สายใยจันท์ v.23

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

ครบรอบ 100 ปี แม่พระฟาติมา

350 ปี มิสซังสยาม

ฉลองคริสต์มาส กับนักบุญโฟสตินา

FREE COPY แจกฟรี

Vol.23

ธันวาคม 2017 ปีท่ี 28

อาหาร เลี้ยงวิญญาณ


ปีที่ 28 ฉบับที่ 23 / ธันวาคม 2017

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราช.............................................................. 6 การร่วมฉลองครบรอบ 100 ปี แม่พระฟาติมา...................... 8 ตราสัญลักษณ์ 350 ปี มิสซังสยาม........................................10 350 ปี มิสซังสยาม....................................................................12 อภิสทิ ธิน์ กั บุญเปโตร....................................................................15 ความเป็นมาของการประพันธ์ดนตรี บทมักญีฟีกัต..................18 ฉลองคริสต์มาสกับนักบุญโฟสตินา..........................................20 งานสังคมในสังฆมณฑลจันทบุรี................................................22 ก�ำยาน..........................................................................................24 อาหารเลี้ยงวิญญาณ................................................................26 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 28 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................29

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk พระทรงบังเกิดบนแผ่นดินไทย

ช่วงเวลา 3 ปีต่อไปนี้ (2017-2019) เป็นช่วงเวลาเตรียมการเฉลิมฉลองโอกาสระลึกถึงการ สถาปนา “350 ปี มิสซังสยาม” (1669-2019) อย่างไรก็ตามหากมองย้อนกลับไปจุดเริม่ ต้นจากบันทึก ประวัติศาสตร์เท่าที่จะหาได้ แผ่นดินไทยมีผู้ที่กลับใจเป็นคริสตชน ก่อนมีการแต่งตั้งสังฆมณฑล สยาม อย่างเป็นทางการ หนังสือ “ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย” พิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์แม่พระยุคใหม่ หน้า 1-2 ได้บันทึกไว้ว่า “สงฆ์ธรรมทูตหรือมิชชันนารี รุ่นแรกที่รู้จักกันในเมืองไทย คือ สงฆ์คณะ โดมินิกัน 2 องค์ ที่มาจากแหลมมลากาใน ค.ศ. 1567 องค์แรกชื่อเยโรม ณ กางเขน ได้ถูกฆาตกรรม องค์ที่สองชื่อเซบาสเตียน ณ กันโต ได้ประกาศพระศาสนาต่อมาอีก 3 ปี...” ค.ศ. 1584 สงฆ์ฟรังซิสกัน 2 องค์เข้ามาแผ่นดินไทย ค.ศ. 1609 สงฆ์เยซูอิต เข้ามาแผ่นดินไทย สงฆ์ทั้ง 3 คณะเป็นชาวโปรตุเกส ในจ�ำนวนสงฆ์ที่เข้ามามีองค์หรือสององค์เป็นชาวสเปน ค.ศ. 1662 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระสงฆ์ปกครองสัตบุรุษ ประมาณ 2,000 คน มีบนั ทึกว่า มีพธิ ที างศาสนากระท�ำในวัดน้อย 4 แห่ง คือ มีวดั ประจ�ำคณะละแห่ง พระกุมารน้อยบังเกิดในประเทศไทย โดยผ่านทางพระสงฆ์มิชชันนารี หากนับตั้งแต่ ค.ศ 1567-2017 ก็ประมาณ 450 ปีมาแล้ว ตลอด 450 ปีที่แล้วที่คริสตชนได้เฉลิมฉลองคริสต์มาส ได้ ฉลองปัสกา ความเชื่อของเราได้เติบโต เข้มแข็ง ตามวันเวลาที่พระสงฆ์มิชชันนารีได้เข้ามาประกาศ พระอาณาจักรของพระเจ้าแล้วหรือยัง? พระทรงบังเกิดบนแผ่นดินไทย 400 กว่าปีแล้ว ชีวิตคริสตชนเข้าถึงและลึกซึ้งกับพระวาจา ทรงชีวิตแล้วหรือยัง? พระทรงบังเกิดบนแผ่นดินไทย 400 กว่าปีแล้ว ชีวิตคริสตชนเข้าใกล้ถึงพระวาจาที่พระเยซู เจ้าตรัสว่า “ท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดีอย่าง สมบูรณ์เถิด” (มธ 5:48 ) พระทรงบังเกิดบนแผ่นดินไทย 400 กว่าปีแล้ว ชีวิตคริสตชนสามารถ “จงร่าเริงยินดี เสมอ จงอธิษฐานภาวนาอย่างสม�ำ่ เสมอ จงขอบพระคุณพระเจ้าในทุกกรณี เพราะพระองค์ทรง ปรารถนาให้ท่านท�ำสิ่งเหล่านี้ในพระคริสตเยซู” (1ธส 5:16-18 ) ไม่ว่าอย่างไร เป็นหน้าที่ของเราทุกคน ในฐานะที่เป็นคริสตชนต้องช่วยกันเสริมสร้าง ชุมชนแห่งความเชื่อของเรากันต่อไป ให้ “บรรดากลุ่มคริสตชนจึงมีความเชื่อมั่นคงยิ่งขึ้น และมีจ�ำนวนคริสตชนเพิ่มขึ้นทุกวัน” (กจ 16:5) “พี่น้องทั้งหลาย เราต้องขอบพระคุณพระเจ้า เพราะท่านอยู่เสมอ การกระท�ำเช่นนี้เป็นการสมควรแล้ว เพราะความเชื่อของท่านก�ำลังเจริญ ขึ้นมากและความรักของท่านต่อกันก็เพิ่มขึ้นด้วย” (2ธส 1:3)

สุขสันต์วันคริสต์มาสแด่พี่น้องทุกท่าน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


สาสน์พระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า “...กุมารผู้หนึ่งเกิดมาเพื่อเรา บุตรชายคนหนึ่งเป็นผู้ที่พระเจ้าประทานให้เรา... เขาจะได้รับนามว่า‘ที่ปรึกษามหัศจรรย์’ ‘พระเจ้าผู้ทรงอ�ำนาจ’ ‘พระบิดานิรันดร’ ‘เจ้าแห่งสันติ’ การปกครองของเขาจะยิ่งใหญ่ สันติภาพจะไม่สิ้นสุด...” (อสย 9:6-7) ประกาศกอิสยาห์ (มีชวี ติ อยูเ่ มือ่ 700 ปีกอ่ นทีพ่ ระเยซูเจ้าจะเสด็จมา) ท�ำนายไว้หลาย ครั้งถึงพระแมสซิยาห์ผู้จะเสด็จมาในอนาคต ข้อความข้างบนนี้เป็นตอนหนึ่งของค�ำท�ำนาย เพื่อปลอบโยนชาวอิสราแอลที่สลดหดหู่ใจกับสภาพการณ์บ้านแตกสาแหรกขาด (อาณาจักร อิสราแอลหรืออาณาจักรเหนือถูกท�ำลายลงโดยพวกอัสซีเรียในปี 722 ก่อนคริสตกาล) ท่าน ประกาศกให้ความหวังแก่ประชาชนว่า พระเจ้าจะน�ำความยินดีและความสุขทีย่ งิ่ ใหญ่กลับมา สู่อิสราแอล ซึ่งนั่นคือการเสด็จมาของพระแมสซิยาห์ ค�ำท�ำนายของท่านประกาศกอิสยาห์เป็นจริงตามทีเ่ ราอ่านในพระวรสาร พระเยซูเจ้า คือพระแมสซิยาห์ผเู้ สด็จมา ทรงเป็นกุมารผูน้ นั้ เป็นบุตรชายทีพ่ ระเจ้าประทานให้แก่อสิ ราแอล และมิใช่เฉพาะอิสราแอลเท่านั้น แต่กับทุกคนที่เชื่อในพระองค์ การปกครองของพระองค์ยิ่ง ใหญ่ ทรงไถ่เราให้รอดพ้นจากการเป็นทาสของบาป กลับกลายเป็นบุตรของพระเจ้า และเป็น ประชากรแห่งพระอาณาจักรของพระองค์ซงึ่ มิใช่อาณาจักรในโลกนี้ แต่เป็นอาณาจักรนิรนั ดร ที่เต็มเปี่ยมด้วยความชื่นชมยินดี ความรัก และสันติสุข

4


จริงอยู่ แม้พระเยซูเจ้า พระบุตรของพระเจ้าได้เสด็จมาแล้ว แต่โลกก็ยังไม่ต้อนรับ พระองค์ โลกยังจมอยู่ในความมืด กิเลสตัณหา และสงคราม นอกจากนี้ ยังมีคนอีกจ�ำนวนไม่ น้อยทีไ่ ม่เคยได้ยนิ ได้ฟงั เรือ่ งราวของพระองค์ ซึง่ เป็นข่าวดีทจี่ ะน�ำชีวติ ให้พบกับความสุขแท้จริง จึงเป็นพันธกิจของเราที่จะต้องภาวนาวอนขอ ให้พระอาณาจักรของพระองค์จงมาถึง และ เจริญชีวิตเป็นศิษย์ติดตามพระองค์ ประกาศข่าวดีแห่งความรักและความรอดแก่เพื่อนพี่น้อง โอกาสฉลองพระคริสตสมภพ ขอพระเจ้าประทานพระพรแห่งความรักอันไร้ขอบเขต ของพระองค์แก่พนี่ อ้ งทุกท่าน และแก่มนุษย์ผมู้ นี ำ�้ ใจดีทงั้ หลาย เพือ่ ลูก ๆ ทุกคนของพระองค์ ในโลกนีจ้ ะได้รจู้ กั และต้อนรับพระองค์เสด็จมาในชีวติ และด�ำรงอยูใ่ นสันติสขุ แท้จริง และเพือ่ โลกจะได้เชื่อในพระองค์ สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีวันปีใหม่ 2018 (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

