ในเทศกาลปาสกาพร้อมกับความชื่นชมยินดีแห่งความสว่างสุกใส ของชีวิต ใหม่ในพวกเราทุ ก ๆ คน โดยการกลั บ คื น ชี พ อย่ างรุ ่ งโรจน์ ขององค์พระเยซูเจ้าของเรา ซึ่งคือท่อธารแห่งพระพร และสันติสุขที่ เราอยากส่ง ต่อมาสู่พี่น้ องที ่ ร ั กทุ ก ๆ ท่ านหลั งจากที ่ ไ ด้ ผ ่ า นช่ ว งเวลา การเสียสละและอุทิศตนของเทศกาลมหาพรต เพื่อเข้าสู่ชีวิตใหม่แห่ง ปาสกา 2011 นี้ ที่จะนำทางเราเข้าไปสู่แสงสว่างในความรักและพระพร โดยผ่านทางพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพและเป็นองค์ชีวิตของ เราแต่ละคนตลอดไป หน่วยงานสื่อมวลชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความชื่นชมยินดีและ ความหวั ง แห่ ง ปาสกานี้ จ ะช่ ว ยประคั บ ประคองและหล่ อ เลี้ ย งพี่ น้ อ ง ทุ ก ท่ า นให้ ก ้ า วหน้ า ไปอย่ า งมี พ ลั ง พร้ อ มกั บ ความหวั ง แห่ ง ปาสกา ซึ่งมีความหมายอย่างยิ่งต่อชีวิตพวกเราทุกคน
สุขสันต์วันปาสกา เจ้าหน้าที่หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี
บรรณาธิการ 2 สาส์นพระสังฆราช 3 การกลับคืนชีพ 4 บทรำพึงเทศกาลปาสกา 7 ฉลองพระเมตตา 9 การประกาศแต่ตั้งพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เป็นบุญราศี 12 75ปี ที่บ้านเณร 14 สรุปผลการประชุมสมัชชา 18 บทเรียนจากไข่ 29 ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ 31 Game 35 จุดประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหว ของทางสังฆมณฑลฯ 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธา และหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต
หน้า 1
อัลเลลูยา อัลเลลูยา อัลเลลูยา พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนชีพ “บัดนี้ ขอให้บรรดาเทพนิกรในสวรรค์ชื่นชมโสมนัส ขอให้ชาวสวรรค์ร่าเริงยินดี เฉพาะพระพักตร์ พระเจ้า ให้แตรสัญญาณนำความรอดส่งเสียงก้องกังวาน ฉลองชัยชนะแห่งพระมหากษัตราธิราช ขอให้ แผ่นดินได้รบั แสงสว่างเจิดจ้านีแ้ ละมีความชืน่ ชมขอให้แสงรุง่ โรจน์แห่งพระราชาผูด้ ำรงอยูช่ ัว่ นิรนั ดร มารดา ศักดิ์สิทธิ์ของชาวเราชื่นชมยินดี ส่องแสงโชติช่วงแห่งพระผู้ไถ่ ขอให้ประชากรของพระเจ้าเปล่งเสียงโห่ร้อง แสดงความยินดีดังกึกก้องไปทั่วสักการสถานแห่งนี้” (เพลงประกาศสมโภชปาสกา) ทำไมคริสตชนต้องชืน่ ชมยินดีในวันกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า เพราะวันนี้ แผ่นดินสัมพันธ์กบั สวรรค์ มนุษย์กับพระเจ้ากลับคืนดีกัน และพระคริสตเจ้าทรงส่องแสงนำสันติภาพมาให้มนุษยชาติ ซึ่งนักบุญเปาโล ได้เขียนจดหมายถึงชาวโครินธ์ ประกาศอย่างชัดเจนและแข็งขันว่า “ถ้าพระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืน พระชนมชีพ การเทศน์สอนของเราก็ไร้ประโยชน์ และความเชือ่ ของท่านก็ไร้ประโยชน์เช่นเดียวกัน” (1โครินธ์ 15:14) สายใยจันท์ ฉบับเทศกาลปาสกา เป็นเทศกาลทีน่ า่ ยินดีและชืน่ ชม จึงขอส่งความสุขปาสกามายังพีน่ อ้ ง คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรีทุกท่าน และขอให้อ่าน “สายใยจันท์” อย่างมีความสุข สายใยจันท์ฉบับนี้เนื้อ หายังน่าอ่านอยู่เหมือนเดิม
หน้า 2
สุขสันต์ปาสกา คพ. เอนก นามวงษ์
สุขสันต์วันปาสกาแก่พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษสังฆมณฑลจันทบุรี การฉลองปาสกาเป็นการฉลองเหตุการณ์ท่สี ำคัญและยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ท้งั ของชาวยิวและคริสตชน สำหรับชาวยิว ปาสกาเป็นเหตุการณ์ทพ่ี ระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้นจากการเป็นทาสของอียปิ ต์ สำหรับคริสตชน ปาสกา เป็นเหตุการณ์ท่พี ระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้นจากการเป็นทาสของบาปโดยทางองค์พระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพ เราะเห็นได้ว่าปาสกาเป็นการที่พระเจ้าเสด็จเข้ามาในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ ทำให้มนุษย์ได้รับอิสรภาพและชีวิตใหม่ การฉลองปัสกาแต่ละปีจึงเป็นการย้ำเตือนเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์แห่งความรอดและทำให้มีชีวิตชีวาและเป็นจริงในปัจจุบัน เราจึงเฉลิมฉลองสมโภชปัสกาด้วย ความชื่นชมยินดี และด้วยความขอบพระคุณในพระพรแห่งความรอดพ้นจากบาปและความตายที่เราได้รับจาก ปัสกาของพระเยซูคริสตเจ้า ปั ส กาเป็ น เทศกาลแห่ ง ชี วิ ต และความหวั ง ซึ่ ง พระคริ ส ตเจ้ า ผู้ ก ลั บ คืนพระชนมชีพนำมาให้ ชีวติ และความหวังนี้แหละที่ทำให้ความเชื่อของอัครสาวก ที่อ่อนแอในวันที่พระคริสตเจ้าถูกตรึงกางเขนกลับเข้มแข็งขึ้น ชีวิตและความ หวั ง เดี ย วกั น นี ้ เ ตื อ นเราว่ า ความทุ ก ข์ ข องชี ว ิ ต ปั จ จุ บ ั น ไม่ ส ามารถเที ย บ ได้กับสิริรุ่งโรจน์ของชีวิตใหม่ที่จะได้รับในอนาคต (เทียบ รม8:18) ปัสกา จึ ง เป็ น การฉลองของชี วิ ต ที่ ไ ด้ รั บ การเปลี่ ย นแปลงโดยความรั ก ของพระเจ้ า ซึ่งเป็นยอดแห่งความรักทั้งปวง ปัสกาเป็นการฉลองแห่งความหวังในท่ามกลางโลกอันปัน่ ป่วนวุน่ วายนี้ ความเชื่อในการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าเป็นพลังให้เราก้าวเดิน ด้วยความกล้าหาญในความท้าทายของชีวิตปัจจุบัน ความเชื่อนี้เตือนเราว่า เราไม่ได้เดิน ตามลำพั ง แต่ เหมื อ นเส้ น ทางไปเอมมาอุ สที ่ พระผู ้ ท รงกลั บ คื น พระชนมชีพร่วมเดินทางไปกับเรา และนำเราไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์และสู่ความรัก อันเป็นนิรันดร์
พระคริสตเจ้า ได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว อัลเลลูยา พระองค์ทรงเป็นชีวิตและความหวังของเรา อัลเลลูยา
(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี หน้า 3
“ทำไมจึงต้องมีไข่มาเกี่ยวข้องกับเทศกาลปัสกา?”
