สายใยจันท์ V.9

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

Vol.9 เมษายน 2013 ปีที่

24

จากเบธเลเฮม สู่ กัล วาริโ อ เส้น ทางแห่งความรัก • ท่านล่ะ คิดว่าเราเป็นใคร • กลุม่ นิสติ นักศึกษา สังฆมณฑลจันทบุรี • ค�ำอวยพร โอกาสปัสกา • 25 ปี ชีิวิตสงฆ์ • ยิ้มไว้ให้ใจเปี่ยมสุข • กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้


สารบัญ

สายใยจันท์

ปีที่ 24 ฉบับที่ 9 / เมษายน 2013

สาส์นพระสังฆราช สิริพงษ์ จรัสศรี......................................... 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราชกิตติคุณ เทียนชัย สมานจิต............... 6 จากเบธเลเฮม สู่ กัลวาริโอ เส้นทางแห่งรัก.............................. 8 ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร(ตอนจบ)................................................ 10 25 ปี ชีวิตสงฆ์......................................................................... 13 ค�ำอวยพร โอกาสสมโภชปัสกา................................................ 20 กลุ่มนิสิตนักศึกษาคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี................... 22 กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้..................................................... 26 ยิ้มไว้ ให้ใจเปี่ยมสุข.................................................................... 28 วันวาร ล้วนมีความหมาย........................................................ 30 ปริศนาอักษรไขว้....................................................................... 31 ประมวลภาพกิจกรรม............................................................... 33 อัลเลลูยา................................................................................... 39

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

“เมื่อบรรดาศิษย์เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า พวกเขาก็มีความยินดี” (ยน.20:20)

พระพักตร์ที่บรรดาอัครสาวกเพ่งร�ำพึงหลัง จากการกลับคืนพระชนม์ เป็นพระพักตร์ของพระเยซู พระองค์เดียวกัน ที่พวกเขาเคยร่วมใช้ชีวิตด้วยเป็น เวลาสามปี และบัดนี้พระองค์ทรงท�ำให้เขามั่นใจใน ความจริงอันน่าพิศวงแห่งชีวติ ใหม่ของพระองค์ โดย ทรงแสดงให้พวกเขาได้เห็น “พระหัตถ์และด้านข้าง พระวรกายของพระองค์” (ยน.20:20) การเชือ่ นัน้ ไม่งา่ ยเลย บรรดาศิษย์ทกี่ ำ� ลังเดิน ทางไปเอมมาอุสได้เชือ่ ก็ตอ่ เมือ่ เขาได้เดินทางฝ่าย จิตเป็นเวลานาน (ลก 24:13-35) นักบุญโทมัสเชือ่ ก็ตอ่ เมือ่ เขาได้รบั ความแน่ใจ ในเหตุการณ์อนั น่าประหลาดใจ อันทีจ่ ริงไม่วา่ จะมีคน เห็นและแตะต้องพระวรกายมากเพียงใดก็ตาม ความ เชือ่ เท่านัน้ ทีจ่ ะน�ำพาไปสูธ่ รรมล�ำ้ ลึกแห่งพระพักตร์ นั้น (Novo Millennio Ineunte: 19)

สายใยจันท์ฉบับนี้ ขอร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับ ความยินดีแห่งปัสกากับพีน่ อ้ งคริสตชนจันทบุรที กุ ท่าน พร้อมกันนี้ พีน่ อ้ งยังจะได้อา่ นบทความทีน่ า่ สนใจมาก ไม่ว่าจะเป็น “จากเบธเลเฮม สู่ กัลวาริโอ เส้นทาง แห่งรัก” “กิจกรรมของนักศึกษาคาทอลิกจันทบุร”ี พร้อมทั้งเรื่องราวของ “คุณพ่อที่ฉลอง 25 ปีชีวิต สงฆ์” และบทความอื่น ๆ ยังอยู่ครบถ้วน…

สุขสันต์ปัสกาแด่พี่น้องทุกท่าน “ท่านทัง้ หลายก็เช่นเดียวกัน บัดนีท้ า่ นมีความทุกข์ แต่เราจะเห็นท่านอีก และใจของท่านจะยินดี ไม่มี ใครน�ำความยินดีไปจากท่านได้” (ยน 16:22)

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

พี่น้องคริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นอีก ครั้งหนึ่งที่เรา ร่วมเป็นหนึ่งเดียวในการฉลองปัสกา การฉลองปัสกาต้องน�ำมาซึง่ ความชืน่ ชม ความยินดี และความปิติมาสู่ชีวิตคริสตชนของเรา และเพื่อจะ ให้ความชื่นชม ความยินดีและความปิตินี้คงอยู่กับ เราตลอดไป พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ แนะน�ำว่า “อาศัยหนทางแห่งความเชื่อ ผ่านทาง ประสบการณ์แห่งความเงียบและภาวนาเท่านั้น” (Novo Millennio Ineunte: 20) 3


4


สาส์นพระสังฆราช

สุขสันต์ปัสกาแด่พี่น้องสงฆ์ นักบวชชายหญิง และสัตบุรุษที่รักในพระคริสตเจ้า

นพระวรสารทั้งสี่เล่ม ได้บันทึกเรื่องราว ที่พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ และทรงเผยแสดงพระองค์แก่บรรดาศิษย์ ซึ่งเป็น ข่าวที่น�ำความชื่นชมยินดีแก่พวกเขาเป็นอย่างมาก ข่าวดีนี้เปลี่ยนแปลงชีวิตศิษย์ทุกคน และพวกเขาได้ ประกาศข่าวดีแห่งความรอดนี้ให้แพร่หลาย จนทุก วันนี้มีคนรับข่าวดีนี้เป็นจ�ำนวนมากและด�ำเนินชีวิต ในความเชื่อและในความหวังที่เขาได้รับจากข่าวดี ในปี แ ห่ ง ความเชื่ อ สมเด็ จ พระสั น ตะ ปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ได้เรียกร้องให้มีการกลับใจ อย่างแท้จริงและมีการรือ้ ฟืน้ ความเชือ่ ให้รอ้ นรนขึน้ ใหม่ ต่อพระคริสตเจ้าพระผูไ้ ถ่ของโลก ผูซ้ งึ่ ได้มชี ยั ชนะ ต่อความตาย และให้ชวี ติ ใหม่แก่เรา พระเจ้าทรงเผย แสดงให้เห็นถึงความบริบรู ณ์แห่งความรักในการไถ่กู้ มนุษยชาติของพระองค์ ในพระธรรมล�้ำลึกแห่งการ สิ้นพระชนม์ และการเสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพของ พระคริสตเจ้า ความเชื่อในความรักของพระเจ้าที่มี ต่อเราจะต้องท�ำให้เรามีความสนิทสัมพันธ์กบั พระเจ้า อย่างลึกซึง้ และด�ำเนินชีวติ ในหนทางแห่งความรักต่อ พระเจ้าและต่อผู้อื่น (สารมหาพรต ค.ศ. 2013 ของ สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16)

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2013 สมเด็จ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ได้ประกาศลาออก จากการเป็นประมุขของพระศาสนจักรอย่างเป็น ทางการ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มิได้คาดฝัน และไม่เคย มีมาก่อนในยุคสมัยของเรา อย่างไรก็ดี เมื่อเป็นพระ ประสงค์ของพระองค์เช่นนี้ เราก็นอ้ มรับ และเราขอ ขอบพระคุณพระองค์ส�ำหรับการน�ำพระศาสนจักร ในสมณสมัยของพระองค์ในช่วงเวลา 8 ปี และเรา ยังคงภาวนาให้พระองค์ท่านต่อไป เช่นเดียวกัน เรา ภาวนาส�ำหรับพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ให้มพี ละ ก�ำลังพิเศษจากพระเจ้าในการเป็นผูน้ ำ� พระศาสนจักร ซึ่งต้องเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ มากมายในสมัยปัจจุบันนี้ เราขอเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ท่าน ขอพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ ประทานพระพรแห่งชีวิตใหม่ที่เต็มเปี่ยมด้วยความ เชื่อ ความหวัง และความรักแก่ทุกท่านในโอกาส สมโภชปัสกานี้

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี

5


6


ค�ำอวยพรพระสังฆราชกิตติคุณ

ปั

สกา เป็นสุดยอดแห่งวันสมโภชประจ�ำปีของชาวอิสราเอล และ คริสตชน ชาวอิสราเอลระลึกถึงความรัก ความเมตตาของพระ ยาห์เวห์ ที่ทรงช่วยชาติของเขาให้รอดพ้นจากการเป็นทาส และความทุกข์ ยากล�ำบากในประเทศอียปิ ต์ โดยมีโมเสสเป็นผูน้ �ำ คริสตชนซึง่ เป็นอิสราเอล ใหม่ ก็ระลึกถึงความรัก ความเมตตาอันยิง่ ใหญ่ของพระเจ้าเช่นเดียวกัน โดย มีพระคริสตเจ้าโมเสสคนใหม่ ช่วยเราให้รอดพ้นจากการเป็นทาสของปีศาจ และบาป อาศัยการสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ เราคริสตชนได้ตาย ถูกฝัง และกลับคืนชีพมีชวี ติ ใหม่กบั พระคริสตเจ้า แล้ว ในโอกาสปีแห่งความเชือ่ ให้เราคิดถึงพระคุณแห่งความเชือ่ และศีลล้าง บาปที่เราได้รับ ในสมัยก่อน ท�ำพิธีล้างบาปด้วยการจุ่มน�้ำมิดหัว 3 ครั้ง ซึ่ง หมายถึงตายและถูกฝังกับพระคริสตเจ้า ตายต่อบาป ต่อปีศาจ และสิง่ ยัว่ ยวน ต่าง ๆ จากนั้น มีการสวมเสื้อขาว 1 สัปดาห์ ซึ่งหมายถึง ชีวิตบริสุทธิ์ของ วิญญาณ ซึ่งจะต้องรักษาไว้ตลอดไป ที่สุด มีการมอบเทียนที่จุดให้ ซึ่งหมาย ถึง แสงสว่างแห่งความเชื่อที่จะต้องรักษาไว้อย่าให้ดับ จนกว่าไปอยู่เฉพาะ พระพักตร์พระคริสตเจ้า ความเชื่อนี้จะต้องแบ่งปันถ่ายทอดให้ผู้อื่นต่อไป พระคริสตเจ้าได้ผ่านปัสกาของพระองค์คือ ความทรมาน การ สิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพอย่างมีชัยชนะแล้ว ขอพระองค์ โปรดให้เราแต่ละคนผ่านปัสกาของเรา คือ ความทุกข์ ความล�ำบาก ความ เจ็บป่วย ความตาย และการกลับคืนชีพอย่างมีชัยชนะ เหมือนพระองค์เช่น เดียวกัน สุขสันต์ปัสกา อัลเลลูยา (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