5


ค�ำอวยพร โอกาสสมโภชพระคริสตสมภพและปีใหม่ สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีปีใหม่แด่คุณพ่อ บราเดอร์ ซิสเตอร์ และพี่น้องคริสตชนที่รัก “บุตรมนุษย์เป็นใคร พระองค์จึงทรงระลึกถึงเขา บุตรแห่งมนุษย์เป็นใคร พระองค์จึง ต้องทรงเอาพระทัยใส่” (สดด 8: 4) เมื่อทูตสวรรค์กบฏ พระเจ้าทรงลงโทษให้ตกนรกเป็นปีศาจทันที แต่เมื่อมนุษย์ท�ำบาปไม่ เชื่อฟังพระเจ้า พระเจ้าก็ทรงลงโทษ แต่ก็ให้อภัย ยิ่งกว่านั้นทรงสัญญาจะให้พระบุตรมาบังเกิดเป็น มนุษย์ เป็นลูกหลานของอาดัมเอวา เหยียบหัวงูปีศาจ ชนะปีศาจ คืนสิทธิที่จะเข้าสวรรค์ให้แก่เรา สิทธิที่เรามนุษย์เสียไปเพราะบาปของอาดัมเอวา เพราะฉะนั้นบาปของอาดัมเอวาจึงเป็นบาปที่มี บุญ ที่ได้บุตรพระเจ้ามาบังเกิดเป็นบุตรมนุษย์ เพื่อให้บุตรมนุษย์ทั้งหลายมีบุญได้เกิดใหม่เป็นบุตร พระเจ้า “พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมาก จึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศ แต่จะมีชีวิตนิรันดร” (ยน 3: 16) ให้เราขอบพระคุณพระบิดาผู้ทรงพระทัยดี เมตตากรุณาหาที่สุดมิได้ที่ทรงสละพระบุตรให้ เป็นของขวัญส�ำหรับเรา เป็นพระเอมมานูเอล “พระเจ้าสถิตกับเรา” ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรา ร่วม เป็นร่วมตายกับเรา พาเราไปสวรรค์สบู่ า้ นพระบิดา ให้เราขอบพระคุณพระเยซูเจ้า พระบุตรพระเจ้า ที่สละความสุขในสวรรค์ มาบังเกิดเป็นบุตรมนุษย์ยากจน ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงถ่อม พระองค์ถึงกับทรงยอมรับความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน (ฟป 2: 7-8) ชาวยิวไม่ต้อนรับ จับไปตรึงกางเขน แต่พระองค์ชนะความตายทรงกลับคืนพระชนมชีพ ทรงเป็นพระผู้ไถ่กู้โลก ให้เรา ขอบพระคุณพระแม่มารีย์ที่ร่วมมือกับพระบิดาเป็นอย่างดี ตอบรับค�ำเชิญของอัครเทวดากาเบรียล ให้เป็นพระมารดาของบุตรพระเจ้าที่จะทรงบังเกิดเป็นบุตรมนุษย์โดยเป็นพรหมจารีย์ต่อไป เพราะ ไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้าจะทรงกระท�ำไม่ได้ โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” ณ บัดนัน้ เองพระแม่กไ็ ด้ปฏิสนธิพระเยซูเจ้าด้วย เดชะพระจิตเจ้า และทรงมอบพระบุตรเป็นของขวัญแก่โลก ให้เราขอบพระคุณพระจิตเจ้าด้วยที่ให้ พระบุตรปฏิสนธิในครรภ์ของพระแม่ เป็นของขวัญแก่โลก พระเจ้าทรงเลือกชาวยิวให้เป็นชาติเลือกสรร เพือ่ เตรียมการล่วงหน้าให้พระบุตรมาเกิดเป็น ชาวยิวในชาติเลือกสรรนี้ แต่ชาวยิวไม่ต้อนรับ ห้องในโรงแรมเต็มหมด พระองค์ไม่มีที่เกิด สุดท้าย

6


พระองค์ถกู ชาวยิวจับไปตรึงตายบนไม้กางเขน คนเลีย้ งแกะจน ๆ มีบญ ุ ได้รบั ข่าวดีจากทูตสวรรค์ให้ ไปนมัสการพระผู้ไถ่เป็นพวกแรก โดยเหตุที่ชาวยิวไม่สนใจไม่ต้อนรับ พระเจ้าก็หันไปหาคนต่างชาติ ต่างศาสนา ให้โหราจารย์ตามดาวประจ�ำพระองค์มานมัสการ พระธรรมล�้ำลึกแห่งการอวตารเป็นมนุษย์ของบุตรพระเจ้า ให้บทเรียนสอนเราว่า ในเมื่อ พระเจ้าไม่ทรงรังเกียจมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างมา แม้อาดัม-เอวาท�ำบาปก็ให้พระบุตรมาบังเกิด เป็นชาย เป็นอาดัมคนใหม่คอื พระเยซู ซึง่ บังเกิดจากเอวาคนใหม่คอื พระแม่มารีย์ สตรีผไู้ ด้รบั พระพร กว่าสตรีใด ๆ ฉะนั้น เมื่อพระเจ้าไม่รังเกียจมนุษย์ทั้งชายและหญิง เรามนุษย์ก็ไม่ต้องรังเกียจกันไม่ ว่าชายและหญิง ในเมื่อพระเจ้าไม่รังเกียจคนต่างชาติต่างศาสนา เราก็ต้องไม่รังเกียจคนต่างชาติ ต่างศาสนา เพราะเราก็เป็นคนต่างชาติต่างศาสนา ไม่ใช่ชาวยิวเช่นเดียวกัน พระเยซูคริสตเจ้าทรงบังเกิดมาแล้วสองพันกว่าปี ชาวโลกรวมคาทอลิก ออร์ธอดอกซ์ โปร เตสแตนท์ และอังกลีกนั ประมาณสองพันล้านคนนับถือพระเยซูคริสต์ในจ�ำนวนชาวโลกเจ็ดพันล้าน คน ยังไม่ถงึ ครึง่ โลก ส่วนผูท้ เี่ ป็นคริสตชนแล้วก็ไม่เชือ่ ในพระเจ้า ไม่ปฏิบตั ศิ าสนกิจ ไม่ถอื ศาสนาต่อ ไป ท�ำอย่างไรให้ชาวเอเชียและชาวไทยรู้จักและนับถือพระเยซูคริสตเจ้ามากขึ้น แน่นอนเป็นหน้าที่ ของเราคริสตชนจะต้องประกาศพระเยซูคริสตเจ้าทั้งด้วยวาจาและแบบอย่างที่ดี ส่วนคนอื่น ๆ เขา มีสิทธิ์ที่จะได้ยินข่าวดีเกี่ยวกับพระเยซูคริสตเจ้า เราคริสตชนสนใจท�ำกันหรือเปล่า เนื่องในโอกาสสมโภชพระคริสตสมภพ ให้เราเอาอย่างพระบิดา พระแม่มารีย์ ผู้ประทาน พระบุตรเป็นของขวัญแก่ชาวโลก และเอาอย่างพระบุตรผู้มอบพระองค์เองเป็นของขวัญแก่เรา ให้ เราเป็นของขวัญแก่กันและกัน สามีภรรยา พ่อแม่ ลูก พี่น้อง เพื่อนมนุษย์คนยากจน คนป่วยคน ชรา เด็กก�ำพร้า ผู้มีปัญหา เป็นต้น เนื่องในโอกาสปีใหม่ ขอพระโปรดให้เรามีชีวิตใหม่ สละทิ้งมนุษย์เก่า เป็นขวดใหม่กับเหล้า องุ่นใหม่ เป็นลูกที่รักของพระบิดา เป็นพี่น้องสากลของทุกคน ท�ำให้โลกนี้เป็นครอบครัวใหญ่ เป็น ครอบครัวของพระเจ้า ขอครอบครัวศักดิ์สิทธิ์อ�ำนวยพรพี่น้องทุกคน ทุกครอบครัว ทุกหมู่คณะ มีความสุขกาย-ใจ ความยินดี และสันติ เป็นพิเศษในเทศกาลพระคริสตสมภพและปีใหม่และตลอดไป อวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


100 ปี

การร่วมฉลอง ครบรอบ แม่พระฟาติมา

(ตอนที่ 2)

โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว ได้น�ำเสนอว่า สิ่งที่พระแม่มารีย์บอกกับเรา ซึ่งเป็นลูก ๆ ของแม่คือ แก่นแท้ของข่าวดีที่พระเยซูเจ้าที่ได้ประกาศและเทศน์สอนเรานั่นเอง สิ่งที่ส�ำคัญของการร่วมฉลองครบรอบ 100 ปีแม่พระฟาติมา คือ เราจะต้อง “กลับใจ” ตัวของ เราและปฏิบัติตามตามค�ำขอของพระแม่มารีย์ ค�ำขอของพระแม่มารีย์ที่ฟาติมา 1. หยุดท�ำบาปต่อพระเยซูเจ้า (13 ตุลาคม 1917) ได้เขียนแล้วในตอนที่ 1 2. ให้สวดภาวนา โดยเฉพาะสวดลูกประค�ำ (13 กรกฎาคม 1917) หลังจากเกิดแสงจ้าคล้ายฟ้าแลบ พระแม่มารีย์ ประจักษ์มาเหนือต้นโอ๊กเหมือนการประจักษ์ครัง้ ก่อน ลูชอี าถามพระแม่พระมารียว์ า่ “ท่านต้องการ อะไรจากหนู?” พระแม่มารีย์ตอบว่า “อยากให้เธอมาที่นี่ อีกวันที่ 13 สิงหาคม ให้เธอสวดลูกประค�ำทุกวัน ต่อไป เพื่อถวายเกียรติแด่แม่พระแห่งลูกประค�ำ เพื่อสันติภาพของโลก และเพื่อสงครามจะได้สิ้น สุดลง มีแต่การวอนขอพระนางเท่านั้น มนุษย์จะ ได้รับพระคุณนี้” การสวดหรือการภาวนาเป็นรากฐานความ สัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้า เป็นรากฐานการเป็น หนึ่งเดียวกับพระเจ้า

การภาวนาเป็นการเปลี่ยนแปรของหัวใจ เป็นการเพ่งพินิจธรรมดาไปสู่ฟ้าสวรรค์ เป็นเสียง ร้องแห่งการรับรู้และเสียงร้องแห่งความรัก ที่โอบ อุ้มทั้งการทดลองและความปิติยินดี 1 การสวดลูกประค�ำ “เป็นโซ่ทองคล้องเรา ไว้กับพระเจ้า” 2 เป็นการภาวนาที่ทรงพลัง พระ แม่มารีย์ได้บอกว่า การสวดลูกประค�ำสามารถให้ สงครามยุติได้ ท�ำให้เกิดสันติภาพได้ และมีแต่การ วอนขอพระนางเท่านั้น มนุษย์จะได้รับพระคุณนี้ “การสวดลูกประค�ำเป็นการภาวนาเพื่อ สันติภาพ เพราะความรักเป็นผลของการสวดแบบนี้ ถ้าเราสวดสายประค�ำโดยคิดค�ำนึงอย่างดี การสวด นี้ย่อมน�ำเราไปพบกับพระคริสตเจ้าในพระธรรมล�้ำ ลึกต่าง ๆ ของพระองค์ ท�ำให้เราแลเห็นพระพักตร์ ของพระคริสตเจ้าในบรรดาพี่น้อง โดยเฉพาะของผู้ ที่ก�ำลังทนทุกข์ เราจะเพ่งพินจิ พระธรรมล�ำ้ ลึกของพระกุมาร ที่เมืองเบธเลเฮมในพระธรรมล�้ำลึกแห่งความยินดี ได้อย่างไร ถ้าเราไม่ต้องการต้อนรับ ปกป้องและส่ง เสริมชีวิต ไม่ต้องการช่วยเหลือบรรดาเด็กที่ก�ำลัง ทนทุกข์อยู่ทั่วโลก

