สายใยจันท์ V.15

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

Vol.15 เมษายน 2015 ปีที่

26

• จากประตูแห่งความเชื่อ

สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์

• เมื่อพระเยซูเจ้า

สิ้นพระชนม์

• การส�ำรวจ

มโนธรรม

พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนชีพแล้ว อัลเลลูยา อัลเลลูยา


ปีที่ 26 ฉบับที่ 15 / เมษายน 2015

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราชกิตติคุณ............................................... 6 จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์................................... 8 การส�ำรวจ มโนธรรม.................................................................10 เข้าใจให้ดี เรื่องพิธีกรรม............................................................ 16 ค�ำสอนพระศาสนจักรด้านสังคม................................................18 เมื่อพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์..........................................................20 การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า.................................... 22 โปรดทรงอภัยเถิด..........................................................................24 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 26 ปริศนาอักษรไขว้.........................................................................27 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................29

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

ความเลื่อมใสศรัทธาต่อศีลมหาสนิท เป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งผู้มีความเชื่อก่อสร้างขึ้นมากับพระ เยซูเจ้าผู้ประทับในศีลมหาสนิท บ่งชี้อยู่เสมอเกินความสัมพันธ์นั้นไปถึงการมีความสัมพันธ์กับพระศาสนจักร ทั้งครบ และเสริมสร้างความส�ำนึกเต็มเปี่ยมยิ่งขึ้นถึงการเป็นสมาชิกอยู่ในพระกายของพระคริสตเจ้านี้ เพราะเหตุนี้เอง นอกจากที่ข้าพเจ้าสนับสนุนให้ผู้มีความเชื่อแต่ละคนให้เวลากับการสวดภาวนา เป็นการต่อหน้าศีลศักดิ์สิทธ์บนพระแท่นนั้นแล้ว ข้าพเจ้ายังรู้สึกจ�ำเป็นต้องกระตุ้นให้วัดต่าง ๆ และกลุ่ม วัดให้มเี วลากราบนมัสการศีลมหาสนิทรวมกันเป็นหมูค่ ณะด้วย โดยธรรมชาติแล้วรูปแบบต่าง ๆ ของ ความเลื่อมใสศรัทธาต่อศีลมหาสนิทที่มีอยู่แล้ว ก็ยังคงมีคุณค่าเต็มเปี่ยมอยู่เหมือนเดิม ข้าพเจ้าก�ำลังคิดถึงการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาเหล่านั้น อาทิ “การจัดขบวนแห่งศีล มหาสนิท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิธีแห่ศีลมหาสนิทในวันฉลองพระคริสตกายา พิธีเฝ้าศีลมหาสนิท ต่อเนือ่ งตลอด 40 ชัว่ โมง พิธชี มุ นุมเคารพศีลมหาสนิทในระดับท้องถิน่ ถ้าหากรูปแบบเหล่านัน้ ได้รบั การปรับอย่างเหมาะสมให้ทันสมัยและให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของท้องถิ่นแล้ว รูปแบบของการ แสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อศีลมหาสนิทก็ยังมีคุณค่าเหมาะสมที่จะน�ำมาปฏิบัติได้แม้กระทั่ง ในยุคปัจจุบันนี้ด้วย”(จากหนังสือ ศีลมหาสนิท ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรัก, บ่อเกิดและจุดสูงสุด แห่งชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร โดยพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ข้อ 68 หน้า 91)

พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ได้สนับสนุนให้คริสตชนตระหนักถึงความศรัทธาต่อ การเฝ้าศีลมหาสนิท การเฝ้าศีลมหาสนิทไม่ใช่เป็นเรือ่ งทีเ่ ก่าหรือโบราณ แต่ยงั มีคณ ุ ค่า ต่อชีวิตคริสตชนในปัจจุบัน เทศกาลปัสกาปีนี้ ขอเชิญชวนคริสตชนจันท์ ได้ใช้เวลากับการเฝ้าศีลมหา สนิทหลังมิสซาสัก 5 นาที อยูก่ บั พระเยซูเจ้าสักพักหนึง่ ก่อนกลับบ้านน่าจะดี ใช่ไหม?

ขอสุขสันต์ปัสกากับพี่น้องทุกคน

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


“ท่านได้รับความรอดพ้นเพราะพระหรรษทานอาศัยความเชื่อ ความรอดพ้นนีม้ ไิ ด้มาจากท่าน แต่เป็นของประทานจากพระเจ้า” (อฟ 2: 8) สุขสันต์ปสั กาแก่พนี่ อ้ งพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรษุ คริสตชนทีร่ กั ในพระคริสตเจ้า

สาสน์พระสังฆราช

การฉลองปัสกา เป็นการฉลองการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงน�ำความรอดพ้นมาสู่เรามนุษย์ ความรอดพ้นนี้มิใช่ความรอดพ้นใน ระดับธรรมชาติ ที่สนองความต้องการของร่างกาย หรือของจิตใจที่จ�ำกัด ในชีวิตในโลกนี้ แต่เป็นความรอดพ้นในระดับเหนือธรรมชาติ ที่สนองความ ปรารถนาและความหวังทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้า ที่จะร่วมสนิทสัมพันธ์ เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เป็นความรอดพ้นที่เริ่มในชีวิตนี้ แต่จะสมบูรณ์ใน ชีวิตหน้า ความรอดพ้นนี้เป็นความสุขเหนือธรรมชาติส�ำหรับมนุษย์ทุกคน (คุณพ่อไกส์, ธรรมล�้ำลึกปัสกา หน้า 150) การฉลองปัสกาแต่ละครั้งท�ำให้เราลิ้มรสของพระธรรมล�้ำลึกแห่ง ความรอดพ้นนี้ ในฐานะที่เป็นพระพรของพระเจ้า และได้รับผลที่เป็นความ สุขอย่างเต็มเปีย่ มในชีวติ ของเรา แม้จะยังไม่สมบูรณ์ในชีวติ นี้ พระคริสตเจ้า ผู้เสด็จกลับคืนพระชนมชีพ ประทับอยู่ในพระสิริรุ่งโรจน์ ทรงเป็นต้นธารอัน ลึกซึง้ แห่งความสุข และความหวังของเรา และความช่วยเหลือของพระองค์ ทีจ่ ะให้เราได้รบั ความรอดพ้น จะไม่ขาดหายไปจากเรา จนกว่าเราจะบรรลุถงึ ความสมบูรณ์ของชีวิต เมื่อพระเจ้าโปรดให้เรากลับคืนชีพ และได้รับสภาพ รุ่งโรจน์ร่วมกับพระคริสตเจ้า ในปีนี้ เป็นปีศกั ดิส์ ทิ ธิข์ องพระศาสนจักรในประเทศไทย และปีนกั บวช สากล มีการเฉลิมฉลองและกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปีนี้ เหตุการณ์ที่ส�ำคัญ อย่างหนึ่งในระดับพระศาสนจักรแห่งประเทศไทย คือ การประชุมสมัชชา ใหญ่ ในหัวข้อเรือ่ ง “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวติ ประกาศข่าวดีใหม่” ในวันที่ 20 – 24 เมษายน 2015 การประชุมสมัชชาครั้งนี้ มีความส�ำคัญมากส�ำหรับ เราคริสตชนไทย เพราะจะเป็นเหมือนกับการวางนโยบาย หรือแนวทางร่วม กันส�ำหรับการด�ำเนินชีวติ การเป็นศิษย์พระคริสต์ ทีจ่ ะต้องประกาศข่าวดี จึง ขอค�ำภาวนาส�ำหรับการประชุมครั้งส�ำคัญนี้ด้วย

4


HAPPY HAPPY EASTER EASTER ขอพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ โปรด ให้เราได้ด�ำเนินชีวิตพระธรรมล�้ำลึกแห่งปัสกา ซึ่งเป็นพระ ธรรมล�้ำลึกแห่งความเชื่อของเรา ด้วยความชื่นชมยินดี และด้วยความหวังอันยิง่ ใหญ่ และประกาศพระธรรมล�ำ้ ลึก แห่งความเชือ่ นี้ ดังทีเ่ ราตอบรับพระสงฆ์หลังจากเสกศีลว่า “พระคริสตเจ้าได้สนิ้ พระชนม์ พระคริสตเจ้าทรงกลับคืน พระชนมชีพ พระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาอีกครัง้ หนึง่ ” ด้วยชีวิตของเราอย่างแท้จริง

