สายใยจันท์ V.12

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

ี ป 25 ล ฑ ณ ม ฆ ั ง สารารสประจ�ำครัอบครัว ส

• เข้าใจให้ดี เรื่องพิธีกรรม

ท�ำไมต้องไปมิสซาวันอาทิตย์

• จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์

• ท่านคือผู้ประกาศว่า พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ่

• “คอนแชร์โต”คณะนักขับร้องวัดขลุง มีดีมากกว่าเสียงเพลง

vol.12 เมษายน 2014 ปีที่

25


ปีที่ 25 ฉบับที่ 12 / เมษายน 2014

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาส์นพระสังฆราช สิริพงษ์ จรัสศรี......................................... 4 จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์................................... 6 ท่านคือผู้ประกาศว่า พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ.................... 8 เข้าใจให้ดี เรื่องพิธีกรรม............................................................ 10 คอนแชร์โต มีดีมากกว่าเสียงเพลง.............................................12 จากใจถึงสารสังฆมณฑล...........................................................16 ย้อนอดีตกับสารสังฆมณฑล.................................................... 18 25 ปี สารสังฆมณฑล............................................................. 20 ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี................................................. 24 โปรดช่วยลูกให้รอดพ้น............................................................. 26 วันวาร ล้วนมีความหมาย......................................................... 28 ปริศนาอักษรไขว้....................................................................... 29 ประมวลภาพกิจกรรม............................................................... 31

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

สมณสาสน์ “พระศาสนจักรในเอเซีย” [Ecclesia in Asia] เขียนโดยพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ข้อที่ 48 ได้เขียนไว้ว่า “พันธกิจการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร ก็ได้รับ ผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากสื่อมวลชน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อสื่อมวลชนมีอิทธิพลมากขึ้น แม้ในพื้นที่ที่ห่างไกลในเอเซีย สื่อมวลชนจึงสามารถช่วยในการประกาศพระวรสารทั่วทุกมุม ในทวีปได้ แต่ “การใช้สื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ค�ำสอนคริสตศาสนา และค�ำสอนอันถูกต้อง ของพระศาสนจักรเท่านัน้ ยังไม่เพียงพอ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องให้คำ� สอนนี้ แทรกซึมเข้าไป ใน “วัฒนธรรมใหม่” ซึ่งสื่อมวลชนในปัจจุบันได้สร้างขึ้น” ดังนั้น พระศาสนจักรจ�ำต้องเสาะ แสวงหาหนทางที่จะท�ำให้สื่อมวลชน เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนและกิจกรรมด้านงาน อภิบาล เพื่อว่าการใช้สื่อมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพนี้ พลังแห่งพระวรสารจะได้แผ่ขยาย ออกไปกว้างไกลขึ้น ไปสู่บุคคลและชนชาติต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้วัฒนธรรมเอเซีย เปี่ยมไปด้วย คุณค่าแห่งพระอาณาจักร...............การพิมพ์คาทอลิก และแหล่งข่าวต่าง ๆ ยังสามารถช่วยใน การกระจายข่าว ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา และการอบรมไปทั่วทวีป ในที่ที่คริสตชนเป็นชนกลุ่ม น้อย สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการรักษาและหล่อเลี้ยงความรู้สึก และความเป็น ตัวของตัวเอง และเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมของคาทอลิก” จากข้อเขียนพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2...... สื่อ.........เป็นเครื่องมือในการประกาศพระวรสาร สื่อ.........มีส่วนเผยแพร่ค�ำสอนของพระศาสนจักร สื่อ.........เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนและกิจกรรมด้านงานอภิบาล สื่อ.........เป็นเครื่องมือส�ำคัญในการรักษาและหล่อเลี้ยงความรู้สึก และความเป็นตัวของตัวเองของคริสตชน สังฆมณฑลของเรา มีสื่อหลายแขนงที่จะช่วยงานอภิบาลในสังฆมณฑล หนึ่งในสื่อนั้น คือ สื่อสิ่งพิมพ์ “สายใยจันท์” จากฉบับแรกจนมาถึงฉบับนี้ เราได้จัดท�ำ “สารสังฆมณฑล” มา มากกว่า 25 ปีแล้ว “สารสังฆมณฑล” ยืนหยัดมาอย่างยาวนาน ผมต้องขอบคุณพ่อบรรณาธิการ ทุกท่าน ทีร่ กั ษาดูแลและท�ำให้ “สารสังฆมณฑล” เติบโตอย่างต่อเนือ่ ง ขอบคุณสังฆมณฑลและ พีน่ อ้ งสัตบุรษุ ทุกท่านทีส่ นับสนุนมาโดยตลอด“สารสังฆมณฑล (สายใยจันท์)” จะท�ำหน้าที่ ก้าว เดินและรับใช้สังฆมณฑลต่อไป ขอสุขสันต์ปัสกาแด่พี่น้องคริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรีทุกท่าน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


4


สาส์นพระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า เราได้ผ่านมหาพรตสู่ปัสกา ช่างเป็นช่วงเวลาที่มีความหมายส�ำหรับเราคริสตชน ธรรม ล�้ำลึกปัสกาของพระเยซูเจ้า คือ ธรรมล�้ำลึกแห่งชีวิตคริสตชนของเรา เราได้ฉลองพระทรมาน การสิน้ พระชนม์ และการกลับคืนชีพของพระองค์ เราจะเป็นเช่นเดียวกับพระองค์ดว้ ย ความเชือ่ คริสตชนของเรามีศูนย์กลางที่พระธรรมล�้ำลึกปัสกานี้ ดังค�ำของนักบุญเปาโลที่ว่า “ถ้าเรารวม เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในการสิ้นพระชนม์ เราก็จะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ ในการ กลับคืนพระชนมชีพด้วยเช่นกัน... เราเชื่อว่า ถ้าเราตายพร้อมกับพระคริสตเจ้าแล้ว เราก็ จะมีชีวิตพร้อมกับพระองค์ด้วย” (รม 6: 5, 8) พระสันตะปาปาฟรังซิสได้เขียนพระสมณสาส์น “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” เพื่อให้คริสตชนตระหนักถึงหน้าที่การประกาศพระวรสารใหม่ด้วยชีวิต ที่เต็มเปี่ยมด้วยความ ชื่นชมยินดี อันมาจากท่าทีภายในของความเชื่อและความหวัง ในข้อ 276 เขียนว่า “การกลับ คืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้ามิได้เป็นเหตุการณ์ในอดีต แต่มีพลังชีวิตที่ซึมซาบอยู่ในโลก ณ ที่ซึ่งทุกสิ่งดูเหมือนตายแล้ว ต้นอ่อนแห่งการกลับคืนชีพกลับค่อย ๆ ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เป็น พลังที่ไม่มีสิ่งใดเทียบเคียงได้... ทุก ๆ วันความงามเกิดขึ้นใหม่ในโลก ซึ่งกลับคืนชีพและ เปลี่ยนแปลงไปโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ คุณค่าต่าง ๆ มุ่งที่จะปรากฏขึ้น อีกครั้งเสมอในรูปแบบใหม่ ๆ และมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน มักจะมีอะไรใหม่ ๆ ปรากฏขึ้นจาก สถานการณ์ที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ และนี่คือพลังอ�ำนาจแห่งการกลับคืนชีพ ซึ่งผู้ประกาศ พระวรสาร ทุกคนเป็นเครือ่ งมือของพลังอ�ำนาจนี”้ การกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า ต้องท�ำให้ เรามีความร้อนรนในการประกาศพระวรสารครั้งใหม่ในสมัยของเรา เหมือนบรรดาอัครสาวกมี ความร้อนรนในการประกาศพระวรสารในสมัยนั้น ในโอกาสนี้ ทางคณะผู้จัดท�ำ “สารสังฆมณฑล สายใยจันท์” ได้ย้อนอดีตความ เป็นมาของสารสังฆมณฑล ขอแสดงความยินดีกับคณะผู้จัดท�ำตั้งแต่รุ่นบุกเบิกจนถึงรุ่นปัจจุบัน จ�ำนวนปีที่ล่วงเลยมา จ�ำนวนฉบับที่จัดพิมพ์ออกมา บอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายซึ่งต่อ ไปในอนาคตจะกลับกลายเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของสังฆมณฑลอย่างดี ขอขอบคุณและขอ สนับสนุนต่อไป สุขสันต์ปัสกา

