สายใยจันท์ V.5

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

Vol.5 ธันวาคม 2011 ปีที่

22

Merry Christmas

• สุขสันต์วันเกิดพระเยซู • วิถีชุมชนวัด • กลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑลฯ • บทเพลงจากฟากฟ้า


สารบั ญ Content ปีที่ 22 ฉบับที่ 5 / ธันวาคม 2011 สาส์นพระสังฆราช

4 8

28

20

26

39

6 10 12 16 20 24 26 28 31 33 39

ค�ำอวยพร Happy Birthday Jesus วิถีชุมชนวัด กลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑลจันท์ ของขวัญที่ประเสริฐสุด บทร�ำพึง พระคริสตสมภพ กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้ บทเพลงจากฟากฟ้า ปริศนาอักษรไขว้ ประมวลภาพกิจกรรม พญาสามองค์

วัตถุประสงค์ วั ต ถุ ป ระสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล

2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


k l a t s ’ r Edito เมื่อแรกเริ่มนั้น พระวจนาตถ์ทรงด�ำรงอยูแ่ ล้วพระวจนาตถ์ประทับอยูก่ บั พระเจ้าและพระวจนาตถ์ เป็นพระเจ้า พระองค์ประทับอยู่กับพระเจ้าแล้ว ตัง้ แต่แรกเริม่ พระเจ้าทรงสร้างทุกสิง่ อาศัยพระวจนาตถ์ไม่มสี กั สิง่ เดียวทีพ่ ระเจ้า ไม่ทรงสร้าง โดยทางพระวจนาตถ์ ชีวิตอยู่ในพระองค์ และชีวิตเป็นแสงสว่างส�ำหรับมนุษย์ แสงสว่างส่องในความ มืด และความมืดกลืนแสงสว่างนั้นไม่ได้ พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์และเสด็จมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา เราได้ เห็นพระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระองค์เป็นพระสิรริ งุ่ โรจน์ทที่ รงรับจากพระบิดา ในฐานะพระบุตร เพียงพระองค์เดียวเปี่ยมด้วยพระหรรษทานและความจริง (ยน 1:1-14) พระวาจาของพระเป็นเจ้า จากนักบุญยอห์นทีพ่ อ่ ยกมา เพือ่ ให้เราตระหนักว่าพระ เยซูเจ้าบังเกิดมาเพื่อเราจริง ๆ ซึ่งการฉลองคริสต์มาสแต่ละครั้งของเรานั้น อย่ายึดติด แค่งานสนุกรื่นเริงเท่านั้น แต่มุ่งไปสู่ความหมายที่แท้จริงด้วย นั่นคือ ตระหนักถึงความรัก ของพระเป็นเจ้า พระเยซูคริสตเจ้าที่มีต่อเราแต่ละคน คริสตมาสและปีใหม่ ปี 2012 ขอให้พี่น้องคริสตชนจันท์ทุกท่านมีสุข ชื่นชมยินดี กับการบังเกิดของพระเยซูเจ้า และมีความสุขกับการอ่านสายใยจันท์เหมือนเดิม

คุณพ่อเอนก นามวงษ์

บรรณาธิการ 3


4


สาส์นพระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า ประเทศไทย เผชิญกับวิกฤติสถานการณ์น�้ำท่วมอย่างหนัก มาตัง้ แต่ เดือนกรกฎาคม จากภาคเหนือ ลงมายังภาคกลางและสุดท้ายในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ได้เข้าท่วมกรุงเทพมหานคร ท�ำความเสียหายแก่ภาค เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยนับแสนล้านบาท สังฆมณฑล ของเรา มีบางพืน้ ทีท่ นี่ ำ�้ ท่วมด้วยเช่นกัน น�ำ้ ท่วมเป็นเหตุการณ์ปกติทเี่ กิดขึน้ เป็นประจ�ำ แต่ครัง้ นีน้ บั ว่าใหญ่ยงิ่ นัก ทีม่ ผี ลกระทบต่อชีวติ ของคนไทยอย่าง กว้างขวาง อย่างไรก็ดี ในวิกฤติครั้งนี้ เราได้พบได้เห็นน�้ำใจจากคนไทยด้วย กันหลั่งไหลมาไม่แพ้มวลน�้ำมหาศาลที่ท่วมอยู่ พี่น้องเองก็ได้แสดงน�้ำใจต่อ ผู้ตกทุกข์ได้ยากตามค�ำสอนพระวรสาร และหลักมนุษยธรรม ขอขอบคุณ พี่น้องและขอพระเจ้าตอบแทนน�้ำใจดีของทุกท่าน เรายังมีการฟื้นฟูครั้งยิ่ง ใหญ่รอเราอยู่ แม้ภาคของเราจะไม่เสียหายอะไรมาก แต่ในฐานะที่เราเป็น ส่วนหนึง่ ของสังคมใหญ่ เราต้องมีความสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อความดีของส่วนรวม และประโยชน์สุขของทุกคน สังฆมณฑลได้ประกาศแผนอภิบาลไปแล้ว เวลานี้ก�ำลังน�ำแผน ลงสู่ภาคปฏิบัติ คือ “การอภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ เสริมสร้างพระ อาณาจักรของพระเจ้า” ซึ่งมีกระบวนการขับเคลื่อน คือ “วิถีชุมชนวัด (BEC)” ที่ท�ำให้ชุมชนแห่งความเชื่อ มีพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง และ ทุกคนมีส่วนร่วมในชุมชนอย่างมีชีวิตชีวา ด้วยพลังจากพระวาจาและศีล ศักดิ์สิทธิ์ ชุมชนเช่นนี้เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือร่วมแรงกันของสมาชิกทุก คนในชุมชน หรือในเขตวัดแต่ละวัด สังฆมณฑลเชื่อมั่นว่าโดยอาศัยการน�ำ ของพระจิตเจ้า ชีวิตพระศาสนจักรของสังฆมณฑลจะได้รับการฟื้นฟูให้เข้ม แข็งและเข้มข้นขึ้นด้วยการที่ชุมชนวัดแต่ละแห่งเป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์ อย่างแท้จริง และเปิดตัวออกสู่สังคม ด้วยการเป็นพยานแห่งข่าวดี เพื่อ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า ในโอกาสฉลองคริสตมาสและปีใหม่ ขอพระเจ้าประทานพระพรที่ จ�ำเป็นแก่ชีวิต และสันติสุขในจิตใจแก่พี่น้องทุกท่าน อ�ำนวยพรมาด้วยความรักในพระคริสตเจ้าและพระแม่มารีย์

