สายใยจันท์ V.1

Page 1


บรรณาธิการ สาส์นพระสังฆราช สาส์นโอกาสวันสื่อมวลชน 25 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อยอด เสนารักษ์ 25 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อวีระชน นพคุณทอง 25 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อสุดเจน ฝ่นเรือง งานแพร่ธรรมของพระศาสนจักร St.Lawrence เยาวชนกับกระแสสังคม กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้ เปลี่ยนทัศนคติตัวเราดีกว่า ทิศทางงานอภิบาลนั้นสำคัญไฉน 36 ปีแห่งการให้ชีวิตและอนาคต ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ Game

จุดประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธา และหลักปฎิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทัศนคติและประสบการณ์ชีวิต

1 2 4 8 10 12 16 18 20 22 24 26 29 32 36


พี่น้องคริสตชน ที่เคารพ สายใยที่พี่น้องกำลังอ่านอยู่นี้เข้าปีที่ 21 แล้ว จุดประสงค์ของการทำหนังสือเล่มนี้ตลอด 20 ปี ที่ ผ่ า นมาเพื่ อ เป็ น สายใยที่ ค ล้ อ งใจกั น ระหว่ า งสั ง ฆมณฑลกั บ พี่ น้ อ งคริ ส ตชนจั น ทบุ รี นอกเหนื อ จาก ข่าวคราวและความรู้ที่สังฆมณฑลนำเสนอ อยากให้พี่น้องได้รับอาหารฝ่ายจิต โดยผ่านทาง “สายใยจันท์” ด้วยพีน่ อ้ งคริสตชนจะพูดได้เหมือนกับ มารี ชาวมักดาลา ว่า “ดิฉนั ได้เห็นองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าแล้ว” (ยน 20:18) สายใยจันท์ปีที่ 21 ได้ปรับปรุงเนื้อหาให้ เข้ม ข้น ขึ้น มีคอลัมน์ประจำมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่อง ปัญหาของศีลแต่งงาน จะต้องทำอย่างไร เมื่อพี่น้องคริสตชนประสบปัญหาต่างๆ พี่น้องจะได้รับคำตอบ จากคอลัมน์ “กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้” นอกจากนี้ “สายใยจันท์” ได้ส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ของ ทางสังฆมณฑลมีส่วนร่วมในการเขียนเร่ื่องราวมาให้พี่น้องได้อ่านกัน พี่น้องจะได้รู้จักหน่วยงานต่างๆ ของ สังฆมณฑลของเรามากขึน้ เช่น หน่วยงานเยาวชน หน่วยงานแพร่ธรรมโรงเรียนของสังฆมณฑล เป็นต้น ฉบับนี้เราร่วมยินดีกับพระคุณเจ้าเทียนชัย ในโอกาสฉลองศาสนนามลอเรนซ์ ร่วมยินดีกับพระสงฆ์ ทีฉ่ ลองครบ 25 ปี คุณพ่อยอด เสนารักษ์ คุณพ่อสุดเจน ฝ่นเรือง คุณพ่อวีระชน นพคุณทอง ซึง่ ทางสังฆมณฑล จะเป็นเจ้าภาพจัดการฉลองในวันที่ 28 สิงหาคม 2553 ณ ศาลารวมใจฯ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพี่น้องคริสตชนยังคงสนับสนุนสายใยจันท์อยู่เหมือนเดิม

คุณพ่อเอนก นามวงษ์

หน้า 1


พีน่ อ้ งพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรษุ คริสตชนทีร่ กั สารสังฆมณฑลฉบับนีเ้ น้นเนือ้ หาในเรือ่ งของสือ่ มวลชนเป็นพิเศษ เนือ่ งในโอกาส วันสือ่ มวลชนสากล ซึง่ พระศาสนจักรในประเทศไทยกำหนดให้เป็นวันอาทิตย์แรกของเดือน สิงหาคมของทุกปี เราคงปฏิเสธไม่ได้วา่ โลกยุคปัจจุบนั นีเ้ ป็นโลกยุคการสือ่ สารซึง่ มีความรวดเร็วฉับไว โดยอาศัยเครือ่ งมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ซง่ึ พัฒนาอย่างต่อเนือ่ งตลอดเวลา เพียงไม่กป่ี ี รูปแบบ ของการสือ่ สารเปลีย่ นแปลงไปแบบทีไ่ ม่อยากจะเชือ่ ว่า เราจะได้เห็นเช่นนีใ้ นยุคสมัยของเรา อย่างไรก็ดี เราต้องขอบคุณพระเจ้าสำหรับพระปรีชาล้ำเลิศทีเ่ ผยแสดงให้มนุษย์ได้คน้ พบ ด้วยสติปญ ั ญาทีพ่ ระองค์ประทานให้เพือ่ ประโยชน์สขุ ของมวลมนุษย์ เราจึงสมควรใช้เครือ่ ง มือเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างสังคมมนุษย์ให้มีเอกภาพ เสรีภาพ สันติภาพ ดำรงอยูใ่ นความจริง ความยุตธิ รรมและความรักอย่างแท้จริง สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ได้เขียนสารวันสือ่ มวลชนสากล ครัง้ ที่ 44 โดยใช้หวั ข้อว่า “พระสงฆ์และงานอภิบาลในโลกดิจติ อล : สือ่ ใหม่เพือ่ นำเสนอพระวาจา” โดยมีจดุ ประสงค์ในโอกาสปีพระสงฆ์ ให้พระสงฆ์สามารถค้นพบแนวทางในการนำเสนอ พระวาจาของพระเจ้าโดยใช้เครือ่ งมือสือ่ สารทีท่ นั สมัย และก่อให้เกิดประสิทธิภาพต่องาน อภิบาลของพระสงฆ์ ข้อความตอนหนึง่ ของสารเขียนไว้วา่ “การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และโลกดิจติ อลทีก่ ว้างไกลขึน้ นับเป็นขุมทรัพย์อนั ยิง่ ใหญ่ของมวลมนุษยชาติโดย ส่วนรวมและมนุษย์แต่ละคน และสามารถเป็นสิง่ ทีจ่ ะช่วยกระตุน้ ให้มกี ารพบ ปะเสวนากัน แต่ความก้าวหน้าในเรือ่ งนี้ นับเป็นโอกาสทีด่ สี ำหรับผูท้ ม่ี คี วาม เชือ่ ด้วย ไม่ควรมีประตูทป่ี ดิ ตายสำหรับผูท้ อ่ี ทุ ศิ ตนเพือ่ ใกล้ชดิ กับผูอ้ น่ื ให้มาก ขึน้ ในพระนามของพระคริสตเจ้าผูท้ รงกลับคืนพระชนม์ โดยเฉพาะสำหรับ พระสงฆ์ สือ่ ใหม่ ๆ เป็นการเปิดโอกาสใหม่และกว้างไกลสำหรับงานอภิบาล ช่วยให้ท่านนึกถึงพันธกิจสากลของพระศาสนจักร ให้กำลังใจท่านให้ เสริมสร้างมิตรภาพทีก่ ว้างไกลและเทีย่ งแท้ และเป็นประจักษ์พยานแก่ โลกถึงชีวติ ใหม่ซง่ึ มาจากการสดับรับฟังพระวรสารของพระเยซูเจ้า” ดังนัน้ เราซึง่ อยูใ่ นยุคใหม่ของการสือ่ สาร ได้ใช้เครือ่ งมือเทคโนโลยี ทีท่ นั สมัยนีใ้ นการประกาศข่าวดีแห่งความรอด และใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ่ งานอภิบาลของเราทัง้ หลาย ทัง้ นีโ้ ดยให้สอ่ื ต่าง ๆ เป็นการประกาศพระเกียรติ มงคลของพระเจ้า “Ad Majorem Dei Gloriam”

หน้า 2

ด้วยความเป็นหนึง่ เดียวกันในพระคริสตเจ้าและพระแม่มารีย์

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี)


หน้า 3


แต่พระสงฆ์ได้รบั การคาดหวัง อย่างถูกต้องที่จะให้ เข้าไปอยู่ในโลกของสื่อทางดิจิตอล ในฐานะประจักษ์พยานที่ซื่อสัตย์ มั่นคงต่อพระวรสาร

หน้า 4


พี่น้องชายหญิง ที่รัก หัวข้อสำหรับวันสือ่ มวลชนสากล “พระสงฆ์และงานอภิบาลในโลกดิจติ อล : สือ่ ใหม่เพือ่ นำเสนอ พระวาจา” มีจดุ ประสงค์ให้ตรงกับการเฉลิมฉลองปีพระสงฆ์ของพระศาสนจักร ซึง่ มุง่ ไปยังความสำคัญและความ ละเอียดอ่อนของสื่อดิจิตอลในงานอภิบาล ซึ่งพระสงฆ์สามารถค้นพบแนวทางในการนำเสนอพระวาจาของ พระเจ้า ชุมชนพระศาสนจักรได้ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการสื่อสาร ในการให้ความสนใจกับสังคม และมีมากขึน้ ในการส่งเสริมการเสวนาในวงจรทีก่ ว้างขวางออกไป แต่ในช่วงเวลานี้ การก้าวหน้าอย่างกะทันหัน และผลกระทบของสื่อสารต่างๆ เหล่านี้ต่อสังคม ยิ่งทำให้มีความสำคัญมากขึ้นในงานอภิบาลของพระสงฆ์ หน้าที่หลักของพระสงฆ์ทุกท่าน ก็คือการประกาศพระเยซูคริสตเจ้า พระวจนาตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงรับ เอากาย และสานต่อพระหรรษทานอันบันดาลความรอดพ้นของพระองค์ในศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ พระศาสนจักรในฐานะ ที่ได้รวบรวมและได้รับการเรียกร้องจากองค์พระวจนาตถ์ ย่อมเป็นเครื่องหมายและเครื่องมือแห่งความเป็น หนึง่ เดียวกัน ซึง่ พระศาสนจักรได้จดั ให้มขี น้ึ กับประชาชน และพระสงฆ์ทกุ ท่านก็ได้รบั กระแสเรียกให้เสริมสร้าง ความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ในพระคริสตเจ้าและพร้อมกับพระองค์ นี่คือเกียรติอันสูงส่ง และงดงามแห่งพันธกิจ ของพระสงฆ์ ซึ่งให้การตอบสนองเป็นพิเศษต่อคำท้าทายของอัครสาวกเปาโลที่ว่า “พระคัมภีร์กล่าวว่า ทุกคน ที่มีความเชื่อในพระองค์จะไม่ได้รับความอับอาย...เพราะทุกคนที่เรียกขานพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าก็จะ รอดพ้น แต่เขาจะเรียกขานพระองค์ได้อย่างไร ถ้าพวกเขาไม่เชื่อ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าไม่เคยได้ยิน จะได้ยินได้ อย่างไร ถ้าไม่มีใครประกาศสอน จะมีผู้ประกาศสอนได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครส่งไป” (โรม 10:11, 13-15) การตอบสนองสิ่งที่ท้าทายนี้อย่างเหมาะสม ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ด้านวัฒนธรรม ซึ่งเยาวชนเข้าใจดีเป็นพิเศษ จำเป็นต้องมีการใช้เทคโนโลยีใน การสื่อสารที่เหมาะสม ในยุคการสื่อสารในระบบดิจิตอล ซึ่งประกอบด้วยการ แสดงออกอย่างไร้ขอบเขต ช่วยให้เราสำนึกในถ้อยคำของนักบุญเปาโลมากขึ้น เมื่อท่านกล่าวว่า “หากข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดี ข้าพเจ้าย่อมได้รับความวิบัติ” (1โครินทร์ 9:16) ยิ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ มีมากเท่าไร ก็จำเป็นที่ผู้รับผิดชอบในการ ประกาศข่าวดี จะต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น นอกจากนั้น ความพยายาม ของเขายังต้องมีความมุ่งมั่น เชี่ยวชาญ และน่าเชื่อถืออีกด้วย พระสงฆ์กำลัง ยืนอยูท่ ธ่ี รณีของยุคใหม่ ในขณะทีเ่ ทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทล่ี กึ ซึง้ ในระยะทางที่ห่างไกลมากยิ่งขึ้น พวกท่านได้รับเชิญให้สนองตอบในด้านอภิบาล ด้วยการนำสื่อไปใช้ให้มี ประโยชน์มากขึ้นในการประกาศพระวาจา หน้า 5


