สายใยจันท์ V.30

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

FREE COPY แจกฟรี

Vol.30

เมษายน 2020 ปีท่ี 31

สมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ


ปีที่ 31 ฉบับที่ 30 / เมษายน 2020

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สารพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี................................. 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต................. 6 50 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ เพิ่มศักดิ์ เสรีรักษ์... 8 25 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อยอห์น อัครสาวก เอนก นามวงษ์......10 การท�ำงานด้านสังคม สังฆมณฑลจันทบุรี............................... 14 กษัตริย์เฮโรด เป็นใคร?............................................................ 15 อาควิลาและปริสซิลลา.................................................................18 คริสตชน สังฆมณฑลฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จ พระสันตะปาปา....... 20 ข้าพเจ้าขอรับพระองค์ด้วยใจปรารถนา.....................................22 ถักทอสายใยแห่งรัก.....................................................................24 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................26

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

ไว้วางใจพระเยซูเจ้าทุกวันเวลา

พระเยซูเจ้าเผยแสดงเรื่อง “พระเมตตา” แก่นักบุญโฟสตินา และแก่นแท้ของการเผยแสดง พระเมตตาของพระเจ้าแก่มวลมนุษย์กค็ อื “ความ ไว้วางใจ” ในพระองค์ สมุดบันทึกวิญญาณของนักบุญโฟสตินา ข้อที่ ๕๔๘ ได้บนั ทึกถึงพระเยซูเจ้าตรัสกับท่านนักบุญ “ลูก เอ๋ย หน้าทีข่ องลูกคือวางใจในความกรุณาของเรา ให้เต็มที่ หน้าที่ของเราคือให้ทุกสิ่งที่ลูกต้องการ ความเมตตาของเราขึน้ อยูก่ บั ความวางใจของลูก หากลูกวางใจมาก ความเมตตากรุณาของเราย่อม ไม่มีขีดจ�ำกัด” ความไว้วางใจ คือการเชือ่ ในบุคคลใดบุคคล หนึ่ง เชื่อในสัญญาที่เขาได้สัญญาไว้ว่าจะกระท�ำสิ่ง ต่าง ๆ ที่ให้กับเรา และมีความหวังว่าเขาที่สัญญา จะกระท�ำตามเขาได้สัญญาไว้ ความไว้วางใจบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เรา จะต้องไม่มีความสงสัยในตัวเขา แต่มอบความหวัง ความเชื่อให้เขา ๑๐๐ เปอร์เซนต์ ผ่านทางนักบุญโฟสตินา พระเยซูเจ้าเชิญ ชวนให้มนุษย์เข้าหาพระองค์และไว้วางใจในพระ เมตตาของพระองค์ “เป็นบุญของวิญญาณทีว่ างใจ ในความเมตตาของเราเพราะเราเองจะเฝ้าดูแล เขา” (บันทึกวิญญาณนักบุญโฟสตินาข้อ ๑๒๗๓) พระเยซูเจ้าทรงเผยแสดงต่อนักบุญโฟสตินา พระองค์ตอ้ งการให้มนุษย์ทงั้ มวลไว้วางใจในพระองค์ มาก ๆ “ความวางใจคือภาชนะเดียวที่สามารถ ตักตวงพระหรรษทานความเมตตาจากเราได้ ยิ่ง วิญญาณวางใจมาก เขาก็ยงิ่ ได้รบั มาก วิญญาณที่

วางใจไม่มสี นิ้ สุดนัน้ ท�ำให้เราเป็นสุขอย่างยิง่ เพราะ เรามอบขุมทรัพย์พระหรรษทานของเราให้แก่เขา ทั้งหมด” (บันทึกวิญญาณนักบุญโฟสตินาข้อ ๑๕๗๘) การไว้วางใจในพระเยซูเจ้า คือ การเชือ่ และ หวังในพระองค์ ในสิ่งที่พระองค์สัญญาจะกระท�ำ ให้กับเรา ซึ่งการเชื่อและหวังในพระองค์นั้น มนุษย์ ทัง้ มวลจะต้องมีความสุภาพและถ่อมตนด้วย ไม่ใช่ไป บังคับให้พระองค์ “ต้องให้” ตามสัญญา ดังนั้น ความเชื่อ ความหวังและความ สุภาพถ่อมตน สามอย่างนี้จะแยกออกจากกันไม่ ได้ในการไว้วางใจในองค์พระคริสตเจ้า ในช่วงเวลาแห่งการเกิดโรคระบาดก�ำลัง กระจายไปทั่วโลกเช่นนี้, ในช่วงเวลาแห่งการร่วม บูชาขอบพระคุณผ่านทางการถ่ายทอดสดตามโซ เชียลมีเดียและเราไม่รู้ว่าโรคระบาดจะจบเมื่อไร? “การไว้ใจในพระเยซูเจ้า” จึงเป็นเรื่องยากมาก ๆ ส�ำหรับบางคน อย่างไรก็ตาม, ในห้วงเวลาแห่งความยาก ล�ำบากนี้ คริสตชน จงร่วมใจกันภาวนาขอพระเมตตา, พลีกรรม, ส�ำนึกผิดและใช้โทษบาปของตน ไว้วางใจ ในพระเยซูเจ้า พระองค์จะชนะทุกเรื่องราวที่เกิด ขึ้นในเวลานี้ “จงวางใจในพระเจ้าสุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน” (สภษ 3:5)

น้อมจิตคารวะ

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


4


สารพระสังฆราช สุขสันต์ปัสกาแก่พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า เราผ่านพ้นเทศกาลมหาพรตเข้าสู่เทศกาลปัสกาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความหมายมากส�ำหรับ ชีวิตของเราคริสตชน มหาพรตให้เราได้เตรียมตัวฉลองพระธรรมล�้ำลึกแห่งการสิ้นพระชนม์และการ เสด็จกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า หรือทีเ่ ราเรียกสัน้ ๆ ว่า พระธรรมล�ำ้ ลึกปัสกา เราถูกเรียก ร้องให้กลับใจหรือเกิดใหม่โดยอาศัยการสวดภาวนาและการร�ำพึงพระวาจาของพระเจ้า ช่วยเหลือผู้ ที่มีความเดือดร้อนและตกทุกข์ได้ยาก การละทิ้งความเห็นแก่ตัวและมองเห็นพระคริสตเจ้าผู้ทรงทน ทุกข์ทรมานในพีน่ อ้ งทีอ่ ยูร่ อบข้างเรา สาส์นมหาพรตในปีนี้ พระสันตะปาปาฟรังซิสได้นำ� ค�ำของนักบุญ เปาโลมาเป็นหัวข้อ “เราจึงขอร้องแทนพระคริสตเจ้าว่า จงยอมคืนดีกบั พระเจ้าเถิด” (2 คร 5: 20) ตั้งแต่เริ่มต้นปีใหม่มา เราอยู่ในสถานการณ์แห่งความปั่นป่วนของโลกของเรา ด้วยการค้น พบและการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19 ซึ่งเริ่มต้นในประเทศจีน ก่อนและระบาดไปยังประเทศต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตผู้คนเป็นอย่างมาก เหตุการณ์นี้ เป็นเหมือนสัญญาณเตือนมนุษย์ว่า มนุษย์ไม่ได้มีอ�ำนาจใดเลยที่จะเป็นผู้ก�ำหนดหรือควบคุมทุกสิ่ง ดัง่ ว่าตนเองเป็นเจ้าของหรือเป็นผูส้ ร้าง หากแต่เป็นพระเจ้าต่างหากทีเ่ ป็นผูส้ ร้างมนุษย์ดว้ ยความรัก และทรงมอบเสรีภาพให้อกี ด้วย โลกและสังคมมนุษย์จงึ ถูกก�ำหนดไว้ให้ดำ� เนินไปตามกฎธรรมชาติของ พระเจ้าซึง่ มนุษย์ตอ้ งเคารพและรักษาไว้ นีค่ อื ความอยูร่ อดของมนุษย์ทจี่ ะต้องกลับใจและเปลีย่ นแปลง การด�ำเนินชีวิตของตนเองและสังคม จากเหตุการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา หรือในชีวิตของพระศาสนจักรรวมไป ถึงในชีวิตของสังคมและโลกด้วย ต้องไม่ท�ำให้เราสิ้นหวังหรือหมดอาลัยตายอยากกับชีวิต แต่ด้วย พระธรรมล�ำ้ ลึกแห่งปัสกาต้องท�ำให้เราระลึกเสมอว่า ความรักของพระเจ้าต่อเราไม่มวี นั เปลีย่ นแปลง พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพ พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ชีวิตใหม่และสิ่งดี ๆ จึงมีขึ้นอยู่เสมอ น�้ำตาและ ความทุกข์จะเปลี่ยนเป็นเสียงหัวเราะและความยินดี พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนชีพแล้ว พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เสมอ สุขสันต์ปัสกาแด่ทุกท่าน (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

