คนอีสานบ้านเฮา

Page 1



สารนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดงานประเพณีทอดกฐินเป็นประจ�ำ ต่อเนื่องในทุก ๆ ปี และในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ นี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ จัดงานกฐินขึ้น โดยความร่วมมือของผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และพุทธศาสนิกชนผูม้ จี ติ ศรัทธาทัง้ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพือ่ อนุโมทนา บุญกุศลและร่วมพิธีถวายผ้ากฐิน เพื่อน�ำผ้ากฐินไปทอดถวายพระสงฆ์ ณ วัดป่า อดุลยาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕๐ หมู่ ๑๖ ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่ ง เป็ น วั ด ที่ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ กั บ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น กล่ า วคื อ เป็ น วั ด ที่ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนนักศึกษาแต่ละคณะในด้านกิจกรรมของนักศึกษา ที่เกี่ยวเนื่องและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ดังนั้นวัดป่าอดุลยารามจึงมีความสัมพันธ์อันดีต่อเนื่องมาโดยตลอด ตั้งแต่ ก่อตั้งวัดในปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ จนถึงปัจจุบัน ท�ำให้บรรดาชาวมหาวิทยาลัย ขอนแก่นทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และพุทธศาสนิกชน ได้มีความเลื่อมใสศรัทธา กับวัดนี้ การประกอบพิธีถวายกฐินของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในปีนี้ นอกจากจะ เป็นการสร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ในพระพุทธศาสนา ยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติตามมติสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ เสาหลัก ที่ ๓ ที่ว่าด้วยการเป็นองค์กรที่ห่วงใยและดูแลชุมชน ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้จึงขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่าน ทุกองค์กรที่มี ส่วนร่วมให้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ตลอดกาลนาน

(ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี) นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น


สารอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะได้ทอดกฐินประจ�ำปี ณ วัดป่าอดุลยาราม อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าอดุลยาราม เป็นวัดทีม่ บี ทบาทกับทางมหาวิทยาลัย ขอนแก่นกล่าวคือ วัดให้ความอนุเคราะห์แก่ทางมหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นวัดที่ บริการสาธารณประโยชน์แก่บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดีเสมอ มา ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนก็คอื ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนอุปถัมภ์ บ�ำรุงพุทธศาสนาด้วยปัจจัย ๔ เป็นการให้วัตถุ พระสงฆ์ก็ต้องตอบแทนประชาชน ด้วยการให้ธรรม คือการแสดงธรรม ปฏิบัติธรรมให้ประชาชนเห็นเป็นตัวอย่าง นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับด้านการศึกษาในอดีต และด้านสังคมประชาชนได้ใช้วัด เป็นทีพ่ บปะผูค้ น สถานทีจ่ ดั งานรืน่ เริง งานบุญ ตลอดจนความสัมพันธ์ดา้ นการผลิต ศิลปกรรม ศิลปะต่าง ๆ เช่น กุฏวิ หิ าร เป็นต้น เมือ่ มีความสัมพันธ์กนั ดีแล้ว พระสงฆ์ ก็จะสร้างบทบาทต่อสังคมในทางสร้างสรรค์ ในฐานะผู้น�ำทางสติปัญญา เพื่อด�ำรง พุทธศาสนาให้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของสังคมไทยมีสติปัญญาในการด�ำเนินชีวิต ในการนีม้ หาวิทยาลัยขอนแก่นได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชน และผูม้ จี ติ ศรัทธา ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย ร่วมอนุโมทนาบุญและร่วมพิธีถวายผ้ากฐิน ทอดถวาย ณ วัดป่าอดุลยาราม อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึง่ ได้รบั ความร่วมมือ เป็นอย่างดีจากนักศึกษาและบุคลากรรวมถึงผู้มีจิตศรัทธา นอกจากร่วมอนุโมทนา บุญครัง้ นีแ้ ล้ว ยังเป็นการรักษาไว้ซงึ่ มรดกทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีงามของชาวพุทธอย่างแท้จริง


ค ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบพระคุณผูท้ มี่ สี ว่ นร่วมทุกภาคส่วน ที่ท�ำให้การจัดงานกฐินของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ในครั้งนี้ ประสบความส�ำเร็จไปได้ด้วยดี ขออ�ำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ในสากลโลกได้โปรดดลบันดาลและอภิบาลรักษาให้ท่านและครอบครัว จงประสบ ศุภสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผลในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ

(รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น


สารรองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ กฐินเป็นประเพณีทสี่ ำ� คัญของพุทธศาสนิกชนทีส่ บื ทอดกันมาอย่างยาวนาน ถือว่าเป็นทานพิเศษ ก�ำหนดเวลา ๑ ปี ทอดได้เพียงครัง้ เดียวถือเป็นประเพณีสำ� คัญ ในฮี ต ๑๒ ของชาวอี ส านเชื่ อ ว่ า การท� ำ บุ ญ ทอดกฐิ น คงจะมี ส ่ ว นช่ ว ยเสริ ม ความงดงามทัง้ พุทธศาสนสถาน และความเจริญงอกงามแห่งจิตใจของพุทธศาสนิกชน จึงนับว่าเป็นประเพณีนยิ มในการบ�ำเพ็ญกุศลทีด่ งี ามเป็นสาธารณประโยชน์รว่ มกับ การบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นรากฐานส�ำคัญ ของวัฒนธรรมไทย การน�ำกฐินไปทอดถวายเป็นบุญกุศลบุคคลที่ทอดกฐินครั้งหนึ่งในชีวิต จะปรารถนาพระโพธิญาณก็ย่อมได้ การทอดกฐินนั้นเป็นอ�ำนาจบุญกุศลที่ได้ถวาย ผ้ากฐินเป็นบุญกุศลอันใหญ่หลวง ผูถ้ วายปรารถนาความส�ำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้ส�ำเร็จได้ดังความปรารถนา ในปีพทุ ธศักราช ๒๕๖๐ นี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะได้มกี ารจัดทอดกฐินถวาย ณ วัดป่าอดุลยาราม ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในการนี้ ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม โดยส�ำนักวัฒนธรรมจึงได้จดั ท�ำหนังสือทีร่ ะลึกในงานทอดกฐิน “คนอีสานบ้านเฮา” อันประกอบด้วยเนือ้ หาทีก่ ล่าวถึงกลุม่ ผูค้ นในอีสานทีม่ หี ลากหลาย ที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่น่าสนใจในเรื่องของศิลปวัฒนธรรมของพวกเขา เช่น การแต่งกาย ประเพณี ความเชือ่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม ที่ ตั้ ง ถิ่ น ฐานของแต่ ล ะชาติ พั น ธุ ์ ได้ ก ่ อ ให้ เ กิ ด แบบแผนในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ทีม่ ที งั้ ความคล้ายคลึงและความแตกต่าง การเรียนรูถ้ งึ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ จะมีส่วนช่วยให้สามารถเข้าถึงแบบแผนของการด�ำเนินชีวิต ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างลึกซึ้ง ตลอดจนองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาจาก บรรพบุรุษ


จ เนื้อหาดังกล่าวจึงเหมาะสมที่จะน�ำมาเผยแพร่ในวาระที่เป็นสิริมงคล ในงานกฐินประจ�ำปี เพื่อเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานที่ส�ำคัญในการศึกษาศิลปะและ วัฒนธรรม อันสะท้อนถึงอัตลักษณ์วฒ ั นธรรมทางชาติพนั ธุอ์ สี านของแต่ละชาติพนั ธุ์ ในแผ่นดินที่ราบสูงนี้ ที่เราควรเผยแพร่ไปสู่ลูกหลานในอนาคต

(รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ) รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์


สารเจ้าอาวาสวัดป่าอดุลยาราม วัดป่าอดุลยารามเป็นวัดที่อยู่ติดกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สร้างขึ้นเพื่อ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน และเพื่อสาธารณประโยชน์แก่ชุมชน อีกทั้งทางวัดยังยังให้ความอนุเคราะห์แก่บุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ให้ ก ารสนั บ สนุ น และรั บ กิ จ นิ ม นต์ ใ นกิ จ กรรมต่ า ง ๆ ของทางมหาวิ ท ยาลั ย ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา จึงท�ำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นและวัดป่า อดุลยาราม มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนอุปถัมภ์บ�ำรุงพุทธศาสนา เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดงานทอดกฐิน เพื่อถวายผ้ากฐินแด่ พระสงฆ์ผู้จ�ำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดป่าอดุลยาราม ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ ๖ - ๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ นี้ การจั ด ท� ำ หนั ง สื อ ที่ ร ะลึ ก ในงานกฐิ น มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ฉบั บ นี้ เป็นการน�ำเสนอเนือ้ หาและเรือ่ งราวของชาติพนั ธุอ์ สี าน แด่พทุ ธศาสนิกชนชาวอีสาน โดยสังเขปนัน้ เป็นการสร้างบุญกุศลการทาน “ความรู”้ เพือ่ รับอานิสงส์อนั ประเสริฐยิง่ สมก�ำลังจิต ก�ำลังทรัพย์ทที่ มุ่ เท และเป็นการจรรโลงสืบทอดศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์อีสานให้มั่นคงถาวรสืบไป ขออนุโมทนาขอบคุณ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ณ โอกาสนี้เป็นอย่างยิ่ง

(พระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส) เจ้าอาวาสวัดป่าอดุลยาราม


ค�ำน�ำ จากหลักฐานทางโบราณคดี ท�ำให้ทราบว่าดินแดนอีสานในอดีตเคยเป็นแหล่ง ชุมชนที่มีความเจริญทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีมาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ เช่น การอยู่รวมกันเป็นชุมชนเกษตรกรรม การท�ำเครื่องปั้นดินเผา เพื่อประโยชน์ใช้สอย การปลูกข้าวแบบนาด�ำ และการท�ำเครื่องโลหะส�ำริด เป็นต้น ครัง้ เมือ่ รับเอาวัฒนธรรมภายนอกชุมชนเข้ามา จึงปรับตัวและพัฒนาเป็นชุมชนเมือง แบบรัฐและแบบอาณาจักร ภู มิ ภ าคอี ส าน เป็ น ดิ น แดนที่ มี อ าณาเขตกว้ า งขวาง มี ค วามสั ม พั น ธ์ ใกล้ชิดกับประเทศในกลุ่มประชาคมลุ่มน�้ำโขง ประชากรในภูมิภาคนี้มีวัฒนธรรม ที่หลากหลาย โดยมีกลุ่มวัฒนธรรมไท - ลาวเป็นหลักและกลุ่ม วัฒนธรรมย่อยที่ แตกต่างตามสภาพท้องถิ่นฐานเดิม กลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคนี้จ�ำแนกตามตระกูล ภาษาได้ ๒ ตระกูล คือ กลุ่มไต - กะได ที่ประกอบด้วยกลุ่มวัฒนธรรมไท - ลาว ไทโคราช และกลุ่มออสโตรเอเชียติก สาขามอญ - เขมร ที่ประกอบด้วยกลุ่มเขมร ถิ่นไทย กูย บรู อีสานนอกจากการเป็นดินแดนอันกว้างขวางที่มีวัฒนาการทางสังคม อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีต การเดินทางติดต่อระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ ท�ำให้อีสานไม่ใช่ดินแดนที่อยู่โดดเดี่ยว พื้นที่สูง ที่ราบบนผืนแผ่นดินใหญ่และแนว ชายฝั่งทะเล เป็นองค์ประกอบที่ท�ำให้มีการติดต่อไปมาหาสู่กันอย่างกว้างขวาง กลุม่ ชนไต - กะได เป็นกลุม่ ชนหลักในภูมภิ าค ในขณะเดียวกันก็มกี ลุม่ ชนอืน่ ๆ เช่น กลุ่มออสโตรเอเชียติก สาขามอญ - เขมร กระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคนี้ การผสมผสานทางวัฒนธรรมและพัฒนาการทางสังคมที่สั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้กลุ่มชนต่าง ๆ สร้างสรรค์อารยธรรมขึ้นมาอย่างมีเอกลักษณ์จนกลายเป็น วัฒนธรรมของภูมิภาค


ซ ดังนั้น เอกสารชุดนี้ได้มีการเรียบเรียงใหม่ ในประเด็นเฉพาะของกลุ่ม ชาติพันธุ์อีสาน โดยยึดเอาจากข้อมูลและเอกสารประกอบนิทรรศการ ห้องอีสาน นิทัศน์ พิพิธภัณฑ์ถาวรที่ส�ำนักวัฒนธรรมรวบรวมข้อมูลเนื้อหาอีสานทั้ง ๙ ส่วน ส่วนที่ ๑ โถงต้อนรับและห้องบรรยาย ส่วนที่ ๒ ภูมิศาสตร์กายภาพ ส่วนที่ ๓ โบราณชีววิทยา โบราณคดีและประวัติศาสตร์ ส่วนที่ ๔ ชาติพันธุ์วิทยา ส่วนที่ ๕ ประเพณีวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมอีสาน ส่วนที่ ๖ ดนตรีและการแสดง ส่วนที่ ๗ ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน ส่วนที่ ๘ อีสานยุคปัจจุบัน และส่วนที่ ๙ มุมสืบค้น ในนามของคณะผูจ้ ดั ท�ำขอขอบคุณ คณาจารย์ทไี่ ด้รวบรวมข้อมูลเบือ้ งต้น ไว้อย่างดี คือ อดีตผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักวัฒนธรรม ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ชลิต ชัยครรชิต ผูช้ นี้ ำ� ทางโบราณคดีและประวัตศิ าสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ข้อมูลด้านกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ในอีสาน ซึ่งมีการจัดพิมพ์เผยแพร่ในชื่อสังคมและวัฒนธรรมอีสานถึงสองครั้ง ด้วยกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ คณะผูจ้ ดั ท�ำจึงหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าองค์ความรูก้ ลุม่ ชาติพนั ธุอ์ สี านในหนังสือ “คนอีสานบ้านเฮา” นี้จะเป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ท�ำให้ เยาวชนและชาวอีสานมีความรูค้ วามเข้าใจในวัฒนธรรมซึง่ กันและกันได้อย่างลึกซึง้ การท�ำความเข้าใจผู้คนในอีสาน ที่เรียกว่ากลุ่มชาติพันธุ์จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ก่อ ให้เกิดความเข้าใจและเกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างความสามัคคีปรองดองของ คนอีสานที่จะขับเคลื่อนไปในอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในการศึกษา ค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคอีสานในโอกาสต่อไป นายวิทยา วุฒิไธสง และ นายณัฐวุฒิ จารุวงศ์


สารบัญ สารนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น สารอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น สารรองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ สารเจ้าอาวาสวัดป่าอดุลยาราม ค�ำน�ำ ประวัติวัดป่าอดุลยาราม มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับวัดป่าอดุลยาราม ชีวประวัติ (พระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส)

หน้า ก ข ง ฉ ช ๑ ๓ ๔

๑. ภูมิศาสตร์กายภาพและวัฒนธรรม ๑.๑ ลักษณะทางกายภาพแอ่งโคราช / แอ่งสกลนคร ๑.๒ ภูมิประเทศของแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช ๑.๓ โขง สงคราม ชี มูล แม่น�้ำแห่งวิถีชีวิต ๑.๔ แม่น�้ำในภาคอีสาน ๑.๕ แหล่งน�้ำอื่น ๆ ในภาคอีสาน ๒. ยุคดึกด�ำบรรพ์ - สมัยล้านช้าง ๒.๑ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ๒.๑.๑ สังคมล่าสัตว์ ๒.๑.๒ สังคมกสิกรรม ๒.๑.๓ สังคมเมือง ๒.๒ สมัยประวัติศาสตร์ ๒.๒.๑ วัฒนธรรมเจนละ ๒.๒.๒ วัฒนธรรมทวารวดี ๒.๒.๓ วัฒนธรรมเขมรสมัยพระนคร ๒.๒.๔ วัฒนธรรมไท - ลาว หรือวัฒนธรรมล้านช้าง

๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๕ ๑๙ ๑๙ ๒๐ ๒๔ ๒๖ ๓๖ ๓๗ ๔๑ ๔๓ ๔๕


สารบัญ (ต่อ) ๓. กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสาน ๓.๑ กลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (สาขามอญ - เขมร) ๓.๑.๑ เขมรถิ่นไทย ๓.๑.๒ กูย ๓.๑.๓ โซ่ กะโส้ ๓.๑.๔ บรู ๓.๑.๕ ญัฮกูรหรือชาวบน ๓.๒ กลุ่มตระกูลภาษา ไต – กะได ๓.๒.๑ ไทโคราช ๓.๒.๒ ไทลาว ๓.๒.๓ ไทโย้ย ๓.๒.๔ ไทย้อ ๓.๒.๕ กะเลิง ๓.๒.๖ ไทพวน ๓.๒.๗ ผู้ไท ๓.๒.๘ ไทแสก ๔. วัฒนธรรมและประเพณี ๔.๑ ฮีตสิบสอง ๔.๑.๑ เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม ๔.๑.๒ เดือนยี่ บุญคูนลาน ๔.๑.๓ เดือนสาม บุญข้าวจี่ ๔.๑.๔ เดือนสี่ บุญผะเหวด ๔.๑.๕ เดือนห้า บุญฮดสรง ๔.๑.๖ เดือนหก บุญบั้งไฟ

หน้า ๕๙ ๖๕ ๖๕ ๖๗ ๖๙ ๗๑ ๗๓ ๗๗ ๗๗ ๗๙ ๘๓ ๘๕ ๘๗ ๘๙ ๙๑ ๙๓ ๙๕ ๙๖ ๙๗ ๙๘ ๙๙ ๑๐๐ ๑๐๕ ๑๐๖


สารบัญ (ต่อ) ๔.๑.๗ เดือนเจ็ด บุญซ�ำฮะ ๔.๑.๘ เดือนแปด บุญเข้าพรรษา ๔.๑.๙ เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน ๔.๑.๑๐ เดือนสิบ บุญข้าวสาก ๔.๑.๑๑ เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา ๔.๑.๑๒ เดือนสิบสอง บุญกฐิน ๔.๒ คองสิบสี่ ๔.๓ ประเพณีอื่น ๆ ๔.๓.๑ ประเพณีแห่นางแมว ๔.๓.๒ ประเพณีผูกเสี่ยว ๔.๓.๓ พิธีกินดอง ๔.๓.๔ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ๔.๓.๕ ประเพณีลงแขก ๔.๓.๖ ต�ำนานประเพณีบุญบั้งไฟ บรรณานุกรม รายชื่อผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพเครื่องอัฐบริขาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ค�ำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะผู้จัดท�ำ

หน้า ๑๐๘ ๑๐๙ ๑๑๐ ๑๑๒ ๑๑๓ ๑๑๔ ๑๑๖ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๒ ๑๒๔ ๑๒๗ ๑๒๙ ๑๓๓ ๑๓๙ ๑๓๘ ๑๕๓ ๑๖๕



ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

1

ประวัติวัดป่าอดุลยาราม เดิมเขตพื้นที่บริเวณป่า (วัดป่าอดุลยาราม) สมัยก่อนที่จะเป็นวัดบริเวณ ดังกล่าวเป็นทีด่ นิ ของนายเฮียง พิมพ์สี ซึง่ มีพนื้ ทีท่ งั้ หมด ๒๗ ไร่ นายเฮียง พิมพ์สี ได้ บ ริ จ าคพื้ น ที่ ดังกล่า วให้เป็น พื้น ที่ส�ำหรับสร้า งวัด วัดป่าอดุลยารามนามนี้ ได้นามตามพระครูอดุลย์ สารนิเทศ เจ้าอาวาสวัดตราชูวนาราม เนื่องจากว่า พระครูสารนิเทศท่านเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ริเริ่มในการก่อตั้งวัดในพื้นที่บริเวณนี้ ท่านจึงนิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ มาจ�ำพรรษาอยู่เป็นประจ�ำทุกปี ช่วงนั้นพื้นที่ ดังกล่าวยังไม่มีโฉนดที่ดินที่ออกให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ วัดดังกล่าวจึงเป็นเพียง ที่พักสงฆ์ในระยะเริ่มแรก ราว พ.ศ. ๒๕๑๑ มีหลักฐานการเป็นที่พักสงฆ์ เนื่องจาก ปรากฏพระพุทธรูปทีท่ างบริษทั วันชัยก่อสร้าง ได้นำ� มาถวายให้กบั วัดป่าอดุลยราม และมีพระสงฆ์จ�ำพรรษาเป็นที่พักสงฆ์อยู่เรื่อยมา และในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ชาวบ้านหนองแวง สมัยนั้นได้มีมติไปกราบนิมนต์ พระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส จากวัดศรีบุญเรือง ต�ำบลนาซ�ำ อ�ำเภอหล่มเก่า จังหวัด เพชรบูรณ์ มาจ�ำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาส ในขณะที่ท่านมาอยู่ทางวัดยังไม่มี หลักฐานในการแสดงหลักฐานการเป็นส�ำนักสงฆ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับ อนุญาตให้มีการสร้างวัดบนเนื้อที่ ๒๗ ไร่ บนที่ดินที่นายเฮียง พิมพ์สี ได้บริจาค ทีด่ นิ ให้สร้างวัด ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้มปี ระกาศเป็นวัด โดยใช้ชอื่ ว่า “วัดป่าอดุลยาราม” ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๓๕๐ หมู่ ๑๖ ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และมี ก ารก่ อ สร้ า งกุ ฏิ ส งฆ์ หอระฆั ง หอฉั น และก� ำ แพงรอบวั ด แต่ ก็ ยั ง คง รักษาสภาพแวดล้อมเดิมไว้คือ ป่าไม้และต้นไม้


2

คนอีสานบ้านเฮา

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ พระอาธิการสุพตั ร์ ฐิตวโํ ส เจ้าอาวาสวัดได้บริจาคเขตพืน้ ที่ บริเวณของวัด ด้านทิศตะวันออก ๑ เมตร และด้านทิศใต้ ๑ เมตร ให้เป็น ที่ดินสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างถนนเทศบาล ปัจจุบันอาณาเขตพื้นที่บริเวณ วัดป่าอดุลยารามแต่ละทิศ จึงมีอาณาเขตบริเวณติดกับถนนเทศบาลทั้ง ๔ ทิศ หากกล่าวถึงวัดและชุมชน เป็นสถาบันทีจ่ ะต้องมีสว่ นร่วมและพึง่ พาอาศัยกัน กล่าวคือประชาชนรอบ ๆ วัดจะเป็นผู้อุปถัมภ์บ�ำรุงพุทธศาสนาด้วยปัจจัย ๔ เป็นการให้วัตถุกับพระสงฆ์และวัดวาอาราม และขณะเดียวกันพระสงฆ์ก็ต้อง ตอบแทนประชาชนด้วยการให้ธรรมคือ การแสดงธรรม ปฏิบัติธรรมให้ประชาชน เห็นเป็นแบบอย่าง ดังเช่นปัจจุบันที่วัดป่าอดุลยารามมีพระสงฆ์จ�ำพรรษาทั้งหมด ๒๕ รูป สามเณร ๒ รูป และลูกศิษย์ ๓ คน และมีชุมชนทั้งหมด ๑๖ ชุมชน เป็นผู้อุปถัมภ์ กับวัดป่าอดุลยาราม ซึ่งมีชุมชนต่าง ๆ ดังนี้ - ชุมชนสามเหลี่ยม ๑ - ชุมชนสามเหลี่ยม ๕ - ชุมชนเทพารักษ์ ๑ - ชุมชนเทพารักษ์ ๕ - ชุมชนหนองแวงตราชู ๑ และชุมชนหนองแวงตราชู ๓ - ชุมชนตะวันใหม่ - ชุมชนวัดป่าอดุลยาราม - มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

3

มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับวัดป่าอดุลยาราม คณะฯ หน่ ว ยงาน รวมทั้ ง นั ก ศึ ก ษาในมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น และ วัดป่าอดุลยาราม มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาโดยตลอด อีกทั้งพระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส เจ้าอาวาสวัดป่าอดุลยารามเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนนักศึกษา แต่ละคณะในด้านกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เกี่ยวเนื่องและ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เพื่อท�ำกิจกรรมต่างๆ เช่น งานพระราชทานเพลิง ศพครูใหญ่ กิจกรรมออกค่าย กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมขึ้นหอใหม่ งานกีฬา ฯลฯ อีกทั้งเมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาในบางครั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็จะกราบนิมนต์พระอธิการสุพตั ร์ ฐิตวโํ ส เจ้าอาวาสวัดป่าอดุลยารามและพระลูกวัด ไปรับกิจนิมนต์หรือเป็นประธานสงฆ์ในงานในพิธีต่าง ๆ ของแต่ละคณะที่มีการจัด พิธีกรรมทางพุทธศาสนา อีกทั้งวัดป่าอดุลยารามยังเป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์ บริการ และตั้ ง ใจที่ จ ะช่ ว ยเหลื อ สั ง คม เช่ น ถ้ า มี ศ พไร้ ญ าติ ท างวั ด ก็ จ ะมี ก ารบริ ก าร และท�ำทุกขั้นตอนให้ฟรี ตั้งแต่ปลงศพ บริการรถไปรับศพจากโรงพยาบาล รวมถึง ขั้นตอนและพิธีการเผาศพ เป็นต้น พระอธิการสุพัตร์ ฐิตว̊โส เจ้าอาวาสวัดป่าอดุลยาราม มีความประสงค์ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และรักษาธรรมชาติไว้ จึงไม่ประสงค์ปลูกสิง่ ก่อสร้าง ที่จะเป็นการตัดไม้ท�ำลายป่า และประสงค์ที่จะสร้างเตาเผาที่ไร้มลพิษเพื่อรักษา ธรรมชาติให้คงอยู่ และท่านยังเป็นพระนักเทศน์ให้ก�ำลังใจในการด�ำเนินชีวิต ของสาธารณชนทัว่ ไป เทศน์ตามค�ำสอนทางพุทธศาสนา เทศน์ให้กำ� ลังใจกับทุกคนทุกวัย ความเมตตาและเป็นผู้ให้และมิตรไมตรีที่ดีของพระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส ประชาชนและบุ ค ลากรในทุ ก ภาคส่ ว นของทางมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น จึ ง มี ความเคารพ เลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง


4

คนอีสานบ้านเฮา

ชีวประวัติ (พระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส) นาม พระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส ต�ำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดป่าอดุลยาราม สังกัด มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕๐ หมู่ที่ ๑๖ ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๔๐๐๐๐ อายุ ๖๓ ปี เกิดปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ ที่บ้านดอนหัน อ�ำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาในปี ๒๕๑๖ ได้ส�ำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนภูมิสิทธิ์พาณิชยการ ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านหนองแวง บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ ๙ ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ พระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมรถ วัดโพธิ์ศรี ต�ำบลบ้านเข็ง อ�ำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เมือ่ อุปสมบท พระอธิการสุพตั ร์ ฐิตวํโส ก็ได้ย้ายไปจ�ำพรรษาอยู่ที่วัดศรีบุญเรือง ต�ำบลนาซ�ำ อ�ำเภอหล่มเก่า เพชรบูรณ์ เป็นเวลา ๙ พรรษา ในปี ๒๕๒๙ จบนักธรรมชั้นโทที่ส�ำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง ต�ำบลนาซ�ำ อ�ำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หลังจากนั้นชาวบ้านหนองแวง ก็ได้กราบนิมนต์ พระอธิการสุพตั ร์ ฐิตวโํ ส กลับมาจ�ำพรรษาอยูท่ ว่ี ดั ป่าอดุลยาราม เนื่ อ งจากชาวบ้ า นหนองแวงเห็ น ว่ า พระอธิ ก ารสุ พั ต ร์ ฐิ ต วํ โ ส มี ภู มิ ล� ำ เนา บ้านหนองแวง จังหวัดขอนแก่น จึงนิมนต์ให้พระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส กลับมา ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เจ้ า อาวาส จ� ำ พรรษาอยู ่ ที่ วั ด ป่ า อดุ ล ยาราม เมื่ อ เป็ น เช่ น นั้ น พระอธิการสุพตั ร์ ฐิตวํโส จึงมีความคิดเห็นว่า กลับมาอยูบ่ า้ นเกิดท�ำนุบำ� รุงประโยชน์สขุ ด้านพระพุทธศาสนา เพื่อบ้านเกิดและชุมชน น่าจะเป็นการดี พระอธิการสุพัตร์ ฐิตวํโส จึงได้ย้ายกลับมาจ�ำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอดุลยาราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓


คนอีสานบ้านเฮา


ภูมิศาสตร์กายภาพและวัฒนธรรม


๑. ภูมิศาสตร์กายภาพและวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีชื่อเรียกกันตามลักษณะของ ภูมปิ ระเทศว่าทีร่ าบสูงโคราช (Khorat Plateau) เพราะมีพนื้ ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นทีร่ าบสูง โดยเริ่มจากบริเวณที่สูงและภูเขาทางทิศใต้และทิศตะวันตก ไปจนจรดแม่น�้ำโขง ทางตอนเหนือและตะวันออก โดยมีเทือกเขาภูพานเป็นแนวคัน่ ตามธรรมชาติ ท�ำให้ ภูมิประเทศของภูมิภาคนี้แบ่งออกเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ ๒ แอ่ง ที่ราบตอนบน มีชื่อเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” และที่ราบตอนล่างเรียกว่า “แอ่งโคราช” ได้มี การค้นพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีแม่น�้ำโขง แม่น�้ำมูล แม่น�้ำชี เป็นเส้นทางติดต่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในภูมิภาค และชุ ม ชนภายนอก ดั ง ปรากฏหลั ก ฐานการด� ำ รงชี พ และการตั้ ง ถิ่ น ฐานของ คนโบราณ มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ปรากฏหลักฐาน เช่น ภาพเขียนตามผนังถ�ำ้ และ เพิงผา เครือ่ งมือหินกะเทาะ รวมทัง้ ชุมชนโบราณทีก่ ระจายอยูต่ ามเขตลุม่ น�ำ้ ต่าง ๆ ทั้งแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช

๑.๑ ลักษณะทางกายภาพแอ่งโคราช / แอ่งสกลนคร

ภาคอีสานเป็นที่ราบสูงแบบแอ่งแผ่นดินตื้น (Shallow Basin) เรียกกัน โดยรวมว่า ทีร่ าบสูงโคราช (Khorat Plateau) มีรปู ร่างคล้ายถ้วยเป็นแอ่งอยูต่ รงกลาง ลาดเอี ย งจากทางตะวั น ตกไปทางตะวั น ออก บริ เ วณชายขอบเป็ น ภู เ ขาสู ง พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ปกคลุมด้วยหิน มีชนั้ หินกรวดมน หินดินดาน และเกลือหิน แทรกอยู่ เป็นตอน ๆ จากลักษณะทางธรณีวทิ ยาและอายุของหิน ท�ำให้ทราบว่าแผ่นดินอีสาน อยู่ในช่วงตอนปลายของมหายุคเมโสโซอิก ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ ของทวีปเป็นแอ่งทีม่ กี ารทับถมของตะกอน บางช่วงได้ยบุ จมลงเป็นทะเลตืน้ ๆ และ เมื่อน�้ำทะเลระเหย จึงตกตะกอนเป็นชั้นของเกลือหินแทรกอยู่ทั่วทั้งบริเวณที่ราบ


8

คนอีสานบ้านเฮา

ต่อมาในมหายุคซีโนโซอิก เกิดการบีบตัวของเปลือกโลกท�ำให้เกิดรอยเลือ่ น ของเปลือกโลกขึ้นทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค เป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันก�ำแพง และพนมดงรัก ขณะเดียวกันตอนกลางของที่ราบก็เกิด การโค้งตัวขึ้นเป็นสัน จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็น เทือกเขาภูพาน แบ่งแอ่งที่ราบต�่ำตอนกลางของภาคออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่อยู่ ตอนเหนือเรียกว่า “แอ่งสกลนคร” ส่วนที่อยู่ทางใต้เรียกว่า “แอ่งโคราช”1 ๑.๑.๑ แอ่งโคราช พื้นที่ราบเป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ ใน ๔ ส่วนของ ภาคอีสานทั้งหมด ถือว่าเป็นที่ราบกว้างที่สุดของประเทศไทย มีความสูงโดยเฉลี่ย ๑๒๐ – ๑๗๐ เมตร จากระดับน�้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ตรงกลางแอ่งเป็นที่ราบ ลุ่มต�่ำ มีแม่น�้ำมูล แม่น�้ำชี เป็นแม่น�้ำสายหลักที่ระบายน�้ำออกจากขอบที่ราบของ แอ่งและมีล�ำน�้ำอื่น ๆ ที่เป็นสาขาอีกมากมาย ลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ อยูต่ รงกลาง ขนาบด้วยทีล่ าดสูงทัง้ ด้านเหนือและด้านใต้ ตามบริเวณขอบแอ่งกระทะ ทีเ่ ป็นทีล่ าดลงมาจากทางด้านเหนือและใต้นนั้ จะมีลำ� น�ำ้ ทีเ่ ป็นสาขาของแม่นำ�้ มูลและ แม่นำ�้ ชีไหลผ่าน ท�ำให้บริเวณทีล่ ำ� น�ำ้ เหล่านัน้ ผ่านไปมีสภาพเป็นทีร่ าบลุม่ เช่นเดียวกับ บริเวณตอนต้นน�ำ้ ของแอ่งสกลนคร เห็นได้วา่ ทีร่ าบแอ่งโคราชนีค้ รอบคลุมพืน้ ทีด่ า้ น ตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อ�ำนาจเจริญ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ทางด้านตะวันออกล้อมรอบด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น สันก�ำแพง พนมดงรัก และเทือกเขาภูพาน2

อภิศักดิ์ โสมอินทร์. ภูมิศาสตร์อีสาน. หน้า ๓. ศรี ศั ก ร วั ล ลิ โ ภดม. อี ส าน : ความสั ม พั น ธ์ ข องชุ ม ชนที่ มี คู น�้ ำ คั น ดิ น กั บ การเกิ ด ของรั ฐ ในประเทศไทย. หน้า ๓๓. ๑


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

9

๑.๑.๒ แอ่งสกลนคร พืน้ ทีเ่ ป็นแอ่งทีร่ าบทีอ่ ยูท่ างตอนเหนือของภาค มีเทือกเขาภูพานกันออก จากแอ่งโคราช และมีแม่นำ้� โขงเป็นขอบแยกออกจากอาณาเขตประเทศลาวทางด้าน เหนือ มีขนาดเล็กกว่าแอ่งโคราชมาก โดยมีความสูงเฉลี่ยอยู่ในระดับ ๑๔๐ – ๑๘๐ เมตรจากระดับน�้ำทะเลปานกลาง แม่น�้ำที่ส�ำคัญที่สุดคือ แม่น�้ำสงคราม ที่ราบแอ่ง สกลนครนี้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม ลักษณะภูมปิ ระเทศทีส่ ำ� คัญของแอ่งสกลนครคือ มีหลุมแอ่งทีม่ ลี กั ษณะเป็นทะเลสาบ น�ำ้ จืดขนาดใหญ่ เช่น หนองหานหลวง สกลนคร และหนองหาน กุมภวาปี อุดรธานี เป็นต้น3

๑.๒ ภูมิประเทศของแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช4

๑.๒.๑ ภูมิประเทศแบบโคกสูงสลับแอ่ง ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป จะมีเนินเขาเตี้ย ๆ ซึ่งในภาษาถิ่นเรียกว่า โคก หรือ โพน สลับกับแอ่งที่ลุ่มซึ่งอาจ มีน�้ำขังอยู่เป็นหนอง บึง ขนาดต่าง ๆ กันไป ลักษณะเช่นนี้เกิดจากการพังทลาย ของหินอันเนื่องมาจากลมฟ้าอากาศ การกระท�ำของน�้ำและเกิดจากการละลาย ของเกลือหินใต้ดินโดยการกระท�ำของน�้ำใต้ดิน ท�ำให้พื้นดินยุบตัวเป็นแอ่งใต้ดิน ของภาคอีสานมีชั้นของเกลือหินอยู่ถึง ๓ ชั้น ตั้งแต่ระดับตื้น ๓๐ – ๔๐ เมตรจนถึง ระดับลึก ๘๐๐ เมตรขึ้นไป ในบางแห่งมีชั้นหินเกลือไปอัดแน่นท�ำให้พื้นผิวดินปูด สูงขึ้นกลายเป็นเนินดิน จากลักษณะภูมปิ ระเทศทีเ่ ป็นโคกสลับแอ่งนัน้ ท�ำให้เกิดผลส�ำคัญ ๒ ประการ ต่อภาคอีสาน คือจะมีแหล่งน�ำ้ ตามธรรมชาติกระจายอยูท่ วั่ ไปจ�ำนวนมาก แต่ในขณะ เดียวกันการมีชั้นของหินเกลือจ�ำนวนมากท�ำให้เกิดปัญหาภาวะดินเค็มก่อให้เกิด ผลเสียทางการเกษตรและเป็นอุปสรรคต่อการใช้น�้ำทั้งบนดินและน�้ำใต้ดิน

เรื่องเดียวกัน. หน้าเดียวกัน. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๓๘.


10

คนอีสานบ้านเฮา

๑.๒.๒ ภูมิประเทศแบบที่ราบลุ่มน�้ำ เป็นลักษณะภูมิประเทศซึ่งเกิดจาก การกระท� ำ ของล� ำ น�้ ำ ที่ กั ด เซาะทางด้ า นข้ า งและเกิ ด การทั บ ถมในแนวดิ่ ง จนท� ำ ให้ ที่ ร าบในแอ่ ง ทั้ ง สองมี ลั ก ษณะราบเรี ย บมาก แทบไม่ มี ค วามลาดชั น จึงเกิดอุทกภัยในพื้นที่เขตนี้เสมอ บริเวณทีร่ าบลุม่ น�ำ้ ในแอ่งโคราชประกอบด้วยทีร่ าบลุม่ แม่นำ�้ ชี ในเขตจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธร กับที่ราบลุ่มแม่น�้ำมูล ในเขตจังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เป็นที่ราบลุ่มแบบน�้ำ ท่วมถึงและแบบลานตะพักน�้ำ ที่ราบลุ่มแม่น�้ำมูล - ชี จะเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ เป็นแอ่งกระทะ มีเนือ้ ทีก่ ว้างขวาง ลักษณะแม่นำ�้ จะไหลโค้งตวัดไปมาและมีลกั ษณะ ภูมิประเทศที่เป็นแม่น�้ำลัดทางเดิน เกิดเป็นทะเลสาบขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป ในเขตที่ราบลุ่ม และในฤดูฝนจะมีน�้ำท่วมทั่วทั้งบริเวณที่ราบ ส�ำหรับที่ราบลุ่มน�้ำ ในแอ่งสกลนครเป็นที่ราบลุ่มน�้ำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไปตามล�ำน�้ำต่าง ๆ เช่น ที่ราบแม่น�้ำสงคราม ซึ่งเป็นที่ราบที่สุดในเขตแอ่งสกลนคร เป็นต้น เขตแอ่ ง สกลนครนี้ มี ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศพิ เ ศษคื อ เป็ น ที่ ร าบลุ ่ ม น�้ ำ ท่วมถึง ซึ่งมีทางระบายน�้ำติดต่อกับทะเลสาบเล็ก ๆ มากมาย ที่กระจัดกระจายอยู่ ทัว่ บริเวณแอ่งสกลนคร ในช่วงฤดูแล้งและจะกลายเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ ในช่วง ฤดูฝนกลายเป็นแหล่งการประมงที่ส�ำคัญอย่างยิ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

๑.๓ โขง สงคราม ชี มูล แม่น�้ำแห่งวิถีชีวิต5

แม่น�้ำเป็นเส้นทางแห่งวิถีชีวิตและบ่อเกิดแห่งอารยธรรม อีสานมีล�ำน�้ำ และแม่น�้ำสายส�ำคัญ อันเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตและเป็นต้นก�ำเนิดแห่งวัฒนธรรม อันสืบเนื่องมายาวนานในภูมิภาคนี้ โดยมีแม่น�้ำสายส�ำคัญอันประกอบไปด้วย แม่น�้ำสงคราม แม่น�้ำชี แม่น�้ำมูล และแม่น�้ำโขง

ประสิทธิ์ คุณุรัตน์. ภูมิศาสตร์กายภาพภาคอีสาน. หน้า ๑๔๒.


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

11

ลักษณะทางอุทกวิทยาของภูมิภาคอีสานสัมพันธ์กับแม่น�้ำโขง เนื่องจาก ระบบการระบายน�้ ำ ออกจากพื้ น ที่ เป็ น ล�ำ ห้ ว ยและแม่ น�้ ำ ที่ สั ม พั น ธ์ กั บ แม่ น�้ ำ สาขาของแม่น�้ำโขง จากลุ่มแม่น้�ำภายในไหลลงสู่แม่น�้ำโขง มีแม่น�้ำมูลเป็นสาขา ส�ำคัญที่สุด และมีแม่น�้ำชีเป็นสาขาสมทบของแม่น้�ำมูล ส่วนทางตอนบนมีแม่น�้ำ สงครามเป็นสาขาที่ส�ำคัญ พื้นที่ต้นน�้ำของภาคอีสานมีอยู่ด้วยกัน ๓ เขต คือ ๑. เขตสันปันน�ำ้ ของเทือกเขาด้านตะวันตก เป็นต้นก�ำเนิดส�ำคัญของแม่นำ�้ มูลและชี ๒. เขตสันปันน�ำ้ ของเทือกเขาทางด้านใต้ เป็นต้นก�ำเนิดของล�ำน�ำ้ สาขาย่อย ของแม่น�้ำมูล ๓. เทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน�้ำของทั้งแอ่งสกลนครทางตอนบนและ แอ่งโคราชทางตอนล่าง โดยล�ำน�้ำในแอ่งโคราชไหลลงสู่แม่น�้ำชี ส่วนน�้ำในตอนบน แอ่งสกลนครไหลลงสู่แม่น�้ำสงครามและแม่น�้ำโขงโดยตรง

๑.๔ แม่น�้ำในภาคอีสาน

๑.๔.๑ แม่น�้ำโขง เป็นแม่น�้ำนานาชาติที่มีความยาวถึง ๔,๕๙๐ กิโลเมตร นับเป็นอันดับ ๑๐ ของโลก และมีปริมาณน�้ำมากเป็นอันดับ ๖ ของโลก ไหลผ่าน ดินแดนของประเทศต่าง ๆ เป็นเส้นกั้นพรมแดนตามธรรมชาติ ระหว่างจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แม่น�้ำโขงแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ แม่น�้ำโขง ตอนบนในเขตประเทศจีน พม่า และลาว และแม่น�้ำโขงตอนล่างในเขตประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม


12

คนอีสานบ้านเฮา

นอกจากความส�ำคัญทางด้านภูมศิ าสตร์ สังคม และเศรษฐกิจแล้ว แม่นำ�้ โขง ยังมีความส�ำคัญต่อคุณค่าทางจิตใจของชุมชนตลอดทั้งสองฝั่งโขง เป็นบ่อเกิด อารยธรรมของคนหลายเชือ้ ชาติในแถบลุม่ น�ำ้ แห่งนี้ แนวความคิด ปรัชญา โลกทัศน์ คติความเชื่อ ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่คลายคลึงกัน สะท้อนออกมาในรูปการ ให้ความเคารพนับถือแม่น�้ำ เช่น ความเชื่อในเรื่องของพญานาค และพิธีกรรม ในการจับปลาบึก ที่คล้ายคลึงกันตั้งแต่สิบสองปันนา พม่า ล้านนา จนถึงไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แม่น�้ำโขงตอนบนมีต้นก�ำเนิดจากเทือกเขาในเขตที่ราบสูงทิเบต บริเวณ เทือกเขาทังกลา บนยอดเขาทังกลาที่ระดับความสูงกว่า ๑๖,๗๐๐ ฟุตจากระดับ น�้ำทะเลปานกลาง เรียกเป็นภาษาพืน้ เมืองว่า ดเซซู แม่นำ�้ โขงช่วงนีม้ ลี กั ษณะแคบ และตื้นไหลเชี่ยว ผ่านโกรกเขาและซอกหินที่สูงชัน กว้างเพียงแค่ ๑๐๐ เมตร ไหลลงมาขนานกับแม่นำ�้ สาละวินและแม่นำ�้ แยงซีเกียง สูเ่ ขตมณฑลเสฉวนและแคว้น สิบสองปันนา จากนัน้ จึงเริม่ ค่อย ๆ กว้างออกและมีชอื่ ว่าแม่นำ�้ ลานฉางหรือเก๋าลุง ในช่วงนี้แม่น�้ำจะค่อย ๆ ลดระดับลงเรื่อย ๆ ทุก ๔๐๐ ฟุตต่อ ๑ องศาละติจูด ซึง่ ลักษณะพิเศษของแม่นำ�้ โขง แต่ยงั คงมีกระแสน�ำ้ เชีย่ วและแคบอยูจ่ งึ ไม่ได้ใช้สำ� หรับ การคมนาคมมากนัก จากนัน้ ไหลลงสูท่ างใต้ เป็นเส้นกัน้ พรมแดนระหว่างพม่าและลาว และลงมาถึงสามเหลี่ยมทองค�ำ (สบรวก) ที่อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายและ เข้าสู่บริเวณแม่น�้ำโขงตอนล่าง


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

13

แม่น�้ำโขงตอนล่างจะค่อย ๆ กว้างออกเพราะมีแม่น�้ำสาขาจ�ำนวนมาก ทั้งในเขตไทยและลาว ไหลลงสู่แม่น�้ำโขงในบริเวณนี้ จึงมีความกว้างและกระแสน�้ำ ทีเ่ หมาะสมกับการคมนาคม แต่มอี ปุ สรรคส�ำคัญคือ เกาะแก่งต่าง ๆ ทีข่ วางอยูก่ ลาง ล�ำน�้ำจ�ำนวนมาก จากนั้นจะไหลเข้าสู่ลาวที่อ�ำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และวกกลับออกมาเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทย – ลาวอีกครั้งที่อ�ำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ผ่านหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อ�ำเภออ�ำนาจเจริญไปจนถึงอ�ำเภอ โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึง่ ยาวมากกว่า ๘๕๐ กม. รวมระยะทางทีเ่ ป็นเส้นกัน้ พรมแดนไทย - ลาว ทัง้ สิน้ ประมาณ ๙๕ กิโลเมตร แม่นำ�้ โขงช่วงนีม้ คี วามกว้างขวางมาก อยู่ในช่วงประมาณ ๘๐๐ - ๑,๒๐๐ เมตร กว้างที่สุดที่จังหวัดอ�ำนาจเจริญและ ในเขตจังหวัดมุกดาหารประมาณ ๒,๓๐๐ – ๒๖,๐๐๐ เมตร และไหลค่อนข้างเอื่อย ในช่วงหน้าแล้งจะมีปริมาณน�้ำน้อยลงแห้งจนกระทั่งเป็นดอนหรือหาดทรายกลาง ล�ำน�ำ้ และบางแห่งสามารถเดินข้ามได้ ดอนและชายหาดเหล่านีเ้ ป็นแหล่งเพาะปลูก ทีส่ ำ� คัญของเขตริมแม่นำ�้ โขง เพราะเป็นดินทีอ่ ดุ มสมบูรณ์จากการตกตะกอนของแม่นำ�้ และผลผลิตที่ได้จากบริเวณดอนเหล่านี้จะมีราคาสูงมากกว่าที่อื่น ๆ จากนั้นแม่น�้ำ โขงจะไหลลงสูท่ ะเลจีนใต้บริเวณปลายแหลมญวนห่างจากเมืองโฮจิมนิ ห์ซติ ปี้ ระมาณ ๘๕ กิโลเมตร แม่น�้ำสายสั้น ๆ ที่ไหลลงสู่ระบบแม่น�้ำโขงโดยตรงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทาง ตอนบนของภาค ได้แก่ - แม่น�้ำเลย มีต้นก�ำเนิดที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ไหลลงแม่น�้ำโขงที่ อ�ำเภอ ปากชม - แม่น�้ำเหือง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดน ไทย - ลาว ในเขตจังหวัดเลย - ห้วยหลวง ในเขตจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย - แม่นำ�้ ก�ำ่ ซึง่ มีตน้ ก�ำเนิดจากหนองหาน จังหวัดสกลนคร ไหลลงสูแ่ ม่นำ�้ โขงที่จังหวัดมุกดาหาร