1 หนังสือค�ำสอนพระศาสนจักรข้อ 2558 2 พระสมณสาสน์ Rosarium Virginis Mariae (เรื่องการสวดสายประค�ำ) โดยพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แปลโดยคุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส ข้อ 39

8


เราจะติดตามพระยุคลบาทของพระคริสตเจ้า ผูท้ รงเผยความจริง พระธรรมล�ำ้ ลึกแห่งความสว่างได้ อย่างไร ถ้าเราไม่ตอ้ งการเป็นพยานถึง “ความสุขแท้” ที่ทรงสอนในชีวิตของเรา เราจะเพ่งพินจิ พระคริสตเจ้าทรงแบกไม้กางเขน และทรงถูกตรึงกางเขนได้อย่าง ถ้าไม่อยากเป็น “ซีโมนชาวไซรีน” พร้อมจะช่วยเหลือบรรดาพี่น้อง ที่ก�ำลังประสบความทุกข์ยากและหมดหวัง ในที่สุด เราจะมองดูพระสิริรุ่งโรจน์ของพระ คริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ หรือพระสิริ รุ่งโรจน์ของพระแม่มารีย์ พระราชินีแห่งสวรรค์ได้ อย่างไร ถ้าไม่ปรารถนาจะท�ำให้โลกนี้งดงามขึ้น มี ความยุติธรรมมากขึ้น กลมกลืนกับแผนการของ พระเจ้ายิ่งขึ้น พูดสั้น ๆ ก็คือ “ถ้าเราเพ่งดูพระคริสตเจ้า การสวดสายประค�ำก็จะท�ำให้เราเป็นผู้สร้างสันติ ขึ้นในโลกด้วย” 3 นักบุญยาชินทาได้อธิบายเพิ่มเติมในภายหลัง ว่า “ท�ำไมมีแต่การวอนขอพระนางเท่านั้นมนุษย์ จะได้รับพระคุณนี้” 4 เพราะว่า พระเจ้าได้มอบหมายภารกิจสันติภาพ ของโลกให้กบั พระแม่มารีย์ พระแม่มารียไ์ ด้ทำ� ภารกิจ ทีพ่ ระเป็นเจ้ามอบหมายให้แก่พระแม่ ภารกิจทีพ่ ระแม่ มารีย์ได้ท�ำนี้ ยับยั้งการลงโทษมนุษย์จากพระเจ้า 5 การสวดลูกประค�ำจึงเป็นการร่วมท�ำภารกิจ พร้อมกับพระแม่มารีย์เพื่อสันติภาพของโลก ด้วย เหตุนี้ พระแม่มารียจ์ งึ ขอให้เราสวดลูกประค�ำมาก ๆ และสวดทุกวัน

นอกจากนี้ การสวดลูกประค�ำ ท�ำให้เราได้รำ� พึง ถึงชีวติ ของพระเยซูเจ้าทีไ่ ด้ไถ่กเู้ ราและชีวติ ของพระ แม่มารียท์ มี่ สี ว่ นร่วมในประวัตศิ าสตร์แห่งความรอดนี้ “แม้การสวดลูกประค�ำจะมีลกั ษณะเป็นการ ภาวนาถึงแม่พระ แต่อนั ทีจ่ ริงแล้วเป็นการภาวนา ทีม่ พี ระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง กิจศรัทธานีม้ สี ว่ น ประกอบเรียบง่ายก็จริง แต่กถ็ า่ ยทอดค�ำสอนของ พระวรสารได้ครบบริบูรณ์อย่างลึกซึ้ง” 6 โดยการ การร�ำพึงแต่ละทศเวลาสวดลูกประค�ำ เราเรียกการ ร�ำพึงนี้ว่า ร�ำพึงพระธรรมล�้ำลึก 20 ประการ ได้แก่ พระธรรมล�้ำลึกแห่งความปีติยินดี พระธรรมล�้ำลึก แห่งความสว่าง พระธรรมล�ำ้ ลึกแห่งมหาทรมานและ พระธรรมล�้ำลึกแห่งสิริรุ่งโรจน์ การร�ำพึงพระธรรม ล�้ำลึกนี้ทั้งหมดนี้ จึงเป็นบทสรุปพระวรสาร 7 ขอพระองค์โปรดให้ตาแห่งใจของท่านสว่าง ขึ้น เพื่อจะรู้ว่าพระองค์ทรงเรียกท่านให้มีความหวัง ประการใด และความรุ่งเรืองที่บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์จะ ได้รับเป็นมรดกนั้นบริบูรณ์เพียงไร (อฟ 1:18) ให้เรามาตอบรับค�ำขอของพระแม่มารียก์ นั เถอะ ตอบรับค�ำขอของพระแม่มารีย์ที่ฟาติมา 9สวดลู 9 กประค�ำทุกวัน อย่างน้อย 1 สาย 9จะไม่ 9 ให้สภาพแวดล้อมรอบข้าง เป็นข้ออ้าง ที่จะไม่สวดลูกประค�ำ

3 พระสมณสาสน์ Rosarium Virginis Mariae (เรื่องการสวดสายประค�ำ) โดยพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แปลโดยคุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส ข้อ 40 4 Taken from http://www.pilgrimvirginstatue.com/message-of-fatima 5 Ibid. 6 พระสมณสาสน์ Rosarium Virginis Mariae (เรื่องการสวดสายประค�ำ) โดยพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แปลโดยคุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส ข้อ 1 7 Ibid., ข้อ 18

(อ่านต่อฉบับหน้า)

9


ตราสัญลักษณ์ 350 ปีแห่งการสถาปนามิสซังสยาม

10


ความหมายของตราสัญลักษณ์

11


เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย คณะกรรมการบริหารสังฆมณฑลฯ “ช่วงเวลา 3 ปีต่อไปนี้ (ค.ศ. 2017-2019) เป็นเวลาแห่งการฟืน้ ฟูความเชือ่ คริสตชนคาทอลิก ของพวกเราทุกคนอย่างจริงจัง โดยอาศัยวิถชี มุ ชน คริสตชนย่อย (BEC)” เป็นค�ำประกาศจากสภาพระ สังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย เรื่อง การเฉลิม ฉลองโอกาสร�ำลึกถึงการสถาปนา “มิสซังสยาม” (ค.ศ. 1669-2019) ณ วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2017 วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ “มิสซังสยาม” ได้รบั การสถาปนาขึน้ เมือ่ วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1669 จากสมเด็จพระสันตะปาปา คลีเมนต์ที่ 9 โดยมอบมิสซังใหม่นใี้ ห้อยูภ่ ายใต้อำ� นาจ การปกครองของพระสังฆราชทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ จาก สมณกระทรวงเผยแผ่ความเชือ่ อาศัยอ�ำนาจทีไ่ ด้รบั จากสันตะส�ำนัก พระสังฆราชฟรังซัวส์ ปัลลือ และ พระสังฆราชปิแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็อต ได้คัด เลือก คุณพ่อ หลุยส์ ลาโน พระสงฆ์คณะมิสซังต่าง ประเทศแห่งกรุงปารีส ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผูแ้ ทนพระ สันตะปาปาแห่ง “มิสซังสยาม” และได้รบั การอภิเษก เป็นพระสังฆราชในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1674 ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นประมุข “มิสซังสยาม” ท่านแรก เป็นเวลากว่า 400 ปี ที่บรรดามิชชันนารี จ�ำนวนมาก ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อชนชาวไทย และชนชาติอื่นทั้งหลาย ในราชอาณาจักรสยาม ดัง ที่พระสังฆราชฟรังซัวส์ ปัลลือ เขียนไว้ในจดหมาย 12

ของท่านตอนหนึง่ ว่า “เราได้เริม่ ทอดสะพานระหว่าง ยุโรปกับเอเชีย ข้าพเจ้ายินดีมากทีเดียว ทีจ่ ะถวาย ร่างกาย และกระดูกของข้าพเจ้า รวมทั้งของลูก ที่รักของข้าพเจ้า คือบรรดามิชชันนารีทั้งหลาย ใช้เป็นเสาค�้ำยันสะพานนั้นให้แข็งแรง เปิดทาง ให้บรรดาธรรมทูตผูม้ ใี จกล้าหาญในอนาคต จะได้ เดินทางผ่านข้ามต่อไป” ในช่วงเวลาแห่งการเดินทางของพระศาสนจักร คาทอลิกดังกล่าว ได้มีบุญราศีผู้อุทิศชีวิตเป็นแบบ อย่างแห่งการเป็นศิษย์พระคริสต์อย่างแท้จริง มี การแบ่งเขตการอภิบาลออกเป็น 2 อัครสังฆมณฑล และอีก 8 สังฆมณฑล เพื่อการประกาศข่าวดีและ ปลูกฝังความเชื่อคริสตชน รวมถึงการด�ำเนินงาน เมตตาสงเคราะห์ต่าง ๆ มีการประสานสัมพันธ์เป็น หนึ่งเดียวกัน โดยสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย เพื่อน�ำพระเจ้าองค์ความรักไปสู่พี่น้อง ชาวไทยทุกคน ตามพระบัญชาของพระเยซูคริสต์ โอกาสความชืน่ ชมยินดีนี้ สังฆมณฑลจันทบุรี ได้หาแนวทางปฏิบตั ิ เพือ่ พัฒนาเสริมสร้างงานอภิบาล ฟืน้ ฟูชวี ติ ศิษย์พระคริสต์สกู่ ารเป็นศิษย์ธรรมทูต และ ประกาศข่าวดีใหม่ในเขตวัดและแขวง โดยบูรณาการ เข้ากับแผนยุทธศาสตร์ตามแนวทางกฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ ค.ศ. 2015 และแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020 ตามรายละเอียดดังนี้


1. การฟื้นฟูศิษย์พระคริสต์

เจริญชีวิต ประกาศข่าวดีใหม่ในเขตวัด/แขวง 1.1 ท�ำการฟื้นฟูการประกาศข่าวดีจากเนื้อหาสาระ แก่นแท้ของข่าวดีและวิธกี ารประกาศข่าวดีตาม แผนอภิบาลสังฆมณฑลฯ ที่ได้มีและท�ำอยู่แล้ว แต่เพิ่มวิธีการและเทคนิคให้เหมาะกับยุคสมัย และตรงกับสภาพความเป็นจริงของสังคมและ พระศาสนจักรในปัจจุบัน 1.2 ฟื้นฟูบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์และสัตบุรุษทุก คนทุกระดับให้มคี วามเข้าใจ มีความตระหนักถึง ความส�ำคัญของการประกาศข่าวดีใหม่ 1.3 เน้นการอภิบาลทุกมิตอิ ย่างกระตือรือร้น เอาใจ ใส่อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะพิธกี รรม – การเทศน์ มีการเตรียมอย่างดี การบริการด้านศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ ความส�ำคัญของการสอนค�ำสอนทัง้ เด็ก – ผูใ้ หญ่ จัดการอบรมพิเศษต่าง ๆ 1.4 จัดการสัมมนาศึกษาและไตร่ตรอง ประวัตศิ าสตร์ พระศาสนจักรไทย 350 ปี มิสซังสยาม (วีดที ศั น์) ควบคู่กับ ประวัติศาสตร์วัด/แขวง รวมถึงพระ สมณสาส์นเตือนใจของสมเด็จพระสันตะปาปา เรือ่ งต่างๆ ทีส่ ำ� คัญและสอดคล้องกับบริบทและ กลุ่มเป้าหมาย ดังเช่น “ความชื่นชมยินดีแห่ง พระวรสาร” (Evangelii Gaudium) “ความ ชื่นชมยินดีแห่งความรัก” (Amoris Laetitia) “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” (Laudato Si) เป็นต้น

