สายใยจันท์
FREE COPY แจกฟรี
สารสังฆมณฑล
• 2 ว่าที่ พระสงฆ์ใหม่ แห่งสังฆมณฑลจันทบุรี • 25 ปี แห่งสังฆภาพสงฆ์ • หน้าที่ของ ชาวคริสต์ทุกคน
Vol.19
สิงหาคม 2016 ปีท่ี 27
• พระมารดา แห่งเมตาธรรม • 100 ปี ทูตสวรรค์ ปรากฏมาที่ฟาติมา ก่อนพระแม่มารีย์ • ข้อขัดขวาง ที่ท�ำให้การแต่งงานเป็นโมฆะ
ปีที่ 27 ฉบับที่ 19 / สิงหาคม 2016
Contents
สารบัญ
สายใยจันท์
สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์................................... 6 แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020.............. 8 พระมารดาแห่งเมตตาธรรม.........................................................12 100 ปี ทูตสวรรค์ปรากฏมาที่ฟาติมา ก่อนพระแม่มารีย์.........15 2 ว่าที่ พระสงฆ์ใหม่ แห่งสังฆมณฑลจันทบุรี........................... 17 25 ปี แห่งสังฆภาพสงฆ์............................................................20 หน้าที่ของชาวคริสต์ทุกคน........................................................ 22 บทบาทหน้าที่ตามฐานันดรในพระศาสนจักร...............................24 ข้อขัดขวางที่ท�ำให้การแต่งงานเป็นโมฆะ...................................... 26 ด้วยดวงตาแห่งรัก เรารักกันฉันพี่น้อง.....................................28 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 30 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................31
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2
บรรณาธิการ Editor’s talk
คุณพ่อสมศักดิ์ พรประสิทธิ์ ได้แนะน�ำให้พอ่ อ่านหนังสือนิตยสาร National Geographic (ฉบับภาษาอังกฤษ) ฉบับเดือนธันวาคม 2015 ปกเรื่องของนิตยสารเล่มนี้คือ Mary : The Most Powerful Woman in the World เป็นนิตยสารที่ควรที่จะเก็บ สะสมไว้อย่างยิ่ง นิตยสารเล่มนี้ ได้นำ� เสนอเรือ่ งราวแรงศรัทธาของคน ต่างสถานที่ ต่างวัฒนธรรม ทีม่ ตี อ่ พระแม่มารีย์ น�ำเสนอการประจักษ์ทตี่ า่ ง ๆ ทัง้ เม็กซิโก ฝรั่งเศส รวมทั้งในอียิปต์ ได้พูดถึงตัวอย่าง ถึงพระแม่มารีย์เป็นความสว่าง เป็นความหวังของพวกเขาได้อย่างไร? ในบทเทศน์ของพระสันตะปาปาฟรังซิส1 โอกาสเปิดประตูศกั ดิส์ ทิ ธิท์ ี่ Basilica of St. Mary Major (มหาวิหารแม่พระแห่งหิมะ) ในกรุงโรมเมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ท่านได้เทศน์ว่า “วันทามารีย์ มารดาแห่งเมตตาธรรม มารดาแห่งการให้อภัย มารดาแห่งความหวัง มารดา แห่งพระหรรษทาน และมารดาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความชื่นชมยินดี” นีน่ า่ จะเป็นค�ำตอบว่า พระแม่มารียเ์ ป็นความหวังของพวกเขาได้อย่างไร? เดือนสิงหาคม เรามีสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ให้เราถวายเกียรติแก่พระ แม่มารีย์มาก ๆ สายใยจันท์ฉบับนี้ น�ำเสนอเรื่องราว แผนงานอภิบาลของสังฆมณฑล สังฆมณฑลของ เราก�ำลังท�ำแผนงานอภิบาลส�ำหรับอีก 5 ปีขา้ งหน้า การท�ำแผนงานอภิบาลสังฆมณฑล เป็นการ “มองไปสู่อนาคตในสังฆมณฑลของเรา” เป็นการวางรากฐาน “ความเชื่อในอนาคตของ สัมฆมณฑล” ของคริสตชนในสังฆมณฑลของเรา ตามโรดแมปของคณะกรรมการร่างแผนฯ จะมอบฉบับจริงให้กับพี่น้องและคุณพ่อ ในวันฉลองอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี (10 ธันวาคม 2016) ยังมีบทความ “พระมารดาแห่งเมตตาธรรม” “เรือ่ งเทวดาแห่งฟาติมา” น่าอ่านมาก และบทความพิธีกรรม กฎหมายของพระศาสนจักร ยังมีให้อ่านเหมือนเดิม ขอแสดงความยินดีกบั พระคุณเจ้ากิตติคณ ุ เทียนชัย สมานจิต ในโอกาสฉลองศาสนนาม นักบุญลอเรนซ์ ขอพระเป็นเจ้าอวยพร ให้พระคุณเจ้ามีสุขภาพแข็งแรง และขอขอบพระคุณ พระคุณเจ้าเป็นอย่างสูงที่ส่งบทความมาให้สายใยจันท์เป็นประจ�ำ Happy Feast Saint Lawrence Day
คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ
1 Credit:
http://www.catholicnewsagency.com/news/pope-francis-mary-is-the-mother-of-forgiveness-25646/
3
พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า เมือ่ ปีทแี่ ล้ว สภาพระสังฆราชได้จดั ให้มกี ารประชุมสมัชชาใหญ่สำ� หรับพระศาสนจักร คาทอลิกแห่งประเทศไทย โดยมีหวั ข้อการประชุมครัง้ นี้ คือ “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวติ ประกาศ ข่าวดีใหม่” บัดนี้ คณะกรรมการส่วนกลางได้รวบรวมข้อเสนอทัง้ หมดจากการประชุม และได้ จัดท�ำเป็นกฤษฎีกาน�ำเสนอสภาพระสังฆราชพิจารณา และสภาพระสังฆราชได้ลงมติรับรอง และอนุมัติให้น�ำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปในสังฆมณฑลและภาคส่วนต่าง ๆ ส�ำหรับสังฆมณฑลจันทบุรี เราก�ำลังจัดท�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2016-2020 โดยประเมินแผนอภิบาลฉบับปัจจุบันที่เราก�ำลังใช้อยู่อย่างเป็นขั้นตอนและตาม หลักวิชาการ ผลการประเมินจะน�ำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพือ่ น�ำมาพัฒนาต่อในแผนอภิบาล ฉบับใหม่ เวลาเดียวกันเราก็น�ำเอากฤษฎีกามาเป็นแนวทาง ซึ่งเราจะเน้นการมีส่วนร่วมและ บทบาทของฆราวาสมากยิ่งขึ้นในการเป็น “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” เมื่อเราพูดถึง “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” นั่นหมายถึง คริสต ชนแต่ละคนโดยทางศีลล้างบาปกลับกลายเป็นศิษย์ธรรมทูต ที่จะต้องประกาศข่าวดีแห่ง ความรักและความรอดของพระคริสตเจ้าแก่เพื่อนพี่น้องทั้งด้วยวาจา และกิจการที่มาจาก ประสบการณ์ชีวิตแห่งความเชื่อของแต่ละคน ส�ำหรับฆราวาสทั้งชายและหญิง มีหน้าที่ประ กาศพระคริสตเจ้าด้วยชีวติ และพันธกิจทีเ่ ป็นประจักษ์พยานท่ามกลางโลก ด�ำรงชีวติ และบอก เล่าเรือ่ งพระเยซูคริสตเจ้าในครอบครัว ในสังคมและในงานอาชีพ โดยมุง่ น�ำความรักและความ เมตตาของพระเจ้าไปสู่สังคม (เทียบกฤษฎีกา ข้อ 13, 20) ดังค�ำของนักบุญยอห์น คริสตอส โซม “วิญญาณอยู่ในร่างกายอย่างไร คริสตชนต้องอยู่ในโลกอย่างนั้น” (ดูสังฆธรรมนูญ ว่าด้วยพระศาสนจักร Lumen Gentium ข้อ 38) เราวิงวอนขอพระนางมารีย์ พระมารดาแห่งพระศาสนจักรและดวงดาราแห่งการ ประกาศข่าวดีโปรดประทานความเชือ่ อันมัน่ คงแก่เราทัง้ หลายในการเป็นศิษย์ตดิ ตามพระเยซู เจ้า พระบุตรของพระแม่ และโปรดประทานความร้อนรนแก่เราในการน�ำข่าวดีแห่งความรัก และความเมตตาของพระเจ้าไปสู่ทุกคน
(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
4
5
จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนที่ 9) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์
ความเดิมเมื่อตอนที่แล้วได้พูดถึงว่า ความแตกต่างระหว่าง ความเมตตา (Mercy) และ ความกรุณา (Compassion) โดยอธิบายความหมายของค�ำว่า ความเมตตา มีความหมายอย่างไร ในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ซึ่งความเมตตาจะต้องมีค�ำว่า ความรักและการให้อภัย มาเกี่ยวข้อง ด้วย เช่น เรื่องบิดาผู้ใจดี (ลก 15:11-33), เรื่องราวชาวสะมาเรียใจดี (ลก 10:29-37) เป็นต้น ฉบับนี้ จะพูดถึง ความกรุณา
ความกรุณา
หมายถึง เมื่อเห็นใครคนใดคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ขาดแคลน เรามีความรู้สึกอยากจะช่วยเหลือคนเหล่านั้น เช่น เห็นคนนั่งไม่มีเสื้อใส่ท่ามกลางอากาศ หนาวเย็น เราให้เสื้อของเราแก่เขา เราเห็นตัวอย่างของพระเยซูเจ้าได้ทรงกระท�ำทีแ่ สดงให้เห็นถึงความกรุณาของพระเป็นเจ้า มัทธิว 9:36 “เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นประชาชน ก็ทรงสงสาร เพราะเขาเหล่านั้น เหน็ดเหนื่อย และท้อแท้ประดุจฝูงแกะที่ไม่มีคนเลี้ยง” เรามีความรูส้ กึ เหมือนพระเยซูเจ้าไหม? เรารูส้ กึ อยากจะช่วยเหลือคนทีท่ งิ้ วัด เพราะ นักบุญยอห์นบันทึกว่า “เพราะพระเจ้าทรงส่งพระบุตรมาในโลกนีม้ ใิ ช่เพือ่ ตัดสินลงโทษ โลก แต่เพื่อโลกจะได้รับความรอดพ้นเดชะพระบุตรนั้น” (ยน 3:17) มัทธิว 20:34 “พระเยซูเจ้าทรงสงสาร ทรงสัมผัสนัยน์ตาของเขา ทันใดนั้น เขากลับมองเห็น และติดตามพระองค์ไป” 6
