ายชาย แต่ต้นเหตุคือตัวคลาริสสาเอง ข้อความ ที่ยกมาข้างต้นเป็นการอธิบายปฏิกิริยาของคลาริสสาหลังจากที่เธอทราบว่าปีเตอร์ วอลช์ก�ำลังเดินทาง มาเยี่ ย มเยื อ นเธอที่ บ ้ า นโดยไม่ ไ ด้ นั ด หมาย (ได้ ยิ น เสียงฝีเท้าก้าวขึ้นบันได) และมิใช่ข้อความบรรยาย เรื่องราวหยุมหยิมเล็กน้อย (trivial narrative) ที่เรา จะพลัง้ เผลอมองข้าม ค�ำอุปมา “เหมือนสาวพรหมจรรย์” ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ความรู ้ สึ ก นึ ก คิ ด และจิ ต ใต้ ส� ำ นึ ก ของ

คลาริสสานั้นมีแนวคิดเรื่องความบริสุทธิ์และการถือครอง พรหมจรรย์อยู่ เป็นสิ่งที่กดทับอยู่ในจิตใต้ส�ำนึกและเป็นสิ่ง ที่เธอคิดว่าคือเป้าหมายส�ำคัญและเป็นปรมัตถ์ส�ำหรับชีวิต การรีบรุดเก็บซ่อนชุดของคลาริสสาเปรียบได้กับ “เพเนโลพี” ในมหากาพย์โอดิสซีย์ และวอลช์เป็นชายผู้บุกรุก ผู้ย่างกรายเข้ามาในพื้นที่ส่วนตัวของคลาริสสาเหมือนเหล่า ชายที่มาเกี้ยวพาราสีเพเนโลพีแต่ไม่สมหวัง นัยยะของชุดที่ คลาริสสาก�ำลังซ่อมแซมอยู่นั้นก็เปรียบได้ดังแพรพรรณของ เพเนโลพีที่นางก�ำลังถักทอ ความยาวของผืนผ้ารวมทั้งความ พยายามอย่างยิ่งยวดของเพเนโลพีที่อดทนนั่งทอผ้าอย่างต่อ เนื่องก็ท�ำให้เห็นความตั้งใจของนางที่จะยึดมั่นอยู่กับเป้าหมาย ของตนเองและกับการปฏิเสธบรรดาชายที่มาติดพันหลงใหล ความงามและอยากยึดครองความบริสทุ ธิข์ องนาง ปฏิกริ ยิ าซ่อน ชุดอย่างทันทีทนั ใดของคลาริสสาเป็นวิธีการหนึ่งทีเ่ ธอพยายาม ปกป้องความบริสทุ ธิผ์ ดุ ผ่อง และชุดทีถ่ กู เก็บซ่อนไม่ได้เป็นเพียง การแสดงออกถึงจิตใต้ส�ำนึกที่ไม่ยินยอมให้ผู้ชายเข้ามาล่วง ละเมิดเธอเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระท�ำเชิงสัญลักษณ์ซึ่งเผย ให้เห็นสัมปชัญญะทีจ่ ะปฏิเสธและตัดรอนความสัมพันธ์ทดี่ ดุ นั ไม่น้อย และคลาริสสาก็ไม่ใช่ผู้หญิงใจดีแบบเพเนโลพี สาวงาม ในต�ำนานกรุงทรอยทีอ่ นุญาตให้บรรดาชายทีเ่ ข้ามาเกีย้ วพาราสี นางเห็น (และอาจมีโอกาสได้ลูบไล้สัมผัส) แพรพรรณที่นาง ถักทออยู่ คลาริสสากีดกันวอลช์แม้กระทั่งโอกาสที่จะได้เห็น ชุดนัน้ ราวกับว่าดวงตาและมือทัง้ สองของเขาคือตัวการร้ายทีจ่ ะ มาบ่อนท�ำลายพรหมจรรย์ของเธอในนาทีทเี่ ขาได้เห็นหรือสัมผัส การปกป้ อ งพรหมจรรย์ ข องคลาริ ส สาขั บ เคลื่ อ น ด้ ว ยสั ญ ชาตญาณที่ ไ ม่ มี ช ายหน้ า ไหนล่ ว งรู ้ ห รื อ เข้ า ใจได้ สัญชาตญาณนี้ชี้ให้เห็นว่าคลาริสสาให้คุณค่ากับชุดในฐานะ อาภรณ์ของสาวพรหมจรรย์ผู้สะอาดพิสุทธิ์น่านับถือย�ำเกรง

เป็นการแสดงคุณค่าในระดับจิตวิญญาณทีบ่ อกแก่นแท้แห่งตัวตน แต่ตรงกันข้าม วอลช์ไม่ได้ตระหนักถึงท่าทีการปกป้องพรหมจรรย์ ของคลาริสาแม้แต่นิด คุณค่าของชุดในสายตาวอลช์เป็นเพียง ตัวแทนที่แสดงสถานะการเป็นแม่บ้านและภรรยาที่ดี เป็นตัวแทน ของการแสดงบทบาทของช้างเท้าหลังที่มหี น้าทีส่ นับสนุนสามี เป็น ตัวแทนของการรวมกลุ่มกับชนชั้นสูงด้วยกัน และเป็นตัวแทนของ งานเลี้ยงสังสรรค์ การใช้ชีวิตอย่างไร้แก่นสารในสังคม และเป็น ตัวแทนของความไร้คุณค่าของผู้หญิงที่ “ยิ่งน่าร�ำคาญ ยิ่งชวนปั่น ป่วนวุ่นวายใจ” นอกจากการเก็บซ่อนชุด การปฏิเสธการแต่งงานก็เป็น อีกประเด็นหนึ่งที่ยิ่งท�ำให้เห็นการปกป้องพรหมจรรย์ของคลาริสสาชัดเจนขึ้น การปฏิเสธค�ำขอแต่งงานของวอลช์คือการปฏิเสธ (ความเป็น)ชายผูไ้ ร้ประสิทธิภาพ เพราะความเป็นชายของวอลช์ใน ทรรศนะของคลาริสสาไม่มพี ลังเพียงพอทีจ่ ะเกือ้ หนุนจุนเจือให้เธอมี สถานะทางสังคมหรือมีชวี ติ ทีด่ ขี นึ้ สิง่ ทีแ่ สดงความเป็นชายของเขา ก็คอื แรงขับทางเพศเหมือนกับทีม่ อี ยูใ่ นร่างกายของปุถชุ นทัว่ ไป (ซึง่ น่ า จะเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ส ามารถเชื่ อ มโยงตั ว เขากั บ ผู ้ ห ญิ ง อย่ า ง คลาริสสาได้ แต่หาเป็นเช่นนัน้ ไม่)อย่างไรก็ดี คลาริสสาไม่ได้ประเมิน คุณค่าผูช้ ายด้วยแรงขับหรือความปรารถนาทางเพศ ประโยคกล่าว ซ�ำ้ เดิม “มันไม่มปี ระโยชน์ มันไม่มปี ระโยชน์” ก็ทำ� ให้ประจักษ์วา่ คลาริสสาเน้นย�ำ้ ว่าตนต้องการปฏิเสธสิง่ นีเ้ พียงใด แรงขับทางเพศของ ฝ่ายชายและพรหมจรรย์ของฝ่ายหญิง เมือ่ ประเมินแล้ว คลาริสสา มองว่าเธอไม่ควรมอบชีวิตหรืออุทิศพรหมจรรย์ให้กับวอลช์ผู้โล่ง กลวง เพราะเขาคือชายทีไ่ ม่มคี วามสามารถแม้กระทัง่ จะแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างความรักและราคะ ดังทีเ่ ห็นได้ในฉากเล็กๆ ตอนทีว่ อลช์ตกหลุมรักผูห้ ญิงคนหนึง่ ในเวลาอันรวดเร็ว “หลังจาก ถูกไล่ออกมาจากอ็อกซ์ฟอร์ด ก็แต่งงานกับเด็กสาวคนนัน้ ทีเ่ จอบน เรือตอนทีก่ ำ� ลังจะไปอินเดีย”

อ่านต่อหน้า 16

ธนาคาร จันทิมา: รายงาน

9

นับเป็นครัง้ แรกทีป่ ระเทศไทยมีโอกาสจัดงานร�ำลึกถึงฟ รันซ์ คาฟคา (Franz Kafka) นักเขียนชาวยิวผู้ยิ่งใหญ่ แห่งศตวรรษที่ 20 ผู้มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ วรรณกรรมแนวเหนือจริงในโลกตะวันตก จากงานชิ้น เอกอย่าง เมตามอร์โฟซิส (The Metamorphosis), คดี ความ (The Trial) และ ปราสาท (The Castle) ในวาระ ครบรอบ 90 ปี การจากไปของคาฟคา สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทยได้จัด คาฟคาเฟสติวัล (KAFKA FESTIVAL) ขึ้นในวันที่ 3-5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ภายในงาน มีพิธีกล่าวปาฐกถา บรรเลงเปียโน อ่านวรรณกรรม แสดงละครสัน้ และฉายภาพยนตร์ ในการนีไ้ ด้รบั เกียรติ จากเอกอัครราชทูตประจ�ำประเทศไทยถึง 4 ประเทศ

ได้แก่ เยอรมนี, เช็ก, ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อ กล่าวเปิดงาน เอกอัครราชทูตเยอรมัน รอล์ฟ ชูลเซ่ แสดงความ เห็นต่อข้อเขียนทีค่ าฟคาเคยกล่าวว่า “หนังสือทีด่ ตี อ้ งฝังเขีย้ ว และทิม่ แทงเราดัง่ ขวานจามลงบนทะเลน�ำ้ แข็งภายในตัวเรา” ว่าหมายถึงงานเขียนของคาฟกานัน่ เองทีท่ ลายมหาสมุทรแห่ง ความเป็นไปได้ไม่จำ� กัดให้คน้ พบศักยภาพทีจ่ ะใช้ชวี ติ ของตัว เอง ปลดปล่อยเราจากความเย็นชา มองเห็นความอยุติธรรม และความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ ดร.วิเก็ตสลาฟ เกรเพิล่ เอกอัครราชทูตเช็ก กล่าวว่า ตัวละครของคาฟคาแสดงให้เห็นการไต่บนเส้นลวด หมายถึง การต่อสู้ในจิตใจของคนที่ไม่อาจขัดขืนต่อโลกความเป็นจริง ซึง่ ปลุกเร้าให้เราลุกขึน้ ต่อสูก้ บั อ�ำนาจกดขีใ่ นชีวติ จริงและช่วย กันท�ำให้โลกน่าอยู่ขึ้น ในขณะที่ เอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ คริสทีน ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ เน้นว่างานคาฟคาเป็นหนังสือบังคับ อ่านในโรงเรียนมัธยมสวิสทุกแห่ง เธอยกค�ำพูดของคาฟคา

ทีป่ ระทับใจ “การไม่ทำ� อะไรเลยเป็นหนึง่ ในความโง่เขลาทีย่ งิ่ ใหญ่ ที่สุดและสามารถจ�ำกัดได้ง่ายดาย” พร้อมเสริมว่าทุกความแอ๊บ เสิร์ดไร้แก่นสารในเรื่องเล่าของคาฟคา เราพบเห็นได้ในโลกทุก วันนี้ และจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเลย หากเรา ขาดความกล้าหรือเมินหน้าหนี ในปาฐกถาท้ายสุด “กระแสตอบรับผลงานคาฟคาใน ประเทศไทย” ของศาสตราจารย์ ถนอมนวล โอเจริญ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผูแ้ ปล เมตามอร์โฟซิส เสนอว่านักอ่านมีผลตอบรับต่อ งานเขียนของคาฟคาทีแ่ ตกต่างกัน บางคนมองว่าคาฟคาใช้ภาษา ง่าย แต่เข้าใจยาก ทั้งเหนือจริงและเหมือนฝัน คลุมเครือ ละช่อง ว่างให้ตคี วามได้อสิ ระ บางคนมองว่าเป็นงานเขียนชวนว้าเหว่ ไร้ที่ ยึดเหนีย่ ว และบางกลุม่ มองว่าคือความแปลกใหม่ น�ำเสนอปัญหา ภายในจิตใจผ่านการหลีกหนี (Eskapismus) ทัง้ นี้ นักอ่านชาวไทย ส่วนมากรู้จักผลงานของคาฟคาผ่านการแปล จึงรู้จักตัวตนของ คาฟคาเพียงบางส่วน งานของคาฟคาแฝงแนวคิดศาสนาและมุม มองจากประเพณีชาวยิวไม่น้อย การจะเข้าใจผลงานจ�ำเป็นต้อง อ่านจดหมาย อนุทินประจ�ำวัน และคติพจน์ต่างๆ ประกอบด้วย


ขณะทีย่ งั มีชวี ติ อยู่ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ (Gabriel Garcia Marquez) เจ้าของรางวัลโนเบลจากนวนิยายเรื่อง "หนึ่ง ร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว"​ (One Hundred Years of Solitude) ตัดสินใจว่ายังไม่ตีพิมพ์ต้นฉบับ We'll Meet Each Other in August ก่อนลาจากโลกนี้ไปในวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ในขณะที่ ครอบครัวยังไม่ได้ตดั สินใจว่าจะตีพมิ พ์หรือไม่ รวมทัง้ ไม่ได้เอ่ยว่า จะให้ส�ำนักพิมพ์ใดเป็นผู้ได้ลิขสิทธิ์ไปตีพิมพ์ Gerald Marin ผูเ้ ขียนอัตชีวประวัตขิ องมาร์เกซกล่าวว่า ครัง้ สุดท้ายทีเ่ ขาพูดคุยกับมาร์เกซเกีย่ วกับเรือ่ งนี้ มันเป็นหนังสือที่ แบ่งเนื้อหาออกเป็นสามตอนคล้ายคลึงกัน แต่อิสระออกจากกัน ส�ำนักข่าว AP ได้อ้างถึงสิ่งที่ตัดตอนมาจากต้นฉบับ ซึ่งตีพิมพ์ลง ในหนังสือพิมพ์ La Vanguarda ของสเปน ว่ามันเป็นการเดินทางในแต่ละปีของหญิงวัย 50 ปีคนหนึง่ เพือ่ ไปเยีย่ มหลุมศพมารดาของเธอบนเกาะในเขตร้อน สถานทีซ่ ึ่งเธอมีความสัมพันธ์กบั ชายคนหนึง่ ต้นฉบับฉบับนีเ้ ป็นผลงานล�ำดับถัดมาจากนวนิยายเรือ่ ง "ความทรงจ�ำอันส�ำส่อน"​(Memory of My Melancholy Whore) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2004. http://www.ibtimes.com/gabriel-garcia-marquez-left-behind-unpublishedmanuscript-titled-well-see-each-other-1575166

10

ในแต่ละปีสมาคม The Associati on of Writers and Writing Program จะจัดงานประชุมด้ านวรรณกรรมที่ใหญ่ที่สุดใน อเมริกาเหนือ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งรัฐวอชิงตัน เมืองซีแอตเทิล ระหว่างวันที่ 27 - 29 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ใน วันแรกงานประชุมฯ รวบรวมนักเขียนร่วม 11,800 คน เพือ่ แสดง ความเห็นอกเห็นใจกัน ให้คำ� แนะน�ำ และสร้างเครือข่ายระหว่าง นักประพันธ์ ผูต้ ระหนักถึงชีวติ ทีอ่ ยูอ่ ย่างยากเข็ญในธุรกิจสิง่ พิมพ์สร้างสรรค์ ก่อนทีว่ นั สุดท้ายจะเปิด ให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมงาน ในงานประชุมดังกล่าวมีการน�ำเสนอหัวข้อการประชุมเกือบ 500 เรื่อง ครอบคลุมเนื้อหาต่าง ๆ เช่น ทักษะการเขียน การสอน ธุรกิจสิ่งพิมพ์​ การจัดการชุมชน วรรณกรรม ฯลฯ รวมไปถึงหัวข้อทั่วไปอย่าง "ขอให้โชคดี: นักเขียนผู้หาเลี้ยงชีพ"​"เพื่อหลีกเลี่ยงจุดจบอันรวดเร็ว จงเริม่ ต้นและประคับประคองส�ำนักพิมพ์วรรณกรรมเกิดใหม่ " และ "จินตนาการได้ไกลถึงเพียงไหน: การเขียนถึงตัวละครอีกเชื้อชาติในบันเทิงคดี" ในงานดังกล่าว ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนหลักจากเว็บไซต์ Amazon มีการวางขายหนังสือจาก ส�ำนักพิมพ์นอกกระแสมากกว่า 700 บู ธ นับต้ั้งแต่นิตยสารวรรณคดีทั้งที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย และพึ่งพาตัวเอง ร้านหนังสืออิสระ ส�ำนักข่าววรรณกรรมเล็กๆ มูลนิธิที่ใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือ ปรับปรุงพื้นที่ในสังคม และองค์ก รที่ สนับสนุนศิลปะทั่วไป วารสารวรรณคดีฉบับเล็กๆ ที่ได้รับการ ยอมรับอย่าง The Paris Review ยั ง มาออกบูทครั้งนี้เพื่อให้ชุมชนสิ่งพิมพ์และนักอ่านรู้ว่าพวกเขา ยังไม่ปิดตัวลง หลังจากที่ George Plimpton ผู้ร่วมก่อตั้งวารสารและบรรณาธิการเสียชีวิต.