14

คนอีสานบ้านเฮา

๑.๔.๒ แม่น�้ำมูล เป็นสาขาที่ส�ำคัญที่สุดของแม่น�้ำโขง มีต้นก�ำเนิดอยู่ ระหว่างเขาวงกับเขาละมั่งในเขตเทือกเขาสันก�ำแพงในเขตจังหวัดนครราชสีมา เป็นแม่น�้ำที่มีความยาวมากที่สุดในเขตภาคนี้คือ ยาว ๖๔๑ กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มน�้ำ ประมาณ ๗๐,๑๐๐ ตร.กม. วางตัวขนานกับแนวเขาพนมดงรัก แม่น�้ำมูลเป็นแม่น�้ำ ทีม่ คี วามลาดชันน้อยมากคือ ตลอดระยะความยาวของแม่นำ�้ จะลดระดับลงเฉลีย่ ๕๒ เมตร หรือ ๑๖ เซนติเมตร ต่อระยะทาง ๑ กิโลเมตรเท่านั้น ท�ำให้ที่ราบลุ่มในเขต แม่น�้ำมูลถูกน�้ำท่วมอยู่เป็นประจ�ำทุกปี เนื่องจากไม่สามารถระบายน�้ำออกได้ทัน กับปริมาณความจุของน�้ำ อีกทั้งบริเวณที่ลุ่มน�้ำยังมีชั้นหินดินดินลูกรังอยู่ท�ำให้ น�้ำไม่สามารถซึมได้อีกด้วย สาขาของแม่น�้ำมูลที่ส�ำคัญได้แก่ ล�ำตะคอง ล�ำจักราช ล�ำแซะ ล�ำพระเพลิง ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ล�ำปลายมาศในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ล�ำชีและล�ำน�ำ้ เสียว ในจังหวัดสุรนิ ทร์ ห้วยทับทัน ห้วยส�ำราญ ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ล�ำเซบก ล�ำเซบาย ล�ำโดมใหญ่ และล�ำโดมน้อย ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งแม่น�้ำที่ไหลลงสู่แม่น�้ำมูลในเขตจังหวัดยโสธรด้วย แม่น�้ำมูลไหลลงสู่แม่น�้ำ โขงในเขตอ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ๑.๔.๓ แม่น�้ำชี เป็นแม่น�้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่สองของภาค มีพื้นที่ ลุ่มน�้ำประมาณ ๕๕,๑๐๐ ตร.กม. มีต้นก�ำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ ค่อนข้างแห้งแล้ง ปริมาณของน�้ำในแม่น�้ำชีจึงมีไม่มากนัก ได้น�้ำจากสาขาส�ำคัญ ทางเหนือเป็นส่วนใหญ่คือ ล�ำน�้ำพองกับล�ำน�้ำปาว ล�ำน�้ำพองเป็นสาขาที่ส�ำคัญที่สุดของแม่น�้ำชี มีความยาว ๒๗๕ กิโลเมตร มีความส�ำคัญทางด้านเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะหลังจากการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ ส่วนล�ำน�้ำปาวนั้นแม่น�้ำสาขาที่ส�ำคัญเป็นอันดับสองของแม่น�้ำชีมีความยาว ๒๓๖ กิโลเมตร มีต้นน�้ำอยู่บริเวณเทือกเขาภูพาน และหนองหานกุมภวาปี ส่วนสาขา ส�ำคัญอื่น ๆ ของแม่น�้ำชี ได้แก่ ล�ำน�้ำพรมในเขตชัยภูมิ ล�ำน�้ำยังในเขตกาฬสินธุ์


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

15

๑.๔.๔ แม่นำ�้ สงคราม เป็นแม่นำ�้ ทีม่ คี วามส�ำคัญทีส่ ดุ ของภาคอีสานตอนบน มีต้นน�้ำในเขตเทือกเขาภูพานมีพื้นที่ลุ่มน�้ำประมาณ ๒๐,๔๑๑ ตร.กม. มีความยาว ๔๒๐ กิโลเมตร ตลอดสองฝั่งของแม่น�้ำ โดยเฉพาะในเขตสกลนครและนครพนม จะมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าและเป็นที่ราบน�้ำท่วมถึง ทันทีที่มีฝนตกและมีระดับน�้ำ สูงขึ้นกลายเป็นทะเลสาบเล็ก ๆ จ�ำนวนมาก เป็นแหล่งท�ำการประมงที่ส�ำคัญมาก ที่สุดของภาคอีสาน ล�ำน�้ำสาขาที่ส�ำคัญได้แก่ ล�ำน�้ำอูน ซึ่งมีก�ำเนิดอยู่บนเทือกเขา ภูพาน ความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมตร

๑.๕ แหล่งน�้ำอื่น ๆ ในภาคอีสาน6

๑.๕.๑ แหล่งน�้ำผิวดิน แหล่งน�้ำผิวดินของภาคอีสานมีค่อนข้างมาก เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ ที่เป็นโคกสลับกับแอ่งและปริมาณน�้ำฝนที่ตกอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงมาก จึงมีแหล่งน�้ำผิวดินปรากฎอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน แต่ปริมาณน�้ำที่ไหลบ่าและท่วม อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตทีร่ าบลุม่ ตลอดจนคุณภาพของดินทีก่ กั เก็บน�ำ้ ได้ตำ�่ มีอัตราการสูญเสียน�ำ้ สูง ท�ำให้นำ�้ ผิวดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักแห้งขอด ในช่วงฤดูแล้ง ประกอบกับการที่ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งต้นน�้ำล�ำธารถูกท�ำลายลงไป มาก จึงท�ำให้ภาคอีสานต้องประสบปัญหาภัยแล้งมากกว่าภูมิภาคอื่นของประเทศ ๑.๕.๒ แหล่งน�้ำใต้ดิน มีความส�ำคัญอย่างมากในปัจจุบันเพราะเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหา เรื่องการขาดแคลนน�้ำในฤดูแล้งของภาคอีสาน การส�ำรวจแหล่งน�้ำใต้ดินท�ำอยู่ ๒ ชั้นด้วยกันคือ ๑. ชั้นน�้ำใต้ดินระดับพื้น เป็นชั้นที่ได้รับน�้ำจากการแทรกซึมของน�้ำ ในช่วงต้นฤดูฝน สามารถขุดพบได้โดยการขุดบ่อแบบธรรมดาของชาวบ้าน ซึง่ น�ำ้ ใต้ดนิ ชั้นนี้ จะไวต่อความแห้งแล้งสูง เมื่อฝนหยุดตกน�้ำก็จะค่อย ๆ แห้งไปด้วย

รัตนา รุจิรกุล. ภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หน้า ๑๔๗.


16

คนอีสานบ้านเฮา

๒. ชัน้ น�ำ้ ใต้ดนิ ระดับลึก หรือน�ำ้ บาดาล อยูใ่ นชัน้ หินระดับลึก การเปลีย่ นแปลง ของระดับน�้ำน้อย แม้ว่าจะอยู่ในฤดูแล้งก็ตาม แต่ทว่าแหล่งน�้ำใต้ดินประเภทนี้ ต้องขุดลึกมากและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งต้องส�ำรวจกัน อย่างละเอียดถึงปริมาณน�้ำและชั้นหินเกลือใต้แผ่นดินด้วย เพราะการสูบน�้ำ อาจท�ำให้ดินทรุดและไปละลายชั้นเกลือหินท�ำให้คุณภาพน�้ำไม่ดีกลายเป็นน�้ำเค็ม และอาจท�ำให้ดินมีความเค็มสูงมากขึ้นกว่าเดิม



ยุคดึกด�ำบรรพ์ - สมัยล้านช้าง


๒. ยุคดึกดำ�บรรพ์ - สมัยล้านช้าง ๒.๑ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Period)

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไม่มีผู้ใดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอนว่า เกิดขึ้นเมื่อไรและสิ้นสุดลงเมื่อไร ดังนั้นจึงจ�ำเป็นต้องใช้วิธีการก�ำหนดอายุโดย ทางวิทยาศาสตร์ เช่น จากตัวอย่างถ่านและจากเศษภาชนะดินเผา อย่างไรก็ตาม เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในอีสานจากการส�ำรวจขุดค้นของโครงการโบราณคดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๔ และจากผลงานของนักโบราณคดี แนวความคิดและเชือ่ ถือแต่เดิมมองสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ในอีสานออกเป็น ๔ สมัย โดยใช้วิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีอย่างเดียวเป็นหลักในการแบ่ง คือ ๑. สมัยหินเก่า (Palaeolithic) ๒. สมัยหินกลาง (Mesolithic) ๓. สมัยหินใหม่ (Neolithic) ๔. สมัยโลหะ (Metal age) ความคิดและความเชื่อในล�ำดับสมัยต่าง ๆ เป็นความเชื่อของชาวยุโรปซึ่ง เข้ามาท�ำงานทางด้านโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กย็ งั มีนกั โบราณคดี ยึดถือมาจนถึงปัจจุบันโดยไม่ได้ค�ำนึงถึงอายุ เทคโนโลยี การด�ำรงชีวิต การตั้ง ถิ่นฐานและสภาพแวดล้อม เครื่องช่วยพิจารณาล�ำดับสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย รวมทัง้ อีสานทางโบราณคดีแบ่งล�ำดับสมัยประวัตศิ าสตร์ในอีสานออกได้เป็น ๒ สมัย คือ สังคมล่าสัตว์ และสังคมกสิกรรม โดยอาศัยความเจริญวัฒนธรรมในการแบ่ง


20

คนอีสานบ้านเฮา

๒.๑.๑ สังคมล่าสัตว์ ในสมัยยุคหินเก่าและสมัยหินกลาง หรือเป็นที่รู้จักเป็นวัฒนธรรมโหบิเนียน สมัยหินเก่าและหินกลางมีสภาพความเป็นคล้ายคลึงกัน แต่ลักษณะของเครื่องมือ ต่างกันเล็กน้อย จากหลักฐานที่พบในประเทศไทยและภาคอีสานนั้นพบเครื่องมือ สับตัดในสมัยหินเก่าและเครือ่ งมือกะเทาะหน้าเดียวของวัฒนธรรมโหบิเนียนในสมัย หินกลาง เครือ่ งทัง้ สองแบบมีลกั ษณะทีค่ ล้ายคลึงกัน แต่เครือ่ งมือในวัฒนธรรม โหบิเนียน ประณีตกว่าเล็กน้อย เมือ่ อาศัยความเจริญทางวัฒนธรรมเป็นหลักในการแบ่งล�ำดับ สมัยเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในอีสาน จึงรวมสมัยหินเก่าและหินกลางเข้าด้วยกัน นักโบราณคดีไม่สามารถค้นหาทีอ่ ยูอ่ าศัยของชุมชนในสังคมล่าสัตว์ได้ นอกจากพบ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้เท่านัน้ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้สว่ นมากทีพ่ บท�ำจากหินกรวดแม่นำ�้ กะเทาะ หน้าเดียว พบทีร่ มิ แม่นำ�้ โขง อ�ำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และทีแ่ หล่งนายกองศูนย์ (ติดกับริมแม่น�้ำโขง) ต�ำบลดอนตาล อ�ำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม แหล่ง โบราณคดี ทัง้ นีส้ นั นิษฐานว่าเป็นแหล่งท�ำเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ไม่ใช่แหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัย แหล่งที่อยู่อาศัยของสังคมล่าสัตว์อยู่ในบริเวณที่สูง เช่น บริเวณถ�้ำหรือเพิงผาหรือ บริเวณริมน�ำ้ มากกว่าจะเร่รอ่ นไปเรือ่ ย ๆ เพราะเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ในสังคมล่าสัตว์ ไม่สามารถทีจ่ ะป้องกันสัตว์รา้ ยต่าง ๆ จึงจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะหาทีอ่ ยู่ อาศัยอย่างถาวร ไม่สามารถที่จะหาที่อยู่อาศัยของชุมชนในสมัยนั้นนั่นเอง นักโบราณคดีค้นพบวัฒนธรรมโหบิเนียนตามบริเวณแหล่งโบราณคดีที่เป็น ถ�้ำต่าง ๆ แต่ขุดค้นเฉพาะเพิงหินเล็ก ๆ เพียงแห่งเดียวคือ ถ�้ำผี ซึ่งอยู่เลยขึ้นไป จังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ผลการขุดค้นพบว่ามีการทับถมของ ชั้นดินเป็นจ�ำนวน ๕ ชั้น และนักโบราณคดีได้จัดชั้นดินทั้งสิ้น ออกเป็น ๒ ระดับ ชั้นดินที่ ๑ เป็นชั้นที่อยู่อาศัยล่าสุดมีอายุประมาณ ๖,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช และชั้นดินที่ ๔ เป็นชั้นที่อยู่อาศัยในระยะแรก มีอายุประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีก่อน คริสต์ศักราชและอยู่ในสมัยยุคไพลสโตซีนตอนปลาย


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

21

ในการหาอายุแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมโหบิเนียนได้มีการหาอายุควบคู่ไป กับที่พบที่พาดาห์ – ลิน ในประเทศพม่า โดยใช้วิธีเรดิโอคาร์บอน ได้อายุประมาณ ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่ถ�้ำองบะ ในประเทศไทยอายุ ๑๖๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งสนับสนุนของการตั้งถิ่นฐานในระยะแรกของวัฒนธรรมโหบิเนียน ที่แหล่งโบราณคดีถ�้ำผี นักโบราณคดีได้พบลักษณะวัฒนธรรมโหบิเนียน เช่น เครือ่ งมือหินท�ำจากสะเก็ดหินและเครือ่ งมือแกนหินกะเทาะหน้าเดียว จากการ วิเคราะห์เครือ่ งมือหิน โดยเฉพาะเครือ่ งมือสะเก็ดหิน โดยเฉพาะด้านประโยชน์ของ การใช้สอยและร่องรอยที่ปรากฏบนเครื่องมือที่ท�ำจากสะเก็ดหิน นักโบราณคดีได้ เสนอความคิดเห็นว่าเครื่องมือสะเก็ดหินที่พบนั้นอาจจะใช้เป็นอาวุธติดกับวัสดุที่ เน่าเปื่อยง่าย เช่น ไม้ แต่ก็ไม่ได้ขุดค้นพบหัวธนูและใบหอก ซึ่งอาจใช้ติดกับไม้ไผ่ เป็นอาวุธไม้ไผ่ ในปัจจุบันมีชนกลุ่มหนึ่งในอินโดนีเซียยังมีการใช้ไม้ไผ่เป็นอาวุธ แต่ก็ได้มีการขุดค้นพบถ่านที่ท�ำจากไม้ไผ่ที่ใช้กับเครื่องมือหินเป็นอาวุธใช้ในการ ล่าสัตว์ นักโบราณคดีเชื่อว่าวัฒนธรรมโหบิเนียนอาจแตกต่างในประการต่าง ๆ กัน เช่น ในด้านเครื่องมือ ซึ่งอาจไม่ใช่มีเพียงเครื่องหินอย่างเดียว อาจมีเครื่องมือ ที่ท�ำจากไม้ แต่ได้สลายตัวไปตามกาลเวลาจึงไม่พบหลักฐานที่ท�ำด้วยไม้ได้มีการ พบหลักฐานใหม่ที่แหล่งโบราณคดีถ�้ำผี อายุประมาณ ๗,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช คือได้พบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ เครื่องมือหินที่มีการขัดที่ขอบและมีดที่ ท�ำจากหินชนวน ซึง่ พบอยูบ่ นพืน้ ผิวของชัน้ ดินที่ ๒ หลักฐานยังเป็นทีส่ งสัย เป็นการ เปลี่ยนแปลงเฉพาะท้องถิ่นของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งแพร่ไปยังบริเวณหนึ่งหรือเป็น เทคโนโลยีของกลุ่มชนที่เจริญกว่าแพร่เข้ามา หรืออาจเป็นอิทธิพลที่แพร่มาจาก กลุ่มชนหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่ง


22

คนอีสานบ้านเฮา

เนื่องจากกลุ่มวัฒนธรรมโหบิเนียน ได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางใน เอเชียอาคเนย์เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งบริเวณบางแห่งของหมู่เกาะต่าง ๆ ซึ่งมีอายุ ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช อายุของการตั้งถิ่นฐานในระยะแรก และระยะหลังมีความแตกต่าง จากการให้ค�ำจ�ำกัดความของกอร์แมนและคลาร์ก ให้ความจ�ำกัดความของ “เทคโนคอมเพลกซ์” ว่า “กลุ่มวัฒนธรรมโหบิเนียนที่ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน แต่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไปของแต่ละกลุ่ม” กอร์แมน ยืนยันว่า เมื่อประมาณ ๑๔,๐๐๐ – ๑๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช กลุ่มชนกลุ่มหนึ่งได้แพร่กระจายวัฒนธรรมโหบิเนียนไปทั่วเอเชียอาคเนย์ เมื่อ ประมาณ ๕,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ ปีกอ่ นคริสต์ศกั ราช กลุม่ ชนเหล่านีจ้ ะมีการท�ำเครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ อย่างใหม่ ๆ ขึ้น และแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ บริเวณใดเป็นแหล่งก�ำเนิดของวัฒนธรรมอย่างเช่น แหล่งโบราณคดีถ�้ำผี และที่แหล่งโบราณคดีถ�้ำปุงฮุง นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบเศษภาชนะดินเผาที่มี เทคนิคแบบใหม่และได้วเิ คราะห์วา่ เศษภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีถำ�้ ปุงฮุง มีอายุนอ้ ยกว่าเศษภาชนะดินเผาทีแ่ หล่งโบราณคดีถำ�้ ผี ทีแ่ หล่งโบราณคดีถำ�้ ปุงฮุง เป็นบริเวณที่รับการแพร่กระจายของวัฒนธรรมมาจากบริเวณอื่น การวิเคราะห์หลักฐานใหม่นกั โบราณคดีสว่ นมากไม่ให้ได้ความสนใจกับกระดูก สัตว์ ซึ่งพบในบริเวณถ�้ำจ�้ำจากแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ของวัฒนธรรมโหบิเนียน จึงเป็นการยากล�ำบากที่จะทราบถึงเศรษฐกิจในการศึกษาลักษณะของกระดูกสัตว์ มีแหล่งโบราณคดีโหบิเนียนไม่กี่แหล่งที่ได้รับความสนใจและศึกษา มีการล่าสัตว์ ต่าง ๆ ในบริเวณแถบที่อยู่อาศัย เช่น กวาง ลิงและหมู ซึ่งเป็นสัตว์มีชีวิตความเป็น อยู่ในป่าโปร่ง นอกจากนี้ยังพบวัวซึ่งอาศัยตามทุ่งหญ้า ค้างคาวอาศัยในถ�้ำ ปลา และพวกหอยซึ่งอาศัยอยู่ในล�ำน�้ำใกล้แหล่งโบราณคดี


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

23

ที่แหล่งโบราณคดีแลงเสปียนและที่แหล่งโบราณคดีถ�้ำปุงฮุง ได้พบกระดูก สัตว์ ซึ่งเหมือนกับสัตว์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีถ�้ำผี นักโบราณคดีได้ตรวจสอบ รูปแบบการด�ำรงชีพและกล่าวว่าชุมชนวัฒนธรรมโหบิเนียนมีการรู้จักใช้พืชและ สัตว์ให้เป็นประโยชน์ โดยสรุปว่าการด�ำรงชีพของชุมชนกลุ่มนี้อยู่บนพื้นฐานของ การล่าสัตว์ จับปลาและเก็บสะสมอาหาร ค�ำสรุปของนักโบราณคดีหมายความว่า ทรัพยากรธรรมชาติตา่ ง ๆ ได้ถกู น�ำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในแต่ละฤดูกาล คือฤดูแล้ง จะมีการล่าสัตว์ ฤดูฝนจะมีการจับปลาและเก็บพืชพันธุ์นานาชนิดมาเป็นอาหาร จะเห็นได้จากชุมชนในวัฒนธรรมโหบิเนียนมีการด�ำรงชีวติ ทีอ่ าศัยทรัพยากรธรรมชาติ รอบตัว กอร์แมนได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของวัฒนธรรม โหบิเนียนแบ่งออกได้ ๒ แบบใหญ่ ๆ คือ ๑. บริเวณที่เป็นเพิงหินที่เกิดจากก่อตัวของหินปูน ซึ่งอยู่ใกล้กับล�ำธาร เล็ก ๆ หรือบริเวณที่มีปา่ ปกคลุมและลักษณะภูมปิ ระเทศแบบกึง่ ภูเขาซึง่ โดยทั่วไป อยู่ใกล้กับแม่น�้ำล�ำธาร ๒. บริเวณที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเล อาจเป็นได้ว่า กลุ่มชนโหบิเนียนอาศัย อยูใ่ นสภาพแวดล้อมทัง้ สองแบบมาแต่สมัยแรก ๆ อาจเป็นได้วา่ อาศัยจ�ำกัดบริเวณ อยู่แต่เพียงในถ�้ำหรือเพิงหินเท่านั้น ท�ำให้สามารถสรุปสังคมล่าสัตว์ในภาคอีสาน ดังต่อไปนี้ ๑. เครื่องมือท�ำจากหินกรวดแม่น�้ำกะเทาะหน้าเดียว เครื่องมือสะเก็ดหิน และเครื่องมือไม้ซึ่งสลายตัวเน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา ๒. ชุมชนในสังคมล่าสัตว์จะอยู่ในสภาพแวดล้อม ๒ แบบ

ก. บริเวณถ�้ำหรือเพิงผาแถบเทือกเขาเพชรบูรณ์ ข. บริเวณที่อยู่ใกล้ริมน�้ำ เช่น แม่น�้ำโขง


24

คนอีสานบ้านเฮา

๓. ความเป็นอยู่ของสังคมล่าสัตว์จะมีความเป็นอยู่ที่ง่าย ๆ การด�ำรงชีวิต ของชุมชนอยู่บนพื้นฐานของการล่าสัตว์จับปลาและเก็บสะสมอาหาร โดยอาศัย ทรัพยากรธรรมชาติรอบตัวในแต่ละฤดูให้เป็นประโยชน์ นอกจากจะมีการด�ำรงชีวติ แล้วชุมชนในสังคมล่าสัตว์บางกลุ่มอาจจะมีความรู้ในการเพาะปลูก เช่น เผือก มัน ปลู ก ง่ า ยและไม่ ต ้ อ งดู แ ลมาก อี ก ประการหนึ่ ง คนเราต้ อ งการพื ช จ� ำ พวก คาร์โบไฮเดรทจะเอาโปรตีนจากสัตว์ที่ล่ามาย่อมไม่เพียงพอ จึงจ�ำเป็นที่จะต้อง อาศัยอาหารอื่นมาทดแทน ๔. อายุของสังคมล่าสัตว์ในภาคอีสานต้องพิจารณาเครื่องมือที่ได้จาก การส�ำรวจและขุดค้นจากแหล่งโบราณคดีบริเวณริมฝัง่ แม่นำ�้ โขง ทีอ่ ำ� เภอเชียงคาน จังหวัดเลยและที่แหล่งโบราณคดีนายกองศูนย์ ต�ำบลดอนตาล อ�ำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม จะเห็นได้จากเครื่องมือต่าง ๆ คล้ายกับเครื่องหินที่ได้จาก แหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมโหบิเนียนทั่วประเทศไทย ดังนั้นอายุเริ่มแรกของสังคม ล่าสัตว์ไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัด แต่สามารถประมาณได้ว่าสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ประมาณ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่พบหลักฐานของสังคมกสิกรรมแหล่งโบราณคดี โนนนกทา และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ๒.๑.๒ สังคมกสิกรรม สั ง คมเป็ น สั ง คมที่ ซั บ ซ้ อ นตรงกั บ ความเดิ ม ว่ า อยู ่ ใ นสมั ย หิ น ใหม่ แ ละ ยุคโลหะ การทีเ่ รียกสังคมกสิกรรมเพราะตัง้ แต่มกี ารท�ำงานทางด้านแหล่งโบราณคดี ในภาคอีสาน ทัง้ การส�ำรวจและขุดค้นเป็นเวลานานแต่กไ็ ม่สามารถทีจ่ ะค้นหาแหล่ง โบราณคดีสมัยหินใหม่ซึ่งมีเครื่องมือขวานหินขัดโดยไม่มีโลหะ เช่น ส�ำริด แหล่ง โบราณคดีสังคมกสิกรรมในภาคอีสานจากการส�ำรวจของนักโบราณคดี ส่วนมาก จะพบเครื่องมือขวานหินขัดและโลหะหรือพบขวานหินขัดและพบส�ำริด และเหล็ก ปะปนกัน แหล่งโบราณคดีบางแห่งได้พบมีการใช้ส�ำริดและเหล็กแยกจากกัน เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ต�ำบลบ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านนาดี ต�ำบลพังงู อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

25

ชุมชนในสังคมกสิกรรมพบจ�ำนวนมากในภาคอีสาน ชุมชนมีความเป็นอยู่ โดยการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์และการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า นอกจากนี้ยังมีการ จ�ำแนกแรงงานเป็นสัดส่วนท�ำให้เกิดงานอาชีพเฉพาะอย่าง เช่น ช่างท�ำภาชนะ ดินเผา ช่างทอผ้า ช่างท�ำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะ ชาวนาและพวกเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้องใช้เวลาเต็มที่ การตั้งบ้านเรือนของชุมชนในสังคมจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่และต้องมี ระเบียบของสังคมเป็นเครื่องก�ำหนดความประพฤติ มีพิธีกรรมเป็นแบบแผน เช่น มีประเพณีการฝังศพและมีผู้ปกครองดูแลและยอมรับกันในชุมชน จากหลักฐาน สิ่งของต่าง ๆ ที่พบฝังไว้กับศพซึ่งมีคุณค่าและจ�ำนวนที่ต่างกัน บางหลุมศพจะพบ มีสิ่งของใส่ลงไปมาก เช่น ภาชนะดินเผา ส�ำริดหรือเหล็ก แต่บางหลุมศพแทบจะ ไม่พบสิ่งของเพราะอาจจะมาจากฐานะความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว ประเพณีการฝังศพโดยการใส่สิ่งของลงไปในหลุมศพนั้นนอกจากจะแสดง ฐานะของบุคคลและครอบครัวแล้วยังแสดงให้เห็นถึงระบบสังคม อาจจะมีความ หมายไปในทางเป็นเครื่องเซ่นสังเวย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะคนในสังคมสมัยก่อน ประวัติศาสตร์มีความเชื่อว่าเมื่อญาติพี่น้องตายไปแล้ว ยังมีความต้องการอาหาร และสิ่งของอื่น ๆ เช่น คนเป็นถ้าไม่น�ำสิ่งของไปเซ่นสังเวยอาจท�ำให้บรรพบุรุษ ไม่พอใจ และดลบันดาลให้ประสบทุกข์ยาก เช่น ฝนแล้งหรือน�้ำท่วมได้ ซึ่งแสดงให้ เห็นระบบความเชือ่ ก็เกีย่ วพันกับปัญหาเศรษฐกิจและการกินดีอยูด่ ขี องคนในสังคม การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ของสังคมกสิกรรมในภาคอีสานได้เริ่มต้นมา แล้วเป็นพัน ๆ ปี โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก หลักฐานที่เกี่ยวกับการเพาะ ปลูกและเลี้ยงสัตว์มาจากหลายที่ด้วยกันและจะเริ่มขึ้นเมื่อ ๕,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว การเพาะปลูกพืชที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่คือข้าว มีพืชอย่างอื่นแต่ไม่พบหลักฐาน ที่พบหลักฐานเกี่ยวกับการเพาะปลูกข้าวได้มาจากแหล่งโบราณคดีโนนนกทาและ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เพราะที่แหล่งโบราณคดีมีการวิเคราะห์วิจัยหลักฐาน ที่พบมากกว่าแหล่งโบราณคดีแห่งอื่น ๆ ในภาคอีสาน ชุมชนในสังคมกสิกรรมเมื่อ ๕,๐๐๐ ปี ชุมชนในสังคมกสิกรรมมีการเพาะปลูกข้าวแบบเลือ่ นลอย (swidden rice


26

คนอีสานบ้านเฮา

cultivation) ชุมชนสังคมกสิกรรมจะปลูกข้าวโดยอาศัยน�้ำจากธรรมชาติและความ อุดมสมบูรณ์ของดินที่เหมาะสม ในการเพาะปลูกส่วนใหญ่จะใช้เมล็ดข้าวหว่าน ลงไป โดยไม่มีการไถพรวนดินก็ได้ ดังนั้นการปลูกข้าวหลังจาก ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว จึงได้เปลี่ยนมาเป็นระบบทดน�้ำ การปลูกข้าวระบบให้ผลผลิตที่สูงกว่าแบบแรก ไม่ต้องย้ายที่เพาะปลูกบ่อย ๆ แต่มีปัญหาคือ ต้องใช้แรงงานมาก ส่วนการเลี้ยงสัตว์โดยมีการวิเคราะห์จากแหล่งโบราณคดีโนนนกทาโดยขุด พบกระดูกวัวทีฝ่ งั รวมกับโครงกระดูก และมีสภาพสมบูรณ์ เมือ่ ๕,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ชุมชนสังคมกสิกรรมในอีสานมีการเลี้ยงวัวและหมูแต่ไม่ทราบว่าสืบเชื้อสายมา จากพันธุ์อะไร แต่มีถิ่นก�ำเนิดในประเทศไทย นอกจากมีการเลี้ยงหมูแล้วยังพบว่า มีการเลีย้ งหมา โดยมีการขุดพบกระดูกหมาทีแ่ หล่งโบราณคดีบา้ นเชียง หมาทีเ่ ลีย้ ง สืบเชื้อสายมาจากหมาป่าที่พบในอินเดียหรือจีน นับได้ว่าหมาเป็นสัตว์เลี้ยงชนิด เดียวทีถ่ ูกน�ำเข้ามาเลีย้ งจากที่อนื่ เมือ่ ๒,๕๐๐ – ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีสตั ว์อกี ชนิด หนึ่งที่ถูกน�ำมาเลี้ยงคือ ควาย ไม่พบหลักฐาน นอกจากจะมีการเพาะปลูกและเลีย้ งสัตว์เป็นเวลานาน ในสังคมกสิกรรมการท�ำ โลหกรรม เริ่มท�ำส�ำริด เมื่อ ๓,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ปี และเหล็กเมื่อ ๒,๕๐๐ – ๓,๖๐๐ ปี ซึง่ นับว่าเป็นโลหกรรมส�ำริดทีเ่ กิดขึน้ ก่อนแหล่งโบราณคดี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนโลหกรรมเหล็กนับได้ว่าเกิดขึ้นก่อนแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย7 ๒.๑.๓ สังคมเมือง ในพุทธศตวรรษที่ ๕ หรือประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนในสังคมกสิกรรม บางแห่งได้เกิดจากการพัฒนาตนเองขึ้นมาจนมีขนาดใหญ่มากกว่าแหล่งชุมชน อื่น ๆ ในสมัยนี้มีการก่อสร้างคันดินและคูน�้ำล้อมรอบแหล่งที่อยู่อาศัยของตน นับว่าเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ยุคสังคมเมืองของดินแดนแถบนี้ สาเหตุของการพัฒนา เกิดจากการเพิ่มจ�ำนวนประชากร ความเจริญทางเทคโนโลยีซึ่งมีมากขึ้น และ การที่ได้ติดต่อกับอารยธรรมที่สูงกว่าภายนอก เช่น อารยธรรมอินเดีย การได้รับ อารยธรรมนี้เป็นไปในหลาย ๆ ด้าน เช่น การติดต่อค้าขาย การรับรู้ทางวิทยาการ เอกสารวิชาการกองโบราณคดีหมายเลข ๑๑. อดีตอีสาน. หน้า ๑๒.


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

27

และการรับคติความเชือ่ ทางศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามาแทนคติ การนับถือภูตผีและบรรพบุรุษตามแบบเดิม อนึ่งมีผู้ให้ข้อสังเกตว่าในระหว่างระยะ เวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๑๕ บริเวณแถบภาคอีสานโดยเฉพาะแถบที่ราบ ลุม่ แม่นำ�้ มูลอาจตัง้ อยูบ่ นเส้นทางการค้าทีส่ ำ� คัญระหว่างจีนและอินเดียส่วนบริเวณ ทางตอนใต้คอื บริเวณแอ่งโคราชชุมชนขนาดใหญ่กอ่ ตัง้ ขึ้นหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ชุมชนแถบนี้ได้รับเอาวัฒนธรรมอินเดียเข้ามานั้น ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เป็นการรับเอาเข้ามาโดยทีช่ มุ ชนเหล่านีม้ คี วามเจริญก้าวหน้าทัง้ ในทางวัฒนธรรมและ เทคโนโลยีอย่างสูง จะเห็นได้จากความรูท้ างเกษตรกรรม โลหกรรม และเทคโนโลยี ด้านอืน่ ๆ ซึง่ ชุมชนอีสานมีมาแล้วตัง้ แต่สมัยสังคมกสิกรรม เมือ่ ก่อน ๒,๐๐๐ ปี การ รับเอาแบบแผนทางวัฒนธรรมอย่างเข้ามาจึงอยูใ่ นรูปทีเ่ ป็นการเลือกสรรซึง่ เห็นว่า มีประโยชน์นำ� มาประยุกต์ใช้ มิใช่เป็นการรับเอาวัฒนธรรมเหล่านั้นเข้ามาในสภาพ ที่ตนป่าเถื่อนไร้อารยธรรม ดังที่เคยเชื่อกันอย่างแพร่หลายตามแนวความคิดของ นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ตะวันตก การก่อตัง้ เมืองต่าง ๆ ในอีสานเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนมีจำ� นวนเมืองโบราณ แพร่กระจายกันอยู่มากมาย เท่าที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องเมืองโบราณในอีสาน ขณะนี้พบว่าบริเวณแถบนี้มีเมืองโบราณอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นมากกว่า ๒๐๐ เมือง และพบข้อสังเกตว่าเมืองโบราณเหล่านี้มีจ�ำนวนหนาแน่นมากในเขตลุ่มแม่น�้ำชี และมูลในอีสานตอนใต้ ส่วนอีสานตอนเหนือนั้นมีจ�ำนวนเมืองโบราณอยู่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบ ชุ ม ชนโบราณในสมั ย นี้ มี ก ารท� ำ นาเกลื อ รู ้ จั ก เครื่ อ งมื อ เหล็ ก และส� ำ ริ ด แต่พนื้ ฐานทางเศรษฐกิจทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ การปลูกข้าวและเลีย้ งสัตว์ การตัง้ เมืองคง มีผอู้ ยูใ่ นสภาพทีเ่ ป็นการตัง้ ศูนย์กลางการปกครองอยูท่ า่ มกลางชุมชนเกษตรกรรม ในตัวเมืองยังมีผู้อาศัยเฉพาะกลุ่มชนชั้นปกครอง ขุนนาง พ่อค้าและช่างฝีมือ บางประเภทเท่านั้น ประชากรส่วนมากคงกระจายออกไปท�ำเกษตรตามหมู่บ้าน โดยรอบแล้วส่งผลผลิตเข้าไปในเมือง


28

คนอีสานบ้านเฮา

สภาพทางสั ง คมของชุ ม ชนในสมั ย นี้ เ ป็ น สั ง คมที่ มี ก ารแบ่ ง ชนชั้ น กั น อย่างแน่นอนคือ กลุ่มผู้ปกครอง นักบวช พ่อค้า เกษตรกร ช่างฝีมือ ฯลฯ ตาม สังคมเมืองในยุคแรก ๆ นั้นแม้ความเหลื่อมล�้ำทางอ�ำนาจและฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ก็คงไม่รุนแรงเด่นชัดมากนัก ในฐานะของหัวหน้ากลุ่มชนอยู่ในสภาพชาวบ้าน มากกว่าจะเป็นกษัตริยอ์ ย่างในสมัยศักดินาทางสังคมเหล่านีจ้ ะเห็นได้จากยุคหลัง ๆ ของสมัยสังคมเมืองคือ เมือ่ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึง่ มีวฒ ั นธรรมมอญและเขมร แพร่หลายเข้ามาในดินแดนแถบนี้ กลุม่ ชนทีใ่ ช้ภาษามอญหรือทีร่ จู้ กั “กลุม่ วัฒนธรรมทวารวดี” ได้เริม่ แผ่อทิ ธิพล ทางวัฒนธรรมของตนจนเข้ามาเจริญรุง่ เรืองในดินแดนแถบนีใ้ นราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ ๑๓ โดยเข้ามารุ่งเรืองในบริเวณภาคเหนือตอนล่างแถบเมืองศรีเทพ จังหวัด เพชรบูรณ์ จากนัน้ เข้ามาเจริญทีร่ าบสูงโคราช จนในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ก็รงุ่ เรืองใน แถบลุม่ แม่นำ�้ ชี หลักฐานทีแ่ สดงให้เห็นอิทธิพลทางวัฒนธรรมของกลุม่ ชนนีไ้ ด้แพร่ ขยายเข้ามาจนเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้เราทราบถึงเรื่องราวและสมัยได้ดีที่สุด ได้แก่ จารึกต่าง ๆ ซึ่งปรากฏว่ามีการพบจารึกภาษามอญในภาคอีสานจ�ำนวนไม่น้อย เขตวัฒนธรรมมอญเข้ามาเจริญรุ่งเรืองในอีสานเป็นอย่างมาก มี ๒ แห่ง ใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ บริเวณตอนกลางของลุ่มน�้ำมูล ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และ นครราชสีมา ซึ่งพบว่าบริเวณชุมชนอีสานโบราณได้มีการนับถือศาสนาพุทธและ รับวัฒนธรรมมอญมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ และในบริเวณลุ่มแม่น�้ำชี ในเขตจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธร โดยเฉพาะในเขตหลังพบสิง่ ทีน่ า่ สนใจเป็นเขตทีป่ ลอดจากวัฒนธรรมเขมรจนกระทัง่ ถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

29

กลุ่มชนที่ได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมืองของตนมาสู่บริเวณนี้ อีกพวกหนึ่งคือกลุ่มชนเขมร ซึ่งมีความเชื่อกันว่ามีเมืองหลายแห่งในบริเวณอีสาน ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มชนเขมรมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖ และยังพบหลักฐาน ในบริเวณลุม่ แม่นำ�้ โขงและลุม่ แม่นำ�้ มูลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี นครพนม ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และสุรนิ ทร์ ได้รบั อิทธิพลทางวัฒนธรรมของชนเขมรในอาณาจักร เจนละตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ดินแดนในแถบภาคอีสานได้ พัฒนาจากสังคมเข้าสู่สังคมรัฐ ซึ่งอยู่ในสภาพที่ว่าเมืองต่าง ๆ ที่มีจ�ำนวนมาก ได้มีความเจริญมีการขยายตัวขึ้น จนเกิดสงครามรบพุ่งระหว่างกันท�ำให้ลดจ�ำนวน เมืองอิสระเหลือน้อยเกิดเป็นรัฐใหญ่มาแทน หลักฐานที่ท�ำให้เรากล่าวได้เช่นนี้คือ จารึกและจดหมายเหตุของชาวจีนต่าง ๆ ทีก่ ล่าวถึงรัฐขนาดใหญ่ในบริเวณภาคอีสาน ในช่วงเวลา “มูลเทสะ” ในจารึกเกาะแกร์ ประเทศเขมร เชือ่ ได้วา่ ได้แก่บริเวณลุม่ แม่นำ�้ มูล “ภีมปุระ” ในจารึกออกแก้วประเทศเขมรได้แก่เมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา “ศรีจนาศะ” “จานสปุระ” ในจารึกบ่ออีกาพบที่นครราชสีมา เชื่อว่าอยู่ใน บริเวณอีสานใต้ ฯลฯ ในศตวรรษที่ ๑๔ อาณาจักรเขมรได้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันใน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ มีการสถาปนานครหลวง ขึ้นเป็นราชธานี ได้ตั้งลัทธิ เทวราชและแพร่ ข ยายอิ ท ธิ พ ลทางวั ฒ นธรรมและการเมื อ งของตนสู ่ ดิ น แดน โดยรอบ ในช่วงเวลานี้ที่กระแสวัฒนธรรมของเขมรได้เข้ามายังอีสานท�ำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่และการด�ำรงชีวิตของชุมชน โบราณในท้องถิน่ และน�ำเอาความเจริญทางเทคโนโลยีเข้ามา จะเห็นได้จากเทคนิค การก่อสร้างผังเมือง ถนน การชลประทาน ฯลฯ


30

คนอีสานบ้านเฮา

ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ดินแดนในภาคอีสานโดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น�้ำ มูลก็ถูกผนวกเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมร โดยเชื่อว่าเมืองพิมาย ถูกสร้างขึน้ ในฐานะศูนย์กลางของอาณาจักรเขมรในดินแดนแถบนี้ การทีอ่ าณาจักร เขมรก่อตั้งศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของตนนอกอาณาจักรเขมร อีกแห่งหนึง่ ในฐานะอาณาจักรรอง คงเป็นเพราะต้องการควบคุมพืน้ ทีใ่ นการเพาะปลูกข้าว และผลิตเกลือ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ บริเวณพื้นที่ภาคอีสานเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่ คือบริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้ำโขงทางตอนเหนือของภาคอยู่ภายใต้อาณาจักร ล้านช้างซึง่ เพิง่ ก่อตัง้ ขึน้ มาใหม่ ส่วนดินแดนนอกจากนัน้ ปรากฏว่าชุมชนต่าง ๆ สลาย ตัวไป เมืองเกือบทั้งสิ้นถูกทิ้งร้างตกอยู่ในสมัยอยุธยา ดินแดนในแถบนี้ยังคงกลาย เป็นทีร่ กร้างเสียเป็นส่วนมาก จ�ำนวนประชากรมีไม่มากนักและหมดสิน้ ความเจริญ ประวั ติ ศ าสตร์ ใ นยุ ค ใหม่ ข องอี ส านเกิ ด ขึ้ น ในต้ น พุ ท ธศตวรรษที่ ๒๓ อันเกิดจากกระแสการอพยพของประชาชนชาวลาวและเขมร ซึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้า มาจับจองที่อยู่อาศัยจนเกิดเป็นชุมชนย่อย ๆ ขึ้นมาใหม่ กลุ่มผู้อพยพเพิ่มจ�ำนวน มากขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะกล่าวได้ว่าประชาชนอีสานปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากกลุ่ม ผู้อพยพในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓8 การพบหลักฐานการด�ำรงชีวติ และการตัง้ ถิน่ ฐานของมนุษย์โบราณในภูมภิ าคนี้ อยู่ในช่วงระยะไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา แต่จากสภาพแวดล้อมและลักษณะ ทางสภาพภูมิศาสตร์ ที่มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็นเป็นแนวเขตด้านทิศ ตะวันตก เทือกเขาพนมดงรักเป็นแนวด้านทิศใต้ และมีแม่น�้ำโขงไหลกั้นทิศเหนือ และทิศตะวันออกท�ำให้อีสานเสมือนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม รวมทั้งการที่มีเทือก เขาภูพานตัดผ่านท�ำให้เกิดเป็นแอ่ง ๒ แอ่ง คือ แอ่งสกลนคร ซึ่งมีล�ำน�้ำสงคราม และแอ่งโคราชมีแม่น�้ำมูล แม่น�้ำชี เป็นแม่น�้ำส�ำคัญ ซึ่งทั้งหมดไหลลงสู่แม่น�้ำโขง เช่นเดียวกัน ประกอบกับสภาพแวดล้อมทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ในอดีต ภาคอีสานจึงเหมาะสม ส� ำ หรั บ การตั้ ง หลั ก แหล่งที่อยู่อาศัยและการสร้า งบ้านแปงเมืองมาโดยตลอด เอกสารวิชาการกองโบราณคดีหมายเลข ๑๑. อดีตอีสาน. หน้า ๔๕.