การรักษาคนตาบอดของพระเยซูเจ้า เพราะการร้องตะโกนขอให้พระเยซูเจ้ารักษา เรามีความรู้สึก เหมือนพระเยซูเจ้าไหม? ถูกขอร้องและตอบสนองค�ำขอร้องนั้นด้วยความกรุณา ลูกา 19:41-42 ขณะที่พระเยซูเจ้าเสด็จมาใกล้กรุงเยรูซาเล็ม พระองค์ทอดพระเนตรเมืองนั้นแล้วทรงพระกันแสง ตรัสว่า ‘ถ้าในวันนี้เจ้าเพียงแต่รู้จักทางน�ำไปสู่สันติก็จะเป็นการดี แต่ทางนั้นถูกซ่อนไว้จากดวงตาของเจ้าเสียแล้ว’ การที่พระเยซูเจ้าทรงพระกันแสง ต่อผู้ที่ปฏิเสธพระองค์ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า พระเป็นเจ้า ไม่มี พระประสงค์ที่จะลงโทษมนุษย์ แต่ทรงมีความกรุณาต่อมนุษย์เสมอ “ถ้าภารกิจที่น�ำไปสู่การตัดสินลงโทษ ยังมีความสว่างรุ่งโรจน์แล้ว ภารกิจที่ให้ความชอบธรรมก็ยิ่งจะสว่างรุ่งโรจน์มากกว่านั้น” (2 คร 3:9) ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงรู้ดีถึงการถูกท�ำลายกรุงเยรูซาเล็ม “วันนั้นจะมาถึงเจ้า เมื่อข้าศึกสร้างที่มั่นล้อมเจ้า จะตรึงเจ้าไว้อย่างแน่นหนารอบทุกด้าน จะบุกท�ำลายเจ้าและลูกหลานที่อาศัยอยู่ในเจ้าจนราบเป็นหน้า กลอง และจะไม่ปล่อยให้มีก้อนหินซ้อนกันอยู่ในเจ้าอีก เพราะเจ้าไม่รู้จักเวลาที่พระเจ้าเสด็จมาเยี่ยม เจ้า” (ลก 19:43-44) นี่คือความหมายของความกรุณา ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างความเมตตาและความกรุณา คือ
ความเมตตา คือ การให้โอกาสใหม่อีกครั้ง มีการส�ำนึกผิด มีการให้อภัย มีความรักเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
(หากไม่เข้าใจลองกลับไปอ่านตอนที่ 8)
ความกรุณา คือ เป็นความรู้สึกที่จะช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนทั้งกายและใจ ส�ำหรับพระเป็นเจ้า มีทงั้ ความเมตตาและความกรุณาต่อเราเสมอ พระองค์ให้อภัยเราจากบาปต่าง ๆ และยังคอยช่วยเหลือเราทั้งกายและใจด้วย ด้วยเหตุนี้เอง คติพจน์ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม จึงเน้นว่า “จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดา ของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36) “สุดท้ายนี้ท่านทั้งหลายจงมีความคิดเห็นพ้องต้องกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน รักกันฉันพี่น้อง เห็นใจกันและรู้จักถ่อมตน” (1ปต 3:8); “เพราะว่า เมื่อเราหิว ท่านให้เรากิน เรากระหาย ท่านให้เราดื่ม เราเป็นแขกแปลกหน้า ท่านก็ต้อนรับ เราไม่มีเสื้อผ้า ท่านก็ให้เสื้อผ้าแก่เรา เราเจ็บป่วย ท่านก็มาเยี่ยม เราอยู่ในคุก ท่านก็มาหา” (มธ 25:35-36); “แล้วพระมหากษัตริย์จะตรัสแก่ผู้ที่อยู่เบื้องขวาว่า เชิญมา เถิด ท่านทั้งหลายที่ได้รับพระพรจากพระบิดาของเรา เชิญมารับอาณาจักรเป็นมรดกที่เตรียมไว้ให้ท่าน แล้วตั้งแต่สร้างโลก” (มธ 25:34)
(อ่านต่อฉบับหน้า) 7
แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020
หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปี ที่ผ่านมา สังฆมณฑลจันทบุรี ได้มกี ารประกาศใช้ “แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011-2015” เมือ่ วันที่ 18 มิถนุ ายน ค.ศ. 2011 โอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชือ่ วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา โดยตั้งวิสัย ทัศน์ไว้ว่า “คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นหนึ่ง เดียวกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ ประกาศพระ เยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า” พร้อมทั้งได้มอบแผนอภิบาลฯนี้ให้กับตัวแทนทุกวัด ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร เพื่อน�ำไปก�ำหนดเป็นแผน ปฏิบตั กิ ารอย่างเป็นรูปธรรม และใช้ตลอดมาจนครบ วาระ 5 ปี ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2016 8
ตลอดระยะเวลาในการด�ำเนินงานตาม “แผน อภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011-2015” ได้ มีการศึกษา/วิจัย ถึงผลการด�ำเนินงาน จากคณะ กรรมการบริหาร สังฆมณฑลจันทบุรี ด้วยการเก็บ รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง จ�ำแนกออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้าน อภิบาล 2) ด้านธรรมทูต 3) ด้านสังคม 4) ด้าน การศึกษาอบรม 5) ด้านสื่อสารสังคม และ 6) ด้าน บริหารจัดการ ตามกรอบแนวคิดในงานอภิบาลของ สังฆมณฑลฯ เรื่อง “การอภิบาลชุมชนศิษย์พระ คริสต์เสริมสร้างพระอาณาจักรพระเจ้า” สรุปเป็น ภาพรวมทั้ง 6 ด้าน ดังนี้
1.ด้านอภิบาล การพัฒนาเรือ่ งการจัด/การเข้าร่วม กิจกรรม วิถชี มุ ชนวัด(BEC) ทีข่ ยายผลในทุกระดับ ส่งผลให้เกิด มีการเปลี่ยนแปลงชีวิตด้านการปฏิบัติพระวาจา มี ความเชือ่ ความศรัทธาตามวิถชี วี ติ คริสตชน เกิดความ รูค้ วามเข้าใจ ในทิศทางงานอภิบาลของสังฆมณฑลใน ด้านต่าง ๆ มากขึ้น แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุง อยู่บ้าง เช่น ความต่อเนื่องในกระบวนการสร้าง/ พัฒนาครูคำ� สอนในระดับวัด การรณรงค์ดา้ นกระแส เรียกแก่เด็กและเยาวชน 2.ด้านธรรมทูต ทิศทางการด�ำเนินงานด้านอัตลักษณ์การ ศึกษาคาทอลิก ครอบคลุมงานประกาศข่าวดี การ ส่งเสริมการด�ำเนินชีวิตตามคุณค่าพระวรสาร ส่ง ผลให้เกิดบรรยากาศด้านงานประกาศข่าวดีในสถาน ศึกษา ซึง่ มีความทีก่ า้ วหน้าขึน้ ตามล�ำดับ การเสวนา ด้านศาสนากับเพื่อนพี่น้องศาสนิกชนอื่นผ่านทาง กิจกรรมของวัดและโรงเรียน ท�ำให้สัตบุรุษมีความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่วนสิ่งที่ควรได้รับการเอาใจ ใส่ นัน้ คือ การจัดท�ำคูม่ อื การด�ำเนินงานด้านธรรมทูต ในทุก ๆ ระดับ เพือ่ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะได้ เสริมสร้างความเข้มแข็งและความก้าวหน้าในอนาคต 3.ด้านสังคม สัตบุรุษให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือแบ่งปันผู้ ยากไร้ ท�ำให้เกิดความโดดเด่น ในงานเมตตาสงเคราะห์ และการปฏิบตั วิ ถิ ชี วี ติ คริสตชนด้วยความรักเมตตา มี การส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรม สืบสานประเพณีที่ ดีงามในระดับวัด ส่วนสิง่ ทีค่ วรติดตามและได้รบั การ พัฒนาก็คอื การให้ความรูเ้ กีย่ วกับค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคมกับสัตบุรษุ และบุคลากรทีท่ ำ� งานด้านสังคม อย่างต่อเนือ่ ง พร้อมทัง้ สร้างเครือข่ายระหว่างวัดกับ สถาบันของภาครัฐ/เอกชนให้เพิ่มมากขึ้น
4.ด้านการศึกษาอบรม การก�ำหนดอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ที่ เน้นคุณลักษณะนิสัยตามคุณค่าพระวรสารในระดับ โรงเรียน มีการด�ำเนินการอย่างต่อเนือ่ งและสม�ำ่ เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางด้านทุนการ ศึกษาส�ำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส การจัดการเรียน การสอนด้านค�ำสอน แต่ยังต้องติดตามมิติของการ ถ่ายทอดทางประวัติศาสตร์ บ่อเกิดชุมชนความเชื่อ ที่มีคุณค่าให้กับบรรดาเด็ก ๆ และเยาวชน รวมไป ถึงการจัดเก็บบันทึกข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ อย่างต่อเนื่อง 5.ด้านสื่อสารสังคม มีผลสัมฤทธิท์ กี่ า้ วหน้า ทางด้านการผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์(สารวัด) เผยแผ่งานประกาศข่าวดีในระดับวัด และสิ่งพิมพ์ดา้ นค�ำสอน ข่าวสารของพระศาสนจักร ให้กบั สัตบุรษุ ทีท่ ำ� ให้สามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต้องอาศัย ทักษะของบุคลากรทีร่ บั ผิดชอบ จึงเป็นสิง่ ทีค่ วรได้รบั ความเอาใจใส่ ในการพัฒนาบุคลากรและอุปกรณ์ ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมปัจจุบัน 6.ด้านบริหารจัดการ มีระบบและกลไกโครงสร้างการบริหารจัดการ ทีม่ งุ่ เน้นการด�ำเนินงานตามทิศทางแผนอภิบาลอย่าง ชัดเจนและครอบคลุม ส่งผลให้สามารถด�ำเนินการ ตามแผนฯเป็นไปตามระยะเวลาที่ก�ำหนดไว้ มีการ ก�ำกับติดตาม/ประเมินผล ที่เน้นการด�ำเนินการ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีสิ่งที่ควรได้รับความเอาใจใส่ ติดตามแก้ไขคือ การก�ำหนดแผน/ทิศทางให้เยาวชน ได้มีส่วนร่วมในการสืบสานงานแพร่ธรรม และการ ประสานงานด้านเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการด�ำเนินงาน ตามแผนฯ ในทุก ๆ ระดับ 9
