สายใยจันท์ V.26

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

FREE COPY แจกฟรี

Vol.26

ธันวาคม 2018 ปีท่ี 29

กตัญญูรู้คุณ ร�ำลึกถึงบรรดามิชชันนารี การฉลอง 75 ปี มิสซังจันทบุรี

84 ปี บ้านเณรฯ

พระศาสนจักร ภายในบ้าน

เหล้าองุ่น ที่ใช้ในพิธีฯ


ปีที่ 29 ฉบับที่ 20 / ธันวาคม 2018

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สารพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี................................. 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต................. 6 การฉลอง 75 ปี มิสซังจันทบุร.ี .................................................................. 8 ย้อนรอย วัดในอดีต “วัดนักบุญอักแนส หาดสะแก”................10 84 ปี บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา........................................... 12 ดนตรีศักดิ์สิทธิ์...........................................................................15 เหล้าองุ่นที่ใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณ.......................................... 16 การท�ำงานด้านสังคม สังฆมณฑลจันทบุรี............................... 18 น.ยอแซฟและพระแม่มารีย์ แบบอย่างพระศาสนจักรภายในบ้าน.... 20 กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้........................................................22 ผู้รับใช้ต�่ำต้อย............................................................................ 24 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 26 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................27

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

พระเยซูเจ้า คือผู้ที่ถูกเรียกขานว่า พระ-คริสต์ นามนี้มีรากศัพท์มาจากภาษา กรีก แปลว่า ผู้ได้รับเจิม ส�ำหรับนาม “เยซู” คือนามชื่อของพระคริสต์ผู้มาบังเกิดเป็น มนุษย์ “ท่านจะตัง้ ครรภ์และให้กำ� เนิดบุตรชายคนหนึง่ ท่านจะตัง้ ชือ่ เขาว่าเยซู” (ลก 1:31)

ผูท้ ตี่ ดิ ตามพระคริสตเจ้า เป็นผูท้ ไี่ ด้ชอื่ ว่า “คริสต-ชน” คริสตชนคือผูท้ ไี่ ด้รบั การ เจิมเช่นกัน เมื่อคิดถึงเรื่องการเจิม คริสตชนหลาย ๆ ท่านอาจจะคิดถึง การมอบอ�ำนาจ การอวยพร การเยียวยารักษา ส�ำหรับนักบุญยอห์น อัครสาวก เมื่อคิดถึงเรื่องการเจิม ท่านคิดถึงเรื่องของการสอน ท่านได้เขียนในบทจดหมายของท่านว่า “การได้รับเจิมจาก พระองค์ยงั คงอยูใ่ นท่าน และไม่จำ� เป็นต้องให้ใครมาสอนท่านอีก การเจิมของพระองค์นนั้ สอนทุกสิ่งให้ท่าน และเพราะการเจิมนั้นเป็นจริงและไม่หลอกลวง” (1 ยน 2:27) จากบทจดหมายของนักบุญยอห์นได้บ่งบอกว่า การเป็นคริสตชนแท้จริง ผู้ที่ได้ รับการเจิมและผูไ้ ด้รบั การสอนจากพระจิตเจ้า “พระผูช้ ว่ ยเหลือคือพระจิตเจ้า ทีพ่ ระบิดา จะทรงส่งมาในนามของเรานั้น จะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่ เราเคยบอกท่าน” (ยน 14:26) ในวันคริสตมาส คริสตชนไปร่วม พิธีบูชาขอบพระคุณวัน คริสต-มาส คือ บูชา ขอบพระคุณของผู้ที่ได้รับการเจิม นั่นเอง เมื่อคริสตชนผู้ได้รับการเจิมในวันรับศีลล้างบาปและศีลก�ำลัง ได้ร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณวัน คริสตมาส ท่านจง “ระลึกถึงทุกสิ่งที่เราเคยบอกท่าน” (ยน 14:26) การ ระลึกถึงสิง่ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงสอนได้นนั้ ต้องผ่านทางการอ่านพระวาจาของพระเจ้า “ชาว ยิวที่เมืองนี้มีจิตใจดีกว่าชาวยิวที่เมืองเธสะโลนิกา เขารับข่าวดีด้วยความกระตือรือร้น อย่างมาก ทุกวันเขาอ่านพระคัมภีร์” (กจ 17:11) คริสตมาสของทุกปี เราจะคิดถึงการแบ่งปันความสุขให้กับผู้อื่น คิดถึงการแลก ของขวัญ คิดถึงความสนุกสนานที่จะได้รับในวันคริสตมาส ปีนี้ 2018 ให้เราหันมาคิดถึงการบ�ำรุงรักษาด้านจิตใจ ให้พระวาจาแก่ใจของ เราบ้าง ให้ได้พบความสุขจากภายในดีกว่าภายนอกเถอะ ขอสุขสันต์วันคริสตมาสและปีใหม่แก่คริสต-ชนจันท์ทุกท่าน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


4


สารพระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า ปี 2019 เป็นปีทเี่ ราร�ำลึกถึงประวัตศิ าสตร์สำ� คัญของพระศาสนจักรในประเทศไทยและ พระศาสนจักรในสังฆมณฑลจันทบุรี นั่นคือ 350 ปีแห่งการสถาปนามิสซังสยามซึ่งประกาศ โดยพระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ 9 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1669 และ 75 ปีแห่งการสถาปนา มิสซังจันทบุรีซึ่งประกาศโดยพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1944 เหตุการณ์ส�ำคัญทั้งสองเหตุการณ์นี้ท�ำให้เราเห็นรากเหง้าแห่งการเป็นคริสตชน ของเรา ก่อนอืน่ เราต้องโมทนาคุณพระเจ้าทีท่ รงจัดเตรียมหนทางตัง้ แต่อดีตมาจนถึงปัจจุบนั พระองค์เป็นเจ้าแห่งกาลเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในพระสัพพญูญาณของพระองค์ เราระลึก คุณด้วยความกตัญญูแด่ธรรมทูตจากต่างประเทศ ผู้ยอมเสียสละทุกสิ่งแม้กระทั่งชีวิต เพื่อ ประกาศพระคริสตเจ้า และบรรดาบรรพชนของเรา รวมทั้งพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช ครูคำ� สอนและผูแ้ พร่ธรรมทุกท่านในทุกช่วงเวลาทีผ่ า่ นมาทีท่ ำ� ให้พระศาสนจักรในประเทศไทย และในสังฆมณฑลจันทบุรีเติบโตมาจนถึงวันนี้ เรายังต้องเดินหน้าต่อไปในยุคสมัยของเรา เพื่อสืบสานต่อพันธกิจศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับ มอบหมายถ่ายทอดมา ด้วยการด�ำเนินชีวิตเป็นศิษย์พระคริสต์ที่แท้จริง เป็นประจักษ์พยาน แห่งความเชื่อและประกาศข่าวดีใหม่แห่งความรอดแก่เพื่อนพี่น้องรอบข้าง ร่วมกันเสริม สร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ โอกาสฉลองพระคริสตสมภพ เทศกาลแห่งความสุขและความยินดี ขอพระเจ้า ประทานพระพรแห่งความรักอย่างเต็มเปี่ยมแก่พี่น้องทุกท่าน และด�ำรงชีวิตในสันติสุขของ พระองค์ตลอดไป สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีปีใหม่ 2019

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

5


ค�ำอวยพรโอกาส สมโภชพระคริสตสมภพและปีใหม่ สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีปีใหม่แก่บรรดาคุณพ่อ บราเดอร์ ซิสเตอร์ และพี่น้องคริสตชนที่รัก วันพระคริสตสมภพเป็นวันที่เราคริสตชนและชาวโลกมีความสุขและความยินดีเป็น พิเศษ ถ้าจะถามว่าท�ำไมบุตรพระเจ้าจึงต้องเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ ค�ำตอบก็คือเพราะ มนุษย์ได้ท�ำบาป เริ่มตั้งแต่อาดัม-เอวา บิดามารดาคู่แรกของมนุษยชาติ ที่จริงบุตรพระเจ้า ขอโทษพระบิดาในสวรรค์ค�ำเดียว พระบิดาก็คงให้อภัย แต่ที่บุตรพระเจ้าเสด็จมาบังเกิดเป็น มนุษย์ก็เพื่อท�ำให้บุตรมนุษย์ทั้งหลายเกิดใหม่เป็นบุตรพระเจ้า ตามที่นักบุญออกัสตินกล่าวไว้ และเพือ่ เป็นแบบอย่างแก่บตุ รมนุษย์ทงั้ หลายว่าจะต้องด�ำเนินชีวติ อย่างไรสมเป็นบุตรพระเจ้า สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอผู้ยิ่งใหญ่ “จึงเตือนคริสตชนให้ระลึกถึงศักดิ์ศรีนี้ อย่ากลับไป สูส่ ภาพเก่าโดยท�ำบาปอีก จงระลึกว่าใครเป็นศีรษะและท่านเป็นอวัยวะร่างกายของใคร ได้รับการไถ่มาอาศัยศีลล้างบาป ท่านได้กลายเป็นพระวิหารของพระจิตเจ้า อย่าไล่พระ อาคันตุกะผูย้ งิ่ ใหญ่นอี้ อกไปด้วยการประพฤติชวั่ ช้า และกลับเป็นทาสของปีศาจอีก เหตุ ว่าเสรีภาพของท่านซื้อมาด้วยพระโลหิตของพระคริสตเจ้า” แต่ก่อนมีการล้างบาปเฉพาะผู้ใหญ่ ต่อมาเห็นว่าเด็ก ๆ ก็ควรเกิดใหม่เป็นลูกพระเจ้า ด้วย จึงมีการล้างบาปเด็ก อาศัยความเชื่อหรือค�ำสัญญาของพ่อแม่และพ่อแม่ทูนหัว ให้เรา คิดถึงศีลล้างบาปทีท่ ำ� ให้เราเกิดใหม่เป็นบุตรพระเจ้า เราได้สญ ั ญาอะไรไว้กบั พระเจ้าในวันรับ ศีลล้างบาป “ข้าพเจ้าละทิง้ ปีศาจ กิจการชัว่ ร้ายและสิง่ ยัว่ ยวนต่าง ๆ เชือ่ และถือตามค�ำ สอนของพระคริสตเจ้า” เรายังซื่อสัตย์ต่อค�ำสัญญานี้อยู่หรือ ? ปัจจุบันคริสตชนแต่งงาน กับคนต่างศาสนามากขึ้น แบบต่างคนต่างถือศาสนาของตน แต่กลายเป็นต่างคนต่างไม่ถือ ศาสนา ลูกเกิดมาไม่ได้รับศีลล้างบาป ไม่ได้เกิดใหม่เป็นลูกพระเจ้า เป็นที่น่าเสียดาย ! มนุษย์ทำ� บาปเพราะความสูร่ จู้ องหองไม่ถอื บัญญัตขิ องพระเจ้า พระเยซูคริสตเจ้าบุตร พระเจ้าเสด็จมาไถ่มนุษย์ให้พ้นบาป มาชดเชยบาปจองหองของมนุษย์ โดยยอมสุภาพถ่อม องค์ “รับสภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดุจเรา ยอมรับความตายแม้ความตายบนไม้กางเขน” (ฟิลิปปี 2:7-8) ทรงชอบเรียกพระองค์ทรงเป็นบุตรแห่งมนุษย์ ทรงบังเกิดเป็นคนจน เพื่อเป็น เพื่อนของคนจนและคนบาป พระองค์เสด็จมาร่วมเป็นร่วมตายกับเราคนบาปทั้ง ๆ ที่ไม่ทรง มีบาป เพื่อทรงช่วยเราคนบาปให้รอด 6


