บทความ : อัตลักษณ์ทางสุนทรียภาพในงานพุทธปฏิมาลุ่มน้ำชี

Page 1

อัตลักษณ์ ทางสุ นทรียภาพในงานพุทธปฏิมาลุ่มนา้ ชี ความเป็ นมาของพระพุทธรู ป ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ทาการศึกษาภาพพุทธประวัติในหิ นสลักพบว่า ภาพพุทธประวัติหินสลัก ที่ศึกษาเหล่านั้นสร้างขึ้นที่ประเทศอินเดี ย ระหว่าง พ.ศ. 300 เศษ ถึง พ.ศ. 600 เศษ หิ นสลักต่างๆ นั้น ค้นพบได้จากสถานที่ 3 แห่ งคือ บริ เวณสถูปภารหุ ต ค่อนไปทางทิศเหนือของประเทศ บริ เวณสถูปสาญ จี ทางภาคกลาง และบริ เวณสถูปอมารวดี ทางอินเดียใต้ นับว่าเป็ นหลักฐานทางวัตถุ ชิ้นแรกๆ ที่แสดง สัญลักษณ์ แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพสลักเหล่านั้นเป็ นภาพพุทธประวัติที่เรี ยงลาดับ ตั้งแต่ประสู ติ เจริ ญวัย เสด็จออกบวช ตรัสรู ้ ประกาศธรรม และปริ นิพพาน ที่น่าสนใจคือ ภาพหิ นสลัก เหล่ านั้น ไม่ ป รากฏว่ามี ภาพพระพุ ท ธองค์ที่ มี รูป ร่ างเช่ น มนุ ษ ย์เลยสั ก ภาพ หากแต่ ป รากฏเป็ นภาพ สัญลักษณ์ เช่น ดอกบัว รอยพระบาท บัลลังก์ ต้นโพธิ์ รวมกระทั้งความว่างเปล่า (พระธรรมโกศาจารย์, 2552) ภาพสัญลักษณ์ ดงั กล่ าวเป็ นการแสดงภาพพระพุทธองค์ในทางนามธรรมมากกว่ารู ปธรรม ซึ่ ง เกิดขึ้นก่อนที่จะมีพระพุทธรู ปอย่างที่เห็นเช่นในทุกวันนี้ ตามตานานพุทธประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงมูลเหตุแห่ งการสร้าง พระพุทธรู ปว่า เกิ ดขึ้นเมื่ อพระพุทธองค์เสด็จไปประทานเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ช้ นั ดาวดึ งส์ และทรงประทับอยู่บนนั้นเป็ นเวลา 1 พรรษา พระเจ้าปเสนทิ โกศลแห่ งกรุ งสาวัตถี บนโลก มนุ ษย์มีความระลึ กถึ งพระองค์ จึงสั่งให้ช่างทาพระพุทธรู ปขึ้นด้วยไม้แก่นจันทร์ แดง ประดิษฐานไว้ เหนื อพระอาสนะที่ พระพุ ทธเจ้าเคยประทับ ทรงปฏิ บตั ิ ต่อพระพุ ทธรู ปองค์น้ ี ดุจเดี ยวกับพระศาสดา ประทับอยู่ ครั้นออกพรรษาพระพุทธองค์เสด็จลงสู่ โลกมนุ ษย์ พระแก่ นจันทน์ได้ลุกขึ้นรับเสด็จ ก็มี พุทธดารัสว่าให้พระแก่นจันทน์สนองหน้าที่พระองค์ต่อไปเถิด (ศักดิ์ชาย สายสิ งห์, 2554) พุทธปฏิมา หรื อพระพุทธรู ปจึงถือได้วา่ เป็ นตัวแทนของพระพุทธเจ้าให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้เคารพบูชากัน ตั้งแต่น้ นั มา ปั จ จุ บ ั น แม้ จ ะยัง ไม่ ส ามารถหาข้ อ สรุ ป ที่ แ น่ ชั ด ว่ า พระพุ ท ธรู ปที่ ถู ก สร้ า งขึ้ นมาแทน พระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นในยุคสมัยใด หากเชื่ อตามตานานพุทธประวัติฯ ดังกล่าวแสดงว่า พระพุทธรู ปมี การสร้างตั้งแต่ในครั้งพุทธกาลแล้ว แต่จากการศึกษาของนักวิชาการหลายท่านได้หลักฐานที่แสดงว่า พระพุทธรู ปสร้างขึ้นเป็ นครั้งแรกในแคว้นคันธาราฐ ประเทศอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 ที่มีลกั ษณะ รู ปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะกรี กกับศิลปะอินเดี ยโดยราชวงศ์กุษาณะ (Kushan) ซึ่ งอพยพมาจาก ภาคกลางของทวีปเอเชีย และนับถือพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน (สุ ภทั รดิศ ดิศกุล, 2553) เนื่องจากชน ชาติกรี กเป็ นเจ้าศิลปะการแกะสลัก เทวรู ปของช่ างชาวกรี ก เช่น อะปอลโล วีนสั ฯลฯ มักแกะสลักให้ เป็ นเหมื อนมนุ ษย์ที่ สุด เมื่ อเปลี่ ยนมานับ ถื อพุ ท ธศาสนา ช่ างเหล่ านี้ ก็ได้รับความบันดาลใจในพุ ท ธ


2

ประวัติอย่างลึกซึ้ ง เป็ นเหตุให้สร้างพุทธปฏิมาขึ้นบูชาแทนเทวรู ป พระพุทธรู ปที่ปรากฏจึงสมบูรณ์ดว้ ย คุ ณสมบัติแห่ งปั ญญา ความบริ สุทธิ์ ความกรุ ณา สามัญชนเพียงแต่เห็ นเท่านั้นก็รู้สึกว่าท่านเป็ นผูท้ ี่ มี พระเมตตาต่อโลกอย่างมากมาย และหมดจากกิเลสแล้ว นักโบราณคดี จึงได้จดั พระพุทธรู ปที่สร้ างขึ้น ในแคว้นคันธาราฐนี้ เป็ นพระพุทธรู ปแบบแรก จากนั้นจึงนิ ยมแพร่ หลายในหมู่ชนที่นบั ถือศาสนาพุทธ โดยเฉพาะในสกุลช่างต่างๆ ของอินเดีย พุทธปฏิมาหรื อพระพุทธรู ปรุ่ นแรกเรี ยกกันว่า แบบคันธาระ พระพุทธรู ปแบบนี้ได้มีการขุดพบ ทัว่ ไปในอินเดียตอนเหนื อและอาฟกานิสถาน ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 จึงเกิดพุทธศิลป์ แบบอินเดีย แท้ข้ ึน มีศูนย์กลางการผลิตอยูท่ ี่เมืองมถุราและเมืองอมราวดี ซึ่ งเป็ นเมืองสาคัญของรัฐคันธระในอินเดีย ใต้ พุทธศาสนาในที่แห่ งนี้ รุ่งเรื องมาก มีการสร้างพระสถูปใหญ่ๆ และปรากฏพระพุทธรู ปที่เชื่ อว่าเป็ น การเริ่ ม ต้นของการผสมผสานระหว่างตานานเรื่ องเล่ ากับ พุ ท ธปฏิ ม าที่ เป็ นรู ป ภาพแบบอุ ดมคติ (สุ ภัทรดิ ศ ดิ ศกุล, 2553) อาจกล่ าวได้ว่าเป็ นยุคหัวเลี้ ยวหัวต่อของการเริ่ มต้นรู ปแบบของพระพุทธรู ปที่ ส่ งผลมาถึงปั จจุบนั ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 เมื่ออินเดียเข้าสู่ ยคุ ศิลปะแบบคุปตะซึ่ งถือว่าเป็ นยุคที่ ศิลปะมีความโดดเด่นถื อว่าเป็ นยอดของศิลปะอินเดี ย พระพุทธรู ปในยุคนี้ ถือว่ามีรูปแบบเป็ นอุดมคติ แบบอินเดียอย่างแท้จริ ง ซึ่ งมีความงดงามอย่างลึกซึ้ ง ในการสร้างพระพุทธรู ปในยุคนี้ จะมีรูปแบบหรื อ พุทธลักษณะที่เป็ นไปตามอุดมคติของมหาบุรุษ (เชษฐ์ ติงสัญชลี, 2554) ตั้งแต่น้ นั มาก็ปรากฏรู ปพุทธ ปฏิมาซึ่ งแพร่ หลายออกไปทั้งทางน้ าและทางบกสู่ ภูมิภาคต่างๆ เท่าที่แรงศรัทธาจะนาไป ในดินแดนของประเทศไทยได้พบหลักฐานโบราณวัตถุที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ในดินแดนนี้ รับ เอารู ปแบบการสร้างพระพุทธรู ปมาตั้งแต่เมื่อแรกเริ่ มรับวัฒนธรรมทางศาสนาประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-9 ซึ่ งเป็ นช่ วงเวลาที่อารยธรรมขอมกาลังแพร่ กระจายอยูท่ วั่ ภูมิภาคสุ วรรณภูมิ แต่ที่พบว่ามีการสร้ าง พระพุทธรู ปที่มีรูปแบบเฉพาะของตนเองในยุคสมัยทวารวดีต้ งั แต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็ นต้นมาจนถึง ปัจจุบนั (ศักดิ์ชาย สายสิ งห์, 2554) พระพุทธรู ปเก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทยเป็ นพระพุทธรู ปที่สร้าง ขึ้นในประเทศอินเดีย ซึ่ งมีท้ งั แบบสมัยอมราวดี และสมัยคุปตะ พระพุทธรู ปที่พบส่ วนใหญ่จะมีขนาด ไม่ ใหญ่ โตเกิ นกาลังคนที่ จะสามารถเคลื่ อนย้ายได้ด้วยคนเพี ยงไม่ กี่ ค น เช่ น พ่ อค้า หรื อพระสงฆ์ที่ เดิ นทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประเทศไทยนั้นในอดี ตเป็ นอาณาจักรหนึ่ งที่ อยู่ในพื้นที่ซ่ ึ งเรี ยกว่า สุ วรรณภูมิ ชนพื้นถิ่ นในสุ วรรณภู มิเริ่ มมี การยอมรับนับถื อพระพุ ทธศาสนาแบบเถรวาทตั้งแต่พุท ธ ศตวรรษที่ 8-9 ดังปรากฏหลักฐานโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรู ป และประติมากรรมดินเผารู ปพระสงฆ์ โบราณวัตถุดงั กล่าวมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับศิลปะแบบอมราวดีของอินเดีย วัตถุโบราณดังกล่าวสามารถ ใช้เป็ นหลักฐานสาคัญในการเริ่ มต้นนับถือพระพุทธศาสนาของชาวพื้นถิ่นระยะแรกในแถบสุ วรรณภูมิ และมีการสร้างพระพุทธรู ปในลักษณะที่เป็ นภาพบุคคลมานานแล้ว


