ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
สาขา
อมรศิลปินมรดกอีสาน
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์) ( ประพันธ์เพลง )
ตุ้มทอง โชคชนะ หรือ เบญจมินทร์ เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงรุ่นเก่าชื่อดังที่ ได้รับฉายาว่า “ราชาเพลงรำ�วง” ในยุคที่วงการลูกทุ่งเพิ่งจะบุกเบิก นอกจากนั้นก็ เคยสร้างและกำ�กับภาพยนตร์ เขียนบทละครและภาพยนตร์หลายเรื่อง รวมทั้งร่วม แสดงภาพยนตร์ด้วย ในวงการเพลง เบญจมินทร์ เป็นที่รู้จักอย่างมากจากเพลงรำ�วง อย่าง เมขลาล่อแก้ว, รำ�วงแจกหมวก, แมมโบ้จัมโบ้, อึกทึก, มะโนราห์ ๑-๒, สาลิกา น้อย, รำ�วงฮาวาย, รำ�เต้ย, อายจัง และอีกมากมาย ส่วนเพลงลูกทุ่ง เขาโด่งดังจาก เพลงแนวเกาหลีหลายเพลง ต้นฉบับแนวเสียงของ “สุรพล สมบัติเจริญ” เจ้าของ ฉายา ราชาเพลงลูกทุ่ง และเป็นคนเปิดศักราชของลูกทุ่งอีสานและชาวอีสานใน วงการเพลงลูกทุ่งของเมืองไทย ช่วงที่กำ�ลังรุ่งโรจน์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๕ เพลงของเขาได้รับความนิยมและมักสอดแทรกด้วยอารมณ์ขัน อย่างเช่น เพลง “ไป เสียได้ก็ดี” ซึ่งบันทึกเสียงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ นายตุ้มทอง โชคชนะ เป็นชื่อ- นามสกุลจริง ของ เบญจมินทร์ เกิด เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรสิบเอก บุญชู โชคชนะ นับถือศาสนาพุทธ และนางคูณ โชคชนะ พ่อเป็นชาวบ้านย่อ อำ�เภอ คำ�เขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี (ในสมัยนั้น) ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดยโสธร เป็น พุทธศาสนิกชน ส่วนแม่เป็นชาวเวียงจันทน์ นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเป็นต้นเสียงขับร้องเพลงในโบสถ์ และด้วยบทบาทในศาสนกิจของแม่นี่เอง ที่ ทำ�ให้เบญจมินทร์ซึมซับจดจำ�เป็นแม่แบบทางด้านศิลปะการขับร้องตั้งแต่อายุได้ ๓ ขวบ ก่อนเข้าสู่วงการเพลงเป็นนักร้อง เบญจมินทร์เคยรับราชการตำ�รวจมาก่อน เป็นนักร้องรุ่นราวคราวเดียวกันกับ เสน่ห์ โกมารชุน, ชะลอ, ไตรตรองสอน, เนียน วิชิตนันท์, กุงกาดิน หรือนคร ถนอมทรัพย์ เสียงของเบญจมินทร์เป็นที่รู้จักและ และประทับใจแก่แฟนเพลง ด้วยเพลง “ชายฝั่งโขง” ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกโดยการนำ� เอาเพลงรำ�วงรำ�โทน มาบันทึกแผ่นเสียง ออกจำ�หน่าย และได้หันมาแต่งเพลงรำ�วง อย่างเอาการเอางาน ต้นฉบับรำ�วงแบบเบญจมินทร์ได้สร้างความประทับใจแก่แฟน เพลงยากที่นักร้องยุคนั้นจะตามทัน จนมีผู้ให้สมญานามว่าเป็น “ราชาเพลงรำ�วง ” ของเมืองไทย เบญจมินทร์ใช่จะมีแต่ผลงานที่เป็นเพลงรำ�วงหรือเพลงสนุกสนาน ครึกครึ้น เขายังมีความสามารถในการประพันธ์เพลงแนวหวานอมตะได้หวานซึ้งยิ่ง เบญจมินทร์คือช่างเพชรผู้เจียรไนและป้อนเพลงหวานให้ “ทูล ทองใจ” นักร้องผู้ ผูกขาดแนวเพลงหวานซึ้งของวงการลูกทุ่งไทย ผลงานการประพันธ์เพลงแนวหวาน เกือบทุกเพลงล้วนเป็นอมตะ เช่นผลงานเพลง โปรดเถิดดวงใจ, นวลปรางนางหอม, ในฝัน เหนือฝัน เป็นต้น ที่ประพันธ์เองร้องเองจนได้รับความนิยม เช่น ไม่ใช่หัวตอ,
หนาวอารมณ์, ทูนหัวอย่าร้องให้, ยอดรักพี่อยู่ไหน และสุดยอดเพลงรำ�วงที่โด่งดัง ได้ รับความนิยมและนำ�มาร้องกันจนถึงในยุคปัจจุบัน คือ ผลงานเพลง รำ�เต้ย อันลือลั่น ประพันธ์เองร้องเอง จากการเข้ารับราชการทหารในสงครามเกาหลีในครั้งนั้น ระยะ เวลา ๖ เดือนในเกาหลีทำ�ให้เขาได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลงลูกทุ่งชุด เพลงอารีดัง เสียงครวญจากเกาหลี รักแท้จากหนุ่มไทย และเกาหลีแห่งความหลัง จน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ชีวิตและผลงาน เบญจมินทร์ได้ผ่านวงการบันเทิงไทยมา ทุกรูปแบบ โดยเริ่มจากการสร้างภาพยนตร์ จนทำ�ให้ “ภัทราวดี (ศรีไตรรัตน์) มีชูทน” นางเอกของเรื่องได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง จากเรื่อง ไม่มีสวรรค์สำ�หรับคุณ นอกจาก นี้ยังได้แสดงภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องโดยได้รับบทเป็นพระเอกเช่นเรื่อง เพื่อนตาย ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในการแสดง คือเรื่อง ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น การสร้างสรรค์ผลงานเพลงลูกทุ่งทั้งร้องและประพันธ์ไว้เป็นอมตะมากมาย และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เบญจมินทร์ เป็นผู้มีอุปนิสัย ซื่อตรง ไม่เสแสร้ง อัน เป็นอุปนิสัยของคนอีสานอย่างแท้จริง เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองสูง มีความทะนง ในความเป็นศิลปินพอๆ กับความเฉยเมยต่อความช่วยเหลือ แม้ขณะที่มีความทุกข์ ยากลำ�บาก และแม้วาระสุดท้ายของชีวิต บุคคลท่านนี้มีความสามารถในศิลปะสาขาต่างๆ ชั้นเชิงการขับร้อง หรือการ ประพันธ์เพลงนั้น จัดอยู่ในชั้นครู และมีความสามารถในศิลปะแขนงอื่นมากมาย อาทิ เขียนบทละคร เขียนบท แสดง สร้างและกำ�กับภาพยนตร์ ปูชนียบุคคลชาวอีสานผู้เอกอุและอุดมหลากในงานศิลป์ และจะโดยตั้งใจหรือ ไม่ตั้งใจก็ตาม ศิลปินท่านนี้ถือเป็นผู้บุกเบิกแผ้วถางทางให้ชาวอีสานรุ่นหลังได้มีที่ยืน ในวงการเพลงบ้านเรา สมแล้วที่ท่านได้สมญานาม เบญจมินทร์ “ราชาเพลงรำ�วง” ของเมืองไทย จากการทำ�งานหนักมาตลอดชีวิตและแล้วในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๗ ราชาเพลงรำ�วงผู้ยิ่งใหญ่ ก็ได้ลาโลกนี้ไปด้วยอาการหัวใจล้มเหลว จากเกียรติคุณในการสร้างสรรค์ผลงานการขับร้องเพลงลูกทุ่งจนเป็นที่ยอมรับ และช่วยเหลือสังคม นายตุ้มทอง โชคชนะ จึงสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลอมรศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ประพันธ์เพลง) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
รองศาสตราจารย์สุวิช สถิตวิทยานันท์ ( ประติมากรรมร่วมสมัย )
สาขา
วรรณศิลป์
