สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
ครบรอบ 100 ปี 350ปี มิสซังสยาม นักบุญยอแซฟ แม่พระฟาติมา โมทนาคุณด้วยใจกตัญญู ผู้ใช้ความเงียบเป็นค�ำพูด
FREE COPY แจกฟรี
Vol.24
เมษายน 2018 ปีท่ี 29
การถวาย
ก�ำยาน
ปีที่ 29 ฉบับที่ 24 / เมษายน 2018
Contents
สารบัญ
สายใยจันท์
สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราช.............................................................. 6 การร่วมฉลองครบรอบ 100 ปี แม่พระฟาติมา...................... 8 350 ปี มิสซังสยาม โมทนาคุณด้วยใจกตัญญู....................... 10 งานสังคมในสังฆมณฑลจันทบุรี................................................14 การถวายก�ำยาน..........................................................................16 บทถวายพระพรของเศคาริยาห์................................................. 18 นักบุญยอแซฟ ผู้ใช้ความเงียบเป็นค�ำพูด.................................. 20 ทุกคนทีก่ ฎหมายไม่หา้ มไว้ ก็สามารถท�ำพันธสัญญาแต่งงานได้...23 ความรักของพระเจ้าในผู้นั้นย่อมสมบูรณ์.................................26 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 28 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................29
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2
บรรณาธิการ Editor’s talk
“ดังนั้น เราถูกฝังไว้ในความตายพร้อมกับพระองค์ อาศัยศีลล้างบาป เพื่อว่า พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย เดชะพระสิริรุ่งโรจน์ ของพระบิดาฉันใด เราก็จะด�ำเนินชีวิตแบบใหม่ด้วยฉันนั้น” (รม 6:4) บทจดหมายของนักบุญเปาโลเตือนใจคริสตชนในโรมด�ำเนินชีวติ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ และ ชอบธรรม เมื่อรับศีลล้างบาป เราถูกฝังความตาย(บาป) แล้วควรด�ำเนินชีวิตที่ดีด้วยไม่ หันกลับไปหาบาปอีก ที่ต้องเตือนเช่นนี้เพราะก่อนหน้านี้บทที่ 5 ข้อ 20 จดหมายของท่านได้เขียนว่า “ธรรมบัญญัติเข้ามาเพื่อการล่วงละเมิดจะได้ทวีขึ้น ที่ใดบาปทวีขึ้น ที่นั่นพระหรรษ ทานก็ยิ่งทวีขนึ้ มากกว่า” คริสตชนบางคนเข้าใจเนือ้ ความของท่านนักบุญเปาโลผิด คิด ว่าต้องท�ำบาปมาก ๆ จึงจะได้รับพระหรรษทานมาก ๆ เช่นกัน ดังนี้ ในบทที่ 6 ท่านเริ่ม ต้นจดหมายของท่านด้วย “แล้วเราจะว่าอย่างไร เราควรจะท�ำบาปต่อไปเพื่อพระ หรรษทานจะได้มากขึ้นกระนั้นหรือ” และท่านได้เฉลยต่อมาว่า “หามิได้ เราตายจาก บาปแล้ว เรายังจะมีชีวิตอยู่ในบาปต่อไปได้อย่างไรเล่า” (รม 6:2) ด้วยเหตุนี้ คริสตชนได้รับศีลล้างบาป และพระเยซูผู้ทรงกลับคืนชีพไถ่บาปเรา แล้ว เราควรด�ำเนินชีวิตแบบใหม่พร้อมกับพระคริสตเจ้าด้วย (รม 6:4) โดยการ ยอมตายพร้อมกับพระเยซูเจ้า “ผูใ้ ดใคร่รกั ษาชีวติ ของตนให้รอดพ้น ก็จะสูญ เสียชีวติ นิรนั ดร แต่ถา้ ผูใ้ ดเสียชีวติ ของตนเพราะเรา ก็จะพบชีวติ นิรนั ดร” (มธ 16:25) แสวงหาพระเจ้ามากขึ้น “เพราะคนที่ขอย่อมได้รับ คนที่แสวงหาย่อมพบ คนที่เคาะประตูย่อมมีผู้เปิดประตูให้” (มธ 7:8) รับใช้ “ผู้ที่เชื่อในเรา ก็จะท�ำกิจการที่เราก�ำลังท�ำอยู่ด้วย” (ยน 14:12) “พระองค์ประทานให้บางคนเป็นอัครสาวก บางคนเป็นประกาศก บางคนเป็นผู้ ประกาศข่าวดี บางคนเป็นผู้อภิบาลและอาจารย์ เพื่อเตรียมบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ไว้ ส�ำหรับงานรับใช้เสริมสร้างพระกายของพระคริสตเจ้า” (อฟ 4:11-12) ขอสุขสันต์ปัสกากับพี่น้องคริสตชนจันท์ทุกท่าน ขอพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับ คืนชีพอวยพรให้การฉลองปัสกาของพี่น้องน�ำสู่การด�ำเนินชีวิตคริสตชนที่ดี
คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ
3
สาสน์พระสังฆราช สุขสันต์ปสั กาแก่พนี่ อ้ งพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรษุ คริสตชนทีร่ กั ในพระคริสตเจ้า
“ดิฉันได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว” (ยน 20:18) พระวรสารของนักบุญยอห์นกล่าวถึงเหตุการณ์เช้าตรู่วันต้นสัปดาห์ ขณะทีน่ างมารีย์ ชาวมักดาลา อยูต่ ามล�ำพังทีพ่ ระคูหา เธอได้พบกับพระเยซูเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ แต่เธอจ�ำพระองค์ไม่ได้ จนกระทั่ง เมื่อพระเยซูเจ้า เรียกชื่อเธอ เธอจึงจ�ำพระองค์ได้ และได้กลับไปแจ้งแก่บรรดาศิษย์ว่า “ดิฉัน ได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว” (ยน 20:18) การได้ “เห็น” เป็นการยืนยันทีส่ ำ� คัญในการสืบสวน มักจะมีการสอบถาม พยานว่า “คุณได้เห็นหรือเปล่า” การเห็นให้ความมั่นใจในพยานหลักฐาน นาง มารีย์ชาวมักดาลา ได้เห็นองค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ เราเชื่อ อย่างแน่ใจได้วา่ เธอไม่ได้ตาฝาด แต่เธอได้เห็นพระองค์อย่างแท้จริง เพราะการ เห็นด้วยตาท�ำให้ใจของเธอเปลี่ยนแปลง จากโศกเศร้าเป็นยินดี จากหมดอาลัย ตายอยากเป็นพลังความหวัง นี่คือ การเป็นพยานแห่งการกลับคืนพระชนมชีพ ของพระเยซูเจ้าที่น่าเชื่อถือที่สุด
4
เราคริสตชนเชื่อในการกลับคืนพระชนมชีพของ พระเยซูเจ้า จากชีวิตที่เป็นพยานของบุคคลร่วมสมัยของ พระเยซูเจ้า และเราถูกเรียกร้องให้เป็นพยานแห่งการกลับ คืนชีพนี้สืบต่อไป เราไม่ได้เห็นด้วยตาของร่างกาย แต่เรา เห็นด้วยตาของจิตใจ ซึ่งท�ำให้เรามีประสบการณ์การพบปะ กับพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ เราสามารถพบปะ กับพระองค์ในชีวิตแต่ละวันของเรา ด้วยการภาวนา การร่วม พิธกี รรม การด�ำเนินชีวติ เป็นหนึง่ เดียวกับเพือ่ นพีน่ อ้ ง และการ เป็นประจักษ์พยานด้วยการรักและรับใช้ดว้ ยใจยินดี ทัง้ นี้ เพราะ เรามีพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพอยู่ในชีวิตของเรา ขอให้ความชื่นชมยินดีแห่งปัสกา สถิตกับพี่น้องพระ สงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนทั้งหลาย ขอให้การกลับ คืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า บันดาลให้ชีวิตจิตใจของเรา ทุกคนเปี่ยมด้วยพลังแห่งความเชื่อและความหวัง เพื่อเราที่ ก�ำลังด�ำเนินชีวิตอยู่จะได้ “ไม่มีชีวิตเพื่อตนเองอีกต่อไป แต่ มีชีวิตเพื่อพระองค์ผู้ได้สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระ ชนมชีพ” (2 คร 5:15) ขออ�ำนวยพรด้วยความรักในพระคริสตเจ้า (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
5
ค�ำอวยพร โอกาสสมโภชปัสกา สุขสันต์สมโภชปัสกาแด่พี่น้องคริสตชนที่รักในพระคริสตเยซูผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ
“ถ้าพระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ การเทศน์สอนของเราก็ไร้ ประโยชน์ ความเชื่อของท่านก็ไร้ประโยชน์เช่นเดียวกัน” (1 คร 15:14) O “ถ้าท่านทั้งหลายกลับคืนชีพพร้อมกับพระคริสตเจ้าแล้ว ก็จงใฝ่หาสิ่งที่อยู่ เบื้องบน อย่าพะวงถึงสิ่งของบนแผ่นดินนี้” (คส 3:1-2) O “เราทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาปเดชะพระคริสตเยซู ก็ได้รับศีลล้างบาปร่วมกับ การกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ด้วย ถ้าเราตายกับพระคริสตเจ้าแล้ว เราก็จะมีชีวิตพร้อมกับพระองค์ด้วย” (รม 6:3-8) ก่อนสังคายนาวาติกันที่ 2 รู้สึกว่าพระศาสนจักรเน้นความทุกข์ทรมานและการ สิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้ามากกว่าการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ เช่น ทาง กางเขนมี 14 สถานที่ และจบด้วยการฝังศพพระองค์ในพระคูหา แต่ปัจจุบันทางกางเขนมี 18 สถานที่ โดยสถานที่ที่ 1 คือ การกินเลี้ยงครั้งสุดท้ายที่พระองค์ทรงตั้งศีลมหาสนิทและ ศีลบรรพชา เพื่อจะได้มีพระสงฆ์เสกศีลฯ จวบจนสิ้นพิภพ และสถานที่ที่ 2 พระองค์ทรงเข้า ตรีทูตในสวนมะกอก และสถานที่ที่ 17 พระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และสถานที่ที่ 18 พระองค์เสด็จสู่สวรรค์อย่างมีชัยชนะ พระศาสนจักรถือวันอาทิตย์เป็นวันพระเจ้า ไม่ถือวัน สับบาโตเป็นวันพระเจ้าต่อไป เพราะวันอาทิตย์ระลึกถึงพระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ ในพิธบี ชู ามิสซาขอบพระคุณระลึกถึงผูต้ าย ก็รอ้ งเพลง“อัลเลลูยา”ได้ แสดงความ ยินดี มิใช่แสดงแต่ความเศร้าโศก มีเทียนปัสกาตั้งจุดอยู่ ระลึกถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับ คืนพระชนมชีพ ซึ่งเป็นความยินดีและความหวังของเรา “พระองค์ทรงเป็นผลแรกของ บรรดาผู้ล่วงลับไปแล้ว” (1 คร 15:20) เราทุกคนก็จะกลับคืนชีพเหมือนพระองค์วันหนึ่ง แล้วเราจะพบกันใหม่ 6