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

31

การมีทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแร่ธาตุ ป่าไม้ แหล่งน�้ำ ฯลฯ ท�ำให้มีมนุษย์เข้ามา ด�ำรงชีพและตั้งถิ่นฐาน รวมทั้งมีผลผลิตที่เป็นการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เช่น การผลิตส�ำริดขึ้นใช้ในแถบลุ่มแม่น�้ำสงคราม การผลิตโลหะเหล็กและการผลิต เกลือในแถบลุ่มแม่น�้ำชี แม่น�้ำมูลตอนล่าง นอกจากนี้ยังมีการสะสมอาหารและ แลกเปลีย่ นผลผลิตกันระหว่างชุมชน ตัง้ แต่ขนาดเล็กจนกระทัง่ เข้าสู่การเป็นสังคม เมืองขนาดใหญ่ในระยะต่อมา โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติมาโดยตลอด

กลุม่ ล่าสัตว์และเก็บเกีย่ วพืชผล (Hunting and Food Gathering Groups)

กลุ่มสังคมล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผลมักจะมีการเคลื่อนย้ายที่พักอาศัย อยูต่ ลอดเวลา เพือ่ หาแหล่งอาหารตามฤดูกาลและความสมบูรณ์ของแหล่งอาหารใน ภูมิประเทศต่าง ๆ ความต้องการพื้นฐานของสังคมล่าสัตว์ซึ่งได้แก่ แหล่งน�้ำ แหล่ง อาหารและเพิงพัก ซึ่งเป็นผลท�ำให้ไม่สามารถพบหลักฐานการอยู่อาศัยที่ถาวร ของกลุ่มสังคมล่าสัตว์ได้อย่างชัดเจน พบเพียงเครื่องมือกะเทาะที่มนุษย์ในยุคนี้ใช้ เป็นเครื่องมือในการล่าสัตว์และหาของป่ากระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ใกล้กับแหล่งน�้ำ ถ�ำ้ และเพิงผา นอกจากนีย้ งั พบหลักฐานศิลปะถ�ำ้ หรือภาพเขียนบนผนังถ�ำ้ กระจาย อยู่ในหลายพื้นที่

หลักฐานกลุ่มล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผล

ก. ศิลปะถ�้ำ จากการศึกษาทางโบราณคดีมาจนถึงปัจจุบัน ได้พบศิลปะถ�้ำ ในอีสานถึง ๑๓๑ แหล่งใน ๙ จังหวัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของมนุษย์ สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ สมัยทีย่ งั ไม่มตี วั อักษรใช้ ซึง่ เราอาจจะศึกษาสือ่ ความหมาย อธิบายความเชื่อทางศาสนา ขนบประเพณีและแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันผ่าน ทางสัญลักษณ์ที่ภาพปรากฏอยู่ตามหน้าผาและเพิงผาได้ ภาพที่ปรากฏส่วนมาก เป็นภาพเลียนแบบธรรมชาติอันได้แก่ ภาพคน สัตว์ ภาพมือและเท้า วัตถุสิ่งของ เช่น มีด ลูกศร รวมทั้งภาพเกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม เช่น ภาพคล้ายต้นข้าว การล่าสัตว์ เป็นต้น ภาพเหล่านี้มีเทคนิคในการท�ำ ๒ วิธี คือ การลงสี ซึ่ง นักโบราณคดีสนั นิษฐานว่าน่าจะใช้ดนิ เทศคือดินทีเ่ กิดจากการสลายตัวของแร่เหล็กมี


32

คนอีสานบ้านเฮา

สีแดงน�ำมาบดเป็นผงผสมกับของเหลวบางชนิด เช่น เลือด น�ำ้ ผึง้ ไข่ขาว หรือน�ำ้ คัน้ จากพืชบางชนิด ไขสัตว์ เป็นต้น เทคนิคอีกประการหนึ่งคือการท�ำรูปรอยลง ในหิน ด้วยการฝน จาร ขูดขีดและแกะตอกลงบนเนื้อหิน ศิลปะถ�ำ้ ในภาคอีสานสามารถแบ่งได้ตามสภาพภูมศิ าสตร์ของอีสานเป็น ๓ พื้นที่ใหญ่ ๆ คือ ๑. พืน้ ทีต่ ามเทือกเขาเพชรบูรณ์ ได้แก่ ศิลปะถ�ำ้ กลุม่ บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มภูเก้า จังหวัดหนองบัวล�ำภู จังหวัดขอนแก่น กลุ่มภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นต้น ๒. พื้นที่ตามแนวเทือกเขาภูพานใหญ่สกลนคร ได้แก่ กลุ่มภูพาน จังหวัด สกลนคร กลุ่มผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานีและกลุ่มมุกดาหาร ๓. พื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้หรืออีสานล่าง ได้แก่ เขาจันทร์งาม จังหวัด นครราชสีมา ภาพเขียนสีในภาคอีสานสันนิษฐานตามเรื่องราวที่ปรากฏและเทคนิคการ สร้างน่าจะอยูใ่ นสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ซึง่ เป็นสังคมล่าสัตว์และสังคมเกษตรกรรม กล่าวคือ น่าจะมีอายุ ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปี จนถึงราว ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้ตามแหล่งที่พบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในกลุม่ สังคมล่าสัตว์และเก็บเกีย่ วพืชผลมีการเคลือ่ นย้ายหลักแหล่งตามแนวพืน้ ทีส่ งู

การเรียกชื่อหรือตั้งชื่อแหล่งที่พบศิลปะถ�้ำนั้นมีที่มาต่างกันคือ

๑. เรียกหรือตั้งชื่อตามต�ำนานหรือนิทานพื้นบ้านประวัติหรือชื่อบุคคล ทีเ่ คยมีถนิ่ ฐานทีอ่ ยูใ่ นสถานทีน่ นั้ ๆ เช่น โนนสาวเอ้ หอนางอุษา คอกม้าท้าวบารส (อุดรธานี) ถ�ำ้ พระด่านแร้ง (สกลนคร) ถ�ำ้ ผาปู่ (เลย) ถ�ำ้ เซ่งเม่ง (กาฬสินธุ)์ ถ�ำ้ เสือตก (อุดรธานี) ฯลฯ ๒. เรียกหรือตั้งชื่อตามนามสถานที่ตั้งที่มีอยู่แล้ว เช่น ภูเขา ชื่อหน้าผา ชือ่ วัด ชือ่ บ้าน ถ�ำ้ ผาฆ้อง (เลย) ผาขาม (อุบลราชธานี) ถ�ำ้ ผาลายภูผายนต์ (สกลนคร) ผาคันธง (ขอนแก่น) ถ�้ำพระนาหลวง (อุดรธานี) เพิงหินข้างวัดพระพุทธบาท บัวบาน (อุดรธานี) เขาจันทร์งาม (นครราชสีมา) ฯลฯ


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

33

๓. เรี ย กหรื อ ตั้ ง ชื่ อ ตามลั ก ษณะและสภาพของแหล่ ง หรื อ สิ่ ง ที่ เ ป็ น ลักษณะเด่นของแหล่งซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในหมู่ชาวท้องถิ่น เช่น ถ�้ำม่วง (สกลนคร) ถ�้ำผักหนาม (อุบลราชธานี) ถ�้ำหินลาดหัวเมย (ขอนแก่น) ฯลฯ ๔. เรียกหรือตั้งชื่อตามภาพศิลปะที่พบในแหล่งนั้นมองเห็นว่าเป็นอย่างไร ตามสายตาและความเข้าใจของชาวท้องถิ่น เช่น ถ�้ำฝ่ามือ (ขอนแก่น) ถ�้ำลายมือ (ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, อุบลฯ) ถ�้ำตีนแดง (มุกดาหาร) ถ�้ำลายแทง (เลย) ถ�้ำไก่ (อุดรธานี) ถ�ำ้ เต่า (อุดรธานี) ถ�ำ้ เกิง้ หรือถ�ำ้ กวาง (อุดรธานี) ผาฝ่ามือ (อุบลราชธานี) ถ�้ำแต้ม (อุบลราชธานี) ๕. เรียกหรือตั้งชื่อตามนามผู้พบเพื่อเป็นเกียรติเพราะไม่มีชื่อเรียกหรือ การตั้งชื่อมาก่อน เช่น ถ�้ำนายอัมพร (อุดรธานี) ถ�้ำนายอุทัย (อุดรธานี) และถ�้ำ อาจารย์สมิ (อุดรธานี)9 ข. เครื่องมือหิน หลักฐานทางโบราณคดีที่ส�ำคัญของกลุ่มสังคมล่าสัตว์ และเก็บเกี่ยวพืชผล ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะที่ท�ำจากหินกรวดแม่น�้ำ ส�ำหรับใน ภาคอีสานมีการพบเครื่องมือหินกะเทาะในพื้นที่บริเวณริมแม่น�้ำโขง ในเขตอ�ำเภอ เชียงคาน จังหวัดเลย และเขตอ�ำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จากการขุดค้นทาง โบราณคดีทอี่ ำ� เภอเชียงคาน พบเครือ่ งมือหินกะเทาะ ซึง่ ท�ำจากหินแอนดิไซด์คล้าย กับเครือ่ งมือหินแบบวัฒนธรรมโหบิเนียนและคล้ายคลึงกับเครือ่ งมือหินทีพ่ บในเขต ภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้มีการส�ำรวจพบเครื่องมือหินกะเทาะ ในพื้นที่ราบเชิงเขาตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาภูพานค�ำ

ชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรม (Village Farming Communities)

สังคมเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผู้คนด�ำรงชีพด้วยการเพาะปลูก ข้าวและติดต่อแลกเปลี่ยนผลิตผลกับสังคมภายนอก นอกจากนี้ยังมีการผลิตงาน หัตถกรรมต่าง ๆ เช่น การท�ำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า และการท�ำเครื่องมือ เครื่องใช้จากโลหะ มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มอย่างถาวร พบหลักฐาน การตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ทั่วไป ทั้งในบริเวณแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช ชุมชน เอกสารโบราณคดีหมายเลข ๑๗. ศิลปะถ�้ำในอีสาน. หน้า ๒๔.


34

คนอีสานบ้านเฮา

ในแอ่งสกลนครนัน้ กระจายตัวอยูใ่ นบริเวณทีร่ าบลุม่ น�ำ้ เช่น ลุม่ น�ำ้ สงครามตอนบน ชุมชนอยูก่ นั อย่างหนาแน่นในเขตต้นน�ำ้ มากกว่าบริเวณทีเ่ ป็นทีร่ าบน�ำ้ ท่วมถึงทาง ตอนล่าง ส่วนชุมชนในแอ่งโคราชมีอาศัยอยู่ทั้งในที่ราบลุ่มของล�ำน�้ำ และที่ราบลุ่ม น�้ำท่วมถึง โดยเฉพาะที่ราบลุ่มน�้ำท่วมถึงของลุ่มน�้ำมูลและชี

ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน

การตัง้ ถิน่ ฐานของชุมชนเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ของอีสานแบ่ง ออกได้เป็น ๔ กลุ่ม โดยพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน รูปแบบทาง วัฒนธรรม ลักษณะการท�ำภาชนะดินเผา ตลอดจนประเพณีการฝังศพ ได้แก่ กลุ่ม ชุมชนลุ่มน�้ำสงครามตอนบนหรือกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง กลุ่มชุมชนแม่น�้ำชีตอน บน กลุ่มชุมชนแม่น�้ำชีตอนล่างและแม่น�้ำมูลตอนล่างหรือกลุ่มทุ่งกุลาร้องไห้และ กลุ่มชุมชนแม่น�้ำมูลตอนบนหรือกลุ่มพิมายหรือกลุ่มทุ่งสัมฤทธิ์ ๑. กลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น�้ำสงคราม และล�ำห้วยสาขา ซึ่งมีล�ำน�้ำหลัก ๓ สาย ไหลลงสู่แม่น�้ำโขง คือ แม่น�้ำสงคราม ห้วยหลวง และล�ำน�ำ้ สวย ชุมชนได้กระจายตัวอยูบ่ ริเวณทีร่ าบลุม่ ของล�ำน�ำ้ ในบริเวณ แอ่งสกลนครมากถึง ๑๒๗ แห่ง ที่ส�ำคัญได้แก่ บ้านอ้อมแก้ว บ้านธาตุ บ้านต้อง โนนขี้กลิ้ง บ้านนาดี โนนเก่าน้อย บ้านสะงวย บ้านเมืองพรึก บ้านผักตบ บ้านโนน นาสร้าง บ้านสร้างดู่และบ้านเชียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดค้นที่บ้านเชียง ท�ำให้ เข้าใจถึงพัฒนาการของชุมชนในกลุ่มวัฒนธรรมนี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรูปแบบ เฉพาะของภาชนะลายเขียน สีที่เป็นเอกลักษณ์และพัฒนาการด้านโลหกรรมวิทยา ของชุมชน โดยมีการใช้เทคโนโลยีการท�ำส�ำริด เมื่อ ๓,๖๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว รวมทัง้ รูจ้ กั การถลุงเหล็กมาท�ำเป็นเครือ่ งมือใช้ จากการศึกษาพบว่ากลุม่ วัฒนธรรม บ้านเชียงเป็นชุมชนเกษตรกรรมเพาะปลูกข้าวในที่กลุ่มน�้ำขัง มีสภาพแวดล้อม ในอดีตเป็นป่าเต็งรังมีล�ำห้วยใกล้ ๆ มีการล่าสัตว์ เก้ง กวาง หมูป่า วัวป่า บริโภค สัตว์น�้ำ มีการน�ำโลหะ เหล็กและส�ำริดมาใช้ รวมทัง้ มีประเพณีการฝังศพในลักษณะ นอนหงาย เหยียดยาว กลุม่ ชุมชนทีอ่ ยูใ่ นบริเวณนีห้ ลายแหล่งได้มพี ฒ ั นาการอย่าง ต่อเนื่องเป็นบ้านเมืองและเข้าสู่สมัยวัฒนธรรมคือ วัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรม เขมรโบราณและวัฒนธรรมล้านช้าง ในเวลาต่อมา


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

35

๒. กลุ่มแม่น�้ำชีตอนบน ชุมชนกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ตามที่ราบลุ่มบันได ขั้นต�่ำ ทางตอนบนของแม่น�้ำชีและแอ่งโคราช โดยเฉพาะบริเวณลุ่มห้วยทรายขาว ล�ำน�้ำพอง ล�ำน�้ำพรม ล�ำน�้ำเซินและแม่น�้ำชี จากแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ทาง ตะวันตกไหลมาถึงทางตะวันออกของพืน้ ทีก่ ารตัง้ ถิน่ ฐานของชุมชน กระจายอยูต่ ามพืน้ ที่ ทั้ง ๓ ระดับ คือบริเวณที่ราบเชิงเขา ที่ราบลุ่ม และพื้นที่ราบลุ่มน�้ำท่วมถึง แหล่งโบราณคดีที่ส�ำคัญได้แก่ บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น จากการขุดค้น พบว่าเป็นชุมชนเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกข้าว ล่าสัตว์ รวมทั้งมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู วัว และสุนัขมีการใช้ภาชนะดินเผาลายเชือก ทาบและได้พบร่องรอย การผลิตโลหะส�ำริดจากการก�ำหนดอายุของชุมชนโนนนกทาโดยวิธีคาร์บอน ๑๔ โดยใช้ตัวอย่างถ่านพบว่ามีอายุกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้การขุดค้นที่บ้าน โนนเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่าเป็นชุมชนเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกข้าวและ หาของป่า รูจ้ กั ท�ำเครือ่ งมือเครือ่ งใช้จากส�ำริด และยังพบว่าชุมชนกลุม่ นีม้ กี ารติดต่อ กับสังคมภายนอก โดยพบเศษวัสดุจากทะเล เช่น ลูกปัดจากหอยมือเสือและหอยเบีย้ ผลจากการหาอายุทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีอายุประมาณ ๑,๕๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ๓. กลุ่มแม่น�้ำชีตอนล่างและแม่น�้ำมูลตอนล่าง ชุมชนกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐาน อยูต่ ามทีร่ าบลุม่ น�ำ้ ท่วมถึงและขยายตัวตามพืน้ ทีร่ าบลุม่ ในเขตจังหวัดมหาสารคาม บุรรี มั ย์ ร้อยเอ็ด สุรนิ ทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยเฉพาะพืน้ ทีบ่ ริเวณ ทุ่งกุลาร้องไห้ จากการส�ำรวจโดยภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่าชุมชนโบราณกระจายอยูต่ ามเขตลุม่ แม่นำ�้ ชีตอนล่าง ลุม่ แม่นำ�้ มูลและล�ำห้วย สาขา เช่น ล�ำน�้ำเสียว ล�ำน�้ำเตา ล�ำพังฉลู ล�ำพลับพลา ล�ำเซบาย และล�ำเซบก ตามเขตลุม่ น�ำ้ เหล่านีม้ ชี มุ ชนโบราณประมาณ ๑๙๐ แห่ง มีการพัฒนาการอย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะพบร่องรอยของการถลุงเหล็กกว่า ๓๐ แห่ง และร่องรอยการผลิตเกลือ อีกหลายแห่ง แหล่งโบราณคดีมีการขุดค้น เช่น ที่โนนยาง บ้านเขาโค้ง อ�ำเภอ ชุมพลบุรี จังหวัดสุรนิ ทร์ พบว่ามีการตัง้ ถิน่ ฐานและร่องรอยของกิจกรรมในช่วงระยะ แรกประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ลักษณะเฉพาะคือการท�ำภาชนะดินเผาเนือ้ ดินสีขาว ซึ่งนักโบราณคดีบางท่านเรียกว่า ภาชนะดินเผาแบบร้อยเอ็ดและบางท่านเรียกว่า แบบทุ่งกุลาร้องไห้ พบร่องรอยการฝังศพครั้งที่สองโดยทั่วไปในเขตลุ่มแม่น�้ำมูล


36

คนอีสานบ้านเฮา

ตอนล่างและชุมชน พื้นเมืองแถบชายฝั่งทะเล จากการส�ำรวจพบร่องรอยการถลุง เหล็กอย่างเป็นอุตสาหกรรมเพือ่ การแลกเปลีย่ น เกิดขึน้ ตัง้ แต่เมือ่ ประมาณ ๒,๒๐๐ ปีมาแล้ว ที่บริเวณบ้านดงพลองพบเตาถลุงเหล็กโบราณถึง ๑๗ เตา ๔. กลุ่มชุมชนลุ่มแม่น�้ำมูลตอนบน ชุมชนกลุ่มนี้กระจายอยู่บริเวณ ต้นแม่นำ�้ มูลในเขตอ�ำเภอพิมาย อ�ำเภอสูงเนิน อ�ำเภอโนนสูง ไปจนถึงอ�ำเภอชุมพวง และบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตล�ำห้วยสาขาแม่น�้ำมูล เช่น ล�ำธารปราสาทและอื่น ๆ โดยเฉพาะบริเวณรอบตัวเมืองพิมาย ลักษณะเฉพาะทาง วัฒนธรรมคือการท�ำภาชนะดินเผาปากแตร รวมทั้งรูปแบบพิมายด�ำ ซึ่งอยู่ในช่วง สมัยหลัง แหล่งโบราณคดีที่ส�ำคัญ ได้แก่ บ้านสัมฤทธิ์ บ้านสันเที้ย บ้านต�ำแย บ้านโตนด บ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา มีอายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว เป็น ชุมชนเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกข้าวและอาศัยแหล่งอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมามีการถลุงเหล็กและผลิตเกลือ ท�ำให้มีการติดต่อเส้นทางแม่น้�ำและล�ำห้วย หลายสาย จึงมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่น และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ชุมชนมีการขยายตัวออกไปกลายเป็นชุมชนหลักและเป็นศูนย์กลางการแลก เปลี่ยน

๒.๒ สมัยประวัติศาสตร์ (Historic Period)

จากการศึกษาหลักฐานการตัง้ ถิน่ ฐานและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมภิ าคนี้ พบว่าก่อนที่จะเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ได้มีการกระจายตัวของชุมชนโบราณ อย่างกว้างขวาง เกิดขึน้ ในช่วงตัง้ แต่ประมาณ ๒,๕๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงระยะนี้ ปรากฏชุมชนที่มีการถลุงเหล็กในระดับอุตสาหกรรมเป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในบริเวณลุ่มแม่น้�ำชี - มูลในแอ่งโคราช ชุมชนหลายแห่งเป็นชุมชน ถลุงเหล็กโดยตรง ทัง้ ทีเ่ ป็นชุมชนทีม่ คี นู ำ�้ คันดินล้อมรอบและเป็นเนินดินทีไ่ ม่มคี นู ำ�้ คันดิน ผลจากการศึกษาชุมชนทีม่ กี ารถลุงเหล็ก พบว่ามีการท�ำในระดับอุตสาหกรรม ตั้งแต่เมื่อประมาณ ๒,๒๐๐ ปีที่ผ่านมา การเรียนรู้เทคโนโลยีการถลุงแร่เหล็ก ตลอดจนการมี ท รั พ ยากรเหล็ ก ท� ำ ให้ เ กิ ด การขยายตั ว ของชุ ม ชนโบราณและ การเข้าไปตัง้ ถิน่ ฐาน เกิดการติดต่อแลกเปลีย่ นท�ำให้เกิดระบบชุมชนทีม่ ศี นู ย์กลาง


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

37

และมีพัฒนาการเป็นบ้านเมืองในระยะต่อมา นอกจากนีก้ ารผลิตเกลือในหลายพืน้ ทีข่ องภาคอีสาน รวมทัง้ การเปลีย่ นแปลง เทคโนโลยีการผลิตข้าวเป็นการเพาะปลูกข้าวในระบบนาลุม่ ท�ำให้มกี ารสะสมอาหาร และมีระบบการผลิตเฉพาะเพื่อการแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการพัฒนาเป็น สังคมเมืองอีกประการหนึ่งด้วย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ อิทธิพลวัฒนธรรมจากกลุ่มภายนอกได้ หลัง่ ไหลเข้ามาสูด่ นิ แดนแถบนี้ โดยกลุม่ หนึง่ เป็นกลุม่ วัฒนธรรมทวารวดี อีกกลุม่ หนึง่ เป็นวัฒนธรรมเขมรโบราณซึ่งในขณะนั้นเรียกว่าอาณาจักรเจนละและเรื่อยมา จนถึงวัฒนธรรมเขมรโบราณสมัยพระนครและวัฒนธรรมไท - ลาวหรือวัฒนธรรม ล้านช้างในสมัยต่อมา ๒.๒.๑ วัฒนธรรมเจนละ10 (Chenla Culture) พุทธศตวรรษที่ ๑๑ อาณาจักรฟูนนั อ่อนแอลงและล่มสลาย พระเจ้าภววรมัน ที่ ๑ ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์องค์หนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ก็ได้ประกาศตนเป็นอิสระ แยกตัวออกมาจากอาณาจักรฟูนัน รวบรวมก�ำลังมาตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรเจนละ ค�ำว่าเจนละมาจากภาษาเขมรว่า “ชานลี” ออกเสียงตาม ภาษาเขมรว่า เจือนเลอ หมายถึง ข้างบน ชั้นบน ที่ข้างบน ด้านเหนือ อันหมายถึง ดินแดนที่อยู่เหนือทะเลสาบเขมรในปัจจุบันขึ้นไป

เจนละ เป็นชื่อรัฐ มีพัฒนาการขึ้นหลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ เจนละเป็นค�ำที่จีนใช้เรียกรัฐนี้ อาจเพี้ยน จากค�ำว่า กัมพุช, กัมลุช, คะแมร์ ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักในหมู่นักเดินเรืออาหรับยุคนั้นพันกว่าปีก่อนจะเป็นรัฐ อันเป็นต้นประวัติศาสตร์กัมพูชาอาณาจักรเมืองพระนคร (ที่โตนเลสาบ หรือทะเลสาบ) บรรดานักวิชาการ รุ่นใหม่ ทั้งไทยและเทศ เห็นสอดคล้องกันว่าเจนละมีพัฒนาการขึ้นจากบ้านเมืองและรัฐขนาดเล็กบริเวณ โขง – ชี - มูล เขตอุบล ต่อเนื่องถึงอ�ำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด หลังจากนั้นขยายเครือข่ายกว้างขวางออกไป ถึงจัมปาสักในลาว จนเข้าสู่โตนเลสาบ (ทะเลสาบ) ในกัมพูชา ๑๐


38

คนอีสานบ้านเฮา

ในปัจจุบันเขตแดนของอาณาจักรเจนละไม่เป็นที่แน่ชัดและไม่มีอาณาเขต ที่แน่นอน แต่ในยุครุ่งเรืองของอาณาจักรแห่งนี้ อาณาจักรเจนละกินอาณาเขตจาก หุบเขาเมนัมตอนล่างและหุบเขามันในประเทศไทยในปัจจุบัน (ภาคอีสาน) อีกทั้ง ขยายอาณาบริเวณไปถึงทางตอนใต้ของลาวในปัจจุบันนี้และยังรวมถึงดินแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาในปัจจุบัน และในบางช่วงเวลายังอาจมี อาณาเขตไปจนถึงชายฝั่งญวน (ปัจจุบันคือ ประเทศเวียดนาม) อีกด้วย เจนละเป็นอาณาจักรของชนชาติเขมรที่แตกต่างจากชนเผ่าจามและฟูนัน ชาวเจนละเป็ น ต้ น ตระกู ล ของอาณาจั ก รเขมร ชาวเขมรมาจากหุ บ เขาเมนั ม ตอนบน และจากนั้นจึงลงมายังหุบเขามัน และต่อมายังแม่โขงเพื่อแทนที่ชาวจาม ในกระบวนการดังกล่าว ชาวเขมรได้ซึมซับศาสนาและวัฒนธรรมฮินดูนิกายไศวะ ซึ่งชาวจามให้การเคารพบูชาต่อมา เช่น เขาวัดภู แคว้นจ�ำปาสัก ซึ่งในปัจจุบันนี้ คือดินแดนที่อยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวเขมรในยุ ค แรกอาจเป็ น พวกนั บ ถื อ ผี แต่ ก ษั ต ริ ย ์ ข องเจนละได้ รั บ ศาสนาฮินดูไศวนิกายมาปฏิบัติใช้ ซึ่งเป็นศาสนาที่ใช้ควบคุมอ�ำนาจทางการเมือง การปกครองและจิตใจของประชาชน ศาสนาฮินดูไศวนิกายเชือ่ มโยงถึงต�ำนานของ คูส่ ามีภรรยากัมพูกบั มีรา่ และราชวงศ์สรุ ยิ ะซึง่ สืบทอดมาจากพระราม ซึง่ เป็นปางหนึง่ ของพระวิ ษ ณุ แม้ ก ระทั่ ง ทุ ก วั น นี้ ใ นคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ ๒๑ ในภู มิ ภ าคแถบนี้ เราจะเห็นว่ายังคงยึดถือแนวความคิดดังกล่าวอยู่ โดยกษัตริยย์ ังได้รับความเคารพ นับถือ ถึงแม้ระบบกษัตริยจ์ ะถูกสลับสับเปลีย่ นกับระบบสาธารณรัฐกลับไปกลับมา แล้วหลายครั้งก็ตาม และเช่นเดียวกับรูปแบบทางการเมือง ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีได้น�ำเอาจดหมายเหตุของชาวจีนที่บันทึกไว้ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ไปตรวจสอบพร้อมทัง้ พิจารณาหลักฐานทีไ่ ด้จากศิลาจารึก และโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ค้นพบ ต่างมีความเห็นตรงกันว่าอาณาจักรเจนละนั้น จุดเริม่ ต้นน่าจะมีถนิ่ ทีอ่ ยูแ่ ถบเมืองเศรษฐปุระ ในบริเวณแถวปราสาทหินวัดภู ริมฝัง่ แม่น�้ำโขง แคว้นจ�ำปาสัก ในประเทศลาวปัจจุบันนั่นเอง ต่อมาก็ได้ขยายอาณาเขต ลงมาสู่ตอนล่างในถิ่นที่เคยเป็นอาณาเขตแว่นแคว้นของอาณาจักรฟูนันมาก่อน


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

39

และได้สถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรในบริเวณแถบเมืองภวปุระ (เหนือก�ำปงธม) เหนือทะเลสาบใหญ่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ต่อมาภายหลังในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ อาณาจักร เจนละแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ เจนละบกและเจนละน�้ำ เจนละบกอยู่ทางตอนเหนือ ในเขตประเทศลาวและภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน ส่วนเจนละน�้ำอยู่ทางตอนใต้ มีอาณาเขตจรดทะเล นักวิชาการได้สันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ศูนย์กลางของอาณาจักรเจนละบกคงอยู่ในเขตลุ่ม แม่น�้ำมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย11

หลักฐานทางโบราณคดีที่ส�ำคัญ

๑. จารึกดอนเมืองเตย พบทีบ่ า้ นสงเปือย อ�ำเภอค�ำเขือ่ นแก้ว จังหวัดยโสธร ตัวโบราณสถานเป็นอาคารก่อด้วยอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม หินทรายสลักเป็นภาพหน้าบุคคลผมหยิก สวมตุ้มหูโผล่อกมาจากวงโค้ง (กุทุ) รูปเกือกม้า (หน้าบัน) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ จารึกบนชิ้นส่วนของ วงกบประตู ด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤตราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ กล่าวถึงพระศรีมานประวรเสนะ ผู้เป็นใหญ่ในเมืองสังขะปุระ และบุตรีได้สร้าง ลึงคโลกที่เคารพบูชาไว้ ณ ที่นี้ จารึกดอนเมืองเตยคือ หลักฐานที่ส�ำคัญซึ่งใช้อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต ข้อความกล่าวถึงกษัตริย์แห่งสกุลเสนะในสมัยเจนละ นักวิชาการสันนิษฐานว่า เมืองเตย ซึ่งอยู่ในเขตอ�ำเภอค�ำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็นศูนย์กลางของ กลุม่ เมืองในลุม่ น�ำ้ เซบก เซบาย นอกจากจารึกแล้วยังพบว่า ชุมชนบ้านเมืองเตยมีคติ ความเชือ่ ในการปักเสมาแบบท้องถิน่ ปะปนกับการนับถือลัทธิฮนิ ดูและรับพุทธศาสนา สมัยทวารวดี นอกจากนีย้ งั ได้พบฐานอาคารสลัก ลวดลายดอกไม้ทมี่ ใิ ช่ศลิ ปะทวาร วดีและขอมสมัยเมืองพระนคร ลักษณะอิฐและขนาดอิฐก็แปลกแตกต่างออกไป ความเก่าแก่ของเมืองเตยสอดคล้องกับจารึกซึ่งก�ำหนดได้ว่าอยู่ในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๓ – ๑๔ ธิดา สาระยา. อาณาจักรเจนละ ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ. หน้า ๕.

๑๑


40

คนอีสานบ้านเฮา

๒. จารึกอักษรปัลลวะ จารึ ก ปากน�้ ำ มู ล ๑ และจารึ ก ปากน�้ ำ มู ล ๒ ได้กล่าวถึงประวัตขิ องพระเจ้าจิตรเสน จารึกวัดศรีเมืองแอม ในเขตจังหวัดขอนแก่น ได้กล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสนว่า ได้รบั การอภิเษกเป็นพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์ รบชนะคนพืน้ เมืองและสถาปนาศิวลึงค์ ไว้เป็นเครือ่ งหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ จากหลักฐานแสดงให้เห็นกลุ่มเมืองโบราณในบริเวณจังหวัดยโสธร อุบลราชธานี และใกล้เคียง อันเป็นศูนย์กลางหนึ่งของเจนละ ๓. ทั บ หลั ง ที่อ�ำเภอพิบูล มังสาหาร เป็ น ทั บ หลั ง แบบสมโบร์ ไ พรกุ ก ทับหลังจัดอยู่ในแบบศิลปะเขมรแบบไพรกเมง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ พบในเขตอ�ำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ๔. ศิลาจารึกภายในเพิงถ�ำ้ ภูหมาไน บนฝัง่ ขวาแม่นำ�้ มูล ๒ หลัก ศิลาจารึก ทั้ง ๔ หลัก ใช้อักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ข้อความ จะคล้ายกันกล่าวถึง พระเจ้าจิตรเสน กษัตริยผ์ ยู้ งิ่ ใหญ่ทรงได้รบั ชัยชนะเหนือกัมพูชา ประเทศและเฉลิมพระนามว่าศรีมเหนทรวรมัน ได้โปรดให้สร้างศิวลึงค์ อันเป็น เครื่องหมายแห่งชัยชนะไว้บนภูเขาแห่งนี้ หลักฐานจากศิลาจารึกดังกล่าว นับเป็น หลักฐานทางประวัตศิ าสตร์รนุ่ แรกสุดทีพ่ บและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ชุ ม ชนโบราณแถบนี้ กั บ อาณาจั ก รเจนละ ทั้ ง ในด้ า นการปกครองและศาสนา โดยเฉพาะการเข้ามาของศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นที่นับถือของชนชั้นปกครอง ๕. ศิ ล าจารึ ก ปากโดมน้ อ ย ตั้ ง อยู ่ ริ ม ฝั ่ ง ขวาของแม่ น้� ำ มู ล บริ เ วณที่ ล�ำโดมน้อยไหลลงมาบรรจบกับแม่น�้ำมูล ลักษณะโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าสู่แม่น�้ำมูล มีบันไดลงสู่แม่น�้ำ ใช้หินธรรมชาติก่อสร้าง บนโบราณสถาน มีศลิ าจารึกแท่งสีเ่ หลีย่ ม ยอดคล้ายใบเสมา จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราว พุทธศตวรรษ ๑๒ เนื้อความกล่าวถึงเจ้าชายจิตรเสนหรือพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน ได้สร้างศิวลึงค์อนั เป็นเครือ่ งหมายแห่งชัยชนะไว้บนภูเขา และพบเพิม่ ทีถ่ ำ�้ ปราสาท หรือถ�้ำหมาไน ตั้งอยู่บนหน้าผาชันของเทือกเขาหินทรายบนฝั่งขวาของแม่น�้ำ มูล ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ลักษณะเป็นเพิงผาธรรมชาติไม่ลึกมากนัก


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

41

ได้พบว่าศิลาจารึกพระเจ้าจิตรเสนข้อความคล้ายกับศิลาจารึกปากโดมน้อย เพียงแต่ ข้อความในตอนท้ายให้สร้างรูปโคอุสภะอันเป็นเสมือนหนึ่งข้อความมีชัยชนะ ของพระองค์นอกจากศิลาจารึกพระเจ้าจิตรเสนแล้ว ยังพบฐานโยนี หน้าบันศิลา โบราณวัตถุที่พบ ก�ำหนดอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ ๒.๒.๒ วัฒนธรรมทวารวดี 12 (Dvaravati Culture) หลักฐานวัฒนธรรมทวารวดี เชื่อกันว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่ภาคกลางของ ประเทศไทย มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๖ และได้แพร่เข้าสู่ภาคอีสาน กระจายทัว่ ไปถึงแอ่งสกลนครและแอ่งโคราชตัง้ แต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ศิลปกรรม สมัยทวารวดีเป็นศิลปกรรมอันเกีย่ วเนือ่ งด้วยพุทธศาสนาผสมกับวัฒนธรรมดัง้ เดิม ของชาวอีสานท�ำให้เกิดการสร้างเสมาหินตามเนินดิน เพื่อเป็นพุทธบูชาและ ก�ำหนดเขตพิธีกรรมทางพุทธศาสนา แพร่กระจายโดยทั่วไป ประมาณกันว่าในราว ต้นพุทธศวรรษที่ ๑๓ วัฒนธรรมทวารวดีนี้ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นไปบริเวณภาคเหนือ ตอนล่างแถบเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และสุโขทัย จากนั้นได้แพร่ขยายเข้า สู่บริเวณที่ราบสูงโคราช จนถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เขตใหญ่ ๆ คือบริเวณ ตอนกลางของลุ่มแม่น�้ำมูลได้แก่ เขตจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดนครราชสีมาและ บริเวณลุ่มแม่น�้ำชี ได้แก่บริเวณเขตจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธร หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการแพร่กระจายของวัฒนธรรมทวารวดี จากภาคกลางทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ จารึกทีใ่ ช้ภาษามอญเป็นหลัก เช่น จารึกภาษามอญปน เขมร พบทีจ่ งั หวัดนครราชสีมา ซึง่ ได้รบั การก�ำหนดอายุวา่ อยูใ่ นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ จารึกภาษามอญ ซึ่งทางโครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบทีด่ อนแก้ว อ�ำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีและจารึกภาษามอญหลักพระพิมพ์ พบจากการขุดแต่งโบราณสถานทีเ่ มืองนครจ�ำปาศรี อ�ำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ธิดา สาระยา. ทวารวดี : ต้นประวัติศาสตร์ไทย. หน้า ๑๐.

๑๒


42

คนอีสานบ้านเฮา

หลักฐานทางโบราณคดีที่ส�ำคัญ

๑. ธรรมจักรที่บ้านเสมา เมื อ งโบราณที่ พ บหลั ก ฐานทางโบราณคดี ท�ำให้สนั นิษฐานว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดีทไี่ ด้รบั พุทธศาสนาทีไ่ ด้แพร่มาจากทาง ภาคกลางของประเทศไทยในระยะแรก ๆ เมืองเสมาในเขตอ�ำเภอสูงเนิน ซึ่งเป็น เมืองโบราณในลุ่มแม่น�้ำมูล ได้พบหลักฐานศาสนสถานพระนอนหินทรายเสมาหิน อันเป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดี ๒. เสมาฟ้าแดดสงยาง เมืองโบราณทวาราวดีในเขตลุ่มน�้ำชีที่ส�ำคัญคือ เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง อ�ำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยพบโบราณสถาน สมัยทวารวดี และเสมาหินจ�ำหลักนูนต�่ำ ภาพพระพุทธเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ และภาพพระนางพิมพาสยายพระเกศาเช็ดพระบาท ๓. พระพิมพ์นาดูน เมืองนาดูนหรือนครจ�ำปาศรี อ�ำเภอนาดูน จังหวัด มหาสารคาม พบพระพิมพ์ดินเผา ปรากฏจารึกด้านหลัง นอกจากนี้ยังพบหลักฐาน สมัยทวารวดีอีกหลายพื้นที่ในเขตลุ่มน�้ำมูลตอนบนและลุ่มน�้ำชีตอนบน ๔. ใบเสมาหินทราย พบที่บ้านตาดทอง อ�ำเภอเมืองยโสธร เป็นเนินดิน ขนาดใหญ่มีคูน�้ำล้อมรอบ มีใบเสมาหินทรายปักอยู่เป็นจ�ำนวนมาก อายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ และพบใบเสมาหินทราย ทีบ่ า้ นบึงแก อ�ำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีคูน�้ำดินล้อมรอบ มีกลุ่มใบเสมา หินทราย มีศิลาจารึก ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๕. พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ พบที่บ้านทุ่งใหญ่ ต�ำบลบ้านไทย อ�ำเภอเขื่องใน ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีร่องรอยคูน�้ำคันดินล้อมรอบพบ พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ อายุราวศตวรรษที่ ๑๓ ปัจจุบนั จัดแสดงในพิพธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติอุบลราชธานี ส่วนที่บ้านไผ่ใหญ่ ต�ำบลยางโยภาพ อ�ำเภอม่วงสามสิบ ลักษณะดินเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีแนวคูน�้ำอยู่โดยรอบ นอกจากใบเสมาแล้ว ได้พบ พระพุทธรูปยืนปางประธานธรรมหินทราย อายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ เป็นหลักฐานแสดงถึงวัฒนธรรมทวารวดีระยะต้น


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

43

๖. พระพุทธรูปหินทรายและใบเสมาหินทราย พบที่วัดเฒ่าเก่า ต�ำบล นาหมอม้า อ�ำเภอเมือง จังหวัดอ�ำนาจเจริญ สลักลวดลายที่ขอบฐานและแกนกลาง อายุราวพุทธศตวรรษ ๑๓ – ๑๔ พบเพิ่มที่บ้านเปือยหัวดง ต�ำบลเปือย กิ่งอ�ำเภอ ลืออ�ำนาจ จังหวัดอ�ำนาจเจริญ ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ มีกลุม่ ใบเสมาปักอยู่ บนเนิ น ดิ น กลุ ่ ม ใบเสมาหิ น ทรายที่ วั ด โพธิ ศิ ล า ทรงใบหอกขนาดใหญ่ สลักลวดลายอย่างปราณีต ประกอบด้วยลายกลีบบัว สายใบไม้ สายหม้อน�้ำ และยอดสถูปอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ บริเวณวัดป่าเรไรร้าง มีกลุ่มใบเสมาทั้ง ทรงใบหอก ทรงสี่เหลี่ยมหลบมุมและเป็นแบบแท่งหินแปดเหลี่ยม ๒.๒.๓ วัฒนธรรมเขมรสมัยพระนคร13 (Khmer Culture) วัฒนธรรมเขมรโบราณรุ่งเรืองมากในภาคอีสานระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ ท�ำให้เกิดศาสนสถานในลัทธิพราหมณ์หลายแห่ง เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต�่ำ เป็นต้น อิทธิพลเหนือลุ่มแม่น�้ำมูลนี้คงเริ่ม ตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๕๔๕ – ๑๕๙๒) เทียบจากหลักฐาน ที่ค้นพบจารึกที่บานประตูปราสาท หินพิมาย จังหวัดนคราชสีมาและจารึกที่ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีข้อความกล่าวถึงนามของพระเจ้า สุริยวรมันที่ ๑ และระบุปีศักราชไว้ว่า พ.ศ. ๑๕๘๐ ขยายอิทธิพลไปถึงเขตลพบุรี การกระจายของวัฒนธรรมเขมรเป็นไปอย่างกว้างขวางในเขตลุม่ แม่นำ�้ มูล โดยเฉพาะ ภายหลังสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – ๑๖๙๓) อิทธิพลทางวัฒนธรรม ได้แผ่ขยายไปยังจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิและยังเข้าไปถึงเมืองศรีเทพ จังหวัด เพชรบูรณ์ จนกระทั่งถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๒) ซึ่งนับถือ พุทธศาสนานิกายมหายานได้ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมพุทธศาสนามหายาน และพราหมณ์เข้ามายังรัฐต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์โดยการ อิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร สมัยเมืองพระนครสิ้นสุดลงในปลายพุทธปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือภายหลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการต่าง ๆ เริ่ม ลดน้อยลงและขาดหายไปในที่สุด จึงเริ่มปรากฏหลักฐานการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชนไทย - ลาว เข้ามา อยู่อาศัยในพื้นที่พร้อมกับการเริ่มต้นของวัฒนธรรมไทย - ลาว ที่ด�ำรงสืบมาจนทุกวันนี้ ๑๓


44

คนอีสานบ้านเฮา

ส่งรูปแทนพระองค์ รวมทัง้ เครือ่ งไทยทานไปยังรัฐเหล่านัน้ ด้วย ในรัฐเหล่านีป้ รากฏ ว่ากล่าวถึง “วิมายะ” ซึ่งเชื่อกันว่าคือเมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน นอกจากโบราณวัตถุสถานที่ได้มีการค้นพบแล้ว ยังไม่พบร่องรอยคันดินทีม่ ี ลักษณะเป็นถนนโบราณเชื่อมระหว่างเมืองกับตัวเมืองอื่นหรือเชื่อมกับที่ตั้งชุมชน ที่อยู่นอกเมือง แต่พบร่องรอยคันดินที่เป็นถนนที่ท�ำหน้าที่เป็นคันชักน�้ำเข้าไปยัง บริเวณที่ท�ำการเพาะปลูกหรืออ่างน�้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในสมัยนี้มีการท�ำนาแบบ ที่ลุ่มน�้ำขัง นอกจากนี้ตามแหล่งชุมชนใหญ่และศาสนสถานที่ส�ำคัญได้มีการขุด “บาราย” หรือสระน�ำ้ ขนาดใหญ่เพือ่ เก็บน�ำ้ ส�ำหรับใช้อปุ โภคบริโภค แสดงให้เห็นถึง ความเจริญทางเทคโนโลยีวา่ รูจ้ กั วิธกี ารควบคุมการเก็บกักน�ำ้ ให้ดขี นึ้ กว่าสมัยก่อน

หลักฐานทางโบราณคดีที่ส�ำคัญ

๑. ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทแห่งนี้เป็นเทวาลัยใน ศาสนาฮินดูมาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๗ หรือ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยสร้างเป็นเทวาลัยแห่งพระศิวะ ประดิษฐานรูปเคารพ แทนองค์พระศิวะและรูปเคารพเทพเจ้าวงศ์อื่น ๆ ในต�ำแหน่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็น เทพชั้นรอง ๒. ปราสาทหินพิมาย อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหิน พิมายเป็นพุทธสถานฝ่ายมหายานที่ตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย หรือวิมายปุระซึ่งเป็น เมืองส�ำคัญที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาณาจักรกัมพูชา ปรากฏชื่อเป็น หลักฐานในศิลาจารึกที่พบในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (จารึก ของพระเจ้าอีศานวรมันเรียก ภีมปุระ) และในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ในจารึกของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เรียกว่าวิมายปุระ) ๓. ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเทือกเขา พนมดงรัก สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ มีโคปุระและบันไดศิลา เดิน ขึ้นไปยังศาสนสถานหลังกลาง ซึ่งสร้างเป็นเทวาลัยถวายพระอิศวร


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

45

๔. จารึกโนนสัง บ้านบึงแก อ�ำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ลักษณะ ขอมโบราณภาษาสั น สกฤต กล่ า วถึ ง พระเจ้ า โสมาทิ ต ยะ สร้ า งรู ป เคารพใน ศาสนาพราหมณ์ เมื่อ พ.ศ. ๑๔๓๒ ตรงกับสมัยพระเจ้ายโศวรมัน และพบจารึก บ้านตาดทอง อ�ำเภอเมือง จังหวัดยโสธร จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๕. ปราสาทบ้านเบ็ญจ์ ต�ำบลหนองอ้ม อ�ำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัด อุบลราชธานี ลักษณะปราสาทก่อด้วยอิฐ ๓ หลัง ตัง้ อยูบ่ นฐานศิลาแลงหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก มีกำ� แพงศิลาแลงล้อมรอบ มีซมุ้ ประตูทางเข้าทางด้านหน้าด้านเดียว มีคูน�้ำล้อมรอบก�ำแพงศิลาแลง ได้ค้นพบกับหลังรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และภาพจ�ำหลักเทพนพเคราะห์ ก�ำหนดอายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ และพบ ปราสาททองหลาง ต�ำบลท่าโพธิศ์ รี อ�ำเภอเดชอุดม ลักษณะเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐ ๓ หลัง บนฐานศิลาแลงเดียวกันหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน�้ำล้อมรอบ โดยเว้นเป็นช่องทางเข้าด้านตะวันออกด้านเดียว ถัดไปทางทิศตะวันออก มีอา่ งเก็บน�ำ้ โบราณ (บาราย) ขนาดใหญ่ ซึ่ ง ยั ง เห็ น ขอบคั น ดิ น ได้ ชั ด จากลั ก ษณะแผนผั ง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสันนิษฐานได้วา่ มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ร่วมสมัย กับปราสาทบ้านเบ็ญจ์ ส่วนปราสาทธาตุนางพญา ต�ำบลหนองสะโน อ�ำเภอบุณฑริก ลั ก ษณะโบราณสถานก่ อ ด้ ว ยศิ ล าแลงและหิ น ทราย เป็ น ปราสาทหลั ง เดี ย ว ส่วนยอดหรือหลังคาหักพังลงหมดแล้วเหลือเฉพาะฐาน มีก�ำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ด้านหน้า ท�ำเป็นซุม้ ประตู (โคปุระ) ก่อด้วยศิลาแลงและหอนทราย ถัดจากตัวปราสาท ไปทางทิศเหนือมีอ่างเก็บน�้ำ (บาราย) ขนาดใหญ่ โบราณสถานแห่งนี้ น่าจะเป็น สิ่งก่อสร้างแบบเขมรสมัยบายน ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ๒.๓.๔ วัฒนธรรมกลุ่มไท - ลาวหรือวัฒนธรรมล้านช้าง วัฒนธรรมกลุ่มไท - ลาวหรือวัฒนธรรมล้านช้าง มีการตั้งถิ่นฐานในเขตทาง ตอนบนบริเวณลุ่มแม่น�้ำโขงมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว โดยได้แพร่เข้าสู่ภาค อีสานตอนใน หลังจากอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของเขมรได้เสือ่ มลงในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๙ และการแพร่หลายของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งส่งผ่าน


46

คนอีสานบ้านเฮา

มาจากบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการก่อตัวของกลุ่มลาวในพื้นที่ ลุ่มแม่น�้ำโขง ส่วนชุมชนโบราณขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเมืองต่าง ๆ ก็ปรากฏว่าค่อย ๆ เสื่อมสูญไป โดยถูกทิ้งร้างเหลือเพียงชุมชนเล็ก ๆ กระจัดกระจาย การที่กลุ่ม วัฒนธรรมไท - ลาวเข้ามามีอำ� นาจเหนือแอ่งสกลนคร ในสมัยเริม่ ต้นของอาณาจักร ล้านช้าง เป็นปัจจัยส�ำคัญให้วัฒนธรรมไท - ลาวเข้ามาแทนวัฒนธรรมเขมรโบราณ สมัยพระนคร ชนพืน้ เมืองเริม่ รับวัฒนธรรมไท - ลาวและก่อตัวเป็นสังคมเมืองสืบทอด วัฒนธรรม หลังจากนัน้ จึงได้มกี ารกระจายอิทธิพลเข้าสูด่ นิ แดนแอ่งโคราชแม่นำ�้ โขง และแม่น�้ำมูลในเขตจังหวัดยโสธรและจังหวัดอุบลราชธานี การขยายตัวของชุมชนหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ท�ำให้เกิดประชาคมกลุ่ม ต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาค ได้แก่ ๑. กลุ่มประชาคมลุ่มแม่น�้ำโขง มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มวัฒนธรรม ล้านช้าง มี พัฒนาการและการก่อตัวเป็นบ้านเมืองโบราณ เช่น เวียงจันทน์ จ�ำปาสัก โคตรบูร ๒. กลุ่มประชาคมลุ่มแม่น�้ำชี ศูนย์กลางอยู่ในเขตสุวรรณภูมิ มีการขยายตัว ในเขตตอนกลางของภูมิภาค ๓. กลุ่มประชาคมลุ่มแม่น�้ำมูล จากลุ่มแม่น�้ำมูลจนถึงลุ่มแม่น�้ำมูลทางตอน ล่างของภูมิภาค

หลักฐานทางโบราณคดีที่ส�ำคัญ

๑. พระธาตุพนม อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นพระธาตุบรรจุ พระอุรังคธาตุ (กระดูกอก) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างโดย พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์และกษัตริยจ์ าก ๓ แคว้น ๒ เมือง ซึ่งได้แก่ พญาจุลณีพรหมทัตแห่งแคว้นจุลณี พญานันทเสนแห่งแคว้นศรีโคตรบูร พญาอินทปัตแห่งแคว้นอินทปัตนคร พญาสุวรรณภิงคารแห่งเมืองหนองหานหลวง และพญาค�ำแดงแห่งเมืองหนองหานน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระธาตุพนม จนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ภายในเป็นจ�ำนวนมาก


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

47

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้รับการยกฐานะพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร” ต่อมาในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น. พระธาตุพนม ได้ลม้ ทลายลงทัง้ องค์ เนือ่ งจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม และประจวบกับ ระหว่างนัน้ ฝนตกพายุพดั แรงติดต่อมาหลายวัน ประชาชนทัง้ ประเทศได้รว่ มบริจาค ทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้ เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์ พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองค�ำบนยอด พระธาตุ มีนำ�้ หนักถึง ๑๑๐ กิโลกรัม ปัจจุบนั องค์พระธาตุ มีฐานกว้างด้านละ ๑๒.๓๓ เมตร สูง ๕๓.๖๐ เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม14 ๒. พระธาตุเรณูนคร อ�ำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นธาตุกลุม่ ฐานสูง โดยจ�ำลองมาจากพระธาตุพนม แต่มขี นาดเล็กกว่า สร้างเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยพระอุปชั ฌาย์อนิ ภูมโิ ย สูง ๓๕ เมตร กว้าง ๘.๓๗ เมตร มีซุ้มประตู ๔ ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองค�ำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง นอกจากนี้ ภายในโบสถ์ยงั ประดิษฐานพระองค์แสน ซึง่ เป็นพระพุทธรูปทองค�ำศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ พระคู่บ้านของอ�ำเภอเรณูนครมีพุทธลักษณะสวยงามมาก บริ เ วณนี้ แ ต่ เ ดิ ม เป็ น เรณู น ครถิ่ น ที่ อ ยู ่ ข องชาวผู ้ ไ ท ซึ่ ง ยั ง คงรั ก ษา ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี เช่น ธรรมเนียมการต้อนรับด้วย การบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนร�ำผู้ไท นอกจากนี้ยังมีร้านจ�ำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึกต่าง ๆ ไว้บริการ นักท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย โดยเฉพาะบริเวณ วัดพระธาตุเรณูนคร และตลาดอ�ำเภอเรณูนคร

๑๔

ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๒๗.


