สายใยจันท์
FREE COPY แจกฟรี
สารสังฆมณฑล
ท่านเป็นสงฆ์
50 ปี / 25 ปี แห่งสังฆภาพ
Vol.25
สิงหาคม 2018 ปีท่ี 29
ตลอดนิรันดร
S O D R M E C U A N S R S E E T E U A T IN
พระสงฆ์ใหม่ แห่งสังฆมณฑล
ท�ำไมจึงประกาศ
การยก
โมฆะมากขึ้น
ศีลมหาสนิท
ปีที่ 29 ฉบับที่ 25 / สิงหาคม 2018
Contents
สารบัญ
สายใยจันท์
สารพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี.............................. 4 สารพระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต......................... 6 50 ปี แห่งสังฆภาพ คุณพ่อยอแซฟ พิพัฒน์ ทนุพันธ์...................................... 10 คุณพ่อมีคาแอล วีระ ผังรักษ์.............................................12 25 ปี แห่งสังฆภาพ คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ ชาติชาย เวฬุรัตนกูล.................... 14 คุณพ่อมาระโก สมจิตร พึ่งหรรษพร................................ 16 งานสังคมในสังฆมณฑลจันทบุรี................................................18 พระสงฆ์ใหม่ สังฆมณฑลจันทบุรี.............................................. 20 ท�ำไมพระศาสนจักรยอมให้การแต่งงานเป็นโมฆะมากขึ้น............. 23 การยกศีลมหาสนิทในพิธีบูชาขอบพระคุณ................................26 เพราะเห็นแก่ข่าวดี.........................................................................28 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................30
TU ES SACERDOS IN AETERNUM
2
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต
บรรณาธิการ Editor’s talk
สงฆ์ของพระคริสตเจ้า
พระสงฆ์คอื ใครกัน? เขาคือผูป้ กป้องความจริง ผูย้ นื เคียงข้างเทวดา มีพระสิรพิ ร้อมกับ อัครเทวดา น�ำเครือ่ งบูชาขึน้ ไปบนพระแท่นแห่งฟ้าสวรรค์ แบ่งปันสังฆภาพของพระคริสตเจ้า ปั้นสิ่งสร้างขึ้นใหม่ ฟื้นฟูพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า สร้างสรรใหม่เพื่อโลกที่อยู่เบื้องบน เขา ได้รับการท�ำให้เป็นพระเจ้าและท�ำให้คนอื่นคล้ายพระเจ้า สังฆภาพของศาสนบริกรหรือพระสงฆ์ นักบุญยอห์นมารีวีอันเน ได้กล่าวว่า “พระ สงฆ์เป็นผู้ต่องานแห่งการไถ่บาปบนแผ่นดินโลก” 1 สังฆภาพของศาสนบริกรหรือพระสงฆ์ “จงเป็นแบบอย่างแก่ผมู้ คี วามเชือ่ ทุกคนด้วย ค�ำพูดและความประพฤติ ด้วยความรัก ความเชื่อและความบริสุทธิ์ของท่าน” (1ทธ 4:12) สังฆภาพของศาสนบริกรหรือพระสงฆ์ “อย่าละเลยพระพรพิเศษที่มีอยู่ในท่าน พระพรซึ่งเป็นของประทานให้ท่านเมื่อมีการประกาศพระวาจา” (1ทธ 4:14) สังฆภาพของศาสนบริกรหรือพระสงฆ์ เป็นผู้แจกจ่ายพระหรรษทานของพระเจ้า อย่างซื่อสัตย์ โดยประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณและพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ 2 ต่อหน้าความยิ่งใหญ่ของพระหรรษทานและหน้าที่สงฆ์นั้น นักบุญเกรโกรี แห่งนา เซียน ขณะเป็นพระสงฆ์หนุ่ม ร้องบอกว่า....... √√ เราต้องเริ่มด้วยการช�ำระตนให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะช�ำระคนอื่นให้บริสุทธิ์ √√ เราต้องได้รับการอบรมสั่งสอนก่อนที่จะอบรมสั่งสอนคนอื่น √√ ต้องกลายเป็นแสงสว่างเพื่อส่องสว่าง √√ เข้าหาพระเจ้าเพื่อให้คนอื่นเข้าหาพระองค์ √√ ได้รับการท�ำให้ศักดิ์สิทธิ์บริสุทธิ์เพื่อท�ำให้ศักดิ์สิทธิ์บริสุทธิ์ √√ น�ำพาและให้ค�ำปรึกษาอย่างชาญฉลาด” ในนามผู้อ่าน “สายใยจันท์” ขอร่วมยินดีกับพระสงฆ์ใหม่ของสังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อศิรวิชย์ มารีย์พัฒนกิจ คุณพ่อได้ถูกเลือกมาเป็น “สงฆ์ของพระคริสต์” คุณพ่อถูก เลือกมาให้ “จงเลี้ยงดูแกะของเราเถิด” (ยน 21:17)
คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ
1 ค�ำสอนพระศาสนจักร: 1589 2 พิธีกรรมวันเสกน�้ำมันศักดิ์สิทธิ์
3
สารพระสังฆราช ในโอกาสฉลองการสถาปนาสังฆมณฑลเชียงราย และพิธบี วชพระสังฆราชยอแซฟ วุฒเิ ลิศ แห่ลอ้ ม ประมุข องค์แรกของสังฆมณฑลใหม่ เมือ่ วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2018 สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้ถือ โอกาสประกาศเปิดการเตรียมฉลอง 350 ปีมสิ ซังสยาม เพือ่ ระลึกถึงการสถาปนามิสซังสยามขึน้ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1669 ซึ่งเราจะท�ำการฉลองใหญ่ 350 ปีมิสซังสยามในปี 2019 นี่เป็นวาระส�ำคัญส�ำหรับ พระศาสนจักรในประเทศไทย เพื่อโมทนาคุณพระเจ้า ส�ำหรับพระพรที่ประทานให้แก่พระศาสนจักรของเรา จากมิชชันนารีกลุม่ เล็ก ๆ ทีห่ ว่านเมล็ดพันธุแ์ ห่งความเชือ่ จนบัดนี้เติบใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากมาย สังฆมณฑล จันทบุรีเป็นสาขาหนึ่งที่เติบโตขึ้นทางภาคตะวันออก ของประเทศไทยและสามารถปกครองตนเองได้ โดยได้ รับการสถาปนาเป็นมิสซังจันทบุรีในปี 1944 ซึ่งเราก็จะ ถือโอกาสนี้ฉลอง 75 ปีของมิสซังจันทบุรีควบคู่ไปกับ การฉลอง 350 ปีของมิสซังสยามด้วย ทางสังฆมณฑล ก�ำลังจัดท�ำแผนงานและโครงการเพื่อการเฉลิมฉลองนี้
4
ในปี 2018 นี้ สังฆมณฑลของเรามีเรือ่ งน่ายินดีหลายเรือ่ งโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเกี่ยวกับสังฆภาพสงฆ์ เรามีพระสงฆ์บวชครบ 50 ปี 2 ท่าน คือ คุณพ่อวีระ ผังรักษ์ และคุณพ่อพิพัฒน์ ทนุพันธ์ พระสงฆ์บวชครบ 25 ปี อีก 2 ท่าน คือ คุณพ่อชาติชาย เวฬุรัตนกูล และคุณพ่อสมจิตร พึ่งหรรษ พร ซึ่งทางสังฆมณฑลได้จัดฉลองให้แก่คุณพ่อไปแล้ว นอกนั้น บางวัด บาง สถาบันก็ได้จดั ฉลองเป็นพิเศษให้แก่ทา่ นทีเ่ คยอยูเ่ คยท�ำงานมาก่อน เรือ่ งราว เกี่ยวกับชีวิตของแต่ละท่านสามารถอ่านได้จากเนื้อหารายละเอียดในเล่มนี้ เรายังมีความยินดีเป็นพิเศษทีเ่ รามีพระสงฆ์ใหม่เพิม่ ขึน้ อีก 1 องค์ซงึ่ ได้รบั การ บวชไปเมื่อวันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมาที่วัดอารักขเทวดา โคกวัด คือ คุณพ่อศิรวิชย์ มารีย์พัฒนกิจ เราขอบคุณพระส�ำหรับพระพรพิเศษนี้ เรา ยังได้รับพระพรต่อเนื่องอีกที่จะได้สังฆานุกรอีก 2 องค์ซึ่งจะบวชในวันเสาร์ ที่ 18 สิงหาคมนี้ที่บ้านเณรใหญ่แสงธรรม คือ สามเณรภัทร์ติยะ อินทวัน (ลูกวัดอาสนวิหารฯ จันทบุรี) และสามเณรวรวุฒิ มาหา (ลูกวัดเสาวภา) ให้ เราขอบคุณพระเจ้าและภาวนาส�ำหรับทุกท่านเพื่อเป็นผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของ พระเจ้าตลอดไป ในความยินดี เราก็มีความเศร้าโศกคลุกเคล้าเข้ามาด้วยที่ต้องสูญ เสียพี่น้องสงฆ์ไปถึง 2 องค์ในเวลาห่างกันเพียง 3 เดือน คือ คุณพ่อสง่า จันทรสมศักดิ์ และคุณพ่อประกอบ อนนตพันธุ์ ซึ่งจากไปอย่างกะทันหัน เราเชื่อในพระเมตตาของพระเจ้าและหวังว่าท่านทั้งสองจะได้รับพระเมตตา ของพระองค์ ได้พ�ำนักกับพระองค์ตลอดนิรันดร ขอพระสิริรุ่งโรจน์จงมีแด่พระเจ้าตลอดนิรันดร อาเมน
