ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2550

Page 1

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


สาขา

ทัศนศิลป์

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ ( หัตถกรรมแกะสลักไม้ )

นายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2471 ที่บ้านโนนคูณ (เดิมขึ้นกับอำ�เภอกันทรารมย์) ณ จังหวัด ศรีสะเกษ เมื่อครั้งเยาว์วัยอยู่นั้น เคยไปชมมหรสพงานต่างๆได้แก่ หนังประโมทัย หมอลำ� ลิเก และหลังจากได้ชมมหรสพแล้ว เด็ก ชายอุทัยทอง มักจะนำ�ลีลาท่าทางที่ได้ชมมาแสดงให้บิดามารดา และพี่น้องชม เช่น การรำ�ท่าต่างๆ และสามารถทำ�ได้อย่างอ่อน ช้อยงดงาม ถือว่าเป็นผู้มีพรสวรรค์ในด้านการแสดงแต่ก็ไมได้มี โอกาสศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง ด้วยมีฐานะยากจนจึงได้บวชเรียน เพื่อศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่มีความ มุ่งมั่นและเป็นคนที่มีความสารถสูงจึงสามารถอ่านออกเขียนได้ แตกฉานในเวลาอันรวดเร็วกว่าเณรรุ่นเดียวกัน แต่เพราะความ รักในศิลปะทุกแขนง ถึงแม้ไมได้แสดงในการฟ้อนรำ�ได้ แต่ก็มีสิ่ง ทดแทนคือการแสดงออกในด้านฝีมือ ทั้งการวาดและการแกะสลัก ซึ่งมีวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำ�คัญ ท่านได้ฝึกปรือฝีมือการวาดและ แกะสลักควบคู่กับการเรียนจนมีฝีมือเป็นที่ยอมรับของผู้ได้พบเห็น เมื่อลาสิขาบทได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศลาว และได้ เข้ารับราชการที่นครหลวงเวียงจันทร์ เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียน ศิลปกรรมที่เวียงจันทร์ ในปี 2501 ในระยะที่ท่านได้สร้างสรรค์ ผลงานศิลปะการแกะสลักเอาไว้มากมาย ทั้งที่ปรากฏอยู่ใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและภาคตะวันออกเฉียง เหนือของไทย ผลงานของท่านมีหลากหลายโดยเฉพาะส่วนใหญ่ เป็นงานประติมากรรมซึ่งมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดย ใช้ลวดลายเครืออีสาน ผสานเรื่องราว ที่ได้หยิบยกตำ�นาน ความ เชื่อ ในวรรณกรรมอีสานและพุทธศาสนานำ�เสนอได้อย่างน่าสนใจ

ด้วยความสามารถเป็นที่ยอมรับในรัฐบาลลาวได้มอบหมายให้ท่าน เป็นผู้แทนประเทศลาว ไปตกแต่งซุ้มของประเทศลาวในงานเอกซ์ โป 1790 ที่นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ท่านได้รับเครื่องราชอิสริยา ภรณ์ปฐมภรณ์จากรัฐบาลลาว และยังได้รับตำ�แหน่งที่ปรึกษาด้าน ศิลปกรรมในราชสำ�นักลาว และหัวหน้ากองวิชาการโบราณคดีใน ฐานะที่เป็นครูสอนสิลปะท่านมีลูกศิษย์จำ�นวนมากในประเทศลาว และในประเทศไทย นายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ นอกจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญใน ด้านประติมากรรมและจิตรกรรแล้วยังมีความสามารถในด้านการลำ� และวรรณกรรมพื้นบ้าน ภาษาไทยน้อย และอักษรธรรม และเครื่อง ดนตรีต่างๆมีการไปแสดงที่ต่างประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นเป็นผู้ ที่มีความสามารถสูงทางด้านประวัติศาสตร์ ทำ�ให้ผลงานของท่านมี มากมายทั้งในเวียงจันทร์และประเทศไทย(อีสาน) ถือได้ว่าเป็นมรดก ชิ้นสำ�คัญ ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาผ่านผล งานศิลปกรรมของท่าน นายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ ได้เสียชีวิตลงเมื่อ พุทธศักราช 2545 ด้วยวัย65 ปี ถึงแม้ว่าวันนี้ท่านจะได้เสียชีวิตไปแล้วก็ตาม แต่ ด้วยชีวิตและผลงานของท่านเป็นที่ประจักษ์แล้ว่า ได้มีคุณูปการก่อ ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายต่อสังคม และวงการศิลปกรรมร่วม สมัย นายอุทัยทอง จันทร์กรณ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมแกะสลักไม้) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2550 จากสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายทอง ล้อมวงศ์

( หัตถกรรมทองเหลือง )

นายทอง ล้อมวงศ์ 14 เมษายน พุทธศักราช 2468 ที่บ้าน ปะอาว ต.หนองขอน จ.อุบลราชธานี สำ�เร็จการศึกษาระดับประถม ศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านปะอาว นอกจากประกอบอาชีพหลัก คือการทำ�นาตามบรรพบุรุษเหมือนกับคนทั่วไปแล้ว เด็กขายของ กับมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นช่างหล่อทองเหลือง สืบทอดเจตนารมผู้ เป็นปู่ ผู้ที่ได้เชื่อว่ามีความสามารถในวิชาหล่อทองเหลืองฝีมือดีที่สุด ของบ้านปะอาวสมัยนั้น นายทอง ล้อมวงศ์ จึงเริ่มต้นการเรียนรู้วิชาช่างหล่อทอง เหลืองอย่างจริงจัง โดยมีปู่เป็นผู้ถ่ายทอดทั้งการออกแบบ การแกะ ลวดลาย จนมีความชำ�นาญและมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัน เป็นวิชาที่ไม่มีในตำ�รา แต่เป็นการสืบทอดจากตัวบุคคล ซึ่งต้อง แสวงหาความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง จนมีความสามารถมาเป็นลำ�ดับ สามารถพัฒนาต่อยอดผลงานขึ้น จากในอดีต จนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ทำ�ให้งานทองเหลืองเป็น ที่นิยมอีกครั้ง จากนั้นเป็นต้นมา ด้วยความรู้ความสามารถในงานหัตถกรรม ช่างทองเหลือง ท่านได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้น

จากในครอบครัว จนมีความชำ�นาญจากนั้นขยายไปยังเพื่อนบ้านที่ สนใจในหมู่บ้านปะอาวที่เข้ามาเรียนและทำ�งานร่วมกัน จนกระทั้ง มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมีลูกศิษย์ลูกหามาขอมาเรียนรู้ด้วยจำ�นวน มาก จนทำ�ให้ท่านได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ในด้านหล่อทอง เหลืองของชุมชน และของจังหัดอุบลราชธานี ผลจากความทุ่มเทดัง กล่าวทำ�ให้ท่านได้รับการยกย่องจากสำ�นักงานคณะกรรมการมหา บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อีกด้วย นายทอง ล้อมวงศ์ เสียชีวิตเมื่อปีพุทธศักราช 2546 ด้วยวัย 78 ปี ซึ่งผลงานของท่าน ทั้งการอนุรักษ์และพัฒนาขบวนการหล่อ ทองเหลืองของบ้านปะอาว ได้เป็นคุณูปการ่อชาวอีสานทั้งมวล ส่ง ผลให้ภูมิปัญญาการหล่อทองเหลือง เป็นมูนมรดกตกทอดถึงอนุชน รุ่นหลังให้ได้สืบต่อไป นายทอง ล้อมวงศ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมทองเหลือง) เนื่อง ในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2550 จากสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ( สถาปัตยกรรมร่วมสมัย )

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรฒ ศรีสุโร เกิดที่อำ�เภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อปี 2551 ที่จังหวัด ขอนแก่น ท่านสำ�เร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำ�นวยศิลป์ พระนคร กรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬา ลงกรมหาวิทยาลัย เริ่มต้นทำ�งานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีนครราชสีมา เป็นผู้ก่อตั้งสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังเกษียรได้ ไปรับตำ�แหน่งคณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ท่ า นมี ผ ลงานการออกแบบทางสถาปั ต ยกรรมท้ อ งถิ่ น ประยุกต์จำ�นวนมาก ผลการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของท่าน ได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยาม ใน พระบรมราชูปถัมภ์และมูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป ในการ ออกแบบแนวบุกเบิกอาคารศาสนาดีเด่น ที่วัดศาลาลอย จังหวัด นครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ.2516 นอกจากนั้นยังได้ออกแบบและ ตกแต่งทางอาคารศาสนาอีกหลายแห่ง เช่น พระธาตุศรีมงคล จังหวัดสัดสกลนคร เจดีย์พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฟั่น อาจาโร วัด ป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร มหาเจดีย์นกเมทนีดล จังหวัด เชียงใหม่ เป็นต้น และสถาปัตยกรรมของหน่วยงานราชการ ต่างๆ เช่นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดเลย อาคารหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคารสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้าน การออกแบบทางสถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์อย่างก้าวหน้าต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรฒ ศรีสุโร เป็นศิลปินและนักวิจัย ผู้ เดินทางศึกษาศิลปหัตถกรรมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ทั่วภูมิภาค อีสาน จนสามารถนำ�ความรู้มาสร้างสรรค์5ผลงานสถาปัตยกรรม จนเป็นที่เลื่องลือนามไปในระดับสกล ด้านวิชาการท่านมีผลงานวิจัย หลายเรื่อง อาทิ เรื่องสิมอีสาน ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นผลงาน วิจัยดีเยี่ยมแห่งชาติ จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ วิจัยเรื่อง ธาตุ อีสาน สถาปัตยกรรมกลุ่มชนสายวัฒนธรรมไต-ลาว เป็นต้น และ ยังมีผลงานทางด้านการถ่ายภาพ คือ บันทึกอีสานผ่านเลนส์ ผล งานการเขียนกลอนและลายเส้นในเบิ่งฮูป แต้มคำ� 1และ2 ซึ่งเหล่า นี้ล้วนเป็นผลงาน ที่ได้รับการยอมรับจากสถาปนิก นักวิจัย นักระวัติ ศาสตร์ ศิลปิน และประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้ริเริ่ม พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนอีกด้วย ผลจากการทุ่มเททำ�งานโดยมาตลอด ทำ�ให้ได้รับการ ยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสขางานช่างฝีมือ ใน ปี พุทธศักราช 2529 และได้รับดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานประกาศเกรียติคุณ สถาปนิกดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ในปีพุทธศักราช 2437 รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรฒ ศรีสุโร จึงได้รับการ ยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2550 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายสงคราม งามยิ่ง ( หัตถกรรมทอผ้า )

นายสงคราม งามยิ่ง เกิดเมื่อพุทธศักราช 2494 ที่อำ�เภอ ชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของนายสุนทร-นางสา ครอบครัว งามยิ่งมีบุตรทั้งหมด 7 คน เป็นครอบครัวเกษตรกร มีอาชีพทำ�นา อายุได้ 3 ขวบ คุณพ่อได้เสียชีวิตลง ครอบครัวจึงมีฐานะยากจน ลง จึงไมได้มีโอกาสเรียนหนังสือต่อ แต่ได้ช่วยแม่ทำ�งานหาเลี้ยง ครอบครัว เนื่องจากเป็นคน ขยัน มานะ มุ่งมั่น อดทน กอปรกับต้อง ช่วยเหลือมารดาและครอบครัว จึงชวนพี่สาวและน้องสาวไปรับจ้าง ทอผ้าที่โรงทอดขาไหมทไย อำ�เภอชนบท สงครามฝิ่นฝึกการทอผ้า ไหมพื้นฐานจากที่นั่น จึงถือว่าเปรียบเสมือนโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง ของเขา เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความสนใจในการทอผ้า และใฝ่รู้ท่าน จึงสามารถทำ�ผ้ามัดหมี่ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และทราบถึง กระบวนการขั้นตอนของการทำ�ผ้าลายมัดหมี่ และคิดสร้างสรรค์ ลวดลายลายเองได้ เพียงแค่ 13 ปีเท่านั้น ด้วยความสามารถและเชี่ยวชาญ ในการทอผ้าและออกแบบ ลวดลายเป็นอย่างดี ในปีพุทธศักราช 2520 กลุ่มเพื่อนมองเห็นว่า นายสงคราม มีฝีมือดี จึงชวนกันทอผ้ามัดหมี่เข้าประกวดในงาน เทศกาลไหม ของจังหวัดขอนแก่นในปีแรก ได้รับรางวัลชมเชย หลั ง จากนั้ น จึ ง เดิ น ทางไปกรุ ง เทพมหานครกั บ เพื่ อ นๆเที่ ย วชม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติดูลายผ้าโบราณ แล้วจดจำ�สีและลายฝ้า