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี 5


จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนที่ 2) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมเมือ่ ตอนทีแ่ ล้ว “ปีแห่งความเชือ่ ” คือปีทรี่ ณรงค์และเรียกร้องบรรดาสัตบุรษุ ให้กลับใจใหม่ เข้าหาพระเยซูคริสตเจ้า ผูท้ รงเป็นพระผูไ้ ถ่แต่พระองค์ เดียวของโลก สาเหตุเพราะปัจจุบนั คริสตชนมากมาย ได้รบั ผลกระทบจากวิกฤติลกึ ของความเชือ่ (ประตูแห่ง ความเชื่อ: หน้า 10) คริสตชนจึงมีความจ�ำเป็นที่ต้อง หันกลับมาค้นพบหนทางสู่ความเชื่อ กระตือรือร้นที่ จะมีประสบการณ์พบปะกับพระคริสตเจ้าอีกครัง้ หนึง่ และเรียกร้องให้คริสตชนใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ในการด�ำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมแห่งศาสนา เพื่อ รื้อฟื้นความเชื่อ เข้าใจความเชื่อให้ลึกซึ้ง และแบ่ง ปันความเชื่อดังกล่าวให้กับผู้อื่น ไม่ใช่ด้วยการสอน เท่านั้น แต่ด้วยการกระท�ำที่เป็นแบบฉบับแห่งความ รักของคริสตชนด้วย (ประตูแห่งความเชือ่ : หน้า 32-35) แม้ ก� ำ หนดระยะเวลาแห่ ง การฉลอง “ปีความเชื่อ” จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ “ความเชื่อใน พระเป็นเจ้า” ไม่ได้ปดิ ตามก�ำหนดระยะเวลา(เดือน

ตุลาคม 2012 ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2013)

คริสตชนยังเชื่อในพระเป็นเจ้าต่อไป ยืนยันความ เชื่อของตนอย่างเข้มข้นต่อไป

การด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของคริสตชน จะ เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ความเชื่อของคริสตชนนั้นเป็น อย่างไร? ด้วยเหตุนี้ คริสตชนทีป่ ระกาศยืนยันความ เชื่อในทุกมิสซาวันอาทิตย์หรือวันฉลอง ต้องท�ำสิ่ง ที่คริสตชนประกาศความเชื่อนั้นให้เป็นชีวิตของ ตนให้ได้ ต้องท�ำความเชื่อให้มีกิจการที่คนรอบข้าง สัมผัสได้วา่ “เราเป็นผูท้ มี่ คี วามเชือ่ ในพระเป็นเจ้า อย่างแท้จริง” มีตัวอย่างมากมายในพระคัมภีร์ที่บอกกับ เราว่า “เราควรด�ำเนินชีวิตตามความเชื่อของเรา อย่างไร?” ตัวอย่างเช่น จดหมายถึงชาวฮีบรู เป็น จดหมายเขียนถึงคริสตชนทีเ่ ป็นยิว บรรดาชาวยิวได้ กลับใจมาเป็นคริสตชน ก็ได้ออกจากกรุงเยรูซาเล็มไป หลบภัยอยู่ตามเมืองชายฝั่ง เช่น เมืองซีซารียาหรือ เมืองอันทิโอก พวกเขารูส้ กึ เบือ่ หน่ายทีต่ อ้ งพรากจาก บ้านเกิดเมืองนอนและคิดเสียดายทีต่ อ้ งละทิง้ พิธกี รรม ทีส่ ง่างามในพระวิหารนัน้ ความเชือ่ ใหม่ของพวกเขา ยังไม่เข้มแข็ง และเขาเหล่านั้นยังไม่เข้าใจความเชื่อ นีอ้ ย่างถูกต้อง การเบียดเบียนท�ำให้เขาท้อแท้ และมี แนวโน้มที่จะกลับไปถือสัทธิยิวตามเดิม1 จดหมายนี้

1พระคัมภีรภ์ าคพันธสัญญาใหม่ ฉบับฉลองพระคาร์ดนิ ลั ไมเกิล้ มีชยั กิจบุญชู โอกาสได้รบั การแต่งตัง้ เป็นคาร์ดนิ ลั ครบ 25 ปี หน้า 495 6


จึงเขียนเพือ่ ให้คริสตชนยิวมีความเชือ่ ทีถ่ กู ต้อง รวมทัง้ ในเรือ่ งของคารวกิจและจารีตพิธตี า่ ง ๆ นอกจากนีย้ งั ให้แบบอย่างผูท้ มี่ คี วามเชือ่ แก่คริสตชนชาวยิว ตัง้ แต่ บทที่ 1 – 10 จดหมายถึงชาวฮีบรูได้กระตุ้น เตือนใจ ว่า ชีวิตแห่งความเชื่อในพระเป็นเจ้า คือชีวิตแห่ง การไว้วางใจในพระเป็นเจ้า จดหมายถึงชาวฮีบรู บท ที่ 11 เน้นตัวอย่างของผูท้ มี่ คี วามเชือ่ เริม่ ต้นบทที่ 11 ด้วยความหมายของความเชื่อ อีกครั้ง ความเชือ่ คือความมัน่ ใจในสิง่ ทีเ่ ราหวังไว้ เป็น ข้อพิสจู น์ถงึ สิง่ ทีม่ องไม่เห็น เพราะความเชือ่ นี้ คนใน สมัยก่อนจึงได้รบั การยกย่องในพระคัมภีร์ เพราะความ เชือ่ เราจึงเข้าใจว่าพระวาจาของพระเจ้าเนรมิตสร้าง โลก ดังนั้น สิ่งที่มนุษย์มองเห็นได้จึงเกิดขึ้นจากสิ่งที่ มนุษย์มองไม่เห็น (ฮีบรู 11:1-3)

หลังจากนีเ้ ป็นตัวอย่างบุคคลทีเ่ ชือ่ ในพระเป็น เจ้า พีน่ อ้ งทีไ่ ด้อา่ นจดหมายถึงชาวฮีบรูบทที่ 11 ข้อที่ 4 เป็นต้นไป จะพบค�ำเริม่ ต้นว่า “เพราะความเชือ่ .....” คนนั้น คนนี้ได้แสดงความเชื่ออย่างไรบ้าง?เช่น เพราะความเชือ่ อาแบลจึงถวายเครือ่ งบูชา ที่ดีกว่าเครื่องบูชาของคาอินแด่พระเจ้า ท�ำให้เขาได้ รับการยกย่องว่าเป็นผู้ชอบธรรม โดยพระเจ้าทรง รับรองบรรณาการของเขา เพราะความเชื่อนี้ แม้ว่า อาแบลล่วงลับไปแล้ว เขาก็ยังพูดอยู่ทั้งๆ ที่ตายแล้ว (ฮีบรู 11:4)

เพราะความเชื่อ เมื่อโนอาห์ได้รับค�ำเตือน ของพระเจ้าเกี่ยวกับเรื่องที่ยังมิได้เห็น เขาจึงมีความ ย�ำเกรงพระองค์และสร้างเรือใหญ่เพือ่ ช่วยให้ครอบครัว ของตนรอดตาย และเพราะความเชือ่ นีเ้ อง เขาตัดสิน ลงโทษโลกและได้เป็นทายาทแห่งความชอบธรรมซึ่ง บังเกิดมาจากความเชื่อ (ฮีบรู 11:7) เพราะความเชือ่ อับราฮัมเชือ่ ฟังเมือ่ พระเจ้า ทรงเรียกให้ออกเดินทางไปสูส่ ถานทีท่ เี่ ขาจะได้รบั เป็น มรดก เขาออกเดินทางไปโดยไม่รวู้ า่ จะไปไหน (ฮีบรู 11:8)

เพราะความเชือ่ แม้นางซาราห์จะพ้นวัยให้กำ� เนิด แล้ว พระเจ้ายังทรงบันดาลให้ตงั้ ครรภ์ได้ เพราะนางเชือ่ ว่า พระองค์ผู้ทรงสัญญาจะทรงซื่อสัตย์ต่อค�ำสัญญานั้น (ฮีบรู 11:11)

