สายใยจันท์ V.14

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

• Y.C.S. สังฆมณฑลจันทบุรี • พระสงฆ์องค์ใหม่ ของสังฆมณฑลจันทบุรี • ปีศักดิ์สิทธิ์และปีนักบวชสากล สังฆมณฑลจันทบุรี • ของขวัญ วันคริสต์มาส

vol.14 ธันวาคม 2014 ปีที่

25


ปีที่ 25 ฉบับที่ 14 / ธันวาคม 2014

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาสน์พระสังฆราช...................................................................... 4 จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์................................... 6 ปี JUBILEE พระศาสนจักรคาทอลิกไทย..................................... 8 ปีศักดิ์สิทธิ์ ปีนักบวชสากล สังฆมณฑลจันทบุรี...................... 9 ของขวัญวันคริสต์มาส............................................................. 12 Y.C.S สังฆมณฑลจันทบุรี....................................................... 15 50 ปี สังฆภาพสงฆ์................................................................. 18 พระสงฆ์องค์ใหม่ของสังฆมณฑลจันทบุรี............................... 20 ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี................................................. 24 เข้าใจให้ดี เรื่องพิธีกรรม............................................................ 26 จงรู้จักตอบ............................................................................... 28 วันวาร ล้วนมีความหมาย......................................................... 30 ปริศนาอักษรไขว้....................................................................... 31 ประมวลภาพกิจกรรม............................................................... 33

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

ชีวิตคริสตชนคือการเดินทางแห่งความเชื่อ ไม่ได้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นจาก ครรภ์มารดา จนถึงหลุมฝังศพเท่านั้น แต่เป็นการเดินทางแห่งความเชื่อไปสู่ชีวิต นิรันดร จากพระเป็นเจ้า ไปสู่พระเป็นเจ้า พร้อมกับพระเป็นเจ้าและเพื่อพระเป็นเจ้า การเดินทางนี้ต้องผ่านความยากล�ำบาก ความล้มเหลว การผจญต่าง ๆ ความสุข ความส�ำเร็จ ความสมหวัง ความชื่นชม เหมือนกับคริสตชนร่วมเดินทางไป พร้อมกับพระเยซูเจ้า จากเบธเลเฮม ไปสู่อียิปต์ ไปสู่จอร์แดน ไปสู่ถิ่นทุรกันดาร ขึ้น ไปบนภูเขาทาบอร์ กลับไปสู่กรุงเยรูซาเล็ม ไปสู่สวนเกทเสมนี ภูเขากัลวารีโอ แล้ว เข้ากรุงเยรูซาเล็มใหม่ นี่คือการเดินทางแห่งความเชื่อ ปี 2015 พระศาสนจักรไทยได้ประกาศให้เป็น “ปีศักดิ์สิทธิ์” เนื่องในโอกาส 350 ปี สมัชชาอยุธยา 1664-2014 และ 50 ปี ที่ได้รับการยกระดับพระฐานานุกรม สถาปนาเป็น “สังฆมณฑล” อย่างเป็นทางการ ปีศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นการเดินทางแห่งความเชื่อในการ¿ฟื้นฟูชีวิตคริสตชน

ปีศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นการเดินทางแห่งความเชื่อในการพบปะกับพระเยซูเจ้า เป็นการส่วนตัวอย่างเข้มข้น ปีศกั ดิส์ ทิ ธิจ์ งึ เป็นการเดินทางแห่งความเชือ่ ในการรับพระพรจากพระเป็นเจ้า เพื่อการกลับใจและการอภัยบาป ปีศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นการเดินทางแห่งความเชื่อ เป็นปีที่จะตระหนักถึงความรัก และพระเมตตาอันยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้าทีมีต่อคริสตชน.... สายใยจันท์ ฉบับนี้ยังคงรับใช้พี่น้องคริสตชนผ่านทางตัวหนังสือเหมือนเดิม ขอสุขสันต์คริสต์มาสกับพีน่ อ้ งคริสตชนจันท์ทกุ ท่าน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


4


สาสน์พระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2015 เป็นปีศกั ดิส์ ทิ ธิข์ องพระศาสนจักร ในประเทศไทย เพื่อระลึกถึง 350 ปีแห่งการประชุมสมัชชาที่อยุธยาเมื่อปี ค.ศ. 1664 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นงาน แพร่ธรรมในประเทศสยาม และระลึกถึง 50 ปีแห่งการได้รบั การสถาปนาพระฐานานุกรมเป็นสังฆมณฑล โดย บุญราศีเปาโล ที่ 6 พระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965 โดยก�ำหนดให้เปิดปีศักดิ์สิทธิ์ใน วันที่ 6 ธันวาคม 2014 ซึ่งทางสังฆมณฑลจัดพิธีเปิดปีศักดิ์สิทธิ์ในโอกาสฉลองอาสนวิหารจันทบุรี พร้อมกันนี้ได้ ประกาศเปิดปีนักบวชด้วย ตามพระด�ำริของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ปีศกั ดิส์ ทิ ธิเ์ ป็นเวลาแห่งพระเมตตาของพระเจ้า นักบุญเปาโลกล่าวไว้วา่ “ขณะนีค้ อื เวลาทีเ่ หมาะสม ขณะนี้คือวันแห่งความรอดพ้น” (2 คร 6: 2) หมายถึง ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่พระเจ้าประทานไว้ให้ มนุษย์กลับใจและคืนดีกับพระองค์ โดยทางองค์พระคริสตเจ้าผู้ทรงยอมตายเพื่อทุกคน เพื่อเราจะได้กลาย เป็นผู้ชอบธรรมของพระเจ้า ในปีศักดิ์สิทธิ์ พระศาสนจักรประทานพระคุณการุณย์แก่เรา พระคุณการุณย์นี้ มิใช่เพียงเพื่อยกโทษบาปของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นการท�ำให้เราด�ำเนินชีวิตเป็นมนุษย์ใหม่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์และมีคุณธรรม ในปีศักดิ์สิทธิ์และปีนักบวชสากล สังฆมณฑลได้จัดตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง เพื่อวางแนวทางส�ำหรับ การเฉลิมฉลองและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปีศักดิ์สิทธิ์และปีนักบวช โดยทางสังฆมณฑลจะแจ้งให้ทราบเป็น ระยะต่อไป จึงขอให้ทุกท่านได้ติดตาม และมีส่วนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในการเฉลิมฉลองช่วงเวลาอันส�ำคัญ ของพระศาสนจักรไทยเรา อนึ่ง ในปีศักดิ์สิทธิ์นี้ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย จะจัดให้มีการประชุมสมัชชาใหญ่ ของพระศาสนจักรในประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” โดยแบ่ง การประชุมออกเป็น 2 ช่วงคือ สมัชชาระดับแขวง 2 แขวง (4 สังฆมณฑลภาคอีสาน และ 6 สังฆมณฑลเขต กรุงเทพฯ และภูมิภาคที่เหลือ)ในเดือนพฤศจิกายน 2014 และการประชุมสมัชชาใหญ่รว่ มกันในเดือนเมษายน 2015 จึงขอค�ำภาวนาส�ำหรับการประชุมครั้งส�ำคัญนี้ด้วย ขอพระนางมารีย์ องค์อุปถัมภ์ของสังฆมณฑลและพระมารดาของชาวเราทั้งหลาย โปรดให้เราเป็น ศิษย์ที่แท้จริงของพระคริสตเจ้า ด�ำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานแห่งความรักของพระองค์ และประกาศข่าวดี ใหม่ด้วยใจที่ชื่นชมยินดี ขอถือโอกาสนี้ส่งความสุขแห่งเทศกาลพระคริสตสมภพและปีใหม่แก่ทุกท่าน

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี

5


จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนที่ 4) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมตอนที่แล้ว (ตอนที่ 2 และ 3) ได้พูดถึงความเชื่อของคริสตชน จ�ำเป็นต้องแสดงออกถึงความ เชื่อนั้น ให้เป็นชีวิตของคนให้ได้ ต้องท�ำความเชื่อให้มีกิจการที่คนรอบข้างสัมผัสได้ โดยยกตัวอย่างของบุคคลใน พระคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ จากบุคคลทีไ่ ด้ยกตัวอย่างทัง้ ในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่นนั้ พอจะแยกแยะขัน้ ตอนในการ ด�ำเนินชีวิตตามความเชื่อของเขาได้ดังนี้ ความเชื่อ (Faith) ตัวอย่างเช่น • เชื่อในพระเป็นเจ้า • เชื่อในพระเยซูเจ้า • เชื่อในความจริงที่พระเป็น เจ้าเปิดเผย

เชื่อฟัง (Obedience) ตัวอย่างเช่น • ฟังค�ำสัง่ สอนทีพ่ ระเป็นเจ้าสอน • ฟังสิ่งที่พระเป็นเจ้าตรัสกับ เขาผ่านทางพระคัมภีร์

ตอบสนอง(Response) ตัวอย่างเช่น • ปฏิบัติตามค�ำสั่งสอนนั้น • น�ำพระวาจามาเป็นชีวิต

(เชื่อบุคคล)