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

5


สุขสันต์วันปัสกา แด่พี่น้องคริสตชนที่รัก

สาสน์อวยพร

วันสมโภชปัสกา เป็นวันสมโภชยิ่งใหญ่ที่สุดในศาสนาของเรา มี การเตรียมสมโภช 40 วันตลอดเทศกาลมหาพรต เป็นวันระลึกถึงพระเยซู คริสตเจ้าสิน้ พระชนม์ และกลับคืนพระชนมชีพ เป็นชัยชนะยิง่ ใหญ่เหนือความ ตาย เป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ แต่ก็เกิดขึ้นแล้วเมื่อ 2000 กว่าปี น�ำความยินดีและ ความหวังมาให้เรามนุษย์ ซึ่งวันหนึ่งต้องตายเพราะบาป จะได้กลับคืนชีพ เหมือนพระองค์ บรรดาศิษย์รู้เห็นเป็นพยาน “แยกย้ายกันไปเทศนาสั่ง สอนทัว่ ทุกแห่งหน องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงท�ำงานกับเขา และทรงรับรอง ค�ำสั่งสอนโดยอัศจรรย์ที่ติดตามมา” (มก 16:20) นักบุญเปาโลประกาศ ว่า “ถ้าพระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ การเทศน์สอนของ เราก็ไร้ประโยชน์ และความเชื่อของท่านก็ไร้ประโยชน์เช่นเดียวกัน” (1 กธ 15:4) ให้เราขอบพระคุณพระเจ้า ที่ได้รับข่าวดีแห่งความเชื่อนี้ ซึ่ง เราจะต้องประกาศให้ผู้อื่นต่อไป ก่อนทีพ่ ระเยซูคริสตเจ้ากลับคืนพระชนมชีพ พระองค์ตอ้ งผ่านความ ทุกข์ทรมาน ความตาย เราก็เช่นเดียวกัน ได้ผา่ นจากความตายต่อบาป และ ต่อปีศาจ ไปสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิใ์ นวันรับศีลล้างบาปแล้ว เราก็ตอ้ งผ่านทุก ๆ วัน ต่อไปอย่างมีชัยชนะจนสิ้นชีวิต พระองค์มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ร่วมเป็นร่วม ตายกับเรา ขอให้เราร่วมทุกข์ร่วมตายกับพระองค์ เราจะได้ร่วมสุข กลับ คืนชีพ มีชีวิตใหม่กับพระองค์

6


HAPPY HAPPY EASTER EASTER ขอให้การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า ไม่เป็นเพียงเหตุการณ์ในอดีต แต่พระองค์ผู้ทรงพลัง ด้วยพระจิตของพระองค์ยงั ประทับกับเรา ร่วมเดินทาง ร่วมท�ำงานกับเรา เป็นก�ำลังใจ เป็นความหวังของเรา โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่ผู้คนไม่เชื่อในพระเจ้า ให้ เรามีความเชือ่ ความศรัทธาเป็นพิเศษต่อพระคริสตเจ้า ผูท้ รงกลับคืนพระชนมชีพ พระองค์ทรงชนะความตาย ทรงชนะทุกสิ่งทุกอย่าง สุขสันต์ปัสกา อัลเลลูยา (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนที่ 5) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมตอนที่ 4 ได้น�ำเสนอคนที่มีความเชื่อต้องแสดงออกมาเป็นกิจการ โดยได้แยกแยะขั้นตอนการ แสดงออกความเชื่อจาก ความเชื่อ สู่ การเชื่อฟัง และการเชื่อฟังน�ำสู่ตอบสนองความเชื่อ นั่นคือ การปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนเชื่อ ซึ่งคริสตชนจะเห็นตัวอย่างความเชื่อสู่การปฎิบัติได้ชัดเจน คือ ชีวิตของพระแม่มารีย์ บุคคลที่ด�ำเนินชีวิตตามความเชื่อ จะไม่ประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่ด�ำเนินชีวิตเพื่อเกียรติยศ หรือผล ประโยชน์ของตนเอง แต่จะกระท�ำทุกอย่างเพื่อบุคคลที่เขาเชื่อ และเขาจะเดินผ่านประตูที่พระเยซูเจ้าเปิดให้ ประตูนี้จะน�ำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตคริสตชน ดั่งที่นักบุญเปโตรได้เขียนในจดหมายของท่านว่า “ดังนัน้ ท่านทัง้ หลายจงเตรียมจิตใจไว้ให้ พร้อมทีจ่ ะปฏิบตั งิ าน จงบังคับตนเอง ตัง้ ความหวัง ทั้งหมดไว้ในพระหรรษทานซึ่งพระเจ้าจะทรงน�ำ มาประทานให้ เมื่อพระเยซูคริสตเจ้าทรงส�ำแดง พระองค์ จงประพฤติตนดังบุตรที่เชื่อฟัง อย่า ประพฤติตามกิเลสตัณหาดังแต่ก่อน เมื่อท่านยัง ขาดความรูแ้ ต่จงเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิใ์ นความประพฤติ ทุกประการตามแบบฉบับขององค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทรงเรียกท่าน เพราะมีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเราเป็น ผู้ศักดิ์สิทธิ์” (1 เปโตร 1:13-16) 8

“ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะ เราเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์” นักบุญเปโตรได้อ้างอิงมา จากหนังสือเลวีนิติ บทที่ 11 ข้อที่ 44 “เพราะ เราคือ พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านทั้งหลาย ท่านทัง้ หลายจงเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละปฏิบตั ติ นเป็น ผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ เพราะเราเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ อย่าท�ำตนให้ มีมลทิน โดยสัมผัสสัตว์เลือ้ ยคลานใดเหล่านีท้ อี่ ยู่ ตามพื้นดิน” และในหนังสือเลวีนิติ บทที่ 19 ข้อที่ 2 “ให้บอกชุมชนชาวอิสราเอลทัง้ ปวงว่า “ท่านทัง้ หลายจงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเรา พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่าน เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์”


คริสตชนจะด�ำเนินชีวิตอย่างไร ถึงจะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้

ในหนังสือฮีบรูได้แนะน�ำว่า

พระเยซูเจ้าแบบอย่างของผู้ศักดิ์สิทธิ์ ได้ให้เคล็ดลับของการด�ำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธ์ว่า

จงพยายามอยูอ่ ย่างสันติกบั ทุกคน จงมีความ ศักดิส์ ทิ ธิซ์ งึ่ จ�ำเป็นเพือ่ จะได้เห็นพระเจ้า จงระวังอย่า ให้มผี ใู้ ดขาดพระหรรษทานของพระเจ้า และอย่าให้มี รากแห่งความขมขืน่ ใด ๆ งอกขึน้ มาก่อความวุน่ วาย ซึง่ อาจจะเป็นพิษแก่คนจ�ำนวนมาก อย่าให้ผใู้ ดท�ำผิด ประเวณีหรือดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับเอซาวซึ่ง ขายสิทธิการเป็นบุตรคนแรกของตนเพียงเพื่อแลก กับอาหารมื้อเดียว

ท่านเคยได้ยนิ เขากล่าวว่า ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ แต่เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่า อย่าโต้ตอบคนชั่ว ผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย ผู้ใดอยากฟ้องท่านที่ศาล เพื่อจะได้เสื้อยาวของท่าน ก็จงแถมเสือ้ คลุมให้เขาด้วย ผูใ้ ดจะเกณฑ์ให้ทา่ นเดิน ไปกับเขาหนึง่ หลัก จงไปกับเขาสองหลักเถิด ผูใ้ ดขอ อะไรจากท่าน ก็จงให้ อย่าหันหลังให้ผทู้ มี่ าขอยืมสิง่ ใด จากท่าน ท่านทัง้ หลายได้ยนิ ค�ำกล่าวว่า จงรักเพือ่ น บ้าน จงเกลียดศัตรู แต่เรากล่าวแก่ทา่ นว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐานภาวนาให้ผทู้ เี่ บียดเบียนท่าน เพือ่ ท่านจะ ได้เป็นบุตรของพระบิดาเจ้าสวรรค์ พระองค์โปรดให้ ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขนึ้ เหนือคนดีและคนชัว่ โปรด ให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม ถ้าท่าน รักแต่คนทีร่ กั ท่าน ท่านจะได้บำ� เหน็จรางวัลอะไรเล่า บรรดาคนเก็บภาษีมไิ ด้ทำ� เช่นนีด้ อกหรือ ท่านทักทาย แต่พี่น้องของท่านเท่านั้น ท่านท�ำอะไรพิเศษเล่า คน ต่างศาสนามิได้ท�ำเช่นนี้ดอกหรือ ฉะนั้น ท่านจงเป็น คนดีอย่างสมบูรณ์ ดังทีพ่ ระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดีอย่างสมบูรณ์เถิด (มธ 5:38-48)

(ฮีบรู 12:14-16)

คริสตชนถูกเรียกมาให้เป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ เหมือน พระเป็นเจ้าซึง่ เป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธ์ ค�ำแนะน�ำของพระเยซู เจ้าในมัทธิว 5:38-48 และ ฮีบรู 12:14-16 คือประตู แห่งความศักดิ์สิทธ์