นอกจากนั้นครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ยังเป็นแบบอย่างแก่ครอบครัวทั้งหลาย “พระองค์ เสด็จกลับไปที่เมืองนาซาเร็ธกับบิดามารดาและเชื่อฟังท่านทั้งสอง... ทรงเจริญขึ้นทั้ง ในพระปรีชาญาณ พระชนมายุและพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและต่อหน้า มนุษย์” (ลูกา 2:51-52) ในครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสามพระองค์ทรงเข้าใจกัน ทรงรักกันและ ทรงช่วยเหลือกัน ทรงท�ำให้ในบ้านมีความสุขเหมือนในสวรรค์ ณ แผ่นดิน สมเด็จพระสันตะ ปาปาฟรังซิสทรงเขียนพระสมณลิขิตเตือนใจ “ความปีติยินดีแห่งความรัก” เกี่ยวกับความ รักในครอบครัว ขอให้ทุกครอบครัวช่วยกันสร้างสวรรค์ในบ้าน อยู่ด้วยกันมีความรักและ ความปิติยินดีเสมอ เนือ่ งในโอกาสปีใหม่ อาศัยค�ำเสนอวิงวอนของครอบครัวศักดิส์ ทิ ธิ์ ขอพระเจ้าอ�ำนวย พรทุก ๆ คน ทุก ๆ ครอบครัวและทุก ๆ หมู่คณะ ให้มีชีวิตใหม่ เป็นที่สบพระทัยพระเจ้า ก้าวหน้าในความศักดิ์สิทธิ์ คือ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้าและพี่น้องมนุษย์ ในปีใหม่นี้เรา ท�ำการเฉลิมฉลองมิสซังจันทบุรมี อี ายุครบ 75 ปี นับตัง้ แต่แยกออกจากมิสซังกรุงเทพฯ พร้อม กับพระสังฆราชไทยองค์แรก คือ พระคุณเจ้ายาโกเบ แจง เกิดสว่าง และคณะสงฆ์ไทย 17 องค์ มิสซังได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นล�ำดับ ทั้งในด้านงานอภิบาลและงานธรรมทูต พร้อมกับ พระสังฆราช คณะสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และฆราวาสตามวัดต่าง ๆ นักบุญยอห์น ปอล ที่สอง สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงกล่าวไว้ว่า “ให้เราระลึกถึงอดีตด้วยความกตัญญูรู้คุณ เจริญชีวิตในปัจจุบันด้วยความกระตือรือร้น และมอบอนาคตไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้า ด้วยความหวัง” ให้เราร่วมใจกันสรรเสริญขอบพระคุณพระเจ้าและแม่พระส�ำหรับทุกสิ่งทุก อย่างทีพ่ ระเจ้าประทานแก่มสิ ซังจันทบุรขี องเราตลอดเวลา 75 ปี ให้เราวิงวอนขอพระเจ้าและ แม่พระต่อไป และให้เราร่วมมือกันต่อไป ทั้งคณะสงฆ์ นักบวชและฆราวาส เพื่องานอภิบาล และงานธรรมทูตกับคนต่างศาสนาจะได้เจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่ลดละ พีน่ อ้ งคริสตชนจะ ได้มีคุณภาพและบทบาทมากขึ้น และพี่น้องชาวไทยต่างศาสนาจะได้มารู้จักพระ รักพระ และ รับใช้พระในพระศาสนจักรและพระอาณาจักรมากขึ้น ให้เราเจริญชีวิตในปีใหม่โดยมีเป้าหมายตามที่หนังสือขายดีที่สุดของ RICK WARREN ที่มีชื่อว่า “ฉันอยู่ที่นี่บนโลกนี้เพื่ออะไร ?” ท่านได้ให้ค�ำตอบไว้ว่า 1. เพื่อเตรียมตัวไป สวรรค์อยู่กับพระเจ้า 2. เพื่อเจริญชีวิตตามแบบอย่างพระเยซูคริสตเจ้าบุตรพระเจ้าตัวอย่าง และ 3. เพื่อท�ำ MISSION : พันธกิจรับใช้พระเจ้าโดยท�ำให้ผู้อื่นมารู้จักพระ รักพระ รับใช้ พระและวันหนึ่งจะได้รอดพร้อมกับเราไปอยู่ในสวรรค์เช่นเดียวกัน อวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


ปี

การ ฉลอง

มิสซังจันทบุรี ทบทวน ร�ำลึก พื้นฟูชีวิตศิษย์พระคริสต์ สู่การเป็นศิษย์ธรรมฑูต และการประกาศข่าวดีใหม่ มิสซังจันทบุรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของมิสซัง กรุงเทพฯ ซึ่งมีคณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุง ปารีสเป็นผูป้ กครองดูแล มีพระสงฆ์ชาวไทยร่วมงาน ด้วยแต่จำ� นวนยังไม่มากนัก เนือ่ งจากมิสซังกรุงเทพฯ มีอาณาเขตกว้างขวางมาก การติดต่อและการ คมนาคมในสมัยนั้นไม่สะดวก การดูแลสัตบุรุษท�ำได้ ไม่ทั่วถึง จึงมีแนวคิดในการแบ่งมิสซัง เพื่อสะดวก ในการปกครองดูแล ดังนั้น สันตะส�ำนักโดยพระ สันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ประกาศแบ่งมิสซังจันทบุรี ออกจากมิสซังกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 และประกาศแต่งตั้ง คุณพ่อยาโกเบ แจง เกิดสว่าง เป็นพระสังฆราชแห่งบาร์คูโซ และ ประมุขแห่งมิสซังจันทบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 8

1944 คุณพ่อยาโกเบ แจง เกิดสว่าง ได้รับอภิเษก เป็นพระสังฆราชจากพระสังฆราช มารี โยเซฟ แปร์รอส ประมุขแห่งมิสซังกรุงเทพฯ ในขณะนั้น เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ณ วัดนักบุญ ฟิลิปและยากอบหัวไผ่ ซึ่งนับได้ว่ามิสซังจันทบุรี เป็นมิสซังแรกที่ปกครองโดยพระสังฆราช และ พระสงฆ์ที่เป็นคนไทย สังฆมณฑลจันทบุรี ตระหนักถึงความส�ำคัญ ของการเฉลิมฉลอง 75 ปี สถาปนามิสซังจันทบุร(ี ค.ศ. 1944–2019) ดังนั้น เพื่อการเตรียมตัว เตรียมจิตใจ ของพีน่ อ้ งในเขตสังฆมณฑลจันทบุรที กุ ฝ่าย ทุกระดับ จึงจัดให้มกี ารเฉลิมฉลองด้วยหลักการและเหตุผลดังนี้


หลักการและเหตุผล เนือ่ งด้วย มิสซังจันทบุรี ได้รบั การสถาปนาอย่าง เป็นทางการจากสันตะส�ำนักวาติกนั ในรัชสมัยสมเด็จ พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ลงนามแต่งตั้งวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 ซึ่งในขณะนั้น พระสังฆราช เรอเน แปร์รอส พระสังฆราชแห่งมิสซังกรุงเทพฯ ได้ ท�ำการอภิเษก คุณพ่อยาโกเบ แจง เกิดสว่าง เป็น พระสังฆราชแห่งมิสซังจันทบุรี ซึ่งเป็นพระสังฆราช ไทยองค์แรกของประเทศไทย และมีพระสงฆ์จำ� นวน 16 องค์ เป็นผู้ร่วมงานที่เป็นคนไทยทั้งหมด จาก วันนั้น ถึงวันนี้ โอกาสเฉลิมฉลอง 75 ปี ของมิสซัง จันทบุรี (ค.ศ. 1944–2019) จึงเป็นโอกาสที่เราย้อน มองดูอดีตด้วยความกตัญญูรคู้ ณ ุ ด�ำรงชีวติ ในปัจจุบนั ด้วยความกระตือรือร้น และมองไปข้างหน้าด้วยความ หวัง เพื่อร่วมกันฟื้นฟูการประกาศข่าวดีใหม่ อีกทั้ง ในปี ค.ศ. 2019 นี้ ยังเป็นโอกาสฉลอง 350 ปี การ สถาปนามิสซังสยามอีกด้วย จึงถือเป็นโอกาสส�ำคัญ ที่เราพระสงฆ์ นักบวช และคริสตชนในสังฆมณฑล จันทบุรี ได้ร่วมกันร�ำลึก ทบทวน ไตร่ตรอง และ แสดงความกตัญญูรู้คุณ ถึงบรรดามิชชันนารี และ บรรพชนของเราในอดีต ทีไ่ ด้อทุ ศิ ตนเพือ่ รับใช้พนี่ อ้ ง คริสตชนในสังฆมณฑล ในพันธกิจด้านต่าง ๆ จนถึง ปัจจุบัน เพื่อมองสภาพความเป็นจริงของชีวิตศิษย์ พระคริสต์ในสังคมปัจจุบนั และเกิดความท้าทายของ สังฆมณฑลในอนาคต ทั้งนี้ บุคลากรในทุกภาคส่วน ของสังฆมณฑลฯ จะได้ร่วมกันเดินหน้า ฟื้นฟู และ พัฒนาให้พนั ธกิจตามแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020 เจริญก้าวหน้าบรรลุเป้าหมายต่อไป