The Adler Academy ซึ่งเป็นสถาบันเผยแพร่ความรู้ ต่างๆ ตัง้ แต่ปรัชญาไปจนถึงเครือ่ งดนครีอคู เู ลเล่ และเป็นผลผลิต จากนิตยสารชื่อเดียวกันของอังกฤษ ได้เผยรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ไม่ได้เรื่อง ประจ�ำปี 2557 โดยใช้หลักเกณฑ์ในการคัด สรรทีว่ า่ "การใช้ภาษาอังกฤษ อย่างไม่ถูกต้อง โดยบุคคล และสถาบันที่ควรจะรู้ดีกว่าคนอื่น"​ กรรมการ Jeremy Paxman จากส�ำนักข่าว BBC กล่าวว่า "คนที่เอาใจใส่หลักไวยากรณ์มัก จะถูกมองว่าเป็นพวกจุกจิกเรื่องกฎเกณฑ์ ผมก็อยากบอกคนที่ ไม่ใส่ใจในเรือ่ งนัน้ ว่าอย่าประหลาดใจ หากเราไม่สนใจสิง่ ทีพ่ วก เขาพูด ถ้าพวกเขารู้ตัวว่าก�ำลังจะพูดอะไรออกมาจริง ๆ" รายชื่อนั้นน�ำโดยผู้เข้าชิงอย่างห้างเทสโก้ ซึ่งใช้ "less" แทน "fewer" บรรยายถึงน�้ำส้มของตัวเองว่า "most tastiest" ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพของอังกฤษ ที่ใช้ต�ำแหน่งประธาน และกรรม และเครื่องหมายการเป็นเจ้าของ (apostrophe) แบบ ผิดๆ เช่นเดียวกับร้านกาแฟ Apostrophe ซึ่งใช้ค�ำขวัญประจ�ำ ร้านที่ว่า "Great taste on it's way" นักประวัติศาสตร์และนักการ เมือง Tristam Hunt ผู้ได้รับการเพ่งเล็ง ถึง "การใช้ค�ำซ�้ำซากโดย ไม่จ�ำเป็นและความผิดอื่นๆ"​ ของเขา ส�ำนัก งานก�ำลังพลทหาร บก ที่ใช้ "you're" แทน "your" ในป้ายบนกระจก และโรงเรียนชั้น ประถมในอังกฤษ ทีใ่ ช้ภาษาอังกฤษอย่างไม่ถกู ต้อง "จ�ำนวนมาก และหลากหลาย"​ The Adler Academy ประกาศชื่อผู้ที่ได้รับต�ำแหน่งไป แล้วเมื่อต้นเดือนพฤษภา และห้างเทสโก้ก็ได้เกียรติรับรางวัลไป ครอง ส�ำหรับความโง่เขลาที่เห็นได้ชัดเจน. http://www.theguardian.com/books/2014/apr/ 28/bad-grammar-award-shortlist-english-languagenhs-tesco และ http://idler.co.uk/news/tesco-winsbad-grammar-award/ http://www.theguardian.com/books/2014/may/ 01/f-scott-fitzgerald-stories-uncensored-sexualinnuendo-drug

http://www.theatlantic.com/entertainment/ archive/2014/04/11-800-people-sharing-in-theexistential-agony-of-writing/360193/


นักเขียน ชาวโคลัมเบีย ผู้บุกเบิกแนวทางสัจนิยมมหัศจรรย์ (Magical realism) ผูท้ เี่ คยเป็นนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์มาก่อน มาร์เกซ เริ่มท�ำงานเขียนอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 ผลิตผลงานเขียนอันหลากหลาย ตัง้ แต่ความเรียง เรือ่ งสัน้ จนถึง นวนิยาย ที่ส่วนใหญ่สะท้อนภาพสังคมลาตินอเมริกัน ผลงาน ของเขา ได้รับความนิยมและได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่ว โลก รวมถึงภาษาไทย มาร์เกซ จากไปในวัย 87 ปี

ในแต่ละวันที่งานมหกรรมหนังสือระดับนานาชาติ ณ เมือง เตหะราน ประเทศอิหร่าน ซึ่งจัดขึ้่นเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้คนจากทั่วประเทศหลั่งไหลเข้าร่วมงานถึงห้าแสนคน มีหนังสือจัด วางแสดงและขายนับหมื่นๆ เล่ม ส�ำนักพิมพ์และผู้จัดงานร่วมออก บูทถึง 7,000 บูธ มันเป็นการเฉลิมฉลองวรรณคดี ประวัติศาสตร์​และ วิทยาศาสตร์ของชาวเปอร์เซีย อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความมุ่งมาด ปรารถนาอย่างเอาจริงเอาจังของอิหร่านสมัยใหม่ จากภาพเหมารวม ของประเทศทีเ่ คยอยูอ่ ย่างโดดเดีย่ ว มีทา่ ทีขม่ ขูผ่ อู้ นื่ และเคร่งครัดตาม กฎระเบียบ หลักฐานการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นผิวและรากฐาน เกิดขึ้นทุกแห่งในประเทศอิหร่าน ภายใต้การน�ำของประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นาย Hassan Rouhani ผู้มีความคิดทางการเมืองเป็นกลางและสนับสนุนให้มีเสรี ในการพิมพ์และการอ่านหนังสือ เขาได้กล่าวในพิธีเปิดมหกรรมงาน หนังสือไว้ว่า "หนังสือ ส�ำนักพิมพ์ และนักอ่าน ควรได้รับความเคารพ มากเท่ากับความรูใ้ นตัวของมัน หากเราต้องการให้หนังสืออยูใ่ นทีท่ าง ที่ถูกต้อง เราควรจะมอบความปลอดภัยและเสรีภาพให้แก่นักเขียน และส�ำนักพิมพ์เหล่านั้น" จากประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยออกฟัตตาหรือ ค�ำวินิจฉัยภายใต้หลักศาสนาอิสลาม ต่อต้านหนังสือเรื่อง Satanic Verses ของ Ahmed Salman Rushdie ค�ำพูดของ Rouhani เหมือน จะได้ฝากรอยประทับให้เห็นถึงน�้ำเสียงและทิศทางการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ของประเทศ แม้ว่าหนังสือบางเล่มจะถูกเซ็นเซอร์จากรัฐบาล แต่มีผู้ รายงานว่าผูจ้ ดั พิมพ์บางเจ้าถือโอกาสแอบวางขายหนังสือเหล่านัน้ ซึง่ หายากและเป็นทีต่ อ้ งการ เช่น อนุทนิ ของอดีตประธานาธิบดีนกั ปฏิวตั ิ Hashemi Rafsanjani และหนังสือเกีย่ วกับศาสนาโซโรอัสเตอร์ อีกทัง้ ในปีนี้บูธหนังสือและส�ำนักพิมพ์จากต่างประเทศ มีอยู่อย่างจ�ำนวน จ�ำกัด ถึงแม้จะมีค�ำห้อยท้ายมหกรรมหนังสือว่า "ระดับนานาชาติ" ในปีนี้มีส�ำนักพิมพ์จากเยอรมนีเพียงสองบริษัทที่มาเปิดบูธ โดยได้รับ การสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศในกรุงเบอร์ลนิ ซึง่ แสดงให้ เห็นโลกหนังสือในอิหร่านยังไม่เปิดกว้างและหลากหลายพอ แต่มันก็ "กว้าง"​และมีเสรีกว่าที่เคยเป็น. http://w ww.theguardian.com/world/2014/ may/02/t ehran-biggest-book-fair-iran-censorship

News Corp. ในเครือ HarperCollins ของนาย Rupert Mudoch เจ้าพ่อวงการสื่อ เพิ่งประกาศตกลงซื้อส�ำนักพิมพ์นวนิยาย โรมานซ์​สัญชาติแคนาดา Harlequin ของ Torstar ด้วยเงินสด จ�ำนวน 455 ล้านเหรียญแคนาดาหรือคิดเป็น 415 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ​การซื้อครั้งนี้ยังได้ควบกิจการส�ำนักพิมพ์ Mills & Boons ของอังกฤษที่ Harlequin เป็นเจ้าของ ส�ำนักพิมพ์ Mills & Boons เป็นที่ เลื่องชื่อในฐานะผู้พิมพ์นวนิยายที่มีหนุ่มหล่อและสาวสวย บนหน้าปก อาทิเรื่อง Taming Her Italian Boss, My Fair Billionaire, Burning Down และ Expecting the CEO's Child นวนิยาย ปร ะโลมโลกเหล่านี้เจาะจงไปยังลูกค้ารายหลักที่เป็นผู้หญิง นับเป็นประเภทหนังสือ ที่ก�ำลั งได้รับความนิยมในขณะนี้ เห็นได้จากชุดนวนิยายสามเล่ม เรื่อง Fifty Shades of Grey ของ E.L.James มียอดขายมากกว่า 100 ล้านเล่ม ทัว่ โลก นวนิยายโรมานซ์เป็นหนังสือล�ำดับต้นๆ ที่ ถูกแปลงเป็นสือ่ ดิจติ ลั เพือ่ ง่ายต่อการซือ้ และอ่าน​ Brian M ur ray ผู้อ�ำนวยการระดับสูงของ HarperCollins กล่าวถึงแฟน ๆ นวนิยายเหล่านีว้ า่ เป็น กลุ่มนัก อ่ านหนังสือที่ไม่รู้จักพอ พวกเขาตะกรุมตะกรามอ่านหนังสืออย่างรวดเร็วมากถึง 50-100 เล่มต่อ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันอยู่ในรูปแบบดิจิตัล "คุณไม่จ�ำเป็นจะต้องไปร้านขายของช�ำเพื่อซื้อ หนังสือสักเล่ม เพียงแค่คณ ุ กดปุม่ ซือ้ และดาวน์โหลดได้ทนั ที"​นวนิยายของ Harlequin ได้รบั การแปลเป็น ภาษาต่างๆ 34 ภาษาทัว่ โลก ในขณะทีห่ นังสือส่วนใหญ่ของส�ำนักพิมพ์​HarperCollins เป็นภาษาอังกฤษ อีกทั้งนวนิยายโรมานซ์เหล่านี้อยู่ในอันดับหนังสือขายดีของหนังสือพิมพ์ นิวยอร์ก ไทมส์ จากทั้งหมด 195 สัปดาห์​ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ส�ำนักพิมพ์ 398 ล้านเหรียญดอลลาร์แคนาดาในปี 2556 การตกลงซื้อกิจการส�ำนักพิมพ์ Harlequin ในครั้งนี้ เป็นการครอบครองสิทธิ์ที่ใหญ่ ที่สุดหลังจากที่ News Corps. แยกตัวออกมาจากธุรกิจโทรทัศน์และภาพยนตร์ของนาย Rupert Murdoch ด้ วย ทุนเงินสด 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐ​ฯ การซื้อขายครั้งนี้ท�ำใ ห้อาณาจักรสื่อของ เมอร์ด็อกขยายกว้างออกไปอีก. http://w ww .f t.com/cms/s/0/ab4fa07c-d212-11e3-97a6-00144feabdc0.html#axzz312FkD3a4

กลุ่มนั กเคลื่อนไหวและนักเขียนริเริ่มการรณรงค์ #เราต้องการหนังสือที่หลากหลาย #WeNeedDiverseBooks บน Twitter Tumblr และสื่ออื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ต โดยปักหมุดเริ่ม กิจกรรมในวัน ที่ 1 พฤษภาคม เวลา 13.00 น. ตามเวลาอเมริกาฝั่งตะวันออก เพื่อสร้างการ ตระหนักถึง ความต้องการหนังสือที่มีความแตกต่างทั้งเนื้อหาและเชื้อชาติของนักเขียน รวมถึง การช่วยสร้ างประสบการณ์ และมุมมองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันหนังสือส่วนใหญ่ ถูกครอบง�ำโดยชายแท้ผิวขาว เช่นเดียวกับโลกทางวัตถุที่เราด�ำรงอยู่ในทุกวัน นักเขียนและนักข่าวที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ต่างโพสต์รูปและข้อความที่อธิบาย ว่าท�ำไมพวกเขาถึงต้องการหนังสือที่มีความแตกต่าง สร้างบรรยากาศการพูดคุยถึงวรรณคดีที่มี ความหลากหลาย และในวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดกิจกรรม เป็นวันที่ผู้ร่วมการรณรงค์ ออกมาซือ้ หนังสือและถ่ายรูปลงสือ่ ดิจติ ลั ทัง้ นีเ้ ป็นอีกทางหนึง่ เพือ่ ช่วยให้ชนั้ หนังสือในห้องสมุด หรือร้านหนังสือมีทางเลือกในการอ่านมากขึ้น. http://www.salon.com/2014/05/01/weneeddiversebooks_goes_viral/

11


12

สองคนย่องเงียบๆ ไปทางหลังสวนของม่ายดักลาส พยายามย่อ ตัวไม่ให้กิ่งไม้มาโดนหัว ขณะที่เราก�ำลังย่องผ่านห้องครัว ผมดัน สะดุดต้นไม้เสียงดัง ผมกับทอมหมอบนิ่งไม่ขยับเขยื้อน เราสอง คนเห็นไอ้ดำ� ตัวยักษ์ของคุณวัตสันชือ่ จิมอยูต่ รงประตูครัว พวกเราเห็นมันชัดเพราะ มันยืนอยู่หลังตะเกียงพอดี จิมลุกขึ้นชะเง้อคอสักครู่ก่อนจะส่งเสียงว่า “นั่นใครอยู่ตรงนั้นน่ะ” มันเงี่ยหูฟังครู่หนึ่ง ก่อนเดินย่องมาอยู่ระหว่างพวกเราสองคน พวกเรา อยู่ใกล้มันมากจนตัวเกือบจะสัมผัสมัน เวลาผ่านไปหลายนาทีโดยไม่มีใครส่ง เสียงอะไรทั้งสิ้น อยู่ๆ ผมก็รู้สึกคันตรงข้อเท้ามาก แต่ไม่กล้าเอื้อมมือไปเกา หลัง จากนั้นผมก็เริ่มคันที่หู คันที่หลัง คันที่ไหล่ ผมต้องตายแน่ๆ ถ้าไม่ได้เอื้อมมือไป เกาบริเวณนั้น ผมสังเกตมาหลายครั้งแล้ว เวลาผมอยู่กับพวกผู้ดี เวลาไปงานศพ เวลาผมพยายามหลับทัง้ ๆ ทีย่ งั ไม่งว่ ง หรือเวลาผมอยูใ่ นทีท่ ผี่ มเกาไม่ได้ ผมมักจะ คันคะเยอทั่วทั้งตัวทุกที หลังจากนั้นไม่นานจิมพูดขึ้นมาว่า “ใคร บอกมาเดี๋ยวนี้ว่าใคร แกเป็นใคร ฉันสาบานว่าได้ยินเสียงแถวนี้ ฉันรู้แล้วว่าต้องท�ำอย่างไร ฉันจะนั่งฟังมันอยู่ตรงนี้จนกว่าจะได้ยินเสียงอีกรอบนี่ แหละ” จิมนั่งลงกับพื้นระหว่างผมและทอม มันนั่งพิงต้นไม้เหยียดขายาวจนขา มันแทบจะแตะขาของผม ผมเริม่ คันจมูก ผมคันมากจนน�ำ้ ตาซึม ผมเริม่ คันในเสือ้ เริม่ คันข้างล่าง ผมไม่รวู้ า่ ผมจะทนไหวได้อย่างไร ผมทนมาประมาณหกเจ็ดนาที แต่ผมรู้สึกว่าเวลามันยาวนานกว่านั้นมาก ตอนนี้ผมคันทั้งหมดสิบเอ็ดจุดตาม ตัวแล้ว ผมคิดว่าผมคงทนได้อกี ไม่เกินหนึง่ นาทีแน่ๆ แต่สดุ ท้ายผมก็กดั ฟันอดทน ต่อไป สักพักผมได้ยินเสียงจิมหายใจหนักขึ้น หลังจากนั้นได้ยินมันส่งเสียงกรน ผมเลยโล่งอก ทอมผิ ว ปากส่ ง สั ญ ญาณให้ ผ ม เราทั้ ง สองคนค่ อ ยๆ คลานออกไป ประมาณสิบฟุต ทอมกระซิบกับผมว่าเขาอยากแกล้งมัดจิมไว้กับต้นไม้ แต่ผมไม่ เอาด้วยหรอก ผมกลัวว่าจิมจะตื่นและสร้างปัญหาให้พวกเรา แล้วทุกคนจะพบว่า ผมไม่ได้นอนอยูบ่ นห้อง ทอมบอกผมว่าเขาต้องกลับไปในห้องครัวเพือ่ ไปเอาเทียน มาเพิม่ ผมไม่อยากให้เขาไปเพราะกลัวว่าจิมจะตืน่ แต่ทอมบอกว่าเขาจะลองดู เรา สองคนเลยย่องเข้าไปหยิบเทียนสามเล่มในห้องครัว ทอมวางเงินห้าเซนต์ไว้บนโต๊ะ

เป็นค่าเทียน หลังจากนั้นพวกเราก็รีบหนีออกมา ผมตื่นเต้นเหงื่อท่วม ทอมก�ำลัง จะคลานไปหาจิมเพื่อไปแกล้งมัน ผมรอทอมอยู่พักหนึ่ง ทุกอย่างรอบตัวดูเงียบ และวังเวงไปหมด หลังจากทอมกลับมา เราสองคนเดินเลาะรั้วไปเรื่อยๆ จนถึงเนินเขาตรง ข้ามบ้าน ทอมเล่าให้ผมฟังว่าเขาแอบถอดหมวกของจิมไปแขวนไว้บนกิ่งไม้บน หัวมัน จิมขยับตัวเล็กน้อยแต่ไม่รู้สึกตัว หลังจากนั้นจิมไปเล่าให้คนอื่นฟังว่ามัน โดนแม่มดเสกให้หลับ ขี่มันแทนไม้กวาดไปทั่วอเมริกา ก่อนพากลับมาที่เดิมแล้ว เอาหมวกมันไปแขวนไว้เพือ่ เป็นหลักฐาน ครัง้ ต่อมามันเล่าให้ทกุ คนฟังว่าแม่มดขี่ มันลงใต้ไป นิว ออร์ลีนส์ มันเล่าว่าแม่มดพามันเหาะไปที่นู่นที่นี่เรื่อยๆ ทั่วโลกจน เหนือ่ ยแทบตายและหลังของมันก็อกั เสบ จิมภูมใิ จกับเรือ่ งนีม้ าก ทาสคนอืน่ ๆ ยอม เดินทางไกลหลายไมล์เพื่อมาฟังมันเล่าเรื่อง จนกระทั่งจิมกลายเป็นไอ้ด�ำขวัญใจ ทาสทั่วประเทศ ไอ้ด�ำที่ตื่นเต้นกับเรื่องของจิมมักจะยืนอ้าปากค้างแล้วกวาดตา มองจิมหัวจรดเท้าอย่างกับมันเป็นของวิเศษ ปกติพวกไอ้ดำ� ชอบจับกลุม่ คุยกันข้าง เตาผิงตอนค�ำ่ มืดเรือ่ งแม่มดอยูแ่ ล้ว แต่เมือ่ ไหร่ทมี่ คี นพยายามจะอวดตัวว่ารูเ้ รือ่ ง แม่มดดีทสี่ ดุ นัน้ จิมก็จะโผล่พรวดเข้ามาถามว่า “ไหนเล่าซิ แกรูเ้ รือ่ งอะไรเกีย่ ว กับแม่มดบ้าง” แล้วไอ้ดำ� ทีอ่ วดตัวก็จะหุบปากเงียบทันที จิมห้อยเหรียญห้าเซนต์ ติดคอเสมอ มันบอกทุกคนว่าเหรียญนัน้ เป็นเครือ่ งรางทีป่ ศี าจให้มนั มากับมือ มัน สามารถใช้เหรียญนีร้ กั ษาโรคอะไรก็ได้ และสามารถเรียกแม่มดออกมาได้ เพียงแค่ ท่องมนต์เท่านัน้ แต่จมิ ไม่เคยบอกใครว่ามันท่องมนต์อะไรเรียกแม่มดออกมา ไอ้ดำ� ทั้งหลายต่างพากันมาจากสารพัดแหล่งและเอาทุกอย่างที่พวกมันพอจะหาได้มา ให้จมิ เพียงแค่จะได้เห็นเหรียญห้าเซนต์เหรียญนัน้ แต่ไม่มใี ครกล้าแตะเหรียญสัก ราย เพราะปีศาจเป็นคนยืน่ เหรียญให้จมิ กับมือ จิมรูส้ กึ ว่ามันเองพิเศษกว่าทาสทัว่ ๆ ไป เพราะมันได้ไปเจอปีศาจมากับตัว และแม่มดก็เคยจับมันขีไ่ ปทัว่ เมืองมาแล้ว เล่าเรื่องของผมต่อแล้วกัน ทอมกับผมเดินไปจนถึงยอดเนิน เราสองคน มองไปยังหมู่บ้าน เห็นไฟวิบๆ สองสามดวง อาจจะเป็นพวกคนป่วยจุดโคม รอพยาบาลก็ได้ บนท้องฟ้ามีดาวระยิบระยับสวยงาม มองลงไปยังหมูบ่ า้ น ก็มีแม่น�้ำกว้างหลายไมล์ ทั้งสงบนิ่งและยิ่งใหญ่ขณะเดียวกัน พวกเราเดินลงไป ตามเนินไปเจอกับโจ ฮาร์เปอร์ เบน โรเจอร์ และเด็กคนอื่นๆ อีกสองสามคนหลบ อยู่แถวลานตากหนังสัตว์ พวกเราแก้เชือกที่มัดเรือไว้ และล่องเรือข้ามแม่น�้ำไป