(ฟังค�ำสอนของบุคคลทีเ่ ราเชือ่ )

(ปฏิบตั ติ ามค�ำสอนเพือ่ บุคคลทีเ่ ชือ่ )

คนที่บอกว่าเป็นผู้มีความเชื่อนั้น เราดูได้จากการด�ำเนินชีวิตและการตอบสนองความเชื่อของเขาที่ มีต่อความเชื่อนั้น หนังสือค�ำสอนของพระศาสนจักร ภาคที่ 1 ข้อที่ 166 สอนว่า “ความเชื่อเป็นกิจส่วนตัว เป็นการตอบสนองอย่างอิสระของมนุษย์ ต่อพระด�ำริริเริ่มของพระเจ้าผู้ส�ำแดงพระองค์” และข้อ 180 สอนว่า “เชื่อ” เป็นกิจการของมนุษย์ ซึ่งกระท�ำอย่างมีส�ำนึกและอิสระ และสอดคล้องต้องตามศักดิ์ศรี ของตัวบุคคลผู้เป็นมนุษย์ 6


ด้วยเหตุน…ี้ …………………. • คนทีม่ คี วามเชือ่ จะเดินอยูบ่ นหนทางทีเ่ ขาเชือ่ ไม่ เดินนอกลูน่ อกทาง เหมือนอย่างนักบุญยอห์น บัป ติสต์ ได้เตือนว่า “จงประพฤติตนให้สมกับที่ได้ กลับใจแล้วเถิด” (มัทธิว 3:8)

• คนที่มีความเชื่อจะไม่ด�ำเนินชีวิตเพื่อเกียรติยศ หรือผลประโยชน์ของตนเอง แต่จะกระท�ำทุกอย่าง เพื่อบุคคลที่เขาเชื่อ ดั่งตัวอย่างจากพระวรสาร นักบุญยอห์น “เมื่อเทศกาลฉลองผ่านไปครึ่ง หนึ่งแล้ว พระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นไปยังพระวิหาร และทรงเริ่มเทศน์สอน ชาวยิวต่างประหลาด ใจ กล่าวว่า “ผู้นี้รู้พระคัมภีร์ได้อย่างไร เพราะ ไม่เคยศึกษาในส�ำนักใดเลย” พระเยซูเจ้าตรัส ตอบเขาว่า “ค�ำสอนของเราไม่ใช่ของเรา แต่ เป็นของพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา ผู้ใดต้องการ ท�ำตามพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้นั้นจะรู้ว่า ค�ำสอนนี้มาจากพระเจ้า หรือว่าเราพูดตามใจ ตนเอง ผู้ที่พูดตามใจตนเอง ย่อมแสวงหา เกียรติของตน แต่ผู้ที่แสวงหาพระสิริรุ่งโรจน์ ของผู้ทรงส่งเขามา ย่อมพูดความจริง และ ไม่มีความทุจริตแต่อย่างใด” (ยอห์น 7: 14-18)

• และพระเยซูทรงเตือนบรรดาผูท้ มี่ คี วามเชือ่ ขณะ ที่ พระองค์ทรงเทศนาบนภูเขาว่า “ต้นไม้ทุกต้น จะรู้จักได้โดยผลของมัน” (มัทธิว 7:16) และว่า “ต้นไม้ทกุ ต้นทีไ่ ม่เกิดผลดีจะถูกโค่นลงและโยน ลงในไฟ” (มัทธิว 7:19)

• ผูท้ มี่ คี วามเชือ่ จะเดินผ่านประตูทพี่ ระเยซูเจ้าเปิด ให้ พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราเป็นประตู ผูท้ เี่ ข้ามา ทางเราก็จะรอดพ้น เขาจะเข้าจะออก และจะ พบทุ่งหญ้า” (ยอห์น 10:9 ) หนังสือวิวรณ์เขียน ว่า “เรารู้จักกิจการของท่าน เราเปิดประตูที่ ไม่มผี ใู้ ดปิดได้ไว้ตอ่ หน้าท่าน เพราะท่านมีกำ� ลัง น้อย และเพราะท่านปฏิบัติตามวาจาของเรา ไม่ปฏิเสธนามของเรา” (วิวรณ์ 3:8)

ดังนั้น คนที่มีความเชื่อ จะเป็นผู้ตอบสนอง ความเชื่อด้วยการด�ำเนินชีวิตที่ดีเท่านั้น จะเป็นผู้ เดินในหนทางทีจ่ ะน�ำสูก่ ารเติบโตในความศักดิส์ ทิ ธิ์ ในชีวิตประจ�ำวัน (NMI 30-31)1 เสมอ จะเป็น 2 ผู้เดินผ่านทางประตูที่น�ำสู่ความศักดิ์สิทธิ์ เพราะ “นี่คือพระประสงค์ของพระเจ้า คือให้ท่านเป็นผู้ ศักดิ์สิทธิ์” (1ธส 4:3)

1Novo Millennio Ineunte พระสมณสาสน์ “สู่สหัสวรรษใหม่” 2สาสน์ของสมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ถึงเยาวชนทั่วโลก โอกาสวันเยาวชนโลกครั้งที่ 17 ค.ศ. 2002

(อ่านต่อฉบับหน้า) 7


โลโก้สภาฯ ตรงกลางที่โอบล้อมด้วยรูปวงรี หมายถึง การโอบอุ้มพระศาสนจักรไทยที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักของพระเป็นเจ้า เปลวไฟลายกนกไทย 3 รูป หมายถึง พระบิดา พระบุตร และพระจิต ตัวอักษรสัญลักษณ์ไทย บ่งบอกถึงความเป็นไทย 8


ปีศักดิ์สิทธิ์ ปีนักบวชสากล สังฆมณฑลจันทบุรี ตัง้ แต่แรกเริม่ นัน้ พระศาสนจักรในประเทศไทย มีสถานะเป็นเพียง “มิสซัง” เท่านั้น กล่าวคือ การมี สภาพยังไม่ถงึ ขัน้ เป็น “สังฆมณฑล” เพราะผูป้ กครอง ดูแล จะเป็นเพียงผู้แทนของสมเด็จพระสันตะปาปา มีอ�ำนาจปกครองไม่เหมือนกับพระสังฆราช ประมุข ของสังฆมณฑล (กฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 371) จนกระทั่ง วันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965 สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงสถาปนา มิสซังกรุงเทพฯ และมิสซังท่าแร่-หนองแสง เป็น “อัครสังฆมณฑล” พร้อมกับอีก 6 มิสซังในขณะนั้น คือ มิสซังจันทบุรี มิสซังราชบุรี มิสซังเชียงใหม่ มิสซัง อุบลราชธานี มิสซังอุดรธานี และมิสซังนครราชสีมา เป็น “สังฆมณฑล” การได้รับการสถาปนาพระฐานานุกรมเป็น “สังฆมณฑล” นัน้ หมายถึง การได้รบั อ�ำนาจแห่งการ ปกครองตนเอง โดยพระสังฆราชทีไ่ ด้รบั มอบหมายให้ อภิบาลดูแล มีพระสงฆ์และคริสตชนให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ เป็นพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์สากลและสืบ จากอัครสาวก (กฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 369)

ในการฉลองครบ 50 ปี ของพระศาสนจักร ทุกแห่งนั้น สืบเนื่องมาจาก ในทุก ๆ ปีที่ห้าสิบ ชาว อิสราเอลจะเป่าเขาสัตว์เรียกประชาชน ให้เข้าสู่ เทศกาลแห่งการเป็นทุกข์กลับใจ การคืนดีกัน การ ให้อภัยกัน และความชื่นชมยินดี คริสตชนในสมัย กลางคุน้ เคยกับธรรมเนียมนีเ้ ป็นอย่างดี จึงได้ใช้เลข 50 หมายถึง “การให้อภัย” สําหรับในยุคสมัยใหม่ ได้มีการเฉลิมฉลอง “ปีศักดิ์สิทธิ์” ที่ยิ่งใหญ่เมื่อ ปี ค.ศ. 2000 นักบุญ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรงเรียกร้อง ให้คริสตชนเตรียมการฉลองทางด้านจิตใจ ตลอด ระยะเวลา 3 ปี ก่อนถึง ปี ค.ศ. 2000 ดังนี้เอง พระศาสนจักรคาทอลิกไทย จึงได้ใช้ช่วงเวลาในปี 2012-2015 เป็นปี “การฟื้นฟูชีวิตชุมชนศิษย์พระ คริสต์” เริ่มตั้งแต่ วันที่ 15 สิงหาคม 2012 เป็นต้น มา เพื่อฟืน้ ฟูชีวติ คริตชนในทุกระดับ และสอดรับกับ ที่ทางสันตะสํานักได้ประกาศให้ปี 2012-2013 เป็น “ปีแห่งความเชื่อ” จึงเป็นโอกาสดีในการพิจารณา ถึงพระพรแห่งความเชือ่ และเตรียมจิตใจสูก่ ารฉลอง “ปีศักดิ์สิทธิ์” 9