48

คนอีสานบ้านเฮา

การฟ้อนผูไ้ ทนับเป็นการแสดงศิลปะ และวัฒนธรรมแบบพืน้ เมืองอย่างหนึง่ ของชาวผู้ไทที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน จากบรรพบุรุษของชาว เผ่าผู้ไทในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนร�ำแบบนี้ว่า “ฟ้อนละครไทย” เป็นการแสดงออก ให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนกัน ๓. พระธาตุเชิงชุม อ�ำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สร้างโดยพระยาสวรรษ ภิงคาระ ภายหลังจะได้ฟงั เทศน์จากพระพุทธองค์เกิดความเสือ่ มใสมาก จึงทรงบ�ำรุง รอยพระพุทธบาท โดยถอดมงกุฎทีม่ นี ำ�้ หนักถึงแสนต�ำลึงไว้แล้วสร้างพระธาตุครอบ ตามอุรังคนิทานกล่าวว่า พระธาตุเชิงชุม เป็นสถานทีพ่ ระพุทธเจ้าเคยเสด็จ มาโปรดชาวเมืองหนองหานหลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาทของ พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป และโคตโม ซึง่ ก่อนจะเสด็จดับขันธ์ปรินพิ พาน ต้องไปประทับรอยพระบาท ไว้ ที่ นั่ น ทุ ก พระองค์ และพระพุ ท ธเจ้ า พระนามว่ า ศรี อ าริ ย เมตไตยองค์ ที่ ๕ ในภัทรกัปป์น ี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเหตุนจี้ งึ ถือกันว่าวัดพระธาตุ เชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาร พระนารายณ์เจงเวง และเจ้าค�ำแดง อนุชาพระยาสุวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณ ซ่งน�้ำพุ และท่านางอายฝั่งตรงข้ามหนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระท�ำ ของ “พญานาค” อย่างไรก็ตามจากหลักฐานเสมาหินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่นบูชารูปเคารพ ตลอดจนศิลาจารึกตัวอักษรขอมในพุทธศตวรรษ ที ่ ๑๕ – ๑๖ ซึง่ อยูต่ ดิ ผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชัน้ ใน) ซึง่ ก่อเป็น พระธาตุหรือสถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุม ได้มชี ุมชนเกิดขึน้ ต่อเนือ่ งกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกทีก่ รอบประตู ทางเข้าปรางค์ ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง ๔๙ ซ.ม. ยาว ๕๒ ซ.ม. เขียนเป็นตัวอักษรขอม โบราณ เนือ้ ความกล่าวถึงบุคคลจ�ำนวนหนึง่ ได้พากันไปชีแ้ จงแก่โขลญพล หัวหน้า หมูบ่ า้ น พระนุรพิเนาตามค�ำแนะน�ำของก�ำเสตงว่าทีด่ นิ ทีร่ าษฎรหมูบ่ า้ นพะนุรพิเนา มอบให้โขลญพลนีม้ ี ๒ ส่วน ส่วนหนึง่ เป็นทีด่ นิ ในหลักเขตให้ขนึ้ กับหัวหน้าหมูบ่ า้ น


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

49

พะนุรพิเนา นอกจากเรื่องการมอบที่ดินแล้วข้อความตอนท้ายของจารึกได้กล่าว ถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้อุทิศตน สิ่งของ ที่นาแด่เทวสถานและสงกรานต์ กล่าวโดยสรุปในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุม คงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอมที่พากันสร้างวัด โดยอุทิศที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ ดู แ ลวั ด หรื อ ศาสนสถานแห่ ง นี้ ซึ่ ง อาจเป็ น ศาสนสถานตามคติ พ ราหมณ์ หรือพุทธมหายานก็ได้ ๔. พระธาตุบ้านแก้ง (พระธาตุหนองสามหมื่น) อ�ำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ตามประวัติพระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน�้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไป ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุทมี่ ลี กั ษณะสวยงาม และสมบูรณ์ทส่ี ดุ องค์หนึง่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึน้ เมือ่ ใด แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปะล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ หรือช่วง พ.ศ. ๒๐๙๓ – ๒๑๑๕ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐาน เขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ ๔๕ เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว�ำ่ บัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึง่ มีซมุ้ ทัง้ สีท่ ศิ ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางร�ำพึงและปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนคร เวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวดั เทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ ปรากฏร่องรอยของคูน�้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุส�ำคัญที่พบทั้งในและนอกเขต คูเมืองหลายชิ้นได้น�ำมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่น ก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ และมี แผ่นหนึง่ น�ำไปตัง้ เป็นหลักเมืองประจ�ำอ�ำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนีย้ งั มีประติมากรรม


50

คนอีสานบ้านเฮา

รูปเคารพอีก ๒ ชิ้น สภาพช�ำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะ ขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ๕. พระธาตุขามแก่น จังหวัดขอนแก่น พระธาตุขามแก่นเป็นเจดีย์ ที่ส�ำคัญและเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น องค์พระธาตุขามแก่น ประดิษฐานอยูท่ วี่ ดั เจติยภูมิ บ้านขาม ต�ำบลบ้านขาม อ�ำเภอน�ำ้ พอง จังหวัดขอนแก่น ห่ า งจากตั ว จั ง หวั ด ขอนแก่ น ไปตามถนนขอนแก่ น – ยางตลาด เลี้ ย วซ้ า ย บ้านพรหมนิมิตร อ�ำเภอเมืองขอนแก่นประมาณ ๑๕ กม. เป็นเจดีย์ที่รู้จักกันดีใน ภาคอีสาน ไม่ปรากฏอายุการสร้างที่แน่นอน พระธาตุขามแก่นมีประวัติความเป็นมาเป็นเรื่องเล่าสืบขานกันมาช้านาน ว่ า มี ก ษั ต ริ ย ์ แ ห่ ง โมริ ย วงศ์ ไ ด้ ท รงทราบข่ า วการสร้ า งเจดี ย ์ ที่ เ มื อ งนครพนม ซึ่งพระอรหันต์ พระเถระ และชาวเมืองนครพนม พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๙ องค์ ในระหว่างเดินทางได้พากันค้างคืน ณ สถานทีแ่ ห่งหนึง่ ซึง่ มีตอมะขามใหญ่ตายซาก ตอหนึ่ง ผุเหลือแต่แก่น และได้อัญเชิญพระอังคารธาตุวางไว้ที่บนตามะขามผุนั้น เมื่อรุ่งเช้าจึงออกเดินทางต่อไปยังเมืองนครพนม ครั้นเมื่อถึงเมืองนครพนม กลับปรากฏว่าพระธาตุได้เสร็จสมบูรณ์และได้บรรลุพระบรมสารีริกธาตุไว้ใน องค์พระธาตุเรียบร้อย จะน�ำสิง่ ใดบรรจุภายในมิได้อกี แล้ว ดังนัน้ โมริยกษัตริยแ์ ละคณะ จึงได้ออกเดินทางกลับตามเส้นทางเดิมด้วยความผิดหวัง เมือ่ เดินผ่านตอมะขามใหญ่ ซึ่งเคยพักค้างแรมต่างก็ประหลาดใจเมื่อปรากฏว่าตอมะขามผุนั้นได้เจริญงอกงาม ตอเขียวขจี โมริยกษัตริยเ์ ห็นเป็นอัศจรรย์ในบุญญาธิการแห่งพระอังคารธาตุประดิษฐาน ไว้ในองค์พระธาตุนั้น และได้บรรจุพระธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ ๙ บท ไว้ในเจดีย์องค์เล็กทางด้านทิศตะวันตกของพระธาตุ เรียกว่า “พระเจ้าเก้าองค์” ต่อมาบริเวณนั้นได้มีชาวบ้านมาอยู่อาศัยมากขึ้นกลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อ ว่า “บ้านขาม” ตามชื่อตอมะขามอันเป็นที่ประดิษฐานพระอังคารธาตุ ต่อมา ได้ ย ้ า ยเมื อ งต่ อ ๆ มาหลายแห่ ง จนลุ ม า พ.ศ. ๒๓๔๐ ในรั ช สมั ย สมเด็ จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เพี้ยเมืองแพน พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเจ้าเมืองแพน ยกบ้าน


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

51

บึงบอนเป็น “เมืองขอนแก่น” จึงนับเอา ปี พ.ศ. ๒๓๔๐ เป็นปีแห่งการตัง้ เมืองขอนแก่น การบูรณะองค์พระธาตุขามแก่น จังหวัดได้จดั ท�ำยอดฉัตรทองค�ำประดิษฐาน บนองค์พระธาตุขามแก่นและอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานเพื่อบรรจุที่ยอดองค์พระธาตุขามแก่นจ�ำลอง ยอดฉัตรทองค�ำที่จัดสร้างขึ้นพร้อมยอดฉัตรเดิมและยอดฉัตรพระธาตุอรหันต์ การบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุขามแก่น มีการเรียบเรียงในคราสมโภชการ ตั้งฉัตร พ.ศ. ๒๔๙๙ ว่า - ครั้งแรก ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๙ – ๒๔๖๘ ในสมัยพระครูแพง พุทธสโร เจ้าอาวาสวัดเจติยภูมิ - ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๔๙๙ พระสารธรรมมุนี เจ้าคณะจังหวัด ขอนแก่น ได้มีด�ำริจัดท�ำฉัตรพระธาตุขึ้น และได้มีการซ่อมแซมบูรณะยอดพระธาตุ องค์พระธาตุใหม่ดว้ ยโครงเหล็กและปูนซีเมนต์ พร้อมทัง้ จัดงานตัง้ ฉัตรพระธาตุขามแก่น ในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ - ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๕ ได้บูรณะพระวิหาร อีกครั้ง โดยงบประมาณจากกรมศิลปากร มูลนิธิพระธาตุขามแก่น และศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน มีการเสริมความมั่นคงแข็งแรง ความสวยงาม รวมถึงการเทพื้น คอนกรีตเสริมเหล็กและอาคารสถานที่โดยรอบ - ครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๖ เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ สมัยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ด้วยวัสดุหมักตามกรรมวิธีโบราณ งานลงรักปิดทอง งานซ่อมแซมฉัตร ๕ ชั้น องค์พระธาตุอรหันต์ แนวก�ำแพง งานปรับปรุงภูมทิ ศั น์ ก่อสร้างศาลารายทัง้ ๔ ทิศใหม่ และได้เปลี่ยนยอดฉัตรองค์พระธาตุขามแก่นจากโลหะที่ลงรักปิดทองมาเป็นยอด ฉัตรทองค�ำ (น�้ำหนักทอง ๓,๕๔๔.๑๐ กรัม มูลค่า ๑,๕๓๖,๗๓๑ บาท) นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทาน พระบรมสารีริกธาตุ ๙ องค์ ให้มาบรรจุไว้ที่องค์พระธาตุขามแก่นด้วย


52

คนอีสานบ้านเฮา

ต่อมา เมือ่ วันศุกร์ที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และทรง ยกยอดฉัตรทองค�ำองค์พระธาตุขามแก่น ซึง่ ตรงกับสมัยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายเจตน์ ธนวัฒน์ เป็นผูว้ า่ ราชการจังหวัดขอนแก่น พระธาตุขามแก่นนับเป็นปูชนียสถานทีส่ ำ� คัญคูเ่ มืองขอนแก่น เป็นจุดยึดเหนีย่ ว ทางจิตใจ และมีความศักดิ์สิทธิ์คู่กับอีสานอีกแห่งหนึ่ง โดยทุกวันเพ็ญ เดือน ๖ จะมีงานฉลองพระธาตุขามแก่นเป็นประจ�ำทุกปี15 ๖. พระธาตุก่องข้าวน้อยที่บ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยของท้าวหน้า ท้าวค�ำสิงห์ ท้าวค�ำผงและพระวรวงศา (พระวอ) ทีอ่ พยพ มาจากกรุงศรีสตั นาคนหุต (เวียงจันทน์) เป็นธาตุทรงสีเ่ หลีย่ ม ก่ออิฐถือปูนได้อทิ ธิพล การออกแบบจากธาตุพระอานนท์ พระธาตุ ก ่ อ งข้ า วน้ อ ยเป็ น เจดี ย ์ เ ก่ า สมั ย ขอม สร้ า งในพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๕ ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึง่ แต่เดิมเป็นเพียงทุง่ นาในเขตต�ำบลตาดทอง พระธาตุกอ่ งข้าวน้อยเป็นเจดียก์ อ่ อิฐ ถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดียโ์ ดยทัว่ ไป คือมีลกั ษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็น เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๒ เมตร ก่อสูงขึ้นไป ประมาณ ๑ เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายท�ำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อย ๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอก ของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีก�ำแพงอิฐล้อมรอบขนาด ๕x๕ เมตร นอกจากนี้บริเวณ ด้านหลังพระธาตุมพี ระพุทธรูปอยูอ่ งค์หนึง่ ก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิส์ ทิ ธิม์ าก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน�้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ท�ำเช่นนี้ ฝนจะแล้งในปีนั้น

ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๒๔.

๑๕


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

53

พบใบเสมาจ�ำนวนมาก ท�ำให้ทราบว่าบริเวณลุ่มน�้ำชีตอนปลายต่อเนื่องกับ อ�ำนาจเจริญและอุบลราชธานีมกี ารผสมผสานของวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบ เจนละในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ ดังพบจากโบราณสถานที่ดงเมืองเตยซึ่งอยู่ ไม่ห่างไกลนัก ต่อมาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมล้านช้างมีการสร้างธาตุซึ่งมี เรือนธาตุเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีซุ้มจระน�ำอยู่ทั้งสี่ทิศและมีรูปทรงคอดที่กลาง เรือนธาตุท�ำให้คล้ายกับรูปร่างของก่องข้าว ซึ่งเป็นทรงสูงแบบก่องใส่ข้าวที่พบใน ท้องถิ่น ในต�ำนานของบ้านตาดทองซึ่งผูกพันกับพระธาตุพนมในวัฒนธรรมใน เขตลุ่มน�้ำโขง เล่ากันว่าชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้น�ำเอาของมีค่าต่าง ๆ รวบรวมใส่ถาด ทองค�ำเพือ่ จะน�ำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม แต่องค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จเสียก่อน ชาวบ้านจึงได้สร้างธาตุตาดทองและน�ำของมีค่ามาบรรจุไว้ในนี้แทน ส่วน “ธาตุลูก ฆ่าแม่” ที่เชื่อว่าสร้างตามต�ำนานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่นั้น เป็นเรื่องของหนุ่มชาวนา ที่ท�ำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลายอารมณ์ชั่ววูบ ท�ำให้เขากระท�ำมาตุฆาต ด้วยเหตุเพียงข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไม่พอกิน ครั้นเมื่อ กินข้าวอิม่ แล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคดิ ส�ำนึกผิดทีต่ นกระท�ำมาตุฆาต สันนิษฐาน ว่าน่าจะอยูท่ ี่ “วัดทุง่ สะเดา” ห่างไปราว ๒ กิโลเมตร เป็นสถูป ๒ องค์ ตัง้ อยูใ่ กล้กนั องค์หนึ่งเหลือแต่ฐาน อีกองค์หนึ่งมีฐานและเรือนธาตุเป็นรูปแปดเหลี่ยมมียอด เรียวแหลม พระธาตุ ก ่ อ งข้ า วน้ อ ยมี ป ระวั ติ ค วามเป็ น มาที่ น ่ า สนใจ ซึ่ ง ผิ ด ไปจาก ปูชนียสถานแห่งอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมา ของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ท�ำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบท�ำให้เขากระท�ำมาตุฆาต ด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดส�ำนึกผิดที่กระท�ำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ ความตายจึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระท�ำมาตุฆาต16 ๑๖

ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๓๕.


54

คนอีสานบ้านเฮา

๗. พระธาตุศรีสองรัก อ�ำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย พระธาตุศรีสองรัก เป็นปูชนียสถานที่ส�ำคัญที่สุดของจังหวัดเลย เป็นพระธาตุแห่ง “สัจจะและไมตรี” ของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิผู้ครองกรุงศรีอยุธยาแห่งราชอาณาจักรสยามและ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) แห่งอาณาจักร ล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๓ เพื่อเป็นสักขีพยานว่าจะไม่มีการสู้รบให้เลือดตก ต้องแผ่นดินกันอีกต่อไป และด้วยเจตนารมณ์ของกษัตริย์สองแผ่นดินในครั้งนั้น จึงมีผลให้มีการขอร้องและห้ามมิให้ใช้สีแดง ซึ่งถือว่าเป็นสีเลือด ในพื้นที่บริเวณ พระธาตุศรีสองรัก ไม่วา่ จะเป็นดอกไม้ เครือ่ งประดับ ของใช้ หรือแม้แต่เครือ่ งแต่งกาย พระธาตุศรีสองรักนีต้ งั้ อยูบ่ ริเวณจุดกึง่ กลาง ระหว่างแม่นำ�้ โขงและแม่นำ�้ น่าน ในอ�ำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย อยู่ห่างจากอ�ำเภอด่านซ้าย ๑ กิโลเมตร ลักษณะ ของพระธาตุศรีสองรัก เป็นเจดีย์คล้ายพระธาตุพนม สีขาว ก่ออิฐถือปูน มีฐานเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๘ เมตร สูงประมาณ ๓๒ เมตร บนยอดพระธาตุ มี แ ก้ ว ครอบเป็ น โดมและมี ก ระดิ่ ง ลู ก เล็ ก ๆ แขวนอยู ่ เ หนื อ โดม ตามประวั ติ “พระธาตุศรีสองรัก” เริม่ สร้างเมือ่ พ.ศ. ๒๑๐๓ ตรงกับปีวอกโทศก จุลศักราช ๙๒๒ และเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ ตรงกับปีกุลเบญจศก จุลศักราช ๙๒๕ ในวันพุธขึน้ ๑๔ ค�ำ่ เดือน ๖ และได้ทำ� พิธฉี ลองสมโภชในวันพฤหัสบดี ขึน้ ๑๕ ค�ำ่ เดือน ๖ สร้างขึน้ เพือ่ เป็นตัวแทนแห่งความรัก และความเป็นไมตรีของกษัตริยท์ งั้ สองแคว้น จนเป็นที่มาของนาม “พระธาตุศรีสองรัก” การสร้างพระธาตุศรีสองรัก นับเป็นสักขีพยานในความรักใคร่ของชนชาติ เผ่าลาวในดินแดนล้านช้างสมัยนั้น มาตั้งแต่โบราณกาลเป็นอย่างดี และพระธาตุ ศรีสองรักนี ้ ประชาชนในท้องทีจ่ งั หวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ นอกจากนั้นพระธาตุศรีสองรักยังเป็นปูชนียสถานที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดเคารพนับถือมาบนบานศาลกล่าวแล้วจะได้ตามความประสงค์ทุกประการ หรือหากน�ำดินธาตุจากองค์พระธาตุเจดียไ์ ปบูชาแล้วจะแคล้วคลาดจากภัยอันตราย ต่าง ๆ ได้


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

55

ที่มาของชื่อ “พระธาตุศรีสองรัก” นี้มาจากชื่อของเมืองทั้ง ๒ คือ ศรีอยุธยา และศรีสัตนาคนหุต โดยทั้งสองแผ่นดินตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “จะไม่มีการสู้รบกันอีก ต่อไป จะมีแต่ความรักใคร่ผกู พันกัน” จึงเกิดเป็นชือ่ “ศรีสองรัก” ในดินแดนแห่งสัจจะ และไมตรี ที่อ�ำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย17 ๘. พระธาตุบังพวน อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสตั นาคนหุต (เวียงจันทน์) เพือ่ ให้เป็นสัญลักษณ์ สัตตมหาเจดียสถานแห่งกรุงล้านช้าง พระธาตุบงั พวน เป็นพระธาตุเจดียท์ เี่ ก่าแก่และส�ำคัญยิง่ ของจังหวัดหนองคาย และเป็นพระธาตุที่ส�ำคัญองค์หนึ่งของภาคอีสาน ประดิษฐานอยู่ ณ บ้านพระธาตุ บังพวน ต�ำบลพระธาตุบังพวน อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ตามต�ำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า พระยาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร พระยาค�ำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย อุดรธานี พระยาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ) พระยาอินทปัตนคร เจ้าเมืองอินทปัตนคร (เขมร) และ พระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรหลวง (ตรงข้ามนครพนม) ได้ร่วมกันอุปถัมภ์ พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ อีก ๕๐๐ องค์ ก่อสร้างพระธาตุพนม แล้วเสร็จ และได้บรรลุพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด ต่อมาได้เดินทางไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อไปอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ๔๕ พระองค์ น�ำมาประดิษฐานไว้ ณ สถานที่ ๔ แห่ง คือ บริเวณ เมืองหนองคาย และเมืองเวียงจันทน์ หนึ่งในสี่แห่งนั้นคือ พระธาตุบังพวน ซึ่งได้ อัญเชิญพระบรมสารีรกิ ธาตุมาพักทีร่ ม่ ไม้ปาแป้ง (ไม้โพธิ) ณ ภูเขาหลวง อันเป็นทีต่ งั้ พระเจดีย์ พระธาตุบังพวนปัจจุบัน

ธิติ เฮงรัศมี. ธาตุอีสาน. หน้า ๑๙.

๑๗


56

คนอีสานบ้านเฮา

จากการส�ำรวจทางโบราณคดีพบว่า พระธาตุบังพวนได้มีการก่อสร้าง สืบเนื่องกันมาสามสมัย คือ ฐานเดิมสร้างด้วยศิลาแลง ชั้นที่สองสร้างด้วยอิฐ ครอบชั้นแรก และต่อมาได้มีการก่อสร้างให้มีขนาดสูงใหญ่ขึ้น จากจารึกที่ฐาน พระพุทธรูปทีข่ ดุ ได้ ๔ องค์ ในจ�ำนวนทัง้ หมด ๖ องค์ ระบุศกั ราชทีส่ ร้างไว้ ซึง่ ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๑๘ พ.ศ. ๒๑๕๐ พ.ศ. ๒๑๕๘ และ พ.ศ. ๒๑๖๗ และข้อความในจารึก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๗ มีประวัติในการสร้าง โดยได้กล่าวถึงพระเจ้าโพธิสาลราช ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีราชธานีอยู่ที่นครเชียงทอง ซึ่งก็ตรงกับ รูปแบบการก่อสร้างโบราณสถานในบริเวณวัดพระธาตุบังพวน ที่แสดงถึงอิทธิพล ของอาณาจักรล้านช้าง พระธาตุบงั พวนเป็นพระสถูปเจดีย์ ทรงเรือนปราสาทสีเ่ หลีย่ ม เป็นองค์ประธาน ซึ่งมีชื่ออยู่ในศิลาจารึกว่า พระธาตุบังพวนพระเจดีย์ศรีสัตตมหาทาน ภายในวัด มีกลุ่มพระธาตุขนาดต่าง ๆ อีก ๑๕ องค์ สันนิษฐานว่า คงจะสร้างในสมัยใกล้ เคียงกันกับพระธาตุบังพวน มีวิหาร ๓ หลัง อุโบสถ ๑ หลัง สระน�้ำ และบ่อน�้ำ โบราณ นอกจากนัน้ ยังมีโบราณสถานอีกกลุม่ หนึง่ ภายในบริเวณเดียวกัน เรียกว่า สัตตมหาสถาน อันเป็นสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติ เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย สัตตมหาสถานที่สร้างขึ้น มาภายหลังมีอยู่ ๓ แห่ง อยู่ที่ประเทศพม่าหนึ่งแห่ง และที่ประเทศไทยสองแห่ง คือทีว่ ดั เจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ และทีว่ ดั พระธาตุบงั พวน จังหวัดหนองคายแห่งนี้



กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสาน


๓. กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสาน ภูมิภาคอีสานเป็นดินแดนที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับประเทศในกลุม่ ประชาคมลุม่ น�ำ้ โขง ประชากรในภูมภิ าคนีม้ วี ฒ ั นธรรมทีห่ ลากหลาย โดยมีกลุม่ วัฒนธรรมไท - ลาวเป็นหลักและกลุม่ วัฒนธรรมย่อยทีแ่ ตกต่างตามสภาพ ท้องถิน่ ฐานเดิม กลุม่ ชาติพนั ธุใ์ นภูมภิ าคนีจ้ ำ� แนกตามตระกูลภาษาได้ ๒ ตระกูล คือ กลุ่มไต - กะได ที่ประกอบด้วยกลุ่มวัฒนธรรมไท - ลาว ไทโคราช และกลุ่มออสโตร เอเชียติก สาขามอญ - เขมร ที่ประกอบด้วยกลุ่มเขมรถิ่นไทย กูย บรู อีสานนอกจากการเป็นดินแดนอันกว้างขวาง ที่มีวัฒนาการทางสังคมอย่าง ต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีต การเดินทางติดต่อระหว่างกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ที่ท�ำให้อีสาน ไม่ใช่ดนิ แดนทีอ่ ยูโ่ ดดเดีย่ ว พืน้ ทีส่ งู ทีร่ าบบนผืนแผ่นดินใหญ่และแนวชายฝัง่ ทะเล เป็นองค์ประกอบที่ท�ำให้มีการติดต่อไปมาหาสู่กันอย่างกว้างขวาง กลุ่มชนไต กะได เป็นกลุ่มชนหลักในภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มชนอื่น ๆ เช่น กลุ่ม ออสโตรเอเชียติก สาขามอญ - เขมร กระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคนี้การผสมผสาน ทางวัฒนธรรมและพัฒนาการทางสังคมทีส่ งั่ สมมาอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้กลุม่ ชนต่าง ๆ สร้างสรรค์อารยธรรมขึ้นมาอย่างมีเอกลักษณ์จนกลายเป็นวัฒนธรรมของภูมิภาค ชาวอีสานหรือคนอีสานไม่ใช่ชอื่ ชนชาติหรือเชือ้ ชาติเฉพาะของอีสาน แต่เป็น ชือ่ ทางวัฒนธรรมมีทมี่ าจากภูมศิ าสตร์บริเวณทีเ่ รียกอีสานหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่ สุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์ โบราณ เลยสมมุมติเรียกคนกลุ่มนี้อย่างรวม ๆ กว้าง ๆ ว่าชาวอีสาน หรือคนอีสาน ชาวอีสานหรือคนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสานของผู้คน ชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ทั้งภายในและภายนอก ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ต�่ำกว่า ๕,๐๐๐ ปีหรืออาจถึง ๑๐,๐๐๐ ปี และยังมีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันหรือ อาจมีต่อถึงอนาคต


60

คนอีสานบ้านเฮา

ผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ที่ประสมประสานกันเป็นชาวอีสาน มีบรรพชนอย่างน้อย ๒ พวก คือ คนพืน้ เมืองดัง้ เดิมอยูใ่ นสุวรรณภูมิ กับคนภายนอก เคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจากทิศทางต่าง ๆ มีร่องรอยและหลักฐาน ดังนี้ คนพื้นเมืองดั้งเดิม ๕,๐๐๐ ปี ชาวอีสานดั้งเดิมมีชีวิตร่อนเร่อยู่ในดินแดนอีสานมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี เพราะ หลังจากนั้นมีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าคนนี้ปลูกเรือนอยู่เป็นที่ (ปัจจุบัน คือ บริเวณอ�ำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น) รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เช่น หมูและวัว รู้จักท�ำภาชนะดินเผาท�ำสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และมีประเพณีฝังศพ ฯลฯ ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าคนอีสานพวกแรกเหล่านี้เป็นชนกลุ่มไหน เผ่าพันธุ์ใด แต่แบ่งคนเป็น ๒ พวก คือ พวกที่สูงกับพวกที่ราบ ดังนี้ พวกที่สูง พวกนี้อาศัยอยู่บริเวณป่าเขาล�ำเนาไพร มีแหล่งเพาะปลูกน้อย มีแหล่งน�้ำ หล่อเลีย้ งไม่เพียงพอ เพาะปลูกด้วยระบบทีเ่ รียกว่าเฮ็ดไฮ่ (ท�ำไร่) หรือแบบล้าหลัง คือเอาไฟเผาป่าให้ราบลงเป็นแปลงเท่าที่ต้องการ ไม่ต้องพรวนไม่ต้องไถและ เอาจอบเกลีย่ หน้าดินแล้วเอาไม้ปลายแหลมแทงดินให้เป็นรู เอาเมล็ดพันธุพ์ ชื หยอด ลงทีละรูแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ตามยถากรรม แล้วแต่ดิน ฝน และแดด แต่พันธุ์พืชหรือ พันธุ์ข้าวชนิดที่ปลูกเป็นพันธุ์ป่าชนิดที่ไม่ต้องขวนขวายทดน�้ำมาหล่อเลี้ยง พอพืช โตได้ทมี่ ดี อกออกผลก็เก็บเกีย่ ว แล้วก็ทงิ้ ดินแปลงนัน้ ให้หญ้าและต้นไม้ขนึ้ รกชัฏไป ตามเรื่อง ใช้ได้ครั้งเดียว ปีรุ่งขึ้นก็ขยับไปเผาป่าในที่ถัดออกไปใหม่ ขยับเวียนไป รอบทิศตามสะดวก ไม่มใี ครหวงห้ามหรือจับจอง ๒ – ๓ ปีผา่ นไปก็หนั กลับมาเผาที่ ตรงแปลงเดิมใหม่แต่ถา้ หากดินจืด ใช้ไม่ได้ผลก็ยา้ ยหมูบ่ า้ นกันใหม่ ไปเลือกท�ำเลใหม่ การเพาะปลูกแบบนี้ผลิตอาหารได้น้อย เพราะมีพื้นที่น้อยและท�ำได้ไม่ สม�่ำเสมอ ฉะนั้นนอกจากจะมีอาหารเลี้ยงคนได้น้อยแล้ว ยังเป็นเหตุให้ชุมชนต้อง เคลื่อนย้ายไปตามแหล่งเพาะปลูกแห่งใหม่อยู่เสมอ พวกนี้จึงมีลักษณะทางสังคม เป็นแบบชนเผ่าที่อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งหลักแหล่งถาวรไม่ได้ ขยายตัว เป็นบ้านเมืองไม่ได้


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

61

พวกที่ราบสูง พวกนีอ้ าศัยบริเวณทีร่ าบลุม่ ในหุบเขา ทีร่ าบลุม่ แม่นำ�้ และทีร่ าบตามชายฝัง่ ทะเลซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกกว้างขวางกว่าเขตที่สูงมีน�้ำท่วมถึง หรือมีการชัก น�้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกได้ ท�ำให้มีโคลนหรือตะกอนจากที่อื่น ๆ เข้ามาทับถมกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ที่ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์เสมอ ๆ ทุก ๆ ปี จนไม่ต้องโยกย้ายไปหาที่เพาะปลูกใหม่ และสามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้เต็มเม็ด เต็มหน่วยพอเลี้ยงคนได้จ�ำนวนมาก ทั้งมีส่วนเกินพอที่จะน�ำไปแลกเปลี่ยนสิ่งของ กับชุมชนอื่นๆ ท�ำให้ท้องถิ่นมีผู้คนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ เขตทีพ่ ฒ ั นาการจากหมูบ่ า้ นเป็นเมือง แล้วก้าวหน้าเป็นรัฐและอาณาจักรได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกหนทุกแห่งในเขตที่ราบจะมีโอกาสก้าวหน้าได้เหมือน กันหมด เพราะยังมีข้อแตกต่างกันด้านอื่น ๆ ที่อาจเป็นสิ่งเอื้ออ�ำนวยและข้อจ�ำกัด

พวกที่ราบสูง – ที่ราบ ผสมกลมกลืนกันเป็น “ชาวสยาม”

พวกที่สูงมีความรู้และช�ำนาญในการถลุงโลหะ ส่วนพวกที่ราบมีความรู้ และช�ำนาญในการท�ำนาปลูกข้าวในที่ลุ่ม ทั้งสองพวกนี้มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน ตลอดเวลา จนถึงระยะเวลาหนึง่ พวกทีส่ งู ก็ลงมาอยูท่ รี่ าบแล้วผสมกลมกลืนกันทาง สังคมและวัฒนธรรม มีร่องรอยอยู่ในนิทานปรัมปราหลายเรื่อง คนที่สูงกับที่ราบผสมกลมกลืนกันทางเผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม เมื่อนาน เข้าก็เป็นพวกเดียวกัน ตัง้ หลักแหล่งอยูร่ ว่ มกันในดินแดนทีค่ นภายนอกเรียกสยาม คนพวกนี้เลยถูกเรียกอย่างรวม ๆ เป็นชาวสยาม18

สุจิตต์ วงษ์เทศ. “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน?. หน้า ๔๔.

๑๘


62

คนอีสานบ้านเฮา

กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสานแบ่งตามตระกูลภาษา ๒ กลุ่ม ภาษาพูดในชีวิตประจ�ำวันของชาวอีสานคือ ภาษาลาว อยู่ในตระกูลภาษา ไทย – ลาว เป็น w1 ใน ๕ ของตระกูลภาษาใหญ่ของสุวรรณภูมิ (หรือภูมิภาคอุษา คเนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ทัง้ ยังเป็นเค้าภาษาไทยและฉันทลักษณ์ในวรรณคดี ไทย ตลอดจนท�ำนองร้องรับขับล�ำ เช่น ร่าย – โคลง โองการแช่งน�้ำ สวด – เทศน์ มหาชาติ เจรจาโขน ขับเสภา ฯลฯ ชาวอีสานก็เหมือนคนทั้งหลายในโลก มีภาษาพูดก่อน หลังจากนั้นอีกนาน ถึงมีภาษาเขียนด้วยตัวอักษร ฉะนั้นภาษาลาวจึงเป็นตระกูลภาษาเก่าแก่ตระกูล หนึ่งในสุวรรณภูมิ มีอายุไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานชัดเจนอยู่ใน กลุ่มชนดั้งเดิมบริเวณมณฑลกวางสีที่เมืองจีน คนที่พูดภาษาลาวมีหลายกลุ่ม ล้วนตั้งหลักแหล่งกระจัดกระจายปะปนอยู่ กับคนที่พูดภาษาตระกูลอื่น ๆ เช่น ตระกูลม้ง – เย้า, จีน – ทิเบต, ทิเบต – พม่า, มอญ – เขมร, มาเลย์ – จาม, รวมทั้งภาษาจีนฮั่น ถ้อยค�ำส�ำนวนภาษาของตระกูล อื่น ๆ จึงมีคละเคล้าปะปนอยู่ในภาษาลาว การผสมกลมกลืนทางภาษามีมาแต่ยุคดึกด�ำบรรพ์ บางทีจะตั้งแต่ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว และต่อเนื่องถึงสมัยหลังๆ ลงมาจนถึงปัจจุบันแล้วจะยังมีต่อไปในอนาคต ไม่มีวันจบสิ้น มีแต่จะผสมกับตระกูลภาษาอื่นๆ หลายภาษามากขึ้นกว่าแต่ก่อน เป็นเหตุให้ภาษามีความเจริญงอกงามไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่จะเคลื่อนไหวไปตาม สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม ๑. ออสโตรเอเชียติก (Astroasiatic) ๒. ไต - กะได (Tai - Kadai)


๓.๑ กลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (สาขามอญ - เขมร)


เขมรถิ่นไทย


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

65

๓.๑ กลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (สาขามอญ - เขมร) ๓.๑.๑ เขมรถิ่นไทย19

ชาวเขมรถิ่นไทย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกสาขา มอญ - เขมร ที่เรียกตนเองว่า “คแมร์ - ลือ” ซึ่งแปรว่าเขมรสูงแต่เรียกเขมร ในประเทศกัมพูชาว่า “คแมร์ - กรอม” แปลว่าเขมรต�ำ่ มีภมู ลิ ำ� เนากระจายทัว่ ไป ในเขตจังหวัดสุรนิ ทร์ ศรีสะเกษและบางอ�ำเภอในจังหวัดบุรรี มั ย์ เช่น อ�ำเภอประโคนชัย อ�ำเภอสตึก อ�ำเภอกะสัง และอ�ำเภอสุวรรณภูมิ ในจังหวัดร้อยเอ็ด ชาวเขมร ถิ่นไทยนับถือศาสนาพุทธ และมีความเชื่อในเรื่องผีตายายมาก มีการเซ่นผีตายาย ทีเ่ รียกว่าพิธี “แซนโฎนตา” นอกจากนีย้ งั มีความเชือ่ ในเรือ่ งของยายสัง่ มีการละเล่น พื้นเมืองที่ส�ำคัญ เช่น กันตรึม การขับเจรียง และร�ำสาก เป็นต้น การแต่งกาย การแต่งกายของผู้ชายมีทั้งนุ่งโสร่ง โจงกระเบน และกางเกง ขาก๊วย สวมเสื้อคอกลมผ่าอก มีผ้าขาวม้า ซึ่งเรียกตามภาษาเขมรว่า “สไบ” คาดเอว ส�ำหรับผ้านุง่ โจงกระเบนนัน้ นิยมผ้าหางกระรอก ซึง่ ชาวเขมรมีฝมี อื ในการ ทอผ้าไหมหางกระรอกมาก ผู้ชายนิยมตัดผมสั้น ส่วนผู้หญิงจะนุ่งซิ่นไหมและฝ้าย เรียกว่า “ซัมป๊อด” มีหลายแบบหลาย ลาย เช่น โฮล อันลุยซึมอันปรม (พื้นแดงเข้ม มีขีดด�ำขาวตัดกัน) ซะมอ ละเบิก หมี่ คั่น ผู้หญิงเขมร ถิ่นไทยจะใส่เสื้อแขนกระบอกคอกลมผ่าอกติดกระดุม พาดผ้าสไบ ในโอกาสส�ำคัญ ๆ สตรีนิยมปล่อยผมยาวไม่เกล้ามวย

เขมรถิน่ ไทยเป็นชือ่ ทางวิชาการ ได้กำ� หนดขึน้ เพือ่ เรียกผูท้ พี่ ดู ภาษาเขมรซึง่ อาศัยอยูใ่ นประเทศไทย โดยทัว่ ไปชาวเขมรถิน่ ไทยเรียกตัวเองว่า “คแมร์” หรือ “คแมร์ - ลือ” แปลว่าเขมรสูง เรียกภาษาเขมร และ ชาวเขมรในกัมพูชา ว่า “คแมร์ - กรอม” แปลว่า เขมรต�ำ่ และเรียกคนไทยว่า “ซีม” ซึง่ ตรงกับค�ำว่า “สยาม” ในภาษาไทย เมื่อพิจารณาเขตการปกครอง ได้แบ่งภาษาเขมรเป็น ๓ กลุ่ม คือ ๑) ภาษาเขมรเหนือหรือ เขมรสูง (เขมรถิ่นไทย) ๒) ภาษาเขมรกลางเป็นภาษาของผู้ที่อยู่ในกัมพูชา ๓) ภาษาเขมรใต้เป็น ภาษา ของคนเวียดนามเชื้อสายเขมร ปัจจุบันพบชาวเขมรถิ่นไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว ๑๙


กูย


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

67

๓.๑.๒ กูย20 คนไทยทั่วไปเรียกชาวกูยหรือกวยว่า “ส่วย” ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ในกลุ่ม ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขามอญ - เขมร ชาวกูยมีความสามารถในการ คล้องช้าง เลี้ยงช้างและฝึกช้างเพื่อใช้งาน จึงมีพิธีกรรมและความเชื่อหลายอย่างที่ เกี่ยวกับช้าง เช่น การเซ่นผีปะก�ำ ซึ่งต้องกระท�ำก่อนที่จะออกล่าช้างป่าเพื่อเป็น สิริมงคล และเป็นการเสี่ยงทาย ปัจจุบันชาวกูยตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บางอ�ำเภอในจังหวัดบุรรี มั ย์ เช่น อ�ำเภอสตึก อ�ำเภอกะสัง อ�ำเภอหนองกี่ ในเขตบ้านสะเดาหวาน อ�ำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และบางส่วน ในเขตอ�ำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี การแต่งกาย แต่เดิมชาวกูยนิยมนุ่งโสร่งหางกระรอกหรือนุ่งโจงกระเบน คล้องผ้าสไบ คาด “ถุงไถ้” ซึ่งท�ำด้วยผ้าขิดส�ำหรับใส่เครื่องรางเวลาเข้าป่า ส่วนผูห้ ญิงชาวกูย นิยมนุง่ ผ้าซิน่ มีทงั้ ทอเป็นลายขิดคล้ายไทลาวหรือตีนซิน่ ลายผ้ามัดหมี่ คล้ายชาวเขมรถิน่ ไทยสวมเสือ้ คอกระเช้า หญิงสูงอายุมกั ใส่สร้อยคอ ลูกปัดที่ท�ำจากพลาสติกหรือเงินและมักใส่ดอกไม้หอมแทนต่างหู

กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ เรียกตนเองว่า กูย กุย โกย หรือ กวย ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะการ ออกเสียงของแต่ละถิน่ ถึงแม้ชนพืน้ เมืองจะออกเสียงสระแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิน่ ชนพืน้ เมืองต่าง ก็ให้ความหมายของค�ำว่า กูย กุย โกย หรือ โกย ไว้อย่างมีเอกภาพ คือมีความหมายว่า “คน” ทั้งสิ้น ส่วนค�ำว่า ส่วย นัน้ เป็นค�ำทีบ่ ญ ั ญัตขิ นึ้ มานอกเหนือบริบทของวัฒนธรรมกูย ซึง่ ชาวกูย ไม่ยอมรับชือ่ นีน้ กั ๒๐


โซ่, กะโส้


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

69

๓.๑.๓ กลุ่มชาติพันธุ์โซ่, กะโส้ 21 ชาวโซ่หรือกะโส้อยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกสาขามอญ - เขมร จากการศึกษา สันนิษฐานว่าชาวโซ่ได้ตงั้ ถิน่ ฐานบริเวณเมืองแถน แล้วย้ายมาเมือง มหาชัยก่องแก้ว เมืองบก เมืองวัว ก่อนที่จะเข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวรในภาคอีสาน ปัจจุบนั ชาวโซ่นบั ถือศาสนาพุทธพร้อมทัง้ นับถือผีควบคูก่ นั ไป โดยเฉพาะผีบรรพบุรษุ มีพิธี “โส้ทั่งบั้ง” หรือพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษประจ�ำปีที่ส�ำคัญ นอกจากนี้ยังมีพิธี ซางกะมูด เพื่อเป็นการส่งวิญญาณของผู้ตายอีกด้วย การแต่งกาย ชาวโซ่มีการแต่งกายเช่นเดียวกับชาวไทอีสานโดยทั่วไป แต่ในอดีตผู้ชายนิยมนุ่งผ้าเตี่ยว ส่วนชาวโซ่ที่ได้ร�่ำเรียนวิชาอาคมไสยศาสตร์ มักมีลกู ประค�ำคล้องคอ นอกจากนีย้ งั นิยมสักขาลายจากเหนือหัวเข่าขึน้ ไปถึงขาอ่อน ส่วนผูห้ ญิงนิยมใส่เสือ้ แขนกระบอกสีดำ� ขลิบแดง ผ่าอกติดกระดุมเงินกลม ชายเสือ้ ด้านข้างแหวกชายทัง้ สองข้าง ใช้ดา้ ยแดงตกแต่งขอบนุง่ ผ้ามัดหมี่ ฝ้ายหรือไหมห่ม สไบทับ แต่เดิมหญิงนิยมสักลวดลายแบบรวงข้าวหรือลายดอกไม้ไว้ที่ห้องและเอว ด้วย ในอดีต “โส้ทงั่ บัง้ ” เป็นพิธกี รรมไหว้วญ ิ ญาณบรรพบุรษุ ประจ�ำปี แต่ในปัจจุบนั ได้เปลี่ยนมาเป็นการละเล่นประเภทหนึ่งในพิธีจะมีการทรงเจ้า การขับร้องเพลง ร่วมกัน ทัง่ บัง้ คือ การกระทุง้ ไม้ไผ่ให้เป็นจังหวะ มีผหู้ ญิงฟ้อนตามจังหวะ ภายหลัง ได้มีการเพิ่มเครื่องดนตรี เช่น กลองเส็ง ฉาบ ฉิ่ง แคน เข้าไปด้วย