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) 5


ษ์ จรัสศุรรี ี ง พ ิ ร ิ ส า ้ จ เ พระคุณ ฑลจันทบ ฆมณ

ประมุข สัง

6


พระคุณเจ้าเทียนชัย สมานจิต

พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

คุณพ่อยอด เสนารักษ์

อุปสังฆราช สังฆมณฑลจันทบุรี 7


คุณพ่อวิเชียร ฉันทพิริยกุล หัวหน้าแขวงศรีราชา

คุณพ่อมานพ

หัวหน้าแขวง ปรีชาวุฒิ หัวไผ่

8


คุณพ่อประสาน พงศ์ศิริพัฒน์ หัวหน้าแขวงจันทบุรี

คุณพ่อวิศิษฎ์ วิเศษเธียรกุล หัวหน้าแขวงสระแก้ว

คุณพ่อนภา กู้ชาติ

หัวหน้าแขวงปราจีน

บุรี

9


คุณพ่อเอนก นามวงษ์

Happy Birthday Jesus

คริสต์มาส เทศกาลแห่งความชืน่ ชมยินดี เทศกาลแห่งความสุข เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ผูค้ นทัว่ ไป เฝ้ารอเทศกาลนี้ด้วยใจเป็นสุข เพราะจะเป็นโอกาสที่จะส่งความสุขให้แก่กันและกันด้วยของขวัญ เป็นทั้งผู้ให้และ รับของขวัญในเวลาเดียวกัน โอกาสวันคล้ายวันเกิดของพระกุมาร เราลองมาเลือกของขวัญวันเกิด ถวายให้ กับพระกุมารเยซูกันดีไหมว่า ของขวัญชิ้นใดบ้างที่เราสามารถให้กับพระกุมารได้บ้าง ของขวัญชิ้นที่ 1. ถวายภาระหน้าที่ในชีวิต ประจ�ำวันของเรา เป็นของขวัญแด่พระกุมาร น่าจะ เป็นของขวัญดี เพราะพระเยซูเจ้าตรัสอย่างชัดเจน ว่าต้องการให้เราได้พักผ่อนในพระองค์ “ท่านทัง้ หลายทีเ่ หน็ดเหนือ่ ย และแบกภาระ หนักจงมาพบเราเถิด เราจะให้ท่านได้พักผ่อน จงรับ แอกของเราแบกไว้ และมาเป็นศิษย์ของเรา เพราะ เรามีใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน จิตใจของท่านจะ ได้รบั การพักผ่อน เพราะว่าแอกของเราอ่อนนุม่ และ ภาระที่เราให้ท่านแบกก็เบา” (มธ 11:28-30)

10

ของขวัญชิ้นที่ 2. ถวายการให้อภัยตัวเรา และผู้อื่น มอบเป็นของขวัญแด่พระกุมาร เมื่อเรา อภัยผู้อื่นและตัวเรา พระเยซูเจ้าก็ทรงให้อภัยเรา ด้วย และเราสมควรที่จะได้รับการอวยพรจากพระ เยซูเจ้าและพระองค์ทรงฟังค�ำภาวนาของเราด้วย “ขณะที่ท่านยืนอธิษฐานภาวนา จงให้อภัย ถ้าท่านมีเรื่องบาดหมางกับผู้ใด เพื่อว่าพระบิดาของ ท่านผูส้ ถิตบนสวรรค์จะทรงอภัยความผิดให้ทา่ นด้วย” (มก 11:25-26)


ของขวัญชิ้นที่ 3. ถวายความกลัวต่าง ๆ ในชีวิตของเรา เป็นของขวัญแด่พระกุมาร พระเยซู เจ้าไม่ต้องการให้เรามีความกลัวต่อเรื่องใด ๆ ตรง ข้าม พระองค์ทรงต้องการให้เราด�ำเนินชีวิตด้วยจิต ที่เข้มแข็ง มีความรักและสันติในจิตใจ “พระเจ้าไม่ได้ประทานจิตที่บันดาลความ ขลาดกลัว แต่ประทานจิตที่บันดาลความเข้มแข็ง ความรักและการควบคุมตนเองแก่เรา” (2ทธ 1:7) ของขวัญชิ้นที่ 4. ถวายความใจแคบที่จะ เรียนรู้และอ่านพระคัมภีร์ เป็นของขวัญแด่พระ กุมาร พระเยซูเจ้าต้องการให้เราอ่านและร�ำพึงถึง พระวาจาของพระองค์ทุก ๆ วัน เพื่อเราจะได้รู้ถึง ความรัก ความเมตตา และมีความเชื่อที่มั่นคงโดย ผ่านทางพระวาจานั้น “ท่านใดขาดปรีชาญาณ จงขอปรีชาญาณ นั้นจากพระเจ้าเถิด พระองค์ประทานให้ทุกคนด้วย พระทัยกว้างโดยไม่ทรงต�ำหนิเลย แล้วเขาจะได้รับ ปรีชาญาณตามที่ขอ แต่เขาต้องขอด้วยความเชื่อ โดยไม่สงสัย เพราะผู้ที่สงสัยนั้นเปรียบเสมือนคลื่น ในทะเลทีถ่ กู ลมพัดซัดไปมา คนเช่นนีจ้ ะไม่ได้รบั อะไร จากองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า เขาเป็นคนจิตใจโลเลไม่มนั่ คง ในกิจการทั้งหลายของเขา” (ยก 1:5-8)

ของขวัญชิ้นที่ 5. ถวายหัวใจที่เต็มไปด้วย ความรัก เป็นของขวัญแด่พระกุมาร ให้ความรักของ เราแก่พระเป็นเจ้า เคารพตัวเองและรักเพื่อนพี่น้อง เป็นเรือ่ งทีส่ ำ� คัญมาก ทีพ่ ระเยซูเจ้าต้องการ พระองค์ ตรัสเสมอ ๆ ว่า สิ่งนี้แหละเป็นที่พอใจของเรา สิ่งนี้ แหละทีจ่ ะท�ำให้พระกุมารน้อยหัวเราะอย่างมีความสุข “ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้า ของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปญ ั ญาของท่าน นีค่ อื บทบัญญัตเิ อกและเป็นบทบัญญัตแิ รก บทบัญญัติ ประการที่สองก็เช่นเดียวกัน คือท่านต้องรักเพื่อน มนุษย์เหมือนรักตนเอง” (มธ 22:36-39) ของขวัญชิน้ ที่ 6. ถวายการภาวนาด้วยความ เชือ่ เป็นของขวัญแด่พระกุมาร พระเยซูเจ้าต้องการ ให้เราสวดภาวนาด้วยความเชือ่ พระองค์ให้พระหรรษ ทานเราอย่างพอเพียง ในการต่อสูก้ บั อุปสรรคต่าง ๆ ในชีวติ ของเรา แม้การวอนขอของเราไม่สามารถยก อุปสรรคออกไปจากชีวิตเราได้ทั้งหมด นั่นแหละคือ น�้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ที่จะให้ความทุกข์ยาก ความล�ำบากเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา เพื่อเรา จะได้ร่วมเดินบนเส้นทางกัลวารีโอในโลกนี้ไปพร้อม กับพระเยซูเจ้า “ดังนัน้ เราบอกท่านทัง้ หลายว่า ทุกสิง่ ทีท่ า่ น วอนขอในการอธิษฐานภาวนา จงเชือ่ ว่าท่านจะได้รบั และท่านก็จะได้รับ” (มก 11:24) ของขวัญทั้ง 6 ชิ้นนี้ เราจะเลือกชิ้นไหนให้ เป็นของขวัญวันเกิดแด่พระเยซูเจ้าดี? ถ้าจะเลือก ทั้ง 6 ชิ้นจะดีเป็นอย่างยิ่ง แล้วอย่าลืมชวนเพื่อน ๆ รอบข้างมาเลือกของขวัญมอบให้กับพระเยซูเจ้าใน โอกาสวันคล้ายวันเกิดของพระองค์ด้วย สุขสันต์วันเกิดครับพระเยซูเจ้า 11


