สายใยจันท์ V.13

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

• 19 ปี กลุ่มโภชนาการ สังฆมณฑลจันทบุรี • เยือนบ้านพระสังฆราชกิตติคุณ แห่งสังฆมณฑลจันทบุรี • ย้อนรอย . . . ชุมชนวัดระยอง

vol.13 สิงหาคม 2014 ปีที่

25


ปีที่ 25 ฉบับที่ 13 / สิงหาคม 2014

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาสน์พระสังฆราช สิริพงษ์ จรัสศรี......................................... 4 จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์................................... 6 เส้นทางใหม่ เพื่อประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้า...................... 8 การสื่อสารในวัฒนธรรมแห่งการเผชิญหน้า........................... 10 19 ปี กลุ่มโภชนาการ สังฆมณฑลจันทบุรี............................. 14 ความคืบหน้า งานก่อสร้างสังฆมณฑล................................... 18 เยือนบ้านพระสังฆราชกิตติคุณ................................................ 20 ย้อนรอยชุมชนวัดระยอง.......................................................... 22 ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี................................................. 24 เข้าใจให้ดี เรื่องพิธีกรรม............................................................ 26 ชีวิตคือพระพร........................................................................... 28 วันวาร ล้วนมีความหมาย......................................................... 30 ปริศนาอักษรไขว้....................................................................... 31 ประมวลภาพกิจกรรม............................................................... 33

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

อินเทอร์เน็ต มีคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายประการ อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นทันควัน รวดเร็ว ทั่วโลก และแพร่หลายไปทั่ว ท�ำให้มีปฏิสัมพันธ์กัน มีพลัง และความสามารถที่จะแผ่ขยายออก ไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้ในระดับสูงมาก อินเทอร์เน็ต มีความเสมอภาค ซึ่งหมายความว่า ผู้ใดที่มีเครื่องมือที่จ�ำเป็น และมีความ ช�ำนาญเพียงปานกลางก็เข้าไปอยู่ใน ไซเบอร์สเปซ ประกาศข่าวของเขาให้กับโลก และเรียกร้อง ให้มีคนรับฟัง เป็นการปล่อยให้แต่ละคนเป็นบุคคลนิรนาม เล่นบทบาท วาดมโนภาพ และเข้าไป ในกลุ่มชนกับผู้อื่น แบ่งปันกันตามแต่ผู้ใช้จะนิยม อินเทอร์เน็ตจะใช้ด้วยการมีส่วนร่วมด้วย หรือในการรับเอาเฉย ๆ จนเข้าไปสู่โลกที่คิดถึง แต่ตนเอง ซึ่งมีผลคล้ายยาเสพติด สามารถเอาไปใช้เพื่อท�ำลายการอยู่โดดเดี่ยวของบุคคลหรือ กลุ่มชนหรือท�ำให้มีมากกว่าเดิมก็ได้ บทความจากข้างบน มาจาก “จริยธรรมในอินเทอร์เน็ต” โดยสมณกระทรวงว่าด้วย การสื่อสารสังคม ปี 2002 เขียนขึ้นเมื่อ 12 ปีที่แล้ว หากเราย้อนกลับไปเมื่อปี 2002 แล้วอ่าน บทความนี้เราจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นัก เพราะเป็นการวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและ ผลลัพธ์ที่มาจากความก้าวหน้าของ “อินเทอร์เน็ต” 2-3 ปีทผี่ า่ นมา จากอินเทอร์เน็ต พัฒนาไปเป็น สังคมโซเชียลเน็ตเวิรค์ สิง่ ทีส่ มณกระทรวง ว่าด้วยการสือ่ สารสังคมว่าไว้กเ็ ป็นจริง “โลก(โซเชียลเน็ตเวิรค์ )ทีค่ ดิ ถึงแต่ตนเอง ซึง่ มีผลคล้าย ยาเสพติด สามารถเอาไปใช้เพื่อท�ำลายการอยู่โดดเดี่ยวของบุคคล” พระสันตะปาปาฟรังซิส จึงเตือนใจเราเรื่องการใช้ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี เครื่อง มือสื่อสาร จะต้องน�ำเราให้ใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้ามากขึ้น และให้มนุษย์ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น และก้าวหน้าไปด้วยกัน พระองค์ได้สรุปว่า “อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย คือของขวัญจาก พระเจ้า” สายใยจันท์ ฉบับนีไ้ ด้นำ� เสนอสารของพระสันตะปาปาฟรังซิส วันสือ่ มวลชนสากล ปี 2014 ได้อย่างน่าสนใจ น่าติดตาม เรื่องราวของพระสังฆราชกิตติคุณได้น�ำเสนอในฉบับนี้ด้วย เนื้อหา อื่น ๆ ยังน่าอ่านเหมือนเดิมครับ

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


สาสน์พระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า นับตัง้ แต่พระสมณสาสน์ “ความชืน่ ชมยินดีแห่งพระวรสาร” ของพระสันตะปาปา ฟรังซิสปรากฏออกมา เราก็ได้เห็นการตอบรับอย่างมากมายในทุกระดับของพระศาสนจักร ซึ่งดูเหมือนว่า พระสมณสาสน์ฉบับนี้จะกลายเป็นนโยบาย หรือแนวทางการด�ำเนินชีวิตและ พันธกิจของพระศาสนจักรในช่วงเวลานี้ พระสมณสาสน์ฉบับนี้ พระสันตะปาปาทรงเน้นเรือ่ งการประกาศข่าวดี โดยให้ทกุ คน หันมาทบทวนการประกาศข่าวดี และงานแพร่ธรรมที่เราได้กระทํามาแล้ว นํามาปรับปรุงให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยประกาศข่าวดีด้วยหัวใจอันเต็มเปี่ยมไปด้วยความ ชื่นชมยินดี ในสังฆมณฑลจันทบุรกี เ็ ช่นเดียวกัน ในแผนอภิบาลได้พดู ถึงการประกาศข่าวดีทเี่ ป็น พันธกิจของเราคริสตชนทุกคน เราประกาศพระเยซูเจ้า และข่าวดีของพระองค์ โดยการ ด�ำเนินชีวิตเป็นศิษย์ที่แท้จริงด้วยความเชื่อที่มั่นคง และกระท�ำพันธกิจในด้านต่าง ๆ นั่น คือ งานอภิบาลในหลากหลายรูปแบบ งานธรรมทูต รวมทั้งการเสวนาระหว่างนิกาย และ กับศาสนาอื่น งานด้านการศึกษาอบรม งานสังคมและเมตตาจิต งานสื่อสารสังคม พันธกิจ เหล่านี้ มีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ข่าวดีของพระคริสตเจ้าจะได้เผยแผ่ออกไป และเพือ่ เสริมสร้างพระ อาณาจักรของพระเจ้า ขอให้เราได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรในประเทศไทย และพระศาสนจักร สากล ภายใต้การน�ำของพระสันตะปาปาฟรังซิส ร่วมกันพลิกฟื้นสังคมโลก และสังคมที่เรา อยู่ให้เป็นสังคมแห่งความรัก ความยุติธรรม และสันติสุข “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทัง้ หลาย...ขอให้พระอาณาจักรของพระองค์จงมาถึง”

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี 4


5


จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนที่ 3) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมตอนที่แล้วได้พูดถึงความเชื่อของคริสตชน จ�ำเป็นต้องแสดงออกถึงความเชื่อนั้นให้เป็นชีวิตของ ตนให้ได้ ต้องท�ำความเชือ่ ให้มกี จิ การทีค่ นรอบข้างสัมผัสได้วา่ “เราเป็นผูท้ มี่ คี วามเชือ่ ในพระเป็นเจ้าอย่างแท้จริง” และได้ยกตัวอย่างความเชือ่ จากจดหมายถึงชาวฮีบรู บทที่ 11 ซึง่ จดหมายถึงชาวฮีบรูได้ยกตัวอย่างบุคคลในหนังสือ พันธสัญญาเดิม เราจะเห็นว่า ในพันธสัญญาเดิมเต็มไปด้วย ประจักษ์พยานแห่งความเชื่อ จดหมายถึงชาวฮีบรู ประกาศสรรเสริญความเชือ่ เป็นแบบอย่างทีด่ ขี อง คนในสมัยก่อน “ซึง่ ท�ำให้พวกเขาได้รบั การรับรอง จากพระเจ้า” (ฮบ.11:2,39)1 หนั ง สื อ “ค� ำ สอนคาทอลิ ก ส� ำ หรั บ เยาวชน” (YOUCAT)2 เล่มที่ 1 ข้อที่ 22 หน้าที่ 26-27 ได้ให้ค�ำอธิบายว่า “บุคคลจะแสดงออก ถึงความเชื่ออย่างไร” หนังสือคาทอลิก ส�ำหรับ เยาวชนได้เขียนว่า

1ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC) ข้อที่ 147 2จัดท�ำและแปลโดยคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม 6


ตัวอย่างบุคคลแห่งความเชือ่ ในพันธสัญญา ใหม่คอื พระนางมารีย์ หนังสือค�ำสอนพระศาสนจักร คาทอลิก ได้เขียนถึงความเชื่อของพระนางมารีย์ว่า

เมือ่ บุคคลเริม่ ต้นมีความเชือ่ บ่อย ครั้งมีความรู้สึกหวั่นไหว หรือความไม่ สบายใจ รูส้ กึ ว่าโลกทีม่ องเห็นได้ และสรรพ สิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เป็นทุกอย่างของชีวิต เขารู้สึกว่าได้สัมผัสกับความเร้นลับ และ ติดตามร่องรอยที่น�ำเขาไปถึงการประทับ อยู่ของพระเจ้า เขาค่อย ๆ มีความมั่นใจที่ จะพูดถึงพระเจ้า และในที่สุด ตัวเขาเองเป็น หนึ่งเดียวกับพระองค์อย่างอิสระ ในพระ วรสารของนักบุญยอห์นกล่าวว่า “ไม่มี ใครเคยเห็นพระเจ้า พระบุตรเพียงพระองค์ เดียวผู้สถิตในพระอุระของพระบิดานั้นทรง เผยให้เรารู้” (ยน. 1:18) นี่คือเหตุผลที่เรา ต้องมีความเชือ่ ในพระเยซูเจ้า พระบุตรของ พระเจ้า หากเราต้องการทราบว่าพระเจ้า ทรงปรารถนาสื่อสารสิ่งใดกับเรา ดังนั้น ความเชือ่ จึงหมายถึงการยอมรับองค์พระ เยซูเจ้า และวางจุดมุ่งหมายตลอดชีวิตทั้ง ชีวิตไว้กับพระองค์

จะเห็นได้วา่ จากประสบการณ์ของบุคคลทีม่ ี ความเชื่อคือ ผู้ได้ตอบรับพระเจ้าที่เปิดเผยให้บุคคล นั้นได้สัมผัส ได้รับรู้และบุคคลนั้นมั่นใจว่านี่คือการ เปิดเผยของพระเป็นเจ้า

พระนางพรหมจารีมารีอา บ�ำเพ็ญความนบนอบ เชือ่ ฟังด้วยความเชือ่ ให้สำ� เร็จลุลว่ งไปอย่างสมบูรณ์ ที่สุด ในความเชื่อพระนางต้อนรับการแจ้งสาร และ ค�ำมัน่ สัญญาทีอ่ คั รเทวดาคาเบรียลอัญเชิญมาเป็นอย่าง ดีดว้ ยเชือ่ ว่า “ไม่มสี งิ่ ใดทีพ่ ระเจ้าทรงกระท�ำไม่ได้” (ลก.1:37) และยอมรับปฏิบัติตามนั้น “ข้าพเจ้าคือ ผูร้ บั ใช้ของพระเป็นเจ้า จงเป็นไปแก่ขา้ พเจ้าตาม ค�ำขอของท่านเถิด” (ลก.1:38) นางเอลิซาเบธ ค�ำนับ พระนางมารีอาด้วยถ้อยค�ำ “เป็นบุญของเธอที่ได้ เชื่อ เพราะจะส�ำเร็จไปตามพระด�ำรัสของพระ เป็นเจ้าที่มีมาถึงเธอ” (ลก.1:45) ความเชื่อนี้แหละ ที่ชนทุกยุคทุกสมัยจะประกาศว่า พระนางคือผู้มีบุญ (เทียบลก.1:48) ตลอดชีวติ ของพระนาง และจนกระทัง่ ถึงการ ทดลองขั้นสุดท้าย (เทียบลก.2:35) เมื่อพระเยซูบุตร ของพระนางสิน้ พระชนม์บนไม้กางเขน ความเชือ่ ของ พระนางก็มิได้หวั่นไหว พระนางมารีอาไม่เคยหยุด ยั้งที่จะเชื่อ “ในการส�ำเร็จไป” ตามพระวาจาของ พระเจ้าดังนั้น ในองค์พระแม่มารีอา พระศาสนจักร จึงให้ความเคารพแก่สิ่งที่ถือได้ว่า เป็นความส�ำเร็จ อันบริสุทธิ์แท้ที่สุดของความเชื่อ ความเชื่อพระนางมารีย์มิได้เป็นความเชื่อ เพียงชั่วครั้งคราว แต่มั่นคง มุ่งมั่น แม้ว่าต้องเผชิญ กับเหตุการณ์บุตรของพระนางมารีย์ถูกตรึงบนไม้ กางเขน นี่คือตัวอย่างการตอบรับการเปิดเผยของ พระเป็นเจ้า เป็นการยอมรับองค์พระเยซูเจ้าและวาง จุดมุ่งหมายตลอดชีวิตทั้งชีวิตไว้กับพระองค์” (อ่านต่อฉบับหน้า) 7


เส้นทางใหม่ เพื่อประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้า โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

“พระเยซูเจ้าทรงเริม่ สัง่ สอนทีร่ มิ ทะเลสาบ อีกครั้งหนึ่ง ประชาชนจ�ำนวนมาก มาชุมนุม ห้อมล้อมพระองค์จนต้องเสด็จลงไปประทับบน เรือในทะเลสาบ ส่วนประชาชนทั้งหมดอยู่บนฝั่ง พระองค์ทรงสอนเขาหลายเรือ่ งเป็นอุปมา ในการ สอนนั้น” (มก 4:1-2) “เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จไปใน พระวิหารอีก ประชาชนเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ประทับนัง่ แล้วทรงเริม่ สัง่ สอน” (ยน 8:2) “พระเยซูเจ้าเสด็จลงมาจากภูเขาพร้อม กับบรรดาศิษย์ และทรงหยุดอยู่ ณ ที่ราบแห่ง หนึ่ง ที่นั่นมีศิษย์กลุ่มใหญ่และประชาชนจ�ำนวน มากจากทั่วแคว้นยูเดีย จากกรุงเยรูซาเล็ม จาก เมืองไทระ และจากเมืองไซดอนซึ่งอยู่ริมทะเล มาฟังพระองค์” (ลก 6:17-19) พระวรสารหลาย ๆ ตอนพบว่า ประชาชน มาห้อมล้อม ติดตามพระเยซูเจ้า เพื่อฟังการสั่งสอน ในสิ่งใหม่ ๆ ที่พระเยซูเจ้าทรงสอนพวกเขา ทุกคน ต่างประหลาดใจจึงถามกันว่า “นีม่ นั เรือ่ งอะไร เป็น 8

ค�ำสั่งสอนแบบใหม่ที่มีอ�ำนาจ เขาสั่งแม้กระทั่ง ปีศาจและมันก็เชื่อฟัง” (มก 1:27) และการสอน ของพระองค์เต็มไปด้วยความรักและความเมตตา “เมือ่ พระเยซูเจ้าทรงทราบข่าวนี้ ได้เสด็จ ออกจากที่นั่น ลงเรือไปยังที่สงัดตามล�ำพัง เมื่อ ประชาชนรู้ต่างก็เดินเท้าจากเมืองต่าง ๆ มาเฝ้า พระองค์ เมื่อเสด็จขึ้นจากเรือ ทรงเห็นประชาชน มากมายก็ทรงสงสาร และทรงรักษาผู้เจ็บป่วยให้ หายจากโรค” (มธ 14:13-14) “ครัน้ พระเยซูเสด็จขึน้ จากเรือแล้ว ก็ทรง เห็นประชาชนหมู่ใหญ่ และพระองค์ทรงสงสาร เขา เพราะว่าเขาเป็นเหมือนฝูงแกะไม่มีผู้เลี้ยง พระองค์จึงทรงสั่งสอนเขาเป็นหลายข้อหลาย ประการ” (มก 6:34) หากวันนี้ ปัจจุบันนี้ นาทีนี้ พระเยซูเจ้ายัง คงสอนและเปิดเผยความรักของพระบิดาท่ามกลาง พวกเรา แน่นอนต้องมีประชาชนจ�ำนวนมากติดตาม พระองค์เหมือนเดิม และจะมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่อยากติดตามพระเยซูเจ้าโดยการถามว่า