(อ่านต่อฉบับหน้า) 9


การส�ำรวจ มโนธรรม โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ถอดความโดย ล.เทียนชัย สมานจิต เนือ่ งในโอกาสทีส่ มเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พบปะกับสมาชิกองค์กร บริหารส่วนกลางของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก (CURIA ROMANA) ตามประเพณี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2014 เพื่อส่งความสุขโอกาสสมโภช พระคริสตสมภพและปีใหม่ พระองค์ให้ข้อคิดไตร่ตรอง เพื่อช่วยกระตุ้นการ ส�ำรวจมโนธรรมแก่บรรดาสมาชิกผู้ร่วมงาน ทรงขอบคุณทุกท่านด้วยจริงใจ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว ที่บริการรับใช้สันตะส�ำนัก พระศาสนจักร คาทอลิก และผู้แทนนักบุญเปโตร ทรงขอบพระคุณพระเจ้า ส�ำหรับปีที่จะ จบลงนี้ ส�ำหรับสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย ที่ประทานอาศัยสันตะส�ำนัก และในเวลา เดียวกัน ก็ขอษมาโทษด้วยความสุภาพถ่อมตน ส�ำหรับข้อบกพร่องทีไ่ ด้กระท�ำ ด้วยความคิด วาจา กิจการและด้วยการละเลย พระองค์ทรงเปรียบเทียบ CURIA ROMANA เป็นเหมือนต้นแบบ น้อย ๆ ซึ่งสลับซับซ้อนของพระศาสนจักร เป็นองค์กรที่ต้องปรับปรุงฟื้นฟู ทุก ๆ วัน เพื่อการท�ำหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล สร้างสรรค์ มีวินัย และเป็น แบบอย่าง เรือ่ งนี้ ท�ำให้ขา้ พเจ้าร�ำลึกถึงพระโอวาทของสมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 ที่ประทานแก่ CURIA เมื่อวันที่ 21 กันยายน 1963 ว่า “ทุกที่ มองดูคาทอลิกที่โรม มองดูพระสังฆราชกรุงโรม มองดู ROMAN CURIA หน้าที่ที่จะเป็นคริสต์ขนานแท้ ท้าทายเราที่นี่อย่างมาก ทุกคนในกรุงโรมเป็น บทเรียน ทัง้ ในตัวอักษรและจิตตารมณ์ คิดอย่างไร ศึกษาอย่างไร พูดอย่างไร รู้สึกอย่างไร ท�ำอย่างไร อดทนอย่างไร รับใช้อย่างไร รักอย่างไร ทุกขณะ ทุก มิติแห่งชีวิต ฉายแสงไปรอบตัวเราซึ่งอาจเกิดประโยชน์ ถ้าเราซื่อสัตย์ต่อสิ่ง ที่พระคริสตเจ้าต้องการจากเรา หรืออาจเป็นผลร้ายถ้าเราไม่ซื่อสัตย์” 10


ECCLESIA SEMPER REFORMANDA (พระศาสนจักรต้องปฏิรูปอยู่เสมอ) CURIA ROMANA ก็ต้องปรับปรุง และ เจริญก้าวหน้าตลอดเวลา พระองค์ตรัสถึง DISEASE โรค 15 ชนิด ซึ่งบางครั้งก็แทงใจ แต่ก็เป็นอันตราย ต่อคริสตชนแต่ละคน ต่อทุก CURIA ทุกชุมชน ทุก คณะ ทุกวัด และทุกขบวนการของพระศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปาทรงระลึกถึงพระวิญญาณ ของพระศาสนจักรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงย�้ำ เมื่อเริ่มเข้ารับพันธกิจของพระองค์ คือ พระจิตเจ้า ซึ่งประทานชีวิตและพลังในการรักษาโรคทุกชนิด และส่งเสริมการปรองดอง ฉะนัน้ จ�ำเป็นต้องภาวนา และท�ำงานให้พระศาสนจักรและ CURIA มีสขุ ภาพดี และท�ำให้ผอู้ นื่ มีสขุ ภาพดี มีความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละท�ำให้ ผู้อื่นศักดิ์สิทธิ์ด้วย ข้าพเจ้าขอให้การพบปะกันนีแ้ ละการไตร่ตรอง ทีข่ า้ พเจ้าจะแบ่งปัน ช่วยกระตุน้ เราทุกคนในการส�ำรวจ มโนธรรม เพือ่ เตรียมจิตใจของเราส�ำหรับวันสมโภช พระคริสตสมภพ ข้าพเจ้าคิดถึงภาพลักษณ์ของพระ ศาสนจักร ซึ่งเปรียบประดุจพระกายทิพย์ของพระ คริสตเจ้าตามทีน่ กั บุญเปาโลเขียนไว้วา่ “แม้รา่ งกาย เป็นร่างกายเดียว และมีอวัยวะหลายส่วน อวัยวะ ต่าง ๆ เหล่านี้ แม้จะมีหลายส่วนก็รวมกันเป็นร่างกาย เดียวฉันใด พระคริสตเจ้าก็ฉันนั้น” (1 คร 12:12) พระจิตเจ้าประทานพระพรต่าง ๆ เพื่อความดีของ พระศาสนจักร พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรรวม กันเป็นพระคริสตเจ้าทั้งครบ CURIA ROMANA เปรียบได้กับต้นแบบ น้อย ๆ ของพระศาสนจักร ทีพ่ ยายามทุกวันให้มชี วี ติ ชีวามากขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น กลมกลืนกันมากขึ้น เป็น หนึง่ เดียวกับกันและกัน และกับพระคริสตเจ้ามากขึน้

CURIA ROMANA เป็นองค์กรซับซ้อน ประกอบด้วยกระทรวง สภา ส�ำนักงาน ศาล คณะ กรรมาธิการ ซึ่งมีหน้าที่ต่างกัน แต่ประสานงานกัน เพื่อท�ำหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล จูงใจ มีวินัย เป็น แบบอย่าง แม้สมาชิกจะมีวัฒนธรรม ภาษาและ สัญชาติต่างกัน ในเมื่อ CURIA ROMANA เป็นร่างกายที่ เป็นพลวัต มีชีวิตอยู่ไม่ได้ ปราศจากการเลี้ยงดูและ การรักษาเยียวยา ดุจดังพระศาสนจักรมีชีวิตอยู่ไม่ ได้ถา้ ปราศจากความสัมพันธ์ทมี่ ชี วี ติ ส่วนตัว แท้จริง และเข้มแข็งกับพระคริสตเจ้า สมาชิกของ CURIA ROMANA ที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูประจ�ำวันด้วย อาหาร ก็จะกลายเป็นคนท�ำตามหน้าที่ เป็นพิธี เป็น แค่ลกู จ้าง เป็นกิง่ ก้านทีเ่ หีย่ วแห้ง ค่อย ๆ ตายไปและ ถูกโยนทิ้ง การภาวนาประจ�ำวัน การรับศีลศักดิ์สิทธิ์ อย่างสม�่ำเสมอ เช่น ศีลมหาสนิท ศีลอภัยบาป การ สัมผัสพระวาจาของพระเจ้าประจ�ำวัน และชีวติ จิตที่ ถ่ายทอดเป็นความรักในชีวิต นี่คืออาหารเลี้ยงชีวิต ของเราแต่ละคน ขอให้เราทุกคนแน่ใจว่า “ถ้าไม่มเี รา ท่านก็ทำ� อะไรไม่ได้เลย” (ยน 15:5) ความสัมพันธ์ทมี่ ี ชีวิตกับพระองค์ ก็หล่อเลี้ยงและท�ำให้ความสัมพันธ์ ของเรากับผู้อื่นเข้มแข็งด้วย CURIA ROMANA ถูกเรียกร้องให้ปรับปรุง ตนเองอยูเ่ สมอ ให้เจริญก้าวหน้าในความเป็นหนึง่ เดียว ในความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละปรีชาญาณ เพือ่ ปฏิบตั พิ นั ธกิจ อย่างเต็มที่ แต่ก็เหมือนร่างกายมนุษย์ เราต้องเป็น เป้าหรือเสี่ยงต่อโรค ท�ำหน้าที่ไม่ได้หรืออ่อนแอ ต่อ ไปนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึงโรคบางชนิด คือโรค CURIA ซึ่งพบได้บ่อย ๆ ในชีวิต

-CURIA11


1 THE DISEASE OF THINKING WE ARE IMMORTAL, IMMUNE, INDISPENSABLE โรคที่คิดว่าตัวเองไม่รู้จักตาย มีภูมิต้านทาน ขาดเสียมิได้ ละเลยที่จะส�ำรวจตัวเองเป็นประจ�ำ CURIA ที่ไม่วิพากษ์ตนเอง ไม่แสวงหาที่จะท�ำตน ให้เหมาะสมขึ้น เป็นร่างกายที่ป่วย เพียงไปเยี่ยม สุสานก็จะช่วยเราให้เห็นชื่อของคนจ�ำนวนมากที่คิด ว่าตนไม่รจู้ กั ตาย มีภมู ติ า้ นทาน ขาดเสียมิได้ เป็นโรค ของเศรษฐีโง่ในพระวรสารทีค่ ดิ ว่าตัวจะมีชวี ติ ตลอด ไป (ลก 12:13-21) และเป็นโรคของคนที่เป็นเจ้าคน นายคน คิดว่าตัวเองอยู่เหนือคนอื่น แทนที่จะรับใช้ คนอื่น บ่อย ๆ เป็นโรคของการใช้อ�ำนาจ เป็นผู้ใหญ่ ทีม่ ปี มเขือ่ ง (SUPERIORITY COMPLEX) จากการ บูชาตัวเอง ไม่เห็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าในตัวเอง และในใบหน้าของคนอื่น โดยเฉพาะคนอ่อนแอและ คนที่มีความต้องการ ยารักษาโรคนี้ก็คือ พระหรรษ ทานที่ท�ำให้เราส�ำนึกว่าเราเป็นคนบาป และพูดได้ อย่างจริงใจว่า “ฉันเป็นผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์ เพราะ ฉันท�ำตามหน้าที่ที่ต้องท�ำเท่านั้น” (ลก 17:10) 2 THE DISEASE : MARTHA COMPLEX EXCESSIVE BUSINESS โรคนีพ้ บได้ในบุคคลทีห่ มกมุน่ อยูใ่ นหน้าทีก่ าร งาน และลืมส่วนทีด่ ที สี่ ดุ คือ “การนัง่ อยูแ่ ทบพระบาท ขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า คอยฟังพระวาจาของพระองค์” (ลก 10:39) พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาอัครสาวกว่า “ท่านทัง้ หลายจงมาพักผ่อนกับเราตามล�ำพังในทีส่ งัด ระยะหนึ่งเถิด” (มก 6:31) เหตุผลก็คือ การละเลย การพักผ่อนทีจ่ �ำเป็นท�ำให้เกิดความเครียดและความ ปั่นป่วน ส�ำหรับผู้ที่ท�ำงานเสร็จแล้ว การพักผ่อนก็ ยังจ�ำเป็น เป็นสิ่งที่ต้องกระท�ำ และต้องใส่ใจอย่าง 12