รองศาสตราจารย์สุวิช สถิตวิทยานันท์อายุ 69 ปี เกิดเมื่อวัน ที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2486 ณ ตำ�บลนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 1891 ซอยสืบศิริ21 ถนนสืบสิริ ตำ�บลใน เมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สำ�เร็จการศีกษาสูงสุด ระดับปริญญาโทหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สขาประติมากรรม จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์สุวิช สถิตวิทยานันท์ เป็นศิลปิน นักวิชาการด้านศิลปะ ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านการ สร้างสรรค์ การศึกษาและการบริหาร เป็นผู้ก่อตั้งคณะศิลปกรรม ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นคณะบดีคนแรก ซึ่งได้ บริหารงานมาถึง 2สมัย รวมถึงเป็นผู้ที่มีส่วนในการก่อกำ�เนิดกลุ่ม อีสานในยุคสมัยนั้น ในด้านของการสร้างสรรค์นับเป็นประติมากรที่ มีผลงานโดดเด่นคนหนึ่งของภาคอีสานแม้แต่เวทีระดับชาติ ซึ่งเคย ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม ในโอกาสการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 29 ในปีพุทธศักราช 2526 ด้วยผลงานประติมากรรมชุด “ แม่กับลูก” ซึ่งท่านได้เริ่ม สร้างสรรค์มาตั้งแต่พุทธศักราช 2521 และยังสร้างสรรค์ขยายผล ต่อเนื่องมาหลายปี จนได้รับฉายยา “สุวิชแม่กับลูก” นอกจากผลงานสร้างสรรค์ชุดสำ�คัญแล้ว รอง ศาสตราจารย์ สุสิช สถิตวิทยานันท์ ยังได้สร้างผลงานเป็นที่ ประจักษ์อีกหลายชิ้นงาน อาทิ บูรณะซ่อมแซมเศียรพญานาค ประดับปรางค์ประธานปราสาทหินพิมาย ในปี พุทธศักราช 2512
ได้ออกแบบประติมากรรมดินเผาประดับผนังโบสถ์ที่วัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา ในปีพุทธศักราช 2124 ออกแบบประติมากรรม นูนต่ำ� ประดับผนังด้านหลังชีวประวัติ ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ธนะ รัชต์ ที่หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในปีพุทธศักราช 2535 ได้ ออกแบบสร้างบรมราชาอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 ประดิษฐานหน้า อาคารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปีพุทธศักราช 2539 ได้ออกแบบสร้างพระบรมราชาอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ที่ค่ายลูกเสือ จังหวัดขอนแก่นในปีพุทธศักราช 2540 ได้ออกแบบประติมากรรม นูนต่ำ�ดินเผาประดับตกแต่งประตูศรีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน ปีพุทธศักราช 2541 ซึ่งเป็นการสร้างประติมากรรมที่งดงาม และ สื่อถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้อย่างชัดเจน เมื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขยายวิทยาเขตไปยังจังหวัดหนองคาย ยัง ได้สร้างประติมากรรม ประดับหน้าอาคารอำ�นวยการ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ผลงานชิ้นสำ�คัญที่เป็นความภาค ภูมิใจคือ การสร้างพระธาตุพนมจำ�ลองหล่อด้วยทองคำ� เพื่อทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตร แก่ผู้สำ�เร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์สุวิช สถิตวิทยานันท์จึงสมควรได้ รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศน ศิลป์ (ประติมากรรมร่วมสมัย) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2555 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายไพวรินทร์ ขาวงาม ( วรรณกรรมร่วมสมัย )
นายไพวรินทร์ ขาวงาม เป็นชื่อและสกุลจริงของนักเขียน ชื่อดัง เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔ เป็นชาวบ้านสาหร่าย อำ�เภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แม้จะไม่ได้ร่ำ�เรียนสูงแต่เพียง บวชเรียนเท่านั้น แต่เขาเองใฝ่ศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะการ อ่านหนังสือ จนได้เข้าไปทำ�งานในแวดวงหนังสือ ประจำ�กอง บรรณาธิการหนังสือชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย ก่อนจะมีผลงานโด่ง ดังออกมาให้นักอ่านได้ชื่นชมหลายเล่มและจากผลงานที่โดดเด่น ของเขานี่เอง ทำ�ให้มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครมอบ ปริญญา ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย ให้ในปี พุทธศักราช ๒๕๔๘ โดยผลงานของเขานั้นมีมากมาย ทั้งบทกวี ความ เรียง เรื่องสั้น และ บทเพลง โดยเฉพาะในปี ๒๕๒๘ รวมเล่มบท กวี “ลำ�นำ�วเนจร”ก็เข้าไปอยู่ในใจของใครหลายคน รวมไปถึง รวม เล่มบทกวี “คำ�ใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ”ในปี ๒๕๒๙ และ “ฤดีกาล” ใน ปี ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นรวมเล่มบทกวีอีกเล่มหนึ่งที่หลายคนซื้อเอาไว้และ คาดว่าน่าจะได้รางวัลซีไรต์ ซึ่งเข้าไปชิงชัยกับนักเขียนชื่อดังทั้งสอง เล่มแต่ก็พลาดหวัง จากนั้นในปี ๒๕๓๘ รวมเล่มบทกวี “ม้าก้าน กล้วย”ก็อุบัติขึ้นและได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์ ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ รางวัลซีไรต์ ในปีเดียวกัน นอกจากผลงานด้านบทกวีแล้ว ไพวรินทร์ ยังมี ผลงานด้านความเรียง และ เรื่องสั้นออกมาให้ได้อ่านกันและมีผล งานบางเล่มที่มีการนำ�ไปแปล และ พิมพ์เผยแพร่ด้วยภาษาต่าง ประเทศอีกด้วย
และผลงานการแต่งเพลงของเขาก็ไม่ได้ด้อยไป กว่าการเขียนบทกวี โดยมีหลายเพลงที่มีศิลปินทั้งเพื่อชีวิตและลูก ทุ่งนำ�เอาไปขับร้องและได้รับรางวัลจากหลายเวที โดยเฉพาะบทกวี “ไหมแท้ที่แม่ทอ”ที่อยู่ในรวมเล่มบทกวี ม้าก้านกล้วย ครูเพลงอย่าง สลา คุณวุฒิ ก็นำ�ไปใส่ทำ�นองและให้ ต่าย อรทัย นักร้องเพลงลูกทุ่ง ชื่อดัง ขับร้องจนได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทการประพันธ์คำ�ร้อง เพลงไทยลูกทุ่ง “เพชรในเพลง” กรมศิลปากร ในปี ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา รวมไปถึงการที่เขาสามารถสื่อสาร บทกวีที่เขา เขียนออกมาได้อย่างมีท่วงทำ�นองก็ทำ�ให้เขาได้รับเชิญไปอ่านบทกวี ยังต่างประเทศอยู่เสมอ ไพวรินทร์เอง ไม่ได้สร้างสรรค์ผลงานเขียนเพียง อย่างเดียวเท่านั้น เขายังอุทิศตน เป็นครูสอนการอ่าน การเขียนให้กับ เด็กนักเรียนในและนอกโรงเรียนเป็นเวลากว่า 20 ปี เพื่อจุดประกาย ไฟฝันให้เด็กและเยาวชนสนใจการอ่าน การเขียน ด้วยการนำ�เอา ประสบการณ์ และทักษะ การเขียนของเขาไปถ่ายทอดให้เด็กและ เยาวชนเหล่านั้นได้เรียนรู้ และ เขาเองได้ชื่อว่า เป็นครูคนหนึ่ง แม้จะ ไม่ได้สอนอยู่ในโรงเรียนก็ตาม ดังนั้น ไพวรินทร์ ขาวงาม จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้ เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์(วรรณกรรมร่วมสมัย) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายคำ�แอ ทองจันทร์ (คำ�เกิ่ง ทองจันทร์)
( ประพันธ์เพลงลูกทุ่งหมอลำ� )
