ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
สาขา
ทัศนศิลป์
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
นายอิสระ หลาวทอง ( จิตรกรรมร่วมสมัย )
นายอิสระ หลาวทอง เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2488 ที่อำ�เภออุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ ได้เสียชีวิตลงเมื่อเดือน มีนาคม 2551 รวมอายุ 63 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก โรงเรียนรัตนบุรี จ.สุรินทร์ ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกำ�แพง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ปี 2512 เข้าศึกษาด้านศิลปะที่โรงเรียน เพาะช่างใน ในปี พ.ศ.2544 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรม สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ผลงานที่สำ�คัญ ได้แก่ การกำ�กับศิลป์ภาพยนตร์ เรื่อง ครู บ้านนอก (ภาพยนตร์ได้รับรางวัลภาพยนตร์ดีเด่นจากเมืองทัชเคน ท์ รัสเซีย) และเขียนภาพประวัติศาสตร์วีรกรรมทหาร ติดตั้งที่กอง บัญชาการทหารบกเขียนภาพวิถีชีวิตชนบทอีสาน เพื่อสะท้อนให้ เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน และได้นำ�ผลงานร่วมแสดง งานศิลปะเพื่อการกุศลหลายแห่ง อาทิ ปี2535 ร่วมงานศิลปกรรม กลุ่มจางวาง ณ โรงแรมเพชรเกษม จ.สุรินทร์ ปี 2536 ร่วมงาน ศิลปกรรมร่วมสมัย รวมใจศิลปินในวโรกาสปิยมหาราชรำ�ลึก ที่อืม พีเรียลควีนปาร์ค ปี 2537 ร่วมแสดงงานจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 18 ปี 2538 ร่วมแสดงงาน ปี โอ ไอ แฟร์ ที่โรงแรมรอยัลพลาซ่า พัทยา ปี 2539 ร่วมแสดงผลงานมหกรรมศิลปะเฉลิมพระเกียรติ กาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ที่ซีคอนสแควร์ ร่วม
แสดงงานนิทรรศการศิลปกรรมเทิกพระเกียรติ สมเด็จพระพี่นางเจ้า พระบรมราชินีนาถ สภากาชาดไทย ณ โงแรมอิมพีเรียล เกียรติประวัติ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ผลงานดีเด่นทาง วัฒนธรรม เขตการศึกษา 11 สาขาจิตรกรรมของสภาวัฒนธรรม จังหวัดศรีสะเกษ กรมวิชการกระทรวงศึกษาธิการได้นำ�งานศิลปะลง ตีพิมพ์ประกอบการเรียนการสอนในหนังสือ ศิลปศึกษา ศ.203-ศ. 204 ศิลปะกับชีวิต เล่ม 3-4 และหนังสือ “ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น” นายอิสระ หลาวทอง เป็นศิลปินด้านจิตรกรรมเหมือนจริง แนวจินตนิยม โดยได้สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องมากกว่า 30 ปี จึงมี ผลงานมากมาย ผลงานส่วนใหญ่สะท้อนความงามของวิถีชนบท สื่อ ความเอื้ออาทร ความเลื่อมล้ำ�ทางสังคม จึงนับว่าท่านได้สร้างผล งานอันล้ำ�ค่าฝากไว้เป็นมรดกต่อวงการศิลปกรรมร่วมสมัยและสังคม อีสาน สืบไป นายอิสระ หลาวงทอง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้ เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (ประเภทจิตรกรรมร่วมสมัย) ประจำ�ปี 2551 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
นายทอง ล้อมวงศ์
( หัตถกรรมทองเหลือง )
สาขา
วรรณศิลป์