จริงจัง โดยใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ถือวันหยุดเป็น ช่วงเวลาแห่งการเติมพลังทั้งทางจิตใจและร่างกาย “มีเวลาส�ำหรับทุกสิ่ง...” (ปญจ 3:1-15) 3 THE DISEASE OF MENTAL AND SPIRITUAL PETRIFICATION โรคมีจิตใจแข็งกระด้างเหมือนหิน พบได้ใน คนทีม่ ใี จหิน ใจกระด้าง (กจ 7:51) ไม่เป็นคนของพระ (ฮบ 3:12) เป็นอันตรายมาก เพราะหมดความรู้สึก ของความเป็นมนุษย์ ซึง่ ท�ำให้เราร้องไห้กบั ผูท้ รี่ อ้ งไห้ และยินดีกับผู้ที่ยินดี เป็นโรคของผู้ที่เสียความรู้สึก นึกคิดของพระคริสตเจ้า เป็นคริสตชนหมายความ ว่ามีความรูส้ กึ นึกคิดเช่นเดียวกับทีพ่ ระคริสตเจ้าทรง มี ความสุภาพถ่อมตน การไม่เห็นแก่ตัว การตัดใจ และความใจกว้าง (ฟป 2:5-11) 4 THE DISEASE OF EXCESSIVE PLANNING AND OF FUNCTIONALISM โรควางแผนมากเกินไปและหน้าที่นิยม เมื่อ วางแผนเรียบร้อยแล้วก็เชือ่ ว่าทุกอย่างจะเป็นไปตาม แผน กลายเป็นผู้จัดการส�ำนักงาน แน่นอนทุกอย่าง ต้องมีการเตรียมอย่างดี แต่โดยไม่ถกู ประจญให้จำ� กัด อิสรภาพของพระจิตเจ้า ซึง่ ใหญ่และยืดหยุน่ กว่าการ วางแผนของมนุษย์ พระศาสนจักรซื่อสัตย์ต่อพระ จิตเจ้าเสมอ ไม่ควบคุมพระจิตเจ้า เพราะพระองค์มี อะไรใหม่ ๆ เสมอ 5 THE DISEASE OF POOR COORDINATION โรคประสานงานทีน่ า่ สงสาร เมือ่ สมาชิกขาด ความเป็นหนึง่ เดียวระหว่างกัน ร่างกายนัน้ ก็ขาดการ ท�ำหน้าที่ที่ปรองดองกัน ขาดดุลยภาพ สมาชิกไม่ ท�ำงานด้วยกัน ขาดการท�ำงานร่วมกันเป็นทีม เมื่อ


เท้ากล่าวกับแขนว่า “ฉันไม่ต้องการเธอ” หรือมือ กล่าวกับศีรษะว่า “ฉันท�ำหน้าที่นี้แล้ว” ท�ำให้เกิด ความไม่สบายใจ และการเป็นที่สะดุด 6 THEREIS ALSO A SPIRITUAL ALZHEIMER’S DISEASE โรคลืมประวัติศาสตร์ความรอดส่วนตัว ลืม ประวัติศาสตร์ของตัวกับพระเจ้าในอดีต ลืมความ รักแรกที่เคยมีแต่ก่อน (วว 2:4) ท�ำให้ความสามารถ ทางจิตใจถอยหลังเป็นล�ำดับ และมิชา้ ก็กลายเป็นคน พิการ ไม่สามารถท�ำอะไรได้ดว้ ยตัวเอง ไม่เห็นความ หมายของชีวติ หมกมุน่ อยูก่ บั ปัจจุบนั กับความนึกคิด ตามอ�ำเภอใจ เป็นโรคในบุคคลที่สร้างก�ำแพงและ กิจวัตรล้อมตัวเอง กลายเป็นทาสของรูปเคารพที่ สร้างขึ้นด้วยมือของตัวเอง 7 THE DISEASE OF RIVALRY AND VAIN GLORY โรคการแข่งขันและความยโสโอ้อวด เมื่อ รูปปรากฏภายนอกของเรา สีเสื้อผ้า ยศต�ำแหน่ง กลายเป็นวัตถุประสงค์แรกในชีวิต เราลืมวาทะของ นักบุญเปาโลที่ว่า “อย่ากระท�ำการใดเพื่อชิงดีกัน หรือเพื่อโอ้อวด แต่จงถ่อมตนคิดว่าผู้อื่นดีกว่าตน” (ฟป 2:3) โรคนีท้ ำ� ให้เราเป็นคนหลอกลวง เจริญชีวติ MYSTICISM ฌานนิยม และ QUIETISM วิเวกนิยม จอมปลอม นักบุญเปาโลนิยามคนเหล่านีว้ า่ เป็น “ศัตรู กับไม้กางเขนของพระคริสตเจ้า” (ฟป 3:19) 8 THE DISEASE OF EXISTENTIAL SCHIZOPHRENIA โรคของคนที่เจริญชีวิตสองมาตรฐาน เป็น ผลของการเป็นคนเสแสร้ง มีชีวิตจิตที่ว่างเปล่า ซึ่ง

ปริญญาไม่สามารถท�ำให้เต็ม เป็นโรคของคนทีล่ ะทิง้ งานอภิบาล จ�ำกัดตัวเองกับงานนั่งโต๊ะ งานบริหาร จัดการ ขาดการสัมผัสกับความเป็นจริงกับประชาชน โดยวิธนี เี้ ขาสร้างโลกคูข่ นานของเขาเอง สอนคนอืน่ อย่างเคร่งครัด แต่ตัวเองเจริญชีวิตซ่อนเร้น บ่อย ๆ ก็หละหลวม ผิดศีลธรรม โรคนี้ต้องการการกลับใจ ด่วนและจ�ำเป็นที่สุด 9 THE DISEASE OF GOSSIPPING GRUMBLING AND BACKBITING โรคนินทา บ่น กัดลับหลัง ข้าพเจ้าพูดถึงโรค นี้หลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่พอ เป็นโรคร้ายซึ่งเมื่อ เริ่มพูดถึงคนอื่นเพียงเล็กน้อย ก็เป็นเหมือนปีศาจที่ หว่านข้าวละมาน และในหลายกรณีเป็นฆาตกรฆ่า ชื่อเสียงของพี่น้องอย่างเลือดเย็น เป็นโรคของคนขี้ ขลาด ไม่มคี วามกล้าพอทีจ่ ะพูดออกมาตรง ๆ แทนที่ จะพูดลับหลัง นักบุญเปาโลเตือนเราว่า “จงท�ำทุกสิง่ ทุกอย่างโดยไม่บ่นหรือโต้แย้ง ท่านทั้งหลายจะได้ไม่ ถูกต�ำหนิปราศจากเล่หก์ ล เป็นบุตรพระเจ้าไร้มลทิน” (ฟป 2:14-15) พี่น้อง ให้เราเฝ้าระวังการก่อการร้าย แห่งการนินทา 10 THE DISEASE OF IDOLIZING SUPERIORS โรคบูชาผู้ใหญ่ เป็นโรคของผู้ที่เอาใจผู้ใหญ่ โดยหวังจะได้ความดีความชอบ ตกเป็นเหยื่อของ การฉวยโอกาส เขาให้เกียรติมนุษย์ แต่ไม่ให้เกียรติ พระเจ้า เขาคิดแต่จะได้ ไม่คดิ ทีจ่ ะเสีย เป็นคนใจแคบ ไม่มีความสุข มีแต่ความเห็นแก่ตัว ผู้ใหญ่เองก็อาจ ติดโรคนี้โดยเอาใจผู้ร่วมงาน เพื่อให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับ บัญชาขึน้ กับเขา แต่ทสี่ ดุ ลงเอยด้วยการสมรูร้ ว่ มคิด กันกระท�ำความผิด 13