กลุ่มชาวไทยกะโซ่ บางท้องที่ก็เรียกว่าพวก “โซ่” แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน เขียนว่า “กะโซ่” ซึง่ ยังมีผเู้ ข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับลาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี นครปฐมและสุพรรณบุรี ส�ำหรับลาวโซ่งคือ พวกไทด�ำที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองจุไทยในสมัยกรุงธนบุรี ส่วน “ข่าโซ่” ซึ่งถือว่า เป็นข่าพวกหนึ่งอยู่ในตระกูลมอญเขมรกะโซ่ ตามลักษณะและชาติพันธุ์ถือว่าอยู่ในกลุ่มมองโกลอยด์ กะโซ่มีภาษาและขนมธรรมเนียมประเพณีแตกต่างไปจากพวกข่าทั่วไป แต่ภาษาของกะโซ่ก็ยังถือว่าอยู่ ในตระกูล “ออสโตรอาเซียติก” สาขามอญเขมรหรือกะตู ๒๑


บรู


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

71

๓.๑.๔ บรู 22 ชาวบลู หรือ บรู เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลุ่มตระกูลภาษาออสโตร เอเชียติก สาขามอญ - เขมร อาศัยอยู่ตามป่าเขาแนวริมฝั่งแม่น�้ำโขงทั้งในลาวและ ไทย เมื่อครั้งที่ฝรั่งเศสได้ปกครอง ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นต้นมาชาวพื้นเมืองเหล่านี้ถูกกดขี่ข่มเหง จึงอพยพข้ามแม่น�้ำโขงมาอยู่แนว ริมฝั่งโขงทางฝั่งไทย เช่น ที่บ้านเวินบึก บ้านทาล้งและบ้านหินคก อ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ชาวบรูเชื่อในการนับถือวิญญาณมาก เห็นได้จากประเพณี เลี้ยงผีบ้าน และประเพณีเลี้ยงผีดงที่ท�ำอย่างเคร่งครัดทุกปี การแต่งกาย ปัจจุบันชาวบรูไม่มีการทอผ้าใช้เอง แต่ซื้อจากกลุ่มชนอื่น ดังนั้นการแต่งกาย จึงคล้ายกับชาวอีสานทั่ว ๆ ไป

กลุ่มชาวบรู มีถิ่นฐานก�ำเนิดอยู่ลาวฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขง บริเวณแขวงสะหวันนะเขต สาละวัน และ อัตตะปือ เมื่อราว ๑๑๕ ปี ดินแดนบริเวณนี้เคยเป็นของชาวบรูมาก่อน แล้วจึงได้อพยพข้ามแม่น�้ำโขง มาฝั่งไทย ชาวบรูตามค�ำเรียกของนักมานุษยวิทยา เรียก ชาวบรูเป็นชาวข่า กลุ่มชนดั้งเดิมในแถบลุ่ม แม่น�้ำโขง สืบเชื้อสายมาจากลุ่มชาวขอม ซึ่งกลุ่มชนขอมเคยอยู่ในบริเวณอาณาจักรเจนละมาก่อน และ ชาวข่าจะเรียกกลุ่มของตนเองว่า “บรู” ๒๒


ญัฮกูร หรือชาวบน


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

73

๓.๑.๕ ญัฮกูรหรือชาวบน23 ชาวญัฮกูร หรือชาวบนหรือคนดง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มตระกูลภาษา ออสโตรเอเชียติก ตั้งถิ่นฐานตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ ในเขตจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และเพชรบูรณ์ แต่เดิมชาวบนอยูแ่ ต่เฉพาะในกลุม่ ของตน ไม่ชอบคบค้า กับชนกลุม่ อืน่ บ้านเรือนมักปลูกคล้ายเรือนผูกของชาวอีสานทัว่ ไป แต่มเี อกลักษณ์ ในส่วนที่เรียกว่า “กะต๊อบเมียว” ที่เป็นฟ่อนหญ้าคาแห้งมัดเป็นเป็นห่วง ๓ ห่วง ผูกติดกันเป็นหัวกลม ปล่อยหาง เป็นปอยยาว คล้องไว้บนขื่อหน้าจั่วบ้าน ปัจจุบัน ชาวญัฮกูร นับถือพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือผี การแต่งกาย สมัยก่อนผู้ชายชาวบนมักนุ่งกางเกงแบบไทย หรือไม่ก็ โจงกระเบนแบบเขมร ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าผืนสีสด เช่น สีแดง แดงเข้ม หรือน�ำ้ เงินเข้ม เป็นผ้าสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าพันอ้อมร่างแล้วท�ำเป็นหัวพกโต ๆ เหน็บชาย ไว้ด้านข้าง สวมเสื้อที่เรียกว่า เสื้อเก๊าะ สีน�้ำเงินเข้มหรือสีด�ำ แขนกุด ปักกุ๊นรอบ แขนและรอบคอเสื้อด้วยสีแดงหรือสีอื่น คอเสื้อด้านหลังมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วปล่อยเศษด้ายเส้นยาวๆ ทิ้งไว้ประมาณ ๓ - ๔ เส้น ซึ่งจะใส่เฉพาะในงานพิธี ปัจจุบันมีแต่ชาวบนที่เป็นผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไปเท่านั้นที่ยังแต่งกายด้วยผ้าผืน และเสื้อเก๊าะอยู่

ชาวบนเรียกตัวเองและภาษาของตนว่าญัฮกูร ค�ำว่า “ญัฮกูร” แปลว่า คนภูเขา “ญัฮ” แปลว่า คน “กุร” แปลว่าภูเขา ชาวไทยเรียก ชาวบน หรือ คนดง ให้เรียกว่าชาวบน แต่จะเรียกตนเองเป็นภาษาไทย ว่าคนดงและพูดภาษาคง ภาษาญัฮกูรจัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยมอญ - เขมร สาขามอญ ในปัจจุบัน มีความคล้ายคลึงกับภาษามอญโบราณทีป่ รากฏในจารึกสมัยทวารวดีทคี่ น้ พบในประเทศไทย ถิน่ อาศัยของ ชาวบนในประเทศไทย พบที่จังหวัดนครราชสีมา เขตอ�ำเภอปักธงชัย ได้แก่ หมู่บ้านกลาง จังหวัดชัยภูมิ ๒๓


74

คนอีสานบ้านเฮา

เครื่องประดับ นิยมเครื่องเงิน แต่ก่อนหญิงชายชาวบนนิยมเจาะใบหูเป็นรู กว้าง ๆ ใช้ใบลานกลม ๆ ใส่รูหูไว้แล้วเอากระจกอุดรูใบลาน เพื่อให้มีแสงแวววาว การแต่งกายแบบนี้มักจะใช้แต่งในงานบุญ ในยามค�่ำคืนชายหญิงจะนั่งล้อมวง เพื่อขับเพลงโต้ตอบกันที่เรียกว่า ป้ะ เร่ เร่ หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่ากระแจ้ะ ใช้กลองโทนหรือ “ตะโพน” ให้จังหวะ ในยามเทศกาลจะมีการขับเพลงกันทุกบ้าน เนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่เกี่ยวกับความเหงา ว้าเหว่ แม่ม่ายหรือเป็นไปท�ำนอง ชมธรรมชาติ


๓.๒ กลุ่มตระกูลภาษาไต - กะได (สาขาไต)


ไทโคราช


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

77

๓.๒ กลุ่มตระกูลภาษาไต - กะได (สาขาไต) ๓.๒.๑ ไทโคราช24

ชาวโคราชจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มตระกูลภาษาไต - กะได สาขาไต พบว่ามีการตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดนครราชสีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ก็ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมไทย ภาคกลางเป็นส�ำคัญ และยังได้รบั วัฒนธรรมเขมรและวัฒนธรรมไทยลาวเข้ามาผสม ผสานอีกด้วย ท�ำให้กลุ่มชาติพันธุ์ไทโคราชมีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งภาษาพูด อาหาร รวมทั้งการละเล่น โดยเฉพาะเพลงโคราช ชาวไทโคราชตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ตาม จังหวัดต่าง ๆ เช่น อ�ำเภอปักธงชัย อ�ำเภอห้วยแถลง อ�ำเภอครบุรี อ�ำเภอหนองบุน นาก อ�ำเภอด่านขุนทด ในจังหวัดบุรีรัมย์ เช่นที่อ�ำเภอนางรอง อ�ำเภอละหานทราย อ�ำเภอหนองกี่ อ�ำเภอเมือง อ�ำเภอล�ำปลายมาศ และจังหวัดชัยภูมิ ในเขตอ�ำเภอ จตุรัส อ�ำเภอบ�ำเหน็จณรงค์ การแต่งกาย ชาวไทโคราชนิยมแต่งกายแบบไทยภาคกลาง คือ ชายนุ่ง โจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ไม่ผ่าอก หญิงนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนเช่นเดียวกัน ไม่นิยมนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบทับเสื้อ ถ้าอยู่บ้านมักใช้ผ้าคาดอก การละเล่นที่ส�ำคัญคือ “เพลงโคราช” ซึ่งมีลักษณะเป็นเพลง “ปฏิพากย์” คือ การร้องเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ คนร้องจึงต้อง ตบมือให้จังหวะ ส่วนดนตรีนั้นชาวโคราชนิยมวงปี่พาทย์ ไม่นิยมวงแคน การแสดง ที่ส�ำคัญของชาวไทโคราชคือ ลิเก

ไทโคราช ชื่อ ไทยโคราช จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย แต่ไทย โคราชเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่มีวัฒนธรรมโคราช ได้แก่ มีเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า “เพลงโคราช” ใช้ดนตรีพื้นบ้าน คือ มโหรีโคราช และที่เป็นเอกลักษณ์ส�ำคัญคือใช้ภาษาโคราชในชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งกลุ่ม ชาติพันธุ์นี้ อยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาแล้วยังมีอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ และบางส่วนของจังหวัดลพบุรี บางครั้งอาจเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า ไทยเบิ้ง ๒๔


ไทลาว


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

79

๓.๒.๒ ไทลาว25 ชาวอีสานหรือคนอีสานไม่ใช่ชอื่ ชนชาติหรือชาติเฉพาะของอีสาน แต่เป็นชือ่ ทางวัฒนธรรม มีทมี่ าจากภูมศิ าสตร์บริเวณทีเ่ รียกอีสานหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย (อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่สุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์ โบราณ) เลยสมมุติเรียกคนกลุ่มนี้อย่างรวม ๆ กว้าง ๆ ว่าชาวอีสานหรือคนอีสาน ชาวอีสานหรือคนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสานของผู้คน ชนเผ่าเหล่ากอหลายชนชาติทั้งภายในและภายนอก ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ต�่ำกว่า ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว (อาจถึง ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้วก็ได้) แล้วยังมีต่อเนื่องถึง ทุกวันนี้ และอาจจะมีต่อไปในอนาคตอีกไม่รู้จบ ผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ที่ประสมประสานกันเป็นชาวอีสาน มีบรรพชนอย่างน้อย ๒ พวก คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ภายในสุวรรณภูมิ กับคน ภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจากทิศทางต่าง ๆ มีร่องรอยและหลักฐานสรุป ย่อ ๆ ได้ดังต่อไปนี้

ไทยลาว (ไทยอีสาน) ตระกูลภาษาไท - กะได กลุ่มไทยลาว เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด มีประชากร มากที่สุดในอีสาน ซึ่งชาวภาคกลาง มักจะเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ลาว” เพราะว่ามีภาษาพูดเป็นภาษา เดียวกับคนลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ความจริงแล้วเป็นภาษาไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งมีวัฒนธรรมเหนือกว่ากลุ่มอื่นๆ เป็นกลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมลุ่มน�้ำโขงแต่โบราณ ตัวอักษรที่ใช้มี ๒ แบบ คือ อักษรไทยน้อยและอักษรธรรม ๒๕


80

คนอีสานบ้านเฮา

๑. คนพื้นเมืองดั้งเดิม ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชาวอีสานดั้งเดิมมีชีวิตร่อนเร่อยู่ในดินแดนอีสานมานานมากกว่า ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว เพราะหลังจากนัน้ มีหลักฐานทางโบราณคดียนื ยันว่าคนพวกนีป้ ลูกเรือนอยู่ เป็นที่ (ปัจจุบันคือ บริเวณอ�ำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น) รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ เช่น หมูและวัว รูจ้ กั ท�ำภาชนะดินเผา ท�ำสัมฤทธิเ์ ป็นเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ และมีประเพณี ฝังศพ ฯลฯ (สุรพล นาถะพินธุ อ้างถึงผลการขุดค้นทางโบราณของศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม จี โซลไฮม์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยฮาไว สหรัฐ, บ้านเชียง กรมศิลปากร จัดพิมพ์เนื่องในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๐) ไม่มหี ลักฐานชีช้ ดั ว่าคนอีสานพวกแรกเหล่านีเ้ ป็นชนกลุม่ ไหน เผ่าพันธุ์ใด แต่อย่างน้อยเป็นคน ๒ พวก คือ พวงที่สูงกับพวกที่ราบ ชาวอีสานมีก�ำเนิดจากน�้ำเต้าปุง ไม่มหี ลักฐานจะบอกได้แน่นอนว่าบรรพชนคนอีสานเป็นใคร ? มาจากไหน? และไม่มวี นั จะพบหลักฐานเป็นรูปธรรมได้เลย นอกจากมีเป็นนามธรรมในจินตนาการ ของคนแต่ก่อน ว่าบรรพชนคนสองฝั่งโขงทั้งพวกที่สูงและพวกที่ราบมีก�ำเนิดจาก น�้ำเต้าปุง ถือเป็นค�ำบอกเล่าที่มีเค้าเก่าแก่มากและอยู่ในความทรงจ�ำของกลุ่มชน ตระกูลไทยลาวที่มีหลักแหล่งบริเวณสองฝั่งโขง ว่าด้วยแถนและก�ำเนิดคนจาก น�ำ้ เต้าปุง ต่อมาภายหลังอีกนานมีผจู้ ดบันทึกความทรงจ�ำค�ำบอกเล่านัน้ ไว้ แล้วจัด รวมอยู่ต้นเรื่องพงศาวดารล้านช้าง26

สุจิตต์ วงษ์เทศ. “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน?. หน้า ๗๐

๒๖


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

81

ชาวไทยลาว หรือ ชาวอีสานจัดอยูใ่ นกลุม่ ตระกูลภาษาไต - กะไดเป็นชนกลุม่ ใหญ่ และมีวฒ ั นธรรมสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ พูดภาษาไทยลาว (ภาษาอีสาน) มีตัวอักษร ไทยน้อยและตัวอักษรธรรม ชาวไทย - ลาวรับวัฒนธรรมลุ่มน�้ำโขง อาจจะกล่าว ได้ว่าเป็นกลุ่มผู้น�ำทางวัฒนธรรมอีสาน ภูมิปัญญาสังคม เช่น ฮีตคอง ต�ำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณีและเป็นผูส้ บื ทอดและถ่ายทอดให้ชาวบ้านกลุม่ อืน่ ๆ ด้วย การแต่งกาย การแต่งกายชาวไทลาวเหมือนกลุ่มชาวไทย - อีสานทั่วไป เมื่ออยู่กับบ้านผู้ชายจะนุ่งโสร่งพาดผ้าขาวม้าคล้องคอและไม่สวมเสื้อ เมื่อออก ไปนอกบ้านจะนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้าตาตาราง ส่วน ผู้หญิงจะนุ่งซิ่นมัดหมี่ไหมหรือฝ้าย ใส่เสื้อกระบอก แขนยาวและนิยมห่มสไบ ผ้าขาวม้าหรือผ้าขิดลายดอกจันเมื่อไปร่วมงานบุญต่าง ๆ การละเล่นและการแสดง ของชาวไท - ลาวมีพัฒนาการทางรูปแบบมากมาย เช่น หมอล�ำ เซิ้ง โดยมีเครื่อง ดนตรีประกอบที่ส�ำคัญคือ แคน และเครื่องดนตรีประกอบอื่น เช่น ซึง พิณ ฉิ่ง ฉาบ ปัจจุบันมีโปงลาง ซึ่งนิยมน�ำมาประกอบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นเช่นกัน


ไทโย้ย


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

83

๓.๒.๓ ไทโย้ย27 ชาวไทโย้ยจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต - กะได ส่วนใหญ่อพยพมาจาก เมืองฮ่อมท้าว แขวงจ�ำปาสัก ประเทศลาว ราว พ.ศ. ๒๓๗๓ ได้เข้ามาตัง้ หลักแหล่ง ในเขตอ�ำเภออากาศอ�ำนวย และวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร และพื้นที่ใกล้เคียง ชาวไทโย้ยมีคติความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีชาวบ้านที่เรียกว่า ฮีตสิบสอง ซึ่งเป็น หลักของประเพณีทั่วไปในถิ่นอีสาน (ไท - ลาว) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับ เรื่องผีบ้าน (ผีเฮือน) ว่าเป็นผีที่คอยดูแลรักษาลูกหลานให้อยู่รอดปลอดภัยจาก ภยันตรายต่าง ๆ การแต่งกาย ชาวไทโย้ยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทย้อและ ไทลาว ท�ำให้วฒ ั นธรรมการแต่งกายโดยทัว่ ไปของชาวไทโย้ยกลมกลืนกับชาวไทลาว และใช้ผ้าฝ้ายย้อมสีครามในการแต่งกายเป็นหลัก

กลุ่มชนเผ่าของพวกโย้ยจะมีอยู่ในบริเวณอ�ำเภออากาศอ�ำนวย อ�ำเภอวานรนิวาส และอ�ำเภอ สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าอยู่ที่บ้านใดบ้างและยังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ถิ่นเดิมของพวกโย้ยอยู่ที่ใด ๒๗


ไทย้อ


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

85

๓.๒.๔ ไทย้อ 28 ชาวไทย้อ จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต - กะได สาขาไต ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ ในตัวเมือง จังหวัดสกลนครและนครพนม พูดคล้ายกับชาวพืน้ เมือง (ชาวไท - อีสาน ทั่วไป) แต่บางค�ำออกเสียงแปร่ง มีผิวสีเหลืองขาวมากกว่าผิวด�ำ แต่เดิมผู้ชายไว้ ผมโหยง (ทรงผมมหาดไทย) ส่วนผู้หญิงไว้ผมยาวเกล้าตรงกลางศีรษะ อาชีพหลัก คือการท�ำนา ท�ำสวนไม้ผล ค้าขายบ้าง มีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย ทอเสื่อโดยใช้ ต้นกก ต้นผืน ชาวไทย้อเคร่งครัดในพุทธศาสนา ส่วนความเชื่อเรื่องภูติผีมีบ้าง แต่ไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้จึงมีบทบาทในงานบุญปราสาทผึ้ง ซึ่งจัดในช่วงออก พรรษาและถือเป็นประเพณีทสี่ ำ� คัญของจังหวัดสกลนครและงานประเพณีเซิง้ ผีโขน บันไฮหย่อง อ�ำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร การแต่งกาย ชายมีฐานะดีนิยมเครื่องตกแต่งที่ส่งมาจากญวนใช้ผ้าฝ้าย และไหมตัดเสื้อคล้ายเสื้อญวน เป็นเสื้อผ่าอก แขนยาวและกว้าง นุ่งผ้าโจงกระเบน ส่วนชายฐานะธรรมดานิยมใส่เสื้อทอด้วยผ้าสีด�ำเรียกว่า “เสื้อปีก” คล้ายเสื้อใส่ ท�ำนา นุ่งโจงกระเบน ผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่นหมี่ มีเชิงแบบ “ตันเต๊าะ” ของชาวผู้ไท แต่ แ ถบเล็ ก กว่ า ไม่ นิ ย มสี ค รามเข้ ม สวมเสื้ อ ปี ก แบบญวนและนิ ย มสวมเสื้ อ คอกระเช้า หรือเสื้อหมากกะแหล่งอีกด้วย

ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ ย้อ ไทย้อ ญ้อ เป็นประชากรกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งในจังหวัดสกลนครและ นครพนม มีภาษาพูดเหมือนภาษาไทยลาว ต่างส�ำเนียงเล็กน้อย คือ น�้ำเสียงสูง อ่อนหวาน ไม่ห้วนสั้น เหมือนไทยลาว ชาวย้อถือว่ากลุ่มตนเป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมแข็งกว่าไทยลาว ๒๘


กะเลิง


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

87

๓.๒.๕ กะเลิง29 ชาวกะเลิงหรือข่าเลิง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มตระกูลไต - กะได มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่แขวงสะหวันนะเขต แขวงค�ำม่วนประเทศลาว อพยพมาอยู่ อีสานระยะเดียวกันกับชาวสกลนครกลุ่มอื่น ๆ ที่มีความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับผี การเลีย้ งผี ปัจจุบนั ชาวกะเลิงส่วนใหญ่ตงั้ ถิน่ ฐานอยูอ่ ำ� เภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และมีบางส่วนอยู่ในจังหวัดนครพนม มุกดาหารและใกล้เคียง การแต่งกาย ในอดีตผู้ชายนิยมนุ่งผ้าโสร่งทิ้งชายให้ส้ันครึ่งแข้ง สวมเสื้อ แขนกระบอกไม่ผ่าอก หวีผมเสย ทัดดอกจานสีแดงและสักรูปนกที่แก้ม ปัจจุบัน การแต่งกายของชาวกะเลิงคล้ายกับชาวไทอีสานทั่วไป

เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในหลายๆ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร มีประวัติความเป็นมา การเลือกหลักแหล่งท�ำมาหากิน วัฒนธรรม ความเชื่อ ตลอดจนภาษาพูดที่มีส�ำเนียงหรือถ้อยค�ำที่นิยม ใช้กันเฉพาะในกลุ่มของตน ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบสูง ตามไหล่เขาและเมื่อ กลุ่มกะเลิงลงมาอยู่พื้นที่ราบปะปนกับโย้ย ญ้อ ท�ำให้เกิดการรับวัฒนธรรมภาษาพูดในกลุ่มไทย - ลาว ชนเผ่ากะเลิง ก่อนจะอพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น�้ำโขง ๒๙


ไทพวน


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

89

๓.๒.๖ ไทพวน30 ชาวพวนเป็นชาวเมืองเชียงของ อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทั้งภาคกลาง และภาคอีสานของไทย เป็นกลุ่มที่มีรูปร่างหน้าตาหมดจด กิริยาละเมียดละไม ขยันท�ำงาน มีภาษาพูด วัฒนธรรมและประเพณีเป็นของตนเอง ชาวไทพวนนับถือ ศาสนาพุทธ จึงมักจะสร้างวัดไว้ใกล้ชุมชน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับผี ผสมผสานในพิธีกรรม โดยเฉพาะประเพณีก�ำฟ้าที่จัดขึ้นในวันขึ้น ๓ ค�่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ชาวพวนจะท�ำข้าวจีไ่ ปถวายพระทีว่ ดั และมีขอ้ ปฏิบตั คิ อื จะไม่ดา่ ทอหรือ ทะเลาะวิวาทกัน ถ้าไม่ปฏิบัติจะถูกฟ้าดินลงโทษ การแต่งกาย ผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่น สวมเสื้อตามสมัยนิยม หญิงสูงวัยมักนิยม เสื้อ “คอกระทะ” หรือเสื้อ “อีเป้า” (เสื้อคอกระเช้า) การแต่งกายในรูปแบบเดิม หญิง มักไว้ผมยาวมุ่นเกล้าไว้ด้านหลัง ใช้ผ้าพันรอบอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจก หรือสีพื้น แทรกลายขวาง บางถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ ชายมักนุ่งกางเกงขาก๊วยสีด�ำ และใส่เสื้อสีด�ำ การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวพวนคือ การล�ำพวน ผู้ล�ำจะนั่ง กับพื้น ดนตรีที่ประกอบล�ำคือ แคน หมอแคนจะนั่งหน้าไปหาคนล�ำ ท�ำนองการล�ำ ของหมอล�ำพวนจะร้องเป็นท่อน ๆ คล้ายบทสวด แต่ละวรรคจะประกอบด้วยท�ำนอง ขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นแบบแผน พอสิ้นวรรคหนึ่ง ๆ ทั้งเสียงแคนและเสียงล�ำจะหยุด เป็นห้วง ๆ เนื้อหาของบทล�ำมีตั้งแต่ค�ำสอนจนถึงบทเกี้ยวพาราสี

ชาวพวนนั บ ถื อ และยึ ด มั่ น ในศาสนาพุ ท ธแล้ ว ชาวพวนยั ง มี ข นบธรรมเนี ย มและประเพณี เป็นเอกลักษณ์ของตนมาแต่โบราณ ชาวพวนนั้นเคร่งครัดต่อขนบธรรมเนียมและประเพณีของตนมาก ซึ่งได้ถือปฏิบัติมาตามแบบอย่างบรรพบุรุษ ในรอบปีหนึ่งประเพณีของชาวพวนยังยึดถือและปฏิบัติกัน มีดังนี้คือ ๑. เดือนอ้ายบุญข้าวจี่ ๒. เดือนยี่บุญข้าวหลาม ๓๐


ผู้ไท


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

91

๓.๒.๗ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ไท31 ผูไ้ ทจัดอยูใ่ นกลุม่ ตระกูลภาษาไต - กะได สาขาไต ในปัจจุบนั ตัง้ บ้านเรือน อยู่เป็นกลุ่มปะปนอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ในเขตจังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร และบางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี บ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย เป็นกลุม่ หนึง่ ทีร่ กั ษาวัฒนธรรมของตนไว้ได้อย่างดี โดยเฉพาะทีอ่ ำ� เภอ เรณูนคร จังหวัดนครพนม ที่มีการฟ้อนผู้ไทเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการ นับถือพุทธศาสนา โดยปรับให้เข้ากับจารีตประเพณีของตน รวมทั้งมีการนับถือ ภูตผีควบคู่กันไปด้วย การแต่งกาย ผูช้ ายนิยมนุง่ กางเกงขาสัน้ ครึง่ น่อง (ขาก๊วย) สีดำ� หรือโสร่งตา หมากรุก เสื้อใช้สีด�ำสีเดียวกับกางเกง คอกลมแคบชิดคอ ผ่าอกตลอดชายเสื้อซ้าย ขวาผ่าเหมือนเสื้อกุยเฮง แขนยาวจรดข้อมือหรือสั้นครึ่งแขน มีผ้าคาดเอวและโพก ศีรษะ ผู้ชายโบราณมักนิยมสักแขนขาลายด้วยหมึกสีด�ำ แดงถือเป็นความสวยงาม และเพื่ออยู่ยงคงกระพัน ส่วนผูห้ ญิงนิยมนุง่ ผ้าถุงทีท่ ำ� จากผ้าฝ้าย ย้อมใบครามหรือมะเกลือสีดำ� ล้วน เย็บต่อด้วยเชิงเป็นริ้วตามยาว สวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอก คอตั้ง เครื่องประดับ ใช้ก�ำไลข้อมือ ข้อเท้า คอสวม ลูกประค�ำ สร้อยเฉียง ไหล่สังวาล ปิ่นปักมวยผม ต่างหูพวกเต่ารั้ง กระดุมเสื้อล้วนเป็นเครื่องท�ำด้วยทองทิ้งสิ้น ทรงผมสตรีผู้ไท ทุกคนไม่ว่ารุ่นสาวหรือผู้แก่เฒ่าไว้ผมขมวดเกล้ามุ่นทรงสูง เอียงซ้ายหรือขวานิด หน่อยตามถนัด เสียบด้วยปิ่นหรือลูกประค�ำประดับที่ขมวดมวย

ของชาวผู้ไทนั้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ดั้งเดิมมีภูมิล�ำเนาอยู่ที่แค้วนสิบสองจุไท ประเทศ เวียดนาม มีเมืองแถน หรือ เมืองแถงเป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง ต่อมาได้มีการเคลื่อน ย้ายเข้าสู่ประเทศลาวและสู่ประเทศไทยตามล�ำดับ การอพยพเข้ามาในไทยโดยการชักชวน ครั้งแรกเข้า มาในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ เป็นชาวผู้ไทเมืองทัน ลาวพวน และลาวเวียง ๓๑


ไทแสก


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

93

๓.๒.๘ ไทแสก32 ชาวไทแสกจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไต - กะได สาขาไต มีถิ่นฐานเดิม อยู่ที่เมืองแสก เขตเมืองประค�ำ ประเทศลาว ติดกับชายแดนเวียดนามอพยพ ข้ า มแม่ น�้ ำ โขงเข้ ามาตั้งถิ่น ฐานในประเทศไทยโดยเฉพาะที่บ ้านอาจสามารถ จังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง ในสมัยอยุธยาลักษณะทั่วไปคล้ายกลุ่มลาว นับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณ มีประเพณีการเล่น “แสก เต้นสาก” เพื่อบวงสรวงวิญญาณพระเจ้าองค์หมู นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่ยึดหลัก ฮีตสิบสอง เช่นชาวอีสานทั่วไป การแต่งกาย ชายชาวแสกนิยมนุ่งกางเกง สวมเสื้อแขนสั้น เป็นผ้าฝ้าย ย้อมครามสีด�ำ มีผ้าโพกหัวกันแดดส่วนผู้หญิงส่วนใหญ่นุ่งผ้าซิ่น ใส่เสื้อ ผ้าฝ้าย ย้อมคราม สีคราม สีขาว สีด�ำ แขนยาวทรงกระบอก ในปัจจุบันการแต่งกายของ ชาวไทแสกคล้ายชาวไทอีสานทั่วไป

แสก หมายความว่า แจ้ง, สว่าง เป็นชนชาติหนึ่งในตระกูลมอญ - เขมร ชาวไทแสกเป็น ชนกลุ่มน้อยตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในท้องที่จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร ชาวไทแสกเป็นกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ทีเ่ ป็นชาติพนั ธุเ์ ดิม มีภมู ลิ ำ� เนาอาศัยอยูใ่ นตอนกลาง ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อาศัยอยู่ในแถบเมืองรอง เมืองเว้ ๓๒


วัฒนธรรมและประเพณี


๔. วัฒนธรรมและประเพณี ภาคอีสานเป็นภูมภิ าคทีม่ คี วามหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอก ถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการด�ำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนใน ท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี สาเหตุทภี่ าคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีสว่ นหนึง่ อาจจะเป็นผลมาจากการเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมี การติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาวอีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อ�ำนาจเจริญ ทีม่ พี รมแดนติดต่อกับประเทศลาว ประชาชน ของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ท�ำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยน ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสานและชาวลาว แถบลุ่มแม่น�้ำโขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้าย ๆ กัน และรูปแบบการด�ำเนิน ชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย33

พระยาอนุมานราชธน กล่าวว่า “วัฒนธรรม” คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตสร้าง ขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม ในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม วัฒนธรรม คือ วิถีทางแห่งชีวิตมนุษย์ ในส่วน รวมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียกกันได้ เอาอย่างกันได้ เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว “วัฒนธรรม” หมายถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้เพื่อน�ำเอาไปใช้ช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม ซึ่งจะรวมถึงช่วยแก้ ปัญหาและช่วยสนองความต้องการของสังคม “แบบอย่างหรือวิถีการด�ำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวก�ำหนดพฤติกรรมการอยูร่ ว่ มกันอย่างปกติสขุ ในสังคม” วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึน้ อยู่กับข้อจ�ำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากรต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรม คือ เป็นการ สั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบหรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป “ประเพณี” มีความหมายรวมถึง แบบความเชื่อ ความคิด การกระท�ำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระท�ำสิ่งต่างๆ ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาส ต่าง ๆ ทีก่ ระท�ำกันมาแต่ใน อดีต ลักษณะส�ำคัญของประเพณีคอื เป็นสิง่ ทีป่ ฏิบตั เิ ชือ่ ถือมานานจนกลาย เป็นแบบอย่างความคิด หรือการกระท�ำที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน ๓๓


96

คนอีสานบ้านเฮา

ประเพณีอีสานและพิธีกรรมตามประเพณีของชาวอีสาน เกี่ยวข้องทั้งกับ ความเชื่อในอ�ำนาจนอกเหนือธรรมชาติและพุทธศาสนาเถรวาท มีทั้งพิธีกรรม อันเป็นประเพณีที่เป็นสิ่งปฏิบัติและจารีตที่ยึดถือสืบต่อกันมา

๔.๑ ฮีตสิบสอง

วัฒนธรรมของคนอีสานเป็นวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมั่นที่สุด ดีที่สุดส�ำหรับ ภูมิภาคอีสาน ซึ่งเดิมในแคว้นสุวรรณภูมิล้วนมีวัฒนธรรมแต่โบราณมา วัฒนธรรม ของคนอีสานสร้างคนให้เป็นคน สร้างคนให้ละจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้ท�ำคุณงามความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีฮีตมีคองอยู่ เรียกว่าฮีตสิบสองคอง สิบสี่ ฮีตบ้านคองเมือง ฮีตพ่อคองพ่อ ฮีตเต่าคองเขยเลยมาสมสู่ขออยู่ อาสาเลี้ยงดู ลูกตามิง่ เป็นฮีตเป็นคองฮีตสิบสองของคนอีสานว่าไว้ตามลักษณะสิบสองเดือน แต่ละ เดือนมีงานประเพณีกฎเกณฑ์ ตามกติกาสังคมอีสานวางไว้แต่สังคมบรรพบุรุษมา ฮีตสิบสอง หมายถึง ประเพณี ๑๒ เดือนทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการด�ำรงชีวิตทางเกษตรกรรม ซึ่งชาวอีสานยึดถือปฏิบัติกันมา แต่โบราณ มีแนวปฏิบตั แิ ตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพือ่ ให้เกิดสิรมิ งคลในการด�ำเนิน ชีวติ เรียกอย่างท้องถิน่ ว่างานบุญ ชาวอีสานให้ความส�ำคัญกับประเพณีฮตี สิบสอง เป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบตั มิ าอย่างสม�ำ่ เสมอ นับเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน อย่างแท้จริง ฮีตสิบสองมาจากค�ำ ๒ ค�ำ คือ “ฮีต”34 กับ “สิบสอง ฮีต” มาจากค�ำว่า “จารีต” หมายถึง สิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามชาวอีสานเรียกว่า จาฮีตหรือฮีตสิบสอง หมายถึงเดือนทั้ง ๑๒ เดือนในหนึ่งปี ฮีตสิบสองจึงหมายถึง จารีตประเพณีสิบสองรายการคือประเพณีประจ�ำสิบสองเดือนนั่นเอง เป็นจารีต “ฮีต” เป็นภาษาลาว ซึ่งลาวเอามาจากศัพท์ของภาษาบาลี โดยภาษาบาลีหรือปาลีใช้ว่า “จาริตต” อ่านว่า จา – ริด – ตะ แล้วชนชาวลาวและไทอีสานก็น�ำมาใช้ในภาษาของตนว่า “จาฮีต” ต่อมากร่อนค�ำ โดยตัดค�ำน�ำหน้าคือค�ำ “จา” ออกเหลือ “ฮีต” ค�ำเดียวโดด ๆ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ พิมพ์ครั้งที่ ๕ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ “จารีต” เป็นค�ำนาม แปลว่า ประเพณีที่ถือสืบต่อ กันมานาน ส่วน “จารีตประเพณี” มีความหมายว่า “ระเบียบประเพณีที่นิยม และประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิดเป็นชั่ว” ๓๔


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

97

ประเพณีที่ท�ำให้สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสร่วมชุมนุมกันท�ำบุญเป็นประจ�ำทุก ๆ เดือนของรอบปี ผลที่ได้รับก็คือทุกคนจะได้มีเวลาเข้าวัดใกลัชิดกับหลักธรรมของ ธรรมทางศาสนายิ่งขึ้น ท�ำให้ประชาชนในย่านใกล้เคียงรู้จักมักคุ้น สามัคคีกันเป็น อย่างดีและมีผลงานทางอ้อมคือ เมื่อวางจากการงานอาชีพแล้วก็มีจารีตบังคับ ให้ทกุ ๆ คนเสียสละท�ำงานร่วมกันเพือ่ สังคมส่วนรวม ไม่ให้คนอยูว่ า่ ง ถ้าผูใ้ ดฝ่าฝืน ก็ถูกสังคมลงโทษตั้งข้อรังเกียจอย่างจริงจัง และการปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลาย เป็นประเพณี “สิบสอง” คือ ประเพณีทปี่ ฏิบตั ติ ามเดือนทางจันทรคติทงั้ สิบสองเดือน35 ฮีตสิบสองของชาวอีสานส่วนทีก่ ำ� เนิดจากค�ำสอน และความเชือ่ ของพระพุทธ ศาสนา จะคล้ายกับประเพณีของชาวพุทธในสังคมอื่น ส่วนฮีตที่เกิดจากความเชื่อ ในเรื่องผี อ�ำนาจลึกลับและปัญหาในการด�ำรงชีวิตประจ�ำวันของชาวอีสานจะมี เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ฮีตสิบสองเดือนมีดังนี้ ๔.๑.๑ เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม งานบุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียง พระสงฆ์จะท�ำพิธีเข้ากรรมหรือที่เรียกว่า “เข้าปริวาสกรรม” เพือ่ ช�ำระมลทินทีไ่ ด้ลว่ งละเมิดพระวินยั คือ ต้องอาบัตสิ งั ฆาทิเสส การอยูก่ รรมนัน้ จะใช้เวลา ๖ – ๙ วัน ในระหว่างนีเ้ องชาวบ้านจะเตรียมอาหารหวาน คาวน�ำไปถวายพระภิกษุทงั้ เช้าและเพล เพราะการอยูก่ รรมจะต้องอยูใ่ นบริเวณสงบ เช่น ชายป่าหรือที่ห่างไกลชุมชน (หรืออาจเป็นที่สงบในบริเวณวัดก็ได้) ชาวบ้านที่ น�ำอาหารไปถวายพระภิกษุในระหว่างอยู่กรรมนี้เชื่อว่าจะท�ำให้ได้บุญกุศลมาก36 มูลเหตุของพิธีกรรม เพือ่ ลงโทษ ภิกษุผตู้ อ้ งอาบัตสิ งั ฆาทิเสสต้องเข้าปริวาสกรรม จึงจะพ้นอาบัติ หรือพ้นโทษกลับเป็นภิกษุ ผูม้ ศี ลี บริสทุ ธิอ์ ยูใ่ นพุทธศาสนาต่อไป ค�ำ “เข้าปริวาสธรรม” นีภ้ าษาลาวและไทอีสานตัดค�ำ “ปริวาส” ออกเหลือเป็น “เข้ากรรม” ดังนัน้ บุญเข้ากรรม ก็คือ “บุญเข้าปริวาสกรรม” นั่นเอง เอกวิทย์ ณ ถลาง. หนังสือชุดภูมิปัญญาชาวบ้านกระบวนการเรียนรู้และการปรับตัวของชาว บ้านไทย : ภูมิปัญญาอีสาน. หน้า ๖๔. ๓๖ อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๙. ๓๕


98

คนอีสานบ้านเฮา

พิธีกรรม ภิกษุผู้ต้องอาบัติหมวดสังฆาทิเสสที่จะเข้าอยู่ปริวาสกรรม เพื่อ ช�ำระล้างความมัวหมองของศีลให้แก่ตนเอง ต้องไปขอปริวาสจากสงฆ์ เมื่อสงฆ์ อนุญาตแล้วจึงมาจัดสถานทีท่ จี่ ะเข้าอยูป่ ริวาสกรรม เมือ่ จัดเตรียมสถานทีเ่ รียบร้อย แล้ว ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อใดข้อหนึ่งจะต้องอยู่ปริวาส (การอยู่ค้างคืน) และต้องประพฤติวัตร (การปฏิบัติการจ�ำศีล) ต่าง ๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่างลด ฐานะและประจานตนเอง เพื่อเป็นการลงโทษตนเอง โดยต้องประพฤติวัตรให้ครบ จ�ำนวนวันทีป่ กปิดอาบัตนิ นั้ ๆ เพือ่ ปลดเปลือ้ งตนจากอาบัตสิ งั ฆาทิเสส และต้องไปหา “สงฆ์จตุรวรรค” (คือภิกษุสี่รูปขึ้นไป) เพื่อจะขอ “มานัต” และมีภิกษุอีกรูปหนึ่งจะ สวดประกาศให้มานัตแล้ว ภิกษุผตู้ อ้ งอาบัตสิ งั ฆาทิเสสต้องประพฤติมานัตอีก ๖ คืน แล้วสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ จึงจะเรียกเข้าหมู่กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ต่อไป37 ๔.๑.๒ เดือนยี่ บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าว บุ ญ คู น ลานหรื อ บุ ญ คู น ข้ า วเป็ น พิ ธี ก รรมฉลองภายหลั ง จากเสร็ จ สิ้ น การเก็บเกี่ยว ชาวบ้านรู้สึกยินดีที่ได้ผลผลิตมาก จึงต้องการท�ำบุญโดยนิมนต์ พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าวและในบางแห่งจะมีการสู่ขวัญข้าวเพื่อฉลอง ความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณแม่โพสพและขอโทษที่ได้เหยียบย�่ำพื้นแผ่นดิน ในระหว่างการท�ำนา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปีต่อไป38 มูลเหตุของพิธีกรรม มู ล เหตุ ข องพิ ธี ท� ำ บุ ญ คู น ข้ า วหรื อ บุ ญ คู น ลาน เนื่ อ งมาจากเมื่ อ ชาวนา เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะหาบฟ่อนข้าวมารวมกันเป็น “ลอมข้าว” ไว้ที่นาของตน ถ้าลอมข้าวของใครสูงใหญ่ก็แสดงให้ผู้คนที่ผ่านไปมารู้ว่านาทุ่งนั้นเป็นนาดี ผู้เป็น เจ้าของก็ดีใจ หายเหน็ดเหนื่อยจิตใจเบิกบานอยากท�ำบุญท�ำทาน เพื่อเป็นกุศล ส่งให้ในปีตอ่ ไปจะได้ผลผลิตข้าวเพิม่ ขึน้ อีก เรียกว่า “คูนให้ใหญ่ให้สงู ขึน้ ” เพราะค�ำว่า “คูณ” นี้มาจาก “ค�้ำคูณ” หมายถึงอุดหนุนให้ดีขึ้น ช่วยให้เจริญขึ้น บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๓. อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๑๓.

๓๖

๓๕


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐

99

พิธีกรรม ผู้ประสงค์จะท�ำบุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน ต้องจัดสถานที่ท�ำบุญ ที่ “ลานนวดข้าว” ของตนโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์ มีการวางด้าย สายสิญจน์และปักเฉลวรอบกองข้าว เมือ่ พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์เสร็จแล้วก็จะถวาย ภัตตาหารเลี้ยงเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ จากนั้นน�ำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงญาติพี่น้อง ผู้มาร่วมท�ำบุญ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จก็จะประพรมน�้ำพุทธมนต์ให้กองข้าว ให้เจ้าภาพและทุกคนที่มาร่วมท�ำบุญ จากนั้นท่านก็จะให้พร เจ้าภาพก็จะน�ำน�้ำ พระพุทธมนต์ที่เหลือไปประพรมให้แก่วัว ควาย ตลอดจนไร่นาเพื่อความเป็น สิรมิ งคล และเชือ่ ว่าผลของการท�ำบุญจะช่วยอุดหนุนเพิม่ พูนให้ได้ขา้ วมากขึน้ ทุก ๆ ปี39 ๔.๑.๓ เดือนสาม บุญข้าวจี่ บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชน ชาวบ้านจะ นัดหมายกันมาท�ำบุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะร�ำเตรียมไว้ในตอนบ่าย ครัน้ เมือ่ ถึงรุง่ เช้าในวันต่อมาชาวบ้านจะช่วยกันจีข่ า้ ว หรือปิง้ ข้าวและตักบาตรข้าวจี่ ร่วมกัน หลังจากนัน้ จะให้มกี ารเทศน์นทิ านชาดกเรือ่ งนางปุณณทาสี เป็นเสร็จพิธ40 ี มูลเหตุของพิธีกรรม มูลเหตุจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เนื่องมาจากสมัยพุทธกาล มีนางทาส ชื่อปุณณทาสี ได้น�ำแป้งข้าวจี่ (แป้งท�ำขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของ นางคิดว่า ขนมแป้งข้าวจีเ่ ป็นขนมของผูต้ ำ�่ ต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉนั ซึง่ พระพุทธเจ้า หยั่งรู้จิตใจนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ ท�ำให้นางปีติดีใจ ชาวอีสานจึงเอาแบบอย่าง และพากันท�ำแป้งข้าวจี่ถวายพระมาตลอด อีกทั้งเนื่องจากในเดือนสามอากาศ ของภูมิภาคอีสานก�ำลังอยู่ในฤดูหนาว ในตอนเช้าผู้คนจะใช้ฟืนก่อไฟ ผิงแก้หนาว ชาวบ้านจะเขี่ยเอาถ่านออกมาไว้ด้านหนึ่งของกองไฟแล้วน�ำข้าวเหนียวมาปั้น เป็นก้อนกลมโรยเกลือวางลงบนถ่านไฟแดง ๆ นั้นเรียกว่า ข้าวจี่ ซึ่งมีกลิ่นหอม ผิวเกรียมกรอบน่ารับประทานท�ำให้นึกถึงพระภิกษุสงฆ์ ผู้บวชอยู่วัด อยากให้ ได้รับประทานบ้าง จึงเกิดการท�ำบุญข้าวจี่ขึ้น ดังมีค�ำกล่าวว่า “เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน�้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน�้ำตา” (พอถึงปลายเดือนสาม ภิกษุก็คอยปั้นข้าวจี่ ถ้าข้าวจี่ไม่มีน�้ำอ้อยยัดไส้ เณรน้อยเช็ดน�้ำตา) บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๙. อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๑๗.

๓๙ ๔๐


100 คนอีสานบ้านเฮา พิธีกรรม พอถึงวัดนัดหมายท�ำบุญข้าวจี่ ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะจัด เตรียมข้าวจี่ตั้งแต่ตอนย�่ำรุ่งของวันนั้น เพื่อให้ข้าวจี่สุกทันใส่บาตรจังหัน นอกจาก ข้าวจีแ่ ล้วก็จะน�ำ “ข้าวเขียบ” (ข้าวเกรียบ) ทัง้ ทีย่ งั ไม่ยา่ งเพือ่ ให้พระเณรย่างกินเอง และที่ย่างไฟจนโป่งพองใส่ถาดไปด้วยพร้อมจัดอาหารคาวไปถวายพระที่วัดข้าวจี่ บางก้อนผู้เป็นเจ้าของได้ยัดไส้ด้วยน�้ำอ้อย แล้วทาด้วยไข่ เพื่อให้เกิดรสหวานหอม ชวนรับประทาน ครัน้ ถึงหอแจกหรือศาลาโรงธรรม พระภิกษุสามเณรทัง้ หมดในวัด จะลงศาลาทีญ ่ าติโยมทีม่ ารวมกันอยูบ่ นศาลาก่อน แล้วประธานในพิธเี ป็นผูอ้ าราธนาศีล พระภิกษุให้ศลี ญาติโยมรับศีล แล้วกล่าวค�ำถวายข้าวจี่ จากนัน้ ก็จะน�ำข้าวจีใ่ ส่บาตร พระ ซึ่งตั้งเรียงไว้เป็นแถวเท่าจ�ำนวนพระเณร พร้อมกับถวายปิ่นโต ส�ำรับกับข้าว คาวหวาน เมื่อพระฉันจังหันเทศน์เสร็จแล้วก็ให้พร ญาติโยมรับพรเป็นเสร็จพิธ41 ี ๔.๑.๔ เดือนสี่ บุญผะเหวด “บุญผะเหวด” เป็นส�ำเนียงชาวอีสานที่มาจากค�ำว่า “บุญพระเวส” หรือ พระเวสสันดร เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟัง เทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง ๑๓ กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับ พระศรีอริยเมตไตรย บุญผะเหวดนีจ้ ะท�ำติดต่อกันสามวัน วันแรกจัดเตรียมสถานที่ ตกแต่งศาลาการเปรียญ วันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านรวมทัง้ พระภิกษุสงฆ์จากหมูบ่ า้ นใกล้เคียงจะมาร่วมพิธมี ที งั้ การจัด ขบวนแห่เครื่องไทยทาน ฟังเทศน์และแห่พระเวส โดยการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืน ยาวเขียนภาพเล่าเรือ่ งพระเวสสันดร) ซึง่ สมมติเป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าสูเ่ มือง เมื่อถึงเวลาค�่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะ ร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน พิธีจะมีไปจนค�่ำ ชาวบ้านจะแห่แหนฟ้อนร�ำตั้งขบวน เรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวาย พระสงฆ์จะเทศน์เรื่องเวสสันดรชาดกจนจบและเทศน์ อานิสงส์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธี42 ๔๑

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๑๒. อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๒๑.