นำ�มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบลายผ้ามัดหมี่ หลังจากนั้นได้ส่งผ้า ไหมเข้าประกวดเป็นประจำ�ทุกปี นับแต่ พุทธศักราช 2521 เป็นต้น มาในงานเทศกาลไหมจะต้องรู้จักชื่อสงคราม งามยิ่ง เนื่องจากได้ รางวัลชนะเลิศมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันทั้งในระดับจังหวัด และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและระดับประเทศ จนมีตราสัญลักษณ์ผ้ามัด หมี่เป็นของตัวเองในชื่อสงคราม งามยิ่ง จนปีพุทธศักราช 2541 ได้ เข้าเฝ้ารับพระราชทานใบประกาศเกียรติคุณรางวัลชมเชย ประเภท ประกวดลายผ้าไหมลายสร้างสรรค์ จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ พระตำ�หนักภูพานราชนิเวศน์ ซึ่งเป็นรางวัลที่ สร้างความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง นายสงคราม งามยิ่ง ได้รับการยอมรับในฝีมือที่มีความ งดงาม ประณีต ยากที่จะหาผู้ใดเทียบได้ จึงมีผู้นิยมมาว่าจ้างและมา ศึกษาการทำ�ผ้าไหมอยู่เสมอ จากประสบการณ์ที่ได้สั่งสมบ่มเพราะ มายามนานจึงได้รับการเชื้อเชิญไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้ แก่ นักศึกษาและคณาจารย์ในสถานศึกษาต่างๆและชุมชนที่ทอผ้า ไหมมัดหมี่ และการออกแบบลวดลายผ้า นับครั้งไม่ถ้วน นายสงคราม งามยิ่ง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมทอผ้า) เนื่องในวัน อนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2550 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย ขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายสมบูรณ์ หอมเทียนทอง ( จินตทัศน์ )

นายสมบูรณ์ หอมเทียนทอง เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2492 แถว ย่านตลาดบ้านสมเด็จ ฝั่งธนบุรีท่ามกลางสภาพแวดล้อมของยุคสมัย ที่น้ำ�ยังใสเรือร่มรื่น เรียกพื้นฐานทางศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างและ ศึกษาปรัชญาความคิดกับ จ่าง แซ่ตั้ง ร่องรอยของสุนทรียภาพแบบ ธรรมชาตินิยมตามแนวทางของ จ่าง แซ่ตั้งและประเทือง เอมเจริญ ยังฉายเงาอยู่ในงานของเขาจนถึงปัจจุบัน นามของนายสมบูรณ์ หอมเทียนทอง เป็นที่รู้จักกันในฐานะ ศิลปินไทยที่ไปใช้ชีวิตและทำ�งานศิลปะอยู่ในประเทศเยอรมนีกว่า 30 ปี ก่อนจะนำ�ผลงานมาจัดแสดงให้คนไทยได้ชื่นชมกันเป็นระยะ จนกระทั่ ง ย้ า ยกลั บ มาสร้ า งบ้ า นและสตู ดิ โ อในเมื อ งไทยที่ อำ � เภอ เชียงคาน จังหวัดเลย ตอนสมบูรณ์ไปเรียนต่อที่มิวนิคในปีพุทธศักราช 2516 ปรัชญาธรรมชาติของโลกตะวันตกเติบโตอยู่ในตัวเขาเต็มที่ แล้ว ครั้นผสมผสานกับรูปแบบการทำ�งานที่เป็นระบบระเบียบของ วงการศิลปะเยอรมัน ดอกผลก็เบ่งบานให้เข้าได้ใช้ประโยชน์ สมบูรณ์นำ�ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในเยอรมันมาจัดแสดงให้คน ไทยได้ชื่นชมครั้งแรกปลายปีพุทธศักราช 2532 ภายใต้ชื่อนิทรรศการ “เดินทางไปกับลมหายใจ” ต้นปีพุทธศักราช 2536 เขากลับมาอีก ครั้งด้วยงานจิตกรรมและลายเส้นชุดใหม่ชื่อ “เวลาที่ไร้นาม” ปี พุทธศักราช 2538 เขาแสดงงานอันเป็นผลมาจากการสำ�รวจเกี่ยวกับ แรงบัลใจในแผ่นดินไทยได้ระยะหนึ่ง อย่างการเก็บหินแม่น้ำ�โขงมา จัดแสดงในนิทรรศการ “The Mekong River” จากนั้นเขาก็นำ�งาน เก่ามาจัดแสดงใหม่ทั้งวาดเส้นและประติมากรรม และแสดงงานใหม่ หลังจากกลับมาอยู่และทำ�งานในสตูดิโอริมน้ำ�โขง อำ�เภอเชียงคาน

จังหวัดเลย รวมทั้งจัดแสดงเทียบเคียงกันระหว่างงานเก่ากับงานใหม่ ด้วย สมบูรณ์ทำ�งานหลายประเภท ทั้งประติมากรรม วาดเส้น จิตรกรรม ศิลปะจัดวาง และสื่อผสม แต่ละประเภทมีความสมบูรณ์ ในตัวเองทั้งรูปแบบและวิธีการ ส่วนที่เหมือนกันคือลักษณะอันเป็น นามธรรมแสดงความขัดแย้งตามสภาวะธรรมชาติ อย่างการหยุดนิ่ง และเคลื่อนไหว ผลปรากฏบ่งบอกถึงวิธีการทำ�งานอย่างตั้งใจเป็น แบบแผน และไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เขาจะไม่นิยมเปลี่ยนรูปแบบ อย่างฉูดฉาดฉับพลันแต่จะคลี่คลายงานในแต่ละประเภทค่อยเป็น ค่อยไปในส่วนของรายละเอียด เพื่อสะท้อนสภาวะภายในของศิลปิน ในแต่ละช่วงเวลา แม้จะใช้รูปแบบการแสดงออกที่เป็นสากล ลักษณะเด่นของ ศิ ลปะที่ เขานำ � เสนอก็ อ ยู่ ที่ก ารผสมผสานความเป็ นตะวันออกกับ ความเป็นตะวันตกเข้าด้วยกัน เพราะโดยทั่วไปแล้วศิลปะตะวันตก มักจะเน้นความชัดเจนของวัตถุนิสัยของศิลปินหลัก ขณะที่ศิลปะ ตะวันออกจะแฝงมิติทางจิตวิญญาณมากกว่าดังเช่นที่ปรากฏในผล งานของสมบูรณ์ทุกชุดผลงาน โดยที่ตะวันออกมีนัยยะซ่อนแทรกใน มิติความเป็นอีสานพื้นที่เขาเลือกจะบ่มเพราะจิตวิญญาณในบั้นปลาย ชีวิต นายสมบูรณ์ หอมเทียนทอง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จินตทัศน์) เนื่องในวัน อนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2550 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย ขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายโชคชัย ตักโพธิ์ ( จินตทัศน์ )

นายโชคชัย ตักโพธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2496 ที่จังหวัดนครพนม จบการศึกษาด้านศิลปะระดับอนุปริญญา สาขาภาพพิมพ์รุ่นแรกของเพาะช่าง และระดับปริญญาตรีจาก คณะศิลปกรรม (จิตรกรรม ภาพพิมพ์) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (โรงเรียนเพาะช่าง) เมื่อปีพุทธศักราช 2919 ขณะเป็นนักศึกษาตั้งแต่ พุทธศักราช 2513 ได้รับ 26 รางวัล จากการประกวดศิลปกรรม วิทยาเขตเพาะช่าง นายโชคชัย ตักโพธิ์ เป็นศิลปินนักปฏิวัติและนักแสดงหา แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างไม่หยุดนิ่ง ตลอดระยะ เวลากว่า 30 ปี นับเนื่องจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้น มา หลังจากจบการศึกษาได้เข้ารับราชการ 2520 และเป็นผู้บุกเบิก แนวทางการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรศิลปะให้กับ กรมอาชีวะทั่วประเทศให้เกิดความก้าวหน้า จนได้เป็นครูดีเด่นกรม อาชีวะ 2542 ในด้านของการสร้างสรรค์ศิลปะได้ มุ่งมั่นสร้างผล งานอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจนเป็ น ที่ ย อมรั บ กว้ า งขวางทั้ ง ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น ภูมิภาค ระดับประเทศ และนาชาติ ผลจากการทุ่มเทดังกล่าวจึงได้ รับการยอย่องเป็นศิลปินเด่นมหาวิทยาลัยของจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2542 ได้การเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินพื้นบ้านอีสาน(สาขาทัศนศิลป์) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปี2546 ได้รับการคัดเลือกจาก สภาศิลปกรรมไทย เพื่อศึกษาดูงานและแสดงผลงาน ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี 2534 ได้รับการคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็น ศิลปินเกียรติยศทัศนศิลป์ดีเด่น ทางด้านสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม(รางวัลมนัส เศียรสิงห์) ครั้งที่ 2 ประจำ�ปี

พุทธศักราช 2549 และรางวัลด้านสังคมอื่นๆอีกเป็นจำ�นวนมาก นายโชคชัย ตักโพธิ์ นับเป็นศิลปินนักวิชาการที่สำ�คัญของ ภูมิภาคอีสาน ผู้เปี่ยมด้วยอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์ เป็นผู้ใฝ่ศึกษา เรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่เพื่อปกการประยุกต์ใช้ในทางศิลปกรรม ผล งานอันเกิดขึ้นจากการศึกษาได้จัดหมวดหมู่แบ่งประเภทออกเป็น วาดเส้น สีน้ำ� สีอะคริลิค สื่อผสม และติดตั้งจัดวางสะท้อนสาระ การเมือง ธรรมชาติและศาสนา จึงมีลักษณะเป็นผลงานเชิงจินตทัศน์ ด้วยวิธีการหลากหลายแต่สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันอย่างเป็นองค์ รวม อันเป็นลักษณะแนวทางร่วมสมัย ปัจจุบัน โชคชัย ตักโพธิ์ ได้ เปิดพื้นที่โชคชัย ศิลปะสถานให้เป็นแหล่งศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศิลปกรรม ทัศนศิลป์ที่เกิดจาการศึกษาของตนเองตลอดระยะเวลา 30 ปี ด้วยแนวคิดแบบ “เสรีนิยมประชาธิปไตย” อย่างเปิดกว้างโดย นำ�หลักธรรมโลกาภิวัฒน์ให้สามารถดำ�รงชีวิตอย่างสงบ และมั่นคง ด้วยปัญญาแห่งศิลปินที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น เซนแบบอีสาน ด้วยดุลยภาพแห่งความงดงามของชีวิต อันเป็นพลังสืบสาน พัฒนา ด้วยจิตสำ�นึกที่แรงกล้า ด้วยฉันทะ พยายาม ศิลปินจึงเป็นดั่งเมล็ดพืช ที่หยั่งรากทางประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต เพราะมีการสืบต่อความหมาย และความทรงจำ� ศิลปะของโชคชัย ตัดโพธิ์ จึงเป็นกระบวนการวิถี วัฒนธรรม อันเป็นผลผลิตการสร้างสรรค์ที่มีชีวิตโดยแท้จริง นายโชคชัย ตักโพธิ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จินตทัศน์) เนื่องในวันอนุรักษ์ มรดกไทย ประจำ�ปี 2550 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย ขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


