1
ชื่อเรื่อง พระไม้ : วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น แขวงจาปาสัก สปป.ลาว กับจังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัย รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คา และ ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555 บทคัดย่อ การวิจัยเกี่ยวกับพระไม้ในแขวงจาปาสัก สปป.ลาว กับจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทยในครั้งนี้ มีความ มุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมาของพระไม้ รวมทั้งวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้าง พระไม้ โดยทาการศึกษาข้อมูลทั้งภาคเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ใช้กลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมู ลจาก กลุ่ม ผู้รู้ กลุ่ มผู้ป ฏิบั ติและกลุ่มผู้ เกี่ยวข้องในพื้น ที่แขวงจาปาสัก และจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้เครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสารวจ แบบสัมภาษณ์ทั้งชนิดมีโครงสร้างและชนิดไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกต รวมถึงการ บันทึกภาพซึ่งมีทั้งภาพถ่ายและภาพลายเส้น มีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และการนาเสนอผลการวิจัยเป็นแบบ เชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ประวัติของการสร้างพระไม้ในแขวงจาปาสักกับจังหวัดอุบลราชธานีนั้น มีความเป็นมาที่ยาวนานพร้อมๆกับ การเข้ามาของพระพุทธศาสนา ค่านิยมในการสร้างพระไม้นั้น มีการถ่ายทอดและสืบต่อมาอย่างยาวนานซึ่งมีความเชื่อ ในทางพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานและส่งผลต่อการสร้างพระพุทธรูป ตามความเชื่อที่ว่าพระพุทธรูปเป็นตัวแทนแห่งความ ศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และสามารถใช้เป็นสิ่งแสดงการเคารพนับถือต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า ในทาง วิช าการนั้ น มี ห ลั กฐานแสดงถึงแหล่ งกาเนิ ดของพระพุ ทธรูปว่ามาจากแถบชมพู ทวีป จากนั้นค่านิยมในการสร้าง พระพุทธรูปจึงแพร่กระจายเข้ามาในพื้นที่แถบลุ่มน้าโขง ดารงสืบเนื่องมาหลายยุคหลายสมัยโดยเห็นเป็นหลักฐานมา ตั้งแต่ยุคอาณาจักรโบราณ ซึ่งการแพร่กระจายดังกล่าวส่งผลต่อการสร้างพระพุทธรูปโดยการใช้วัสดุต่างๆ รวมทั้งที่ทา จากไม้ในพื้นที่แถบลาน้าโขงโดยเฉพาะในยุคอาณาจักรล้านช้างจวบจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของพระไม้แขวงจาปาสักกับจังหวัดอุบลราชธานี มีความคล้ายคลึงกันเป็น อย่างมาก เนื่องจากในอดีตพื้นที่แถบลุ่มน้าโขงตอนล่างบริเวณเมืองจาปาสักและเมืองอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ที่ผู้คนมี ความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์กันมาอย่างยาวนานจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นวัฒนธรรมร่วมแบบ คือ วัฒนธรรมไท-ลาว ซึ่งมี รากฐานมาจากพุทธศาสนา วัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในกระบวนการประกอบสร้างพระไม้สามารถวิเคราะห์ได้เป็น 3 ส่วน คือ คติความเชื่อในกระบวนการสร้างพระไม้ คติความเชื่อในการเลือกไม้ และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระไม้ ซึ่งทั้งสาม ส่วนนี้สืบทอดต่อกันมาทั้งในพื้นที่จาปาสัก และจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนทางด้านภูมิปัญญานั้ น พระไม้ทั้งจาปาสักและจังหวัดอุบลราชธานีเป็นงานพุทธศิลป์ที่แฝงไปด้วยภูมิ ปัญญาที่โดดเด่น และมีเอกลักษณ์ที่คล้ายกัน ซึ่งภูมิปัญญาดังกล่าวนี้สามารถสะท้อนออกมาจากรูปแบบของพระไม้ รวมไปถึงกระบวนการในการสร้างงานพระไม้ โดยที่รูปแบบของพระไม้เหล่านั้นมีความหลากหลาย มีทั้งที่เป็นผลงาน ซึ่งได้รับอิทธิพลของช่างแบบราชสานัก และเป็นผลงานที่เป็นแบบช่างพื้นบ้าน ส่วนในด้านกระบวนการสร้างนั้น ประกอบไปด้วยเทคนิคและชั้นเชิงที่สามารถสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นของทั้งสองพื้นที่ได้เป็นอย่างดี อาจกล่าวได้ว่า ทั้งรูปแบบและการสร้างพระไม้ในพื้นที่ศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาที่มีกระบวนการปรับปรุงเปลี่ ยนแปลงจน เกิดผลงานพุทธศิลป์แบบท้องถิ่นของทั้งจาปาสักและจังหวัดอุบลราชธานี
2
ความเป็นมาและความสาคัญ ประชากรในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและในเขตภาคอีสานของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว อยู่ในตระกูลภาษาไต-กะได (เกรียงไกร เกิดศิริ, 2553) ซึ่งมีหลากหลายกลุ่มย่อย (สุรัตน์ วรางค์ รัตน์ อ้างถึงใน ทรงยศ วีระทวีมาศ และคณะ, 2545) โครงสร้างวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายคลึงอาณาจักรล้านช้างใน อดีต ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มน้าโขง อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด และมีความผูกพันเป็นสาย เครือญาติมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะบริเวณริมลาน้าโขงระหว่างแขวงจาปาสักและจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากมีลาน้า สายใหญ่ไหลผ่านจึงก่อให้เกิดความหลากหลายต่อบริบทในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชากรทั้งสองฝั่ง จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของภูมิภาคแถบนี้ เกิดการอพยพ เคลื่อนย้ายไปมาระหว่างกันมาตลอด บริเวณ ดังกล่าวมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอย่างจริงจังมาไม่ต่ากว่า 5,000 ปีมาแล้ว (สุจิตต์ วงศ์เทศ, 2549) มีหลักฐาน ทางโบราณคดีที่สาคัญปรากฏอยู่ทั้งสองฝั่ง เช่น ฮูปแต้มสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนผาแต้ม อาเภอโขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี ที่ทิ้งร่องรอยทางประวัติศาสตร์ อารยธรรม และ วิถีชีวิตของกลุ่มคนในบริเวณนี้ไว้มากมาย (พิริยะ ไกร ฤกษ์., 2533) หรือที่ ปราสาทวัดพู เมืองจาปาสัก อาณาจักรโบราณอันยิ่งใหญ่และมีความสาคัญจนได้รับการยอมรับ ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สาคัญของโลกจากองค์กร ยูเนสโก้ (UNESCO) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลอันสาคัญที่ทิ้งร่องรอย ในอดีตไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาอย่างมากมาย จากหลักฐานที่สาคัญในอดีต และลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่คล้ายกัน คือ อยู่ใกล้แม่น้าใหญ่ ยืนยันได้ว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นชุนชนมาอย่างยาวนาน มีความเกี่ยวพันและได้หลอมรวมวิถีชีวิต เป็ น วัฒนธรรมเดียวกัน คือ วัฒนธรรมไท-ลาว (นิยม วงศ์พงษ์คา, 2545) ที่ฝังรากลึกลงในแผ่นดินแถบลุ่มน้าโขง ในรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมเมืองต่างๆของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าล้านช้างซึ่งทั้ง จาปาสักและอุบลราชธานีเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้าง ต่อเมื่ออาณาจักรล้านช้างได้ย้าย เมืองหลวงของอาณาจักรมาอยู่ที่เวียงจันทน์ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาเพื่อให้ไกลจากการรุกรานของศัตรู อาณาจักร ล้านช้างเจริญมาได้ 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจาปาสัก ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ทรงโปรดให้เจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักรจนตกเป็นของสยามนานถึง 114 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2436 ไทยต้องยกลาวให้กับฝรั่งเศสตั้งแต่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้ งที่ 2 เมื่อถึงถึงปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามโลกที่ เดียนเบียนฟู ลาวได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่กลับถูกสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางการเมืองและการทหาร กลุ่ม ลาวรักชาติจึ งได้ร่วมกัน ต่อสู้จ นสหรัฐอเมริกาล่ าถอย ลาวได้เปลี่ ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิส ต์ ยกเลิ ก สถาบันเจ้าชีวิตหรือสถาบันกษัตริย์ โดยเจ้าชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจาปาสักคือเจ้าบุญอุ้ม ทรงเป็นกษัตริย์ องค์สุดท้ายก่อนที่จะเกิดการปลดปล่อยหรือเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบสังคมนิยมในปี พ.