สายใยจันท์ V.32

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

Vol.32

FREE COPY แจกฟรี

กันยายน - ธันวาคม 2 0 2 0 ปีที่ 31

Merry Christmas

• แอมะซอนที่รัก • พระสงฆ์ใหม่ • กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ • การแต่งงาน กับ การมีลูก • ฉลองคริสต์มาสอย่างมีความหมาย


สายใยจันท์ สารสั ง ฆมณฑล

เจ้าของ สังฆมณฑลจันทบุรี

ผู้รับผิดชอบ แผนกสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี ที่ปรึกษา พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี พระสังฆราชกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต บรรณาธิการบริหาร คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี กองบรรณาธิการ สุรชัย รุธิรกนก | ศุภชัย พรมสาร | พีรภรณ์ ศรีโชค ศิลปกรรม สุรชัย รุธิรกนก พิสูจน์อักษร ศันสนีย์ สิริชัยเจริญกล บทความประจ�ำ คุณพ่อนรเทพ ภานุพันธ์ คุณพ่อนันทพล สุขส�ำราญ คุณพ่อประธาน ตันเจริญ คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ คุณพ่อเศกสม กิจมงคล คุณพ่ออภิชิต ชินวงค์ คุณพ่อเอกภพ ผลมูล เป้าหมาย ครอบครัวคริสตชนในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ขา่ วสาร กิจกรรม และความเคลือ่ นไหวต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตคริสตชนในมิติต่าง ๆ เป็นสื่อสร้างสรรค์ในครอบครัวคริสตชน ส�ำนักงาน 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์: 08-9245-2611 E-mail: chandiocese@gmail.com Website: www.chandiocese.org Facebook: สื่อมวลชนคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี 2

สารบั ญ Contents 4 สารพระสังฆราช พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี 6 แผนกคริสตศาสนธรรม ฉลองคริสต์มาสอย่างมีความหมาย 8 เรื่องเด่น กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่

แอมะซอนที่รัก สมณสาส์น “พี่น้องชายหญิงทุกคน”

18 ฝ่ายการศึกษา โรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑลจันทบุรี 20 มิสซังแนะนำ� พระสงฆ์ใหม่ สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี 24 กฎหมายพระศาสนจักร การแต่งงานกับการมีลูก 26 แผนกพิธีกรรม การภาวนาขอบคุณพระเจ้าหลังการสารภาพบาป 28 แผนกครอบครัว ครอบครัวคริสตชนเป็นพระศาสนจักรระดับบ้าน 32 ฝ่ายสังคม กิจกรรม “บ้านเมตตา” 36 แผนกเยาวชน ปีเยาวชน 2021 ความหมายของโลโก้

38 บทภาวนา โอกาสส่งท้ายปีเก่า/ต้อนรับปีใหม่


Editor’s talk

บรรณาธิการ ภาพรวมของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดโควิด-19 ระดับโลกในปัจจุบัน ก�ำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง และยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง วัคซีนก็ยังไม่สามารถค้นพบ ผู้ติด เชือ้ เพิม่ ขึน้ ผูเ้ สียชีวติ มากขึน้ ไม่วา่ จะเป็นทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และแม้กระทัง่ ประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศของเรา

หากเรามองภาพรวมแบบนี้ เราจะรูส้ กึ ว่าประเทศไทยของเรายังโชคดีกว่าอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก และท�ำให้เราได้เห็นจุดแข็งของสังคมไทยที่ท�ำให้เรายังสามารถป้องกันข้าศึก ที่เรามองไม่เห็นมาได้จนถึงปัจจุบัน อันได้แก่ การให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจัง (การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง) การเคารพกฎระเบียบข้อบังคับ (พรก. ฉุกเฉิน) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วน ตน (การปิดร้านค้าต่าง ๆ) ความมีน�้ำใจ (ตู้แบ่งปันความสุข) คุณภาพของเวชบุคคล (แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้านหรือ อสม.) และความพร้อมทาง ด้านสาธารณสุขขนาดใหญ่ ฯลฯ ฉันใดก็ฉันนั้น พระศาสนจักรซึ่งเป็นดังเครื่องหมายของอาณาจักรสวรรค์ในโลกนี้ ก็ ต้องต่อสู้กับเชื้อโรคฝ่ายวิญญาณอยู่ตลอดเวลา การจะเอาชนะศัตรูฝ่ายวิญญาณจึงจ� ำเป็น ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ การปฏิเสธต่อการกระท�ำบาปและวัฒนธรรมแห่งความตาย ความจริงจังในการสวดภาวนาและปฏิบตั ศิ าสนกิจ การยึดมัน่ ในพระบัญญัตขิ องพระเจ้าและของ พระศาสนจักร การยืนยันความเชื่อด้วยชีวิตและกิจการแห่งความรัก การเป็นประจักษ์พยาน ถึงจิตตารมณ์ของพระวรสาร การตักเตือนกันและกันด้วยความรักพร้อมกับการรับฟังกันและ กันด้วยความสุภาพ การเปลี่ยนแปลงหนทางการด�ำเนินชีวิต (การกลับใจ) การท�ำหน้าที่ของ แต่ละคนด้วยความรับผิดชอบ และความร่วมมือกันของคริสตชนในฐานันดรต่าง ๆ ดังเช่นสมณสาส์นของพระสันตะปาปาฟรังซิสฉบับล่าสุดที่มีชื่อ ว่า “พี่น้องชายหญิงทุกคน” (Fratelli Tutti) ที่เน้นถึงความเร่งด่วนด้าน ต่าง ๆ ส�ำหรับคนยุคปัจจุบันต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อันได้แก่ ปัญหาความยากจน การสร้างสันติภาพ ความสัมพันธ์กบั สิง่ แวดล้อม การ ฟื้นฟูคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม และความรักฉันน้องพี่ ด้วยความเคารพรัก

คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี 3


สารพระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า ในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระองค์ทรงเขียนพระสมณสาส์น หลายฉบับซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างทั้งในพระศาสนจักรและนอกพระศาสนจักร เพราะ แสดงออกถึงภาษาที่เรียบง่าย สัมผัสชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะผู้ยากไร้ เข้าถึงปัญหาแท้จริงของ พระศาสนจักร สังคมและโลกอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นสากล มีพระสมณสาส์นฉบับหนึง่ ทีไ่ ด้รบั การกล่าวถึงอย่างมากในสังคมโลกเพราะกล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงระบบนิเวศและผลกระทบ ต่อสิง่ แวดล้อมในโลกยุคปัจจุบนั คือ Laudato si’ (ขอสรรเสริญองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า) ซึง่ ถือว่าเป็น ‘Magna Carta’ เกีย่ วกับการดูแลรักษาโลกทีม่ นุษย์ทกุ คนอาศัยอยูร่ ว่ มกัน พระสมณสาสน์ฉบับ นี้ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2015 และเมื่อเร็ว ๆ นี้ พระองค์ยังออกพระสมณ ลิขิตอีก 2 ฉบับที่เป็นผลต่อเนื่องจาก Laudato Si คือ Querida Amazonia (แอเมซอนที่รัก) ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2020 และ Fratelli Tutti (เราทั้งผองพี่น้องกัน) ประกาศเมื่อ วันที่ 3 ตุลาคม 2020 เพื่อให้คริสตชนและผู้มีน�้ำใจดีทั้งหลายตระหนักถึงภารกิจที่แต่ละคนมี ต่อโลกนี้และสังคมมนุษย์ซึ่งทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน บทความในฉบับนี้จะท�ำให้ทุกท่าน ทราบพระประสงค์ของพระสันตะปาปาจากพระสมณลิขิตทั้ง 3 ฉบับนี้ที่ต้องการให้เราตระหนัก และร่วมรับผิดชอบต่อโลกที่เราอาศัยอยู่ ชีวิตของสังฆมณฑลและชีวิตของเราแต่ละคนยังคงด�ำเนินต่อไปในยุคของ Covid-19 แม้เราจะท�ำได้ดีในการป้องกันการระบาดของโรค แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ก็ท�ำให้ วิถีชีวิตต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนไปบ้าง เหตุการณ์ใดใดที่เกิดขึ้น ล้วนแต่ให้บทเรียนแก่เราที่ จะเรียนรู้ ส่วนใครจะถอดบทเรียนได้อย่างไร ได้ผลเป็นบวกหรือเป็นลบ เปลีย่ นวิกฤตเป็นโอกาส หรือจมดิ่งลงไปอีก ก็ขึ้นกับคน ๆ นั้นและปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงวิสัยทัศน์และทัศนคติของแต่ละ คน ดังค�ำนิพนธ์ของท่านภราดาฮีแลร์ ทีว่ า่ “สองคนยลตามช่อง คนหนึง่ มองเห็นโคลนตม คน หนึ่งตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” อย่างไรก็ดี ขอภาวนาและเป็นก�ำลังใจให้แก่ ทุกคนที่ก�ำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายการด�ำเนินชีวิตในปัจจุบัน ขอให้เห็นแสงสว่างและ หนทางเดินข้างหน้าที่สวยงาม ขอให้เชื่อมั่นและไว้ใจในพระเจ้า เราอยู่ในการดูแลของพระองค์ โอกาสฉลองพระคริสตสมภพ ความหวังที่มนุษย์รอคอย ได้กลับกลายเป็นความจริง เมื่อพระผู้ไถ่ที่พระเจ้าทรงสัญญาจะส่งมายังโลกเสด็จลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ น�ำความสุขและ ความชื่นชมยินดีมาสู่มนุษย์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเราคริสตชนทั้งหลาย ขอให้เทศกาลพระ คริสตสมภพน�ำความหวังและความสดชื่นแก่ผู้คนที่ยังคงรอคอยและหิวกระหายฝ่ายจิตใจ และ ขอพระเจ้าประทานพระพรแห่งความรักและสันติสุขแก่พี่น้องทุกท่านเสมอไป 4


สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีปีใหม่ 2021 (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

5


แผนกคริสตศาสนธรรม

ฉลองคริสต์มาส

อย่างมีความหมาย โดย คุณพ่อยอห์น บัปติสตา นุพันธุ์ ทัศมาลี

ประวัติวันคริสต์มาส คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระ เยซูคริสตเจ้าในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ค�ำว่า “คริสต์มาส” เป็นค�ำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึง่ มาจากค�ำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า พบครั้งแรก ในเอกสารโบราณภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 ใน ภาษาไทยค�ำว่า “มาส” แปลว่า เดือนที่เราระลึกถึง พระเยซูคริสตเจ้าเป็นพิเศษ อีกความหมายหนึง่ ของ ค�ำว่า “มาส” แปลว่า ดวงจันทร์ ฉะนั้น จึงตีความ หมายเป็นภาษาไทยได้อีกอย่างหนึ่งคือ พระเยซูทรง เป็นความสว่างของโลกเหมือนดวงจันทร์เป็นความ สว่างในตอนกลางคืน ตามหลักฐานในพระวรสาร (ลูกา 2:1-3) พระ เยซูบังเกิดในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกัสตัส สั่งให้ จดทะเบียนส�ำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยมีคีรีนิอัส เป็นเจ้าเมืองซีเรีย ซึ่งในพระวรสารไม่ได้บอกว่าเป็น วันหรือเดือนอะไร สมัยก่อนคริสตชนคิดเอาว่าทีม่ กี าร 6

ฉลองคริสต์มาสในวันที่ 25 ธันวาคมนัน้ ก็เพราะเป็น วันเกิดของพระเยซูเจ้าตามทะเบียนเกิดซึง่ เป็นเอกสาร ทีค่ รี นี อิ สั เก็บไว้ แต่ทจี่ ริงเอกสารนีไ้ ด้สญ ู หายไปหมด แล้ว นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถค้นพบได้ นักประวัติศาสตร์หาสาเหตุต่าง ๆ ว่าท�ำไม คริสตชนจึงเลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลอง คริสต์มาสตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา และก็ให้ค�ำ อธิบายต่าง ๆ กัน แต่ค�ำอธิบายหนึ่งที่สมเหตุสมผล หรือมีน�้ำหนักมากที่สุดคือ ในปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิ ออรีเลียน (Aurelian) ได้ก�ำหนดให้วนั ที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพผู้ทรงพลัง กล่าว ตามความรู้ทางวิชาดาราศาสตร์สมัยนั้น วันนั้นเป็น วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลที่สุดจากเส้นศูนย์สูตรของ โลก และเริ่มหมุนไปทางด้านเหนือของท้องฟ้า วัน ใหม่เริ่มยาวขึ้น ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่าและ ถือเสมือนว่าเป็นวันฉลองของพระเจ้าจักรพรรดิไป ในตัวด้วย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิก็เปรียบเสมือน ดวงอาทิตย์ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์


แผนกคริสตศาสนธรรม

คริสตชนทีอ่ ยูใ่ นจักรวรรดิโรมันรูส้ กึ อึดอัดใจที่ จะฉลองวันเกิดของดวงอาทิตย์ ตามประเพณีของชาว โรมัน จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูแทน โดย วันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.330 เริม่ มีการฉลองคริสต์มาส อย่างเป็นทางการและอย่างเปิดเผย เนือ่ งจากก่อนนัน้ มีการเบียดเบียนคริสตชนอย่างรุนแรง (ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 64-313) ท�ำให้คริสตชนไม่มีโอกาสฉลองอะไรอย่าง เปิดเผย อีกนัยหนึง่ ในพระคัมภีร์ (มาลาคี 4:2) เรียก พระเจ้าว่าเป็น “ดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรม” จึงเห็นว่ามีหลักฐานในพระคัมภีรส์ นับสนุนให้ถอื วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันเกิดของพระเยซู

เทศกาลคริสต์มาสในปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร เทศกาลคริสต์มาสแบ่งออกเป็น 2 ระยะเวลา คือ 1. เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ถือเป็นการ เริ่มต้นปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร พระสงฆ์ สวมอาภรณ์สีม่วง เทศกาลนี้ มี 4 สัปดาห์ มี ช่วงระยะเวลาทีเ่ ข้มข้นในการเตรียมสูเ่ ทศกาล พระคริสตสมภพ 9 วันหรือนพวาร ล่วงหน้า คือ ตัง้ แต่วนั ที่ 17-25 ธันวาคม ในพิธกี รรมท�ำวัตร และบูชามิสซามีบทอ่านและบทภาวนาพิเศษ

ท่าทีแห่งการเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า 1. ท่าทีของ “การตืน่ เฝ้า” ด้วยความเชือ่ การภาวนา และความพร้อมที่จะรับรู้ถึง “เครื่องหมาย” ของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้าในสถานการณ์ จริงของชีวิต 2. ท่าทีของ “การเดินทาง” ตามหนทางทีพ่ ระเจ้า ทรงให้ไว้ เป็นหนทางของ “การกลับใจ” เพื่อ ติดตามพระเยซูสู่อาณาจักรของพระบิดา (จง ท�ำทางของท่านให้ตรง, มก 1:3) 3. ท่าทีของ “ความยินดี” ที่น�ำเราไปหาพระเยซู เจ้า ซึง่ แสดงออกมาในความรักและความเพียร ต่อผู้อื่น 4. ท่าทีของ “ความยากจน” ในจิตใจ และการ ท�ำใจให้ว่างเหมือนกับแม่พระ, นักบุญโยเซฟ, นักบุญยอห์น ผู้ท�ำพิธีล้าง, และ “คนจนของ พระวรสาร” เพื่อจะรู้จักเห็นพระเยซูและผู้ เสด็จมาแบบที่เราไม่คาดคิด

2. เทศกาลพระคริสตสมภพ เริ่มต้นตั้งแต่เย็นวัน ที่ 24 ธันวาคม สิน้ สุดวันอาทิตย์ฉลองพระเยซู เจ้าทรงรับพิธีล้าง พระสงฆ์สวมอาภรณ์สีขาว หลังจากวันพระคริสตสมภพ พระศาสนจักร มีการเฉลิมฉลอง 8 วันหรือเรียกว่าอัฐมวาร พระคริสตสมภพเช่นเดียวกันกับเทศกาลปัสกา 7


กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่

ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” คุณพ่อยอห์น บัปติสตา นุพันธุ์ ทัศมาลี เรียบเรียง

สมัชชา หมายถึงอะไร? “สมัชชา” (Synod) คือการประชุมกันของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อ วัตถุประสงค์บางประการ พระศาสนจักรเองก็ใช้การประชุมสมัชชาเพื่อหา แนวทางในการท�ำงานร่วมกัน เพือ่ แก้ปญ ั หาบางอย่าง หรือน�ำเสนอข้อค�ำสอน ทีถ่ กู ต้องเกีย่ วกับข้อความเชือ่ ต่าง ๆ โดยอาศัยการพิจารณาจากสถานการณ์ หรือความเป็นจริงที่เกิดขึ้น จากนั้นน�ำมาวิเคราะห์เพื่อหากฎเกณฑ์ในการ แก้ไขปัญหาหรือน�ำเสนอแนวทางที่เหมาะสม สุดท้ายออกเอกสารเพื่อให้ทุก คนน�ำไปปฏิบัติตาม 8


พระศาสนจักรในประเทศไทย เคยมีการสมัชชามาแล้วกี่ครั้ง? ครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อ ค.ศ. 1664 หลังจากที่ บรรดามิชชันนารีเข้ามาท�ำงานได้ระยะหนึง่ ผลของการสมัชชา ในครั้งนั้นท�ำให้ทางกรุงโรมรับรองความเป็นพระศาสนจักรใน ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และมีแนวทางในการท�ำงานแพร่ ธรรมอย่างเหมาะสม ครั้งที่สองที่ศูนย์อภิบาลอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ บ้านผูห้ ว่าน อ. สามพราน จ.นครปฐม เมือ่ ค.ศ. 2015 โอกาส 350 ปี แห่งการก่อตัง้ พระศาสนจักรในประเทศไทย เพือ่ หาแนวทางในการประกาศข่าวดีให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ผลของการสมัชชาครั้งที่สองนี้ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้ออกกฤษฎีกา สมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสต ศักราช 2015 “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวติ ประกาศข่าวดีใหม่” ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน สภาพความเป็นจริงในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นอย่างไร สังคมไทยมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนา ทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ท�ำให้สังคมเปลี่ยนไปจากเดิม อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบ ทางด้านจิตใจของผู้คนในสังคม ท�ำให้สนใจแต่ความเจริญทาง ด้านวัตถุในขณะที่คุณค่าทางศีลธรรมถูกลดคุณค่าลง สถาบัน ทางสังคมอ่อนแอ การเป็นเหยื่อของการใช้เทคโนโลยีอย่างไม่ เหมาะสมและถูกต้อง อัตราการเกิดอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น ความท้าทายของ พระศาสนจักรคาทอลิก พระศาสนจักรคาทอลิกเป็นเสมือนคนกลุ่มน้อยของ ประเทศ จ�ำเป็นต้องเจริญชีวติ เป็นศิษย์พระคริสต์ให้เข้มข้น มุง่ มัน่ เดินสวนกระแสโลกียน์ ยิ มทีม่ คี วามคิดว่าศาสนาเป็นอุปสรรค ต่อความก้าวหน้าของมนุษย์ มีความเป็นหนึง่ เดียวกันโดยมีพระ เยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง 9


ศิษย์พระคริสต์คือใคร? และต้องด�ำเนินชีวิตอย่างไร? ศิษย์พระคริสต์คือทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาป และด�ำเนินชีวติ ร่วมกันด้วยความรักฉันพีน่ อ้ งในระดับ ต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ชุมชนคริสตชนย่อยในวิถชี มุ ชน วัด องค์กรคาทอลิก ชุมชนวัด หมู่คณะนักบวช หมู่ คณะสงฆ์ และสังฆมณฑล การประกาศข่าวดีใหม่ ต้องท�ำอย่างไร? หัวใจของการประกาศข่าวดีคือการประกาศ ข้อค�ำสอนของบรรดาอัครสาวกเรื่องพระเยซูเจ้า (Kerygma) ซึง่ มีศนู ย์กลางอยูท่ พี่ ระธรรมล�ำ้ ลึกปัสกา คือ พระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับ คืนพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้า แม้ว่าเนื้อหา จะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่พระศาสนจักรต้อง ประกาศด้วยความกระตือรือร้น ด้วยวิธีการและ การแสดงออกใหม่ ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่ เปลี่ยนแปลงไป กลุ่มเป้าหมายหลักของ การประกาศข่าวดีใหม่นี้คือใคร? 1. ผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ที่ไม่ยอมรับ และผู้ที่ปฏิเสธพระองค์ในทุกภาคส่วนของพระ ศาสนจักรและสังคม 2. คริสตชนที่มาร่วมพบปะเป็นประจ�ำและผู้ที่มา ชุมนุมกันในวันพระเจ้า 3. บุคคลที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วแต่มิได้ด�ำเนิน ชีวิตตามพันธกิจของศีลล้างบาป และมิได้รับ ความบรรเทาใจแท้จริงจากความเชือ่ โดยสาเหตุ ใด ๆ ก็ตาม 10

สนามและฐานเพื่อการฟื้นฟู การประกาศข่าวดีใหม่มีที่ใดบ้าง? 1. วัดและชุมชนวัด 2. การท�ำวิถีชุมชนวัด 3. ครอบครัวคริสตชน 4. โรงเรียนคาทอลิก ขอบฟ้าใหม่เพื่อ การประกาศข่าวดีคือที่ใดบ้าง? 1. คนยากจน 2. การส่งเสริมคุณค่าและศักดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์ 3. สิ่งแวดล้อม 4. การปรับเข้าสู่วัฒนธรรมและการเสวนา 5. การท�ำคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ 6. การท�ำศาสนสัมพันธ์ เครื่องมือและมาตรการเพื่อฟื้นฟู การประกาศข่าวดีใหม่มีอะไรบ้าง? 1. สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ศิษย์พระคริสต์ทุก คนตระหนักและเชื่อมั่นในกฤษฎีกานี้ 2. การปรับโครงสร้างของพระศาสนจักรเพื่อการ ประกาศข่าวดีใหม่ 3. การท�ำงานเป็นทีมและเครือข่าย 4. จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการประกาศ ข่าวดีใหม่ 5. สร้างกระแสเรียกเพื่อเป็นผู้อภิบาลและผู้ร่วม อภิบาล 6. ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการอภิบาล และการประกาศข่าวดี 7. แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่ออ�ำนวยการงานตาม กฤษฎีกา


แอมะซอนที่รัก (Querida Amazonia) คุณพ่อยอห์น บัปติสตา นุพันธุ์ ทัศมาลี เรียบเรียง

พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ออกสมณลิขติ เตือนใจหลังจากทีไ่ ด้จดั ให้มกี ารสมัชชาของพระสังฆราชในภูมภิ าค แอมะซอน (อเมริกาใต้) ระหว่างวันที่ 6-27 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ที่นครรัฐวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ในหัวข้อที่ว่า “แอมะซอน: วิถีทางใหม่ส�ำหรับพระศาสนจักรและระบบนิเวศแบบองค์รวม” โดยใช้ระยะเวลาในการเตรียมการสมัชชาประมาณ 2 ปี ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นมากกว่า 300 ครั้ง จากประชาชนที่มีส่วนร่วมโดยตรงในการประชุมระดับประเทศ 22,000 คน และในระดับวัด 65,000 คน แอมะซอนคืออะไร? “แอมะซอน” เป็นเขตป่าดิบร้อนชื้นกว้าง ใหญ่ไพศาลในทวีปอเมริกาใต้ มีพนื้ ทีป่ ระมาณ 7 ล้าน ตารางกิโลเมตร กินอาณาบริเวณ 9 ประเทศ คือ บราซิล (ร้อยละ 60), เปรู (ร้อยละ 13), โคลัมเบีย (ร้อยละ 10), เวเนซุเอลา, เอกวาดอร์, โบลิเวีย, กาย อานา, ซุรินาม, และ เฟรนซ์เกียนา มีความหลาก หลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก มีพันธุ์ไม้มากกว่า 40,000 ชนิด มีต้นไม้ประมาณ 390 พันล้านต้น มีนก 1,300 ชนิด มีปลา 3,000 ชนิด มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นม 430 ชนิด มีแมลง 2.5 ล้านชนิด ผลิตออกซิเจน ให้กับโลกประมาณ 20 เปอร์เซนต์ สามารถกักเก็บ คาร์บอนไดออกไซด์ได้ 100 พันล้านตันหรือประมาณ 10 เท่าของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อ เพลิงฟอสซิลทั่วโลกได้ในแต่ละปี มีแม่น�้ำสายน้อย ใหญ่จ�ำนวนมากมายกระจายอยู่ทั่วพื้นที่

ปัจจุบันแอมะซอนมีผู้คนอาศัยอยู่ประมาณ 33.6 ล้านคน ซึ่ง 2.5 ล้านคนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ประมาณ 500 เผ่า (มี 50 เผ่า ที่ไม่เคยออกมาสัมผัส โลกภายนอกเลย) ความหลากหลายทางชีวภาพท�ำให้ เกิดความร�่ำรวยทางวัฒนธรรม ความลึกซึ้งทางจิต วิญญาณ และความผูกพันอยู่กับธรรมชาติ อันเป็น แหล่งที่มาของมรดกทางจิตวิญญาณที่เป็นรากฐาน ส�ำคัญของการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

N 0

500

1000

Kilometers

11


เกิดอะไรขึ้นกับแอมะซอน! จากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในหลายทศวรรษทีผ่ า่ นมา แอมะซอนถูกท�ำลาย โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของป่าถูกทดแทนด้วยพืน้ ทีเ่ ลีย้ งสัตว์ ท�ำไร่ถวั่ เหลืองและปลูกอ้อย เพือ่ ผลิตน�ำ้ ตาล การลักลอบ ตัดต้นไม้ ล่าสัตว์ การปล่อยสารพิษลงไปในแม่นำ�้ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทที่ ำ� ลายทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การกระท�ำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและท�ำลายชีวิตแบบองค์รวมของผู้คนที่อาศัยอยู่ ในแถบบริเวณนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มชาติพันธุ์และคนยากจนที่ต้องด�ำรงชีพด้วยการพึ่งพาทรัพยากร ทางธรรมชาติ นอกจากนีแ้ ล้ว ความเจริญทางด้านวัตถุยงั ได้ทำ� ลายโครงสร้างอันงดงามของสังคมแบบดัง้ เดิม มนุษย์ ถูกลดคุณค่าลงในระดับวัตถุ และเป็นเครือ่ งมือของการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ การใช้ความรุนแรงใน ทุกระดับ ยาเสพติด การค้ามนุษย์และอวัยวะ ธุรกิจทางเพศ การอพยพลี้ภัย อาชญากรรม การสูญเสียอัต ลักษณ์ทางวัฒนธรรม (ภาษา ความลึกซึ้งฝ่ายจิตวิญญาณ และประเพณีต่าง ๆ) โดยผู้เป็นเหยื่อส่วนใหญ่คือ เด็กและสตรี

จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น พระศาสนจักรเรียกร้องการกลับใจแบบองค์รวมอย่างแท้จริง ด้วยความ เรียบง่ายและกระตือรือร้นในการดูแลสิง่ สร้างของพระเป็นเจ้าซึง่ ก็คอื “บ้านส่วนรวม” ของเรานัน่ เอง (Common House, ข้อ 17) การกลับใจนี้สามารถแบ่งออกเป็น 4 มิติด้วยกัน ดังต่อไปนี้ คือ 1. การกลับใจด้านการอภิบาล พระศาสนจักรซึง่ มีธรรมชาติเป็นธรรมทูตผู้ ออกไปประกาศข่าวดี จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องออกไปเรียกร้อง สิทธิและศักดิ์ศรีเพื่อคนยากจนและบุคคลชายขอบ 12