พระเยซู มีเฟสบุ๊คไหม? ใช้ชื่ออะไร........จะได้ติดตามพระองค์ พระเยซู มีไลน์ไหม? ชื่อ ไอดี ของพระองค์คืออะไร..........จะได้สมัครเป็นเพื่อน พระเยซู มีอินสตาแกรมไหม? ……….จะได้ติดตามรูปภาพที่ทรงสอน พระเยซู เบอร์โทรศัพท์ของพระองค์เบอร์อะไร? มีปัญหาจะได้โทรมาปรึกษา พระเยซู มีเว็บไซต์ไหม? ใช้ชื่อว่าอะไร จะได้เข้ามาเยี่ยมชม และรู้ว่าพระองค์ท�ำอะไรอยู่ในวันนี้ พ่อเชื่อแน่ว่า พระเยซูเจ้าต้องมีเครื่องมือ สื่อสารเหล่านั้นในการประกาศข่าวดีแน่ ๆ เพราะ พระองค์ทรงใช้ทุกโอกาสในการสอนเสมอ โอกาส ที่แม่พระเยี่ยมพระองค์ พระเยซูเจ้ายังสอนว่า “ผู้ ที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาของเราผู้ สถิตในสวรรค์ ผู้นั้นเป็นพี่น้องชายหญิงและเป็น มารดาของเรา” (มธ 12:50) หรือ ใน มธ 4:23 พระเยซูเจ้าเดินทางไปทั่วแคว้นเพื่อการสอนของ พระองค์ “พระองค์เสด็จไปทั่วแคว้นกาลิลี ทรง สัง่ สอนในศาลาธรรม ทรงประกาศข่าวดีเรือ่ งพระ อาณาจักร ทรงรักษาโรคและความเจ็บไข้ทกุ ชนิด ของประชาชน” การเผยแสดงความรักของพระเป็นเจ้า ไม่ใช่ เป็นภารกิจของพระเยซูเจ้าแต่พระองค์เดียว พระองค์ ยังให้เราเป็นผู้ร่วมงานของพระองค์และส่งเราไปสั่ง สอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา (มธ 28:16-20) ค�ำสัง่ ของพระเยซูเจ้านีง้ า่ ยมากในยุคปัจจุบนั เพราะ เรามีเครือ่ งมือทีจ่ ะช่วยประกาศข่าวดี หนังสือค�ำสอน พระศาสนจักรคาทอลิก ข้อที่ 2493 ได้เขียนว่า ใน สังคมยุคใหม่ เครื่องมือสื่อสารมีบทบาทที่ส�ำคัญ ในการให้ข้อมูล การส่งเสริมวัฒนธรรมและใน การศึกษาอบรม สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรง เป็นตัวอย่างในการใช้เครือ่ งมือสือ่ สารในการประกาศ ข่าวดี พระองค์เป็นผูท้ ใี่ ห้ความส�ำคัญกับการใช้เครือ่ ง มือสื่อสารในการประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรก

ที่มียูทูป และเฟสบุ๊คเป็นของพระองค์เอง และเริ่ม ทวิตเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง 8 ภาษา ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม เป็นต้นมา พระองค์เคยตรัสว่า “โลกสังคม ออนไลน์ เป็นสือ่ ใหม่เพือ่ น�ำเสนอพระวาจา ชุมชน พระศาสนจักรควรใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ในการ สื่อสาร ให้ความสนใจกับสังคม และมีมากขึ้นใน การส่งเสริมการเสวนาในวงจรทีก่ ว้างขวางออกไป และพระองค์ยงั ชวนบรรดาคริสตชนให้พยายามใช้ เครือ่ งมือสือ่ สารให้ดที สี่ ดุ เชิญชวนเป็นผูเ้ บิกทาง ที่มีจิตใจร้อนรน น�ำพระวรสารไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งสื่อ ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้เปิดให้ไปถึง” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศ อย่างชัดเจนว่า“พระศาสนจักรจ�ำเป็นต้องเอาใจใส่ และอยูใ่ นโลกของการสือ่ สาร เพือ่ จะได้เสวนากับ คนในโลกปัจจุบัน และช่วยให้พวกเขาได้สัมผัส กับพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรต้องเป็นพระ ศาสนจักรที่อยู่เคียงข้างทุกคน สามารถร่วมเดิน ทางกับผู้อื่นได้”1 ดังนั้นคริสตชนควรตระหนักถึงคุณค่าและ การใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อการประกาศข่าวดีของ พระคริสตเจ้า ฟิ ลิ ป ถามขั น ที ที่ ก� ำ ลั ง อ่ า นหนั ง สื อ ของ ประกาศกอิสยาห์ว่า “ท่านเข้าใจข้อความที่ก�ำลัง อ่านหรือ” ขันทีตอบว่า “ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย” (กจ 8: 30-31) 1สาสน์จากพระสังฆราชโยเซฟ ประธาน ศรีดารุณศีล ประธานสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย 9


การสื่อสารในวัฒนธรรม แห่งการเผชิญหน้า สารจากโป๊ปฟรังซิส เนื่องในโอกาสวันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 48

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเขียนสารเนือ่ ง ในโอกาสวันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 48 ในหัวข้อ "การสื่อสารที่ว่าด้วยการรับใช้วัฒนธรรมที่แท้ จริงแห่งการเผชิญหน้า" โดยมีใจความส�ำคัญ ดังสรุปต่อไปนี้ การสื่อสารไร้พรมแดน ทุกวันนีเ้ ราเจริญชีวติ อยูบ่ นโลกทีก่ ารสือ่ สาร สามารถชักน�ำเราให้ใกล้ชดิ กันและเป็นเพือ่ นบ้านของ กันและกันง่ายขึน้ ขณะเดียวกันสิง่ เหล่านีก้ ท็ �ำให้เรา 10

เห็นความแตกต่างและความเหลือ่ มล�ำ้ ทางสังคมมาก ขึ้นด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่น่าเศร้าคือ เราแตกแยก กันในเรื่องที่เกี่ยวโยงกับศาสนา แต่เราก็คุ้นเคยกับ สิ่งเหล่านั้นจนเลิกตั้งค�ำถามไปในที่สุด

อินเทอร์เน็ต คือ ของขวัญจากพระเจ้า อินเทอร์เน็ตมีศักยภาพสูงในการช่วยผู้คน และน�ำผู้คนให้ก้าวเดินไปด้วยกัน การสื่อสารช่วย ให้เราใกล้ชิดพระเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกันกับเพื่อน มนุษย์ เมือ่ ใดทีก่ ำ� แพงแบ่งแยกพวกเราถูกท�ำลายลง


เมื่อนั้นเราก็พร้อมที่จะรับฟังและเรียนรู้จากกันและกัน แต่ความรวดเร็วของสิ่งต่าง ๆ ที่สื่อเผยแพร่ อาจท�ำให้ เราไม่มเี วลาพิจารณาอย่างละเอียด และแสดงออกด้วย อารมณ์หรือความรูส้ กึ โลกของการสือ่ สารจึงเสมือน ดาบสองคมที่ช่วยขยายความรู้ของเราให้กว้าง ออกไป หรือไม่ก็ท�ำให้หลงทาง

จงฟังผู้ที่เห็นต่างอย่างตั้งใจ สูตรส�ำหรับการสื่อสารที่ดี คือ การ รู้จักสงบนิ่งและรับฟังผู้อื่นด้วยความอดทน อย่าหมดความอดทนอดกลั้นกับผู้ที่มีความ เห็นต่างจากเรา หากเราตั้งใจฟังจริง ๆ เราก็ จะรู้จักศึกษาโลกในแง่มุมของผู้อื่น แต่เมื่อใดที่ การสื่อสารเป็นเพียงการบริโภคและควบคุมผู้อื่น นัน่ หมายความว่าเราก�ำลังเผชิญหน้ากับการจูโ่ จมที่ รุนแรง ขอให้เราเป็นประจักษ์พยานทีป่ ระสบความส�ำเร็จ แต่ไม่ใช่ดว้ ยการยัดเยียดค�ำสอนทางศาสนาให้กบั ผูค้ น เพราะการเป็นประจักษ์พยานทีม่ ปี ระสิทธิภาพของ คริสตชน คือการเดินไปกับผูค้ นอย่างอดทน และน�ำทางเขาด้วยความจริง