3

พระพุทธศาสนาในลุ่มนา้ ชี ภาคอี ส านเป็ นพื้ น ที่ ส าคัญ และเป็ นศู น ย์ก ลางของสุ ว รรณภู มิ ห รื อ ที่ เรี ย กว่า ลุ่ ม แม่ น้ า โขง เนื่องจากเป็ นพื้นที่ที่มีผคู ้ นอยูอ่ าศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เรื่ อยมาจนถึงปั จจุบนั เมื่อมีการติดต่อ รับคติความเชื่ อทางพุทธศาสนาทั้งจากอินเดีย และลังกา ราวพุทธศตวรรษที่ 14 พุทธศาสนาได้ปักหลัก ลงอย่างมัน่ คง คติความเชื่ อของชาวบ้านทั้งในแบบดั้งเดิมที่นบั ถือผี ถูกปรับเข้ากับคติทางพุทธ (สุ จิตต์ วงษ์เทศ, 2549) เช่น จากเดิมการตั้งหลักหิ น (หิ นตั้ง) เพื่อใช้กาหนดพื้นที่ประกอบพิธีบูชาผีฟ้า หรื อเทพ เจ้า ถู ก ปรั บ เปลี่ ยนเป็ นใบเสมาหิ น เพื่ อแสดงอาณาเขตของพื้ นที่ ในการประกอบพิ ธีก รรมทางพุ ท ธ ศาสนา ซึ่ งการกาหนดพื้นที่โดยใช้หลักหิ นหรื อใบเสมานี้ ไม่เคยปรากฏมาก่อนในแถบที่เป็ นจุดเริ่ มต้น ของพุ ท ธศาสนา ณ ชมพู ท วีป ต่ อมาเมื่ อวัฒ นธรรมขอมแพร่ อิท ธิ พ ลเข้ามายังอี ส านพร้ อมกับ พุ ท ธ ศาสนาแบบมหายานทาให้ผคู ้ นในแถบนี้ นอ้ มรับเอาแนวคิดแบบพุทธมหายาน จนเมื่ออิทธิ พลของขอม เสื่ อมลง พุทธศาสนาแบบลังกา (เถรวาท) ก็เข้ามาแทนที่จวบจนปั จจุบนั การนับถื อพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้กระจายไปทัว่ ดิ นแดนในแถบลุ่มแม่น้ าภาคกลาง ของประเทศไทย จัดเป็ นกลุ่ มวัฒ นธรรมแบบทวารวดี ที่แพร่ ก ระจายอิ ท ธิ พ ลทัว่ ลุ่ ม แม่น้ าเจ้าพระยา ในช่ วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 ที่พระพุทธรู ปมีรูปแบบเฉพาะตัว กล่าวได้ว่าเป็ นแบบเฉพาะของศิลปะ ทวารวดี ซึ่ งมีศูนย์กลางของวัฒนธรรมอยูท่ ี่จงั หวัดนครปฐม นอกจากนั้นยังพบหลักฐานทางโบราณคดี ของศิลปะทวารวดีได้อีกหลายแห่ งในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคอีสานบริ เวณแถบลุ่มน้ า มูล และลุ่มน้ าชี ซึ่ งมี ศูนย์กลางของวัฒนธรรมทวารวดี อยู่แถบจังหวัดกาฬสิ นธุ์และขอนแก่น (สุ จิตต์ วงษ์เทศ, 2549) จากนั้นจึงแพร่ กระจายต่อไปยังชัยภูมิ อุดรธานี นครพนม และอีกหลายแห่ งในแถบลุ่ม น้ าทั้งสองนี้ โดยเฉพาะตามลาน้ าชีได้ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีหลายอย่างทั้งที่เป็ นสถาปั ตยกรรม และพระพุทธปฏิมา ซึ่ งจากหลักฐานตัวอย่างที่กล่าวมาจึงพอจะกล่าวได้วา่ ลุ่มน้ าชี ในภาคอีสานนั้นเป็ น พื้นที่สาคัญ และมีความหลากหลายในด้านวัฒนธรรมจึงได้เกิดจากการอพยพโยกย้ายของผูค้ นทั้งที่เป็ น คนพื้นถิ่น และผูค้ นจากท้องถิ่นอื่นซึ่ งเกิดการผสมผสานทางชาติพนั ธุ์สืบเนื่ องจนกลายเป็ นคนอีสานใน ปัจจุบนั ลุ่มน้ าชี บริ เวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสิ นธุ์ เป็ นบริ เวณที่ปรากฏหลักฐานว่าบ้านเมือง ในแถบนี้ นับ ถื อพระพุ ท ธศาสนาต่ อ เนื่ องเรื่ อยมา เช่ น เสมาหิ น พระนอน สถู ป เจดี ย ์ และร่ องรอย สถาปั ตยกรรม หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกให้ทราบว่าพื้นที่ตลอดลาน้ าชีต้ งั แต่ตน้ ลาน้ าที่จงั หวัดชัยภูมิ ไหล เรื่ อยมาที่จงั หวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสิ นธุ์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัด ศรี สะเกษ และไหลลงสมทบกับแม่น้ ามูลเพื่อลงสู่ แม่น้ าโขงที่จงั หวัดอุบลราชธานี เป็ นเส้นทางของการ เลื่อนไหลทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา การรับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของชุมชน โบราณในแถบลุ่มน้ าชีเกิดจากการรับเอาอิทธิ พลทางวัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลาง คือ ชุมชนโบราณ ในลุ่มแม่น้ าเจ้าพระยา (วิริยา อุทธิ เสน, 2546)


