สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
• ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร • กลุ่มคูร์ซิลโล สังฆมณฑลฯ • ความยุติธรรมของชีวิต • มารานาธา
Vol.6 เมษายน 2012 ปีที่
23
• บทร�ำพึง สมโภชปัสกา • กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้
สุขสันต์ ปัสกา 2012
ส
4
สาส์นพระสังฆราช
6
สาส์นอวยพร
8
กลุ่มแกนน�ำวิถีชุมชนวัด แขวงหัวไผ่
12
ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร
14
พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ณ หลุมฝังศพนักบุญโฟสตินา
15
การรับใช้แต่ปาก หรือ ด้วยใจเมตตา
16
กลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑลจันท์
20
บทร�ำพึง สมโภชปัสกา
ารบั ญ ปีที่ 23 ฉบับที่ 6 / เมษายน 2012
24
มารานาธา
27
วันวาร ล้วนมีความหมาย
28
ความยุติธรรมของชีวิต
30
กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้
31
ปริศนาอักษรไขว้
33
ประมวลภาพกิจกรรม
39
เทียนปัสกา
วัตถุประสงค์ วั ต ถุ ป ระสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล
2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2
Editor’s talk
“บัดนี้ ขอให้บรรดาเทพนิกรในสวรรค์ชื่นชมโสมนัส........
ขอให้สวรรค์รา่ เริงยินดีเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ให้แตรสัญญาณน�ำความรอดพ้นส่งเสียง ก้องกังวาน ฉลองชัยชนะแห่งพระมหากษัตราธิราช....... ขอให้แผ่นดินได้รับแสงสว่างเจิดจ้านี้มีความชื่นชมยินดี ขอให้แสงรุ่งโรจน์แห่งพระราชาผู้ด�ำรงอยู่ชั่วนิรันดร แสดงให้ทั่วโลกทราบว่า ตนได้พ้น จากความมืดแล้ว ขอให้พระศาสนจักร มารดาศักดิส์ ทิ ธิข์ องชาวเรา ชืน่ ชมยินดี ส่องแสงโชติชว่ งแห่งพระผูไ้ ถ่ ขอให้ประชากรของพระเจ้าเปล่งเสียงโห่รอ้ งแสดงความยินดี........” (เพลงสมโภชปัสกา) เรา....คริสตชนต้องชื่นชมยินดีเทศกาลปัสกา เทศกาลปัสกาเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เพราะในค�ำ่ คืนปัสกา แผ่นดินสัมพันธ์กบั สวรรค์ มนุษย์กับพระเจ้ากลับคืนดีกัน ชีวติ คริสตชนมีคา่ เพราะพระเยซูเจ้าได้ไถ่เรา ได้รบั ศักดิศ์ รีการเป็นบุตรของพระเป็นเจ้าอีก ครั้ง มีส่วนร่วมในพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้า ไม่เพียงแต่เรามีส่วนร่วมในพระอาณาจักร ของพระเป็นเจ้าเท่านั้น แต่ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือท�ำให้ชุมชนความเชื่อ (วัดของเรา) เป็นเครื่องหมายที่มีชีวิตของการประทับอยู่ในพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนโลกนี้ โดย อาศัยแสงสว่างแห่งพระวาจาของพระเป็นเจ้า สายใยจันท์ฉบับนี้ยังคงติดตามเรื่องวิถีชุมชนวัด แต่ละวัด แต่ละแขวง ตื่นตัว จัดอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีชุมชนวัดกันอย่างต่อเนื่อง, คอลัมน์ต่าง ๆ ยังเข้มข้นเหมือนเดิม ขอสุขสันต์ปัสกากับพี่น้องทุกท่าน
คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ
3
พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว ให้เราเฉลิมฉลองด้วยความชื่นชมยินดีเถิด สุขสันต์ปสั กาแด่พนี่ อ้ งพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรษุ คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี
สาส์นพระสังฆราช
เราได้มาถึงการฉลองปัสกาอีกครัง้ หนึง่ การฉลองพระคริสตเจ้าทรง กลับคืนพระชนมชีพ เป็นการฉลองชัยชนะของพระองค์ตอ่ บาปและความตาย การท�ำลายอาณาจักรของซาตาน และเป็นการท�ำให้พระสัญญาของพระบิดา เจ้าส�ำเร็จไป คือการน�ำเรากลับไปหาพระบิดา การฉลองปัสกาจึงต้องท�ำให้ ความเชื่อและความหวังของเราเข้มแข็งและมีชีวิตชีวา ด�ำเนินชีวิตเป็นคน ใหม่ในแสงสว่างของพระคริสต์ผู้ทรงเป็นหนทาง ความจริงและชีวิตของเรา ดังนั้น ให้เราเฉลิมฉลองปัสกากันด้วยความชื่นชมยินดีเถิด พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ประกาศ “ปีแห่งความเชื่อ” เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2012 (ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีการเปิดประชุม สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2) และจะสิ้นสุดในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2013 (วัน สมโภชพระเยซูเจ้าทรงเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล) จุดประสงค์ของการ ประกาศ คือ การฟืน้ ฟูความเชือ่ ให้รอ้ นรนขึน้ ใหม่ เพราะเกิดวิกฤติการณ์แห่ง ความเชื่อในยุคปัจจุบัน พระองค์ต้องการให้ปีแห่งความเชื่อนี้ปลุกผู้มีความ เชื่อทุกคนให้มีแรงบันดาลใจ ในการแสดงความเชื่ออย่างเต็มที่ พร้อมกับ ความเชื่อมั่นใหม่ ความมั่นใจและความหวังที่มั่นคง เราจึงจ�ำเป็นที่ต้องเพ่ง สายตาไปยังพระคริสตเจ้าผู้ทรงสิ้นพระชนม์ และทรงกลับคืนพระชนมชีพ เพราะในพระองค์ทรงเป็นต้นฉบับแห่งความเชือ่ ทีท่ ำ� ให้ความเชือ่ ความหวัง และความรักในชีวิตของเราสมบูรณ์
4
ขอองค์พระคริสตเจ้าผูท้ รงกลับคืนพระชนมชีพท�ำให้ ชีวิตของเราทุกคนเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อ ความหวัง และ ความรักทีไ่ ด้รบั การฟืน้ ฟูขนึ้ ใหม่ให้สดชืน่ และเข้มแข็งตลอดไป
(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
5
อ�ำนวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี
6
สุขสันต์วันปัสกา แด่พี่น้อง พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสที่รัก ชาวอิสราเอลฉลองปัสกาเป็นประจ�ำทุกปีดว้ ยความยินดี ขอบพระคุณ พระเจ้าทีท่ รงเมตตา ช่วยชาติของเขาให้รอดพ้นจากการเป็นทาสในประเทศ อียิปต์นั้น ลูกแกะปัสการะลึกถึงลูกชายหัวปีรอดตาย อาศัยเลือดลูกแกะที่ ทาที่ขอบประตูบ้าน เราคริสตชนก็ฉลองปัสกาเป็นประจ�ำทุกปีดว้ ยความยินดี ขอบพระคุณ พระเจ้าที่ทรงเมตตา ช่วยเรามนุษย์คนบาปให้รอดพ้นจากการเป็นทาสของ บาป อาศัยลูกแกะปัสกา พระบุตรพระเจ้าที่มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ยอมตาย เพือ่ เรา และชนะความตาย ซึง่ เป็นมหัศจรรย์ยงิ่ ใหญ่ ทีพ่ ระศาสนจักรประกาศ แก่ชาวโลกตลอดเวลา 2000 กว่าปีแล้ว
สาส์นอวยพร