วัตถุประสงค์การจัดเฉลิมฉลอง 1. เพื่อขอบพระคุณพระเจ้า แสดงความกตัญญู รูค้ ณ ุ และร�ำลึกถึงบรรดามิชชันนารี คณะสงฆ์ นักบวช คริสตชนฆราวาสในอดีต โอกาสฉลอง 75 ปี มิสซังจันทบุรี ในบริบทของ 350 ปี มิสซังสยาม 2. เพื่อฟื้นฟูชีวิตศิษย์พระคริสต์สู่การเป็นศิษย์ ธรรมทูต และการประกาศข่าวดีใหม่ 3. เพื่อเป็นการสืบสานพันธกิจการเสริมสร้าง อาณาจักรของพระเจ้าในสังฆมณฑลจันทบุรี ด้วยความเชือ่ และตระหนักในแผนการแห่ง ความรักทีพ่ ระเจ้าได้มตี อ่ สังฆมณฑลของเรา จึงขอเชิญ ชวนเราทุกคนในฐานะที่เป็นศิษย์พระคริสต์ ทบทวน ร�ำลึก และฟื้นฟูชีวิตศิษย์พระคริสต์ สู่การเป็นศิษย์ ธรรมทูต และการประกาศข่าวดีใหม่ในชีวิตของเรา แต่ละคนอย่างแท้จริง ขอพระอวยพร คุณพ่อยอแซฟ ธรรมรัตน์ เรือนงาม

9


ย้อนรอย วัดในอดีต....

“วัดนักบุญอักแนส หาดสะแก” โดย คุณพ่อยอห์น ปอล สุทัศน์ เภกะสุต

โอกาสฉลอง 75 ปี การสถาปนามิสซังจันทบุรี (1944-2019) ส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง คือ การ เรียนรูป้ ระวัตคิ วามเป็นมาของชุมชนวัดต่าง ๆ ในมิสซัง จันทบุรี สายใยจันท์ฉบับนี้ ขอน�ำเสนอเรือ่ งของชุมชนวัด ในอดีตที่เคยมี “วัดนักบุญอักแนส หาดสะแก” ซึ่งเป็น ชุมชนแรกทีม่ ชิ ชันนารีได้ทำ� งานแพร่ธรรมในเขตปราจีนบุรี หาดสะแกเป็นชุมชนเล็ก ๆ ห่างจากเมือง ปราจีนบุรีเป็นระยะทางพายเรือ 3 ชั่วโมง หากเป็น ทางบกอยูร่ ะหว่างทางหลวงแผ่นดิน 3069 (ปราจีนบุร-ี ศรีมหาโพธิ) ผ่านหน้าโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัย ภูเบศร หลักกิโลเมตรที่ 10 เข้าซอยลงไปริมแม่น�้ำ ปราจีนบุรี ฝัง่ ตรงข้ามมีบา้ นสัตบุรษุ พักอาศัย ปัจจุบนั ใช้เส้นทาง ท่าประชุม-ประจันตคาม ข้ามสะพาน ที่ตลาดท่าประชุม อ.ศรีมหาโพธิ เลี้ยวซ้าย มีถนน เข้าถึงหมู่บ้าน จากหลักฐานของคณะสงฆ์มสิ ซังต่างประเทศ แห่งกรุงปารีส บันทึกไว้ว่าได้มีมิชชันนารีคณะมิสซัง ต่างประเทศแห่งกรุงปารีส(M.E.P.) คือคุณพ่อมายัง ปีแอร์มาร์แตง(พ่อมาร์แตง) ในขณะทีเ่ ป็นเจ้าอาวาสอยู่ ทีว่ ดั เขมร(วัดคอนเซปชัญ) กรุงเทพ(ค.ศ.1859-1886) ได้ทราบว่ามีชาวเขมรทีน่ อี่ ยากรูเ้ รือ่ งราวของศาสนา คริสต์ ท่านจึงตัดสินใจเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาใน แถบจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมกับคุณพ่อเชเวอแรง ยักส์ มารี ดาเนียล(พ่อดาเนียล) ที่บ้านดงกระทง ยาง และที่บ้านหาดสะแก ตั้งแต่ปีค.ศ. 1859 10

ค.ศ. 1860 ได้สร้างศูนย์ดูแลเด็กเล็ก และ สร้างวัดขึ้น ตั้งชื่อวัดว่า “วัดนักบุญอักแนส” และ คุณพ่อดาเนียล ได้ท�ำพิธีศีลล้างบาปคนแรกที่หาด สะแกในปีนี้ นอกจากนี้ คุณพ่อมาร์แตง ท่านมาเยีย่ ม คริสตชน ได้สอนค�ำสอน และโปรดศีลล้างบาป และ จากวัดที่หาดสะแกนี้เอง เป็นจุดที่พระสงฆ์ และชาว บ้านได้ขยายงานออกไปถึงพืน้ ทีแ่ ถว ๆ ดงศรีมหาโพธิ ซึ่งมีคริสตังอยู่แล้วประมาณ 100 คน จนถึงการก่อ ตั้งกลุ่มคริสตชนที่วัดโคกวัด(ดูรายละเอียดได้ที่หนังสือ อนุสรณ์ 100 ปี วัดอารักขเทวดา โคกวัดหน้า 31) คุณพ่อ ปกครองวัดนีต้ อ่ ไปจนกระทัง่ ถึงวันที่ พระสังฆราชเวย์ มอบหมายให้มิชชันนารีอีกองค์หนึ่งดูแล โดยหวังว่า มิชชันนารีองค์หนึ่งประจ�ำอยู่ที่นั่น คงจะช่วยขยาย พระราชัยของพระเป็นเจ้ากว้างขวางขึ้น ค.ศ. 1870-1874 คุณพ่อชิมิเลียง หลุยส์ เชอวิญารด์ เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส ได้เดินทาง มาดูแลกลุ่มคริสตชนที่หาดสะแกด้วย ค.ศ. 1874-1878 คุณพ่อชาล์ส หลุยส์ เบ็ญ จามิน มารี โชแมต์ เมือ่ มาถึงมิสซังสยาม ท่านได้รบั ผิดชอบให้ดแู ลวัดนักบุญอักแนส ทีห่ าดสะแก และเมือ่ คุณพ่อป่วยเป็นโรคสมองอักเสบ จึงกลับไปพักรักษา ตัวที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1879 ค.ศ.1979 คุณพ่อยัง ฟรังซัว เรจีสแ์ ปร์เบต์ ปลัด คุณพ่อชมิตต์ ที่แปดริ้ว ได้มาเยี่ยมและดูแล


ค.ศ. 1892 คุณพ่อฟรังซัวส์ โยเซฟชมิตต์ และคุณพ่อปอล เทโอดอร์แย็นวัวสซ์ เจ้าอาวาส และผู้ช่วยจากวัดแปดริ้วมาดูแล ค.ศ. 1895 มีบันทึกไว้ว่า มีผู้แทนสัตบุรุษ จากประจันตคาม และที่ปราจีนบุรี โดยการน�ำของ ชาวบ้านที่หาดสะแก พากันเดินทางมาพบกับมิชชัน นารี ขอให้มีพระสงฆ์ไปดูแล ส่วนที่หาดสะแกเอง คุณพ่อฟรังซัวส์ โยเซฟชมิตต์ ก�ำลังสอนค�ำสอน แก่ผู้มาเรียนประมาณ 100 คน และได้โปรดศีลล้าง บาปผู้ใหญ่ 21 คน และยังมีอีกหลายคนที่สัญญาว่า จะมาเรียนค�ำสอนหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ค.ศ. 1904 มิชชันนารีจากนครนายกเดินทาง มาถึงหาดสะแก และพบว่าคริสตชนที่หาดสะแกไม่ ได้เจริญขึ้นมากนัก คงมีอยู่ราว 150 คน แต่อย่างไร ก็ตาม คริสตชนกลุ่มนี้ได้ท�ำให้ความเชื่อเผยแผ่ออก ไปถึงกลุม่ ชาวลาวทีด่ งศรีมหาโพธิและทีโ่ คกวัด ด้วย ดังที่กล่าวมาข้างต้น ค.ศ. 1910 พบในบันทึกว่า ที่หาดสะแกนี้ ไม่มีความหวังมากนัก เพราะเป็นหมู่บ้านที่ไม่เจริญ พื้นที่ท�ำนาของพวกเขาไม่มีคุณค่ามากนัก และได้ ผลผลิตน้อย โดยเฉพาะมีความเสียหายเมื่อเกิดน�้ำ ท่วม ท�ำให้ชีวิตที่นี่ล�ำบากมากขึ้น นอกจากนั้น การ ที่เขาอยู่ท่ามกลางคนต่างศาสนา มีการพบปะกัน เป็นประจ�ำ ท�ำให้ความเป็นอยู่แบบคริสตชนถูกกลืน

