สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
FREE COPY แจกฟรี
Vol.20
ธันวาคม 2016 ปีท่ี 27
ปีที่ 27 ฉบับที่ 20 / ธันวาคม 2016
Contents
สารบัญ
สายใยจันท์
สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราช.............................................................. 6 จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์................................... 8 สรุปภาพรวม ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม................................10 ดนตรีศักดิ์สิทธิ์...........................................................................18 ความหมายแท้จริงเทศกาลคริสตมาส........................................ 20 การพัฒนาประชาชาติของพระศาสนจักรคาทอลิก................... 22 บทบาทในพิธีกรรมของสงฆ์ศาสนบริกร...................................24 สิทธิการแยกกันของคู่แต่งงาน................................................... 26 ดาวน�ำทาง แสงสว่างน�ำชีวิต..................................................... 28 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 30 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................31
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2
บรรณาธิการ Editor’s talk
โอกาสปิดปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ (20 พฤศจิกายน 2016 มหาวิหารนักบุญเปโตร) บทเทศน์พระสันตะปาปาฟรังซิส ท่านได้เทศน์ตอนหนึ่ง ว่า “แม้ประตูศกั ดิส์ ทิ ธิจ์ ะปิดลง แต่ประตูแห่งความเมตตาในหัวใจของพระเยซูยงั คงเปิดเพือ่ เราเสมอ พระเป็นเจ้าไม่จดจ�ำความบาปของเรา เพราะเราเป็นลูกทีร่ กั ของพระเป็นเจ้า”1 สังฆมณฑลของเรา ก็ได้ปิดปีศักดิ์สิทธ์วันที่ 13 พฤศจิกายน 2016 ที่อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี เช่นกัน ปิดปีศักดิ์สิทธิ์แล้ว ไม่ได้หมายความว่า พี่น้องหยุดไปแก้บาป รับศีลมหาสนิท ไปร่วมบูชาขอบพระคุณ หยุดอ่านพระวาจา เพราะคิดว่าพระพรของพระเป็นเจ้าปิดลง แล้ว มันจบแล้ว พระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ความรักความเมตตาของพระเป็นเจ้า ไม่เคยถูกปิด ยังคงมีให้เราทุกคนต่อไป เดือนธันวาคม เราฉลอง “การเกิด” ของพระเยซูเจ้า “การเกิด” ท�ำให้เรา รับพระหรรษทานไม่รู้จบ รับความเมตตาไม่มีที่สิ้นสุด เดือนธันวาคม เรามีวนั สมโภชพระนางมารียผ์ ปู้ ฏิสนธินริ มล ซึง่ เป็นองค์อปุ ถัมภ์ ของสังฆมณฑลของเรา เชิญชวนเราทุกคน ถวายสังฆมณฑลของเรา ไว้ในความดูแล ของพระนางมารีย์ ถวายแผนอภิบาลใหม่อีก 5 ปีข้างหน้าแด่พระแม่ องค์อุปถัมภ์ของ สังฆมณฑลเรา เดือนธันวาคม สภาอภิบาลแต่ละวัด จะได้รับแผนอภิบาลของสังฆมณฑล ซึ่ง เป็นหนทางด�ำเนินงานอภิบาล เราจะก้าวไปด้วยกันในหนทางของสังฆมณฑล เพื่อ ประกาศพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้า สายใยจันท์ฉบับนี้ มีเรื่องน่าอ่านเช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็น ด้านพิธีกรรม กฎหมาย ของพระศาสนจักร สรุปภาพรวมปีศกั ดิส์ ทิ ธิข์ องสังฆมณฑล ความหมายของการฉลอง คริสตมาส ขอสุขสันต์วันคริสตมาสแด่พี่น้องทุกคน และขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุน สายใยจันท์อย่างดีเสมอมา
คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ
1 taken
from__https://cruxnow.com/vatican/2016/11/20/closing-year-mercy-francis-says-god-no-memory-sin/
3
น้อมถวายอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
วันพฤหัสที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เป็นวันที่จะต้องจารึกไว้ว่าเป็นวันแห่ง ความโศกาอาดูรและความสูญเสียอันใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย เพราะวันนี้ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินท ราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต คริสตศาสนิกชนคาทอลิกแห่งสังฆมณฑลจันทบุรี ขอน้อมถวายอาลัยและร่วมจิต อธิษฐานภาวนาแด่พระองค์ท่านผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ขอทรงพักผ่อนในสันติสุขนิรันดรในพระ สิรริ งุ่ โรจน์แห่งองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า พร้อมกับบรรดาทูตสวรรค์และผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หลายด้วยเทอญ พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย และในสังฆมณฑลจันทบุรี ล้วนตระหนักและ ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ผูท้ รงเป็น องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงโอบอุม้ ทุกศาสนาในประเทศไทยไว้ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ให้ศาสนิกของทุกศาสนามีเสรีภาพในการด�ำเนินชีวติ ตามความเชือ่ และปฏิบตั ติ ามหลักศาสนา โดยอยูร่ ว่ มกันอย่างสุขสงบสันติ เหล่าคริสตศาสนิกชนไทยจึงด�ำรงชีวติ เป็นปกติสขุ และยัง่ ยืน จนทุกวันนี้ “...เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์...” น้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
4
5
ค�ำอวยพรโอกาส สมโภชพระคริสตสมภพและปีใหม่ สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีปีใหม่แด่บรรดาคุณพ่อ บราเดอร์ ซิสเตอร์ และพี่น้องคริสตชนที่รัก “พระทรงบังเกิด โลกจงยินดี...” เพลงบทนี้เชิญชวนชาวโลกให้มีความปีติยินดีในเทศกาลพระคริสตสมภพ เพราะพระเจ้าทรงเมตตากรุณาต่อมนุษย์คนบาป อาดัมเอวา และลูกหลานมนุษยชาติสามารถลืมตาอ้าปาก ไม่สิ้นหวัง... 2,000 กว่าปีผ่านไปแล้ว แต่ชาวโลกกว่าครึ่งโลกยังไม่รู้เลยว่า บุตรพระเจ้ามาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยทุกคนให้รอดไป สวรรค์ และยังไม่เข้ามาพึ่งบุญบารมีของพระผู้ไถ่กู้โลก –- ให้เราขอบพระคุณพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงพระเมตตากรุณา หาที่สุดมิได้ ที่ทรงสละพระบุตรผู้สถิตในสวรรค์ชั้นสูงสุด ให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ประทับท่ามกลางเรา ร่วมทุกข์ร่วม สภาพความอ่อนแอกับเรา ให้เราท�ำการสมโภชพระคริสตสมภพด้วยความยินดี และน�ำความยินดีนี้ให้กระจายไปสู่ผู้อื่น ด้วยความกตัญญูรู้คุณ ไม่เก็บข่าวน่ายินดีนี้ไว้คนเดียว ทุกคนมีสิทธ์ได้ยินข่าวดีนี้ เราคริสตชนมีหน้าที่ประกาศข่าวดีนี้ พระเจ้าทรงให้เทวทูตแจ้งข่าวดีนี้แก่พวกเลี้ยงแกะคนยากจน ทรงให้ดาวน�ำโหราจารย์ คนต่างชาติต่างศาสนา ให้มาพบและนมัสการพระผู้ไถ่กู้โลก ทรงให้เซาโลชาวยิวผู้เบียดเบียนศาสนากลับใจมาเป็นอัครสาวกประกาศข่าวดีนี้แก่ นานาชาติ ทรงให้บรรดามิชชันนารีเดินทางข้ามน�้ำข้ามทะเลจากต่างประเทศประกาศข่าวดีนี้ จนเรามีบญ ุ มารูจ้ กั พระเจ้า เที่ยงแท้ พระเยซูคริสตเจ้าพระผู้ไถ่กู้โลก และได้เกิดใหม่ในศีลล้างบาป เป็นลูกพระ เป็นสมาชิกในครอบครัวใหญ่ของ พระเจ้า เพราะ “พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้ทุกคนได้รับความรอด” (1 ทธ 2:4) ในโอกาสน่าชื่นชมยินดีสมโภชพระคริสตสมภพนี้ เราระลึกถึงพระบิดาทรงมอบพระบุตรน�ำความสุขและความ ยินดีแก่โลก เราระลึกถึงพระบุตรทรงสละความสุขในสวรรค์มาบังเกิดเป็นมนุษย์ น�ำความยินดีและความรอดแก่โลก เรา ระลึกถึงพระแม่มารียม์ อบพระบุตรแก่โลก ให้เราเอาอย่างพระบิดา พระบุตรและพระแม่มารียช์ ว่ ยน�ำความสุขความยินดี และความรอดแก่พี่น้องชาวไทยและชาวโลก ขอครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ภาพลักษณ์ของพระตรีเอกภาพ ต้นแบบของครอบครัวทั้งหลาย อ�ำนวยพรพี่น้องทุก ๆ ครอบครัว ทุกหมู่คณะ ให้มีความสุข ความปีติยินดีและสันติ เป็นพิเศษในเทศกาลพระคริสตสมภพและปีใหม่นี้ มีความ รัก ปฏิบัติกิจเมตตาทั้งฝ่ายกายและจิตใจ และใช้เวลาในปีใหม่นี้ปรับปรุงชีวิต และร่วมมือกันใช้กลยุทธต่าง ๆ ในการ ปฏิบัติพันธกิจอย่างแข็งขันยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุถึงวิสัยทัศน์ตามแผนงานอภิบาลของสังฆมณฑล สมาชิกของพระศาสนจักร จะได้มีส่วนร่วมประกาศข่าวดี แผ่ขยายพระอาณาจักรของพระเจ้าไปสู่จิตใจของพี่น้องชาวไทยอีกมากมายที่ยังไม่ได้อยู่ ในพระอาณาจักรของพระองค์ “ศิษย์พระคริสต์ในฐานะธรรมทูตปรกาศข่าวดีใหม่” “พี่น้องคริสตชน จงระลึกถึงศักดิ์ศรีของท่านว่า บัดนี้ ท่านได้มีสว่ นร่วมในธรรมชาติของพระเจ้าแล้ว อย่า กลับไปสู่สภาพเดิมที่ต�่ำช้าเพราะบาป จงระลึกว่าใครเป็นศีรษะของท่าน และท่านเป็นอวัยวะแห่งร่างกายของใคร อย่าลืมว่าท่านได้รับการช่วยให้รอดพ้นจากอ�ำนาจของความมืด และถูกน�ำมาสู่ความสว่างแห่งอาณาจักรของ พระเจ้า อาศัยศีลล้างบาป ท่านได้กลับเป็นพระวิหารของพระจิตเจ้า อย่าขับไล่พระอาคันตุกะผูย้ งิ่ ใหญ่นอี้ อกไปด้วย ความประพฤติชั่วช้า กลับเป็นทาสของปีศาจอีก เพราะเสรีภาพของท่านซื้อมาด้วยพระโลหิตของพระคริสตเจ้า” (บทเทศน์ของนักบุญเลโอ สมเด็จพระสันตะปาปาผู้ยิ่งใหญ่ในวันสมโภชพระคริสตสมภพ) 6