11


มองเพื่อนมนุษย์แบบเพื่อนมนุษย์ เมือ่ ใดทีก่ ารสือ่ สารเป็นเพียงการบริโภคและ ควบคุมผู้อื่น นั่นก็หมายความว่าเราก�ำลังเผชิญหน้า กับการจูโ่ จมทีร่ นุ แรง ดังเช่นบุคคลหนึง่ ในนิทาน เขา ถูกขโมยทุบตีและทิ้งไว้ข้างถนน ชาวเลวีและสงฆ์ที่ เดินผ่านก็ไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือ เพราะเห็นเป็นเพียง คนแปลกหน้าที่ต้องตีตัวออกห่างเท่านั้น ฉะนั้น การเป็นแต่เพียงผู้ที่ผ่านไปมาในโลก ของดิจิตอลหรือเพียงแค่สัมผัสคงยังไม่พอ เพราะ

ผ่านทางอินเทอร์เน็ต จงช่วยผู้ที่ต้องการความช่วย เหลือบนโลกอินเทอร์เน็ต ให้การสื่อสารของเราเป็น เสมือนน�้ำมันขจัดความเจ็บปวด และเป็นเหล้าองุ่น อย่างดีช่วยให้จิตใจชุ่มชื้น ให้แสงสว่างที่มอบให้มา จากใจทีร่ กั และเมตตาต่อเพือ่ นมนุษย์ทถี่ กู ท�ำร้ายและ ทิง้ ไว้ขา้ งถนน ให้ความกล้าหาญเป็นหนึง่ เดียวกันกับ ประชาชนในโลกอินเทอร์เน็ต การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ กับสือ่ และเทคโนโลยี เป็นความท้าทายทีน่ า่ สนใจ โป๊ปฟรังซิสขอให้เราตอบ สนองสิ่งนี้ด้วยพลังอันสดใสและจินตนาการ

ข้าพเจ้าย�้ำอยู่บ่อย ๆ ว่า อยากให้พระศาสนจักรถูกท�ำร้าย เมื่อก้าวออกจากตัวเองเพื่อออกไปตามท้องถนน ดีกว่าหมกมุ่นอยู่กับตัวเองหรือสนใจตัวเองมากเกินไป เราอยู่โดดเดี่ยวหรือปิดตัวเราไม่ได้ โลกดิจิตอลต้อง เชื่อมโยงด้วยตัวของมนุษย์เอง ผู้ที่เอาตัวเองออก จากการสือ่ สารได้เท่านัน้ จึงจะเป็นกลางและเป็นจุด เชื่อมโยงของผู้อื่นได้

จงเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดีบนโลกดิจิตอล บนถนนแห่งดิจติ อล เต็มไปด้วยชายและหญิง ทีก่ ำ� ลังเจ็บปวด แสวงหาความรอดพ้นและความหวัง 12

ศาสนจักรคือบ้านของทุกคน เพราะพวกเราถูกเรียกให้แสดงว่าพระ ศาสนจักรเป็นบ้านของทุกคน จงเปิดประตูวัดของ เรา เพื่อรับบรรยากาศของโลกดิจิตอล ให้ผู้คนทุก ระดับสามารถเข้าหาได้ พระวรสารจะได้เข้าถึงทุกคน อินเทอร์เน็ตสามารถช่วยให้มนุษย์ได้เห็นคุณค่าและ ตระหนักถึงค่านิยมของคริสตชน สถาบันครอบครัว และพระศาสนจักร


13


19 ปี

กลุม่ โภชนาการ สังฆมณฑลจันทบุรี

หนึ่งภาพที่คุ้นตาและเป็นสีสันของงานฉลองวัดทุกวัด คือภาพที่สัตบุรุษของสังฆมณฑลจันทบุรี น�ำอาหารไปเลี้ยงในโอกาสฉลองวัดอย่างต่อเนื่องถึง 19 ปี จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติและพัฒนาเป็น กลุ่ม “โภชนาการสังฆมณฑลจันทบุรี” หลายคนชื่นชมในความมีน�้ำใจ แต่อาจไม่ทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีพัฒนาการอย่างไร ท�ำคุณประโยชน์ต่อสังฆมณฑลฯ อย่างไร สายใยจันท์ฉบับนี้ จะท�ำให้ท่านผู้อ่านรู้จัก พวกเขามากยิ่งขึ้น

14


ภูมิหลัง การเตรียมงานฉลองวัดถือเป็นเรื่องส�ำคัญ โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ซึ่งต้องมีเพียงพอ ค่า ใช้จา่ ยเรือ่ งการจัดอาหารต้อนรับแขก จึงเป็นตัวแปร ส�ำคัญของตัวเลขรายรับสุทธิในการจัดฉลองวัดแต่ละปี วัดใหญ่ ๆ ทีม่ ศี กั ยภาพด้านการเงิน ก็สามารถจัดการ เรือ่ งนีไ้ ด้ แต่วดั เล็ก ๆ ทีม่ รี ายได้นอ้ ยหรือไม่มรี ายได้ เลย จึงประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายมากพอสมควร

แรกเริ่ ม เดิ ม ที (ค.ศ. 1995) เกิ ด จาก ความสัมพันธ์ส่วนตัวของคุณพิลัย ด�ำรงธรรม (พี่สาวคุณพ่อไพศาล อานามวัฒน์) ได้รับการ ทาบทามจากพระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดเล็ก ๆ ให้ช่วย ไปท�ำอาหารเลี้ยงสัตบุรุษในวันฉลองวัด จึงชวน คุณนุกูล เจริญนิตย์ และเพื่อนร่วมงานในกลุ่ม ไปท�ำ อาหารเลีย้ ง ในระยะแรกการน�ำอาหารไปช่วยตามวัด จึงไปเฉพาะวัดที่คุ้นเคยกับพระสงฆ์เป็นการส่วนตัว และเป็นเพียงการจัดสรรงบจากญาติพี่น้องเท่านั้น

เจ้าอาวาสวัดหนึ่งในแขวงสระแก้ว เผยว่า ในอดีตเมื่อใกล้ถึงโอกาสฉลองวัด ทางวัดจะต้อง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงค่าอาหารด้วย เมือ่ หักลบกลบหนีแ้ ล้วกลับเหลือเงินแค่ไม่กรี่ อ้ ยบาท แต่หลังจากทีก่ ลุม่ โภชนาการเข้ามาช่วยเรือ่ งอาหาร วัดก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่น

หลังจากนัน้ 2 ปี คุณสุรชัย กิตติพล สัตบุรษุ วัดนักบุญเปาโลกลับใจ ปากน�้ำ ระยอง ก็มีแนวคิด แบบเดียวกัน ได้นำ� อาหารไปช่วยในวันฉลองวัดของ ทุกวัด ไม่นานคุณไพบูลย์ ยงชัยหิรัญ สัตบุรุษวัด พระนามเยซู ชลบุรี ก็น�ำอาหารและเครื่องเสียงไป ช่วยในวันฉลองวัดอีกเช่นกัน 15


จากการน�ำอาหารและเครื่องเสียงไปช่วย งานฉลองวัดอย่างสม�่ำเสมอของกลุ่มโภชนาการ ทั้ง 3 วัด ท�ำให้เกิดบรรยากาศความเป็นพี่น้องแบบ คริสตชน ทักทายถามไถ่สารทุกข์สุขดิบซึ่งกันและกัน เต็นท์โภชนาการจึงไม่ใช่แค่เต็นท์อาหาร แต่เป็นจุด นัดพบที่กลุ่มโภชนาการจะไปชุมนุม (สุมหัว) กัน ช่วย เหลือกัน ใครเหลือหรือขาดอะไรก็แบ่งปันกัน ภาพ พระสังฆราชและพระสงฆ์เดินไปเยี่ยมเยียนถามไถ่ สารทุกข์สุกดิบ เปรียบเสมือนน�้ำทิพย์ชโลมใจ ความ สวยงามของมิตรภาพเช่นนี้ จึงท�ำให้พวกเขาต้องกลับ ไปเสพบรรยากาศดี ๆ แบบนี้อีกในครั้งต่อไป มิตรภาพดังกล่าว ได้ด�ำเนินไปอย่างไม่รตู้ วั ตาม วิสัยทัศน์ของสังฆมณฑลฯ ว่า “คริสตชนสังฆมณฑล จันทบุรี เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของ 16