จากเบธเลเฮม..... สู่ .....กัลวาริโอ

เส้นทางแห่งรัก โดยคุณพ่อเอนก นามวงษ์ “เมื่อถึงเวลาที่ก�ำหนดไว้ พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิดจากหญิงผู้หนึ่ง” (กท 4:4) การที่ทูตสวรรค์มาแจ้งสารแด่พระนางมารีอา (ลก 1: 26-38) เป็นการเริ่มต้น “เวลาที่ก�ำหนดไว้” และท�ำให้ เวลาที่ก�ำหนดเกิดความสมบูรณ์ขึ้น เป็นการบ่งบอกว่าพระเป็นเจ้าได้ท�ำตามสัญญาที่พระองค์ได้สัญญาไว้กับ เรา (เทียบ มลค 4:6) “พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิด” (กท.4:4) แต่ในการทีจ่ ะก่อร่างสร้างกาย ส�ำหรับ พระบุตรนั้น พระองค์ทรงปรารถนาที่จะได้รับความร่วมมืออย่างอิสระจากสิ่งสร้าง เพื่อการนี้ -แต่ใน นิรันดรกาล- พระเจ้าได้ทรงเลือกสรรสตรีชาวอิสราเอลผู้หนึ่ง เป็นสาวชาวยิวจากเมืองนาซาเร็ธ ในแคว้น กาลิลี ให้เป็นพระมารดาแห่งพระบุตรของพระองค์ คือ “หญิงพรหมจารีคนหนึ่งซึ่งหมั้นอยู่กับชายชื่อโยเซฟ ในราชวงศ์ของกษัตริย์ หญิงพรหมจารีผู้นั้นชื่อ มารีย์” พระบิดาแห่งความเมตตากรุณา ได้ทรงปรารถนาให้การรับธรรมชาติของพระบุตรเกิดขึ้นหลังจาก ที่ได้มีการยอมรับแล้ว โดยพระมารดาคนที่พระองค์ได้ทรงก�ำหนดไว้ล่วงหน้านั้น ในลักษณะที่ว่า เมื่อสตรีผู้ หนึ่งมีส่วนในการท�ำให้ความตายเกิดขึ้น ในท�ำนองเดียวกัน สตรีอีกผู้หนึ่งก็ได้มีส่วนในการท�ำให้ชีวิตอุบัติขึ้น มา (LG 56) (CCC488) 8


นับตัง้ แต่พระวจนาตถ์ทรงรับเอากาย (ยน1:14) แม้จะได้รบั การยืนยันจากพระบิดาว่า “ท่านเป็นบุตร ทีร่ กั ของเรา เป็นทีโ่ ปรดปรานของเรา” (มก1:11) แต่ ตลอดเส้นทางเดินของพระเยซูเจ้าส่วนใหญ่ตอ้ งเผชิญ หน้ากับการถูกทดลอง (มธ 4:1-11), ความเกลียดชัง, การหลบหนี (มธ 2:13-18), การถูกต�ำหนิจากฟารีสี และธรรมาจารย์ (มก 15:3), คนที่ไม่เชื่อในพระองค์ (“ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและบรรดาประกาศก แม้ ใครที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็ จะไม่เชื่อ” ลก16:31), การหัวเราะเยาะ, การเยาะ เย้ย (มธ 27:39-44; มก 15:16-20; ลก 23:35-43 ), การนินทา (มก 6:3), การดูถกู และการใส่รา้ ยต่อพระ เยซูเจ้า (มธ 12:22-37; ยน 5:1-47) จนเป็นเหตุให้ พระองค์ต้องสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน แต่หวั ใจของพระเยซูเจ้าตอบสนองคนเหล่านัน้ ด้วยความรัก ความเมตตา ความอดทน แบกกางเขน ตามเส้นทางสู่กัลวาริโอด้วยใจสงบ ก้าวย่างไปทีละ ก้าวเต็มเปี่ยมไปด้วย รัก รัก รัก รัก มนุษย์ ขณะ แบกไม้กางเขนยังปลอบใจคนที่เป็นทุกข์ จนกระทั่ง นายร้อยซึง่ ยืนเฝ้าอยูเ่ ฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ เมือ่ เห็นพระองค์สนิ้ พระชนม์ดงั นัน้ จึงพูดว่า “ชายคน นีเ้ ป็นพระบุตรของพระเจ้าแน่ทเี ดียว” (มก15:39) ดังนัน้ ชีวติ ทัง้ ชีวติ ของพระคริสตเจ้า คือการ เผยแสดง (ความจริง) ของพระบิดา พระวาจาและ กิจการของพระองค์ การนิ่งเงียบ และพระทรมาน ของพระองค์ วิธีด�ำรงอยู่ของพระองค์และวิธีเจรจา ของพระองค์ พระเยซูสามารถตรัสได้วา่ “ผูท้ เี่ ห็นเรา ก็เห็นพระบิดาด้วย” (ยน.14:9) เนื่องจากองค์พระผู้ เป็นเจ้าเสด็จมาเป็นมนุษย์ เพื่อให้ส�ำเร็จไปตามน�้ำ พระทัยของพระบิดา ลักษณะแม้เพียงเล็กน้อยแห่ง ธรรมล�้ำลึกของพระองค์ ย่อมเป็นการแสดงให้เป็น

ที่ประจักษ์แก่เราถึง “ความรักของพระเจ้า” (1ยน. 4:9)1 และการไถ่กู้ ไถ่บาปเรา2 ๏ เริม่ จากการทรงรับธรรมชาติมนุษย์ ซึง่ จาก การเสด็จมาเป็นมนุษย์ ในสภาพที่ยากจน พระองค์ ก็ทรงท�ำให้เรามั่งคั่ง โดยอาศัยความยากจนของ พระองค์ (เทียบ 2คร.8:9) ๏ ในชีวิตภาคเร้นอยู่ เพราะการนอบน้อม เชื่อฟังของพระองค์ (เทียบ ลก.2:51) ๏ พระองค์กไ็ ด้ทรงชดเชยการดือ้ ดึงไม่ยอม นบนอบของเรา ในพระวาจาซึ่งช�ำระผู้ฟังให้บริสุทธิ์ (เทียบ ยน.15:3) ๏ ในการรักษาโรคภัยให้หาย และในการทรง ขับไล่ปศี าจ ซึง่ จากการกระท�ำดังกล่าว “พระองค์ทรง รับเอาความอ่อนแอของเราไว้ และทรงแบกความเจ็บ ป่วยของเรา” (มธ.8:17) ๏ ในการฟืน้ คืนพระชนม์ ซึง่ อาศัยการคืนชีพ ครัง้ นัน้ พระองค์กไ็ ด้ทรงโปรดให้เราเป็นผูช้ อบธรรม (เทียบ รม.4:25) ตั้งแต่ผ้าห่มห่อพระกายพระกุมาร เมื่อทรง บังเกิด ไปจนกระทั่งถึงน�้ำส้มอันจะขมขื่นแห่งมหา ทรมาน และผ้าตราสังในวันฟื้นคืนพระชนม์ของ พระองค์ เราได้เห็น “ความรักของพระเยซูเจ้า” หรือไม่? เราสามารถแบ่งปันความรักนี้ ได้หรือไม่? เราสามารถท�ำให้ผู้อื่นมองเห็นร่องรอยแห่งธรรมล�้ำ ลึกของพระองค์ในชีวิตทั้งชีวิตของพระองค์บนแผ่น ดินนี้ ได้หรือไม่?. 1

CCC 156 CCC 157

2

9


“ท่านล่ะ

คิดว่า เราเป็นใคร?”