อนึง่ บางคนก็เน้นการกลับคืนพระชนมชีพด้านเดียว ลืมกางเขน ลืมพระทรมาน และการสิ้นพระชนม์ ในพระธรรมล�้ำลึก ปัสกาต้องรวม 2 อย่างเสมอ ซึ่งแยกออกจาก กันไม่ได้ คือ กางเขน (ความทุกข์ทรมานและความตาย) และการกลับคืนพระชนมชีพ (การชนะความตาย) “พระคริสตเจ้าจ�ำเป็นต้องทนทุกข์ทรมานเช่นนี้ เพื่อเข้าไปรับ พระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์มิใช่หรือ ?” (ลก 24:26) พระคริสตเจ้าเคยตรัสว่า “ผู้ ใดไม่แบกกางเขนตามเรา ผู้นั้นเป็นศิษย์ของเราไม่ได้” (ลก 14:27) อิสราเอลเก่าต้องอพยพจากอิยิปต์แดนทาส ผ่านความทุกข์ความล�ำบาก การ ทดลองมากมาย กว่าจะได้เข้าแผ่นดินพระสัญญา อิสราเอลใหม่คอื พวกเราคริสตชน ก็ได้ รับศีลล้างบาป ได้ตาย ถูกฝังและกลับคืนชีพพร้อมกับพระคริสตเจ้าแล้ว เราต้องเจริญ ชีวติ ใหม่ ตายจากบาป ถูกฝัง และมีชวี ติ พระ เป็นลูกของพระ และเป็นพีน่ อ้ งของทุกคน ในโอกาสสมโภชปัสกา ให้เราระลึกถึงความรัก ความเมตตายิ่งใหญ่ของพระ บิดาเจ้า ซึง่ ทรงส่งพระบุตรสุดทีร่ กั มาบังเกิดเป็นมนุษย์ยากจน ทนทุกข์ทรมาน รับความ ตายเหมือนคนบาป แทนคนบาป และกลับคืนพระชนมชีพ น�ำความยินดีและความหวัง มาให้เรา ซึ่งวันหนึ่งต้องตายเพราะบาปจะได้กลับคืนชีพ ให้เรารื้อฟื้นค�ำสัญญาศีลล้าง บาป ด้วยการละทิ้งปีศาจ ความชั่วร้ายและสิ่งยั่วยวนต่าง ๆ และรื้อฟื้นความเชื่อของ เราให้มีชีวิตชีวา มีความศรัทธาเป็นพิเศษต่อพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนม ชีพ ซึ่งยังประทับกับเราในศีลมหาสนิท ในบูชามิสซาสรรเสริญขอบพระคุณ และใน ชีวิตประจ�ำวันของเรา มีความปิติยินดีในจิตใจและในใบหน้าของเราเสมอ ยึดพระองค์ เป็นสรณะที่พึ่ง และมอบชีวิตของเราไว้กับพระองค์ เป็นศิษย์ที่ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อ พระองค์ ปฏิบัติตามพระบัญชาและค�ำสั่งสอนของพระองค์ และรับใช้พระองค์อย่าง เข้มแข็งในพระศาสนจักร เพื่อเผยแผ่ขยายพระอาณาจักรของพระเจ้าไปยังชาวไทย ชาวโลกอีกมากมายที่ยังไม่รู้จัก รัก และรับใช้พระองค์ ขอสันติสุขของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพสถิตกับพี่น้องเสมอ อัลเลลูยา อัลเลลูยา อัลเลลูยา อวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี
7
การร่วมฉลอง ครบรอบ
100 ปี
ความเดิมตอนที่แล้ว ได้พูดถึงค�ำขอของพระแม่มารีย์ ที่ฟาติมา และการตอบรับค�ำขอของพระแม่ นั่นคือ 1. หยุดท�ำบาปต่อพระเยซูเจ้า (13 ตุลาคม 1917) ได้เขียนแล้วในตอนที่ 1 2. ให้ ส วดภาวนา โดยเฉพาะสวดลู ก ประค� ำ (13 กรกฎาคม 1917) ได้เขียนแล้วในตอนที่ 2 ค�ำขอของพระแม่มารีย์ที่ฟาติมา 3. พลีกรรมเพื่อคนบาป (13 กรกฎาคม 1917) ในประจักษ์ครั้งที่ 3 แก่ลูชีอา ยาชินทาและ ฟรังซิสโก พระแม่มารีย์ได้บอกกับลูชีอาว่า “ขอให้ ท�ำพลีกรรมเพื่อคนบาป และสวดบ่อย ๆ เมื่อท�ำ พลีกรรมให้สวดว่า ‘ข้าแต่พระเยซู พลีกรรมนี้เพื่อ แสดงความรักต่อพระองค์ เพือ่ คนบาปจะได้กลับใจ และเพื่อชดเชยบาปที่กระท�ำขัดเคืองต่อดวงหทัย นิรมลของพระนางมารีย์’” 1 จากนัน้ แม่พระเผยแสดงให้เด็กทัง้ สามเห็นนรก ซึ่งมีปีศาจและวิญญาณก�ำลังทนทุกข์ทรมาน แม่พระ บอกกับลูซีอาว่า พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้ถวาย ความศรัทธาต่อดวงหทัยนิรมลของพระนางเพื่อความ รอดพ้นของคนบาป 2 ในการประจักษ์ครั้งที่ 4 วันที่ 19 สิงหาคม 1917 แม่พระกล่าวว่า “จงภาวนา สวดมาก ๆ และ ท�ำพลีกรรมเพื่อคนบาป วิญญาณมากมายต้องตก นรก เพราะไม่มีใครท�ำพลีกรรมและสวดภาวนา อุทิศให้เขา” 3
3. เรื่องเดียวกัน, หน้า 36
(ตอนจบ)
โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์
ฑูตสวรรค์ผู้ที่ได้เตรียมจิตใจลูชีอา ยาชินทา และฟรังซิสโก ตอบค�ำถามของลูชีอาที่ถามว่า “เธอ จะถวายพลีกรรมแด่พระเจ้าอย่างไร?” “จงท�ำทุกอย่างทีพ่ วกหนูทำ� ได้เพือ่ ถวายพลี กรรมแด่พระเจ้า.... พวกหนูจงยอมรับและอดทนต่อ ความทุกข์ยากล�ำบากทีพ่ ระเจ้าทรงโปรดให้พวกหนู ได้รับ” ฑูตสวรรค์ตอบ การพลีกรรมตามค�ำตอบของฑูตสวรรค์คอื ท�ำ ทุกอย่างในชีวิต ยอมรับความทุกข์ยากล�ำบาก อดทน ในชีวิตของตน ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึงพระ ศาสนจักร “Lumen Gentium” ข้อที่ 34 ได้อธิบาย ความหมายของการพลีกรรมไว้วา่ “ฆราวาสเนือ่ งจาก ได้ถวายตัวแด่พระคริสตเจ้าและได้รบั การเจิมทาจากพระ จิตเจ้า เขาจึงได้รับพระกระแสเรียกอันน่าพิศวง และ ประกอบด้วยวิธีการอันท�ำให้พระจิตเจ้าเองทรงผลิต ผลานุผลยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอไปในตัวเขา เหตุว่าการกระท�ำ ทุกอย่าง ทุกประการของเขา เช่นการสวดมนต์ภาวนา การเริ่มงานแพร่ธรรม วิสาสะ ประสาสามีภรรยาและ ครอบครัว การงานทีเ่ ขาประกอบทุก ๆ วัน การพักผ่อน หย่อนใจ ผ่อนกาย ในเมื่อเขากระท�ำขณะมีพระจิต เจ้าประทับอยู่ และกระทั่งความยุ่งยากต่าง ๆ ของ ชีวิต ในเมื่อเขาเพียรอดทน สิ่งทั้งหลายดังกล่าวนี้ ล้วนเป็นเครือ่ งบูชาฝ่ายจิตใจ “เป็นบูชาทีพ่ อพระทัย ของพระเป็นเจ้า”
1 บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช มารีอาฟาติมา ไขรหัสรักแห่งการประจักษ์ หน้า 31-32 2 เรื่องเดียวกัน, หน้า 32
8
แม่พระฟาติมา
ตามความหมายตามเอกสารพระศาสนจักร การ พลีกรรมเป็นเครือ่ งบูชาฝ่ายจิต เป็นบูชาทีพ่ ระเจ้าพอ พระทัย ดังนั้น การพลีกรรมเพื่อคนบาป จึงเป็นบูชา ที่พระเจ้าพอพระทัย นี่คือตัวอย่างของการพลีกรรมของฟรังซิสโก และยาชินทามีบันทึกไว้ว่า ฟรังซิสโกท�ำการพลีกรรมโดย • ยอมอดอาหารเที่ยง เพื่อให้แก่ผู้ยากจนกว่า ตนเอง • เดือนตุลาคม 1918 ฟรังซิสโกป่วยหนัก ลูชอี า มาเยี่ยม และถามถึงการเจ็บป่วย ฟรังซิสโก ตอบว่า เจ็บปวดกับการป่วยมาก แต่ยอมรับ การเจ็บป่วยนัน้ ทุกอย่างเพราะรักพระเจ้าและ แม่พระ และอยากจะรับทรมานมากกว่านีด้ ว้ ย • นอกจากนี้ฟรังซิสโกยังสวดสายประค�ำทุกวัน วันละหลาย ๆ สายด้วยความศรัทธา ส�ำหรับยาชินทาท�ำพลีกรรมโดย • อดอาหารที่เธอชอบ เช่น ไม่ทานองุ่นหวาน ที่เธอชอบ • น�ำเชือกมามัดไว้ที่ข้อมือของเธอ ท�ำให้เธอไม่ สบายตัวและทรมานตนทั้งวัน • ให้อาหารเที่ยงแก่ผู้ยากจนกว่าตนเอง • แม้กระหายน�้ำ แต่เธออดทนที่จะไม่ดื่มน�้ำ • นอนราบกับพื้นและสวดภาวนาตามที่ฑูต สวรรค์ได้สอน • สวดสายประค�ำวันละหลาย ๆ สายเพือ่ คนบาป • เธอเป็นฝีที่เยื่อปอดข้างซ้ายของเธอ เธอ เจ็บปวดทรมานมาก แต่เธอยังภาวนาได้ว่า “พระเยซูเจ้าข้า ลูกรักพระองค์”
ในการประจักษ์ครั้งแรก (13 พฤษภาคม 1917) ของพระแม่มารีย์ ได้ถามลูชอี า ฟรังซิสโกและ ยาชินทาว่า “พวกหนูเต็มใจไหมทีจ่ ะถวายตนเองแด่ พระเจ้า และยอมรับความยากล�ำบากที่พระองค์ จะประทานให้ดว้ ยความอดทน เพือ่ ชดเชยใช้โทษ บาปของผูก้ ระท�ำผิดต่อพระองค์ และเพือ่ คนบาป จะได้กลับใจ” และพระแม่มารียไ์ ด้ปลอบใจเด็กทัง้ 3 คนว่า “พวกหนูจะต้องเผชิญกับความยากล�ำบาก มากมาย แต่พระหรรษทานของพระเจ้าจะบรรเทา ใจพวกหนู” พระแม่มารีย์ไม่เพียงจะถามลูชีอา ยาชิน ทาและฟรังซิสโกเท่านั้น แต่ถามคริสตชนทุกคน เราจง............ ตอบรับค�ำขอของพระแม่มารีย์ที่ฟาติมา 9ฉั9 นจะพลีกรรมเพื่อคนบาป ในฐานะที่เป็นคริสตชน เป็นลูกของพระเจ้า พระแม่มารีย์ประจักษ์ที่ฟาติมาเป็น 100 ปีแล้ว เรา ได้ตอบสนองค�ำขอของพระแม่มารย์ หรือใส่ใจในค�ำ เตือนของพระแม่มารีย์แล้วหรือยัง? พระสมณสาสน์ มารดาพระผูไ้ ถ่ (Redemptoris Mater) ได้เขียนว่า “พระนางได้ต้อนรับพระ วาจาของพระเจ้า ได้ทรงเชื่อ ได้ทรงนอบน้อมต่อ พระเจ้า ได้ทรง “รักษา” พระวาจาไว้และได้ทรง น�ำมาร�ำพึงอยู่ในพระทัย” 4 โอกาสฉลองครบรอบ 100 ปีฟาติมา เราจง เลียนแบบพระแม่มารีย์ ตอบรับ เชื่อ รักษา ร�ำพึง ตามค�ำขอของพระแม่มารีย์เสมอ ๆ 4 พระสมณสาสน์ “มารดาพระผู้ไถ่” (Redemptoris Mater) หน้า 42