5


ค�ำอวยพร โอกาสสมโภชปัสกา สุขสันต์ปัสกาแด่พี่น้องคริสตชน พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสที่รักในพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ สมโภชปัสกาเป็นสมโภชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศาสนาของเรา ฉลองกัน 3 วัน 3 คืน คือ วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ระลึกถึงพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ระลึกถึงพระเยซูเจ้าทรงถูกฝัง และวันอาทิตย์ปัสการะลึก ถึงพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ การเตรียมฉลอง 40 วันตลอดเทศกาลมหาพรต และเป็นการเตรียมผู้ ทีจ่ ะรับศีลล้างบาปในคืนสมโภชปัสกาด้วย นอกจากนัน้ ก็เป็นการรือ้ ฟืน้ ศีลล้างบาปทีเ่ ราได้รบั ว่าเราได้ตายต่อ บาป ตาย ถูกฝังกับพระคริสตเจ้า และกลับคืนชีพมีชีวิตใหม่กับพระองค์ ส�ำหรับสมโภชปัสกาปีนี้อยากจะเชิญ ชวนพี่น้องที่รับศีลล้างบาปแล้วระลึกถึงศีลล้างบาปที่เราได้รับ ว่าเราได้ตายต่อบาป ตาย กับพระคริสตเจ้า กลับคืนชีพมีชีวิตใหม่กับพระองค์ และพี่น้องที่ยังไม่ได้ล้างบาปและจะ รับศีลล้างบาปในคืนปัสกา เตรียมตัวให้ดที สี่ ดุ ส�ำหรับศีลล้างบาป เป็นการเตรียมสมโภช ปัสกาด้วย โดยจ�ำศีลอดอาหารในวันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศกั ดิส์ ทิ ธิ์ ซึง่ สมัยก่อนต้องอด เนื้อทุกวันพุธและจ�ำศีลอดอาหารทุกวันศุกร์ตลอดเทศกาลมหาพรต ซึ่งในปัจจุบัน นัก บวชคาร์เมไลท์ (ชีลบั ) ยังจ�ำศีลอดอาหารทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์และวันฉลองใหญ่ ตลอดเทศกาลมหาพรต สมัยก่อนในวันพุธรับเถ้า ผู้ที่ท�ำบาปหนักสาธารณะ คือ 1. บาปอาปอสตาตา (ทิง้ ความเชือ่ , ไม่ปฏิบตั ศิ าสนกิจ) 2. บาปชูส้ าว (แต่งงานไม่เรียบร้อย) 3. บาปฆ่าคน ถ้าปรารถนาจะกลับใจ คืนดีกบั พระเจ้าและพระศาสนจักร จะคุกเข่าที่ประตูหน้าวัด ท�ำพลีกรรม ใช้โทษบาปตลอดเทศกาลมหาพรต วันพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์พระ สังฆราชหรือพระสงฆ์จะเชิญเข้าในวัด ท�ำพิธคี นื ดีกบั พระเจ้า และพระศาสนจักร ร่วมฉลองปัสกาในวันศุกร์ศักดิส์ ิทธิ์ วัน เสาร์ศักดิ์สิทธิ์ และวันอาทิตย์สมโภชปัสกา นอกจากนั้น ในเทศกาลมหาพรต พระศาสนจักรยังให้เราเดินทาง กางเขน (เดินรูป 14 ภาค หรือ 18 ภาค โดย เพิม่ อีก 4 ภาค คือ การกินเลีย้ งครัง้ สุดท้าย การเข้าตรีทตู ในสวนมะกอก การกลับคืน พระชนมชีพ และการเสด็จสูส่ วรรค์) ระลึก ถึงพระทรมาน ความตายและการกลับ คืนพระชนมชีพของพระองค์ 6


ปัสกา เป็นภาษายิว (PESAH) แปลว่า การผ่าน เราระลึกถึงการอพยพของชาวอิสราเอล ซึ่งพระเจ้า ให้โมเสสพาผ่านออกจากแดนทาสเข้าสู่แผ่นดินพระสัญญา แต่กษัตริย์ฟาโรห์แห่งอียิปต์ไม่ยอม พระเจ้าทรง ให้โมเสสท�ำเครื่องหมายอัศจรรย์ น�ำภัยพิบัติ 10 ประการมาสู่อียิปต์ อัศจรรย์สุดท้ายคือ “ให้ทุกครอบครัว ฆ่าลูกแกะแล้วเอาเลือดทากรอบด้านข้างและด้านบนของประตูบ้าน เมื่อเราเห็นเลือดที่กรอบประตูเรา จะผ่านเลยไป ท่านจะพ้นภัยพิบัติที่ท�ำลาย ประมาณเที่ยงคืนเราจะผ่านเข้าไปในหมู่ชาวอียิปต์ บุตรคน แรกทุกคนของชาวอียปิ ต์จะตาย นับตัง้ แต่พระโอรสองค์แรกของกษัตริยฟ์ าโรห์ไปจนถึงบุตรคนแรกของ นักโทษในคุก” (อพยพ 12:6, 29) โมเสสสั่งให้ประชาชนถวายเครื่องบูชาฉลองปัสกาตามค�ำสั่งนี้เป็นกฎถาวร ส�ำหรับประชาชนและลูกหลานของเขาตลอดไป พระเยซูคริสตเจ้าทรงสละความสุขในสวรรค์มาบังเกิดมนุษย์ เป็นเด็กยากไร้ ถูกสบประมาท ถูกใส่รา้ ย ถูกต่อต้าน ถูกปฏิเสธ ถูกทรยศ ฯลฯ จนร้องออกมาว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าแต่พระเจ้า ท�ำไมพระองค์ทรง ทอดทิ้งข้าพเจ้า” (มาร์โก 15:34) ที่จริงพระบิดามิได้ทรงทอดทิ้งพระบุตร... บ่อย ๆ ครั้งเรารู้สึกว่าพระบิดา ทรงทอดทิ้งเรา ให้เรามั่นใจเหมือนพระบุตรว่าพระบิดามิได้ทรงทอดทิ้งเรา ทรงรักเราทุกคนเหมือนบุตรที่รัก ของพระองค์ พระบุตรทรงน้อมรับน�้ำพระทัยบิดาเสมออย่างไม่มีเงื่อนไข เราก็เช่นเดียวกัน เมื่อต้องล�ำบาก เจ็บป่วย แก่ชรา ทนทุกข์ทรมาน และรับความตายเหมือนพระบุตร ให้เราเอาแบบอย่างพระบุตรเมื่อทรงถูก ตรึงบนไม้กางเขน พระองค์ตรัสอะไรบ้าง ? 7 ประโยคสุดท้าย 1. “พระบิดาเจ้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่าก�ำลังท�ำอะไร” (ลูกา 23:34) 2. “วันนี้ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์” (ลูกา 23:43) 3. “แม่ นี่คือลูกของแม่” (ยอห์น 19:26) 4. “นี่คือแม่ของท่าน” (ยอห์น 19:27) 5. “เรากระหาย” (วิญญาณ) (ยอห์น 19:28) 6. “ส�ำเร็จบริบูรณ์แล้ว” (ยอห์น 19:30) 7. “พระบิดาเจ้าข้า ลูกขอมอบจิตของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” (ลูกา 23:46) พระเยซูคริสตเจ้าทรงสั่งสอนเรา ทรงให้บทเรียนแก่เรามากมายด้วยพระวาจาทรงชีวิตของพระองค์ ให้เรากล่าวได้เช่นเดียวกันเมื่อเราจะตายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระบิดาทรงมีพระประสงค์ให้เรากระท�ำ เรา ได้กระท�ำครบบริบูรณ์แล้ว สุดท้ายให้เรามอบจิตวิญญาณของเราไว้ในพระหัตถ์ของพระบิดาด้วยความมั่นใจ ไม่กังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาที่ทรงรักเรามาก เช่นนี้เราก็สมจะได้กลับคืนชีพ มี ร่างกายสวยงามสมไปเสวยสุขกับพระองค์ กับพระตรีเอกภาพ กับแม่พระ เทวดา นักบุญทั้งหลาย และญาติ พี่น้องของเราในสวรรค์ตลอดนิรันดร พระเยซูคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพดังที่ตรัสไว้ อัลเลลูยา เราแต่ละคนก็จะได้กลับคืนชีพเหมือนพระองค์ อัลเลลูยา อวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