Merry Christmas and Happy New Year to you, dear brothers and sisters in Christ, “Joy to the world, the Lord has come…” This Christmas carol invites the whole world to particularly rejoice during the Christmas season for God has had great mercy on the sinners: Adam – Eve and all their children of humanity, who could lift up their eyes and raise their voice without despair anylonger. But after more than 2000 years, the world has had not yet even known that the Son of God was born as human being to save all people of the world and has not yet shared the fruit of Redemption. Let us express our deep thanks to God, the Father who has infinitely sacrificed His onlybegottenSon, Transcendental in heaven to be Emmanuel: God dwelling among us, experiencing weakness and sorrows together with us. Let us celebrate the Birth of the Lord with exceeding joy and bring this joy to others with gratefulness, without keeping it with ourselves alone. “Everyone has the right to hear this Good News, and as Christian we have duty or mission to proclaim this Good News. God sent His angels to bring this Good News of great joy to the poor shepherds. God brought the wise men from the east by the star and they found the Savior and paid Him homage. The Lord converted Saul, the Jew, persecuting Christian, to bring His name before the Gentiles, kings, before the people of Israel. The Lord has sent Missionaries from foreign countries, travelling overseas and lands to bring this Good News all over the world so that happy are we who came to know True God and His Son, the Savior of the world and were reborn in baptism the children of God, the members of God’s Family for “God desires everyone to be saved” (1 Tim 2:4) During this joyful Christmas celebration, we recall God the Father sacrificing His only begotten Son, bringing joy and happiness to the world; we recall God the Son sacrificing happiness in heaven to be born the Son of Man, bringing joy and salvation to the world; we recall mother Mary presenting Her only Son to the world. Let us imitate God the Father, God the Son and Mother Mary, bringing Joy and Salvation to our brothers and sisters of Thailand and of the whole world. May the Holy Family, the Image of the Most Holy Trinity, the Model of all families, bless each and everyone of you, each family, each community with special happiness, Joy and Peace during this Christmas Tide and the New Year, full of Love, Mercy, Forgiveness and constant power to improve and develop our life and Mission collaborating in using all tactics to realize the Mission more strenuously to make the Diocesan Vision come true. The members of theChurch would participate in proclaiming the Good News for extending the Kingdom of God into the hearts of many of the Thai people who have not yet dwelt in His Kingdom. “Christ’s disciples, as missionaries, proclaim the New Evangelization”. “Christian, remember your dignity, and now that you share in God’s own nature, do not return by sin to your former base condition. Bear in mind who is your head and of whose body you are member. Do not forget that you have been recused from the power of darkness and brought into the light of God’s Kingdom. Through the sacrament of baptism you have become a temple of the Holy Spirit. Do not drive away so great a guest by evil conduct and become again a slave to the devil, for your liberty was bought by the Blood of Christ.” (A sermon of Christmas Day by St. Leo, the great, Pope.)
(พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี
7
จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนจบ) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์
ความเดิมเมือ่ ตอนทีแ่ ล้ว ได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างความเมตตาและความกรุณา และ ส�ำหรับพระเป็นเจ้า มีทั้งความเมตตาและความกรุณาต่อเราเสมอ พระองค์ให้อภัยเราจากบาปต่าง ๆ และยังคอยช่วยเหลือเราทัง้ กายและใจด้วย ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรมทีผ่ า่ น พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้เลือกด้วยเหตุนเี้ อง คติพจน์ปศี กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม จึงเน้นว่า “จงเป็นผูเ้ มตตากรุณาดังทีพ่ ระ บิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36) เป็นคติพจน์ประจ�ำปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม พระสันตะปาปาฟรังซิส มีความประสงค์ให้พระวาจานีเ้ ป็นจริงเป็นจังผ่านทางการ ด�ำเนินชีวิตของบรรดาคริสตชน ซึ่งพระองค์ได้พูดสั้น ๆ ว่า “พระเมตตาของพระเจ้าไม่ ได้เป็นเพียงนามธรรม แต่นี่คือความจริงที่เป็นรูปธรรมซึ่งเผยให้เห็นถึงความรักเฉก เช่นผู้เป็นบิดาหรือมารดาที่รักบุตรจนสุดหัวใจ” (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตา ธรรม ข้อ 6) การท�ำให้คติพจน์ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม “จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระ บิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” ปรากฏเห็นชัดในชีวติ คริสตชน พระสันตะปาปา แนะน�ำว่า “ตลอดปีศักดิ์สิทธิ์นี้ ข้าพเจ้าปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ใครขอร้องให้บรรดา คริสตชนค�ำนึงถึงงานเมตตาทั้งฝ่ายกาย และฝ่ายจิต” (สมณโองการ พระพักตร์แห่ง เมตตาธรรม ข้อ 15) งานเมตตาธรรมฝ่ายกาย เช่น ให้อาหารแก่ผหู้ วิ โหย ให้นำ�้ แก่ผกู้ ระหาย ให้เสือ้ ผ้า แก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม ให้ที่พักแก่ผู้ที่ไร้ที่อยู่ เยี่ยมผู้ป่วย เยี่ยมผู้ต้องขัง ร่วมงานฝังศพ งานเมตตาธรรมฝ่ายจิต เช่น ให้ค�ำแนะน�ำแก่ผู้สงสัย สอนคนที่ไม่รู้ ตักเตือน คนบาป บรรเทาใจผู้ทุกข์ยาก ให้อภัยผู้ท�ำความผิด อดทนต่อความผิดของผู้อื่น ภาวนา ส�ำหรับผู้เป็นและผู้ตาย 8
เมตตาธรรมเป็นรากฐานของชีวติ พระศาสนจักร พันธกิจทุกอย่างด้านอภิบาล ควรช่วยให้สตั บุรษุ สัมผัสความอ่อนหวาน ทัง้ การเทศน์สอน และประจักษ์พยานชีวติ มี ความยุติธรรม แต่ต้องมีเมตตาธรรมด้วย… เพื่อช่วยผู้อ่อนแอให้มีชีวิตใหม่ สู่อนาคต ด้วยความหวัง (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 10) หากบรรดาคริสตชนปฏิบตั งิ านเมตตาธรรมฝ่ายกายและจิต ในชีวติ ประจ�ำวัน จะเป็นเหมือนแม่น�้ำแห่งความเมตตาไม่มีวันเหือดแห้งในชีวิตพระศาสนจักร และพระ สันตะปาปาฟรังซิสได้กล่าวว่า การปฏิบตั กิ จิ เมตตาธรรมจะเป็นภาพสะท้อนประกาศก อิสยาห์ (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 16) “พระจิตของพระยาเวห์องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะ พระยาเวห์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไป ปลอบโยนคนทีม่ ใี จชอกช�้ำ ประกาศอิสรภาพแก่เชลย ประกาศการปลดปล่อยแก่ ผู้ถูกจองจ�ำ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า” (อสย 61:1-2) พันธกิจที่พระเยซูเจ้าได้รับจากพระบิดา คือ การเผยแสดงธรรมล�้ำลึกความ รักของพระเจ้าอย่างเต็มรูปแบบว่า “พระเจ้าทรงเป็นความรัก” (1 ยน 4:8,16) ทรง ท�ำงานเป็นพิเศษเพื่อคนบาป คนจน คนชายขอบ ผู้ป่วยและทนทุกข์ เพื่อสอนเมตตา ธรรม ทุกสิง่ ในตัวพระเยซูเจ้าพูดถึงแต่พระเมตตา (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตา ธรรม ข้อ 8) เพื่อที่จะเลียนแบบความเมตตาของพระเยซูเจ้า พระสันตะปาปาได้เน้นว่า “ผู้ที่ปฏิบัติ เป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณา ต้อง ปฏิบัติด้วยใจยินดี” (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 