สายใยจันท์ V.22

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

FREE COPY แจกฟรี

Vol.22

สิงหาคม 2017 ปีท่ี 28

100 ปี แม่พระฟาติมา

ครบรอบ 100 ปี แม่พระฟาติมา

ชีวิตสงฆ์ 50 ปี 25 ปี

แนวการจัด พิธีกรรมในวัด

การแต่งงาน ที่เป็นโมฆะ


ปีที่ 28 ฉบับที่ 22 / สิงหาคม 2017

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาสน์พระสังฆราช...................................................................... 4 สมโภชพระนางมางรียร์ บั เกียรติเข้าสูส่ วรรค์ทงั้ กายและวิญ ั ญาณ... 6 การร่วมฉลองครบรอบ 100 ปี แม่พระฟาติมา....................... 8 ชีวิตสงฆ์..................................................................................... 10 50 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อเปโตร สมัคร เจ็งสืบสันต์.............. 11 25 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อเปาโล สมนึก ประทุมราช................ 12 25 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อซีมอน เศกสม กิจมงคล................16 สู่ชีวิตสงฆ์............................................................................... 20 ความยากจน ในพันธกิจแห่งความเมตตา.................................. 22 แนวการจัดพิธีกรรมในวัด.......................................................... 24 เหมือนจะสิ้นไฟฝัน.......................................................................26 การแต่งงานที่เป็นโมฆะ................................................................. 28 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................31

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


Editor’s talk ก าร บรรณาธิ บิดาผู้ ใจดี

หากเราเปิดพระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 15: 11-32 จะพบหัวเรื่องว่า “ลูกล้างผลาญและลูกที่คิด ว่าตนท�ำดีแล้ว” เป็นเนื้อเรื่องที่คริสตชนคุ้นเคย แต่ถ้าเราได้ทบทวนและไตร่ตรองพระวรสารตอนนี้ น่าจะ ได้ชื่อว่า “บิดาผู้ใจดี” มากกว่า พระวรสารตอนนี้ (บทที่ 15: 11-32) ฉบับภาษาอังกฤษ (The NET Bible: New English Translation) หัวข้อเรื่องนี้คือ The Parable of the Compassionate Father ก็คือ บิดาผู้ใจดี นั่นเอง

[20 เขาก็กลับไปหาบิดา ขณะทีเ่ ขายังอยูไ่ กล บิดามองเห็นเขา รูส้ กึ สงสาร จึงวิง่ ไปสวมกอดและจูบเขา 21 บุตรจึงพูดกับบิดาว่า “พ่อครับ ลูกท�ำบาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชอื่ ว่าเป็นลูกของ พ่ออีก” 22 แต่บิดาพูดกับผู้รับใช้ว่า “เร็วเข้า จงไปน�ำเสื้อสวยที่สุดมาสวมให้ลูกเรา น�ำแหวนมาสวม นิ้ว น�ำรองเท้ามาใส่ให้ 23 จงน�ำลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วไปฆ่า แล้วกินเลี้ยงฉลองกันเถิด 24 เพราะลูกของ เราผู้นี้ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกันอีก” แล้วการฉลองก็เริ่มขึ้น] (ลูกา 15:20-24) จากบทสนทนาในพระวรสารจะพบว่า บิดาไม่ได้พดู ถึงความผิดพลาดของลูก ความไม่ดขี องลูก ความ อกตัญญูของลูก ดุด่าว่ากล่าวลูกตนเอง แต่รู้สึกสงสาร จึงวิ่งไปสวมกอดและจูบเขา พร้อมจัดงานฉลองให้ ลูกชายที่ผิดพลาด

นี่คือ บิดาผู้ใจดี รอคอย นี่คือ บิดาผู้ใจดี ที่ไม่ถามถึงความผิดที่ผ่านมาของลูก นี่คือ บิดาผู้ใจดี ให้อภัยเสมอ

ในสังฆมณฑลของเรามี “บิดาผู้ใจดี” อย่างในพระวรสารกล่าวถึงด้วยเช่นกัน วันที่ 10 เดือนสิงหาคม ฉลองนักบุญลอเรนซ์ คริสตชนในสังฆมณฑลจันทบุรี จะรูก้ นั ดีวา่ เราจะฉลอง ศาสนนาม “พระคุณเจ้าเทียนชัย สมานจิต” ผู้ที่เป็น บิดาผู้ใจดี อีกท่านหนึ่ง นี่คือ บิดาผู้ใจดี ยิ้มแย้ม ทักทายเสมอ นี่คือ บิดาผู้ใจดี ผู้ที่รักที่จะสอนค�ำสอนให้กับลูก ๆ เสมอ (ปัจจุบันท่านยังสอนค�ำสอนอยู่) นี่คือ บิดาผู้ใจดี ที่ร่วมยินดีในทุก ๆ โอกาสของพระสงฆ์ในสังฆมณฑล นี่คือ บิดาผู้ใจดี ที่ให้ก�ำลังใจพระสงฆ์และสัตบุรุษเสมอ นี่คือ บิดาผู้ใจดี ให้อภัยเสมอ นี่คือ บิดาผู้ใจดี ผู้เป็นสงฆ์นิรันดร นีค่ อื บิดาผูใ้ จดี ผูเ้ ป็นมหาสมณะ ทุกองค์ยอ่ มได้รบั การคัดเลือกจากมวลมนุษย์ ได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็นผูแ้ ทนมนุษย์ในความสัมพันธ์ตดิ ต่อกับพระเจ้า เพือ่ ถวายทัง้ บรรณาการและเครื่องบูชาชดเชยบาป (ฮีบรู 5:1) ขอร่วมยินดีกับพระคุณเจ้าเทียนชัยโอกาสฉลองศาสนนามนักบุญลอเรนซ์ ขอพระเป็นเจ้าอวยพรพระคุณเจ้าตลอดไป

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


สาสน์พระสังฆราช ในปี 2017 นี้ มีการระลึกถึงเหตุการณ์เหนือธรรมชาติเหตุการณ์หนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นเมื่อ 100 ปีที่ แล้ว คือ เหตุการณ์การประจักษ์ของพระแม่มารีย์แก่เด็ก 3 คนที่ฟาติมา การประจักษ์ครั้งแรกของแม่ พระเกิดขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคม 1917 และทรงประจักษ์อย่างต่อเนื่องในวันที่ 13 ของเดือนต่อ ๆ มา จนสิน้ สุดในเดือนตุลาคม ช่วงเวลานัน้ เป็นช่วงเวลาของสงครามโลกครัง้ ที่ 1 สารทีไ่ ด้รบั จากการประจักษ์ ของแม่พระผ่านทางเด็ก 3 คน คือ การสวดภาวนาและการใช้โทษบาป เพือ่ การกลับใจของคนบาป และ เพื่อสันติภาพของโลก ด้วยเหตุว่ามนุษย์ได้ท�ำบาปอย่างมหันต์ และลบหลู่ดูหมิ่นหลงลืมพระเจ้า การฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการประจักษ์ของแม่พระที่ฟาติมา ยังคงเตือนใจเราแต่ละคน ถึงพระประสงค์ของพระแม่ในสารที่ทรงมอบให้ เพราะมนุษย์ทุกวันนี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากสมัยเมื่อ 100 ปีที่แล้ว จึงจ�ำเป็นที่เราจะต้องสวดภาวนาด้วยการเป็นทุกข์ถึงบาป กลับใจและใช้โทษบาปของตัวเรา เองก่อน และจากนั้นเราต้องสวดภาวนาเพื่อคนบาปจะได้กลับใจ ในบทภาวนา “วันทามารีย์” เราวอน ขอแม่พระ “โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็นคนบาป” และเราจะต้องภาวนาร่วมกับพระแม่วอน ขอพระเจ้าเพื่อคนบาปทั้งหลาย “ข้าแต่พระเยซู โปรดอภัยบาปของเรา โปรดช่วยเราให้พ้นขุมไฟ นรก โปรดน�ำวิญญาณทุกดวงให้รอดสู่สวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิญญาณที่ต้องการพระเมตตา ของพระองค์มากที่สุด” เมื่อต้นปีนี้ สังฆมณฑลสูญเสียคุณพ่อเปาโล ประวิช หอมวิไลย ไปด้วยวัยที่ยังหนุ่มแน่นด้วย อาการภาวะการท�ำงานของหัวใจล้มเหลวอย่างฉับพลัน อันน�ำความรู้สึกเสียใจและเสียดายสู่คณะสงฆ์ ที่สูญเสียบุคลากรวัยก�ำลังท�ำงานไปองค์หนึ่ง แต่ในปีนี้พระเจ้าก็ประทานให้สังฆมณฑลของเรามีพระ สงฆ์ใหม่ 2 องค์ที่จะบวชในวันที่ 30 กันยายนนี้ ที่วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี ในโอกาสฉลอง วัด คือ ว่าที่คุณพ่อยอแซฟ ประธาน ตันเจริญ และว่าที่คุณพ่อเปโตร อิทธิพล หางสลัด ขอให้เรา ภาวนาเพื่อพระสงฆ์ใหม่ของเรา นอกจากนี้ ยังมีพระสงฆ์อกี 2 องค์ทฉี่ ลอง 25 ปีแห่งการเป็นพระสงฆ์ คือ คุณพ่อเปาโล สมนึก ประทุมราช และคุณพ่อซีมอน เศกสม กิจมงคล และอีก 1 องค์ที่ฉลอง 50 ปี คือ คุณพ่อเปโตร สมัคร เจ็งสืบสันต์ สังฆมณฑลมีความชื่นชมยินดีร่วมกับคุณพ่อทั้งสามด้วย และขอพระเจ้าอ�ำนวยพร แด่คุณพ่ออย่างอุดมเทอญ เราขอฝากสังฆมณฑล คณะสงฆ์ นักบวช และสัตบุรษุ ไว้ในความคุม้ ครองดูแลของพระแม่ผรู้ ับ เกียรติยกขึ้นสวรรค์ องค์อุปถัมภ์ของพระศาสนจักรในประเทศไทย และขอโปรดให้ประเทศไทยและ ประชาชนชาวไทยได้รับพระพรและสันติสุขด้วยเทอญ (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