มนุษย์เกิดมาแล้วต้องตาย เพราะมนุษย์ท�ำบาป ความตายเป็นโทษ ของบาป พระคัมภีรก์ ล่าวไว้ดงั นี้ : “ความตายเข้ามาในโลกเพราะบาปฉันใด ความตายก็แพร่กระจายไปถึงมนุษย์ทุกคนเพราะบาปฉันนัน้ ” (รม 5:12) แต่พระคริสตเจ้าทรงชนะความตาย ด้วยการกลับคืนพระชนมชีพ และทรง สัญญาจะปลุกพวกเราทีต่ ายให้กลับคืนชีพเช่นกัน ฉะนัน้ เราไม่ตอ้ งกลัวตาย ต่อไปแล้ว และแม้เราตาย เราก็รอคอยด้วยความหวังว่า เราจะกลับคืนชีพ ในวันสุดท้าย พระคริสตเจ้าตรัสไว้ว่า : “เราเป็นการกลับคืนชีพ และเป็น ชีวิต ใครเชื่อในเรา แม้ตายไปแล้ว ก็จะมีชีวิต และทุกคนที่มีชีวิต และ เชื่อในเรา จะไม่มีวันตายเลย” (ยน 11:25-26) เราได้ตายและกลับคืนชีพพร้อมกับพระคริสตเจ้าในศีลล้างบาปแล้ว ขอให้เรามีความเชือ่ ความศรัทธา ต่อพระคริสตเจ้าผูท้ รงกลับคืนพระชนมชีพ ผู้ยังประทับอยู่กับเราในโลกนี้ ให้เราร่วมทุกข์กับพระองค์ เราจะได้ร่วมสุข กับพระองค์ ขอให้วันฉลองปัสกาเป็นวันฉลองชัยชนะเหนือความตาย เป็น วันฉลองแห่งความยินดีและความหวังของเรา
7
สัมมนากลุ่มแกนน�ำ วิถีชุมชนวัด แขวงหัวไผ่ โดย หน่วยงานค�ำสอน
ระหว่างวันที่ 10 - 11 มีนาคม 2012 แขวงหัวไผ่ ได้จัดให้มีการสัมมนาสภาอภิบาล ฟื้นฟูจิตใจแกนน�ำ BEC แก่สมาชิกสภาอภิบาลของวัดในแขวง มีผู้มาเข้าร่วมทั้งหมดจ�ำนวน 48 คน จาก 3 วัด ดังนี้ วัดสระไม้แดง 18 คน วัดเตยใหญ่ 18 คน วัดหัวไผ่ 12 คน จัดขึ้นที่ บ้านปลาโลมา รีสอร์ท ต.ท่าข้าม อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา คุณพ่อเศกสม กิจมงคล หัวหน้าแขวงหัวไผ่ และเจ้าอาวาสวัดนักบุญฟิลปิ และยากอบได้กล่าวถึง จุดประสงค์ของโครงการนีว้ า่ เป็นการจัดอบรมเพือ่ ให้ สภาอภิบาลของวัดในแขวงได้มาปรับพืน้ ฐานความรู้ เรื่องของ BEC ไปพร้อม ๆ กัน จะได้ก้าวเดินไปด้วย จังหวะทีใ่ กล้เคียงกัน ไม่ทงิ้ ห่างกันมากนัก อีกทัง้ เป็น โอกาสให้ท�ำความเข้าใจเรื่อง BEC ให้ละเอียดและ ลึกซึง้ ยิง่ ขึน้ เฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของการอ่านและ แบ่งปันพระวาจา 8
“งานสร้างชุมชนศิษย์พระคริสต์ในเชิงลึก” โดยคุณ พ่อได้ให้ความรู้ เพือ่ ปรับพืน้ ฐานของแกนน�ำแต่ละวัด และได้เน้นถึงความส�ำคัญของการสร้างวิถีชุมชนวัด ตามแบบเอกลักษณ์ของตนเอง
คุณพ่อเศกสมได้เป็นวิทยากรให้การอบรม ในหัวข้อ “แนวทางในการพัฒนาการประชุมกลุ่ม ย่อย บีอีซี” โดยได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของวิถีชุมชน วัดในระดับประเทศไทย และระดับภาคเอเชีย เพื่อ สร้างความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน และสร้างแรงจูงใจ แก่แกนน�ำของแขวงหัวไผ่ทจี่ ะเริม่ การสร้าง BEC ใน ระดับสังฆมณฑลจันทบุรี นอกนั้น คุณพ่อได้แนะน�ำ การสร้างวิถีชุมชนวัดอย่างย่อ ๆ โดยได้อธิบายการ อ่านพระวาจาแบบ Lectio Divina อย่างละเอียดทีละ ขัน้ ตอน และได้เปรียบเทียบกับการอ่านพระวาจาแบบ 7 ขั้นตอนให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนอีกด้วย
นอกจากคุณพ่อทีเ่ ป็นวิทยากรให้การอบรมใน หัวข้อดังกล่าวแล้ว ยังมีการแบ่งกลุม่ “ประชุมแต่ละวัด” น�ำโดยวิทยากร 3 ท่านคือ 1) ครูนจิ จา / ครูเพิม่ พูน ใน หัวข้อ “เข้าเรือ่ งตามภาพ” เพือ่ มองชีวติ 2) คุณวินติ า / คุณวิทยา ในหัวข้อ “อ่านและแบ่งปันพระวาจา” 3) คุณพ่อเศกสม / ผอ.วันทา เน้นการเจริญชีวิตใน ด้านสังคม หลังจากนัน้ จึงได้มกี ารแบ่งผูเ้ ข้าร่วมเป็น 5 กลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติการอ่าน และแบ่งปันพระวาจา กันในกลุม่ ย่อย โดยแต่ละกลุม่ มีผนู้ ำ� เพือ่ ให้การด�ำเนิน การเป็นไปอย่างเรียบร้อย
คุณพ่อสมนึก ประทุมราช ได้นำ� กิจกรรมและ เกม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแกนน�ำของทั้ง สามวัด ให้ทุกคนได้รู้จักกัน และสนิทสนมกันมากขึ้น คุณพ่อวีระชน นพคุณทอง เจ้าอาวาสวัด สระไม้แดง ได้เป็นวิทยากรให้การอบรมในหัวข้อ
เพื่อให้การรับความรู้และประสบการณ์ใน ครั้งนี้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น จึงได้มีการจัดช่วงเวลาของการ 9
ถาม-ตอบเกี่ยวกับเรื่องวิถีชุมชนวัดที่บางคนยังอาจ คลุมเคลืออยู่ โดยมีคุณพ่อทุกท่านเป็นผู้ตอบค�ำถาม ไขข้อข้องใจ อีกทัง้ ยังเป็นโอกาสทีแ่ ต่ละวัดได้แบ่งปัน ประสบการณ์เรื่อง BEC ที่ตนได้ท�ำมา ซึ่งท�ำให้เห็น ว่ามีทั้งแบบ Lectio Divina และการอ่านพระวาจา แบบ 7 ขั้นตอน ดังนั้นการปรับพื้นฐานในครั้งนี้จึง เป็นสิ่งจ�ำเป็นและส�ำคัญอย่างยิ่ง
คุณพ่อเอนก นามวงษ์ ผู้อ�ำนวยการแผนก คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ได้เป็นวิทยากร
ในหัวข้อ “พระคัมภีร์ หัวใจการด�ำเนินชีวติ คริสตชน” โดยคุณพ่อได้ให้ความรู้ และให้ผู้เข้ารับอบรมได้ท�ำ ประสบการณ์ของการอ่านพระวาจา ในรูปแบบต่าง ๆ เพือ่ ช่วยเตรียมบรรดาแกนน�ำให้มคี วามพร้อม เข้าสู่ มิติของการอ่านพระวาจา ในบริบทของวิถีชุมชนวัด โดยคุณพ่อได้สอนวิธีการอ่านพระวาจาใน 3 แบบ แบบแรกเรียกว่า “ซึมซับ” เป็นการอ่านพระวาจา ในความเงียบสลับกับการร้องเพลงเทเซ่ แบบนี้ไม่มี การอธิบายพระวาจา แต่เป็นการอ่านส่วนตัวแบบ เงียบ ๆ ใช้เวลาอ่านค่อนข้างนาน เพื่อให้พระวาจา ซึมซับเข้าในใจจนสามารถจ�ำพระวาจานั้นได้ ส่วน แบบทีส่ องเรียกว่า “ใจผูกพันกับพระวาจา” โดยน�ำ พระวาจาจากหนังสือเล่มอืน่ เข้ามาอธิบายเปรียบเทียบ กับพระวาจาตอนทีไ่ ด้เลือก เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจใน พระวาจาตอนนั้น ๆ ได้ลึกซึ้งและชัดเจนยิ่งขึ้น และ แบบที่ 3 เรียกว่า “ตัง้ ค�ำถาม” เป็นการอ่านพระวาจา ให้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยการตั้งค�ำถามหลากหลาย ง่าย ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับพระวาจาตอนนัน้ ๆ ซึง่ เมือ่ อ่าน ดี ๆ แล้วจะพบค�ำตอบได้จากพระวาจาตอนนั้นเอง
ชุมชนศริสตชนพื้นฐาน มีรากฐานอยู่ที่พระคริสตเจ้า และด�ำรงชีวิตอยู่ในพระองค์ เป็นเครื่องหมายของการมีชีวิตของชุมชนวัด เป็นสังคมใหม่มรี ากฐานบนวัฒนธรรมแห่งความรัก เป็นเครือ่ งมือทีด่ ใี นการอภิบาลและการเผยแผ่ธรรม เป็นความหวังอันยิ่งใหญ่ ส�ำหรับความเป็นอยู่ของพระศาสนจักร
10
ประมวลภาพกิจกรรม สัมมนากลุ่มแกนน�ำ วิถีชุมชนวัด แขวงหัวไผ่
11
“ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร?” (มธ 16:15) คุณพ่อเอนก นามวงษ์
“ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร?” เป็นค�ำถามของพระเยซูเจ้าทีไ่ ด้ตรัสถามบรรดาศิษย์วา่ “คนทัง้ หลายกล่าวว่าบุตร แห่งมนุษย์เป็นใคร” บรรดาศิษย์ทูลตอบจากค�ำตอบของคนอื่นว่า “บ้างกล่าวว่าเป็นยอห์นผู้ท�ำพิธีล้าง บ้างกล่าว ว่าเป็นประกาศกเอลียาห์ บ้างกล่าวว่าเป็นประกาศกเยเรมีย์หรือประกาศกองค์ใดองค์หนึ่ง” พระเยซูเจ้าคงไม่ต้องการ ค�ำตอบของคนอืน่ ๆ ทีบ่ อกว่าพระองค์เป็นใคร แต่ดเู หมือนทรงต้องการรูว้ า่ บรรดาศษย์ทตี่ ดิ ตามพระองค์มาสักระยะ หนึ่งนั้น รู้จักพระองค์มากน้อยเพียงใด พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร” อันทีจ่ ริง ชือ่ ของพระเยซูเจ้ายังมีมาก มากกว่าศิษย์ของพระองค์ได้กล่าวอ้างในพระวรสารของ มธ 16:13-20 หากเราลองเปิดพระคัมภีร์อ่าน เราจะพบว่า ชื่อของพระเยซูเจ้ามีอยู่หลากหลาย แล้วมีอะไรบ้างล่ะ ตามมาดูกัน ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “บุตรของพระเป็นเจ้า” • ยอห์น 1:49 นาธานาเอลทูลตอบว่า “รับบี พระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้า พระองค์ทรง เป็นกษัตริย์ของชนชาติอิสราเอล” • ลูกา 22:70 ทุกคนจึงพูดว่า “ดังนั้น ท่านเป็นบุตรของพระเจ้าใช่ไหม” พระองค์ตรัสตอบ ว่า “ท่านพูดเองนะว่าเราเป็น” • มัทธิว 14:33 คนที่อยู่ในเรือจึงเข้ามากราบนมัสการพระองค์ ทูลว่า “พระองค์เป็นพระบุตร ของพระเจ้าอย่างแท้จริง” ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “พระบุตรเพียงพระองค์เดียว” • ยอห์น 1:18 ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย พระบุตรเพียงพระองค์เดียว ผู้สถิตอยู่ในพระอุระ ของพระบิดานั้นได้ทรงเปิดเผยให้เรารู้ • ยอห์น 3:16 พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมากจึงประทาน พระบุตรเพียงพระองค์เดียวของ พระองค์ เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศแต่จะมีชีวิตนิรันดร • ยอห์น 3:18 ผู้ที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่ถูกตัดสินลงโทษ แต่ผู้ที่ไม่มีความเชื่อก็ถูกตัดสิน ลงโทษอยูแ่ ล้ว เพราะเขามิได้มคี วามเชือ่ ในพระนามของพระบุตรเพียงพระองค์เดียว ของพระเจ้า • 1 ยอห์น 4:9 ความรักของพระเจ้าปรากฏให้เราเห็นดังนี้ คือ พระเจ้าทรงส่ง พระบุตร พระองค์เดียว มาในโลก เพื่อเราจะได้มีชีวิตโดยทางพระบุตรนั้น 12
หากเราเปรียบเทียบอุปมาในพระวรสารของนักบุญมาระโก เรื่องคนเช่าสวนชั่วร้าย ใน มก 12:6 ที่เขียนไว้ ว่า “เจ้าของสวนยังมีคนเหลืออยู่อีกคนหนึ่ง คือบุตรสุดที่รัก เขาจึงส่งบุตรไปเป็นคนสุดท้าย โดยคิดว่า “พวกนั้น คงจะเกรงใจลูกของเราบ้าง”” ตัวบทพระคัมภีร์นี้ชี้ให้เห็นว่าค�ำอุปมานี้หมายถึงพระบิดาได้ทรงส่งพระบุตรพระองค์ เดียว พวกนั้นจึงควรจะเกรงใจพระบุตรของพระองค์บ้าง ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “เบื้องต้นและบั้นปลาย” • วิวรณ์ 1:17 เมื่อเห็นเขา ข้าพเจ้าล้มลงแทบเท้าของเขาเหมือนคนตาย แต่เขาวางมือขวาบน ตัวข้าพเจ้า กล่าวว่า “อย่ากลัวเลย เราเป็นทั้งเบื้องต้นและบั้นปลาย” • วิวรณ์ 22:13 “เราเป็นเบื้องต้นและบั้นปลาย เป็นปฐมเหตุและอวสาน” • วิวรณ์ 22:16 “เรา เยซู ส่งทูตสวรรค์ของเรามาเป็นพยานแก่ท่านทั้งหลายถึงเหตุการณ์ เหล่านี้เกี่ยวกับพระศาสนจักรต่างๆ เราเป็นรากเหง้าและเชื้อสายของกษัตริย์ดาวิด และเป็นดาว ประจ�ำรุ่งอันสุกใส” ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “อัลฟาและโอเมก้า” วันเสกน�้ำ เสกไฟ หรือคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่พระสงฆ์เสกเทียนปัสกา จะมีบทภาวนาของ พระสงฆ์วา่ เราคืออัลฟาและโอเมก้า นัน่ หมายความว่า เทียนปัสกาเป็นสัญลักษณ์หมายถึงพระเยซูเจ้า ผูเ้ ป็นอัลฟา คือจุดเริม่ ต้น และโอเมก้า คือปัน้ ปลาย นีก่ เ็ ป็นอีกหนึง่ ชือ่ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงถูกเรียกขาน • วิวรณ์ 22:12-13 พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราจะมาทันที และจะน�ำบ�ำเหน็จรางวัลของเรามาด้วย เพื่อตอบแทนแต่ละคนตามกิจการของเขา เราคือ อัลฟาและโอเมก้า เป็นเบื้องต้นและบั้นปลาย เป็นปฐมเหตุและอวสาน” • วิวรณ์ 1:8 พระเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงด�ำรงอยู่ในปัจจุบัน ผู้ทรงด�ำรงอยู่ในอดีตและ ผู้เสด็จมา พระผู้ทรงสรรพานุภาพตรัสว่า “เราคือ อัลฟาและโอเมก้า” ชือ่ ของพระเยซูเจ้ายังไม่หมดแค่นี้ ยังมีประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าด้วยชือ่ อืน่ ๆ อีกมากทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ความเชือ่ ความศรัทธาของเราที่มีต่อพระเยซูเจ้า..... (อ่านต่อฉบับหน้า) 13
พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ณ หลุมฝังศพนักบุญโฟสตินา คัดมาจากหนังสือ สารและความศรัทธาต่อพระเมตตา
พระสันตะปาปายอห์น ปอลทีส่ อง ได้เสด็จ เยือนหลุมฝังศพนักบุญมาเรีย โฟสตินา โควัลสกา ในลาเจียฟนิกิ โปแลนด์ เมือ่ วันที่ 7 มิถนุ ายน 1997 พระองค์ตรัสที่นั่นว่า:
“
ไม่มีสิ่งใดที่มนุษย์ต้องการยิ่งไปกว่าความเมตตาของพระเจ้า อันเป็นความรัก ที่เอื้ออารี มีพระทัยเมตตาเวทนาสงสาร ซึ่งยกมนุษย์ขึ้นเหนือความบกพร่องอ่อนแอ ของเขา ถึงจุดสูงสุดอันไร้ที่สิ้นสุดแห่งศักดิ์สิทธิภาพของพระเจ้า ในสถานที่แห่งนี้ เราพึงตระหนักรู้โดยเฉพาะในเรื่องนี้ อันที่จริงแล้วจากสถานที่ แห่งนี้นี่เองที่สารพระเมตตา –ที่พระเยซูคริสตเจ้าพระองค์เอง ทรงเลือกถ่ายทอดมายัง ชนรุ่นเราผ่านทางนักบุญโฟสตินา- ได้แพร่สะพัดออกไป... และสารนี้เป็นสารที่มีความชัดเจน และทุกคนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ใคร ๆ ก็สามารถมาที่นี่ มาเพ่งพิศภาพพระเยซูผู้เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา พระหฤทัยที่ แผ่สันติสุข และได้ยินในห้วงลึกแห่งจิตวิญญาณของตนเองดังที่นักบุญโฟสตินาได้ยิน มาว่า อย่ากลัวเลย เราอยู่กับลูกเสมอ [บันทึกของนักบุญมาเรีย โฟสตินา โควัลสกา, 586] และถ้าคนผูน้ ตี้ อบรับด้วยใจจริงว่า “พระเยซูเจ้าข้า ลูกวางใจในพระองค์” เขาจะ ได้สัมผัสความบรรเทาใจในทุกสิง่ ที่เขาวิตกกังวลและหวาดกลัว ...พ่อมาทีน่ ี่เพื่อฝากฝัง ความวิตกกังวลของพระศาสนจักรและมนุษยชาติไว้กับพระคริสตเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วย ความเมตตาเมือ่ ก้าวสูส่ หัสวรรษทีส่ าม พ่อมาเพือ่ มอบหมายให้พระองค์ดแู ลงานอภิบาล ของพ่ออีกวาระหนึ่ง “พระเยซูเจ้าข้า ลูกวางใจในพระองค์!”