นายทอง ล้อมวงศ์ 14 เมษายน พุทธศักราช 2468 ที่บ้าน ปะอาว ต.หนองขอน จ.อุบลราชธานี สำ�เร็จการศึกษาระดับประถม ศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านปะอาว นอกจากประกอบอาชีพหลัก คือการทำ�นาตามบรรพบุรุษเหมือนกับคนทั่วไปแล้ว เด็กขายของ กับมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นช่างหล่อทองเหลือง สืบทอดเจตนารมผู้ เป็นปู่ ผู้ที่ได้เชื่อว่ามีความสามารถในวิชาหล่อทองเหลืองฝีมือดีที่สุด ของบ้านปะอาวสมัยนั้น นายทอง ล้อมวงศ์ จึงเริ่มต้นการเรียนรู้วิชาช่างหล่อทอง เหลืองอย่างจริงจัง โดยมีปู่เป็นผู้ถ่ายทอดทั้งการออกแบบ การแกะ ลวดลาย จนมีความชำ�นาญและมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัน เป็นวิชาที่ไม่มีในตำ�รา แต่เป็นการสืบทอดจากตัวบุคคล ซึ่งต้อง แสวงหาความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง จนมีความสามารถมาเป็นลำ�ดับ สามารถพัฒนาต่อยอดผลงานขึ้น จากในอดีต จนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ทำ�ให้งานทองเหลืองเป็น ที่นิยมอีกครั้ง จากนั้นเป็นต้นมา ด้วยความรู้ความสามารถในงานหัตถกรรม ช่างทองเหลือง ท่านได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้น
จากในครอบครัว จนมีความชำ�นาญจากนั้นขยายไปยังเพื่อนบ้านที่ สนใจในหมู่บ้านปะอาวที่เข้ามาเรียนและทำ�งานร่วมกัน จนกระทั้ง มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมีลูกศิษย์ลูกหามาขอมาเรียนรู้ด้วยจำ�นวน มาก จนทำ�ให้ท่านได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ในด้านหล่อทอง เหลืองของชุมชน และของจังหัดอุบลราชธานี ผลจากความทุ่มเทดัง กล่าวทำ�ให้ท่านได้รับการยกย่องจากสำ�นักงานคณะกรรมการมหา บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อีกด้วย นายทอง ล้อมวงศ์ เสียชีวิตเมื่อปีพุทธศักราช 2546 ด้วยวัย 78 ปี ซึ่งผลงานของท่าน ทั้งการอนุรักษ์และพัฒนาขบวนการหล่อ ทองเหลืองของบ้านปะอาว ได้เป็นคุณูปการ่อชาวอีสานทั้งมวล ส่ง ผลให้ภูมิปัญญาการหล่อทองเหลือง เป็นมูนมรดกตกทอดถึงอนุชน รุ่นหลังให้ได้สืบต่อไป นายทอง ล้อมวงศ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (หัตถกรรมทองเหลือง) เนื่อง ในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำ�ปี 2550 จากสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
ศาสตราจารย์(เกียรติคุณ) แสง จันทร์งาม หรือธรรมโฆษ
( นวนิยาย อิงธรรมะ )
ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) แสง จันทร์งาม หรือธรรมโฆษ ปัจจุบัน อายุ 81 ปี เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2470 ที่บ้านฮ่องเดื่อ ต. พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น สมรส กับนางสะสม จันทร์งาม (ภู่นพคุณ) มีบุตรธิดารวมจำ�นวน2 คน การศึกษาจบนักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 6 ประโยค ปริญญา ตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัย ประกาศนี ย บั ต รภาษาอั ง กฤษระดั บ สู ง มหาวิ ท ยาลั ย ลอนดอน ประเทศอังกฤษ (British Council Scholarship) M.A. in Linguistics (Michigan University) สหรัฐอเมริกา (ทุนมูลนิธิเอเชีย) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสน ศาสตร-บัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) แสง จันทร์งาม เป็นแบบ อย่างของคนอีสานสู้ชีวิตอย่างแท้จริง ตั้งแต่วัยเด็ก อายุ 5-6 ขวบ แต่ก็ยังโชคดีเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียน บ้านดงพอง ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเกาะ ต่อจากนั้นย้ายเข้า โรงเรียนหนังสือที่วัดศรีจันทร์ จบนักธรรมเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค จึงย้ายเข้าไปเป็นลูกวัดบรมนิวาส ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของสุชีโว ภิกขุ หรืออาจารย์สุชีพปุญญานุภาพ เป็นนักศึกษา รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ลถือได้ว่า เป็น
พระนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์รูปแรกๆ ที่มีความสามารถแสดง ธรรมเทศนาเป็นภาษาอังกฤษตามคำ�แนะนำ�ของอาจารย์ เพราะ ความสามารถด้ า นภาษาจึ ง มี โ อกาสร่ ว มเดิ น ทางไปปฏิ บั ติ ศ าสน กิจในที่ต่างๆ รวมทั้งการเดินทางไปประชุมครั้งแรกขององค์การ พุทธศาสนิกชนแห่งโลก (World Fellowship of Buddhists = WBF หรือ พสล) ที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา และได้ ไปไหว้พุทธสังเวชนียสถานที่พุทธคยาและสารนาถ ประเทศอินเดีย อันเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดนวนิยาย อิงธรรมะ เรื่อง “ลีลาวดี” ในนามปากกาว่า “ธรรมโฆษ” ลีลาวดีเป็นนวนิยายอิงธรรมะที่มี อิทธิพลต่อวิธีคิดวิถีชีวิตยุค 2500 เป็นสื่อให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึง หลักธรรมคำ�สอนของพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างอัศจรรย์ ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) แสง จันทร์งาม ได้ประพันธ์ นวนิยายอิงธรรมะอีกหลายเรื่อง เช่น ธรรมลีลา ตะวันออก พบพระ นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนประเภทตำ�รา นิทานธรรม สารคดีและ ปริศนาธรรมอีกจำ�นวนมาก ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) แสง จันทร์งาม จึงได้รับการ เชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ ประเภท นวนิยาย (อิงธรรมะ) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2521 จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
นายสุรินทร ภาคศิริ ( ประพันธ์เพลง )
นายสุรินทร์ ภาคศิริ มีชื่อจริงว่า ชานนท์ ภาคศิริ ชื่อ จัดรายวิทยุ ทิดโสโปข่าว หรือ ทิดโสสุดสะแนน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2485 ที่อำ�เภออำ�นาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันคือ อำ�เภอเมือง จังหวัดอำ�นาจเจริญ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้น ปีที่6 (ม.6 เดิม) จากโรงเรียนอำ�นาจเจิรญ พ.