สาขา

วรรณศิลป์

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ( ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง )

นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา (ชื่อเดิม นายสงคราม) เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2479 ที่บ้านดอนใหญ่ อำ�เภอศรีเมืองใหม่ จังหวัด อุบลราชธานี เป็นบุตรนายสุขุม - นางแดง จันทรุกขา จบประถม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุบลวิทยากร อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอุบลวิทยากร (วัดมณีวนาราม) อำ�เภอ เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา ดนตรีศึกษา จากมหาวิทยาลัย ราชภัฎอุบลราชธานี ประสบการทำ�งาน โรงเรียนอุบลวิทยากร พ.ศ.2498-2500 ประพันธ์เพลง ตั้งแต่ พ.ศ.2510 ในนาม พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา นัก พากย์ภาพยนตร์ ในนาม “เทพสงคราม”ตั้งแต่ พ.ศ.2502-2512 นักเขียนบทละครวิทยุ เล่นละครวิทยุ ให้กับคณะมิตรมงคล ของครูสวาศดิ์ไชยนันท์ พ.ศ.2502สร้างภาพยนตร์ กำ�กับภาพยนตร์ และเขียนบทภาพยนตร์ เรื่อง มนต์รักลำ�น้ำ�พอง, ก่องข้าวน้อยฆ่า แม่ พ.ศ.2519-2523 กำ�กับภาพยนตร์และเขียนภาพยนตร์ เรื่อง มนต์รักแม่น้ำ�มูล, มนต์รักลูกทุ่ง นักโหราศาสตร์ (หมอดู) ในนาม “ธณวัฒน์” พ.ศ.2502–ปัจจุบัน นักแสดงภาพยนตร์ เรื่องฟ้าสาง ที่ฝั่งโขง ประธานชมรม “ศรีเมืองใหม่รวมน้ำ�ใจเอื้ออาทร”ผู้ก่อตั้ง “ลานบ้านลานธรรม” พ.ศ.2540 นักร้องเพลงธรรม ในนาม “เฒ่า ธุลีธรรม” พ.ศ.2540 กรรมการตัดสินการประกวดลำ�หมอลำ�ซิ่ง ได้รับการยกย่องเป็น“ครูภูมิปัญญาไทย” รุ่นที่ 4 จากสำ�นักงาน

เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2548 การสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานการประพันธ์เพลงที่ได้รับความ นิยมระดับชาติ หลายเพลง เช่น สาละวันลำ�วง สาวชุมแพ ตะวัน รอนที่หนองหาน รักร้าวหนาวรม ทุ่งรัก สาวอุบลรอรัก อีสานบ้าน เฮา รอรักที่ต้นกระโดน ด่วน บ.ข.ส. ดอกจานบาน ฯลฯ ซึ่ง เพลง เหล่านี้ได้สร้างนักร้องโด่งดังระดับประเทศ เช่น ไพรวัลย์ ลูกเพชร, ศรคีรี ศรีประจวบ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ สนธิ สมมาตย์, ไวพจน์ เพชร สุพรรณ เป็นต้น เกียรติคุณที่ได้รับ รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ� ประเภทผู้ประพันธ์เพลงยอดเยี่ยมเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” จาก สมาคมภาพยนตร์ไทย รางวัลเพลงลูกทุ่งดีเด่น “กึ่งศตวรรษลูกทุ่ง ไทย” จากเพลง สาละวันลำ�วง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลเพลงลูกทุ่งดีเด่นส่งเสริมวัฒนธรรมไทย งาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งสืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย จากเพลงสาละ วันลำ�วง ศิลปินดีเด่นสาขา ศิลปะการแสดง จังหวัดอุบลราชธานี ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดนตรี (การแต่ง เพลง) จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ (ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายนุ่ม เย็นใจ

( ประพันธ์กลอนลำ� )

นายนุ่มเย็นใจปัจจุบันอายุ 82 ปีเกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2471จบการศึกษาชั้นนักธรรมเอกและยังเป็นครูวาดเขียนโท (วท.) และครูพิเศษมัธยม (พม.) นายนุ่มเย็นใจเริ่มต้นประพันธ์วรรณกรรม ตั้งแต่ พ.ศ.2490ได้ ประพันธ์บทลำ�อีสานกว่า 3.000 กลอนนอกจากนั้นยังประพันธ์ บทเทศน์แหล่ บทสวดสรภัญญ์ กลอนหนังปราโมทัย สำ�นวนอีสาน เพลงรำ�วงย้อนยุค ผญา สุภาษิต อีกเป็นจำ�นวนมากโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการประพันธ์กลอนลำ�ให้ ฉวีวรรณ พันธุ (ดำ�เนิน) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงหมอลำ�ทองคำ� เพ็งดีหมอลำ�ประยูร ธาตุทอง หมอลำ�คำ�เก่ง บัวใหญ่หมอลำ�รังสรรค์ วงศ์งามหมอลำ�อำ�นาจ แผง งามได้นำ�ไปแสดงซึ่งกลอนลำ�ของ นายนุ่มเย็นใจเป็นที่ยอมรับใน สังคมหมอลำ� อาทิ กลอนลำ�ชีวิตชาวนา กลอนลำ�ล่องลารุ่งอรุณ ลำ�ล่องประวัติเมืองอุบล ลำ�ล่องพุทธภูมิเป็นต้นปัจจุบันนี้ นายนุ่ม เย็นใจ ยังประพันธ์วรรณกรรมอีสาน ควบคู่ไปกับการจัดรายการ วิทยุถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา

จากผลงานที่สั่งสมมาเป็นเวลาหลายปีทำ�ให้นายนุ่มเย็นใจ ได้ รับรางวัลศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี สาขาวรรณศิลป์ (ร้อย กรองพื้นบ้าน) พ.ศ.2542รางวัลดีเด่นผลิตสื่อพื้นบ้านภาคตะวันออก เฉียงเหนือ พ.ศ.2543โล่เชิดชูเกียรติคุณศิลปินดีเด่นสภาวัฒนธรรม จังหวัดอุบลราชธานีพ.ศ.2546และรางวัลการประพันธ์กลอนลำ� จากสหพันธ์สมาคมหมอลำ�แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 นายนุ่มเย็นใจจึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้ใช้ภาษา ไทยถิ่นดีเด่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 ปัจจุบัน นายนุ่ม เย็นใจ ได้ให้การสนับสนุน ด้วยการเสีย สละเวลาช่วยเหลืองานด้านวัฒนธรรมด้วยดีเสมอมา จึงนับเป็นการ สมควรอย่างยิ่งที่ได้รับการขนานนามจึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ (ประพันธ์กลอนลำ�) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายดวง วังสาลุน ( ประพันธ์กลอนลำ� )

นายดวง วังสาลุน เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2493 ที่จังหวัดอุบลราชธานี มีความสนใจในศิลปะการแสดงพื้น บ้านมาตั้งแต่เป็นเด็ก พอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้เริ่ม ฝึกร้องลำ� จากนั้นจึงหันเหชีวิตมาเป็นหมอลำ�หลังจากไม่มีโอกาส ได้เข้าศึกษาต่อ ได้เริ่มแสดงเป็นตัวประกอบตามคณะหมอลำ� วง ดนตรีต่างๆนั้น ได้เกิดปัญหาขึ้นคือไม่มีกลอนลำ�เป็นของตนเอง จึง ได้คิดเขียนกลอนลำ�ขึ้น เพื่อใช้ในการแสดง นานเข้ามีความชำ�นาญ มากขึ้น จึงหันเหชีวิตมาเป็นผู้ประพันธ์กลอนลำ�ในที่สุด นับตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมา นายดวงก็ยึดเอาการประพันธ์กลอนลำ�เป็นอาชีพ แม้ว่าบางครั้งก็เกิดความท้อแท้ จากอุปสรรคปัญหานานัปการ แต่ ด้วยใจรักจึงไม่ย่อท้อ ยังคงประพันธ์กลอนลำ�เรื่อยมา ในช่วงแรกๆยังไม่ประสบความสำ�เร็จมากนัก เพราะยุค สมัยนั้นวงการหมอลำ�ยังไม่เฟื่องฟู ต่อมาลาวปีพุทธศักราช 2541 ได้รับเชิญให้ไปอยู่ในคณะหมอลำ�ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดอุบลราชธานี ชื่อคณะ อุบลพัฒนา มี อังคณา คุณไชย สไบแพร บัวสด และ ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม ร่วมคณะอยู่ด้วย ภายใต้การนำ�ของหมอลำ� อำ�พร สง่าจิตร เป็นหัวหน้าคณะ และได้มอบหมายให้นายดวง วังสาลุน ประพันธ์กลอนลำ� และจัดฉากประกอบในเรื่อง “นาง

นกกระยางขาว” เพื่อเข้าประกวดหมอลำ�ในปีนั้น จนได้รับรางวัล ชนะเลิศ จากกรมประชาสัมพันธ์ หลังจากนั้นได้มีผลงานเป็นที่ ประจักษ์เรื่อยมาเป็นลำ�ดับ ถึงขั้นมีบริษัทจากส่วนกลางมาติดต่อ ให้ไปอันแผ่นเสียงเป็นจำ�นวนมาก กลอนลำ�ที่นายดวง วังสาลุน ประพันธ์ขึ้นนั้นมีอยู่หลาก หลายประเภท ประกอบด้วย ประเภทลำ�เรื่อง ลำ�ล่อง ลำ�เพลิน ลำ�ภูไท ลำ�กล่อมลูก เป็นต้น ผลงานของท่านได้ถูกนำ�ไปถ่ายทอด โดยศิลปินจำ�นวนมาก ส่วนหนึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับศิลปิน หมอลำ�เรื่อง ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม (ศิลปินแห่งชาติ) รวมถึง อัง คนางค์ คุณไชย และอีกหลายท่าน ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในการสร้างสรรค์ผลงานออกมา อย่างต่อเนื่องยาวนาน กอปรกับคุณค่าในบทประพันธ์กลอนลำ�ที่ ทรงคุณค่าที่ได้มอบไว้ให้เป็น “มูนมัง” มรดก สู่บรรพชนชาวอีสาน นายดวง วังสาลุน จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดก อีสาน สาขาวรรณศิลป์ (ประพันธ์กลอนลำ�) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


สาขา

ศิลปะการแสดง

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายทองคำ� เพ็งดี ( ลำ�เรื่อง )