สังฆมณฑลจันทบุรี โดยคณะกรรมการ สภาสงฆ์ และคณะกรรมการบริหารสังฆมณฑล ได้กำ� หนด ให้มโี ครงการฉลอง“ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละปีนกั บวชสากล” พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีกิจกรรมของโครงการ ที่ สอดคล้องกับ “แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2010-2015” ด้านอภิบาลและด้านบริหาร จัดการ ได้จดั ตัง้ คณะกรรมการด�ำเนินงาน จากฝ่าย/ แผนก/ผู้แทนส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จ�ำนวนทั้งสิ้น 34 ท่าน เป็นพระสงฆ์ 22 องค์ นักบวช 6 ท่าน และ ฆราวาสอีก 6 ท่าน ซึง่ มี คุณพ่อ ยอด เสนารักษ์ อุป สังฆราช เป็นประธานคณะกรรมการบริหารฯ ทั้งนี้ เพือ่ การด�ำเนินงาน และกิจกรรมของโครงการตลอด “ปีศักดิ์สิทธิ์และปีนักบวชสากล” เป็นไปในทิศทาง เดียวกันในสังฆมณฑล กิจกรรมใน “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละปีนกั บวชสากล” สังฆมณฑลได้วางรูปแบบไว้ดังนี้ • ฟื้นฟูความเชื่อคริสตชนในโอกาสฉลอง ชุมชนแห่งความเชื่อ (ฉลองวัด) • ส่งเสริมเรื่องวิถีชุมชนวัด (BEC) ในระดับ วัด และระดับแขวง ต่อเนื่องเข้มข้น • สัมมนาพิเศษเรื่อง การส่งเสริมความเชื่อ ในครอบครัว และการประกาศข่าวดี • การส�ำรวจและรือ้ ฟืน้ ประวัตศิ าสตร์วดั และ ทะเบียนคริสตชน • การอภิบาลด้านศีลสมรส และการแต่งงาน ไม่ถูกต้องเป็นพิเศษ • การก�ำหนดวัดและการแสวงบุญ รับพระพร พิเศษ • การรับพระธาตุ นักบุญยอห์น ที่ 23 พระ สันตะปาปา และนักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา • การรณรงค์กระแสเรียกทุกคณะ 10

นอกจากนี้ สังฆมณฑลจันทบุรี ยังได้กำ� หนด ให้มีพิธีเปิด “ปีศักดิ์สิทธิ์และปีนักบวชสากล” ที่ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2014 โอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ โดยพระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็น ประธานในพิธีเปิด ไม่วา่ จะในยุคสมัยใดก็ตาม การเข้าสูเ่ ทศกาล แห่งการเป็นทุกข์กลับใจ การคืนดีกนั การให้อภัยกัน และความชื่นชมยินดี ของคริสตชนในยุคสมัยแรก และยุคสมัยกลาง การเตรียมการฉลองทางด้านจิตใจ ก่อนการเฉลิมฉลอง ของคริตชนในยุคสมัยใหม่ ล้วน มุ่งเน้นเพื่อให้การเฉลิมฉลอง “ปีศักดิ์สิทธิ์” นั้นเป็น “การฟืน้ ฟูชวี ติ ชุมชนศิษย์พระคริสต์” อย่างแท้จริง อาศัยพระคริสต์ที่ท�ำให้เราเป็นหนึ่งเดียวในความ รักต่อพระเจ้า เป็นประจักษ์พยานชีวิตด้วยการแบ่ง ปันบุคคลที่รักยิ่งของเรา นั่นคือ พระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่ของมนุษยชาติ กษัตริย์แห่งสากลจักรวาล “ผู้บุกเบิกความเชื่อ และผู้ทรงน�ำให้ความเชื่อนั้น สมบูรณ์” (ฮบ 12:2) สังฆมณฑลจันทบุรี จึงขอเชิญชวนชุมชนศิษย์ พระคริสต์ในสังฆมณฑล ให้ความร่วมมือในการฟืน้ ฟู ชีวิตทางความเชื่อ ในรูปแบบชุมชนศิษย์พระคริสต์ โมทนาคุณพระเป็นเจ้า มีส�ำนึกในพระพรแห่งความ เชื่อ ระลึกคุณบรรดานักบวชมิชชันารี ที่เคยเข้ามา ท�ำงานแพร่ธรรมในเขตสังฆมณฑล พร้อมสนับสนุน และส่งเสริมกระแสเรียกการเป็นนักบวช เพือ่ ให้การ เฉลิมฉลอง “ปีศักดิ์สิทธิ์และปีนักบวชสากล” ของ สังฆมณฑลในครัง้ นี้ เป็นช่วงเวลาแห่งพระเมตตาของ พระเจ้า ทีพ่ ระเจ้าประทานไว้ให้เรากลับใจและคืนดีกบั พระองค์ เราจะได้กลายเป็นผูช้ อบธรรมของพระเจ้า เป็นมนุษย์ใหม่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์บริสุทธิ์


ครอบครัวเป็นการแสดงออกและเป็นท่อธารของความรักนี้ โดยผ่านทางครอบครัวกระแสแรกของอารยธรรม ของความรักที่ย่างเข้ามา ซึ่งจะก่อให้เกิดรากฐานสังคมขึ้นมาภายในมัน สารถึงบรรดาครอบครัว จากสมเด็จพระสันตะปาปา นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ปี 1994 ข้อ 15 11


ของขวัญ วันคริสต์มาส โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

นักธุรกิจผูป้ ระสบความส�ำเร็จนายหนึง่ ได้ประสบอุบตั เิ หตุเสียชีวติ ในขณะนัน้ เอง มีเทวดา และซาตาน มายืนคู่กันเพื่อมารอรับวิญญาณของหนุ่มนักธุรกิจนั้น ทั้งเทวดาและซาตานได้บอกกับ นักธุรกิจว่า “เจ้าหนุ่ม เจ้าจงเลือกอยากไปกับผู้ใด” นักธุรกิจเลือกที่จะไปกับเทวดา แล้วเทวดาก็ พานักธุรกิจไปที่หน้าประตูสวรรค์ ซึ่งพระเป็นเจ้าได้รอเขาที่นั่น พระเป็นเจ้า : เจ้าหนุ่ม เจ้าจงเล่าชีวิตของเจ้าบนโลกให้เราฟังซิ นักธุรกิจ : ผมเป็นนักธุรกิจที่ประสบความส�ำเร็จมาก ท�ำเงินได้ปีละหลายร้อยล้าน เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ทุกคนเคารพยกย่องในความเก่งของผมครับ พระเป็นเจ้า : ดีมากเจ้าหนุ่ม แล้วเจ้าได้ท�ำอะไรเพื่อเราและอาณาจักรสวรรค์ของเราบ้าง? นักธุรกิจ : นิ่ง เงียบ เพราะเขาไม่เคยท�ำอะไรเพื่อพระเป็นเจ้า และอาณาจักรของพระองค์เลย พระเป็นเจ้า : เทวดา พาเจ้าหนุ่มคนนี้ส่งให้ซาตาน...............................

คริสต์มาสนี้ท่านท�ำอะไรเพื่อพระเป็นเจ้าและอาณาจักรสวรรค์หรือยัง? ท่านแบ่งปันข้าวของเครื่องใช้ที่มีแก่คนขาดแคลนหรือยัง? ท่านมอบของขวัญให้คนรอบข้างหรือยัง? ท่านไปเยี่ยมคนป่วยในครอบครัวของท่านหรือยัง?

12


“นายขอรับเงินที่ท่านให้ไว้อยู่นี่ ข้าพเจ้าเอาผ้าห่อเก็บไว้ ข้าพเจ้ากลัวท่าน เพราะท่านเป็นคนเข้มงวด ท่านเอาสิ่งที่ท่านไม่ได้ฝาก ท่านเก็บเกี่ยวสิ่งที่ท่านไม่ได้ หว่าน” นายจึงพูดกับเขาว่า “เจ้าขี้ข้าชั่วช้า ข้าจะตัดสินเจ้าจากค�ำพูดของเจ้า เจ้ารู้ แล้วว่า ข้าเป็นคนเข้มงวด เอาสิ่งที่ข้าไม่ได้ฝากไว้ เก็บเกี่ยวสิ่งที่ข้าไม่ได้หว่าน ท�ำไม เจ้าจึงไม่เอาเงินของข้าไปฝากธนาคารไว้เล่า เมือ่ ข้ากลับมา ข้าจะได้เงินคืนพร้อมกับ ดอกเบีย้ ด้วย” นายยังกล่าวกับคนทีอ่ ยูท่ นี่ นั่ ว่า “จงเอาเงินจากเขามาให้กบั ผูท้ ที่ ำ� ก�ำไร สิบเท่าเถิด” คนเหล่านั้นพูดว่า “นายขอรับ เขามีเงินมากอยู่แล้ว” นายจึงตอบว่า “ข้า บอกเจ้าทั้งหลายว่า ผู้ที่มีมาก จะได้รับมากขึ้น ส่วนผู้ที่มีน้อย สิ่งเล็กน้อยที่เขามีอยู่ จะถูกริบไปด้วย” (ลก 19:20-26)