ศ.2503 มี พ รแสวงและพรสวรรค์ ใ นการประพั น ธ์ ม าตั้ ง แต่ เ ด็ ก เพราะได้มีโอกาสเรียนรู้จากคณะละครอุลิตราตรีศิลป์และคณะเทพ ศิลป์ 2ที่ไปปักหลักเปิดแสดงที่บ้านต่างจังหวัดสมัยเรียนชั้นมัธยม ปีที่3 และเริ่มแต่งกลอนนวนิยาย เรื่องสั้น และแต่งเพลงเชียร์กีฬา ของโรงเรียน พอจบ ม.6 จึงเดินทางเข้ากรุงเทพตามหาความฝัน ของชีวิต ศึกษาด้านการเป็นนักร้อนักประพันธ์ด้วยการอาศัยชาย คากุฎิวัดนรนารถสุนทริการาม เทเวศร์ พึ่งใบบุญข้าวก้นบาตรพระ มีอุปสรรคด้านการศึกษาเล่าเรียน จึงหันมาแต่งเพลง ประพันธ์ กลอน เรื่องสั้น และฝากตัวเป็นศิษย์ขงครู ก.แก้วประเสริฐ ครู เพลงชื่อดังในยุคนั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างดี ขณะเดียวกัน ก็ได้สอบเข้ารับข้าราชการเนข้าราชการกรมราชทัณฑ์ กระทรวง มหาดไทย จึงหมดโอกาสที่จะเดินสายเป็นนักร้อง หันมาเอาดีกับ งานประจำ�และแต่งเพลงออจึงมีผลงานให้กับนักร้องดังในสมัยนั้น เริ่มจากผลงานชิ้นแรก คือ “คนขี้หึง” ขับร้องโดย ชื่นกมล ชล ฤทัย เพลง “คนขี้งอล” ร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร เพลง
“เมษาอาลัย” ร้องโดย หมาย เมืองเพชร และเพลง “เต้ยเกี้ยว สาว” ขับร้องโดย กบิล เมืองอุบล ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อด้วย แนวการร้องแบบศิลปะของหมอลำ� จากนั้นก็แต่งเพลงป้อนให้ นักร้องดังๆ อีกหลายคน เช่น ศักดิ์ศรี ศรีอักษร,ไพรินร์ พร พิบูลย์,สนธิ สมมาตร,กาเหว่า เสียงทอง ,ศรคีรี ศรีประจวบ,ศร ชัย เมฆวิเชียร,เรียม ดาราน้อย,คณะรอยัลสไปรท์,ศักด์สยาม เพชรชมภู,สันติ ดวงสว่าง,เอ๋ พจนา,สายัณห์ สัญญา,ชาย เมือง สิงห์ เป็นอาทิ เป็นที่สร้างชื่อเสียงให้มากที่สุด คือ วอนลมฝากรัก, อ.ส.รอรัก,ทหารเกณฑ์ผลัด2,หนาวลมที่เรณู,ทุ่งกุลาร้องไห้,หอม กลิ่นดอกคำ�ใต้,หนุ่ม น.ป.ข, ลำ�กล่อมทุ่ง รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ คือ รางวัลแผ่นเสียงทองคำ� พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ปี2514) คือ เพลง “’งานนักร้อง” ขับร้องโดย พรไพร เพชรดำ�เนิน (ปี2534-2538) รับรางวัลเพลงลูกทุ่งดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม ราชกุมารี ด้วยเพลง “ทุ่งกุราร้องไห้” ขับร้องโดยศักดิ์สยาม เพชร ชมพู เพลง “หนี้กรรม” ขับร้องโดยสุมิตร สัจเทพ และยพิน แพร ทอง และเพลง “หนาวลมที่เรณู” ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ นายสุรินทร์ ภาคศิริ จึงได้รับการเชิดชูเกียวติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ ประเภทประพันธ์เพลง (ลูกทุ่ง) ประจำ�ปีพทธศักราช 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
นายสัญญา สิงประสิทธิ์ ( ประพันธ์ลูกทุ่ง )
นายสัญญา สิงประสิทธิ์ หรือ “สัญญา จุฬาพร” หรือ “สันต์ ศิลประสิทธิ์” คือ คนเดียวกัน เกิดวันที่ 14 มิถุนายน2476 ที่ ตำ�บลกกบก อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวัยเด็กระเหเร่ร่อน หลังจากจบชั้น ป.1-2 ที่โรงเรียนเทศบาล2 สวนสนุก แล้วได้ตามพี่ สาวไปเรียน ป.2-3ที่อำ�เภอท่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้น ป. 4 เรียนที่จังหวัดตรัง แล้วมาต่อชั้น ม.1-5 ที่โรงเรียนสงเคราะห์ ประชา จังหวัดสงขลา ยังไม่จบมัธยมปลาย มีเหตุให้ต้องออกกก ลางคัน ด้วยความชื่นชอบงานประพันธ์และบทเพลงมาตั้งแต่ยังเด็ก จึงมีผลงานซึ่งเป็นบทเพลงจำ�นวนมากเพลงแรกที่ได้รับบันทึกเสียง คือ “น้ำ�มนต์น้ำ�ตา” โดยสมยศ ทัศนพันธ์ เป็นผู้ขับร้อง และมี โอกาสร่วมแต่งเพลงกับครูสมยศอีกหลายเพลง เป็นต้นว่า “ทำ�คุณ ได้โทษโปรดสัตว์ได้บาป” “เสียงขลุ่ยระทม” และยังได้ขับร้อง บันทึกเสียงเพลงแรก ชื่อ “วิญญาณรัก” และ “ป่าเหนือลำ�รึก” สมัยนั้นถือว่าสำ�เร็จพอประมาณ
