ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2548

Page 1

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


สาขา

ทัศนศิลป์

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


นายหนูมอญ ประทุมวัน ( หัตถกรรม )

นายหนูมอญ ประทุมวัน เกิดเมื่อพุทธศักราช 2472 ที่บ้าน นาสะไมย์ ต.สิงค์ จ.ยโสธร (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ต.นาสะไมย์ อ.เมือง จ.ยโสธร) ปัจจุบันอายุ 76ปี สำ�เร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดนาสะไมย์ บิดาชื่อนายล่อน ประทุมวัน มีอาชีพเป็น นายชั่งทำ�เกวียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดยโสธร ส่วนมารดาชื่อนาง อัมพร ประทุมวัน นายหนูมอญ ประทุมวัน เริ่มฝึกทำ�เกวียนช่วยบิดาตั้งแต่ อายุได้ 14 ปีโดยการศึกษาการเขียนลวดลายและการแกะสลักตาม อย่างที่บิดาได้สืบทอดจากปู่ จึงมีความสามารถและเชี่ยวชาญใน การแกะสลักลวดลายตกแต่งเกวียนและรวมถึงงานชั่งอื่นๆแต่พอ อายุย่างเข้า 18ปี ได้ผันชีวิตตัวเองมาเรียนตัดเย็บเสื้อผ้ากับน้า (นาง สงกรานต์ หาสำ�ลี) ในตัวจังหวัดยโสธร เพราะความเป็นชั่งที่มีอยู่ ในสายเลือดจึงไม่เป็นการอยากที่จะเรียนรู้ศาสตร์การตัดเย็บเสือผ้า ได้ใช้เวลาในการเรียนเพียง6 เดือน ก็มีความเชี่ยวชาญ และสามารถ เปิดร้านเป็นอาชีพได้ หลังจากนั้นจึงเดินทางไปหาตัดเย็บเสื้อผ้ายัง ที่ต่างๆทั่วไป

จนเมื่ออายุ 50 ปี จึงได้หวนกลับมารับจ้างทำ�เกวียน ตาม อย่างที่บิดาและปู่เคยสืบทอดต่อกันมา ซึ่งก็ได้รับการยอมรับในฝีมือ ที่มีความงดงามประณีต ยากที่จะมีผู้ใดเทียบได้ จึงมีผู้มานิยมว่าจ้าง อยู่เสมอจนเป็นที่รู้จักไปทั่ว และนอกจากนั้นยังมีงานที่ทำ�เพื่อถวาย เป็นพุทธบูชา อาทิ งานตัดกระดาษงานแกะสลักไม้ แกะสลักฮางฮด สรง แกะสลักประตูสิมและหน้าต่างปราสาทผึ้ง ตัดกระดาษประกอบ ขบวนแห่ และเขียนผ้าผะเวส ฯลฯ จากประสบการณ์ที่ได้สั่งสม บ่มเพราะมายาวนาน จึงได้รับการเชื้อเชิญไปเป็นวิทยากรถ่ายทอด วิชาความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษาและคณาจารย์ศึกษาต่างๆ เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงโรงเรียนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น เป็นต้น นายหนูมอญ ประทุมวัน จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรม) เนื่องในวัน อนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2548 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย ขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


นายบุญหมั่น คำ�สะอาด ( จิตรกรรม )