พอ คุณพ่อเห็นว่า สัตบุรุษที่หาดสะแกมีจ�ำนวนน้อย จึงขออนุญาตผูใ้ หญ่ทางสังฆมณฑล ยุบวัดหาดสะแก และน�ำไม้ทรี่ อื้ มาสมทบ สร้างวัดหลังใหม่ทโี่ คกวัดจน แล้วเสร็จ ส่วนทีห่ าดสะแกยังมีบา้ นของคริสตชนอยู่ และมีคุณพ่อเจ้าอาวาสที่วัดปราจีนบุรี อาทิ คุณพ่อ ยวงบอสโก ด�ำรง กู้ชาติ คุณพ่อเปาโล บุญเนือง วรศิลป์ คุณพ่อเปาโล ประเวช เตชะพิทักษ์ธรรม คุณพ่อยอแซฟ สีลม ไชยเผือก และบางครั้งมีคุณ พ่อยอห์น ปอล สุทศั น์ เภกะสุต จากวัดดงแหลมโขด ไปส่งศีลผู้สูงอายุ และประกอบพิธีกรรมในวันส�ำคัญ ๆ บางโอกาส ที่บ้านสัตบุรุษ ต่อมามี คุณพ่อหลุยส์ วาณิช คุโรวาท คุณพ่อเปโตร สุรพร สุวิชากร คุณพ่อยอแซฟ ชูชาติ ชุณหกิจ และคุณพ่อยอห์น บัปติสต์ สมศักดิ์ พรประสิทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอัคร เทวดามีคาแอล ดูแล ปัจจุบัน ชุมชนหาดสะแกอยู่ในเขตการ ปกครองของวัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี ยัง มีที่ดินเป็นของวัด 5 โฉนด รวม 396 ไร่ ให้ชาวบ้าน เช่าอาศัยและประกอบอาชีพอยู่ 7 ราย และมีสมาชิก ของชุมชน เป็นสมาชิกสภาอภิบาลวัดอัครเทวดา มีคาแอล ปราจีนบุรี เขตหาดสะแก จ�ำนวนสัตบุรุษ ในปัจจุบัน 6 ครอบครัว และมีลูกหลานจ�ำนวนหนึ่ง หากท่านอ่านเรือ่ งราวนีจ้ บแล้ว มีสงิ่ ใดทีต่ อ้ งการ เพิม่ เติม หรือมีรปู วัด-ชุมชนเก่า ๆ สามารถส่งมาทีผ่ จู้ ดั ท�ำสายใยจันท์ หรือคุณพ่อสุทัศน์ เภกะสุต

ต่อจากนั้นก็ไม่มีบันทึกในจดหมายเหตุคณะ มิสซังต่างประเทศ แต่คริสตชนที่หาดสะแกยังอยู่ ในความดูแลของพระสงฆ์จากวัดปราจีนบุรีเรื่อยมา ค.ศ. 1942 คุณพ่อเอวเยน บุญชู ระงับพิษ เป็นเจ้าอาวาส วัดโคกวัด ได้เริม่ ก่อสร้างวัดใหม่ทโี่ คก วัด โดยหาไม้จากแนวป่าดงศรีมหาโพธิ และเมือ่ ไม้ไม่ 11


ปี

บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา แห่งความรักและพระพรเพื่อกระแสเรียก

ร่วมเป็นหนึ่งเดียว...เพื่องานอภิบาลกระแสเรียกสังฆมณฑลจันทบุรี

โดย คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ กฤษฎา สุขพัฒน์

ในปลายปี ค.ศ.1934 บ้านเณรบางช้างซึง่ เป็นบ้านเณรของมิสซังไทยและมิสซังลาวในขณะนัน้ ได้ยา้ ยมา ก่อตั้งสถานที่ใหม่ ณ ศรีราชา คือ บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา ในปัจจุบัน จากวันวานจวบจนวันนี้ บ้านเณรจะ มีอายุ 84 ปีหรือครบ 7 รอบในปี ค.ศ. 2019 ตลอดระยะเวลายาวนานบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา ได้ให้การ อบรมพระสงฆ์และฆราวาสจ�ำนวนมากเพื่อรับใช้พระศาสนจักร เป็นสถาบันสร้างคน สร้างคริสตชน สร้างพระ สงฆ์ และยังถือได้ว่าเป็นบ้านเณรประจ�ำมิสซังไทยแห่งแรก ดังนั้นในโอกาสฉลอง 84 ปีของบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา จึงสมควรที่พระศาสนจักรจะได้เฉลิมฉลองโมทนาคุณพระเป็นเจ้าเพื่อร�ำลึกถึงพระพรนานัปการตลอด 84 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งเพื่อเป็นโอกาสให้คริสตชนทั้งหลายได้ร่วมกันตระหนักและมีบทบาทส่วนร่วมในพันธกิจการ อภิบาลกระแสเรียกในสังฆมณฑลจันทบุรี †† บ้านเณรมาจากภาษาลาติน SEMINARIUM อันหมายถึง โรงบ่มเพาะกระแสเรียก †† บ้านเณรยังเปรียบประดุจ ALMA MATER คือแม่ที่เลี้ยงดูและอบรมชีวิตสงฆ์ †† บ้านเณรถูกเรียกขานว่าคือ หัวใจของสังฆมณฑลและพระศาสนจักร เนื่องในโอกาสที่ปี 2019 บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา บ้านเณรเล็กของสังฆมณฑล จันทบุรี จะเฉลิมฉลอง 84 ปีหรือครบ 7 รอบ ซึ่งเป็นเวลาแห่งพระพรที่พระศาสนจักรจะได้ ขอบพระคุณพระเจ้าส�ำหรับพระพรแห่งกระแสเรียกตลอด 84 ปีทผี่ า่ นมา ได้ทำ� พันธกิจอบรม สร้างพระสงฆ์จ�ำนวน 169 องค์ ในจ�ำนวนนี้เป็นพระคาร์ดินัล 1 องค์ พระสังฆราชอีก 7 องค์ รวมถึงฆราวาสอีกราว 1,600 คนได้เป็นคริสตชนที่ดีมีคุณภาพจ�ำนวนมาก 12


พร้อมกับความชืน่ ชมขอบพระคุณพระเจ้านี้ ก็ควรเป็นช่วงเวลาเดียวกัน ที่เราควรตระหนักร่วม กันด้วยว่าสภาพสังคมปัจจุบนั ยุคสมัยทีม่ กี ารพัฒนา ด้านวัตถุและเทคโนโลยีตา่ ง ๆ ก่อให้เกิดความท้าทาย ยิ่งขึ้นในงานอบรมพระสงฆ์นักบวช ความเจริญและ สภาพแวดล้อมมีผลกระทบต่อความเชื่อศรัทธาและ วิถีชีวิตของเด็กเยาวชน ท�ำให้จ�ำนวนกระแสเรียกผู้ สมัครบวชเตรียมเป็นพระสงฆ์นกั บวชลดน้อยลง การ ฉลอง 84 ปีของบ้านเณรฯ จึงควรเป็นวาระพิเศษที่ คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรีจะได้ไตร่ตรองถึงความ จ�ำเป็นเร่งด่วนของงานอภิบาลและส่งเสริมกระแส เรียกในสังฆมณฑลจันทบุรีของเราอย่างเป็นจริงจัง โดยเฉพาะในปี 2019 ยังเป็นโอกาสแห่ง การเฉลิมฉลอง 75 ปีของมิสซังจันทบุรีและ 350 ปีของมิสซังสยามด้วย ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่ง พระพรที่เราภาคภูมิใจในความเจริญก้าวหน้าของ งานประกาศข่าวดีของพระศาสนจักรในประเทศไทย และท้องถิน่ สังฆมณฑลจันทบุรี เมือ่ กล่าวถึงการปลูก ฝังสืบสานความเชื่อศรัทธาที่ส่งต่อมาสู่เราทุกวันนี้ นอกจากบรรพชนของเราที่เข้มแข็ง แน่นอนเพราะ เรามี พระสงฆ์ นักบวช มิชชันนารีในอดีตที่ได้วาง รากฐาน อุทิศตนเป็นผู้น�ำ เป็นพยานชีวิตด้วยความ อุตสาหะและเสียสละ ดังนั้น เราหวนมองอดีตด้วย ความกตัญญูแล้ว ก็ควรมุ่งมองสู่อนาคตเพื่อเสริม สร้างกระแสเรียกพระสงฆ์นักบวชอย่างแข็งขันด้วย เพื่อพระศาสนจักรจะได้มีผู้น�ำฝ่ายจิต ผู้สืบสานงาน ของพระคริสต์ในเนือ้ นาแผ่นดินไทย เพราะในอนาคต ภายหน้า.... หากขาดพระสงฆ์ ก็ขาดบูชามิสซา ขาด ศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ ขาดผูน้ ำ� ฝ่ายจิตผูส้ บื สานภารกิจการไถ่ กูข้ องพระคริสต์ และถ้าขาดนักบวช เราก็ขาดพยาน ชีวิต ขาดผู้ประกาศข่าวดีในโลกสังคมปัจจุบัน

ดังนั้น โอกาสฉลอง 84 ปีบ้านเณรฯ จึงเป็น วาระทีพ่ ระศาสนจักรแห่งสังฆมณฑลจันทบุรตี อ้ งร่วม เป็นหนึ่งเดียวกัน อุทิศตนร่วมกันเพื่อส่งเสริมและ อภิบาลกระแสเรียก เราต้องมองไปสู่อนาคต และ เริ่มด้วยการฟื้นฟูพระศาสนจักรตั้งแต่วันนี้ โดย ตระหนักว่า 1. กระแสเรียกพระสงฆ์ นักบวชที่เรามีจ�ำนวน มากเพียงพอในขณะนี้ เป็นภาพสะท้อนถึงความ เชื่อ ความศรัทธาของชุมชนวัดในอดีต เพราะ บรรพบุรษุ ครอบครัวศรัทธา พ่อแม่ปลูกฝังอบรม ความเชือ่ อย่างเข้มแข็ง ลูกหลานจึงไปบวชกัน บางครอบครัวมีสมาชิกไปบวชเป็นพระสงฆ์ นักบวชหลายคนก็มี ดังนัน้ พืน้ ฐานของกระแส เรียกชีวติ พระสงฆ์นกั บวชมาจากครอบครัวทีด่ ี มาจากชีวิตคริสตชนที่มีความเชื่อศรัทธา ดัง ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ออกสมณ ลิขิตเตือนใจชื่อ Gaudete Et Exsultate ย�้ำ ว่าคริสตชนทุกคนล้วนมีกระแสเรียกไปสูค่ วาม ศักดิ์สิทธิ์ การเป็นคริสตชนที่ดีในโลกปัจจุบัน นี่คือเป้าหมายและกระแสเรียกพื้นฐานของ เราทุกคน 2. ท่ามกลางกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยมที่เชี่ยว กรากของโลกสังคมปัจจุบัน แต่ความรักและ พระพรของพระเจ้าไม่เคยสิ้นสุด ขอเพียงเรา หมั่นสวดภาวนาและพลีกรรมเพื่อพระกระแส เรียก สวดวอนขอต่อศีลมหาสนิท “ศีลมหา สนิทเป็นบ่อเกิดแห่งกระแสเรียก” หมัน่ ภาวนา วอนขอพระบิดาโปรดส่งคนงานมายังสวนองุน่ ของพระองค์ ขอพระองค์โปรดฟืน้ ฟูพทิ กั ษ์มวล คริสตชน ช่วยครอบครัวคริสตชนให้เป็นพระ ศาสนจักรน้อย ๆ ทีป่ ลูกฝังชีวติ ศิษย์พระคริสต์ 13