1.5 แผนงานตามจุดเน้นในระดับวัด/แขวง – กลุ่ม บุคคลเป้าหมายของการประกาศข่าวดีใหม่ 1.5.1 กลุม่ คริสตชนทีม่ คี วามเชือ่ ความศรัทธาอยูแ่ ล้ว และฟื้นฟู กระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุนให้ดีขึ้น 1. งานอภิบาลเด็กและเยาวชน/งานส่งเสริม กระแสเรียก 2. งานอภิบาลชุมชนวัดโดยอาศัย “วิถีชุม ชนคริสตชน” (BECs) 3. งานอภิบาลครอบครัว : มุง่ สูก่ ารเป็น “พระ ศาสนจักรระดับบ้าน” 4. งานธรรมทูต/ศาสนสัมพันธ์ 5. งานอภิบาลในกลุ่มองค์กรคาทอลิก เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวินเซนต์ เดอ ปอล กลุ่มคูร์ซิลโล เป็นต้น 6. งานอภิบาลกับกลุ่มชายขอบสังคม เช่น ผู้อพยพย้ายถิ่น ผู้ถูกคุมขัง ผู้ตกทุกข์ คน ยากจน คนเจ็บป่วย ผู้ติดเชื้อ ผู้ถูกทอด ทิ้ง เป็นต้น 1.5.2 กลุ่มคริสตชนที่ไม่ได้ด�ำเนินชีวิตตามพันธกิจ ของศีลล้างบาป และมิได้รับความบรรเทา ใจแท้จริงจากความเชื่อ โดยสาเหตุใดก็ตาม (ในกลุ่มเด็ก/เยาวชน, ครอบครัว, ผู้ถูกทอด ทิ้ง เป็นต้น) 1.5.3 ผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเจ้า ผู้ที่ไม่ยอมรับ และผู้ ปฏิเสธพระองค์ (ในกลุม่ งานธรรมทูต/ศาสน สัมพันธ์, งานอภิบาลกับกลุ่มชายขอบสังคม เป็นต้น)

13


2. การทบทวนข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ การช�ำระประวัติศาสตร์ของวัด

2.1 ควรมีการด�ำเนินการเก็บรวบรวม ทบทวน สอบ ทานข้อมูลเชิงประวัตศิ าสตร์ของวัดแต่ละวัด โดยผ่านกระบวนการการตรวจทาน เพิ่มเติม และปรับปรุงจากแหล่งข้อมูลเดิมให้สมบูรณ์ มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อความถูกต้อง และท�ำให้เป็น ปัจจุบัน 2.2 ควรมีการสอบทานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจริง และบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องให้เหตุการณ์ทยี่ งั มีชวี ติ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่นพระสังฆราช พระสงฆ์ สัตบุรุษดั้งเดิม หรือแม้แต่ผู้มีความ รู้ความเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้น 2.3 สังฆมณฑลควรมีบุคลากรที่มีความรู้ ความ สามารถ และความเชีย่ วชาญด้านประวัตศิ าสตร์ พระศาสนจักรโดยตรง 2.4 สังฆมณฑลควรมีสถานที่ (หอจดหมายเหตุ) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ของ สังฆมณฑล และวัดต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม และสืบค้นได้

3. การกระตุ้นให้ฆราวาสในระดับต่าง ๆ ได้ทราบถึงความส�ำคัญของการร�ำลึกนี้

3.1 ประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ ความตระหนัก ถึงเนือ้ หา และความส�ำคัญของการร�ำลึกฯ นี้ ทั้งในระดับพระสงฆ์ และสัตบุรุษทั่วไป โดย ผ่านทางการอบรม สัมมนา การเข้าเงียบ การเทศน์สอน และสื่อต่าง ๆ ทั้งในระดับวัด แขวง และสังฆมณฑล 14

3.2 ควรมีแผนงาน วัตถุประสงค์ และโครงการ เฉพาะส�ำหรับการร�ำลึกฯ ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการ สร้างภาระงานเพิ่ม แต่เป็นโอกาสแห่งการ ฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์ 3.3 ควรน�ำสือ่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการร�ำลึกฯ และการ ฟืน้ ฟูชมุ ชนศิษย์พระคริสต์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น คู่มือกิจกรรม (Look List Love) ของ BEC, 30 บทเรียนแห่งการฟืน้ ฟู, วีดที ศั น์เรือ่ ง “350 ปี การสถาปนามิสซังสยาม” เป็นต้น 3.4 การแสวงบุญ – ย้อนรอยประวัตศิ าสตร์ รอย เท้ามิชชันนารี ทั้งในระดับวัด แขวง และ สังฆมณฑล ทัง้ นี้ เพือ่ ท�ำให้ทกุ มิตขิ องการประกาศข่าวดี เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม น�ำคริสตชนคาทอลิกทุกคน สู่การเป็นศิษย์พระคริสต์ เจริญชีวิตสอดคล้องกับ ข่าวดีทเี่ ราเชือ่ เป็นประจักษ์พยานด้วยวิถชี วี ติ คริสต ชนในชุมชนย่อย ก้าวออกสู่การประกาศข่าวดี ด้วย การบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์ชวี ติ อารยธรรมแห่ง ความรักแก่พนี่ อ้ งชาวไทยทุกคนทีร่ อรับฟังข่าวดีนอี้ ยู่

ท่านทัง้ หลาย จงออกไปทัว่ โลก ประกาศข่าวดี ให้มนุษย์ทง้ั ปวง (มก 16:15)


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้

โดย ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี

อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร (Petrine Privilege) เจริญพรสาธุคริสตชนที่เคารพรักทุกท่านครับ สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงเป็นผู้สืบทอด ต�ำแหน่งทีอ่ งค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงมอบให้อย่างพิเศษ แก่นักบุญเปโตร ด้วยอ�ำนาจตามบทบาทหน้าที่นี้ พระองค์จึงเป็นผู้มีอ�ำนาจสูงสุด เต็มเปี่ยม และ สากลในพระศาสนจักร ซึ่งพระองค์ทรงสามารถ ใช้อ�ำนาจนี้อย่างอิสระเสมอ (เทียบ Can.331) พระศาสนจักรคาทอลิก ไม่เคยสนับสนุนการ หย่าร้าง ด้วยค�ำนึงถึงสาระส�ำคัญของการแต่งงาน คือ เรื่อง ความเป็นหนึ่งเดียวและการหย่าร้างไม่ ได้ (Can.1056) ไม่ว่าจะยุคสมัยใด ความเป็นจริง ประการนีย้ งั ได้รบั การยืนยันอย่างหนักแน่นเสมอมา อย่างไรก็ตาม พระศาสนจักรมีการปรับตัว และมีความเข้าใจต่อความเปลีย่ นแปลงในสังคมโลก เช่นกัน สมเด็จพระสันตะปาปาไม่ทรงลังเลที่จะรับ เงื่อนไขในทางการอภิบาลใหม่ๆ โดยการใช้อ�ำนาจ ของพระศาสนจักร เพือ่ ท�ำการยกเลิก หรือ ลบล้าง พันธะการแต่งงานเดิม โดยพิจารณากรณีต่างๆ ว่า เป็นการสมควรเพราะเห็นแก่ความเชือ่ และความ ดีต่อวิญญาณ นั่นเอง

ดังนั้น พระศาสนจักรมีทางออกกล่าวคือ กระบวนการเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่ล้มเหลวจากการ แต่งงาน ที่จะเข้าสู่การแต่งงานใหม่ให้ถูกต้องตาม จารีตของพระศาสนจักร เพือ่ สามารถรับศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ และปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างสมบูรณ์ตามแบบคริสต ชนคนหนึ่ง ฉบับนี้พ่อขอกล่าวถึงเรื่อง การสิ้นสุดของ พันธะการแต่งงาน (Dissolution of the bond) โดย การใช้อภิสิทธิ์ด้านความเชื่อ (The privilege of the faith) อีกประการหนึ่ง คือ อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร Petrine Privilege ความหมาย อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร (Petrine Privilege) เป็นอภิสทิ ธิด์ า้ นความเชือ่ ซึง่ เป็นการขอยกเลิกพันธะ การแต่งงานครั้งแรกที่ถูกต้อง จากองค์สมเด็จพระ สันตะปาปา เพื่อความรอดพ้นของวิญญาณ ส�ำหรับ ผูท้ จี่ ะเข้าสูก่ ารแต่งงานตามจารีตของพระศาสนจักร คาทอลิก การลบล้างการแต่งงานเช่นนี้ มีพนื้ ฐานจากพระ คัมภีร์อยู่บ้าง กล่าวคือ เอสรา ปฏิรูปการแต่งงาน ของประชากรของพระเจ้า (อสร 10:1-14) 15


ลักษณะการแต่งงานที่ขอยกเลิกได้ โดยใช้อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร 1. การแต่งงานที่ถูกต้องของผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้าง บาปทั้งคู่ กล่าวคือ เมือ่ ได้แยกทางกันอย่างเด็ดขาดแล้ว ฝ่าย หนึง่ ฝ่ายใดของผูท้ ไี่ ม่ได้รบั ศีลล้างบาป ต้องการ แต่งงานใหม่ กับ ฝ่ายคาทอลิก ผู้มีอิสระใน การแต่งงาน โดยไม่ต้องการกลับใจมารับศีล ล้างบาป 2. การแต่งงานทีถ่ กู ต้อง ระหว่างผูร้ บั ศีลล้างบาป กับผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาป กล่าวคือ เมือ่ ได้การแยกทางกันอย่างเด็ดขาดแล้ว ผูร้ บั ศีลล้างบาป ต้องการแต่งงานใหม่ กับ ผูร้ บั ศีลล้างบาป ผู้มีอิสระในการแต่งงาน เงื่อนไขการขออภิสิทธิ์นักบุญเปโตร

(ไม่ได้บังคับทุกข้อ แต่อาจต้องช่วยกันพิจารณานะครับ)