50ปี

ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ เพ่ ิมศักดิ์ เสรีรักษ์

“ทุกสิ่งทีท่ ่านท�ำต่อผู้ตำ� ่ ต้อย

ท่านได้ท�ำต่อเราเอง”

ประวัติส่วนตัว

• เกิดวันที่ 11 พฤศจิกายน 1942 • สัตบุรุษวัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม • บิดาชื่อ ยอห์น บัปติสต์ เสริมศักดิ์ เสรีรักษ์ • มารดาชื่อ มารีอา ล�ำไย เสรีรักษ์ • มีจ�ำนวนพี่น้องในครอบครัว 8 คน • เป็นบุตรคนที่ 2 • รับศีลบวชวันที่ 17 พฤษภาคม 1970 ที่ ปรอปรา กันดา ฟีเด กรุงโรม โดย พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 (ปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญ)

ประวัติการท�ำงาน • 1970 - 1971 ผู้จัดการโรงเรียน ดาราสมุทรศรีราชา • 1971 - 1974 เจ้าอาวาส วัดแม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ ระยอง • 1975 - 1976 ศึกษาต่อด้าน คริสตจริยศาสตร์ กฎหมายศีลแต่งงาน Catholic University of America ประเทศสหรัฐอเมริกา • 1977 - 1992 เป็นอาจารย์สอนกฎหมายแต่งงาน จริยธรรมคริสต์เบื้องต้น ที่สามเณราลัยแสงธรรม • 1992 - 2000 เจ้าอาวาส วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา • 2000 - 2005 เจ้าอาวาส วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ • 2005 - 2015 เจ้าอาวาสวัด แม่พระที่พึ่งแห่งปวงชน แหลมโขด • 2015 - ปัจจุบัน เกษียณอายุ 78 ปี 8


9


25ปี

ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อยอห์น อัครสาวก เอนก นามวงษ์

“ให้อภัย ใจสงบ”

ประวัติส่วนตัว • เกิดวันที่ 31 พฤษภาคม 1965 • สัตบุรุษวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง • บิดาชื่อ เปโตร อ�ำพร นามวงษ์ • มารดาชื่อ อันนา จ�ำ นามวงษ์ • มีจ�ำนวนพี่น้องในครอบครัว 10 คน • เป็นบุตรคนที่ 7 • รับศีลบวชวันที่ 3 มิถุนายน 1995 ณ วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง

ประวัติการท�ำงาน

10

• 1995 - 1997 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด ในแขวงสระแก้ว • 1997 - 1998 ผู้ช่วยเจ้าอาวาส อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี วัดนักบุญยอห์น อัครสาวก มะขาม วัดพระคริสตราชา ปะตง • 1998 - 1999 ศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย • 1999 - 2000 ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดอารักขเทวดา โคกวัด • 2000 - 2002 ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม ผู้จัดการโรงเรียนปรีชานุศาสน์ • 2001 - 2003 ศึกษาต่อปริญญาโท บริหารการศึกษา มศว ประสานมิตร • 2003 - 2007 ศึกษาต่อที่ประเทศไอร์แลนด์ • 2007 - ปัจจุบัน ผู้อ�ำนวยการ แผนกค�ำสอน แผนกสื่อมวลชน แผนกพระคัมภีร์


11


มิใช่ท่านทั้งหลายได้เลือกเรา แต่เราได้เลือกท่าน มอบภารกิจให้ท่าน ไปท�ำจนเกิดผล (ยน.15:16)

25ปี

ชีวิตสงฆ์

ด้วยความเมตตาและน�้ำพระทัยดีของพระเจ้า พระองค์ทรงเรียก และเลือกพ่อให้มาเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ เมื่อไตร่ตรองชีวิตสงฆ์ 25 ปีที่ ผ่านมาสิง่ แรกทีท่ ำ� ก็คอื ต้องย้อนกลับจุดเริม่ ต้นของการตอบรับกระแสเรียก แห่งการเป็นสงฆ์ในเวลานั้น 1. ย้อนกลับไปในวัยเด็ก บรรยากาศคาทอลิกวัดพระหฤทัย ขลุง สมัยนั้น วัดคือจุดศูนย์กลางของหมู่บ้านคาทอลิกอย่างแท้จริง คุณพ่อที่วัด เป็นผู้น�ำจิตวิญญาณ ไม่ว่าจะมีกิจกรรมอะไรคาทอลิกต้องมารวมตัวกันที่วัด พระสงฆ์หรือคุณพ่อคือผู้น�ำในทุกด้าน หากพระสงฆ์สั่งอะไร พูดอะไร คริสต ชนต้องกระท�ำตามเสมอ ๆ คุณพ่อเจ้าวัดจะคอยดูว่าใครมาวัด ใครไม่มาวัด บ้าง เด็ก ๆ ทีไ่ ม่มาวัดตอนเย็น ตอนเช้าเวลาเรียนค�ำสอน คุณพ่อเจ้าวัดเรียก ทีละคน แล้วจะตีกน้ ด้วยไม้เรียวคนละ 3 ที พ่อเคยถูกคุณพ่อวิโอลา วรศิลป์ ตีไปหลายที เพราะไม่ได้มาวัดเย็น เหตุนี้เองจึงต้องใกล้ชิดกับวัดโดยปริยาย และความเชื่อค่อย ๆ ซึม ๆ ปลูกฝังให้ชีวิตพ่อทีละเล็กทีละน้อย ชีวิตกระแส เรียกเริ่ม ณ เวลานั้น และคุณพ่อแสวง สามิภักดิ์ เป็นผู้ส่งพ่อเข้าบ้านเณร 2. ทีบ่ า้ น แม่จะน�ำสวดสายประค�ำในครอบครัว และก็ไล่ให้ไปวัดบ่อย ๆ 3. เหตุผลที่ต้องการเป็นพระสงฆ์ก็เพราะว่า “อยากที่จะท�ำมิสซา” ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ได้มีความคิดอยากเป็นพระสงฆ์ แค่อยากท�ำมิสซาแค่นั้น พ่อเคยถามแม่ว่า ท�ำไมถึงส่งพ่อไปเป็นเณร ไปเป็นสงฆ์ แม่ตอบว่า เพราะหน้าตาพ่อขี้เหร่ที่สุดในบ้าน ไม่ต้องสืบสกุลนามวงษ์ อ้าว...จริงดิ!!! มองกระจกทีไร ยอมรับ ยอมรับ จริงด้วย 4. ตอนอยูบ่ า้ นเณรใหญ่ปี 4 พ่อวิญญาณ คุณพ่อซิลวาโน ได้บอกกับ พ่อว่า “กระแสเรียกของเธอคือการเป็นพระสงฆ์” หลังจากได้รบั การบอก ประโยคนี้ พ่อก็มุ่งมั่นที่จะบวชอย่างเดียวไม่ได้สนใจอย่างอื่นอีก นี่คือ 4 เหตุผลที่ที่ท�ำให้พ่อได้ตอบรับกระแสเรียกแห่งการเป็นสงฆ์