สองไมล์ครึ่งจนถึงแก่งหินใกล้เนินอีกฝั่ง พวกเราเดินไปยังเนินพุ่มไม้ใหญ่ ทอมให้ ทุกคนสาบานว่าจะรักษาความลับก่อนทีจ่ ะพาทุกคนไปดูทางเข้าลับตรงทีม่ พี มุ่ ไม้ กระจุกกันหนาที่สุด พวกเราจุดเทียนแล้วคลานไปตามทางประมาณสองร้อยหลา จนพบถ�ำ้ เราเดินเลาะถ�ำ้ มาเรือ่ ยๆ จนเจอห้องห้องหนึง่ อากาศในห้องทัง้ แฉะ หนาว และเหนอะหนะ ทอมพูดขึ้นมาว่า “พวกเราจะมาตั้งแก๊งโจรของทอม ซอว์เยอร์กัน ใครที่อยากจะเข้าแก๊งนี้ ต้องให้ค�ำสาบานกับกลุ่มและลงชื่อด้วยเลือดก่อน” ทุกๆ คนเต็มใจที่จะเข้าแก๊งกันหมด ทอมจึงหยิบแผ่นกระดาษมาเขียน ร่างค�ำสาบานและอ่านออกเสียงให้ทุกคนได้ยิน ค�ำสาบานเข้าร่วมแก๊งโจรของ ทอม ซอว์เยอร์บงั คับให้ทกุ คนยึดประโยชน์ของแก๊งเป็นส�ำคัญ อย่าน�ำความลับของ แก๊งไปแพร่งพรายกับใคร ถ้ามีใครมาท�ำอะไรคนในแก๊ง สมาชิกแก๊งที่ได้รับมอบ หมายให้แก้แค้นโดยการสังหารคนผู้นั้นและครอบครัวของเขาต้องไม่กินอาหาร และไม่หลับไม่นอนจนกว่าจะแก้แค้นให้สมาชิกแก๊งส�ำเร็จ หลังจากสังหารส�ำเร็จ แล้ว สมาชิกแก๊งที่เป็นคนฆ่าต้องหักไม้กางเขนวางไว้บนศพเพื่อแสดงสัญลักษณ์ แก๊งด้วย สัญลักษณ์นี้จ�ำกัดเฉพาะสมาชิกแก๊งโจรของทอม ซอว์เยอร์เท่านั้น หาก มีผู้ใดที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่มน�ำสัญลักษณ์นี้ไปใช้ เขาผู้นั้นจะโดนฟ้อง หากเขาผู้นั้น ยังไม่เชื่อฟัง ใช้สัญลักษณ์เฉพาะของสมาชิกแก๊งต่อไป เขาผู้นั้นจะต้องถูกฆ่า ถ้า สมาชิกแก๊งคนไหนแพร่งพรายความลับออกไป เขาจะต้องถูกฆ่าปาดคอ น�ำศพไป เผาจนเป็นเถ้าธุลกี อ่ นน�ำไปโปรยให้ทวั่ หลังจากนัน้ รายชือ่ สมาชิกแก๊งผูท้ รยศก็จะ ถูกขีดฆ่าด้วยโลหิต ถูกสาปแช่งและถูกลืมไปตลอดกาล ทุกๆ คนบอกทอม ซอว์เยอร์วา่ นีเ่ ป็นร่างค�ำสาบานทีไ่ พเราะมาก และถาม ทอม ซอว์เยอร์ว่าเขาเป็นคนแต่งเองหรือไม่ ทอมบอกว่าเขาแต่งเองบางส่วน แต่ ที่เหลือเขาเอามาจากนิยายโจรสลัดและหัวขโมย หนังสือพวกนี้เป็นหนังสือที่แก๊ง โจรมีระดับต้องมีทุกแก๊ง เด็กบางคนเสนอว่าพวกเราควรฆ่าครอบครัวของสมาชิก แก๊งที่ปากโป้งบอกความลับด้วย ทอมเห็นด้วยและหยิบดินสอมาเขียนเพิ่มในร่าง ค�ำสาบาน แต่เบน โรเจอร์สโ์ พล่งขึน้ มาว่า “แล้วพวกเราจะต้องท�ำยังไงกับฮัค ฟินน์ ล่ะ เขาไม่มีครอบครัวนะ” ทอม ซอว์เยอร์ตอบว่า “เขาไม่มีแม้กระทั่งพ่อเลยเหรอ” มีสมาชิกในแก๊งตอบว่า “จริงๆ ฮัคก็มพี อ่ นะ แต่ตอนนีไ้ ม่รหู้ ายหัวไปไหน แล้ว แต่กอ่ นเรามักจะเห็นเขานัง่ เมาแอ๋อยูก่ บั หมูทลี่ านตากหนังสัตว์ แต่ปสี องปีที่ ผ่านมานี้เราไม่เห็นหน้าเขาอีกเลย” สมาชิกในแก๊งถกเถียงกันสักพักก่อนตัดสินใจจะเอาผมออกจากกลุ่ม เพราะพวกเขาบอกว่าสมาชิกแก๊งทุกคนต้องมีครอบครัวหรือใครให้ฆ่า เพราะไม่ อย่างนั้นจะไม่ยุติธรรมต่อสมาชิกคนอื่นๆ ผมเสียใจจะร้องไห้ แต่มานึกขึ้นมาได้ ว่าผมมีคนให้ฆา่ อยูเ่ หมือนกัน ผมเสนอชือ่ คุณวัตสันไป ทุกคนตอบผมว่า “ถ้าอย่าง นั้นก็ตกลง ฮัคสามารถเข้าแก๊งได้” ก่อนที่สมาชิกในแก๊งทุกคนเอาเข็มจิ้มมือและ ท�ำสัญญาเลือดกับแก๊ง เบน โรเจอร์ส์ถามขึ้นมาว่า “แล้วแก๊งของพวกเราจะท�ำอะไรกันดี” ทอมตอบว่า “จี้ปล้นและฆ่าคนเท่านั้น” เบนถามต่อว่า “แล้วพวกเราจี้ปล้นอะไรกัน บ้านและฝูงวัวเหรอ” ทอมพูดว่า “ของทั่วไปสิ! ถ้าพวกเราบุกเข้าบ้านและฟาร์ม พวกเราก็จะ กลายเป็นหัวขโมยย่องเบาแทนน่ะสิ นั่นไม่ใช่วิถแี ก๊งเรา พวกเราจะใส่หน้ากากซุ่ม ดักคนตามถนน ก่อนที่จะฆ่าเอานาฬิกาและเงินมาเป็นของเรา” เบนถามว่า “นี่เราต้องฆ่าทุกคนเลยเหรอ” ทอมตอบว่า “แน่นอนอยูแ่ ล้ว บางคนเขาก็ไม่คดิ อย่างนี้ แต่โจรส่วนใหญ่ มองว่าฆ่าคนนี่แหละดีที่สุด จะยกเว้นแค่คนที่เราพามาที่ถำ�้ ลับนี้เพื่อเรียกค่าไถ่”

เบนถามอีกว่า “เรียกค่าไถ่คืออะไรเหรอ” ทอมตอบว่า “ไม่รเู้ หมือนกัน เห็นในหนังสือเขาท�ำกัน แก๊งของเราต้องท�ำบ้าง” เบนพูดต่อว่า “แล้วเราจะเรียกค่าไถ่กนั อย่างไรถ้าเราไม่รวู้ า่ มันคืออะไร” ทอมตอบอย่างเหลืออดว่า “แล้วจะท�ำไม อย่างไรแก๊งของพวกเราก็ต้อง ท�ำ ฉันบอกแล้วไม่ใช่หรือไงว่ามันเขียนไว้ในหนังสือ แกอยากจะท�ำอย่างอื่นที่ไม่ เหมือนในหนังสือแล้วออกมาเละเทะหมดหรือ” เบนจึงตอบว่า “จริงด้วยทอม แต่คนที่เราไปจับมาจะถูกเรียกค่าไถ่ได้ อย่างไรถ้าเราไม่รวู้ า่ ต้องท�ำอย่างไรกับพวกเขา แค่นนั้ เองทีฉ่ นั อยากรู้ บอกให้พวก เราเข้าใจหน่อยได้ไหม” ทอมตอบว่า “เออ ฉันไม่รแู้ ฮะ แต่ฉนั คิดว่าถ้าพวกเราเก็บคนเหล่านีไ้ ว้ใน ถ�้ำนานๆ จนถูกเรียกค่าไถ่ นั่นน่าจะหมายถึงเราขังพวกมันไว้จนตายน่ะ” เบนพูดว่า “ค่อยฟังดูเป็นค�ำตอบหน่อย ท�ำไมแกไม่บอกอย่างนี้ตั้งแต่ แรกว่าพวกเราจะลักพาตัวมันมาเรียกค่าไถ่ให้ตาย แต่ก็คงจะเหนื่อยมากเหมือน กันเพราะคนที่เราลักพาตัวมาคงกินจุและพยายามหนีออกจากถ�้ำตลอดเวลา” ทอมตอบว่า “จะเป็นไปได้อย่างไร พวกมันหนีไปไหนไม่ได้หรอกเพราะ พวกเราจะมียามเฝ้าระวังมัน และพร้อมยิงถ้ามันขยับตัวแม้แต่นิดเดียว” เบนยังพูดต่อว่า “ยามเฝ้าระวังเหรอ ฟังดูดีจัง แต่นี่หมายความว่าต้องมี สมาชิกแก๊งเฝ้าพวกมันทัง้ คืนจนไม่ได้หลับได้นอนน่ะสิ ฉันว่าเป็นวิธที ไี่ ม่ฉลาดเลย นะ ท�ำไมพวกเราไม่ถือไม้หน้าสามเตรียมฟาดให้พวกมันถูกเรียกค่าไถ่ตายตั้งแต่ แรกล่ะ” ทอมพูดว่า “ก็เพราะมันไม่ได้เขียนไว้ในหนังสือยังไงเล่า เบน โรเจอร์ แกคิดจะท�ำแผนของเราให้มนั เป็นตามแบบทีว่ า่ ไว้ในหนังสือไหม แกไม่คดิ เหรอว่า พวกทีเ่ ขียนหนังสือเป็นคนทีร่ ดู้ แี ล้วว่าต้องท�ำอะไรอย่างไรให้ถกู ต้อง แกท�ำอย่างนัน้ กับเขาได้เหรอ สรุปก็คือพวกเราจะท�ำตามในหนังสือบอกเท่านั้น” เบนพูดว่า “ตกลงๆ ตามไหนตามนั้น ฉันแค่อยากบอกว่ามันเป็นวิธีที่ไม่ ฉลาดเอาซะเลยเฉยๆ แต่จะว่าไป พวกเราจะฆ่าผู้หญิงด้วยไหม” ทอมตอบว่า “ถ้าฉันเป็นแกฉันจะไม่ถามค�ำถามอะไรอย่างนี้นะ ไม่มี หนังสือเล่มไหนบอกให้แกฆ่าผู้หญิงหรอก แกจะต้องจับพวกผู้หญิงมาไว้ในถ�้ำ และท�ำตัวดีๆ กับพวกหล่อน ถ้าเป็นอย่างในหนังสือพวกหล่อนก็จะตกหลุมรักแก และไม่อยากกลับบ้านอีกแล้ว” เบนยังคงพูดต่อว่า “ถ้าหนังสือบอกแบบนั้น ฉันก็ไม่ว่าอะไร แต่สักพัก ถ�้ำของเราก็จะเต็มไปด้วยผู้หญิงและคนรอถูกเรียกค่าไถ่ พวกเราก็จะไม่มีที่ซุกหัว แล้วนะ แต่นั่นแหละ แกจะท�ำอะไรก็ท�ำ ฉันไม่มีอะไรจะพูดต่อแล้ว” เมื่อสมาชิกกลุ่มหันไปอีกทีพบว่าเจ้าเด็กน้อยทอมมี่ บาร์นส์หลับปุ๋ยไป แล้ว เมือ่ พวกเราปลุกให้เจ้าทอมมีต่ นื่ ขึน้ เขาเริม่ กลัวจนร้องไห้ เขาบอกว่าไม่อยาก เป็นโจรแล้ว เขาจะกลับบ้านหาแม่ เด็กคนอื่นๆ จึงล้อเลียนเจ้าทอมมี่ว่าเป็นลูก แหง่ขี้แย เจ้าทอมมี่โกรธมากจึงบอกว่าเขาจะเอาเรื่องที่ซ่อนลับนี้ไปแฉ แต่ทอม ให้เงินปิดปากเจ้าทอมมี่ไปห้าเซนต์และกล่าวกับทุกคนในกลุ่มว่าทุกคนควรกลับ บ้านได้แล้ว ก่อนจะมาเจอกันใหม่อาทิตย์หน้าเพื่อจี้ปล้นและเรียกค่าไถ่กัน ทว่า เบน โรเจอร์บอกว่าที่บ้านไม่ให้เขาออกจากบ้านบ่อยๆ เขาออกมาได้เฉพาะวัน อาทิตย์เท่านั้น แต่เด็กคนอื่นบอกว่าพวกเราตั้งซ่องโจรวันอาทิตย์ไม่ได้เพราะมัน จะบาปมาก ดังนั้นทุกคนจึงตกลงกันว่าจะนัดเจอกันใหม่เพื่อตกลงวันเวลาจะไป จี้ปล้นและตกลงเลือกทอม ซอวเยอร์เป็นหัวหน้าแก๊งโดยมีโจ ฮาร์เปอร์ส์เป็นรอง หัวหน้าแก๊งก่อนที่ทั้งหมดจะแยกย้ายกันกลับบ้าน ผมปีนหน้าต่างเข้าห้องนอนก่อนเช้ามืดพอดี เสือ้ ผ้าชุดใหม่ของผมเละเทะ ไปหมด แถมผมเองก็เหนื่อยจะตายด้วย (อ่านต่อฉบับหน้า)

13


Reading Music วันจันทร์ในเดือนพฤษภาคม เดือนแห่งความร้อนแรงของสภาพอากาศ และการเมือง ซึ่งมีมากพอที่จะท�ำให้ผมหมดสนุกในการฟังเพลง แล้ว เป็นบ้าแทน เป็นเรือ่ งง่ายมากถ้าจะเปลีย่ นใจไปเดินห้างสรรพสินค้าเพือ่ สัมผัสความแรงของบีทียูที่เครื่องปรับอากาศประโคมใส่ผู้คน ทว่าโชคดีที่ผมไม่บ้าจี้ไปกับ ความคิดของตัวเอง ใจที่ตระหนักถึงความส�ำคัญของการฟังสะกิดให้ผมเดินไปเปิดเครื่อง เล่นซีดี แล้วหาเพลงแจ๊สเบาๆ ฟังเคล้าไปกับไอความร้อนและหยาดเหงื่อข้างขมับ แม้ บรรยากาศไม่ค่อยโรแมนติกนัก แต่ก็ไม่คร้านที่จะท�ำ เพราะนี่เป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดในชีวิต การเป็นนักดนตรีของผม จะว่าไปแล้ว ของนักดนตรีทุกคนเสียด้วยซ�้ำ อันที่จริง การฟังไม่ได้ส�ำคัญกับเฉพาะนักดนตรีเท่านั้น บุคคลทั่วไปที่มีความ ชื่นชอบในเสียงเพลงก็สามารถมีความสุขผ่านรูหูทั้งสองข้างได้ ผมรู้สึกขอบคุณที่มีหู และ ดีใจที่มันยังใช้งานได้ดี ผมไม่เคยคิดสักครั้งที่จะอิจฉาบีโธเฟน (Ludwig van Beethoven) ผู้เป็นคีตกวีนามอุโฆษ แต่ต้องสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ยังหนุ่ม การฟังเพลง ไม่วา่ จะเพือ่ ความบันเทิงหรือเพือ่ วิเคราะห์ ล้วนมีสงิ่ ทีต่ อ้ งฟังเหมือนๆ กันคือ ท�ำนอง คอร์ด จังหวะ เนื้อร้อง โครงสร้างหรือท่อนเพลง ตลอดจนเครื่องดนตรีที่ใช้ บรรเลง

14

การฟังท�ำนอง ฟังเพื่อให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไปของท�ำนองว่าสูง ต�่ำ และมี ประโยคเพลงที่น่าจดจ�ำเพียงใด บางเพลงมีท่วงท�ำนองที่พริ้วไหวอยู่ในย่านเสียงต�่ำ ถึงเสียงกลางในตอนต้น แล้วโหนขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้นในท่อนกลางของเพลง เป็นการ ท�ำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงความเข้มข้นของอารมณ์ที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นไป จากนั้นจึงกลับมาสู่ ระดับเสียงกลางและต�่ำเหมือนเดิมที่ใช้ในตอนแรก ประหนึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศ ที่ผ่อนคลายคล้ายเป็นการสรุปจบ แต่หลายเพลงก็มีวิธีเคลื่อนท�ำนองที่ต่างไป โดย เป็นการร่ายท�ำนองสูงมาก่อน เมื่อเข้าช่วงกลางเพลงก็กลับมาสู่ท�ำนองต�่ำหรือกลาง แล้ ว ย้ อ นไประเริ ง ท� ำ นองสู ง ในช่ ว งท้ า ยเพลง เป็ น การจบแบบครื้ น เครงสนุ ก สนาน การฟังคอร์ด ส�ำหรับผู้ฟังทั่วไปจะไม่ค่อยสนใจว่าผู้ประพันธ์ใช้คอร์ดประเภท ไหน คอร์ดอะไร หรือมีกี่คอร์ด แต่ผู้ฟังจะสัมผัสได้ว่าคอร์ดนั้นให้ความรู้สึกอย่างไร เช่น คอร์ดประเภทไมเนอร์ (Minor Chords) ให้อารมณ์ที่หม่นเศร้า คล้ายไม่ค่อยสมหวัง หรือ เอาจริงเอาจังอยูใ่ นที คอร์ดประเภทเมเจอร์ (Major Chords) ให้อารมณ์ทสี่ ดใส ร่าเริง หรือ มุง่ มัน่ อย่างมีความหวัง คอร์ดประเภทเซเวนธ์ (Seventh Chords) หรือบางคนเรียกว่าคอร์ด บลูส์ (Blues) จะให้ความรูส้ กึ ทีร่ นั ทด กดดัน เหมือนชีวติ ต้องฝ่าฟันปัญหามากมายเพือ่ หา จุดผ่อนคลายในบั้นปลายของชีวิต ภาษาดนตรีเรียกว่า การส่งกลับ (Resolution) การฟังจังหวะ ค�ำว่าจังหวะในที่นี้ไม่ได้หมายถึงจังหวะกลองที่กระหน�่ำย�้ำตี ออกมาเพียงเท่านั้น แต่หมายถึงจังหวะของโน้ตท�ำนองที่บรรเลงไปมาอย่างสละสลวยทั้ง หลายด้วย เรื่องจังหวะกลอง ผู้ฟังสามารถบอกได้ว่าเร้าใจหนักแน่น หรือผ่อนเบาอย่างไร ส่วนเรื่องจังหวะของท�ำนอง ความตื่นเต้น หรือความสุขุมเยือกเย็นจะถูกสร้างขึ้นด้วยท่วง จังหวะที่ ถี่-ห่าง ต่างกัน หากฟังท�ำนองที่บรรเลงต�่ำและมีจังหวะห่างกันอาจท�ำให้ผล็อย หลับได้ แต่ถา้ ฟังท�ำนองทีถ่ รี่ ะยิบทัง้ ยังสูงขึน้ เรือ่ ยๆ ท่านอาจหัวใจเต้นเร็วขึน้ เนือ่ งจากเกิด อาการตืน่ เต้นตามมา จังหวะของท�ำนองก็เหมือนการพูดคุย ให้อยูใ่ นระดับเสียงปานกลาง และมีจังหวะที่เหมาะสม เร็วช้าสลับกันไปตามอารมณ์ของเรื่องราว ถ้าท่านได้ยินอย่างนี้ เชื่อว่าจะสามารถฟังเพลงนั้นไปได้เรื่อยๆ การฟังเนื้อร้องเป็นเรื่องที่จับต้องได้ง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องตีความจากภาษา ดนตรีมาเป็นภาษาคน ค�ำที่นักร้องกระซิบผ่านริมฝีปากออกมานั้นย่อมซาบซึมเข้าสู่การ รับรู้ในความหมายของผู้ฟังได้โดยตรง จากนั้นจะถูกกลั่นออกมาเป็นรอยยิ้มหรือน�้ำตา หรือเป็นการโยกตัวให้เข้าจังหวะก็สุดแท้แต่ความยินยอมในการแสดงออกของผู้ฟังบาง ท่านอาจฟังมากกว่าที่ได้กล่าวมา คือ ฟังท่อนเพลง และการใช้เครื่องดนตรีด้วย ซึ่ง สิ่งเหล่านี้เป็นความละเอียดอ่อนที่แต่ละท่านมีต่างกัน บางท่านคิดว่าไม่จ�ำเป็น แต่ บางท่านก็ชอบน�ำเอาท่อนเพลงและเครื่องเคราต่างๆ มาเป็นองค์ประกอบในการฟัง เพลง เพราะเมื่อฟังแล้วจะท�ำให้เห็นภาพรวม ตลอดจนสีสันของเพลงในมิติที่กว้างขึ้น บ่ายระอุนี้ผมนั่งฟังเพลงไปเรื่อยๆ โดยไม่จ�ำกัดแนวและยุคสมัยของมัน เริ่มต้นจาก เพลงแจ๊สของแพท เมธินี (Pat Metheny) ตามด้วยเพลงคลาสสิกของอันโตนีโอ วิวาลดี