นายทองคำ� เพ็งดี เกิดที่ บ้านตากแดด ตำ�บลตากแดด อำ�เภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่4 ที่โรงเรียนบ้านตากแดด อำ�เภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุและได้ศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องกลอนเทศน์วรรณกรรมอีสานประมาณ 1 พรรษา ได้ลาสิกขา ไปอาศัยอยู่กับวงหมอลำ�คณะต่างๆในจังหวัดอุบลราชธานี นายทองดี เพ็งดี เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการขับร้อง หมอลำ�เป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดความสามรถทั้งน้าเสียงที่มี เอกลักษณ์ ตลอดทั้งบทบาท และการแสดงที่เป็นฉบับของตนเอง สร้างความประทับใจต่อสาธารณชนมากที่สุดในวงการหมอลำ�ของ ภาคอีสาน ที่ยางจะหาใครเทียบเคียงได้ยิ่งได้มาจับคู่กับหมอลำ� ฉวีวรรณ ดำ�เนิน ในระยะต่อมา ก็ประกายศิลปินฉายแววออก มาอย่างเด่นชัด ส่งผลให้ได้บันทึกเสียงหมอลำ�กลอนครั้งแรกคู่กัน กับหมอลำ�ฉวีวรรณ ดำ�เนิน ในปีพุทธศักราช 2502 หลังจากนั้น ก็ได้แสดงรวมกันมาโดยตลอดจนกระทั่งได้ตั้งเป็นวงหมอลำ�หมู่ “ คณะรังสิมันต์” ขึ้น ในปีพุทธศักราช 2521 ได้รับการตอบรับ จากประชาชนอย่างล้นหลาม ทำ�ให้คณะรังสิมันต์โด่งดังเป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวาง นับเป็นคณะหมอลำ�เรื่องต่อกลอนที่ผู้นิยมสูงสุด ในประวัติการณ์ของอีสานในยุคสมัยนั้น และยังสามารถกระจาย ความนิยมออกไปยังทั่วประเทศจากการออกอากาศทางสถานีวิทยุ ของกรมประชาสัมพันธ์จนได้รับการบันทึกเป็นแผ่นเสียง และเทป โทรทัศน์ โดย บริษัท ลิเวอร์ราเทอร์ และบริษัทอังกฤษ ตรางูซึ่งผล

งานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุกเป็นตำ�นาน คือ เรื่องพระสุธน- มโนราห์ จำ�ปาสี่ต้น นางแตงอ่อน และอีกหลายเรื่อง หมอลำ�ทองคำ� เพ็งดี ได้เป็นแบบอย่าง ค้นคิด หมอลำ� เรื่องต่อกลอน ทำ�นองอุบล ซึ่งจะเน้นการเล่นลูกคอหลายชั้น ชวน ให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตาม ได้เป็นอย่างดี อันเป็นความคิด สร้างสรรค์ที่ต้องการให้เกิดเป็นฉบับเฉพาะหมอลำ�อุบล นอกจาก นั้น ท่านยังมีความพิเศษมากอย่างหนึ่งที่แฟนหมอลำ�ในยุคนั้น รู้จะเป็นอย่างดีคือ การเลียนเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ ได้เหมือน จริง โดยเฉพาะเสียงขันของนกเขา จนได้รับฉายว่า “ นกเขาขัน” ซึ่งมากจะใช้เป็นเสียงประกอบฉากเดินทางในการชมป่า อันเป็นเสน์ อย่างหนึ่งของศิลปินยอดนิยมตลอดการท่านี้ จนเมื่อปีพุทธศักราช 2537 ท่านได้เสียงชีวิตของ ท่ามกลางความเศร้าสลด ของบรรดาผู้ชื่นชอบที่เป็นมิตรหมอแคน แฟนหมอลำ�ตัวจริง และรวมถึงประชาชนชาวอีสานที่ทราบข่าว แต่ สิ่งที่ท่านได้ฝากเอาไว้ให้กับผืนดินถิ่นอีสานคือ มรดกหมอลำ�เรื่อง ต่อกลอนทำ�นองอุบลที่ท่านเป็นต้นแบบ จึงสมควรสืบสาน และ ถ่ายทอดให้คงไว้สืบต่อไป นายทองคำ� เพ็งดี จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นมรดก อีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�เรื่อง) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นางคำ�ภา ฤทธิทิศ ( ลำ�กลอน )

นางคำ�ภา ฤทธิทิศ เกิดที่ บ้านหนองคู ตำ�บลหนองคู อำ�เภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชะนี ในวัยเด็กได้มีความสนใจ ในศิลปะการแสดงหมอลำ�กลอนเป็นอย่างมาก เนื่องจากครอบครัว มีอาชีพเป็นหมอลำ� จึงได้รับการอบรมบ่มเพาะศิลปะการแสดง หมอลำ�มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เมื่อเติบโตขึ้นจึงได้ไปศึกษาหาความรู้ จริงจังกับศิลปินหมอลำ�แถบจังหวัดอุบลราชธานี จนได้มีชื่อเสียง โด่งดังไปทั่วภาคอีสาน นางคำ�ภา ฤทธิทิศเป็นศิลปินหมอลำ�ที่มีความสามารถโดด เด่น มีน้าเสียงเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะการขับร้องชัดเจน มีลูกคอที่ เป็นแบบฉบับที่ไม่เหมาะศิลปินท่านใด ท่านได้เคยได้ลำ�คู่กับหมอลำ� เคน ดาหลา(ศิลปินแห่งชาติ) จนได้ใช่ชีวิตคู่ร่วมกันก่อนจะแยกทาง กันในระยะต่อมา ท่านมีความสามรถในการลำ�กลอนในหลากหลาย

รูปแบบ บทกลอนที่นำ�เสนอ อาทิ วรรณกรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิต คนอีสาน หรือรวมทั้งบทกลอนเบ็ดเตล็ด ต่างๆ ผลงานที่สร้างชื่อ เสียง ได้แก่ ชุดลำ�ล่องยาว รถไฟไต่ราง ลำ�เดินทางสั้น ฯลฯ ด้วย เพราะท่านยึดรูปแบบของการแสดงหมอลำ�กลอนเป็นหลัก และได้ พัฒนาการลำ�จนเป็นที่ยอมรับ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดย เฉพาะผู้ที่ชื่นชอบในหมอลำ�กลอน จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ หมอลำ�กลอนพันธุ์แท้” และยังจัดว่าเป็นหมอลำ�กลอนต้นแบบ ทำ�นองอุบลอีกด้วย นางคำ�ภา ฤทธิทิศ จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นมรดก อีสาน สาขาศิลปะการแสดง(ลำ�กลอน) ประจำ�ปี 2550 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายบุญตา ภูวงษ์นาม ( ลำ�สินไช )

นายบุญตา ภูวงษ์นาม เกิดเมื่อพุทธศักราช 2496 ที่บ้านโคกกลาง ใหญ่ ตำ�บลแพง อำ�เภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จบการศึกษาประถม ศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดศรีตาลเรือง หลังจบการศึกษาแล้วมาเป็นคนเลี้ยง ควายใช่ชีวิตอยู่ในท้องทุ่งเป็นสวนใหญ่ เมื่อครั้งยังเป็นเด็กเคยฝึกเล่นลิเก กับ คณะในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นคณะลิเกสมัครเล่น แสดงเรื่อง “ สุริยวงศ์” โดยแสดง เป็น “ สาวสนม” ออกแสดงรับจ้างบางในบางโอกาส นับเป็นจุดเริ่มต้นของ แรงบันดาลใจที่ยากมาแสดงหมอลำ�ในระยะหลัง ราวพุทธศักราช 2485 เมื่ออายุย่างเข้า 20 ปีจึงได้เริ่มหัดลำ�เป็นครั้งแรก เป็นการเรียนรู้แบบ ครูพักลักจำ� เมื่ออายุได้ 24 ปี ด้วยความเป็นนักสร้างสรรค์อยู่ในตัวเองเลยมี ความคิดที่อยากตั้งคณะหมอลำ�ของตัวเองขึ้นจึงรวมกับเพื่อนอีก 2 คน คือ นายประพันธ์ ผาอินยวน และนายตำ� ดอนน้อมโม้ รวมตัวกันตั้งคณะขึ้น และ เชิญชวนลูกพี่ลูกน้อง และญาติมิตรในหมู่บ้านมาฝึกซ้อมเป็นนักแสดง เรื่อง ที่นำ�มาฝึกซ้อมและออกแสดงมีอยู่เพียงเรื่องเดียวคือ “ สินไช” ซึ่งได้ชื่อหาก ลอนลำ�สินไซมาจากร้านคลังนานาธรรมในสมัยนั้นโดยติดใจเนื้อหาที่มีความ สนุกสนานสอดแทรกคติ อีกทั้งตัวละครในสินไซ มีมาก จึงเลือกเรื่องสินไซเป็น เรื่องแสดงหลัก และเป็นเรื่องเดียวที่ใช่แสดงตลอดมาชาวจึงมากเรียกติดปาก ว่าหมอลำ�สินไซ แต่ชื่อคณะที่แท้จริงคือ คณะ “บุญตาประพันธ์ศิลป์” แรงบันดาลใจในการเลือกสินไซมาเป็นเรื่องที่นำ�เสนอเพียงเรื่อง เดียว เพราะเห็นว่ามีความสนุกเหมาะที่จะเป็นหมอลำ�ที่คนดูนิยม โดยได้นำ� มาเรียบเรียงเปรียบเทียบกับภาพเขียนที่ปรากฏอยู่บนผนังสิมวัดศรีตาลเรือง ซึ่งนายบุญตามีความคุ้นเคยเมื่อครั้งที่บวชเป็นพระ จากรูปเขียนสินไซจึงได้ ประยุกต์มาใช่แบบเครื่องแต่งกายในหมอลำ�สินไซและยังได้ประยุกต์เพิ่มเติม เข้ากับสมัยนิยม คือรูปแบบการแต่งกายที่แหวงแนวจากประเพรีนิยมผสม แบบสากลนิยม คือการนุ่งเสื้อเชิ้ต กางเกงขาสั้น (ขาสามส่วน) นับว่าเป็นสิ่งที่ สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากในยุคสมัยนั้น หมอลำ�สินไซ จึงทุกเรียกจากคน ดูอีกอย่างหนึ่งว่า “หมอลำ�กกขาขาว” หลังจากฝึกซ้อมการแสดงกว่าหนึ่งปีจึง

ได้ออกแสดงเป็นครั้งแรกที่วัดศรีตาลเรือง ในงานบุญสังฆทาน และหลังจาก นั้นก็มีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่องที่สำ�คัญได้โอกาสไปแสดงที่นครเวียงจันทร์ ใน ระยะแรกนั้นการแสดงไดดำ�เดินไปร่วม 10 ปี สมาชิกส่วนหนึ่งได้แยกย้ายไปมี คู่ครองจึงได้ปิดตัวลง ถึงพุทธศักราช 2500 จึงได้รวมตัวกันอีกครั้งในยุคฟื้นฟู ในยุคนี้หมอลำ�สินไซ เป็นรูปแบบการแสดงพื้นบ้านประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างสูง นับเป็นความฟื้นฟูที่สุดของหมอลำ�สินไซก็ว่าได้จนมีคณะหมอลำ� สินไซหลายคณะเกิดขึ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกศิษย์ลูกหลานของนายบุญตาและ ทีมงาน หมอลำ�คณะบุญตาประพันธ์ศิลป์ มีทั้งสิ้นรวม 10 คณะ จากความ นิยมดังกล่าวคณะบุญตาประพันธ์ศิลป์จึงได้มีประกาศออกตระเวนแสดงไปใน หลายจังหวัดอัจฉริยภาพของบุญตา ภูวงษ์นาม ในด้านศิลปะการแสดง คือผู้ คิดค้นประดิษฐ์ท่ารำ�ที่มีรูปแบบเฉพาะซึ่งเกิดจากการประผสมศิลปะนาฏศิลป์ ลิเก รำ�โทน และหมอลำ� เข้าด้วยกนอย่างกลมกลืนเป็นรูปแบบใหม่ ในด้าน เครื่องแต่งกายได้ประยุกต์เข้ากับแนวสากลนิยมจนเป็นสิ่งแปลกใหม่กระตุ้น เร้าความสนใจของคนดูเป็นยิ่งนัก ในความเป็นนักบุกเบิกริเริ่ม สร้างสรรค์ แสดงหมอลำ�แนวประยุกต์นี้ ได้นำ�ความสำ�เร็จมาสู่นายบุญตา ภูวงษ์นาม ใน ช่วงวัยหนุ่มของอาชีพศิลปิน รวมการแสดงหมอลำ�อาชีพกว่า 50 ปี นับเป็นผู้ มีความสามารถในความเป็นต้นแบบ เป็นผู้ยึดมันในธรรมจริยธรรมที่ดีงาม แนวทางการประพฤติ ป ฏิ บั ติ ตั ว เป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ต่ อ ที ม งานตาม ครรลอง ฮีตคองอีสานอย่างเข้มงวด ด้วยจิตวิญญาณของศิลปินที่แท้ ปัจจุบัน นายบุญตา ภูวงษ์นามเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ที่รอวันให้คนรุ่นหลังได้เข้าไปต่อย อดองค์ความรู้ ที่นับวันจะสูญหาย ด้วยความยิ่งดีเป็นผู้ถ่ายทอดที่ไม่หวังสิน จ้างใดๆ นายบุญตา ภูวงษ์นาม จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�สินไซ) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายระเบียบ พลล้ำ� ( ลำ�เรื่อง )