ผลงานสร้างชื่อที่มีคนรู้จักแต่งโดยใช้ชื่อ ส.จุฬาพร สัญญา จุฬาพร คือ เพลง “แม่” หรือ “พระคุณแม่” “ลาก่อนบางกอก” “ซามาคักแท้น้อ” ซึ่งขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ “เซิ้งสวิง” “หนุ่มเมืองเลย” ขับร้องโดย ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์“ดำ�ขี่หลี” “อีสานบ้านเฮา” ขับร้องโดย นกน้อย อุไรพร “หนุ่มอุบล” และ “พ่อหม้ายเมียหนี” นภดล ดวงพร เป็นผู้ขับร้อง และยังมีอีกหลาย เพลง สัญญา จุฬาพร สามารถนำ�รูปแบบเพลงพื้นบ้าน รวมถึง หมอลำ� มาประยุกต์เป็นลูกทุ่งได้อย่างกลมกลืน เป็นเอกลักษณ์ สะท้อนแนวคิดท้องถิ่นนิยม อันเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่บริสุทธิ์ งานของท่านจึงมีกลิ่นไอความเป็นท้องถิ่นพื้นบ้านอย่างมีเสน่ห์ชวน ฟังเป็นที่สุด นายสัญญา สิงประสิทธิ์ ได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ ประเภทประพันธ์ (ลูกทุ่ง) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
นายเจริญ กุลสุวรรณ ( วรรณรูป )
นายเจริญ กุลสุวรรณ ปัจจุบันอายุ 60 ปี เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พุทธศักราช 2491 ที่บ้านน้ำ�คำ� ต.โพนเมือง อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอน ต้นที่โรงเรียนบ้านอาจสามารถ อ.อาจสามารถ สมรสกับนางกัลยา กุลสุวรรณ มีบุตรธิดา2คน ปัจจุบันมีอาชีพเป็นนักเขียนอิสระ นาย เจริญมีความชื่นชอบในการเขียนภาพมาตั้งแต่เยาว์วัย จึงศึกษา ค้นคว้าทั้งในระบบและนอกระบบอย่างตั้งมั่น แต่ในอีกทางหนึ่งก็มี ความสนในในงานด้านวรรณกรรม เพราะชอบเขียนเป็นนิสัย เมื่อ เติบใหญ่ชีวิตหักเหเบนเข็มเข้าสู่ร่มพุทธธรรม โดยมีท่านพุทธทาส เป็นผู้อบรมสั่งสอน จึงมีผลส่งถึงการทำ�งานสร่างสรรค์ในระยะถัดมา โดยได้นำ�ข้อธรรม คำ�สอนในพระพุทธศาสนา มาเป็นสาระหลักใน การถ่ายทอดความคิด จินตนาการ ด้วยเทคนิควิธีของวรรณกรรม ผสมกับจิตรกรรม ผสมผสานเข้าด้วยกัน สร้างสรรค์ออกมาเป็นผล งานในแบบบทกวีวรรณรูป ที่น่าสนใจ ผลงานบทกวี วรรณรูปของนายเจริญ มีความพิเศษตรงที่ สามารถนำ�เอาคำ�ที่มีนัยะทางพุทธศาสนามาประกอบสร้างขึ้นภายใต้ รูปทรงต่างๆมากมาย โดยเฉพาะที่ค้นตา คือ ภาพของพระพุทธรูป ปางสมาธิ ที่ประกอบสร้างจากข้อความ “อย่าเห็นแก่ตัว” ซึ่งมีผู้ นิยมมาประยุกต์เป็นสื่อหลายแบบ เช่น สติ๊กเกอร์ หรือ โปสเตอร์
เป็นต้น ผลงานการสร้างรูป เขียนคำ�ของท่านได้ถูกนำ�มารวบรวม เป็นหนังสือที่มีคุณค่าหลายเล่ม อาทิ “กิเลสที่รัก” (พ.ศ.2540) “กระท่อมเนรเทศทุกข์”(พ.ศ.2547) “เพ่งภาพ พบนิพาน” (พ.ศ. 2549) “แสงธรรมในดวงตา” (พ.ศ.2550) ซึ่งใช้ในนามปากกา ทยาลุ ส่วน “มองตน” (พ.