(มธ 16:15) คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมตอนที่ 3

ชื่อของพระเยซูเจ้าในรูปของสัญลักษณ์ “ศิลา, ศิลาหัวมุม, ศิลาที่ถูกทิ้ง และผู้เลี้ยงแกะ” เมื่อพูดถึงสิ่งเหล่านี้ เข้าใจได้เลยว่า หมาย ถึงพระเยซูเจ้า และยังมีชื่อที่เรียกพระองค์อีกหลากหลาย ตามมาดูกัน... ประชาชนกล่าวว่าพระเยซูเจ้า “มีพระธรรมชาติของพระเจ้า”

• ฟิลิปปี 2:5-6 จงมีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับที่พระคริสตเยซูทรง มีเถิด แม้ว่าพระองค์ทรงมีธรรมชาติพระเจ้า พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่า ศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้น เป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน พระเยซูเจ้าตรัสว่าพระองค์ทรงเป็น “บุตรของพระเจ้า”

• ลูกา 22:70 ทุกคนจึงพูดว่า “ดังนัน้ ท่านเป็นบุตรของพระเจ้าใช่ไหม” พระองค์ตรัสตอบว่า “ท่านพูดเองนะว่าเราเป็น” • ยอห์น 19:7 ชาวยิวตอบว่า “พวกเรามีกฎหมาย และตามกฎหมาย นั้น เขาต้องตาย เพราะตั้งตนเป็นบุตรของพระเจ้า” พระเยซูเจ้าทรงอ้างพระองค์เองโดยใช้ชื่อของพระเจ้าว่า “เราเป็น”

• ลูกา 22:70 พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า เราบอกความจริงแก่ท่านทั้ง หลายว่าก่อนอับราฮัมจะเกิด เราเป็น • เทียบกับ: อพยพ 3:14 พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า “เราคือ เราเป็น” แล้วตรัสต่อไปว่า “ท่านต้องบอกชาวอิสราเอลดังนีว้ า่ “เราเป็น” ทรง ส่งข้าพเจ้ามาหาท่านทั้งหลาย” พระเยซูเจ้าตรัสว่าพระองค์ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์

• ยอห์น 6:38 เพราะเราลงมาจากสวรรค์ มิใช่เพื่อท�ำตามใจของเรา แต่เพื่อท�ำตามพระประสงค์ของผู้ทรงส่งเรามา 10


ถึงแม้วา่ ในบางข้อความต่อไปนีอ้ าจฟังดูเหมือนไม่เหมาะสม แต่ประชาชนทีพ่ ระเยซู เจ้าทรงสนทนาด้วยเข้าใจอย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงอ้างตนว่าเป็นพระเจ้า • ยอห์น 5:18 เพราะค�ำยืนยันนี้ ชาวยิวยิง่ พยายามจะฆ่าพระองค์ให้ได้ เพราะพระองค์ ไม่เพียงแต่ละเมิดวันสับบาโตเท่านั้น แต่ยังทรงเรียกพระเจ้าเป็นพระบิดาของพระองค์ อีกด้วย ซึ่งเป็นการท�ำตนเสมอพระเจ้า • ยอห์น 10:33 ชาวยิวตอบว่า “พวกเราจะเอาหินขว้างท่าน ไม่ใช่เพราะกิจการที่ดี แต่เพราะท่านพูดดูหมิ่นพระเจ้า ท่านเป็นเพียงมนุษย์ แต่ตั้งตนเป็นพระเจ้า” • ยอห์น 19:7 ชาวยิวตอบว่า “พวกเรามีกฎหมาย และตามกฎหมายนัน้ เขาต้องตาย เพราะตั้งตนเป็นบุตรของพระเจ้า” ชาวโรมันหลายคนทีไ่ ม่ได้นบั ถือยิวหรือคริสต์ได้แสดงออกถึงความเชือ่ ในพระเยซูเจ้า • ยอห์น 19:19-22 ปีลาตเขียนป้ายประกาศติดไว้บนไม้กางเขนเป็นข้อความว่า “เยซู ชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของชาวยิว” ชาวยิวจ�ำนวนมากได้อ่านป้ายประกาศนี้เพราะ สถานที่ที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงนั้นอยู่ใกล้กรุงและป้ายประกาศนั้นเขียนไว้เป็นภาษา ฮีบรู ละติน และกรีก บรรดาหัวหน้าสมณะของชาวยิวกล่าวกับปีลาตว่า ‘อย่าเขียน ว่า กษัตริย์ของชาวยิว’ แต่จงเขียนว่าคนนี้ได้กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ของชาว ยิว’ ปีลาตตอบว่า “เขียนแล้ว ก็แล้วไปเถอะ” • มัทธิว 27:54 นายร้อยและบรรดาทหารที่เฝ้าพระเยซูเจ้า เมื่อเห็นแผ่นดินไหวและ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็ตกใจกลัวยิ่งนัก กล่าวว่า “ชายคนนี้เป็นบุตรของพระเจ้าแน่ ทีเดียว ปีศาจ (ผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นทูตสวรรค์รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้า) รับรู้และยอมรับว่า “พระเยซูเจ้าทรงเป็นบุตรแห่งพระเจ้า” • ลูกา 4:41 ปีศาจออกจากคนจ�ำนวนมาก พลางร้องตะโกนว่า “ท่านเป็นพระบุตรของ พระเจ้า” แต่พระองค์ทรงสั่งไม่ให้ปีศาจพูด เพราะมันรู้ว่าพระองค์เป็นพระคริสตเจ้า • กิจการ 19:13, 15 [13]ชาวยิวบางคน ผู้มีอาชีพเดินทางขับไล่ปีศาจพยายาม เรียกขานพระนามของพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าเหนือผู้ที่ถูกปีศาจร้ายสิงอยู่ สั่ง ว่า “เดชะพระนามของพระเยซูเจ้าที่เปาโลเทศน์สอน ข้าพเจ้าสั่งเจ้าให้ออกไป” [15] แต่ปีศาจร้ายตอบเขาว่า “ข้าพเจ้ารู้จักพระเยซูเจ้าและรู้ว่าเปาโลคือใคร แต่ท่านทั้ง หลายเป็นใครกัน” 11


มีธรรมชาติแห่งพระเจ้าอย่างน้อย 5 ประการทีใ่ ช้อธิบายถึงพระเยซูเจ้า กล่าวกันว่าลักษณะของพระเจ้า ทั้งครบด�ำรงในองค์พระเยซูเจ้า ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ : พระเยซูเจ้าทรงอานุภาพเหนือโรคภัยไข้เจ็บ โดยที่มันจะเป็นไปตามพระด�ำรัสของพระองค์

• ลูกา 4:39-40 พระองค์จึงทรงก้มลงเหนือนางและบังคับไข้ นางก็หายไข้ ลุกขึ้นมารับใช้ทุกคนทันที เมื่อ ดวงอาทิตย์ตก ผู้ที่มีคนเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ น�ำผู้เจ็บป่วยเหล่านั้นมาเฝ้าพระองค์ พระองค์ทรงปก พระหัตถ์เหนือผู้ป่วยแต่ละคนและทรงรักษาเขาให้หายจากโรค พระเยซูเจ้าทรงอานุภาพเหนือความตาย โดยที่มันจะเป็นไปตามพระด�ำรัสของพระองค์

• ลูกา 7:14-15 แล้วพระองค์เสด็จเข้าไปใกล้ ทรงแตะแคร่หามศพ คนหามก็หยุด พระองค์จึงตรัสว่า “หนุ่ม เอ๋ย เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้นเถิด” คนตายก็ลุกขึ้นนั่งและเริ่มพูด พระเยซูเจ้าจึงทรงมอบเขาให้แก่มารดา • ลูกา 8:53-55 [53] คนเหล่านั้นหัวเราะเยาะพระองค์ เพราะรู้ว่าเด็กนั้นตายแล้ว [55] จิตของเด็กก็กลับ มาและเด็กก็ลุกขึ้นทันที พระเยซูเจ้าทรงสั่งให้น�ำอาหารมาให้เด็กนั้นกิน • ยอห์น 11:17, 43-44 [17]เมื่อเสด็จมาถึง พระเยซูเจ้าทรงพบว่าลาซารัสถูกฝังในคูหามาสี่วันแล้ว [43] ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงเปล่งพระสุรเสียงดังว่า “ลาซารัสเอ๋ย จงออกมาเถิด” [44] ผู้ตายก็ออกมา มีผ้าพันมือพันเท้า และผ้าคลุมใบหน้าด้วย พระเยซูเจ้าตรัสว่า “จงเอาผ้าออกและให้เขาไปเถิด” • ยอห์น 5:25 เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า เวลานั้นก�ำลังจะมาถึง และขณะนี้ก็ก�ำลังเริ่มแล้ว พระเยซูเจ้าทรงอานุภาพเหนือธรรมชาติ โดยที่มันจะเป็นไปตามพระด�ำรัสของพระองค์

• มัทธิว 8:24,26 [24] ทันใดนัน้ เกิดพายุแรงกล้าในทะเลสาบ คลืน่ สูงจนไม่เห็นเรือ แต่พระองค์บรรทมหลับ [26] พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “ท�ำไมจึงตกใจกลัวเล่า ท่านช่างมีความเชื่อน้อยเหลือเกิน” แล้วทรงลุกขึ้น บังคับลมและทะเล ท้องทะเลก็สงบราบเรียบ พระเยซูเจ้าทรงอานุภาพเหนือปีศาจ โดยที่มันจะเป็นไปตามพระด�ำรัสของพระองค์

• มัทธิว 8:16 เย็นวันนั้น ประชาชนน�ำผู้ถูกปีศาจสิงจ�ำนวนมากมาเฝ้าพระองค์ พระองค์ทรงขับปีศาจเหล่า นี้ออกไปด้วยพระวาจา และทรงบ�ำบัดรักษาผู้ป่วยทุกคน • ลูกา 4:35-36, 41 [35] พระเยซูเจ้าทรงดุปีศาจและทรงสั่งว่า “จงเงียบ ออกไปจากผู้นี้” ปีศาจผลักชาย นัน้ ล้มลงต่อหน้าทุกคน แล้วออกไปจากเขาโดยมิได้ท�ำร้ายแต่ประการใด [36] ทุกคนต่างประหลาดใจมากและ ถามกันว่า “วาจานี้คือสิ่งใด จึงมีอ�ำนาจและอานุภาพบังคับปีศาจร้าย และมันก็ออกไป” [41] ปีศาจออก จากคนจ�ำนวนมาก พลางร้องตะโกนว่า “ท่านเป็นพระบุตรของพระเจ้า” แต่พระองค์ทรงสั่งไม่ให้ปีศาจพูด เพราะมันรู้ว่าพระองค์เป็นพระคริสตเจ้า 12