9
โมทนาคุณด้วยใจกตัญญู ฟื้นฟูชีวิตจิตแห่งศิษย์พระคริสต์ โดย คุณพ่อธรรมรัตน์ เรือนงาม จากการที่สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย ได้ประกาศสาส์นอภิบาลฯ เรื่อง การ เฉลิมฉลองโอกาสร�ำลึกถึงการสถาปนา “มิสซัง สยาม” (ค.ศ. 1669-2019) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2017 ท�ำให้พระศาสนจักรท้องถิ่นทั่วไทยได้มีความ ตระหนักรู้ เข้าใจ และกระตือรือร้นอย่างจริงจังใน โอกาสอันส�ำคัญนี้ โดยใช้ช่วงเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017-2019 เป็นเวลาแห่งการฟื้นฟูความเชื่อ คริสตชน อาศัยวิถีชุมชนคริสตชนย่อย (BEC) ตาม แนวกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 เพื่อให้ทุกมิติ ของการประกาศข่าวดีเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม น�ำ คริสตชนทุกคนสู่การเป็นศิษย์พระคริสต์ เจริญชีวิต สอดคล้องกับข่าวดีทเี่ ราเชือ่ เป็นประจักษ์พยานด้วย วิถชี วี ติ คริสตชนในชุมชนย่อย ก้าวออกสูก่ ารประกาศ ข่าวดี ด้วยการบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์ชีวิต อารยธรรมแห่งความรักแก่พี่น้องชาวไทยทุกคนที่ รอรับฟังข่าวดีนี้อยู่ จากประวัตศิ าสตร์ทไี่ ด้มกี ารสรุปอย่างย่อ ๆ ในสาส์นอภิบาลดังกล่าว พระสันตะส�ำนักได้ประกาศ ตัง้ มิสซังสยามอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 1669 โดยมีพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน เป็นพระสังฆราช องค์แรก ดังนัน้ ในปี 2019 คริสตชนไทยจะฉลอง 350 ปีแห่งการสถาปนามิสซังสยาม และยังเป็นโอกาสอัน 10
ดีสำ� หรับคริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี ทีจ่ ะครบ 75 ปี ในการแยกมิสซังจันทบุรีจากมิสซังกรุงเทพ นับเป็น โอกาสทีค่ ริสตชนไทยและคริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี จะได้ฟื้นฟูชีวิตหลาย ๆ มิติไปพร้อมกัน ประการแรก การฉลองนี้เป็นโอกาสให้เรา ทบทวนประวัติศาสตร์ของการวางรากฐานพระ ศาสนจักรไทย เราระลึกถึงมิชชันนารีรุ่นแรกที่ล่วง ลับไปแล้วด้วยใจกตัญญู พวกท่านได้พยายามที่จะ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ หาทางและฟันฝ่าอุปสรรคทุก อย่าง ในการประกาศข่าวดี เพื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ แห่งความเชื่อเรื่องพระเยซูเจ้าให้เจริญเติบโตอย่าง ยั่งยืน ดังนั้น การฉลองนี้จึงเตือนเราให้เกิดความ รูส้ กึ กตัญญูรคู้ ณ ุ ต่อบรรดามิชชันนารีเหล่านัน้ จนถึง บรรดามิชชันนารีในปัจจุบันด้วย ประการที่สอง ยังเป็นโอกาสให้เราย้อนไป ดูความเชื่อที่ซื่อสัตย์มั่นคงของคริสตชนรุ่นแรก ๆ ซึ่งพยายามถือธรรมประเพณีคริสตชนต่าง ๆ ที่ มิชชันนารีถา่ ยทอดให้ ซึง่ คริสตชนกลุม่ แรก ๆ เหล่านี้ ก็พยายามด�ำรงชีวติ ด้วยจิตตารมณ์ความรัก และการ แบ่งปัน การฉลองนี้จึงเป็นโอกาสให้เราคริสตชนยุค ปัจจุบันหันกลับไปมองดูมรดกแห่งความเชื่อ และ ฟื้นฟูสิ่งดีงามที่มิชชันนารีถ่ายทอดมาให้เรา ให้กลับ มีชีวิตชีวาอีกครั้ง
และประการที่สาม เป็นโอกาสดีที่เราจะ ฟื้นฟูชีวิตจิตของคริสตชนศิษย์พระคริสต์ ตามทีพ่ ระ สันตะปาปาได้เชื้อเชิญเรา เมื่อพระองค์เขียนสมณ สาส์นเตือนใจ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” พระองค์เชื้อเชิญคริสตชนแต่ละคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรือในสถานการณ์ใด ให้ฟื้นฟูการพบกับพระเยซู คริสตเจ้าเป็นการส่วนตัว หรืออย่างน้อยให้ตัดสินใจ ทีจ่ ะแสวงหาพระองค์ และพบกับพระองค์ในแต่ละวัน เพือ่ ขอพระเมตตาจากพระองค์ และรือ้ ฟืน้ พันธสัญญา กับพระองค์เสียใหม่ การเติมจิตใจและชีวติ ทัง้ ชีวติ ด้วย การพบปะกับพระเยซูเจ้า ยอมให้พระองค์เป็นพระผู้ ช่วยให้รอดแต่เพียงผูเ้ ดียว น�ำมาซึง่ อิสรภาพจากบาป ความโศกเศร้า ความว่างเปล่าและความโดดเดีย่ วใน จิตใจ ทั้งนี้ เพื่อการเจริญชีวิตด้วยความชื่นชมยินดี พร้อมกับพระเยซูเจ้า พร้อมที่จะประกาศข่าวดีใหม่ (ความชืน่ ชมยินดีแห่งการประกาศพระวรสารข้อ 1-2 ) ศิษย์พระคริสต์ หมายถึง ทุกคนที่เป็นผู้ที่ ติดตามพระเยซูเจ้า ยอมรับพระองค์เป็นพระเจ้า เป็น อาจารย์ผู้สอน เป็นดังผู้น�ำ ศิษย์พระคริสต์ต้องการ ศึกษาเรียนรู้ และเลียนแบบชีวิตของพระอาจารย์ ศิษย์พระคริสต์เชื่อในค�ำสอนของพระเยซู และน�ำ เอาค�ำสอนที่ตนเชื่อนั้นไปปฏิบัติในชีวิตด้วยตัวเอง พร้อมกับน�ำค�ำสอนและแบบอย่างชีวติ ของพระคริสต์ ไปสอนและสืบทอดให้ชนรุ่นหลังต่อ ๆ ไป ดังนั้น คริสตชนทุกคนจึงเป็นศิษย์พระคริสต์ดว้ ยการด�ำเนิน ชีวติ สอดคล้องกับความเชือ่ โดยปฏิบตั ติ ามพระวาจา พระเจ้า ส�ำนึกถึงบทบาทส�ำคัญยิ่งในการประกาศ ข่าวดีตามพระบัญชาของพระเยซูคริสต์ (เทียบ มธ 28:19-20) เป็นประจักษ์พยานด้วยชีวติ ท�ำตามแบบ อย่างของพระอาจารย์ด้วยการรักผู้อื่นก่อน จนผู้คน รอบข้างสัมผัส เข้าใจได้ถงึ ความรักของพระเจ้า และ ตอบรับความรักของพระองค์
ชีวิตคริสตชนเป็นชีวิตหมู่คณะ เป้าหมาย ของการเป็นลูกศิษย์ของพระเยซูเจ้าคือ การประกาศ ว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด และร่วมสร้างพระ อาณาจักรของพระองค์ พระองค์ได้ให้วิธีการแก่ บรรดาศิษย์ โดยให้ดำ� รงชีวติ เป็นหมูค่ ณะ (ยน 13:34) พระองค์เน้นให้พวกเขาเป็นหนึง่ เดียวกันเมือ่ รวมกลุม่ กัน (ยน 17:21) การเป็นลูกศิษย์ที่แท้จริงของพระ เยซู จึงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวโดยการท�ำตนให้เป็นคนดี ไม่เบียดเบียนใครเท่านั้น แต่จ�ำเป็นต้องร่วมเจริญ ชีวิตกับลูกศิษย์คนอื่น ๆ เพราะโลกจะได้เชื่อว่าพระ เยซูเป็นพระเจ้าแท้ โดยอาศัยการเจริญชีวิตร่วมกัน ของบรรดาศิษย์แบบพวกเรา เราสามารถร่วมเจริญ ชีวิตกับคนรอบข้างในหลายรูปแบบ เช่น การรวม ตัวกันของบรรดาคริสตชนในละแวกบ้าน (วิถีชุมชน คริสตชนย่อย) การร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรคาทอลิก หรือในองค์กรพระพรพิเศษ คริสตชนเป็นผูป้ ระกาศข่าวดีให้แก่มนุษย์ทกุ คน ตัวอย่างของนักบุญมารีย์ชาวมักดาลา “ท่านนักบุญได้รับเกียรติเป็นคนแรกที่เป็นพยาน ยืนยันการกลับคืนชีพของพระคริสตเจ้า” “ตัวอย่างของท่านเป็นแบบอย่างส�ำหรับบรรดา สตรีในพระศาสนจักร” “เป็นการแสวงหาและไตร่ตรองศักดิ์ศรีของสตรี อย่างลึกซึ้งมากขึ้นส�ำหรับการประกาศข่าวดีใหม่ และความยิง่ ใหญ่แห่งธรรมล�ำ้ ลึกแห่งความเมตตา ของพระเป็นเจ้า” “ท่านเป็นธรรมทูตให้แก่บรรดาอัครธรรมทูต” ศิษย์ของพระคริสตเจ้า เป็นผู้มีสัมพันธ์กับ พระองค์อยู่เสมอ นักบุญอัลฟอนโซได้สอนให้เรา ภาวนาติดต่อกับพระในชีวิตประจ�ำวันดังนี้ 11
1. 2.
12
ในเวลาปรกติอย่าลืมทีจ่ ะสนทนา กับพระองค์พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไป ในชีวิตเราเหมือนกับการพูดคุยกับ เพื่อนสนิท ในเวลายากล�ำบาก สนทนากับ พระองค์ถงึ สิง่ ทีเ่ รากลัว สิง่ ทีท่ ำ� ให้เรา เศร้า พระองค์จะเป็นคนแรกที่เราจะ ร้องขอ มิใช่จากสิง่ อืน่ ๆ แม้เมือ่ ความ ยากล�ำบากจะยังคงอยู่ เราน้อมรับว่า ยังไม่สมควรจะได้รับการช่วยเหลือ จากพระองค์
3.
ในเวลายินดี เราไม่เพียงภาวนา เมื่อมีปัญหา ในเวลาที่เราได้รับข่าวดี สิ่งดี ๆ เราต้องขอบคุณพระเจ้าด้วย เหมือนเพือ่ นทีร่ กั กันแบ่งปันความยินดี แก่กันเวลาที่เราพบสิ่งดี ๆ เราอดไม่ ได้ทจี่ ะเรียกเพือ่ นคนทีเ่ รารักรับรูแ้ ละ ร่วมยินดีไปกับเรา
4. 5.