12


ผ่านไป 25 ปีสงฆ์ แรงบันดาลใจที่ต้องการเป็นพระสงฆ์ยังคงเดิม (อยากทีจ่ ะท�ำมิสซา) และนับวันความปรารถนานีท้ จี่ ะถวายบูชาขอบพระคุณ มีความร้อนรนมากขึน้ เรือ่ ย ๆ ยิง่ เมือ่ ได้เรียนรูค้ วามหมายทีแ่ ท้จริงของบูชา ขอบพระคุณ โดยเฉพาะประโยคทีต่ อ้ งสวด “ขอขอบพระคุณทีท่ รงเลือกสรร ข้าพเจ้าทั้งหลาย ให้มารับใช้เฉพาะพระพักตร์พระองค์” (ภาวนาบท ขอบพระคุณที่ 2) นี่คือคุณค่าสุดที่ไม่สามารถจะประเมินได้ในชีวิตสงฆ์ “พระเจ้าทรงเลือกสรรสิง่ ต�ำ่ ช้าน่าดูหมิน่ ไร้คณ ุ ค่าในสายตาของชาวโลก เพื่อท�ำลายสิ่งที่โลกเห็นว่าส�ำคัญ” (1คร 1:28) ผ่านไป 25 ปีสงฆ์ ความศรัทธาต่อพระเจ้ายังแข็งแกร่งมั่นคง (เป็น ผลจากได้รับการปลูกฝังความเชื่อในวัยเด็ก) ผ่านไป 25 ปีสงฆ์ พ่อได้รบั การสนับสนุนจากสังฆมณฑล ส่งไปเรียน ต่างประเทศ สนับสนุนการท�ำงาน เลี้ยงดูอย่างดีจนถึงทุกวันนี้ ค�ำพูดที่จะ กล่าวว่า “ขอบคุณ” ยังน้อยไปส�ำหรับสิ่งที่พ่อได้รับจากสังฆมณฑล ตลอด 25 ปีสงฆ์ ที่ผ่านมาพ่อต้องใช้ค�ำของกษัตริย์ดาวิดมา ขอบพระคุณพระเจ้าว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าเป็นใคร และ ครอบครัวของข้าพเจ้าส�ำคัญอย่างไร พระองค์จงึ ทรงน�ำข้าพเจ้ามาไกล ถึงเพียงนี้” (2ซมอ 7:18) อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะมีกระแสเรียกพระสงฆ์หรือฆราวาส ชีวิตทุก ชีวิตเป็นของพระเจ้า พระเจ้าทรงดูแลเราทุกคนและไม่ทอดทิ้ง (สดด 23) พระองค์รู้จักเราและ“ก่อนที่เราปั้นท่านในครรภ์มารดา เราก็รู้จักท่าน แล้ว ก่อนทีท่ า่ นจะเกิด เราก็แยกท่านไว้เป็นของเราแล้วเราแต่งตัง้ ท่าน ให้เป็นประกาศกส�ำหรับนานาชาติ” (ยรม 1:5) จงขอบพระคุณพระเจ้าด้วยความสุภาพเสมอ ๆ คุณพ่อเอนก นามวงษ์ 13


ค�ำสอนพระศาสนจักรด้านสังคม

โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

การท�ำงานด้านสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี จากสมัยทีค่ ณ ุ พ่อวัชรินทร์ สมานจิต ด�ำเนิน งานด้านความมั่นคงของชีวิต และงานอภิบาลของ พระศาสนจักรในระหว่างปี ค.ศ. 1979–1982 (พ.ศ. 2522–2525) อย่างต่อเนื่อง ต่อมาทางสังฆมณฑล ก็ได้มอบหมายให้คณ ุ พ่อสีลม ไชยเผือก ผูซ้ งึ่ จบการ ศึกษาด้านสังคม ณ กรุงโรม กลับมารับผิดชอบอีก ครั้งในปีค.ศ. 1982-1990 (พ.ศ.2525-2533) ส�ำนักงาน : บ้านพักที่วัดน้อยนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว สถานการณ์ทางสังคม / พระศาสนจักร • มุ่งเน้นเศรษฐกิจน�ำการเมือง • NICs (Newly Industrial Countries) • การก่อตัวทางเศรษฐกิจฟองสบู่ • การอพยพแรงงานคนไทยชายแดน • ภัยแล้ง น�้ำท่วมและโครงการอีสานเขียว • หนังสือแนวทางของเรา • เกิดกลุม่ SAT (Social Action Theology Study Group) • เกิดกระบวนการการศึกษาความจริงและร่วม ชีวิต (Exposure immersion) นโยบายหลักในงานพัฒนา • ท�ำงานแนววัฒนธรรมชุมชน ค�ำสอนด้านสังคม ของพระศาสนจักร • การปลุกจิตส�ำนึก การศึกษาความจริงและร่วม ชีวิต (พ.ศ. 2532) • การมีส่วนร่วมของประชาชน บุคลากรของ พระศาสนจักร • มุ่งการพึ่งตนเองระดับชุมชน • ท�ำงานพัฒนาแบบองค์รวม (Holistic) 14

กลุ่มเป้าหมาย • คริสตชนตามวัด เน้นในเขตจังหวัดสระแก้ว • ชาวบ้านคนพุทธที่ยากจนในเขต จ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี จ.จันทบุรี และชายแดน • พระสงฆ์ นักบวชและคณะกรรมการวัด • บุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์สังคมพัฒนา • ผู้น�ำโครงการพัฒนา • องค์กรเครือข่ายระดับสังฆมณฑลและระดับชาติ กิจกรรม • โครงการพัฒนาอาชีพ • โครงการพัฒนาแหล่งน�้ำขนาดเล็ก-ใหญ่ • โครงการธนาคารควาย/ข้าว • โครงการสหกรณ์ร้านค้า • โครงการสามล้อและแม่ค้ารายย่อย • โครงการเกษตรฤดูแล้ง • โครงการฝึกอบรมผู้น�ำ • โครงการฝึกอบรมบุคลากรผู้ท�ำงานพัฒนา • โครงการปลุกจิตส�ำนึกต่างๆ งบประมาณ • เงินทุนจากต่างประเทศ • จากสังฆมณฑลและผู้มีจิตศรัทธา จากสภาพสังคมในเวลาดังกล่าวกับการท�ำงาน อย่างจริงจังของพระศาสนจักรในสังฆมณฑลจันทบุรี ของเรา โดยมีคุณพ่อสีลม ไชยเผือก ผู้มีความรู้ด้าน สังคมของพระศาสนจักรโดยตรง รวมทัง้ ประสบการณ์ ของคุณพ่อ ท�ำให้การพัฒนาและการท�ำงานอภิบาล ด้านสังคมเป็นไปได้อย่างดี


เรียนรู้พระคัมภีร์ เจริญชีวิตตามพระวาจา โดย คุณพ่อเฮนรี่ สมชาย เกษี

“กษัตริย์เฮโรด” พีน่ อ้ งทีร่ กั สาเหตุหนึง่ ของความมึนงงในการ อ่านพระคัมภีร์ก็คือ บุคคลในพระคัมภีร์หลาย ๆ คน นัน้ มีชอื่ ซ�ำ้ กันจนบางครัง้ ผูอ้ า่ น (รวมถึงตัวผูเ้ ขียนเอง ด้วย) ก็สับสนว่าชื่อนั้นหมายถึงใครกันแน่? เช่น โย เซฟ ในหนังสือปฐมกาล กับนักบุญโยเซฟ บิดาเลี้ยง ของพระเยซูเจ้า แม้จะมีชอื่ เดียวกันแต่กเ็ ป็นคนละคน และนักบุญยอห์น ผู้ท�ำพิธีล้าง ก็เป็นคนละคนกับนัก บุญยอห์น อัครสาวก เป็นต้น ในพระวรสาร มีชื่อหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงตั้งแต่ ก่อนพระเยซูเจ้าบังเกิดจนสิน้ พระชนม์บนไม้กางเขน ยาวไปจนถึงหนังสือกิจการอัครสาวก (แม้เรือ่ งราวส่วน ใหญ่จะเป็นพฤติกรรมในแง่ลบก็ตาม) จนท�ำให้หลาย ๆ คน สงสัยและสับสนก็คือ “กษัตริย์เฮโรด” นั่นเอง ชื่อของ “กษัตริย์เฮโรด” ถูกกล่าวถึงครั้ง แรกในเรื่องราวการประสูติของพระกุมาร โดยพระ คัมภีรเ์ ล่าว่าเขาเป็นกษัตริยข์ องชาวยิว ปกครองแคว้น ยูเดียในช่วงเวลาทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงพระชนม์ และออก เทศนาสัง่ สอน อย่างไรก็ตาม พระคัมภีรเ์ ล่าถึงเขาโดย ทิ้งค�ำถามไว้ในใจของผู้อ่านว่า “กษัตริย์เฮโรดเป็น ใคร? และท�ำไมเขาจึงมีปฏิกิริยาที่รุนแรงเมื่อได้ ทราบข่าวการประสูติมาของพระผู้ไถ่?”

เป็นใคร? และในพระคัมภีร์มี กี่คนกันแน่?

