ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2557

Page 1

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


สาขา

อมรศิลปินมรดกอีสาน

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


ศาสตราจารย์พิเศษ เฉลิม นาคีรักษ์

( สาขาทัศนศิลป์ - จิตรกรรมไทยประยุกต์ )

ศาสตราจารย์พิเศษเฉลิม นาคีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๐ ที่อำ�เภอตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานี ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว ศาสตราจารย์พิเศษเฉลิม นาคีรักษ์ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ศาสตราจารย์พิเศษเฉลิม นาคีรักษ์ เป็นศิลปินอาวุโสคน สำ�คัญด้านจิตรกรรมผู้บุกเบิกศิลปะไทยร่วมสมัย สมัยใหม่ของ ประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศิลปะและศิลปศึกษา โดยทั่วไป มีผลงานดีเด่นทั้งในแบบศิลปะสมัยใหม่และศิลปะแบบ ประเพณีประยุกต์ ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตและประเพณีไทย มีความยึดมั่นและศรัทธาในศิลปะ ได้สร้างสรรค์ผลงานต่อเนื่อง กันมาเป็นเวลายาวนานเกือบ ๕๐ ปี มีผลงานแพร่หลายทั้งในและ ต่างประเทศ เคยได้รับรางวัลในการประกวดศิลปกรรมหลาย ครั้งและหลายแห่ง ในด้านการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางศิลปะนั้น ศาสตราจารย์พิเศษเฉลิม นาคีรักษ์ ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาศิลปะ ที่ วิทยาลัยเพาะช่าง เป็นเวลา ๓๗ ปี มีศิษย์เป็นจำ�นวนมากทั่ว ประเทศ ได้รับราชการโดยตลอดมา จนได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำ�นวย การวิทยาลัยเพาะช่าง และเป็นคณบดีคณะศิลปกรรม วิทยาลัย เทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเพาะช่าง เมื่อเกษียณอายุ ราชการแล้ว ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษในสถาบันดัง กล่าว งานศิลปะของ ศาสตราจารย์พิเศษเฉลิม นาคีรักษ์ โดย หลักนั้นคือ งานจิตรกรรม ซึ่งมีทั้งแนวสากลสมัยใหม่ และแนว ประเพณีประยุกต์ ส่วนเทคนิคที่ใช้มีทั้งสีน้ำ�มัน สีน้ำ� สีฝุ่น และสี พลาสติก ส่วนเนื้อหาและเรื่องราวที่เขียนนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่

ภาพหุ่นนิ่ง ภาพทิวทัศน์ ภาพบุคคล และภาพเกี่ยวกับประเพณีและ วัฒนธรรมไทย ซึ่งผลงานเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานที่ดีเด่นเป็นที่ยอมรับ โดยทั่วไป ผลงานสำ�คัญที่ได้สร้างสรรค์ไว้ได้แก่พระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ตลอดจนพระมหากษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์จักรีอีก หลายพระองค์ ซึ่งประดิษฐานไว้ในสถานที่สำ�คัญต่าง ๆ หลายแห่ง ด้านการเขียนภาพสีน้ำ� ก็เป็นงานที่ท่านรักและทำ�ได้ดีเป็นพิเศษ จน ได้รับคำ�ชมเชยจาก ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี งานประเภทนี้ส่วน ใหญ่จะเป็นภาพทิวทัศน์ที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ ท่านได้เดินทางไปพบเห็นและเกิดความประทับใจ ส่วนผลงานแนวประเพณีประยุกต์นั้น นับเป็นผลงานดีเด่นที่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลงานเหล่านี้นอกจากจะสามารถถ่ายทอด ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชนบทแบบอีสานได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังให้ความรู้สึกความสดใส สนุกสนาน มีรายละเอียดที่ซับซ้อนน่า สนใจไปทั่วทุกตารางนิ้วของผลงาน อันเกิดจากการรวมตัวกันของ แนวความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบทางศิลปะ และฝีมือชั้นครูด้วย ศาสตราจารย์พิเศษเฉลิม นาคีรักษ์ ได้นำ�เอาผลงาน ศิลปะและวิชาการบริการแก่สังคมตลอดเวลาอันยาวนาน เป็นผู้ บุกเบิกศิลปะยุคปัจจุบันคนสำ�คัญคนหนึ่ง นับเป็นศิลปินที่ดำ�รงชีพ และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นต้น แบบให้กับศิลปินรุ่นหลัง จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น อมรศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมไทยประยุกต์) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายคำ�พูน บุญทวี

( สาขาวรรณศิลป์ นวนิยาย-สารคดี )

คำ�พูน บุญทวี เป็นนักเขียนที่มีผลงานต่อเนื่องมาเป็นเวลา กว่า ๓๐ ปี มีทั้งที่เป็นเรื่องสั้น นวนิยาย สาระบันเทิง และสารคดี เป็นนักเขียนที่เขียนจากประสบการณ์จริงของตนเอง พลิกผันจาก วิกฤตในครอบครัว เครียดจากฐานะความยากจน ทำ�ตัวเกเรเที่ยว เตร่เมาเหล้ายิ่งทำ�ให้ครอบครัวเลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อตั้งสติได้ จึงหัก ดิบหยุดเที่ยวเตร่หยุดดื่มเหล้าเข้าห้องสมุดอ่านหนังสือ จนเกิดแรง บันดาลใจอยากเป็นนักเขียน สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้จาก การอ่านโดยแท้ มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเป็นนัก เขียนประจำ�ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย และยึดอาชีพนักเขียนอิสระมา ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ เป็นต้นมา ผลงานของ คำ�พูน บุญทวี มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ ให้ความ บันเทิง ความเร้าใจ ชวนติดตาม ทั้งเรื่องสั้น และนวนิยาย มีความ โดดเด่น เพราะเป็นงานสร้างสรรค์เพื่อจรรโลงสังคม เป็นสื่อทาง ปัญญาในกระบวนการเรียนรู้รากเหง้าทางสังคม และการถ่ายทอด ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง มีคุณูปการต่อ ประวัติวรรณกรรมไทยสมัยใหม่ และได้รับความสนใจจากนัก วิชาการทั้งในและต่างประเทศ ในช่วงบั้นปลายแห่งชีวิต หลังจาก นางประพิศ ณ พัทลุง

ภรรยาคนแรกได้เสียชีวิต คุณลุงคำ�พูน บุญทวี จึงได้ใช้ชีวิตคู่กับ คุณลันนา เจริญสิทธิชัย หรือ “กิมหลั่น” เจ้าของสาระนิยาย “เจ๊ก บ้านนอก” พร้อมกับการก่อตั้งสำ�นักพิมพ์โป๊ยเซียน บ้านบางบัวทอง นนทบุรี จนถึงช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตคุณลุงคำ�พูน บุญทวี ได้สิ้นลม หายใจลงอย่างสงบเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ สิริอายุ รวม ๗๕ ปี ด้วยเอกลักษณ์ทางงานเขียนที่โดดเด่น แตกต่างจากนักเขียน คนอื่น ๆ คือเป็นนักเขียนที่เขียนเรื่องราวต่าง ๆ จากประสบการณ์ จริงของตน ซึ่งนอกจากจะให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านแล้ว ยังถือว่าเป็น เอกสารที่บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อีสานทุก ๆ ด้าน ในยุค สมัยหนึ่งอย่างชัดเจน อีกทั้งการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การอ่าน หนังสือ การเดินทางพบปะผู้คน การเป็นนักสังเกตที่ดี พัฒนาตนเอง จนผู้อื่นยอมรับว่าเป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” และ “ปราชญ์อีสาน” คำ� พูน บุญทวี จึงสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติยกย่องเป็นศิลปินมรดก อีสานผู้เป็นอมตะ รางวัลอมรศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย-สารคดี) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายพูน สามสี

( สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้ )

ครูพูน สามสี เกิดเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ ภูมิลำ�เนา บ้านดงมัน ตำ�บลคอโค อำ�เภอเมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ สิริ อายุรวม ๖๖ ปี ครูพูน สามสี เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญดนตรีและการ แสดงพื้นบ้านอีสานใต้เป็นอย่างยิ่ง ท่านได้เริ่มฝึกหัดการร้องเพลง กันตรึม ตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี จากนั้นก็ได้เรียนการสีซอ การตีกลอง ทั้ง ในวงกันตรึมและวงมโหรี โดยท่านสามารถเล่นเพลงที่ใช้ประกอบ ในพิธีการพิธีกรรมได้อย่างชำ�นาญ ทั้งพิธีแซนการ์ (แต่งงาน) พิธีเฮาปลึง (บายศรีสู่ขวัญ) วงตุ้ม โมง (เพลงในพิธีศพ) อีกทั้งยังสามารถผลิตเครื่องดนตรี อาทิ ซอกัน ตรึม และกลองกันตรึม ได้อย่างมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ท่านได้รวบรวมนักดนตรีและนักแสดงฟื้นฟูการละเล่น และการแสดงพื้นบ้านที่สูญหายไป เช่น เจรียงนอรแกว เจรียงตรุษ

เจรียงซันตูจ ขึ้นมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นต้นแบบของ การอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านเพื่อประกอบพิธีกรรมตามขนบนิยมชาว เขมรถิ่นไทย เช่น เพลงแซนการ์ ท่านได้อุทิศตนเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างยิ่งจนกระทั่ง ลมหายใจสุดท้าย ครูพูน สามสี นับเป็นบรมครูเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ที่ได้รับการ ยอมรับนับถือของนักเพลง นักดนตรีอีสานใต้ทุกคน เพราะท่านเป็นผู้ มีอัธยาศัยดี สมถะ เรียบง่าย อยู่อย่างพอเพียง ท่านทุ่มเทให้กับการ ถ่ายทอดความรู้และการทำ�เครื่องดนตรีอีสานใต้ ตลอดชีวิตของท่าน เป็นศิลปินผู้สืบทอดศิลปะชาติโดยแท้ นายพูน สามสี จึงสมควรได้ รับการเชิดชูเกียรติยกย่องเป็นศิลปินมรดกอีสานผู้เป็นอมตะ รางวัล อมรศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ใต้) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายสุนทร ไชยรัตนโชติ (สุนทร ชัยรุ่งเรือง)

( ศิลปะการแสดง - ลำ�กลอน )

นายสุนทร ไชยรัตนโชติ หรือที่รู้จักกันในนาม หมอลำ�สุนทร ชัย รุ่งเรือง เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑ ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๑๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๗ สิริอายุรวม ๖๕ ปี เป็นบุตรของ นาย อ้ม ไชยสมคุณ (ฉายาหมอลำ�นายอ้มคมขวาน) และ นางทองหมุน บุตรคำ�โชติ (ฉายาหมอลำ�ทองหมุน ลืมแลง) เริ่มเรียนหมอลำ�ลำ�กลอนจากบิดา-มารดา เมื่อปี ๒๔๙๓ ซึ่งขณะนั้นอายุได้ ๑๓ ปี นายสุนทรสามารถท่องจำ�กลอนลำ�จน จบหลักสูตรได้ภายในเวลา ๑ เดือน โดยที่ลูกศิษย์ของมารดา ๕๐ คน ยังต้อง ใช้เวลาเรียนถึง ๑ ปี จึงจะจบหลักสูตร ต่อมาเมื่อปี ๒๔๙๕ ได้เข้าไปประกอบ อาชีพที่จังหวัดสุพรรณบุรีและจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของ นายบุญ นางทึ้ม แก้วสระเสน ปี ๒๕๑๓ นายสุนทรและครอบครัวได้อพยพครอบครัว มาประกอบอาชีพอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ชื่อของ สุนทร ไชยรัตนโชติ หรือ หมอลำ�สุนทร ชัยรุ่งเรือง เป็นที่รู้จักในฐานะหมอลำ� ชื่อดังชาวมหาสารคาม นักแต่งกลอนลำ� ที่มีคารมเฉียบคมในสำ�นวนภาษา อีสาน สามารถหยุดความคิดผู้ฟังให้มีอารมณ์คล้อยตามได้ราวปาฏิหาริย์ และเป็นกวีหมอลำ�ชั้นครู ที่ได้รับความยกย่องนับถือจากบรรดาลูกศิษย์อย่าง มากมายจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ด้วยพรสวรรค์ที่ปรากฏให้เห็นตั้งแต่ในวัยเยาว์ และพรแสวงในการ ฝึกฝนการขับร้องกลอนลำ� เด็กชายสุนทร ไชยรัตนโชติ ในวัย ๑๒ ปี ก็ได้ เริ่มแสดงบนเวทีเป็นครั้งแรก ได้ค่าตัว ๒๕ บาท โดยแสดงตั้งแต่ ๒๑.๐๐ ๐๖.๐๐ น. ของวันรุ่งขึ้น และเริ่มได้รับงานแสดงมากขึ้นในเวลาต่อมา เริ่ม จากการแสดงหมอลำ�อยู่ในบริเวณเขตบ้านเกิด เช่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น จนกระทั่งย้ายไปที่จังหวัดสุพรรณบุรี ก็ได้รับเชิญให้ไป แสดงหมอลำ�ที่จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงอยู่เป็น ประจำ� แต่ชีวิตของการเดินสายแสดงหมอลำ�ของหมอลำ�สุนทร ชัยรุ่งเรือง ก็ต้องหยุดลงชั่วคราว เมื่อในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ นายสุนทร ไชยรัตนโชติ ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่จังหวัดสุพรรณบุรี และถูกเกณฑ์ทหารไปกรมการก องทหารสื่อสาร กรุงเทพมหานคร ในช่วงนี้เองเป็นช่วงเวลาที่ได้เข้าสู่วงการ วิทยุครั้งแรก ออกอากาศครั้งแรก ที่สถานีวิทยุ วปก.๑ สื่อสาร รายการรวม ภาค ๓ ภาค จนเริ่มมีชื่อเสียง คนรู้จักไปทั่วกรุงเทพฯ และในบางท้องถิ่นที่ รับคลื่นวิทยุได้ จนกระทั่งปลดจากทหาร จึงเริ่มมีลูกศิษย์ลูกหามาสมัครเรียน

