ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2552

Page 1

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


สาขา

ทัศนศิลป์

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายสมยศ ไตรเสนีย์ ( จิตรกรรมร่วมสมัย )

นายสมยศ ไตรเสนีย์ อายุ 52 ปี เกิดเมื่อวันที่ 19 เดือน มกราคม พุทธศักราช 2500 ที่อำ�เภอ กุมภวาปี จังหวัดอุดธานี สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ สาขาศิลป์ไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร นายสมยศ ไตรเสนีย์ เป็นศิลปินอิสระและเป็นอาจารย์ พิ เ ศษให้ กั บ คณะศิ ล ปกรรมของมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา มีผล งานที่ แ สดงความเป็ น ตั ว ตนของตนอย่ า งโดดเด่ น ประกอบกั บ ประสบการณ์ ใ นการทำ � งานด้ า นศิ ล ปกรรมร่ ว มสมั ย เป็ น เวลา มากกว่ายี่สิบปี จึงเป็นศิลปินอีสานที่รู้จักโดยทั่วไปในวงการศิลปะ ได้แสดงผลงานนิทรรศการเนื่องในวโรกาสและโอกาสต่างๆ ให้ กับหลายองค์กร อาทิ ปี พ.ศ.2543 จัดนิทรรศการศิลปกรรม กลุ่มอีสาน ครั้งที่ 7 ร่วมกับกลุ่มศิลปินจากประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ชุด “อีสานมื้อนี่ สองฝั่งโขง” ณ หอ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหอวัฒนธรรมแห่งชาติ นครเวียงจันทร์ สปป.ลาว. ปี 2551 ได้ร่วมแสดงผลงานกับอีก 84 ศิลปิน เพื่อเทิดพระเกียรติพระพี่นางฯ ณ กรุงเทพมหานคร และ

พ.ศ.2551– ปัจจุบัน กำ�ลังสร้างผลงานจิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิสมภ รณ์พระอารามหลวง อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จาดความรู้และ ความชำ�นาญในงานจิตรกรรมร่วมสมัยจึงทำ�ให้รับรางวัลต่างๆ อาทิ เหรียญทองบัวหลวง ครั้งที่ 5-6ได้รับรางวัลที่ 3 ในงาน 80 ปีสมเด็จ พระสังฆราช ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานครและได้รับคัดเลือกให้ร่วม แสดงในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงได้รับเกียรติให้เขียนภาพเกี่ยว กับเอกลักษณ์ไทยโดยบริษัทเอสโซ่ สำ�นักงานกรุงเทพมหานคร และ ที่สำ�นักงานกรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านการบริการชุมชนได้อุทิศตนเพื่อสังคม โดยเป็นวิทยากร เผยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษาและผู้สนใจงานด้านศิลปะ ให้คำ� ปรึกษาด้านศิลปะกับชุมชน ในพื้นที่บ้านเกิด อำ�เภอกุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี และมีส่วนร่วมในงานประเพณีที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรม อีสานของชุมชนอย่างต่อเนื่อง นายสมยศ ไตรเสนีย์จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปิน มรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมร่วมสมัย) ประจำ�ปี 2552 จากสำ�นักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายป่วน เจียวทอง

( ประเภทหัตกรรมพื้นบ้านเครื่องเงินโบราณ )

นายป่วน เจียวทอง อายุ 68 ปี เกิดเมื่อวันที่ 1 เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2484 ที่บ้านโชค อำ�เภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเขวา และ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์เมื่อ พุทธศักราช 2548 นายป่วน เจียวทอง เริ่มฝึกทำ�เครื่องทองรูปพรรณตั้งแต่ อายุ13 ปี จากพี่เขยและเริ่มเรียนรู้ที่จะประยุกต์การทำ�เครื่องทอง มาเป็นเครื่องเงิน โดยยึดแบบโบราณและวิธีการทำ�แบบดั้งเดิมของ หมู่บ้านโชคที่สืบต่อมาแต่โบราณ ฝีมือการทำ� “ประเกื๊อม” หรือ “ประคำ�” ที่ทำ�จากฝีมือของป่วน เจียวทองนี้ มีลวดลายวิจิตร บรรจง แสดงให้เห็นถึงความละเอียด ความประณีตและความ อุตสาหะของผู้ทำ�อย่างเห็นได้ชัดผลงานภาคภูมิใจที่สุดคือ เข็มขัด เงินที่ทำ�ขึ้นพิเศษมีลวดลายไม่ซ้ำ�กันถึง 20 ลวดลายในเส้นเดียว ซึ่ง ทำ�ไว้ 2 เส้นเพื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี และพระองค์ได้พระราชคืนเก็บไว้ 1 เส้น เพื่อให้เป็น มรดกแผ่นดินและให้ผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป

นายป่วน เจียวทอง เป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการสร้างงาน หัตถกรรมพื้นบ้าน โดยรักษารูปลักษณ์ดั่งเดิมไว้ได้อย่างสวยงามและ สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน จนได้รับรางวัล “คนดีศรีเมืองช้างจังหวัด สุรินทร์” จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ รวมถึงรางวัล “ผู้สร้าง ชื่อเสียงให้กับจังหวัดสุรินทร์” ด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์การ ทำ�เครื่องเงินโบราณให้กับเยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไป โดยการเป็น วิทยากรฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นโครงการพัฒนาความรู้ แบะทักษะการเป็นช่างเครื่องเงินของจังหวัดสุรินทร์ มาโดยตลอด และได้เข้าร่วมสาธิตและแสดงผลงานในงานเทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน ของสถาบันสมิธโซเนียน “เรื่องแม่น้ำ�โขง” : เชื่อมสายใยวัฒนธรรม “ณ กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัลบุคคล ผู้ทำ�ประโยชน์แก่กระทรวงแรงงานจากกระทรวงแรงงานใน พ.ศ. 2551 นายป่วน เจียมทอง จึงได้รับได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสานสาขาทัศนศิลป์ ประเภทหัตถกรรมพื้นบ้าน (เครื่อง เงินโบราณ) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2552จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


สาขา

วรรณศิลป์

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายสมพงษ์ พละสูรย์

( วรรณกรรมร่วมสมัย )

นายสมพงษ์ พละสูรย์ ใช้นามปากา “คำ�หมาน คนไค” อายุ 72 ปี เกิดเมื่อวันที่ 22 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2480 ที่หมู่บ้าน ดอยเมย ตำ�บลนาจิก อำ�เภออำ�นาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ จังหวัดอำ�นาจเจริญ) สำ�เร็จการศึกษาหลักสูตรการ ศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารงานประถมศึกษา Colorado State College รัฐ Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา นายสมพงษ์ พละสูรย์ เคยดำ�รงตำ�แหนงครูประชาบาล เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ และเป็นรองเลขาธิการคุรุสภา สำ�นักเลขาธิการคุรุสภา ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการและเป็นบรรณาธิการหนังสือเรียน เป็น นักคิดและนักเขียนเกี่ยวกับการศึกษา รวมถึงหนังสืออ่านเพิ่มเติม ของสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) มีความสามารถด้านการ ผูกเรื่องหรือเรียบเรียงเรื่องที่สร้างความสนใจได้เป็นอย่างดีโดย ถ่ายทอดผ่านงานผลงานวรรณกรรมร่วมสมัยหลายเรื่อง อาทิเรื่อง สั้น “ชีวิตใหม่” รวมเรื่องสั้น “บันทึกของครูประชาบาล” นิยาย เรื่อง “ครูบ้านนอก” “ฆ่าราชการครู” ผลงานเรื่อง “เซียง-เหมี่ยง”

และผลงานการเรียบเรียง “ผญาภูมิปัญญาอีสาน” และสารคดีเรื่อง “ข้ามโขงไปลาว” “เที่ยวบาหลี” รวมถึงวรรณกรรมเรื่อง “ผาแดง นางไอ่” และ “ตำ�นานแม่โขง” ปัจจุบันสมพงษ์ พละสูรย์ ยังคงมีผล งานประเภทต่างๆ ถ่ายทอดความรู้และแง่คิดที่ดีงดงาม ให้คุณค่าแก่ ผู้อ่านได้ทั้งความรู้และความบันเทิงได้อย่างดียิ่ง นายสมพงษ์ พละสูรย์ อุทิตตนเพื่อทำ�คุณประโยชน์แก่ ชุมชน สังคม ประเทศชาติ โดยการเป็นผู้สอนและอบรมผู้ที่มีวุฒิ ม. 6 เพื่อบรรจุเป็นครู ในท้องถิ่นที่ขาดแคลนครู ที่จัดทำ�โดยสำ�นักงาน ศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานีอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเป็นครู วิทยากร นักเขียน และเผยแพร่ความรู้ด้านการศึกษาการสอนภ่ษา ไทยและภาษาอังกฤษ นิทานพื้นบ้าน และวัฒนธรรมอีสาน ให้กับ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน นายสมพงษ์ พละสูรย์ จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ ประจำ�ปีพุทธศักราช 2552 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายจันดี หลักคำ�พัน