3. งานอภิบาล / ส่งเสริมกระแสเรียก ไม่ใช่ภารกิจ ของบ้านเณร หรือบ้านนักบวชต่าง ๆ เท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของคริสตชนทุกคน ที่ต้องมีส่วน ร่วมอย่างแข็งขันตามบทบาท โดยแท้จริงเรา ทุกคนต่างเป็นผู้อภิบาลกระแสเรียก เริ่มจาก พ่อแม่ในครอบครัว ครูอาจารย์อบรมสอนค�ำ สอนในโรงเรียน ชุมชนวัดหล่อเลี้ยงชีวิตความ เชื่อ กลุ่มเยาวชนฝึกฝนชีวิตพระวรสาร สภา อภิบาลมีวิธีการ และแผนงานที่เป็นรูปธรรม ในวัดของตน พระสงฆ์ นักบวช เป็นพยานชีวติ ที่เด่นชัด ฯลฯ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนใน สังฆมณฑลจันทบุรี ทั้งวัด บ้าน โรงเรียน องค์กร คาทอลิก บ้านอบรม นักบวชทุกคณะ ร่วมเป็นหนึ่ง เดียวกันในวาระพิเศษนี้ เพือ่ พันธกิจงานอภิบาลและ ส่งเสริมกระแสเรียกจะได้สบื สานต่อไป ในท่ามกลาง ความท้าทายมากมาย เพือ่ เราจะมีพระกระแสเรียกใน อนาคต และมีกระบวนการอบรมสร้างพระสงฆ์และ นักบวชที่เหมาะสม สามารถเป็นพระพรและความ ชื่นชมยินดีส�ำหรับโลกสังคมปัจจุบันศตวรรษที่ 21 ที่มีความซับซ้อนผันแปรมากมาย

14

กิจกรรมส�ำคัญ โอกาส 84 ปีบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา 1. เชิญชวนสัตบุรษุ ทุกวัด สวดภาวนาเพือ่ กระแสเรียก ทุกวันอาทิตย์(ตัง้ แต่วนั ฉลองพระคริสตกษัตริย์ 25 พ.ย. 2018 ถึง วันฉลองบ้านเณร) 2. การพบปะ การตั้งกลุ่ม การเยี่ยมเยียนศิษย์ เก่าบ้านเณรฯ /และมุง่ พัฒนาเสริมสร้างศิษย์ เก่าฯ ให้มสี ว่ นร่วมพันธกิจในเขตวัด สังฆมณฑล พระศาสนจักร 3. การรณรงค์สนับสนุนบ้านเณร กองทุนบ้านเณร โดยการบริจาค หรือโดยการสนับสนุนสลาก การกุศลโอกาส 84 ปีบา้ นเณรฯ จ�ำหน่ายตาม วัด โรงเรียนและองค์กรต่าง ๆ 4. ร่วมกับคณะนักบวชต่าง ๆ จัดงานวันชุมนุม กระแสเรียกสังฆมณฑลจันทบุรี ส�ำหรับเด็ก และเยาวชนและผูอ้ ภิบาลกระแสเรียก ระดับ สังฆมณฑล (วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา) 5. วันฉลองบ้านเณรโอกาสเฉลิมฉลอง 84 ปี (วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2019) และงาน ชุมนุมศิษย์เก่าบ้านเณรทุกรุ่น (ในวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2019)


ด น ต รี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์

โดย คุณพ่อธีรพงษ์ ก้านพิกุล แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ สังฆมณฑลจันทบุรี

เพลงศาสนาหรือดนตรีศาสนา (CHURCH MUSIC หรือ SACRED MUSIC) ทีม่ สี ว่ นร่วมในคริสต ศาสนาเรือ่ ยมา มีกระบวนการพัฒนาต่อเนือ่ ง ก้าวหน้า ทั้งแนวทางเพลง เนื้อหาที่ยังคงเอกลักษณ์ทางศาสนา ชัดเจน จากการร�ำพึงภาวนา จากพระคัมภีร์ จากข้อคิด ของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ ที่น�ำมาเรียบเรียงและประพันธ์ ส่งเสริมให้มกี ารปฏิวตั งิ านดนตรีในโลกเป็นเวลายาวนาน กว่า 7 ศตวรรษ เพลงศาสนามีเอกลักษณทีต่ รงข้ามกับ เพลงทางโลก เพลงชาวโลกหรือดนตรีบา้ น (SECULAR MUSIC) ดนตรีศาสนาขับร้องหรือบรรเลงในโบสถ์ มี ทั้งการขับร้องเดี่ยว ประสานเสียง อาจประกอบด้วย เสียงดนตรี หรือไม่มีเครื่องดนตรีก็ได้ ฉบับนี้ มาท�ำความรู้จักแนวเพลง HYMN แบบย่อ ๆ กันครับ HYMN เพลงสวด (จากภาษากรีก:เพลง สรรเสริญ) คือ เพลงสวดเกี่ยวกับเรื่องศาสนา มี ลักษณะเป็นบทกลอน ใช้ในพิธกี รรมทางศาสนาและ มีการค้นพบลักษณะเพลงที่คล้ายกัน ในอารยธรรม โลกยุคโบราณ ตัวอย่างเช่น เพลงสวดของชาวสุเม เรียนโบราณและชาวกรีซ มาถึงเพลงสวดของผู้ที่เชื่อในพระยาเวห์เริ่ม ต้นขึ้นจากโตราห์ ที่ชาวฮีบรูใช้ในพระวิหาร อย่างไร ก็ตาม เพลงสวดได้มกี ารพัฒนาอย่างเป็นระบบหลังจาก ที่จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้รับศาสนาคริสต์เข้ามา ในจักรวรรดิ(AD.313) และเพลงสวดได้มคี วามเจริญ รุง่ เรืองทีส่ ดุ ในซีเรีย ท่านนักบุญเอแฟรม ชาวเมโสโป เตเมีย ในศตวรรษที่ 4 ได้ชอื่ ว่า “บิดาแห่งเพลงสวด”

เกิดการปฏิรปู ในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 จาก สภาพของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการแพร่ ขยายของพระศาสนจักร ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ได้มกี ารให้ความสนใจ ฟืน้ ฟูและพัฒนาเพลงสวด ในนิกายโรมันคาทอลิกสวด ในช่วงปลายยุค 60 เกิด แรงบันดาลใจในการแต่งเพลงทีไ่ ม่ใช่เนือ้ หาของการ สวดภาวนาแต่ใช้แนวเพลงแบบเพลงสวด และสรุปเป็นข้อความสั้น ๆ ที่เกี่ยวกับเพลง ศาสนาในแนวเพลงแบบต่าง ๆ ดังนี้ PASSION คิดถึงพระมหาทรมานขององค์พระเยซู และเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับพระทรมาน REQUIEM เพลงสวดที่ชี้ให้เห็นความตาย การ พิพากษา การด�ำเนินชีวิตในโลกเพื่อมุ่งสู่ชีวิตหลัง ความตาย ร้องในโบสถ์โอกาสพิธีศพ MASS คือบทร้องในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นการ ร้องแบบประสานเสียง เริม่ เดิมทีไม่มดี นตรีประกอบ ต่อมาพัฒนาและเริ่มใช้ในศตวรรษที่ 17 ORATORIO เพลงสวดที่เอาเนื้อร้องจากหนังสือ พระคัมภีร์ มีทั้งการขับร้องเพียงคนเดียว ขับร้อง เป็นหมู่ หรือมีวงดนตรี มีเสียงดนตรีประกอบ CANTATA เป็นเพลงร้องสั้น ๆ เนื้อร้องเกี่ยวกับ ศาสนา ซึง่ สามารถร้องในโบสถ์ หรือใช้รอ้ งตามบ้าน ในเทศกาลต่าง ๆ ของปีพิธีกรรมได้ CHORALE เพลงขับร้องเป็นเสียงเดียวกัน เช่น เพลงในบทสวดท�ำวัตร MOTET เป็นการร้องเพลงทางศาสนา การร้อง ไม่มีดนตรีคลอ ส่วนมากขับร้องเป็นภาษาลาติน 15


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม

โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

เหล้าองุ่นที่ใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณ ประมวลกฎหมายบรรพที่ 4 ที่ว่าด้วยการท�ำให้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร ข้อที่ 924 วรรค 1 มีเขียนไว้ว่า “ต้องถวายบูชาศีลมหาสนิท อันศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง โดยใช้ขนมปัง และเหล้าองุ่น ซึ่งผสมกับน�้ำเล็กน้อย” พี่น้องที่รัก สายใยจันท์ฉบับนี้พ่ออยากเสนอเรื่องราวซึ่งเป็นรายละเอียดที่มี ความส�ำคัญอย่างยิ่ง ในพิธีบูชาขอบพระคุณที่บรรดาผู้จัดพิธีกรรมและคริสตชนถาม อยู่เสมอคือเรื่องของ “เหล้าองุ่น” ที่ใช้ในพิธีกรรม เหล้าองุ่นในการถวายบูชาตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก “ปังและเหล้าองุ่น” เป็นเครื่องหมายส�ำคัญของศีลบูชาขอบพระคุณ ซึ่ง พระคริสตเจ้าทรงตั้งขึ้น เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการมอบพระกายถวายชีวิตเพื่อ บูชาชดเชยบาปของเรา และทรงเปลีย่ นให้เป็นพระกายและพระโลหิตเพือ่ เป็นอาหาร เลี้ยงชีวิตเรา จึงเห็นได้ว่าการใช้ปังและเหล้าองุ่นเพื่อถวายบูชาในพิธีกรรมของพระ ศาสนจักรนัน้ สืบทอดตามธรรมเนียมของชาวยิว ซึง่ พระเยซูเจ้าทรงมอบเครือ่ งหมาย นี้ให้เป็นธรรมเนียมประเพณีในพระศาสนจักรของพระองค์ มีค�ำถามว่า “เราจะเลือกใช้เหล้าองุ่นชนิดไหน? มีคุณสมบัติอย่างไร? หรือจะน�ำเหล้าอื่นมาใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณ? ได้หรือไม่” พ่อจึงอยากบอกเล่า ให้พี่น้องได้รับทราบ 16