วิถีชุมชนวัด Basic Ecclesial Community วิถีชุมชนวัดเป็นค�ำใหม่ส�ำหรับหลาย ๆ คน แต่วิถีชุมชนวัด เป็นคุณค่าที่มีอยู่ในคริสตชนแต่ละคน เป็นคุณค่าที่มีอยู่ในแต่ละครอบครัว และเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในแต่ละกลุ่ม และการคงอยู่ของวิถีชุมชนวัดนี้เอง ท�ำให้เกิดเครื่องหมายที่เห็นได้ภายนอก ประจักษ์แก่ตาคนทั้งปวง นั่นคือ “วัด”

หน่วยงานสื่อมวลชน รายงาน 12


เมือ่ วันที่ 25-27 ตุลาคม 2011 ในการสัมมนา พระสงฆ์ประจ�ำปี ค.ศ. 2011 ที่ศูนย์สังฆมณฑล จันทบุรี ภายใต้หัวข้อที่ว่า “การสร้างและอภิบาล ชุมชนศิษย์พระคริสต์ ตามรูปแบบของ BEC (วิถี ชุมชนวัด)” โดยมีคุณพ่อ ปิยะชาติ มะกรครรภ์ เป็น ผูบ้ รรยาย และแบ่งปันประสบการณ์ในเรือ่ งวิถชี มุ ชน วัดนั้น ท�ำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น “วิถชี มุ ชนวัด” เป็นค�ำใหม่สำ� หรับหลาย ๆ คน แต่วถิ ชี มุ ชนวัด เป็นคุณค่าทีม่ อี ยูใ่ นคริสตชนแต่ละคน เป็นคุณค่าที่มีอยู่ในแต่ละครอบครัว และเป็นคุณค่า ที่มีอยู่ในแต่ละกลุ่ม และการคงอยู่ของวิถีชุมชน วัดนี้เอง ท�ำให้เกิดเครื่องหมายที่เห็นได้ภายนอก ประจักษ์แก่ตาคนทั้งปวง นั่นคือ “วัด” หากเรา ให้ความหมายของค�ำว่า “วิถีชุมชนวัด” นั่นก็คือ ชุมชนคริสตชนย่อย ๆ ของชุมชนในละแวกบ้านมา รวมตัวกัน โดยมีศนู ย์กลางอยูท่ อี่ งค์พระเยซูคริสตเจ้า คือการเจริญชีวิตตามพระวาจา (การอ่านและการ ไตร่ตรองพระวาจาร่วมกัน) การแบ่งปันประสบการณ์ ความเชื่อและภาวนาร่วมกัน ซึ่ง “วิถีชุมชนวัด” จะ ต้องกลับไปด�ำเนินชีวติ จริง ด้วยการประกอบกิจการ แห่งความรักซึง่ กันและกัน ช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน ซึง่ จะ ท�ำให้สมาชิกวิถชี มุ ชนวัด เป็นภาพสะท้อนการประทับ อยู่ของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ส่วนชุมชนคริสตชนย่อย หรือ ชุมชนคริสตชน พืน้ ฐาน Basic Ecclesial Communities (BEC) นัน้ เป็นส่วนย่อยของชุมชนวัด ชุมชนคริสตชนย่อย ไม่ใช่ กลุม่ ใหม่ แต่เป็นวิถชี วี ติ ทีม่ าพร้อมกับการเป็นคริสต ชนในศีลล้างบาป ดังนั้น คริสตชนทุกคนมีส่วนเป็น ชุมชนคริสตชนย่อยอยู่แล้ว โดยไม่ต้องสมัคร และ ก็ลาออกไม่ได้เช่นกัน

ท�ำไมต้องมีวิถีชุมชนวัด ? ท�ำไมต้องมาท�ำเรื่องนี้กัน ? เพราะพระศาสนจักรสากล มีความมุง่ หวังทีจ่ ะ ท�ำให้วดั ทุก ๆ วัด ในพระศาสนจักรท้องถิน่ เป็นชุมชน วัด ที่สมาชิกทุกคนในวัด ทั้งฆราวาส นักบวช พระ สงฆ์ ร่วมเป็นหนึง่ เดียวกัน แบบทีเ่ รียกว่า “ชุมชนวัด ทีท่ กุ คนมีสว่ นร่วม” โดยมีประสบการณ์การประทับ อยู่ของพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ใน “พระวาจา” ที่พวกเขาเจริญชีวิตร่วมกัน และใน “ศีลมหาสนิท” ที่พวกเขาเข้าไปรับในพิธีมิสซา การ มีประสบการณ์ชีวิตกับพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงกลับ คืนพระชนมชีพดังกล่าว จะขับเคลือ่ นสมาชิกแต่ละคน ให้ออกไปประกาศข่าวดี และแบ่งปันประสบการณ์ ความเชื่อในชีวิตของตน ให้แก่บุคคลที่อยู่รอบข้าง ในทุกซอกทุกมุมของชุมชนที่เขาอาศัยอยู่ ทั้งกับผู้ที่ เป็นคริสตชน และกับผู้นับถือศาสนาอื่น วิถีชุมชนวัดมีประโยชน์อย่างไร ? ที่เป็นอยู่ยังไม่ใช่วิถีชุมชนวัดอีกหรือ ? ในแง่ของชีวิตคริสตชนและชีวิตหมู่คณะ การด�ำเนินชีวิตตามวิถีชุมชนวัด เป็นการส่งเสริมให้ คริสตชนมีความรักซึ่งกันและกัน รู้จักแบ่งปัน ช่วย เหลือกัน บ�ำเพ็ญประโยชน์ เพื่อชุมชนส่วนรวม ซึ่ง จะท�ำให้ชีวิตของแต่ละคน และการใช้ชีวิตร่วมกันใน ชุมชนเต็มไปด้วยความสุข ทั้งกายและใจ ทั้งก่อให้ เกิดประโยชน์กับพันธกิจของชุมชนวัด เพราะความ เป็นหนึ่งเดียวกัน และการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุก ฝ่ายในวัด จะขับเคลือ่ นพันธกิจของวัด ซึง่ ก็หมายถึง พันธกิจของพระเยซูคริสตเจ้า ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี และเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระเยซูคริสตเจ้าแก่ ทุกคนรอบข้าง 13