ด้วย ซึ่งนายสุนทรเอง ก็ได้รับลูกศิษย์มาเรียนด้วยกัน ๕ คน และแสดงอยู่ที่ ภาคกลาง โดยได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านภรรยา ต่อมาในปี ๒๕๐๔ ก็ได้มีโอกาสขึ้น ไปอุปสมบทเพื่อทดแทนค่าน้ำ�นมมารดา โดยได้จำ�พรรษาที่วัดสุวรรณสาละ วัน บ้านน้ำ�สวย จังหวัดหนองคาย ขณะอุปสมบทเป็นพระก็ได้ร่ำ�เรียนพระ ปาฏิโมกข์ย่อ เรียนพุทธประวัติ ๒๙ ปริเฉท มงคลทีปนี บารมี ๓๐ ทัศ จนจบ ทุกอย่างใน ๑ พรรษา เมื่อสึกแล้วก็ได้ลำ�งานกฐินในเขตจังหวัดหนองคายจน หมด จึงลากลับบ้านภรรยาที่จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาได้เข้าร่วมแสดงกับคณะ หมอลำ�สุนทราภิรมย์ โดยเป็นถึงตัวนำ�ของคณะ ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ได้ลำ� ประกวดที่โรงหนังรีวิวเฉลิมชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งเป็นรางวัลชนะ เลิศการประกวดครั้งแรกในชีวิต ของ นายสุนทร ไชยรัตนโชติ ด้วยผลงานอันเป็นเลิศและสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคมหลายผล งาน สุนทร ไชยรัตนโชติ หรือที่รู้จักกันในนามของ หมอลำ�สุนทร ชัยรุ่งเรือง จึงนับเป็นบุคคลสำ�คัญของภาคอีสานผู้เจนจัดและมากด้วยฝีไม้ลายมือในการ แสดงศิลปะพื้นบ้านอีสาน และยังเป็นศิลปินผู้บุกเบิกการแสดงกลอนลำ�เพื่อ ประโยชน์ต่าง ๆ นานัปการ เพื่อสังคม ซึ่งได้มีหมอลำ�รุ่นหลัง ๆ กว่าร้อยละ ๘๐ ได้นำ�ผลงานของท่านไปใช้ด้วยความเคารพและนับถือในฝีมือการประพันธ์ อันยอดเยี่ยม อาทิ ราตรี ศรีวิไล, สังวาลย์น้อย ดาวเหนือ, สมพงษ์ มาพร และท่านอื่น ๆ อีกมากมาย และถึงแม้ว่าท่านจะล่วงลับจากโลกนี้ไปเมื่อ ๑๐ ปีแล้วก็ตาม แต่ผลงานของท่านทั้งหลายยังคงสถิตอยู่ในดวงใจของชาวอีสาน และสังคมไทยมาโดยตลอด กลายเป็นมรดกและภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอัน ล้ำ�ค่าและเป็นอมตะอยู่เหนือกาลเวลา อย่างไม่มีวันรู้ลืม ด้วยเกียรติคุณในการแสดงศิลปะพื้นบ้านอีสานกลอนลำ� การ สร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์เพลงลูกทุ่งอย่างหลากหลาย ตลอดจนการ อุทิศตนเพื่องานสังคมมาโดยตลอดทั้งชีวิตของการเป็นศิลปินกลอนลำ� และ ปฏิภาณกวีชั้นครูที่บรรดาหมอลำ�นักแสดงรุ่นใหม่ได้ให้การเคารพ นับถือ นาย สุนทร ไชยรัตนโชติ หรือหมอลำ�สุนทร ชัยรุ่งเรือง จึงสมควรได้รับการเชิดชู เกียรติยกย่องเป็นศิลปินมรดกอีสานผู้เป็นอมตะ รางวัลอมรศิลปินมรดก อีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�กลอน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายสมภพ บุตราช ( จิตรกรรมร่วมสมัย )

สาขา

ทัศนศิลป์

นายสมภพ บุตราช เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2500 เป็นชาว อำ�เภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สำ�เร็จการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียน ขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น แต่ด้วยความสนใจในการวาด ภาพมาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ใน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และสำ�เร็จการศึกษาในระดับปริญญา ตรีในสาขาจิตรกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร สมภพได้ส่งผลงาน เข้าร่วมประกวดในเวทีศิลปกรรมแห่งชาติและได้รับรางวัลเหรียญ ทองแดงในประเภทจิตรกรรม อันเป็นเครื่องยืนยันถึงความไม่ ธรรมดาในทักษะฝีมือโดยเฉพาะในการเขียนภาพแนวเหมือนจริง ส่ง ผลให้รับการชักชวนจากศิลปินรุ่นพี่อย่างเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และ ปัญญา จินธนสาร ให้ไปร่วมเขียนภาพจิตรกรรมไทยประเพณี ที่วัด พุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประสบการณ์ครั้งสำ�คัญ ในประเทศอังกฤษกว่า 10 ปี ได้เปิดโอกาสให้สมภพ บุตราช มีโอกาส ศึกษาเรียนรู้ศิลปะร่วมสมัยในแง่มุมแปลกใหม่อย่างหลากหลาย ด้วย หัวใจของความเป็นนักสร้างสรรค์ที่มีอย่างเต็มเปี่ยม จึงได้ใช้จังหวะ โอกาสนี้สร้างสรรค์ผลงานร่วมสมัยออกจัดแสดง ณ Royal Academy ประเทศอังกฤษ ในหลายโอกาส หลังจากเดินทางกลับมาอยู่ที่ เมืองไทย ในราวปี พุทธศักราช 2540 สมภพได้แสดงผลงานอย่างต่อ เนื่องเริ่มจากผลงานชุด “หนึ่งตีน หนึ่งเท้า”“ชุดอนิจจัง” ชุด “เดือน หก” ที่นำ�ดินมาเป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ครั้งแรก ตามมาด้วยชุด

“นางฟ้า อัญมณี” ชุด “กรุงเทพเมืองเทพ” ชุด “นางสงกรานต์” ที่ นำ�แรงบันดาลใจมาจากภาพเขียนไทยตามจินตนาการ แต่สิ่งหนึ่งที่ สมภพไม่เคยละทิ้งคือ เรื่องราวที่สะท้อนความเป็นตัวตนของเขา ที่ สัมพันธ์รากเหง้าภูมิปัญญา ดังจะเห็นได้จากผลงานในระยะหลังที่มี กลิ่นไอของความเป็นจิตรวิญญาณอีสานซ่อนแฝงอยู่อย่างเต็มเปี่ยม อาทิ ผลงานชุด “บันไดสวรรค์” ที่นำ�ภาพใบหน้าของบรรดาปราชญ์ อีสาน รวมถึงผู้คนที่เขารักและศรัทธามาบรรจงแต้มแต่ง ด้วย “ดิน” วัสดุจากธรรมชาติที่เก็บมาจากพื้นที่ต่างๆในภาคอีสาน เพื่อจะบ่ง บอกถึงความประสานจิตวิญญาณในตัวเขากับพื้นที่ที่เขาผูกพัน อัน เป็นต้นแบบของศิลปินในการสร้างสรรค์ที่น่าประทับใจยิ่งอีกท่าน หนึ่ง นอกจากการเป็นนักสร้างสรรค์ที่มีความสามารถอย่างยิ่งยวด แล้วท่านยังได้อุทิศตนในการเผยแพร่ศิลปะ ทั้งด้านกิจกรรมทาง ศิลปะ และในด้านการศึกษาทางศิลปะ โดยท่านได้รับเชิญเป็น อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพาะช่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกด้วย จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมร่วมสมัย) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2555 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายครุธ ภูมิแสนโคตร ( พหุศิลป์ท้องถิ่น )

นายครุธ ภูมิแสนโคตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ปัจจุบันอายุ ๕๘ ปี เกิดที่บ้านทรายขาว ตำ�บลนาเมือง อำ�เภอ เสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นายครุธ สำ�เร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนบ้านทรายขาว หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อทางพระธรรมวินัย ที่ วัดลาด (ราษฎร์วิสิษฐ์) หมู่ที่ ๓ ตำ�บลนาเมือง อำ�เภอเสลภูมิ จังหวัด ร้อยเอ็ด จนสอบได้นักธรรมชั้นโทในปี ๒๕๑๑ นายครุธ ภูมิแสนโคตรได้ศึกษาศิลปะการเขียนลายไทย และ การตัดกระดาษจากช่างท้องถิ่นในอำ�เภอเสลภูมิ วิชาเหล่านี้ได้นำ�มา ตกแต่งบั้งไฟแห่ และ โลงศพ และเมื่อก่อนงานศิลปะสาขาต่าง ๆ ยังไม่ แพร่หลายในภูมิภาค ผู้ที่สนใจศึกษาต้องเดินทางไปหาครูอาจารย์ตาม วัดต่าง ๆ นายครุธ ภูมิแสนโคตรจึงตัดสินใจเดินทางไปเรียนวิชาแกะ สลักไม้จากช่างที่เชียงใหม่เป็นระยะเวลา ๑ ปี และ ได้เข้ารับการเรียน รู้จากครูช่างอีสาน คือ นายอุทัยทอง จันทกรณ์ และ ศิลปินแห่งชาติ ชาวอีสาน คือ ครูคำ�หมา แสงงาม ที่จังหวัดร้อยเอ็ด จึงทำ�ให้นายครุ ธ เป็นผู้ที่มีความสามารถทางศิลปะพื้นบ้านหลายแขนง อันเนื่องมา จากความชื่นชอบและใฝ่ศึกษาอยู่ตลอด ทำ�ให้ท่านมีความเชี่ยวชำ�นาญ ในงานช่างหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นช่างแกะสลักไม้ ช่างตัดกระดาษ ช่างทำ�บั้งไฟ ช่างปูนปั้น ช่างแกะสลักต้นเทียน ปูนปั้นตามโบสถ์ หรือ ศาสนคาร ผลงานของท่านล้วนเป็นการผสมผสานความเป็นหัตถศิลป์ ท้องถิ่นสู่การประยุกต์ และนำ�มาสอดร้อยกับผลงานศิลปะท้องถิ่น ของตนเอง จนได้เกิดเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น นายครุธมีความตั้งใจแต่ เดิมทีว่า การถ่ายทอดงานศิลปะเหล่านี้เพื่อบูชาและสักการะพระพุทธ ศาสนา ผ่านผลงานพหุศิลป์ ให้เกิดเป็นผลงานใหม่ ๆ ออกมาเป็นเชิง ช่างเฉพาะ เช่น การประดับและแต่งรถแห่บั้งไฟเมืองยโสธร โดยใช้ เศียรพญานาคประดับตกแต่งบนหัวบั้งไฟ และ เป็นผู้ที่พัฒนางานศิลปะ การประดิษฐ์บั้งไฟที่ทำ�ด้วยไม้มาเป็นปูนปั้น และพัฒนามาเป็นเรซินใน

ปัจจุบัน ผลงานสำ�คัญอีกชิ้นหนึ่งคือ การประดับและสร้างโลงเผาศพ พระเถรานุเถระผู้ใหญ่ในแถบอีสาน นายครุธ ภูมิแสนโคตร ถือเป็นช่างต้นแบบที่มีการพัฒนาการ ตกแต่งบั้งไฟ ด้วยฝีไม้ลายมือทางเชิงช่างศิลปะหลายแขนง จนได้รับ รางวัลการประกวดบั้งไฟในเขตอีสาน ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ จนถึงปัจจุบัน ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นคนดีศรีเสลภูมิ ประจำ� ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลศิลปินพื้นบ้าน ภาคอีสาน จากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัย มหาสารคาม สาขาทัศนศิลป์ ประเภทอนุรักษ์พุทธศาสนาและประเพณี ไทย ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ และได้รับคัดเลือกเป็นผู้ที่ทำ�คุณ ประโยชน์แก่กระทรวงวัฒนธรรม ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ใน สถานะศิลปินท่านก็เป็นศิลปินที่สืบทอดมรดกวัฒนธรรมอีสานให้คงอยู่ ส่วนอีกบทบาทสถานะหนึ่งนั้นท่านเป็นครูผู้อุทิศตนถ่ายทอดองค์ความ รู้เป็นวิทยาทาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานช่างศิลป์ ประดิษฐ์และตกแต่ง ศาสนคาร การแกะเทียน ปูนปั้น และที่โดดเด่นคือ ประดับบั้งไฟ แก่ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมิได้ขาด ท่านได้ตั้ง ปณิธานไว้ว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่ควรมองเห็นงานศิลปะท้องถิ่นที่ท่านได้ สรรค์สร้าง กอปรกับงานศิลปะของบรรพบุรุษจะคงอยู่ และสืบทอดต่อ ให้บรรพชนรุ่นหลัง นายครุธ ภูมิแสนโคตร เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วย ใจรัก และเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของชาติ ผลงานที่ท่าน ริเริ่มล้วนเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น นายครุธ ภูมิแสนโคตร จึงสมควร ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (พหุ ศิลป์ท้องถิ่น) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายสมคิด สอนอาจ