4

ต่อมาเมื่อพื้นที่แถบลุ่มน้ าโขงเข้าสู่ สมัยอาณาจักรล้านช้างภายใต้การปกครองพระเจ้าฟ้ างุม้ ทรง รวบรวมหัวเมืองและสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นราวพ.ศ.1896 พระองค์มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (บังอร ปิ ยะพันธุ์, 2538) ยุคนั้นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ าชี จะอยูท่ ี่เมืองสาเกตนคร และเมืองสุ วรรณภูมิ ปั จจุบนั คือจังหวัดร้อยเอ็ด และยโสธร ซึ่งต่อมาได้ต้ งั เมือง เป็ นปึ กแผ่นราวพุท ธศตวรรษที่ 23 เป็ นต้นมา (ไพโรจน์ สโมสร และคณะ, 2532) และอพยพชุ มชน ขยายบ้านเรื อนเพื่อหาที่ ทากิ นไปตามลุ่ มน้ าชี ฝั่งทิ ศตะวันตกของภู มิภาค ทาให้เกิ ดเป็ นเมืองต่างๆ ใน เวลาต่อมาคือ เมืองมหาสารคาม กาฬสิ นธุ์ ชนบท ขอนแก่น และชัยภูมิ เมืองต่างๆ ที่กล่าวมาล้วนรับเอา อิทธิ พลจากวัฒนธรรมลาวล้านช้างโดยตรง จากความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมดังกล่าว ทาให้ชุมชนลุ่ม น้ าชี มีความสัมพันธ์กบั ชุ มชนตามลุ่มน้ าอื่นๆ ในภาคอีสานรวมทั้งในฝั่งขวาแม่น้ าโขงซึ่ งเป็ นศูนย์กลาง ของวัฒนธรรมอยู่ที่เมื องหลวงพระบาง แม้ต่อมาอาณาจักรลาวล้านช้างจะแตกเป็ น 3 อาณาจักร (เติม วิภาคพจน์กิจ, 2513) คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจาปาสัก แต่การ เปลี่ ย นแลงดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ ส่ งผลต่ อ ความศรั ท ธาของชาวบ้ า นในชุ ม ชนตามลุ่ ม น้ าชี ที่ มี ต่ อ พระพุทธศาสนาเลยแม้แต่น้อย พระพุทธศาสนายังคงรุ่ งเรื องเช่ นที่ผ่านมา และความนิ ยมในการสร้าง พระพุทธรู ปยังคงอยูส่ ื บเนื่องจวบจนถึงยุคปั จจุบนั พระพุทธรู ปในลุ่มนา้ ชี จากการลงพื้ น ที่ ส ารวจพระพุ ท ธรู ป โดยเฉพาะที่ เป็ นองค์ พ ระประธานในโบสถ์ รวมทั้ง พระพุทธรู ปองค์ที่มีความสาคัญในพื้นที่ศึกษาบริ เวณที่ มีชุมชนตั้งอยู่ใกล้กบั ลาน้ าชี มากที่สุด เพื่อตั้ง ข้อสังเกตเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ทางสุ นทรี ยภาพที่ปรากฏบนพื้นที่แถบชุมชนใกล้ลุ่มน้ าชี พบพระพุทธรู ปที่ เป็ นพระประธาน หรื อพระพุทธรู ปองค์สาคัญซึ่ งมีหลากหลายรู ปแบบแตกต่างกัน อันประกอบไปด้วย พระพุทธรู ปที่เก่าแก่มีอายุหลายร้อยปี ไปจนถึงพระพุทธรู ปที่มีอายุไม่กี่สิบปี ซึ่ งเป็ นพระพุทธรู ปที่ผลิต ขึ้นใหม่โดยได้รับอิทธิพลของศิลปะแตกต่างกันไปตามยุคนั้นๆ ตั้งแต่ยคุ ขอม ทวารวดี สุ โขทัย ล้านช้าง ล้า นนา อยุธ ยา และรั ต นโกสิ น ทร์ ตามวัด ในจังหวัด ที่ ส ารวจดัง ต่ อ ไปนี้ คื อ จังหวัด ชัย ภู มิ จังหวัด ขอนแก่น จังหวัดกาฬสิ นธุ์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดศรี สะเกษ และ จังหวัดอุบลราชธานี โดยสารวจไปตามพื้นที่ของชุมชนที่อยูใ่ กล้ลาน้ าชี จากการส ารวจพบว่า พระพุ ท ธรู ป ที่ ป รากฏในโบสถ์ หรื อ พระประธานในโบสถ์ รวมทั้ง พระพุทธรู ปสาคัญที่มีความโดดเด่นนั้นมีรูปแบบหลากหลาย แต่ในรู ปแบบที่หลากหลายนั้นยังมีพุทธ ลักษณะบางอย่างที่ได้รับความนิยมจากชาวบ้านในชุมชน คือ พระพุทธรู ปปางมารวิชยั ปางสมาธิ และมี ส่ วนน้อยที่เป็ นปางอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรู ปเก่าแก่ที่ทาจากหิ นทรายในยุคทวารวดี และใน ในยุคขอมอีกหลายแห่ง


5

ภาพตัวอย่างพระพุทธรู ปในลุ่มน้ าชีแบบศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระพุทธรู ปหิ นทรายวัดสุ วรรณาวาส และวัดพุทธมงคล อ. กันทรวิชยั จ. มหาสารคาม วัดคอนสวรรค์ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ และแบบศิลปะ ขอมได้แก่ พระนาคปรกวัดพระพุทธบาท อาเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร (ตามลาดับ) อัตลักษณ์ ของพระพุทธปฏิมาแห่ งลุ่มนา้ ชี นักวิชาการและผูร้ ู ้ หลายท่านได้ให้ความหมายของอัตลักษณ์ ไว้หลายมุมมอง ซึ่ งโดยรวมแล้ว หมายถึง การแสดงออกถึงความเป็ นตัวตน การมองและนิ ยามตัวตนคื อสิ่ งที่ทาให้เรารู ้ สึกว่าเป็ นเราที่ แตกต่างไปจากเขาหรื อพวกเขา หรื อคนอื่น อัตลักษณ์ ไม่จาเป็ นที่จะต้องมี หนึ่ งเดี ยวแต่อาจมีหลายอัต ลักษณ์ ที่ ป ระกอบกันขึ้ น อัตลักษณ์ ไม่ ใช่ สิ่ งที่ มี อยู่ตามธรรมชาติ แต่เป็ นสิ่ งที่ ถูก สร้ างขึ้ นโดยสั งคม (social construct) มักมีการลื่ นไหล ผลิ ตซ้ า เปลี่ ยนแปลงหรื อมีกระบวนการตอบโต้ต่อรองได้ บุคคล หรื อกลุ่มคนหนึ่งๆ อาจจะนิ ยามตัวตนและเลือกที่จะแสดงตนแตกต่างออกไปได้ตามสถานการณ์บริ บท และช่ ว งเวลาที่ ก าลัง เผชิ ญ อยู่ ดัง นั้น การศึ ก ษากระบวนการสร้ างอัต ลัก ษณ์ จึง หมายถึ งการศึ ก ษา กระบวนการสร้าง “ความเหมื อน” และ“ความแตกต่าง” ดังกล่ าว ในการศึ กษาพระพุทธรู ปลุ่ มน้ าชี ก็ เช่ นเดี ยวกัน เป็ นการศึ กษาวัตถุ หรื อสิ่ งที่ ถูก สร้ างขึ้ นโดยสั งคม ผลิ ตซ้ าจนก่ อให้ เกิ ดเป็ นอัตลัก ษณ์ จากนั้นมักมีการลื่ นไหลแพร่ กระจายไปตามชุ มชนที่อยูใ่ กล้เคียงจนเกิดการยอมรับและการปรับใช้ใน ที่สุด จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลายอย่างจะพบว่าพื้นที่ บริ เวณลุ่ มน้ าชี ในอดี ตนั้นมี ชุมชน โบราณเกิดขึ้นมาช้านานแล้ว และเป็ นพื้นที่ซ่ ึ งเคยเป็ นชุ มชนหนึ่ งภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้าน ช้ า ง ด้ ว ยเหตุ ดั ง กล่ า วเราจึ ง พบหลั ก ฐานทางด้ า นวัต ถุ ห ลายอย่ า งที่ ส ามารถสะท้ อ นให้ เห็ น ว่ า ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมของผูค้ นในปั จจุบนั กับวัฒนธรรมแบบล้านช้าง กล่ าวตามหลักการทาง ทฤษฎี ก ารแพร่ กระจายทางวัฒนธรรมของนักทฤษฎี ค่ายอเมริ ก ัน (American School) ที่ กล่ าวว่า การ แพร่ กระจายเป็ นไปได้ก็ต่อเมื่อ เกิดในพื้นที่ต่อเนื่ องกัน ไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ขวางกั้น และปัจจัย ทางด้านเศรษฐกิ จ (ทรงคุ ณ จันทจร, 2553) ดังนั้นผูค้ นที่ ต้ งั ชุ มชนในพื้นที่ลุ่มน้ าชี ย่อมเกิ ดการรับและ ปรับใช้วฒั นธรรมที่แพร่ กระจายเข้ามาในสมัยอาณาจักรล้านช้างจากทางฝั่งซ้ายของแม่น้ าโขง เนื่องจาก บริ เวณลุ่มน้ าชี เป็ นพื้นที่ที่มีอาณาเขตต่อเนื่ องกันกับอาณาจักรล้านช้างไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ขวาง