13


คณะนักบวช หญิง - ชาย

ผูร้ ว่ มงานเพาะเมล็ดพันธุแ์ ห่งความเชือ่ ในสังฆมณฑล คณะรักกางเขน แห่งจันทบุรี บ้านศูนย์กลางคณะรักกางเขน (จันทบุรี) อารามฟาติมา ศูนย์อบรมคณะรักกางเขน (อ.ศรีราชา)

คณะคาร์แมล อารามคาร์แมล (จันทบุรี)

คณะคามิลเลียน บ้านเณรคามิลเลียน คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ ปราจีนบุรี คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ ระยอง คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ จันทบุรี

คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร โรงเรียนเซนต์ปอล คอนแวนต์ โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ระยอง

คณะพระมหาไถ่ สามเณราลัยพระมารดานิจจานุเคราะห์ (อ.ศรีราชา) ศูนย์พระมหาไถ่แห่งประเทศไทย บ้านนักบุญเคลเมนท์ (พัทยา)

คณะพระกุมารเยซู โรงเรียนเมรี่ิอิมมาคูเลตคอนแวนต์

คณะเซนต์คาเบรียล โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา โรงเรียนอัสสัมชัญ ระยอง

คณะแม่พระแห่งพระตรีเอกภาพ บ้านผู้ฝึกหัด (ศรีราชา) ศูนย์เกิดใหม่หญิง (อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา)

คณะภราดาลาซาล โรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์)

คณะศรีชุมพาบาล ศูนย์ธารชีวิต (อ.บางละมุง จ.ชลบุรี)

คณะเยสุอิต วัดแม่พระเมืองลูร์ด บางแสน

คณะภคินีผู้รับใช้คนป่วย แห่งนักบุญคามิลโล บ้านลอเรนโซ (อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี)

14


Y.C.S. วาย

ซี

เ อส

สังฆมณฑลจันทบุรี โดย คุณพ่อเฉลิม กิจมงคล

ขบวนการของเยาวชน ด�ำเนินการโดยเยาวชน และเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของเยาวชน

ในบรรดาชือ่ คณะ กลุม่ และองค์กรคาทอลิก ต่าง ๆ ที่ด�ำเนินการอยู่ในพระศาสนจักรไทย และใน สังฆมณฑลจันทบุรี คงไม่มีชื่อไหน จะติดกลิ่นเนย เท่ากับ ชื่อ วาย.ซี.เอส. ซึ่งมีชื่อเต็ม ๆ ว่า Young Catholic Student ถ้าแปลให้มีกลิ่นกะปิก็คือ ยุว นักศึกษาคาทอลิก คงจะยาวเกินไปและเรียกยาก จึง ยังคงเรียกตัวย่อว่า วาย.ซี.เอส. จนกระทั่งปัจจุบัน 15


อันทีจ่ ริง วาย.ซี.เอส. เป็นขบวนการ คือเป็น Movement บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะว่า สมาชิกจะ ต้องเคลือ่ นชีวติ ของตนไปตามสถานการณ์ตา่ ง ๆ ใน ชีวติ ต้องอ่านนิมติ หมายแห่งกาลเวลาว่า ในเหตุการณ์ ต่าง ๆ พระเจ้าก�ำลังตรัสอะไรแก่เรา และพยายาม ตอบสนองพระประสงค์ของพระองค์ ด้วยหลักการ See (มองดู หรือ ตื่นตัว) Judge (วินิจฉัย หรือ ไตร่ตรอง และ Act (ลงมือกระท�ำ หรือ ตอบโต้ด้วยกิจกรรม) หลักการ วาย.ซี.เอส. สอดคล้องกับหลัก การเรียนรู้การพัฒนาชีวิตที่ครบวงจร กล่าวคือ “ดูด้วยตา พาสู่สมอง ล่องลงใจ ไหลไปที่มือ” เป็นกระบวนการทีล่ นื่ ไหล น�ำไปสูก่ ารด�ำเนินชีวติ อย่าง ตืน่ ตัวต่อสถานการณ์ชวี ติ บนพืน้ ฐานของการน�ำคุณค่า ศาสนามาไตร่ตรอง อีกทั้งยังสอดคล้องกับ อริยสัจ 4 ด้วย คือ ตื่นตัวต่อสถานการณ์ที่เป็นปัญหา (ทุกข์) และวิเคราะห์สาเหตุของทุกข์ (ทุกขสมุทยั ) ไตร่ตรอง ธรรมที่จะช่วยดับทุกข์ (ทุกขนิโรธ) และตอบโต้ด้วย การหาทางแห่งการดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินปี ฏิปทา) “แนวความคิดที่จะให้เยาวชน คริสตชนได้ตระหนักถึงบทบาทของตนใน โลกปัจจุบัน ดังที่ พระคาร์ดินัล คาร์ไดจ์น ได้ด�ำริไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1924 ได้ช่วยให้พระ ศาสนจักรเริ่มไหวตัวทางด้านความเข้าใจ ในความหมายของค�ำว่า ‘ฆราวาสแพร่ ธรรม’ ตั้งแต่นั้นมา ฆราวาสโดยเฉพาะ เยาวชน ได้รวมกันเป็นกลุม่ เป็นขบวนการ เพือ่ จะได้มโี อกาสร่วมกันศึกษาบทบาทของ ตนทีจ่ ะตอบสนองความต้องการของสังคม ได้เด่นชัดยิ่งขึ้น” (อ้างอิง คู่คิดมิตรวายฯ 1 หน้า 2) 16

พระคาร์ดินัล คาร์ไดจ์น ใช้หลักการ See (มองดู หรือ ตื่นตัว) Judge (วินิจฉัย หรือ ไตร่ตรอง) Act (ปฏิบัติ หรือ ตอบโต้) ท�ำงานกับกลุ่ม Y.C.W. (Young Catholic Workers) ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดกลุ่ม Y.C.S. กลุ่ม CFM และกลุ่ม Joyful Vanguard (กองหน้าร่าเริ่ง) (เทียบ หนังสืออนุสรณ์ วาย.ซี.เอส. 50 ปี หน้า 12) “วาย.ซี.เอส. ได้เข้ามาในประเทศไทย เมื่อประมาณปี 1957 (2500) โดยผ่านทาง นักบวช 2-3 ท่าน ซึ่งได้รู้จัก วาย.ซี.เอส. ในต่างประเทศ และพบว่า วาย.ซี.เอส. มี วิธีและอุดมการณ์ที่จะช่วยพัฒนานักเรียน เยาวชนไทย ท่านจึงได้เริ่มมี วาย.ซี.เอส. ขึ้นในโรงเรียนนักบวชก่อน” (อ้างถึง คู่คิดมิตรวาย 1 หน้า 22)


พระคุณเจ้าเทียนชัย สมานจิต ในขณะที่ เป็นพระสังฆราชที่หนุ่มที่สุด ได้เป็นผู้น�ำขบวนการ วาย.ซี.เอส. เข้าสู่สังฆมณฑลจันทบุรี โดยเริ่มที่ โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์เป็นแห่งแรก ในปี 1972 (เทียบ บทสัมภาษณ์ในคลื่นวายฯ ฉบับที่ 36) ขณะนี้ คุณพ่อลือชัย จั นทร์โป๊ เป็นผู้ ประสานงาน วาย.ซี.เอส. ระดับสังฆมณฑล มี สมาชิก วาย.ซี.เอส. ในโรงเรียนของสังฆมณฑล และ ของนักบวช นอกนั้นยังมี วาย.ซี.เอส. นอก(ระบบ) โรงเรียน คือ สมาชิกซึง่ จบจากโรงเรียนคาทอลิกแล้ว แต่ยังมีเลือด วาย.ซี.เอส. มีความประสงค์จะพบปะ และรวมกลุ่มเป็นครั้งคราว การด�ำเนินกลุ่ม วาย.ซี.เอส. ที่ถูกต้องนั้น แท้ทจี่ ริงก็คอื การด�ำเนินชีวติ ด้วยวิถชี มุ ชนวัด (BEC) นัน้ เอง เพราะในเนือ้ หาสาระทีแ่ ท้จริงนัน้ วาย.ซี.เอส. เป็นกลุม่ องค์กร ทีเ่ จริญชีวติ กลุม่ ด้วยกัน มีการตืน่ ตัว ต่อปัญหาทีเ่ ป็นปัจจุบนั และใกล้ตวั มีการไตร่ตรองพระ วาจาของพระเจ้า ทีใ่ ห้ความสว่างและแนวทางในการ วินจิ ฉัยสภาพการณ์ตา่ ง ๆ ในสังคม และลงท้ายด้วย การตกลงร่วมกันว่าแต่ละคนจะลงมือเปลี่ยนแปลง ชีวิตของตนก่อน พร้อมทั้งวางแผนว่าจะมีส่วนช่วย ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ที่ไม่สอดคล้อง กับข่าวดีในพระวรสารเป็นกลุ่มด้วย การเจริญชีวิต กลุ่มของ วาย.ซี.เอส. ประกอบด้วยสมาชิกที่มา จากละแวกชุมชนต่าง ๆ เพียงแต่มีการรวมกลุ่มกัน ที่โรงเรียนเท่านั้น

