สายใยจันท์ V.18

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

• สัมภาษณ์พิเศษ

สู่งาน...วันชุมนุมเพื่อ การส่งเสริมกระแสเรียก

• ฉลองธรรมล�้ำลึกปัสกา มรดกที่ยิ่งใหญ่

• งานธรรมทูต ของฆราวาส

• การแต่งงาน

จะเป็นโมฆะได้อย่างไร?

FREE COPY แจกฟรี

Vol.18

เมษายน 2016 ปีท่ี 27


ปีที่ 27 ฉบับที่ 18 / เมษายน 2016

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 สาสน์อวยพรวันปัสกา................................................................ 6 ความเมตตาและความกรุณาแตกต่างกันอย่างไร?...................... 8 งานธรรมทูตของฆราวาส......................................................... 10 งานสังคม กับการพัฒนาชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชน...............16 การฉลองธรรมล�้ำลึกปัสกา มรดกที่ยิ่งใหญ่........................... 18 สู่งาน...วันชุมชนเพื่อการส่งเสริมกระแสเรียก............................ 20 การแต่งงานจะเป็นโมฆะได้อย่างไร?..............................................24 เปลี่ยนดวงใจลูกเถิด....................................................................26 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 28 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................29 คอลัมน์ ประจ�ำฉบับ

8

16 18

24 วัตถุประสงค์

1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

พระเมตตาของพระเยซูเจ้า

ระหว่างการประจักษ์ของพระเยซูเจ้าแก่นักบุญโฟสตินา พระเยซูเจ้าได้ตรัสถึง “พระเมตตา” ของพระเป็นเจ้าบ่อย มาก พระองค์ได้ตรัสกับนักบุญโฟสตินาว่า “ลูกรัก จงพากเพียรบันทึกทุกประโยคทีเ่ ราพูดกับลูกเกีย่ วกับความเมตตาของ เราเพราะเราตั้งใจให้วิญญาณมากมายได้รับประโยชน์จากบันทึกนี้” (บันทึกข้อ 1142) พระเยซูเจ้าได้ตรัสว่า ใครก็ตามที่เข้าถึงต้นธารแห่งชีวิต(พระเมตตา)ในวันนี้ จะได้รับการอภัยบาปและยกโทษบาป ทั้งหมด” (บันทึกข้อ 0300) และที่สุด พระเยซูเจ้าตรัสแก่ซิสเตอร์โฟสตินาว่า พระองค์ทรงปรารถนาให้มีการเฉลิมฉลองวัน อาทิตย์แรกหลังวันอาทิตย์ปัสกากันทั่วโลกให้เป็น “วันฉลองพระเมตตา” “ลูกรัก เมือ่ เราเรียกร้องผ่านลูกให้คนทัง้ หลายสักการะความเมตตาของเรานัน้ ลูกควรเป็นคนแรกทีแ่ สดงความ วางใจในความเมตตาของเราให้เห็นเด่นชัด เราเรียกร้องให้ลูกท�ำกิจเมตตาซึ่งเกิดจากความรักที่มีต่อเรา ลูกควรแสดง ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ทุกเวลาและทุกสถานที่ ลูกไม่ควรหลีกเลี่ยงหรือพยายามหาข้อแก้ตัวที่จะไม่ท�ำกิจเมตตานี้ เราขอบอกสามวิธที ลี่ กู จะแสดงความเมตตาต่อเพือ่ นมนุษย์ได้ วิธแี รก คือ ด้วยกิจการ วิธที สี่ อง คือ ด้วยค�ำพูด วิธที สี่ าม คือ ด้วยค�ำภาวนา ในความเมตตาทั้งสามระดับนี้ มีความเมตตาอย่างครบถ้วน และเป็นการพิสูจน์ความรักต่อเราอย่าง ไม่มีข้อสงสัย วิญญาณสรรเสริญและแสดงความเคารพบูชาความเมตตาของเราด้วยวิธีนี้ ถูกแล้ว วันอาทิตย์แรกหลัง ปัสกาคือวันฉลองพระเมตตา แต่ควรประกอบกิจเมตตาด้วยและเราเรียกร้องให้มกี ารสักการะความเมตตาของเราด้วย พิธีสมโภชอย่างสง่า ด้วยการแสดงความเคารพต่อภาพพระเมตตาที่วาดขึ้นมานี้ เราจะมอบพระหรรษทานมากมายแก่ วิญญาณทั้งหลายด้วยภาพนี้ ภาพนี้ควรเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงสิ่งที่ความเมตตาของเราปรารถนา เพราะแม้แต่ ความเชื่อที่แข็งแกร่งที่สุดก็ไร้ประโยชน์ หากปราศจากกิจการ” (บันทึกข้อ 0742) พี่น้อง เราก�ำลังอยู่ในการเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์(พิเศษ)แห่งเมตตาธรรม เป็นเรื่องเดียวกันกับพระเมตตาที่พระเยซู เจ้าได้เปิดเผยแก่เราโดยผ่านทางนักบุญโฟสตินา ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรมนี้ พระสันตะปาปาฟรังซิส คาดหวังว่า เราคริสตชนจะได้มปี ระสบการณ์ในพระเมตตาของ พระเจ้า (พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม 17) และแบ่งปันประสบการณ์แห่งพระเมตตานี้แก่พี่น้องของเรา โดยผ่านทางงานเมตตา ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต (พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม 15) สังฆมณฑลของเรา ได้เป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรสากลในการฉลองปีศักดิ์สิทธิ์(พิเศษ)แห่งเมตตาธรรม โดยผ่าน ทางกิจกรรมต่าง ๆ ของสังฆมณฑล ที่ผ่านมาเราได้ “เปิดประตูศักดิ์สิทธิ์” ได้ร่วมภาวนา “24 ชั่วโมงเพื่อพระเจ้า” ได้ ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน เฝ้าพระเยซูในศีลมหาสนิทอีกด้วย และยังมีกิจกรรมอีกหลายอย่างที่เราจะกระท�ำร่วมกันในโอกาสปี ศักดิ์สิทธิ์(พิเศษ)แห่งเมตตาธรรม สายใยจันท์ฉบับนี้ได้น�ำเสนอเรื่อง “กระแสเรียก” เป็นพิเศษในรูปแบบของการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ น่าอ่านทีเดียว สุดท้ายขอยกค�ำพูดของพระเยซูเจ้าตรัสกับนักบุญโฟสตินาว่า “แล้วมีใครบ้างล่ะทีร่ เู้ รือ่ งวันฉลองนี้ ไม่มเี ลย! แม้แต่ ผูท้ สี่ มควรประกาศและเทศน์สอนเรือ่ งความเมตตาของเราก็มกั ไม่รเู้ สียเอง ด้วยเหตุนี้ เราถึงต้องการให้ภาพนีไ้ ด้รบั การ เสกอย่างสง่าในวันอาทิตย์แรกหลังปัสกาและเราต้องการให้ภาพนีไ้ ด้รบั การเคารพจากสาธารณชนเพือ่ วิญญาณทุกดวง จะได้รู้จักภาพนี้” (บันทึกข้อ 0341)

ขอสุขสันต์ปัสกาแก่พี่น้องทุกท่าน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


4


พระเมตตาขององค์พระเยซูเจ้า มีต่อเรามากมายหาใดเปรียบปาน แม้ลูกคนบาปหยาบช้าเหลือประมาณ ทรงมีแผนการณ์น�ำพบความรอดนิรันดร์ หันเข้ามาพบพระเมตตาพระเจ้า แม้ตัวเราชั่วช้าจนเกินอภัย พระองค์รอท่าอย่าช้ามาพบทรงชัย พระเมตตายิ่งใหญ่ไม่มีวันสูญสิ้นเลย (จากท่อนแรกและท่อนสุดท้ายของบทเพลงพระเมตตา)

เราอยูใ่ นปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม การฉลองปัสกาในปีนตี้ อ้ งท�ำให้เราเข้าใจและสัมผัสกับ พระเมตตาของพระเจ้าที่เผยแสดงแก่เราในพระธรรมล�้ำลึกแห่งปัสกา การกลับคืนพระชนมชีพของ พระเยซูเจ้าแสดงให้เห็นว่า พระเมตตาและความรักของพระเจ้ามีอานุภาพยิง่ กว่าบาปและความตาย เราได้รับความรอดพ้น ซึ่งเป็นพระพรแห่งพระเมตตาของพระเจ้าที่มีต่อมนุษยชาติ การฉลองปัสกา ในปีศักดิ์สิทธิ์นี้จึงต้องท�ำให้เราตระหนักว่า เราคริสตชนต้องเจริญชีวิตและเป็นประจักษ์พยานถึง ความรักและพระเมตตายิ่งใหญ่ของพระเจ้า ที่ถูกเผยแสดงและท�ำให้ส�ำเร็จในองค์พระเยซูคริสตเจ้า มีคนถามสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสว่า “อะไรคือสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทีค่ ริสตชนควรกระท�ำ ในช่วงปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” พระองค์ตอบว่า “เขาควรเปิดหัวใจและชีวติ ของเขาต่อพระ เมตตาของพระเจ้า ยอมให้พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามาในตัวเขาโดยการไปสารภาพบาปด้วยความ เชื่อ และเขาควรปฏิบัติตนเป็นผู้เมตตาต่อผู้อื่น” นี่คือสิ่งที่พระสันตะปาปาต้องการจะสื่อกับเรา ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์นี้ นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ในพระสมณสาส์น “บริบูรณ์ด้วยพระเมตตา” (Dives in Misericordia) ข้อที่ 14 เขียนว่า “พระเยซูคริสตเจ้าทรงสอนไว้ว่า มนุษย์ไม่เพียงแต่รับพระเมตตาและ มีประสบการณ์ในพระเมตตาของพระเจ้าเท่านัน้ แต่ยงั ได้รบั การเรียกร้องให้ปฏิบตั กิ จิ เมตตาต่อ เพื่อนมนุษย์ด้วย ‘ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา’ (มธ 5: 7) .....มนุษย์ ได้รับพระเมตตากรุณาจากพระเจ้าซึ่งด้วยพระเมตตารักนี้เองจะท�ำให้เขาเปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อจะได้รักเพื่อนพี่น้องของเขา” ขอส่งความสุข และความชื่นชมยินดีแห่งปัสกา มายังพี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษ คริสตชนทั้งหลาย ขอพระหรรษทานแห่งพระธรรมล�้ำลึกในการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า จงประทับในจิตใจของเราทุกคน เพื่อช่วยให้เรามีชีวิตใหม่ในพระเจ้าและด�ำเนินชีวิตในวิถีทางแห่ง พระเมตตาของพระองค์อย่างซื่อสัตย์และมั่นคง อ�ำนวยพรมาด้วยความรักในองค์พระคริสตเจ้า (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