(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
5
สารอวยพร
พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต
เนือ่ งในโอกาสบวชพระสงฆ์ใหม่ คือ คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ ศิรวิชย์ มารีย์พัฒนกิจ สัตบุรุษลูกวัดอารักขเทวดา โคกวัด ขอ แสดงความยินดีกับพระสงฆ์ใหม่ กับคุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้อง และ กับสังฆมณฑลจันทบุรี ที่มีสมาชิกใหม่ในคณะสงฆ์เพิ่มอีก 1 องค์ เป็น 89 องค์ หลังจากพี่น้องพระสงฆ์ของเราเพิ่งจากไปสู่บ้านพระ บิดา 2 องค์เมื่อเร็ว ๆ นี้ พระเยซูเจ้าตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า “ข้าวที่จะเก็บเกี่ยวมี มาก แต่คนงานมีน้อย จงวอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมา เก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด” (มัทธิว 9:37-38) สมเด็จ พระสันตะปาปาองค์หนึ่งเคยตรัสเชิญชวนให้แต่ละบ้าน ภาวนาให้มีใครสักคนในบ้านไปบวช เด็กชายคนหนึ่ง ได้ยนิ ค�ำเชิญชวนนีไ้ ด้ไปบวชเป็นพระสงฆ์ ในเดือน ตุลาคมปีนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสจะเรียก ประชุมสมัชชาพระสังฆราช เรือ่ ง “เยาวชน ความเชื่อ และวิจารณญาณเกี่ยวกับ กระแสเรียก” เพราะในปัจจุบนั ทัว่ โลก มีปัญหาเรื่องกระแสเรียกเป็นพระ สงฆ์และนักบวชมีจ�ำนวนน้อยลง เชื่อว่าในโอกาสบวชพระสงฆ์ที่วัด อารักขเทวดา โคกวัดนี้ เด็ก ๆ และ เยาวชนทีว่ ดั โคกวัดนีแ้ ละทีอ่ นื่ ๆ คง ได้ยนิ เสียงกระซิบ กระแสเรียกจาก พระเจ้าให้ไปบวช เป็นข้าราชการ ของพระเจ้า ท�ำงานเต็มเวลารับใช้ พระเจ้าและปวงชน 6
นอกจากนัน้ เนือ่ งในโอกาสฉลองหิรญ ั สมโภชบรรพชาเป็นพระสงฆ์ของ คุณพ่อมาระโก สมจิตร พึ่งหรรษพร และคุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ ชาติชาย เวฬุรัตนกูล และสุวรรณสมโภช บรรพชาเป็นพระสงฆ์ของคุณพ่อไมเกิล้ วีระ ผังรักษ์ และคุณพ่อโยเซฟ พิพฒ ั น์ ทนุพนั ธ์ ก็ ขอแสดงความยินดีกบั คุณพ่อทัง้ 4 องค์ทไี่ ด้รบั กระแสเรียกเป็นพระสงฆ์ ซึง่ นับเป็นสิง่ ประเสริฐ เป็นของประทานจากพระเจ้าและเป็นธรรมล�ำ้ ลึกซึง่ เราไม่เข้าใจ “มิใช่ทา่ นทัง้ หลายได้เลือก เรา แต่เราได้เลือกท่าน” (ยอห์น 15:16) และยังคงซื่อสัตย์ต่อกระแสเรียกนี้ รับใช้พระเจ้า และประชากรของพระองค์ทงั้ คริสตชน และมิใช่คริสตชนในสังคมไทยมาเป็นเวลา 25 ปี และ 50 ปี ให้เราสรรเสริญขอบพระคุณพระเจ้า ส�ำหรับพระหรรษทานความช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้ง ฝ่ายวิญญาณและกายตลอดมา ขอขอบคุณคุณพ่อทั้ง 4 ที่ได้ร่วมงานกันมาเป็นเวลาหลายปี ในหน้าที่การงานตามสถานที่ต่าง ๆ น�ำความเจริญก้าวหน้ามาให้สังฆมณฑลและสังคมไทย ขอพระเจ้าอ�ำนวยพรคุณพ่อทั้ง 4 เป็นร้อยเท่าทวีคูณทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า พระสงฆ์ได้ชอื่ ว่า “ALTER CHRISTUS” พระคริสตเจ้าอีกองค์หนึง่ เจริญชีวติ และ ปฏิบตั หิ น้าทีส่ งฆ์ในนามของพระคริสตเจ้า เพือ่ คริสตชนและมิใช่คริสตชน เพือ่ ลูกแกะในคอก และนอกคอกอีกมากมาย ซึ่งต้องน�ำเข้ามาอยู่ในคอกเดียวกัน ภายใต้ชุมพาบาลองค์เดียวกัน ได้รับมอบหน้าที่ 3 ประการ เมื่อรับศีลล้างบาป รับศีลก�ำลัง และรับศีลบรรพชา คือ 1. หน้าที่ ประกาศก หน้าที่ประกาศข่าวดี และประณามความชั่ว 2. หน้าที่สงฆ์ หน้าที่ถวายเครื่องบูชา ฝ่ายจิตและเป็นเครื่องบูชาฝ่ายจิต และ 3. หน้าที่กษัตริย์ ชุมพาบาล หน้าที่ปกครองดูแล แกะในคอกและนอกคอก ด้วยค�ำภาวนา พลีกรรมและแพร่ธรรม ให้เราขอบพระคุณพระเจ้า ส�ำหรับศีลล้างบาป ศีลก�ำลัง และศีลบรรพชาที่เราได้รับ และสัญญาจะท�ำหน้าที่ 3 ประการ นี้อย่างดีตามที่ได้รับมอบหมาย อาศัยค�ำเสนอวิงวอนของพระแม่มารีย์ มารดาของพระสงฆ์ ขอพระคริสตเจ้า สมณะ ผูย้ งิ่ ใหญ่ ซึง่ ทรงเมตตากรุณาหาทีส่ ดุ มิได้ แบ่งปันสังฆภาพของพระองค์แก่เรามนุษย์ผตู้ ำ�่ ต้อย คนบาปผู้อ่อนแอ ไม่คู่ควร ไม่เหมาะสม ทั้งก่อนบวชและหลังบวช โปรดให้คุณพ่อทั้ง 5 เป็น สงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เจริญก้าวหน้าในชีวิตสงฆ์ และปฏิบัติหน้าที่สงฆ์ด้วยใจร้อนรน เสียสละอุทิศ ตนเพือ่ พระเจ้า เพือ่ พระศาสนจักร ซึง่ ต้องการคนงานมาท�ำงานในพระศาสนจักรและในสังคม ไทยซึง่ ยังไม่รจู้ กั พระเจ้า และพระคริสตเจ้าอีกจ�ำนวนมากมาย ให้มสี ขุ ภาพกาย-ใจทีด่ เี ข้มแข็ง มีอายุยืนยาว รับใช้พระเจ้า พระศาสนจักร และสังคมไทยอีกนานเท่านาน
HAPPY SILVER & GOLDEN JUBILEE CONGRATULATION AD MULTOS ANNOS 7
นอกจากนั้นในเดือนสิงหาคมของทุกปี มีวันฉลองนักบุญลอเรนซ์ มรณสักขีที่ได้พลี ชีวติ ระหว่างการเบียดเบียนศาสนาทีก่ รุงโรม เพือ่ พระคริสตเจ้า พระศาสนจักรและคนยากจน โดยถูกย่างทัง้ เป็น ขอท่านนักบุญทีต่ อ้ งอดทนสูง เสนอวิงวอนเพือ่ เราจะได้มจี ติ ตารมณ์มคี วาม อดทนเหมือนท่าน เพราะเราอยู่ในสมัยหาความสะดวกสบาย ไม่อยากล�ำบาก ไม่อยากแบก กางเขน อยากมีความสุขโดยไม่ต้องผ่านความทุกข์ อยากกลับคืนชีพโดยไม่ต้องผ่านความ ตาย ผู้ที่แต่งงานแล้วขาดความอดทนต่อกัน ไม่ทนอยู่ก็อยู่ไม่ทน แยกทางกันเดิน หย่าร้างกัน มากขึน้ ผูท้ เี่ ป็นพระสงฆ์หรือนักบวชก็ไม่อยากถือศีลบนความบริสทุ ธิ์ ความยากจนและความ นอบน้อมเชื่อฟัง อยากสึก อยากออก ไม่ซื่อสัตย์ต่อค�ำปฏิญาณ ลืมพระวาจาของพระเยซูเจ้า ที่ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดอยากติดตามเรา ก็จงเลิกนึกถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนทุกวัน และติดตามเรา” (ลูกา 9:23) และในวันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี เราท�ำการสมโภชพระแม่ มารียร์ บั เกียรติเข้าสูส่ วรรค์ทงั้ กายและวิญญาณ ให้เราสรรเสริญขอบพระคุณพระตรีเอกภาพ ทีท่ รงให้เกียรติพระแม่ พระมารดาของพระเจ้า เสวยสุขกับพระองค์ทงั้ กายและวิญญาณ และ ให้เราเอาอย่างพระแม่ เจริญชีวิตศักดิ์สิทธิ์บริสุทธิ์ทั้งกายและวิญญาณ เพื่อวันหนึ่งเราลูก ๆ ของพระแม่ก็จะได้รับเกียรติเข้าสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณเช่นกัน วันที่ 19 มีนาคมที่แล้ว สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ออกสมณลิขิตเตือนใจ ชื่อ “GAUDETE ET EXSULTATE: จงยินดีและร่าเริง” เรือ่ ง “กระแสเรียกสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิ์ ในโลกปัจจุบัน” ทรงเชิญชวนทุกคน ทั้งพระสงฆ์ นักบวชและฆราวาส ให้เป็นนักบุญ เป็นผู้ ศักดิ์สิทธิ์ ไม่เจริญชีวิตครึ่ง ๆ กลาง ๆ แต่เจริญชีวิตไม่มีที่ติ – นักบุญออกัสตินเตือนใจตนเอง อยู่เสมอ “เขาเหล่านั้นทั้งชายและหญิงเป็นนักบุญกันได้ ท�ำไมฉันเป็นไม่ได้” แล้วท่านก็ พยายามเป็นและก็เป็นได้ ขอท่านนักบุญซึง่ ในอดีตเคยเจริญชีวติ ไม่ดี ได้กลับใจอาศัยค�ำภาวนา ของนักบุญมอนีกามารดา และจดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวโรมบทที่ 13:13-14 ที่ว่า “เรา จงด�ำเนินชีวิตอย่างมีเกียรติ มิใช่กินเลี้ยงเสพสุราเมามาย มิใช่ปล่อยตัวเสพกามอย่าง ผิดศีลธรรม แต่จงด�ำเนินชีวิตโดยสวมพระเยซูคริสตเจ้าเป็นอาภรณ์ อย่าท�ำตามความ ต้องการของเนื้อหนัง” ท่านได้กลับใจและรับศีลล้างบาปในคืนสมโภชปัสกา หลังจากนั้นได้ สมัครเข้าบ้านเณร ได้รับศีลบรรพชาเป็นพระสงฆ์ และได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช เป็น นักบุญ และเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักร หนังสือ “Confessions of St. Augustine: ค�ำสารภาพของนักบุญออกัสติน” อัตชีวประวัติของท่านถือเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุดใน โลก เป็นที่ระลึกถึงความทุกข์เสียใจอันสุดซึ้งของท่าน ในหนังสือเล่มนี้มีประโยคที่มีผู้อ้างอิง บ่อย ๆ คือ “พระองค์ได้ทรงสร้างข้าพเจ้าทัง้ หลายมาส�ำหรับพระองค์ และดวงใจข้าพเจ้า ทั้งหลายไม่มีวันสงบเลยจนกว่าจะได้พักผ่อนในพระองค์” หรือ “ข้าพเจ้ามารักพระองค์ สายไป” หรือ “จงรัก และท�ำอะไรก็ท�ำไป” 8
ปีหน้าเราจะท�ำการฉลองมิสซังสยาม 350 ปี และมิสซังจันทบุรี 75 ปี เป็นโอกาสดีที่ เราจะมาไตร่ตรองดูวา่ ในอดีต ปัจจุบนั และอนาคต งานอภิบาลและงานธรรมทูตเป็นมาอย่างไร ก�ำลังด�ำเนินอย่างไร และมีแผนอย่างไรต่อไป ให้เรามีจติ ตารมณ์เหมือนนักบุญเปาโลอัครสาวก ธรรมทูตของคนต่างชาติต่างศาสนา เหมือนธรรมทูตต่างประเทศที่น�ำความเชื่อจากบ้านเกิด เมืองนอน ข้ามน�้ำข้ามทะเลมามอบให้เรา เราซึ่งมิใช่ชาวอิสราเอลก็มีโอกาสมารู้จักพระเจ้า เที่ยงแท้ ให้เราเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระศาสนจักร เจริญชีวิตศักดิ์สิทธิ์สนิทสัมพันธ์ กับพระคริสตเจ้า อาศัยพระวาจา การภาวนาและศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นประจักษ์พยานด้วยชีวิต อุทิศตนเป็นศิษย์พระคริสต์ เป็นศิษย์ธรรมทูต เพื่อประกาศข่าวดีใหม่แห่งความรัก ร่วมเสริม สร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า อาณาจักรแห่งความยุตธิ รรมและสันติ 350 ปีผา่ นไปคนไทย ยังไม่ถึงครึ่งเปอร์เซ็นต์เป็นคริสต์ (ประมาณสี่แสนคน) ทั้ง ๆ ที่มีโรงเรียนคริสต์ 300 กว่าโรง คนไทยรู้จักแต่โรงเรียนคริสต์แต่ไม่รู้จักศาสนาคริสต์และพระเยซูคริสต์ – มิสซังจันทบุรีแยก จากมิสซังกรุงเทพฯ พร้อมกับพระสังฆราชไทยองค์แรกและคณะสงฆ์ไทย 17 องค์ ขณะนี้ มีพระสงฆ์ 89 องค์ มีวัด มีโรงเรียนเพิ่มขึ้น มีคณะกรรมการต่าง ๆ แต่งานส่วนใหญ่เป็น งานอภิบาล เอาใจใส่ดูแลคริสตชนไม่กี่คน ยังขาดจิตตารมณ์ธรรมทูต ไม่ท�ำงานกับคนต่าง ศาสนาซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ในเขตวัด ในโรงเรียนของเรา คนยังกลับใจน้อย การแต่งงานกับ คนต่างศาสนาแทนที่จะเป็นต่างคนต่างถือ กลายเป็นต่างคนต่างไม่ถือ พระคริสตเจ้าทรงตั้ง พระศาสนจักรเพื่อแผ่ขยายพระอาณาจักรไปในจิตใจของมนุษย์ทุกคน ท�ำอย่างไรให้คนต่าง ศาสนาอยู่ในพระอาณาจักรของพระเจ้า แม้เขายังไม่ได้ล้างบาปก็มีสิทธิ์เข้าสวรรค์ได้ ฉะนั้น หน้าที่ของพระศาสนจักรมิใช่หาสมาชิกใหม่เข้ามาอยู่ในพระศาสนจักร แต่ต้องหาสมาชิกใหม่ มาอยู่ในพระอาณาจักรด้วย
อวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี
9
คุณพ่อยอแซฟ พิพัฒน์ ทนุพันธ์ ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1939 สัตบุรษุ วัด อาสนวิหารพระนางมารีอาฯ จันทบุรี บิดาชื่อ นายพละ ทนุพันธ์ (เสียชีวิต) มารดาชื่อ มารีอา สร้อย ทนุพันธ์ (เสียชีวิต) เป็นบุตรคนที่ 3 ในจ�ำนวนพี่น้อง 3 คน รับศีลบวชวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1968
ประวัติการท�ำงาน 1969 - 1978 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ 1978 - 1979 เรียนต่อที่ฟิลิปปินส์ 1979 - 1980 เจ้าอาวาสวัดอารักขเทวดา โคกวัด 1980 - 1984 เจ้าอาวาสวัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม 1984 - 1994 เจ้าอาวาสวัดนักบุญเทเรซา โนนแก้ว นครราชสีมา 1994 - 2001 เจ้าอาวาสวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล ปากช่อง 2001 - 2002 เจ้าอาวาสวัดแม่พระถวายพระกุมาร หนองพลวง 2002 - 2010 จิตตาภิบาล รพ. เซนต์เมรี่ นครราชสีมา คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม และการประกาศพระวรสาร แผนกพระคัมภีร์ สังฆมณฑลนครราชสีมา คณะกรรมการฝ่ายฟื้นฟูสังคมมนุษย์ แผนกสุขภาพและอนามัย สังฆมณฑลนครราชสีมา ธรรมทูตต่างสังฆมณฑล 2012 - ปัจจุบัน เกษียณอายุ
10
๕๐
ปี แห่งสังฆภาพ
คุณพ่อยอแซฟ พิพัฒน์ ทนุพันธ์ เรียนจบชั้น ม. 6 จากโรงเรียนมารดา พิทกั ษ์ จันทบุรี ได้สมัครเข้าบ้านเณรเล็ก พระหฤทัย ศรีราชา และได้เป็นครูสอน เด็ก 6 ปี นอกจากนั้น ได้เรียนภาษาลาติน จนพูดได้ เขียนได้ ตลอด 6 ปี แล้ว ได้ไปเข้าบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย เรียนอยู่ 6 ปี จึงส�ำเร็จ กลับ เมืองไทย และได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ทันที เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 1968 โดย พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี ได้รับค�ำสั่งให้ไปท�ำงานตามวัด ต่าง ๆ คือ วัดหัวไผ่ (8 ปี) วัดโคกวัด (3 ปี) วัดพนัสนิคม (3 ปี) และไปช่วย งานในสังฆมณฑลนครราชสีมา 27 ปี ต่อมาขาของพ่อติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ท�ำให้เนื้อตาย ถ้าไม่ตัดขา เชื้อ ไวรัสจะลุกลามขึน้ ข้างบนถึงตายได้ จึงต้องตัดขาข้างขวา เมือ่ วันที่ 31 สิงหาคม 2011 ท�ำให้มีชีวิตอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ขอขอบคุณพระมาก ๆ ชีวิตพระสงฆ์ มีทั้งความสุข มีทั้งความทุกข์ เป็นของธรรมดา แต่ที่พ่อ มีก�ำลังใจอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะพ่อรักและไว้ใจในพระเยซูเจ้าและแม่พระ พระองค์ช่วยเหลือพ่อมาตลอด พ่อยังรักและไว้ใจในพระเยซูเจ้าและแม่พระสืบต่อไป จนชีวิตจะหาไม่