16) บันทึกวิญญาณของนักบุญโฟสตินา ข้อ 1448 ได้บนั ทึกสิง่ ได้รบั การเผยแสดง จากพระเยซูเจ้าว่า “จงเขียนและเอ่ยถึงความเมตตาของเรา จงบอกให้ทุกคนรู้ว่า ควรแสวงหาการบรรเทาทุกข์จากที่ใด ที่นั่นคือบัลลังก์ความเมตตา” ดังนัน้ บรรดาคริสตชน ผูท้ มี่ คี วามเชือ่ ย่อมด�ำเนินชีวติ สอดคล้องกับความเชือ่ ที่พวกเขามี ความเชื่อนั้นต้องประกาศด้วยชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ ชีวิตที่เป็นพยาน การเป็น พยานที่ชัดเจนที่สุดคือ “ท่านจงรักองค์พระเป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุด วิญญาณ สุดสติปญ ั ญาและสุดก�ำลังของท่าน... ท่านจะต้องรักเพือ่ นมนุษย์เหมือน รักตนเอง” (มก 12:30-31) “หากผู้ใดกล่าวว่า ข้าพเจ้ารักพระเจ้า แต่จงเกลียด จงชังพีน่ อ้ งของตน ผูน้ นั้ เป็นคนโกหก เพราะผูท้ ไี่ ม่รกั พีน่ อ้ งผูท้ เี่ ขามองเห็นได้กจ็ ะ ไม่สามารถรักพระเจ้าผู้ที่เขามองไม่เห็น” (1 ยน 4:20) “ท่านท�ำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ ต�่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ท�ำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40) การด�ำเนินชีวิตแบบนี้ของคริสตชน คือ ชีวิตเดินก้าวเข้าสู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ ประตูสวรรค์ นั่นเอง....... 9
สรุปภาพรวม
ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ในสังฆมณฑลจันทบุรี
รายงานโดย : แผนกสื่อมวลชนจันทบุรี
วันที่ 13 มีนาคม 2015 สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ได้ทรงประกาศให้ วันที่ 8 ธันวาคม 2015 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2016 เป็น “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่ง เมตตาธรรม” เพื่อให้คริสตชนทุกคนได้ด�ำเนินชีวิต ในช่วงเวลาพิเศษนี้ โดยมีพระเมตตาของพระเจ้า เป็นศูนย์กลาง อยู่ภายใต้แสงสว่างของพระวาจา ของพระเจ้า ที่ตรัสไว้ว่า “จงเป็นผู้เมตตากรุณา ดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลูกา 6:36) 10
วันที่ 11 เมษายน 2015 ก่อนวันฉลองพระ เมตตา สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงประกาศ สมณโองการ “พระพักตร์แห่งความเมตตา” เพื่อ ใช้ใน “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” และทรงแจ้ง ก�ำหนดการเปิด “ประตูศักดิ์สิทธิ์” ในมหาวิหาร นักบุญเปโตร พร้อมทั้งทรงขอให้ทุกสังฆมณฑล เปิด “ประตูศักดิ์สิทธิ์” ภายในสังฆมณฑลของตน เพื่อ เป็นเครื่องหมายของความเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระ ศาสนจักรทั่วโลก
สังฆมณฑลจันทบุรี โดยการน�ำของพระสังฆราช คณะสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง สภาอภิบาลวัดจากทุก วัด จึงน�ำพระด�ำรัสขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา มาวางแผนร่วมกัน และได้ก�ำหนดให้มีการเปิด “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” รวมถึงพิธีเปิด “ประตูศักดิ์สิทธิ์” ของสังฆมณฑลจันทบุรี อย่าง เป็นทางการ ในวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2015 ณ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินริ มล จันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1. เพือ่ เป็นการเปิด “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตา ธรรม” ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปาที่ ทรงประกาศฯ เพือ่ รือ้ ฟืน้ และฟืน้ ฟูความเชือ่ ในความ รักเมตตาของพระเจ้า โดยผ่านทางศีลศักดิ์สิทธิ์ กิจ เมตตาสงเคราะห์ และความเป็นหนึ่งเดียวกัน ให้กับ คริสตชนทุกฐานันดรในพระศาสนจักร 2. เพือ่ เป็นการรณรงค์กจิ การความรักเมตตา ของพระเจ้า ให้กบั คริสตชนในสังฆมณฑล ตามแนวทาง ที่คณะกรรมการบริหารฯ และคณะกรรมการฝ่าย ต่าง ๆ ได้ก�ำหนดไว้ตลอดปี ทั้งในระดับสังฆมณฑล ระดับแขวง และระดับวัด โดยควบคูไ่ ปกับการด�ำเนิน งานตามแผนอภิบาลของสังฆมณฑล พร้อมกันนี้สังฆมณฑลจันทบุรี ได้จัดท�ำธง “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” มอบให้กับตัวแทน ของคณะนักบวชทุกคณะ และตัวแทนของวัดทุกวัด ในสังฆมณฑล เพื่อน�ำกลับไปตั้งไว้อย่างสง่า ให้เป็น เครื่องหมายเชิงสัญลักษณ์ว่า เราจะร่วมเป็นหนึ่ง เดียวกันท�ำพันธกิจความรักความเมตตา ทีอ่ งค์สมเด็จ พระสันตะปาปา ได้มอบหมายใน “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่ง เมตตาธรรม” ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2015 ถึง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2016 ให้ส�ำเร็จลุล่วงไป อย่าง เข้มข้น เข้มแข็ง 11
“24 ชั่วโมงเพื่อพระเจ้า” ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ในพระสมณโองการ “พระพักตร์แห่งเมตตา ธรรม” ในข้อที่ 17 พระองค์ทรงปรารถนาที่จะใช้ เทศกาลมหาพรตใน “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” นี้ เน้นการดาํ เนินชีวติ ทีเ่ ข้มข้นมากยิง่ ขึน้ เพราะเป็น เวลาพิเศษทีท่ าํ การเฉลิมฉลองและการมีประสบการณ์ พระเมตตาของพระเจ้า โดยเชิญชวนให้ทกุ สังฆมณฑล ทั่วโลก “เฝ้าศีลมหาสนิท 24 ชั่วโมง” ในวันศุกร์ที่ 4 และวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2016 ก่อนสัปดาห์ที่สี่ ในเทศกาลมหาพรต
12
พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ได้ ออกประกาศเชิญชวนแต่ละวัดหรือแขวง รวมทั้ง บ้านนักบวช ตอบสนองต่อพระประสงค์ของสมเด็จ พระสันตะปาปา โดยจัดพิธกี รรมตามความเหมาะสม ตามกําลังความสามารถในวันและเวลาดังกล่าว ให้ ปฏิบัติตามแนวทางของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อ พิธกี รรม ทีไ่ ด้จดั ท�ำวจนพิธกี รรมตัง้ ศีลและอวยพรศีล มหาสนิท ส�ำหรับวันที่ 4 และ 5 มีนาคม 2016 วจน พิธีกรรมศีลอภัยบาป และ บทรําพึงเฝาศีลมหาสนิท ที่มีด้วยกันถึง 3 แบบ ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะ สม ทั้งนี้ เพื่อให้พิธีกรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กิจกรรมนี้ ได้รบั ความร่วมมือจากทุกวัด รวม ถึงบ้านนักบวช บรรดาคริสตชนได้สมั ผัสกับความยิง่ ใหญ่แห่งพระเมตตาของพระเจ้าด้วยตนเอง อันเป็น บ่อเกิดแห่งสันติภายในที่แท้จริง
ปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรม ส�ำหรับผู้ป่วยและผู้พิการ สังฆมณฑลจันทบุรี ได้จัดกิจกรรม “ฉลอง ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ส�ำหรับผู้ป่วยและผู้ พิการ” ระดับสังฆมณฑล เมือ่ วันเสาร์ที่ 12 มิถนุ ายน 2016 ณ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี ตามประกาศจากสังฆมณฑล โดย พระ สังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ขอให้คุณพ่อเชิญ ชวนบรรดาสัตบุรษุ ได้มปี ระสบการณ์พระเมตตาของ พระเจ้า โดยผ่านทางการไตร่ตรองและปฏิบัติกิจ เมตตาทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต ช่วยเหลือผู้ที่มีความ ทุกข์ยากล�ำบาก ด้วยการร่วมกิจกรรม “ปีศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมตตาธรรม ส�ำหรับผู้ป่วยและผู้พิการ” กิจกรรมนี้ มีพนี่ อ้ งคริสตชนทีเ่ จ็บป่วย พิการ และสูงอายุ ในเขตวัดต่าง ๆ รวมทั้งที่อยู่ในความ ดูแลขององค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นจ�ำนวนกว่า 500 คน นับเป็นโอกาสพิเศษอย่างยิง่ ส�ำหรับบรรดาผูเ้ จ็บ ป่วยและผู้พิการ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งมีทั้งพิธี นมัสการศีลมหาสนิท การโปรดศีลอภัยบาป พิธบี ชู า ขอบพระคุณ และพิธีโปรดศีลเจิมผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังมีนกั เรียนนวดแผนไทย จากศูนย์ ธารชีวิต พัทยา กลุ่มเวชบุคคลคาทอลิกสังฆมณฑล จันทบุรี คณะครู-นักเรียนโรงเรียนสตรีมารดาพิทกั ษ์ จันทบุรี โรงเรียนลาซาล จันทบุรี และบรรดาสภา อภิบาลอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี ร่วมกันมาช่วยเหลือดูแล อ�ำนวยความสะดวก ให้กบั กลุม่ ผูป้ ว่ ยและผูพ้ กิ าร นับเป็นการสนับสนุนงาน เมตตา เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวแบบพี่น้องใน พระศาสนจักรและสังคม ส่วนวัดต่าง ๆ ในสังฆมณฑลจันทบุรี ก็ได้จดั กิจกรรม “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ส�ำหรับผู้ ป่วยและผู้พิการ” ในวันนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
ส�ำหรับวัดแม่พระเมืองลูร์ด บางแสน ได้จัด ให้มีพิธีอวยพรศีลมหาสนิท เป็นพิเศษส�ำหรับผู้ป่วย และผู้พิการ ในวันที่ 11 ของทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง เป็นการน�ำพระเมตตาของพระเจ้าสูผ่ ปู้ ว่ ยและผูพ้ กิ าร โอกาส “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม”