ผลที่ได้จากการศึกษา/วิจัยเหล่านี้ ท�ำให้เห็นถึงสภาพจริงที่ก้าวหน้า/โดดเด่น และสิ่งที่ต้องได้รับการ เอาใจใส่ ติดตามแก้ไขปรับปรุง ในการด�ำเนินงานตาม “แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011-2015” ทัง้ 6 ด้าน ซึง่ เป็นไปในแนวทางทีด่ ี ดังนัน้ สภาสงฆ์สงั ฆมณฑลจันทบุรี จึงมีมติเห็นชอบในการใช้ “แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011-2015” ต่อไป แม้จะครบวาระแล้วก็ตาม ทั้งนี้ จะใช้ไปจนกว่า “แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020” จะแล้วเสร็จ วิธีการด�ำเนินการก�ำหนด “แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020” เริ่มต้นด้วยการประชุม คณะอนุกรรมการ การจัดท�ำ(ร่าง) “แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020” เมือ่ วันที่ 23 มิถนุ ายน ค.ศ. 2016 เพื่อร่วมกันร่างหลักเกณฑ์ และก�ำหนดกระบวนการ ในการด�ำเนินการจัดท�ำ(ร่าง)แผนอภิบาลฯ โดยใช้ผล การศึกษา/วิจัย และกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ของพระ ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 เป็น เอกสารอ้างอิง และเป็นแนวทางในการก�ำหนดให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก�ำหนดให้มีการประชุม ในแต่ละแขวงทั้ง 5 แขวง ดังนี้ - แขวงศรีราชา ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2016 - แขวงจันทบุรี ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2016 - แขวงปราจีนบุรี ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2016 - แขวงหัวไผ่ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2016 -แขวงสระแก้ว ในวันที่ 20 สิงหาคม 2016 ทั้งนี้ เพื่อให้แต่ละแขวงได้ร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และรวบรวมข้อมูลน�ำไปจัดท�ำแผน อภิบาลของสังฆมณฑลในระดับแขวง โดยมีกรอบ เวลาอยู่ในช่วงเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2016 ล�ำดับต่อมา เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากแต่ละแขวง จัดท�ำร่างแผนอภิบาลฯ ซึ่งจะมีการ ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เป็นครัง้ ที่ 2 ขัน้ ตอนนีจ้ ะ อยู่ในช่วงเดือน กันยายน - ตุลาคม 2016 10
หลังจากได้รา่ งแผนอภิบาลฯ คณะกรรมการ บริหาร คณะสงฆ์ ตัวแทนสภาอภิบาลระดับแขวง จะ ร่วมกันวิพากษ์ สังเคราะห์ขอ้ มูล ปรับปรุงแก้ไข และ น�ำข้อมูลไปจัดท�ำแผนอภิบาลฯ ฉบับประกาศใช้ โดย ผ่านการประชุมจากคณะอนุกรรมการฯ อีกครั้งใน ช่วงเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน 2016 ทีส่ ุด พระสังฆราชซิลวีโอ สิรพิ งษ์ จรัสศรี จะท�ำการประกาศใช้ “แผนอภิบาล สังฆมณฑล จันทบุรี ค.ศ. 2016-2020” และมอบให้กับตัวแทน ทุกวัด ทุกหน่วยงาน/องค์กร ในวันที่ 10 ธันวาคม 2016 โอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ อาสนวิหาร พระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี เพื่อน�ำไป ด�ำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ โดยแผน อภิบาลฯ ฉบับนี้จะมีวาระในการด�ำเนินงาน 5 ปี นับ ตั้งแต่วันประกาศ โอกาสส�ำคัญนี่้ จึงขอเชิญชวน พระสงฆ นักบวช และฆราวาสทุกทาน รวมใจกันภาวนา วอน ขอพระพรพิเศษจากพระจิตเจา โดยอาศัยคําเสนอ วิงวอนของพระเยซูและพระแมมารีย์ ขอใหเราทุก คนทั่วสังฆมณฑลจันทบุรี มีใจเปนหนึ่งเดียวกัน รวม กับคณะกรรมการฯ และผูแทนจากทุกฝาย รวบรวม และศึกษาขอมูลในระดับแขวง เพือ่ นําขอมูลไปด�ำเนิน การจัดท�ำร่างแผนอภิบาลฯ ทีเ่ ป็นทิศทางของ “แผน อภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020” ฉบับประกาศใช้ต่อไป
การเดินทางสู่
แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2016 - 2020
แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2016-2020 แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015
ทิศทางงานอภิบาล คริสตศักราช 2006 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2006 มีระยะเวลาด�ำเนินงานถึง วันที่ 30 เมษายน 2011 มีการปรับวิสัยทัศน์เป็น คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า และเพื่อนมนุษย์ ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า
คู่มือสภาอภิบาลวัด สังฆมณฑลจันทบุรี ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 1 มกราคม 1998 เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งและ ด�ำเนินงานสภาอภิบาลวัด สู่ปี ค.ศ. 2000
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2011 มีระยะเวลาด�ำเนินงานถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2016 ใช้วิสัยทัศน์เดิม
คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า
ทิศทางงานอภิบาล คริสตศักราช 2000 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 มกราคม 2001 มีระยะเวลาด�ำเนินงานถึง วันที่ 30 เมษายน 2006 ก�ำหนดวิสัยทัศน์ว่า คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า 11
พระมารดา
แห่งเมตตาธรรม โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์
อาศัยดวงใจที่เสียสละ พระนางสามารถมีส่วนร่วมในการ เผยแสดงพระเมตตาของพระเป็นเจ้า ความเสียสละนี้เกี่ยวพันอย่าง ใกล้ชิดกับกางเขนแห่งพระบุตรของพระนาง เหตุว่า พระนางยืนอยู่ แทบเชิงกางเขน บนเนินเขากัลวาริโอ
สมณโองการประกาศปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม “พระพักตร์แห่ง ความเมตตา” (Misericordiae Vultus) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีทั้งหมด ๒๕ ข้อ ด้วยกัน หลังจากที่พระสันตะปาปาได้อธิบายเรื่อง พระ เมตตาของพระเป็นเจ้า ทีม่ าทีไ่ ปของการประกาศปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม และแนวทางปฏิบตั ภิ ายในปีศกั ดิส์ ทิ ธิพ์ เิ ศษนี้ ก่อนจบ ในข้อที่ ๒๔ ท่านได้เขียน ถึงพระแม่มารีย์ว่า “บัดนี้ความคิดของข้าพเจ้าหวนกลับไปยัง พระมารดา แห่งความเมตตา1…
1 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส,
12
พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม (Misericordiae Vultus), (สมณโองการ) ข้อ ๒๔
พระมารดาแห่งความเมตตา ค�ำนี้ มาจากไหนกัน? พระมารดาแห่งความเมตตา อันที่จริงค�ำ พูดนี้ บรรดาคริสตชนคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่ง ค�ำนี้อยู่ในบทสวด “วันทาพระราชินี” พระแม่แห่ง ความเมตตา กรุณา ท่านคือชีวติ และความอ่อนหวาน ของเรา (บทสวดแบบเก่า) พระมารดาแห่งความเมตตา ค�ำนี้ เราพบ ได้ในบันทึกของนักบุญโฟสตินาข้อที่ ๐๓๓๐ พระ แม่มารีย์ยืนยันว่า “แม่มิได้เป็นเพียงราชินีสวรรค์ เท่านั้น แต่เป็นพระมารดาแห่งความเมตตาและ เป็นแม่ของลูกด้วย (I am not only the Queen of Heaven, but also the Mother of Mercy and your Mother.)” 2 พระมารดาแห่งความเมตตา ค�ำนี้ พระแม่ มารียไ์ ด้เผยให้กบั นักบุญบริจติ แห่งสวีเดนว่า “แม่เป็น ราชินแี ห่งสวรรค์ และเป็นมารดาแห่งความเมตตา จะน�ำคนบาปไปสู่พระเป็นเจ้า” การประจักษ์ของ พระแม่มารีย์ แก่ ยวง ดิเอโก ประเทศเม็กซิโก ค.ศ. ๑๕๓๑ ได้ตรัสกับดิเอโกว่า “แม่ไม่ได้อยู่ที่นี่หรือ? แม่ไม่เป็นแม่ของลูกหรือ? ลูกไม่ได้อยู่ภายในร่ม เงาการปกป้องของแม่หรือ? แม่ไม่ได้เป็นความ ชื่นชมยินดีของลูกหรือ? ลูกไม่ได้อยู่ภายในเสื้อ คลุมภายใต้วงแขนของแม่หรือ? แล้วลูกต้องการ อะไรอีก?” นี่เป็นค�ำพูดของที่บ่งบอกถึงความเป็น มารดาแห่งความเมตตาอย่างแท้จริง พระสมณสาสน์ของนักบุญพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ ๒ เรื่อง พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (Dives in Misericordia) ได้เขียนว่า “พระนางมารีย์ จึงเป็นบุคคล ผูม้ คี วามรูอ้ ย่างลึกซึง้ เกีย่ วกับธรรม ล�้ำลึกแห่งพระเมตตาของพระเป็นเจ้า พระนางรู้ ดีถึงสิ่งที่จะต้องแลกเปลี่ยน พระนางจึงรู้ว่ามีคุณ เพียงใด ดังนัน้ เราจึงเรียกพระนางว่า พระแม่แห่ง ความเมตตา หรือ พระมารดาแห่งความเมตตา” 3
๑.