ข้าพเจ้ามีชีวิต แต่ไม่ใช่ข้าพเจ้า เป็นพระคริสตเจ้าผู้ทรงชีวิตอยํู่ในตัวข้าพเจ้า 11
คุณพ่อมีคาแอล วีระ ผังรักษ์ ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สัตบุรุษวัด เซนต์ปอล แปดริ้ว บิดาชื่อ เปโตร มานิตย์ ผังรักษ์ (เสียชีวิต) มารดาชื่อ เซซีลีอา กุ๊ยกี ผังรักษ์ (เสียชีวิต) เป็นบุตรคนที่ 2 ในจ�ำนวนพี่น้อง 3 คน รับศีลบวชวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1968
Ouis ut Deus ประวัติการท�ำงาน 1969 - 1970 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสอาสนวิหารพระนางมารีอาฯ จันทบุรี 1970 - 1973 รองอธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา 1973 - 1975 พักประจ�ำโรงเรียนปัญจทรัพย์ กรุงเทพฯ (กศ.บ.) 1975 - 1977 อธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา 1975 - 1983 อธิการโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา 1983 - 1985 พักประจ�ำโรงเรียนปัญจทรัพย์ กรุงเทพฯ (กศ.บ.) 1985 - 1991 อยู่ California (เรียนปริญญาเอก) 1992 - 2010 อุปสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี จิตตาธิการคูร์ซิลโลแห่งพระคริสต์ศาสนา (ระดับชาติ) กรรมการบริหารสถานศึกษา 5 สถานศึกษา ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา 2010 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดนักบุญนิโคลัส พัทยา ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา
12
๕๐
ปี แห่งสังฆภาพ
“ใครเล่าจะเทียบเท่าพระเจ้า?” นีค่ อื ความหมายของชือ่ อัคร เทวดามีคาแอล ซึง่ เป็นนามนักบุญองค์อปุ ถัมภ์ศลี ล้างบาปของผม ตัง้ ให้ โดย คุณครูสุรินทร์ วรศิลป์ พ่อทูนหัวศีลล้างบาป เพราะผมเกิดในช่วง สงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งท่านว่าเป็นผลงานของปีศาจ จึงเลือกชื่อนี้เพื่อ ให้ปราบปีศาจนั่นเอง พิเศษอีกนิดคือผมเกิดวันที่ ๒๐ ล้างบาปวันที่ ๒๑ บวชเป็นพระสงฆ์วันที่ ๒๒ และถวายมิสซาแรกอย่างสง่าวันที่ ๒๓ ใน เดือนธันวาคมทั้งหมดต่างกันแต่ปีเท่านั้น ๕๐ ปี แห่งชีวิตสงฆ์ผ่านไปเหมือนกระพริบตา ยังจ�ำได้ดีวันหนึง่ ในระหว่างเข้าเงียบ คุณพ่อบุญชู ซึง่ เกษียณแล้ว เดินมาใกล้สะกิดผมแล้ว บอกผม ซึ่งตอนนั้นเป็นผู้จัดการ ร.ร.ดาราสมุทร ศรีราชา ท่านบอกว่า ท่านมองย้อนดูชีวิตของท่านเองในอดีตแล้วดูเหมือนเล่นกะโหลกกะลา ได้สร้างวัด สร้างโน่นสร้างนี่มากมายนับไม่ถ้วน ตอนนี้มันรู้สึกอย่างนั้น จริง ๆ ผมกลับแย้งท่านว่า ตัวผมเองนั้นสร้างหลายอย่างก็จริงแต่ท�ำ เพื่อพระไม่ใช่เพื่อชื่อเสียงของตัวเอง ท่านก็ยิ้มและไม่ได้ว่าอะไร ตอน นี้มันก็แปลก ผมมองย้อนไปในอดีตก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกันกับคุณพ่อ บุญชูจริง ๆ สังฆมณฑลฯ จัดฉลองให้กับพวกเราทั้งสี่ในวันฉลองบ้านเณร พระหฤทัย ศรีราชาพอดี ผมคิดว่าช่างเหมาะสมเพราะสามในสีข่ องพวก เราซึ่งได้แก่ คุณพ่อชาติชาย คุณพ่อสมจิตรและตัวผมเอง ต่างก็ได้เคย เป็นอธิการที่บ้านเณรแห่งนี้มาช่วงหนึ่งของชีวิต ผมและคุณพ่อพิพัฒน์ เราทั้งสองก็ได้บวชเป็นพระสงฆ์ที่นี่เองเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว ได้คยุ แต่เรือ่ งสัพเพเหระต้องวกเข้าเนือ้ หาสักหน่อยครับ มองไป ในอนาคตหลายท่านวิตกว่าบ้านเณรจะร้าง จะไม่มีคนมาบวชแล้ว จริง และไม่จริงครับ ถ้า... ถ้ามาบวชเพื่อมาเอา เอาความรู้ เอาความสบาย เอาเกียรติ เอาเงิน บ้านเณรจะร้างว่างเปล่าแน่นอนครับ แต่... ถ้าเราช่วยกันท�ำให้ลูก ๆ หลาน ๆ ของเรารู้และมีส�ำนึกว่า มา บวชนัน้ เพือ่ รับใช้ มาเพือ่ ให้ มอบตัวให้พระใช้เราตามทีพ่ ระองค์ตอ้ งการ มั่นใจได้เลยว่าจะมีเยาวชนที่กล้าเทใจให้พระเป็นจ�ำนวนมากอย่างที่เรา คาดไม่ถึง 13
คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ ชาติชาย เวฬุรัตนกูล ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1964 สัตบุรุษวัด พระผู้ไถ่ เสาวภา บิดาชื่อ ยอแซฟ ฮวด แซ่ตั้ง (เสียชีวิต) มารดาชื่อ โรซา กิมเน้ย แซ่ตั้ง (เสียชีวิต) เป็นบุตรคนที่ 5 ในจ�ำนวนพี่น้อง 5 คน รับศีลบวชวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1993
14
ข้าพเจ้าท�ำทุกสิ่งได้ในพระองค์ ผู้ประทานพละก�ำลังแก่ข้าพเจ้า (ฟิลิปปี 4:13)
ประวัติการท�ำงาน 1993 - 2000 รองอธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา เจ้าอาวาสวัดแม่พระเมืองลูร์ด บางแสน 2000 - 2005 อธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา ผู้รับผิดชอบหน่วยงานมรดกวัฒนธรรม ของพระศาสนจักร 2005 - 2010 เจ้าอาวาสวัดนักบุญวินเซน เดอ ปอล เขาขาด เจ้าอาวาสวัดราชินีแห่งสันติภาพ อรัญฯ จิตตาธิการคณะวินเซน เดอ ปอล ผู้รับผิดชอบสภาอภิบาล 2010 - 2012 เจ้าอาวาสวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศรีหฤทัย ขลุง คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสภาอภิบาล 2012 - 2015 เจ้าอาวาสวัดมารดาพระศาสนจักร นครนายก เจ้าอาวาสวัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า 2015 - ปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดเซนต์ปอล แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนสันติภาพ
๒๕
ปี แห่งสังฆภาพ
เคยมีโอกาสร่วมฉลอง 25 ปี ของพระสงฆ์รุ่นพี่หลายครั้งแล้วรู้สึกดี ๆ เสมอ เมื่อได้ยินสงฆ์รุ่นพี่ได้ กล่าวโดยเริ่มต้นจากการขอบคุณพระเป็นเจ้า พอมาถึงเวลาของตัวเอง มีความรู้สึกว่า ประโยคที่เคยได้ยินนี้ ไม่ใช่ประโยคทีฟ่ งั แล้วรูส้ กึ ดีเท่านัน้ แต่เป็นประโยคทีผ่ มต้องพูดออกมาด้วยส�ำนึกถึงพระคุณของพระเจ้าจริง ๆ ขอขอบพระคุณส�ำหรับพระพร และความรักที่พระมอบให้กับผมตลอดมา ขอขอบพระคุณพี่น้องทุก ๆ ท่านที่เป็นเสมือนเครื่องมือของพระ ที่ช่วยให้ผมเดินมาถึง ณ เวลานี้ได้ก้าวเดินต่อไปในเส้นทางนี้ ก็คงต้อง พึ่งพาพระพรความรักของพระตลอดไป ขอให้ผมได้มีบุญที่จะเป็นเครื่องมือของพระต่อ ๆ ไป ขอบพระคุณครับ
15