(Antonio Lucio Vivaldi) แล้วดูเหมือนจะปิดท้ายด้วยเพลงแนวเดธ เมทัล (Death Metal)ของ บลัดบาธ (Bloodbath) การเปลี่ยนแผ่นซีดีในแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับปริมาณน�้ำในแก้วที่เตรียม ไว้ดบั ร้อน หากพร่องลงขอดก้นแก้วเมือ่ ไหร่กจ็ ะลุกไปเติมน�ำ้ พร้อมกับเปลีย่ นเพลงฟังในคราว เดียวกัน เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานร่างกาย เพลงแจ๊สเป็นแนวเพลงที่คนไทยบอกว่า "ฟังไม่รู้เรื่อง" ไม่เหมือนเพลงลูกทุ่ง ที่เราฟังกรอกหูอยู่ทุกวัน ส�ำหรับผมถือว่านั่นเป็นตรรกะที่ถูกต้องแล้ว อะไรที่ฟังบ่อยๆ มักเข้าไปอยู่ในส่วนที่ลึกลับสุดของสมอง เรียกว่าจิตใต้ส�ำนึก ถ้าคนไทยทุกคนฟังเพลง แจ๊ส ไปไหนก็ได้ยินแต่เพลงแจ๊ส เชื่อว่าในเลือดของเราก็จะมีเพลงแจ๊สผสมอยู่ด้วย ความรู้สึกคึกคักหรืออ่อนไหวคล้อยตามไปกับแนวเพลงนี้ย่อมมีอยู่อย่างไม่ต้องสงสัย

การสร้างความจ�ำที่มีต่อเสียงเพลง ถือเป็นปราการด่านแรกที่จะท�ำให้ผู้

ฟังซาบซึ้งไปกับศิลปะแห่งเสียงในมิติที่ลุ่มลึกมากขึ้น เหมือนที่นักเขียนทั้งหลาย ขวนขวายอ่านหนังสือกันเป็นบ้าเป็นหลัง เพื่อวิจักษ์ในวรรณกรรมอย่างลึกซึ้งนั่นเอง การฟังไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อน แต่อาศัยความใส่ใจเป็นหลัก การฟังที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับจ�ำนวน เพลงที่ฟัง หรือความถี่ในการฟังต่อวัน การฟังที่ให้ประสิทธิผลดีไม่ได้อยู่ที่ 'ฟังอะไร' แต่อยู่ที่ 'ได้ยินอะไร' หากผู้ที่ฟังเพลง The Four Seasons, Spring. OP.8/1: 1. Allegro ของวิวาลดี สามารถสัมผัสได้ถึงปรัชญาแห่งฤดูใบไม้ผลิที่ถูกรินผ่านคันชักไวโอลินทั้ง 4 ชิ้น และบอกได้ ว่าแต่ละท่อนเพลงเล่าถึงฤดูกาลทีเ่ ปลีย่ นผ่านนีอ้ ย่างไร นัน่ ถือว่าท่านได้ยนิ ความไพเราะของ บทเพลงอย่างแท้จริง ต่างจากผูท้ ฟี่ งั แล้วบอกว่า "นีเ่ ป็นไวโอลินคอนแชร์โต 4 ชิน้ แต่งโดยอัน โตนีโอ วิวาลดี ใน ค.ศ. 1723 ยุคบาโรค” ซึ่งก็ถือว่าท่านได้ฟังเช่นกัน แต่กลับไม่ได้ยินอะไร ความจ�ำจากการฟังท�ำให้เราได้ยินเสียงเพลงอยู่ในหัวตลอดเวลา การเพิ่มพูน ประสบการณ์ด้านการฟังท�ำให้สามารถพัฒนาความชอบของตัวเองได้ เราจะรู้ว่าชอบอะไร ก็ดูได้จากสิ่งที่จดจ�ำและงึมง�ำออกมาเป็นเพลง ผมเคยบอกเพื่อนๆ ว่าไม่ชอบเพลงแนวเดธ เมทัลเอาเสียเลย ฟังทีไรรู้สึกสากหู หาความไพเราะไม่เจอ แต่แล้วผมต้องตกใจเมื่อเผลอไป ร้องเพลงของวงบลัดบาธ ซึ่งแปลว่าอาบเลือด ในระหว่างที่ก�ำลังอาบน�้ำอยู่บ้าน มันท�ำให้ ผมวิตกอยู่เบาๆ ว่าที่ก�ำลังอาบอยู่นั้นคือน�้ำหรือเลือดกันแน่ จากนั้นสิ่งที่ผมจดจ�ำจากการ ฟังที่ดูเหมือนไม่ค่อยเป็นสาระก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาอย่างมีนัยส�ำคัญ ปัจจุบันผมก�ำลังฝึก ร้องเพลงแนวนี้อย่างตั้งใจบนความชอบที่ไม่น่าเชื่อ จากคนที่รักดนตรีแจ๊สจนหมดจิตก็เริ่ม ชอบดนตรีเมทัลแทบหมดใจ ดนตรีเป็นศิลปะแห่งการฟัง (aural art) เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการฟังมีความ สลักส�ำคัญต่อผู้ที่มีใจรักดนตรีทั้งหลาย จะสังเกตได้ว่า ต่อให้ดนตรีบรรเลงจบลงไปแล้ว แต่ เสียงของมันยังคงด�ำเนินต่อไปในห้วงความคิดค�ำนึงของผู้ฟังชั่วเวลาหนึ่ง ซึ่งหากฟังซ�้ำแล้ว ซ�้ำอีกก็จะส่งผลให้เกิดการจดจ�ำอันยาวนาน และสามารถคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อ สังเคราะห์เป็นความชอบส่วนตัวในที่สุด สิ่งเหล่านี้เป็นผลต่อเนื่องจากความทรงจ�ำอันเกิด จากการฟัง (aural memory) ดร. โจเซฟ เมอร์ฟี (Dr. Joseph Murphy) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ว่า "คนเราสามารถ เป็นในสิง่ ทีต่ นคิดได้ทงั้ วัน" (Man is what he thinks all day) นัน่ หมายความว่า การคิดย�ำ้ บอก ตัวเองว่าเป็นอะไร เป็นอย่างไร จะมีผลทางจิตวิทยาท�ำให้กลายเป็นอย่างนั้นในที่สุด ในทาง ดนตรีก็เช่นกัน เราสามารถเป็นในสิ่งที่ได้ยินทั้งวันได้เหมือนกัน หากในวันหนึ่งท่านฟังเพลง ที่มีความไพเราะ มีเรื่องราวที่จรุงจิตใจให้ผ่องใส ท่านก็จะเป็นอย่างที่ได้ยินในเพลงนั้น โลก นี้จะมีแต่เรื่องให้อมยิ้ม หรือหากท่านฟังเพลงที่มีความหมายอกหักช�้ำรักอยู่ตลอดเวลา เชื่อ ว่าวันนัน้ ท่านอาจทานอาหารไม่คอ่ ยอร่อยนัก เพราะจิตใจเอาแต่จดจ่ออยูก่ บั เรือ่ งหม่นหมอง ดังนั้น การฟังเพลงจึงมีผลต่อการด�ำเนินชีวิตของผู้ฟัง ทั้งผู้ฟังทั่วไป และผู้ฟังที่เป็นนักดนตรี การที่นักดนตรีฟังเพลงมากจะช่วยให้เข้าใจความหลากหลายของดนตรี สามารถ พัฒนาฝีมอื ของตนได้ ฟังมากก็ฝกึ ได้มาก ฝึกมากก็เล่นได้มาก ส่วนการทีบ่ คุ คลทัว่ ไปฟังเพลง มากจะช่วยพัฒนาหูของท่านให้เข้าใจความหลากหลายของแนวดนตรีได้เช่นกัน เป็นการสร้าง รากฐานดนตรีวิจักษ์ที่ดี ซึ่งเมื่อนักดนตรีและผู้ฟังต่างมีรสนิยมในการฟังเพลงไม่ต่างกัน (อัน เนือ่ งมาจากการฟังเพลงมากขึน้ ) จะส่งผลดีตอ่ การพัฒนาวงการเพลงในบ้านเราได้ในระยะยาว นอกเหนือจากดนตรีวิจักษ์ที่เพิ่มพูนขึ้น สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในหัวของผมอีกอย่าง หนึ่งคือ ต่อให้ตะวันไม่ตรงกระบาล ก็ยังร้อนบรรลัยอยู่ดี ผมขอให้ทกุ ท่านมีความสุขกับการอ่าน และการฟังเพลงในบ่ายระอุเช่นนีก้ แ็ ล้วกันครับ


โลกมูมิน “พวกเขาเคยผจญภัยแปลกๆ มาแล้วมากมายในแม่นำ�้ สายนี้ และได้นำ� เพือ่ นใหม่ๆ กลับมาบ้าน ไม่น้อย คุณพ่อคุณแม่ของมูมินโทรลยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ทั้งหมดของพวกเขาเสมอด้วยวิธีที่ เงียบๆ แบบเดียวกัน แค่เพิม่ เตียงอีกเตียง และวางใบไม้อกี ใบบนโต๊ะอาหาร ด้วยเหตุนนั้ บ้านมูมนิ จึงค่อนข้างแน่น เป็นสถานทีซ่ งึ่ ทุกคนท�ำอะไรตามใจชอบและไม่ใคร่กงั วลกับวันพรุง่ นี้ เคยมีเรือ่ ง ที่ไม่ได้คาดคิดและยุง่ ยากเกิดขึน้ บ่อยมาก แต่ไม่เคยมีใครมีเวลาเบือ่ และนัน่ เป็นเรือ่ งทีด่ เี สมอ”

– มนตร์มูมิน (Finn Family Moomintroll)

มูมิน (Moomin) เป็นครอบครัวสิ่งมีชีวิตคล้ายฮิปโปที่รักสงบ พวก เขาอาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติในหุบเขามูมิน ประกอบด้วยคุณพ่อ มูมิน คุณแม่มูมิน และมูมินโทรล นอกจากนีย้ งั มีเพือ่ นๆ แวะเวียนกัน มาเยีย่ มเยียนไม่ขาดสายไม่วา่ จะเป็นสนัฟกิน สาวสนอร์ก สนิฟ ลิตเติ้ลมาย เฮมูเลน และ อื่นๆ อีกมากมาย พวกมูมินเป็นที่รักของเด็กๆ และผู้ใหญ่ทั่วโลก หนังสือชุดมูมินซึ่งตูเว วาดภาพประกอบเองจ�ำนวน 8 เล่มจากทั้งหมด 9 เล่มแปลเป็นภาษาต่างๆ แล้วมากกว่า 44 ภาษารวมถึงภาษาไทย ขายได้ทั้งหมดกว่า 15 ล้านเล่มทั่วโลก ผู้ที่ให้ก�ำเนิดมูมินคือ ตูเว ยานซอน (Tove Jansson, 1914 - 2001) นักเขียน นักวาดภาพประกอบ จิตรกร ศิลปิน และนักเขียนนิยายชาวฟินแลนด์ เนื่องในโอกาสที่ ปี 2014 นี้ครบ 100 ปีเกิดของตูเว ฟินแลนด์จึงได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อฉลองให้กับศิลปิน คนส�ำคัญของประเทศ โดยมีนทิ รรศการถาวรเกีย่ วกับชีวติ และผลงานของตูเว อีกทัง้ ส�ำนัก พิมพ์ต่างๆ ก็ทยอยพิมพ์ชีวประวัติของเธอและแปลนวนิยายที่ยังไม่ได้รับการแปลมาก่อน เป็นภาษาอังกฤษ มีการจัดงานเสวนา จัดท�ำแสตมป์ เหรียญที่ระลึก ฯลฯ ไปจนถึงละคร เพลงมูมิน ไม่เพียงแต่ในฟินแลนด์เท่านั้น สถานทูตฟินแลนด์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสพิเศษนี้เช่นกัน (แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยเราไม่มี ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายการกิจกรรมต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ http://www.tove100.com) ตูเวเกิดที่เฮลซิงกิ เป็นลูกคนแรกของครอบครัวศิลปินที่พ่อเป็นประติมากร ส่วน แม่เป็นนักวาดภาพ เนื่องจากงานของพ่อเธอมีรายได้ไม่สม�่ำเสมอ แม่ของตูเวจึงมีหน้าที่ หาเลี้ยงครอบครัว ขณะที่แม่ท�ำงานวาดภาพประกอบ ตูเวตัวน้อยๆ จะคอยดูอยู่ข้างๆ ไม่น่า แปลกใจที่เธอจะเติบโตมาเป็นศิลปินเหมือนพ่อแม่ ตูเวเริ่มมีผลงานเป็นที่รู้จักเมื่อ อายุเพียง 14 ปี จากภาพประกอบในนิตยสารเชิงเสียดสีชื่อ GARM ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ การเมือง ในขณะนั้น ในงานของตูเว เธอวาดภาพตัวสนอร์ก (Snork) ท่าทางร้ายกาจตัว เล็กๆ อันเป็น เสมือน ลายเซ็นของเธออยู่ตามมุมภาพ และในเวลาต่อมาตัวสนอร์กนี้เอง จะพัฒนามาเป็นมูมิน ด้วยความสนใจศิลปะและมุ่งมั่นจะเป็นศิลปิน ตูเวเลือกศึกษาวิจิตรศิลป์ใน ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส และอิตาลี แล้วกลับมายังเฮลซิงกิก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะเริ่ม พอดี ในปี 1939 ฟินแลนด์ได้รบั ผลกระทบจากสงครามเมือ่ กองทัพโซเวียตบุกและฟินแลนด์ เข้าร่วมกับฝ่ายนาซีในเวลาต่อมา แม้ภายหลังจากทีส่ งครามยุตลิ งแล้ว ผลกระทบนัน้ ก็ยงั ฝังใจตูเวมากจากการได้เห็นครอบครัวต้องพลัดพรากจากกันและผู้คนได้รับบาดแผลจาก สงคราม และเธอก็ได้สะท้อนมันออกมาในหนังสือเล่มแรกชื่อ Moomin and the Great Flood ในปี 1945 ในหนังสือเล่มแรกของชุดมูมินนี้ ตูเวได้สร้างครอบครัวขึ้นมาเองในแบบ ของเธอ และอีกไม่นานก็ตามมาด้วย Comet in Moominland พวกมูมนิ มีชอื่ เสียงไปทัว่ โลก หลังจากผลงานเล่มที่สามคือ Finn Family Moomintroll (ฉบับแปลภาษาไทยชื่อว่ามนตร์ มูมิน) ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและตีพิมพ์เผยแพร่แล้วโด่งดังเป็นพลุแตกจนไป เข้าตาหนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับหนึ่งชื่อลอนดอน อีฟนิ่ง นิวส์ (London Evening News) ชาร์ลส์ ซัตตันซึ่งเป็นตัวแทนของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวติดต่อให้ตูเววาดการ์ตูนช่องมูมิน ลงหนังสือพิมพ์สัปดาห์ละ 6 ชิ้นเป็นเวลา 7 ปีซึ่งได้รับความนิยมทันที การ์ตูนมูมินตีพิมพ์ ลงหนังสือพิมพ์กว่า 120 หัว ตามมาด้วยกระแสคลั่งไคล้มูมิน พวกมันปรากฏตัวตาม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อนิเมชั่น ภาพยนตร์ สวนสนุก ละครเวที ฯลฯ ไปจนถึงคาเฟ่ในต่างแดน อย่างญี่ปุ่น แต่แล้วความส�ำเร็จของมูมินที่ไหลบ่าเข้ามาอย่างท่วมท้นก็ท�ำให้ตูเวเหนื่อยล้า กับการต้องหาไอเดียใหม่ๆ อยูต่ ลอดจนเธอแทบไม่มเี วลาให้งานศิลปะซึง่ เป็นเป้าหมายหลัก ของเธอ กระทั่งในปี 1956 ตูเวได้พบศิลปินหญิงชื่อทูลิกกิ เพียทิลลา (Tuulikki Pietilä) ซึ่ง ได้กลายมาเป็นคนรักของเธอและได้ให้แรงบันดาลใจต่อ Moominland Midwinter ผลงาน