5


สาสน์อวยพรวันปัสกา

6


สุขสันต์วันปัสกาแด่พี่น้องคริสตชนที่รัก พี่น้องชาวอิสราเอลฉลองปัสกาทุกปีด้วยความปิติยินดี สรรเสริญขอบพระคุณพระเจ้า ที่ได้ ช่วยบรรพชนของเขาอพยพออกจากประเทศอียปิ ต์ ผ่านจากแดนทาสเข้าแผ่นดินพระสัญญา โดยทีบ่ ตุ ร ชายคนแรกไม่ถกู ประหาร ปัสกาของพระเยซูเจ้าคือ การผ่านจากความตายไปสูก่ ารกลับคืนพระชนม์ ชีพอย่างมีชัยชนะ น�ำความยินดีและความหวังมาให้เรามนุษย์ที่ต้องตายเพราะบาป ว่าวันหนึ่งเรา จะได้กลับคืนชีพเหมือนพระองค์ ปัสกาของเราคริสตชนคือ การผ่านจากการเป็นทาสของบาปไปสู่ อิสรภาพแห่งการเป็นบุตรของพระเจ้า โดยตายและกลับคืนชีพ มีชีวิตใหม่กับพระองค์ในศีลล้างบาป เราคริสตชนฉลองปัสกากันทุกปี เป็นวันฉลองยิ่งใหญ่ที่สุดในศาสนาของเรา เพื่อสรรเสริญ ขอบพระคุณพระเจ้าด้วยความกตัญญูรู้คุณ ระลึกถึงพระเยซูเจ้าผู้มาร่วมทุกข์กับเราคนบาป ทนทุกข์ ทรมาน รับความตายและกลับคืนพระชนมชีพอย่างมีชยั ชนะ มีการเตรียมฉลอง 40 วันตลอดเทศกาล มหาพรต (แต่ก่อนมีการจ�ำศีลอดอาหารอดเนื้อทุกวัน ปัจจุบันเหลือแต่ชีลับที่ยังจ�ำศีลอดอาหารทุก วัน) และเป็นการเตรียมผู้ที่จะรับศีลล้างบาปในคืนปัสกา นอกจากนั้น ยังเป็นการรื้อฟื้นชีวิตศีลล้าง บาปส�ำหรับผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้ว โดยการรับเถ้า เชิญชวนเราให้กลับใจใช้โทษบาป รื้อฟื้นความ เชื่อให้ร้อนรน ในวันรับศีลล้างบาป เราได้สัญญาจะละทิ้งปีศาจ กิจการชั่วร้าย และสิ่งยั่วยวนต่าง ๆ และ ถือตามค�ำสอนของพระคริสตเจ้า เรายังซื่อสัตย์ต่อค�ำมั่นสัญญานี้อยู่หรือ ? ความเชื่อของเรายัง สว่างไสวดุจแสงเทียนไม่รู้ดับหรือ ? แสงเทียนนี้ยังต้องส่งต่อให้ผู้อื่นต่อไป สมัยก่อนผูท้ ที่ ำ� บาปสาธารณะอยากจะกลับใจ ต้องแสดงเครือ่ งหมายภายนอกใช้โทษบาปก่อน โดยคุกเข่าหน้าประตูวัดตลอดมหาพรต จนถึงวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ (วันแห่งการคืนดี) พระสงฆ์จะเชิญ ให้เข้าไปในวัด รับศีลอภัยบาป คืนดีกับพระเจ้าและพระศาสนจักร ปัจจุบันเราไปสารภาพบาปก่อน แล้วจึงใช้โทษบาปทีหลัง โดยพระสงฆ์ก�ำหนดให้ (บาปสาธารณะมีอยู่ 3 อย่าง คือ บาปทิ้งความเชื่อ ทิ้งศาสนา : อาโปสตาตา, บาปฆ่าคน, และบาปผิดลูกเมียเขา, มีชู้) ขอให้เทศกาลมหาพรตเป็นโอกาสให้เรากลับใจ หันหลังให้บาป ลด ละ เลิก สิ่งไม่ดีต่าง ๆ ใช้ เวลาอย่างเข้มข้น ร่วมทุกข์กับพระองค์ หาเวลาภาวนา อ่านพระคัมภีร์มากขึ้น จ�ำศีลอดอาหาร ท�ำ พลีกรรม ท�ำบุญท�ำทาน แผ่เมตตาช่วยเหลือพี่น้องที่ยากไร้ ที่มีปัญหาทั้งกายและใจ เป็นพิเศษในปี เมตตาธรรมนี้ ขอให้ชีวิตของเราแต่ละวันเป็นการเจริญชีวิตพระธรรมล�้ำลึกปัสกา คือ ตายต่อบาป ถูกฝังและกลับคืนชีพเป็นคนใหม่พร้อมกับพระคริสตเจ้า เพื่อวันสุดท้ายเราจะได้มีบุญ ชนะความตาย กลับคืนชีพเหมือนพระองค์ และมีชีวิตนิรันดรกับพระองค์ในสรวงสวรรค์ สุขสันต์วันปัสกา อัลเลลูยา อัลเลลูยา (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนที่ 8) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมเมื่อตอนที่แล้วได้พูดถึงว่า ท�ำไมคริสตชนต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระเป็นเจ้า ในการเป็น “คริสตชนที่ศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งได้พูดถึง 2 เหตุผลนั่นคือ 1)เพราะสายสัมพันธ์ของความเป็น ลูกของพระเป็นเจ้า และ 2) ความตกต�่ำของสภาพจิตใจของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน มีความยากเกินกว่า มนุษย์จะช่วยเหลือและเยียวยาตนเองให้เป็นคริสตชนทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิไ์ ด้ ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงจ�ำเป็นต้อง ได้รับความเมตตากรุณาจากพระเป็นเจ้า เพื่อเดินทางสู่หนทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ บทจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม ได้ยืนยันความจริงดังกล่าวนี้กับเราว่า “เพราะ พระองค์ตรัสกับโมเสสว่า เราเมตตาต่อผู้ที่เรา เมตตา และสงสารผู้ที่เราสงสาร” (รม 9:15) และ อีกครั้งบทจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ได้ย�้ำว่า “ขอถวายพระพรแด่พระเจ้า พระบิดา ของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระบิดาผู้ทรงพระกรุณา และพระเจ้าผู้ประทาน ก�ำลังใจทุกประการ” (2 คร. 1:3) จากนักบุญเปาโลได้กล่าวถึงความเมตตา ของพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้าเป็นความกรุณา ค�ำถามคือ....

8

ความเมตตาและความกรุณา แตกต่างกันอย่างไร? ความเมตตา หมายถึง การให้โอกาสใหม่ แก่ ผู้ได้กระท�ำผิด ที่ได้ส�ำนึกผิด แม้การกระท�ำผิดของ เขานั้นจะไม่สมควรได้โอกาสใหม่อีกก็ตามที ตัวอย่าง ที่เราเห็นได้ชัดถึงความเมตตาคือ บิดาผู้ใจดี ในพระ วรสารของนักบุญลูกา 15 ข้อที่ 11-33 เรื่องราว ของลูกคนเล็ก ได้ขอแบ่งทรัพย์สมบัติ แล้วออกเดิน ทางไกล ใช้ชีวิตอย่างเหลวแหลก ผลาญเงินทองที่ ได้มาจนหมดสิ้น อยู่ในสภาพที่ย�่ำแย่ จนต้องไปขอ เลี้ยงหมูเพื่อประทังชีวิต แต่ที่สุดก็ส�ำนึกผิด และ


คิดว่า ที่บ้านของตนเองยังมีความรักรออยู่ จึงกลับไปหาบิดา ในขณะเดียวกัน บิดาก็ เฝ้าคอยลูกชายคนเล็กของตนกลับมา เมื่อลูกคนเล็กกลับมา บิดาวิ่งเข้าสวมกอดด้วย ความยินดี จัดงานเลี้ยงฉลองอย่างดีและยิ่งใหญ่ ให้ความเป็นลูกของตน โดยบิดาไม่ ถามเลย ท�ำไมถึงท�ำกับพ่อเช่นนี้ หรือดุ ว่า ลูกตนเองว่า ลูกไม่รักดี นี่คือความเมตตา ของบิดาที่มีต่อลูกของตน หากเราวิเคราะห์เรื่องราวความเมตตาของบิดาผู้ใจดี จะมีเรื่องของ ความรัก และการให้อภัย มาเกี่ยวข้องด้วย นอกจากเรื่องราวบิดาผู้ใจดีแล้ว ในพระคัมภีร์ยังมี ตัวอย่างอีกมากที่พูดถึง ความเมตตาของพระเป็นเจ้า • นักบุญเปโตรถามพระเยซูเจ้า จ�ำเป็นต้องให้อภัยกี่ครั้ง พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “เราไม่ได้บอกว่าต้องยกโทษให้เจ็ดครั้ง แต่ต้องยกโทษให้เจ็ดคูณเจ็ดสิบครั้ง” (มธ 18:22) [นี่คือความเมตตาของพระเป็นเจ้า] • เรื่องราวชาวสะมาเรียใจดี (ลก 10:29-37) ชาวสะมาเรียผู้เดินทางผ่านมาพบชาย ที่บาดเจ็บ ก็เข้าไปปรนนิบัติชายคนนั้น โดยไม่รังเกียจว่าผู้บาดเจ็บเป็นใคร แต่ดูแล อย่างดี “วันรุ่งขึ้นชาวสะมาเรียผู้นั้นน�ำเงินสองเหรียญออกมามอบให้เจ้าของ โรงแรมไว้กล่าวว่า “ช่วยดูแลเขาด้วย เงินที่ท่านจะจ่ายเกินไปนั้น ฉันจะคืนให้ เมื่อกลับมา” [นี่คือความเมตตาของพระเป็นเจ้า] • เรื่องราวของศักเคียส (ลก 9:1-10) “ศักเคียส รีบลงมาเถิด เพราะเราจะไปพัก ที่บ้านท่านวันนี้ พระเยซูเจ้าตรัสว่า วันนี้ ความรอดพ้นมาสู่บ้านนี้แล้ว เพราะ คนนี้เป็นบุตรของอับราฮัมด้วย” [นี่คือความเมตตาของพระเป็นเจ้า] จะเห็นได้ว่า พระเมตตาของพระเจ้าไม่ได้เป็นเพียงนามธรรม แต่เป็นความจริง ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเป็นบิดาหรือมารดา ที่รักบุตรจนสุดหัวใจ เป็น ความรักที่อยู่ใน “สายเลือด” ที่ทะลักออกมาจากภายในโดยธรรมชาติ เปี่ยมด้วยความ อ่อนโยนและความเห็นอกเห็นใจ เปี่ยมด้วยพระการุญและพระเมตตา (พระพักตร์แห่ง ความเมตตา ข้อ 6) พระเป็นเจ้าไม่เคยเบื่อหน่ายที่จะทรงเปิดประตูแห่งดวงพระทัยของ พระองค์ให้กับพวกเรา พระเป็นเจ้าตรัสซ�้ำ ๆ ว่า “พระองค์รักเราและทรงปรารถนา ที่จะแบ่งความรักของพระองค์ให้แก่เรา” (พระพักตร์แห่งความเมตตา ข้อ 25)