พระเจ้า” ให้ปรากฏทุกครัง้ ในงานฉลองวัด จนกระทัง่ ก่อเกิดเป็นกลุ่มโภชนาการสังฆมณฑลจันทบุรี พัฒนาการของกลุ่ม 10 ปีให้หลัง วัดต่าง ๆ ที่เคยได้รับการช่วย เหลือ ก็เริ่มน�ำอาหารไปช่วยวัดอื่นบ้าง ส่งผลกระทบ ต่อวัดเล็ก ๆ ที่มีรายได้น้อยและไม่มีสัตบุรุษให้การ สนับสนุนด้านงบประมาณ กลุม่ โภชนาการต้องเบิกงบ ประมาณจากทางวัดซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ ดังนั้นในการประชุมการจัดงานขอบคุณกลุ่ม โภชนาการสังฆมณฑลฯ ช่วง 2 - 3 ปีแรก จึงเป็นการ พูดคุยกันเรื่องการใช้งบประมาณของกลุ่ม โดยมีมติ ให้หลีกเลี่ยงการใช้งบประมาณของวัด เน้นช่วยกัน ในระดับแขวงเป็นหลัก และในกรณีพิเศษที่มีการจัด


ไม่ใช่แค่เต็นท์อาหาร แต่เป็นจุดนัดพบ ชุมนุม(สุมหัว) และช่วยเหลือกัน งานระดับสังฆมณฑล ทางคณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ เช่น พิธีบวชพระสงฆ์ งานสมโภชระดับสังฆมณฑล คริสตชนฆราวาส สังฆมณฑลจันทบุรี (คฆร.ส.จบ.) จะ อนุกรรมการจัดงานจึงได้เชิญตัวแทนกลุ่มโภชนาการ เป็นผู้ประสานงานกับกลุ่มโภชนาการเอง เข้าร่วมประชุมเตรียมงาน โดยมอบหมายให้กลุ่ม โภชนาการเป็นผูร้ บั ผิดชอบเรือ่ งการจัดเตรียมอาหาร ส�ำหรับสัตบุรษุ ท�ำให้บทบาทหน้าทีข่ องกลุม่ โภชนาการ สังฆมณฑลฯ ยกระดับกลุ่มโภชนาการ เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ปัจจุบันมีคุณพ่อเศกสม ภารกิจการน�ำอาหารไปช่วยตามวัดของกลุ่ม กิจมงคล เป็นผูด้ แู ล และคุณพ่อได้จดั งานเลีย้ งขอบคุณ โภชนาการ มิใช่อยู่แค่เพียงฉลองวัดตลอดปีเท่านั้น ในความมีน�้ำใจให้กับกลุ่มโภชนาการสังฆมณฑลฯ มา ในช่วง 10 ปีหลัง เมื่อมีการจัดงานระดับสังฆมณฑล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 จนถึงปัจจุบัน 17


18


19


มี ห ลากหลายค� ำ ถาม จากทั่ ว สารทิ ศ ถึ ง พระคุณเจ้าลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต พระสังฆราช กิตติคุณแห่งสังฆมณฑลจันทบุรี ด้วยความรัก ความ ห่วงใย กันมาอย่างไม่ขาดสาย แผนกสื่อมวลชนจึงขอใช้ พืน้ ทีส่ ายใยจันท์ฉบับเดือนสิงหาคมในโอกาสฉลองนักบุญ ลอเรนซ์ นามนักบุญของพระคุณเจ้า รายงานความเป็นอยู่ สารทุกข์สุขดิบมาให้ทราบทั่วกัน ภายหลังการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ จากอาการติดเชือ้ ในกระแสเลือดอย่างรุนแรงและอาการ ป่วยจากโรคของผู้สูงอายุเป็นเวลา 4 เดือน พระคุณเจ้า ได้กลับมาพักรักษาตัวต่อที่ส�ำนักพระสังฆราช (ศรีราชา) โดยมีคุณพ่อพงษ์ศักดิ์ แซ่เตียว เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด จนถึงทุกวันนี้เป็นเวลากว่า 10 เดือนแล้ว อาการเจ็บป่วยของพระคุณเจ้า เป็นไปตามวัย ของผู้สูงอายุทั่วไป ไม่มีโรคแทรกซ้อนใด ๆ ยังคงต้องรับ ประทานยาทุกวัน วันละ 4 เวลา ควบคุมอาหาร ออกก�ำลัง กายโดยการปั่นจักรยาน และพบแพทย์ทุก ๆ 2-3 เดือน พระคุณเจ้าสามารถเดินได้ด้วยตัวเองอย่างช้า ๆ ยังต้อง อาศัยที่เกาะยึดหรือไม้เท้าอยู่บ้าง ส่วนอาการเวียนศีรษะ และโรควูบ มักเกิดจากการยืนนาน ๆ จึงท�ำให้พระคุณเจ้า ต้องหลีกเลีย่ งการยืนนาน ๆ ในเวลาเข้าร่วมพิธกี รรมต่าง ๆ

20


ขอแสดงความยินดีกับ พระคุณเจ้าลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต โอกาสฉลองศาสนนาม 10 สิงหาคม

นอกจากนี้ พระคุณเจ้ายังฝากมาถึงทุกความ ห่วงใยด้วยว่า “ตอนนีไ้ ม่ตอ้ งเป็นห่วงอะไรมากแล้ว กลับมาแล้ว เจ็บมาปีกว่า อะไรหลาย ๆ อย่างก็ดขี นึ้ แต่ต้องระวัง ต้องกินยา ต้องใกล้หมอ ก็ขอขอบใจ สัตบุรุษตามวัดต่าง ๆ ที่สวดให้ ที่เป็นห่วง ตอนนี้ก็ อยูเ่ ป็นก�ำลังใจ และสวดให้ ทัง้ สังฆราช ทัง้ พระสงฆ์ นักบวช ฆราวาสตามวัดต่าง ๆ อยู่เสมอ” และในโอกาสฉลองศาสนนามของพระคุณเจ้า ขอองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า โปรดประทานพระพรอันอุดม ให้ ท่านมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีสันติสุข ในชีวติ เป็นทีเ่ คารพรักของลูก ๆ เป็นขวัญและก�ำลังใจ ให้ยาวนานสืบไป 21


ย้อนรอย

‘ชุมชนวัดระยอง’ 5 ทศวรรษ แห่งความศรัทธา

กว่าจะเป็นชุมชนแห่งความเชื่อวัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ในวันนี้ 5 ทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาสัตบุรุษและคุณพ่อเจ้าวัดใช้ความเพียรพยายามอย่างมากในการก่อร่างสร้างฐาน ให้กับชุมชน จากวัดน้อยที่อาศัยหอพักนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ระยอง เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ จนกระทั่งเป็นวัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ในวันนี้ ย้อนกลับไปเมือ่ 50 ปีทแี่ ล้ว (ค.ศ. 1963) ใน ยุคทีค่ ณะภราดาเซนต์คาเบรียล เข้ามาจัดตัง้ โรงเรียน อัสสัมชัญ ที่ ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง ปีต่อมา คณะซิสเตอร์เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ก็มาเปิดโรงเรียน เซนต์โยเซฟ ในบริเวณใกล้เคียงกัน คณะครูสว่ นใหญ่ ทีเ่ ป็นนักบวชต้องไปร่วมมิสซาทีว่ ดั ปากน�้ำ ระยองทุก วัน แต่การคมนาคมไม่สะดวกและมีความล�ำบาก ต้อง นั่งเรือข้ามฟากไปจนกว่าจะถึงวัด บรรดานักบวชจึง ท�ำเรือ่ งขอให้มพี ระสงฆ์มาประจ�ำทีโ่ รงเรียนอัสสัมชัญ พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี (พระสังฆราช ประจ�ำสังฆมณฑลสมัยนั้น) จึงมอบหมายให้คุณพ่อ 22

สง่า จันทรสมศักดิ์ มาท�ำหน้าที่ประกอบศาสนกิจ และถวายมิสซา โดยใช้ชั้นล่างของหอพักนักเรียน (หอพักยุวนิส) เป็นวัดน้อยตั้งแต่บัดนั้น เนือ่ งจากการคมนาคมสะดวก อยูต่ ดิ ทางหลวง (ถนนสุขุมวิท) ไม่นานบรรดาคริสตชนที่อยู่บริเวณ ปากน�ำ้ และจากชุมชนอืน่ ๆ ก็เริม่ อพยพมาตัง้ รกราก บริเวณใกล้ ๆ กัน ก่อเกิดเป็นชุมชนแห่งความเชื่อ วัดน้อยที่ใช้ประกอบศาสนกิจก็คับแคบลง จึงริเริ่ม โครงการสร้างวัดหลังใหม่ขึ้น แต่ท�ำได้เพียงเสนอ โครงการเท่านั้น เพราะงบประมาณมีไม่เพียงพอที่ จะสร้างวัดได้