อ.คำ�แอ ทองจันทร์ หรือชื่อเดิม คำ�เกิ่ง ทองจันทร์ เกิดวันที่ 2 กรกฎาคม 2489 ปีจอ เป็นชาว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เจ้าของผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงดัง ‘’ปากโกรธใจคิดถึง’’ ซึ่งขับ ร้องโดย ‘’สาธิต ทองจันทร์’’ และผลงานกลอนลำ�อีกมากมาย คำ�แอ ทองจันทร์ หรือนามอันลือลั่น “คำ�เกิ่ง ทอง จันทร์”เกิดที่ร้อยเอ็ดเมืองสาเกตนคร เด็กชาวนาดงดอนผู้เกิดมา ท่ามกลางอารยธรรมอีสาน วิถีชีวิตของผู้คนที่ดำ�เนินไปในการแก้ ปัญหาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้สัมผัสความเป็นศิลปินตั้งแต่แม่ ร้องกล่อม ซึมซับคำ�เจรจาคำ�สอนจากวัฒนธรรมและศาสนา นำ�พา ให้ได้เรียนรู้การใช้ถ้อยคำ�สัมผัส การผูกอักษรจนถนัดให้ไพเราะกิน ใจอุปไมยอุปมา ท่วงทำ�นองแหล่เทศนาหลากหลาย ประทับฝังใจ ให้เกิดความมุ่งมั่น ค่อยๆสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจ โดยอาศัย ประสบการณ์ที่ผ่านพบ ถ่ายทอดความเจนจบของชีวิตผ่านออก มาเป็นอารมณ์ความรู้สึก ชวนให้ผู้ฟังนึกคล้อยตามจนเหมือนจริง ความรักยามหวานก็แสนหวานกว่าทุกสิ่ง ยามอาลัยก็ยิ่งครวญคร่ำ� รำ�พันแทบขาดจิต เมื่อยามคิดก็คิดถึงราวจะโลดแล่นไปหา ผลงา นอักษราทุกถ้อยความ ล้วนแพรวพราวงดงามด้วยวรรณศิลป์ อันท่วงทำ�นองของการร้องลำ�นั้นเล่า ก็ถือเอาแบบอย่าง ครู ที่เรียนรู้จากบรรพชน แล้วฝึกฝนจนชำ�นาญ หาญกล้าออก แสดง จนส่องแสงโด่งดัง พัฒนาพลังเสริมต่อด้วยลีลาเอกลักษณ์
เป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ ฉลาดในเชิงไหวพริบด้นกลอน สำ�เนียงเสียงถ้อยคำ�ลึกล้ำ�ออดอ้อนแสนกินใจ ชนต่างหลงใหลชื่นชม ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ กระแสอื่นพุ่งซัดสังคม ไทย แต่คำ�เกิ่งมิหวั่นไหวสิ่งนั่น มุ่งยืนหยัดสร้างสรรค์ ผลักดันศิลปะ อีสาน ผสานวัฒนธรรมใหม่ให้กลมกลืน ให้ศิลปินยืนอยู่ได้ มีความ หมายว่าเราคือของแท้ มิพ่ายแพ้แก่ผู้ใด ส่งเสริมขัดเกลาให้ลูก หลานบ้านเฮา แต่งกลอนลำ�เอาให้ไปร้อง แต่งทำ�นองเอาไปให้เอื้อน ประสานผองเพื่อนน้องพี่ ที่มีใจรักงานด้วยกัน สร้างสรรค์เผยแพร่ ด้วยสื่อตามยุคสมัย ปลอบขวัญกำ�ลังใจมิให้ท้อ ทำ�งานต่ออย่าล้ม อดทนขมต่อความไม่สำ�เร็จ ไม่เข็ดต่อความล้มเหลว มีเปลวไฟแห่ง การทำ�งาน สู้บากบั่นมิท้อถอย จนกระทั่งพลอยเปล่งแสงเจิดจรัส เป็นมหัศจรรย์แห่งวงการ ได้ชื่อว่า“พญาอินทรีย์แห่งอีสาน” เป็น ตำ�นานผู้สร้างศิลปิน กล่าวยลยินได้ว่า ยังไม่เคยมีศิลปินกล้าผู้ใด จะ ยิ่งใหญ่เทียมเท่า ว่าเป็นผู้เฝ้าส่งสร้างศิลปินหมอลำ� ให้โด่งดังเลิศล้ำ� ชื่อก้อง มากที่สุดของเมืองไทย เท่าที่มีในยุคสมัยของท่าน ด้วยความ ดีและความสามารถที่ฝ่าฟัน เป็นที่ประจักษ์กันแก่ทุกผู้ เราทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันเชิดชูเกียรติยศ ให้ปรากฏแก่ชนทั้งแผ่นดิน ว่านี่แหละ คือศิลปินมรดกอีสาน ผู้เป็นตำ�นานแห่งวรรณศิลป์หมอลำ�อีสาน ให้ เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานสืบต่อไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายสมภพ บุตราช ( จิตรกรรมร่วมสมัย )
สาขา
ศิลปะการแสดง
นายสมภพ บุตราช เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2500 เป็นชาว อำ�เภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สำ�เร็จการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียน ขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น แต่ด้วยความสนใจในการวาด ภาพมาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ใน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และสำ�เร็จการศึกษาในระดับปริญญา ตรีในสาขาจิตรกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร สมภพได้ส่งผลงาน เข้าร่วมประกวดในเวทีศิลปกรรมแห่งชาติและได้รับรางวัลเหรียญ ทองแดงในประเภทจิตรกรรม อันเป็นเครื่องยืนยันถึงความไม่ ธรรมดาในทักษะฝีมือโดยเฉพาะในการเขียนภาพแนวเหมือนจริง ส่ง ผลให้รับการชักชวนจากศิลปินรุ่นพี่อย่างเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และ ปัญญา จินธนสาร ให้ไปร่วมเขียนภาพจิตรกรรมไทยประเพณี ที่วัด พุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประสบการณ์ครั้งสำ�คัญ ในประเทศอังกฤษกว่า 10 ปี ได้เปิดโอกาสให้สมภพ บุตราช มีโอกาส ศึกษาเรียนรู้ศิลปะร่วมสมัยในแง่มุมแปลกใหม่อย่างหลากหลาย ด้วย หัวใจของความเป็นนักสร้างสรรค์ที่มีอย่างเต็มเปี่ยม จึงได้ใช้จังหวะ โอกาสนี้สร้างสรรค์ผลงานร่วมสมัยออกจัดแสดง ณ Royal Academy ประเทศอังกฤษ ในหลายโอกาส หลังจากเดินทางกลับมาอยู่ที่ เมืองไทย ในราวปี พุทธศักราช 2540 สมภพได้แสดงผลงานอย่างต่อ เนื่องเริ่มจากผลงานชุด “หนึ่งตีน หนึ่งเท้า”“ชุดอนิจจัง” ชุด “เดือน หก” ที่นำ�ดินมาเป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ครั้งแรก ตามมาด้วยชุด
“นางฟ้า อัญมณี” ชุด “กรุงเทพเมืองเทพ” ชุด “นางสงกรานต์” ที่ นำ�แรงบันดาลใจมาจากภาพเขียนไทยตามจินตนาการ แต่สิ่งหนึ่งที่ สมภพไม่เคยละทิ้งคือ เรื่องราวที่สะท้อนความเป็นตัวตนของเขา ที่ สัมพันธ์รากเหง้าภูมิปัญญา ดังจะเห็นได้จากผลงานในระยะหลังที่มี กลิ่นไอของความเป็นจิตรวิญญาณอีสานซ่อนแฝงอยู่อย่างเต็มเปี่ยม อาทิ ผลงานชุด “บันไดสวรรค์” ที่นำ�ภาพใบหน้าของบรรดาปราชญ์ อีสาน รวมถึงผู้คนที่เขารักและศรัทธามาบรรจงแต้มแต่ง ด้วย “ดิน” วัสดุจากธรรมชาติที่เก็บมาจากพื้นที่ต่างๆในภาคอีสาน เพื่อจะบ่ง บอกถึงความประสานจิตวิญญาณในตัวเขากับพื้นที่ที่เขาผูกพัน อัน เป็นต้นแบบของศิลปินในการสร้างสรรค์ที่น่าประทับใจยิ่งอีกท่าน หนึ่ง นอกจากการเป็นนักสร้างสรรค์ที่มีความสามารถอย่างยิ่งยวด แล้วท่านยังได้อุทิศตนในการเผยแพร่ศิลปะ ทั้งด้านกิจกรรมทาง ศิลปะ และในด้านการศึกษาทางศิลปะ โดยท่านได้รับเชิญเป็น อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพาะช่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกด้วย จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมร่วมสมัย) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2555 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นางฐิติรัตน์ โคตรหานาม ( ขับร้องเพลงลูกทุ่งอีสาน )