การแผ่ขยายของสื่อสารในรูปแบบต่างๆ มากมาย และรายการที่มีให้เลือกมากมาย อาจทำให้เราคิด ว่าการปรากฏในเว็บไซต์กค็ งจะพอเพียงแล้ว หรือมองว่าเป็นเพียงช่องว่างทีจ่ ะต้องเติมให้เต็ม แต่พระสงฆ์ได้รบั การคาดหวังอย่างถูกต้องที่จะให้เข้าไปอยู่ในโลกของสื่อทางดิจิตอล ในฐานะประจักษ์พยานที่ซื่อสัตย์มั่นคงต่อ พระวรสาร โดยประกอบหน้าที่ในฐานะผู้นำของมวลชน ซึ่งมักจะแสดงออกซึ่งซุ่มเสียงที่แตกต่างออกไป ซึ่งตลาดของดิจิตอลได้เบิกทางไว้ให้ ดังนั้นพระสงฆ์จึงได้รับการท้าทายให้ประกาศพระวรสาร โดยใช้เครื่องมือ สื่อสารล่าสุด (ภาพ วิดีโอ animated features บล็อก เว็บไซต์) ซึ่งสามารถเปิดหนทางใหม่ในการเสวนา การเผยแผ่พระวรสารและการสอนคำสอน ควบคู่ไปกับเครื่องมือเก่าที่เคยใช้กันมา ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ พระสงฆ์สามารถเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จัก กับชีวิตของพระศาสนจักร และช่วยให้ผู้คนรุ่น เดี ย วกั บ เราให้ ไ ด้ พ บพระพั ก ตร์ พ ระคริ ส ตเจ้ า พระสงฆ์ จ ะสามารถบรรลุ ถึ ง จุ ด มุ่ ง หมายนี้ ไ ด้ หากพวกท่านจะเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ ตัง้ แต่ชว่ งเวลาแห่งการอบรม เพือ่ ให้รถู้ งึ การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างถูกต้องและได้ผล โดยมีแนวทางของเทววิทยาที่ถูกต้อง ควบคู่ไปกับชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณของพระสงฆ์ ซึ่งยึดมั่นในการเสวนากับ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าตลอดเวลา การกระทำดังนี้ มิใช่เพียงแต่จะช่วยให้ทา่ นเห็นชัดถึงการออกไปสูง่ านอภิบาลของ ท่านเท่านั้น หากแต่ยังทำให้การสื่อสารทาง “เว็บไซต์” มีจิตวิญญาณขึ้น ความเอาพระทัยใส่ด้วยความรักของพระเจ้าต่อมวลมนุษย์ในองค์พระคริสตเจ้า ต้องได้รับการแสดง ออกในโลกดิจติ อล มิใช่วา่ เป็นเรือ่ งในอดีตทีผ่ า่ นไปแล้ว หรือเป็นเรือ่ งราวด้านสติปญ ั ญาเท่านัน้ หากแต่เป็นเรือ่ ง ที่แตะต้องได้ในปัจจุบันและกำลังดำเนินอยู่ การที่เราเข้าไปอยู่ในโลกนั้น เป็นการแสดงให้เพื่อนร่วมยุคของเรา โดยเฉพาะมนุษย์ในปัจจุบัน ที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและความสับสนว่า “พระเจ้าประทับอยู่ใกล้ตัวเรา และเราเป็นของกันและกันในองค์พระคริสตเจ้า” (พระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ต่อ เจ้าหน้าที่วาติกัน - 21 ธันวาคม 2009) ในฐานะที่พระสงฆ์เป็นบุคคลของพระเจ้า ไม่มีใครที่จะทำได้ดีไปกว่าท่าน ในฐานะผู้ที่มีความสามารถ ด้านเทคนิคในยุคดิจิตอล ท่านสามารถที่จะทำให้พระเจ้าทรงประทับอยู่ในโลกปัจจุบันในภาคปฏิบัติ ด้วยการ แสดงให้เห็นว่าความเฉลียวฉลาดด้านศาสนาในอดีตคือสมบัติ ซึ่งสามารถดลใจเราให้เจริญชีวิตในปัจจุบัน อย่างมีศักดิ์ศรี ในขณะที่กำลังเสริมสร้างอนาคตที่ดีกว่าปัจจุบัน นักบวชชายหญิงที่ทำงานด้านสื่อมวลชนมี หน้าที่พิเศษที่จะเปิดประตูต้อนรับการสัมผัสในรูปแบบที่ใหม่ รักษาไว้ซึ่งคุณสมบัติของการมีปฏิกิริยาต่อกัน ในด้านมนุษยสัมพันธ์ และแสดงความสนใจต่อเพื่อนมนุษย์และความต้องการทางด้านฝ่ายจิตวิญญาณของ พวกเขา ดังนัน้ เขาจึงจะสามารถช่วยชายหญิงในยุคดิจติ อลของเราให้สำนึกว่า องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงประทับอยู่ ท่ามกลางพวกเขา ให้พวกเขาก้าวหน้าในความปรารถนาและความหวัง และพยายามใกล้ชิดกับพระวาจาของ พระเจ้า ผูท้ รงประทานความรอดและทรงสนับสนุนการพัฒนามนุษย์ทง้ั ครบ ด้วยวิธนี พ้ี ระวาจาก็จะสามารถผ่าน ทางแยกมากมายของถนนหนทางของ “ยุคไซเบอร์” และแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงมีที่พำนักอันถูกต้องของ พระองค์ ในทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งยุคสมัยของเราด้วย ขอบคุณสื่อสารสังคมใหม่ที่บันดาลให้องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงดำเนินอยู่บนถนนในเมืองต่างๆ ของเรา ทรงหยุดอยู่หน้าประตูบ้านและในหัวใจของเรา เราสามารถกล่าว หน้า 6


ได้อกี ครัง้ หนึง่ ว่า “ดูเถิด เรากำลังยืนเคาะประตู ถ้าผูใ้ ดได้ยนิ เสียงของเราและเปิดประตู เราจะเข้าไปกินอาหาร ร่วมกับเขา เขาจะกินอาหารร่วมกับเรา” (วิวรณ์ 3:20) ในสาส์นของเราเมื่อปีที่แล้ว เราได้เน้นให้ผู้นำแห่งโลกของสื่อได้สนับสนุนวัฒนธรรมแห่งความเคารพ ในสิทธิและคุณค่าของมนุษย์แต่ละคน นี่คือหนทางหนึ่งที่พระศาสนจักรได้รับการเรียกร้องให้สนับสนุนความ เคารพต่อวัฒนธรรมในยุคดิจติ อลของเราในปัจจุบนั อาศัยพระวรสารในมือและในหัวใจของเรา เราต้องเน้นถึง ความจำเป็นที่เราจะต้องเตรียมทางที่จะนำไปสู่พระวาจาของพระเจ้าต่อไป ในขณะเดียวกันก็ให้ความสนใจ กับผู้ที่ยังคงแสวงหาต่อไป อันที่จริงแล้ว เราควรสนับสนุนการแสวงหาของพวกเขา ในฐานะที่เป็นก้าวแรกของ การประกาศพระวรสาร การอยูใ่ นโลกของสือ่ ดิจติ อลในรูปแบบของงานอภิบาล เนือ่ งจากเป็นการนำเราให้เข้าไป สัมผัสกับผูท้ น่ี บั ถือศาสนาอืน่ ผูท้ ไ่ี ร้ศาสนา และประชาชนต่างวัฒนธรรม เราก็ควรพยายามเข้าใจผูท้ ไ่ี ร้ความเชือ่ ผูท้ ท่ี อ้ ใจ และผูท้ ม่ี คี วามปรารถนาอันลึกซึง้ ต่อความจริงทีย่ ง่ั ยืนและสิง่ ทีส่ งู สุด ดังทีป่ ระกาศกอิสยาห์วาดมโนภาพ ของบ้านแห่งการอธิษฐานภาวนาสำหรับมนุษย์ทุกคน (ดู อิสยาห์ 56:7) เราพอจะเห็นได้ไหมว่า “เว็บไซต์” ก็มีที่ไว้ดังเช่น “ลานสำหรับคนต่างศาสนา” ของพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มสำหรับผู้ที่มิได้รู้จักกับพระเจ้า การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และโลกดิจติ อลทีก่ ว้างไกลขึน้ นับเป็นขุมทรัพย์อนั ยิง่ ใหญ่ของมวลมนุษยชาติ โดยส่วนรวมและมนุษย์แต่ละคน และสามารถเป็นสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้มีการพบปะและเสวนากัน แต่ความ ก้าวหน้าในเรื่องนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่มีความเชื่อด้วย ไม่ควรมีประตูที่ปิดตาย สำหรับผู้ที่อุทิศตนเพื่อ ใกล้ชิดกับผู้อื่นให้มากขึ้น ในพระนามของพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ โดยเฉพาะสำหรับพระสงฆ์ สื่อใหม่ๆ เป็นการเปิดโอกาสใหม่และกว้างไกล สำหรับงานอภิบาลช่วยให้ท่านนึกถึงพันธกิจสากลของ พระศาสนจักร ให้กำลังใจท่านให้เสริมสร้างมิตรภาพที่กว้างไกลและเที่ยงแท้ และเป็นประจักษ์พยานแก่โลก ถึงชีวิตใหม่ ซึ่งมาจากการสดับรับฟังพระวรสารของพระเยซูเจ้า องค์พระบุตรนิรันดรผู้เสด็จมาประทับอยู่ท่าม กลางเรา เพือ่ ความรอดพ้นของเราเอง แต่ในขณะเดียวกันพระสงฆ์กค็ วรสำนึกอยูเ่ สมอว่า การบรรลุผลขัน้ สูงสุด แห่งงานอภิบาลของท่านนัน้ มาจากพระคริสตเจ้าพระองค์เอง พระคริสตเจ้าทีท่ า่ นสัมผัสและรับฟังในการอธิษฐาน ภาวนา ป่าวประกาศในการเทศน์สอนและชีวิตที่เป็นประจักษ์พยาน พระองค์ผู้ที่ท่านรู้จัก รักและเฉลิมฉลอง ในศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะศีลมหาสนิทและศีลอภัยบาป ดังนั้น เราจึงขอเชิญชวนบรรดาพี่น้องสงฆ์ของเราอีกครั้งหนึ่ง ให้พยายามใช้ให้ดีที่สุด ซึ่งสิ่งที่เป็นไป ได้อาศัยสื่อสารมวลชน ขอพระเจ้าทรงโปรดให้ท่านเป็นผู้เบิกทางที่มีจิตใจร้อนรน นำพระวรสารไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งสื่อต่างๆ ในปัจจุบันได้เปิดให้ไปถึง ด้วยความไว้วางใจดังนี้ เราจึงวอนขอพระมารดาพระเจ้า และท่านนักบุญยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ ได้ปกป้องคุ้มครองท่าน และเราขอส่งพรของท่านอัครสาวกมายังท่านทุกคน