เล่มต่อมาโดยทูลกิ กิปรากฏเป็นตัวละครชือ่ ทูทกิ กิ ทุกหน้าร้อนตูเวกับทูลกิ กิจะใช้เวลาด้วย กันบนเกาะเล็กๆ ทีซ่ งึ่ เธอสร้างสรรค์งานศิลปะและเขียนหนังสือมูมนิ หลายเล่ม เล่มสุดท้าย คือ Moominvalley in November ออกมาในปี 1970 ซึ่งสะท้อนความโศกเศร้าของตูเวเอง หลังจากที่สูญเสียแม่ ความโศกเศร้านั้นเกาะกินเธอมากจนในปีต่อมาตูเวออกเดินทางไป ทัว่ โลกกับทูลกิ กิและเริม่ เขียนนวนิยายส�ำหรับผูใ้ หญ่ชอื่ The Summer Book เป็นเรือ่ งเกีย่ ว กับย่าและหลานสาวอายุ 6 ขวบขณะตากอากาศอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งหลังจากที่แม่ของเด็ก คนนัน้ เสียชีวติ นวนิยายเล่มนีจ้ งึ สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างแม่ของตูเวกับหลานสาวของ เธอเอง หนังสือเล่มนี้ได้รับยกย่องให้เป็นงานคลาสสิกของวรรณกรรมฟินแลนด์ แล้วหลัง จากนั้นตูเวก็ผลิตงานเขียนผู้ใหญ่ออกมาเรื่อยๆ (และทยอยแปลเป็นภาษาอังกฤษตีพิมพ์ ในช่วงสองสามปีมานี้) ตูเวเสียชีวิตในปี 2001 เมื่ออายุได้ 87 ปี ทูลิกกิเสียชีวิตในอีกแปด ปีหลังจากนั้น ตูเวน�ำเรื่องราวจากประสบการณ์ในชีวิตของเธอเองที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลและ เฉพาะตัวมาสร้างโลกมูมินซึ่งสะท้อนแนวคิดหลายอย่างอันเป็นสากลที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่วา่ จะเป็นผลกระทบจากสงคราม ความรัก การใช้ชวี ติ ท่ามกลางธรรมชาติ หรือการสูญเสีย บุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งเป็นเสน่ห์ของโลกมูมินที่ท�ำให้หนังสือชุดนี้ประสบความส�ำเร็จไป ทั่วโลก โลกมูมินเป็นที่ปลอบประโลมใจเมื่อมีเรื่องร้ายเกิดขึ้น โลกมูมินไม่ใช่การมองโลก ในแง่ดีแบบไร้เดียงสาในดินแดนอุดมคติ ทว่าเป็นการมองว่าเราจะผ่านเรื่องร้ายต่างๆ เหล่านั้นไปได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น และเมื่อเกิดเรื่องยุ่งยาก คุณแม่มูมินมักมีคำ� แนะน�ำ ว่าควรจัดการอย่างไร ดังเช่นตอนหนึ่งใน Comet in Moominland เมื่อมูมินโทรลรู้ว่าดาวหางก�ำลังจะ พุ่งชนโลก เขาพูดว่า “ไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้หรอก ขอแค่พวกเรากลับบ้านไปหาแม่ฉันได้ทัน ก่อนมันมาเท่านั้น แม่จะรู้ว่าต้องท�ำยังไง” และเมื่อกลับถึงบ้านแล้วคุณแม่มูมินก็ให้ทุก คนกินกาแฟก่อนทีจ่ ะตกลงวิธรี บั มือกับดาวหางทีก่ ำ� ลังจะพุง่ ชนโลกตรงสวนหลังบ้านของ พวกเขาในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ ตูเวบรรยายฉากการเก็บข้าวของเพื่อหนีไปหลบในถ�้ำ ริมทะเลของครอบครัวมูมนิ ไว้วา่ “มันเหมือนการถูกอพยพไปบ้านนอกในยามสงครามโดย รูต้ วั ล่วงหน้าเพียงไม่กชี่ วั่ โมงเท่านัน้ ” หรือเมือ่ ปีศาจฮ็อบก็อบลินผูร้ า้ ยกาจต้องการแย่งชิง ทับทิมของพระราชาไปจากทิงกูมีและบ๊อบในเรื่อง Finn Family Moomintroll เมื่อได้กิน แพนเค้กและแยมฝีมอื คุณแม่มมู นิ แล้วฮ็อบก็อบลินก็ลดความดุรา้ ยลง คนอืน่ ๆ ก็ไม่ได้มอง เขาเป็นตัวอันตรายที่น่ากลัวอีกต่อไป "ใครก็ตามที่กินแพนเค้กกับแยมคงไม่ดุมากมายนัก คุณสามารถพูดด้วยได้” โลกมูมินบอกเราผู้อ่านว่าความสุขจากสิ่งเล็กๆ จะช่วยให้ผ่าน ช่วงเวลาอันยากล�ำบากไปได้อย่างไม่เลวร้ายเกินไปนัก ทุกคนในบ้านมูมินรู้ดีว่าเรื่องร้าย จะคลี่คลายไปด้วยดีโดยไม่ตระหนกหรือกังวล แม้ ห นั ง สื อ ชุ ด มู มิ น จะน� ำ เสนอภาพครอบครั ว และมิ ต รสหายเป็ น สิ่ ง ที่ ช ่ ว ย ปลอบโยนและท�ำให้คลายกังวล ทว่าตัวละครก็แสวงหาการอยู่เพียงล�ำพังหรือปลีกวิเวก ท่ามกลางครอบครัวทีเ่ ข้าอกเข้าใจ ทัศนคติเช่นนีส้ ะท้อนนิสยั ของตูเวทีม่ กั ปลีกตัวไปใช้ชวี ติ เพียงล�ำพังกับทูลิกกิบนเกาะห่างไกลผู้คนเพื่อสร้างสรรค์งานตามที่ใจปรารถนา บ่อยครั้ง คุณแม่มมู นิ ทีค่ อยแนะน�ำหรือหาทางออกให้กบั ทุกปัญหาและคอยดูแลทุกคนในบ้านจะหา โอกาสปลีกตัวไปนัง่ คิดอะไรเงียบๆ คนเดียว สนัฟกินนักพเนจรซึง่ เป็นเพือ่ นรักของมูมนิ โทรล ก็มักเดินทางท่องเที่ยวเพียงล�ำพังโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง “ฉันเป็นคนพเนจร อยู่ทั่วไปแหละ [...] ฉันท่องเที่ยวไปเรื่อย พอพบตรงไหนที่ ชอบ ฉันก็จะกางเต๊นท์และเป่าหีบเพลงปาก” สนัฟกินยังเป็นอิสระเพราะไม่ถือครองทรัพย์สินใดๆ แล้วมูมินโทรลก็จะรอคอย ด้วยความเชือ่ มัน่ ว่าเมือ่ ฤดูใบไม้ผลิมาถึง สนัฟกินก็จะกลับมา ทัง้ คุณพ่อมูมนิ และมูมนิ โทรล ก็มีสิ่งที่ต่างคนต่างท�ำตามความสนใจของตนโดยไม่มีใครก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของ คนอื่น หรือกระทั่งการที่ทั้งครอบครัวหายไปจากหุบเขามูมินในฤดูใบไม้ร่วงโดยไม่บอก กล่าวใครล่วงหน้าใน Moominvalley in November ขณะที่สนัฟกินและคนอื่นเฝ้าคอย วันที่พวกเขาจะกลับมา โลกของพวกมูมินจึงเป็นโลกที่ทุกคนเคารพและเปิดให้แต่ละคน เป็นอย่างที่เขาเป็นขณะอยู่ร่วมกับผู้อื่น และนั่นท�ำให้พวกเขาผ่านพ้นปัญหาและเรื่องยุ่ง ยากไปได้เสมอ ด้วยกาแฟดีๆ สักแก้ว

15


(ต่อจากหน้า 9)

16

ค�ำว่า “มัน” ในประโยคกล่าวซ�้ำ “มันไม่มี ประโยชน์” หมายความได้ถงึ การแต่งงานทีม่ คี วามเป็นได้ ว่าจะเป็นการตัดสินใจทีผ่ ดิ พลาดและหมายถึงผูช้ ายทีไ่ ร้ ประสิทธิภาพอย่างวอลช์ การแต่งงานกับผูช้ ายทีห่ าความ มั่นคงใดๆ ไม่ได้จะท�ำให้ชีวิตผู้หญิงอับปางไม่ทางใดก็ ทางหนึง่ การแต่งงานในสายตาของคลาริสสาไม่ใช่การ อยูก่ นิ กันไปวันๆ และการมีเพศสัมพันธ์กบั ผูช้ าย หากแต่ เป็นการมอบพรหมจรรย์ให้กับชายที่ควรค่าและเหมาะ สมเท่านัน้ แน่นอนว่าปีเตอร์ วอลช์ไม่มคี ณ ุ สมบัตใิ ดตาม หลักเกณฑ์นี้ เขาไม่สามารถค�ำ้ ชูชวี ติ ของคลาริสสา เขา เป็นเพียงผูช้ ายอ่อนไหว ไร้ความคิด บางครัง้ ดูนา่ สงสาร เวทนา และแน่นอนว่าเขายืนอยูบ่ นพืน้ ทีต่ รงกันข้ามกับ ผูห้ ญิงช่างพินจิ อย่างเธอ ภาพของคลาริ ส สาในฉากการปฏิเสธการ แต่งงานทีเ่ ล่าโดยวอลช์ “เธอดูเหมือนเหล็ก เหมือนหิน ไฟ ตัวแข็งทือ่ หลังยืดตรง” จึงแสดงอย่างชัดเจนว่าคลาริสสาไม่มคี วามปรารถนาจะใช้ชวี ติ กับวอลช์ เธอเปรียบ เหมือนสาวพรหมจรรย์ผไู้ ร้อารมณ์และความรูส้ กึ เพราะ เธอต้องการแสดงออกอย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้ผู้ชายไร้ ประสิทธิภาพคนนีเ้ หยียบย่างเข้ามาในพืน้ ทีส่ ว่ นตัวและ ล่วงละเมิดพรหมจรรย์ของเธอ ชุดค�ำอย่าง “เหล็ก” “หิน ไฟ” “ตัวแข็งทือ่ ” ท�ำให้เห็นความแข็งแกร่งและความเข้ม งวดบังคับตน ไม่ได้ให้ความรูส้ กึ หวามไหวโอนอ่อนผ่อน ตาม ความแข็งแกร่งทีเ่ ห็นได้จากอากัปกิรยิ าของคลาริสสาเป็นกลไกทางจิตวิทยาทีเ่ รียกว่าการป้องกันตนเอง และ เป็นลักษณะเด่นของความเป็นชายทีค่ ลาริสสาน�ำมาใช้โต้ กลับวอลช์เพือ่ ปฏิเสธเขา และกันความไร้ประสิทธิภาพ ของเขาให้พน้ ไปจากความเป็นหญิงของเธอทีอ่ ยูใ่ นทีท่ าง ซึง่ ปลอดภัยอยูแ่ ล้ว จนวอลช์ไม่มโี อกาสสัมผัส ล่วงละเมิด หรือแม้แต่จู่โจมท�ำลายเพศพรหมจรรย์ของเธอได้เลย และถ้าปีเตอร์ วอลช์คือตัวแทนของผู้ชายไร้ ประโยชน์ ริชาร์ด ดัลโลเวย์จงึ มีบทบาทเป็นผูเ้ กือ้ หนุนชีวติ ของคลาริสสา ดังทีร่ ชิ าร์ดคิดว่า “…แต่เธอก็พร�ำ่ พูดกับ เขาอยูเ่ นืองๆ ว่าเธอตัดสินใจถูกต้องแล้วทีไ่ ม่แต่งงานกับ ปีเตอร์ วอลช์ ซึง่ ก็อย่างทีเ่ ห็นกันอยูช่ ดั ๆ ว่าเป็นความจริง อย่างทีร่ จู้ กั คลาริสสา เธอต้องการการสนับสนุน ไม่ใช่เป็น เพราะเธออ่อนแอ แต่เพราะเธอต้องการการสนับสนุน…” ส�ำหรับคลาริสสา ริชาร์ดคือผูช้ ายทีเ่ หมาะสมและควรค่า กับความบริสทุ ธิข์ องเธอ การแต่งงานระหว่างเธอและเขา คือการแลกเปลี่ยนทางสังคมที่ยินยอมพร้อมใจทั้งสอง ฝ่าย ริชาร์ดผูม้ อี าชีพทางการเมืองอาจต้องการภรรยามา เป็นเครือ่ งประดับให้กบั ชีวติ การงานทีป่ ระสบความส�ำเร็จ อาจต้องการผู้หญิงที่จะมาช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ แบบให้ชวี ติ ครอบครัว อย่างไรก็ตาม ในสายตาของคลา ริสสา ริชาร์ดก็เป็นเพียงผูส้ นับสนุนชีวติ เธอเท่านัน้ ไม่ใช่ สามีผเู้ ป็นทีร่ กั ความสัมพันธ์ของสามีภรรยาดัลโลเวย์จงึ เป็นเหมือนกับปฏิสมั พันธ์ทเี่ ป็นโมฆะหรือมีลกั ษณะว่าง เปล่ารูปแบบหนึง่ ดังทีค่ ลาริสสาบรรยายว่าชีวติ แต่งงาน ของเธอไม่มี “ปฏิสมั พันธ์แบบชายหญิง” เท่าใดนัก อย่างไรก็ดี แม้วา่ จะมีความเป็นไปได้วา่ ริชาร์ดจะ ปฏิบตั ติ อ่ ภรรยาของเขาในฐานะผูห้ ญิงทีส่ ามารถให้บตุ รแก่ เขาได้ หรือมองว่าภรรยาคือเครือ่ งประดับเชิดชูความส�ำเร็จ

แต่เขาก็รกั เธอ ทว่าโชคไม่ดที คี่ วามรักของเขาท�ำได้แค่แสดงสถานะที่ สูงส่งทางสังคมเท่านัน้ ซึง่ สถานะทางสังคมของริชาร์ดนีไ้ ด้มอบโอกาส ให้คลาริสสาเป็นศูนย์กลางทางสังคมในฐานะเจ้าภาพงานเลีย้ ง การที่ ริชาร์ดไม่เคยประสบความส�ำเร็จกับการแสดงความรักต่อภรรยาเลยนับ เป็นปัญหาในความสัมพันธ์ของคูส่ ามีภรรยาดัลโลเวย์ซงึ่ ปรากฏในบท บรรยายทีว่ า่ “เขาไม่เคยมอบของขวัญใดให้กบั คลาริสสา นอกจาก สร้อยข้อมือเส้นหนึง่ เมือ่ สองหรือสามปีกอ่ น ซึง่ ไม่ประสบผลส�ำเร็จ เธอ ไม่เคยใส่สร้อยเส้นนัน้ มันท�ำให้เขาเจ็บปวดเมือ่ คิดได้วา่ เธอไม่เคย ใส่มนั เลย ” ความรักและความห่วงหวงของสามีได้แสดงออกผ่านสร้อย ข้อมือไปถึงภรรยาอย่างคลาริสสา แต่มนั ไม่เคยได้รบั การแยแสใส่ใจ เพราะในสายตาของคลาริสสานัน้ สร้อยข้อมือคือห่วงทีจ่ ะมาคล้อง ตัวเธอไว้ การปฏิเสธไม่สวมใส่สร้อยเส้นนัน้ จึงเท่ากับเป็นการปฏิเสธ แรงกดดันทีจ่ ะคล้องตัวเธอและเขาไว้ดว้ ยกัน คลาริสสามองว่าแรงบีบ คัน้ นีจ้ ะน�ำพาภาระหน้าทีต่ า่ งๆ ทีไ่ ม่มวี นั จบสิน้ ในฐานะภรรยาและแม่ มาสูเ่ ธอได้ ในแง่หนึง่ การมอบสร้อยข้อมือก็สะท้อนความคิดของริชาร์ด ทีอ่ ยูใ่ นระดับผิวเผิน เขาให้ความส�ำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอก หน้าตา ทางสังคมและยึดถือวัตถุ มุมมองทีแ่ ตกต่างของเขาและคลาริสสาจึง ท�ำให้เห็นช่องว่างระหว่างสามีภรรยา ซึง่ ไม่ได้หมายถึงความเหินห่างทาง กายเท่านัน้ แต่ยงั เป็นช่องว่างทีต่ อ่ กันไม่ตดิ ในระดับความนึกคิดด้วย กระแสส�ำนึกของริชาร์ดจึงท�ำให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเขา เผชิญสถานการณ์เดียวกันกับทีป่ เี ตอร์ วอลช์เคยประสบ นัน่ คือโดนกัน ออกไปจากพืน้ ทีส่ ว่ นตัวของคลาริสสา เพราะเมือ่ เธออุทศิ พรหมจรรย์ เพือ่ ให้ได้มาซึง่ ความเป็นศูนย์กลางของสังคม ชีวติ ความเป็นอยูท่ ดี่ ี และเพือ่ มอบบุตรให้แก่เขา เมือ่ ครอบครัวมีความสมบูรณ์พร้อมสรรพ แล้ว (ในที่นี้ก็คือครอบครัวที่ประกอบไปด้วยพ่อ แม่ และลูก) และ เธอก็ได้สงิ่ ทีต่ อ้ งการแล้ว ดังนัน้ คลาริสสาจึงคิดว่าไม่มปี ระโยชน์อนั ใดทีจ่ ะปรนนิบตั ผิ ชู้ ายคนนีด้ ว้ ยเพศสัมพันธ์อกี ต่อไป การปฏิเสธเพศ สัมพันธ์ปรากฏในบทบรรยายทีว่ า่ “วางเข็มกลัดลงบนโต๊ะ และขณะที่ คิดครวญตรึกตรอง เธอก็เกิดภาวะสัน่ สะท้านอย่างฉับพลัน ราวกับว่า เข็มทีเ่ ปรียบเสมือนกรงเล็บอันเย็นชานัน้ ฝังแน่นอยูใ่ นตัวเธอ” “เข็ม กลัด” เปรียบได้กบั อวัยวะเพศชายและอ�ำนาจของชายโดยสัญญะ การวางเข็มกลัดจึงเชือ่ มโยงได้กบั การปล่อยวาง เพิกเฉยและไม่ยหี่ ระ อ�ำนาจชาย และการเลือกวางเข็มกลัดในห้องนอนยิง่ ชีใ้ ห้เห็นว่าคลา ริสสาไม่ตอ้ งการมีความสัมพันธ์ทางเพศกับสามีอกี ต่อไปเพราะห้อง นอนนัน้ เปรียบได้ดงั ห้องส่วนตัวหรือพืน้ ทีท่ สี่ ามีภรรยาใช้รว่ มกันและ เชือ่ มโยงถึงกันได้ นอกจากนีค้ ำ� อธิบาย “สัน่ สะท้านอย่างฉับพลัน” บ่งบอกว่าคลาริสสาสามารถเติมเต็มความปรารถนาทางเพศในฐานะ ปัจเจกด้วยตัวเธอเอง ไม่ตอ้ งขอความช่วยเหลือให้อกี ฝ่ายยืน่ มือเข้ามา มีสว่ นร่วมเช่นเคย คล้ายกับอากัปกริยา “เผยอริมฝีปากเมือ่ เธอมองตัว เองในกระจก” ซึง่ ตีความได้วา่ เป็นการช่วยตัวเองทีเ่ ธอท�ำในพืน้ ทีล่ บั ส่วนตัว “ทุกเช้า” เพราะหากอ่านในมุมมองแบบสตรีนยิ ม (feminist reading) ริมฝีปากมักถูกน�ำมาโยงเชิงสัญญะว่าเป็นอวัยวะเพศหญิง สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในห้องนอนทัง้ หมดนีเ้ น้นย�ำ้ ให้เห็นสภาวะการให้ ก�ำเนิดใหม่แก่พรหมจรรย์ของคลาริสสา (state of renewed virginity) เธอท�ำให้เห็นว่าความเป็นชายสามารถเกื้อหนุนจุนเจือเธอในทาง สังคมและพืน้ ทีภ่ ายนอกเท่านัน้ การมองตัวเองในกระจกยังได้สะท้อน ภาพการเคารพนับถือตัวเอง เป็นฉากแสดงถึงขณะเวลาทีค่ ลาริสสา ตระหนักถึงพลัง อ�ำนาจและมองเห็นคุณค่าของตน นอกจากนี้ ความ เหนือชัน้ ความส�ำคัญ หรือแม้แต่การมีอยูข่ องผูช้ ายนัน้ ก็โดนลดทอน และลบหายไปด้วยการกระท�ำของคลาริสสาในฉากงานเลี้ยง เธอ ปฏิบตั ติ นราวกับเป็นเจ้าภาพแต่เพียงผูเ้ ดียว เธอตีกรอบให้สามีและ อลิซาเบธ (ลูกสาว - ตัวละครทีเ่ ป็นพยานบุคคลบ่งบอกว่าคลาริสสาเคย