เมือ่ ผิดพลาดไป สิง่ ทีแ่ สดงออก ถึงความมัน่ ใจในพระองค์สงู สุดคือ การ ที่เราไม่อายที่จะภาวนาถึงพระองค์ ทันทีทผี่ ดิ พลาด พระเจ้าไม่เพียงรักแต่ เฉพาะคนทีท่ ำ� ดี แต่พระองค์รกั ทุกคน ตามที่เราเป็นเสมอ เมื่อขอโทษส�ำนึก ผิดความสัมพันธ์กับพระจะดีขึ้นเสมอ ในเวลาที่ไม่เข้าใจสงสัยในสิ่ง ที่เกิดขึ้นในชีวิต วอนขอพระเจ้าด้วย ความมั่นใจ เพื่อจะได้เลือกท�ำในสิ่งที่ พอพระทัยพระองค์ที่สุด
6. 7.
ให้กับผู้อื่น เป็นต้น คนที่ตก ทุกข์ล�ำบาก วิญญาณในไฟช�ำระ ผู้ ต้องการความช่วยเหลือ ฯลฯ เราไม่ เพียงภาวนาเพือ่ ตนเอง แต่ทกุ คนเป็น ลูกของพระ ล้วนสามารถรับพระพรได้ เสมอ แม้ผ่านทางค�ำภาวนาของผู้อื่น ภาวนาถึงพระเจ้าผู้ประทับใน สวรรค์เสมอ ตระหนักเสมอว่าโลกนี้ เป็นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อ ผ่านไปสูช่ วี ติ อมตะกับพระเจ้า นักบุญ เทเรซาคิดถึงสวรรค์เสมอ ท่านนักบุญ ยินดีทกุ ครัง้ ทีน่ าฬิกาตีบอกเวลา เพราะ อันตรายจากการห่างจากพระหมดไป อีกหนึ่งชั่วโมง ท่านตระหนักถึงสภาพ วิญญาณที่จะพบพระอยู่เสมอ
แล้วเราประกาศอะไร? นักบุญเปโตรเริ่ม ประกาศแก่พวกเขา การประกาศนี้ไม่เพียงสอนให้ เป็นคนดี ไม่เพียงสอนให้เชื่อว่ามีพระเจ้า (เพราะ พวกเขาเชื่ออยู่แล้ว) แต่นักบุญเปโตรประกาศถึง พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพ และเป็นพระผู้ช่วยให้ รอด อัศจรรย์เกิดขึ้น มีคน(ที่เป็นคนดีและเชื่อใน พระเจ้าอยู่แล้ว)กลับใจเชื่อในพระเยซูเจ้าถึงสามพัน คน คริสตชนประกาศตนเป็นพยานถึงพระเยซูผกู้ ลับ คืนชีพจากความตาย เป็นพระผูไ้ ถ่ และพระอาณาจักร ของพระองค์ที่เริ่มต้นในโลกนี้แล้ว เราประกาศด้วย ความเคารพผู้อื่นอย่างจริงใจ การประกาศพระวรสาร เป็นหัวใจของ คริสตชนทุกคน พระศาสนจักรมีอยูเ่ พือ่ การประกาศ (EN14) การประกาศจึงเป็นเอกลักษณ์ที่ลึกซึ้งที่สุด ของพระศาสนจักร พระศาสนจักรมีภาพมากมายทีอ่ ยู่ ในสถานที่ต่าง ๆ มีกิจกรรมดี ๆ เพื่อสิ่งที่ดีในสังคม
แต่ในภาพใหญ่ทงั้ หมดของเรา มีสงิ่ เดียวทีเ่ ป็นภาพที่ รวมจิตวิญญาณของเราคือ การประกาศพระวรสาร เราอาจแตกต่างกันในต�ำแหน่งบทบาทหน้าทีก่ ารงาน แต่ในพระศาสนจักร คริสตชนทุกคนมีเอกลักษณ์ เดียวกันคือ ประกาศพระวรสารของพระเยซู เพือ่ ทุก คนจะได้เชื่อและพบความรอด ดังนั้น ชีวิตคริสตชน ของเราไม่ว่าจะท�ำอะไรเรามีเป้าหมายที่ส�ำคัญที่สุด คือ การเป็นพยานถึงพระเยซูในชีวิตปัจจุบันของเรา ด้วยความยินดี ข่าวดีนไี้ ม่ใช่ขา่ วดีทวั่ ไปในชีวติ ประจ�ำ วัน แต่เป็นความยินดีในทุกกรณีไม่ว่าสมหวังหรือผิด หวัง ด้วยส�ำนึกว่าพระรักเรา ไถ่บาปเรา และเราได้ รับความรอดจากองค์พระเป็นเจ้า นี่คือข่าวดีที่เรา เชื่อและประกาศ ชีวติ คริสตชน เป็นพยานถึงพระเยซูเจ้าผูท้ รง กลับคืนชีพ “…ด้วยการประกาศข่าวดีทางวาจา อาศัยการบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์ชวี ติ ความ เชื่อของตน เพื่อน�ำความรอดพ้นไปสู่เพื่อนมนุษย์ ทุกคน…” (กฤษฎีกาข้อที่ 14) เรามีหน้าที่ประกาศ ข่าวดี คือองค์พระเยซูเจ้าผู้กลับคืนชีพซึ่งมีเนื้อหาที่ เราสามารถหาได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากในพระ คัมภีร์ ประวัตินักบุญ หนังสือบ�ำรุงศรัทธา จากสื่อ สังคมต่าง ๆ แต่ประสบการณ์สว่ นตัวทีเ่ รามีตอ่ พระเจ้า เป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด และเป็นสิ่งที่เราสามารถเล่าได้ เอง นักบุญเปาโลใช้ประสบการณ์ความเชื่อส่วนตัว ที่เกิดกับชีวิตของท่านเอง รวมทั้งเรื่องการมาเป็น คริสตชน โดยวิธกี ารนีท้ า่ นติดต่อแบ่งปันกับผูอ้ นื่ ด้วย พลังและความรักของพระเจ้าทีท่ า่ นได้สมั ผัส การเป็น พยานส่วนตัว มาจากประสบการณ์วา่ เรารูจ้ กั พระเจ้า ได้อย่างไร เป็นวิธกี ารทีม่ คี า่ เพราะใครไม่สามารถถก เถียงหรือโต้แย้งได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับ เราผู้เล่าเรื่องโดยตรง การเป็นพยานนี้ไม่เพียงบอก
เล่าว่า พระเยซูคอื ใคร แต่จะบอกเล่าว่าพระองค์ทรง ท�ำอะไรในชีวิตของเรา การพูดคุยเพื่อให้ความรู้ว่า พระเจ้าเป็นอย่างไร ศาสนาคาทอลิกคืออะไร อาจ จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ไม่น่าสนใจส�ำหรับคนหลายคน แต่หากเราแบ่งปันว่าชีวิตของเราเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อพบพระ จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก การแบ่งปัน แบบนี้เป็นการท�ำให้ประวัตศิ าสตร์แห่งการไถ่กู้ และ พระเยซูผู้ไถ่กู้ กลับเป็นจริง และเป็นปัจจุบันอีกครั้ง ดังนัน้ การทีค่ นหนึง่ มีชวี ติ ทีส่ มั พันธ์กบั พระเสมอ ก็จะ สามารถบอกเล่าประสบการณ์เช่นนี้ได้อย่างดี ที่สุดแล้ว จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องคริสตชน และผู้อ่านทุกท่านได้มีโอกาสไตร่ตรองชีวิตคริสตชน ของเรา โดยมีค�ำถามเพื่อการไตร่ตรองถึงการเป็น พยานโดยการบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวของเรา กับพระเจ้าได้อย่างไร ดังนี้
1.
ฉันสัมผัสกับพระเจ้าในชีวิตประจ�ำวันอย่างไร
2.
ท�ำไมฉันจึงเชื่อในคาทอลิก
3.
การกลับใจของฉัน มีอะไรท�ำให้ชีวิตฉันเปลี่ยนไป
4.
พระเรียกฉัน มีเหตุการณ์อะไรพิเศษ เกิดขึ้นในชีวิตของฉันหรือไม่
อ้างอิงข้อมูลจาก เอกสารเพื่อการเตรียมฉลอง 350 ปีแห่งการสถาปนามิสซังสยาม 13
ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี
งานสังคมในสังฆมณฑลจันทบุรี สวัสดีครับพีน่ อ้ งทีร่ กั เรือ่ งของงานสังคมในสายใยจันท์ฉบับทีแ่ ล้ว ยังคงค้างไว้ดว้ ยแผนภูมโิ ครงสร้าง ของกรรมาธิการฝ่ายสังคมระดับชาติ (Caritas Thailand) ในฉบับนี้พ่ออยากเสนอภาพคร่าว ๆ ให้พี่น้องได้ เข้าใจ ก่อนทีเ่ ราจะเข้าไปสูก่ ารท�ำงานของฝ่ายสังคมในสังฆมณฑลของเรา เพือ่ พีน่ อ้ งจะได้มภี าพกว้าง ๆ ของ งานฝ่ายสังคมระดับชาติที่สัมพันธ์กับงานสังคมในระดับสังฆมณฑลของเรา โครงสร้างของกรรมธิการฝ่ายสังคม (Caritas Thailand) สภาพระสังฆราชฯ กรรมการบริหาร ส�ำนักเลขาธิการฯ คกก. พัฒนาสังคม - แผนกพัฒนาสังคม - แผนกยุติธรรมและสันติ - แผนกสตรี - แผนกสุขภาพอนามัย
คกก. อภิบาลสังคม - แผนกผู้ประสบภัย/ผู้ลี้ภัย - แผนกผู้อพยพย้ายถิ่น และผู้ถูกคุมขัง - แผนกผู้ท่องเที่ยว และเดินทางทะเล
ฝ่ายสังคมสังฆมณฑล กรุงเทพ อุบลราชธานี จันทบุร ี สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ อุดรธานี นครราชสีมา ราชบุรี นครสวรรค์ ท่าแร่ฯ
กรรมการอ�ำนวยการ ฝ่ายสังคม คณะนักบวช ชาย-หญิง
กรรมาธิการฝ่ายสังคมระดับชาติ (Caritas Thailand) ขึ้นตรงกับการดูแลและบริหารจากสภาพระ สังฆราชแห่งประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการบริหาร และแยกออกเป็นแผนกต่าง ๆ ซึ่งในฉบับนี้พ่อขอน�ำ เสนอ วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของ Caritas Thailand ให้พี่น้องได้เห็นก่อนนะครับ วิสัยทัศน์ สังคมที่มีดุลยภาพ และพลวัตในการปฏิบัติความรักเมตตา บนพื้นฐานคุณค่าแห่งพระวรสารใน การพัฒนามนุษย์ทั้งครบ ครอบคลุมทุกมิติ พันธกิจ รักและรับใช้พี่น้องผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาส โดยการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และการดูแลรักษาโลก ด้วยการให้ความรู้ การพัฒนา การอภิบาล และบริการ 14
นโยบายปฏิบัติ
แผนยุทธศาสตร์