ให้ไว้ ณ สำนักวาติกัน วันที่ 24 มกราคม 2010 วันฉลองนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์

หน้า 7


ประวัติส่วนตัว

หน้า 8

วัน / เดือน / ปีเกิด 24 เมษายน 1957 รับศีลล้างบาปที่วัด นักบุญเปาโล (วัดบ้านนา) นครนายก เป็นสัตบุรุษวัด พระผู้ไถ่ เสาวภา องครักษ์ นครนายก ชื่อบิดา ยอแซฟ ไสง เสนารักษ์ (เสียชีวิต) ชื่อมารดา อันนา สมใจ เสนารักษ์ (เสียชีวิต) จำนวนพี่น้องในครอบครัว 4 คน คติพจน์

“จงลุกขึ้นเถิด อย่ากลัวเลย” (มธ 17 : 7)


บทความของคุณพ่อยอด เสนารักษ์

ขอขอบพระคุณพระเป็นเจ้า ที่ได้เลือกผมและมอบกระแสเรียกแห่งการเป็นพระสงฆ์ให้ดำเนินชีวิต ตามพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ ชีวิตที่ได้รับการปลูกฝังความเชื่อความรักและความหวังไว้ใจในองค์พระเยซู คริสตเจ้าตั้งแต่เยาว์วัยจากคุณพ่อบุญเนือง วรศิลป์ และคุณพ่อบุญเนืองเป็นผู้ที่ส่งเข้าบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา พร้อมทั้งดูแลเอาในใส่เสมอในทุกมิติของชีวิต จนได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ โดยพระคุณเจ้าลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1985 พร้อมกับคุณพ่อวีระชน นพคุณทอง และคุณพ่อสุดเจน ฝ่นเรือง เพื่อนร่วมรุ่นของสังฆมณฑลจันทบุรี ณ วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ จ.ชลบุรี 25 ปีในชีวิตสงฆ์ผ่านไปรวดเร็วมาก ทำงานมาก็หลายอย่างผิดพลาดก็หลายประการ ทุกข์-สุขก็นับ ครั้งไม่ถ้วน แต่ชีวิตจวบจนวันนี้นับเป็นพระพรและพระเมตตารักอันยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้า ลำพังผมเองคง ไปไม่รอด ขอขอบคุณ พระเจ้ารักผมและรักผมตลอดไป ขอขอบคุณคุณพ่อคุณแม่ พี่น้อง ญาติ - มิตรสหาย ที่สนับสนุนผมเสมอมา ร่วมทุกข์ร่วมสุขและเป็นกำลังใจ ขอขอบพระคุณพระสังฆราช คณะสงฆ์ผู้ร่วมงาน และบรรดาสัตบุรุษที่สอนและให้บทเรียนชีวิตในการเป็นพระสงฆ์ให้ผมมีความสุขในชีวิตสงฆ์ ดุจดังสายธาร ที่หล่อเลี้ยงและบำรุงชีวิตอภิบาลและแพร่ธรรมของผม ผมจะยังคงเป็น พยายามเป็น “เหล้าองุ่นใหม่ในถุง หนังใหม่” (มก2:22) ต่อไปครับ เหมือนวันที่ได้รับการบวชและตั้งปณิธานไว้ว่า “จะไม่เลือกงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เลือกสถานที่อยู่ และไม่เลือกคนที่จะอยู่ด้วย”

(คุณพ่อยอแซฟยอด เสนารักษ์)

หน้า 9


ประวัติส่วนตัว

หน้า 10

วัน / เดือน / ปีเกิด 20 ตุลาคม 1957 รับศีลล้างบาปทีว่ ดั พระนางมารีอาปฏิสนธินริ มล เตยใหญ่ นครนายก เป็นสัตบุรุษวัด พระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่ นครนายก ชื่อบิดา เปโตร สัมฤทธิ์ นพคุณทอง (เสียชีวิต) ชื่อมารดา มารีอา ราฟิม นพคุณทอง (เสียชีวิต) จำนวนพี่น้องในครอบครัว 7 คน


ชีวิตแห่ง “รักและระับใช้” พ่อแม่ญาติพน่ี อ้ งมักแสดงออกถึงความดีใจ สุขใจอย่างเห็นได้ชดั เจนเสมอ เมือ่ มีลกู หรือพีน่ อ้ งใน ครอบครัวเดียวกันได้รบั “การบวชเป็นพระสงฆ์ (บาทหลวงหรือคุณพ่อ)” ผมคงห้ามความรูส้ กึ ดี ๆ เหล่านัน้ ไม่ได้ ณ เวลานี้ 25 ปี ผ่านไปไวเหมือนโกหก ผมยังรูส้ กึ ต่อว่า “รักและรับใช้พระเจ้า” ได้ไม่เท่าไรเลย นีก่ จ็ ะ ฉลองครบรอบวันดังกล่าวแล้วหรือ เวลาที่ผ่านมามันช่างรวดเร็วจริงๆ หนอ สำหรับผมแล้วบวชเป็น พระสงฆ์ว่ายากก็ยาก แต่ยากกว่าคือการรักษากระแสเรียกความเป็นสงฆ์ให้งอกงามอย่างต่อเนื่องหรือ เป็นสงฆ์ที่ดีตลอดไป และที่ยากที่สุดคือยังซื่อสัตย์ต่อความเป็นสงฆ์ของพระคริสเจ้าจนวันตายมันน่าห่วง กว่าเยอะ คงต้องอธิฐานวอนขอพระเจ้าทุกวันเพื่อความไม่ประมาทในชีวิตที่ยังเหลืออยู่ จากความรักของ พระองค์ที่ยังคงมอบเวลาขณะนี้ให้เรา อยากส่งกำลังใจให้เพื่อนสงฆ์ทุกคนด้วยข้อคิดที่ว่า “ชีวิตที่สง่างาม ไม่ใช่ชีวิตที่ไม่เคยล้ม แต่ชีวิต ทีล่ ม้ แล้ว ยังสามารถลุกขึน้ ใหม่ได้เสมอในพระเจ้า” ขอให้เพือ่ นสงฆ์ทกุ คน “ทำงานของพระเจ้าแล้วอย่าลืม เป็นคนของพระเจ้า” ด้วยก็แล้วกันนะ ที่สุดนี้ขอคำภาวนาจากพี่น้องสัตบุรุษทุกคนเพื่อพ่อและเพื่อนร่วมรุ่น ทุกคนด้วย ให้เป็นสุขในการติดตามพระคริสตเจ้าอย่างซื่อสัตย์จนลมหายใจแห่งชีวิตการจาริกแสวงบุญ ในโลกนี้ด้วยเถิด

(คุณพ่อดอมินิก วีระชน นพคุณทอง)

หน้า 11


ประวัติส่วนตัว

วัน / เดือน / ปีเกิด 6 มิถุนายน 1958 รับศีลล้างบาปที่วัด นักบุญฟิลิปและยากอบหัวไผ่ เป็นสัตบุรุษวัด นักบุญฟิลิปและยากอบหัวไผ่ ชื่อบิดา ยอแซฟ แซฟ ฝ่นเรือง (เสียชีวิต) ชื่อมารดา อักแนส ทองใบ ฝ่นเรือง (เสียชีวิต) จำนวนพี่น้องในครอบครัว 9 คน

คติพจน์

หน้า 12

“กางเขนกับมงกุฎเป็นของคู่กัน”


ไตร่ตรองชีวิตสงฆ์ที่ผ่านมา 25 ปี พบสัจธรรมของชีวิตสงฆ์ว่า....

ชีวิตความเป็นสงฆ์และกระแสเรียก มอบอยู่กับพระเสมอทุกวัน ทุกเวลา ถ้าไม่มอบอยู่กับพระอยู่ กับตัวเอง อยู่กับคนอื่น อยู่กับสิ่งของหรือเกียรติยศชื่อเสียง อันตรายและความหายนะจะเกิดขึ้นแน่ ๆ ชีวิตจิตเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากๆ สำหรับชีวิตสงฆ์และต้องไม่แยกออกจากหน้าที่การงาน ถ้าขาดหรือไม่มีชีวิตจิต การใช้ชีวิตและการปฎิบัติหน้าที่สงฆ์จะเป็นเพียงแค่ละครที่แสดงให้คนอื่นดูหรือ เป็นแค่เปลือกที่เป็นแค่ภาพปรากฏภายนอก ซึ่งทำให้หมดคุณค่าของความเป็นสงฆ์ การมีวินัยในชีวิตสงฆ์เป็นเรื่องสำคัญช่วยควบคุมรักษากระแสเรียก ถ้าขาดการมีวินัยในตนเอง จะทำให้ปล่อยตัวไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่สุดจะทำลายชีวิตและกระแสเรียกความเป็นสงฆ์ การอุทิศตน ทุ่มเท่ด้วยความเสียสละแบบสุดๆ ทำให้มีประสบการณ์ที่สัมผัสได้กับพระเยซูเจ้า ผู้ถวายองค์ทั้งครบแด่พระบิดา โดยเฉพาะบูชาบนไม้กางเขน การทำภารกิจหรือการงานใดไม่ว่า ถ้าเป็นพระประสงค์ของพระแม้จะมีความยากลำบาก หรือ อุปสรรคขวากหนามมากสักเท่าใดก็ตาม ที่สุดก็สำเร็จจนได้เห็น ในทางตรงข้าม ถ้าสิ่งใดก็ตามที่ไม่ใช่ พระประสงฆ์ของพระ ดูเหมือนว่าจะมีความสุขในความสำเร็จ แต่ที่สุดจะต้องฟังหรือจบลง การขอบคุณพระ ขอบคุณทุกๆคนที่มีส่วนในชีวิตและหน้าที่การงาน ไม่​่ว่าจะเป็นเรื่องใด เป็นสิ่ง ที่ต้องทำเสมอไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม เป็นพระสงฆ์ที่เป็นพระสงฆ์ ดำเนินชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ที่พระสงฆ์ควรเป็น และที่สุดซื่อสัตย์ต่อ กระแสเรียกและตายในชีวิตสงฆ์

