สายใยจันท์ V.8

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

Vol.8 ธันวาคม 2012 ปีที่

23

• ท่านล่ะ คิดว่าเราเป็นใคร • ผม/ดิฉัน เป็นใคร • โฟโคลาเร สังฆมณฑลจันทบุรี • ของขวัญแห่งชีวิตและอนาคต • ผสานไว้ เป็นหนึ่งเดียว • กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้

ของขวัญ

ที่พระอง

ค์ประทา


สารบัญ

สายใยจันท์

ปีที่ 23 ฉบับที่ 8 / ธันวาคม 2012

สาส์นพระสังฆราช สิริพงษ์ จรัสศรี......................................... 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราช เทียนชัย สมานจิต.............................. 6 ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร(ตอนที่ 3)............................................. 8 ผม/ดิฉัน เป็นใคร?(ตอนจบ)................................................... 10 โฟโคลาเร สังฆมณฑลจันท์...................................................... 14 วิถีความเชื่อชาวเวียดนาม........................................................ 18 พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์...................................... 20 ครอบครัวภาวนา..................................................................... 23 บ้านลอเรนโซ ของขวัญแห่งชีวิตและอนาคต........................... 24 กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้..................................................... 26 ผสานไว้เป็นหนึ่งเดียว.............................................................. 28 วันวาร ล้วนมีความหมาย....................................................... 30 ปริศนาอักษรไขว้...................................................................... 31 ประมวลภาพกิจกรรม.............................................................. 33

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


Editor’s talk ก่อนพระเยซูเจ้าทรงบังเกิด ประกาศก อิสยาห์บทที่ 6:9 ได้บันทึกไว้ว่า “เพราะกุมารผูห้ นึง่ เกิดมาเพือ่ เรา บุตรชาย คนหนึ่งเป็นผู้ที่พระเจ้าประทานให้เรา สัญลักษณ์ แห่งการปกครองอยูบ่ นบ่าของเขา เขาจะได้รบั นาม ว่า “ทีป่ รึกษามหัศจรรย์” “พระเจ้าผูท้ รงอ�ำนาจ” “พระบิดานิรันดร” “เจ้าแห่งสันติ” ค�ำบันทึกของประกาศกอิสยาห์ ได้กลับกลาย เป็นจริง ได้รบั ยืนยันและเติมเต็มจากพระวรสารของ นักบุญยอห์น บทที่ 3 ข้อที่ 16 บันทึกไว้ว่า “พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมากจึงประทาน พระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์เพื่อทุก คนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศแต่จะมี ชีวิตนิรันดร” จากประกาศกอิสยาห์ ถึงพระวรสารของ นักบุญยอห์น จะเห็นได้ว่าพระเยซูเจ้าคือของขวัญ คริสต์มาสอันล�้ำค่า เป็นของขวัญที่ดีที่สุดที่พระ บิดาเจ้าได้ประทานให้กับเรา เหตุใดเราจึงมั่นใจว่า พระคริสตเจ้าเป็นของขวัญที่ล�้ำค่าที่สุดเพราะบท จดหมายของนักบุญยากอบบทที่ 1 ข้อที่ 17 บอกว่า

ด้วยความส�ำนึกในของขวัญชิ้นนี้ นักบุญ เปาโลจึงได้ “ขอขอบพระคุณพระเจ้า ส�ำหรับของ ประทานของพระองค์ ที่อยู่เหนือค�ำบรรยายทั้ง ปวง” (2 คร 9:15) เรา(คริสตชนจันทบุรี) ต้องส�ำนึกส�ำหรับ ของขวัญชิ้นนี้จากพระบิดาเจ้าด้วยเช่นเดียวกัน ให้ เราร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วขอบคุณพระบิดาเจ้า ด้วยค�ำว่า “WE BELIEVE” มอบให้พระองค์ ไม่ เพียงเปล่งเสียงว่า “เราเชือ่ ” เท่านัน้ แต่ตอ้ งใช้ชวี ติ ในแต่ละวันด้วยความเชือ่ เพือ่ จะได้เป็นพยานยืนยัน ถึงองค์พระคริสตเจ้าด้วย เหมือนอย่างทีเ่ ราประกาศ ความเชือ่ คริสตชนในวันเปิด “ปีความเชือ่ ” ทีผ่ า่ นมา สายใยจันท์ฉบับนี้ เนื้อหามีสาระเหมือนเดิม บทความดี ๆ ยังอยู่ครบถ้วน เชิญท่านพลิกไปอ่าน โดยพลัน ขอสุขสันต์วันคริสต์มาสและปีใหม่แด่พี่น้องทุกคน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

“ของประทานทุกอย่างที่ดีและบริบูรณ์ ย่อมมาจากเบือ้ งบน ลงมาจากพระบิดาผูท้ รงสร้าง ความสว่าง พระองค์ไม่ทรงเปลี่ยนแปลง ไม่ทรง มีแม้แต่เงาแห่งความแปรปรวนใด ๆ”

3


4


สาส์นพระสังฆราช

พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษที่รักในพระคริสตเจ้า สังฆมณฑลได้ประกาศเปิดปีแห่งความเชือ่ ไป แล้วเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2012 ในปีแห่งความเชื่อนี้ เราร่วมเดินทางกับพระศาสนจักรทัว่ โลกในการฟืน้ ฟู ชีวติ แห่งความเชือ่ คริสตชนให้มชี วี ติ ชีวา และสามารถ ถ่ายทอดความเชื่อนี้แก่เพื่อนพี่น้อง

ในปีแห่งความเชื่อ จึงขอเชิญพี่น้องได้เรียน รูแ้ ละท�ำความเข้าใจความเชือ่ ของเราให้ลกึ ซึง้ เฉลิม ฉลองความเชื่อในพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์อย่าง สม�่ำเสมอ ด�ำเนินชีวิตเป็นพยานถึงความเชื่อ และ ประกาศความเชื่อด้วยความชื่นชมยินดี

ในสาส์นอภิบาลโอกาสเปิดปีแห่งความเชือ่ ได้ ขึ้นต้นด้วยถ้อยค�ำว่า “Credo, Domine, adauge nobis ffiidem” ซึ่งแปลว่า “ข้าพเจ้าเชื่อ พระเจ้า ข้า โปรดทวีความเชือ่ ของเรา” การประกาศยืนยัน ความเชื่อว่า “ข้าพเจ้าเชื่อ พระเจ้าข้า” เป็นการ แสดงออกถึงการยอมรับพระเจ้าเข้ามาในชีวิต หรือ หมายถึงการกลับใจสู่ชีวิตใหม่ดังเช่นนักบุญเปโตร นักบุญเปาโล นักบุญโทมัส หรือนักบุญอีกหลาย ๆ องค์ในพระศาสนจักร ส่วนถ้อยค�ำ “โปรดทวีความ เชื่อของเรา” เป็นถ้อยค�ำที่บรรดาสาวกทูลพระเยซู เจ้าให้เพิม่ พูนความเชือ่ อันน้อยนิดของพวกเขาให้ทวี ยิ่งขึ้น ซึ่งต้องเป็นค�ำภาวนาของเราทุก ๆ วันเพื่อขอ พระเจ้าทวีความเชื่อของเราให้ด�ำเนินชีวติ ความเชือ่ คริสตชนด้วยความมั่นคงเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว

ขอถือโอกาสนี้ส่งความสุขคริสต์มาสและปี ใหม่แก่พี่น้องทุกท่าน ขอพระพรแห่งความรักและ สันติสขุ ของพระเยซูคริสตเจ้าสถิตอยูก่ บั ทุกท่านเสมอ

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี

5


ค�ำอวยพรพระสังฆราช

Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาสและสวัสดีปีใหม่ 2013 แด่บรรดาคุณพ่อ บราเดอร์ ซิสเตอร์ และพี่น้องคริสตชนที่รัก เนื่องในโอกาสวันคริสต์มาส ซึ่งคริสตชนทั่วโลกเฉลิมฉลองกันทุกปี ด้วยความชืน่ ชมยินดีไม่รเู้ บือ่ ให้เราสรรเสริญขอบพระคุณพระบิดาที่ “ทรงรัก โลกอย่างมาก จนถึงกับประทานพระบุตรแต่พระองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะได้ไม่พินาศ แต่จะมีชีวิตนิรันดร” (ยอห์น 3:16) บุตรพระเจ้าทรงบังเกิดเป็นบุตรมนุษย์ เพื่อให้บุตรมนุษย์เกิด ใหม่เป็นบุตรพระเจ้า เป็นทายาทของพระคริสตเจ้า พระบิดาทรงสละพระบุตร ของพระองค์เป็นของขวัญแก่เรามนุษย์ เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นเทศกาล แห่งความเสียสละแบ่งปันตามแบบฉบับพระบิดาเจ้า ให้เราแบ่งปันความรัก ความสุข ความยินดี สิ่งที่เราเป็นและสิ่งที่เรามีแก่กันและกัน โดยเฉพาะแก่ ผู้ยากไร้ ผู้มีทุกข์ คนเจ็บป่วย คนชรา เด็กก�ำพร้า ผู้ถูกทอดทิ้ง ฯลฯ และ ในปีแห่งความเชื่อ ให้เราแบ่งปันความเชื่อแก่กันและกันในครอบครัว ในที่ ท�ำงาน ในชีวิตสาธารณะ ทั้งคริสตชนและมิใช่คริสตชน ให้เราขอบพระคุณพระเป็นเจ้า ส�ำหรับวันเวลาที่พระองค์เมตตา ประทานแก่เรา ให้เราตัง้ ใจทีจ่ ะปรับปรุงชีวติ ให้ดขี นึ้ ขอให้ปใี หม่นี้ เป็นปีแห่ง ความก้าวหน้า ปีแห่งการกลับใจ นักบุญออกัสตินกลับใจเพราะข้อความใน พระคัมภีร์ว่า “เราจงด�ำเนินชีวิตอย่างมีเกียรติเหมือนกับเวลากลางวัน มิใช่กินเลี้ยงเสพสุราเมามาย มิใช่ปล่อยตัวเสพกามอย่างผิดศีลธรรม มิใช่ววิ าทริษยา แต่จงด�ำเนินชีวติ โดยสวมพระเยซูคริสตเจ้าเป็นอาภรณ์ อย่าท�ำตามความต้องการของเนื้อหนัง” (รม 13:13-14) ขอให้พระวาจา ของพระเจ้าเปลี่ยนแปลงชีวิตเราเช่นกัน ขอครอบครัวศักดิ์สิทธิ์อ�ำนวยพรเราทุกคน ทุกครอบครัว ทุกหมู่ คณะ ให้มีความเชื่อ ความหวัง ความรัก ความสุขสันติทั้งกายและใจ ตลอด เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ และตลอดไป

6


Happy New Year 2013 อวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


“ท่านล่ะ

” คิดว่าเราเป็นใคร?