เพราะความเชือ่ เมือ่ พระเจ้าทรงลองใจ อับราฮัมจึง ถวายอิสอัค เขาผูไ้ ด้รบั พระสัญญาก็ถวายบุตรคนเดียวของ ตน (ฮีบรู 11:17) เพราะความเชือ่ โมเสสจึงออกจากประเทศอียปิ ต์ โดยไม่กลัวพระพิโรธของกษัตริย์ เขาไม่หวั่นไหวเหมือนได้ เห็นพระเจ้าที่มนุษย์มองเห็นไม่ได้ (ฮีบรู 11:27) ข้าพเจ้ายังจะต้องพูดอะไรอีกหรือ ข้าพเจ้าไม่มี เวลาจะเล่าเรือ่ งกิเดโอน บาราค แซมสัน เยฟธาห์ ดาวิด ซามูเอลและบรรดาประกาศก เพราะความเชื่อ เขาเหล่านี้จึงพิชิตอาณาจักร ปฏิบัติความยุติธรรม ได้รับพระสัญญา ปิดปากสิงโต ดับ ไฟร้อนแรง พ้นจากคมดาบ ได้รับพละก�ำลังพ้นจากความ อ่อนแอ กลายเป็นผู้เข้มแข็งในสงครามและขับไล่กองทัพ ต่างชาติให้พ่ายไป หญิงบางคนได้รับผู้ตายของตนที่กลับ คืนชีพ บางคนถูกทรมานจนตาย ไม่ยอมรับการปลดปล่อย เพื่อจะกลับคืนชีพมารับชีวิตที่ดีกว่า บางคนถูกสบประมาท ถูกโบยตีและยังถูกล่ามโซ่จ�ำคุกอีกด้วย เขาถูกหินทุ่ม ถูก เลื่อยเป็นสองส่วนตายด้วยคมดาบ บางคนนุ่งห่มหนังแกะ หนังแพะร่อนเร่ไป ขัดสน ได้รบั ความยากล�ำบาก ถูกข่มเหง โลกนี้ไม่เหมาะกับเขาเหล่านี้ พวกเขาระหกระเหินไปในถิ่น ทุรกันดาร ตามภูเขา ในถ�้ำและตามโพรง คนเหล่านี้ทุกคน แม้ว่าพระเจ้าทรงยกย่องเขาเพราะความเชื่อแล้ว เขาก็ยัง มิได้รับสิ่งที่ทรงสัญญาไว้ พระเจ้าทรงจัดเตรียมสิ่งที่ดีกว่า ไว้ให้เรา เพื่อเขาเหล่านั้นจะได้รับความดีบริบูรณ์พร้อมกับ พวกเรานั่นเอง (ฮีบรู 11:33-40) จากตัวอย่างในบทจดหมายถึงชาวฮีบรู บทที่ 11 จะ เป็นตัวอย่างให้เรา ยืนยันความเชือ่ ของเราต่อไปอย่างมัน่ คง ถ้าท่านมีความเชื่อ ท่านจะเห็น (แสงสว่างแห่งความเชื่อ (Lumen Fidei) ข้อ 1) (อ่านต่อฉบับหน้า) 7


ท่านคือผู้ประกาศว่า พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ

โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

มารีย์ยังคงยืนร้องไห้อยู่นอกพระคูหา ขณะที่ ร้องไห้นั้น นางก้มลงมองในพระคูหา ก็เห็นทูตสวรรค์ สององค์สวมเสื้อขาวนั่งอยู่ตรงที่ที่เขาวางพระศพของ พระเยซูเจ้าไว้ องค์หนึ่งนั่งอยู่ทางเบื้องพระเศียร อีก องค์หนึ่งนั่งอยู่ทางเบื้องพระบาท ทูตสวรรค์ทั้งสอง ถามนางว่า “นางเอ๋ย ร้องไห้ท�ำไม” นางตอบว่า “เขา น�ำองค์พระผู้เป็นเจ้าของดิฉันไปแล้ว ดิฉันไม่รู้ว่า เขา น�ำพระองค์ไปไว้ที่ใด” ตอบดังนี้แล้ว นางก็หันกลับมา และเห็นพระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่ที่นั่น แต่ไม่รู้ว่าเป็นพระ เยซูเจ้า พระองค์ตรัสถามนางว่า “นางเอ๋ย ร้องไห้ท�ำไม ก�ำลังเสาะหาผูใ้ ด” นางคิดว่าพระองค์เป็นคนสวน จึงตอบ ว่า “นายเจ้าขา ถ้าท่านน�ำพระองค์ไป ช่วยบอกดิฉันว่า ท่านน�ำพระองค์ไปไว้ทไี่ หน ดิฉนั จะได้ไปน�ำพระองค์กลับ มา” พระเยซูเจ้าตรัสเรียกนางว่า “มารีย์” นางจึงหันไป ทูลพระองค์เป็นภาษาฮีบรูว่า “รับโบนี”ซึ่งแปลว่า พระ อาจารย์ เยซูเจ้าตรัสกับนางว่า “อย่าหน่วงเหนี่ยวเรา ไว้เลยเพราะเรายังไม่ได้ขนึ้ ไปเฝ้าพระบิดา แต่จงไปหาพี่ น้องของเราและบอกเขาว่า เราก�ำลังขึน้ ไปเฝ้าพระบิดา ของเราและพระบิดาของท่านทั้งหลาย ไปเฝ้าพระเจ้า ของเรา และพระเจ้าของท่านทั้งหลาย” มารีย์ ชาวมัก ดาลาจึงไปแจ้งข่าวกับบรรดาศิษย์ว่า “ดิฉันได้เห็นองค์ พระผู้เป็นเจ้าแล้ว” และเล่าเรื่องที่พระองค์ตรัสกับนาง (ยอห์น 20:11-18) ตามบันทึกพระวรสารนักบุญยอห์น ได้บนั ทึกว่า ข่าวดีเรือ่ งการกลับคืนชีพของพระคริสตเจ้าได้รบั เผยให้ กับมารีย์ ชาวมักดาลาก่อนบรรดาอัครสาวก ทีใ่ ช้ชวี ติ อยู่ กับพระองค์อย่างใกล้ชิด และเป็นมารีย์เองเป็นคนแจ้ง ข่าวกับบรรดาศิษย์ว่า “ดิฉันได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า แล้ว” และเล่าเรือ่ งทีพ่ ระองค์ตรัสกับนาง (ยอห์น 20:18) 8

การบันทึกของยอห์นแบบนี้ น่าจะมีนยั ยะส�ำคัญ ทีย่ อห์นต้องการจะสือ่ อะไรบางอย่างให้เราได้รู้ เราลอง มาท�ำความเข้าใจสตรีในพระวรสารของนักบุญยอห์น ดู พระวรสารนักบุญยอห์นได้บนั ทึกให้เหล่าสตรีมสี ว่ นร่วม ในการประกาศข่าวดีของพระองค์ถงึ 7 ครัง้ อย่างน้อยมี สตรี 2 ท่าน ทีไ่ ด้ถกู บันทึกถึงบทบาท, หน้าทีแ่ ละเป็นก�ำลัง ส�ำคัญที่ช่วยเหลือบรรดาอัครสาวกด้วย ตอนไหนบ้าง? • งานสมรสทีห่ มูบ่ า้ นคานา พระมารดาของพระเยซู เจ้า สัญญลักษณ์ถงึ ความไม่สมบูรณ์ในพระธรรมเดิม และได้ยนื ยันถึงบัญญัตใิ หม่ดว้ ยค�ำพูดทีบ่ อกว่า “เขา บอกให้ท่านท�ำอะไร ก็จงท�ำเถิด” (ยอห์น 2:1-11) • หญิงชาวสะมาเรีย เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการ เปิดเผยถึงตัวตนของพระเยซูเจ้า พระเยซูเจ้าตรัส ว่า “เราที่ก�ำลังพูดอยู่กับเธอคือพระเมสสิยาห์” (ยอห์น 4:26) หญิงชาวสะมาเรียคนนีไ้ ด้กลายเป็นผู้ แพร่ธรรม ผูป้ ระกาศข่าวดีแก่ชาวสะมาเรีย (ยอห์น 4: 28-30; 39-42) “มาเถิด มาดูชายคนหนึ่งที่บอก ทุกอย่างที่ดิฉันเคยท�ำ เขาเป็นพระคริสต์กระมัง” ประชาชนจึงออกจากเมืองมาเฝ้าพระองค์ (ยอห์น 4: 29-30); “ชาวสะมาเรียหลายคนจากเมืองนั้นมี ความเชือ่ ในพระองค์ “เรามีความเชือ่ ไม่ใช่เพราะค�ำ พูดของท่านอีกแล้ว เราเองได้ยินและรู้ว่า พระองค์ เป็นพระผูไ้ ถ่ของโลกโดยแท้จริง” (ยอห์น 4: 39-42) • หญิงท�ำผิดประเวณี หลังจากได้รับการอภัยบาป จากพระเยซูเจ้า ณ ช่วงเวลานั้นพระเยซูเจ้าได้พัง ทลายประเพณีผู้ชายเป็นใหญ่ในสังคม ครอบครัว ประเพณีการออกค�ำสั่งจากผู้ชายซึ่งปฏิบัติกับสตรี เหมือนเป็นทาส ศักดิ์ศรีของสตรีได้รับการยกให้