( ประติมากรรมเทียนพรรษา )

นายสมคิด สอนอาจ หรือเป็นที่รู้จักกันดี คือ ช่างสมคิด สอน อาจ เกิดเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ปัจจุบันอายุ ๖๘ ปี เกิดที่บ้านโนนม่วง ตำ�บลวาริน อำ�เภอศรีเมืองใหม่ จังหวัด อุบลราชธานี สำ�เร็จการศึกษาปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอก ศิลปศึกษา วิทยาลัยครูอุบลราชธานี ครูสมคิด สอนอาจ เป็นศิลปินพื้นบ้านอีสาน ที่ได้ชื่อว่าเป็น ช่างเทียนที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับในระดับสูงของจังหวัดอุบลราชธานี ครูสมคิด สอนอาจ ต้องใช้ระยะเวลากว่า ๕๐ ปี ในการสร้างและ สั่งสมองค์ความรู้ เริ่มต้นด้วยการนำ�ความรู้และประสบการณ์ทาง ด้านการช่างฝีมือที่ได้รับการถ่ายทอดจากบิดา คือ นายทองดี สอน อาจ ซึ่งเป็นครูคนแรก พ่อของท่านมีความสามารถด้านช่างหลาย สาขา เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างทอง ช่างเขียน และช่างแกะสลัก ทำ�ให้ครูสมคิดได้ฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง ผนวกกับความ รู้ทางด้านศิลปะจากครู คือ อาจารย์มานะ ทองสอดแสง อาจารย์ ใหญ่โรงเรียนศิลปะไทย ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ให้ครูสมคิด เช่น เทคนิคสีน้ำ� สีน้ำ�มัน โดยเฉพาะลายไทย ทำ�ให้ครูสมคิดจดจำ�นำ�มา ใช้ประโยชน์ในอาชีพช่างฝีมือด้านศิลปะสาขาเฉพาะ คือ การเป็น ช่างเทียน ครูสมคิด สอนอาจ เกิดและเติบโตมาในชนบท เป็นผู้นำ� ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสายเลือด มาผสานและบูรณาการองค์ ความรู้จากอาจารย์มานะ จนได้รับโอกาสและความไว้วางใจให้เป็น ผู้จัดทำ�ต้นเทียน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาครูสมคิดได้ทุ่มเทความรู้ ความสามารถ ลองผิดลองถูก ค้นคว้า หาความรู้อยู่เสมอ จนกระทั่ง คิดค้นงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และสามารถยึดเป็นหลัก วิชาการเป็นช่างเทียน ประเภทติดพิมพ์จนได้รับการยอมรับและ

ยกย่องจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นครูสมคิด ยังได้ถ่ายทอดภูมิปัญญา องค์ความรู้ และมอบเป็นมรดกทางสายเลือดให้กับบุตรทั้ง ๔ คน จน ทำ�งานแกะเทียนแทนได้ และยังถ่ายทอดมรดกนี้ไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ ในที่สุดโรงเรียนสามารถแกะเทียนได้เอง นับเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจ และแสดงถึงการมีส่วนร่วมของคณะครู นักเรียน และคนในชุมชน วันนี้ครูสมคิดยังมิหยุดคิด หยุดสร้างสรรค์ ครูสมคิดได้ริเริ่มจัดตั้ง ศูนย์เยาวชนแกะสลัก ติดพิมพ์ เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี สำ�หรับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้ภูมิปัญญาการทำ�ต้นเทียน พรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นมรดกของท้องถิ่นและชาติสืบไป ผลงานการสร้างสรรค์งานต้นเทียนของครูสมคิดและจังหวัด อุบลราชธานี ล้วนมีคุณค่ายิ่งใหญ่ทั้งทางด้านพุทธศาสนา ประเพณี และภูมิปัญญาอีสาน เพื่อถวายเป็นพุทธศิลป์ พุทธบูชา ต้นเทียน พรรษาทั้งประเภทมัดรวมติดลาย แกะสลัก และประเภทติดพิมพ์ จำ�นวนกว่า ๕๐ ต้น ที่ครูสมคิดได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ล้วนเกิดจาก ความคิดสร้างสรรค์ คิดใหม่ ทำ�ใหม่ ไม่ยึดติดขนบดั้งเดิม จนผลงาน ที่ออกสู่สายตาสาธารณชนได้รับความสนใจจากสื่อทุกแขนง และได้ รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ และ รางวัลชมเชย เป็นประจำ�ทุกปี ผลงานของครูสมคิด สอนอาจ ล้วนสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง จังหวัดและประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดพุทธศาสนาผ่าน งานศิลปะ และก่อให้เกิดสุนทรียะทางใจ ครูสมคิดยังเป็นต้นแบบ ให้แก่เยาวชนที่จะสืบสายธารงานช่างต่อไป ครูสมคิด สอนอาจ จึง สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขา ทัศนศิลป์ (ประติมากรรมเทียนพรรษา) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย ( หัตถกรรมผ้าทอมือ )

นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ อายุ ๔๘ ปี ภูมิลำ�เนา บ้านเลขที่ ๒๕๕ หมู่ ๑ บ้านท่านสว่าง ตำ�บลท่าสว่าง อำ�เภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ “ผมเกิดความคิดว่า อยากจะกลับไปรื้อฟื้นเทคนิคการทอผ้าที่ เราเคยเห็นตั้งแต่เด็ก พอดีได้จังหวะที่ อาจารย์สมิทธิ ศิริภัทร์ กับ คุณ หญิงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี ได้รับพระราชเสาวนีย์จาก สมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ท่านทั้งสองช่วยศึกษาดูว่า ทำ�อย่างไรผ้า ไหมถึงจะมีความนุ่มเนียนแน่น สามารถกำ�อยู่ในกำ�มือเดียวได้เหมือน ผ้าสมัยก่อนที่พระองค์ท่านเคยมีเคยรู้จัก พออาจารย์เล่าให้ฟังผมถึง นึกได้ว่า ที่บ้านเกิดเคยมีการทำ�ผ้าแบบนี้และถ้าเราไปรื้อฟื้นหาคนที่ ยังมีความรู้อยู่มาช่วยกันทำ�ก็น่าจะสำ�เร็จ...” ด้ ว ยปณิ ธ านอั น แน่ ว แน่ ในการรื้ อ ฟื้ น การทอผ้ า ยกทองแบบ โบราณ จึงทำ�ให้เกิดเป็นผ้าไหมยกทองโบราณของกลุ่มจันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์ ที่ได้นำ�มาตัดเย็บชุดผู้นำ�ประเทศในการ ประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซีย-แปซิฟิค ปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ (APEC 2003) และที่สำ�คัญคือเป็นผู้ออกแบบและจัดสร้างผ้า คลุมพระอังสาให้กับรัฐบาลเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นที่ของระลึกแด่ พระราชอาคันตุกะฝ่ายหญิงเนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี

อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ได้เทคนิค วิธีการ และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทอผ้าไหมของชาวเขมรถิ่นไทย มาพัฒนา ต่อยอดเป็นผ้าไหมยกทองโบราณที่มีมูลค่าและคุณค่าสูงจากฐานความ เป็นอีสาน อีกทั้งยังได้เปิดบ้านจันทร์โสมาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการทอ ผ้า การย้อมสีธรรมชาติ และการงานช่างไทยหลายแขนง อาทิ งาน ปักพัสตราภรณ์ งานช่างแกะสลัก งานช่างเครื่องทองลงยาราชาวดี เป็นต้น นับเป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อสืบสานงานช่างโดยแท้จริง อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญในงานเชิง ช่างหลายแขนง สามารถผสานมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเขมร ถิ่นไทย รื้อฟื้นงานหัตถศิลป์ผ้าทอยกทองโบราณของราชสำ�นัก เสริม สร้างเอกลักษณ์ภูมิปัญญาของชาติได้อย่างงดงาม อีกทั้งยังสามารถ สร้างให้ชุมชนบ้านท่าสว่างเป็นหมู่บ้านผ้าทอที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทำ�ให้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้นมาเป็นลำ�ดับ จึง สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขา ทัศนศิลป์ (หัตถกรรมผ้าทอมือ) ประจำ�ปี ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายสำ�รอง สาธุการ ( ลำ�กลอน )

สาขา

วรรณศิลป์

เกิด 1 มิ.ย.2491 อายุ 65 ปี จ. อุดรธานี ผลงาน - ร้องหมอลำ�เผยแพร่ประชาธิปไตยทั่วภาคอีสาน ทั้ง 16 จังหวัด และแต่งกลอนลำ�เศรษฐกิจพอเพียง รับรางวัลจาก พณ.สัญญา ธรรมศักดิ์ และรางวัลชนะเลิศลำ�ประกวดเทิดพระ เกียรติที่สถานวิทยุ จ.มหาสารคาม ได้รับยกย่องเป็นครูภูมิปัญญา

ไทย รุ่นที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการ กทม. และรางวัลเชิดชูเกียรติ จาก จ.อุดรมากมาย อาทิ รางวัลคนดีศรีอุดร รางวัลเล่าเรื่องเมือง อุดร บุคคลตัวอย่าง สืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมดีเด่น และรางวัล หมอลำ�กลอนดีเด่น จากชมรมประชานุกูล และรางวัลเพชรสยาม จาก มรภ.จันทรเกษม

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายประยูร ลาแสง (พระไม้) ( วรรณกรรมร่วมสมัย )

ประยูร ลาแสง (พระไม้) เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๐ ปัจจุบันอายุ ๕๗ ปี ที่บ้านชัยพัฒนา บ้าน เลขที่ ๑๐ หมู่ ๑๐ ตำ�บลเก่างิ้ว อำ�เภอพล จังหวัดขอนแก่น สำ�เร็จการศึกษาทางด้านภาษาไทยทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญา โท ประยูร ลาแสง สนใจใฝ่หาความรู้ด้านอักษรอีสานทั้ง อักษรไทน้อย และอักษรธรรม จากสถาบันที่ศึกษาและจากบิดา ได้ ถ่ า ยถอดวรรณกรรมพื้ น บ้ า นอี ส านจากใบลานไว้ เ ป็ น จำ � นวน มาก นอกจากนี้ยังสนใจวิชาโหราศาสตร์ไทย ศึกษาฝึกฝนตนเอง ในด้านการแต่งบทกวี บทผญา กลอนลำ� บทการแสดงแสงสีเสียง และกำ�กับการแสดง รวมทั้งสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อ มัลติมีเดียเพื่อการศึกษาไว้จำ�นวนมาก ผลงานช่วงต้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นประเภทบทกวี และ บทเพลง แล้วนำ�ความสามารถพิเศษเหล่านี้มาใช้พัฒนาการสอน วิชาภาษาไทย ทั้งสอนศิษย์ในการแต่งร้อยกรอง แต่งเพลงขึ้น ใช้เป็นสื่อการสอนทุกระดับ จนพัฒนาขึ้นไปแต่งให้นักร้องอาชีพ โดยผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับวงคนด่านเกวียน คือ เพลง ‘ชาวนาลัย’ วงโฮป คือ เพลง ‘นารอนาง’ ‘บ้านในฝัน’ ส่วนเพลง ดังที่ประกอบภาพยนตร์เรื่องเกิดมาลุยคือเพลง ‘สายสัมพันธ์’ และ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องมนต์รักทรานซิสเตอร์คือเพลง ‘ดอก ลา’ ทำ�ให้ได้รับรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น จากกองวรรณคดีและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี ๒๕๓๐ และบทกวี ‘พอดี’ และ ‘คว้า’ ได้รับรางวัลดีเด่นและชมเชย จาก สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ ปี ๒๕๓๗ และ ๒๕๓๘ ตามลำ�ดับ ปี ๒๕๕๑ ได้รับคัดเลือกเป็นนักกลอนตัวอย่างภาค อีสาน จากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยฯ จากนั้นได้ผลิตผล