( ประพันธ์หมอลำ�กลอน )

นายจันดี หลักคำ�พันอายุ 68 ปี สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญา ตรี สาขามนุษย์ศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏอุดรธานี แ ล ะ รั บ ข้าราชการครูจนถึงปัจจุบันเป็นข้าราชการบำ�นาญ เคยเป็นหมอลำ� ในชุมชน ทั้งเป็นหมอสูตรขวัญ นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยว9ญในการ แต่ผญาภาษิตอีสานและประพันธ์กลอนลำ�ชึ่งเป็นวรรณกรรมอีสา ประเภทหนึ่ง นายจันดี หลักคำ�พันได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาอีสานผ่านงาน วรรณกรรมอีสาน เช่นกลอนลำ� ผญากาพย์เซิ้งบั้งไฟ สรภัญญะ และ สรรพวิชาอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นส่วนที่นำ�ไปใช้ในหลักสูตรการ เรียนการสอนด้วย มีผลงานการแต่งกลอนลำ�มากกว่า 40 เรื่อง อาทิ สังข์ทอง-เมืองอีสาน ชิงชู นกกระยางดำ� กลอนลำ�ตลก กลอนลำ�ยาว เป็นต้น ด้วยความรู้ความเข้าใจในวิถีอีสานจึงได้รับเชิญให้เป็นผู้สอน ในรายวิชาเกี่ยวกับ “ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น” ที่ศูนย์บริการ ศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุดรธานี รวมถึงถ่ายทอดกลอนลำ�ให้แก่

ศิลปินพื้นบ้านหลายคน เช่น ทองศรี ศรีรักษ์ สมบัติ ศรีทะบาล ปอย ฝ้าย มาลัยพร นอกจากนี้ยังเขียนหนังสืออีกหลายเรื่อง เช่น สุภาษิต 3 (ไทย-อีสาน-อังกฤษ) หนังสือผู้เฒ่าเว้าให้คึด เป็นต้น จากการฝึกฝนจนชำ�นาญจนมีชื่อเสียงในด้านการประพันธ์ กลอนลำ�ที่มีเนื้อหาถ่ายทอดภูมิปัญญาอีสานและยังมีบทบาทสำ�คัญ ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิลปินและนักเรียน นักศึกษา อย่างทุ่มเท โดยตลอดดังนั้นในปี พ.ศ.2544 จึงได้รับรางวัลศิลปินดีเด่นสาขา มนุษย์ศาสตร์ ของจังหวัดอุดรธานี และจัดให้เป็น “ครูภูมิปัญญา ไทย” สาขาภาษาและวรรณกรรม จากสำ�นักคณะกรรมการการ ศึกษาแห่งชาติ สำ�นักนายกรัฐมนตรีในปีเดียวกันนี้ด้วย นายจันดี หลักคำ�พัน จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปิน มรดกอีสาน ประจำ�ปีพุทธศักราช 2552 สาขาวรรณศิลป์ ประเภท ประพันธ์กลอนลำ� จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายเสมอ จันดา

( ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง )

นายเสมอ จันดา ใช้นามปากา สรเพชร ภิญโญ อายุ 59 ปี เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2493 ณ บ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 6 บ้านหัวบึง ตำ�บลบึงพะไล อำ�เภอแก้งสนามนาง จังหวัด นครราชสีมา สำ�เร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากศูนย์การ ศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดร้อยเอ็ดเมื่อพุทธศักราช 2551 นายเสมอ จันดา ก่อนจะมีชื่อเสียงด้านการประพันธ์เพลงลูก ทุ่ง เคยเป็นนักร้องและเป็นหัวหน้าวงดนตรีลูกทุ่งคณะดอนเจดีย์ ต่อ มาได้ตั้งวงดนตรีลูกทุ่งของตนเอง ชื่อวงดนตรี “สรเพชร ภิญโญ” ทั้งยังเป็นนักร้องนำ�มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 จนถึงปัจจุบัน และมีผล งานโดดเด่นและเป็นที่รู้จักทั่วไปของครูประพันธ์เพลงลูกทุ่ง โดย ประพันธ์ทั้งคำ�ร้องและทำ�นองให้นักศิลปินหลายท่านที่ได้รับความ นิยมอย่างกว้างขวางอาทิเช่น พิมพา พรศิริ จินตรา พูนลาภ ยิ่งนง ยอดบัวงาม เป็นต้น บทเพลงลูกทุ่งที่สร้างชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน คือ ผลงานประพันธ์เพลง “หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ” จนทำ�ให้เสมอ จันดา ได้รับรางวัลเกียรติคุณหลายรางวัล เช่น รางวัลเกียรติคุณ

แผ่นเสียงทองคำ�พระราชทานประเภทเพลงลูกทุ่งยอดนิยมจาสมาคม ดนตรีแห่งประเทศไทย และรางวัลเกียรติคุณทีวีตุ๊กตาทองมหาชน ในฐานะเพลงติดอันดับข้ามปีในเพลง หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ จาก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง นายเสมอ จันดา เป็นผู้มีความเข้าใจวิถีของชาวอีสานอย่าง แท้จริง โดยได้สะท้อนผ่านผลงานการประพันธ์เพลงลูกทุ่งของเขา เสมอมาทั้งทำ�นองและคำ�ร้อง จนทำ�ให้บทเพลงที่ประพันธ์นั้นได้ กลับมาร้องใหม่อยู่เสมอ และเป็นบทเพลงที่สะท้อนภาพสังคมชนบท อีสานที่เรียบง่ายแต่งดงามได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ นายเสมอ จัน-ดา ยังทำ�คุณประโยชน์ให้กับชุมชน สังคมและประเทศชาติ โดยเป็น วิทยากรให้กับโรงเรียนและหน่วยงานภาครัฐในโอกาศต่างๆ นายเสมอ จันดา จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ ประเภทประพันธ์เพลงลูกทุ่ง ประจำ�ปี พุทธศักราช 2552 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายสุพรรณ ชื่นชม ( ประพันธ์กลอนลำ� )

นายสุพรรณ ชื่นชม อายุ 57 ปี เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เดือน มิถุนายน พุทธศักราช 2495 หมู่บ้านหนองฮาบแห่ ตำ�บลลุม พุก อำ�เภอคำ�เขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อพุทธศักราช 2507 นายสุพรรณ ชื่นชม เป็นเกษตรและประพันธ์กลอนลำ� ปัจจุบัน รับราชการตำ�แหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านหนองฮาบแห่ ได้ฝึกแต่งกลอน ลำ�ตั้งแต่ปี 2513 จนมีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ความสามารถใน การคิดค้นกลอนลำ�ต่างๆ เช่น ทำ�นองอุบล ขอนแก่น กาฬสินธุ์ หรือ ลำ�ภูไท จนเกิดความแตกฉานจนกล่าวได้ว่าเป็นผู้ประพันธ์กลอนลำ� อมตะให้กับศิลปินอีสานหลายผลงาน อาทิกลอนลำ�เพลินชุด “บัก สองซาว” และ “ชมรมแท็กซี่” ให้คุณทองมี มาลัย นำ�มาขับร้องจน ประสบผลสำ�เร็จและมีชื่อเสียง ประพันธ์กลอนลำ�ทำ�นองขอนแก่น ให้กับคุณสุบิน นิลวรรณ ในชุด “ เมาหนักเพราะรักติ๋ม” เขียนกลอน ลำ�เดินลำ�ซิ่งให้กับคุณประสาน เวียงสิมา ในกลอน “เมาอุตลุด”จน