เหตุผลที่เราเรียกพระแม่มารีย์ว่า เป็นมารดาแห่งความเมตตา
พระแม่มารีย์เป็นสตรีที่มีประสบการณ์ พระเมตตาของพระเป็นเจ้าเป็นพิเศษ 4 นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ ๒ ได้ให้ เหตุผลว่า พระนางมารีย์ยังเป็นผู้ที่ได้รับพระเมตตา เป็นพิเศษอย่างยิ่ง และอย่างที่ไม่มีผู้ใดเคยได้รับมา ก่อน ในขณะเดียวกันและในแนวพิเศษ อาศัยดวงใจ ที่เสียสละ พระนางสามารถมีส่วนร่วมในการเผย แสดงพระเมตตาของพระเป็นเจ้า ความเสียสละนี้ เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด กับกางเขนแห่งพระบุตรของ พระนาง เหตุว่า พระนางยืนอยู่แทบเชิงกางเขน บน เนินเขากัลวาริโอ การเสียสละของพระนางนับว่ามีส่วนเป็น พิเศษในการเผยแสดงพระเมตตา กล่าวคือการที่ พระเป็นเจ้าทรงยึดมัน่ ในความรักของพระองค์ พันธ สัญญาซึง่ พระองค์ทรงมีพระประสงค์มาตัง้ แต่นริ นั ดร์ กาล แต่ทรงมาผูกมัดกับมนุษย์ กับประชาชนและกับ มนุษยชาติในกาลเวลา เป็นการแบ่งปันการเผยแสดง ซึง่ ส�ำเร็จไปด้วยอานุภาพของกางเขน ไม่มผี ใู้ ดเคยมี ประสบการณ์ในขัน้ เดียวกันนี้ กับพระมารดาของพระ ผูท้ รงถูกตรึงกางเขน ถึงธรรมล�ำ้ ลึกแห่งกางเขน อัน เป็นการพบปะซึง่ เหนือค�ำบรรยายระหว่างพระเมตตา อันเอือ้ อาทรควบคูไ่ ปกับความรัก ไม่มผี ใู้ ดต้องรับธรรม ล�ำ้ ลึก อันได้แก่มติ อิ นั แท้จริงของพระเป็นเจ้าเกีย่ วกับ การไถ่กู้ ซึ่งส�ำเร็จลงบนเนินเขากัลวาริโอ ด้วยการ สิน้ พระชนม์ขององค์พระบุตร พร้อม ๆ ไปกับการยก ถวายดวงใจแห่งการเป็นมารดาของพระนาง ควบคู่ ไปกับการยินยอมน้อมรับของพระนาง
2 divine-mercy-in-my-soul
online from https://liturgicalyear.files. wordpress.com/.../divine-mercy-in-my-soul.pdf no.๐๓๓๐ 3 สมเด็จพระสันตะปาปา
ยอห์น ปอล ที่ ๒, พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (Dives in Misericordia), แปลโดยพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร, C.Ss.R.. หน้า ๕๑-๕๒ 4 สมเด็จพระสันตะปาปา
ยอห์น ปอล ที่ ๒, พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (Dives in Misericordia), แปลโดยพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร, C.Ss.R.. หน้า ๕๐
13
๒.
“ทรงบังเกิดจากพระนางมารียพ์ รหมจารี”
ประโยคนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของบทสวด “สัญลักษณ์ อัครสาวกหรือบทข้าพเจ้าเชือ่ ” พระนางมารียท์ รง มีส่วนร่วมในแผนการประวัติศาสตร์แห่งความรอด ของพระเป็นเจ้า เป็นผู้น�ำพระเมตตาของพระเป็น เจ้า (พระเยซูเจ้า) เข้ามาสู่โลก สู่ประวัติศาสตร์ของ มนุษยชาติ “ท่านจะตั้งครรภ์และให้ก�ำเนิดบุตร ชายคนหนึ่ง ท่านจะตั้งชื่อเขาว่าเยซู เขาจะเป็น ผูย้ งิ่ ใหญ่และพระเจ้าผูส้ งู สุด จะทรงเรียกเขาเป็น บุตรของพระองค์ พระเจ้าจะประทานพระที่นั่ง ของกษัตริย์ดาวิด บรรพบุรุษให้แก่เขา เขาจะ ปกครองวงศ์ตระกูลของยาโคบตลอดไปและพระ อาณาจักรของเขาจะไม่สิ้นสุดเลย” (ลก 1:31-34) “เมืองเบธเลเฮม ดินแดนยูดาห์ เจ้ามิใช่เล็กที่สุด ในบรรดาหัวเมืองแห่งยูดาห์ เพราะผูน้ ำ� คนหนึง่ จะ ออกมาจากเจ้า ซึง่ จะเป็นผูน้ ำ� อิสราเอล ประชากร ของเรา” (มธ 2:6) สมณโองการ “พระพักตร์แห่งความเมตตา” (Misericordiae Vultus) ของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ท่านได้อธิบายว่า “ไม่มีผู้ใดเข้าถึงธรรมล�้ำ ลึกแห่งการบังเกิดของพระเยซูเจ้าเฉกเช่นพระนาง มารีย์ ชีวติ ทัง้ หมดของแม่พระคือ ส�ำเนาแห่งผูท้ รง เมตตาที่เสด็จมารับสภาพมนุษย์ พระมารดาของ พระผูถ้ กู ตรึงตายบนไม้กางเขนและเสด็จกลับฟืน้ พระชนม์ชีพ ทรงเสด็จเข้าถึงต�ำหนักพระเมตตา ของพระเจ้า เพราะพระนางมารีย์ทรงมีส่วนร่วม อย่างใกล้ชดิ ธรรมล�ำ้ ลึกแห่งความรักของพระองค์ เมือ่ ถูกเลือกให้เป็นมารดาของพระบุตรของพระเจ้า พระแม่มารีย์ถูกเตรียมด้วยความรักของพระเจ้า ตั้งแต่เริ่มแรก ให้เป็นส�ำเภาแห่งพันธสัญญา ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ พระแม่ทรงเก็บรักษา
14
พระเมตตาของพระเจ้าไว้ในดวงพระทัย พร้อม กับความกลมเกลียวสมานฉันท์อย่างครบครันกับ พระเยซูบุตรของพระแม่..” จดหมายของพระสันตะปาปา ถึงพระอัคร สังฆราชไรโน ฟิสเิ ชลลี่ ได้ลงท้ายจดหมายว่า “อาศัย การวอนขอของพระมารดาผูท้ รงเมตตา พ่อมัน่ ใจ ว่าการเตรียมการส�ำหรับปีศักดิ์สิทธิ์ที่พิเศษนี้ จะ ได้รับการปกป้องจากพระนาง” “ดังนั้น ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ช่วง เวลานีไ้ ด้เชือ่ มโยงกับสิง่ เดียวทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ ศีล ศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี (ศีลอภัยบาป) และการ ประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ ที่สะท้อนถึงพระ เมตตาธรรมของพระเจ้า มันเป็นความจ�ำเป็นมากที่ ต้องมีการเฉลิมฉลองเหล่านี้ กับการประกาศยืนยัน ความเชื่อ และกับการสวดภาวนา เพือ่ ตัวสัตบุรษุ เองและเพื่อความตั้งใจของเขา/เธอว่า พวกเขา/ เธอนั้น มีความปรารถนาดีต่อพระศาสนจักรและ โลกทั้งมวลด้วย...” (พระสันตะปาปาฟรังซิส) เพื่อร่วมฉลองปีศักดิ์สิทธ์แห่งเมตตาธรรม อย่าลืม
พระมารดาแห่งเมตตาธรรม
ครบรอบ 100 ปี
ทูตสวรรค์ปรากฏมาที่ฟาติมา ก่อนพระแม่มารีย์ (จาก The Fatima Crusader แปลโดย ล.เทียนชัย สมานจิต)
ปี 1916 เป็นการเตรียมรับการเสด็จมาเยือน ของพระแม่มารีย์ เด็ก 3 คน ได้รบั พระพรด้วยการเยือน 3 ครั้ง ของทูตสวรรค์ การปรากฏมาครั้งแรก - ในฤดูใบไม้ผลิ 1916 เด็ก 3 คน ก�ำลังเลีย้ งแกะอยูท่ างทิศตะวันออก ของ Cabeco (เนินเล็ก ๆ อยูห่ า่ งจากหมูบ่ า้ น Aljustrel เดิน 5 นาที) ซึ่งเป็นเนินเล็ก ๆ ของฟาติมา เมื่อลมพัด ใบไม้สั่น ก็มีรูปปรากฏเหนือต้นโอ๊ก และเข้ามาใกล้ ๆ ลูเชียบรรยายดังนี้ : “เป็นรูปเด็กชายคนหนึ่ง อายุ ประมาณ 14 ปี ขาวยิ่งกว่าหิมะ โปร่งใสเหมือนผลึก ยามพระอาทิตย์ส่องแสงทะลุ มีรูปร่างงามมาก” หนุม่ น้อยกล่าวว่า : “อย่ากลัวเลย เราเป็นทูต สวรรค์แห่งสันติภาพ จงภาวนาพร้อมกับเรา” แล้ว เขาก็คุกเข่าที่พื้นดิน ก้มลง หน้าผากจรดพื้นดิน เด็ก ๆ ก็ท�ำตาม แล้วเขาก็น�ำเด็ก ๆ ภาวนา 3 ครั้ง : “ข้าแต่ พระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเชื่อ ข้าพเจ้านมัสการ ข้าพเจ้าวางใจและรักพระองค์ ข้าพเจ้าขอขมาโทษ ส�ำหรับผู้ที่ไม่เชื่อ ไม่นมัสการ ไม่วางใจ และไม่รัก พระองค์” แล้วเขาลุกขึน้ กล่าวว่า : “จงภาวนาเช่นนี้ ดวง พระทัยของพระเยซูเจ้า และของพระแม่มารียก์ ำ� ลัง ตั้งใจฟังค�ำวิงวอนของพวกหนู” แล้วเขาก็หายวับไป เด็ก ๆ ประทับใจในการปรากฏมาของทูตสวรรค์ พวกเขาสวดบทภาวนาของทูตสวรรค์ซำ�้ แล้วซ�ำ้ อีกตลอด วัน นอนคว�ำ่ บนพืน้ ดิน พวกเขาภาวนาเช่นนีต้ อ่ ไปหลาย วัน จนค่อย ๆ หายร้อนรน 15