จะเริ่มวิถีชุมชนวัดอย่างไร ? รวมกลุ่มวิถีชุมชนวัดเพื่อท�ำอะไรบ้าง ? คงต้องเริ่มที่การให้พี่น้องคริสตชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ในการ เป็นคริสตชนของตน เป็นต้น เรื่องการมีส่วนร่วม ของคริสตชนในชุมชนวัดตามกระแสเรียกของตน ให้ความรู้เรื่องวิถีชุมชนวัดแก่ทุกฝ่าย คือ ฆราวาส นักบวช และพระสงฆ์ รวมทั้งการสร้างผู้น�ำ ซึ่งเป็น ฆราวาสที่จะมาร่วมงานกับพระสงฆ์ ในการเป็นผู้น�ำ ในกลุ่มย่อย เมื่อทุกฝ่ายมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ ของตนอย่างถูกต้อง และมีผู้น�ำที่เข้มแข็ง ก็เชื่อว่า วิถีชุมชนวัดจะเกิดและมีความยั่งยืน การรวมกลุ่มวิถีชุมชนวัด ก็เพื่อให้คริสตชน ช่วยเหลือกันในการด�ำเนินชีวติ เป็นคริสตชนทีด่ ี หล่อ เลี้ยงชีวิตด้วยพระวาจา และศีลมหาสนิท ออกจาก ตนเอง โดยมอบความรักให้กับผู้อื่น เป็นต้น ผู้ป่วย คนยากไร้ คนชรา ฯลฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบ ของตนเองต่อสังคม และพัฒนาสังคมทีต่ นอยูใ่ ห้ดขี นึ้ ด�ำเนินชีวติ ร่วมกันเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระเยซู คริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ สัตบุรุษไม่ได้อยู่ละแวกเดียวกัน นับเป็นชุมชนคริสตชนย่อยเดียวกันหรือเปล่า? ความเป็นชุมชนคริสตชนย่อยนั้น จะต้องมี จ�ำนวนสมาชิกในกลุม่ ประมาณ 5-15 ครอบครัว เป็น เพือ่ นบ้านกัน ท�ำให้เราได้เห็นความชัดเจนว่า สัตบุรษุ ทีม่ าจากทีต่ า่ งกัน ไม่ได้อยูใ่ นละแวกเดียวกันยังไม่นบั เป็นชุมชนคริสตชนย่อย แน่นอนถ้าเขามาประชุม พบปะกัน เพื่อแบ่งปันพระวาจา ที่พวกเขาได้น�ำไป เจริญชีวิต ก็ต้องถือว่าเขาเป็นกลุ่มพระวาจา หรือ 14

ถ้าเขาท�ำสิง่ ต่างๆ ร่วมกันเป็นองค์กรด้วยจิตตารมณ์ แห่งความเชือ่ และความรักในองค์พระเยซูคริสตเจ้า โดยขึน้ กับพระศาสนจักร ก็ถอื ว่าเขาเป็นกลุม่ กิจกรรม คาทอลิก เป็นการเพิ่มภาระให้กับทุกคนหรือไม่ ? ถ้าเรามองว่าวิถชี มุ ชนวัดเป็นวิถชี วี ติ ทีพ่ ระเจ้า ประทานให้แก่เรา เมื่อเรารับศีลล้างบาป เราจะไม่มี ความรูส้ กึ เลยว่าวิถชี มุ ชนวัดเป็นภาระ เหมือนกับเวลา ทีเ่ ราหายใจ เราไม่เคยรูส้ กึ หนักใจหรือเป็นภาระเลยว่า ท�ำไมเราต้องหายใจมากมายขนาดนี้ อันทีจ่ ริงถ้าเรา มองย้อนกลับไปยังชุมชนคริตชนในสมัยแรก ซึง่ เป็น รูปแบบของวิถชี มุ ชนวัดในปัจจุบนั เราจะพบว่า พวก เขา ด�ำเนินชีวิตตามค�ำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า รักกันและกัน สวดภาวนา และร่วมพิธีบิปัง ถ้ามอง แบบนี้ เราจะเห็นว่า เป็นงานของพระสงฆ์อยู่แล้ว ที่จะต้องเสริมสร้างวิถีชีวิตแบบนี้ ให้เกิดแก่ชุมชน คริสตชนในวัดของตน และส�ำหรับฆราวาสอื่น ๆ ก็ เช่นกัน โดยความเป็นคริสตชน เราต้องมีชีวิตแบบ นี้เช่นกัน เพียงแต่วิถีชุมชนวัดเป็นการท�ำให้รูปแบบ ชีวติ นีม้ แี นวทางทีช่ ดั เจน และเป็นรูปธรรมากขึน้ โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ในชุมชนย่อยที่เราอาศัยอยู่ และถือ เป็นสิง่ ดีถา้ ฆราวาสคริสตชนจะอุทศิ ตนให้วดั มากขึน้ โดยเป็นสมาชิกของกลุ่มกิจกรรมคาทอลิกอื่น ๆ แต่ คงไม่เหมาะนักหากคริตชนคนหนึ่งจะอุทิศตนให้แก่ ผู้อื่น และแก่วัดอย่างมากมาย ตามจิตตารมณ์ของ กลุ่มกิจกรรมคาทอลิกที่ตนสังกัด แต่ละเลยความ รัก ความเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนคริสตชนย่อยที่อยู่ บ้านใกล้เรือนเคียง


ชุมชนศริสตชนพื้นฐาน มีรากฐานอยู่ที่พระคริสตเจ้า และด�ำรงชีวิตอยู่ในพระองค์ เป็นเครื่องหมายของการมีชีวิตของชุมชนวัด เป็นสังคมใหม่มีรากฐานบนวัฒนธรรมแห่งความรัก เป็นเครื่องมือที่ดีในการอภิบาลและการเผยแผ่ธรรม เป็นความหวังอันยิ่งใหญ่ ส�ำหรับความเป็นอยู่ของพระศาสนจักร

15


กลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑ 16


ฑลจันทบุรี

ในปี ค.ศ. 1989 สารและกิจศรัทธา ต่อพระเมตตา เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทย พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต สนับสนุนให้ คุณเทเรซา ลาร์เซ็น มิทเทิลสตัด และ คุณปีเตอร์ อนันต์ สิรสิ นั ต์ เริม่ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์กิจศรัทธาต่อพระเมตตา ในสังฆมณฑลจันทบุรี โดยได้รับความร่วม มืออย่างแข็งขัน จากคุณสุรินทร์ จิตติรัตน์ สัตบุรุษอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธิ นิรมล จันทบุรี ในครั้งแรกได้รวบรวมกลุ่ม สัตบุรุษจากวัดจันทบุรี วัดขลุง วัดท่าแฉลบ วัดปะตง วัดท่าใหม่ วัดมะขาม วัดตราด และ วัดท่าศาลา ประมาณ 50 คน เข้ารับฟังการ บรรยายเรื่อง สารและความศรัทธาต่อพระ เมตตา การสวดสายประค�ำพระเมตตา การ สวดบทภาวนาเวลาบ่ายสามโมง และการท�ำ นพวารพระเมตตา ปี ค.ศ. 1993 สังฆมณฑลจันทบุรี ได้ จัดให้มีการฉลอง และแห่พระรูปพระเมตตา เป็นครัง้ แรก ทีว่ ดั นักบุญฟิลปิ และยากอบ โดย พระคุณเจ้าลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต เป็น ประธาน และวัดต่าง ๆ ในสังฆมณฑล เช่น ที่อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี ทีว่ ดั พระหฤทัยฯ ขลุง ทีว่ ดั พระหฤทัยฯ ศรีราชา ที่วัดเซนต์นิโคลัส พัทยา ที่วัดอัคร เทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี นอกจากนี้ ยังให้ แต่ละวัดในสังฆมณฑล สวดภาวนาพระเมตตา ระหว่างชัว่ โมงศักดิส์ ทิ ธิ์ ในวันอังคาร หรือวัน พุธ หรือวันศุกร์ หรือช่วงเวลาก่อนถวายมิสซา ในวันอาทิตย์ ตามความสะดวกของสัตบุรุษ กลุ่มพระเมตตาในวัดนั้นๆ