(มธ 16:15)

คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมตอนที่ 2 ชือ่ ของพระเยซูเจ้ามีมากมายหลายชือ่ ขึน้ อยูว่ า่ บรรดาสานุศษิ ย์สมั ผัสกับพระเยซูเจ้าในชีวติ ของพวก เขาอย่างไร ฉบับนี้เข้าสู่ชื่อของพระเยซูเจ้าในรูปของสัญลักษณ์ เมื่อพูดถึงสัญลักษณ์ เข้าใจได้เลยว่า หมาย ถึงพระเยซูเจ้า ตามมาดูกัน... ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “ศิลา, ศิลาหัวมุม, ศิลาที่ถูกทิ้ง”

• 1 โครินธ์ 10:3-4 ทุกคนดื่มเครื่องดื่มฝ่ายจิตอย่างเดียวกัน เพราะพวกเขาดื่มน�้ำจากศิลา ซึ่งติดตาม พวกเขาไป ศิลานั้นคือพระคริสตเจ้า • กิจการอัครสาวก 4:11 พระเยซูเจ้าองค์นี้ทรงเป็นศิลา ซึ่งท่านทั้งหลายผู้เป็นช่างก่อสร้างขว้างทิ้งเสีย แต่ได้กลายเป็น ศิลาหัวมุม • 1 เปโตร 2:4-8 จงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็น ศิลาทรงชีวิต ซึ่งมนุษย์ละทิ้งไป แต่พระเจ้าทรงเลือกสรร ไว้และมีคา่ ประเสริฐ ท่านเป็นเหมือนศิลาทีม่ ชี วี ติ ก�ำลังก่อสร้างขึน้ เป็นวิหารของพระจิตเจ้า เป็นสมณตระกูล ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อถวายเครื่องบูชาฝ่ายจิต ซึ่งเป็นที่สบพระทัยของพระเจ้า เดชะพระเยซูคริสตเจ้า ดังที่มีเขียน ไว้ในพระคัมภีร์ว่า “เราเลือกศิลาประเสริฐและวางไว้ในนครศิโยน เป็นศิลาหัวมุม ทุกคนที่มีความเชื่อในศิลานี้ จะไม่ต้องอับอายเลย” ส�ำหรับท่านผู้มีความเชื่อ ศิลานี้จึงมีค่าประเสริฐ แต่ส�ำหรับผู้ที่ไม่มีความเชื่อ ศิลา ที่ช่างก่อสร้างละทิ้งก็กลายเป็น ศิลาหัวมุม เป็นศิลาที่ท�ำให้สะดุดและเป็นศิลาที่ท�ำให้ล้มลง เขาเหล่านั้นสะดุด เพราะไม่ยอมเชื่อฟังพระวาจา นี่เป็นชะตากรรมของพวกเขา แม้แต่ในพระธรรมเดิมก็ยังมี.. • ปฐมกาล 49:24 แต่ธนูของเขายังมั่นคงอยู่ ล�ำแขนของเขาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เดชะพระหัตถ์ของ พระเจ้าผู้ทรงอานุภาพแห่งยาโคบ เดชะพระนามของผู้เลี้ยงแกะ คือศิลาแห่งอิสราเอล 8


• เฉลยธรรมบัญญัติ 32:4 พระองค์ทรงเป็นศิลา พระราชกิจของพระองค์ก็ดีพร้อม หนทางทั้งหลาย ของพระองค์ล้วนเที่ยงธรรม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ซื่อสัตย์ ไม่ทรงหลอกลวง พระองค์ทรงความ เที่ยงธรรมและยุติธรรม • เฉลยธรรมบัญญัติ 32:15, 18, 30-31 [15]ยาโคบได้กินจนอิ่ม เยชูรูนอ้วนพีขึ้นแล้วพยศ ใช่แล้ว ท่าน กินอิม่ อ้วนท้วน มีแต่ไขมัน เขาละทิง้ พระเจ้าผูท้ รงสร้างเขามา ลบหลูศ่ ลิ าซึง่ เป็นความรอดพ้นของเขา [18] ท่านไม่ใส่ใจศิลาที่ให้ก�ำเนิดท่าน ท่านลืมพระเจ้าที่ท�ำให้ท่านเกิดมา [30]เป็นไปได้อย่างไร ที่คนเดียวจะขับไล่คน นับพันหรือคนสองคนจะขับไล่คนนับหมื่น ถ้าไม่ใช่เพราะเราซึ่งเป็นศิลาได้ขายอิสราเอลเสีย เราซึ่งเป็นพระ ยาห์เวห์มอบเขาแก่ศตั รู [31]บรรดาศัตรูนา่ จะเข้าใจว่า พระผูป้ กป้องเขาไม่เหมือนเราซึง่ เป็นศิลาแห่งอิสราเอล • 1 ซามูเอล 2:2 ไม่มีผู้ใดศักดิ์สิทธิ์เหมือนพระยาห์เวห์ (ไม่มีผู้ใดอื่นนอกจากพระองค์) ไม่มีศิลาใดเหมือน พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย • 2 ซามูเอล 22:2-3 มีใจความว่าพระยาห์เวห์ทรงเป็นหลักศิลาก�ำบัง และป้อมปราการของข้าพเจ้าทรงเป็น ผู้ช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้น ข้าพเจ้าลี้ภัยอยู่ในพระเจ้า ผู้ทรงเป็นหลักศิลาของข้าพเจ้า ทรงเป็นโล่ก�ำบัง เป็น พลังแห่งความรอดพ้นของข้าพเจ้า เป็นที่มั่น เป็นที่ลี้ภัยของข้าพเจ้า ข้าแต่พระผู้ไถ่ของข้าพเจ้า พระองค์ ทรงช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้นจากผู้ใช้ความรุนแรง ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “ผู้เลี้ยงแกะ”

• ยอห์น 10:11, 14 [11]เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน [14]เราเป็นผู้เลี้ยง แกะที่ดี เรารู้จักแกะของเราและแกะของเราก็รู้จักเรา และเช่นกันในพระธรรมเดิม... • ปฐมกาล 48:15-16 แล้วอวยพรโยเซฟว่า “พระเจ้า ซึ่งอับราฮัมและอิสอัค บิดาของข้าพเจ้าได้รับใช้อยู่ เสมอ พระเจ้าผูท้ รงน�ำข้าพเจ้า อย่างผูเ้ ลีย้ งแกะ ตัง้ แต่ขา้ พเจ้าเกิดจนถึงวันนี้ ทูตสวรรค์ผทู้ รงช่วยข้าพเจ้า ให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง ขอพระองค์ทรงอวยพรเด็กทั้งสองนี้ ขอให้นามของข้าพเจ้า นามของ อับราฮัมและอิสอัค บิดาของข้าพเจ้า ด�ำรงอยู่ต่อไปในเขาทั้งสอง และให้เขาทวีจ�ำนวนมากมายบนแผ่นดิน” • สดุดี 23:1 พระยาห์เวห์ทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าอย่างผู้เลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจึงไม่ขาดสิ่งใด • สดุดี 80:1-2 ข้าแต่ผเู้ ลีย้ งแห่งอิสราเอล โปรดทรงฟังเถิด พระองค์ทรงน�ำโยเซฟไปประดุจฝูงแกะ พระองค์ ประทับบนบัลลังก์เหนือเหล่าเครูบ โปรดทอรัศมี ลงมาเหนือเอฟราอิม เบนยามิน และมนัสเสห์ โปรดทรง ปลุกพระอานุภาพ เสด็จมาช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายให้รอดพ้น • ปฐมกาล 49:24 แต่ธนูของเขายังมั่นคงอยู่ ล�ำแขนของเขาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เดชะพระหัตถ์ของ พระเจ้าผู้ทรงอานุภาพแห่งยาโคบ เดชะพระนามของผู้เลี้ยงแกะ คือศิลาแห่งอิสราเอล 9


?