สูงขึ้น (ยอห์น 8, 1-11). พระวรสารสหทรรศน์ ได้บันทึกให้นักบุญเปโตร เป็นผู้ประกาศความเชื่อ ต่อพระคริสตเจ้า (มัทธิว 16: 16; มาระโก 8: 29; ลูกา 9: 20) แต่ส�ำหรับพระวรสารนักบุญยอห์นผู้ที่ ประกาศยืนยันความเชือ่ ต่อพระคริสตเจ้าคือ มาร์ธา พีส่ าวของมารียแ์ ละน้องสาวของลาซารัส “มาร์ธา ทูลตอบว่า “เชื่อพระเจ้าข้า ดิฉันเชื่อว่าพระองค์ เป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า ทีจ่ ะต้อง เสด็จมาในโลกนี้” (ยอห์น 11:27) • มารีย์ น้องสาวของมาร์ธา ใช้น�้ำมันหอมสมุนไพร บริสทุ ธิร์ าคาแพงหนักหนึง่ ปอนด์ชโลมพระบาทของ พระเยซูเจ้า และใช้ผมเช็ดพระบาท กลิน่ น�ำ้ มันหอม อบอวลไปทั่วบ้าน และพระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “ช่าง เถิด ปล่อยให้นางเก็บน�ำ้ มันหอมนีไ้ ว้สำ� หรับวันฝัง ศพของเรา” (ยอห์น 12:7) • สังคมสมัยพระเยซูเจ้า ผูท้ ตี่ ายบนไม้กางเขนจะไม่ได้ รับการฝังศพหรือใส่อะไรลงไปในหลุมศพ แต่สำ� หรับ มารีย์ ได้รบั ค�ำสัง่ จากพระเยซูให้ชโลมพระบาทของ พระองค์ในวันฝังศพ นี่หมายความว่า มารีย์ยอมรับ พระเยซูเจ้าในฐานะที่เป็นพระเมสสิยาห์ผู้ทรงรับ ทุกข์ทรมานและต้องตายบนไม้กางเขน ในขณะที่ นักบุญโปโตรไม่ยอมรับเครื่องหมายนี้ เปโตรทูลว่า “ข้าพเจ้าไม่ยอมให้พระองค์ล้างเท้าข้าพเจ้า” (ยอห์น 13:8) และเปโตรน�ำพระองค์แยกออกไป ทูลทัดทานว่า “ขอเถิด พระเจ้าข้า เหตุการณ์นี้จะ ไม่เกิดขึน้ กับพระองค์อย่างแน่นอน” (มัทธิว 16:22) จากตรงนี้ มารียไ์ ด้เป็นรูปแบบศิษย์พระเยซูเจ้าผู้ ก�ำลังติดตามพระคริสตเจ้าอีกรูปแบบหนึ่ง • ณ เชิงไม้กางเขนพระเยซูเจ้า พระองค์ตรัสกับ พระมารดาว่า “แม่ นี่คือลูกของแม่” แล้วตรัสกับ ศิษย์ผู้นั้นว่า “นี่คือแม่ของท่าน” นับตั้งแต่นั้น ศิษย์ ผู้นั้นก็รับพระนางเป็นมารดาของตน (ยอห์น 19: 25-27) พระศาสนจักรได้เริม่ ก่อตัง้ ขึน้ พระแม่มารีย์ คือผู้แทนของชุมชนคริสตชน

• มารีย์ ชาวมักดาลา จึงไปแจ้งข่าวกับบรรดาศิษย์วา่ “ดิฉันได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว” และเล่าเรื่อง ที่พระองค์ตรัสกับนาง (ยอห์น 20:11-18) ได้รับค�ำ สั่งจากพระเยซูเจ้าให้ไปแจ้งข่าวการกลับคืนชีพแก่ บรรดาอัครสาวก จากพระวรสารนักบุญยอห์นชี้ให้เราเห็นว่า ไม่ เพียงแต่บรรดาอัครสาวกเท่านั้นที่มีสิทธิ์ประกาศข่าวดี แต่บรรดาสตรี ทีใ่ นสังคมสมัยพระเยซูเจ้า เป็นบุคคลชัน้ สองของสังคม บุคคลทีไ่ ม่ได้รบั เกียรติ ยังมีสทิ ธิป์ ระกาศ ข่าวดีได้ นีเ่ ป็นเครือ่ งหมายว่า นักบุญยอห์นต้องการบอก ว่าเราว่า คริสตชนทุกคนและผู้ได้รับศีลล้างบาป เป็นผู้ ที่สามารถประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้าได้ มีขอ้ สังเกตว่า ก่อนทีเ่ หล่าสตรีจะได้ประกาศ ข่าวดีในพระวรสารนักบุญยอห์น ได้พบปะและมี ประสบการณ์กับพระเยซูเจ้าก่อน หลังจากนั้นจึง ประกาศข่าวดีนั้น ดังนั้น

• ไม่ใช่เป็นเรื่องของ การรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระ เยซูเจ้า แต่เป็นเรื่องของการรู้จักพระเยซูเจ้า มี ประสบการณ์พบปะกับพระคริสตเจ้า • และจากมีประสบการณ์พบปะกับพระเยซูเจ้า เราสามารถประกาศเหมือนมารีย์ชาวมักดาลา ว่า “ดิฉันได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว” และ เล่าเรื่องที่พระองค์ตรัสกับนาง ในสมณสาสน์ “พระศาสนจักรในเอเซีย” พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ได้เขียนว่า “ข้าพเจ้า ขอสนับสนุนให้ฆราวาสทุกคน สวมบทบาทอันเหมาะ สมแห่งชีวิตและพันธกิจของประชากรพระเป็นเจ้า ใน ฐานะเป็นสักขีพยานให้แก่พระคริสตเจ้า ไม่ว่าเขาจะอยู่ ที่ไหน” (EA 45) เพราะท่านคือผู้ประกาศว่า พระเยซู เจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ 9


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ท�ำไมต้องไปมิสซาวันอาทิตย์? สวัสดีครับพี่น้องคริสตชนที่รัก ในบทความ นีพ้ อ่ อยากกระตุน้ เตือนใจเราทุกคน ในเรือ่ งของการ เอาใจใส่ต่อการมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณพระเจ้า ในวันอาทิตย์ “คริสตชนหลายคนไม่ได้ไปร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณในชุมชนแห่งความเชือ่ ของพวกเขา” โดยมักกล่าวว่า “พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นสิ่งที่น่า เบื่อ! ไม่เข้าใจในสิ่งที่มาเข้าร่วม!” เรามาท�ำความเข้าใจต่อสิง่ ทีเ่ ราได้รว่ มระหว่าง พิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์กันดีกว่า วันอาทิตย์:วันแรกของสัปดาห์ “พระเยซูเจ้าทรง...” ในพระวรสารกล่าวว่า หลังจากทีพ่ ระเยซูเจ้า ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ทรงกลับคืน พระชนมชีพ และทรงปรากฏมาให้บรรดาอัครสาวก และศิษย์ติดตามได้เห็น “ในวันแรกของสัปดาห์ กล่าวคือ วันอาทิตย์” เป็นวันที่ตามหลังจากวัน สะบาโตของชาวยิว วันทีเ่ จ็ดของสัปดาห์ของชาวยิว 10

“วันแรกของสัปดาห์ พระเยซูทรงปรากฏ มาท่ามกลางบรรดาศิษย์ในที่ซึ่งพวกเขาได้ชุมนุม กัน” เราเชื่อว่าการปรากฏมาของพระเยซูเจ้า ใน ท่ามกลางบรรดาศิษย์ของพระองค์ ยังคงมีความ ต่อเนื่องมาถึงยุคสมัยของเราทุกวันอาทิตย์ ในขณะ ที่บรรดาคริสตชนได้มารวมตัวกันในพระนามของ พระเยซูคริสต์ “พระองค์ทรงเสด็จมาประทับอยู่ ท่ามกลางพวกเขา” ในหนังสือกิจการอัครสาวก ได้บันทึกไว้ว่า “บรรดาคริสตชนสมัยแรก ได้มา ร่วมชุมนุมกันในวันอาทิตย์ วันแรกของสัปดาห์” (กจ 20, 7) เพือ่ มาพบกับองค์พระเยซูเจ้า องค์พระเจ้า ผู้ทรงชีวิต ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ จวบจนสมัยนี้ บรรดาคริสตชนได้มาร่วม ชุมนุมกันในพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ ถ้าไม่ สามารถมาร่วมได้ พวกเขาก็จะร่วมได้โดยทาง การ ถ่ายทอดโทรทัศน์ การฟังวิทยุ พวกเขาเฉลิมฉลอง ด้วยความชื่นชมยินดี แห่งการกลับคืนพระชนมชีพ ของพระคริสตเจ้า