คุณสมบัติเหล้าองุ่นที่เราใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณ 1. ต้องเป็นเหล้าองุ่นท�ำจากผลองุ่น (เทียบ ลก 22 : 18) ตามธรรมชาติ บริสุทธิ์ ไม่เสื่อมคุณภาพและไม่มีสิ่งอื่นใดเจือปน ในพิธีบูชาขอบพระคุณจะต้องผสม กับน�้ำเล็กน้อยด้วย RS 50 / IGMR 322 ซึ่งกระบวนการการผลิตเหล้าองุ่นในอดีต จนถึงปัจจุบันนั้นต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากพระศาสนจักร กรณีต้องปรุง แต่ง : ยกตัวอย่างของพระศาสนจักรในประเทศสหรัฐอเมริกา เพือ่ เป็นการรักษาสภาพ ธรรมชาติทดี่ ขี องเหล้าองุน่ และเพือ่ การเก็บรักษาในระยะเวลายาวนาน ไม่ทำ� ให้บดู เสีย จะมีการเติมสารบางอย่าง แต่จะเติมในปริมาณน้อยทีส่ ดุ และต้องได้รบั การตรวจสอบ และรับรองจากสันตะส�ำนัก ในกระบวนการผลิตผู้ผลิตต้องเข้าใจและเอาใจใส่เคารพต่อความรับผิดชอบ ที่ยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวข้องในการเฉลิมฉลองอันศักดิ์สิทธิ์ 2. ต้องเอาใจใส่เก็บรักษาเหล้าองุน่ ส�ำหรับใช้ในพิธบี ชู าขอบพระคุณไว้ให้อยูใ่ น สภาพสมบูรณ์ นั่นคือระวังอย่าให้เหล้าองุ่นบูดเสีย เปลี่ยนรส (RS 50 / IGMR323) ห้ามเด็ดขาดไม่ให้ใช้เหล้าองุ่นที่ไม่แน่ใจว่าท�ำมาจากไหนหรือเป็นเหล้าองุ่น แท้หรือไม่ ธรรมเนียมปฏิบัติของพระศาสนจักรเรียกร้องให้มีความแน่ใจเรื่องสภาพที่ จ�ำเป็นส�ำหรับความไม่เป็นโมฆะของศีลศักดิ์สิทธิ์ พระศาสนจักรยังไม่ยอมให้อ้างเหตุ ใด ๆ เพื่อจะใช้เครื่องดื่มชนิดอื่นใด (จากผลไม้อื่น) แม้ว่าจะไม่ใช่สสารที่ไม่เป็นโมฆะ 3. เหล้าองุน่ ขาวหรือแดง ไม่มขี อ้ ก�ำหนดพิเศษในกฎหมายว่าเหล้าองุน่ จะเป็น องุ่นแดงหรือขาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่การเลือกใช้ของพระศาสนจักรแต่ละท้องถิ่น ข้อสังเกต : หากเราเลือกเหล้าองุน่ แดงก็จะมีผลต่อการใช้ผา้ ท�ำความสะอาด กาลิกส์ เพราะสีขององุ่นแดงจะท�ำให้ผ้าเลอะง่ายกว่าองุ่นขาว 4. ปริมาณแอลกอฮอล์ ตามกฎหมายของพระศาสนจักรปี 1983 ก�ำหนดให้ ใช้เหล้าองุ่นที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการผลิตเหล้าองุ่นเพื่อ การค้าโดยทั่วไปอยู่ที่ปริมาณ 8-16 แอลกอฮอล์เปอร์เซ็นต์ กรณีพิเศษ : ส�ำหรับศาสนบริกรผู้มีอาการแพ้แอลกอฮอล์อาจใช้น�้ำองุ่น (mustum) ซึ่งมีค่าแอลกอฮอล์ต�่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์หรือปราศจากแอลกอฮอล์ โดย การอนุญาตจากพระสังฆราชท้องถิ่นเป็นกรณีไป พีน่ อ้ งจะเห็นได้วา่ พระศาสนจักรเอาใจใส่ตอ่ การเลือกองค์ประกอบทีม่ คี ณ ุ ภาพ มาใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณ ในที่นี้คือเหล้าองุ่น ยิ่งคุณภาพดีเท่าไรก็ยิ่งเหมาะสมกับ การถูกเลือกเพื่อมาเป็นพระโลหิตของพระคริสตเจ้า เหมาะสมต่อความศักดิ์สิทธิ์ของ การประกอบพิธีกรรม ทั้งนี้เพื่อให้การประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าท่ามกลางเรา นั้นเป็นที่เหมาะสมที่สุดครับ พบกันใหม่ฉบับหน้า RS = Redemptionis Sacramentum (ค�ำแนะน�ำในบางเรื่องที่ต้องปฏิบัติหรือต้องหลีกเลี่ยงเกี่ยวกับพิธีบูชาขอบพระคุณ) IGMR = Institutio Generalis Missalis Romani (กฎทั่วไปส�ำหรับมิสซาตามจารีตโรมัน)

17


ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

“การทำ�งานด้านสังคม สังฆมณฑลจันทบุรี” สวัสดีครับพี่น้องที่รัก สายใยจันท์ 2 ฉบับที่ ผ่านมา พ่อได้น�ำเสนอเรื่องราวของการท�ำงานด้าน สังคมระดับชาติ ซึง่ ต้องการบ่งบอกว่าพระศาสนจักร เอาใจใส่ต่อพระบัญชาของพระเยซูเจ้าในพันธกิจรัก และรับใช้ “...พระจิตของพระเจ้าทรงสถิตเหนือ ข้าพเจ้า พระองค์ทรงใช้ขา้ พเจ้าไปประกาศข่าวดี แก่คนยากจน พระองค์ทรงใช้ขา้ พเจ้ามาแจ้งข่าว คราวความรอดแก่บรรดาเชลย ช่วยคนตาบอดให้ แลเห็น ให้ผู้ถูกกดขี่ได้รับอิสรภาพและประกาศ ปีแห่งพระเมตตาของพระเจ้า” (ลก 4 : 18-19) ในฉบับนี้ พ่ออยากจะเล่าเรื่องราวงาน สังคมในสังฆมณฑลจันทบุรี เพื่อพี่น้องจะได้ทราบ ถึงประวัติศาสตร์และการท�ำงานด้านสังคมจากอดีต จนถึงปัจจุบนั พ่อต้องขอเท้าความว่าในปี ค.ศ. 2015 สังฆมณฑลจันทบุรเี พิง่ ท�ำการเฉลิมฉลองการท�ำงาน ด้านสังคมของศูนย์สังคมพัฒนาฯ ครบรอบ 40 ปี อันเป็นเครื่องหมายว่า สังฆมณฑลของเราสืบสาน พันธกิจรักและรับใช้มายาวนาน

18

ก่ อ นอื่ น ขอกล่ า วถึ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ข อง สังฆมณฑลสักนิด จากการที่มิสซังจันทบุรีได้แยกตัว จากมิสซังกรุงเทพฯ ในปี ค.ศ. 1944 งานอภิบาลของ มิสซังจันทบุรีได้เริม่ ต้นโดยการน�ำของพระสังฆราช ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง (พระสังฆราชไทยองค์แรก) และสมัยต่อมาพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี มิสซังจันทบุรีได้รับการสถาปนาเป็น สังฆมณฑลในปี ค.ศ. 1965 งานอภิบาลด้านสังคมในสังฆมณฑลจันทบุรี ได้เริม่ ต้นชัดเจนในปี ค.ศ. 1957 ในช่วงระยะเวลานัน้ บทบาทด้านงานสังคมเน้นในเรือ่ งการสงเคราะห์และ พัฒนาช่วยเหลือคนยากไร้ ยากจน งานด้านสังคม ด�ำเนินงานโดยคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดแต่ละวัด โดย คุณพ่อที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ ในเขตจังหวัด ปราจีนบุรีและสระแก้ว (คุณพ่อสร้อย เจริญนารถ คุณพ่อซาอูล ธรรมธาดา คุณพ่อสุเทพ นามวงศ์ คุณพ่อหลุยส์ เฮโม คุณพ่อญาณี คุณพ่อวิวัฒน์ สมานจิต)


สภาพการณ์ทางสังคมและพระศาสนจักร • ปัญหาภัยแล้งทางภาคอีสาน • ปัญหาการประกอบอาชีพระดับวัด • ปัญหาทางการเมืองระดับชาติ – ท้องถิ่น • ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานของคริสตชนและพี่น้องทางภาคอีสาน • ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบด้านการประกอบอาชีพจากนายทุน • ปัญหาอิทธิพลนักการเมืองและภัยคอมมิวนิสต์ • แนวคิดจากแผนพัฒนาระดับชาติ ฉบับที่ 1 • คณะกรรมการสังคมสงเคราะห์ระดับชาติ (พ.ศ. 2511) • การจัดตั้งสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (พ.ศ. 2516) • ฯลฯ กลุ่มเป้าหมาย • คริสตชนที่มีปัญหาเรื่องการประกอบอาชีพตามวัด • คริสตชนที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหาที่ท�ำกินใหม่ ในจังหวัดปราจีนบุรี เขตอ�ำเภอสระแก้ว (จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน) • พี่น้องที่ยากจนในหมู่บ้าน กิจกรรม • สร้างวัดน้อยส�ำหรับคริสตชนที่อพยพ • จัดหาที่ท�ำกินให้คริสตชนตามวัด (เขตจังหวัดสระแก้ว) • สนับสนุนเงินทุนการประกอบอาชีพตามวัด • สนับสนุนเครื่องมือการประกอบอาชีพตามวัด • จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเพื่อการประกอบอาชีพ เขตเขาฉกรรจ์ • งานสงเคราะห์ตามวัด • งานออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน ตามวัด • ฯลฯ งบประมาณ • จากสังฆมณฑลจันทบุรี • จากวัดและผู้มีจิตศรัทธา • จากเงินทุนภายนอกประเทศ 19