นางฐิติรัตน์ โคตรหานาม หรือชื่อที่รู้จักในวงการ คือ “ไพ รินทร์ พรพิบูลย์” ปัจจุบันอายุ ๕๘ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ภูมิลำ�เนาเดิม บ้านยางแคน อำ�เภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านยางแคน อำ�เภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ไพรินทร์ พรพิบูลย์ นับว่าเป็นศิลปินพื้นบ้านอีสานขนานแท้ เริ่มฝึกการลำ�ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ กับหมอลำ�คำ�ปุ่น ฟุ้ง สุข ซึ่งเป็นหมอลำ�ชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น และมีฐานะเป็นญาติกับฐิติ รัตน์ ทำ�ให้ได้ฝึกร้องหมอลำ�อย่างใกล้ชิด จนมีความสามารถที่จะออก แสดงได้ หมอลำ�คำ�ปุ่นจึงพาไปเปิดการแสดงที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธอปไตยประชาชนลาว จนเมื่อมีอายุ ย่างเข้า ๑๗-๑๘ ปี ผู้เป็นอาจารย์ (หมอลำ�คำ�ปุ่น) ก็พาไปฝากกับ ครูสุรินทร์ ภาคสิริ นักประพันธ์เพลงลูกทุ่งชื่อดังของเมืองไทย ซึ่งมี ความคุ้นเคยกับหมอลำ�คำ�ปุ่นเป็นอย่างดี ด้วยน้ำ�เสียงใสซื่อ อันเป็น เอกลักษณ์แบบพื้นบ้านของเธอ ทำ�ให้เธอได้รับโอกาสในการบันทึก แผ่นเสียงครั้งแรก ด้วยบทเพลง “สาวน้อยลำ�เพลิน” และ “คอยหา บ่เห็น” เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง “นายอำ�เภอปฏิวัติ” แต่ผล งานเพลงที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือเพลง “ลำ�กล่อมทุ่ง” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ที่ใช้เป็นเพลงประกอบในภาพยนตร์ เรื่อง “มนต์ รักแม่น้ำ�มูล” และมีผลงานเพลงอีกมากมายที่ได้รับความนิยมไปทั่ว ประเทศ อาทิ เพลงโซลสาละวัน, เพลงผีหลอก, เพลงลำ�เพลิน, และ เพลงลำ�ตังหวาย นอกจากนั้นยังมีผลงานเพลงอีกจำ�นวนหนึ่งที่ไม่มี โอกาสได้บันทึกลงแผ่น แต่ก็ใช้ขับร้องในการแสดงสดตามที่ต่าง ๆ
จนถึงประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๒๐ จึงได้เข้ามาร่วมอยู่ประจำ�ในวงดนตรี หมอลำ�ประยุกต์ “ทิดโส ลำ�เพลิน” ของ ครูสุรินทร์ ภาคศิริ ซึ่งเป็น ผู้ประพันธ์เพลงสร้างชื่อเสียงให้กับเธอเป็นส่วนใหญ่ และได้ร่วมงาน แสดงอยู่ในวงการเพลงลูกทุ่งอีสาน จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๐ จึงได้วางมือ เพราะด้วยปัญหาด้านสุขภาพ แต่ในช่วงหลังของชีวิตศิลปินเธอก็ยัง ได้ฝากผลงานเพลงออกมาให้แฟนเพลงได้หายคิดถึง โดยร้องคู่กับ พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย ในชุด “หมอลำ�พันธุ์แท้” ไพรินทร์ พรพิบูลย์ หรือ ฐิติรัตน์ โคตรหานาม นับเป็นผู้ที่มี ความสามารถในการขับร้องเพลงลูกทุ่งอีสานที่มีเอกลักษณ์ในแบบ ฉบับของตนเอง น้ำ�เสียงของเธอได้ประทับอยู่ในความทรงจำ�ของ ใครหลายคนนับจากอดีตในช่วงที่ผลงานโด่งดังถึงที่สุดจนถึงปัจจุบัน แม้บรรยากาศนั้นจะเลือนลางจางไป แต่เชื่อว่านักร้องลูกทุ่งเสียงใส คนนี้คือ หนึ่งในเพชรเม็ดงามที่เคยประดับอยู่ในแถวหน้าของวงการ ลูกทุ่งเมืองไทยมาแล้ว ถึงแม้ปัจจุบันเธออาจจะไม่สามารถขับขาน บทเพลงได้ดีเหมือนอย่างเคย เพราะอาการเจ็บไข้ของเธอ แต่มีความ ตั้งใจที่จะช่วยเหลืองานอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมในโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะการอุทิศเวลาในการถ่ายทอดศิลปะการขับร้องลูกทุ่งอีสาน และหมอลำ� ให้กับลูกหลาน ตลอดถึงผู้สนใจ เพื่อสืบสานศิลปะการ แสดงไว้ให้เป็นมรดกอีสานสืบไป นางฐิติรัตน์ โคตรหานาม (ไพรินทร์ พรพิบูลย์) จึงสมควรได้รับ ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง(ขับ ร้องเพลงลูกทุ่งอีสาน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายจเร ภักดีพิพัฒน์ (เพชร พนมรุ้ง) ( ขับร้องเพลงลูกทุ่ง )
นายจเร ภักดีพิพัฒน์ หรือชื่อที่รู้จักในวงการ คือ เพชร พนม รุ้ง ปัจจุบันอายุ ๗๒ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๔ ที่อำ�เภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๘ จากโรงเรียนสันติราษฎร์บำ�รุง กรุงเทพมหานคร เพชร พนมรุ้ง เป็นศิลปินอีกท่านหนึ่งที่มีความสามารถใน การขับร้องเพลงลูกทุ่งในแบบฉบับของตนเองคือรูปแบบเพลงโห่ ซึ่งเพลงลูกทุ่งแนวนี้ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก อิทธิพลนี้ได้หลั่ง ไหลเข้ามาในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๐ จากภาพยนตร์แนว คาวบอย หรือคาวเกิร์ล ของฮอลลีวู้ด ซึ่งได้แฝงทำ�นองเนื้อร้องที่เรา เรียกว่า “โห่” เอาไว้ในเพลง ทำ�ให้เขาเกิดความสนใจในแนวทาง นี้ จึงคิดนำ�มาประยุกต์และดัดแปลงเข้ากับทำ�นองเพลงลูกทุ่งใน ประเทศไทย ด้วยความหลงใหลและสนใจในกลิ่นอายของเพลงโห่ ทำ�ให้ เพชร พนมรุ้ง จำ�ลีลาการร้องลูกคอแบบฮาร์โมนิกจากศิลปิน ท่านอื่น ๆ และยังได้หัดเล่นกีตาร์ เบนโจ จากพี่ชายที่ได้เรียนรู้มา จากนักดนตรีชาวฟิลิปปินส์ที่เข้ามาเล่นดนตรีในประเทศไทย ซึ่ง ในยุคสมัยนั้นเมืองไทยยังไม่ค่อยมีการใช้เครื่องดนตรีสากลมากนัก ต่อมาเพชร พนมรุ้ง ได้เข้าประกวดร้องเพลงโดยใช้ชื่อและนามสกุล จริง (จเร ภักดีพิพัฒน์) ในเวทีงานภูเขาทอง วัดสระเกศ จนทำ�ให้ ครูพยงค์ มุกดา เห็นแววและชื่นชอบในการร้องเพลงแบบโห่ที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว หลังจากนั้นไม่นานก็ทำ�ให้ทุกคนรู้จัก เพชร พนมรุ้ง ในนามศิลปินเพลงโห่ของเมืองไทย ผลงานเพลงชิ้นแรก
ๆ ที่ครูพยงค์ มุกดา ได้ประพันธ์ให้ เช่น ใกล้รุ่ง, อย่ากลัว เป็นต้น แต่เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เพชร พนมรุ้ง มากที่สุดเห็นจะเป็น เพลง “เมื่อเธอขาดฉัน” ประพันธ์โดย ชัยชนะ บุญนะโชติ นอกจากนี้ยังมี ผลงานเพลงอีกมากที่ได้รับความนิยมจากแฟนเพลง อาทิ ลูกทุ่งเสียง ทอง, ธรรมชาติบ้านนา ๑ ,บางปู ๑, หนุ่มนักเพลง, ประกายเดือน ฯลฯ จนทำ�ให้ “เพชร พนมรุ้ง” ได้รับฉายาให้เป็น “ราชาเพลงโห่” หรือที่เราคุ้นเคยในนาม “จังโก้ไทยแลนด์” เพชร พนมรุ้ง นับเป็นศิลปินอีกท่านหนึ่งที่มีแนวการร้อง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะการนำ�ทำ�นองเพลงของตะวัน ตกมาประยุกต์ให้เข้ากับคำ�ร้องเนื้อร้องที่เป็นภาษาไทยได้อย่างลงตัว จนทำ�ให้เพลงประเภทนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จ ากผู้ ฟัง ใน ประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับเหรียญพระราชทานสังคีตมงคล จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานเพลงดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค ๒ จากเพลง “ลูกทุ่งเสียงทอง” นายจเร ภักดีพิพัฒน์ หรือ เพชร พนมรุ้ง จึงสมควรได้รับ การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นางดารินทร์ ชุมมุง (พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย)
( ขับร้องเพลงลูกทุ่งหมอลำ� )