๔๒


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 101

มูลเหตุของพิธีกรรม จากเรื่องในหนังสือมาลัยหมื่นมาลัยแสนกล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยเถระ ได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้พบปะสนทนา กับพระศรีอริยเมตไตรย ผู้ที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตและพระศรีอริยเมต ไตรยได้สั่งความมากับพระมาลัยว่า “ถ้ามนุษย์อยากจะพบและร่วมเกิดในศาสนาของพระองค์แล้วจะต้องปฏิบัติ ตนดังต่อไปนี้คือ” ๑. จงอย่าฆ่าพ่อตีแม่สมณพราหมณ์ ๒. จงอย่าท�ำร้ายพระพุทธเจ้า และยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน ๓. ให้ ตั้ ง ใจฟั ง เทศน์ เ รื่ อ ง พระเวสสั น ดรให้ จ บในวั น เดี ย ว ด้ ว ยเหตุ ที่ ชาวอีสานต้องการจะได้พบพระศรีอริยเมตไตรยและเกิดร่วมศาสนาของพระองค์ จึงมีการท�ำบุญผะเหวดเป็นประจ�ำทุกปี พิธีกรรม การเตรียมงาน ๑. แบ่ ง หนั ง สื อ น� ำ หนั ง สื อ ล� ำ ผะเหวดหรื อ ล� ำ มหาชาติ (หนั ง สื อ เรื่ อ ง พระเวสสันดรชาดก) ซึ่งมีจ�ำนวน ๑๓ กัณฑ์ (หรือ ๑๓ ผูกใหญ่) แบ่งเป็น ผูกเล็ก ๆ เท่ากับจ�ำนวนพระเณรที่จะนิมนต์มาเทศน์ในคราวนั้น ๆ ๒. การใส่หนังสือ น�ำหนังสือผูกเล็กที่แบ่งออกจากกัณฑ์ต่าง ๆ ๑๓ กัณฑ์ ไปนิมนต์พระเณรทั้งวัดในหมู่บ้านตนเองและจากวัด ในหมู่บ้านอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ให้มาเทศน์ โดยจะมีใบฎีกาบอกรายละเอียดวันเวลาเทศน์ ตลอดจนบอกเจ้าศรัทธา ผู้ที่จะเป็นเจ้าของกัณฑ์นั้น ๆ ไว้ด้วย ๓. การจัดแบ่งเจ้าศรัทธา เพื่อพระเณรท่านเทศน์จบในแต่ละกัณฑ์ ผู้เป็น เจ้าศรัทธาก็จะน�ำเครื่องปัจจัยไทยทานไปถวายตามกัณฑ์ที่ตนเองรับผิดชอบ ชาวบ้านจะจัดแบ่งกันออกเป็นหมู่ ๆ เพื่อรับเป็นเจ้าศรัทธากัณฑ์เทศน์ร่วมกัน โดยจะต้องจัดหาที่พัก ข้าวปลาอาหารไว้คอยเลี้ยงต้อนรับญาติโยมที่ติดตาม พระเณรจากหมู่บ้านอื่นเพื่อมาเทศน์ผะเหวดครั้งนี้ด้วย


102 คนอีสานบ้านเฮา ๔. การเตรียมสถานทีพ่ กั พวกชาวบ้านจะพากันท�ำความสะอาดบริเวณวัดแล้ว ช่วยกัน “ปลูกผาม” หรือปะร�ำไว้รอบ ๆ บริเวณวัด เพื่อใช้เป็นที่ตอ้ งรับพระเณรและ ญาติโยมผูต้ ดิ ตามพระเณรจากหมูบ่ า้ นอืน่ ให้เป็นทีพ่ กั แรมและทีเ่ ลีย้ งข้าวปลาอาหาร ๕. การจัดเครื่องกิริยาบูชาหรือเครื่องครุพัน ในการท�ำบุญผะเหวดนั้น ชาวบ้านต้องเตรียม “เครื่องฮ้อยเครื่องพัน” หรือ “เครื่องบูชาคาถาพัน” ประกอบ ด้วยธูปหนึง่ พันดอก เทียนหนึง่ พันเล่ม ดอกบัวโป้ง (บัวหลวง) ดอกบัวแป้ (บัวผัน) ดอกบัวทอง (บัวสาย) ดอกผักตบ และดอกก้านของ (ดอกปีบ) อย่างละหนึง่ พัน ดอกเมีย่ ง หมากอย่างละหนึง่ พันค�ำ มวนยาดูดหนึง่ พันมวน ข้าวตอกใส่กระทงหนึง่ พัน กระทง ธุงกระดาษ (ธงกระดาษ) หนึ่งพันธง ๖. การจัดเตรียม สถานที่ที่จะเอาบุญผะเหวด ๖.๑ บนศาลาโรงธรรม ตัง้ ธรรมมาสน์ไว้กลางศาลาโดยรอบนัน้ จัดตัง้ “ธุงไซ” (ธงชัย) ไว้ทงั้ แปดทิศ และจุดทีต่ งั้ “ธุงไซ” แต่ละต้นจะต้องมี “เสดถะสัต” (เศวตฉัตร) “ผ่านตาเว็น” (บังสูรย์) และตะกร้าหนึง่ ใบส�ำหรับใส่ขา้ วพันก้อน พร้อมทัง้ “บัง้ ดอกไม้” ส�ำหรับใส่ดอกไม้แห้ง ซึ่งส่วนมากท�ำจากต้นโสนและใส่ “ธุงหัวคีบ” นอกจากนี้ ทีบ่ ง้ั ดอกไม้ยงั ปักนกปักปลาซึง่ สานจากใบมะพร้าวหรือใบตาลไว้อกี จ�ำนวนหนึง่ และ ตั้งโอ่งน�้ำไว้ ๕ โอ่ง รอบธรรมาสน์ซึ่งสมมติเป็นสระ ๕ สระ ในหม้อน�ำ้ ใส่จอกแหน (แหนคือสาหร่าย) กุง้ ปลา ปู หอย ปลูกต้นบัวในบ่อ ให้ใบบัว และดอกบัวลอยยิ่งดี รวมทั้งจะต้องจัดให้มีเครื่องสักการะบูชาคาถาพันและขันหมากเบ็งวางไว้ตามมุม ธรรมาสน์ ณ จุดที่วางหม้อน�้ำ ที่ส�ำคัญบนศาลาโรงธรรมต้องตกแต่งให้มีสภาพคล้ายป่า โดยน�ำเอาต้น อ้อย ต้นกล้วย มามัดตามเสาทุกต้น และขึงด้ายสายสิญจน์รอบศาลา ท�ำราวไม้ไผ่ สูงเหนือศีรษะประมาณหนึง่ ศอกเพือ่ เอาไว้เสียบดอกไม้แห้งต่าง ๆ นอกจากนีย้ งั ใช้ เป็นทีห่ อ้ ยนก ปลาตะเพียน และใช้เมล็ดแห้งของฝักลิน้ ฟ้า (เพกา) ร้อยด้วยเส้นด้าย ยาวเป็นสายน�ำไปแขวนเป็นระยะ ๆ และถ้าหาดอกไม้แห้งอื่นไม่ได้ก็จะใช้เส้นด้าย ชุบแป้งเปียกแล้วน�ำไปคลุกกับเมล็ดข้าวสาร ท�ำให้เมล็ดข้าวสารติดเส้นด้ายแล้ว น�ำเส้นด้ายเหล่านั้นไปแขวนไว้แทน


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 103

ด้านทิศตะวันออกของศาลาโรงธรรมต้องปลูก “หออุปคุต” โดยใช้ไม้ไผ่ทำ� เป็นเสาสี่ต้นสูงเพียงตา หออุปคุตนี้เป็นสมมติว่าจะเชิญพระอุปคุตมาประทับ เพื่อ ปราบมารที่จะมาขัดขวางการท�ำบุญ ต้องจัดเครื่องใช้ของพระอุปคุตไว้ที่นี้ด้วย ๖.๒ บริเวณรอบศาลาโรงธรรมก็ปัก “ธุงไซ” ขนาดใหญ่ ๘ ซุง ปักไว้ตาม ทิศทั้งแปดซึ่งแต่ละหลักธุงจะปัก “กรวยไม้ไผ่ส�ำหรับใส่ข้าวพันก้อน” “เสดถะสัด” (เศวตฉัตร) “ผ่านตาเว็น” (บังสูรย์) และ “ขันดอกไม้” เช่นเดียวกับบนศาลาโรงธรรม นอกจากนี้ก็ปักธุงช่อไว้ ณ จุดเดียวกับที่ปัก “ธุงไซ” อีกด้วย ครัง้ ถึงเวลาประมาณ ๑๔ – ๑๕ นาฬิกาของมือ้ โฮมหรือวันรวม ผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ จะพากันน�ำเครื่องสักการะบูชาประกอบด้วยขันห้า ขันแปด บาตร จีวร ร่ม กระโถน กาน�้ำ และไม้เท้าเหล็กไปเชิญพระอุปคุต ซึ่งสมมติว่าท่านอาศัยอยู่ในแหล่งน�้ำ อาจเป็นบึง หนอง แม่น�้ำ อ่างเก็บน�้ำ (ที่อยู่ใกล้วัด) เมื่อไปถึงผู้เป็นประธานจะตั้ง นะโมขึ้น ๓ จบ กล่าว “สัคเค” เชิญเทวดามาเป็นพยานแล้วจึงกล่าวอาราธนาเชิญ พระอุปคุต เมือ่ กล่าวจบก็ตฆี อ้ งตีกลองน�ำเครือ่ งสักการะแห่มาทีว่ ดั เวียนรอบศาลา โรงธรรม ๓ รอบ แล้วจึงน�ำเครื่องสักการะทั้งหมดวางไว้บนหออุปคุต หลังจากเชิญพระอุปคุตเสร็จแล้วก็ถึงพิธีแห่ผะเหวดเข้าเมืองซึ่งจะเป็น เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ของมื้อโฮม พิธีกรรมก่อนแห่ เมือ่ ถึงเวลาแห่ ผูเ้ ป็นประธานจะน�ำญาติโยม (ทีม่ าพร้อม กันในบริเวณชายป่าที่ถูกสมมติให้เป็นป่าหิมพานต์) ไหว้พระรับศีลและฟังเทศน์ การเทศน์ ณ จุดนี้เป็นการเทศน์จบแล้วก็จะลั่นฆ้อง จัดขบวนแห่ผะเหวดเข้าเมือง เดินผ่านหมู่บ้านเข้าสู่วัด แล้วแห่เวียนขวา รอบศาลาโรงธรรมสามรอบ จากนั้น จึงน�ำพระพุทธรูปขึ้นตั้งไว้ในศาลาโรงธรรม ญาติโยมที่เก็บดอกไม้มาจากป่า เช่น ดอกพะยอม ดอกจิก (ดอกเต็ง) ดอกฮัง (ดอกรัง) ดอกจาน ฯลฯ ก็จะน�ำดอกไม้ ไปวางไว้ข้าง ๆ ธรรมาสน์ แล้วขึงผ้าผะเหวดรอบศาลาโรงธรรม


104 คนอีสานบ้านเฮา หลังจากแห่ผะเหวดเข้าเมืองแล้วญาติโยมจะพากันกลับบ้านเรือนของตน รั บ ประทานอาหารเย็ น พร้ อ มทั้ ง เลี้ ย งดู ญ าติ พี่ น ้ อ งที่ เ ดิ น ทางมาร่ ว มท� ำ บุ ญ เวลาประมาณหนึง่ ทุม่ เศษ ๆ ทางวัดจะตี “กลองโฮม” เป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้าน รูว้ า่ ถึงเวลา “ลงวัด” ญาติโยมจะพากันมารวมกันทีศ่ าลาโรงธรรม พระภิกษุสงฆ์สวด พระปริตรมงคล หลังจากสวดมนต์จบก็จะ “เทศน์มาลัยหมืน่ มาลัยแสน” หลังจากฟัง เทศน์จบก็จัดให้มีมหรสพ เช่น หมอล�ำ ภาพยนตร์ให้ชมจนถึงสว่าง เวลาประมาณ ๐๔.๐๐ น. ของวันบุญผะเหวด ญาติโยมจะน�ำข้าวเหนียว ก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือจ�ำนวนหนึ่งพันก้อนซึ่งเท่ากับหนึ่งพระคาถา ในเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก ใส่ถาดออกจากบ้านเรือน แห่จากหมู่บ้านมา ที่ศาลาโรงธรรม เวียนรอบศาลาโรงธรรมสามรอบ แล้วจึงน�ำข้าวพันก้อนไปใส่ไว้ ในกรวยไม้ไผ่ที่หลักธุงไซทั้งแปดทิศและใส่ในตะกร้าที่วางอยู่บนศาลา ตามจุดที่ มีธงุ ไซและเสดถะสัด เมือ่ แห่ขา้ วพันก้อนเสร็จแล้วก็จะมีเทศน์สงั กาศ คือ การเทศน์ บอกปีศักราช เมื่อจบสังกาศจะหยุดพักให้ญาติโยมกลับไปบ้านเรือน น�ำอาหารมา ใส่บาตรจังหัน หลังจากพระฉันจังหันแล้วก็จะเริ่มเทศน์ผะเหวด โดยเริ่มจากกัณฑ์ ทศพรไปจนถึงนครกัณฑ์รวมสิบสามกัณฑ์ ใช้เวลาตลอดทัง้ วันจนถึงค�ำ่ มีความเชือ่ กันว่าหากใครฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรจบผู้นั้นจะได้รับอานิสงส์มาก พิธีกรรมขณะฟังเทศน์ ในการฟังเทศน์ “บุญผะเหวด” นั้นต้องมีทายก หรือทายิกา คอยปฏิบัติพิธีกรรม ขณะฟังเทศน์แต่ละกัณฑ์ โดยจุดธูปเทียน เพือ่ บูชากัณฑ์นนั้ ๆ ตามจ�ำนวนคาถาในแต่ละกัณฑ์ นอกจากนัน้ ต้องหว่านข้าวตอก ดอกไม้ ข้าวสาร และลัน่ ฆ้องชัย เมือ่ เทศน์จบในแต่ละกัณฑ์ โดยผูท้ ำ� หน้าทีด่ งั กล่าวนี้ ต้องนั่งอยู่ประจ�ำที่ตลอดเวลาที่เทศน์ ส่วนเครื่องฮ้อยเครื่องพัน หรือเครื่องครุพันนั้นต้องตั้งบูชาไว้ตลอดงาน เมือ่ เทศน์จบแล้วบางวัดก็นำ� เครือ่ งฮ้อย เครือ่ งพัน ใส่ไว้ในภาชนะทีส่ านด้วยดอกไม้ ไผ่ มีลกั ษณะเหมือนกะออม ปากเป็นกรวยแหลมใช้ผ้าขาวหุ้ม แล้วใช้ด้ายถักหุ้มไว้ อีกชัน้ หนึง่ เพือ่ จะได้นำ� มาใช้เป็นเครือ่ งสักการะบูชาเวลามีบญ ุ ผะเหวดในปีตอ่ ๆ ไป43 ๔๓

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๑๘.


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 105

๔.๑.๕ เดือนห้า บุญสรงน�้ำ หรือ บุญฮดสรง บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์ จัดให้มีในวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือนห้า ซึ่งถือเป็น วันขึน้ ปีใหม่ของไทยมาตัง้ แต่โบราณ ในวันนีพ้ ระสงฆ์นำ� พระพุทธรูปออกจากโบสถ์ มาไว้ทหี่ อสรงตอนบ่าย ชาวบ้านจะน�ำน�้ำอบ น�ำ้ หอม มาร่วมกันสรงน�ำ้ พระพุทธรูป ที่หอสรงนี้ จากนัน้ ก็ออกไปเก็บดอกไม้มาจัดประกวดประชันในการบูชาพระ ระหว่างนี้ ชาวบ้านจะพากันเล่นแคน ฉิง่ ฉาบ เพือ่ ความสนุกสนาน รดน�ำ้ ด�ำหัวญาติผใู้ หญ่และ เล่นสาดน�้ำกัน โดยชาวบ้านอาจเล่นสนุกสนานถึง ๑๕ วัน44 มูลเหตุของพิธีกรรม เนือ่ งจากเดือนนีถ้ อื ว่าเป็นวันขึน้ ปีใหม่มาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึน้ ๑๕ ค�่ำ เดือน ๕ เป็นวันเริ่มต้นการท�ำบุญ พิธีกรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนห้าเวลาบ่ายสามโมง ถือว่า “เป็นมื้อเอาพระ ลง” หมายถึงการน�ำเอา พระพุทธรูปทั้งหมดในวัดมาท�ำความสะอาดแล้วน�ำมาตั้ง รวมไว้ที่กลางศาลาโรงเรือน หรือ “หอแจก” พิธีเริ่มจากผู้เป็นประธานน�ำดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะพระพุทธรูป แล้ ว น� ำ กล่ า วบู ช าพระรั ต นตรั ย อาราธนาศี ล พระสงฆ์ ใ ห้ ศี ล ญาติ โ ยมรั บ ศี ล แล้วผูเ้ ป็นประธานอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วญาติโยม ก็เอาน�้ำอบน�้ำหอมสรงพระพุทธรูป จากนั้นหนุ่มสาวก็จะพากันหาบน�้ำจากบ่อหรือ หนอง บึง ไปเทไว้ในโอ่งของวัดให้พระภิกษุ สามเณรได้ใช้อาบ ขณะเดียวกันก็จะ เริ่มเล่นสาดน�้ำกันและกันเป็นที่สนุกสนาน ตอนค�ำ่ นิมนต์พระสงฆ์มาสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) ทีผ่ ามไชย์กลางหมูบ่ า้ น รุ่งเช้า (วันแรมหนึ่งค�่ำ) เป็น “มื้อเนา” ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ มีการท�ำบุญให้ทาน โดยน�ำข้าวปลาอาหารมาถวายพระที่ผามไชย์

๔๔

อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๒๕.


106 คนอีสานบ้านเฮา การสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) นีต้ อ้ งสวดให้ครบ ๗ คืน โดยมีบาตรใส่นำ�้ มนต์ ไว้ ๗ ใบ พร้อมทั้งมีถังใส่กรวดทรายไว้จ�ำนวนหนึ่ง เมื่อครบ ๗ คืนแล้ว พระสงฆ์ จะเดินสวดไชยมงคลไปรอบหมู่บ้าน พร้อมกับสาดน�้ำมนต์ ส่วนญาติโยมจะหว่าน กรวดทรายไปพร้อม ๆ กัน ถือว่าเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสนียดจัญไรออก ไปจากหมู่บ้าน ท�ำให้คนทั้งหมู่บ้านประสบแต่ความสุขความเจริญในปีใหม่ที่จะมา ถึง คนอีสานเรียกวันสงกรานต์ดังนี้ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง วันที่ ๑๔ วันเนา และ วันที่ ๑๔ เรียกว่า วันสังขารขึ้น45 ๔.๑.๖ เดือนหก บุญบั้งไฟ บุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับแถน เมื่อถึงเดือนหก เริ่มต้นการท�ำนา ชาวบ้านจะจุดบั้งไฟเป็นการบูชาขอให้พญาแถนบันดาลฝนให้ ตกลงมา ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นกิจกรรมร่วมกันของชุมชนอีสานหลาย ๆ หมู่บ้าน หมู่บ้านเจ้าภาพจะปลูกโรงเรือน เรียกว่า ผามบุญ ไว้ต้อนรับชาวบ้านจากหมู่บ้าน อื่น และดูแลจัดหาอาหารส�ำหรับทุก ๆ คน เช้าของวันงานชาวบ้านจะร่วมกัน ท�ำบุญ ประกวดประชัน แห่ และจุดบัง้ ไฟทีต่ กแต่งอย่างงดงาม บัง้ ไฟของหมูบ่ า้ นใด จุดไม่ขึ้นชาวบ้านหมู่บ้านนั้นจะถูกโยนลงโคลนเป็นการท�ำโทษ และจะมีการเซิ้ง ฟ้อนกันอย่างสนุกสนาน และจะมีการเซิ้งปลัดขิกร่วมอยู่ในขบวนด้วยเสมอ โดยมี ความเชือ่ ว่าเป็นการไล่ผใี ห้พน้ ออก ไปจากหมูบ่ า้ นและเร่งให้แถนส่งฝนลงมาเร็ว ๆ 46 มูลเหตุของพิธีกรรม ตามต�ำนานพื้นบ้านอีสานเชื่อว่าเป็นการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณเตือนให้ พญาแถนรู้ว่าถึงฤดูท�ำนาแล้ว ให้พญาแถนบันดาลให้ฝนตกและมีปริมาณเพียงพอ แก่การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๓๐. อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๒๙.

๔๕ ๔๖


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 107

พิธีกรรม เมื่อได้ประชุมก�ำหนดวันจะท�ำบุญบั้งไฟแล้ว พวกช่างปั้นไฟก็จะ ตระหนักท�ำบัง้ ไฟหาง บัง้ ไฟก่องข้าว ไว้ตามจ�ำนวนและขนาดทีช่ าวบ้านศรัทธาร่วม กันบริจาคเงินซื้อศรัทธา ซื้อ “ขี้เกีย หรือ ขี้เจี้ย” (ดินประสิว) มาท�ำ “หมื่อ” ปัจจุบัน มักจะมีการแข่งขันบั้งไฟระหว่างคุ้ม บอกกล่าวไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ให้ท�ำบั้งไฟ มาแข่งขันกันตามขนาดที่ก�ำหนดอาจเป็น “บั้งไฟหมื่น” (มีน�้ำหนักไม่เกิน ๑๒๐ กิโลกรัม) “บั้งไฟแสน” (มีน�้ำหนักมากกว่า ๑๒๐ กิโลกรัม) ก็ได้ พอถึง “มื้อโฮมบุญ” หรือวันรวม ชาวบ้านจะจัดท�ำบุญเลี้ยงพระเพล แล้วจะมี “พิธีฮดสง” พระภิกษุผู้ มีศีลศึกษาธรรมวินัยมาตลอดพรรษาให้ได้เลื่อนเป็นต�ำแหน่งสูงขึ้น คือ “ฮด” จาก พระภิกษุธรรมดาให้เป็นภิกษุขั้น “อาจารย์” แต่เรียกสั้น ๆ ว่า “จารย์” ผู้มีอายุครบ บวชถ้าอยากบวช พ่อแม่มักจะจัดให้บวชในเดือนนี้ไปพร้อม ๆ กับพิธีนี้ ประมาณ เวลา ๑๕.๐๐ น. ของมื้อโฮม น�ำ “กองฮด” และ “กองบวช” มาตั้งไว้กลางศาลา โรงธรรมทางวัดจะตีกลองเป็นสัญญาณ บอกให้ทกุ คุม้ น�ำบัง้ ไฟมารวมกันทีว่ ดั แต่ละ คุม้ จะเอ้บงั้ ไฟ (ตกแต่งบัง้ ไฟ) ของตนให้สวยงามเป็นการประกวดประชันกันเบือ้ งต้น มีการจัดขบวนการแห่บงั้ ไฟ และในขณะทีแ่ ห่บงั้ ไฟจะเซิง้ บัง้ ไฟไปพร้อม ๆ กันด้วย การเซิง้ บัง้ ไฟนีจ้ ะมีหวั หน้ากล่าวน�ำค�ำเซิง้ เป็นวรรค ๆ ไปแล้วให้ผเู้ ข้าร่วมขบวนแห่ ทุกคนกล่าวตาม ขณะที่กล่าวก็ร�ำให้เข้ากับจังหวะเซิ้งนั้นด้วย รุง่ เช้าของวันบุญบัง้ ไฟ ญาติโยมจะน�ำข้าวปลาอาหารทัง้ ขนมหวาน มาท�ำบุญ ตักบาตรร่วมกันที่วัด หลังจากพระฉันจังหันเสร็จแล้วก็จะน�ำบั้งไฟมารวมกันที่วัด แล้วน�ำไปจุดที่ “ค้างบั้งไฟ” (ร้านส�ำหรับจุดบั้งไฟ) ที่ส�ำคัญเวลาจุดต้องหันหัวบั้งไฟ ไปทางทุง่ นาหรือหนองน�ำ้ เพือ่ ป้องกันบัง้ ไฟไม่ให้ตกในหมูบ่ า้ น ชาวบ้านก็จะพากัน มาดูบั้งไฟ หากบั้งไฟจุดแล้วพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ช่างบั้งไฟบั้งนั้นจะได้รับการหาบแห่ รอบบริเวณค้างบัง้ ไฟ แต่ถา้ บัง้ ไฟบัง้ ใดจุดแล้วเกิดหลุดเดือดเพราะ “ชุ” หรือ “แตก” หรือขึ้นจากค้างเพียงนิดเดียวหางของบั้งไฟยังไม่พ้นจากค้าง ช่างผู้ท�ำบั้งไฟนั้น จะถูก “หามลงตม” บางทีกถ็ กู จับโยนลงปลักควายนอนแล้วถูกทาขีโ้ คลนตลอดทัง้ ตัว47 ๔๗

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๓๔.


108 คนอีสานบ้านเฮา ๔.๑.๗ เดือนเจ็ด บุญซ�ำฮะ บุญซ�ำฮะหรือช�ำระ เกิดตามความเชื่อที่ว่า เมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องท�ำบุญช�ำระ จิตใจให้สะอาด และเพื่อปัดเป่ารังควานสิ่งไม่เป็นมงคลออกจากหมู่บ้าน บางท้อง ถิน่ เรียกประเพณีนวี้ า่ บุญเบิกบ้าน ซึง่ มีพธิ กี รรมทัง้ ทางศาสนาพุทธและไสยศาสตร์ ในวันงาน ชาวบ้านจะพากันน�ำภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์และร่วมกัน ฟังเทศน์ฟังธรรม รวมทั้งมีการเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองให้พ้น จากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไปจากหมู่บ้าน ให้บ้านเกิดความเป็น สิริมงคล48 มูลเหตุของพิธีกรรม มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิด “ทุพภิกขภัย” ข้าวยาก หมากแพง ประชาชนขาดแคลนอาหารเพราะฝนแล้ง สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ล้มตายเพราะความหิว ซ�้ำร้ายอหิวาตกโรคหรือ “โรคห่า” ก็ระบาดท�ำให้ผู้คน ล้มตายกันมากมาย ชาวเมืองกลุ่มหนึ่งจึงพากันเดินทางไปนิมนต์พระพุทธเจ้าให้ มาปัดเป่าภัยพิบัติครั้งนี้ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองไพสาลีก็เกิดฝน “ห่าแก้ว” ตกลงมาอย่างหนัก จนน�้ำฝนท่วมแผ่นดินสูงถึงหัวเข่าและน�้ำฝนก็ได้พัดพาเอา ซากศพของผู้คนและสัตว์ต่าง ๆ ไหลล่องลอยลงแม่น�้ำไปจนหมดสิ้น พระพุทธเจ้า ทรงท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ใส่บาตรแล้วมอบให้พระอานนท์น�ำไปประพรมทั่วเมือง โรคภัยไข้เจ็บก็สูญสิ้นไปด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ ดังนั้นคนลาวโบราณรวมทั้ง ไทยอีสาน จึงท�ำบุญซ�ำฮะขึ้นในเดือน ๗ ของทุก ๆ ปี พิธีกรรม พอถึงวันท�ำบุญชาวบ้านทุกครัวเรือนจะน�ำดอกไม้ธูปเทียน ขันน�ำ้ มนต์ ขันใส่กรวดทรายและเฝ้าผูกแขนมารวมกันทีศ่ าลากลางบ้าน ถ้าหมูบ่ า้ น ใดไม่มศี าลากลางบ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันปลูกปะร�ำพิธขี นึ้ กลางหมูบ่ า้ น ตกตอนเย็น จะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดชัยมงคลคาถา (ชาวอีสานเรียกว่า ตั้งมุงคุน) เช้าวันรุ่งขึ้น จะพากันท�ำบุญตักบาตร เลีย้ งพระถวายจังหันเมือ่ พระสงฆ์ฉนั เสร็จแล้วจะให้พรและ ประพรมน�ำ้ พุทธมนต์ให้แก่ทกุ คนทีม่ าร่วมท�ำบุญ จากนัน้ ชาวบ้านจะน�ำขันน�ำ้ มนต์ ๔๘

อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๓๓.


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 109

ด้ายผูกแขน ขันกรวดทรายกลับไปทีบ่ า้ นเรือนของตนเอง แล้วน�ำน�ำ้ มนต์ไปประพรม ให้แก่ทุกคนในครอบครัว ตลอดจนบ้านเรือนและวัวควาย เอาด้ายผูกแขนลูกหลาน ทุกคน เพราะเชื่อว่าจะน�ำความสุขและสิริมงคลมาสู่สมาชิกทุกคน ส่วนกรวดทราย ก็จะเอามาหว่านรอบ ๆ บริเวณบ้านและที่สวนที่นา เพื่อขับไล่เสนียดจัญไรและ สิง่ อัปมงคลทั้งหลายให้หมดสิน้ ไป ในขณะเดียวกันชาวบ้านจะท�ำความสะอาดบ้าน ช�ำระล้างสิ่งสกปรก ขุดท้องร่องช�ำระหยากไย่มูลฝอยเพื่อล้างเสนียดจัญไรด้วย49 ๔.๑.๘ เดือนแปด บุญเข้าพรรษา บุญเข้าพรรษาของภาคอีสานเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาคล้ายคลึงกับ ทางภาคกลางคือ จะมีการท�ำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน�้ำฝน สบง จีวร และเทียน พรรษา หากแต่ในภาคอีสานจะจัดขบวนแห่เทียนอย่างยิง่ ใหญ่ และมักมีการประกวด ความสวยงามของเทียนจากแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งตกแต่งสลักเสลาเทียนเป็นลวดลาย เรื่องราวทางพุทธศาสนาอย่างสวยงาม เมื่อแห่เทียนมาถึงวัด ชาวบ้านจะรับศีล รับพรฟังธรรม ตอนค�่ำจะเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ50 มูลเหตุของพิธีกรรม เนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระภิกษุเที่ยวจาริกสอนธรรมไปตามหมู่บ้าน ต่าง ๆ ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูฝน ฤดูหนาว หรือฤดูร้อน แต่ในฤดูฝนนั้นภิกษุ ได้เหยียบย�ำ่ ข้าวกล้าในนาของชาวบ้านเสียหาย สัตว์ตวั น้อยต่าง ๆ พลอยถูกเหยียบ ตายไปด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัตใิ ห้ภกิ ษุตอ้ งจ�ำพรรษา ๓ เดือนในฤดูฝนโดย มิให้ไปค้างแรมที่อื่นใดนอกจากในวัดของตน ถ้าภิกษุฝ่าฝืนถือว่า “ศีลขาดและต้อง อาบัติทุกกฎ” เว้นแต่กรณีจ�ำเป็นที่เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” เช่น บิดามารดาป่วย เป็นต้น แต่ต้องกลับมาภายใน ๗ วัน พรรษาจึงจะไม่ขาด

๔๙

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๔๑. อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๓๗.

๕๐


110 คนอีสานบ้านเฮา พิธกี รรม เมือ่ ถึงวันเพ็ญเดือนแปดตอนเช้าญาติโยมก็จะน�ำดอกไม้ธปู เทียน ข้าวปลา อาหารมาท�ำบุญตักบาตรที่วัดตอนบ่ายจะน�ำสบง จีวร ผ้าอาบน�้ำ เทียน พรรษา และดอกไม้ธูปเทียนมาถวายพระภิกษุที่วัด แล้วรับศีลฟังธรรมพระเทศนา พอถึงเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ชาวบ้านจะน�ำดอกไม้ธูปเทียนมารวม กันทีศ่ าลาโรงธรรมเพือ่ รับศีลและเวียนเทียนจนครบสามรอบ แล้วจึงเข้าไปในศาลา โรงธรรมเพื่อฟังพระธรรมเทศนาจนจบ จากนั้นจะแยกกันกลับบ้านเรือนของตน ส่วนผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าก็จะพากันรักษาศีลแปดจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันแรม หนึ่งค�่ำ เดือนแปด อันเป็นวันเข้าพรรษา ซึ่งพระภิกษุจะต้องจ�ำพรรษาในวัดของ ตนเป็นเวลาสามเดือน51 ๔.๑.๙ เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวประดับดิน จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนเก้าเป็นการท�ำบุญให้ญาติ ผู้ล่วงลับ โดยการน�ำข้าวปลาอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่อย่างละเล็กละน้อย ห่อด้วยใบตองเป็นสองห่อกลัดติดกันเตรียมไว้ตั้งแต่หัวค�่ำ ครั้นถึงเวลาตีสาม ตีสี่ของวันรุ่งขึ้นจะน�ำห่ออาหารและหมากพลูไปวางไว้ตามโคนต้นไม้รอบ ๆ วัด เพื่อให้ญาติพนี่ อ้ งผูล้ ว่ งลับ รวมทัง้ ผีไร้ญาติอนื่ ๆ ซึง่ เชือ่ ว่าจะมาเยีย่ มญาติพนี่ อ้ ง ในเวลานี้มารับไปเพื่อจะได้ไม่อดอยากหิวโหย นอกจากจะเป็นการท�ำบุญและ ท�ำทานแล้วยังแสดงถึงความกตัญญูอีกส่วนด้วย52 มูลเหตุของพิธีกรรม คนลาวและไทยอีสานมีความเชือ่ สืบต่อกันมาแต่โบราณกาลว่ากลางคืนของ เดือนเก้าดับ (วันแรมสิบสี่ค�่ำ เดือนเก้า) เป็นวันที่ประตูนรกเปิดในรอบปี ยมบาล จะปล่อยให้ผีนรกออกมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ ในคืนนี้คืนเดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงพากันจัดห่อข้าวไว้ให้ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ถือว่าเป็นงานบุญเพื่ออุทิศ ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๔๕. อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๔๑.

๕๑

๕๒


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 111

พิธกี รรม ตอนเย็นของวันแรม ๑๓ ค�ำ่ เดือนเก้า แม่บา้ นแม่เรือนทุกครัวเรือน จะ “ห่อข้าวน้อย” ซึ่งมีวิธีห่อดังนี้ ฉีกใบตองออกให้มีขนาดกว้างเท่ากับหนึ่งฝ่ามือ ส่วนความยาวนัน้ ให้ยาวสุดซีข่ องใบกล้วย น�ำเอาข้าวเหนียวนึง่ สุกแล้วปัน้ เป็นก้อน เล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ วางบนใบตองที่จะห่อ จากนั้นแกะเนื้อปลา ไก่ หมู ใส่ ลงไปอย่างละเล็กน้อย (ถือว่าเป็นอาหารคาว) แล้วใส่น�้ำอ้อย กล้วยสุก มะละกอ สุกหรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไปอีกนิด (ถือว่าเป็นของหวาน) จากนั้นใส่หมากหนึ่งค�ำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งค�ำ แล้วจึงห่อใบตอบเข้าหากัน โดยใช้ไม้กลัดหัวท้ายและ ตรงกลางก็จะได้ห่อข้าวน้อยที่มีลักษณะยาว ๆ (คล้ายห่อข้าวเหนียวปิ้ง) ส�ำหรับ จ�ำนวนของห่อข้าวน้อยนี้ก็ควรจะให้มีมากกว่าจ�ำนวนญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งนี้เพราะจะต้องมีจ�ำนวนหนึ่งเผื่อผีไม่มีญาติด้วย ครัง้ ถึงเวลาประมาณ ๐๓.๐๐ – ๐๔.๐๐ น. ของวันแรม ๑๔ ค�ำ่ เดือนเก้า พวกผู้ใหญ่ในแต่ละครัวเรือนจะน�ำเอาห่อข้าวน้อยไปวางไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด ตามดินริมก�ำแพงวัดบ้าง ริมโบสถ์รมิ เจดียใ์ นวัดบ้าง การน�ำเอาห่อข้าวน้อยไปวาง ไว้ตามที่ต่าง ๆ ในวัดนี้เรียกว่า “การยายห่อข้าวน้อย” ซึ่งจะพากันท�ำเงียบ ๆ ไม่มีฆ้องกลองแห่แต่อย่างใด หลังจากยายห่อข้าวน้อยเสร็จแล้ว จะกลับบ้าน เตรียมหุงหาอาหารในตอนรุ่งเช้าของวันแรม ๑๔ ค�่ำ เดือนเก้า ซึ่งญาติโยมทุก ครัวเรือน จะน�ำข้าวปลาอาหารไปท�ำบุญตักบาตรเลีย้ งพระ จากนัน้ พระสงฆ์จะแสดง พระธรรมเทศนาเกี่ยวกับอานิสงฆ์ของบุญข้าวประดิบดินให้ฟัง ญาติโยมถวาย จตุปัจจัยไทยทาน พระสงฆ์ให้พรญาติโยมกรวดน�้ำอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ญาติ ผู้ล่วงลับ53

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๔๙.

๕๓


112 คนอีสานบ้านเฮา ๔.๑.๑๐ เดือนสิบ บุญข้าวสาก บุญข้าวสากเป็นประเพณีในวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ ซึ่งชาวบ้านจะจัดเตรียมส�ำรับ อาหาร ซึ่งบรรจุข้าวเหนียว อาหารแห้ง เช่น ปลาย่าง เนื้อย่าง แจ่วบองหรือน�้ำพริก ปลาร้า และห่อข้าวเล็ก ๆ อีกห่อหนึ่งส�ำหรับอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับและน�ำไปท�ำบุญ ที่วัด โดยจะเขียนชื่อเจ้าของส�ำรับอาหารและเครื่องไทยทานใส่ไว้ในบาตร เพื่อให้ พระในวัดจับสลาก หากภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อผู้ใด ก็จะได้ส�ำรับอาหารพร้อม เครื่องไทยทานของเจ้าภาพนั้น ๆ54 มูลเหตุพิธีกรรม เพือ่ จะท�ำให้ขา้ วกล้าในนาทีป่ กั ด�ำไปนัน้ งอกงามและได้ผลบริบรู ณ์และเป็นการ อุทิศส่วนกุศลถึงญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว พิธีกรรม เช้าวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือนสิบ ญาติโยมจะพากันท�ำบุญใส่บาตร ครั้นถึงเวลาพระฉันเพล ญาติโยมชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนจะจัด “พาข้าว” (คือส�ำรับกับข้าว) พร้อมทั้งปัจจัยไทยทาน ๑ ชุด แล้วเขียนชื่อของตนลงบนแผ่น กระดาษม้วนลงใส่ในบาตรเดียวกัน เมื่อทุกคนพร้อมแล้ว ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวน�ำ ค�ำถวายสลากภัต ญาติโยมว่าตามจบแล้วน�ำไปให้พระเณรจับสลากที่อยู่ในบาตร พระเณรรูปใดจับได้สลากของใครผูเ้ ป็นเจ้าของพาข้าวและเครือ่ งปัจจัยไทยทานก็นำ� ไปประเคนให้พระเณรรูปนัน้ ๆ จากนัน้ พระเณรจะฉันเพลแล้วให้พรญาติโยมจะพากัน รับพร แล้วกรวดน�้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้แก่ญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว55

อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๔๕. บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๕๓.

๕๔

๕๕


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 113

๔.๑.๑๑ เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา บุ ญ ออกพรรษาในเดื อ นสิ บ เอ็ ด นอกจากจะเป็ น โอกาสที่ พ ระภิ ก ษุ ส งฆ์ จะแสดงอาบัติและว่ากล่าวตักเตือนกันแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานยังมีกิจกรรม อีกหลายอย่าง ทั้งประเพณีตักบาตรเทโว การจุดประทีปโคมไฟประดับประดาตาม ต้นไม้ บางแห่งน�ำต้นอ้อย หรือไม้ไผ่มามัดเป็นเรือจุดโคมแล้วน�ำไปลอยในแม่น�้ำ ที่เรียกว่า การไหลเรือไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชา ส�ำหรับหมู่บ้านที่อยู่ไกลแหล่งน�้ำ จะนิยมท�ำปราสาทผึ้งหรือผาสาดผึ้งท�ำจากกาบกล้วยประดับประดาด้วยขี้ผึ้ง ซึ่ง ท�ำเป็นดอกไม้ แต่ปัจจุบันมักใช้ขี้ผึ้งมาตกแต่งปราสาททั้งหลัง แล้วจัดขบวนแห่ มาถวายที่วัดอย่างสนุกสนาน56 มูลเหตุพิธีกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ภิกษุสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ และเพื่อพระภิกษุสงฆ์ จะได้จาริกไปในที่ต่าง ๆ เพื่อเที่ยวสั่งสอนศีลธรรมและธรรมะแก่ประชาชน หรือ เพือ่ แสวงหาความสงบวิเวกในการปฏิบตั ธิ รรม โดยไม่ตอ้ งกลับมาค้างแรมทีว่ ดั และ ให้ภิกษุหาผ้านุ่งห่มใหม่มาผลัดเปลี่ยน พิธีกรรม ในเช้ามืดวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑ พระสงฆ์จะไปรวมกันที่อุโบสถ เพื่อแสดงอาบัติต่อกัน จากนั้นจะท�ำวัตรและท�ำปวารณาแทนการสวดปาฏิโมกข์ ปวารณา คือ พิธีกรรมทางศาสนาที่สงฆ์ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกับการปวารณา จะท�ำในวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา จึงเรียกวันออกพรรษา ว่าวันปวารณาหรือวันมหาปวารณา (จากพจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๘) ส่วนชาวบ้านก็จะเตรียมข้าวปลาอาหาร เพือ่ ให้ทำ� บุญตักบาตรทีว่ ดั ในตอนรุง่ เช้าและถวายผ้าจ�ำน�ำพรรษาแด่ภกิ ษุสามเณร ตอนค�่ำมีการเวียนเทียนรอบอุโบสถและถ้าหมู่บ้านใดตั้งอยู่ริมแม่น�้ำหรือหนอง บึง ก็จะมี “การไหลเรือไฟ” เพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น�้ำนัมทานที อีกด้วย57 อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๔๙. บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๕๕.

๕๖

๔๗


114 คนอีสานบ้านเฮา ๔.๑.๑๒ เดือนสิบสอง บุญกฐิน บุญกฐินคือ บุญทีเ่ รียกว่า “กาลทาน” นีม้ กี ำ� หนดให้ทำ� ได้เฉพาะในช่วงวันแรม ๑ ค�่ำ เดือน ๑๑ ถึง ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “บุญเดือน ๑๒” ชาวอีสานเชือ่ ว่าผูใ้ ดได้ทำ� บุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รบั ผลบุญทีท่ ำ� ในชาติ นีไ้ ว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานส�ำคัญ ในส่วนพิธกี รรมนัน้ คล้ายคลึง กับภาคกลาง แต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ใน ครัวเรือนมาตัง้ วางไว้ในทีเ่ ปิดเผย เพือ่ ให้ญาติพนี่ อ้ งหรือชาวบ้านใกล้เคียงน�ำสิง่ ของ เช่น เสื่อ หมอน อาเสน์สงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ตอนกลางคืนอาจจัดให้มีมหรสพต่าง ๆ และที่ขาด ไม่ได้ในงานบุญกฐินก็คือ ต้องจุด “บั้งไฟพลุ” อย่างน้อยจ�ำนวน ๔ บั้ง เอาไว้จุด เมือ่ ตอนหัวค�ำ่ หนึง่ ลูก ตอนดึกหนึง่ ลูก ตอนใกล้สว่างหนึง่ ลูก และตอนถวายกฐินอีก หนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐิน รุ่งเช้าเป็นขบวนแห่กฐินจากบ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อถึงวัดต้องแห่ เครื่องกฐินเวียนขวาสามรอบ รอบศาลาโรงธรรม จากนั้นจึงน�ำเครื่องกฐินขึ้นตั้ง บนศาลาโรงแรม น�ำข้าวปลาอาหารถวายพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลีย้ งพระตอนฉัน จังหัน แต่ถา้ ถวายตอนบ่ายก็จะเลีย้ งพระตอนเพล เมือ่ พระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้ว ผูเ้ ป็นเจ้าภาพองค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย น�ำรับศีลแล้วกล่าวค�ำถวาย กฐินเป็นเสร็จพิธี ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์แล้วให้ภิกษุ รูปหนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุ (เอ่ยนามภิกษุ) ที่สมควรจะได้รับ กฐิน ส่วนมากก็เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น ๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งค�ำว่า “สาธุ” พร้อมกัน จากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัย ไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ทั้งวัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พร เป็นเสร็จพิธี จะขาดไม่ได้ คือ การเฉลิมฉลองโดยการจุดพลุบั้งไฟอย่างเอิกเกริก ในขณะที่แห่ขบวนกฐินมาที่วัด58 ๕๘

อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๕๓.


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 115

มูลเหตุพิธีกรรม เพือ่ ให้ภกิ ษุสงฆ์มโี อกาสได้ผลัดเปลีย่ นไตรจีวรใหม่ เนือ่ งจากของเก่าใช้นงุ่ ห่ม มาตลอดระยะเวลาสามเดือนที่เข้าพรรษาย่อมเก่าคร�่ำคร่า มีเรื่องเล่าว่าในสมัย พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ภิกษุชาวเมืองปาฐาจ�ำนวน ๓๐ รูปพากัน เดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเชตวันมหาวิหารไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงต้อง พากันพักจ�ำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันเดินทาง กร�ำแดดกร�ำฝนไปเฝ้าพระพุทธองค์ จีวรทีน่ งุ่ ห่มก็เปียกปอน เมือ่ พระพุทธองค์ทรง เห็นความยากล�ำบากของพระภิกษุเหล่านีก้ ท็ รงอนุญาตให้รบั ผ้ากฐินได้ เพือ่ จะได้มี จีวรเปลีย่ นใหม่ เมือ่ นางวิสาขาผูเ้ ป็นมหาอุบาสิกาได้ทราบข่าวจึงน�ำผ้ากฐินไปถวาย พระพุทธองค์เป็นคนแรก การท�ำบุญกฐินจึงเกิดเป็นประเพณีมาตราบเท่าทุกวันนี้ พิธีกรรม ผู้มีศรัทธาประสงค์จะน�ำกฐินไปทอดต้องไปขอจองวัดโดยปกติ มักจะติดต่อตั้งแต่ตอนเช้าเข้าพรรษาใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นเดือนเก้า เดือนสิบ เมื่อ เจ้าอาวาสแจ้งว่าวัดนั้นยังไม่มีผู้ใดจองกฐิน ผู้มีจิตศรัทธาที่จะท�ำบุญจะปักสลาก เพื่อประกาศให้คนทั้งหลายรู้ว่าตนเป็นผู้จองและจะน�ำกฐินมาทอดที่วัดดังกล่าว สลากต้องปักไว้ในที่เปิดเผย เช่น ศาลาโรงธรรม หรือฝาผนัง ด้านนอกของโบสถ์ รายละเอียดในสลากก็จะบอกถึงชื่อที่อยู่ของผู้ที่จะน�ำกฐินมาทอด รวมทั้งบอกวัน เวลาทีจ่ ะทอดด้วย เพือ่ ไม่ให้เจ้าศรัทธาอืน่ น�ำกฐินมาทอดซ้อนกัน เพราะวัดหนึง่ ๆ จะรับกฐินได้ปีละหนึ่งกองเท่านั้น คนอีสานมีความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ท�ำบุญกฐินแล้ว ตายไปจะไม่ตกนรก มีแต่จะได้รับผลบุญที่ตนเองกระท�ำเอาไว้เก็บกินในชาติหน้า การท�ำบุญกฐินจึงจัดเป็นงานส�ำคัญ ผูท้ จี่ ะท�ำบุญกฐินจึงบอกกล่าวลูกหลาน ญาติมติ ร ของตนให้โดยพร้อมหน้า ครั้นถึงวันรวมก็จะตั้งองค์กฐินที่บ้านของตน59

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๖๒.