6

กั้น รวมถึงปั จจัยทางด้านเศรษฐกิจ หรื อการค้าที่ทาให้ผคู ้ นที่อาศัยอยูใ่ นอาณาจักรที่ใกล้กนั สามารถ ซื้ อ ขาย แลกเปลี่ ยนสิ่ ง ของต่ างๆ ซึ่ ง เป็ นไปได้ตามตามแนวคิ ดของทฤษฎี ดังกล่ าว ปั จจุ บ ันแม้ผูค้ นจะ แบ่งแยกเป็ นประเทศต่างๆ แต่ในความเป็ นจริ งแล้วรากเหง้าทางวัฒนธรรมไท-ลาวของผูค้ นในภูมิภาค แถบนี้ยงั คงฝังแน่น หยัง่ ลึกไม่มีวนั จางหาย อัตลักษณ์ ของพระพุทธปฏิ มาแห่ งลุ่มน้ าชี จากการสังเกต และสารวจพบว่า เกิ ดจากภาพรวม ขององค์ประกอบหลายอย่าง จากการสัมภาษณ์ชาวบ้าน และผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่ทาให้ทราบว่าในอดีตช่างที่สร้าง พระพุ ท ธรู ป จะมี อยู่ไม่ กี่กลุ่ ม และส่ วนใหญ่ เป็ นการรับงานตามชุ ม ชนที่ อยู่ใกล้เคี ยงกัน โดยเฉพาะ พระพุทธรู ปที่สร้างจากปูนปั้ น ซึ่ งรู ปแบบที่ปรากฏจะมีลกั ษณะหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ขนาด ของพระพุทธรู ป ลักษณะของปาง รวมทั้งรายละเอียดในส่ วนต่าง ๆ เช่น พระพักตร์ พระวรกาย นิ้วพระ หัตถ์ พระเนตร เป็ นต้น องค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดจะสะท้อนออกมาเป็ นรู ปแบบที่ก่อให้เกิดความ งามอันเป็ นอัตลักษณ์ได้เป็ นอย่างดี จากการสังเกตพบว่าพระพุทธรู ปที่สารวจจะมีรูปแบบ และลักษณะ หลายอย่างที่สามารถแสดงอัตลักษณ์ร่วมของความเป็ นพระพุทธปฏิมาแห่งลุ่มน้ าชี ซึ่ งรู ปแบบหรื อพุทธ ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยองค์ประกอบสาคัญคือ เทคนิ คการสร้าง และวัสดุที่นามาสร้างองค์พระพุทธ ปฏิมา อัตลักษณ์ ด้านรู ปแบบ รู ปแบบของพระประธานซึ่ งพบในโบสถ์ตามลุ่มน้ าชีส่วนใหญ่จะเป็ นปางมารวิชยั และบางส่ วน ที่เป็ นปางสมาธิ ซ่ ึ งพุท ธลักษณะโดยทัว่ ไปเป็ นดังนี้ พระพุ ทธรู ปปางมารวิชัย จะอยู่ในพระอิ ริยาบถ ประทับนัง่ ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ (เข่า) นิ้ ว พระหั ต ถ์ ช้ ี ลงพื้ น ธรณี และพระพุ ท ธรู ป ปางสมาธิ หรื อ ปางตรั ส รู ้ จะอยู่ใ นพระอิ ริ ย าบถประทับ นัง่ ขัดสมาธิ พระหัตถ์ท้ งั สองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระ ชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระพุทธรู ปที่ พบส่ วนใหญ่เป็ นพระพุทธรู ปที่สร้ างเมื่อไม่นาน โดย เฉลี่ยอายุขององค์พระพุทธรู ปอยูท่ ี่ประมาณ 30–50 ปี , 50-80 ปี และ100 ปี ขึ้นไป (ยกเว้นพระพุทธรู ป หิ นทรายในสมัยทวารวดี) ซึ่ งพระพุทธรู ปเหล่านี้ มีรูปแบบหรื อลักษณะที่สามารถสะท้อนภาพที่เป็ นอัต ลักษณ์ร่วมของความเป็ นพระพุทธปฏิมาแห่งลุ่มน้ าชีได้เป็ นอย่างดี พุทธลักษณะของพระพุทธรู ปลุ่มน้ าชี ที่มีอตั ลักษณ์ร่วมกันอย่างเห็นได้ชดั เจน คือ ความนิยมใน การสร้ างหรื อถวายพระพุทธรู ปสาริ ดปางมารวิชยั รู ปแบบที่นิยมคล้ายกันคือ มักเป็ นพระพุทธรู ปที่ มี ลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช วัดพระศรี รัตนมหาธาตุ จังหวัดพิ ษณุ โลก หรื อ เป็ นแบบปางมารวิชยั ที่มี ซุม้ จรนัม ความนิ ยมพระพุทธรู ปลักษณะดังกล่าวแพร่ หลายเป็ นอย่างมากในภาคอีสาน ส่ วนหนึ่ งคงเริ่ ม มาจากคราวเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จาลองพระพุทธรู ปแบบพระพุทธชิ นราชมาเป็ นพระ ประธานวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จากนั้นจึงมีการจาลองมาเป็ นพระประธานในวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้น ใหม่อีกจานวนมาก รวมทั้งในปั จจุบนั ยังมีการจาลองพระพุทธชิ นราชเพื่อให้เช่ าไปประดิ ษฐานตามที่


7

ต่างๆ หรื อเป็ นพระบูชาขนาดเล็ก ถือว่าเป็ นแบบที่ได้รับความนิ ยมมากที่สุด (ศักดิ์ชาย สายสิ งห์, 2554) ซึ่ งปรากฏการณ์ดงั กล่าวสามารถสะท้อนรสนิยมอันเป็ นอัตลักษณ์ของชุมชนลุ่มน้ าชี

ตัวอย่างพระพุ ท ธรู ป ปางมารวัด ชัยประสิ ท ธิ์ อ.เมื อง จ.ชัย ภู มิ วัดโพธิ ชัย เสมาราม อ.กมลาไสย จ. กาฬสิ นธุ์ วัดโพธิ ชัยสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสิ นธุ์ และวัดโพธิ ศรี บา้ นน้อย อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสิ นธุ์ (ตามลาดับ)

ตัวอย่างพระพุทธรู ปปางสมาธิ วดั ศรี ธาตุ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเเอ็ด วัดจริ ยาสมโพธิ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด วัดใหญ่พระเจ้า อาเภอเชียงขวัญ จ. ร้อยเอ็ด และวัดศรี ฐาน อ.ทุ่งเขาหลวง จ. ร้อยเอ็ด (ตามลาดับ)

พระพุทธจาลองรู ปแบบพระพุทธชินราช วัดบ้านเหล่าแดง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสิ นธุ์ วัดกลางบุรี บ.ดอนบม อ.เมือง วัดท่าบึง บ.เป็ ด อ.เมือง และ วัดศรี ชมชื่น อ.ชนบท จ.ขอนแก่น (ตามลาดับ)