เรือ่ ยมาจนถึงปี ค.ศ. 1981 สมัยคุณพ่อเศียร โชติพงษ์ เป็นเจ้าอาวาส โครงการสร้างวัดหลังใหม่ก็ ถูกหยิบยกขึน้ มาพิจารณากันอย่างจริงจังอีกครัง้ โดย พระคุณเจ้าลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต(พระสังฆราช องค์ต่อมา) เป็นผู้อนุมัติโครงการ ซึ่งใช้ที่ดินที่ได้รับ จากมูลนิธิเซนต์คาเบรียลเป็นที่ตั้งวัด แม้โครงการจะได้รับการอนุมัติแล้ว แต่ ปัจจัยส�ำคัญอันดับต้น ๆ ก็คือทุน ซึ่งไม่ได้มีอยู่ก่อน จึงต้องช่วยกันหาทุน ในระหว่างหาทุนนี้เอง คุณพ่อ ก็ได้พบกับอาจารย์ชาญณรงค์ โตชูวงศ์ (ผู้ก่อตั้ง บริษัท เอ็ม ซี ซี) ซึ่งท่านทั้งสองรู้จักกันมาหลายปี แล้ว อาจารย์ชาญณรงค์มีความยินดีช่วยสนับสนุน ทุนสร้างวัดกว่า 1 ล้านบาท แต่เนื่องด้วยราคาค่า วัสดุอปุ กรณ์กอ่ สร้างทีม่ รี าคาแพงขึน้ จึงไม่เพียงพอที่ จะสร้างวัดหลังใหม่ได้ คณะกรรมการก่อสร้างวัดจึง เกิดขึ้น เพื่อท�ำหน้าที่ติดต่อหาผู้มีจิตศรัทธาบริจาค เงินทุนสนับสนุนการสร้างวัด ผ่านมาหลายสิบปี การระดมทุนสร้างวัดก็ ยังไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ นายปรีชา ชื่นพุฒิ ประธานคณะ กรรมการก่อสร้างวัด และคณะกรรมการคนอื่น ๆ จึงหารือกันว่า จะต้องมีสิ่งที่มั่นคงสักอย่างส�ำหรับ ยึดเหนีย่ วและด�ำเนินการ ทีส่ ดุ ก็มมี ติตงั้ องค์อปุ ถัมภ์ ของวัดขึ้น คือ “แม่พระนิจจานุเคราะห์” จากนั้นจึงแยกย้ายกันไปหาผู้มีจิตศรัทธาที่ ยินดีช่วยสมทบทุนสร้างวัด ผลเกินความคาดหมาย คณะกรรมการฯ ได้รบั เงินทุนจากผูใ้ จบุญเป็นจ�ำนวน มาก จึงจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1982 โดยพระคุณเจ้าเทียนชัย เป็นประธานใน พิธี หลังจากนั้น 2 ปี วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ ก็สร้างเสร็จตามประสงค์

ตลอด 50 ที่เริ่มก่อเกิดชุมชนความเชื่อวัด พระมารดานิจจานุเคราะห์ ระยอง มีการพัฒนา ชุมชนอย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะแผนงานด้านอภิบาล มีการจัดตั้งสภาอภิบาลวัด ในสมัยคุณพ่อวาณิช คุโรวาท มีกองทุนด้านการศึกษา โครงการสร้าง ถ�้ำแม่พระ ตลอดจนฟื้นฟูกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ใน สมัยคุณพ่อวิโรจน์ สมหมาย มีการเน้นความ ส�ำคัญด้านพิธีกรรมและการมาวัด ในสมัยคุณพ่อ สมศักดิ์ พรประสิทธิ์ จนถึงปัจจุบัน คุณพ่อทวี อานามวัฒน์ ได้ จัดแบ่งต�ำแหน่งหน้าทีข่ องคณะกรรมการสภาอภิบาล อย่างเป็นระบบ มีการประชุมสัมมนาสภาอภิบาลทัง้ 2 วัด (วัดแม่พระฯ และวัดปากน�ำ้ ) เพือ่ ให้สอดคล้องกับ แผนอภิบาลสังฆมณฑลฯ มีการปรับปรุงและต่อเติม บ้านพัก สนับสนุนงานอภิบาลเพิ่มมากขึ้น เช่น วิถี ชุมชนวัด กลุม่ เยาวชน กลุม่ วินเซนต์เดอปอล กลุม่ ผู้ สูงอายุ เป็นต้น ปัจจุบนั มีสตั บุรษุ ทัง้ ชาวไทยและต่าง ชาติประมาณ 800 คน ร่วมกันสืบสานชุมชนความ เชื่อแห่งนี้ให้คงอยู่สืบไป และในวันเสาร์ที่ 6 กันยายนนี้ ชุมชน ความเชื่อวัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ ระยอง จะมีอายุครบ 50 ปี และครบรอบ 30 ปีการก่อตั้ง วัด โอกาสนี้ คุณพ่อทวี อานามวัฒน์ เจ้าอาวาส พร้อมด้วยคุณประพันธ์ พนาราม ผู้อ�ำนวยการ สภาอภิบาลวัด และสัตบุรษุ ทุกคน จึงขอเชิญบรรดา พีน่ อ้ ง สัตบุรษุ ร่วมฉลองและเทิดเกียรติแด่พระเจ้า ร่วมกัน โดยพระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี จะเดินทางมาเป็นประธานในพิธี ที่วัดพระมารดา นิจจานุเคราะห์ จ.ระยอง เวลา 10.30 น.

23


ค�ำสอนพระศาสนจักรด้านสังคม

โดย ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

สวัสดีครับพี่น้องที่รัก สายใยจันท์ฉบับนี้ ทางฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี ยังคงน�ำเสนอ การด�ำเนินงานสรรค์สร้างสังคม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการ แสดงให้เห็นว่าพระศาสนจักรท้องถิ่น (สังฆมณฑล จันทบุรี) ยังคงสืบสานงานขององค์พระคริสต์อย่าง จริงจังในสังคมปัจจุบัน

หากเราได้ศึกษาค�ำสอนด้านสังคม สิ่งที่เราจะพบคือ 1. เรื่องศักดิ์ศรีของมนุษย์ 2. เรื่องสิทธิมนุษยชน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคม 4. คุณค่าพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ 5. การพัฒนาของสังคมตามยุคสมัย ฯลฯ

พี่น้อง คงจ�ำได้ถึงพระสมณสาสน์ “แสง สว่างแห่งความเชื่อ” (LUMEN FIDEI) เป็นพระ สมณสาสน์ฉบับแรก โดยองค์สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ซึง่ เป็นผลงานของพระองค์ทา่ น ร่วมกับองค์ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 อยากเชิญชวน ให้พี่น้องได้ไตร่ตรองเป็นพิเศษ ในบทที่ 1 ข้อที่ 15 พระสมณสาสน์น�ำเราให้ไตร่ตรองถึงความเชื่อของ คริสตชน “ความเชือ่ ของคริสตชนมีพระคริสตเจ้า เป็นศูนย์กลาง” เป็นพระคริสต์เองที่ทรงมอบความ รักของพระองค์แก่เรา (เทียบ รม 8 : 31- 39) ดังนั้น ความเชือ่ ของคริสตชนจึงเป็นความเชือ่ ในความรักที่ สมบูรณ์ ในพลังความรักทีม่ ปี ระสิทธิภาพ และในความ สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลกและส่องสว่างยุคสมัย

พระศาสนจักรให้ความส�ำคัญในเรื่องความ สัมพันธ์ระหว่างค�ำสอนด้านสังคม กับการประกาศ ข่าวดีอย่างมาก เพราะพื้นฐานค�ำสอนด้านสังคม มี พืน้ ฐานมาจากพระวาจาของพระเจ้า และกิจการแห่ง ความรักที่พระเจ้าทรงมอบแก่เราผ่านทางองค์พระ คริสตเจ้า ดังนั้น เราคริสตชนผู้อยู่ในพระศาสนจักร และเป็นผูด้ �ำรงชีวติ อยูใ่ นสังคม จึงมีบทบาทในการน�ำ ข่าวดีไปสู่สังคมตามกระแสเรียกที่เราได้รับ