1. ปลูกและปลุกจิตส�ำนึกให้คริสตชนและผูม้ นี ำ�้ ใจดี อุทศิ ตนเพือ่ ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ คุม้ ครอง สิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยเน้นผู้ ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส สตรี เยาวชน เด็กก�ำพร้า ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ใช้แรงงาน ผู้ตกเป็น เหยื่อจากการค้ามนุษย์ ผู้อพยพย้ายถิ่น ผู้ถูก จองจ�ำ เกษตรกร กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ติดเชื้อ ฯลฯ 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ ไตร่ตรองและ เสวนา ค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร อย่าง ต่อเนือ่ งและยัง่ ยืนในทุกระดับ พัฒนากระบวนการ เรียนรู้ส�ำหรับพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส และผู้ มีน�้ำใจดี เพื่อให้การอภิบาลสอดคล้องกับสภาพ สังคม ส่งเสริมและพัฒนาศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ 3. ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ ไตร่ตรองและ เสวนาคุณค่าทางศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและภูมิปัญญาของท้องถิ่นและของ ชาติ เพื่อจะได้ยอมรับคุณค่าที่ดีงาม อีกทั้งน�ำ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันและร่วมมือกัน สร้างสรรค์สงั คมทีม่ คี วามยุตธิ รรม สันติสขุ และ ความเป็นพี่น้องกัน 4. ปลูกและปลุกจิตส�ำนึกให้มีความตระหนักใน เรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุม้ ค่า และส่งเสริมให้ มีการช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน อาศัยการปฏิบตั ิ 5 R คือ การปฏิเสธ (Reject) การลด (Reduce) การ ซ่อมแซม (Repair) การน�ำมาใช้ซำ�้ (Reuse) และ การน�ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) 5. ส่งเสริมให้หน่วยงานด้านสังคมของพระศาสนจักร ในทุกระดับ มีธรรมาภิบาล และมีเอกลักษณ์ คาทอลิก ตลอดจนพัฒนาและสืบทอดบุคลากร ผู้ร่วมงานในทุกระดับ
1. คาริตสั ต้องเป็นหัวใจของพระศาสนจักร (Caritas at the heart of the Church) ยึดมั่นในอัต ลักษณ์ของคาริตสั อันเป็นพันธกิจงานอภิบาลแก่ ผู้ยากจนในนามของพระศาสนจักร 2. ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ และร่วมสร้างชุมชนขึ้น ใหม่ (Save lives, rebuild communities) ลด ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทสี่ ง่ ผลต่อชีวติ มนุษย์ โดยการเสริมหนุนการเตรียมความพร้อมและการ ตอบสนองต่อสถานการณ์ภัยต่างๆ 3. ส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ทั้งครบอย่างยั่งยืนที่ ครอบคลุมทุกมิติของชีวิต (Promote sustainable integral human development) ลดความ ยากจนในรูปแบบต่างๆ โดยการเสริมศักยภาพ / ให้อ�ำนาจประชาชน และแปรเปลี่ยนระบบและ โครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม 4. สร้างความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวในโลก (Build global solidarity) ระบุตน้ เหตุของความยากจน ทีร่ นุ แรงโดยการสือ่ สารสัมพันธ์ การศึกษา และ การขับเคลือ่ นทีเ่ ข้มแข็ง และสร้างการเป็นทีร่ จู้ กั ของชื่อ คาริตัส 5. สร้างคาริตัสไทยแลนด์ให้เป็นโครงข่ายที่มี ประสิทธิภาพมากขึน้ (Make Caritas Thailand more effective) สร้างสหพันธ์ที่เข้มแข็ง โดยมี สมาชิกทีเ่ ป็นมืออาชีพและมีประสิทธิภาพ ตลอด จนสามารถที่จะบริหารจัดการกับทรัพยากรที่ จ�ำเป็นอย่างดี จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายและแผน ยุทธศาสตร์ พี่น้องคงจะเห็นภาพคร่าว ๆ ในเนื้องาน ของ Caritas Thailand แม้จะไม่มีรายละเอียดมาก นักแต่คงท�ำให้เราเข้าใจในบางส่วน ฉบับหน้าเราก็ จะได้เข้าไปสู่เครือข่าย (แผนกต่าง ๆ) ของ Caritas Thailand ต่อไป 15
เข้าใจให้ดีเรื่อง
พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
การถวายก�ำยาน
สวัสดีครับพี่น้องที่รัก พบกันอีกครั้งในสายใยจันท์ พ่อยังคง อยากให้เราเรียนรู้และเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของเครื่องหมาย และการปฏิบตั ใิ นพิธกี รรมเรือ่ ง “การถวายก�ำยาน” ต่อจากฉบับทีแ่ ล้ว ขอพี่น้องมีความสุขในการติดตามด้วยความใส่ใจนะครับ การถวายก�ำยานปัจจุบันกระท�ำอย่างเรียบง่าย ตามการ ปรับปรุงพิธีกรรมทางสังคายนาวาติกันที่ 2 ไม่สลับซับซ้อนเหมือนใน อดีต จุดประสงค์ของการถวายก�ำยาน ก็เพื่อให้ควันหอมของก�ำยาน ลอยขึ้นข้างบนเป็นเครื่องหมายของค�ำภาวนา ที่หอมหวนลอยไปถึง องค์พระเจ้าดังกล่าวมาแล้ว 16
วิธีการถวายก�ำยานมีดังนี้ 1. การถวายก�ำยานโดยแกว่ง 3 คู่ (tribus ductibus) ขึ้น 1..2..ลง ขึ้น 1..2..ลง ขึ้น 1..2..ลง แก่ศีลมหาสนิท แก่พระธาตุ ไม้กางเขนและ พระรูปพระเยซูเจ้าทีต่ งั้ ให้สตั บุรษุ แสดงความเคารพ แก่ของถวายในมิสซา แก่ไม้กางเขนของพระแท่น บูชา แก่หนังสือพระวรสาร แก่เทียนปัสกา แก่พระ สงฆ์ และแก่สัตบุรุษ 2. การถวายก�ำยานโดยแกว่ง 2 คู่ (duobus ductibus) ขึ้น 1..2..ลง ขึ้น 1..2..ลง แก่พระธาตุหรือรูปของนักบุญ ทีต่ งั้ ให้สตั บุรษุ แสดงความเคารพ ขณะที่ถวายก�ำยานแก่พระแท่น เมื่อเริ่มพิธีเท่านั้น 3. การถวายก�ำยานโดยแกว่งครั้งเดียว (singulis ictubus) ถวายแด่พระแท่น (รอบพระแท่น) ข้อสังเกตอื่น ๆ • ถ้าพระแท่นอยูไ่ ม่ตดิ ฝาผนัง พระสงฆ์ถวาย ก�ำยานโดยเดินรอบพระแท่น ถ้าพระแท่นอยู่ติดฝา ผนัง พระสงฆ์ถวายก�ำยานด้านขวาแล้วจึงถวาย ก�ำยานด้านซ้ายของพระแท่น • ส่วนไม้กางเขน ถ้าอยู่เหนือพระแท่นหรือ บนพระแท่นให้ถวายก�ำยานแก่ไม้กางเขนก่อนจะ ถวายแก่พระแท่น หรือพระสงฆ์ถวายก�ำยานแก่ไม้ กางเขนเมื่อเดินผ่านมาข้างหน้า • พระสงฆ์ถวายก�ำยานแก่เครื่องบูชาโดย แกว่ง 3 คู่ (tribus ductibus) ก่อนจะถวายก�ำยาน แก่ไม้กางเขนและแก่พระแท่น พระสงฆ์ยงั อาจใช้หม้อ ไฟ ท�ำเครื่องหมายกางเขนเหนือเครื่องบูชา 3 ครั้ง ได้ด้วย (IGMR 277)
• การถวายก�ำยานแก่ไม้กางเขนและเครื่อง บูชา เจตนาคือ เน้นความหมายมิสซาเป็นการถวาย บูชาของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน แต่ภาคปฏิบตั เิ รา ยังไม่ได้เริ่มก่อนที่ไม้กางเขน • มิสซาวันธรรมดา ปกติจะไม่ใช้ก�ำยาน • การถวายก�ำยานในมิสซาผู้ตาย ในภาพ เตรียมเครื่องบูชาปกติจะไม่มีการถวาย สันนิษฐาน ว่า มิสซาที่ถวายก�ำยานจะเป็นมิสซาฉลอง แต่จะ มีการถวายในช่วงส่งศพ ซึ่งการถวายให้ผู้ตายช่วง พิธีนี้มีความหมายว่า “เราให้เกียรติผู้ตาย ในฐานะ ร่างกายของเขาเป็นพระวิหารของพระเจ้า” ความ หมายอีกแง่หนึ่งคือ “ผู้ล่วงลับได้ถวายตนเองเป็น ที่สุดท้ายด้วยความตายแด่พระเป็นเจ้าแล้ว” • เวลารับศพหน้าวัด ใช้เพียงน�้ำเสกพรมที่ ศพ เพื่อเป็นเครื่องหมายของผู้ที่ได้รับศีลล้างบาป • ควันก�ำยาน เมือ่ ถวายก�ำยานควันก�ำยานจะ ลอยขึน้ เบือ้ งบนให้เห็นชัดเจน อย่าแกว่งก�ำยานโดยที่ ไม่มคี วันออกมา เพราะไม่มคี วามหมาย เนือ่ งจากควัน ก�ำยานหมายถึงค�ำภาวนาที่ล่องลอยไปหาพระเจ้า เมื่อพี่น้องเริ่มเรียนรู้และเข้าใจในความหมาย ของเครื่องหมายที่พบในพิธีกรรมบางประการแล้ว พ่อเชื่อว่าพี่น้องจะท�ำการเฉลิมฉลองแก่นแท้แห่ง ธรรมล�้ำลึกปัสกา ซึ่งเป็นจิตวิญญาณที่แท้จริงของ เราคริสตชน ในหนทางแห่งความรอดพ้นทีพ่ ระคริสต เจ้าทรงมอบให้เรากระท�ำ เอาใจ ใส่และเรียนรู้กันให้มากนะครับ พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ
17
บทถวายพระพรของเศคาริยาห์ เบเนดิกตุส หรือเรารู้จักกันในชื่อ “บทถวายพระพรของเศคาริยาห์” รับมาจากค�ำแรกจากภาษาละติน (เบเนดิกตุส Dominus Deus Israel “สรรเสริญพระเจ้าของอิสราเอล”) ในพระวรสารของท่านนักบุญลูกา บทที่ 1 ข้อ 68-79 68 ขอถวายพระพรแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าแห่งอิสราเอล เพราะพระองค์เสด็จเยีย่ ม และทรงกอบกูป้ ระชากรของพระองค์ 69 พระองค์ทรงบันดาลให้พระผู้ทรงอ�ำนาจเกิดจากราชวงศ์ กษัตริย์ดาวิด ผู้รับใช้พระองค์ 70 ตามที่ทรงสัญญาไว้โดยปากของบรรดาประกาศกผู้ศักดิ์สิทธิ์ ของพระองค์ตั้งแต่โบราณกาล 71 ว่าจะให้เรารอดพ้นจากศัตรู จากเงื้อมมือของผู้เกลียดชังเรา 72 ทรงสัญญาว่าจะทรงแสดงพระกรุณาแก่บรรพบุรุษของเรา ทรงระลึกถึงพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ 73 และค�ำปฏิญาณที่ทรงให้ไว้แก่อับราฮัมบรรพบุรุษของเรา ว่า จะทรงช่วยเราให้พน้ จากเงือ้ มมือของศัตรู เพือ่ รับใช้พระองค์ โดยปราศจากความหวาดกลัวใด ๆ 75 ให้เราเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์พระองค์ ตลอดชีวิตของเรา 76 ส่วนเจ้าทารกเอ๋ย เจ้าจะได้ชอื่ ว่า เป็นประกาศกของพระผูส้ งู สุด เจ้าจะน�ำหน้าองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าเพือ่ เตรียมทางส�ำหรับพระองค์ 77 เพื่อให้ประชากรของพระองค์รู้ว่าเขาจะรอดพ้น เพราะบาป ของเขาได้รับการอภัย 78 เดชะพระเมตตากรุณาของพระเจ้าของเรา พระองค์จะเสด็จ มาเยี่ยมเราจากเบื้องบน ดังแสงอรุโณทัย 79 ส่องแสงสว่างให้ทุกคนที่อยู่ในความมืดและในเงาแห่งความ ตาย เพื่อจะน�ำเท้าของเราให้ด�ำเนินไปตามทางแห่งสันติสุข 18