ศ. 2518 เจ้าบุ ญ อุ้มเคยเป็ น นายกรัฐมนตรีของลาวในปี พ.ศ. 2503 – 2505 ต่อมาภายหลั งต้องเสด็จลี้ ภั ยทางการเมืองไป ป ร ะ ทั บ ที่ ฝ รั่ ง เ ศ ส ใ น ปี พ .ศ . 2517 แ ล ะ สิ้ น พ ร ะ ช น ม์ ที่ ก รุ ง ป า รี ส ใ น ปี พ .ศ . 2521 (http://www.oceansmile.com/Lao/Jampasak.htm) ส่วนเมืองอุบลราชธานีนั้น เริ่มมีบทบาทในการปกครองซึ่งสัมพันธ์กันโดยตรงกับเมืองจาปาสักในช่วงที่ล้าน ช้างแตกเป็น 3 อาณาจักร ผู้ตั้งเมืองอุบลราชธานี คือ ท้าวคาผง ที่หลังจากมีชัยชนะต่อเวียงจันทน์แล้วได้ปกครองลาว และภาคอีสานทั้งหมดใน พ.ศ.2232 ท้าวคาผงซึ่งแต่งงานกับนางตุ่ย ธิดาอุปราชธรรมเทโว เจ้าหลวงไชยกุมารแห่งนคร จาปาสัก เห็นว่าท้าวคาผงเป็นเขยและเป็นผู้มีครอบครัว บ่าวไพร่มาก จึงตั้งให้ท้าวคาผงเป็นพระประทุมสุรราชให้เป็น นายกองใหญ่ควบคุมครอบครัวไพร่ ตั้งอยู่ ณ บ้านเวียงดอนกอง ต่อมา พ.ศ. 2329 พระประทุมฯจึงย้ายมาถิ่นฐาน ณ ตาบลห้วยแจระแม (สุวิทย์ ธีรศาศวัติ , 2543) ต่อมา พ.ศ.2335 เห็นว่าบ้านห้วยแจระแม ไม่เหมาะที่จะตั้งเป็นเมือง ใหญ่ จึงได้ย้ายมาตั้งบ้านเมืองที่ตาบลบ้านร้างเรียกว่า ดงอู่ผึ้ง ริมฝั่งแม่น้ามูลอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีใน ปัจจุบัน (http://www.ubonratchathani.go.th/history_ubon.html)
3
ในช่วงเวลาของอาณาจักรล้านช้าง ทั้งแขวงจาปาสัก และเมืองอุบลราชธานีเป็นดินแดนซึ่งอยู่ภ ายใต้การ ปกครองจากจุดศูนย์กลางเดียวกันคือเมืองจาปาสัก ทั้งแขวงจาปาสักและเมืองอุบลราชธานีจึงกลายเป็นจุดศูนย์กลาง ทางการปกครองของอาณาจักรในภูมิภาคทางตอนใต้ จากปัจจัยจัยดังกล่าวย่อมส่งผลให้พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของ ศิลปวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจของอาณาจักรในตอนใต้ ซึ่งรวมทั้งผลงานทางด้านพุทธศิลป์ หลังจากสิ้นสุดการ ปกครองในระบอบกษัตริย์ เมืองจาปาสักและเมืองอุบลราชธานีได้ถูกกาหนดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้วยบริบทของ พุทธศาสนา ผสานกับความเชื่อ ผีบรรพบุรุษ และนาคาคติ ในสมัยอาณานิคม (บุญเกิด เหลามี. 2552) เมืองจาปาสัก และเมืองอุบลราชธานีจึงกลายเป็นศูนย์กลางการปกครองทางพระพุทธศาสนาที่สาคัญของลาวและสยาม ดั่งเช่นที่ ปรากฏเห็น วัดวาอารามเก่าแก่มากมาย ซึ่งเป็นการสร้างงานศิลปกรรมที่เกิดจากแรงศรัทธาทางพระพุทธศาสนา เพื่อ ตอบสนองศรัทธาและรับใช้พุ ทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัดวาอารามซึ่งถือได้ว่าเป็นสง่าราศีของบ้านเมืองและ ชุมชน ซึ่งรูปแบบทางพุทธศิลป์มีลักษณะที่สัมพันธ์กันหลายอย่าง เช่น สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมแขนงต่างๆ ผลงานทางพุทธศิลป์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุ ษย์กับสังคม มนุษย์กับ ธรรมชาติที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลผลิตทางภูมิปัญญา ซึ่งภูมิปัญญานั้นเกิดการสั่งสมและสืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่น หนึ่งจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถเรียนรู้และก่อให้เกิด การสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางวัตถุและทางจิตใจ จนเกิดเป็นภูมิปัญญา (เบญจวรรณ นาราสัจจ์. 2552) ทั้งเมืองจาปา สักและเมืองอุบลราชธานีต่างก็ปรากฏผลงานที่เป็นพุทธศิลป์ที่แผงไปด้วยภูมิปัญญามากมายหลายอย่างโดยที่พื้นฐาน ของภูมิปัญญเหล่านั้นเกิดจากรากทางวัฒนธรรมเดียวกันคือ วัฒนธรรมไท-ลาวซึง่ มีรากฐานมาจากพุทธศาสนาที่ส่งผล ทาให้ศิลปกรรมรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้น ศิลปกรรมเหล่านั้นถูกสร้างสรรค์เพื่อแสดงออกแห่งภาวะทางด้านจิตใจและวิถี การดาเนินชีวิต อุทิศถวายไว้ในพุทธศาสนาด้วยความศรัทธา (พิทักษ์ น้อยวังคลัง และ คณะ. 2537) เช่น สิม วิหาร หอไตร หอแจก ธรรมาสน์ และพระไม้ เป็นต้น จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ทั้งจาปาสักเป็นแขวงและจังหวัดอุบลราชธานีจึงเป็นแหล่งที่อุดมด้วยวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่มีความสาคัญ อีกทั้งยังคงวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่งดงามยังแสดงออกอย่างโดดเด่นในงาน พุทธศิลป์ โดยเฉพาะงานพุทธศิลป์ที่เป็นตัวแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป และที่น่าสนใจ และน่าศึกษาเป็นอย่างมากคือพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า พระไม้ ซึ่งถือเป็นงานหัตถศิลป์ที่ สร้างสรรค์เพื่อแสดงออกแห่งภาวะทางด้านจิตใจและวิถีการดาเนินชีวิต อุทิศ ถวายไว้ในพุทธศาสนาด้วยความศรัทธา อันใสซื่อและบริสุทธิ์ (นิยม วงศ์พงษ์คา, 2545) ถือเป็นมรดกล้าค่ายิ่งอย่างหนึ่งที่ความหมายมีนัยยะสาคัญในปัจจุบัน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มักหลงใหลความงามในรูปแบบที่มองเห็นมากกว่าความงามที่เกิดจากทางจิตใจ ดังนั้นทีมวิจัยใน ฐานะเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในภาคอีสาน เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา รวมถึงเป็ น แหล่ งรวมความรู้ และผู้ เชี่ย วชาญในสาขาต่างๆ มากมายเพื่ อ การบริก ารวิช าการออกสู่ สั งคม จึ งเห็ น ความสาคัญในการจัดทาโครงการวิจัยเรื่อง พระไม้ : วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ถึงประวัติความเป็นมาของพระไม้ และศึกษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านในการสร้างพระไม้ใน แขวงจาปาสัก สปป.ลาวและจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ทางด้านพระไม้แขวงจาปาสักและ จังหวัดอุบ ลราชธานี ประเทศไทย อย่างเป็นระบบทั้งในรูปแบบเอกสารหนังสือ สิ่ งพิมพ์ วีดิทัศน์ เว็ปไซด์ เพื่อนา เผยแพร่สู่ สาธารณชนและเป็ นแนวทางในการศึกษา พัฒ นา รวมถึงเป็นแนวทางในการอนุรักษ์วัฒ นธรรมและภูมิ ปัญญาพื้นบ้านในงานพระไม้ต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระไม้ แขวงจาปาสัก สปป.ลาว และจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการสร้างพระไม้ แขวงจาปาสัก สปป.ลาว และจังหวัดอุบลราชธานี
4