การประกาศข่าวดี เป็นหน้าที่ส�ำหรับเรา คริสตชนทุกคน ข่าวดีคือ ความรักที่องค์พระเจ้า ทรงประทานให้ผ่านทางองค์พระคริสตเจ้า หาก เราคริสตชนหันกลับมามองในงานด้านสังคมของ พระศาสนจักร ซึ่งเป็นหนทางที่จะน�ำข่าวดีของ พระคริสตเจ้าไปสู่เพื่อนพี่น้องทุกคน การน�ำข่าวดีของพระคริสตเจ้าไปสู่สังคม พระศาสนจักรมุ่งเน้นไปที่ตัวบุคคล (มนุษย์) ซึ่งเรา จะเห็นได้ชดั เจนในค�ำสอนของพระศาสนจักรทุกฉบับ 24

หากพี่ น ้ อ งติ ด ตามการท� ำ งานของพระ ศาสนจักรในประเทศไทย ขณะนี้ สภาพระสังฆราช แห่งประเทศไทยก�ำลังจะจัดให้มกี ารสมัชชาใหญ่ครัง้ ที่ 1 ค.ศ. 2015 ในหัวข้อ “ศิษย์ของพระคริสตเจ้า เจริญชีวิตการประกาศข่าวดีใหม่” และในขณะ นี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการประชุมสมัชชา ทาง สภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทย ได้ออกเอกสาร เพื่อการไตร่ตรองเตรียมการประชุมสมัชชา (LINEAMENTA) ในเอกสาร เชิญชวนให้คณะกรรมการผู้ ด�ำเนินงาน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ไตร่ตรองในเรือ่ ง 1. สิ่งท้าทายต่อความเชื่อในบริบทสังคมไทย 2. การเจริญชีวติ เป็นจิตหนึง่ เดียวในพระอาณาจักร ของพระเจ้าในยุคปัจจุบัน 3. การประกาศข่าวดีในบริบทสังคมไทย ฯลฯ


จากประสบการณ์การท�ำงาน และแนวคิด ของพระศาสนจักรสัน้ ๆ ทีน่ ำ� เสนอมาข้างต้น เป็นการ ตอกย�้ำให้เห็นถึงหนทางแห่งการประกาศข่าวดีใน พระศาสนจักรสากลและพระศาสนจักรท้องถิ่นใน ประเทศไทย

ดังนั้น จึงขอพี่น้องทุกท่านให้ความเอาใจใส่ ต่อบทบาทของตน ในการศึกษาสมณสาสน์ของพระ ศาสนจักร การร่วมมือ และติดตามงานการประกาศ ข่าวดีในสังคม เพราะเราทุกคนด�ำเนินชีวติ อยูใ่ นสังคม เพื่อน�ำข่าวดีแห่งความรักของพระไปสู่มนุษยชาติ

วันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 คุณพ่อชัยศักดิ์ ไทยสนธิ ผู้อ�ำนวยการแผนกสุขภาพอนามัย สังฆมณฑลจันทบุรี ซิสเตอร์ ขวัญเรียม เพียรรักษา และซิสเตอร์นงลักษณ์ สันจิตร เข้าร่วม ประชุม เพื่อรายงานกิจกรรมและวางแผนการจัดกิจกรรม กับ กลุม่ เวชบุคคลคาทอลิกระดับชาติ โดยมีคณ ุ พ่อไพรัช ศรีประเสริฐ จิตตาภิบาลกลุ่มเวชบุคคลคาทอลิกระดับชาติ น�ำการประชุม

แถลงข่าว กับเลขารัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ที่ กรุงธากา บังคลาเทศ เรือ่ งช่วยเหลือลูกเรือบังคลา เทศ เหยื่อโจรสลัดโซมาเลียกลับประเทศได้ 7 คน

วันที่ 6-10 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ศูนย์สังคมพัฒนา เป็นผูเ้ อือ้ กระบวนการ การเข้าค่ายสัมผัสชีวติ และร่วมชีวติ ชนบท จังหวัดสระแก้ว ให้กับทางมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา โดยมีครูเข้าร่วม 4 คน นักเรียน 33 คน กิจกรรม นี้จัดเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงด้วยการเห็นของ จริงพร้อมทั้งการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศการเรียนรู้และการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของเด็ก วันที่ 3-4 มิถนุ ายน ค.ศ. 2014 คุณพ่อเกียรติศกั ดิ์ รุง่ เรือง คุณพ่อเอกภพ ผลมูล คุณพ่อเอกราช สุขชาติ คุณพ่ออันเด ไชยเผือก เจ้าหน้าทีศ่ นู ย์ และกลุม่ อาสา สมัครดูแลผู้สูงอายุ ร่วมศึกษาดูงาน ที่บ้านศูนย์ธาร ชีวิต และมูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา รวมผู้เข้าร่วม ทั้งหมด 13 คน 25


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

ท�ำไม

ต้องล้างบาปให้ลูกหลานเราตั้งแต่เด็ก? สวัสดีครับ ท่านผูต้ ดิ ตามสายใยจันท์ทรี่ กั ฉบับ ที่แล้ว เราพูดคุยกันถึงเรื่องเหตุผลของคริสตชน ใน การไปวัดวันอาทิตย์ ฉบับนีจ้ งึ ขอพูดเกีย่ วกับ การเข้า เป็นคริสตชน ทีเ่ ริม่ ต้นจากการรับศีลล้างบาปกันบ้าง “ศีลล้างบาปเป็นพระหรรษทานที่ ช�ำระเราจากบาปและเปิดให้เราเข้าสูอ่ นาคต ใหม่ เป็นอ่างล้างซึ่งช�ำระและท�ำให้เกิดใหม่ อีกครั้ง เป็นการเจิมซึ่งท�ำให้เราเป็นเหมือน พระคริสต์ เป็นสงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ เป็นการส่องสว่างซึ่งท�ำให้ย่างก้าวแห่งชีวิต ของเราชัดเจน เป็นการสวมความเข้มแข็งและ ความครบครัน ศีลล้างบาปเป็นเครื่องหมาย ซึ่งพระเจ้าเข้าถึงชีวิตของเรา ท�ำให้ชีวิตเรา สวยงาม และเปลีย่ นประวัตศิ าสตร์แห่งชีวติ ของเรา ให้เข้าร่วมส่วนในประวัติศาสตร์อัน ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์” พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 26

“คริสตังนอน” คงเป็นค�ำที่เราได้ยินกันอยู่ บ่อย ๆ เมือ่ พูดถึงศีลล้างบาป แล้วคริสตังนอนมีความ หมายและความส�ำคัญส�ำหรับคริสตชนอย่างไรบ้างล่ะ คริสตังนอน คือ? บุคคลที่เข้าเป็นคริสตชนด้วยการล้างบาป ตั้งแต่เป็นทารก ทารกที่เกิดมา เป็นความชื่นชมยินดีส�ำหรับ ทุกท่าน และทุกครอบครัว พวกเขาจะตัดสินใจร่วม กัน เพื่อขอท�ำพิธีล้างบาป และเลือกศาสนนาม(ชื่อ นักบุญ)ให้กับทารก ก�ำหนดวันกับทางวัดเพื่อท�ำพิธี สิง่ ทีพ่ วกเขาแสดงออกนัน้ เป็นการแสดงความตัง้ ใจ ที่จะให้ทารกได้รับพิธีล้างบาปจริง ๆ @ แล้วท�ำไม พวกเขาจึงปรารถนาให้บรรดา บุตรหลานรับศีลล้างบาป? - เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของครอบครัวหรือ - เพราะเป็นความปรารถนาของปู่ยาตายายหรือ @ แล้วท�ำไมบุตรหลานของพวกเขา ต้องมี ศาสนาด้วยล่ะ? - อยากให้คุณค่าที่ดีในชีวิตพวกเขาหรือ - อยากให้พวกเขามีสภาพแวดล้อมที่ดีเท่านั้นหรือ