13


25 ปีชีวิตสงฆ์

ัศน์ เภกะสุต คุณพ่อยอห์น ปอล พสุทกบินทร์บุรี

“ความถูกต้องมาก่อนความถูกใจ ค�ำสรรเสริญใด ๆ จะตามมา ทั้งกายใจมอบแด่องค์พระเจ้า” เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1956 สัตบุรุษวัด ธรรมาสน์นักบุญเปโตร ท่าแฉลบ จันทบุรี บุตรของ ยอห์น บัปติสต์ วิชัย เภกะสุต และ ลูชีอา อ�ำภา เภกะสุต มีพี่น้องในครอบครัว 2 คน เป็นบุตรคนที่ 2

มภ เจ้าอาวาสวัดมารีสนป ระจันตคาม ตช ส ิ คร ชุมชน

ขอสรรเสริญขอบพระคุณพระเป็นเจ้า ส�ำหรับ ชีวิต วันเวลาและทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่าน เป็นพระคุณ พระพรที่ยิ่งใหญ่ที่พระมอบให้ เนื่องจากมีชีวิตที่ได้อยู่ ใกล้ชิดกับพระสงฆ์ เป็นเด็กวัดก่อนเข้าบ้านเณร และ จากประสบการณ์ทไี่ ด้รบั ในช่วงฝึกงานอภิบาล ก่อนบวช เป็นพระสงฆ์ ได้เห็นแบบอย่างการด�ำเนินชีวติ ของพระ สงฆ์ และนักบวช โดยเฉพาะชีวติ ในการท�ำงานอภิบาล ของท่านเหล่านัน้ ซึง่ เป็นแบบอย่างทีด่ ี และได้นำ� มาปรับ ใช้ให้เข้ากับชีวิตสงฆ์ตลอด 25 ปี ที่ผ่านมา อาทิ ความ นบนอบ ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบ หมาย สิ่งที่ส�ำคัญประการหนึ่งคือ การท�ำงานท�ำเต็มที่ เต็มก�ำลังความสามารถทีม่ อี ยู่ การท�ำงานอภิบาลในทุก ด้านต้องยึดหลักข้อค�ำสอนของพระศาสนจักรเป็นทีต่ งั้ ท�ำด้วยความเชื่อ ความรัก ความวางใจในพระเป็นเจ้า และท�ำด้วยความถูกต้อง ชีวติ สงฆ์เป็นชีวติ ของผูร้ บั ใช้ และรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เกี่ยงงาน ไม่โยนงาน มีความว่องไวส�ำหรับผูท้ ตี่ อ้ งการความช่วย เหลือ พร้อมที่จะรับฟัง พัฒนาปรับปรุง และแสวงหา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการท�ำงาน ท�ำอย่างรอบคอบ ท�ำ หน้าทีใ่ นแต่ละวันอย่างเต็มความสามารถ งานทุกอย่าง เป็นงานของพระ ของพระศาสนจักร ของสังฆมณฑล ของวัด ตัวเราเป็นเพียงเครือ่ งมือเล็ก ๆ ชิน้ หนึง่ เท่านัน้ 14

และตั้งใจไว้ว่าจะพยายามเป็นจิ๊กซอร์ตัวเล็ก ๆ ที่คอย เสริมสร้างความงามให้กับภาพรวมในงานอภิบาลของ สังฆมณฑล ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ในระหว่างการท�ำงานอภิบาล ได้รบั ผิดชอบงาน สื่อสารมวลชนของสังฆมณฑล 10 กว่าปี เป็นโอกาส ดีที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถ ในการขีดเขียนแบ่งปัน เรื่องราวดี ๆ แก่คนทั่วไป และขอขอบคุณส�ำหรับโล่ ประกาศเกียรติคุณที่มอบให้ ...“จงหนักแน่นมั่นคง ในทุกกรณี จงอดทนต่อความทุกข์ยากล�ำบาก จง ท�ำหน้าที่ของผู้ประกาศข่าวดี และจงปฏิบัติศาสน บริการให้ส�ำเร็จ” 2 ทธ 4:5 จากประสบการณ์ในยามเจ็บป่วย เกือบ 5 ปี แล้ว ที่อยู่รอดมาได้เรื่อย ๆ ยิ่งนับวัน ยิ่งต้องขอบคุณ ความเจ็บป่วยและท�ำให้เรียนรู้ว่า คนเรานั้นเดินหน้า เข้าหาความตายจริง ๆ ..... เวลาที่หมอ หรือ พยาบาล ซึ่งมีความเป็นห่วงเป็นใย จะถามทุกครั้งที่มาตรวจ มาเยี่ยม ... มายืนข้างเตียงและถามว่า.. “คุณพ่อ วัน นี้ เป็นอย่างไรบ้าง? ... “พรุ่งนี้ คุณพ่อจะดีขึ้นนะ” จะพูดและถามอย่างนี้ทุกครั้ง คิดสนุก ๆ ว่าท�ำไมไม่ ถามบ้างว่า... “พรุ่งนี้เป็นอย่างไร? ... ดังนั้น ทุกวันจึง พยายามเตือนตัวเอง ให้มองเห็นชีวติ ปัจจุบนั ให้มากขึน้ ท�ำปัจจุบันให้ดี (ที่สุด) อนาคตมอบไว้ในอ้อมพระหัตถ์ ขององค์พระผู้เป็นเจ้า


“ข้าพเจ้าพร้อมแล้ว โปรดตรัสเถิด” เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ.1958 สัตบุรุษ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี บุตรของ ยอแซฟ เอ๋อ ชุณหกิจ และ อันนา หีบ ชุณหกิจ มีพี่น้องในครอบครัว 5 คน เป็นบุตรคนที่ 3

25 ปีชีวิตสงฆ์

คุณพ่อยอแซฟ ชูชาติ ชุ

ณหกิจ

เจ้าอาวาสวัดอัครเทวดามีค าแอล ปราจีนบุรี

ระยะเวลา 25 ปี แห่งการเป็นสงฆ์ ถ้ามองย้อนไป ในอดีต ดูเหมือนว่าเป็นระยะเวลาทีส่ นั้ แต่ถา้ มองไปข้างหน้า ช่างดูราวกับว่ามันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน มองย้อนหลัง 25 ปี ของการเป็นสงฆ์ ยังมองไม่ออกว่ามีอะไรที่น่าภาคภูมิใจ บ้างในชีวิตและงานที่ท�ำ เห็นแต่การท�ำงานของพระผ่านทางพระญาณสอดส่องของ พระองค์ ที่จัดเตรียมและจัดการให้ทั้งหมด มีทั้งความสุขและความทุกข์ และยังคงมี อะไรต่าง ๆ อีกมากมายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ด้วยความมั่นใจ ในความช่วยเหลือ ของพระ ท�ำให้ผมมีความมัน่ ใจว่า พระองค์จะปรากฏมาเสมอเมือ่ ผมอยูใ่ นวิกฤตของชีวติ ผมขอถือโอกาส ขอบพระคุณพระทีท่ รงมีพระทัยดี ประทานโอกาสวันเวลาให้ กับผม ให้มาอยู่ ณ จุดนี้ ขอบพระคุณพระองค์เป็นพิเศษ ส�ำหรับช่วงเวลา 25 ปีแห่ง พระพรนี้ ถ้ามีความดีอยู่บ้างก็ขอมอบถวายแด่พระองค์ ขอขมาโทษพระองค์ ส�ำหรับ ความผิดพลาดมากมายที่ได้ท�ำ และใคร่ขอฝากวันเวลาที่เหลืออยู่นี้ ไว้ในความดูแล ของพระองค์ด้วย ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านตั้งแต่ผู้ใหญ่ ที่สุดจนถึงผู้น้อยที่สุด ที่คอยให้ค�ำแนะน�ำ แบบอย่าง ค�ำอบรมต่าง ๆ ความช่วยเหลือ ที่ได้รับด้วยดีเสมอมา ขอบคุณในค�ำภาวนา ของทุกคนทีม่ ตี อ่ ตัวผม ท�ำให้ผมมีพลังในการ ที่จะพยายามเป็น “สงฆ์ผู้รับใช้ที่ดี” ของ พระองค์ต่อไป 15


25 ปีชีวิตสงฆ์

“รักพระองค์ทรงค่านิรันดร”

ธารักษ์ คุณพ่อยอแซฟ นิคมู้ไถ่โยเสาวภา

เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1959 สัตบุรุษวัด อารักขเทวดา โคกวัด ศรีมโหสถ บุตรของ เปโตร สมุทร โยธารักษ์ และ เซซีลีอา โสมนัส โยธารักษ์ มีพี่น้องในครอบครัว 6 คน เป็นบุตรคนที่ 3

ะผ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพร นครนายก

25 ปี ชีวิตสงฆ์ 25 ปี ที่ซื่อตรง คงศักดิ์ศรี 25 ปี ที่หนักแน่นแก่นความดี 25 ปี มีพระองค์ ทรงน�ำทาง แห่ง รักแท้ แผ่รักยอดชโลมจิต แห่ง สละ ละชีวิตฤทธิ์สรรค์สร้าง แห่ง ถวายไท้ ให้พร้อมยอมละวาง แห่ง ส�ำนึก อย่างคนใช้ไร้ตัวตน พระ กระแสเรียก เรียกมนุษย์สุดประเสริฐ พระ กระแสรัก เกิดศักดิ์สิทธิ์ล�้ำน�ำกุศล พระ กระแสธรรม น�ำหลักทองครองกมล พระ กระแสคน ผลลึกล�้ำย�้ำตรึกตรอง พร แห่งรัก หลักชีวาค่ายิ่งใหญ่ พร แห่งใจ ใสสกาวดาวผุดผ่อง พร แห่งไฟ ไหม้ฆ่าทุกข์ สุขครอบครอง พร แห่งพระ สนองตอบ ขอบคุณองค์