ผ่านประสบการณ์ทางเพศ) อยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ดียวกัน โดยทีเ่ ธออยูน่ อกวง นัน้ การกันตัวเองออกมาและไม่ขอ้ งเกีย่ วกับบุคคลทัง้ สองท�ำให้เห็น ว่าคลาริสสาพยายามท�ำให้พรหมจรรย์ของเธอเกิดขึน้ ในรูปแบบใหม่ ดังเช่นที่เรื่องเล่าได้แสดงอัตลักษณ์ใหม่ของเธอในฉากสุดท้ายว่า “นี่คือคลาริสสา เธออยู่ตรงนั้น” แนวคิดเรือ่ งพรหมจรรย์ในนวนิยายยุคโมเดิรน์ อย่าง Mrs Dalloway แตกต่างจากนวนิยายยุควิคตอเรียนซึง่ เป็นยุคก่อนหน้า พรหมจรรย์ของคลาริสสาแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นลักษณะ ทางกายภาพอย่างหนึง่ ของผูห้ ญิง เป็นสิง่ ลึกลับและต้องห้ามส�ำหรับ ผูช้ ายทีไ่ ม่มอี ำ� นาจต่อรอง เป็นเครือ่ งมือทีน่ ำ� มาใช้เพือ่ แลกเปลีย่ นผล ประโยชน์ระหว่างสามีและภรรยา หรืออยูใ่ นฐานะสินค้าอย่างหนึง่ ของ สังคมวัตถุนยิ ม แต่การน�ำเสนอประเด็นเรือ่ งพรหมจรรย์หรือแนวคิด ด้านเพศสัมพันธ์ในวรรณกรรมยุควิคตอเรียนนัน้ โดนจ�ำกัดกดทับด้วย ศีลธรรมและประเพณีของสังคมในยุคสมัยนัน้ แม้วา่ ผูห้ ญิงวิคตอเรียน บางคนอาจมีมมุ มองหรือทัศนคติตอ่ เรือ่ งเพศและพรหมจรรย์เหมือน คลาริสสาก็ตาม เช่นในเรื่อง Middlemarch ของจอร์จ เอลเลียต ผูห้ ญิงอย่างโดโรธี บรูคตกลงแต่งงานกับเอ็ดเวิรด์ คาซาบองเพราะเธอ ต้องการเป็นผูช้ ว่ ยและเรียนรูง้ านจากเขา ความสัมพันธ์ระหว่างโดโรธี และคาซาบองจึงไม่ตา่ งไปจากความสัมพันธ์ระหว่างคลาริสสาและ ริชาร์ด ดัลโลเวย์ ตัวละครหญิงสองคนนีม้ วี ธิ กี ารทีจ่ ะบรรลุเป้าประสงค์ ของตนเองเหมือนกัน ต่างก็อทุ ศิ พรหมจรรย์เพือ่ เป้าหมายสูงสุด หรือ ถ้าจะเปรียบความเกีย่ วข้องกันระหว่างคลาริสสาและวอลช์ ก็คงเทียบ ได้กบั เอสเตลล่าและพิพใน The Great Expectations ของชาร์ลส์ ดิกคินส์ เพราะเอสเตลล่าท�ำลายหัวใจของพิพเหมือนกับทีค่ ลาริสสา เคยท�ำให้ปเี ตอร์ วอลช์เพ้อคลัง่ อย่างไรก็ดี ทัง้ เอลเลียตและดิกคินส์ไม่ได้เชือ้ เชิญให้ผอู้ า่ น เข้าไปส�ำรวจตรวจตราความคิดของโดโรธีและเอสเตลล่า (รวมทั้ง คาซาบองและพิพ) เพือ่ ล่วงรูเ้ หตุผลและเข้าใจลักษณะนิสยั ทีแ่ ท้จริง ของผูห้ ญิงสองคนนีเ้ หมือนกับทีว่ ลู ฟ์ น�ำพาผูอ้ า่ นโลดแล่นไปกับกระแส ส�ำนึกของคลาริสสา (และตัวละครอืน่ ๆ) ใน Mrs Dalloway เอลเลียต และดิกคินส์เพียงแต่ลอกเลียนวิถชี วี ติ ของตัวละครและยกเข้ามาสูเ่ รือ่ ง เล่าเหมือนทีว่ ลู ฟ์ กล่าวว่านวนิยายสมัยวิคตอเรียนนัน้ เพียงแต่ทำ� ให้ ผูอ้ า่ นตัง้ ค�ำถามว่าตัวละครใช้ชวี ติ หรือมีความเป็นอยูอ่ ย่างไรและมี ชีวติ ไปเพือ่ อะไร สิง่ ทีผ่ อู้ า่ นรับรูเ้ ป็นเพียงเหตุการณ์และการกระท�ำของ ตัวละครในโลกจินตนาการอย่างมิดเดิลมาร์ชและเมืองทีม่ อี ยูจ่ ริงอย่าง เคนท์และลอนดอน แต่ผอู้ า่ นไม่สามารถล่วงรูก้ ระบวนการทางความคิด และความรูส้ กึ ทีล่ กึ สุดหยัง่ ของตัวละครเหล่านัน้ โดโรธีและเอสเตลล่า หรือแม้แต่ตวั ละครหญิงอืน่ ๆ ในนวนิยายยุคศตวรรษทีส่ บิ เก้าอาจมี ทัศนคติตอ่ เรือ่ งเพศและคุณค่าของพรหมจรรย์ไม่ตา่ งไปจากความคิด ของคลาริสสา แต่นกั เขียนยุควิคตอเรียนไม่ได้อนุญาตให้ตวั ละครแสดง สิง่ ทีพ่ วกเขาคิดหรือตระหนักรู้ ตรงข้ามกับวูลฟ์ ทีไ่ ด้สร้างสรรค์วธิ กี าร เขียนแบบใหม่ทไี่ ม่เพียงแสดงความเป็นไปหรือความเคลือ่ นไหวทาง กายภาพ แต่ได้พยายามขุดคุย้ ทีม่ าทีไ่ ปของการแสดงออกทีม่ าจาก จิตใต้สำ� นึก มาจากห้วงลึกของใจตัวละคร ความพยายามของวูลฟ์ เป็น นวัตกรรมการประพันธ์ทเี่ ยีย่ มยอดของยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะในเรือ่ ง Mrs Dalloway เพราะกระแสส�ำนึกทีไ่ หลเวียนอยูใ่ นนวนิยายเรือ่ งนีไ้ ด้ เปิดเผย “จิตวิญญาณทีไ่ ม่มใี ครล่วงรูแ้ ละถูกจ�ำกัดเอาไว้” ของคลาริสสา ออกมาได้อย่างน่าทึง่ ดังทีก่ ล่าวมาทัง้ หมด การทีค่ ณ ุ นายคลาริสสา ดัลโลเวย์ เพิกเฉยต่อความรักหรือความปรารถนาทางเพศของผูช้ าย นัน่ เป็น เพราะเธอมีเจตจ�ำนงมัน่ คงเสมอมาทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงหรือสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้กบั พรหมจรรย์ของเธอนัน่ เอง


“If one cannot enjoy reading a book over and over again, there is no use in reading it at all.” Oscar Wilde

ก่อนหน้านี้ ปราบดา หยุ่น เขียน ส�ำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น

นับหนึ่ง รวมเรื่องสั้น 16 นักเขียน ร.จันเสน แปล l เรืองเดช จันทรคีรี บรรณาธิการ ส�ำนักพิมพ์ฅนวรรณกรรม

ก่อนหน้านี้ คือ รวมบทความที่เปรียบดั่งการรวบรวมหลักฐานความคิดครั้ง ส�ำคัญของ ปราบดา หยุ่น ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา จากหนังสือหายาก 5 เล่ม (น�้ำใส่กะโหลก l อย่าอ่านเลย ก็แล้วกัน l (เปิดไป) หน้าศูนย์ l เรื่องตบตา l เขียนถึงญี่ปุ่น) จ�ำนวน 59 บทความ และอีก 18 เรื่องใหม่ที่รวมพิมพ์ครั้งแรก หนังสือเล่มนี้น�ำคนอ่านเข้าไปส�ำรวจความคิดจากอดีตถึงปัจจุบันของเขาอีก ครั้ง ถึงผู้เขียนจะออกตัวว่าบางชิ้นงานท�ำให้อยากย้อนเวลาไปบีบคอคนเขียน แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ตัวหนังสือของปราบดายังคงสดใหม่ สตาฟท์ความ กระตือรือร้นไว้ระหว่างบรรทัด ไม่แปลกใจเลยว่า เพราะเหตุใดงานเขียน เหล่านีจ้ งึ บันดาลใจนักอ่านคนเเล้วคนเล่าให้อยากเป็นนักเขียน ก่อนหน้านี้ คือ หนังสือที่อ่าน ที่นี่ และ เดี๋ยวนี้ ได้เสมอ

ใครๆ ก็ตอ้ งเริม่ นับหนึง่ ก่อนทัง้ นัน้ รวมเรือ่ งสัน้ เรือ่ งแรกในชีวติ ของ 16 นักเขียน ระดับโลก ได้แก่ เอ็ดการ์ อัลลัน โพ l อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ l แม็กซิม กอร์กี้ l แจ็ค ลอนดอน l เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ l เฮนรี่ มิลเลอร์ l แกรห์ม กรีน l วิลเลีย่ ม ซาโรยัน l ขวาจา อะหมัด อับบาส l ยูดอร่า เวลตี l ทรูแมน คาโพที l กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ l ดอริส เลสซิง l เคิรท์ วอนเนกัต l ไอแซ็ค บาเชวิส ซิงเกอร์ และ อลิซ วอล์คเกอร์ สะท้อนพลังพลุง่ พล่านของหนุม่ สาวและความทะเยอทะยาน ฝันใฝ่ตอ่ งานเขียนเพียงใด ติดตามอ่านได้ผา่ นส�ำนวนแปล ร.จันเสน จัดพิมพ์ แบบปกแข็งและมีเลขประทับ จ�ำนวนเพียง 700 เล่ม เป็นส่วนหนึง่ ในโครงการ มาตรฐานวรรณกรรมพิมพ์จำ� กัด (มวจ.) มีขายทีร่ า้ นหนังสืออิสระทีเ่ ข้าร่วม โครงการเท่านัน้

ท้าทายทางเลือก: ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เขียน ส�ำนักพิมพ์ของเรา

ใจที่เธอกลัว The Places That Scare You เพม่า โชดรัน เขียน l อัญชลี คุรุธัช แปล ส�ำนักพิมพ์ปลากระโดด

ต่อความอยุติธรรม หัวใจเท่าก�ำปั้นล้วนมีสิทธิโกรธแค้นได้เท่าเทียมกัน แต่ หลังจากโกรธจนตัวสั่น และได้เป็นเพื่อนกับ เช เกวารา แล้ว สิ่งที่เราเลือกต่อ จากนัน้ คืออะไร หนี ยอมแพ้ หรือจะสู้ นีค่ อื ค�ำถามตัง้ ต้นของหนังสือเล่มนี้ จาก การท�ำความเข้าใจธรรมชาติและความหมายมิตติ า่ งๆ ของ “ความรุนแรง” รวมถึง มายาคติและผลพวงทีต่ ามมาอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงทางวัฒนธรรมทีม่ องไม่เห็น เพือ่ เปิดทางให้แนวคิด “สันติวธิ ”ี ได้เข้ามาจัดการความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบนั ไม่วา่ ปัญหาเหล่านัน้ จะถม ทับซับซ้อนเพียงใด หนังสือเล่มนีม้ อบทางเลือกทีท่ า้ ทายแก่เรา เป็นความหวัง ก่อนจะสายเกินไปต่อราคาค่างวดทีต่ อ้ งจ่ายให้แก่ความรุนแรง

หนังสือเล่มนี้ก�ำลังบอกว่า ความกลัว คือ การยกก�ำลังความทุกข์ในหัวใจ ภิกษุณชี าวอเมริกนั เพม่า โชดรัน ศิษย์คนส�ำคัญของวัชราจารย์ทเิ บต เชอ เกียม ตรุงปะ รินโปเช ชวนคุณส�ำรวจความกลัวอย่างเป็นมิตร ชีใ้ ห้เห็นราก เหง้าแห่งความอ่อนแอ ความยึดมั่น ความปรารถนา และความลุ่มหลง ซึ่ง เป็นกลไกการท�ำงานของอัตตา อันมีส่วนสร้างก�ำแพงมหึมาดุจปราการที่ขัง ตัวเราไว้กบั ความทุกข์ การฝึกเผชิญหน้าความกลัวครัง้ ส�ำคัญนีจ้ ะท�ำให้เห็น ประโยชน์ของปัญหา คุณค่าของอุปสรรค และอยูร่ ว่ มกับความพร่องขัดอย่าง เป็นมิตร เมือ่ ถึงวันทีช่ วี ติ โยนความยากล�ำบากมาให้ มีเพียงการงอกงามของ ความกล้าและความอ่อนโยนเท่านัน้ ทีจ่ ะช่วยถอดรากความทุกข์ได้

ปั้นอดีตเป็นตัว ไชยันต์ รัชชกูล เขียน ส�ำนักพิมพ์อ่าน

แวมไพร์เลสแต็ท The Vampire Lestat แอนน์ ไรซ์ เขียน l รติพร ชัยปิยะพร แปล ส�ำนักพิมพ์ฟรีฟอร์ม

ค�ำเตือนแรกอ่าน คือ หนังสือเล่มนีท้ า้ ทายสมาธิและความตัง้ ใจสูง แต่ถงึ อย่างไรแนวคิดมันก็ยงั กระตุน้ ความอยากรูแ้ ละสนุกนึกอยูด่ ี เพราะเป็นการ ตัง้ ค�ำถามต่อการศึกษาประวัตศิ าสตร์ของผูเ้ ขียน สัน่ คลอนวิธที เี่ ราจะเข้าถึงและ วางใจอดีต บีบขมับเราเบาๆ ก่อนกระซิบบอกว่าอดีตมันก็แค่เรือ่ งเล่าชนิดหนึง่ คือ ‘ความพลิกไพล่’ อันยอกย้อนและซับซ้อนของประวัตศิ าสตร์ ขอบเขต เนือ้ หาหนังสือครอบคลุมอดีตอันหลากหลาย ตัง้ แต่ ศิลปะสุโขทัย อีสาน เจ้า นายฝ่ายใน ภูมปิ ญ ั ญา วัฒนธรรมชุมชน การรัฐประหาร รวมถึงวิเคราะห์งาน เขียนของเอ็ดเวิรด์ ซาอิด อรุณธาตี รอย พรีโม เลวี และยูริ ตริโฟนอฟ

แวมไพร์เลสแต็ท ของ แอนน์ ไรซ์ คือเรือ่ งราวมหากาพย์ของสิง่ มีชวี ติ ทีอ่ ยู่ เหนือ ความชรา โรคภัยไข้เจ็บ และความตาย ฉีกกระชากภาพแห่งจินตนาการ เซ็กซี่ รื้อความโรแมนติก และขนบผีดูดเลือดรูปงามแบบวรรณกรรมป๊อปปูลาร์ลง เพื่อเผยให้เห็นโลกแห่งแวมไพร์ ทั้งกฎเกณฑ์การด�ำรงอยู่ และ ประวัตศิ าสตร์เผ่าพันธุอ์ นั ยาวนาน ตัง้ แต่ยคุ อียปิ ต์โบราณ โรมยุคคลาสสิก ยุโรปยุคก่อนคริสตจักร และยุคปฏิวตั ฝิ รัง่ เศส ผ่านปากค�ำของแวมไพร์หนุม่ ทีม่ ชี วี ติ อยูใ่ นศตวรรษที่ 20 นีค่ อื ผลงาน 1 ใน 10 เล่มจากชุด The Vampire Chronicles ของ แอน ไรซ์ ทีม่ ยี อดจ�ำหน่ายสูงถึง 100 ล้านเล่มทัว่ โลก

17


กว่าจะสิ้นลมหายใจ As I Lay Dying วิลเลียม โฟล์คเนอร์ เขียน l สุนันทา วรรณสินธ์ แปล ส�ำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์

สุดขอบโลกที่ฟินิสแตร์เร Finisterre มาเรีย โรซา โลโฆ เขียน l ภาสุรี ลือสกุล แปล ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ

ใบหน้าผู้หญิงที่ไม่สามารถระบุอารมณ์แน่ชัด อยู่ในอิริยาบถเหมือนคนที่สิ้นลม หายใจไปแล้ว ไม่สามารถสื่อสารอะไรได้อีก คือ ปกนวนิยายแปลของ วิลเลียม โฟลคเนอร์ (นักเขียนรางวัลโนเบล ปี ค.ศ.1949) ผู้มีเทคนิคการเขียนแพรวพราว จนมีคุณศัพท์ส�ำหรับรูปแบบวรรณกรรมของเขาเองว่า Faulknerian เช่นเดียวกับ ฟรานซ์ คาฟคา (Kafkaesque) และ เจมส์ จอยซ์ (Joycean) นวนิยายเล่มนี้ว่า ด้วยการเดินทางกลับบ้านของครอบครัวบันด์เรน ผ่านชะตากรรมดิ้นรนต่อสู้กับ ความขัดแย้งภายในจิตใจเพื่อคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ภายใต้เงื่อนไข ที่เป็นอุปสรรคในทุกทาง พบวิธีเล่าเรื่องจากกระแสส�ำนึกของตัวละครถึง 15 ตัว ส�ำนวนเปรียบเปรยแปลกประหลาด และการแทรกรูปวาดประกอบกลางตัว หนังสือ กว่าจะสิ้นลมหายใจ คือหนังสือที่ท้าทายประสบการณ์การอ่านของคุณ

พบกับชะตากรรมสุดผันแปรของ โรซาลินด์ คิลแดร์ เนย์รา หญิงพื้นเมืองชาว กาลิเซียที่ถูกปล้นสะดมและตกเป็นเชลยกลุ่มกองโจรเผ่ารังเกล ก่อนจะกลาย เป็น “มาชิ” หรือหมอผีประจ�ำเผ่าในที่สุด เรื่องเล่าจากมุมมองของเธอเผยให้ เห็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิม การต่อสู้และการทรยศ ความรักและความ ทรมานของคนพลัดถิ่นที่ต้องมีชีวิตร่อนเร่อยู่ในสถานะชายขอบและก�ำลัง ถูกลบหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ นี่คือนวนิยายสะท้อนภาพอาร์เจนตินา ในศตวรรษที่ 19 ยุคก่อร่างสร้างชาติ หลังประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน สุดขอบโลกที่ฟินิสแตร์เร ของ มาเรีย โรซา โลโฆ คือหนึ่งในวรรณกรรมคุณภาพ ที่แปลจากภาษาสเปน

ข้อเขียนหลังมรณกรรมของนักประพันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ Posthumous Papers of a Living Author โรแบร์ท มูซิล เขียน l อัญชลี มณีโรจน์ แปล ส�ำนักพิมพ์บทจร

18

ข้อเขียนคัดสรรทั้ง 10 เรื่องนี้ คือผลงานตีพิมพ์ชิ้นสุดท้ายของผู้เขียนก่อนเสียชีวิต อัดแน่นด้วยบรรยากาศหดหู่สิ้นหวัง อันเกิดจากความโดดเดี่ยวท่ามกลางการพัง ทลายลงของภาวะด้านใน เปรียบเหมือนการวาดภาพ self-portrait ของตัวผู้เขียน ด้วยวิธีส�ำรวจภายในไปพร้อมกับการสังเกตโลกภายนอก สายตาละเอียดลออ ขยายความรู้สึกนึกคิดจากประสบการณ์จริงเข้าสู่จิตส�ำนึกของตัวละคร สมัยที่มูซิล ยังมีชีวิตอยู่ ผลงานของเขาทุกเล่มถูกทางการนาซีประกาศเป็นหนังสือต้องห้าม นี่คือหนึ่งในผลงานการตั้งค�ำถามเชิงปรัชญา-จิตวิทยาจากการเผชิญหน้าสังคม เผด็จการ โครงเรื่องคมกริบและภาษามากชั้นเชิง เป็นความท้าทายแก่นักอ่าน ผู้ใคร่รู้ เย้ายวนคุณด้วยสัมผัสนุ่มนวลก่อนจะจับยึดไว้แน่นหนาดุจกระดาษกาว ดักแมลงวัน

สามานย์ สามัญ อุทิศ เหมะมูล เขียน ส�ำนักพิมพ์จุติ แม้ชื่อชั้นของอุทิศ เหมะมูล จะหนักเทไปทางนวนิยายเสียมาก (ลับแล แก่งคอย, ลักษณ์อาลัย) แต่หากใครสักคนอยากรู้จักเขาในเวลาอันรวบรัด หนังสือเล่มนี้ เปรียบเหมือนนามบัตรกล่าวแนะน�ำตัวผู้เขียนได้เป็นอย่างดี อุทิศให้เวลาตัว หนังสือได้กลั่นและบ่มหมักไปพร้อมประสบการณ์ ขณะที่เขาเฝ้าหามุมตกกระทบ ของเหตุการณ์จากชีวติ ของผูค้ นมาฉายภาพเมืองใหญ่ ทีห่ าใช่การน�ำเสนอสภาวะ ภายในของปัจเจกอันแหว่งวิ่น หากคือการตั้งค�ำถามกับสามัญส�ำนึกต่อความถูก ต้องดีงาม กระทั่งความชอบธรรมทางสังคม ผ่านการเปิดเผยทัศนคติและความ เป็นไปอันหลากหลายของตัวละครทุกตัว ชื่อเรื่องสั้นในเล่มเกิดจากการย�้ำเสียง ของค�ำสองค�ำเพื่อให้เกิดจังหวะของการตั้งค�ำถามอันแยบคาย (ระคน ละคร l บูรณาการ บูรณากล l กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ) การเว้นว่างของช่องไฟตรงกลางนั้น คือปฏิกิริยาสันดาปของความหมายที่ก�ำลังเกิดขึ้นใหม่อยู่ภายในตัวเราทุกคน