สัญลักษณ์ของวาย.ซี.เอส. สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีเขียว หมายถึง วัยรุ่นและความเจริญเติบโต รวงข้าวสาลีพันรอบกางเขน หมายถึง วาย.ซี.เอส ได้เจริญเติบโตขึ้นในพระคริสตเจ้า 17


ประวัติการท�ำงาน • 1968 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระหฤทัยฯ ขลุง • 1969 รองอธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ดูแลวัด แม่พระลูกประค�ำ สัตหีบ • 1971 อาจารย์พระคัมภีร์สามเณราลัย General College ปีนัง มาเลเซีย • 1972 รองอธิการสามเณราลัยแสงธรรม อาจารย์ พระคัมภีร์วิทยาลัยแสงธรรม และศูนย์อบรม คริสตศาสนศาสตร์ • 1976 อธิการสามเณราลัยแสงธรรม อธิการวิทยาลัย แสงธรรม อาจารย์พระคัมภีรว์ ทิ ยาลัยแสงธรรม และ ศูนย์อบรมคริสตศาสนศาสตร์ • 1978 อธิการสามเณราลัยแสงธรรม อาจารย์พระ คัมภีร์วิทยาลัยแสงธรรม และศูนย์อบรมคริสต ศาสนศาสตร์ • 1986 รองอธิการสามเณราลัยแสงธรรม อาจารย์ พระคัมภีรว์ ทิ ยาลัยแสงธรรม และศูนย์อบรมคริสต ศาสนศาสตร์ • 1990 เจ้าอาวาสอาสนวิหารพระนางมารีฯ จันทบุรี วัด นักบุญยอห์น อัครสาวก มะขาม วัดพระคริสตราชา ปะตง ผู้โปรดบาปซิสเตอร์อารามคาร์แมล จันทบุรี • 1995 เจ้าอาวาสวัดพระหฤทัยฯ ขลุง ผู้โปรดบาป ซิสเตอร์อารามคาร์แมล จันทบุรี • 2000 เจ้าอาวาสวัดนักบุญยอแซฟกรรมกร ท่าใหม่ วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ท่าศาลา วัดแม่พระถวาย องค์ในพระวิหาร มูซู ผู้โปรดบาปซิสเตอร์อาราม คาร์แมล จันทบุรี • 2005 เจ้าอาวาส วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร ท่าใหม่ วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ท่าศาลา วัดแม่พระถวาย องค์ในพระวิหาร มูซู ผู้โปรดบาปซิสเตอร์อาราม คาร์แมล จันทบุรี • 2010 เกษียณอายุ

18

คุณพ่อ อันตน แห่งปาดัว สมศักดิ์ นามกร ประวัติส่วนตัว • เกิดวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1935 • อายุ 79 ปี • สัตบุรุษวัดพระหฤทัยฯ ขลุง จันทบุรี • บิดาชื่อ เปาโล เกี่ยว นามกร (เสียชีวิต) • มารดาชื่อ อันนา แก้ว นามกร (เสียชีวิต) • มีจ�ำนวนพี่น้องในครอบครัว 12 คน • เป็นบุตรคนที่ 7 • รับศีลบวชวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ.1964


คุณพ่อ ยอห์นบอสโก ด�ำรง กู้ชาติ ประวัติส่วนตัว • เกิดวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1934 • อายุ 80 ปี • สัตบุรุษวัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ • บิดาชื่อ เปาโล ก�ำ กู้ชาติ (เสียชีวิต) • มารดาชื่อ มารีอา ริ้ว กู้ชาติ (เสียชีวิต) • มีจ�ำนวนพี่น้องในครอบครัว 17 คน • เป็นบุตรคนที่ 8 • รับศีลบวชวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.1964

ประวัติการท�ำงาน • 1965 - 1968 ผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาส อาสนวิหารพระนาง มารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี • 1968 - 1969 ดูแลสัตบุรุษ วัดกบินทร์บุรี และ วัดอรัญประเทศ สระแก้ว • 1969 - 1975 เจ้าอาวาส วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว • 1975 - 1979 เจ้าอาวาส อาสนวิหารพระนาง มารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี • 1979 - 1986 เจ้าอาวาส วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี • 1986 - 1995 เจ้าอาวาส วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา องครักษ์ นครนายก วัดพระคริสตประจักษ์ บ้าน เล่า เมือง นครนายก • 1995 - 2000 เจ้าอาวาส วัดนักบุญอันตน พนมสารคาม วัดแม่พระลูกประค�ำ บ้านสร้าง ปราจีนบุรี • 2000 เกษียณ

19


พระสงฆ์ องค์ใหม่

ของสังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อ ดอมินิก ซาวีโอ โสภณ ลือดัง 20


คุณพ่อ ดอมินกิ ซาวีโอ โสภณ ลือดัง (ต้น) ลูกวัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์ จังหวัด สระแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1984/พ.ศ.2527 เป็น บุตรของ เปโตร สิน ลือดัง กับ เทเรซา มะลิไพร ลือดัง มีพี่น้อง 4 คน เป็นชายล้วน คุณพ่อเป็นลูก คนโต มีคติพจน์ว่า

ประโยชน์ล�้ำค่า คือการรู้จักพระคริสตเยซู

(ฟป 3:8)

การศึกษาอบรม • ระดับประถม โรงเรียนอนุบาลเขาฉกรรจ์ จังหวัด สระแก้ว • ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี • ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขา วิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม จังหวัด นครปฐม • ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา เทวจริยธรรม คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสง ธรรม จังหวัด นครปฐม

แรงจูงใจที่ตัดสินใจเข้าบ้านเณร “เหตุผลเดียวในตอนนั้นก็คือ อยากเล่น ฟุตบอลได้เก่งเหมือนมาสเตอร์เณร” ค่ายกระแส เรียกที่จัดขึ้นตอนช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน เป็นครั้ง แรกที่ได้ลงเล่นฟุตบอลร่วมกับบรรดามาสเตอร์เณร ท�ำให้ได้สมั ผัส และรับรูใ้ นทันทีวา่ ใช่ ว่าชอบ จึงตัดสิน ใจจะเข้าบ้านเณรโดยไม่มีความลังเลใด ๆ ทั้งที่ตอน นั้นไม่รู้ด้วยซ�้ำว่าบ้านเณรคืออะไร? รู้แต่ว่าเข้าบ้าน เณรแล้วจะมีเพื่อน ๆ และได้เล่นฟุตบอล จึงชักชวน เพื่อน ๆ อีก 3 คน เข้าบ้านเณรมาด้วยกัน

ฟุตบอลเป็นแค่เกมกีฬา แต่น�ำพาไปสู่กระแสเรียก ของการเป็นสงฆ์ได้เช่นกัน

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ.2011 โดยพระสังฆราช ยอห์นบอสโก ปัญญา กิจเจริญ ทีส่ ามเณราลัยแสงธรรม นครปฐม ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.2012 โดยพระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ที่สามเณราลัยแสงธรรม นครปฐม ได้รบั ศีลบวชเป็นสังฆานุกร วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.2013 โดยอัครสังฆราช จ�ำเนียร สันติสขุ นิรนั ดร์ ที่สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ.2014 โดยพระสังฆราช ซิลวีโอ สิรพิ งษ์ จรัสศรี ที่อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี 21


หนทางกระแสเรียก “ส�ำหรับผมแล้ว มีคุณพ่อ 2 ท่าน ที่ถือได้ ว่าเป็นผูน้ ำ� ผมเข้าสูห่ นทางกระแสเรียก หรือพูดได้ ว่า ส่งผมเข้าบ้านเณร” คุณพ่อพิทักษ์ โยธารักษ์ เป็นพระสงฆ์องค์แรกทีใ่ ห้การส่งเสริม และสนับสนุน ด้านกระแสเรียก เพราะคุณพ่อได้ให้การอบรม เตรียม ตัวก่อนเข้าบ้านเณร ที่ใช้เวลาถึง 4 วัน 3 คืน อบรม เกี่ยวกับ เรื่องของพิธีกรรม พระคัมภีร์ และการใช้ ชีวติ ในบ้านเณร และเป็นครัง้ แรกทีท่ ำ� ให้รจู้ กั การช่วย มิสซา ต่อจากนั้น คุณพ่อวีระชน นพคุณทอง เป็น ผู้อ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางสู่บ้านเณรพระ หฤทัยฯ ศรีราชา เมื่อเข้าบ้านเณรแล้ว ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด ไม่มพี เี่ ณรใหญ่มาคอยดูแล ไม่สนุกเหมือนกับตอนทีไ่ ด้ เข้าค่ายกระแสเรียก มีกฎระเบียบวินยั มากมาย ต้อง สวดภาวนา ต้องเฝ้าศีล ที่ส�ำคัญ ต้องรับผิดชอบตัว เอง และปรับตัวกับระเบียบวินัยต่าง ๆ ภายในบ้าน อีกทั้ง ยังต้องปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ๆ ที่มากันจาก ต่างที่ ต่างครอบครัวกัน “ผมรูส้ กึ ผิดหวังมาก เพราะ คิดมาเสมอว่า เณรนั้นคือเทวดา” สิง่ ทีไ่ ม่ได้เป็นอย่างทีห่ วังนัน้ ไม่ได้ท�ำให้กระแส เรียกนั้นเปลี่ยนไป แต่กลับเปลีย่ นวิถีทางการด�ำเนิน ชีวติ เข้าสูห่ นทางกระแสเรียกอย่างต่อเนือ่ ง เมือ่ ได้รบั การอบรม และฝึกฝนตนเอง ผ่านทางการสวดภาวนา การเฝ้าศีล กิจศรัทธาต่าง ๆ เหล่านี้ท�ำให้ได้ใกล้ชิด และรู้จักพระคริสตเยซูมากขึ้น กระแสเรียกที่มีอยู่ เพียงน้อยนิดจึงค่อย ๆ เติบโตและเข้มแข็งขึ้นเรื่อย มา ด้วยการด�ำเนินชีวติ แบบคุน้ ชิน ตามระเบียบวินยั ต่าง ๆ ภายในบ้านอย่างไม่รู้ตัว จากที่เป็นเณรท�ำให้ ค้นพบกระแสเรียก และพบหนทางแห่งการเป็นพระ สงฆ์มากยิ่งขึ้น 22