องค์ประกอบ 2 ส่วนใหญ่ ๆ ในพิธบี ชู าขอบพระคุณ พิธีบูชาขอบพระคุณ เป็นการพบปะกับ พระเยซู ผูท้ รงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผูต้ าย และทรงปรากฏมาในชุมชนแห่งความเชือ่ ของเรา เมือ่ มีการอ่านข้อความพระคัมภีร์ในสถานนมัสการ เป็น พระเยซูคริสตเจ้าเองที่ทรงตรัสกับบรรดาศิษย์ของ พระองค์ เมื่อบรรดาคริสตชนร่วมในการบิปังและ ดืม่ ถ้วยโลหิต การกระท�ำเหล่านัน้ ก็เป็นการประกาศ ถึงพระวาจาแห่งการขอบพระคุณหมายถึง “กิจการ แห่งการขอบพระคุณพระเจ้า” พระองค์ประทับอยู่ ที่นั่น ดังที่พระองค์ทรงสัญญาไว้ในระหว่างอาหาร ค�่ำมื้อสุดท้าย: “...จงรับไปกิน นี่เป็นกายของเรา นี่เป็นถ้วยโลหิตของเรา...” (มก 14, 22-24) ดังนัน้ จึงมีอยู่ 2 ส่วนในพิธบี ชู าขอบพระคุณ ในส่วนแรก พิธกี รรมแห่งพระวาจา เราได้ฟงั บทอ่าน จากพระคัมภีรแ์ ละการอธิบายพระวาจาจากบทอ่าน ดังกล่าว (เราเรียกว่าการเทศน์) ในส่วนทีส่ อง เราร่วม กันล้อมรอบพระแท่นบูชา เพื่อร่วมในการเลี้ยงของ องค์พระเจ้า เพื่อรับพระกายและพระโลหิตในความ เป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระคริสตเจ้าร่วมกับบรรดาพี่ น้องผู้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า

เราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ โดยปราศจาก พิธีบูชาขอบพระคุณ ในพิธีบูชาขององค์พระเจ้า เป็นการเฉลิม ฉลองการขอบพระคุณ มีความเชื่อมโยงในสองเรื่อง

ประการแรก: เรารับฟังพระวาจาของพระเจ้า เหมือนกับรับอาหารหล่อเลี้ยงชีวิต พระเยซูเจ้า เปรียบเหมือนกับเพื่อนที่ก�ำลังพูดกับบรรดาเพื่อน ๆ พระองค์ ทรงตรัสกับเรา กับเพื่อน ๆ ของเรา กล่าว ได้ว่า ปราศจากพระองค์แล้วเราไม่สามารถเรียนรู้ สิ่งใดได้ เราจึงยอมรับพระวาจาของพระองค์เป็นดัง “อาหารทรงชีวิต” ประการทีส่ อง: พิธกี รรมแห่งการขอบพระคุณ เรารับปังแห่งการขอบพระคุณ ซึ่งเปรียบได้กับ พระวาจาแห่งความรัก “เรารักท่าน” พระเยซูตรัส และพระองค์ทรงมอบปังทรงชีวิตให้เรา “ข้าพเจ้า รักพระองค์ ข้าพเจ้าปรารถนาจะอยู่กับพระองค์ ผู้ทรงประทับใกล้ชิดองค์พระบิดาและปรารถนา ให้พระองค์ทรงประทับอยู่กับข้าพเจ้าตลอดไป” เราคริสตชนไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ในวันอาทิตย์เรามาชุมนุมกันในกลุ่มชนของ ผู้มีความเชื่อ เราถูกเชื้อเชิญให้มาร่วมสามัคคีเป็น หนึ่งเดียวกัน “การเป็นหนึ่งเดียวในปังแห่งการ ขอบพระคุณ ท�ำให้เราเป็นประชากรแห่งความ เป็นหนึ่งเดียวกัน เราฟังพระวาจาของพระเจ้า พระคริสตเจ้าซึ่งตรัสกับเราแต่ละคนและยังทรง ตรัสกับทุกคนทีม่ าร่วมชุมนุมกันในทุกสถานนมัสการ พระองค์ทรงเชือ้ เชิญเราให้ตดิ ตามพระองค์ เรารับ พระองค์ผทู้ รงเป็นปังทรงชีวติ ในพิธบี ชู าขอบพระคุณ เมื่อพระสงฆ์แสดงปังและเหล้าองุ่น ยื่นให้กับเรา และกล่าวว่า “เรามอบปังและเหล้าองุน่ นี้ สิง่ เหล่า นี้จะกลับกลายเป็นอาหารและเครื่องดื่มแห่งชีวิต โดยไม่มีสิ้นสุด” หากเราเข้าใจแล้วว่าพิธบี ชู าขอบพระคุณคือ อะไร? เราไปร่วมด้วยเหตุผลใด? เมื่อเป็นเช่นนี้ เรา จะปฏิเสธของขวัญแห่งชีวิตนิรันดรหรือ? 11


คอนแชร์โต

มีดมี ากกว่าเสียงเพลง

ข้อมูล : กรกฎ สุขไฟโรจน์ เรียบเรียง : จุฑาภรณ์ ภานุพันธ์

จะน�ำผู้คน กลับใจมาหาพระ และสรรเสริญความรักของพระเจ้าสืบไป ด้วยการขับร้องบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า สุดความสามารถ ที่วงคอนแชร์โต มีอยู่ 12

หากพูดค�ำว่า ‘คอนแชร์โต’ หลายคนอาจ จะนึกไปถึงการแข่งขันประชันกัน ด้วยลีลาและน�้ำ เสียงของเครือ่ งดนตรี ทีท่ ำ� ให้เกิดการตัดกันในด้าน จังหวะ เช่น ช้าสลับเร็ว ดังสลับเบา บรรเลงเดี่ยว สลับบรรเลงร่วม เป็นต้น ซึ่งเริ่มขึ้นในสมัยบาโรค และด้วยความโดดเด่นของดนตรีในยุคนีเ้ อง จึงเป็น เสมือนแนวทางที่ คณะนักขับร้องประสานเสียง แห่งวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง ได้นำ� มา ประยุกต์ใช้ภายใต้ชื่อวงว่า ‘คอนแชร์โต’


ค.ศ. 2011 จากคณะนักขับร้องเล็ก ๆ เพียง 5 คน ที่ช่วยกันขับร้องบทเพลงในโอกาส มหาพรตและปัสกา จึงเริ่มปรึกษาหารือกันเพื่อ หาสมาชิกเพิ่ม วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน ปีเดียวกัน นับเป็นวันแรก ทีว่ งคอนแชร์โต แห่งวัดพระหฤทัยฯ ขลุง ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วยการขับร้อง บทเพลงสรรเสริญพระเจ้าอย่างสง่า ด้วยสไตล์ เพลง เสียงร้อง อารมณ์ และดนตรีที่เข้ากับยุค สมัย ท่ามกลางค�ำชืน่ ชมของบรรดาพีน่ อ้ งสัตบุรษุ ต่างวัด ต่างชุมชน ช่วยสร้างขวัญก�ำลังใจให้กับ พวกเขาเป็นอย่างมาก

โอกาสมหาพรตและปัสกาในปีถัดมา วง คอนแชร์โตได้แสดงให้เห็นศักยภาพทีเ่ พิม่ มากขึน้ ด้วยการปรับเปลีย่ นเป็นการขับร้องโดยไม่ใช้เครือ่ ง ดนตรี ซึ่งเป็นการร้องสด เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ของเพลง ให้บรรดาสัตบุรษุ ได้เข้าถึงความทุกข์ใจ และความทรมานอย่างแท้จริงที่พระเยซูเจ้าต้อง สิ้นพระชนม์ และในโอกาสเดียวกันนี้เอง วง คอนแชร์โตมีอายุครบ 1 ปี จึงจัดท�ำซีดีเพลง ชื่อ อัลบั้มว่า ‘Concerto for mass’ ซึ่งรวบรวม บทเพลงที่ร่วมร้องในพิธีมิสซาตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมาด้วย