น�ำพวกเขากลับไปสูร่ ากเหง้าทางวัฒนธรรมด้วยการ เสวนา คริสตศาสนสัมพันธ์ และศาสนสัมพันธ์ อัน อยู่บนพื้นฐานของความจริงใจและการแสดงความ เคารพต่อจิตวิญญาณของพวกเขา โดยเฉพาะอย่าง


ยิ่ง บรรดาคนยากจนและผู้อพยพ ตลอดจนความ ท้าทายของบรรดาเยาวชนในปัจจุบนั ต่อความฝันของ พวกเขาส�ำหรับการมีชีวิตที่ดีขึ้น จากผลกระทบของ ความรุนแรง การถูกล่วงละเมิด ความยากจน สภาพ สังคมที่เปลี่ยนไป และการฆ่าตัวตาย 2. การกลับใจด้านวัฒนธรรม พระศาสนจักรควรน�ำประชากรกลับไปยัง บ่อเกิดของความอุดมสมบูรณ์แห่งชีวิตของพวกเขา ซึ่งสามารถพบได้ในประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ณ สถานที่นั้นเอง พวกเขาจะค้นพบคุณค่าที่แท้จริง ของชีวติ เรียนรูพ้ นื้ ฐานของสิทธิและศักดิศ์ รีความเป็น มนุษย์ การเคารพซึ่งกันและกัน สิ่งแวดล้อม อาศัย การปรับเข้าสู่วัฒนธรรม (Inculturation) พวกเขา จะค้นพบคุณค่าของพระวรสารในวัฒนธรรมของพวก เขา ความศรัทธาที่พวกเขาแสดงออกจะช่วยท�ำให้ จิตวิญญาณของเขาเติบโต การปรับเข้าสูว่ ฒ ั นธรรม ควรทีจ่ ะส่งเสริมความหลากหลายของวัฒนธรรมท้อง ถิน่ รวมทัง้ ความรูท้ างด้านเทววิทยาควรทีจ่ ะถูกปรับ เข้าสู่วัฒนธรรมของพวกเขาเหล่านั้นด้วย การฟื้นฟู วัฒนธรรมแบบองค์รวมควรจะรวมถึงสุขภาพร่างกาย การศึกษา และการติดต่อสื่อสาร ทั้งนี้ ภูมิปัญญา ท้องถิ่นควรถูกน�ำมาพิจารณาให้เห็นคุณค่าส�ำหรับ คนรุ่นปัจจุบันต่อไป 3. การกลับใจทางด้านชีววิทยา จากสถานการณ์ปจั จุบนั โลกของเราต้องการ การกลับใจทางด้านชีววิทยาแบบองค์รวม ทีจ่ ะสามารถ พาพวกเรากลับไปสูค่ วามอุดมสมบูรณ์ไม่เพียงเฉพาะ ของโลกเท่านัน้ แต่ยงั เป็นของมนุษยชาติอกี ด้วย (เทียบ เลาดาโต ซี ข้อ 19) นั่นก็คือการให้ความเคารพต่อ

สภาพแวดล้อมทีเ่ ป็นบ้านส่วนรวมของเราและการให้ ความเคารพทุก ๆ คน ที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งส่วนตัว และส่วนรวม ทัง้ ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจด้วย ดังนั้น สภาพแวดล้อมทางสังคมกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของการประกาศข่าวดีของพระศาสนจักรในปัจจุบัน นี้ พระศาสนจักรควรให้ความรูท้ างด้านศีลธรรมและ ชีวิตจิตแก่บรรดาสัตบุรุษ ป้องกันชีวิตของพวกเขา รวมถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โลกของเราก� ำ ลั ง เผชิ ญ หน้ า กั บ การล่ า อาณานิคมสมัยใหม่ ที่สามารถพบเห็นได้จากผลกระ ทบทีเ่ กิดขึน้ จากประเทศทีม่ อี ทิ ธิพลทางด้านเศรษฐกิจ การท�ำธุรกิจที่ไร้มนุษยธรรม การค้าก�ำไรเกินควร และการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่อ่อนแอกว่า ท�ำให้หลายคนหรือหลายประเทศต้องกลายเป็นทาส ทางด้านเศรษฐกิจ ในขณะทีบ่ างคนหรือบางประเทศ ร�่ำรวยขึ้น 4. หนทางใหม่ของพระศาสนจักร จากสมัชชาของบรรดาพระสังฆราชในภูมภิ าค แอมะซอน พระจิตเจ้าได้น�ำทางพระศาสนจักรให้ได้ เห็นเครือ่ งหมายของกาลเวลา นัน่ ก็คอื “การกลับใจ ทางชีววิทยาแบบองค์รวม” ดังนั้น พระศาสนจักร ควรจะท�ำให้พระพักตร์ของพระเยซูเจ้าปรากฏขึน้ อีก ครัง้ หนึง่ ในการฟืน้ ฟูวฒ ั นธรรมต่าง ๆ ของมนุษยชาติ ทุก ๆ คนในพระศาสนจักรควรจะตระหนักและช่วย เหลือกันและกันในขอบเขตความรับผิดชอบของตน ที่จะรักษาดูแลบ้านส่วนรวม (Common Home) และช่วยกันท�ำให้คุณค่าพระวรสารหยั่งรากลึกลงใน วัฒนธรรมต่าง ๆ “ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนสัมพันธ์กัน” (Everything is connected) 13


สมณสาส์น “พี่น้องชายหญิงทุกคน” คุณพ่อยอห์น บัปติสตา นุพันธุ์ ทัศมาลี เรียบเรียง

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2020 พระสันตะ ปาปาฟรังซิส ได้ลงนามในสมณสาส์น (Encyclical Letter) ฉบับที่ 3 ในพระสมัยของพระองค์ที่ชื่อ ว่า “Fratelli tutti” เป็นภาษาอิตาเลียน แปลว่า “พี่น้องทุกคน” (ตรงกับภาษาลาตินว่า “Fratres Omnes” ในภาษาอังกฤษมีนัยยะว่า “Brothers and Sisters All” ณ พระมหาวิหารนักบุญฟรังซิส เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี ค�ำ ๆ นี้ เป็นส่วนหนึง่ ของ ค�ำตักเตือนของนักบุญฟรังซิสที่ว่า “ให้พวกเราทุก คน, พี่น้องทั้งหลาย, พิจารณาถึงนายชุมพาบาล ทีด่ ผี ซู้ งึ่ ช่วยเหลือลูกแกะของพระองค์ดว้ ยการรับ ทนทุกข์ทรมานบนไม้กางเขน” “Fratrelli e sorelle” (Brothers and Sisters All) ค�ำ ๆ นี้ ยังเป็นค�ำแรกที่พระสันตะ ปาปาฟรังซิส ได้ตรัสกับมหาชนหน้าลานพระมหา วิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม หลังจากที่พระองค์ได้ 14

ทรงรับการเลือกตั้งจากบรรดาพระคาร์ดินัลให้เป็น พระสันตะปาปาองค์ที่ 266 สืบทอดต�ำแหน่งต่อจาก นักบุญเปโตร อัครสาวก เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2013 โดยพระนามที่พระองค์ทรงเลือกใช้คือ “ฟรัง ซิส” หมายถึง นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี ซึ่งเป็น พระสันตะปาปาองค์แรกที่ทรงเลือกใช้พระนามนี้ การที่พระสันตะปาปาทรงเลือกใช้พระนามนี้แสดง ว่าพระองค์มีความประทับใจในชีวิตของนักบุญฟรัง ซิส แห่งอัสซีซี และต้องการน�ำจิตตารมณ์ของท่าน นักบุญมาเป็นแนวทางในการท�ำงานของพระองค์ใน ฐานะที่เป็นผู้น�ำอันดับที่หนึ่งของพระศาสนจักร โดย ค�ำสอนของนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี โดดเด่นในเรือ่ ง ความยากจน สันติภาพ ความสัมพันธ์กบั สิง่ แวดล้อม และความรักฉันน้องพี่ สมณสาสน์ของพระองค์ฉบับนีแ้ บ่งออกเป็น 8 บทด้วยกัน ดังมีรายละเอียดทีส่ ำ� คัญดังต่อไปนี้ คือ


บทที่ 1

บทที่ 2

เมฆด�ำเหนือโลกที่ปิดสนิท

คนแปลกหน้าบนท้องถนน

ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมามีความพยายามที่ จะรวมกลุ่มของประเทศต่าง ๆ เช่น สหภาพยุโรป ลาตินอเมริกา และอีกหลาย ๆ กลุ่มประเทศทั่วโลก เพื่อความร่วมมือกันระหว่างประเทศในการส่งเสริม ทางด้านเศรษฐกิจ สันติภาพ และความช่วยเหลือกัน ด้านต่าง ๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งตรงกัน ข้ามกับความตัง้ ใจทีม่ มี าก่อน หลายประเทศแสวงหา อ�ำนาจทางเศรษฐกิจจนเกิดเป็นความเห็นแก่ตวั รูปแบบ ใหม่ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมนั ท�ำให้ เราเป็นเพือ่ นบ้านกันแต่กไ็ ม่ได้ทำ� ให้เราเป็นพีน่ อ้ งกัน แม้การสื่อสารที่จะมีมากขึ้นแต่ความโดดเดี่ยวกลับ ทวีคูณและเกิดความอ่อนแอทางสังคม โครงสร้าง ของสังคมก�ำลังถูกท�ำลายและคนหนุม่ สาวถูกยุยงให้ เพิกเฉยต่อประวัติศาสตร์ นี่คือรูปแบบใหม่ของการ ล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม ผู้คนได้ละทิ้งประเพณี อันดีงามและสูญเสียเอกลักษณ์ทางจิตวิญญาณของ ตน ศีลธรรมถูกท�ำให้เบี่ยงเบน การเรียกร้องให้เป็น อิสระจากระบบการเมืองและเศรษฐกิจ

พระสันตะปาปาได้ยกค�ำอุปมาของพระเยซู เจ้าเรื่องชาวสะมาเรียกผู้ใจดี มาเป็นค�ำสอน (ลก 10:25-37) ชายทีถ่ กู โจรปล้นและท�ำร้ายคือเหยือ่ จาก ความเลวร้ายในโลกนี้ มีผคู้ นหลายคนมองเห็นเขาแต่ ก็เดินเลยผ่านไปไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ เปรียบเสมือน กับคนในยุคนีท้ ลี่ ะเลยปัญหาของคนอืน่ ๆ เห็นแต่ท�ำ เป็นไม่เห็น แม้กระทัง่ พวกปุโรหิตและเลวี ทีเ่ ป็นผูร้ บั ใช้พระเจ้าก็ยงั เดินผ่านไป ท�ำให้พวกทีเ่ คร่งศาสนาจะ ต้องมาทบทวนชีวติ ของตนเองว่า ความเชือ่ และการ นมัสการพระเจ้าทีพ่ วกเขาปฏิบตั นิ นั้ สอดคล้องกับพระ ประสงค์ของพระเจ้าหรือไม่ แต่เป็นชาวสะมาเรียทีม่ ี ภูมหิ ลังทางประวัตศิ าสตร์ทเี่ ป็นเหตุทำ� ให้ชาวอิสราเอล ดูถูก กลับกลายเป็นพลเมืองดีและเป็นมิตรแท้ของ ชายคนนัน้ เราแต่ละคนต้องก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ที่ขัดขวางเราไม่ให้แสดงความรักความเมตตาต่อคน อื่น เช่น อคติและความเกลียดชังที่อยู่ภายใน การ แบ่งแยกและการดูถูก ในพระวรสารยังเตือนใจเรา ถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายที่จะถูกตัดสินด้วยการ ต้อนรับคนแปลกหน้า “ฉันเป็นคนแปลกหน้าและ คุณก็ต้อนรับฉัน” (มธ 25:35)

การพัฒนาโลกทีข่ าดการวางแผนเพือ่ ความ ดีของคนทุกคนร่วมกัน สิง่ แวดล้อมถูกท�ำลาย คุณค่า และศักดิ์ศรีของมนุษย์ถูกละเลย คนยากจนและคน พิการถูกมองข้าม ทารกในครรภ์ถกู ท�ำแท้ง ผูส้ งู อายุ ถูกทอดทิง้ เด็กและผูห้ ญิงไม่ได้รบั ความเท่าเทียม การ ลักพาตัวเพื่อขายอวัยวะของตน การค้ามนุษย์และ การกดขี่ในรูปแบบใหม่ การข่มเหงทางเชื้อชาติและ ศาสนา ความรุนแรงในโลกดิจิทัล การสร้างข้อมูล เท็จ การหลงตัวเองและไม่ยอมรับผูอ้ นื่ การไม่รบั ฟัง กันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงของคนอ่อนแอ และสิ่งแวดล้อม การเติบโตและเผชิญหน้ากับความ เป็นจริงที่จอมปลอม

15


บทที่ 3 การมองเห็นและการสร้างโลกที่เปิดกว้าง มนุษย์มีธรรมชาติที่จะต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน กับคนอื่นเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ให้แก่กันและกัน รูจ้ กั ตนเองมากขึน้ ความรักผลักดันเราให้เปิดตัวเอง ต้อนรับผู้อื่นและท�ำให้เราเป็นพี่น้องกัน (มธ 23:8) เกิดมิตรภาพทางสังคมและท�ำให้มีที่ว่างส�ำหรับทุก คน โดยเฉพาะอย่างยิง่ คนพิการทีเ่ ป็นเหมือนผูอ้ พยพ ที่ซ่อนตัวอยู่ ความเป็นพี่น้องท�ำให้เกิดการเคารพใน สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของแต่ละบุคคล ความรักสากลที่จะส่งเสริมผู้คนได้รับการพัฒนาไป พร้อม ๆ กันทั้งทางด้านสังคม ระบบเศรษฐกิจ และ การเมืองทีจ่ ะช่วยเหลือผูอ้ อ่ นแอและด้อยโอกาส การ ส่งเสริมความดีงามทางด้านศีลธรรม ความยุตธิ รรม ในการจัดสรรด้านทรัพยากรและโครงสร้างทางสังคม ความเท่าเทียมกันของสิทธิต่าง ๆ ทางสังคมโดย เฉพาะกับสตรี