การปรากฏมาครั้งที่ 2 - ในฤดูร้อน 1916 ขณะที่ก�ำลังร้อนจัด ทูตสวรรค์ได้ปรากฏมา เป็นครั้งที่ 2 ขณะที่เด็ก ๆ หลังจากต้อนแกะกลับ ไปยังยุ้งข้าวตอนแดดร้อนเที่ยงวัน ก�ำลังเล่นกันอยู่ ใกล้ ๆ บ่อน�้ำ ทูตสวรรค์ตรัสกับพวกเขาว่า : “พวก หนูก�ำลังท�ำอะไร? จงภาวนา ภาวนามาก ๆ ดวง พระทัยศักดิส์ ทิ ธิข์ องพระเยซูเจ้าและพระแม่มารียม์ ี ความตัง้ ใจจะแสดงพระเมตตาต่อพวกหนู จงถวาย ค�ำภาวนาและพลีกรรมเสมอ ๆ ต่อพระเจ้าผู้สูงสุด ดวงพระทัยทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องพระเยซูเจ้าและพระแม่ มารียก์ ำ� ลังตัง้ ใจฟังเสียงอ้อนวอนของพวกหนู จงท�ำ ทุกสิง่ ให้เป็นพลีกรรมถวายแด่พระเจ้าประหนึง่ เป็น กิจชดเชยบาป ซึ่งท�ำขัดเคืองพระทัยพระองค์ และ เป็นการวิงวอนเพือ่ การกลับใจของคนบาป พวกหนู จะน�ำสันติภาพมาเหนือประเทศของพวกหนู เราคือ อารักขทูตสวรรค์ ทูตสวรรค์ของประเทศโปรตุเกส ก่อนอืน่ จงรับและอดทนความทุกข์ยากด้วยการน้อม รับทุกสิ่งที่พระเจ้าจะส่งมาให้พวกหนู” การปรากฏมาครั้งที่ 3 - ในฤดูใบไม้ร่วง 1916 การปรากฏมาครั้งที่ 3 และครั้งสุดท้ายของ ทูตสวรรค์เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง ขณะที่เด็ก ๆ ก�ำลัง เลี้ยงแกะในป่าละเมาะต้นมะกอก พวกเขาคุกเข่าลง หน้าผากจรดพื้น สวดบทภาวนาของทูตสวรรค์ ก็มี แสงประหลาดส่องมาเหนือพวกเขา พวกเราเห็นทูต สวรรค์มอื ซ้ายถือจอกกาลิกซ์ มีแผ่นศีลฯลอยอยูเ่ หนือ จอกกาลิกซ์ มีพระโลหิตหยดลงในจอกกาลิกซ์ 2-3 หยด ปล่อยจอกกาลิกซ์และแผ่นศีลฯ ลอยอยู่ในอากาศ ทูต สวรรค์นอนราบกับพื้นดินข้าง ๆ พวกเรา และให้พวก เราภาวนา 3 ครัง้ “ข้าแต่พระตรีเอกภาพผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ยิง่ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ข้าพเจ้าขอถวาย แด่พระองค์ ซึ่งพระกาย พระโลหิต พระวิญญาณ ประเสริฐยิง่ และพระเทวภาพของพระบุตรแต่องค์ 16
เดียว พระเยซูคริสตเจ้าผูป้ ระทับอยูใ่ นตูศ้ ลี ทุกแห่ง ทั่วโลก เพื่อเป็นการชดเชยบาปการทุราจาร การ สบประมาทและการเย็นเฉยทั้งสิ้น ซึ่งท�ำขัดเคือง พระทัยพระองค์ และอาศัยบุญบารมีอนั หาขอบเขต มิได้แห่งดวงพระหฤทัยอันศักดิส์ ทิ ธิย์ งิ่ ของพระองค์ และดวงพระทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ ข้าพเจ้า ขอวิงวอนการกลับใจของคนบาปผู้น่าสงสารจาก พระองค์” ลูเชียกล่าวต่อ : “จากนัน้ ทูตสวรรค์ลกุ ขึน้ ถือ ถ้วยกาลิกซ์และแผ่นศีลในมือ มอบแผ่นศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ แก่หนู และแบ่งพระโลหิตจากถ้วยกาลิกซ์แก่ยาชิน ทาและฟรังซิสโก กล่าวอย่างที่เคย ดังนี้ : “จงรับ พระกายและดืม่ พระโลหิตของพระเยซูคริสตเจ้าทีถ่ กู สบประมาทอย่างน่าสยดสยองโดยมนุษย์ทอี่ กตัญญู จงท�ำการชดเชยส�ำหรับบาปความผิดของคนเหล่า นั้น และจงบรรเทาพระเจ้าของพวกหนู” อีกครั้งหนึ่ง ทูตสวรรค์ได้นอนราบกราบบน พื้นดิน และสวดบทภาวนาเดียวกันซ�้ำ พร้อมกับพวก เราอีก 3 ครั้ง แล้วก็หายลับไป วาจาสั้น ๆ ของทูตสวรรค์ เป็นเหมือนบท สังเคราะห์สาส์นพิเศษของฟาติมาซึ่งมองผาด ๆ ดุจ พระวรสารที่เหมาะกับยุคสมัยของเราในศตวรรษนี้ ใครเป็นทูตสวรรค์แห่งสันติภาพที่ปรากฏมา ที่ฟาติมาดุจผู้มาล่วงหน้าพระแม่? นักประวัติศาสตร์ โปรตุเกสยอมรับว่าอัครทูตสวรรค์มีคาเอลเป็นองค์ อุปถัมภ์และผู้พิทักษ์ของพวกเขา ซึ่งได้รับการคารวะ เสมอมาว่าเป็นอารักขทูตสวรรค์ แห่งประเทศของพวก เขา และเป็นทูตสวรรค์แห่งสันติภาพ บทภาวนาทีท่ ตู สวรรค์สอนเด็ก และการกราบหน้า ผากจรดพืน้ คงช่วยเราให้ภาวนาดีขนึ้ เพือ่ เป็นพลีกรรม ชดเชยบาป และเพื่อการกลับใจของคนบาป ตามพระ ประสงค์ของพระเยซูเจ้าและพระแม่
2
ว่าที่พระสงฆ์ใหม่ แห่งสังฆมณฑลจันทบุรี
ประวัติศาสตร์หน้าส�ำคัญก�ำลังจะถูกบันทึกไว้อย่างน่าภาคภูมิใจอีกครั้งหนึ่ง ส�ำหรับสังฆมณฑล จันทบุรีของเรา นั่นคือ การมีชายหนุ่ม 2 คนจะได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ เพื่อสืบสานพระภารกิจของ พระคริสตเจ้า ในวันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2016 โดย พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี “สายใยจันท์” ฉบับนี้จึงขอแนะน�ำ ว่าที่พระสงฆ์ทั้ง 2 คน ว่าเป็นใคร? มาจากไหน? และขอค�ำ ภาวนาจากทุกท่าน เพื่อกระแสเรียก เพื่อสังฆภาพ ให้ทั้งสองเป็นสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ มีชีวิตและภาพลักษณ์ ของพระคริสต์ ท�ำหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับมอบหมายเยี่ยงพระคริสต์-พระอาจารย์์ในการประกาศสอน 17
| ว่าที่พระสงฆ์ใหม่ | แห่งสังฆมณฑลจันทบุรี
สังฆานุกร ยอแซฟ สุทธิพงษ์ สุขส�ำราญ ข้าฯ มอบทุกสิ่ง (รม 12:1-2)
เกิดเมื่อ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) สัตบุรุษวัด พระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง จันทบุรี บิดา ยอแซฟ นิเวศน์ สุขส�ำราญ มารดา มารีอา นิยะดา สุขส�ำราญ จ�ำนวนพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 การศึกษา ระดับอนุบาล โรงเรียนศรีหฤทัย ขลุง จันทบุรี ระดับประถมศึกษา โรงเรียนศรีหฤทัย ขลุง จันทบุรี ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี/ปริญญาโท วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน เหตุจูงใจในการเข้าบ้านเณร ผมมีความชืน่ ชอบในเรือ่ งดนตรีและการขับร้อง เมือ่ เห็นเณรมาร้องเพลงในงานบวช ที่วัดจึงเป็นแรงจูงใจหนึ่งที่ท�ำให้ผมอยากเป็นเณร พร้อมทั้งได้รับแรงผลักดันจากญาติพี่น้อง ทีเ่ ห็นว่าการเป็นพระสงฆ์เป็นกระแสเรียกทีพ่ เิ ศษ และบ้างก็เห็นว่าการเป็นเณรจะได้เรียนใน โรงเรียนที่มีชื่อเสียง แต่เมื่อย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น เมื่อครั้งที่ยายยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นคน ศรัทธาไปร่วมมิสซาสวดพระเมตตา สวดสายประค�ำสม�่ำเสมอ และแทบทุกครั้งผมจะได้อยู่ เคียงข้างยาย กระแสเรียกของผมได้เติบโตทีละเล็กทีละน้อยในช่วงเวลาเหล่านั้นแล้ว ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่ออันตน สมศักดิ์ นามกร ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดย พระอัครสังฆราช หลุยส์ จ�ำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย เป็นสังฆานุกร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
18
สังฆานุกรทั้งสองจะเข้ารับศีลบวช ณ วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ชลบุรี
| ว่าที่พระสงฆ์ใหม่ | แห่งสังฆมณฑลจันทบุรี
สังฆานุกร เปโตร อานุภาพ วงษ์แก้ว อานุภาพนั้นมาจากพระเจ้า (2 คร 4:7)
เกิดเมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) สัตบุรุษวัด นักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ชลบุรี บิดา ยอแซฟ บุญสม วงษ์แก้ว มารดา มาร์ธา อารีย์ วงษ์แก้ว จ�ำนวนพี่น้อง 3 คน เป็นบุตรคนที่ 2 การศึกษา ระดับอนุบาล โรงเรียนประชาสงเคราะห์ พานทอง ชลบุรี ระดับประถมศึกษา โรงเรียน ดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี/ปริญญาโท วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน เหตุจูงใจในการเข้าบ้านเณร ผมได้เห็นเณรที่เป็นลูกวัดเดียวกันอย่าง คุณพ่อพูนพงษ์ คูนา กับ คุณพ่อยศธร ทองเหลือง กลับมาบ้านในช่วงปิดเทอม มาร่วมมิสซาทีว่ ดั แต่งกายด้วยเสือ้ ยืดสีฟา้ กางเกง ขายาวสีด�ำ ดูสุภาพเรียบร้อยดีเห็นแล้วประทับใจจึงอยากเป็นเช่นนั้นบ้าง และอีกประการ หนึ่งคือ เมื่อตอนเป็นเด็กช่วยมิสซา คุณพ่อสมนึก ประทุมราช ได้พาไปเยี่ยมบ้านเณร เล็กที่ศรีราชา ได้เจอรุ่นพี่ที่รู้จัก คือ คุณพ่อวัชรพล กู้ชาติ ก�ำลังจับจอบขุดดิน ตัวเปื้อน มอมแมม ดูน่าสนุกและน่าอยู่ ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่อลูกา บรรจง พานุพันธ์ ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดย พระอัครสังฆราช หลุยส์ จ�ำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย เป็นสังฆานุกร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2016 โดย พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี
19
6 มกราคม 1991 มีพิธีบวชพระสงฆ์ใหม่ ที่บ้าน เณรใหญ่แสงธรรม โอกาสเปิดปีแห่งการประกาศข่าวดี อย่างเป็นทางการของพระศาสนจักรในประเทศไทย โดย พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู หลังจากพิธีบวชสิ้น สุดลง สามเณร วิเชียร ก็ได้รบั สถานภาพใหม่เป็นบาทหลวง วิเชียร โดยธรรมชาติแล้ว ผมก็ยังเป็นผมคนเดิม ความรู้ ความคิด บุคลิก อุปนิสัยใจคอ ฯลฯ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ใน ชีวิต คือ สถานภาพใหม่ บทบาทใหม่ ในฐานะตัวแทนของ พระเยซูเจ้า ท�ำหน้าทีส่ ำ� คัญในชีวติ สงฆ์ คือ ถวายบูชามิสซา และโปรดศีลศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ ง ๆ รวมทัง้ การอภิบาลสัตบุรษุ ด้วย วัดแรกที่ได้ไปอยู่ คือ อาสนวิหารฯ จันทบุรี เป็น ปลัด คพ. สมศักดิ์ นามกร ประสบการณ์ที่ได้รับจากวัดนี้ คือ การอยู่กับสัตบุรุษ ได้พบ ได้รู้จักกับสัตบุรุษมากมาย มีโอกาสได้เยี่ยมเยือน พบปะและให้ก�ำลังใจ แต่สิ่งที่ส�ำคัญ ส�ำหรับพระสงฆ์ใหม่ คือ การได้มีประสบการณ์ท�ำพิธี และ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ส�ำหรับวัดจันท์ ใครได้มาอยู่ที่นี้ รับรองได้วา่ “คล่อง” ไม่วา่ จะเป็น พิธลี า้ งบาป แต่งงาน เจิม คนไข้ แม้กระทัง่ พิธปี ลงศพ เรียกได้วา่ หลับตาท�ำก็ยงั ได้เลย ส�ำหรับผม จุดหักเหของชีวิตเริ่มต้นที่นี่... หลังจาก จบจากวัดจันท์แล้ว ผมมีโอกาสได้ไปรับการอบรมในประเด็น “Justice and Faith Workshop” ทีฮ่ อ่ งกง 4 เดือน เป็นการ อบรมเกีย่ วกับสังคม ให้มองสังคมจากสภาพจริงให้เป็น รูจ้ กั วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ในมุมมองของพระศาสนจักร เพื่อ รู้เท่าทัน และรับมือกับสภาพสังคมในสมัยนั้น ๆ หลังจาก จบมาแล้ว ทางสังฆมณฑลมอบหมายให้เป็นผู้อ�ำนวยการ ศูนย์สังคมพัฒนา ที่ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว บอกตามตรง ตอนแรกก็รับไม่ได้ ประสบการณ์งานด้านสังคมก็ไม่มี งบ ประมาณทางสังฆมณฑลก็ยงั ไม่ชว่ ย ต้องของบประมาณจาก ต่างประเทศ ซึ่งเข้มงวด และเคร่งครัด มีรายงาน มีตรวจ สอบบัญชี แต่สิ่งที่ได้รับคือ งาน ความรับผิดชอบ มันท�ำให้ เราโตขึน้ ประกอบกับเมือ่ ต้องท�ำงานด้านสังคม ก็ตอ้ งศึกษา ค้นคว้า และคลุกคลี อยู่กับข้อมูลด้านสังคม ค�ำสอนพระ 20
ศาสนจักรเรื่องสังคม ท�ำให้ในส่วนตัวแล้ว เรามีมุม มองกว้างมากขึ้น เติบโตทางด้านความคิด... ในสมัย นั้น การสัมมนาต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหา หรือการสรุปภาพรวมของ การสัมมนานั้น ๆ ที่สุด ต้องขอบคุณสังฆมณฑลที่ ท�ำให้ผมเติบโตขึน้ ท�ำให้คดิ ถึงประโยคหนึง่ ทีก่ ล่าวว่า “มนุษย์ คิดไม่เหมือนพระเจ้า” ...น้อมรับน�ำ้ พระทัย ของพระเป็นเจ้า ครับ
ต่อจากนั้น ชีวิตก็เป็นไปตามวาระ การสับ เปลี่ยนโยกย้าย ไปที่ไหนก็ไป ที่นั้นต้องท�ำอะไรก็ท�ำ เต็มก�ำลังความสามารถ ผิดบ้าง ถูกบ้าง หนักบ้าง เบาบ้าง หัวเราะบ้าง ร้องไห้บา้ ง แต่กผ็ า่ นมาได้ มอง ย้อนกลับไปแล้ว ก็ไม่รวู้ า่ ผ่านมาได้อย่างไร ถามว่า... ตัวเองเก่งไหม? ก็ไม่เก่ง ฉลาดไหม? ก็ไม่ค่อยฉลาด เท่าไหร่ ที่ผ่านมาได้ พระเป็นเจ้าช่วยล้วน ๆ เลย ต้องขอบพระคุณพระองค์จริง ๆ
25 ปี ของชีวิตสงฆ์ มองย้อนกลับไป ต้องขอบพระคุณบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสุดซึ้ง 1. คพ. สมัคร เจ็งสืบสันต์ ผู้ส่งเข้าบ้านเณร 2. คพ. สมศักดิ์ พรประสิทธิ์ ผู้ให้การอบรม และแบบอย่างที่ดี ในฐานะ อธิการบ้านเณรเล็ก 3. พระคาร์ดินัล เกรียงศักดิ์ โกวิทวานิช อธิการบ้านเณรกลาง(สมัยนั้น) ที่ผมขอลาออกแต่ไม่อนุมัติ 4. คพ. สมศักดิ์ นามกร อธิการบ้านเณรใหญ่ ที่อบรมและให้การดูแล 5. คพ. มานพ ปรีชาวุฒิ ขอบคุณทีใ่ ห้คำ� แนะน�ำและช่วยเหลือ ในยามวิกฤตแห่งกระแสเรียกช่วงก่อนบวช 6. คพ. ยอด เสนารักษ์ พ่อพี่ที่ช่วยเหลือ ตักเตือนและให้ก�ำลังใจ 7. คพ. ทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต พ่อพี่ที่แสนดี อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และขอขอบคุณบรรดาคณะสงฆ์ พี่น้องพระสงฆ์ทุกองค์ ที่ให้ความเป็นกันเอง ช่วยเหลือ แบ่งปัน และอยู่เคียงข้างกันเสมอ...ขอบคุณจริง ๆ ครับ
21
ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี
สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ที่เคารพรัก พบกันอีกเช่นเคยครับในเรื่องราวเกี่ยวกับงานสังคม ในช่วง เวลาไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านทบทวนประมวลกฎหมายของพระศาสนจักร ได้พบเจอเรื่องราวที่น่า สนใจซึ่งมีความสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของคริสตชนในการด�ำรงชีวิตในสังคม โดยเฉพาะในชุมชนแห่ง ความเชื่อของเรา จึงอยากจะน�ำมาแบ่งปันในสายใยจันท์ฉบับนี้
“หน้าที่ของชาวคริสต์ทุกคน” (Obligations of all Christ’s Faithful) • ชาวคริสต์ทกุ คนต้องใช้ความสามารถทัง้ ครบ ในการเจริญชีวิตสู่ความศักดิ์สิทธ์ ทั้งในมิติ ส่วนตัวและมิติส่วนรวม คือ พระศาสนจักร ระดับบ้าน ระดับวัด ระดับสังฆมณฑล ฯลฯ (ม.210) • ชาวคริสต์ทุกคน ต้องน�ำข่าวดีแห่งความ รอดพ้นไปยังมนุษย์ทุกคน ทุกยุค ทุกสมัย ทั่วพิภพ ด้วยความเอาใจใส่และตั้งใจจะให้ เกิดผลยิ่ง ๆ ขึ้น ด้วยเครื่องมือและวิธีการ ต่าง ๆ ที่เหมาะสม (ม.211) • ชาวคริสต์มหี น้าทีร่ กั ษาและเสริมสร้างความ เป็นธรรมในสังคม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส คนยากจน ผูไ้ ด้รบั ความอยุตธิ รรม ฯลฯ ตาม ความสามารถและตามที่พระศาสนจักรสั่ง สอน (ม.222 วรรค 2) 22
จากกฎหมาย 3 ข้อย่อย ๆ ทีน่ ำ� มาเสนอ เมือ่ น�ำมามองและไตร่ตรองในชีวติ เราผูเ้ ป็นศิษย์ของพระ เยซูคริสต์ เราจะเห็นว่า X คริสตชนทุกคนต้องด�ำเนินชีวติ มุง่ ไปสูค่ วาม ศักดิ์สิทธิ์ 1. เพื่อความรอดพ้นของตนเอง 2. เพื่อ ความรอดพ้นของบุคคลรอบข้างเรา พระศาสนจักร มุ่งเน้นให้เราช่วยกันพัฒนาความศักดิ์สิทธิ์ (ชีวิต สนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า) ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่เรื่องของ ตนเองเท่านั้น X ศิษย์ของพระคริสต์ทกุ คน มีหน้าทีน่ ำ� ข่าวดี แห่งความรักและความรอดไปสูส่ งั คม ตามความสามารถ และค�ำสั่งสอนของพระศาสนจักร พระสันตะปาปา ฟรังซิส ได้ตรัสไว้ในพระสมณสาส์น เตือนใจ ความ ชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร (Evangelii Gaudium) ว่า “จงออกไปเถิด จงออกไป เพื่อน�ำเสนอชีวิต ของพระเยซูคริสตเจ้าแก่ทกุ คน” (EG 49) พระองค์ เน้นย�้ำว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับข่าวดี “ไม่มี บุคคลใดถูกกีดกันจากความชืน่ ชมยินดีทพี่ ระคริสต เจ้าทรงน�ำมาให้เรา” (EG 3) พระองค์ทรงเตือน ใจเราให้เป็นพยานในการประกาศด้วยชีวิตของเรา