13


นับเป็นเวลากว่า 2 ปี ที่วงคอนแชร์โตเติบโตและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสังคมคริสตศาสนา การที่ได้รับเกียรติไปเป็นพี่เลี้ยงให้กับคณะนักขับร้องตามวัดต่าง ๆ ในสังฆมณฑล รวมทั้งการที่ได้ไปร่วมขับ ร้องบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า ทั้งในระดับแขวงและระดับสังฆมณฑล ตามโอกาสพิเศษต่าง ๆ อาทิ โอกาส เปิดปีแห่งความเชื่อ ของสังฆมณฑลจันทบุรี โอกาสฉลองสุวรรณสมโภช และหิรัญสมโภช โอกาสฉลองวัด พระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า หรือในโอกาสบวชพระสงฆ์ เหล่านี้ ก็ยิ่งท�ำให้วงคอนแชร์โตได้รับการขนานนาม และกล่าวถึงไปทั่วทั้งสังฆมณฑล ภายใต้การควบคุมดูแลของ คุณ กรกฎ สุขไพโรจน์ โดยได้รบั การสนับสนุน จาก คุณพ่อชาติชาย เวฬุรัตนกูล (อดีต เจ้าอาวาส) คุณพ่อสมภพ แซ่โก (ผูช้ ว่ ยเจ้า อาวาส) และคุณพ่อสมศักดิ์ พรประสิทธิ์ (เจ้าอาวาสองค์ปจั จุบนั ) รวมทัง้ พีน่ อ้ งสัตบุรษุ วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง ที่ช่วย อ�ำนวยความสะดวกในด้านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการขับร้อง

14


หากได้รบั การฝึกฝนมาอย่าง ต่อเนื่อง การจะร้องเพลงให้ไพเราะ นั้นคงไม่ยากเกินความสามารถ แต่ การร้องเพลงด้วยอุดมการณ์ ความ รักและความศรัทธาอันแรงกล้าทีม่ ตี อ่ พระเจ้านัน้ จะท�ำให้บรรดาสัตบุรษุ ที่ ได้ยินได้ฟังกลับใจมาหาพระ ให้พวก เขาสรรเสริญพระเจ้าด้วยความรัก และอาจจะช่วยบรรเทาความทุกข์ที่ พวกเขามีให้เบาบางลงได้บา้ ง ไม่มาก ก็น้อย ดังที่พวกเขากล่าวไว้ “จะน� ำผู้คนกลับใจมาหาพระและ สรรเสริญความรักของพระเจ้า สืบไป ด้วยการขับร้องบทเพลง สรรเสริ ญ พระเจ้ า สุ ด ความ สามารถที่ ว งคอนแชร์ โ ตมี อ ยู ่ ” ในวันที่ 7 มิถุนายน 2014 นี้ เป็นโอกาสฉลองวัดพระหฤทัยฯ ขลุง อีกทัง้ ยังเป็นวันทีว่ งคอนแชร์โตมีอายุ ครบ 3 ปี อีกด้วย พวกเขาจึงทุ่มเท ซ้อมบทเพลงด้วยความมุ่งมั่น เพื่อ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพรวมทัง้ ความ สามารถที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และ ด้วยพระพรของพระเจ้าพวกเขาจะ ท�ำให้บรรดาสัตบุรุษที่มาร่วมยินดี ได้สรรเสริญพระเจ้าด้วยความรัก และความศรัทธาได้อย่างไร โปรด ติดตาม..... “CONCERTO” อ่านว่า “คอนแชร์โต” มาจากภาษาฝรั่งเศส รากศัพท์จากภาษาลาติน มีความหมายว่า การรวมกันเพื่อแสดงความสามารถทางด้านดนตรี 15


สายใยจันท์ จากใจ ถึง

“สารสังฆมณฑล”

คุณพ่อยอด เสนารักษ์

อุปสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี

ขอร่วมแสดงความยินดี โอกาสครบรอบ 25 ปี ความจริงน่าจะเป็นปีที่ 29 เพราะ ฉบับแรกออกในโอกาสวันบวชของรุ่นผม 3 คน (สิงหาคม 1985) ขอชื่นชมและขอบคุณผู้ อ�ำนวยการสือ่ ฯ ทุกคนทีท่ ำ� หน้าที่ ท�ำงานกันมาด้วยความรับผิดชอบ สร้างสรรค์และพัฒนา “สารสังฆมณฑล” ตัง้ แต่ตน้ มาจนปัจจุบนั นี้ ตามสภาพความเป็นจริงของแต่ละยุคสมัยอย่าง ดี ผมเห็นความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ เครื่องมือสื่อสารทางสังคมของสังฆมณฑลนี้ เป็น ส่วนหนึ่งอันจะขาดเสียมิได้ของชีวิตคริสตชนยุคปัจจุบัน ในพระสมณสาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เรื่อง “ความรักใน ความจริง” (Caritas in veritate) ข้อ 73 กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า สื่อต้องปรับตัวเองให้มี วิสัยทัศน์ของความเป็นบุคคล และความดีส่วนรวม ซึ่งวิสัยทัศน์นี้ สะท้อนถึงคุณค่าสากล ได้อย่างแท้จริง สื่อจะต้องมุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมศักดิ์ศรีของบุคคลและของประชาชาติ สื่อจะต้องได้รับแรงจูงใจอย่างชัดเจนจากความรักเมตตา และท�ำไปเพื่อรับใช้ ความจริง ความดี รวมถึงความเป็นภราดรภาพตามธรรมชาติ และเหนือธรรมชาติด้วย สื่อสามารถ มีบทบาทส�ำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัวมนุษย์ ให้มีความเจริญก้าวหน้า ขึ้น รวมถึงการช่วยสร้างคุณธรรมของสังคม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมสากลในการแสวงหา สิ่งที่ชอบธรรมร่วมกัน สังฆมณฑลฯถือเป็นหน้าที่ต้องประกาศข่าวดีแห่งความรอดพ้น โดยใช้สื่อมวลชน รวมทั้งต้องสอนมนุษย์ให้รู้จักใช้สื่ออย่างถูกต้อง ในพันธกิจในแผนอภิบาลที่ว่า “ส่งเสริม ให้พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล คริสตชนทุกวัยในสังฆมณฑล ด�ำเนินชีวิตเป็นสื่อ และ เป็นข่าวสารแห่งความรักของพระเป็นเจ้า จากการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันส�ำหรับบุคคลอื่น” (แผนอภิบาลฯ บทที่ 5 หน้า 40) ขอพระเจ้าทรงอ�ำนวยพรทุกท่าน 16


คุณพ่อเพิ่มศักดิ์ เสรีรักษ์ อดีตบรรณาธิการ

“สารสังฆมณฑล” สารประจ�ำครอบครัว ได้เกิดขึ้นตามความประสงค์ของ พระสังฆราช ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต ที่ต้องการให้พี่น้องคริสตชนได้ทราบถึงข่าวคราวความเป็นไปของสังฆมณฑล การท�ำงานของหน่วยงาน ต่าง ๆ ความเป็นไปตามวัด รวมทั้งได้รับความรู้ในด้านศาสนา และด้านจิตใจ พี่น้องจะเห็นว่า นิตยสารคาทอลิกมีไม่มากนักในเมืองไทยเรา บ่อยครั้งเรามักสนใจเกี่ยวกับข่าวคราวทาง โลก จนลืมสนใจเกี่ยวกับชีวิตคริสตชน และบรรยากาศในสังฆมณฑล หรือในวัดของเรา รวมทั้งกฎเกณฑ์บางอย่าง ที่เราคริสตชนควรรู้ ในด้านพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์ โอกาสครบรอบ 25 ปี ในการจัดพิมพ์ หวังใจว่า พี่น้องคงจะได้รับประโยชน์และสาระความรู้ด้านศาสนา กันพอสมควร ขอพี่น้องให้ความสนใจและพยายามส่งเสริมลูก ๆ หลาน ๆ ให้อ่าน “สารสังฆมณฑล” จะได้เป็นสาร ประจ�ำครอบครัวคริสตชนอย่างแท้จริง และขอร่วมยินดีกับคณะผู้จัดท�ำ คุณพ่อสุทัศน์ เภกะสุต อดีตบรรณาธิการ

“สารสังฆมณฑล สายใยจันท์” เป็นสารประจ�ำครอบครัวคาทอลิกเพียงฉบับเดียวของ สังฆมณฑจันทบุรี ที่มีอายุยืนยาวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ละฉบับล้วนมีเนื้อหา ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่มีคุณค่า เป็นแหล่งค้นคว้า หาความรู้ทางด้านศาสนา ด้านพิธีกรรม และข้อควรปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทันยุคสมัย ทันเหตุการณ์ น่าหยิบ น่าอ่านมาตลอด และที่ส�ำคัญเป็นสื่อที่ดีที่สามารถส่งต่อให้คนอื่น ๆ ได้อ่าน ได้ รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ขอร่วมแสดงความยินดีโอกาสฉลอง 25 ปี การจัดพิมพ์ “สารสังฆมณฑล สายใยจันท์” ขอพระเป็นเจ้า ประทานพละก�ำลังทั้งกายใจให้กับคณะผู้จัดท�ำ และขอให้ทุกท่านช่วยกันสนับสนุนสื่อสิ่งพิมพ์นี้ให้คงอยู่ต่อไป คุณพ่อสมนึก ประทุมราช อดีตบรรณาธิการ