บทที่ 4 หัวใจที่เปิดกว้างสู่คนทั้งโลก จากความเชือ่ มัน่ ทีว่ า่ มนุษย์ทกุ คนเป็นพีน่ อ้ ง กันเรียกร้องให้เราท�ำสิง่ ทีเ่ ป็นรูปธรรมเพือ่ พัฒนาโลก ของเรา การเปิดพรมแดนและลดหย่อนเงือ่ นไขทีเ่ ป็น อุปสรรคในการต้อนรับผู้อพยพด้วยค�ำ 4 ค�ำ คือ 1) ยินดีตอ้ นรับ 2) ปกป้อง 3) ส่งเสริม และ 4) บูรณาการ การมีส่วนร่วมในโครงสร้างของสังคมมิใช่เป็นเพียง แค่คนกลุ่มน้อยที่ถูกเลือกปฏิบัติท�ำให้เกิดความรู้สึก โดดเดี่ยวและด้อยกว่า การยอมรับความแตกต่าง ด้านต่าง ๆ เช่น สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประสบการณ์อื่น ๆ เป็นเสมือนของขวัญส�ำหรับ สังคมนั้น ๆ การวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาวเพื่อให้ความช่วยเหลือ การพัฒนาส�ำหรับ 16

ประเทศที่ยากจนหมายถึงการสร้างความมั่งคั่งให้ กับทุกคน การต้อนรับทุกคนแม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีอะไร ตอบแทนหรือแลกเปลี่ยน

บทที่ 5 การเมืองที่ดีกว่า การเมืองที่ดีจะต้องรับใช้ส่วนรวม ไม่เป็น เครือ่ งมือในการแสวงหาอ�ำนาจและผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อความยุติธรรมใน สังคมโดยเฉพาะการสร้างที่ว่างให้ทุกคนได้แสวงหา ผลดีร่วมกันในทุก ๆ ภูมิภาค การสร้างสวัสดิการ ที่เร่งด่วนบางประการและถาวร การสร้างงานและ โอกาสให้กบั คนยากจนได้แสดงออกถึงความสามารถ และความพยายามของตนเอง แนวคิดเสรีนิยมแบบ ปัจเจกนิยมที่มองว่าสังคมเป็นเพียงผลรวมของผล ประโยชน์ร่วมกันกับแนวคิดประชานิยมที่ปกป้อง สิทธิของผู้ที่เปราะบางที่สุดควรจะถูกประยุกต์เข้า ด้วยกัน ความเห็นแก่ตัวของนักการเมืองอาจน�ำไป สู่ “การเห็นพ้องต้องกัน” ในผลประโยชน์ของคน บางคนหรือบางกลุ่มเป็นการใช้ความเป็นน�้ำหนึ่งใจ เดียวกันในทางที่ผิด ในยุคของเรานี้มีบางประเทศ ที่เป็นมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจและบางประเทศที่ อ่อนแออย่างเห็นได้ชัด องค์กรระดับโลกควรจะส่ง เสริมผลประโยชน์รว่ มกัน เพือ่ แก้ปญ ั หาความเหลือ่ ม ล�ำ้ ทางด้านความยากจน และการปกป้องสิทธิมนุษย ชนขั้นพื้นฐาน

บทที่ 6 การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมิตรภาพทางสังคม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกิดจากการ พบปะกัน การพูด การฟัง การมอง การท�ำความรูจ้ กั และการท�ำความเข้าใจซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือ


กันอยู่บนพื้นฐานของการสนทนานี้ช่วยลดช่องว่าง ทางสังคมระหว่างคนรุน่ ต่าง ๆ ลดความเมินเฉยทีเ่ ห็น แก่ตวั และการประท้วงทีร่ นุ แรง รวมถึงองค์ประกอบ ด้านต่าง ๆ เช่น มิติต่าง ๆ ทางด้านวัฒนธรรม, วิถี ชีวิตของเยาวชน, ศิลปิน, ความก้าวหน้าทางด้าน เทคโนโลยี, เศรษฐกิจ, การเมือง, ศาสนา, สภาพ ครอบครัว และการติดต่อสื่อสาร การสนทนาที่ดีไม่ ควรจะเป็นเพียงแค่การสื่อสารเพียงแค่ฝ่ายเดียวที่ ปราศจากผู้ฟังหรือการโต้ตอบ การบิดเบือนข้อเท็จ จริง การใส่ความ ข่าวลือ ข้อแก้ตัว

ท�ำให้สงั คมมีความเสมอภาคกันเท่านัน้ แต่ยงั เป็นการ ท�ำให้ผคู้ นท�ำงานร่วมกัน เคียงข้างกัน เพือ่ บรรลุเป้า หมายทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ทุกคน โครงสร้างสังคมใหม่ ทีต่ งั้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของการให้บริการแก่ผอู้ นื่ มากกว่า ความปรารถนาที่จะครอบง�ำ การแบ่งปันสิ่งที่มีกับผู้ อืน่ มากกว่าแย่งชิงด้วยความเห็นแก่ตวั เพือ่ ให้ตนเอง มั่งคั่งมากที่สุด

การสนทนาทางสังคมเกี่ยวข้องกับความ สามารถในการเคารพมุมมองที่แตกต่างของแต่ละ ฝ่าย การอภิปรายสาธารณะช่วยท�ำให้ทุกคนมีที่ ว่างส�ำหรับการสนทนา สร้างสรรค์ เปิดเผยข้อมูล เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้น เปิดมุมมองใหม่ ช่วย ลดอคติและความตึงเครียด ความสุขจะเกิดขึ้นจาก การยอมรับซึง่ กันและกัน ความกรุณาช่วยปลดปล่อย เราจากความโหดร้าย ค�ำว่า “ขอโทษ” “ยกโทษให้ ฉัน” และ “ขอบคุณ” จะช่วยสร้างบรรยากาศทาง สังคมทีด่ แี ละเอาชนะความเข้าใจผิดและความขัดแย้ง

แม้โลกจะมีหลายศาสนาแต่ก็มีจุดยืนร่วม กัน คือ การสร้างความเป็นพี่น้อง การปกป้องความ ยุติธรรมในสังคม สร้างมิตรภาพ สันติภาพ ความ สามัคคี การแบ่งปันประสบการณ์และคุณค่าฝ่ายจิต วิญญาณ หลักศีลธรรม บนพืน้ ฐานของความจริงและ ความรัก ปัจจุบนั ทุกศาสนาก�ำลังเผชิญหน้ากับความ รู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ห่างไกลจากคุณค่าทางศาสนา และความเป็นปัจเจกนิยมที่แพร่หลายควบคู่ไปกับ ปรัชญาวัตถุนยิ มทีแ่ สดงความเป็นมนุษย์และแนะน�ำ คุณค่าทางโลกและทางวัตถุเข้ามาแทนที่ บางพื้นที่ ในโลกศาสนาถูกใช้เป็นข้ออ้างส�ำหรับความรุนแรง สงคราม และการแบ่งแยกซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะ อย่างยิง่ กับผูท้ ยี่ ดึ มัน่ ในศาสนาของตนเองมากเกินไป ผู้น�ำศาสนาจึงถูกเรียกร้องให้มีการสนทนาเพื่อแลก เปลีย่ นความคิดเห็นต่อกันและกันเพือ่ สร้างสันติภาพ และความเป็นพี่น้อง

บทที่ 7 รูปแบบของการพบปะที่ได้รับการฟื้นฟู ในหลายส่วนของโลกต้องการสันติภาพเพื่อ รักษาบาดแผลที่เปิดอยู่ เรียกร้องผู้สร้างสันติชาย และหญิงที่จะท�ำงานอย่างกล้าหาญ กระบวนการ สันติภาพต้องการความพยายามอย่างอดทนในการ แสวงหาความจริงที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นอยู่ (บางครั้ง ภายใต้การทูตทีห่ ลอกลวงและมารยาททีด่ )ี เพือ่ ความ หวังร่วมกันทีแ่ ข็งแกร่งกว่าความปรารถนาในการแก้ แค้น ข้อตกลงสันติภาพบนกระดาษที่เกิดขึ้นซ�้ำซาก ยังไม่เพียงพอ เส้นทางสู่สันติภาพไม่ได้หมายถึงการ

บทที่ 8 ศาสนาในการรับใช้ฉันน้องพี่ในโลกของเรา

ให้ไว้ ณ เมืองอัสซีซี บนหลุมศพของนักบุญ ฟรังซิส เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2020 ในปีที่แปด แห่งสมณสมัย พระสันตะปาปาฟรังซิส

17


ฝ่ายการศึกษา

โรงเรียน คาทอลิก ในสังฆมณฑลจันทบุรี โดย คุณพ่อเปโตร นันทพล สุขส�ำราญ นับตั้งแต่การเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาใน ประเทศไทยของบรรดามิชชันนารีทเี่ ดินทางเข้ามาใน กรุงศรีอยุธยา บรรดามิชชันนารีเหล่านัน้ ได้นำ� ความ รูม้ าสร้างความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาการต่าง ๆ ให้กบั ประเทศไทย การศึกษาก็เป็นอีกส่วนหนึง่ ทีบ่ รรดา มิชชันนารีเหล่านั้นได้จัดให้มีขึ้นและไม่ได้หยุดแค่ใน กรุงศรีอยุธยาเท่านั้น แต่ได้ขยายตัวออกไปในพื้นที่ ต่าง ๆ รวมถึงภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วย จากเอกสารประวัติความเป็นมาของกลุ่ม โรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรหี รือ รสจ. แสดงให้เห็นพัฒนาการของการเป็นสถานศึกษา สังฆมณฑลจันทบุรี 3 ช่วงที่ส�ำคัญ ดังนี้ ช่วงแรก ปี ค.ศ. 1900 – 1940 เป็นระยะ ตั้งกลุ่มคริสตชน โรงเรียนที่เกิดขึ้นอยู่ในลักณะของ “โรงเรียนวัด” เพราะเมื่อพระสงฆ์ได้ตั้งกลุ่มคริสต ชนและสร้างวัดขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ขาดเสียมิได้คือ การ จัดสถานที่เพื่อใช้ในการสอนค�ำสอน บางที่มีการ ดัดแปลงเรือนไม้ 2 ชั้น ชั้นบนเป็นวัดส่วนชั้นล่าง ใช้สอนค�ำสอน ในขณะเดียวกันก็มีการสอนวิชาการ อืน่ ๆ ด้วย แต่มกั สอนเป็นภาษาวัด จุดมุง่ หมายหลัก คือ เพื่อให้เด็ก ๆ มีโอกาสเรียนค�ำสอนอยู่ใกล้ชิดวัด ต่อมามีการขยับขยายสร้างเป็นโรงเรียนขึน้ เพือ่ เปิด 18

โอกาสให้เด็กทีไ่ ม่ได้เรียนค�ำสอน ได้เล่าเรียนบ้าง แต่ ก็เน้นหนักไปทางศาสนาและบทสวด ในช่วงเวลานั้นมีโรงเรียนเกิดขึ้น 8 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนมารดาพิทกั ษ์ ปัจจุบนั คือโรงเรียนสตรี มารดาพิทกั ษ์(1900) โรงเรียนนักบุญฟิลปิ และยากอบ ปัจจุบนั คือโรงเรียนประชาสงเคราะห์(1905) โรงเรียน เรแดมเตอร์ ปัจจุบันคือโรงเรียนคริสตสงเคราะห์ (1911) โรงเรียนนักบุญยอแซฟ ปัจจุบันคือโรงเรียน วัฒนานุศาสน์(1919) โรงเรียนประชาบาลเยซู ปัจจุบนั คือโรงเรียนปรีชานุศาสน์(1931) โรงเรียนสแตล ลามารีส ปัจจุบันคือโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา (1932) โรงเรียนสันติภาพ(1937) และโรงเรียนยี่กา รุณจิต(1939) ช่วงที่สอง ปี ค.ศ. 1941-1980 เป็นช่วง วิกฤตการณ์สงครามอินโดจีน ในปี ค.ศ. 1941 เกิด สงครามและความขัดแย้งในแถบอินโดจีน ส่งผลกระ ทบต่อวัด โรงเรียน และกลุ่มคริสตชนเป็นอย่างมาก วัดบางแห่งถูกเผา โรงเรียนถูกปิด กลุม่ คริสตชนบาง แห่งถูกกล่าวหาว่าไม่รกั ชาติ โรงเรียนถูกมองว่าเป็น โรงเรียนของฝรั่งเศส ทางราชการเพ่งเล็งจับตาดู ความเคลือ่ นไหวการด�ำเนินกิจการของโรงเรียน ท�ำให้ โรงเรียนทีเ่ ริม่ ด�ำเนินการอยูน่ นั้ ต้องปิดตัวลงเกือบทุก


