สายใยจันท์ V.7

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

เปิดประตูสู่

“ปีแห่งความเชือ่ ” 11 ตุลาคม 2012 - 24 พฤศจิกายน 2013

Vol.7 สิงหาคม 2012 ปีที่

23


4 6 8 10 11

ารบั ญ ปีที่ 23 ฉบับที่ 7 / สิงหาคม 2012

สาส์นพระสังฆราช สิริพงษ์ จรัสศรี สาส์นพระสังฆราช เทียนชัย สมานจิต ปีแห่งความเชื่อ ตราสัญลักษณ์ ปีแห่งความเชื่อ วันวาร ล้วนมีความหมาย

12

ปีแห่งความเชื่อ แนวคิดจาก น.ออกัสติน

16

เหลียวมอง สมณลิขิต “ปีแห่งความเชื่อ”

18

ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร(ตอนที่ 2)

22 28 32 34 37

ผม/ดิฉัน เป็นใคร? วินเซน เดอ ปอล สังฆมณฑลจันท์ กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้ น้อมให้ ด้วยใจรัก ปริศนาอักษรไขว้

วัตถุประสงค์ วั ต ถุ ป ระสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล

2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


k l a t s ’ r Edito “ท่านเป็นสิริรุ่งโรจน์และเป็นความชื่นชมของเรา” (1 ธส 2:20) บทจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา บทที่ 2 ได้เผยให้เห็นถึงคริสตชน ชาวเธสะโลนิกา ยอมรับความเชื่อในองค์พระเยซูคริสตเจ้า ผ่านการเทศน์สอนของนักบุญ เปาโล ไม่ใช่ยอมรับเท่านัน้ แต่นำ� ความเชือ่ มาด�ำเนินชีวติ เป็นพยานด้วย ดังนัน้ นักบุญเปาโล จึง “ชื่นชม” ชื่นชมที่พวกเขา... 1. คริสตชนที่นั่นยอมรับพระวาจาของพระเป็นเจ้า (1 ธส 2:13) 2. คริสตชนที่นั่นด�ำเนินชีวิตเป็นพยานในพระวาจา ท่ามกลางความทุกข์ยาก การ ถูกเบียดเบียน (1 ธส 2:14-15) 3. ความชืน่ ชมยินดีทเี่ ป็นพระพรของพระจิตเจ้า ให้พวกเขาได้รจู้ กั ข่าวดีและยอมรับ ข่าวดีของพระคริสตเจ้า (1 ธส 1:4-7) และในบทที่ 4 นักบุญเปาโลส่งเสริมชาวเธสะโลนิกา ด�ำเนินชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์ใน ความรักว่า “พี่น้องทั้งหลาย ในที่สุดเราวอนขอและเตือนสติท่านในพระเยซู องค์พระ ผู้เป็นเจ้า ท่านเรียนรู้จากเราว่าจะต้องด�ำเนินชีวิตอย่างไร เพื่อเป็นที่พอพระทัยของ พระเจ้า ท่านก็ด�ำเนินชีวิตเช่นนี้อยู่แล้ว แต่ขอให้ท่านมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีก ท่านทั้ง หลายรูอ้ ยูแ่ ล้วถึงค�ำสัง่ สอนทีเ่ ราให้ทา่ นเดชะพระเยซู องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า” (1 ธส 4:1-2) เพือ่ ให้คริสตชนเรายึดมัน่ มัน่ คง และรือ้ ฟืน้ ด�ำเนินชีวติ ตามความเชือ่ ในพระเยซูเจ้า พระสันตะปาปาจึงประกาศ “ปีแห่งความเชื่อ” จะท�ำให้ความเชื่อเราเข้มข้น มีชีวิตชีวาอีก ครั้งหนึ่ง เพราะท่านเป็นสิริรุ่งโรจน์และเป็นความชื่นชมของเรา สายใยจันท์ฉบับนี้ น�ำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับปีแห่งความเชื่อ ทุกคอลัมน์ยังน่าอ่าน เหมือนเดิม ขอเชิญท่านอ่านโดยพลัน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์

บรรณาธิการ 3


4


สาส์นพระสังฆราช “พระเจ้าทรงเปิดประตูแห่งความเชื่อ” (1 คร 14:27) พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษที่รักในพระคริสตเจ้า สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงประกาศ “ปีแห่งความ เชื่อ” ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ในสมณลิขิต “ประตูแห่งความเชื่อ” พระองค์ตรัสว่า “ข้าพเจ้าตัดสินใจประกาศ ‘ปีแห่งความเชื่อ’ ซึ่งจะเริ่ม ต้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2012 อันเป็นวันครบ 50 ปีของการเปิดประชุม สังคายนาวาติกัน ที่ 2 และจะสิ้นสุดในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2013 การ เริ่มต้นวันที่ 11 ตุลาคม 2012 ยังเป็นการร�ำลึกครบ 20 ปี ของการพิมพ์ หนังสือค�ำสอนของพระศาสนจักร ซึง่ ได้รบั การอนุมตั เิ ห็นชอบจากบุญราศี สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ด้วย หนังสือค�ำสอนดังกล่าว มีจุดประสงค์ที่จะท�ำให้ บรรดาคริสตชนเข้าใจถึงพลังอ�ำนาจและความ สง่างามของความเชื่อ” นอกจากนี้ วันที่ 11 ตุลาคม 2012 จะเป็นวันเปิด การประชุมสมัชชาพระสังฆราชสมัยสามัญ ซึ่งพระสันตะปาปาทรงก�ำหนด หัวข้อว่า “การประกาศข่าวดีใหม่เพื่อการถ่ายทอดความเชื่อคริสตชน” สมเด็จพระสันตะปาปาทรงมีพระประสงค์ที่จะให้คริสตชนทุกคนได้ กลับมาค้นให้พบ “ประตูแห่งความเชื่อ” ซึ่งพระเจ้าทรงเปิดไว้ส�ำหรับทุก คน ความเชื่อเป็นพลังมหาศาลในการด�ำเนินชีวิตและน�ำไปสู่ความเป็นหนึ่ง เดียวกับพระเจ้า การก้าวเข้าสู่ประตูนี้ หมายถึง การยอมมอบตนเองอย่าง สมบูรณ์แด่พระเจ้าด้วยความเชื่อ ความหวัง และความรัก นับเป็นโอกาสอันดี และเวลาทีเ่ หมาะสมทีอ่ งค์สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงประกาศ “ปีแห่งความเชือ่ ” เพือ่ เราคริสตชนทุกคนจะได้ฟน้ื ฟูชวี ติ แห่ง ความเชือ่ ของเราซึง่ มีจดุ ศูนย์กลางอยูท่ อี่ งค์พระเยซูคริสตเจ้า ซึง่ เราประกาศ ว่าพระองค์คือพระเจ้าในวันที่เรารับศีลล้างบาปอันเป็นวันที่เราเข้าสู่ประตู แห่งความเชือ่ และเริม่ การเดินทางในหนทางแห่งพระหรรษทานเพือ่ ไปสูช่ วี ติ ที่แท้จริงและสมบูรณ์ในพระองค์

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี 5


สาส์นพระสังฆราช ปีแห่งความเชื่อ พระเยซูคริสตเจ้าเคยตรัสว่า: “เมือ่ บุตรแห่ง มนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชือ่ ในโลกนีห้ รือ” (ลก 18:8) สภาพคริสตชนในยุคปัจจุบัน เช่นในยุโรป ส่ออาการน่าเป็นห่วง เพราะผูค้ นไม่มคี วามเชือ่ ทิง้ พระ ทิ้งศาสนากันแล้ว มีผู้กล่าวว่าในประเทศเบลเยี่ยมมี 130 กว่าวัด 30 กว่าวัดเป็นวัดร้าง รัฐบาลบังคับให้ ขาย เพราะเอาไว้ไม่เกิดประโยชน์ – เมื่อเริ่มปี ค.ศ. 2000 บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรงมีพระด�ำริ ให้ทำ� การประกาศพระวรสารกันใหม่ และในปีนี้ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ก็เรียกประชุมสมัชชาพระสังฆราช ในเดือนตุลาคม หัวข้อ “การประกาศข่าวดีใหม่ เพื่อการถ่ายทอด ความเชื่อคริสตชน” และประกาศ “ปีแห่งความ เชื่อ” ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 11 ตุลาคม 2012 และจะ ปิดในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2013 ความเชื่อเป็นเงื่อนไขของการเป็นคริสตชน ในพิธรี บั ศีลล้างบาป ประโยคแรกทีพ่ ระสงฆ์ถามก็คอื “ท่านมาขออะไร” ผูร้ บั ศีลล้างบาปหรือพ่อแม่อปุ ถัมภ์ ก็ตอบว่า “มาขอความเชือ่ ” “ความเชือ่ มีประโยชน์ อะไร” ความเชือ่ ช่วยให้บรรลุถงึ ชีวติ นิรนั ดร” การถือ ศาสนาจึงเป็นการถือด้วยความเชือ่ ด้วยความเลือ่ มใส ศรัทธา และในตอนท้ายพิธีมีการมอบเทียนที่จุดให้ แก่ผรู้ บั ศีลล้างบาป โดยพระสงฆ์กล่าวว่า “จงรักษา แสวงสว่างแห่งความเชือ่ นีไ้ ว้อย่าให้ดบั จนกว่าไป อยูเ่ ฉพาะพระพักตร์พระเจ้า” แต่เป็นทีน่ า่ เสียดาย แสงสว่างแห่งความเชื่อของหลาย ๆ คนดับไปแล้ว เมื่อการรับศีลล้างบาปของเด็กเล็ก ๆ อาจ มีส่วนให้เด็กไม่มีความเชื่อเมื่อโต หากไม่ได้เรียนค�ำ สอนจากพ่อแม่ซงึ่ เป็นครูค�ำสอนคนแรก หรือจากพระ 6