17


ในวั น ที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 คณะฆราวาส ร่วมกับ บรรดาพระสงฆ์ ได้ก่อ ตั้ง “คณะพระเมตตา ประเทศไทย” ขึ้น โดยมี คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม เป็นจิตตาธิการ ของคณะ และในวันที่ 11 กันยายน ปีเดียวกันนั้น คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ ฆราวาส ได้มมี ติรบั คณะ พระเมตตาประเทศไทย เข้าสังกัดในสภาพระสังฆราช คาทอลิก แห่งประเทศไทย การได้สมั ผัส พระเมตตารักของพระเยซูเจ้า อย่างต่อเนื่อง สังฆมณฑลจันทบุรี จึงได้แต่งตั้งให้ คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ กลุ่มพระเมตตาของสังฆมณฑล เป็นท่านแรก ในปี ค.ศ. 2005 โดยได้ด�ำเนินการสวดภาวนาพระเมตตา ท�ำนพวาร ฉลองพระเมตตา และเข้าร่วมฟื้นฟูจิตใจ พระเมตตา จากทุกสังฆมณฑลทัว่ ประเทศ ต่อมา ในปี ค.ศ. 2006 ได้มกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการด�ำเนินงาน กลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑลจันทบุรี ในโอกาสฟื้นฟู จิตใจประจ�ำปี ณ ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี ศรีราชา ระหว่างปี ค.ศ. 2007-2010 คุณพ่อสมภพ ประทุมราช ได้รบั การแต่งตัง้ ให้เป็นผูด้ แู ลรับผิดชอบ โดยได้ด�ำเนินการ ร่วมกับคณะกรรมการพระเมตตา สังฆมณฑลจันทบุรี มีการประชุมวางแผน ในเรื่อง ความศรัทธาภักดี ต่อพระเมตตาของพระเยซูเจ้า และการฟื้นฟูจิตใจสมาชิกทั้งหลาย รวมถึงการสวด ภาวนาเพื่อกันและกัน ท�ำกิจศรัทธาต่อเพื่อนพี่น้อง

18

ผู้ตกทุกข์ ขาดแคลน ผู้หลงผิด ตามจิตตารมณ์ของ คณะพระเมตตา ซึ่งด�ำเนินการอย่างเป็นประจ�ำทุก เดือน และจัดฟืน้ ฟูจติ ใจประจ�ำปี เมือ่ วันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ณ ศูนย์เกิดใหม่ บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีคุณพ่อพงษ์เทพ ประมวลพร้อม จิตตาธิการ แห่งประเทศไทย มาแบ่งปันในเรื่อง “ให้พระเจ้า เหนี่ยวน�ำชีวิตฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ อาศัย พระจิตเจ้า” อีกด้วย ในโอกาสเดียวกันนี้ ได้มีการ เลือกผู้ดูแลกลุ่มพระเมตตา ตามวัดต่าง ๆ ในแขวง หัวไผ่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ร่วมทั้งสิ้น 6 วัดด้วยกัน กลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑลจันทบุรี เจริญ เติบโตขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง จากการภาวนาร่วมกัน และ การฟื้นฟูจิตใจ ที่จัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปีมาโดยตลอด และในปี ค.ศ. 2010-ปัจจุบัน คุณพ่อสมภพ แซ่โก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลต่อ กิจกรรมต่าง ๆ ยัง คงด�ำเนินอย่างต่อเนือ่ ง การประชุมวางแผน การจัด ฟื้นฟูจิตใจระดับวัด ระดับแขวง ระดับสังฆมณฑล การจัดฉลองพระเมตตาในแต่ละวัด กิจกรรมประกาศ พระเมตตา การให้ความรู้เรื่องพระเมตตาของพระ เป็นเจ้า จากการแบ่งปันประสบการณ์พระเมตตาใน ชีวติ ของ บร.สแตนเล่ย์ วินลาเซนซิโอ ธรรมฑูตพระ เมตตา ประเทศฟิลปิ ปินส์ ล่าสุด เมือ่ วันที่ 15 ตุลาคม 2011 ณ วัดอัครเทวดามีคาแอล จ.ปราจีนบุรี ได้จัด ฟื้นฟูจิตใจประจ�ำปี ของกลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑล จันทบุรี โดยมีผเู้ ข้าร่วมกว่าร้อยคน ในปัจจุบนั สมาชิก ของกลุ่มมีจ�ำนวนกว่าสามร้อยคน


กิจกรรมกลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑลจันทบุรี

19


ของขวัญที่ประเสริฐสุด โดย อันนา ยุพา ชูลีระรักษ์

เทศกาลแห่ง “ของขวัญ” ใกล้เข้า มาแล้ว แม้ปนี คี้ นไทยจ�ำนวนไม่นอ้ ยจะ “ถูก กระทบ” ด้วย “น�้ำ” แต่ในใจของหลายๆ คนก็ไม่วายจะคิดถึง “ของขวัญ” อย่าง แน่นอน เพราะเป็นธรรมเนียมส�ำหรับบาง คนไปแล้วทีจ่ ะต้องให้ของขวัญแก่อกี บางคน การให้ของขวัญแก่กนั และกันย่อม เป็นสิ่งที่ดี เป็นการแสดงถึงความใจกว้าง หรือการคิดถึงคนอื่น สร้างความประทับ ใจแก่ผู้รับ แต่ “ความหมาย” ของ “ของ ขวัญ” ที่เราให้แก่กันและกันนั้นคืออะไร? แน่นอนความหมายของของขวัญที่แต่ละ คนถือไปให้แก่ผรู้ บั นัน้ ย่อมไม่เท่ากัน ความ หมายหรือค่าของของขวัญนัน้ ไม่ขนึ้ กับราคา ของสิ่งนั้น แต่ขึ้นกับ “คุณค่าทางใจ” ที่ผู้ ให้และผู้รับให้แก่ของขวัญนั้นมากกว่า เรื่องเล่าต่อไปนี้ หยิบยกมาจาก http://digilander.libero.it/semprenatale/ Natale/I_regali.htm ซึ่งจะท�ำให้เข้าใจได้ ดีทสี่ ดุ ถึง “คุณค่าทางใจ” ของของขวัญ ที่ ผู้ให้สามารถสื่อถึงผู้รับได้

20


จะมีของขวัญใดใหญ่ยิ่งกว่า “องค์พระคริสตเจ้า” เล่า? เพราะพระองค์คอื ของขวัญทีพ่ ระบิดาประทานให้แก่มนุษยชาติ

