สายใยจันท์ V.21

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

FREE COPY แจกฟรี

Vol.21

เมษายน 2017 ปีท่ี 28

สมโภชปัสกา

พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ

7 พระวาจาสุดท้าย บทบาทฆราวาส (ของพระอาจารย์)

ในชีวิตแห่งพิธีกรรม

ความส�ำคัญของ

อภิสิทธิ์

ครอบครัว

นักบุญเปาโล


ปีที่ 28 ฉบับที่ 21 / เมษายน 2017

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 สาสน์อวยพรโอกาสปัสกา......................................................... 6 จงบอกแก่ชาวโลก........................................................................ 8 7 พระวาจาสุดท้าย(ของพระอาจารย์)....................................... 10 ดนตรีศักดิ์สิทธิ์...........................................................................16 บทบาทฆราวาสในชีวิตแห่งพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์...........................18 วันกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า...................................... 20 ความส�ำคัญของครอบครัวส�ำหรับสังคม................................ 22 อภิสิทธิ์นักบุญเปาโล...................................................................24 ทางแห่งกางเขน...........................................................................28 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 30 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................31

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk ฟาติมา และ พระเมตตาของพระเป็นเจ้า

พระแม่มารีย์ประจักษ์ที่ฟาติมา ประเทศโปรตุเกส แก่ ยาชินทา มาร์โต อายุ 7 ขวบ ฟรังซิสโก มาร์โต อายุ 9 ขวบ และ ลูซีอา โดสซังโตส อายุ 10 ขวบ วันที่ 13 พฤษภาคม 1917 และปีนี้ 2017 เป็นปีที่ฉลองครอบ 100 ปี แห่งการประจักษ์ฟาติมา พระเยซูเจ้าเผยแสดงพระเมตตาแก่นกั บุญโฟสตินาตัง้ แต่ปี 1924 และให้ทา่ นนักบุญบันทึกพระ เมตตาของพระเป็นเจ้า และเผยแพร่ให้กับโลกถึงพระเมตตาอันหยั่งถึงได้ของพระองค์ จากฟาติมา สู่ พระเมตตา มีเนื้อหา สาระเดียวกัน นั่นคือ การชดเชยบาป เข้าหาพระเมตตา ของพระเป็นเจ้า บทภาวนาที่ฟาติมาเทวดาสอนลูชีอา ยาชินทาและฟรังซิสโก “ข้าแต่พระตรีเอกภาพสูงสุด พระบิดา พระบุตร และพระจิต ลูกขอถวายพระโลหิตอันศักดิส์ ทิ ธิ์ พระวิญญาณและพระเทวภาพของ พระเยซูคริสตเจ้า ผูท้ รงประทับอยูใ่ นตูศ้ ลี ทุกแห่งทัว่ โลก เพือ่ ชดเชยแทนการกระท�ำทุรจาร การล่วง เกิน และความอกตัญญูของมนุษย์ ที่กระท�ำต่อพระองค์ และโดยอาศัยพระเมตตาหาที่สุดมิได้แห่ง ดวงพระทัยอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้า พร้อมด้วยดวงพระทัยนิรมลของพระมารดามารีย์ ลูก ขอวิงวอนพระองค์โปรดบันดาลให้คนบาปกลับใจด้วยเทอญ” บทภาวนาพระเมตตา “ข้าแต่พระบิดานิรนั ดร ลูกขอถวายแด่พระองค์ ซึง่ พระกายพระโลหิต พระวิญญาณ และพระเทวภาพแห่งพระบุตรสุดที่รักของพระองค์ พระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของลูก ทั้งหลาย เพื่อชดเชยบาปของลูกและของชาวโลกทั้งมวล” พระแม่มารีย์ได้สอนเด็ก ๆ สวดภาวนาว่า “พระเยซูเจ้าข้า โปรดอภัยบาปของชาวเรา โปรด ช่วยเราให้พ้นไฟนรก โปรดน�ำวิญญาณทั้งหลายไปสู่สวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิญญาณของผู้ที่ ต้องการพระเมตตาของพระองค์มากที่สุด” แสดงให้เห็นว่า พระเป็นเจ้าเมตตาต่อเราเสมอ ห่วงใยเราเสมอ มีเส้นทางเข้าหาพระเมตตาของ พระองค์ได้เสมอ โดยเฉพาะผ่านทางพระแม่มารีย์ ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ รักเรา โอบอุ้มเรา และจะเป็นผู้น�ำลูก ๆ ของพระแม่ ไปสู่พระเมตตาของพระเป็นเจ้า

ฉลองวันปัสกา พระเยซูผทู้ รงกลับคืนชีพเพือ่ เราทุกคน พีน่ อ้ งได้รบั พระเมตตาจากพระเป็นเจ้า

อย่างอุดม เพราะพระเจ้าทรงเป็นความรัก (1 ยอห์น 4:8) พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงส�ำแดง ความรักยิ่งใหญ่ต่อเรา (เอเฟซัส 2:4) ) พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่พร้อมเสมอจะให้อภัย ทรงเป็นพระเจ้า ผู้ทรงพระเมตตาและทรงพระกรุณา ไม่โกรธง่าย เปี่ยมด้วยความรักมั่นคง พระองค์จึงไม่ทรงละทิ้งเขา เหล่านั้น (เนหะมีห์ 9:17)

สุขสันต์วันปัสกาแก่พี่น้องทุกท่าน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


4


สาสน์พระสังฆราช โอกาสสมโภชปัสกา “เขาได้เห็นและเขาได้เชื่อ” (ยน 20:8) พระวรสารของนักบุญยอห์นบันทึกเหตุการณ์เช้าตรู่วันต้นสัปดาห์ เมื่อนางมารีย์ชาว มักดาลาวิ่งไปหาเปโตรและศิษย์ที่พระเยซูทรงรัก แจ้งว่าพระศพของพระเยซูเจ้าหายไปจาก พระคูหา เปโตรและศิษย์คนนั้นวิ่งไปที่พระคูหาทันที และได้เห็นผ้าพันพระศพและผ้าพันพระ เศียร พระวรสารได้กล่าวถึงท่าทีของศิษย์คนนั้นว่า “เขาได้เห็นและเขาได้เชื่อ” (ยน 20:8) ศิษย์คนนัน้ คือท่านยอห์น ผูเ้ ขียนพระวรสารนัน่ เอง ท่านได้เห็นอะไร ไม่ใช่พระเยซูเจ้า แน่ ๆ ท่านเพียงแค่เห็นพระคูหาว่างเปล่า และเห็นผ้าพันพระศพและผ้าพันพระเศียรที่วางอยู่ แต่เพียงเท่านีก้ เ็ พียงพอทีจ่ ะท�ำให้ทา่ นเริม่ เข้าใจถึงพระวาจาของพระเยซูเจ้าทีต่ รัสถึงการกลับ คืนพระชนมชีพของพระองค์ ท่านยอห์นได้เห็นและท่านได้เชื่อ วันปัสกาเป็นวันฉลองความเชื่อของเราคริสตชน เราเชื่อว่าพระเยซูเจ้าทรงกลับคืน พระชนมชีพจากความตายอันเป็นความเชื่อที่นำ� ความหวังและความรอดแก่ชวี ิตคริสตชน แม้ เราจะไม่ได้มีประสบการณ์แบบนักบุญยอห์นก็ตาม แต่เราก็เชื่อในพระวาจาโดยไม่ต้องเห็น พระเยซูเจ้าตรัสถึงผู้ที่มีความเชื่อเช่นนี้ว่า “เป็นบุญของผู้ที่เชื่อ แม้ไม่ได้เห็น เขาก็เป็นผู้ ที่มีความสุข” (ยน 20:29) พระวาจาของพระเจ้าเป็นแหล่งพลังแห่งความเชื่อ เราสัมผัสพระวาจาด้วยหูที่ฟัง ตาที่อ่าน หัวที่คิดไตร่ตรอง และใจที่เปิดรับ โดยพร้อมที่จะน�ำไปปฏิบัติ และเช่นนี้เองที่ท�ำให้ ความเชื่อของเราเจริญเติบโตและมั่นคงเข้มแข็ง “ผู้ที่ฟังพระวาจาของพระเจ้าและน�ำไป ปฏิบัติตาม ย่อมเป็นผู้มีความสุข” (ยก 1:25) ขอส่งความสุขและความชื่นชมยินดีแห่งปัสกามายังพี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และ สัตบุรุษคริสตชนทั้งหลาย ขอให้การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าบันดาลให้ชีวิตจิตใจ ของเราทุกคนเข้มแข็ง ให้เราฟืน้ ฟูความเชือ่ ของเราให้สดชืน่ ด้วยพระวาจาของพระเจ้า ซึง่ น�ำ เราสู่ชีวิตใหม่ในพระคริสตเจ้า สุขสันต์ปัสกา อัลเลลูยา อัลเลลูยา (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

5


สาสน์อวยพรโอกาส สมโภชปัสกา สุขสันต์วันปัสกาแด่พี่น้องคริสตชนที่รักในพระคริสต์ผู้กลับคืนพระชนมชีพ

“พระองค์ทรงกลับคืนชีพแล้ว ตามที่ตรัสไว้ อัลเลลูยา” (มธ 28:6) “เราเป็นการกลับคืนชีพและเป็นชีวิต ใครเชื่อในเราแม้ตายไปแล้วก็จะมีชีวิต และทุกคนที่มีชีวิตและเชื่อในเราจะไม่มีวันตายเลย ท่านเชื่อเช่นนี้หรือ” (ยน 11:25-26) พระเยซูคริสตเจ้าเคยท�ำนายเรื่องพระทรมานและการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ไว้ 3 ครั้ง “บุตรแห่งมนุษย์จะถูกมอบแก่บรรดาหัวหน้าสมณะ และบรรดาธรรมาจารย์ จะถูกตัดสินประหารชีวิต และจะถูกมอบให้คนต่างชาติสบประมาท เยาะเย้ย โบยตีและน�ำไปตรึงกางเขน แต่ในวันที่สาม บุตร แห่งมนุษย์จะกลับคืนชีพ” (มธ 20:18-19) แต่บรรดาอัครสาวกไม่เข้าใจถ้อยค�ำเหล่านี้ แต่สงิ่ ทีไ่ ม่นา่ เชือ่ หรือเหลือเชือ่ ได้เกิดขึน้ แล้วเมือ่ 2000 กว่าปี พระเยซูคริสตเจ้าหลังจากได้ถกู จับ ถูก ทรมาน ตรึงตายบนไม้กางเขนอย่างอสัตย์อธรรม ได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ทรงชนะความตาย ตามทีต่ รัสไว้ เป็นเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่งใหญ่ พิสูจน์ว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า น�ำความยินดีและความหวังมาให้เรามนุษย์ ซึ่งวันหนึ่งต้องตาย จะชนะความตาย กลับคืนชีพมีชีวิตใหม่เหมือนพระองค์ ความตายเข้ามาในโลกเพราะบาปของอาดัม-เอวา พ่อแม่คแู่ รกของมนุษยชาติ แต่บาปของอาดัม-เอวา เป็นบาปที่มีบุญ ที่ได้พระบุตรของพระเจ้ามาบังเกิดเป็นบุตรมนุษย์ เพื่อไถ่บุตรมนุษย์ให้พ้นจากบาป เกิดใหม่ เป็นบุตรพระเจ้า มีศักดิ์ศรี คืนดีกับพระเจ้า เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า มีสิทธิ์เข้าสวรรค์ดังเดิม พระเจ้าทรงเตรียมการล่วงหน้า ทรงเลือกชาติเลือกสรร โดยเลือกอับราฮัมเป็นต้นตระกูล โดยให้ พระบุตรมาบังเกิดเป็นมนุษย์ในชาติเลือกสรรนี้ อิสราเอลชาติเลือกสรรนีต้ อ้ งทนทุกข์ลำ� บากในประเทศอียปิ ต์ 400 กว่าปี พระเจ้าทรงรักและสงสาร ทรงเลือกโมเสสให้เป็นผู้น�ำชาวอิสราเอลอพยพจากประเทศอียิปต์แดน ทาสด้วยปาฏิหาริย์มากมาย เพราะกษัตริย์ฟาโรห์แห่งอียิปต์ไม่ยอมให้ชาวอิสราเอลอพยพออกไป เที่ยงคืน สุดท้ายพระเจ้าผ่านมาบ้านใดมีเลือดแกะทาทีข่ อบประตูบา้ นก็ได้รบั ความปลอดภัย ขณะทีข่ อบประตูบา้ นของ ชาวอียิปต์ไม่มีเลือดแกะทาที่ประตูบ้าน ลูกชายหัวปีของชาวอียิปต์ถูกประหารชีวิตหมด ฉะนั้น ทุก ๆ ปีชาว อิสราเอลท�ำการสมโภชปัสกา (การผ่านของพระเจ้า) โดยอพยพจากประเทศอียปิ ต์แดนทาสเข้าสูแ่ ผ่นดินพระ สัญญา และถวายลูกชายหัวปีแด่พระเจ้าโดยระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงไว้ชีวิตลูกชายหัวปีสมัยโน้นใน ประเทศอียิปต์ ด้วยความกตัญญูรู้คุณ โดยร้อง “อัลเลลูยา” (อัลเลลู แปลว่า จงสรรเสริญ, ยา ย่อมาจาก ยาเวห์= พระยาเวห์) 6


“เราทุกคนที่รับศีลล้างบาป ก็รับศีลล้างบาปเดชะพระคริสตเยซู ก็ได้รับศีลล้างบาปเข้าร่วมกับ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ด้วย ดังนั้น เราถูกฝังกับพระองค์อาศัยศีลล้างบาป ... ถ้าเราร่วมเป็นหนึ่ง เดียวกับพระองค์ในการสิ้นพระชนม์ เราก็จะร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในการกลับคืนพระชนมชีพ ด้วยเช่นกัน” (รม 6:3-5) ทั้งอิสราเอลเดิมและอิสราเอลใหม่ ได้รับความรักความเมตตา ความช่วยเหลือมากมายจากพระทัยดี ของพระเจ้า ก็ยังท�ำบาปขัดเคืองพระทัยพระองค์อยู่เสมอ อิสราเอลเดิมกราบไหว้รูปโค ไม่นับถือพระเยซู จับ ไปตรึงกางเขน อิสราเอลใหม่กราบไหว้ทรัพย์สินเงินตราเป็นพระเจ้า ไม่ถือพระบัญญัติของพระเจ้า ไม่ปฏิบัติ ศาสนกิจ ไม่ไปวัด ไม่ถือศาสนา ไม่กลัวบาป แม้มนุษย์ไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า แต่พระเจ้ายังคงซื่อสัตย์ต่อมนุษย์ เสมอตามพระสัญญา พระเยซูเจ้าเสด็จมาบังเกิดในโลกนี้เป็นชาวยิว แต่ชาวยิวก็ยังไม่ยอมรับนับถือพระองค์ แม้ชาวยุโรปที่เคยนับถือพระองค์ก็ละทิ้งพระองค์ ไม่นับถือต่อไปแล้ว มนุษย์ยังอกตัญญูต่อพระเจ้าด้วยกันทั้ง นั้น ทั้งอิสราเอลเดิมและอิสราเอลใหม่ ในโอกาสสมโภชปัสกาที่เราระลึกถึงความรักยิ่งใหญ่ของพระบุตรพระเจ้า ที่ทรงพลีชีวิตยอมตายเพื่อ เราบนไม้กางเขน เพื่อไถ่เราให้พ้นบาป พ้นการเป็นทาสของปีศาจ พ้นความตายนิรันดรฝ่ายวิญญาณในนรก และทรงกลับคืนพระชนมชีพชนะความตาย น�ำความยินดีและความหวังมาให้เราซึง่ วันหนึง่ ต้องตาย จะได้กลับ คืนชีพเหมือนพระองค์เช่นเดียวกัน ให้เรารือ้ ฟืน้ ค�ำสัญญาวันรับศีลล้างบาปของเรา ด้วยการละทิง้ ปีศาจ กิจการ ชั่วร้ายและสิ่งยั่วยวนต่าง ๆ และรื้อฟื้นความเชื่อของเราในพระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนมชีพ ยึดพระองค์ เป็นสรณะที่พึ่งและมอบชีวิตของเราไว้กับพระองค์ เป็นศิษย์ติดตามพระองค์ ด�ำเนินชีวิตปฏิบัติศาสนกิจตาม ความเชื่อนี้อย่างซื่อสัตย์ และถ่ายทอดความเชื่ออันมีชีวิตชีวานี้ไปยังผู้อื่นต่อไป “เป็นบุญของผู้ที่ไม่เห็น แต่เชื่อ” (ยน 20:29) “พระคริสตเจ้าจ�ำเป็นต้องทนทุกข์ทรมานเช่นนี้ เพื่อเข้าไปรับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์มิใช่หรือ” (ลก 24:26) “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่าน” (ยน 20:19)

อวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


จงบอกแก่ชาวโลก โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์ พระเยซูเจ้าทรงตั้งวันฉลองพระเมตตา “เราปรารถนาให้มวี นั ฉลองพระเมตตา เรา ต้องการให้ภาพที่ลูกจะใช้พู่กันวาดขึ้นมานี้ ได้รับ การเสกอย่างสง่าในวันอาทิตย์แรกหลังวันปัสกา วันอาทิตย์นั้นจะเป็นวันฉลองพระเมตตา” (บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 47)

การฉลองพระเมตตา เพือ่ ให้บรรดาคริสตชน ศรัทธา และพึ่งพาพระเมตตาของพระองค์ พระเยซู เจ้าทรงปรารถนาต้องการช่วยทุกคนให้รอด จงเร่งเร้าให้วิญญาณทั้งหลายวางใจใน ความเมตตา ที่สุดจะหยั่งถึงได้ของเรา เพราะเรา ต้องการช่วยเขาทุกคนให้รอด (บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 1182)

เหตุผลหนึ่งที่พระเยซูทรงมีพระประสงค์ “จงบอกแก่ชาวโลก” ให้เข้ามาหาพระเมตตาของ พระองค์คือ ยุคแห่งความยุติธรรมใกล้มาแล้ว พระ เยซูเจ้าได้เผยแสดงแก่นักบุญโฟสตินาว่า ลูกเอ๋ย ขอให้ลูกบันทึกถ้อยความเหล่านี้ ลงไป จงบอกชาวโลกเรื่องความเมตตาของเรา ให้มนุษยชาติรู้จักความเมตตาอันสุดจะหยั่งถึงได้ ของเรา นี่คือเครื่องหมายส�ำหรับยุคสุดท้าย ต่อ จากนีจ้ ะเป็นยุคแห่งความยุตธิ รรม ขอให้พวกเขา เข้ามาพึง่ ต้นธารความเมตตาของเราในขณะทีย่ งั มี เวลาเถิด ขอให้พวกเขาได้ประโยชน์จากโลหิตและ น�้ำซึ่งหลั่งไหลออกมาเพื่อพวกเขาเถิด (บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 848) 8

พระเยซูเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วิญญาณทัง้ หลายพินาศไป โดยไม่คำ� นึงถึง มหาทรมานของเรา เราก�ำลังมอบความหวังครั้ง สุดท้ายให้ เขาได้รบั ความรอด นัน่ คือวันฉลองพระ เมตตาของเรา ถ้าหากเขา เหล่านัน้ ไม่ชนื่ ชมความ เมตตาของเรา พวกเขาก็จะพินาศไปชั่วนิรันดร์ เลขานุการแห่งความเมตตาของเรา จงบันทึก จง เผยเรือ่ งความเมตตายิง่ ใหญ่ของเรานีแ้ ก่วญ ิ ญาณ ทัง้ หลาย เพราะวันอันน่าสะพรึงกลัว วันแห่งความ เที่ยงธรรมของเรานั้นใกล้เข้ามาแล้ว “ (บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 965)

ผ่านทางการเผยแสดงแก่นักบุญโฟสตินา พระเยซูเจ้าปราราถนา “จงบอกแก่ชาวโลก” สาย ธารแห่งพระเมตตาจะหลั่งไหลมาสู่ทุกคน พระองค์ ทรงสัญญาว่า ใครก็ตามที่เรามาพึ่งพาพระเมตตา ของพระองค์จะได้รับการอภัย จงบอกแก่ชาวโลก ฟังเกี่ยวกับความ เมตตาอันยิ่งใหญ่ของเราว่า ใครก็ตามที่เข้าถึง ต้นธาร แห่งชีวิตในวันนี้ จะได้รับการอภัยบาป และยกโทษบาปทั้งหมด มนุษยชาติจะไม่มีความ สงบสุข จนกว่าเขาจะหันมาพึ่งความเมตตาของ เราด้วยความวางใจ (บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 300)

ในการเผยแสดงแก่นกั บุญโฟสตินา พระเยซู เจ้าปรารถนาให้ทกุ คน “ไว้วางใจในพระองค์” ไว้ใจ ในความรักทีพ่ ระองค์ทรงมีตอ่ ทุกคน ไม่วา่ ผูน้ นั้ จะเป็น คนบาป น่าสมเพช เพียงใด


จงมีความไว้วางใจในพระเจ้าเถิด เพราะพระองค์ทรงประเสริฐเลิศล�ำ้ และยาก เกินกว่าจะเข้าใจได้ พระเมตตาของพระองค์นั้นอยู่เหนือสติปัญญาของเรา

(บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 880)

ความเมตตาของเรามีมากกว่าบาปของลูกและบาปของมนุษย์ทั้งโลก ใครเล่า จะวัดขนาดความกรุณาของเราได้ เราลงมาจากสวรรค์เพื่อลูก เรายอมถูกตอกตรึง กับไม้กางเขนก็เพื่อลูก เรายอมให้หัวใจศักดิ์สิทธิ์ของเราถูกแทงด้วยหอกก็เพื่อลูก จึง เป็นการเปิดต้นธารความเมตตาออกกว้างให้แก่ลูก ดังนั้น จงมาตักตวงพระหรรษทาน จากต้นธารนี้ด้วยความวางใจเถิด เราไม่เคยบอกปัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ถึงบาป ความ น่าเวทนาของลูกหายไปแล้วในความเมตตามากมายของเรา อย่าโต้แย้งกับเราเรื่อง ความน่าเวทนาของลูกเลย ลูกย่อมท�ำให้เราพอใจ เมื่อลูกมอบความเดือดเนื้อร้อนใจ ทั้งหมดของลูกให้แก่เรา (บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 1485)

วิญญาณทีง่ มอยูใ่ นความมืดเอ๋ย จงอย่าสิน้ หวังเลย ยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว จงวางใจในพระเจ้าผู้ทรงเป็นองค์ความรักและความเมตตาเถิด

(บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 1485)

นอกจากนี้ พระเยซูเจ้าทรงสัญญาว่าใครทีเ่ ผยแพร่ ความศรัทธาต่อพระเมตตาของ พระเยซูเจ้า ผู้นั้นจะมีพระเมตตาเป็นโล่ก�ำบังในวาระสุดท้าย เราจะปกป้องวิญญาณซึ่งเผยแผ่ความศรัทธาต่อความเมตตาของเราไปตลอด ชีวติ ของเขา ประหนึง่ มารดาผูอ้ อ่ นโยนปกป้องทารกของนาง และในเวลาทีเ่ ขาจะสิน้ ใจ เราจะไม่เป็นผู้พิพากษาของเขา แต่จะเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา ในวาระสุดท้ายนัน้ วิญญาณไม่มสี งิ่ ใดทีจ่ ะคุม้ ครองตนเองได้ นอกจากความเมตตาของ เราเท่านั้น วิญญาณที่ชุบตัวอยู่ในสายธารความเมตตาของเรา ในยามที่เขามีชีวิตย่อม เป็นสุข เพราะความยุติธรรมจะแตะต้องเขาไม่ได้เลย (บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 1705)

หากเราต้องการให้พระเยซูเจ้าสุขใจ ต้อง“จงบอกแก่ชาวโลก” ลูกรัก ลูกคือความสุขใจของเรา ลูกคือความบรรเทาใจของเรา เรามอบพระ หรรษทานให้ลกู มากทีส่ ดุ เท่าทีล่ กู สามารถรับไว้ได้ จงบอกชาวโลกเกีย่ วกับความเมตตา อันยิ่งใหญ่ลึกล�้ำของเรา ทุกครั้งที่ลูกต้องการให้เราสุขใจ (บันทึกพระเมตตาในวิญญาณดิฉัน ข้อ 164)

9


แปลและเรียบเรียงโดย ล.เทียนชัย ส.