(อ่านต่อฉบับหน้า ความหมายของ “ความกรุณา”) 9


งาน ธรรมทูต ของ ฆราวาส โดย ล.เทียนชัย สมานจิต

สังคายนาวาติกันที่ 2 ปิดมา 50 ปีแล้ว สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ที่ 23 โดยการดลใจของพระ จิตเจ้า เรียกประชุมพระสังฆราชทั่วโลก 2000 กว่าองค์ ระหว่างปี ค.ศ. 1962-1965 มีมติเป็นเอกสารออก มา 16 ฉบับ ซึ่งหลาย ๆ คนยังไม่รู้จักและไม่เคยศึกษา พระธรรมนูญ 4 ฉบับ: คือ 1. เรื่องพระศาสนจักร (LUMEN GENTIUM) ได้รับการอนุมัติวันที่ 21 พ.ย. 1964 ด้วยคะแนนเสียง 2151 ต่อ 5 เสียง 2. เรื่องการเผยของพระเจ้า (DEI VERBUM) ได้รับการอนุมัติวันที่ 18 พ.ย. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2344 ต่อ 6 เสียง 3. เรื่องพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ (SACRO SANCTUM CONCILIUM) ได้รับการอนุมัติวันที่ 4 ธ.ค. 1963 ด้วยคะแนนเสียง 2147 ต่อ 4 เสียง 4. เรื่องพระศาสนจักรในโลกสมัยใหม่ (GAUDIUM ET SPES) ได้รับการอนุมัติวันที่ 7 ธ.ค. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2309 ต่อ 75 เสียง สมณกฤษฎีกา 9 ฉบับ: คือ 1. เรื่องสื่อมวลชน (INTER MIRIFICA) ได้รับการอนุมัติวันที่ 4 ธ.ค. 1963 ด้วยคะแนนเสียง 1960 ต่อ 164 เสียง 2. เรื่องคริสตศาสนสัมพันธ์ (UNITATIS REINTEGRATIO) ได้รับการอนุมัติวันที่ 21 พ.ย. 1964 ด้วยคะแนนเสียง 2137 ต่อ 11 เสียง 10

3. เรื่องบรรดาคริสตจักรคาทอลิกตะวันออก (ORIENTALIUM ECCLESIARUM) ได้รับการอนุมัติวันที่ 21 พ.ย. 1964 ด้วยคะแนนเสียง 2110 ต่อ 39 เสียง 4. เรื่องหน้าที่ของพระสังฆราชในการอภิบาล สัตบุรุษในพระศาสนจักร (CHRISTUS DOMINUS) ได้รับการอนุมัติวันที่ 28 ต.ค. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2319 ต่อ 2 เสียง 5. เรื่องการอบรมพระสงฆ์ (OPTATAM TOTIUS) ได้รับการอนุมัติวันที่ 28 ต.ค. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2318 ต่อ 3 เสียง 6. เรื่องปรับปรุงและฟื้นฟูชีวิตนักบวช (PERFECTAE CARITATIS) ได้รับการอนุมัติวันที่ 28 ต.ค. 1965 ด้วย คะแนนเสียง 2321 ต่อ 4 เสียง 7. เรื่องงานธรรมทูตของฆราวาส (APOSTOLICAM ACTUOSITATEM) ได้รับการอนุมัติวันที่ 18 พ.ย. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2305 ต่อ 2 เสียง 8. เรื่องการปฏิบัติงานและชีวิตของพระสงฆ์ (PRESBYTERORUM ORDINIS) ได้รับการอนุมัติวันที่ 7 ธ.ค. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2390 ต่อ 4 เสียง


9. เรื่องงานธรรมทูตของพระศาสนจักร (AD GENTES) ได้รับการอนุมัติวันที่ 7 ธ.ค. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2394 ต่อ 5 เสียง ค�ำแถลง 3 ฉบับ: คือ 1. เรื่องการอบรมตามหลักของคริสตธรรม (GRAVISSIMUM EDUCATIONIS) ได้รับการอนุมัติวันที่ 28 ต.ค. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2290 ต่อ 35 เสียง 2. เรื่องความสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับ บรรดาศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา (NOSTRA AETATE) ได้รับการอนุมัติวันที่ 28 ต.ค. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2221 ต่อ 88 เสียง 3. เรื่องเสรีภาพในการถือศาสนา (DIGNITATIS HUMANAE) ได้รับการอนุมัติวันที่ 7 ธ.ค. 1965 ด้วยคะแนนเสียง 2308 ต่อ 70 เสียง สังคายนาวาติกันที่ 2 ถือว่าเป็นสังคายนา ที่ส�ำคัญ ที่เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าหรือทิศทางของ พระศาสนจักรจากหน้ามือเป็นหลังมือ เกี่ยวกับชีวิต ธรรมชาติ งานอภิบาล งานธรรมทูต บทบาทของพระ ศาสนจักรในโลก 50 ปีผ่านไป หลายสิ่งหลายอย่าง ได้รับการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เจริญก้าวหน้า แต่ ก็มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างยังไม่ได้รับการปรับปรุง เปลีย่ นแปลงเท่าทีค่ วร เพราะสมาชิกของพระศาสนจักร ยังไม่ได้กลับใจเปลีย่ นแปลงตนเอง พร้อมทัง้ ทัศนคติ ท่าทีและการกระท�ำ ยังไม่ได้ศกึ ษา เรียนรู้ และน�ำไป ปฏิบตั อิ ย่างจริงจัง โดยเฉพาะฆราวาสซึง่ เป็นชนส่วน ใหญ่ในพระศาสนจักร

ในโอกาสระลึกถึงสังคายนาวาติกันที่ 2 ปิด มา 50 ปีแล้ว จึงขอเชิญชวนพี่น้องฆราวาสทัง้ หลาย ได้หาเวลาศึกษา พิจารณา ทบทวนกระแสเรียกและ บทบาทของตนในพระศาสนจักรและในโลก จากศีล ล้างบาปและศีลก�ำลังทีไ่ ด้รบั ตามทีส่ งั คายนาเรียกร้อง สังคายนาวาติกันที่ 2 เน้นบทบาทฆราวาส มากกว่าสังคายนาใด ๆ จนพระสงฆ์รู้สึกว่าตัวเอง มีบทบาทน้อยลง ก่อนสังคายนาวาติกันที่ 2 มีผู้ เปรียบพระศาสนจักรเป็นเหมือนรูปปิรามิด ซึง่ มีพระ สันตะปาปา พระสังฆราช พระสงฆ์ อยู่เบื้องบนตาม ล�ำดับ เป็นผูบ้ ญ ั ชา ส่วนฆราวาสอยูเ่ บือ้ งล่าง คอยรับ บัญชาจากเบื้องบน ไม่มีส่วนร่วม ไม่มีสิทธ์ไม่มีเสียง เช่น วัดของพ่อ พ่อจะท�ำอะไรก็ทำ� ไป สัตบุรษุ ฆราวาส เป็นผูต้ าม คล้ายทางบ้านเมืองแต่กอ่ นปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราช ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชน ไม่มสี ทิ ธ์ไม่มเี สียง ปัจจุบนั หลายประเทศเปลีย่ นแปลง การปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย ประชาชนมีสทิ ธิ์ มีเสียง มีสว่ นร่วม พระศาสนจักรในสังคายนาวาติกนั ที่ 2 ก็เช่นกัน เปลีย่ นจากรูปปิรามิดมาเป็นรูปวงกลม ซึ่งมีพระสันตะปาปาอยู่ตรงจุดศูนย์กลาง ห้อมล้อม ด้วยพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชและฆราวาส ทุก คนมีสิทธิ์ มีเสียง มีส่วนร่วม มีสมัชชาตัวแทนสภา พระสังฆราชทัว่ โลก มีสภาพระสังฆราชแต่ละประเทศ มีสหพันธ์สภาพระสังฆราชระดับทวีป มีสภาอภิบาล ระดับชาติ ระดับสังฆมณฑล ระดับแขวง ระดับวัด มีสภาสงฆ์ สภาฆราวาส ฯลฯ มีความร่วมมือ เป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น พระสันตะปาปาปายอห์นปอล ที่ 2 เคยตรัส กับบรรดาฆราวาสว่า “พวกท่านเป็นพระศาสนจักร” เพราะพวกท่านเป็นชนส่วนใหญ่ในพระศาสนจักร 98% ก็ว่าได้ ... แต่เป็นที่น่าเสียดาย บรรดาฆราวาสซึ่ง เปรียบเหมือนยักษ์ใหญ่ นอนหลับอยูโ่ คนต้นไม้ ยังไม่ ตื่น ยังไม่แสดงบทบาทของตน ทั้งในพระศาสนจักร และในโลกเท่าที่ควร 11


สมณกฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตของฆราวาส ข้อ 2 กล่าวไว้ดังนี้ : “พระศาสนจักรตั้งขึ้นส�ำหรับขยายพระอาณาจักรของพระคริสตเจ้าให้ แผ่ไปทั่วพิภพ เพื่อพระเกียรติมงคลของพระบิดา และส�ำหรับท�ำให้มนุษย์ทุกคนมีส่วนในการไถ่บาป และช่วยเหลือผู้อื่นให้รอด ... พระศาสนจักรท�ำงานธรรมทูตโดยอาศัยสมาชิกทุกคน การเรียกใครผู้ หนึ่งมาเป็นคริสตชนก็ถือว่าเป็นการเรียกผู้นั้นให้มาท�ำงานธรรมทูตนั่นเอง ในร่างกายที่มีชีวิต ไม่มี อวัยวะส่วนใดทีอ่ ยูเ่ ฉย ๆ ไม่ทำ� อะไรเลย แต่ยอ่ มมีสว่ นในชีวติ และในการปฏิบตั งิ านทัว่ ไปของร่างกาย ในร่างกายของพระคริสตเจ้าซึง่ ได้แก่พระศาสนจักร บรรดาอวัยวะของร่างกายนีต้ า่ งช่วยกันและเป็น หนึ่งเดียวกัน ... พระคริสตเจ้าได้ทรงมอบหมายให้บรรดาอัครธรรมทูตและผู้สืบต�ำแหน่ง มีหน้าที่สั่ง สอน ปกครอง และท�ำให้สัตบุรุษศักดิ์สิทธิ์ในนามของพระองค์ ฆราวาสที่มีส่วนร่วมในต�ำแหน่งสงฆ์ ต�ำแหน่งประกาศก และต�ำแหน่งกษัตริย์ของพระคริสตเจ้าจากศีลล้างบาป ก็ย่อมมีส่วนร่วมกับพันธ กิจแห่งประชากรทัง้ มวลของพระเป็นเจ้าในพระศาสนจักรและในโลก ... โดยเหตุทสี่ ภาพของฆราวาส มีลักษณะเฉพาะที่จะด�ำรงชีวิตอยู่ในท่ามกลางโลก และกิจการของโลก พระเป็นเจ้าจึงทรงเรียกเขา ให้มาท�ำงานธรรมทูตในโลก ด้วยจิตตารมณ์อันเข้มแข็งแบบคริสตชนของเขาดุจเป็นเชื้อแป้ง”