งานด้านการแต่งผญา-แต่งกลอนลำ�ในโอกาส ต่าง ๆ จนถึงบทการ แสดงแสงสีเสียง และสื่อประเภทมัลติมีเดียจำ�นวนมาก โดยเฉพาะ ผลงานถ่ายทอดวรรณกรรมพื้นบ้านจากใบลาน เรื่อง กำ�พร้าไก่แก้ว (หอมฮู) นกกระจอก กำ�พร้าผีน้อย ปฐมมูลปฐมกัป เป็นต้น จากการสร้างสรรค์ผลงาน ทางด้านศิลปวัฒนธรรมมา อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภูมิรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แสดงออกมาใน ผลงานทั้งบทเพลง บทกวี ผญา และกลอนลำ� เป็นผู้ที่นำ�เอาความ รู้ความสามารถที่เล่าเรียนมาพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นผลงานเพื่อ พัฒนาวิชาชีพ ‘ครูภาษาไทย’ จนสามารถสร้างตนเองและลูกศิษย์ ให้ประสบความสำ�เร็จทางด้านวรรณศิลป์เป็นจำ�นวนมาก หนึ่งใน จำ�นวนนั้นที่เกิดแรงบันดาลใจจากครูกวีคนนี้ก็คือ กวีรางวัลซีไรต์ ประจำ�ปี ๒๕๕๖ (อังคาร จันทาทิพย์ ) ในหมู่นักอนุรักษ์คำ�ประพันธ์ ท้องถิ่น (ผญา) ประยูร ลาแสง นับว่าเป็นผู้หนึ่งที่อนุรักษ์ภูมิปัญญา ท้องถิ่นผ่านทางภาษาอีสานได้อย่างลุ่มลึกรุ่มรวย นอกจากนี้ยัง ได้นำ�ความรู้ความสามารถเหล่านั้นมาประยุกต์พัฒนาสู่งานศิลปะ ร่วมสมัยด้านอื่น ๆ จำ�นวนมาก อาทิ การแต่งเพลง เพลงประกอบ ภาพยนตร์ เพลงประกอบการแสดงเวที การเขียนบทการแสดงแสง สีเสียง และงานสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาอีกจำ�นวนมาก ผลงานหลากหลายดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเท มุ่งมั่น อุดมการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปวัฒนธรรมผ่าน งานวรรณศิลป์ เพื่อรับใช้ชาติภูมิและจรรโลงความดีงามให้เกิดแก่ สังคม ไม่ว่ายุคสมัยจะผ่านไปอย่างไร แต่ผลงานเหล่านี้ยังเป็นความ งาม ความดี ความจริง ที่จะเป็นคุณูปการต่อสังคมสืบไป นายประยูร ลาแสง (พระไม้) จึงสมควรได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดก อีสาน สาขาวรรณศิลป์ (วรรณกรรมร่วมสมัย) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายโฆษิต ดีสม

( ประพันธ์เพลงพื้นบ้านอีสานใต้ )

นายโฆษิต ดีสม เกิดเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ อายุ ๕๘ ปี ภูมิลำ�เนา บ้านดงมัน ตำ�บลคอโค อำ�เภอเมือง สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่ง ผู้อำ�นวยการโรงเรียน บ้านส้มป่อย จากการที่ได้อยู่ในครอบครัวครูเพลง และมีบิดาคือ ครู ปิ่น ดีสม เป็นต้นแบบในการร้องและประพันธ์เพลงกันตรึม เพลง เจรียง และถ่ายทอดเพลงกันตรึมในหมู่บ้าน ชุมชน และระดับ ประเทศ ทำ�ให้ครูโฆษิตได้ซึมซับ สืบสานผลงานการสร้างสรรค์บท เพลงกันตรึมและเจรียงจากบิดา สามารถประพันธ์เพลงกันตรึม ตามแบบฉบับฉันลักษณ์โบราณได้อย่างดีเยี่ยม ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทย ครบถ้วนงดงาม ทั้งวรรณศิลป์ และคุณค่าของภาษา สะท้อนสภาพ สังคมได้อย่างดี ครูโฆษิต เป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาเขมร

ถิ่นไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความรู้ ความเข้าใจในประเพณี วัฒนธรรม อีสานใต้อย่างลึกซึ้ง ส่งผลให้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมี คุณภาพ อีกทั้งยังมีการสร้างสรรค์บทเพลงที่สื่อสะท้อนถึงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของท้องถิ่น สร้างสรรค์วรรณกรรมพื้นบ้านมาสู่เพลงพื้นบ้า นกันตรึมในรูปแบบต่าง ๆ เป็นผลงานที่มีคุณค่ายิ่ง ครูโฆษิต นับได้ว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ และพัฒนาวงการเพลง พื้นบ้านของอีสานใต้ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ได้รับการยอมรับจากนักเพลงพื้นบ้านอีสานใต้ เป็น บรมครูผู้ถ่ายทอด สืบสานเพลงพื้นบ้านอีสานใต้อย่างแท้จริง จึง สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขา วรรณศิลป์ (ประพันธ์เพลงพื้นบ้านอีสานใต้) ประจำ�ปี ๒๕๕๗ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายสมบูรณ์ สมพันธ์ (ดอย อินทนนท์) ( ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง )

นายสมบูรณ์ สมพันธ์ หรือ ดอย อินทนนท์ เกิดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐ ปัจจุบันอายุ ๖๗ ที่บ้านโนนจาน ตำ�บลแคน อำ�เภอ รัตนบุรี (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอำ�เภอสนม) จังหวัดสุรินทร์ คุณพ่อชื่อลี แม่ ชื่อ เสาร์ สมพันธ์ เนื่องจากเป็นคนชอบการแต่งกลอนมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยม ก็ เริ่มฝึกแต่งเพลงมาตั้งแต่ช่วงเวลานั้น ขณะที่ยังบวชเป็นพระภิกษุอยู่ ได้ส่ง บทเพลงที่ประพันธ์ไปให้ ครูพยงค์ มุกดา พิจารณาบันทึกเสียงให้กับนักร้อง ทำ�ให้ผลงานได้รับการพิจารณา จนพุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้ลาสิกขาบท เดิน ทางเข้ากรุงเทพฯ เข้าสู่วงการเพลง จากการชักนำ�และสนับสนุนโดย ครูพยงค์ มุกดา และมอบหน้าที่ให้เป็นนักแต่งเพลงประจำ�วงดนตรีของครู การแต่ง เพลงยุคแรก ๆ ใช้ชื่อว่า “สรบุศย์ สมพันธ์” ผลงานเพลงแรกที่ได้รับการ พิจารณาบันทึกเสียงคือเพลง “พอทีนครสวรรค์” ให้ ชินกร ไกรลาศ ขับร้อง เพลงที่ ๒ “หนุ่มอีสาน” ชินกร ไกรลาศ ขับร้องเช่นเดียวกัน ส่วนเพลงที่ ๓ “สาวอีสาน” เป็นเพลงแก้ ให้ ศรีสอางค์ ตรีเนตร ขับร้อง นอกจากนั้น ครู พยงค์ ได้นำ�เพลงที่แต่งในนาม สรบุศย์ สมพันธ์ ไปให้ ธานินทร์ อินทรเทพ, ทูล ทองใจ, อรรณพ อนุสรณ์ ร้อง ครูพยงค์ เปลี่ยนชื่อให้ใหม่อีกชื่อหนึ่ง ว่า “บูรณพันธ์” มีเพลงดังที่คุ้นหูกันดีคือ “อภันตรีที่รัก” ร้องโดย อรรณพ อนุสรณ์ “คุณช่างสวย” ร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ และเริ่มเป็นที่รู้จัก ในนาม “สมบูรณ์ สมพันธ์” ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ต่อมาก็แต่งเพลงให้กับนักร้องประจำ�วงดนตรี พยงค์ มุกดา ร้องอีก หลายคน เช่น แต่ง “กระท่อมสาวเมิน” ให้ ชินกร ไกรลาศ ร้อง แต่ง “สาวพระประแดง” ให้ ชัยณรงค์ บุญนะโชติ ร้อง มีโอกาสแต่งให้นักร้อง ต่างวงร้องหลายคนเหมือนกัน เช่น แต่ง “ขอเป็นหมอนข้าง” ให้ โรม ธรรม ราช บันทึกเสียงเป็นเพลงแรกของเขา ในสมัยอยู่กับวงดนตรี “ศรีนวล สมบัติเจริญ” แต่ง “รักทหารดีกว่า” ให้ รังสรรค์ จีระสุข ร้อง และแต่ง ให้นักร้องในวง “จิระบุตร” ร้องอีกหลายคน อยู่กับวงครูพยงค์ มุกดา ได้ ๔ ปี ก็ลาออก หลังจากนั้นก็ไป ตระเวนอย่างทางภาคเหนือ ๓ – ๔ ปี เกิดความประทับใจกับยอดดอยอินทน นท์ กลับมากรุงเทพฯ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ดอย อินทนนท์” และได้รับ การชักชวนจาก ครูฉลอง ให้มาช่วยแต่งเพลงให้ ศรชัย เมฆวิเชียร จนศรชัย มีชื่อเสียงโด่งดังและผลงานได้รับความนิยมกลายเป็นเพลงดังอมตะมาจนถึง

ปัจจุบัน เช่นเพลง “จันทร์อ้อน” ที่ร้องโดย ผ่องศรี วรนุช ซึ่งเป็นเพลงร้องแก้ เพลง “อ้อนจันทร์” ของ ศรชัย เมฆวิเชียร ที่เป็นเพลงร่วมกันแต่งกับ ครูฉลอง ภู่สว่าง และหลังจากนั้น ศรชัย เมฆวิเชียร ก็มีเพลงดังจากการประพันธ์ของ ดอย อินทนนท์ ร้องอีกไม่ต่ำ�กว่า ๓๐ เพลง เช่น เสียงซอสั่งสาว, บัวหลวงบึง พลาญ, สะพานรักสะพานเศร้า, ซึ้งสาวปากเซ, สาวประเทืองเมืองปทุม, แต่ง ให้ สายัณห์ สัญญา ร้องก็ดัง เช่น “รักติ๋มคนเดียว, แม่ดอกสะเลเต, เสียง พิณสะกิดสาว เป็นต้น ครูดอย อินทนนท์ เป็นคนแรกที่บุกเบิกงานเกี่ยวกับ “ลำ�แพน” ให้นักร้องลูกทุ่งหมอลำ�ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น บานเย็น รากแก่น แต่ง ชุด “แม่ไม้หมอลำ�” ให้ร้องทั้งชุด “งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว” “ฝากรักจากแดน ไกล” (ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน) ป. ฉลาดน้อย ส่งเสริม, หงษ์ทอง ดาวอุดร ในชุด “หงษ์ทองคะนองลำ�” กลอนดังทุกกลอนของ ทอง มัย มาลี และ ขวัญตา ฟ้าสว่าง, เฉลิมพล มาลาคำ�, นกน้อย อุไรพร, ลูก แพร ไหมไทย, น้องผึ้ง บึงสามพัน, อังคนางค์ คุณไชย โดยเฉพาะศิริพร อำ� ไพพงษ์ ดอย อินทนนท์ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ นอกจากนั้น เพลงเทิดทูนสถาบันพระ มหากษัตริย์ ในวง “เสียงอีสาน” ล้วนเป็นผลงานการประพันธ์ของครูดอย อิน ทนนท์ สำ�หรับนักร้องลูกทุ่งอื่น ๆ ดอย อินทนนท์ ได้ประพันธ์ให้ร้องเช่น กัน เพชราจ๋า ร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์, วอนพระพรหม ร้องโดย ยอดรัก สลักใจ, ฝนมาน้ำ�ตาซึม, บาดทะยักใจ ร้องโดย สุนารี ราชสีมา, เจ็บแล้วต้องจำ� , พุ่มพวงลำ�เพลิน ร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์, บ่เที่ยวตี๋อ้าย ร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, รักพี่ไข่นุ้ย, ตบตาหลุด , ติดฝนทั้งปี , เขาชื่น เราช้ำ� ร้องโดย อัมพร แหวนเพชร รวมผลงานการประพันธ์ทั้งลูกทุ่ง, ลูก กรุง และหมอลำ� รวมกว่า ๓,๐๐๐ เพลง จากเกี ย รติ คุ ณ และความสามารถที่ ห ลากหลายในการสร้ า งสรรค์ ประพันธ์บทเพลง ทั้งไทยลูกทุ่ง ลูกกรุง กลอนลำ� นับเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่า ยิ่งสำ�หรับวงการเพลงเมืองไทย นายสมบูรณ์ สมพันธ์ หรือ ดอย อินทนนท์ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการ แสดง (ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติ สืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายกมนต์โรจน์ นิวัฒน์บรรหาร ( นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานใต้ )

สาขา

ศิลปะการแสดง

6 มิ.ย.2491 อายุ 64 ปี จังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักกันในนาม “ครูจุก” หรือ “อาจารย์จุก” เชี่ยวชาญ ในการแสดงพื้นบ้านของอีสานใต้หลายแขนง โดยเฉพาะ “เรือ มอันเร” เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมอีสานใต้ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2533 ไม่ว่าจะเป็นประเทศใน แถบยุโรปและอเมริกา ทำ�ให้ได้รับการยกย่องเชิดชูในหลายสถาบัน

อาทิ คนดีศรีเมืองช้าง, รางวัลพระราชทานเสมาทองคำ�, ผู้ที่มีผลงาน ดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ จากสำ�นักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ, ครูภูมิปัญญารุ่นที่ 6 ด้านศิลปกรรม เรือมอันเร อุทิศจนรับใช้สังคมโดยการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการที่ส่งเสริมด้าน ศิลปะและวัฒนธรรม เช่น กรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม จ.สุรินทร์, กรรมการพุทธสมาคม จ.สุรินทร์