• ต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป ตลอดช่วงเวลาของการใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามี ภรรยา • ต้องไม่มกี ารใช้ชวี ติ ร่วมกันฉันสามีภรรยา หลัง จากฝ่ายที่ไม่ได้รับศีลล้างบาปกลับใจมารับศีล ล้างบาป (นั่นคือ ไม่เป็น Ratum et Consummatum) • บุคคลที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป หรือ คริสตชนอื่น ผู้ได้รับศีลล้างบาป ให้อิสระแก่ฝ่ายคาทอลิก ในการประกาศความเชื่อ และปฏิบัติศาสนกิจ พร้อมทั้งให้ลูกๆ รับศีลล้างบาป และเลี้ยงดู ตามแบบคาทอลิก ซึ่งต้องท�ำในรูปแบบของ สัญญา (Cautiones) • การกลับคืนดี หรือการเริ่มชีวิตใหม่ ไม่มีทาง เป็นไปได้ • ไม่มีอันตรายของการเป็นที่สะดุด 16

• ผู้ขอยกเลิกพันธะการแต่งงาน (Petitioner) รวมทั้งฝ่ายคาทอลิกที่จะแต่งงานใหม่ด้วย (Proposed Spouse) ต้องไม่เป็นสาเหตุทที่ ำ� ให้ การแต่งงานเดิมแตกแยก • ถ้าเป็นไปได้ คู่ครองเดิม (Respondent) ต้อง ถูกสอบถาม และไม่มีเหตุผลคัดค้าน • ผู้ขอยกเลิกพันธะการแต่งงาน ต้องดูแลและ ปฏิบัติเรื่องภาระ และข้อบังคับตามธรรมชาติ ที่เกิดตามความยุติธรรม ต่อภรรยาและลูกๆ ของการแต่งงานเดิม • ฝ่ายคาทอลิก ต้องเจริญชีวิตตามค�ำสัญญาศีล ล้างบาป และเอาใจใส่ต่อครอบครัวใหม่ • ในกรณีของผู้กลับใจก�ำลังเรียนค�ำสอน (Catechumen) ต้องมีความแน่ใจว่า เขาจะรับศีล ล้างบาปในอนาคตอันใกล้ ในขณะท�ำการขอ อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร กรณีที่ไม่มีการให้อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร ไม่มกี ารยกเลิกพันธะการแต่งงานทีถ่ กู ต้อง และ ไม่เป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ ทีเ่ กิดขึน้ โดย การขอยกเว้นข้อขัด ขวางการแต่งงานแบบต่างคนต่างถือ (Dispensation from Disparity of Cult) หากว่า ฝ่ายคาทอลิกผู้ซึ่ง ขอการยกเลิก จะแต่งงานใหม่ กับผู้ไม่ได้รับศีลล้าง บาป ผู้ซึ่งไม่ต้องการกลับใจ นัน่ คือ ส�ำหรับฝ่ายคาทอลิก ไม่สามารถขอ ยกเว้นข้อขัดขวางการแต่งงานแบบต่างคนต่าง ถือได้ 2 ครั้ง ไม่มีการยกเลิกพันธะการแต่งงานที่ถูกต้อง และไม่เป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิท์ เี่ กิดขึน้ หรือได้รบั การแก้ไข ให้ถกู ต้อง หลังจากได้รบั การยกเลิกพันธะการแต่งงาน เดิมทีถ่ กู ต้อง และไม่เป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิม์ าครัง้ หนึง่ แล้ว นั่นคือ ไม่มีการให้การยกเลิกพันธะการ แต่งงานเดิม 2 ครั้ง


สรุปว่า พันธะการแต่งงานเดิมที่ขอยกเลิกโดยใช้อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร เกิดขึ้นเมื่อ สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงอนุญาตยกเลิก (โดยมีใบแจ้งค�ำอนุญาต) กระบวนการในการขออภิสทิ ธิน์ กั บุญเปโตร เป็นหน้าทีข่ องศาลพระศาสนจักร (มีแบบฟอร์ม) ซึ่งต้องกรอกให้ครบถ้วน ต้องแปลเป็นภาษาสากล อาจ มี หรือ ไม่มี ค่าใช้จ่าย และอาจต้องรอเป็นระยะเวลานานด้วยครับ ปัจจุบันบ้านเราจึงไม่ค่อย ด�ำเนินการตามกรณีนี้กันนัก การแต่งงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นต้องท�ำตามจารีตของพระศาสนจักร และ หากมีข้อแนะน�ำที่มาพร้อมกับใบอนุญาตยกเลิกจากทางโรม ก็ต้องปฏิบัติตามด้วย ผู้พิพากษาของศาลพระศาสนจักร จะพิจารณาการแต่งงานครั้งแรกที่ถูก ต้อง ว่ามีพันธะการแต่งงานเดิมอยู่ เมื่อทั้งคู่ได้แยกจากกันไปแล้ว ได้พบเจอคน ใหม่ หากมีการยื่นค�ำร้องต่อส�ำนักวินิจฉัยคดีแล้ว วินิจฉัยอย่างรอบคอบแล้วว่า จะ ท�ำให้พันธะการแต่งงานเดิมสิ้นสุด โดย การประกาศความเป็นโมฆะ (Nullity) ก็ไม่มีเหตุผลแน่ชัด ครั้นจะใช้อภิสิทธ์นักบุญเปาโล (Pauline Privilege) ก็ไม่ ได้ เพราะไม่ต้องการกลับใจมาล้างบาป จึงต้องด�ำเนินเรื่องไปที่กรุงโรม ด้วยเหตุ ฉะนี้ครับพี่น้อง อภิสทิ ธิน์ ักบุญเปโตร มิใช่กฎเกณฑ์ใดๆ ทีเ่ คยให้ไว้กับนักบุญเปโตร และ มิใช่กฎเกณฑ์ซงึ่ นักบุญเปโตรตัง้ เอาไว้ แต่เป็นการใช้อำ� นาจ โดยพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้สืบทอดต�ำแหน่งนักบุญเปโตร (The Exercise of authority by the Pope as successor of St.Peter) ดังนั้น อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร จึงไม่มีการให้ซ�้ำ Merry Christmas to all. สุขสันต์พระคริสตสมภพแด่ทุกท่านนะครับ

หมายเหตุ บทความนี้เรียบเรียงจากบทความของ คุณพ่อเอกพร นิตตะโย

17


ความเป็นมาของการประพันธ์ดนตรี บทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ (มักญีฟีกัต)

พระนางมารีย์ ตรัสว่า วิญญาณข้าพเจ้าประกาศความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า จิตใจของข้าพเจ้าชื่นชมยินดีในพระเจ้า พระผู้กอบกู้ข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทอดพระเนตรผู้รับใช้ต�่ำต้อยของพระองค์ ตั้งแต่นี้ไป ชนทุกสมัยจะกล่าวว่าข้าพเจ้าเป็นสุข พระผู้ทรงสรรพานุภาพทรงกระท�ำกิจการยิ่งใหญ่ส�ำหรับข้าพเจ้า พระนามของพระองค์ศักดิ์สิทธิ์ พระกรุณาต่อผู้ย�ำเกรงพระองค์แผ่ไปตลอดทุกยุคทุกสมัย พระองค์ทรงยกพระกรแสดงพระอานุภาพ ทรงขับไล่ผู้มีใจมักใหญ่ใฝ่สูงให้กระจัดกระจายไป ทรงคว�่ำผู้ทรงอ�ำนาจจากบัลลังก์ และทรงยกย่องผู้ต�่ำต้อยให้สูงขึ้น พระองค์ประทานสิ่งดีทั้งหลายแก่ผู้อดอยาก ทรงส่งเศรษฐีให้กลับไปมือเปล่า พระองค์ทรงช่วยเหลืออิสราเอล ผู้รับใช้พระองค์โดยทรงระลึกถึงพระกรุณา ดังที่ทรงสัญญาไว้แก่บรรพบุรุษของเราแก่อับราฮัมและบุตรหลานตลอดไป ลก 1:46-55 สวัสดีพี่น้องที่รักทุกท่าน ในฉบับนี้ได้เสนอเรื่องราวความ เป็นมา การพัฒนาของดนตรี การขับร้อง ของบทเพลงสรรเสริญ พระนางมารีย์ อีกทั้งยังจุดประกายส�ำหรับท่านที่ต้องค้นหาเพลง ส�ำหรับการสวดภาวนา ร�ำพึงถึงความรักของพระเจ้า ที่มีต่อ พระมารดาพระเจ้า หรือเดินทางแสวงบุญในเส้นทางแห่งกุหลาบ ของพระนางมารีย์ก็เป็นได้ นับตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1600 ถึงปัจจุบนั มีการประพันธ์บทเพลง สรรเสริญพระนางมารีย์ (บทมักญีฟกี ตั ) ทีใ่ ช้ชว่ งเวลาท�ำวัตรเย็น มากกว่า 218 บทประพันธ์ เพือ่ ตอบสนองความต้องการทีแ่ ตกต่าง กันไป เช่น ภาวนา ร�ำพึง คอนเสิร์ต การแสดงหรืออื่น ๆ 18


เมือ่ ย้อนกลับไปในยุคเรอเนสซอง เริม่ มีการ ประพันธ์โดยใช้ถ้อยค�ำจากพระคัมภีร์ มาใส่ท�ำนอง เพื่อการขับร้องหรือบรรเลง เช่น การประพันธ์ของ Claudio Monteverdi’s ชื่อเพลงว่า Vespro della Beata Vergine ส่วน Vivaldi เริ่มมีการใช้ภาษาลา ตินในการประพันธ์สำ� หรับนักร้องน�ำ นักร้องประสาน เสียง และส�ำหรับวงออเคสต้า เช่นเดียวกับที่ Johann Sebastian Bach หรือ Anton Bruckner ได้ประพันธ์ ไว้เพื่อนักร้องวงประสานเสียงและส�ำหรับออร์แกน ไม่นานมานี้ Rachmaninoff และ John Rutter ได้มีการประพันธ์ และมีบทแทรกเพิ่มเติม ในบทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ ในบทมี การเพิ่มเติมค�ำว่า “แห่งกุหลาบ กุหลาบแสนน่า รัก” ในห้องทีม่ เี นือ้ เพลง เพือ่ การขับร้องของนักร้อง ประสานเสียง และ Arvo Part ได้ประพันธ์เพลงใน การร้องประสานแบบไร้เครื่องดนตรี (ที่เรารู้จักกัน ชือ่ ว่า Acappella เป็นการร้องมีทำ� นองทีไ่ ม่ใช้เครือ่ ง ดนตรี รูปแบบการร้องที่แยกตัวออกมาจากการร้อง แนวโพลีโฟนีเรอเนสซอง และคอนแชตาโตบาโรก แต่ ในปัจจุบันได้ใช้ในทุกแนวเพลง) ในปี ค.ศ. 2010 Kim Andre Arnesen ได้ ประพันธ์บทเพลงสรรเสริญพระนางมารีย์ ส�ำหรับ นักร้องประสานเสียง ส�ำหรับดนตรีเครือ่ งสาย ส�ำหรับ เปียโน และออร์แกน บทบาทเพลงสรรเสริญพระนางมารีย์ ใน พระศาสนจักรแองกลิกัน มีนักประพันธ์ที่โดดเด่น หลายท่านได้ประพันธ์ไว้ และกลายเป็นบทเพลงที่ ใช้ทั่วไปอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ เช่นผล งานของ Thomas Tallis หรือ Ralph Vaughan Williams ที่ประพันธ์ดนตรีเพื่อนักร้องอแคปเปลลา นักร้องประสานเสียง และออร์แกน และมีการเริม่ ใช้ ขับร้องในวิหารแห่งอังกฤษทุก ๆ วันอาทิตย์ บรรดา นักประพันธ์ที่ใช้คีย์เมเจอร์ เช่น Charles Villiers Stanford และ Habert Howells เพลงก็ได้รับ