ผม/ดิฉัน เป็นใคร ในพระศาสนจักร

โดย ปอลแมรี่ สุวิช สุวรุจิพร

ถ้าเราบอกกับตัวเองว่า “เราไม่รู้ว่าเราเป็นใคร” ก็เปรียบเสมือนกับว่า “เราไม่รู้ว่าเราจะท�ำอะไรกับชีวิตของเราเอง?” • หน้าที่และบทบาทในฐานะคริสตชน โดยทางศีลล้างบาป และศีลศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ ง ๆ เราเป็นคริสตชน และเป็นอวัยวะของพระกายทิพย์ (Mystical Body) ขององค์พระเยซูคริสต์ เป็น สมาชิกของพระศาสนจักร (The Church) โดยมี ส่วนร่วมในชีวติ ของพระเยซูคริสต์ ในศักดิค์ วามเป็น สงฆ์ ประกาศกและกษัตริย์ (ส่วนร่วมในการสานต่อ งานสร้างของพระเจ้า – co-creation)

พระศาสนจักร (Ekklesia = ex + kaleo (เรียก – call) คือ ประชากรพระเจ้าทีถ่ กู เรียกให้มารวมกัน ก่อตัวเป็นเครือข่าย (network) ของความสัมพันธ์ทแี่ ท้ จริงระหว่างบุคคล (ระหว่างสมาชิกพระศาสนจักร) เพราะถ้าขาดคุณสมบัตขิ อ้ นีแ้ ล้ว การเป็นอยู่ (existence) ที่แท้จริงของพระศาสนจักรจะยังไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุนี้ พระศาสนจักรคือที่ที่ “ความ เป็นจริง (reality) ขององค์พระเยซูคริสตเจ้า” ผ่านทาง 10

พระจิตเจ้า: • เป็นอยู่ (exists, is made present) • ตอบรับด้วยความเชื่อ (accepted in faith) • เป็นจริงในความรัก (realized in love) พระศาสนจักรด�ำเนินชีวิตตามจังหวะ (ตาม การน�ำ) ของพระจิตเจ้า ทั้งในหนทางแห่งความคิด สร้างสรรค์ และการตอบรับเหตุการณ์ที่มา ที่เกิด ขึ้น (improvisation) ซึ่งท�ำให้ชุมชนคริสตชนมีรูป แบบของการเปลี่ยนแปลงฟื้นฟู และเชื่อมสัมผัสกับ ผู้อื่นและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ (improvisional and outgoing) เพราะเหตุนี้ พระศาสนจักร (ด้วยความส�ำนึก ถึงแหล่งก�ำเนิด และคุณลักษณะของตน) จึงต้องก้าว เดินด้วยความกล้าหาญ ก้าวเดินสู่อนาคตที่เรายังไม่ สามารถมองเห็น อนาคตที่น�ำมาซึ่ง สิ่ง/ เหตุการณ์/ สภาพใหม่ และบ่อยครั้งที่เราไม่สามารถคาดค�ำนึง ถึงได้ล่วงหน้า หรือคิดว่ามันเป็นไปได้ สภาพเช่นนี้ มีผลกระทบ (repurcussions) ต่อคริสตชนในฐานะ บุคคลทุกคนด้วย


Who Am I ?

ประวัตศิ าสตร์ของพระศาสนจักรเป็นพยาน ถึงเหตุการณ์แห่งการดลใจของพระจิตเจ้า ที่ปลุก ที่ เขย่า คริสตชนให้ตนื่ ตัว (ในฐานะบุคคลแต่ละคน) กับ ชุมชนคริสตชน กับพระศาสนจักรส่วนรวม ที่เรียก ร้องการเป็นพยานอย่างเด่นชัดต่อพระวรสารของ พระเยซูคริสต์ ในเหตุการณ์ดลใจของพระจิตเจ้านี้ ส่วน ใหญ่เกี่ยวข้อง เกิดขึ้นกับคริสตชนในฐานะบุคคลที่ เปิดหัวใจตนเองต่อการพยากรณ์ (prophecy) ต่อ เครื่องหมายแห่งกาลเวลาที่พระจิตเจ้าทรงน�ำ แต่ บุคคลพิเศษเหล่านี้จะไม่สามารถก่อเกิดผลดีถ้าหาก ท่านเหล่านัน้ ไม่สามารถก่อเกิดความเป็นหนึง่ เดียวกัน การรวมคริสตชน/คน เข้าด้วยกัน (collectiveness) การ “เคลื่อน” (move) ประชาชน (people) สู่เป้า ของการดลใจนั้น เพราะเหตุนี้พระศาสนจักรจึงมีพันธกิจที่จะ น�ำพาคริสตชน (และทุกคน) ที่จะด�ำเนินชีวิตประจ�ำ วันของคน (หญิง-ชาย) ด้วยความส�ำนึกที่ไวเป็น พิเศษต่อผู้อื่น ต่อการปฏิเสธตัวเองส�ำหรับผู้อื่น ที่ พระจิตเจ้าน�ำมาให้พบปะรู้จักด้วย

กิจการ กิจกรรมของคริสตชนจึงมิใช่อนื่ ไกล นั่นก็คือสิ่งที่เราท�ำ เราปฏิบัติเป็นประจ�ำตามกระแส เรียกในโลก นั่นคือ:• ท�ำมาหากินเลี้ยงชีพ เลี้ยงครอบครัว (earning a living) • ดูแล เฝ้าอบรมลูก • เป็นมิตร กับทุกคน • สนุกสนานกับชีวิต

• ฉลองโอกาสพิเศษในชีวิต • ท�ำสวน ท�ำนา • ท�ำงานในโรงงาน • ท�ำมาค้าขาย • สร้างบ้าน สร้างเมือง • รักษาคนป่วย • ไว้ทุกข์ ภาวนาแก่ผู้สิ้นชีวิต • ดูแล ปลอบคนตกทุกข์ยาก • เรียนหนังสือ ค้นคว้า แสวงหาความรู้ • เพลิดเพลิน เล่น ฟัง ดนตรี ฯลฯ

พูดง่ายๆ นัน่ คือคริสตชนทุกคนต้องพยายาม ค้นหาพระประสงค์ของพระเจ้าในกิจการ กิจกรรม ต่างๆ เหล่านี้ และร่วมมือกับพระองค์ที่จะมีส่วนร่วม ในความรับผิดชอบแก่คนอื่นด้วย คุณพ่อคาร์ล ราห์เนอร์ กล่าวไว้ว่า ความ เป็นคริสตชนในอนาคตนั้น มิได้อยู่ตรงภาพลักษณ์ที่ แสดงออกว่า เป็นสังคมของคริสตชนอย่างกลมกลืน กัน แต่จะอยู่ตรงวิธีการแสดงออกแบบถ่องแท้ของ การเป็นพยาน : “การเป็นพยานของชีวิตคริสตชน ของชุมชนคริสต์ที่แท้จริง ที่ส�ำนึก ที่คาดการณ์ ล่วงหน้าจากจิตส�ำนึกอย่างเป็นรูปธรรมว่า ความ เป็นคริสตชนต้องปฏิบัติอย่างไร?” เพราะฉะนัน้ การเป็นคริสตชนแพร่ธรรมจึง เป็นการแสดงออกของบทบาทของคริสตชนในพระ ศาสนจักร ไม่วา่ จะได้รบั หน้าทีค่ วามรับผิดชอบกิจการ ใดก็ตามว่า เขา/เธอ จะเป็น“เจ้าของ”โครงการ นั้น ๆ ที่สามารถให้ความหวัง และ ความมีศักดิ์ศรี แก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง 11


Who

แต่อย่างไรก็ตาม พระอาณาจักรบนโลกนี้ มักมีความมืดมนอยู่เสมอ เหตุผลเพราะเป้าหมาย ของความหวังของมนุษย์ก็คือ พระเจ้า ซึ่งเป็นรหัส ธรรมเร้นลับลึกล�้ำ ณ ใจกลางของชีวิตมนุษย์ที่เรา พยายามหาค�ำตอบต่อค�ำถามมากมายของเรา แต่ เรายังไม่ได้รับค�ำตอบนั้น ๆ เรารู้ว่ามีบางสิ่งบาง อย่างขาดหายไป เรารู้ว่าเรายังก�ำลังเสาะแสวงหา หนทางสู่ความหวังที่แท้จริง ป้ายชี้ทางสู่ความหวังที่แท้จริงก็คือ การที่ บุคคลคนหนึ่งเตรียมพร้อมที่จะสนองตอบการเรียก ร้องให้ชว่ ยเหลือจากเพือ่ นมนุษย์แม้กระทัง่ ในระดับที่ เราคาดคิดไม่ถงึ มาก่อน ด้วยความหวัง ประสบการณ์ ชีวิตที่ดีงาม และค�ำมั่นสัญญาของรหัสธรรมเร้นลับ ลึกล�้ำที่จะอุ้มชูชีวิตของเรา ความหวังทีแ่ สดงออกด้วยชีวติ คริสตชนเริม่ เปล่งแสง แสดงให้เราเห็น ได้รบั รูแ้ ม้เพียงริบหรี่ หรือ เพียงเล็กน้อยก็ตาม ถึงพระอาณาจักรพระเจ้าทีจ่ ะมา ถึงว่าเป็นอย่างไร พระนามต่าง ๆ ที่พระศาสนจักร ตั้งให้กับองค์พระเยซูคริสต์ ข้อค�ำสอนแห่งความ เชื่อ รูปแบบของพระศาสนจักรที่พระศาสนจักรชี้ให้ คริสตชนรับรูถ้ งึ ส่วนร่วมของเราในชีวติ พระเจ้าต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นความพยายามทีจ่ ะน�ำคริสตชนให้รบั รู้และหวังด้วยความมั่นใจถึงพระอาณาจักรพระเจ้า ในศูนย์กลางของชีวิตมนุษย์ มี “ความตึง” (tension) ของชีวิตเสมอ ซึ่งถูกขนานนามว่า เป็น “ความกลัว ความวิตกว่าตนเอง ไม่มคี วามส�ำคัญ” (fear of insignificance) ความตึงนี้ สะท้อนธรรมชาติ ของมนุษย์ ณ หัวใจของชีวิต มนุษย์มีสัญชาติญาณ แห่งภาพลักษณ์ (symbolic identity) ทีจ่ ะน�ำตัวเอง ออกจากธรรมชาติของตนสู่ความสูงส่งยิ่งขึ้นเสมอ 12