บทเทศน์บทแรกของพระอาจารย์ เราทราบดี คือ มหาบุญลาภ 8 ประการ ตามค�ำเล่าของนักบุญ มัทธิว หรือ 4 ประการ ตามค�ำเล่าของนักบุญลูกา จริง ๆ แล้วพระอาจารย์สอนกี่ประการเราไม่ทราบ พระ ศาสนจักรให้เราอ่าน-ฟังในวันสมโภชนักบุญทัง้ หลาย เพราะเป็นวิถีชวี ติ ทีท่ ่านนักบุญเหล่านัน้ ได้เลือกด�ำเนินจน บรรลุสวรรค์ เป็นแบบอย่างให้เราเดินตาม บทเทศน์สุดท้ายของพระเยซูเจ้าคือ พระ วาจาสุดท้าย 7 ประโยคบนไม้กางเขน ผูฟ้ งั คือชาว ฟาริซี ซัดดูซี สงฆ์ชาวยิว ทหารโรมัน สานุศิษย์ ที่ขลาดกลัว มักดาเลนาที่ก�ำลังร�่ำไห้ ยอห์นศิษย์ ที่รัก พระแม่ที่ระทมทุกข์ที่สุด

1.

ประโยคแรก ตรัสถึงศัตรูที่ทรมานพระองค์ “พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่ เขาเถิด เพราะเขาไม่รวู้ า่ ก�ำลังท�ำอะไร”(ลก 23:34)

10


3.

ประโยคทีส่ าม “แม่ นีค่ อื ลูกของแม่ นีค่ อื แม่ ของท่าน” (ยน 19:26-27)

2.

ประโยคทีส่ อง ตรัสกับโจรคนบาปทีก่ ลับใจ“วัน นีท้ า่ นจะอยูก่ บั เราในสวรรค์”(ลก 23:43)

ก่อนนี้ไม่มีใครได้รับพระสัญญาเช่นนี้เลย แม้โมเสสหรือยอห์น และแม้แต่มารียช์ าวมักดาลา ท�ำให้ระลึกถึงพระวาจาของประกาศกในพันธสัญญา เดิมทีว่ า่ “ถ้าบาปของท่านแดงก�ำ่ มันจะกลับขาว เหมือนหิมะ” พระวาจาของพระองค์ที่ให้อภัยแก่ โจรที่เป็นทุกข์กลับใจ ท�ำให้เข้าใจความหมายของ พระวาจาทีว่ า่ “เรามิได้มาเพือ่ เรียกคนชอบธรรม แต่คนบาป” “คนที่มีสุขภาพดีไม่ต้องการหมอ แต่คนป่วยต่างหาก” “ในสวรรค์จะมีความ ยินดี เมื่อคนบาปคนหนึ่งเป็นทุกข์กลับใจมาก ยิ่งกว่าคนดี ๆ 99 คน ที่ไม่ต้องการการกลับ ใจ” ข้าพเจ้าทราบดีท�ำไมเปโตรไม่ได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้แทนพระองค์บนแผ่นดินนี้ จนกว่าหลังจาก ปฏิเสธพระองค์ 3 ครั้ง เพื่อให้พระศาสนจักร ที่ท่านเป็นหัวหน้า จะได้เข้าใจการให้อภัย “ถ้า ข้าพเจ้าไม่เคยท�ำบาป ข้าพเจ้าคงไม่สามารถ เรียกพระองค์เป็น ‘พระผู้ไถ่’” โจรมิได้เป็นคน บาปคนเดียว ข้าพเจ้าก็เป็นด้วย พระองค์แต่ผู้ เดียวเป็นพระผู้ไถ่ของข้าพเจ้า

พระองค์ทรงมอบขุมทรัพย์ทงั้ สองทีพ่ ระองค์ ทรงรักแก่ผู้ใด? ทรงมอบทั้งสอง (พระแม่มารีย์ และยอห์น) ให้แก่กันและกัน พระแม่มารีย์ทรงให้ ก�ำเนิดบุตรคนแรกโดยปราศจากความเจ็บปวดทีถ่ ำ�้ เบธเลเฮม บัดนีพ้ ระแม่มารียท์ รงให้กำ� เนิดบุตรคน ทีส่ องด้วยความเจ็บปวด ณ เชิงกางเขน และพระ แม่ได้รบั ความเจ็บปวดในการให้ก�ำเนิดมิใช่บตุ รคน ที่สองเท่านั้น แต่บุตรคนอื่น ๆ จ�ำนวนล้าน ๆ คน ทีพ่ ระแม่ให้กำ� เนิดเป็นลูกของพระแม่ บัดนี้ เราจึง เข้าใจว่า ท�ำไมพระวรสารบันทึกไว้วา่ พระเยซูเจ้า ทรงเป็นบุตรหัวปี มิใช่เพราะพระแม่ให้กำ� เนิดบุตร คนอื่น ๆ ทางเลือดเนื้อ แต่พระแม่ให้ก�ำเนิดบุตร คนอื่น ๆ ทางเลือดของหัวใจ พระแม่มารีย์มิเพียงเป็นพระมารดาของ พระเจ้า พระผู้ไถ่ของเรา หากยังเป็นพระมารดา ของเราด้วยตามที่พระเยซูเจ้าทรงมอบให้เรา เอวาได้สญ ู เสียศักดิศ์ รีการเป็นมารดาของผูม้ ชี วี ติ ณ ต้นไม้แห่งการรู้ดีรู้ชั่ว จากความอ่อนแอและ ความไม่นอบน้อมเชื่อฟังพระเจ้า พระแม่มารีย์ ได้รับศักดิ์ศรีการเป็นมารดาของผู้มีชีวิตกลับคืน มา ณ เชิงต้นไม้กางเขน อาศัยความเสียสละและ ความนอบน้อมเชือ่ ฟัง ช่างเป็นพรหมลิขติ นีก่ ระไร ทีม่ พี ระมารดาของพระเจ้าเป็นพระมารดาของเรา ด้วย และพระเยซูเจ้าทรงเป็นพี่ชายใหญ่ของเรา 11


ถ้าแม่ไม่เคยลืมลูกในครรภ์ของนาง พระ แม่ก็ไม่ลืมเราซึ่งเป็นลูกของพระแม่ ในฐานะพระ แม่เป็นผู้ร่วมไถ่ในการรับพระหรรษทานส�ำหรับ ชีวติ นิรนั ดร พระแม่กเ็ ป็นผูร้ ว่ มเป็นคนกลางในการ แจกจ่ายพระหรรษทานด้วย ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ ส�ำหรับพระแม่ เพราะพระแม่เป็นพระมารดาของ พระองค์ผู้ทรงท�ำได้ทุกสิ่ง หากพระบุตรไม่ปฏิเสธ ค�ำขอร้องของพระแม่ในการกินเลี้ยงที่เมืองคานา พระองค์กจ็ ะไม่ปฏิเสธในการกินเลีย้ งในสวรรค์ ณ ที่ซึ่งพระแม่ได้รับมงกุฎเป็นราชินีแห่งเทวทูตและ นักบุญทั้งหลาย ขอพระแม่ช่วยวิงวอนพระบุตร ของพระแม่ให้เปลีย่ นน�ำ้ แห่งความอ่อนแอของลูก ทั้งหลายให้เป็นเหล้าองุ่นแห่งพลัง พระแม่เป็นที่ พึ่งคนบาป โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายที่ก�ำลัง กราบอยูแ่ ทบเชิงกางเขน สันตะมารีย์ พระมารดา พระเจ้า โปรดภาวนาเพือ่ ลูกทัง้ หลายผูเ้ ป็นคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน

4.

ประโยคที่สี่ “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า ท�ำไมพระองค์ จึงทรงทอดทิ้งข้าพเจ้าเล่า?” (มธ 27:46) 12

พระวาจา 3 ประโยคแรก พระองค์ตรัสจาก ธรรมาสน์ไม้กางเขนถึงผูท้ พี่ ระเจ้าทรงรัก 3 ประเภท คือ ศัตรู คนบาป และผู้ศักดิ์สิทธิ์ ประโยคทีส่ เี่ ป็นสัญลักษณ์ความทุกข์ทรมาน ของมนุษย์ที่ถูกพระเจ้าทอดทิ้ง ประโยคที่ห้าเป็น สัญลักษณ์ของความทุกข์ทรมานของพระเจ้าที่ถูก มนุษย์ทอดทิ้ง พระเยซูเจ้ายอมสละพระมารดาและศิษย์ ทีร่ กั บัดนี้ ดูเหมือนว่าพระบิดาก็ทรงทอดทิง้ พระองค์ ด้วย “ข้าแต่พระเจ้า ท�ำไมพระองค์จึงทรงทอด ทิ้งข้าพเจ้าเล่า?” เป็นเสียงร้องน่าสะพรึงกลัวของ พระเจ้า “ที่ถูกพระเจ้าทอดทิ้ง” ซึ่งตรงกันข้ามกับ “บทข้าแต่พระบิดา” ทีพ่ ระองค์ทรงสอนให้เราภาวนา ธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ ประหนึง่ ว่าถูกแยกจาก พระบิดาเจ้าสวรรค์ของพระองค์ ทีจ่ ริงพระองค์ไม่ถกู แยกดอก พระองค์ยังทรงเรียก “ข้าแต่พระเจ้า ข้า แต่พระเจ้า” แต่เปรียบเหมือนแสงและความร้อน ของดวงอาทิตย์ที่ถูกแยกจากเรา โดยทางก้อนเมฆ ซึง่ ดวงอาทิตย์เองยังคงอยูใ่ นท้องฟ้า เป็นเหมือนการ แยกจากพระพักตร์พระบิดาในช่วงขณะทีท่ นี่ า่ สะพรึง กลัว ที่พระองค์ทรงรับแบกบาปของโลก ความเจ็บ ปวดและการถูกทอดทิ้งนี้ พระองค์ทรงยอมรับทน เพื่อเราแต่ละคน เพื่อเราจะได้ทราบว่าเป็นสิ่งที่น่า กลัวมาก การที่ธรรมชาติมนุษย์ปราศจากพระเจ้า ปราศจากการเยียวยา และความบรรเทาจากพระเจ้า เป็นกิจชดเชยบาปสูงสุดส�ำหรับมนุษย์ 3 ประเภท คือ บรรดาที่ละทิ้งพระเจ้า บรรดาที่สงสัยการมีอยู่ของ พระเจ้า และบรรดาที่ไม่แยแสต่อพระเจ้า พระองค์ทรงชดเชยบาปของพวกอเทวนิยม ทรงชดเชยบาปของบรรดาที่รู้จักพระเจ้า แต่เจริญ ชีวิตประหนึ่งไม่เคยได้ยินพระนามของพระเจ้าเลย ทรงชดเชยบาปของผูท้ มี่ หี วั ใจเหมือนหนทางทีค่ วาม