เพือ่ จะตอบค�ำถามนี้ เราต้องย้อนกลับไปดูวา่ “กษัตริย์เฮโรดขึ้นมามีอ�ำนาจได้อย่างไร?” ต้อง ย้อนกลับไปถึงบิดาของเขา คือ “อันตีพาเทอร์” ชาว อิดูเมอา ที่ได้ช่วย “จูเลียส ซีซาร์” สู้รบกับอียิปต์ และควบคุมชาวยิวกลุ่มต่าง ๆ ที่คิดต่อต้านโรมัน ให้ อยู่ในความสงบได้ พวกโรมันจึงให้รางวัลด้วยการ แต่งตั้งเขาเป็นผู้ส�ำเร็จราชการที่ขึ้นกับโรมโดยตรง ส่วน “อันตีพาเทอร์” เองก็ได้แต่งตั้งบุตรชายสอง คนของตน คือ “ฟาเซล” ให้ปกครองเยรูซาเล็ม และ “เฮโรด” ให้ปกครองแคว้นกาลิลี หลังจากที่ “อันตีพาเทอร์” เสียชีวิตเพราะ ถูกวางยาพิษ “เฮโรด” ก็มีอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ และได้ เป็นกษัตริยข์ องชาวยิวทีอ่ ยูภ่ ายใต้การปกครองของ จักรวรรดิโรมันเป็นเวลา 33 ปี ตั้งแต่ปี 37 ก่อน คริสตกาล ไปจนถึง ค.ศ. 4 ดังนั้น “กษัตริย์เฮโรด” ที่ปรากฏตัวในเรื่องราวการประสูติของพระกุมาร (มธ 2:1-19 และ ลก 1:5) ก็คือ “กษัตริย์เฮโรด มหาราช” (Herod the Great) นั่นเอง ตัง้ แต่แรกเริม่ “เฮโรด มหาราช” ก็ได้แสดง ให้เห็น ถึงการเอาตัวรอดตามสไตล์ของนักการเมือง แล้ว ในสงครามกลางเมืองทีก่ รุงโรม ระหว่างนายพล 15


“มาร์ค แอนโทนี” (Mark Antony) กับนายพล “ออค ตาเวียน” (Octavian) ตอนแรก “เฮโรด มหาราช” เลือกอยู่ฝ่าย “มาร์ค แอนโทนี” และ “พระนาง คลีโอพัตรา ที่ 7” (Cleopatra VII) พระราชินีแห่ง อียิปต์ แต่เมื่อ “ออคตาเวียน” เป็นผู้ชนะสงครามที่ อักซีอุม (Actium) ในปี 31 ก่อนคริสตกาล “เฮโรด มหาราช” ก็ย้ายฝั่งทันที และแสดงตนว่าจงรักภักดี ต่อ “ออคตาเวียน” หลังจากนัน้ สภาเมืองได้แต่งตัง้ “ออคตาเวียน” เป็นจักรพรรดิ และถวายพระนามว่า “ออกัสตัส” (Augustus) ซึ่งแปลว่า “ผู้ได้รับการยกย่อง” ระหว่างนัน้ ต�ำแหน่งกษัตริยข์ อง “เฮโรด มหาราช” มั่นคงมาก เพราะเขานอบน้อมต่อการปกครองของ โรมัน ปฏิบัติตามค�ำสั่ง และปกป้องดูแลอิสราเอล ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันให้อยู่ใน ความสงบ ในเวลาเดียวกัน เขาก็เอาใจชาวยิวด้วย การสร้างภาพว่า ตนเองปฏิบัติตามธรรมเนียมของ ชาวยิวอย่างเคร่งครัด ด้วยการไม่กินเนื้อหมู บูรณะ พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และยังได้ก่อสร้างสถาน ที่ส�ำคัญ ๆ ในประวัติศาสตร์อีกมากมายด้วย เช่น พระราชวังหลายหลัง เมืองท่าซีซารียา โรงละคร กลางแจ้งแบบกรีก ลานส�ำหรับแข่งม้าและแข่งรถ ม้า ป้อมปราการ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม “เฮโรด มหาราช” มีนิสัย ประหลาดหลายอย่าง เขาเฉลียวฉลาด เป็นนักปกครอง ที่เก่งกาจ แต่ก็เป็นเผด็จการที่เหี้ยมโหด บ้าอ�ำนาจ ชีวติ ส่วนตัวของเขามีแต่เรือ่ งวุน่ วาย ในจ�ำนวนมเหสี 10 คน มีหลายคนต้องการให้บตุ รชายสืบราชบัลลังก์ ต่อจากพระราชบิดา แผนร้ายต่าง ๆ ในพระราชวัง นี้เองที่ท�ำให้เขาเป็นคนขี้ระแวง ขี้อิจฉา และโหด ร้าย เขามักจะก�ำจัดศัตรูให้ย่อยยับอย่างโหดเหี้ยม และเนื่องจากชาวยิวไม่เคยยอมรับเขาเป็นกษัตริย์ 16

อย่างเป็นทางการเลย ยิง่ ท�ำให้เขารูส้ กึ เคียดแค้นเป็น อย่างมาก และด้วยการที่เขากลัวถูกยึดอ�ำนาจ เขา ได้สั่งฆ่าภรรยา เพียงเพราะสงสัยว่าเธอวางแผนจะ ต่อต้านเขา นอกจากนี้ “เฮโรด มหาราช” ยังได้ฆ่า ลูกชาย 3 คน ภรรยาอีกคนหนึ่ง รวมถึงมารดาของ เธอด้วย เพียงเพราะถูกสงสัยว่า พวกเขาจะก่อการ กบฏ นอกจากนี้ ในพระวรสารนักบุญมัทธิว ยังมี บันทึกไว้ด้วยว่า “เฮโรด มหาราช” ได้สั่งประหาร ทารกในเมืองเบธเลแฮมทั้งหมด (มธ 2:1-18) ซึ่ง สอดคล้องกับสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับความทะเยอทะยาน ความหวาดระแวง และความโหดร้ายของเขา ด้วยเหตุที่ “เฮโรด มหาราช” รู้ว่าตนเอง ไม่ได้เป็นที่นิยมชมชอบของชาวยิว ก่อนที่เขาจะ สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 4 (เทียบ มธ 2:19) เขาอยาก แก้แค้นชาวยิว และอยากให้มคี นร้องไห้จำ� นวนมาก ๆ เมือ่ เขาตาย เขาจึงสัง่ จ�ำคุกประชาชนระดับผูน้ ำ� ของ ยูเดียไว้ และสั่งว่า “หากไม่มีใครร้องไห้เพราะเขา ตาย” ก็ให้มกี าร “ร้องไห้เพราะสาเหตุอะไรก็ได้เมือ่ เขาตาย” โดยให้ประหารชีวติ บรรดาผูน้ ำ� ชาวยิวเหล่า นั้น เพื่อจะได้มีคนร้องไห้ทั่วไปทั้งเมืองในช่วงเวลา นั้น อย่างไรก็ตาม ค�ำสั่งนีไ้ ม่ได้ถูกน�ำมาปฏิบัติจริง ๆ เพราะเมื่อ “เฮโรด มหาราช” สิ้นพระชนม์ นักโทษ ทางการเมืองเหล่านีก้ ไ็ ด้รบั การปล่อยตัวให้เป็นอิสระ หลังจากนั้น ทางจักรวรรดิโรมันก็ได้แต่งตั้ง บุตรชายของ “เฮโรด มหาราช” คือ “อาร์เคลาอัส” ให้เป็นผู้ปกครองแคว้นยูเดีย สะมาเรีย และอิดูเม อา พร้อมทั้งสัญญาว่าหากเขาปกครองอย่างดีก็จะ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ (ผู้นิพนธ์พระวรสารนัก บุญมัทธิวเล่าว่า นักบุญโยเซฟและแม่พระได้ย้าย ไปอยู่ที่กาลิลี เพื่อเลี่ยงการปกครองของ อาร์เคลา อัส ใน มธ 2:21-23) แต่เมื่อ 10 ปีผ่านไปโดยไม่มี ผลงานเป็นที่น่าพอใจ ไม่เป็นที่ชื่นชอบทั้งต่อชาวยิว