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายสุเทพ วงศ์กำ�แหง ( ขับร้องเพลงไทยสากล )

นายสุเทพ วงศ์กำ�แหง เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ที่อำ�เภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันอายุ ๘๐ ปี ได้ ศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนมารีย์วิทยา โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดสมอราย) สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จาก โรงเรียนสีคิ้วสวัสดิ์ผดุงวิทยา ระดับอาชีวศึกษา จากโรงเรียนเพาะช่าง กรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยโตเกียว ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ อาร์ท (ประเทศญี่ปุ่น) แววของการเป็นนักร้องเริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยที่เป็นนักเรียน โดยมักจะได้รับมอบหมายให้เป็นต้นเสียงร้องเพลงชาติที่โรงเรียนเสมอ ๆ ครั้นเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แล้ว ก็ได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่กับ ญาติที่กรุงเทพมหานคร และด้วยนิสัยรักการวาดเขียนและงานศิลปะ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้สมัครเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งเป็น สถาบันการสอนทางด้านศิลปะของไทย ระหว่างที่เรียนอยู่นั้นนอกจาก จะแสดงฝีมืออย่างโดดเด่นในทางศิลปะแล้ว ยังเป็นนักร้องเสียงดีประจำ� ห้องเรียนอีกด้วย ในยามว่างมักจะฝึกซ้อมร้องเพลงเสมอ ๆ ตามแบบ อย่างของนักร้องที่ชื่นชอบในยุคนั้น เช่น วินัย จุลละบุษปะ, สถาพร มุกดาประกร, ปรีชา บุณยเกียรติ เป็นต้น บุคคลที่มีส่วนผลักดันให้เป็นนักร้องคือ ครูไสล ไกรเลิศ ในระยะ เวลาเวลาที่ผ่านมา หลังจากเข้าสู่วงการเพลงจนถึงปัจจุบัน สุเทพ วงศ์ กำ�แหง ได้ขับร้องเพลงไว้ไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ เพลง เพลงที่ทำ�ให้มีชื่อ เสียงคือ เพลง “รักคุณเข้าแล้ว” ซึ่ง สมาน กาญจนะผลิน เป็นผู้ประพันธ์ ทำ�นอง และ สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เป็นผู้ประพันธ์บทร้อง ทำ�ให้ เป็นที่รู้จักของนักฟังเพลงมากขึ้น และเมื่อมีโอกาสได้ร้องเพลงคู่กับ ส วลี ผกาพันธุ์ ยิ่งทำ�ให้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ผลงานเพลงดัง อมตะที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันมีมากมาย นอกจากเพลง “รัก คุณเข้าแล้ว” ยังมีเพลงอื่น ๆ อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลง เย้ยฟ้าท้า ดิน นั้นเป็นเพลงที่นับว่าทำ�ให้สุเทพ วงศ์กำ�แหง ประสบความสำ�เร็จ มากที่สุดเพลงหนึ่งในชีวิต และยังได้ขับร้องเพลงที่เกี่ยวข้องและสะท้อน

สังคมวัฒนธรรมอีสานไว้ เช่นเพลง “อีสานที่รัก” “หลานเขยย่าโม” “สายัณห์ที่แก่งสะพือ” “มนต์รักดอกนางอั้ว” ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีผล งานเพลงที่ร้องประกอบภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกเป็นจำ�นวนมาก เช่น “เพลงป่าลั่น” “สกาวเดือน” “สุรีรัตน์ล่องหน” “แผ่นดินของ เรา” “มนต์รักบ้านนา” “ดอกอ้อ” “แววมยุรา” เป็นต้น ผลงานเพลง ที่ขับร้องมีความไพเราะ นุ่มนวล กังวาน มีลีลาเป็นกันเอง เป็นศิลปินนัก ร้องเพลงไทยสากลที่มีน้ำ�เสียงเสนาะ จนได้รับฉายาจาก รงค์ วงษ์สวรรค์ ว่า “นักร้องเสียงขยี้แพรบนฟองเบียร์” ทุกเพลงที่ร้องล้วนกลั่นออกมา ด้วยความวิจิตรประณีตยิ่ง สุเทพ วงศ์กำ�แหง ได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ� ไม่ น้อยกว่า ๕ ครั้ง รางวัลเสาอากาศทองคำ�ในฐานะนักร้องยอดเยี่ยม ๒ ครั้ง และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย พุทธศักราช ๒๕๓๓ ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทย สากล-ขับร้อง) จากสำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในช่วงระยะหนึ่งของชีวิต สุเทพ วงศ์กำ�แหง ได้ลงสมัครรับ เลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรและได้รับเลือกตั้งหลายสมัย มีโอกาสทำ�งาน รับใช้สังคมมากขึ้น นับเป็นศิลปินที่ตั้งใจทำ�ประโยชน์เพื่อประเทศ ชาติอย่างสม่ำ�เสมอตลอดมา ปัจจุบันสุเทพ วงศ์กำ�แหง ยังบำ�เพ็ญ สาธารณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ จากเกียรติคุณในการสร้างสรรค์การขับร้องเพลงไทยสากล ต่อ เนื่องกว่า ๕๐ ปี ด้วยความสามารถอันสูงส่งจนเป็นที่ยอมรับ นอกจาก นี้ยังเป็นผู้อำ�นวยคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติเสมอมา นายสุเทพ วงศ์กำ�แหง จึงสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขา ศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงไทยสากล) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายประยงค์ ชื่นเย็น

( เรียบเรียงเสียงประสาน )

ประยงค์ ชื่นเย็น เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๙ ปัจจุบันอายุ ๖๘ ปี ที่จังหวัดพระตะบอง (ในยุคที่ยังเป็นของ ประเทศไทย) บิดา-มารดาชื่อ ประยูร – ลับ ชื่นเย็น สำ�เร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนการช่างบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์) เข้าสู่วงการเพลงโดยเป็นนักดนตรี ตำ�แหน่งทรัมเป็ต ของ วงรวมดาวกระจาย ต่อมาจึงอยู่กับ วงดนตรีสุร พัฒน์ ของ ชลธี ธารทอง วงดนตรีของ ผ่องศรี วรนุช และ เพลิน พรหมแดน ตามลำ�ดับ ประยงค์ เริ่มทำ�งานด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๑๖ โดยเป็นผู้เรียบเรียงเพลงทุกรูปแบบ และควบคุม การบรรเลงเพลงให้กับวงดนตรีไทยลูกทุ่งและไทยสากล ผลงานบันทึก เสียงเพลงแรกในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสาน คือเพลง “ทนหนาว อีกปี” ขับร้องโดย เด่น บุรีรัมย์ ต่อมาได้เรียบเรียงเสียงประสานเพลง มากมายนับพันเพลง บทเพลงที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ เพลงของ ยอดรัก สลักใจ เช่น “จดหมายจากแนวหน้า” “ทหารเรือมาแล้ว” “อเวจีใจ” เพลง “หนุ่มนารอนาง” ของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลง “อกหักซ้ำ� สอง” ของ สายัณห์ สัญญา เพลง “เทพธิดาผ้าซิ่น” ของ เสรี รุ่งสว่าง เพลง อีสาวทรานซิสเตอร์ ของ “อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์” เพลง “ท้า รัก” ของ บุษบา อธิษฐาน เพลง “รักจริงให้ติงนัง” ของ รุ่ง สุริยา เพลง “ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก” ของ ธานินทร์ อินทรเทพ เพลง “ส่วน เกิน” ของ ดาวใจ ไพจิตร รวมถึงเพลงของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ เช่น “หัวใจถวายวัด” “ผู้ชายในฝัน” “ห่างหน่อยถอยนิด” เป็นต้น เพลงที่ เรียบเรียงเสียงประสานที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมสูงสุดของ วงการ นอกจากนี้ยังมีผลงานสร้างสรรค์อีกเป็นจำ�นวนมาก ทั้งยังได้ เรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพลงที่รู้จักกันดีคือ เพลง “ส้มตำ�” ฉบับที่ขับ

ร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ และ สุนารี ราชสีมา ประยงค์ ชื่นเย็น ยังเป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการเพลง ลูกทุ่ง โดยการผสมผสานสร้างสรรค์ระหว่างดนตรีพื้นบ้านของไทยกับ ดนตรีตะวันตกได้อย่างยอดเยี่ยม และได้ริเริ่มนำ�เครื่องดนตรีไทยหลาย ชนิดมาบรรเลงผสมกับเครื่องดนตรีสากล จนเป็นเอกลักษณ์ของเพลงลูก ทุ่ง ประยงค์ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย เช่น รางวัลเสาอากาศทองคำ� พระราชทาน จากการเรียบเรียงเสียงประสาน เพลง “แม่ยก” “อาลัย นักรบ” และ “หนุ่มนารอนาง” รางวัลแผ่นเสียงทองคำ�พระราชทาน ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง จากเพลง “อีสาวทรานซิสเตอร์” “ข้อยเว้าแม่น บ่” ประเภทเพลงไทยสากล จากเพลง “ปั้นดินให้เป็นดาว” เป็นต้น และ พุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติสูงสุดเป็น ศิลปินแห่ง ชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง ประเภทผู้เรียบเรียงเสียง ประสาน) จากสำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ปัจจุบัน ประยงค์ ชื่นเย็น ทำ�งานประพันธ์เพลง เป็นนักเรียบเรียง เสียงประสานอิสระ ประเภทบทเพลงไทยลูกทุ่ง-เพลงไทยสากล เป็นผู้ ควบคุมการบรรเลงวงดนตรีไทยลูกทุ่งและไทยสากล นอกจากนี้ยังเป็น อาจารย์พิเศษสอนวิชาการเรียบเรียงเสียงประสาน การประพันธ์เพลง และทฤษฎีดนตรีสากล ประจำ�สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และยังเป็นกรรมการตัดสิน ทางด้านดนตรีและการขับร้องรายการต่าง ๆ ผลงานการเรี ย บเรี ย งเสี ย งประสานเพลงลู ก ทุ่ ง และไทยสากล มาต่อเนื่องจนเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการยอมรับในระดับชาติดังที่ ปรากฏ ประยงค์ ชื่นเย็น จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (เรียบเรียงเสียงประสาน) ประจำ� ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติ สืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายนัฐธพงษ์ สร้อยสูงเนิน (สัญญา พรนารายณ์)

( ขับร้องเพลงลูกทุ่ง )

สัญญา พรนารายณ์ มีชื่อจริงว่า นัฐธพงษ์ สร้อยสูงเนิน เกิด เมื่อ ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นชาวอำ�เภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ปัจจุบันอายุ ๕๖ ปี สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ปีที่ ๔ จากโรงเรียนคุรุสามัคคี ๑ อำ�เภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีพี่น้องรวม ๔ คน เป็นชาย ๒ และหญิง ๒ ตัวเขาเป็นลูกคนโต บิดา เป็นเจ้าของค่ายมวย และอยากให้เขาชกมวย และตัวเขาเองเมื่อสมัย เด็ก ๆ ก็เคยขึ้นชกโชว์อยู่บ้าง แต่ที่เขาชื่นชอบอย่างมากก็คือ การร้อง เพลง เขาชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก จึงได้พยายามแสวงหาใฝ่ฝันใน สิ่งที่ตนเองรัก เป็นนักร้องประจำ�โรงเรียน นอกจากนั้นก็ยังเคยตระเวน ประกวดร้องเพลงตามเวทีต่าง ๆ มาบ้าง และในการประกวดครั้งหนึ่งที่ เขาประทับใจก็คือ การไปประกวดที่จัดโดยวิทยุ วศป. ลพบุรี ซึ่งเขาเองก็ สามารถชนะเลิศในการประกวดครั้งนั้น ผู้เข้าร่วมประกวดอีกท่าน ต่อมา ก็กลายเป็นนักร้องดังคู่ขวัญร่วมวงดนตรีกันมา คือ “น้ำ�อ้อย พรวิเชียร” เนื่องจากเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในการขับร้อง สัญญา พรนารายณ์ เป็นนักร้องลูกทุ่งชายชื่อดังอยู่ในวงการมาหลายสิบปี มีน้ำ�เสียงไพเราะ ร้องเพลงช้าหรือที่กันว่าร้องเพลงแนวหวานได้ดีมาก เขามีเพลงที่เป็นที่ นิยมในหมู่แฟนเพลงมากมาย เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ โดยสมัครอยู่กับวงดนตรี “พรนารายณ์” ของ พร พรนารายณ์ ตำ�แหน่งนักร้อง เล่นละครหน้าเวที และช่วยเหลืองานวงทุกอย่าง ก่อน ที่จะย้ายไปอยู่กับวง ก้าน แก้วสุพรรณ, กาเหว่า เสียงทอง และ วงทูล ทองใจ เขามีโอกาสบันทึกเสียงเพลงแรกในชีวิตชื่อ “หนุ่มชาวไร่” แต่ ก็ยังไม่ได้รับความนิยม หลังจากนั้นมาไม่นานนัก สัญญา พรนารายณ์ ก็มาโด่งดังอย่างมากกับเพลง “สัญญาเมื่อสายัณห์” เมื่อประมาณ พุทธศักราช ๒๕๑๑ จากฝีมือการประพันธ์ของ “ธงชัย เล็กกำ�พล” ตามมาด้วยเพลงฮิตหลายเพลง อาทิ เพลงทหารบกพ่ายรัก, ลารักจาก