4


5


สมโภชพระนางมารีย์

รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ พี่น้องคริสตชนที่รัก

6

วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 ซึง่ ตรงกับวันสมโภชพระนางมารียร์ บั เกียรติเข้าสูส่ วรรค์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง หลังจากที่อเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูสองลูกท�ำลายเมืองฮิโรชิ มาและเมืองนางะซากิย่อยยับ สังหารผู้คนล้มตายกันมากมาย ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม และเราก็อยู่กันมาอย่างสงบจนกระทั่งบัดนี้เป็นเวลา 72 ปี ไม่มีสงครามโลกครั้งที่ 3 แม้ยังมี สงครามเย็น ผู้ก่อการร้ายอยู่ทั่วไป ให้เราขอบพระคุณพระผู้เป็นเจ้าและแม่พระที่เมตตาช่วย ให้ชาติต่าง ๆ สงบศึกอยู่กันอย่างสันติ วันสมโภชพระนางมารียร์ บั เกียรติเข้าสูส่ วรรค์ทงั้ กายและวิญญาณเป็นวันฉลองบังคับ วันหนึง่ ในสิบวันส�ำหรับพระศาสนจักรสากล และเป็นวันฉลองบังคับวันหนึง่ ในสีว่ นั ส�ำหรับพระ ศาสนจักรในประเทศไทย : คือวันพระคริสตสมภพ วันพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ วันพระนาง มารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์และวันนักบุญทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะพระศาสนจักรต้องการให้เรา คิดถึงสวรรค์บ้านแท้ของเราบ่อย ๆ พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์อย่างมีชัยชนะ เป็นแบบอย่าง ของเราทุกคนเราจะต้องไปสวรรค์เช่นกัน หลังจากที่พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์แล้ว พระนางมารีย์ก็ยังอยู่ในโลกนี้ต่อไป เป็นที่ พึ่ง เป็นความบรรเทา เป็นก�ำลังใจของบรรดาอัครสาวก เป็นมารดาของพระศาสนจักรแรก เริ่ม... ที่สุดพระนางมารีย์ก็ได้จบชีวิต ไม่ใช่ด้วยโรคภัย แต่ด้วยความรักแท้บริสุทธิ์ โหยหาพระ เยซูเจ้าพระบุตรสุดทีร่ กั ของพระนาง มีการถกเถียงกันว่าพระนางมารียต์ ายหรือไม่ตาย นักบุญ อัลฟองโซในหนังสือของท่าน “เกียรติมงคลของพระนางมารีย”์ กล่าวว่า “ในเมือ่ ความตาย เป็นโทษของบาป พระนางมารียไ์ ม่มบี าป ฉะนัน้ พระมารดาของพระเจ้าควรรับการยกเว้น แต่พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้พระนางมารีย์เหมือนพระบุตรในทุกสิ่ง พระบุตรทรงรับ ความตาย พระนางมารีย์ก็รับความตาย แต่เป็นความตายที่เปี่ยมสุขสดชื่น มี 3 สิ่งที่ ท�ำให้ความตายขมขื่น คือ 1.) การยึดติดกับโลกนี้ 2.) การส�ำนึกผิดเพราะท�ำบาป และ 3.) ความไม่แน่นอนว่าจะได้รอด พระนางมารีย์ปราศจากสาเหตุแห่งความขมขื่นเหล่านี้” นักบุญยอห์นดามาสเชโนและนักบุญอื่น ๆ อีกหลายองค์ยืนยันว่า ก่อนพระนาง มารียจ์ บชีวติ บรรดาอัครสาวกและสานุศษิ ย์ได้มาชุมนุมกันในห้องของพระนาง พระนางกล่าว กับเขาเหล่านั้นว่า : “แม่จากพวกลูกไปมิใช่เพื่อทิ้งพวกลูก แต่เพื่อช่วยเหลือพวกลูกมาก ขึ้นในสวรรค์ด้วยการเสนอวิงวอนต่อพระเจ้า” “เป็นความจ�ำเป็นและสมควรอย่างยิ่งที่ ร่างกายของพระแม่ซงึ่ เป็นทีป่ ระทับของพระบุตรทีม่ าบังเกิดเป็นมนุษย์เป็นเวลา 9 เดือน จะต้องไม่เปื่อยเน่าหลังความตาย” ดุจพระบุตร พระแม่จะต้องได้รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้ง กายและวิญญาณ ประทับเบื้องขวาของพระบุตร กษัตริย์อมตะนิรันดร ราชินีของเทวดาและ นักบุญทั้งหลาย


วันสมโภชนี้มีขึ้นในศตวรรษที่ 5 หรือที่ 6 ทั้งพระศาสนจักรตะวันตกและตะวันออกก็มีความ เชือ่ ว่าพระนางมารียไ์ ด้รบั เกียรติเข้าสูส่ วรรค์ทงั้ กายและวิญญาณ - เล่ากันว่าเมือ่ พระนางมารียส์ นิ้ ชีวติ อัครสาวกโทมัสไม่อยู่ ไปประกาศศาสนาในอินเดีย เมื่อกลับไปกรุงเยรูซาเลม ก็ไปคารวะหลุมศพของ พระนางมารีย์ ปรากฏว่าหลุมศพเปิดออกไม่มีศพ มีแต่กลิ่นหอมหวลของดอกไม้...ก็เชื่อกันว่าพระเจ้า ทรงส่งเทวดามารับร่างกายอันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์เข้าสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ที่สุดในปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ.1950 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ประกาศเป็นทางการเป็น ข้อความเชื่อของพระศาสนจักรสากลว่าดังนี้ : “หลังจากพระมารดามารีย์ได้จบการด�ำเนินชีวิตใน โลกนี้ (ไม่บอกว่าตายหรือไม่ตาย พูดเป็นกลาง) ได้รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ” “TU GLORIA JERUSALEM, TU LAETITIA ISRAEL, TU HONORIFICENTIA POPULI NOSTRI” (ท่านเป็นพระสิริรุ่งโรจน์ของเยรูซาเลม ท่านเป็นความปิติยินดีของอิสราเอล ท่านเป็น เกียรติยศของชาติเรา) เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเห็นพระมารดาและศิษย์ที่รักยืนอยู่ใกล้ ๆ จึงตรัสกับพระมารดาว่า “แม่ นี่คือลูกของแม่” แล้วตรัสกับศิษย์ผู้นั้นว่า : “นี่คือแม่ของท่าน” ตั้งแต่เวลานั้น ศิษย์ผู้นั้นก็รับ พระนางเป็นมารดาของตน (ยอห์นเป็นตัวแทนของมนุษย์ทุกคน) (ยน 19:26-27) ตลอดเวลา 2000 กว่าปี พระนางมารีย์ขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างสวรรค์กับโลก ปรากฏมาเยี่ยมมนุษย์ ลูก ๆ ของพระแม่ ในโลกนี้ในที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น แม่พระกวาดาลูเปที่เม็กซิโก (ค.ศ.1531), แม่พระปฏิสนธินิรมลที่ เมืองลูร์ด ฝรั่งเศส (ค.ศ.1858), แม่พระแห่งสายประค�ำศักดิ์สิทธิ์ที่ฟาติมา โปรตุเกส (ค.ศ.1917) ปี นี้ครบ 100 ปี พระแม่บอกให้เราสวดสายประค�ำและท�ำพลีกรรมให้คนบาปกลับใจให้รัสเซีย ให้คอม มูนิสต์กลับใจเพื่อสันติภาพของโลก ฯลฯ “พระมารดาของพระเจ้าเป็น “บันไดของสวรรค์” พระเจ้าเสด็จลงมายังโลกผ่านทาง บันไดนี้ เพื่อมนุษย์จะได้ขึ้นไปหาพระองค์ในสวรรค์ผ่านทางแม่พระ” (นักบุญฟุลแยนซีอุส) ฉะนัน้ ในสวรรค์มี 2 องค์เท่านัน้ ทีม่ รี า่ งกายคือพระเยซูเจ้าและแม่พระ คนอืน่ ๆ มีแต่วญ ิ ญาณ ต้องรอวันสิ้นพิภพ ร่างกายจะกลับคืนชีพไปรวมกับวิญญาณ แล้วเสวยสุขกับพระเจ้าในสรวงสวรรค์ ตลอดนิรันดร พระบิดา พระบุตร (พระเยซูเจ้า) พระจิต แม่พระ บรรดานิกรเทวดา นักบุญทั้งหลาย ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตรและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว ไปรอเราอยู่ในสวรรค์ เรามีนัดพบกัน ในสวรรค์ เราก�ำลังเดินทางจาริกแสวงบุญมุ่งสู่สวรรค์บ้านแท้ของเรา

“ด้วยความรักจริงล้นพ้นวิญญาณ์

สู่แดนวิมานพร้อมทั้งอินทารีย์ โอ้ราชินีแห่งฟากฟ้าไกล โปรดโน้มน้อมให้กราบไหว้วันทา

พระมารดาจึงสุดสิ้นชีวี เป็นราชินีแห่งพากฟ้าไกล จงชนะใจชาวไทยถ้วนหน้า องค์พระมารดาชั่วนิรันดร”

(พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


100 ปี

การร่วมฉลอง ครบรอบ แม่พระฟาติมา โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

สิง่ ส�ำคัญในการร่วมฉลองครบรอบ 100 ปี แม่พระฟาติมา ต้องช่วยน�ำเราให้เข้าใกล้พระเยซู เจ้ามากขึ้น วันที่ 13 พฤษภาคม 1981 เมห์เมต อาลี อาห์จา ชายชาวตุรกี ผู้แฝงตัวท่ามกลางฝูงชน ที่ ก�ำลังรอคอยเข้าเฝ้านักบุญสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ณ จัตรุ สั เซนต์ปเี ตอร์ ได้สาดกระสุน ใส่พระองค์จนบาดเจ็บสาหัส ปี 2017 เป็นช่วงเวลาที่คริสตชนฉลองการ ประจักษ์ของพระแม่มารีย์แก่เด็ก 3 คน ยาชินทา ลูเชียอา และฟรังซิสโก ที่ฟาติมา ประเทศโปรตุเกส ครบรอบ 100 ปี สิง่ ส�ำคัญในการร่วมฉลองครบรอบ 100 ปี แม่พระฟาติมา คงไม่ใช่เพียงไปแสวงบุญที่ฟาติมา โปรตุเกส วุน่ กับการถ่ายรูปสถานทีท่ เี่ ราไปแสวงบุญ ตื่นเต้นที่ได้ไปฟาติมา หรือแค่ได้ไปสวด ณ สถานที่ จริง ที่แม่พระประจักษ์ กลับจากแสวงบุญนั้นแล้ว ก็ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตคริสตชนของเรา สิง่ ส�ำคัญในการร่วมฉลองครบรอบ 100 ปี แม่พระฟาติมา คือ เราต้องตระหนักถึงสารของ พระแม่มารีย์ที่บอกกับเรา และตอบสนองข่าวสาร ของพระแม่มารีย์ สิง่ ทีพ่ ระแม่มารียบ์ อกกับเราลูก ๆ ของแม่คือ แก่นแท้ของข่าวดีที่พระเยซูเจ้าประกาศ และสอนเรานั่นเอง 8

วันที่ 13 พฤษภาคม 1982 บทเทศน์ของ นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ใน โอกาสทีท่ า่ นมาแสวงบุญเพือ่ โมทนาคุณพระแม่มารียท์ ี่ ปกป้องพระองค์จากการลอบสังหาร ท่านได้เทศน์วา่ “สารของพระแม่มารียเ์ ป็นแก่นแท้ของพระวรสาร พระแม่มารีย์บอกให้ลูก ๆ กลับใจใช้โทษบาป นี่ เป็นข่าวสาร เป็นเครื่องหมายแห่งกาลเวลาใน สมัยปัจจุบันอย่างแท้จริง” นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ต้องการจะบอกอะไรแก่เรา? พระองค์ทรงเรียก ร้องให้เราตระหนักถึงสารของแม่พระและปฏิบตั ติ าม อีกครั้งหนึ่งคือ บาป กลับใจและชดเชยบาป ดังนัน้ สิง่ ส�ำคัญในการร่วมฉลองครบรอบ 100 ปีแม่พระฟาติมา คือ เราจะต้อง “กลับใจ” ตัวของเรานั่นเองและปฏิบัติตามค�ำขอของพระ แม่มารีย์