นี่เป็นหนึ่งในสามบทเพลงสรรเสริญในช่วง เริ่มต้นของพระวรสารนักบุญลูกา นีอ้ กี สองเพลงสรรเสริญ คือบทเพลงสรรเสริญ ของพระนางมารีย์ (ลก 1:46-55) และบทเพลงของ สิเมโอน (ลก 2:29-32) เบเนดิกตุส เป็นเพลงขอบคุณ พระเจ้าทีเ่ ศคาริยาห์กล่าวถึงในโอกาสทีไ่ ด้รบั การเข้า สุหนัตของลูกชายคือ นักบุญยอห์นผู้ท�ำพิธีล้าง ทั้งบทเพลงประกอบไปด้วยสองส่วน ข้อ แรก (ข้อ 68-75) เป็นบทเพลงแห่งการขอบพระคุณ ส�ำหรับการส�ำนึกในพระเมสสิยาห์ผู้เป็นความหวัง ของชนชาติยวิ ซึง่ เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติยวิ ดังเมื่ออดีตในตระกูลของกษัตริย์ดาวิดมีอ�ำนาจที่จะ ป้องกันประเทศ ปกป้องตนเองให้พน้ จากศัตรูรอบด้าน ทีเ่ คยถูกลิดรอนของพวกเขา แต่ในสมัยของพระเยซู พวกเขาปรารถนาจะได้รบั การฟืน้ ฟู ความรูส้ กึ และจิต วิญญาณที่ได้ต้องการยกระดับ ต้องการเรียนรู้เพิ่ม มากขึน้ เปรียบดังเสียงแตรซึง่ เป็นสัญญาณแห่งพลัง อ�ำนาจ และ “เสียงแตรแห่งความรอดพ้น” หมาย ถึง พลังแห่ง “การปลดปล่อยอันยิง่ ใหญ่” ขณะทีช่ าว ยิวได้รับเอาแอกแห่งการเป็นเมืองขึ้นของชาวโรมัน จากการสูญเสียการปกครองตนเอง การเสียภาษีให้ โรมัน การไม่เป็นอิสระทางกฎหมาย และทางจิตใจ แต่ชนชาติยิวยังคงวางใจในพระเจ้าและ ประเด็นทีถ่ กู เติมเต็มความหวังว่าการช่วยให้รอดพ้น หรือยุคของพระเมสสิยาห์มาถึงแล้ว และเศคาริยาห์ ชีใ้ ห้เห็นคือ ค�ำสาบานของพระยาเวห์ทมี่ ตี อ่ อับราฮัม ข้อ 72 : “ทรงสัญญาจะทรงแสดงพระกรุณาแก่ บรรพบุรุษของเรา แก่อับราฮัมและบุตรหลาน ตลอดไป” แต่ความส�ำเร็จคือการช่วยให้รอดพ้นและ ปลดปล่อยไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของโลก แต่คือการ
ช่วยให้รอดและปลดปล่อยในชีวติ ประจ�ำวัน ข้อ 74 : “ทรงช่วยเราให้พ้นจากศัตรู เพื่อรับใช้พระองค์ โดยปราศจากความหวาดกลัวใด ๆ ให้เราเป็นผู้ ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์พระองค์ ตลอดชีวิต” ส่วนที่สองของบทเพลงเป็นถ้อยค�ำของ เศคาริยาห์ต่อลูกชายของเขา ผู้ซึ่งได้รับส่วนส�ำคัญ ในแผนการไถ่กู้เพราะว่า พระองค์ทรงเป็นผู้เปิดเผย พระวาจาของพระเจ้า และสั่งสอนการให้อภัยบาป ก่อนการเสด็จมาหรือแสงอรุโณทัยจากเบื้องบน ดัง ค�ำท�ำนายที่กล่าวไว้ว่า ข้อ 76 : “ส่วนเจ้าทารกเอ๋ย เจ้าจะได้ชื่อว่า เป็นประกาศกของพระผู้สูงสุด เจ้าจะน�ำหน้าองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อเตรียมทาง ส�ำหรับพระองค์” เป็ น ประโยคที่ รู ้ จั ก กั น ดี จ ากหนั ง สื อ ประกาศกอิสยาห์ 40:3 ซึ่งยอห์นเองได้ใช้ในภารกิจ ของพระเยซูเจ้า (ยอห์น 1:23) และพระวรสารทัง้ สาม ฉบับที่น�ำมาใช้ (มัทธิว 3:3; มาระโก 1:2; ลูกา 3:4) พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ได้จัดให้บท เบเนดิกตุสหรือเพลงถวายพระพรของเศคาริยาห์ใช้ ในช่วงท�ำวัตรเช้า ซึง่ อาจจะเป็นไปได้ในการให้ความ หมายของการไถ่กู้ของพระเจ้าตั้งแต่ประโยคแรก ของเพลงถวายพระพรนี้ และบางทีอาจใช้ถ้อยค�ำ ในบทเพลงถวายพระพร เพือ่ แสดงออกถึงความหวัง อย่างสุดหัวใจในการไถ่กใู้ ห้รอดพ้นของพระผูเ้ ป็นเจ้า ที่มีต่อมนุษย์ด้วย โดย คุณพ่อธีรพงษ์ ก้านพิกุล แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ สังฆมณฑลจันทบุรี 19
นักบุญโยเซฟ ผู้ใช้ความเงียบเป็นค�ำพูด
โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์
นักบุญโยเซฟปรากฏเป็นส่วนหนึง่ ในประวัตศิ าสตร์แห่งความรอด และมีบทบาท ส�ำคัญในเรื่องราวการประสูติของพระเยซูเจ้าที่บันทึกในพระวรสารของลูกาและมัทธิว จากบันทึกในพระวรสาร นักบุญโยเซฟสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ดาวิด (มธ 1:20; ลก 2:4) เป็นคู่หมั้นของพระแม่มารีย์ (ลก 1:27) เป็นช่างไม้ (มธ 13:55) เป็นชาวนาซาเร็ธ (ลก 2:4) หากอ่านเรื่องราวของนักบุญโยเซฟในพระวรสารทั้ง 4 จะ พบว่า ไม่มีตอนไหนในพระวรสารเลยที่นักบุญโยเซฟได้ “พูด” ออก มา หรือมีการสนทนากับผู้อื่น มีแต่ความเงียบ แต่ในความเงียบของ ท่านกลับกลาย........... • เป็น “เสียงพูด” ที่ดังสนั่นที่คริสตชนต้องฟัง • เป็น “เสียงพูด” ที่ให้ตัวอย่างแก่คริสตชน ต้องการ เลียนแบบ ตามแบบอย่างของท่าน • เป็น “เสียงพูด” ของคุณธรรมต่าง ๆ ของท่าน • เป็น “เสียงพูด” ของบุรุษผู้ชอบธรรม (มธ 1:19) • เป็น “เสียงพูด” ของผู้ที่มีความเชื่อในพระเจ้า
20
นักบุญโยเซฟเป็นผู้ที่ “ฟัง” พระเจ้า
เหตุผลที่ความเงียบของท่าน เป็นค�ำพูดที่มี เสียงดังมาก มาจาก... นักบุญโยเซฟเป็น “คนดี” คิดเล่น ๆ ตามประสามนุษย์ หากมนุษย์เลือก คุณสมบัติผู้ที่จะมาเป็นบิดาของตนได้ คน ๆ นั้นจะ เลือกบิดาแบบไหน? แน่นอนต้องเลือกบิดาที่เป็นคน ดี ใจดี หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ผู้เลือกต้องการ การ ที่พระเจ้าทรงเลือกผู้ที่ให้การอบรมบุตรของพระเจ้า ผู้นั้นจะต้องเป็นคนดีพร้อมเช่นกัน จากบันทึกของ พระวรสาร “พระนางมารีย์ หมัน้ กับโยเซฟแต่กอ่ นที่ ท่านทัง้ สองจะครองชีวติ ร่วมกัน ปรากฏว่าพระนาง ตั้งครรภ์แล้วเดชะพระจิตเจ้า” (มธ 1:18) “โยเซฟ คูห่ มัน้ ของพระนางเป็นผูช้ อบธรรมไม่ตอ้ งการฟ้อง หย่าพระนางอย่างเปิดเผย จึงคิดถอนหมั้นอย่าง เงียบ ๆ” (มธ 1:19) นักบุญโยเซฟ เมื่อทราบข่าวคู่หมั้นของท่าน ท่านไม่เอะอะโวยวาย ป่าวประจานคู่หมั้นตนเอง ไม่ ใช้ค�ำว่า เราไปด้วยกันไม่ได้ ไม่ท�ำร้ายพระแม่มารีย์ เพราะตามกฎของชาวยิว ตั้งครรภ์ก่อน หรือเป็นชู้ ต้องถูกท�ำโทษถึงชีวติ (ลนต 20:10; ฉธบ 22:22) ตรง ข้ามท่านนักบุญโยเซฟคิดเงียบ ๆ จะท�ำแบบเงียบ ๆ เพื่อถนอมน�้ำใจพระแม่มารีย์ วิธีคิดของท่านคือ คิด ไม่ท�ำร้ายใคร
ตามบันทึกพระวรสารของท่านนักบุญมัทธิว ทูตสวรรค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า มาเข้าฝันกล่าวว่า “โยเซฟ โอรสกษัตริย์ดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีย์ มาเป็นภรรยาของท่านเลย เพราะเด็กทีป่ ฏิสนธิใน ครรภ์ของนางนัน้ มาจากพระจิตเจ้า” (มธ 1:20) “เมือ่ โยเซฟตืน่ ขึน้ เขาก็ทำ� ตามทีท่ ตู สวรรค์ขององค์พระ ผู้เป็นเจ้าสั่งไว้ คือรับภรรยามาอยู่ด้วย”(มธ 1:24) จากพระวรสาร ไม่มกี ารบันทึกถึงการตอบโต้ ระหว่างทูตสวรรค์กับนักบุญโยเซฟ เหมือนอย่าง เศคาริยาห์ เหมือนอย่างพระแม่มารีย์ นักบุญโยเซฟ ฟัง และ ปฏิบัติ ทันที อีกตอนหนึ่ง เมื่อบรรดาโหราจารย์กลับไป แล้ว ทูตสวรรค์ขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้ามาเข้าฝันโยเซฟ กล่าวว่า “จงลุกขึ้น พาพระกุมารและพระมารดา หนีไปประเทศอียิปต์ และจงอยู่ที่นั่นจนกว่าเราจะ บอกท่าน เพราะกษัตริยเ์ ฮโรดก�ำลังสืบหาพระกุมาร เพื่อจะประหารชีวิต โยเซฟจึงลุกขึ้นพาพระกุมาร และพระมารดาออกเดินทางไปประเทศอียิปต์ใน คืนนั้น” (มธ 2:13-14) จากพระวรสารไม่มีการบันทึกถึงการตอบโต้ ระหว่างทูตสวรรค์กับนักบุญโยเซฟอีกเช่นกัน ไม่มี การถามว่าจะเดินทางอย่างไร? นี่มันดึกแล้วไปตอน เช้าได้ไหม? แต่นักบุญโยเซฟ ฟัง และ ปฏิบัติ ทันที อยูท่ ปี่ ระเทศอียปิ ต์สกั พักหนึง่ ทูตสวรรค์มาเข้า ฝันกล่าวว่า “จงลุกขึน้ พาพระกุมารและพระมารดา กลับไปแผ่นดินอิสราเอล เพราะผูท้ ตี่ อ้ งการฆ่าพระ กุมารตายแล้ว” “โยเซฟจึงลุกขึน้ พาพระกุมารและ พระมารดากลับไปแผ่นดินอิสราเอล” (มธ 2:20-21) นักบุญโยเซฟ ฟัง และ ปฏิบัติ ทันทีอีกเช่นกัน 21
นักบุญโยเซฟเป็นผู้ที่ “ไว้ใจ” พระเจ้า
นักบุญโยเซฟเป็นผู้ที่ “ปฏิบัติความเชื่อ” ต่อพระเจ้า
ตามบันทึกของพระวรสาร “เมื่อโยเซฟตื่น ขึน้ เขาก็ทำ� ตามทีท่ ตู สวรรค์ขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า สั่งไว้ คือรับภรรยามาอยู่ด้วย” (มธ 1:24) นักบุญ โยเซฟฟังและปฏิบตั ทิ นั ที ไม่มคี ำ� ถาม การกระท�ำเช่น นี้ของท่านเป็นการไว้ใจในพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ เป็นการตามน�ำ้ พระทัยของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ เป็นผู้ที่เชื่อในพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ ไม่ต้องมานั่ง ถามตนเองว่า แล้วชาวบ้านจะว่าอย่างไร? ภายหน้า จะเป็นอย่างไร?