(คุณพ่อยอแซฟ สุดเจน ฝ่นเรือง)

หน้า 13


หน้า 14


หน้า 15


แนวความคิดเรื่องงานแพร่ธรรม เป็นประเด็นที่มี การกล่าวถึงอยูต่ ลอดทุกยุคทุกสมัยในพระศาสนจักร เพราะ การแพร่ธรรมเป็นธรรมชาติ และเอกลักษณ์ของพระศาสนจักร (raison d’etre) ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การประกาศพระอาณา จักรของพระเจ้า ซึ่งเป็นแผนการกอบกู้ของพระเจ้าต่อโลก1 ส่วนหนึง่ เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า งานแพร่ธรรมของพระศาสน จักรหลังสังคายนาเมืองเตรนท์ (ค.ศ.1545-1563) เป็นงาน ที่ทำเพื่อความรอดของวิญญาณ และการวางรากฐานพระ ศาสนจักรในดินแดนต่างๆ ให้แพร่กระจายไป กล่าวคือ เน้นที่ปริมาณการโปรดศีลล้างบาป และการสร้างชุมชน คริสตชน ซึง่ แนวคิดดังกล่าวได้รบั อิทธิพลจากความคิดทีว่ า่ “นอกพระศาสนจักรไม่มีความรอด” (Extra Ecclesiam nulla salus2) ภูมิหลังเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เรามีพระ ศาสนจักรอย่างที่เป็นอยู่ อย่างไรก็ตาม มุมมองที่มีต่อการ แพร่ธรรมจำเป็นที่จะต้องเกิดการตีความใหม่ เข้าใจความ หมายใหม่ และเปิดมุมมองใหม่ๆ (re-interpret, re-reading and re-look) สังคายนาวาติกันที่สอง (ค.ศ. 1963-1965) ได้เปิด มุมมอง และทัศนคติใหม่ในการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร และได้เน้นเอกลักษณ์ของการแพร่ธรรมว่าเป็นธรรมชาติ ของพระศาสนจักร3 บรรดานักเทววิทยาด้านงานแพร่ธรรม ในยุคปัจจุบนั ได้นำเสนอแนวทางและวิธกี ารต่างๆ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ การแพร่ธรรมท่ามกลางสังคมโลกาภิวฒ ั น์และพหุนยิ ม ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในปัจจุบันก่อให้เกิดทั้งประโยชน์ และผลกระทบต่อชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร หน้า 16

การทำงานแพร่ ธ รรมในสั ง คมไทยที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย ความหลากหลาย และแตกต่างทางความคิดและค่านิยม จำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งเปิ ด วิ สั ย ทั ศ น์ แ ละมุ ม มองที่ มี ต่ อ การ แพร่ธรรมใหม่ การเสวนา (dialogue) เป็นวิธีการหนึ่ง ในขณะที่มีคนจำนวนไม่น้อยมองงานแพร่ธรรมว่าเป็นการ ทำงานกับคนที่อยู่ชายขอบของสังคม (กลุ่มชาติพันธุ์ งาน ในประเทศกัมพูชา ลาว ฯลฯ) แต่การทำงานแพร่ธรรม ไม่ควรถูกจำกัดภายใต้ขอบเขตเหล่านั้น ตรงกันข้ามเรา ควรเตรียมให้พร้อมกับการเผชิญความท้าทายใหม่ๆ ของ งานแพร่ธรรม กล่าวคือ การข้ามพรมแดนหรือขอบเขตต่าง ๆ เหล่านั้น ซึ่งเป็นการเปิดทัศนคติในการสร้างความสัมพันธ์ อันดีตอ่ พีน่ อ้ งทีน่ บั ถือต่างศาสนาด้วยความเข้าใจ และเคารพ ซึ่งกันและกัน พระศาสนจักรในประเทศไทย มีการดำเนินงานด้าน การศึกษาเป็นจำนวนมาก ความท้าทายในการเสวนากับ กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่เข้ามาสัมพันธ์กับโรงเรียน เช่น คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน พนักงาน ฯลฯ ต้องเปิดโลกทัศน์ในการ เสวนากับกลุ่มบุคคลเหล่านี้ให้มารู้จักพระเยซูเจ้า ผ่านทาง กระบวนการอบรมจริยธรรมและคุณธรรมในสถานศึกษา หลักการเรื่องการใช้โรงเรียนเป็นสนามแพร่ธรรมถูกกล่าวถึง เป็นเวลานาน แต่ในภาคปฏิบัติความเข้าใจและการดำเนิน การยังขาดรูปธรรมที่ชัดเจน การอบรมเพื่อเตรียมบุคลากร (สามเณร) สำหรับ ทำงานด้านแพร่ธรรม ควรได้รับการปลูกฝังอย่างลงลึกทั้ง จิตตารมณ์ธรรมทูต และทัศนคติที่เปิดกว้าง มิใช่การ


แพร่ธรรมเพื่อจำนวนของผู้รับศีลล้างบาปเพียงอย่างเดียว แต่การเสวนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ และทัศนคติอันดีกับ บุคคลต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม และเชื้อชาติ ในความ หลากหลายและความแตกต่างเหล่านี้ ผู้ทำงานแพร่ธรรม ควรมีทัศนคติท่เี ปิดกว้างและยอมรับในความแตกต่างของ ตนเองและผู ้ อ ื ่ น ความเป็นหนึ่งเดียว มิใ ช่การทำอะไร เหมือนๆ กัน การมีอะไรแบบเดียวกัน แต่เป็นความหนึ่ง เดียวท่ามกลางความหลายหลาก (Unity in Diversity) งานแพร่ ธ รรมมิ ใ ช่ พั น ธกิ จ ของบรรดาพระสงฆ์ นักบวชเท่านัน้ แต่เป็นพันธกิจของคริสตชนทุกคน ศีลล้างบาป ได้ประทับตราแห่งการเป็นบุตรและจารึกพันธกิจแห่งการ ประกาศในคริสตชนทุกคน พิธีบูชาขอบพระคุณ เป็นพลัง แรงใจ และการส่งออกไปสู่พันธกิจขององค์พระเยซูเจ้า ในศีลกำลังเราได้รับการเจิมและพระพรของพระจิตเจ้า สำหรับความกล้าหาญและปรีชาญาณเช่นเดียวกับบรรดา อัครสาวกทีป่ ระกาศพระทรมาน การสิน้ พระชนม์ และการ กลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าแก่บุคคลทั้งหลาย ในกรุงเยรูซาเล็มและตลอดจนสุดปลายแผ่นดิน สังคมโลกาภิวัฒน์ได้ย่อโลกให้เข้าถึงกันได้มากขึ้น ชุมชนเล็กๆ ทีอ่ ยูห่ า่ งไกล ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ เช่นเดียวกัน นีค่ อื ประโยชน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ พั น ธกิ จ งานแพร่ ธ รรมควรก้ า วข้ า มและเผชิ ญ หน้ า กั บ สิ่งเหล่านี้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มาพร้อมกับ บรรดาผู้อพยพย้ายถิ่นเพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพ และ ความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว ได้กระตุ้นเตือน งานแพร่ธรรมในชุมชนมิให้ละเลยคุณค่า ความดีงามที่มี อยู่ในวัฒนธรรมต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งจะพบได้ก็ต่อเมื่อมี การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการเสวนา ทั ศ นคติ ใ หม่ ต่ อ การทำงานแพร่ ธ รรมในสั ง คม โลกาภิวัฒน์และพหุนิยม มิได้เปลี่ยนแปลงคุณค่าและ เป้าหมายของงานแพร่ธรรม อันได้แก่การประกาศพระ อาณาจักรของพระเจ้า ซึง่ เป็นอาณาจักรแห่งความยุตธิ รรม และสันติ ความรักและการให้อภัย การยอมรับและให้ กำลังใจซึ่งกันและกัน นี่คือนิมิตหมายใหม่ของประชากร ของพระเจ้า

1 ในที่นี้ใช้คำว่าแผนการกอบกู้โลก (God’s plan of Salvation for the World) เพราะ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามักจะใช้คำว่า แผนการกอบกู้มนุษยชาติทำให้เกิดความ เข้าใจที่จำกัดการกอบกู้เพียงแค่ “มนุษย์” เท่านั้น แต่ควรจะมีความเข้าใจในลักษณะ Cosmic perspective 2 ถ้อยคำดังกล่าวปรากฏอยู่ในงานเขียนของ นักบุญซีเปรียน 3 พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตของ พระศาสนจักร หน้า 17


ประวัตนิ กั บุญจากแหล่งหนึง่ บอกว่า พระสันตะปาปา ในเอกสารเก่าแก่ของปี 354 “Depositio Martyrum” ซิกต์ตุสที่ 2 ถูกตัดพระเศียร เมื่อทหารจับกุมพระองค์ในที่ ได้เอ่ยถึงอนุสงฆ์ของพระศาสนจักรทีก่ รุงโรมองค์หนึง่ หลบซ่อนใต้ดนิ ส่วนประวัตนิ กั บุญจากอีกแหล่งหนึง่ บอกว่า พระองค์ถกู พาไปสอบปากคำสองสามชัว่ โมง และถูกนำกลับ ซึง่ เป็นทีร่ จู้ กั กันแพร่หลายในหมูส่ ตั บุรษุ ศพของท่าน มาที่เดิมเพื่อประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม นักประพันธ์ชาว ได้รับการฝังเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 258 ที่ทุ่งอาแจร์ เวรานุส คริสต์ในสมัยแรก รวมทั้งนักบุญอัมโบรสและปรูเดนชัส (ซึง่ เวลานีเ้ ป็นสุสานทีใ่ หญ่มากของกรุงโรม ชือ่ “กัมโป เวราโน”) ได้บนั ทึกว่า ลอเรนส์เศร้าโศกเสียใจอย่างท่วมท้นเมือ่ ทราบว่า ซึ่งอยู่บนถนนตีบูร์ตีนา และปัจจุบันก็ได้มีวิหารที่ได้สร้าง องค์พระสันตะปาปาถูกลงโทษประหารชีวิต นักบุญปรูเดนชัสเล่าว่า ลอเรนส์ได้ตดิ ตามพระสัน ขึ้นถวายเป็นเกียรติแด่ท่าน ชื่อว่า“วิหารนักบุญ ลอเรนซ์” ลอเรนส์เป็นชาวสเปน เดินทางมาที่กรุงโรมเพื่อรับ ตะปาปาและทหารผู้จับกุมไปยังหลักประหาร และถามว่า ใช้พระสันตะปาปานักบุญซิกต์ตสุ ที่ 2 และเป็นหนึง่ ในจำนวน “ทำไมพระองค์ตอ้ งถูกประหาร? และข้าพเจ้าเป็นสังฆานุกร สังฆานุกร 7 องค์ของกรุงโรม ทีถ่ กู จับกุม ระหว่างการเบียดเบียน คนเดียวที่ไม่ถูกประหาร” (สังฆานุกร 6 องค์ได้เป็นมรณ ศาสนา ในสมัยจักรพรรดิเวเลอเรีย่ น หลังจากการออกกฤษฎีกา สักขีพร้อมกับพระสันตะปาปาซิกต์ตุสที่ 2 ) พระประมุข ได้ตรัสตอบว่า: “ลูกรัก พ่อมิได้จากลูก อีกสองสามวันลูก ฉบับแรกต่อต้านคริสตชน ก็จะตามพ่อไป” หน้า 18