รักของพระเจ้าตกลงมาเพื่อให้โลกได้เหยียบย�่ำ ทรง ชดเชยบาปของผู้ที่มีหัวใจเหมือนหินที่ความรักของ พระเจ้าตกลงมาแล้วก็ถูกลืมอย่างรวดเร็ว ทรง ชดเชยบาปของผู้ที่มีหัวใจเหมือนหนามที่ความรัก ของพระเจ้าตกลงมาก็ถกู ส�ำลักด้วยการใส่ใจทางโลก เป็นการชดเชยบาปของทุกคนทีเ่ คยมีความเชือ่ และ เสียความเชื่อไป ทรงชดเชยบาปของทุกคนที่ครั้ง หนึ่งเป็นนักบุญ แต่บัดนี้เป็นคนบาป เป็นกิจการไถ่ ข้าพเจ้าส�ำหรับการทอดทิ้งพระเจ้า เป็นการชดเชยบาปของมนุษย์อกี พวกหนึง่ ที่ ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า ส�ำหรับคริสตชนทุกคน ที่ไม่รู้สึกว่าพระเจ้าอยู่เคียงข้างเขา ส�ำหรับบรรดาที่ สงสัยซึ่งตั้งค�ำถามว่า “ท�ำไมจึงมีความชั่วร้าย?” “ท�ำไมพระเจ้าไม่ตอบสนองค�ำภาวนาของฉัน?” “ท�ำไมพระเจ้ายกแม่ของฉันไป?” ท�ำไม? ท�ำไม? ท�ำไม? ... ทีส่ ดุ เป็นการชดเชยบาปของโลกทีเ่ จริญชีวติ ประหนึง่ ว่า ไม่มรี างหญ้าทีเ่ บธเลเฮม หรือไม้กางเขน ทีเ่ นินกาลวารีโอ ชดเชยบาปของผูท้ รี่ สู้ กึ เหมือนว่าตัว เองเป็นพระเจ้า เพราะไม่เคยท�ำหน้าทีถ่ วายคารวกิจ แด่พระเจ้าเลย หรือไม่ถือศาสนา หลัง 20 ศตวรรษ การไม่แยแสของโลกปัจจุบนั ทรมานและตรึงกางเขน พระเจ้ามากยิง่ กว่าความทุกข์ทรมานบนเนินกาลวารีโอ ตะปูที่ตอกตรึงเนื้อของพระผู้ไถ่น่ากลัวน้อยกว่าการ ไม่แยแสของยุคปัจจุบันของเราต่อดวงพระทัยของ พระคริสตเจ้า ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงชดเชยบาป ของข้าพเจ้า ที่ไม่ร้อนไม่หนาว ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรดสอนข้าพเจ้า ให้ กล่าวว่า “มิใช่น�้ำใจของข้าพเจ้า แต่น�้ำพระทัย ของพระองค์” 13


5.

ประโยคทีห่ า้ “เรากระหาย” (ยน 19:28) เป็นเสียงร้องที่สั้นที่สุดใน 7 เสียงร้อง

มิใช่เป็นการสาปแช่งผู้ที่ตรึงกางเขนพระองค์ มิใช่เป็นการต�ำหนิสานุศิษย์ที่ขลาดกลัว มิใช่เป็นการดุว่าพวกทหารโรมัน มิใช่เป็นความหวังส�ำหรับมักดาเลนา มิใช่เป็นวาจารักต่อยอห์น มิใช่เป็นค�ำอ�ำลาพระมารดาของพระองค์

พระองค์กระหายมิใช่น�้ำฝ่ายร่างกาย แต่กระหายความรัก ประโยคที่แล้ว เป็นเสียง ร้องของมนุษย์ที่ถูกพระเจ้าทอดทิ้ง แต่ประโยค นี้เป็นเสียงร้องพระเจ้าที่ถูกมนุษย์ทอดทิ้ง พระผู้ สร้างไม่สามารถมีชีวิตปราศจากสิ่งสร้าง ผู้เลี้ยง แกะไม่สามารถมีชีวิตปราศจากลูกแกะ ความรัก ของพระคริสตเจ้ากระหายวิญญาณของคริสตชน ไม่มคี วามรักใดยิง่ ใหญ่กว่าการสละชีวติ เพือ่ ผูท้ ตี่ น รัก รักยังหมายความว่า อยากเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ ที่ตนรัก ไม่มีอะไรแล้วที่พระคริสตเจ้ามิได้ท�ำเพื่อ สวนองุ่นของพระองค์ พระเจ้าได้เทน�้ำแห่งความ รักนิรันดร์บนหัวใจที่แห้งผากของเรา ไม่แปลก อะไรทีพ่ ระองค์กระหายความรักของเรา พระองค์ มีสิทธิ์ที่จะได้ความรักจากเรา ท�ำไมเราไม่ตอบรัก พระองค์ ท�ำไมเราจึงปล่อยให้ดวงพระทัยของพระ ตายเพราะกระหายหัวใจของมนุษย์ ! 14

6.

ประโยคที่หก “ส�ำเร็จบริบูรณ์แล้ว” (ยน 19:30)

ตัง้ แต่นริ นั ดร พระเจ้ามีพระประสงค์สร้าง มนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ แต่ลูชีแฟร์ได้ ท�ำให้ภาพลักษณ์ของพระเจ้าในตัวมนุษย์มวั หมองและ ถูกท�ำลาย กระนัน้ ก็ดพี ระบิดาได้ทรงปฏิรปู มนุษย์ ใหม่ให้มศี กั ดิศ์ รีเหมือนเดิม ด้วยพระทัยเมตตากรุณา หาที่สุดมิได้ ได้ส่งพระบุตรมาบังเกิดเป็นมนุษย์ใน แผนการไถ่กู้ ได้มีอาดัมคนใหม่ที่นอบน้อมเชื่อฟัง แทนอาดัมคนเก่าที่ไม่นอบน้อมเชื่อฟัง มีพรหม จารีย์มารีย์ที่สุภาพถ่อมตนแทนเอวาคนเก่าที่สู่รู้ จองหอง มีไม้กางเขนแทนต้นไม้ในสวนเอเดน พันธ กิจที่พระบิดาทรงมอบให้พระบุตรกระท�ำก็ส�ำเร็จ บริบรู ณ์ ดาวิดได้ชนะโกเลียธด้วยหิน 5 ก้อน พระ บุตรได้ชนะปีศาจด้วยรอยแผลศักดิส์ ทิ ธิ์ 5 ประการ พระองค์ได้ร้องเพลงอย่างผู้มีชัยชนะว่า “ส�ำเร็จ บริบูรณ์แล้ว” เราต้องกลายเป็นพระคริสตเจ้าอีก องค์หนึ่ง วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์และพระทรมานของ พระองค์จะไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้าเราไม่แบก กางเขนและตามพระองค์ไป บาปเป็นอุปสรรคยิ่ง ใหญ่ตอ่ ความส�ำเร็จของพันธกิจนี้ ตราบใดทีย่ งั มีบาป ในโลก พระคริสตเจ้ายังคงถูกตรึงกางเขนในใจเรา


7.

ประโยคที่เจ็ด “พระบิดาเจ้าข้า ลูก ขอมอบจิตของลูกไว้ในพระหัตถ์ของ พระองค์” (ลก 23:46) ความตายครัง้ แรกเกิดขึน้ ในโลกคือ ความ ตายของอาแบลที่ถูกกาอินพี่ชายฆ่า ต่อมาหลาย ศตวรรษ อาแบลคนใหม่คือพระคริสตเจ้าก็ถูก ฆาตกรรมโดยพี่ ๆ เชื้อสายกาอินทีอ่ จิ ฉา ประโยค ที่หก เป็นเสียงร้องของพระบุตรที่ได้ท�ำงานที่พระ บิดาทรงมอบให้จนส�ำเร็จบริบรู ณ์ ประโยคทีเ่ จ็ดเป็น วาระสุดท้าย “ลูกขอมอบจิตไว้ในพระหัตถ์ของ พระองค์” ประโยคทีห่ กเป็นค�ำอ�ำลาโลก ประโยคที่ เจ็ดเป็นการกลับไปสูส่ วรรค์ เป็นเวลา 33 ปีทพี่ ระ บุตรได้ออกจากบ้านพระบิดาไปเมืองไกลคือโลก นี้ พระองค์ได้แสดงความรัก ความเมตตา การให้ อภัยต่อคนบาปจนหมดสิน้ โดยสละโลหิตจนหยาด สุดท้าย บัดนีพ้ ระองค์ทรงเตรียมกลับบ้านพระบิดา โดยภาวนาบนไม้กางเขนว่า “พระบิดาเจ้าข้า ลูก ขอมอบจิตของลูกไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์”

พระแม่มารียย์ นื อยูแ่ ทบเชิงกางเขน อีกไม่ ช้าอาแบลคนใหม่ทถี่ กู พี่ ๆ ฆ่าปราศจากวิญญาณ จะ ถูกน�ำลงมาจากไม้กางเขนแห่งความรอด มอบไว้ที่ ตักของเอวาคนใหม่ ท�ำให้พระแม่คดิ ถึงเบธเลเฮมอีก ครัง้ หนึง่ แต่รา่ งของพระบุตรเป็นคนละอย่างกับที่ เบธเลเฮม มิใช่รางหญ้าแต่เป็นไม้กางเขน มิใช่การ เกิดแต่การตาย มิใช่เบธเลเฮมแต่กาลวารีโอ ถ้า ลูกทั้งหลายไม่ท�ำบาป พระองค์คงไม่ต้องทนทุกข์ ทรมานแสนสาหัสเช่นนี้ ข้าแต่พระแม่มารียม์ ารดาของลูกทัง้ หลาย โปรดเสนอวิงวอนพระบุตรของพระแม่ โปรดอภัย บาปของลูกทัง้ หลาย โปรดประทานพระหรรษทาน อย่าให้ลูกทั้งหลายตรึงกางเขนพระองค์อีกเลย อย่าให้ลูกทั้งหลายทิ่มแทงดวงใจของพระแม่ด้วย ดาบ 7 เล่ม ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรดให้ลูกทั้งหลาย ระลึกถึง 7 พระวาจาสุดท้ายของพระองค์บนไม้ กางเขน ขณะทีล่ กู ทัง้ หลายก�ำลังจะตายด้วยเทอญ 15


ด น ต รี ศั ก ดิ์ ท ธิ์ สิ

โดย คุณพ่อธีรพงษ์ ก้านพิกุล แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ สังฆมณฑลจันทบุรี