แปลโดย : หน่วยงานคำสอน
“ทำไมไข่พวกนั้นจึงกลายเป็นเครื่องหมายที่มีความสำคัญมากต่อการกลับคืนพระชนม์?” คำถามนีจ้ ำเป็นต้องตอบด้วยความเอาใจใส่และรอบคอบ นีไ่ ม่ได้เป็นการกูช้ พี หรือการช่วยให้ฟน้ื คืนชีพ ซึง่ ทำให้ฟงั ดูเหมือนกับว่าพระเยซูเจ้าได้รบั การช่วยเหลือให้ฟน้ื คืนชีพเหมือนทีล่ าซารัสและลูกชายของหญิงหม้าย ที่เมืองนาอินได้รับมาแล้ว (ยอห์น 9 และ ลูกา 7:11-15) แต่การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าเป็นการ เปลี่ยนสภาพใหม่โดยสิ้นเชิง! สัญญลักษณ์ต่างๆ ของการกลับคืนชีพนั้นมีมากมายหลายอย่าง แต่เหตุใด จึงต้องเป็นไข่กับเทศกาลปัสกา? ไข่ฟองหนึ่งนั้นจะ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่เป็นของเหลว สีเหลืองกับสีขาวใสๆ นั้น ก็จะกลายเป็นสิ่งที่มีชีวิต ซึ่งมีขนและปีกคล้ายนก และยังส่งเสียงร้องจ๊อกแจ๊ก ถ้าหากท่านมองเพียงแค่ของเหลวในไข่ฟองนัน้ อย่างเดียว ท่านก็จะไม่สามารถบอกได้เลยว่ามันจะกลายเป็นอะไร ในเวลาต่อมา ของเหลวเหนียวๆ หนืดๆ เหมือนกาว หรือแป้งเปียกนั้นได้กลายเป็นลูกไก่ตัวหนึ่ง หรืออาจ เป็นลูกนกนางนวลตัวน้อยๆ และอาจกลายเป็นลูก อีกาตัวเล็กๆ หรือลูกนกกางเขนและลูกนกชนิดอื่นๆ อีกมากมายก็เป็นได้ สัญญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเทศกาลปัสกาก็ คือเมล็ดพืชหรือลูกโอ๊ก ท่านอาจมองเห็นเมล็ดพืชได้ แต่ก็คงไม่สามารถวาดภาพได้ว่าต้นหรือดอกของมัน เมื่อเติบโตขึ้นจะมีสีอะไรบ้าง ส่วนดักแด้และผีเสื้อก็ เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญลักษณ์ของการกลับ คืนชีพ เพราะว่า ได้กลายเป็นอย่างอืน่ ทีไ่ ม่เหมือนเดิม \ เป็นอะไรที่ไม่เคยได้เห็นมาก่อนและสวยสดงดงาม แล้วยังเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีการต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ หน้า 4
ด้วย : ไข่กลายเป็นลูกไก่ตัวเล็กๆ, ลูกโอ๊กกลายเป็นต้นโอ๊กอันสูงใหญ่ และตัวดักแด้ก็กลายเป็นผีเสื้อตัว น้อยๆ ไป ยังมีสัญญลักษณ์อีกหลายอย่าง ที่เป็นเครื่องหมายถึงการกลับคืนชีพแบบมนุษย์เช่นกัน นั่นก็คือ บรรดาผู้คนที่ฟื้นคืนจากการติดยาเสพติดหรือพิษสุราเรื้อรังได้เปลี่ยนความรู้สึกนึกคิด จากความหมดหวัง กับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา พวกเขาเป็นคนเดิม แต่ในเวลานี้ได้รับการเปลี่ยนสภาพใหม่ พวกเขามี ชีวิตใหม่ มีความหวังใหม่ๆ และมีโอกาสที่เป็นไปได้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนสัญญลักษณ์อื่นๆ ที่อาจทำให้ เข้าใจยิ่งขึ้นก็คือ การที่วัยรุ่นเติบโตขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่ เขาหรือเธอเป็นคนเดิม เพียงแต่มีความแตกต่าง เพิ่มเติมขึ้นด้วยความงดงามและการเติบโตต่างๆ ตามวุฒิภาวะที่เปลี่ยนไปตามวัยของตนเอง การกลับคืนชีพจึงเปรียบเสมือนคำเชิญชวนให้มองดูรอบๆ เพื่อมองให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะ มองให้เห็นถึงการเปลี่ยนไปของท่าทีแห่งความมืดและความชั่วร้ายในความประพฤติ ซึ่งไม่เป็นผู้ใหญ่ตาม วุฒภิ าวะ ทีไ่ ด้มกี ารแปรเปลีย่ นไปสูค่ วามเป็นผูใ้ หญ่มากกว่าเดิม และจากความเฉือ่ ยชาไร้ชวี ติ ชีวาในสภาพ เดียวกันกับไข่แต่ละฟองหรือเมล็ดพืชธรรมดาเหล่านั้น ที่ได้ ก่อกำเนิดชีวิตใหม่ๆ ออกมาสู่โลกใบนี้ในที่สุด แต่ทว่า สำหรับบรรดาคริสตชนนั้น การกลับคืนชีพยังมีอีกความหมายหนึ่งที่ทรงคุณค่าและมั่งคั่ง ยิ่งกว่านั้นอีกมากนัก ท่านนักบุญเปาโลได้อธิบายซ้ำให้เข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งตามแบบอย่างในการสอน คำสอนตามที่ท่านได้รับรู้และทำความเข้าใจมา โดยได้กล่าวไว้ในจดหมายถึงชาวโครินธ์ว่า ข้าพเจ้าขอมอบธรรมประเพณีอันสำคัญที่สุดให้กับท่าน ซึ่งเป็นธรรมประเพณีที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีก ทอดหนึ่ง คือพระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์เพราะบาปของเรา ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ และทรงถูกฝังไว้ พระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันที่สาม ตามความในพระคัมภีร์ (1 โครินธ์ 15:3-4) เราสามารถให้คำอธิบายรายละเอียดกับเนือ้ หาตอนนีไ้ ด้โดยพิจารณาจากรายละเอียดในการกลับคืน พระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ซึ่งข้อปลีกย่อยเหล่านี้ค่อนข้างที่จะเข้าใจยากและมีนัยในความหมายแต่ละ อย่างด้วย ความหมายอันดับแรกที่พวกเราควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนก็คือ การที่พระเยซูเจ้า “ได้ทรง กลับคืนพระชนมชีพในวันที่สาม.” ใครล่ะที่เป็นผู้ทำให้พระองค์เสด็จกลับคืนพระชนม์? พระบิดาเจ้าโดย ฤทธิอ์ ำนาจแห่งองค์พระจิตเจ้า ( ดูท่ี โรม1:3-4;8:11) เมือ่ เราพิจารณาถึงการปรากฏพระองค์ของพระเยซูเจ้า ในการกลับคืนพระชนม์ในครั้งนั้น เราก็ได้สังเกตเห็นด้วยว่าในตอนแรกบรรดาผู้คนที่รักพระเยซูเจ้านั้นจำ พระองค์ไม่ได้เลย แม้กระทั่งบรรดามิตรสหายหรือแม้แต่สาวกของพระองค์เองก็ตาม ดูเหมือนว่ามีศิษย์รัก เพียงคนเดียวของพระองค์ทม่ี ญ ี าณหยัง่ รูอ้ นั ลึกซึง้ เป็นพิเศษเท่านัน้ ทีย่ งั จำพระองค์ได้ (ดูท่ี ยอห์น 20:8; 21:7) ส่วนบรรดาคนอื่นๆ ก็เข้ามาหาพระองค์ด้วยความเชื่อ โดยความเชื่ออันแท้จริงเท่านั้น ที่จะทำให้พวกเราจำ พระองค์ได้ พระเยซูเจ้าผูเ้ สด็จกลับคืนชีพพระองค์นท้ี รงเป็นองค์เดิม เพียงแต่ได้ทรงเปลีย่ นสูส่ ภาพทีแ่ ตกต่าง ออกไป หรืออาจอธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่า พระเยซูเจ้าไม่ได้ทรงถูกกู้ชีพหรือช่วยให้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่ แต่พระองค์ทรงเสด็จกลับคืนชีพด้วยพระฤทธานุภาพของพระองค์เองอย่างแน่นอน หน้า 5
พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้วและได้ทรงสัญญาทีจ่ ะพาพวกเราไปกับพระองค์ดว้ ยชีวติ ชัว่ คราว นีไ้ ม่ใช่จดุ จบสำหรับพวกเราเลย พวกเราก็จะได้รบั การเปลีย่ นสูส่ ภาพใหม่ทไ่ี ม่มวี นั จบสิน้ เป็นสภาพชีวติ ใหม่ ที่เต็มไปด้วยความงดงามและรุ่งโรจน์เช่นกัน ชีวิตมนุษย์นั้นเต็มไปด้วยความดีงาม แต่ทว่ามีวันจบสิ้นไป การเสด็จกลับคืนชีพขององค์พระเยซูเจ้านีใ้ ห้ความหวังและความหมายต่อชีวติ ของพวกเราทีไ่ ด้เกิดมาในโลกนี้ ณ แผ่นดินนี้ ในความอ่อนแอต่างๆ ของพวกเรานัน้ เราจะได้กลับคืนชีพอย่างรุง่ โรจน์หลังความตาย แล้วก็จะ เกิดชีวิตใหม่ที่ต่อเนื่องกันขึ้นอีกครั้ง : เป็นตัวฉันเอง (ซึ่งไม่ใช่เพียงร่างกาย) ที่หวังและไว้ใจในการได้รับการ กลับคืนชีพนี้ ดังที่ท่านนักบุญเปาโลได้บันทึกเอาไว้ว่า การกลับคืนชีพของผู้ตายก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่หว่านลงไปนั้นเน่าเปื่อย แต่สิ่งที่กลับคืนชีพนั้นจะไม่เน่า เปือ่ ยอีกต่อไป สิง่ ทีห่ ว่านลงไปนัน้ ไม่มเี กียรติ แต่สง่ิ ทีก่ ลับคืนชีพนัน้ มีความรุง่ โรจน์ สิง่ ทีห่ ว่านลงไปนัน้ อ่อนแอ แต่สิ่งที่กลับคืนชีพนั้นมีอานุภาพยิ่ง สิ่งที่หว่านลงไปเป็นร่างกายตามธรรมชาติ แต่สิ่งที่กลับคืนชีพนั้นเป็น ร่างกายซึ่งมีองค์พระจิตเจ้าเป็นชีวิต (1 โครินธ์ 15:42-44)