ลอเรนส์ ผูซ้ ง่ึ เปีย่ มด้วยความยินดีทจ่ี ะได้ตดิ ตามบิดา นักบุญปรูเดนชัสได้ยืนยันว่า ความตายและแบบ ผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นมรณะสักขี จะต้องทำงานที่เหลืออยู่ชิ้นหนึ่ง อย่างของลอเรนส์ได้นำกรุงโรมไปสู่การกลับใจโดยสิ้นเชิง ให้สำเร็จ ในฐานะสังฆานุกร เขาพิทักษ์รักษาทรัพย์สมบัติ และเป็นสัญลักษณ์แห่งการสิน้ สุดของลัทธิอเทวนิยม ไม่สงสัย ของพระศาสนจักร และมีหน้าที่บริจาคเงินแก่คนจน เขาได้ เลยว่าความตายของเขาได้ดลใจให้เกิดความศรัทธาอันยิ่ง รวบรวมคนจน เด็กกำพร้า และแม่ม่าย เท่าที่เขาสามารถ ใหญ่ในกรุงโรม และแพร่หลายไปทัว่ พระศาสนจักร ทัง้ สังฆานุกร หาพบ และบริจาคแก่เขาทั้งหลายทุกสิ่งที่เขาเป็นเจ้าของ นักบุญลอเรนส์ และพระสันตะปาปานักบุญซิกต์ตุสที่ 2 มี เขาได้ขายทองคำและเงินบางส่วนของพระศาสนจักร และ ชื่ออยู่ในบทภาวนามิสซาของพระศาสนจักร ยกเงินให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 แล้วที่ชื่อเสียงของท่านได้กลาย โคนิลสั เสคิวลาริส เจ้าหน้าทีโ่ รมันตำแหน่งนายอำเภอ เป็นเรือ่ งเล่าอันน่าอัศจรรย์ ลอเรนส์เป็นนักบุญทีม่ ฤี ทธานุภาพ ผู้ซึ่งมั่นใจว่า พระศาสนจักรมีเงินทองทรัพย์สมบัติมากมาย และคนเลื่อมใสกันมากในสมัยกลาง เป็นองค์อุปถัมภ์ของ ได้สั่งให้ลอเรนส์ส่งของมีค่าทั้งหมดคืนจักรพรรดิ เพื่อบำรุง สังฆานุกร เด็กนักเรียนชาย นักเรียน คนทำเกราะ คนกลั่น รักษากำลังทหารของพระองค์ เขาได้พูดว่า: “ข้าพเจ้าเข้าใจ เหล้าหรือเบียร์ คนทำลูกอม คนครัว คนทำเครื่องตัด คนทำ ว่าตามคำสัง่ สอนของท่าน ท่านจะต้องคืนซีซา่ ร์ ของของซีซา่ ร์ เครื่องแก้ว และคนซักรีดเสื้อผ้า พระเป็นเจ้าของท่านไม่ได้นำเงินตราเข้ามาในโลกพร้อมกับ ตัวอย่างของนักบุญลอเรนซ์ เป็นเหมือนเมล็ดข้าว พระองค์ สิ่งที่พระองค์ได้นำเข้ามา คือ พระวาจา ดังนั้น ทีต่ กลงบนพืน้ ดินและตายไป แต่วา่ ได้ออกผลทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ จงให้เงินตรากับเรา และท่านเก็บพระวาจาไว้” โดยได้ ก ระตุ้ น ให้ เ ยาวชนเป็ น จำนวนมากอุ ทิ ศ ตนรั บ ใช้ ลอเรนส์ขอเวลา 3 วันเพื่อรวบรวมเงินตราทั้งหมด พระศาสนจักรและคนยากจนอย่างสุดชีวิต ในระหว่างนั้น เขาได้ขายทรัพย์สินที่เหลือซึ่งเขาดูแลอยู่ และเรียกชุมนุมคนโรคเรื้อนเป็นพันๆ คนตาบอด คนป่วย คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ คนหิวโหย แม่มา่ ย เด็กกำพร้า และคนสูงอายุ แล้วเขาได้ยก ฝูงชนนี ้ ใ ห้ นายอำเภอ และพูดจากระทบกระเที ย บว่ า: 1. ขอให้กจิ การแห่งความรักช่วยเหลือผูอ้ น่ื ของพระศาสนจักร “พระศาสนาจักรร่ำรวยจริงๆ ร่ำรวยยิง่ กว่าจักรพรรดิของท่าน” ได้เป็นการปลดปล่อยที่แท้จริง ตามจิตตารมณ์คริสตชน ด้วยความโมโหและความเคียดแค้น ในวันที่ 10 2. ขอให้บรรดาคริสตชนได้มีใจรักความยากจนและช่วย สิงหาคม ค.ศ. 258 นายอำเภอได้สั่งฆ่าลอเรนส์อย่างช้าๆ เหลือคนจนฉันท์พี่น้อง เขาได้เอาตะแกรงปิง้ เนือ้ ขนาดใหญ่ มารนไฟให้รอ้ นจัดจนแดง 3. ขอให้บูชามิสซาช่วยเหลือเราให้คิดถึงความจำเป็นและ มัดลอเรนส์ติดกับตะแกรง และปิ้งเขาจนถึงแก่ความตาย ปัญหาต่างๆ ของพระศาสนจักร นักบุญอัมโบรสบอกเราว่า ไฟแห่งความรักต่อองค์พระเจ้า 4. ข้าแต่พระคริสตเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงโปรดส่องสว่างช่วย ได้เผาไหม้ร่างกายของลอเรนส์ อย่างเจิดจ้า จนเขามีความ เหลือ สนับสนุนให้กำลังใจและนำบรรดาพระสงฆ์และอนุสงฆ์ อดทนต่อการทรมานอันทารุณโหดร้ายอย่างสงบ และใน ขณะทรมาน เขาได้บอกให้เพชฌฆาตพลิกตัวเขา เพราะ เขาสุกเพียงข้างเดียว แล้วต่อมาเขาได้พูดว่า: “ท่านปิ้งข้าพ เจ้านานพอสมควรแล้ว เชิญรับประทานได้เลย” ขณะกำลัง หมดลมหายใจ ใบหน้าของเขาล้อมรอบไปด้วยแสงสว่าง สวยงามยิง่ นัก เขาได้สน้ิ ใจ หลังจากสวดภาวนา: “ขอให้กรุงโรม กลับใจมานับถือพระเยซูคริสตเจ้า และความเชื่อคาทอลิก เผยแพร่ไปทั่วโลก” หน้า 19


“คุณอาจจะได้รับความสนใจจากหลาย ๆ คน ในโลกไซเบอร์ แต่คุณอยู่โลกแห่งความจริง บางครั้งก็ไม่มีคนสนใจคุณเหมือน สุนัขตัวหนึ่ง” เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผมได้มีโอกาสไปเดินเล่นในช่วงวันหยุดในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เป็นช่วงเวลาที่ได้พัก ได้มอง และได้คิดอะไรบ้าง ผมนั่งมอง สังเกตเห็นพฤติกรรมเยาวชนที่เดินผ่านไปมา ทำให้รับรู้ถึงสไตล์ชีวิตที่หลากหลาย การแต่งตัวตามเทรนต่าง ๆ เรกเก้บ้าง สกาบ้าง กางเกงยีนส์ขาเดฟ ยาวบ้าง สั้นบ้าง นอกจากนี้ยังมีเรื่องโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันนี้เด็กใช้ blackberry หรือที่รู้จักกันในชื่อ BBกันแล้ว ราคาหลายหมื่นอยู่ วันนั้นผมนั่งอยู่ร้านกาแฟนานมาก จนผมได้สะดุดตามองเห็นน้องผู้หญิงสองคนเดินมานั่งโต๊ะข้าง ๆ ต่างคนต่างหยิบโทรศัพท์ BB ขึ้นมาเล่นในโลกส่วนตัว นั่งเงียบ ๆ ต่างคนต่างเล่นอยู่หลายชั่วโมง เหมือนมาคนเดียว ทำให้ผมรู้สึกว่า อ้าว ! มาด้วยกันยังไม่คุยกันเลย เกิดอะไร ขึ้นกับพวกเขา ผมเองก็นำข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในใจไปพูดคุยกับคนอื่น “ทำไมโทรศัพท์ที่แชท ทำให้เราไม่ต้องคุยกัน” สำหรับคนที่ใช้ก็บอกว่าดี เวลาไปอบรมสัมมนาที่ไหนไม่ต้องกลัวเลยว่าจะต้องหาเพื่อนใหม่ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีเพื่อน หรือบางครัง้ อาจจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีเพือ่ นเลยก็ได้ มี BB เครือ่ งเดียวจบ เวลานัง่ ฟังบรรยายหรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าง่วง หรือเบื่อ ก็หยิบมาแชทคุยกับเพื่อนที่เราแอดไว้ก็เพลินดีนะ (อื่อ! ไม่แน่นะต่อไปอาจเอาซิมโทรศัพท์อมไว้ในปาก แล้วอยากคุยกับใครก็ได้คุย) น้องเยาวชนคนหนึง่ เล่าประสบการณ์ให้ฟงั ว่า เวลาไปกินข้าว กับครอบครัว น้องสาวชอบเอามือขวาถือช้อน มือซ้ายแชท BB ทำสองอย่างในเวลาเดียวกัน ไม่สนใจคนรอบข้าง ว่างเป็นเล่น แม้กระทั่ง กินข้าว นั่งรถไปเรียน หรือแม้แต่เวลาเข้าห้องน้ำ นี่คือ ประสบการณ์ที่น้องเยาวชนได้เล่าให้ผมฟัง ทำให้ผมนึกถึงเพื่อนคนหนึ่งที่ชอบทำอะไรแปลก ๆเวลาอยู่ ด้วยกันในรถสองคน เพื่อนผมจะต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทร โทรไป หาคนอืน่ แบบไม่ใช่เรือ่ งธุระมากมาย ประมาณว่าอยูท่ ไ่ี หน ทำอะไรอยู่ ทานข้าวหรือยัง ตอนนี้กำลังนั่งรถ เค เค แค่นี้นะ แล้วก็วาง สองนาที หน้า 20


ผ่านไปก็หยิบมาโทรอีก โทรหาอีกคนหนึ่ง แล้วก็พูดคำถามเดิม ๆ จนถึงร้านข้าวก็ยงั ไม่หยุด จนผมเริม่ หงุดหงิด คิดว่า มาสองคนเหมือนมาคนเดียวเลย

ผมมีคำถามพฤติกรรมแบบน่าคิด ลองดูนะ!