การยอมรับและน�ำไปใช้ในอาสนวิหารนักบุญเปาโล ณ กรุงลอนดอน (อาสนวิหารนี้มีประวัติน่าสนใจ ยาวนานมากกว่า 1,400 ปี การเดินทางถ้านับจาก หอคอยลอนดอนมีความสะดวกมาก อาสนวิหารเป็น สถานที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ในเชิงศาสนา วัฒนธรรมและประวัตศิ าสตร์ สร้างยอดโดมทีส่ ง่างาม พิพิธภัณฑ์เก่าแก่ อาสนวิหารได้จัดช่วงเวลาการขับ ร้องเพลงสวด และสวดภาวนา ให้ผู้มีความเชื่อและ ผู้แสวงบุญสามารถจัดเวลาได้ในวันเดียว) ในพระศาสนจักรออโธดอกซ์ ตะวันออก ได้มี การประพันธ์บทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ โดยใช้ภาษาอังกฤษและลาติน ประพันธ์โดย Clive Strutt ชาวอังกฤษ ปี ค.ศ.1954 Maria Luise Thurmair ได้ ประพันธ์เพลงภาวนาส�ำหรับชาวเยอรมัน โดยมีพื้น ฐานจากบทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ ที่ นักประพันธ์ ชื่อ Melchior Teschner ได้ประพันธ์ ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1613 ปีที่แล้ว (ค.ศ.2016) Peter Reulein ได้ ประพันธ์บทเพลงสรรเสริญพระนางมารีย์ ด้วย ภาษาลาตินเต็มรูปแบบ เพือ่ ใช้ในการแสดง Laudato Si’ (Oratorio) ในการแสดงละคร เพลงนีไ้ ด้ประพันธ์ ส�ำหรับนักร้องน�ำ 5 ท่าน กลุม่ นักร้องประสานเสียงเด็ก กลุ่มประสานเสียง ซิมโฟนีออเคสตร้า และออร์แกน ได้เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ณ อาสนวิหารแห่งลิมบวร์ก (หรือจะอ่าน ลิมบรูกซ์ก็ได้ รู้จักกันชื่อ อาสนวิหารนักบุญยอร์ช) ในการแสดงมีการขยายข้อเขียนของนักบุญคลารา นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี และพระสันตะปาปาฟรังซิส ในการประพันธ์เพื่อการแสดงครั้งนี้ด้วย ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่านครับ โดย คุณพ่อธีรพงษ์ ก้านพิกุล แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ สังฆมณฑลจันทบุรี 19


ฉลองคริสต์มาสกับนักบุญโฟสตินา

โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์ วันที่ 24 และ 25 ธันวาคม ทุกปี คริสตชนจะ อวยพรให้แก่กันและกัน ด้วยถ้อยค�ำที่ว่า “สุขสันต์วัน คริสต์มาส” ถ้อยค�ำนี้ เป็นค�ำอวยพรที่ใช้อวยพรกัน ในวันแห่งความชื่มชมยินดี วันนี้ จึงเป็นวันแห่งความ สุขของเรา

ท�ำไมคริสตชนจึงมีความสุขในวันคริสต์มาส? เพราะว่า พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ พระเจ้า ประทับอยู่ท่ามกลางชาวเรา พระวจนาตถ์ของพระเจ้า องค์ความเมตตาผู้ทรงรับธรรมชาติมนุษย์อาศัยการ เสด็จลงมาของพระองค์ พระองค์ได้ทรงยกเราขึ้นสู่ พระเทวภาพของพระองค์ นัน่ แหละคือความรักเหลือล้น ของพระองค์ คือพระเมตตาเหลือประมาณของพระองค์ ชาวสวรรค์ต่างพิศวงในความอุดมล้นเหลือแห่งความ รักของพระองค์ 1......พระองค์มิได้ทรงท�ำลายมนุษย์ หลังจากที่มนุษย์พลาดพลั้ง แต่ด้วยเดชะพระเมตตา พระองค์ประทานอภัยแก่มนุษย์ พระองค์ประทาน อภัยในวิถขี องพระเจ้า กล่าวคือพระองค์มไิ ด้ประทาน อภัยแต่ความผิดของเขาเท่านั้น กลับประทานพระ หรรษทานนานัปการให้แก่มนุษย์ด้วยพระเมตตา รุน เร้าพระองค์ให้ทรงพระกรุณาลงมาประทับอยูท่ า่ มกลาง เราและยกเราขึ้นจากทุกขเวทนา 2 1บันทึกวิญญาณของนักบุญโฟสตินา ข้อ 1745 2 Ibid.

20

ในค�ำ่ คืนคริสต์มาสนี้ หากเราลองปิดโทรศัพท์มอื ถือ หรือลองปิดทุกช่องทางทีจ่ ะมารบกวนเราในทุกทาง แล้วใช้เวลาอยู่กับพระ มองไปที่ถ�้ำที่พระกุมารบังเกิดที่ วัดของเรา โดยไม่ต้องมองแบบวิจารณ์ว่า ปีนี้ถ�้ำพระ กุมารสวยหรือไม่สวย แต่มองไปทีเ่ นือ้ หาของการบังเกิด ของพระเยซูเจ้าอย่างจริงจัง มองอย่างลึกซึ้งเราจะพบ ความรักและความเมตตาของพระเจ้า ทีส่ ง่ พระบุตรของ พระองค์มารับเอากายเป็นมนุษย์เหมือนอย่างเรา ยกเว้น บาป หากเราค้นพบได้เช่นนี้ เราจะไม่บน่ กับสอยดาวปี นี้แพง ของรางวัลก็ไม่ดี ไม่สมราคาเลย แต่สิ่งที่เรา ท�ำได้อย่างเดียวจากการค้นพบความรักของพระเจ้า คือ ขอบคุณพระองค์สำ� หรับส�ำหรับของขวัญอันล�ำ้ ค่านี้ เหมือนอย่างนักบุญโฟสตินา ได้พบปะกับพระกุมารวัน การฉลองคริสต์มาสในปี 1937 ท่านบันทึกไว้ว่า “เมื่อดิฉันเข้ามิสซาเที่ยงคืนแล้ว ก็เริ่มส�ำรวม จิตภาวนาทันที ระหว่างนั้นเองที่ดิฉันเห็นถ�้ำเลี้ยงสัตว์ ที่เบธเลเฮมเต็มไปด้วยรัศมีเจิดจรัส พระนางพรหมจารี มารียก์ ำ� ลังใช้ผา้ อ้อมพันพระวรกายพระกุมารเยซูไว้ดว้ ย ความรักสุดหัวใจ แต่นกั บุญโยเซฟยังพักผ่อนอยู่ กระทัง่ พระแม่วางพระกุมารเยซูลงในรางหญ้าแล้วนัน่ แหละ แสง สว่างของพระเจ้าจึงปลุกนักบุญโยเซฟขึน้ มาภาวนาด้วย


หลังจากนัน้ สักพัก ดิฉนั ก็ได้อยูต่ ามล�ำพังกับพระกุมาร เยซูผู้ทรงยื่นพระหัตถ์น้อย ๆ มาทางดิฉัน ท�ำให้ดิฉัน รูว้ า่ ดิฉนั ควรรับพระองค์มาไว้ในอ้อมแขน พระกุมาร เยซูทรงแนบพระเศียรไว้กับหัวใจของดิฉัน ส่งสาย พระเนตรสือ่ ความหมายลึกซึง้ ให้ดฉิ นั รับรูว้ า่ พระองค์ พอพระทัยจะอยู่ชิดใกล้หัวใจของดิฉันเพียงไร แล้ว พระเยซูเจ้าก็ทรงหายลับไปเมื่อระฆังตีบอกเวลารับศีล มหาสนิท” 3 เห็นได้ชดั เจนว่า วันคริสต์มาส วันบังเกิดของพระ เยซูเจ้า และด้วยความรักและความเมตตาของพระองค์ พระองค์ทรงพระกรุณาลงมาประทับอยูท่ า่ มกลางเราและ ยกเราขึ้นจากทุกขเวทนา

หลังจากที่พระเยซูเจ้าบังเกิด พระองค์ต้องการอะไรจากเรา? “ลูกเอ๋ย ในเมื่อลูกยังไม่ได้อยู่ในปิตุภูมิของลูก ดังนั้น จงใช้พละก�ำลังจากพระหรรษทานของเราไปสู้ รบเยี่ยงโอรสกษัตริย์เพื่อปกป้องอาณาจักรของเราใน วิญญาณมนุษย์เถิด แล้วจงจ�ำไว้วา่ ชีวติ เนรเทศของลูกจะ ล่วงพ้นไปอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับโอกาสในการสร้าง คุณความดีที่สวรรค์ยกย่องด้วย ลูกเอ๋ย เราปรารถนา วิญญาณจ�ำนวนมากจากลูก เป็นวิญญาณทีจ่ ะสรรเสริญ ความเมตตาของเราตลอดไป” 4 พระเยซูเจ้าตรัสกับนักบุญโฟสตินาว่า พระองค์ ปรารถนาให้วญ ิ ญาณสรรเสริญพระเมตตาของพระองค์ ตลอดไป การสรรเสริญพระเมตตาของพระองค์ เป็นการ ตรัสถึงแก่นแท้ถึงพระวรสาร เมื่อพระองค์ได้ตรัสถึง บัญญัติเอกในธรรมบัญญัติ “พระอาจารย์ บทบัญญัติข้อใดเป็นเอกในธรรม บัญญัติ”

พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านจะต้องรัก องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุด 3 บันทึกวิญญาณของนักบุญโฟสตินา ข้อ 1442 4 บันทึกวิญญาณของนักบุญโฟสตินา ข้อ 1489 5 บันทึกวิญญาณของนักบุญโฟสตินา ข้อ 742 6 Ibid.