ตอบรับค�ำขอของพระแม่มารีย์ที่ฟาติมา 1. หยุดท�ำบาปต่อพระเยซูเจ้า (13 ตุลาคม 1917) การประจักษ์ของพระแม่มารียค์ รัง้ สุดท้ายใน วันที่ 13 ตุลาคม แม่พระได้ตรัสว่า “อย่าท�ำเคือง พระทัยพระเจ้าอีกเลย เพราะมีผู้กระท�ำผิดต่อ พระองค์มากเกินไปแล้ว” เวลาทีแ่ ม่พระตรัสประโยคนี้ แม่พระตรัสด้วย ใบหน้าทีเ่ ศร้า หากเราไตร่ตรองให้ดี ๆ มองไปรอบ ๆ สิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การท�ำแท้ง รักร่วมเพศ การฆ่ากัน การหมิ่นเชื้อชาติ การกดขี่คนจน การค้ามนุษย์ การ ท�ำผิดต่อสามี-ภรรยาของตน และอื่น ๆ สิง่ ต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นบาปทีก่ ระท�ำเคือง พระทัยของพระเยซู โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่ได้ ท�ำบาปหนัก บาปหนัก (Mortal sin) 88เป็นบาปทีท่ �ำให้เป็นทีเ่ คืองพระทัยพระเป็น เจ้าโดยตรง 88เป็นบาปที่ท�ำให้เราปฏิบัติต่อเพื่อนพี่น้อง ในทางลบ 88บาปหนักท�ำให้มนุษย์เป็นทาสของปีศาจ อย่างแท้จริง 88บาปหนัก ท�ำลายความรักในใจมนุษย์ อันเป็น เหตุของการฝ่าฝืนธรรมบัญญัตขิ องพระเจ้า ในข้อหนัก (ค�ำสอนพระศาสนจักร 1855) หนังสือค�ำสอนพระศาสนจักร ข้อ 18541864 ระบุว่า การกระท�ำของบุคคลหนึ่งนั้น เป็น บาปหนัก มีดังต่อไปนี้ –– เป็นเรือ่ งทีร่ า้ ยแรง การกระท�ำนัน้ ต้องเป็น เรื่องที่ร้ายแรงในตัวเอง หรืออย่างน้อย บุคคลนั้นก็ต้องคิดไว้ก่อนแล้วว่า เป็น ความผิดที่ร้ายแรง –– เป็นเรือ่ งรูต้ วั เต็มทีแ่ ละตัง้ ใจท�ำจริง บุคคล ต้องรับรูอ้ ย่างชัดเจนในเวลาทีก่ ระท�ำว่าเป็น

ความผิดร้ายแรงและขัดกันกับพระเจ้า แต่ ถ้าเขาลืม หรือกระท�ำพลาดไป หรือก�ำลัง สับสนหรือตื่นเต้นมาก จนไม่สามารถคิด ได้ชัดเจน ก็ไม่ถือว่าบุคคลนั้นท�ำบาปหนัก –– เป็นเรือ่ งเจตนากระท�ำ บุคคลต้องเลือกสิง่ ที่รู้ว่าผิดอย่างอิสระ บาปหนักเป็นการลดค่าแห่งชีวติ เบือ้ งต้นคือ ความรัก จึงเรียกร้องให้เริม่ ต้นใหม่ดว้ ยพระเมตตาของ พระเป็นเจ้า และการกลับใจ (ค�ำสอนพระศาสนจักร 1856) ดังนั้น พระแม่มารีย์ ประจักษ์ที่ฟาติมา มี พระประสงค์ จะน�ำเรามนุษย์กลับไปหาพระเป็นเจ้า และขอให้เราหยุดท�ำเคืองพระทัยพระเยซูเจ้า ให้เรา ด�ำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ต่อพระเป็นเจ้า ตาม พระหรรษทานที่ผ่านทางศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตอบสนองค�ำขอของพระแม่มารีย์ที่ฟาติมา 9คริ 9 สตชนต้องหันหลังให้กับบาป วอนขอ พระเมตตาจากพระเป็นเจ้า 9รั9 บศีลอภัยบาป ณ ที่แก้บาป จะเป็นการ พบปะระหว่างเรากับพระเป็นเจ้า ผ่าน ทางพระสงฆ์ 9ท�9 ำพลีกรรมชดเชยบาปของตนเอง แม่พระ ตรัสกับเด็กทัง้ สามว่า “หนูเต็มใจถวายพลี กรรม และความยากล�ำบากต่าง ๆ แด่ พระเป็นเจ้า เพื่อใช้โทษบาปมากมายที่ ผิดแสลงพระทัยพระองค์ไหม?...” หากเราไม่ท�ำเคืองพระทัยพระเยซู สันติสขุ เกิดขึน้ ในใจของเรา เมือ่ สันติสขุ มีในใจของเรา เราก็ แสดงออกซึ่งความรักต่อเพื่อนพี่น้องรอบข้าง ให้เราตอบรับค�ำขอของพระแม่มารีย์ที่ฟาติ มา ด้วยถ้อยค�ำของพระแม่มารีย์ว่า “ข้าพเจ้าเป็น ผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตาม วาจาของท่านเถิด” (ลก. 1:38)

(อ่านต่อฉบับหน้า)

9


ชีวิตสงฆ์ เขาให้ชีวิตของเขาไปแล้ว เขาจะถือเป็นโสดตลอดชีวิตด้วยสมัครใจ เขาจะให้อ�ำเภอใจแก่ผู้ใหญ่ของเขาทั้งหมด เขาจะท�ำงานเพื่อคนที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่พี่น้องท้องเดียวกัน เขาจะตรากตร�ำอย่างไร้ผลไร้ค่าในบางครั้ง เขาจะตายเหมือนคนบนกางเขน (บางส่วนจากงานเขียนของ ป.จันทร์)

จากงานเขียนบางส่วนของ ป.จันทร์ เรื่อง “ฝันที่บ้าบอ” แสดงให้เห็นถึงบทบาทของการมี ชีวิตสงฆ์ ที่ไม่ได้ราบรื่น สุขสบาย สวยงามอย่างที่ หลาย ๆ คนคิด และเป็นชีวิตที่ใช่ว่าใคร ๆ อยากจะ เป็นก็เป็นกันได้ ต้องอาศัยพระพรแห่งกระแสเรียก ที่พระเจ้าประทานให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงก�ำหนดและ ทรงเลือกสรรตั้งแต่ก่อนกาล “ก่อนที่เราปัน้ ท่านใน ครรภ์มารดา เราก็รจู้ กั ท่านแล้ว ก่อนทีท่ า่ นจะเกิด เราก็แยกท่านไว้เป็นของเราแล้ว เราแต่งตั้งท่าน ให้เป็นประกาศกส�ำหรับนานาชาติ” (ยรม 1:5) กระแสเรียก เสียงเรียกจากพระเจ้าให้มา เป็นศิษย์ติดตามพระองค์ในฐานะพระสงฆ์นั้น นับ เป็นจุดเริม่ ต้นของ ชีวติ สงฆ์ เลยก็วา่ ได้ แม้พระองค์ จะก�ำหนดและเลือกสรรมาก่อนแล้วก็ตาม การตอบ รับเสียงเรียกด้วยความสมัครใจ ก็ยงั เป็นสิง่ ส�ำคัญใน การเลือกใช้ ชีวิตสงฆ์ 10

นับเป็นพระพรแห่งความชืน่ ชมยินดี ทีใ่ นปีนี้ สังฆมณฑลของเราได้มีชายหนุ่ม 2 คน ตอบรับการ เรียกของพระเจ้าด้วยความสมัครใจ และได้รับการ เลือกให้เข้าสู่ ชีวิตสงฆ์ เป็นศาสนบริกรศักดิ์สิทธิ์ ประกาศข่าวดีแห่งความรอด อุทิศตนให้กับการเป็น ผูร้ บั ใช้ นัน้ คือ สังฆานุกรยอแซฟ ประธาน ตันเจริญ และสังฆานุกรเปโตร อิทธิพล หางสลัด อาศัยศีล บรรพชา ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2017 ณ วัด อัครเทวดามีคาแอล จังหวัดปราจีนบุรี โอกาสฉลอง ชุมชนแห่งความเชื่อ นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงประทานพระพรแห่ง กระแสเรียกส�ำหรับพระสงฆ์อกี 2 องค์ทฉี่ ลอง 25 ปี แห่งชีวติ สงฆ์ คือ คุณพ่อเปาโล สมนึก ประทุมราช และคุณพ่อซีมอน เศกสม กิจมงคล และฉลอง 50 ปี อีก 1 องค์ คือ คุณพ่อเปโตร สมัคร เจ็งสืบสันต์ สายใยจันท์ฉบับนี้ ขอแนะน�ำว่าที่คุณพ่อ ใหม่ทั้ง 2 และร่วมยินดีกับคุณพ่อทั้ง 3 ผู้ที่ได้ด�ำเนิน ชีวิตสงฆ์ อย่างซื่อสัตย์ มั่นคงมาโดยตลอด 25 ปี และ 50 ปี และขอค�ำภาวนาจากพี่น้อง เพื่อคุณพ่อ และว่าทีค่ ณ ุ พ่อใหม่ จะได้ซอื่ สัตย์ตอ่ กระแสเรียก และ เป็นพระสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์จนตลอดชีวิต


ประวัติส่วนตัว • เกิดวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1938 • อายุ 79 ปี • สัตบุรุษวัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา • บิดาชื่อ ยอแซฟ จ่าง แซ่เจ็ง (เสียชีวิต) • มารดาชื่อ มาร์การีตา กี แซ่อึ๊ง (เสียชีวิต) • มีจ�ำนวนพี่น้องในครอบครัว 7 คน • เป็นบุตรคนที่ 2 • รับศีลบวชวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.1967

50

ปีชีวิตสงฆ์ คุณพ่อเปโตร สมัคร เจ็งสืบสันต์ (1967-2017)

ประวัติการท�ำงาน • 1968 - 1973 ผู้ช่วยเจ้าอาวาส อาสนวิหารพระนางมารีอาฯ จันทบุรี • 1973 - 1977 เจ้าอาวาส วัดนักบุญเปาโลกลับใจ ปากน�้ำ ระยอง วัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ ระยอง ดูแลกลุ่มคริสตชนที่มาบตาพุต • 1977 - 1983 เจ้าอาวาส วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา • 1983 - 1990 เจ้าอาวาส วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ • 1990 - 1995 เจ้าอาวาส วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว • 1995 - 2000 เจ้าอาวาส วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร ท่าใหม่ วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ท่าศาลา วัดแม่พระถวายองค์ มูซู • 2000 - ปัจจุบัน จิตตาภิบาล ซิสเตอร์คณะรักกางเขน แห่งจันทบุรี ช่วยงานอภิบาลที่ อาสนวิหารพระนางมารีอาฯ จันทบุรี