11 THE DISEASE OF INDIFFERENCE TO OTHERS โรคไม่สนใจผูอ้ นื่ คิดถึงแต่ตวั เอง ขาดความ จริงใจ ขาดมนุษยสัมพันธ์ทอี่ บอุน่ มีความรูแ้ ต่ไม่บริการ เพื่อน ๆ ที่มีความรู้น้อยกว่า ไม่แบ่งปันช่วยเหลือผู้ อืน่ เพราะความอิจฉาหรือการหลอกลวง ดีใจเมือ่ เห็น ผู้อื่นพลาดพลั้งล้มลง แทนที่จะช่วยเหลือให้ก�ำลังใจ 12 THE DISEASE OF A LUGUBRIOUS FACE โรคคนหน้าเศร้า ซึ่งเข้าใจว่าการเอาจริง เอาจังคือการท�ำหน้าเศร้า หรือเข้มงวดต่อผู้อื่นโดย เฉพาะต่อผู้น้อย ที่จริงการแสดงความเข้มงวดและ การมองดูแต่ในแง่รา้ ย (PESSIMISM) ทีไ่ ร้ผลบ่อย ๆ เป็นอาการของความกลัวและความไม่ปลอดภัย อัคร สาวกต้องพยายามเป็นคนสุภาพอ่อนโยน ร่าเริง มี ความกระตือรือร้นและยินดี เป็นคนที่น�ำความยินดี ไปทุก ๆ ที่ที่เขาไป หัวใจที่เปี่ยมล้นด้วยพระเจ้า เป็น หัวใจทีม่ คี วามสุขซึง่ ฉายแสงความยินดีออกไปดุจโรค ระบาด ฉะนัน้ อย่าให้เราเสียจิตตารมณ์แห่งความยินดี หรืออารมณ์ขนั แม้จะต้องลดคุณค่าของตัวเองลง เพือ่ แสดงอัธยาศัยดีตอ่ ผูอ้ นื่ ในยามยุง่ ยาก การมีอารมณ์ ขันถือว่าเป็นยาวิเศษที่มีคุณประโยชน์ 13 THE DISEASE OF HOARDING โรคสะสม คือคนที่พยายามท�ำให้ที่ว่างใน หัวใจเต็มด้วยการสะสมวัตถุสงิ่ ของ มิใช่เพราะความ ต้องการ แต่เพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย ที่จริง เราไม่สามารถน�ำเอาวัตถุสิ่งของเหล่านี้ แม้ทรัพย์ สมบัติทั้งสิ้นของเราในโลกนี้ แม้เป็นของขวัญ ก็ไม่ สามารถท�ำให้ที่ว่างเต็มได้เลย ตรงกันข้ามรังแต่จะ ท�ำให้เกิดความต้องการมากขึ้น พระเจ้าตรัสกับคน เหล่านี้ว่า “ท่านพูดว่า ฉันร�่ำรวย มีสมบัติมากมาย และไม่ต้องการอะไรอีก แต่ท่านก็ไม่รู้ว่าท่านเป็นคน 14

อาภัพ น่าสงสาร ยากจน ตาบอดและเปลือยเปล่า” (วว 3:17, 19) การสะสมวัตถุสิ่งของมีแต่เป็นภาระ และท�ำให้การเดินทางช้าลง เมือ่ พูดถึงเรือ่ งนีข้ า้ พเจ้า คิดถึงบรรดาเยสุอิตชาวสเปน เปรียบคณะเยสุอิต เหมือนกองดับเพลิงของพระศาสนจักร ข้าพเจ้าคิด ถึงเยสุอิตหนุ่มคนหนึ่งที่ก�ำลังโยกย้าย เขาบรรทุก สัมภาระ กระเป๋าเดินทาง หนังสือ ของขวัญ และ สิ่งของต่าง ๆ มีเยสุอิตอาวุโสคนหนึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ ยิ้ม ๆ กล่าวว่า นี่คือกองดับเพลิงของพระศาสนจักร การโยกย้ายของเราอาจเป็นอาการของโรคนี้ 14 THE DISEASE OF CLOSED CIRCLES โรควงใกล้ชิด เป็นของกันและกัน มีอ�ำนาจ มากกว่าเป็นของร่างกาย บางครั้งมากกว่าเป็นของ พระคริสตเจ้า โรคนีแ้ รก ๆ ก็เริม่ ต้นด้วยเจตนาดี แต่ พอเวลาผ่านไป ท�ำให้สมาชิกเป็นทาสดุจโรคมะเร็ง เป็นอันตรายต่อความปรองดองของร่างกาย เป็นเหตุ ของความชั่วร้ายใหญ่หลวง เป็นที่สะดุด โดยเฉพาะ ต่อพี่น้องที่อ่อนแอกว่าเป็นการท�ำลายตนเอง เป็น ความชั่วร้ายที่เกิดจากภายใน ซึ่งพระคริสตเจ้าตรัส ไว้ว่า “อาณาจักรใดแตกแยกภายใน อาณาจักรนั้น ย่อมพินาศ” (ลก 11:17) 15 THE DISEASE OF WORLDLY PROFIT, OF FORMS OF EXHIBITION โรคหาก�ำไรทางโลก โรคอวดตัว เมื่ออัคร สาวกเปลีย่ นการรับใช้เป็นอ�ำนาจ และเปลีย่ นอ�ำนาจ เป็นความสะดวกสบาย เพือ่ ผลประโยชน์ทางโลก เพือ่ ให้ได้อำ� นาจมากขึน้ นีค่ อื โรคของคนทีพ่ ยายามสะสม อ�ำนาจอย่างไม่รจู้ กั อิม่ และเพือ่ จุดประสงค์นเี้ ขาพร้อม ทีจ่ ะหมิน่ ประมาท หรือท�ำให้ผอู้ นื่ เสียชือ่ เสียง แม้โดย ใช้หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ทัง้ นีเ้ พือ่ แสดงว่าตนมีความ สามารถมากกว่าคนอื่น โรคนี้ท�ำร้ายร่างกายอย่าง


ใหญ่หลวง จนถึงกับใช้วธิ กี ารต่าง ๆ เพือ่ บรรลุถงึ เป้า หมายของเขา บ่อย ๆครั้งในนามของความยุติธรรม และความโปร่งใส ข้าพเจ้าเคยพบพระสงฆ์องค์หนึ่ง เรียกผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ เรื่องส่วนตัวที่เป็นความลับของพี่น้องพระสงฆ์และ ของสัตบุรุษ สิ่งที่เขาต้องการคือเขาจะได้เป็นข่าว หน้าแรก ซึ่งท�ำให้เขารู้สึกว่าเป็นผู้มีอ�ำนาจ เป็นที่ นิยม ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อื่นและต่อพระศาสนจักร ถือว่าเป็นวิญญาณที่น่าสงสาร พีน่ อ้ งทีร่ กั โรคเหล่านีแ้ ละการประจญเหล่า นี้ แน่นอนเป็นอันตรายต่อคริสตชนแต่ละคน แต่ละ คณะกรรมการบริหาร แต่ละชุมชน แต่ละคณะ แต่ละ วัด แต่ละขบวนการของพระศาสนจักร เราต้องยอมรับว่าพระจิตเจ้าเท่านัน้ สามารถ รักษาความอ่อนแอเหล่านี้ของเราได้ พระองค์ทรง เป็นพระวิญญาณของพระกายทิพย์ของพระคริสต เจ้า ดังทีบ่ ทข้าพเจ้าเชือ่ ในพระเจ้าของพระสังคายนา นีเชนา – คอนสตันติโนเปิลกล่าวไว้ว่า “ข้าพเจ้า เชื่อในพระจิต พระเจ้าผู้ทรงบันดาลชีวิต” เป็นพระ จิตผู้ทรงสนับสนุนความพยายามที่จริงใจ ในการ ช�ำระและการกลับใจ พระองค์ทรงเป็นผู้สนับสนุน ความกลมกลืน นักบุญออกัสตินกล่าวว่า “ตราบใด ที่อวัยวะยังเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ก็มีหวังว่าจะ ได้รับการรักษา แต่เมื่อใดอวัยวะนั้นถูกตัดออกไป ก็ ไม่สามารถรับการบ�ำบัดรักษาให้หายได้” การบ�ำบัด รักษาเกิดจากการรู้สึกส�ำนึกในโรคของเรา และการ ตัดสินใจส่วนตัวและส่วนรวมของเราที่จะได้รับการ รักษาเยียวยาด้วยความเพียรอดทน ฉะนัน้ พวกเราถูกเรียกในเทศกาลคริสต์มาส และตลอดเวลาแห่งการรับใช้และตลอดชีวิตของ เรา ให้เจริญชีวิต “ในความจริงและความรัก เรา

ต้องเจริญเติบโตทุกวิถที างในพระองค์ผทู้ รงเป็นพระ เศียร คือ พระคริสตเจ้า พระองค์ทรงท�ำให้ร่างกาย ทุกส่วนประสานสัมพันธ์กนั อย่างสนิทแน่นแฟ้น ทรง จัดให้ทุกข้อต่อทุกข้อ ส่งเสริมก�ำลังให้แต่ละส่วนท�ำ หน้าทีข่ องตน ร่างกายจึงเจริญเติบโตและเสริมสร้าง ตนเองอย่างสมบูรณ์ขนึ้ ด้วยความรัก” (อฟ 4:15-16) พีน่ อ้ งทีร่ กั มีผเู้ ปรียบว่าพระสงฆ์เป็นเหมือน เครื่องบิน ตกเป็นข่าวเมื่อตกที่พื้นดินพร้อมกับผู้ โดยสารจ�ำนวนมาก หลายคนวิพากษ์วิจารณ์ แต่ น้อยคนภาวนาให้ ซึ่งเป็นเรื่องสะเทือนใจ แต่ก็เป็น จริง ที่ชี้ถึงความส�ำคัญและความอ่อนแอแห่งการ รับใช้ในชีวิตสงฆ์ของเรา พระสงฆ์องค์หนึ่งประสบ อุบตั เิ หตุนำ� ผลร้ายมาสูท่ งั้ ร่างกายของพระศาสนจักร ให้เราวอนขอพระนางพรหมจารีพระมารดา ของพระเจ้า ช่วยรักษาบาดแผลในใจเรา เพือ่ ประคับ ประคองพระศาสนจักรและ CURIA ROMANA ของ เรา ให้มสี ขุ ภาพดีและท�ำให้ผอู้ นื่ มีสขุ ภาพดี ให้มคี วาม ศักดิ์สิทธิ์และท�ำให้ผู้อื่นมีความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเกียรติ มงคลของพระบุตร และเพื่อความรอดของเราและ ของมนุษย์ทั้งโลก ขอพระมารดาโปรดให้เรารักพระ ศาสนจักร ดังที่พระคริสตเจ้าพระบุตรของพระนาง และพระผู้เป็นเจ้าของเราทรงรัก และโปรดให้เรา มีความกล้าหาญที่จะยอมรับว่าเราเป็นคนบาปซึ่ง ต้องการพระเมตตา โดยไม่กลัวที่จะมอบมือของเรา ไว้ในพระหัตถ์ของพระนางผู้เป็นพระมารดาของเรา ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี แห่งวันพระ คริสตสมภพแด่ทุก ๆ ท่าน พร้อมกับครอบครัวและ ผู้ร่วมงานของท่าน และโปรดอย่าลืมภาวนาเพื่อ ข้าพเจ้าด้วย ขอขอบคุณด้วยใจจริง