หน้า 6
แปลโดย : หน่วยงานคำสอน
คุณคงจะเคยสังเกตเห็นว่า ในบางครัง้ นัน้ มีบทเทศน์บางบททีเ่ ป็น “ความว่างเปล่า” คุณอาจจะเคย คิดด้วยว่า “บทเทศน์ในช่วงปัสกาทำไมเป็นอย่างนี้นะ?” มันเป็นเพียงแค่ความผิดพลาดของพระสงฆ์องค์ นัน้ หรือ? ทีแ่ ย่ไปกว่านัน้ ก็คอื ในทีส่ ดุ มันได้กดั เซาะและยังทำให้ความเชือ่ ในอัศจรรย์วนั ปัสกาของผมอ่อนแอ ลงไปทีละเล็กทีละน้อยอีกด้วย แต่อันที่จริงแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย ตามความเป็นจริงนั้น หัวข้อในเรือ่ งนีไ้ ด้โผล่เข้ามาในความคิดของผม ในขณะทีก่ ำลังสนทนาอยูก่ บั ไมเคิล แอนน์ เนลสัน ณ บ้าน พักรับรองเมื่อประมาณสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา การต่อสู้อันยาวนานของเธอกับโรคมะเร็งที่กำลังคร่าชีวิต ของเธอไปทีละน้อยนั้นได้ทำให้เธออ่อนแอลงเรื่อยๆ แต่ในวันนั้นเธอได้พูดคุยกับผมบ้างเล็กน้อย ผมก็ได้ แบ่งปันพระวาจาจากจดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวโรมบทที่ 8 ซึ่งบอกกับพวกเราว่า “ ...ไม่มีอะไรในโลกนี้ และในสรรพสิ่งทั้งมวลที่จะสามารถพรากเราไปจากความรักของพระเป็นเจ้าได้ ” โดยที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน เลยว่านีเ่ ป็นข้อความทีเ่ ธอชอบมากทีส่ ดุ ผมได้ถามเธอว่า คุณเชือ่ เช่นนัน้ หรือ ไมเคิล แอนน์? นัยน์ตาทัง้ สอง ของเธอได้เบิกกว้างขึ้นในเวลานั้น พร้อมกับได้พูดออกมาดังๆ ว่า “โอ... ใช่แล้ว!” “ไม่มีอะไรเลย ไม่มีสิ่งใด ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะแยกฉันออกไปจากความรักของพระเป็นเจ้าได้!” ต่อจากนั้น เธอก็ไม่ได้พูดอะไรมากไป กว่านีอ้ กี ผมจึงได้สวดภาวนาให้เธอและกล่าวคำอำลา แต่ทว่าความรักอันลึกซึง้ ทีเ่ ธอมี ทัง้ ความเชือ่ มัน่ และ ไว้วางใจของเธอนั้นยังคงประทับอยู่ในใจผมด้วยประโยคที่ว่า“ไม่มีอะไรเลย ไม่มีสิ่งใด... ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะ แยกฉันออกไปจากความรักของพระเป็นเจ้าได้!” นั่นคือคำมั่นสัญญาที่เราได้รับในฐานะที่เราเป็นผู้ติดตาม พระคริสตเจ้าผูท้ รงกลับคืนชีพ เป็นการรับประกันถึงความปลอดภัยทีพ่ ระเยซูเจ้าได้ทรงมอบแก่พวกเราทุกคน ขณะทีพ่ ระองค์ ทรงนำทางเราผ่านจากชีวติ นีไ้ ปสูช่ วี ติ หน้า ผมจึงได้เลือกพระวาจาตอนนีม้ าเพือ่ เช้าวันปัสกานี้ โดยเฉพาะ “... ไม่ว่าความตายหรือชีวิต ไม่ ว ่ า ทู ต สวรรค์ ห รื อ ผู ้ มี อ ำนาจ ไม่ ว ่ า ปั จ จุ บั น หรื อ อนาคต หน้า 7
ไม่วา่ ฤทธิอ์ ำนาจ ใดหรือความสูง ความลึก ไม่มสี รรพสิง่ ใดๆ ทีจ่ ะสามารถพรากเราไปจากความรักของพระเจ้า ซึ่งอยู่ในองค์พระคริสตเยซู พระผู้ทรงเป็นเจ้าของเราได้” คำตอบที่สั้นๆ สำหรับเรื่องนี้ก็คือ “เทศกาลปัสกา” ทำไมน่ะหรือ? ก็เพราะสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในเช้า วันปัสกาและอีกหลายๆ วันต่อจากนั้นทำให้เราระลึกถึง “ชัยชนะของพระเยซูเจ้าผู้เสด็จกลับคืนชีพ” ทั้งยังมี ค วามหมายว่า ให้เรามั่นใจอย่างสิ้นสุ ด จิ ต ใจว่ า “ไม่ มี อ ะไรเลย ไม่ มี สิ ่ งใด... ไม่ มี สิ ่ ง ใดเลย ที่จะพรากเราออกไปจากความรักของพระเป็นเจ้าได้!” ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นได้? ขอให้คุณลองพิจารณาไตร่ตรองดูถึงเวลาเช้าตรู่ของวันปัสกาเมื่อ บรรดาสตรีใจศรัทธาได้รบี เร่งไปยังพระคูหาทีว่ างพระศพพระเยซูเจ้าไว้ พวกเธอคาดหวังว่าจะได้พบอะไรบาง อย่างใช่ไหม? แต่กลับมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้เศร้าสลดใจ เจ็บปวด และเป็นโศกนาฏกรรมสำหรับ พวกเธอในเวลานั้น พวกเธอคงอยากเห็นพระศพที่ถูกพันผ้าห่อพระศพเอาไว้ อันที่จริงพวกเธอคงได้คาดหวัง ไว้ว่าจะได้พบพระศพของพระเยซูเจ้าที่ได้จัดแต่งไว้เป็นอย่างดีตามธรรมเนียมชาวยิว แต่เมื่อพวกเธอไปถึงที่ นัน่ กลับพบแค่เพียงความว่างเปล่าทีไ่ ม่มอี ะไรเหลือเลยนอกจากผ้าห่อพระศพเท่านัน้ ! ไม่มอี ะไรเหลือเลย!! หินที่ป ิ ด ปากพระคูหาก็ถูกกลิ้งออกไปทางอื ่ น ส่ ว นพระคู ห าแห่ ง นั ้ น ก็ เ ต็ ม ไปด้ ว ยความว่ า งเปล่า พระศพของพระองค์ก็ไม่อยู่ที่นั่นแล้ว แทนที่จะได้พบอะไรบ้าง... พวกเธอกลับไม่พบสิ่งใดเลยแม้แต่น้อย! ขอบพระคุณพระเจ้า! เพราะทันทีทันใดที่พวกเธอได้ตระหนักชัดว่า “ความว่างเปล่าและไม่มีสิ่ง ใดเลยนี้” กลับหมายถึงอัศจรรย์ที่ปรากฏขึ้นมาแล้ว “ความไม่มีอะไรเลย” นี้เอง ที่หมายถึงองค์พระเยซูเจ้า ผู้เสด็จกลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตาย และด้วยเหตุนี้เอง การไม่พบสิ่งใดเลยและความว่างเปล่านั้นจึงได้สื่อ ความหมายถึงการได้ครอบครองทุกๆ สิ่งในโลกนี้นั่นเอง! ท่านเห็นหรือไม่วา่ การมาพบกับบรรดาสาวกในวันปัสกานัน้ พระเยซูเจ้าไม่ได้ตรัสแก่พวกเขาเกีย่ วกับ พระมหาทรมานของพระองค์อีกต่อไปแล้ว พระองค์ได้ทรงกล่าวถึงเพียงแค่ การกลับคืนพระชนมชีพของ พระองค์เท่านัน้ ถ้าพวกเราจำได้ ในวันก่อนทีพ่ ระองค์จะสิน้ พระชนม์นน้ั พระเยซูเจ้าได้ทรงกล่าวแก่พวกเขา ด้ ว ยว่ า “เพราะว่ า เรามี ช ี ว ิ ต อยู ่ พวกท่ า นก็ จ ะมี ช ี ว ิ ต อยู ่ เ ช่ น กั น ” นี ่ ห มายความว่ า ถ้ า พระองค์ ต้องสิ้นพระชนม์ ก็จะทรงกลับมีชีวิตอีกครั้ง นั่นเป็นข้อพิสูจน์หรือไม่ว่า ถ้าพวกเขาต้องตาย พวกเขา ก็จะกลั บมี ชี ว ิ ตใหม่? ซึ่งนั่นก็ตรงกับ ที่พระองค์ ได้ ต รั สไว้ แล้ ว ว่ า “เราคื อ การกลั บ คื น ชี พ และชีวิต” นี่แหละคือพระสัญญาของพระเยซูเจ้าเอง “ใครที่เชื่อในเราแม้ตายไปแล้วก็จะยังมีชีวิตอยู่” เมื่อ พระเยซูเจ้ายังทรงพระชนม์อยู!่ เราก็จะยังมีชวี ติ อยูเ่ ช่นกัน! ความว่างเปล่าและไม่มอี ะไรเหลือเลยทีไ่ ด้ถกู พบ ในพระคูหานั้น ทำให้เราคิดถึงความเป็นจริงที่ว่า “ไม่มีอะไรเลยไม่มีสิ่งใด..ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะ พรากเราออกจากความรักของพระเป็นเจ้าได้อีกต่อไป!” นี่เองที่ทำให้เราแน่ใจอย่างไม่หวั่นไหวได้เลยว่าชีวิตในแต่ละวันของเรานับแต่นี้เป็นต้นไป โดยเฉพาะ ในช่วงเทศกาลปัสกาและต่อๆ ไปนั้น จะอยู่ในความสว่างรุ่งโรจน์แห่งปัสกา ไม่ว่าจะอยู่ท่ามกลางความ วุ่นวายสับสน ความกังวลทุกข์ร้อน หรือภัยอันตรายใดๆ ก็ตาม หน้า 8
เรียบเรียงโดย : หน่วยงานคำสอน