4

“โดยที่พระคริสตเจ้าซึ่งพระบิดาทรงส่งมา ทรงเป็นบ่อเกิดและก�ำเนิดของงานธรรมทูตทุก ชนิดของพระศาสนจักร งานธรรมทูตของฆราวาสจะเป็นผลดี ก็ย่อมขึ้นกับการที่ฆราวาสเจริญชีวิต ร่วมชิดสนิทกับพระคริสตเจ้า ตามที่พระองค์ตรัสว่า : “ผู้ใดด�ำรงอยู่ในเรา และเราด�ำรงอยู่ในเขา ผู้ นัน้ ย่อมบังเกิดผลเป็นอันมาก เพราะถ้าเราไม่ชว่ ยแล้ว พวกท่านไม่สามารถท�ำอะไร”(ยน 15:5)” (ข้อ 4) “ในสมัยนี้ เกิดปัญหาใหม่และความลุ่มหลงอย่างฉกรรจ์ก�ำลังแผ่ขยายออกไป โดยมุ่งจะโค่น ศาสนา ระเบียบศีลธรรม แม้กระทัง่ สังคมของมนุษย์ อย่างถอนรากถอนโคน สภาสังคายนาขอรบเร้า เตือนฆราวาสทัง้ หลายตามทีแ่ ต่ละคนมีคณ ุ วุฒแิ ละความรู้ ให้มสี ว่ นอย่างเข้มแข็งยิง่ ขึน้ ในการอธิบาย และป้องกันหลักการของพระคริสตธรรม...” (ข้อ 6)

7

12

2

“ในประวัติศาสตร์ที่ล่วงแล้วมา มนุษย์ใช้สิ่งของทางโลกไปในทางผิดอย่างร้ายฉกรรจ์ มนุษย์ ซึ่งติดบาปก�ำเนิดหลงผิดไปบ่อย ๆ เกี่ยวกับพระเจ้าแท้ ธรรมชาติมนุษย์ และหลักเกณฑ์ของกฎ ศีล ธรรม ขนบประเพณีตา่ ง ๆ ของมนุษย์เสือ่ มโทรม บางคนซึง่ เชือ่ ถือความก้าวหน้าของธรรมชาติศกึ ษา และวิชาการจนเกินควร ก็โอนเอนไปในทางจะบูชากราบไหว้สงิ่ ของทางฝ่ายโลกก็วา่ ได้ เขากลายเป็น ทาสยิง่ กว่าจะเป็นนายของสิง่ ของทางฝ่ายโลกนีไ้ ปเสียแล้ว เป็นภาระหน้าทีข่ องพระศาสนจักรทัง้ หมด ทีจ่ ะต้องท�ำให้มนุษย์สามารถตีคา่ สิง่ ของทางฝ่ายโลกอย่างถูกต้อง แล้วชักน�ำสิง่ ของทางฝ่ายโลกให้มงุ่ ไปหาพระเป็นเจ้าโดยอาศัยพระคริสตเจ้า เป็นหน้าที่ของศิษยาภิบาลจะต้องแถลงอย่างแจ่มแจ้งถึง หลักเกณฑ์ทเี่ กีย่ วกับจุดหมายการสร้าง และการใช้สงิ่ ของทางโลกในทางทีถ่ กู แล้วให้ความช่วยเหลือ ทางศีลธรรมและทางจิตวิญณาณ เพื่อให้ระเบียบวงการทางฝ่ายโลกได้รับการฟื้นฟูขึ้นในพระคริสต เจ้า ฆราวาสต้องถือว่าการฟืน้ ฟูระเบียบวงการทางฝ่ายโลกเป็นหน้าทีโ่ ดยเฉพาะของตนเอง” (ข้อ 7 )

6


ครอบครัว “พระผู้สร้างทรงก�ำหนดให้การอยู่ร่วมกันของสามีภรรยา เป็นต้นก�ำเนิดและ รากฐานของสังคมมนุษย์ ... งานธรรมทูตของสามีภรรยาและของครอบครัวจึงมีความส�ำคัญอย่าง มาก สามีภรรยาคริสตชนเป็นผูป้ ระกาศยืนยันความเชือ่ ส�ำหรับกันและกัน ส�ำหรับลูกและสมาชิกอืน่ ๆ ในครอบครัว เป็นสองคนแรกที่ถ่ายทอดความเชื่อถึงลูก และเป็นผู้อบรมลูก เป็นผู้ฝึกสอนลูกทั้งด้วย วาจาและแบบฉบับ เป็นผู้ช่วยเหลือลูก เลือกหากระแสเรียก เป็นผู้ส่งเสริมกระแสเรียกเป็นพระสงฆ์ และนักบวช สามีภรรยามีพนั ธะอันศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละเลิกร้างกันไม่ได้ เขาต้องยืนยันอย่างแข็งแรงถึงสิทธิ และหน้าที่ของพ่อแม่ และผู้ปกครองที่จะต้องอบรมลูกแบบคริสตชน และต้องป้องกันศักดิ์ศรีและ อิสรภาพอันชอบธรรมของครอบครัว ภารกิจที่จะต้องเป็นเซลล์ชีวิตตัวแรกของสังคม ครอบครัวได้ รับมาจากพระเจ้า จะต้องมีความรักใคร่กัน และภาวนาถึงพระเป็นเจ้าพร้อมกัน ท�ำให้ครอบครัวเป็น ดังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรที่บ้าน มีส่วนร่วมในพิธีกรรมของพระศาสนจักร รับใช้เพื่อน มนุษย์ทุกคนที่มีความเดือดร้อน ช่วยคนรุ่นหนุ่มสาว จุนเจือสามีภรรยาและครอบครัวที่ประสบความ ทุกข์ทางฝ่ายกายและใจ” (ข้อ 11)

12

11

เยาวชน “พวกเยาวชนมีอทิ ธิพลอยูม่ ากในสังคมปัจจุบนั นี้ ... เยาวชนต้องเป็นพวกแรกไปท�ำงาน ธรรมทูตแก่บรรดาเยาวชนด้วยกันเองในหมู่พวกเดียวกันด้วยตนเอง ผู้ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ควรพยายาม ท�ำการคบหาอย่างฉันมิตรกับพวกเยาวชน การคบหาเช่นนี้จะเป็นช่องทางให้ทั้งสองฝ่ายรู้จักกัน กับ แลกเปลี่ยนสิ่งดีประเสริฐที่ต่างฝ่ายต่างมี โดยไม่ค�ำนึงถึงอายุที่แตกต่างกัน ผู้ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ควร กระตุ้นชักจูงให้พวกเยาวชนท�ำงานธรรมทูต ชัน้ แรกโดยให้เป็นตัวอย่างก่อน และเมือ่ มีโอกาสก็ให้ค�ำ แนะน�ำตักเตือนอันมีคติ และให้ความช่วยเหลืออันเกิดผล ข้างฝ่ายเยาวชนก็ควรมีความไว้วางใจและ เคารพต่อผู้มีอายุกว่า และแม้เป็นธรรมดาที่เยาวชนจะชอบของใหม่ ๆ ก็ควรจะนิยมยกย่องประเพณี ที่น่าเคารพเท่าที่ควร พวกเด็ก ๆ ก็ท�ำงานธรรมทูตที่เป็นของเด็กโดยเฉพาะ เขาเป็นพยานของพระ คริสตเจ้าในท่ามกลางเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันตามส่วนความสามารถของเขา” (ข้อ 12) วงสังคม “ฆราวาสมีโอกาสช่วยพี่น้องเพื่อนมนุษย์ได้อย่างถนัด เมื่อเขาอยู่ในที่ท�ำงาน ในที่ ประกอบอาชีพ ในที่ศึกษา ในที่พักอาศัย ในยามว่าง และในที่ชุมนุมกัน ฆราวาสต้องเจริญชีวิตให้ สอดคล้องกับความเชื่อ ซึ่งท�ำให้เขาเป็นแสงสว่างของโลก เขาต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตในกิจการ ทั้งปวง โดยที่ส�ำนึกถึงความรับผิดชอบต่อชีวิตของสังคม ฆราวาสพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ ครอบครัว สังคมและอาชีพ โดยน�้ำใจกว้างขวางแบบคริสตชน ธรรมทูตที่แท้จริงย่อมถือว่า ท�ำแต่ กิจการอย่างเดียวยังไม่พอ เขายังห่วงกังวลทีจ่ ะประกาศพระคริสตเจ้าแก่ผทู้ อี่ ยูร่ อบข้างด้วย” (ข้อ 13)

13

13


25

“การท�ำงานธรรมทูตเป็นคน ๆ ก็เป็นสิ่งจ�ำเป็นและเร่งด่วน เช่นในท้องถิ่นที่พระศาสนจักร เกือบไม่มีเสรีภาพเลย ในท่ามกลางการเบียดเบียน แต่การท�ำงานธรรมทูตที่จัดเป็นคณะยังมีความ ส�ำคัญมากในระดับชาติและระหว่างชาติ” (ข้อ 17, 18) “ต้องมีความสัมพันธ์กับพระฐานานุกรม” (ข้อ 24) “คณะสงฆ์และนักบวชต้องช่วยเหลืองานธรรมทูตของฆราวาสและนิยมยกย่องงานธรรมทูตของ ฆราวาส” (ข้อ 25) ที่สุด “จ�ำเป็นต้องอบรมเพื่องานธรรมทูต : อบรมด้านชีวิตจิต มีความรู้เรื่องค�ำสอนเป็นอย่าง ดี เกี่ยวกับเทววิทยา พระคัมภีร์ ศีลธรรม ศาสนสัมพันธ์ ลัทธิต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น : วัตถุนิยม บริโภค นิยม สุขนิยม ปัจเจกนิยม เสรีนยิ ม อเทวนิยม ฯลฯ ให้ฆราวาสรูถ้ งึ ความหมายแท้จริง และคุณค่าของ ทรัพย์สินฝ่ายโลก ... ต้องอบรมตั้งแต่วัยรุ่นหนุ่มสาวให้รู้จักงานธรรมทูตและจิตตารมณ์” (ข้อ 28, 30)

33

ค�ำเตือนสุดท้าย “สภาสังคายนาขอเร่งเร้าฆราวาสทุกคนในพระนามพระเป็นเจ้าให้มีน�้ำใจ กว้างขวางและร้อนรน ยินดีตอบรับการเรียกตัวของพระคริสตเจ้า ซึ่งในขณะนี้ทรงเชื้อเชิญและ เรียกเยาวชนเป็นพิเศษ ... พระองค์ทรงใช้เขาไปยังทุกหัวเมืองและทุกสถานที่ที่พระองค์จะเสด็จไป (เทียบ ลก 10:1) ขอให้ฆราวาสยินดีสมัครเป็นผู้ร่วมงานกับพระองค์ด้วยการท�ำงานธรรมทูตของ พระศาสนจักร ... ขอให้ฆราวาสท�ำงานรับใช้พระเป็นเจ้าโดยเต็มสติก�ำลังเสมอ เพราะรู้ว่างานที่เขา ท�ำเพื่อพระองค์นั้นจะไม่เสียเปล่า (เทียบ 1 คร 15:58)” (ข้อ 33) พี่น้องคริสตชนเกาหลี มีความภาคภูมิใจที่ ธรรมทูตคนแรกของเขาเป็นฆราวาสเกาหลี ทีม่ ารูจ้ กั ศาสนาคริสต์ในประเทศจีน สนใจขอเรียนค�ำสอน และ ได้รบั ศีลล้างบาป เมือ่ กลับเกาหลีกไ็ ปประกาศศาสนา คริสต์ในประเทศของตน เขามีอนุสาวรีย์ระลึกถึง ธรรมทูตฆราวาสคนนี้เป็นพิเศษ ในประเทศจีนก่อน คอมมูนสิ ต์เข้าปกครอง มีคาทอลิก 2-3 ล้านคน หลัง จากถูกคอมมิวนิสต์เบียดเบียน กลับมีคาทอลิกเพิ่ม ขึ้นเป็น 10 กว่าล้านคน โดยใคร ? ก็โดยฆราวาส ธรรมทูตนี่แหละ ที่ไปเคาะประตูบ้าน เผยแผ่ศาสนา แก่เพื่อนร่วมชาติที่ทนทุกข์ล�ำบาก ไม่มีที่พึ่ง ไม่รู้จัก พระเจ้า ได้มีโอกาสมารู้จักพระเจ้า ยึดพระเจ้าเป็น สรณะที่พึ่ง