เวลาเราอยูใ่ นสถานทีไ่ ม่คนุ้ เคย เช่น เวลาทีเ่ ราต้องอยูใ่ นรถประจำทาง บนโต๊ะอาหาร กับคนทีเ่ ราไม่สนิทด้วย หรือว่าเวลาเราต้องไปประชุมกับผูใ้ หญ่ เรามักจะหยิบโทรศัพท์ขนึ้ มา โทรหาใครสักคนหนึง่ ใช่ไหม? เพือ่ สร้างความมัน่ ใจให้กบั ตัวเองจริงหรือเปล่า? เวลาที่เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ สังคมใหม่ เราจะรู้สึกกังวลแล้วหยิบ โทรศัพท์มากดเล่น หรือเดินไปห้องน้ำแล้วโทรหาใครสักคนทีอ่ ยากเล่าให้เขาฟังหรือเปล่า

เทคโนโลยีในปัจจุบัน และการสื่อสารที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วนั้นทำให้เราสบายเกินไป อยากคุยกับใครก็ได้คุย จะส่งข่าวสารอะไรก็สะดวก บางทีความสะดวกก็ไม่ดีเหมือนกัน นั่นผมกำลังหมายถึงเรื่องของการให้ความสำคัญกับคน รอบข้าง พ่อแม่ เพื่อนร่วมงาน การสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่มคนใหม่ ๆ ในสังคม หลายครั้งเราลืมคิดไปว่า เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ทำให้เราติดต่อ รู้สึกใกล้ชิดกับคนที่อยู่ไกล ๆ ได้นั้น มันกลับกลายเป็นทำให้เราต้องห่างกับคนที่ อยู่ใกล้ตัวเราออกไปทุกที การที่เราตีกรอบโลกส่วนตัวของเรานั้น เป็นจริงดังที่มีคนกล่าวไว้ว่า “คุณอาจจะได้รับความ สนใจจากหลาย ๆ คนในโลกไซเบอร์ แต่คณ ุ อยูโ่ ลกแห่งความจริง บางครัง้ ก็ไม่มคี นสนใจคุณเหมือนสุนขั ตัวหนึง่ ” ครัง้ แรกทีไ่ ด้อา่ น รูส้ กึ เป็นคำทีแ่ รงและหยาบคาย แต่หลังจากได้เห็นและได้สมั ผัสด้วยประสบการณ์ตวั เอง ทำให้ตอ้ งมอง ย้อนดูตัวเราว่ามันเป็นจริงมากน้อยขนาดไหนกับตัวเราเอง บางคนอาจจะมีคนคุยด้วยมากมายเวลาแชท แต่คุณไม่เคย คุยกับคนที่อยู่ข้าง ๆ ตัวคุณเลย ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องน่าคิดสำหรับเยาวชนที่กำลังสนใจและให้ความสำคัญกับสื่อเทคโนโลยี เหล่านี ้ พีห่ วังให้นอ้ งเยาวชนได้ตระหนักถึงกาลเทศะ ความพอดีทเ่ี หมาะสมกับชีวติ ของแต่ละคน ซึง่ ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน รวมทัง้ การจัดลำดับความสำคัญในชีวติ โดยเฉพาะโอกาสทีเ่ ราจะได้แสวงหาและพบเพือ่ นใหม่ในคนรอบข้าง การแนะนำ ตัวเอง การสร้างการยอมรับในสังคม เริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ ง่าย ๆ ก่อน เช่น มีน้ำใจกับคนที่เราไม่รู้จัก ยิ้มแย้ม กล้าที่จะ แสดงความคิดเห็น สิ่งเล็กๆ ง่าย ๆ นี้แหละที่จะช่วยสร้างมิตรภาพ ทำให้เราเป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไปที่ไหนก็ สร้างเพือ่ นได้ดว้ ยตัวเราเอง ไม่ตอ้ งกลัวเบือ่ ไม่ตอ้ งกลัวเหงา ทีส่ ำคัญไม่จำเป็นต้องมีเงินเยอะถึงจะมีเพือ่ นได้ “เทคโนโลยี ไม่ใช่เพื่อนของฉัน แต่เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้การติดต่อของฉันสะดวกและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น” “...เพื่อนของฉันนั่งอยู่ข้าง ๆ ใกล้ ๆ ฉันนี่ไง...”

หน้า 21


ถาม พ่อครับ ผมทราบมาว่า คาทอลิกบางคน น้ำใจดี ชอบช่วยเหลือกิจการของวัด มาวัดประจำ แต่ น่าเสียดายไม่สามารถแก้บาป – รับศีลได้ เพราะคาทอลิก คนนั้นแต่งงานไม่ถูกต้อง พ่อช่วยอธิบาย และบอกวิธีการ แก้ไขด้วยครับ ตอบ เป็นคำถามที่ดีมาก ปัญหานี้ น่าจะเป็น ปัญหาของทุกวัด ขอตอบสั้นๆ ดังนี้นะ คาทอลิกที่แต่งงาน ไม่ถูกต้อง มี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบที่ 1 คาทอลิกไม่ได้ทำพิธีแต่งงานอย่างถูกต้อง คาทอลิกคนนั้นแต่งงานเฉพาะทางบ้านเมือง หรืออยู่กินกัน เฉย ๆ โดยที่ไม่มีการทำพิธีแต่งงานอย่างถูกต้องต่อหน้า พระสงฆ์ แบบที่ 2 ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพันธะจากคู่ครองเดิม จึงไม่สามารถแต่งงานใหม่ได้ ถ้าเป็นคาทอลิก คาทอลิกนั้น เคยทำพิธีแต่งงานถูกต้องมาแล้ว แยกทางกัน และคาทอลิก นั้น อยู่กินกันกับคู่ครองใหม่ ถ้าไม่ใช่คาทอลิก ผู้นั้นเคยจด ทะเบียนสมรสกับคู่ครองเดิมมาแล้ว ต่อมาแยกทางกัน แล้วมาอยู่กินกับคาทอลิก วิธีการแก้ไข การแต่งงานแบบที่ 1 ถ้าทั้งสองสมัครใจ และพร้อม สามารถไปปรึกษา คุณพ่อเจ้าอาวาสที่วัด เพื่อนัดแนะกันทำพิธีแต่งงานให้ ถูกต้องได้เลย การแต่งงานแบบที่ 2 ต้ อ งใช้ วิ ธี ผ่ า นกระบวนการทางสำนั ก วิ นิ จ ฉั ย คดี เมื ่ อ เสร็ จสิ ้ น แล้ ว จึ ง สามารถแต่ ง งานได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง หน้า 22


ถาม พ่อครับ แล้ว “สำนักวินิจฉัยคดี” คืออะไร

ตอบ “สำนักวินิจฉัยคดี” เป็นคำที่ใช้ในวงการคาทอลิกไทย เพื่อ แทนคำว่า “ศาลพระศาสนจักร” เพราะ คำว่า “ศาล” มักจะเข้าใจในเรื่อง ของการตัดสินว่า ใครผิดใครไม่ผิด ส่วนสำนักวินิจฉัยคดี เป็นการแสวงหา ความจริงแล้วพิจารณาการแต่งงานนัน้ ว่า ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถกู ต้องก็เป็น โมฆะ จึงเป็นการวินจิ ฉัย การแต่งงานนัน้ ๆ ตามข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง การทำงานของสำนักวินิจฉัยคดี จะมีพระสงฆ์ 4 ท่านทำงานร่วม กัน เป็นผู้พิพากษา 3 ท่าน ผู้ปกป้องพันธะ 1 ท่าน เมื่อทั้ง 4 ท่านพิจารณา เสร็จสิน้ ก็จะส่งต่อไปทีส่ ำนักวินจิ ฉัยคดีขน้ั ทีส่ อง ซึง่ จะมีพระสงฆ์อกี 4 ท่าน พิจารณาเช่นเดียวกันหากผ่านสำนักวินิจฉัยขั้นที่สองแล้ว ก็ถือว่าคดี แต่งงานนี้สิ้นสุด ในประเทศไทย มี 2 สำนักวินิจฉัยคดี คือ สำนักงานวินิจฉัยคดีกรุงเทพฯ และปริสังฆมณฑล ซึ่งรับผิด ชอบ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สังฆมณฑลราชบุรี สังฆมณฑลจันทบุรี สังฆมณฑลเชียงใหม่ สังฆมณฑลนครสวรรค์ สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี สำนักงานวินิจฉัยคดีท่าแร่ - หนองแสง และปริสังฆณฑล ซึ่งรับผิดชอบอัครสังฆมณฑลท่าแร่ – หนองแสง สังฆมณฑลนครราชสีมา สังฆมณฑลอุบลราชธานี สังฆมณฑลอุดรธานี ทั้งสองสำนักวินิจฉัยคดี จะเป็นสำนักวินิจฉัยคดีขั้นที่สองของกันและกัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมที่ คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุข จิต สำนักวินิจฉัยคดี ศูนย์สังฆ มณฑลจันทบุรี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632

หน้า 23


ของตนเองด้วยความทุกข์ด้วยอารมณ์หงุดหงิดและไม่อยากทำงานเพราะว่า......... สารี เป็นคนเถียงเก่งเหลือหลาย เถียงคำไม่ตกฟาก ขอให้ได้เถียงเป็น ใช้ได้ ทำอย่างไรจะเปลี่ยนเขาได้? อิสระ เป็นคนที่เห็นแก่ตัวและเป็นคนหยิ่ง ทะนงเป็นอย่างมาก เขาเป็น แบบนี้มานานแล้ว ไม่เคยเปลี่ยน วจี เป็นคนที่ชอบพูดโกหก เวลาที่เธอพูดต้องเอาดิน หิน แร่ต่าง ๆ กรอง เพื่อจะหาว่าอะไรที่เธอพูดเป็นเรื่องจริงบ้าง ยาหยี เป็นคนที่ชอบประจบ ชอบสอพลเหลือเกิน หัวหน้ามาคราวใด ต้องเห็นยาหยีเหมือนเงาตามตัวหัวหน้า ปันงา เป็นคนมีห้ากระเพาะ เพราะทานได้ทั้งวัน ขนมกี่ชิ้นวางไว้บนโต๊ะ ไม่เคยเหลือมาถึงเรา

หน้า 24

อาสา ชายวัยกลางคน หน้าตาเคร่งเครียด กำลังนั่งคิดถึงเพื่อนร่วมงาน


ทุกวันถึงที่ทำงาน อาสา จะคิดแต่คนโน้น คนนี้ เป็นคนแบบนี้ เป็นคนแบบนั้น ทำให้เขาหน้าตาของ เขาปราศจากรอยยิ้มตลอดเวลา