มนุษย์เป็น“คนที่มีใบหน้า”(symbolic self) เป็นสิ่ง สร้างทีม่ ชี อื่ (แต่ละคน) มีประวัตชิ วี ติ ของตนเองเป็น เอกลักษณ์ และในขณะเดียวกันมนุษย์เป็นผูส้ ร้างทีม่ ี ความคิด มีสติปญ ั ญาทีส่ ร้างสรรค์ สามารถคิด ค�ำนวณ ไตร่ตรอง จินตนาการ หาค�ำตอบ จุดประกาย สร้าง สิง่ ใหม่ตา่ งๆ นานา นับแต่อะตอมจนถึงความนิรนั ดร ภาพ (infinity).แต่ในขณะเดียวกัน มนุษย์ก็เป็นเพียง แต่ตวั หนอน (worms) และเป็นอาหารส�ำหรับหนอน มนุษย์จึงมีชีวิตอยู่ระหว่าง “ความตึง” (tension) ของสองขั้วนี้.....ชีวิตภายในมีอิสรภาพ ให้ความคิด จินตนาการ และการเอื้อมมือไขว่คว้าภาพลักษณ์ที่ สวยหรูมากมาย แต่รา่ งกายของเขาเอง (มนุษย์) กลับ เหนีย่ วรัง้ ผูกมัดเขาไว้ (กับโลก)....... “ความตึง” ของ ชีวิตจึงเกิดขึ้นเมื่อเราพยายามที่จะ “เป็น” ในสิ่งที่ เราไม่สามารถเป็นได้ เมือ่ เราแสร้ง “เป็น” อย่างอืน่ นอกเหนือจากทีเ่ รา “เป็น” จริงๆ สภาพความเป็นอยู่ ของชีวิตมนุษย์เยี่ยงนี้เลวร้ายมากขึ้นในระดับสังคม ชุมชน เมือ่ อุดมคติทางการเมือง การโฆษณาชวนเชือ่ ทางการเมือง (political ideology) ไปสร้างความ หวัง ลมๆ แล้งๆ ในจิตใจของหมู่ประชากร (mass) ให้มีความหวังในชีวิตที่ดีขึ้น (utopia) โดยไม่ได้สร้าง แนวทาง หนทาง สูค่ วามเป็นจริงของค�ำสัญญา ของ ความหวังนั้นๆ

?

วิกฤติส่วนตัวในชีวิตมักจะรุนแรงเสมอ แต่ มันไม่จำ� เป็นจะต้องท�ำให้ชวี ติ เราแตกหักหรือเสียสติ อารมณ์ที่รุนแรงที่เกิดจากวิกฤติชีวิตสามารถเป็น เครื่องมือดึงเราออกจากความคิด ความเชื่อที่ผิด ๆ และน�ำตัวเราสู่ชีวิตที่ดีกว่า ที่มีผลดีมากกว่า เรา สามารถกลายเป็นบุคคลที่เข้มแข็งกว่า ที่ดีกว่าเดิม

ความยากล�ำบาก ความทุกข์ทรมาน หรือ ความว้าวุ่นทางจิตใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจ�ำ


Am I กับเราทุกคน เหตุการณ์ชวี ติ เช่นนีเ้ ป็นสิง่ สร้างสรรค์ (creative) ในตัวมันเอง มันสามารถช่วยเราปรับปรุง คุณภาพชีวิตภายในของเราได้ ความร�่ำรวยทางด้าน เศรษฐศาสตร์และความรูท้ ดี่ ไี ม่เป็นเครือ่ งประกันว่าเรา จะเป็นคนมีศีลธรรม มีบุคลิก อุปนิสัยที่ดี มีวุฒิภาวะ มนุษย์เราเติบโตโดยผ่านช่วงอายุทสี่ ำ� คัญทีว่ กิ ฤติเป็น ช่วง ๆ เมื่อเราก�ำลังผ่านวัยจากเด็ก เยาวชน เป็น ผู้ใหญ่ เมื่อเราแต่งงานด�ำเนินชีวิตคู่ เมื่อลูก ๆ เกิด และเลี้ยงดูอบรมเขา เมื่อเราสูงวัย ชราภาพ และ ก�ำลังจะตาย ความทุกข์ใจ ขุ่นเคืองใจ ก็ช่วยการ พัฒนาตัวเรา เพราะแก่นแท้ของบุคลิกของเราเติบโต เข้มแข็งได้ ก็ต้องผ่านความยากล�ำบาก ด้วยความ อดทน ความชาญฉลาด และความมุมานะมัน่ คง การ ที่เราจะได้ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อเราอยากได้ ณ เวลาที่ เราต้องการเสมอมิได้ช่วยพัฒนาตัวเราเลย ตรงกัน ข้ามความสมหวังนี้ กลับจะปิดโอกาสไม่ให้การพัฒนา ตัวเราเกิดขึ้นได้

?

การบรรลุวุฒิภาวะของชีวิตส่วนตัวของเรา ต้องอาศัยความทุกข์ทรมานจากการเผชิญวิกฤติชวี ติ ของเราเอง การแบกกางเขนประจ�ำวันเป็นฐานของ ความตระหนักของคริสตชนทีว่ า่ เพือ่ ทีจ่ ะเข้าใจความ จริงของพระคัมภีร์ พระวาจา อย่างถ่องแท้ เราต้อง มีประสบการณ์กับกางเขนในชีวิตเรา บนกางเขนพระบุตรทรงไถ่กู้ และน�ำศักดิศ์ รี ความเป็นลูกพระกลับมาให้แก่มนุษยชาติ ด้วยความ นบนอบยอมรับน�ำ้ พระทัยพระบิดา พระพักตร์ทแี่ ท้จริง ของพระเจ้าถูกเผยในพระเจ้าที่ถูกตรึงกางเขน (the Crucified) ความนบนอบทีเ่ ปีย่ มด้วยความรักขององค์ พระคริสต์เป็นแบบอย่างของมนุษย์ที่ครบบริบูรณ์ (the perfect self) แก่คริสตชนทุกคน เหตุการณ์ที่ พระคริสต์เผชิญ ณ กัลวารีโอก่อก�ำเนิดและเผยให้

มนุษย์ได้เห็นพระเจ้า และความเข้าใจที่สืบต่อเนื่อง ที่เกี่ยวกับผู้ถูกตรึงกางเขน – พระคริสต์ กัลวารีโอเผยพระเจ้าที่รับใช้สิ่งสร้างของ พระองค์ด้วยความรักเมตตา ที่รักษา ที่รวบรวม ชุมชนเป็นหนึ่งเดียว เป็นพระเจ้าพระองค์เองที่มอบ ชีวติ ของพระองค์แก่ประชากรของพระองค์ผา่ นพระ สมณะสูงสุดทีถ่ กู ประหาร กัลวารีโอแสดงการเป็นผูร้ บั ใช้ของพระเจ้าผ่านองค์พระคริสต์ผนู้ ำ� ทิศทางส�ำหรับ ความเชื่อและกิจกรรมของคริสตชน การกลับใจ หมายถึง : ในอันดับแรก ปล่อยให้พระเจ้าเข้ามาครอบครองสถานที่ ที่เป็น ของพระองค์ในชีวิตของเราแต่ละคน • เริ่ม ดู มอง และ เห็น ชีวิตนี้ด้วยสายตาของ พระเจ้า • สลัดความมั่นใจในตัวเอง การพึ่งตัวเอง • ยอมรับว่า มนุษย์ต้องการพระเจ้า เพื่อจะตอบ รับน�้ำพระทัยพระองค์อย่างซื่อสัตย์ อีกนัยหนึ่ง การกลับใจ ก็คือความสุภาพที่ ตอบรับความรักของพระเจ้า ทีเ่ อ่อล้นจนเป็นต้นเหตุ ของแผนการสร้างมนุษย์ของพระองค์ อนึง่ การกลับใจของคริสตชนนัน้ เป็นสิง่ จ�ำเป็น ของชีวิต เพราะไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานภาพกระแส เรียกชีวิตใดก็ตาม (ฆราวาส พระสงฆ์ นักบวช) บาง ครัง้ หรือบ่อยครัง้ เราก็ไม่ซอื่ สัตย์ตอ่ พระเจ้า และเมือ่ เรารูต้ วั เราต้องกลับใจเมือ่ นัน้ ทันที เราต้องกลับคืนดี กับพระเจ้า เราต้องฟืน้ ฟู (reform) ท�ำตนให้ดขี นึ้ และ เมื่อคริสตชนทุกคนฟื้นฟูตนเองตลอดเวลาแล้ว ก็ยัง ผลให้พระศาสนจักรส่วนรวมฟืน้ ฟูตลอดเวลาไปในตัว ด้วย (Ecclesiae semper reformanda) 13