14

พี่น้องชาวไทยต่างศาสนาอีกมากมายยัง ไม่รู้จักนับถือพระเจ้า ไม่รู้จักศาสนาคริสต์ พระเยซู คริสต์และค�ำสอนของพระองค์ คริสตชนฆราวาสนี่ แหละทีเ่ จริญชีวติ ท�ำงานท่ามกลางพวกเขา มีโอกาส ดีมากกว่าพระสงฆ์และนักบวช ที่จะประกาศข่าวดี เรื่องพระเยซูคริสตเจ้า และค�ำสอนของพระองค์ให้ แก่เขาเหล่านั้น พระคริสตเจ้าก่อนเสด็จสู่สวรรค์ “ทรงมีพระบัญชาให้ศิษย์ของพระองค์ออกไปทั่ว โลก สัง่ สอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของพระองค์ ท�ำพิธีล้างบาปเขา เดชะพระนาม พระบิดา พระ บุตร และพระจิต จงสอนเขาให้ปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ทุก ข้อที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่าน ทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:19-20)

28 30


ให้เราถามตัวเองว่า จนบัดนีเ้ ราได้ทำ� งานธรรม ทูตอย่างไรบ้าง ? ได้เล่าเรือ่ งศาสนาคริสต์ ประวัตพิ ระ เยซูคริสต์ และค�ำสอนของพระองค์ให้ใครฟังบ้าง ? ได้ ท�ำให้ใครมารูจ้ กั พระคริสตเจ้าและค�ำสอนของพระองค์ บ้าง ? เริ่มจากคนใกล้ ๆ ตัวเรา คู่ครองต่างศาสนา ของเรา ลูกเขย ลูกสะใภ้ หลาน ๆ เพื่อนสนิท ฯลฯ พระเป็นเจ้าทรงปรารถนาให้มนุษย์ทุกคนได้รอด ให้ มารู้จักพระองค์ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้ยินข่าวดีนี้ ส่วน เราคริสตชนก็มีหน้าที่ประกาศข่าวดีนี้ เขาจะได้ยิน ได้อย่างไรถ้าไม่มีใครประกาศ พระศาสนจักรทั้งพระ สงฆ์ นักบวช และฆราวาส ท�ำงานธรรมทูตประกาศ ข่าวดีมา 2000 กว่าปี มีคาทอลิกประมาณ 1000 ล้าน คนในจ�ำนวนชาวโลก 7000 ล้านคน ในประเทศไทย พระศาสนจักรท�ำงานธรรมทูตประกาศศาสนามา 300 กว่าปี มีคาทอลิก 3-4 แสนคน ในจ�ำนวนคนไทย 70 ล้านคน (ยังไม่ถึงครึ่งเปอร์เซ็นต์) นับว่าน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่มีโรงเรียนคาทอลิก 300 กว่าโรง คนไทยรู้จัก โรงเรียนคริสต์ แต่ไม่รู้จักศาสนาคริสต์และพระเยซู คริสต์ พร้อมกับค�ำสอนของพระองค์ สาเหตุมอี ยูห่ ลาย ประการ แต่ประการหนึ่งคือ เราคริสตชนยังเป็นแบบ อย่างไม่ดี และยังไม่กระตือรือร้นท�ำงานธรรมทูตให้ ผู้อื่นรู้จักพระมากขึ้น ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่พระ คริสต์ องค์ศาสดาซึ่งเป็นพระเจ้าทรงตั้งขึ้น มีทุกสิ่ง ทุกอย่างพร้อมที่จะช่วยมนุษย์ให้รอดไปสวรรค์ได้ง่าย กว่าศาสนาอื่น ๆ ที่มนุษย์ตั้งขึ้น แต่เป็นที่น่าเสียดาย ชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักศาสนานี้

ฆราวาสมิเพียงแต่มบี ทบาทในพระศาสนจักร เท่ า นั้ น หากยั ง ต้ อ งมี บ ทบาทในสั ง คมโลกด้ ว ย นักบุญยอห์นปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ทรงเชื้อเชิญ ให้ฆราวาสไปมีบทบาทในการเมือง เข้าพรรคการเมือง เล่นการเมืองด้วย แต่ต้องเล่นให้ดี ซื่อสัตย์ ยุติธรรม เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์สว่ นรวม ไม่ใช่ประโยชน์สว่ น ตัว ไม่โกงกินบ้านเมืองท�ำให้บ้านเมืองไม่เจริญ ส่วน พระสงฆ์และนักบวชไม่สามารถเล่นการเมือง หรือ สังกัดพรรคการเมืองใด เพราะเป็นคนของส่วนรวม ต้องวางตัวเป็นกลาง แต่ตอ้ งสนใจการเมือง เพราะถ้า การเมืองไม่ดี ศาสนาหรือพระศาสนจักรก็พลอยได้รบั ผล ร้ายไปด้วย ฉะนั้น ทั้งพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส และ นักการเมือง ต้องร่วมมือช่วยกันสร้างบ้านเมืองให้เป็น อาณาจักรของพระเจ้า อาณาจักรแห่งความจริงและ ชีวติ อาณาจักรแห่งความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละพระหรรษทาน อาณาจักรแห่งความยุติธรรม ความรักและสันติ

“พวกท่านเป็นพระศาสนจักร” เพราะพวกท่านเป็นชนส่วนใหญ่ในพระศาสนจักร 98% 15


ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

สวัสดีครับพี่น้องที่รัก เราคริสตชนผู้มีความเชื่อ ปรารถนาจะเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริสตเจ้า องค์ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา แม้แต่บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษของเราก็ปรารถนาเช่นเดียวกัน เพราะทุก คนมีความปรารถนาจะได้ใกล้ชิด และกระท�ำตามพระด�ำรัสของพระองค์(พระผู้ช่วยให้รอดพ้น) สิ่งที่กล่าวมา เราเรียกง่าย ๆ คือ การมีชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ เป็นชีวิตที่มีองค์พระเจ้าประทับอยู่

งานสังคม กับการพัฒนา ชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชน

16

1. การด�ำเนินชีวติ โดยอาศัยพระวาจา (พระคัมภีร)์ 2. การด�ำเนินชีวิตโดยอาศัยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ (ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ) 3. การด�ำเนินชีวติ ผ่านทางการปฏิบตั กิ จิ การแห่ง ความรักและเมตตา

ในประวัตศิ าสตร์ของพระศาสนจักรทุกยุคสมัย คริสตชนทุกคนพยายามด�ำเนินชีวิตชิดสนิทกับองค์ พระเจ้าโดยอาศัยแสงสว่างแห่งพระวาจา แสงสว่าง แห่งพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิซ์ งึ่ เป็นการเฉลิมฉลองธรรมล�ำ้ ลึกแห่งปัสกาของพระคริสตเจ้าและคริสตชนทุกคน พยายามปฏิบัติตนตามค�ำสอนของพระอาจารย์เจ้า และตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักร ทั้งหมด มีเป้าหมายอยู่ที่ความหวังแห่งความรอดพ้น (การ ท�ำตามน�้ำพระทัยพระเจ้า เพื่อมุ่งสู่ความรอดพ้น)

สายใยจันท์ฉบับนี้ อยากจะน�ำพี่น้องให้มอง ชีวิตของเราที่ก�ำลังจาริกอยู่บนโลกนี้ ในปีศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมตตาธรรม องค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเชิญชวนลูก ๆ ของพระองค์ให้พัฒนาชีวิตฝ่าย จิตของตน ด้วยการท�ำกิจแห่งเมตตา โดยทรงยก แบบอย่างขององค์พระบิดาเจ้า มาเป็นแนวทางใน การด�ำเนินชีวิตของเราคริสตชน “จงเป็นผู้เมตตา กรุณา ดังทีพ่ ระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณา เถิด” (ลก 6 : 36)

จากประสบการณ์แห่งประวัติศาสตร์ของ พระศาสนจักรเราจะเห็นว่า แก่นแท้ส�ำคัญที่ช่วยท�ำ ให้คริสตชนสามารถพัฒนาชีวิตฝ่ายจิตของตนเพื่อ เป็นหนทางน�ำไปสู่การใกล้ชิดองค์พระเจ้า คือ

องค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระองค์ ทรงเน้นย�้ำให้เราใช้ชีวิตในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตา ธรรม ด้วยการมีชีวิตที่มีความเมตตา โดยยึดหลัก ในงานเมตตาจิต 2 ด้าน


งานเมตตาจิตด้านร่างกาย • • • • • • •

การให้อาหารคนที่หิวโหย การให้น�้ำดื่มแก่ผู้กระหาย การให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม การให้ที่พักแก่ผู้ไร้ที่อยู่ การเยี่ยมผู้ป่วย การเยี่ยมผู้ถูกจองจ�ำ การฝังศพผู้ล่วงลับ

งานเมตตาจิตด้านจิตใจ

ทรงเน้นย�ำ้ ให้เราคริสตชน “เป็นหมูเ่ กาะแห่ง ความเมตตากรุณาท่ามกลางมหาสมุทรแห่งการไม่ ใส่ใจไยดีตอ่ กัน” (สารมหาพรตของพระสันตะปาปา ฟรังซิส ค.ศ. 2015) ทรงเน้นย�ำ้ ให้พระศาสนจักร มีความกล้าหาญ ทีจ่ ะก้าวออกไปสูส่ งั คม เพือ่ ประกาศพระวรสารแก่ทกุ คนในทุกหนแห่งและทุกโอกาส โดยปราศจากความ ลังเลหรือความหวาดกลัว เพราะความชื่นชมยินดี แห่งพระวรสารมีไว้เพื่อประชากรทั้งมวล ไม่ยกเว้น ใครทั้งสิ้น (Evangelii Gaudium 23)

• การสอนผู้ไม่รู้ • การให้ค�ำปรึกษาแก่ผู้สงสัย • การบรรเทาผู้มีความทุกข์ • การตักเตือนคนบาป • การอดทนต่อผู้ท�ำความผิด • การให้อภัยแก่ทุกคนที่ท�ำร้าย • การสวดภาวนาให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่ และผู้ที่สิ้นใจไปแล้ว