นายระเบียบ พลล้ำ� เกิดเมื่อวัน อาทิตย์ ที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2483 ณ บ้านสาวะถี ตำ�บลสาวะถี อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน สาวะถีราษฎรรังสฤษดิ์ด้วยฐานะครอบครัวยากจน ผู้เป็นมารดา จึงให้ไปเรียนลำ�พื้น กับครูแส่ง นามคันที ครูหมอลำ�พื้นในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านสาวะถีถือว่าเป็นพื้นที่ที่ปรากฏหมอลำ�พื้นมากที่สุด อันเป็นต้นกำ�หนดของหมอลำ�นองขอนแก่นในเวลาต่อมา ซึ่งตอน หลังได้ตั้งเป็นคณะในนาม “ โดยระเบียบ พลล้ำ� เป็นพระเอกและ บุตรสาวแม่ครูเป็นนางเอก เมื่อมีประการในด้านการแสดงหน้าเวที ต่อสาธารณชนมาสักระยะหนึ่ง คณะ “ แสงอรุณศิลป์” ได้เข้า ประกวดหมอลำ� ของสำ�นักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น และได้ รับรางวัลชนะเลิศ ในโอกาสต่อมาได้มาตั้งคณะขึ้นเป็นของตัวเองใน นาม “ คณะระเบียบวาทศิลป์” และประกาศรับนักแสดงเข้ามาก อยู่ในสังกัดเป็นจำ�นวนมาก โดยในช่วงแรกเป็นหมอลำ�ดวงจันทร์ เป็นนางเอก ซึ่งต่อมาได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน และมีลูกด้วยกัน 4 คน ซึ่ง ลูกชาย 2 คน ก็ได้มาสืบทอดการแสดงหมอลำ�และช่วยดูแลคณะ อีกแรงหนึ่งนับว่าเป็นครอบครัวหมอลำ�ที่ช่วยกันพัฒนารูปแบบใน การนำ�เสนอศิลปะการแสดงหมอลำ�อย่างต่อเนื่อง จนเป็นคณะใหญ่ คณะหนึ่งในภาคอีสาน มีผลงานการแสดงทั่วประเทศ ปีละเป็นร้อย งาน นายระเบียบ พลล้ำ� เป็นหมอลำ�ที่มีรูปสมบัติ และคุณสมบัติ ในการเป็นหมอลำ�อย่างครบถ้วนในยุคสมัยของท่านนับเป็นหมอลำ�

ที่มีเสน่ห์ทั้งซุ้มเสียงและหน้าตา ส่งผลให้มีแฟนประจำ�ติดตาม ผลงานไม่ขาดผลงานกลอนลำ�ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ เจ้าหญิงแตง อ่อน จำ�ปาสี่ต้น และอีกหลาย ๆ เรื่อง ส่วนหนึ่งได้บันทึกในรูปของ วีดีทัศน์และเทปคลาสเซท เผยแพร่ทั้งประเทศ จวบกระทั่งผ่านมา หลายยุคสมัย ท่านก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ในวงการหมอลำ�ได้ไม่ ได้เลิกราไปอย่างหลายคณะในอดีต แสดงให้เห็นถึงความสามรถใน การเป็นหมอลำ�มืออาชีพอย่างแท้จริง แม้ว่าปัจจุบันท่านจะเปลี่ยน บทบาทจากหมอลำ� โดยให้ลูกชายและลูกสาวทั้ง 4 คนสานต่อแทน มาเป็นผู้บริหารจัดการ และท่านยังคงทำ�หน้าที่ให้คำ�แนะนำ�ในการ พัฒนารูปแบบการแสดงของคณะหมอลำ�ระเบียบวาทศิลป์แทน โดยยังสามารถครองใจมหาชนได้โดยฝีมือของท่านโดยแท้ ดังนั้นนับว่าท่านได้ทำ�หน้าที่สืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรม ด้านการแสดงหมอลำ�อย่างจริงจัง ได้ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ให้เกิดกับชุมชน สร้างเยาวชนให้เกิดความรัก หวงแหน ในศิลป วัฒนธรรมของตน ในงานด้านสังคมนับเป็นผู้ที่ช่วยเหลือสังคม ทั้งใน ระดับชุมชน ท้องถิ่น ที่ตนอยู่อาศัย อย่างไม่เห็นแก่ประประโยชน์ ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง นายระเบียบ พลล้ำ� จึงได้รบการเชิดชูเกียรติศิลปินมรดก อีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�เรื่อง) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นางมลฤดี พรหมจักร ( ขับลำ�ท้องถิ่น )

นางมลฤดี พรหมจักร เดิมชื่อ อินทหวา พรหมจักร เกิด เมื่อปีพุทธศักราช 2497 ปีมะเมียบ้านนาคำ�ตำ�บลฟ้าฮ่วน อำ�เภอ ตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี บิดาเป็นนักบวช ส่วนมารดา ประกอบอาชีพทำ�นาเมื่อสำ�เร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ช่วยครอบครัวทำ�ไร่ทำ�นา และเลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามวิถีของ เด็กชนบทที่ไม่ได้เข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น แต่ในความที่ชื่นชอบ ในหมอลำ� ซึ่งเป็นสื่อพื้นบ้านที่สามารถรับฟังได้ทางสื่อวิทยุในสมัย นั้น โดยเฉพาะอิทธิพลของคนางค์ คุณไชย และฉวีวรรณ ดำ�เนิน ทำ�ให้มีความใฝ่ฝันที่ยากจะเป็นหมอลำ�บ้าง จึงฝึกฝนการลำ�ด้วย ตนเองจากการฟังหมอลำ�ทางวิทยุ จนเมื่อหมอลำ�สมพงษ์ (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นหมอลำ� ในหมู่บ้าน คิดจะตั้งคณะหมอลำ�เพราะเห็นว่ามีหนุ่มสาวในหมู่บ้าน หลายคนมีน้ำ�เสียงดี รวมถึงมลฤดี พรหมจักร หลังจากตั้งคณะจึง ได้เชิญหมอลำ�คำ�นึง(ไม่ทราบนามสกุล) มาช่วยสอนให้ ซึ่งถือเป็น ครูคนแรกของหมอลพมลฤดี ได้พัฒนาทักษะในการลำ�จนเป็นที่น่า พอใจของครูจึงได้รับบทแสดงเป็นเรื่องแรก คือ เรื่อง “ นางในโรง แก้ว” และได้รับบทนางเอกประจำ� คณะ “ สมพงษ์ศิลป์” เมื่อ อายุได้ 16 ปี จนถึงอายุ 27 ปี คณะสมพงษ์ศิลป์ ก็ได้แยกคณะ

เพราะต่างคนต่างมีครอบครัว หลังจากนั้นหมอลำ�มลฤดีจึงได้ออก แสดงกับคณะต่างๆ เรื่อยมาจนกระทั่งอาจารย์สมาน (ไม่ทราบ นามสกุล) แห่ง บ้านนาแวง ตำ�บลนาแวง อำ�เภอเขมราฐ จังหวัด อุบลราชธานี ได้มาเห็นฝีมือจึงได้นำ�ตัวไปฝากกับคณะหมอลำ� ทองลำ� เพ็งดี ซึ่งอยู่ในช่วงขาลง แต่มลฤดีก็ได้รวมกับคณะของ ทองคำ� เพ็งดี และ ฉวีวรรณ ดำ�เนิน ฟันฝ่าอุปสรรคจนสามารถมี โอกาสนำ�กลอนลำ�ที่ตนเองแต่งขึ้นเป็นครั้งแรกจากคำ�แนะนำ�ของ ทองคำ� เพ็งดี บันทึกเสียงในสังกัดบริษัทเสียงสยาม ในรูปแบบการ ลำ�ภูไท ในชุด “ สาวนักเรียนตำ�ตอจนได้รับการตอบรับเป็นอย่าง ดีจากมหาชนผู้รับฟัง ทำ�ให้ชื่อเสียงของมลฤดี พรหมจักร เป็นที่ รู้จักนับตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน และโอกาสบันทึกเสียงอีกหลายชุด ทั้งลำ�ภูไท ลำ�ผญาย่อย ลำ�ตังหวาย ลำ�คอนสะหวัน ฯลฯ จึงนับ ว่าเป็นศิลปินอีสานที่มีความสามารถในการขับลำ�ท้องถิ่นและเป็น เอกลักษณ์ที่โดดเด่นได้เป็นอย่างดี นางมลฤดี พรหมจักร จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ขับลำ�ท้องถิ่น) ประจำ� ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายสุดใจ เที่ยงตรงจิต (นิ้งหน่อง) ( ตลกอีสาน )

นายสุดใจ เที่ยงตรงจิต (นิ่งหน่อง) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ 14 ธันวาคม พุทธศักราช 2492 เกิดที่ บ้านหนองสะพัง ตำ�บล หนองบัวใต้ อำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู นายสุดใจ เที่ยงตรงจิต เป็นศิลปินที่มีพรสรรค์มีความ โดดเด่นด้านศิลปะการแสดงตลกเป็นคนสนุกสนาน สร้างสรรค์รูป แบบของการเล่นตลกอีสานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน โดย เส้นทางชีวิตหลังจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้กล่าวสู่เส้น ทางศิลปินหมอลำ�หมู่ ทำ�นองขอนแก่น คณะบรรจงศิลป์ อำ�เภอ เมือ จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับบทเป็นพระเอก และบทอื่นๆ ใน วรรณกรรมอีสานเรื่อง “ ท้าวแสนโฮง” รวมระยะเวลาในการเป็น หมอลำ�ประมาณ 10 ปี นอกจากนั้นความสามรถและศิลปะการละเล่นที่ทำ�ให้ใคร ต่อใครเห็นความสามรถจึงทำ�ให้เส้นทางชีวิตได้ก้าวเข้าสู่คณะลูกทุ่ง หมอลำ� คณะเพชรพิณทอง โดยการชกชวนของคุณนภดล ดวงพร

ซึ่งเป็นเจ้าของคณะตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2525 ได้แต่งบทเพลงใน แนวตลกให้กับสมาชิกในวง ได้คิดมุขตลกที่เป็นเอกลักษณ์แบบฉบับ สร้างความประทับใจ จนถึงปี พ.ศ. 2541 เนื่องจากสุขภาพที่ไม่แข็ง แรง จึงทำ�ต้องลาออกจากคณะเพชรพิณทอง ผลงานที่สร้างชื่อเสียง ประกอบด้วย นิ้งหน่องย่านเมีย ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ แจกข้าวหา ลุงแนบ และผลงานอื่นๆ มากกว่า 50 ชุด ทั้งในรูปแบบ วีดีโอ เทป คาสเซท ซึ่งถือเป็นต้นแบบของการเล่นตลกอีสาน นอกจากนั้นยัง ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับลูกศิษย์หลายคน เช่น แท็กซี่, ใหญ่หน้า ยาน, ชัย ,ชุมแพ, ฝ้ายเม็ดใน,จ่อย จุกจิก เป็นต้น นายสุดใจ เที่ยงตรงจิต จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ตลกอีสาน) ประจำ�ปี 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายทองสา ปากสี (ยายสำ�) ( ตลกอีสาน )