ในปัจจุบนั นี้ น้อยคนนักจะรูจ้ กั หรือจะเชือ่ ว่า เทศกาลมหาพรตก็มเี พลงประจ�ำของเทศกาลตนเอง และออกวางจ�ำหน่าย แต่ก็อย่างว่าครับเพราะเพลง ทีโ่ ลกคุน้ เคยกันดีทสี่ ดุ คือ เพลงในเทศกาลคริสต์มาส ที่มีวางแผงขายไปทั่วทุกมุมโลก มหาพรตไม่ได้เป็นช่วงเวลาทีม่ เี พลงมากมาย เหมือนกับคริสต์มาส หรือเมือ่ ใดก็ตามทีไ่ ด้ฟงั “Handels Messiah” หรือเพลงประสานเสียง “Hallelujah” ทีเ่ ฉลิมฉลองการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า แต่ทว่าเพลงในเทศกาลมหาพรตมีลักษณะ เฉพาะที่สวยงามอาจจะสูญหายไปแล้วส�ำหรับคนใน ยุคสมัยใหม่ คุณพ่อ Robert A. Skeris หัวหน้าภาค เทววิทยาแห่งวิทยาลัยฟรอนท์รอยัล ได้บรรยายถึง คุณลักษณะของศาสนาที่เสื่อมโทรมโดยทั่วไป และ ส่วนทีเ่ กีย่ วกับลัทธิการแสดงออกในเรือ่ งของศาสนา คุณพ่อได้พูดถึง 1. เรื่องของความเสื่อมและความถดถอย ของเพลงในพิธีกรรม ที่ฟังแล้วไม่เสริมสร้างการมี ส่วนร่วมและการประพันธ์ทไี่ ม่ได้สาระการสรรเสริญ 2. ความคิดเรื่องของการภาวนาไม่มีความ โดดเด่นจับใจในปัจจุบัน คุณพ่อ Skeris ได้ตงั้ ข้อสังเกตไว้อย่างน่าคิด ว่า แนวโน้มของเพลงทีใ่ ช้สรรเสริญจะเป็นในลักษณะ แนวนอน คนไม่ค่อยสนใจ หรืออาจจะบอกได้ว่า ไม่ ต้องการที่จะร�ำลึกถึงพระทรมานของพระเยซูเจ้า แล้วมันไม่น่าตื่นเต้น ไม่มีอะไรน่าสนใจ 16

นีเ่ ป็นสิง่ ทีน่ า่ เสียใจมาก เพราะว่าเมือ่ เราได้มอง ย้อนกลับไปในประวัตศิ าสตร์เพลงของพระศาสนจักร เทศกาลมหาพรต เป็นแหล่งข้อมูลที่มหาศาลที่สร้าง แรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง เป็นเหมือนขุม อัญมณีทเี่ ลอค่า อาทิเพลง“O Sacred Head Now Wounded” หรือเพลง “The Chanting of the Lords Passion” ที่ใช้ขับร้องในวันอาทิตย์ใบลาน และในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มีจดุ น่าสังเกตเล็กน้อย ตัวบ่งชีเ้ วลาทีเ่ ป็นตัว กรองวัฒนธรรมประเพณีของเพลง ในหนังสือเพลง ของคาทอลิก และพี่น้องต่างนิกายจะมีบางค�ำหรือ บางประโยคที่เป็นที่อ่อนไหว และสะเทือนอารมณ์ มาก ถ้ามีการเปลีย่ นแปลงหรือลบออกไปจากหนังสือ อย่างเช่นเพลง “Amazing Grace” ทีเ่ ปลีย่ นค�ำจาก wretch เป็น set me free เพราะจากการตีความนี่ จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เป็นต้น ในทางเดียวกันนั้น เพลงเทศกาลมหาพรต ได้เริ่มก่อนที่พระศาสนจักรจะท�ำคือ ในวันที่พระเยซู และบรรดาศิษย์ได้เตรียมปัสกาในวันพฤหัสศักดิส์ ทิ ธิ์ ที่ได้มีการบันทึกไว้ในพระวรสารนักบุญมัทธิว และ นักบุญมาระโก เกือบจะทัง้ หมดของการร้องเพลงการประพันธ์ เพลงหรือดนตรี ในพระศาสนจักรเริม่ แรกได้รอ้ งเพลง ทีร่ ะลึกมหาทรมานและความตายของพระเยซูเจ้า แต่ ส่วนใหญ่ได้สูญหายไป ในช่วงเจริญสูงสุดของยุคกลาง ได้มกี ารประพันธ์ เพลง หรือดนตรีทมี่ กี ารเริม่ ต้นจากการส�ำนึกผิด เช่น


ในศตวรรษที่ 13 เพลง “The Dies Irae” (Day of Wrath) ประพันธ์โดยนักดนตรี Thomas of Celano เพิง่ จะได้นำ� มารวมกันและมีการประพันธ์จนกลายเป็น “Requiem Mass” ในศตวรรษที่ 16 ปัจจุบัน บรรดานักประพันธ์เน้นใส่ความยิ่ง ใหญ่อลังการด้วยการเน้นเสียงดังมาก ในการเริม่ ต้น เพื่อดึงดูด เช่นเพลง “Stabat Mater” ที่โด่งดังซึ่ง ประพันธ์ในปีคริสตศักราช 1300 เนื้อหาที่บรรยาย ถึงความรู้สึกของพระมารดามารีย์ที่มองลูกตนเอง บนไม้กางเขน เช่นในเนือ้ หาทีว่ า่ “ใครเลยแลหนาอดกลัน้ น�ำ้ ตา เมือ่ มาเห็นแม่พระคริสตเจ้าทรงเศร้าพระทัย เหลือประมาณ” นับว่าเพลง “Stabat Mater” เป็นจุดเริม่ ต้น แห่งความต่อเนือ่ งอย่างดีของดนตรีในยุคสมัยต่อมา ในยุคอรุณรุง่ ของดนตรีโพลีโฟนิค นักประพันธ์ ชื่อ Giovanni Pierluigi da Palestrin ได้จัดเขียน แนวประสานเพิ่มอีกแปดเสียง ที่ฟังแล้วเป็นความ เจ็บปวด แต่กเ็ ปีย่ มด้วยหวัง ซึง่ ท�ำให้เพลง “Stabat Mater” เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมของเขาเองด้วย นักประวัติศาสตร์ชื่อ Paul Henry Lang ได้เขียนไว้ว่า “ในสายตาของหลาย ๆ คน เพลง ของพระศาสนจักรจบไปพร้อม ๆ กับ Giovanni Pierluigi da Palestrin และกลายเป็นเพียง ประวัติศาสตร์เท่านั้น” เพราะเขาไม่ได้มีบทบาท หรือโด่งดังเหมือนกับ Beethoven หรือ Mozart เขา เพียงแต่มีงานดนตรีตามบทบาทของพระศาสนจักร เท่านั้นเอง แต่เป็นบทบาทที่ส�ำคัญ เพราะความกตัญญู และลงลึกในผลงานพระศาสนจักรจึงได้เริ่มต้นรวม เพลงที่มีหลายเสียงเข้ามาในพิธีกรรม

ต่อมา Bachs ก็รวมเพลงมหาพรต โดยมี การอ้างถึงบทพูดในพระวรสารที่เกี่ยวกับเรื่องมหา ทรมาน ที่เน้นพระวรสารนักบุญยอห์น และนักบุญ มัทธิวที่ลึกซึ้งและซับซ้อน จากจุดเริม่ ต้นมหาทรมานของพระวรสารนัก บุญยอห์น ได้เชิญให้ทุกคนเห็นโลกนี้มีบาปไม่สมดุล เหมือนดังน�ำลูกแกะบริสุทธิ์ไปฆ่า ซึ่งตัวของ Bachs ก็เข้าใจพื้นฐานนี้ ก็ได้มีการล�ำดับพระมหาทรมาน จากนักบุญยอห์น ช่วยเตือนเราว่า โลกนี้มืดมนและ หนาวเหน็บยิ่งนัก และขอสงวนที่สุดท้ายนี้ให้กับนักประพันธ์ ชื่อ Thomas Tallis (1505-1585) ถือว่า Tallis เป็นนักดนตรีของอังกฤษ ผู้ ดัดแปลงดนตรีให้เข้ากับสถานการณ์ของบ้านเมืองใน ขณะนัน้ คือ เมือ่ เฮนรีท่ ี่ 8 ได้เอาชนะและควบคุมพระ ศาสนจักรในอังกฤษ พ้นจากอ�ำนาจพระสันตะปาปา เมื่อบัลลังก์คืนสู่พระราชินีแมรี่ แต่ก็มีการ เปลี่ยนเอนไปเป็นแองกลิกันอีกในสมัยของเอลิซา เบ็ท แต่ Tallis ก็ยังคงท�ำหน้าที่ของตนต่อไป ไม่ว่า ผู้น�ำจะเป็นใคร อย่างไรก็ตามเมือ่ Tallis ได้รบั ทุนการศึกษา เขายังคงติดต่อกับครอบครัวคาทอลิกของ William Byrd ที่เป็นนักศึกษาและเพื่อนร่วมงานของเขา เวลาทีถ่ กู ชวนไปมิสซา เขารูส้ กึ เหมือนถูกคุม ขังเวลาร่วมมิสซา พระสงฆ์กถ็ วายมิสซาคนเดียวหัน หน้าไปทางเดียวดูไม่มพี ลังอะไรเลย เขาจึงแต่งเพลง “Lamentations of Jeremiah” ที่เป็นผลงานที่ ยอดเยี่ยม และถูกน�ำมาใช้ช่วงเทศกาลมหาพรต “ขอให้ชีวิตของเราทุกคน เป็นบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า ทุกวันตลอดไป”

17


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม

โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

บทบาทฆราวาสในชีวิตแห่งพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ สวัสดีครับพี่น้องที่รัก สายใยจันท์ยังคงน�ำ เสนออย่างต่อเนื่องถึงบทบาทของบรรดาศิษย์พระ คริสต์ ทีพ่ ร้อมจะติดตามเส้นทางแห่งการไถ่ให้รอดพ้น ของพระองค์ ผ่านทางพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ฉบับก่อน หน้านีไ้ ด้นำ� เสนอบทบาทแห่งการมีชวี ติ ในด้านพิธกี รรม ของพระสังฆราชและบรรดาศาสนบริกรผูอ้ ภิบาล ซึง่ ท่านเหล่านั้นต้องมีความเอาใจใส่และรับผิดชอบใน บทบาทและหน้าที่ของตนอย่างกระตือรือร้น สายใยจันท์ฉบับนี้ เรามาไตร่ตรองมองดูถึง บทบาทและหน้าที่ของฆราวาสที่จะใช้พิธีกรรม เพื่อ เป็นเครื่องมือน�ำตนเองไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ และใกล้ ชิดองค์พระเจ้าอย่างแท้จริง ในพิธกี รรมซึง่ เป็นกิจกรรมของพระศาสนจักร เป็นความเชือ่ ทีเ่ ราผูเ้ ป็นสมาชิกในพระกายทิพย์ของ พระเยซูเจ้า ทุกคนจะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันตาม สถานะหน้าทีด่ ว้ ยวิธกี ารต่าง ๆ พระศาสนจักรเน้นย�ำ้ 18