กฎระเบียบวินัย การอบรม การฝึกฝน การสวดภาวนา การเฝ้าศีล ท�ำให้มีชีวิตที่เปลี่ยนไป ได้คน้ พบกระแสเรียกของการเป็นสงฆ์ กระแสเรียกสู่ชีวิตสงฆ์ “ผมมีความมั่นใจจะเป็นพระสงฆ์ เมื่อ ตอนปีพัก (Pastoral Year) หลังจบปี 4” เมื่อได้มี โอกาสไปสัมผัสงานอภิบาลและงานแพร่ธรรม ทีศ่ นู ย์ คาทอลิกเชียงของ (2) จังหวัด เชียงราย ในโครงการ ฝึกอบรมชีวติ ธรรมทูตสามเณรปีพกั มีหน้าทีด่ แู ลชาว ม้งกับชาวลาว ท�ำงานร่วมกับพระสงฆ์ธรรมทูตไทย ในเวลานั้นคือ คุณพ่อรังสรรค์ ภานุรักษ์ (TMS) อยู่ได้หนึ่งเดือน คุณพ่อมีภารกิจต้องเดิน ทางไปเข้าเงียบที่กรุงเทพฯ ประมาณหนึ่งสัปดาห์ โดยทิ้งเงินไว้ให้หมื่นกว่าบาท ส�ำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ แต่ด้วยความบังเอิญ หลังจบการเข้าเงียบที่ กรุงเทพฯ คุณพ่อต้องเดินทางต่อไปร่วมพิธีบวชพระ สงฆ์ทปี่ ระเทศลาว ท�ำให้กำ� หนดการทีจ่ ะกลับมาศูนย์ฯ จึงต้องเลือ่ นออกไป นับเป็นช่วงเวลาทีพ่ ระเป็นเจ้าจัด ให้ได้อยู่คนเดียวพร้อมกับภาระอันส�ำคัญ ที่จะต้อง เป็นผู้ปกครองดูแล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ความ เป็นอยู่ของบรรดาเด็ก ๆ ในศูนย์ฯ และชนต่างด้าว “ผมถือว่าเป็นภาระหนักส�ำหรับผม และผมคิด เสมอว่า ไม่น่าจะอยู่ได้”


ผ่านไปสองสัปดาห์ เงินหมืน่ กว่าบาททีค่ ณ ุ พ่อ ให้ไว้ก็ถูกใช้จ่ายไปกับการดูแลเด็ก 40 คน จนหมด ข้าวปลาอาหารก็หมด เงินที่ติดตัวมาสามพันบาท ก็ เหลืออยูเ่ พียงหนึง่ พันบาทเท่านัน้ ซึง่ เป็นส่วนทีเ่ ตรียม ไว้ส�ำหรับใช้จ่ายในการเดินทางกลับบ้าน “เวลานั้น ผมคิดอะไรไม่ออก รู้สึกหนักใจไม่สบายใจ และ คิดจะทิ้งทุกอย่างไว้ตรงนั้น ทิ้งเด็ก ๆ ทั้งหมดที่ นั่น แล้วเดินทางกลับบ้าน”

ภาระหนัก ท�ำให้ได้ไตร่ตรอง และพบกับค�ำตอบ ที่ไม่เคยถามตัวเองมาก่อน ด้วยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ในขณะ ที่เดินไปคิดไปจนถึงหน้าวัดแบบไม่รู้ตัว จึงตัดสินใจ เดินเข้าวัด เข้าไปนั่งเฝ้าศีลด้วยความสงบ แต่กลับ มีเสียงบางเสียงดังขึน้ ในใจถามว่า ถ้าผมทิ้งคนเหล่า นี้ ใครจะประกาศงานของพระ? ใครจะเล่าเรือ่ งความ รักของพระ? “ผมไม่มีค�ำตอบในเวลานั้น รู้เพียง อย่างเดียวว่า ความคิดที่เคยคิดว่า ไม่น่าจะอยู่ได้ มันหายไปหมดแล้ว”

จากการทีไ่ ด้สมั ผัสถึงความรักของพระเป็นเจ้า ด้วยความเชือ่ ว่า พระเป็นเจ้าทรงดูแลเราเสมอ ผ่าน ทางเหตุการณ์ตา่ ง ๆ เหล่านี้ ได้สร้างความชัดเจนให้ กับกระแสเรียกสู่ชีวิตสงฆ์มากยิ่งขึ้น จนมั่นใจพร้อม ตอบรับกระแสเรียกในการปฏิบตั หิ น้าทีพ่ ระสงฆ์ และ ได้รบั ศีลบวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ.2014 โดยพระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ที่อาสน วิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี “กระแสเรียกของการเป็นสงฆ์จ�ำเป็น ส�ำหรับผูอ้ ภิบาล และจ�ำเป็นส�ำหรับบุคคลอืน่ ด้วย ไม่ใช่เฉพาะหน้าที่เท่านั้น แต่ด้วยการเป็นคนของ พระเป็นเจ้า พระองค์ทรงดูแลเราเสมอ และเช่น เดียวกัน กระแสเรียกของผมทีผ่ า่ นมา ก็ได้รบั การ ดูแล และปลูกฝังจากพระเป็นเจ้า ให้เติบโตมาจน ทุกวันนี้ เมื่อค้นพบกระแสเรียกแล้ว ก็ยังจะต้อง อาศัยค�ำภาวนาจากทุก ๆ ท่าน ค�ำภาวนาจากพี่ น้อง ให้ผมเป็นพระสงฆ์ทดี่ แี ละศักดิส์ ทิ ธิต์ อ่ ไปด้วย”

เมื่อเดินออกจากวัด สิ่งแรกที่ได้พบเหมือน เป็นอัศจรรย์ของพระเป็นเจ้า นั่นคือ มีชายหญิงคู่ หนึ่ง เดินตรงเข้ามาพร้อมกับยื่นซองให้แล้วบอกว่า “ผมเอาเงินมาคืนคุณพ่อครับ” ภายในซองนั้นมีเงิน อยู่ประมาณสองหมื่นบาท เมื่อโทรศัพท์สอบถามกับ คุณพ่อรังสรรค์ คุณพ่อเองท่านก็จ�ำไม่ได้ว่า เคยให้ ใครยืมไปตั้งแต่เมื่อไหร่ จึงจดชื่อและรับเอาไว้