14
”
“การรับใช้แต่ปาก” หรือ “ด้วยใจเมตตา” คัดมาจากหนังสือ สารและความศรัทธาต่อพระเมตตา
มีค�ำสอนในพระวรสารอยู่สองข้อความที่เราควรจดจ�ำไว้ เมื่อเรามีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจ ศรัทธาเหล่านี้: 1. “ประชาชนเหล่านี้ ให้เกียรติเราแต่ปาก แต่ใจของเขาอยูห่ า่ งไกลจากเรา” [อิสยาห์ 29:13] 2. “ผู้มีใจเมตตา ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา” [มัทธิว 5:7] เราอยากได้ยนิ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าตรัสถึงเราแบบข้อไหน ข้อเท็จจริงทีน่ า่ ประหลาดและค่อนข้าง น่าตกใจก็คือ คนเคร่งศาสนาจ�ำนวนมากในสมัยพระคริสตเจ้า [คนที่ปฏิบัติศาสนกิจอย่างแข็งขัน และ เฝ้าคอยพระเมสสิยาห์] กลับจ�ำพระองค์ไม่ได้เมื่อพระองค์เสด็จมา ผูท้ พี่ ระคริสตเจ้าทรงเอ่ยถึงในข้อความแรก คือชาวฟาริสผี อู้ ทุ ศิ ทุม่ เทให้กบั การภาวนา ระเบียบ กฎเกณฑ์ และจารีตพิธีทางศาสนาของตน แต่เมื่อเวลาล่วงไป การถือศาสนาเพียงเปลือกนอกเหล่านี้ กลับเป็นเรื่องส�ำคัญยิ่งจนสูญเสียความหมายที่แท้จริงไป พวกฟาริสีถวายเครื่องบูชาตามที่บัญญัติไว้ อธิษฐานได้ถูกต้องครบถ้วน จ�ำศีลอดอาหารเป็นประจ�ำและเอ่ยถึงพระเจ้าเป็นนิจ แต่ไม่มีสักอย่างที่ เข้าถึงจิตใจของเขาเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงมิได้มีสัมพันธภาพที่แท้จริงกับพระเจ้า พวกเขาไม่ ได้ด�ำเนินชีวิตตามที่พระองค์ปรารถนา และพวกเขาไม่พร้อมรับเสด็จพระเยซูเจ้า เมื่อเราพิจารณาภาพของพระผู้ไถ่ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา หรือหยุดชั่วขณะเพื่อภาวนาเวลา บ่ายสามโมงหรือสวดสายประค�ำพระเมตตา สิง่ เหล่านีก้ ำ� ลังน�ำเราเข้าใกล้ชวี ติ ทางศีลศักดิส์ ทิ ธิข์ องพระ ศาสนจักรและเปิดทางให้พระเยซูเจ้าเปลีย่ นจิตใจเราหรือไม่ หรือว่าสิง่ เหล่านีเ้ ป็นเพียงความเคยชินทาง ศาสนา ในชีวิตประจ�ำวันของเรานั้น เราได้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นในฐานะประชากรของพระเมตตาหรือไม่ หรือเราก�ำลังถวาย “การรับใช้แต่ปาก” ต่อพระเมตตาของพระเจ้าเท่านั้น การวอนขอพระเมตตาจากพระเจ้า การวางใจในพระเมตตาของพระองค์ และการทีเ่ รามุง่ หมาย อย่างจริงใจที่จะเจริญชีวิตพระเมตตาของพระเจ้าในชีวิตของเรานั้น ท�ำให้เรามั่นใจได้ว่า เราจะไม่มีวัน ได้ยินพระองค์ตรัสกับเราว่า “ใจของเขาอยู่ห่างไกลจากเรา” แต่จะได้ยินค�ำสัญญาที่งดงามนี้ “ผู้มีใจ เมตตา ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา” 15
คณะคูร์ซิลโลแห่งพระคริสตศาสนา เกิดขึ้นที่เมืองมัลลอร์คา ประเทศสเปน ในปลายปี 1949 จาก การที่เยาวชนหนุ่มคาทอลิกผู้ร้อนรนในความเชื่อ ได้ชุมนุมกันเพื่อฟังมิสซา ภาวนา และคุยกันถึงพระเจ้าอยู่ เป็นประจ�ำ โดยมีแกนน�ำคือคุณพ่อฮวน แฮร์วาส ซึ่งภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชแห่งพาลมาร์ เดมัลลอร์ดา ต่อมา กลุ่มนี้ได้ร่วมจัดการเดินทางไปแสวงบุญ แลกเปลี่ยนประสบการณ์แห่งชีวิตพระคริสต์ และพัฒนามาเป็นการจัดอบรมผู้น�ำจนเป็น “คูร์ซิลโลแห่งพระคริสตศาสนา” คูร์ซิลลิสตาจะทักทายกันด้วยค�ำว่า “เดโก โลเรส” ซึ่งมาจากเพลงเดโกโลเรส (De Colores) เป็นเพลงทีน่ ยิ มร้องกันในหมูช่ าวคูรซ์ ลิ โล เพือ่ บรรยาย ถึงธรรมชาติ เสียงนก เสียงเป็ดร้อง แสงแดดและ สายรุ้งหลากสี สีเหล่านี้คือสัญลักษณ์ของคุณธรรม สีขาวเป็นสีของความบริสทุ ธิ์ สีแดงคือความกล้าหาญ สีม่วงคือการใช้โทษบาป การมีชีวิตอยู่อย่าง “เดโก โลเรส” จึงหมายถึงการมีชวี ติ คริสตชนอย่างแท้จริง 16
คูรซ์ ลิ โล เป็นงานของพระศาสนจักร ผูบ้ กุ เบิก ขบวนการคูรซ์ ลิ โล ได้หล่อหลอมให้ครู ซ์ ลิ โล มีคณ ุ สมบัติ ที่โดดเด่น โดยการถ่ายทอดความคิด วิถีชีวิตมาเป็น ทฤษฎีที่พิสูจน์แล้วในชีวิตจริง เพื่อปลูกจิตส�ำนึก สังคมคาทอลิกให้ตนื่ ตัวในกระแสเรียกของตน และให้ แต่ละคนตระหนักว่า ชีวิตคริสตชนที่แท้จริงคืออะไร โดยประจักษ์แจ้งในสัจธรรมพืน้ ฐานแห่งพระเป็นเจ้า ผู้เป็นองค์ความรักแท้จริงที่มนุษย์พึงแสวงหา
ปัจจุบัน มีขบวนการคูร์ซิลโลในโลกกว่า 50 ประเทศ ในห้าทวีป และมีสมาชิกทั่วโลกกว่า 2 ล้าน คน และมีประเทศเกาหลีใต้เป็นองค์กรโลก (World Organization) ต่อจาก ประเทศแคนาดา องค์กรโลก ประกอบด้วยองค์กรระหว่างประเทศภาคพืน้ อเมริกา ยุโรป ลาตินอเมริกา และเอเซียแปซิฟกิ ประเทศไทย อยู่ในสายขององค์กรภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค องค์กร โลกท�ำหน้าทีเ่ ป็นแกนกลางขององค์กรระหว่างประเทศ ในการสื่อสารและประสานสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความ เป็นหนึ่งเดียวของคณะฯในระดับสากล (Universal Scale) คณะกรรมาธิการขององค์กรระหว่างประเทศ ท�ำหน้าที่เลือกองค์กรโลกซึ่งอยู่ในวาระ 4 ปี เพื่อท�ำ หน้าทีเ่ ป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และให้บริการ แต่ไม่มอี ำ� นาจเหนือคณะกรรมาธิการระดับใดๆ ทัง้ สิน้ งานเพื่อพระศาสนจักรของคูร์ซิลโลนี้เป็น กิจกรรมท�ำทั้งในระดับวัดและสังฆมณฑล การที่จะ ยึดมั่นในจิตตารมณ์คูร์ซิลโลไว้อย่างซื่อสัตย์ โดยท�ำ หน้าที่เป็นสาวกพระคริสต์ ที่จะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ให้ศักดิ์สิทธิ์ได้นั้น คูร์ซิลลิสต้าต้องท�ำงานเคียงบ่า เคียงไหล่กับพระสงฆ์ในแต่ละสังฆมณฑล เพื่อน�ำ พระวรสารสูม่ วลมนุษย์ โดยผ่านการร่วมงาน “รับใช้”