คุณพ่อมาระโก สมจิตร พึ่งหรรษพร ประวัติส่วนตัว เกิดวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1965 สัตบุรุษวัด พระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา บิดาชื่อ เปาโล ศรศักดิ์ พึ่งหรรษพร (เสียชีวิต) มารดาชื่อ มารีอา เง็ก พึ่งหรรษพร (เสียชีวิต) เป็นบุตรคนที่ 6 ในจ�ำนวนพี่น้อง 7 คน รับศีลบวชวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1993
ข้าแต่พระเป็นเจ้า ข้าพเจ้าอยู่นี่ ข้าพเจ้าเตรียมพร้อม ที่จะปฏิบัติตามน�้ำพระทัยของพระองค์
ประวัติการท�ำงาน
(ฮบ 10:5)
1993 - 1995 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสอาสนวิหารพระนางมารีอาฯ จันทบุรี วัดประจ�ำอารามคาร์แมล จันทบุรี 1995 - 2000 ผู้รับผิดชอบหน่วยงานเยาวชน นิสิตนักศึกษา กองหน้าร่าเริง และพัฒนาชนกลุ่มน้อย/ผู้อพยพย้ายถิ่น 1998 - 2000 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เตยใหญ่ 1999 - 2000 คณะกรรมการรับผิดชอบการสมโภช ปีปิติมหาการุณ 2000 - 2005 ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนดาราสมุทรบริหารธุรกิจ ชลบุรี 2005 - 2010 ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนดาราสมุทรบริหารธุรกิจ ช่วยงานอภิบาลวัดพระนามเยซู ชลบุรี 2010 - 2015 อธิการบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระสงฆ์/เซอร์ร่า คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อมรดกวัฒนธรรม 2015 - ปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนวัฒนานุศาสน์
16
๒๕
ปี แห่งสังฆภาพ
สิ่งแรกที่คิดถึงคือ ชีวิตที่ผ่านมาเป็นชีวิตสงฆ์ 25 ปีในความเชื่อ มีแต่ประสบการณ์ความเชื่อที่เกิดขึ้น ตลอดเวลา สิ่งที่สัมผัสมากที่สุดคือ ความรักของพระเจ้า ที่เข้ามาในชีวิต ในวิกฤต ในปัญหา ในการเรียนรู้ ใน การท�ำงาน ในการเทศน์สอน ในการด�ำเนินชีวิต ในการมีเพื่อน ในการมีคนไม่ชอบ ในการเผชิญหน้ากับความ ยากล�ำบาก ในการตัดสินใจ ในการท�ำทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าไม่มีพระเป็นเจ้าผมคงอยู่ไม่ถึงวันนี้ ต้องบอกด้วยว่าขอบคุณพระที่ท�ำให้ผมมีพ่อ มีแม่ มีพี่ มีน้อง มีญาติ ๆ มีเพื่อนที่ดี ที่เป็นพระสงฆ์ ที่ เป็นฆราวาส มีที่เป็นรุ่นพี่ มีที่เป็นรุ่นน้อง มีที่เป็นเพื่อนร่วมงาน มีที่เป็นลูกน้อง มีหลายคนเป็นคนต่างศาสนา และหลายคนมีความเชื่อในพระเจ้า ถ้าไม่มีบุคคลเหล่านี้ชีวิตผมไม่รู้จะเป็นอย่างไร ในช่วงเวลาที่ยากล�ำบาก ของชีวิตผมได้คนเหล่านี้ช่วยไว้ ไม่อาจลืมได้เลย มีบทเรียนและการเรียนรู้หลากหลายมาก ๆ ที่ส�ำคัญกับชีวิต ทุกเหตุการณ์หล่อหลอมให้ผมเป็นอย่างทีเ่ ป็น ท�ำให้ความเชือ่ ของผมมัน่ คงและสามารถรักษากระแสเรียกการ เป็นพระสงฆ์จนอยู่ถึงวันนี้ได้ ทุกวันนี้อยากท�ำหน้าที่เพื่อบอกถึงความรักของพระที่มีต่อชีวิตผม ทุกอย่างในชีวิตเป็นพระหรรษทาน และพระพรของพระเป็นเจ้าที่ให้มา ไม่มีอะไรที่เป็นของผมจริง ๆ มีแต่พระพรที่พระให้ ขอขอบพระคุณพระเป็นเจ้าครับ
17
ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี
งานสังคมในสังฆมณฑลจันทบุรี สวัสดีครับพี่น้องที่รัก พบกันเช่นเคยในเรื่องราวของงานสังคมฯ ที่พ่อก�ำลังถ่ายทอดให้พี่น้องได้รับ ทราบ ซึ่งในฉบับนี้เป็นเรื่องราวที่อยากเล่าให้ฟังต่อจากฉบับที่แล้ว ที่พูดถึงเรื่องของโครงสร้าง วิสัยทัศน์และ พันธกิจในงานสังคมของพระศาสนจักรระดับชาติที่เราเรียกว่า “Caritas Thailand” พ่ออยากเพิ่มเติมเพื่อ ท�ำความเข้าใจก่อนที่จะพูดถึงงานสังคมในสังฆมณฑลของเรา โครงสร้างของกรรมาธิการฝ่ายสังคม (Caritas Thailand)
สภาพระสังฆราชฯ กรรมการบริหาร ส�ำนักเลขาธิการฯ
18
คกก. พัฒนาสังคม
คกก. อภิบาลสังคม
- แผนกพัฒนาสังคม - แผนกยุตธิ รรมและสันติ - แผนกสตรี - แผนกสุขภาพอนามัย
- แผนกผูป้ ระสบภัย/ผูล้ ภี้ ยั - แผนกผู้อพยพย้ายถิ่น และผู้ถูกคุมขัง - แผนกผู้ท่องเที่ยว และเดินทางทะเล
กรรมการอ�ำนวยการ
ฝ่ายสังคมสังฆมณฑล กรุงเทพ จันทบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา นครสวรรค์
ราชบุรี ท่าแร่ฯ สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี อุดรธานี
ฝ่ายสังคม คณะนักบวช ชาย-หญิง
จากโครงสร้างและแผนภูมิการท�ำงานของ Caritas Thailand เราจะเห็นได้ว่า มี 2 คณะกรรมการหลักคือ 1. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม (Catholic commission for social development)
ประกอบด้วยแผนกต่าง ๆ อีก 5 แผนก 1.1 แผนกพัฒนาสังคม (CCHD) : มุง่ เน้นให้เจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ านและประชาชน ในสังคมได้มคี วามรู้ ประสบการณ์ตามแนวทาง ของพระศาสนจักรและการพัฒนาศักยภาพ ตนเองในทุกด้านทางสังคมศาสตร์ 1.2 แผนกยุติธรรมและสันติ (CCJP) : มุง่ เน้นและสนับสนุนส่งเสริมด้านจิตตารมณ์ แห่งความยุตธิ รรมในสังคม การรูจ้ กั วิเคราะห์ ความเป็นจริงในสังคม การเคารพศักดิศ์ รีและ สิทธิมนุษยชน 1.3 แผนกสตรี (CCW) : มุ่งเน้นถึงการส่งเสริมคุณค่าชีวิตของสตรี ศักดิ์ศรี สิทธิและบทบาทของสตรีตามแนว ทางพระวรสาร
2. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการอภิบาล
(Catholic commission for social pastoral ministries)
ประกอบด้วย 3 แผนก 2.1 แผนกผู้ประสบภัย/ผู้ลี้ภัย (COERR) : มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และผู้ลี้ภัย บนพื้นฐานมนุษยธรรม ส่งเสริม ศักยภาพให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อการพึ่งพา ตนเอง 2.2 แผนกผูอ้ พยพย้ายถิน่ และผูถ้ กู คุมขัง (NCCM) : มุง่ เน้นการช่วยเหลือผูอ้ พยพย้ายถิน่ และผูท้ ี่ อยูใ่ นอันตราย ส่งเสริมศักดิศ์ รีและความเคารพ ซึ่งกันและกัน ในฐานะเป็นบุตรของพระเจ้า 2.3 แผนกผูท้ อ่ งเทีย่ วและเดินทางทะเล (NCCS) : มุ่งเน้นการอภิบาลผู้ท่องเที่ยวและเดินทาง ทะเล ด้านจิตวิญญาณ สวัสดิการและความ ยุตธิ รรม ด้วยความเคารพในศักดิศ์ รีของความ เป็นมนุษย์
จากโครงสร้างของกรรมาธิการฝ่ายสังคม ระดับชาติ พี่น้องจะเห็นว่าเนื้องานด้านสังคมของ พระศาสนจักรมีอยู่มากมาย และงานสังคมเหล่านี้ มี การบริหารจัดการโดยหน่วยงานส่วนกลาง (Caritas 1.4 แผนกกลุ่มชาติพันธุ์ (CEG) : มุ่งเน้นการรักษาสิทธิและชีวิตของกลุ่ม thailand) มีบคุ ลากรฝ่ายสังคมของแต่ละสังฆมณฑล ชาติพนั ธุ์ โดยการให้ความเคารพวิถคี วามเชือ่ และฝ่ายสังคมของคณะนักบวชเป็นผู้ปฏิบัติงาน ธรรมประเพณีและวัฒนธรรมของพวกเขา ดังนั้นสิ่งที่พ่อเสนอภาพคร่าว ๆ ของงาน 1.5 แผนกสุขภาพอนามัย (CHC) สังคมระดับชาติข้างต้นก็คงจะพอท�ำให้พี่น้องได้รับรู้ : มุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชากรของพระเจ้ามี ถึง งาน ขอบข่าย บุคลากรด้านสังคมทีพ่ ระศาสนจักร สุขภาพกายใจที่สมบูรณ์ โดยมีแพทย์และ ต้องกระท�ำเพือ่ สนองต่อพระบัญชาของพระคริสตเจ้า บุคลากรทางการแพทย์คาทอลิกอุทิศตนมา ทีใ่ ห้เรารัก รับใช้และเป็นพยานถึงข่าวดีของพระองค์ ช่วยดูแลด้านสุขภาพอนามัย ในโลกนี้ พบกันใหม่ฉบับหน้าครับ 19