เพราะพระเป็นเจ้า ทรงดูแลเราเสมอ 23


ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม

โดย ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

งานรักและรับใช้ต้องอยู่บนคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ “พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเขาตามภาพลักษณ์ของ พระเจ้า พระองค์ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง” (ปฐก 1:27) “เขาจึงมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในฐานะบุตรของ พระเจ้าและร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระกายของพระองค์” การพัฒนาบุคคลจะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาชีวิต ซึ่งเป็นพระพรอันยิ่งใหญ่ที่พระเป็นเจ้าทรงมอบให้ ดังนั้น พระศาสนจักรทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ปกป้อง ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพชีวิต ศักดิ์ศรีและสิทธิของครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และสมาชิกใน สังคมกลุ่มพิเศษ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ ๆ ของความยากจนและความอ่อนแอ (EG 210) เช่น บรรดาผู้ที่ไร้ที่อยู่ อาศัย ผู้ติดยาเสพติด ผู้อพยพ/ผู้ลี้ภัย กลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง ผู้ต้องขัง ผู้ติดเชื้อฯ ผู้พิการ บรรดาผู้สูง อายุที่อยู่โดดเดี่ยวและถูกทอดทิ้ง เด็กและสตรีที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากสถานการณ์ที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณ ถูกท�ำร้ายด้วยความรุนแรง ถูกเอารัดเอาเปรียบ และ ถูกล่วงละเมิด บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ (EG 210, 201 และ 212) นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงประชากรที่ประสบปัญหาในมิติต่าง ๆ อาทิ เกษตรกร รายย่อย แรงงานในสถานประกอบการต่างๆ ทั้งในบริบทสังคมชนบทและชุมชนเมือง เป็นต้น ด้วยการเสริม โอกาส การพัฒนาศักยภาพ และการมีสว่ นร่วมในการพัฒนาและฟืน้ ฟูชวี ติ ของตนเอง ให้มคี วามภูมใิ จในคุณค่า และศักดิ์ศรีการเป็นมนุษย์ เป็นบุตรของพระเจ้า ตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตน เพื่อให้บุคคลทั้งหลาย นั้นได้มีชีวิต และมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ (เทียบ ยน 10:10) การรวมผู้ยากไร้เข้ามามีส่วนร่วมในสังคมไทย 2. ความส�ำคัญ/ประโยชน์/สิง่ ทีท่ า้ ทายพระศาสนจักร 1. ความหมายของประเด็น “บรรดาคนยากจนมีทพี่ เิ ศษในดวงพระหฤทัย หากปราศจากการเลือกที่จะอยู่ข้างคน ของพระเยซูเจ้า” จนถึงพระองค์เอง “ยังทรงยอม ยากไร้ เป็นไปได้ว่า พระศาสนจักรก�ำลังละเลยที่จะ กลายเป็นคนยากจน” (2 คร 8:9) หนทางแห่งการ ใส่ใจบรรดาผู้ที่พระองค์ทรง “เห็นว่าเป็นหนึ่งเดียว ไถ่กู้ให้รอดมีตราประทับของคนยากจนเราป็นศิษย์ กับพระองค์” (Saint Thomas Aquinas, S. Th., ของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงยอมรับสภาพของผู้ยากไร้ II-II,q. 27, a.2.) ความใส่ใจที่จะรวมผู้ยากไร้เข้ามา และทรงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ยากไร้ และผู้ที่อยู่ชายขอบ มีสว่ นร่วมในสังคมอันเปีย่ มด้วยความรักนี้ จะเป็นจุด ของสังคม นี่เป็นรากฐานความห่วงใยต่อการบูรณา เริ่มต้นของความห่วงใยในบุคคลอย่างแท้จริง และ การของพัฒนาการอย่างรอบด้านส�ำหรับชาวไทยที่ จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ยากไร้ต้องได้รับการสนับสนุนให้ ถูกละเลยมากที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างเต็มที่ 24


3. แนวทางภาคปฏิบัติ/ข้อเสนอแนะ พระศาสนจักรต้อง “เลือกอยูข่ า้ งคนยากจน”และ จะต้องไปหาทุกคนโดยไม่ยกเว้นผูใ้ ด ซึง่ พระวรสารได้ ให้แนวทางที่ชัดเจน คือ มิใช่ไปหามิตรสหายจ�ำนวน มากมายหรือเพื่อนบ้านที่ร�่ำรวย แต่เป็นคนยากจน และคนพิการทีม่ กั ถูกดูถกู และถูกลืม” (ลก 14:13-14) ผู้รับสนองพันธกิจของพระคริสตเจ้าในการ ปฏิบัติกิจเมตตา เป็นต้น หน่วยงานด้านสังคมของ พระศาสนจักรในทุกระดับจะต้องสร้างการมีสว่ นร่วม ของคนยากจนในงานของพวกเขาและต้องส่งเสริม

ให้คริสตชน “ทุกคน” ซึ่งเป็นผู้สืบสานพันธกิจจาก องค์พระคริสตเจ้าให้มีส่วนร่วมในงานรักและรับใช้ เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ 4. เอกสารอ้างอิง (ที่ใช้ประกอบการเตรียม ประเด็น/อุดมคติ) • พระสมณสาส์นเตือนใจ ความชืน่ ชมยินดีแห่ง พระวรสาร (EG 48, 197, 198 และ 199) • เอกสารเพือ่ การไตร่ตรองเตรียมการประชุม สมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 (LINEAMENTA หน้า 41)

กิจกรรมฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี แผนกสตรี ร่วมกับ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดเสวนา “ฆ่า ข่มขืน โทษประหาร สังคมไทย จะก้าว ไปในทิศทางใด” ที่บ้านเซเวียร์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2014

ฝ่ายสังคม จัดอบรมค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม ครั้งที่ 3 ที่แขวงจันทบุรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2014 ที่อาสนวิหารพระนางมารีอา ปฏิสนธินิรมล จันทบุรี

แผนกผูเ้ ดินทางทะเล เข้าร่วมประชุม วางแผนการจัดท�ำ GLP(Good Labor Practice) เพื่อช่วยเรื่องการจัดอันดับ การค้ามนุษย์ ให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น และ อุตสาหกรรมภาคประมง ให้เป็นทีย่ อมรับ จากต่างประเทศ 25


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

ศีลอภัยบาป :

.............ศีลแห่งการคืนดี “เมือ่ ฉันไปรับศีลอภัยบาป ฉันไม่ได้ไป รับฟังบางสิ่งที่น่าสนใจ หรือไปพบกับการให้ ค�ำปรึกษาทีด่ ี แต่ฉนั ไปรับศีลอภัยบาป เพราะ ฉันต้องการอยูภ่ ายใต้พระทรงฤทธานุภาพของ องค์พระเจ้า แค่นี้ก็เพียงพอส�ำหรับฉันที่จะมี ความช่ื่นชมยินดีและสันติสุข” คาร์ดินัล คาร์โร มารีอา มาร์ตีนี

พีน่ อ้ งทีร่ กั พบกันอีกเช่นเคย สายใยจันท์ฉบับ นี้ เรามาพิจารณาไตร่ตรองถึงศีลศักดิส์ ทิ ธิอ์ กี ประการ ที่มีความส�ำคัญส�ำหรับชีวิตคริสตชน นั่นคือ “ศีล อภัยบาป” (Confession) หรือ “ศีลแห่งการคืนดี” (Reconciliation) ศีลแห่งการกลับใจ (Conversion) ซึง่ โดยทัว่ ไปจะพบว่า เป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิท์ บี่ รรดาคริสตชน ให้ความส�ำคัญ แต่กม็ คี ริสตชนจ�ำนวนหนึง่ ละเลย ซึง่ “การรับศีลอภัยบาป” ของพวกเขาท�ำไปเพราะความ กลัว ต้องมาคิดถึงรายการบาป ต้องจ�ำสูตรการแก้ บาป ต้องท�ำการตรวจสอบมโนธรรม ต้องคุกเข่าในที่ แก้บาป ต้องสารภาพในสิง่ ทีผ่ ดิ ซึง่ จะต้องไม่ลมื หรือ ท�ำตกหล่นแม้แต่บาปเดียว และต้องเจอกับพระสงฆ์ 26

ทีต่ นรูจ้ กั คุน้ เคย จึงรูส้ กึ อาย ความคิดและความรูส้ กึ เหล่านี้เกิดขึ้นกับพี่น้องคริสตชนหลายท่าน พ่ออยากเชิญชวนให้พี่น้องได้ไตร่ตรองกับ ความคิด ความรูส้ กึ ดังกล่าวด้วยทัศนะทีถ่ กู ต้องแบบ คริสตชน และด้วยความคิดที่ลึกซึ้งมากขึ้น ท�ำไมต้องไปแก้บาป? บาปเป็นการท�ำเคืองพระทัยพระเจ้า เป็นการ แยกตัวออกจากการมีสว่ นร่วมชีวติ กับพระองค์ ในเวลา เดียวกัน ยังท�ำลายการมีส่วนร่วมกับพระศาสนจักร เพราะเหตุนี้ การกลับใจน�ำมาซึง่ การอภัยของพระเจ้า และการคืนดีกบั พระศาสนจักร ซึง่ ถูกแสดงออกและ ท�ำให้ส�ำเร็จทางพิธีกรรม โดยอาศัยศีลล้างบาปและ การคืนดี (เทียบ พระศาสนจักร ข้อ 11) ทุกกิจการทีเ่ ราได้กระท�ำเป็นการตัดสินด้วย น�้ำใจของเรา เราเลือกที่จะกระท�ำกิจการที่ถูกต้อง และบางครั้งเราก็กระท�ำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่ง ทีต่ รงข้ามและเป็นการออกจากหนทางของพระ ห่าง เหินจากความสัมพันธ์กับเพื่อนพี่น้อง “การสารภาพบาปบ่งบอกถึงการแสดงตัว ของเราอย่างที่เราเป็น ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วย คุณภาพชีวิตที่อ่อนแอ ต่อหน้าองค์พระเจ้า และ ที่สุด เพื่อรับความรักและการอภัยของพระองค์”