ศิลปินเหล่านั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผลงานที่สร้างชื่อเสียง ให้เช่นเดียวกับสุพรรณ ชื่นชม อีกผลงานหนึ่งที่รู้จักโดยทั่วไป คือ กลอนลำ� “โบว์รักสีดำ�” ที่ขับร้องโดยศิริพร อำ�ไพพงษ์ เช่นเดียวกับที่ แต่งกลอนลำ�ให้กับ รจนา สารคาม ในชุด “เมียผู้ใหญ่บ้าน” จนได้รับ ความนิยมเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันเป็นเจ้าของวงดนตรีหมอลำ�ชื่อ วีร พลชื่นชม กล่าวได้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคนสำ�คัญของศิลปินหมอลำ� ที่ประสบความสำ�เร็จในปัจจุบัน ทั้งยังให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน ราชการในการแต่งกลอนลำ�ต่อต้านยาเสพติด จากจังหวัดยโสธรทั้ง ยังทำ�งานเพื่อชุมชนโดยการเข้ารับตำ�แหน่งผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านหน องฮาบแห่ กล่าวได้ว่า เป็นผู้มีผลงานที่มีคุณค่า สร้างศิลปินที่มีชื่อ เสียง และสร้างคุณประโยชน์ให้กับบ้านเกิดมาจนถึงปัจจุบัน นายสุพรรณ ชื่นชม จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ ประเภทประพันธ์กลอนลำ� ประจำ�ปี พุทธศักราช 2552 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


สาขา

ศิลปะการแสดง

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายสุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน) ( เพลงเพื่อชีวิต )

เป็นนักร้องนำ�และหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงคาราวานโดยเป็นนักแต่ง ร้องแนวหน้าคนหนึ่งของ วงการเพลงไทยในวงการเพลงเพื่อชีวิตมัก เรียกเขาว่า อาจารย์ใหญ่เพลงเพื่อชีวิต หรือ น้าหงา หรือ สหายพัด ซึ่งเป็นการแสดงถึงความนับถือ สุรชัย จันทิมาธร เกิดที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นบุตรคนที่ 4 ของครอบครัวครูยุทธ์จันทิมา ธร และ แม่เล็ก โดยเป็นครอบครัวคนไทยเชื่อสายเขมร มีพ่อเป็น ครูใหญ่โรงเรียนเทศบาล ดังนั้นจึงเป็นการปลูกฝังการอ่านของเขา มาแต่เด็กๆ เมื่อโตขึ้นได้เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อในด้านศิลปะที่ โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ และได้รู้จกกับนักคิด นักเขียนคนอื่นๆ ที่ต่อ มากลายมาเป็นนักเขียนชั้นแนวหน้าหลายคน เช่น สุวรรณี สุคนธา สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นต้น และการเป็นนักเขียนของสุรชัยจึงเริ่มต้นขึ้น ก่อนที่จะมาเป็น “ สุรชัย จันทิมาธร “ เดิมที่ ชื่อว่า องอาจ จันทิมา ธร ตอนที่เป็นเด็กชอบดูมวยที่ชื่อ “สุรชัย ลูกสุรินทร์” ด้วยความ ชอบและยากเป็นนักมวยบ้าง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “สรุชัย “ และเป็น

พ.ศ. 2516 สุรชัย กับ วีระศักดิ์ สุนทรศรี (แดง) ได้ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรี ท.เสน และจัดการแสดงดนตรีขึ้น ปี พ.ศ.2517 ได้ตกลงที่รวมวงกับ บัง คลาเทศแบนด์ ของ มงคล อุทก (หว่อง) และทองกราน ทานา เพื่อ ก่อตั้งวงดนตรี คาราวาน สุรชัย จันทิมาธร ได้แต่งเพลงเพื่ออุทิศให้กับบุคคลสำ�คัญ ของชาติ เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ ปรีดี พนมยงค์ สืบ นาคเถียร และ รงค์ วงษ์สวรรค์ หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 สุรชัย และกลุ่ม เพื่อ ได้หลบเข้าป่าเฉกเช่นนักศึกษาและปัญญาชนคนอื่นๆ ที่มุ่งตาม มหาฝันและอุดมการณ์ของตนเอง และชื่อ “ สหายพันตา”ก็มีที่มา จากการเข้าป่าในครั้งนั้น เมื่อสถานการณ์การเมืองสงบลง สุรชัย ได้ แต่งเพลงซึ่งเป็นบทเพลงอมตะของคาราวาน เพื่อบอกเล่ากล่าวถึง สถานภาพจิตใจความรู้สึกที่ออกจากป่ากลับสู่เมือง คือ เพลงคือรัง