13
ปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรม ส�ำหรับเยาวชน ตามปฏิทินปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ได้ ก�ำหนดให้ระหว่างวันที่ 26-31 กรกฎาคม 2016 (งาน เยาวชนโลก ประเทศโปแลนด์) เป็น “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่ง เมตตาธรรมส�ำหรับเยาวชน” เพือ่ ให้บรรดาเยาวชน ได้รว่ มเดินทางตามจิตตารมณ์ของวันเยาวชนโลก ตาม หาหัวใจรักแห่งเมตตาของพระเยซูเจ้า ผ่านการร่วม กิจกรรม และการเสริมสร้างมิตรภาพกับพระเจ้าและ เพื่อน ๆ เยาวชน สังฆมณฑล ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วม งานเยาวชนโลกในครั้งนี้ จ�ำนวน 5 ท่าน ปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรม ส�ำหรับครูค�ำสอน วันที่ 25 กันยายน 2016 ในปฏิทนิ ปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ แห่งเมตตาธรรม ได้กำ� หนดไว้เป็น “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่ง เมตตาธรรมส�ำหรับครูคำ� สอน” โดยมีกจิ กรรมร่วม ฉลอง “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” ที่กรุงโรม ประเทศอิตลี ระหว่างวันที่ 22-30 กันยายน 2016 สังฆมณฑลจันทบุรี โดยการน�ำของแผนกคริสตศาสน ธรรม ร่วมกับแผนกพระคัมภีร์ และแผนกผูถ้ วายตน ได้ให้การสนับสนุนครูค�ำสอนกว่า 10 ท่านเข้าร่วม กิจกรรมครั้งนี้ ปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรม ส�ำหรับนักโทษ กันยายน 2016-มกราคม 2017 คณะกรรมการ คาทอลิกเพือ่ ผูต้ อ้ งขัง คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี และ ของสังฆมณฑล ร่วมกับแผนกพระคัมภีร์และแผนก คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี จัดโครงการ “สอนค�ำสอนผูต้ อ้ งขัง” ณ เรือนจ�ำกลางจังหวัดชลบุรี เป็นกิจกรรมทีส่ อดคล้องกับ “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตา ธรรมส�ำหรับนักโทษ” เพื่อพระเมตตาของพระเจ้าที่ สามารถเปลี่ยนหัวใจ และเปลี่ยนห้องขังให้กลายเป็นประสบการณ์ของอิสรภาพ(จากบาป) 14
ตามสมณลิขิตของสมเด็จพระสันตะปาปา “พระเยซูเจ้าผูพ้ พิ ากษาทีท่ รงพระเมตตา” เมือ่ วัน ที่ 8 กันยายน 2015 เกี่ยวกับการด�ำเนินการตัดสิน คดีแบบสัน้ ๆ ให้การแต่งงานเป็นโมฆะ ตามประมวล กฎหมายพระศาสนจักร บรรพ 7 ภาค 3 ลักษณะ 1 หมวด 1 มาตรา 1671-1691 ซึ่งใช้กับบรรทัดฐาน ใหม่ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2015 อันเป็นเวลาเริ่มต้น “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” ส�ำหรับแนวทางในการปฏิรูปกระบวนการ พิจารณาความเป็นโมฆะของการแต่งงาน ตาม ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ส�ำนักงานวินจิ ฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี ได้ด�ำเนินการและชีแ้ จงท�ำความ เข้าใจให้กับคณะสงฆ์ ร่วมกับแผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี โอกาสฟืน้ ฟูจติ ใจประจ�ำเดือนของ พระสงฆ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2016 พร้อมเรียก ร้องคณะสงฆ์ให้การอภิบาลช่วยเหลือคูส่ มรสทีย่ งั ไม่ ได้กระท�ำพิธถี กู ต้อง ให้สามารถกระท�ำพิธไี ด้ ส่งผลให้ บรรดาคริสตชนทีม่ ปี ญ ั หาชีวติ ด้านศีลสมรส สามารถ ด�ำเนินคดีที่มีกระบวนการที่สั้นลงในโอกาสพิเศษนี้
มีการส�ำรวจคูแ่ ต่งงาน ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม 2016 และให้การอบรมเตรียมคูแ่ ต่งงานภายในแขวง ศรีราชา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2016 ที่สุด ด้วยความ ร่วมมือของฝ่ายปกครองวัด แผนกครอบครัว และ แผนกวิถีชุมชนวัด ได้จัดพิธีสมรสพร้อมกันของคู่ แต่งงาน ทีท่ ำ� ให้ถกู ต้องของวัดต่าง ๆ ในแขวงศรีราชา จ�ำนวน 17 คู่ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2016 ณ วัดแม่ พระเมืองลูร์ด บางแสน ชลบุรี ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายใน “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงพระ เมตตาของพระเจ้ามีมากมายส�ำหรับทุกคนทีก่ ลับมา หาพระองค์ดว้ ยใจจริง เพือ่ ความรอดพ้นของวิญญาณ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของพระศาสนจักรตลอดไป
15
นอกเหนือจากกิจกรรมที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น สังฆมณฑลจันทบุรี ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส รวมทั้งฝ่ายต่าง ๆ และกลุ่มองค์กร ยังได้มี การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทีส่ อดคล้องและส่งเสริมเกีย่ ว กับ “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” อย่างต่อเนื่อง กันมาตลอดทั้งปี แผนกสื่อมวลชน ได้รวบรวมข้อมูลจัดพิมพ์ หนังสือ “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” แจกให้กับ บรรดาคริสตชน ในโอกาสเปิด “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่ง เมตตาธรรม” เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2015 และ ยังลงบทความเกี่ยวกับ “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตา ธรรม” ในสารสังฆมณฑล “สายใยจันท์” ฉบับที่ 17 ประจ�ำเดือนธันวาคม 2015 ทั้งนี้ เพื่อประกาศ ถึงพระเมตตาของพระเจ้า รวมถึงแนวทางปฏิบตั ิ ใน ช่วงเวลาพิเศษนี้ด้วย ที่สุด วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2016 ตามปฏิทินปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ได้ก�ำหนด ให้ทกุ สังฆมณฑลทัว่ โลกจัดพิธี “ปิดประตูศกั ดิส์ ทิ ธิ”์ กล่าวคือ เมือ่ เราปิดประตูศกั ดิส์ ทิ ธิ์ เราจะเปีย่ มด้วย ความส�ำนึกรู้คุณ และขอบพระคุณพระตรีเอกภาพ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ที่ได้ประทานช่วงเวลาพิเศษแห่งพระ หรรษทานให้แก่เรา เราจะฝากชีวติ ของพระศาสนจักร มวลมนุษยชาติ และทัว่ ทัง้ จักรวาล ให้อยูใ่ นความดูแล ของพระคริสตเจ้าผูท้ รงเป็นพระเจ้า วอนขอพระองค์ ให้ทรงพระกรุณา หลั่งพระเมตตาของพระองค์แก่ เราเสมือนหนึ่งหยาดน�้ำค้างยามเช้า เพื่อว่า ทุกคน จะได้ท�ำงานร่วมกันสร้างอนาคตให้สดใสยิ่งขึ้น น�ำ พระมหากรุณา และความเมตตาสงสารของพระเจ้า ออกไปหาพี่น้องชายหญิงทุกคน ให้การเยียวยาด้วย พระเมตตาไปถึงมือทุกคน ทั้งบรรดาผู้มีความเชื่อ และผูท้ อี่ ยูห่ า่ งไกล เสมือนหนึง่ เครือ่ งหมายแห่งพระ อาณาจักรของพระเจ้า ทีป่ รากฏอยูท่ า่ มกลางเราแล้ว 16
สังฆมณฑลจันทบุรี ได้จัดพิธี “ปิดประตู ศักดิส์ ทิ ธิ”์ และ “ปิดปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” ณ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินริ มล จันทบุรี โดยพระสังฆราช ซิลวีโอ สิรพิ งษ์ จรัสศรี เป็นประธาน ในพิธี มีการตั้งศีลมหาสนิท โปรดศีลอภัยบาป และ รับพระคุณการุณย์ ก่อนเริม่ พิธมี สิ ซาปิด “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ แห่งเมตตาธรรม” เพือ่ เป็นการตอกย�้ำถึงพระเมตตา ของพระเจ้าทีย่ งั คงด�ำรงอยูก่ บั เราทุกคนตลอดไป แม้ จะสิ้นสุดการเฉลิมฉลอง “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตา ธรรม” ไปแล้วก็ตาม
จงเป็นผูเู้ มตตากรุณา ดังทีพ ่ ระบิดาของท่าน ทรงพระเมตตากรุณาเถิด (ลก 6:36)
พิธีปิด “ประตูศักดิ์สิทธิ์และปีศักดิด์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี 13
พฤศจิกายน 2016
17
ด น ต รี ศั ก ดิ์ ท ธิ์ สิ
โดย คุณพ่อธีรพงษ์ ก้านพิกุล แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ สังฆมณฑลจันทบุรี
ค�ำว่า “คริสต์มาส” เป็นค�ำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Christmas” มา จากค�ำภาษาอังกฤษโบราณว่า “ChristesMaesse” ทีแ่ ปลว่า “บูชามิสซาของ พระคริสตเจ้า” ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปีค.ศ. 1038 และในปัจจุบันค�ำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นค�ำว่า “Christmas” เรื่องของเพลงวันคริสต์มาส เพลงคริสต์มาสเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 แต่งโดยพระสงฆ์และฆราวาส มีเนือ้ ร้องเป็นภาษาลาตินลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของ การเสด็จมาของพระเยซูเจ้า และในศตวรรษที่ 12 ได้มกี ารแต่งเพลงคริสต์มาสในท่วงท�ำนองทีร่ า่ เริง สนุกสนานมากขึน้ เริม่ ต้นจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิสอัสซีซแี ละนักบวช คณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุนให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ 18
ตัวอย่างของบทเพลง ที่สื่อความหมายของวันคริสต์มาส
1. 2. 3.