(จากหนังสือพิมพ์ L’OSSERVATORE ROMANO รายสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2015) 15


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

ธรรมล�้ำลึกปัสกา

ต้นก�ำเนิดความรอดพ้นของคริสตชน ความหวั ง ในชี วิ ต แห่ ง ความรอดพ้ น ของ คริสตชนกับธรรมล�ำ้ ลึกปัสกาของพระคริสตเจ้า พบกันอีกเช่นเคยพี่น้องที่รัก สายใยจันท์ ฉบับนี้ พ่ออยากเชิญชวนให้พี่น้องไตร่ตรองถึงชีวิต แห่งการเฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกแห่งปัสกา คริสตชน เชือ่ ว่าธรรมล�ำ้ ลึกปัสกา เป็นหนทางทีน่ ำ� พระพรแห่ง ความรอดพ้น และการเปลีย่ นแปลงชีวติ มาสูเ่ รา พระ ศาสนจักรคาทอลิกจึงให้ความส�ำคัญ เชิญชวนลูก ๆ คริสตชนได้ใกล้ชดิ และท�ำการเฉลิมฉลองในชีวติ อย่าง น้อยที่สุดปีละครั้ง ในชีวิตคนเราถ้านับอายุโดยเฉลี่ยของคน ทั่วไปก็ตกประมาณ 60-70 ปี หรืออาจมากกว่านั้น ไม่มากนัก หากเราประมาณการเช่นนี้ พี่น้องคิดว่า เราจะได้เฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกปัสกาในเทศกาลได้ กี่ครั้งในชีวิตของเรา คงจะฉลองได้เพียงแค่ 60-70 ครั้งในชีวิตคริสตชนของเราใช่ไหมครับ? 16

ในพระสมณสาสน์ว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 6 ได้ให้เหตุผลและค�ำตอบทีช่ ดั เจนทีเ่ ราคริสตชน พึงเอาใจใส่ในการร่วมเฉลิมฉลองปัสกาขององค์พระ เยซูคริสตเจ้า เพือ่ ร่วมในพระสัญญาแห่งความรอดที่ พระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์ พระเยซูคริสต์ถกู ส่งมาจากพระบิดา เช่นกัน พระองค์ทรงส่งบรรดาอัครสาวกที่เต็มไปด้วยพระ จิตเจ้าออกไป พวกเขาท�ำตามพระบัญชา ด้วยการ ประกาศข่าวประเสริฐแก่มนุษย์ทุกคน พวกเขา ประกาศเรือ่ งพระบุตรของพระเจ้า โดยการตายและ การกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ได้ปลดปล่อย เราจากอ�ำนาจของปีศาจ และความตาย น�ำเราไปสู่ อาณาจักรของพระบิดา พระประสงค์ของพระคริสตเจ้าคือ การที่ บรรดาศิษย์บรรลุผลงานแห่งความรอดที่พวกเขา ได้ประกาศ โดยด�ำเนินชีวิตด้วยการอุทิศตนและมี ชีวติ ในศีลศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ ง ๆ ซึง่ อยูใ่ นชีวติ แห่งพิธกี รรม ดังนั้น บุคคลที่ได้รับศีลล้างบาปจะถูกผลักดันให้เข้า สู่ธรรมล�้ำลึกแห่งปัสกา : พวกเขาตายพร้อมกับพระ คริสตเจ้า ถูกฝังพร้อมกับพระองค์และจะกลับคืนชีพ พร้อมกับพระองค์


พวกเขาได้รับจิตวิญญาณแห่งการเป็นบุตร ของพระเจ้า จึงสามารถร้องออกมาว่า “Abba พ่อจ๋า” (รม 8:15) และท�ำให้กลายเป็นผู้ถวายบูชา อย่างแท้จริง ในท�ำนองเดียวกัน ขณะที่พวกเขาได้ ร่วมรับประทานมือ้ อาหารขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า พวก เขาประกาศถึงการสิน้ พระชนม์ของพระองค์ จนกว่า พระองค์จะเสด็จมา ในวันพระจิตเจ้าเสด็จมา เป็นวันที่พระ ศาสนจักรได้รับการตั้งขึ้นบนโลกนี้ “คนเหล่านั้น รับถ้อยค�ำของเปโตรและได้รับศีลล้างบาป... คน เหล่านั้นประชุมกันอย่างสม�่ำเสมอ เพื่อฟังค�ำสั่ง สอนของบรรดาอัครสาวก ด�ำเนินชีวิตร่วมกันฉัน พีน่ อ้ ง ร่วม‘‘พิธบี ขิ นมปัง’’ และอธิษฐานภาวนา...” (กจ 2:41-47) จากนั้นเป็นต้นมาพระศาสนจักรไม่ หยุดที่จะมารวมตัวกัน เพื่อเฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึก ปัสกา พวกเขาอ่านพระวาจา ฉลองศีลมหาสนิทซึ่ง “เป็นชัยชนะ และเป็นชัยชนะเหนือความตายของ พวกเขา ซึง่ ชัยชนะนีถ้ กู กระท�ำอีกครัง้ ในปัจจุบนั ”

เป็นการขอบพระคุณพระเจ้าส�ำหรับ “พระพรอันล�ำ้ เลิศของพระองค์” (2 คร 9:15) “ในพระเยซูคริสต์ ในการสรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์” (อฟ 1:12) ด้วยพลังแห่งองค์พระจิตเจ้า พี่น้องที่รัก เมื่อเราเชื่อว่าการเฉลิมฉลอง ธรรมล�ำ้ ลึกปัสกา เป็นการเฉลิมฉลองเหตุการณ์ ทีไ่ ถ่ เราให้ได้รบั ความรอดพ้น เป็นเหตุการณ์ทรี่ ว่ มกับองค์ พระคริสต์ ผู้ทรงพลีพระองค์เป็นบูชาบนไม้กางเขน และพระศาสนจักรกระท�ำการระลึกถึงบนพระแท่น ทุกวัน พ่อจึงเชิญชวนพีน่ อ้ ง ให้มสี ว่ นร่วมในธรรมล�ำ้ ลึกปัสกาในปีนอี้ ย่างตัง้ ใจ ด้วยความเชือ่ ความศรัทธา และหาโอกาสมาร่วมเฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกนี้อีก ใน บูชาของพระคริสตเจ้าทุกวัน เพราะ “ความหวังใน ชีวิตแห่งความรอดพ้นของคริสตชน มีต้นก�ำเนิด มาจากธรรมล�้ำลึกปัสกาของพระคริสตเจ้า” ......................................

17


ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม

โดย ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

“พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเขาตามภาพลักษณ์ของ พระเจ้า พระองค์ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง” (ปฐก 1:27) “เขาจึงมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในฐานะบุตรของ พระเจ้าและร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระกายของพระองค์” เรายังคงอยูใ่ นเรือ่ งของ “งานรักและรับใช้ ต้องอยูบ่ นคุณค่าและศักดิศ์ รีของมนุษย์” ความเดิม ในฉบับทีแ่ ล้ว ได้พดู ถึงประเด็น “การรวมผูย้ ากไร้เข้า มามีสว่ นร่วมในสังคมไทย” โดยมีแนวทางปฏิบตั ใิ ห้ ทุกคนมีสว่ นร่วมในงานรักและรับใช้ เพือ่ ช่วยเหลือผู้ ยากไร้ ในฉบับนี้ ฝ่ายสังคม สังฆมณฑลจันทบุรี ขอ น�ำเสนอในประเด็นต่อไป นั้่นคือ การอภิบาลเชิงสังคมแก่ผยู้ ากไร้ดว้ ยความเอาใจใส่

1. ความหมายของประเด็น

ความเมตตากรุณาต่อผู้ยากไร้ เป็นกุญแจ สู่สวรรค์ (เทียบ มธ 25:35) นอกจากนั้น ยังเป็น ธรรมชาติลำ�้ ลึกทีส่ ดุ ของพระศาสนจักร ทีแ่ สดงออก มาในความรับผิดชอบ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ (1) การประกาศพระวาจาของพระเจ้า (2) การเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์ (3) การประกอบกิจเมตตา ซึง่ พระศาสนจักร ต้องให้ความส�ำคัญเท่า ๆ กัน โดยกิจเมตตา ธรรมนัน้ ต้องให้ความส�ำคัญแก่ทกุ คน เป็นต้น บรรดาคนยากไร้ ทีป่ รากฏในรูปแบบใหม่ของ ความยากจน 18