เสมอว่า “ในพิธกี รรม แต่ละคนทัง้ ศาสนบริกรและ สัตบุรุษผู้มีหน้าที่ ต้องท�ำเฉพาะหน้าที่นั้นทั้งหมด ของตน ตามลักษณะของตน ตามลักษณะของพิธี และตามกฎของพิธีกรรม” (SC 28) “เพือ่ ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมพิธกี รรมอย่าง แข็งขัน ควรเอาใจใส่ให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมในการ ร้องรับ การตอบ การขับร้องเพลงสดุดี บทสร้อย บทเพลงสรรเสริญต่าง ๆ รวมทัง้ กิจการ อากัปกิรยิ า และอิรยิ าบถของร่างกาย ให้ทกุ คนเงียบสงบด้วย ความเคารพในเวลาที่เหมาะสมด้วย” (SC 30) “ควรใช้วธิ กี ารต่าง ๆ ให้การอบรมสัตบุรษุ เกี่ยวกับพิธีกรรมโดยเฉพาะ และถ้าจ�ำเป็น พระ สงฆ์หรือศาสนบริกรที่มีความรู้อาจให้ค�ำอธิบาย สัน้ ๆ ในเวลาทีเ่ หมาะสมระหว่างการประกอบพิธี ก็ได้ แต่จะต้องใช้ถ้อยค�ำที่ก�ำหนดไว้หรือที่คล้าย กัน” (SC 35/3)


ตามประมวลกฎหมายของพระศาสนจักรที่ว่าด้วยสิทธิของคริสตชน กล่าวว่า “ชาวคริสต์มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือฝ่ายจิต จากผู้อภิบาลด้วย พระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์” (ม.213) “ชาวคริสต์มีสิทธินมัสการพระเป็นเจ้าตามข้อก�ำหนดและรูปแบบ ที่ได้รับการรับรองจากพระศาสนจักรแล้ว” (ม.214) จากสังฆธรรมนูญด้านพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละสิทธิหน้าทีต่ ามกฎหมายของ พระศาสนจักรทีห่ ยิบยกมา จะเห็นได้วา่ คริสตชนฆราวาสพึงได้รบั การสนับสนุน เพื่อความก้าวหน้าในชีวิตคริสตชนด้านต่าง ๆ ทั้งการมีชีวิตความเป็นหนึ่งเดียว ในชุมชนแห่งความเชื่อ โดยอาศัยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ การได้รับการสนับสนุน อบรมและฟืน้ ฟูดา้ นชีวติ ฝ่ายจิตของตนส่วนตัวโดยอาศัยพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิ์ ฯลฯ ดังนั้นคริสตชนผู้เป็นฆราวาสพึงเอาใจใส่ 1. พึงเอาใจใส่ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าโดยการร่วม พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างกระตือรือร้นและสม�่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างความ ศักดิ์สิทธิ์ให้กับตนเองและผู้อื่น เพราะในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เราจะพบกับ องค์พระเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ 2. พึงเอาใจใส่และสนับสนุนบทบาทหน้าทีก่ ารมีสว่ นร่วมอย่างแข็งขัน เมือ่ ร่วม พิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิ์ เพือ่ สร้างความเป็นหนึง่ เดียวกันกับพีน่ อ้ งคริสตชนด้วยกัน 3. พึงใส่ใจที่จะเรียนรู้ถึงความหมาย ขั้นตอนในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามธรรม ประเพณีของพระศาสนจักร เพราะการเข้าใจความหมาย ขั้นตอนใน พิธีกรรมจะช่วยให้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมดังกล่าวมีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น 4. พึง่ ใส่ใจ ส่งเสริมบรรดาบุตรหลานและสมาชิกในครอบครัวของตนในการ เข้าร่วมบูชาศักดิส์ ทิ ธิ์ เพือ่ ทุกคนจะได้ตระหนักถึงความรัก พระเมตตาและ พระพรต่าง ๆ ในชีวิตที่ได้รับจากองค์พระเจ้า พีน่ อ้ งทีร่ กั เมือ่ เราเข้าใจบทบาทและหน้าทีข่ องการเป็นคริสตชนทีเ่ ชือ่ ม โยงกับพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิแ์ ล้วพ่อเชิญชวนพีน่ อ้ งทุกท่าน ให้เอาใจใส่ตอ่ การมีสว่ น ร่วม การสนับสนุน บทบาทและหน้าที่ของตนและของคริสตชนทุกคนที่มีส่วน เสริมสร้างบรรยากาศความศักดิส์ ทิ ธิใ์ นพิธกี รรมให้มากยิง่ ขึน้ นะครับ เพราะเรา เชือ่ ว่ายิง่ เราร่วมพิธกี รรมอย่างใกล้ชดิ เข้าใจความหมาย เราจะเข้าใกล้ชดิ องค์ พระเจ้า เข้าใจถึงน�้ำพระทัยของพระองค์ ผ่านทางพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ พบกันใหม่ฉบับต่อไป สวัสดีครับ 19


วัน

กลับคืนพระชนมชีพ ของพระเยซูเจ้า

โดย แผนกสื่อมวลชนจันทบุรี

...จงไปหาพี่น้องของเราและบอกเขาว่า เราก�ำลังขึ้นไป เฝ้าพระบิดาของเรา และพระบิดาของท่านทั้งหลาย ไปเฝ้าพระเจ้าของเรา และพระเจ้าของท่านทั้งหลาย (ยน 20:17)

20


มารีย์ ชาวมักดาลา เป็นหนึ่งประจักษ์พยานในเหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้า ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นพระชนม์ นางอยู่กับพระเยซูเจ้าจนกระทั่งอัน เชิญพระศพไปไว้ในพระคูหา จากนั้น 3 วัน พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์แก่ นางพร้อมทั้งรับสั่งว่า “...จงไปหาพี่น้องของเราและบอกเขา...” (ยน 20:17) นางจึงกลายเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้เห็นและพูดกับพระเยซูเจ้า ได้เป็นประจักษ์ พยานและผู้ประกาศข่าวดีแห่งการกลับคืนพระชนมชีพ แก่บรรดาอัครสาวก ท�ำให้นางได้ชื่อว่าเป็น “อัครสาวกของบรรดาอัครสาวก” นีค่ อื ความเชือ่ ทีไ่ ด้รบั การยืนยันจากประสบการณ์ตรงกับพระเยซูเจ้าของ มารีย์ ชาวมักดาลา “...ผูท้ พี่ ระองค์เคยทรงไล่ปศี าจเจ็ดตนออกไป” (มก 16:9) การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้านัน้ เกิดขึน้ จริง พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ในวันนี้ และพระองค์ทรงสัญญาว่า จะมารับผู้ที่เชื่อและวางใจในพระองค์ให้ไป อยูก่ บั พระองค์ชวั่ นิจนิรนั ดร์ เราจะตอบสนองต่อความรักของพระองค์นอี้ ย่างไร อย่าปล่อยให้วนั กลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้านัน้ เป็นเพียงเทศกาลเทศกาล หนึ่ง แต่ให้วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่เตือนเราให้ระลึกถึงความรักของพระเจ้าที่มีต่อ เรา และนึกถึงอนาคตของคนทีย่ งั ไม่รจู้ กั พระองค์วา่ บัน้ ปลายของเขานัน้ จะไม่ได้ มีชวี ติ ใหม่ แต่จะต้องตายนิจนิรนั ดร์ อย่าปล่อยให้วนั แห่งความรักนีผ้ า่ นไปเฉย ๆ แต่ให้เราใช้วนั วันนี้ เทศกาลเทศกาลนี้ บอกข่าวดีนใี้ ห้คนทีอ่ ยูร่ อบข้างเราได้รบั รู้ ขอท่านนักบุญมารีย์ ชาวมักดาลา ได้อ้อน วอนพระคริสตเจ้า เพื่อเราแต่ละคนจะได้พร้อมที่ จะเปลี่ยนแปลงตนเองอยู่เสมอ เป็นประจักษ์พยาน แห่งความรักของพระองค์ต่อเพื่อนพี่น้อง และออก ไปประกาศองค์พระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนมชีพ ในชีวิตประจ�ำวันของตน

ดิฉันได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว (ยน 20:18)

21


ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

ความสำ�คัญของครอบครัวสำ�หรับสังคม สวัสดีครับพี่น้องที่รัก สายใยจันท์ฉบับนี้ขอ เสนอแนวคิดเกีย่ วกับเรือ่ งราวและเหตุการณ์ในสังคม ทีเ่ กิดขึน้ ในโลกปัจจุบนั ซึง่ แต่ละประเทศก�ำลังเผชิญ วิกฤตอยูใ่ นสังคมของพวกเขา หากมองดูแล้วจะเป็น เรื่องที่มีสาเหตุมาจากเรื่องพฤติกรรมบางอย่างของ มนุษย์ทกี่ ระท�ำกัน และมีผลต่อสังคม ตัง้ แต่สงั คมส่วน ตัว(สังคมเล็ก) ไปจนถึงสังคมส่วนรวม (สังคมใหญ่) เช่น การใช้อ�ำนาจของผู้น�ำประเทศ ที่มุ่งไปสู่ความ รุนแรงมากกว่าการก่อให้เกิดสันติภาพ เหตุการณ์ คอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในระดับประเทศ ระดับองค์กร ระดับหน่วยงานย่อย ๆ ของสังคม การท�ำการค้าที่ มุ่งแสวงหาผลก�ำไรมากกว่าการมุ่งเสริมสร้างความ มั่นคงทางอาหาร และการบริการให้แก่เพื่อนพี่น้อง ด้วยกัน การเกิดอาชญากรรมในสังคม ยาเสพติด 22

การทะเลาะวิวาท ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และเราเห็นได้เป็นประจ�ำในชีวิตประจ�ำวัน จะผ่าน ทางสือ่ การบอกเล่าของผูอ้ นื่ หรือจากประสบการณ์ ของเราโดยตรง หากมองสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ดังทีก่ ล่าวมาข้างต้น จะ เห็นได้ว่าไม่ใช่เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ไกลจากตัว ของพวกเราเลย แต่กลับเป็นเรื่องราวที่ใกล้ตัวเรา มาก จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์เหตุการณ์ในสังคม ทีเ่ กิดขึน้ ต่างก็สรุปว่า โดยภาพรวมส่วนใหญ่เกิดจาก การกระท�ำของมนุษย์ พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ถูกกระท�ำ ออกมามีผลต่อสังคมทั้งนั้น และเมื่อวิเคราะห์ให้ลึก ไปกว่านั้นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์กระท�ำ เกิดขึ้น จากผลการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งพวกเรา ไม่สามารถปฏิเสธได้เลย