ประเทศไทย นิยามศัพท์เฉพาะ พระไม้ หมายถึง พระพุทธรูปที่ทาจากไม้ ในพื้นที่แขวงจาปาสัก สปป.ลาวและจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย วัฒนธรรม หมายถึง คติความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระไม้ที่สืบทอดต่อกันมาของผู้คนในพื้นที่จาปา สัก สปป.ลาวและจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง รูปแบบพระไม้ รวมไปถึงกระบวนการในการสร้างงานพระไม้ในพื้นที่จาปาสัก สปป.ลาวและจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย ขอบเขตที่ใช้ในการวิจัย 1) ขอบเขตด้านพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาคือ พื้นที่แขวงจาปาสัก สปป.ลาว ประกอบไปด้วย เมืองดอนโขง จานวน 3 วัด ได้แก่ วัดจอมทอง วัดหัวโขงพระใหญ่ และวัดหินสิ่ว เมืองจาปาสัก จานวน 4 วัด ได้แก่ วัดหลวงเก่า วัดพระนอนใต้ วัดอามาด และวัดพะพิน เมืองชะนะสมบูน จานวน 1 วัด ได้แก่ วัดสีรัตนศาสดาราม (บ้านดอนโค) พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย ประกอบไปด้วย อาเภอเขมราฐ จานวน 4 วัด ได้แก่ วัดโพธิ์ วัดกลาง วัดเหนือ และวัดโพธิ์ศรี อาเภอนาตาล จานวน 2 วัด ได้แก่ วัดพระโต (บ้านปากแซง) และวัดชัยมงคล (บ้านนาตาล) อาเภอโขงเจียม จานวน 1 วัด ได้แก่ วัดบ้านตามุย 2) ขอบเขตด้านเนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2.1 ประวัติความเป็นมาของพระไม้ แขวงจาปาสัก สปป.ลาวและจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย 2.2 วัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการสร้างพระไม้ แขวงจาปาสัก สปป. ลาวและจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศ ไทย 3) ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้จานวน 12 เดือน วิธีการดาเนินการศึกษาวิจัย การดาเนินการวิจัยเพื่อรวบรวมมีวิธีการดาเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การศึกษาข้อมูลวัฒนธรรมและภูมิปัญญาทางด้านศิลปกรรมจากเอกสารทุติยภูมิ ทั้งจากเอกสาร วารสาร หนังสือ ตารา เวปไซด์ รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น 2. การศึกษารวบรวมข้อมูลในภาคสนาม การศึกษารวบรวมข้อมูลในภาคสนามในครั้งนี้มีขั้นตอนในการดาเนินการดังนี้ 1) การวางแผนการลงพื้นที่สนามจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น 2) ประสานงานพื้นที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อลงพื้นที่ในการศึกษารวบรวมข้อมูล 3) สร้างกรอบและเตรียมเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า โดยในการศึกษาในครั้งนี้ใช้เครื่องมือในการศึกษาเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกต แบบการสนทนากลุ่ม การบันทึกเสียงและการ ถ่ายภาพและวิดีโอเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นที่ศึกษา 4) ดาเนินการศึกษารวบรวมข้อมูล เรียบเรียงข้อมูล
5
5) วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา 6) นาเสนอข้อมูลองค์ความรู้ทีได้จากการวิจัย ผลการวิจัย 1.ประวัติความเป็นมาของพระไม้ จากหลักฐานทางโบราณคดีทาให้ทราบว่า ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายในแถบ ภูมิภาคลุ่มน้าโขงซึ่งรวมทั้งประเทศไทยในแถบภาคอีสาน และในสปป.ลาว หลังจากรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาจึงเกิด การผสมผสานคติความเชื่อเดิมคือ ผี และพราหมณ์ ความศรัทธาต่อพุทธศาสนาของผู้คนในสองฝั่งแม่น้าโขงสืบเนื่อง ตั้งแต่กาลนั้นเป็นต้นมา มีการสร้างสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นตัวแทนหลักคาสอนและพระศาสดาคือ องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธ เจ้า ที่มีทั้งวัตถุ และสถาปัตยกรรม เช่น ใบเสมา สถูป เจดีย์ และพระพุทธรูป เป็นต้น การสร้างพระพุทธรูปนั้นได้แฝง เร้นความเชื่อความศรัทธาในพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าพระพุทธรูปเป็นตัวแทนแห่ งความศรัทธาและความเคารพนับถือ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า ในทางวิชาการมีหลักฐานแสดงถึงช่วงเวลากาเนิดพระพุทธรูประยะแรกว่า น่าจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-7 ซึ่งถือกาเนิดในแถบชมพูทวีป ได้แก่ ประเทศอินเดีย ปากีส ถาน เนปาล และ บังกลาเทศในปั จ จุบั น รู ป แบบทางประติมานวิทยาของพระพุทธรูป เริ่มตั้งแต่ยุคสมัยแรกของศิล ปะแบบอินเดีย สืบเนื่องถึง ศิลปะแบบอินเดียในยุคที่สอง คือ ศิลปะคันธาระ ศิลปะมถุรา ศิลปะอมราวดี ผ่านมาสู่ยุคที่สาม คือ ศิลปะ คุปตะ ศิลปะวกาฏกะ-จาลุกยะ และยุคที่สี่ คือ ศิลปะปาละ ศิลปะกัศมีร์ และศิลปะนาคปัฏ ฏนัม เป็นต้น รูปแบบและ บุคลิ กลั กษณะของพระพุ ทธรูป จะเน้ น ให้ คล้ ายคนจริงซึ่งส่วนใหญ่จะทามาจากการจาหลั กหิ น รูปแบบดังกล่าวมี อิทธิพลต่อการสร้างพระพุทธรูปในภูมิภาคที่พุทธศาสนาแพร่กระจายไปถึง ซึ่งรวมทั้งในแถบภูมิภาคลุ่มน้าโขง จากตานานเก่าแก่แห่งลุ่มน้าโขงเรื่องอุรังคนิทาน กล่าวถึงการสร้างพระธาตุเพื่อบรรจุอัฐิส่วนหน้าอกขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าซึ่งเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 8 การแพร่กระจายเข้ามาของพุทธศาสนาเกิดขึ้นสองทาง คือ ทางบก และทางน้าหรือมหาสมุทร ทางบกเริ่มจากแถบลุ่มแม่น้าอิระวดีเลียบลงมาตามลาน้าใหญ่ เช่น ลาน้าปิง วัง ยม น่าน ลาน้าเจ้าพระยา ลาน้าสงคราม และลาน้าโขง ทางน้าเริ่มจากแถบตอนล่างของแหลมอินโดจีน หรือที่เรียกกัน ในยุคนั้นว่า “ สุวรรณภูมิ ” พุทธศาสนาแพร่กระจายขึ้นมาตามลาน้าโขง ลาน้ามูล เรื่อยไปจนถึงลาน้าชี และปักหลัก แพร่กระจายคติความเชื่อตามอาณาจักรโบราณเหล่านั้นเท่าที่สามารถไปถึงได้ อาณาจักรโบราณในแถบสุวรรณภูมิที่พระพุทธศาสนาเข้ามาและถูกให้ความสาคัญแทนที่ หรือผสมผสานกับ คติความเชื่อเดิม คือ คติความเชื่อเรื่องผีฟ้าผีแถน และความเชื่อแบบพราหมณ์ เช่น พบหลักฐานทางโบราณคดีในสมัย อาณาจักรฟูนัน คือ พระพุทธรูปแบบอมารวดี แบบคุปตะ และแบบปัลลวะจากชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย พบจารึก ที่สมโบร์ไพรกุกในสมัยอาณาจักรเจนละระบุว่า สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พญานาคผู้แผ่พังพานปกป้องพายุฝนให้องค์ สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อ “มุจลิน” อาณาจักรโบราณที่กล่าวมาทั้งสองเป็นต้นกาเนิดของอารยธรรมแบบขอม หรือ กัมพูช า หลักฐานที่ป รากฏให้ เห็ น ว่าขอมรั บ เอาพุ ทธศาสนาเข้ามาแทนที่คติแบบพราหมณ์ คือ ปราสาทหิ น เช่น ปราสาทขอมในประเทศกัมพูชา รวมทั้งปราสาทขอมในประเทศไทย ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นช่วงที่พุทธ ศาสนารุ่งเรืองที่สุดในแถบนี้ การรับเอาพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์นิกายเถรวาทแทนความเชื่อแบบคติพราหมณ์ ของ พระองค์ได้แพร่กระจายไปตามอิทธิพลในการปกครองของพระองค์ โดยเฉพาะในแถบลุ่มน้าโขง หลังจากอิทธิพลของ ขอมอ่อนแอลง อาณาจั กรต่างๆที่ เคยเป็ น อาณานิค มก็เริ่มประกาศอิส รภาพเพื่อปกครองอาณาจัก รของตน เช่ น อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรหริภุญไชย อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรศรีโคตรบูร ต้นกาเนิด ของอาณาจักรล้านช้าง เป็นต้น ซึ่งในแต่ละยุคปรากฏหลักฐานบ่งชี้ว่า พุทธศาสนามีอิ ทธิพลต่อความเชื่อของผู้คนใน อาณาจักรต่างๆ
6