ให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ประเพณีและรูปแบบ ของสังคม ในทิศทางที่จะน�ำไปสู่พระอาณาจักรของ พระเป็นเจ้าในที่สุด คูรซ์ ลิ โล ในสังฆมณฑลจันทบุรี เกิดขึน้ เมือ่ ปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ.2518) โดย พระคุณเจ้าเทียนชัย สมานจิต แนะน�ำและเชิญชวน คุณพ่อวีระ ผังรักษ์ ซึง่ เป็นอธิการโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ในขณะนัน้ ได้สง่ คณะครูเข้าร่วมรับการอบรมคูรซ์ ลิ โล ทีโ่ รงเรียน ลาซาล บางนา ด้วยกัน 3 ท่าน ได้แก่ ม.วิรัตน์ชัย เจ็งสืบสันต์ ม.สมทรง ผังลักษณ์ และ ม.สุขุม นัมคณิสรณ์ เป็นการอบรมรุน่ ที่ 12 ถือได้วา่ เป็นจุด เริม่ ต้นในการน�ำกลุม่ คูรซ์ ลิ โล มาสูส่ งั ฆมณฑลจันทบุรี และได้ดำ� เนินการมาอย่างต่อเนือ่ ง จนได้รบั อนุญาต จากส่วนกลาง(กรุงเทพฯ) ให้ด�ำเนินการจัดอบรม ภายในสังฆมณฑลด้วยตนเองได้ ในปี ค.ศ. 1994 เริม่ ต้นรุ่นที่ 1 / 74 และยังคงด�ำเนินการเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน โดยมี คุณพ่อวีระ ผังรักษ์ เป็นจิตตาธิการ ระดับประเทศ มีคุณพ่อพินันต์ พรประสิทธิ์ เป็นจิต ตาธิการระดับสังฆมณฑลจันทบุรี บ.วีรศักดิ์ พูลกิจ ประธานกลุ่มคูร์ซิลโลระดับสังฆมณฑลจันทบุรี และ มีประธานของกลุ่มกระจายอยู่ตามวัดต่างๆ
17
กิจการกลุม่ คูรซ์ ลิ โล สังฆมณฑลจันทบุรี ได้ ด�ำเนินการมาอย่างต่อเนือ่ ง มีการรวมตัวกันของกลุม่ มีการประชุมวางแผน จัดอบรมสมาชิกใหม่เป็นประจ�ำ ทุกปี ปีละ 2 รุ่น (ชาย /หญิง) ติดตามสมาชิกเก่าที่ ผ่านการอบรมมาแล้ว โดยจัดให้มีการฟื้นฟูจิตใจใน ระดับสังฆมณฑลปีละครัง้ ของวันเสาร์กอ่ นวันอาทิตย์ ใบลาน ในระดับแขวงปีละครั้ง ตามที่แต่ละแขวงได้ ก�ำหนด และในระดับวัด ประธานกลุ่มคูร์ซิลโล เป็น ผู้ก�ำหนดนัดหมายกันในกลุ่มของตน จากการอบรมทีผ่ า่ นมาอย่างต่อเนือ่ ง ปัจจุบนั กลุม่ คูรซ์ ลิ โล สังฆมณฑลจันทบุรี มีจำ� นวนสมาชิกถึง
141 รุ่น(ชาย) และ 140 รุ่น(หญิง) เป็นจ�ำนวนกว่า พันคน เป็นการเจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมี ประสิทธิภาพ สืบเนือ่ งมาจากขบวนการของคูรซ์ ลิ โล และความร่วมมือของสมาชิกผู้รับการอบรม ที่จะ น�ำความรักของพระเยซูเจ้า ไปแบ่งปันกับเพื่อนพี่ น้องคนอื่น ๆ และสามารถเป็นผู้น�ำในองค์กรต่าง ๆ ของวัด ด้วยจิตตารมณ์ครู ซ์ ลิ โลทีว่ า่ “ลูกยินดีรบั ใช้ พระองค์” โดยเฉพาะคนที่ใกล้ตัวที่สุด ในครอบครัว ในชุมชน เพื่อเขาเหล่านั้น จะได้มีโอกาสได้สัมผัส กับความรักของพระเยซูเจ้า ผ่านมาทางสมาชิก คูร์ซิลลิสต้า ด้วยเช่นกัน
ข้อก�ำหนด ของการสมัครเข้ารับการอบรมคูร์ซิลโลแห่งพระคริสตศาสนา 1. เป็นคริสตชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี จนถึง 60 ปี 2. อยูใ่ นสถานะที่แก้บาปและรับศีลได้ตามปกติ ไม่มีข้อขัดขวางใดๆ 3. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมตลอด เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน
โดย กลุมคูร์ซิลโล สังฆมณฑลจันทบุรี 18
19
บทร�ำพึง สมโภชปัสกา
20
โดย หน่วยงานสื่อมวลชน
พระคูหาว่างเปล่า ยอห์น 20:1-9
(1)เช้าตรู่วันต้นสัปดาห์ขณะที่ยังมืด มารีย์ ชาวมักดาลาออกไปทีพ่ ระคูหา ก็เห็นหินถูกเคลือ่ นออก ไปจากพระคูหาแล้ว (2)นางจึงวิง่ ไปหาซีโมนเปโตรกับ ศิษย์อีกคนหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงรักบอกว่า “เขาน�ำ องค์พระผู้เป็นเจ้าไปจากพระคูหาแล้ว พวกเราไม่รู้ ว่าเขาน�ำพระองค์ไปไว้ที่ไหน” (3)เปโตรกับศิษย์คน นั้นจึงออกไป มุ่งไปยังพระคูหา (4)ทั้งสองคนวิ่ง ไปด้วยกัน แต่ศิษย์คนนั้นวิ่งเร็วกว่าเปโตร จึงมาถึง พระคูหาก่อน (5)เขาก้มลงมองเห็นผ้าพันพระศพ วางอยู่บนพื้น แต่ไม่ได้เข้าไปข้างใน (6)ซีโมนเปโตรซึ่งตามไปติด ๆ ก็มาถึง เข้าไป ในพระคูหาและเห็นผ้าพันพระศพวางอยูท่ พี่ นื้ (7)รวม ทัง้ ผ้าพันพระเศียรซึง่ ไม่ได้วางอยูก่ บั ผ้าพันพระศพ แต่ พับแยกวางไว้อีกที่หนึ่ง (8)ศิษย์คนที่มาถึงพระคูหา ก่อนก็เข้าไปข้างในด้วย เขาเห็นและมีความเชื่อ (9)เขา ทั้งสองคนยังไม่เข้าใจพระคัมภีร์ที่ว่า พระองค์ต้อง ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย
21