พี่น้องที่รัก พระศาสนจักรของเราให้ความ ส�ำคัญในเรื่องครอบครัวมานานแล้ว เพราะพระ ศาสนจักรถือว่าครอบครัวเป็นเซลล์สำ� คัญของสังคม “ครอบครัวในฐานะเป็นชุมชนตามธรรมชาติ ซึ่ง ให้ประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับธรรมชาติทางสังคม มนุษย์ มีส่วนส�ำคัญที่เป็นเอกลักษณ์และท�ำแทน ไม่ได้ ต่อการเสริมสร้างความดีของสังคม” ใน ความเป็นจริง ครอบครัวหนึ่งก่อก�ำเนิดขึ้นจากการ มาร่วมเป็นหนึง่ เดียวกันของบุคคล “การเข้ามาร่วม เป็นหนึ่งเดียวกัน” เป็นเรื่องของสัมพันธภาพระดับ บุคคลระหว่าง “ฉัน” และ “เธอ” ในขณะทีค่ วามเป็น “ชุมชน” อยู่เหนือกรอบความคิดดังกล่าวนี้ และมุ่ง ไปสู่ “สังคม” คือความเป็น “เรา” ครอบครัวในฐานะ ชุมชนของบุคคลจึงเป็น “สังคมมนุษย์” แห่งแรก (สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 จดหมายถึง ครอบครัว Gratissimam Sane ข้อ 7) นอกจากการมองเห็นถึงความส�ำคัญของ ครอบครัวแล้ว พระศาสนจักรยังมองอีกว่า ครอบครัว เป็นผู้กระท�ำทางสังคม หมายความว่า “ครอบครัว สร้างชุมชน” พระศาสนจักรอธิบายว่า “ครอบครัว เป็นสถานทีซ่ งึ่ ท�ำให้ความสนิทสัมพันธ์เดียวกันเกิด ขึน้ เป็นความสนิทสัมพันธ์ทจี่ �ำเป็นยิง่ ส�ำหรับสังคม ครอบครัวเป็นสถานทีซ่ งึ่ ชุมชนแท้จริงของบุคคลได้ พัฒนาและเติบโตขึน้ ทัง้ นีเ้ ป็นผลมาจากการผลัก ดันที่ไม่มีสิ้นสุดของความรัก ซึ่งเป็นพื้นฐานของ ประสบการณ์ของมนุษย์และพบว่าในครอบครัว เป็นสถานที่พิเศษที่จะแสดงความรักให้ปรากฏ ออกมา” (สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 จดหมายถึงครอบครัว Gratissimam Sane, ข้อ 11) ครอบครัวเป็นโรงเรียนแห่งแรกของชีวิต ทางสังคมที่ไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ เป็นแบบอย่างและ กระตุ้นให้เกิดความสนิทสัมพันธ์ในชุมชนอย่างกว้าง ขวาง ซึง่ มีลกั ษณะเด่นด้วยการเคารพให้เกียรติ ปฏิบตั ิ

ความยุตธิ รรม การเสวนาและความรักต่อกันและกัน (สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 สารเตือนใจ ว่าด้วย ครอบครัวคริสตชนในปัจจุบัน ข้อ 43) จากแนวคิดของพระศาสนจักร ความห่วงใย จากผูน้ ำ� ของพระศาสนจักรคือ องค์สมเด็จพระสันตะ ปาปายอห์น ปอลที่ 2 ซึ่งพระองค์ได้ชื่อว่าเป็นผู้น�ำ พระศาสนจักรที่ให้ความส�ำคัญและเน้นย�้ำถึงเรื่อง ครอบครัวเป็นที่สุด พี่น้องที่รักครับจากแนวคิดของ พระศาสนจักรนีพ้ อ่ อยากเชิญชวนพีน่ อ้ งให้หวนกลับ มาคิดถึงพืน้ ฐานทีส่ ำ� คัญของสังคม ซึง่ พวกเรานีแ่ หล่ะ จะเป็นผูส้ ร้างขึน้ มา บทบาทของพ่อแม่ ปูย่ า่ ตายาย บทบาทของบรรดาลูกหลาน บทบาทของบรรดาวงศา คณาญาติทั้งหลาย อยากให้พวกเราพึงหันมาใส่ใจ กันมากยิ่งขึ้น สนใจชีวิต สนใจสภาพบรรยากาศ ทั้ง ครอบครัวทีเ่ ป็นสังคมเล็ก และชุมชนทีเ่ ป็นสังคมใหญ่ ท้ายที่สุด หากพวกเราให้ความส�ำคัญกับ ครอบครัว ร่วมกันสร้างครอบครัวที่ดีให้ปรากฏขึ้น สันติภาพจะเกิดขึน้ ในโลก ความซือ่ สัตย์จะเกิดขึน้ ใน สังคม การมุง่ ส่งเสริมความดีและความมัน่ คงในชีวติ ของเพื่อนพี่น้องจะปรากฏ การมุ่งสร้างสรรค์สังคม ด้วยความรักและความเอาใจใส่จะฉายแสงให้เห็นใน สังคม นี่คือพันธกิจและภารกิจของเราคริสตชนครับ “สร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าท่ามกลางสังคม โลก ด้วยแบบอย่างแห่งครอบครัวคริสตชน” ขอครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ประทับอยู่ท่ามกลาง ครอบครัวทั้งหลายในโลก โดยเฉพาะครอบครัวของ เราคริสตชนทุกคน

23


โดย ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี อภิสิท ธิ์นักบุญเปาโล การแต่งงานที่ท�ำพิธีถูกต้องตามกฎหมายและสมบูรณ์ด้วยเพศสัมพันธ์ ไม่สามารถ สลายได้ด้วยอ�ำนาจใด ๆ ของมนุษย์ หรือ ด้วยเหตุผลใด ๆ นอกจากความตาย Can.1141

พี่น้องที่เคารพรักครับ เราเคยพูดถึง เรื่องสิทธิการแยกกันของคู่แต่งงาน โดยที่พันธะการแต่งงานยังคงอยู่ มาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายพระ ศาสนจักรคาทอลิก ค.ศ.1983 กล่าวถึงเรื่อง “การแยกกันของคู่แต่งงาน” (The Separation of the spouses) ไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การสิน้ สุดของพันธะการแต่งงาน Cans.1141-1150 (Dissolution of the bond) 2. การแยกกันโดยที่พันธะการแต่งงานยังคงอยู่ Cans.1151-1155 (Separation while the bond endures) พ่อขอกล่าวถึงเรื่อง การสิ้นสุดของพันธะการแต่งงาน Cans.1141-1150 (Dissolution of the bond) โดยใช้อภิสิทธิ์ความเชื่อ fi การใช้อภิสทิ ธิด์ า้ นความเชือ่ (Privilegium ffi ifi dei or privilege of the faith) ซึง่ ช่วยยกเลิก หรือ เป็นการลบล้างพันธะการแต่งงานเดิม โดยปกติแบ่งออกเป็น 4 แบบ (แต่อาจรวมข้อ 5 เป็นกรณีพิเศษด้วย) ดังต่อไปนี้ 24


1. อภิสิทธิ์นักบุญเปาโล (Cans.1143-1147) Pauline Privilege 2. อภิสทิ ธิน์ กั บุญเปโตร Favor of the faith (Normae Potestas Ecclesiae de conficiendo processu pro solution vinculi matrimonialis in favorem fidei) 3. กรณีผทู้ ยี่ งั ไม่ได้รบั ศีลล้างบาป ทีม่ ี สามี หรือ ภรรยา หลายคนอยูแ่ ล้ว ก่อนทีเ่ ข้ามาขอรับ ศีลล้างบาป Polygamy / Polyandry (Can.1148) 4. การพรากจากกันเพราะถูกจับเป็นเชลย หรือ ถูกเบียดเบียน Persecution or captivity (Can.1149) 5. การแต่งงานทีย่ งั ไม่สมบูรณ์ดว้ ยเพศสัมพันธ์ ระหว่างผูร้ บั ศีลล้างบาปกับอีกฝ่ายหนึง่ ซึง่ ไม่ ได้รับศีลล้างบาป Non-consummated marriage between a baptized and nonbaptised (Can.1142) ด้วยอ�ำนาจของพระสันตะปาปา ข้อนี้เป็นข้อเพิ่มเติมพิเศษเข้ามา ในการใช้อภิสิทธิ์ความเชื่อ ซึ่งจะยังไม่ขอพูดถึงรายละเอียดใด ๆ ฉบับนีข้ อเริม่ ต้นทีข่ อ้ แรกก่อน พร้อมขอเสนอกรณีศกึ ษานิดหน่อยเท่านัน้ ครับ อภิสทิ ธิ์ นักบุญเปาโล เป็นการยกเลิกพันธะการแต่งงานเดิมแบบทั่วไป “เพื่อให้คุณแก่ความเชื่อของ ฝ่ายที่ได้รับศีลล้างบาป การสลายนั้นเกิดขึ้นได้ทันที” (เทียบ Can.1143) เพื่อเห็นแก่ความ เชื่อของฝ่ายคาทอลิก หรือ ผู้ที่กลับใจมาเป็นคาทอลิกผ่านทางศีลล้างบาป เพื่อเห็นแก่ความเชื่อฝ่ายคาทอลิก หมายถึง การกลับใจเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับพระ ศาสนจักร เพื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ เพื่อเห็นแก่ความเชื่อของผู้ที่กลับใจมาเป็นคาทอลิก หมายถึง การยกเลิกพันธะ การแต่งงานเดิมของเขา เพื่อเข้าสู่การแต่งงานใหม่ได้อย่างถูกต้อง และเป็นหนึ่งเดียวกับพระ ศาสนจักร รับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ได้ @ เงื่อนไขส�ำคัญในการรับอภิสิทธิ์นักบุญเปาโล (Cans.1143-1147) 1. การแต่งงานที่ถูกยกเลิก เป็นการแต่งงานของผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาป 2 คน ต่อมาฝ่าย หนึ่งได้กลับใจมารับศีลล้างบาป (The convert spouse) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งยังคงไม่ได้รับ ศีลล้างบาป (The unconverted spouse) 2. การแยกจากไป (Departure) ของฝ่ายผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป ซึ่งหมายถึง การปฏิเสธ ––การอยู่ร่วมกัน (To physically cohabit) หรือ ––การอยู่อย่างสันติโดยไม่ล่วงเกินพระเจ้า (To peacefully cohabit) 3. การสอบถาม (Interpellation) ของฝ่ายทีไ่ ม่ได้รบั ศีลล้างบาป เพือ่ แน่ชดั ว่า เขาไม่ตอ้ งการ รับศีลล้างบาป และไม่ตอ้ งการอยูก่ นิ กับฝ่ายทีก่ ลับใจอย่างสันติโดยไม่ลว่ งเกินพระเป็นเจ้า 4. ศีลล้างบาป (Baptism) ของฝ่ายที่กลับใจเป็นคาทอลิก หรือ คริสตชนอื่นที่ถูกรับเข้ามา และอีกฝ่ายหนึ่งยังคงไม่ได้รับศีลล้างบาป 25


@ ข้อควรตระหนัก สิง่ ส�ำคัญ คือ การแต่งงานเดิมทีถ่ กู ต้อง ไม่ได้ถกู ยกเลิกด้วยศีลล้างบาปของ ฝ่ายที่กลับใจ แต่ได้รับการยกเลิก เมื่อแต่งงานใหม่อย่างถูกต้อง (A legitimate marriage is not dissolved at the time baptism of the convert but only at the moment of the convert’s new marriage) ดังนั้น เมื่อข้อเรียกร้องสมบูรณ์ และฝ่ายที่กลับใจได้รับศีลล้างบาปแล้ว พันธะของการแต่งงานเดิมยังไม่ถูกยกเลิก แต่ ศีลล้างบาปท�ำให้ผู้กลับใจ มีสิทธิในการเข้าสู่การแต่งงานใหม่ได้ @ รูปแบบการแต่งงานใหม่ที่จะเกิดขึ้น 1. การแต่งงานทีเ่ ป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ (Sacramental Marriage) หากฝ่ายทีก่ ลับใจ หลัง รับศีลล้างบาปแล้ว จะแต่งงานใหม่ กับฝ่ายคาทอลิก ผู้ซึ่งมีอิสระในการแต่งงาน 2. การแต่งงานแบบต่างคนต่างถือ (Non-Sacramental Marriage) หากฝ่ายทีก่ ลับ ใจ หลังรับศีลล้างบาปแล้ว จะแต่งงานใหม่ กับผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาปซึ่งมีอิสระใน การแต่งงาน 3. การแต่งงานระหว่างคริสตชนต่างนิกาย (Mixed Marriage) ฝ่ายที่กลับใจหลัง รับศีลล้างบาปแล้ว จะแต่งงานใหม่กับคริสตชนนิกายอื่น @ กระบวนการในการใช้อภิสิทธิ์นักบุญเปาโล ข้อเรียกร้อง ––สอบถามอย่างจริงจังถึงสภาพการแต่งงานเดิม ––พิจารณา สอบถาม เกี่ยวกับการจากไปของฝ่ายที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป ว่าแยก กันเด็ดขาด ไม่มีความหวังกลับมาคืนดีกัน และฝ่ายกลับใจไม่ได้เป็นสาเหตุ ของการจากไป ––ท�ำการโปรดศีลล้างบาปแก่ฝ่ายที่กลับใจ หรือพิจารณาความถูกต้องของฝ่าย ที่กลับใจได้รับ การแต่งงานใหม่ ––อบรมเตรียมความพร้อมส�ำหรับการแต่งงาน ––สอบสวน และขอยกเว้น จากข้อขัดขวางการแต่งงาน หรือ ถ้าเป็นการแต่งงาน ระหว่างคริสตชนต่างนิกาย ขออนุญาตจากผูม้ อี �ำนาจท้องถิน่ (Local Ordinary) ––ขออนุญาต ประกอบการแต่งงานใหม่ ตามเงื่อนไข มาตรา 1071 ข้อ 3 ––ประกอบพิธีแต่งงานให้ถูกต้อง ––บันทึกการแต่งงานใหม่ และการยกเลิกพันธะการแต่งงานเดิม 26