ถ้าจะหันมามองงานการประกาศข่าวดีและ งานสังคมในสังฆมณฑลจันทบุรขี องเรา ในแผนอภิบาล ของสังฆมณฑลฉบับปี 2010-2015 สังฆมณฑลฯ ได้ ตระหนักในพันธกิจด้านการประกาศข่าวดีและการ อภิบาลสังคม โดยการส่งเสริมบทบาทฝ่ายสังคมใน ระดับวัด ระดับแขวง ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้ง ในด้านเมตตาสงเคราะห์และงานพัฒนาคุณภาพชีวติ เกิดการแบ่งปันด้วยความรักในสถาบันครอบครัว วัด โรงเรียน ชุมชน ในโอกาสต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง (แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2010-2015 บทที่ 3 ข้อที่ 2) ในสังฆมณฑลจันทบุรี โดยการน�ำของฝ่าย สังคม ได้จัดให้มีการอบรมบรรดาสภาอภิบาลฝ่าย สังคมและผู้สนใจมาแล้ว 4 แขวง เพื่อให้พวกเขาได้ เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการท�ำงานอภิบาล ซึ่งเป็น บทบาทของคริสตชนทุกคน โดยเฉพาะผู้ท�ำงานใน ฝ่ายสังคม เพราะพวกเขาจะมีบทบาทอย่างมากใน การช่วยพระสงฆ์ในการมองสังคม ในการดูแลสังคม ในเขตชุมชนวัดของพวกเขา เป็นผู้ประสานงานกับ ฝ่ายสังคมของสังฆมณฑล ฯลฯ
ในแผนอภิบาลใหม่ของสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020 ก�ำลังเน้นย�ำ้ บทบาทในการประกาศ ข่าวดีร่วมกันของบรรดาศิษย์พระคริสต์ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ การกระตุน้ เตือน ปลุกจิตใจให้บรรดาฆราวาส ซึ่งเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ในพระศาสนจักรได้เข้ามามี บทบาทมากขึ้น สิ่งที่กล่าวมานี้ เป็นการกระตุ้นเตือนเราให้ คิดถึงการเป็นผูป้ ระกาศข่าวดีในสังคม (ในสังฆมณฑล ของเราเป็นพิเศษ) ตามบทบาทหน้าที่และความ สามารถของตน เพื่อชีวิตของเราผู้เป็นศิษย์จะมุ่งสู่ ความศักดิ์สิทธิ์ และน�ำผู้อื่นไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ ได้ รับความรอดพ้นจากบาปและความตาย ด้วยกิจการ แห่งความรักของพระคริสตเจ้าผูท้ รงเป็นพระอาจารย์ ของเรา พี่น้องที่รัก การท�ำงานสังคมเป็นการแสดง ความรักต่อพระเจ้าและเพือ่ นพีน่ อ้ งอย่างเป็นรูปธรรม ตามค�ำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ดีอีกทางหนึ่ง จึงเชิญ ชวนเราคริสตชนทุกคนหันมาเอาใจใส่การประกาศ ข่าวดีอย่างจริงจังในสังคมและในชุมชนแห่งความ เชื่อที่เราอยู่นะครับ
ชาวคริสต์ทุกคน... ต้องใช้ความสามารถทั้งครบในการเจริญชีวิต... ต้องน�ำข่าวดีแห่งความรอดพ้นไปยังมนุษย์ทุกคน... มีหน้าที่รักษาและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม... 23
เข้าใจให้ดีเรื่อง
พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
บทบาทหน้าที่ตามฐานันดรในพระศาสนจักร สวัสดีครับพีน่ อ้ งสายใยจันท์ทรี่ กั พบกันอีกครัง้ กับเนือ้ หาสาระดี ๆ ทีส่ ายใยจันท์จะมอบ ให้ ช่วงเวลานี้เราติดตามข่าวคราวและกระแสแห่งวิถีชีวิตของพระศาสนจักร สิ่งที่ก�ำลังเป็น เรื่องราวใหม่และมาแรงของพระศาสนจักรในสังฆมณฑลจันทบุรีของเราตอนนี้ คือ การปลุก จิตส�ำนึกในบทบาทหน้าที่แห่งการเป็นศิษย์ของพระคริสต์ในการประกาศข่าวดี (ตามกฤษฎีกา สมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015) 24
เรือ่ งราวพิธกี รรมในสายใยจันท์ฉบับนี้ ขอยึด กระแสความนิยมดังกล่าวข้างต้น โดยขอเสนอบทบาท หน้าทีต่ ามฐานันดรในพระศาสนจักร ตามสังฆธรรมนูญ ว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ (Sacrosantum Concilium) และจากประมวลกฎหมายต่าง ๆ ของพระ ศาสนจักร ในเรื่องการส่งเสริมให้พิธีกรรมมีบทบาท ยิ่งขึ้นในสังฆมณฑลและในเขตวัด ฉบับนี้ขอเน้นย�้ำ บทบาทของบุคคลส�ำคัญที่สุดในสังฆมณฑลนั่นคือ พระสังฆราช (Bishop) พระสังฆราชเป็นผูไ้ ด้รบั อภิเษก ได้รบั ต�ำแหน่ง สืบจากบรรดาอัครสาวก เป็นบิดาและเป็นผู้น�ำพระ ศาสนจักรท้องถิ่น ท่านได้รับอ�ำนาจสอนความจริง และให้หลักประกันความจริงแห่งความเชือ่ ท่านเป็น ศูนย์กลางแห่งความรัก และความเป็นหนึง่ เดียวของ สมาชิกทุกคน ดังนั้น พระสังฆราช คือ อาจารย์ผู้ สอนและเป็นหลักประกันความเชื่อ จึงกล่าวได้ว่า “ชีวิตของผู้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า (ชีวิต พิธีกรรม) สืบเนื่องมาจากชีวิตของพระสังฆราช และขึ้นอยู่กับท่าน” ดังนัน้ ทุกคนต้องให้ความเคารพอย่างสูงต่อ กิจกรรมต่าง ๆ เกีย่ วกับพิธกี รรมของสังฆมณฑล ซึง่ มีพระสังฆราชเป็นศูนย์กลาง เฉพาะอย่างยิง่ ในอาสน วิหาร ทุกคนต้องตระหนักว่า พระศาสนจักรแสดง ตนเด่นชัด เมื่อประชากรศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า มา ร่วมพิธกี รรมอย่างเต็มที่ และแข็งขันในการประกอบ พิธกี รรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในพิธบี ชู าขอบพระคุณหนึง่ เดียว ในการภาวนาอธิษฐานหนึ่งเดียว ณ พระแท่น บูชาหนึง่ เดียวทีพ่ ระสังฆราชเป็นประธาน โดยมีคณะ สงฆ์และผู้ช่วยอื่น ๆ ร่วมพิธีด้วย (SC 41) ตามกฎหมายของพระศาสนจักรมีกำ� หนดไว้ ชัดเจนในบทบาทหน้าทีข่ องพระสังฆราชเกีย่ วกับการ อภิบาลด้านพิธีกรรม
• พระสังฆราชประจ�ำสังฆมณฑลต้องเป็นประธาน ในพิธีบูชาขอบพระคุณบ่อย ๆ ในอาสนวิหาร และวัดต่าง ๆ ในสังฆมณฑลโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในวันฉลองบังคับและวันสมโภชอื่น ๆ (ม.388) • พระสังฆราชประจ�ำสังฆมณฑลมีหน้าทีค่ วบคุม ดูแลพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และวางกฎเกณฑ์ด้าน พิธกี รรมภายในสังฆมณฑลของตน ให้ทกุ คนได้ ปฏิบตั อิ ย่างถูกต้อง (ม.838 วรรค1และวรรค4) • พระสังฆราชประจ�ำสังฆมณฑลมีสิทธิก�ำหนด แนวปฏิบตั ใิ นการแสดงความเคารพต่อศีลมหา สนิท ออกระเบียบว่าด้วยการแห่ศลี เพือ่ ให้การ แห่นั้นสมศักดิ์ศรี (ม.944) • พระสังฆราชประจ�ำสังฆมณฑลก�ำหนดกฎระเบียบ ในการประกอบพิธศี ลี เจิมคนไข้แบบรวม คือให้ คนป่วยหลายคนพร้อมกัน มีการเตรียมอย่าง เหมาะสมและอยู่ในสภาพพร้อม (ม.1002) นี่คือตัวอย่างของบทบาทและหน้าที่ในการ อภิบาลด้านพิธีกรรมของพระสังฆราช ที่น�ำมาเสนอ ให้เราได้รบั ทราบ โดยความเป็นจริงจะมีรายละเอียด ทีม่ ากกว่านีแ้ ต่ขอน�ำเสนอเพียงสัน้ ๆ เพือ่ ความเข้าใจ ถึงบทบาทของท่าน ดังนัน้ เป็นหน้าทีข่ องบรรดาคริสตชนทุกคน พึงจะให้ความเคารพและร่วมมือกับพระสังฆราชประจ�ำ สังฆมณฑลของตน ในการน�ำพาคริสตชนผูม้ คี วามเชือ่ ทุกคนทีอ่ ยูใ่ นสังฆมณฑลมุง่ ไปสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิอ์ าศัย การปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในด้านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ อย่างเอาใจใส่และจริงจัง จึงเชิญชวนเราคริสตชนกระตือรือร้นในการ ร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นหัวใจและพลังใน การประกาศข่าวดีอย่างเข้มข้น และมีประสิทธิภาพ มากขึน้ ตามบทบาทหน้าทีแ่ ห่งการเป็นศิษย์พระคริสต์ ในพระศาสนจักรและในโลกนี้ 25
ข้อขัดขวางที่ท�ำให้การแต่งงานเป็นโมฆะ
ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก ค.ศ.1983 Can.1073 ข้อขัดขวางที่ท�ำให้การแต่งงานเป็นโมฆะ ท�ำให้บุคคลไม่สามารถแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
Q
???