8

และเป็ นที่ สังเกตอีก สิ่ งหนึ่ ง คือ พระพุท ธรู ป ที่ สร้ างจากปู นปั้ นที่ ส ารวจส่ วนใหญ่ มีรูปแบบ คล้ายคลึ งกับพระพุทธรู ปปูนปั้ นแบบลาวล้านช้าง อันเป็ นลักษณะร่ วมของชาวอีสานที่มีสายสัมพันธ์ สื บเนื่ องมาทางสายวัฒนธรรมแบบไท-ลาว ซึ่ งในอดี ตผูค้ นในแถบนี้ เป็ นพี่น้องร่ วมแผ่นดิ น และชาติ พันธุ์เดี ยวกัน จากการสังเกตภาพรวมของพระพุทธรู ปปูนปั้ นที่เป็ นพระประธานในลุ่มน้ าชี ที่ปรากฏมี ความคล้ายคลึ งกันในลักษณะซึ่ งเป็ นงานรู ปแบบช่ างพื้นบ้าน โดยกล่าวได้ว่าเป็ นอัตลักษณ์ ร่วมอย่าง หนึ่งของพุทธปฏิมาลุ่มน้ าชี อัตลักษณ์ ด้านเทคนิคการสร้ าง และวัสดุ จากข้อมูลในสารานุกรมไทยสาหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 29 ได้กล่าวถึงวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง พระพุ ท ธรู ป ตั้งแต่ อดี ตจนถึ งปั จจุ บ นั พบว่า มี การใช้วสั ดุ ห ลายอย่าง ได้แก่ ดิ นเผา ปู น ปั้ นศิ ลา ทอง ส าริ ด จนกระทั่ง ถึ ง สมัย สุ โ ขทัย ล้า นนา อยุธ ยา และรั ต นโกสิ น ทร์ จึ ง มี ว สั ดุ ช นิ ด อื่ น เพิ่ ม ขึ้ น มา ได้แก่ ทองคา นาก ไม้ หิ นสี ต่างๆ หรื อสลักจากศิลาแลงเป็ นโกลน (การขึ้นรู ปเป็ นเค้าโครงอย่างคร่ าวๆ) แล้ ว ปั้ นปู น ทับ รวมทั้ง การก่ อ อิ ฐ ถื อ ปู น หากเป็ นพระพุ ท ธรู ป ขนาดใหญ่ โดยทั่ว ไปแล้ ว ไม่ ว่ า พระพุทธรู ปจะสร้างด้วยวัสดุประเภทใดก็ตามมักมีการลงรักปิ ดทองด้วย ดังนั้นพระพุทธรู ปส่ วนมากจึง มีสีทองทั้งองค์ นอกจากนี้ ยังมีวสั ดุอื่นๆ ได้แก่ ทองและเงิน ซึ่ งนามาสร้างพระพุทธรู ปในลักษณะของ การบุหรื อทาเป็ นแผ่นดุนนู น วัสดุอุปกรณ์ ดงั่ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็ นวัสดุ ที่นิยมสร้างพระพุทธปฏิมาที่ เป็ นองค์ประธานภายในสิ ม (โบสถ์) กระบวนการสร้างพระพุทธรู ปโดยทัว่ ไปตั้งแต่อดีตจวบจนปั จจุบนั มีรายละเอียดหลายอย่างที่ เป็ นกระบวนการซึ่ งมี ล ัก ษณะที่ ไ ม่ แ ตกต่ า งกัน มากนั ก พระพุ ท ธรู ป เป็ นผลงานศิ ล ปะประเภท ประติ มากรรม กระบวนการดังกล่ าวจึงเป็ นกระบวนการเดี ยวกันกับการสร้ างผลงานศิ ล ปะประเภท ประติ ม ากรรมโดยทั่ว ไป เริ่ ม จากการก าหนดโดยแยกวิธี ก ารสร้ างไปตามประเภท หรื อ ปางของ พระพุทธรู ป พุทธปฏิมาลุ่มน้ าชี เป็ นงานประติมากรรม (Sculpture) ที่แฝงเร้นไปด้วย ความเชื่ อ ค่านิ ยม ของคนอีสานมาช้านาน งานประติมากรรมนั้นเป็ นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรู ปทรง 3 มิติ ที่มีปริ มาตร มีน้ าหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วสั ดุชนิดต่างๆ ในการสร้างเป็ นสาคัญซึ่งจะทา ให้เกิดความแตกต่าง อีกทั้งยังสามารถสร้างลักษณะที่เป็ นอัตลักษณ์เฉพาะได้เป็ นอย่างดีโดยเฉพาะพุทธ ปฏิ ม าที่ ส ร้ างโดยช่ างชาวบ้า น หรื อช่ า งพื้ น บ้า น ซึ่ งจะปรากฏอย่า งชัด เจนบนพระประธานที่ เป็ น พระพุทธรู ปปูนปั้ นทั้งแบบปางประทับยืน และแบบปางประทับนัง่ ที่มีท้ งั แบบขนาดเล็ก ที่ สร้างจาก การปั้ น หล่อ และขนาดใหญ่ที่สร้างโดยการก่ออิฐถือปูน เป็ นที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ พระพุทธรู ปที่สร้างจากปูนปั้ นที่สารวจพบโดยส่ วนใหญ่น้ นั เกิดจาก ฝี มืของช่างพื้นบ้าน ซึ่ งในกระบวนการสร้างพระพุทธรู ปนั้นมีอตั ลักษณ์ที่แตกต่างจากพระพุทธรู ปที่พบ โดยส่ วนใหญ่ กล่าวคือ หากเป็ นพระพุทธรู ปที่สร้างจากโลหะสาริ ด ทองเหลือง หรื อแม้แต่วสั ดุ ในยุค ปั จจุบนั เช่ น เรซิ่ น และไฟเบอร์ กลาส จะมีพุทธลักษณะที่คล้ายกันซึ่ งเกิดจากการผลิ ตซ้ าด้วยการหล่อ


9

พิมพ์เพื่อให้ได้ปริ มาณมาก ดังนั้นพระพุทธรู ปที่พบในลักษณะดังกล่าวจึงไม่สามารถสะท้อนลักษณะที่ เป็ นเอกลักษณ์ เฉพาะของท้องถิ่ นอย่างชัดเจน ต่างจากพระพุทธรู ป ที่ สร้ างจากปู นปั้ น ซึ่ งเป็ นผลงาน ศิลปะที่สามารถสะท้อนความเป็ นตัวตนของท้องถิ่นได้ชดั เจนกว่า จากการสังเกตพบว่าพระพุทธรู ปที่สร้างจากปูนปั้ นมีรูปแบบคล้ายคลึงกับพระพุทธรู ปปูนปั้ น แบบลาวล้านช้างในลักษณะของงานแบบช่ างพื้ นบ้าน อันเป็ นลักษณะเฉพาะของชาวอีส านที่มี สาย สัม พัน ธ์ สื บ เนื่ องมาทางสายวัฒ นธรรมแบบไท-ลาว ตัวอย่างเช่ น วัดใหญ่ พ ระเจ้า อาเภอเชี ยงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่ งเป็ นวัดที่มีศาสนสถาน และงานพุทธศิ ลป์ หลายอย่างที่มีรูปแบบคล้ายคลึ งกับงาน พุทธศิ ลป์ แบบลาวล้านช้าง จากการสอบถามเจ้าอาวาสจึ งทราบว่า รู ป แบบพุ ทธศิ ลป์ ที่ ปรากฏในวัด เกือบทั้งหมดนั้นรับเอารู ปแบบมาจากเวียงจันทน์ ตัวอย่างดัง่ ที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นว่าในอดีตผูค้ นใน แถบนี้ เป็ นพี่น้องร่ วมแผ่นดิ น และชาติพนั ธุ์เดียวกัน สอดคล้องกับการศึกษาพระพุทธรู ปไม้อีสานของ นิยม วงศ์พงษ์คา และคณะ(2545) ซึ่ งกล่าวไว้วา่ รู ปแบบของพระพุทธรู ปไม้อีสานเมื่อเปรี ยบเทียบกับ พระพุทธรู ปไม้จาก สปป.ลาว จะมีลกั ษณะใกล้เคียงกันมากจนแทบจะแยกลักษณะที่แตกต่างออกมา จากกันไม่ได้ นัน่ แสดงให้เห็นว่าในบริ เวณภาคอีสานซึ่ งรวมทั้งลุ่มน้ าชี ลว้ นได้รับเอาอิทธิพลของศิลปะ ลาวแบบล้านช้างที่ฝังแน่ นมาอย่างยาวนาน แม้จะมีความคิดที่ว่าเขตแดนประเทศได้แยกชาติพนั ธุ์คน ลาวทั้งในประเทศลาว และในภาคอีสานออกจากกัน แต่ในความเป็ นจริ งแล้วไม่เคยเกิดขึ้นจริ ง (ยูคิโอะ ฮายาชิ, 2554) ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้วา่ ภาพรวมของพระพุทธรู ปปูนปั้ นที่ปรากฏนั้นเป็ นอัตลักษณ์ร่วม ทางวัฒนธรรมไทย-ลาวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับพุทธปฏิมาลุ่มน้ าชี

ภาพพระพุทธรู ปปูนปั้ นวัดพระงาม อ. อาจสามารถ จ. ร้อยเอ็ด วัดโพธิ ชยั วัดชัยศรี บ้านสาวะถี อ. เมือง จ. ขอนแก่น และวัดไพรี พินาศ (กลางเมืองเก่า) อ.เมือง จ.ชัยภูมิ (ตามลาดับ) จากรู ปแบบ และลักษณะของพระพุทธรู ปปู นปั้ นจะพบว่าเป็ นงานพุทธศิลป์ แบบพื้นบ้าน มี รู ปแบบที่ค่อนข้างเรี ยบง่าย ไม่เน้นรายละเอียดที่ซบั ซ้อน โครงสร้างและสัดส่ วนเป็ นไปตามจินตนาการ และความพอใจของผูส้ ร้างซึ่ งไม่มีขอ้ จากัดหรื อรู ปแบบที่ตายตัว เป็ นผลงานประติมากรรมที่เป็ นศิลปะ