21


อีก 5 วันก็จะถึงวันคริสต์มาสแล้ว บุรุษไปรษณีย์ ได้กดกริ่ง 2 ครั้ง เขาถือกล่องใบใหญ่ห่อด้วยกระดาษมี ลวดลายและสีสันสวยงามมาก ผูกด้วยริบบิ้นสีทอง “เชิญเข้ามา” เสียงหนึ่งตะโกนจากข้างใน บุรุษไปรษณีย์เดินเข้าไปในบ้านที่ค่อนข้างเก่าและไม่มี การดูแล ในห้องนั้นดูมืดและเต็มด้วยฝุ่นหนา มีชายชราคน หนึ่งนั่งอยู่บนเก้าอี้ “ดูสิ มีของขวัญคริสต์มาสกล่องใหญ่ทีเดียวมา ถึงคุณ” บุรุษไปรษณีย์บอกอย่างร่าเริง “ขอบคุณ ช่วยวางไว้ที่พื้นตรงนั้นแหละ” ชาย ชราตอบด้วยเสียงที่แสดงถึงความเศร้าสลดใจ “ในกล่อง นั้นไม่มีความรักหรอก!” บุรษุ ไปรษณียย์ นื ค้างอยูถ่ อื กล่องนัน้ ในมือ เขารูส้ กึ ว่าในกล่องต้องเต็มไปด้วยของดีๆ แน่นอน ชายคนนีค้ งต้อง ไม่พอใจอะไรสักอย่าง ท�ำไมเขาจึงซึมเศร้ามากขนาดนี้? “ท�ำไมคุณถึงไม่ยนิ ดีทไี่ ด้รบั ของขวัญกล่องใหญ่ ขนาดนี้ล่ะครับ?” “ไม่ ฉันไม่รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ” ชายชราตอบด้วย น�ำ้ ตาคลอเบ้า จากนัน้ เขาก็เล่าเรือ่ งลูกสาวของเขาทีไ่ ด้แต่งงาน ไปอยู่ในเมืองใกล้ๆ กัน เธอได้กลายเป็นคนร�่ำรวยมาก ทุกปี ในช่วงคริสต์มาสเธอจะส่งของขวัญให้เขาหนึง่ กล่อง พร้อม กับบัตรเล็กๆ เขียนว่า “จากลูกหลุยซาและสามี” แต่ไม่เคย มีค�ำอวยพรที่เป็นส่วนตัว ไม่เคยมาเยี่ยม ไม่เคยบอกฉันว่า “ขอเชิญพ่อมาฉลองคริสต์มาสกับเรา” แม้แต่ครั้งเดียว “มาดูนี่สิ” ชายชราบอกพร้อมกับลุกขึ้นอย่าง เหน็ดเหนือ่ ย บุรษุ ไปรษณียเ์ ดินตามเขาไปทีห่ อ้ งเก็บของ ชาย ชราเปิดประตูออก “แต่...” บุรุษไปรษณีย์อ้าปากค้าง ในห้องนั้นมีแต่ ของขวัญคริสต์มาสเต็มไปหมด ล้วนแต่เป็นของปีกอ่ นๆ ทัง้ นั้น เป็นกล่องที่ห่อด้วยกระดาษอย่างดีและริบบิ้นราคาแพง “แต่คณ ุ ไม่ได้เปิดมันออกดูดว้ ยซ�ำ้ !” บุรษุ ไปรษณีย์ พูดด้วยความงงงวย “ไม่” ชายชราตอบด้วยความเศร้า “ข้างในมันไม่มี ความรักหรอก!” 22


ผูเ้ ป็นบิดาในเรือ่ งนีค้ งจะเจ็บปวดทุกครัง้ ที่ ฉลองคริสต์มาสเวียนมาถึง และจะเจ็บปวดยิง่ กว่า อีกเมื่อเห็นกล่องของขวัญที่บุรุษไปรษณีย์น�ำมาให้ เพราะเป็นการเตือนความจ�ำว่า ครบรอบอีกหนึ่งปี แล้วสินะที.่ .. “ของขวัญ” นัน้ กลายเป็นสิง่ ทีท่ มิ่ แทง หัวใจของเขาให้เจ็บปวดรวดร้าว วันเวลาผ่านไปปี แล้วปีเล่า แต่ไม่เคยมีอะไรท�ำให้เขารูส้ กึ ดีขนึ้ ได้เลย เรื่องนี้น่าจะเป็นอุทธาหรณ์ให้ไตร่ตรอง ว่า “ของขวัญที่เราให้แก่ผู้อื่นนั้นมีความรักอยู่ ภายในหรือเปล่า?” ไม่ว่าของขวัญนั้นจะราคามากหรือน้อย เท่าใดก็ตาม หากเราเติมให้เต็มด้วย “ความรัก” แล้วไซร้ มันก็คอื สิง่ ทีม่ คี า่ หรือมีคณ ุ ค่ามากทีส่ ดุ นัน่ เอง เมื่อเป็นดังนี้ จะมีของขวัญใดใหญ่ยิ่งกว่า “องค์พระคริสตเจ้า” เล่า? เพราะพระองค์คอื ของ ขวัญทีพ่ ระบิดาประทานให้แก่มนุษยชาติ “องค์แห่ง ความรัก” เองทรงเป็นของขวัญทีม่ อบแก่เราแต่ละ คน จะมีของขวัญใดมีค่ามากกว่านี้อีกเล่า? เพียง แต่บางครัง้ เราอาจไตร่ตรองไม่เพียงพอหรือยึดติด อยูก่ บั ของขวัญฝ่ายวัตถุทใี่ ห้ความสุขชัว่ ครูช่ วั่ ยาม มากเกินไป จึงท�ำให้เรามี “สายตาไม่ยาวพอ” ที่ จะท�ำให้รู้สึก “อิ่มเอมใจ” กับของขวัญฝ่ายจิตที่มี คุณค่ามหาศาลทีพ่ ระบิดาเจ้าทรงประทานให้แก่เรา ในท�ำนองเดียวกัน เราก็ได้บทเรียนชีวิต จากแบบอย่างของพระองค์ด้วย คือ ไม่ว่าเราจะ มอบของขวัญใดให้ใครก็ตาม เราควรจะท�ำให้ด้วย ใจรัก โดยไม่ตอ้ งค�ำนึงมากเกินไปว่าสิง่ ของนัน้ แพง หรือถูก หรือกลัวว่าจะเสียหน้า จึงต้องพยายามหา ของแพงๆ ทีบ่ างครัง้ ท�ำให้เราต้องสิน้ เปลืองไปโดย ใช่เหตุอย่างไม่เหมาะสมกับฐานะ เพราะเมือ่ ใดทีเ่ รา ให้ของขวัญด้วย “ใจ” และด้วย “ความรัก” สิ่ง นั้นก็คือของขวัญที่มีค่ามากที่สุดแล้ว 23