และ พ่อแม่ รวมญาติมิตร ทุกทิศา และ บรรดา นิรนาม ตามประสงค์ และ เหนือใต้ ไกล ออก ตก รักมั่นคง และ พระองค์ ทรงรักมั่น นิรันดร์กาล ตลอด ชีพ รีบไขว่คว้า หาสวรรค์ ตลอด วัน หมั่นแสวงองค์ ตรงกล้าหาญ ตลอด กาล ประสานจิต ฤทธิ์ชื่นบาน ตลอด ไป ไฟรักผ่าน หว่านความดี ไป ทั่วหล้า พามวลชนพ้นทุกข์เข็ญ ไป และเป็น เช่นเยซู กู้ศักดิ์ศรี ไป ด้วยรัก มาด้วยรัก ด้วยชีพพลี ไป เพราะบารมี ทรงศรีสั่งดังก้องใจ 25 ปี ชีวิตสงฆ์ ก้มกราบลง ทรงพิทักษ์รักษ์ยิ่งใหญ่ 25 ปี มีพรพระตลอดไป โปรดจุดไฟให้ศักดิ์สงฆ์คงนิรันดร์

โย รักษ์โยธา และเพื่อน (ระลึกถึง ดาวป่า – ป่าดาว) 16


“ความยากลำ�บากสู่ความสำ�เร็จ” เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ.1960 สัตบุรุษวัด แม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ ชลบุรี บุตรของ ยอแซฟ เสนาะ จันทร์โป๊ และ มารีอา มักดาเลนา รัชนี จันทร์โป๊ มีพี่น้องในครอบครัว 5 คน เป็นบุตรคนที่ 3 ขอขอบพระคุณพระเป็นเจ้า ส�ำหรับความเป็น สงฆ์ 25 ปี กระแสเรียก ครอบครัว และผูส้ นับสนุนทุกคน ตลอดเวลา 25 ปี มีความภูมใิ จในสังฆมณฑลจันทบุรี ที่ พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต ได้มอบหมาย ให้ทำ� งานด้านการศึกษามาโดยตลอด ได้เห็นแบบอย่าง ของ คุณพ่อวีระ ผังรักษ์ คุณพ่อบุญยง วรศิลป์ คุณพ่อบรรจง พานุพนั ธ์ คุณพ่อพงษ์นริ นั ดร์ นัมคณิสรณ์ และคุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต แบบอย่างแห่งการ อุทิศตนท�ำงาน ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ เอาใจใส่ต่อ นักเรียนและครู เพื่อคุณภาพของโรงเรียน ชีวิตงานด้านอภิบาลตามวัด พ่ออยู่น้อยมาก อยูโ่ รงเรียนเป็นส่วนใหญ่ แต่พอ่ ภูมใิ จทีม่ โี อกาสประกาศ ข่าวดีแห่งพระวรสาร ในบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร โรงเรียน ตลอดชีวิตการเป็นพระสงฆ์ มีความสุขใจ ก�ำลังใจ และแรงบันดาลใจ เมื่อเห็นนักเรียนจบการ ศึกษาอย่างมีคุณภาพ แม้ไม่ได้เก่งทุกคน เห็นศิษย์เก่า ที่มีคุณภาพต่อสังคม เพราะเขาได้รับความดีงามจาก พระแม่มารีย์ “โรงเรียนเป็นเสมือนบ้านมารีอา มี พระแม่มารีย์ประทับอยู่ทุกแห่งในโรงเรียน” แบบ อย่างของผูบ้ ริหาร และครูทเี่ ป็นผูเ้ ลีย้ งแกะทีด่ ี เสียสละ อภัย และให้โอกาสเสมอ ในฐานะผูบ้ ริหาร พ่อเตือนตนเสมอว่า ได้ทำ� หน้าที่ สงฆ์ตามแบบของนักบุญเปาโล “พระคริสตเจ้าไม่ได้สง่ ข้าพเจ้ามาท�ำพิธลี า้ งบาป แต่ทรงส่งมาประกาศข่าวดี”

25 ปีชีวิตสงฆ์

คุณพ่อยอแซฟ ลือชัย

จันทร์โป๊

ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนดาราส ศรีราชา ชลบุรี มุทร

ต้ อ งมี ห น้ า ที่ ใ ห้ นักเรียน ผูป้ กครอง และทุกฝ่ายรู้และเข้าใจว่า การศึกษา คือ สร้างคนดี เป็นเรื่องที่ส�ำคัญที่สุด คงไม่มุ่งเพื่อให้ลูกเราเก่ง หรือ รักเฉพาะคนเก่ง หัวดีเท่านั้น ต้องช่วยกันส่งเสริมสิทธิ ความเป็นมนุษย์ และศักดิศ์ รีการเป็นบุตรของพระเจ้ากับ ทุกคน โดยเฉพาะคนทีม่ ปี ญ ั หาการเรียนและพฤติกรรม รวมทั้งนักเรียนที่ด้อยโอกาส ชีวิตพ่อก็เคยผ่านสภาพ นี้เหมือนกัน งานโรงเรียนเป็นความภูมใิ จและสุขใจเสมอใน ชีวติ สงฆ์ โดยเฉพาะเห็นคุณครูหลายท่าน แม้ไม่ได้เป็น คริสตชน แต่เอาใจใส่ช่วยเหลือนักเรียนเหล่านี้เหมือน กับคนปิดทองหลังพระ ท�ำหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงแกะใจดี ร่วมเป็นประจักษ์พยาน ท�ำให้คุณค่าพระวรสาร อยู่ ในชีวิตของนักเรียน และร่วมส่งเสริมให้พวกเขาเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ “โรงเรียนคาทอลิกมีพระคริสตเจ้า เป็นพระอาจารย์ ผู้อุทิศตนอย่างสิ้นเชิง” โรงเรียน ต้องรับใช้สังคม ขอขอบพระคุณ พระแม่มารีอา พีน่ อ้ งพระสงฆ์ เพื่อนร่วมงาน คณะครู เจ้าหน้าที่ นักเรียน ผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า สมาคมผูป้ กครองและครู และผูใ้ ห้การ สนับสนุนทุกท่านที่ช่วยเหลือ ส่งเสริมชีวิตพระสงฆ์ มาตลอด ขอมุ่งมั่นอุทิศตน เพื่อการศึกษาอบรม จน ตลอดชีวิต 17


25 ปีชีวิตสงฆ์

ษเธยี รกลุ ุ พอ่ ยอแซฟ วิศษิ ฎว ์ วัวิดเบ้ศานทัพ คณ ก้ เจ้าอาวาส วัดสระแ าราสมุทร สระแก้ว ้ผูแทนผู้รับใบอนุญาตพัฒร.รนา.ด สระแก้ว ร.ร.ชุมชน

“เป็นทุกอย่างสำ�หรับทุกคน” เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.1961 สัตบุรุษวัด นักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ชลบุรี บุตรของ เปาโล วิเชียร วิเศษเธียรกุล และ ยูลีอา ช�ำเรือง วิเศษเธียรกุล มีพี่น้องในครอบครัว 4 คน เป็นบุตรคนที่ 1

ตลอดระยะเวลา 25 ปีของการเป็น พระสงฆ์ ท�ำให้ผมระลึกถึงชีวิตสงฆ์ในมิติต่าง ๆ นับ ตั้งแต่เข้าร่วมหมู่ในครอบครัวสงฆ์จันทบุรี ที่มีความเป็นพี่ เป็นน้อง ดูแลเอาใจใส่กันและกัน 3 ปีแรกผมท�ำงานอภิบาลในเขตสระแก้วกับ คุณพ่อทวี คุณพ่อยอด และรับผิดชอบโคเออร์ที่อรัญประเทศ มีพ่อพี่ ทั้งสองคอยประคับประคองชีวิตสงฆ์ แม้ว่าจะกลับบ้านพัก ที่สระแก้วดึกแค่ไหน พี่ยังนั่งดูทีวีรอจนกลับถึงบ้านอย่าง ปลอดภัย จนเป็นที่มาของเพลงเก็บตะวัน 5 ปีที่เป็นเลขานุการของพระคุณเจ้าเทียนชัย ผมไม่ทราบว่า พระคุณเจ้ามีเหตุผลในการตัดสินใจ เลือก พระสงฆ์ที่เพิ่งอายุบวชแค่ 3 ปี มารับต�ำแหน่งได้อย่างไร รวมกับเหรัญญิก เมื่อ คุณพ่อประสานไปเรียนต่อกฎหมาย พระศาสนจักร และผอ.ศูนย์คำ� สอน เมือ่ คุณพ่อเฉลิม ได้รบั การแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหัวไผ่ ตลอดระยะเวลาได้รับ ก�ำลังใจค�ำแนะน�ำจาก คุณพ่อวีระ ท�ำให้ระบบงานต่าง ๆ ของศูนย์สังฆมณฑลเป็นส�ำนักงานมากขึ้น จ�ำได้ว่าจะถ่าย เอกสาร 1 แผ่นต้องไปตลาด หรือโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา มีกลยุทธ์ง่าย ๆ คือถ้าให้พระคุณเจ้ามี คณะสงฆ์ก็มีโดยไม่ ต้องขออนุมตั ิ เช่น เครือ่ งปรับอากาศ โทรศัพท์มอื ถือ ช่วงนี้ ผมชอบร้องเพลง ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ เป็นช่วงเวลาที่ผมคิดว่า พระประทานพระพรให้ผมมาก ๆ ท�ำให้หน้าทีต่ า่ ง ๆ ทีร่ บั ผิด ชอบด�ำเนินไปได้อย่างดี เพราะรุ่นพี่สงสารน้องคนนี้ ที่ต้อง ประสานงานระหว่างส่วนกลางกับวัด และโรงเรียน 18