นายบุญหมั่น คำ�สะอาด เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2482 ณ จังหวัดมหาสารคาม เป็นผู้มีพรสวรรค์ด้านการวาดรูป และขีดเขียนตั้งแต่ยังเด็กๆ ด้วยความชื่อชอบในงานศิลปะจึงได้ เข้าศึกษาทางศิลปกรรมที่โรงเรียนเพาะช่างพอจบการศึกษา ในปี พุทธศักราช 2505 ได้เข้ารับราชการเป็นครูสอนที่โรงเรียนการช่าง สตรีมหาสารคาม(วิทยาลัยอาชีวศึกษาในปัจจุบัน)ในตำ�แหน่งครู วาดเขียนด้วยความที่ท่านเป็นคนทีความมุ่งมั่นจึงได้สั่งสอนศิษย์ ที่มีคุณภาพออกมาหลายรุ่นอีกทั้งยังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้ มากมายอย่างต่อเนื่อง ผลงานของท่านมีลักษณะเฉพาะตัว โดย ใช้ลวดลานเครืออีสาน ผสานผ่านเรื่องราว ที่ได้หยิบยกตำ�นาน ความเชื่อ ในวิถีท้องถิ่นมานำ�เสนอได้อย่างน่าสนใจ ผลจากการ ทุ่มเทได้ทำ�ให้ท่านได้รับรางวัล ในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ เกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ติดต่อกันถึง 2 ปีซ้อน นายบุญหมั่น คำ�สะอาด นอกจากเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญ ในตำ�นานจิตกรรมแล้ว ยังมีความสามารถในดานการลำ�และ วรรณกรรมพื้นบ้าน มีผลงานการแต่งหนังสือ อาทิ อดีต กลอน ลำ� ปรัชญาอีสาน ลายไทยอีสาน ภาษาอีสานแปลเป็นภาษาไทย

เป็นต้น นอกจากนั้นความเป็นผู้ที่ชอบเก็บรวบรวมสะสมโบราณ วัตถุ สิ่งของที่มีความสำ�คัญทางประวัติศาสตร์และวัตถุสิ่งของพื้น บ้าน โดยเฉพาะเขาสัตว์ ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตอีสาน จึงเป็นที่มาของ พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน มรดกชิ้นสำ�คัญที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับ อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษารากเหง้าของบรรพชน ผ่านวัตถุสิ่งของที่จัด แสดง ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียนได้รับหารปรับปรุงโฉมใหม่ โดยภรรยาและลูกๆพร้อมที่จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ในเร็ววันนี้ นายบุญหมั่น คำ�สะอาด ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 26 เดือน กันยายน พุทธศักราช 2544 ด้วยวัย 63 ปี ถึงแม้วันนี้ท่านจะได้ เสียชีวิตไปแล้วแต่ด้วยชีวิตและผลงาน เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ได้มี คุณูปการก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อสังคม และวงการศิลปะ ร่วมสมัยอีสาน นายบุญหมั่น คำ�สะอาด จึ ง ได้ รั บ การเชิ ด ชู เ กี ย รติ ใ ห้ เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำ�ปี 2548 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ไว้เป็นเกียรติประวัติ แด่ครอบครัวคำ�สะอาดต่อไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


นายอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ( ภาพยนตร์ )

นายอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล เกิดเมื่อพุทธศักราช 2513ที่กรุงเทพมหานคร แต่เติบโตที่จ.ขอนแก่น จบการศึกษา โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาตรี คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและปริญญาโทด้าน วิจิตรศิลป์สาขาภาพยนตร์ จากสถานบันศิลปะมหาวิทยาลัยชิคาโก มีผลงานภาพยนตร์มา 4เรื่อง ได้แก่ “ดอกฟ้าในเมืองมาร” ตาม ด้วยงานที่สร้างชื่อ “สุดเสน่หา” ที่ได้รับรางวัลเซอร์เทน รีการ์ด ประเภทหนังฉายโชว์ จากเทศการภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ปี 45ก่อนจะมาสร้าง “หัวใจทรนง” และผลงานอังทรงคุณค่าที่คว้า รางวัล “จูรี่ ไพรซ์” เรื่อง “สัตว์ประหลาด” จากเทศกาลภาพยนตร์ เมืองคานส์ ครั้งที่ 57 เป็นเรื่องที่ 4 อภิชาตพงศ์ ชื่นชอบหนังมาตั่งแต่เพิ่งย่างเข้าสู่ช่วงวัย รุ่น หลังจากจบปริญญาสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่นได้ลองหาประสบการณ์กับงานเขียนภาพ ถ่ายภาพ งาน ด้านเสียง ศิลปะจัดวาง ตลอดจนภาพสามมิติ อยู่ระยะหนึ่งจึง ตัดสินใจหันมาทุ่มเทให้กับการสร้างภาพยนตร์อย่างเต็มที่ โดยการ สร้างสมประสบการณ์ ไปพร้อมกับการเรียน เขาทำ�หนังทดลอง อย่างต่อเนื่องจนพัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะตัวอย่างเห็นได้ชัดในงาน ชิ้นหลังๆ ซึ่งจะเน้นเรื่องอารมณ์และสภาวะแวดล้อมมากกว่าโครง เรื่อง