และโรมัน ทางโรมจึงปลดเขาลงในปี ค.ศ. 6 และ แต่งตัง้ ผูว้ า่ ราชการของโรมเองให้มาปกครองแคว้นยู เดียและสะมาเรียแทน ซึง่ ต่อมา “ปอนซีอสุ ปีลาต” ก็ได้ด�ำรงต�ำแหน่งนี้ระหว่างปี ค.ศ. 26-36 ในช่วง เวลาทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงถูกตัดสินประหารชีวติ ด้วยการ ตรึงกางเขน ส่วนผู้ว่าราชการชาวโรมันคนอื่น ๆ ที่ มีชื่อปรากฎอยู่ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ก็ คือ “เฟลิกซ์” (ค.ศ. 52-59) และ “เฟสตัส” (ค.ศ. 59-62) ผู้ซึ่งนักบุญเปาโลได้เผชิญหน้าด้วยตามที่ มีบันทึกไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก บทที่ 23-26 ในขณะเดี ย วกั น บุ ต รชายอี ก คนของ “เฮโรด มหาราช” คือ “เฮโรด อันติปาส” ผู้นิพนธ์พระวรสาร นักบุญลูกาเรียกเพียงสั้น ๆ ว่า “เฮโรด” ก็ได้ขึ้นปกครองแคว้นกาลิลีและเปรีอา ตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดา ในปีที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่ง “เฮโรด อันติปาส” นี้เอง เป็น ผู้ที่ได้จ�ำคุกและประหารชีวิตนักบุญยอห์น บัปติสต์ เมื่อท่านได้ประณามการที่เขารับนาง “เฮโรเดียส” ภรรยาของ “เฮโรด ฟิลลิป” น้องชาย มาเป็นภรรยา ของตน (ลก 3:19-20 และ มก 6:17-29) “เฮโรด อันติปาส” ยังประหลาดใจเมื่อ ประชาชนคิดว่าพระเยซูเจ้าคือยอห์น บัปติสต์ กลับ เป็นขึ้นมาจากความตาย (เทียบ มก 6:14-16) พระ เยซูเจ้าเรียก “เฮโรด อันติปาส” ว่า “สุนขั จิง้ จอก” ซึ่งอาจจะหมายถึงความเจ้าเล่ห์ และฉ้อฉลของเขา ก็ได้ (ดู ลก 13:31-32) ในที่สุด “เฮโรด อันติปาส” ก็ได้พบพระเยซูเจ้าเมื่อปีลาตส่งพระองค์ไปให้เขา ตัดสิน (ลก 23:7-12; เทียบ กจ 4:27) ส่วน “เฮโรด ฟิลปิ ” ได้ปกครองแคว้นอิตเู รีย และทราโคนิติส ซึ่งเป็นดินแดนทางตอนเหนือ และ ทางฝั่งตะวันออกของกาลิลี เขาตายโดยไม่มีทายาท ดินแดนของเขาก็กลายเป็นส่วนหนึง่ ของภูมภิ าคของ

อาณาจักรโรมันในซีเรีย ชื่อของ “เฮโรด ฟิลิป” ถูก กล่าวถึงเพียงครั้งเดียวใน ลก 3:1 ส่วนชื่อ “ฟิลิป” ใน มก 6:17 และ มธ 14:3 นั้นหมายถึงบุตรชายอีก คนหนึ่งของ “เฮโรด มหาราช” หลังจากนัน้ มีหลานของ “เฮโรด มหาราช” อีกเพียงสองคนที่มีชื่อปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ภาค พันธสัญญาใหม่ ในหนังสือกิจการอัครสาวก เริม่ จาก หลานคนโต คือ “เฮโรด อากริปปา ที่ 1” (Herod Agrippa I) ซึ่งเป็นบุตรของ “อาริสโตบูลุส” (Aristobulus) โดย “เฮโรด อากริปปา ที่ 1” ได้ประหาร ชีวิตนักบุญยากอบ พี่ชายของนักบุญยอห์น และได้ จับกุมนักบุญเปโตร (ดู กจ 1:2) การตายของเขาที่ ซีซารียาที่เปรียบเสมือนการตัดสินของพระเจ้า ได้ ถูกบันทึกไว้ในพระวรสารนักบุญลูกา และงานเขียน ของ “โยเซฟุส” นักประวัติศาสตร์ชาวยิว (ดู กจ 12:19-23 และ Josephus, Ant. 19.8.2 §343-52) ส่วน “เฮโรด อากริปปา ที่ 2” (Herod Agrippa II) เป็นบุตรของ “เฮโรด อากริปปา ที่ 1” ซึง่ เขาพร้อมกับน้องสาวทีช่ อื่ “เบอร์นสิ ” (Bernice) ได้รบั เชิญจาก “เฟสตัส” (Festus) ผูว้ า่ ราชการชาว โรมัน ให้เข้ามารับฟังการอภิปรายของนักบุญเปาโล ที่เมืองซีซารียาห์ (กจ 25:26) และน้องสาวอีกคน หนึ่งที่ชื่อ “ดรูซสิลลา” (Drusilla) ก็ได้แต่งงานกับ “เฟลิกส์” ผู้ว่าราชการชาวโรมัน (กจ 24:24)

17


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โดย ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี

อาควิลา และ ปริสซิลลา คู่ชีวิตคริสตชนต้นแบบแห่งพันธสัญญาใหม่ พี่น้องที่เคารพรักในพระคริสตเจ้าครับ ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 พร้อมกระแสโลกโซเชีย่ ล ทีเ่ ราพบข้อมูลมากมายจน กระทัง่ อ่านกันไม่ทนั เลยทีเดียว อาจจะท�ำให้พนี่ อ้ งทัง้ ตระหนกตกใจและ แตกตื่น ไม่มากก็น้อย แต่ก็ข้อดี คือเราใส่ใจสุขอนามัยตน ใส่ใจกันและกัน และ ใส่ใจโลกมากขึ้น (รวมถึงใส่ใจตรวจสอบข้อมูลจาก โลกโซเชี่ยลกันด้วยครับ) เมือ่ พ่อจะต้องเขียนบทความเกีย่ วกับกฎหมาย พระศาสนจักร ครั้งนี้ จึงมีความพิเศษไม่เหมือนครั้ง ใดๆ มาก่อน พร้อมความในใจว่า “ผู้คนคงจะสนใจ เรือ่ งการมีชวี ติ รอดมากกว่าการจะแต่งงานกระมัง” หรือ พวกเขาก�ำลังคิดจะรีบเร่งจัดการให้ตนเอง เป็นฝัง่ เป็นฝา ก่อนทีจ่ ะจบชีวติ ไปอย่างไม่เสียชาติ ก�ำเนิดกันแน่ เนื่องจากไม่ทราบว่าสถานการณ์โรค ระบาด จะลุกลามถึงตนเมื่อใดก็เป็นได้ 18

สายใยจันท์ฉบับนี้ พ่อขอน�ำบางส่วนจากพระ ด�ำรัสของพระสันตะปาปาฟรังซิส ตรัสกับเจ้าหน้าที่ ศาลสูงของสันตะส�ำนักโรมัน โรต้า โอกาสเปิดการ พิจารณาคดีประจ�ำปี ค.ศ.2020 เมือ่ วันที่ 25 มกราคม ค.ศ.2020 ทีท่ รงตรัสถึง “อาควิลาและปริสซิลลา คู่ ชีวิตคริสตชนต้นแบบแห่งพันธสัญญาใหม่” พระสันตะปาปาฟรังซิส ตรัสว่า “โดย ธรรมชาติของตน พระศาสนจักร ก�ำลังเคลื่อน ไปโดยไม่จ�ำกัดตนอยู่ในขอบเขต แต่เปิดตนเอง ไปอย่างไร้ขอบเขต เพื่อน�ำข่าวดีแห่งพระวรสาร ไปสู่มนุษยชาติ ซึ่งท�ำให้เราคิดถึงคู่สมรสในพันธ สัญญาใหม่ นั่นคือ อาควิลา และ ปริสซิลลา” พี่น้องคงจะมีค�ำถามเกิดขึ้นว่า...

“อาควิลา และ ปริสซิลลา” คือใคร?