สวนแตง, จูบมัดจำ�, รักคนที่เขารักเราดีกว่า, รักแรกพบ, ขอตายที่สวน แตง, เหมันต์สัญญา , นาคอนาถา และอื่น ๆ อีกมาก กลายเป็นเพลง ดังอมตะจนถึงปัจจุบัน ความที่มีชื่อและมีน้ำ�เสียงไปพ้องและละม้าย คล้ายคลึงกับนักร้องดังแห่งยุคนั้นคือ “สายัณห์ สัญญา” ซึ่งก็เคยเป็น นักร้องอยู่วงตัวเองมาก่อนด้วย จึงสร้างความสับสนให้กับแฟนเพลงและ สายัณห์ สัญญา เป็นอย่างมาก จึงเสนอให้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ สุดท้ายก็ ตกลงกันได้ จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “สัญญา สายัณห์” มาเป็น “สัญญา พรนารายณ์” และใช้มาจนถึงปัจจุบัน ผลงานเพลงดังที่ได้บันทึกเสียงและเผยแพร่ไม่ต่ำ�กว่า ๕๐ เพลง และมีผลงานเพลงอื่นที่นำ�มาร้องใหม่ กว่า ๑,๐๐๐ เพลง เมื่อ วงดนตรี พรนารายณ์ ได้ยุติลง สัญญา พรนารายณ์ จึงผันตัวเองมาเป็นนักร้อง ตามห้องอาหารและคาเฟ่ รวมทั้งรับจ้างบันทึกเสียงให้กับค่ายเทปต่าง ๆ โดยนำ�เพลงเก่าของตัวเอง และเพลงของนักร้องคนอื่นมาร้อง นำ�ผล งานเพลงเก่ามาทำ�เป็นแนวเพลงรำ�วง ภายใต้ชื่อชุด “บุญหลาย” ก็ได้รับ ความนิยมจากแฟนเพลงลูกทุ่งเช่นเคย ความโด่งดังของ สัญญา พรนารายณ์ เป็นที่รู้จักและชื่นชมของ แฟนเพลงทั่วประเทศและยังคงครองความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ด้วย บุคลิก นิสัย เป็นคนพูดจาอ่อนหวาน อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้มีพระคุณ จึงเป็นที่รักใคร่ของบรรดาแฟนเพลง และยังได้รับการต้อนรับจากแฟน เพลงทุกที่ที่ไปแสดง จากเกี ย รติ คุ ณ ในการแสดงและการขั บ ร้ อ งเพลงลู ก ทุ่ ง เป็ น ที่ ประจักษ์ ตลอดจนการอุทิศตนช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติด้วย ดีเสมอมา เป็นที่ยอมรับและถือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม สัญญา พร นารายณ์ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายบุญสม สังข์สุข (บุญสม กำ�ปัง) ( เพลงโคราช )

นายบุญสม สังข์สุข (บุญสม กำ�ปัง) เกิดเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ ณ บ้านกำ�ปัง อำ�เภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา นายบุญสม สังข์สุข สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญา ตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เมื่อปี ๒๕๕๕ และได้รับปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา เมื่อปี ๒๕๕๕ ด้วยฐานะทางบ้านของนายบุญสม ยากจนจึงต้องออกจากโรงเรียนมาเป็นลูกจ้างทำ�นา ในระหว่างนั้นได้ รับแรงบันดาลใจจากพี่ชายซึ่งรับงานแสดงเพลงโคราชตามสถานที่ต่าง ๆ จึงเริ่มฝึกหัดเพลงโคราชตอนกลางคืนกับ ปู่สี ย่าเงิน ที่บ้านกำ�ปัง ควบคู่กันไปกับการทำ�นาในตอนกลางวัน นายบุญสมได้ต่อเพลงกับครู สีแบบปากต่อปาก คืนละ ๑ กลอน ฝึกการเอื้อนทำ�นอง การออกเสียง คำ�ควบกล้ำ� ฝึกพรรณนาสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อนำ�มาว่าเพลงเล่นคำ�ได้ สละสลวย ผสานด้วยมุกตลกและแฝงคติสอนใจได้อย่างลงตัว หลัง จากนายบุญสมปลดประจำ�การจากราชการทหาร ได้ยึดอาชีพหมอเพลง โคราช เพื่อหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริตมาจนถึงปัจจุบัน ร่วมกับการส่งเสริม หมอเพลงอาชีพ เพื่อสร้างขวัญกำ�ลังใจให้หมอเพลงเกิดความภาคภูมิ และดำ�รงตนอย่างมีศักดิ์ศรี ผลงานที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของบุญสม สังข์สุข คือ การผสาน ดนตรีพื้นเมืองอีสานประกอบการแสดง เช่น แคน โหวด หรือเครื่อง ประกอบจังหวะ เป็นช่วง ๆ นอกจากนั้นยังแสดงร่วมกันระหว่างเพลง พื้นบ้านอีสานกับเพลงโคราช สิ่งที่นายบุญสมได้ทุ่มเทตลอดทั้งชีวิต การเป็นหมอเพลงคือ การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเพลงโคราชตาม สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ดังปรากฏเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ภาค ภูมิใจและมีส่วนช่วยสืบสานเพลงโคราชคือ นายบุญสมได้เป็นแกน กลางร่วมกับสมาชิกสมาคมเพลงโคราชจัดทำ�หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชา เพลงโคราช ทั้งในระดับประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา ซึ่งประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เพลงโคราชและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาภาษาถิ่น

จัดทำ�คู่มือภาษาโคราชและเพลงโคราชคู่ นอกจากนั้นยังได้จัดทำ�แบบ ฝึกทักษะ และประเมินการฝึกทักษะตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนกระทั่งสามารถ สร้าง “หมอเพลงน้อย” ซึ่งเป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาและความเสียสละ ของนายบุญสม ให้สามารถแสดงบนเวทีจริงร่วมกับหมอเพลงรุ่นใหญ่ที่ กำ�ลังวางมือ โครงการดังกล่าวสอดรับกับแนวคิดของนายบุญสมได้กล่าว ไว้ในกลอนวัฒนธรรมว่า “ใครก็ไม่เหลียวมาดูเลยทั้งดูเต้ยดูลำ� เรื่องของ วัฒนธรรมต้องกอบกู้ดูแล กู้ดูแล อย่าให้เหมือนกะหว้าเหว่ เมื่อถึงฤดู... หล่น” ผลงานสำ�คัญอีกประการหนึ่งคือ นายบุญสมนำ�เพลงโคราชมาใช้ ในฐานะสื่อพื้นบ้าน เพื่อเชื่อมประสานความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐ กับประชาชนตามโครงการต่าง ๆ อาทิ “พระเนตรประดุจดั่งดวงดาว ที่ ส่องสกาวดวงเด่น พระหทัยอันฉ่ำ�เย็น แผ่กว้างเหมือนดวงเดือน กว้าง เหมือนดวงเดือน แสงสว่างกว่าดวงใด พระองค์เป็นศูนย์รวมใจ คน ไทยทุกดวง...เดอ” กลอนเพลงโคราชเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ๘๔ พรรษา “จะเลือกคนเก่าคน ใหม่พวกเราอย่าได้คิดประมาท ไอ้พวกประสงค์โกงชาติมันหวังเขมือบแต่ งบประมาณ” กลอนเชิญชวนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “ธุรกิจ น้ำ�เมา มันผลาญเผา ยิ่งกว่าน้ำ�มัน ครันจะปิดโรงงาน เหล้านอกก็มีนำ�มา ถ้าคนไม่กินก็ขายไม่ได้ เรามาตั้งใจนำ�กันละ คนกินตายคนขายรวยก็รู้กัน... แล้ว” กลอนสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นายบุญสม สังข์สุข ได้จัดทำ�หลักสูตรเพื่อสร้างหมอเพลงน้อยทั้ง แบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์ ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้จักเพลงประจำ� ถิ่นของตน ธำ�รงรักษาสมบัติของคนโคราชและสมบัติของประเทศ ดังคำ� กลอนที่ว่า “เพลงลำ�ตัดให้อยู่ภาคกลาง ลิเกนั้นดังในเมืองกรุง ส่วนเพลง โคราชนั้นมารุ่ง มีชื่อเสียงในเมืองไกล” นายบุญสม สังข์สุข (บุญสม กำ�ปัง) จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (เพลงโคราช) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายบรรเทิง อ่อนตา ( ลำ�กลอน )

นายบรรเทิง อ่อนตา หรือรู้จักกันดีในนาม หมอลำ�สุดใจ แดน อุดร ปัจจุบันอายุ ๖๒ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๖ เกิดที่บ้านกุดจับ ตำ�บลกุดจับ อำ�เภอเมืองอุดรธานี จังหวัด อุดรธานี สำ�เร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำ�เภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เมื่อปี ๒๕๔๙ และสำ�เร็จการศึกษาตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ๑๕๐ ชั่วโมง ของกรมอาชีวศึกษา ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใน บ้าน วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖ นายบรรเทิง อ่อนตา สนใจเรียนลำ�กลอนตั้งแต่วัยรุ่น กับหมอลำ�สำ�รอง สาธุการ ได้ร่ำ�เรียนจนเป็นผู้ที่มีความรู้ความ สามารถด้านลำ�กลอน เป็นหมอลำ�ที่มีสุ้มเสียงร้องไพเราะเป็น เอกลักษณ์ เมื่อเข้าร่วมประกวดหมอลำ�กลอนจึงมักจะได้รับรางวัล ชนะเลิศการประกวดหมอลำ�กลอนเสมอ อาทิ รางวัลชนะเลิศ ฝ่ายชาย การประกวดหมอลำ�กลอนในงานกาชาด อำ�เภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ รางวัลชนะเลิศ การประกวดหมอลำ�กลอน ในงานประจำ�ปีทุ่งศรีเมือง จังหวัด อุดรธานี ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด อุดรธานี นายบรรเทิง อ่อนตา เป็นทั้งผู้ส่งเสริมและสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทหมอลำ�กลอนโดยได้ร่วมกิจกรรม แสดงหมอลำ�กลอนย้อนยุคทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เช่น ร่วมกิจกรรมส่ง

เสริมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน (หมอลำ�กลอนย้อนยุค) งานทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ และร่วมแสดงหมอลำ�กลอน ภูมิปัญญาอีสาน ในงานบุญตัดลูกนิมิต (บุญขอดสิม) พุทธชยันตีพอ เพียงเคียงธรรม ณ วัดศรีทรงธรรม จังหวัดอุดรธานี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้ เกี่ยวกับหมอลำ�กลอนแก่นักเรียนและผู้สนใจทั่วไปอย่างต่อเนื่อง นายบรรเทิง อ่อนตา สามารถใช้ความรู้ด้านศิลปะการขับลำ�และ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ตนถนัดประกอบอาชีพอย่างสุจริต จนได้รับ รางวัลเชิดชูเกียรติจากหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ อย่างภาคภูมิ และในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้รับยกย่องให้เป็นปราชญ์ชุมชนด้าน ศิลปวัฒนธรรมไทย (หมอลำ�กลอน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ จากองค์การบริหารส่วนตำ�บลหนองพันทา อำ�เภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ด้วยความเชี่ยวชาญในการลำ�กลอน มุ่งสืบสานศิลปะการ แสดงพื้นบ้านอีสาน และอนุรักษ์ให้อยู่คู่สังคม นายบรรเทิง อ่อน ตา หรือ หมอลำ�สุดใจ แดนอุดร จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�กลอน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายทรงรัฐ อ่อนสนิท (รุ่งฟ้า กุลาชัย) ( ลำ�เพลินประยุกต์ )

นายทรงรัฐ อ่อนสนิท เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๒ อายุ ๕๕ ปี ที่บ้านบึงแก ตำ�บลบึงแก อำ�เภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเพาะช่าง และระดับปริญญาโท ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการ ศึกษา จากมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ นายทรงรัฐ อ่อนสนิท ใช้นามในการแสดงว่า “รุ่งฟ้า กุลา ชัย” เป็นผู้ที่ชื่นชอบการลำ�และร้องเพลงมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย เมื่อมีงาน แสดงในโรงเรียนหรือตามหมู่บ้านมักได้เป็นผู้นำ�ในการแสดงอยู่เสมอ เมื่อสำ�เร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิจิตรศิลป์ จากจังหวัดอุบลราชธานีได้เดินทางมาเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ใน กรุงเทพมหานคร ในขณะนั้นได้ก่อตั้งชมรมอีสานขึ้นเป็นคณะหมอลำ� เล็ก ๆ รับแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ กระทั่งคุณพยุง ช่ำ�ชอง ได้ให้โอกาส บันทึกแผ่นเสียงชุดแรกสังกัดบริษัทออนป้า ในปี ๒๕๒๒ คือ “ลำ�แมง ตับเต่า” ในนามว่า “รุ่ง ดาวอีสาน” จนได้รับฉายานามว่า “แมงตับเต่า ตัวแรกของเมืองไทย” โดยมี อาจารย์สมัย อ่อนวงศ์ เป็นผู้เป่าแคนให้ ส่วนนักร้องที่ลำ�คู่กันคือ “บานเย็น รากแก่น” และ “ปริศนา วงศ์ศิริ” ต่อมาได้เปิดวงดนตรีหมอลำ�ชื่อคณะ อีสานบันเทิง และเปลี่ยนชื่อในการ แสดงมาเป็น “รุ่งฟ้า กุลาชัย” ผลงานที่เป็นที่รู้จักคือ อัลบั้มชุด “เก่ง ต้องไปชายแดน” “อ่านจดหมายที่ชายแดน” “ลำ�เพลินขุนแผนเป่ามนต์ เสน่ห์จันทร์” “ฮักอ้ายใกล้เป็นเศรษฐี” เป็นต้น กระทั่งสื่อมวลชนขนาน