จากงานเมตตาฝ่ายร่างกายและฝ่ายจิตใจ ดังกล่าว พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงปรารถนาให้เรา คริสตชนปฏิบตั ติ ามพระด�ำรัสของพระเยซูคริสตเจ้า ทีว่ า่ “ท่านท�ำสิง่ ใดกับพีน่ อ้ งผูต้ ำ�่ ต้อยทีส่ ดุ ของเรา คนหนึ่ง ท่านก็ท�ำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25 : 40) และ พระองค์ทรงประสงค์ให้เราได้ใช้ชวี ติ ในสังคมอย่างเข้ม ข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อเราจะได้มีชีวิตที่ใกล้ชิดพระเจ้า มี พระองค์ประทับในชีวิตและยังเป็นการยืนยันว่าชีวิต ของเราต้องเป็นผู้เมตตา ดังที่พระเมตตาของพระ บิดาเจ้าทรงมีพระเมตตาต่อเรา

หากเราสังเกตการเน้นย�ำ้ ขององค์พระสันตะ ปาปาฟรังซิส พระองค์ปรารถนาให้เราออกจากตนเอง ไปสูผ่ อู้ นื่ ในสังคม พระองค์ตอกย�ำ้ ให้พระศาสนจักรต้อง เสนอตนเองเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ เป็นผู้เยียวยา บาดแผลที่ท�ำให้ผู้คนขาดความเป็นมนุษย์ เราเห็น พระพักตร์ของพระเยซูเจ้าในคนยากจนและผู้ที่อยู่ นอกกรอบสังคม อาศัยความรักและความช่วยเหลือ คนจน เราก็รกั และรับใช้พระคริสตเจ้า (สารมหาพรต ของพระสันตะปาปาฟรังซิส ค.ศ. 2014)

การมีชีวิต ฝ่ายจิตวิญญาณ เป็นชีวิตที่ มีองค์พระเจ้าประทับอยู่

17


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

การฉลองธรรมล�้ำลึกปัสกา มรดกที่ยิ่งใหญ่ เครื่องหมายแห่งพระเมตตารักของพระเจ้า การเฉลิมฉลองปัสกาเป็นช่วงเวลาส�ำคัญที่สุด ส�ำหรับคริสตชน เหตุผลเพราะ เทศกาลนี้เป็นเทศกาล ที่เราชาวคริสต์ได้ร่วมกันเฉลิมฉลอง การคืนพระชนม์ ชีพของพระเยซูเจ้า หลังจากที่พระองค์ถูกทรมาน และ สิ้นพระชนม์บนกางเขน เป็นเหตุการณ์ที่แสดงว่า พระ เยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์แท้ ที่สามารถชนะ บาปและความตายได้ เป็นการก้าวพ้นจากความชัว่ ร้าย ความทุกข์มาสู่ความดีและความสุข กล่าวคือ การตาย และการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้านัน้ ท�ำให้เราหลุดพ้น จากบาป ความชั่วร้าย ความตาย และมีชีวิตใหม่พร้อม กับพระองค์ สิง่ นีเ้ ราถือว่าเป็นมรดกทีย่ งิ่ ใหญ่แห่งความ เชื่อของคริสตชน นักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารได้ยืนยันถึง มรดกแห่งความรักและพระเมตตาขององค์พระเจ้าที่ ถูกถ่ายทอดมายังเรา “พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมาก จึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศ แต่ จะมีชีวิตนิรันดร เพราะพระเจ้าทรงส่งพระบุตรมา ในโลกนี้มิใช่เพื่อตัดสินลงโทษโลก แต่เพื่อโลกจะได้ รับความรอดพ้น เดชะพระบุตรนั้น” (ยน 3 : 16-17) 18


เมื่อการเฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกปัสกา เป็นเหตุการณ์ที่องค์พระคริสตเจ้าทรง ถวายบูชาพระองค์เองบนไม้กางเขน เป็นอนุสรณ์แห่งการไถ่ให้รอดทีท่ รงมอบไว้แก่พระ ศาสนจักร (เจ้าสาวที่รักยิ่งของพระองค์) อีกทั้งยังเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรัก เป็น เครื่องหมายแห่งเอกภาพ เป็นสายสัมพันธ์แห่งความรักและเมตตา และเป็นประกันว่า เราจะได้รับสิริรุ่งโรจน์ในอนาคต (SC 47) ในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมนี้พระสันตะ ปาปาฟรังซิสทรงวางศูนย์กลางแห่งการเฉลิมฉลอง ไว้ที่พระเมตตาของพระเจ้าที่เชื้อเชิญให้มนุษย์กลับ มาหาพระองค์ พระองค์เชิญชวนคริสตชนให้มีส่วน ร่วมอย่างแข็งขันในการฉลองธรรมล�้ำลึกปัสกา เมื่อ ชีวิตเราคริสตชนได้รับพระหรรษทานแห่งพระเมตตา และความรักของพระเจ้าแล้ว เราต้องด�ำเนินชีวิตให้ เหมาะสมกับพระหรรษทานที่เราได้รับ พร้อมทั้งเป็น เครื่องหมายสะท้อนถึงความรักและพระเมตตาของ พระเจ้าด้วย “จงเป็นผู้เมตตากรุณา ดังที่พระบิดา ของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6 : 36) พระองค์มอบแนวปฏิบัติมากมายให้กับเรา ทั้งการพัฒนาชีวิตฝ่ายกายและฝ่ายจิตของพวกเรา พระองค์ทรงเน้นการรับพระเมตตาของพระเจ้าผ่าน ทางพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในศีลแห่งการคืนดี (การรับศีล อภัยบาป) การด�ำเนินชีวิตแห่งพระหรรษทานในศีล สมรส และทางสังฆมณฑลก็ก�ำลังเน้นย�้ำการรับพระ เมตตารักของพระเจ้า ผ่านทางศีลศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ ง ๆ โดย เฉพาะศีลศักดิ์สิทธิ์ 2 ประการนี้ การจาริกแสวงบุญ ไปที่อาสนวิหาร เพื่อรับพระคุณการุญ ฯลฯ จึงเชิญ ชวนให้พี่น้องทุกท่าน ใช้ชีวิตในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตา ธรรมนี้ อย่างกระตือรือร้นในการแสวงหาพระเมตตา ของพระเจ้านะครับ 19


สั

มภาษณ์พิเศษ

สู่งาน...วันชุมนุมเพื่อการส่งเสริมกระแสเรียก สังฆมณฑลจันทบุรี

น.อัมโบรสเคยกล่าวไว้วา่ “ไม่มศี กั ดิศ์ รี ใดสูงส่งกว่าการรับใช้พระคริสตเจ้า” นัน่ คือ หนทางแห่งกระแสเรียก การรับใช้พระเจ้าในฐานะ พระสงฆ์ นักบวช เป็นวิถีชีวิตอันประเสริฐยิ่ง เพือ่ เป็นการเตรียมสูง่ านชุมนุมเพือ่ การ ส่งเสริมกระแสเรียก ระดับสังฆมณฑล ขอเชิญ พีน่ อ้ งได้ไตร่ตรองและรับข้อคิดจากค�ำสัมภาษณ์ ต่อไปนี้ครับ

พระคุณเจ้า ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต (พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี) 20

โดย คุณพ่อ กฤษฎา สุขพัฒน์

สมัยนี้จ�ำนวนผู้บวชลดลงเรื่อย ๆ น่าจะเป็นเพราะสาเหตุใด? สาเหตุมีหลายประการ แต่สาเหตุใหญ่ ๆ คือ • สังคมเปลีย่ นแปลงเป็นวัตถุนยิ ม บริโภคนิยม สบายนิยม (ไม่อยากล�ำบาก) เสรีนยิ ม (ไม่อยากถือกฎระเบียบวินยั ) • การถือศาสนาหละหลวม หย่อนยาน ถือเงินตราเป็น พระเจ้า ขาดการสวดภาวนาในครอบครัว ขาดการไป วัดวันอาทิตย์ มีการแต่งงานกับคนต่างศาสนามากขึ้น แบบต่างคนต่างถือ กลายเป็นต่างคนต่างไม่ถือ พ่อแม่ ไม่สนใจศาสนา ลูกก็เช่นเดียวกัน • ชีวิตและการงานของพระสงฆ์-นักบวชไม่ท้าทาย ประทับใจดึงดูดเด็ก ๆ เยาวชน ส่วนงานที่ท้าทายของ ซิสเตอร์คณะธรรมทูต แห่งเมตตาธรรมของคุณแม่เทเร ซาแห่งกัลกัตตา กลับเพิ่มจ�ำนวนสมาชิกมากขึ้นทุกวัน • ครอบครัวมีลูกน้อยลง กลัวมีลูกมากจะยากจน มีลูก น้อยก็ยังจน ฆราวาสหรือครอบครัว ควรมีบทบาทในการส่งเสริมกระแสเรียกอย่างไร? ครอบครัวต้องส�ำนึกว่า ตนเป็นสมาชิกของพระ ศาสนจักร เพราะฉะนั้น ต้องช่วยพระศาสนจักร ต้องถือว่าลูก เป็นลูกของพระ พระฝากให้เลี้ยง ไม่หวงไว้ส�ำหรับตนเอง ส่ง ลูกเป็นข้าราชการของพระ สนับสนุนให้ลูกไปช่วยมิสซา สนิท ใกล้ชิดกับพระสงฆ์-นักบวช พระสันตะปาปาขอร้องให้แต่ละครอบครัวสวด ให้มี ใครสักคนในบ้านไปบวช พ่อแม่บางคนไปบวชไม่ส�ำเร็จก็ส่ง ลูกไปบวชแทน รักษาบรรยากาศคริสตชนในครอบครัว มีการ สวดภาวนาพร้อม ๆ กัน ไปวัดวันอาทิตย์ ฯลฯ เด็กเรียนจบ แล้วยังอยากบวช เช่นที่เกาหลี มีบ้านเณรใหญ่ 7 แห่ง แห่ง ละ 100 คน และภาวนาให้มีกระแสเรียกเพิ่มขึ้น ครอบครัวดี เป็นบ่อเกิดกระแสเรียก ถ้าหาหนุ่ม ๆ มาบวชไม่ได้ คงต้องให้ พ่อบ้านมาบวช ดังที่พระเยซูเจ้าเคยท�ำมาแล้ว


สภาพแวดล้อมและความเจริญในปัจจุบัน มีผลให้เยาวชนไม่สนใจชีวิตนักบวชมากน้อยเพียงใด? ความเจริญของโลกยุคปัจจุบนั ซึง่ มุง่ ด้านวัตถุและเทคโนโลยี เป็นเอก ดึงดูดความสนใจเยาวชนมาก เยาวชนกลัวว่าจะถูกทิ้ง หรือตามไม่ทันเพื่อน จึงสนใจชีวิตนักบวชน้อยมาก ยิ่งถ้านักบวช ไม่สนใจพวกเขา หรือไม่สนใจในสิ่งที่เขาชอบ ก็จะไม่มีอิทธิพลต่อ พวกเขาทางด้านจิตใจได้เลย

คุณพ่อวีระ ผังรักษ์ (ผู้อ�ำนวยการบ้านเด็กก�ำพร้า พัทยา)