“ลงมือท�ำดีกว่าพูด” “ผู้ใดจะขึ้นไปบนภูเขาของพระเจ้า คือผู้ที่มีมือสะอาดและใจบริสุทธิ์” (สดด 24:3-4) 11


25

ประวัติส่วนตัว

ปีชีวิตสงฆ์ คุณพ่อเปาโล สมนึก ประทุมราช (1992-2017)

เกิดวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1963 ล้างบาปโดยคุณพ่อวิโอลา วรศิลป์ คุณพ่อด�ำรง กู้ชาติ เป็นผู้ส่งเข้าบ้านเณรเล็ก บวชสังฆานุกร วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1991 บวชพระสงฆ์ วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 ประวัติการท�ำงาน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดคาทอลิกแขวงสระแก้ว 1992 1995 (วัดบ้านทัพ วัดเขาฉกรรจ์ วัดนางาม วัดเขาขาด) ผู้จัดการโรงเรียนชุมชนพัฒนา สระแก้ว 1995 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ 2000 เจ้าอาวาสวัดนักบุญอันนา สระไม้แดง 2000 2005

จิตตาภิบาลคณะพลศีลสังฆมณฑลจันทบุรี และจิตตาภิบาลคณะพลศีลระดับชาติ ช่วยงานอบรมเด็กและเยาวชน

2005 2007

เจ้าอาวาสวัดแม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ ผู้อ�ำนวยการสื่อมวลชนสังฆมณฑลจันทบุรี กรรมการบริหารหน่วยงานสื่อมวลชนระดับชาติ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศาสนสัมพันธ์สังฆมณฑลจันทบุรี

2008

พักภารกิจ และช่วยงานอภิบาล อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี

2010 เจ้าอาวาสวัดพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่ 2016 เข้ารับการอบรมที่ฟิลิปปินส์ “หากเราได้สู้ทน จนปลอดพ้นเพื่อพระแท้ เราจะครองราชย์แน่ พร้อมพระองค์คงชีวัน” (เพลงสรรเสริญ)

12


1 พระพรของการเกิดมา

ในครอบครัวคริสตังค์ ทีม่ คี วามเชือ่ ความศรัทธา ในพระเจ้า สอนให้มาวัดตั้งแต่เด็ก ให้มีความ ย�ำเกรงพระเจ้า กลัวบาป ด�ำเนินชีวติ สุภาพถ่อมตน มีเมตตาต่อผู้อื่น

25

ปี แห่งพระเมตตาของพระเจ้า

6

บ้านเณรเล็ก

ได้รับการศึกษา

7

ระเบียบเคร่งครัด

4

มีพระสงฆ์ ซิสเตอร์

8

เล่นกีฬาบาสเก็ตบอล

5

คุณพ่อด�ำรง กู้ชาติ

9

จุดอ่อนในชีวิต

2 3

พระพรของการเป็นเด็ก

ที่นบนอบเชื่อฟังผู้ใหญ่ เรียนค�ำสอน ถือพระ บัญญัติและกฎระเบียบเคร่งครัด

แบบคาทอลิกในโรงเรียนคาทอลิกมาตลอด ปลูก ฝังคุณธรรมแบบคริสต์ มีใจผูกพันกับชีวิตพระ สงฆ์นกั บวช จนสมัครเข้าเป็นเด็กช่วยมิสซา จุด เริ่มของกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์

ที่ดูแลเอาใจใส่ ให้การอบรมอย่างใกล้ชิด โดย มีคณ ุ พ่อไพบูลย์ นัมคณิสรณ์ เป็นผูพ้ ามาค่าย กระแสเรียกทีบ่ า้ นเณรเล็ก ศรีราชา กับเพือ่ น ๆ โดยบอกว่า “ให้เอากระเป๋าเสือ้ ผ้าไป 2-3 ชุด เราจะไปเที่ยวค้างคืนที่ทะเลกัน”

ผูข้ บั รถเบนซ์พามาเข้าบ้านเณร คุณพ่อบอกกับ แม่ผมว่า “ไอ้หลิมมันคงบวชไม่ได้หรอก มัน ขี้ใจน้อย” แต่เหมือนเป็นคาถาวิเศษของพ่อ ด�ำรงเขา ท�ำให้ได้บวชคนเดียว มีคุณพ่อรุ่น พี่หลายคนก็บอกผมอย่างนั้น ที่ได้คาถาวิเศษ ของพ่อด�ำรงแล้วบวชได้

ฝึกฝน เตรียมความพร้อมหลายด้านมาก ทัง้ การ ศึกษา กีฬา พระวินยั มนุษยสัมพันธ์กบั เพือ่ น ๆ การเป็นครูเณรดูแลรุ่นน้อง ๆ จิตวิญญาณครู ให้ไปสอบ พ.ม. (ประกาศนียบัตรประโยคครู พิเศษมัธยม) ได้สอนนักเรียน

แต่ท�ำให้รู้ว่าพระช่วยเหลือตลอด เช่น ถ้าสอบ เข้าอัสสัมชัญ ม.ศ. 4 ไม่ได้ ก็ตอ้ งออกจากบ้าน เณร ตอนนัน้ กลัวมาก สวดขอพระตลอด เพราะ เรียนไม่เก่ง สอบภาษาลาตินไม่ผา่ นก็ตอ้ งออก แต่ก็สอบผ่านทุกที เป็นต้น

จนร่างสูงกว่าเพื่อน แต่มาได้รับการยอมรับ จากการเป็นผู้รักษาประตูทีมฟุตบอล จนติด ทีมวิทยาลัยแสงธรรม และยังคงเล่นมาจนถึง วันนี้ สิง่ ทีค่ ดิ ตัง้ ใจ บางทีกไ็ ม่คอ่ ยตรงกับความ สามารถจริง

คือการลังเล ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง ไม่เชื่อมั่น ในพลังความสามารถของตัวเอง จึงผ่านวิชา ปรัชญาและเทววิทยาไม่ดีนัก ดีที่ผลการเรียน เริ่มจากต�่ำและปรับสูงขึ้นเรื่อย ๆ พระคุณ เจ้าเทียนชัย จึงดูวา่ ตัง้ ใจเรียนดีแม้เกรดจะต�ำ่ 13


14 10 11 12 13 14

ภูมิใจ

ทีค่ ณ ุ พ่อเกรียงศักดิ์ (พระคาร์ดนิ ลั ปัจจุบนั ) อธิการบ้านเณรกลาง ให้ผา่ นหลักสูตร 1 ปี ใครไม่ผา่ นต้องอยูป่ ี 2 ต่อ ด้วยการการันตี คน ทีผ่ า่ นว่า “ด�ำเนินชีวติ แบบเหนือธรรมชาติ ตามจิตตารมณ์ของโฟโคลาเร”

ได้รับเลือกตั้ง

เป็นนายกสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยแสงธรรม แต่อธิการไม่ให้รับต�ำแหน่ง โดยห่วงว่าจะ ท�ำให้ผลการเรียนตกต�่ำ เลยให้บ้านนักบวช รับไปแทน คือคุณพ่อสืบศักดิ์ กล้วยไม้ ณ อยุธยา ตอนนี้ท่านเสียไปแล้ว

บวชเป็นสังฆานุกร

วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ถือว่าดีใจ ที่สุดแล้วที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ มาได้ เหมือนประสบความส�ำเร็จในชีวิตแล้ว แต่ ก็ตกใจที่มีเพื่อนร่วมรุ่น 2 คนลาออก

บวชเป็นพระสงฆ์

วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 ขณะที่รุ่นพี่ อย่างพ่อเศกสมเพิง่ บวชเป็นสังฆานุกร หลัง พิธีบวชไปแล้ว รู้สึกเบลอ ๆ ตลอด เพราะ นอนไม่หลับ และหนักขึ้นไปอีกหลังถวาย มิสซาแรกวันอาทิตย์แล้ว เช้าวันจันทร์ตื่น ขึ้นมา ยังนึกว่าตัวเองเป็นเณรใหญ่อยู่ จะ ไปฟังมิสซาที่ไหนดี

15 16 17 18

คุณพ่อไพศาล(พ่อเขียว)

คาดหวังมากว่าจะให้ผมท�ำงานเยาวชน ไป ไหนพาไปด้วย ฝึกวิทยายุทธ์ให้ทกุ อย่าง แต่ ตอนประกาศแต่งตัง้ ต้องไปท�ำงานโรงเรียน ที่ไม่เคยคาดหวัง งานอภิบาลวัดเล็ก ๆ ใน เขตอ�ำเภอสระแก้ว

ชีวิตรุ่งเรืองที่สุด

สมัยเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญอันนา สระ ไม้แดง เจ้าอาวาสวัดแม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ ตอนรื้อและสร้างวัดหลังใหม่ เป็นผู้อ�ำนวย การสื่อสารสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

ป่วยหนัก

เป็นโรคหอบหืดเรื้อรังและเฉียบพลัน สมัย เป็นปลัดอยู่ที่วัด น.ฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ผ่านความตายมาได้หวุดหวิดจากการเจิม ของคุณพ่อชูชาติ ชุณหกิจ และการจับ มือกับพระคุณเจ้าเทียนชัย โดยเข้าใจผิด ว่าจับมือพยาบาลสาว

ได้รับเลือก

เป็นจิตตาภิบาลพลศีลระดับสังฆมณฑลและ ระดับชาติ อย่างไม่คาดคิด เพราะคิดว่าคน ที่ท�ำงานนี้ต้องเก่งมีความสามารถสูง ตอน สมัยผมไม่เห็นมีใครอยากรับต�ำแหน่งนีเ้ ลย

ไม่คิดว่าจะขับรถได้

เพราะขี้กลัวและฝังใจกับอุบัติเหตุบนท้อง ถนน แต่แรงบันดาลใจมาจากคุณพ่อทรง วุฒิ ประทีปสุขจิต ผมว่าแกขี้กังวลกว่า ผมยังขับไปส่งผมขึ้นรถได้ ผมเลยมุมานะ จนขับได้


19 20 21 22

ออกถนนครั้งแรก

เจอรถบรรทุกซุงจ�ำนวนมาก ขับไม่กล้าแซง เลย จากปราจีนบุรไี ปสระแก้ว ต้องอัญเชิญ ศีลมหาสนิทมาไว้หน้ารถด้วย กลัวมาก แถม ต้องโทรรายงานคุณพ่อนภา กู้ชาติ เป็น ระยะ ๆ ว่าถึงไหนแล้ว ท่านช่วยสอนขับ รถจนผมแกร่งกล้า

รับงานอบรม

ฟืน้ ฟูจติ ใจและสันทนาการ ส�ำหรับนักเรียน เยาวชน เป็นต้น การปัจฉิมนิเทศเด็กนักเรียน ตามโรงเรียนต่าง ๆ ตลอด 20 ปี ร่วมกับรุน่ พี่และเพื่อนพระสงฆ์ ไม่รู้ท�ำมาได้ไง