New ork 1st Time /2014

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 42 ที่ผ่านมา ปรากฏการณ์แซลมอน คือชื่อย่อของปรากฏการณ์ที่นักอ่าน หนุ่มสาวพากันต่อแถวยาวนับร้อยเมตรตลอดสิบสองวันเพื่อรอ คิวซื้อหนังสือของส�ำนักพิมพ์ชื่อ แซลมอน โดยหนังสือดาวเด่น ของบูธ SalmonBooks และอาจเป็นของงานสัปดาห์หนังสือฯ ในปีนี้ ได้แก่ New York 1st Time นิวยอร์กตอนแรกๆ... หลังจากคลิป BKK 1st Time ตอนโดนคนไทยด่า ครั้งแรก ถูกอัพขึ้น YouTube ก่อนงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จะเริ่มขึ้นเพียง 7 วัน ยอดชมคลิปนี้ก็พุ่งสูงนับล้านวิว ชื่อหนังสือ New York 1st Time ขจรขจายไปทั่วโลกออนไลน์ พร้อมกับมี ภาพคุณลุงฝรั่งขี้เล่นชื่อเนลสันที่เป็นที่รู้จักชั่วข้ามคืน ณัฐชนน มหาอิทธิดล หรือ แบงค์ บรรณาธิการบริหาร ส�ำนักพิมพ์แซลมอน คือผู้อยู่เบื้องหลังคนส�ำคัญ ปรากฏการณ์ที่ เหมือนจะเกิดจากความบังเอิญและเกินคาดนี้ คือผลลัพธ์จาก แผนธุรกิจที่ถูกคิดมาอย่างดี ทั้งการสังเกตพฤติกรรมของนักอ่าน หรือการเข้าใจธรรมชาติของหนังสือ “ครั้งนี้ที่ผ่านมาส่วนหนึ่งคือฟลุค ไม่มีใครรู้มา ก่อนว่า คลิปคลิปเดียวจะพลิกตลาดหนังสือได้ขนาดนี้” แบงค์ บอกว่าขณะนี้ส�ำนักพิมพ์แซลมอน ถือได้ว่า เป็นเพียงส�ำนักพิมพ์ขนาดเล็กเท่านั้น และสิ่งที่เขาท่องไว้ขึ้นใจ คือ “ปรากฏการณ์มันเกิดแล้วมันก็ดับ มันอาจจะมีอีก นานๆ อาจมีครั้งหนึ่ง ไม่เช่นนั้นคงไม่เรียกปรากฏการณ์ แต่เราตั้งใจ ท�ำให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ” ไม่เพียงเท่านั้น ปรากฏการณ์จากงานสัปดาห์หนังสือ ครั้งนี้ท�ำให้ แบงค์ตั้งข้อสังเกตว่ามีผลต่อการสั่งหนังสือเข้าร้าน หนังสือขนาดใหญ่ทั่วประเทศตามไปด้วย “น่าสังเกตว่าระยะหลังมานี้ ร้านหนังสือขนาดใหญ่ก็ เริ่มใช้กระแสจากงานหนังสือเป็นจุดขายแล้ว คือเล่มไหนขายดี ก็จะสั่งเพิ่มมากขึ้น บรรดาร้านหนังสือขนาดใหญ่ก็เริ่มอิงกระแส จากงานหนังสือเหมือนกัน” “ชาร์ตอันดับขายดีที่ไม่เคยขึ้นก็ได้ขึ้น เราเคยคิดเทียบ มาตลอดว่าชาร์ต ร้าน se-ed ชาร์ต ร้านนายอินทร์ นี่เป็นเหมือน ชาร์ตเพลงแบบ ฮอตเวฟ หรือ ชาร์ต เวอร์จิ้นฮิต ซึ่งเป็นคลื่น กระแสหลัก ส่วนชาร์ตอินดี้หน่อยก็เป็น ชาร์ต ร้านคิโนคุนิยะ เหมือนชาร์ต แฟต ส�ำหรับบุ๊คโมบี้ก็จะเป็นชาร์ตโคตรอินดี้ไปเลย (หัวเราะ)” เคล็ดลับของเนลสัน คลิปสั้นไม่ถึง 5 นาที แต่กลับส่งอิทธิพลให้หนังสือ เล่มหนึ่งขายดีกว่าหมื่นเล่มในเวลาสิบวัน แบงค์ ยกความดีงาม นี้ให้ เบนซ์ (ผู้เขียนหนังสือและคนถ่ายท�ำคลิป) เพราะเป็นคนที่ มีเซนส์ของคนโฆษณาสูง เขาผ่านการอบรมเวิร์กช็อปโฆษณาใน เมืองไทยมาหมดแล้ว ตอนนี้ก�ำลังศึกษาต่อด้านการท�ำหนังอยู่ที่ นิวยอร์ค งานโปรดักชั่นเลยออกมาดี หลังจากนั้น ถอดรหัสคลิป นี้ให้เราฟังว่า “อันดับแรก ผมคิดว่าคลิปนี้มันไม่ค่อยฮาร์ดเซล ถึง ท้ายคลิปจะมีช่วง “ขายของ” แต่ก็ท�ำออกมาได้จริงใจกว่าการ ให้ลุงเนลสันถือหนังสือไว้เป็น advertorial ตลอดคลิป รองลงมา น่าจะเป็นอารมณ์ขัน ซึ่งเป็นแนวที่ถูกจริตคนไทย ไม่อย่างนั้น โฆษณาของพี่ต่อ (ธนญชัย ศรศรีวิชัย) คงไม่ดังขนาดนี้ โฆษณา ไทยส่วนใหญ่ที่ถูกจดจ�ำ ถ้าไม่ข�ำก็จะเป็นแนวซึ้ง คลิปนี้องค์ประกอบส�ำคัญคือ ความตลก ซึ่งเข้าถึงคนง่าย”

Book :

(SALMONBOOKS)

สิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ แม้ว่า ส�ำนักพิมพ์แซลมอน จะเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม บันลือกรุ๊ป เจ้าของหนังสือขายดีตลอดกาลอย่างการ์ตูนขาย หัวเราะ แต่แบงค์กลับเลือกที่จะไม่ให้ความส�ำคัญกับการโฆษณา โดยใช้เงิน “หนังสือใหม่ของแซลมอน ไม่มีการรีวิวในแมกกาซีน เล่มอื่นๆ เราถูกสอนให้ประหยัด ไม่ใช่งก คุณโชติกา (โชติกา อุตสาหจิต -- รองประธานกลุ่มบันลือกรุ๊ป) เคยบอกเราว่า แกล้ง จนหน่อยก็ได้ อย่าไปท�ำอะไรที่ใช้เงินเยอะ เราก็เห็นด้วย” สิ่งส�ำคัญที่ส�ำนักพิมพ์ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องตระหนัก แบงค์ยืนยันว่ามันคือการศึกษาพฤติกรรมของคน อ่านให้ชัดเจน เพราะเงินซื้อไม่ได้ทุกอย่าง “เอาเข้าจริง การไปซื้อโฆษณาบนเฟซบุ๊คก็พิสูจน์อะไร ไม่ได้ ผมว่ามันเหมือนหลอกตัวเอง วัดยอดวิวได้ แต่วัดยอดขาย ไม่ได้ เพราะโปรแกรมท�ำงาน แต่เราไม่ได้ท�ำงาน ส�ำหรับผม การ ใช้เฟซบุ๊คมีการวางแผนค่อนข้างชัดเจน ตอนเช้าต้องโพสท์อะไร แฟนเพจของเราใช้เฟซบุ๊คเวลาไหน ต้องศึกษาพฤติกรรมกลุ่ม นักอ่านของเรา ต่อให้เป็นวัยรุ่นเหมือนกัน แต่พฤติกรรมแต่ละ เพจมันไม่เหมือนกันนะ แฟนเพจของแซลมอนอาจจะมาเยอะ ช่วงสามทุ่มครึ่ง ของเด็ดๆ เราก็เก็บไปปล่อยในช่วงวันที่หวังผล ได้จริงๆ ยกตัวอย่าง ช่วงที่ปล่อยคลิปลุงเนลสันตอนแรก เราก็ ต้องหลบให้ละครสามีตีตรา ก่อนนะ (หัวเราะ)” ค้นพบสูตรส�ำเร็จหรือยัง? “ผมว่าเมื่อไหร่เจอสูตรส�ำเร็จ นี่โคตรตันเลย (หัวเราะ)” คนส่วนใหญ่เพ่งมองแต่ความส�ำเร็จ แบงค์เล่าถึง ประสบการณ์ท�ำงานของเขาว่าเคยท�ำหนังสือเจ๊งคามือมาแล้ว ปกแล้วปกเล่า เขาบอกว่าเวลานี้เขาก�ำลังต้องการหาวิธีการให้ คนอ่านเข้าถึงหนังสือได้ง่ายที่สุดมากกว่า “แซลมอน เริ่มต้นจากการเป็น graphic novel ก่อน มาเป็น comic essay เพราะคิดว่าคนเข้าถึงภาพได้ง่ายกว่าสัมผัส text การส่งออกไปญี่ปุ่น จีน เกาหลี ฝรั่ง ท�ำได้ง่ายกว่า เรื่องที่เป็น ตัวหนังสือต่อให้ตลกมากอย่างงานของ วิชัย ก็ต้องวางลง ภาพ สวยมักขายได้ก่อน ระยะแรกเราเลยเน้นเรื่องการท�ำหนังสือภาพ สวยเป็นส่วนใหญ่ นักเขียนบางคนป๊อบเลยนะ แต่ออกหนังสือ มาแล้วแป๊กก็มี หนังสือ fiction บางเล่มเราชอบมาก แต่ออกมา ก็เงียบ เวลาออกหนังสือมาเราก็จะมีสัดส่วนทั้งกลุ่มนักเขียน หน้าใหม่ กลุ่มนักเขียนสตาร์ อีกส่วนจะเป็นกลุ่มงานทดลอง พวก หลังนี้มักจะเป็นนิยาย ล่าสุดคือนิยายเรื่อง Beatrice and Virgil ของ Yann Martel (ผู้เขียน Life of Pi) แปลโดย จักรพันธุ์ ขวัญมงคล” คอนเทนท์เลื่อนไหล ยุคที่สื่อสิ่งพิมพ์ถูกท้าทายจากโซเชียลมีเดียทุกรูป แบบ หลายคนมองว่านี่คือขาลงหนังสือ แบงค์กลับพลิกมุมมอง ให้เห็นถึงประโยชน์มหาศาลของการท�ำงานร่วมกันระหว่างคน ร่วมสมัยกับสื่อสมัยใหม่ “มีคนถามผมบ่อยว่า โลกโซเชียลมีเดียท�ำลายการ อ่านคนสมัยนี้ จริงหรือไม่ ผมกลับคิดตรงข้าม เพราะผมหา นักเขียนใหม่ๆ ได้จากเฟซบุค๊ นีแ่ หละ (หัวเราะ) นักเขียนส่วนใหญ่ มีฐานแฟนคลับของตัวเองอยู่ระดับหนึ่งเเล้ว ก่อนจะมาร่วมงาน กับแซลมอน หลังจากออกหนังสือมาหนึ่งเล่ม เราก็จะน�ำไปขยาย ผลต่อในโลกออนไลน์ แนวคิดคือ เราไม่อยากให้หนังสือเล่มหนึ่ง

ตีพิมพ์ออกมาแล้วจบแค่นั้น สมมติหนังสือเล่มนี้ยอดเริ่มนิ่ง เราก็ขอให้นักเขียนลองเขียนตอนใหม่สักครึ่งตอน แล้วอัพขึ้นไป ประกอบการพีอาร์ ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือเซอร์วิสของกอง บรรณาธิการซึ่งท�ำให้เราต่างจากที่อื่นนะ” แบงค์ยังกล่าวอีกว่า ต่อจากนี้ไป เราอาจไม่เห็น ค�ำว่า “Books” ต่อจากค�ำว่า “Salmon” อีกแล้ว เพราะเขา ตั้งใจจะเปลี่ยนบทบาทจากส�ำนักพิมพ์เป็น Content Provider ด้วยความเชื่อว่าคอนเทนท์ที่ดีสามารถน�ำเสนอในสื่ออื่นๆ ได้ หมายถึงทีวี วิทยุ สื่อออนไลน์ หรือมากกว่านั้น จุดโฟกัสของ แซลมอนจึงขยายวงออกไปไกลกว่าแค่พิมพ์หนังสือขาย ยุค Post-Facebook เช่นเดียวกับทุกปราฏการณ์ วันหนึ่งประชากรโลก ย่อมหมดความนิยมต่อเฟซบุ๊ค เราถามบรรณาธิการวิสัยทัศน์ไกล คนนี้ว่า หากวันนั้นมาถึงเขาเตรียมรับสถานการณ์ไว้อย่างไรบ้าง “ตอนนี้เราเริ่มสร้างเว็บไซต์ชื่อ minimore (www. minimore.com) เพื่อเตรียมไว้เป็นตัวแทนของส�ำนักพิมพ์ต่างๆ ในอนาคต เริ่มจากหนังสือของแซลมอนก่อน โดยตั้งใจให้มีฟังก์ชั่ น ที่ เ อื้ อ กั น ระหว่ า งเนื้ อ หาในโลกออนไลน์ กั บ โลกออฟไลน์ ” “ส่วนตัวผมคิดว่าเราพึ่งพาร้านหนังสือขนาดใหญ่ ไม่ค่อยได้ เพราะหนังสือหลายเล่มเข้าร้านวันเดียวก็เอาสันออก เเล้ว การเริ่มท�ำ minimore คือคุณกลับไปเปิดอ่านเนื้อหาของ เราที่บ้านนะ พออ่านแล้วชอบก็จงสั่งซื้อกับเราเถอะ เพราะเราได้ เยอะกว่า (หัวเราะ)” แบรนด์ แบรนด์ และ แบรนด์ แบงค์อธิบายให้เราฟังว่าในโลกของหนังสือก็ไม่ต่าง จากโลกทุนนิยมวงการอื่นๆ เขาเล่าการท�ำงานของแบรนด์ให้ฟัง โดยยกตั ว อย่ า งให้ เ ห็ น ปั จ จั ย แวดล้ อ มที่ มี ผ ลต่ อ ตั ด สิ น ใจซื้ อ หนังสือของนักอ่านสามประการ “สมมติหนังสือหนึ่งเล่มออกมา นอกจาก Title ของ หนังสือเเล้ว เวลาพ่วงค�ำว่า ‘Salmon’ เข้าไป มันช่วยหนังสือ ท�ำงานด้วย ขณะเดียวกัน แบรนด์ของนักเขียนที่ทุกคนยอมรับก็ จะเข้ามาช่วยขายได้อีกแรง กลายเป็นการท�ำงานสามต่อ” เมื่อเราถามว่า แบรนด์ ส�ำคัญขนาดไหน “…ที่สุด ในโลกนี้” ผู้สร้างปรากฎการณ์แซลมอนตอบกลับทิ้งท้ายทันที “ส�ำหรับผม แบรนด์ เหมือนเงิน มันสามารถท�ำงานของมันเองได้” is SALMONBOOKS นิยามหนังสือของแซลมอน คือ หนังสือที่ดูเหมือน เล่นๆ แต่เอาจริง ส่วนเรื่องจริงจังมากไปก็ไม่เอา หรือเลือก บอกเล่าในทิศทางที่เพี้ยนๆ ไปเลย หากเปรียบกับธรรมชาติ ของปลาแซลมอน หมายถึง หนังสือที่สวนกระแส (ว่ายทวน น�้ำ) กินแล้วมีประโยชน์ ไม่อ้วน เนื้อปลากินแบบสุกก็ได้ ดิบ ก็อร่อยดี ด้วยเหตุนี้จึงท�ำให้แซลมอนเป็นปลาที่ป๊อปมาก New York 1st Time นิวยอร์กตอนแรกๆ... หนังสือของ ธนชาติ ศิริภัทราชัย (เบนซ์) ว่า ด้วยประสบการณ์สารพัดครั้งแรกของตัวเอง เมื่อต้องไป ผจญชีวิตในมหานครนิวยอร์ก เบนซ์เลือกถ่ายคลิป BKK 1st Time ตอนโดนคนไทยด่าครั้งแรก (ความยาว 4 นาที 54 วินาที) ว่าด้วยประสบการณ์ครั้งแรกของฝรั่งคนหนึ่งที่ ถูกคนไทยด่า นับเป็นการพีอาร์ที่เสนอจุดร่วมของคัลเจอร์ ช็อคสองวัฒนธรรมได้อย่างมีอารมณ์ขัน Bunbooks ส�ำนักพิมพ์น้องใหม่ที่แยกตัวออกมาจากส�ำนัก พิมพ์แซลมอน ด้วยแนวคิดว่าหาก แซลมอน (Salmon Books) เป็นของคาว บัน (BunBooks) คือของหวาน รวบรวมแนวงานเขียนและงานลายเส้นที่ต่างออกไปจาก แซลมอนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแนวผู้ชาย ขณะที่บันก็เปิดรับ ต้นฉบับที่มีความอ่อนหวานมากกว่า เพื่อความชัดเจนและ สมเหตุสมผลในการตีพิมพ์ http://salmonbooks.net http://twitter.com/salmonsay

http://instagram.com/salmonsay http://www.facebook.com/salmonbooks

19


พื้นที่นี้เปิดรับงานเขียนสร้างสรรค์ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (พิมพ์เป็นไฟล์ Word ขนาดตัวหนังสือ 14 พอยท์) ส่งมาให้ทีมงานพิจารณาที่ contact@bookmoby.com