นายทองสา ปากสี หรือฉายาตลกที่รู้จักกันดีในบท “ยาย สำ�” จากคณะหมอลำ�รัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2496 อยู่บ้านเลขที่ 832/1 ถนนเจ้าเงาะ ตำ�บลในเมือง อำ�เภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น นายทองสา ปากสี เป็นศิลปินตลกที่ชาวอีสานขนานนามให้ ว่า ยายสำ�ขำ�กลิ้ง ที่ยืนหยัดคู่วงการหมอลำ�มามากกว่า 50 ปี ใน อดีตมีความรักและใฝ่เรียนรู้ศิลปะการแสดงหมอลำ�หมู่ โดยได้มา ฝึกเรียนหมอลำ�กับพ่อครูหมอลำ�บุญถือ หาญสุริย์ แห่งคณะรัตน ศิลปิ์อินตาไทยราษฎร์ บ้านสะอาด ตำ�บลบ้านเป็ด อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในขณะนั้นได้รับหน้าที่ในคณะหลายตำ�แหน่ง เช่น พิธีกร สอนหางเครื่องและตัดเย็บเครื่องแต่งกายนักแสดง ต่อ จากนั้นได้รับบทการแสดงตลกหน้าเวที ซึ่งถือว่าเป็นการมีตลกเป็น คณะแรกของหมอลำ� คือคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ และได้รับ การตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี ด้วยความสามารถหลายด้าน ทั้งการลำ� และการแสดงด้าน เวที โดยเฉพาะการแสดงตลกซึ่งถือว่าเป็นพรสวรรค์ส่วนตัวที่ได้ พัฒนาจนกลายเป็นจุดเด่น และเป็นจุดขายให้กับการแสดงของ คณะหมอลำ�รัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ จนมีผลงานตลกประกอบ

การแสดงหมอลำ�ออกมาหลายชุดผลงานที่สร้างชื่อเสียง คือ ตลก ชุด “ ยายสำ�ขำ�กลิ้ง” อันเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงในฐานะตลก อีสาน หรือตลกหมอลำ� ที่มีความสามารถสูงท่านหนึ่ง อีกทั้งยัง มีผลงานออกมาอีกหลายชุดต่อเนื่อง จึงนับว่าความสามารถด้าน การแสดงตลกของทองสาปากสี หรือยายสำ�ที่คนทั่วไปรู้จัก ได้ช่วย สร้างเสน่ห์ สีสันให้กับวงการแสดงหมอลำ�ได้ที่เดียว จึงปฎิเสธไม่ ได้ว่าความสำ�เร็จของหมอลำ�คณะรัตนศิลป์ ฯ ส่วนหนึ่งมาจากผล งานการแสดงของทองสาปากสีนั้นเอง จึงนับว่าท่านเป็นศิลปินตลกที่ได้วางรากฐานการแสดง ตลกให้กับหมอลำ�คณะใหญ่ ที่ต่อมาได้มีการนำ�ตลกไปประยุกต์ใช่ อีกหลายคณะ นอกจากนั้นท่านยังมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปะการแสดงหมอลำ�และตลกหมอลำ� ให้คงไว้กับคนรุ่นหลัง โดย การให้ความรู้ ฝึกสอนสำ�หรับผู้ที่สนใจ โดยเริ่มจากในคณะ และ ผู้สนใจทั่วไป เพื่อรักษามุนมังมรดกด้านศิลปะการแสดงหมอลำ� และตลกหมอลำ�สืบไป นายทองสา ปากสี จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ตลกอีสาน) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายเทียม เศิกศิริ (ดาว บ้านดอน) ( ขับร้องเพลงลูกทุ่ง )

นายเทียม เศิกศิริหรือ ดาวบ้านดอน เกิดที่บ้าน บ้านดอนมะ ยาง ตำ�บลตลาดทอง อำ�เภอเมือง จังหวัดยโสธร มีพี่น้องทั้งหมด 7 โดยเป็นคนที่ 6 ของครอบครัว เกิดวันศุกร์ พุทธศักราช 2493 จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านดอนมะยาง จากนั้นก็มาช่วยครอบครัวทำ�ไร่นา แต่เมื่อมีเวลาว่างชอบที่จะมาทำ� หน้าที่เด็กวัดบ้านดอนมะยาง ที่อยู่แถวบ้านเนื่องจากโปรดปราน การได้ขึ้นมาร้องเพลงลูกทุ่งบนหอระฆังของวัด เมื่ออายุ 12 ปีได้ บวชเป็นสามเณรที่วัดนี้ และสอบได้เปรียญธรรมชั้นตรี ระหว่างนั้น เขายังคงชื่นชอบการร้องเพลงอยู่ แต่ไม่สามารถร้องได้เพราะผิดศิล เพื่อหาทางเขาตัดสินใจสมัครเรียนการเทศน์มหาชาติกับพ่อครูปลัด บุญมี (ไม่ทราบนามสกุล) บ้านขี้เหล็ก ก่อนจะไปเรียนเพิ่มเติมกับ อาจารย์ตา (ไม่ทราบนามสกุล) บ้านนาดีน้อย เขาฝึกเรื่องนี้อยู่ 2 ปี จนชำ�ชอง และกลายเป็นสามเณรเสียงดี ที่ตระเวนเทศน์ในหลาย พื้นที่จนผู้คนเรียกว่าเณรบ้านดอน โดยใช้ระยะเวลาบวช 8 พรรษา ด้วยพรสวรรค์ในน้ำ�เสียงที่มีความไพเราะและมีเอกลักษณ์ที่โดด เด่นและมีความสนใจชื่นชอบในการเป็นนักร้อง จึงได้ลาสิกขาบท ไปประกวดร้องเพลงหลายเวที และทุกเวทีก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมา โดยตลอด ด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการอัดแผ่นเสียงอย่างศิลปินที่ มีชื่อเสียง จึงทดลองแต่งเพลงด้วยตนเอง โดยไปประกอบอาชีพทำ� สวนปอเพื่อหารายได้ ซื่อหนังสือเพลงมาศึกษาแนวการแต่งเพลง และได้แต่งบทเพลงแรกคือ “ หนุ่มยโสธร” หลังจากนั้นจึงไปบันทึก

เสียงแล้วนำ�ออกมาเผยแพร่สถานีวิทยุต่างๆ ที่จังหวัดร้อยเอ็ดก็ เป็นที่ชื้นชอบของนักร้องเพลงที่จังหวัดร้อยเอ็ด จนเพลงติดอันดับ 1 ของร้อยเอ็ดอยู่หลายสัปดาห์ ทำ�ให้ในที่สุด เทพบุตร สติรอด ชมพู เจ้าของวงดนตรีและคณะหมอลำ�ชื่อดังของภาคอีสาน ต้อง รุดมาเอาตัวดาว บ้านดอนไปร่วมงานด้าย โดยส่งเข้าไปประจำ�คณะ หมอลำ�เพชรสยาม ดาว บ้านดอน ในฐานนักร้องอย่างเต็มภาคภูมิ ออกแสดงครั้งแรกที่สุรินทร์ การเดินสาย ทำ�ให้เพลงหนุ่มยโสธร ของโด่งดังมาขึ้น เขาจึงได้แต่งเพลงเพิ่มอีกหลายเพลง ซึ่งได้รับ ความนิยมอย่างมาก เทพบุตร สติรอดชมพู จึงตั้งวงดนตรีดาว บ้านดอนให้เขาจากนั้นในปี 2516 ดาว บ้านดอน ก็มาโด่ง ดังอย่างสุดๆ จากเพลงลำ�เพลินเจริญใจ เพลงนี้ทำ�ให้งานเพลงเก่าๆ ของ และการแสดงหน้าเวทีได้รับความนิยมตามไปด้วย ดาว บ้านดอน มีผลงานออกมาหลายชุด ผลงานที่สร้างชื่อ เสียงให้กับเขา คือ “ คนขี่หลังควาย” ได้รับรางวัลเสาอากาศทอง พระราชทานปี 2519 และได้รางวัลเพลงเดียวกันจากโครงการ กึ่ง ศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 2 ปี 2534 อัน เป็นบทเพลง ที่ประพันธ์ด้วยตัวเอง จึงเป็นผู้มีความสามารถทั้งขับร้องและ ประพันธ์ นายเทียม เศิกศิริ จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายสนธิ สมมาตร ( ขับร้องเพลงลูกทุ่ง )

นายสนธิ สมมาตร เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พุทธศักราช 2494 ที่บ้านทุ่ง ตำ�บลแดงหม้อ อำ�เภอเขื่อนใน จังหวัดอุบลราชธานี สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนศรีทองวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี และได้บวชเป็นสามเณรในระยะต่อมา ด้วย ความที่เป็นสามเณรนักเทศน์ ที่มีน้ำ�เสียงอันไพเราะมาตั้งแต่เด็ก และยังความสนใจในด้านเพลงลูกทุ่งจึงได้ลาสิกขาบท เพื่อตาม หาความฝันของตนเองโดยเขามาทำ�งานที่โรงงานเฟอร์เจอร์แห่ง หนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยมีความตั้งใจที่จะเรียนและทำ�งานไป ด้วยต่อจากนั้นได้ไปทำ�งานเป็นบริการในร้านอาหารแอนนี่บาร์ อยู่ แถวเพชรบุรีตัดใหม่ จึงมีโอกาสประกวดร้องเพลงตามงานวัดที่ใกล้ ที่พัก และได้ประกวดร้องเพลงตามสถานที่ต่างๆ เรื่อยมา จนเมื่อ ปี พุทธศักราช 2514 ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดร้องเพลง ที่วัดอุทัยธาราม ซึ่งเพลงที่ใช่ในประกวดได้เลียนแบบแนวเสียง ของ ทูล ทอง ใจ ซึ่งเป็นนักร้องในวงที่ชื่อ 181 คอบโบ ซึ่งเป็นวงของคุณ ปรีชา จิตะรัตน์ ต่อจากนั้นได้มาร่วมร้องเพลงกับวงขวัญจิต ศรีประ จันท์ ด้วยน้ำ�เสียงอันไพเราะของคุณสนธิ สมมาตร ทำ�ให้ได้โอกาส อัดแผ่นเสียงครั้งแรกในปี พุทธศักราช 2515 เพลงที่บันทึกเสียง คือ ฟ้าร้องที่หนองหาร ออกพรรษาที่เชียงคาน และ เพลงฮักเหลือเดน