อภิชาตพงศ์ ได้ห่อตั้งบริษัทหนังชื่อ ละอองดาวจำ�กัด หรือที่รู้จัก โดยทั่วไปในชื่อ Kick the Machine ขึ้นในปี พ.ศ.2542 เพื่อทำ�หนัง ทดลองและหนังในเมืองอิสระ ในปี 2539 อภิชาตพงศ์ทำ�หนังสารคดีเรื่อง ดอกฟ้าในเมืองมาร ซึ่งเป็นหนังยาวเรื่องแรก หนังเรื่องนี้ได้ฉายในงานระดับนานาชาติต่อ หลายแห่ง และทางนิตยสาร Film Comment และ Village Voice ยัง จัดให้เป็นหนึ่งในหนังดีเด่นประจำ�ปี 2000 ด้วย ในปีพุทธศักราช 2547 ผลงานเรื่อง “ทรอปิคัล มาลาดิ์” หนังชื่อ ไทยว่า “สับประหลาด”ได้รับรางวัล “จูรีไพรซ์” รางวัลชมเชยสำ�หรับ ผลงานทรงคุณค่าผลงานของ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ซึ่งเข้ารอบ สุดท้ายของการแข่งขันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ กลายเป็นม้ามืด ที่คว้ารางวัล “จูรี ไพรซ์” รางวัลชมเชย สำ�หรับผลงานอันทรงคุณค่า ในเทศกาลภาพยนตร์ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ที่ สุ ด ที่ ป ระเทศไทยได้ รั บ รางวั ล เวที นานาชาติซึ่งเป็นเวทีที่ทรงเกียรติที่สุดของโลกภาพยนตร์ที่เน้นคุณภาพ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (ภาพยนต์) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดก ไทย ประจำ�ปี 2548 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


สาขา

ศิลปะการแสดง

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


นางประสงค์ เหลาหา ( ลำ�พื้น )

นางประสงค์ เหลาหา ปัจจุบันอายุ 87 ปี เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พุทธศักราช 2463 ที่บ้านสาวะถี ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอ เมือง จังหวัดขอนแก่น เริ่มสู่วงการแสดงหมอลำ�พื้นตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยศึกษาด้วยตนเองจากใบจาน เรื่องที่นำ�มาศึกษาคือ จำ�ปาสี่ต้น ต่อจากนั้นจึงได้มาศึกษาลำ�พื้นอย่างจริงจังกับนายคำ� บ้านศรีฐาน อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นางประสงค์ เหลาหา นับเป็นผู้มีพรสรรค์ในการแสดง หมอลำ�พื้นมีความเชี่ยวชาญสามารถจำ�กลอนลำ�และบทบาทการ แสดงได้รวดเร็วจึงได้ออกแสดงตามงานการกุศลต่างๆ มากมาย และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมในยุคสมัยนั้น ด้วยความ สามารถและความทุ่มเทในการถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้อย่างจริงจัง ต่อเนื่องตลอดมา ยังพลให้ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเพทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับพระราชทานโล่รางวัลศิลปะผู้อนุรักษ์มรดก