23 24

เสียใจที่สุด

ตอนพี่ชาย สมศักดิ์ ประทุมราช เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เวลานี้เมื่อคิดถึงพี่ชายก็เอาเพลง “หกล้ม 3 ครานั้น” ออกมาฟัง เทคโนโลยีท�ำให้ยัง มีเสียงของพี่อยู่ในโลก

ภูมิใจที่เป็นพระสงฆ์

25

ภาษาอังกฤษ

ไม่เคยคิดว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษได้ดเี ลยใน ชีวิต จนต้องไปอบรมที่ฟิลิปปินส์ มีเวลา เตรียมตัวแค่เดือนสองเดือน แต่พระท�ำงาน เกินคาด จนเป็นทีย่ อมรับของเพือ่ นพระสงฆ์ ชาวฟิลปิ ปินส์และต่างชาติ จนเขาขนานนาม ผมว่า “คาร์ดนิ ลั ไจ เมชิน” และ “Father Paul” ท�ำให้ผมกลับมามีความมั่นใจในตัว เองอีกครั้ง

3 สิ่งที่บ้านอบรม

ฟื้นฟูชีวิตสงฆ์ บอกผม คือ 1. อย่ า ลื ม ใส่ ใ จชี วิ ต จิ ต โดยมี พ ่ อ วิญญาณารักษ์ประจ�ำตัว 2. หมั่นภาวนา Contemplative Prayer ท�ำวัตร เฝ้าศีล และมิสซา 3. อย่าแยกตัวออกจากหมู่คณะสงฆ์

25 ปีที่ผ่านมา

มีอะไรอีกยืดยาว แต่จะเกิน 25 ข้อแล้ว ขอสรุปแค่ว่า “ด้วยพระเมตตาของพระ ที่มีต่อผม ท�ำไมมันเร็วขนาดนี้”

มีสิทธิ์อวยพรและอภัยบาปสัตบุรุษได้ใน พระนามของพระเจ้า แต่ผมภูมิใจยิ่งกว่า เมื่อสัตบุรุษยกโทษอภัยผิดให้ผมในนาม พระเจ้าและนามของพวกเขาเอง

15


25

ประวัติส่วนตัว

ปีชีวิตสงฆ์ คุณพ่อซีมอน เศกสม กิจมงคล (1992-2017)

เกิดวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1961 คุณพ่อด�ำรง กู้ชาติ เป็นผู้ส่งเข้าบ้านเณรเล็ก บวชสังฆานุกร วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 บวชพระสงฆ์ วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1992 ประวัติการท�ำงาน 1992-1993 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม 1993-1994

ผู้อ�ำนวยการหน่วยงานเยาวชน

1994-1995

ศึกษาต่อประเทศฮ่องกง

1995-2000 ผู้อ�ำนวยการหน่วยงานส่งเสริมชีวิตครอบครัว

16

1998-2000

เจ้าอาวาสวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่

2000-2005

ผู้อ�ำนวยการศูนย์สังคมพัฒนา สระแก้ว

2003-2005

เจ้าอาวาสวัดนักบุญลอเรนซ์ นางาม

2005 2010

เจ้าอาวาสวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง คณะกรรมการสภาอภิบาล ระดับสังฆมณฑล จิตตาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อฆราวาส คณะกรรมการสวัสดิการสงฆ์

2010 2015

เจ้าอาวาสวัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนประชาสงเคราะห์ ผู้ประสานงานวิถีชุมชนวัด สังฆมณฑลจันทบุรี จิตตาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อฆราวาส

2015 ปัจุบัน

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานBEC(งานวิถีชุมชนวัด ) จิตตาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อฆราวาส คณะกรรมการหน่วยงานชีวิตสงฆ์ คณะกรรมการฝ่ายปกครองวัด คณะกรรมการสภาสงฆ์ คณะกรรมการบริหาร


25

ปี แห่งชีวิตสงฆ์ 3 ท่านที่ต้องกล่าวถึง 1. แบบอย่างความเชื่อที่มั่นคงของนักบุญเปโตร ที่ผมได้รับผ่านทางพ่อแม่และครอบครัว ผม ใช้นามนักบุญซีมอน สมัครเข้าบ้านเณรเล็ก แต่ฉลองศาสนนามนักบุญเปโตรตลอด 16 ปี นับแต่เข้าบ้านเณรเล็กถึงก่อนบวช (เพราะคุ้น กับชื่อซีมอนเปโตร) จนถึงวันบวชจึงได้ใช้ชื่อ นักบุญซีมอน อัครสาวก อย่างถูกต้องเพราะ หมอโป(บิดาคุณพ่อวัลลภ)เป็นผูไ้ ขความจริง แต่ ตลอดการเป็นเณรจนตัดสินใจบวช เชือ่ ว่าท่าน นักบุญเปโตรเป็นส่วนหนึง่ ของกระแสเรียก และ ยังคงถือท่านเป็นแบบอย่างชีวิตสงฆ์สืบต่อไป 2. แบบอย่างความร้อนรนของนักบุญซีมอน อัครสาวก ที่ผมพึ่งทราบความจริงก่อนบวชว่า ท่านเป็นองค์อปุ ถัมภ์ตวั จริง แต่แบบอย่างความ ร้อนรนนีไ้ ด้รบั การปลูกฝังมาจากครอบครัว จาก บ้านเณร และการอบรมทุกขัน้ ตอนก่อนบวชจน ทุกวันนี้ และยังคงร้อนรนสืบต่อไปในชีวิตสงฆ์ 3. แบบอย่างการกลับใจอย่างกล้าหาญของนักบุญ เปาโล จากผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับค�ำสอนของ พระเยซู แต่เมือ่ มีประสบการณ์กบั พระเยซู ท่าน กลับใจ ท่านทุ่มเทเพื่อพระเจ้า ตลอดชีวิตการ เป็นธรรมทูตพบแต่อุปสรรค แต่อุปสรรคกลับ ท�ำให้ท่านมีมุมมองใหม่ ที่ท�ำให้ท่านต้องเรียก ต้องพึ่ง ต้องใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น

“เพราะข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็ย่อมเข้มแข็งเมื่อนั้น” (2 คร 12:10)

ชีวิตก่อนบวช.... กลัว ลังเลใจ ไม่กล้าตัดสินใจมอบชีวติ ให้พระ ทั้งหมด... แต่แบบอย่างของนักบุญเปาโลจากพระ วาจาตอนนี้ท�ำให้กล้าตัดสินใจตอบรับค�ำเชิญของ พระ ท�ำให้ผมกล้าตัดสินใจขอบวช ชีวิตหลังบวช.... พระวาจาตอนนี้ยังคงท�ำหน้าที่อย่างสัตย์ซื่อ เมื่อที่เผชิญหน้ากับอุปสรรค ครั้งใดที่พบความยาก ล�ำบาก ถูกทดลอง ท�ำงานไม่ส�ำเร็จ ท้อถอยหมด ก�ำลังใจ พระวาจาตอนนี้ได้ให้ก�ำลังใจ ช่วยท�ำให้ลุก ขึ้นเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ ๆ 25 ปี ชีวิตสงฆ์ ผมจึงภูมิใจในความบกพร่อง ความอ่อนแอ ในชีวิตสงฆ์ของตนเอง ดังเช่นแบบอย่างของท่าน นักบุญเปาโล 25 ปี ชีวิตสงฆ์ จึงขอบคุณพระที่ผมยังอ่อนแอ เพราะท�ำให้ ผมต้องเรียกหาพระองค์เพื่อเสริมก�ำลังบ่อย ๆ 25 ปี ชีวิตสงฆ์ จึงขอบคุณพระที่ผมยังมีข้อบกพร่อง เพราะ ท�ำให้ผมต้องพึ่งพระองค์เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น 25 ปี ชีวิตสงฆ์ จึงขอบคุณพระทีผ่ มยังไม่เป็นสงฆ์ทศี่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ เพราะท�ำให้ผมต้องตัง้ ใจสวดภาวนาและถวายมิสซา มากขึ้น 17


25

ปี แห่งชีวิตสงฆ์ ขอบคุณพระเจ้าที่ให้เกียรติเรียกและเลือกให้ผม เป็นสงฆ์ทั้งที่ไม่เหมาะสม ขอบคุณพระที่ให้ผมได้เกิดในครอบครัวที่ อบอุ่น พ่อแม่ศรัทธาปลูกฝังความเชื่อลูก ๆ แต่เล็ก ได้อยู่ในชุมชนความเชื่อที่ศรัทธา บ้านอยู่ใกล้วัด ได้ เรียนในโรงเรียนคาทอลิก ได้ใกล้ชดิ พระสงฆ์ ซิสเตอร์ จึงได้รบั การส่งเสริมกระแสเรียกพระสงฆ์และนักบวช ท�ำให้ครอบครัวผมมีบุญ มีพี่น้องบวชเป็นพระสงฆ์ 2 องค์ นักบวชชาย 1 คนและนักบวชหญิง 1 คน (คุณพ่อเฉลิม ซิสเตอร์วนั ทนา บราเดอร์ชยั พร คุณพ่อ เศกสม) แบบอย่างทีด่ ขี องพ่อแม่ พี่ ๆ ทีเ่ ป็นพระสงฆ์ และนักบวช เป็นจุดเริ่มต้นของกระแสเรียกของผม

ความเป็นพีเ่ ป็นน้องของครอบครัวสงฆ์จนั ท์ ความเป็นหนึ่งเดียวของเพื่อนสงฆ์จันท์ในหน้าที่การ งาน ในการด�ำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมของสงฆ์จันท์ 25 ปี ท�ำให้ชีวิตสงฆ์ผมเติบโต มีความสุขและพร้อม ก้าวหน้าต่อไป ขอบคุณนักบวชชายหญิง ครู อาจารย์และ ฆราวาสทีม่ สี ว่ นในการส่งเสริมดูแลกระแสเรียกของ ผม ท�ำให้ผมได้บวชเป็นพระสงฆ์ และฉลอง 25 ปี ชีวิตสงฆ์ในปีนี้

ความสัมพันธ์และความผูกพันของพีน่ อ้ ง เป็น พิเศษพีน่ อ้ งสงฆ์-นักบวช ทีย่ งั คงติดต่อพบปะกันเป็น ประจ�ำ ท�ำให้อนุ่ ใจและเป็นขวัญก�ำลังใจในการด�ำเนิน ชีวิตสงฆ์ทุกวันนี้ ขอบคุณพระส�ำหรับประสบการณ์ชีวิตสงฆ์ผู้ อ�ำนวยการหน่วยงานเต็มเวลา 3 หน่วยงาน 14 ปี (1992-2005) ประสบการณ์เหล่านี้ ได้กลายเป็นพื้นฐาน ส�ำคัญของชีวิตสงฆ์ ท�ำให้ผมตั้งใจและพยายาม ให้ความส�ำคัญกับงานอภิบาลทุกอย่างทุกรูปแบบ และการประสานงานกับทุกหน่วยงาน เพื่องานของ สังฆมณฑลจันทบุรี จะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 18