วิญญาณ สุดสติปญ ั ญาของท่าน นีค่ อื บทบัญญัตเิ อก และเป็นบทบัญญัติแรก บทบัญญัติประการที่สองก็ เช่นเดียวกันคือท่านต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรัก ตนเอง” (มธ 22:36-39)

การรักพระเจ้าและรักเพื่อนพี่น้อง เป็นการ สรรเสริญพระเมตตาของพระเจ้า “ลูกรัก เมือ่ เราเรียกร้องผ่านลูกให้คนทัง้ หลาย สักการะความเมตตาของเรานัน้ ลูกควรเป็นคนแรกที่ แสดงความวางใจในความเมตตาของเราให้เห็นเด่นชัด เราเรียกร้องให้ลกู ท�ำกิจเมตตาซึง่ เกิดจากความรักทีม่ ี ต่อเรา ลูกควรแสดงความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ทุก เวลาและทุกสถานที่ ลูกไม่ควรหลีกเลีย่ งหรือพยายาม หาข้อแก้ตวั ทีจ่ ะไม่ทำ� กิจเมตตานี้ เราขอบอกสามวิธี ที่ลูกจะแสดงความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ได้ วิธีแรก คือ ด้วยกิจการ วิธที สี่ อง คือ ด้วยค�ำพูด วิธที สี่ าม คือ ด้วยค�ำภาวนา ในความเมตตาทัง้ สามระดับนี้ มีความ เมตตาอย่างครบถ้วนและเป็นการพิสูจน์ความรักต่อ เราอย่างไม่มีข้อสงสัย วิญญาณสรรเสริญและแสดง ความเคารพบูชาความเมตตาของเราด้วยวิธีนี้” 5 พระเยซูเจ้าปรารถนาให้เรารักพระเจ้า รักเพื่อน พี่น้อง สรรเสริญพระเมตตาของพระองค์ด้วยกิจการ พระองค์ตรัสกับนักบุญโฟสตินาว่า “แม้แต่ความเชื่อที่ แข็งแกร่งทีส่ ดุ ก็ไร้ประโยชน์ หากปราศจากกิจการ” 6 ดังนั้น การฉลองคริสต์มาสปีนี้ ไม่ใช่เรามีความ สุขคนเดียว รับความสุขจากการบังเกิดของพระเจ้าคน เดียว แต่เราต้องแบ่งปันความสุขทีไ่ ด้รบั จากพระเจ้าแก่ คนรอบข้างด้วยกิจเมตตาฝ่ายกายและกิจเมตตาฝ่ายจิต เราต้องรูจ้ กั ให้ โดยไม่คดิ ถึงจ�ำนวนก�ำไร-ขาดทุน ให้เรายอมเหนือ่ ยยากเพือ่ พระเจ้า โดยไม่ร้องขอรางวัล ใดใดจากพระองค์ และก�ำลังใช้ความสามารถของเราจน สุดความสามารถเพือ่ สรรเสริญพระเมตตาของพระองค์ นีค่ อื คุณค่าการฉลองคริสต์มาสกับนักบุญโฟสตินา

21


ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

งานสังคมในสังฆมณฑลจันทบุรี พระศาสนจักรด�ำเนินชีวิตโดยพยายามปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเยซูคริสตเจ้านั่นคือ “การปฏิบัติความรัก” (Caritas) อันเป็นพื้นฐานคุณค่าแห่งพระวรสาร โดยการรักและรับใช้พี่น้องผู้ ยากไร้และผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมศักดิ์ศรีแห่งการเป็นบุตรพระเจ้า สวัสดีครับพีน่ อ้ งทีเ่ คารพรัก สายใยจันท์หลาย ฉบับทีผ่ า่ นมา จะเห็นได้ถงึ เรือ่ งราวและเนือ้ งานบาง อย่างด้านสังคมในสังฆมณฑล พ่อจึงมีความคิดว่า ในฉบับนี้และต่อไป จะพยายามน�ำเสนอโครงสร้าง และการท�ำงานด้านสังคมในระดับชาติ และระดับ สังฆมณฑล เพื่อให้พี่น้องได้รับทราบ จะได้เข้าใจ อย่างถ่องแท้ และจะน�ำมาซึง่ ความร่วมมืออย่างเข้าใจ ในงานด้านสังคมของพระศาสนจักรท้องถิ่นของเรา ขอเริม่ ด้วยความคิดด้านงานสังคมทีว่ า่ พระ ศาสนจักรด�ำเนินชีวติ โดยพยายามปฏิบตั ติ ามพระบัญชา ของพระเยซูคริสตเจ้า นัน่ คือ “การปฏิบตั คิ วามรัก” (Caritas) อันเป็นพืน้ ฐานคุณค่าแห่งพระวรสาร โดย การรักและรับใช้พนี่ อ้ งผูย้ ากไร้และผูด้ อ้ ยโอกาส การ ส่งเสริมศักดิ์ศรีแห่งการเป็นบุตรพระเจ้า (ศักดิ์ศรี แห่งการเป็นมนุษย์) “พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตาม ภาพลักษณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเขา ตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า พระองค์ทรงสร้าง ให้เป็นชายและหญิง” (ปฐก 1:27) งานรักและ รับใช้ของพระศาสนจักร จะต้องอยู่บนพื้นฐานแห่ง คุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ผู้เป็นบุตรของพระเจ้า 22

พระศาสนจักรจึงแสดงตนเองเป็นเครื่องหมายแห่ง ความรักเสมอมา เพราะ “พระเจ้าทรงเป็นความ รัก” (Deus Caritas est) จากคุณค่าแห่งพระวรสารที่พระคริสตเจ้า ทรงมอบให้ ได้รับการถ่ายทอดในแนวความคิดและ การปฏิบตั ขิ องพระศาสนจักร ซึง่ ถูกท�ำให้เกิดขึน้ เป็น รูปธรรมอย่างชัดเจน โดยพ่อจะยกเป็นค�ำถามสั้น ๆ เพื่อให้พี่น้องได้เห็น คือ • ท�ำอย่างไรจะก่อให้เกิดความรักในโลก ? • ท�ำอย่างไรที่มนุษย์จะด�ำเนินชีวิตอย่างมีความ หวัง (ในชีวิตนิรันดร) ? • ท�ำอย่างไรจึงจะเกิดความเสมอภาคในเรื่อง เกียรติและศักดิศ์ รี ในทุกเพศ ทุกชนชัน้ ทุกชาติ ภาษา วัฒนธรรม ฯลฯ ? • ท�ำอย่างไรจะท�ำให้เกิดความยุติธรรมในโลก ในสังคม ? • ท�ำอย่างไรจึงจะให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกัน ในโลก ซึ่งเป็นครอบครัวใหญ่ ? • ท�ำอย่างไรมนุษย์จึงจะมีความรับผิดชอบร่วม กันต่อโลกใบนี้ ?


นีเ่ ป็นเพียงตัวอย่างค�ำถาม ทีพ่ ระศาสนจักร พยายามจะตอบ โดยการปฏิบตั ใิ นโลกแห่งความจริงใบ นี้ พระศาสนจักรพยายามแสวงหา ส่งเสริมศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมในการท�ำงาน การพัฒนาชีวิต การฟืน้ ฟูรา่ งกายและจิตวิญญาณของมนุษย์ การน�ำ พวกเขาเข้าสู่ความภูมิใจในคุณค่าแห่งการเป็นบุตร ของพระเจ้า เพื่อให้บุคคลทั้งหลายนั้นมีชีวิตและมี ชีวิตอย่างสมบูรณ์ (ยน 10:10) พี่น้องที่รัก พระศาสนจักรสากลมีองค์กร ซึ่ ง รั บ ผิ ด ชอบในงานด้ า นสั ง คม มี ชื่ อ เรี ย กว่ า

“Caritas Internationalis” เป็นแกนหลักในการ ขับเคลื่อนการท�ำงานด้านสังคมของพระศาสนจักร ทั่วโลก โดยประสานงานกับพระศาสนจักรท้องถิ่น มี หน่วยงานด้านสังคมของตนอยูใ่ นประเทศไทยของเรา เรียกว่า “Caritas Thailand” เป็นสมาชิกขององค์กร คาริตสั แห่งพระศาสนจักรสากล เป็นกรรมาธิการฝ่าย สังคมของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ขอทิ้งท้ายส�ำหรับฉบับนี้ ให้พี่น้องได้เห็น แผนภูมโิ ครงสร้างของ กรรมาธิการฝ่ายสังคม (Caritas Thailand) ไว้ก่อนนะครับ

โครงสร้างของ กรรมาธิการฝ่ายสังคม (Caritas Thailand) สภาพระสังฆราชฯ กรรมการบริหาร ส�ำนักเลขาธิการฯ คกก. พัฒนาสังคม

คกก. อภิบาลสังคม

- แผนกพัฒนาสังคม - แผนกยุตธิ รรมและสันติ - แผนกสตรี - แผนกสุขภาพอนามัย

- แผนกผูป้ ระสบภัย/ผูล้ ภี้ ยั - แผนกผู้อพยพย้ายถิ่น และผู้ถูกคุมขัง - แผนกผู้ท่องเที่ยว และเดินทางทะเล

กรรมการอ�ำนวยการ ฝ่ายสังคมสังฆมณฑล

กรุงเทพ จันทบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา นครสวรรค์

ราชบุรี ท่าแร่ฯ สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี อุดรธานี

ฝ่ายสังคม คณะนักบวช ชาย-หญิง

23


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม

โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

ก�ำยาน

24

สวัสดีครับท่านสมาชิกสายใยจันท์ที่เคารพรัก พบกันอีกเช่นเคย ใน ฉบับนี้เราจะมาพูดถึงศาสนภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่ใช้ในพิธีกรรม ซึ่ง ในชีวิตของเราคริสตชนควรเอาใจใส่ เรียนรู้สัญลักษณ์และเครื่องหมายที่ ใช้ในพิธีกรรมบ้าง เพื่อจะได้เข้าใจในการเฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกแห่งความ เชือ่ ของเราอย่างมีความหมายและลึกซึง้ ถึง ในสายใยจันท์ฉบับนีจ้ งึ หยิบยก เรื่อง “ก�ำยาน” มาเสนอให้พี่น้องได้ทราบและเข้าใจ ก่อนอืน่ ต้องเข้าใจก่อนว่า พิธกี รรมในชีวติ แห่งความเชือ่ ของคริสตชน เป็นทีม่ าและแหล่งซึง่ บันดาลความศักดิส์ ทิ ธิใ์ ห้กบั บรรดาคริสตชน พิธกี รรม เป็นการอยู่ใกล้ชิดหรือได้ “พบ” กับพระเป็นเจ้าผ่านทางกิจการของพระ ศาสนจักรที่ได้รับมอบมาจากพระคริสตเจ้าองค์พระอาจารย์ ในความเป็น หนึ่งเดียวกับองค์พระจิตเจ้า แต่ว่าการ “พบ” พระเป็นเจ้าในพิธีกรรมนี้ เป็นการพบโดยอาศัยเครื่องหมายแสดงที่ประสาทรับรู้แลเห็นได้ ดังนั้นใน สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรม (SACROSANCTUM CONCILIUM) จึง ได้เน้นว่า “ในพิธีกรรม มนุษย์ได้รับความศักดิ์สิทธิ์อาศัยเครื่องหมาย ที่ประสาทรับรู้แลเห็นได้ และบังเกิดผลตามความหมายเฉพาะของ เครื่องหมายแต่ละประการ” (SC 7) เมื่อพิธีกรรมเป็นการ “พบ” พระเป็นเจ้า ถ้าเราไม่เชื่อเช่นนั้นแล้ว เราก็ยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ของศาสนา เป็นเพียงเข้าถึงเปลือกภายนอก อัน ประกอบด้วยแบบแผนหรือพิธีการต่างๆ เท่านั้นซึ่งหามีประโยชน์ไม่ เมื่อ พิธีกรรมจะต้องประกอบด้วยแบบแผนหรือพิธีการต่าง ๆ ภายนอกที่จะ เป็นการแสดงออกหรือมีเครื่องหมายต่าง ๆ ที่สื่อให้เห็นความจริงอันเป็น ธรรมล�้ำลึกที่ไม่อาจแลเห็นได้ เพื่อให้การ “พบ” ที่เราไม่สามารถแลเห็น ระหว่างพระกับชุมชนของพระศาสนจักรเป็นที่ “เห็น” ได้