10

แบบบริ สุทธิ์ และมีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันไปตามความสามารถของช่ างในแต่ละท้องถิ่ น แม้ พระพุทธรู ปปูนปั้ นบางองค์จะพบว่าได้พยายามที่จะสร้ างเลี ยนแบบงานช่ างหลวง ซึ่ งเน้นความงามที่ ความวิจิตรบรรจง ประณี ต และมีรูปแบบความที่ชดั เจน แต่ถึงอย่างไรก็ตามพระพุทธรู ปเหล่านั้นก็ยงั คง ทิง้ ร่ องรอยของความเป็ นพื้นบ้านเอาไว้ และสามารถสะท้อนออกมาเป็ นอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นได้เป็ น อย่างดี ในความแตกต่างดังกล่าวล้วนเป็ นการสร้างสรรค์ผลงานที่ อยูบ่ นจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การทา ให้เกิดความงามต่อองค์พุทธปฏิมา สุ นทรียภาพของพุทธปฏิมาแห่ งลุ่มนา้ ชี สุ นทรี ยศาสตร์ เป็ นศาสตร์ ที่กล่าวถึ งความงามโดยเฉพาะ พุทธปฏิ มาแห่ งลุ่มน้ าชี เป็ นผลพวง ทางศิลปะที่แฝงไว้ดว้ ยความงดงาม ความงามที่เกิดจากการมองเห็ นเป็ นสิ่ งที่สาคัญ และสามารถทาให้ เกิ ดเป็ นรู ปธรรมมากที่สุดโดยเฉพาะในผลงานศิลปกรรมที่เป็ นวัตถุ เพราะความงามทาให้ผลงานเกิ ด คุณค่าขึ้น เป็ นความงามที่เกิดจากการสัมผัสด้วยตา หรื อการมองเห็ น(วิรุญ ตั้งเจริ ญ, 2546) จึงกล่าวได้ ว่า การมองเห็นเป็ นองค์ประกอบสาคัญอย่างหนึ่งที่ทาให้เกิดสุ นทรี ยภาพ “สุ นทรี ภาพ” (Aisthetic) หมายถึง ความซาบซึ้ งในคุณค่าของสิ่ งที่งาม ไพเราะ หรื อรื่ นรมย์ ไม่ ว่าจะเป็ นธรรมชาติ หรื อศิ ล ปะซึ่ ง ความรู ้ สึ ก ซาบซึ้ งในคุ ณ ค่ าดังกล่ าวนี้ ย่อมจะเจริ ญ เติ บ โตได้โดย ประสบการณ์ หรื อการศึกษา อบรม ฝึ กฝน จนเป็ นอุปนิ สัยเกิดขึ้นเป็ นรสนิ ยม (Teste) ขึ้นตามตัวบุคคล (มัย ตะติยะ,2547) สาหรับพระพุทธรู ปนั้นสุ นทรี ยภาพจึงเป็ นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู ้สึกบริ สุทธิ์ ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาหนึ่ ง ความรู ้สึกนั้นสามารถใช้การแสดงออกทางภาษาแทนความรู ้สึกจริ ง ๆ ของผู ้ ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ความรู ้ สึ กที่ มี ต่ อ พระพุ ท ธรู ป ดัง กล่ า วเกิ ด จากการสั ม ผัส ด้ ว ยตา หรื อการมองเห็ น ซึ่ ง องค์ประกอบต่างๆ ในการมองเห็ นมี ความสาคัญไม่น้อยกว่ากัน ซึ่ งจะนามาองค์ประกอบเหล่ านั้นมา ประกอบกันเข้าเป็ นรู ปทรงที่ มีจุดมุ่งหมายคื อความงาม เรี ยกว่าเป็ นความงามทางทัศนธาตุ (ชลู ด นิ่ ม เสมอ, 2553) อันประกอบไปด้วย จุด เส้น น้ าหนักอ่อนแก่ของแสงเงา ที่ว่าง สี ลักษณะผิว ทัศนธาตุที่ ปรากฏจะออกมางดงามก็ ต่ อ เมื่ อ มี ความเป็ นเอกภาพ (Unity) การจัด ระเบี ย บ(Order) ส่ วนสั ด (Proportion) ความสมดุ ล(Balance) จังหวะ(Rhythm) ความกลมกลืน(Harmony) ความชัดเจน (Clarity) และการเน้น (Accenting) พุ ท ธปฏิ ม าลุ่ ม น้ าชี โดยเฉพาะพระพุ ท ธรู ป ปู น ปั้ นนั้น ได้ส ร้ างจากศรั ท ธา บริ สุ ท ธิ์ ของคนอี ส านที่ มี ต่ อ พระพุ ท ธศาสนา พระพุ ท ธรู ป จึ ง เป็ นความงามที่ เกิ ด ขึ้ น ทางจิ ตใจ ใน ขณะเดียวกันยังสามารถวิเคราะห์ ความงดงามตามหลักองค์ประกอบของการสร้างสรรค์งานศิลปะซึ่ ง ประกอบไปด้วย เอกภาพ เป็ นการจัดองค์ประกอบที่เป็ นเอกภาพ ซึ่งการสร้างพระพุทธรู ปเป็ นการสร้างสรรค์ซ่ ึ ง ต้องมี องค์ป ระกอบทุ กอย่างเป็ นอันหนึ่ งอันเดี ยวกัน ไม่มีองค์ประกอบใดที่ เกิ นความจาเป็ นหรื อเกิ น ความต้องการ และไม่มีองค์ประกอบที่ เป็ นจุดสนใจหลายจุดและทุ กองค์ประกอบจะต้องเกิ ดขึ้นเพื่ อ


11

ความเป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกัน ความมีเอกภาพในองค์พระพุทธรู ปเป็ นสิ่ งสาคัญซึ่ งจะนาความรู ้สึกของผู ้ ที่พบเห็นไปสู่ ความศรัทธาในที่สุด การจั ด ระเบี ย บในการสร้ า งพระพุ ท ธรู ป เป็ นการสร้ างสรรค์ซ่ ึ งต้อ งมี ก ารจัด ระเบี ย บของ องค์ประกอบต่างๆ เพื่อเกิ ดเป็ นรู ปทรงที่ มีความสัมพันธ์กนั เป็ นการแสดงองค์ประกอบที่เป็ นระบบ เช่ น พระเกศาที่ขมวดเป็ นก้นห้อยถู กการจัดระเบียบเพื่อให้เกิ ดความสวยงาม อี กทั้งในส่ วนของพระ วรกายที่มีลกั ษณะอ่อนช้อย สมสัดส่ วนและถูกจัดวางท่วงท่าอย่างเป็ นระเบียบ ส่ วนสั ดในพระพุทธปฏิมานั้นเป็ นสิ่ งที่สาคัญมาก ที่ทาให้เกิดความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันและ เกิ ดจากการจัดระเบี ยบซึ่ งจะนาไปสู่ ความงดงามของรู ป ทรง อย่างไรก็ ดีสั ดส่ วนที่ ส วยงามสามารถ คิดค้นขึ้นได้จากการออกแบบของช่างหรื อผูส้ ร้างพระพุทธปฏิมา ความสมดุลในการสร้างสรรค์รูปทรงของพระพุทธปฏิมาส่ วนใหญ่น้ นั หมายถึง ความรู ้สึกเท่า เทียมกันของจุดสนใจ โดยคานึงถึงหลักการแรงโน้มถ่วง (Gravitation) ซึ่งในมนุษย์จะมีความสมดุลทาง ความรู ้สึก (Sense of Balance) ซึ่ งเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ความสมดุลมีหลายแบบคือ สมดุลแบบ สองข้างเท่ากัน สมดุ ลแบบสองข้างไม่เท่ากัน และความสมดุ ลแบบรัศมี ในงานพระพุทธปฏิ มานั้นมัก พบเห็นความสมดุลดัง่ ที่กล่าวมาเสมอ จังหวะ การซ้ ากันขององค์ประกอบต่างๆ ในการสร้างสรรค์พระพุ ทธปฏิ มานั้น รู ปทรงของ พระพุทธปฏิ มานั้นที่ดีจะต้องมีจงั หวะที่ก่อให้เกิดการจัดระเบียบ เช่น ในใบไม้มีการเรี ยงขนาดตามกิ่ ง ก้าน ดอกไม้มีกลีบดอกที่คล้ายกันเรี ยงออกจากจุดกึ่งกลางของดอกอย่างเป็ นระเบียบเป็ นต้น จังหวะใน องค์พระพุทธปฏิมาได้แก่ เส้นรอบนอก รู ปทรง (พระวรกาย) ที่มีการแบ่งจังหวะของสัดส่ วนอย่างเป็ น ระเบียบ ความกลมกลืน คือ ความเข้ากันได้ขององค์ประกอบทั้งหมดในองค์พระพุทธปฏิมานั้นเป็ นสิ่ งที่ สาคัญที่ทาให้เกิดการจัดระเบียบ การเข้ากันได้มีหลายแนวทาง เช่น ขนาด รู ปทรง ลวดลาย สี เป็ นต้น ความชัดเจน หมายถึง การสร้างสรรค์พุทธปฏิมานั้นต้องมีวตั ถุประสงค์และแนวคิดที่ชดั เจนไม่ คลุมเครื อ รู ปแบบและองค์ประกอบต้องชัดเจนตามจุดประสงค์และแนวคิด ของผูส้ ร้าง ซึ่ งสามารถพบ เห็นได้ในลักษณะของพระพุทธรู ปปางต่างๆ การเน้ น หมายถึง การทาให้ทาให้ผูช้ มพระพุทธปฏิมาสามารถแบ่งแยกสิ่ งสาคัญที่สุดออกจาก องค์ประกอบต่างๆ ที่หลากหลายในชิ้ นงานได้อย่างชัดเจน การเน้นสร้างได้โดยองค์ประกอบแห่ งการ เคลื่อนไหวและทิศทาง โดยเฉพาะในส่ วนของพระพักตร์ กล่าวถึ งความงามที่ปรากฏบนพระพุทธรู ปลุ่มน้ าชี ที่สามารถสะท้อนลักษณะร่ วม ซึ่ งเกิ ดจาก รู ป แบบและลัก ษณะหลายอย่าง สามารถแสดงความงามอัน เป็ นอัต ลัก ษณ์ ร่วมอย่างเห็ น ได้ชัด คื อ พระพุทธรู ปที่ สร้ างโดยปู นปั้ น เป็ นอัตลักษณ์ สุนทรี ยศาสตร์ ของพุทธปฏิ มาแห่ งลุ่มน้ าชี ความงามที่ ปรากฏในพระประธาน หรื อพระพุทธรู ปที่เป็ นปูนปั้ นนั้นเป็ นเรื่ องที่ยากที่จะอธิ บายหรื อให้ความหมาย