พ่อเชิญชวนให้พี่น้องให้พบค�ำตอบด้วยกัน ครับ ... อาควิลาและปริสซิลลาคือสามี-ภรรยา ชาวยิว ทีช่ ว่ ยงานประกาศข่าวดีในพระศาสนจักรยุค แรกเริ่ม ... ท่านทั้งสองได้พบกับเปาโล ได้รู้จัก ได้ คุ้นเคย ได้มีอาชีพเป็นช่างท�ำกระโจมด้วยกัน (กจ 18:1-3) และต่อมาทั้งคู่ได้ลงเรือเดินทางจากเมือง โครินธ์ไปยังเมืองเอเฟซัสกับเปาโล (กจ 18:18) และ ได้รบั การเรียกว่าเป็นผูร้ ว่ มงานของนักบุญเปาโล อัครสาวก (รม 16:3-4), ท่านทั้งสองช่วยอธิบายวิถี ทางของพระเจ้าอย่างละเอียดชัดเจนให้กบั ชาวยิว ผู้ร้อนรนในการประกาศข่าวดีที่ชื่อว่า อปอลโล (กจ 18:24-26) ท่านทั้งสองยังได้รับการเอ่ยถึงในการ กล่าวค�ำร�่ำลาด้วยความระลึกถึงจากท่านนักบุญ เปาโล ด้วย (1คร 16:19, 2ทธ 4:19) เมือ่ พีน่ อ้ งได้รบั ค�ำตอบเรียบร้อยแล้ว จึงพอ จะคาดเดาได้วา่ ท�ำไมพระสันตะปาปาฟรังซิส จึงยก ตัวอย่างสามีภรรยาคูห่ นึง่ ในการปราศรัยกับบรรดา นักกฎหมายและเจ้าหน้าทีศ่ าลพระศาสนจักร แห่งกรุง โรม (ก่อนหน้านี้ในการเข้าเฝ้าทั่วไป เมื่อวันพุธ ที่19 พฤศจิกายน 2019 พระองค์ทรงอธิบายค�ำสอนเรื่อง นี้ไปแล้ว) นั่นคือ พระองค์ประสงค์ให้เราทบทวน ตัวอย่างคูช่ วี ติ ทีช่ อื่ อาควิลาและปริสซิลลาและเชือ้ เชิญให้เราเลียนแบบชีวิตสมรสของท่าน ที่ด�ำเนิน ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างดี, ปฏิบัติตามค�ำสอนของพระ คริสตเจ้า และเป็นผู้ประกาศข่าวดีอีกด้วย

พระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเชื้อเชิญว่า “ให้เราเปิดใจให้พระจิตเจ้าทรงส่องสว่าง เพื่อจะ ทรงฟื้นฟูชีวิตของเราไม่ให้ยอมจ�ำนนต่อการเป็นคน จ�ำนวนน้อย และแยกตนเองจนขาดพลังของคู่ชีวิต ต้นแบบแห่งพันธสัญญาใหม่ แต่สามารถน�ำกิจการ แห่งความรอดพ้น ช่วยให้คนทั้งปวงมั่นใจได้ว่าพระ ศาสนจักรเติบโตขึ้น มิใช่ด้วยการเปลี่ยนศาสนา แต่ โดยการดึงดูดใจผู้คนจากการเป็นพยานข่าวดีด้วย ชีวิตคริสตชนอันน่าเคารพนับถือ” ขอให้ “อาควิลาและปริสซิลลา คู่ชีวิต คริสตชนต้นแบบแห่งพันธสัญญาใหม่” ช่วยให้เรา เป็นเชื้อที่ท�ำให้แป้งฟูขึ้น โดยเป็นพยานชีวิตคู่แบบ คริสตชนท่ามกลางสังคมปัจจุบันนี้ (ทั้งท�ำมาหากิน ด้วยน�ำ้ พักน�ำ้ แรงของตนและท�ำหน้าทีป่ ระกาศข่าวดี) ขอขอบพระคุณพระเจ้า ทีย่ งั ทรงประทานพระพรแก่ ลูกๆ ในพระศาสนจักรและให้เราได้เห็นแสงสว่าง เพื่อกลับสู่หนทางแห่งความเชื่อ มีความร้อนรน ต่อความรักในชีวติ คูแ่ บบทีอ่ าควิลาและปริสซิลลา เพือ่ เตือนใจเราในทุกการแต่งงานทีเ่ ฉลิมฉลองใน พระเยซูคริสตเจ้า อาควิลาและปริสซิลลา เป็นคูช่ วี ติ ทีป่ ระกาศ ข่าวดี ในชีวิตคู่ จึงสมควรแล้วที่ท่านทั้งสอง ที่ ธรรมประเพณีถือว่าท่านเป็นมรณสักขี ซึ่งจะได้ เป็นแบบอย่างส�ำหรับคู่ชีวิตคริสตชนในปัจจุบัน ทั้งหลายครับพี่น้อง

สุขสันต์ปัสกาแด่ทุกท่าน และขอพระเจ้าทรงคุ้มครองทุกคู่ชีวิตนะครับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 19


คริสตชน สังฆมณฑลจันทบุรี ร่วมเฝ้ารับเสด็จ พระสันตะปาปาฟรังซิส เสด็จเยือนประเทศไทย 20-23 พฤศจิกายน 2019

20


“Viva il Papa”

21


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม

โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี พระศาสนจักรมารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์เอาใจใส่ เรื่องการประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าในชีวิต ของสมาชิก โดยให้บรรดาบุตรของนางเอาใจใส่ต่อ ชีวติ ทีเ่ ต็มเปีย่ มไปด้วยพระพร และพระพรสูงสุดแห่ง การประทับอยูข่ ององค์พระผูเ้ ป็นเจ้าคือ การร่วมพิธี บูชาขอบพระคุณ (Eucharistia) เพื่อรับการประทับ อยูโ่ ดยตรงผ่านทางพระวาจา พระกายและพระโลหิต ศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสตเจ้า

“ข้าพเจ้าขอรับพระองค์ด้วยใจปรารถนา” พี่น้องที่รักทุกท่าน ในช่วงเวลาแห่งความ ยากล�ำบากนี้ (ช่วงเวลาแห่งการระบาดของไวรัส โควิด-19) เราอาจไม่มโี อกาสมาร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณ ที่วัด พระสงฆ์เชิญชวนเราให้ร่วมบูชาขอบพระคุณ ผ่านทางสื่อออนไลน์ และบอกว่าให้พวกเราฟังพระ วาจา และรับศีลมหาสนิทด้วยใจปรารถนา พ่อขอ น�ำความคิดและเตรียมจิตใจของพี่น้องสู่การร่วม พิธีกรรมดังกล่าว 22

-ศีลมหาสนิท “เป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิท์ นี่ า่ เคารพ บูชาสูงสุด ในศีลนีพ้ ระเยซูเจ้าเองสถิตอยู่ ถูกถวาย และถูกรับ ด้วยศีลนี้ พระศาสนจักรเจริญชีวติ และ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง การบูชานี้เป็นอนุสรณ์ แห่งการสิ้นพระชนม์ (Death) และการกลับคืน พระชนมชีพของพระคริสตเจ้า(Resurection)” (กฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 897) -ศีลมหาสนิท เป็นแหล่งก�ำเนิดและจุดสุด ยอดของชีวิตคริสตชน (Lumen Gentium 11) เป็นแหล่งก�ำเนิด (Source) : ศีลมหาสนิท เป็นที่บรรจุจิตวิญญาณทั้งหมดของพระศาสนจักร ซึง่ เป็นพระคริสตเจ้าเอง ศีลมหาสนิทเป็น “ท่อธาร” (fount) : ผ่านทางศีลฯนี้ เราได้รบั พระหรรษทานของ พระเจ้ามากมาย