สงฆ์ นักบวช หรือครูคำ� สอนเมือ่ ไปโรงเรียน ส่วนการ ล้างบาปผูใ้ หญ่ มีการเรียนค�ำสอนเตรียมตัวนานกว่า 3 เดือน หรือสมัยก่อน 3 ปี ท�ำให้มีความเชื่อลึกซึ้ง กว่า บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ยังเตือนเราว่า การแต่งงานของผู้ที่นับถือศาสนา ต่างกัน ก็มีอันตราย คือเป็นต่างคนต่างไม่ถือศาสนา ของตน ไม่ปฏิบตั ศิ าสนกิจตามความเชือ่ ลูก ๆ ก็ไม่มี ความเชื่อเช่นเดียวกัน พระเยซูคริสตเจ้าทรงเน้นความเชือ่ เสมอ ๆ ทรงต�ำหนิบรรดาศิษย์วา่ มีความเชือ่ น้อย ทรงชมความ เชื่อของคนต่างชาติต่างศาสนา ซึ่งไม่เคยพบเห็นใน ชาติอิสราเอล พระองค์ยังตรัสว่า “ถ้าท่านมีความ เชือ่ และไม่สงสัย ท่านจะท�ำได้ทกุ สิง่ ทุกสิง่ ทีท่ า่ น อธิษฐานภาวนาวอนขอด้วยความเชือ่ ท่านก็จะได้ รับ” (มธ 21:21-22) ให้เราวอนขอพระองค์ โปรด ทวีความเชื่อให้แก่เรา ความเชื่อคืออะไร จดหมายถึงชาวฮีบรู บท ที่ 11 ข้อ 1 กล่าวไว้ว่า: “ความเชื่อ คือ ความมั่นใจ ในสิง่ ทีเ่ ราหวังไว้ เป็นข้อพิสจู น์ถงึ สิง่ ทีม่ องไม่เห็น” หรือในบทแสดงความเชื่อ เราสวดว่า: “ข้าพเจ้า เชื่อมั่นในความจริงทุกข้อที่พระองค์ทรงเปิดเผย และที่พระศาสนจักรสั่งสอน” ยังมีนักเทววิทยา อธิบายอย่างน่าฟังว่า: “ความเชื่อ คือ การพบปะ ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าที่มองไม่เห็น พระเจ้า เป็นผู้ริเริ่มเปิดเผยให้มนุษย์ก่อน และมนุษย์ตอบ รับ ยึดพระองค์เป็นสรณะที่พึ่ง และมอบชีวิตแด่ พระองค์” และในบทข้าพเจ้าถึงพระเป็นเจ้า “เรา ยืนยันความเชื่อของเราในพระเจ้า พระบิดา พระ บุตร พระจิต พระศาสนจักร ความสัมพันธ์ของผู้ ศักดิ์สิทธิ์ การอภัยบาป การคืนชีพของร่างกาย และชีวิตนิรันดร”


ศาสนาคริสต์ของเรา นอกจากเชื่อในพระเจ้าเหมือนศาสนาอื่น ๆ (ยิว, ฮินดู, พราห์ม, อิสลาม) แล้ว เรายังเชื่อว่าพระเยซูคริสตเจ้า เป็นบุตรพระเจ้า เป็นพระเจ้าอีกด้วย เพราะพระองค์ทรงมาจากพระเจ้า ทรง ฤทธิ์ ท�ำอัศจรรย์ได้ สิ้นพระชนม์และกลับคืนชีพ ทรงชนะความตาย ทรงน�ำความยินดีและความหวังมาให้เรา เป็นสรณะที่พึ่งของเราทั้งกายและใจ นักบุญยากอบยังเตือนเราในจดหมายว่า “ความเชื่อต้องมีการกระท�ำ หากไม่มีการกระท�ำ ก็เป็น ความเชือ่ ทีต่ ายแล้ว” (ยก 1:17) เป็นความเชือ่ ทีไ่ ร้ประโยชน์ นอกจากนัน้ ความเชือ่ ต้องเริม่ ทีบ่ า้ น พ่อแม่ตอ้ ง ปฏิบัติความเชื่อให้ลูก ๆ เห็น และปลูกฝังความเชื่อให้แก่ลูก ๆ ด้วยการสวดภาวนาด้วยกัน ไปวัดด้วยกัน ฯลฯ ขอให้ปแี ห่งความเชือ่ เป็นโอกาสฟืน้ ฟูความเชือ่ ของเราเอง และเป็นโอกาสให้เรามีความกระตือรือร้น ในการฟื้นฟูความเชื่อของคริสตชนด้วยกัน และถ่ายทอดความเชื่อไปยังผู้อื่น ที่ยังไม่มีความเชื่อในพระเจ้า และในพระคริสตเจ้า โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา ซึ่งยังมีคริสตชนน้อยมาก ให้เราเป็นพยานความเชื่อ ด้วยชีวิตตัวอย่างที่ดีของเรา

(พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต)

7


ปีแห่งความเชื่อ โดย ทีมงานค�ำสอน

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรง ประกาศเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2011 เรื่อง “ปีแห่ง ความเชื่อ” (Year of the Faith) โดยจะเริ่มตั้งแต่ วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2012 และจะสิ้นสุดลงในวัน ที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นวันสมโภชพระ เยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล พระสันตะปาปา ทรงประกาศเรื่องดังกล่าวในสมณลิขิตที่เริ่มต้นด้วย ค�ำว่า “Porta Fidei” ซึง่ แปลว่า “ประตูแห่งความ เชื่อ” ปีแห่งความเชื่อมีจุดประสงค์ดังนี้คือ

1.

เพื่ อ ให้ ค ริ ส ตชนหั น กลั บ มาค้ น พบ หนทางสู่ความเชื่อ กระตือรือร้นที่จะ มีประสบการณ์พบปะกับพระคริสตเจ้า สาเหตุเพราะ ปัจจุบันคริสตชนมากมายได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ลึกของความเชื่อ จึง “เป็นโอกาสดีที่จะกระตุ้น พระศาสนจักรทั้งมวลให้ใช้เวลาส�ำรวมจิตใจเป็น พิเศษ เพือ่ ทีจ่ ะค้นให้พบความเชือ่ แท้จริง” (ข้อ 4) สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า “พระศาสนจักร ทุกหนแห่งและผู้อภิบาลทุกท่านต้องเป็นดุจพระ คริสตเจ้า คือน�ำประชาชนออกจากทะเลทรายสู่ สถานทีแ่ ห่งชีวติ สูก่ ารมีมติ รภาพกับพระบุตรของ พระเจ้า สู่พระผู้ที่ทรงประทานชีวิตให้แก่เรา ซึ่ง เป็นชีวิตที่บริบูรณ์” (ข้อ 2) พระองค์ท่านทรงปรารถนาให้คาทอลิกทุก คนใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการด�ำเนินชีวิต 8

ตามวัฒนธรรมแห่งศาสนา เพือ่ รือ้ ฟืน้ ความเชือ่ เพือ่ เข้าใจความเชือ่ ให้ลกึ ซึง้ และเพือ่ แบ่งปันความเชือ่ ดัง กล่าวให้กบั ผูอ้ นื่ ไม่ใช่ดว้ ยการสอนเท่านัน้ แต่ดว้ ยการ กระท�ำทีเ่ ป็นแบบฉบับแห่งความรักของคริสตชนด้วย

2.

เพือ่ ระลึกถึงโอกาสครบรอบ 50 ปี ที่ บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ที่ 23 ทรงเปิดสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 ในวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1962 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 จึงทรงมีพระประสงค์ให้บรรดาสัตบุรษุ ได้เข้าใจ เอกสารของสภาสังคายนาวาติกนั ที่ 2 ซึง่ เป็นค�ำสอน ส�ำคัญของพระศาสนจักร เพราะ “สังคายนาคือพระ หรรษทานทีย่ งิ่ ใหญ่ทพี่ ระเจ้าทรงประทานให้กบั พระ ศาสนจักรในศตวรรษที่ 20 เราพบว่า สังคายนา ดังกล่าวเป็นเข็มทิศที่จะชี้น�ำทางได้อย่างถูกต้อง แน่นอนและช่วยสร้างจุดยืนของเราในศตวรรษ ใหม่ที่ก�ำลังเริ่มต้นนี้” พระสันตะปาปาทรงมั่นใจ ว่า “หากเราตีความและน�ำเอาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 ไปปฏิบัติภายใต้การชี้น�ำของพระจิตมันจะ กลายเป็นพลังที่เพิ่มทวีคูณส�ำหรับการฟื้นฟูชีวิต ของพระศาสนจักร” (ข้อ 5)

3.