ไทย ปีพุทธศักราช 2537 และยังได้รับรางวัลต่างๆมากมายอีกทั้งยัง ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาโดย ตลอดผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับนางประสงค์ เหลาหา คือนิทาน พื้นพื้นบ้านเรื่อง นางเต่าคำ� ปัจจุบันเนื่องจากด้วยความที่สูงวัย สุขภาพจึงไม่แข็งแรง ทำ�ให้ท่านไม่สามารถแสดงและเป็นผู้ให้ความรู้ในฐานะวิทยากรผู้ เชี่ยวชาญได้เช่นในอดีต แต่ภูมิรู้เรื่องลำ�พื้นยังสามารถจดจำ�ได้เป็น อย่างดี โดยเฉพาะกลอนลำ� นางประสงค์ เหลาหา จึงได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินมรดก อีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�พื้น) เนื่อง ในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2548 จากสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


นางสุนีย์ บุตรทา ( ลำ�พื้น )

นางสุนีย์ บุตรทา ปัจจุบันอายุ 77 ปี เกิดเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2470 ที่บ้านโคกสูง ตำ�บลเหล่านาดี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ด้วยภาวะความยากจนของครอบครัว จึงได้เข้าสู่วงการ หมอลำ�โดยได้ศึกษาเล่าเรียนหมอลำ�กลอนจากนายเซิ้ม ตั้งแต่อายุ 16 ปี และออกแสดงในงานต่างๆ อยู่ประมาณ 11 ปี หลังจากนั้น จึงได้มาแต่งงานกับนายอินตา บุตรทา (เสียชีวิตแล้ว) หัวหน้าคณะ อินตาไทยราษฎร์ นางสุนีร์ บุตรทา ด้วยเป็นคนที่มีพรสรรค์ทั้งน้ำ�เสียง ลีลา ท่ารำ� และบทบาทการแสดง อีกทั้งรูปแบบหน้าตาดี จึงเปลี่ยนบท ชีวิตจากหมอลำ�กลอนมาเป็นหมอลำ�พื้น หลักจากแต่งจากกลับ นายอินตา บุตรทา ศิลปินที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญ ในการแสดงหมอลำ�พื้นโดยได้แสดงร่วมกันผลงานที่ไก้แสดง คือ นางแตงอ่อน ท้าวสุริวงษ์ จำ�ปาสี่ต้น และ เป็นนางเอกในเรื่อง

นั้นๆ มาโดยตลอดมีชื่อโดดดังมากจนได้รับเชิญไปร่วมการแสดง ในที่ต่างๆ มากมายทั่วประเทศ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนมี ผู้ศรัทธาในความสามารถฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาเล่าเรียนด้วย เป็นจำ�นวนมากในทุกๆปีนอกจากนั้นท่านยังได้รับรางวัลชนะเลศ จากเวทีการประกวดแข่งขันมาโดยตลอด และมีโอกาสแสดงให้ ฯพณฯ พลเอกเปรมติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นได้ชม ที่กรุงเทพมหานครในปีพุทธศักราช 2521 และได้รับคำ�ชื่นชมอย่าง ดียิ่ง นางสุรนีย์ บุตรทา นับเป็นผู้มีภูมิความรู่อย่างแท้จริง อีกทั้ง เป็นคุณูปการในการสร้างศิลปินหมอลำ�ในรุ่นหลัง จนคณะหมอลำ�ที่ มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมาอีกมากมายในยุคต่อมา นางสุนีย์ บุตรทา จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�พื้น) เนื่องในวันอนุรักษ์มาดก ไทย ประจำ�ปี 2548 จากสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


นางนิ่มนวล สุวรรณกูฎ ( ลำ�เตี้ยขอนแก่น )