ขอบคุณพระส�ำหรับประสบการณ์ชีวิตสงฆ์เจ้า อาวาส 2 วัด 10 ปี (2005-2015) ประสบการณ์ 10 ปี ที่มีทั้งดีมากและดีน้อย ท�ำให้เข้าใจว่าการเป็นสงฆ์ของพระคริสตเจ้า ต้อง สุภาพถ่อมตน ต้องไม่กลัวความล�ำบาก ต้องออกไป หาผู้ตกทุกข์ได้ยาก ต้องรักพระเยซูในตัวผู้ทุกข์ยาก เหล่านั้น

ขอบคุณพระส�ำหรับประสบการณ์ชวี ติ สงฆ์กบั งาน วิถีชุมชนวัด (BEC) 7 ปี (2011-2017) วันเวลาเปลีย่ นไป สภาพสังคม เศรษฐกิจ วิธี คิด ความเชือ่ และวิถชี วี ติ ของสัตบุรษุ ก็เปลีย่ นเช่นกัน จ�ำเป็นทีพ่ ระสงฆ์ตอ้ งปรับเปลีย่ นวิธคี ดิ วิธอี ภิบาลแนว ใหม่ “วิถชี มุ ชนวัด” เป็นวิธอี ภิบาลคริสตชนแนวใหม่ ที่ส่งเสริมให้ฆราวาสรู้สึกเป็นเจ้าของพระศาสนจักร รักพระศาสนจักร(วัด) และมีสว่ นร่วมในงานของพระ ศาสนจักรมากขึน้ โดยใช้พระวาจาเป็นแรงบันดาลใจ ประสบการณ์ส่วนตัวที่พบพระและกลับใจ ก่อนบวชจากพระวาจา (2คร 12:10) ประสบการณ์ 7 ปีทไี่ ด้จมุ่ ตัวในงานวิถชี มุ ชนวัด โดยมีพระวาจาเป็น แรงบันดาลใจในการด�ำเนินชีวิต พบว่าพระวาจาได้ เปลีย่ นแปลงชีวติ ฆราวาสจ�ำนวนหนึง่ พวกเขาเข้าใจ และเต็มใจให้ความร่วมมือกับพระสงฆ์ในการออก ไปท�ำ “วิถีชุมชนวัด” จึงขอขอบคุณพระที่ได้ให้ผมมี ประสบการณ์ที่ดีกับงานวิถีชุมชนวัด

สุดท้ายขอฝากชีวิตสงฆ์จากนี้ไป ไว้ในค�ำ ภาวนาของพีน่ อ้ ง เพือ่ ผมจะได้ซอื่ สัตย์ตอ่ กระแสเรียก ทีพ่ ระได้ให้เกียรติเรียก เลือกและช่วยเหลือผมจนครบ 25 ปีบวช และเพื่อก้าวต่อไปของชีวิตสงฆ์จากนี้ไป 19


สู่

ชีวิตสงฆ์ สังฆานุกร ยอแซฟ ประธาน ตันเจริญ “การมีชีวิตอยู่ ก็คือ พระคริสตเจ้า” (ฟป 1:21)

เกิดเมื่อ สัตบุรุษวัด บิดา มารดา จ�ำนวนพี่น้อง การศึกษา

วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) อัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี สเตฟาโน ประพันธ์ ตันเจริญ มารีอา วารี ตันเจริญ 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 ระดับอนุบาล โรงเรียนมารีวิทยา จ.ปราจีนบุรี ระดับประถมศึกษา โรงเรียนมารีวิทยา จ.ปราจีนบุรี ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี/ปริญญาโท วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน

เหตุจูงใจในการเข้าบ้านเณร ผมได้มโี อกาสเข้าค่ายกระแสเรียก ทีท่ างบ้านเณรเล็กพระหฤทัย ศรีราชา ได้จดั ตามแขวง ซึง่ ตอนนัน้ จัดที่วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา ได้เห็นถึงแบบอย่างที่ดีของบรรดาพี่ ๆ สามเณร จึงเกิดความประทับใจ และอยาก เป็นเณร แต่สิ่งที่ท�ำให้ตัดสินใจเข้าบ้านเณรจริง ๆ แล้วคือ แบบอย่างของคุณพ่อสีลม ไชยเผือก ซึ่งเป็นพ่อ เจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น คุณพ่อเป็นคนใจดี ไม่เคยดุเด็ก พยายามให้เด็ก ๆ มาช่วยมิสซา และให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ไปสัมผัสชีวิตนักบวช พระสงฆ์ จึงท�ำให้เกิดแรงจูงใจ และมีก�ำลังใจในการเข้าบ้านเณร ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่อยอแซฟ สีลม ไชยเผือก ได้รับการแต่งตั้ง 20

เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดย พระอัครสังฆราช หลุยส์ จ�ำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย เป็นสังฆานุกร วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์

สังฆานุกรทั้งสองจะเข้ารับศีลบวช ในวันที่ 30 กันยาย


สู่

ชีวิตสงฆ์ สังฆานุกร เปโตร อิทธิพล หางสลัด

“จงวางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้าและท�ำความดี” (สดุดี 37:3) เกิดเมื่อ สัตบุรุษวัด บิดา มารดา จ�ำนวนพี่น้อง การศึกษา

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) นักบุญ วินเซน เดอ ปอล เขาขาด สระแก้ว นิโคลัส ตึ๋ง หางสลัด (เสียชีวิตแล้ว) อักแนส สวน หางสลัด 1 คน ระดับอนุบาล โรงเรียนบ้านเขาพรมสุวรรณ จ.สระแก้ว ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านเขาพรมสุวรรณ จ.สระแก้ว ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี/ปริญญาโท วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน

เหตุจูงใจในการเข้าบ้านเณร ผมมีความประทับใจในแบบอย่างชีวิตของพระสงฆ์ในสังฆมณฑลแต่ละคน มีเอกลักษณ์ มีจุดเด่นเป็น ของตัวเอง และผมสัมผัสได้ถึง ความใจดี ใจกว้างและเป็นกันเอง มีแบบอย่างแห่งการเป็นผู้รับใช้ ด้วยความ รัก เสียสละและอุทิศตนเพื่อผู้อื่น คุณพ่อท่านหนึ่งได้กล่าวกับผมว่า “การจะเป็นพระสงฆ์นั้น เราทุกคน สามารถเป็นได้ แต่การจะเป็นพระสงฆ์ที่ดีนั้นยากมากกว่า เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นคนที่คิดถึงความ ทุกข์ยากของผู้อื่นอยู่เสมอ ฝึกเป็นคนใจกว้างให้มาก อย่าเป็นคนใจแคบ แล้วชีวิตสงฆ์จะมีความสุขใน การเป็นผู้รับใช้ที่ดี” ส�ำหรับผมแล้ว ชีวิตสงฆ์จะต้องเป็นผู้รับใช้ด้วยความใจกว้างเสมอ ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่อ เปโตร แสวง สามิภักดิ์ ได้รับการแต่งตั้ง

เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย เป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นสังฆานุกร วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์

ยน ค.ศ. 2017 ณ วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี

21


ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

ความยากจน ในพันธกิจแห่งความเมตตา สวัสดีพนี่ อ้ งสายใยจันท์ทรี่ กั ทุกท่าน พบกันอีกเช่นเคยครับ ในฉบับนีพ้ อ่ อยากเชิญชวน พี่น้องมารับรู้ประสบการณ์งานสังคมและการอภิบาลผู้ยากไร้ บุคคลชายขอบในสังฆมณฑล จันทบุรีของเรา จากประสบการณ์ของพระศาสนจักรทีท่ ำ� งานอภิบาลกับผูย้ ากไร้ บุคคลชายขอบสังคม ซึง่ เป็นงานทีม่ จี ดุ เริม่ ต้นมาจากพระด�ำรัสของพระเยซูเจ้า “ท่านจะต้องรักเพือ่ นพีน่ อ้ งเหมือน รักตนเอง” (มก 12 : 31) “ท่านจะมีคนจนอยู่กับท่านเสมอ” (มก 14 : 7) ฯลฯ เป็นองค์พระ ผู้เป็นเจ้าของเราที่ทรงตรัส และทรงกระท�ำเป็นแบบอย่างในเรื่องความรักและเมตตาต่อผู้อื่น พระศาสนจักรยังคงซื่อสัตย์ต่อพระด�ำรัสและการกระท�ำนี้เสมอมา ในการประชุมสภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย (FABC) ครัง้ ที่ 11 ทีผ่ า่ นมา ณ กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา วันที่ 28 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม ค.ศ. 2016 บรรดาพระสังฆราชได้มอบหัวข้อที่ น่าสนใจ “ครอบครัวในทวีปเอเชีย เป็นพระศาสนจักรท้องถิ่นของคนยากจน ในพันธกิจ แห่งความเมตตา” ในเอกสารฉบับนี้ มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของพระศาสนจักรของ เราที่น่าสนใจ “...พระศาสนจักรของคนยากจน เป็นพระศาสนจักรซึ่งต่อหน้าพระพักตร์ ของพระเจ้านั้น เรายอมรับสภาพว่าเรามีความยากจนฝ่ายจิต ยากจนในบาปและเรา ต้องขึ้นกับพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง ต้องเป็นพระศาสนจักรที่เลือกเข้าข้างคนยากจน มีความ เอื้ออาทรต่อพวกเขา พยายามปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีของพวกเขา เป็นพระศาสนจักร ที่แบ่งปันและรับใช้ ซึ่งส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมส�ำหรับคนยากจน ที่ปรากฏออก มาในหลากหลายรูปแบบ พระเจ้าของพวกเขา คือพระเยซูแห่งนาซาเร็ธผู้ซึ่งถ่อมตนเป็น คนยากจน เพื่อที่เราจะได้กลายเป็นคนร�่ำรวยด้วยพระหรรษทานของพระองค์” (ข้อ 4) 22


ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมา สังฆมณฑลของเราได้เปิด “ศูนย์อภิบาล ผู้เดินทางทะเล สเตลามารีส แสมสาร” “Stella Maris Seafarers’ Centre, Samaesan” ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต�ำบลแสมสาร อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ศูนย์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางสหภาพ ยุโรป ด�ำเนินงานโดยหน่วยงานผู้อพยพย้ายถิ่นและแผนกเพื่อการท่องเที่ยวและผู้เดินทางทะเล ของสังฆมณฑลจันทบุรใี นนาม “Stella Maris Chanthaburi” โดยได้รบั ความร่วมมือจากเครือ ข่ายของทางภาครัฐ และเอกชนต่าง ๆ ซึ่งศูนย์นี้ ท�ำหน้าที่อภิบาลดูแลบรรดาผู้ที่เข้ามาท�ำงาน ในประเทศไทย ในแถบต�ำบลแสมสาร ส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ เช่น ชาวพม่า ชาวกัมพูชาและ ชาวมอญ ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นคนใช้แรงงาน ยากจน ไม่รู้หนังสือ และบางส่วนเข้ามา ในประเทศไทยโดยไม่ถกู กฎหมาย สังฆมณฑลจันทบุรผี า่ นทางคุณพ่อและเจ้าหน้าทีจ่ ะช่วยดูแลใน เรือ่ งทีส่ ามารถช่วยได้ เช่น การประสานงานกับภาครัฐในเรือ่ งความถูกต้องทางด้านเอกสาร การ ดูแลและตรวจสุขภาพร่วมกับแผนกสุขภาพอนามัยของทางสังฆมณฑล การน�ำสิ่งของหรือปัจจัย ที่จ�ำเป็นขั้นพื้นฐานไปช่วยเหลือ ฯลฯ