ศ.2541) ใช้ในนามปากกาเราส์ มหา ราษฏร์ นอกจากการสร้างสรรค์ผลงานในแบบบทกวี วรรณรูปที่ สร้างสรรค์เป็นแนวหลัก ที่ถือว่าเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความ โดดเด่นที่สุดแล้ว ท่านยังได้ประพันธ์บทเพลงเพื่อเผยแพร่ในวาระ และโอกาสต่างๆ รวมถึงการเขียนภาพอันเป็นงานที่รัก โดยเนื้อหา ส่วนใหญ่อิงหลักธรรมคำ�สอนทางพุทธศาสนา จึงนับว่า นายเจริญ กุลสุวรรณ เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ เป็นต้นแบบของการนำ�เอาแก่นสาระทางพระพุทธ ศาสนาสื่อสารผ่านภาพ และคำ� ในลักษะบทกวี วรรณรูปได้อย่าง น่าสนใจนำ�ไปสู่สารัตถะแห่ง ความจริง ความดี ความงาม นายเจริญ กุลสวรรณ จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปิน มรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ ประเภทบทกวี (วรรณรูป) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
สาขา
ศิลปะการแสดง
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
นายคำ�ปัน ผิวขำ� (ปอง ปรีดา) ( ขับร้องเพลงลูกทุ่ง )
นายคำ�ปัน ผิวขำ� เป็นชื่อ-นามสกุลจริง ของ ปอง ปรีดา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2475 ที่อำ�เภอเมืองจังหวัดขอนแก่น การศึกษาจบ มัธยมศึกษาปีที่ 2 จบการศึกษาแผนช่างไม่ โรงเรียนช่างไม่ขอนแก่น ในชีวิตเกิดมายืนยันกับตัวเองว่า “ กูเกิดมาเพื่อร้องเพลง” เขาจึงแสวงหาโอกาสที่จะทำ�ให้ฝันนั้นเป็นจริงแต่ก็ไม่สบโอกาส สักที เคยมีคนฝากให้ไปอยู่กับวงดนตรีหลายคณะ แต่ก็ไม่ได้อยู่ ในตำ�แหน่งนักร้องกลับต้องไปทำ�หน้าคนรับใช่ทั่วไปเพียงเพราะ ทัศนคติที่คนกรุงเทพฯ มีต่อคนอีสาน ชีวิตช่วงต้นของวัยหนุ่มจึง หันเหมาสู่เวทีพื้นผ้าใบ ภายใต้ชื่อ “ วิเชียร ศิษย์จำ�เนียร” ด้วยสถิติ การชก 25 ครั้ง ชนะทุกครั้ง 1 จนขณะสามารถพูดได้ว่า ในพิกัดน้ำ� หนัก 40 กว่ากิโลกรัม เขาท้าได้ทั้งโลก แค่ได้ยินน้ำ�หนักของนักมวยก็ไม่ช่วยให้มั่นใจได้เลยว่าชีวิต บนผืนผ้าใบจะอยู่ได้จำ�เนียรเหมือนชื่อต้นสังกัด ด้วยความหลงใหล ในมนต์เสน่ห์ของเสียงเพลงเป็นทุนอยู่แล้ว คำ�ปัน ผิวขำ� ก็เลิก ชกมวย หันไปล่ารางวัลจากการประกวดร้องเพลง ชีวิตของคำ�ปัน ผิวขำ� ยังคงเวียนว่าอยู่ในวงการของผู้ที่มีดนตรีในหัวใจเพียงแต่เขา ยังไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถให้ผู้อื่นยอมรับได้ยังคงต้องทำ� หน้าที่รับใช่ทั่วไป กระทั่งมี คนพาเขาไปแนะนำ�กับ ครูมงคล อมาต ยกุล ขณะเดียวกันก็พาไปฝากให้อยู่กับนักประพันธ์ ศิลปินในโลก
มืด”ประเทือง บุญญประพันธ์” เจ้าของวงดนตรีประเทืองทิพย์ คำ� ปันมีโอกาสใช้เรื่องราวความโหดร้ายที่คนอีสานได้รับ จากการเข้า มาใช้แรงงานแลกเงินในเมืองกรุงมาแต่งเป็นเพลงเพื่อชักชวนให้ชาว อีสานกลับบ้านเกิด ในบทเพลงที่ชื่อว่า “ กลับอีสาน “ ซึ่งเป็นเพลง แรกในชีวิตที่ได้รับการบันทึกแผ่น แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร อีกทั้งยังถูกมองจากภาครัฐว่าเป็นเพลงปลุกกระแสนชาตินิยมอีสาน เพลงที่สร้างชื่อให้กับคำ�ปัน ผิวขำ� ในฐานะนักร้องและนักร้องและ นักแต่งเพลง มีชื่อว่า “สาวฝั่งโขง” แผ่นเมื่อ พ.ศ.2501 ในนามของ นักร้องใหม่ชื่อ “ปอง ปรีดา “ ได้รับการตอนรับอย่างพลิกความคาด หมายมีคนขอฟังอย่างล้นหลาม ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดงาน “ กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 ปี 2532 และบทเพลงที่สร้างชื่อให้กับคำ�ปันยังมีอีกมากมาย อาทิ สาว เจ้าอยู่บ้านใด๋ สาวป่าชาง และบทเพลงที่เกี่ยวกับคำ�ว่า ฝั่งโขง-น้ำ� โขงอีกหลายเพลง นายคำ�ปัน ผิวขำ� ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดก อีสาน สาขาศิลปะการแสดง ประเภท ขับนายสุรสีห์ ผาธรรม ร้อง (เพลงลูกทุ่ง) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