เราเป็นเหมือนกับอาสาหรือเปล่า? ตลอดเวลาตัดสินเพื่อนพี่น้องว่าเขาเป็นแบบนั้น เขาเป็นแบบนี้ หรือแม้แต่ สวดภาวนาเราก็ยังตำหนิเพื่อนพี่น้องเหมือนกับฟาริสีที่ยืนอธิษฐานภาวนาในใจว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าขอบพระคุณ พระองค์ที่ข้าพเจ้าไม่เป็นเหมือนมนุษย์คนอื่น ที่เป็นขโมย อยุติธรรม ล่วงประเวณี หรือเหมือนคนเก็บภาษีคนนี้ ข้าพเจ้า จำศีลอดอาหารสัปดาห์ละสองวัน และถวายหนึ่งในสิบของรายได้ทั้งหมดของข้าพเจ้า”(ลก. 18: 10-12) หากเราเป็นเหมือนอาสา คุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตาบอกว่า “ถ้าท่านตัดสินเพือ่ นพีน่ อ้ ง ท่านจะไม่มเี วลารักพวกเขา” วิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ นักเขียนชื่อดังได้กล่าวว่า “ไม่มีอะไรที่ดีหรือเลว แต่ความคิดเราต่างหากที่ทำให้มันดีหรือเลว” ใช่แล้ว คนเราบางครั้งเป็นทุกข์ไม่ใช่เพราะคนที่อยู่รอบข้างตัวเอง แต่เป็นทุกข์เพราะความคิดของตัวเอง ทัศนคติของตัวเองต่าง หากที่ทำให้เป็นทุกข์ คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้ โดยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเรา วันหนึ่งขณะที่ซารากำลังนั่งดูพยากรณ์อากาศช่องบีบีซี พิธีกรได้รายงานว่า “วันนี้อากาศไม่ดี ฝนตกหนัก จะเป็น วันทีแ่ ย่มาก ๆ สำหรับคนทีจ่ ะออกไปข้างนอก” ทันที่ ทีฟ่ งั ดังนัน้ ซาราได้เขียนโน๊ตส่งไปให้ทบ่ี บี ซี วี า่ “ฝนไม่ได้ทำให้วนั ของเรา แย่หรอกนะ แต่มันทำให้ทุ่งหญ้าเขียวสดชื่น ชาวนาต้องการมัน มันเป็นวันที่ดีสำหรับชาวนา” หรือเราลองกลับไปมองชาวสะมาเรียผู้ใจดี (ลก. 10:25-37) ที่ได้ช่วยชาวยิวที่ถูกโจรปล้น และทำร้ายบาดเจ็บ สาหัส ในระหว่างเดินทางไปเยรีโค ความเกลียดชังที่ชาวยิวมีต่อพวกเขา (ชาวสะมาเรีย) ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่ชาวสะมา เรียคนนั้นช่วยเหลือชาวยิวผู้บาดเจ็บ ตรงข้ามช่วยเหลือผู้บาดเจ็บคนนั้นอย่างดี เห็นไหม จะทุกข์หรือสุข ดีหรือไม่ดี รักหรือเกลียด มันขึ้นอยู่กับว่า เราปรุงแต่งอารมณ์ของเราอย่างไร?

เราไม่สามารถเปลี่ยน อารี ซึ่งเป็นคนเถียงเก่งได้ แต่เราเปลี่ยนทัศนคติของเราว่า เราเคยบอกเขาและเขาไม่เถียง เขาก็ยอมรับสิ่งต่างๆ ได้นี่นา เราไม่สามารถเปลี่ยน อิสระ ซึ่งเป็นคนเห็นแก่ตัว แต่เราเปลี่ยนทัศนคติของเราว่า เราเคยเห็นเขาช่วยเหลือเพื่อนนี่นา เราไม่สามารถเปลี่ยน วจี ซึ่งเป็นคนโกหก แต่เราเปลี่ยนทัศนคติของเราว่า เขาเคย พูดความจริงกับเรา เราไม่สามารถเปลี่ยน ยาหยี ซึ่งเป็นคนที่ชอบประจบ แต่เราเปลี่ยนทัศนคติของเราว่า แต่เขาไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อนเลย เราไม่สามารถเปลี่ยน ปันงา ซึ่งเป็นกินดะได้ แต่เราเปลี่ยนทัศนคติของเราว่า เขาก็เคย เอาน้ำพริกปลาทูมาฝากฉันนี่ นักบุญเปาโลในจดหมายถึงชาวโรมบอกกับเราว่า “เมื่อท่านกล่าวโทษผู้อื่น ท่านก็ได้กล่าวโทษตัวเองด้วย” (รม. 2:1) ดังนั้น “ในฐานะที่ท่านเป็นคนที่พระเจ้าทรงเลือกไว้ เป็นพวกบริสุทธิ์ และเป็นพวกที่ทรงรัก จงสวมใจเมตตา ใจปรานี ใจถ่อม ใจอ่อน ใจอดทนไว้นาน จงผ่อนหนักผ่อนเบาซึง่ กันและกัน” (โคโลสี 3:12-13) “ด้วยว่า พระเจ้าทรงเป็นปฏิปกั ษ์กบั คนเหล่านั้นที่ถือตัวจองหอง” (1เปโตร 5:5)

หน้า 25


คงเป็นเรือ่ งแปลกมาก เลย หากเราบอกหรือสัง่ ให้ ใครคนใดคนหนึง่ เดิน และบุคคลนัน้ ก็เริม่ เดิน เดินไปเรือ่ ยๆ โดยไม่เอ่ยปากถามสักคำว่า ให้เดินไปไหน แต่เราจะรู้สึก สบายใจมากทีเดียว ถ้ามีคำถามกลับมาว่า ให้เดินไปทางไหน เพราะเราจะได้บอกทิศทางแก่เขาได้ว่า ให้เดินไป ณ ที่ใด ทีห่ นึง่ กระนัน้ ก็ตาม แม้เมือ่ กำหนดว่าให้ไป ณ ทีต่ รงโน้น พร้อมกับชี้ทิศทางให้แล้ว บุคคลนั้นก็รีบตั้งหน้าตั้งตาไป โดยไม่เอ่ยปากถามเลยว่า จะให้ไปถึงไหน และไปทำไม เราคงรูส้ กึ หงุดหงิดใจมากๆ เดชะบุญ สักพักหนึง่ บุคคลนัน้ ก็หนั มาถามว่า จะให้ไปถึงไหน และไปทำอะไรกัน ตัวอย่างสัน้ ๆ นี้ทำให้เราเห็นว่า การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีทิศทาง ต้อง ประกอบไปด้วยคำถาม และคำตอบดังที่กล่าวมานี้ ต้องมี การสนทนา และไต่ถามกันว่า จะให้ไปไหนกัน ไปถึงไหน ไปทำอะไรกัน และทำไมจึงต้องทำสิ่งนั้นๆ พระศาสนจักรไทยดำเนินงานอภิบาลทีพ่ ระเยซูเจ้า ได้ทรงมอบหมายให้ ในประเทศไทย มาเป็นเวลากว่า 350 ปี แน่นอนทีเดียว พระศาสนจักรมีทิศทางในการดำเนินงาน อภิบาลเสมอมา แต่ในระยะเวลา 10-20 ปีที่ผ่านมา ได้มี

หน้า 26

การกำหนดทิศทางขึน้ มา โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในปี ค.ศ. 2000 ได้มีกระบวนการ การจัดทำทิศทางงานอภิบาล โดยเชิญชวน ให้คริสตชนทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางฯ มีคริสตชนบางท่านได้มีส่วนร่วมกำหนดทิศทางในปี ค.ศ.1987 แต่ในปี ค.ศ.2000 การมีส่วนร่วม ในการกำหนด ทิ ศทาง ได้ ขยายวงกว้ างมากขึ ้ น ทุ ก สั ง ฆมณฑลได้ จ ั ด กระบวนการ การกำหนดทิศทางสอดคล้องกับกระบวนการ ที่สภาพระสังฆราชฯได้จัดขึ้น ตลอดช่วงเวลาเตรียมกำหนด ทิศทางฯ คริสตชนทุกฐานันดร ได้มีโอกาสพบปะสนทนากัน ว่ า ในสภาพสั ง คมไทยปั จ จุ บั น มี นิ มิ ต หมายแห่ ง กาลเวลา ประการใด ที่พระเจ้าทรงเชิญชวนให้เราดำเนินงานอภิบาล ต่างคนต่างฝ่าย ต่างก็แสวงหา และเสนอแนะว่า พระศาสนจักร ควรให้งานอภิบาลดำเนินไปในทิศทางใด และบนทิศทางดังกล่าว พระศาสนจักรจะต้องทำอะไรบ้าง โดยมีความสำนึกตระหนัก ว่าทำไมจึงจะต้องกระทำเช่นนั้น การกำหนดทิศทางดังกล่าวนี้ ยิ่งมีคริสตชนเข้ามามี ส่วนร่วมมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ทิศทางชัดเจนขึ้น ทุกคนที่มี ส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางจะเกิดการตระหนักว่า ตนมี


ส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางดังกล่าว หรืออาจกล่าวได้ว่า ทิศทางทีไ่ ด้รบั การกำหนดนัน้ มิใช่เป็นของพระศาสนจักรใน แง่สถาบันเท่านั้น แต่เป็นของผู้ที่มีส่วนร่วม แต่ละคนที่เป็น สมาชิกของพระศาสนจักร ซึ่งได้ร่วมใจกันกำหนดทิศทาง งานอภิบาลดังกล่าวขึ้น การมีสว่ นร่วมในการกำหนดทิศทาง ยังนำไปสูก่ าร มีสว่ นร่วมนำลงสูภ่ าคปฏิบตั อิ กี ด้วย ก่อนอืน่ หมด ผูท้ ม่ี สี ว่ น ร่วมในการกำหนด ก็จะมีความสำนึกนำไปขยายผล ด้วย การนำกระบวนการการกำหนดทิศทางไปแบ่งปัน และ เชิญชวนให้ผู้อื่นกระทำในลักษณะเดียวกัน ในระดับย่อย ทีส่ อดคล้องกับสภาพท้องถิน่ การกระทำเช่นนี้ ก็จะเกิดการ ประสานสัมพันธ์ในแต่ละชุมชน ทุกคนจะก้าวเดินไปในลูท่ าง และทิศทางเดียวกัน ตั้ ง แต่ มี ก ารกำหนดทิ ศ ทางงานอภิ บ าลขึ้ น เป็ น ลายลักษณ์อักษรเป็นต้นมา โดยเฉพาะทิศทางงานอภิบาล ค.ศ.2000 คริสตชนหลายๆ ท่าน รูส้ กึ ภูมใิ จในพระศาสนจักร ทีไ่ ด้กำหนดทิศทางอภิบาลเป็นรูปธรรม และชัดเจน สามารถ นำไปกำหนดเป็นโครงการต่อเนื่อง ทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว สามารถติดตามและประเมินผลได้วา่ การดำเนิน งานอภิบาลได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับพระศาสนจักร ทัง้ ประเทศหรือไม่ ยิง่ ทราบว่าทุกหนทุกแห่งกำลังมุง่ เดินไป