โฟโคลาเร สังฆมณฑลจันทบุรี “ถ้าเราเป็นหนึง่ เดียวกัน พระเยซูเจ้าได้ประทับอยูท่ า่ มกลางเรา” สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1943 ใน หลุมหลบภัย เมืองเบนโด ประเทศอิตาลี เคียร่า ลูบคิ และเพื่อน ๆ น�ำเอาพระวรสารเข้าไปด้วย พระวาจา ทีบ่ รรจุอยูน่ นั้ เป็นดังแสงสว่างเจิดจ้า พระวาจาทีว่ า่ “เพือ่ ทุกคนเป็นหนึง่ เดียวกัน” กลายเป็นเป้าหมาย ชีวิตของพวกเธอ นั่นคือ สร้างความเป็นน�้ำหนึ่งใจ เดียวกัน และช่วยเสริมสร้างความเป็นพี่น้องสากล 14

คณะโฟโคลาเร ได้รบั การประกาศรับรองอย่าง เป็นทางการ จากสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ในปีค.ศ. 1962 ในนามของ “กิจการพระแม่มารี” โดยมีแนวทางปฏิบัติ ผ่านทางการเสวนาในระดับ ต่าง ๆ เป็นการพบปะของผู้คน ที่ปรารถนาจะรู้จัก จิตตารมณ์แห่งความเป็นหนึง่ เดียว อันตัง้ อยูบ่ นความ รักซึ่งกันและกัน


ความเป็นมาของโฟโคลาเร ในสังฆมณฑลจันทบุรี เล่าโดย : พระคุณเจ้าเทียนชัย สมานจิต

ได้มโี อกาสรูจ้ กั คุณพ่อกวีโด (ชือ่ เล่น เชนย่า) พระสงฆ์อิตาเลียน ผู้รับผิดชอบคณะโฟโคลาเรที่ ฟิลปิ ปินส์ ทีเ่ ดินทางผ่านประเทศไทย ไปโรม-ฟิลปิ ปินส์ บ่อย ๆ ก็ได้แนะน�ำกับคณะบราเดอร์ฟรันซิส เซเวียร์ ที่หัวไผ่ (คณะที่โรมไม่รับรอง) ว่าสนใจคณะโฟโค ลาเร นี้ไหม มีหลายคนสนใจ เช่น บราเดอร์ถาวร บราเดอร์วรี ศักดิ์ บราเดอร์วรี พันธ์ บราเดอร์อดุ ม และเพื่อน ๆ อีกหลายคน คุณพ่อกวีโด ก็ยินดีรับไป ฝึกชีวิตคณะโฟโคลาเรที่ฟิลิปปินส์และที่ Loppiano ต่อมา ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 ได้เชิญ คณะโฟโคลาเรมาจัดงาน มารีอาโปลีเป็นครัง้ แรกใน ประเทศไทย ทีบ่ า้ นเณรพระหฤทัย ศรีราชา สังฆมณฑล จันทบุรี มีผมู้ าร่วมงานหลายร้อยคนทัว่ ประเทศ เป็น เวลา 3 วัน ได้เชิญ ฯพณฯ สมณฑูตไปร่วมงานด้วย จัดงานเป็นภาษาอังกฤษ ต้องใช้ล่ามแปล ครั้งนี้มี เยาวชนหญิงคนหนึ่งประทับใจมาก สมัครเข้าคณะ โฟโคลาเร และเป็นสมาชิกถาวรจนกระทั่งบัดนี้

หลังจากนัน้ ก็สง่ พระสงฆ์บางองค์ไปฝึกชีวติ คณะโฟโคลาเร ที่โรงเรียนพระสงฆ์ที่ฟรัสกาตี ที่โรม เป็นเวลา 6 เดือน ส่งสามเณรใหญ่ทเี่ รียนจบแล้ว ไป สัมผัสชีวติ คณะโฟโคลาเรที่ TAGAYTAY ฟิลปิ ปินส์ 2-3 เดือน ก่อนบวชเป็นพระสงฆ์ ก็ไม่รู้ได้ผลเท่าไร เพราะใช้เวลาน้อยไป ปัจจุบนั คณะโฟโคลาเรมีบา้ นส�ำหรับสมาชิก ชายและหญิงที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ให้ผู้ที่สนใจ ติดต่อสัมผัสได้ ทางคณะจัดงานมารีอาโปลีเป็นประจ�ำ ทุกปี และเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี งานมารี อาโปลีที่ศรีราชา ทางคณะก็ได้จัดงานมารีอาโปลีที่ ศรีราชาให้ 3 วัน มีผู้ร่วมงานมากหน้าหลายตา เป็น โอกาสให้คณะโฟโคลาเรเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทีส่ ดุ คุณพ่อทวี อานามวัฒน์ เนือ่ งในโอกาส บวชเป็นพระสงฆ์ครบ 25 ปี สนใจไปสัมผัส ชีวติ คณะ โฟโคลาเรที่ Loppiano อิตาลี เป็นเวลา 6 เดือน กลับ มาแล้วก็รับผิดชอบช่วยเผยแพร่คณะ โฟโคลาเร ใน สังฆมณฑลท�ำให้มีผู้สนใจมากขึ้น เคียร่า ลูบิค ตั้งคณะโฟโคลาเรในปี 1943 เป็นขบวนฆราวาส แต่ไม่จ�ำกัดส�ำหรับฆราวาส เปิด กว้างส�ำหรับนักบวช พระสงฆ์ แม้พระสังฆราช มุ่ง เน้นความรัก และความเป็นหนึง่ เดียวในพระศาสนจักร ด้านคริสตจักรสัมพันธ์ และศาสนสัมพันธ์ เพือ่ สันติภาพ ของโลก ตามอุดมการณ์ และ จิตตารมณ์พระวรสาร ท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกลที่จะสร้างโลกใหม่ให้ดีขึ้น มุ่งสร้างมนุษยชาติใหม่ โดยผ่านทางครอบครัวใหม่ และเยาวชนรุ่นใหม่ตั้งแต่เล็ก ๆ

“เนือ่ งจากเหตุการณ์ผา่ นไปสีส่ บิ กว่าปีแล้วก็ จ�ำอะไรไม่สดู้ นี กั เท่าทีจ่ ำ� ได้คอื ราวปี ค.ศ. 1971 ได้รู้ จักคณะโฟโคลาเร ผ่านทางคุณพ่อเมธี วรรณชัยวงศ์ ซึ่งขณะนั้นศึกษาอยู่ที่กรุงโรม ได้มีจดหมายเล่าเรือ่ ง คณะนีใ้ ห้ฟงั ว่า สมาชิกของคณะมีจติ ตารมณ์ความรัก และเป็นหนึง่ เดียว ได้บริการช่วยเหลือนักเรียนไทยชาว พุทธที่ก�ำลังต่อหนังสือเดินทางมีปัญหา ก็เข้าไปช่วย เหลือจนส�ำเร็จ นักเรียนไทยต่างศาสนาคนนี้ประทับ ใจมาก ไปเยีย่ มเยียนทีศ่ นู ย์ ต่อมาได้สนใจขอเปลีย่ น ศาสนา รับศีลล้างบาป ก็ท�ำให้ประทับใจเช่นเดียวกัน ว่าคณะนี้คงมีอะไรดี

15


ปัจจุบัน มีบุคคลทุกเพศ วัย จากหลายวัดในสังฆมณฑล เช่น จันทบุรี ท่าใหม่ ระยอง สระไม้แดง แปดริ้ว บางคล้า โคกวัด เตยใหญ่ และอรัญประเทศ ก�ำลังได้พยายามด�ำเนินชีวิตตามอุดมการณ์ และ จิตตารมณ์พระวรสาร ล่าสุดในงาน มารีอาโปลี (เมืองแม่พระ) ระยอง ที่จัดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2012 ด้วยหัวข้อ “พระวาจาทรงชีวิต กับคณะโฟโคลาเร” มีผู้เข้าร่วมงาน 150 คน ตั้งแต่เด็ก ยุวชน เยาวชน ผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ นักบวชและฆราวาส ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างงานในวันนั้น แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของงาน ครั้งนี้คือ “ความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันของทุกคน” นอกจากนี้ พระอาจารย์สุชาติ เจ้าอาวาสวัดท่าข้าม จ.ฉะเชิงเทรา พระภิกษุทรี่ จู้ กั กับคณะโฟโคลาเร และชืน่ ชอบการด�ำเนินชีวติ ทีน่ ำ� ไปสูค่ วามเป็นพีน่ อ้ งสากล ได้ เดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้ เพื่อเป็นพยานถึงความเป็นพี่น้องสากลที่เป็นไปได้ แม้เราจะมีความเชื่อที่ต่างกัน

16


ประมวลภาพงาน มารีอาโปลี ระยอง ณ หอประชุมอัสสัมชัญ ระยอง วันที่ 14 กรกฎาคม 2012

17


“วิถีความเชื่อ ชาวเวียดนาม”