1. บทเพลงทีส่ อื่ ถึงความหมาย และถ่ายทอดความรูส้ กึ ถึงความเปีย่ มสุข และสันติในจิตใจ เช่น เพลง “AdesteFideles (O come, all ye faithful)” เข้าใจว่าคงจะมีการใช้ร้องมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 แล้วต่อมาในศตวรรษที่ 17 ก็ น�ำมาขับร้องกันอย่างแพร่หลายทั่วไป ซึ่งเป็นบทเพลงภาษาลาตินที่เก่าแก่และ่ ใช้มาถึงปัจจุบัน ผู้แต่งเนื้อเพลงเราไม่ทราบว่าใครเป็นคนแต่ง แต่ผู้แต่งท�ำนอง ก็คือ John Reading เป็นชาวอังกฤษ และแปลเป็นเนื้อร้องภาษาไทยที่เราร้อง กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือ เพลง “ขอเชิญท่านผู้วางใจ”
2.บทเพลงที่สื่อถึงพระสัญญาของพระเจ้าต่อมนุษย์ ได้แก่ บทเพลง “O Holy Night (เพลงโอ้คืนศักดิ์สิทธิ์)” หรือเพลง “O come” “O come Emmanuel (เพลงเชิญเถิดเอ็มมานูเอล)” 2 บทเพลงนี้ เป็นการสื่อความ หมายถึงการเสด็จมาของพระเยซูเจ้าผู้ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เปรียบเสมือน แสงสว่างที่น�ำความหวัง และความหมายมาสู่โลกมนุษย์ของเรา
3.บทเพลงที่สื่อถึงความสงบเงียบ สันติสุขที่เปี่ยมด้วยความหวังและ ความศักดิ์สิทธิ์ของคืนคริสต์มาส ตัวอย่างเช่น บทเพลง “Silent Night Holy Night” ความเป็นมาของเพลงนี้ มาจากวันก่อนวันฉลองคริสต์มาสของ ปีค.ศ. 1818 คุณพ่อโจเซฟโมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ท�ำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่น�ำไปให้ เพื่อนชื่อฟรานซ์กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ท�ำนองในคืนวันที่ 24 นั่นเองและ เล่นเพลง “Silent Night” เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบการขับ ร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก
ข้อมูลจาก : wikipedia.org | ru.ac.th | educatepark.com 19
ความหมายแท้จริงเทศกาลคริสตมาส พระเป็นเจ้าทรงเป็นความรัก (1 ยน 4:16)
โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์
ความรักของพระเป็นเจ้าต่อมนุษย์ ปรากฏเด่นชัดอย่างยิ่งในการรับเอากายบังเกิดเป็นมนุษย์ “พระเป็นเจ้าทรงรักโลกมาก จนถึงกับประทานพระบุตรแต่องค์เดียวแก่เรา” (ยน 3:16) คนโดยทั่วไป จะรับรู้ว่า วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันฉลองคริสตมาสของชาวคริสต์ทั้ง หลาย และเป็นวันประสูติของพระเยซูเจ้า โดยมี สัญลักษณ์คือ ซานตาครอส ต้นคริสต์มาส ของขวัญ การ์ดอวยพร ประโยคค�ำพูด “Merry Christmas” และงานรืน่ เริง เป็นทีน่ า่ สังเกตว่า โดยทัว่ ไปวันฉลอง คริสตมาส จะเป็นวันฉลองเชิงพาณิชย์มากกว่าวัน ฉลองทางด้านศาสนา ส�ำหรับคริสตชน วันฉลองคริสตมาสหรือ เทศกาลคริสตมาส ต้องมีความหมายมากกว่าเรื่อง พาณิชย์หรืองานรื่นเริง พระอัครสังฆราชฟูลตัน ชีน (Archbishop Fulton J. Sheen: 1895-1979) ชาว อเมริกัน ซึ่งมีชื่อเสียงในการเทศน์สอนทางโทรทัศน์ ท่านพูดหัวข้อ “The True Meaning of Christmas” ท่านได้กล่าวว่า “พระเป็นเจ้ารักมนุษย์ก่อน ลงมา (come down) บังเกิดเป็นมนุษย์” 20
“พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมากจึงประทาน พระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์เพื่อทุก คนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศแต่จะมี ชีวิตนิรันดร เพราะพระเจ้าทรงส่งพระบุตรมาใน โลกนี้มิใช่เพื่อตัดสินลงโทษโลกแต่เพื่อโลกจะได้ รับความรอดพ้นเดชะพระบุตรนั้น” (ยน 3:16-17) การฉลองคริสตมาส จึงเป็นวันที่เราฉลอง ความรักและความเมตตาของพระเป็นเจ้าทีม่ ตี อ่ มนุษย์ ทุกคน “พระเยซูเจ้าทรงเป็นภาพลักษณ์ทสี่ มบูรณ์ ขององค์พระเจ้า” (ฮบ 1:3) “พระองค์ทรงเป็น ภาพลักษณ์ของพระเจ้าที่เรามองไม่เห็น ทรงเป็น บุตรคนแรกในบรรดาสิ่งสร้างทั้งปวง” (คส 1:15) พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้เทศน์วนั คริสตมาส ปี 2013 ว่า “วันนี้เป็นวันเผยแสดงของพระเยซู เจ้า ที่เข้ามาในประวัติศาสตร์มนุษย์ มาร่วมเดิน ทางพร้อมกับมนุษย์ พระองค์ทรงบังเกิดจากพระ
แม่มารีย์ เป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ พระองค์ ทรงปล่อยเราเป็นอิสระจากความมืด สูค่ วามสว่าง ในพระองค์ ทรงเปิดเผยความเมตตา ความรัก ของพระบิดาเจ้า”1 การเทศน์ของพระสันตะปาปา ได้ยืนยันพระวรสารของนักบุญยอห์นว่า “ พระเจ้า ทรงเป็นความสว่าง และไม่มีความมืดใด ๆ อยู่ใน พระองค์เลย” (1 ยน 1:5) หนังสือค�ำสอนชีวิตจิตฉบับสมบูรณ์ของ นักบุญเทเรซา แห่งลีซีเออซ์ บทที่ 1 เขียนโดย คุณพ่อฟรังซัวส์ ยามาร์ต โอ.ซี.ดี ได้เขียนไว้ว่า “ค�ำ สอนทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงน�ำมาสูโ่ ลก คือข่าวประเสริฐ หรือพระวรสาร เป็นการเผยแสดงความรักที่ไม่รู้ ลบเลือนของพระเป็นเจ้าต่อมนุษย์” 2 ความรักของพระเป็นเจ้าต่อมนุษย์ ปรากฏเด่น ชัดอย่างยิง่ ในการรับเอากายบังเกิดเป็นมนุษย์ “พระ เป็นเจ้าทรงรักโลกมาก จนถึงกับประทานพระบุตร แต่องค์เดียวแก่เรา” (ยน 3:16) ไม่เพียงแต่ประทาน พระบุตรแก่เราเท่านัน้ แต่เพราะเห็นแก่เรา พระเป็น เจ้าจึงทรงให้พระองค์รับทรมานอย่างสาหัส และรับ ความตายบนไม้กางเขนเยีย่ งอาชญากร น.ยอห์นและ น. เปาโล กล่าวย�ำ้ พระวาจาของพระคริสตเจ้าหลาย ครัง้ ในจดหมายของท่าน เช่น น.ยอห์นกล่าวว่า “ด้วย ความรักนี้พระเป็นเจ้าได้ส่งพระบุตร เพื่อชดเชย บาปของเรา” (1 ยน 4:10) น.เปาโล กล่าวว่า “พระ คริสตเจ้าทรงรักข้าพเจ้าและได้สิ้นพระชนม์เพื่อ เรา ทั้งที่เรายังเป็นคนบาป” (อฟ 5:2 ; รม 5:8)3
ที่พ่อยกบทความมากล่าวอ้างทั้งหมด ไม่ว่า จะเป็นพระวรสารนักบุญยอห์น นักบุญเปาโล การ เทศน์ของพระสันตะปาปาฟรังซิส การพูดของพระ อัครสังฆราช และงานเขียนของพระสงฆ์ ต่างยืนยัน ว่า “พระเป็นเจ้าทรงเป็นความรัก” (1 ยน 4:16) บังเกิดมาเพือ่ รักมนุษย์ ชดเชยบาปของมนุษย์ทกุ คน ด้วยเหตุนี้ พระศาสนจักรไม่เคยอ่อนล้าทีจ่ ะ ขับเพลงสรรเสริญสิริโรจนาแห่งราตรีนั้น วันนี้ พรหมจารีให้ก�ำเนิดองค์นิรันดรแก่โลก และแผ่นดินก็ถวายถ�ำ้ แด่องค์พระทีไ่ ม่มใี ครเข้าถึง ทูตสวรรค์และชุมพาบาลสรรเสริญพระองค์ และพระยาสามองค์กก็ า้ วไปพร้อมกับดวงดาว เพราะพระองค์ได้ทรงบังเกิดเพื่อเรา กุมารน้อย พระเจ้านิรันดร (ค�ำสอนของพระศาสนจักร ข้อ 525) คริสตมาสปีนี้ นอกจากเตรียมการฉลอง ภายนอกแล้ว อย่าลืมขอบคุณความรักและความ เมตตาของพระเป็นเจ้าที่มีต่อเรา แสดงกตัญญูต่อ พระเป็นเจ้าในความรักของพระองค์ โดยพ่อขอยก ค�ำของนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู ที่ได้พูดกับ คุณแม่อักแนสว่า “พันธกิจของลูก (น. เทเรซา) ท�ำให้ผอู้ นื่ รักพระเป็นเจ้าเหมือนทีล่ กู รักพระองค์” 4