นางดารินทร์ ชุมมุง หรือที่รู้จักในนาม พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย ปัจจุบันอายุ ๕๓ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๓ ที่บ้านหนองยาง ตำ�บลหนองหมื่นถ่าน อำ�เภออาจสามารถ จังหวัด ร้อยเอ็ด สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียน บ้านหนองยาง ตำ�บลหนองหมื่นถ่าน อำ�เภออาจสามารถ จังหวัด ร้อยเอ็ด พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย เริ่มฉายแววความเป็นศิลปินมาแต่ ครั้งวัยเด็ก โดยเริ่มศึกษาศิลปะการลำ� จากบิดาและมารดาซึ่งมีอาชีพ เป็นหมอลำ� เมื่อเธอสำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้ว ผู้เป็นบิดาและมารดาก็ประสงค์ให้เธอยึดอาชีพหมอลำ�เช่นเดียวกับ ท่านทั้งสอง เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นอาชีพที่ดี แต่ในช่วงเวลาขณะ นั้นวงการลูกทุ่งกำ�ลังได้รับความนิยม เธอจึงตัดสินใจเลือกไต่เต้าเข้า วงการผ่านการประกวดขับร้องเพลงลูกทุ่ง ด้วยแนวเสียง ของ“ผ่อง ศรี วรนุช” ราชินีเพลงลูกทุ่ง จนได้รับรางวัลชนะเลิศ นับเป็นก้าว สำ�คัญ แต่ด้วยพื้นฐานการเป็นหมอลำ�เมื่อเธอเติบโตขึ้น จึงเข้าร่วม แสดงกับคณะหมอลำ�บุญสัญญาลักษณ์ ก่อนจะมาตั้งคณะหมอลำ�ของ ตนในนาม “ขวัญสมัยยุคลำ�เพลิน” และได้บันทึกเสียงครั้งแรกภาย ใต้การสนับสนุนของชินชัย ธรรมพิลา จากผลงานกลอนลำ�ชุด สาว อีสานพลาญชัย, ลำ�เพลินปีใหม่, ลำ�เพลินเต็มใจรัก ซึ่งเป็นผลงานการ ประพันธ์ของอาจารย์คำ�เกิ่ง ทองจันทร์ ซึ่งเป็นครูผู้ผลักดันให้เธอ ได้ก้าวเข้าสู่วงการหมอลำ�อย่างเต็มตัว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๘ พิมพ์ ใจ เพชรพลาญชัยได้มีโอกาสร่วมงานกับศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น ดาว บ้านดอน, เทพพร, ปริศนา วงศ์ศิริ, ทองมี
มาลัย, สลัก ศิลาทอง ฯลฯ การร่วมงานในแต่ละครั้งนั้นนับว่าประสบ ความสำ�เร็จ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนทำ�ให้พิมพ์ใจ เพชร พลาญชัย ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนทุกแขนงให้เป็น “ราชินีหมอลำ� เพลิน” โดยเฉพาะผลงานจากอัลบั้มชุด หนุ่มยาว – สาวสั้น ที่ขับร้อง คู่กับ ดาว บ้านดอน ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์วงการเพลงว่า มี ยอดขายกว่า ๒ ล้านตลับ และสร้างรายได้กว่า ๕๐ ล้านบาท พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย มีผลงานที่สร้างชื่อเสียง ประกอบด้วย ดอกกุหลาบแดง, หมอลำ�ใจเกินร้อย, อีสานคืนถิ่น, รักข้ามโขง, ลำ� เดินกลอนขอนแก่น (สลับสามช่า), ลำ�เพลินรักจริงต้องรอ ฯลฯ เธอได้ ผลิตผลงานออกมาในสื่อหลายรูปแบบ เช่น เทป วีดีโอ ซีดี จำ�นวนกว่า ๓๐๐ ชุด รวมถึงผลงานการแสดงสดหน้าเวทีที่ประยุกต์และพัฒนาให้ มีความทันสมัย นับเป็นศิลปินลูกทุ่งหมอลำ�ขวัญใจมหาชนคนอีสาน ที่ สรรค์สร้างผลงานมากว่าสี่ทศวรรษ ซึ่งมีชีวิตโลดแล่นในวงการหมอลำ� และลูกทุ่งหมอลำ� ทั้งในฐานะศิลปิน และยังเป็นอาจารย์สอนลำ�ให้กับ หมอลำ�อีกมาก รวมถึงศิลปินที่มีชื่ออย่าง ศิริพร อำ�ไพพงษ์ และจินต หรา พูนลาภ เป็นต้น ด้วยความสามารถที่โดดเด่น ในลีลาการขับร้องเพลงลูกทุ่ง หมอลำ�ตามแบบฉบับของตนเอง นางดารินทร์ ชุมมุง หรือ พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดก อีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงลูกทุ่งหมอลำ�) ประจำ�ปี พุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติ สืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายสำ�รอง สาธุการ ( ลำ�กลอน )
นายสำ�รอง สาธุการ หรือ หมอลำ�สำ�รอง สาธุการ ปัจจุบัน อายุ ๖๕ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ ที่บ้าน โคกพัฒนา ตำ�บลโพนงาม อำ�เภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สำ�เร็จ การศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่ ๔ ที่ วัดบ้านโคกทุ่งยั้ง ตำ�บล โพนงาม อำ�เภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สำ�เร็จพระปริยัติธรรม ชั้นตรี ที่วัดป่าเหล่าหนองขุ่น อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จากนั้น ได้ศึกษาเรียนรู้จากชีวิตจริง จากครูอาจารย์ด้านหมอลำ�กลอน และ ได้นำ�ประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง และครอบครัวมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน หมอลำ�สำ�รอง สาธุการ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้าน การประพันธ์กลอนลำ�และการแสดงหมอลำ�กลอนพื้นบ้าน โดยผสม ผสานวัฒนธรรมอีสานเข้าไปในกลอนลำ�และการลำ� นอกจากนั้น ยังได้ใช้การลำ� และกลอนลำ�เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ เรื่องต่าง ๆ อาทิ พระพุทธศาสนา เศรษฐกิจพอเพียง สาธารณสุข ซึ่งหมอลำ�สำ�รอง ได้ใช้การลำ� และกลอนลำ�เป็นสื่อพื้นบ้านในการ เผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนและเยาวชนคนรุ่นใหม่ จากความ สามารถทั้งการประพันธ์ และการแสดง ส่งผลให้ท่านได้บันทึกแผ่น เสียงกับบริษัทเอื้ออารี และห้างโรต้า และได้รับความนิยมในเวลาต่อ มา และนอกจากนั้นท่านยังได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ดังนี้ รางวัล
ชนะเลิศลำ�ประกวดเทิดพระเกียรติ ที่สถานีวิทยุ สวท. มหาสารคาม, รางวัลชนะเลิศฝ่ายชายประกวดหมอลำ�กลอน พระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา จากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย, รางวัลชนะ เลิศการแต่งกลอนลำ�เศรษฐกิจพอเพียง จากสถานีวิทยุ ๙๐๙ กรป. กลางจังหวัดสกลนคร, รางวัลคนดีศรีอุดร จากสำ�นักงานจังหวัด อุดรธานี, รางวัลเพชรสยาม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร, รางวัลหมอลำ�กลอนดีเด่น จากชมรมประชานุกูล เป็นต้น นอกจากความสามารถในด้านการลำ� และประพันธ์กลอนลำ� แล้ว นายสำ�รอง สาธุการ ยังอุทิศตนเพื่อทำ�คุณประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงินช่วยโครงการ ราษฎร์เพื่อรัฐ การเป็นวิทยากรท้องถิ่น หมอลำ�ซิ่ง การสอนลำ�กลอน พื้นบ้านอีสานให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพัฒนา จังหวัดอุดรธานี สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้อุทิศตนทำ�คุณประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม ประเทศชาติของนายสำ�รอง สาธุการ นายสำ�รอง สาธุการ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�กลอน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายอิศม์เดช ฤาชา ( ลำ�กลอน )