ความหมายของวันฉลองพระเมตตา
พระเยซูเจ้าตรัสว่า ความศรัทธาต่อพระเมตตาเป็นรูปแบบ ของความศรัทธาทีส่ ำคัญทีส่ ดุ พระองค์ได้ให้เราทราบโดยผ่านทาง ซ.โฟสตีนา ในปี ค.ศ. 1931 ว่า “เราต้องการให้มีการฉลอง พระเมตตา โดยให้มกี ารเสกภาพพระเมตตาอย่างสง่าในวันอาทิตย์ แรกหลังสมโภชปัสกา โดยกำหนดให้วนั นีเ้ ป็นวันฉลองพระเมตตา ประจำทุกปี” (Q. I, p. 27) หลังจากปีนน้ั เป็นต้นมา พระเยซูเจ้า ได้ทรงปรากฏพระองค์อกี 14 ครัง้ เพือ่ ย้ำให้มกี ารกำหนดวันฉลองนี้ ลงในปฏิทินปีพิธีกรรม อีกทั้งทรงอธิบายถึงสาเหตุ เป้าหมาย วิธีการเตรียมฉลองและวิธีการฉลอง รวมถึงพระหรรษทานที่จะ ได้รับจากการฉลองนี้ด้วย การเลือกฉลองในวันอาทิตย์ทส่ี องหลังสมโภชปัสกามีความหมายทางเทวศาสตร์คอื เป็นการแสดงถึง ความสัมพันธ์อันล้ำลึกระหว่างธรรมล้ำลึกปัสกาแห่งความรอดพ้นและการฉลองพระเมตตา ความสัมพันธ์ นี้เด่นชัดยิ่งขึ้นด้วยการสวดนพวารซึ่งเริ่มวันแรกในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูเจ้าได้ทรงอธิบายถึงเหตุผลของการตั้งฉลองนี้ว่า “แม้เราได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส แล้วก็ตาม แต่ยังมีวิญญาณอีกมากมายที่ต้องพินาศไป (...) ถ้าพวกเขาไม่นมัสการพระเมตตา พวกเขาจะ พินาศชั่วนิรันดร” (Q. II, p. 345) เป็นพระเยซูเจ้าเองที่ตรัสว่า “กำหนดให้วันอาทิตย์ที่สองหลังปัสกาเป็นวันฉลองพระเมตตา ต้องมี คารวกิจถวายเกียรติแด่พระเมตตาด้วยการสมโภชอย่างสง่า โดยการตั้งพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์” (Q. II, p. 278)
ความยิ่งใหญ่ของวันฉลองนี้ตามพระสัญญา พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ในวันฉลองนี้ ผูใ้ ดทีเ่ ข้ามาใกล้ตน้ ธารแห่งชีวติ จะได้รบั การยกบาปและโทษบาป ทั้งสิ้น” (Q. I, p. 132) ผู้ที่ได้รับศีลมหาสนิทอย่างสมควรในวันนั้นจะได้รับพระหรรษทานพิเศษคือจะได้รับ การยกโทษบาปและการลงโทษทั้งหมด คุณพ่อ I. Rozycki อธิบายว่า “พระหรรษทานนี้ยิ่งใหญ่กว่าพระคุณ หน้า 9
การุญครบบริบรู ณ์เสียอีก เพราะพระคุณการุญ ครบบริบรู ณ์ ยกให้ เ พี ย งโทษบาปชั่ ว คราวจากบาปที่ ไ ด้ ก ระทำ... และยังยิ่งใหญ่กว่าพระหรรษทานที่ได้จากศีลศักดิ์สิทธิ์ เสียอีก ยกเว้นแต่เพียงศีลล้างบาป เหตุว่าการยกบาป และโทษของบาปเป็นพระหรรษทานเฉพาะของศีลล้างบาป เท่านัน้ แต่ในพระสัญญาทีพ่ ระคริสตเจ้าทรงนำมาให้นน้ั พระองค์ได้ทรงเชือ่ มโยงกับการยกบาปและโทษของบาป ไว้กับศีลมหาสนิทสำหรับผู้ที่รับในวันฉลองพระเมตตา” ดังนั้นหากมองในมุมนี้ พระองค์ทรงยกระดับของฉลอง พระเมตตาให้เป็นเสมือน “ศีลล้างบาปครัง้ ทีส่ อง” ซึง่ เป็น ที่ชัดเจนว่าศีลมหาสนิทที่รับในวันฉลองพระเมตตานั้น ไม่เพียงแต่ต้องรับอย่างสมควรเท่านั้น แต่ต้องรับด้วย เงื่อนไขทุกประการที่ฉลองพระเมตตาได้กำหนดไว้ด้วย (R., p. 25) การรับศีลมหาสนิทต้องกระทำในวันฉลอง พระเมตตา ส่วนการรับศีลอภัยบาปอนุญาตให้ทำใน วันก่อนฉลองได้ (2-3 วันก็ได้) ที่สำคัญต้องไม่กระทำ บาปใดๆ อีก พระเยซูเจ้าทรงพระทัยดีเป็นล้นพ้นในการประทานพระพร พระองค์ตรัสว่า “ทุกวิญญาณที่เข้ามา ใกล้ต้นธารแห่งพระเมตตาของเราจะได้รับพระหรรษทานอย่างท่วมท้น” เหตุว่า “ในวันนั้นทุกลำธารจะเปิด ออกและพระเมตตาจะไหลบ่าออกมา อย่าให้มีวิญญาณใดกลัวที่จะมาอยู่ใกล้เรา แม้บาปของเขาจะแดง เหมือนชาดก็ตาม” (Q. II, p. 267) คุณพ่อ I. Rozycki ได้อธิบายถึงพระหรรษทานอันมากมายซึ่งจะได้รับ จากฉลองนี้ใน 3 แบบด้วยกันคือ มนุษย์ทุกคน แม้บางคนที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีความศรัทธาต่อพระเมตตาและบรรดาคนบาปที่กลับ ใจในวันฉลอง จะได้รับพระหรรษทานที่พระเยซูเจ้าทรงเตรียมไว้ให้ในวันฉลองนั้น ในวันฉลอง พระเยซูเจ้ามิได้ทรงพอพระทัยจะประทานแต่เพียงพระหรรษทานแห่งความรอดพ้นเท่านัน้ พระองค์ยังต่อทรงประทานพระคุณอื่นๆ ของชีวิตนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นแบบส่วนตัวหรือส่วนรวม พระองค์จะทรงประทานพระหรรษทานและพระคุณต่างๆ ดังกล่าวให้แก่ทุกคนในวันนั้น แต่ทรง เรียกร้องให้มีความไว้วางใจอย่างใหญ่หลวงในพระองค์
หน้า 10
การเตรียมฉลอง เราสามารถเตรียมฉลองได้ดว้ ยการสวดนพวารสายประคำพระเมตตา โดยเริม่ ตัง้ แต่วนั ศุกร์ศกั ดิส์ ทิ ธิ์ พระเยซูเจ้าเองทรงเป็นผูท้ ต่ี อ้ งการให้มกี ารสวดนพวารนีเ้ พือ่ พระหรรษทานจะได้เผยแผ่ไปยังทุกคน (Q.II,p. 294)
วิธีการฉลองมีดังนี้
1. ให้มีการเสกพระรูปพระเมตตาอย่างสง่าต่อหน้าชุมชน เป็นพิธีกรรมถวายเกียรติแด่พระรูปอย่าง เป็นทางการ 2. ให้พระสงฆ์เทศน์ให้ข้อคิดเกี่ยวกับพระเมตตาอันหาขอบเขตมิได้ของพระเจ้าเพื่อให้สัตบุรุษมี ความไว้วางใจอย่างเต็มเปี่ยมในพระองค์
บทภาวนา
ข้าแต่องค์พระผู้ไถ่ที่ทรงพระเมตตากรุณายิ่ง ลูกขอถวายตนเองทั้งครบแด่พระองค์และตลอดไป โปรดทรงเปลี่ยนแปลงตัวลูกให้เป็นเครื่องมือที่นอบน้อมเชื่อฟังแห่งพระเมตตาของพระองค์ ข้าแต่พระโลหิตและน้ำซึ่งหลั่งไหลจากพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ดังเช่นต้นธารแห่งพระเมตตา สำหรับลูกทั้งหลาย ลูกวางใจในพระองค์
“พระเยซูเจ้าข้า ลูกวางใจในพระองค์“
หน้า 11
เรียบเรียงโดย : หน่วยงานคำสอน
พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ได้ทรงประกาศเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2011 ว่า ในฤดูใบไม้ผลิปีนี้ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 จะได้รับการประกาศแต่งตั้งให้เป็นบุญราศีในวันที่ 1 พฤษภาคม 2011 เป็นวันอาทิตย์ที่ 2 หลังสมโภชปัสกาซึ่งตรงกับวันฉลองพระเมตตา สมณกระทรวงเพื่อแต่งตั้งเป็นนักบุญได้ประกาศรับรองอัศจรรย์ล่าสุดที่ทำให้พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบุญราศี ดังที่เราได้ทราบแล้วว่ากระบวนการดำเนินการแต่งตั้งดังกล่าวนี้ ได้เริม่ ขึน้ หลังจากการสิน้ พระชนม์ของพระองค์ทา่ นไม่ถงึ 5 ปี ซึง่ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ปกติ ทัง้ นีม้ สี าเหตุ มาจากชือ่ เสียงแห่งความศักดิส์ ทิ ธิอ์ นั เลือ่ งลือของพระองค์ทา่ น ตัง้ แต่ทย่ี งั ทรงพระชนม์อยูแ่ ละเมือ่ สิน้ พระชนม์ แล้ว แต่สำหรับส่วนอื่นทั้งหมดนั้นได้ดำเนินการไปตามปกติของกระบวนการแต่งตั้งเป็นบุญราศีและนักบุญ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2005 ถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 ได้มีการเฉลิมฉลองเกี่ยวกับชีวประวัติ คุณธรรม ความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละอัศจรรย์ตา่ งๆ มากมายทีพ่ ระองค์ได้ทรงกระทำ สมณกระทรวงเพือ่ แต่งตัง้ เป็น นักบุญ ได้ รั บ รองความถูกต้องเที่ยงแท้ตามกฎหมายของ กระบวนการดำเนินการแต่งตั้งเป็นนักบุญด้วยคำประกาศ ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 การดำเนินการตรวจสอบการบรรลุคุณธรรม ขั้นวีรกรรมของผู้รับใช้พระเจ้าท่านนี้ได้รับผลบวกผ่านจาก คณะกรรมการทั้ง 9 ท่าน ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน นั้นเองจึงได้มีการนำผลการตรวจสอบทั้งหมดส่งไปยังสมณ กระทรวงเพื่อแต่งตั้งเป็นนักบุญเพื่อให้พระคาร์ดินัลและ พระสังฆราชของกระทรวงฯ พิจารณารับรองอย่างเป็น ทางการต่อไป หน้า 12
ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2009 พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองให้ ประกาศถึงการบรรลุคุณธรรมขั้นวีรกรรมนี้ ในการดำเนินการแต่งตั้งเป็นบุญราศี ครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินการได้ยื่นเรื่อง กรณีอศั จรรย์ของซิสเตอร์ Marie Simon Pierre Normand ภคินีของ Institut des Petites Soeurs des Maternités Catholiques’ ซึ่งได้หายจากโรค Parkinson ให้ทางสมณ กระทรวงเพื่ อ แต่ ง ตั้ ง เป็ น นั ก บุ ญ พิ จ ารณา รับรอง การดำเนิ น การทุ ก อย่ า งได้ เ ป็ น ไป ตามกระบวนการปกติ ซึ่งเรียกร้องให้มีการ รับรองจากทางแพทย์ไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสารและหลักฐานต่างๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน หลักฐานทั้งหมด นี้ได้ส่งต่อไปให้คณะแพทย์ของสมณกระทรวงเพื่อแต่งตั้งเป็นนักบุญตรวจสอบต่อไปอีกครั้งหนึ่งในวัน ที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เมื่อได้มีการตรวจสอบหลักฐานทั้งหมดอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสาร ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านพยานบุคคลแล้วพบว่าเป็นกรณีการหายจากโรคแบบอัศจรรย์อย่างแท้จริง เมื่อคณะกรรมการฝ่ายเทวศาสตร์ได้พิจารณาข้อสรุปของแพทย์ในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2010 แล้ว ต่างลงความเห็นเป็นเสียงเดียวอย่างเห็นพ้องต้องกันว่า การหายจากโรคครั้งนี้เกิดจากภาวนาวอนขอความ ช่วยเหลือของพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ให้ท่านเป็นผู้เสนอวิงวอนให้เกิดอัศจรรย์นี้ ที่สุด ในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2011 คณะกรรมการสมณกระทรวงเพื่อการแต่งตั้งเป็นนักบุญได้ลง ความเห็นร่วมกันอย่างเอกฉันท์รับรองว่าซิสเตอร์ Marie Simon Pierre Normand ได้หายจากโรคโดยการ กระทำของพระเจ้า ในแบบที่ไม่สามารถจะอธิบายได้ในทางแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ และอาศัยการ เสนอวิงวอนของพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ซึ่งผู้ได้รับอัศจรรย์และสัตบุรุษอีกมากมายได้ภาวนาวอน ขอต่อพระองค์ท่านด้วยความไว้วางใจตลอดมา
หน้า 13
ประวัติ สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา เป็นสถาบันอบรมผูส้ มัครใจเป็นพระสงฆ์ ในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี มีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า “บ้านเณรพระหฤทัย” ซึ่งตั้งอยู่บ้านเลขที่ 11/11 ถ.สุขุมวิท ต.ศรีราชา สถาบันนี้เปิด อบรมสามเณรตัง้ แต่ชน้ั ม.1 - 6 และเป็นมาสเตอร์เณรอีก 2 ปี ก่อนจะส่งเข้าบ้านเณรกลาง และบ้านเณรใหญ่ ตามลำดับ บ้านเณรแห่งนี้มีประวัติการก่อตั้งมายาวนาน ลำพังช่วงที่ตั้งอยู่ที่ตำบลบางช้างนับเวลาได้ 62 ปี (ค.ศ.1872 - 1934) ก่อนหน้านัน้ ยังตัง้ อยูท่ อ่ี น่ื อีก และถ้าหากศึกษาย้อนหลังกันจริง ๆ อาจถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็เป็นไปได้ ในอดีต พระศาสนจักรไทยแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เขต คือ มิสซังไทยกับมิสซังลาว มิสซังไทย ครอบคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ส่วนมิสซังลาวครอบคลุมภาคอีสานและประเทศลาว มิสซัง ทั้งสองได้ส่งสามเณรเข้าฝึกฝนอบรมร่วมกัน โดยใช้ชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า “สามเณราลัยพระหฤทัย บางช้าง” บ้านเณรแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตำบลบางช้าง อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งอยู่ ฝั่งตรงข้ามกับอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก บนเนื้อที่สิบกว่าไร่ ต่อมาในปี ค.ศ.1930 พระศาสนจักรไทยได้แบ่งเขตการปกครองเพิ่มขึ้นอีก 1 เขต คือ มิสซังราชบุรี ซึ่งครอบคลุมภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดราชบุรีลงไป โดยมีพระสงฆ์คณะซาเลเซียนเป็นผู้ดูแล มิสซังไทยจึงย้าย สามเณราลัยไปตั้งในที่แห่งใหม่ในเวลาต่อมา และสถานที่แห่งใหม่ก็คือ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ในตอนเช้าของวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1934 เป็นวันทีส่ ามเณรต้องย้ายบ้านจากบางช้างมาทีศ่ รีราชา โดยเรือลากจูงชือ่ แม็กคิงตอช โดยการนำของคุณพ่ออธิการมอรีส การ์ตอง คุณพ่อโรเชอโร อาจารย์ ครูเณร 2 คน คือ ครูเณรเศียร โชติพงษ์ และ ครูเณรกิมฮั้ง แซ่เล้า ภคิณี 3 คนคือ ซิสเตอร์ฟีโลแมน ซิสเตอร์โรซารี และ ซิสเตอร์กอแลตตา แม่ครัว 1 คน และสามเณรน้อยใหญ่อีก 82 คน รวมเป็น 90 ชีวิต เรือลากจูงลำนี้ได้ เข้าเทียบท่าทีป่ ลายสะพานโรงเลือ่ ยเกาะลอย อำเภอศรีราชา เวลา 19.00 น. หลังจากนัน้ คณะผูใ้ ห้การอบรม และสามเณรได้ร่วมกันทำการบุกเบิกพื้นที่ เพื่อใช้ในการอบรมสามเณรตามลำดับต่อมา หน้า 14
อาคารหลังแรกของบ้านเณร มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น หันด้านกว้างสู่ถนน มีป้าย ขนาดใหญ่ตัวหนังสือเป็นตัวนูน เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า “SEMINAIRE du SACRE COEUR 1935” ภาย หลังอธิการมงคล ประคองจิต ได้เปลี่ยนเป็นภาษาลาตินว่า “Seminarium ss.Cordis Jesu 1935” ซึ่งแปล เป็นภาษาไทยว่า“บ้านเณรแห่งดวงพระหฤทัย อันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้า ค.ศ. 1935” อาคารหลั ง นี ้ ก ่ อ สร้างโดยบริษัท คริสเตียนี และเนลสัน จำกัด ซึ่งเริ่มลงมือก่อสร้างใน เดือนมกราคมและแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ปี เ ดี ย วกั น วั น ที ่ 18 ธั น วาคม ค.ศ. 1965 มิสซังจันทบุรไี ด้รบั การสถาปนาเป็นสังฆมณฑล อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพจึ ง ได้ ย กบ้ า นเณรฯ หลังนี้ให้เป็นของสังฆมณฑลจันทบุรี จากนั้น ก็ยา้ ยไปเปิดบ้านเณรแห่งใหม่ทอ่ี ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ในปี ค.ศ. 1965 โดยใช้ชอ่ื ว่า “สามเณรา ลัยนักบุญยอแซฟ”