ในอดีตพื้นที่ประเทศไทยในแถบภาคอีสาน และสปป.ลาว เป็นพื้นที่ในการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง ด้วยเหตุดังกล่าวทาให้ผู้คนในภูมิภาคแถบนี้มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม และคติความเชื่อแบบเดียวกันซึ่งสืบเนื่องจนถึงยุค ปัจจุบัน ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรล้านช้างเริ่มมีประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งเป็นกษัตริย์ ที่ทรงรวบรวมผู้คนและสร้างเป็นราชอาณาจักร พระองค์ทรงนับถือพุทธศาสนา พระองค์ทรงนาเอาพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์จากราชสานักเขมรเข้ามาสู่ราชสานักเชียงดง-เชียงทอง ทรงสร้างพุทธสถานหลายแห่ง สัญลักษณ์ทาง พุทธศาสนาในยุคนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนซึ่งเป็นการผสมผสานศิลปะของเขมรกับลักษณะเฉพาะของล้าน ช้าง โดยเฉพาะพระพุทธรูปองค์สาคัญของชาวล้านช้าง คือ พระบางเจ้า เป็นพระพุทธรูปสาริดปางห้ามญาติ หรือปาง ห้ามสมุทร สูงราว 83 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างเขมรแบบบายน หรือช่างลพบุรี ซึ่งมีลักษณะทางกายวิภาค ตามแบบฉบับสกุลช่างเขมรที่ประกอบไปด้วย พระเศียร พระพักต์ พระนาภี ผ้ารัดประคต และการตกแต่งส่วนอื่นๆ ซึ่งพระพุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวนิยมสร้างกันสืบมาดั่งที่พบเห็นในปัจจุบันทั้ งใน สปป.ลาว กัมพูชา ไทย จีน และพม่า การสร้างพระพุทธรูปภายใต้อารยธรรมแบบล้านช้างเป็นเช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปของชาวพุทธในที่ ต่างๆ คือ ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของอาณาจักรข้างเคียง แต่ในที่สุดก็ประยุกต์ ดัดแปลง และหลอมรวมเป็นแบบ เฉพาะในอารยธรรมของตน ดั่ งเช่น พุทธลักษณะของพระพุทธรูปแบบพระบางเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธรูปในยุคแรกๆ ที่ ได้รับอิทธิพลจากเขมร ต่อมาเมืองอาณาจักรรุ่งเรืองรูปแบบและพุทธลักษณะของพระพุทธรูปจึงเกิดการผสมผสาน จากอาจักรที่เป็ นอาณานิคมโดยเฉพาะการรับเอาอิทธิพลทางศิลปกรรมจากอาณาจักรล้านนาในสมัยพร ะเจ้าไชย เชษฐาธิราช ซึ่งในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นหลายปาง แต่ปางที่ได้รับความนิยมที่สุดหากเป็นปางประทับยืนคือ ปางเปิดโลก โดยมีพระกร และพระหัตถ์เหยียดตรงทิ้งดิ่งแนบลาตัว อีกปางที่นิยมสร้างหากเป็นปางประทับนั่งคือ ปาง มารวิชัยขัดสมาธิ (ทั้งขัดสมาธิราบ และขัดสมาธิเพชร) พระพุทธรูปทั้งสองแบบเป็นปางที่มีพุทธลักษณะแบบสกุลช่าง ล้านนา เนื่องจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเคยปกครองอาณาจักล้านนาสมัยที่เป็นอาจักรอาณานิคม ต่อมาจึงหล่อ หลอมกลายเป็นพุทศิลป์สกุลช่างแบบหลวงพระบาง พระพุทธรูปที่สร้างในยุคนี้เป็นรูปแบบที่แพร่หลายและสามารถ แสดงเอกลักษณ์ทางพุทธศิลป์ในแบบล้านช้างได้เป็นอย่างดี เช่นพระพุทธรูปที่ประดิษฐ์ฐานรายรอบหอพระแก้ว เมือง เวียงจันทน์ ต่อมาเมื่ออาณาจักรล้านช้างแตกเป็นสาม คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจาปาสัก แล้วตกเป็นอาณานิคม ของอาณาจักรสยาม การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้จึ งเกิดจากการผสมผสานระหว่างสกุลช่างรัตนโกสินทร์กับสกุลช่าง ล้านช้าง และพัฒนาเป็นรูปแบบของช่างสกุลเวียงจันทน์ในที่สุด พระพุทธรูปแบบล้านช้างหลายองค์ถูกอันเชิญไปอยู่ใน อาณาจักรสยาม เช่น พระบางเจ้า พระแก้วมรกต พระสุก พระใส พระเสริม พระแสง พระแสน พระอินแปง พระแจ้ง พระแก่นจันทร์ พระฉันสมอ และพระแซกคา เป็นต้น ต่อมาอาณาจักรสยามจึงคืนพระบางเจ้า และอัญเชิญกลับไปยัง เมืองหลวงพระบาง พระแก้วมรกตถูกอัญ เชิญ ให้ ประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วกลางกรุงรัตนโกสินทร์ส่วนองค์อื่นๆ กระจัดกระจายอยู่หลายแห่งนอกเขตพระราชวัง ตามหัวเมืองในภาคกลาง และภาคอีสาน แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบดังกล่าวมาหลายยุคหลายสมัย แต่พระพุทธรูปล้านช้างยังคงสามารถรักษาอัต ลักษณ์ของความเป็นล้านช้างได้เป็นอย่างดี ที่สาคัญคือพุทธลักษณะของพระพุทธรูปแบบล้านช้างเป็นผลงานด้าน ศิลปกรรมที่เกิดจากการเลื อกรับ และปรับ ใช้เอาเฉพาะที่ส อดคล้องกับความเป็นตัวตนซึ่งจาแนกตามยุคสมัยและ อิทธิพลจากอาณาจักรใกล้เคียงได้อย่างรวมๆ ดังนี้ พระพุทธรูปล้านช้างสมัยต้นจะรับอิทธิพลทางศิลปะจากเขมร พระพุทธรูปล้านช้างสมัยกลางจะรับอิทธิพลทางศิลปะจากล้านา และพระพุทธรูปล้านช้างสมัยปลายจะรับอิทธิพลทาง ศิลปะจากรัตนโกสินทร์ วัสดุที่ใช้ในการสร้างพระพุทธรูปมีทั้งแบบที่เป็นหินจาหลัก ดินเผา โลหะสาริด ปูนปั้น และไม้ แกะสลัก โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้ห ากเป็นการสร้างจากราชสานักมักจะมีความละเอียดประณี ตกว่า พระพุทธรูปที่สร้างจากฝีมือช่างชาวบ้าน แม้พระพุทธรูปจากฝีมือช่างหลวงจะมีความละเอียดประณีตกว่าพระพุทธรูป
7
ที่สร้างจากฝีมือช่างชาวบ้านแต่ไม่ได้หมายความว่าคุณค่าทางความงามจะแตกต่างกัน เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูป ไม่ว่าจะเป็นด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม ล้วนเกิดขึ้นจากความศรัทธาอันบริสุทธิ์ซึ่งเกิดจากจิตใจอันดีงามของชาวพุทธ ดังนั้น คุณค่าของความงามในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นความงามในแบบอุดมคติซึ่งเป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของงานพุทธศิลป์ แบบชาวบ้านโดยเฉพาะในสายวัฒนธรรมไท-ลาว ในอดีตพื้นที่แถบลุ่มน้าโขงตอนล่างบริเวณเมืองจาปาสัก สปป.ลาว และเมืองอุบลราชธานีรวมทั้งเมืองต่างๆ ทั่วภาคอีสานในประเทศไทยเป็น ดินแดนที่เคยร่วมอาณาจักรเดียวกันสืบเนื่องมาแต่อดีตกาล จากยุคดึกดาบรรพ์ก่อน ประวัติศาสตร์ ยุคประวัติศาสตร์ ยุคอาณาจักรล้านช้าง จวบจนถึงยุคชาติรัฐ ก่อนที่ชาติตะวันตกจะเข้าปกครองและ แบ่งแยกดินแดนออกจากความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ที่มีมาอย่างยาวนาน พื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางสาคัญของการ ขยายอานาจทั้งในทางปกครอง ค้าขาย รวมทั้งการแพร่กระจายของคติความเชื่อทางศาสนา จากคติความเชื่อแบบผี เป็นคติความเชื่อแบบพราหมณ์ และเป็นคติความเชื่อแบบพุทธในที่สุด แม้ว่าคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาจะเป็นที่ ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในภูมิภาคมาแต่ในอดีต แต่คติความเชื่อแบบผีและพราหมณ์ยังคงสอดแทรกผสมผสานอย่าง กลมกลืนกับศรัทธาของผู้คนจวบจนในยุคปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นมีผลต่อวิถีการ ดาเนินชีวิต คติความเชื่อ ประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมของคนทั้งในเมืองจาปาสักและเมืองอุบลราชธานี พุทธศิลป์ ในพื้นที่ดังกล่าวย่อมมีความคล้ายคลึงกันซึ่งเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดแก่กันและกัน แม้ในยุคปัจจุบัน ที่แผ่นดินจะถูกแยกจากการแบ่งเป็นชาติรัฐ แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังคงเคลื่อนไหวถ่ายเทอย่างเป็นพลวัตร อยู่ ตลอดเวลา แต่ถึงอย่างไรก็ตามในส่วนของพระพุทธศาสนาแล้ว ยังคงมีอิทธิพลและบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คนในจาปา สั ก และจั งหวั ด อุบ ลราชธานี โดยเฉพาะกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ไท-ลาวการสร้างงานศิ ล ปกรรมที่ เกิ ด จากแรงศรัท ธาทาง พระพุทธศาสนา เพื่อตอบสนองรับใช้จึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัดวาอารามซึ่งถื อได้ว่าเป็นสง่าราศี ของบ้ านเมืองและชุมชน ดังนั้ น สิ่ งที่เกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม มนุษย์กับ ธรรมชาติ ในส่วนที่เกี่ยวพันกับจิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมและสืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งจากสังคมหนึ่ง ไปสู่อีกสั งคมหนึ่ ง มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นแบบแผนที่ส ามรถเรียนรู้และก่อให้ เกิดการสร้างสรรค์ วัฒนธรรมทางวัตถุและทางจิตใจ วัฒนธรรมไทย-ลาว ส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากพุทธศาสนา จึงส่งผลทาให้ศิลปกรรม รูปแบบต่าง ๆเกิดขึ้น รวมทั้งพระไม้แบบพื้นบ้าน บริเวณเมืองจาปาสัก สปป.ลาว และเมืองอุบลราชธานีเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับประเทศกัมพูชา และเคยร่วม อาณาจักรในสมัยขอมเรืองอานาจ ดังนั้นรูปแบบทางพุทธศิลป์ โดยเฉพาะพระพุทธรูปจึงมีอิทธิพลของช่างสกุลเขมร แบบบายนเข้ามาปะปนประสมประสาน ต่อมาจึงปรับปรุงรูปแบบจนเกิดเป็นพุทธลักษณะเฉพาะท้องถิ่น ในอดีตสมัยที่ ยังร่วมอาณาจักรเดียวกันเรียกสกุลช่างในแถบนี้ว่า เป็นงานช่างศิลปะสกุลช่างทางใต้ เช่น รูปพระพักต์ที่เป็นลักษณะ แบบบายน พระเกศามาลามีขนาดใหญ่ และฐานองค์พระมีลักษณะแบบเรียบง่าย เนื่องจากพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้ ซึ่งเป็นวัสดุที่เกิดการเสื่อมสลายได้ง่าย มีระยะเวลาในการดารงคงอยู่สั้น อีกทั้งยังเป็นผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ตามจินตนาการของชาวบ้านที่ต่างมีรูปแบบตามความสามารถหรือทักษะแตกต่างกัน จึงทาให้รูปแบบที่พบมีความ หลากหลายจนแทบจะแยกไม่ออกว่าได้รับอิทธิพลจากแห่งใด แต่ในความหลากหลายดังกล่าวยังคงสามารถสะท้อน ภาพของภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของคนทั้งสองเมืองว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใดได้เป็นอย่างดี 2. มิติทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการสร้างพระไม้ 2.1 มิติทางวัฒนธรรม กลุ่มวัฒนธรรมไท-ลาว เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่กระจายตัวทั่วไปตามลุ่มแม่น้าโขงทั้งในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย และในเมืองจาปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เกิดจากการเคลื่อนย้ายอพยพผู้คนจาก อาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20-22 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชุมชนวัฒนธรรมไท-ลาว การ อพยพในระยะแรกๆจะเป็นกลุ่มเล็กๆ ต่อมามีการอพยพครั้งใหญ่ จากเมืองเวียงจันทน์ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
8
กลุ่มผ้าขาวโสมพะมิตรตั้งชุมชนอยู่แถวสกลนคร กลุ่มพระวอพระตา ตั้งชุมชนอยู่แถบเมืองอุบลราชธานี และ กลุ่ม พระครูโพนเสม็ด ตั้งชุมชนอยู่ที่นครจาปาสัก จึงเท่ากับว่าเป็นการกระจายวัฒนธรรมไทย-ลาวอย่างกว้างขวางในยุคนั้น ซึ่งเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไท-ลาวจนถึงปัจจุบัน มีภาษาพูดที่ใกล้เคียงกัน อยู่เฮือนสูง กินข้าวเหนียว และเคี้ยวปลา แดกเหมือนกัน วิถีการดาเนิ น จากอดีตจนถึงปั จจุบันชีวิตมีคติความเชื่อ และประเพณี ที่ เป็นหั วใจหลักส าคัญ ซึ่ง สามารถอธิบายความหมายเชิงสัญลักษณ์และข้อตกลงทางสังคมของวัฒนธรรมในกลุ่มไท-ลาวได้อย่างชัดเจน เป็นการ ประสมประสานระหว่างแนวคิดทางพุทธศาสนา พราหมณ์ และการนับถือผี ซึ่งได้หล่อหลอมจนกลายเป็นวัฒนธรรมใน แบบเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ส่งผลสืบเนื่องกับคติความเชื่อในกระบวนการสร้างพระไม้ คติความเชื่อในการ เลือกไม้ และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระไม้ ดังนี้ คติความเชื่อในการสร้างพระไม้ เนื่ องจากกลุ่ มคนในวัฒ นธรรมไท-ลาว ทั้ งในแขวงจาปาสั กและในจังหวัดอุบ ลราชธานี มีโครงสร้างทาง วัฒนธรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงอาณาจักรล้านช้างในอดีตและส่วนใหญ่ต่างนับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นสิ่ งที่เกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม มนุษย์กับธรรมชาติ ในส่วนที่เกี่ยวพันกับจิตใจ สังคม และ วัตถุ มีการสั่งสมและสืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจน กลายเป็นแบบแผนที่สามารถเรียนรู้และก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางวัตถุและทางจิตใจ วัฒนธรรมไท-ลาว ส่วนใหญ่มีรากฐานมาจากพุทธศาสนา จึงส่งผลทาให้ศิลปกรรมรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้น อาทิ งานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับ วิจิตรศิลป์ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม งานที่เกี่ยวกับประยุกต์ศิลป์ เช่น ศาสนศิลป์ หัตถศิลป์ ถูก สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกแห่งภาวะทางด้านจิตใจและวิถีการดาเนินชีวิต และส่วนใหญ่จะสร้างเพื่ออุทิศถวายให้พุทธ ศาสนาด้วยความศรัทธา จากความสัมพันธ์ดังกล่าว จึงทาให้ผู้คนในแถบนี้ได้รับการสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมไท-ลาวอย่างชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้จากการสร้างพระไม้ อันเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน และมีคติความเชื่อในการสร้าง พระไม้ดังนี้ เพื่อผลานิสงฆ์ผลบุญแก่คนสร้างและช่างในอานิสงส์ภายภาคหน้าและการเกิดในดินแดนของพระศรีอาริยะ เมตไตย เพื่อเป็นการบูชากราบไหว้องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาสร้างแทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อต่ออายุและสืบชะตาให้กับเพื่อสะเดาะเคราะห์ต่างๆ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบุพการีและญาติมิตรผู้ล่วงลับ เพื่อสร้างพระพุทธแทนตนของพระผู้บวชใหม่ และเพื่อยืนยันและเป็นสักขีพยานในการเข้าสู่เพศบรรพชิตของตน คติความเชื่อในการเลือกไม้ จากการสัมภาษณ์พระสงฆ์และชาวบ้านในแขวงจาปาสักและจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่พบว่า การเลือกใช้ ไม้ในการสร้างพระไม้ส่วนมากใช้ไม้ที่เป็นมงคลเช่นเดียวกัน และมีคติความเชื่อที่คล้ายกันว่าไม้มงคล หมายถึง ไม้ที่มี ชื่อดีเป็นศิริมงคล เช่น ไม้คูณ หมายถึงการค้าคูณ อยู่ดีมีแฮง และไม้ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าหรือตานาน เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น ไม้โพธิ์ ไม้แก่นจันทน์ เป็นต้น ไม้มงคลที่นิยมนามาทาพระไม้ มีดังนี้ ไม้โพธิ์ ไม้คูณ ไม้ยอ ไม้จันทน์ ไม้พยุง ไม้ขนุน ไม้กระโดน และไม้มะขาม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ไม้โพธิ์ ไม้โพธิ์ เป็นต้นไม้ชั้นสูง และมีความสาคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น โพธัลลังก์ ในการตรัสรู้ และพระอนุ ตรสั มามาโพธิญ าณแห่ งพระตถาคตเจ้านัก ปราชญ์ ในสมั ยบราณจึงได้ นามาแกะเป็ นรูป พระพุ ท ธรูป โดยเฉพาะกิ่งโพธิ์ที่หันไปทางทิศตะวันออก ส่วนรากของต้นโพธิ์นิยมแกะสลักรูปมหาสาวกหรือเรียกว่า “ พระภควัม ” ไม้คูณ หรือ “ต้นราชพฤกษ์” เป็นไม้ยืนต้นมีดอกสีเหลืองละชอบออกดอกบานสะพรั่งในหน้าแล้ง โดยเฉพาะ ช่วงสงกรานต์ คาว่า “คูณ” ในภาษาอีสานหรือลาว หมายถึง ความเป็นสิริมงคลและการค้าคูณให้อยู่เย็นเป็นสุข ชาวบ้านนิยมใช้ส่วนกิ่งและลาต้น (แก่นคูณ) มาแกะสลักเป็นพระไม้ สาหรับกราบไหว้บูชา ไม้ย อ ต้น ยอมี 2 อย่ าง คือ ยอบ้ านและยอป่า ยอบ้านเป็นไม้ที่มีใบใหญ่ ผลและใบใช้รับ ประทานได้ ยอ หมายถึงการยกย่องสรรเสริญ การนาต้นยอมาทาพระไม้ ก็เพื่อหวังอานิสงส์ให้คนนิยมยกย่อง สรรเสริญเยิ นยอใน
9