ฝ่ายการศึกษา

โรงเรียน ยกเว้นโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา เท่านัน้ ที่เปิดสอนอย่างต่อเนื่อง ภายหลังสงครามอินโดจีน สงบ ได้มีการฟื้นฟูโรงเรียนของวัดหลายแห่ง และมี การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ไปพอสมควร เช่น การปรับให้เข้ากับกฎเกณฑ์ของ ทางราชการ มีการขออนุญาตเปิดโรงเรียนอย่าง เป็นทางการ มีรัฐบาลคอยคุมทิศทางและเป้าหมาย ของโรงเรียน จึงมิใช่เน้นแต่เพียงสอนค�ำสอนเท่านัน้ ในช่วงเวลานัน้ มีโรงเรียนเกิดขึน้ 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนนักบุญยอแซฟ อ�ำเภอท่าใหม่(1941) โรงเรียน แม่พระประจักษ์ ปัจจุบนั คือโรงเรียนดาราจรัส(1947) โรงเรียนศรีหฤทัย(1947) โรงเรียนประชาบาลเทวดา รักษาตัว ปัจจุบนั คือโรงเรียนเทวรักษ์(1947) โรงเรียน มารีวิทยา จ.ปราจีนบุรี(1950) โรงเรียนปัญจทรัพย์ ดินแดง(1953) โรงเรียนชุมชนพัฒนา ปัจจุบันรวม กับโรงเรียนดาราสมุทร สระแก้ว(1978) ในปี ค.ศ. 1965 สังฆมณฑลได้โอนกิจการโรงเรียนยอแซฟ วิทยา ท่าใหม่ และโรงเรียนมารีวิทยา ปราจีนบุรีให้ กับซิสเตอร์คณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี ช่วงที่สาม ในปี ค.ศ. 1981 – ปัจจุบัน แม้ อุปสรรคต่าง ๆ ในช่วงวิกฤตการณ์แห่งสงครามอินโด จีนผ่านพ้นไปแล้ว การด�ำเนินการโรงเรียนในสังฆมณฑล ยังคงมีปัญหาและอุปสรรค ส่วนหนึ่งคงเนื่องมาจาก ค่าใช้จา่ ยในการด�ำเนินกิจการของแต่ละโรงเรียนสูง ขึ้น อีกทั้งโรงเรียนของวัดมีเป้าหมายบริการให้ลูก หลานคริสตชนได้เรียนค�ำสอนของศาสนา จึงไม่เก็บ ค่าเล่าเรียน หรือเก็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น กอปรกับ นโยบายรัฐบาลขณะนั้นพยายามลดโรงเรียนเอกชน ที่ไม่มีคุณภาพ และจะไม่ช่วยเหลือเงินอุดหนุนอีกต่อ ไป ก่อให้เกิด “กระแสวิกฤตการณ์การอยู่รอด” โรงเรียนของสังฆมณฑลในขณะนัน้ ซึง่ ส่วนใหญ่อยูค่ ู่ กับวัด ได้รบั ผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวเป็นอย่าง

มาก บรรดาพระสงฆ์และฆราวาสทีด่ แู ลรับผิดชอบใน ขณะนั้นตระหนักและเป็นห่วงเรื่องความอยู่รอด จึง ได้ร่วมมือกันแสวงหาหนทางในการฟันฝ่าอุปสรรค ต่าง ๆ ดังนัน้ จึงได้มกี ารประชุมคณะกรรมการบริหาร โรงเรียนจ�ำนวน 11 โรงเรียนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 มิถนุ ายน ค.ศ. 1982 มีการแต่งตัง้ คณะกรรมการ โรงเรียนสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี มีการวางแผนและ แสวงหาความร่วมมือ สร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่ม โรงเรียน อาศัยการประชุมที่สม�่ำเสมอ จนกระทั่งใน วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1987 คณะกรรมการได้ร่วม กันก�ำหนดชือ่ กลุม่ อย่างชัดเจนว่า “โรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี” มีชื่อย่อว่า รสจ. เรียก เป็นภาษาอังกฤษว่า “Educational Section of Chanthaburi Diocese” หรือ ESCD โดยในช่วงเวลานัน้ มีโรงเรียนเกิดขึน้ 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา(1981) บ้านยอแซฟ พิทกั ษ์(1989) มารียเ์ นอสเซอรี(่ 1992) โรงเรียนดารา สมุทรบริหารธุรกิจ(1996) อันตนเนอสเซอรี่(1998) โรงเรียนดาราสมุทร สระแก้ว(2004) โรงเรียน ปัญจทรัพย์ มีนบุรี(2005) และโรงเรียนดาราสมุทร อรัญประเทศ(2011) จากอดีตสู่ปัจจุบัน กลุ่มโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี มีการเจริญเติบโตและ พัฒนาในทุกด้านเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ สังคมและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งครบสู่สังคม และน�ำพาความเจริญสู่ประเทศชาติ โดยไม่ลืมที่จะ มุง่ เน้นและเล็งเห็นความส�ำคัญของการจัดการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษาคาทอลิก ปัจจุบนั มีโรงเรียนของสังฆมณฑลทัง้ หมด 15 โรงเรียน และสถานรับเลี้ยงเด็ก 3 แห่ง

(เรียบเรียงจาก หนังสือ “ตลอดกาล...นิรันดร์ 350 ปี การศึกษาคาทอลิกไทย”)

19


พระสงฆ์ใหม่

สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี

คุณพ่อฟรังซิส เซเวียร์ อานนท์ ตันชัย เกิดเมื่อ สัตบุรุษวัด บิดา มารดา จ�ำนวนพี่น้อง ผู้ส่งเข้าบ้านเณร ได้รับศีลบวชเมื่อ

วันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 แม่พระรับสาร จังหวัดตราด ฟรังซิส เซเวียร์ อุทัย ตันชัย เทเรซา กัลยาณี ตันชัย 3 คน เป็นบุตรคนที่ 3 คุณพ่อเปาโล สุพจน์ นัมคณิสรณ์ วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2020 ณ วัดแม่พระรับสาร จังหวัดตราด

“ข้าพเจ้าท�ำทุกสิ่งได้ในพระองค์ ผู้ประทานพละก�ำลังแก่ข้าพเจ้า” (ฟลิ ิปปี 4:13)

20


จากเด็กน้อยธรรมดาคนหนึ่ง สู่พระสงฆ์ของปวงประชา จากเด็กธรรมดาคนหนึง่ ทีเ่ หมือนกับเด็ก ๆ ทัว่ ไป เติบโตขึน้ มาใน บรรยากาศครอบครัวคริสตชน ถูกปลูกฝังและถ่ายทอดความเชื่อจากรุ่น สูร่ นุ่ ให้ไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดเป็นประจ�ำสม�ำ่ เสมอในวัยเด็ก ผ่าน ทางการส่งเสริมและสนับสนุนของครอบครัว ตั้งแต่การเรียนในโรงเรียน คาทอลิก การไปร่วมมิสซาเป็นประจ�ำ เป็นเด็กช่วยมิสซา ส่งมาเรียน ค�ำสอน และการไปร่วมค่ายต่าง ๆ ที่มีการจัดขึ้น เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นที่เห็นบรรดาคุณพ่อ ซิสเตอร์ บรรดา พี่เณรที่มาสอนค�ำสอน ได้มีการชักชวนให้รู้จักกระแสเรียกสู่การเป็นพระสงฆ์ หลังจากที่จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนมารดานุสรณ์แล้ว ผมได้ตัดสินใจเข้าสู่ กระบวนการอบรมทีบ่ า้ นเณรเล็ก บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา ซึง่ เป็นสถานทีเ่ หมือนกับบ้านหลังทีส่ องของ ผม ที่สอนสิ่งที่จ�ำเป็นทุกอย่างส�ำหรับชีวิตกระแส เรียกของสามเณรคนหนึง่ เริม่ ตัง้ แต่ชวี ติ การภาวนา ชีวิตการท�ำงานร่วมกับผู้อื่น การเรียน การศึกษา กระบวนการคิด และชีวิตการอภิบาล ซึ่งแน่นอนว่า การเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ ในชีวิตนั้นยากเสมอ แต่ก็ไม่ ยากเกินความสามารถของเราที่จะเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพให้เติบโตมากยิ่งขึ้น 5 ปี จากอ้อมพระหฤทัย ก้าวไปด้วยใจมั่นคง สู่บ้านเณร กลาง บ้านเณรพระวิสทุ ธิวงศ์ นครราชสีมา พร้อมกับเพือ่ น ๆ รวม รุ่น ที่มาจากต่างสังฆมณฑล พวกเราตั้งชื่อรุ่นว่า “Walk With Love” (ก้าวไปด้วยรัก) หนทางข้างหน้าอีกยาวไกล แต่มเี พือ่ นร่วม เดินทางเสมอมา หลังจากจบ 1 ปีที่บ้านเณรกลาง มุ่งสู่บ้านเณร ใหญ่ บ้านเณรแสงธรรม สามพราน 7 ปี แห่งการเติบโตในทุก ๆ มิติของชีวิตสามเณร ผ่านทางบรรดาผู้ให้การอบรมหลาย ๆ ท่าน บรรดาอาจารย์ผู้สอนวิชาต่าง ๆ เพื่อน�ำไปใช้ในอนาคต และร่วม ใช้ชีวิตกับบรรดาพี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ ในชั้นปีต่าง ๆ 21


ตลอดเส้นทางแห่งกระแสเรียกนี้ มิใช่ตวั ผม เองทีก่ า้ วเดินอย่างล�ำพัง แต่เหนือสิง่ อืน่ ใดทัง้ หมด คือ พระเป็นเจ้า ผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลัง ผูอ้ ยูเ่ คียงข้างผมเสมอ ในทุกช่วงเวลาของชีวติ ทุกการก้าวเดินของผม มี พระองค์จูงมือบ้าง เตือนผมบ้าง ผลักดันให้เดิน ทาง เป็นก�ำลังให้ผมบ้าง หากไม่มีพระองค์ อาศัย แค่เพียงตัวผมเอง ผมอาจจะท�ำอะไรไม่ได้เลย จากเด็กน้อยธรรมดาคนหนึง่ สูพ่ ระสงฆ์ของ ปวงประชา ชีวิตของการเป็นพระสงฆ์ได้เริ่มต้นขึ้น ด้วยค�ำน�ำหน้าที่เปลี่ยนไปว่า “คุณพ่อ” ท�ำให้ตัวผม เองยิง่ ต้องตระหนักมากขึน้ ถึงการตอบสนองตามน�ำ้ พระทัยของพระเป็นเจ้า มอบตนเองเป็นเครื่องมือ เป็นเสมือนท่อธารแห่งความรักและพระหรรษทาน ไปสู่บรรดาเพื่อนพี่น้องทุกคนที่อยู่รอบข้าง

ณ ปัจจุบัน ผมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ดูแลกลุ่มเยาวชน เด็กช่วยมิสซา งานพิธีกรรม กลุ่มองค์กรบางกลุ่ม และความเรียบร้อยต่าง ๆ ภายในวัดและบ้านพัก พระสงฆ์ ชุมชนวัดหัวไผ่เป็นชุมชนใหญ่ มีองค์กรและ กิจกรรมหลายอย่าง เป็นเสมือนสนามงานทีท่ ำ� ให้ผม ได้ฝึกฝนพัฒนาตนเองในหลาย ๆ ด้าน บางอย่างผม อาจจะเคยท�ำบ้างแล้วในสมัยเป็นสามเณร ทีบ่ า้ นเณร บ้างหรือตามที่ฝึกงานตามวัดต่าง ๆ บ้าง บางอย่าง ก็ตอ้ งมาเรียนรูใ้ หม่ เป็นเรือ่ งทีเ่ ราต้องพบเจอ ถือว่า เป็นประโยชน์ต่อตัวผมเองอย่างมาก

ความประทับใจที่สุดในชีวิต เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว หลายคนยัง คงจดจ�ำได้ เมือ่ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเสด็จเยือน ประเทศไทยของเรา นับเป็นช่วงเวลาแห่งความชืน่ ชม ยินดีของคริสตชนไทยที่รอคอยจะได้พบกับพระองค์ ท่านในสถานที่ต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกตื่นเต้น อย่างมากและประทับใจกับช่วงเวลาเหล่านี้ อีกทั้ง ยังคงอยูใ่ นความทรงจ�ำของผมตลอดไป ทีไ่ ด้รว่ มพิธี บูชาขอบพระคุณกับพระสันตะปาปาฟรังซิส ทีอ่ าสน วิหารอัสสัมชัญ ได้อยู่ข้าง ๆ ท่านในวันนั้น พร้อมกับ บรรดาเยาวชนอีกมากมาย

22

สิ่งที่ฝากไว้ กระแสเรียกแห่งการเป็นพระสงฆ์เป็นของ ขวัญจากพระเป็นเจ้า ทีป่ ระทานให้แก่สงั ฆมณฑล ให้ ชุมชนวัดต่าง ๆ ซึง่ ในปัจจุบนั ก็มจี ำ� นวนลดน้อยลง ผม อยากฝากกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์ สามเณร ไว้ให้กับเด็ก ๆ และทุกคนที่สนใจ อาจจะพูดว่าเป็นการท้าทายก็ได้ อยากให้เปิดใจและ ลองดู ยังมีอีกหลาย ๆ อย่างที่น่าสนใจ ในบ้านเณร และบ้านนักบวช สุดท้าย ขอฝากกระแสเรียกของตัว ผมเอง บรรดาพระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์ สามเณร ไว้ในค�ำภาวนาของทุก ๆ ท่านเสมอไป (ภาวนาให้แก่ กันและกันครับ)


23


ฝ่ายกฎหมายฯ

กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ “การแต่งงาน” กับ “การมีลูก” “หมดเวลาโลกสวย” หรือยังครับ? แต่ผมคิดว่าเราควรบอกเรื่อง “การแต่งงาน” กับ “การมีลูก” ให้คนรุ่นหลังรู้ครบทุกด้าน ไม่ใช่ชูแต่ด้านสวยงามด้านเดียว คู่รักแต่งชุดสวยงาม ช่วยกันท�ำกับข้าวในห้องคอนโด หยอกล้อตีกันด้วยหมอนขนเป็ด ฟุ้งไปทั่วห้อง ดินเนอร์ใต้แสงเทียน กลับมาบ้านมีเทียนจุดรอทั่วทั้งห้อง เหล่านี้สร้างภาพให้คน ต่อแถวกันเข้ามาสู่ประตูวิวาห์ เพื่อที่จะพบว่ามันยังมีอีกหลายแง่มุมของชีวิตคู่ที่เราไม่รู้มาก่อน คุณคิดว่าคนสองคนที่โตมาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันเป็นเวลา 30 ปี แล้วจะมาใช้ชีวิตร่วมกัน มันง่ายนักเหรอ? ใครผ่อนล่ะคอนโดนั้น? ใครท�ำกับข้าว? ใครล้างจาน? ค่าน�้ำค่าไฟใครจ่าย? เธอเป็นผู้ชาย เธอต้องเลี้ยงฉันสิ เธอเป็นผู้หญิงท�ำงาน เธอต้องช่วยกันออกสิ แล้วท�ำไมเก็บของไม่เป็นที่ไม่เป็นทาง? แล้วท�ำไมนอนกรน? แล้วท�ำไมอาบน�้ำนาน? แล้วท�ำไมพ่อแม่เธอมายุ่มย่าม? แล้วท�ำไมไม่เคารพพ่อแม่ฉันบ้าง? แล้วจะดินเนอร์ทหี่ อ้ งท�ำไม ฉันอยากออกไปข้างนอก แล้วจะออกไปข้างนอกท�ำไม ฉันอยากอยูห่ อ้ ง แล้วท�ำไมเธอเซ็กซ์จัด? แล้วท�ำไมฉันไม่มีอารมณ์? แล้วท�ำไมเราเริ่มเบื่อกัน? สุดท้ายก็จบลงที่แยกทางกัน เด็กน้อยน่ารักยิ้มหวาน บ้างก็คลานต้วมเตี้ยม บ้างก็วิ่งเล่นสนุกสนาน บ้างก็มาอ้อนแม่ บ้างก็ยิ่งเลอะยิ่งเยอะประสบการณ์ ภาพน่ารักเหล่านี้ล้วนแต่ชวนให้คนอยากมีลูก เพื่อที่จะพบว่ายังมีอีกหลายแง่มุมของการมีลูกที่เราไม่เคยรู้มาก่อน คุณคิดว่าการเลี้ยง “สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน” มันง่ายนักเหรอ?