คณะผู้ให้การอบรม
คุณพ่อมาร์โก สมจิตร พึ่งหรรษพร (อธิการ) คุณพ่อยอแซฟ ภูวนารถ แน่นหนา (รองอธิการ)
แนวทางการอบรม บ้านเณรได้จัดแบ่งแนวทางการอบรมสามเณรออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ ด้านชีวิตจิตและอภิบาล แนะนำให้สามเณรได้เจริญชีวิตและสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า ในพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะในศีลมหาสนิท บรรดาสามเณรจะได้สัมผัส คุ้นเคยกับศาสนกิจ หลากหลายทีจ่ ะส่งเสริม พัฒนาความเชือ่ คริสตชนของตน โดยผ่านงานอภิบาลทัง้ ทีโ่ รงเรียนและวัดในสังฆมณฑล
หน้า 15
ด้านการศึกษา สามเณรจะได้รับการอบรมทั้งวิชาทางโลกและทางศาสนา โดยผ่านทางโรงเรียน ของเรา และทีมงานผู้ให้การอบรม พวกเขาจะถูกอบรมให้คิดอย่างเชิงวิเคราะห์และมีทักษะความสามารถ ในการตัดสินใจ
ด้านความเป็นคน เวลาและโอกาสมากมายที่สามเณรจะได้รับการอบรม เพื่อช่วยให้เขารู้จัก ตนเอง และพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยหวังว่าพวกเขาจะเป็นคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ และมีทักษะความสามารถในการเป็นผู้นำ กล่าวอีกด้านหนึ่งก็คือให้มี “จิตใจแจ่มใสอยู่ ในร่างกายทีแ่ ข็งแรง” อาหาร กีฬา และกิจกรรมสันทนาการก็ถกู จัดอย่างดีและเหมาะสมด้วยเพือ่ ส่งเสริมเรือ่ งนี้
กิจกรรม กิจกรรมทั้งหลายจะถูกจัดตลอดทั้งปีที่จะแนะนำบรรดาสามเณรเหล่านี้ให้เป็นผู้นำที่ดี และสามารถแก้ปัญหาชีวิตของตนได้ รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครองและศิษย์เก่าฯ ก็เข้ามาช่วยเสริม สร้างการอบรมในบ้านเณรด้วย
หน้า 16
กองทุนสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา หลักการและเหตุผล สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา เป็นสามเณราลัยของสังฆมณฑลจันทบุรี สถาบันอบรมสามเณร เพื่อเป็นพระสงฆ์ ถึงแม้สามเณรบางคนจะไม่สำเร็จเป็นพระสงฆ์ ก็เป็นการสร้างคนเพื่อพระศาสนจักรและ สังคม การอบรมสามเณรเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทุนทรัพย์ก็ เป็นองค์ประกอบทีส่ ำคัญประการหนึง่ ซึง่ ในแต่ละปีสามเณราลัยต้องรับผิดชอบค่าใช้จา่ ยในการอบรมเลีย้ ง ดูสามเณรโดยเฉลี่ยประมาณคนละ 23,000 บาทต่อปี และช่วยเหลือสามเณรที่ขัดสนอีกเป็นพิเศษ ดังนั้น ทางสามเณราลัยจึงจัดตั้ง “กองทุน” เพื่อช่วยเหลือสถาบันสามเณราลัยและสามเณร โดยนำเฉพาะดอกผล ที่ได้รับจากกองทุนนี้มาดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว วัตถุประสงค์ - เพื่อช่วยสามเณราลัยในกิจกรรมเพื่อการอบรมและเลี้ยงดูสามเณร - เพื่อช่วยเหลือสามเณรที่ขัดสน การดำเนินการ - รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ตามกำลังศรัทธาได้ทุกเวลา โดยไม่จำกัดจำนวน - นำทุนทรัพย์ที่ได้รับจากการบริจาคฝากเข้าเป็น “กองทุน” ซึ่งเป็นกองทุนที่คงอยู่ตลอดไป - นำเฉพาะดอกผลมาดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กองทุนได้ตั้งไว้ ท่านได้อะไรจากกองทุนนี้ - พระสงฆ์ทท่ี ำหน้าทีอ่ บรมประจำสามเณราลัย ถวายมิสซา และภาวนาเป็นพิเศษให้กบั ผูม้ อี ปุ การคุณ ทุกท่านเสมอไป - สามเณรสวดภาวนาให้ผู้มีอุปการคุณทุกท่านทุกวัน -สามเณรที่สำเร็จเป็นพระสงฆ์ จะถวายมิสซาให้ผู้มีอุปการคุณทุกท่านเป็นพิเศษ - สำหรับสามเณรที่ไม่สำเร็จเป็นพระสงฆ์ ท่านก็มีส่วนช่วยสร้างเขาให้เป็นคนที่มีคุณค่าสำหรับ พระศาสนจักร และสังคม
หน้า 17
โดย : หน่วยงานสือ่ มวลชน ระหว่างวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2011 ณ ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี (ศรีราชา) ได้มีการจัดสมัชชา ทิศทางงานอภิบาล สังฆมณฑลจันบุรี ค.ศ. 2011-2015 เพื่อจัดทำแผนอภิบาล ของสังฆมณฑลฉบับใหม่ โดยมีพระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง ผูอ้ ำนวยการสภาอภิบาลวัด และตัวแทนสภาอภิบาล ทีส่ งั กัดภายใน 6 ฝ่าย คือ ฝ่ายอภิบาล ฝ่ายธรรมฑูต ฝ่ายสังคม ฝ่ายสื่อสารสังคม ฝ่ายการศึกษาอบรม และฝ่ายบริหารจัดการ รวมทั้งสิ้นจำนวนกว่า 296 ท่าน
การประชุมสมัชชาในวันแรก (17 กุมภาพันธ์)
เริ่มด้วยพิธีมิสซา โดยพระสังฆราช ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต เป็นประธานในพิธี หลังพิธีมิสซา ได้มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย คุณพ่อยอด เสนารักษ์ นำเสนอข้อมูลจากการ สัมมนาระดับแขวง โดยคุณพ่อเฉลิม กิจมงคล รวมทั้งยังมีการเสวนา “สภาพความเป็นจริงของ สังฆมณฑลจันทบุรี ในมิติต่างๆ ที่ท้าทายการ อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ ร่วมพันธกิจแบ่งปัน ข่ า วดี ” โดย ดร.ชั ย ยนั ต ์ ประดิ ษ ฐ์ ศ ิ ล ป์ อาจารย์ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย และคุณพ่อพิชาญ ใจเสรีมี การตอบข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมสมัชชา รวมทั้งการแบ่งปันข้อคิด ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางและระดมความคิดในการสมัชชาครั้งนี้ด้วย ในช่วงเย็นก็ได้มีงานเลี้ยงสังสรรค์โดยความร่วมมือจากพี่น้องตามแขวงต่างๆ ซึ่งได้นำอาหารและเครื่องดื่ม ต่างๆ มาร่วมรับประทานด้วยกัน
หน้า 18
การสมัชชาในวันที่สอง (18 กุมภาพันธ์) เริม่ ด้วยพิธมี สิ ซา โดยคุณพ่อยอด เสนารักษ์ หลังพิธีได้มีการสรุปเนี้อหาของวันที่ผ่านมา โดย คุณพ่อชาติชาย พงษ์ศิริ จากนั้น คุณพ่อ พิชาญ ใจเสรี ได้มาแบ่งปันเกีย่ วกับคำสอนของพระศาสนจักร จากพระสมณสาส์น และได้มีการแบ่งฝ่ายต่างๆ ออกเป็น 6 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายอภิบาล ฝ่ายธรรมทูต ฝ่ายสังคม ฝ่ายศึกษาอบรม ฝ่ายสื่อสารสังคม และฝ่ายบริหารจัดการ หลังจากนั้นได้มีการเข้า กลุม่ ตามฝ่ายต่างๆ ทีแ่ ต่ละคนได้สงั กัดอยู่ เพือ่ ทีจ่ ะได้พดู คุย แลกเปลีย่ นและหาแนวทางในการสานต่อภารกิจ รวมถึงการร่วมกันกำหนดสิ่งที่จะเกิดชึ้น สิ่งที่อยากเห็นใน 5 ปีข้างหน้า ส่วนภาคบ่ายมีการนำเสนอใน แต่ละกลุม่ ทีต่ นเองได้เข้าไปพูดคุยกันในกลุม่ โดยแต่ละกลุม่ ได้พดู ถึงสิง่ ทีส่ มาชิกในกลุม่ ได้รว่ มกำหนดด้วยกัน และจะทำให้สง่ิ ทีต่ ง้ั ใจไว้บงั เกิดขึน้ จริง รวมทัง้ ร่วมกันสรุปภารกิจที่อยากจะให้เห็นใน 5 ปีข้างหน้า