นักบุญยอแซฟและพระแม่มารีย์ แบบอย่างพระศาสนจักรภายในบ้าน

โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ธรรมนูญด้านพระธรรมว่าด้วยพระศาสนจักร ‘Lumen Gentium’ ข้อที่ 11 กล่าวว่า “ครอบครัวเป็นดังพระศาสนจักรภายในบ้านเรือน เพราะ ว่าบิดามารดาต้องเป็นคนแรกที่ประกาศสอนความเชื่อให้แก่ลูก ๆ ของตน ด้วยวาจาและด้วยแบบอย่าง บิดามารดาจ�ำต้องสนับสนุนกระแสเรียก เฉพาะของลูกแต่ละคน เฉพาะอย่างยิง่ ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อกระแส เรียกอันศักดิ์สิทธิ์”1 ค�ำสอนของพระศาสนจักรได้เรียกร้องให้ครอบครัวคาทอลิกต้อง “เป็นศูนย์กลางแห่งความเชื่อ ความรักและความหวัง และเป็นสถานที่ เรียนรูก้ ารประกาศข่าวดีใหม่ของพระศาสนจักร”2 และครอบครัวจะต้อง เป็น “โรงเรียนแห่งแรกของชีวิตคริสตชน และเป็นโรงเรียนของการ ฝึกความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด”3 ในการสวดพรหมถือสารวันอาทิตย์ของพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2007 ท่านได้กล่าวว่า “ครอบครัวคริสตชนทุกครอบครัวถูกเรียกให้เป็นพระ ศาสนจักรภายในบ้าน ความรักของสามีและภรรยา เป็นกระจกสะท้อนให้เห็นถึงความรักของพระเยซูเจ้า ที่มีต่อพระศาสนจักรของพระองค์”4 ดังนั้น ครอบครัวคริสตชนหรือครอบครัวแห่ง ความเชือ่ นี้ จ�ำเป็นจะต้องเรียนรูจ้ ากตัวอย่างของครอบครัว ศักดิส์ ทิ ธิ์ พระเยซูเจ้า“ทรงบังเกิดและเจริญเติบโต ใน อ้อมอกของครอบครัวศักดิส์ ทิ ธิข์ องนักบุญยอแซฟ และพระนางมารีอา”5 1 ธรรมนูญด้านพระธรรมกล่าวถึงพระศาสนจักร Lumen Gentium ข้อที่ 11 2 ค�ำสอนพระศาสนจักรข้อ 1656 3 ค�ำสอนพระศาสนจักรข้อ 1657 4 https://www.osv.com/OSVNewsweekly/Story/TabId/2672/ArtMID/13567/ArticleID/10312/ What-Catholics-need-to-know-about-making-their-homes-a-domestic-church.aspx 5 ค�ำสอนพระศาสนจักรข้อ 1655

20


ส�ำหรับพระแม่มารีอา หนังสือ ความศรัทธา ภักดีต่อพระนางมารีอา โดยนักบุญหลุยส์ มารี กรี ญอง เดอ มงฟอร์ต ได้กล่าวว่า “พระเจ้าทรงความ ดีครบบริบูรณ์ ไม่ต้องพึ่งผู้ใดหรือสิ่งใดทั้งสิ้น จึง ไม่ต้องพึ่งพระแม่มารีย์ในการให้น�้ำพระทัยของ พระองค์สมั ฤทธิผ์ ลและในการแสดงพระสิรมิ งคล ของพระองค์ให้ประจักษ์ แต่พระองค์ทรงพอ พระทัยให้พระกรณียกิจของพระองค์เริ่มต้นและ จบลงโดยอาศัยพระนางพรหมจาริณี พระบิดาทรง โปรดประทานพระเอกบุตรแก่มนุษย์โลกโดยทาง พระนางมารีอา เนื่องด้วยฤทธิ์ค�ำภาวนาและคุณ ความดีสูงสุดของพระมารดานั่นเอง”6 เพราะการท�ำตามน�้ำพระทัยของพระเจ้า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รบั ใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับ ข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด”(ลก 1:38) พระแม่ มารีย์จึงได้รับการเลือกให้เป็นมารดาและพระคริสต เจ้าทรงถวายสิริมงคลแด่พระบิดาเจ้า โดยนบนอบ ต่อพระมารดาเป็นเวลา 30 ปี7 ส�ำหรับนักบุญยอแซฟ ผู้เป็นแบบอย่างของ ความดี จากบันทึกของพระวรสาร “พระนางมารีย์ หมั้นกับโยเซฟแต่ก่อนที่ท่านทั้งสองจะครองชีวิต ร่วมกัน ปรากฏว่าพระนางตัง้ ครรภ์แล้วเดชะพระ จิตเจ้า” (มธ 1:18) “โยเซฟคูห่ มัน้ ของพระนางเป็น ผูช้ อบธรรมไม่ตอ้ งการฟ้องหย่าพระนางอย่างเปิด เผย จึงคิดถอนหมั้นอย่างเงียบ ๆ” (มธ 1:19)

นักบุญยอแซฟ เมือ่ ทราบข่าวคูห่ มัน้ ของท่าน ท่านไม่เอะอะโวยวาย ป่าวประจานคู่หมั้นตนเอง ไม่ ใช้ค�ำว่า เราไปด้วยกันไม่ได้ ไม่ท�ำร้ายพระแม่มารีย์ เพราะตามกฎของชาวยิว ผู้ที่ตั้งครรภ์ก่อนแต่งงาน หรือเป็นชู้ต้องถูกท�ำโทษถึงชีวิต (ลนต 20:10; ฉธบ 22:22) ตรงข้ามท่านนักบุญยอแซฟคิดเงียบ ๆ จะ ท�ำแบบเงียบ ๆ เพื่อถนอมน�้ำใจพระแม่พระมารีย์ ไม่ท�ำร้ายใคร ทัง้ พระนางมารียแ์ ละนักบุญยอแซฟ เป็นผูม้ ี ความสุภาพต่อหน้าพระเป็นเจ้า เป็นผู้มีคุณธรรมต่อ หน้าสังคมรอบข้าง จึงเหมาะที่พระเจ้าจะให้นักบุญ ยอแซฟและพระแม่มารีย์เป็นผู้ดูแลพระเยซูเจ้าใน ความเป็นมนุษย์แท้ของพระองค์ คริสตชน จงเลียนแบบการเป็นคนดี มี คุณธรรมและความสุภาพของนักบุญยอแซฟและ พระนางมารีย์ เพื่อจะท�ำให้บ้านของเราคือสถานที่ ซึ่งลูก ๆ ได้รับการประกาศความเชื่อเป็นแห่งแรก ด้วยเหตุนี้ บ้านทีเ่ ป็นครอบครัวแห่งความเชือ่ จึงสมควรได้รบั ชือ่ ว่า “พระศาสนจักรภายในบ้าน” ชุมชนที่มีพระหรรษทาน การสวดอธิษฐาน โรงเรียน แห่งคุณธรรมของมนุษย์และความรักแบบคริสตชน8

6 ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีอา โดยนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ข้อ 14-16 7 ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีอา โดยนักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ข้อ 18 8 ค�ำสอนพระศาสนจักร ข้อ 1666

21


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โดย ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี การประกาศความเป็นโมฆะ ของการแต่งงาน ก็คือ “การหย่าร้าง” สไตล์คาทอลิก ใช่หรือไม่? การพูดเช่นนีอ้ าจเป็นเหมือน “เล่นแง่” ท�ำให้ เข้าใจ “ก�ำกวม” เสียมากกว่า ความเข้าใจผิดของ คนจ�ำนวนมากอยู่ที่ค�ำ “ท�ำให้เป็นโมฆะ” คือ ไป เข้าใจว่า การแต่งงานเขาดีๆ อยู่แล้ว เราก็ไปสอด ท�ำให้เขาเลิกกัน แล้วอ้างว่าเป็นโมฆะ แต่ทจี่ ริงน่าจะ เข้าใจให้ถกู ต้องจากค�ำเต็มๆ เราใช้คำ� ว่า “การทีพ่ ระ ศาสนจักรประกาศว่าการแต่งงานนัน้ แท้จริงไม่ใช่ การแต่งงานที่ถูกต้องเป็นโมฆะตั้งแต่แรก” หรือ อาจพูดได้วา่ “เป็นการตัดสินของพระศาสนจักรว่า สิ่งที่ดูเหมือนว่าเป็นการแต่งงาน อันที่จริงไม่เคย มีการแต่งงานจริงๆ เกิดขึน้ ” เพราะพระศาสนจักร มีอ�ำนาจที่จะกระท�ำเช่นนั้น การเป็นโมฆะจึงไม่ใช่ เป็นการหย่าร้าง เพราะไม่ได้ยกเลิกพันธะที่เป็นการ แต่งงานจริง การประกาศโมฆะ จะท�ำได้ต่อเมื่อ มี เหตุผลชัดว่าสาระส�ำคัญของการแต่งงานที่แท้จริง นัน้ ขาดหายไป หรือถูกขัดขวางโดยกฎหมายของพระ ศาสนจักร ซึง่ ถ้าเป็นเช่นนีก้ จ็ ะท�ำให้การแต่งงานเป็น โมฆะตั้งแต่เริ่ม แม้ว่าจะปรากฏออกมาภายนอกว่า 22

เป็นการแต่งงาน หรือแม้ว่าทั้งคู่มีน�้ำใจดีมากๆ ที่จะ สร้างครอบครัวก็ตาม อย่างไรก็ดี ต้องชีแ้ จงให้เข้าใจ ว่า การประกาศโมฆะของพระศาสนจักรไม่มีผล ทางกฎหมายบ้านเมืองต่อลูกๆ ที่เกิดมาจากการ แต่งงานนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมามีปัจจัยมากมายที่พระ ศาสนจักรน�ำเข้ามาผนวกเพื่อพิจารณาในเรื่องการ เป็นโมฆะนี้ ประการแรกและถือว่าส�ำคัญที่สุด คือ แนวคิดที่สังคายนาวาติกัน ครั้งที่2 เสนอให้มีการ พัฒนาเรือ่ งเทววิทยาของการแต่งงาน โดยเน้นให้รอื้ ฟืน้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะเป็นคู่ชีวิตกัน ประการที่สอง ความก้าวหน้าในเรื่องเกี่ยว กับจิตวิทยาในปัจจุบัน ก่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้ง ถึงความสลับซับซ้อนของการตัดสินใจของมนุษย์และ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนั้น พระศาสนจักร จึงน�ำเอาวิชาความรูน้ มี้ าใช้อย่างมากในการตีคณ ุ ค่า ของการแต่งงาน และเห็นว่า การแต่งงาน เป็นการ ตัดสินใจที่ส�ำคัญที่สุดของคนที่เลือกชีวิตทางนี้ และ การแต่งงานยังเป็นการชิดสนิทกันมากทีส่ ดุ ของความ สัมพันธ์ของบุคคลที่มีความเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องมอบให้ แก่กันและกัน


สังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนความเข้าใจของพระศาสนจักร ในเรื่องที่เกี่ยวกับการแต่งงานใช่หรือไม่? ใช่! เป็นการเปลีย่ น เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจลึก ซึง้ ยิง่ ขึน้ การแต่งงานเป็นการท�ำสัญญา (a contract) ทีช่ ายและหญิงให้คำ� มัน่ ต่อกันว่าจะอยูด่ ว้ ยกันตลอด ไปและเป็นแบบผูกขาด โดยการให้สทิ ธิและหน้าทีต่ อ่ กันในเรื่องเพศสัมพันธ์ และยังเน้นว่าจุดหมายของ การแต่งงานคือการให้กำ� เนิดและเลีย้ งดูลกู ๆ ส่วนจุด หมายรองลงไปถึงเป็นเรือ่ งความรักใคร่ชอบพอและ เกื้อกูลกันระหว่างคู่ชีวิต ยังสอนอีกว่า การแต่งงาน ระหว่างผูร้ บั ศีลล้างบาปทัง้ 2 คน (ไม่วา่ คาทอลิกหรือ โปรแตสแตนท์) ถือเป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละถือว่ามีพนั ธะ ทางธรรมชาติเรื่อยไป (natural bond) ในพระธรรมนูญว่าด้วยเรือ่ งพระศาสนจักรใน โลกปัจจุบนั ได้ให้คำ� จ�ำกัดความใหม่เรือ่ งการแต่งงาน โดยไม่เน้นว่าอะไรเป็นจุดหมายแรกหรือจุดหมายรอง แม้บรรดาปิตาจารย์ของสังคายนาฯ จะยืนยันว่า การ แต่งงานยังมีจดุ ประสงค์เพือ่ ให้กำ� เนิดและเลีย้ งดูลกู เพราะลูกเป็นพระพรสูงสุดจากพระเจ้า แต่ก็ยังเน้น ว่า “จุดหมายอื่นๆ ของการแต่งงานก็มิได้ด้อยค่า ลงไป” โดยกล่าวว่า “การแต่งงานเป็นการใช้ชีวิต ร่วมกัน และยังคงไว้ซงึ่ ค่านิยมของการหย่าร้างกัน ไม่ได้ แม้ว่าจะไม่มีลูกสืบสกุล”

โดยหลักการแล้ว สังคายนาได้หนั กลับไปหา แนวคิดทางพระคัมภีร์ที่ถือว่าการแต่งงานเป็นเรื่อง ของ “พันธสัญญา” (Covenant) คือเป็นการอุทิศ ตัวของบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย (Interpersonal commitment) ที่มีพื้นฐานอยู่บนความไว้วางใจต่อกัน การ มอบตัวเองให้กนั และความรักทีเ่ สียสละ (sacrifificing love) โดยนัยของพันธสัญญานี้ คู่ชีวิต “จะต้องให้ และรับความช่วยเหลือ การบริการต่อกันและกัน โดยผ่านทางความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างใกล้ชิด ทัง้ ในความเป็นบุคคลและในกิจการของเขาด้วย” กฎหมายพระศาสนจักรฉบับปัจจุบัน ยืนยัน อีกครัง้ ว่า เรือ่ งความสัมพันธ์ระหว่างคูแ่ ต่งงาน เป็น เรื่องที่ส�ำคัญ เป็นเรื่องพื้นฐานที่จะต้องมี และการ เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสนิทแนบแน่นจะแสดงออก มาอย่างพิเศษและเจาะจงในการใช้ชีวิตร่วมกัน คือ มีความเป็นหนึง่ เดียวกันทัง้ ทางด้านกายภาพ อารมณ์ สติปัญญาและจิตใจ ทิง้ ท้ายฉบับนี้ พ่อขอสรุปว่า ศาลพระศาสนจักร คาทอลิก มิได้มหี น้าทีท่ ำ� ให้การหย่าร้างกันไปเป็นสิง่ ที่ ถูกต้องนะครับ แต่ศาลพระศาสนจักรมีหน้าทีป่ ระกาศ ว่าการแต่งงานทีเ่ คยเกิดขึน้ นัน้ อาจเป็นโมฆะได้ ตาม หลักการค�ำสั่งสอนที่พระศาสนจักรได้ตั้งไว้ นั่นเอง

การเน้นเรื่องความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต เป็นเรื่องใหม่ใช่หรือไม่?

เรียบเรียงจากบทความของ คุณพ่อยอแซฟ วิชา หิรัญญการ

บรรดาปิตาจารย์ได้รอื้ ฟืน้ ค�ำสัง่ สอนของนัก เทววิทยาสมัยกลาง เช่น นักบุญโบนาเวนตูรา และ นักบุญโธมัส อไควนัส ซึง่ สอนว่า สัมพันธภาพระหว่าง คู่ชีวิตท�ำให้จุดหมายดั้งเดิมของการแต่งงานมีความ มั่นคงขึ้น นั่นก็คือ ลูกๆ ความซื่อสัตย์ และการอยู่ ร่วมกันตลอดไป

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่านครับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 23


ผู้รับใช้ต�่ำต้อย “พระองค์ทอดพระเนตรผู้รับใช้ต�่ำต้อยของพระองค์” (ลูกา 1:48) มีบางคนถามข้าพเจ้าว่า ท�ำไมข้าพเจ้าจึงชอบตอกย�้ำตัวเองว่าต�่ำต้อย ท�ำไมต้องท�ำให้คุณค่าของตนเองลดลงด้วยค�ำว่าต�่ำต้อย ข้าพเจ้าตอบว่า จริงๆแล้วสัญชาตญาณของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครอยากถูกมอง หรืออยากเป็นผู้ต�่ำต้อยด้อยค่าหรอก ข้าพเจ้าเองก็ยังต้องการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างเช่นกัน ดังนั้น เราทุกคนจึงพยายามผลักดันตนเองทุกวิถีทาง ให้ได้รับการยอมรับ ได้รับการเชิดชูจากคนรอบข้าง การผลักดันตนเองจึงเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์โดยปกติ จนบางครั้งเราก็ถูกความทะเยอทะยาน อวดดี จองหอง ที่แฝงมากับความพยายามผลักดันตนเองนี่แหละ เข้าครอบง�ำจิตใจไปด้วยจนกลายเป็นเผลอ ลืมตัว ดูถูกคนอื่นไปเสีย และหลายครั้งเราเองนี่แหละที่ท�ำร้ายคนอื่นเพื่อผลักดันตนเองขึ้นมา

24


ข้าพเจ้าเคยสัมผัสถึงสายตาดูถูกดูแคลน ค�ำพูด และการกระท�ำที่พยายามกดเราให้ต�่ำลงไปเรื่อยๆ ประสบการณ์เหล่านี้สอนข้าพเจ้าว่าข้าพเจ้าต้องไม่ท�ำเช่นนั้นกับใคร ดังนั้น ก่อนอื่นข้าพเจ้าจึงต้องฝึกฝนตนเอง ให้รู้จักมีใจนบนอบ สุภาพมากพอที่จะยกย่องคนที่ต�่ำต้อยกว่าเรา เหมือนที่แม่พระมีใจสุภาพนบนอบ รักและรับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ มันไม่ง่ายเลยที่จะท�ำเช่นนั้น และข้าพเจ้าเองก็ยังต้องฝึกฝนอยู่ทุกวัน และคงต้องฝึกฝนไปตลอดชีวิต เพราะความอ่อนแอในความเป็นมนุษย์ของข้าพเจ้านั้นยังมีมากนัก อย่างไรก็ตาม “ไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้าทรงกระท�ำไม่ได้” แม้แต่การเปลี่ยนจิตใจของข้าพเจ้าก็ตาม

“วิญญาณข้าพเจ้าประกาศความยิ่งใหญ่ขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (ลูกา 1:46) จิตวิญญาณ ข้าฯเอ๋ย จงก้มกราบ ศิโรราบ กราบองค์ พระทรงศรี ขอน้อมกาย ถวายใจ ให้ชีวี ข้าฯรับใช้ ต�่ำต้อยนี้ พลีชีวัน โปรดทรงน�ำ ทางข้าฯ คราล้าอ่อน โปรดตีสอน ยามข้าฯหลง ดงสีสัน ให้ข้าฯพร้อม ยอมมอบกาย ถวายชีวัน รัก รับใช้ องค์ทรงธรรม์ นิรันดร์ไป โดย น�้ำผึ้งหวาน 25


วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่

26


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญอันนา สระไม้แดง

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญลอเรนซ์ นางาม

27


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ สระแก้ว

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ ระยอง

28


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารีสมภพ กบินทร์บุรี

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญนิโคลัส พัทยา

29


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอารักขเทวดา แหลมประดู่

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี

30


ฉลองอารามคาร์แมล จันทบุรี

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระลูกประคำ� สัตหีบ

31


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารดาพระศาสนจักร นครนายก

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระราชินีสายประคำ�ศักดิ์สิทธิ์ บ้านสร้าง

32


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระถวายองค์ในพระวิหาร มูซู

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระราชินีแห่งสันติภาพ อรัญประเทศ

33


สัมมนาพระสงฆ์ 4-6 กันยายน 2018

34


35


ชุมนุมเยาวชนคาทอลิกระดับชาติ ครั้งที่ 35 40 ปี แผนกเยาวชนสังฆมณฑลจันทบุรี 15-19 ตุลาคม 2018

36


37


วันคริสตชนฆราวาส สังฆมณฑลจันทบุรี ชุมนุมคริสตชนฆราวาสระดับชาติ 21 ตุลาคม 2018

38


39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.