นายอิศม์เดช ฤาชา หรือ หมอลำ�จำ�นง ฤาชา ปัจจุบันอายุ ๖๐ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ ที่ตำ�บลบ้าน ยาง อำ�เภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ หมอลำ�จำ�นง ฤาชา เป็นผู้ที่สนใจขับร้องหมอลำ�กลอนตั้งแต่ เด็ก เริ่มฝึกเรียนหมอลำ�อย่างจริงจังเมื่ออายุ ๑๖ ปี หลังจาก สั่งสมประสบการณ์จากครูมาระยะหนึ่ง จึงได้ไปประกวดหมอลำ� ตามเวทีต่าง ๆ ทำ�ให้ได้รับรางวัลมากมาย ต่อมาได้แสดงหมอลำ� เป็นอาชีพอย่างเต็มตัวโดยอยู่กับคณะหมอลำ�สุนทราภิรมย์ ที่ กรุงเทพมหานครเป็นที่แรก ด้วยความสามารถและรูปร่างหน้าตา ดีทำ�ให้มีคนว่าจ้างให้ไปแสดงที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เป็นระยะเวลากว่า ๓ ปี โดยมีนักร้องหมอลำ�ที่ร่วมแสดง คือ ปริศนา วงศ์ศิริ หลังจากกลับ จากการแสดงและเผยแพร่วัฒนธรรมยังต่างประเทศ ก็ได้มาอยู่ สำ�นักงานหมอลำ�บ้านพักทัมใจ จึงมีโอกาสได้ไปแสดงหมอลำ�หมู่ หรือ ที่เรียกว่า “หมอลำ�เรื่องต่อกลอน” หมอลำ�จำ�นง ฤาชา เป็นผู้มีความสามารถในการประพันธ์ กลอนลำ�และถนัดในด้านการแสดงลำ�กลอน ใช้ปฏิภาณโวหาร โต้ตอบกลอนลำ�ได้ดี มีโอกาสได้ไปแสดงหมอลำ�หมู่อยู่หลายปี จึง ได้ตั้งสำ�นักงานหมอลำ�จำ�นง ฤาชา จนได้รับความนิยมชมชอบมา จนถึงปัจจุบัน ผลงานที่ได้เผยแพร่เป็นอัลบั้ม คือ แม่แบบลำ�กลอน
ย้อนยุค ร่วมกับหมอลำ�หลาย ๆ ท่าน เช่น หมอลำ�เคน ดาเหล, หมอลำ�รัศมี อาลัยรัก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้ประพันธ์ กลอนลำ�ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยสำ�นักจัดการทรัพยากรป่า ไม้ที่ ๖ (อุดรธานี) และกลอนลำ�ดังกล่าวได้บันทึกเสียง ทูลเกล้า ฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยความ รักในการแสดงและสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้ นายอิศม์ เดช ฤาชา ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ อาทิ รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ การประกวดหมอลำ�กลอนรุ่นเล็ก จากกระทรวงกลาโหม ,ผู้ใช้ภาษา ไทยถิ่นได้อย่างดีเยี่ยมในการแสดงหมอลำ�กลอน จังหวัดอุดรธานี, หมอลำ�กตัญญูและหมอลำ�กลอนดีเด่นด้านการแสดง จากชมรม ประชานุกูล,รางวัลเชิดชูผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จาก สำ�นักงานวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม นายอิศม์เดช ฤาชา หรือ หมอลำ�จำ�นง ฤาชา เป็นศิลปิน ที่ผู้อุทิศตนเพื่อสังคม เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ศิลปวัฒนธรรม หมอลำ�กลอนให้กับสถาบันการศึกษา ตลอดจนครูอาจารย์และ เยาวชนที่สนใจเรียนหมอลำ� เป็นกรรมการประกวดหมอลำ�กลอน ตามหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดขึ้น นายอิศม์เดช ฤาชา หรือ หมอลำ�จำ�นง ฤาชา จึงสมควรได้รับ การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�กลอน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายจำ�ปี อินอุ่นโชติ ( ลำ�กลอน )
นายจำ�ปี อินอุ่นโชติ หรือ หมอลำ�สมชาย เงินล้านปัจจุบัน อายุ ๖๒ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๐ ที่อำ�เภอ เมือง จังหวัดร้อยเอ็ด สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดร้อยเอ็ด หมอลำ�สมชาย เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการขับ ร้องหมอลำ�เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีบิดาเป็นหมอลำ� ทำ�ให้เกิด เป็นแรงบันดาลใจตั้งแต่เยาว์วัย และเริ่มเรียนหมอลำ�กลอนกับบิดา ตอนอายุ ๗ ปี ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาและเรียนหมอลำ�เรื่องต่อ กลอนกับคณะ “สมศรีรุ่งเรืองศิลป์” ที่จังหวัดมหาสารคาม เมื่ออายุ ๑๖-๑๘ ปี ได้เรียนหมอลำ�สินไซ(สังข์ศิลป์ชัย) หรือที่ชาวบ้านเรียก “หมอลำ�กกขาขาว” ควบคู่ไปกับการเรียนลำ�เรื่องต่อกลอน ทำ�นอง กาฬสินธุ์ ได้รับบทบาทการแสดงเป็นพระเอกสังกัดคณะ “ยอด มงกุฎเพชร” ที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้ง และต่อมาได้ย้ายมาเป็นพระเอก ที่คณะ “ขวัญจักรวาล” พอมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักมากขึ้น จึง ได้เดินทางไปลำ�กับ “หมอลำ�สมาน หงษา” ที่จังหวัดอุบลราชธานี และได้เดินทางไปลำ�ที่ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว หมอลำ�สมชาย มีความรู้ความสามารถในการร้อง หมอลำ�ได้หลากหลายทำ�นอง และเป็นคนที่มีปฏิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาด สามารถนำ�วิชาความรู้ที่มี พร้อมกับที่ได้เรียนมานั้น มาเขียนกลอนลำ�และใช้ลำ�เองด้วย หมอลำ�สมชาย ยังเป็นเจ้าของ
หมอลำ�หลายคณะ อาทิ คณะพัฒนานำ�ยุค, คณะสมชาย วิเศษศิลป์” และได้ร่วมกับบิดาจัดตั้งคณะหมอลำ�เพลิน ชื่อ “คณะดาวเคียง เดือน” ซึ่งเป็นหมอลำ�สังข์ศิลป์ชัยหรือกกขาขาว หมอลำ�สมชาย ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านหมอลำ�และมี บทบาทในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอีสานให้แก่บุคคลรุ่นหลัง ได้รู้จักลำ�กลอน เช่น กลอนลำ�ทางสั้น กลอนลำ�ทางยาว กลอนลำ� เกี้ยว ฯลฯ และนอกจากจะเป็นศิลปินหมอลำ�แล้ว ยังเป็นนักวิชาการ ด้านหมอลำ�ให้กับสถาบันทางการศึกษาในภาคอีสานอีกด้วย อาทิ ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นเวลา ๖ ได้รับเชิญจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด สถาบันดุริยางคศิลป์ กรม ศิลปากร ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านในด้านการ ลำ� และในปี พ.ศ.๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มอบโล่เชิดชู เกียรติ “นาคราชทองคำ�” ในสาขาศิลปะพื้นบ้านอีสาน จึงนับได้ว่า หมอลำ�สมชาย เป็นบุคคลที่สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของอีสานให้อยู่คู่สังคมสืบไป นายจำ�ปี อินอุ่นโชติ หรือ หมอลำ�สมชาย เงินล้าน จึงสมควร ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการ แสดง (ลำ�กลอน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายสมร พลีศักดิ์ ( หนังประโมทัย )