หากมีผู้กล่าวว่า “พระสงฆ์-นักบวชสมัยนี้ ไม่ดึงดูด ไม่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนเหมือนสมัยก่อน” พระสงฆ์-นักบวช ควรต้องท�ำอย่างไรดี? ถ้านักบวชในปัจจุบนั เจริญชีวติ สบาย ๆ ไม่เจริญชีวติ ติดดิน เหมือนพระเยซู ก็จะไม่มีอะไรท้าทาย ยิ่งหละหลวมในชีวิตนักบวช ก็ยิ่งไปกันใหญ่ นักบวชต้องสนใจพวกเยาวชน สนใจสิ่งที่พวกเขา สนใจด้วย พร้อมเดินเคียงข้างเขา เป็นทีพ่ งึ่ ของพวกเขา เพือ่ ดึงดูด ให้เขาสนใจชีวิตนักบวชมากขึ้น

เพราะเหตุใด? กระแสเรียกการเป็นสงฆ์และนักบวชในปัจจุบันจึงลดลง • งานของนักบวช และภารกิจของพระสงฆ์ ไม่ท้าทาย เท่า กระแสความสนุกสนาน ความสุข และความสะดวกสบาย • นักบวชและคณะสงฆ์ ไม่เป็นต้นแบบชีวติ ทีเ่ ด็กและเยาวชน อยากจะติดตาม • ปัจจุบันครอบครัวเล็กลง มีลูกน้อย ประชากรลดลง • ขาดผู้ส่งเสริม สนับสนุน แนะน�ำ และขาดวิธีการน�ำเสนอ ให้เลือกทางชีวิตนักบวช • สื่อออนไลน์ สังคมไทย ชีวิตครอบครัว ในปัจจุบัน มีผลกระ ทบด้านลบต่อการด�ำเนินชีวติ ของเด็กและเยาวชนอย่างมาก

คุณแม่โรสลิน ศรีไพร กระทอง (มหาธิการิณีคณะรักกางเขน แห่งจันทบุรี)

ขอคุณแม่ช่วยให้ค�ำแนะน�ำต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานส�ำคัญในการเพาะปลูก ชีวิตพระสงฆ์-นักบวชแก่เด็ก ๆ • ชีวติ ทีเ่ ป็นประจักษ์พยานของนักบวช พระสงฆ์ ในด้านความมีเมตตา ใจดี อ่อนหวาน การดูแลเชิงอภิบาล ให้แก่สัตบุรุษ รวมทั้งผู้ยากไร้ ผู้ต้องการความช่วยเหลือ ทั้งที่เป็นคริสตชนและไม่ใช่คริสตชน • การร่วมมือกันในงานอภิบาลของพระสงฆ์และนักบวช ทัง้ ระดับวัดและระดับสังฆมณฑล จะเป็นภาพพจน์ เชิงประจักษ์ แก่เด็ก เยาวชน และคริสตชนฆราวาส • ครอบครัวคริสตชนที่มีความเชื่อ ความศรัทธา จะเป็นบ่อเกิดกระแสเรียกพระสงฆ์และนักบวช 21


แนวโน้มด้านกระแสเรียกและความท้าทายในปัจจุบันเป็นอย่างไร?

คุณพ่ออดิศักดิ์ พรงาม (อดีตอธิการบ้านเณรใหญ่แสงธรรม)

แนวโน้มด้านกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์ หากมองดูใน เชิงปริมาณก็สามารถบอกได้วา่ มีจำ� นวนทีล่ ดลง แม้วา่ ในบางปีเรา อาจเห็นว่ามีจำ� นวนเณรเพิม่ ขึน้ บ้าง แต่ในภาพรวมแล้วต้องยอมรับ ว่าลดลงจริง ๆ ทัง้ ทีบ่ า้ นเณรเล็ก บ้านเณรกลาง และบ้านเณรใหญ่ ความท้าทายด้านกระแสเรียก มีทั้งปัจจัยภายนอกและ ภายใน เรือ่ งของจ�ำนวนสมาชิกแต่ละครอบครัวทีล่ ดน้อยลง ท�ำให้ พ่อแม่และตัวเด็กไม่อยากที่จะออกห่างไปจากครอบครัว ส่วนค่า นิยม ความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ก็มีส่วน อย่างมากที่ท�ำให้เราถูกดึงไปมีค่านิยมนั้น ๆ เพราะสิ่งที่เป็นวัตถุ นั้นมองเห็นแตะต้องได้ ดังนั้น สิ่งที่เป็นเรื่องของจิตใจ คุณธรรม ความเสียสละและการอุทศิ ตนเพือ่ ผูอ้ นื่ โดยไม่มอี ะไรตอบแทนเป็น เรื่องที่ท้าทาย มองเห็นคุณค่าได้ยากกว่าวัตถุ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น ได้ตอ้ งอาศัยการปลูกฝัง แม้ทกุ วันนีพ้ อ่ แม่ทมี่ ลี กู ไม่กคี่ นก็ยงั ยากใน การปลูกฝัง อาจพูดได้วา่ ปัจจัยภายนอกรุนแรงกว่าปัจจัยภายในที่ จะเอือ้ ให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้กบั เด็กทีจ่ ะมีกระแสเรียก ปัจจัย ภายในที่ส�ำคัญก็คือ ชีวิตคริสตชนหรือความเชื่อของเราคริสตชน ปัจจุบนั ยังไม่แข็งแรงพอทีจ่ ะผลักดันให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้กบั เด็กและเยาวชนที่จะไปเข้าบ้านเณร

ชุมชนวัดจะมีบทบาทในการปลูกฝังส่งเสริมกระแสเรียกอย่างไร? ชุมชนวัดมีความส�ำคัญรองมาจากครอบครัว เพราะเป็นสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อหรือจะเป็นอุปสรรค ต่อชีวิตเด็กและเยาวชนได้โดยตรง สภาพแวดล้อมจะน�ำไปสู่พฤติกรรมของการเอาแบบอย่าง หากต้องการ ให้เด็กและเยาวชนเป็นคนที่มีน�้ำใจ ซื่อสัตย์สุจริต รู้จักเสียสละ ไม่เอาเปรียบคนอื่น ชุมชนวัดจะต้องช่วยกัน สร้างและส่งเสริมเรื่องเหล่านี้ ให้เด็กได้มีส่วนร่วม ได้เห็น ได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้เสมอ ๆ ในด้านความเชื่อก็เช่นกัน หากชุมชนรู้จักชักน�ำและให้ก�ำลังใจในการท�ำความดี ในการมาวัด ในการ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เด็กจะรู้ว่าผู้ใหญ่ให้ความสนใจ และสนับสนุนเขา จากนั้น ให้เขามีโอกาสได้ท�ำในสิ่งที่มาก ไปกว่านั้น หาโอกาสพาเขาไปเยี่ยมบ้านนักบวช บ้านอบรมต่าง ๆ แนะน�ำให้เขารู้จักกับบ้านเณร นักบวชคณะ ต่าง ๆ และสนับสนุนการไปเข้าค่ายกระแสเรียก สิ่งที่ส�ำคัญมาก ๆ ก็คือชุมชนในครอบครัวหรือในบ้าน ระหว่างพี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ที่อยู่ด้วยกัน ต้องช่วยกันสร้างบรรยากาศของชีวิตความเชื่อคริสตชน ด้วยการสวดภาวนาพร้อมกันในครอบครัวอย่าง สม�่ำเสมอ และพระจะท�ำงานในใจของเด็กและเยาวชนเหล่านี้เอง 22


ท�ำไมเยาวชนสมัยนี้ไม่สนใจบวชเป็นพระสงฆ์ หรือซิสเตอร์? ค่านิยมของครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีฐานะ ร�ำ่ รวยและปานกลาง มักต้องการให้บตุ รของตนเองศึกษาหาความ รู้ในระดับสูง เพื่อเป็นอนาคตและความหวังของพ่อแม่ จึงเน้นให้ ลูกเรียนเสริมพิเศษในวันเสาร์ อาทิตย์ ตามความนิยมของยุค สมัย ท�ำให้ความเชื่อและความศรัทธา การมาวัด มาร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณ เป็นเรือ่ งรอง ส่วนครอบครัวทีม่ ฐี านะยากจน พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย พยายามปลูกฝังความเชื่ออย่างดี แต่เมื่อเด็ก ๆ ก้าว เข้าสู่วัยรุ่น เรื่องเพื่อนถือเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เด็ก ๆ ห่างจาก การเข้าวัด และสภาพของครอบครัวที่ต้องท�ำมาหากินจึงต้องใช้ เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการหาเลี้ยงชีพ ยุคแห่งความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ท�ำให้เด็ก ๆ ให้ความสนใจกับโลกโซเชียลมีเดีย สร้างโลกส่วนตัวของตนเอง อยาก อยูก่ บั หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มอื ถือ มากกว่าการเข้าวัด โรงเรียนคาทอลิกมีบทบาทในการส่งเสริมกระแสเรียก แก่เด็ก ๆ ที่เรียนในโรงเรียนของเราได้อย่างไร?

คุณพ่อลือชัย จันทร์โป๊ (ประธานคณะกรรมการโรงเรียนคาทอลิกสังฆมณฑลฯ)

1. การเป็นแบบอย่างในด้านกิจศรัทธา เป็นเพื่อนของเด็ก ๆ โดยการเอาใจใส่ใกล้ชิดแบบไม่เป็นทางการ 2. สนับสนุนให้เด็ก ๆ ร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและมีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ อาทิ ค่ายพลศีล, ยุวธรรมทูต, วายซีเอส หรือค่ายคุณธรรมต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนที่ฐานะ ยากจน ซึ่งมักเสียโอกาสในการร่วมกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นโรงเรียนควรเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และในกรณีของเด็กที่มีปัญหาด้านครอบครัวหรือฐานะทางการเงิน โรงเรียน ต้องยื่นมือเข้าไปให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ 3. สนับสนุนกิจกรรมให้มีความหลากหลายไม่ควรมุ่งเน้นเฉพาะกลุ่มเด็กที่ความประพฤติเรียบร้อยหรือ ขยันมาวัดเท่านั้น แต่ควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็ก ๆ ในทุกช่วงวัย 4. เปิดโอกาสและสนับสนุนให้คณะนักบวชได้เข้ามาแนะน�ำ และส่งเสริมกระแสเรียกภายในโรงเรียน เรียนรูจ้ ติ ตารมณ์และภารกิจ เน้นการท�ำงานเชิงรุก และมีการวางแผนอย่างต่อเนือ่ ง ไม่ใช่เฉพาะเวลา หากระแสเรียก หรือในโอกาสวันฉลองส�ำคัญ ๆ เท่านั้น ท่านผู้อ่านที่รัก หวังว่าทัศนะและข้อคิดเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการรณรงค์ส่งเสริมกระแสเรียก และอย่าลืม! ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในงานวันชุมนุมเพื่อการส่งเสริมกระแสเรียก สังฆมณฑลจันทบุรี วัน ศุกร์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2016 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา นี้ครับ 23