ในช่วงเวลาแห่งการสารภาพนั้น เราจะได้รับรู้และ ทราบซึง้ ถึงพระหฤทัยของพระเจ้า ทีเ่ ต็มเปีย่ มไปด้วย ความอ่อนหวานและการให้อภัย เป็นการกลับสู่อ้อม พระหัตถ์ของพระองค์อีกครั้ง นี่จึงเป็นเหตุให้เราต้องมารับศีลอภัยบาป องค์ประกอบส�ำคัญในการรับศีลอภัยบาป ประการแรก ทีต่ อ้ งกระท�ำคือ การเตรียมตัว และจิตใจเพื่อรับศีลอภัยบาปเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ กระท�ำโดย การภาวนาขอบพระคุณพระเจ้า ที่ให้เราเอาชนะการประจญล่อลวงต่าง ๆ ขอบคุณ ส�ำหรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ท�ำให้เรามีความสุข แก่น แท้ที่ส�ำคัญคือ น�ำทุกสิ่งในชีวิตมาวางไว้ต่อหน้า พระองค์ (ทั้งสิ่งดีและสิ่งไม่ดี) ส�ำนึกถึงการประทับ อยู่ของพระองค์ และกิจการที่พระองค์ทรงกระท�ำ ในชีวิตของเรา ดังนัน้ การรับศีลอภัยบาปจึงเป็นการ “ยืนยัน ถึงความเชื่อของเรา” หมายถึง การให้พระเจ้าเป็น ศูนย์กลางชีวติ ของเรา ปราศจากพระองค์แล้วเราจะ ท�ำอะไรไม่ได้เลย ประการที่สอง ต้องพิจารณาดูว่ามีสิ่งใดที่ ไม่เหมาะสมกับชีวิตของเรา ไม่ใช่เป็นเรื่องการคิด กังวลถึงแค่เรื่องรายการบาป หรือใช้แค่ความชาญ ฉลาดในการตรวจสอบการกระท�ำของเรา แต่จำ� เป็น อย่างยิง่ ทีจ่ ะคิดถึงการกระท�ำทีเ่ ป็นแก่นของชีวติ ด้วย ความจริงใจ กิจการใดทีท่ �ำให้เราเหินห่างจากพระเจ้า และเพือ่ นมนุษย์ เป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ทางความคิดและ การกระท�ำ ต่อหน้าพระองค์เราปรารถนาที่จะละทิ้ง สิง่ เหล่านี้ โดยสามารถใช้แนวทางของพระวรสารมา ช่วยพิจารณา ที่สุด การพิจารณาชีวิตของเรานี้ เรา กระท�ำโดยไว้วางใจภายใต้การน�ำขององค์พระจิตเจ้า ประการทีส่ าม คือ การสารภาพบาป คริสตชนผู้ รับศีลฯนี้ เข้าไปในที่สารภาพบาปด้วยความส�ำนึก อย่างแท้จริง การสารภาพจึงหมายถึง วิงวอนขอ

ให้พระเจ้าช�ำระเราให้บริสุทธิ์ ขอพระองค์รักษาเรา จากการขาดความเชื่อในพระองค์ โดยร้องหาความ รักของพระองค์ซึ่งจะทรงอภัย บรรเทาและท�ำให้ ชีวิตเราสมบูรณ์ ประการที่สี่ คือ ท�ำกิจใช้โทษบาปและความ ตั้งใจที่จะไม่กระท�ำบาป การท�ำกิจใช้โทษบาป เป็นสิ่งที่เราควร ท�ำให้ครบถ้วนตามที่ศาสนบริกรก�ำหนดให้ หรือท�ำ กิจเมตตาอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ กระท�ำด้วยท่าทีที่เป็น ทุกข์กลับใจ และที่ส�ำคัญ จ�ำเป็นต้องมีการตัดสินใจ ในการเปลี่ยนแปลงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมี การจัดชีวิตใหม่ คิดที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ส�ำนึกเสมอ ว่าพระฤทธานุภาพ ความรักและพระเมตตาของ พระเจ้า จะอยู่เคียงข้างกับการตัดสินใจที่จะห่างไกล จากความไม่ดี หวังว่าการพิจารณาไตร่ตรองในแนวคิดแบบ คริสตชนในเรื่องศีลอภัยบาปสั้น ๆ นี้ จะช่วยให้พี่ น้องได้เห็นถึงความส�ำคัญของพระพรแห่งความรัก และพระเมตตาทีพ่ นี่ อ้ งจะได้รบั ผ่านทางศีลอภัยบาป เชิญชวนพีน่ อ้ งภาวนาให้กนั เพือ่ คริสตชนจะ ได้ให้ความเอาใจใส่ตอ่ ศีลศักดิส์ ทิ ธิน์ ี้ เพือ่ ให้ชวี ติ แห่ง การเป็นบุตรพระเจ้าของเรา ใกล้ชดิ กับพระองค์และมี ส่วนร่วมในธรรมล�ำ้ ลึกแห่งความรอดพ้นมากขึน้ ทุกวัน เวลาแห่งการสารภาพบาป • คือช่วงเวลาของธรรมล�้ำลึกแห่งพระเมตตา และความรักขององค์พระเจ้า • คือช่วงเวลาแห่งการสนทนาอย่างแท้จริงที่ เต็มเปี่ยมไปด้วยความไว้วางใจ • คือเวลาแห่งการพบปะเพื่อภาวนาพร้อมกับ พระสงฆ์ การสารภาพบาป • คือ เครื่องมือที่แท้จริงเพื่อจะพบกับองค์ พระเจ้าตัวต่อตัว 27


จงรู้จักตอบ “จงให้ค�ำพูดของท่านอ่อนโยน และถูกกาลเทศะอยู่เสมอ จงรู้จักตอบทุกคนอย่างดีที่สุด” (โคโลสี 4:6)

ค�ำพูดที่อ่อนหวาน ดั่งน�้ำตาลที่หวานลิ้น ใครได้ยลยิน ต่างถวิลหารักใคร่ ค�ำพูดส่อเสียด เบียดเบียนท�ำร้ายใจ คงไม่มีใคร กล้าเข้าใกล้หมายชื่นชม

28


เมื่อเรายังคงต้องอยู่ในสังคม ยังเป็นสัตว์สังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน บางคนแยกแยะค�ำว่าอ่อนโยนและค�ำว่าเสแสร้งไม่ได้ ด้วยคิดว่าตนเองเป็นคนตรงไปตรงมาเปิดเผย สิ่งที่พูดคือ สิ่งที่ตรงกับใจจึงพูดออกมา โดยไม่ได้ค�ำนึงถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง จนกลายเป็นความแข็งกระด้างในจิตใจ และก็ปลอบใจตัวเองด้วยค�ำที่ว่า เป็นคนปากกับใจตรงกัน อย่างไรก็ตาม... เรามักจะตัดสินผู้อื่นด้วยความรู้สึกของเรา มากกว่าจะย้อนกลับมาพิจารณาตนเอง ไตร่ตรองและทบทวนสิ่งที่เรากระท�ำต่อผู้อื่นในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลาแห่งการพบปะพูดคุย ค�ำพูดเพียงค�ำเดียวแต่ใส่น�้ำเสียงและสีหน้าที่แตกต่างไป ก็ให้ความหมายที่แตกต่างกัน

ขอให้ลูกเลียนแบบพระแม่มารีย์... ราชินีสวรรค์ที่แสนอ่อนหวาน ให้ลูกรู้จักที่จะใช้ค�ำพูดที่อ่อนโยนเสมอ คิดทุกค�ำที่จะพูดเพื่อจะไม่ท�ำร้ายคนรอบข้าง ให้ลูกรู้จักที่จะฟังมากกว่าที่จะพูดในสิ่งที่ไม่สมควรพูด และหากลูกต้องตกอยู่ในสถานการณ์แห่งการพูดที่เลวร้าย ขอให้ลูกรู้จักที่จะนิ่ง และเงียบ ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในสถานการณ์นั้นเลย โดย น�้ำผึ้งหวาน

29


ส�ำนักพระสังฆราช สังฆมณฑลจันทบุรี

วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร ท่าแฉลบ อ.เมือง จ.จันทบุรี

วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ท่าศาลา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

30


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 2

8

1

3 6 4 7

5

คำ�ใบ้ แนวนอน 1. พระสงฆ์ใหม่ของสังฆมณฑล เป็นลูกวัด... 3. จ�ำนวนพระสงฆ์ในสังฆมณฑล ครบบวช 50 ปี ในปีนี้ 5. สีขาวของสัญลักษณ์ Y.C.S. หมายถึง 7. ทูตสวรรค์แจ้งข่าวการประสูติของพระเยซูเจ้า

แนวตัง้ 2. เครื่องมือที่แท้จริงเพื่อจะพบกับองค์พระเจ้าตัวต่อตัว 4. ปี 2015 เป็นปี.........ของพระศาสนจักรคาทอลิกไทย 6. ท่านผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน หมายถึงใคร 8. “มิสซัง” ได้รับการสถาปนาพระฐานานุกรมเป็น...

31


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

9

ร า ฟ า แ อ ล

มี ค า แ อ ล

10

บ า ร์ โ ธ 4โ ล มิ ว ภ ช 3 ล น 6 5 ค ล า ร า อ อ กั ส ติ น ก เ 1 2 แ ม่ พ ร ะ นิ จ า นุ เ ค ร า ะ ห์ โ ร น ค ซ์ ลั 7 ฟ รั ง ซิ ส อั ส ซี ซี 8

32

สิ่งตีพิมพ์

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 13 ปีที่ 25 เดือนสิงหาคม 2014


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

33


34


35


36


37


38


39


อักษรศิลป์ ซ.สุมาลี สุดจินดา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.