บนทิศทางเดียวกัน ก็ยง่ิ เกิดพลัง เกิดความมัน่ ใจ และความ หวังมากขึ้นว่า คริสตชนจะได้รับ “ชีวิตและชีวิตอย่าง สมบูรณ์” (ยน 10:10) ตามที่พระคริสตเจ้า นายชุมพาบาล ที่ดีมีพระประสงค์นำมาให้แก่มวลมนุษย์ อย่างแน่นอน พี ่ น ้ อ งที ่ ไ ด้ มี ส่ วนร่ วมกำหนด แผนทิ ศทางงาน อภิบาล 2010-2015 คงต้องรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจ ที่ได้ มีส่วนร่วมในกระบวนการ การกำหนดทิศทางงานอภิบาล ของพระศาสนจักรไทย ในช่วง 5 ปีตอ่ ไปนี้ ทุกคนคงตระหนัก ดีว่า ทิศทางงานอภิบาลนัน้ มีความสำคัญมากน้อยประการใด ในระหว่างดำเนินการกำหนดทิศทางฯนั้น ภาพของการเป็น ศิษย์แท้ของพระเยซูคริสตเจ้า ปรากฏออกมาชัดเจน เช่น ความเป็นหนึ่งเดียวในความต่าง ที่ได้สะท้อนภาพความรัก แบบพระตรีเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่ได้นำ ความคิดอ่านและประสบการณ์ชีวิต มารวมเป็นของกลาง ซึ่งทำให้พระศาสนจักรร่ำรวยขึ้น ศิษย์ของพระคริสต์มิใช่ ต่างคนต่างก้าวเดินไปคนละทิศละทาง แต่กลับกลายเป็น ชุมชนศิษย์ของพระคริสต์ ทีท่ กุ คนมีสว่ นรับทราบ รูเ้ ห็นและ เป็นเจ้าของทิศทางงานอภิบาลร่วมกัน ภาพพระศาสนจักรคือ ประชากรของพระเจ้า ปรากฏอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ชนิดที่สามารถสัมผัสได้ ในการกำหนดทิศทางงานอภิบาล แต่ละครั้ง

หน้า 27


หน้า 28


มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา หรือ บ้านเด็กกำพร้า พัทยา นั้น เป็นครอบครัวใหญ่ทเ่ี ด็กกำพร้า เด็กหนวกใบ้ และเด็กพิการทางสมอง รวมกันกว่า 180 ชีวิต มาอยู่ด้วยกันอย่างสนุกสนานและอบอุ่น ได้ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน คศ. 1974 โดยพระคุณเจ้า เทียนชัย สมานจิต ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นผู้อนุมัติให้จัดตั้ง โดยมอบที่ดินให้ใช้ดำเนินการและเป็นประธานกรรมการมูลนิธิฯ มีคุณพ่อเรย์ เบรนนัน สงฆ์คณะพระมหาไถ่อาสาเป็นผู้ดำเนินการ ก่อสร้างและจัดการเลี้ยงดูเด็กให้ ทั้งนี้โดยได้รับความคิดริเริ่มและ สนับสนุนส่วนหนึ่งจากคณะทหารอเมริกันผู้หาทุนมาช่วยในยุค ก่อตั้งเป็นจำนวนห้าแสนบาทถ้วน เซอร์คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ช่วยดูแลเด็กๆ ในระยะห้าปีแรก ต่อมา ซิสเตอร์ คณะรักกางเขน แห่งจันทบุรี รับช่วงช่วยดูแลต่อมาจนทุกวันนี้ นับเฉพาะเด็กกำพร้าที่มูลนิธิฯ ได้ดูแลชุบชูชีวิตให้มีความสุขจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ผู้มีอนาคตในสังคมไปแล้วนั้น มีจำนวนกว่า 800 คน ในจำนวนดังกล่าวกว่า 460 คน มีครอบครัวชาวยุโรปได้รับไปเป็นบุตรบุญธรรม มีความเป็นอยู่ที่ดี และอบอุ่น ปัจจุบันมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา มีคุณพ่อวีระ ผังรักษ์ เป็นผู้อำนวยการ ร่วมกับซิสเตอร์และเจ้าหน้าที่ ให้การดูแลเอาใจใส่เด็กๆ 184 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กกำพร้า 149 คน ส่วนอีก 35 คน เป็นเด็กพิการทางหู ซึ่งมูลนิธิฯ เอาใจใส่ดูแลในนาม โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา ความใฝ่ฝันของมูลนิธิฯ คือ ให้ลูกๆ ทุกคนได้เจริญเติบโตเป็น คนดีมีวินัยในตนเอง มีคุณภาพ เพื่อสามารถครองตนอยู่ในสังคมปัจจุบัน ได้อย่างมีความสุข เพือ่ บรรลุถงึ ความใฝ่ฝนั ดังกล่าว เราจึงได้จดั ให้เด็กทุกคน ได้รับการฝึกอบรมในโรงเรียนคาทอลิก ให้ได้รับการอบรมบ่มนิสัย มีวินัย มีคุณธรรมประจำใจ จะได้นำวิชาความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต แก้ปัญหา ของตนได้ และมีการงานอาชีพสุจริต มีครอบครัวที่อบอุ่น เพราะเราไม่มี ทรัพย์สินอะไรจะให้ลูกๆ ของเราเป็นมรดก เราจึงให้การศึกษาอบรมที่มี คุณภาพแก่ลูกทุกคนเป็นมรดก กล่าวคือ ให้โอกาสลูกทุกคนได้ศึกษา เล่าเรียนจนจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย โดยเริม่ ตัง้ แต่ชน้ั อนุบาลไปจนถึง อุดมศึกษา แม้ว่าจะต้องแบกภาระหาทุนมาให้เป็นจำนวนมากก็ตามที หน้า 29


โอกาสที่มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา ได้เปิดดำเนินการเลี้ยงดูเด็กมา ได้ ครบ 36 ปีในปีนี้ ทางคณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงเตรียมการให้มีงาน สมโภชในวันเสาร์ที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2010 เพื่อขอบคุณพระที่อวยพร และเลี้ยงดูลูกๆ มาโดยตลอด ขอบคุณผู้มีอุปการคุณทั้งหลายและถือ โอกาสชุ ม นุ ม ศิ ษ ย์ เ ก่ า ทั้ ง หลายผู้ จ บออกไปจากบ้ า นนี้ แ ล้ ว ทุ ก คน พร้อมทั้งถือโอกาสจัดตั้ง “ทุนเลี้ยงเด็กกำพร้า พัทยา” โดยเชิญชวนผู้มี จิตศรัทธาทั้งหลาย ร่วมมือร่วมใจกันสนับสนุนให้ทุนนี้เติบโต สามารถ เป็นกำลังสนับสนุนและสานฝันให้ลูกๆ ทุกคนได้สำเร็จการศึกษาอย่าง ดีมีคุณภาพ สมดังเจตนารมณ์ที่ได้ตั้งไว้

ที่อยู่ มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา เลขที่ 384 หมู่ 6 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 หรือ ตู้ ป.ณ. 300 ปณฝ. เมืองพัทยา 20260 โทรศัพท์ 038 423 468 โทรสาร 038 416 425 E-mail: info@thepattayaorphanage.org www.thepattayaorphanage.org

หน้า 30


หน้า 31


หน้า 32


หน้า 33


หน้า 34


หน้า 35


กติกาการร่วมสนุก

- อ่านคำถามที่อยู่ทางด้านล่าง แล้วนำคำตอนที่ได้มาเติมลงในช่องว่าที่กำหนดให้ - เขียน ชื่อ ที่อยู่ให้ชัดเจน แล้วส่งมาที่ หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี - ผู้ที่ตอบถูกต้อง 5 ท่านแรกรอรับของที่ระลึกจากทางหน่วงาน

คำถาม

1. น.ลูกา หรือชื่อว่า.... ในภาษาอังกฤษ 2. น.ลูกา เกิดที่เมืองใด 3. น.ลูกา มีอาชีพอะไร 4. สัญลักษณ์ของท่านคือ 5. น.ลูกา ฉลองศาสนนามวันที่ เท่าไรและเดือนอะไร 6. ท่าน.ลูกาทำงานแพร์ธรรมร่วมกับใคร 7. มีเพียงพระวรสารของท่าเท่านั้นที่บรรจุเรื่องราวการแจ้งข่าวการประสูติของพระเยซูเจ้า โดยทูตสวรรค์ ซึ่งเป็นรากฐานของบทสวดใด 8. ท่านเป็นองค์อุปถัมภ์ของใคร ์ 9. ท่านเขียนพระวรสารประมาณกี่ปีหลังคริสตการ 10. ผู้เขียนพระวรสารทั้งสี่ มีเพียงท่านเดียวที่ไม่ใช่ชาวยิว ท่านนั้นคือ 11. ท่านถือกำเนิดเป็นชาวอะไร 12. นักบุญลูกาได้แสดงให้เห็นว่า ชีวิตและพระภารกิจของพระเยซูเจ้าเป็น เสมือนอะไร หน้า 36


ข้อคิดของคุณแม่ เทเรซา แห่งกัลกัตตา บ่อยครั้ง คนเราอาจไม่มีเหตุผลซักเท่าใดนัก และเอาตนเองเป็นที่ตั้ง ยังไงซะ ก็จงยกโทษให้เขา ถ้าเราจะใจดีกับใครสักคน บางคนอาจกล่าวหาว่าเราเห็นแก่ตัว หรือมีแรงจูงใจที่ไม่สู้ดีนัก ยังไงซะ ก็จงใจดีต่อไป ถ้าเราจะประสบความสำเร็จในชีวิต เราอาจจะมีเพื่อนที่ไม่แท้จริง มากมายมารายล้อมและอาจมีศัตรูร้ายกาจหลายคนซ่อนอยู่ ยังไงซะ ก็จงพยายามประสบความสำเร็จต่อไป ถ้าเราเป็นคนซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา บางคนอาจจะไม่ซื่อสัตย์ตอบ ยังไงซะ ก็ขอให้เราเป็นคนตรงไปตรงมาต่อไป ถ้าเราทุ่มเทสร้างอะไรบางอย่างมาเป็นแรมปี แต่กลับมีใครบางคนมา ทำลายมันเพียงชั่วข้ามคืน ยังไงซะ ก็จงพยายามสร้างมันต่อไป ถ้าเราค้นพบความสุขสงบในชีวิต หลายคนอาจจะอิจฉาเรา ยังไงซะ ก็จงมีความสุขสงบต่อไป สิ่งดี ๆ ที่เราทำในวันนี้ วันพรุ่งนี้ผู้คนก็คงจำกันไม่ได้แล้ว ยังไงซะ ก็จงทำดีกันต่อไป ให้สิ่งที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่แก่โลก แม้มันจะไม่ดีพอเท่าที่ใครบางคนวาดหวังไว้ ยังไงซะ จงให้สิ่งที่ดีที่สุดนั้นต่อไป ดูสิ ในวาระสุดท้าย ทุกสิ่งที่เราทำ มันจะอยู่ระหว่างเรากับพระเป็นเจ้า ไม่ใช่ระหว่างเรากับพวกเรา แปลโดย ซิสเตอร์อภิชญา พูลโภคผล cm.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.