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการเริ่มต้นงานของพระศาสนจักรอย่างเป็นทางการ ต่อหน้า สาธารณชนทีต่ �ำบลแสมสาร แต่พนี่ อ้ งครับยังมีอกี หลายเนือ้ งานของพระศาสนจักรทีด่ แู ลผูย้ ากไร้ ด้อยโอกาสแต่เรายังไม่มีศูนย์ที่เป็นทางการเช่นนี้ เชิญชวนให้พี่น้องสนับสนุนกิจการของพระ ศาสนจักรและภาวนาให้กับบรรดาผู้ที่ท�ำงานอภิบาลนี้ต่อไปนะครับ พบกันใหม่ฉบับหน้าในเนื้อ งานและการท�ำงานสังคมในสังฆมณฑลของเราครับ 23


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม

โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

แนวการจัดพิธีกรรมในวัด สวัสดีครับพีน่ อ้ งทีร่ กั ทุกท่าน พบกันอีกเช่นเคยในเรือ่ งราวเกีย่ วกับพิธกี รรม พ่อมีโอกาสพบ กับพี่น้องสัตบุรุษหลายท่านที่ช่วยบรรดาคุณพ่อจัดพิธีกรรมหรือที่เราเรียกง่าย ๆ ว่า “จัดวัด” บาง ท่านมีข้อสงสัยหลายประการ บางท่านก็โทรศัพท์มาถามว่าต้องท�ำอย่างไร? ต้องจัดอย่างไร? ฯลฯ ถ้าเราพูดถึงหลักการจัดพิธีกรรม หรือการ ประยุกต์อะไรบางอย่างในพิธีกรรมนั้นต้องไม่ลืมว่า พระศาสนจักรมีระเบียบกฎเกณฑ์และการปฏิบัติมา ยาวนาน ทีเ่ ราเรียกว่า “ธรรมประเพณี” (Tradition) บรรดาผูท้ จี่ ะต้องจัดพิธกี รรม หรือช่วยพระสงฆ์ทวี่ ดั ดูแลเรื่องเหล่านี้ พึงต้องเป็นผู้เอาใจใส่ ศึกษาเรียน รู้รายละเอียดอย่างดีพอสมควร บางท่านก็ได้รับค�ำ แนะน�ำจากพระสงฆ์ผรู้ ู้ หรืออาศัยจากประสบการณ์ ที่ได้เคยปฏิบัติตามรูปแบบพิธีกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ เล็กจนโต 24

สายใยจันท์ฉบับนี้ ขอเสนอแนะแนวทาง กว้าง ๆ ที่พระศาสนจักรแนะน�ำ ในสังฆธรรมนูญ ว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ (SACROSANCTUM CONCILIUM) ข้อที่ 34 “จารีตพิธีกรรมต้องมี ลักษณะสง่างามและเรียบง่าย น่าเลื่อมใสและ กระทัดรัด ชัดเจนและไม่ซ�้ำซากโดยไร้ประโยชน์ จารีตพิธีจะต้องปรับให้เหมาะสมกับความเข้าใจ ของสัตบุรุษและโดยทั่วไป ไม่ต้องการค�ำอธิบาย มากนัก” ซึ่งเป็นหลักที่เข้าใจได้ง่าย ๆ เราสามารถ น�ำมาใช้ได้ครับ


• สง่างามและเรียบง่าย :

. ถ้าพีน่ อ้ งเคยร่วมพิธกี รรมใหญ่ ๆ เราจะ เห็นได้ว่า การจัดพิธีกรรมจะเต็มไปด้วยความ สง่างาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อร่วมแล้ว ท�ำให้รสู้ กึ ว่าสวยงาม สง่างามสมพระเกียรติองค์ พระเจ้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ อาภรณ์ ศาสนภัณฑ์ นอกจากจะต้องครบถ้วนตามขัน้ ตอน พิธีแล้ว เรายังเน้นความเป็นระเบียบ สะอาด จัดวางไว้ในที่ที่เหมาะสม

• กระทัดรัดและชัดเจน :

. การจัดเตรียมของคณะผูจ้ ดั พิธกี รรม ใน ด้านพิธีกรรมและพิธีการเราจะเห็นได้ว่า ต้อง มีขั้นตอนที่กระชับ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ ผู้จัด ต้องรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนที่เข้าร่วม ในพิธีกรรมทั้งศาสนบริกรและสัตบุรุษ ตาม ลักษณะของพิธกี รรมและตามกฎของพิธกี รรม หากเป็นพิธีกรรมใหญ่ ๆ จะมีผู้ก�ำกับควบคุม พิธีกรรม(M.C.) มีพิธีกรที่เตรียมตัวมาอย่างดี มีการซักซ้อมบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพิธี สิง่ ต่าง ๆ ทีก่ ล่าวมานีจ้ ะท�ำให้เกิดความราบรืน่ ความกระชับ ชัดเจน สามารถควบคุมเรื่อง เวลาในทุกขัน้ ตอนได้เป็นอย่างดีในระหว่างการ ประกอบพิธีกรรม

ดังนั้น พี่น้องจะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์และ ค�ำแนะน�ำกว้าง ๆ ของพระศาสนจักรนี้ บรรดาผู้ ที่มีหน้าที่จัดวัด หรือเป็นผู้ช่วยอยู่ในคณะกรรมการ พิธีกรรมของวัด พึงต้องเอาใจใส่ และกระท�ำการจัด เตรียมพิธีกรรมโดยละเอียดรอบคอบ อยากแนะน�ำ ให้บรรดาผู้จัดพิธีกรรมศึกษาหาความรู้จากเอกสาร ด้านพิธีกรรมด้วยตนเองบ้าง สอบถามจากบรรดา คุณพ่อ หรือผู้มีประสบการณ์ในการจัดพิธีกรรมบ้าง บางคนถึงกับทุม่ เทสละเวลาไปเรียนด้านคริสตธรรม โดยตรงก็จะเป็นการดี น่าชื่นชม หากเราเข้าใจค�ำแนะน�ำนีแ้ ล้ว ทัง้ ผูจ้ ดั พิธกี รรม และพี่น้องสัตบุรุษที่ร่วมพิธีกรรมก็จะเข้าใจถึงธรรม ล�้ำลึกแห่งการไถ่กู้ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ผ่านทาง พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ทุก ๆ ครั้ง ทุกคนก็จะพบกับความ หวังในการไถ่กใู้ ห้รอดพ้นเช่นเดียวกัน พบกันใหม่ฉบับ หน้าครับ สวัสดี

• ความเลื่อมใสศรัทธา :

. จากการที่ได้เตรียมการอย่างดีในการ เฉลิมฉลองพิธีกรรม ก็จะท�ำให้สัตบุรุษเข้าใจ ถึงความหมายในพิธีกรรมผ่านทางสัญลักษณ์ ต่าง ๆ ที่ถูกจัดแสดงไว้ในพิธีกรรม พูดง่าย ๆ สัตบุรษุ เมือ่ เห็นเครือ่ งหมายต่าง ๆ ร่วมพิธกี รรม ตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว พวกเขาสามารถเข้า ถึงองค์พระเจ้าได้ ด้วยใจศรัทธา 25


เหมือนจะสิ้นไฟฝัน เหมือนจะหมด สิ้นเรี่ยวแรง แห่งความหวัง เหมือนจะร้าง ไฟพลัง ในวันนี้ เหมือนจะลา ลับจากโลก แห่งชีวี เหมือนจะหนี รอยราคี แห่งทุกข์ตรม เหมือนดวงไฟ จะมอดดับ แลอับโชค เหมือนทุกข์โศก โรคภัยร้าย มาทับถม เหมือนชีวิต จะหมดสิ้น ความชื่นชม เหมือนรอยตรม รอยระบม มาถมใจ ขอโปรดคืน พลังใจ ให้ลูกด้วย ขอทรงช่วย อวยพรลูก ให้สดใส ขอโปรดลบ รอยมลทิน จากดวงใจ ให้ลูกกลับ เป็นคนใหม่ ได้ดั่งเดิม

26

โดย น�้ำผึ้งหวาน


ในวันที่ดวงใจแอบซุกซ่อนความทดท้อเอาไว้ภายใน และแสดงออกมาเป็นหยาดน�้ำตาและความอ่อนแอของชีวิต ทั้งยังกล่าวโทษว่าเหตุเพราะหน้าที่การงานท�ำให้ชีวิตอ่อนล้า หาใช่เพราะตนเองเป็นต้นเหตุไม่ แท้จริงแล้ว...ดวงใจที่ล้าอ่อนนั้น เกิดจากตนเองทั้งสิ้น การยึดติดกับบุคคลก็เป็นทุกข์ ความคาดหวังก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความต้องการที่ไม่สิ้นสุดก็เป็นทุกข์ เมื่อเกิดทุกข์ก็หาเกราะป้องกันตนเองด้วยการฝันหาความสุข วาดวิมานในอากาศกับความสุขจอมปลอม เมื่อฝันพังทลายเพราะไม่ใช่ความจริงก็กลับมาทุกข์อีก ดวงใจอ่อนแอย่อมต้องอ่อนล้าและท้อแท้ สิ่งส�ำคัญคือก�ำลังใจ เพลง ๆ หนึ่งแว่วมาเรียกก�ำลังใจให้ตนเอง พระเยซู ผู้เดียวที่เป็น เพื่อนในยามล�ำเค็ญ เป็นความหวังให้เธอ แม้มีภัยใด ต้องพาลพบเจอ มีพระหัตถ์อบอุ่นดูแลมั่นใจ หากทางเดินยังดูมืดมน ฉันนี้ยังมีพระองค์จับมือมั่นไว้ ขอเพียงมีพระองค์ข้างกาย ให้ดวงใจอบอุ่น เท่านั้นก็เพียงพอ (เพลง..เคียงข้างเสมอ) 27


การแต่งงาน ที่เป็นโมฆะ (NULLITY)

เจริญพรสาธุคริสตชนที่เคารพทุกท่านครับ ทัง้ ผูอ้ ภิบาล และพีน่ อ้ งต่างมีหน้าทีช่ ว่ ยเหลือ ผูท้ ปี่ ระสงค์จะแต่งงาน โดยเฉพาะเมือ่ รูว้ า่ เขามีขอ้ ขัดขวางใดๆ อยู่ เพื่อหาแนวทางที่เป็นไปได้ต่อไป ผู้อภิบาล จะอาศัยกระบวนการศาลพระ ศาสนจักร หรือ ขอการยกเว้นใด จากผู้มีอ�ำนาจท้อง ถิ่นของพระศาสนจักรได้หรือไม่? อย่างไร? ฉบับนีพ้ อ่ ขอยกตัวอย่างเพือ่ ประกอบกับ “ข้อขัด ขวางโดยเฉพาะ 12 ข้อ” ตามทีป่ ระมวลกฎหมายพระ ศาสนจักร มาตรา 1083-1094 เพราะการแต่งงาน ที่เป็นโมฆะนั้นท�ำให้ไม่เกิดผลใดๆ ดังต่อไปนี้....