สังคมใช้ไดดีทั้งยอป่าและยอบ้าน ไม้จันทน์ ( แก่นจันทร์ ) ไม้จันทร์เป็นไม้ที่มีตานานเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้ามาแต่โบราณ เรียกตานานนี้ว่า “ตานานพระแก่นจันทร์” นับเป็นตานานเก่าแก่ของอินเดีย กล่าวว่าพระพุทธรูปปองค์แรกทาด้วยไม้ จันทร์แดงและสร้างขึ้นในขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ละมีขึ้น โดยพุทธานุญาตจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย แม้ว่าตานานจะขัดกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทางศิลปกรรมแต่ตานานพระแก่นจันทร์ก็ยังคงเป็นที่เชื่อถือสืบต่อกัน มาจนปัจจุบัน ไม้พยุง ต้นพยุงเป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่ง คาว่า “พยุง” หมายถึง การช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งตนเองและผู้อื่นการ ใช้ไม้พยุงมาแกะไม้ เชื่อว่าจะได้อานิสงส์ให้คนอื่นเกื้อกูลให้มั่งมีศรีสุข ด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ ไม้ขนุน ภาษาลาว หรืออีสานเรียกว่า “ต้นหมากมี้” ผลรับประทานได้ ไม้ขนุนยังนิยมนามาทาเครื่องดนตรี โดยเฉพาะโปงลาง เชื่อว่าทาให้เกิดเสียงกังวาลไพเราะกว่าไม้อื่น คาว่า “ ขนุน ” น่าจะหมายถึง การเกื้อหนุนจุนเจือ ให้มีความสุขทั้งชาตินี้และชาติหน้า เชื่อว่าการนาไม้ขนุนมาแกะพระพุทธรูปจะได้อานิสงส์ให้คนอื่นเกื้อหนุนจุนเจือ ไม้กระโดน เป็นไม้รับประทานได้ใบกับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัด เช่น น้าพริก (แจ่ว) และป่นต่างๆ เพราะใบ ของกระโดนมีรสฝาด ซึ่งตัดกับรสเผ็ดได้ดี การนาไม้กระโดนมาแกะพระพุทธรูปเชื่อว่าจะได้อานิสงส์ ให้ผู้กะมีอายุยืน นาน เช่นเดียวกับชื่อไม้กระโดน เนื่องจากคาว่า “โดน” หมายถึง “ยาวนาน” ไม้มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ลาต้นและกิ่งก้านแข็งแรง โดยเฉพาะลาต้นที่มีอายุนานๆ แก่นขามมา แกะสลักพระพุทธรูปจะทาให้ได้อานิสงส์ อายุยืน และมีร่างกายแข็งแรง เช่น ต้นมะขาม นอกจาการเลือกไม้ตามคติความเชื่อโดยการยึดเอาไม้มงคลเป็นหลักแล้ว บางครั้งก็ไม่ได้คานึงถึงระเบียบ กติกามากนัก ขอให้มีไม้ที่หาได้ง่าย มีน้าหนักเบา แกะง่าย หรือบางครั้ง ก็เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ ไม้ตะเคียน ไม้ ผักหวาน ไม้ติ้ว ไม้แต้ ไม้มะค่า ไม้เต็งรง และไม้มูกเกื้อ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระไม้ จากการสัมภาษณ์ชาวจาปาสักและชาวอุบลราชธานีในเรื่องพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระไม้ ทราบว่าหลังจากที่ สร้างพระไม้แล้ว ยังมีขั้นตอนที่ถือว่าเป็นส่วนที่สาคัญที่สุดคือ การทาพิธีปลุกเสกเพื่อเบิกเนตร ชาวบ้านเรียกพิธีกรรม ดังกล่าวว่า “การเบาะตา” เริ่มจากการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 5 รูป มาประกอบนิติกรรมโดยการนาพระไม้วางบน พาน จัดตั้งหมู่บูชา เครื่องสักการบูชา (เครื่องคาย) ซึ่งประกอบไปด้วยขันห้า หรืออาจเป็นขันแปด พร้อมน้าหอมหรือ เหล้ ากลั่น กระเทียมหรือขมิ้นจากนั้ นโยงด้ายสายสิญ จน์จากพระไม้เวียนประทักษิณรอบพระไม้แล้ วโยงต่อมายัง พระสงฆ์ที่ประกอบพิธี พระสงฆ์ประกอบพิธีโดยจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้วทาการสวด แต่เนื่องจากพิธีการ ต่างๆ ค่อนข้างยุ่งยากภายหลังชาวบ้านจะนิมนต์พระสงฆ์มาเพียงรูปเดียวประกอบพิธีอย่างย่อแล้วนาพระไม้ไปกราบ ไหว้ได้หรือบางแห่งนิยมนาพระไม้ที่แกะเสร็จแล้วไปเข้าพิธีบวชนาคก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ได้เช่นกัน ซึ่งคติความเชื่อที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้ เกิดจากการสั่งสม และถ่ายทอดจนเป็นที่ยอมรับร่วมกันตามยุคสมัย 2.2 มิติภูมิปัญญาในพระไม้ กระบวนการสร้างสรรค์งานพระไม้ ส่งผลให้เกิดพุทธลักษณะหรือรูปแบบซึ่งเป็นดั่งภาพสะท้อนภูมิปัญญา ท้องถิ่นในพื้นที่จาปาสัก สปป.ลาวและจังหวัดอุบลราชธานี ตลอดเวลาที่ผ่านมารูปแบบหรือพุทธลักษณะบางอย่าง เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยดังกล่าวมีทั้งในทาง นามธรรม ได้ แก่ ระบบความเชื่อ ค่านิ ย ม ขนบธรรมเนี ยม ประเพณี และทางรูป ธรรม ได้ แก่ ทรัพ ยากร สภาพ ภูมิอากาศ ที่มีผลโดยตรงต่อวัสดุที่นามาสร้ างพระไม้ ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทาให้รูปแบบของพระไม้มี พุทธลักษณะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การสร้างพระไม้นั้นก็ยังคงมีภูมิปัญญาซึ่งแฝงมากับคติความเชื่อที่ถ่ายทอด สืบต่อกันมา และยึดปฏิบัติอย่างเหนียวแน่น ดั่งจะเห็นได้จากกระบวนการสร้างพระไม้ซึ่งมีภูมิ ปัญญาแฝงอยู่แทบทุก กระบวนการ โดยเริ่มจากการเลือกไม้ ที่มีคติความเชื่อในการเลือกไม้นามมงคลต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งไม้ดังกล่าวมี
10
ทั้งที่เป็นไม้เนื้อแข็ง และไม้เนื้ออ่อน โดยที่ไม้เนื้อแข็งจะมีอายุไขมากกว่าไม้เนื้ออ่อน แต่ในขณะเดียวกันไม้เนื้อแข็งก็ แกะควักได้ลาบากกว่าไม้เนื้ออ่อน ทั้งความคงทนและความสะดวกในการแกะควัก ต่างก็เป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นตาม บริบทที่แตกต่างกัน อีกทั้งรูปแบบของพระไม้ที่เป็นไปตามอุดมคติและทักษะของช่างแต่ละคน ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญา อันโดดเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว คือ องค์ประกอบของผลงานที่เรียบง่าย ไม่มีแบบแผนสัดส่วนที่ตายตัว ผลงาน บางชิ้นถูกจากัดโดยรูปทรงของท่อนไม้ที่นามาสร้าง รูปแบบของพระไม้ ลักษณะและรูปแบบของพระไม้ สามารถสะท้อนแนวคิดที่เป็นภูมิปัญญาได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการปรับใช้ ทักษะในการแกะสลักจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตามสกุลช่างต่างๆ ส่วนการออกแบบในการสร้างนั้น จะคานึงถึง ประโยชน์ในการใช้งานเพื่อพุทธบูชาเป็นสาคัญ ดังนั้นลักษณะ และรูปทรงของพระไม้จึงต้องแปรไปตามศรัทธาและภูมิ ปัญญาในกระบวนการสร้างของแต่ละคน จากการลงพื้นที่ศึกษาพระไม้ในวัฒนธรรมไท-ลาวแขวงจาปาสัก และจังหวัด อุบลราชธานี พบพระไม้ที่มีลักษณะและรูปแบบคล้ายกัน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามวัดที่เก็บรักษาพระไม้เอาไว้ได้ นอกจากนั้นยังพบพระไม้สายสกุลช่างหลวงอยู่ในวัดใหญ่เขตชุมชนเมือง พระไม้ที่พบส่วนใหญ่จะมีรูปแบบประณีต สวยงามตามแบบฉบับของช่างหลวง นอกจากนั้นพระไม้ที่พบในแขวงจาปาสักและจั งหวัดอุบลราชธานียังมีรูปแบบที่ รับเอาอิทธิพลจากเขมรซึ่งจะมีลักษณะที่สามารถสะท้อนอิทธิพลของเขมร เช่น พระพักต์ที่มีลักษณะแบบพระพุทธรูป สมัยบายน รวมทั้งมีพระพุทธรูปบางองค์ที่มีลักษณะคล้ายพระบาง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์สาคัญของอาณาจักรล้าน ช้าง
ภาพที่ 1ตัวอย่างรูปแบบหรือลักษณะพระไม้แขวงจาปาสัก
ภาพที่ 2ตัวอย่างรูปแบบหรือลักษณะพระไม้จังหวัอุบลราชธานี
11
ภาพที่ 3รูปแบบหรือลักษณะพระไม้ที่ได้รับอิทธิพลช่างเขมร และพระไม้แบบพระบาง รูปแบบและลักษณะของพระไม้ที่พบในพื้นที่ศึกษานั้น มีหลากหลายรูปแบบซึ่งมีทั้ง แบบยืน และแบบนั่ง ส่วนใหญ่สามาถจาแนกเป็นปางต่างๆได้ ดั่งเช่น ปางมารวิชัย ปางสมาธิราบ ปางสมาธิเพชร ปางห้ามสมุทร ปางห้าม ญาติ ปางประทับยืนเปิดโลก เป็นต้น ภูมิปัญญาที่ปรากฏในรูปแบบของพระไม้ปางต่างๆนี้ คือ ภาพสะท้อนที่ส่องให้ เห็นถึงความสามารถ ความเพียรพยายาม และพลังของความศรัทธาของผู้สร้าง หากพิจารณาตามหลักสุนทรียภาพ แล้ว พระไม้ที่พบจะมีความงามในลักษณะอัตวิสัย คือ ความงามที่เกิดจากจิตใจภายในที่ยอมรับว่าสิ่งที่ปรากฏเห็นนั้น มีความงาม ซึ่งความงามดังกล่าวเป็นความงามแบบงานพุทธศิลป์แบบพื้นบ้าน พระไม้บางองค์มีการออกแบบด้วย ความประณีต และมีการตกแต่งที่สวยงามแปลกตา กล่าวได้ว่าเป็นความงามที่เกิดจากการให้ความหมายมากกว่าความ งามที่เกิดจากการมองแบบเปรียบเทียบกับความงามตามอุดมคติ รูปแบบของพระไม้ไม่ว่าจะมีลักษณะเช่นใดก็ตาม แทบทุกองค์ที่สารวจจะต้องมีองค์ประกอบหลักที่สาคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนของฐาน ส่วนของลาตัว และส่วนของพระพักต์ ฐาน ส่วนของฐานของพระไม้กลุ่มนี้ มีหลานรูปแบบทั้งแบบฐานเขียง ธรรมดา แบบฐานกลม แบบต่า และสูง หรือ แบบฐานบัวคว่าบัวหงาย และมีการแกะสลักลวดลายซึ่งมีรูปแบบหลากหลายบนฐาน และฐานบางองค์มีรูปแบบคล้าย งานช่างหลวงโดยเฉพาะการเน้นรูปแบบชายผ้าทิพย์ ซึ่งจากรูปแบบที่พบเป็นพระไม้ที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูป แบบรัตนโกสินทร์