การแต่งงานจะเป็นโมฆะได้อย่างไร? และเมื่อไหร่ได้บ้าง? การแต่งงานระหว่างชายกับหญิง (เทียบ can.1055) ในพระศาสนจักรคาทอลิก ถือว่าเป็นไปตาม แผนการของพระเจ้า ต่อมนุษยชาติ (เทียบ GS.48) พระศาสนจักร สอนว่า “ลักษณะเฉพาะที่ เป็นแก่นแท้ของการแต่งงาน คือ ความเป็นหนึ่ง เดียว และการแยกจากกันมิได้” (เทียบ can.1056) นอกจากนี้กฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 1134 กล่าวไว้ว่า “ผลของการแต่งงานที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ท�ำให้เกิดพันธะระหว่างคู่แต่งงาน ซึ่งโดยธรรมชาติพันธะนี้ถาวรและผูกขาดเฉพาะ ตัว ยิ่งกว่านั้น ในการแต่งงานของคริสตชน คู่ แต่งงานได้รับการเสริมพลัง และประหนึ่งว่าได้ รับการอภิเษกจากศีลศักดิส์ ทิ ธิพ์ เิ ศษ เพือ่ ท�ำหน้าที่ และศักดิ์ศรีแห่งสถานภาพของตน” ดังนัน้ การแต่งงานระหว่างผูไ้ ด้รบั ศีลล้างบาป ท�ำให้เกิดมิติส�ำคัญ 2 ประการ คือ 1. พันธสัญญา และ 2. ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรส ผ่านทางพระพร จากพระเจ้า (พระหรรษทาน) และ การท�ำให้ทั้งคู่ ศักดิ์สิทธิ์ไปโดยพระเจ้าเอง 24

เพราะ...จากพันธสัญญาการแต่งงาน ท�ำให้ เกิดพันธะการแต่งงานขึ้น (marriage bond) เพราะ...จากศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรส ซึ่ง เกิดจากคู่แต่งงานทั้งสองฝ่าย ท�ำให้เกิดการอภิเษก และได้รับพระหรรษทานเฉพาะจากพระเจ้าโดยตรง ส�ำหรับเขาทั้งสอง และท�ำให้คู่แต่งงานได้รับศักดิ์ศรี แห่งสภาพการเป็นครอบครัว พร้อมทั้งได้รับหน้าที่ ส�ำคัญตามสถานภาพใหม่ของทัง้ คู่ กล่าวคือ การมอบ ความรักต่อกัน การยกย่องให้เกียรติกนั การร่วมทุกข์ ร่วมสุขด้วยกัน การให้กำ� เนิดบุตร และการอบรมเลีย้ ง ดูบุตรที่จะเกิดมา (เทียบ cann.793, 1135, 1136, 1055, 1061§s1, 1096§s1) เนื่องจากพี่น้องประชาชนชาวไทยของเรา มิได้เป็นคาทอลิก แต่ประชากรส่วนมากนับถือศาสนา พุทธ คริสตชนอาศัยอยูใ่ นสังคมร่วมกับคนต่างศาสนา ดังนัน้ คริสตชนชาวไทยส่วนใหญ่จงึ แต่งงานกับคนต่าง ศาสนา โดยการขอการยกเว้นจากข้อขัดขวางส�ำหรับ การแต่งงานเรือ่ งการนับถือศาสนาต่างกัน ตามทีพ่ ระ ศาสนจักรท้องถิ่นมีอ�ำนาจให้การยกเว้นได้ (เทียบ can.1086) ด้วยเหตุผลที่ดีๆ ต่าง ๆ เช่น เพื่อความ ดีของคู่สมรส, เพื่อความดีส�ำหรับบุตร


แน่นอนที่สุดในชีวิตครอบครัวไม่มีใครรับประกันว่าจะมีแต่ความสุข หรือจะไม่พบปัญหาใด ๆ ตาม มา แต่คู่สมรสต้องพยายามเดินไปด้วยกันด้วยความเข้าใจ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย นั่นคือความดีอย่างสมบูรณ์ให้ ได้สักวันหนึ่ง หัวข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้ เป็นกรณีการโมฆะของการแต่งงานที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ (แน่นอนว่ามีกรณีอื่น ๆ อีกด้วย) ที่พระศาสนจักรเคยใช้ประกาศการเป็นโมฆะของการแต่งงาน ส่วนจะมีอะไรและเป็นอย่างไรบ้างนั้น พี่น้องลองพิจารณาดูกันนะครับพี่น้องครับ 1. ความบกพร่องในการใช้เหตุผลอย่างพอเพียง 2. ความบกพร่องในการแยกแยะด้านการตัดสินใจ 3. การไร้ความสามารถที่จะปฏิบัติตามหน้าที่หลักในชีวิตแต่งงาน 4. การขาดการแสดงความสมัครใจอย่างอิสระและขาดการไตร่ตรอง 5. ความเข้าใจผิดพลาดต่อคุณสมบัติของบุคคล 6. การแต่งงานที่เป็นการหลอกลวง 7. การเพิกเฉยไม่เชื่อเรื่องการแต่งงาน หรือไม่มีความเชื่อในการสร้างสถาบันครอบครัว 8. การเพิกเฉยต่อศักดิ์ศรีแห่งศีลสมรส 9. การเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิงต่อการให้ก�ำเนิดบุตร 10. การเพิกเฉยต่อการหย่าร้างไม่ได้ 11. การเพิกเฉยต่อความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน 12. การเพิกเฉยต่อสิทธิหน้าที่ร่วมกันของการแต่งงานและการมอบความรักให้แก่กัน 13. การแต่งงานที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากความกลัวของทั้งสองฝ่าย หรือจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 14. การแต่งงานที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากความกลัวเสียเกียรติของครอบครัว, ของพ่อแม่ หรือของบุคคลอื่น ๆ 15. การแต่งงานที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากความกลัวจากการข่มขู่ฆาตกรรม 16. การไร้สมรรถภาพของอวัยวะเพศฝ่ายชาย 17. การไร้สมรรถภาพของอวัยวะเพศฝ่ายหญิง 18. การไร้สมรรถภาพในการมีเพศสัมพันธ์ของฝ่ายชาย 19. การไร้สมรรถภาพในการมีเพศสัมพันธ์ของฝ่ายหญิง เมื่อพี่น้องพบปัญหาต่าง ๆ ในครอบครัว ก่อนอื่นพี่น้องควรจะต้องท�ำความเข้าใจปัญหานั้น ๆ หาก ในชีวติ คูม่ คี วามผิดหรือความบกพร่องต่อกัน พีน่ อ้ งควรให้อภัยกันและกัน หรือพร้อมทีจ่ ะตักเตือนกันฉันพีน่ อ้ ง เสมอ ตามที่พระเยซูเจ้าทรงสอน (เทียบ มธ.18:15-18) ผู้ใหญ่ที่มีอ�ำนาจ มีหน้าที่อภิบาลตักเตือน และท�ำให้เกิดการคืนดีกันก่อนการใช้การลงโทษเสมอเท่า ที่จะเป็นไปได้ (เทียบ can.1341) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่าน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 25


เปลี่ยนดวงใจลูกเถิด

“พระองค์ทรงถูกประหารชีวิตในสภาพมนุษย์” (1 ปต 3:18) ในสภาพมนุษย์พระองค์ทรงถูกประหาร หลุดพ้นจากสภาพจิตที่ต้องถูกจองจ�ำในร่างกายที่อ่อนแอ แต่พระองค์ก็ทรงเอาชนะความอ่อนแอฝ่ายกายในสภาพมนุษย์ เป็นแบบอย่างแก่ลูกผู้เป็นคนบาป และยอมแพ้ต่อการผจญล่อลวงทุกขณะ “ในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ประทับอยู่ที่นั่นสี่สิบวัน ทรงถูกซาตานผจญ พระองค์ทรงอยู่กับสัตว์ป่า บรรดาทูตสวรรค์ปรนนิบัติรับใช้พระองค์” (มก 1:12-13) พระองค์ทรงมีชัยชนะเหนือบาปร้ายทั้งปวง 26


ในช่วงชีวิตมนุษย์หนึ่งชีวิต คงไม่มีใครเดินทางบนถนนชีวิตนี้ไปได้อย่างราบรื่น โดยไม่พบเจออุปสรรค ขวากหนาม และรอยแผลความผิดหวังจากสิ่งที่คาดหวัง เพราะเราหวังเพื่อประโยชน์สุขของเรา ความสุขจากการด�ำเนินชีวิต เพราะเราต้องการปรนเปรอความต้องการ ความทะยานอยากทั้งหลายของเรา มารผจญเพราะมารรู้ว่ามนุษย์อ่อนแอเรื่องใด มนุษย์ต้องการความยิ่งใหญ่ แสวงหาความสุขส่วนตัว อ�ำนาจหน้าที่ ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขสบายทางกายทุกรูปแบบ เมื่อเราไม่ได้ดั่งที่เราต้องการ มันจึงเป็นความทุกข์ฝ่ายกาย สั่งสมจนท�ำให้ใจหม่นมัว เราจึงเป็นทาสของร่างกาย ไม่ได้เป็นนายของมัน แต่พระเยซูเจ้าทรงเป็นนายเหนือร่างกาย และเป็นนายเหนือบาปร้ายทั้งปวง

ขอให้ลูกหลุดพ้นจากการเป็นทาสของร่างกาย และความทะยานอยากใดใดทุกรูปแบบ ขอโปรดเปลี่ยนดวงใจของลูก ให้เป็นเหมือนดวงใจของพระองค์ ดังเพลง ๆ หนึ่งที่ขับร้องว่า

“เปลี่ยนดวงใจลูกเถิด โปรดให้เป็นหัวใจที่มีไฟรักยิ่งใหญ่ เหมือนหัวใจพระองค์” โปรดเปลีย่ น ดวงใจ ของลูกเถิด ทีอ่ บอวล ด้วยไฟรัก ทีย่ งิ่ ใหญ่ โปรดเปลีย่ น ดวงใจ ของลูกเถิด เป็นดวงใจ ทีเ่ สมือน ใจขององค์

ให้กอ่ เกิด เป็นดวง- ใจดวงใหม่ เหมือนเฉกเช่น ดวงใจ ของพระองค์ ให้งาม พริง้ เพริศ ตามประสงค์ พระผูท้ รง มัน่ คง เหนือสิง่ ใด

โดย น�้ำผึ้งหวาน 27


สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา

28


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ ฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์ ประจำ�ปี 2016 5-8 มกราคม 2016

29


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัสสัมชัญ พัทยา 15 พ.ย. 2015

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดราชินีแห่งสันติภาพ อรัญประเทศ 21 พ.ย. 2015

30


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา 28 พ.ย. 2015

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ท่าศาลา 5 ธ.ค. 2015

31


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี 12 ธ.ค. 2015

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่ 19 ธ.ค. 2015 32


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญยอห์น อัครสาวก มะขาม 26 ธ.ค. 2015

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดปัญจทรัพย์ ดินแดง 27 ธ.ค. 2015

33


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า 2 ม.ค. 2016

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระนามเยซู ชลบุรี 9 ม.ค. 2016

34


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญอันตน พนมสารคาม 16 ม.ค. 2016

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญเปาโลกลับใจ ปากน�้ำ ระยอง 23 ม.ค. 2016 35


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอารักขเทวดา โคกวัด 6 ก.พ. 2016

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระเมืองลูร์ด บางแสน 14 ก.พ. 2016

36


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด บางคล้า 20 ก.พ. 2016

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดธรรมาสน์ นักบุญเปโตร ท่าแฉลบ 27 ก.พ. 2016

37


เปิดปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม 12 ธันวาคม 2015

38


39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.