ท�ำไมต้องมี “ข้อขัดขวาง” ความรักเป็นเรื่องพรหมลิขิต และไม่เคยมีพรมแดนใด ๆ มิใช่หรือ
พี่น้อง ต้องท�ำความเข้าใจว่า “ข้อขัดขวาง” มิใช่การห้ามโดยตรงนะ ครับ แต่เป็นผลของความบกพร่องบางประการที่ท�ำให้บุคคลนั้น ๆ ไม่สามารถ ที่จะเข้าสู่การแต่งงานได้อย่างถูกต้องนั่นเอง ดังนั้นเราจึงเห็นว่า “ข้อขัดขวาง ต่าง ๆ นั้น มีไว้เพื่อความดี และการบรรลุเป้าหมายของการแต่งงานจริงๆ” และ ข้อขัดขวางต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ขัดแย้งกับพรหมลิขิต หรือ พรมแดนใด ๆ ของ ความรักเลยนะครับ
ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ใช้ค�ำภาษาอังกฤษว่า The Code of Canon Law ดังนั้น Can. = Canon หมายถึง มาตราจากประมวลกฎหมายฯ 26
ส�ำหรับเรื่องการแต่งงานนั้น ถือเป็นการเข้าสู่สถานะที่ส�ำคัญของชีวิตของคน ๆ หนึ่ง และเป็น เรือ่ งทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ทัง้ ยังเป็นเรือ่ งดีงามอีกด้วย โดยตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก ค.ศ.1983 ให้แนวทางไว้วา่ เมือ่ คาทอลิกคนหนึง่ ๆ ตัดสินใจจะท�ำพิธแี ต่งงานนัน้ เขาจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม และ ต้องปรึกษากับพระสงฆ์เจ้าอาวาสถึงเรือ่ งนี้ เพือ่ ให้การประกอบพิธแี ต่งงานของตนด�ำเนินไปอย่างถูกต้อง และไม่ผิดกฎหมายพระศาสนจักร (Valid and licit) รวมทั้ง มีคุณค่าและความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้นนั่นเอง สิ่งหนึ่งที่เป็นพื้นฐานส�ำคัญในการเตรียมตัวแต่งงานก็คือ การพิจารณาว่าเขาหรือคู่ของเขานั้น มี “ข้อขัดขวาง” ใด ๆ หรือไม่ ตามที่ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ได้บัญญัติเอาไว้ ดังนั้น ตอนนี้เรามารู้จักและพิจารณากันดีกว่าครับว่า “ข้อขัดขวาง” ต่าง ๆ มีกี่ชนิดและมี ลักษณะอย่างไรบ้าง? I. ข้อขัดขวางโดยทั่วไป Cans.1073-1082 »»ข้อขัดขวางสาธารณะ (ดู Can.1074) »»ข้อขัดขวางปกปิด (ดู Can.1074) II. ข้อขัดขวางโดยเฉพาะ Cans.1083-1094, 1067-1093 ทั้งสิ้น 12 ประการ ดังต่อไปนี้... 1. การแต่งงานของผู้ที่มีอายุน้อย (สภาพระสังฆราชฯ ไทย ก�ำหนดไว้ที่ 17 ปี) (ดู Can.1083) 2. การแต่งงานของผู้ที่ไร้สมรรถภาพที่จะร่วมเพศ (ดู Can.1084) 3. การแต่งงานของผู้ที่มีพันธะการแต่งงานครั้งก่อน (เดิม) (ดู Can.1085) 4. การแต่งงานของการนับถือศาสนาต่างกัน (ดู Can.1086) 5. การแต่งงานของผู้ที่ได้รับศีลบวช (ดู Can.1087) 6. การแต่งงานของผู้ปฏิญาณถือโสดตลอดชีพ (ดู Can.1088) 7. การแต่งงานของผู้ถูกลักพาตัว (ดู Can.1089) 8. การฆาตกรรมคู่ครอง (ของตนเอง หรือของอีกฝ่ายหนึ่ง)เพื่อแต่งงาน (ดู Can.1090) 9. การแต่งงานของญาติทางสายโลหิต (ดู Can.1091) 10. การแต่งงานของญาติเกี่ยวดองกัน (ดู Can.1092) 11. การแต่งงานของผู้ที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยา กับ ผู้ที่เป็นสายเลือดของอีกฝ่าย (ดู Can.1093) 12. การแต่งงานของญาติทางกฎหมาย ซึ่งเกิดจากการรับเป็นบุตรบุญธรรม (ดู Can.1094) ขอพระคุ้มครองความรักของพี่น้องทุกท่านครับ ครั้งต่อไปพ่อจะมาอธิบายบางประเด็นเพิ่มเติม นะครับพี่น้องครับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 27
ด้วยดวงตา แห่งรัก เราจะรักกัน ฉันพี่น้อง “คนนี้ต้อนรับคนบาปและกินอาหารร่วมกับเขา” (ลูกา 15:2) เมื่อเราใช้ดวงตาของความรักกันฉันพ่อแม่พี่น้อง เป็นเกณฑ์ในการตัดสินคนรอบข้าง เราจะให้โอกาสและให้อภัยในเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายดายยิ่งขึ้น แต่ในเรื่องราวของความเป็นจริงตามวิถีมนุษย์ เรามักแบ่งแยก แบ่งชนชั้น ขีดกั้นความรัก ตามความรู้สึก ทัศนคติ ด้วยดวงตาของคนแปลกหน้า เราแบ่งแยกกันตามสายเลือดของมนุษย์ ไม่ใช่สายเลือดเดียวกันของพระบิดาเจ้าสวรรค์ เราแก่งแย่งแข่งขันกัน ดั่งไม่ได้มีพระเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูเจ้าต้อนรับคนบาป และดื่มกินอาหารร่วมกับเขา พระองค์ต้อนรับเขา ห่วงใยและเป็นหนึ่งเดียวกันกับเขา ชาวฟาริสี และบรรดาธรรมจารย์ ผู้ยึดถือธรรมบัญญัติอย่างเคร่งครัด กลับดูแคลนและแบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจน ไม่มีดวงตาของความรักในหัวใจของผู้ที่คิดว่าตนเองประเสริฐแล้ว 28
“น้องชายคนนี้ของลูกได้ตายไปแล้ว กลับมีชีวิตอีก หายไปแล้วได้พบกันอีก” (ลูกา 15:32) แม่ตักเตือนลูกชายวัยรุ่น เรื่องการรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง แต่ลูกชายกลับมีเหตุผลมากมาย เพื่อมาลบล้างค�ำสอนของแม่ เกิดการถกเถียง ไม่เข้าใจกันและกัน บรรยากาศในบ้านเริ่มขุ่นมัว และต่างคนต่างก็แยกย้ายไปอยู่คนละมุมบ้าน ผ่านวัน แม้แม่จะยังรู้สึกขุ่นเคืองในใจอยู่บ้าง และลูกชายก็อาจจะยังรู้สึกขัดแย้งอยู่ก็ตาม แต่ด้วยความรักและความหวังดี ด้วยความเป็นสายเลือดเดียวกัน แม่ก็ยังต้องพูด ต้องย�้ำพร�่ำเตือน แม้ลูกชายวัยรุ่นจะยอมรับบ้าง ไม่ยอมรับบ้างก็ตาม พ่อแม่ยังคงต้องให้โอกาสและให้อภัยอยู่เสมอ ดังนั้นแล้ว “จงให้ความรักฉันพี่น้องมีอยู่ต่อกันเสมอไป” (ฮีบรู 13:1) “จงรักด้วยใจจริง จงเกลียดชังสิ่งที่ชั่ว จงยึดมั่นในสิ่งที่ดี... จงรักกันฉันพี่น้อง ส่วนการที่ให้เกียรติแก่กันและกันนั้น จงถือว่าผู้อื่นดีกว่าตัว” (โรม 12:9-10) พยายามที่จะรักแม้คนที่ไม่น่ารัก เพราะแม้แต่คนในครอบครัวของเราเอง ก็ไม่ได้น่ารัก ไม่ได้ดีพร้อมสมบูรณ์แบบ เราก็ยังแสนรัก “ลูกจะพยายามรักคนที่ไม่น่ารักในทุก ๆ ครั้งที่พบเจอ” จงรักกัน ไม่จดจ�ำ มีดวงตา มีสองมือ
และกัน ฉันพีน่ อ้ ง ความผิดใด ใจเมตตา แห่งดวงใจ ให้ความรัก คอยผลักดัน กันและกัน
ไร้มวั หมอง ขุน่ ข้องใจ ไม่ถอื สา ไม่โกรธา ถือโทษ โกรธเคืองกัน คอยจูงชัก เชิดให้ ได้สขุ สันต์ มีสายใย ผูกพัน เป็นหนึง่ เดียว โดย น�้ำผึ้งหวาน 29
30
ป
จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ
31
32
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดน.วินเซน เดอ ปอล เขาขาด 5 มี.ค. 2016 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดน.ยอแซฟ พนัสนิคม 19 มี.ค. 2016
33
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ และวางศิลาฤกษ์ วัดแม่พระรับสาร ตราด 2 เม.ย. 2016
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดน.ยอแซฟกรรมกร ท่าใหม่ 30 เม.ย. 2016
34
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ฉลอง 25 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อยอห์นบัปติสต์ วิเชียร ฉันทพิริยกุล 7 พ.ค. 2016
35
36
37
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยฯ ศรีราชา 19 มิ.ย. 2016 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว 25 มิ.ย. 2016
38
39