24


ฝ่ายกฎหมายฯ

- กลางคืนร้องงอแง ฉี่ขี้ทุกชั่วโมง - อยากได้ของก็งอแง เดินทางไปไหนก็ไม่สะดวก - ค่านมแพงมาก ค่าแพมเพิสกองโต - จะหาที่เรียนที่ไหน? – ค่าเล่าเรียนที่แพงขึ้นทุกวัน - แล้วใครจะไปรับไปส่ง? - เลี้ยงจนเป็นวัยรุ่นก็เริ่มไม่ฟังเรา - แล้วมันจะไปท�ำใครท้องมั้ย? - แล้วมันจะโดนใครท�ำให้ท้องมั้ย? - พอโตก็ออกไปมีชีวิตของตัวเอง สุดท้ายบางครอบครัวจบลงที่ท�ำร้ายเด็ก ไม่ว่าจะร่างกายหรือจิตใจ บางครอบครัวจบลงที่พ่อแม่ต้องทิ้งความฝันของตัวเอง เพื่อมาดูแลลูก เราถูกโฆษณาคอนโด หลอกมากี่ครั้ง? เราถูกโฆษณาซุปไก่ หลอกมากี่ครั้ง? เราถูกโฆษณา เว็ดดิง้ หลอกมากีค่ รัง้ ? เราถูกโฆษณาผ้าอ้อมเด็ก หลอกมากีค่ รัง้ ? เราถูกโฆษณานมเด็ก หลอกมากีค่ รัง้ ? ผมไม่ได้มองโลกในแง่รา้ ยนะครับ ภาพสวยๆ แบบในโฆษณาก็มอี ยูจ่ ริง ผมก็มี แต่มนั มีโมเมนต์ อื่น ที่ไม่ค่อยมีใครพูด เพราะมันคือ “เรื่องในครอบครัว” ผมสนับสนุนให้มีหลักสูตรสอนการมีครอบครัวและมีลูกด้วยซ�้ำ ถ้าใครไม่ผ่านหลักสูตรนี้ ห้ามแต่งงาน ห้ามมีลูก ผมว่าน่าจะลดปัญหาครอบครัวได้เยอะ แหม มันน่าจะมีจริงๆ นะ ว่ามั้ย? ตอนนี้ผมไม่ได้มีปัญหาครอบครัวอะไรนะครับ ชีวิตก็มีสุขมีทุกข์ตามประสาคน แต่ผมแค่อยากเป็นอีกเสียงหนึ่งที่ตะโกนเบาๆ ให้คนรุ่นหลังรู้ว่า ชีวิตคู่และการมีลูกมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น หวังว่าคงเข้าใจเจตนาของผม จะท�ำอะไรคิดให้ดีก่อน ยิ่งช่วงนี้ปลายปีเช่นนี้... CR : Boy’s Thought (ผู้เขียน) พ่อคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ เพื่อดึงสติ! พอจะกล่าวได้ว่ามีสาระที่สอดแทรก มาตราของ กฎหมายพระศาสนจักรไว้ด้วย เช่น โดยเฉพาะเรื่องเป้าหมายของการแต่งงานที่ประมวลกฎหมาย พระศาสนจักรคาทอลิก บอกไว้ว่า เพื่อความดีของคู่ชีวิต, การให้ก�ำเนิดลูก และการให้การศึกษา กับลูกที่เกิดมา (มาตรา 1055 s§1) ส่วนผู้ที่ไม่สามารถมีบุตรได้ ก็ไม่ต้องเสียใจครับ ขอให้รักกันมากๆ และรักพระต่อไปก็แล้วกันครับ สุขสันต์วันพระคริสตสมภพ วิถีใหม่แด่พี่น้องทุกท่าน ทุกครอบครัวครับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายกฎหมายฯ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 25


แผนกพิธีกรรม

การภาวนา ขอบคุณพระเจ้า

หลังการสารภาพบาป โดย คุณพ่อยอแซฟ เอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี “ขอบคุณพระเจ้าส�ำหรับของขวัญที่งดงาม ซึ่งพระองค์ทรงประทานให้ผ่านทางศีลแห่งการคืนดี” สวัสดีครับพีน่ อ้ งทีร่ กั ทุกท่าน สายใยจันท์ฉบับนีพ้ อ่ อยากเสนอเรือ่ งราว จากประสบการณ์ด้านการเทศน์สอน การสอนค�ำสอนและการอภิบาลด้านศีล อภัยบาป เพื่อให้พี่น้องได้เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับศีลอภัยบาปที่มีขั้น ตอนและวิธีการที่เราได้รับรู้และการปฏิบัติมาตลอด อยากจะน�ำพาพี่น้องให้ คิดถึงช่วงสุดท้ายของการรับศีลแห่งการอภัย ซึ่งหลายครั้งเราอาจหลงลืมว่า เราต้องภาวนาเพื่อขอบพระคุณพระเจ้าผู้ทรงเมตตาและให้อภัยเรา ศีลอภัยบาปหรือศีลแห่งการคืนดี (The Sacrament of Reconciliation) เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความเมตตาของพระเจ้า โดยทางศีลฯ นี้บรรดาผู้รับ เปิดจิตวิญญาณของพวกเขาต่อพระเจ้าและร้องขอการให้อภัยตลอดเวลา ด้วย เหตุที่พวกเขาผิดพลาดต่อหนทางของพระองค์ อย่างไรก็ตาม บางเวลาเรามองไม่เห็นถึงความงดงามของศีลศักดิส์ ทิ ธิน์ ี้ และไม่ได้หยุดทีจ่ ะขอบพระคุณพระเจ้าส�ำหรับพระหรรษทานมากมายทีโ่ ปรยปราย ลงมาสู่เราผ่านทางศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ 26


แผนกพิธีกรรม

พ่ออยากเสนอบทภาวนาทีเ่ น้นย�ำ้ ถึงความดีอนั ยิง่ ใหญ่ของพระเจ้า ในพระเมตตากรุณาของพระองค์ อาจจะไม่ใช่บทภาวนาที่สมบูรณ์ แต่ อาจจะเป็นการเริ่มต้นเพื่อให้เรามีความส�ำนึกในพระเมตตาแห่งการอภัย ของพระองค์ ข้าแต่พระบิดานิรันดร ลูกขอขอบพระคุณพระองค์ ขอถวาย สรรเสริญพระองค์ ส�ำหรับความดีและพระเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อลูก แม้ในความโง่เขลา ลูกเหินห่างจากพระองค์และทรยศต่อพระองค์ แต่ ด้วยความรักเยี่ยงบิดา พระองค์ต้อนรับลูกอีกครั้ง แม้จะกลับไปท�ำบาป อีกพระองค์ก็ทรงให้อภัยความผิดบาปของลูก ผ่านทางศีลแห่งการคืนดี นี้ ขอพระองค์ทรงอวยพระพรลูกตลอดไป ขอถวายพระพรแด่พระองค์ แด่ความรัก พระเมตตาและพระ กรุณาอันไม่มขี อบเขตของพระองค์ ต่อไป ลูกจะไม่กลับไปสูค่ วามอกตัญญู ความไม่นบนอบเชื่อฟังต่อพระทัยอันศักดิ์สิทธิ์อีก ทุกสิ่งที่ลูกเป็น ทุกสิ่งที่ลูกมี ทุกสิ่งที่ลูกกระท�ำ สิ่งเหล่านั้นลูก จะกระท�ำเพื่อรับใช้ และเพื่อพระสิริมงคลของพระองค์ตลอดไป อาแมน ขอพี่น้องเอาใจใส่ต่อการรับพระพรแห่งศีลอภัยบาปเสมอ เพื่อ ชีวิตของเราจะได้อยู่ในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า และเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์เสมอครับ

จงขอบพระคุณ พระเจ้า ในทุกกรณี โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ พีน่ อ้ ง รับศีลอภัยบาป 27


แผนกครอบครัว

ครอบครัวคริสตชนเป็น พระศาสนจักรระดับบ้าน... โดย คุณพ่อยอแซฟ ภูวนารถ แน่นหนา ผู้อ�ำนวยการแผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี

“ครอบครัว” เป็นประตูของพระศาสนจักรตามบ้าน และประตูของครอบครัวใหญ่ คือ “พระศาสนจักร” ต้องไม่มีผู้ใดในโลกที่ไม่มีครอบครัว เพราะพระศาสนจักรคือบ้านและครอบครัวส�ำหรับทุกคน โดยเฉพาะส�ำหรับ ผู้ที่ “เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก” (มธ.11:28) สวัสดีครับพี่น้องที่รัก แผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี ขอเสนอความคิดและแนวทาง ของพระศาสนจักรในการส่งเสริมชีวิตครอบครัว ในหัวข้อ “ครอบครัวคริสตชนเป็นพระศาสนจักร ระดับบ้าน” เพื่อพี่น้องจะได้เห็นถึงความส�ำคัญของ “ครอบครัวระดับบ้าน” ที่พระศาสนจักรได้ให้ความ ส�ำคัญอย่างมากในการประกาศข่าวดีของพระคริสต เจ้า ผ่านทาง “ครอบครัว” พระศาสนจักรคาทอลิกสากล หนังสือค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก กล่าว ถึง “พระศาสนจักรในบ้าน หรือพระศาสนจักร ระดับบ้าน” ไว้ในข้อ 1655-1658 ดังนี้ “พระคริสต เจ้าทรงประสงค์จะสมภพและเจริญวัยขึ้นภายใน แวดวงของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญโยเซฟ และพระแม่มารีย์ พระศาสนจักรจึงเป็น “ครอบครัว ของพระเจ้า” และในสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เรียก “ครอบครัว” โดยใช้ส�ำนวนที่ใช้เรียกกันมา ตั้งแต่โบราณว่า “พระศาสนจักรในบ้าน หรือพระ ศาสนจักรระดับบ้าน” ภายในขอบเขตของครอบครัว บิดามารดาเป็นผูป้ ระกาศความเชือ่ คนแรกด้วยวาจา 28

และแบบอย่างแก่บตุ ร และเขาต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ทีจ่ ะส่งเสริมกระแสเรียกศักดิส์ ทิ ธิเ์ ฉพาะส�ำหรับบุตร แต่ละคนด้วย และสมาชิกทุกคนในครอบครัว พ่อบ้าน แม่บ้าน บรรดาบุตรต่างก็ปฏิบัติบทบาทสมณภาพ ของผูท้ ไี่ ด้รบั ศีลล้างบาปอย่างน่าชมเชย โดยการรับ ศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ โดยการอธิษฐานภาวนาและร่วมในบูชา ขอบพระคุณ การเป็นพยานชีวติ ศักดิส์ ทิ ธิ์ การปฏิเสธ ตนเองและการแสดงกิจเมตตาจิต “ครอบครัว” จึง เป็นโรงเรียนสอนชีวิตคริสตชนแห่งแรก และเป็น โรงเรียนที่ส่งเสริมค่านิยมแบบมนุษย์อย่างกว้าง ขวาง ที่ทุกคนเรียนรู้ถึงความพากเพียรและความ ยินดีของการท�ำงาน ความรักฉันพี่น้อง การรู้จัก ให้อภัยกันอย่างใจกว้าง และการถวายคารวกิจต่อ พระเจ้าโดยการอธิษฐานภาวนาและการถวายชีวิต ของตนอีกด้วย และ “ครอบครัว” เป็นประตูของ พระศาสนจักรตามบ้าน และประตูของครอบครัว ใหญ่ คือ “พระศาสนจักร” ต้องไม่มผี ใู้ ดในโลกทีไ่ ม่มี ครอบครัว เพราะพระศาสนจักรคือบ้านและครอบครัว ส�ำหรับทุกคน โดยเฉพาะส�ำหรับผู้ที่ “เหน็ดเหนื่อย และแบกภาระหนัก” (มธ.11:28)