ภาพที่ 4 ฐานแบบช่างพื้นบ้านที่มีทั้งแบบฐานเขียง เอวขัน และฐานเขียงสูง-ต่า ธรรมดา
12
ภาพที่ 5 ฐานแบบอิทธิพลช่างหลวงเน้นรูปแบบชายผ้าทิพย์ ส่วนของลาตัว ส่วนของลาตัว หรือพระวรกายของพระไม้ที่พบทั้งแบบปางประทับยืน และปางประทับนั่ง หากลักษณะเป็น แบบช่างหลวงโดยส่วนใหญ่จะมีพระวรกายเรียว เอวขอด ท่อนแขนแยกออกจากลาตัวอย่างชัดเจน สัดส่วนจะดูลงตัว ตามแบบฉบับของสกุลช่างหลวง หากเป็นแบบช่างพื้นบ้านโดยส่วนใหญ่จะมีพระวรกายอวบแน่น เอวสั้นตันหรือยืด ยาวแบบผิดสัดส่วน ท่อนแขนมักแกะติดกับลาตัวอย่างชัดเจน สัดส่วนโดยรวมจะมีความเป็นอิสระซึ่งไม่มีรูปแบบหรือ กฎเกณฑ์ตายตัว หากเป็นพระไม้แบบประทับนั่งจะเป็นแบบนั่งตื้น ถ้าแสดงปางมารวิชัยจะวางพระหัตถ์ขวาไว้หน้า พระชงฆ์ (หน้าแข้ง) พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระพระเพลา (ตัก) แบบราบไม่มีโค้งกระดกขึ้น นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน การครองจีวรหากเป็นปางประทับนั่งจะห่มเฉียง มีชายสังฆาฏิเป็นแถบเสมอกันยาวจรดพระนาภี (หน้าท้อง) หากเป็น ปางประทับยืนจะห่มคลุมหรือห่มเฉียง และอาจมีบางองค์ที่ทรงเครื่องประดับสร้อยสังวาล
ภาพที่ 6พระวรกายของพระไม้แบบอิทธิพลช่างหลวงจะเรียวขอด อ่อนโค้งอย่างสวยงาม และพระวรกายของพระไม้ แบบอิทธิพลช่างพื้นบ้านจะอวบอ้วนแน่น สั้นตัน และตันหรือยืดยาวแบบผิดสัดส่วน ส่วนของพระพักต์ ส่วนของใบหน้าหรือพระพักตร์และพระเศียร หากเป็นแบบช่างหลวงโดยส่วนใหญ่จะมีพระพักตร์เรียวงามทรง ไข่ พระหนุ (คาง) เรียวแหลม มีไรพระศกหรือขอบพระพักตร์โค้งนูน พระขนง (คิ้ว) เป็นเส้นนูนโค้งบรรจบกันที่ดั้งพระ นาสิก (จมูก) แต่บางครั้งหัวพระขนงก็ห่างกันคล้ายคิ้วมนุษย์ พระเนตรเหลือบลงต่า พระรัศมีทีทั้งเป็นแบบแท่งคล้าย เจดีย์ แบบเปลวกลีบบัวซ้อนชั้นปลายยอดแหลม แบบกรวยกลม และกรวยเหลี่ยม (หรือถ้าเป็นแบบมีกลีบบัวรองรับ พระรัศมี กลีบบัวจะบานเกือบแนบพระเกตุมาลา (มวยผม) ซึ่งน่าจะมีทั้งแบบบัวคว่าและหงาย หรืออาจเป็นแบบเปลว เพลิงศิลปะรัตนโกสินทร์ พระไม้บางองค์มีเม็ดพระศกจะแหลมเหมือนหนามทุเรียน หรือเม็ดสาคู พระศอ (คอ) ที่พบ ส่วนใหญ่จะยาวเป็นปล้อง (ส่วนใหญ่พบในองค์พระไม้ขนาดเล็ก)
13
หากเป็นแบบช่างพื้นบ้านโดยส่วนใหญ่พระพักตร์จะมีรูปแบบกลม บางพระพักตร์รูปแบบเป็นอิสระซึ่งไม่มี กฎเกณฑ์ตายตัว มีทั้งแบบพระหนุกลมแบน และแบบพระหนุแหลมเรียว พระเนตรไม่มีลักษณะหรือรูปแบบที่ตายตั ว พระสอมีทั้งยาวและสั้นไม่แน่นอน พระเนตรมีทั้งแบบเบิกกว้างและแบบเหลือบต่า พระโอษฐ์ (ปาก) มีทั้งเป็นเส้นโค้ง ขึ้นบนแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย และเป็นเส้นตรงราบขนานไม่แสดงอารมณ์ใดๆ กล่าวได้ว่าลักษณะเป็นแบบช่างพื้นบ้าน ที่มีรูปแบบเป็นอิสระซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว
ภาพที่ 7 ส่วนของใบหน้าหรือพระพักตร์และพระเศียรแบบอิทธิพลช่างหลวง และแบบช่างพื้นบ้าน นอกจากพระไม้ที่มีลักษณะและรูปแบบที่นิยมสร้างโดยทั่วไป คือ พระไม้ประทับนั่งปางสมาธิ และปางมาร วิชัย ยังพบรู ป แบบที่พิเศษคือ พระไม้เป็ น ปางแปลกๆเช่น ลั กษณะคล้ายปางราพึง (แต่ปางราพึงจะต้องเป็นปาง ประทับยืน) ลักษณะคล้ายปางสมาธิแต่การวางพระหัตถ์ไม้ได้วางแบบประสาน และพระไม้ที่คล้ายปางมารวิชัย แต่ ลักษณะการวางพระหัตถ์สลับจากวางไว้หน้าพระชงฆ์ขวาเป็นซ้าย พระหัตถ์ขวาวางบนพระเพลา พระไม้ลักษณะคล้าย ปางนาคปรก เกิดจากการแกะจากไม้ท่อนลักษณะลอยตั วแบบนูนสูงซึ่งมีทั้งแบบเป็นเศียรพญานาคและแบบแท่งสูง คล้ายซุ้ม หรือพระไม้บางองค์แกะให้สามารถมองได้ 2 ด้าน (หน้า-หลัง)
ภาพที่ 8 พระไม้ปางลักษณะพิเศษที่พบ รูปแบบของพระไม้ที่พบนั้นมีความหลากหลายซึ่งเกิดจากทักษะหรือความสามารถในการแกะของผู้สร้างแต่ ละคนเป็นการสร้างสรรค์ที่ตั้งอยู่บนคติความเชื่อ และศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา ถือเป็นวัฒนธรรมตกทอดมาจาก บรรพบุ รุ ษ จากคติความเชื่อบางอย่ างที่ยั งหลงเหลื ออยู่รวมกับ ทัก ษะของผู้ ส ร้างท าให้ เกิ ดรูป แบบ และลั กษณะ บางอย่างที่คล้ายกันในพระไม้แต่ละองค์ ลักษณะที่คล้ายกันดังกล่ าวเรียกโดยภาพรวมที่ปรากฏว่าเป็นผลงานพุทธ ศิลป์แบบพื้นบ้าน นอกจากภาพรวมของภูมิปัญญาที่ปรากฏบนพุทธลักษณะหรือรูปแบบของพระไม้แล้ว ภูมิปัญญายัง สามารถสะท้อนได้จากกระบวนการสร้างพระไม้ได้เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่ง
14
ภูมิปัญญาในกระบวนการสร้างพระไม้ หลั งจากที่ ช่ า งหรื อ ผู้ ส ร้ างพระไม้ ได้ เลื อ กไม้ ที่ ดี มี ม งคลแล้ ว ในกระบวนการสร้ า งนั้ น อาจเกิ ด จากการ เลียนแบบ หรือคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาเองแล้วลงมือปฏิบัติตามที่ตนถนัดโดยคานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปางพระที่จะ สร้างกับขนาดของไม้ประกอบกับเครื่องมือช่างไม้ที่หาได้ง่ายในครอบครัวหรือชุมชน เช่น มีด พร้า หรือสิ่ว เป็นต้น จากการสังเกตภาพรวมของพระไม้ที่พบในแขวงจาปาสัก และจังหวัดอุบลราชธานี จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านและเจ้า อาวาสวัดต่างๆ ที่สารวจ พบว่าในกระบวนการสร้างพระไม้นั้นมีภูมิปัญญาเกิดขึ้นตลอดกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ การ ออกแบบ การคัดเลือกวัสดุและอุปกรณ์ รวมทั้งเทคนิคในการแกะไม้ ที่คล้ายคลึงกันดังนี้ การออกแบบ เป็นการใช้ภูมิปัญญาที่สาคัญเพราะเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการทาพระไม้ เกิดจากการคิดและ วางแผนก่อนลงมือปฏิบัติจริงซึ่งต้องใช้จินตนาการที่ยืนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้จริง กระบวนการดังกล่าวย่อม ใช้ภูมิปัญญาในการดาเนินการ เช่น พระไม้ที่เป็นพระพุทธปางนาคปรก เป็นการแกะแบบนูนสูงให้ตัวองค์พระลอย ออกมาจากพื้นหลังที่เป็นลาตัวของพระยานาค ในการสร้างรูปทรงดังกล่าวต้องอาศัยการออกแบบ ซึ่งเป็นการวางแผน ในการแกะโดยคานึงถึงส่วนประกอบสาคัญคือ ตัวองค์พระกับลาตัวของพระยานาค ซึ่งเกิดจากไม้ท่อนเดียวกัน
ภาพที่ 9 ลักษณะการออกแบบที่มีการวางแผนในการแกะสลัก เป็นการใช้ภูมิปัญญาในการสร้างผลงาน ซึ่งมีรูปทรงที่ ซับซ้อน เช่น พระพุทธรูปปางนาคปรก อุ ป กรณ์ ที่ ใช้ ในการท างานไม้ เช่ น สิ่ ว สกั ด มี ด พร้ า อาจมี ต ะปู กั บ ค้ อ นหากต้ อ งการต่ อ ไม้ เ พื่ อ สร้ า ง พระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็นต้น นอกจากนั้นหากมีการตกแต่งในส่วนต่างๆ เช่น ไรพระศกหรือลวดลายต่างๆ ชาวบ้านจะ ใช้ครั่ง ปั้นผสมกับขี้เลื่อยปั้นแปะลงไป จากการสัมภาษณ์เจ้าอาวาส และชาวบ้านดอนโขงทาให้ทราบว่า การแกะพระ ไม้หากเป็นช่างหรือคนที่ชานาญในการแกะไม้ส่วนใหญ่มักใช้เพียงแค่มีด หรือพร้าด้ามเล็กๆ เพียงด้ามเดียวก็สามารถ สร้างพระไม้ที่สวยงามได้ เทคนิคในการแกะไม้ จากคาบอกเล่าของชาวบ้านที่กล่าวถึงกระบวนการแกะพระไม้ที่เริ่มจากการนาไม้ท่อน มาทอน (เฉือน) หากเป็นพระพุทธรูปปางประทับนั่งจะทอนให้เป็นรูปทรงกรวยสามเหลี่ยมก่อน การสร้างรูปทรงเป็น สามเหลี่ยมเป็นการช่วยให้การแกะเป็นไปได้โดยสะดวก และรูปทรงไม่ผิดเพี้ยนไปจากพุทธลักษณะของพระปางนั้นๆ โดยเฉพาะปางประทั บ นั่ งที่มีเส้ น รอบของรูป ทรงสามเหลี่ ยม เทคนิคดังกล่ าวเกิดจากการใช้ภู มิปัญ ญาเพื่อท าให้ กระบวนการสร้างพระไม้เป็นไปอย่างราบรื่น
15
ภาพที่ 10 ลายเส้นสมมุติเทคนิคในกระบวนการแกะพระไม้ปางประทับนั่งจากคาบอกเล่าของชาวบ้าน