5 ปีกบั โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา เป็นช่วงเวลา ทั้งสุขและทุกข์ ผมต้องขอบคุณคุณพ่อวีระ ที่เกือบทุกเย็น หลังอาหารค�่ำ คุณพ่อให้ค�ำแนะน�ำทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง คุณภาพของคณะครู และนักเรียน ที่ต้องมาก่อนเรื่องอื่น 5 ปีกบั โรงเรียนปัญจทรัพย์ ดินแดง และวัดครอบครัว ศักดิ์สิทธ์ ผมต้องเปลี่ยนรูปแบบชีวิต เนื่องจากทุกคนเป็น คนกรุงเทพฯ ผมจึงถือว่าผู้รับบริการเป็นหัวใจของการท�ำ หน้าที่ และต้องขอบคุณซิสเตอร์มาร์ตนิ ทีใ่ ห้คำ� ปรึกษาแนะน�ำ เป็นแบบอย่าง ของการท�ำหน้าที่ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนที่ดี ตลอดจนพีน่ อ้ งวัดครอบครัวศักดิส์ ทิ ธิท์ สี่ นิทสัมพันธ์กนั แบบ ครอบครัวจนถึงปัจจุบัน 5 ปีกับโรงเรียนปัญจทรัพย์ มีนบุรี ที่เป็นสถาน ศึกษาเปิดใหม่ ผมยังงงกับตัวเองว่าพระพรของพระท�ำให้ ผมบ้าไปหรือเปล่า ท�ำทุกอย่างเพื่อให้โรงเรียนอยู่รอด และ มีคณ ุ ภาพให้ผู้ปกครองยอมรับ แม้จะล�ำบากแต่กม็ ีความสุข กับการท�ำหน้าที่ และปัจจุบนั ทีส่ ระแก้วผมมีความสุขกับการ ได้ท�ำงานอภิบาลกับพี่น้องวัดสระแก้ว วัดบ้านทัพ รวมทั้ง โรงเรียนชุมชนพัฒนา และดาราสมุทร สระแก้ว ที่มุ่งมั่น สร้างคุณภาพที่ยั่งยืน ในการจัดการศึกษาอบรม โอกาสนี้ ผมกราบขอบพระคุณในความรักของพระที่ ประทานให้ ผ่านทางครอบครัวทีม่ แี ม่ และน้องทัง้ สาม ญาติ พี่น้องทุกคน ตลอดจนพี่น้องคริสตชน คณะครู บุคลากร ผู้ปกครอง นักเรียน รวมทั้งพระสังฆราช พี่ ๆ น้อง ๆ สงฆ์จนั ทบุรี ทีใ่ ห้กำ� ลังใจแรงบันดาลใจ ค�ำแนะน�ำตลอดระยะ เวลา 25 ปีที่ผ่านมา และยังคงมีต่อไปในวันข้างหน้า เพื่อ ผมจะได้ท�ำหน้าที่สงฆ์ที่ดีตลอดไป หากมีสิ่งใดที่ผมเป็นต้น เหตุของความทุกข์ของทุกท่านจากการละเลย หรือไม่ได้ท�ำ หน้าที่อย่างเหมาะสม ผมกราบขอโทษจากใจจริง


๒๕ ปี

ชี วิ ต งานอภิ บ าล ของข้ าราชการในพระคริ สต์

19


“สู่การ...กลับคืนพระชนม์” เราผ่าน 40 วัน ช่วงเวลามหาพรต “เรารูแ้ ละ เชื่อในความรัก ที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา” (1ยน 4:16) ในหนทางแห่งความเชื่อ ด้วยกิจการแห่งความทุกข์ และความรักกับพีน่ อ้ ง เช่นแบบอย่าง พระมหาทรมาน และความตายกับพระเยซูเจ้าแล้ว บัดนี้ “เรารูว้ า่ เราผ่านความตายมาสูช่ วี ติ แล้ว เพราะเรารักพี่น้อง” (ยน 3:14) น�ำเราเข้าสู่การกลับ คืนพระชนม์ชีพ อย่างรุ่งโรจน์กับพระเยซูเจ้าเช่นกัน สุขสันต์ วันปัสกา อัลเลลูยา! คุณพ่อทวี อานามวัฒน์ จิตตาธิการกลุ่มโฟโคลาเร สังฆมณฑลจันทบุรี

ขอพระเยซูผู้ทรงกลับคืนชีพ อวยพร สมาชิกทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรี ให้เต็ม เปี่ยมด้วยความเชื่อ ความหวัง และความรัก ทั้งได้แสดงออกถึงกิจการดี ดังที่พระเยซูทรง เป็นแบบอย่าง คุณพ่อสมจิตร พึ่งหรรษพร จิตตาธิการกลุ่มเซอร์ร่า สังฆมณฑลจันทบุรี

สุขสันต์วันปาสกาจงมีแด่พี่น้องคริสตชนฆราวาส แผนกฆราวาส สังฆมณฑลจันทบุรี ทุกท่าน (วิถีชุมชนวัด (BEC) / กลุ่มคูร์ซิลโล / กลุ่มวินเซน เดอ ปอล / กลุ่มพระ เมตตา / กลุ่มพลมารี / กลุ่มโฟโคราเล / กลุ่มเซอร์ร่า / กลุ่มผู้สูงอายุ / กลุ่มโภชนาการ) ขอพระเยซูเจ้าผูท้ รงกลับคืนชีพ ประทานพรแด่พนี่ อ้ ง คริสตชนฆราวาส ขอให้ทกุ ท่านมีประสบการณ์การกลับคืนชีพ ร่วมกับพระองค์ ด้วยการมีมุมมองชีวิตแบบใหม่-สร้างสรรค์ ขอให้ทุกท่านเติบโตในความเชื่อต่อไป โดยอาศัย กระบวนการวิถีชุมชนวัด (BEC) มีพระวาจาเป็นศูนย์กลาง มีส่วนร่วมพัฒนาและสร้างสังฆมณฑลจันทบุรีให้เป็นชุมชน ศิษย์พระคริสต์อย่างแท้จริง สุขสันต์วันปัสกา คุณพ่อเศกสม กิจมงคล จิตตาธิการกลุม่ สภาฆราวาส สังฆมณฑลจันทบุรี

สุขสันต์ปสั กาส�ำหรับพีน่ อ้ งทุกท่าน ทุกๆ ปี ก่อนทีเ่ รา จะร่วมฉลองการกลับคืนชีพขององค์พระคริสตเจ้า เรามีเวลา เตรียมตัว 40 วัน ช่วงเตรียมนี้เอง เราได้แสดงความรักต่อ เพื่อนพี่น้องที่ยากไร้ด้วยการลด ละ เลิก และแบ่งปัน การฉลองการกลับคืนชีพในปีนี้ ก็ขอให้พี่น้องทุกท่าน ได้เตรียมตัวและด�ำเนินชีวิต ได้รับการกลับใจและการกลับ คืนชีพอยู่เสมอ คุณพ่อสมพร มีมุ่งกิจ จิตตาธิการกลุม่ วินเซน เดอ ปอล สังฆมณฑลจันทบุรี

20


โอกาสสมโภชปัสกา “พระเจ้าทรงรักเรามาก จนถึงกับประทาน พระบุตรแต่องค์เดียว” “รักมาก” โอกาสปัสกาเป็น เวลาแสดงชัดเจนว่า พระเจ้าทรงรักเรามากเพราะตลอด เวลาตัง้ แต่การประสูตขิ องพระเยซูเจ้า จนกระทัง่ พระองค์ สิ้นพระชนม์และกลับคืนชีพ บ่งบอกให้รู้ว่าพระเจ้าทรง รักเรามาก ขอสุขสันต์วนั ปัสกา และขอให้ทกุ คนมีความเชือ่ มั่นว่าพระเจ้าทรงรักเรามาก จงมีก�ำลังใจท�ำหน้าที่ของ เราแต่ละคนอย่างดีที่สุด คุณพ่อพินันต์ พรประสิทธิ์ จิตตาธิการกลุ่มคูร์ซิลโล สังฆมณฑลจันทบุรี

โอกาสสมโภชปัสกา ขอให้เราคริสตชนมีความหวัง และก�ำลังใจ ทีจ่ ะก้าวเดินในหนทางเดียวกับพระเยซูคริสตเจ้า เป็นต้นในยามที่เราประสบความทุกข์ยากล�ำบากในชีวิต เพื่อ เราจะได้มคี วามกล้าหาญทีจ่ ะเดินบนหนทางเดียวกับพระองค์ มีส่วนร่วมในพระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ และในที่สุดเราจะได้รับเกียรติรุ่งโรจน์ในการกลับคืนชีพ เช่นเดียวกับพระองค์ และน�ำข่าวดีแห่งการกลับคืนชีพของ พระเยซูเจ้าไปสู่ผู้อื่น ด�ำเนินชีวิตในความรักต่อกันตามแบบ อย่างพระเยซูเจ้า และเราต้องเป็นพยานถึงข่าวดีนี้ด้วยชีวิต เรา ด้วยการกลับใจเปลี่ยนแปลงตนเอง ละทิ้งชีวิตเก่า เพื่อ เราจะได้มชี วี ติ ใหม่ทดี่ ำ� เนินชีวติ ในแสงสว่างและความถูกต้อง ชอบธรรมตลอดไป

สุขสันต์ปัสกา นีค่ อื ศูนย์รวมแห่งวิถปี ฏิบตั ขิ องเรา คือหัวใจ แห่งพิธีกรรม และการกราบนมัสการพระองค์ ขอ องค์พระคริสตเจ้าผู้ทรงรับทรมาน ทรงยอมถูกตรึง กางเขน ผูส้ นิ้ พระชนม์ และผูท้ รงกลับคืนพระชนม์ชพี ช่วยเราทุกคนให้เดินตามรอยพระองค์ดว้ ยความรัก และร่าเริง อีกทัง้ เลียนแบบพระนางมารียพ์ ระมารดา ผู้เดินทางเคียงข้างกับพระองค์จนถึงหลุมพระศพ ขอบรรดานักบุญ บรรดาฑูตสวรรค์ วิงวอนเพื่อท่านเทอญ คุณพ่อธีรพงษ์ ก้านพิกุล จิตตาธิการกลุ่มพลมารี สังฆมณฑลจันทบุรี