แผนกครอบครัว

พระศาสนจักรคาทอลิกประเทศไทย กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 สภา พระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “ศิษย์ พระคริสต์เจริญชีวติ ประกาศข่าวดีใหม่” ข้อที่ 24 ได้กล่าวถึง “ครอบครัวคริสตชนเป็นพระศาสนจักร ระดับบ้าน” ดังนี้ “พระศาสนจักรระดับบ้าน” ต้องเป็นจุด เริ่มต้นส�ำคัญที่สุดในการประกาศข่าวดี ครอบครัว มิใช่เป็นเพียงหน่วยย่อย ๆ ทีพ่ ระศาสนจักรจะให้การ อภิบาลเท่านั้น แต่ต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะด�ำเนิน ชีวิตในความเชื่อด้วยกันในความแตกต่างที่หลาก หลาย และเป็นทีซ่ งึ่ บิดามารดาและผูอ้ าวุโสถ่ายทอด ความเชื่อ วัฒนธรรม เป็นแบบอย่าง เพาะบ่มและ อบรมกระแสเรียกแก่บุตรหลาน พระศาสนจักรต้อง ให้ความส�ำคัญกับการเตรียมสู่ชีวิตครอบครัวอย่าง จริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งคู่สมรสที่มี ความเชื่อต่างกันมีจ�ำนวนมากขึ้น ส�ำหรับครอบครัว ที่มีข้อขัดขวางด้านศีลศักดิ์สิทธิ์และความถูกต้อง พระศาสนจักรต้องด�ำเนินการตามกฎเกณฑ์ของพระ ศาสนจักรอย่างรวดเร็ว เพือ่ น�ำพาบุคคลเหล่านีก้ ลับ มาเป็นส่วนหนึง่ ของชุมชนวัดและเป็นพลังในการฟืน้ ฟู การประกาศข่าวดีขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง จากกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ฯ ค.ศ. 2015 ข้อ ที่ 24 หมายถึง 1. พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ให้ ความส�ำคัญของการประกาศข่าวดีมุ่งไปที่ “ครอบครัว” ทีม่ คี วามหลากหลายในด้านความ เชื่อและวัฒนธรรม 2. ในครอบครัวมีบิดามารดา และบรรดาปู่ย่าตา ยาย เป็นแบบอย่างและถ่ายทอดความเชื่อ และร่วมในการส่งเสริมกระแสเรียกบุตรของตน

3. มีความจริงจังมากขึ้นในการเตรียมลูกหลานสู่ ชีวิตครอบครัว และการด�ำเนินชีวิตสมรสแบบ ต่างความเชื่อ 4. ต้องช่วยเหลือครอบครัวทีม่ ขี อ้ ขัดขวางด้านศีล สมรส และด�ำเนินการเพื่อให้ถูกต้อง 5. รวบรวมบุคคลที่ทิ้งความเชื่อ กลับมาเป็นส่วน หนึง่ ของชุมชนวัด และเป็นพลังในการฟืน้ ฟูการ ประกาศข่าวดี พระศาสนจักรคาทอลิกสังฆมณฑลจันทบุรี แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2016-2020 กล่าวถึง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และหลัก การ ที่เกี่ยวกับครอบครัว ดังนี้ วิสัยทัศน์ “คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็น หนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ ประกาศ พระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของ พระเจ้า” พันธกิจ “คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็น หนึ่งเดียวกันในความเชื่อ ความรัก และความ สัมพันธ์กบั พระเจ้า เร่งฟืน้ ฟูชวี ติ และศักดิศ์ รีการ เป็นบุตรของพระเจ้า อาศัยการปฏิบัติศาสนกิจ การภาวนา พระวาจาและศีลศักดิ์สทิ ธิ์ เป็นหนึ่ง เดียวกัน เคารพคุณค่า ศักดิศ์ รี เพือ่ นมนุษย์และ วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม พัฒนาชีวิต กระแส เรียก และสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง เข้าใจ กัน ร่วมทุกข์ ร่วมสุขและแบ่งปัน....” หลักการ “เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้มนั่ คง บนพื้นฐานของความเชื่อคริสตชน โดยมุ่งท�ำให้ ชุมชนเข้มแข็ง สามารถด�ำเนินชีวติ เป็นประจักษ์ พยานถึงชุมชนศิษย์พระคริสต์ในสังคมปัจจุบนั ” 29


แผนกครอบครัว

อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ เสริมสร้าง พระอาณาจักรพระเจ้า ในด้านอภิบาล กล่าวถึง “ครอบครัว” ดังนี้ 1. ฟืน้ ฟูชวี ติ ความเชือ่ ครอบครัวคริสตชนในชุมชน วัด ให้ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยพระวาจา ศีล ศักดิ์สิทธิ์ และชีวิตภาวนา เกิดความตระหนัก ถึงคุณค่า ความหมายของการไปร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณ โดยเฉพาะวันอาทิตย์ มีส่วนร่วม ในพิธีกรรมและกิจกรรมของวัด 2. ส่งเสริมการอภิบาลเป็นพิเศษแก่ครอบครัว คริสตชน โดยเฉพาะครอบครัวที่พ่อแม่ไม่เข้า พิธีอย่างถูกต้อง เด็ก เยาวชน นิสิตนักศึกษา ในมหาวิทยาลัย สตรี ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วย ผู้ ทุพพลภาพ ผู้อพยพย้ายถิ่น แรงงานและกลุ่ม คริสตชนต่างชาติ ให้ได้รบั การเยีย่ มเยียน ดูแล เอาใจใส่ รวมทัง้ สร้างเครือข่ายผูอ้ ภิบาล ร่วมกับ สภาอภิบาลและกลุม่ องค์กรฆราวาสต่าง ๆ ด้วย 3. ส่งเสริม และสนับสนุนการติดตาม เยีย่ มเยียน สัตบุรุษ ที่อาศัยอยู่ห่างไกลชุมชนวัด และโดย เฉพาะอย่างยิง่ สัตบุรษุ ทีย่ งั ไม่ได้รบั ศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ ต่าง ๆ ได้กลับมาเป็นสมาชิกทีส่ มบูรณ์ของพระ ศาสนจักร “ครอบครัวเข้มแข็ง” หมายถึง “พระเจ้า ได้ยกฐานะมนุษย์ผา่ นทางครอบครัว ให้เขามีชวี ติ อยูร่ ว่ มกันและให้เติบโตก้าวหน้าในความศักดิส์ ทิ ธิ์ และมีความสุขที่เที่ยงแท้ ครอบครัวเข้มแข็ง จึง เป็นครอบครัวทีม่ คี ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี อันเป็นรากฐาน ของชุมชนและสังคม กล่าวคือ สมาชิกยึดมั่นใน แนวทางแห่งพระวรสาร มีความรัก ความช่วย เหลือเกื้อกูล เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ยึดมั่นสิ่งที่ ถูกต้องดีงาม อยู่ร่วมกันในชุมชนและสังคมอย่าง สงบสุข ดังนัน้ ครอบครัว จึงเป็นกลุม่ คริสตชนย่อย 30

ขั้นพื้นฐาน ซึ่งส�ำคัญที่สุดในการส่งเสริ​ิมชุมชนให้ เข้มแข็งสืบไป” แผนกครอบครัวสังฆมณฑลจันทบุรี จากค�ำสอนและแนวทางของพระศาสนจักร สากล พระศาสนจักรในประเทศไทย และพระศาสนจักร ในสังฆมณฑลจันทบุรี จะเห็นได้วา่ พระศาสนจักรมุง่ ส่งเสริม “ครอบครัว” ในฐานะทีเ่ ป็น “พระศาสนจักร ในบ้านหรือพระศาสนจักรระดับบ้าน” (Domestic church) ดังนั้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2020 ทางแผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี มี พิธีแต่งตั้ง “ผู้รับผิดชอบงานอภิบาลครอบครัว ระดับวัด” โดยพระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี และพระคุณเจ้าลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต (พระ สังฆราชกิตติคุณ) เพื่อผู้มีน�้ำใจเหล่านี้ จะได้ท�ำงาน ร่วมกับคุณพ่อเจ้าอาวาสและสภาอภิบาลในแต่ละวัด ในสังฆมณฑลจันทบุรี ในการส่งเสริมชีวิตครอบครัว (สชค) ในการอภิบาลครอบครัว ร่วมด้วยช่วยกันแบบ “ครอบครัวอภิบาลครอบครัว” “ครอบครัวช่วย เหลือครอบครัว” อย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทาง และค�ำสอนของพระศาสนจักรสากล เพื่อให้ “การ ประกาศแบบคริสต์ในเรื่องครอบครัวนี้ นับเป็น ข่าวดีอย่างแท้จริง” (Amoris Laetitia, 1) และขอ องค์พระผู้เป็นเจ้าและครอบครัวศักดิ์สิทธิ์แห่งนาซา เร็ธ โปรดทรงอวยพระพรแด่พี่น้องทุก ๆ ครอบครัว เสมอไปเทอญ อาแมน


แผนกครอบครัว

ครอบครัวคริสตชน

เป็นพระศาสนจักร ระดับบ้าน...

31


ฝ่ายสังคม

บ้าน เมตตา

โดย นางสาว สุปราณี บุญจันทร์ เจ้าหน้าที่ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี

“ความรักเมตตาก้าวข้ามความยุติธรรม เพราะว่าความรักคือการให้ การมอบสิ่งที่เป็น “ของฉัน” ให้กับผู้อื่น แต่มันจะขาดความยุติธรรมไม่ได้ หากเรารักผู้อื่นด้วยความรักเมตตาที่แท้จริงแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องมีความยุติธรรมต่อเขาก่อน และความยุติธรรมเป็นหนทางแรกแห่งความรักเมตตา” (พระสมณสาสน์ Caritas in Veritate ข้อที่ 6) สายใยจันท์ฉบับทีผ่ า่ นมาได้นำ� เสนอ กิจกรรม “แบ่งรัก ปันสุข สูภ้ ยั COVID-19” มุง่ เน้นผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในฉบับนี้จะกล่าวถึง “บ้านเมตตา” ซึ่งเป็นกิจกรรม หนึ่งในงานเมตตาสงเคราะห์ เพื่อคนยากจน ไร้ที่พึ่ง พิง ได้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น โดยการสร้าง ต่อเติม ปรับปรุง ซ่อมแซม ที่ อยู่อาศัย บ้านเมตตา ด�ำเนินการสืบเนื่องมาจาก กิจกรรม “Campaign ลดขยะ สร้างสุข” โดย การรับบริจาคหลอดน�้ำพลาสติกเพื่อท�ำหมอนให้ผู้ 32

ป่วยติดเตียงในชุมชน หลังจากทีศ่ นู ย์สงั คมพัฒนาฯ ได้ไปมอบหมอนหลอด ท�ำให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ ของกลุม่ เป้าหมาย นอกจากความยากจน ยากไร้แล้ว ยังเห็นทีอ่ ยูอ่ าศัยทีม่ สี ภาพเก่า ช�ำรุด ทรุดโทรม ผุพงั บางหลังไม่สามารถเรียกว่าบ้านได้ จึงเกิดแนวคิดใน การช่วยเหลือขึ้น บ้านเมตตา ภายใต้การด�ำเนินงานของศูนย์ สังคมพัฒนา ได้ด�ำเนินการ ทั้งหมด 7 หลัง ในพื้นที่ จังหวัดสระแก้ว เริ่มด�ำเนินการเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 ถึง กันยายน ค.ศ. 2020 ดังนี้


ฝ่ายสังคม

• บ้านเมตตา 1 นายไพโรจน์ หลักทอง สภาพบ้านทรุดโทรม คับแคบ ช่วยเหลือโดยการต่อเติมที่พัก ขยายห้องพักให้ลูกสาวที่ป่วยติดเตียง และต่อเติมหลังคาโครงเหล็กส�ำหรับภรรยาที่ป่วยติดเตียง

• บ้านเมตตา 2 นางวรพิศ ราศี บ้านหลังเก่าได้งบประมาณบ้านพอเพียง จาก อบต. แต่ยังไม่แล้ว เสร็จเนื่องจากงบประมาณที่จ�ำกัด ช่วยเหลือโดยการปรับปรุงห้องนอน ห้องครัว ห้องน�้ำ และบริเวณ รอบบ้าน

• บ้านเมตตา 3 นางย้อย พลมีเดช บ้านหลังเก่าช�ำรุดทรุดโทรม และก�ำลังด�ำเนินการวางโครงสร้าง บ้านหลังใหม่แต่ไม่มเี งินทุนในการสร้างต่อ ช่วยเหลือโดยการสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยให้ใหม่ทงั้ หลังโดยใช้วสั ดุ เดิมบางส่วน

33


ฝ่ายสังคม

• บ้านเมตตา 4 นายจันทา สาริโก บ้านหลังเก่าช�ำรุด ทรุดโทรม ไม่มีทางเข้าบ้าน ช่วยเหลือโดยการ หาที่ดินแปลงใหม่ และสร้างที่อยู่อาศัยหลังใหม่

• บ้านเมตตา 5 นายอรรฆวี ครูกุล ด�ำเนินการปรับปรุงหลังคา พื้นห้องน�้ำ และฝาผนังบ้าน

• บ้านเมตตา 6 นายทองใส ปาณศรี บ้านหลังเก่าท�ำมาจากเล้าไก่เก่า มีพื้นที่ขนาดเล็ก หลังคาช�ำรุด ช่วยเหลือโดยการสร้างบ้านหลังเล็กให้ใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนวัสดุ-อุปกรณ์โครงสร้างบ้านจาก ร้านธนิตฐ์วัสดุ เขาฉกรรจ์

• บ้านเมตตา 7 นางสาวลมัย แผ่นทอง บ้านหลังเก่ามีสภาพทรุดโทรม ผุพัง หลังคารั่ว ไม่มีห้องน�้ำ ช่วยเหลือโดยการรื้อหลังเก่าออกและสร้างใหม่โดยใช้วัสดุเดิมบางส่วน