2. ความส�ำคัญ/ประโยชน์/สิง่ ทีท่ า้ ทายพระศาสนจักร

การไม่ให้ความช่วยเหลือในความจ�ำเป็นของ ผู้ยากไร้ ส่งผลโดยตรงต่อความสัมพันธ์ของเรากับ พระเจ้า “เพราะถ้าเขาสาปแช่งท่านในยามทุกร้อน พระผู้สร้างของเขาจะทรงฟังค�ำวอนขอของเขา” (บสร 4:6) ดังนัน้ พันธกิจของเราต่อผูย้ ากไร้ตอ้ งการ ความใส่ใจอันเปีย่ มด้วยรักนี้ เป็นจุดเริม่ ต้นของความ ห่วงใยในตัวบุคคลอย่างแท้จริง จึงเป็นความจ�ำเป็น ที่จะท�ำให้ผู้ยากไร้รู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านของตัวเอง (อย่างมีคณ ุ ค่าและศักดิศ์ รี) ในชุมชนคริสตชนทุกแห่ง นีม่ ใิ ช่หรือทีเ่ ป็นการประกาศข่าวดีแห่งพระอาณาจักร ที่ยิ่งใหญ่และได้ผลที่สุด

3. แนวทางภาคปฏิบัติ/ข้อเสนอแนะ

หน่วยงาน/กลุม่ /องค์กร ทีม่ บี ทบาทหน้าทีใ่ น การท�ำงานด้านสังคมในพระศาสนจักรคาทอลิก ต้อง พัฒนาการท�ำงาน ทัง้ การสงเคราะห์ การพัฒนา และ การปกป้องชีวติ /สิทธิโดยให้ผยู้ ากไร้เป็นศูนย์กลางของ การท�ำงาน และให้ความส�ำคัญกับการประสานงาน และร่วมมือกันในการท�ำงานทุกระดับ ทัง้ ในระดับวัด สังฆมณฑล และระดับชาติ ให้เกิดการบูรณาการ เพือ่ ความดีของส่วนรวม


ส่งเสริมและสนับสนุน ให้วัดได้พัฒนาเป็น ศูนย์กลางการอภิบาลด้านสังคม ในเขตพื้นที่รับผิด ชอบของตน โดยไม่แบ่งแยกศาสนา ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เป็นเพียงโครงสร้างที่แยกตนเองออกจากผู้คน เสนอให้มีคณะ หรือกลุ่มสัตบุรุษรับผิดชอบงาน มี คุณพ่อเจ้าวัด หรือพระสงฆ์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นจิตตาธิการดูแล เพื่อให้ชุมชนใกล้ชิดผู้คนมาก ขึ้น เป็นสถานที่แห่งความเป็นหนึ่งเดียวที่มีชีวิตชีวา มีส่วนร่วมและมุ่งไปสู่พันธกิจอย่างสมบูรณ์

งานรักและรับใช้บนคุณค่าและศักดิศ์ รีของ มนุษย์ เป็นพันธกิจของคริสตชนทุกคน เป็นเอกลักษณ์ ด้านสังคมของพระศาสนจักร ฝ่ายสังคมสังฆมณฑล จันทบุรี ขอเชิญชวนพี่น้องได้ให้ความส�ำคัญเอาใจ ใส่ในบทบาทหน้าที่ของตนต่อสังคม และศึกษาพระ สมณสาสน์ของพระศาสนจักร เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับ พระศาสนจักรท้องถิ่น ประกาศข่าวดีแก่เพื่อนพี่น้อง โดยผ่านภารกิจ รักและรับใช้ ...............................................

กิจกรรมฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี แผนกพัฒนาสังคม ร่วมกับ ฝ่าย สังคม จัดอบรมค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม แขวงปราจีน ณ ห้องประชุม วัดพระผูไ้ ถ่ เสาวภา จังหวัด นครนายก เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2015 แผนกพัฒนาสังคม จัดอบรม แนวทางการท�ำงานสังคมในบริบท ของสังฆมณฑลจันทบุรี โอกาสสัมมนา บุคลากรภายในศูนย์สังคมพัฒนา เมือ่ วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2015

แผนกผูเ้ ดินทางทะเลแจกยาให้กบั ชาวประมง ที่ท่าเรือจรินทร์ แสมสาร และท่าเรืออ่าวอุดม ในโครงการสุข ภาวะ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2015

19


เมื่อพระเยซูเจ้า สิ้นพระชนม์ ม่านในพระวิหารฉีกขาดเป็นสองส่วน ตั้งแต่ด้านบนลงมาถึงด้านล่าง (มก 15:38, มธ 27:51, ลก 23:45)

พระวิหารในสมัยของพระเยซูคริสต์นนั้ เป็นอาคารตั้งเด่นเป็นสง่า มีความหรูหรา สวยงาม อลังการมากที่สุดเท่าที่มนุษย์พึง จะท�ำได้ เรียกว่าในอาณาจักรของโรมันนั้น นอกจากเมืองหลวงแล้วไม่มีอาคารไหนจะ ใหญ่โต และสวยงามเท่าเทียมกับพระวิหาร แห่งกรุงเยรูซาเล็มอีกแล้ว พระวิหารแห่ง นี้ก่อสร้างโดยกษัตริย์เฮโรด ตั้งอยู่บนภูเขา โมรียาห์ ด้านตะวันออกของกรุงเยรูซาเล็ม มีการสร้างก�ำแพงไว้ลอ้ มรอบพระวิหาร เพือ่ ป้องกันข้าศึกบุกรุก ด้านในพระวิหารแบ่งเป็น สองส่วน คือ สถานทีบ่ ริสทุ ธิ(์ วิสทุ ธิสถาน) กับ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด(อภิสุทธิสถาน) มีม่าน ผืนใหญ่แขวนกั้นแบ่งระหว่างสองสถานที่นี้ โดยห้ามมิให้ใครเข้าสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด (อภิสุทธิสถาน) ที่ประทับของพระเจ้า เว้น แต่มหาสมณะเข้าไปได้ปีละครั้ง (ลนต 16) 20


การฉีกขาดของม่านหมายถึง การสิน้ สุดคารวกิจแบบดัง้ เดิมตัง้ แต่สมัยของโมเสส และเริม่ ยุคใหม่ผา่ นทางรหัสธรรมปัสกา การ สิน้ พระชนม์ และกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า เป็นการเปิดทางให้มนุษย์เข้าถึงพระเจ้า เป็น บุตรของพระบิดาอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มอี ะไร มาขวางกั้นอีกต่อไป

ทั้งนี้ เพราะมีพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว และพระเจ้ากับมนุษย์ ก็มีคนกลางแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่ง คือ

พระคริสตเยซู ผู้ทรงมอบพระองค์เป็นค่าไถ่ ส�ำหรับมนุษย์ทุกคน (1 ทธ 2:5)

21


การกลับคืนพระชนมชีพ ของพระเยซูเจ้า โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

การกลับคืนพระชนมชีพมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกลับคืนพระชนมชีพคือ สุดยอดของการบังเกิดเป็นมนุษย์ เป็นการยืนยันถึงการเป็นพระเป็นเจ้าของพระคริสตเจ้า ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงกระท�ำและทรงสอน ทรงกระท�ำให้พระสัญญาทั้งหมดเป็นจริง ขึ้นมา เพื่อประโยชน์ของเรา เมืองโครินธ์นเี้ ป็นเมืองท่าใหญ่ และมีพลเมือง มาก เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมกรีก ที่ดึงดูด ปรัชญาและศาสนาทุกประเภทมารวมกัน เป็นเมือง ที่มีความเสื่อมทางศีลธรรม เมืองโครินธ์อาจสร้าง ปัญหาน่าล�ำบากใจส�ำหรับคริสตชนทีก่ ลับใจใหม่ ซึง่ คริสตชนส่วนใหญ่เป็นคนยากจน (1คร 1:26-28)[1] คริสตชนเมืองโครินธ์มีปัญหาหลายเรื่อง เรื่องความประพฤติ เช่น การแตกแยกและการเป็น ตัวอย่างไม่ดี ความผิดเรื่องทางเพศ หรือแตกแยก กันในเรือ่ งข้อค�ำสอนโดยเฉพาะอย่างยิง่ ค�ำสอนเรือ่ ง “การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า” ดังนั้น นักบุญเปาโลจึงได้เขียนจดหมายถึง เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ นั ก บุ ญ เปาโลได้ เ ขี ย นจดหมายถึ ง ชาว โครินธ์ฉบับที่ 1 บทที่ 15 ข้อที่17 ว่า “ถ้าพระคริสต เจ้ามิได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ความเชือ่ ของท่านก็ ไร้ความหมายและท่านก็ยังคงอยู่ในบาป” 22