๕๙


116 คนอีสานบ้านเฮา ๔.๒ คองสิบสี่

เป็นบทบัญญัตทิ างสังคมของชาวอีสานให้เป็นหลักปฏิบตั ติ อ่ กันส�ำหรับคนใน สถานภาพต่าง ๆ มาแต่โบราณโดยใช้เป็นค�ำบอกเล่าขาน สืบต่อกัน ครัง้ ยังไม่มกี าร บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร “คองสิบสี่” มักเป็นค�ำกล่าวควบคู่กับค�ำว่า ฮีตสิบสอง สันนิษฐานไว้ ๒ ความหมายว่ามาจากค�ำว่า “คลอง หรือ ครรลอง” เป็นค�ำนามหมายถึง ทางหรือแนวทาง เช่น คลองธรรม หรือมาจาก “ครอง” ซึ่งเป็นค�ำกริยามีความ หมายถึงการรักษาไว้ เช่น ค�ำว่า ครองเมือง ครองรักครองชีพ โดยที่ชาวอีสานไม่ นิยมออกเสียงควบกล�้ำ ดังนั้นคองสิบสี่น่าจะมีความหมายถึงแนวทางที่ประชาชน ท�ำไป ชาวบ้านหรือสงฆ์พงึ ปฏิบตั ิ ๑๔ ข้อเพือ่ ด�ำรงรักษาไว้ซงึ่ ประเพณีและท�ำนอง คลองธรรมอันดีงามของท้องถิ่นบ้านเมือง คองสิบสี่โดยนัยที่ ๑ กล่าวถึงผูเ้ กีย่ วข้องในครอบครัว สังคมตลอดจนผูม้ หี น้าทีป่ กครองบ้านเมือง พึงปฏิบตั ิ เมือ่ พูดถึงคองมักจะมีคำ� ว่าฮีตควบคูก่ นั อยูเ่ สมอ แบ่งออกเป็น ๑๔ ข้อ คือ ๑. ฮีตเจ้าคองขุน ส�ำหรับกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองปกครองอ�ำมาตย์ ขุนนาง ข้าราชบริพาร ๒. ฮีตเจ้าคองเพีย ส�ำหรับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในการปกครองข้าทาสบริวาร ๓. ฮีตไพร่คองนาย ส�ำหรับประชาชนในการปฏิบัติตนตามกบิลบ้านเมือง และหน้าที่พึงปฏิบัติต่อนาย ๔. ฮีตบ้านคองเมือง วัตรอันพึงปฏิบัติตามธรรมเนียมทั่วไปของพลเมืองต่อ บ้านเมืองและส่วนรวม ๕. ฮีตผัวคองเมีย หลักปฏิบัติต่อกันของสามีภรรยา ๖. ฮีตพ่อคองแม่ หลักปฏิบัติของผู้ครองเรือนต่อลูกหลาน ๗. ฮีตลูกคองหลาน หลักปฏิบัติของลูกหลานต่อบุพการี ๘. ฮีตใภ้คองเขย หลักปฏิบัติของสะใภ้ต่อญาติผู้ใหญ่และพ่อแม่สามี


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 117

๙. ฮีตป้าคองลุง หลักปฏิบัติของลุง ป้า น้า อา ต่อลูกหลาน ๑๐. ฮีตคองปู่ย่า, ตาคองยาย หลักปฏิบัติของปู่ย่า ตายาย ให้เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรต่อลูกหลาน ๑๑. ฮีตเฒ่าคองแก่ หลักปฏิบัติของผู้เฒ่าในวัยชราให้เป็นที่เคารพเลื่อมใส เหมาะสม ๑๒. ฮีตคองเดือน การปฏิบัติตามจารีตประเพณีต่าง ๆ ในฮีตสิบสอง ๑๓. ฮีตไฮ่คองนา การปฏิบัติตามประเพณีเกี่ยวกับการท�ำไร่ท�ำนา ๑๔. ฮีตวัดคองสงฆ์ หลักปฏิบัติของภิกษุสามเณรให้ถูกต้องตามพระธรรม วินัยทั้งการช่วยท�ำนุบ�ำรุงวัดวาอาราม คองสิบสี่โดยนัยที่ ๒ กล่าวถึงหลักการส�ำหรับพระมหากษัตริย์ในการปกครองทั้งอ�ำมาตย์ราช มนตรีและประชาชนเพื่อความสงบสุขร่มเย็น โดยทั่วกัน ๑. แต่งตัง้ ผูซ้ อื่ สัตย์สจุ ริต รูจ้ กั ราชการ บ้านเมือง ไม่ขม่ เหงไพร่ฟา้ ข้าแผ่นดิน ๒. หมั่ น ประชุ ม เสนามนตรี ให้ ข ้ า ศึ ก เกรงกลั ว บ้ า นเมื อ งเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง ประชาชนเป็นสุข ๓. ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม ๔. ถึงปีใหม่นมิ นต์ภกิ ษุมาเจริญพุทธมนต์ สวดมงคลสูตรและสรงน�ำ้ พระภิกษุ ๕. ถึงวันปีใหม่ให้เสนา อ�ำมาตย์น�ำเครื่องบรรณาการ น�้ำอบ น�้ำหอม มุรธาภิเษก พระเจ้าแผ่นดิน ๖. ถึงเดือนหกนิมนต์ พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ถอื น�ำ้ พิพฒ ั น์สตั ยา ต่อพระเจ้าแผ่นดิน ๗. ถึงเดือนเจ็ด เลีย้ งท้าวมเหสักข์ หลักเมือง บูชาท้าวจตุโลกบาลเทวดาทัง้ สี่ ๘. ถึ ง เดื อ นแปด นิม นต์พระภิกษุสงฆ์ท�ำพิธีช�ำระ และเบิกบ้านเมือง สวดมงคลสูตร ๗ คืน โปรยกรวดทรายรอบเมืองตอกหลักบ้านเมืองให้แน่น ๙. ถึงเดือนเก้า ประกาศให้ประชาชนท�ำบุญข้าวประดับดิน อุทิศส่วนกุศล แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ


118 คนอีสานบ้านเฮา ๑๐. วันเพ็ญเดือนสิบ ประกาศให้ประชาชนท�ำบุญข้าวสาก จัดสลากภัต ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ๑๑. วันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด ท�ำบุญออกพรรษา ให้สงฆ์ปวารณา นมัสการและ มุรธาภิเษก พระธาตุหลวง พระธาตุภูจอมศรี และประกาศให้ประชาชนไหลเรือไฟ เพื่อบูชาพญานาค ๑๒. เดือนสิบสองให้ไพร่ฟ้าแผ่นดินรวมกันที่พระลานหลวงแห่เจ้าชีวิต ไปแข่งเรือถึงวันเพ็ญพร้อมด้วยเสนาอ�ำมาตย์นิมนต์และภิกษุ ๕ รูป นมัสการ พระธาตุหลวงพร้อมเครื่องสักการะ ๑๓. ถึงเดือนสิบสอง ท�ำบุญกฐิน ถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ ๑๔. ให้มีสมบัติอันประเสริฐ คูนเมืองทั้ง ๑๔ อย่างอันได้แก่ อ�ำมาตย์ ข้าราชบริพาร ประชาชน พลเมือง ตลอดจนเทวดาอารักษ์เพื่อค�้ำจุนบ้านเมือง คองสิบสี่โดยนัยที่ ๓ เป็นจารีตประเพณีของประชาชนและธรรมที่พระเจ้าแผ่นดินพึงยึดถือ ๑. เดือนหกขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีย์ทรายทุกปี ๒. เดือนหกหน้าใหม่ เกณฑ์คนสาบานตนท�ำความซื่อสัตย์ต่อกันทุกคน ๓. ถึงฤดูท�ำนา คราด หว่าน ปัก ด�ำ ให้เลี้ยงตาแฮก ตามกาลประเพณี ๔. สิ้นเดือนเก้าท�ำบุญข้าวประดับดิน เพ็ญเดือนสิบท�ำบุญข้าวสาก อุทิศ ส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ ๕. เดือนสิบสองให้พิจารณาท�ำบุญกฐินทุกปี ๖. พากันท�ำบุญผะเหวด ฟังเทศน์ผะเหวดทุกปี ๗. พากันเลี้ยงพ่อ แม่ที่แก่เฒ่า เลี้ยงตอบแทนคุณที่เลี้ยงเราเป็นวัตรปฏิบัติ ไม่ขาด ๘. ปฏิบัติเรือนชานบ้านช่อง เลี้ยงดูสั่งสอน บุตรธิดา ตลอดจนมอบมรดก และหาคู่ครองเมื่อถึงเวลาอันควร ๙. เป็นเขยอย่าดูถูกลูกเมีย เสียดสีพ่อตาแม่ยาย ๑๐. รู้จักท�ำบุญให้ทาน รักษาศีล ไม่พูดผิดหลอกลวง


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 119

๑๑. เป็นพ่อบ้านให้มีพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๑๒. พระมหากษัตริย์ต้องรักษาทศพิธราชธรรม ๑๓. พ่อตา แม่ยาย ได้ลูกเขยมาสมสู่ให้ส�ำรวมวาจา อย่าด่าโกรธา เชื้อพงศ์ พันธ์ุอันไม่ดี ๑๔. ถ้าเอามัดข้าวมารวมกองในลานท�ำเป็นลอมแล้ว ให้พากันปลงข้าวหมกไข่ ท�ำตาเหลวแล้วจึงพากันเคาะฟาดตี คองสิบสี่โดยนัยที่ ๔ ๑. ให้พระภิกษุสงฆ์ศึกษาพระธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้าและรักษาศีล ๒๒๗ ข้อเป็นประจ�ำทุกวัน ๒. ให้รักษาความสะอาดกุฏิ วิหาร โดยปัดกวาดเช็ดถูกทุกวัน ๓. ให้ปฏิบัติกิจนิมนต์ของชาวบ้านเกี่ยวกับการท�ำบุญ ๔. ถึงเดือนแปด ตั้งแต่แรมหนึ่งค�่ำเป็นต้นไปต้องจ�ำพรรษา ณ วัดใดวัดหนึ่ง ไปจนถึงวันแรมหนึ่งค�ำเดือนสิบเอ็ด ๕. เมื่อออกพรรษาแล้วพอถึงฤดูหนาว (เดือนอ้าย) ภิกษุผู้มีศีลหย่อนยาน ในหมวดสังฆาทิเสสต้องอยู่ปริวาสกรรม ๖. ต้องออกเที่ยวบิณฑบาต ทุกเช้าอย่าได้ขาด ๗. ต้องสวดมนต์และภาวนาทุกคืนอย่าได้ละเว้น ๘. ถึงวันพระขึ้นสิบห้าค�่ำหรือแรมสิบสี่ค�่ำ (ส�ำหรับเดือนคี่) ต้องเข้าประชุม ท�ำอุโบสถสังฆกรรม ๙. ถึงปีใหม่ (เดือนห้า วันสงกรานต์) น�ำทายกทายิกา เอาน�้ำสรงพระพุทธ รูปและมหาธาตุเจดีย์ ๑๐. ถึงศักราชใหม่ พระเจ้าแผ่นดินไหว้พระ ให้สรงน�้ำในพระราชวัง ๑๑. เมื่อมีชาวบ้านเกิดศรัทธานิมนต์ไปกระท�ำการใด ๆ ที่ไม่ผิดพระวินัย ก็ให้รับนิมนต์ ๑๒. เป็นสมณะให้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดวาอาราม พระมหาธาตุเจดีย์ ๑๓. ให้รบั สิง่ ของทีท่ ายกทายิกาน�ำมาถวายทาน เช่น สังฆทานหรือสลากภัต


120 คนอีสานบ้านเฮา ๑๔. เมื่อพระเจ้าแผ่นดินหรือเสนาข้าราชการมีศรัทธา นิมนต์ไปประชุมกัน ในพระอุโบสถแห่งใด ๆ ในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ดต้องไปอย่าขัดขืน60

๔.๓ ประเพณีอื่น ๆ ๔.๓.๑ ประเพณีแห่นางแมว เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อขอฝนในยามที่เกิดความแห้งแล้ง และเป็นผลเสีย กับไร่นา ในการแห่นางแมวจะต้องใช้แมวตัวเมียสีด�ำใส่กะทอ หามแห่ไปตามบ้าน ต่าง ๆ ชาวบ้านจะช่วยกันสาดน�้ำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี ขบวนแห่ บางครั้งจะใช้เวลานานเกือบทั้งวันชาวบ้านในทุกครัวเรือนจะออกมาร่วมใจกัน ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและสนุกสนานร่วมกัน ในการเซิ้งนางแมวหลังจาก เสร็จพิธกี ารแห่นางแมวแล้วชาวอีสานเชือ่ ว่าฝนจะตกลงมาสร้างความชุม่ ชืน้ ให้กบั ไร่นาของตน มูลเหตุของพิธีกรรม เพื่อเป็นการขอฝนโดยมีความเชื่อที่ว่าแมวเป็นสัตว์เกลียดฝน ถ้าฝนตก ครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่าเป็นมูลเหตุ ให้เกิดฝนตกขึ้นจริง ๆ พิธกี รรม ประเพณีแห่นางแมวของชาวอีสานจะเริม่ ต้นจากการคัดเลือกแมว สีด�ำตัวเมียมา ๑ - ๓ ตัวหรือเพียงตัวเดียวก็ได้ น�ำแมวใส่ลงในกะทอหรือเข่งที่มีฝา ปิดปากข้างบน ฝาปิดนัน้ จะต้องโปร่งพอทีน่ ำ�้ จะกระเซ็นไปถูกตัวแมวได้ ขณะทีว่ าง แมวลงในกะทอ ผู้ที่จับแมวจะต้องพูดว่า “นางแมวเอย ขอฟ้า ขอฝน ให้ฝนตกลงมาด้วยมือ”

อุดม บัวศรี. กวีนิพนธ์อีสานฮีตสิบสองคองสิบสี่. หน้า ๕๗.

๖๐


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 121

เมื่อปิดฝากะทอดีแล้วต้องหาไม้มาสอดเป็นคานส�ำหรับหาม ต่อจากนั้น จัดเครื่องสักการะบูชาอันประกอบด้วยคาย ๕ หัวหน้าพิธีน�ำเครื่องสักการะมาป่าว อัญเชิญเทวดาลงมาชุมนุมแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอน�้ำฝน ชาวบ้านก็จัดเตรียมขบวน แห่นางแมว โดยมีชายคู่หนึ่งเป็นผู้หามกะทอนางแมวน�ำหน้า คนในขบวนแห่ก็จะ ร้องค�ำเซิ้งแห่นางแมวพร้อมกัน โดยมีผู้เป็นแม่บทกล่าวน�ำอยู่หนึ่งคน ขบวนแห่ นางแมวจะแห่ไปตามบ้านต่าง ๆ เมื่อไปถึงบ้านเรือนของใครคนในขบวนแห่ก็จะ ร้องบอกว่า “เจ้าข้า ๆ นางแมวมาแล้ว ๆ นางแมวเอาฝนมาให้แล้ว” คนอื่น ๆ ก็จะร้องเสริมขึ้นว่า “ฝนตกเฮง ๆ ให้บักแตงเป็นหน่วย ฝนตก ค่อย ๆ ให้ออ้ ยเป็นล�ำตกลงมา ฝนตกลงมา เทลงมา ฝนเทลงมา เทลงมาพอท�ำนาได้ อย่าถึงต้องให้ใช้เฮือแจว เอ้าเทลงมา ฝนเทลงมา” เจ้าของบ้านทีข่ บวนแห่นางแมวไปถึงจะต้องตักน�ำ้ สาดลงไปให้ถกู ขบวนแห่ และถูกตัวนางแมวด้วยขณะที่สาดน�้ำลงไปก็จะพูดว่า “เอ้าฝนตกลงไปแล้ว ฝนตกแล้ว ตกลงมามากจริง ๆ ต้นข้าว ต้นหญ้าขึ้น เขียวไปหมด” คนในขบวนแห่กจ็ ะต้องท�ำท่าเหมือนเดินตากฝนจริง ๆ หากขบวนแห่นางแมว ไปถึงบ้านใครบ้านนั้นไม่สาดน�้ำลงมา เชื่อว่านางแมวจะโกรธมาก ซึ่งจะท�ำให้เกิด อาเพท ฝนไม่ตก อากาศแห้งแล้ง61

การแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน ซึ่งจ�ำจัดท�ำขึ้นในปีใดที่ท้องถิ่นแห้งแล้งฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล สาเหตุที่ฝนไม่ตก ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า น�้ำฝนนั้นเป็นน�้ำของเทวดา ดังมีศัพท์บาลีว่า เทโว ซึ่งแปลว่า น�้ำฝน เป็นเอกลักษณ์ของความดี ความบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมาก ๆ ควันและละออง เขม่าน�้ำมัน ห่อหุ้มโลกท�ำให้เป็นภัยแก่มนุษย์ ผู้ที่จะล้างอากาศได้ท�ำให้ละอองพิษพวกนั้นตกลงดิน ท�ำให้อากาศสะอาดคือ “เทโว” หรือ “ฝน” นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อฝนหยุดตกใหม่ ๆ อากาศจะ สดชื่น ระงมไปด้วยเสียงของกบ เขียด ๖๑


122 คนอีสานบ้านเฮา ๔.๓.๒ ประเพณีผูกเสี่ยว ประเพณีผกู เสีย่ วเป็นประเพณีดงั้ เดิมของกลุม่ วัฒนธรรม ไท - ลาว การผูกเสีย่ ว คือ การสัญญาทีจ่ ะเป็นเพือ่ นรักร่วมเป็นร่วมตาย โดยมีสกั ขีพยาน การผูกเสีย่ วนิยม กระท�ำระหว่างชายกับชายหรือหญิงกับหญิงทีว่ ัยใกล้เคียงและลักษณะนิสยั ใจคอที่ คล้ายคลึงกัน โดยพ่อแม่หรือญาติผใู้ หญ่จะเป็นผูท้ าบทามขอผูกเป็นเสีย่ วกัน เรียกว่า “แฮกเสี่ยว” เมื่อตกลงก็จะผูกเสี่ยวโดยใช้ฝ้ายมงคล ผูกข้อมือของแต่ละคนเพื่อให้ เป็นสิริมงคลแก่คู่เสี่ยว บางแห่งก่อนจะผูกเสี่ยวจะจัดพิธีสู่ขวัญ ให้ศีลให้พรอบรม สั่งสอนให้แก่คู่เสี่ยวรักนับถือกัน ตลอดถึงพ่อแม่พี่น้องและวงศาคณาญาติของกัน และกันให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันตลอดไป ตอนนี้เรียกว่า “ขอดเสี่ยว” หลัง จากนั้นก็เลี้ยงข้าวปลาอาหารกันตามสมควรแก่ฐานะ มูลเหตุของพิธีกรรม ความเป็นมาของประเพณีผูกเสี่ยวไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าการผูกเสี่ยว เริ่มต้นเมื่อใด จากหลักฐานที่ปรากฎพอจะสืบค้นหลักฐานอ้างอิงถึงการผูกเสี่ยว อยู่ ๒ ทางคือ ๑. ด้านวรรณคดี พบข้อความในวรรณคดีอีสานกล่าวถึงค�ำเสี่ยวอยู่หลาย แห่ง เช่น “อันว่าบิดาพระพ่อพญาภายพุ้น ฮ้อยว่าจักไปหาเจ้าสหายแพงเป็นเสี่ยว” (พระลักพระลาม) “สั่งเล่ามาล่วงม้างพญากล้าพ่อพระองค์กุมพลเจ้าสุริวงเป็นเสี่ยว” (สุริวง)


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 123

๒. ด้านประวัติศาสตร์ อาจารย์จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้กล่าวไว้ว่าใน สมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัวได้มีการส�ำรวจประชาชนไทยที่มี วัน เดือน ปี เกิดตรงกับวันพระราชสมภพ เพือ่ ขึน้ บัญชีเป็น “สหชาติ” โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๗ นัน้ ได้พระราชทานเหรียญมงคลเป็นที่ระลึกแก่ “สหชาติ” คือเพื่อนร่วมวันเกิดด้วย ในพงศาวดารล้านนาไทย ปรากฏว่าพ่อขุนรามค�ำแหง พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนง�ำเมือง ได้จัดให้มีพิธีกรรมปฏิญาณตนเป็นสหายหรือ “เสี่ยว” กันโดยการ กรีดเลือดลงในจอกสุรา แล้วทรงดื่มเลือดของกันและกันพร้อมกับการกราบไหว้ เทพาอารักษ์ให้เป็นพยาน จึงนับเป็นหลักฐานส�ำคัญของการผูกเสี่ยว พิธีกรรม การผูกเสี่ยวท�ำให้เกิดมิตรภาพต่อเนื่องอันยาวนานและไม่ขาด สายหมู่บ้านต่าง ๆ อาจมีวิธีผูกเสี่ยวที่แตกต่างกันไป แต่มีจุดประสงค์ตรงกันคือ “มิตรภาพ” วิธีผูกเสี่ยวประมวลได้ ๕ ลักษณะ ๑. แบบที่ ๒ เมื่อคู่เสี่ยวมาพร้อมกันแล้วประธานในพิธีจะน�ำมีดสะนาก คือ มีดหนีบหมาก มีดหนีบสีเสียดมาตั้งไว้กลางขันหมาก โดยถือมีดสะนากเป็น หลักและเปรียบเทียบให้เห็นว่ามีดจะใช้ประโยชน์ได้ต้องมี ๒ ขาและจะต้องติดกัน เหมือนคนเราจะมีชวี ติ ปลอดภัยต้องมีมติ รเป็นมิตรกันในทุกแห่ง คนจะต้องมีเพือ่ น คอยช่วยเหลือกันและกันเหมือนมีดสะนาก จะอยู่คนเดียวโดดเดี่ยวไม่ได้ แล้วท�ำ พิธีผูกแขนให้คู่เสี่ยว ๒. แบบที่ ๒ เมื่อคู่เสี่ยวมาพร้อมกันแล้ว ก่อนจะผูกเสี่ยวผู้เป็นประธานจะ น�ำเกลือ พริก มาวางไว้ต่อหน้าในพิธีโดยให้เกลือกับพริกเป็นตัวเปรียบ เกลือมี คุณสมบัติเค็มไม่จืดจาง พริกเผ็ดไม่เลือกที่ เสี่ยวจะต้องมีลักษณะรักษาคุณสมบัติ คือ รักกันให้ตลอดไปเหมือนเกลือรักษาความเค็มแล้วจะท�ำพิธีผูกแขนให้คู่เสี่ยว ๓. แบบที่ ๓ เป็นแบบง่าย ๆ คือ เมื่อคู่เสี่ยวพร้อมแล้ว ผู้เป็นประธานก็จะ ผูกแขนให้คู่เสี่ยวและอวยชัยให้พร ใช้ค�ำพูดเป็นหลักในการโน้มน้าวให้คู่เสี่ยวรัก กันและกัน


124 คนอีสานบ้านเฮา ๔. แบบที่ ๔ เป็นแบบทีม่ กี ารจองคูเ่ สีย่ วไว้กอ่ น หรือพิจารณาดูเด็กทีร่ กั กัน ไปด้ ว ยกั น ทั้ ง ๆ ที่ เ ด็ ก ไม่ รู ้ ว ่ า เป็ น คู ่ เ สี่ ย วกั น แล้ ว น� ำ เด็ ก มาผู ก เสี่ ย วกั น โดยการเห็นดีเห็นงามของผู้หลักผู้ใหญ่ ประธานในพิธีจะน�ำฝ้ายผูกแขนมาผูกให้ คู่เสี่ยวต่อหน้าบิดามารดาของคู่เสี่ยวให้รับรู้ความรักของเด็กทั้งสอง ๕. แบบที่ ๕ เป็นพิธผี กู เสีย่ วแบบผูใ้ หญ่ คือ ผูใ้ หญ่ทรี่ กั กันมาตัง้ แต่เด็ก หรือ มาชอบพอกันเมือ่ โตแล้ว มีใจตรงกันจะผูกเสีย่ ว ก็ขอให้ผหู้ ลักผูใ้ หญ่ผกู แขนให้เป็น เสี่ยวกัน หรือผูกในพิธีผูกเสี่ยวที่จัดขึ้นเป็นกิจลักษณะก็ได้ ประโยชน์ของการผูกเสี่ยว การผู ก เสี่ ย วเป็ น การสร้ า งความเป็ น เพื่ อ สร้ า งความรั ก ความผู ก พั น ความนับถือให้เกิดขึ้นในหมู่ชน ความรัก ความผูกพันดังกล่าวไม่จ�ำกัดอยู่เฉพาะ ผู้เป็นเสี่ยวกันเท่านั้น แต่แผ่กระจายไปถึงพ่อแม่ญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นมา พิธีผูกเสี่ยวได้จัดขึ้นในงาน “เทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด” จังหวัดขอนแก่นจนกระทั่งถึงปัจจุบัน62 ๔.๓.๓ พิธีกินดอง กินดองหรือพิธีแต่งงานจะจัดขึ้นเมื่อหนุ่มสาวมีความสมัครรักใคร่พร้อมจะ ใช้ชีวิตคู่และได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย จะมีการจัดพิธีกินดองขึ้น ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับพิธีแต่งงานในภาคกลาง พิธีกินดองของชาวอีสาน เป็นการบอกให้สังคมได้ร่วมกับรู้เป็นสักขีพยานในพิธีจะมีแขกเหรื่อมาร่วมพิธี พร้อมทั้งอวยพรให้คู่หนุ่มสาวมากมาย นอกจากนี้ยังมีการประกอบพิธีกรรม ตามธรรมเนียมปฏิบัติและเคล็ดประเพณีซึ่งถือว่าเป็นสิ่งส�ำคัญในการใช้ชีวิตคู่ ให้มีความผาสุกยืนยาว

๖๒

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๑๙๒.


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 125

พิธีกรรมสู่ขวัญน้อย ที่บ้านเจ้าบ่าวและบ้านเจ้าสาวจะจัดท�ำพิธีสู่ขวัญ เจ้าบ่าวก็สู่ขวัญที่บ้านเจ้าสาว เมื่อสู่ขวัญแล้วก็ผูกข้อต่อแขนกันตามธรรมเนียม เมื่อเจ้าบ่าวสู่ขวัญแล้วก็แห่ขันหมากมาบ้านเจ้าสาว การแห่ขันหมาก เครื่องขันหมากมี ๓ ขัน คือ ขันใส่เงินค่าดอง ๑ ขัน ใส่หมากจีบพลูแหนบ ๑ ขัน ใส่เหย้ายา ๑ ขัน ทั้งสามนี้ใช้ผ้าสีต่าง ๆ คลุมขัน ใส่เงินค่าดองให้ผู้เฒ่าเจ้าโคตรถือเดินออกก่อน ขันหมากพลูและขันเหล้ายาให้ หญิงสาวบริสุทธิ์ ๔ คน หาบเดินตามหลัง พาขวัญเดินออกก่อนคู่บ่าวและญาติ พีน่ อ้ งแห่ไปตามหลังเมือ่ ไปถึงเรือนผูห้ ญิงแล้ว เจ้าโคตรฝ่ายหญิงจะออกมารับเชิญ ให้ขึ้นไปบนเรือน เมื่อขึ้นไปถึงแล้วเจ้าโคตรฝ่ายชายจะยกขันทั้ง ๔ ให้ฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงจะเปิดขันค่าดองออกมานับก่อน นับถูกต้องแล้วมอบค่าดองให้พอ่ แม่ของ หญิง ส่วนขันหมากพลูและขันเหล้ายาก็แจกแบ่งกันกิน อาหารการกินที่ฝ่ายหญิง จัดไว้ต้อนรับก็น�ำมาเลี้ยงดูกันด้วย การสู่ขวัญกับก่าย พอเสร็จการเลี้ยงดูแล้ว ก็มีการสู่ขวัญกับก่ายคือให้ ชายหญิงเข้าพาขวัญด้วยกันเอามือก่ายให้ “แขนท้าวก่ายแขนนาง” คือ เอาแขนชาย ทับแขนหญิง การเอาแขนท้าวก่ายแขนนางนี้โบราณเรียก “กับก่าย” ต่อจากนั้น หมอขวัญก็เริ่มว่าค�ำสู่ขวัญ การสู่ขวัญหรือการสูดขวัญในพิธีกับก่ายนี้ หมอสู่ขวัญ จะว่าให้จบโดยไม่ย่นย่อเพราะการสู่ขวัญต่อหน้าเจ้าโคตรทั้งสองฝ่ายถือว่าเป็น สิริมงคล น�ำความสุขความเจริญมาให้แก่คู่บ่าวสาว พอสู่ขวัญจบก็แจกฝ้ายผูกแขน ใครมีค�ำพูดดี ๆ มีคาถาดี ๆ ก็มาเสกผูกแขนให้คู่บ่าวสาว ไข่สุกที่ใส่ในพาขวัญ เป็นนิมิตหมายที่ดีอย่างหนึ่ง การเลือกไข่มาต้มจะต้องเลือกเอาไข่ไก่แม่ใหม่ ไข่นี้ ถ้าได้สองฟองจะดีมาก ให้ชายใบหนึ่งหญิงใบหนึ่ง ก�ำไว้ในเวลาผูกแขนพอผูก แขนเสร็จแล้วให้น�ำไข่ไปปอกโดยเอาเส้นผมตัดตรงกลาง ถ้าไข่ของฝ่ายใดเต็มไม่มี เว้าแหว่ง ถือว่าเป็นสิริมงคล หากไม่เต็มถือว่าไม่เป็นมงคล เมื่อตรวจดูแล้วยื่นไข่ ครึง่ หนึง่ ให้ชายครึง่ หนึง่ ให้หญิง ชายเอาไข่ของตนป้อนหญิงหญิงเอาไข่ของตนป้อนชาย ข้อนี้มีค�ำกลอนอีสานว่าไว้ว่า ปานใดซิได้จูงมือพาขวัญไข่หน่วย มือขวาป้อนไข่อ้าย มือซ้ายป้อนไข่นาง


126 คนอีสานบ้านเฮา เมือ่ เสร็จการป้อนไข่แล้วจะเป็นพิธแี สดงสัมมาคารวะเจ้าโคตรตายายทัง้ สอง ค�้ำสองฝ่าย พิธสี มมา เมือ่ ผูช้ ายกลับไปถึงบ้านของตนแล้วเจ้าโคตรฝ่ายหญิงจะน�ำหญิง ไปสมมาเจ้าโคตรฝ่ายชาย ของที่จะสมมาพ่อแม่ของชายมีผ้าผืนหนึ่ง เสื่อหนึ่งผืน ซิ่นหนึ่งผืน เสื้อหนึ่งผืน ของที่สมมาพ่อแม่ของฝ่ายชายนี้จะไม่คิดค่าตีราคา ส่วนเจ้าโคตรนอกนัน้ จะสมมาด้วยซิน่ ผืน แพรวา เสือ่ สาด อาสนะ อย่างใดอย่างหนึง่ ก็ได้แล้วแต่เห็นสมควรและคิดค่าตีราคาด้วย พิธีส่งตัวผู้ชาย เวลาส่งตัวผู้ชายไปอยู่เรือนผู้หญิงนั้นให้เลือกเอาเวลา โฮมแลง คือเวลาบ่าวโฮมสาว ประมาณสองทุ่มเศษ ขบวนที่ไปส่งตัวผู้ชายนั้นส่วน มากจะเป็นพวกชายหนุ่มเวลาไปจะส่งเสียงร้องไปว่า

แม่เถ้าเอยลูกเขยมาแล้ว ไขป่องเอี้ยม เยี้ยมเบิ่ง ลูกเขย

เมื่อไปถึงบ้านผู้หญิงแล้วฝ่ายหญิงจะมาคอยรับแล้วเชิญให้ขึ้นบนเรือน แล้วน�ำอาหารมาเลี้ยงดูตามธรรมเนียม พิธีปูที่นอน ที่นอนก็มีความส�ำคัญส�ำหรับชายหญิงที่แต่งดองกันแล้ว ถ้าท�ำให้ถูกตามประเพณีชายหญิงคู่ดองจะอยู่เย็นเป็นสุข คนปูที่นอนต้องเลือก เอาบุคคลส�ำคัญมาปู คือ คนที่มีศีลธรรม แต่งงานแล้ว ไม่เคยหย่าร้างกันมีลูก เต้าเหล่าหลานด้วยกัน เครื่องสักการะมีดอกไม้ธูปเทียน ที่จัดใส่ขันไว้เมื่อผู้ท�ำพิธี ปูที่นอนมาถึงจะได้ลงมือปูทันที ให้ปูที่นอนของผู้ชาย ไว้ข้างขวาของผู้หญิงไว้ข้าง ซ้ายและที่นอนของผู้ชายสูงกว่าของผู้หญิง เมื่อปูเสร็จแล้วผู้ปูจะต้องท�ำพิธีทดลอง นอนดูก่อน พอทดลองแล้วจึงมาจูงเอาผู้หญิงเข้าไปก่อนจูงผู้ชายเข้าไปทีหลัง ให้ชายหญิงนอนพอเป็นพิธีในขณะที่นอนนั้นให้ปิดก็เปิดประตูเข้าไป ให้ชายหญิง มานั่งหน้าเจ้าโคตร เจ้าโคตรจะสอนฮีตผัวครองเมีย63 บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๑๒๔.

๖๓


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 127

๔.๓.๔ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ คนในสมัยโบราณถือว่า เรือนเป็นสถานที่ส�ำคัญ คือ เป็นที่อยู่อาศัย คนใด จะปลูกบ้านต้องหาฤกษ์หายาม เพื่อความเป็นสิริมงคล อยู่ดีมีสุข และประกอบ พิธีกรรมให้ถูกต้อง ชาวอีสานมักจะลงแขกปลูกบ้านเสร็จภายในวันเดียว ก่อนจะ ย้ายเข้าไปอยู่ในบ้าน และจะต้องท�ำพิธขี นึ้ บ้านใหม่เสียก่อน ส่วนคนภาคกลางนิยม ท�ำบุญขึ้นบ้านใหม่โดยมีพิธีสงฆ์ การขึ้นบ้านใหม่ส่วนมากมักเลือกเอาวัน “ขึ้นหนึ่ง ค�่ำ” เป็นวันที่ดีที่สุด เพราะวันนี้มีความหมายว่า “ขึ้นค�่ำหนึ่ง ช้างแก้ว ขึ้นสู่โฮงค�ำ” หมายความว่า “วันขึ้นหนึ่งค�่ำช้างแก้วก้าวขึ้นสู่โรงค�ำ” ซึ่งถือเป็นศุภฤกษ์ แต่ใครมี ความจ�ำเป็นต้องเลือกวันใดที่เหมาะสมก็ได้ พิธีกรรม การขึ้นบ้านใหม่ พิธีจะเริ่มจากสมมุติให้แบ่งคนออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่จะอยู่บนบ้านที่สร้างใหม่ กลุ่มเจ้าของบ้านจะท�ำพิธีเดินมาจากทาง ไกลมีเครือ่ งเรือนและอุปกรณ์การท�ำมาหากินมาด้วย มีพธิ กี รน�ำหน้าสะพายถุงย่าม ซึ่งสมมติเป็น “ถุงเงินถุงค�ำ” พอเดินทางมาแล้วจะพากันเดินเวียนรอบบ้าน ๓ รอบ บางแห่งก็ไม่เวียน แล้วมาหยุดยืนตรงบันไดจะขึ้นบ้าน ฝ่ายที่อยู่บนบ้านจะถามหา สิ่งของดี ๆ จากฝ่ายที่เดินทางมาเช่น แก้วแหวน เงินทอง ทาสีทาสา ของคู่บ้านคู่ เมือง อุปกรณ์การท�ำมาหากิน เช่น แห มีด ตลอดจนอาหารการกิน เช่น เนื้อ ปลา เป็นต้น ฝ่ายทีม่ าก็จะตอบว่าได้มาทุกสิง่ ทุกอย่างพร้อมเพรียง เมือ่ ฝ่ายทีอ่ ยูบ่ นบ้าน พอใจแล้วก็จะเชิญฝ่ายเดินทางมาให้ขึ้นบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป พออนุญาตให้ ขึ้นบนบ้านแล้ว พิธีกรที่น�ำมาก็จะพาขึ้นบ้านใหม่ โดย - ให้เจ้าของบ้านจุดธูปเทียนบูชาอธิษฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ อธิษฐานเอาสิ่งดีงามเพื่อสวัสดิมงคล แล้วปักเทียนไว้ที่แม่บันไดทั้ง ๒ ซึ่งอยู่ซ้ายขวา


128 คนอีสานบ้านเฮา - เท้าเหยียบไปที่ใบตองที่พาดบนหินก้อนใหญ่หน้าบันไดแล้วก้าวขึ้นไป เหยียบบันไดแล้วก้าวขึ้นไปเหยียบบันไดเป็นขั้น ๆ พร้อมกับกล่าวตามพิธีกรว่า เหยียบขั้นหนึ่งเงินหมื่นแล่นมาหา เหยียบขั้นที่สองเงินแสนแล่นมาเข้า เหยียบขั้นสี่ เสนาแล่นมาซ่อย (ช่วย) เหยียบขั้นห้า ความเจ็บป่วยไข้ เฮือนนี้บ่ ห่อนมี (ไม่มี) เหยียบขั้นหก เป็นเศรษฐีมีเงินโกฏิ เหยียบขั้นเจ็ด พ้นจากโทษคณนา เหยียบขั้นแปด เป็นพญาหัวหน้าหมู่ เหยียบขั้นเก้า อยู่บ่อยู่ (อยู่ดี ๆ) เงินเข้ามื้อ ละแสนสองแสน เหยียบขั้นสิบ ของกันแนน (สกุล) บ่ให้ไผเอาหนีได้ เหยียบขั้นสิบเอ็ด คนทุกข์ไฮ้เข้ามาเพิ่งพา (อาศัย) เมื่อขึ้นบนบ้านแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าก็จะน�ำสิ่วมาตอกข้างฝา แล้วแขวนย่าม ซึ่งสมมติเป็นถุงเงินถุงค�ำไว้ พร้อมกับอธิษฐานทุกครั้งที่ตอกสิ่วลงไป เสร็จแล้วก็ จะปูที่นอนแล้วพากันนอน ได้เวลาแล้วก็จะมีคนท�ำเสียงไก่ขัน แล้วลุกขึ้นเล่าเรื่อง ความฝันให้ฟังโดยฝันไปว่า “ฝันคืนนี้ฝันหลดฝันขลาด ฝันว่าเพิ่นจูง แขนเข้าในพาขวัญเกยก่าย ฝันว่าเพิ่นเอาไข่ป้อนปันให้แก่เฮาเหมิด กระบวนแล้วคนเมืองนอนเกลี้ยง อ่อนฮ่อย พีก่ ฝ็ นั ว่าได้จบั จ่องนิว้ จูงน้องเข้าบ่อนนอนฝูงหมูเ่ ทวดาด้าว อินทร์ พรหมลงมาโผดค�ำและแก้วเหลืองเหลื่อมฮุ่งเฮือง” หมายความว่าความฝันนั้นดีมาก เพราะฝันว่ามีคนน�ำตัวเข้าไปในพาขวัญ สู่ขวัญบายศรีได้นั่งคู่กับสาวแล้วได้อยู่ร่วมกัน พร้อมกับบรรดาอินทร์พรหมก็ลง มาช่วยโปรดบันดาลแก้วแหวนเงินทองเต็มบ้านเต็มเรือน เหลืองอร่ามไปหมด เมื่อแก้ความฝันแล้วทุกคนก็ว่าดี ต่างก็ยินดีปรีดาปราโมทย์ แล้วปรบมือไชโย โห่รอ้ ง เลีย้ งอาหาร การกินร้องร�ำท�ำเพลง ฉลองการขึน้ บ้านใหม่แล้วเป็นเสร็จพิธ64 ี บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๓๒๓.