อัดแผ่นเสียงครั้งแรกใช่ชื่อว่า “ คม ศีรีบูน” ปีพุทธศักราช 2518 จึงได้เปลี่ยนชื่อ “ สนธิ สมมาตร” โดยอาจารย์พงษ์ศักดิ์ จันทรุก ขา เป็นผู้ตั้งให้ เป็นการประเดิมอัลบั้มเพลง ชุดใหม่ คือ “ ด่วน บ.ข.ส. ซึ่งเป็นเพลงที่ดังมากในขณะนั้น ตามด้วยบทเพลงประกอบ ภาพยนตร์ เรื่อง “ มนต์รักแม่น้ำ�มูล” ซึ่งมีหลายบทเพลง อาทิ ลูกทุ่งคนยาก คืนลาอาลัย แต่งงานกันเด้อ และมีผลงานในอัลบั้ม อื่นๆตามมาอีกมาก ด้วยพรสรรค์ในน้ำ�เสียงที่เป็นแบบฉบับของตนเอง จึงทำ�ให้ ผลงานเพลงของสนธิ สมมาตร ประทับอยู่ในความทรงจำ�ของผู้ฟัง อย่างไม่รู้ลืม แม้ว่าจะผ่านยุคสมัยที่มีชื่อเสียงไปแล้ว แต่ด้วยความ ที่สนธิ สมมาตรเป็นดั่งภาพสะท้อนอัตลักษณ์อีสานในบทเพลงที่ แสนไพเราะแว่วหวานปนเศร้า หวนนึกถึงภาพของภูมิ ลักษณ์พื้นที่วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมอีสานได้อย่างมีชีวิต อันเป็นความงดงามในวิถีวัฒนธรรมที่ควรได้รับการกล่าวถึงเพื่อ สืบสาน พัฒนา ให้เป็นมรดกชาวอีสานสืบไป นายสนธิ สมมาตร จึงได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นางสุภาพ ดาวดวงเด่น ( ขับร้องเพลงลูกทุ่ง )

นางสุภาพ ดาวดวงเด่น หรือฉายา “ สุภาพน้อยนกเนา หอง” เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2499 ณ บ้านภูเงิน ตำ�บลหนองกุง อำ�เภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สำ�เร็จการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวักศรีกัลยานุสรณ์ ด้วยมีฐานะ ทางบ้านยากจน เด็กหญิงสุภาพ จึงต้องหาวิธีการหาเงินมาจุนเจือ ครอบครัว หนึ่งอาชีพที่หารายได้ในยุคนั้นคือ หมอลำ� ซึ่งเป็นความ ใฝ่ฝันอีกประการหนึ่งของเธออีกด้วย จึงตัดสินใจไปเรียนหมอลำ� กลอนจากอาจารย์บัวพา พันแสน ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในทำ�นอง อุบลเมื่อมีความสามารถมรการลำ�ได้เป็นอย่างดีแล้ว จึงออกรับการ แสดง และพัฒนาผลงานการแสดงหน้าเวทีจนได้รับสมญานามว่า “ สุภาพน้อยนกเขาหอง” มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วภาคอีสาน ต่อ จากนั้นได้มาสังกัดสมาคมหมอลำ� พ่อมหันต์ นครไชย จังหวัด มหาสารคาม และได้เป็นศิลปินหมอลำ�เรื่องต่อกลอน รับบทเป็น นางเอก ให้กับคณะเพชรบูรชาพา ด้วยความสามารถและพรสรรค์ ในการลำ� มีน้ำ�เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ทำ�ให้ได้มีโอกาสบันทึกแผ่น เสียง กับ คุณเทพบุตร สติรอดชมพู และกับบริษัทเสียงสยามแผ่น เสียง ในรูปแบบทั้งการลำ�ในรูปแบบต่างๆ และการขับร้องเพลงลูก ทุ่งไทยอีสาน

สุภาพ ดาวดวงเด่น มีผลงานด้านเพลงลูกทุ่งไทยอีสาน ออกมาหลายชุด แต่ที่สร้างชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโด่งดังในขณะนั้น คือ คึดฮอดเสียงซอ ลำ�เพลินสลับเต้ย โดยเฉพาะเพลงคึดฮอดเสียง ซอเป็นเพลงที่นำ�เสียงซอ มาประกอบบทบาทเพลงลูกทุ่งอีสานเป็น ครั้งแรก ซึ่งทั้งสองบทเพลงนี้ทำ�ให้มหาชนได้กล่าวถึงตลอดเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีอีกหลายผลงานที่ยังอยู่ในความทรง จำ�ของผู้ฟังไม่รู้ลืม ด้วยความมุ่งมั่น พยายามต่อสู้กับอุปสรรคนานัปการกว่า จะมาเป็นหมอลำ� และเป็นเจ้าของผงงานเพลงลูกทุ่งอีสานที่ได้รับ ความนิยมนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำ�หรับชีวิตศิลปินสานคนหนึ่ง แต่ ปัจจุบันเธอได้ประสบความสำ�เร็จในอาชีพการงานในฐานะเจ้าของ กิจการ และยังช่วยเหลือสังคมในโอกาสต่างๆ โดยได้ใช้ความ สามารถในความเป็นศิลปินของเธอเสมอมา นางสุภาพ ดาวดวงเด่น จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ( ดนตรีพื้นบ้าน โหวด )

นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์เกิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พุทธศักราช 2498 ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ในครอบครัวของนักดนตรี พื้นบ้าน จึงได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่ในวงดนตรีมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ส่ง ผลทำ�ให้เกิดความสนใจในเครื่องดนตรีทุกประเภท ทั้ง พิณ แคน โปงลาง รวมถึงโหวด จึงได้เรียนรู้จากคนใกล้ชิดในครอบครัวบ้าง จาดนักดนตรีอาชีพบ้าง จนสามารถพัฒนาทักษะ เชิงชั้นการดนตรี อีสานขึ้นอย่างต่อเนื่องในเครื่องดนตรีแทบทุกชนิด ซึ่งสามารถนำ� มาเล่นร่วมกับ พิณ แคน และโปงลาง ในช่วงพุทธศักราช 2519 นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ เริ่มตั้งวงดนตรีเล็กๆ ขึ้นในหมู่บ้าน โดยการรวมญาติพี่น้องสาน ตระกุลมาร่วมเล่น ในนามวง “ โหวดเสียงทอง” ซึ่งเป็นวงดนตรี พื้นบ้านของจังหวัดร้อยเอ็ดที่นำ�มาเสนอศิลปะพื้นบ้าน ทั้งที่เป็น แบบอนุรักษ์นิยม ผสมกับความทันสมัยตามค่านิยมในขณะนั้น ความโด่งดังของคณะโหวดเสียงทอง ซึ่งมีนายทรงศักดิ์ ประทุมสิ นธุ์ เป็นผู้บรรเลงโหวด ทำ�ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วจังหวัดร้อยเอ็ดและ จั งหวั ดใกล้ เ คี ย งและยั งส่ง ให้ท่านได้เ ป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะดนตรี ในด้านนี้ในสถาบันการศึกษาชั้นนำ�ของภาคอีสาน อาทิ วิทยาลัย นาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และมหาวิทยาลัยสารคาม รวมทั้งได้รับเชิญเป็น อาจารย์พิเศษในสถาบันกลางหลายแห่ง นอกจากนั้น ความชำ�นาญ

พิเศษในการบรรเลงโหวดของนายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ทำ�ให้ โหวดกลายเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด ในเวลาต่อมาและได้รับการเชื้อเชิญนำ�ผลงานเผยแพร่ในรูปแบบ ต่างๆ อาทิ บันทึกเทป บรรเลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งก็ส่งผลให้ ตัวท่านได้รับชื่อเสียงมาขึ้นตามลำ�ดับ และได้เดินทางไปแสดงฝีมือ ในการบรรเลงดนตรีอีสานในต่างประเทศมากว่า 10 ประเทศ จน กระทั่งปัจจุบันท่านยังทำ�หน้าที่ ขับเคลื่อนวัฒนธรรมด้านดนตรี พื้นบ้านอีสานอันทรงคุณค่าต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์นับเป็นบุคคลตัวอย่างทางด้าน วัฒนธรรมที่น่ายกย่องท่านหนึ่งเนื่องจากเป็นผู้มีความรู้มีความสาม รถในการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านอีสาน ในระดับสูงหลายประเภท เช่น พิณ แคน โปลง และโหวด เป็นต้น นับว่าเป็นผู้ทำ�หน้าที่ สืบสาน ถ่ายทอด เผยแพร่และพัฒนา วัฒนธรรมทางด้านดนตรีพื้น บ้านอีสานให้คงอยู่เป็น มูงมัง แห่งบรรพชน ส่งผลสู่ลูกหลานในยุค ต่อไป นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง ( ดนตรีพื้นบ้าน โหวด ) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายสมบัติ สิมหล้า ( ดนตรีพื้นบ้าน แคน )

นายสมบัติ สิมหล้า เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พุทธศักราช 2506 ที่บ้านวังไฮอำ�เภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เมื่อแรกเกิดสมบัติ สิมหล้า ประสบ อุบัติเหตุมีผลทำ�ให้ดวงตามองไม่เห็น แต่ด้วยจิตใจที่ไม่เคยยอมแพ้ การมองไม่เห็นจึงไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของเขา เมื่ออายุได้ 6 ขวบ บิดาจึงได้หัดให้เป่าแคน โดยได้ถ่ายทอด ความรู้เทคนิคในการเป่าแคน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ความคิด ความรู้สึก อีกทั้งยังสามารถเป็นอาชีพให้กับสมบัติผู้มีดวง ตาพิการ เมื่อมีความรู้มีประสบการณ์ในการเป่าแคนเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้เข้าวงการเป่าแคนเมื่ออายุได้ 14 ปี โดยเป่าแคนให้กับหมอลำ� กลอนในละแวกบ้าน จนถึงระดับศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย เพราะ เป็นหมอแคนที่มาความสามารถในลีลาการเป่าแคนที่เป็นแบบฉบับ ของตนเอง อีกทั้งมีทักษะในขั้นสูงสามารถประยุกต์เทคนิคการเป่า แคนได้หลายรูปแบบ จนเป็นที่ชื่นชอบของหมอลำ� และผู้ชมผู้ฟัง เรื่อยมา สมบัติ สิมหล้า จึงเป็นศิลปินตาบอดที่มีความสามารถโดด เด่น มีพรสรรค์ และพรแสวงในตัวมุ่งมัน ต่อสู้กับชีวิต โดยไม่ ท้อถอย สามารถเกินคนธรรมดาสายตาดีทั่วไป เห็นได้ว่าความ

สามารถของท่านส่งผลให้มีผู้เชื่อเชิญไปแสดงการเป่ า แคนตาม งานการกุศลต่างๆ มากมาย จนได้รับโอกาสบันทึกเสียงให้กับ หมอลำ�ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน และยังมีผลงานเดี่ยวแคน และ บรรเลงในรูปวงอีกหลายชุด ทำ�ให้ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับ ประเทศ ด้วยความสามารถและทุ่มเทในการเป่าแคน และการ ถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่องตลอดมา ส่งผล ให้ได้มีโอกาสร่วมงานระดับประเทศหลายงาน อาทิ ร่วมแสดง วงดนตรี “ฟองน้ำ�” ตลอดจนแสดงโชว์แคนกับรายการโทรทัศน์ หลายๆ ช่อง อีกทั้งได้รับเกียรติเป็นวิทยากรในการบรรเลงแคน ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงโอกาสไปแสดงต่างๆ ประเทศหลายครั้ง ไม่เพียงเท่านั้นท่านยังถึงว่าเป็นหมอแคนที่รับ เกียนติร่วมแสดงกับวงดนตรีออเคสตร้าที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ และระดับโลกเป็นท่านแรกของเมืองไทยอีกด้วย จนได้รับสมญาว่า หมอแคนอัจฉริยะกลมกลืน จึงเป็นมรดกให้อนุชนรุ่นหลังฝากเอา ไว้กับผืนดินอีสานต่อไปตราบนาน นายสมบัติ สิมหล้า จึงควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน แคน ) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายเรวัฒน์ สายันเกณะ (หนุ่มภูไท) ( ดนตรีพื้นบ้าน พิณ )