เป็นจุดสุดยอดของชีวติ คริสตชน (Summit) พิธบี ชู าขอบพระคุณเป็นจุดสุดยอดแห่งชีวติ คริสตชน เพราะ เป็นบ่อเกิดของคารวกิจทัง้ มวลกับชีวติ คริสตชน กล่าวคือ ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ การภาวนา การเทศน์ สอน การอภิบาล กิจการและงานแห่งเมตตาของพระ ศาสนจักร ถูกเฉลิมฉลองในพิธแี ห่งการขอบพระคุณ พระเจ้านี้ ดังนัน้ สิง่ ทีเ่ ป็นการกระท�ำทีส่ ำ� คัญสูงสุดใน กิจการแห่งชีวติ ของพระศาสนจักรและแห่งชีวติ ของ คริสตชนทุกคนคือ พิธีบูชาขอบพระคุณ ในศีลแห่งการบูชาขอบพระคุณนี้ เราได้รับ ฟังพระวาจา “พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ และเสด็จมาประทับอยูใ่ นหมูเ่ รา” (ยน 1: 14) และ รับพระกาย-พระโลหิตของพระคริสตเจ้า “... นี่คือ กายของเราที่จะถูกมอบเพื่อท่าน ... นี่เป็นโลหิต ของเรา โลหิตแห่งพันธสัญญาที่หลั่งออกเพื่อคน จ�ำนวนมาก” (ลก 22 : 19 ; มก 14 : 24) โดยปกติเมื่อเรารับปัง ปังจะถูกเปลี่ยนเป็น ร่างกาย เป็นเลือดเนื้อของเรา ปังจะกลับกลายเป็น ตัวเรา แต่ด้วยปังที่ถูกถวาย (ได้รับการเสก) ในพิธี บูชาขอบพระคุณ มีสิ่งที่แตกต่างกันเกิดขึ้นคือ ตัว เราจะกลับกลายเป็นหนึ่งเดียวกับปัง! เมื่อร่างกาย เรารับปังซึ่งเป็นกายของพระคริสต์ ไม่ใช่พระคริสต์ ที่กลายมาเป็นเรา แต่เราจะกลับกลายเป็นร่างกาย ของพระองค์อย่างแท้จริง โดยปังทีพ่ ระเยซูทรงมอบให้เรา พระองค์ทรง ชักน�ำเราเข้าสู่พระองค์ ในเรื่องนี้นักบุญออกุสตินได้ อธิบายด้วยถ้อยค�ำที่สวยงามว่า “ปังที่เราเห็นบน พระแท่น ครั้งหนึ่งได้ถูกท�ำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยพระ จิตของพระเจ้า คือพระกายของพระคริสต์... หาก ท่านได้รับพระองค์อย่างเหมาะสม ตัวท่านเองจะ กลายเป็นสิ่งที่ท่านได้รับ”

ในการที่จะกลับกลายเป็นร่างกายของพระ คริสต์ก็หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเรา เราเป็น กายของพระคริสต์เมื่อเราคิดเหมือนพระคริสต์ เมื่อ เราท�ำตัวเหมือนพระองค์ เมื่อเราเดินในหนทางของ พระองค์ ปังที่ได้รับนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อน�ำเราให้ ติดตามพระเยซูคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า ด้วยความเชือ่ เช่นนีเ้ ราจึงมีจดุ มุง่ หมายทีจ่ ะ ท�ำตนให้มีชีวิตอยู่จากจิตวิญญาณของอาหารค�่ำมื้อ สุดท้ายและจิตวิญญาณแห่งการบูชาของพระคริสต เจ้าบนไม้กางเขน เมื่อเราได้รับปังและเหล้าองุ่น เรามุ่งมั่น ยอมรับอย่างอิสระและยอมรับด้วยความยินดีที่จะ ด�ำเนินชีวิตคล้ายกับพระเยซูคริสต์ เราไม่ได้รับปังนี้ เพียงเพือ่ ความสุขของเรา และไม่ใช่เพือ่ ความปลอดภัย เรารับเพื่อเสี่ยงชีวิตของเราและมอบชีวิตให้กับปัง นั้น ใครก็ตามที่ได้รับปังแห่งศีลมหาสนิท ในความ เป็นจริงควรส�ำนึกถึงค�ำพูดของอัครสาวกเปาโลทีว่ า่ “ข้าพเจ้าถูกตรึงกับพระคริสต์แล้ว : ข้าพเจ้ายังมี ชีวติ อยู่ มิใช่ตวั ข้าพเจ้าอีกต่อไป แต่พระคริสต์ทรง ด�ำรงชีวิตอยู่ในตัวข้าพเจ้า” (กท 2 : 19) จากแนวความคิดทีพ่ อ่ น�ำพาให้พนี่ อ้ งไตร่ตรอง คงจะเป็นแนวทางแห่งความคิดและจิตวิญญาณทีจ่ ะ น�ำพี่น้องให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความปรารถนา พี่น้อง จะได้เตรียมพร้อมรับพระคริสตเจ้าในพระวาจาและ ศีลมหาสนิทอย่างลึกซึ้งและชื่นชมยินดีนะครับ ขอ ให้พระองค์ผู้ประทับอยู่ในศีลมหาสนิททรงประทาน พระพรอันบริบูรณ์ให้พี่น้องทุกคนผ่านสถานการณ์ที่ ยากล�ำบากนี้ไปด้วยดีนะครับ

23


ถักทอสายใยแห่งรัก ทรงก�ำชับเขาไม่ให้น�ำสิ่งใดไปด้วย (มาระโก 6:8) ถ้อยค�ำสอนของพระคริสตเจ้า มักจะเรียกร้องให้มนุษย์ฝึกที่จะออกจากตนเอง และก้าวเข้าไปอยู่ในใจของผู้ที่ต�่ำต้อย และทุกข์ยากมากกว่าตน เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะเรียกร้องหาความสุขส่วนตนอยู่เสมอ หากไม่มีข้อค�ำสอนของพระคริสตเจ้าคอยเป็นกรอบในการด�ำเนินชีวิต มนุษย์ก็คงหลงลืมความรู้สึกเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นแน่แท้ ข้าพเจ้าเคยนึกสงสัยอยู่ในใจว่า ท�ำไมไม่เคยมีข้อค�ำสอนให้มนุษย์เจริญชีวิตอยู่บนความสุข หาหนทางสร้างความสะดวกสบายให้แก่ตนเองบ้าง แต่พอมาคิดถึงความเป็นจริง พื้นฐานของมนุษย์เองก็ไขว่คว้าหาความสุขอยู่แล้ว หากไม่มีกรอบข้อค�ำสอน มนุษย์คงหาความสุขจนลืมคิดถึงความทุกข์ของผู้อื่น แม้กระทั่งอาจจะไปเบียดเบียนผู้อื่นอย่างอยุติธรรม เพื่อความสุขส่วนตนด้วย นอกจากพระคริสตเจ้าจะมีกรอบให้มนุษย์ รู้จักเสียสละความสุขส่วนตัวแล้ว ยังเพาะบ่มความรัก การให้อภัยลงในใจของมนุษย์ด้วย ให้มนุษย์รู้จักที่จะรัก รู้จักที่จะอวยพรคนรอบข้างเพื่อให้เขามีความสุข แม้แต่บุคคลที่ไม่น่ารักเอาเสียเลย

องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสกับข้าพเจ้าว่า ไปเถอะ จงไปประกาศพระวาจาแก่อิสราเอล ประชากรของเรา (อาโมส 7:15) 24


พี่สาวตัวน้อยอายุเพียง 4 ปี มีน้องสาวตัวเล็กอายุ 3 ปี ที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงนัก พี่สาวตัวน้อยรับรู้ว่าน้องของตนไม่แข็งแรง เธอจึงพยายามที่ดูแลช่วยเหลือน้องในทุกทาง แม้ในหลายๆครั้ง น้องสาวตัวน้อยจะเกเรพี่สาวไปบ้าง แต่พี่สาวก็ให้อภัยเสมอ ไม่เคยถือโทษโกรธเลย ผิดกับเด็กๆหลายคนในวัยนี้ ถ้าถูกแย่งของเล่น เด็กๆทั่วไปก็จะแย่งกลับคืน แต่พี่สาวไม่เคยแย่งคืน เธอรอจนกว่าน้องจะทิ้งของชิ้นนั้น แล้วจึงน�ำกลับคืนมา พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้มีหัวใจรักเพื่อคนรอบข้าง ไม่ใช่เพื่อตนเองเท่านั้น เมื่อเราถูกเติมเต็มด้วยความรักจนล้นปรี่แล้ว เราจึงมีความรักมากพอที่จะแบ่งปันผู้อื่น เพราะคนที่ไม่มีก็ให้ไม่ได้ คนที่ไม่เคยให้ก็จะไม่มีต่อไป

เก็บเกี่ยวความรักจากแหล่งก�ำเนิดแห่งรัก น�ำมาทอถัก ให้เป็นผืนความรักอันยิ่งใหญ่ ที่พร้อมจะห่อห่มให้คนรอบข้างอบอุ่นใจ ทั้งยังเป็นผู้ให้ แบ่งใยรักกลับไปถักทอ ส่งต่อเส้นใยแห่งความรักอันสุขล้น ให้กับทุกๆคนที่ก�ำลังอ่อนแอระย่อท้อ ได้มีพลัง แห่งสายใยรักชักจูงให้ก้าวเดินต่อ และมีดวงตาแห่งรักที่เฝ้ารออย่างห่วงใย โดย น�้ำผึ้งหวาน 25


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ เข้าเงียบพระสงฆ์ ประจำ�ปี 2020 6-9 มกราคม 2020

26


27


28


29


30


31


32


33


34


35


36


37


ฉลองวันนักบวชสากล 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020

38


39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.