เช้าตรูว่ นั อาทิตย์ เมือ่ บรรดาสตรีทเี่ คยติดตาม พระเยซูเจ้าได้พากันไปที่พระคูหา เพื่อชโลมพระศพ เป็นครั้งสุดท้าย เหล่าสาวกก็คิดว่าทุกสิ่งได้จบลง อย่างเศร้าสลดแล้ว พวกเขาไม่พร้อมที่จะเห็นพระ คูหาอันว่างเปล่า หรือแม้แต่ฟังเสียงของทูตสวรรค์ ที่มาส่งข่าวดีว่า “ท�ำไมท่านมองหาผู้เป็นในหมู่ผู้ ตายเล่า?” (ลูกา 24:5) มารียช์ าวมักดาลา เป็นหญิง คนแรก ที่ได้น�ำข่าวของพระคูหาอันว่างเปล่ามาเล่า ให้ฟัง เธอทึกทักเอาว่า พระศพของพระเยซูเจ้าได้ ถูกขโมยไป เธอไม่ได้เตรียมใจที่จะได้พบกับพระเจ้า ผู้ได้ทรงกลับคืนชีพ ผู้ที่จะทรงเผยแสดงพระองค์แก่ เธอ ในขณะที่เธอก�ำลังอยู่ในสวนใกล้ ๆ พระคูหานั้น (ยอห์น 20:11-18) ก้อนหินใหญ่ที่กลิ้งออกไปจากพระคูหานั้น หมายความว่าอะไร? ถ้าจะกลิง้ หินก้อนนัน้ ออกจริง ๆ ก็คงจะต้องใช้คนหลายคน ยิง่ กว่านัน้ ยังมีทหารยาม อีกมากมายคอยเฝ้าพระคูหาที่ถูกปิดสนิทแห่งนี้ด้วย นี่เป็นเครื่องหมายแรกที่ชัดเจนของการกลับคืนพระ ชนมชีพของพระเยซูเจ้า นักบุญเบดา ผูเ้ ป็นปิตาจารย์ ของพระศาสนจักรในศตวรรษที่ 8 ได้เคยกล่าวว่า “เทวดาได้กลิ้งหินกลับไป เพื่อจะเปิดทางให้พระ ผู้ทรงเป็นเจ้าได้ออกมาจากที่นั่น เป็นการเตรียม ใจผู้คนให้รับรู้ถึงการเสด็จกลับมาอย่างทรงชีวิต ของพระองค์ ดุจเดียวกับครรภ์ของพระมารดาที่ ปิดสนิท พระคูหาก็ถกู ปิดสนิทด้วย แต่พระเยซูเจ้า ก็ยงั ทรงเสด็จลงมาสูโ่ ลกนีใ้ นครรภ์ของพระมารดา เช่นเดียวกับทีพ่ ระองค์ได้ทรงจากโลกนีไ้ ปโดยทาง พระคูหาที่ถูกปิดสนิท” นอกนั้น ยังมีปิตาจารย์ผู้ อื่นที่ได้กล่าวย�้ำว่า “เพื่อจะได้สังเกตเห็นการกลับ คืนชีพนี้ หินก้อนนี้ จะต้องถูกกลิง้ ออกไปจากหัวใจ ของเราด้วย” (ปีเตอร์ คริสโซโลกัส, ศตวรรษที่ 5) จ�ำเป็นยิ่ง ที่บรรดาสาวกต้องท�ำความเข้าใจให้ดี กับ 22
พระคูหาอันว่างเปล่านั้น ก่อนที่พวกเขาจะเชื่อมั่นใน ความเป็นจริงที่ว่า พระคัมภีร์ได้บอกเราล่วงหน้าว่า พระเยซูเจ้าจะทรงสิ้นพระชนม์ เพราะบาปของเรา หลังจากนั้น พระองค์จะทรงกลับคืนชีพและเป็นผู้ ชนะความตายทั้งปวง ยอห์น ศิษย์รักของพระเยซูเจ้าได้เขียน พระวรสารจากสิง่ ทีท่ า่ นได้มองเห็นด้วยตาของตนเอง ว่าพระวจนาตถ์ได้ทรงรับเอากาย มาบังเกิดเป็นมนุษย์ แท้ท่ามกลางเรา ทั้งยังเป็นผู้ทรงสิ้นพระชนม์ และ กลับคืนชีพ เพื่อความรอดของเราทุกคนด้วย ยอห์น เป็นสาวกเพียงคนเดียวทีอ่ ยูพ่ ร้อมกับบรรดาสตรี ซึง่ ยืนอยูก่ บั พระเยซูเจ้าทีเ่ ชิงกางเขน และได้เป็นพยาน ยืนยันถึงการสิน้ พระชนม์ของพระองค์ ในวันศุกร์นนั้ ในเวลานีย้ อห์นจึงเป็นสาวกคนแรก ทีไ่ ด้เห็นพระคูหา อันว่างเปล่า พร้อมกับเปโตร ในเช้าตรูข่ องวันอาทิตย์ ปัสกา หลังจากที่บรรดาสตรีได้กลับไปส่งข่าวให้แก่ สาวกเหล่านั้นแล้ว ยอห์นได้เห็นอะไรในพระคูหาที่ ท�ำให้ท่านเกิดความเชื่อต่อการกลับคืนชีพของพระ เยซูเจ้าหรือ? คงจะไม่ใช่พระศพของพระองค์แน่นอน เพราะศพคงไม่ทำ� ให้เกิดความเชือ่ ต่อการกลับคืนชีพ และคงจะสรุปว่าการสิน้ พระชนม์อนั น่าสลดใจยิง่ นัน้ น�ำความรุ่งโรจน์มาสู่เราไม่ได้เลย เมื่อยอห์นได้เห็น พระคูหาที่ว่างเปล่าแห่งนั้น ท่านคงจะจ�ำได้ว่า พระ เยซูเจ้าได้ทรงท�ำนายไว้วา่ พระองค์จะทรงกลับคืนชีพ ในวันทีส่ าม โดยผ่านทางพระพรแห่งความเชือ่ ยอห์น ได้รบั รูแ้ ละตระหนักว่า ไม่มคี หู าฝังศพแห่งใดในโลกนี้ ที่เหมาะส�ำหรับพระผู้เป็นเจ้าผู้ประทานชีวิตได้ ในการเป็นพยานของยอห์นนีเ้ อง ท่านได้ยนื ยัน ด้วยตนเองว่า “สิง่ ทีเ่ ราได้เห็น ได้ยนิ และได้ สัมผัส นัน้ ท�ำให้เรากล้าประกาศออกไปเสมือนเป็นวาจา ทรงชีวติ ทีส่ �ำคัญมากตัง้ แต่แรกเริม่ ” (1 ยน. 1:1-4)
ยอห์น ได้เป็นพยานยืนยันต่อสิ่งที่ด�ำรง อยู่แล้วตั้งแต่นิรันดร “พระวาจาแห่งชีวิต” นี้เอง ที่องค์พระเยซูเจ้า พระวจนาตถ์ได้ทรงรับเอากาย ลงมายังโลกนี้ พระองค์ได้ถูกประกาศ โดยบรรดา ประกาศก และยังได้ทรงเผยแผ่ขา่ วดีนตี้ อ่ ไป ทางพระ ศาสนจักรทุกยุคทุกสมัย มีสงิ่ หนึง่ ทีแ่ น่นอนทีส่ ดุ ก็คอื ถ้าหากพระเยซูเจ้า ไม่ได้ทรงกลับคืนชีพจากบรรดา ผู้ตาย และไม่ได้แสดงพระองค์แก่บรรดาสาวกแล้ว เราก็จะไม่ได้ยินเรื่องราวใด ๆ เกี่ยวกับพระองค์เลย จะไม่มีสิ่งใดอีก ที่สามารถเปลี่ยนมนุษย์ชายหญิงผู้ เศร้าโศก และสิน้ หวังให้กลายเป็นผูม้ ชี วี ติ ชีวา ร่าเริงใน
ความยินดี และความกล้าหาญต่อไปอีก ความเป็นจริง ของการกลับคืนชีพนี้ เป็นหัวใจแห่งสัจธรรมของความ เชือ่ คริสตชน ผ่านทางองค์พระจิตเจ้า พระเป็นเจ้าได้ ประทาน “สายตาแห่งความเชือ่ ” ให้แก่เราด้วย เพือ่ เราจะได้รู้จักพระองค์ และพระฤทธานุภาพในการ กลับคืนชีพของพระองค์ ความปิติยินดีอันยิ่งใหญ่ที่ เราได้รับมานี้ คือการได้พบปะกับพระเจ้าผู้ทรงชีวิต และได้รู้จักพระองค์เป็นการส่วนตัวอีกด้วย ท่านได้ เฉลิมฉลองปัสกานี้ด้วยความยินดีและส�ำนึกด้วย ความขอบคุณ ในชัยชนะที่พระเยซูเจ้าได้ช่วงชิงมา จากบาปและความตายเพื่อท่านหรือไม่?