ตามบันทึกของนักบุญลูกา นักบุญโยเซฟเป็น ผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของพระเจ้า “เมื่อครบ ก�ำหนดเวลาที่มารดาและบุตรจะต้องท�ำพิธีช�ำระ มลทินตามธรรมบัญญัติของโมเสส โยเซฟพร้อม กับพระนางมารียน์ ำ� พระกุมารไปทีก่ รุงเยรูซาเล็ม เพื่อถวายแด่พระเจ้า” (ลก 2:22)
หลังจากทีร่ บั พระแม่มารียม์ าเป็นภรรยา (มธ 1:24) นักบุญโยเซฟ “มิได้มเี พศสัมพันธ์กบั นาง” (มธ 1:25) “ครั้งนั้น พระจักรพรรดิออกัสตัส ทรงออก พระราชกฤษฎีกาให้มกี ารส�ำรวจส�ำมะโนประชากร ทัว่ จักรวรรดิโรมัน” (ลก 2:1) “ท่านได้ออกเดินทาง จากเมืองนาซาเร็ธในแคว้นกาลิลี ไปยังเมืองของ กษัตริย์ดาวิด ชื่อเบธเลเฮมในแคว้นยูเดีย เพราะ โยเซฟสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์กษัตริย์ดาวิด” (ลก 2:4) แม้ว่าระหว่างทาง “ก็ถึงก�ำหนดเวลาที่ พระนางมารียจ์ ะมีพระประสูตกิ าล พระนางประสูติ พระโอรสองค์แรก ทรงใช้ผ้าพันพระวรกายพระ กุมารนั้น แล้วทรงวางไว้ในรางหญ้า เนื่องจาก ไม่มีที่ในห้องพักแรมเลย” (ลก 2:6-7) ไม่มีค�ำบ่นจากท่านว่า ลูกของพระเจ้าช่าง น่าสงสารต้องเดินทางไกล ๆ หรือ เป็นเวรเป็นกรรม ทีม่ าเกิดในครอบครัวของเรา สิง่ ทีท่ า่ นท�ำคือ ท�ำตาม น�้ำพระทัยพระเจ้าด้วยความไว้ใจอย่างสุดจิตสุดใจ
ทุกปี นักบุญโยเซฟจะพาพระแม่มารียแ์ ละพระ เยซูเจ้าไปฉลองปัสกา “โยเซฟพร้อมกับพระมารดา ของพระเยซูเจ้าเคยขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มใน เทศกาลปัสกาทุกปี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุสิบ สองพรรษา โยเซฟพร้อมกับพระมารดาก็ขึ้นไป กรุงเยรูซาเล็มตามธรรมเนียมของเทศกาลนั้น” (ลก 2:41-42) การทีน่ กั บุญโยเซฟปฏิบตั ติ ามธรรมบัญญัตขิ อง โมเสสและไปกรุงเยรูซาเล็ม เพือ่ ฉลองเทศกาลปัสกา บ่งบอกว่า นักบุญโยเซฟ เป็นผู้“ปฏิบัติความเชื่อ” ต่อพระเจ้าเสมอ จากตัวอย่างของนักบุญโยเซฟ หากเรา ไตร่ตรองดีดี การท�ำงานให้พระ ไม่จ�ำเป็นต้องพูด เก่ง หรือ พูดมาก แต่ขอให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ เป็นพยานให้พระเจ้าได้ ดั ง นั้ น เมื่ อ อ่ า นเรื่ อ งราวและบั น ทึ ก ใน พระวรสาร แม้ไม่มีค�ำพูดของท่านนักบุญโยเซฟ แต่ ท่านฟังเป็นอันดับแรก ฟังแล้วเชื่อ เชื่อแล้วปฏิบัติ และปฏิบัติด้วยความไว้ใจในพระเจ้า
นี่แหละคือบุรุษผู้ใช้ความเงียบเป็นค�ำพูด 22
กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โดย ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี
ทุกคนที่กฎหมายไม่ห้ามไว้ ก็สามารถท�ำพันธสัญญาแต่งงานได้ (Can.1058)
พี่น้องที่เคารพรักในพระคริสตเจ้าครับ ดูเหมือนโลกมนุษย์ของเราเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็วอย่างยิ่ง ทั้งที่จริงๆ แล้ววันเวลาก็ยัง คงด�ำเนินไปเหมือนเดิม พี่น้องเคยสงสัยเกี่ยวกับค�ำ สอนของพระศาสนจักรและข้อก�ำหนดต่างๆ เกี่ยว กับเรื่องการแต่งงาน ว่าเปลี่ยนแปลงไปตามยุค สมัยอย่างไรบ้าง? เช่น การแต่งงานแบบไหนที่พระ ศาสนจักรยอมรับว่าถูกต้อง, มีค�ำสอนใหม่ๆ อะไร ท�ำนองนี้น่ะครับ เมื่อไม่นานมานี้ พระศาสนจักรคาทอลิก จัดสมัชชาพระสังฆราชทั่วโลก 2 ครั้ง คือ ตุลาคม ค.ศ.2014, 2015 หัวข้อเรื่องครอบครัว และต่อมา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงสมณลิขติ เตือนใจ เรื่องความปิติยินดีแห่งความรัก เกี่ยวกับความรักใน ครอบครัว ชือ่ เอกสารเป็นภาษาลาติน ว่า “AMORIS LAETITIA” ออกเมือ่ เดือนเมษายน ค.ศ.2016 เนือ้ หา ยาวมากมาย หลากหลายประเด็น เพราะเป็นการ
รายงานสถานการณ์ของพระศาสนจักรท้องถิ่นจาก ทั่วโลก ซึ่งในสารสังฆมณฑลฉบับนี้อาจมีกล่าวอ้าง ถึงบางข้อด้วยนะครับ พระศาสนจักรได้ท�ำการศึกษามากมายและ นับไม่ถว้ นเกีย่ วกับการแต่งงานและครอบครัว (เทียบ AL.31) และโดยถือซือ่ สัตย์ตอ่ ค�ำสอนของพระคริสต เจ้า เราได้ส�ำรวจสภาพความเป็นจริงของครอบครัว ในปัจจุบนั ในทุกองค์ประกอบ ด้านมานุษยวิทยาและ ด้านวัฒนธรรม ซึง่ ส่งผลกระทบต่อแง่มมุ ในชีวติ ของ เรา (เทียบ AL.32) พี่น้องครับ แน่นอนที่สุดว่า พระศาสนจักร คาทอลิก มีมมุ มองต่อการแต่งงานทีแ่ ท้จริงทัง้ หลาย ด้วยความเคารพ เช่น การแต่งงานระหว่างคริสต ชนโปรเตสแตนต์, การแต่งงานของผู้ที่มิใช่คริสต ชน, การแต่งงานของมุสลิม, การแต่งงานของชาว ยิว, การแต่งงานตามประเพณีของกลุ่มชนใดๆ การ 23
แต่งงานเหล่านี้มีผลผูกพันตามสายพระเนตรของ พระเจ้า และพระศาสนจักรตั้งสมมุติฐานว่า การ แต่งงานเหล่านั้น “ถูกต้อง (Valid)” ซึ่งเป็นไปตาม พระประสงค์ของพระเจ้า ทุกยุคสมัยหลักค�ำสอนของพระศาสนจักร (Catholic Doctrine) ยังคงสั่งสอนเสมอว่า การ แต่งงานระหว่างคริสตชนเป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ ก่อให้เกิด พันธสัญญาแห่งความเป็นหนึง่ เดียวกัน ระหว่างชาย จริงและหญิงแท้ โดยไม่สนิ้ สุด ยกเว้นความตายเท่านัน้ อย่างไรก็ตาม มีการยกเว้นให้สทิ ธิการแยกกันอยูข่ อง คู่สมรสได้ ตามความจ�ำเป็นที่เป็นจริง เป็นรายกรณี ส่วนความสัมพันธ์ทางเพศนอกการสมรสใดๆ ก็ตาม พิจารณาว่าเป็นบาปหนัก โดยเฉพาะเมือ่ บุคคล ทีก่ ระท�ำเช่นนัน้ เลือกอย่างเสรี อย่างรูต้ วั และกระท�ำ ไปด้วยความเต็มใจ ดังนั้นด้วยสภาพเช่นนี้ เขาจึงไม่ อาจเข้ามารับศีลมหาสนิทต่อไปได้ จนกว่าเขาจะพ้น จากสภาพชีวติ ดังกล่าว และจะต้องได้รบั การยกบาป ผ่านทางการสารภาพบาปเสียก่อน องค์ประกอบส�ำคัญ 3 ประการ ซึง่ ท�ำให้การ แต่งงานของคริสตชนถูกต้อง ตามหลักกฎหมายพระ ศาสนจักร นั่นคือ... 1. บุคคลที่จะแต่งงาน มีความสามารถ (Capability -Can.1095) ตามกฎหมาย คือ a. ด้านจิตใจ เช่น ความเป็นผู้ใหญ่, ความมั่นคง ด้านอารมณ์ หรือ การใช้เหตุผล หรือ ไม่เป็น บ้า หรือ ไม่ป่วยทางจิต (หากมีอาการป่วยดัง กล่าว ก่อนแต่งงานต้องมีการรับรองว่า ได้รบั การรักษาหายเป็นปกติแล้ว) b. ความสามารถทางกายภาพ คือ ความสามารถ ที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติแบบมนุษย์ c. ปราศจากข้อขัดขวางใดๆ เช่น เคยแต่งงานมา ก่อน, เคยปฏิญาณตนเป็นนักบวช หรือ เคย เป็นสมณะ เป็นต้น 24
2. ความสมัครใจ (Consent -Can.1057) คือ ให้
ความสมัครใจต่อกัน a. สมัครใจใช้ชีวิตสามี-ภรรยา b. สมัครใจจะอยู่ร่วมกันจนกว่าชีวิตจะหาไม่ c. สมัครใจจะมีบุตรด้วยกัน 3. ปฏิบตั ติ ามรูปแบบการแต่งงานของพระศาสนจักร (Canonical Form -Can.1108) a. เจ้าบ่าว-เจ้าสาว b. ผู้ประกอบพิธี ได้แก่ พระสังฆราช หรือ พระ สงฆ์ หรือ สังฆานุกร c. พร้อมพยาน 2 ท่าน d. ประกอบพิธีตามหนังสือจารีตพิธีแต่งงาน พี่น้องทราบแล้วว่า การแต่งงานเป็นการ เปลี่ยนสถานะชีวิตของบุคคล ซึ่งมิใช่การทดลอง เล่นๆ และไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อาจเป็นเพราะปัจจุบัน มี ความเร่งรีบในชีวติ ความเครียด และโครงสร้างของ สังคมและการงาน อันทีจ่ ริงแล้วหลายประเทศทีก่ าร แต่งงานมีจ�ำนวนน้อยลง คนจ�ำนวนมากเลือกที่จะ อยู่เพียงล�ำพัง (เทียบ AL.33) แต่มีความส�ำคัญต่อ บุคคลนัน้ เพราะการน�ำชีวติ คูไ่ ปสู่เป้าหมายของการ แต่งงานตลอดชีวติ ของตน รวมถึงบุตรทีจ่ ะเกิดมาด้วย คนหนุม่ สาวมากมายเลือ่ นเวลาทีจ่ ะแต่งงาน ออกไปด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจ ด้านการงาน และ ด้านการเรียน หรือ บางคนด้วยเหตุผลอื่นๆ จึงไม่ กล้าอุทิศตนเองต่อความรัก และความท้าทายของ การแต่งงานด้วยความกระตือรือร้นและความกล้า หาญ (เทียบ AL.40) พีน่ อ้ งครับ หากเราขาดความกระตือรือร้นต่อ การเสนอหนทางทีจ่ ะค้นพบความสุขทีแ่ ท้จริงของการ แต่งงาน อาจท�ำให้ผู้คนมากมายรู้สึกว่า สาส์นของ พระศาสนจักรเกี่ยวกับการแต่งงานและครอบครัว นั้น ไม่ได้สะท้อนถึงค�ำสอนและท่าทีของพระเยซูเจ้า พระผู้ซึ่งบัญญัติอุดมการณ์อันสูงส่ง แต่พระองค์ไม่