34


ฝ่ายสังคม

สังฆมณฑลจันทบุรี โดยการด�ำเนินงานของศูนย์สังคมพัฒนา มุ่งเน้นให้คริสต ชนแสดงความรักความเมตตาของพระเจ้า เพื่อผู้ที่อยู่ในภาวะยากล�ำบาก ร่วมเป็นหนึ่ง เดียวในการ เคารพเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คืนความยุติธรรมให้กับพวก เขา ดังค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร “ความรักเมตตาก้าวข้ามความยุติธรรม เพราะว่าความรักคือการให้ การมอบสิ่งที่เป็น ‘ของฉัน’ ให้กับผู้อื่น แต่มันจะขาด ความยุตธิ รรมไม่ได้ หากเรารักผูอ้ นื่ ด้วยความรักเมตตาทีแ่ ท้จริงแล้ว เหนือสิง่ อืน่ ใด เราต้องมีความยุตธิ รรมต่อเขาก่อน และความยุตธิ รรมเป็นหนทางแรกแห่งความรัก เมตตา” (พระสมณสาสน์ Caritas in Veritate ข้อที่ 6) ด้วยความรักความเมตตาของพระเจ้า กิจกรรม “บ้านเมตตา” ยังคงด�ำเนินการ ต่อไปตราบใดที่ยังมีผู้รอคอยโอกาสและไร้ที่พึ่งพิง ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของสังฆมณฑล จันทบุรี ทั้งนี้ ขอขอบคุณผู้มีน�้ำใจดี มีจิตเมตตา ที่ร่วมบริจาคสมทบทุน วัสดุ-อุปกรณ์ แรงงาน ขอขอบคุณจิตอาสาที่มีส่วนช่วย ร่วมสนับสนุน ให้กิจกรรมบ้านเมตตาส�ำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี ขอพระเจ้าทรงอวยพระพร

ท่านสามารถร่วมบริจาคสมทบทุนกิจกรรมบ้านเมตตา ได้ที่ บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสระแก้ว ชื่อ นายอภิชิต ชินวงค์ เลขที่บัญชี 738-263429-2 หรือสแกนคิวอาร์โค้ด 35


แผนกเยาวชน

คุณพ่อยอแซฟ ประธาน ตันเจริญ สวัสดีท่านผู้อ่าน และน้อง ๆ เยาวชนทุกคน มองย้อนไปในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 บทเทศน์ ของพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสพิธบี ชู าขอบพระคุณ กับเยาวชนที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก ทรงตรัส กับเยาวชนในบทเทศน์วา่ “พวกลูกเป็นคนรุน่ ใหม่ มี ความหวัง มีความฝัน จงอย่ากลัวทีจ่ ะมองอนาคต ข้างหน้าด้วยความเชื่อมั่น” โอกาสที่ครบรอบ 1 ปี ที่พระสันตะปาปา ทรงพบปะเยาวชน ทางคณะกรรมการคาทอลิก เพื่อคริสตชนฆราวาส แผนกเยาวชนระดับชาติ จึง มีการเปิดปีเยาวชนขึ้นในปี 2021 เพื่อส่งเสริมให้ เยาวชนคาทอลิก และผู้ท�ำงานอภิบาลเยาวชนทุก คนได้ตระหนักถึงหน้าทีข่ องตนเอง โดยการเดินเคียง ข้างเยาวชน ด�ำเนินชีวติ ตามค�ำสอนของพระเยซูเจ้า และประกาศข่าวดีด้วยชีวิตที่เป็นพยาน อีกทั้งส่ง เสริมสนับสนุนให้เยาวชนท�ำกิจกรรมที่เหมาะสมกับ วัยของตนเอง มีส่วนในกิจกรรมของพระศาสนจักร ท้องถิ่น โดยมีผู้อภิบาลคอยให้ค�ำแนะน�ำและเดิน เคียงข้างเยาวชนเสมอ พระสันตะปาปาฟรังซิสทีท่ รงจัดการประชุม สมัชชาซีน็อตของบรรดาพระสังฆราช ครั้งที่ 15 ใน หัวข้อ “เยาวชน ความเชื่อ และการไตร่ตรอง กระแสเรียก” หลังจากการประชุมนี้ พระสันตะปาปา 36

ฟรังซิส ได้ทรงเขียนพระสมณลิขิต พระคริสตเจ้า ทรงพระชนม์ (Christus Vivit) ถึงเยาวชนและผู้ อภิบาลเยาวชนด้วยความห่วงใยว่า “ด้วยความรัก ห่วงใยเป็นพิเศษ พ่อขอมอบสมณลิขิตเตือนใจ ฉบับนี้แก่เยาวชนคริสตชนคนหนุ่มสาวทุกคน ซึ่ง เป็นการเตือนถึงความมัน่ ใจในความเชือ่ ของพวก เรา และในขณะเดียวกันก็ชว่ ยส่งเสริมลูกให้เจริญ เติบโตขึ้นในความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละในความตัง้ ใจจริง ต่อกระแสเรียกของลูกแต่ละคน” ในโอกาสนี้ ข อเชิ ญ เยาวชนสั ง ฆมณฑล จันทบุรี ร่วมพิธีเปิดปีเยาวชนของสังฆมณฑล ใน วันที่ 19 ธันวาคม 2020 ที่วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา ระหว่างเวลา 9.30 – 15.30 น. โดยจะเริ่ม ด้วยพิธีบูชาขอบพระคุณเปิดปีเยาวชนสังฆมณฑล ในรูปแบบมิสซาเยาวชน การแบ่งปันประสบการณ์ เยาวชนกับการประกาศข่าวดี และการแข่งขันกีฬา เยาวชนสัมพันธ์ ให้เราทุกคนมาช่วยกันท�ำให้ปเี ยาวชน 2021 ที่ก�ำลังจะมาถึงนี้ได้เป็นปีที่เยาวชนตื่นตัวถึงหน้าที่ ของตนเอง การอยู่ในพระศาสนจักร และเป็นหนึ่ง เดียวกันในความเชื่อ เพื่อเป็นปัจจุบัน และอนาคต ของพระศาสนจักรและเติบโตเป็นคริสตชนที่มีความ เชื่อมั่นคงต่อไป


แผนกเยาวชน

ความหมาย

ของโลโก้ ไม้กางเขนที่อยู่ท่ามกลางเยาวชน หมายถึง

พระเยซูที่คอยอยู่ท่ามกลางและเคียงข้างการเดินทางในชีวิตของ เยาวชนเสมอ

เยาวชน 2 คน หมายถึง เยาวชนทีเ่ คียงข้างกัน แสดงท่าทางของความร่าเริงเบิกบาน ความ มีชีวิตชีวา ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของวัยเยาวชน

หัวใจ หมายถึง หัวใจของพระศาสนจักรก็คอื เยาวชนทัง้ หลาย แสดงถึงพระศาสนจักร ที่พร้อมเข้าใจ เชื่อใจ มั่นใจ ไว้ใจ ให้ก�ำลังใจเยาวชนด้วยความจริงใจ

มือทั้งสองข้าง หมายถึง สองมือที่กางออกของพระศาสนจักรเพื่อพร้อมโอบกอดและเปิด รับเยาวชนทุกคน และยังสามารถมองเป็นนกที่เป็นตัวแทนของสันติภาพ ได้อีกด้วย

ดาวสามดวง หมายถึง บุญราศีไทย วัยเยาวชนทัง้ 3 ท่าน ทีเ่ ป็นแบบอย่างและคอยน�ำทาง เยาวชนไทยไปสู่กระแสเรียกของพระเป็นเจ้าที่มอบให้เยาวชนแต่ละคน

ประกายทัง้ หมด 11 ขีด และ 9 องค์ประกอบ หมายถึง 11 สังฆมณฑล และ 9 องค์กรที่เป็นส่วนหนึ่งของงานเยาวชน ของพระศาสนจักร ที่ล้วนมีทางเดินทางแตกต่างและหลากหลาย แต่ทุก หน่วยงานล้วนมีจุดประสงค์ คือ อยู่เคียงข้างเยาวชน เป็นเพื่อนคู่คริสต์ให้ กับเยาวชนไทย 37


บทภาวนาโอกาสส่งท้ายปีเก่า ข้าแต่พระเป็นเจ้า ผู้ทรงสรรพานุภาพ ลูกขอบพระคุณพระองค์ ส�ำหรับตลอด ระยะเวลาหนึ่งปีที่พระองค์ประทานให้กับลูก เพื่อใช้วันและเวลาสรรเสริญพระองค์ รักและ รับใช้เพื่อนมนุษย์ ขอบพระคุณพระองค์ ที่ได้ประทานสิ่งดีงามมากมายมาให้ลูก ผ่านทาง บุคคลต่าง ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสิ่งสร้างที่พระองค์ทรงมอบให้ ลูกขอโทษพระองค์ ส�ำหรับความผิด บาป และความอ่อนแอทีล่ กู ได้กระท�ำ ทีส่ ำ� คัญ ทีส่ ดุ คือการไม่ได้ดำ� เนินชีวติ ตามพระประสงค์ของพระองค์ ไม่ได้ปฏิบตั ติ ามค�ำแนะน�ำแห่งพระ วรสาร ไม่ได้สวดภาวนา และสรรเสริญพระองค์เท่าที่ควร อีกทั้งไม่ได้ร่วมมิสซาด้วยความ ตั้งใจ และละเลยในการรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ลูกขอโทษพระองค์ ในความรักต่อเพื่อนพี่น้อง ที่ขาดตกบกพร่องไป ความโกรธ ความเกลียดชัง การนินทาว่าร้าย การไม่ให้อภัย การปฏิเสธคนยากจน การไม่เป็นหนึง่ เดียว กับผู้อื่น และปฏิเสธต่อกิจการแห่งความรักตามที่พระองค์ทรงสอน ลูกขอโทษพระองค์ ที่ไม่ได้ดูแลและรักษาสิ่งสร้างของพระองค์ อย่างดีเท่าที่ควร ท�ำให้โลกที่พระองค์ทรงสร้างสกปรก การใช้ทรัพยากรอย่างไม่รู้คุณค่า การท�ำลายสิ่ง แวดล้อม และระบบนิเวศ การทิ้งขยะและสร้างมลพิษต่าง ๆ ขอพระองค์โปรดทรงอวยพรลูก ให้ก้าวข้ามปีนี้อย่างมีคุณค่า ตระหนักในวัน และ เวลาทีพ่ ระองค์ประทานให้กบั ลูก โดยด�ำเนินชีวติ อยูร่ ว่ มกับบุคคลรอบข้าง ทีพ่ ระองค์ประทาน ให้ด้วยความรัก พิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ประทานให้ และเป็นบทเรียนให้กับลูก และ สิ่งที่ลูกควรจะแก้ไข และละทิ้งชีวิตเก่าพร้อมกับปีนี้ ที่ก�ำลังจะผ่านพ้นไป ขอให้ลูกได้ก้าวข้าม ปีนไี้ ปพร้อมกับพระองค์ในความเชือ่ ความหวัง ความรักและสันติสขุ ในจิตใจด้วยเถิด อาแมน ข้าแต่พระบิดา... วันทามารีย์... พระสิริรุ่งโรจน์...

38


บทภาวนาโอกาสต้อนรับปีใหม่ ข้าแต่พระเป็นเจ้า ผูท้ รงเป็นเจ้าของวันเวลาและสรรพสิง่ ลูกขอสรรเสริญโมทนา พระคุณพระองค์ ส�ำหรับปีใหม่ที่พระองค์ประทานให้กับลูกอีกครั้งหนึ่งในชีวิตนี้ ขอให้ลูก ได้ใช้แต่ละวันในปีนี้อย่างดี และกระตือรือร้น เพื่อด�ำเนินชีวิตตามพระประสงค์ของพระองค์ ในความรักต่อเพื่อนพี่น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย และพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าในความ ศักดิ์สิทธิ์ ลูกขอพระพรส�ำหรับชาวโลก ให้ทุกที่มีสันติ และความรักฉันพี่น้อง ให้การระบาด ของโรคโควิด-19 ได้ยตุ ิ ลูกขอพระพรส�ำหรับประเทศไทย ส�ำหรับความเป็นหนึง่ เดียว ความ ปรองดอง ความสมานฉันท์ อันอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ และมุ่งไปสู่ผลประโยชน์ ของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ลูกขอพระพรส�ำหรับทุกครอบครัวในโลก ให้เลียนแบบครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ที่ นาซาเร็ธ โดยมีองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง ด�ำเนินชีวิตตามจิตตารมณ์แห่งพระ วรสาร รัก รับใช้ และให้อภัยกันและกัน เสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งการเป็นคริสตชน คือ การสวดภาวนา การมาร่วมพิธีมิสซาร่วมกัน และท�ำให้บ้านเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ลูกขอพระพรส�ำหรับตัวลูกเอง ให้มั่นคงในความเชื่อ หนักแน่นในความไว้ใจ และ ด�ำเนินชีวิตในความรัก ทั้งต่อพระเป็นเจ้าและต่อเพื่อนพี่น้อง เป็นสะพานเพื่อสร้างสันติ เคารพในความแตกต่างของเพือ่ นพีน่ อ้ งแต่ละคน ช่วยเหลือผูข้ ดั สน รักษ์และดูแลสิง่ สร้าง ที่พระองค์ประทานให้ เสริมสร้างบรรยากาศในการเป็นศิษย์พระคริสต์ ในชุมชนแห่งความ เชือ่ ของลูก โดยเฉพาะอย่างยิง่ พระพรแห่งการให้อภัย และโปรดประทานพระพรอันจ�ำเป็น ส�ำหรับสิ่งที่ลูกปรารถนาด้วยเถิด (เสนอความต้องการส่วนตัว) ข้าแต่พระบิดา... วันทามารีย์... พระสิริรุ่งโรจน์...

39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.