ภาพที่ 11 ลายเส้นสมมุติเทคนิคในกระบวนการแกะพระไม้ปางประทับยืนจากคาบอกเล่าของชาวบ้าน กระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงเทคนิคบางเทคนิคที่ได้จากการสัมภาษณ์ช่า งเพียงไม่กี่ท่าน แต่ใน ความเป็นจริงนั้น การสร้างพระไม้จะเป็นไปตามเทคนิคเฉพาะที่เป็นไปตามอุดมคติของผู้สร้าง ดังนั้นรูปแบบพระไม้ แบบช่างพื้นบ้านจึงมีรูปแบบที่ไม่ตายตัว ต่างจากพระไม้แบบอิทธิพลช่างหลวง จะพบว่ากระบวนการสร้างจะมีขนบ แบบแผนที่ช่างพื้นบ้านพยายามจะปฏิ บัติตาม กระบวนการดังกล่าวต้องใช้ภูมิปัญญาเป็นอย่างมากในการทาความ เข้ าใจกระบวนการ แล้ ว สร้ างเป็ น แบบแผนให้ ลู ก หลานปฏิ บั ติ ต ามจนกลายเป็ น ลั ก ษณะเฉพาะที่ สั งเกตได้ ต าม องค์ประกอบต่างๆ เช่น ส่วนของลาตัว หรือพระวรกายของพระไม้ที่พบทั้งแบบปางประทับยืน และปางประทับนั่ง หากลักษณะเป็นแบบช่างหลวงโดยส่วนใหญ่จะมีพระวรกายเรียว เอวขอด ท่อนแขนแยกออกจากลาตัวอย่างชัดเจน สัดส่วนจะดูลงตัวตามแบบฉบับของสกุลช่างหลวง หากลักษณะเป็นแบบช่างพื้นบ้านโดยส่วนใหญ่จะมีพระวรกายอวบ แน่น เอวสั้นตันท่อนแขนมักแกะติดกับลาตัวอย่างชัดเจน จากการสังเกตพบว่า พระไม้หลายองค์มีรูปแบบที่เป็นอิสระ เหนือกรอบและกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น บางมารวิชัย ปกติพระหัตถ์ขวาจะวางบนพระชานุขวา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระ เพลา แต่พระไม้ที่พบบางองค์สร้างแบบสลับตรงกันข้ามกัน ทั้งหมดที่กล่าวมาคือภาพรวมที่ได้จากการสารวจพระไม้ใน พื้นที่แขวงจาปาสัก สปป.ลาว และจังหวัดอุบลราชธานี พระพุทธรูปที่ทาจากไม้เป็นงานพุทธศิลป์แบบชาวบ้านโดยเฉพาะในสายวัฒนธรรมไท-ลาวที่โดดเด่น และมี เอกลักษณ์เป็นผลงานที่เป็นศิลปะแบบพื้นบ้าน (Folk Art) เป็นศิลปะที่มีความเป็นธรรมชาติสูงและมักสร้างจากวัสดุที่ อยู่รอบตัวซึ่งวัสดุที่ว่านี้คือ “ไม้” พระพุทธรูปไม้หรือพระไม้ มีรูปแบบเฉพาะตัวซึ่งมีพัฒนาการด้านรูปแบบ กรรมวิธี การสร้างค่อนข้างจะน้อย และมีอายุของสายช่างที่สืบต่อค่อนข้างสั้น แม้พระพุทธรูปที่สร้างจากไม้ซึ่งเป็นวัสดุที่เกิด การเสื่อมสลายได้ง่ายกว่าวัสดุอื่นๆ แต่ยังพบเห็นพระไม้แบบชาวบ้านได้โดยมากในแถบลุ่มน้าโขงทั้งในอีสานและสปป. ลาว หลั ก ส าคั ญ ที่ ท าให้ เรายั ง พบเห็ น พระไม้ แ บบชาวบ้ า นโดยเฉพาะในชนบท คื อ ความเชื่ อ และศรั ท ธาใน พระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้น มาเพื่อถวายเป็ น พุทธบูชา และเป็นการอุทศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ ว รวมทั้งการ
16
สะเดาะเคราะห์หรือแก้บน ซึ่งหากต้องการให้เป็นไปตามที่ตั้งจิตอธิษฐานเอาไว้ต้องสร้างหรือแกะพระด้วยตัวเอง ซึ่ง การสร้างพระไม้เป็นการใช้วัสดุที่สามารถหาได้เองในท้องถิ่นโดยไม่ต้องซื้อหา พระไม้ที่พบในพื้นที่ศึกษาโดยส่วนใหญ่ จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 50-150 ปีเป็นอย่างสูงเนื่องจากใช้ไม้เป็นวัสดุจึงผุ กร่อนสลายได้ง่าย นอกจากนั้นชาวไท-ลาว ยังมีประเพณีที่นิยมนาพระพุทธรูปเหล่านี้ไปวางไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือต้นโพธิ์ ตามวัดร้างที่ไม่มีพระประธาน ตามเพิงผา หรือเหลือบถ้า เหตุดังกล่าวเป็นการเร่งให้พระพุทธรูปเสื่อมสลายเร็วขึ้น สรุปผลของการวิจัย ประวัติความเป็นมาของพระไม้ ในแขวงจาปาสัก สปป.ลาวกับจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย นั้นมีความ เป็นมาที่ยาวนาน ความเชื่อในทางพุทธศาสนาส่งผลต่อการสร้างพระพุทธรูปเนื่องจากแฝงเร้นความเชื่อความศรัทธา ที่ว่าพระพุทธรูปเป็นตัวแทนแห่งความศรัทธาและความเคารพนับถือแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า กาเนิด พระพุทธรูประยะแรกว่าน่าจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-7 ซึ่งถือกาเนิดในแถบชมพูทวีป และในพุทธศตวรรษที่ 8 มี การแพร่กระจายเข้ามาของพุทธศาสนาทั้งทางบก และทางน้า โดยปักหลักแพร่กระจายคติความเชื่อตามอาณาจักร ต่างๆ ที่สามารถไปถึงได้ ซึ่งการกระจายของพุทธศาสนาส่งผลต่อการสร้างพระพุทธรูปไม้ในพื้นที่แถบลาน้าโขงที่ถือ เป็นความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนา นอกจากนั้น วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของพระไม้แขวงจาปาสัก กับจังหวัดอุบลราชธานีนั้นมีความคล้ายคลึงกันเนื่องจากในอดีตพื้นที่แถบลุ่มน้าโขงตอนล่างบริเวณเมืองจาปาสักและ เมืองอุบลราชธานีป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ที่มีมาอย่างยาวนาน เป็นวัฒนธรรมร่วมแบบวัฒนธรรมไทลาว ซึ่งมีรากฐานมาจากพุทธศาสนา จึงส่งผลทาให้ศิลปกรรมรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้น รวมทั้งพระไม้แบบพื้นบ้าน ที่สร้าง ขึ้นมาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ส่วนหนึ่งเชื่ อว่าเป็นการอุทศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งการสะเดาะเคราะห์ หรือแก้บน โดยพระพุทธรูปไม้ถือเป็นงานพุทธศิลป์แบบชาวบ้านที่โดดเด่น และมีเอกลักษณ์เป็นผลงานที่เป็นศิลปะ แบบพื้ น บ้ า นจนเกิ ด เป็ น พุ ท ธลั ก ษณะเฉพาะท้ อ งถิ่ น ที่ มี รู ป แบบและลั ก ษณะคล้ า ยคลึ ง กั น ทั้ ง ในจ าปาสั ก และ อุบลราชธานี พระไม้จึงสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการสะท้อนภาพของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของคนทั้งสองเมืองว่า มีความสั มพั น ธ์กัน มากน้ อยเพีย งใดได้เป็ น อย่ างดี ดังนั้นอาจกล่ าวได้ว่า พระไม้ เป็นวัฒ นธรรมทางวัตถุที่ส ามารถ สะท้อนแนวคิดของคนที่เชื่อมโยงกับศรัทธา ความเชื่ อ โลกทัศน์ การสร้างสรรค์ ความฉลาด และวิถีชีวิตของคนใน ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
17
เอกสารอ้างอิง เกรียงไกร เกิดศิริ. (2545). ทรรศนะอุษาคเนย์ 1. กรุงเทพฯ:อุษาคเนย์ ทรงยศ วีระทวีมาศ และคณะ.(2545). สถาปัตยกรรมสิงแวดล้อมในเรือนพื้นถิ่นไท-ลาว ในภาคอีสานของ ประเทศไทยและในสปป.ลาว.โครงการวิจัยย่อยในชุดโครงการ ภูมิปัญญาพัฒนาการและความสัมพันธ์ ระหว่างกันของเรือนพื้นถิ่นไทย-ไท:คุณลักษณะของสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม ในเรือนพื้นถิ่น.ขอนแก่น:คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยรังสิต นิยม วงศ์พงษ์คา. (2545). พระไม้อีสาน.ขอนแก่น : แอนนาออฟเซ็ท บุญเกิด เหลามี. (2552). รูปแบบการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ธรรมาสน์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชาว ผู้ไทยในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เบญจวรรณ นาราสัจจ์. (2552 ). ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาอีสาน. ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้าโขง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น พิทักษ์ น้อยวังคลัง และคณะ. (2537). ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมอีสาน : ศึกษากรณีจังหวัด อุบลราชธานี. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พิริยะ ไกรฤกษ์. (2533). ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง สุจิตต์ วงศ์เทศ. (2549). “ พลังลาว ”ชาวอีสาน มาจากไหน?. กรุงเทพฯ : มติชน สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2543). ประวัติศาสตร์ลาว 1779-1975.กรุงเทพฯ: พิมพ์สร้างสรรค์ สื่ออิเลคทรอนิคส์ http://www.oceansmile.com/Lao/Jampasak.htm สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2553. HYPERLINK "http://www.ubonratchathani.go.th/history_ubon.html"http://www.ubonratchathani.go.th/history_ubon.html