นายสมร พลีศักดิ์ หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ หมอนหนังตะลุง ปัจจุบันอายุ ๗๑ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ ภูมิลำ�เนาเดิม ๓๗ หมู่ที่ ๘ บ้านแต้ ตำ�บลธวัชบุรี อำ�เภอ ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านคางฮุง ตำ�บลธวัชบุรี อำ�เภอธวัชบุรี จังหวัด ร้อยเอ็ด สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ และระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ตำ�บลธวัชบุรี อำ�เภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด นายสมร พลีศักดิ์ สนใจในเรื่องของหนังตะลุงภาคใต้จึงได้นำ� มาประยุกต์ ปรับเปลี่ยน สร้างสรรค์การแสดงให้มีลักษณะประจำ� ถิ่นของอีสาน เรียกว่า “หนังประโมทัย” จึงได้จัดตั้งเป็นคณะหนัง ประโมทัย ชื่อว่า “คณะประกาศสามัคคี” ส่วนใหญ่นิยมแสดง เรื่อง “รามเกียรติ์” ตอน ศึกไมยราพ ดำ�เนินบทโดยใช้การพากย์ และบทเจรจาเป็นกลอนบทละคร ด้วยความสามารถรอบด้าน ทั้ง ดนตรีและการแสดง นายสมร พลีศักดิ์ จึงได้นำ�ประสบการณ์มาใช้ ในการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอีสาน เช่น การพัฒนาสื่อพื้นบ้านเพื่อการศึกษา ส่วนผลงานสร้างชื่อเสียงของ นายสมร พลีศักดิ์ ที่ได้รับยกย่องจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลเกียรติคุณเป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหนัง ตะลุง จากจังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับรางวัลเกียรติคุณ
“เพชรสยาม” จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับรางวัลเกียรติคุณ ผู้สร้างสรรค์ผลงานดีเด่นในด้าน ศิลปะและวัฒนธรรม จากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงไปแสดงเผยแพร่หนังประโมทัยทั้ง ในระดับประเทศและต่างประเทศ เช่น แสดงในรายการ “คุณพระ ช่วย” และการแสดงในงานเทศกาลวิถีชีวิตของสถาบันสมิธโซเนียน ณ กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา นายสมร พลีศักดิ์ นอกจากเป็นศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญทาง ด้านหนังประโมทัยแล้ว ยังเป็นผู้ที่อุทิศตัวทำ�คุณประโยชน์ให้แก่ สังคม ไม่ว่าจะเป็นส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นถิ่น-นาฏศิลป์พื้น บ้าน การนำ�วัฒนธรรมและอัตลักษณ์มาเป็นกระบวนการในการ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท การ แสดงตนเป็นพุทธมามกะ ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษในการให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการแสดงหนังประโมทัย ซึ่งถือเป็นต้นแบบของครูผู้ ให้และศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ นายสมร พลีศักดิ์ จึงสมควรได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หนังประโมทัย) ประจำ� ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายกมนต์โรจน์ นิวัฒน์บรรหาร ( นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานใต้ )
นายกมนต์โรจน์ นิวัฒน์บรรหาร หรือ “ครูจุก” ชื่อที่ทุก คนรู้จักโดยทั่วไป ปัจจุบันอายุ ๖๕ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ ที่บ้านเลขที่ ๗๓๒ ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สำ�เร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ จากโรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ นายกมนต์โรจน์ นิวัฒน์บรรหาร ด้วยความมีน้ำ�ใจ อัธยาศัยดี และชอบช่วยเหลืองานของสังคม จนเป็นภาพชินตาของชาวสุรินทร์ ที่จะเห็นครูจุกร่วมแสดงหรือ ร่วมกิจกรรมสำ�คัญต่าง ๆ ของจังหวัด เป็นประจำ� จากการที่ได้คลุกคลีอยู่กับวงดนตรีและการแสดงพื้น บ้านอีสานใต้ ตั้งแต่วัยเด็กทำ�ให้ครูจุกชอบและสนใจการแสดงพื้น บ้าน โดยได้รับคัดเลือกจากทางจังหวัดให้แสดง เรือมอันเร ในงาน แสดงช้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๖ ซึ่งในขณะนั้นงานช้างถือเป็นงาน ประจำ�ปีของชาติที่จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาชมเป็นจำ�นวน มาก จากนั้นเป็นต้นมาสายเลือดแห่งความเป็นศิลปินก็อยู่ในใจของ ครูจุกเสมอมา ทำ�ให้ครูจุกเป็นตัวแทนของจังหวัดสุรินทร์ในการ แสดงพื้นบ้านถวายแด่พระบรมวงศานุวงศ์ แขกบ้านแขกเมือง รวม ทั้งการได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมยัง ต่างประเทศกว่า ๒๐ ประเทศ การได้รับเชิญเป็นวิทยากรจากสถาบันการศึกษาทั้งในระดับ
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา อีกทั้งชุมชน องค์กรต่าง ๆ เป็นเวลาต่อเนื่องกว่า ๒๐ ปี ทำ�ให้นายกมนต์โรจน์ นิวัฒน์บรรหาร หรือ “ครูจุก ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลผู้ทำ�คุณประโยชน์ต่อกระทรวง วัฒนธรรม ระดับประเทศ และได้รับรางวัลพระราชทานบุคคลผู้ ทำ�คุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ อันแสดงถึงความ ทุ่มเทในการสืบทอดนาฏศิลป์อีสานใต้ให้ดำ�รงคงอยู่ นอกจากนี้ยังได้ พัฒนารูปแบบชุดการแสดงเรือมตร๊ด (รำ�ตรุษ), การแสดงชุดเรือมแค แจ๊ด (ตรุษสงกรานต์) ซึ่งได้รางวัลชนะเลิศ รับโล่พระราชทานสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบันนายกมนต์โรจน์ นิวัฒน์บรรหาร ยังคงเป็นวิทยากรให้ แก่ผู้สนใจศึกษานาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานใต้ ท่านได้รับคัดเลือกเป็นครู ภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๖ เป็นพลังสำ�คัญในการขับเคลื่อนการเผยแพร่ อนุรักษ์และสืบสานนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานใต้ให้ดำ�รงอยู่และพร้อม เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแห่งประชาคมอาเซียน นายกมนต์โรจน์ นิวัฒน์บรรหาร จึงสมควรได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ พื้นบ้านอีสานใต้) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
ผศ.ดร.เจริญชัย ชนไพโรจน์ ( ดนตรีพื้นบ้านอีสาน )
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจริญชัย ชนไพโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๖ ที่บ้านหนองแวงควง ตำ�บลหนอง แวงควง อำ�เภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันอายุ ๗๐ ปี สำ�เร็จ การศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา Musicology-Ethnomusicology จาก Kent State University. ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจริญชัย ชนไพโรจน์ เป็นบรมครูทางด้าน ดนตรีพื้นบ้านอีสาน มีความเชี่ยวชาญทั้งงานวิชาการ และทักษะ การปฏิบัติเครื่องดนตรีพื้นบ้านอย่างถ่องแท้ เป็นผู้อุทิศตนในการ พัฒนาดนตรีพื้นบ้านอีสาน ตลอดทั้งเป็นผู้บุกเบิกการนำ�หลักการ ทางดนตรีตะวันตก ดนตรีวิทยา มาใช้ และวางระบบให้กับดนตรี พื้นบ้านอีสาน จนทำ�ให้ดนตรีพื้นบ้านอีสานได้รับการถ่ายทอดในวง วิชาการอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนั้นท่านยังเป็นศิลปินที่มีความสามารถอย่างยอด เยี่ยมในการบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานได้ทุกชนิด โดย เฉพาะเครื่องดนตรีประเภทแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีอันแสดงถึง ความเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ ๓๐ ปี ท่านเป็นหมอแคนที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่ง ท่านได้นำ�ลาย แคน การเป่าแคนถ่ายทอดสู่ศิลปินหลาย ๆ ท่าน ในขณะเดียวกัน ท่านยังเรียบเรียงและประพันธ์ลายแคนขึ้นใหม่ โดยใช้หลักการทาง ดนตรีวิทยาเป็นตัวกำ�หนด เช่น เดี่ยวลายใหญ่ เดี่ยวลายสุดสะแนน และลายอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อใช้บรรเลงประกอบวงดนตรีพื้นบ้าน อีสาน นอกจากนั้นด้วยความใฝ่เรียนรู้ของท่าน ท่านยังได้นำ�ทำ�นอง ลายแคนจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศลาว เวียดนาม และ