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 5 กันยายน 2012 ที่ผ่านมานี้ ฝ่ายปกครองวัดโดยคณะสงฆ์เจ้าอาวาส สังฆมณฑลจันทบุรี จ�ำนวน 20 องค์ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนเรียนรู้ และดูงานอภิบาลที่เวียดนามใต้และ เวียดนามกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานด้านอภิบาลซึ่งกันและกัน ผลจากการศึกษาดูงานที่ประเทศเวียดนาม สรุปเป็นประเด็นส�ำคัญได้ดังนี้ • การมาวัดวันอาทิตย์ พวกเราหลายท่านทีเ่ คยมาเวียดนามสังเกต ว่า ในวันอาทิตย์มสี ตั บุรษุ มาวัดกันมากมาย ทัง้ ผูใ้ หญ่ เยาวชน และเด็ก จึงมีค�ำถามจากพวกเราว่า มีวิธี การอย่างไร ที่ท�ำให้สัตบุรุษไปวัดวันอาทิตย์กัน มากมาย พระสงฆ์ที่ร่วมแบ่งปันให้ข้อสังเกตว่า อัน ที่จริงยังคงมีสัตบุรุษอีกมากที่ไม่ได้มาวัดวันอาทิตย์ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ที่ก�ำลังมีความเจริญด้าน วัตถุ อย่างไรก็ตาม พระศาสนจักรเวียดนาม ได้เน้น เรื่องการมาวัดวันอาทิตย์อย่างจริงจัง ในวันอาทิตย์ จะท�ำอะไรหรือจะไปไหนก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ และจ�ำเป็นที่สุดคือ ต้องไปวัดวันอาทิตย์ 18

มีบางคนถามว่าที่มาวัดกันมาก ๆ เช่นนี้ คิด ว่า แต่ละคนจะมาเป็นพิธหี รือไม่ จะมีสกั กีค่ นทีม่ าวัด วันอาทิตย์อย่างมีคณ ุ ภาพ ค�ำตอบทีไ่ ด้รบั คือ ก่อนอืน่ ขอให้มาวัดเถอะ ขอให้มาเป็นนิสยั ก่อน เพราะถ้า มาแล้ว ยังมีโอกาสได้รับการอบรมความเชื่อและ ชีวิต แต่ถ้าไม่มา ทั้งปริมาณและคุณภาพก็จะไม่ เกิดขึ้น จากการเสวนาและสอบถามจากคณะสงฆ์ เราว่า พระศาสนจักรมีวิธีการอย่างไร ที่จะเชื่อม โยงความเชื่อและชีวิตเข้าด้วยกัน เราได้รับค�ำ ตอบจากพระสงฆ์ที่สังฆมณฑลดาหนังว่า ในวัน อาทิตย์มีการจัดกลุ่มเด็กและเยาวชน ให้ออกไป เยี่ยมเยียนผู้รอโอกาส บางครั้งก็มีการออกค่าย ไปสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่ยากจนด้วย


• ครูค�ำสอน

ภาพที่น่าประทับใจคือ เมื่อไปร่วมมิสซา ตามวัด โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ คือการมีส่วนร่วม ในการขับร้องและตอบรับในมิสซา ทุกคนมีอิริยาบถ อยู่ในความสงบเรียบร้อย เวลายืนทุกคนกอดมือ ใน บทเพลงพระสิรริ งุ่ โรจน์ เมือ่ เอ่ยนามพระเยซูเจ้า ทุก คนก้มหัวให้การคารวะอย่างพร้อมเพรียง • สถาบันด้านเทววิทยา อัครสังฆมณฑลไซ่ง่อน ที่ศูนย์อภิบาลมี สถาบันสอนเทววิทยา ซึ่งถือเป็นการให้การอบรม ด้านความเชื่อ แก่นักบวชคณะต่างๆ และแก่บรรดา ฆราวาสด้วย เหตุผลก็คือ มีความจ�ำเป็นที่จะต้อง ปรับความเชือ่ ของคริสตชนให้เท่าทันสถานการณ์ ต่างๆ ทีเ่ ปลีย่ นแปลง มิฉะนัน้ ความเชือ่ ก็ไม่สามารถ ให้แนวทางและความสว่างแก่ชีวิตในปัจจุบันได้

เนื่องด้วยประเทศเวียดนามเป็นประเทศ สังคมนิยม พระศาสนจักรไม่ได้รบั อนุญาตให้มโี รงเรียน ดังนัน้ การสอนค�ำสอนจึงต้องกระท�ำในวันอาทิตย์ และ ช่วงปิดเทอม แต่สิ่งที่น่าชื่นชมคือ พระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศเวียดนาม มีครูค�ำสอนอาสา สมัครจ�ำนวนมาก ซึง่ ได้รบั การอบรมด้านความเชือ่ และน�ำไปถ่ายทอดให้บรรดาเด็กๆ และเยาวชน • กระแสเรียกการเป็นสงฆ์และนักบวช จากการแบ่งปัน ทราบว่ามีบา้ นเณรใหญ่ทงั้ หมด 8 แห่ง กระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์และนักบวช ยัง คงเส้นคงวาสม�่ำเสมอ ขณะนี้อัครสังฆมณฑลก�ำลัง ขยายอาคารบ้านเณร เพื่อรองรับเณรที่จะเข้ามา สิ่งที่น่าชื่นชมคือ พระศาสนจักรรณรงค์ให้สัตบุรุษมี ส่วนร่วมในการบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างบ้านเณรใหญ่ กันนั่นเอง นอกจากนัน้ ยังทราบว่า สัตบุรษุ ยังเห็นความ ส�ำคัญและให้เกียรติแก่พระสงฆ์ ครอบครัวใดที่มีลูก หลานไปถวายตัวแด่พระเจ้า เป็นพระสงฆ์และนักบวช ถือว่าเป็นพระพรส�ำหรับครอบครัวเป็นอย่างมาก

• การให้การอบรมสัตบุรุษอย่างต่อเนื่อง ที่สังฆมณฑลดาหนัง พระสังฆราชยอแซฟ เจิว หงอก ตรี กล่าวว่าท่านก�ำลังมีโครงการ 4 ปี ที่ จะให้การอบรมอย่างต่อเนื่องแก่สัตบุรุษ โดยได้ คัดเลือกหัวข้อค�ำสอนประมาณ 119 ข้อ จะจัด ท�ำเป็นลักษณะถามและตอบ เพื่อน�ำไปลงสารวัด ของวัดต่างๆ ในสังฆมณฑล เป็นการให้ความรู้ทาง ด้านศาสนาในประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับชีวติ ปัจจุบนั เพือ่ ให้พ่อแม่สามารถน�ำไปอบรม ถ่ายทอดให้ลูกหลาน อย่างต่อเนื่อง 19


พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ (ยน 1:14)

โดยคุณพ่อเอนก นามวงษ์ 20


พระวรสารนักบุญยอห์นไม่ได้เล่าเรื่อง “การบังเกิดของพระเยซูเจ้า” เหมือนอย่างพระวรสารของ นักบุญมัทธิว และพระวรสารของนักบุญลูกา แต่พระวรสารนักบุญยอห์นน�ำเรากลับไปยังจุดเริ่มต้น ของ ทุกสิ่งทุกอย่าง ท่านเขียนว่า “เมื่อแรกเริ่มนั้น พระวจนาตถ์.......พระวจนาตถ์เป็นพระเจ้า”(ยน 1:1) หากเราอ่านพระวรสารนี้จนถึงข้อที่ 14 เราจะเข้าใจถึงค�ำว่า “พระวจนาตถ์” ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นั่นคือ “พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์และเสด็จมาประทับอยู่ในหมู่เรา เราได้เห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระองค์เป็นพระสิริรุ่งโรจน์ที่ทรงรับจากพระบิดา ในฐานะพระบุตรเพียงพระองค์เดียวเปี่ยมด้วยพระ หรรษทานและความจริง” (ยน 1:14) เราจะเห็นว่าเวลานักบุญยอห์นกล่าวถึง “พระวจนาตถ์” นั้นจึงหมายถึงบุคคล บุคคลที่ประทับอยู่ กับพระเจ้าและพระวจนาตถ์เป็นพระเจ้า พระองค์ประทับอยู่กับพระเจ้าแล้วตั้งแต่แรกเริ่ม (ยน 1:1-3) และ พระองค์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ด้วย ซึ่งในอดีต พระเจ้าได้ตรัสแก่บรรพบุรุษของเราโดยทางประกาศกหลาย วาระและหลายวิธี ครั้นมาถึงสมัยนี้อันเป็นวาระสุดท้าย พระองค์ได้ตรัสแก่เราโดยทางพระบุตร” (ฮบ 1:1-2) พระคริสตเจ้า พระบุตรพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ คือพระวาจา (วจนาตถ์)หนึ่งเดียว สมบูรณ์พร้อม เพราะเหตุใดพระวจนาตถ์จึงทรงรับธรรมชาติมนุษย์ เราพบค�ำตอบจากค�ำถามนี้ได้จาก หนังสือหลักค�ำสอนคาทอลิก ที่ได้ไขข้อข้องใจไว้ดังนี้ • เพราะเห็นแก่เรามนุษย์ และเพื่อช่วยเราให้รอด พระองค์จึงเสด็จจากสวรรค์พระองค์ทรงรับเอากาย จากพระนางมารีอาพรหมจารี ด้วยพระอานุภาพของพระจิต และมาเกิดเป็นมนุษย์” (CCC 456) • เพราะต้องการช่วยเราให้รอดโดยให้เราได้คนื ดีกบั พระเจ้า “ความรักอยูท่ วี่ า่ พระเจ้าทรงรักเรา และ ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มาเพื่อชดเชยบาปของเรา” (1ยน 4:10) “พระบิดาได้ทรงส่งพระ บุตรของพระองค์มาเป็นพระผู้ไถ่โลก” (1ยน 4:14) “พระองค์ได้ทรงปรากฏเพื่อลบล้างบาปให้ สิ้นไป” (1ยน 3:5) เพราะป่วยไข้ ธรรมชาติของเราจึงเรียกร้องให้ได้รับการรักษาให้หาย เพราะล้ม แล้วจึงเรียกร้องให้มีผู้ช่วยพยุงให้ลุกขึ้น เพราะตายจึงใคร่จะได้ฟื้นคืนชีพ เพราะถูกปิดขังอยู่ในความ มืดจึงจ�ำเป็นต้องได้รับแสงสว่าง เพราะถูกกักตัวเป็นเชลย เราจึงรอให้มีผู้มาช่วย เพราะเป็นนักโทษ จึงใคร่ได้รับความช่วยเหลือ เพราะตกเป็นทาส จึงปรารถนาให้มีผู้มาปลดปล่อย เหตุผลเหล่านี้ ล้วน ปราศจากความส�ำคัญกระนั้นหรือ เหตุผลเหล่านี้ไม่สมควรดอกหรือที่จะท�ำให้พระทัยของพระเจ้าตื้น ตันหวัน่ ไหว ถึงขนาดทีจ่ ะท�ำให้พระองค์เสด็จลงมารับเอาธรรมชาติมนุษย์ของเรา เพือ่ ทรงเยีย่ มเยียน ในเมื่อมนุษยชาติก�ำลังตกอยู่ในสภาพแสนล�ำเค็ญ และตกทุกข์ได้ยากถึงปานนั้น (น.เกรโกรี แห่งนิชา Orat,catech.15 : PG 45,48B.) (CCC 457) • เพื่อให้เราได้รู้ถึงความรักของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ “ความรักของพระเจ้าปรากฏให้เราเห็นดังนี้ คือ พระเจ้าทรงส่งพระบุตรองค์เดียวของพระองค์มาในโลก เพื่อเราจะได้มีชีวิตโดยทางพระบุตร นั้น” (1ยน 4:9) “พระเป็นเจ้าทรงรักมนุษย์ จนกระทั่งประทานพระเอกบุตร เพื่อให้คนทั้งหลาย ที่เชื่อในพระองค์จะไม่ต้องพินาศเสียไป แต่ให้เขาได้รับชีวิตนิรันดร” (ยน 3:16) (CCC 458) 21