เพื่อระลึกถึงโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการพิมพ์หนังสือค�ำสอนพระ ศาสนจักรคาทอลิก (CCC) ที่บุญราศีสมเด็จพระ สันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงประกาศรับรองใน


วันที่ 11 ตุลาคม 1992 หนังสือค�ำสอนพระศาสนจักร คาทอลิก เป็นอุปกรณ์สำ� คัญส�ำหรับใช้อบรมคริสตชน ให้มีความเชื่อมั่นคงยิ่งขึ้น เพราะ “ความรู้เกี่ยวกับ เนือ้ หาของความเชือ่ เป็นสิง่ จ�ำเป็น เพือ่ ทีเ่ ราจะได้ มอบการตัดสินใจของเรา กล่าวคือ เพือ่ การเชือ่ มัน่ อย่างเต็มทีด่ ว้ ยสติปญ ั ญาและอ�ำเภอใจต่อสิง่ ทีพ่ ระ ศาสนจักรน�ำเสนอ การเข้าใจในความเชื่อจะเปิด ประตูสคู่ วามบริบรู ณ์แห่งรหัสธรรมการไถ่กทู้ พี่ ระเจ้า ทรงเผยแสดง การตัดสินใจยอมรับหมายความว่า เมือ่ เราเชือ่ เราก็ยอมรับโดยเสรีซงึ่ รหัสธรรมแห่ง ความเชื่อทั้งปวง เพราะว่าผู้รับประกันความจริง คือพระเจ้า ผู้ทรงเผยแสดงพระองค์เองและทรง โปรดประทานให้เราเข้าใจรหัสธรรมแห่งความรัก ของพระองค์” (ข้อ 10) “เพือ่ ทีจ่ ะมีความรอบรูอ้ ย่างเป็นระบบใน เนือ้ หาแห่งความเชือ่ เราสามารถพบได้ในหนังสือ ค�ำสอนของพระศาสนจักร ซึ่งเป็นเครื่องมืออัน ทรงคุณค่าและจะขาดเสียมิได้ เป็นผลส�ำคัญสูงสุด ชิ้นหนึ่งของสังคายนาวาติกัน ที่ 2” เกี่ยวกับเรื่อง นี้ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงลิขิตไว้ว่า “ค�ำสอนเล่มนี้ จะมีประโยชน์มากในการฟืน้ ฟูพระ ศาสนจักร... ข้าพเจ้าขอประกาศว่ามันมีคณ ุ ค่าและ เป็นเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสมส�ำหรับการสร้างเอกภาพ ของพระศาสนจักร และเป็นมาตรฐานแน่นอน ส�ำหรับการสอนข้อความเชือ่ ” ดังนัน้ “ในมิตนิ เี้ อง ที่ปีแห่งความเชื่อจะต้องได้รับความร่วมมือความ พยายามทีจ่ ะค้นพบ และท�ำการศึกษาเนือ้ หาหลัก ของความเชื่อที่สรุปไว้อย่างเป็นระบบในหนังสือ ค�ำสอนของพระศาสนจักร ความจริงก็คือ เราจะ เห็นค�ำสอนที่มีความมั่งคั่ง ที่พระศาสนจักรได้รับ ท�ำการปกป้อง และท�ำการเผยแผ่เรื่อยมาตลอด สองศตวรรษ” (ข้อ 11)

4.

เพือ่ ให้พระศาสนจักรเป็น “ประจักษ์ พยานแห่งความรัก” ทีเ่ ข้มข้น ชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะความเชื่อเรียกร้อง ผลที่จับต้องได้ในภาคปฏิบัติซึ่งต้องแสดงออกมาใน ความรัก “ความเชือ่ ทีป่ ราศจากความรักไม่เกิดผล ขณะทีค่ วามรักทีป่ ราศจากความเชือ่ ก็คงเป็นได้แค่ ความรูส้ กึ ทีส่ ร้างความสงสัยให้เสมอ ทัง้ ความเชือ่ และความรักต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน จนกระทั่ง ว่าแต่ละฤทธิ์กุศลต้องเดินไปพร้อมกัน เพื่อที่จะ เดินในหนทางที่ถูกต้องของตน” (ข้อ 14) แต่การ มีความเชื่อและปฏิบัติความรักแต่ในวงแคบ ระดับ ครอบครัวหรือชุมชนวัดเท่านัน้ ก็ยงั ไม่เพียงพอ เพราะ พระสันตะปาปายังทรงย�้ำอีกว่า “สิ่งที่โลกมีความ ต้องการเป็นพิเศษในทุกวันนี้คือ ประจักษ์พยาน ที่เชื่อถือได้ในหมู่ประชากรผู้มีจิตใจที่ได้รับการ จรรโลงด้วยพระวาจาของพระเจ้า และสามารถ ที่จะเปิดจิตใจของคนอื่น ๆ ให้สามารถปรารถนา พระเจ้าและชีวิตแท้จริง อันเป็นชีวิตที่ไม่มีวันสิ้น สุด” (ข้อ 15) อาจกล่าวได้วา่ นีค่ อื จุดประสงค์หลัก ๆ ของ ปีแห่งความเชือ่ นี้ ซึง่ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงประกาศออกมาส�ำหรับคริสตชนในยุคนี้ที่การ เจริญชีวิตตามแนวทางพระวรสารนั้นเรียกร้องให้ ต้องทวนกระแสสังคมในหลายๆ มิติ แม้ศตั รูของพระ ศาสนจักรจะมาด้วยวิธแี รงเพียงใด องค์พระจิตเจ้าก็ ย่อมทรงน�ำพระศาสนจักรของพระองค์ดว้ ยความแรง ไม่น้อยไปกว่ากัน ดังนั้น ให้เราเชื่อในพระพลานุภาพ ขององค์พระเยซูคริสตเจ้า ศีรษะของพระศาสนจักร ผู้จะทรงน�ำ “เรือ” ของพระองค์แม้จะต้องฝ่ามรสุม และน�้ำที่เชี่ยวมากเพียงไรก็ตามไปสู่พระอาณาจักร ของพระองค์ได้อย่างแน่นอน แต่กต็ อ้ งด้วยความร่วม มือของเราแต่ละคน 9


ตราสัญลักษณ์ “ปีแห่งความเชื่อ”

สัญลักษณ์นี้ ประกอบด้วย รูปอักษร 3 ตัว “IHS” บนแผ่นศีลมหาสนิท มาจากภาษาลาติน Iesus Hominum Salvator แปลว่า พระเยซู พระผู้ไถ่ของมนุษย์ รูปอักษร “H” ได้รับการออกแบบให้เป็นรูปไม้กางเขน ที่แสดงถึงความรักและความเชื่อของเรา ส่วนพื้นข้างล่างเป็นเรือชาวประมง หมายถึง พระศาสนจักร เมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า จงออกไปเป็นชาวประมงจับมนุษย์ให้มารู้จักกับพระเยซู 10


วันวาร

ล้วนมีความหมาย

11


ปีแห่งความเชื่อ แนวคิดจาก น.ออกัสติน

โดย อันโตเนลโล ซัคคี 27 มิถุนายน 2012

แปลโดย ทีมงานค�ำสอน

YEAR OF FAITH บาทหลวงวิตโตรีโอ กรอสซี OSA อาจารย์ จากมหาวิทยาลัย Patristico Augustinianum จ�ำ ได้ถงึ เส้นทางชีวติ ของพระสังฆราชแห่งอิปโปนา เพือ่ กอบกู้เอาความเชื่อคืนมา และชี้แนะให้อ่านหนังสือ แนวออกัสตินเล่มที่ชื่อว่า “Confessioni” ส�ำหรับ ปีแห่งความเชื่อนี้ พระสังฆราช รีโน ฟีสิเคลลา ประธานสมณมนตรี แห่งสมณกระทรวงเพื่อการส่ง เสริมการประกาศพระวรสารแบบใหม่ (Presidente del Pontificio Consiglio per la Promozione della Nuova Evangelizzazione) ขณะที่แสดงปาฐกถา เกี่ยวกับปีแห่งความเชื่อ ท่านได้อ้างอิงถึงนักบุญ ออกัสติน ตอนที่กล่าวถึงสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ แก่ผู้สนใจเข้าเป็นคริสตชน โดยบาทหลวงวิตโตรีโอ กรอสซี ได้เน้นว่า “ปีแห่งความเชือ่ เป็นหัวข้อทีม่ ลี กั ษณะเชิง ออกัสตีเนียนอย่างชัดเจน เหตุวา่ ท่าน น.ออกัสติน ได้เคยผ่านเส้นทางแห่งการกอบกูค้ วามเชือ่ ในชีวติ ของท่านมาก่อน” 12

น.ออกัสตินได้เคยรับการอบรมจากพวกมา นีเคย์ ที่คาร์ตาจีเน ซึ่งสอนว่า มนุษย์คือผู้ใช้เหตุผล และสิ่งที่จะเกิดหลังความตายคือการยับยั้งที่จะใช้ เหตุผล พวกมานีเคย์ จึงประยุกต์หลักการนี้เข้ากับ พระศาสนจักรด้วย คือการบังคับให้บคุ คลเชือ่ ในความ จริงโดยห้ามใช้เหตุผล “น.ออกัสตินได้เป็นอิสระจาก พวกมานีเคย์และกลายเป็นคริสตชน เมื่อท่านได้ เข้าใจอย่างชัดเจนว่า แท้จริงแล้ว ชีวติ ก็คอื ความ เชือ่ ” นัน่ เอง ท่านจึงสามารถสร้างความสัมพันธ์ทถี่ กู ต้องระหว่างความเชื่อและเหตุผล นั่นคือ ความเชื่อ ท�ำให้เชือ่ ส่วนเหตุผลต้องการเข้าใจในสิง่ ทีเ่ ชือ่ ทว่า จุดเริม่ ต้นคือความเชือ่ เฉพาะอย่างยิง่ ในการไขแสดง แบบคริสต์ ท่านนักบุญยังกล่าวอีกว่า ความเชื่อและ เหตุผลคือสองเส้นทางที่น�ำสู่พระเจ้า โดยที่ไม่ต้อง ปฏิเสธอันใดอันหนึ่ง ท่านเองได้ผ่านประสบการณ์ ของความยากล�ำบากในการผ่านจากเหตุผลไปสูค่ วาม เชื่อ เพราะเหตุผลอาจเปรียบเสมือนใยแมงมุม การ ตกลงไปในใยแมงมุม และจะขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ยาก อย่างมหันต์ นั่นคือพระหรรษทานของพระเจ้า