พระศาสนจักรใช้ “แสงสว่าง” จากเทียน ไฟ “ความสวยงาม” จากดอกไม้ “ความบริสทุ ธิ”์ จาก น�้ำมัน และพระศาสนจักรยังใช้ “กลิ่นหอมจรุงใจ” จากยางไม้ คือ “ก�ำยาน” ในเวลาประกอบพิธีกรรม ต่าง ๆ อันเป็นเครือ่ งหอมทีถ่ วายแด่พระเป็นเจ้า เป็น เครือ่ งหมายแทนค�ำภาวนาทีล่ อยขึน้ ไปถึงสวรรค์ หรือ หมายถึงเครือ่ งบูชาทีน่ ำ� มาถวายแด่พระเจ้า นอกจาก นั้นยังถวายก�ำยานแก่พระแท่นที่เป็นเครื่องหมาย แทนองค์พระคริสตเจ้าผู้ถวายบูชาเพื่อเรา เป็นกลิ่น หอมจริงใจ ของพระคริสตเจ้า เป็นประดุจความรัก ความเชือ่ และค�ำภาวนาทีเ่ ราคริสตชนต้องการแสดง ต่อองค์พระเจ้า ในการประกอบพิธีกรรมของพระศาสนจักร ในปัจจุบัน การใช้ก�ำยานจะไม่เน้นมากเหมือนใน สมัยก่อนซึ่งขาดเสียมิได้เลยในพิธีบูชาขอบพระคุณ ฉลองส�ำคัญ เพราะถือเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่ แสดงถึงความส�ำคัญและความสง่างามของพิธีบูชา ขอบพระคุณ (IGMR, 235 บอกแต่เพียงว่า “การ ใช้ก�ำยาน ให้เลือกใช้ได้ (ไม่เป็นการบังคับใช้) ใน พิธีบูชาขอบพระคุณ”) จากเอกสารค�ำสอนต่าง ๆ ของพระศาสนจักร มีการให้ค�ำอธิบายต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ก�ำยานใน พิธีกรรม ซึ่งพอจะน�ำมาประมวลได้ดังต่อไปนี้ 1. กลิ่นหอมของก�ำยานที่เผา เป็นการสร้าง บรรยากาศแห่งความชื่นชมและสง่างามต่อ สิง่ ทีถ่ วาย และเสริมสร้างบรรยากาศ ระหว่าง ความเร้นลับกับความศักดิ์สิทธิ์ โดยทางควัน และกลิ่นหอม

3. ชีบ้ อกถึงท่าทีแห่งค�ำภาวนาและการยกจิตใจ ขึน้ ไปถึงพระเจ้า (สดด 141.2 “ขอให้คำ� ภาวนา ของข้าพระองค์ เป็นดังเครือ่ งหอมเฉพาะพระ พักตร์พระองค์”) เป็นเครือ่ งหมายถึงหลายสิง่ หลายอย่างทีล่ อยขึน้ ไปจากข้างในตัวมันเอง ส่ง กลิ่นหอมและมีบรรยากาศแห่งการฉลอง เช่น ความเชื่อ ความรัก ค�ำภาวนา การเคารพสัก การะที่ผู้เข้าร่วมพิธีรู้สึก 4. เป็นเครื่องหมายถึงท่าทีแห่งการถวายและ บูชาของบรรดาสัตบุรษุ ต่อองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า การใช้ก�ำยานในศาสนพิธีปัจจุบัน 1. ระหว่างการเดินขบวนแห่เข้ามาของประธาน เมื่อเริ่มพิธี 2. เมื่อเริ่มพิธีบูชาขอบพระคุณ โดยการถวาย ก�ำยานแก่ไม้กางเขนและพระแท่นบูชา 3. ขณะแห่หนังสือพระวรสารและก่อนอ่าน 4. ในภาคถวาย ถวายก�ำยานแก่เครื่องบูชา แก่ ไม้กางเขน แก่พระแท่น แก่พระสงฆ์และแก่ ประชาสัตบุรุษ 5. ขณะพระสงฆ์ “ชูแผ่นศีลฯ และถ้วยกาลิกส์” ในภาคเสกศีลฯ (IGMR 276) แม้ว่าการใช้ก�ำยานไม่เป็นการบังคับในการ ถวายบูชาขอบพระคุณไม่ว่าแบบใด อย่างไรก็ตาม ควรใช้กำ� ยานในวันอาทิตย์ วันสมโภชน์และวันฉลอง ต่าง ๆ เพื่อเตือนสัตบุรุษให้คิดถึงการถวายตนเอง แด่พระเจ้า

2. เป็นการแสดงความเคารพคารวะ อย่างงดงาม ต่อบุคคลหรือสิ่งของที่เป็นเครื่องหมายแทน องค์พระคริสตเจ้า

(อ่านต่อฉบับหน้า) 25


อาหารเลี้ยงวิญญาณ นี่คือปังที่ลงมาจากสวรรค์ ไม่เหมือนปังที่บรรดาบรรพบุรุษได้กิน แล้วยังตาย ผู้ที่กินปังนี้จะมีชีวิตอยู่ตลอดไป (ยอห์น 6:58) ในอดีต พระเจ้าทรงเลี้ยงดูประชากรของพระองค์ในถิ่นทุรกันดาร ทรงประทานมานนาและน�้ำเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตลูก ๆ ของพระองค์ ท่ามกลางอุปสรรค ความทุกข์ยากล�ำบากมากมาย เพื่อให้มนุษย์ได้เรียนรู้จักความมีใจสุภาพพอที่จะพึ่งพาพระองค์ แต่ถึงกระนั้นมนุษย์ก็ยังคงดื้อรั้น อวดเก่ง จิตใจแข็งกระด้าง มั่นใจในความสามารถของตนเองจนขาดความสุภาพนบนอบไปเสีย ความสุภาพนบนอบจะท�ำให้เราได้รับความเอื้อเอ็นดู ได้รับการเกื้อกูล ใส่ใจ และได้รับพระพรในชีวิตอยู่เสมอ

26


จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พระบิดาเจ้าก็ไม่เคยทอดทิ้งมนุษย์ให้เดินทางต่อสู้บนโลกนี้เพียงล�ำพัง พระองค์ทรงมอบพระบุตรลงมาบังเกิดเพื่อไถ่บาปมนุษยชาติให้รอดพ้น ด้วยพระกายและพระโลหิตของพระบุตรนี้เอง เราจึงได้รับชีวิตนิรันดร ไม่ใช่มานนาอาหารที่หล่อเลี้ยงเพียงร่างกายมนุษย์เช่นในอดีต แต่เป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณเพื่อให้เรามีชีวิตนิรันดร

เพราะเนื้อของเราเป็นอาหารแท้ และโลหิตของเราเป็นเครื่องดื่มแท้ (ยอห์น 6:55) พ่อแม่เฝ้าเตือนข้าพเจ้าและลูกหลานว่า อย่าละเลยที่จะร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในทุกวันอาทิตย์ นอกจากจะแค่ไม่เพียงละเลยเท่านั้น ลูก ๆ ควรที่จะเคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนกิจอย่างจริงจัง เพราะเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่วางเฉย อะไรก็ได้ สบายไว้ก่อน ยิ่งเราละเลยนานเพียงใด ความเย็นชา ไม่เห็นคุณค่าก็จะยิ่งเกาะกินวิญญาณของเรา จนในที่สุด เราก็เป็นลูกพระแค่เพียงชื่อเท่านั้น แต่กิจการไม่ใช่เลย!!!!! เพียงมานนา อาหาร ประทานมา เลี้ยงกายา ให้เติบใหญ่ ได้สุขสันต์ แต่อาหาร ฝ่ายจิต คุณอนันต์ เลี้ยงวิญญาณ์ ให้ครบครัน หมั่นตรึกตรอง เฝ้าถนอม กล่อมเกลี้ยง เลี้ยงเพียงกาย ไม่เว้นวาย สรรหา มาสนอง กายเติบใหญ่ ใจโหยหา น�้ำตานอง สิ่งหมายปอง ตรองดู คือสิ่งใด โดย น�้ำผึ้งหวาน 27


วัดพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่ 28


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญอันนา สระไม้แดง 29 กรกฎาคม 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญลอเรนซ์ นางาม 5 สิงหาคม 2017

29


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ สระแก้ว 19 สิงหาคม 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ ระยอง 2 กันยายน 2017

30


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารีสมภพ กบินทร์บุรี 9 กันยายน 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญนิโคลัส พัทยา 10 กันยายน 2017

31


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอารักขเทวดา แหลมประดู่ 23 กันยายน 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี 30 กันยายน 2017

32


ฉลองอารามคาร์แมล จันทบุรี 7 ตุลาคม 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระลูกประคำ� สัตหีบ 14 ตุลาคม 2017

33


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารดาพระศาสนจักร นครนายก 21 ตุลาคม 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดราชินีสายประคำ�ศักดิ์สิทธิ์ บ้านสร้าง 28 ตุลาคม 2017

34


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระคริสตราชา ปะตง 11 พฤศจิกายน 2017

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดราชินีแห่งสันติภาพ อรัญประเทศ 11 พฤศจิกายน 2017

35


พิธีบวชพระสงฆ์ใหม่​่ 30 กันยายน 2017

36


37


พิธีเสกอารามแม่พระฟาติมา คณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี 14 ตุลาคม 2017

38


39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.