นามว่า “ขุนพลลำ�แพน เจ้าพ่อขุนแผนลำ�เพลิน” นอกจากนั้นยังเคยออก อัลบั้มร่วมกับ “อังคนางค์ คุณไชย” ชื่อ “คำ�พาคำ�พอง” และได้มีโอกาส ไปเผยแพร่ศิลปะการลำ�เพลินให้เป็นที่รู้จักในหลายประเทศ ทั้งทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกา เมื่อครั้งก่อตั้งชมรมอีสานสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา รุ่งฟ้า กุลา ชัย มีบทบาทสำ�คัญในการร้องลำ�กล่อมขวัญทหารและตำ�รวจตระเวน ชายแดน รวมทั้งหน่วยงานราชการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัจจุบัน ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทในการอนุรักษ์การร้องลำ�ในลีลาลำ�เพลิน โดย รับสอน และแนะนำ�แนวทางต่าง ๆ แก่ผู้ที่สนใจศิลปะแขนงนี้ ด้วย จิตสำ�นึกอนุรักษ์การลำ�เพลินให้คงอยู่ต่อไป รวมทั้งยังมีบทบาทสำ�คัญ ในการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดยโสธร จนได้รับโล่ เกียรติคุณเป็น “คนดีศรียโสธร” จึงกล่าวได้ว่า นายทรงรัฐเป็นศิลปินผู้มี ผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม นายทรงรัฐ อ่อนสนิท หรือรุ่งฟ้า กุลาชัย นำ�วรรณคดีไทย โบราณมาผสานกับกลอนลำ�ได้อย่างลงตัว ดังปรากฏในผลงานซึ่ง จะเกี่ยวเนื่องกับตัวละครขุนแผน นายทรงรัฐ อ่อนสนิท (รุ่งฟ้า กุลาชัย) จึงได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ สาขาศิลปะการแสดง (ลำ�เพลินประยุกต์) จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายชูเกียรติ บุญบู้

( ดนตรีพื้นบ้านอีสาน แคน )

นายชูเกียรติ บุญบู้ หรือที่รู้จักกันในนาม หมอแคนเตี้ย เกิด เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ ณ บ้านเลขที่ ๒๔๗ หมู่ ๙ บ้านนามะเฟือง ตำ�บลนามะเฟือง อำ�เภอเมืองหนองบัวลำ�ภู จังหวัดหนองบัวลำ�ภู ปัจจุบันอายุ ๕๙ ปี นายชูเกียรติ บุญบู้ สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ปีที่ ๔ ด้วยความที่ได้ยินได้ฟังการเป่าแคนของคุณพ่อหนา บุญ บู้ ตามงานบุญต่าง ๆ ตั้งแต่ในวัยเด็ก จึงทำ�ให้ได้รับแรงบันดาลใจ ในการเป่าแคนมาตั้งแต่นั้น จึงเริ่มฝึกฝนการเป่าด้วยตนเอง และ อาศัยการสอบถามเมื่อสงสัยจากบิดา ด้วยพรสวรรค์ที่มีและพร แสวงที่มุมานะ จึงเกิดความเชี่ยวชาญและได้แสดงตามงานต่าง ๆ จนกระทั่งได้กลายเป็นหมอแคนประจำ�ตัวของนักร้อง พรศักดิ์ ส่อง แสง และได้สั่งสมประสบการณ์ทั้งในประเทศและนอกประเทศ (ไต้หวันและสิงคโปร์) ซึ่งในขณะที่ทำ�งานก็ได้เป่าแคนขับกล่อม เพื่อนร่วมงานที่ต่างประเทศ และได้รับรางวัลเรื่อยมาจนมีชื่อเสียง ในระดับตำ�บล อำ�เภอ จังหวัด ภาคและระดับประเทศ ในด้านการ เป่าแคนมาจนถึงทุกวันนี้ ผลงานที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของหมอแคนเตี้ยคือ การ เป็นหมอแคนที่มีส่วนร่วมสำ�คัญในการขับเคลื่อนและอนุรักษ์การ เป่าแคนจากอาชีพสู่ภูมิปัญญา และยังได้จัดทำ�ลายแคนเพื่ออนุรักษ์ เป็นครูภูมิปัญญาไทยด้านศิลปะการแสดง (หมอแคน) ๓๖ ลาย แคนด้วยกัน ตลอดชีวิตการเป็นหมอแคนของหมอแคนเตี้ยไม่เพียง ปรากฏให้เห็นแต่เพียงตามงานแสดงต่าง ๆ แต่ยังได้อุทิศตนในการ พัฒนาและถ่ายถอดความรู้ในด้านการเป่าแคนให้แก่เยาวชน และ กลุ่มผู้ที่สนใจอย่างมากมาย อาทิ การตั้งกลุ่มเยาวชนในหลักสูตร

การพัฒนาผู้เรียน ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย มหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จนกระทั่งได้รับคัดเลือกให้ เป็นประธานกลุ่มศิลปินเครือข่ายและถวายงานวิจัยเรื่อง หมอลำ� กลอน : บริบท คุณค่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการดำ�รงอยู่ ในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ได้ รั บ คั ด เลื อ กให้ เ ป็ น ประธานกลุ่ ม คี ต ศิ ล ป์ ขั บ เคลื่ อ นภู มิ ปั ญ ญา หนองบัวลำ�ภู ในด้านผลงานส่วนตัวของหมอแคนเตี้ยนั้น ได้รับเลือก ให้เป็นผู้มีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมอีสาน มีความสามารถ ในการดีดพิณ เป่าแคน แต่งกลอนลำ� ชนะเลิศการประกวดเป่า แคน จนได้เป็น “ขุนพลแคนลัดดาแลนด์คลองจั่น” จนกระทั่งมีชื่อ เสียงและได้เป็นหมอแคนประจำ�คณะพ่อคำ�หอม ซึ่งเป็นคณะแชมป์ หมอลำ�ภาคอีสาน และเป็นหมอแคนประจำ�ตัวให้กับพรศักดิ์ ส่อง แสง เป่าแคนประกอบการร้องทุกอัลบั้มมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยการอุทิศตนในการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ใน การเป่าแคนให้แก่เยาวชน ชุมชน และผู้ที่สนใจ เป็นกำ�ลังสำ�คัญใน การขับเคลื่อนและอนุรักษ์การเป่าแคนจากอาชีพสู่ภูมิปัญญา จน กระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกลุ่มศิลปินเครือข่ายและ ถวายงานวิจัย อันเป็นส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้วงการหมอแคนยังอยู่คู่แผ่น ดินศรีอีสานนี้ต่อไป นายชูเกียรติ บุญบู้ จึงสมควรได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรี พื้นบ้านอีสาน แคน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัย ขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายบัวชัยศิลป์ แก้วแสนไชย ( ดนตรีพื้นบ้านอีสาน แคน )

นายบัวชัยศิลป์ แก้วแสนไชย เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๖ ณ บ้านหนองตาไก้ ตำ�บลสีแก้ว อำ�เภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันอายุ ๗๑ ปี นายบัวชัยศิลป์ แก้วแสนไชย สำ�เร็จการศึกษาระดับประถม ศึกษาจากโรงเรียนบ้านหนองตาไก้ ตำ�บลสีแก้ว อำ�เภอเมือง จังหวัด ร้อยเอ็ด นายบัวชัยศิลป์ เป็นศิลปินพื้นบ้านอาวุโสชาวร้อยเอ็ดท่านหนึ่ง ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในเรื่องการบรรเลงแคนที่ไพเราะและหา ตัวจับได้ยาก นายบัวชัยศิลป์เริ่มเข้าสู่วงการด้วยการตระเวนประกวด ตามอำ�เภอต่าง ๆ ในจังหวัดร้อยเอ็ด และกวาดรางวัลชนะเลิศไปหลาย เวทีการประกวด โดยได้ใช้ชื่อ “บัวตูม แคนเสน่ห์” ในการเข้าประกวด ทุกครั้ง ผลงานที่น่าภาคภูมิใจของนายบัวชัยศิลป์ แก้วแสนไชย คือ การได้รับรางวัลศิลปินดีเด่นแห่งชาติ จากสำ�นักงานคณะกรรมการ ประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ที่สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ช่อง ๙ จาก พล.อ.อ. สมบุญ ระหงษ์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ ในฐานะที่เป็นผู้สืบสาน ถ่ายทอด เผยแพร่ ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (แคน) จนเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการยกย่องจากประชาชนและสังคมทั่วไป ตลอดจนปฏิบัติ หน้ า ที่ เ ป็ น อาจารย์ พิ เ ศษสอนวิช าดนตรีพื้น บ้านที่วิทยาลัยนาฏศิ ล ป อ่างทองและวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี และมีส่วนสำ�คัญในการปลุก ปั้นให้สถาบันนาฏศิลป์ในภาคกลางมีชื่อเสียงด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน

นอกจากนี้นายบัวชัยศิลป์ แก้วแสนไชย ยังมีบทบาทในการ อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะดนตรีพื้นบ้านอีสานอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ ยอมรับของลูกศิษย์ โดยได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสานขึ้นที่ บ้านพักของตน เปิดสอนให้เยาวชนในชุมชนทั้งใกล้และไกล รวมถึงเป็น วิทยากรอบรมดนตรีพื้นบ้านให้กับหน่วยงาน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เช่น โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในด้านการเผย แพร่ สืบสาน และอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอีสานนั้น นายบัวชัยศิลป์ ได้เข้า ร่วมเป่าแคนในงานสำ�คัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การ เผยแพร่การแสดงที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๓ และได้เข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินวงโปงลาง ที่วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๓ ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่สอนวิชาดนตรีพื้นบ้านที่ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด นายบัวชัยศิลป์ แก้วแสนไชย ได้อุทิศตนทั้งกายและเวลา ใน การปลุกปั้นให้สถาบันนาฏศิลป์ในภาคกลางได้มีชื่อเสียงทางด้านดนตรี พื้นบ้านอีสาน ตลอดจนสละพื้นที่ในการอยู่อาศัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ดนตรีพื้นบ้านอีสานให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้มีส่วนร่วมในการสืบสานมรดก และภูมิปัญญาอันล้ำ�ค่านี้ ให้คงอยู่ต่อไป นายบัวชัยศิลป์ แก้วแสนไชย จึง สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะ การแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน แคน) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายอุ่น ทมงาม

( ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซอ )

นายอุ่น ทมงาม เกิดเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ ณ บ้านโพนสูง ตำ�บลโพนสูง อำ�เภอปทุมรัตต์ จังหวัด ร้อยเอ็ด ปัจจุบันอายุ ๕๙ ปี นายอุ่น ทมงาม สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปี ที่ ๔ จากโรงเรียนชุมชนบ้านโพนสูง ตำ�บลโพนสูง อำ�เภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากเป็นผู้ที่สนใจดนตรีพื้นบ้านอีสานตั้งแต่ เยาว์วัย จึงได้เสาะแสวงหาความรู้จากครูพื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญ และ หมั่นฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำ�นาญ นายอุ่น ทมงาม เป็นผู้ ที่มีความสามารถทางด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน สามารถเล่นเครื่อง ดนตรีอีสานได้หลายชิ้น อาทิ ซอ พิณ โหวด แม้กระทั่งเครื่องดนตรี สากลอย่างแซกโซโฟน ก็สามารถเล่นได้อย่างชำ�นาญ แต่เครื่อง ดนตรีที่เล่นได้ดีที่สุด คือ ซออีสาน นอกจากนั้นยังเป็นบุคคลผู้ปรับ เปลี่ยนรูปแบบการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านเข้าสู่ระบบตัวโน้ต เพื่อ การจดจำ�และถ่ายทอดได้ง่าย ผลงานที่น่าภาคภูมิใจของนายอุ่น ทมงาม ได้แก่ ชนะเลิศ การประกวดดนตรีประเภท สีซอ ในงานบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ ชนะเลิศการประกวดดนตรีประเภทเป่าโหวด ในงานบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ และชนะ เลิศการประกวดเดี่ยวพิณ ในงานส่งเสริมดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่น ที่อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับโล่เกียรติยศจาก ส.ส. ศักดิ์ดา คงเพชร ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ นอกจากนั้น นายอุ่น ทม งาม ยังได้รับฉันทามติจากมวลสมาชิกเครือข่ายวัฒนธรรม ให้ดำ�รง ตำ�แหน่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำ�เภอปทุมรัตต์ ในฐานะที่ เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ จรรโลง และสืบสานวัฒนธรรม ไทยให้เจริญรุ่งเรือง และด้วยความสามารถทางด้านซออีสาน ซึ่ง