การสมัชชาในวันสุดท้าย (19 กุมภาพันธ์) เริม่ ด้วยการภาวนาเช้า หลังจากนัน้ ได้มกี ารสรุป เนื้อหาของวันที่ผ่านมา โดยคณะอนุกรรมการฝ่าย สังเคราะห์เนื้อหา ต่อจากนั้นมีการนำเสนอร่างแผน อภิบาลฯ ในฝ่ายต่างๆ และให้ผเู้ ข้าร่วมสมัชชาได้รบั รอง ให้เรื่องต่างๆ ที่ได้มีการประชุมและนำเสนอไปแล้ว หลังจากนัน้ ได้มกี ารอภิปรายเพิม่ เติม มีการสรุปเนือ้ หา ของการจัดสมัชชา และแนวดำเนินการจัดทำแผนอภิบาล ของสังฆมณฑลฉบับสมบูรณ์ โดยจะมีการประกาศใช้ ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2011 จากนั้นเป็นการปิดสมัชชาด้วยพิธีมิสซาบูชาขอพระคุณ โดยพระคุณเจ้า ซิลวิโอสิริพงษ์ จรัสศรี หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมสมัชชา ได้รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน และเดินทางกลับ โดยสวัสดิภาพ ข้อมูลการประชุมกลุ่มตามฝ่ายต่างๆ ที่จะนำไปสู่การกำหนดทิศทางงานอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011- 2015 สรุปได้ดังต่อไปนี้
หน้า 19
1. แสวงหา สราง พัฒนาวิธีการใหครอบครัวคริสตชนเขมแข็งดวยการเจริญชีวิตพระวาจาของพระเจา(4) อาศัยวิถี ชุมชนวัดมีชีวิตเปนประจักษพยานตามจิตตารมณความรัก(4) จัดอบรมพอแมคริสตชนทั้งในระดับวัด แขวง และ สังฆมณฑล ใหสามารถหาแนวทางในการพัฒนาครอบครัวใหเขมแข็ง เปนแบบอยางชีวิตความซื่อสัตยตอคำปฏิญาณ ในศีลสมรส 2. กำหนดเปาหมาย วิธีการ รูปแบบฟนฟูความเชื่อ การอบรม การสอนคำสอนใหกับคริสตชนทุกวัย และสรางบุคลากร ดานคำสอนทั้งดานปริมาณและคุณภาพ(4) โดยเฉพาะครูคาทอลิก กำหนดนโยบายระดับสังฆมณฑลในการอบรมและ เตรียมครูคำสอน 3. กำหนดเปาหมาย วิธีการ กระตุน ฟนฟูกลุมเยาวชนทั้งในดานปริมาณและคุณภาพ 4. กำหนดเปาหมาย วิธีการอภิบาลปญหาศีลศักดิ์สิทธิ์ตาง ๆ ใหชัดเจน เชน ดานศีลสมรส (3) โดยสงเสริมใหสภาอภิบาล มีบทบาทในการอภิบาลรวมกับพระสงฆ 5. กำหนดแนวทางพัฒนาบทบาทองคกรฆราวาส(3) เปดโอกาส/เชิญชวนใหคริสตชนเขารวมในองคกรมากขึ้น 6. การพัฒนาเครือขายงานอภิบาลเชิงเยี่ยมเยียน(2) จัดตั้งหนวยงานและผูรับผิดชอบงานอภิบาลคริสตชน ผูอพยพยาย ถิ่น และแรงงานตางชาติ และการปลูกฝงจิตตารมณงานอภิบาลเยี่ยมเยี่ยนผูดอยโอกาสในครอบครัวคริสตชน 7. กำหนดวิธีการรณรงคใหเด็ก และเยาวชนสนใจกระแสเรียกการเปนพระสงฆ นักบวชมากขึ้น(2) 8. กำหนดแนวทางการสรางและพัฒนาเครือขายงานอภิบาลดานตาง ๆ โดยเฉพาะผูสูงอายุ ผูถูกทอดทิ้ง 9. กำหนดเปาหมายใหทุกวัดมีกลุมพิธีกรรม สงเสริมใหพระสงฆเตรียมพิธีกรรมและปรับบรรยากาศ เพื่อสงเสริมให สัตบุรุษมารวมพิธีกรรมอยางรูความหมายและมีคุณคามากขึ้น กำหนดวิธีการรณรงค ใหเด็กและเยาวชนมารวม พิธีกรรมและกิจกรรมของวัด เชนชวยมิสซา ขับรอง อานบทอาน
หน้า 20
1. กำหนดแนวทาง วิธีการแพรธรรมโดยตรงกับคนตางศาสนาใหชัดเจนมากขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ(3) การเปน มิตรและสรางความสัมพันธที่ดีกับพี่นองตางความเชื่อมีชีวิตเปนประจักษพยานความรักของพระคริสตในกิจการ ตาง ๆตอพี่นองตางความเชื่อในชุมชนวัด ของครอบครัวคริสตชน และโรงเรียนคาทอลิก 2. กำหนดรูปแบบ วิธีการใหศาสนพิธีกรรม การภาวนา เปนสื่อกลางในการแพรธรรมกับคนตางความเชื่อใหเหมาะสม 3. จัดอบรม สรางความรู ความเขาใจ ทักษะในงานธรรมทูต และศาสนสัมพันธใหกับบุคลากร กลุมองคกรตาง ๆ และ คริสตชนทุกวัย(3)อยางครบวงจรทั้งในระดับวัดและระดับแขวง มีการจัดฟนฟูจิตใจผูทำงานดานธรรมทูตระดับ สังฆมณฑล สงเสริมจิตตารมณธรรมทูตในงานดานตาง ๆของสังฆมณฑล 4. พัฒนางานศาสนสัมพันธแกพี่นองตางความเชื่อ และ/หรือ พี่นองตางศาสนาใหมีคุณภาพ 5. กำหนดแนวทาง และพัฒนางานคริสตศาสนสัมพันธกับพี่นองตางนิกาย 6. โรงเรียนคาทอลิกเปนสนามแพรธรรมในการประกาศขาวดี สามารถถายทอดอัตลักษณคาทอลิกใหกับนักเรียนได อยางสัมฤทธิ์ผล 7. กำหนดแนวทางในการจัดทำขอมูลขาวสารเพื่องานธรรมทูต จัดทำคูมือเรื่องของการประกาศขาวดีตอคนตางศาสนา และตางความเชื่อ 8. มีการวางแผน กำหนดวิสัยทัศน แผนงาน โครงการ กิจกรรม ประเมินผลในงานธรรมทูตอยางเปนระบบ
หน้า 21
1. กำหนดแนวทาง วิธีการ พัฒนาการดูแลเอาใจใสผูสูงอายุใหดีขึ้น จัดใหมีชุมชนผูสูงอายุในระดับสังฆมณฑล มีการ ออกเยี่ยมสำรวจ สังเกต และจัดเก็บขอมูลของผูสูงอายุ ผูยากไร ฯลฯ ประสานงานกับองคการภาครัฐในการทำงาน รวมกัน 2. กำหนดแนวทาง รูปแบบ วิธีการในการปลูกฝงจิตสำนึกงานเมตตาสงเคราะหใหเด็กและเยาวชนใสใจตอผูสูงอายุ ผูเจ็บปวย ผูยากไรและผูดอยโอกาส(3) ใหมีทีมงานที่จะชวยใหความรูความเขาใจเพื่อความชัดเจนในการทำงานดาน สังคมในแตละระดับในสังฆมณฑล 3. การกำหนดวิธีการพัฒนางานดานสังคมและงานเมตตาสงเคราะหใหเขมแข็งมีประสิทธิภาพมากขึ้น(3) แตละทีม งานมีการทำงานประสานกัน กำหนดแนวทางใหสภาอภิบาลวัดตระหนักในงานเมตตาสงเคราะห และทำให คริสตชนมีความตระหนักในงานดานสังคมทั้งเชิงรับ เชิงรุก 4. กำหนดแนวทางสรางเครือขายในระดับสังฆมณฑล วัด ในการมีสวนสนับสนุน และจัดหางบประมาณอยางเพียงพอ ในงานสังคม ออกแบบวิธีการใหความชวยเหลืองบประมาณในการชวยเหลือ สำรวจความตองการของชุมชน และ จัดสรรใหตรงความตองการของชุมชน 5. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมปลูกฝงคุณธรรม จริยธรรม และคุณคาศาสนาในชุมชนวัด พัฒนาความรักความ สามัคคี การเสียสละ และกำหนดแนวทาง วิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศีลธรรมแกคนในชุมชนทุกวัย เปดโอกาสให เด็กคิดสรางสรรคกิจกรรมที่เปนประโยชน ไดฝกฝนตนใหมีจิตอาสา
หน้า 22
1. กำหนดแนวทาง นโยบายของสังฆมณฑลในการขยายระดับการศึกษา และเปดโรงเรียนเพิ่มในบางพื้นที่ โดยมีจุด ประสงคเพื่อการอภิบาลเยาวชนอยางตอเนื่อง 2. แสวงหาความรวมมือกับโรงเรียนสังฆมณฑล โรงเรียนคณะนักบวช และฆราวาสในการสงตอนักเรียนระหวางกัน 3. กำหนดแนวทางในการพัฒนาครูคำสอน และจัดสวัดิการใหบุคลากรคำสอนอยางเหมาะสม และหลอเลี้ยงชีวิตพวก เขาในดานความเชื่อ และมิติของชีวิตดานอื่น ๆ เปนนโยบายที่ชัดเจนของสังฆมณฑลและคณะนักบวช 4. กำหนดแนวทางพัฒนาอาชีพและชุมชนพอเพียง ใหวัด โรงเรียนเปนศูนยเรียนรู สงเสริมอาชีพทองถิ่น ประสานกับ องคกรทองถิ่น หนวยงานของรัฐเพื่อระดมทรัพยากรในการเสริมสรางความเขมแข็งมั่นคงใหชุมชน เพื่อสืบคน ภูมิปญญาทองถิ่น ทรัพยากรในทองถิ่นและพัฒนาเปนองคความรู และฐานในการพัฒนาชุมชน 5. กำหนดแผน นโยบาย ระดับสังฆมณฑล ใหมีหนวยงานเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของสังฆมณฑลทั้งระดับผู บริหารและครู มีศูนยประสานสัมพันธแลกเปลี่ยนเรียนรู 6. ฟนฟูชีวิตของผูเตรียมบวช สามเณร พระสงฆ นักบวช ใหเปนบุคคลที่เปนผูนำดานจิตวิญญาณ และความเชื่อ สามารถบูรณาการความเชื่อและวัฒนธรรมใหเขากับประชาชน 7. มีนโยบายชัดเจน กำหนดเกณฑในการใหทุนการศึกษา ประสานสัมพันธรวมมือกันของโรงเรียนคาทอลิกในการให ทุนการศึกษา หรือการใหโอกาสนักเรียนยากจนศึกษาในโรงเรียนคาทอลิกหรือโรงเรียนที่มีคุณภาพ 8. สังฆมณฑลมีนโยบาย หรือขอตกลง กับโรงเรียนคาทอลิกของฆราวาส ในการชวยเหลือ ติดตามในดานงานอภิบาล เพื่อใหนักเรียนไดรับคุณคาตามอัตลักษณโรงเรียนคาทอลิก 9. จัดทำหลักสูตรคำสอน จัดอบรมความรูดานคำสอนใหครูคาทอลิกในโรงเรียนคาทอลิกและรัฐบาล และจัด สวัสดิการครูคำสอนที่เหมาะสม(4) กำหนดแนวทาง วิธีการสนับสนุนครูและบุคลากรในโรงเรียน ผูท่ีสนใจใหได รับการอบรมหลักสูตรครูคำสอน กำหนดรูปแบบ วิธีการในการจัดเวลาเรียนคำสอนและรับศีลศักดิ์สิทธิ์ใหเยาวชน นักเรียนอยางตอเนื่องตามชวงเวลาที่เหมาะสม และจัดสอนวิชาคริสตศาสตรในโรงเรียนใหนักเรียนตางความเชื่อ 10. มีการพบปะประชุมแลกเปลี่ยนการมีกิจกรรมรวมกันระหวางบานวัด และโรงเรียนเพื่อสรางแนวทางรูปแบบความ รวมมือระหวางกัน 11. กำหนดแนวทางรูปแบบการศึกษา จัดทำขอมูลประวัติศาสตรของวัด และการเผยแพรเพื่อสืบสานความเชื่อ