น.ออกัสตินได้เชิญชวนหมู่คณะคริสตชนให้ มีท่าทีซึ่งมาจากประโยคที่ว่า “infirmum in fede assumite” แปลว่า “จงให้การต้อนรับผูท้ อี่ อ่ นแอ ผู้ที่เจ็บป่วยด้านความเชื่อ” เพื่อเขาจะได้หายจาก โรค และชื่นชมยินดีในสิ่งดีแห่งความเชื่อ ขอให้ปีนี้ที่ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงประกาศ ให้เป็นปีแห่งความเชื่อ ได้น�ำเราเข้าในตรรกของ น.ออกัสติน ด้วยท่าทีหลักซึง่ เกิดจากการอ่านหนังสือ หรือเดินตามหนทางฝ่ายจิตแห่งการกลับใจของท่าน โดยไม่ลมื ให้ความสนใจและช่วยเหลือผูท้ กี่ �ำลังอยูใ่ น ความยากล�ำบากแห่งความเชือ่ คณะออกัสตีเนียนเอง จะจัดให้มีการสัมมนาระดับสากลในอนาคตอันใกล้นี้ โดยจะเน้นกระบวนการทีน่ ำ� มนุษย์ในยุคปัจจุบนั เข้าสู่ เส้นทางแห่งการค้นพบความเชือ่ ในพระเยซูคริสตเจ้า และพบสือ่ กลางแห่งความเชือ่ โดยทางพระศาสนจักร น.ออกัสตินได้เขียนหนังสือชือ่ ว่า “De utilitate credendi” แปลว่า “ประโยชน์ของการเชือ่ ” ถึงเพื่อนของท่านที่ชื่อ “Onorato” ณ ที่นั้นท่านได้ อธิบายถึงค�ำจ�ำกัดความของ “ความเชือ่ ” ว่า เพือ่ จะ บรรลุถึงความเชื่อจ�ำเป็นต้องมีอาจารย์ หมายความ ว่า ต้องมีใครบางคนช่วยสอนให้ น.ออกัสตินกล่าวว่า ความเชื่อของเราถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ที่ ทรงเป็นพระคริสตเจ้าผู้ทรงด�ำรงชีวิตอยู่ และความ เชื่อที่กลายเป็นชีวิตของคริสตชนนั้น เป็นสิ่งที่บอก ต่อๆ กันได้ก็โดยคนที่เป็นเพื่อนกันเท่านั้น เมือ่ กล่าวถึงการประกาศพระวรสารใหม่ สาส์น นัน้ จะสามารถผ่านจากผูพ้ ดู ไปถึงผูฟ้ งั ได้กต็ อ่ เมือ่ เขามี สมรรถภาพทีจ่ ะรับสาส์นได้ในระดับเดียวกันหรือใกล้ เคียงกันเท่านั้น น.ออกัสติน กล่าวว่า เพื่อให้สาส์นที่ บรรจุอยูใ่ นพระคัมภีรไ์ ปถึงทุกคนได้ ค�ำพูดอย่างเดียว ย่อมไม่เพียงพอ จ�ำเป็นต้องมีทา่ ทีทสี่ ามารถแสดงออก

ถึงสิง่ ทีม่ อี ยูใ่ นพระคัมภีร์ นัน่ คือ ความรักทีพ่ ระเจ้าทรง น�ำมายังมนุษยชาติ และสิ่งนี้จะสามารถถ่ายทอดได้ ก็โดยอาศัยความเอือ้ อาทรและความรัก อันเป็นท่าที แห่งความเมตตากรุณานั่นเอง บาทหลวง วิตโตรีโน อธิบายต่อไปว่า “เทวศาสตร์แนวออกัสตีเนียน คือ เทวศาสตร์แห่งหัวใจ เทวศาสตร์แห่งความรัก ตาม รูปแบบทีพ่ ระคัมภีรไ์ ด้เล่าถึงความรักทีพ่ ระเจ้าทรง มีให้แก่มวลมนุษย์ การเล่านีค้ อื เรือ่ งราวแห่งความ รัก เป็นบทเรียนแห่งรัก นี่คอื หนทางแห่งการประ กาศพระวรสารใหม่ พระเจ้าทรงเข้าถึงจิตใจของ แต่ละคนด้วยหนทางที่เหมาะเจาะเฉพาะส�ำหรับ เขาเท่านั้น แต่หน้าที่หลักของเราคือ การเตรียม ‘ดิน’ ให้พร้อม” สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยการ ยินดีต้อนรับบุคคลซึ่งเราอยากจะให้เขารับสาส์นนี้ นี่คือ หนทางอันสุภาพซึ่งหมู่คณะออกัสตีเนียนได้ เสนอเป็นแนวทางอภิบาลในพระศาสนจักรที่ท�ำงาน อยู่และในระดับมหาวิทยาลัย ในโอกาสปีแห่งความเชือ่ นี้ บาทหลวงวิตโตรีโอ กรอสซี ได้เสนอแนะให้ อ่านหนังสือ “Confessioni” เหตุว่าในนั้นอธิบายถึงหนทางแห่งความเชื่อ ปัญหา อุปสรรคต่างๆ มากมายที่ต้องพบ รวมทั้งความหวัง วิกฤติ และความกระตือรือร้น หนังสือชุดนีม้ ี 13 เล่ม ในเล่มสุดท้าย น.ออกัสตินกล่าวถึงมนุษย์ฝา่ ยจิต คือ บุคคลหนึง่ ซึง่ มีความเชือ่ และรูจ้ กั ทีจ่ ะแสดงออกด้วย ค�ำพูด การกระท�ำและการป้องกัน ท่านนักบุญได้ กล่าวถึงในตอนท้ายของเส้นทางนี้ว่า นีค่ ือผู้ทไี่ ด้เดิน ทางมาถึงพระศาสนจักรคาทอลิก และได้รับศีลล้าง บาปในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระจิต ดังนัน้ มนุษย์ฝา่ ยจิตนีก้ ค็ อื คริสตชนธรรมดา ๆ นีเ่ อง (ที่มา: WWW.korazym.org) 13


ฉลองวัด แม่พระรับสาร

ตราด

24 มีนาคม

ฉลองวัด นักบุญลอเรนซ์

นางาม

14 เมษายน

14


ฉลองวัดนักบุญ ยอแซฟกรรมกร

ท่าใหม่

28 เมษายน

ฉลองวัดนักบุญ ฟิลิปและยากอบ

หัวไผ่

5 พฤษภาคม

15


เหลียวมอง สมณลิขิต “ประตูแห่งความเชื่อ”

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ประมุขพระศาสนจักรคาทอลิก ทรง ประกาศให้ปี 2012-2013 เป็น “ปีแห่งความเชื่อ” (The Year of Faith) โดยจะเริ่มตั้งแต่ วันที่ 11 ตุลาคม 2012 ไปจนถึง วันที่ 24 พฤศจิกายน 2013 ท�ำให้หลาย ๆ ฝ่าย ในระดับต่าง ๆ เกิดการตื่นตัว และตอบรับใน การประกาศครัง้ นีเ้ ป็นอย่างมาก ไม่วา่ จะเป็นในระดับพระศาสนจักร ระดับสภาพระสังฆราช ระดับสังฆมณฑล ระดับวัด ชุมชน สมาคม องค์กร ได้มีการออกข้อแนะน�ำด้านอภิบาลส�ำหรับปีแห่งความเชื่อ เชิญชวนสมาชิก ทุกคนของพระศาสนจักรให้ท�ำงาน เพื่อให้ปีนี้เป็นช่วงเวลาพิเศษ ได้แบ่งปัน บุคคลที่รักยิ่งของเรา คือ พระ เยซูคริสตเจ้า พระผูไ้ ถ่ของมนุษยชาติ กษัตริยแ์ ห่งสากลจักรวาล “ผูบ้ กุ เบิกความเชือ่ และผูท้ รงน�ำให้ความ เชื่อนั้นสมบูรณ์” (ฮบ 12:2) และมีเอกภาพกับครอบครัวใหญ่ในพระศาสนจักร 16


ความเชื่อ ที่แท้จริง จะเป็นพลัง ที่น�ำเราไปสู่ความ เป็นหนึ่งเดียว กับพระเจ้า

โดย ทีมงานสื่อมวลชน ข้อแนะน�ำด้านอภิบาล ส�ำหรับปีแห่งความเชื่อ ในระดับ วัด ชุมชน สมาคม องค์กร ถือ เป็นจุดเริม่ ต้นและใกล้ตวั เรามาก ทีส่ ดุ ไม่วา่ จะเป็น การร่วมพิธบี ชู า ขอบพระคุณอย่างกระตือรือร้น การถ่ายทอดความเชือ่ สูบ่ ตุ รหลาน การสือ่ สารประสบการณ์ความเชือ่

และความรักเมตตาแก่พนี่ อ้ งชาย หญิงต่างความเชื่อ ผู้ไม่เชื่อ และ ผู้เย็นเฉย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ใช่ สิ่งใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นความ จ�ำเป็นทีเ่ ราต้องหันกลับมาค้นพบ หนทางสู่ความเชื่อ กระตือรือร้น ทีจ่ ะมีประสบการณ์พบปะกับพระ คริสตเจ้า เหตุเพราะปัจจุบันเรา ได้รบั ผลกระทบจากวิกฤตลึกของ ความเชือ่ ทีก่ ำ� ลังพาเราออกจาก ความเชื่อ ไปไว้ใจสิ่งอื่น วิกฤตลึกของความเชื่อ ในปัจจุบัน ก�ำลังกลายเป็นการ พยายามทีท่ ำ� ให้ผอู้ นื่ รูส้ กึ ถึงความ มัน่ ใจและเชือ่ มัน่ ในตัวเอง เชือ่ ใน สิ่งที่เราคิดอยากได้อยากเป็นว่า ถ้าเราเชื่อมั่นจริง ๆ มันจะเกิด ขึ้น และพลังแห่งความเชื่อนั้น จะดึงดูดสิ่งที่เราต้องการเข้ามา เพราะเมื่อเราคิดถึงสิ่งใด เราก็ จะมองหาสิ่งนั้นและเข้าไปหาสิ่ง นั้น สิ่งนั้นก็จะค่อย ๆ เกิดขึ้น ใน ท�ำนองเดียวกัน ความเชื่อที่เรา มีในพระเจ้าก็ควรจะดึงดูดให้เรา เข้าหาพระเจ้ามากขึ้นด้วย