20

ผมเคาะประตูสามสี่รอบแล้ว สุเมธก็ยังไม่เปิดประตูออกมารับ ใจคิดว่าอาจจะ มีอะไรผิดปกติ ก�ำลังจะเปิดประตูเข้าไปดู แต่แค่ยื่นมือไปจับลูกบิดเท่านั้นประตูก็กระชาก เปิดจากข้างใน หมาของสุเมธนั่นเอง มันเปิดประตูให้ผมพร้อมกับพูดด้วยท่าทีลนลานว่า “ขอโทษที ขอโทษที วันนี้ตื่นสายน่ะ” ภาพทีเ่ ห็นตรงหน้าคือเจ้าหมาแต่งกายด้วยเสือ้ ผ้าของสุเมธ แม้วา่ มันจะเป็นหมา ตัวใหญ่เพราะเป็นหมาฝรั่ง แต่เสื้อผ้าของสุเมธก็ดูรุ่มร่ามเกินไปส�ำหรับมันอยู่ดี ทันทีทผี่ มชะโงกหน้าเข้าไปดูในห้อง ผมมัน่ ใจว่าเห็นขาทัง้ สองข้างของสุเมธสวม กางเกงนอนยื่นออกมาจากห้องน�้ำ เจ้าหมารีบยกกระเป๋าเอกสารขึ้นดันตัวผมให้พ้นประตู แล้วดึงประตูกระแทกปิดดังโครม มันรีบพูดจนลิ้นพัน “รีบไปกันเถอะ เดี๋ยวจะสาย” “สุเมธ นายไม่สบายหรือเปล่า” ผมแกล้งถามถ่วงเวลา แต่พอสบตากับเจ้าหมา ตรงๆ ตากลมโตของมันส่งประกายใสซื่อตอบกลับมา ท�ำให้ผมพูดอะไรไม่ออก ผมก็เลยต้องท�ำเป็นไม่รเู้ รือ่ ง ยอมนัง่ รถออกมากับเจ้าหมาของสุเมธ กลิน่ น�ำ้ หอม ยี่ห้อประจ�ำของเขาฟุ้งทั้งคัน นี่มันคงใส่น�้ำหอมไม่เป็นล่ะสิ ถึงได้อาบมาเสียฉุนแบบนี้ ผม แอบสังเกตปฏิกริ ยิ าต่างๆ ของมัน ผมแกล้งถามมันเรือ่ งงานทีก่ ำ� ลังจะประชุมเช้านี้ มันอึกอัก ตอบปัดๆ แล้วเสไปหยิบซีดีเพลงแผ่นที่สุเมธชอบฟังบ่อยๆ มาเปิด ผมค่อนข้างแปลกใจทีถ่ งึ แม้เจ้าหมาจะเป็นแค่หมา แต่มนั ก็ขบั รถได้ดกี ว่าคนอีก หลายคนที่ผมเคยรู้จัก มันขับไปตามทางที่สุเมธเคยขับทุกวันอย่างช�ำนาญ คงเป็นเพราะ สุเมธพามันมาบ่อย มันจึงจ�ำเส้นทางได้แม่น พอถึงออฟฟิศผมก็เดินเข้าบริษัทพร้อมกับมัน ทุกคนทักทายเราเหมือนปกติ ไม่มีใครรู้เลยว่ามันปลอมตัวเป็นสุเมธ ผมท�ำงานแผนกเดียวกับสุเมธมาสี่ปี เราสนิทกัน เมื่อสุเมธลงหลักปักฐานด้วย การซื้อคอนโดใกล้ๆ ออฟฟิศ ผมมาดูห้องเขาแล้วชอบ จึงซื้อตามเขาบ้าง เขาอยู่ชั้นสาม ส่วนผมอยูช่ นั้ เจ็ด ทุกเช้าวันท�ำงานผมจะเดินไปหาสุเมธทีห่ อ้ ง เพือ่ ทีจ่ ะติดรถเขาไปท�ำงาน และผมจะตอบแทนด้วยการซื้ออาหารเย็นหรือขนมให้เขา เรายังไม่มีครอบครัวทั้งคู่ ผมตัวคนเดียว ส่วนเขาเลี้ยงหมาตัวหนึ่งที่ใกล้ชิดกัน ประหนึง่ พ่อกับลูก ซึง่ ก็คอื ไอ้หมาบ้าทีข่ บั รถพาผมมาท�ำงานตัวนีแ้ หละ สุเมธชอบเอามันมา เลีย้ งทีท่ ำ� งานบ่อยๆ ผมรอดูวนั ทีเ่ ขาจะโดนเจ้านายเตือนเรือ่ งนี้ มันไม่เหมาะสมทีจ่ ะเอาสัตว์ เลี้ยงมาวุ่นวายในที่ท�ำงานแบบนี้ ออฟฟิศเราก็ไม่ได้กว้างนัก การเอาหมามาเลี้ยงจะท�ำให้ สุขภาพของทุกคนแย่ไปด้วย แต่เสือกกลายเป็นว่าหัวหน้าและเพือ่ นร่วมงานดันมาเอ็นดูไอ้ หมาหน้าโง่ตัวนี้แทน ผมนั่งจิบกาแฟอยู่ที่โต๊ะเงียบๆ ทบทวนข้อมูลที่จะใช้ประชุมเช้านี้ ส่วนเจ้าหมา เห็นผมกินกาแฟคงอยากกินบ้าง แต่ดว้ ยความทีม่ นั ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของสัตว์ชนั้ สูงอย่าง มนุษย์ จึงท�ำให้มันได้กาแฟเข้มปี๋ที่ไม่มีความหวานกลับมานั่งดม ที่ตลกกว่านั้นคือพอมัน เริ่มกิน มันกลับใช้ลิ้นเลียในน�้ำกาแฟร้อนๆ ตามสันดานหมา แต่มันคงนึกได้ รีบเปลี่ยนมา จรดแก้วเข้ากับปากแล้วยกขึน้ ดืม่ แทน แม้จะไม่มใี ครทันสังเกตเห็น แต่ทงั้ หมดอยูใ่ นสายตา ของผม ซึ่งผมก็แค่ยิ้มเหยียดที่มุมปาก ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้าย สิบโมงเช้าของวันนี้ผมกับสุเมธต้องน�ำเสนองานให้ คนในแผนกฟัง ผมปล่อยให้เจ้าหมานั่งหน้าตื่นกินกาแฟไปเรื่อย จนเกือบจะสิบโมงถึงค่อย เอาเอกสารหลายสิบหน้าทีจ่ ะใช้ประชุมไปวางให้มนั บนโต๊ะ กะเวลาว่ามันคงอ่านไม่ทนั แน่ ผมวางล�ำดับให้เจ้าหมาพูดก่อน ทุกอย่างเป็นไปตามที่ผมวางแผน มันพูดอะไร ที่ไม่เกี่ยวกับการประชุมเลย ผมปล่อยให้มันท�ำลายตัวเองด้วยความบ้อท่าอย่างนั้น ผมรอ อย่างใจเย็น รอให้เจ้าหมาขุดหลุมแล้วเดินลงไปนอนเรียบร้อย ผมจึงจับพลัว่ แล้วค่อยๆ โกย ดินกลบ ผมแกล้งยืนขึน้ ท�ำเป็นกระซิบกับมันว่าให้นงั่ ลง เดีย๋ วผมจะเป็นคนพูดต่อเอง ผมเอ่ย ขอโทษต่อทุกคนแล้วเริ่มพูดใหม่ทั้งหมด พอประชุมเสร็จหัวหน้าไม่พอใจเจ้าหมาจนถึงกับ เปรยออกมา “สุเมธ วันนี้ดูท่าทางคุณไม่พร้อมเลยนะ” เจ้าหมาได้แต่ยมิ้ แหยๆ ผมคิดว่าถ้าตอนนีถ้ า้ มันไม่ได้เก็บหางของมันไว้ในกางเกง ทุกคนคงจะเข้าใจทันทีเลยว่าหมาหางตกเป็นอย่างไร ตอนเย็นเมื่อกลับมาจากออฟฟิศด้วยกัน ผมเดินออกมาจากลิฟต์ที่ชั้นสามด้วย พยายามขอเข้าไปในห้องสุเมธ แต่เจ้าหมาที่แสร้งท�ำตัวเป็นสุเมธบอกว่าขอพักผ่อนเพียง ล�ำพัง เพราะรู้สึกไม่ค่อยสบาย ผมท�ำอะไรไม่ได้จึงต้องปล่อยให้มันเดินเข้าห้องไป

วันรุง่ ขึน้ หลังผมเคาะประตูแล้วเจ้าหมาก็มาเปิดประตูให้ตามทีค่ าด ผมอาศัยจังหวะ รีบแทรกตัวเข้าไปในห้องทันทีทปี่ ระตูเปิด ท�ำเป็นเดินวนไปวนมาทัว่ ห้องเหมือนหาของ แต่จริงๆ ผมก�ำลังมองหาสุเมธ ร่างของเขาไม่อยูใ่ นต�ำแหน่งทีผ่ มเห็นเมือ่ วานแล้ว เจ้าหมาทีย่ งั คงรุม่ ร่าม กับเสือ้ ผ้าของสุเมธเดินเข้ามาหา สายตาหวาดระแวงของมันก�ำลังส�ำรวจความเรียบร้อยต่างๆ ในห้องไปพร้อมกับผม “สุรกิจ นายหาอะไรหรือเปล่า” “เฮ้ย นายจ�ำหนังเรื่องเฟซอ๊อฟได้มั้ย ที่เราเคยเอามาให้นายดูเมื่อเดือนก่อนไง เมื่อ วานพี่จิ๋มเขาขอดู วันนี้เราเลยมาหาให้” “เอ่อ...หนังเหรอ หนังอะไรล่ะ” “ก็ที่จอห์น ทราโวลตาเล่นเป็นผู้ร้าย แล้วนิโคลัส เคจเล่นเป็นต�ำรวจไง ที่มันผ่าตัด หน้าคนหนึง่ มาใส่อกี คนหนึง่ แล้วก็เข้าไปใช้ชวี ติ แทนอีกคนไง” ทันทีทพี่ ดู มาถึงตรงนี้ เจ้าหมา หน้าเจื่อนลงอย่างเห็นได้ชัด “เอาไว้เดี๋ยวจะหาให้แล้วกัน เอ่อ เราว่ารีบไปท�ำงานกันเถอะ เดี๋ยวรถติด” ผมกับเจ้าหมาเดินออกมาขึ้นรถด้วยกัน เจ้าหมาสตาร์ทเครื่องแล้วขับออกไป ผม ต้องนัง่ ดมน�ำ้ หอมคลุง้ ทัง้ รถเหมือนเมือ่ วาน ถึงตอนนีผ้ มแน่ใจว่าสุเมธตายแล้ว ไม่มที างทีเ่ ขา จะสลบได้ถึงสองวัน แต่เขาตายยังไงเป็นสิ่งที่ผมหาค�ำตอบไม่ได้ สุเมธเป็นเพือ่ นสนิทของผม ผมอยากจะปกป้องเขา อยากจะเรียกร้องความยุตธิ รรม ให้กบั เขา แต่ปญ ั หาคือผมไม่รวู้ า่ เกิดอะไรขึน้ กับเขา และทุกคนดันเชือ่ ว่าหมาบ้าตัวนีค้ อื สุเมธ ไม่ว่าจะเป็นยามที่เฝ้าคอนโด แม่ของสุเมธเองที่มาเยี่ยมจากต่างจังหวัด เพื่อนที่ออฟฟิศ หากผมไปบอกทุกคนว่าสุเมธที่พวกคุณเห็น จริงๆ มันเป็นแค่หมาที่เขาเลี้ยงไว้ เท่านั้น ผมคงกลายเป็นคนบ้าในสายตาคนอื่น จึงได้แต่เก็บความรู้สึกคับแค้นนี้ไว้ เฝ้ารอวัน ที่จะเปิดโปงความจริงให้ได้ แต่เรื่องยิ่งตลกเข้าไปใหญ่ หมาฝรั่งห่าเหวตัวนี้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้รวดเร็วจนไม่น่า เชื่อ ข้อแรกคงเป็นเพราะพื้นฐานมันเป็นหมาที่ฉลาดอยู่แล้ว ข้อสองน่าจะมาจากการที่สุเมธ พามันมาออฟฟิศบ่อย มันคงเก็บข้อมูลของสุเมธในมุมที่เงยขึ้นไว้เยอะเชียวล่ะ มันตั้งใจท�ำงานมาก วันๆ เอาแต่ศึกษาเอกสารงานในความรับผิดชอบของสุเมธ (ผมเดาเอาเองว่าภาษาอังกฤษของมันคงไม่ดเี ท่าไหร่นกั เพราะเวลาต้องอ่านเอกสารหรือคูม่ อื ทีเ่ ป็นภาษาอังกฤษ มันต้องเปิดดิกชันนารีตลอด) มันใช้เวลาเพียงสีเ่ ดือนก็สามารถท�ำเหมือน กับที่สุเมธท�ำได้ทุกอย่าง ทุกอย่างเรียบเนียน ไม่มีใครดูออกเลยว่ามันเป็นหมา ทุกคนรักมัน เหมือนรักสุเมธ ตอนที่เจ้านายชมมันว่าท�ำงานดี ผมก็ได้แต่ยิ้มให้มัน ท�ำให้เหมือนกับว่าผม ดีใจไปกับมันด้วย เหตุการณ์ยงั คงเป็นอย่างนัน้ มาเรือ่ ยๆ จนกระทัง่ ถึงวันทีส่ เุ มธตายไปครบเจ็ดเดือน ผมเริม่ มีปญ ั หากับเพือ่ นร่วมงานคนหนึง่ ในแผนก เหตุการณ์รนุ แรงขึน้ จนกระทัง่ วันนีท้ ถี่ งึ ขัน้ มี ปากเสียงกัน ผมรู้ตัวว่าแสดงอารมณ์ออกมาจนน่าเกลียด เมือ่ ก่อนเวลามีปญ ั หาอะไร ผมชอบปรึกษาสุเมธ เขาจะมีมมุ มองดีๆ มาโน้มน้าวให้ ผมเห็นอีกด้านของปัญหา แต่วันนี้ไม่มีเขาเสียแล้ว ผมก็ไม่รู้จะปรึกษาใคร ผมเครียดจนอยากระบาย อยากดืม่ มากๆ หันไปไม่เห็นใครนอกจากสายตาแสนซือ่ ของหมาทีผ่ มเกลียดเข้าไส้ เคยได้ยนิ ว่าใครหลายคนชอบบ่นเรือ่ งชีวติ ให้หมาตัวเองฟัง เขาบอก ว่าแม้มันจะฟังเราไม่รู้เรื่อง แต่อย่างน้อยเราก็รู้สึกว่าเรามีเพื่อน เหตุผลอะไรท�ำนองนี้แหละที่ ท�ำให้ผมกลั้นใจชวนมัน เราไปนัง่ กันทีผ่ บั เล็กๆ ใกล้ออฟฟิศ ผมลืมตัวพรัง่ พรูสงิ่ ทีอ่ ยูใ่ นใจออกไป ระบายถึง ความกดดันที่แบกไว้ โดยมีมันนั่งฟังเงียบๆ ผมดื่มหนัก เหล้าพร่องจากขวดไปเยอะ จนช่วง ประมาณใกล้เที่ยงคืน หันไปอีกทีก็เห็นเจ้าหมาก�ำลังร้องไห้อยู่ ผมเป็นฝ่ายกลุ้มใจแท้ๆ แต่ กลับเป็นมันที่ร้องไห้ “นายร้องไห้ท�ำไมน่ะสุเมธ” “บางทีเราก็สับสนน่ะ” มันตอบในขณะที่หยิบทิชชู่มาเช็ดน�้ำตาน�้ำมูก “สับสนเรื่องที่เราพูดให้ฟังเนี่ยเหรอ” “ไม่ใช่หรอก แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรื่องอะไร” ผมนั่งมองหน้ามันอยู่พักใหญ่ นึกหมั่นไส้มัน หลุดประโยคที่ท�ำให้มันช็อกออกมา “แกไม่ใช่สุเมธ ฉันรู้นะว่าแกปลอมตัวเป็นสุเมธ แกมันก็แค่หมาที่สุเมธเลี้ยงไว้ เท่านั้นแหละ” เจ้าหมาหันมาจ้องผมอย่างตกใจ แล้วหันกลับไปมองแก้วเหล้าตรงหน้าเนิ่นนาน “ผมขอโทษครับคุณสุรกิจ ผมจ�ำเป็นต้องท�ำแบบนี้ แต่ตอนนีผ้ มรูส้ กึ ว่าผมท�ำต่อไป ไม่ไหวแล้ว ผมเหนื่อยเหลือเกินครับ” ตอนที่มันเอาคางมาเกยไว้บนตักผม ตาเศร้าๆ ของมันดูน่าสงสารมาก ผมท�ำอะไร ไม่ถูกเหมือนกันเมื่อเห็นแบบนี้ หลังจากลังเลอยู่พักหนึ่ง ท�ำไมผมถึงยกมือตบหัวหมาที่ผม เกลียดเบาๆ ก็ไม่รู้


21


เรื่องและภาพ ปาลิดา พิมพะกร (instagram.com/foneko)

โฮมเมดคาเฟ่ขนาดจิ๋วที่ให้ความส�ำคัญกับ “การอ่ า น” ใจกลางเมื อ งใหญ่ แ ห่ ง นี้ เ กิ ด ขึ้ น จากความสุ ข ทั้ ง จากการอ่ า น การท� ำ อาหารและขนม โดยคุณเบน-เบญจรัตน์ อิสระญาณพงศ์ คุณเบนเล่าให้ฟงั ถึงจุดเริม่ ต้นของ การเปิดคาเฟ่ “พาส-เทล” ว่าเริม่ จากความรัก ในการท�ำอาหารและขนม พร้อมกันนัน้ ก็ได้ ถ่ายทอดเรื่องราวและรูปภาพลงในเฟซบุ๊ค และอินสตาแกรม เมือ่ มีคนเห็นมากขึน้ ก็ผลัก ดันให้เกิดคาเฟ่แห่งนีข้ นึ้ มาได้ในทีส่ ดุ บรรยากาศภายในมีทงั้ เคาน์เตอร์ บาร์ที่สามารถมองผ่านกระจกออกไปเห็น ต้นไม้เขียวๆ ด้านนอก มีโต๊ะกลางขนาดใหญ่ ส�ำหรับเพือ่ นๆ ทีม่ ากันเป็นกลุม่ มีอาร์มแชร์ เหมาะส�ำหรับคนที่ต้องการมาพักผ่อนชิลๆ ชิมขนมอร่อยๆ คุณเบนแนะน�ำว่า ถ้าต้องการ มานัง่ อ่านหนังสือ ช่วงเวลาสามโมงถึงห้าโมง เย็นนัน้ เหมาะทีส่ ดุ จุดเด่นที่ส�ำคัญของคาเฟ่แห่งนี้ คือชั้นหนังสือขนาดใหญ่ที่บรรจุเต็มพร้อม กับของตกแต่งน่ารักๆ หนังสือเหล่านี้ล้วน 22

The pastale | พาส-เทล by ben'tale อาคารสุทธวงษ์ เพลส ซอยวิทยุ 1 ถนนวิทยุ โทร. 0898112576 (รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 2 เดิน 5 นาที) เปิดวันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 11.00 – 17.00 น. เฟซบุ๊ค: facebook.com/pastale | อินสตาแกรม: instagram.com/pastale

เป็นของสะสมส่วนตัวของคุณเบน ที่เก็บไว้ ตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือใหม่ๆ ตลอดทั้งช่วงที่ เคยท�ำงานที่เกี่ยวข้องกับแวดวงหนังสือ มี ทั้งวรรณกรรมไทย วรรณกรรมฝรั่ง ไปจนถึง หนังสือร่วมสมัย และที่ลูกค้าให้ความสนใจ มากทีส่ ดุ คือนิตยสารหัวนอกแนวไลฟ์สไตล์ ทัง้ ภาษาอังกฤษและภาษาญีป่ นุ่ ซึง่ คุณเบน เน้นว่าทั้งหมดเป็นหนังสือที่เธอชอบและ อยากแบ่งปันให้ลูกค้าได้อ่านด้วยกัน แน่นอนว่า มาคาเฟ่ทงั้ ทีกต็ อ้ งลิม้ ลองของอร่อย พอขอให้คุณเบนแนะน�ำเมนู ที่ชอบ เธอตอบอย่างไม่ลังเล “ส่วนตัวชอบ กินกาแฟ ก็เลยเป็นคาเฟ่ที่จริงจังกับกาแฟ แต่ถา้ คนไม่กนิ กาแฟ ก็มชี าและช็อกโกแลต พร้อมเสิร์ฟ ทุกตัวเป็นสูตรของเราเอง จะไม่ หวานมาก เน้นเข้มข้น และใช้วัตถุดิบอย่าง ดี” นอกจากกาแฟที่แนะน�ำเป็นพิเศษแล้ว ทัง้ เมนูอาหารและขนม ล้วนเป็นสูตรของเธอ เอง คุณเบนเล่าให้ฟังปิดท้ายว่า “ทั้งหมดนี้ เป็นของที่เราชอบ เมื่อเราชอบ เรากินแล้ว รู้สึกดี ก็อยากจะแบ่งปันแลกเปลี่ยนกับคน อื่นๆ ด้วย”


“งำประกาย” ...มิใช่กโลบายชั่วคราวที่มีความหมายคับแคบ เฉพาะด้าน ใช้ในเชิงยุทธวิธี ดังที่มีคนส่วนหนึ่งตีความคลาดเคลื่อนหรือจงใจบิดเบือน ให้หลงเข้าใจเป็นกลยุทธ์ “นอนหนุนฟืน ชิมดีขม” ของเจ้าแคว้นเยว่ โกวเจี้ยน ซึ่งแฝงนัย มุมั่นพัฒนาซ่อนเร้นพลังความสามารถ รอจังหวะโอกาสแก้แค้นในภายภาคหน้า... ...แต่มีความหมายครอบคลุมลึกซึ้งกว้างไกล มีลักษณะระยะยาวและทั่วด้านในเชิงยุทธศาสตร์ เหมาะส�ำหรับบุคคลหรือประเทศที่มีปณิธานยิ่งใหญ่ ไม่ว่า...ยังอ่อนแอ ต้องการพัฒนาขยายก�ำลัง โดยไม่ตกเป็นเป้าขุดรากถอนโคนแต่ต้น... หรือ...เริ่มเข้มแข็งแล้ว ยังต้องการพัฒนาขยายก�ำลังต่อไป โดยไม่ตกเป็นเป้าริษยา ระวัง ขัดขวาง และท�ำลายล้างถึงที่สุด... ตลอดถึง...เข้มแข็งเกรียงไกรแล้ว ยังต้องการรักษาอ�ำนาจอิทธิพลไว้ให้ได้นานที่สุด ไม่เสื่อมสลายก่อนเวลาอันควร...



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.