ทรงละเลยที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจและความ ใกล้ชิดกับผู้มีจิตใจอ่อนแอ เช่น ชาวสะมาเรีย หรือ หญิงที่ถูกจับขณะล่วงประเวณี (เทียบ AL.38) แม้ว่าเราจะมีชีวิตอยู่ในยุคที่เรียกว่า สังคม โซเชียล ซึง่ มีชาวเน็ตมากมาย หลายสัญชาติทพี่ ดู จา สื่อสาร ส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็วปานจรวด แต่เรา ก็ต้องไม่ลืมหลักค�ำสอนทางศาสนา หรือ มิติด้าน ศาสนาของการแต่งงานนะครับ อย่าปล่อยให้การ แต่งงานเป็นแค่เรื่องของชื่อเสียงหน้าตาทางสังคม จนกระทั่งคุณค่าของชีวิตคู่ด้านศาสนาลดด้อยถอย ลงไป รวมถึงอย่าให้การรวมกลุ่มแบบใหม่และการ สมรสแบบใหม่ (ที่เน้นชีวิตคู่เพียงด้านอารมณ์และ ด้านเพศสัมพันธ์) ท�ำให้เกิดสภาพของครอบครัวทีซ่ บั ซ้อนและสร้างปัญหาให้แก่วิถีชีวิตแบบคริสต์ (เทียบ AL.41) นะครับพี่น้อง คุณค่าทีเ่ กิดประโยชน์ตอ่ ชีวติ คูข่ องการแต่ง งานแบบคริสตชน คือ พระหรรษทานของพระเจ้า ซึง่ จะช่วยให้คชู่ วี ติ ยึดมัน่ ในค�ำสัญญาและแสวงหาความ สุขในชีวติ คูร่ ว่ มกันได้อย่างดียงิ่ ขึน้ เพราะครอบครัว ทีพ่ ระเจ้าประทับอยูท่ า่ มกลางความสัมพันธ์ของพวก เขา เขาจะพบความพึงพอใจมากขึน้ และมีแนวโน้มที่ จะบรรลุเป้าหมายการแต่งงานตลอดชีวิต พีน่ อ้ งครับ พระสันตะปาปาฟรังซิส กล่าวว่า “ในยุคสมัยนี้ มีอาการอันหลากหลายของวัฒนธรรม ที่ไม่จีรังยั่งยืน ความหวาดกลัวต่อพันธสัญญาที่ไม่มี ก�ำหนดระยะเวลา ความลุ่มหลง ความสัมพันธ์เพื่อ คลายเหงา เราท�ำกับความสัมพันธ์ดา้ นอารมณ์เหมือน ที่เราท�ำกับวัตถุสิ่งของ หรือสิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งทุก อย่างสามารถใช้แล้วทิ้งไปได้ และน่าสังเกตว่า การ แยกทางกันมักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า ซึ่ง แสวงหา “อิสรภาพ” และปฏิเสธการใช้ชีวิตแก่เฒ่า ไปด้วยกันและดูแลช่วยเหลือกัน” (เทียบ AL.39)
ส่วนผูอ้ ภิบาลคงจะต้องท�ำให้ชว่ งเวลา (Moment) ของจารีตพีธแี ต่งงานเปีย่ มไปด้วยพระพรของ พระเจ้า ซึ่งอันที่จริงเริ่มตั้งแต่การเตรียมคู่แต่งงาน (Marriage preparation) คู่นั้นๆ แล้ว มิใช่จัดให้ เพราะเป็นเหตุการณ์ (event) ที่ต้องผ่านไปเพียง งานหนึ่งเท่านั้น สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส กล่าวว่า “พ่อขอขอบพระคุณพระเจ้าที่หลายครอบครัว ซึ่ง อาจไม่ใช่ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ เจริญชีวิตอยู่ใน ความรัก กระท�ำตามกระแสเรียกของพวกเขา และ ยังก้าวหน้าต่อไป แม้อาจสะดุดล้มหลายต่อหลายครัง้ บนเส้นทางนี้ การไตร่ตรองของสมัชชาพระสังฆราช ได้แสดงให้เห็นว่า ครอบครัวในอุดมคติมิได้มีเพียง ลักษณะเดียว แต่เป็นโมเสอิก (Mosaic) ที่ประกอบ ขึ้นด้วยความจริงต่างๆ มากมาย พร้อมด้วย ความ ชื่นชมยินดี ความหวัง และปัญหาต่างๆ” (AL.57) ซึ่งสิ่งนี้คงเป็นความจริงที่สวยงามและมีรสชาติของ การแต่งงานแบบคริสตชนนั่นเอง เมือ่ สมาชิกในครอบครัวของเราจะเข้าสูก่ าร แต่งงาน พีน่ อ้ งคริสตชนอย่าละเลยทีจ่ ะปรึกษากับผู้ อภิบาลตัง้ แต่เนิน่ ๆ เพือ่ ให้เขาได้เตรียมความพร้อมจะ รับพระหรรษทานจากพระเจ้าอย่างเต็มเปีย่ มเพราะนี่ คือ วิถีชีวิตคริสตชนของเรานะครับ Happy Easter to all ขอพระเจ้าอวยพรทุกท่านครับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632
25
ความรัก
ของพระเจ้าในผู้นั้น ย่อมสมบูรณ์
...แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระวาจาของพระองค์ ความรักของพระเจ้าในผู้นั้นย่อมสมบูรณ์... (1 ยอห์น 2:5)
ด้วยพระวาจาศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าทรงตรัส มนุษย์ก็ถือก�ำเนิดขึ้นบนแผ่นดินนี้ ด้วยพระวาจาศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าทรงอวยพระพร สรรพสิ่งบนโลกก็ด�ำเนินไปอย่างสมบูรณ์สวยงาม แต่มนุษย์ผู้ที่พระเจ้าทรงสร้างให้เป็นนายเหนือสัตว์ต่าง ๆ กลับเลือกที่จะใช้อิสรเสรีภาพที่พระเจ้าทรงมอบให้ ท�ำลายสิ่งสร้างของพระเจ้าตลอดเวลาที่ผ่านมา พระวาจาที่พระจ้าทรงตรัสสอน ตักเตือน แนะน�ำ ตลอดมาตั้งแต่ปฐมกาล จนถึงปัจจุบัน มนุษย์น�ำมาเป็นหลักในการด�ำเนินชีวิต แต่น้อยคนที่จะปฏิบัติได้ตามพระวาจานั้น
จงปฏิบัติตามพระวาจา มิใช่เพียงแต่ฟัง ซึ่งเท่ากับหลอกตนเอง (ยอห์น 1:22) 26
พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ จากบรรดาผู้ตายในวันที่สาม ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงด�ำรงชีวิตในสภาพมนุษย์ พระองค์ทรงปฏิบัติตามค�ำสอนของพระเจ้า และหนักแน่น เที่ยงตรงต่อค�ำสอนนั้น จวบจนพระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว พระองค์ก็ยังทรงห่วงใย เน้นย�้ำเราให้ปฏิบัติตามค�ำสอนของพระเจ้า เพื่อความรอดพ้นและได้รับชีวิตนิรันดรร่วมกับพระองค์ พระองค์ตรัสว่า
...จะต้องประกาศในพระนามของพระองค์ ให้นานาชาติกลับใจเพื่อรับอภัยบาป... (ลูกา 24:47) คริสตชนเป็นพยานด้วยแบบอย่างของชีวิตมากน้อยเพียงใด? มีถ้อยค�ำที่คอยเสริมก�ำลังใจกันและกันหรือเปล่า? มีกิจการที่แสดงออกซึ่งความรักต่อทุกคนแม้ศัตรูหรือไม่? มีสายตาที่เป็นมิตรต่อคนรอบข้างใช่ไหม? มีการกล่าวถึงผู้อื่นด้วยการส่งเสริมเกื้อกูลกันจริงหรือ? ให้อภัยในความผิดบกพร่องของเพื่อนหรือเปล่า? หรือมีกิจการใด ค�ำพูดใดที่ได้รับแบบอย่างมาจากพระคริสตเจ้าบ้าง?
ขอให้ลูกมีสายตาแห่งความรัก เฝ้าพิทักษ์ทุกกิจการพระองค์มั่น เป็นพยานถึงพระองค์ในทุกวัน พระวาจาพระองค์นั้นจ�ำขึ้นใจ เป็นพลังคอยเสริมสร้างกันและกัน กิจการนั้นเสริมส่งใจให้สดใส รักศัตรู เพื่อนผองมิตรรู้อภัย รักยิ่งใหญ่คือสละให้แม้ชีวัน โดย น�้ำผึ้งหวาน 27
วัดแม่พระรับสาร ตราด
28
ป
จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ ฉลอง 50 ปี 25 ปี ชีวิตสงฆ์ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี 9 ธ.ค. 2017
29
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระถวายองค์ มูซู 18 พ.ย. 2017
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัสสัมชัญ พัทยา 19 พ.ย. 2017
30
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา 25 พ.ย. 2017
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ท่าศาลา 2 ธ.ค. 2017
31
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี 9 ธ.ค. 2017
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่ 16 ธ.ค. 2017
32
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญยอห์น อัครสาวก มะขาม 23 ธ.ค. 2017
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า 6 ม.ค. 2018
33
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระนามเยซู ชลบุรี 13 ม.ค. 2018
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญอันตน พนมสารคาม 20 ม.ค. 2018
34
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัด น.เปาโลกลับใจ ปากน�้ำ ระยอง 27 ม.ค. 2018
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอารักขเทวดา โคกวัด 3 ก.พ. 2018
35
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด บางคล้า 10 ก.พ. 2018
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระเมืองลูร์ด บางแสน 11 ก.พ. 2018
36
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดธรรมาสน์ น.เปโตร ท่าแฉลบ 24 ก.พ. 2018
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัด น.วินเซน เดอ ปอล เขาขาด 10 มี.ค. 2018
37
เข้าเงียบพระสงฆ์ ประจำ�ปี 2018 8 - 11 มกราคม ค.ศ. 2018
38
39