จะได้อะไรตามทีเ่ ราเชือ่ และพระ เป็นเจ้าจะประทานสิง่ ทีเ่ ราอยากได้ อยากเป็น การเชื่อเช่นนี้ไม่ได้น�ำ เราสู่พระเจ้าอย่างแท้จริง แต่น�ำ เราสู่ของของพระเจ้า เพราะเรา สนใจค�ำตอบมากกว่าผู้ที่ตอบค�ำ อธิษฐาน ความเชื่อที่แท้จริงต้อง น�ำเราสู่น�้ำพระทัยของพระองค์ และเชื่อในพระสัญญา เชื่อจน ยอมท�ำตามพระวาจาที่พระองค์ ตรัสสั่ง ไม่ใช่ใช้ความเชื่อเพื่อให้ พระองค์ทำ� ตามเรา ความเชือ่ ทีแ่ ท้ จริงจะเป็นพลังทีน่ ำ� เราไปสูค่ วาม เป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้า และพบ ความรักเมตตาของพระองค์ใน ชีวิตประจ�ำวัน การประกาศ ปีแห่งความ เชือ่ จึงเป็นโอกาสดีในการพิจารณา ถึงพระพรแห่งความเชื่อ และ ประสบการณ์ความรักทีเ่ ราได้รบั จากพระเจ้า เพือ่ เสริมสร้างความ เชือ่ ในพระองค์ ให้เข้มแข็งพอทีจ่ ะ กล้าปฏิเสธสิ่งยั่วยวน ที่โลกหยิบ ยื่นให้ และการประกาศพระนาม พระเจ้า ด้วยความชื่นชมยินดีให้ กับเพื่อนมนุษย์

ความเชือ่ ของเราในฐานะ คริสตชน เป็นความเชือ่ ทีน่ �ำเราสู่ พระเจ้า น�ำเราพบกับพระประสงค์ และน�ำ้ พระทัยของพระองค์ ไม่ใช่ เพือ่ จะได้อะไรตามทีเ่ ราเชือ่ เพราะ คิดว่าการมีความเชือ่ คือการทีเ่ รา 17


“ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร?” (มธ 16:15)

คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมตอนที่ 1 ประชาชนได้เรียกพระเยซูเจ้าหลากหลายชือ่ ทีเ่ ป็นเช่นนีส้ บื เนือ่ งมาจากการสัง่ สอนและการปฏิบตั ติ อ่ ประชาชน ของพระองค์ เช่น ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า บุตรของพระเป็นเจ้า, พระบุตรเพียงพระองค์เดียว, เบื้องต้นและ บั้นปลาย, อัลฟาและโอเมก้า ยังไม่หมดแค่นี้ ประชาชนยังมีชื่อที่เรียกพระองค์อีกหลากหลาย ตามไปดูกัน.... ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า” • ลูกา 2:11 วันนี้ ในเมืองของกษัตริย์ดาวิด พระผู้ไถ่ประสูติเพื่อท่านแล้ว พระองค์คือพระ คริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า • กิจการอัครสาวก 9:17 อานาเนียจึงจากไป และเข้าไปในบ้าน ปกมือเหนือเซาโล กล่าวว่า “เซาโลน้องรัก พระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทรงส�ำแดงพระองค์แก่ท่านกลางทางที่ท่านมา นั้น ทรงส่งข้าพเจ้ามาเพื่อท่านจะมองเห็นได้อีกและได้รับพระจิตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม • ยอห์น 20:28 โทมัสทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า” • ฟิลิปปี 2:11 และเพื่อชนทุกภาษาจะได้ร้องประกาศว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็น เจ้า เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้า พระบิดา • เอเฟซัส 4:5 มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อหนึ่งเดียว ศีลล้างบาปหนึ่งเดียว พระเจ้าหนึ่งเดียว ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “ผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์” • 1 โครินธ์ 2:8 ไม่มีผู้ปกครองโลกนี้ผู้ใดล่วงรู้พระปรีชาญาณนี้ เพราะถ้าเขารู้ เขาคงไม่ตรึง กางเขนองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์ • สดุดี 24:10 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระสิริพระองค์นี้คือใครเล่า? พระองค์คือพระเป็นเจ้า พระเจ้าจอมจักรวาล พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์ 18


ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของทุกคน” • กิจการอัครสาวก พระองค์ทรงมอบ พระวาจาแก่ลูกหลานของชาวอิสราเอล โดยทรง ประกาศข่าวดีแห่งสันติสุข เดชะพระเยซูคริสตเจ้า พระเยซูเจ้าพระองค์นี้ทรงเป็น องค์พระผู้ เป็นเจ้าของทุกคน ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้า” • ฮีบรู 1:8 แต่ตรัสกับพระบุตรว่า “ข้าแต่พระเจ้า ราชบัลลังก์ของพระองค์ ด�ำรงอยู่ตลอด นิรันดร” • ยอห์น 20:28-29 โทมัสทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของ ข้าพเจ้า” พระเยซูเจ้าตรัสกับ เขาว่า “ท่านเชื่อเพราะได้เห็นเรา ผู้ที่เชื่อแม้ไม่ได้เห็น ก็เป็นสุข” ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าสถิตกับเรา” • มัทธิว 1:23 หญิงพรหมจารีจะตั้งครรภ์ และจะคลอดบุตรชายซึ่งจะได้รับนามว่า “อิมมานู เอล” แปลว่า พระเจ้าสถิตกับเรา ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ของเรา” • ทิตัส 2:13 ขณะที่เราก�ำลังรอคอยการส�ำแดงพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระคริสตเยซู พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่และพระผู้ไถ่ของเรา เป็นความสุขที่เราหวังไว้ ประชาชนเรียกพระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าตลอดนิรันดร” • โรม 9: 5 พวกเขามีบรรพบุรษุ เป็นต้นตระกูลของพระ คริสตเจ้าตามธรรมชาติมนุษย์ พระองค์ ทรงอยู่เหนือสรรพสิ่งเป็นพระเจ้า และทรงได้รับการถวายสดุดีตลอดนิรันดร อาเมน เห็นไหมว่า ชื่อของพระเยซูเจ้ามีมากมายหลายชื่อ ขึ้นอยู่ว่าบรรดาสานุศิษย์สัมผัสกับพระเยซูเจ้าอย่างไร ในชีวิตของพวกเขา ฉบับหน้าจะเริ่มเข้าสู่ชื่อของพระเยซูเจ้าที่เป็นสัญลักษณ์ เมื่อพูดถึงสัญลักษณ์ เข้าใจได้เลยว่า หมายถึงพระเยซูเจ้า..... (อ่านต่อฉบับหน้า) 19




ผม/ดิฉัน เป็นใคร Who Am I

?

โดย ปอลแมรี่ สุวิช สุวรุจิพร

ถ้าเราบอกกับตัวเองว่า “เราไม่รู้ว่าเราเป็นใคร” ก็เปรียบเสมือนกับว่า “เราไม่รู้ว่าเราจะท�ำอะไรกับชีวิตของเราเอง?”

ผม/ดิฉัน เป็นใครในตัวข้าพเจ้าเอง • ชีวิตมนุษย์ - พระพรประเสริฐ ในบรรดาสิง่ สร้าง (The Creation) ทัง้ หลาย ของพระเจ้าผู้ทรงเป็นความรัก (Deus Caritas Est) พระองค์ตอ้ งการทีจ่ ะมอบชีวติ ของพระองค์เอง แก่ผู้ ถูกสร้าง (The Created) ด้วย พระองค์จึงทรงสร้าง มนุษย์ เป็นภาพลักษณ์ของพระองค์เอง นั่นคือ มี วิญญาณทีเ่ ป็นชีวติ ของพระองค์ และนีเ่ องมนุษย์จงึ เป็น สุดยอดของสิง่ สร้างของพระเจ้า “มนุษย์” (ร่างกาย + จิตใจ + สมองสติปัญญา+ วิญญาณ) เป็นจักรวาล (universe) ในตัวมันเองทีน่ า่ ทึง่ (awed) ทีน่ า่ อัศจรรย์ (miraculous) ทีน่ า่ มหัศจรรย์ใจ (wondered) มากยิง่ กว่าจักรวาลกาแล๊กซี่ และดวงดาวในท้องฟ้าเสียอีก • ชีวิตพระหรรษทาน (คริสตชน) พระพรประเสริฐสุดจากพระเจ้า การเป็นสิง่ สร้างประเสริฐสุด (การเป็นมนุษย์) อย่างเดียวยังไม่พอ พระเจ้าต้องการที่จะให้สิ่งสร้าง ประเสริฐสุดของพระองค์ได้รู้ รู้จัก รักพระองค์ด้วย และนี่ คือเรือ่ งราวของประวัตศิ าสตร์แห่งความรอด อันยาวนานของพระเจ้าทีม่ อบให้แก่มนุษยชาติ พระเจ้า ได้ทรงเลือกสรรชนชาติของพระองค์ เพือ่ เตรียมทาง 22