นักบุญเปาโลได้บอกกับคริสตชนว่า เหตุการณ์ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงยอมรับทรมาน ถูกเฆียนตี ถูกสวม มงกุฎหนาม ถูกเยาะเย้ย แบกกางเขน ถูกตรึงและ ตายบนไม้กางเขน จะไม่มีความหมายหากพระองค์ ไม่ได้กลับคืนพระชนมชีพ และนักบุญเปาโลได้เพิ่ม เติมอีกว่า หากพระเยซูเจ้าไม่ได้กลับคืนพระชนมชีพ “เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ล่วงหลับไปในพระคริสตเจ้าก็ พินาศไปด้วย ถ้าเรามีความหวังในพระคริสตเจ้าเพียง เพื่อชีวิตนี้เท่านั้น เราก็เป็นมนุษย์ที่น่าสงสารที่สุด” (1คร 15:18-19) ดังนั้น การกลับคืนพระชนมชีพของพระ เยซูเจ้า จึงเป็นเหตุการณ์ที่ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับ คริสตชน เป็นสุดยอดของความเชื่อของคริสตชน ในพระคริสตเจ้า เป็นเครื่องหมายแสดงพร้อมกับ ไม้กางเขนของพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญที่สุดของ ธรรมล�้ำลึกปัสกา (ค�ำสอนพระศาสนจักร : 631, 638) และไม่มเี หตุการณ์ประวัตศิ าสตร์ใด ๆ ในโลกนี้ มีความส�ำคัญกว่าเหตุการณ์การกลับคืนพระชนมชีพ ของพระคริสตเจ้า


บทจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 ยังได้บอกเราว่า ท�ำไมพระเยซูเจ้าต้องกลับ คืนพระชนมชีพจากความตายว่า “ความตายมาจาก มนุษย์คนหนึ่งฉันใด การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ ตายก็มาจากมนุษย์คนหนึ่งฉันนั้น มนุษย์ทุกคนตาย เพราะ อาดัมฉันใด มนุษย์ทุกคนก็จะกลับมีชีวิตเพราะ พระคริสตเจ้าฉันนั้น”(1คร 15:21-22) บทจดหมาย ของนักบุญเปาโลถึงชาวโรมได้ย�้ำอีกครั้งว่า “บาป เข้ามาในโลกเพราะมนุษย์คนเดียว และความตายเข้ามา เพราะบาปฉันใด ความตายก็แพร่กระจายไปถึงมนุษย์ ทุกคนเพราะทุกคนท�ำบาปฉันนั้น” (รม. 5:12) และ “ถึงกระนั้น ความตายก็มีอานุภาพเหนือมนุษยชาติ ตั้งแต่อาดัมมาจนถึงโมเสส มีอานุภาพเหนือแม้คนที่ ไม่ได้ทำ� บาปเหมือนกับอาดัมทีไ่ ด้ลว่ งละเมิด อาดัมเป็น รูปแบบล่วงหน้าของผูท้ จี่ ะมาในภายหลัง” (รม 5:14) ด้วยเหตุนี้ ความรอดพ้นของการกลับคืนพระ ชนมชีพมีความส�ำคัญอย่างยิง่ เพราะการกลับคืนพระ ชนมชีพ คือสุดยอดของการบังเกิดเป็นมนุษย์ เป็นการ ยืนยันถึงการเป็นพระเป็นเจ้าของพระคริสตเจ้า ทุกสิง่ ทุกอย่างทีพ่ ระองค์ทรงกระท�ำและทรงสอน ทรงกระท�ำ ให้พระสัญญาทั้งหมดเป็นจริงขึ้นมา เพื่อประโยชน์ ของเรา ยิ่งกว่านั้น พระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระ ชนมชีพ ผู้มีชัยชนะเหนือบาปและความตาย ทรง เป็นการเริ่มต้นความชอบธรรม และการกลับคืนชีพ ของเรา แต่นี้ไปเราได้รับพระพรแห่งการเป็นบุตร บุญธรรม เป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในชีวิต ของพระบุตรองค์เดียวของพระเป็นเจ้า จนถึงสิ้น สุดแห่งกาลเวลาแล้วพระองค์จะทรงท�ำให้ร่างกาย ของเรากลับคืนชีพขึ้นมา (ค�ำสอนพระศาสนจักร : 651-655, 658)

“เครือ่ งหมาย” ยืนยันถึงการกลับคืนพระชนม ชีพของพระเยซูเจ้าคือ เครือ่ งหมายทีจ่ ำ� เป็นทีส่ ดุ ของ พระคูหาว่างเปล่าแล้ว การกลับคืนพระชนมชีพของ พระเยซูเจ้ายังได้รับการยืนยันจากบรรดาสตรีที่ได้ พบพระเยซูเจ้าเป็นพวกแรก และได้ไปบอกให้บรรดา อัครสาวกทราบ นอกนัน้ พระเยซูเจ้า “ทรงแสดงพระ องค์แก่เคฟาส (เปโตร) แล้วจึงแสดงพระองค์แก่อคั ร สาวกสิบสองคนในคราวเดียว” (1 คร 15:5-6) และ คนอืน่ ๆ อีก บรรดาอัครสาวกไม่สามารถทีจ่ ะแต่งเรือ่ ง การกลับคืนพระชนมชีพนี้ขึ้นมาได้เพราะเป็นเรื่องที่ เป็นไปไม่ได้ส�ำหรับพวกเขา ความจริงพระเยซูเจ้า ยังได้ทรงต�ำหนิพวกเขาเพราะการที่ไม่ยอมเชื่ออีก ด้วย (ค�ำสอนพระศาสนจักร : 639-644, 656-657) พระเจ้าทรงพิสูจน์ว่าทรงรักเรา เพราะพระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์เพื่อเรา ขณะ ที่เรายังเป็นคนบาป บัดนี้ เมื่อเราได้รับความ ชอบธรรม โดยอาศัยพระโลหิตของพระองค์ แล้ว เดชะพระองค์ เราก็ยงิ่ จะได้รบั ความรอดพ้น จากการถูกพระเจ้าลงโทษ ถ้าเรากลับคืนดีกับ พระเจ้าเดชะการสิน้ พระชนม์ของพระบุตร ขณะที่ เรายังเป็นศัตรูอยู่ ยิง่ กว่านัน้ เมือ่ กลับคืนดีแล้ว เราก็จะรอดพ้นเดชะพระชนมชีพของพระองค์ ด้วย มิใช่เพียงเท่านั้น เรายังภูมิใจในพระเจ้า เดชะพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา เดชะพระองค์ บัดนี้พระองค์ทรงท�ำให้เราคืนดี กับพระเจ้าแล้ว (รม 5:8-11)

1พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ โดยคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2002 หน้า 476 23


โปรด ทรง อภั ย เถิ ด พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่าก�ำลังท�ำอะไร (ลก 23:34)

24


“โปรดเถิด พระบิดาเจ้าข้า พวกเขาไม่รว ู้ า่ ก�ำลังท�ำอะไร ความผิดของเขานัน้ แสนยิง่ ใหญ่ พระองค์ทรงอภัยด้วยพระทัยเมตตา ถ้อยค�ำพระองค์ทรงร้องทูล อบอุน่ ด้วยพระคุณนานา หลัง่ ไหลดุจพระกรุณา ให้ขา้ เจ้าชาวประชาได้ชนื่ ใจ ด้วยแบบอย่างแห่งความรักแท้ คือทรงดูแลใส่ใจอภัยให้ ไม่ถอ ื โทษโกรธเคืองเรือ ่ งใดใด นีค่ อ ื รักทีย ่ งิ่ ใหญ่..คืออภัยทุก ๆ คน ทุกครัง้ ทีข่ นุ่ ข้องหมองใจด้วยใครบางคน ทุกครัง้ ทีถ่ กู กล่าวหาอย่างไรความยุตธิ รรม ทุกครัง้ ทีเ่ ปิดปัญหาระหว่างบุคคล ขอโปรดให้ลกู ระลึกถึงถ้อยค�ำของพระองค์เสมอ “โปรดอภัยให้เขาด้วย เพราะเขาไม่รว ู้ า่ เขาก�ำลังท�ำอะไร” บางที เขาอาจจะไม่รต ู้ ว ั ในสิง่ ทีเ่ ขากระท�ำกับเรา อย่างไรเสีย ให้เราเพียรทีจ่ ะท�ำดีเสมอ ไม่เหนือ ่ ยล้า ไม่ทอ ้ แท้ทจี่ ะท�ำความดี แม้กบั ผูท้ ไี่ ม่เคยเห็นค่าความดีของเราเลย มีความหวังเสมอว่าสักวันเขาจะเข้าใจ เพียงเราให้อภัยด้วยใจยินดี โดย น�้ำผึ้งหวาน 25


วัดธรรมาสน์ นักบุญเปโตร ท่าแฉลบ หลังแรก

วัดพระยาสามองค์ ในอดีต ปัจจุบัน คือ วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า

26


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 1 7

5 2

4

3

6

8

คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. เทศกาลมหาพรตมี...วัน 3. เดือนแม่พระลูกประค�ำคือเดือน 5. ผู้ใดเช็ดพระพักตร์พระเยซู 7. ต้นก�ำเนิดความรอดพ้นของคริสตชน

แนวนอน 2. ผู้หญิงคนแรก ที่หนังสือปฐมกาลบันทึกไว้ 4. ก่อนพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ได้ตรัสว่า 6. พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ ม่านในพระวิหาร... 8. ชื่อเดิมวัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า 27


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

8 ก สั 1 เ ข า ฉ ก ร ร จ์ ง ร ฆ 3 ส อ ง อ ง ค์ ม 6 ม ณ า 4 ศั ร า ฑ 7 ก า เ บ รี ย ล ภ า ดิ์ ย์ พ สิ บ ท 5 ค ว า ม บ ริ สุ ท ธิ์ ป 2

28

สิ่งตีพิมพ์

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 14 ปีที่ 25 เดือนธันวาคม 2014


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

29


30


31


32


33


34


35


36


37


38


39


นี่คือ ลูกแกะพระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาปของโลก

ยน 1:29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.