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายณรงค์ พงษ์ภาพ (นภดล ดวงพร) ( ตลกอีสาน )

ภูมิลำ�เนาเดิม ชุมชนหน้าโรงเรียนท่าวังหิน ตำ�บลปทุม อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ปัจจุบันอายุ 63 ปี ประวัติการศึกษา สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จาก โรงเรียนท่าวังหิน ตำ�บลปทุม อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อาชีพเป็นหัวหน้าวงดนตรีเพชรพิณทอง ซึ่งก่อตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2515 โดยเป็นลูกศิษย์และเคยร่วมงานในวงดนตรีของครูมงคล อมาตยกุล (วงดนตรีจุฬารัตน์ ) เป็นเวลาปี ทำ�ให้ได้รับประสบการณ์ มากมายด้วยความที่ยากสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง จึงได้แยกตัว ออกมาตั้งวงเพชรพิณทอง โดยนำ�เอาเครื่องดนตรีพื้นบ้าน คือ พิณ มาร่วมบรรเลงกับเครื่องดนตรีสากลจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ

วงและใช้ภาษาถิ่นอีสานเป็นหลักในการนำ�เสนอเนื้อหา รางวัลและผลงาน ผลงานด้านภาพยนตร์ เช่น เรื่อง วิวาห์ พาฝัน ครูบ้านนอก หนองหมาว้อ จับกังกรรมกรเต็มขั้นครูข้าว เหนียว 15 ค่ำ� เดือน 11 เป็นต้น งานละครที่ร่วมแสดง เช่น เรื่อง โคกคูณตระกูลไข่ เพลงรักริมฝั่งโขง เรไรลูกสาวป่า เป็นต้น รางวัล เกียรติคุณนภดล ดวงพร ได้รับ อาทิ ได้โอกาสแสดงหน้าพระที่นั่ง จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2515 อีกทั้งยังได้รับยกย่องให้เป็นผู้มีผล งานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้รับรางวัล เกียรติคุณสุพรรณหงส์ สาขาผู้แสดงชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ เรื่อง 15 ค่ำ� เดือน 11 เมื่อปี พ.ศ.2545

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


นายบุญชื่น เสนาลาด (ศักดิ์สยาม เพชรชมพู)

( ขับร้องเพลงลูกทุ่ง )

ภูมิลำ�เนาเดิม หมู่บ้านนานกเขียน ตำ�บลหนองโน อำ�เภอ เมือง จังหวัดมหาสารคาม เกิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 5495 ปัจจุบันอายุ 57 ปี ประวัติการศึกษา นายบุญชื่น เสนาลาด สำ�เร็จการศึกษา ระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านหัวช้าง ตำ�บลโคกก่อ อำ�เภอ เมือง จังหวัดมหาสารคาม อาชีพ ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรตั้งแต่ปีพ.ศ. 2504 จนถึง ปัจจุบัน พร้อมทั้งรับขับร้องเพลงลูกทุ่งในงานประเพณีและงาน รื่นเริงต่างๆ รางวัลและผลงาน - ปี พ.ศ. 2511 ได้ร่วมแสดงและขับร้องกับคณะรำ�วง “ดาว อีสาน” - ปี พ.ศ. 2511-2512 ได้ร่วมแสดงกับคณะสุภีร์คะนองศิลป์ ที่จังหวัดขอนแก่น

- ปี พ.ศ. 2516-2517 ได้บันทึกผลงานเพลงชุดแรก “ ตาม น้องกลับสารคาม” ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก - ปี พ.ศ . 2519-2520 บันทึกผลงานชุดทุ่งกุลาร้องให้ - ปี พ.ศ. 2522-ปัจจุบัน มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงกับค่าย เพลงและผลิตผลงานใหม่ส่วนรางวัลที่เคยได้รับ อาทิ ปี พ.ศ. 2520 รางวัลเกียรติยศงามมกรรมดนตรีอีสานครั้งที่จากชมรมชาวอีสาน แห่งประแห่งไทย และปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลเกียรติคุณผู้ขับ ร้องเพลงลูกทุ่งดีเด่น(เพลงทุ่งกุลาร้องให้) เป็นมรกดแกว่งลูกทุ่งไทย จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลง ลูกทุ่งไทย ภาค 2 ซึ่งเป็นรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