1)

การแต่งงานของผูท้ มี่ อี ายุนอ้ ย (กฤษฎีกา สภาพระสังฆราชฯ ไทย ก�ำหนดไว้ที่ 17 ปี บริบูรณ์ทั้งสองฝ่าย) (ดู Can.1083) ตัวอย่างที่ 1

นายเหิรฟ้า อายุ 16 ปียงั ไม่บริบรู ณ์ แต่งงาน กับ น.ส.เมฆลา นามสกุล ล่อแก้ว อายุ 13 ปี บริบูรณ์ การแต่งงานทั้งคู่เป็นโมฆะ เพราะอายุยัง ไม่ถึงเกณฑ์ตามข้อก�ำหนดของกฎหมาย 28

2)

การแต่ ง งานของผู ้ ที่ ไ ร้ ส มรรถภาพ ที่จะร่วมเพศ (ดู Can.1084) ตัวอย่างที่ 2

นายแว๊นซ์ฟ้อ นามสกุล หล่อเฟี้ยว อายุ 20 ปีบริบรู ณ์ แต่งงานกับ น.ส.ล�ำไย นามสกุล ไหทองค�ำ อายุ 20 ปีบริบรู ณ์เช่นเดียวกัน แต่ น.ส.ล�ำไย ทราบ ภายหลังว่า นายแว๊นซ์ฟ้อ เคยประสบอุบัติเหตุ ทางรถยนต์ จนไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ คือ ไร้ สมรรถภาพทางเพศ การแต่งงานนี้เป็นโมฆะ

3)

การแต่งงานของผูท้ มี่ พี นั ธะการแต่งงาน ครั้งก่อน (เดิม) (ดู Can.1085) ตัวอย่างที่ 3

นายนิยม นับถือศาสนาพุทธ เคยแต่งงาน แล้วกับ น.ส.มินต์ นับถือศาสนาพุทธเช่นกัน ต่อ มา นายนิยม หย่ากับ น.ส.มินต์ มาแต่งงานกับ น.ส.ชมพู่ นับถือศาสนาคาทอลิก โดยคุณพ่อเจ้า วัดของ น.ส.ชมพู่ อ้างว่ามีงานยุ่ง ไม่ได้สอบสวน แต่งงาน ไม่ได้ด�ำเนินการขอความเป็นโมฆะการ แต่งงานเดิม แต่หลับหูหลับตาท�ำพิธีแต่งงานให้ ทั้งคู่ การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ เพราะฝ่ายชายมี พันธะการแต่งงานมาก่อน


4)

การแต่งงานของการนับถือศาสนา ต่างกัน (ดู Can.1086) ตัวอย่างที่ 4

นายขั้นเทพ นับถือศาสนาพุทธ แต่งงานกับ มารีอา พอใจ นับถือศาสนาคริสต์ แต่งงานแบบ ต่างฝ่ายต่างนับถือศาสนา แต่ลืมขอการยกเว้น จากพระสังฆราช หรือท�ำพิธีแต่งงานไปก่อน แล้ว คิดว่าจะมาขอทีหลัง หรือ ไม่ท�ำตามเงื่อนไขของ การแต่งงานแบบต่างฝ่ายต่างนับถือศาสนา ฯลฯ การแต่งงานนี้ถือเป็นโมฆะ

5)

การแต่งงานของผู้ที่ได้รับศีลบรรพชา (ดู Can.1087) ตัวอย่างที่ 5

น.ส.ใบเตย แต่งงานกับอดีตสมณะที่ขอลา สิกขาบท แต่ยงั ไม่ได้รบั การยกเว้นจากการถือโสด และพันธกิจหน้าทีส่ งฆ์จากกรุงโรม (Dispensation from celibacy and from the obligations of priestly ordination) การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ

6)

การแต่งงานของผู้ปฏิญาณถือโสด ตลอดชีพ (ดู Can.1088) ตัวอย่างที่ 6

นายเป็นต่อ แต่งงานกับ น.ส.โรซ่า ซึ่งเคย ปฏิญาณตนตลอดชีวิตมาแล้ว และยังไม่ได้รับการ ยกเว้นจากการปฏิญาณในชีวติ นักบวช (Dispensation from religious vows) การแต่งงานนีเ้ ป็นโมฆะ

7)

การแต่งงานของผู้ถูกลักพาตัว (ดู Can.1089) ตัวอย่างที่ 7

พระเอกเรื่องจ�ำเลยรัก ลักพานางเอกเรื่อง เดียวกัน ไปกักขังหน่วงเหนี่ยวอิสรภาพอยู่ในป่า ด้วยความแค้น ต่อมา จับให้เธอมาแต่งงานด้วย ความรัก แต่เธอมิได้มคี วามเต็มใจและไม่ได้รกั ตอบ ด้วย การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ

8)

การฆาตกรรมคูค่ รอง (ของตนเอง หรือ ของอีกฝ่ายหนึ่ง) เพื่อแต่งงาน (ดู Can.1090) ตัวอย่างที่ 8

น.ส.สุดสวาท ต้องการแต่งงานกับท่านนายก อบต.เผือกน้อย จึงวางแผนฆาตกรรมภรรยาท่าน นายก อย่างแนบเนียนจนท�ำให้เธอตายไป แล้วจึง แต่งงานกัน การแต่งงานนี้เป็นโมฆะ

9)

การแต่งงานของญาติทางสายโลหิต (ดู Can.1091) ตัวอย่างที่ 9

การแต่งงานระหว่างพี่ชายน้องสาว เป็น โมฆะเด็ดขาด การแต่งงานระหว่างอากับหลาน ซึ่งถือเป็นสายขนานชั้นที่ 3 ก็เป็นโมฆะด้วย การ แต่งงานระหว่างลูกผู้พี่ลูกผู้น้อง ซึ่งถือเป็นสาย ขนานชั้นที่ 4 ก็เป็นโมฆะ (สายขนานชั้นที่ 3 อาจ ขออนุญาตยกเว้นจาก Local Ordinary ได้ ต้อง มีเหตุผลหนักแน่นมากที่สุด ส่วนสายขนานชั้นที่ 4 อาจขออนุญาตยกเว้นจาก Local Ordinary ได้ ต้องมีเหตุผลหนักแน่นจริง) 29


10)

การแต่งงานของญาติเกี่ยวดองกัน (ดู Can.1092) ตัวอย่างที่ 10

นายเชาเชา แต่งงานกับ น.ส.แก้วสารพัด นึก ลูกสาวของนางแก้วสารพัดพิษ ต่อมา น.ส.แก้ว สารพัดนึก ตายจากไป นายเชาเชา อาลัยอาวรณ์ มาก ต้องการแต่งงานกับใครสักคนทีเ่ หมือนกับเธอ และก็พบคนที่ใช่ คือ แม่ของเธอ แม้ว่าหน้าจะแก่ ไปบ้าง แต่ก็มีเค้าโครงเดียวกัน จึงขอแต่งงานกับ แม่ยาย ซึง่ ตกพุม่ หม้ายมาหลายปีแล้ว การแต่งงาน ของนายเชาเชา กับ นางแก้วสารพัดพิษ ผู้เป็น แม่ยาย ถือเป็นโมฆะ เพราะเป็นญาติเกี่ยวดอง สายตรงแต่งงานกันไม่ได้

11)

การแต่งงานของผู้ที่อยู่กินกันฉันสามี ภรรยา กับ ผูท้ เี่ ป็นสายเลือดของอีกฝ่าย (ดู Can.1093) ตัวอย่างที่ 11

นายโชซอน ไม่ได้แต่งงาน แต่อยูก่ นิ กันเฉยๆ กับ น.ส.แดจังกึม แต่ชาวบ้านทั่วไปรู้ว่าทั้งคู่เป็น ชู้สาวกัน ต่อมา น.ส.แดจังกึม เกิดกันดารอาหาร ไม่มีอะไรกินจนตายไป นายโชซอน จะไปแต่งงาน กับแม่ของ น.ส.แดจังกึม ไม่ได้ ถือว่าเป็นโมฆะ

12)

การแต่งงานของญาติทางกฎหมาย ซึง่ เกิดจากการรับเป็นบุตรบุญธรรม (ดู Can.1094) ตัวอย่างที่ 12

นายอูด๊ รับเด็กหญิงเล็กๆ คนหนึง่ ด.ญ.สารพัด ปัญหา มาเป็นบุตรีบญ ุ ธรรม จดทะเบียนเรียบร้อย ต่อมา ด.ญ.สารพัดปัญหา โตเป็นสาว นายอู๊ด จึง เปลี่ยนชื่อ น.ส.สารพัดปัญหา มาเป็น น.ส.ต้อย นายอู๊ด เห็นว่า น.ส.ต้อย หน้าตาดี ก็คิดจะเลี้ยง ต้อยไว้ ไม่ใช่เป็นบุตรีบุญธรรมอีกต่อไป แต่จะให้ เป็นภรรยา ถ้านางสาวต้อยยอมให้เขาเลี้ยง การ แต่งงานนี้ก็เป็นโมฆะ

ค�ำสั่งสอนของพระศาสนจักรเป็นชีวิตและ ส่งเสริมการถือธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ท�ำให้ ชีวติ คริสตชนของพีน่ อ้ งมีคณ ุ ค่า สมกับเป็นประชากร ของพระเจ้า หวังว่าตัวอย่างจะท�ำให้พนี่ อ้ งเข้าใจเรือ่ ง “การแต่งงานที่เป็นโมฆะเพราะข้อขัดขวางทั้ง 12 ประการนี้ ชัดเจนขึ้นนะครับ ขอพระเจ้าคุ้มครองครอบครัวและทรงอวยพร ความรักของพี่น้องทุกท่านครับ

หมายเหตุ บทความนี้เรียบเรียงใหม่จากบทความของ คุณพ่อวิชา หิรัญญการ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 30


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

พิธีเสกน�้ำมันศักดิ์สิทธิ์/รื้อฟื้นค�ำปฏิญาณแห่งชีวิตสงฆ์

12

เม.ย. 2017

31


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับสาร ตราด

25

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดน.ยอแซฟกรรมกร ท่าใหม่ 32

มี.ค. 2017

29

เม.ย. 2017


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดน.ฟิลิปและยากอบ หัวไผ่

6

พ.ค. 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระที่พึ่งแห่งปวงชน แหลมโขด 20 พ.ค. 2017 33


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระจิตเจ้า บ้านทัพ

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยฯ ขลุง 34

27

3

พ.ค. 2017

มิ.ย. 2017


ฉลองบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา

10

มิ.ย. 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว

24

มิ.ย. 2017 35


เปิดเสกวัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา

36

17

มิ.ย. 2017


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา

17

มิ.ย. 2017

37


เปิดเสกวัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์

38

8

ก.ค. 2017


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์

8

ก.ค. 2017

39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.