หน้า 23
1. กำหนดวิธีการสรรหา พัฒนาความรู ความสามารถของบุคลากรในการใช การผลิต และการบำรุงรักษาสื่ออุปกรณ เทคโนโลยีในงานสื่อสารสังคม(3) ผูรับผิดชอบงานสื่อของสังฆมณฑลเปนผูประสานงาน รวมกลุม กำหนดบทบาท และใหความรูแกบุคลากรดานสื่อของวัดตาง ๆ 2. กำหนดแนวทางในการพัฒนาการใชสื่อ เทคโนโลยีประเภทตาง ๆ หลากหลายชองทางในการบริการ เผยแพร ประชาสัมพันธ การเสริมสรางความเชื่อ และการประกาศขาวดีในงานสื่อสารสังคม(5) สื่อมวลชนคาทอลิกเปนผู ดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธใหแตละวัด 3. พัฒนาเยาวชนใหมีสวนในการเผยแพรธรรมโดยใชเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมโอกาสตาง ๆ(3) 4. พัฒนารูปแบบการจัดทำสารวัดใหมีเนื้อหานาสนใจ และจัดบริการสื่อเสริมความเชื่อศรัทธาตอคริสตชนมากขึ้นใน วัด(2) 5. สังฆมณฑลสนับสนุนการประชาสัมพันธประกาศขาวดีใน You tube และอบรมใหความรูในการดำเนินการใหกับ วัดตาง ๆ
หน้า 24
1. กำหนดเปาหมาย รูปแบบ วิธีการในการจัดอบรม สัมมนาสภาอภิบาลระดับตาง ๆ ใหเกิดความรูความสามารถ คุณธรรม และ ความเชื่อ มีจิตตารมณ ในการปฏิบัติหนาที่(4) 2. กำหนดแนวทาง ในการจัดหา และสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรมตาง ๆ ทั้งในระดับวัดและแขวงให ชัดเจน(3) แสวงหา การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐหรือหนวยงานภายนอก เชนการจัดทำงบประมาณให สอดคลองกับโครงการและชวงเวลาอนุมัติงบจากทองถิ่น 3. กำหนดแนวทางในการจัดสรรงบประมาณของสังฆมณฑลสูระดับแขวง วัด โดยสงเสริมใหสภาอภิบาลมีบทบาทใน การบริหารงบประมาณโครงการวัดโดยมีคุณพอเจาอาวาสควบคุมและใหคำปรึกษา 4. พัฒนารูปแบบ วิธีการ เปดโอกาสใหเยาวชนไดมีสวนในการดำเนินงานของสภาอภิบาล พรอมพัฒนาศักยภาพ เยาวชนควบคูกัน(3) 5. กำหนดวิธีการพัฒนาชีวิตคริสตชนในครอบครัวมีความเชื่อและเปนแบบอยางที่ดี 6. กำหนดแนวทางในการสรางความสัมพันธ เครือขายของความเปนพี่นอง เพื่อการทำงานของสภาอภิบาลอยางมี ประสิทธิภาพ และปลูกฝงใหเยาวชนรูถึงบทบาทหนาที่การทำงานรวมกับสภาอภิบาลอยางตอเนื่อง(2) 7. กำหนดวิธีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ คุณธรรมจริยธรรมที่ดี สงเสริมสนับสนุนใหมีบุคลากรดูแลกลุมเยาวชน 8. จัดหาอุปกรณ สิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน 9. จัดระบบการอภิบาลชาวตางชาติ ผูอพยพยายถิ่น สำรวจเก็บขอมูล หาวิธีการสรางความคุนเคย และตอนรับดวย ความอบอุน บรรยากาศของความรัก ความเปนพี่เปนนองแบบคริสตชน
หน้า 25
หน้า 26
หน้า 27
หน้า 28
“ไข่...ถ้าแตกจากภายนอก ก็จะได้เนื้อไข่ ไข่...ถ้าแตกจากภายใน ก็จะได้สิ่งมีชีวิตเกิดใหม่” ฉันสะดุดใจกับประโยคนี้ที่อยู่ท้ายเล่ม ทั้งๆ ที่ทั้งเล่มของหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การทำนายนิสัยจากกรุ๊ปเลือด ฉันกลับรู้สึกว่าทั้งเล่มฉันอ่านเอาสนุก จนมาสะดุดที่ประโยคท้ายเล่มประโยคนี้ จริงๆ ตามธรรมชาติ ไขที่เรานำมารับประทานนั้น เป็นไขที่ไม่สามารถสร้างชีวิตใหม่ได้แล้ว เพราะมันไม่มีพลังชีวิตจากภายใน ที่จะต่อสู้ดิ้นรนเปิดเปลือกไข่ออกมารับชีวิตใหม่ แต่ไข่ที่ไดรับการผสมแล้ว ภายในมีชีวิตใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้น ค่อยๆ เก็บพลังเพื่อออกแรงกะเทาะเปลือกไขออกมาสู่โลกภายนอก เป็นชีวิตที่สวยงาม .............................. ชีวิตวิญญาณก็เช่นกัน ถ้าได้รับการเพาะบ่มจากภายนอกเข้าไป ไม่ใช่จากภายในออกมา มันก็เป็นเพียงสิ่งฉาบฉวยที่ไม่ยั่งยืน ลงกระทะ เข้าปาก แล้วก็ย่อยสลายหายไป
หน้า 29
ไม่มีอะไรน่าจดจำจารึกไว้ แต่หากถูกเพาะบ่มจากภายในจนแข็งแกร่ง แล้วออกมาสู่โลกภายนอก ก็จะกลับกลายเป็นชีวิตที่สวยงาม พร้อมด้วยภูมิต้านทานที่เข้มแข็งมิใช่หรือ .......................... ไข่...บทเรียนบทใหม่ที่มีค่า สอนฉันว่า...การพัฒนาจิตวิญญาณ ต้องพัฒนาจากภายใน ไม่ใช่เพียงแค่รับการอบรมจากภายนอกเท่านั้น ถ้าชีวิตภายในไม่พร้อม...จะมีพลังอะไรเปิดเปลือกแห่งดวงใจ ออกมาต่อสู้ชีวิตใหม่ภายนอกด้วยความเข้มแข็งได้เล่า ......................... เหมือนดักแด้น้อย ถ้าไม่ถึงเวลา ยังไม่พร้อม แล้วเปลือกดักแด้กลับถูกฉีกออก ชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะต่อสู้กับโลกภายนอกได้อย่างไร นอกจากเป็นชีวิตที่อ่อนแอ และรอวันตาย เท่านั้นเอง ............................. โดย. น้ำผึ้งหวาน
หน้า 30
หน้า 31
©ÅͧªØÁª¹áË觤ÇÒÁàª×èÍ ÇÑ´ ¹.Íѹµ¹ ¾¹ÁÊÒäÒÁ
หน้า 32
หน้า 33
หน้า 34
Ã
หน้า 35
กติกาการร่วมสนุก
- อ่านคำถามที่อยู่ทางด้านล่าง แล้วนำคำตอนที่ได้มาเติมลงในช่องว่างที่กำหนดให้ - ผู้ที่ตอบถูกต้อง 5 ท่านแรกรอรับของที่ระลึกจากทางหน่วยงาน
คำถาม...ถามว่า 1. เทศกาลมหาพรตเริ่มจากวันใด 2. ใกล้รุ่งเช้า วันต้นสัปดาห์ มารีย์ชาวมักดาลา กับมารีย์อีกคนหนึ่งนั้นมาดูอุโมงค์ ใครเป็นผู้ที่มาถึงอุโมงค์เป็นคนแรก 3. เมื่อ มารีย์ชาวมักดาลา เข้าไปในคูหานั้น แต่ไม่พบพระเยซูเจ้า นางกลับพบใครที่อยู่ในคูหานั้น (ยน20:11-18) 4. ในวันเสร์ศักดิ์สิทธิ์ มีพิธีเสกอะไรบ้าง 5. ในวันปัสกา พระสงฆ์จะใส่กาซูลาสีอะไร 6. วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์พระสงฆ์ใส่กาซูลาสีอะไร 7. คำว่าปัสกาแปลว่าอะไร
หน้า 36
พระเยซูเจ้าผู้ทรงบังเกิดมาเป็นกษัตริย์ เมื่อพระองค์ทรงบังเกิดมา เหล่าเทวดาทั้งหลายก็ได้บรรเลงเพลงสรรเสริญ พร้อมกับการรับสวมมงกุฎหนามด้วยความยินยอมพร้อมใจ เหนือกางเขนอันแสนทุกข์ทรมานนั้นเอง ที่พระองค์ได้ทรงรับไว้เพราะบาปทั้งสิ้นของเรา ทรงรับชีวิตใหม่ที่ไม่มีวันตายอีกต่อไป รอยแผลแห่งรัก ซึ่งพระองค์ทรงรับไว้ ทรงหวังว่า พวกเราคงจะแบ่งปันออกไป สู่ทุกยุคทุกสมัยในกาลเวลา ด้วยเสียงดังกังวาล ของความชื่นชมยินดีในความรักเช่นนี้ตลอดไป