ผ่านเวลา มหาพรต งดสิ่งผิด เดินตามติด คิดควร ทวนความหมาย เชื่อว่าพระ รักเรา ไม่เสื่อมคลาย พลีร่างกาย วายชนม์ ช่วยพ้นภัย ความยินดี ยิ่งใหญ่ เราได้รู้ พระเยซู ผู้ฟื้น คืนชีพใหม่ น�ำหนทาง ย่างสู่ ประตูชัย สุขสมใจ ในปัสกา ทั่วหน้ากัน คุณพ่อสุรพร สุวิชากร จิตตาธิการกลุ่มผู้สูงอายุ สังฆมณฑลจันทบุรี

ด้วยรักในพระคริสต์ คุณพ่อสมภพ แซ่โก จิตตาธิการกลุ่มพระเมตตา สังฆมณฑลจันทบุรี

21


กลุ่มนิสิตนักศึกษาคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี

ก่อนจะเป็นกลุ่มนิสิตนักศึกษาคาทอลิก วันที่ 8 กันยายน 2522 อ.วิชัย บุญเจือ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาการ คอมพิวเตอร์ ได้รวบรวมกลุม่ นิสติ นักศึกษาคาทอลิก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน จ�ำนวน 10 คน เข้าประชุมหารือในการจัดตั้ง “กลุ่ม นิสติ คาทอลิก มศว.บางแสน” โดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ จัดกิจกรรม และส่งเสริมชีวติ คริสตชนในมหาวิทยาลัย มีชื่อภายในว่า “กลุ่มเทิดมารีย์” ซึ่งได้เชิญ คุณพ่อ วีระ ผังรักษ์ ที่ดูแลวัดน้อยบางแสนอยู่ในขณะนั้น 22

มาเป็นจิตตาธิการ มี ผศ.วิชัย บุญเจือ เป็นอาจารย์ ที่ปรึกษากลุ่ม และนายประดิษฐ์ เจริญพงษ์ เป็น ประธานกลุม่ มีนสิ ติ คาทอลิกใน มศว. จ�ำนวน 17 คน ร่วมกันท�ำกิจกรรมแรกคือ กิจกรรมวันคริสต์มาส โดยได้จัดรายการ “สุขสันต์วันคริสต์มาส” ออก อากาศทางสถานีวิทยุ สทร. 5 พัทยา และกระจาย เสียงภายในมหาวิทยาลัย กิจกรรมนี้ได้ด�ำเนินการ ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี นอกจากนี้ กลุ่มนิสิตยังมี บทบาทในวัดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การจัดพิธีกรรม การร่วมขับร้องบทเพลงในพิธี ซึ่งถือได้ว่า ได้มีส่วน ร่วมในการพัฒนาวัด


ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ได้มี ประกาศยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน มาเป็น “มหาวิทยาลัยบูรพา” ตามพระราชบัญญัตมิ หาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 ท�ำให้ “กลุม่ นิสติ คาทอลิก มศว.บางแสน” กลาย มาเป็น “กลุม่ นิสติ คาทอลิก มหาวิทยาลัยบูรพา” แต่ยงั คงใช้ชอื่ ภายในว่า “กลุม่ เทิดมารีย”์ เช่นเดิม ตลอดระยะเวลา 13 ปี กิจกรรมต่าง ๆ ได้ เกิดขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่อง บทบาทของ “กลุ่ม นิสติ คาทอลิก มหาวิทยาลัยบูรพา” เป็นทีป่ ระจักษ์ ต่อสายตาของทุกคน จนกระทั่ง สังฆมณฑล ประกาศรับรอง ให้กลุ่มนิสิตคาทอลิกกลุ่มนี้ เป็น ส่วนหนึง่ ของงานเยาวชน สังฆมณฑลจันทบุรี ภาย ใต้ชื่อ “กลุ่มนิสิตนักศึกษาคาทอลิก สังฆมณฑล จันทบุรี” ในปี พ.ศ. 2535 และมอบหมายให้ คุณพ่อเศกสม กิจมงคล ที่ท�ำหน้าที่รับผิดชอบ หน่วยงานเยาวชนในขณะนั้น เป็นจิตตาธิการหลัก ร่วมกับ คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต เจ้าอาวาส วัดบางแสน ท�ำให้กลุ่มนิสิตคาทอลิกกลุ่มนี้เติบโต ขึ้น ไปสู่ระดับสังฆมณฑล โดยได้เข้าไปร่วมเป็น

23


กรรมการในสภาเยาวชนของสังฆมณฑลอย่างเป็น ทางการ และในระดับประเทศ ตัวแทนกลุ่มนิสิตยัง ได้เข้าไปเป็นกรรมการ ในสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่ง ประเทศไทย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสภาพระ สังฆราชแห่งประเทศไทย โดยมีคณะสงฆ์เยสุอติ (บ้าน เซเวียร์) เป็นผู้ดูแล ชมรมคาทอลิก มหาวิทยาลัยบูรพา การเจริ ญ เติ บ โตของกลุ ่ ม นิสิต รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ด�ำเนินการกันมาจากรุ่น สู่รุ่นนั้น ส่งผลให้มีการขอ จัดตั้งเป็นชมรมขึ้นภายใน มหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. 2546 โดยใช้ชื่อว่า “ชมรมคาทอลิก มหาวิทยาลัยบูรพา” และได้ใช้ ชื่อนี้อย่างเป็นทางการเรื่อยมา มี นายปรัชญา ไทย เจริญ เป็นประธาน มีหอ้ งทีท่ ำ� การของชมรม ทีอ่ าคาร เกือกม้า มหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. 2547 สังฆมณฑลจันทบุรี ได้มอบ หมายงานอภิบาล “กลุ่มนิสิตนักศึกษาคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี” ให้กับคณะเยสุอิตด�ำเนินการ โดยมี คุณพ่อมหาร์โซโน โปรโบ, เอส.เจ. ที่เป็น เจ้าอาวาสวัดบางแสนในขณะนั้น เป็นจิตตาธิการ ปี พ.ศ. 2549 คุณพ่อเบด้า ยาซ์เซาส์,เอส.เจ. ได้รับมอบหมายให้เป็นจิตตาธิการดูแล “กลุ่มนิสิต นักศึกษาคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี” คุณพ่อได้ ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรม และ สร้างเครือข่ายให้กว้างขวางยิง่ ขึน้ โดยได้รวม “ชมรม คาทอลิกสัมพันธ์ วิทยาเขตศรีราชา” เข้าสู่ “กลุ่ม นิสิตนักศึกษาคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี” 24

ชมรมคาทอลิกสัมพันธ์ วิทยาเขตศรีราชา ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการขอจัดตั้งชมรม คาทอลิกขึ้นภายใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยมีนางสาวปนัดดา ชุตินันท์ เป็นผู้ด�ำเนินการ ใช้ชื่อว่า “ชมรมคาทอลิกสัมพันธ์ วิทยาเขตศรีราชา” มีอาจารย์บุญจิรา ปั่นทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของชมรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อ สรรค์สร้างกิจกรรม ในการช่วยเหลือแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ทัง้ ทางด้านสังคมและตนเอง พร้อมทัง้ เสริมสร้างความสัมพันธ์ และเครือข่ายระหว่างชมรม คาทอลิก นิสิตนักศึกษาคาทอลิกภายในประเทศไทย ได้มีการเข้าร่วมประชุมสัมมนา กับศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย และร่วมกิจกรรม เครือข่ายเกษตรสัมพันธ์ ซึง่ เป็นกิจกรรมทีส่ ร้างความ สัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชมรมคาทอลิก โดยร่วม กับชมรมคาทอลิกทั้ง 4 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขต ศรีราชา วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตก�ำแพงแสน และวิทยาเขตสกลนคร

ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา งานอภิบาล “กลุม่ นิสติ นักศึกษาคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุร”ี ภายใต้ ความดูแลของจิตตาธิการที่เป็นพระสงฆ์ อาจารย์ที่ ปรึกษาทีเ่ ป็นคาทอลิก รวมทัง้ กิจกรรมต่าง ๆ ทีด่ ำ� เนิน การต่อเนื่องเรื่อยมานั้น ท�ำให้กลุ่มนิสิตนักศึกษา ได้ ค้นพบกระแสเรียก พร้อมทั้งตระหนักในความเป็น คริสตชน สามารถเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจ ทางศาสนา ไปยังผูค้ นรอบข้าง มีความรับผิดชอบต่อ สังคม โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส รวมไป ถึงการร่วมกันสร้างและสานต่อเครือข่ายให้แข็งแกร่ง ยั่งยืน และเพิ่มพูนก�ำลังใจระหว่างเพื่อนสมาชิก บน พื้นฐานของค�ำว่า “รัก”


กิจกรรม

กลุ่มนิสิตนักศึกษาคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี

25


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โ ด ย ส� ำ นั ก ง า น วิ นิ จ ฉั ย ค ดี

ถาม

คุณพ่อครับ เพือ่ ลบล้าง พันธะของการแต่งงานครัง้ ก่อน ทีเ่ รียกว่า อภิสทิ ธิเ์ ปโตร เป็น อย่างไรครับ ?