ส�ำหรับพระผูไ้ ถ่ (พระบุตร พระบุคคลทีส่ องในพระตรี เอกภาพ) ได้ถือก�ำเนิดเป็นมนุษย์ (Incarnated) อยู่ ท่ามกลางมนุษย์ (Emmanuel) เพื่อไถ่กู้เราจากผล ของบาปก�ำเนิด (original sin) และน�ำเรากลับสูพ่ ระ บิดา (Reditus) โดยทางความเชื่อที่แท้จริง (ศีลล้าง บาป) และผ่านทางพระศาสนจักร (The Church) ที่พระองค์ (พระเยซูคริสต์) ทรงสถาปนาขึ้น นั่นคือ ความเป็นคริสตชนของเรา คริสต์ศาสนา มิใช่เป็นระบบสังคมแห่งคุณธรรม จริยธรรม และไม่ใช่เป็นสูตรส�ำหรับความประพฤติ ดีงาม (ถึงแม้ว่า การปฏิบัติตนด้วยกิริยา มารยาท อย่างดีงามเป็นผลจากการถือคริสต์ศาสนา) การเป็น คริสตชน เป็นเรื่องราวของชีวิตที่ดี และที่เป็นความ จริง เพราะเหตุนี้ การที่จะกล่าวว่า เราถือคุณธรรม จริยธรรม โดยไม่ใส่ใจกับพระคริสต์เลย จึงเป็นเรื่อง จอมปลอมโดยสิ้นเชิง เพราะชีวิตของเราเป็นเรื่อง ราวเกี่ยวข้องกับพระคริสต์ตลอดเวลา:

พระคริสต์ คือใคร? พระคริสต์ ท�ำอะไรให้เรา? ฯลฯ


ถ้าปราศจากพระองค์แล้ว ชีวติ นีก้ ไ็ ม่มคี วาม หมายเลย ค�ำถามพื้นฐานด้านศีลธรรมแก่คริสตชน ทุกคน ก็คือ:

“ข้าพเจ้าควรท�ำอะไร และ ข้าพเจ้าควรเป็นบุคคลอย่างไร เมื่อข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูคริสต์?” เราทุกคนจ�ำต้องพินิจเหตุผลด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ที่ท้าทายจากค�ำถามนี้ เพื่อ แยกแยะ พิจารณา และค้นพบค�ำตอบที่เหมาะสม กับตนเอง ตามปรัชญาของอริสโตเติล ผู้น�ำที่ดีต้องมี คุณสมบัติของ ETHOS, PATHOS และ LOGOS ETHOS คือ แก่นแท้แห่งศีลธรรม อ�ำนาจ ทางธรรม ที่สามารถโน้มน้าวผู้อื่น PATHOS คือ ความไวที่สัมผัสความรู้สึก ของผู้อื่น ความสามารถชี้น�ำอารมณ์ของผู้อื่น LOGOS คือ เหตุผลดีถูกต้องส�ำหรับการ กระท�ำ น�ำผู้อื่นด้วยเหตุผลและด้วยปัญญา ยังผล ให้กิจการ/ การกระท�ำด�ำเนินไปอย่างเรียบร้อยและ มีประสิทธิผล เราคริสตชนทุกคนควรด�ำเนินชีวติ ของเราที่ ให้ความส�ำคัญ ให้ความหมาย ให้บางสิ่งบางอย่างที่ ดี ที่จริง ที่สวยงามแก่โลกของเรา เราท�ำทุกอย่าง ในชีวิตของเราเพื่อแสวงหา “การเกิดที่แท้จริง” ของเรา (our true incarnation) นั่นคือชีวิตของ “บุคคล” ทีพ่ ระเจ้าต้องการให้ ผม/ดิฉนั “เป็น” แรง ผลักดันแสวงหานี้ น�ำเราสู่ “พระเยซูคริสต์” และ “ศีลมหาสนิท”

• พระเยซูคริสตเจ้า พระเยซูคริสตเจ้า เป็นผู้น�ำพระเจ้าสู่มนุษย์ และน�ำมนุษย์สู่พระเจ้า พระองค์เป็นวจนาตถ์ (The Word) ของพระเจ้า และด้วย “พระวาจา” (ค�ำพูด ค�ำสัง่ สอน) ของพระองค์ มนุษย์เราจึงสามารถรู้ รูจ้ กั ความจริงอันเร้นลับลึกล�้ำ (mystery) ของพระเจ้า (Theologia = the mystery of God’s inner life) และในขณะเดียวกัน โดยผ่านพระองค์/ ชีวิตมนุษย์ ของพระองค์ แผนการแห่งความรอดของมนุษยชาติ จึงสามารถบรรลุเป้าหมาย ส�ำเร็จตามพระประสงค์ ของพระบิดาเจ้า (Oikonomia = the works which God accomplished to reveal and give Himself) พระเยซูคริสต์มใิ ช่เป็นผลเนือ่ งจากบาปก�ำเนิดเพือ่ มา ไถ่กู้มนุษยชาติ แต่พระองค์ทรงเป็นภาพลักษณ์ของ พระเจ้าทีเ่ รามองไม่เห็น ทรงเป็นบุตรคนแรกในสรรพ สิ่งสร้างทั้งปวง เพราะสรรพสิ่งทั้งในสวรรค์และบน แผ่นดิน... ล้วนถูกสร้างโดยพระองค์ทั้งสิ้น ทุกสิ่งถูก เนรมิตขึ้นโดยพระองค์ และเพื่อพระองค์ พระองค์ ทรงด�ำรงอยู่ก่อนสรรพสิ่ง และสรรพสิ่งด�ำรงอยู่ เป็นระเบียบในพระองค์ พระองค์ทรงเป็นศีรษะของ ร่างกาย คือพระศาสนจักร พระองค์ทรงเป็นปฐม เหตุ (โคโลสี 1: 15-18) คริสตชนจึงควรด�ำเนินชีวิต ให้รู้ รู้จัก และรักพระเยซูคริสต์ สวมชีวิตพระเยซู คริสต์ เจริญรอยตามพระองค์ มอบตัวเองทั้งครบ แด่พระองค์ (en Christoi) ถ้าหากเราคริสตชนเข้าใจพระเยซูเจ้าอย่าง ถ่องแท้ในความเป็นพระเจ้า และความเป็นมนุษย์ของ พระองค์แล้ว ความรู้ ความเข้าใจนี้ จะเปลี่ยน ฟื้นฟู จิตใจของเราให้กลับใจอย่างถอนรากถอนโคนโดยสิน้ เชิง และพร้อมกันนีค้ วามมุง่ มัน่ อุทศิ ตน และความรับ ผิดชอบก็จะตามมาโดยธรรมชาติของมัน 23


ในบริบทนี้ (ที่จะรู้ รู้จัก และ รักพระเยซู) ผู้ นิพนธ์พระวรสารทั้งสี่ ได้บันทึกประวัติศาสตร์เพื่อ เป็นแนวทางให้เราคริสตชน ได้ศกึ ษาท�ำความคุน้ เคย ประสบพบ (encounter) พระเยซูและมีประสบการณ์ ชีวิต (experience life) กับพระองค์ดังนี้ มัทธิว แสดงพระเยซูในฐานะผูร้ บั ใช้พระเจ้า มอบชีวิตแก่ทุกคน มาระโก แสดงพระเยซูในฐานะเอมมานูเอล พระเจ้าอยู่ท่ามกลางมนุษย์ ลูกา แสดงพระเยซูในฐานะผูท้ รงสงสารคน ยากจน คนบาปถูกทอดทิ้ง โอบกอดโลก รักมนุษย์ อย่างไม่มีขอบเขต ยอห์น แสดงพระเยซูในฐานะความเป็น พระเจ้าในพระตรีเอกภาพ

• ศีลมหาสนิท ศีลมหาสนิท คือ ชีวติ พระเจ้าทีพ่ ระเยซูคริสต์ มอบพระกาย และ พระโลหิตพระองค์เองให้แก่เรา และอยูก่ บั เราตราบสิน้ พิภพ ศีลมหาสนิทเป็นศีลแห่ง ความเป็นจริง เพราะองค์พระเยซูคริสต์ทรงประทับ 24

อยู่กับเราในหัวใจ ในจิตใจอย่างที่ไม่มีใครท�ำเช่นนี้ ได้ พระองค์ท�ำให้ทุกส่วนของชีวิตของเรา (ความ ยินดี ความหวัง ผลงานความรัก รวมทั้งความเศร้า ความเจ็บปวด ความเดือดร้อน บาดแผล ฯลฯ ของ เรา) เชื่อมกับพระองค์ท�ำให้เราเป็นของพระองค์ ปฏิบัติเยี่ยงพระองค์ (become Christified) ศีลมหา สนิทน�ำเราแสวงหา “การเกิดที่แท้จริง” (true incarnation) ของเรา โดยสอนให้เรารู้จักถามด้วย ค�ำถามทีจ่ ะน�ำผลสูส่ งิ่ ทีส่ �ำคัญสูค่ วามหมายของชีวติ อาทิเช่น เราจะสัมผัสชีวิตของผู้อื่นอย่างไร เพื่อน�ำ ความยินดี ความดี ความจริงความสวยงามสูเ่ ขา เรา จะรับใช้ฟื้นฟูสังคมโลกอย่างไร เพื่อให้สังคมให้โลก ดีขึ้น? ทุกสิ่งที่ส�ำคัญต่อชีวิตและมีความหมายต้อง มุ่งสู่พระคริสต์ผู้เป็น “ของจริงแห่งชีวิตที่สูงสุด” (The Ultimate Reality) ในศีลมหาสนิทด้วยศีลมหา สนิท ทุกส่วนของชีวติ ของเราจะ “ถูกฟืน้ ฟูเยีย่ งพระ คริสต์” (become Christified) และมอบบางสิ่งบาง อย่างที่ดีงาม ที่ศักดิ์สิทธิ์ให้แก่โลก ศีลมหาสนิท เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่มีมิติลึกล�้ำ เร้นลับ (mystery) ที่ขยายขอบข่ายกว้างขึ้นตลอด เวลา หมายความว่า ศีลมหาสนิทน�ำเราให้ขยายวิสยั ทัศน์ไปยังขอบฟ้าข้างหน้า และน�ำเราคริสตชนให้ มองออกนอกตัวเราเอง ไกลออกไปจากแวดวงเล็ก ๆ ของเรา (ถึงแม้วา่ เราอาจจะเห็นแวดวงของเราขณะ นี้กว้างใหญ่อยู่แล้ว แต่เมื่อศีลมหาสนิทน�ำเราให้ ขยายแวดวงกว้างออกไปอีก แวดวงของเราที่เป็น อยู่จึงยังเล็กกว่าที่มันควรจะเป็นตลอดเวลา) หน้าที่ ของเราเฉพาะหน้าก็คือ ความตระหนักถึงความเป็น ไปได้ข้อนี้และใช้วิจารณญาณของเราแสวงหาผลที่ จะตามมาจากผลของศีลมหาสนิทนี้ตลอดเวลา การ รับศีลมหาสนิท จึงสามารถตีความรวมถึงการเอาใจ ใส่คนอื่นเป็นส่วนรับผิดชอบของตนเองด้วย การรับ