แน่นอน ทุกค�ำถาม ทุกค�ำตอบ และทุก เหตุผลที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งดี ควรได้รับการเคารพ และยอมรับ แต่ส�ำหรับเราคริสตชนต้องตระหนักรู้ และมีความคิดที่ดีกว่านั้น ในการรับศีลล้างบาป พ่อ แม่และสมาชิกในครอบครัว จะได้ยืนยันถึงความ วางใจในองค์พระคริสต์ ซึ่งความรักอันยิ่งใหญ่และ ลึกซึ้งของพระองค์นั้น ยิ่งใหญ่กว่าความรักที่พวก ท่านมีต่อพระองค์เสียอีก -โดยทางศีลล้างบาป บุตรหลานของท่าน จะได้เข้าเป็นสมาชิกใน “ครอบครัวของพระเจ้า” -พวกเขาจะเป็นของพระคริสตเจ้า พระผู้ เป็นเจ้าที่พวกเขาได้เชื่อ -เป็นความประสงค์ให้พวกเขาได้รบั รูถ้ งึ “ความ รักของพระเจ้าพระบิดา” ตั้งแต่พวกเขาเป็นเด็ก สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุด เพราะ ท�ำให้พวกเขาได้เริ่มต้นจากตัวพวกเขาและด�ำรงอยู่ ตลอดไปในตัวพวกเขา ตามพระวรสารพระเยซูเจ้า ที่ทรงยืนยันว่า พระเจ้าทรงรักเด็ก ๆ ดังพระวาจา ว่า “ปล่อยเด็กเล็ก ๆ มาหาเราเถิด อย่าห้ามเขา เลย เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของคนทีเ่ หมือน เด็กเหล่านี้”(มธ 19,14) การให้อิสระในการเลือก ? พ่อแม่หลายท่านไม่เลือกล้างบาปให้ลกู ตัง้ แต่ เกิด เพราะมีความคิดว่า “อยากให้ลูก ๆ ได้เลือก นับถือศาสนาเองในอนาคต” ส�ำหรับคริสตชน ความ คิดเช่นนีเ้ ป็นสิง่ ผิด เพราะการอบรมสัง่ สอนความเชือ่ ให้บรรดาลูก ๆ ตัง้ แต่เด็กนัน้ เป็นการปลูกฝังให้พวก เขาได้ซมึ ซับขุมทรัพย์แห่งความเชือ่ ทีม่ คี ณ ุ ค่ามากทีส่ ดุ และตระหนักในคุณค่านั้นว่า พระคริสต์เป็นสุดยอด แห่งชีวิตของพวกเขา หากพ่อแม่ไม่เลือกให้ลูกของ

ตนแล้ว ก็ยอ่ มแสดงให้เห็นว่า ความเชือ่ เหล่านัน้ ไม่มี คุณค่า ไม่น่ายินดี และไม่น่าถ่ายทอดให้กับผู้อื่นเลย สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อุปสรรคขัดขวางการเลือก ของพวกเขา แต่นั่นกลับเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในความเชื่อ คริสตชนของพวกเขา เพื่อการเรียนรู้และปฏิบัติตน ด้วยเหตุและผลในอนาคต ภาระหน้าทีข่ องพ่อแม่ บรรดาสมาชิกในครอบครัว ! การท�ำพิธีล้างบาปให้กับลูก ๆ ของท่าน เป็นหน้าที่ ที่จะถ่ายทอดข่าวดีของพระคริสตเจ้าให้ แก่พวกเขา พ่อแม่จึงมีหน้าที่ให้การศึกษาตามแบบ อย่างของคริสตชนแก่ลูก ๆ เพื่อให้พวกเขาเติบโต ในความเชื่อต่อองค์พระคริสตเจ้าสืบไป ด้วยการพูด คุยกับพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซู อนุญาตให้พวกเขา ไปเรียนค�ำสอน ตลอดจนรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สิ่ง เหล่านี้ เป็นพันธกิจทีช่ ่วยกระตุ้นให้พวกเขามัน่ คงใน ความเชื่อมากยิ่งขึ้น อย่ากังวล พวกเขาจะไม่รสู้ กึ โดดเดีย่ ว พวกเขา จะได้รบั ความช่วยเหลือจากบรรดาพระสงฆ์ ซิสเตอร์ พ่อแม่ทนู หัว ปูย่ า่ ตายาย ครูค�ำสอน ฯลฯ ทีอ่ ยูร่ อบตัว เขา พ่อแม่ทหี่ า่ งไกลจากการด�ำเนินชีวติ แบบคริสตชน จะพบกับความชื่นชมยินดี ร่วมกับบรรดาลูก ๆ ของ เขา การกลับมามีความเชื่อ การลิ้มรสชาติแห่งการ ภาวนา และการร่วมในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ จะช่วย ให้ชีวิตของพวกเขาได้กลับเข้าสู่ชีวิตแห่งพระหรรษ ทานอีกครั้งหนึ่ง จึงขอให้พี่น้องคริสตชนทุกคน ใส่ใจกับการ มอบคุณค่าที่ดีของพระคริสตเจ้าให้กับลูกหลานของ เราตัง้ แต่ยงั เล็ก เพือ่ พวกเขาจะได้อยูใ่ นพระหัตถ์ของ พระองค์ตั้งแต่เริ่มชีวิตจนกระทั่งสิ้นชีวิต 27


ชีวิตคือพระพร “สันติสุขจงด�ำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” (ยน 20:21)

28


เราได้รบั การเรียกทีแ่ ตกต่างกันไป เรียกให้เป็นครู เป็นหมอ เป็นพนักงาน และอืน่ ๆ มากมาย สิง่ ทีเ่ ราได้รบั เรียกอาจจะท�ำให้เรารูส ้ กึ ไม่ตรงใจ แต่สงิ่ นัน้ เหมาะสมกับเราทีส ่ ด ุ บทเพลงสดุดที ี่ 104 เขียนไว้วา่ “...ถ้าพระองค์ทรงเรียกลมปราณกลับคืน สิง่ มีชว ี ต ิ ก็ตาย และกลับเป็นฝุน่ ดิน เมือ ่ พระองค์ทรงส่งพระจิตของพระองค์ลงมา สิง่ มีชว ี ต ิ ก็ถกู สร้างขึน้ ...” เราถูกสร้างจากพระจิตของพระเจ้า พระองค์ทรงล่วงรูว ้ า่ สิง่ ใดเหมาะสมและดีทส ี่ ด ุ ส�ำหรับเรา เพราะเราเป็นของพระองค์ มาจากพระองค์ และจะกลับไปหาพระองค์ พระพรพิเศษต่าง ๆ ทีพ ่ ระประทานให้เรานัน้ ก็แตกต่างกัน เพือ ่ ให้เราช่วยเหลือเกือ ้ กูลกัน การถูกเรียก มาพร้อมกับพระพรพิเศษเสมอ เพราะเมือ ่ เราถูกเรียกมาให้กระท�ำสิง่ ใดนัน้ เป็นเพราะเรามีพระพรพิเศษนัน้ ทีค่ นอืน่ ไม่มี หลายครัง้ ทีเ่ ราปฏิเสธทีจ่ ะน�ำพระพรนัน้ มาใช้ ด้วยเห็นว่าเป็นภาระอันหนักหน่วง พระเจ้าจะทรงริบพระพรนัน้ กลับคืน

ชีวต ิ คือพระพร...ทุกบทตอน คือการเรียก ขอเพียงลูก พึงส�ำเหนียก...ยินเสียงเรียก ของพระองค์ ท�ำตาม น�ำ้ พระทัย...กลัวสิง่ ใด พระประสงค์ มุง่ เดิน ในทางตรง....มีพระองค์ เป็นหลักชัย โดย น�้ำผึ้งหวาน 29


30


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 9

10

8

4

3 6

1

5

2

7

คำ�ใบ้ แนวนอน 1. องค์อุปถัมภ์ของวัดระยอง 5. นักบุญที่ระลึกถึงในวันที่ 28 สิงหาคม 6. นักบุญที่ระลึกถึงในวันที่ 11 สิงหาคม 7. นักบุญที่ระลึกถึงในวันที่ 4 ตุลาคม 8. 1 ในอัครสาวก 12 คน 9.-10. ชื่อของอัครเทวดา

แนวตัง้

2. นักบุญองค์อุปถัมภ์ของวัดพัทยา 3. ศาสนนามของพระคุณเจ้าเทียนชัย 4. 19 ปีของกลุ่ม....

31


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

วั ด 1 ปั วั 2 ส า ย ใ ย จั น ท์ ก ย 3 7 ยี่ สิ บ ห้ า 8 วั น อ า ทิ ต ย์ ม ว 9 ม ห า า 4 ก ลั บ คื น ชี พ 10พ ร ะ คั ม ภี ร์ ร ะ 5 ค อ น แ ช ร์ โ ต โ ก

สิ่งตีพิมพ์

6

32

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 12 ปีที่ 25 เดือนเมษายน 2014


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

33


34


35


36


37


38


39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.