1 taken from__http://www.catholicnewsagency.com/news/jesus-is-the-meaning-of-life-and-history-pope-preaches-on-christmas/ เทศน์คืนวันที่ 24 ธันวาคม 2013, มหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน 2 อารามนักบุญเทเรซา แห่งพระกุมารเยซู คาร์แมล จันทบุรี, ค�ำสอนชีวิตจิตฉบับสมบูรณ์ของนักบุญเทเรซา แห่งลีซีเออซ์, บทที่ 1 หน้า 1 3 อารามนักบุญเทเรซา แห่งพระกุมารเยซู คาร์แมล จันทบุรี, ค�ำสอนชีวิตจิตฉบับสมบูรณ์ของนักบุญเทเรซา แห่งลีซีเออซ์, บทที่ 1 หน้า 1 4 อารามนักบุญเทเรซา แห่งพระกุมารเยซู คาร์แมล จันทบุรี, ค�ำสอนชีวิตจิตฉบับสมบูรณ์ของนักบุญเทเรซา แห่งลีซีเออซ์, บทน�ำ หน้า xviii
21
ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี
“การพัฒนาประชาชาติของพระศาสนจักรคาทอลิก” (Populorum Progressio)
“พระศาสนจักรย่อมไม่ลดละต่อการที่จะอ�ำนวยความก้าวหน้าของมนุษยชาติให้แก่ประชาชาติที่พระ ศาสนจักรได้น�ำศรัทธาในพระคริสต์ไปให้” (ค�ำสอนการพัฒนาประชาชาติ ข้อ 12) สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ที่รัก พบกัน อีกเช่นเคย ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวที่จะน�ำเสนอใน สายใยจันท์ฉบับนี้ อยากให้ทุกท่านเข้าใจก่อนว่าใน การท�ำงานด้านสังคมของพระศาสนจักรมีแนวทาง อยู่ 2 ลักษณะ คือ 1. งานอภิบาลด้านสังคม (งานเมตตา สงเคราะห์) 2. งานด้านพัฒนาสังคม (งานเกีย่ วกับการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม) ทั้งสองแนวทางนี้จะต้องถูกหยิบยก ให้ ความส�ำคัญและปฏิบัติงานให้สอดคล้องกัน ซึ่งพระ ศาสนจักรจะไม่สามารถละทิง้ แนวทางใดแนวทางหนึง่ ในงานสังคมได้เลย ปีนพี้ ระศาสนจักรในแวดวงผูท้ ำ� งานด้านสังคม โดยเฉพาะพระศาสนจักรในประเทศไทยก�ำลังรื้อฟื้น และทบทวนค�ำสอนของพระศาสนจักรเรื่อง “การ พัฒนาประชาชาติ” (Populorum Progressio) ใน โอกาสเตรียมฉลอง 50 ปีแห่งการประกาศสมณสาส์น ฉบับนี้ ซึ่งเป็นสมณสาส์นที่ถูกน�ำมาใช้เป็นหลักและ การอ้างอิงในงานด้านสังคมเป็นอย่างมาก 22
• ความเป็นมาของสมณสาส์น สมเด็จพระสันตะปาปา ปอลที่ 6 ทรงสานต่อ พระภารกิจของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นที่ 23 ในการสังคายนาพระศาสนจักร พระองค์ทรงสาน ต่อค�ำสั่งสอน เรื่องการพัฒนาสังคมและสันติภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับโลกปัจจุบัน โดยในปี ค.ศ.1967 พระสันตะปาปา ปอลที่ 6 ทรงออกสมณสาส์นฉบับ ส�ำคัญที่ชื่อว่า “การพัฒนาประชาชาติ” (Populorum Progressio) พระองค์ทรงเน้นย�ำ้ ถึงบทบาทของ พระศาสนจักรทีจ่ ะต้องมีสว่ นในการพัฒนาสังคมโลก ทรงตรัสว่า “พระศาสนจักรย่อมไม่ลดละต่อการ ที่จะอ�ำนวยความก้าวหน้าของมนุษยชาติให้แก่ ประชาชาติที่พระศาสนจักรได้น�ำศรัทธาในพระ คริสต์ไปให้” (ค�ำสอนการพัฒนาประชาชาติ ข้อ 12) “การพัฒนาประชาชนเป็นเรื่องที่พระ ศาสนจักรให้ความเอาใจใส่อย่างใกล้ชดิ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ต่อประชาชนทีต่ อ่ สูด้ นิ้ รน เพือ่ ให้พวกเขา พ้นจากสภาพความหิวโหย ความทุกข์ทรมาน ความ เจ็บไข้และความโง่เขลา ต่อประชาชนที่แสวงหา การมีส่วนร่วมมากขึ้น ในผลพวงแห่งอารยธรรม
ตลอดจนการแสวงหาการปรับปรุงคุณภาพความ เป็นมนุษย์ของพวกเขาทีเ่ อาจริงเอาจังยิง่ ขึน้ และ ต่อประชาชนทีม่ เี จตจ�ำนงในเป้าประสงค์แห่งการ บรรลุถึงการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” (ค�ำสอนการ พัฒนาประชาชาติ ข้อ 1)
สมณสาส์นที่ชื่อว่า “การพัฒนาประชาชาติ” (Populorum Progressio) จากพระด�ำรัสของพระสันตะปาปา ท�ำให้เรา เห็นได้วา่ พระศาสนจักรคาทอลิกนอกจากจะเป็นผูท้ ี่ ใกล้ชดิ กับองค์พระเจ้าเสมอแล้ว ยังต้องด�ำรงตนเป็น “ผูเ้ ชีย่ วชาญในเรือ่ งความเป็นมนุษย์” ซึง่ ความเป็น มนุษย์ของมวลประชากรของพระเจ้า จะต้องอยูต่ รง ใจกลางของพันธกิจของพระศาสนจักร และยังถูกยก ให้มีความส�ำคัญเป็นเบือ้ งต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน บริบทของ “การศึกษาทีเ่ ป็นภาวะเร่งด่วนของโลก” ในทุกระดับและในทุกองค์กรของพระศาสนจักร
พีน่ อ้ งจะเห็นได้วา่ การท�ำงานของพระศาสนจักร ตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ได้เน้นย�ำ้ ให้มกี ารส่งเสริมแก่ บรรดาคริสตชนและสังคมโลก มุง่ ทีจ่ ะพัฒนาตนเอง และสังคมอย่างครบถ้วน ทั้งฝ่ายร่างกายและจิต วิญญาณ ให้คริสตชนทุกคนถ่ายทอดการใช้อสิ รภาพ ที่ถูกต้อง ส่งเสริมศักดิ์ศรีของกันและกัน แม้จะเป็น ภารกิจทีย่ ากเย็น และต้องออกจากตนเองอย่างมาก แต่นี่คือ จิตตารมณ์ที่แท้จริงของผู้ที่มีความเชื่อใน องค์พระคริสต์ พระศาสนจักรในประเทศไทย โดยเฉพาะ บรรดาผู้ท�ำงานพัฒนาสังคม พยายามที่จะถ่ายทอด จิตตารมณ์และค�ำสั่งสอนของพระคริสตเจ้า โดย การกลั่นกรองจากพระวาจา และค�ำสอนของพระ สันตะปาปาผู้น�ำของเรามาใช้ในการกระท�ำให้บุคคล ต่าง ๆ ทีม่ คี วามเป็นมนุษย์ทนี่ อ้ ยกว่ามุง่ สูบ่ คุ คลทีเ่ ป็น มนุษย์มากยิ่งขึ้น สังฆมณฑลจันทบุรขี องเราได้บรรจุความคิด แห่งการพัฒนาตนเองของคริสตชนและเพื่อนพี่น้อง เพือ่ มุง่ ไปสูค่ วามเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้านแห่งชีวติ ในแผนงานอภิบาลปี 2016-2020 โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ ความก้าวหน้าแห่งการเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า การแสดงตนเป็นเครือ่ งหมายแห่งพระอาณาจักรของ พระเจ้าในโลกนี้ (ชีวติ ทีเ่ ป็นพยาน) และการมีสว่ นร่วม อย่างกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีในชุมชนแห่ง ความเชือ่ ของเรา การประสานสัมพันธ์กบั ทุกคนทีอ่ ยู่ ในสังคมรอบข้างเรา จึงเชิญชวนทุกท่านในปีใหม่ที่จะถึงนี้ ขอให้ เราร่วมใจกันกับพระศาสนจักร เฉลิมฉลองวิถชี วี ติ การ ท�ำงานด้านสังคมของพระศาสนจักร ด้วยการพัฒนา ตนเองทั้งครบ (ฝ่ายกาย-จิตวิญญาณ) และช่วยกัน พัฒนาเพือ่ นพีน่ อ้ งรอบข้างให้ได้มชี วี ติ ทีก่ า้ วหน้า ครบ ครัน เพื่อมุ่งไปสู่จดุ มุ่งหมายทีแ่ ท้จริงนัน่ คือ การเป็น บุตรของพระเจ้าที่สมบูรณ์นั่นเอง 23