๖๔


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 129

๔.๓.๕ ประเพณีลงแขก อีสานทีเ่ ป็นสังคมเกษตรกรรมในชนบทมีลกั ษณะของการแลกเปลีย่ นพึง่ พา และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การงานหรือประเพณีต่าง ๆ มักอาศัยการร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์ ค�ำศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับประเพณีลงแขกที่ส�ำคัญมี ๒ ค�ำ ได้แก่ ค�ำว่า “แขก” หมายถึง คนที่ ไปมาหาสูก่ นั อาจหมายถึง ญาติสนิทมิตรสหายทีม่ ธี รุ ะติดต่อคบหากันอย่างสนิทสนม และต่อเนื่องกันอย่างสม�่ำเสมอ ส่งข่าวคราวหรือถามข่าวคราว สารทุกข์สุกดิบ เป็นประจ�ำ “การลงแขก” เป็นการขอแรงญาติพี่น้อง หรือเพื่อนบ้านมาช่วยท�ำงาน ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานเกี่ยวกับการเกษตรกรรม เช่น การท�ำนา เกี่ยวข้าว ฯลฯ เพราะเกรงจะไม่ทันฝนฟ้า หรือเกรงข้าวจะแห้งกรอบ ร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยว ชาวบ้านหรือเพือ่ นบ้านใกล้เคียงจะช่วยกันบอกกล่าวคนคุน้ เคยสนิทชิดเชือ้ มาช่วย กันออกแรงท�ำงานเก็บเกี่ยวหรืองานอื่น ๆ เช่น มีงานสร้างบ้าน ย้ายบ้าน สร้างสิ่ง สาธารณะ เช่น สะพาน ถนน ศาลา กุฏิ ฯลฯ เป็นต้น วิธกี ารช่วยเหลือกันและกันด้วย น�้ำใจไมตรีเช่นนี้คนอีสานเรียกว่า การลงแขก แต่อีสานตอนเหนือ คือ จังหวัดเลย เรียกว่า เอาแฮง การลงแขกชาวอีสานถือเป็นประเพณีประจ�ำท้องถิ่น การลงแขก อีสานเท่าที่ประมวลได้แบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ๒ ประเภทคือ ๑) การลงแขกสร้างสิ่งปลูกสร้าง ๒) การลงแขกท�ำนา ๑) การลงแขกสร้างสิ่งปลูกสร้าง ๑.๑) การลงแขกปลูกเรือน เรือนของคนอีสานไม่ใหญ่โตนัก ท�ำพอ ให้ได้อยู่อาศัย ไม้ที่ตัดเอามาท�ำเสาท�ำเครื่องเรือน ต้องตัดให้พอดีไม่ให้เหลือทิ้ง คนที่มาช่วยปลูกเรือน ใครมีสิ่วมีขวาน มีกบไสไม้หรือมีมีดก็ถือมาด้วย โดยทุกคน จะตัง้ ใจท�ำงาน เรือนหลังเล็กหรือหลังใหญ่ปลูกให้เสร็จได้ในวันเดียว โบราณถือว่าเป็น สิริมงคล ลักษณะโสกเรือน หรือเรือนที่จะให้เจ้าของอยู่เย็นเป็นสุขนั้น โบราณว่า ต้องท�ำให้ถูกโสก โสกเรือนมีดังนี้


130 คนอีสานบ้านเฮา ต่อนค�ำภู, ภูคำ� หอม, หอบสินไว้, ไฮ้เท่าตาย, วายพลัดพี, ได้เอือ้ ยอีม่ าเฮือน, ขันค�ำเลียนเลี้ยงแขก, ถ้วยปากแวกตักแกงบอน, นอนหงายตีนตากแดด, ใช้ตีนวัด กอนเรือน, ตีตรงไหนตัดเอาตรงนั้น ๑.๒) ลงแขกสร้างศาลากลางบ้าน เรือนที่ปลูกไว้กลางบ้านเรียกว่าศาลา กลางบ้าน เป็นสถานที่ประชุมกิจของบ้าน ถ้าเจ้าบ้านมีกิจอะไร จะมาที่ศาลากลาง บ้านนี้ ภายในศาลาจะมีเกราะหรือกอลอท�ำด้วยไม้แก่นยาวศอกคืบ กว้างหนึง่ คืบ เวลาตีเกราะป่าวร้องมักท�ำเวลาหัวค�่ำ ชาวบ้านที่ได้ยินเสียงเกราะจะมาประชุมกัน ที่ศาลานี้ ถ้าไฟไหม้บ้าน โจรมาปล้นบ้านจะเป็นเวลาไหนก็ตามเจ้าของบ้านจะรีบ มาตีเกราะ การตีเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินตีถี่และตีนาน เมื่อชาวบ้านได้ยินเสียงเกราะ จะรีบไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที ศาลากลางบ้านนอกจากจะเป็นที่ประชุมกิจของบ้านแล้ว พวกแขกไปไทมา พากันมาค้างบ้าน เช่น เอาพริกมาแลกเกลือ เอาปลามาแลกข้าวเอาพลูมาแลกหอย เมื่อไม่มีที่พักอาศัยเพราะไม่มีญาติพี่น้อง จะไปขอต่อเจ้าบ้านเพื่อมาพักที่ศาลานี้ ดังนั้นศาลานี้จึงน่าจะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรงแรมบ้านนอก การลงแขกสร้างศาลากลางบ้านก็เหมือนกับการปลูกเรือน อาหารที่น�ำมา เลีย้ งดูจดั เป็นอาหารชัน้ ดี คือ เหล้าเป็นไห ๆ ไก่ตม้ เป็นตัว ๆ อาหารทีถ่ กู ปากถูกใจ เช่นนี้ ท�ำให้คนงานขยันขันแข็ง ไม่เกียจคร้านในการท�ำงาน ๑.๓) ลงแขกหน้าวัด การจะสร้างวัดเริ่มจากเลือกสถานที่ตั้งวัด ไม่ให้ ใกล้หรือไกลจากบ้านถ้าไกลจะล�ำบากต่อพระสงฆ์ในเวลาออกภิกขาจาร ถ้าใกล้ จะมีเสียงชาวบ้านรบกวน ไม่สะดวกต่อการบ�ำเพ็ญกุศล และวัดควรตั้งอยู่ในทาง ทิศเหนือของบ้าน วัดกับบ้านเป็นของคู่กัน ถ้ามีแต่วัดไม่มีบ้านก็เหมือนคนพิการ มีแต่หวั ไม่มตี วั ถ้ามีแต่บา้ นไม่มวี ดั ก็เหมือนคนไม่มหี วั เพราะวัดสอนให้มสี ติปญ ั ญา บ้านสอนให้มีก�ำลังวังชา การสร้างวัดโบราณสอนให้ท�ำถูกโสก โสกวัดมีดังนี้


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 131

วัดวาอาฮาม สามบ่แล้ว แก้วดวงดี สีบ่เศร้า เหง้าสมร เถรบ่อยู่ การลงแขกสร้างวัดคือ ช่วยกันปรับพื้นที่ที่ลุ่มก็ถม ที่ดอนก็ถาก บริเวณ วัดล้อมรั้วรอบขอบชิด ท�ำประตูเข้าออก การวัดโสกให้ใช้เชือกวัดทั้งสี่ด้าน แล้วใช้ วาแทก ตกโสกไหนดี เอาตรงนั้น ๑.๔) ลงแขกสร้างโบสถ์ โบสถ์เป็นสิ่งก่อสร้างส�ำคัญของวัด ถ้าวัดขนาด โบสถ์อย่างเดียวจะจัดเป็นวัดทีส่ มบูรณ์ไม่ได้ เพราะโบสถ์เป็นแดนเกิดของพระสงฆ์ ผู้จะมาบวชเป็นพระสงฆ์ต้องมาบวชในโบสถ์นี้ การลงแขกสร้างโบสถ์ก็คล้ายกับ การปลูกเรือน จะผิดแผกแตกต่างกันบ้างเป็นบางประการ ๑.๕) ลงแขกสร้างกุฏิ ที่อยู่หลับนอนของพระสงฆ์เรียกกุฏิ การลงแขก สร้างกุฏเิ หมือนกับปลูกเรือน ถ้าท�ำให้ถกู โสกของคนโบราณก็จะก่อให้เกิดความสุข สวัสดีแก่พระสงฆ์ โสกกุฏิว่าดังนี้ “กอนกะฎี ปีพระแตก แขกมาโฮม โยมมาสู่ พ่อครูตาย ลูกศิษย์หลาย ฮ่วมเฮ้า ลูกเต้ามิจฉาจาร กินทานบ่ขาด” การแทกโสกให้แทกความยาวของกอนกะฎีโดยใช้ตีนแทก ดีตรงไหน เอาตรงนั้น ๒) การลงแขกด�ำนา ก่อนจะลงมือตกกล้าด�ำนา ชาวบ้านจะต้องไถฮุด (ไถดะ) เวลาจะตก กล้าจึงไถกลบหว่านเมล็ดข้าว แล้วหว่านปุ๋ยคอก สิ่งที่ชาวนาจะต้องเอาใจใส่เป็น พิเศษคือ ปั้นคันนาให้สูงพอที่น�้ำจะเลี้ยงต้นข้าวให้เขียวตลอด มีทางเปิดปิดน�้ำ เข้าออกเมือ่ ต้นข้าวตัง้ ตัวได้แล้วจึงเอาปุย๋ คอกหว่านอีก การเชิญญาติพนี่ อ้ งให้มาช่วย ท�ำนา เรียกว่า ลงแขกด�ำนา นาที่ลงแขกนี้จะต้องแบ่งหน้านากันเพื่อป้องกันไม่ให้ ถกเถียงกันว่า “เจ้าได้หน่อยข่อยได้หลาย” นาที่กว้าง ๒๐ – ๓๐ ไร่จะต้องใช้คน เป็นจ�ำนวนมาก และท�ำให้เสร็จพิธีเพียงวันเดียว ข้าวปลาอาหารที่เลี้ยงดูกันจะได้ ลาบวัว คั่วไก่ ซุบหน่อไม้หรืออะไรก็ตาม สิ่งที่จะลืมไม่ได้เป็นเด็ดขาดนั่นคือ ต�ำหมากหุ่ง และซุบหมากหมี้ ดังค�ำกลอนที่ว่า


132 คนอีสานบ้านเฮา “อย่าลืมซุบหมากหมี้ของดีตั้งแต่ปู่ อย่าลืมปลาแดกต่วงต�ำส้มหมาก หุ่งเฮา ปลาแดกที่ใช้ต�ำหมากหุ่งหรือต�ำมะละกอ ต้องเป็นปลาแดกที่มีรส หอม ถ้าถูกกลิ่นน�้ำลายสอทันที ชายหนุ่มหญิงสาวชอบนักถึงจะเอาลาบวัว คั่วหมูมาแลกก็ไม่ยอม” ๒.๑) ลงแขกเกี่ยวข้าว ข้าวที่สุกแล้วต้องรีบลงมือเกี่ยว ถ้าเกี่ยวไม่ทัน ข้าวจะกรอบ ถ้าข้าวกรอบจะล�ำบากในเวลาเกี่ยว การเกี่ยวสมัยโบราณใช้เกี่ยว (เคียว) ถ้าได้รับเชิญไปลงแขกเกี่ยวข้าวที่ไหนใครมีเคียวก็เอาติดมือไปด้วย เพราะ คนจ�ำนวนมาก เคียวทีเ่ จ้าของนามีอยูอ่ าจไม่พอ ส�ำหรับการเลีย้ งดูกเ็ หมือนลงแขก ด�ำนา และการแบ่งหน้าเกี่ยวก็คล้ายกับการลงแขกด�ำนา ๒.๒) การลงแขกเคาะข้าว ข้าวที่มัดเป็นฟ่อนแล้วหาบด้วยคันหลาว (หลาว) มากองกันไว้ที่ลานแล้วเรียงฟ่อนข้าวสั้นยาวตามต้องการ ข้าวที่เรียงกัน นี้เรียก “ลอมข้าว” การเชิญญาติพี่น้องให้มาฟาดข้าวนี้เรียก “ลงแขกเคาะข้าว” การฟาดต้องระวังอย่าให้เม็ดข้าวกระเด็นออกจากลาน ข้าวทีเ่ คาะไม่ออกต้องเอามาตี สะนุ (สงฟาง) การเลี้ยงดูกันก็เหมือนกับลงแขกด�ำนาและเกี่ยวข้าว ๒.๓) ลงแขกขนข้าว ข้าวที่ตีออกแล้วจะหาบมาวันละเที่ยวสองเที่ยว หรือจะใช้เกวียนขนมาก็ได้ หากข้าวได้มากอาจเชิญญาติพี่น้องให้มาช่วยหาบก็ได้ การเชิญญาติพี่น้องให้มาช่วยขนข้าวนี้เรียก “ลงแขกขนข้าว” ส�ำหรับอาหารเลี้ยงดู กันก็เหมือนกับเคาะข้าว ๒.๔) ลงแขกต�ำข้าว ข้าวที่ขนมาใส่ไว้ในเล้า ก่อนจะหุงต้องต�ำให้เปลือก ข้าวหลุดออกเสียก่อน ซึง่ ข้าวทีต่ ำ� ด้วยครกมือหรือครกมอง (ครกกะเดือ่ ง) มีวติ ามิน ทีม่ ปี ระโยชน์แก่รา่ งกายมาก ในเวลาทีม่ งี านบุญใหญ่ ๆ และเชิญแขกมาเป็นจ�ำนวน มาก ๆ เช่น งานบุญกฐิน ท�ำบุญอัฐิ ท�ำบุญแจกข้าว อุทิศถึงผู้ตาย เจ้าภาพจะจัด เตรียมข้าวสารไว้มาก ๆ จึงเชิญญาติพี่น้องให้มาช่วยต�ำข้าวให้เรียก “การลงแขก ข้าว” แขกที่รับเชิญส่วนมากเป็นหนุ่มสาวซึ่งจะได้เจอและพูดคุยกัน อาหารชั้นดีที่ จัดเลี้ยงหนุ่มสาวนี้คงจะไม่มีอาหารอะไรเลิศเลอไปกว่าต�ำหมากหุ่ง65 ๖๕

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. ประเพณีอีสานและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. หน้า ๒๕๙.


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 133

๔.๓.๖ ต�ำนานประเพณีบุญบั้งไฟ คนอีสานมีความเชื่อเรื่องภูติผี เทวดามาตั้งแต่อดีต พญาแถนผู้ดลบันดาล ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเป็นเทพทีช่ าวบ้านเคารพนับถือองค์หนึง่ ต�ำนานความเชือ่ เรื่ อ งพระยาแถน ซึ่ ง เป็ น มู ล เหตุ ข องประเพณี บุ ญ บั้ ง ไฟคื อ เรื่ อ งพญาคั น คาก ท้าวคันคากเป็นโอรสเจ้าเมืองอินทปัตนคร ตอนเกิดมามีผวิ ขรุขระคล้ายคางคกจึงได้ ชือ่ ว่าท้าวคันคาก ท้าวคันคากท�ำแต่ความดี พระอินทร์จงึ คุม้ ครองให้ความช่วยเหลือ เมื่อได้เป็นเจ้าเมืองก็ปกครองเมืองด้วยคุณธรรม บ้านเมืองสงบสุขผู้คนต่างเคารพ นับถือ พระยาแถนอิจฉาถึงไม่ยอมส่งฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล บ้านเมืองแห้งแล้ง นานถึง ๗ ปี พญาคันคากจึงส่งมด มอด ปลวก ขึน้ ไปกัดท�ำลายอาวุธของพระยาแถน แล้วยกกองทัพพร้อมด้วยบรรดาสัตว์ตา่ ง ๆ ไปรบพระยาแถนเห็นกองทัพ กบ เขียด เข้าประชิด จึงส่งงูมากัดเหยี่ยวของพญาคันคากที่เข้าจิกงู สุนัขของพระยาแถนก็ ไล่กัดเหยี่ยว ทั้งสองฝ่ายส่งสัตว์ต่าง ๆ เข้าต่อสู้กัน จนในที่สุดฝ่ายพญาคันคาก เป็นฝ่ายชนะจึงได้เจรจากับพระยาแถนและท�ำสัญญาผูกมัดพระยาแถน ๓ ข้อดังนี้ ๑. พอถึงเดือนหกของทุกปีมนุษย์ต้องจุดบั้งไฟขึ้นท้องฟ้าเพื่อเป็นสัญญาณ บอกให้พระยาแถนทราบว่าถึงเวลาส่งฝนลงมายังโลกแล้ว (ในต�ำนานบางท้องถิน่ ว่า ให้แห่สัญลักษณ์เพศชายและหญิงเพื่อแสดงให้พระยาแถนทราบว่า มนุษย์มีความ อุดมสมบูรณ์เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไป) ๒. เมื่อมีเสียงร้องของกบเป็นสัญญาณบอกว่าฝนตกแล้วเมื่อฝนตกลงมา มนุษย์พร้อมที่จะปลูกข้าว ๓. เมื่อมีเสียงคนเป่าโหวดหรือเสียงธนูอยู่บนว่าวที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า เป็นสัญญาณบอกว่าถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว


134 คนอีสานบ้านเฮา ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การร�ำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากท�ำให้แถน โปรดปราน มนุษย์กจ็ ะมีความสุข ดังนัน้ จึงมีพธิ บี ชู าแถน การจุดบัง้ ไฟก็อาจเป็นอีก วิธหี นึง่ ทีแ่ สดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจ�ำนวน มากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน การจัดประเพณีบุญบั้งไฟ ก่อนจะถึงวันงานหรือวันเอาบุญ ชาวบ้านก็จะช่วยกันเตรียมงานกันอย่าง สามัคคี ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะร�ำ หรือ “ผาม” หรือ “ตูบบุญ” ฝ่ายแม่ครัวก็เตรียมข้าวปลาอาหารไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ฝ่ายช่างฟ้อนก็เตรียม ขบวนร�ำไว้สำ� หรับแห่บงั้ ไฟ ฝ่ายผูช้ ายทีเ่ ป็นช่างฝีมอื ก็ชว่ ยกันท�ำบัง้ ไฟและตกแต่ง ให้สวยงาม งานบุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนาเท่าใดนัก แต่บางแห่งก็มีพิธีท�ำบุญเลี้ยงพระบ้าง วันโฮม ชาวบ้านก็จะมาตัง้ ขบวนเพือ่ แห่บงั้ ไฟไปรอบ ๆ หมูบ่ า้ น เป็นงานบุญ ที่ เ น้ น ความสนุ ก สนานรื่ น เริ ง ในขบวนจะมี ก ารร� ำ เซิ้ ง ตามบั้ ง ไฟ และบรรดา ขี้เหล้าทั้งหลายก็จะร้องเพลงเซิ้งไปของเหล้าตามบ้านต่าง ๆ กาพย์เซิ้งอาจจะ หยาบคายแต่ก็ไม่มีใครถือสากัน แต่กาพย์เซิ้งที่ใช้แห่ในขบวนมักจะเป็นประวัติ และความเป็นมาของพิธีบุญบั้งไฟ วันจุดบั้งไฟก็อาจจะเป็นอีกวันหนึ่ง คือเป็นวันที่ชาวบ้านจะเอาบั้งไฟของ แต่ละคุ้มแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน ถ้าของใครท�ำมาดีจุดขึ้นได้สูงสุดก็จะชนะ แต่ถ้าของใครแตกหรือซุก็ถือว่าแพ้ ต้องโดนลงโทษโดยการจับโยนลงโคลนหรือ ตมซึ่งเป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง การจุดบั้งไฟเป็นการเสี่ยงทาย ถ้าบั้งไฟขึ้นสูง ก็ท�ำนายว่าฝนจะตกดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 135

เทศกาลบุญบั้งไฟของชาวอีสาน เกิดขึ้นในเดือนหก เทศกาลนี้เป็นงาน ส� ำ คั ญ ของชาวอี ส านตั้ ง แต่ อ ดี ต เป็ น การแสดงสั ญ ลั ก ษณ์ ข องการบอกเตื อ น และเป็นพิธีกรรมขอฝน ความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าแห่งฝนที่มีความสัมพันธ์กับ การเพาะปลูก เทศกาลบุญบั้งไฟจะเกิดขึ้นก่อนฤดูท�ำนา เพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้า แห่งฝน มีชื่อว่า “พระยาแถน”66

นภัสนันท์ พุ่มสุโข. ต�ำนานพื้นบ้าน ภาคอีสาน. หน้า ๔๗.

๖๖



บรรณานุกรม นภัสนันท์ พุม่ สุโข. (๒๕๔๘). ต�ำนานพืน้ บ้านภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์ บ้านหนังสือ ๑๙ จ�ำกัด. บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล. (๒๕๔๔). ประเพณีอสี านและเกร็ดโบราณคดีไทอีสาน. ขอนแก่น : คลังนานาธรรม. ประสิทธิ์ คุณรุ ตั น์. (๒๕๓๐). ภูมศิ าสตร์กายภาพภาคอีสาน. ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (๒๕๓๗). อุรงั คธาตุ (ต�ำนานพระธาตุพนม). พิมพ์เนือ่ งใน งานสัมมนาวิชาการเรือ่ งวรรณกรรมสองฝัง่ โขง. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์. รัตนา รุจริ กุล. (๒๕๓๑). ภมู ศิ าสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. วราวธ สุธธี ร. (๒๕๕๐). ไดโนเสาร์ของไทย. กรุงเทพฯ : ส�ำนักวิจยั ซากดึกด�ำบรรพ์ และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี. วิโรฒ ศรีสุโร. (๒๕๓๙). ธาตุอีสาน. กรุงเทพฯ : บริษัทเมฆาเพลส จ�ำกัด. . (๒๕๓๖). สิมอีสาน. กรุงเทพฯ : บริษัทเมฆาเพลส จ�ำกัด. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๔๖). ทุ่งกุลา “อาณาจักรเกลือ” ๒,๕๐๐ ปี จากยุคแรก เริ่มล้าหลัง ถึงยุคมั่งคั่งข้าวหอม. กรุงเทพฯ : มติชน. . (๒๕๔๙). “พลังลาว” ชาวอีสาน มาจากไหน?. กรุงเทพฯ : มติชน. สุวิทย์ ธีรศาศวัต และ ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (๒๕๓๘). ประวัติศาสตร์ อีสาน หลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน. ภาควิชาประวัติศาสตร์ และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (๒๕๒๓). ภูมิศาสตร์อีสาน. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม. อุดม บัวศรี. (๒๕๔๐). กวีนิพนธ์อีสาน ฮีตสิบสองคองสิบสี่. ส�ำนักส่งเสริมศิลป วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.


เอกวิทย์ ณ ถลาง. (๒๕๔๔). ภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้าน กระบวนการเรียนรูแ้ ละการปรับตัว ของชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน). เอกสารโบราณคดีหมายเลข ๑๗/๒๕๓๑. (๒๕๓๒). ศิลปะถ�ำ้ ในอีสาน. กองโบราณคดี กรมศิลปากร. เอกสารโบราณคดีหมายเลข ๑๑/๒๕๓๑. (๒๕๓๑). อดีตอีสาน. กองโบราณคดี กรมศิลปากร.


รายชื่อผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพเครื่องอัฐบริขาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐


รายชื่อผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพเครื่องอัฐบริขาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ที่

ชื่อ - สกุล

ตำ�แหน่ง

รายการ บาตร สแตนเลส ๙ นิ้ว พรมปูนอน

รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย

อธิการบดี

รศ.ดร.ลำ�ปาง แม่นมาตย์

รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์

ผศ.ลิขิต อมาตยคง

รศ.ทพญ. ดร.นวรัตน์ วราอัศวปติ เจริญ รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ

๖ ๗ ๘

๙ ๑๐

รองอธิการบดี ฝ่ายทรัพยากรบุคคล รองอธิการบดี ฝ่ายการต่างประเทศ

จำ�นวน จำ�นวนเงิน ๕ ใบ

๑๐,๐๐๐.๐๐

๑ ผืน

๒,๕๐๐.๐๐

ผ้าห่ม พระประธาน หมอน

๑ ผืน

๘๐๐.๐๐

๒ ใบ

๑,๐๐๐.๐๐

หมอน

๒ ใบ

๑,๐๐๐.๐๐

บาตร สแตนเลส ๙ นิ้ว ผ้าไตรเต็ม

๑ ใบ

๒,๐๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

ผ้าไตรเต็ม

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

รองอธิการบดี ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และชุมชนสัมพันธ์ ผศ.ดร.พนมชัย รองอธิการบดี วีระยุทธศิลป์ ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน ผศ.วิชยั ณีรตั นพันธ์ุ ที่ปรึกษาฝ่ายรักษา ความปลอดภัย ผศ.ดร.สมพงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี สิทธิพรหม ฝ่ายรักษาความ ปลอดภัย ผศ.ปาริชาต ผู้ช่วยอธิการบดี บุตรวงค์ ฝ่ายการคลัง

ฐานพัดมุก

๑ อัน

๑,๕๐๐.๐๐

ฐานตาลปัตร ประดับมุก

๑ อัน

๗๕๐.๐๐

ดร.ศิรประภา บำ�รุงกิจ

ฐานตาลปัตร ประดับมุก

๑ อัน

๗๕๐.๐๐

ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายทรัพย์สิน


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 141 ที่

ชื่อ - สกุล

๑๑

ผศ.จรูญศักดิ์ พันธวิศิษฏ์ ๑๒ ศ.สพ.ญ.ดร. ธิดารัตน์ บุญมาศ ๑๓ ผศ.ดร.จงรักษ์ หงษ์นาม ๑๔ ผศ.ภญ.ดร. อัจฉราวรรณ โตภาคงาม ๑๕ นายบัญชา พระพล

๑๖

ผศ.ดร.รัชฎา ตั้งวงค์ไชย ๑๗ รศ.ดร.นันทรัตน์ โฆมานะสิน ๑๘ ผศ.ดร.กฤตภัทร ถาปาลบุตร ๑๙ อ.ดร.ปิยะวัชร ฝอยทอง ๒๐

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล

๒๑

รศ.ดร.วินิต ชินสุวรรณ

๒๒

รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

ตำ�แหน่ง

รายการ

ผู้ช่วยอธิการบดี หมอน ฝ่ายกีฬา ผู้ช่วยอธิการบดี หมอน ฝ่ายวิจัย ผู้ช่วยอธิการบดี หมอน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้ช่วยอธิการบดี ผ้าไตรเต็ม ฝ่ายความร่วมมือ ระหว่างประเทศ ผู้ช่วยอธิการบดี เครื่องเหล็ก ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และชุมชนสัมพันธ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่าย บาตรสแตนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เลส ๙ นิ้ว ผู้ช่วยอธิการบดี เทียนปาฏิโมกข์ ฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยอธิการบดี ผ้าไตรเต็ม ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ช่วยอธิการบดี ไม้กวาด ฝ่ายบริหารจัดการงาน ก่อสร้างและบำ�รุงรักษา คณบดี ตาลปัตร คณะแพทยศาสตร์ ปักไหมด้าม ประดับมุก คณบดีวิทยาการ สัปทน บัณฑิตศึกษา การจัดการ คณบดี หม้อ คณะศึกษาศาสตร์ ตราจระเข้

จำ�นวน จำ�นวนเงิน ๒ ใบ

๑,๐๐๐.๐๐

๒ ใบ

๑,๐๐๐.๐๐

๒ ใบ

๓๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

๑ ใบ

๒,๐๐๐.๐๐

๑ มัด

๓๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

๒ ด้าม

๒๐๐.๐๐

๑ ด้าม

๒,๕๐๐.๐๐

๑ คัน

๒,๕๐๐.๐๐

๓ ใบ

๓,๐๐๐.๐๐


142 คนอีสานบ้านเฮา ที่

ชื่อ - สกุล

๒๓

รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ๒๔ รศ.ทพญ.ดร. วรานุช ปิติพัฒน์ ๒๕ ศ.ดร ละออศรี เสนาะเมือง ๒๖ รศ.ดร.กุลธิดา ท้วมสุข ๒๗ ผศ.ดร.สมเกียรติ ศรีจารนัย ๒๘ รศ.ดร.พรเทพ ถนนแก้ว ๒๙ รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำ�สมุทร ๓๐ ศ.ดร.สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน ๓๑ ผศ.กิตติบดี ใยพูล ๓๒ ๓๓ ๓๔

ศ.ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา ผศ.ดร.สุธิดา โง่นคำ�

ตำ�แหน่ง

รายการ

คณบดี ปิ่นโต คณะสัตวแพทยศาสตร์ สแตนเลส คณบดี คูลเลอร์น�้ำ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณบดี เก้าอี้พลาสติก วิทยาลัยนานาชาติ คณบดี ตาลปัตร คณะมนุษยศาสตร์ ปักไหม และสังคมศาสตร์ ด้ามประดับมุก คณบดี ตาลปัตร คณะวิทยาศาสตร์ ปักไหม ด้ามประดับมุก คณบดีคณะเทคโนโลยี ชุดไทยธรรม พิเศษ คณบดีคณะ ชุดไทยธรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์ พิเศษ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย กระบะมุก คณบดีคณะนิติศาสตร์

ตาลปัตร ปักไหม ด้ามประดับมุก คณบดี ฉัตรเงิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ฉัตรทอง คณบดี ผ้าห่มแพร คณะเกษตรศาสตร์ รองคณบดี ย่ามไหมไทย ฝ่ายการต่างประเทศ ปักลาย คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์

จำ�นวน จำ�นวนเงิน ๓ เถา

๑,๕๐๐.๐๐

๒ ใบ

๔,๐๐๐.๐๐

๑๐ ตัว

๓,๐๐๐.๐๐

๒ ด้าม

๕,๐๐๐.๐๐

๑ ด้าม

๒,๕๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๐๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๐๐๐.๐๐

๑ ชุด

๒,๐๐๐.๐๐

๔ ด้าม

๑๐,๐๐๐.๐๐

๑ คู่

๔,๕๐๐.๐๐

๑ ผืน

๑,๐๐๐.๐๐

๒ ใบ

๑,๖๐๐.๐๐


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 143 ที่

ชื่อ - สกุล

๓๕ ผศ.น.สพ.ดร. สุวิทย์ อุปสัย ๓๖

รศ.ดร. ประพันธ์ศักดิ์ ฉวีราช ๓๗ ผศ.ดร.รักพงษ์ เพชรคำ� ๓๘

นายธัญญา ภักดี

๓๙

นางสาวสุนิภา ไสวเงิน

๔๐

นายสมหวัง ทองนำ� ผศ.ดร.อิศรา ก้านจักร

๔๑

๔๒ นางเพียงเพ็ญ ภาคอุทัย ๔๓ นางสุภารัตน์ มูลศรี ๔๔ นายชุมพร พารา ๔๕ นางวิกานดา พิธรัตน์

ตำ�แหน่ง

รายการ

จำ�นวน จำ�นวนเงิน

รองคณบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ ผู้อำ�นวยการ สำ�นักบริหาร และพัฒนาวิชาการ ผู้อำ�นวยการ สำ�นักบริการวิชาการ

ผ้าไตรเต็ม

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

สัปทน

๑ คัน

๒,๕๐๐.๐๐

หมอน ๑ ชุด อาสนะ ไหมไทยปัก ผู้อำ�นวยการกองกลาง เสื่อกก ๑ ผืน ๘ เมตร ผู้อำ�นวยการกองคลัง ผ้าห่มแพร ๑ ผืน ไม้กวาด ๔ ด้าม เก้าอี้พลาสติก ๑๐ ตัว ผู้อำ�นวยการ ผ้าห่มแพร ๒ ผืน กองบริหารงานวิจัย ชุดไทยธรรม ๒ ชุด ผู้อำ�นวยการ เครื่องเหล็ก ๑ ชุด สำ�นักนวัตกรรม การเรียนการสอน ผู้อำ�นวยการ ไม้กวาดทาง ๑๐ ด้าม สำ�นักงานอธิการบดี มะพร้าว ผู้อำ�นวยการสำ�นักงาน รองเท้าหนัง ๑ คู่ สภามาวิทยาลัย ไม้กวาด ๑ ด้าม ผู้อำ�นวยการกอง ผ้าไตรเต็ม ๑ ชุด สื่อสารองค์กร ผู้อำ�นวยการสำ�นักงาน ไม้กวาดทาง ๑๐ ด้าม ตรวจสอบภายใน มะพร้าว

๑,๙๐๐.๐๐

๑,๕๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๔๐๐.๐๐ ๓,๐๐๐.๐๐ ๑,๐๐๐.๐๐ ๑,๐๐๐.๐๐ ๑,๕๐๐.๐๐

๑,๐๐๐.๐๐ ๘๐๐.๐๐ ๑๔๐.๐๐ ๑,๕๐๐.๐๐ ๑,๐๐๐.๐๐


144 คนอีสานบ้านเฮา ที่ ๔๖

ชื่อ - สกุล

น.ส.รองรัตน์ วิโรจน์เพชร ๔๗ ผศ.ดร.เกียรติ แสงอรุณ ๔๘ รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ๔๙ ๕๐

๕๑ ๕๒

๕๓ ๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๘

ตำ�แหน่ง

หัวหน้าสำ�นักงาน กฎหมาย พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ� จังหวัดหนองคาย ผู้อำ�นวยการสถาบัน ยุทธศาสตร์และ ประสานความร่วมมือฯ รศ.ดร.กฤตพา ผู้จัดการโรงพิมพ์ แสนชัยธร มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายอิศรา หัวหน้าสำ�นักงาน รัตตศิริ ประสานและจัดการ ร้องเรียน นางยุพา หัวหน้างานบริหาร เศรษฐจรรยา การเงิน กองคลัง ศ.ดร.ประยงค์ อาจารย์ แสนบุราณ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ผศ.ธรณัส หินอ่อน รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักวัฒนธรรม รศ.ดร.ธีระ อาจารย์ ฤทธิรอด คณะเภสัชศาสตร์ รศ.งามนิจ นนทโส อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ ผศ.ดร.สุชาดา อาจารย์ ภัยหลีกลี้ คณะแพทยศาสตร์ ผศ.วิยะดา ปัญจรัก อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ ผศ.นพ.วินัย อาจารย์ ตันติยาสวัสดิกุล คณะแพทยศาสตร์

รายการ

จำ�นวน จำ�นวนเงิน

หมอน-อาสนะ ไหมไทยปัก เครื่องเหล็ก

๑ ชุด

๑,๙๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

ชุดไทยธรรม

๒ ชุด

๑,๐๐๐.๐๐

พรมปูนอน

๑ ผืน

๒,๕๐๐.๐๐

เทียนปาฏิโมกข์

๑ มัด

๓๐๐.๐๐

ย่ามไหมไทย ปักลาย ผ้าไตรเต็ม

๒ ใบ

๑,๖๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

ผ้าไตรเต็ม

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

ย่ามไหมไทย ปักลาย ผ้าไตรเต็ม

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

เก้าอี้พลาสติก

๕ ตัว

๑,๕๐๐.๐๐

หมอน-อาสนะ ไหมไทยปัก หมอน-อาสนะ ไหมไทยปัก

๑ ชุด

๑,๙๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๙๐๐.๐๐


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 145 ที่

ชื่อ - สกุล

หน่วยงาน

รายการ

๕๙

นายวริศ ลีลาภัทร

หมอน

๒ ใบ

๑,๐๐๐.๐๐

๖๐

นางสาวดวงฤทัย บุญสินชัย ดร.คำ�พันธ์ ธนัชพร ยะปะตัง

อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยี วิทยาลัยการปกครอง ท้องถิ่น

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

ชุดไทยธรรม

๒ ชุด

๑,๐๐๐.๐๐

ผ้าไตรเต็ม

๒ ชุด

๓,๐๐๐.๐๐

ผ้าไตรเต็ม เก้าอี้พลาสติก

๒ ชุด ๓ ตัว

๓,๐๐๐.๐๐ ๙๐๐.๐๐

ตาลปัตร ปักไหม ด้ามประดับมุก ชุดไทยธรรม ชุดไทยธรรม

๑ ด้าม

๒,๕๐๐.๐๐

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

สำ�นักบริการวิชาการ

ย่ามไหมไทย ปักลาย ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

สำ�นักบริการวิชาการ

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

สำ�นักวิชาศึกษาทั่วไป

ผ้าห่มแพร

๑ ผืน

๕๐๐.๐๐

สำ�นักเทคโนโลยี สารสนเทศ

ผ้าห่มแพร ผ้าไตรเต็ม

๑ ผืน ๑ ชุด

๕๐๐.๐๐ ๑,๕๐๐.๐๐

๖๑

๖๒

สำ�นักเทคโนโลยี สารสนเทศ ๖๓ สถาบันขงจื่อ ๖๔ ชมรมผู้เกษียณ คณะศึกษาศาสตร์ ๖๕ นายบุญญฤทธิ์ สมบัติหลาย

๖๖ นางรชตวรรณ พรมภักดี ๖๗ นางพัชลีย์กานต์ ประภาธนาสิริ ๖๘ นางประคอง เชียงนางาม ๖๙ นางเอื้องฟ้า วรรณสิทธิ์ ๗๐ นางจินตนา กนกปราณ ๗๑ นางสาวนรพร พระธานี

สำ�นักบริการวิชาการ

สำ�นักบริการวิชาการ สำ�นักบริการวิชาการ

จำ�นวน จำ�นวนเงิน


146 คนอีสานบ้านเฮา ที่

ชื่อ - สกุล

หน่วยงาน

รายการ

๗๒ นางวรกุล ปทุมบาล ๗๓ นายธีรพล ปทุมบาล ๗๔ นายธนวัฒน์ นางอรฤดี เธียรสุภรพงษ์ ๗๕ นายวัชรินทร์ รุ่งวิริยะวณิช ๗๖ นางปัญจมาส ติณโกฎ

สำ�นักเทคโนโลยี สารสนเทศ สำ�นักเทคโนโลยี สารสนเทศ สำ�นักเทคโนโลยี สารสนเทศ

ย่ามไหมไทย ปักลาย ย่ามไหมไทย ปักลาย ย่ามไหมไทย ปักลาย

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

สำ�นักเทคโนโลยี สารสนเทศ สำ�นักงานสภา มหาวิทยาลัย

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ มัด ๑ ใบ

๓๐๐.๐๐ ๘๐๐.๐๐

๗๗ น.ส.ธนพร ข้อยุ่น และครอบครัว

สำ�นักงานการกีฬา

ย่ามไหมไทย ปักลาย เทียนปาฏิโมกข์ ย่ามไหมไทย ปักลาย เทียนปาฏิโมกข์ สัปทนผ้าไตร เต็ม เทียนปาฏิโมกข์ ชุดไทยธรรม

๑ มัด ๑ คัน ๑ ชุด ๑ มัด ๒ ชุด

๓๐๐.๐๐ ๒,๕๐๐.๐๐ ๑,๕๐๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐ ๑,๐๐๐.๐๐

๑ มัด

๓๐๐.๐๐

๑ คู่

๘๐๐.๐๐

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

๑ ชุด ๕ ตัว

๑,๕๐๐.๐๐ ๑,๕๐๐.๐๐

๗๘ น.ส.อมร เวียงแสง กองคลัง ๗๙ น.ส.สุทัตตา กองคลัง กันทะวาด ๘๐ น.ส.หนึ่งฤทัย สำ�นักงานประสานและ เทียนปาฏิโมกข์ ประทุมกุล จัดการเรื่องร้องเรียน ๘๑ นางจุรีรัตน์ สำ�นักนวัตกรรม รองเท้าหนัง อบสุวรรณ การเรียนการสอน ๘๒ นายเตมินทร์ สำ�นักนวัตกรรม เก้าอี้พลาสติก เดชพิพัฒน์ภูวดล การเรียนการสอน ๘๓ นางบัวไข ไสยาสน์ สำ�นักหอสมุด ผ้าไตรเต็ม ๘๔ นางรัดดา อุ่นจันที สำ�นักหอสมุด เก้าอี้พลาสติก และครอบครัว

จำ�นวน จำ�นวนเงิน


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 147 ที่

ชื่อ - สกุล

หน่วยงาน

๘๕ นางสถาพร กองสื่อสารองค์กร นาวานุเคราะห์ ๘๖ นางสาวณัฐวดี สำ�นักบริหารและ ปทุมบาล พัฒนาวิชาการ ๘๗ นางสาวพีรณัฐ สำ�นักบริหารและ เอี่ยมทอง พัฒนาวิชาการ ๘๘ นางมาริสา สำ�นักงานกฎหมาย มัทธวรัตน์ ๘๙ นางเพ็ญนภา สำ�นักงานบริหาร ชนะทัพ จัดการหอพักนักศึกษา ๙๐ นางพิมพ์ประไพ กองการเจ้าหน้าที่ ภาระราช และครอบครัว ๙๑ นางยุวรรณา กองการเจ้าหน้าที่ เลิศศิริ ๙๒ นางสาวภูษิตา กองกลาง ม่วงมูลตรี ๙๓ นางเม้า - นางตุลยา สำ�นักวัฒนธรรม นานอก ๙๔ นางรัตติยากร บัณฑิตวิทยาลัย วิมลศิริ ๙๕ นางสาวศิตธีรา บัณฑิตวิทยาลัย สโมสร ๙๖ นางหอมหวล บัณฑิตวิทยาลัย นาถ้ำ�เพชร ๙๗ นางบุบผา คณะมนุษยศาสตร์ ประสารฉ่ำ� และสังคมศาสตร์

รายการ

จำ�นวน จำ�นวนเงิน

เสื่อกก ๘ เมตร ย่ามไหมไทย ปักลาย ผ้าห่มแพร

๑ ผืน

๑,๕๐๐.๐๐

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ ผืน

๕๐๐.๐๐

หมอน-อาสนะ ไหมไทยปัก หมอน-อาสนะ ไหมไทยปัก ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๑,๙๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๙๐๐.๐๐

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

ไม้กวาด

๒ ด้าม

๒๐๐.๐๐

ผ้าไตรเต็ม

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

เก้าอี้พลาสติก

๓ ตัว

๙๐๐.๐๐

ย่ามไหมไทย ปักลาย เก้าอี้พลาสติก

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๒ ตัว

๖๐๐.๐๐

ผ้าห่มแพร ชุดไทยธรรม

๑ ผืน ๑ ชุด

๕๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐


148 คนอีสานบ้านเฮา ที่

ชื่อ - สกุล

๙๘ นายอดิศักดิ์ สังข์แก้ว ๙๙ คุณพัชรีพร คุณสมถวิล อรรถสิทธิ์ คุณถิรวัฒน์ นราธิป บุญบานเย็น ๑๐๐ นางสาวฌานี สโมสร ๑๐๑ คุณจิตอารีย์ ตันติยาสวัสดิกุล ๑๐๒ นางอุไร ศรีชมภู

หน่วยงาน

รายการ

คณะสัตวแพทย์

ผ้าไตรเต็ม

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

ผ้าไตรเต็ม ตาลปัตร ปักไหมด้าม ประดับมุก

๔ ชุด ๑ ด้าม

๖,๐๐๐.๐๐ ๒,๕๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

ย่ามไหมไทย ปักลาย ชุดไทยธรรม

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

เสื่อกก ๘ เมตร ย่ามไหมไทย ปักลาย ย่ามไหม ไทย ปักลาย เก้าอี้พลาสติก ย่ามไหม ไทยปักลาย เก้าอี้พลาสติก ย่ามไหมไทย ปักลาย

๑ ผืน

๑,๕๐๐.๐๐

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๒ ใบ ๒ ตัว

๑,๖๐๐.๐๐ ๖๐๐.๐๐

๑ ใบ ๑ ตัว

๘๐๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

ชุดไทยธรรม พิเศษ

๑ ชุด

๑,๐๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์

๑๐๓ นายกำ�จร นางปริศนา ใจบุญ ๑๐๔ นางจุฑามาศ สังข์แก้ว

คณะแพทยศาสตร์

๑๐๕ นายรักเกียรติ กระแสร์

คณะแพทยศาสตร์

๑๐๖ นางสาวฐิตาพร และ เด็กหญิง ณัฐณิชา ใจบุญ ๑๐๗ นางอาภาภรณ์ ธรเสนา ๑๐๘ นางจุฑารัตน์ เอี่ยมทอง

คณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์

จำ�นวน จำ�นวนเงิน


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 149 ที่

ชื่อ - สกุล

๑๐๙ นางณัฐรดา ทวีสุวรรณ ๑๑๐ นางสุกานดา ยิ่งเจริญกิจขจร ๑๑๑ นางสาวมิสรา พลโยธา ๑๑๒ นายทศพล ภูทองเงิน ๑๑๓ ว่าที่ รต.ยุทธพงษ์ จักรคม ๑๑๔ นางศริตา อัตถาชน และครอบครัว ๑๑๕ นางชลินทรา จังคตระกูล ๑๑๖ นางสาวอภิญญา จันทุมา ๑๑๗ นางสาวสุทธิกานต์ ศรีเตชะ ๑๑๘ นางจุฬารักษ์ ขันทะชา ๑๑๙ นางรุ่งฤทัย ตรีชา ๑๒๐ นางสาวพรวิภา สัตนาโค ๑๒๑ นางนฤมล นายสมโภช พิมพ์พงษ์ต้อน ๑๒๒ นางพรจิต ภักดีศรีพันธ์

หน่วยงาน

รายการ

จำ�นวน จำ�นวนเงิน

คณะแพทยศาสตร์

คูลเลอร์น้ำ�

๑ ใบ

๒,๐๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

ผ้าไตรเต็ม

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

ชุดไทยธรรม

๒ ชุด

๑,๐๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

คณะแพทยศาสตร์

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

คณะวิทยาศาสตร์

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

คณะเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์

๒ ตัว ๑ ใบ

๖๐๐.๐๐ ๘๐๐.๐๐

คณะเทคโนโลยี

เก้าอี้พลาสติก ย่ามไหม ไทยปักลาย ผ้าไตรเต็ม เก้าอี้พลาสติก

๑ ชุด ๒ ตัว

๑,๕๐๐.๐๐ ๖๐๐.๐๐

คณะเทคโนโลยี

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐


150 คนอีสานบ้านเฮา ที่

ชื่อ - สกุล

๑๒๓ นายสุรพล นางบัวสี คั่งคำ�ภา ๑๒๔ นายบวรกิตติ์ พันธ์เสถียร ๑๒๕ นางชมพูนุท โพคะรัตน์ศิริ ๑๒๖ นางสมร แสงชัย ๑๒๗ ผศ.พวงทอง สุชาติ อ่อนจำ�รัส ๑๒๘ นายกิตติ นางบุหลัน การปลื้มจิตต์ ๑๒๙ นางสม ศรีมาพล

หน่วยงาน

รายการ

จำ�นวน จำ�นวนเงิน

คณะเทคโนโลยี

เก้าอี้พลาสติก

๒ ตัว

๖๐๐.๐๐

คณะวิศวกรรมศาสตร์ เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

คณะทันตแพทยศาสตร์ เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

คณะทันตแพทยศาสตร์ ผ้าห่มแพร ผู้มีจิตศรัทธา เก้าอี้พลาสติก

๑ ผืน ๔ ตัว

๕๐๐.๐๐ ๑,๒๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ย่ามไหมไทย ปักลาย

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๙๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๙๐๐.๐๐

๑ ชุด

๑,๙๐๐.๐๐

๑ ชุด ๑ ชุด

๕๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐

๑๓๐ นางเสาวภา สโมสร

ผู้มีจิตศรัทธา

๑๓๑ ผศ.ทพ.วรัญญู คงกันกง ๑๓๒ ผศ.ทพญ.นีรภา จันทร์โพธิ์ ๑๓๓ เด็กชายนนท์ปวิธ คงกันกง ๑๓๔ นายสมพร นุทผล ๑๓๕ นายวิรุณ หอห้อมกลาง ๑๓๖ นางพิมพ์พันธ์ ตาลลักษณ์ ๑๓๗ นายจำ�นวน เกษตรเวทิน

นีรภา-วรัญญู ทันตคลินิก นีรภา-วรัญญู ทันตคลินิก นีรภา-วรัญญู ทันตคลินิก ผู้มีจิตศรัทธา ผู้มีจิตศรัทธา

ย่ามไหมไทย ปักลาย ย่ามไหมไทย ปักลาย หมอน-อาสนะ ไหมไทยปัก หมอน-อาสนะ ไหมไทยปัก หมอน-อาสนะ ไหมไทยปัก ชุดไทยธรรม ชุดไทยธรรม

ผู้มีจิตศรัทธา

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐


ที่ระลึกในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ 151 ที่

ชื่อ - สกุล

๑๓๘ นางประกอบ เกษตรเวทิน ๑๓๙ นางสมหมาย สิทธิเราะ ๑๔๐ นางอัญชลี ชัยรัตกุล ๑๔๑ คุณทวาย - สุธิดา สุริยะหาญ ๑๔๒ คุณปรัศนีย์ ธีระตระกูล ๑๔๓ นางสาวชนัฎกาญจน์ สุนทรไชยยา ๑๔๔ นายปริยัติ สุนทรไชยา ๑๔๕ นางวิไลวรรณ ยุระศรี ๑๔๖ นางสาวสุพัตรา กองศรีผิว ๑๔๗ นางปวริศา พลเยี่ยม และ ครอบครัว ๑๔๘ นายชำ�นาญ นางสาวนาราภัทร คำ�สวาท ๑๔๙ นางยมุนา สุ่มมาตย์และ ครอบครัว ๑๕๐ นางสาวนงนุช ฤทธิศร

หน่วยงาน

รายการ

จำ�นวน จำ�นวนเงิน

ผู้มีจิตศรัทธา

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ชุดไทยธรรม

๒ ชุด

๑,๐๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ชุดไทยธรรม

๑ ชุด

๕๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ไม้กวาด

๑ ด้าม

๑๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ไม้กวาด

๑ ด้าม

๑๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ไม้กวาด

๕ ด้าม

๕๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

เก้าอี้พลาสติก

๑ ตัว

๓๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ผ้าไตรเต็ม

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐

ผู้มีจิตศรัทธา

ผ้าไตรเต็ม

๑ ชุด

๑,๕๐๐.๐๐


152 คนอีสานบ้านเฮา ที่

ชื่อ - สกุล

หน่วยงาน

๑๕๑ นางรัตนา ผู้มีจิตศรัทธา เมขะศักดิ์ชัย ๑๕๒ นางติ๋ม - คุณวีระ ผู้มีจิตศรัทธา เมืองกลั่น ๑๕๓ นางบุพพัณห์ ผู้มีจิตศรัทธา วรพุทธพร ๑๕๔ นางสาวสุชาดา ผู้มีจิตศรัทธา โลหมาศ ๑๕๕ นางสาวชนัญธดา ผู้มีจิตศรัทธา สุภาสนันท์ ๑๕๖ นายศิวัช เอี่ยมทอง ผู้มีจิตศรัทธา ๑๕๗ นางสาวชนัญธดา ผู้มีจิตศรัทธา สุภาสนันท์ ๑๕๘ นางจิตติมา กองคลัง อินธิราช ๑๕๙ นายประสิทธิ์ นายกสโมสรบุคลากร โททุโย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๑๖๐ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร คณบดีวิทยาลัย วงศ์ธนวสุ การปกครองท้องถิ่น

รายการ ย่ามไหมไทย ปักลาย ย่ามไหมไทย ปักลาย ผ้าห่มพระ ประธาน ผ้าห่มพระ ประธาน ผ้าห่มพระ ประธาน ผ้าห่มแพร หมอน

จำ�นวน จำ�นวนเงิน ๑ ใบ

๑,๐๐๐.๐๐

๑ ใบ

๘๐๐.๐๐

๑ ผืน

๘๐๐.๐๐

๑ ผืน

๘๐๐.๐๐

๑ ผืน

๘๐๐.๐๐

๑ ผืน ๒ ใบ

๕๐๐.๐๐ ๑,๐๐๐.๐๐

ผ้าไตรเต็ม

๑ ผืน

๑,๕๐๐.๐๐

ผ้าไตรเต็ม ชุดไทยธรรม ผ้าห่ม พระประธาน

๑ ผืน ๑ ชุด ๑ ผืน

๑,๕๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๘๐๐.๐๐














คณะผู้จัดทำ� ที่ปรึกษา

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ นายบัญชา พระพล

นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและ ชุมชนสัมพันธ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และชุมชนสัมพันธ์

กองบรรณาธิการ ดร.อุมารินทร์ ตุลารักษ์ นายณัฐวุฒิ จารุวงศ์ นางสาวศรัญญา บุตรวัง นางสาวอันธิกา จันลา

นายวิทยา วุฒิไธสง นางสาววิไลวรรณ ไชยสุวรรณ นางสาวพัชริตา เหง้าโอสา

บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หอมหวล บัวระภา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี สอทิพย์

พิสูจน์อักษร นางสาวพิมพ์ชนก ศรีคง นายณัฐพล ผลสว่าง

รูปเล่ม

นางสาวกุลนิภา บุตรลุน นางสาวพิมชนก บุญแจ้ง

นายปัญญวัฒน์ ฉายาวรรณ์ นายวิทยา วุฒิไธสง

ธุรการ การเงิน นางตุลยา นานอก

นายณัฐวุฒิ จารุวงศ์ นางสาวศิริมุกดา โพธิ

ประสานงาน นางสาวพิธญั ญา พิรณ ุ สุนทร นางสาวบุญยืน เปล่งวาจา

นายวรศักดิ์ วรยศ

นางสาวคณิตตา คลังทอง


ชื่อหนังสือ

คนอีสานบ้านเฮา

ผู้เขียน

นายวิทยา วุฒิไธสง

จัดพิมพ์โดย

ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและชุมชนสัมพันธ์ และสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ที่ระลึกในงานกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำ�ปี ๒๕๖๐

พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ จำ�นวนพิมพ์ ๔๐๐ เล่ม พิมพ์ที่

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทรศัพท์ ๐ ๔๓๒๐ ๒๑๐๐ ภายใน ๔๔๗๗๐ E-mail : kkuprinting@hotmail.com

หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงเพื่อเป็นวิทยาทานในงานกฐิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ณ วัดป่าอดุลยาราม ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ ๖ - ๗ ตุลาคม ๒๕๖๐


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.