บทร�ำพึง พระคริสตสมภพ

โดย หน่วยงานสื่อมวลชน

คนกลุ่มแรก ที่รู้ข่าวการบังเกิดขององค์พระผู้ไถ่นั้น ไม่ใช่ผู้มีอ�ำนาจ หรือผู้ปกครองดินแดนใด ๆ ในสมัยนั้น ทั้งยัง ไม่ใช่ผนู้ ำ� ทางศาสนาของอิสราเอล คนกลุม่ แรกทีบ่ รรดาเทวดา ได้ไปแจ้งข่าวให้ทราบก็คือ กลุ่มคนที่มีความสุภาพถ่อมตน อ่อนโยน และพร้อมทีจ่ ะรับรูถ้ งึ ข่าวเกีย่ วกับกษัตริยผ์ เู้ พิง่ ทรง บังเกิดมาในความยากจน และทรงบรรทมอยู่ในรางหญ้า ที่ มีไว้ส�ำหรับใส่อาหารของบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ในเวลานั้น ใน กาลก่อน พระเป็นเจ้าได้ทรงเจิมเด็กเลี้ยงแกะผู้ต�่ำต้อย แห่ง เมืองเบธเลเฮม ให้กลายเป็นองค์กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ คอยดูแล ประชากรอิสราเอลของพระองค์ ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้เอง พระเยซูเจ้าได้ทรงตัดสินพระทัย เลือกหนทางอันสุภาพถ่อม ตน ในการเสด็จมาสูช่ าวอิสราเอล ดุจดังองค์กษัตริยผ์ เู้ ปรียบ เสมือนชุมพาบาลที่ดี ผู้ซึ่งยอมสละชีวิตของตน เพื่อเห็นแก่ พวกเขาในการได้รับความรอดตลอดนิรันดร์ ส�ำหรับการฉลองอันใหญ่ยงิ่ แห่งการเสด็จลงมาเพือ่ รับ เอากายนี้ เรามีโอกาสทีจ่ ะสรรเสริญสดุดี และโมทนาพระคุณ พระเป็นเจ้า พระบิดาเจ้าของเราได้อกี ในสัจธรรมทีว่ า่ พระบุตร องค์เดียวของพระเจ้าได้ทรงยอมรับสภาพตามธรรมชาติมนุษย์ ด้วยความชืน่ ชมยินดี ก็เพือ่ ทีจ่ ะท�ำให้การไถ่พวกเราให้รอดพ้น นัน้ ได้สำ� เร็จลุลว่ งไปอย่างสมบูรณ์ พระเยซูเจ้าได้เสด็จมาเพือ่ ปลดปล่อยเรา ผู้เป็นเชลยสู่อิสรภาพ และให้พ้นจากการเป็น ทาสของบาป รวมทั้งเป็นการเปิดประตูทุก ๆ บานในสวรรค์

24

เราจงไปเมืองเบธเลเฮมกันเถิด จะได้เห็นเหตุการณ์นี้ ที่พระเจ้าทรงแจ้งให้เรารู้


ให้แก่เราอีกครั้งหนึ่ง ในวันนี้เอง องค์พระจิตเจ้าได้ทรงเชื้อ เชิญเราทุก ๆ คนให้รีบรุดไป เช่นเดียวกับบรรดาคนเลี้ยงแกะ ในเมืองเบธเลเฮม คือ รีบเร่งไปนมัสการพระกุมารเยซู ผู้ทรง เป็นกษัตริย์ และพระผู้เป็นเจ้าของเรามนุษย์ทั้งมวล พระเยซู คริสตเจ้านีเ้ องทรงเป็นนายชุมพาบาล ผูน้ ำ� ทางและเลีย้ งดูเรา ด้วยความห่วงใยทีไ่ ม่มวี นั สิน้ สุด ทัง้ ยังทรงเป็นผูท้ ปี่ ระทานชีวติ นิรันดรอันสมบูรณ์พร้อมให้แก่เรา เพื่อจะได้เป็นหนึ่งเดียวกับ องค์พระเจ้า ในวันนีแ้ หละ ทีช่ าวสวรรค์ทงั้ มวลมาร่วมชุมนุมกัน พร้อมกับบรรดาผูใ้ จศรัทธาบนแผ่นดินนี้ สรรเสริญองค์พระเจ้า ด้วยบทเพลงสมโภชแห่งความยินดีส�ำหรับข่าวดี ซึ่งบรรดา นิกรเทวดาได้ป่าวประกาศในค�่ำคืนของวันเตรียมสมโภชนี้ว่า “ดูเถิด เราจะน�ำข่าวดีมาบอกท่านทั้งหลาย เป็นข่าวดีที่ จะท�ำให้ประชาชนทุกคนยินดีอย่างยิ่ง วันนี้ ในเมืองของ กษัตริยด์ าวิด พระผูไ้ ถ่ได้ประสูตเิ พือ่ ท่านแล้ว พระองค์คอื พระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า” (ลูกา 2:10-11) ความชื่นชมยินดีแห่งเทศกาลคริสต์มาส ไม่ได้มีอยู่ แค่วันนี้ หรือแค่ในช่วงเทศกาลนี้เท่านั้น แต่นี่คือ ความชื่นชม ยินดีนิรันดร ไม่มีใครสามารถแย่งชิงไปจากเราได้ เป็นความ ชื่นชมยินดีที่พระเยซูคริสตเจ้าได้ทรงประทานสู่จิตใจของเรา ทุกคน โดยผ่านทางองค์พระจิตเจ้า ผูท้ รงประทับอยูภ่ ายในเรา เสมอ พระเป็นเจ้าได้ประทานความปิตยิ นิ ดีเหนือธรรมชาติแก่ เรา ไม่มีความเจ็บปวดทรมานใด ๆ มาพรากความชื่นชมยินดี นี้ ไปจากเราได้เลย แม้แต่ความตายหรือชีวิต ก็ยังไม่สามารถ แยกเราออกจากความชื่นชมยินดีนิรันดร์นี้ได้เช่นกัน

ข้าแต่พระเป็นเจ้า พระเจ้าของพวกลูกทัง้ หลาย โดยการบังเกิดมา ของพระเอกบุตรแห่งพระองค์นี้ พระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระองค์ จึงได้ฉายแสงมาสู่โลก ขณะที่เราท�ำการฉลอง การเสด็จมาขององค์พระบุตร ขอทรงโปรดให้เราทุกคน ได้ลิ้มรสความชื่นชมยินดี ซึ่งพระองค์จะประทานแก่เรา เมือ่ พระบารมีขององค์พระบุตร จะทรงส่องสว่างอย่างโชติชว่ ง ลงมายังแผ่นดินโลกด้วยเทอญ

25


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โ ด ย ส� ำ นั ก ง า น วิ นิ จ ฉั ย ค ดี สั ง ฆ ม ณ ฑ ล จั น ท บุ รี

26


ถาม

พ่อครับ คราวที่แล้ว คุณพ่อบอก ว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพันธะจากคู่ครอง เดิม ไม่สามารถแต่งงานใหม่ได้ คุณพ่อช่วย อธิบายด้วยครับ

แล้วการแต่งงานแบบไหนครับ ที่ ถือว่าถูกต้อง แล้วก่อให้เกิดพันธะของการ แต่งงานครับ

เพราะพระศาสนจักรสอนว่า ผลของ การแต่งงานทีถ่ กู ต้อง (Valid marriage) ของ คูส่ มรส ไม่วา่ เขาทัง้ สองจะได้รบั ศีลล้างบาป หรือไม่ ท�ำให้เกิดพันธะระหว่างคู่แต่งงาน พันธะนี้ถาวรและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างไม่รแู้ ตกสลาย (เทียบพระธรรมนูญว่า ด้วยพระศาสนจักร ในโลกปัจจุบัน ข้อ 48 และกฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 1134)

ให้แยกแยะว่า คนนั้นได้รับศีลล้าง บาปหรือไม่

ตอบ

ดังนัน้ บุคคลทีม่ พี นั ธะการแต่งงาน ครั้งก่อน จึงไม่สามารถแต่งงานได้ (มาตรา 1085 วรรค 1)

•ถ้าได้รับศีลล้างบาป ให้นับการ ท�ำพิธีอย่างถูกต้อง ต่อหน้าพระสงฆ์เป็น เกณฑ์ เช่น นาย ก เคยแต่งงานต่อหน้า พระสงฆ์ และต่อมาแยกทางกัน นาย ก จะ แต่งงานใหม่ไม่ได้ •ถ้าไม่ได้รบั ศีลล้างบาป ในสังฆมณฑล ของเรา ให้นบั ถือการจดทะเบียนสมรสเป็น เกณฑ์ เช่น ผู้ที่เคยจดทะเบียนสมรสแล้ว ต่อมาจดทะเบียนหย่า ก็ถือว่า ไม่สามารถ แต่งงานกับผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 27


...บทเพลงจากฟากฟ้า...