เข้าใจให้ดีเรื่อง
พิธีกรรม
โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
บทบาทในพิธีกรรมของสงฆ์ศาสนบริกร สวัสดีครับพี่น้องที่รัก สายใยจันท์ฉบับนี้ ต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว ซึ่งพูดถึงบทบาทของพระ สังฆราชในพิธีกรรม “ชีวิตของผู้มีความเชื่อใน พระคริสตเจ้า สืบเนื่องมาจากพระสังฆราชและ ขึ้นอยู่กับท่าน” (SC 41)1 โดยเฉพาะชีวิตฝ่ายจิตที่ ท่านเป็นผู้ถ่ายทอดผ่านทางการปฏิบัติศาสนกิจและ การเทศน์สอน อยากเชิญชวนให้พี่น้องทุกท่านได้รับรู้ และ ไตร่ตรองส�ำหรับบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์และ นักบวช ผูอ้ ภิบาลด้านพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิ์ ร่วมกับพระ สังฆราชของพวกเขา 24
1 SACROSANCTUM
การเตรียมตัวของศาสนบริกร พระศาสนจักรได้พูดถึงการเตรียมตัวของ บรรดาศาสนบริกรก่อนที่จะรับศีลบวช หรือก่อน การถวายตัว เพื่อเป็นผู้อภิบาลด้านพิธีกรรมว่า “ใน สามเณราลัยและบ้านนักบวช บรรดาบรรพชิตจะ ต้องได้รบั การอบรมด้านพิธกี รรมในชีวติ จิต ดังนัน้ เขาจะต้องได้รับความรู้อย่างเหมาะสม ให้เข้าใจ จารีตพิธเี ป็นอย่างดี และร่วมพิธกี รรมอย่างสุดจิต ใจ...” (SC 17) จึงเป็นทีเ่ ข้าใจอย่างถ่องแท้วา่ บรรดา ผูเ้ ตรียมตัวเป็นศาสนบริกร ต้องเรียนรูแ้ ละเข้าใจขัน้ ตอน แนวทางการร่วมพิธกี รรม เทววิทยาและซึมซับ จิตตารมณ์พิธีกรรมอย่างลึกซึ้งในชีวิตของพวกเขา
CONCILIUM = สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์
ความต่อเนื่องหลังจากได้รับการบวชเป็นศาสนบริกร เมื่อได้รับการแต่งตั้ง และการบวชเป็นผู้อภิบาลแล้ว “บรรดา สงฆ์ทั้งที่สังกัดสังฆมณฑลและในสถาบันนักบวช ต้องได้รับความช่วย เหลือด้วยวิธีการเหมาะสมทุกอย่าง เพื่อจะได้เข้าใจความหมายของ พิธีกรรม เพื่อจะได้ด�ำเนินชีวิตตามพิธีกรรมให้มากขึ้น และถ่ายทอด ชีวิตนี้แก่บรรดาผู้มีความเชื่อที่เขาได้รับมอบหมายให้ดูแล” (SC 18) “บรรดาผู้อภิบาลต้องมีความกระตือรือร้น และพากเพียรที่จะให้การ อบรมด้านพิธีกรรมแก่ผู้มีความเชื่อ” (SC 19) พระศาสนจักรก็พดู ถึงบทบาทหน้าทีข่ องเจ้าอาวาส ผูอ้ ภิบาลด้าน ความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกันว่า เจ้าอาวาสคือ นายชุมพาบาลที่ต้องดูแล ลูกแกะในการปกครอง ตามที่ได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชประจ�ำ สังฆมณฑล ท�ำหน้าที่สอน ท�ำให้ศักดิ์สิทธิ์และปกครอง โดยให้มีพระสงฆ์ อืน่ เป็นผูช้ ว่ ย (Can.519) เจ้าอาวาสมีหน้าทีด่ แู ลให้มกี ารประกอบพิธกี รรม ในวัด ตามจารีตที่ก�ำหนดให้ในหนังสือจารีต ปฏิบัติหน้าที่ของคุณพ่อเจ้า อาวาสอย่างดี (Can.560) ทั้งในวัดของตนหรือวัดที่ต้องดูแลให้ถูกต้อง และเป็นไปตามจารีตที่ก�ำหนด (Can.562) ผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสก็เช่นกัน พวกเขาคือ พระสงฆ์ผใู้ ห้บริการในงาน อภิบาล ภายใต้อ�ำนาจของเจ้าอาวาส...(Can.545) พวกเขาต้องเป็นผูร้ ว่ ม มือในทุกด้านของงานอภิบาล โดยเฉพาะด้านการบรรดาความศักดิ์สิทธิ์ แก่มวลสัตบุรุษ พีน่ อ้ งจะเห็นได้วา่ บรรดาศาสนบริกรในพระศาสนจักร โดยเฉพาะ บรรดาพระสงฆ์เป็นบุคคลทีส่ ำ� คัญ ทีร่ ว่ มมือกับพระสังฆราชของท่าน เพือ่ ท�ำให้ชีวิตฝ่ายจิต ชีวิตแห่งความศักดิ์สิทธิ์ได้ถูกถ่ายทอดมาสู่มวลประชา สัตบุรษที่พวกท่านดูแล ดังนั้น จากบทบาทหน้าที่ด้านพิธีกรรมนี้ บรรดาศาสนบริกร (พระสงฆ์-นักบวช) ควรเอาใจใส่ต่อเทววิทยา จิตตารมณ์ และธรรมเนียม ปฏิบัติของพระศาสนจักรอย่างจริงจัง เพื่อชีวิตของพวกท่านจะได้สนิท กับพระเจ้าผ่านทางพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และจะน�ำพระพรที่ได้รับผ่านทาง พิธีกรรม ซึ่งเป็นหนทางไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ ไปสู่มวลสัตบุรุษที่ท่านได้ดูแล ผ่านทางการอภิบาลด้านพิธกี รรม อีกทัง้ บรรดาประชากรของพระเจ้าจะได้ ใกล้ชดิ กับองค์พระเจ้าผ่านทางพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิน์ อี้ ย่างลึกซึง้ ด้วยเช่นกัน Can. = Canon หมายถึง มาตราจากประมวลกฎหมายฯ
25
สิทธิการแยกกันของคู่แต่งงาน (ไม่ใช่การหย่าร้าง) คู่แต่งงานแยกกันอยู่ ไม่ได้ท�ำให้พันธะ การแต่งงานของเขาถูกยกเลิกไป และไม่ได้ท�ำให้ การแต่งงานของเขาเป็นโมฆะ พี่น้องที่เคารพรักในพระคริสตเจ้าครับ ความเป็นหนึ่งเดียวและการหย่าร้างมิได้ (Can.1056) ยังคงเป็นสาระส�ำคัญของการแต่งงาน ในพระศาสนจักรคาทอลิกอยูอ่ ย่างไม่เสือ่ มคลาย แม้ ท่ามกลางสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับสถิติ การหย่าร้างกันของครอบครัวก็มากยิง่ ขึน้ ด้วย หรือมี ข้อเรียกร้องที่ตามมาด้วยเหตุผลนานัปการ ทั้งเรื่อง ปัญหาด้านความเป็นบุคคลและทัศนคติตา่ ง ๆ (ความ รุนแรง การจ�ำกัดความคิดเห็นพืน้ ฐานของกันและกัน ฯลฯ) ปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจและสภาพ แวดล้อมต่าง ๆ ท�ำให้พระสงฆ์ผอู้ ภิบาลทัง้ หลายต้อง ตระหนักมากขึ้น ต่อการอภิบาลเตรียมคู่แต่งงานสู่ ชีวติ สมรส ตามแนวทางของพระศาสนจักรคาทอลิก 26
ผูอ้ ภิบาลวิญญาณ (Pastor of souls) มีหน้า ที่ต้องให้ความช่วยเหลือบรรดาคริสตชน เพื่อรักษา สถานภาพการแต่งงานให้มจี ติ ตารมณ์คริสตชน และ พัฒนาไปสู่ความครบครัน ความช่วยเหลือที่ต้องจัด ให้แก่คู่สมรสโดยเฉพาะ นั่นคือ ความช่วยเหลือเพื่อ เขาจะได้ยงิ่ วันยิง่ บรรลุถงึ ความศักดิส์ ทิ ธิ์ และมีชวี ติ ครอบครัวที่เต็มเปี่ยมมากขึ้น ด้วยการรักษา และ ป้องกันพันธะศีลแต่งงานอย่างซื่อสัตย์ (Can.1063) สิทธิและหน้าทีพ่ นื้ ฐานของคูแ่ ต่งงาน คือ การ ใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภรรยา (Can.1151, GS.48) อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุผลอันชอบ พวกเขาสามารถ ร้องขอต่อผูม้ อี ำ� นาจหน้าทีข่ องพระศาสนจักรเพือ่ ขอ การ “แยกกันอยู่” ได้ โดยชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก ค.ศ.1983 กล่าวถึงเรือ่ ง “การแยกกันของคูแ่ ต่งงาน” (The Separation of the spouses) ไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การสิ้นสุดของพันธะการแต่งงาน Cans.11411150 (Dissolution of the bond) 2. การแยกกันโดยที่พันธะการแต่งงานยังคงอยู่ Cans.1151-1155 (Separation while the bond endures) ส่วนกระบวนการพิจารณาคดีเรือ่ งการ แยกกันอยู่ของคู่สมรส (Cans.1692-1696)