พระสงฆ์ ใหม่ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ ศิรวิชย์ มารียพ์ ฒ ั นกิจ
20
เกิดเมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) สัตบุรุษวัด อารักขเทวดา โคกวัด บิดา เบเนดิกต์ สมพงษ์ มารีย์พัฒนกิจ มารดา มารีอา ประมวลศรี มารีย์พัฒนกิจ จ�ำนวนพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 การศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทวรักษ์ โคกวัด ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี/ปริญญาโท วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน คติพจน์ เพราะความรักมาจากพระเจ้า (1ยน 4:7) เหตุจูงใจในการเข้าบ้านเณร ตอนเด็ก ๆ มีความสนใจในการร้องเพลง เวลาที่เห็นบรรดาพี่ ๆ สามเณรลูกวัด กลับมาพักผ่อนที่บ้าน พวกเขามีความสามารถหลาย ๆ อย่าง ขับร้องเพลงที่ไพเราะ ท�ำ กิจกรรมเก่ง และช่วยเหลืองานวัดเสมอ ๆ พวกเขาแต่งตัวเรียบร้อย พูดจาไพเราะ อีกทั้ง เห็นแบบอย่างจากคุณพ่อเจ้าอาวาส ทีข่ ยันท�ำงานและรักงานอภิบาลเข้ากับสัตบุรษุ ได้อย่าง ดี จึงเกิดแรงจูงใจในกระแสเรียกทีส่ นใจจะไปเป็นตามแบบอย่างของคุณพ่อเจ้าอาวาสและ แบบอย่างของสามเณรรุ่นพี่ ๆ ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่อสตีเฟน วัชรินทร์ สมานจิต ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ เป็นสังฆานุกร วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2017 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราช ยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็นพระสงฆ์ วันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ณ วัดอารักขเทวดา โคกวัด จ.ปราจีนบุรี โดย พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นผู้ช่วยอธิการบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา
21
พิธีบวชพระสงฆ์ ใหม่
ณ วัดอารักขเทวดา โคกวัด 21 ก.ค. 2018
22
กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โดย ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี
ท�ำไมพระศาสนจักรจึงประกาศโมฆะมากขึ้น หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เผยสถิติ ‘คนไทยเตียงหัก’ ยอด “การหย่าร้าง” พุ่งทะลุ 1 แสนคู่ เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. พ.ศ. 2560 น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ความสัมพันธ์ครอบครัวไทยเปราะบางขึ้น ซึ่ง ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานที่ส�ำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพประชากร เพื่อ สร้างอนาคตประเทศ ‘‘ปัจจัยส�ำคัญสาเหตุหนึ่งของการหย่าร้าง คือ แรงกดดันจากภายนอก เช่น เครียดจากหน้าที่การงาน สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อสัมพันธภาพภายในครอบครัว โดยเฉพาะการสื่อสารเชิงบวก ถือว่าเป็นกุญแจ ส�ำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา เพราะการใช้ค�ำพูดที่ไม่เหมาะสม หรือ ที่เรียกว่า “ฟังแล้วปรี๊ดหู” มีผลบั่นทอนจิตใจและความรู้สึก อาจท�ำให้เรื่องเล็กๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ได้’’
สถิติทะเบียนราษฎร์ ‘สมรส/การหย่า’ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย การจดทะเบียน ปี พ.ศ. 2559 ปี พ.ศ. 2560 ปี พ.ศ. 2561 (1 ม.ค. - 6 ก.พ.)
สมรส 308,914 298,164 31,173
หย่าร้าง 118,589 121,658 14,047 23
สวัสดีครับพีน่ อ้ งทุกท่าน ฉบับนีพ้ อ่ ขอยกสถิติ เรือ่ งการสมรส และ การหย่าร้าง ในบ้านเมืองของ เรามากล่าวประกอบบทความสักหน่อย สถิตดิ งั กล่าวนี้ ไม่นา่ ชืน่ ชม และคริสตชนต้องพยายามสร้างสถิตใิ หม่ ให้สำ� เร็จ โดยรักษาค�ำสัญญาของการแต่งงานต่อกัน ไว้ให้จงได้ ซึ่งเป็นการยืนยันต่อลักษณะการแต่งงาน ตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักรคือ ความเป็น หนึ่งเดียว และหย่าร้าง มิได้ ต่อไปนีเ้ ราจะพิจารณาส่วนหนึง่ ของบทความ กฎหมายพระศาสนจักรทีน่ า่ สนใจและเป็นประโยชน์ กันนะครับ
จริงอยู่ การแต่งงานเป็นเรื่องที่ต้องอยู่คู่ กันตลอดไป และค�ำสอนของคาทอลิกก็ยงั เน้นเรือ่ ง การหย่าร้างกันไม่ได้ ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของค�ำ สอนเรื่องการแต่งงาน พระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 และ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ยังคงยืนยัน หนักแน่น ถึงข้อค�ำสอนที่ว่า “การแต่งงานที่เป็น ศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ และทีบ่ รรลุถงึ การมีเพศสัมพันธ์แล้ว (consummated sacramental marriage) จะต้องมี พันธะต่อกันยืนยาวตลอดไป และไม่สามารถท�ำให้ มันแตกแยกไปได้ ไม่วา่ จะเป็นอ�ำนาจทางฝ่ายบ้าน เมืองหรือฝ่ายศาสนจักร”
ไมพระศาสนจักรยอมให้การแต่งงาน เป็นโมฆะมากขึ้น (จริงหรือ???) ฉันเข้าใจว่าเมือ่ แต่งงานกันแล้ว ต้องอยูด่ ว้ ย กันตลอดไป ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือเลวลง แต่ท�ำไมเดี๋ยว นี้พระศาสนจักรยอมให้มีการเป็นโมฆะมากขึ้นทุกที แล้วต่อไปนี้จะอธิบายพระวาจาพระเจ้า ที่ว่า “สิ่งที่ พระเจ้าทรงรวมไว้แล้ว มนุษย์อย่าแยกออกจาก กันเลย” ได้อย่างไร? นีม่ ใิ ช่คำ� ถามธรรมดาๆ แต่ดเู หมือนเป็นเสียง แสดงความเจ็บปวดของชาวคาทอลิกทีม่ คี วามจริงใจ จ�ำนวนมากมาย ซึ่ง ก�ำลังงงงัน ผิดหวัง และบาง ครัง้ ถึงขัน้ โกรธเคือง เมือ่ เขาได้ยนิ ข่าวไม่เป็นมงคล ว่าบางคู่ที่พวกเขารู้จัก ทั้งที่ได้เคยแต่งงานกันมา 5 ปีแล้ว 10 ปีแล้ว และบางคู่ตั้ง 25 ปีแล้ว บัดนี้หย่า ร้างกันเสียแล้ว และพระศาสนจักรก็ยอมให้การ แต่งงานนั้นๆ เป็นโมฆะเสียด้วย บางคู่ก็มาท�ำการ แต่งงานใหม่ในวัดอีก เป็นไปได้อย่างไร คู่ที่แต่งงาน กันมาตัง้ หลายปีดดี กั เพิง่ มาส�ำนึกและบอกว่ามัน ไม่ถูกต้อง (Invalid) พวกเขาต้องการจะรู้ว่ามันเป็น ไปได้อย่างไร?