12

เจาะจงครอบคลุมได้สมบูรณ์ แต่ความงามเป็ นสิ่ งจาเป็ นอย่างหนึ่ งของมนุ ษย์ เพราะทาให้มีชีวิตสดชื่ น รื่ นรมย์ มนุ ษย์ได้อาศัยความรู ้สึกจากการรับรู ้ในเรื่ องของความสวยงาม แล้วกาหนดหรื อเป็ นผูใ้ ห้คุณค่า แก่ สิ่ งนั้น ว่ามี ความงาม และการมองเห็ นความงามในแต่ ล ะคนย่อมแตกต่ างกัน การมองเห็ นในสิ่ ง เดียวกันอาจมีความเห็นไม่เหมือนกัน ดังนั้น หลักเกณฑ์หรื อมาตรฐานในเรื่ องของความงามเป็ นปั ญหา ที่สุนทรี ยศาสตร์ จะต้องค้นหาความจริ งว่าอะไรคือสิ่ งที่สวยงามและทรงคุณค่าแห่งความ ดังนั้นการเข้าใจในเรื่ องความงามจึงเป็ นสิ่ งที่ก่อให้เกิดสุ นทรี ยภาพในการมองเห็น สุ นทรี ยภาพ เป็ นดัง่ ภาพของความงามที่สะท้อนออกมาจากทฤษฎี สุนทรี ยศาสตร์ (Aesthetics Theory) ซึ่ งเป็ น คุ ณ วิทยา (Axiology) แขนงหนึ่ งที่แสวงหา ความจริ ง หรื อ ความรู ้ เกี่ ยวกับคุ ณค่าของความงาม ได้มาโดย การใช้เหตุผลไตร่ ตรอง หรื อการวิเคราะห์ ความรู ้ น้ นั ไม่จาเป็ นต้องให้เห็ นจริ งโดยการมอง หรื อรับรู ้ ด้วยประสาทสัมผัสอื่นเป็ นความซาบซึ้ งในคุณค่าแห่ งความงาม ความประณี ต และเรื่ องราว โดยเกิดจาก การรับรู ้ของมนุษย์ (มัย ตะติยะ, 2547) หากพิ จ ารณาถึ ง ความงามของพระพุ ท ธปฏิ ม าลุ่ ม น้ าชี โ ดยยึ ด องค์ ป ระกอบพื้ น ฐานของ สถานการณ์ทางศิลปะสามารถเทียบเคียงกับทฤษฎีทางสุ นทรี ยศาสตร์ หลักได้ 4 แนวดังนี้คือ 1) ทฤษฎี มิเมติค (mimetic theories) ที่ ให้ความสาคัญกับความเป็ นสากล หรื อธรรมชาติ เป็ น การลอกเลียนแบบให้เหมือนจริ งให้ได้มากที่สุด สาหรับการสร้างพระพุทธรู ปนั้น ช่างหรื อผูส้ ร้างมักจะ สร้างพระพุทธรู ปให้มีลกั ษณะเหมือนมนุ ษย์ แต่เป็ นมนุษย์ที่มีลกั ษณะที่เรี ยกว่า มหาปุริลกั ษณะ ซึ่ งมหา ปุริลกั ษณะดังกล่าวเป็ นการพยายามเลียนแบบจากธรรมชาติ ธรรมชาติที่วา่ ก็คือเรื อนร่ างของมนุษย์ 2) ทฤษฎี แพรกเมติก (pragmatic theories) เป็ นแนวทางที่ มี ผูช้ มเป็ นแกนกลาง หรื อการเป็ น สื่ อกลางที่งานศิลปะจะสามารถสร้างความพึงพอใจ ความรู ้สึกหนึ่งๆในตัวผูช้ ม หรื อการให้สาระความรู ้ แก่ผูช้ ม ซึ่ งสามารถใช้เป็ นหลัก หรื อแนวทางในการประเมินคุ ณค่าของงานศิลปะในโอกาสต่อไปใน ภายหน้า สาหรับพระพุทธรู ปนั้นก็เช่ นกันคื อ มี พุทธศาสนิ กชนเป็ นแกนกลาง หรื อการเป็ นสื่ อกลาง เพื่อให้เกิ ดผลในด้านความศรัทธา ระลึ กนึ กถึ งองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธรู ปที่ปรากฏจึ ง ทรงคุณค่า ซึ่ งเกิดจากความพึงพอใจ หรื อ ความรู ้สึกต่อแรงศรัทธาในตัวพุทธศาสนิกชน 3) ทฤษฎี เอกเพรสซี พ (expressive theories) เป็ นการยึด ตัวศิ ล ปิ นผูส้ ร้ างงานเป็ นศู น ย์ก ลาง ความหมายของศิลปะตามแนวนี้ คือ การแสดงออกตามอารมณ์ หรื อ ความรู ้ สึกของศิลปิ น ดังนั้นการ ประเมินคุ ณค่าของงานศิลปะหรื อพระพุทธรู ปในแนวนี้ คือการพิจารณาจากระดับการทางานศิลปะที่ สามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์ของศิลปิ นหรื อผูท้ ี่สร้างพระพุทธรู ป 4) ทฤษฎี อ อบเจคที ฟ (objective theories) เป็ นแนวที่ ยึ ด งานศิ ล ปะ หรื อ พุ ท ธปฏิ ม าเป็ น ศูนย์กลางกล่าวคือ เป็ นแนวทฤษฎี ที่มีความเชื่ อว่างานศิลปะเป็ นสิ่ งที่มีคุณค่าในตัวของมันเองโดยไม่ จาเป็ นต้องอาศัยแหล่ งอ้างอิ งจากภายนอก คุ ณ ค่ าดังกล่ าวอาศัยเพี ยงหลักและกฎเกณฑ์ ท างศิ ลปะที่ ปรากฏอยูใ่ นตัวงานพุทธปฏิมาเอง