วันนี้พ่อเขียนถึงประเด็นเรื่อง “การแยก กันโดยที่พันธะการแต่งงานยังคงอยู่” นะครับ ซึ่ง แน่นอนว่าการแยกกันแบบนี้ ไม่ใช่การหย่าร้าง หรือ การเลิกกัน โดยนัยแห่งกฎหมายนะครับ แต่เมื่อการ ใช้ชีวิตจริงของคู่แต่งงาน ด�ำเนินไปด้วยความยาก ล�ำบาก หรือ สาเหตุอื่น ๆ ตามบริบทของกฎหมาย เช่น ด้านการศึกษา ด้านการรับราชการทหาร การ ไปท�ำงานต่างแดน ด้านการรักษาโรคและความเจ็บ ป่วย เป็นต้น ทีพ่ จิ ารณาได้คอ่ นข้างแน่ชดั แล้วว่า การ แยกกันอาจเป็นวิถที างเดียวทีอ่ าจจะช่วยเหลือ หรือ เยียวยาชีวิตคู่ของพวกเขา ไม่ให้เลวร้ายไปมากกว่า นั้น หรือส่งผลร้ายต่อชีวิตร่างกาย และจิตใจ หรือ ลูก ๆ ของตนได้ ความรักในการอภิบาล (Pastoral charity) เรียกร้องผู้มีหน้าที่ช่วยเขาได้ทันท่วงที สาเหตุอนั ชอบด้วยกฎหมายทีน่ �ำมาสูก่ ารขอ สิทธิการแยกกัน โดยทีพ่ นั ธะการแต่งงานยังคงอยู่ คือ 1. การนอกใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง สองฝ่าย (Can.1152) เพราะสาเหตุนกี้ ระทบโดยตรง ต่อรากฐานอันลึกซึ้งของการใช้ชีวิตคู่ นั่นคือ ความ รักและความซื่อสัตย์ต่อกัน 2. การก่ออันตรายร้ายแรงต่อจิตใจ หรือ ร่างกาย แก่อีกฝ่ายหนึ่ง หรือแก่ลูก ๆ (Can.1153) โดยการตีความเรื่องอันตรายร้ายแรงนี้ ต้องให้ผู้มี อ�ำนาจของพระศาสนจักรเป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้แก่ พระสังฆราชสังฆมณฑล (Can.1692ss2) หรือ ผู้ พิพากษาที่มีหน้าที่ (Can.1692ss1)
การด�ำเนินเรื่องขอแยกกันอยู่ จะต้องยื่น ค�ำร้องโดยผ่านทางคุณพ่อเจ้าอาวาส ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่มีการแยกกัน (Can.1152ss§3) เพื่อให้ผู้มี อ�ำนาจของพระศาสนจักรพิจารณาว่า จะให้การแยก กันอยู่โดยมีก�ำหนด หรืออย่างไม่มีก�ำหนด หรือควร เร่งรีบจัดให้มีการคืนดีกัน โดยก่อนการรับค�ำร้องคดี ผู้พิพากษาต้องเลือกวิธีอภิบาลคู่สมรสมาก่อนเสมอ เมื่อเห็นว่ามีความหวังที่จะให้ทั้งคู่คืนดีกันได้ส�ำเร็จ (เทียบ Can.1695) พึงระวังว่า การให้คแู่ ต่งงานแยกกันอยู่ ไม่ ได้ท�ำให้พันธะการแต่งงานของเขาถูกยกเลิกไป และ ไม่ได้ท�ำให้การแต่งงานของเขาเป็นโมฆะแต่ อย่างใด เพราะฉะนั้น เขาจะไปแต่งงานกับคนอื่น ไม่ได้เด็ดขาด กฎหมายพระศาสนจักรให้ความหวัง ว่า เมื่อการแยกกันอยู่สิ้นสุดลง และได้รับการฟื้นฟู ชีวิตคู่แล้ว (can.1153ss2) สักวันหนึ่งจะกลับมาร่วม ชีวิตฉันสามีภรรยาอย่างน่าสรรเสริญอีกครั้ง (เทียบ Can.1155) อนึง่ บทความนีไ้ ม่มเี จตนาจะท�ำให้คสู่ มรสทัง้ หลาย แยก หรือ เลิก หรือ หย่าร้าง หรือ รีบเร่ง ให้ ใครมาขอท�ำคดีเรือ่ งความเป็นโมฆะของการแต่งงาน แต่อย่างใดทัง้ สิน้ แต่เพือ่ น�ำเสนอเหตุผลอันชอบด้วย กฎหมาย อันเป็นหนทางหนึ่ง เพื่อความดี-เพื่อชีวิต ครอบครัวของคู่สมรสและบุตร ขอให้สามีภรรยาทั้งหลาย มีความรัก ความ เมตตา และพร้อมให้อภัยกันและกันเสมอ
----ขอพระเจ้าอวยพรทุกท่านครับ----
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 27
ดาวน�ำทาง แสงสว่างน�ำชีวิต
“ดาวที่เขาเห็นทางทิศตะวันออกปรากฏอีกครั้งหนึ่งน�ำทางให้” (มัทธิว 2:9)
28
หญิงชราคนหนึ่ง นางมีเทียนอยู่ 3 เล่ม เทียนทั้งสามมีชื่อดังนี้ เทียนเล่มที่ 1 ชื่อว่า เทียนแห่งความเชื่อ เทียนเล่มที่ 2 ชื่อว่า เทียนแห่งความหวัง เทียนเล่มที่ 3 ชื่อว่า เทียนแห่งความรัก วันหนึ่งหญิงชราต้องการเสาะแสวงหาบางสิ่งบางอย่างในห้องมืดของนาง นางเดินเข้าไปในห้องมืดและเริ่มค้นหาตามมุมห้อง ใต้ตู้ บนโต๊ะ ในลิ้นชัก แต่ไม่พบสิ่งที่ต้องการ เพราะมันมืดเกินไป นางจึงออกมาหยิบเทียนเล่มที่หนึ่ง นั่นคือเทียนแห่งความเชื่อ นางถือเทียนแห่งความเชื่อเข้าไปในห้องมืดนั้น และนางเริ่มแสวงหาสิ่งที่ต้องการ แต่ค้นหาเท่าไรก็ไม่พบ นางเริ่มทดท้อและสิ้นหวัง เทียนแห่งความเชื่อก็ค่อย ๆ ริบหรี่ลงเรื่อย ๆ นางจึงตั้งเทียนแห่งความเชื่อไว้ในห้องมืดนั้น และเดินออกมาหยิบเทียนแห่งความหวังเข้าไปอีกเล่มหนึ่ง แสงสว่างในห้องมืดสว่างไสวเพิ่มขึ้นด้วยแสงเทียนทั้ง 2 เล่ม แต่มันก็ยังสว่างไม่พอแก่การค้นหาสิ่งที่ต้องการในห้องมืดห้องนั้น นางจึงเดินมาหยิบเทียนเล่มที่ 3 เทียนแห่งความรัก เข้าไปด้วย พลันห้องนั้นก็สว่างไสว สะท้อนสิ่งที่นางค้นหาอย่างชัดเจน อย่าลืมที่จะน�ำเทียนทั้ง 3 เล่ม น�ำทางชีวิตของเราไปในปีใหม่นี้ด้วย เพื่อเราจะได้ค้นหาสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดในชีวิตเจอ บนเส้นทางที่เราก�ำลังเดินทางไป
“โอ้ดาวน�ำทางของข้าพเจ้า”
โดย น�้ำผึ้งหวาน 29
วัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
30
ป
จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญอันนา สระไม้แดง
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญลอเรนซ์ นางาม
31
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ สระแก้ว
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ ระยอง
32
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารีสมภพ กบินทร์บุรี
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอารักขเทวดา แหลมประดู่
33
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญนิโคลัส พัทยา
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี
34
ฉลองอารามคาร์แมล จันทบุรี
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระลูกประคำ� สัตหีบ
35
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารดาพระศาสนจักร นครนายก
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดราชินีสายประคำ�ศักดิ์สิทธิ์ บ้านสร้าง
36
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระคริสตราชา ปะตง
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัสสัมชัญ พัทยา
37
38
พิธีบวชพระสงฆ์ใหม่่ 27 สิงหาคม 2016
39