แต่ ในขณะที่พระศาสนจักรป้องกันค�ำสั่ง สอนของพระเยซูเจ้า เรือ่ งความศักดิส์ ทิ ธิข์ องการ แต่งงาน พระศาสนจักรก็มหี น้าทีใ่ ห้ความยุตธิ รรม กับทุกๆ คนด้วย โดยเฉพาะคูท่ กี่ ารแต่งงานของเขา ล้มเหลวไป เมือ่ เห็นได้ชดั โดยมีความแน่ใจพอ (Moral certainty) ว่า การแต่งงานนัน้ ๆ ขาดคุณลักษณะที่ เป็นแก่นแท้อนั จะก่อให้เกิดพันธะของการแต่งงาน ที่เรายึดถือว่าศักดิ์สิทธิ์ คือ ขาดหายไป (ไม่มีอยู่) ตั้งแต่แรกเริ่มแต่งงานแล้ว ในเรื่องของการให้ความยุติธรรมนี้ พระ สันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ทรงให้ข้อสังเกตว่า “การ ให้ความยุติธรรมอย่างรีๆ รอๆ ก็คือ ความไม่ ยุตธิ รรม” (Delayed justice is injustice) พระองค์ จึงทรงปรับปรุงกระบวนการศาลฯ เรื่องแต่งงานให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วงปี 1970-1980 ได้ออก บทเฉพาะกาล และต่อมาก็ได้บรรจุเข้าในประมวล กฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ.1983 ซึ่งยอมรับรู้ถึง ความจ�ำเป็นต่อเนือ่ งส�ำหรับกระบวนการให้ความ ยุตธิ รรม ในกรณีของการแต่งงานส�ำหรับผูท้ ปี่ ระสบ กับการหย่าร้างโดยไม่ใช่ความผิดของเขา
ท�ำ
24
ปัจจุบันนี้ หากมองดูสถิติการเลิกรา หรือ คู่ที่ล้มเหลวในชีวิตแต่งงานนั้นมีมากมายมหาศาล เท่าไร? เราลองคิดดูถงึ โศกนาฏกรรมนีว้ า่ มันบ่งบอก ถึงประสบการณ์ของความเจ็บปวดของคนจ�ำนวน มากสักเพียงไร? และคนจ�ำนวนมากมายเหล่านี้ บางกรณีต้องรับบาดแผลลึกลงไปอีกจากการถูก ตัดขาดจากพระพรของพระศาสนจักร และถ้าเขา ไปแต่งงานใหม่ก็จะอดรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประทาน ความบรรเทาใจและให้พละก�ำลังกับเขาได้ ดังนั้น กระบวนการที่พระศาสนจักรให้การแต่งงานเป็น โมฆะ ก็คือ ความพยายามที่จะน�ำ ความยุติธรรม และความเมตตาสงสารมามอบให้คาทอลิกจ�ำนวน มากมายเหล่านั้นที่ได้หย่าร้างและต้องตกอยู่ใน สภาพของความทุกข์ทรมานในชีวิต ทั้งๆ ที่การ แต่งงานของเขา จริงๆ แล้วเป็นเพียงปรากฏการณ์ ภายนอกเท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ
ในกรณีเช่นนี้ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเขาพบ รักใหม่ ใช้ชีวิตสามี-ภรรยา พวกเขา...ต้องห้ามโดย ความผิดที่ตนเองกระท�ำลงไป (ipso facto) ท�ำให้ ไม่สามารถมารับศีลอภัยบาป – ศีลมหาสนิทได้
พี่น้องที่รักครับ เรามองสังคม มองโลกตาม ความเป็นจริงให้มากที่สุด เมื่อตัดสินใจเข้าสู่การ แต่งงาน สิง่ ส�ำคัญคือการเตรียมความพร้อม การ ตระหนักรักษาค�ำสัญญาต่อพระเจ้าและต่อกัน จะ การันตีได้วา่ “เตียงจะไม่หกั ชีวติ แต่งงานจะไม่พงั แต่เปีย่ มด้วยพระพรของพระ และความสุขในชีวติ ครอบครัวตลอดไป จนกว่าชีวิตจะหาไม่ นั่นเอง”
ดังนัน้ กระบวนการศาลของพระศาสนจักร ในเรื่องคดีความเป็นโมฆะของการแต่งงาน จึง เป็นการเปิดช่องทางไว้เพื่ออภิบาล ช่วยเหลือ เยียวยา หรือ แก้ปัญหา ส�ำหรับผู้ประสบปัญหา ความล้มเหลวในการแต่งงานอยู่เสมอ แล้วพบกัน ในตอนต่อไปครับ
ส่วนการแต่งงานใดๆ ทีเ่ คยล้มเหลวไป ไม่ ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม คูแ่ ต่งงานยังคงมีพนั ธะการ แต่งงานเดิมอยู่ตลอดไป ตราบใดที่พระศาสนจักร มิได้ประกาศยกเลิกพันธะการแต่งงานของเขา โดย กระบวนการศาลของพระศาสนจักร หรือ โดยอภิสทิ ธิ์ ที่เขาอาจได้รับจากผู้มีอ�ำนาจ อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ถกู ห้ามการปฏิบตั ิ ศาสนกิจอืน่ ๆ เช่น การร่วมมิสซา, การขับร้อง, การ ช่วยเวียนถุงทาน, การท�ำความสะอาดวัด, การก่อสวด สายประค�ำ ฯลฯ คุณพ่อเจ้าวัด สภาอภิบาลของวัด ควรจะพูดคุยเพือ่ อภิบาลพวกเขาในแบบทีเ่ หมาะ สม โดยติดตาม และอย่าปล่อยให้พวกเขาถึงขั้น ทิง้ วัดไป เพราะความเข้าใจผิดใดๆ อย่างเด็ดขาด และเมื่อถึงเวลาอันควร กล่าวคือ เมื่อพวกเขารู้สึก ว่าตนเองพร้อมแล้วที่จะเข้าสู่กระบวนการศาลของ พระศาสนจักร ด้วยความจริงใจ จึงค่อยช่วยพิจารณา ด�ำเนินการกันต่อไปนะครับ
ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่านครับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632
เรียบเรียงจากบทความของคุณพ่อยอแซฟ วิชา หิรัญญการ 25
เข้าใจให้ดีเรื่อง
พิธีกรรม
โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
การยกศีลมหาสนิท ในพิธีบูชาขอบพระคุณ สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ที่เคารพรักทุกท่าน พบกัน อีกเช่นเคยในเรื่องราวของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งถือว่าเป็นแก่น แห่งชีวิตคริสตชน เป็นเรื่องราวระหว่างเรากับพระเจ้าและพี่ น้องในชุมชนแห่งความเชื่อ ฉบับที่แล้วเราพูดถึงเรื่องก�ำยาน อันเป็นอุปกรณ์ทเี่ ราใช้ในพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิโ์ ดยเฉพาะเมือ่ มีการ เฉลิมฉลอง สมโภช ฯลฯ ในฉบับนี้ขอเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเข้าใจใน พิธีกรรมบางประการ มีพี่น้องคริสตชนหลายท่านสอบถามมา ขณะร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณ พระสงฆ์ยกศีลมหาสนิท (ชูแผ่นปัง) มีความหมายอย่างไร? ผู้ร่วมพิธีควรมีท่าทีอย่างไร? การยกศีลมหาสนิทในพิธีบูชาขอบพระคุณ มีความหมาย 2 อย่างคือ 1. การแสดงศีลมหาสนิทให้คริสตชนผูม้ าร่วมพิธไี ด้กราบนมัสการ 2. เป็นเครื่องหมายถึงการถวายแด่พระเจ้า ในพิธบี ชู าขอบพระคุณมีการยกศีลมหาสนิท 4 ครัง้ ด้วย กัน 2 ครั้งหมายถึงการแสดงศีลมหาสนิทให้กับคริสตชนผู้ร่วม พิธีฯ และอีก 2 ครั้งหมายถึงการถวายแด่พระเจ้า 26
ครั้งที่ 1 ระหว่างการเตรียมเครื่องบูชา พระสงฆ์วางแผ่นปังบนจานรองแผ่นศีลฯ ยก ขึน้ เหนือพระแท่นบูชาเล็กน้อยและภาวนาว่า “ข้าแต่ พระเจ้าแห่งสากลโลก ขอถวายพระพร...” การ ยกแผ่นปังในจานรองศีลฯ เป็นเครื่องหมายถึงการ ถวายแด่พระเจ้า ซึ่งแผ่นปังนี้ (ผลงานจากแผ่นดิน) จะกลายเป็นพระกายขององค์พระเยซูเจ้า ครั้งที่ 2 หลังจากค�ำภาวนาเสกศีลฯ “รับปังนีไ้ ปกินให้ทวั่ กัน นีเ่ ป็นกายของเรา ทีจ่ ะมอบเพือ่ ท่าน” เป็นการแสดงศีลฯ อย่างสง่าต่อ คริสตชนผูม้ าร่วมพิธี ผูเ้ ป็นประธานจะชูแผ่นศีลฯ ให้ เห็นเด่นชัด จึงเป็นการไม่ถกู ต้องทีจ่ ะวางแผ่นศีลฯ ลง บนจานและยกขึ้นแสดงแก่ผู้มาร่วมพิธี เพราะผู้มา ร่วมพิธีจะไม่เห็นศีลฯ (จะเห็นแต่เพียงจานรองศีลฯ เท่านัน้ ) และการยกศีลฯ นี้ ควรจะให้มเี วลาพอสมควร ที่บรรดาคริสตชนที่มาร่วมในพิธีจะได้กราบนมัสการ หรือแสดงความเคารพต่อศีลมหาสนิท ครั้งที่ 3 ในบทยอพระเกียรติ (doxology) ตอนปลายของบทขอบพระคุณ การยกศีลฯ ในจานรองและการยกกาลิกส์ของพระสงฆ์ เป็น เครือ่ งหมายถึงการถวายพระกายและพระโลหิตของ พระเยซูเจ้าแด่พระบิดา ในองค์พระจิต เหมือนใน หนังสือพิธบี ชู าขอบพระคุณ (Ordo Missae) ทีเ่ ขียน ไว้วา่ “พระสงฆ์ยกถ้วยเหล้าองุน่ และแผ่นศีลฯ ใน จานรอง กล่าวเสียงดังว่า “อาศัยพระคริสตเจ้า พร้อมกับพระคริสตเจ้าและในพระคริสตเจ้า ข้า แต่พระบิดาผูท้ รงสรรพานุภาพ พระองค์ทรงพระ สิริรุ่งโรจน์กับพระจิตเจ้า ตลอดนิรันดร” ดังนั้น เนื่องจากความหมายเป็นการถวายแด่พระเจ้า แผ่น ศีลฯ จึงอยู่ในจานรองศีลฯ การยกจานรองศีลฯ เพื่อ ให้ได้ความหมายการถวายอย่างสง่า ควรยกจานรอง ศีลฯ และยกกาลิกส์ให้สูงพอสมควร (สูงกว่าตอนยก จานรองศีลฯ ในภาคเตรียมเครื่องบูชา)