13

สรุ ป : อัตลักษณ์ ทางสุ นทรียภาพทีป่ รากกฎบนพระพุทธปฏิมาลุ่มนา้ ชี ปั จ จุ บ ั น แม้ จ ะยัง ไม่ ส ามารถหาข้ อ สรุ ป ที่ แ น่ ชั ด ว่ า พระพุ ท ธรู ปที่ ถู ก สร้ า งขึ้ นมาแทน พระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นในยุคสมัยใด หากเชื่ อตามตานานพระพุทธประวัติขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธ เจ้า อาจเชื่ อได้วา่ พระพุทธรู ปมีการสร้างตั้งแต่ในครั้งพุทธกาลแล้ว แต่จากการศึกษาหลักฐานด้านวัตถุท พบว่าว่าพระพุทธรู ปสร้างขึ้นเป็ นครั้งแรกในแคว้นคันธาราฐ ประเทศอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 ที่มี ลักษณะรู ปแบบผสมผสานระหว่างศิลปะกรี กกับศิลปะอินเดี ย จากนั้นก็มีการปรับเปลี่ ยนรู ปแบบไป ตามยุค สมัยสื บ เนื่ องมาจนถึ งปั จจุบ นั ในดิ นแดนของประเทศไทยพบว่ามี การสร้ างพระพุ ทธรู ป ที่ มี รู ปแบบเฉพาะของตนเองในยุคสมัยทวารวดี ต้ งั แต่พุทธศตวรรษที่ 12 มีศูนย์กลางของวัฒนธรรมอยู่ที่ จังหวัดนครปฐม นอกจากนั้นยังพบหลัก ฐานทางโบราณคดี ข องศิ ล ปะทวารวดี ได้อีกหลายแห่ งใน ประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคอีสานบริ เวณแถบลุ่มน้ าชี จากการสารวจพระพุทธรู ปในลุ่มน้ าชี พบว่า พระพุทธรู ปที่ปรากฏในโบสถ์ หรื อพระประธาน ในโบสถ์ รวมทั้ง พระพุ ท ธรู ป ส าคัญ ที่ มี ค วามโดดเด่ น นั้น มี รู ป แบบหลากหลาย แต่ ใ นรู ป แบบที่ หลากหลายนั้นยังมีลกั ษณะบางอย่างที่กล่าวได้ว่าเป็ นลักษณะร่ วมของพระพุทธรู ป จนสามารถแสดง ความเป็ นอัตลักษณ์ ของพุทธปฏิ มาลุ่มน้ าชี ได้แก่ อัตลักษณ์ ดา้ นรู ปแบบ หรื อพุทธลักษณะ อัตลักษณ์ ด้านเทคนิคการสร้าง และวัสดุ ปางของพระพุทธรู ปซึ่ งส่ วนใหญ่ชาวบ้านนิ ยมพระพุทธรู ปปางมารวิชยั มีส่วนน้อยที่เป็ นปางอื่นๆ เช่ น ปางสมาธิ ปางประธานพร ปางประทับยืนในอาริ ยาบทต่างๆ แต่ที่โดด เด่นจนสามารถสะท้อนภาพอัตลักษณ์ สุ นทรี ยภาพแห่ งลุ่ มน้ าโขงได้ดีที่สุ ดคื อ พระพุท ธรู ปปู นปั้ นที่ สร้างโดยฝี มือของช่างพื้นบ้าน ผลงานพระพุ ท ธรู ป ปู นปั้ นดังกล่ าวประกอบไปด้วยคุ ณค่ าทางความงาม (Aesthetics Value) เป็ นการรวบรวมในเรื่ องของความประณี ต ความละเอียดมีระเบียบน่ าทึ่ง มโหฬาร ประหลาด แปลกหู แปลกตา และเป็ นสิ่ งที่มีคุณงามความดีหรื อดีเลิศทาให้ผพู ้ บเห็นพุทธปฏิมาลุ่มน้ าชี เกิดความประทับใจ ไปอีกนานสิ่ งเหล่านี้เรี ยกรวมกันว่า คุณค่าทางความงาม โดยเกณฑ์ของความงามที่มีอยูใ่ นงานทัศนศิลป์ ซึ่ งสามารถรับรู ้และยอมรับโดยทัว่ ไป เป็ นการประสานกันของส่ วนประกอบต่างๆ ของความงาม เช่ น จุ ด เส้ น รู ป ร่ าง รู ป ทรง สี แสงเงา พื้ นผิว โดยผูส้ ร้ างสรรค์งานพุ ท ธปฏิ ม าลุ่ ม น้ าชี จะแสดงออกตาม ความรู ้ สึ ก ศรั ท ธาที่ มี ต่ อ พระพุ ท ธศาสนาในรู ป แบบช่ า งพื้ น บ้านจนเกิ ด เป็ นความงามอัน บริ สุ ท ธิ์ นอกจากนั้นยังพบว่าพุทธปฏิมาดังกล่าวยังสามารถสะท้อนคุ ณค่าทางเรื่ องราว (Content Value) ซึ่ งบ่ง บอกถึ ง ความหมายเรื่ อ งราว ความเกี่ ย วข้อ งและจุ ด ประสงค์แ ฝงอยู่ใ นผลงานพุ ท ธปฏิ ม าลุ่ ม น้ าชี นอกจากนั้น ยังสามารถบอกเนื้ อหาสาระส าคัญ ว่ามี คุ ณ ค่ าอะไร อย่างไรในแง่ ต่างๆ เช่ น เรื่ องราว เกี่ ยวกับ ประวัติ ศ าสตร์ ความเชื่ อศรั ท ธาในสิ่ ง เร้ น ลับ วัฒ นธรรม ประเพณี การเมื อง การปกครอง วรรณคดี นิ ทานพื้นบ้าน และคุณค่าที่สามารถสะท้อนเรื่ องราวเกี่ยวกับชี วติ ประจาวันของคนที่เกี่ยวข้อง กับสิ่ งต่างๆ ทั้งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของพุทธศาสนิกชนที่อาศัยตามลาน้ าชีได้เป็ นอย่างดี


14

แม้คุณค่าทางความงามและเรื่ องราวจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเชื่อ และรสนิยมของมนุษย์ใน สังคมแต่ละสมัย ดังนั้นการมองคุ ณค่าในงานพุทธปฏิ มาแต่ละสมัยจึงมีความแตกต่างกันออกไป แต่ จากประวัติศาสตร์ ที่มีมาอย่างยาวนานของพุทธปฏิมาลุ่มน้ าชี สะท้อนให้เห็ นว่าผูค้ นในชุ มชนลุ่มน้ าชี ยังคงผูกแน่ นอยู่กบั ศรั ท ธาที่ มี ต่อพระพุท ธศาสนา และสร้ างสรรค์พ ระพุ ทธรู ป ขึ้ นมาจนเกิ ดเป็ นอัต ลักษณ์สุนทรี ยภาพแบบลุ่มน้ าชี อัตลักษณ์สุนทรี ยภาพในงานพุทธปฏิมาลุ่มน้ าชี จึงเป็ นดัง่ ภาพสะท้อนความเกี่ยวข้องของ “สิ่ ง ภายใน” (Inner) นัน่ คือ ศรัทธา และลักษณะทางพฤติกรรม (The aspect of human behavior) ของคนใน ชุ มชนซึ่ งแสดงออกมาในงานประติมากรรม อัตลักษณ์สุนทรี ยภาพในงานพุทธปฏิมาลุ่มน้ าชี ที่ปรากฏ จึ ง เป็ นการสะท้อ นปฏิ สั ม พัน ธ์ ข องคนในชุ ม ชนลุ่ ม น้ าชี ใ นเชิ ง สั ญ ลัก ษณ์ ที่ ย อมรั บ ร่ ว มกัน เป็ น สัมพันธภาพของกิจการต่างๆ ที่มีปรากฏอยูใ่ นสังคมซึ่ งเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา สัมพันธภาพของ ส่ วนต่างๆที่ ประกอบกันเข้ามาเป็ นสังคมนั้นเรี ยกว่า “โครงสร้างของสังคม” (Structure Of A Society) เป็ นโครงสร้างของสังคมที่มีอตั ลักษณ์ สุนทรี ยภาพแบบเฉพาะ และแพร่ กระจายอัตลักษณ์สุนทรี ยภาพ ดังกล่าวทัว่ ลุ่มน้ าชี เอกสารอ้างอิง ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ ประกอบศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 7 . กรุ งเทพฯ : อมริ นทร์. เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2554). พระพุทธรู ปอินเดีย. กรุ งเทพฯ : เมืองโบราณ. เติม วิภาคพจน์กิจ. (2513). ประวัติศาสตร์ อสี าน เล่ม 1. กรุ งเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์ แห่งประเทศ ไทย นิยม วงศ์พงษ์คา และคณะ. (2545). พระไม้ อสี าน. ขอนแก่น : ศิริภณั ฑ์ ออฟเซ็ท. บังอร ปิ ยะพันธุ์.(2538). ประวัติศาสตร์ ไทย : การปกครอง สั งคม เศรษฐกิจ และความสั มพันธ์ กบั ต่ างประเทศก่ อนสมัยสุ โขทัยจนถึง พ.ศ. 2475. กรุ งเทพฯ : โอ. เอส. พริ้ นติ้งเฮาส์. พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญโญ).(2552). พุทธประวัติจากหินสลัก. พุทธทาสภิกขุ : บรรยาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุ งเทพฯ : อมริ นทร์ธรรมะ. ทรงคุณ จันทจร. (2553). ทฤษฎีวฒ ั นธรรมและสั งคม. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1605902 . สถาบันวิจยั ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไพโรจน์ สโมสร. จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. (2532). ศูนย์วฒั นธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. กรุ งเทพฯ : อมริ นทร์ พริ้ นติ้งกรู๊ พ จากัด. มัย ตะติยะ. (2547). สุ นทรียภาพทางทัศนศิลป์ . กรุ งเทพฯ: วาดศิลป์ . สุ ภทั รดิศ ดิศกุล. (2553). ประวัติศาสตร์ ศิลปะประเทศใกล้เคียง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุ งเทพฯ : มติชน.


15

ยูคิโอะ ฮายาชิ. (2554). พุทธศาสนาเชิ งปฏิบัติของคนไทยอีสาน : ศาสนาในความเป็ นภูมิภาค. ผูแ้ ปล และเรี ยบเรี ยง, พินิจ ลาภธนานนท์. กรุ งเทพฯ : แอคทีฟ พริ้ นท์. วิริยา อุทธิเสน. (2546). การศึกษาคติความเชื่ อของชุ มชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่ นา้ ชี ตอนกลาง กรณีศึกษาจาพพระพิมพ์ดินเผา. วิทยานิพนธ์ปริ ญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดี สมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี. กรุ งเทพฯ : บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิรุญ ตั้งเจริ ญ. (2546). สุ นทรียศาสตร์ เพื่อชีวติ . กรุ งเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์. ศักดิ์ชาย สายสิ งห์.(2554). พระพุทธรู ปสาคัญและพุทธศิลป์ ในดินแดนไทย. กรุ งเทพฯ : เมืองโบราณ. สุ จิตต์ วงษ์เทศ. (2549). “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน. กรุ งเทพฯ : มติชน. สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 29 ฉบับเสริมการเรียนรู้ . (2551). กรุ งเทพฯ : โครงการ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั .


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.