หาตัวจับได้ยาก ทางจังหวัดร้อยเอ็ดจึงได้ยกย่องให้นายอุ่น ทมงาม เป็นครูภูมิปัญญาของจังหวัดร้อยเอ็ด ในสาขาวิชา ซออู้ ประจำ�ปี พุทธศักราช ๒๕๔๘ นอกจากจะเป็นนักดนตรีโดยอาชีพแล้ว นายอุ่น ทม งาม ยังได้อุทิศตนในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่สถานศึกษาอย่าง มากมาย ในการเป็นวิทยากรภายนอกสอนวิชาดนตรีพื้นเมืองให้แก่ โรงเรียนต่าง ๆ เช่นโรงเรียนโพนสูงประชาสรรค์ โรงเรียนบ้านโคก ทมพิทยาคาร โรงเรียนทุ่งกุลาประชานุสรณ์ โรงเรียนบ้านขี้เหล็ก โรงเรียนบ้านโพนสูง โรงเรียนบ้านบัวขาว และได้รับเชิญให้เป็น อาจารย์พิเศษด้านดนตรีพื้นบ้านที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิคการบรรเลงเดี่ยวซออีสาน ให้กับนิสิต นักศึกษา ได้เห็นความสามารถและความไพเราะของการบรรเลง ซออีสาน แม้กระทั่งในด้านสังคมสงเคราะห์ นายอุ่น ทมงามก็ได้ ให้ความอนุเคราะห์ในการแสดงดนตรีแก่หน่วยงานที่ขอความร่วม มือมาอย่างเต็มใจ และให้ความรู้แก่เยาวชนในด้านการอนุรักษ์และ สืบทอดการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเสียสละและอุทิศเวลาเพื่อใช้ในการเผยแพร่องค์ ความรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสานให้แก่สถานศึกษาอย่างสม่ำ�เสมอ และ ยังเป็นผู้ที่ริเริ่มการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบรรเลงดนตรีอีสานให้ เข้าสู่ระบบตัวโน้ต เพื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนความ สามารถทางด้านดนตรีพื้นบ้านอีสานที่หลากหลาย โดยเฉพาะ ซอ อีสาน นายอุ่น ทมงาม จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซอ) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายมนเทียร บุญธรรม ( ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซอ )

นายมนเทียร บุญธรรม หรือที่คนทั่วไปเรียก อ้ายยาว ซอเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ ณ บ้านเลขที่ ๘๐ หมู่ ๑๑ บ้านปลาขาว ตำ�บลหนองแค อำ�เภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน อายุ ๖๖ ปี นายมนเทียร บุญธรรม สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดบ้านปลาขาว ตำ�บลหนองแค อำ�เภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ในช่วงวัยรุ่นของมนเทียร ได้มีโอกาสซุ่มสังเกตการณ์ ฝึกซ้อมวงมโหรีในหมู่บ้านอยู่เป็นประจำ� โดยเฉพาะเสียงของซอ ซึ่ง ดังไพเราะ กึกก้องในหัวใจของนายมนเทียรมาโดยตลอด จึงคิดที่อยาก จะลองฝึกดูบ้าง แต่ด้วยความที่ยังเป็นคนนอกของวงจึงถูกห้ามโดยทีม งาน มนเทียรจึงต้องเผชิญกับความผิดหวัง แต่ยังมุ่งหวังที่จะฝึกเล่นให้ ได้ จนกระทั่งมีโอกาสได้สีซอเพลงที่เขาฟังทุกวันในวันที่หัวหน้าวงไม่ อยู่ เป็นจังหวะเดียวกับที่ลูกชายหัวหน้าวงได้ฟังเข้าพอดี จึงทราบว่า มนเทียรสามารถเล่นซอได้ จึงรับเขาเข้ามาอยู่ในวงมโหรี โดยมี พ่อใหญ่ อ่อนสี เป็นหัวหน้าวง และมี อาจารย์ลิง ใจสว่าง เป็นอาจารย์ฝึกสอน ภายหลังต่อมาคณะมโหรีก็เลิกกิจการไป มนเทียรและสมาชิกที่เหลือ ที่ยังรักงานศิลปะ จึงได้ก่อตั้งวงหมอลำ�คณะ ส.สายทอง อัมรินทร์ โดย มี อาจารย์สายทอง สงเมือง และ อาจารย์เจริญ เพิ่มพูน เป็นหัวหน้า วง ภายหลังจากนั้นชีวิตการทำ�งานของมนเทียร บุญธรรม ก็ถือได้ว่าอยู่ ในช่วงที่รุ่งเรืองทั้งได้ตั้ง วงฉัตรฟ้าราษี ซึ่งเป็นวงดนตรีของตนเองขึ้นมา เพื่อแสดงในงานสังสรรค์ต่าง ๆ ในอำ�เภอ และมีโอกาสได้ประดิษฐ์ซอ ทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้ใช้ชีวิตที่เหลือหลังจากนั้นทุ่มเทเพื่องานดนตรีอันเป็นที่รักของตน มาตราบกระทั่งปัจจุบัน ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความมุมานะบากบั่น ของมนเทียร บุญธรรม เป็นที่ประจักษ์แก่สายตามหาชน ได้แก่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดซอระดับจังหวัด ในงานประกวดดนตรีพื้นบ้าน ที่จังหวัด ศรีสะเกษ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ และในปีเดียวกันนี้เอง ก็ยังได้รับ

รางวัลชนะเลิศ ในการประกวดงานดนตรีพื้นบ้าน ระดับภาคที่จังหวัด ขอนแก่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นปีทองของมนเทียรก็ว่าได้ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ ได้มีโอกาสสีซอประกอบภาพยนตร์เรื่อง ครูบ้านนอก และเรื่อง มนต์รักแม่น้ำ�มูล ซึ่งมี คุณสายัณห์ สัญญาเป็นผู้ขับร้อง และสีซอประกอบ เพลง ลำ�กล่อมทุ่ง ซึ่งมีคุณไพรินทร์ พรพิบูลย์ เป็นผู้ขับร้อง ถือได้ว่า เป็นการร่วมงานกับนักร้องรุ่นใหญ่ทั้งสิ้น ส่วนผลงานที่มนเทียรภาคภูมิใจ ที่สุดในชีวิตก็คือ การมีโอกาสได้ประดิษฐ์ซอ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้เสด็จฯ มาทรง เป็นประธานเปิดเขื่อนราษีไศลในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ ซึ่งนับเป็นพระ มหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ในชีวิตของมนเทียร บุญธรรม นอกจากจะรับแสดงในงานบุญต่าง ๆ แล้ว ศิลปินชาวศรีสะเกษ ท่านนี้ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินพื้นถิ่นอย่างแท้จริง และเป็นที่ ยอมรับในวงการดนตรีพื้นบ้านทั่วภาคอีสาน ยังได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญ ของดนตรีพื้นบ้าน โดยเฉพาะซอ พิณ แคน ดังนั้นจึงได้พร้อมอุทิศตน ถ่ายทอดความรู้ทางด้านการสีซอ ดีดพิณ ให้แก่เด็ก เยาวชน เปิดสำ�นัก สอนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อได้เรียนจบไปแล้ว ก็จะมอบซอให้ เพื่อที่ จะได้สืบทอดมรดกทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมชองชาวอีสาน อีกทั้งยัง มักจะได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรพิเศษสอนเด็กในสถานศึกษาทุกระดับ โดย เฉพาะโรงเรียนในเขตใกล้เคียง อาทิ โรงเรียนราษีไศล โรงเรียนยางชุมน้อย โรงเรียนอนุบาลศิลาลาด โรงเรียนบ้านก้านเหลือง ฯลฯ เพื่ออนุรักษ์และ สืบทอดภูมิปัญญาอันล้ำ�ค่านี้ให้คงอยู่สืบไป จากผลงานทางด้านการบรรเลงซอ การได้มีส่วนร่วมในการ บรรเลงซอประกอบภาพยนตร์ ตลอดจนการมีจิตสาธารณะที่จะอนุรักษ์ และสืบทอดดนตรีพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไป นายมนเทียร บุญธรรม จึง สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะ การแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซอ) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


นายอุ่น ทมงาม

( ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซอ )

นายอุ่น ทมงาม เกิดเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ ณ บ้านโพนสูง ตำ�บลโพนสูง อำ�เภอปทุมรัตต์ จังหวัด ร้อยเอ็ด ปัจจุบันอายุ ๕๙ ปี นายอุ่น ทมงาม สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปี ที่ ๔ จากโรงเรียนชุมชนบ้านโพนสูง ตำ�บลโพนสูง อำ�เภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากเป็นผู้ที่สนใจดนตรีพื้นบ้านอีสานตั้งแต่ เยาว์วัย จึงได้เสาะแสวงหาความรู้จากครูพื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญ และ หมั่นฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำ�นาญ นายอุ่น ทมงาม เป็นผู้ ที่มีความสามารถทางด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน สามารถเล่นเครื่อง ดนตรีอีสานได้หลายชิ้น อาทิ ซอ พิณ โหวด แม้กระทั่งเครื่องดนตรี สากลอย่างแซกโซโฟน ก็สามารถเล่นได้อย่างชำ�นาญ แต่เครื่อง ดนตรีที่เล่นได้ดีที่สุด คือ ซออีสาน นอกจากนั้นยังเป็นบุคคลผู้ปรับ เปลี่ยนรูปแบบการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านเข้าสู่ระบบตัวโน้ต เพื่อ การจดจำ�และถ่ายทอดได้ง่าย ผลงานที่น่าภาคภูมิใจของนายอุ่น ทมงาม ได้แก่ ชนะเลิศ การประกวดดนตรีประเภท สีซอ ในงานบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ ชนะเลิศการประกวดดนตรีประเภทเป่าโหวด ในงานบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ และชนะ เลิศการประกวดเดี่ยวพิณ ในงานส่งเสริมดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่น ที่อำ�เภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับโล่เกียรติยศจาก ส.ส. ศักดิ์ดา คงเพชร ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ นอกจากนั้น นายอุ่น ทม งาม ยังได้รับฉันทามติจากมวลสมาชิกเครือข่ายวัฒนธรรม ให้ดำ�รง ตำ�แหน่งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำ�เภอปทุมรัตต์ ในฐานะที่ เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ จรรโลง และสืบสานวัฒนธรรม ไทยให้เจริญรุ่งเรือง และด้วยความสามารถทางด้านซออีสาน ซึ่ง

หาตัวจับได้ยาก ทางจังหวัดร้อยเอ็ดจึงได้ยกย่องให้นายอุ่น ทมงาม เป็นครูภูมิปัญญาของจังหวัดร้อยเอ็ด ในสาขาวิชา ซออู้ ประจำ�ปี พุทธศักราช ๒๕๔๘ นอกจากจะเป็นนักดนตรีโดยอาชีพแล้ว นายอุ่น ทม งาม ยังได้อุทิศตนในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่สถานศึกษาอย่าง มากมาย ในการเป็นวิทยากรภายนอกสอนวิชาดนตรีพื้นเมืองให้แก่ โรงเรียนต่าง ๆ เช่นโรงเรียนโพนสูงประชาสรรค์ โรงเรียนบ้านโคก ทมพิทยาคาร โรงเรียนทุ่งกุลาประชานุสรณ์ โรงเรียนบ้านขี้เหล็ก โรงเรียนบ้านโพนสูง โรงเรียนบ้านบัวขาว และได้รับเชิญให้เป็น อาจารย์พิเศษด้านดนตรีพื้นบ้านที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิคการบรรเลงเดี่ยวซออีสาน ให้กับนิสิต นักศึกษา ได้เห็นความสามารถและความไพเราะของการบรรเลง ซออีสาน แม้กระทั่งในด้านสังคมสงเคราะห์ นายอุ่น ทมงามก็ได้ ให้ความอนุเคราะห์ในการแสดงดนตรีแก่หน่วยงานที่ขอความร่วม มือมาอย่างเต็มใจ และให้ความรู้แก่เยาวชนในด้านการอนุรักษ์และ สืบทอดการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเสียสละและอุทิศเวลาเพื่อใช้ในการเผยแพร่องค์ ความรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสานให้แก่สถานศึกษาอย่างสม่ำ�เสมอ และ ยังเป็นผู้ที่ริเริ่มการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบรรเลงดนตรีอีสานให้ เข้าสู่ระบบตัวโน้ต เพื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนความ สามารถทางด้านดนตรีพื้นบ้านอีสานที่หลากหลาย โดยเฉพาะ ซอ อีสาน นายอุ่น ทมงาม จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซอ) ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป

ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2557


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.