ศีลมหาสนิทจึงไม่ใช่เป็นเรือ่ งส่วนตัวเฉพาะตนเท่านัน้ แต่เป็นการผลักตัวเราเข้าสู่ชีวิตของคนอื่นด้วยศีล มหาสนิท เปรียบเสมือนการผูกสัญญากลาย ๆ กับ ผู้อื่น (ที่เราสัมพันธ์ในชีวิต) และส่งสัญญาณให้พวก เขารับทราบว่า เรา (ผู้รับศีลมหาสนิท) พร้อมที่จะ ร่วมชีวิต ร่วมแบกภาระของเขา ร่วมแบ่งปันความ ทุกข์ ความสุขกับพวกเขาด้วย ความจริง (ที่ปรากฏต่อหน้าต่อสายตาเรา) การรับศีลมหาสนิทเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตกาย คือ การรับประทานปังและดื่มเหล้าองุ่นศักดิ์สิทธิ์ (พระ กายและพระโลหิตพระเยซูคริสต์) เข้าสูร่ า่ งกายของ เราเป็นอาหารส�ำหรับกายของเราด้วย (ซึง่ เรามักจะ ลืมด้านร่างกายไป เพราะเรามักจะเน้นถึงผลของศีล มหาสนิทต่อชีวติ วิญญาณ/จิตของเราเพียงด้านเดียว) ด้วยความส�ำนึกถึงผลของศีลมหาสนิทต่อชีวิตกาย ของเราคู่กับชีวิตวิญญาณ/จิต เราจึงสามารถเข้าใจ ได้ถ่องแท้ขึ้นว่า ท�ำไมศีลมหาสนิทจึงน�ำเราคริสต ชนให้มีส่วนในชีวิตของคนอื่นด้วย โดยรับเขาเข้า มาในชีวิตของเราอย่างลึกซึ้งจนกระทั่งถือว่า เขา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเรา และเราเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตเขาด้วย

และถูกดึงต�ำ่ ลง เป็นเพียงความรูส้ กึ ผิวเผิน (caprice) แต่ในพระองค์และร่วมกับพระองค์ อิสรภาพก็จะมี ความหมายที่แท้จริง..... ในศีลมหาสนิท พระเยซูน�ำ เราให้พบความจริงเกี่ยวกับความรักที่เป็นแก่นแท้ ของพระเจ้า ศีลมหาสนิท คือ อิสรภาพจากบาป จาก ความเห็นแก่ตวั อิสรภาพทีไ่ ม่มขี อบเขตจ�ำกัดเพราะ มีรากหยั่งในพระเยซูคริสต์เอง ผู้เป็นค�ำตอบให้แก่ ความกระหายความยุติธรรมให้แก่มนุษยชาติ.... ศีล มหาสนิทมอบตัวเราให้แก่คนจน คนยากไร้ เพื่อที่จะ รับพระกายและพระโลหิตของพระคริสต์ทมี่ อบให้แก่ เราอย่างแท้จริง เราก็จ�ำต้อง “เห็น” และพบพระ คริสต์ (recognize) ในคนยากจน ความยุติธรรมในสังคม (social justice) และการด�ำเนินชีวิตในศีลธรรม ในคุณธรรม มีราก หยั่งลึกในความรัก ความรักจึงเปรียบเสมือนข้าว สาลีและผลองุน่ ของชีวติ แห่งศีลมหาสนิท: ชีวติ ทีถ่ กู “หัก” (broken) ที่ถูก “ริน” (poured) ให้แก่คนอื่น (อ่านต่อฉบับหน้า)

ศีลมหาสนิท เป็นศีลแห่งความรักที่พระเยซู คริสต์มอบพระองค์เองเป็นของขวัญให้แก่เราเพื่อ เผยความรักของพระเจ้า (พระตรีเอกภาพ) ที่ไม่มี ขอบเขตให้แก่ชาย-หญิงทุกคน.... พระเยซูคริสต์ เป็น “ความจริง” (the Truth) ที่ปรากฏเป็นบุคคล (person) ที่ดึงดูดโลกทั้งโลกสู่พระองค์.... “พระเยซู เป็นดาวเหนือ” (lodestar) ของอิสรภาพของมนุษย์ ถ้าปราศจากพระองค์ อิสรภาพจะสูญเสียทิศทาง เพราะถ้าหากขาดความรู้ถึงความจริง อิสรภาพก็จะ ลดคุณค่า (debased) ถูกแยกออกไป (alienated) 25


ฉลองวัดแม่พระ ที่พึ่งของปวงชน

ดงแหลมโขด 12 พฤษภาคม

ฉลองวัดพระหฤทัย แห่งพระเยซูเจ้า

ขลุง

2 มิถุนายน

26


ฉลองบ้านเณร พระหฤทัย

ศรีราชา 9 มิถุนายน

ฉลองวัด เซนต์ปอล

แปดริ้ว

30 มิถุนายน

27


วินเซน เดอ ปอล สังฆมณฑ 28


ฑลจันทบุรี

คนยากจน คนป่วยพิการ ช่วยตนเองไม่ได้ พวกเขาคือ องค์พระเยซูเจ้า

สมาคมนักบุญวินเซน เดอ ปอล เป็น องค์กรสังคมสงเคราะห์ของฆราวาสคาทอลิก ระหว่างประเทศ ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Society of St. Vincent de Paul ได้ถือ ก�ำเนิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี ค.ศ. 1944 โดยมี คุณพ่อ มอริส ยอลี เป็นผู้ริเริ่มน�ำมา เผยแพร่ จนสามารถจัดตัง้ ขึน้ เป็นสมาคม และ ได้รบั การจดทะเบียนสมาคมอย่างเป็นทางการ เมื่อปี ค.ศ. 1948 (2491) ตามใบอนุญาต เลขที่ จ.417/2491 โดยใช้ชื่อว่า “สมาคม นักบุญวินเซน เดอ ปอล แห่งประเทศไทย” วัตถุประสงค์ที่ส�ำคัญของสมาคมฯ 1. ให้ความบรรเทาช่วยเหลือคน ยากจน และผู้ตกทุกข์ได้ยากทั้งกายและใจ 2. พัฒนาให้คนยากจนสามารถช่วย ตัวเองได้ในที่สุด ทั้งนี้โดยไม่จ�ำกัดเชื้อชาติ และศาสนา 29


“วินเซน เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุร”ี เกิด ขึน้ เมือ่ ปี ค.ศ 1959 (2502) โดย คุณพ่อ สนิท วรศิลป์ เป็นผูร้ เิ ริม่ น�ำมาด�ำเนินการ ด้วยการชักชวนเข้าเป็น อาสาสมัคร จากกลุ่มคริสตชน อาสนวิหารแม่พระ ปฏิสนธินิรมล จันทบุรี เป็นที่แรก และขยายตัวไป ตามวัดต่าง ๆ ในสังฆมณฑล โดยมีวดั นักบุญฟิลปิ และ ยากอบ หัวไผ่ เป็นที่ต่อมา ในปี ค.ศ. 1965 (2508) ภายใต้การดูแลของ คุณพ่อ บุญชู ระงับพิษ กิจการ งานของ วินเซน เดอ ปอล ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อ เนือ่ ง ด้วยความร่วมมือและด้วยจิตอาสาจากสมาชิก ที่ส่งต่อจากคณะสู่คณะ จนสามารถจัดตั้งเป็นระดับ สังฆมณฑลได้ และมีผู้ดูแลคอยให้ค�ำปรึกษา พร้อม ทั้งร่วมกิจการต่าง ๆ ของคณะ ผลัดเปลี่ยนกันไป ตามวาระ คือ คุณพ่อ บรรจง พานุพันธ์ ปี 1985-1990 คุณพ่อ มานพ ปรีชาวุฒิ ปี 1990-1995 คุณพ่อ นภา กู้ชาติ ปี 1995-2005 คุณพ่อ ชาติชาย เวฬุรตั นกูล ปี 2005-2010 คุณพ่อ สมพร มีมุ่งกิจ ปี 2010-ปัจจุบัน และมีอาจารย์รุ่งศักดิ์ วงษ์แก้ว เป็นประธานสมาคม กิจกรรมงานของคณะวินเซน เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี 1. ดูแล เอาใจใส่ช่วยเหลือคนยากจน คน พิการ ทุพพลภาพ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ขาดคน ดูแล ช่วยด้านปัจจัย 4 โดยการช่วยเหลือจะต้องน�ำ เสนอและผ่านมติที่ประชุม 2. ช่วยด้านการศึกษา มอบทุนการศึกษา ค่าเทอม อุปกรณ์การเรียน ส่วนใหญ่ได้เงินทุนจาก ประเทศออสเตรเลีย ปีละ 900 - 1,000 ทุน เวลา นี้มีประเทศสิงคโปร์ที่เข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติมปีละ 100 กว่าทุน 30