นายเรวัฒน์ สายันเกณะหรือ “หนุ่มภูไท” เป็นชาวจังหวัด กาฬสินธุ์ เมื่อครั้งเป็นเด็ก มีความหลงใหลในดนตรีพื้นบ้านอีสาน ทุกประเภทรวมถึงพิณที่เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำ� ตัวในเวลาต่อมา โดยมีแรงบัลดาลใจจากพี่ชายที่เป็นนักดนตรี ทั้ง จากการเรียนโดยตรงจากพี่ชายทำ�ให้เกิดความเชี่ยวชาญมาเป็น ลำ�ดับ ได้รับเล่นตามงานต่างๆ ทั้งได้เงินและไม่ได้เงิน เพื่อเป็นการ หาประสบการณ์ แรกเริ่มได้เข้าเป็นสมาชิกคณะลำ�วง ชื่อว่า“คณะ ดอกฟ้าเพชรภูไท” จนสามารถเก็บเงินชื่อกีตาร์เป็นของตนเอง ด้วยความรักในเสียงดนตรีจึงออกเดินทางแสวงหา โดยในช่วง แรกได้ไปใช่ชีวิตเล่นดนตรีอยู่ที่เวียงจันทน์ ประเทศลาวเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นได้เดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร ในระหว่างที่หา ประสบการณ์เล่นดนตรีที่ต่างๆ ก็ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในด้าน ดนตรีไปด้วย จนได้มีโอกาสทำ�เพลงร่วมกับ สรเพชร ภิญโญ ใน บทเพลง “ หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ” ซึ่งในสมัยนั้นได้รับการตอบ รับจากแฟนเพลงอย่างท่วมท้น หลังจากนั้นได้เข้ามาเป็นผู้ผู้อยู่เบื้องหลังการทำ�ดนตรีใน ห้องบันทึกเสียง สำ�หรับศิลปินดังหลายท่านที่ต้องการนำ�เครื่อง ดนตรีอีสานมาใช้ประกอบ หลายบทเพลงที่โด่งดังในอดีตก็มาจาก ฝีมือของหนุ่มภูไทนี้เองจนมีผู้รู้จักชื่อเสียง หนุ่มภูไท ในฐานะผู้ทำ�

ดนตรีมือหนึ่งของภาคอีสานทที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจาก ในอดีตด้วยการสอดแทรกเสียงของเครื่องดนตรีอีสานเข้ามาใน บทบาทเพลงลูกทุ่ง เช่น แคน พิณ โปงลาง โดยเฉพาะพิณ ที่ท่าน ถนัด ทำ�ให้ได้รับความไว้วางใจจากศิลปินอีสานมากที่สุดคนหนึ่งใน ยุคสมัยนั้น แม้ปัจจุบันก็ยังมีงานไม่ขาดมือ เกียรติประวัติ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ�พระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้รับสร้างสรรค์ บทเพลง “ แผ่นดินพ่อ” ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี (สมเด็จย่า) ในปีพุทธศักราช 2540 และได้รับรางวัลพระ พิฆเนศทองคำ� อีกด้วย จึงนับว่าท่านเป็นผู้สร้างสรรค์ แนวทางดนตรีพื้นบ้านอีสาน ให้ที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนในวงกว้างโดยการประยุกต์กับลีลาของ ลูกทุ่ง อันเป็นกลิ่นไอของเพลงลูกทุ่งอีสานในระยะต่อมา นับว่าเป็น การนำ�นูมมังมรดกของอีสาน ต่อยอดพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า สถาพรต่อไป นายเรวัฒน์ สายันเกณะ จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน พิณ ) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายเพ็ชรทาย วงษ์คำ�เหลา (หม่ำ� จ๊กม๊ก) ( ภาพยนตร์ )

นายเพ็ชร วงษ์คำ�เหมา หรือ “ หม่ำ� จ๊กม๊ก” เกิดที่จังหวัด ยโสธร จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนเทศบาลสามัคคี วัฒนา และระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนศรีธรรมวิทยา จังหวัดยโสธร เพ็ชรทาย วงษ์คำ�เหลา ชื่นชอบดูหนังฟังเพลง ดูลิเก มา ตั้งแต่เป็นวัยเด็ก มีความคิดเป็นของตนเองมีความมั่นใจ มีความคิด ริเริ่มไม่หยุดนิ่ง ชอบดูภาพยนตร์ทุกประเภท เนื่องจากอยู่ใกล้กับโรง ภาพยนตร์ยโสธรรามา ย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจึงเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ และลองหาประการณ์กับการอยู่คณะวงดนตรีลูกทุ่งหลายคณะเช่น สดใส่ รุ่งโพธิ์ทอง ปฤษณา วงศ์ศิริ และเนื่องจากเป็นคนที่มีความ สามารถรอบด้าน รื่นเริงคุยสนุก พูดเก่ง จึงได้มีโอกาสได้เล่นตลกหน้า เวที และรวมถึงคาเฟ่ จนได้มีโอกาสได้พบกับ สุเทพ โพธิ์งามซึ่งเป็นทั้งอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาและ เพื่อนร่วมงาน ได้นำ�เพชรทาย เข้าสู่วงการตลกอย่างจริงจังในนาม สมาชิกของคณะเทพ โพธิ์งาม ที่โด่งดัง และชื่อของหม่ำ� จ๊กม๊ก ก็ เป็นชื่อที่คนรู้จักทั่วประเทศนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนได้รับการกล่าว ขานว่าเป็นดาวรุ่งของวงการตลกรุ่นใหม่ที่มีรูปแบบการแสดงสดใหม่ ไม่เหมือนใคร กล้าแสดงออก โดยใช้ไหวพริบปฎิภาณในการโต้ตอบ ได้ถึงใจผู้ชม เมื่อมีชื่อเสียงโด่งดังจึงมีงานแสดงภาพยนตร์เข้ามาไม่ ขาด ในส่วนของการแสดงตลกได้แยกคณะออกมาตั้งเองในนามคณะ หม่ำ� จ๊กม๊ก ในช่วงนั้นเข้าได้โอกาสในการพัฒนารูปแบบการแสดงที่ เข้าตั้งใจ อีกทั้งยังได้เข้ามาทำ�หน้าที่พิธีกรให้กับ บริษัทเวิร์คพ้อยท์ เริ่มจากรายการชิงร้อยชิงล้าน และอีกหลายรายการ เช่น รายการเวที ทองรายการระเบิดเถิดเทิง รายการชัยบดินทร์โชว์ รายการหม่ำ�โชว์ รายการมหานคร จนมีชื่อเสียงไปทั่ว

สำ�หรับในด้านของภาพยนตร์แล้ว เพ็ชรทาย วงษ์คำ�เหลา ได้ ทุ่มเทกับงานสร้างภาพยนตร์อย่างเต็มที่โดยสร้างสมประสบการณ์ ต่างๆ ไปพร้อม กับการลงมือปฏิบัติ ได้ทดลองทำ�หนังอย่างต่อเนื่อง จนพัฒนาเป็นรูปแบบเฉพาะตัวที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะการสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของอีสานผ่านผลงานทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสอดแทรกภาพท้องถิ่น วิถีชีวิตของตัวละครรวมถึง พฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นอีสานในตัวละครทุกเรื่อง ภาพยนตร์ ที่ประสบผลสำ�เร็จ เช่น แหยมยโสธร ภาค 1 ภาค 2 บอดี้การ์ดหน้า เหลี่ยม 1 และ 2 และสิ่งที่เป็นจุดเน้นที่สำ�คัญในงานภาพยนตร์ของ เขาทุกเรื่อง คือ ความสนุกสนาน ตามแบบอย่างของชาวอีสานขนาน แท้ เพ็ชรทาย วงษ์คำ�เหลา ได้ก่อตั้งบริษัทหนังสื่อ บริษัท บั้งไฟฟิล์ม จำ�กัด เพื่อทำ�หนังที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวใน แบบอีสาน ที่สามารถพื้นที่ส่วนแบ่งการตลาดในระดับประเทศ อัน เป็นความสำ�เร็จของการสร้างความภูมิใจในความเป็นคนอีสานใน ระดับมวลชน ให้เกิดการยอมรับ และในปีพุทธศักราช 2548 ได้ รับปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสื่อสารมวลชน คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง และในปีเดียวกันก็ได้เข้ารับ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย ลัยราชภัฎร้อยเอ็ด นายเพ็ชรทาย วงษ์คำ�เหลา จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง(ภาพยนตร์) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


นายเรวัฒน์ สายันเกณะ (หนุ่มภูไท) ( ดนตรีพื้นบ้าน พิณ )

นายเรวัฒน์ สายันเกณะหรือ “หนุ่มภูไท” เป็นชาวจังหวัด กาฬสินธุ์ เมื่อครั้งเป็นเด็ก มีความหลงใหลในดนตรีพื้นบ้านอีสาน ทุกประเภทรวมถึงพิณที่เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำ� ตัวในเวลาต่อมา โดยมีแรงบัลดาลใจจากพี่ชายที่เป็นนักดนตรี ทั้ง จากการเรียนโดยตรงจากพี่ชายทำ�ให้เกิดความเชี่ยวชาญมาเป็น ลำ�ดับ ได้รับเล่นตามงานต่างๆ ทั้งได้เงินและไม่ได้เงิน เพื่อเป็นการ หาประสบการณ์ แรกเริ่มได้เข้าเป็นสมาชิกคณะลำ�วง ชื่อว่า“คณะ ดอกฟ้าเพชรภูไท” จนสามารถเก็บเงินชื่อกีตาร์เป็นของตนเอง ด้วยความรักในเสียงดนตรีจึงออกเดินทางแสวงหา โดยในช่วง แรกได้ไปใช่ชีวิตเล่นดนตรีอยู่ที่เวียงจันทน์ ประเทศลาวเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นได้เดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร ในระหว่างที่หา ประสบการณ์เล่นดนตรีที่ต่างๆ ก็ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในด้าน ดนตรีไปด้วย จนได้มีโอกาสทำ�เพลงร่วมกับ สรเพชร ภิญโญ ใน บทเพลง “ หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ” ซึ่งในสมัยนั้นได้รับการตอบ รับจากแฟนเพลงอย่างท่วมท้น หลังจากนั้นได้เข้ามาเป็นผู้ผู้อยู่เบื้องหลังการทำ�ดนตรีใน ห้องบันทึกเสียง สำ�หรับศิลปินดังหลายท่านที่ต้องการนำ�เครื่อง ดนตรีอีสานมาใช้ประกอบ หลายบทเพลงที่โด่งดังในอดีตก็มาจาก ฝีมือของหนุ่มภูไทนี้เองจนมีผู้รู้จักชื่อเสียง หนุ่มภูไท ในฐานะผู้ทำ�

ดนตรีมือหนึ่งของภาคอีสานทที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจาก ในอดีตด้วยการสอดแทรกเสียงของเครื่องดนตรีอีสานเข้ามาใน บทบาทเพลงลูกทุ่ง เช่น แคน พิณ โปงลาง โดยเฉพาะพิณ ที่ท่าน ถนัด ทำ�ให้ได้รับความไว้วางใจจากศิลปินอีสานมากที่สุดคนหนึ่งใน ยุคสมัยนั้น แม้ปัจจุบันก็ยังมีงานไม่ขาดมือ เกียรติประวัติ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ�พระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้รับสร้างสรรค์ บทเพลง “ แผ่นดินพ่อ” ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี (สมเด็จย่า) ในปีพุทธศักราช 2540 และได้รับรางวัลพระ พิฆเนศทองคำ� อีกด้วย จึงนับว่าท่านเป็นผู้สร้างสรรค์ แนวทางดนตรีพื้นบ้านอีสาน ให้ที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนในวงกว้างโดยการประยุกต์กับลีลาของ ลูกทุ่ง อันเป็นกลิ่นไอของเพลงลูกทุ่งอีสานในระยะต่อมา นับว่าเป็น การนำ�นูมมังมรดกของอีสาน ต่อยอดพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า สถาพรต่อไป นายเรวัฒน์ สายันเกณะ จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน พิณ ) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2550 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2550


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.