นายสุรสีห์ ผาธรรม ( ภาพยนตร์อีสาน )
ปัจจุบัน อายุ 60 ปี เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พุทธศักราช 2491 ที่ อำ�เภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สำ�เร็จการ ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนเขื่องในเจริญราษฎร์ อำ�เภอเขื่องใน ระดับ มัธยมปลายที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อำ�เภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี ในปีพุทธศักราช 2540 สำ�เร็จการศึกระดับอุดมศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ (ภาพยนตร์ โฆษณา ) จาก ม.สุโขทัยธรรมมาธิ ราช ในวัยเด็กชอบดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อมีโอกาสจึงเข้าเป็นนัก พากษ์หนัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่วงการ ใน พ.ศ.2520 เป็น กำ�กับภาพยนตร์ บริษัท ดวงกมล มหรสพ พ.ศ. 2525 เป็นผู้กำ�กับ บริษัท สหมงคลฟิล์ม พ.ศ. 2529 เป็นผู้กำ�กับภาพยนตร์ บริษัท สี บุญเรืองฟิล์ม พ.ศ. 2537 เป็นผู้อำ�นวยการ บริษัท ลาว เอนเตอร์ เทนเมนท์สร้างสรรค์ผลงานด้านภาพยนตร์ในตำ�แหน่งต่างๆแทบ ทุกตำ�แหน่ง ผลงานสำ�คัญด้านภาพยนตร์ ประกอบด้วยเรื่อง “ครูบ้าน นอก” (พ.ศ.2521) “หนองหมาว( พ.ศ. 2522)“ลุกแม่มูล” (พ.ศ. 2523) “ครูวิบาก” (พ.ศ.2525) “สรรค์บ้านนอก”“ผู้แทนนอก สภา” (พ.ศ.2526) “ครูชายแดน” (พ.ศ.2527) “ หมอบ้านนอก” (พ.ศ.2528) “ราชินีดอกหญ้า” (พ.ศ.2559) ด้านภาพยนตร์สารคดี ประกอบด้วย“จากที่ราบสูง”(พ.ศ.2534)ที่ระลึกสะพานมุก-สะห วัน(พ.ศ.2549) กำ�กับภาพยนตร์โฆษณา “ขอแขนให้แม้ข่า” (พ.ศ. 2531) สร้างงาน VCD ภาพยนตร์ก้อม 1,2 “บั้งไฟพระยานาค” นัก แสดงสมทบ “15 ค่ำ�เดือน 11” นักแสดงสมทบ ภาพยนตร์ “สะใภ้ บรื๋อ” ประพันธ์เพลงอำ�นวยการผลิต/ร่วมร้องอัลบั้ม “อมตะเพลง
ลาว” เกียรติประวัติ ได้รับรางวัลผู้กำ�กับยอดเยี่ยม และ ภาพยนตร์สร้างสรรค์ดีเด่น เรื่อง “ครูบ้านนอกในงานมหกรรม ภาพยนตร์ที่นครทัชเคนท์ สหภาพโซเวียต รัชเชีย รางวัลสุพรรณ หงส์ทองคำ� ภาพยนตร์สร้างสรรค์ดีเด่น และบทภาพยนตร์ยอด เยี่ยม เรื่อง “ครูบ้านนอก” รางวัลตุ๊กตาทองผู้กับยอดเยี่ยม เรื่อง “ ผู้แทนนอกสภา” จากสมาคมผู่สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เพลง และดนตรี รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ� เรื่อง “ ราชินีดอกหญ้า” รางวัล แท็กอวอร์ด ภาพยนตร์โฆษณาสร้างสรรค์ดีเด่น “ ขอแขนให้แม่ข้า” รางวัลโทรทัศน์ทองคำ� สารคดีโทรทัศน์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น “ จากที่ราบสูง” นายสุรสีห์ ผาธรรม นับเป็นผู้เปี่ยมล้นด้วยอุดมการณ์ และสำ�นึกทางสังคมที่มีต่อแผ่นดินถิ่นเกิดภาพยนตร์ของสรุสีห์ จึง สามารถสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสานในยุคเปลี่ยนผ่าน และการ ต่อสู้ของคนหนุ่มสาวในระบบการศึกษา การเมือง สังคม วัฒนธรรม เพื่อให้สังคมได้ตระหนัก และรับผิดชอบรวมกัน ถึงศักดิ์ศรีของคน อีสานบนพื้นที่ราบสูง นายสุรสีห์ ผาธรรม จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง ประเภทภาพยนตร์(อีสาน) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2551 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
นายทองฮอด ฝ่ายเทศ ( ดนตรีพื้นบ้าน-ซอ )
นายทองฮวด ฝ่ายเทศ ปัจจุบันอายุ 68 ปี เกิดวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2483 ปีมะโมง เกิดที่ บ้านนาสีนวล ตำ�บลนาสีนวล อำ�เภทพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จบการศึกษาชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 เมื่ออายุได้ 14 ปี ฝากตัวเป็นศิษย์ อาจารย์สมพร นักสี ซอ (หมอซอ) แห่งวงมโหรี อ. ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด จนสามารถตั้งวง ของตนเองขึ้นมาได้ ด้ ว ยทั ก ษะฝี มื อ ที่ โ ดดเด่ น จึ ง มี ผู้ ชั ก ชวนให้ เข้ า วงการ หมอลำ� และลูกทุ่ง บันทึกเสียงครั้งแรรกให้กับเทพพร เพชรอุบล ในชุด “อิสานบ้านเฮา” และ “ขอหอมก่อนแต่ง” ในช่วงนั้นเพลง นี้ดังมาก หัวหน้าวงเพชรบูรพาจึงให้มาอัดเพลงให้กับ สุภาพ ดาว ดวงเด่น ในเพลงคิดถึงเสียงซอ และลำ�เพลินสลับเต้ย ได้รับความ นิยมมากจึงมีอัลบั้มชุดถัดมา คือ เดี่ยวซอเดี่ยวแคน นอกจากนั้น ยังได้บรรเลงซอให้กับนักร้องดังอีกหมายท่าน ดังนี้ อรอุมา สิงห์ศิริ ในอัลบั้ม สาวอีสานรอรัก หงส์ทอง ดาวอุดร ในอัลบั้ม หงห์ทอง คะนองลำ� อัดให้ ศรชัย เมฆวิเชียร ในอัลบั้ม เสียงซอสั่งสาว อัด ใส่ให้ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ในชุดแก้วรอพี่ รวมถึง บานเย็นรากแก่น ปริศนา วงค์ศิริ ยุ้ย ญาติเยอะ จินตรา พูนลาก ยอกรัก สลักใจ พร ศักดิ์ ส่องแสง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ล่าสุด คือ แดง จิตรกร
ต่อมา ผอ.ประดิษฐ์ ศิริ ได้มาติดต่อไปเป็นครูสอนดนตรี ไทยพื้นบ้านให้กับนักเรียนโรงเรียน บ้านมะชม โนนสง่า อำ�เภอ พยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีลูกศิษย์ในโรงเรียนและนอก โรงเรียนอีกมากมายอาจารย์ทองฮวด เป็นผู้มีพรสวรรค์ และมี ศิลปะในตนเอง สามารถประดิษฐ์ซอขึ้นใช่เอง และแจกจ่ายให้ลูก ศิษย์ที่สนใจดนตรีพื้นบ้าน ในปัจจุบันยังเข้าสู่วงการลูกทุ่งหมอลำ� อยู่เป็นประจำ� มีวงมโหรีเป็นของตัวเองและรับงานโชว์ตัวในที่ต่างๆ ผลงานที่ได้รับเป็นเกียรติสูงสุด คือได้ไปสีซอในงานรับเสด็จองค์ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามพระบรมราชกุมารี ในงานกึ่งศตวรรษ ที่กรุงเทพมหานคร ได้รับโล่รางวัลอีกมากมาย อาจารย์ทองฮวดมี ความมีความตั้งใจจริงในการสืบทอดศิลปะดั้มเดิมของไทยให้ลูก หลานสืบไป นาบทองฮวด ฝ่ายเทศ จึงได้รับยกย่องเป็น ศิลปินมรดก อีสาน สาขาศิลปะการแสดง ประเภท ดนตรีพื้นบ้าน (ซอ) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2551