3. โครงการสร้างตนเอง เป็นโครงการช่วย เหลือคนยากจน ที่อยากประกอบอาชีพ แต่ไม่มีเงิน ลงทุน โดยให้คนเหล่านั้น รวมกลุ่มประกอบอาชีพ อย่างเดียวกัน ท�ำโครงการเสนอสมาคมนักบุญวินเซน เดอ ปอล ขอการสนับสนุนด้านการเงิน โดยไม่ต้อง จ่ายดอกเบีย้ แต่มขี อ้ บังคับว่า ชุมชนทีจ่ ะท�ำโครงการ สร้างตนเองนั้น จะต้องมี “คณะวินเซน เดอ ปอล” เป็นหลัก ปัจจุบันมีคณะลอเรนซ์ นางาม ที่มีจ�ำนวน โครงการมากที่สุด 4. มีการจัดอบรม สัมมนาฟื้นฟูจิตใจขึ้นเป็น ประจ�ำทุกปี ปีละครัง้ มีการประชุมในระดับสังฆมณฑล ทุก ๆ 3 เดือน ครั้งล่าสุดเมื่อวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2012 ณ อาคารศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี (ศรีราชา) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ของแต่ละ คณะที่ได้จัดขึ้นตามความเหมาะสม และสอดคล้อง กับเหตุการณ์สถานการณ์อีกด้วย


ปัจจุบันสังฆมณฑลจันทบุรี มีคณะวินเซน เดอ ปอล ทั้งหมด 19 คณะ ได้แก่ 1. คณะแม่พระปฏิสนธินิรมล จันทบุรี 2. คณะแม่พระรับสาร ตราด 3. คณะพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง 4. คณะพระธรรมาสน์เปโตร ท่าแฉลบ 5. คณะนักบุญเปาโลกลับใจ ระยอง 6. คณะแม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ 7. คณะพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา 8. คณะพระนามเยซู ชลบุรี 9. คณะนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม 10. คณะพระราชินีสากลโลก หัวไผ่

11. คณะนักบุญเปาโล ฉะเชิงเทรา 12. คณะพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่ 13. คณะพระผู้ไถ่ เสาวภา 14. คณะแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด บางคล้า 15. คณะอารักขเทวดา โคกวัด 16. คณะนักบุญวินเซน เดอปอล เขาขาด 17. คณะนักบุญลอเรนซ์ นางาม 18. คณะแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ สระแก้ว 19. คณะพระจิตเจ้า บ้านทัพ

31


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โ ด ย ส� ำ นั ก ง า น วิ นิ จ ฉั ย ค ดี

32


ถาม

คุ ณ พ่ อ ครั บ เพื่อลบล้างพันธะของ การแต่งงานครั้งก่อน แบบยื่นเรื่องให้ส�ำนัก วินจิ ฉัยคดี พิจารณาว่า การแต่งงานเป็นโมฆะหรือ ไม่ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และมีกระบวนการ พิจารณาอย่างไร ครับ

ตอบ

ผู้ยื่นค�ำร้องต้องเตรียมเอกสารดังนี้ 1.ค�ำร้อง (Petition)

2.แบบสอบถามเกี่ยวกับการแต่งงานของผู้ ยื่นค�ำร้อง (Petitioner)

เอกสาร 1 – 4 ผู้ยื่นค�ำร้องขอรับได้ที่ส�ำนักงาน วินิจฉัยคดี หรือ คุณพ่อเจ้าอาวาส เอกสาร 5 – 6 ผูย้ นื่ ค�ำร้องขอรับได้ทวี่ ดั ทีต่ นเอง รับศีลล้างบาปและแต่งงาน เอกสาร 7 - 8 ผู้ยื่นค�ำร้องเตรียมเอง กระบวนการพิจารณาเป็นดังนี้ 1.ประธานคณะผูต้ ดั สินรับค�ำร้อง เมือ่ เอกสาร ครบแล้ว ลงวันที่ จัดล�ำดับคิว 2.ประธานคณะผู้ตัดสินเขียนค�ำพิพากษา 3.ประธานคณะผู้ตัดสินส่งให้ผู้พิพากษาที่ สองพิจารณา

3.แบบสอบถามเกี่ยวกับการแต่งงานของคู่ กรณี (Respondent)

4.ประธานคณะผูต้ ดั สินส่งให้ผพู้ พิ ากษาทีส่ าม และผู้ปกป้องพันธะพิจารณา (ส�ำนักงานวินิจฉัย คดีอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ)

4.ใบสอบถามพยาน 3 ท่าน (ที่รู้เรื่องตั้งแต่ คบหา แต่งงาน จนกระทั่งหย่าร้างเป็นอย่างดี โดยเฉพาะถ้าเป็นพ่อ แม่ พี่น้อง คนที่สนิทกับผู้ ยื่นค�ำร้อง)

5.ถ้าเห็นชอบ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดีอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ส่งให้ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี ระหว่างสังฆมณฑลอีสาน ซึ่งจะมีพระสงฆ์อีก 4 ท่าน พิจารณา

5.ส�ำเนารับรองศีลล้างบาป ของผูย้ นื่ ค�ำร้อง (ในกรณีที่ผู้ยื่นค�ำร้องเป็นคาทอลิก)

6.หากส�ำนักงานวินจิ ฉัยคดีระหว่างสังฆมณฑล อีสานเห็นชอบ ส�ำนักงานวินจิ ฉัยคดีอคั รสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จึงประกาศเป็นโมฆะ

6.ส�ำเนาใบรับรองการสมรส (ในกรณีทผี่ ยู้ นื่ ค�ำร้องเป็นคาทอลิก) 7.ส�ำเนาทะเบียนสมรส(ทางราชการ), ส�ำเนา ใบส�ำคัญการหย่า (ของคู่แต่งงานเดิม –ถ้ามี) 8.ส�ำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อ)

กระบวนการทัง้ หมด (นับตัง้ แต่ยนื่ เอกสาร ครบจนถึงการประกาศเป็นโมฆะ) ใช้เวลา ประมาณ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 33


น้อมให้ ด้วยใจรัก “ศิษย์ย่อมไม่อยู่เหนืออาจารย์ และผู้รับใช้ย่อมไม่อยู่เหนือนาย” (มธ 10:24)

โดย น�้ำผึ้งหวาน 34


ในฐานะผู้รับใช้... ฉันเองก็ควรสวมความนบนอบ เป็นเกราะคุ้มกันวิญญาณของฉัน และต่อให้ฉันมีความรู้สึกขัดใจสักเพียงใด หากแต่ในฐานะผู้รับใช้...ฉันควรน้อมยอมรับในสิ่งที่นายปรารถนา เพราะในความนบนอบนั้น เป็นพระพรที่ท�ำให้ชีวิตฉัน สามารถผ่านพ้นอุปสรรค ปัญหานานาประการมาได้จวบจนทุกวันนี้ มีเวลาแสดงความสามารถของตนเองอย่างถูกวิธี มีเวลารับฟังความสามารถของผู้อื่นอย่างยินดี และสิ่งที่เกิดขึ้น จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะผ่านกระบวนการที่คัดสรรด้วยความนบนอบ และน้อมรับ จิตใจที่ไม่มีความนอบน้อมก็เป็นจิตใจที่แข็งกระด้าง มักแสดงผ่านออกมาทางการกระท�ำ ด้วยอารมณ์ที่ขุ่นมัว และมีอคติอยู่เสมอ มีตาแต่ก็มองสิ่งดีไม่เห็น มีหูแต่ก็ไม่ได้ยินเสียงธรรมใดใด จวนจนได้สูญเสียสิ่งส�ำคัญในชีวิตไป แต่แทนที่จะโทษตัวเองหรือก็ไม่ กลับโทษสวรรค์ ฟ้าดินที่ท�ำให้สิ่งร้ายนั้นเกิดขึ้นกับตัวเอง ทุกสิ่งมีเวลาของมัน ทุกการกระท�ำมีช่วงแห่งการประเมินผล ยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการกระท�ำของตนเอง และยอมน้อมรับมันเสียบ้าง เพราะผลที่เกิดนั้นมาจากเหตุที่เราได้กระท�ำลงไปแล้วทั้งสิ้น 35


พิธบี วชเป็นพระสงฆ์ โอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชือ่

วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา

36

16 มิถุนายน 2012


GAME ปริศนาอักษรไขว้

โดย แผนกพระคัมภีร์

กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 1

3 8

2

5

9

7

4

6

คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. นักบุญยอแซฟประกอบอาชีพ 3. พิธีมิสซา เรียกแบบทางการ 5. ผู้รับศีลล้างบาปแล้วเรียกว่า 7. สถานที่มนุษย์คู่แรกอาศัยอยู่ 8. ชื่อนักบุญของพระคุณเจ้าสิริพงษ์

แนวนอน 2. สัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ 4. ท�ำพิธีล้างให้กับพระเยซูเจ้า 6. บุคคลที่สร้างทุกอย่างขึ้นมา 9. นักบุญที่เอานิ้วแยงสีข้างพระเยซู 37


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

ไ ข่

สิ่งตีพิมพ์

10

3 ใ เ บ ที 2 อั ล เ ล ลู ย า า น 8 9 ย อ ห์ น ม ปั 4 ส ว ด ภ า ว น า ก รี 6 บ่ า ย ส า ม 5โ ม ง ย์ ท มั 7 โ ม เ ส ส 1

38

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 6 ปีที่ 23 เดือนเมษายน 2012


วันครอบครัวสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี

21 เมษายน 2012

39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.