“สายใยจันท์” หรือ “สารสังฆมณฑล” ในยุคเริม่ ต้น คือ ช่องทางและการสือ่ สารทางหนึง่ ทีม่ ถี งึ บรรดาคริสตชน และกลุ่มชน ที่จะได้รับสาร ข้อมูล สาระ ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของกันและกัน ท�ำให้ชุมชนมีชีวิต ในฐานะ “สื่อ” ก็ได้ท�ำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ตลอด 25 ปี ที่ผ่านมา “สายใยจันท์” ในฐานะ “ภาพลักษณ์” ก็ได้ สะท้อนความเป็นตัวตนของภาพรวมสังฆมณฑลเช่นกัน เราได้เห็นภาพการมีส่วนร่วมต่าง ๆ แนวคิด แนวทางปฏิบัติ ต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม ผมจึงขอร่วมยินดีที่ “สื่อ” และ “ภาพลักษณ์” ของ “สายใยจันท์” ได้มีผู้ร่วมแรงร่วมใจ พัฒนา ทุ่มเทให้ “สายใยจันท์” ได้ท�ำหน้าที่มาอย่างยาวนาน และตลอดไป เพราะเราตระหนักว่า เป็นงานแพร่ธรรมที่พระเยซูเจ้าทรง มอบให้ และเราด�ำเนินการตามน�้ำพระทัยของพระองค์ เพื่อประชากรเป็นหนึ่งเดียวกัน 17


เปิดปีแม่พระที่จันทบุรี เมื่อ 7 มิ.ย. 1987

สารสังฆมณฑล ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 / สิงหาคม 1988

ฉลองวัดหัวไผ่ 110 ปี เมื่อ 5 พ.ค. 1990

สารสังฆมณฑล ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 / สิงหาคม 1990

สงฆ์จันท์บุรีรุ่นบุกเบิกสมัยก่อน (ประมาณปี 1945)

สงฆ์อาวุโส (ประมาณปี 1990)

สารสังฆมณฑล ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 / สิงหาคม 1993

18


ฉลอง 25 ปี กลุ่มคริสตชน วัด มูซู (แม่พระถวายองค์) เมื่อ 13 พ.ย. 1993

สารสังฆมณฑล ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 / มกราคม 1994

ฉลองวัดท่าศาลา 25 ปี เมื่อ 2 ธ.ค. 1995

สารสังฆมณฑล ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 / เมษายน 1996

เปิดเสกวัดบ้านสร้าง เมื่อ 31 ต.ค. 1998

สารสังฆมณฑล ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 / ธันวาคม 1998

19


20


21


ท�ำไม? ต้องเป็น “สารสังฆมณฑลจันทบุรี” หากมองย้อนกลับไปเมือ่ 29 ปีทผี่ า่ นมา ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1985 “สารสังฆมณฑลจันทบุร”ี วารสารประจ�ำครอบครัว คริสตชน ได้ก่อก�ำเนิดขึ้นเป็นฉบับแรก โอกาสต้อนรับพระสงฆ์ ใหม่ของสังฆมณฑล โดยมีคุณพ่อเพิ่มศักดิ์ เสรีรักษ์ และคณะ สงฆ์ ทีด่ แู ลเรือ่ งสือ่ สิง่ พิมพ์ของสังฆมณฑล ได้จดั ท�ำขึน้ ซึง่ เห็น ว่า พี่น้องสัตบุรุษในสังฆมณฑล น่าจะมีวารสาร หรือหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ประจ�ำครอบครัว ไว้เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความ เคลื่อนไหวต่าง ๆ เกี่ยวกับการท�ำงานของหน่วยงาน ของวัด ในสังฆมณฑล รวมทัง้ เป็นเครือ่ งมือในการเสริมสร้างความรู้ ด้านศาสนา ด้านจิตใจ และกฎเกณฑ์หลักปฏิบตั บิ างอย่าง ที่ คริสตชนควรรูใ้ นด้านพิธกี รรมและศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ และเป็นสือ่ กลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ประสบการณ์ชีวิต

22


“สารสังฆมณฑลจันทบุรี” สื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่มีวันตาย จะว่าไปแล้ว ช่วงหลายปีที่ผ่านมา สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ บรรดาหนังสือ นิตยสาร หรือโปสเตอร์ ล้วนได้รับความนิยม และถูก ผลิตออกมาลดน้อยถอยลงไปทุกที เนื่องจาก คนยุคสมัยนี้ต่างนิยมที่จะเสพข่าว และความ เคลือ่ นไหวต่าง ๆ ผ่านทางโลกออนไลน์ เพราะ มันเสพง่ายได้เร็ว จนท�ำให้หลายคนพูดกันว่า “สักวันสิ่งพิมพ์ก็ตาย” “สารสังฆมณฑลจันทบุรี” ก็เป็นสิ่ง พิมพ์หนึง่ ของสังฆมณฑล ทีม่ อี ายุเข้าสูป่ ที ี่ 25 (นับจากจ�ำนวนปีที่จัดพิมพ์) มีจ�ำนวนในการ จัดพิมพ์ทั้งสิ้น 76 ฉบับ ในแบบรูปเล่ม และ อีก 3 ฉบับ ในแบบแผ่นพับ ด�ำเนินการโดย สังฆมณฑลทัง้ หมด ผ่านทางผูร้ บั ผิดชอบจาก อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยเนื้อหา ข้อมูลข่าวสาร และรูป แบบต่าง ๆ ที่ได้รับการพัฒนาให้ทันยุค ทัน เหตุการณ์มาอย่างต่อเนื่อง จากความตั้งใจ ของคณะผู้จัดท�ำ ที่ท�ำขึ้นเพื่อสังฆมณฑล ท�ำให้ “สารสังฆมณฑลจันทบุร”ี เป็นเสมือน สื่อสัมพันธ์อันดีตลอดมา ก่อเกิดสายใยใน สังฆมณฑลจันทบุรี และเป็นที่มาของค�ำว่า “สายใยจันท์” สายใยทีไ่ ม่มวี นั ขาด เช่นเดียว กับ “สิ่งพิมพ์ที่ไม่มีวันตาย” เช่นกัน ขอขอบคุณ ผู้ที่มีส่วนร่วมสนับสนุน ในด้านการจัดพิมพ์ ขอบคุณคณะผู้จัดท�ำใน อดีต ขอบคุณพี่น้อง และผู้อ่านทุกท่าน ที่ ท�ำให้ “สารสังฆมณฑลจันทบุรี” เป็นสาร ของสังฆมณฑล โดยสังฆมณฑล และเพื่อ สังฆมณฑล อย่างแท้จริงมาโดยตลอด

ความเป็นมา โดย : คุณพ่อสุทัศน์ เภกะสุต

1985-1995 คุณพ่อเพิ่มศักดิ์ เสรีรักษ์ เป็น บรรณาธิการ จัดพิมพ์และจัดท�ำ ขณะทีเ่ ป็นอาจารย์ อยู่ที่บ้านเณรใหญ่แสงธรรม 1995-2000 หน่วยงานสื่อมวลชนของ สังฆมณฑล ได้สานต่องานสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งมิตรสงฆ์ และสารสังฆมณฑลฯ มีคณ ุ พ่อสุทศั น์ เภกะสุต เป็น ผูอ้ ำ� นวยการฯ และบรรณาธิการสารสังฆมณฑลได้ เริ่มจัดพิมพ์และมีสีสันเพิ่มขึ้น เป็น 4 สี ทั้งปกหน้า และหน้ากลาง 2000-2001 คุณพ่อมนตรี มีมงุ่ กิจ ผูร้ บั ผิด ชอบได้ปรับปรุงเปลีย่ นโฉม สารสังฆมณฑลเล่มใหญ่ ขึ้น มีการเพิ่มหน้าสีมากขึ้น 2001-2002 คุณพ่อสุทัศน์ เภกะสุต เป็นผู้ อ�ำนวยการฯ และบรรณาธิการ 2002-2005 คุณพ่อพิทกั ษ์ โยธารักษ์ ผูร้ บั ผิด ชอบ ได้จดั ให้มกี ารประกวดการตัง้ ชือ่ สารสังฆมณฑล และได้ชื่อใหม่ทใี่ ช้มาจนถึงปัจจุบนั “สายใยจันท์” แต่ยังใช้ร่วมกับชื่อเดิม “สารสังฆมณฑล สายใย จันท์” 2005-2008 คุณพ่อสมนึก ประทุมราช เป็น ผูร้ บั ผิดชอบ ได้จดั ท�ำ“สารสังฆมณฑล สายใยจันท์” และ “จุลสารสังฆมณฑล สายใยจันท์” ออกมาใน รูปแบบของแผ่นพับ 8 หน้า จ�ำนวน 3 ฉบับ 2008-2010 คุณพ่อสุทัศน์ เภกะสุต ช่วย งานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการ 2010-ปัจจุบัน คุณพ่ออเนก นามวงษ์ เป็น ผู้รับผิดชอบ 23


ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี “เครื่องมือของพระคริสตเจ้าในการประกาศข่าวดี โดยปฏิบัติความรักเมตตาบนพื้นฐานการพัฒนา มนุษย์ทั้งครบ ตามค�ำสอนของพระเยซูคริสตเจ้า ที่เคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ฝ่ายสังคมท�ำงานโดยยึดแผนอภิบาลของ สังฆมณฑล เพื่อให้เกิดความร่วมมือกัน แบ่งปันซึ่ง กันและกัน ร่วมกันแสวงหาคุณค่าพระอาณาจักร ของพระเจ้าในบริบทของสังคม เป็นการประกาศ ข่าวดีของพระคริสตเจ้ากับพี่น้องผู้ยากไร้ ด้วยการ ด�ำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยาน ผ่านภารกิจ รักและ รับใช้ โดยผ่านการท�ำงานของแผนกต่าง ๆ ในฝ่าย เช่น แผนกผู้อพยพย้ายถิ่น แผนกผู้เดินทางทะเล แผนกผู้ถูกคุมขัง แผนกสุขภาพอนามัย แผนกสตรี แผนกยุติธรรมและสันติ และได้บังเกิดผลตามความ มุง่ หมาย เน้นการท�ำงานทีค่ รอบคลุมทุกมิตขิ องชีวติ

มนุษย์ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ปกป้องชีวิต ส่งเสริม ศักดิ์ศรี และ สิทธิ เพื่อให้มีชีวิตอย่างสมบูรณ์ สิ่ง ที่ส�ำคัญที่สุดคือ การผลักดัน รณรงค์ที่จะประกาศ คุณค่าของค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร เพือ่ ใช้เป็นหลักธรรมาภิบาลพืน้ ฐานในการด�ำเนินชีวติ ทัง้ ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม ยุติการค้ามนุษย์ ก็เป็นอีกหนึ่งภารกิจของ คริสตชน เพือ่ ให้คริสตชนตระหนักถึงบทบาทในฐานะ ประกาศก รู้ทันในปัญหาของสังคมปัจจุบันและช่วย หาทางออกด้วยจิตตารมณ์พระวรสาร โดยเฉพาะยุติ การค้ามนุษย์หรือการค้าทาสสมัยใหม่

ผู้รับผิดชอบดูแล คุณพ่อสุดเจน ฝ่นเรือง คุณพ่อเอกภพ ผลมูล คุณพ่อวิเชียร ฉันทพิริยกุล คุณพ่อชัยศักดิ์ ไชยสนธิ ซิสเตอร์วรนุช ประนอมมิตร

ผู้อ�ำนวยการฝ่ายสังคม และ แผนกผู้อพยพย้ายถิ่น/ผู้เดินทางทะเล ผู้อ�ำนวยการศูนย์สังคมพัฒนา ผู้อ�ำนวยการแผนกผู้ถูกคุมขัง ผู้อ�ำนวยการแผนกสุขภาพอนามัย ผู้อ�ำนวยการแผนกสตรี

“ผู้น�ำซึ่งเป็นแบบอย่างของผู้อภิบาล ผู้ยากไร้และผู้มีความล�ำบากในชีวิต” 24


อบรมสืบทอดภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ วันที่ 6 มีนาคม 2014

สัมมนาเครือข่ายเกษตรกรรม ยั่งยืนเพื่อลดภาวะโลกร้อน

ประชุม World Congress ที่วาติกัน

งาน World Congress

อภิบาลโรฮิงญา ในห้องกัก จังหวัดตราด

Christmas ให้ลูกเรือ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง

ช่วยเหลือครอบครัวเหยื่อ โจรสลัด โซมาเลีย จ.ตราด

Christmas ครอบครัว ประมง ชาวกัมพูชา

ร่วมประชุม Maritime อาเซียน ที่กรุงมะนิลา

อบรมเณรใหญ่ในงานค้า มนุษย์ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง

รณรงค์ตรวจเรือพร้อมกัน ทั่ว South East Asia

ร่วมประชุม ITF Women Congress ที่กรุงนิวเดลี

ลูกเรือเหยื่อค้ามนุษย์ ที่ช่วยกลับมาจากเกาหลี

ร่วมประชุมโครงการต่อต้าน การค้ามนุษย์ Caritas

แผนกสตรี จัดงานวันสตรี สากล ที่เรือนจ�ำ

ประชุมฝ่ายสังคม ที่ศูนย์สังคมพัฒนา

จัดงานวันเด็กที่โรงเรียน ต�ำรวจชายแดน สระแก้ว

ประชุมติดตามข่าวโจรสลัด จับลูกเรือไทย

อภิบาลผู้อพยพย้ายถิ่น ชาวพม่า

สัมมนาบุคลากร ศูนย์สังคมพัฒนา 4 ภาค 25


โปรดช่วยลูก ให้รอดพ้น

26


ทุกช่วงเวลาชีวต ิ เรา ต่างพบปะผูค้ นมากมาย บางคนก็แสนดี อบอุน่ เป็นมิตร น่าชิดใกล้ บางคนก็ใจร้าย คอยบัน่ ทอนท�ำลายความรูส ้ กึ ของเราร�ำ่ ไป จนบางทีเราเองก็แทบอยากจะสลัดพระวาจา ทีพ ่ ระคอยชีส ้ อนเราไปเสีย อยากจะ “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” ให้มนั แตกหักกันไปข้างหนึง่ พระวาจาอบอุน่ ก็เดินทาง ผ่านความสวยงามมาหาถึงที่

“ความคิดรอบคอบจะเฝ้าดูแลลูก ความเข้าใจจะคอยระวังลูกไว้ เพือ ่ ช่วยลูกให้พน้ จากหนทางของคนชัว ่ ร้าย พ้นจากคนทีพ ่ ด ู ตลบตะแลง” (สภษ 2:11-12)

เราจะผ่านพ้นจากหนทางของคนชัว ่ ร้าย ด้วยการดูแลและปกป้องของพระองค์สำ� หรับเรา เมือ ่ เราท�ำในสิง่ ทีด ่ ี และถูกต้องทีส ่ ด ุ แล้ว นบนอบและยอมรับทุกสถานการณ์ ด้วยความเข้าใจ ด้วยสันติ ด้วยความรอบคอบแล้ว เราจะต้องผ่านพ้นสิง่ ชัว ่ ร้ายไปได้ดว ้ ยดีเสมอ ขอให้ลกู รอบคอบกับทุกเหตุการณ์ ขอให้ลกู เข้มแข็งอดทนมากกว่านี ้

ขอให้ลกู พ้นผ่านทุกอย่างไปด้วยดี ขอให้ลกู มีสนั ติสขุ ในดวงใจ โดย น�้ำผึ้งหวาน 27


วัดวันยาว ปัจจุบันเป็น วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง

วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี 28

วัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 6

1 2

3

7 8 9

4

10

5

คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. เทศกาลต่อจากมหาพรต 6. ชื่อวัดขลุงในอดีต 8. เทศกาลที่ต้องอดอาหาร-เนื้อ 9. หนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสาร

แนวนอน

2. ชื่อหนังสือ 3. หนังสือเล่มนี้ครบกี่ปี 4. หลังสิ้นพระชนม์3วันพระเยซูเจ้าทรง... 5. คณะนักขับร้องวัดขลุง 7. วันแรกของสัปดาห์ 10. หนังสือที่บันทึกพระวาจา

29


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

พ 9ร ะ แ ม่ ม า ร ะ 5 ม ง กุ ฎ ห น า ม 9 เ ม 3 ส า 7 ร า ง ห ญ้ า ย 4 ย ป อ ร แ ะ ซ ค 8 ไ ฟ ช ำ� ร 1 2

30

รี อ า

เ อ 6 ย ม อ ลิ ซ า เ บ ธ นู ห์ น แ อ ล ะ

10

สิ่งตีพิมพ์

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 11 ปีที่ 24 เดือนธันวาคม 2013


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

31


32


33


34


35


36


37


38


39


อักษรศิลป์ ซ.สุมาลี สุดจินดา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.