กรณีศึกษาเรื่องอภิสิทธิ์นักบุญเปาโล 1. กรณีการกลับใจมารับศีลล้างบาป หลังจากแยกทางกัน นายสมชาย เป็นผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป แต่งงานกับ นางสาวสมศรี ผู้ซึ่งไม่ได้รับศีลล้างบาปเช่นกัน การแต่งงานมีการจดทะเบียนสมรส ต่อมาไม่นาน ทั้งสองได้มีการทะเลาะกันบ่อย ๆ และที่สุดแยกทางกัน มี การหย่าร้างเรียบร้อย หลังจากหย่าร้าง นางสมศรี ได้ไปแต่งงานใหม่ มีบุตร 3 คน และมีชีวิตครอบครัวที่ เคร่งครัดในศาสนาของตนต่อไป และย้ายไปอยู่ต่างประเทศ ส่วน นายสมชาย หลังจากแยกทางกับ นาง สมศรี แล้ว ก็สนใจมาเรียนค�ำสอน และที่สุดก็ได้รับศีลล้างบาป และต้องการแต่งงานกับ นางสมหญิง ผู้เป็น คาทอลิก แต่สามีเสียชีวิตไปแล้ว วิเคราะห์ การแต่งงานของ สมชาย กับ สมศรี เป็นการแต่งงานที่ถูกต้องของผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป 2 คน ซึ่ง ต่อมาได้แยกทางกัน หลังจากนั้น สมศรี ได้แต่งงานใหม่ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ ส่วน สมชาย กลับใจมารับศีลล้าง บาป สามารถใช้ อภิสิทธิ์นักบุญเปาโล (ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ) เพื่อแต่งงานใหม่ กับ สมหญิง ผู้เป็นคาทอลิก

2. กรณีการกลับใจมารับศีลล้างบาป ก่อนการแยกทางกัน นายสมชาย ผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป แต่งงานกับ นางสาวสมศรี ผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาปเช่นกัน การ แต่งงานเกิดขึ้นถูกต้อง ต่อมา 2 ปี นายสมชาย ได้มาเรียนค�ำสอน และได้ชักชวน นางสมศรี มาเรียนค�ำ สอนด้วย แต่ นางสมศรี ไม่สนใจ ที่สุด นายสมชาย ก็ได้รับศีลล้างบาป และทั้งสองได้อยู่กินกันต่อมาอีก 2 ปี หลังจากนั้น นางสมศรี ก็แยกทางไป แต่งงานกับ นายสมบุญ และยังคงไม่ได้รับศีลล้างบาป ทั้งๆ ที่ นาย สมชาย พยายามคืนดีด้วย ปัจจุบัน นายสมชาย ขอคุณพ่อเจ้าอาวาส แต่งงานกับ นางสาวสมหญิง ผู้เป็น คาทอลิก และมีอิสระในการแต่งงาน วิเคราะห์ การแต่งงานของ สมชาย กับ สมศรี เป็นการแต่งงานที่ถูกต้องของผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาป 2 คน ต่อ มา สมชาย ได้มาเรียนค�ำสอน และรับศีลล้างบาป ส่วน สมศรียังเป็นผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาป หลังจากนั้นทั้งคู่แยกทาง กัน สมศรี ยังเป็นผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาป แต่งงานใหม่กับ สมบุญ ในกรณีนี้ สมชาย สามารถขอยกเลิกพันธะการ แต่งงานกับ สมศรี โดยใช้เอกสิทธิน์ กั บุญเปาโล (ถ้าเงือ่ นไขต่าง ๆ มีอยู)่ เพือ่ แต่งงานกับ สมหญิง ผูเ้ ป็นคาทอลิกได้ พระศาสนจักรคาทอลิกยังคงไม่เปลีย่ นสาระส�ำคัญของการแต่งงานเรือ่ งความเป็นหนึง่ เดียวและการ หย่าร้างไม่ได้ (Can.1056) รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่แต่งงานที่พึงมอบให้กันและกันด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีสงสัยใด ๆ อภิสิทธิ์ด้านความเชื่อได้รับความชอบทางกฎหมายเสมอ -The privilege of the faith enjoys the favor of the law. (Can.1150) เพราะความเชื่อน�ำมาซึ่งความรอดพ้นของวิญญาณ อันเป็น กฎหมายสูงสุดในพระศาสนจักรคาทอลิกนั่นเอง Alleluia สุขสันต์โอกาสปัสกาแด่พี่น้องทุกท่านครับ หมายเหตุ บทความนี้เรียบเรียงจากบทความของ คุณพ่อเอกพร นิตตะโย 27


ทางแห่งกางเขน “ขณะที่บรรดาทหารน�ำพระองค์ออกไป พวกเขาเกณฑ์ชายคนหนึ่ง ชื่อ ซีโมนชาวไซรีน ซึ่งก�ำลังกลับจากชนบท วางไม้กางเขนบนบ่าของเขาให้แบกตามพระเยซูเจ้า...” (ลูกา 23:26) หลายครั้งในชีวิตของเรา เราต้องพานพบกับ บุคคลที่เหมือนจะโยนกางเขนใส่บ่าของเรา ภาระหน้าที่การงาน อุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ล้วนเป็นกางเขนที่เราต้องพานพบไม่จบสิ้น ตลอดชีวิตการเป็นมนุษย์ที่อยู่บนโลกใบนี้ ในวันที่พระเยซูเจ้าทรงแบกกางเขน พระองค์ทรงแบกบาปของเรา เดินไปบนหนทางด้วยความยากล�ำบาก ซีโมนชาวไซรีน ถูกเรียกให้มารับภาระนี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เราก็เช่นกัน ถูกเรียกให้มาเพื่อแบกกางเขนในบางช่วงของชีวิต แค่เพียงบางช่วงของชีวิตเท่านั้น แต่พระเยซูเจ้าทรงแบกเราไว้ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่ช่วงเวลาเดียว พระองค์ทรงแบกบาปผิดของเรา ไว้กับพระองค์และทอแสงแห่งพระเมตตา ลงมาแทนที่บาปผิดนั้น

28


“พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่าก�ำลังท�ำอะไร” (ลูกา 23:34) ในขณะที่ความเจ็บปวดมากมายรุมเร้าพระวรกายของพระเยซูเจ้า พระองค์ก็ยังระลึกถึงพวกเราคนบาป ท่ามกลางความเจ็บปวดนั้น ศัตรูที่พระองค์แสนรัก ยังถูกขอร้องให้ได้รับการอภัยจากพระบิดาเจ้า บุคคลที่เราไม่พึงพอใจ บุคคลที่เราแสนจะรังเกียจเดียดฉันท์ เราเคยวิงวอนขอพรเพื่อพวกเขา หรือสาปแช่งพวกเขา ความรักลบล้างความเป็นศัตรูไปสิ้น บุตรสาวกล่าวแก่แม่ว่า “ลูกจะอยู่ช่วยงานตายาย และไม่เป็นภาระให้ท่าน” ในช่วงปิดเทอมของปีการศึกษา ซึ่งควรจะเป็นเวลาพักผ่อน และเที่ยวเล่นของบรรดาเด็กวัยรุ่น ลูกสาวกลับบอกกับแม่ว่า “หนูคิดว่าถ้าตายายเลี้ยงน้องเล็ก ๆ ตายายจะไม่มีเวลาท�ำงานบ้าน และท�ำอาหารเลย หนูจะอยู่ช่วยตายายท�ำงานบ้านแล้วกันค่ะ และจะไม่เป็นภาระให้ตายายนะคะ” กางเขนเล็ก ๆ ที่เราสามารถสละตนเองเพื่อผู้อื่นบ้าง เป็นกางเขนที่งดงามและไม่ใช่เครื่องหมายแห่งการเป็นนักโทษอีกต่อไป กางเขนกลายเป็นเครื่องหมายของความรักผ่านการเสียสละ ความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตเพื่อผู้อื่นในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลาที่เราอาจจะไม่ปรารถนาจะพานพบ บทเพลงบทหนึ่งขับร้องไว้ว่า.....

“กางเขน คือความรอด ของวิญญาณ ลูกจะพบพาน ต้องผ่าน ชีวิตทุกข์ทน ทางแห่งกางเขน น�ำสู่ สวรรค์เบื้องบน ต้องผจญ สู้ทน บาปร้ายนานา...” โดย น�้ำผึ้งหวาน 29


วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา

30


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระถวายองค์ มูซู 19 พ.ย. 2016

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา 25 พ.ย. 2016

31


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ

อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี ประกาศใช้ แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี 10

ธ.ค. 2016

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่ 17 ธ.ค. 2016

32


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดปัญจทรัพย์ ดินแดง 31 ธ.ค. 2016

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า 7 ม.ค. 2017

33


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระนามเยซู ชลบุรี 14 ม.ค. 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญอันตน พนมสารคาม 21 ม.ค. 2017

34


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอารักขเทวดา โคกวัด 4 ก.พ. 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด บางคล้า 11

ก.พ. 2017

35


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระเมืองลูร์ด บางแสน ฉลอง 50 ปี กลุ่มคริสตชน 12

ก.พ. 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดธรรมาสน์ น.เปโตร ท่าแฉลบ 25 ก.พ. 2017

36


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัด น.วินเซน เดอ ปอล เขาขาด 11 มี.ค. 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัด น.ยอแซฟ พนัสนิคม 18

มี.ค. 2017

37


เข้าเงียบพระสงฆ์ ประจำ�ปี 2017 9-12 มกราคม ค.ศ. 2017

38


39


ถ้าท่านทั้งหลายกลับคืนชีพ พร้อมกับพระคริสตเจ้าแล้ว ก็จงใฝ่หาแต่สิ่งที่อยู่เบื้องบนเถิด... จงคิดถึงแต่สิ่งที่อยู่เบื้องบน อย่าพะวงถึงสิ่งของบนแผ่นดินนี้ เพราะท่านทั้งหลายตายไปแล้ว และชีวิตของท่านก็ซ่อนอยู่กับ พระคริสตเจ้าในพระเจ้า (คส 3:1-3)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.