นางนิ่มนวล สุวรรณกูฎ ปัจจุบันอายุ 85 ปี เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2463 ที่บ้านโนนทัน ตำ�บลเมือง จังหวัด ขอนแก่น สามีชื่อนายโสฬส สุวรรณกูฎ ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว และไม่มีบุตรสืบทอดตระกูลเดิมมีอาชีพเป็นครู ตำ�แหน่งจัตวา และ ได้เข้ามาทำ�งานแผนศึกษาธิการจังหวัด เริ่มเรียนรู้การแสดงรำ�เตี้ยขอนแก่นตั้งแต่อายุ 12 ปี โดย การไปร่วมกิจกรรมการละเล่นของขุมชนบ้านโนนทันในสมัยอดีต กับบิดามารดา ซึ่งมีการจัดขึ้นเป็นประจำ�ทุกปีเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากเป็นคนที่ชอบและสนใจในการละเล่นลำ�เตี้ยของแก่นจึง ได้จดจำ� และนำ�ไปฝึกเองจนเกิดความชำ�นาญเชี่ยวชาญจึงเป็นที่ ยอมรับได้มีผู้มาฝากตัวเป็นศิษย์จำ�นวนมาก ปัจจุบันนี้เป็นเวลา 73 ปี ที่ท่านได้ถ่ายทอดและเผยแพร่ผลงานการขับร้องลำ�เตี้ยออกสู่ สาธารณชนต่อเนื่องเสมอมา นางนิ่มนวล สุวรรณกูฏ เป็นผู้มีสามารถสูงในด้านการขับ ร้องลำ�เตี้ยขอนแก่น (โนนทัน) โดยไดรับเกียรติเข้ารวมการแสดง

เผยแพร่ กั บ หน่ ว ยงานทางภาครั ฐ และเอกชนจนทำ � ให้ ส ร้ า งชื่ อ เสียงโด่งดัง จากความสามารถพิเศษดังกล่าวยังผลให้ นางนิ่ม นวม สุวรรณกูฏ ได้เข้าการประกวดในงานสำ�คัญต่างๆของ จังหวัดขอนแก่นมากมาย เช่น กิจกรรมงานเทศกาลดอกคูณ เสียง แคน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดมาโดย ตลอดนอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจากเทศบาลนครขอนแก่นให้ เป็นครูปราชญ์ชาวบ้าน(ครูพิเศษ) โดยนำ�ศิลปะการแสดงหมอลำ� เตี้ยขอนแก่น ฝึกสอนให้นักเรียนโรงเรียนเทศบาลนครขอนแก่น จำ�นวน 11 โรงเรียน ปัจจุบัน นางนิ่มนวล สุวรรณกูฎ ยังคงปฏิบัติ เป็นประโยชน์แก่สังคมตลอดมา และขับร้องเผยแพร่ศิลปะการ แสดงลำ�เตี้ยขอนแก่น (โนนทัน) ในงานการกุศลอูย่เป็นประจำ�ทุกปี นางนิ่มนวล สุวรรณกูฎ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�เตี้ยขอนแก่น) เนื่อง ในวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำ�ปีพุทธศักราช 2548 จากสำ�นัก วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


นายอังคาน คำ�มี

( ลำ�เรื่องต่อกลอน ทำ�นองขอนแก่น )

นายอังคาน คำ�มี ปัจจุบันอายุ 63 ปี เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พุทธศักราช 2484 ที่บ้านสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เริ่มเข้าสู่วงการศิลปะการแสดงหมอลำ�ตั้งอายุ 14 ปี โดยได้ ศึกษาเล่าเรียนหมอลำ�จากนายทองสุข พิลาวัลย์โดยได้ออกแสดง เป็นเวลาประมาณ 3 ปี ก่อนที่จะไปเรียนลำ�กลอนจากนายมั่น จนถึงอายุประมาณ 17 ปี นายอังคาน คำ�มี เป็นผู้มีความสามารถสูงในการแสดงหมอลำ� โดยมีเสียงที่แหบมีเสเน่ห์เป็นเอกลักษณ์ประจำ�ตัว กอปรเป็นผู้มีปฎิ ภาณไหวพริบเฉลียวฉลาดเก่งกาจ สามารถแต่งบทกลอนลำ�ได้อย่าง น่าประทับใจจนทำ�ให้ผู้ที่ได้รับชมผลงานการแสดง ประทับใจเป็น อย่างมาก แต่หลังจากที่ได้ แสดงลำ�กลอนอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง จึงได้หันเหมาร่วมแสดงหมอลำ�เรื่องต่อกลอน ทำ�นองขอนแก่นกับ คณะบัวแก้ววิเศษหนึ่ง (คณะของลุง) ซึ่งได้บทการแสดงครั้งแรก