“ข้าแต่พระเยซูคริสตเจ้า พระองค์ได้ทรงมีชัยชนะเหนือความตาย และช่วงชิงชีวิตใหม่มาให้แก่เรา โปรดประทานสายตาแห่งความเชื่อแก่เรา เพื่อเราจะได้มองเห็นพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์ โปรดทรงน�ำเราให้เข้ามาใกล้พระองค์ และรู้จักความรักอันยิ่งใหญ่กับชัยชนะเหนือบาป และความตายของพระองค์มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเทอญ”
23
24
Maranatha
คุณพ่อเอนก นามวงษ์
มารานาธาเป็นโครงการของหน่วยงานค�ำสอนสังฆมณฑลฯ มารานาธาเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พักผ่อนสุดสัปดาห์กับพระ วาจา” วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ต้องการฟื้นฟูชีวิตคริสตชน ใน ด้านการภาวนา โดยมีพระคัมภีรเ์ ป็นพืน้ ฐานแห่งการภาวนา หรืออาศัย พระวาจาในการภาวนานัน่ เอง เป็นการเสริมรากแก้วให้คริสตชนมีความ ผูกพันกับพระวาจาของพระเป็นเจ้า ให้พระวาจาเป็นหลักในชีวิต หรือ เป็นเข็มทิศที่ช่วยการด�ำเนินชีวิตคริสตชนในสังคมยุคปัจจุบัน มารานาธา แปลว่า เชิญเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า เป็นค�ำที่ ปรากฏในบทสุดท้ายของจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ฉบับ ที่ 1 บทที่ 16 ข้อที่ 22 “ผู้ใดไม่รักองค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้นั้นจงถูกสาป แช่ง มารานาธา” และจะพบในหนังสือวิวรณ์บทสุดท้ายว่า “อาเมน ข้าแต่พระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า เชิญเสด็จมาเถิด” (วว 22:20) กลุ่ม The World Community for Christian Meditation พ่อขอ เรียกง่าย ๆ ว่า กลุม่ สมาธิคาทอลิค ได้ใช้คำ� นีเ้ ป็นอุบายท�ำให้จติ ใจสงบ หายใจเข้าใช้ค�ำว่า Ma (มา) -หายใจออกใช้ค�ำว่า Ra (รา) –หายใจ เข้าใช้ค�ำว่า Na (นา) -หายใจออกใช้ค�ำว่า Tha (ธา) วนอยู่อย่าง นี้ตลอดการท�ำสมาธิ
25
โครงการมารานาธาของหน่วยงานค�ำสอน ไม่ใช่การนั่งสมาธิทั้งวัน ไม่ใช่ ช่วงเวลาที่คุยกันไม่ได้ ต้องเงียบตลอดเวลา หรือ ทานแต่ผัก งดหมู งดเนื้อ ผู้เข้า ร่วมโครงการด�ำเนินชีวิตของตนตามปกติ เพียงแต่ว่าโครงการมารานาธาเป็นช่วง เวลาของเราแต่ละคนที่จะให้เวลากับตัวเองในการภาวนามากขึ้น อ่านพระวาจามาก ขึ้น และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการภาวนา โดยอาศัยพระวาจาของพระเป็นเจ้า จะ ได้ตระหนักถึงการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้า ในตัวคริสตชนแต่ละคน ผ่านทางพระ วาจาของพระองค์ การภาวนาอาศัยพระวาจานี้ ขัน้ แรกพ่อเน้นวิธกี ารอ่านพระคัมภีรใ์ ห้เป็นก่อน วิธกี ารอ่านพระวาจาจะสอนให้แต่ละคนซึมซับพระวาจาให้ได้กอ่ น สามารถจ�ำ หรือพูด ประโยคพระวาจาโดยไม่ต้องท่อง แต่ใช้ “ใจ” ในการพูดและจ�ำพระวาจานั้น โครงการมารานาธา นอกจากจะเน้นด้านการภาวนาแล้ว เรายังให้ความรูด้ า้ น พระคัมภีร์ โดยร่วมกันศึกษา แบ่งปัน แลกเปลีย่ นประสบการณ์จากการเจริญชีวติ ด้วย พระวาจาของพระเป็นเจ้า เป็นการส่งเสริม เติมเต็มชีวิตคริสตชนให้แก่กันและกัน โครงการนี้จะจัดทุกสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เริ่มเย็นวันศุกร์ ถึง เที่ยงวัน อาทิตย์ มีพี่น้องถามว่า ไม่ได้มาครั้งแรก ครั้งที่สอง หรือไม่ได้มาอย่างต่อเนื่อง ครั้ง ต่อไปจะเข้าร่วมได้ไหม? ได้เสมอ และจะมากี่วันก็ได้แล้วแต่พี่น้องสะดวก สมมุติว่า เราจัดเย็นวันศุกร์-เที่ยงวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน พี่น้องว่างแค่วันอาทิตย์ก็มาได้ ว่างแค่วันเสาร์ก็มาได้ ว่างแค่ครึ่งวันก็มาได้ ไม่จ�ำเป็นต้องอยู่ครบวันที่เราจัดก็ได้ ง่าย ๆ ก็คือ ช่วงเวลาที่หน่วยงานค�ำสอนจัดโครงการมารานาธา พี่น้องว่างช่วงไหน สามารถมาช่วงใดก็ได้ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมง วันหรือสองวัน จุดประสงค์อย่างเดียว ของเราก็คือ อยากให้พี่น้องได้ภาวนาอยู่กับพระเยซูเจ้า พบพระเยซูเจ้า มีก�ำลังใน การด�ำเนินชีวิตคริสตชน พี่น้องท่านใดที่สนใจหรืออยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ สนใจติดต่อได้ที่หน่วยงานค�ำสอน
26
วันวาร
ล้วนมีความหมาย
27
...ความยุติธรรมของชีวิต... สิ่งใดหรือ ที่เรียกว่าความยุติธรรม ตราชั่งใดหรือ ที่ใช้วัดความเที่ยงธรรมของชีวิต ความทุกข์ยากล�ำบาก คือ ความอยุติธรรมหรือเปล่า
โมเสส... ผู้ก�ำลังจะได้เป็นถึงเจ้าชายแห่งอียิปต์ กลับต้องมาน�ำชนชาติฮีบรู ให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส สุดท้ายก็มิได้เข้าสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญา
โยบ... ผู้ชอบธรรมต้องสูญเสียทรัพย์สิน บุตรธิดา บริวาร รวมทั้งต้องทนทุกข์กับโรคร้าย ด้วยค�ำอนุญาตจากพระเป็นเจ้า ให้ปีศาจร้ายมาทดลองท่าน
28
“พระเจ้าไม่ยุติธรรมกับฉัน” ชี้น�ำให้ฉันเห็นว่า มาตรฐานการวัดความยุติธรรมของพระเจ้านั้น ไม่ใช่มาตรฐานเดียวกับมนุษย์ พระองค์ทรงล่วงรู้ว่า สิ่งใดสมควร ณ เวลาใด และกับใคร หลายครั้งที่เราเรียกร้องความยุติธรรม ก็เพื่อผลประโยชน์ของตนเองทั้งสิ้น การถูกเบียดเบียนความสุขในบางกรณี การต้องเผชิญกับความทุกข์ระทมในบางช่วงแห่งชีวิต ฉันกลับรู้สึกไม่ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น เพียงเพราะว่า มันท�ำลายความสุขในชีวิตฉันไป ......................... ขอให้ลูกรู้จักที่จะมีจิตใจนบนอบ พอที่จะยอมรับ ทุกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับลูก ขอให้ลูกมีความเชื่อที่มั่นคง เหมือนเช่นผู้ชอบธรรม ทั้งโมเสส และโยบ ที่มีทุกช่วงลมหายใจเป็นพระเจ้าเสมอ และยอมรับความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตเสมอ โดย น�้ำผึ้งหวาน 29
กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โ ด ย ส� ำ นั ก ง า น วิ นิ จ ฉั ย ค ดี
ถาม
พ่อครับ คราวที่แล้ว คุณพ่อบอกว่า บุคคลที่มีพันธะการแต่งงาน ครั้งก่อน ไม่สามารถแต่งงานได้ (มาตรา 1085 วรรค 1) แล้วจะ แก้ไขอย่างไรครับ บุคคลเหล่านี้จึงจะแต่งงานได้
ตอบ ให้พิจารณาดังนี้
1. ถ้าทั้งคู่ได้รับศีลล้างบาปก่อนการแต่งงานต่อหน้าพระสงฆ์ ซึ่งถือว่าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ มีวิธีเดียว คือ ยื่นเรื่องให้ส�ำนักวินิจฉัยคดี ศึกษาว่าการแต่งงานเป็นโมฆะจริงหรือไม่ ถ้าโมฆะจริง จึงแต่งงานใหม่ได้ 2. แบบต่างฝ่ายต่างถือ (ฝ่ายหนึง่ รับศีลล้างบาป อีกฝ่ายไม่ได้รบั ศีลล้างบาปก่อนแต่งงาน ต่อหน้าพระสงฆ์) ไม่ใช่ศีลศักดิ์สิทธิ์ มี 2 วิธี คือ 2.1 ใช้เหมือน ข้อ 1 2.2 ยื่นเรื่องมาที่ส�ำนักวินิจฉัยคดี เพื่อส่งต่อไปที่กรุงโรม ขอพระสันตะปาปา ยกเลิกพันธะของการแต่งงาน (อภิสิทธิ์เปโตร) เมื่อพระองค์ยกเลิกแล้ว จึงจะแต่งงานได้ 3. ถ้าทั้ง 2 ฝ่าย จดทะเบียนสมรส โดยไม่ได้รับศีลล้างบาปทั้งคู่ และต่อมาหย่าร้าง แล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการมาแต่งงานกับฝ่ายคาทอลิก มี 3 วิธี คือ 3.1 เหมือน ข้อ 1 3.2 เหมือนข้อ 2 (อภิสิทธิ์เปโตร) 3.3 ผู้ที่ต้องการแต่งงานกับคาทอลิก กลับใจ รับศีลล้างบาป ด้วยความเชื่ออย่าง แท้จริง (อภิสิทธิ์เปาโล) หลังรับศีลล้างบาป จึงแต่งงานได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต ส�ำนักงานวินจิ ฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 30
GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา
ส�ำหรับผู้ตอบถูก 5 ท่านแรก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 10
1
3
2
8
9 4
6
5
7
คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. ใช้ถือแห่ในวันอาทิตย์มหาทรมาน 3. พระสงฆ์ใช้ถือแห่ในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ 5. อัครสาวกที่ต้องเอามือสัมผัสรอยตะปูของพระเยซู 9. พระเยซูเจ้ามอบให้เป็นมารดาของทุกคน 10. สัญลักษณ์แทนการเกิดใหม่ แจกในวันปัสกา
แนวนอน 2. ค�ำพูดที่ใช้ในเทศกาลปัสกา เพื่อสรรเสริญพระเจ้า 4. พระเยซูเจ้าทรงไปยังสวนเกทเสมนีเพื่อ 6. เวลาที่พระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์ 7. บุคคลที่ช่วยชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ 8. พระวรสารที่ใช้ในวันสมโภชปัสกา 31
GAME ปริศนาอักษรไขว้
ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������
แสตมป์ 3 บาท
กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110
1 2
9
เ ป โ ต ร
3 ศั กั ก า เ บ รี ย ล เ ว 7 คี า ด 4 5 ม า รี อ า ย ส า โ วิ ร อ 8ด ว ง ด า ว ะ 6 สิ เ ม โ อ น ก
อั ส สั ม ชั ญ พั ท ย า
10
32
สิ่งตีพิมพ์
เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 5 ปีที่ 22 เดือนธันวาคม 2011
ป
จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ
โดย...หน่ ว ยงานสื่ อ มวลชน
ฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี
9-12 มกราคม ประจ�ำปี ค.ศ. 2012
33
ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า
7 มกราคม ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
34
วัดพระนามเยซู ชลบุรี
14 มกราคม
ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
วัดนักบุญเปาโลกลับใจ ปากน�ำ้ ระยอง
28 มกราคม ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
วัดอารักขเทวดา โคกวัด ปราจีนบุรี
4 กุมภาพันธ์ 35
ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
วัดแม่พระประจักษ์ทลี่ รู ด์ บางคล้า
11 กุมภาพันธ์ ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
36
วัดแม่พระเมืองลูรด์ บางแสน
12 กุมภาพันธ์
ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
คามิเลียนโซเซียลเซนเตอร์ จันทบุรี
18 กุมภาพันธ์ ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
วัดธรรมาสน์ น.เปโตร ท่าแฉลบ
18 กุมภาพันธ์
37
ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
วัด น.วินเซนต์ เดอ ปอล เขาขาด
10 มีนาคม ฉลอง ชุมชนแห่งความเชือ่
วัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม
17 มีนาคม 38
“เทียนปัสกา”
สัญลักษณ์ของพระคริสต์ ผู้ทรงกลับคืนชีพ คืนตื่นเฝ้า (วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์) ถือเป็นจุดสูงสุดของ ปีพธิ กี รรม โดยเริม่ ด้วยการเสกไฟอย่างสง่า ประธานในพิธจี ะน�ำ เอาเหล็กแหลม ขีดเป็นรูปเครือ่ งหมายต่าง ๆ ของพระคริสต์เจ้า บนเทียนปัสกา เช่น กางเขน อัลฟา โอเมกา ที่เป็นตัวอักษรแรก และตัวอักษรสุดท้าย ของพยัญชนะกรีก (วว 1:8) และเขียน ตัวเลขสีต่ วั ทีบ่ อกปีคริสตศักราช เอาก�ำยาน 5 เม็ดติดบนเทียน เทียนซึง่ หลอมละลายเข้ากันทีศ่ นู ย์กลางและปลายกางเขน 4 ด้าน เหมือนเป็นการเตือนถึงรอยแผลทัง้ ห้าของพระคริสต์ ทีถ่ กู ตรึง กางเขนที่พระหัตถ์ทั้งสองข้าง ที่พระบาททั้งสองข้าง และสีข้าง เทียนปัสกา จะถูกจุดจากไฟใหม่ และถือแห่เข้าวัด พร้อม กับประกาศว่า “พระคริสตเจ้า องค์ความสว่างของชาวเรา” เทียนที่จุดระหว่าง 50 วัน ในเทศกาลปัสกา จะลุก ไหม้ในหัวใจของผูร้ บั ศีลล้างบาป ไม่มวี นั ออกจากใจนัน้ ระหว่าง พิธีปลงศพ จะมีการจุดเทียนปัสกาใกล้หีบศพ เป็นเครื่องหมาย แสดงความหวัง
39
เทศกาลแห่งชัยชนะ อย่าลืมส่งต่อความเชื่อ ให้กับคนที่คุณรัก