ส่งบทเพลงจากฟากฟ้า ส่งมาขับกล่อมเธอค�่ำคืนนี้ ขอให้เธอหลับอุ่นกรุ่นฝันดี ขอให้มีแต่สุขทุกค�่ำคืน

โดย น�้ำผึ้งหวาน 28


ไม่มีใครสมหวังไปเสียทุกสิ่ง เพราะนี่คือความจริงที่ไม่อาจทนฝืน ในขณะที่ใจคาดหวัง ความฝันก็ไม่อาจย้อนคืน แม้ในยามตื่น ใจยังสะอื้นกับสภาพของความเป็นจริง อยากจะไต่ตามโค้งฝันเหมือนเมื่อวันก่อน วันที่ใจลุกร้อน ยามเมื่อฝันคือทุกสิ่ง จะไต่ตามฝันไปให้ถึงซึ่งความจริง จะลุกล้มเกลือกกลิ้ง ก็จะไม่ทิ้งสิ่งฝันเลย ยังรู้สึกดีดี ที่มีก�ำลังใจไม่รู้จบ พระยังคงมีเมตตาส่งพลังใจมาให้ไม่รู้สิ้น ในวันที่อ่อนล้า พระจะส่งมาให้ นั่นคือที่พักพิง ขอบพระคุณจริงๆ ลูกขอกราบกรานด้วยดวงใจ วันนี้ได้ถ้อยค�ำอุ่นๆ จากนายชุมพาบาลใจดี ท�ำให้ดวงใจที่เหนื่อยอ่อน แต่แอบท�ำเป็นเข้มแข็ง รู้สึกผ่อนคลายและสบายใจ ขอบพระคุณพระที่เมตตาส่งนายชุมพาบาล มาเติมพลังให้พร้อมยิ้มรับวันใหม่ และพร้อมจะก้าวไป...ด้วยใจรื่นเริง

29


ขอร่วมยินดีกับ พระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี โอกาส วันคล้ายวันเกิด 10 ธันวาคม

30


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก 5 ท่านแรก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 1

3

2

7 9

4 5

8

6

10

คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. ปีนขึ้นต้นมะเดื่อเทศ 3. ที่พระเยซูเจ้าถูกตรึงกางเขน 5. พระวรสารส�ำหรับคริสตชนส�ำรอง 7. เป็นเด็กเลี้ยงแกะที่ฆ่ายักษ์ 9. พระสันตะปาปาองค์แรก

แนวนอน 2. ผู้ที่มาแจ้งข่าวแก่พระนางมารีย์ 4. ชื่อ แปลว่า “ดาราสมุทร” 6. อุ้มพระกุมาร ถวายพระพรแด่พระเจ้า 8. โหราจารย์ใช้ดูในการเดินทาง 10. วัดที่เพิ่งเปิดใหม่ในสังฆมณฑลจันทบุรี 31


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

พ ณ์ 3 ร พ ร ะ เ ย ซู ว ปิ รั ส 4 ร ส ห ท ร ร ศ น์ า 6 ญเ ย โ ร ม ป า 7 โ ร มั น ค า ท อ ลิ ก ล 2

1

วิ ว ร 9

32

ปั ญ

5

นั ก บุ

8

ลู ก า

ปั ญ จ บ ร ร พ

สิ่งตีพิมพ์

10

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 4 ปีที่ 22 เดือนสิงหาคม 2011


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

โดย...หน่ ว ยงานสื่ อ มวลชน

ฉลองสุวรรณบรรพชา

25 กันยายน

ฉลองหิรัญบรรพชา

33


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ ระยอง

3 กันยายน

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี

17 กันยายน

34


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ

10 กันยายน

วัดมารีสมภพ กบินทร์บุรี

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ

18 กันยายน

วัดนักบุญนิโคลัส พัทยา

35


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ

24 กันวัยายน ดอารักขเทวดา แหลมประดู่

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ

8 ตุลาคม วัดแม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ

36


ฉลองอารามคาร์แมล จันทบุรี

8 ตุลาคม

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารดาพระศาสนจักร นครนายก

15 ตุลาคม

37


สัมมนาพระสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี

25-27 ตุลาคม ประจ�ำปี ค.ศ. 2011

38


พญาสามองค์ พญาสามองค์ หรือปราชญ์จากบูรพาทิศ หรือกษัตริยจ์ ากแดนตะวัน ออก คือกลุ่มบุคคลต่างชาติกลุ่มหนึ่ง และเป็นบุคคลส�ำคัญ ที่เชื่อกันว่า ได้ มาเยี่ยม/นมัสการพระเยซูเจ้าหลังจากการบังเกิดของพระองค์ ทั้งสามท่าน นี้จะปรากฏให้เราได้แลเห็นเป็นประจ�ำอยู่เสมอ เมื่อมีการเฉลิมฉลองวัน คริสต์มาสหรือวันสมภพของพระเยซู ตามค�ำบอกเล่าจากพระวรสาร โดยนักบุญมัทธิว พญาสามองค์ ได้ พบพระกุมารเยซูโดยการติดตามดาวประจ�ำพระองค์/ดาววิเศษ ซึ่งต่อมา ดาวประจ�ำพระองค์ดวงนี้ ก็ได้รับขานนามว่า “ดาวแห่งเบธเลเฮม” “เขา เข้าไปในบ้าน พบพระกุมารกับพระนางมารีย์ พระมารดา จึงคุกเข่าลง นมัสการพระองค์ แล้วเปิดหีบสมบัติ น�ำทองค�ำ ก�ำยาน และมดยอบ ออกมาถวายพระองค์” (มธ 2:11) ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกัน ทองค�ำ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกษัตริย์บนแผ่นดินโลก หรือ อีกความหมายหนึ่งคือ คุณธรรม ก�ำยาน เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสงฆ์/พระมหาสมณะ หรืออีก ความหมายหนึ่งคือ ค�ำภาวนา มดยอบ เป็นสัญลักษณ์ของความตาย/การสิ้นพระชนม์ การทน ทุกข์ทรมาน หลังจากการมานมัสการองค์พระกุมารเยซูของพญาสามองค์ ท่าน ทัง้ สามได้เดินทางกลับไปบ้านเมืองของตน โดยใช้เส้นทางอืน่ เนือ่ งจากท่าน ทั้งสามได้รับค�ำเตือนในฝันว่า กษัตริย์เฮโรดหาทางที่จะก�ำจัดพระกุมารเยซู จากนั้นก็ไม่เป็นที่ปรากฏเรื่องราวของท่านทั้งสามอีกเลย

39


เทศกาลแห่งความสุข อย่าลืมมอบความสุข ให้กับคนที่คุณรัก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.