เป็นกุมารในเรื่อง นาเพียรทอง และได้รับเชิญไปร่วมแสดงกับคณะ ระเบียบวาทศิลป์ โดยได้รับเป็นพระเอกในเรื่อง “ มณีนพรัตน์” หลัง จากนั้นได้แยกจากคณะระเบียบวาทศิลป์ เมื่อปีพุทธศักราช 2516 มาตั้งคณะของตนเองชื่อ คณะอังคานแก้ววิเศษ แสดงเรื่อง ท้าวมุน นิลโดยดับแปลงมาจากใบลานในสมัยโบราณ ด้วยความสามารถที่ เปี่ยมล้นพร้อมลีลาบบทบาทที่ประทับใจผู้ชม ทำ�ให้สามารถสร้าง โด่งดังอย่างมากในยุคสมัยนั้น และได้เข้ารับโล่รางวัลต่างๆ มากมาย จากทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนที่มอบให้อย่างชื่นชมในความ สามารถมาโดยตลอด นายอังคาน คำ�มี จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง ( หมอลำ�เรื่องต่อกลอนทำ�นอง ขอนแก่น) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2548 จากสำ�นัก วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


นางทองหล่อ คำ�ภู ( หมอลำ�สินไชย )

นางทองหล่อ คำ�ภู ปัจจุบันอายุ 63 ปี เกิดเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2487 ที่บ้านโนนฆ้อง อำ�เภอบ้านฝาก จังหวัดขอนแก่น เริ่มเข้าสู่วงการแสดงหมอลำ� ตั้งแต่อายุ 12 ปี เนื่องจาก เป็นผู้ที่สนใจในศิลปะการแสดงหมอลำ�สินไชย นางทองหล่อ คำ�ภู จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนศิลปะการแสดงหมอลำ�สินไชยจาก นายทุย บ้านท่าศาลา อำ�เภทหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น นางทองหล่อ คำ�ภู เนื่องจากเป็นคนที่มีพลังเสียงไพเราะ และลี ล าท่ า ฟ้ อ นรำ � มี ค วามอ่ อ นซ้ อ ยสวยงามตามแบบฉบั บ การ แสดงหมอลำ�สินไชยจึงได้ตั้งคณะหมอลำ�ของตนมีชื่อว่า “ ทองหล่อ สามัคคีศิลป์” อยู่เสมอจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จึงได้จัดตั้งสำ�นักงาน หมอลำ� พุฒิสววรค์ เพื่อรับงานการแสดงที่มรขึ้นเป็นลำ�ดับ จนได้รับ

เกียรติจากร้านไทยเจริญศรี จังหวัดขอนแก่น อัดแผ่นเสียงหมอลำ� โฆษณาสินค้า ยิ่งทำ�ให้ท่านเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น ตลอดระยะเวลาในเส้นทางสายศิลปินหมอลำ�สินไชยนางทองหล่อ ได้มีลูกศิษย์เข้ามาฝึกประสบการณ์การแสดงหมอลำ�สินไชยด้วยเป็น จำ�นวนมาก จึงทำ�ให้ท่านเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ด้านศิลปะการแสดง หมอลำ�สินไชย ที่ยังได้สืบทอดศิลปะแขนงนี้เอาไว้ตราบเท่าปัจจุบัน นางทองหล่อ คำ�ภู จึงได้รับยอย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�สินไชย) เนื่องในวันอนุรักษ์ มรดกไทย ประจำ�ปี 2548 จากสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.