ครั้งที่ 4 ก่อนการรับศีลมหาสนิท พระสงฆ์แสดงศีลมหาสนิทแก่ผมู้ าร่วมพิธกี รรม อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ พระสงฆ์เชื้อเชิญคริสตชนให้มา รับพระกายของพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท ในหนังสือ พิธีบูชาขอบพระคุณ (Ordo Missae) ได้เขียนไว้ว่า “พระสงฆ์พนมมือไหว้ ยกแผ่นศีลฯ เหนือจานรอง แผ่นศีลฯและยกเหนือถ้วยเหล้าองุ่น หันไปทาง สัตบุรุษกล่าวดังๆ ว่า “นี่คือลูกแกะพระเจ้า นี่คือ ผูท้ รงลบล้างบาปของโลก ผูท้ พี่ ระเจ้าทรงเรียกมา ร่วมในงานเลี้ยงของพระองค์ย่อมเป็นสุข” ดังนัน้ ตามความหมายทีก่ ล่าวมาข้างต้น เรา จึงมีแนวทางการปฏิบตั ใิ นการร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณ ขณะมีการยกศีลมหาสนิท 1. ความหมายแรกคือ การแสดงศีลมหาสนิท ให้คริสตชนผู้มาร่วมพิธีได้กราบนมัสการ : ผูร้ ว่ มพิธฯี ควรมองไปทีศ่ ลี มหาสนิทด้วยสายตาและ จิตใจจดจ่อกับองค์พระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท พร้อม กับกราบนมัสการด้วยความเคารพ 2. ความหมายทีส่ องคือ เป็นเครือ่ งหมายถึง การถวายแด่พระเจ้า : ผู้ร่วมพิธีกรรมควรยกจิตใจร่วมกับพระสงฆ์ผู้เป็น ประธานในพิธฯี ในการถวายผลงานจากแผ่นดิน (ปัง และเหล้าองุ่น) แด่องค์พระเจ้า ด้วยความส�ำรวม พร้อมทั้งร่วมถวายเกียรติแด่พระเจ้า ในบทยอพระ เกียรติด้วยความเคารพและตั้งใจ จากสิ่งที่น�ำเสนอข้างต้น เชื่อว่าพี่น้อง คริสตชนจะมีความเข้าใจในความหมายของพิธกี รรม ตอนนี้ และคงร่วมถวายเกียรติและนมัสการองค์ พระเจ้าอย่างลึกซึ้งสุดจิตสุดใจนะครับ ขอให้พนี่ อ้ งได้รบั พระพรจากองค์พระเจ้าใน การร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตลอดไป 27
เพราะเห็นแก่ข่าวดี “ข้าพเจ้าท�ำทุกอย่างเพราะเห็นแก่ข่าวดี” (1โครินธ์ 9:23) หน้าที่การงานในแต่ละวัน บางครั้ง บางที บางช่วงเวลา มันก็ท�ำให้เรารู้สึกเบื่อหน่าย จ�ำเจ ซ�้ำซาก ทดท้อ เหนื่อยหน่าย แต่ก็น่าแปลกใจที่เรายังคงเดินหน้าฝ่าฟันความรู้สึกเลวร้ายนั้นไปจนได้เสมอ เราใช้พลังส่วนไหนในการขับเคลื่อนชีวิตที่น่าทดท้อนั้นหรือ ภาระงานของโลก ถูกพลังแห่งความต้องการมี ต้องการได้ เพื่อสนองความสะดวกสบายให้แก่ชีวิตตนเองและครอบครัวที่ตนรัก สิ่งเหล่านั้นท�ำให้เรามีแรงพลังขับเคลื่อนชีวิตต่อไป พลังนี้เกิดจากการที่เรามีจุดมุ่งหมายของชีวิต มีผู้อยู่เบื้องหลังที่เป็นความรักของเรา ท�ำให้เราสามารถฟันฝ่าความทุกข์ยากล�ำบากไปได้ แต่ภาระงานของวิญญาณนี่สิที่ยากนัก! ภาระงานแห่งการท�ำหน้าที่ลูกของพระ หน้าที่ในการประกาศข่าวดี ถูกเรียกร้องให้ท�ำโดยไม่หวังผลตอบแทนใดใดทั้งสิ้น หากเป้าหมายของเราลางเลือน มองพระเจ้า มองชีวิตนิรันดร์ไม่ชัดเจน จะมีพลังใดเล่าที่จะขับเคลื่อนภาระงานของพระไปได้อย่างราบรื่น ในเมื่อภาระงานของโลก มีผลเป็นรูปธรรมในทุกด้าน แต่ภาระงานของวิญญาณ กลับมีผลเป็นนามธรรมที่ไขว่คว้าก็ไม่เห็น โยบพูดว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงระลึกว่าชีวิตของข้าพเจ้า เป็นเหมือนลมวูบเดียว ตาของข้าพเจ้าจะไม่เห็นอะไรดีอีกเลย” (โยบ 7:7)
28
จริงทีเดียว ถ้าเราทุ่มเททั้งชีวิตจิตวิญญาณเพื่อเป็นคนของโลก เราก็จะวุ่นวายวนเวียนอยู่บนอ�ำนาจ ชื่อเสียง ค�ำชื่นชมยินดี ความอยากมีอยากได้ไม่สิ้นสุด แต่แท้จริงแล้ว ทุกชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกก็เป็นเพียงบ้านพักชั่วคราวเท่านั้น ล่วงวันเวลาผันผ่าน ทุกสิ่งอย่างก็ดับสูญสิ้นไป เมื่อยังเล็ก เราก็ยังมองเห็นความเป็นอนิจจังนั้นเลือนราง แต่เมื่อวัยวันล่วงเลยมาช่วงหนึ่ง เราก็เรียนรู้ได้ว่า ชีวิตนั้นก็เป็นอนิจจัง สิ่งที่คงเหลือไว้ให้ลูกหลานจดจ�ำเป็นแบบอย่างก็คือคุณงามความดี โยบเตือนใจข้าพเจ้าว่าชีวิตบนโลกใบนี้เป็นเพียงลมแค่วูบเดียว แล้วมันก็จะผันผ่านไปไม่จีรังยั่งยืน ดังนั้นหน้าที่ของข้าพเจ้าในฐานะลูกของพระคือต้องไม่ละทิ้งการประกาศข่าวดี ทั้งด้วยค�ำพูดและกิจการที่กระท�ำในแต่ละวัน ฝึกตนเองที่จะเรียนรู้การเป็นผู้ให้โดยปราศจากการรับ ยอมรับที่จะผิดหวัง ถูกดูหมิ่นดูแคลน และการเป็นผู้รับใช้ด้วยใจยินดี มันดูยากที่จะกระท�ำเช่นนั้นท่ามกลางสภาวะแวดล้อมบนโลกใบนี้ แต่มันไม่ยากถ้าเรามองเห็นความรักของพระเจ้าชัดเจนในใจเสียก่อน ช่วงชีวิตของข้าพเจ้าบนโลกคือการเรียนรู้และปฏิบัติตามค�ำสอนของพระเจ้า หน้าที่ของข้าพเจ้าคือการประกาศข่าวดีของพระองค์แก่คนรอบข้าง เพื่อนพี่น้องบนโลกคือผลก�ำไรที่พระมอบให้ข้าพเจ้าได้เพิ่มเติมพระพร ครอบครัวอันเป็นที่รัก คือ พลังที่ผลักดันให้ข้าพเจ้าก้าวไปบนโลกใบนี้อย่างอดทน และที่ส�ำคัญยิ่ง พระเจ้า คือ ความส�ำเร็จของชีวิตนิรันดรในวิญญาณข้าพเจ้า ประสบการณ์สอนข้าพเจ้าว่า “จงใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเถิด”
“องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างกรุงเยรูซาเล็มขึ้นใหม่ ทรงรวบรวมชนอิสราเอลที่ถูกเนรเทศให้มารวมกัน ทรงรักษาผู้ชอกช�้ำใจ ทรงพันบาดแผลให้เขา พระองค์ทรงนับจ�ำนวนดาวในท้องฟ้า ทรงเรียกชื่อดาวแต่ละดวง” (สดุดี 147:2-4) โดย น�้ำผึ้งหวาน 29
ป
จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ
เสกน�้ำมันศักดิ์สิทธิ์ สังฆมณฑลจันทบุรี
ณ วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา 28 มี.ค. 2018
30
วันครอบครัวสงฆ์ สังฆมณฑลจันทบุรี
ณ วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา 6 เม.ย. 2018
31
ฉลองสังฆภาพ 50 ปี และ 25 ปีี
ณ บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา 9 มิ.ย. 2018
32
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม 17 มี.ค. 2018 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร ท่าใหม่ 28 เม.ย. 2018
33
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ 5 พ.ค. 2018 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระจิตเจ้า บ้านทัพ 19 พ.ค. 2018
34
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระที่พึ่งแห่งปวงชน แหลมโขด 26 พ.ค. 2018 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยฯ ขลุง 2 มิ.ย. 2018
35
ฉลองบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา 9 มิ.ย. 2018 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา 16 มิ.ย. 2018
36
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว 23 มิ.ย. 2018 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญเบเนดิก เขาฉกรรจ์ 7 ก.ค. 2018
37
เปิดเสก/ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับสาร ตราด 24
38
มี.ค. 2018
39
พวกเขาต้องประกาศพระวรสาร เพื่อพระเกียรติมงคลของพระเจ้า และต้องส�ำนึกเสมอว่า หน้าที่การเป็นสงฆ์คือ การท�ำงานแพร่ธรรม งานแพร่ธรรมคืองานของพระศาสนจักร ไม่มีใครประกาศพระวรสารเพื่อตนเอง แต่เราประกาศเพื่อน�ำพระเจ้าไปบอกให้โลกรู้ พระเจ้าคือองค์แห่งความสมบูรณ์แบบ ซึ่งมนุษย์ทุกคนหวังพบพระองค์ ผ่านทางพระสงฆ์
สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 โอกาสประกาศ ปีพระสงฆ์