สำ�ราญ บุบผาวาสน์

( ดนตรีร่วมสมัย แซ็กโซโฟน )

ภูมิลำ�เนาเดิม บ้านเลขที่ 20 หมู่ 7 บ้านสร้างมิ่ง ตำ�บล หนองเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เกิดวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2493 ปัจจุบัน 59 ปี ประวัติ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำ�นวน 4 คน ของนายบุญทัน-บุบ ผาวาสน์ นายสำ�ราญเกิดในครอบครับที่เป็นหมอลำ� จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา 4 จากโรงเรียนสร้างมิ่ง จึงเข้าสู่วงการหมอลำ� โดยได้แสดงเป็นพระเอกตอนเป็นเด็กแสดงกับคณะหมอลำ�คณะ บ. บุญศิลป์ ตั้งแต่บัดนั้นก็ได้รวมแสดงตามบุญประเพณีในท้องถิ่น เรื่อยมาโดยใช้การเดินเท้าพร้อมกับตะเกียงเจ้าพายุเป็นแสงสว่าง นำ�ทาง บางครั้งก็ใช้กะบอง (ขี้ไต้)แล้วแต่เจ้าภาพจะจัดหาให้ ได้ค่า จ้างคือละประมาณ 50-100 บาท แต่ไม่เกิน 300 บาท ต่อการจ้าง ทั้งคณะ นายสำ�ราญได้หมอลำ�ในอายุได้ 17 ปี จึงได้แต่งงานกลับ นางหนูจณ เหล่าบุตรศรี และได้ย้ายมาอยู่คณะ ส. เสียงทอง ซึ่ง เป็นหมอลำ�ที่มีเวที เครื่องเสียง ทั้งนี้ คณะเสียงทองหาอาจารย์มา สอนดนตรี โดยมีกลองชุด เบส แอคโคเดียนแซกโซโฟนเพื่อประกวด การแสดงหมอลำ� โดยนายสำ�ราญได้อาสาเป็นคนฝึกเป่าแซกโซพนไปกับคณะ หมอลำ�ตั้งแต่บัดนั้น ส่วนการคิดค้นการเป่าแซกโซโพนกับการแสดง

หมอลำ�นั้น เกิดจากรู้จักท่วงทำ�นองการลำ�ประเภทต่างๆ เป็นอย่าง ดี จนเป็นที่ย่อมรับและชื่นชมของผู้ชมรวมทั้งหมอลำ�คณะอื่น จึงได้ มีการว่าจ่ายวงดนตรีไปแสดง หรือร่วมเล่นดนตรีประกอบหมอลำ� ในการประกวดต่างๆ รวมถึงการแสดงออกอากาศในวันเสาร์อาทิตย์ ทางสถานีโทรทัศน์ จึงได้รู้จะกับทองมี มาลัยและได้ชักชวน ไปร่วมบันทึกแผ่นเสียงชุดแรก ซึ่งตอนนั้นก็มีนักร้องที่ได้ร่วมงานกัน เช่น เทพพร เพชรอุบล ร้อยเอ็ดเพชรสยาม ศักดิ์สยาม เพชรสยาม เพชรชมพู และทองมี มาลัย และบันทึกแผนเสียงครั้งที่สองที่ห้อง อัดคิงซาวด์ โดยมีอาจารย์สำ�ราญ เป็นผู้เป่าแซกโซโพนประกอบใน เพลง จึงเป็นที่รู้จักตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นอกจากนั้นก็ได้เป่าแซกโซโพนให้กับศิล ปิ น นั ก ร้ อ งคน อื่นๆ อีก เช่น ทองมี มาลัย ในเพลงฝากจากซาอุ บานเย็น รากแก่น ลำ�เต้ยให้ ป. ฉลากน้อย ส่งเสริม ศักดิ์กุณา นภาเจริญ และหมอลำ� ภูไทตังหวาย มลฤดี พรหมจักร สำ�ราญชัย ณ อุบลฯ บุญล้อม พิกุล ศรี และคณะหมอลำ�ผญาซิ่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของหมอลำ�จังหวัด มุกดาหาร โดยมี สมปอง ทองเฉย เป็นเจ้าของคณะ ปัจจุบันสำ�ราญ บุบผาวาสน์ยังทำ�การแสดงอยู่กับวงเพชรสยามผญาซิ่ง จังหวัด มุกดาหาร

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2552


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.