• เพื่อทรงเป็นแบบอย่างแห่งความศักดิ์สิทธิ์ส�ำหรับเรา “จงรับเอาแอกของเราแบกไว้ และมาเป็นศิษย์ ของเรา...” (มธ 11:29) “เราเป็นหนทาง ความจริงและชีวิต ไม่มีใครไปหาพระบิดาได้นอกจากผ่าน ทางเรา” (ยน 14:6) และพระบิดาบนภูเขาแห่งการส�ำแดงพระองค์ของพระคริสตเจ้าในโรจนาการ ก็ได้ ตรัสสั่งว่า “จงฟังท่านเถิด” (มก 9:7) เป็นความจริงที่ว่าพระคริสตเจ้าคือแบบฉบับแห่งมหาบุญลาภทั้ง หลาย และทรงเป็นเกณฑ์บรรทัดฐานแห่งบัญญัติใหม่ “ให้ท่านทั้งหลายรักกันและกัน เหมือนอย่างที่เรา รักท่าน” (ยน 15:12) ความรักนี้มีนัยหมายถึงการอุทิศตนเองอย่างจริงจังเพื่อติดตามพระองค์ไป (เทียบ มก.8:34) (CCC 459) • เพือ่ ให้เราได้ “เข้ามามีสว่ นร่วมในพระธรรมชาติของพระเจ้า” (2ปต 1:4) “เพราะว่านีค่ อื เหตุผลซึง่ ท�ำ ให้พระวจนาตถ์เสด็จมาเป็นมนุษย์ และพระบุตรของพระเจ้าก็มาเป็นบุตรแห่งมนุษย์ ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ มนุษย์ โดยการเข้าสูค่ วามเป็นหนึง่ -เดียวกับพระวจนาตถ์ และโดยการรับเอาสถานะการเป็นบุตรของพระเจ้า ก็จะได้เป็นบุตรของพระเจ้าด้วย” (น.อีเรเน Adv.haeres. 3,19,1:PG 7/1,939) “เพราะว่าพระบุตรของ พระเจ้าได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ เพื่อท�ำให้เราเป็นพระเจ้า” (น.อาธานาเซีย De inc. 54,3:PG25,192B) “พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า ด้วยความปรารถนาที่จะให้เรามีส่วนในพระเทวภาพของพระองค์ ก็ได้ทรงรับเอาธรรมชาติของเรามนุษย์ เพื่อว่าเมื่อพระองค์ทรงเป็นมนุษย์แล้ว พระองค์จะได้ทรง ท�ำให้มนุษย์เป็นพระเจ้า” (น.โทมัส อไควนัส Opusc.57,1-4) (CCC 460) สรุปความง่าย ๆ ก็คอื เพราะรักเรามนุษย์ พระองค์จงึ รับเอากายมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เมือ่ รูเ้ ช่นนี้ คริสต์มาสปีนี้ ขอให้พนี่ อ้ งฉลองวันคริสต์มาสอย่างมีความหมาย มีคณ ุ ค่าและด้วยจิตส�ำนึกถึงความเป็นลูกของพระองค์ 22


ครอบครัว โครงการมารานาธา

ภาวนา

23


บ้านลอเรนโซ เป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิซิสเตอร์คามิลเลียนอนุสรณ์ ที่ด�ำเนินการโดยนักบวชคณะ ภคินีผู้รับใช้คนป่วย แห่งนักบุญคามิลโล ซึ่งเป็นคณะนักบวช ที่อุทิศตนในด้านสุขภาพอนามัย และการส่งเสริม คุณค่าชีวิต บ้านลอเรนโซ เป็นบ้านที่ให้การอุปการะ เลี้ยงดูเด็กก�ำพร้า เด็กที่ถูกทอดทิ้งซึ่งติดเชื้อเอดส์ จากมารดา ทัง้ เด็กชายและเด็กหญิงทีม่ อี ายุระหว่าง 18 เดือนถึง 10 ปี ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออก ต�ำบลกุฎโง้ง อ�ำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยได้รบั บริจาคที่ดินกว่า 27 ไร่ จากคุณบุญธรรม กัลยากูร เพื่อให้มูลนิธิด�ำเนินการบ้านพักผู้สูงอายุและกิจการ อื่น ๆ ที่มูลนิธิต้องการหรือเห็นควร และได้รับการ สนับสนุนทางความคิดจากคณะกรรมการคาทอลิก เพื่อสุขภาพอนามัย ให้ริเริ่มโครงการ บ้านส�ำหรับ เด็กก�ำพร้าที่ติดเชื้อ HIV จากมารดา ซึ่งก�ำลังแพร่ ระบาดอย่างรุนแรง และทวีจำ� นวนมากขึน้ ในสังคมไทย ทางมูลนิธจิ งึ เห็นควรทีจ่ ะเริม่ กิจการสถานสงเคราะห์ เด็กก�ำพร้าที่ติดเชื้อ HIV เป็นกิจการแรกในที่แห่งนี้ โดยอาศัยความช่วยเหลือ ความเอือ้ อาทรด้านปัจจัย ด้านความคิด และค�ำแนะน�ำจากผูม้ จี ติ ศรัทธาจ�ำนวน มาก ทั้งในและต่างประเทศ ท�ำให้โครงการนี้ส�ำเร็จ 24

เป็นรูปเป็นร่างขึ้น และสามารถเริ่มปฏิบัติภารกิจใน การให้ความอบอุน่ แก่เด็กก�ำพร้าคนแรกได้ เมือ่ ต้นปี 2544 และท�ำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2544 เมือ่ หันกลับมามองดูตงั้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ในบ้านหลังเล็ก ๆ ท่ามกลางผืนดินอันกว้างใหญ่ กว่า 27 ไร่ บัดนี้ กลับกลายเป็นที่พักพิงกายใจของ บรรดาเด็ก ๆ กว่า 50 คน ที่ได้ผ่านการดูแลจาก บ้านหลังนี้ คล้ายดังต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มพักพิงแก่นก กาและผู้คน สมดังชื่อ “ศูนย์ซีนาปีส” (ชื่อต้นไม้ที่ มีเมล็ดเล็กมาก แต่เมื่อโตจะมีล�ำต้นที่ใหญ่โต) บ้าน หลังนี้ ได้หล่อเลี้ยง เยียวยารักษา ฟื้นฟูหลายชีวิต ให้เข้มแข็ง และพบคุณค่าที่แท้จริงในตนเอง แม้จะ ถูกก�ำหนดด้วยระยะเวลาของการมีชีวิต ที่น้อยกว่า ปกติก็ตาม แต่ไม่ได้ถูกก�ำหนดหนทางในการเจริญ ชีวิตในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี


ถนนจันทร์อำ�นวย

นับเป็นโอกาสอันดีในช่วงเทศกาลส่งความสุข คริสต์มาสและปีใหม่นี้ ทีเ่ ราจะร่วมเป็น หนึ่งเดียวกับบ้านลอเรนโซ มอบ“ของขวัญแห่งชีวิตและอนาคต” ด้วยความรักให้แก่เด็ก ๆ ภายในบ้าน เพื่อให้เขาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และถือเป็นแบบอย่าง พร้อมส่งต่อของขวัญล�้ำค่า ชิ้นนี้ไปยังรุ่นสู่รุ่นต่อไป

เทศบาล พนัสนิคม สภ.อ. พนัสนิคม

มาจากฉะเชิงเทรา ถนนจารุวร

ไปวัดหน้าพระธาตุ

หมู่ 9 ซอย 2

ระยะทาง 1.5 ก.ม.