26


บ อ ต

พระสันตะปาปา มีอ�ำนาจยกเลิกพันธะการแต่งงานระหว่าง • ผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาปทั้งคู่

• ผู้ที่รับศีลล้างบาป กับ ผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่ความเชื่อ

ตัวอย่าง : การแต่งงานระหว่าง ผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาปทั้งคู่ นายสมบัติ(พุทธ) แต่งงานโดยจดทะเบียนสมรสกับนางสมสวย(พุทธ) ต่อมาทั้งสองหย่าร้างโดยจด ทะเบียนหย่า นายสมบัตมิ ภี รรยาใหม่ ส่วนนางสมสวยมาอยูก่ นิ กับ นายสมควร(คาทอลิก)หลายปี จนมีบตุ รด้วย กัน นายสมควร จึงมาหาพระสงฆ์แสดงเจตจ�ำนงอยากจะแต่งงานกับนางสมสวย เพราะอยากแก้บาป-รับศีล

อธิบาย พระสงฆ์สามารถติดต่อกับส�ำนักวินิจฉัยคดี เพื่อด�ำเนินเรื่องขอพระสันตะปาปา ยกเลิกพันธะการ

แต่งงานของนางสมสวยกับนายสมบัติ เพื่อนางสมสวยสามารถแต่งงานกับนายสมควรฝ่ายคาทอลิกได้ ตัวอย่าง : การแต่งงานระหว่าง ผู้ที่รับศีลล้างบาป กับ ผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป

นายสมพงษ์(คาทอลิก) แต่งงานอย่างถูกต้องแบบต่างฝ่ายต่างถือกับนางสมศรี(พุทธ) ต่อมาทั้งสอง แยกทางกัน นางสมศรีมีสามีใหม่ ส่วนนายสมพงษ์มาอยู่กินกับนางวิไล(พุทธ) จนมีบุตรด้วยกันหลายคน ภาย หลัง นางวิไลสมัครใจมาเรียนค�ำสอน และพร้อมที่จะรับศีลล้างบาป นายสมพงษ์จึงมาปรึกษาพระสงฆ์ พร้อม ทั้งแสดงเจตจ�ำนงอยากจะแต่งงานกับนางวิไล เพราะอยากแก้บาป-รับศีล

อธิบาย พระสงฆ์สามารถติดต่อกับส�ำนักวินิจฉัยคดี เพื่อด�ำเนินเรื่องขอพระสันตะปาปายกเลิกพันธะการ แต่งงานของนายสมพงษ์กับนางสมศรี เพื่อนายสมพงษ์ฝ่ายคาทอลิกสามารถแต่งงานกับนางวิไลได้ 1. จะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่เคยรับศีลล้างบาป 2. การแต่งงานใหม่ จะต้องได้รบั การยืนยันจากฝ่ายที่ ไม่ได้รับศีลล้างบาป เป็นลายลักษณ์อักษรว่า จะให้ อิสระแก่ฝ่ายคาทอลิกในการปฏิบัติศาสนกิจ

3. ผู้ขอยกเลิกพันธะ ต้องเอาใจใส่เลี้ยงดูลูกๆ ที่เกิด จากคูค่ รองเดิม และปฏิบตั ติ อ่ คูค่ รองเดิมด้วยความ ยุติธรรม 4. ฝ่ายคาทอลิกทีจ่ ะแต่งงานด้วย ต้องด�ำเนินชีวติ ตาม ค�ำสัญญาศีลล้างบาป และเอาใจใส่ครอบครัวใหม่

เงื่อนไขเพิ่มเติม

ข้อพึงใส่ใจที่ส�ำคัญ

1. ผู้ขอยกเลิกพันธะไม่มีโอกาสที่จะกลับมาคืนดีกัน กับคู่ครองเดิม 2. ผูข้ อยกเลิกพันธะ และฝ่ายคาทอลิกทีจ่ ะแต่งงานด้วย ต้องไม่เป็นสาเหตุทที่ ำ� ให้การแต่งงานเดิมแตกแยก

1. ฝ่ายคาทอลิกไม่สามารถขอยกเว้น(Dispensation) เพื่อแต่งงานแบบต่างฝ่ายต่างถือ 2 ครั้ง 2. ผู้ขอยกเลิกพันธะไม่สามารถขอยกเลิกพันธะการ แต่งงานเดิมของตนเอง 2 ครั้ง

เงื่อนไขที่จ�ำเป็น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632

27


ยิ้ ม ไว้ ให้ใจเปี่ยมสุข “ใจยินดีท�ำให้ใบหน้าแช่มชื่น แต่เมื่อใจเศร้าหมอง ดวงจิตก็สลาย” (สุภาษิต 15:13)

เพี ย งรอยยิ้ ม ก็ อิ่ ม ใจ ในวั น ล้ า ฉายแววตา อันเริงร่า วันล้าอ่อน ดุจหยาดค้าง รินกอบเกื้อ เอื้ออาทร ชโลมใจ ให้คลายร้อน ผ่อนทุกข์ตรม ข้อความหนึ่งกล่าวว่า “การยิ้มเป็น กลยุทธ์ในการสร้างมิตร” ด้วยรอยยิ้มแม้ ในสถานการณ์ที่วิกฤต สถานการณ์นั้นก็ จะเบาบางลง ในความเหินห่างด้านความ สัมพันธ์ หากเพียงแค่มีรอยยิ้ม ความไว้ วางใจก็จะถือก�ำเนิดเกิดขึ้น รอยยิม้ จึงเป็นสัญญาณแห่งมิตรภาพ ทีแ่ สดงออกไป เพือ่ สร้างความสัมพันธ์อนั ดีต่อคนรอบข้าง

โปรดยิ้มเถิด เปิดดวงใจ ให้ยิ้มแย้ม โลกจะแจ่ม แก้มจะสวย ร�่ำรวยฝัน มิตรจะมาก หมู่เพื่อนพ้อง ต้องใจกัน สานสัมพันธ์ ด้วยยิ้มนั้น นิรันดร

ยิ้มไม่เสียกะตังค์ เพื่อนเป็นถุงเป็นถัง เพราะยิ้มนั้น นิรันดร

โดย น�้ำผึ้งหวาน

28


29


วันวาร

ล้วนมีความหมาย

30

วัดพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่

วัดแม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ

วัดแม่พระเมืองลูร์ด บางแสน

วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง

วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ท่าศาลา

วัดพระจิตเจ้า บ้านทัพ

วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 3 2

9 7

1 4

5

6

8 10

คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. โจรกี่คนที่ถูกตรึงบนไม้กางเขน 3. ผู้รับแบกไม้กางเขน 5. การรับเถ้าอยู่ในช่วงเทศกาล 7. พระศพของพระเยซูถูกฝังที่ใด 9. ศิษย์ผู้ทรยศต่อพระเยซู

แนวนอน 2. หลังจากกลับคืนชีพ พระเยซูเจ้าเสด็จไปที่ใด 4. หมู่บ้านที่พระเยซูเดินทางร่วมกับศิษย์สองคน 6. ใครปฏิเสธพระเยซูเจ้าถึง 3 ครั้ง 8. ใครท�ำมงกุฎหนามสวมให้พระเยซู 10. พระเยซูรับสั่งให้ใครดูแลพระนางมารีย์ 31


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

พ 2ร ะ ค ริ ส ต ส ม ภ 4พ า ร 3 แ ด ง ะ 8 ม ห จิ ญ้ า ต 5 ก า 6เ บ รี ย ล เ บ ย์ จ้ 9 ด า ว ธ เ ล 7 ค น เ ล้ี ย ง แ ก ะ ฮ ม

สิ่งตีพิมพ์

1

32

อ อ กั ส ตั ส

10

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 8 ปีที่ 23 เดือนธันวาคม 2012


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ ฟื้นฟูจิตใจประจ�ำปี พระสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี 8-11 มกราคม 2013

33


ฉลองอาสนวิหาร

พระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี

8 ธันวาคม 2012 ฉลองวัดปัญจทรัพย์ ดินแดง 30 ธันวาคม 2012

34


ฉลองวัด พระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า

5 มกราคม 2013 ฉลองวัดพระนามเยซู ชลบุรี 12 มกราคม 2013

35


ฉลองวัดอารักขเทวดา

โคกวัด 2 กุมภาพันธ์ 2013

36

ฉลองวัด นักบุญเปาโลกลับใจ ปากน�้ำ ระยอง 26 มกราคม 2013


ฉลองวัด แม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด บางคล้า 9 กุมภาพันธ์ 2013

ฉลองวัด แม่พระเมืองลูร์ด บางแสน 10 กุมภาพันธ์ 2013

37


ฉลองวัดธรรมาสน์ นักบุญเปโตร ท่าแฉลบ 23 กุมภาพันธ์ 2013

ฉลองวัด ราชินีแห่งสันติภาพ อรัญประเทศ 2 มีนาคม 2013

38


อัลเลลูยา อัลเลลูยา

ค�ำละติน Alleluia ซึ่งแผลงมาจากค�ำกรีก Halleluiah (ฮัลเลลูยาห์) เป็นค�ำเลียนเสียงภาษาฮีบรู ในพระธรรมเดิม ชาวยิวชอบตะโกนค�ำนีเ้ วลา ดีใจ เหมือนที่เราชอบตะโกน “ไชโย” ความหมายตาม รากศัพท์แปลว่า “จงสรรเสริญพระเจ้า” ชาวยิวปฏิบตั ิ กันเคยชินเรื่อยมาจนทุกวันนี้ว่า เมื่อมีอะไรถูกใจ ก็ ถือว่าพระเจ้าประทานให้ เขารู้สึกขอบคุณพระเจ้า และจะเปล่งเสียงออกมาโดยอัตโนมัติว่า “อัลเลลูยา” พระศาสนจักรถือว่า ค�ำนีแ้ สดงความขอบคุณ พระเจ้าด้วยความรู้สึกยินดี จึงก�ำหนดให้ร้องค�ำนี้ใน วันพระเยซูทรงกลับคืนชีพโดยเฉพาะ และอนุญาตให้ ร้องในมิสซาหรือพิธีอื่น ๆ ได้ ยกเว้นในบรรยากาศ โศกเศร้า อย่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และมิสซาผู้ตายใน บรรยากาศเศร้า หากต้องการสรรเสริญพระเจ้า ก็ให้ ใช้ค�ำอื่นแทน

39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.