จีน มาเรียบเรียงเสียงประสานให้เข้ากับลายแคนของไทยได้เป็น อย่างดี ในขณะเดียวกันท่านยังได้นำ�ศาสตร์และศิลป์ต่าง ๆ ของ แคน ไปเผยแพร่ให้กับศิลปินพื้นบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้เรียนรู้ในเทคนิคการเป่าแคน ในรูปแบบการ บรรยายพร้อมกับสาธิตการเป่าแคน เช่น Japan 1984 “The States of Music Researches in Thailand” Sponsored by UNESCO, Philippines 1985 and England and Portugal 1989 Folk Music of Northeast Thailand, และประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม ประเทศอาเซียนอีกด้วย นอกจากนั้นท่านยังได้เขียนเอกสาร ตำ�รา เกี่ยวกับดนตรี และการแสดง เช่น ประวัตินักดนตรีไทย,ชีวิตและผลงานของคีตกวี เอกของไทย, เครื่องสายและบทความบางเรื่องเกี่ยวกับดนตรีไทย, ดนตรีพื้นบ้านอีสาน, แคนวง ดนตรีผู้ไทย, คู่มือการเป่าขลุ่ยเบื้อง ต้น, หมอลำ�-หมอแคน, ปื้มกลอนลำ�, แคนวงและโปงลาง ,ดนตรี และการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจริญชัย ชนไพโรจน์ คือ “บรมครู” ผู้ ที่เสียสละ อุทิศตนต่อสังคมและ ลูกศิษย์มาโดยตลอด เป็นผู้วาง รากฐานและเสาหลั ก ทางดนตรี พื้ น บ้ า นอี ส านให้ มี ก ารสื บ ทอด อนุรักษ์ และพัฒนา อย่างยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจริญ ชัย ชนไพโรจน์ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน มรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) ประจำ� ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายบุญมา เขาวง (ส.บุญมา) ( ดนตรีพื้นบ้าน พิณ )
นายบุญมา เขาวง อายุ ๖๔ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ที่บ้านเลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๙ ตำ�บลหมูม่น อำ�เภอ สหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ นายบุญมา เขาวง เป็นศิลปินพื้นบ้านอีสาน ผู้พิการทาง สายตา มีฝีมือในการบรรเลงพิณ (พิณสามสาย) อีกทั้งยังเป็นผู้ ริเริ่มนำ�ทำ�นองลายดนตรีพื้นบ้านอีสานต่าง ๆ มาประยุกต์ผสม ผสานกลมกลืน กอปรกับสอดแทรกอัตราจังหวะและท่วงทำ�นองที่ หลากหลาย กลายเป็นลายพิณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน จน เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของเหล่าศิลปิน นักเรียน นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไป ด้วยความสามารถดังกล่าว นายบุญมา เขาวง จึง ได้รับเชิญให้ไปร่วมแสดงในงานประเพณีและเทศกาลต่าง ๆ อย่าง สม่ำ�เสมอ การดีดพิณของ นายบุญมา เขาวง ถือได้ว่าเป็นการ บรรเลงลายพิณที่มีความไพเราะและพริ้วไหวในท่วงทำ�นองของ ลายพิณ โดยเฉพาะท่วงทำ�นองที่ปรากฏในลายพิณแต่ละทำ�นอง มีความโดดเด่นยากจะหาศิลปินเทียบฝีมือได้ นายบุญมา ได้สร้าง ปรับ ประยุกต์ลายต่าง ๆ ขึ้นใหม่ เกิดเป็นทำ�นองที่บรรเลงได้อย่าง ประทับใจผู้ชม ลายพิณของ นายบุญมา เขาวง ที่ได้รับความนิยม
และกล่าวขานในวงการมากที่สุด คือ ลายเดี่ยวสุดสะแนน และลาย เดี่ยวลำ�เพลิน ทั้งสองลายนี้จึงกลายเป็นต้นแบบสำ�หรับศิลปินรุ่นหลัง มาจนถึงปัจจุบัน นายบุญมา เขาวง เป็นศิลปินที่มีความละเอียดอ่อน ใช้จิต วิญญาณของครูผู้ให้ สร้างสุนทรียะให้กับคนหมู่มาก โดยไม่คำ�นึง ถึงอุปสรรคและปัญหาเรื่องความพิการที่มีมาแต่ครั้งเยาว์วัย ทุก ท่วงทำ�นองและจังหวะล้วนเกิดจากความสามารถและการคิดค้น เพื่อสร้างสรรค์ให้ดนตรีพื้นบ้านอีสาน โดยเฉพาะพิณยังมีลมหายใจ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ นอกจากนั้นนายบุญมา เขาวง ยังเป็น ผู้เสียสละและอุทิศตนต่อสังคมตลอดจนถ่ายทอดวิชาความรู้เรื่องการ ดีดพิณให้กับลูกศิษย์ทุกชั้นชน จึงกล่าวได้ว่านายบุญมา เขาวง เป็น “บรมครู” ด้านดนตรีพื้นบ้าน (ลายพิณ) และได้รับสมญานามว่า “ครู พิณ ผู้ไร้สายตา แห่งเทือกเขาภูพาน” นายบุญมา เขาวง จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน พิณ) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
นายกำ�ปั่น ข่อยนอก (กำ�ปั่น บ้านแท่น) ( เพลงโคราช )
เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2494 บ้านแท่น ตำ�บลโพนทอง อำ�เภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 30120 สำ�เร็จการศึกษาหลัดสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา วิชา ศิลปะการแสดงดนตรี จากสถาบันราชภัฎนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2546 เป็นอาจารย์พิเศษให้กับวิทยาลัยนาฎศิลปะนครราชสีมา เกียรติประวัติ ปี พ.ศ. 2530 รางวัลรองชนะเชิดการประกวด เพลงโคราช จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ปี พ.ศ. 2537 โล่เกียรติ จากสถาบันราชภัฎนครราชสีมา รางวัลรองชนะเลิศในการประกวด เพลงโคราช โล่เกียรติคุณผู้อนุรักษ์มรดกโคราชจากศูนย์วัฒนธรรม
วิทยาลัยคูรนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2531 รางวัลส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านยอด เยี่ยม จากนิสิตสารรักษ์เมืองไทย ปี พ.ศ. 2542 รับพระราชทาน เข็มเชิดชูเกียรติ “ ศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงให้ชาติจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี” ปี พ.ศ. 2542 – 2543 ได้รับ รางวัลประกาศเกียรติคุณและโล่รางวัลพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียง เหนือยอดเยี่ยม จากศูนย์ประสานงานเพื่อเยาวชนแห่งชาติ สำ�นัก นายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2547 โล่ประกาศเชิดชูเกียรติ สุดยอดศิลปิน พื้นบ้านอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2556