โรงพยาบาล พนัสนิคม

ร.ร. พนัสพิทยานิคม

ศูนย์ซีนาปีส บ้านลอเรนโซ

หมู่ 9 ซอย 3 ด่านลาดกระบัง

มาจากกรุงเทพฯ

ทางแยกต่างระดับพานทอง ถ.มอเตอร์เวย์

แยกพานทอง

ถ.สุขุมวิท มาจากชลบุรี

แผนที่การเดินทางสู่สถานสงเคราะห์เด็กก�ำพร้า บ้านลอเรนโซ เลขที่ 98 หมู่ที่ 6 ถนนวัดบ้านกลาง ต�ำบลกุฎโง้ง อ�ำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 20140 โทรศัพท์ 0-3846-3256 โทรสาร 0-3846-3634 E-mail : Lorenzo_home@yahoo.com

25


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ ถาม

26

คุณพ่อครับ เพือ่ ลบล้างพันธะ ของการแต่งงานครั้งก่อนที่เรียกว่า อภิสิทธิ์เปาโล เป็นอย่างไรครับ ?

โ ด ย ส� ำ นั ก ง า น วิ นิ จ ฉั ย ค ดี


ตอบ

โดยทัว่ ไปแล้ว ในสังฆมณฑลจันทบุรี จะประยุกต์ใช้ อภิสิทธิ์ เปาโล ในกรณี เมื่อผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป 2 คน แต่งงาน กัน แล้วแยกทางอย่างเด็ดขาด ต่อมา ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งสมัครใจรับศีลล้างบาปแล้วมาแต่งงานกับ คาทอลิก พันธะของการแต่งงานครั้งก่อนของผู้ นั้นก็ถูกลบล้างไป (เทียบกฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 1143) พระศาสนจักรใช้กฎเกณฑ์นี้ เพื่อให้เป็นคุณ แก่ความเชือ่ ของฝ่ายทีไ่ ด้รบั ศีลล้างบาป รวมทัง้ ฝ่ายคาทอลิกทีผ่ รู้ บั ศีลล้างบาปจะแต่งงานด้วย กฎเกณฑ์และการถือปฏิบัตินี้ มาจากพระ คัมภีร์ 1คร 7:12-15 “ส่วนคนอื่น ๆ ข้าพเจ้าขอแนะน�ำ นี่ไม่ใช่พระ บัญชาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพี่น้องคนหนึ่งมี ภรรยาที่ไม่มีความเชื่อและนางเต็มใจอยู่กินกับ เขา เขาไม่ต้องหย่าขาดจากนาง ถ้าหญิงมีสามี ที่ไม่มีความเชื่อและเขาเต็มใจอยู่กับนาง นางก็ ไม่ต้องหย่าขาดจากเขาเช่นกัน เพราะสามีที่ไม่มี ความเชือ่ ได้รบั ความศักดิส์ ทิ ธิจ์ ากพระเจ้าโดยทาง ภรรยา และภรรยาที่ไม่มีความเชื่อก็ได้รับความ ศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้า โดยทางสามีที่มีความเชื่อ มิฉะนัน้ บุตรของท่านก็จะมีมลทิน แต่ในความเป็น จริงบุตรได้รบั ความศักดิส์ ทิ ธิจ์ ากพระเจ้าแล้ว แต่ ถ้าฝ่ายทีไ่ ม่มคี วามเชือ่ ขอแยกจากกัน ก็ให้เขาแยก ไปเถิด ในกรณีเช่นนี้ ฝ่ายที่มีความเชื่อไม่ว่าชาย หรือหญิงก็ไม่มีพันธะใดๆ อีก พระเจ้าทรงเรียก ท่านทั้งหลายให้อยู่อย่างสันติ”

สรุป การประยุกต์ใช้กฎเกณฑ์นี้ ต้องมีเงือ่ นไข 4 ประการ 1. เป็นการแต่งงานของผูท้ ไี่ ม่ได้รบั ศีลล้างบาป ทั้งสองฝ่าย 2. ทั้งสองฝ่ายแยกทางกันอย่างเด็ดขาด 3. ต่อมา ฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ สมัครใจรับศีลล้างบาป 4. ฝ่ายที่รับศีลล้างบาป ต้องการแต่งงานใหม่ กับฝ่ายคาทอลิก

ตัวอย่าง

นายศรและนางฟ้าแต่งงานกัน ทั้งสองไม่ได้รับศีลล้างบาป ต่อมา ทั้งสองแยกทางกันเด็ดขาด นายศรต้องการจะแต่งงานใหม่ กับนางสายซึ่งเป็นคาทอลิก แต่นายศรกับนางสาย ไม่สามารถแต่งงานอย่างถูกต้องได้ เพราะนายศรมีพันธะเดิม จากการแต่งงานกับนางฟ้า พระสงฆ์เจ้าอาวาสจึงถามนายศร ว่า สมัครใจเรียนค�ำสอนและรับศีลล้างบาปหรือไม่ นายศร ตอบ ตกลง เมื่อนายศรรับศีลล้างบาป ก็สามารถแต่งงานอย่างถูกต้องกับนางสาย การลบล้างพันธะการแต่งงานเดิม ระหว่างนายศรกับนางฟ้า เรียกว่า อภิสิทธิ์เปาโล

ด้วยเหตุนี้ จึงเรียก กฎเกณฑ์นวี้ า่ อภิสทิ ธิเ์ ปาโล

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632

27


28


ผสานไว้ เป็นหนึ่งเดียว “ดวงตาไม่สามารถกล่าวกับมือว่า เราไม่ต้องการเจ้า และศีรษะก็ไม่สามารถอาจจะกล่าวกับเท้าได้ว่า เราไม่ต้องการเจ้า” (1 คร 12:21)

...ส�ำคัญตรงความต่าง...

วัยวะทุกส่วนต่างผสานกัน ไว้เป็นกายเดียวกัน ทุกส่วน ส�ำคัญในหน้าทีท่ แี่ ตกต่าง เป็นความสมบูรณ์จากพระหัตถ์พระผูส้ ร้าง จึงก�ำเนิดเป็นร่างอันสุดแสนมหัศจรรย์ มนุษย์ต่างคนล้วนมีความแตกต่าง เดิ น บนหนทางความต่ า งคื อ สี สั น เธอขาดฉันเติม เธอเต็มมาแบ่งปัน ความสมบูรณ์ครบครัน คือเอือ้ กัน อาทร

หลายครัง้ ทีค่ วามแตกต่างท�ำให้เกิด เหตุการณ์มากมาย ถ้ามองความแตกต่าง เป็นการเติมเต็มซึง่ กันและกัน ความแตก ต่างก็จะเป็นสีสันที่สวยงาม แต่ถ้ามอง ความแตกต่างเป็นความขัดแย้ง ความ แตกต่างก็เป็นความขุ่นมัวของหัวใจ ขอให้ลกู มองความต่างทุกสถานการณ์ เป็นความงดงามของสิง่ สร้างของพระองค์ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ลูกได้เติมเต็ม ตัวเอง และให้ลูกรู้จักที่จะใช้ความแตก ต่างของตนเองให้เกิดคุณค่า มากกว่า การท�ำร้ายกันและกันด้วยเถิด... โดย น�้ำผึ้งหวาน 29


วั น วาร ล้ ว นมี ค วามหมาย

30


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 1

2

4

3 8

5

10

6

9

7

คำ�ใบ้ แนวนอน 1. เทศกาลพระเยซูบังเกิด 3. สีของชุดซานตาครอส 5. เทวดาที่มาแจ้งข่าวการบังเกิด 7. บุคคลแรกที่ไปเข้าเฝ้าพระเยซู 9. สิ่งที่นักปราชญ์ใช้ติดตามพระเยซู

แนวตัง้ 2. สิ่งที่ใช้วางพระกุมารเวลาบังเกิด 4. ผู้ที่บันดาลให้ตั้งครรภ์ 6. เมืองที่พระเยซูบังเกิด 8. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมารดาพระเจ้า 10. กษัตริย์ที่สั่งให้ส�ำรวจส�ำมะโนประชากร 31


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

ช่ 3พิ า ธี ง บู ไ ช 2 ไ ม้ ก า ง เ ข น 5ค ข ริ 4 ย อ ห์ น บั ป ติ ส ต์ บ ต พ ช 6 พ ร ะ บิ ด า น ะ คุ ณ

สิ่งตีพิมพ์

1

32

ซิ ล วี 9 โ ท มั 7ส อ ว น เ อ เ ด น 8

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 7 ปีที่ 23 เดือนสิงหาคม 2012


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

ฉลอง 50 ปี และ 25 ปี ชีวิตสงฆ์ 13 ตุลาคม 2012

33


ฉลองวัด

พระมารดานิจจานุเคราะห์

ระยอง

1 กันยายน 2012

ฉลองวัด มารีสมภพ กบินทร์บุรี 8 กันยายน 2012

34


ฉลองวัด นักบุญนิโคลัส พัทยา 16 กันยายน 2012

ฉลองวัด อารักขเทวดา แหลมประดู่ 22 กันยายน 2012

35


ฉลอง อารามคาร์แมล จันทบุรี 6 ตุลาคม 2012

ฉลองวัด แม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ 20 ตุลาคม 2012

36


ฉลองวัด

ราชินีสายประค�ำศักดิ์สิทธิ์

บ้านสร้าง

27 ตุลาคม 2012

ฉลองวัด อัสสัมชัญ พัทยา 18 พฤศจิกายน 2012

37


เปิดปีแห่งความเชื่อ

13 ตุลาค

38


สังฆมณฑลจันทบุรี

คม 2012



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.